ลอว์นิวส์
ลอว์นิวส์
วันที่ 1 - 15 มกราคม พ.ศ. 2557
รวมข่าว เล่ากฎหมาย ให้สาระประชาชน
กตัญญู รู้หน้าที่ เป็นเด็กดี มีวินัย สร้างไทยให้มั่นคง
ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 วันที่ 1 - 15 มกราคม พ.ศ. 2557
ปีแห่งน�้ำตา
กีฬาชื่นมื่น
ขมขื่นการเมือง สิ้นเปลืองใช้แก๊ส
รัฐบาลเร่งสุมไฟ พรบ.นิรโทษ ประยุทธ์ จุดชนวน เทพเทือก น�ำมวลมหาม็อบคัดค้าน ยืนหยัดยืดเยื้อ กีฬาเดินหน้า คว้าแชมป์ ผ้าเหลืองร้อน อลัชชีผุด อ่านต่อรวมข่าวหน้า 4
นิรโทษกรรมไทม์ ไลน์
จากจุดเริ่มต้นเล็กๆ ที่มีการเสนอของการเสนอร่างพระราชบัญญัตินิรโทษกรรม ท่ามกลางความขัดแย้งที่คุกรุ่น ถูกเร่งอุณหภูมิให้ร้อนขึ้นด้วยการ "สอดไส้" เร่งไฟ และระเบิดออกมาเป็น "มวลมหาประชาชน" จนบานปลายกลายเป็นการขับไล่รัฐบาล ในที่สุด ที่มาที่ไปของเหตุการณ์เหล่านี้เกิดขึ้นได้อย่างไร ทีมข่าว "ลอว์นิวส์" ได้ รวบรวมและเรียบเรียงในรูปของไทม์ ไลน์ ให้ได้ติดตามตั้งแต่จุดเริ่มต้น อ่านต่อหน้า 8
“มวลมหาประชาชน” ได้รับต�ำแหน่งบุคคลแห่งปีจากส�ำนักข่าวหลายแห่ง อีกทั้ง อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ยังเป็นสถานที่ที่ถูกเช็คอิน ถ่ายภาพลง อินสตราแกรมไม่น้อยไปกว่าสยามพารากอนและสนามบินสุวรรณภูมิ
ข่าวดีรับปี ใหม่ สรรพากรใจดี เล็งลดภาษีเพิ่ม
มนุษย์เงินเดือนเตรียมเฮ อธิบดี สรรพากรเตรี ย มหาแนวทาง ลดอัตราภาษีเหลือ 30% แถม โบนัสอีกก้อน เตรียมเพิ่มค่าลด หย่อนเป็น 1.2 แสน เมื่อวันที่ 29 ธันวาคม 2556 นายสุทธิชยั สังขมณี อธิบดี กรมสรรพากร เปิดเผยว่า ภาย หลังจากที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้เห็นชอบร่างพระราชกฤษฎีกา ล ด อั ต ร า ภ า ษี เ งิ น ไ ด้ บุ ค ค ล ธรรมดา สำ�หรับการคำ�นวณเงิน ได้สทุ ธิจาก 5 ขัน้ อัตรา เป็น 7 ขัน้ อัตรา และลดอัตราภาษีเงินได้ บุ ค คลธรรมดาจากอั ต ราสู ง สุ ด 37% เป็น 35% ไปแล้วนั้น ทาง กรมสรรพากรยั ง เห็ น ว่ า อั ต รา ภาษี เ งิ น ได้ บุ ค คลธรรมดาของ ไทย ยังมีแนวโน้มที่จะสามารถ ปรับลดลงได้อีก ทั้งนี้ หากมอง ประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคอาเซียน นั้ น อั ต ราภาษี เ งิ น ได้ บุ ค คล ธรรมดาขั้ น สู ง สุ ด ของไทย ยั ง ถือว่าเป็นอัตราทีส่ งู มาก ทีผ่ า่ นมา ทางกรมสรรพากรได้เตรียมที่จะ เสนอให้ รั ฐ บาลพิ จ ารณาถึ ง แนวทางและความเป็ น ไปได้ ที่ ไทยจะปรับลดอัตราภาษีเงินได้ บุคคลธรรมดาลงอี ก แต่ ก็ ต้ อ ง
ชะลอเอาไว้ เนื่องจากเกิดการ ประกาศยุบสภาเสียก่อน “ภาษี เ งิ น ได้ บุ ค คล ธรรมดานั้ น เห็ น ว่ า ยั ง มี แ นว โน้มปรับลดลงได้อกี ซึง่ หากมอง ประเทศอืน่ ๆ ในภูมภิ าคเอเซียน นั้น 35% ถือว่าเป็นอัตราที่สูง เพราะส่วนใหญ่แต่ละประเทศจะ อยูท่ รี่ ะดับ 20% ทัง้ นี้ เราจะต้อง ทบทวนในเรื่องของแบบ หรือผู้ มีเงินได้ที่ยื่นแบบเข้ามาว่า ช่วง อัตราไหนที่เยอะ และช่วงอัตรา ไหนที่น้อย ขณะนี้กลุ่มคนที่มี รายได้ อั ต รา 35% นั้ น ได้ ประโยชน์จากการลดอัตราภาษี ค่ อ นข้ า งน้ อ ยประมาณ 6% เ ท่ า นั้ น ส่ ว น พ ว ก ที่ จ ะ ไ ด้ ประโยชน์มากจะอยู่ในกลุ่มคน ชัน้ กลางถึงล่าง 40-50% ดังนัน้ ถ้ า เราจะลดอั ต ราภาษี เ งิ น ได้ บุคคลธรรมดาอีกเราก็จะลดให้ กลุ่มของคนระดับกลางถึงล่าง เ พื่ อ ใ ห้ ก ลุ่ ม ค น เ ห ล่ า นี้ ไ ด้ ประโยชน์ เพราะยังไงคนระดับ บนก็จะได้รับประโยชน์ไปด้วย อยู่แล้ว แต่ไม่มากเท่า” นาย สุทธิชัย กล่าว อ่านต่อหน้า 3
หน้า 2
วันที่ 1 - 15 มกราคม พ.ศ. 2557
บทบรรณาธิการ
ลอว์นิวส์
สาส์นจากนายกสภาทนายความ
สวัสดีค่ะทุกท่าน หนังสือพิมพ์รายปักษ์ “ลอว์นิวส์” (“Law News”) ได้จัด ทำ�ขืน้ โดยสภาทนายความ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้ฤกษ์เปิดตัวหนังสือพิมพ์ใหม่เป็น ครั้งแรกในรอบปักษ์นี้พร้อมกับการเริ่มต้นปีใหม่ 2557 นะคะ ซึ่งก็เปิดตัวอย่างร้อน แรงในช่วงบรรยากาศครุกรุ่นของการเมืองไทยบ้านเราพอดี ทีมงานของเราได้จัดทำ�ลอว์นิวส์ขึ้นโดยจะมีเนื้อหาทั้งในส่วนที่เป็นภาษา อังกฤษและภาษาไทย เพือ่ ให้เป็นอีกช่องทางหนึง่ สำ�หรับนักกฎหมาย ทนายความ นัก ธุรกิจ รวมถึงประชาชน นักศึกษาทั่วไป ให้สามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้โดยเราจะ สรุปเรื่องราวข่าวสารไม่ว่าจะเป็นข่าวในแวดวงการเมือง เศรษฐกิจ สังคม ข่าวต่าง ประเทศ ศาสนา บันเทิง กีฬา รวมถึงบทความดีๆ ความคิดเห็นในแง่มุมต่างๆ ทั้งใน เชิงเศรษฐกิจ พาณิชย์ และกฎหมาย จากท่านผู้เขียนบทความผู้ทรงคุณวุฒิหลายท่าน ให้ทา่ นผูอ้ า่ นได้รบั ทราบข่าวทัว่ ไปและเข้าใจถึงข้อเท็จจริงและเห็นมุมมองแง่คดิ ต่างๆ ไปพร้อมๆ กันอีกด้วย สำ�หรับลอว์นิวส์ในปักษ์แรกนี้ เราได้สรุปข่าวสำ�คัญทั้งหลายที่ได้เกิดขึ้นใน ประเทศของเราในรอบปี 2556 ที่ผ่านมา ไม่ว่าจะเป็นข่าวการสูญเสียบุคคลสำ�คัญใน บ้านเราคือท่านสมเด็จพระสังฆราช หรือท่านเนลสัน แมนเดลา อดีตประธานาธิบดี ผิวสีคนแรกแห่งประเทศแอฟริกาใต้ ข่าวเกี่ยวกับปรากฏการณ์ธรรมชาติซึ่งก่อให้เกิด ความเสียหายแก่พี่น้องประชาชน หรือข่าวจากฝีมือการกระทำ�ของมนุษย์เองที่ก่อให้ เกิดหรืออาจจะก่อให้เกิดความเสียหายต่อทรัพยากรธรรมชาติและสังคม เช่นกรณี น้�ำ มันรัว่ ทีเ่ กาะเสม็ด กรณีการรวมตัวกันของกลุม่ คนเพือ่ คัดค้านการก่อสร้างเขือ่ นแม่ วงก์ทจี่ งั หวัดนครสวรรค์ ข่าวกรณีทจุ ริตรถ-เรือดับเพลิง การก่อสร้างโรงพักทัว่ ประเทศ โครงการรับจำ�นำ�ข้าว จนเป็นสาเหตุก่อให้เกิดความไม่พอใจให้กบั ประชาชนบางกลุม่ จนก่อให้เกิดเหตุการณ์ไม่สงบขึ้นในบ้านเมืองของเรา นอกจากนี้ เมื่อปลายปี 2556 ที่ผ่านมา พสกนิกรชาวไทยได้ร่วมใจกันเฉลิม ฉลองวันเฉลิมพระชนมพรรษาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ใน วันที่ 5 ธันวาคม โดยได้มีโอกาสเข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่พระราชวังไกล กังวล อำ�เภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ กันอย่างล้นหลาม ลอว์นิวส์ได้รวบรวม ข่าวสารและบทความที่เกี่ยวกับเหตุการณ์บ้านเมืองของเราอันเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญ มากมาย ไม่วา่ จะเป็นเรือ่ งเกีย่ วกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญ การชุมนุมประท้วงของ กปปส. ที่รวมตัวกันมากมายเป็นประวัติการณ์ ณ อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ถนนราชดำ�เนิน ซึ่งก็อยู่ตรงหน้าที่ทำ�การสภาทนายความเรานี่เอง จึงเห็นได้ชัดเจนว่ามีฝูงชนเป็น จำ�นวนมากเวียนเข้ามาชุมนุมไม่เว้นแต่ละวัน เรียกร้องเพื่อโค่นล้ม “ระบอบทักษิณ” จนรัฐบาลต้องประกาศยุบสภาและจะจัดการเลือกตั้งใหม่ในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557 แต่ก็มีเหตุการณ์ต่างๆ นานา ซึ่งเราก็ต้องจับตามองกันต่อไปว่า การเลือกตั้งใหม่ใน วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557 นั้น จะมีขึ้นได้หรือไม่ หรือจำ�เป็นต้องเลื่อนออกไปก่อนเพื่อ ความสงบของบ้านเมือง งานนี้ก็เป็นงานหนักของทางกกต. และรัฐบาลรักษาการณ์ ที่คงต้องตัดสินใจกันว่าผลจะออกมาเป็นอย่างไร อย่างไรก็ตาม เราคงต้องเอาใจช่วยให้ทุกฝ่ายหันหน้ามาเจรจากันด้วยสันติ วิธีเพื่อหาทางแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น เพื่อเราจะได้ช่วยกันปกปักษ์รักษา ป้องกัน และ พัฒนาประเทศชาติของเราให้ไปสู่ความรุ่งเรืองได้ อย่างเช่นในกรณีคำ�พิพากษาของ ศาลโลกในคดีปราสาทพระวิหาร ซึ่งทางประเทศไทยกับกัมพูชายังคงต้องไปหารือกัน ในกลไกทวิภาคีเพื่อตกลงพื้นที่และอนุรักษ์พัฒนาปราสาทพระวิหารในฐานะมรดก โลกกันอีกต่อไป หากเราทุกฝ่ายหันหน้าเข้าหากันแทนที่เราจะขัดแย้งภายในกันเอง เราจะได้รวมพลังชาวไทยเพื่อพัฒนาประเทศต่อไป ดังที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้ทรงมีพระราชดำ�รัสตอบเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2556 ที่ผ่านมานี้ ในตอนหนึ่งว่า “...บ้านเมืองของเราเป็นสุขสืบมาช้านาน เพราะเรามีความเป็นปึกแผ่นใน ชาติ และต่างบำ�เพ็ญกรณียกิจตามหน้าที่ให้สอดคล้องเกื้อกูลกัน เพื่อประโยชน์ร่วม ของชาติ คนไทยทุกคนจึงควรจะตระหนักในข้อนี้ให้มากและตั้งใจประพฤติตัวปฏิบัติ งานให้ สมฐานะและหน้าที่ เพื่อให้สำ�เร็จประโยชน์ส่วนรวมเพื่อความมั่นคงปลอดภัย ของชาติบ้านเมือง....” ท้ายนี้ ขอสวัสดีปีใหม่แก่ท่านผู้อ่านทุกท่าน ขอคุณพระศรีรัตนตรัยช่วย ดลบันดาลให้ทุกท่านพบแต่ความสุขความเจริญ สุขภาพร่างกายแข็งแรง และขอให้ ประเทศไทยเราเข้าสู่ปีใหม่ด้วยความสงบสุข สันติ สามัคคีกันนะคะ และต้องขอฝาก หนังสือพิมพ์น้องใหม่ “ลอว์นิวส์” กับท่านผู้อ่านทุกท่านด้วย เรายินดีรับฟังคำ�ติชม และข้อเสนอแนะในการพัฒนาเพือ่ เผยแพร่ขอ้ มูลข่าวสารทีเ่ ป็นประโยชน์ตอ่ ท่านผูอ้ า่ น ทุกท่านค่ะ
แอน พลอยส่องแสง บรรณาธิการ
สวัสดีปีใหม่ครับท่านผู้อ่านที่รักและเคารพทุกท่าน “ลอว์นิวส์” (“Law News”) ฉบับที่ท่านถืออยู่นี้เป็นฉบับปฐมฤกษ์ของ สภาทนายความในพระบรมราชูปถัมภ์ ซึ่งได้ถือฤกษ์เบิกตัวเองในบรรณภพใหม่ เพือ่ เป็นการสือ่ ข้อมูลข่าวสารทีเ่ ป็นสาระทางด้านกฎหมาย เศรษฐกิจ การเมือง รวม ทัง้ การกีฬาและสรรพสาระประโยชน์ของข้อมูลทุกประเภททีน่ �ำ มาย่อเรียบเรียงเพือ่ ให้ เ ป็ น ประโยชน์ แ ก่ ผู้ อ่ า นอย่ า งมากที่ สุ ด นอกจากนั้ น ก็ ยั ง จะช่ ว ยเป็ น การ ประชาสัมพันธ์กิจการงานบริการทางด้านกฎหมายซึ่งความจริงในทุกสังคมของ มนุษย์นั้น กฎหมายก็เป็นยาดำ�แทรกอยู่ในทุกเรื่อง นับตั้งแต่เกิดมีมนุษย์อยู่ใน สังคมจนกระทั่งตาย หรือแม้ตายไปแล้วก็ต้องผูกพันอยู่กับข้อกฎหมายของสังค มนัน้ ๆ ความประสงค์ของสภาทนายความและคณะบรรณาธิการทีต่ อ้ งการแสดงออก และเพื่อให้ประชาชนเข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้โดยง่ายจึงเป็นที่มาของหนังสือพิมพ์ Law News ที่จะออกเป็นรายปักษ์ ผู้ประกอบวิชาชีพทนายความ เลขานุการบริษัท จะใช้บริการด้านประกาศโฆษณา หนังสือเชิญประชุมของนิติบุคคลต่างๆ ตาม กฎหมาย เราสามารถจะให้บริการได้อย่างเต็มที่ โดยเฉพาะสภาทนายความจะ ดำ�เนินการพัฒนาองค์ความรู้ในด้านการเป็นที่ปรึกษาทางกฎหมายในทุกรูปแบบ ให้กับเพื่อนทนายความและผู้ที่สนใจ จึงหวังว่าหนังสือพิมพ์ฉบับนี้จะเป็นสื่อที่เข้า ถึงประชาชน ณ ปัจจุบันให้ความสนใจกับเหตุการณ์บ้านเมืองและการบังคับใช้ กฎหมาย ไม่ว่าจะเป็นของภาครัฐ ภาคเอกชนอย่างมากมาย ขอขอบคุณหนังสือพิมพ์มืออาชีพต่างๆ โดยเฉพาะบริษัท หนังสือพิมพ์ แนวหน้า จำ�กัด ทีไ่ ด้ให้ความอนุเคราะห์เป็นผูจ้ ดั พิมพ์โฆษณาสำ�หรับหนังสือพิมพ์ น้องใหม่ในขณะนี้ ขอให้ท่านผู้อ่านทุกท่านประสบความโชคดี คิดหวังสิ่งใดขอให้ สมปรารถนาและมีความปลอดภัยในทุกสถาน ให้มที รัพย์ศฤงคารเพิม่ พูนดังทีห่ วัง และขอให้บารมีของท่านทั้งหลายจงมีผลน้อมนำ�ให้ท่านมีความสุขกายสบายใจ ตลอดปี 2557 เดชอุดม ไกรฤทธิ์ นายกสภาทนายความ
ก.
ศัพท์กฏหมาย พจนานิติ
กฤษฎีกา กฤษฎีกา คำ�ว่า “กฤษฎีกา” มีความหมายอยู่ 2 ความหมาย - “บทกฎหมายซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้น เพื่อใช้ในการบริหาร” ซึ่ง ในรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน มาตรา 187 บัญญัติว่า “พระมหากษัตริย์ทรงไว้ซึ่ง พระราชอำ�นาจในการตราพระราชกฤษฎีกาโดยไม่ขัดต่อกฎหมาย” เช่น พระราช กฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎร ตามมตรา 108 พระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกตั้ง เป็นการทั่วไปตามมาตรา 107 - “ชื่อคณะกรรมการประกอบด้วยกรรมการร่างกฎหมายและกรรมการ วินิจฉัยร้องทุกข์ รวมเรียกว่าคณะกรรมการกฤษฎีกา” ซึ่งพัฒนามาจาก “กรมร่าง กฎหมาย” ในสมัยรัชกาลที่ 6 ซึ่งได้มีการตราพระราชบัญญัติว่าด้วยคณะกรรมการ กฤษฎีกา พุทธศักราช 2476โดยจะทำ�หน้าที่ร่างกฎหมายและให้ความเห็นทาง กฎหมายแก่รัฐบาลและหน่วยงานของรัฐแทนกรมร่างกฎหมาย
หนังสือพิมพ์ลอว์นิวส์ เจ้าของ : สภาทนายความ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ที่ปรึกษา : นายเดชอุดม ไกรฤทธิ์, นายพูลศักดิ์ บุญชู, ผศ.ว่าที่ร้อยตรี ดร. สุรพล สินธุนาวา, นายชวน คงเพชร, ดร. สุธรรม วลัยเสถียร, นายสุมิตร มาศรังสรรค์, นายนิวัติ แก้วล้วน, ดร. เกียรติศักดิ์ วรวิทย์รัตนกุล / บรรณาธิการ, ผู้พิมพ์, ผู้โฆษณา : นางแอน พลอยส่องแสง / กองบรรณาธิการ : นายสุวิทย์ เชยอุบล, นายสุนทร พยัคฆ์, นายวิเชียร ชุบไธสง, นางสาวอรอนงค์ เทศะบำ�รุง, นายธีรศักดิ์ วิชชุตานนท์, นายชัยณรงค์ กัจฉปานันท์, นายสุชาติ ชมกุล, นายชลิต ขวัญแก้ว, ร้อยตรีสุรศักดิ์ รอนใหม่, นายพิเชฐ คูหาทอง, นายอาสา เม่นแย้ม, นายผาติ หอกิตติกุล, นายวิทยา แก้วไทรหงวน, นายวันรัฐ นาคสุวรรณ, นายโอฬาร กุลวิจิตร, นายวีรวัฒน์ จิตต์ปรุง / ศิลปกรรม : นายฉัตรชัย ทองศักดิ์ / หนังสือพิมพ์ลอว์นิวส์ จัดทำ�โดยสภาทนายความ ในพระบรมราชูปถัมภ์ เลขที่ 7/89 อาคาร 10 ถนน ราชดำ�เนินกลาง แขวงบวรนิเวศ เขตพระนคร กรุงเทพฯ 10200 โทรศัพท์ 0-2280-1567 / พิมพ์ที่ : 96 หมู่ 3 ถนนวิภาวดีรังสิต แขวงตลาดบางเขน เขตหลักสี่ กทม. 10210
ลอว์นิวส์
วันที่ 1 - 15 มกราคม พ.ศ. 2557
ขบข่าวเอามากัด
หน้า 3
สิทธิสตรี
ABC นิรนาม
แอน พลอยส่องแสง และ ยศกร ศรีอมร
นาง-นางสาว ค�ำน�ำหน้านามหญิง กับสิทธิของหญิงไทยในปัจจุบัน
ค�ำขวัญวันเด็ก สะท้อนอะไร? คำ�ขวัญวันเด็กเป็นคำ�ขวัญที่นายกรัฐมนตรีมอบ ให้แก่เด็กไทยเนื่องในโอกาสวันเด็กแห่งชาติ ซึ่ง ในแต่ละปีก็จะสะท้อนภาพรวมของเด็กไทยในปี ที่ผ่านมาว่ามีพฤติกรรมเป็นอย่างไร และผู้นำ� ประเทศคาดหวังให้เด็กไทยมีได้เติบโตหรือมี อนาคตเป็นอย่างไร เช่น เมือ่ คราวทีป่ ระเทศไทย ประสบวิกฤติเศรษฐกิจในปี 2540 นายชวน หลีกภัย นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ก็ให้คำ�ขวัญ วันเด็กประจำ�ปี 2541ไว้ว่า “ขยัน ประหยัด ซื่อสัตย์ มีวินัย” หรือในสมัยที่พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี ก็ได้ให้คำ�ขวัญวัน เด็กประจำ�ปี 2550 ไว้วา่ “สามัคคี มีวนิ ยั ใฝ่เรียน รู้ เชิดชูคณ ุ ธรรม” เนือ่ งจากในปี 2549 เกิดความ ขัดแย้งทางการเมืองครัง้ ใหญ่ ต้องการให้คนไทย กลับมาสามัคคีกัน นางสาวยิ่ ง ลั ก ษณ์ ชิ น วั ต ร นายก รัฐมนตรีก็ได้ให้คำ�ขวัญวันเด็กแห่งชาติประจำ�ปี 2557 ไว้ว่า “กตัญญู รู้หน้าที่ เป็นเด็กดี มีวินัย สร้างไทยให้มั่นคง” ซึ่งคำ�ขวัญนี้น่าจะสะท้อน ภาพของเด็กไทยจากข่าวดังในรอบปีทผี่ า่ นมา คือ กตัญญู “ความกตัญญูเป็นเครื่องหมายของคน ดี” คำ�นี้คงใช้ได้เสมอ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เวลาที่ เราเห็นจากข่าวแก็งค์รถซิ่งป่วนเมือง ที่นอกจาก จะส่งเสียงดังน่ารำ�คาญแล้ว ยังเป็นอันตรายต่อผู้ ขับขี่รถคันอื่นๆ บนท้องถนนด้วย เมื่อตำ�รวจ จับกุมบรรดา “เด็กแว้น” เหล่านี้มาได้ คนที่มา ร้องไห้หน้าลูกกรงบนโรงพักก็ไม่ใช่ใครที่ไหน หากแต่เป็น “พ่อแม่” ของบรรดาเด็กแว้นเหล่า นัน้ ทีต่ อ้ งวิง่ หาเงินหรือทรัพย์สนิ อืน่ ๆ มาประกัน ตัว “ลูกกตัญญู” เหล่านี้ ให้ได้อิสรภาพกลับคืน มา แต่อนิจจา แทนที่ลูกบังเกิดเกล้าเหล่านี้จะ สำ � นึ ก บางคนกลั บ บั ง คั บ ให้ พ่ อ แม่ อ อกรถ มอเตอร์ไซค์คันใหม่เพื่อเอาไปซิ่งแทนคันเก่าที่ ถูกตำ�รวจยึดไป แหม ช่างกตัญญูโดยแท้เชียว รู้หน้าที่ ทุกคนคงรู้จักเพลง “หน้าที่ของเด็ก” ที่ ขึ้นต้นว่า “เด็กเอ๋ย เด็กดี ต้องมีหน้าที่สิบอย่าง ด้วยกัน...” แต่ก็มีเด็กไทยอีกจำ�นวนไม่น้อย ทีอ่ าจจะบอกว่ามีหน้าทีส่ บิ อย่าง มันเยอะเกินไป อย่างข้อเจ็ดทีว่ า่ “เจ็ดต้องศึกษาให้เชีย่ วชาญ ต้อง มานะบากบั่น ไม่เกียจไม่คร้าน” มันยาวไป จำ� ไม่ไหวหรอก ไม่ตอ้ งจำ�ก็แล้วกัน เราจึงมักจะเห็น เด็กๆ เหล่านั้น เดินเตร็ดเตร่เที่ยวเล่นตามห้าง สรรพสินค้า โรงหนัง ร้านเกม โต๊ะสนุก้ เกอร์ แหล่ง อโคจรสำ�หรับผู้ใหญ่ หรือแม้กระทั่งในสวนสัตว์ อย่างที่เคยเป็นข่าวโด่งดังเมื่อหลายปีก่อน คงจะ คิดถึงเพื่อนๆ ที่อยู่ในกรงขังเหล่านั้นล่ะสิ เป็นเด็กดี ปี 2556 ทีผ่ า่ นมา เป็นปีทองของวงการ กีฬาทีส่ ามารถสร้างชือ่ เสียงให้แก่ประเทศไทยได้ โดยเฉพาะกีฬาด้านการ “ตบ” ทั้งวอลเล่ย์บอล และแบดมินตัน ทำ�ให้เด็กสาวชาวไทยหลายๆ คนริเริ่มฝึกซ้อมการตบ ด้วยการนัดเพื่อนหรือ คู่ อ ริ ม าซ้ อ มตบกั น ท่ามกลางกองเชียร์ที่ราย
ล้อมวงซ้อมนั้น และอัดคลิปไว้เพื่อตรวจดูลีลา ท่าทางของตน จะได้นำ�ไปพัฒนาฝีมือของตน ในโอกาสต่อไป ซึง่ เด็กๆ เหล่านีก้ ย็ งั มีน�้ำ ใจ ส่ง ต่ อ คลิ ป ฝี มื อ ของตนให้ แ ก่ เ พื่ อ นๆ ในโลก ออนไลน์กนั อย่างทัว่ ถึง เรียกความนิยมในทาง ลบได้เป็นอย่างดี มีวินัย คนไทยได้รบั การยกย่องจากชาวโลก ว่าเราเป็นชาตินักรบ ดังคำ�ขวัญที่ว่า “ยามศึก เราร่วมกันรบ ยามสงบเราก็รบกันเอง” จึงมี การส่งต่อความคิดนีใ้ ห้แก่เด็กไทยในช่วงวัยรุน่ โดยเฉพาะสถาบันการศึกษาขายาว ที่รบกัน ตั้งแต่รุ่นปู่ รุ่นพ่อ จนถึงรุ่นปัจจุบัน (และอาจ รบกันต่อไป หากไม่โดนสั่งปิดสถาบันเสีย ก่อน) เพื่อ “คำ�สั้นๆ สองพยางค์” คำ�เดียว และเป็ น การรบที่ พ รากเอาชี วิ ต คนที่ ไ ม่ เกี่ยวข้องกับความขัดแย้งของคนสองกลุ่มนั้น จนไม่อาจประเมินได้ว่าใครจะเป็นเหยื่อราย สุดท้ายอย่างที่พูดกัน เพราะไม่เห็นจะสุดท้าย เสียที เมื่อมีการตรวจค้นสถาบัน เจ้าหน้าที่ก็ ไม่ แ น่ ใจว่ า ที่ ที่ ต นเข้ า ไปตรวจค้ น นั้ น เป็ น สถาบันการศึกษาหรือคลังแสงกันแน่? ซึ่ง ล่ า สุ ด แนวคิ ด นี้ ก็ ไ ด้ ส่ ง ต่ อ มายั ง วั ย รุ่ น ใน สถาบันการศึกษาขาสั้นแล้วด้วย ในอนาคต คนไทยอาจต้องสวยชุดเกราะกันกระสุนก่อน ออกนอกบ้านกันทุกคน เพื่อจะได้ไม่ต้องรับ ตำ�แหน่ง “เหยื่อรายสุดท้าย” ด้วยความไม่ เต็มใจ สร้างไทยให้มั่นคง การทีป่ ระเทศชาติจะมีความมัน่ คงได้ นั้น จะต้องให้มี “ประชาธิปไตยที่แท้จริง (ใน ความคิดของตนเอง)” (ซึ่งจะเรียกย่อๆ ว่า “ประชาธิปตู”) การส่งเสริมให้เด็กไทยรู้จักที่ จะกล้าแสดงออกตามเสรีภาพในการแสดง ความคิดจึงเป็นเรือ่ งทีจ่ �ำ เป็น เพราะทุกคนเกิด มาพร้อมกับเสรีภาพที่จะทำ�อะไรก็ได้ตามใจ ตน ไม่ว่าใครก็ไม่มีสิทธิจะมาบังคับเราได้ จะ ไปโรงเรียนก็ไม่ตอ้ งแต่งชุดนักเรียน ทรงผมจะ สั้นจะยาวแค่ไหนก็ได้ เราต้องส่งเสริมให้เด็ก กล้าที่จะแสดงความคิดบนเวทีการชุมนุม เพื่อ ให้เด็กมีพื้นที่สำ�หรับการแสดงออก อยากจะ พูดเรื่องอะไรก็ต้องได้พูด (แม้ว่าจะเป็นเรื่องที่ “พูดไม่ได้” ก็ตาม) ไม่ว่าจะเป็นที่สนามกีฬา อนุสาวรีย์ สี่แยกย่านการค้า ล้วนเป็นพื้นที่ สำ�หรับการแสดงออกทางความคิดทัง้ สิน้ ตาม หลักเสรีภาพในระบอบประชาธิปตู ก็ได้แต่หวังว่า เด็กไทยทุกคนจะนำ� คำ�ขวัญประจำ�วันเด็กแห่งชาติปีนี้ไปใช้กันทุก คน ทีส่ �ำ คัญ ต้องไม่ลมื คำ�สำ�คัญอีกคำ�หนึง่ คือ คำ�ว่า “คุณธรรม” ใส่เพิ่มลงไปด้วย แม้จะไม่ ปรากฏอยู่ในคำ�ขวัญก็ตาม เพราะถ้าเด็กไทย ทุกคนเติบโตด้วยคุณธรรมแล้ว ปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นมาในวันนี้ ก็จะไม่มีเกิดขึ้นมาอีกใน อนาคต และชาติของเราก็จะสงบสุขกันเสียที
ในปัจจุบนั นี้ เราคงต้องยอมรับว่า ผู้หญิงไทยมีบทบาทในทางสังคม และการเมื อ งมากยิ่ ง ขึ้ น การ พั ฒ น า สิ ท ธิ ข อ ง ห ญิ ง ใ น ประเทศไทยได้ มี แ นวทางการ เปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีอย่าง ต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นการบัญญัติ รั บ ร อ ง สิ ท ธิ ข อ ง ห ญิ ง ไว้ ใ น กฎหมายสู ง สุ ด ของประเทศคื อ รั ฐ ธรรมนู ญ แห่ ง ราชอาณาจั ก ร ไทย ฉบั บ ปี พ.ศ. 2550 ว่ า “...ชาย และ หญิง ย่อมมีสทิ ธิเท่า เที ย มกั น ...” รวมถึ ง การออก กฎหมายอีกหลายฉบับทีใ่ ช้บงั คับ เพื่ อ รั บ รองสิ ท ธิ ข องหญิ ง ไทย ซึ่ ง ในบทความนี้ จ ะขอกล่ า วถึ ง กฎหมายที่ได้ออกมารองรับสิทธิ ของหญิงไทย และเป็นเรื่องที่ใกล้ ตัวหญิงไทยทุกคนนัน้ คือ พระราช บัญญัติคำ�นำ�หน้านามหญิง พ.ศ. 2551 แต่เดิมนั้น คำ�นำ�หน้า นามของหญิงจะเป็นไปตาม พระ ราชกฤษฎีกาให้ใช้ค�ำ นำ�หน้านาม สตรี พ.ศ. 2460 โดยกำ�หนดให้ หญิงที่อายุครบ 15 ปีบริบูรณ์ ใช้ คำ�นำ�หน้าชื่อว่า “นางสาว” และ เมื่อหญิงนั้นได้ทำ�การสมรส ก็ให้ ใช้คำ�นำ�หน้าว่า “นาง” ตลอดไป แม้ ก ารสมรสจะสิ้ น สุ ด ลงแล้ ว ก็ ต าม ในขณะที่ ฝ่ า ยชายนั้ น ใช้ คำ�นำ�หน้าชื่อว่า “นาย” เมื่ออายุ ครบ 15 ปี บ ริ บู ร ณ์ และใช้ “นาย” ตลอดไป ว่าชายนัน้ จะได้ สมรสหรือไม่ก็ตาม ซึ่งเห็นได้ว่า เป็นการเหลื่ อ มล้ำ � ในการแสดง สถานะทางสังคมระหว่าง ชายและ หญิง ที่เห็นได้อย่างชัดเจน จนกระทั่งประเทศไทย ได้ลงนามเป็นภาคีในอนุสญ ั ญาว่า ด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อ สตรีในทุกรูปแบบ (Convention on the Elimination of all Forms of Discrimination against Women หรือย่อว่า CEDAW) เมื่อปี พ.ศ. 2528 ซึ่งมีคำ�อธิบาย ศัพท์คำ�ว่า "การเลือกปฏิบัติต่อ สตรี" ว่า "...การแบ่ ง แยก การ กีดกัน หรือการจำ�กัดใด ๆ เพราะ
เหตุแห่งเพศ ซึง่ มีผลหรือความมุง่ ประสงค์ ที่ จ ะทำ � ลายหรื อ ทำ � ให้ เสื่ อ มเสี ย การยอมรั บ การได้ อุปโภคหรือใช้สิทธิโดยสตรี โดย ไม่ คำ � นึ ง ถึ ง สถานภาพด้ า นการ สมรส บนพื้นฐานของความเสมอ ภาคของบุรุษและสตรี ของสิทธิ มนุษยชน และเสรีภาพขัน้ พืน้ ฐาน ในด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรมของพลเมือง หรือด้าน อื่น ๆ..." ทำ�ให้มกี ารตืน่ ตัวในการ แก้ไขกฎหมายฉบับต่างๆ เรือ่ ยมา ซึง่ กฎหมายทีจ่ ะกล่าวในบทความ นี้ อั น ออกมาใช้ บั ง คั บ เพื่ อ ให้ สอดคล้องกับอนุสญ ั ญาฯ ดังกล่าว และเพื่อให้สอดคล้องกับหลักการ ข อ ง รั ฐ ธ ร ร ม นู ญ แ ห่ ง ร า ช อาณาจักรไทยคือ พระราชบัญญัติ คำ�นำ�หน้านามหญิง พ.ศ. 2551 ทีป่ ระกาศใช้เมือ่ วันที่ 4 มิถนุ ายน พ.ศ. 2551 อันมีสาระสำ�คัญดังต่อ ไปนี้ 1. หญิงซึ่งจดทะเบียน สมรสแล้วจะใช้คำ�นำ�หน้านามว่า “นาง” หรือ “นางสาว” ก็ได้ตาม ความสมัครใจ 2. หญิงที่มีอายุ 15 ปีขึ้น ไป และยังไม่ได้สมรส ให้ใช้ค�ำ นำ� หน้านามว่า “นางสาว” 3. หญิงซึ่งจดทะเบียน สมรสแล้ว ต่อมาการสมรสสิ้นสุด ลงจะใช้คำ�นำ�หน้านามว่า “นาง” หรือ “นางสาว” ก็ได้ตามความ สมั ค รใจโดยให้ แ จ้ ง ต่ อ นาย ทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยการ จดทะเบียนครอบครัว ดังนั้น เห็นได้ว่าปัจจุบัน ผู้ ห ญิ ง เองก็ มี สิ ท ธิ เ ท่ า เที ย มกั บ ผู้ ช ายในเรื่ อ งการใช้ คำ � นำ � หน้ า นามแล้ว โดยเป็นสิทธิของหญิง เองในการเลือกใช้คำ�นำ�นามของ ตนเอง อย่างไรก็ตาม การสมรส ของชายหญิงนั้น มีอีกเรื่องหนึ่งที่ ต้องคำ�นึงถึงก็คอื การใช้ชอื่ สกุล ซึง่ เป็นไปตาม พระราชบัญญัติชื่อ บุคคล(ฉบับที่ 3) พ.ศ 2548 ซึ่งผู้ เขียนจะขอกล่าวในบทความครั้ง ต่อไป
ต่อจากหน้า 1
นายสุทธิชัยยังกล่าวถึงแนวทาง เพิม่ ค่าลดหย่อนสำ�หรับค่าใช้จา่ ย ในชี วิ ต ประจำ � วั น จาก 60,000 บาท เป็น 120,000 บาทโดยจะ ต้องมีใบเสร็จจากร้านค้ามาเป็น หลักฐานประกอบการยื่นแบบ “นอกจากนั้ น ยั ง จะ ศึ ก ษาแนวทางการเพิ่ ม ค่ า ลด หย่อน สำ�หรับค่าใช้จ่ายในชีวิต ประจำ � วั น แบบเหมาจ่ า ยจาก 60,000 บาท เป็น 1.2 แสนบาท ต่อราย ในจำ�นวน 60,000 บาท ที่เพิ่มขึ้นมานั้น จะต้องมีใบเสร็จ จากการซื้อสินค้าอุปโภค บริโภค สินค้าที่จำ�เป็นต่อการใช้ในชีวิต
ประจำ � วั น จากร้ า นค้ า ของผู้ ประกอบการขนาดกลางและ ขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) มาเป็น หลักฐานหักลดหย่อนภาษี โดย เอสเอ็มอีที่จะเข้าระบบจะต้องมี ยอดขายไม่เกิน 30 ล้านบาทต่อ ปี” นายสุทธิชัยกล่าว
หน้า 4
วันที่ 1 - 15 มกราคม พ.ศ. 2557
รายงานพิเศษ
ลอว์นิวส์
รวมข่าว 2556
กองบรรณาธิการ
ปีแห่งน�้ำตา กีฬาชื่นมื่น ขมขื่นการเมือง สิ้นเปลืองใช้แก๊ส รัฐบาลเร่งสุมไฟ พรบ. นิรโทษ “ประยุทธ์” จุดชนวน “เทพเทือก” น�ำมวลมหาม็อบ คัดค้าน ยืนหยั่ดยืดเยื้อ ผ้าเหลืองร้อน อลัชชีผุด เศร้าซ�้ำสิ้นเสาหลักค�้ำจุน ปี 2556 เป็นปีที่มีความหลากหลายของข่าว ศาสนา การเมือง อาชญากรรม ทีมงาน “ลอว์นิวส์” รวบรวมข่าวที่ไม่รู้ จะคุยกับคนอื่นไม่รู้เรื่อง ย้อนรอยถึงปีเก่า ก่อนเข้าสู่ปีใหม่ ศาสนา
สมเด็จพระสังฆราช ประชาชนชาวไทยเพิ่งมีโอกาสร่วมยินดีกับการฉลอง พระชันษา 100 ปีสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระ สังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก เมือ่ วันที่ 3 ตุลาคม ไป ได้ ไ ม่ น าน ช่ ว งค่ำ � วั น ที่ 14 ตุ ล าคม โรงพยาบาล จุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทยก็มีแถลงการณ์เรื่องพระ อาการประชวรขณะประทับที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ฯ ฉบับที่ 1 ใจความสำ�คัญคือ สมเด็จพระสังฆราชทรงมี พระอาการติดเชือ้ ในกระแสโลหิต พระอันตะ (ลำ�ไส้ใหญ่) และพระอันตะคุณ (ลำ�ไส้เล็ก) ขาดพระโลหิต จึงได้ถวาย การผ่ า ตั ด และติ ด ตามพระอาการอย่ า งใกล้ ชิ ด แม้ระยะแรกจะมีพระอาการดีขึ้นบ้าง แต่พระอาการก็ กลับค่อยๆ ทรุดลง ในทีส่ ดุ เมือ่ ค่�ำ วันที่ 24 ตุลาคม โรง พยาบาลจุฬาลงกรณ์ฯ ก็ได้ออกแถลงการณ์ฉบับที่ 9 ว่า สมเด็จพระสังฆราชสิ้นพระชนม์เมื่อเวลา 19.30 น. เนื่องจากการติดเชื้อในกระแสพระโลหิต นำ�ความโศก เศร้ามาสู่ประชาชนชาวไทยเป็นอย่างยิ่ง
คอรัปชั่น
ทุจริตรถ-เรือดับเพลิง มหากาพย์ ค ดี ทุ จ ริ ต จั ด ซื้ อ รถ-เรื อ ดั บ เพลิ ง ของ กรุงเทพมหานครก็ดำ�เนินมาถึงท้ายเรื่อง เมื่อศาลฎีกา แผนกคดีอาญาของผู้ดำ�รงตำ�แหน่งทางการเมืองนัดฟัง คำ�พิพากษาคดีนี้เมื่อวันที่ 6 สิงหาคม ปรากฏว่านาย ประชา มาลีนนท์ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวง มหาดไทยไม่ได้เดินทางมาฟังคำ�พิพากษาตามทีศ่ าลนัด ไว้โดยมิได้แจ้งเหตุขัดข้อง ศาลเห็นว่านายประชามี เจตนาหลบหนีไม่มาฟังคำ�พิพากษาจึงออกหมายจับให้ จับนายประชามาฟังคำ�พิพากษาและสัง่ ปรับนายประกัน เต็มจำ�นวนโดยให้ช�ำ ระค่าปรับภายใน 30 วัน พร้อม เลื่อนฟังคำ�พิพากษาเป็นวันที่ 10 กันยายน เมื่อถึงวันนัดอ่านคำ�พิพากษา ปรากฏว่าทั้ง นายประชาและพล.ต.ต.อธิลกั ษณ์ ตันชูเกียรติ ผูอ้ �ำ นวย ก า ร สำ � นั ก ป้ อ ง กั น แ ล ะ บ ร ร เ ท า ส า ธ า ร ณ ภั ย กรุงเทพมหานคร ไม่ได้เดินทางมาฟังคำ�พิพากษา ศาล จึ ง อ่ า นคำ � พิ พ ากษาลั บ หลั ง จำ � เลย โดยองค์ ค ณะผู้ พิพากษามีมติเสียงข้างมากให้จ�ำ คุกนายประชาเป็นเวลา 12 ปี และจำ�คุกพล.ต.ต. อธิลักษณ์ เป็นเวลา 10 ปี หลังจากมีคำ�พิพากษาแล้ว กระแสของข่าวนี้ก็ ค่อยๆ เงียบหายไป จนกระทั่งเมื่อช่วงปลายเดือน ตุลาคมที่ผ่านมา ได้มีการเผยแพร่ภาพของนายประชา กำ�ลังนั่งรับประทานอาหารอยู่ในร้านอาหารแห่งหนึ่ง ในกรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชา ท่ามกลางความสงสัย ว่า นายประชาเดินทางออกนอกประเทศไปได้ทงั้ ๆ ทีย่ งั มีหมายจับอยู่ได้อย่างไร
อาชญากรรม
เอกยุทธ อัญชันบุตร เมื่อญาติของนายเอกยุทธ อัญชันบุตร ได้เข้าแจ้งความที่ กองบังคับการปราบปราม ว่านายเอกยุทธหายตัวไป ตั้งแต่วันที่ 6 มิถุนายน คดีนี้ตำ�รวจออกตามหานายเอก ยุทธและสามารถจับกุมคนร้ายทีล่ กั พาตัวนายเอกยุทธไป ซึง่ ก็คอื คนขับรถของนายเอกยุทธ ก่อนทีจ่ ะสารภาพว่าได้ ลงมือฆ่านายเอกยุทธไปแล้ว และได้พบศพของนายเอก ยุทธในวันที่ 12 มิถุนายน ท่ามกลางปริศนาว่า แท้จริง แล้วคนร้ายประสงค์ต่อทรัพย์ของนายเอกยุทธตามที่ ให้การสารภาพ หรือได้รับคำ�สั่งจากใครให้มา “เก็บ” นายเอกยุทธหรือไม่? เพราะนอกจากนายเอกยุทธเป็น คนที่ มี ศั ต รู ม ากแล้ ว นายเอกยุ ท ธยั ง เคยฟ้ อ งหมิ่ น ประมาทนายตำ�รวจชั้นผู้ใหญ่ท่านหนึ่ง และเป็นคนที่ ทำ�ให้คำ�ว่า “ว.5 โฟร์ซีซั่น” ลือลั่นไปทั่วประเทศอีกด้วย
ศาสนา
เณรคำ� เป็นข่าวใหญ่ท่ีสะเทือนวงการสงฆ์อีกครั้ง เมื่อมีการเผย แพร่คลิปพระสงฆ์กลุ่มหนึ่งสวมแว่นกันแดด หิ้วกระเป๋า แบรนด์เนม ใช้โทรศัพท์มือถือนั่งฟังเพลงอยู่บนเครื่อง บินเจ็ตส่วนตัว ตามมาด้วยภาพถ่ายของพระสงฆ์รปู หนึง่ ซึ่ ง อ้ า งว่ า เป็ น ภาพของหลวงปู่ เ ณรคำ � มี อ ากั ป กิ ริ ย า ประพฤติที่ไม่เหมาะสมต่อการครองสมณเพศ เช่น เล่น เครือ่ งเล่นในสวนสนุก ยืนถ่ายรูปกับรถยนต์ ชูสองนิว้ ให้ กล้อง เรื่องราวกลับยิ่งบานปลายไปอีกเมื่อมีการตรวจ สอบทรัพย์สินภายในสำ�นัก(ซึ่งมิได้จดทะเบียนเป็นวัดที่ ถูกต้องตามกฎหมาย) พบว่ามีทรัพย์สินที่ไม่ได้แจ้งบัญชี ไว้หลายรายการ มูลค่ารวมมหาศาล นอกจากนี้ ยังพบ ว่ามีสัมพันธ์เชิงชู้สาวกับหญิงสาวคนหนึ่งจนตั้งครรภ์ ซึ่ง ในขณะทีก่ �ำ ลังเกิดกระแสดังกล่าว หลวงปูเ่ ณรคำ�กำ�ลังรับ กิจนิมนต์อยู่ที่ต่างประเทศ และไม่ได้เดินทางกลับมายัง ประเทศไทยอีกเลย แม้ภายหลัง น้องชายของหลวงปูเ่ ณร คำ�จะได้ออกมาสารภาพว่าเป็นบุคคลที่อยู่ในภาพที่ถ่าย คู่กับหญิงสาวคนหนึ่ง แต่ต่อมาก็ได้ออกมายอมรับใน ภายหลังว่าบุคคลในรูปดังกล่าวมิใช่ตนเอง ซึ่งคณะสงฆ์ จังหวัดอุบลราชธานี และจังหวัดศรีสะเกษได้ขับหลวงปู่ เณรคำ�ออกจากสมณเพศแล้ว
ระหว่างประเทศ
ปราสาทพระวิหาร หลังจากศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (ศาลโลก) ได้ วินิจฉัยให้ปราสาทพระวิหาร ตกเป็นของกัมพูชาเมื่อปี 2505 แต่มิได้วินิจฉัยถึงพื้นที่ใกล้เคียงโดยรอบว่ากิน อาณาเขตกว้างขวางมากน้อยเพียงใด จนทำ�ให้เกิดกรณี พิพาทระหว่างไทยกับกัมพูชาอยูเ่ นืองๆ จนต้องนำ�คดีขนึ้ สูศ่ าลโลกอีกครัง้ เพือ่ ให้ศาลวินจิ ฉัยว่าพืน้ ทีใ่ กล้เคียงรอบ ปราสาทนั้นมีอาณาเขตกว้างขวางมากน้อยเพียงใด โดย ได้ มี ก ารแถลงปิ ด การให้ ก ารทางวาจาเมื่ อ วั น ที่ 19 เมษายน ในที่สุด ศาลโลกได้ตีความว่าพื้นที่บริเวณใกล้ เคียงปราสาทตามคำ�พิพากษาเดิมนัน้ เป็นพืน้ ทีท่ มี่ ขี นาด เล็กมากซึง่ กำ�หนดขึน้ ตามสภาพภูมศิ าสตร์ทปี่ ระกอบขึน้ เป็นยอดเขาพระวิหาร โดยทั้งสองประเทศจะต้องเป็นผู้ หารือกันในรายละเอียดต่อไปโดยกลไกทวิภาคีที่มีอยู่ และได้แนะนำ�ให้ไทยและกัมพูชาร่วมกันอนุรักษ์และ พัฒนาปราสาทพระวิหารในฐานะที่เป็นมรดกโลกต่อไป ซึ่งจะต้องจับตาดูกันต่อไปว่า บทสรุปของเรื่องนี้จะเจรจา ตกลงกันอย่างไร
เศรษฐกิจ
สหฟาร์ม เป็นเรื่องที่เหนือความคาดหมายของหลายๆ คน ที่ บริษทั สหฟาร์ม จำ�กัด ผูส้ ง่ ออกไก่รายใหญ่อนั ดับ 2 ของ ไทย ประสบปั ญ หาขาดทุ น สะสมและมี ห นี้ สิ น เป็ น จำ�นวนมาก ส่งผลให้มีการค้างการจ่ายเงินเดือนของ พนักงานตัง้ แต่เดือนพฤษภาคม จนนำ�ไปสูก่ ารหยุดงาน ประท้วงในช่วงปลายเดือนกันยายน และการปิดกิจการ ชั่วคราวของบริษัทสหฟาร์ม ก่อนที่ธนาคารกรุงไทยจะ เข้ามาช่วยเหลือโดยการปล่อยเงินกู้หลักพันล้านให้แก่ บริษทั เพือ่ ให้บริษทั สามารถกลับมาดำ�เนินธุรกิจได้อกี ครั้ง
กีฬา
ทีมวอลเล่ย์บอลหญิง ข่าวดีของนักกีฬาวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทยที่สามารถคว้ารางวัลชนะเลิศ จากรายการวอลเลย์บอล หญิงชิงแชมป์แห่งเอเชีย 2013 ท่ามกลางความสนุกสนานของผู้ชมทั้งในสนามแข่งขันและผู้ชมทางบ้าน ที่รับชมการถ่ายทอดสด หลังจากที่ก่อนหน้านี้เคยได้รางวัลชนะเลิศจากรายการเดียวกันนี้มาแล้วในปี 2552
ลอว์นิวส์
วันที่ 1 - 15 มกราคม พ.ศ. 2557
หน้า 5
สิ่งแวดล้อม
เขื่อนแม่วงก์
สิ่งแวดล้อม
นำ�้มันรั่วเกาะเสม็ด จากอุบัติเหตุท่อส่งน้ำ�มันดิบขนาด 16 นิ้วระเบิดขณะกำ�ลังส่งผ่านน้ำ�มันจากเรือบรรทุกน้ำ�มันสัญชาติกรีกเข้าสู่โรงกลั่น ของบริษัทพีทีที โกลบอล เคมิคอล จำ�กัด (มหาชน) หรือพีทีทีจีซีทำ�ให้น้ำ�มันดิบราว 50,000 ลิตร ไหลทะลักสู่ท้องทะเล ห่างจากฝั่งท่าเรือมาบตาพุด จังหวัดระยองราว 20 กิโลเมตร แม้เจ้าหน้าที่ของพีทีทีจีซีจะได้รุดเข้าจัดการอย่างรวดเร็ว แต่ด้วยคลื่นลมที่รุนแรง จึงไม่สามารถจัดการน้ำ�มันได้หมด น้ำ�มันดิบส่วนที่เล็ดรอดออกมาจึงถูกคลื่นซัดขึ้นฝั่งที่ อ่าวพร้าว เกาะเสม็ด เปลี่ยนหาดทรายสีขาวกลายเป็นสีดำ�ไปในทันที ทำ�ให้นักท่องเที่ยวหลายรายต้องยกเลิกการเดิน ทางมาท่องเที่ยว แม้ว่าพีทีทีจีซีจะได้เร่งเก็บและกำ�จัดคราบน้ำ�มันดิบอย่างรวดเร็วโดยใช้เวลาเพียง 1 สัปดาห์ แต่ก็มีการ ใช้สารเคมีกำ�จัดคราบน้ำ�มันในปริมาณที่มากเกินมาตรฐานถึง 6 เท่า และมีการพบค่าปรอทสูงเกินปกติหลายเท่าตัว ทำ�ให้ภาพลักษณ์ของการท่องเทีย่ วบนเกาะเสม็ดต้องซบเซาไปหลายเดือนจนสามารถเปิดเกาะให้ทอ่ งเทีย่ วได้อกี ครัง้ เมือ่ วันที่ 1 พฤศจิกายนที่ผ่านมา
เป็นปรากฏการณ์ครั้งแรกในรอบหลายสิบปีที่คนไทยมี โอกาสได้เห็นกลุม่ คนคัดค้านการก่อสร้างเขือ่ นกลุม่ ใหญ่ ทีส่ ดุ โดยมีจดุ เริม่ ต้นมาจากการอนุมตั กิ ารก่อสร้างเขือ่ น แ ม่ ว ง ก์ จั ง ห วั ด น ค ร ส ว ร ร ค์ โ ด ย ใ ห้ เ ห ตุ ผ ล ว่ า เ ป็ น ส่ ว น ห นึ่ ง ข อ ง โ ค ร ง ก า ร บ ริ ห า ร จั ด ก า ร นำ�้เพื่อแก้ไขปัญหานำ�้ท่วม แต่กลับเกิดกระแสคัดค้าน อย่างกว้างขวางจากภาคประชาชน โดยเฉพาะผลการ ศึกษาในผลกระทบทางด้านสุขภาพ (EHIA) ทีย่ งั ไม่ผา่ น การพิจารณาของสำ�นักงานนโยบายและแผนสิง่ แวดล้อม อี ก ทั้ ง ยั ง ไม่ ผ่ า นการพิ จ ารณาของคณะกรรมการ สิ่ ง แวดล้ อ มแห่ ง ชาติ แต่ รั ฐ บาลกลั บ ใช้ วิ ธี แ ต่ ง ตั้ ง ค น ข อ ง ต น ไ ป เ ป็ น ก ร ร ม ก า ร ใ น ค ณ ะ ก ร ร ม การชุดต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้การพิจารณาผ่าน EHIA ตามทีร่ ฐั บาลต้องการ ทัง้ พืน้ ทีท่ จี่ ะสร้างเขือ่ นนัน้ ก็ยงั เป็น พื้นที่ป่าต้นนำ�้ เป็นพื้นที่อุดมสมบูรณ์ มีสัตว์ป่านับร้อย ชนิดอาศัยอยูร่ วมถึงสัตว์หายากหลายชนิด เช่น เสือโคร่ง นกยู ง สมเสร็ จ อี ก ทั้ ง พื้ น ที่ ที่ จ ะได้ รั บ ประโยชน์ จากการชลประทานจากเขื่อนนี้มีเพียง 100,000 ไร่ ร้อน ถึงนายศศิน เฉลิมลาภ เลขาธิการมูลนิธสิ บื นาคะเสถียร ต้องออกเดินรณรงค์คัดค้าน EHIA เขื่อนแม่วงก์ จากป่า แม่ ว งก์ ถึ ง กรุ ง เทพมหานครเป็ น ระยะทางกว่ า 388 กิ โ ลเมตร และได้ รั บ การต้ อ นรั บ อย่ า งล้ น หลามจาก ประชาชนที่เป็นกำ�ลังใจตลอดเส้นทางจนถึงจุดหมายที่ ลานหน้าหอศิลปะวัฒนธรรมกรุงเทพ สุดท้าย โครงการ นี้เป็นอันต้องระงับไว้ชั่วคราว
คอรัปชั่น การแทรกแซงสื่อ
รายการตอบโจทย์ ท่ามกลางกระแสการสนับสนุนและคัดค้านให้ยกเลิก ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ซึ่งเป็นความผิด ฐานหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ รายการ “ตอบโจทย์” จึงได้เชิญนักวิชาการ 2 ท่าน คือ อ.สุลักษณ์ ศิวรักษ์ และ อ. สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล มาร่วมอภิปรายถึง บทบาทของสถาบันพระมหากษัตริยภ์ ายใต้รฐั ธรรมนูญ แต่ดว้ ยเนือ้ หาทีเ่ ข้มข้น ทำ�ให้เกิดกระแสความไม่พอใจ ของผู้ชมบางกลุ่ม นำ�ไปสู่การประท้วงของผู้ชมที่สถานี โทรทัศน์ไทยพีบีเอส และนำ�ไปสู่การระงับการออก อากาศในที่สุด แต่หลังจากนั้นไม่กี่วัน ก็มีการนำ�เทป ดังกล่าวมาออกอากาศโดยตัดข้อความบางข้อความออก ไป เหตุการณ์แทรกแซงการนำ�เสนอแบบนี้ยังเกิดขึ้น กับรายการ คนค้นฅน และละครเหนือเมฆอีกด้วย
ต่างประเทศ
มากาเร็ต แธตเชอร์ มากาเร็ต แธตเชอร์ อดีตนายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกและ คนเดียวของอังกฤษ ดำ�รงตำ�แหน่งถึง 3 สมัยตั้งแต่ปี 2522-2533 และเป็นนายกรัฐมนตรีที่อยู่ในตำ�แหน่ง นานที่สุดในศตวรรษที่ 20 ผลงานที่สำ�คัญของนางแธต เชอร์ทเี่ ป็นทีจ่ ดจำ�ของชาวโลกก็คอื การแปรรูปรัฐวิสาหกิจ และสงครามหมูเ่ กาะฟอล์กแลนด์ ทำ�ให้นางแธตเชอร์ได้ รับฉายาว่าเป็น “นางสิงห์” แห่งเกาะอังกฤษ ภายหลัง จากการลาออกจากตำ�แหน่ง ได้รับแต่งตั้งบรรดาศักดิ์ เป็นบารอนเนส ซึ่งเป็นตำ�แหน่งขุนนางของอังกฤษ และ ถึงแก่อสัญกรรมด้วยอาการเส้นเลือดในสมองอุดตันเมื่อ วันที่ 8 เมษายน 2556
การเมือง
อาชญากรรม
ก่อนที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครวาระแรกจะครบ กำ�หนด ก็เกิดกระแสความไม่พอใจการบริหารงานที่ ล่าช้าและขาดการประชาสัมพันธ์ทที่ วั่ ถึง ทำ�ให้ “ม.ร.ว. สุขุมพันธุ์ บริพัตร” ได้รับการคาดหมายว่าอาจไม่ได้ กลับมานัง่ เก้าอีต้ วั เดิมอีก เพราะคูแ่ ข่งจากฝ่ายตรงข้าม “พล.ต.อ. พงศพัฒน์ พงษ์เจริญ” ได้รบั ความนิยมอย่าง สูงจากการใช้สอื่ ในมือของตนในการช่วยประชาสัมพันธ์ แต่จุดพลิกผันก็มาถึง เมื่อมีกระแสข่าวว่าจะมีการนำ� อดี ต แกนนำ � กลุ่ ม การเมื อ งกลุ่ ม หนึ่ ง มานั่ ง เก้ า อี้ รองผู้ว่าฯ เพื่อเป็นการปลอบใจที่พลาดจากตำ�แหน่ง รัฐมนตรี คะแนนจึงพลิกกลับมาให้คุณชายเอาชนะไป อย่างหืดขึ้นคอเพียงแสนคะแนนกว่าๆ ด้วยคะแนนที่ ร้อนแรงทะลุกว่าหนึ่งล้านเสียงด้วยกันทั้งคู่
กลายเป็นข่าวที่ครึกโครมที่สุดในช่วงต้นปี เมื่อตำ�รวจ คอมมานโดสามารถจับกุม นายสนธยา คุณปลื้ม หรือ กำ�นันเป๊าะ ผูต้ อ้ งหาในคดีจา้ งวานฆ่านายประยูร สิทธิโชค หรือกำ�นันยูร และคดีทุจริตจัดซื้อที่ดินสาธารณะในตำ�บล เขาไม้แก้ว อำ�เภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี โดยกำ�นันเป๊าะ ถู ก จั บ กุ ม พร้ อ มพรรคพวกอี ก 3 คนที่ บ ริ เ วณด่ า น มอเตอร์เวย์ขาออก ช่วงพัฒนาการ หลังเดินทางมารักษา ตัวที่โรงพยาบาลสมิติเวช ศรีนครินทร์ กรุงเทพมหานคร โดยใช้ชื่อแฝงว่า “กิม แซ่ตั้ง” ในการเข้ารับการรักษาโรค ประจำ�ตัว คือ โรคเบาหวาน ความดัน และโรคหลอดเลือด ในสมองตีบ ภายหลังการจับกุม กำ�นันเป๊าะก็มอี าการป่วย กำ�เริบอยูบ่ อ่ ยครัง้ ปัจจุบนั กำ�นันเป๊าะพักรักษาตัวอยูท่ โี่ รง พยาบาลชลบุรีอันเนื่องมาจากโรคประจำ�ตัว
เลือกตั้งผู้ว่าฯ
จับกำ�นันเป๊าะ
ทุจริตก่อสร้างโรงพัก โครงการก่อสร้างโรงพักทั่วประเทศจำ�นวน 396 แห่ง เป็นโครงการที่ใช้งบประมาณจากโครงการไทยเข้มแข็ง โดยได้ จั ด จ้ า งบริ ษั ท พี ซี ซี ดี เ วลล็ อ ปเม้ น ท์ แอนด์ คอนสตรั ค ชั่ น จำ � กั ด เป็ น ผู้ ก่ อ สร้ า ง วงเงิ น 5,848 ล้านบาท ซึ่งครบกำ�หนดการก่อสร้างตามสัญญาไปเมื่อ วันที่ 14 มีนาคม 2556 ที่ผ่านมา แต่การก่อสร้างกลับ ไม่คืบหน้าจนในที่สุดก็ไม่สามารถก่อสร้างได้ทันกำ�หนด ตามสัญญา เป็นเหตุให้รัฐได้รับความเสียหาย เนื่องจาก สถานีตำ�รวจถูกรื้อถอนไปแล้ว ทำ�ให้ต้องไปเช่าสถานที่ เอกชนบ้าง ใช้ศาลาการเปรียญของวัดบ้าง ประชาชนผูม้ า ติ ด ต่ อ ราชการก็ ไ ม่ ไ ด้ รั บ ความสะดวกตามสมควร แต่อยั การสำ�นักคดีพเิ ศษกลับมีความเห็นสัง่ ไม่ฟอ้ งบริษทั พีซีซีฯ โดยเห็นว่าเป็นการผิดสัญญาทางแพ่ง เนื่องจาก บริษทั พีซซี ฯี ไม่ได้จา่ ยเงินให้แก่ผรู้ บั เหมาช่วงตามสัญญา ทำ�ให้ผรู้ บั เหมาช่วงไม่สามารถดำ�เนินการก่อสร้างให้เสร็จ สิ้นได้ และบริษัทพีซีซีฯ ก็เคยรับงานก่อสร้างขนาดใหญ่ มาก่อน จึงเห็นว่า บริษัทพีซีซีฯ ไม่มีเจตนาฉ้อโกงและ ไม่มมี ลู ทางคดีอาญา แต่อธิบดีกรมสอบสวนคดีพเิ ศษ (ดี เอสไอ) กลับเห็นแย้งกับอัยการและทำ�ความเห็นแย้งให้ อัยการสูงสุดพิจารณาสั่งฟ้องบริษัทพีซีซีฯ ในข้อกล่าวหา ฉ้อโกงผู้รับเหมาและฮั้วประมูล
กีฬา
แชมป์แบดมินตันโลก น้องเมย์-รัชนก อินทนนท์ สามารถคว้าแชมป์จากการ แข่งขันแบดมินตันโลกได้เป็นคนแรกของไทย และเป็น แชมป์โลกแบดมินตันที่มีอายุน้อยที่สุดด้วยวัยเพียง 18 ปีเท่านั้น และจากการได้แชมป์จากรายการนี้ ทำ�ให้ อันดับโลกของน้องเมย์ขึ้นมาอยู่อันดับ 2 ของโลกจาก การจัดอันดับของสหพันธ์แบดมินตันโลก
หน้า 6
วันที่ 1 - 15 มกราคม พ.ศ. 2557
ทั่วไป
บันเทิง
เมื่อไทยต้องส่ง “หลินปิง” คืนให้แก่จีนตามสัญญาในวัน ที่ 27 พฤษภาคม แต่ก็มีการเจรจาขยายระยะเวลาที่จะให้ หลินปิงอยู่ในเมืองไทยออกไปอีก 15 ปี โดยมีเงื่อนไขว่า จะต้ อ งส่ ง หลิ น ปิ ง ไปหาคู่ ที่ เ มื อ งจี น ในเดื อ นตุ ล าคม เป็นระยะเวลา 1 ปี จากนั้นจึงจะส่งกลับมาอยู่ที่ไทยเป็น ระยะเวลา 15 ปี โดยไทยจะต้องเสียค่าใช้จ่ายให้จีนปีละ 1 ล้านเหรียญ โดยหลิงปิงถูกส่งตัวไปจับคู่เพื่อผสมพันธุ์ที่ ศูนย์อนุรกั ษ์แพนด้าทีเ่ มืองเฉิงตู ประเทศจีน เมือ่ วันที่ 28 กันยายนทีผ่ า่ นมา ส่วนคูแ่ พนด้าช่วงช่วงกับหลินฮุย่ นัน้ ก็ ครบกำ�หนด 10 ปีในช่วงเดือนตุลาคมเช่นเดียวกัน แต่ อย่างไรก็ดี ก็ได้มีการตกลงขยายระยะเวลาให้แพนด้าทั้ง สองตัวอยูใ่ นไทยต่อไปจนกว่าหลินปิงจะหาคูแ่ ล้วเสร็จและ เดินทางกลับมาประเทศไทยแล้ว โดยไทยต้องเสียค่าใช้ จ่ายให้จีนปีละห้าแสนเหรียญ เฉลี่ยตามเดือนที่อาศัยอยู่ ในไทย (เพิ่มขึ้นจากเดิมปีละสองแสนห้าหมื่นเหรียญ)
วงการลูกทุง่ สูญเสียนักร้องขวัญใจคนไทย “เป้า” สายัณห์ สัญญา (ชื่อจริงคือ นายสายัณห์ ดีเสมอ และเปลี่ยนชื่อ เป็นนายพรสายัณห์ มีโชคดีเสมอ) ไปด้วยโรคมะเร็ง ตับอ่อนระยะสุดท้าย ซึ่งแพทย์ตรวจพบมะเร็งตั้งแต่ช่วง กลางเดือนกรกฎาคม และได้เข้ารับการรักษาตัวโดย เปลี่ ย นโรงพยาบาลอยู่ ห ลายครั้ ง โดยในระหว่ า งที่ สายั ณ ห์ เ ข้ า รั บ การรั ก ษา ก็ มี ก ารจั ด คอนเสิ ร์ ต “วันอำ�ลาขวัญใจคนเดิม สายัณห์ สัญญา” เพือ่ หารายได้ ช่วยเหลือครอบครัวของสายัณห์ ซึ่งสายัณห์ก็ได้ออกไป พบปะกับแฟนเพลงบนเวทีคอนเสิรต์ ดังกล่าวด้วย 2 ครัง้ ก่อนที่อาการจะทรุดหนักลง และสิ้นลมไปไม่กี่วันก่อน การจัดงานคอนเสิร์ตครั้งสุดท้าย
ครอบครัวแพนด้า
โครงการจำ�นำ�ข้าว เป็นนโยบายทีร่ ฐั บาลมุง่ มัน่ จะใช้เป็นเครือ่ งมือในการสร้าง ฐานเสียงที่สำ�คัญ แต่กลับเป็นข่าวที่ทำ�ให้รัฐบาลเสียรังวัด ไปเยอะเช่นกัน เนือ่ งจากมีการพบถึงความไม่ชอบมาพากล ตั้งแต่โรงสี ไปจนถึงการจ่ายเงินที่ล่าช้า รวมถึงการจัดการ ข้าวในโครงการที่ไม่มีประสิทธิภาพจนทำ�ให้ไม่สามารถ ระบายข้าวออกไปได้ทัน เกิดข้าวเน่าในโรงสีหลายแห่ง ทำ�ให้โครงการดังกล่าวขาดทุนกว่าปีละสองแสนล้านบาท แต่รัฐบาลก็ยังคงเดินหน้าโครงการนี้ต่อไป
ศาสนา
วีรวัฒน์ จิตต์ปรุง
อลัชชี จากข่าวในรอบปี 2556 ซึง่ มีขา่ วเกีย่ วกับพระสงฆ์ทมี่ คี วาม ประพฤติทไี่ ม่นา่ เคารพในฐานะทีเ่ ป็นกั บวช เช่น อวดอุตริ อ้างบรรลุนพิ พาน เสพเมถุนกับสีกา ค้ายาเสพติด จับสุนขั ฟาดบันได เวียนของใส่บาตร ฯลฯ ซึ่งพฤติกรรมเหล่านี้
ลอว์นิวส์
อาชญากรรม
เอ็กซ์ จักรกฤษณ์ ข่าวช็อกวงการคนกีฬาอีกข่าวสำ�หรับปีนี้ก็คือ การลอบ สั ง หารนายเอ็ ก ซ์ - จั ก รกฤษณ์ พณิ ช ย์ ผ าติ ก รรม อย่างอุกอาจบนนถนนรามคำ�แหง บริเวณหน้าวัดบำ�เพ็ญใต้ ขณะทีก่ �ำ ลังขับรถไปบ้านพญ. ณิธวดี ภูเจริญยศ (ภรรยา) เพื่อรับประทานอาหารร่วมกัน นายเอ็กซ์ถูกนำ�ตัวส่ง โรงพยาบาลก่อนจะเสียชีวิตในเวลาต่อมา ตำ�รวจได้ตั้ง ปมสังหารไว้ตั้งแต่ความขัดแย้งในครอบครัว ความขัด แย้ ง ภายในสมาคมยิ ง ปื น ธุ ร กิ จ พระเครื่ อ ง รวมถึ ง ประเด็นยาเสพติด แต่สุดท้ายก็มุ่งปมสังหารมาที่ความ ขัดแย้งภายในครอบครัว และพบว่าผู้ที่อยู่เบื้องหลังการ สังหารในครั้งนี้ก็คือนางสุราวค์ ดวงจินดา แม่ยายของ โดยมีสาเหตุมาจากความแค้นที่ พญ. ณิธวดี มักถูก ทำ�ร้ายร่างกายอยู่บ่อยครั้ง
ต่างประเทศ
พระอาจารย์มิตซูโอะ
ศัพท์จากข่าว
สายัณห์ สัญญา
คอรัปชั่น
ข่าวช็อกวงการสงฆ์อกี ข่าวหนึง่ ก็คอื การสึกอย่างกะทันหัน ของพระมิตซูโอะ คเวสโก เจ้าอาวาสวัดป่าสุนันทวนาราม อำ�เภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี โดยที่ลูกศิษย์และผู้ที่ นับถือหลายคนไม่ทราบมาก่อน ซึ่งผู้ใกล้ชิดได้เปิดเผยว่า พระมิตซูโอะได้เดินทางกลับไปญีป่ นุ่ แล้วเพือ่ รักษาสุขภาพ และกลับไปช่วยเหลือชาวญี่ปุ่น ท่ามกลางข่าวลือหนาหูว่า บินกลับไปญี่ปุ่นเพราะสาเหตุอื่น หลังจากนั้นไม่นานก็มี การเผยแพร่ภาพถ่ายของอดีตพระมิตซูโอะกับผู้หญิงคน หนึ่งในลักษณะที่เป็นภาพถ่ายของคู่รัก ภายหลังอดีตพระ มิตซูโอะก็ได้ออกมาให้สมั ภาษณ์ผา่ นรายการทางโทรทัศน์ หลายรายการว่า ที่ลาสิกขาไปเพราะต้องการมีครอบครัว ปิดฉากการครองผ้าเหลืองมายาวนานกว่า 38 พรรษา
พายุ ไต้ฝุ่นไห่เยี่ยน ต่างประเทศ
เจ้าชายจอร์จ เป็นข่าวดีแห่งราชวงศ์วินด์เซอร์ เมื่อเจ้าหญิงแคทเทอรีน ทรงมีพระประสูติกาลเจ้าชายจอร์จเมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม 2556 ท่ามกลางความยินดีของพสกนิกรชาวอังกฤษที่เฝ้า รอชื่ น ชมพระบารมี รั ช ทายาทลำ � ดั บ ที่ 3 ของอั ง กฤษ (สืบต่อจากเจ้าฟ้าชายชาร์ลส์ และเจ้าชายวิลเลียม) ซึ่งเจ้า ชายจอร์จทรงได้รบั การประกอบพิธศี ลี จุม่ ตามหลักศาสนา คริสต์ นิกายแองกลิกัน เมื่อวันที่ 23 ตุลาคม ที่ผ่านมา
ล้วนเป็นพฤติกรรมทีผ่ คู้ รองผ้าเหลืองไม่สมควรกระทำ�เป็น อย่างยิ่ง จึงมักจะเห็นคำ�ว่า “อลัชชี” ปรากฏอยู่ในข่าว บ่อยๆ ซึ่งพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 ได้ให้ความหมายไว้ว่า อลัชชี ว. ไม่อาย, นอกจารีต. น. ผู้ไม่อาย (ใช้แก่นักพรต), ผู้ประพฤตินอกจารีต, เช่น พระรูปนี้เป็นอลัชชี. (ป.). ดังนั้น พระที่มีความประพฤติตามที่ได้กล่าวมา แล้วนั้น ย่อมเป็น “อลัชชี” ทั้งสิ้น แต่อย่างไรก็ดี ยังมีพระ อีกหลายรูปที่ปฏิบัติตนได้น่าเคารพ น่าเลื่อมใส และน่า นำ�ไปเป็นแบบอย่างในการดำ�เนินชีวิตประจำ�วันของเรา ทัง้ ท่านทีย่ งั ครองสมณเพศอยูแ่ ละทีม่ รณภาพแล้ว ซึง่ เราก็ สามารถศึกษาได้จากคำ�สอน เพือ่ จะนำ�ไปปฏิบตั ใิ ห้เกิดสติ และปัญญาที่แท้จริงต่อไป
พายุซูเปอร์ไต้ฝุ่นไห่เยี่ยน หรือที่ชาวฟิลิปปินส์เรียกว่า พายุโยลันดา เป็นพายุที่มีความเร็วลมใกล้ศูนย์กลาง มากที่สุดถึง 315 กม./ชม. และเป็นพายุที่สร้างความ เสียหายมากที่สุดลูกหนึ่ง ขึ้นฝั่งที่บริเวณภาคกลางของ ประเทศฟิลิปปินส์เมื่อวันที่ 8 พ.ย. สร้างความเสียหาย อย่างใหญ่หลวงให้แก่ประเทศ มีผู้เสียชีวิตนับพันคน อีกหลายแสนคนต้องไร้ทอี่ ยูอ่ าศัย ส่วนผูร้ อดชีวติ ก็ตกอยู่ ในภาวะอดอยาก ขาดอาหารและน้ำ�สะอาด เกิดโรค ระบาดตามมา ทำ�ให้ผู้รอดชีวิตหลายคนป่วยเป็นโรค ซึมเศร้าอย่างร้ายแรง นับเป็นภัยธรรมชาติทรี่ า้ ยแรงทีส่ ดุ เหตุการณ์หนึ่งของฟิลิปปินส์
ลงโฆษณาใน
ลอว์นิวส์ โทร.0-2280-1567
ลอว์นิวส์
วันที่ 1 - 15 มกราคม พ.ศ. 2557
ละครเวที
หน้า 7
ปากกาหมึกซึม
เลือดขัตติยา เดอะมิวสิคัล เรื่องย่อ ความรักของเจ้าฟ้าหญิงทิพย์รตั น์ ดารากุมารี รัชทายาทอันดับ 3 แห่งแคว้นยโสธร ที่มีต่ออโณทัย นายทหารพระพี่เลี้ยงของเจ้าฟ้า ชายสิทธิประวัติ รัชทายาทอันดับ 1 แห่งแคว้นยโสธร อโณทัยก็หลง รักดารามานานเช่นกัน โดยไม่ เคยรูม้ าก่อนว่า ดาราทีต่ นหลงรัก นั้ น แท้ จ ริ ง แล้ ว คื อ เจ้ า ฟ้ า หญิ ง ทิพย์รตั น์ดาราฯ แต่เมือ่ อโณทัยรู้ ถึงความต่างชั้นของตนกับดารา จึงผลักดันให้เจ้าฟ้าหญิงทิพย์รตั น์ ดาราฯ อภิเษกสมรสกับเจ้าฟ้า ชายสิ ท ธิ ป ระวั ติ ในขณะนั้ น แคว้นยโสธรและแคว้นอื่นๆ อีก 5 แคว้ น กำ � ลั ง จะรวมกั น เป็ น สมาพันธรัฐ และกำ�ลังจะมีการ เลือกผู้นำ�สมาพันธรัฐ อโณทัยจึง ช่ ว ยจั ด การมิ ใ ห้ เจ้ า ฟ้ า ชายไชย ยันต์ รัชทายาทแคว้นเขมรัฐที่ ซึ่ง เป็นแคว้นศัตรูกบั แคว้นยโสธร ได้ ตำ�แหน่งผู้นำ�สมาพันธรัฐ เจ้าฟ้า ชายไชยยันต์จ�ำ ต้องอภิเษกกับเจ้า ฟ้ า หญิ ง แขไขจรั ส รั ช ทายาท อันดับ 2 แห่งแคว้นยโสธร ซึง่ เป็น คูแ่ ข่งของเจ้าฟ้าหญิงทิพย์รตั น์ดา ราฯ เพื่ อ ผลประโยชน์ ท างการ เมือง ทั้งคู่จึงสะสมความแค้นที่มี ต่อเจ้าฟ้าหญิงทิพย์รัตน์ดาราฯ และอโณทัย และรอคอยวันที่จะ แก้แค้นและยึดเอาแคว้นยโสธรไว้ ในอำ�นาจของตน เสื้อผ้า เครื่ อ งแต่ ง กายของตั ว ละครในเรื่องนี้ จะเป็นการผสม ผสานวัฒนธรรมของทั้งตะวันตก และตะวั น ออก ใช้ สี ที่ สื่ อ ถึ ง บุคลิกลักษณะที่เป็นเอกลักษณ์ ของตัวละครนัน้ ๆ เช่น ชุดของเจ้า ฟ้าชายไชยยันต์แห่งเขมรัฐ ซึ่งมี บุ ค ลิ ก ที่ ช อใช้ ค วามรุ น แรงและ การต่อสู้ ก็จะใช้ชุดที่ทำ�ขึ้นจาก หนังและเหล็ก และใช้สีที่ดูทึมๆ หม่นๆ ส่วนชุดของเจ้าฟ้าหญิง ทิพย์รตั น์ดารากุมารี ซึง่ มีบคุ ลิกที่ โรแมนติก ก็จะใช้สีโทนอ่อน และ ค่ อ ยๆเข้ ม ขรึ ม ขึ้ น ตามวั ย และ ภาระหน้ า ที่ ที่ เ พิ่ ม ขึ้ น ส่ ว นตั ว ละครอื่นๆ ก็จะใช้สีสันที่หลาก หลาย ทำ � ให้ ล ะครเวที เรื่ อ งนี้ มี ค ว า ม เ ป็ น แ ฟ น ต า ซี เ ห นื อ จินตนาการมากยิ่งขึ้น ฉาก จุดเด่นของฉากในละคร เวทีเรื่องนี้ก็คือ การนำ�จอแอลอีดี ขนาดยั ก ษ์ เข้ า มาช่ ว ยประกอบ ฉาก ซึ่งสามารถสร้างฉากที่เป็น
ลงโฆษณาใน
ภาพเคลื่อนไหวได้ เช่น คลื่นรอบ เกาะกลางน้ำ� ฉากล่าสัตว์ของเจ้า ฟ้าชายสิทธิประวัตแิ ละเจ้าฟ้าชาย ไชยยันต์ ทำ�ให้การดำ�เนินเรื่อง เป็นไปอย่างราบรืน่ และทำ�ให้ฉาก หลังมีมิติที่ลึกกว่าปกติ เช่น ฉาก ดวงดาวบนท้องฟ้า ฉากทิวทัศน์ ของเมือง ส่วนฉากที่ติดตั้งบนเวที ก็ ไ ด้ รั บ การออกแบบโดยผสม ผสานศิลปะจากชาติต่างๆ และ ออกแบบให้แตกต่างกันไปสำ�หรับ เมื อ งแต่ ล ะเมื อ ง ทำ � ให้ ผู้ ช ม สามารถเข้าใจได้ทันทีว่า ฉากนี้ เป็นของเมืองใด แต่แม้อุปกรณ์ ประกอบฉากเรื่ อ งนี้ จ ะมี ข นาด ใหญ่ แต่การเปลีย่ นฉากก็สามารถ ทำ � ได้ อ ย่ า งรวดเร็ ว ทำ � ให้ ก าร แสดงดำ�เนินต่อไปโดยไม่ติดขัด นอกจากฉากแล้ ว สิ่ ง สำ � คั ญ อี ก ประการหนึ่งคือ แสง ซึ่งสามารถ ใช้สะท้อนอารมณ์ของตัวละครได้ อย่างเด่นชัด ทำ�ให้ผู้ชมสามารถ รับรู้ถึงอารมณ์และความรู้สึกของ ตัวละครนั้นๆ ได้ชัดเจนยิ่งขึ้น ฉากที่ประทับใจ : ฉากเกาะกลาง น้ำ� ฉากประชุมสมาพันธรัฐ และ ฉากคุกใต้ดิน เพลง เนื่ อ งจากเหตุ ก ารณ์ ต่างๆที่เกิดขึ้นในเรื่องนี้ เป็นเรื่อง ที่เกิดขึ้นในจินตนาการทั้งสิ้น ทั้ง สถานที่ที่เกิดเรื่องราววเหล่านี้ก็ดี รั บ การสร้ า งสรรขึ้ น มาใหม่ ทั้งหมด บทเพลงประกอบละคร เวที เรื่ อ งนี้ จึ ง มี ค วามแปลกกว่ า ละครเวทีเรื่องอื่นๆ ที่อาจจะต้อง อิงตามสถานทีท่ เี่ กิดเรือ่ งราวเหล่า นั้น เช่น อาหรับ (ฟ้าจรดทราย) จีน (หงส์เหนือมังกร) ญี่ปุ่น (ข้าง หลังภาพ) เนื้อร้องนั้น สามารถ สื่ อ สารเรื่ อ งราวได้ ดี เพราะ เป็นการใช้เพลงดำ�เนินเนื้อเรื่อง มากกว่าจะสือ่ อารมณ์ของตัวละคร นั้ น ๆ แต่ บ ทเพลงที่ ตั ว ละครใช้ แสดงอารมณ์ก็ทำ�ได้ดีไม่แพ้กัน โดยเฉพาะเจ้าฟ้าหญิงทิพย์รัตน์ ดาราราชกุ ม ารี ที่ ต้ อ งแสดงถึ ง ความอ่ อ นไหวของดารา และ ความเข้มแข็งในฐานะทีเ่ ป็นราชินี สิ่งที่ต้องชมเป็นอย่างยิ่งสำ�หรับ การร้องเพลงในละครเวทีเรื่องนี้ก็ คือ การออกเสียงคำ� ซึ่งนักแสดง ทุกคนออกเสียงได้ชัดถ้อยชัดคำ� โดยเฉพาะตั ว “ร” ที่ จ ะได้ ยิ น ชัดเจนที่สุด เพลงทีป่ ระทับใจ “รุง่ อรุณ” – เจ้า ฟ้าหญิงทิพย์รัตน์ดาราฯ “แผ่นดินของเรา” – เจ้าฟ้าหญิง ทิพย์รัตน์ดาราฯ
“เพือ่ ลูกรัก” – พระองค์เจ้าภาณุประ ภัสร์ และพระองค์เจ้านันทวดี นักแสดง เจ้าฟ้าหญิงทิพย์รตั น์ดารา ราชกุมารี (หนูนา-หนึง่ ธิดา โสภณ) มีประสบการณ์ผา่ นละครเวทีมาแล้ว หลายเรื่อง ตั้งแต่บัลลังก์เมฆ เดอะ มิวสิคัล, เนื้อคู่ 11 ฉากฯ จนมาถึง รักจับใจ เดอะมิวสิคัล แต่เรื่องนี้ซึ่ง หนูนาได้รบั บทนำ�และเป็นแกนหลัก ของเรือ่ งก็สามารถแสดงออกมาได้ดี มาก โดยเฉพาะการร้องเพลงที่ชัด ถ้อยชัดคำ� ทำ�ให้ผชู้ มเข้าใจเนือ้ เพลง ได้ชัดเจน อโณทัย (แกงส้ม-ธนทัต ชัยอรรถ) แม้จะเป็นละครเวทีเรื่อง แรก แต่ก็ทำ�ออกมาได้ดีกว่าที่คาด คิดไว้มาก การแสดงทำ�ได้ดี เข้าถึง ความเป็นทหารได้ดี แต่เรื่องของ พลังเสียง แม้จะทำ�ได้ดกี ว่าเมือ่ ก่อน แต่ก็ยังสู้หนูนาไม่ได้ บ่อยครั้งที่ทั้ง สองร้ อ งเพลงร่ ว มกั น เสี ย งของ แกงส้มมักจะโดนเสียงหนูนากลบไป แต่ฉากที่ดีที่สุดคือฉากในคุก กับ เพลงเส้นขนานทีเ่ ค้นอารมณ์ออกมา ได้ดี เจ้าฟ้าชายไชยยันต์ (อาร์อาณัตพล ศิรชิ มุ แสง) เคยผ่านละคร เวที ม าแล้ ว 2 เรื่ อ งคื อ แม่ น าค พระโขนง เดอะมิ ว สิ คั ล และสี่ แผ่นดิน เดอะมิวสิคัล ซึ่งเรื่องหลัง รับบทเป็นตาอ้น ลูกชายคนโตของ คุณเปรม ซึ่งรับราชการเป็นทหาร ทำ � ให้ ก ารรั บ บทเป็ น เจ้ า ชายแห่ ง แคว้นนักรบดูจะไม่ยากมากมายนัก และแม้จะต้องมารับบทร้ายเป็นครัง้ แรก ก็สามารถถ่ายทอดความกดดัน ความแค้ น ความดุ ดั น ผ่ า นทาง สายตาออกมาได้ดี เจ้ า ฟ้ า ห ญิ ง แข ไข จ รั ส (แก้ม-กุลกรณ์พัชร์ โพธิ์ทองนาค) เพิ่งมีโอกาสแสดงในละครเวทีเรื่อง มิสไซ่ง่อนเมื่อปีที่แล้วเป็นเรื่องแรก แต่เมื่อต้องมารับบทเป็นนางร้าย ของเรื่อง แก้มก็สามารถวางบุคลิก ของตนให้ดเู ป็นนางร้ายทีร่ า้ ยตัง้ แต่ หน้าตาจนถึงท่าทาง ที่เต็มเปี่ยมไป ด้วยความทะเยอะทะยานในการแย่ง ชิงบัลลังก์กับเจ้าฟ้าหญิงทิพย์รัตน์ ดาราฯ และเมือ่ อยูก่ บั อาร์แล้ว ทำ�ให้ คู่นี้ดูเป็นคู่หูคู่อาฆาตร้ายที่มีพลัง ความแค้นแผ่ซ่านออกมา เจ้ า ฟ้ า ชายสิ ท ธิ ป ระวั ติ (อาร์ม-กรกันต์ สุทธิโกเศศ) ด้วย บุคลิกของเจ้าชายที่เป็นคนมองโลก ในแง่ ดี ( มาก) แม้ จ ะเป็ น เจ้ า ชาย รัชทายาท ว่าที่กษัตริย์พระองค์ถัด ไป ทำ � ให้ ใ นบางครั้ ง ก็ มี บุ ค ลิ ก ที่ เหมือนเจ้าชายที่โตแต่ตัว แต่พฤติ
-กรรมหลายๆ อย่างยังเป็นเด็ก (ดูง้องแง้งๆ แบบที่เจมส์จิเคยพูด ไว้ในโฆษณาชิ้นหนึ่ง) แต่ฉากที่ ต้องถ่ายทอดอารมณ์เมื่อรู้ความ จริงเรือ่ งเจ้าฟ้าหญิงทิพย์รตั น์ฯกับ อโณทัย ก็ท�ำ ได้ดจี นแอบเห็นผูช้ ม บางคนปาดน้ำ�ตาให้กับฉากนี้ พระองค์ เ จ้ า นั น ทวดี (ต๊งเหน่ง-รัดเกล้า อามระดิษ) นักร้องระดับตำ�นานของไทย ทีไ่ ม่ ว่าจะขึ้นแสดงในคราวใด ก็ทำ�ให้ ทุกคนประทับใจได้ทกุ ครัง้ ยิง่ เมือ่ มารับบทร้าย เป็นแม่ทเี่ ลีย้ งลูกให้ เป็นคนทะเยอทะยาน เพื่อจะได้ พาตนเองกลับไปสู่อำ�นาจอีกครั้ง และด้วยพลังเสียงที่มีอยู่เป็นทุน ทำ�ให้การถ่ายทอดความร้ายกาจ ผ่านทางเสียงร้องเป็นเรื่องที่ไม่ ยากนัก โดยเฉพาะซีนที่ปะทะกับ เจี๊ยบในเพลง “เพื่อลูกรัก” เป็น ฉากทีม่ นั มากจนผูช้ มในโรงละคร ต้องปรบมือให้กบั การ “ไฝว้” ของ แม่ๆ ทั้งสอง พระองค์ เจ้ า ภาณุ ป ระ ภัสร์ (เจี๊ยบ-นนทิยา จิวบางป่า) นักร้องระดับตำ�นานอีกคน ซึ่งมา รับบทแม่ที่เลี้ยงลูกด้วยการผลัก ดันให้ลูกรู้จักใช้สติปัญญาในการ แก้ ไขปั ญ หาด้ ว ยตั ว เอง เพลง “เกิ ด มาเป็ น ดาว” ที่ เ ป็ น การ อบรมสั่ ง สอนเจ้ า ฟ้ า หญิ ง ทิ พ ย์ รัตน์ดาราฯ เป็นคำ�สอนที่ทุกคน ควรนำ�ไปใช้ในการเลี้ยงดูลูกของ ตน เจี๊ยบก็สามารถถ่ายทอดได้ อย่างอบอุน่ ราวกับเป็นแม่ของหนู นามากล่อมและปลอบลูกสาวคน เล็กของบ้าน เจ้ า ห ล ว ง น ร อิ น ท ร์ (ไพโรจน์ สังวริบุตร) ดารานัก แสดงมากฝีมือ เป็นผู้ที่มีราศีของ กษัตริย์ตั้งแต่การปรากฏตัวครั้ง แรก สัมผัสได้ถงึ อำ�นาจและบารมี ของเจ้าหลวงที่ปกครองแผ่นดิน ให้ร่มเย็นสงบสุข แม้จะไม่ค่อยมี บทร้องเพลงมากมายสักเท่าไหร่ แต่ ก็ ส ามารถถ่ า ยทอดอารมณ์ ความรู้ สึ ก ต่ า งๆ ออกมาผ่ า น
ลอว์นิวส์ โทร.0-2280-1567
ทางการพูดได้ดี เ ส น า บ ดี ก ล า โ ห ม (พลวัตร มนูประเสริฐ) เป็นตัว ละครที่มีบทพูดน้อย และบทร้อง น้อยมาก แต่ทุกครั้งที่เข้าฉากกับ แกงส้ ม บุ ค ลิ ก และแววตาที่ พลวัตรมองไปยังแกงส้มนั้น ก็ให้ ความรั ก ความเอ็ น ดู เ หมื อ น อโณทัยเป็นลูกแท้ๆ ของตน โดยภาพรวมของละครเวทีเรื่องนี้ มีจุดเด่นอยู่ท่ีฉากและเสื้อผ้าที่มี ความหลายหลายและผสมผสาน ของวัฒนธรรมชาติต่างๆ กลาย เป็ นเอกลั ก ษณ์ ของแคว้ นแต่ ละ แคว้ น เหมื อ นหลุ ด มาจากโลก แฟนตาซีเหนือจินตนาการ เพลง ประกอบละครก็มคี วามแปลกใหม่ ทั้งทำ�นองและเนื้อร้อง นักแสดง ส่วนใหญ่เล่นได้ดสี มมาตรฐานขอ งบอย-ถกลเกียรติ โดยเฉพาะคู่ ของดารา-อโณทัยวัยเด็ก ที่เล่น ได้ดีมาก แต่อาจจะมีข้อขัดข้อง บ้ า งในด้ า นระบบเสี ย งของโรง ละครที่บางครั้งเจอพลังเสียงของ นักแสดงแล้วเกิดอาการเสียงแตก ไปบ้าง ทำ�ให้อารมณ์ผู้ชมสะดุด ลงบ้างเล็กน้อย คะแนน 8.5/10 คะแนน จากเหตุ ก ารณ์ ค วามไม่ ส งบ ทางการเมือง บริษัท ซีเนริโอ ได้ เลื่อนรอบการแสดงของ “เลือด ขัตติยา เดอะมิวสิคัล” จากทุกร อบในเดือนธันวาคม 2556 ไป เป็นวันที่ 9-26 มกราคม 2557 แทน
หน้า 8
วันที่ 1 - 15 มกราคม พ.ศ. 2557
ไทม์ไลน์
ลอว์นิวส์
นิรโทษกรรม
วีรจิตต วัฒนบ�ำรุง
จากจุดเริ่มต้นเล็กๆ ที่มีการเสนอของการเสนอร่างพระราชบัญญัตินิรโทษกรรม ท่ามกลางความขัดแย้งที่คุกรุ่น ถูกเร่งอุณหภูมิให้ร้อนขึ้น ด้วยการ "สอดไส้" เร่งไฟและระเบิดออกมาเป็น "มวลมหาประชาชน" จนบานปลายกลายเป็นการขับไล่รัฐบาลในที่สุด ที่มาที่ไปของเหตุการณ์ เหล่านี้เกิดขึ้นได้อย่างไร ทีมข่าว "ลอว์นิวส์" ได้รวบรวมและเรียบเรียงในรูปของไทม์ ไลน์ ให้ได้ติดตามตั้งแต่จุดเริ่มต้น 7 มี.ค. “วรชัย เหมะ” และ 42 ส.ส. พรรคเพื่อไทย ยื่นร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ต่อประธานสภาผู้แทนราษฎร “การร่างกฎหมายนี้จะไม่เอื้อประโยชน์กับแกนน�ำ และความผิดในคดีอาญา แม้ ในมาตรา 3 จะมี กฎหมายเปิดกว้าง เพือ่ ประโยชน์ของประชาชน โดยเชือ่ ว่า ในชั้นกรรมาธิการจะมีการก�ำหนด เงื่อนไขต่างๆ ให้ชัดเจนมากขึ้น โดยเฉพาะการ ตีความว่าใครเป็นผู้มีอ�ำนาจสั่งการ” วรชัย เหมะ, 6 มี.ค. 56
10 ต.ค. กปท. ยุติการชุมนุมที่ หน้าทำ�เนียบรัฐบาล กลับไปอยู่ สวนลุมฯ แต่มีมวลชนอีกส่วน หนึ่งที่ไม่เห็นด้วยกับการกลับไป ชุมนุมที่เวทีลุมพินี จึงแยกตัวมา ชุมนุมที่แยกอุรุพงษ์
3 พ.ย. กปท. เคลื่อนพลจาก สวนลุมพินี ไปสมทบกับ คปท. ที่แยกอุรุพงษ์
12 ต.ค. กลุ่มผู้ชุมนุมที่แยก อุรุพงษ์ เปลี่ยนชื่อเป็น เครือข่าย นักศึกษาและประชาชนปฏิรูป ประเทศไทย (คปท.) ซึ่งนำ�โดย องค์การนักศึกษามหาวิทยาลัย รามคำ�แหง (อศ.มร.) ตั้งเวที ปราศรัย ชุมนุมที่บริเวณแยก อุรุพงษ์ ถนนพระราม 6 พร้อม ออกแถลงการณ์คัดค้าน พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ฉบับที่ 1 4 พ.ย. “สุเทพ” ย้ายสถานที่ ชุมนุมใหญ่จากสถานีรถไฟ สามเสนไปยังอนุสาวรีย์ ประชาธิปไตย ถนนราชดำ�เนิน - ข้าราชการกระทรวงพาณิชย์ รวมตัวกันที่หน้ากระทรวง พาณิชย์ นับเป็นข้าราชการกลุ่ม แรกที่แสดงออกคัดค้า นพ.ร.บ.นิรโทษกรรม - กลุ่มนักธุรกิจร่วมเป่านกหวีด เป็นสัญลักษณ์ต่อต้าน - ญาติผู้เสียชีวิตในเหตุการณ์ สลายการชุมนุม พ.ศ. 2553 เข้า พบนายกรัฐมนตรี เพื่อให้กำ�ลัง ใจและสนับสนุนร่างกฎหมาย
18 เม.ย. “วรชัย” ใช้เอกสิทธิ์ข้อ บังคับการประชุมที่ 26(2) เพือ่ เลือ่ นวาระเลือ่ น พ.ร.บ. นิรโทษ กรรมมาพิจารณาเป็นวาระเร่ง ด่วนในสมัยประชุมถัดไป (283-56-4-4) 1 ส.ค. เปิดสมัยประชุม - ประกาศใช้พ.ร.บ.ความมั่นคงฯ ถึงวันที่ 10 ส.ค.
4 ส.ค. กองทัพประชาชนโค่น ล้มระบอบทักษิณ (กปท.) ชุมนุม ที่สวนลุมพินี เพื่อต่อต้านการ พิจารณา ร่างพ.ร.บ.นิรโทษกรรม
18 ต.ค. “นายประยุทธ์ ศิริพานิ ชย์” เสนอแก้มาตรา 3 ให้มีการ นิรโทษกรรมการกระทำ�ความผิด ครอบคลุมย้อนหลังไปตั้งแต่ 1 ม.ค. 2547
“ร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมเวอร์ชั่นของผมไม่ ได้ท�ำตามใบสั่ง แต่จุดเริ่มต้นมาจากการที่ผม ได้ ไปพบกับอดีตนายกฯ ทักษิณ ชินวัตร เมื่อหลายเดือนก่อนที่ประเทศฮ่องกง โดยทันทีที่เจอกันครั้งนั้น พ.ต.ท.ทักษิณ ก็บอกว่า "พี่ยุทธ์ ผมอยากกลับบ้านแล้ว" จากค�ำพูดนั้น ตนก็รู้แล้วว่าถ้าท่านอยากจะ กลับมาตามช่องทาง ซึ่งช่องทางที่ท่านจะกลับ มาได้ก็คือต้องออกกฎหมายนิรโทษกรรม จึง เป็นโจทย์ ในหัวใจตนตลอดมาว่าต้องหาทาง ให้ท่านกลับบ้านให้ได้”
- ขยายระยะเวลาประกาศใช้ พ.ร.บ.ความมั่นคงฯ ไปถึง 30 พ.ย.
ประยุทธ์ ศิริพานิชย์, 28 ต.ค.
5 พ.ย. นายกฯ แถลงถอนร่าง พรบ. 6 ฉบับออกจากสภา (310-1-2-0) - กองทัพธรรมและกปท. เคลื่อนขบวนไปยังสะพานผ่าน ฟ้าลีลาศ 6 พ.ย. ม็อบสีลมเป่านกหวีด ครั้งที่ 2 - สมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจ สัมพันธ์ ประกาศเข้าร่วมชุมนุม กับม็อบคปท. ที่แยกอุรุพงษ์
7 พ.ย. คปท. ย้ายที่ชุมนุมจากแยกอุรุพงษ์ไปยังสะพานมัฆวานรังสรรค์ - คปท. ปะทะกับตำ�รวจที่สะพานมัฆวานรังสรรค์ มีตำ�รวจได้รับบาดเจ็บ 1 ราย - ผู้บริหาร อาจารย์ นักศึกษา และศิษย์เก่าจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เดินขบวนไปยังรัฐสภา เพื่อคัดค้านการออกพ.ร.บ.นิรโทษกรรม แต่ถูก สกัดกั้นที่หน้าอาคารสหประชาชาติ - กลุ่มมวลชนที่แยกอโศกนัดรวมพลเป่านกหวีดเป็นสัญลักษณ์
15 พ.ย. กลุ่ ม หน้ า กากขาวนั ด รวมตัวที่แยกราชประสงค์ ก่อน เคลื่อนไปรวมกับกลุ่มผู้ชุมนุมที่ ราชดำ�เนิน 18 พ.ย. ล่ า รายชื่ อ ยื่ น ถอดถอน 310 ส.ส. ที่โหวตผ่านร่าง พ.ร.บ. นิรโทษกรรม 19 พ.ย. นปช. ชุ ม นุ ม ใหญ่ ที่ สนามราชมังคลากีฬาสถาน
20 พ.ย. นปช. ประกาศยุติการ ชุมนุม
5 ส.ค. พรรคประชาธิปัตย์ตั้งเวที จัดรายการ “ผ่าความจริง” บริเวณ ลานกีฬาใต้ทางด่วนอุรุพงษ์ เดิน หน้าคัดค้าน พรบ. นิรโทษกรรม
24 พ.ย. “วันมวลมหาประชาชน” ผู้ชุมนุมจำ�นวนมากเป็นประวัติการณ์บน ท้องถนนราชดำ�เนินและบริเวณโดยรอบ
25 พ.ย. กลุ่มผู้ชุมนุมทั้ง 3 จุด เดินขบวนดาวกระจาย 13 เส้นทาง ทั้งสถานีโทรทัศน์ทั้ง 6 ช่อง 4 เหล่าทัพ และหน่วยงานของรัฐ เช่น สำ�นักงานตำ�รวจแห่งชาติ กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวง การคลัง - กลุ่ ม ผู้ ชุ ม นุ ม จากราชดำ � เนิ น ประกาศยึ ด กระทรวงการคลั ง ตั้งเป็นเวทีส่วนหน้า - คปท. ยึดกระทรวงการต่างประเทศเป็นจุดชุมนุม ก่อนจะถอย กลับไปที่เดิมในวันรุ่งขึ้น - นายกฯ ประกาศขยายพื้นที่การบังคับใช้ พ.ร.บ. ความมั่นคงฯ ครอบคลุ ม พื้ น ที่ ก รุ ง เทพมหานคร จั ง หวั ด นนทบุ รี จั ง หวั ด สมุทรปราการ (เฉพาะอำ�เภอบางพลี) และจังหวัดปทุมธานี (เฉพาะ อำ�เภอลาดหลุมแก้ว) และขยายระยะเวลาบังคับใช้ไปจนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2556
“หากนายสุเทพยอมหยุด คนเสื้อแดงก็จะหยุด แต่ถ้าไม่หยุด เจอกัน!”
“ผมอยากพูดในฐานะคนไทยคนหนึ่ง ว่าวิธีการของคุณสุเทพท�ำตามอ�ำเภอใจมากไป นึก อยากจะเข้าไปในสถานที่ไหนก็ไป หรือจะไปบังคับใครให้เป่านกหวีดก็ได้ มันไม่ ใช่การชุมนุมที่ เป็น “อารยะ” แบบที่คุณสุเทพพูดเสียแล้ว อย่างนี้ออกแนว “นักเลง” เสียมากกว่า”
จตุพร พรหมพันธุ์, ราชมังคลากีฬาสถาน, 20 พ.ย. 56
ชูวิทย์ กมลวิศิษฏ์, เพจชูวิทย์ I’m No. 5, 26 พ.ย. 56
ลอว์นิวส์
วันที่ 1 - 15 มกราคม พ.ศ. 2557
7 ส.ค. ประชุมพิจารณาวาระ 1 - ส.ส. ประชาธิปัตย์เดินเท้าจากเวทีใต้ทางด่วนอุรุพงษ์ไปรัฐสภา โดย มีมวลชนไปส่ง 8 ส.ค. ลงมติรับหลักการ (วาระ 1) ด้วยคะแนน 300-124-14-2 - “จ่าประสิทธิ์” ส.ส. จังหวัดสุรินทร์ พรรคเพื่อไทย ชูรองเท้าระหว่าง การอภิปราย - “กรณ์” มาลงคะแนนพร้อมสายน้ำ�เกลือและรถเข็น - ไม่มีการถ่ายทอดการอภิปรายทางช่อง 11 (ถ่ายทอดทางโทรทัศน์ รัฐสภา) - กองทัพธรรมเข้าร่วมกับ กปท. 27 ต.ค. คปท. นัดชุมนุมใหญ่ที่ แยกอุรุพงษ์ - นายสมบัติ บุญงานอนงค์ นำ� กลุ่มคนเสื้อแดงมาชุมนุมคัดค้าน ร่างพ.ร.บ.นิรโทษกรรมที่แยก ราชประสงค์ ฝั่งหน้าห้างเกษร พลาซ่า
18 ส.ค. กลุ่ม V for Thailand หรือกลุ่มหน้ากากขาว นัด ชุมนุมใหญ่เพื่อคัดค้านการออก พ.ร.บ. นิรโทษกรรม และต่อ ต้านระบบเผด็จการรัฐสภา ที่ บริเวณหน้าห้างสรรพสินค้า เซ็นทรัลเวิลด์
7 ต.ค. กปท. เคลื่อนขบวนจาก สวนลุมพินี ไปชุมนุมที่หน้า ทำ�เนียบรัฐบาล เพื่อเรียกร้องให้ แก้ไขปัญหาปากท้องของ ประชาชน ก่อนการแก้ไข รัฐธรรมนูญ
27 พ.ย. กลุ่มผู้ชุมนุมเคลื่อน ขบวนไปยึดศูนย์ราชการฯ ถนนแจ้งวัฒนะ เป็นเวทีที่ 3 29 พ.ย. “สุเทพ” ประกาศตั้ง คณะกรรมการประชาชนเพื่อการ เปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็น ประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อันมีพระ มหากษัตริย์เป็นประมุข (กปปส.) พร้อมนัดชุมนุมใหญ่ในวันที่ 1 ธ.ค. 30 พ.ย. นปช. นัดชุมนุมใหญ่ที่ ราชมังคลาฯ - นศ. ราม ถูกยิงเสียชีวิต 1 ราย
9 ต.ค. รัฐบาลประกาศใช้ พ.ร.บ.ความมั่นคงในราช อาณาจักร พ.ศ. 2551 ในเขต ดุสิต พระนคร และ ป้อมปราบศัตรูพ่าย
29 ต.ค. พรรคเพื่อไทยมีมติ พรรคสนับสนุน ร่างพ.ร.บ.นิรโทษกรรม
31 ต.ค. เปิดประชุมสภาเพื่อพิจารณาตามวาระ 2 และลงมติวาระ 3 พ.ร.บ. นิรโทษกรรม - ปชป. ตั้งเวทีชุมนุมใหญ่ที่สถานีรถไฟสามเสน คัดค้านร่าง พ.ร.บ. นิรโทษกรรม - กรมการปกครองมีหนังสือให้ทุกอำ�เภอจัดทำ�ป้ายสนับสนุนร่างพ.ร.บ.นิรโทษกรรม ภายในวันที่ 8 พ.ย.
30 ต.ค. กลุ่มหน้ากากขาว ประกาศจะเข้าร่วมการชุมนุมที่ สถานีรถไฟสามเสน
1 พ.ย. ลงมติตอนตี 4 ครึ่ง ผ่านวาระ 3 พ.ร.บ.นิรโทษกรรม (310-0-4-0) - กรมการปกครองมีคำ�สั่งด่วนที่สุดยกเลิกการทำ�ป้ายสนับสนุนร่างพ.ร.บ. นิรโทษกรรม เนื่องจากข้อความมีความคลาดเคลื่อน - คปท. ประกาศขับไล่นายกฯ และ ส.ส. 310 คนที่สนับสนุนร่างกฎหมายนิรโทษฯ "...วันพรุ่งนี้ (12 พ.ย.) ให้ทุกคน ทุกบริษัท ทุกหน่วย งานราชการ สะสางงานของตัวเอง 1 วัน จากนั้น วัน ที่ 13 วันที่ 14 วันที่ 15 หยุดงานทั่วทั้งประเทศ... มาตรการที่สอง ต้องขอพึ่งนักธุรกิจ บริษัทห้างร้าน เอกชนทั้งหลาย ขณะนี้อยู่ ในช่วงการช�ำระภาษีกลางปี โปรดชะลอการช�ำระภาษี... มาตรการที่สาม เราต้อง ต่อสู้ด้วยสัญลักษณ์ สัญลักษณ์ของเราคือชาติ ขอให้ ทุกบ้าน ทุกเรือน ทุกส�ำนักงาน ชักธงชาติขึ้นทั่ว ประเทศ... มาตรการสุดท้ายตั้งแต่นาทีนี้เป็นต้นไป ถ้าประชาชนผู้ ใดพบเห็นนายกรัฐมนตรี รองนายก รัฐมนตรี รัฐมนตรีทั้งหลาย ลิ่วล้อบริวารของมันทุก คน ไม่ต้องพูดกับมัน ไม่ต้องท�ำอะไร เป่านกหวีดอย่าง เดียว (ปี๊ด!)..." สุเทพ เทือกสุบรรณ, อนุสาวรีย์ประชาธิไตย, 11 พ.ย. 56
8 พ.ย. วุฒิสภานัดประชุมวาระ เร่งด่วน แต่ล่มเนื่องจากองค์ ประชุมไม่ครบ 9 พ.ย. พรรคเพื่อไทย พรรค ชาติไทยพัฒนา พรรคชาติ พัฒนาและพรรคพลังชล ร่วม กันลงนามในสัตยาบัน ยืนยันว่า หากวุฒิสภาคว่ำ�ร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมแล้ว พรรค ร่วมรัฐบาลที่มีเสียงข้างมากจะ ปล่อยให้ร่างพ.ร.บ.ฉบับนี้ตกไป
หน้า 9
10 พ.ย. นปช. นัดชุมนุมที่ เมืองทองธานี
11 พ.ย. วุฒิสภาลงมติคว่ำ�ร่างพรบ. นิรโทษกรรม (141-0-0-0) - กลุ่มผู้ชุมนุมจาก 4 จุดสำ�คัญในเมือง ได้แก่ สีลม อโศก รัชดา และสะพานควาย-อารีย์ เคลื่อนขบวนสมทบกลุ่มผู้ชุมนุมที่ อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย - “สุเทพ” ประกาศมาตรการอารยะขัดขืน 4 ข้อ คือ หยุดงานใน วันที่ 13-15 พ.ย. ชะลอการจ่ายภาษี ให้ติดธงชาติทั่วประเทศ และ เป่านกหวีดใส่รัฐมนตรี
1 ธ.ค. กปปส. นัดวันประกาศ ชัยชนะ 2 ธ.ค. กปปส. พยายามบุกยึด กองบัญชาการตำ�รวจนครบาล (บชน.) และทำ�เนียบรัฐบาล แต่ ถูกระดมยิงแก๊สน้�ำ ตาจากทางเจ้า หน้าที่เพื่อสกัดกั้นการยึดสถานที่ ราชการ จนต้องยุติความ พยายามการบุกยึดในตอนค่ำ� มี ผู้ได้รับบาดเจ็บจากเหตุการณ์ดัง กล่าว 55 ราย 3 ธ.ค. กปปส. ยึด บชน. และ ทำ�เนียบรัฐบาลได้ ท่ามกลาง ความงุนงงของทุกฝ่ายว่าเหตุใด ตำ�รวจจึงปล่อยให้กลุ่มผู้ชุมนุม เข้าไปยึดสถานที่ราชการได้อย่าง ง่ายดาย
4 ธ.ค. กปปส. ไปเยี่ยม สตช. พร้อมยุติการชุมนุมชั่วคราวโดย การทำ�ความสะอาดใหญ่บริเวณ พื้นที่ชุมนุมที่ถนนราชดำ�เนิน 6 ธ.ค. “สุเทพ” ประกาศรบ ครั้งสุดท้ายในวันจันทร์ที่ 9 ธ.ค. หากไม่ชนะ ตนเองและแกนนำ� คนอื่นๆ จะยอมติดคุก 8 ธ.ค. 153 ส.ส. พรรค ประชาธิปัตย์ ประกาศลาออก จาก ส.ส. ยกพรรค เพื่อกดดัน รัฐบาล 9 ธ.ค. นายกฯ ประกาศยุบ สภา - กปปส. เดินขบวนเป็น 9 เส้น ทางมุ่งสู่ทำ�เนียบรัฐบาล จาก สถนที่ชุมนุมต่างๆ เช่น ศูนย์ ราชการแจ้งวัฒนะ, สีลม, อโศก เป็นต้น นับเป็นการแสดงออก ทางการเมืองครั้งที่มีผู้เข้าร่วม ชุมนุมมากที่สุดในประวัติศาสตร์
12 พ.ย. “สุเทพ” พร้อม ส.ส. พรรคประชาธิปัตย์ 8 คน ยื่น ใบลาออกจาก ส.ส. เพื่อมาเป็น แกนนำ�กลุ่มผู้ชุมนุม 13 พ.ย. ม็อบสวนยางยอมเปิด ถนน เพื่อไปร่วมชุมนุมที่เวที ราชดำ�เนิน
แม้ว่าสุดท้าย นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร จะได้ประกาศยุบสภาเพื่อลด ความขัดแย้งที่เกิดขึ้น แต่ดูเหมือนว่าจะเป็นการตัดสินใจที่ล่าช้าและไม่ ตรงกับเป้าหมายสุดท้ายของกปปส. การชุมนุมจึงยังคงดำ�เนินต่อไป ท่ามกลางความขัดแย้งที่ยังคงระอุอยู่ภายใน รอวันปะทุขึ้นมาใหม้อีกครั้ง
“ดิฉันไม่ ใช่ไม่มีความรู้สึก ดิฉันได้ฟังมาตลอดกับการร้องขอกับผู้ชุมนุม การที่กล่าวถึงทั้งตระกูลนั้น ดิฉันก็ถือว่าเราเป็นคนไทยด้วยกัน จะถึง ขนาดไม่ ให้เหยียบอยู่ ในแผ่นดินไทยเลยหรือ เราจะเป็นกันอย่างนี้หรือ ดิฉันถอยไม่รู้ว่าจะถอยอย่างไรแล้ว ก็ขอความเป็นธรรมด้วยค่ะ ขอบคุณค่ะ” นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร, ท�ำเนียบรัฐบาล, 9 ธ.ค. 56
หน้า 10
วันที่ 1 - 15 มกราคม พ.ศ. 2557
ที่แห่งนี้
ลอว์นิวส์
ห้องภาพ
ว. ราชด�ำเนิน
หอสมุดแห่งขาติ
อนุ ส าวรี ย ์ ป ระชาธิ ป ไตย ในสมัยต่างๆ
อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย
นับเป็นหลักหมายที่ตั้งในการเรียกร้อง ประชาธิ ป ไตยทุ ก ครั้ ง ที่ มี ก ารชุ ม นุ ม ทางการเมือง อนุสาวรีย์ที่มีอายุเจ็ดสิบ กว่ า ปี แ ห่ ง นี้ ผ่ า นร้ อ นผ่ า นหนาวและ เหตุการณ์สำ�คัญในประวัติศาสตร์มานัก ต่อนัก พวกเราถ่ายรูป อัปโหลดรูปภาพ เช็คอินสถานที่แห่งนี้ในโซเชียลเน็ตเวิร์ค แต่หลายคนยังไม่ทราบความหมายที่มา ความสำ�คัญ เหมือนกับอนุสาวรียท์ กุ แห่ง ที่มีรายละเอียด ทุกส่วนที่ประกอบล้วนมี ความหมายทั้งสิ้น ความกว้าง ความยาว ความสูง ที่มีความแฝงทำ�ให้เราอึ้งและ ภูมิใจกับบรรพบุรุษที่สร้างสถานที่แห่งนี้
อ นุ ส า ว รี ย์ ป ร ะ ช า ธิ ป ไ ต ย ก่อสร้างขึ้นในสมัยจอมพลแปลก พิบูลสงคราม ดำ�รงตำ�แหน่งนายกรัฐมนตรี เนือ่ งจากในขณะนัน้ จอมพลแปลกมีด�ำ ริ ทีจ่ ะจัดสร้างอนุสรณ์เพือ่ ให้อนุชนรุน่ หลัง รำ�ลึกถึงความสามัคคีกลมเกลียวในชาติ และพิ ทั ก ษ์ รั ก ษารั ฐ ธรรมนู ญ ของชาติ ตลอดจนการปกครองในระบอบ ประชาธิปไตยนี้นำ�มาซึ่งความสถาพรแก่ ชาติ โดยแบบทีไ่ ด้รบั รางวัลและนำ�มาจัด สร้างคือแบบของหม่อมหลวงปุม่ มาลากุล พิธกี อ่ ฤกษ์อนุสาวรียไ์ ด้ถอื ฤกษ์ วันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2482 รัฐบาลได้ แต่ ง ตั้ ง คณะกรรมการการก่ อ สร้ า ง อนุ ส าวรี ย์ ขึ้ น เพื่ อ ควบคุ ม กำ � กั บ การ ก่อสร้าง โดยมีศาสตราจารย์ศลิ ป์ พีระศรี เป็ น ผู้ ค วบคุ ม การก่ อ สร้ า ง และนาย สิ ท ธิ เ ดช แสงหิ รั ญ เป็ น ผู้ ช่ ว ยปั้ น อนุสาวรีย์ ใช้งบประมาณทัง้ สิน้ 250,000 นอกจากอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยแล้ว ยังมีอนุสาวรีย์ที่เกี่ยวข้องกับทางการ เมื อ งการปกครอง 3 แห่ ง ได้ แ ก่ อนุสาวรียพ์ ทิ กั ษ์รฐั ธรรมนูญ, พระบรม ราชานุสาวรีย์รัชกาลที่ 7 และ อนุสรณ์ สถาน 14 ตุลา 2516
บาท พิธีเปิดอนุสาวรีย์จัดขึ้นเมื่อวัน ที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2483 โดย จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีได้กล่าว ในในพิธเี ปิดอนุสาวรียเ์ ป็นข้อความตอน หนึ่งว่า ...อนุสาวรีย์นี้จะเป็นศูนย์กลาง แห่งความเจริญก้าวหน้าทั้งมวล เป็นต้น ว่า ถนนสายต่างๆ ทีจ่ ะออกจากกรุงเทพฯ ไปยั ง หั ว เมื อ งก็ จ ะนั บ ต้ น ทางจาก อนุสาวรีย์นี้ ถนนราชดำ�เนินซึ่งเป็นแนว ของอนุสาวรีย์ ก็กำ�ลังสร้างอาคารให้สง่า งามเป็นที่เชิดชูเกียรติของประเทศ และ เป็นการสนองพระราชดำ�ริของพระบาท สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยูห่ วั พระปิย มหาราช ทีท่ รงตัง้ พระราชหฤทัย จะทำ�ให้ ถนนนี้เป็นที่เชิดชูยิ่ง...
อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย แต่ละส่วนมี ความหมายดังนี้ - ปีกทั้ง 4 ด้าน หมายถึงผู้ร่วม ก่อการในคณะราษฎร์ ซึง่ ประกอบไปด้วย บุคคล 4 เหล่า ได้แก่ ทหาร ตำ�รวจ พ่อค้า ประชาชน แต่ละปีกสูงจากแท่นพื้น 24 เมตร มีรัศมียาว 24 เมตร หมายถึง วัน ที่ 24 มิ ถุ น ายน 2475 ซึ่ ง เป็ น วั น เปลี่ยนแปลงการปกครอง - ลายปั้นนูนที่ฐานปีกทั้ง 4 เน้นถึงเรื่องราวการดำ�เนินงานของคณะ ราษฎรตอนที่นัดหมายและแยกย้ายกัน ก่อการเปลี่ยนแปลงการปกครอง - พ า น แ ว่ น ฟ้ า ทู น ฉ บั บ รัฐธรรมนูญ ซึ่งตั้งอยู่บนยอดป้อมกลาง
ตัวอนุสาวรีย์ สร้างด้วยทองแดง มีความ สูง 3 เมตร หมายถึง เดือน 3 หรือ เดือน มิถนุ ายน (ขณะนัน้ นับเมษายนเป็นเดือน แรกของปี ) ซึ่ ง เป็ น เดื อ นที่ มี ก าร เปลี่ยนแปลงการปกครอง นอกจากนี้ยัง หมายถึง อำ�นาจอธิปไตยทั้ง 3 ภายใต้ รัฐธรรมนูญ ได้แก่ อำ�นาจนิติบัญญัติ อำ � นาจบริ ห าร และอำ � นาจตุ ล าการ อาจารย์จิตร บัวบุศย์ เป็นผู้ปั้นและหล่อ - ปืนใหญ่จำ�นวน 75 กระบอก โดยรอบฐานของอนุสาวรีย์ที่มีโซ่เหล็ก ร้อยไว้ หมายถึงปีที่ก่อการเปลี่ยนแปลง การปกครอง พ.ศ. 2475 ส่วนโซ่ที่ร้อย ไว้ด้วยกัน หมายถึงความสามัคคีพร้อม เพรียงของคณะปฏิวัติ - ที่ป้อมรองพานรัฐธรรมนูญ มีประตู 6 แห่งและแต่ละประตูมีพระ ขรรค์ 1 เล่ม รวม 6 เล่มหมายถึง หลัก 6 ประการของคณะราษฎร ได้แก่ 1. จะต้ อ งรั ก ษาความเป็ น เอกราชทั้ ง หลายของประเทศไว้ให้มั่นคง 2. จะต้องรักษาความสงบปลอดภัยใน ประเทศ ให้ ร าษฎรอยู่ เ ย็ น เป็ น สุ ข 3. จะต้ อ งทำ � นุ บำ � รุ ง ความเป็ น อยู่ ข อง ราษฎรในทางเศรษฐกิจ ให้ราษฎรมีงาน ทำ� ไม่ปล่อยให้ราษฎรอดอยาก 4. ราษฎรมีสิทธิเสมอกัน 5. ให้ราษฎรได้เสรีภาพ อิสรภาพ ตาม ขอบเขตของกฎหมาย 6. ให้ราษฎรได้รับการศึกษาอบรมอย่าง เต็มที่
นอกจาก อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย แล้ว ในกรุงเทพฯ ยังมีสถานที่อื่นๆ ที่สร้าง ขึ้นเพื่อเป็นที่ระลึกของ ประชาธิปไตย ด้วย
ลอว์นิวส์
วันที่ 1 - 15 มกราคม พ.ศ. 2557
บทความพิเศษ
การควบคุมการตรารัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มอบอำ�นาจแก่ รัฐสภาในการตรากฎหมาย ดังนี้ 1. การตราพระราชบัญญัติ บัญญัติไว้ในหมวด 6 ส่วนที่ 7 ตั้งแต่มาตรา 142 ถึง มาตรา 153 2. การตราพระราชบัญญัตปิ ระกอบรัฐธรรมนูญ บัญญัตไิ ว้ใน หมวด 6 ส่วนที่ 6 ตั้งแต่มาตรา 138 ถึง มาตรา 141 เป็นเรื่องใหม่ที่ เพิง่ มีขนึ้ ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 และ 3. การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ บัญญัติไว้ในหมวด 15 และ มีเพียงมาตราเดียวคือ มาตรา 291 ซึ่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักร ไทย พุทธศักราช 2489 เป็นฉบับแรกที่มีการบัญญัติถึงเรื่องนี้ ความเป็นกฎหมายสูงสุดของรัฐธรรมนูญ รัฐธรรมนูญแห่ง ราชบบอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 บัญญัติเรื่องไว้ใน มาตรา 6 ว่า “รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ บทบัญญัติใน่ของ กฎหมาย กฎ หรือข้อบังคับขัดแย้งต่อรัฐธรรมนูญฉบับนี้ บทบัญญัติ นั้นเป็นอันใช้มิได้” ฉะนั้น ในการตราพระราช่บัญญัติก็ดี การตราพระ ราชบั ญ ญั ติ ป ระกอบรั ฐ ธรรมนู ญ ก็ ดี ตลอดจนการแก้ ไขเพิ่ ม เติ ม รัฐธรรมนูญก็ดี ร่างที่ตราขึ้นหรือแก้ไข้เพิ่มเติมนั้นจึงจะขัดแย้งต่อ รัฐธรรมนูญมิได้ การควบคุมการตรากฎหมายทีข่ ดั แย้งต่อรัฐธรรมนูญ ในเรือ่ ง นี้ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2550 มีบัญญัติไว้ หรือไม่ อย่างไร 1. สำ�หรับร่างพระราชบัญญัติ มีบัญญัติไว้ในส่วนที่ 8 มาตรา 154 วรรคแรกว่า “ร่างพระราชบัญญัติใดที่รัฐสภาให้ความเห็นชอบ แล้ว... (1)หากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิสภาวุฒิสภา หรือสมาชิกของ ทั้งสองสภารวมกัน มีจำ�นวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในสิบของจำ�นวนสมาชิก ทัง้ หมดเท่าทีม่ อี ยูข่ องทัง้ สองสภาเห็นว่าร่างพระราชบัญญัตดิ งั กล่าว มี ข้อความขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญนี้ หรือ ตราขึ้นโดยไม่ถูกต้องตาม บทบัญญัตแิ ห่งรัฐธรรมนูญนี้ ให้เสนอความเห็นต่อประธานสภาผูแ้ ทน ราษฎร ประธานวุฒิสภา หรือประธานรัฐสภา แล้วแต่กรณี แล้วให้ ประธานแห่งสภาที่ได้รับความเห็นดังกล่าวส่งความเห็นนั้นไปยังศาล รัฐธรรมนูญเพือ่ วินจิ ฉัย แล้วแจ้งให้นายกรัฐมนตรีทราบโดยไม่ชกั ช้า” วรรค 3 บัญญัติว่า “ถ้าศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าร่างพระราชบัญญัติ นัน้ มีขอ้ ความหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญนี้ และข้อความดังกล่าวเป็นสาระ สำ�คัญ ให้ร่างพระราชบัญญัตินั้นเป็นอันตกไป” และ วรรค 4 บัญญัติว่า “ถ้าศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าร่างพระราชบัญญัติ นั้นมีข้อความขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญนี้ แต่มิใช่กรณีตามวรรคสาม ให้ขอ้ ความทีข่ ดั แย้งหรือนัน้ เป็นอันตกไปและให้นายกรัฐมนตรีด�ำ เนิน การตามมาตรา 150 หรือมาตรา 151 แล้วแต่กรณีต่อไป” การควบคุมร่างพระราชบัญญัตมิ ใิ ห้ขอ้ หรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ ทำ�นองเดียวกับมาตรา 154 ข้างต้น มีบัญญัติไว้เป็นครั้งแรกในฉบับ พุทธศักราช 2517 มาตรา 224 ต่อมาก็มีฉบับพุทธศักรา 2521 มาตรา 190 ฉบับพุทธศักราช 2534 มาตรา 205 และฉบับพุทธศักราช 2540 มาตรา 262 2.สำ�หรับร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ การควบคุมมิให้มี ข้อความขัดแย้งต่อรัฐธรรมนูญได้บัญญัติไว้ในส่วนที่ 6 มาตรา 141 โดยวรรค 1 บัญญัติว่า”เมื่อรัฐสภาให้ความเห็นชอบกับร่างพระราช บัญญัตปิ ระกอบรัฐธรรมนูญแล้ว ก่อนนำ�ขึน้ ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวาย เพื่อทรงลงพระปรมาภิไธยให้ส่งศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาความชอบ ด้วยรัฐธรรมนูญซึ่งต้องกระทำ�ให้แล้วเสร็จภายในสามสิบวันนับแต่วัน ที่ได้รับรอง” ส่วนฉบับพุทธศักราช 2540 บัญญัติไว้ใน มาตรา 262 วรรค 1 ร่วมกันไปกับการควบคุมร่างพระราชบัญญัติอื่นๆ โดยบัญญัติ ว่า “ร่างพระราชบัญญัติหรือร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ใดที่รัฐสภาให้ความเห็นชอบแล้ว...”และ 3.สำ�หรับร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม เมื่อรัฐสภาพิจารณาเสร็จและ มีการนำ�ร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวาย ตามมาตรา 291 (7) แล้ว ตามรัฐธรรมนูญฉบับพุทธศักราช 2492 บัญญัตถิ งึ การควบคุมไว้ในมาตรา 174 วรรค 1 ว่า “ถ้าพระมหากษัตริย์ ทรงพระราชดำ�ริเห็นว่าร่างรัฐธรรมนูญที่ทูลเกล้าฯ ถวายตามมาตรา 173 กระทบถึงประโยชน์ได้เสียสำ�คัญของประเทศหรือประชาชนและ ทรงพระราชดำ�ริเห็นสมควรให้ประชาชนได้วินิจฉัย พระมหากษัตริย์ ย่อมทรงไว้ซงึ่ พระราชอำ�นาจทีจ่ ะให้ประชาชนทัง้ ประเทศออกเสียงเป็น ประชามติ ว่ า เห็ น ชอบหรื อ ไม่ เ ห็ น ชอบด้ ว ยร่ า งรั ฐ ธรรมนู ญ นี้ ” ซึ่ ง รัฐธรรมนูญพุทธศักราช 2511 บัญญัติไว้ในทำ�นองเดียวกันในมาตรา 170 วรรค 1 แต่ รั ฐ ธรรมนู ญ ฉบั บ ต่ า งๆหลั ง จากนั้ น รวมถึ ง ฉบั บ พุทธศักราช 2540 และฉบับปัจจุบัน หาได้มีการบัญญัติไว้โดยชัดแจ้ง ถึ ง การควบคุ ม ร่ า งรั ฐ ธรรมนู ญ แก้ ไขเพิ่ ม เติ ม มิ ใ ห้ ขั ด หรื อ แย้ ง ต่ อ รัฐธรรมนูญไว้ทั้งๆที่ร่างรัฐธรรมนูญแก้ไข้เพิ่มเติมเป็นร่างกฎหมายที่ สำ � คั ญ กว่ า ร่ า งพระราชบั ญ ญั ติ แ ละร่ า งพระราชบั ญ ญั ติ ป ระกอบ รัฐธรรมนูญเนื่องจากหากแก้ไขเพิ่มเติมสำ�เร็จและประกาศใช้แล้วก็จะ มี ฐ านะเป็ น ส่ ว นหนึ่ ง ของรั ฐ ธรรมนู ญ ทั น ที แ ละการแก้ ไขเพิ่ ม เติ ม รัฐธรรมนูญเป็นเรือ่ งสำ�คัญของประเทศนานทีปหี นจึงจะมีการแก้ไขสัก
หน้า 11
ครัง้ จึงเป็นทีน่ า่ ปริวติ กเป็นอย่างยิง่ หากรัฐบาลมีเสียงข้างมากเด็ดขาด ในสภาผูแ้ ทนราษฎรและในวุฒสิ ภา จนเกิดปรากฎการทีเ่ ป็นเผด็จการ รัฐสภาขึน้ แล้วย่ามใจลุยแก้ไขเพิม่ เติมรัฐธรรมนูญในสมัยประชุมเดียว ในเรื่องที่เป็นสาระสำ�คัญของรัฐธรรมนูญหลายมาตราหลายร่างเช่น ในขณะนี้ จนบทนำ�ของหนังสือพิมพ์ไทยรัฐฉบับวันพฤหัสบดีที่ 3 ตุลาคม 2556 ถึงกับกล่าวว่า “มีคำ�ถามว่า ทำ�ไมรัฐบาลนี้จึงถูกฟ้อง ร้องหรือร้องเรียนองค์กรอิสระและศาลมากมายหลายคดีจนจำ�ไม่หวัด ไม่ไหว คำ�ตอบส่วนหนึง่ ก็คอื เนือ่ งจากบทบัญญัตขิ องรัฐธรรมนูญเปิด ช่องให้ร้องได้อีกทั้งรัฐบาลนี้ก็มักจะกระทำ�การที่หมิ่นเหม่ต่อการถูก กล่าวหาว่าขัดต่อรัฐธรรมนูญหรือส่อไปในทางทุจริตเนื่องจากรัฐบาล มั่นใจว่ามาจากการเลือกตั้งและมีอำ�นาจเด็ดขาด” แต่อย่างไรก็ตาม การย่ามใจและไม่สนหน้าอินทร์หน้าพรหม ของรัฐบาล จนแผ่นดินใกล้จะลุกเป็นไฟแล้วนีก้ ม็ ใิ ช่วา่ รัฐธรรมนูญฉบับ พุทธศักราช 2540 และฉบับปัจจุบนั จะมิได้บญ ั ญัตทิ างแก้ไขไว้ให้เสียที เดียว ซึ่งในเรื่องนี้คงจะต้องนำ�ความรู้เกี่ยวกับ “การตีความกฎหมาย และการอุดช่องว่างในกฎหมาย” มาใช้โดยอาจหาอ่านได้จากคำ� บรรยายวิชา “ความรูเ้ บือ้ งต้นเกีย่ วกับกฎหมายทัว่ ไป” ของท่าน ศ.ดร. หยุด แสงอุทัย ซึ่งจนถึงเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2555 ได้พิมพ์จำ�หน่าย เป็นครั้งที่ 18 แล้ว การตีความกฎหมายและการอุดช่องว่างในกฎหมาย การตีความกฎหมายและการอุดช่องว่างในกฎหมายนั้น สำ�หรับกฎหมายทัว่ ๆไป มีหลักเกณฑ์ซงึ่ บัญญัตไิ ว้ในประมวลกฎหมาย แพ่งและพาณิชย์ บรรพ 1 ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พุทธศักราช 2468 มาตรา 4 ซึ่งในปี พ.ศ.2535 มีการแก้ขเพียงเล็กน้อย กล่าวไว้ ว่า มาตรา 4 “กฎหมายนั้น ต้องใช้ในบรรดากรณีซึ่งต้องด้วย บทบัญญัตใิ ดๆ แห่งกฎหมายตามตัวอักษรหรือตามความมุง่ หมายของ บทบัญญัตินั้นๆ เมื่อไม่มีกฎหมายที่ยกมาปรับคดีได้ให้วินิจฉัยคดีนั้นตาม จารีตประเพณีแห่งท้องถิน่ ถ้าไม่มจี ารีตประเพณีเช่นว่านัน้ ให้วนิ จิ ฉัย คดีอาศัยเทียบกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่ง และถ้าบทกฎหมายเช่น นั้นก็ไม่มีด้วยให้วินิจฉัยตามหลักกฎหมายทั่วไป” วรรคแรกวางหลักกเกณฑ์ให้ตีความตามตัวอักษร และหรือ ตามเจตนารมณ์ของกฎหมายนั้นๆ ส่วนวรรคสองวางหลักเกณฑ์การ อุดช่องว่างในกฎหมาย สำ�หรับกฎหมายทีไ่ ด้ก�ำ หนดวิธกี ารอุดช่องว่างแห่งกฎหมาย ของตนเองไว้ ก็ต้องดำ�เนินการอุดช่องว่าง และกฎหมายตามวิธีการที่ กฎหมายกำ�หนดไว้นนั้ เช่น ประมวลกฎหมายวิธพี จิ ารณาความอาญา มาตรา 15 บัญญัติว่า “วิธีพิจารณาข้อใด ซึ่งประมวลกฎหมายนี้มิได้ บั ญ ญั ติ ไว้ โ ดยเฉพาะ ให้ นำ � บทบั ญ ญั ติ แ ห่ ง ประมวลกฎหมายวิ ธี พิ จ ารณาความแพ่ ง มาใช้ บั ง คั บ เท่ า ที่ พ อจะใช้ บั ง คั บ ได้ ” และ รัฐธรรมนูญฉบับพุทธศักราช 2540 รวมทั้งฉบับปัจจุบันได้มีบัญญัติ ไว้ในมาตรา 7 เช่นเดียวกันว่า “ในเมือ่ ไม่มบี ทบัญญัตแิ ห่งรัฐธรรมนูญ นี้บังคับแก่กรณีใดให้วินิจฉัยกรณีนั้นไปตามประเพณีการปกครอง ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตรย์ทรงเป็นประมุข” ก่อนหน้า นี้ก็มีการบัญญัติไว้ทำ�นองนี้ ในธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร ฉบับต่างๆ เช่น ฉบับ พ.ศ. 2502 มาตรา 20, ฉบับ พ.ศ. 2514 มาตรา 22 วรรค 1 หลังการปฎิวตั แิ ต่ละครัง้ และมีการร่างรัฐธรรมนูญโดยเร่ง ด่วนและมีนอ้ ยมาตรา จึงต้องบัญญัตถิ งึ การอุดช่องว่างในกฎหมายไว้ ส่วนสำ�หรับมาตรา 7 แห่งรัฐธรรมนูญฉบับพุทธศักราช 2540 และ ฉบับปัจจุบัน ในการพิจารณาในวาระที่ 2 ของสภาร่างรัฐธรรมนูญ เมื่อวันอังคารที่ 8 กรกฎาคม 2540 คณะกรรมาธิการชี้แจงว่า (1) เนื่องจากร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ เปลี่ยนหลักการ ของตุลาการรัฐธรรมนูญเป็นศาลรัฐธรรมนูญ ซึง่ เห็นควรมีการอุดช่อง ว่างของการบังคับใช้กฎหมาย เพราะการบัญญัติในรัฐธรรมนูญจะมี รายละเอียดในประเด็นต่างๆ หากมิได้ จึงต้องหาทางแก้ไขปัญหาตัง้ แต่ เริ่มแรก เพื่อมิให้เกิดปัญหาการตีความของกฎหมาย (2) รัฐธรรมนูญจะต้องครอบคลุมเหตุการณ์ต่างๆ ใน ภายภาคหน้า ซึ่งจะเป็นเหตุการณ์ที่ไม่สามารถคาดคิดได้ในปัจจุบัน การมีบทบัญญัติมาตรา 6 ทวิ (ซึ่งตอนประกาศใช้คือ มาตรา 7) จะ ทำ�ให้รัฐธรรมนูญมีความเป็นไปได้ในการบังคับใช้ตลอดกาล จากนี้ จะเห็นได้ว่าการที่รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน ในส่วนที่ 8 ซึ่ ง ว่ า ด้ ว ย “การควบคุ ม การตรากฎหมายที่ ขั ด หรื อ แย้ ง ต่ อ รัฐธรรมนูญ” นั้น มาตรา 154 กล่าวถึงแต่เฉพาะร่างพระราชบัญญัติ โดยสำ�หรับร่างพระราชบัญญัตปิ ระกอบรัฐธรรมนูญ การควบคุมมีการ บัญญัติไว้ในมาตรา 141 ฉะนั้น ปัญหาว่าจะตีความมาตรา 154 ครอบคลุมถึงร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมด้วยได้หรือไม่ มาตรา 7 ย่อมเป็นทางหนึ่งที่จะแก้ปัญหานี้ได้ อ. คมสัน โพธิ์คง ซึ่งเป็นสมาชิก สภาร่างรัฐธรรมนูญ และอยูใ่ นคณะคณะกรรมการยกร่างรัฐธรรมนูญ ก็เห็นควรนำ�มาตรา 7 มาใช้กบั ร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิม่ เติมทีม่ าของ ส.ว. ที่เป็นสาระสำ�คัญของรัฐธรรมนูญ ฉะนั้น การที่สำ�นักงานศาล
ชวเลิศ โสภณวัต อดีตผู้พิพากษาชั้น 7
รัฐธรรมนูญได้เผยแพร่เอกสารข่าว วันที่ 9 ตุลาคม 2556 หลังจากการ ป ร ะ ชุ ม ค ณ ะ ตุ ล า ก า ร ศ า ล รัฐธรรมนูญ ว่าที่ประชุมตุลาการ รัฐธรรมนูญ มีคำ�สั่งไม่รับคำ�ร้อง กรณีที่ประธานรัฐสภาและประธาน วุ ฒิ ส ภาส่ ง ความเห็ น ของนาย ไพบูลย์ นิติตะวัน ส.ว. สรรหากับ คณะ รวม 68 คน และของนายจุริ นทร์ ลักษณวิศิษฎ์ ประธานวิปฝ่าย ค้านกับคณะรวม 142 คนที่ขอให้ ศาลรัฐธรรมนูญวินจิ ฉัยตามมาตรา 154 วรรคหนึ่ง (1) ว่าร่างแก้ไขเพิ่ม เติมรัฐธรรมนูญเกี่ยวกับที่มาของ ส.ว. มี ข้ อ ความขั ด หรื อ แย้ ง ต่ อ รัฐธรรมนูญนี้ หรือตราขึน้ โดยไม่ถกู ต้องตามรัฐธรรมนูญหรือไม่ ศาล รั ฐ ธรรมนู ญ พิ จ ารณาแล้ ว เห็ น ว่ า ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 154 วรรค หนึ่ง (1) ใช้กับร่างพระราชบัญญัติ เท่านัน้ แต่ค�ำ ร้องทัง้ สองคำ�ร้องเป็น คำ�ร้องที่ให้ตีความร่างรัฐธรรมนูญ แก้ไขเพิ่มเติม จึงไม่ต้องด้วยหลัก เกณฑ์ ที่ ศ าลรั ฐ ธรรมนู ญ จะรั บ ไว้ วินิจฉัย ศาลรัฐธรรมนูญจึงมีคำ�สั่ง ไม่รับคำ�ร้องไส้พิจารณาวินิจฉัย คงต้องถามคณะตุลาการ ศาลรัฐธรรมนูญว่า ในการมีคำ�สั่ง ข้ า งต้ น ท่ า นมี ก ารคำ � นึ ง กั น ถึ ง รัฐธรรมนูญมาตรา 7 หรือไม่ เพราะ หากมิใช่การหลงลืมแล้ว ก็ต้องเป็น เพราะไม่ เข้ า ใจความหมายของ มาตรา 7 จึงมิได้นำ�มาตรา 154 ซึ่ง มีบัญญัติไว้ทำ�นองเดียวกันเป็นครั้ง แรกในมาตรา 224 ของฉบั บ พุ ท ธศั ก ราช 2517 จั ด ได้ ว่ า เป็ น “ประเพณี ก ารปกครองระบอบ ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตรย์ ทรงเป็นประมุข” แล้วมาใช้บังคับ ตั้งแต่มีรัฐบาลชุดนี้ ศาล รัฐธรรมนูญมีคำ�สั่งวินิจฉัย ออกมา หลายคดีที่เป็นที่เคลือบแคลงสงสัย ของประชาชนเกี่ยวกับเหตุผลที่ให้ ใ น คำ � วิ นิ จ ฉั ย ตุ ล า ก า ร ศ า ล รัฐธรรมนูญจะได้รับความเคารพที่ เป็นผูแ้ ก้ไขปัญหาสำ�คัญของประเทศ ชาติก็ต่อเมื่อท่านได้วินิจฉัยคดีโดย ปราศจากอคติ ค วามลำ � เอี ย ง 4 ประการ คือ ฉันทาคติ = ลำ�เอียง เพราะรัก โทสาคติ = ลำ�เอียงเพราะ โกรธ ภยาคติ = ลำ�เอียงเพราะกลัว โมหาคติ = ลำ�เอียงเพราะเขลา ใน รั ฐ บาลชุ ด ที่ มี ทุ น สมานย์ เข้ า มา เกี่ ย วข้ อ งและมี ข่ า วการวิ่ ง เต้ น ให้ สินบนศาลต่างๆ อยูเ่ นืองๆ บางครัง้ เป็นจำ�นวนหลายสิบล้านบาท ใน อดี ต เมื่ อ หกปี ก่ อ น ข่ า วปั จ จุ บั น ว่าการว่า สูงกว่านั้นอีกหลายเท่า ก็ คงต้องเพิ่มอคติประการที่ 5 คือ โลภาคติ = ลำ�เอียงเพราะโลภ เข้า มาด้วย นอกจากนี้ตุลาการยังต้อง เป็นผูร้ กั ความยุตธิ รรมความถูกต้อง ปฎิ บั ติ ห น้ า ที่ ต ามหลั ก นิ ติ ธ รรม ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 3 และที่ สำ�คัญคือ เป็นผู้รักชาติ รักแผ่นดิน พร้อมทีจ่ ะแก้ไขความไม่ถกู ต้องของ แผ่นดินขณะนี้ ประชาชนหลายล้าน คนทั่ ว ประเทศขอให้ กำ � ลั ง ใจและ คาดหวังอย่างยิ่งในสิ่งดีงามต่างๆ ข้างต้นจากท่าน
หน้า 12
วันที่ 1 - 15 มกราคม พ.ศ. 2557
รัฐธรรมนูญ
ลอว์นิวส์
ลอว์นิวส์
วันที่ 1 - 15 มกราคม พ.ศ. 2557
LAW NEWS BULLETINS
หน้า 13
Ann Ploysongsang & Simon Z. Rajan
Reinheitsgebot : The Beer Law The German Brewer’s Federation has applied to UNESCO to have their Reinheitsgebot law officially inducted into the ‘Proclamation of Masterpieces of the Oral and Intangible Heritage of Humanity’. The Reinheitsgebot law was introduced in Bavaria in 1516, and adopted nationwide in 1906. It stipulates that beer can only contain water, barley malt, hops, and yeast for brewing, with the obvious objective to protect beer patrons from the hazards of spurious suds. Despite having nearly 1, 300 breweries and over 5, 000 different brands, consumption has apparently declined for years. Oktoberfest in Munich, itself a heritage that began in 1810, is perhaps the most popular celebration of the cultural value of beer.
Are Legal Proceedings Good Publicity? Closer home, our local coffee vendor on Phra Athit Road has reportedly seen his sales volume double since the alleged trademark infringement case filed by Starbucks went into litigation. The vendor relented a day before judgment was to be delivered, by changing his logo to “Bung’s Tears”. The positive publicity is definitely reflected in his burgeoning sales, and goes to show how a small guy can hold his own against a large multi-national by dint of adroit legal maneuvering.
E-Commerce Incentives from Mainland China Effective as of October, 2013, China’s Ministry of Commerce has published an ‘Opinion for Implementation of Relevant Policies in Support of Trans-boundary E-commerce Retail Exports’. The opinion affects the regimes of regulatory supervision, taxation, foreign exchange, and export procedure.
Arbitration in Myanmar
Detroit City Declared Bankrupt
While Myanmar has formally acceded to the New York Convention on the Recognition and Enforcement of Foreign Arbitral Awards as of July 15, 2013, it would auger well to remain mindful of the fact that Myanmar is yet to promulgate any legislation to give effect to its obligations under the New York Convention. The current Arbitration Act of 1944 recognizes the older Geneva Convention on the Execution of Foreign Arbitral Awards of 1927. The hurdles are twofold; the enforcing party must obtain recognition from the courts of the country of origin before applying for enforcement in Myanmar, and the limited number of signatories to the Geneva Convention. Despite being a significant development it is still fairly nascent. Any new enactment would have to be to subject to minute scrutiny so as to devise a viable strategy for dispute resolution and avoidance in Myanmar.
U.S Federal Judge Stephen Rhodes has formally declared Detroit bankrupt. Burdened with $18.5 Billion in debt, the same city that was once hailed as the cradle of the American automobile industry is now barely able to cope with providing essential services to its people. Retiree healthcare and pensions total $9.2 Billion. The population is visibly declining and there are thousands of abandoned buildings mar the cityscape. In a ruling that negatively impacts the interests of creditors and pension funds in the long term, Justice Rhodes found the emergency manager Kevyn Orr not quite open and forthright in his handling of Detroit’s financial troubles. He observed that filing for bankruptcy was in fact inevitable. On a parallel note, even the Detroit Institute of Arts may not emerge unscathed with Orr remarking that only 500 pieces of the museum’s collection may be affected. In stark contrast, Justice Rhodes when pronouncing his ruling said cash infusions whether from asset sales or new borrowing would not really offer lasting solutions.
Apple v. Samsung : The Latest Damages. In the most recent development in the seemingly never ending battle of giants, the U.S District Court at San Jose, California found in favour of Apple, ruling that the Korean company must pay an additional $290, 456, 793. The Cupertino Corporation was represented by Bill Lee and Harold McElhinny while Samsung was represented by Bill Price with Justice Lucy H. Koh presiding. The jury consisted of 8 members, six women and two men, the majority of who exhibited elementary knowledge of modern hand held technology. Closing arguments were the stuff of legend with the Apple attorney reminding juror’s of how US TV makers went out of business because of flimsy protection from international companies- a well placed sucker punch as Samsung is after all the world’s largest TV manufacturer. Bill Price had a few submissions of his own which rose above the verbose, “Apple does not own beautiful and sexy”. In a last ditch attempt to foil Apple Samsung prayed that the Court declare a mistrial on account of the blatant racial slur implied by Apple. Brace hard for a fresh flurry of appeals and patent trials.
Advertising in
LAW NEWS
BULLETINS Call. 0-2280-1567
Legal Interpretation For those of us who have not cultivated the reading habit, or are very discerning about what we read, reading the law in whatever form can seem a dreary if not utterly odious exercise. Unknown to most because reading is a more passive effort than an active one, uniform or even bold font effectively reduces comprehension. Add verbose legalese and you have pretty much lost the pith and substance in a soup of words.The technological barrage has even further arrested the general masses ability to read, leave alone legal language. We work now on visual and auditory stimuli. So the next time you consent to a particular software’s Terms of Service and Privacy Policy, you may consider the fact that they are almost counting on you not to read.
Patent Trolls Stake out Mobile Applications With the unprecedented advent of mobile applications worldwide, Patent Trolls have begun to take on the likes of large electronics corporations both in the US, as well as in China simply to bolster their source of revenue. It is well nigh time for mobile application developers to re-acquaint themselves with prevalent IPR regimes and seek adequate protection for their creations or at least apprise themselves of where patent trolls may be lurking. Kaspersky Lab is one of the few companies that have managed to thwart a troll attack by successfully having a patent lawsuit ‘dismissed with prejudice’. Most others settle rather than enter into a protracted litigation against an entrenched adversary.
หน้า 14
วันที่ 1 - 15 มกราคม พ.ศ. 2557
LAW NEWS BULLETINS
ลอว์นิวส์
Reaching for the Stars: Outer-Space Real Estate
“IF YOU WANT TO MAKE PEACE WITH YOUR ENEMY, YOU HAVE TO WORK WITH YOUR ENEMY. THEN HE BECOMES YOUR PARTNER.” NELSON MANDELA (18th July, 1918 - 5th of December, 2013)
If one were to recall the luminaries of history, the name of Nelson Rolihlahla Mandela is a light that will shine true in the annals of time. Nobel laureate, recipient of the Soviet Order of Lenin, the US Presidential Medal of Freedom, and the Bharat Ratna, among 250 other honors and awards alike, Mandela hailed from the non-descript village of Qunu, in South Africa’s Eastern Cape Province, where he will be laid to rest on the 15th of December, 2013. His maverick advocacy of democratic socialism is best exemplified by the fact that despite being a strong proponent of African nationalism, when he became President he balked at invoking state control, perceptibly aware of the failure of socialism world over. Perhaps it was his uncommon ability to recognize and accept his own mistakes that set him above mere politics and statesmanship.
Space law has reached its latest evolution with the Lunar Embassy citing lacunae in the Outer Space Treaty of 1967 (applicable only to governments and not private individuals) and the Moon Treaty of 1984 (having only 11 signatories; none of whom were space exploring nations) to sell prime inter galactic property. Revisiting the ratio laid down in Nemitz v. United States, 2004 WL 3167042 (D. Nev. Apr. 26, 2004) (No.CV-N030599HDM), it is definitely worthwhile to spare a few moments to consider how one would prove a claim of ownership in the black echoless void of space with no corpus whatsoever.
Singapore Court Of Appeals’ Interpretation of UNCITRAL Model Law A long anticipated pronouncement by the Singapore Court of Appeals in PT First Media TBK v Astro Nusantara International BV [2013] SGCA 57, has tritely held that a conjoint reading of Section 19 of the International Arbitration Act (of Singapore), Articles 16(3) and 34 of UNCITRAL Model and Rule 24(b) of the 2007 Singapore International Arbitration Centre Rules do not confer power upon the Arbitral Tribunal to join third parties who were not parties to an arbitration agreement, despite their not having challenged jurisdiction thereof. Effectively this affords a choice of recourse to object or set aside an award, either before the supervisory court during the arbitration itself, or during enforcement proceedings. This is much in keeping with the practice of English and Indian Courts which do not stint at reviewing the reasons for a tribunal’s award on the question of enforcement.
When the Dragon Flies
LEGAL NOTICE in
LAW NEWS
BULLETINS Call. 0-2280-1567
N
As of 23rd November, 2013, Beijing’s international proclamation of an Air Defense Identification Zone encompassing a sizable area of the South China Sea has gone into unilateral effect, enforced with what was described as ‘defensive emergency measures’. Incidentally this ADIZ overlaps with Japan’s own ADIZ, which spans the hotly contested islands of Diaoyu and Senkatu. As of November 27, unarmed USAF B-52 bombers challenged the so called ‘defensive emergency measures’ by flying over the disputed islands without any prior intimation to the PRC. The Chinese maintain that the bombers were under observation throughout their whole flight within the ADIZ. Japan and South Korea have also followed suit without having filed prior flight plans. Diplomatic relations seems on edge. Cooler heads must prevail so as to prevent any unwarranted escalation of animosity.
Time magazine has declared Pope Francis to be the Person of the Year.
The Word
SELFIE noun, informal (also selfy; plural selfies)
a photograph that one has taken of oneself, typically one taken with a smartphone or webcam and uploaded to a social media website.
ลอว์นิวส์
วันที่ 1 - 15 มกราคม พ.ศ. 2557
หน้า 15
LEGAL TERMS & CONCEPTS MADE EASY Ann & Edward Thiravej Ploysongsang
Domicile of Choice English becomes more important in our life especially when we are entering into the AEC in the next few years. Therefore, we hope that this column may help you to understand more about the English legal terms, concepts and words. The first legal term that we would like to introduce to you is “Domicile of Choice”.
is no intention to make a residence a permanent, principal home or home jurisdiction. Thus a natural person can have many residences but only one domicile. Lay people commonly confuse domicile of choice with residence, using the two terms interchangeably, but they are technically 2 different things.
Domicile of Choice (noun). This is a person’s permanent and principal home or home jurisdiction. To establish domicile of choice the person in question must: 1) be physically present on a substantial basis in the residence in question, and 2) have the intention to make it his permanent, principal home or home jurisdiction. Until both requirements have been met, a person retains his present domicile and does not acquire a new one. In many US jurisdictions, domicile can be established very quickly so long as the 2 criteria are met.
Example 1: Most state-run universities in the US will allow in-state residents to pay lower tuition. This typically requires the student to: 1) establish a domicile or choice in the relevant state along with 2) showing financial independence. This status must be maintained typically for 1 – 3 years before one can qualify for in-state tuition. It is generally not enough to simply buy a residence in the state to establish domicile of choice.
Natural persons (i.e., individuals as opposed to corporations) can even change domicile with the motive to gain some advantage such as in litigation or tax benefits. So long as the 2 requirements are met, a Domicile of Choice has been established. Residence (noun). In most US jurisdictions, this is any place where a person actually lives. The difference with a domicile of choice is that there
which residence is intended to be the principal, permanent one. Comparison to Thai Law For a natural person, according to Section 37 of the Civil and Commercial Code (“CCC”), “The domicile of a natural person is the place where he has his principal residence”. Section 38 of CCC states that “If a natural person has several residences where he lives alternately, or various centers of habitual occupation, either one shall be considered his domicile”. However, when a Thai court serves a summons on a defendant, in order to avoid the complication, it will send the summons to the defendant’s registered address. Doing so creates the presumption that the defendant has already received the summons. If the defendant does not receive the summons, he/she has a duty to prove to the court that there was a special occasion causing him/her not to receive such summons.
Example 2: Although the plaintiff allegedly changed his domicile of choice to gain an advantage in his upcoming litigation, he was able to show that he was physically present in his new state and that he had a genuine intention to make it his new home. As a result, the court will not likely question his change of domicile. For a juristic person such as a company, the address registered at the Ministry of Commerce as Example 3: The client had several residences the headquarter is considered as the official located throughout the world, but his domicile of domicile. choice is in the British Virgin Islands. Example 4: While a natural person may only have one domicile of choice, it may not always be clear
THE DICTIONARY Oxford Dictionaries
OXFORD NEW WORD SELFIE is the new word of the year 2013. But what about the runners-up? Below we take a closer look at the words on the Oxford Dictionaries Word of the Year 2013 shortlist, from ‘bedroom tax’ to ‘twerk’. Click through the images below to learn more about the runners-up and discover why they made it on to the shortlist. BEDROOM TAX, noun, informal (in the UK) a reduction in the amount of housing benefit paid to a claimant if the property they are renting is judged to have more bedrooms than is necessary for the number of the people in the household, according to criteria set down by the government. The Welfare Reform Act 2012 proposed various changes to the
rules governing social security benefits in the UK, including an ‘under-occupancy penalty’ to be imposed on households that were receiving housing benefit and that were judged to have bedrooms surplus to their requirements. Critics and opponents soon began to refer to the new penalty as the ‘bedroom tax’, perhaps as a way of associating it with the term poll tax (a popular name for the unpopular community charge, now replaced by council tax). The first references to the bedroom tax in our corpus appear in 2011 but usage increased dramatically around the time this new provision came into force, in April 2013.
television programme in rapid succession, typically by means of DVDs or digital streaming. [ORIGIN 1990s: from BINGE + WATCH, after BINGE-EAT, BINGEDRINK.] The word binge-watch has been used in the circles of television fandom since the late 1990s, but it has exploded into mainstream use in the past year. The original context was watching programmes on full-season DVD sets, which freed viewers from the traditional one-episode-per-week schedule of broadcast television, but the word has really come into its own with the advent of on-demand viewing and online streaming. In 2013, binge-watching got a further BINGE-WATCH, verb boost when the video-streaming to watch multiple episodes of a company Netflix began releasing
episodes of its serial programming all at once, rather than individually, with the explicit intention of encouraging binge-watching. Etymologically, binge-watching represents a new step in the evolution of binge, which began its life as a dialectal word for a drinking spree in the 19th century. By the mid-20th century, the phrases binge-drinking and binge-eating had arisen, and by the end of the century, binge could be combined freely in that way, with the sense of ‘excessive consumption or activity of a specified type in a short period of time’. We have seen evidence of binge-spending, binge-writing, binge-studying, binge-flying, and many more, but binge-watching is the best established new formation thus far. In
the past year, it chalked up almost as much evidence on our corpus as binge-eating. (Binge-drinking remains unchallenged in the top position, at least for the moment.) BITCOIN, noun a digital currency in which transactions can be performed without the need for a central bank. Also, a unit of bitcoin. [ORIGIN early 21st century: from BIT, in the computing sense of ‘a unit of information’ and COIN.] The term first appeared in late 2008 in a research paper written by a developer, and the first bitcoins were created in 2009. By 2012 the virtual currency was attracting wider attention and we began to see a steadily increasing use of the term in our corpus. A spike in its usage was apparent between March and May earlier in the year which may be due in part to the market crash around that time. continued on page 16
หน้า 16
วันที่ 1 - 15 มกราคม พ.ศ. 2557
ลอว์นิวส์
LAW NEWS BULLETINS THE SOCIAL
continued from page 15
SETH AMBULANCE
TWERK, verb dance to popular music in a sexually provocative manner involving thrusting hip movements and a low, squatting stance. [ORIGIN 1990s: probably an alteration of WORK.] Twerk seems to have arisen in the early 1990s, in the context of the bounce music scene in New Orleans. It’s likely that the word was being used in clubs and at parties before that, as an exhortation to dancers. By the mid-1990s, we see evidence of twerk being used online in newsgroups to describe a specific type of dancing. (There are many theories about the origin of this word, and since it arose in oral use, we may never know the answer for sure. We think the most likely theory is that it is an alteration of work, because that word has a history of being used in similar ways, with dancers being encouraged to “work it”. The “t” could be a result of blending with another word such as twist or twitch.) By early 2013, the word had generated enough currency across a range of sources for us to add it to our dictionaries of current English: its association with Miley Cyrus this summer created a huge spike of usage in the media, especially social media. OLINGUITO, noun a small furry mammal found in mountain forests in Colombia and Ecuador, the smallest member of the raccoon family. (Taxonomic name Bassaricyon neblina) [ORIGIN 2013: diminutive form of OLINGO, a South American mammal resembling the kinkajou.] The discovery of the olinguito was announced by the Smithsonian Museum of Natural History in August 2013: it represented the first identification of a new species of mammalian carnivore in the Western hemisphere in 35 years. Extensive coverage of the story in the world’s media was guaranteed by the animal’s cute appearance – it was described as looking like a cross between a teddy bear and a domestic cat.
SCHMEAT, noun, informal a form of meat produced synthetically from biological tissue. [ORIGIN early 21st century: perhaps from SYNTHETIC and MEAT, influenced by the use of ‘- -, schm - -’ as a disparaging or dismissive exclamation (e.g. fancy schmancy: ‘some of the gourmet sauces you get in fancy schmancy places are just too spicy for me’).] This word tingles with faux-Yiddish derision – ‘meat, schmeat!’ – drawing on the pattern of genuine Yiddish words of disparagement such as schmuck, schmo, or schmear. Man-made meat is more commonly (and neutrally) known as ‘in-vitro meat’ or ‘cultured meat’. This word remains very rare, largely because the phenomenon it refers to is still in its infancy. However, in August of this year, the world’s first hamburger made with in-vitro meat was served up by Dutch scientists, raising the possibility that the general public may have more occasion to use this word in the not-too-distant future. SHOWROOMING, noun the practice of visiting a shop or shops in order to examine a product before buying it online at a lower price. [ORIGIN early 21st century: from SHOWROOM ‘a room used to display goods for sale’.] Before 2013, there were just a handful of examples of this on our corpus. By the end of October, we’ve seen this figure increase significantly, along with use of the related verb to showroom (‘A survey last year found that 35 percent of shoppers had showroomed/Big ticket items will be the most showroomed items this year’) and the noun showroomer (‘Some retailers have tried to compete with showroomers by reducing prices’).
4X4 MAN | ELLE FASHION WEEK AUTUMN / WINTER 2013 The workwear project of S’fare by Central Marketing Group under the brand named 4x4 MAN with the concept of urban young men, pro and living legend, is continue to AW 2013 collection ‘Parallel’ which took the inspiration from the photo of American football in 1966 to the color matching of the collection and the symbol of the American football yard to line, pattern print and shape. So, the vintage sportswear in the form of workwear with the color of dark red, green and purple is the key concept of this collection on the selected materials that are comfortable to wear and durable. The fashion show was on the schedule of ELLE Fashion Week AW13 at CentralWorld the another two menswear shows, Painkiller Archetype and Theatre Dressing Room, on the launch date of ELLE Men Magazine Thailand Zero issue, so from now on if we tell about ELLE Magazine is not only just about womenswear anymore.
THE TICKET
Cloudy with a Chance of Meatballs 2 Cloudy with a Chance of Meatballs 2 Inventor Flint Lockwood thought he saved the world when he destroyed his most infamous invention a machine that turned water into food causing cheeseburger rain and spaghetti tornadoes. But Flint soon learns that his invention survived and is nowcreatingfood-animals - "foodimals!" Flint and his friends embark on a dangerously delicious mission to battle hungry tacodiles, shrimpanzees,hippotatomuses, cheespiders and other foodimals to save the world - again!
Captain Phillips The film focuses on the relationship between the Alabama’s commanding officer, Captain Richard Phillips, and the Somali pirate captain, Muse, who takes him hostage. Phillips and Muse are set on an unstoppable collision course when Muse and his crew target Phillips’ unarmed ship; in the ensuing standoff, 145 miles off the Somali coast, both men will find themselves at the mercy of forces beyond their control.
Inside Llewyn Davis The story follows a week in the life of a young folk singer as he navigates the Greenwich Village folk scene of 1961. Llewyn Davis is at a crossroads. Guitar in tow, huddled against the unforgiving New York winter, he is struggling to make it as a musician against seemingly insurmountable obstacles - some of them of his own making. Living at the mercy of both friends and strangers, scaring up what work he can find, Llewyn’s misadventures take him from the basket houses of the village to an empty Chicago club - on an odyssey to audition for music mogul Bud Grossman and back again.