Lawnews9

Page 1

ลอว์นิวส์ หนังสือพิมพ์

ปีที่ 1 ฉบับที่ 9 วันพฤหัสบดีที่ 1 - วันพฤหัสบดีที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

รวมข่าว เล่ากฎหมาย ให้สาระประชาชน

ปีที่ 1 ฉบับที่ 9 วันพฤหัสบดีที่ 1 - วันพฤหัสบดีที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

ยอดคืนภาษี ห้าหมื่นล้าน อุทธรณ์ สรรพากรเล็ง แก้โทษสาวซิ่ง รีดย่านค้าส่ง

ในช่วงต้นเดือนพฤษภาคมนี้ จะมีวันสำ�คัญอีกวัน หนึ่ ง คื อ วั น ฉั ต รมงคลซึ่ ง ตรงกั บ วั น ที่ 5 พฤษภาคมของทุ ก ปี เป็ น วั น ที่ ร ะลึ ก ถึ ง การ ประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษกครองราชย์ เ ป็ น พ ร ะ ม ห า ก ษั ต ริ ย์ ใ น พ ร ะ บ า ท ส ม เ ด็ จ พระเจ้ า อยู่ หั ว ซึ่ ง เป็ น พระราชพิ ธี ที่ สำ � คั ญ ยิ่ ง เพราะเป็ น การเชิ ด ชู ว่ า พระองค์ ท รงเป็ น พระ ประมุขของประเทศโดยสมบูรณ์แล้ว มีสิทธิและ พระราชอำ�นาจบริบูรณ์ทุกประการ เช่น การใช้ พระเศวตฉัตร 9 ชั้นเป็นเครื่องหมายแสดงพระ เกียรติยศ การใช้ “พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั ” แทน “สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว” เป็นต้น ซึ่งเมื่อวัน ครบรอบการประกอบพระราชพิธบี รมราชาภิเษก เวียนมาครบปี ก็จะมีการจัดพระราชพิธฉี ตั รมงคล เพื่อเป็นการสมโภชเครื่องราชูปโภคทั้งปวง อ่านต่อหน้า 7

กรมสรรพากรตะลึง! ตั้งเป้ายอดขอคืน ภาษีเงินได้บคุ คลธรรมดา 50,000 ล้าน บาท หลังพบผู้มีเงินได้ยื่นแบบขอคืน ภาษี 3.5 ล้านคน อธิบดีลั่นสั่งปิดถนน สำ�เพ็ง เยาวราช ประตูน้ำ� วัดตึก และ ย่านวรจักรรีดภาษีผู้ค้าส่งรายใหญ่ นายสุทธิชัย สังขมณี อธิบดีกรม สรรพากร เปิดเผยว่า การคืนภาษีเงินได้ บุคคลธรรมดาในปีภาษี 2556 ของประชาชน ทีม่ รี ายได้ระหว่างเดือนมกราคมจนถึงเดือน ธันวาคมของปี 2556 ที่ต้องยื่นแบบภาษี ระหว่างเดือนมกราคมจนถึงเดือนมีนาคม 2557 ที่ผ่านมานั้น กรมสรรพากรคาดว่าจะ มียอดเงินในการคืนภาษีให้แก่ประชาชนสูง ถึง 50,000 ล้านบาท ซึ่งเป็นผลมาจากการ ปรับอัตราภาษีเงินได้บคุ คลธรรมดาจากเดิม ที่มีอยู่ที่ 5 ขั้น ได้ขยายเพิ่มขึ้นเป็น 7 ขั้น ทำ�ให้ประชาชนที่มีรายได้ปานกลางไม่เกิน 50,000 บาทต่อเดือน ซึ่งถือเป็นประชาชน ส่วนใหญ่ของผูท้ มี่ เี งินได้ ได้รบั ผลประโยชน์

จากอัตราภาษีใหม่ที่ลดลงเป็นจำ�นวนมาก “ในรอบปี 2556 ที่สิ้นสุดการ ยื่นแบบเมื่อวันที่ 8 เมษายนที่ผ่านมา ปรากฏว่ า ผู้ มี เ งิ น ได้ ม ายื่ น แบบภาษี ทั้งหมด 10.25 ล้านคน ในจำ�นวนนี้ แบ่งเป็นการยื่นแบบทางอินเทอร์เน็ต 7.7 ล้านคน ยื่นแบบด้วยกระดาษผ่าน สรรพากรพื้นที่ทั่วประเทศ 2 ล้านคน ส่วนที่เหลือ 170,000 คน ได้ยื่นแบบ ผ่านธนาคาร โดยในรอบปีภาษีนี้ ผู้มี เงินได้ยื่นแบบภาษีกับกรมสรรพากร เพิม่ ขึน้ 270,000 คน ซึง่ ถือว่าเป็นอัตรา การเพิ่มขึ้นที่น่าพอใจ” นายสุทธิชัยกล่าวว่า แม้ยอดการ คืนภาษีในปีภาษี 2556 จะมีเม็ดเงินที่เพิ่ม ขึ้นจากปีภาษีก่อน 30,000 ล้านบาทก็ตาม แต่กรมสรรพากรก็ไม่ได้หนักใจ เพราะการ ลดอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาดังกล่าว อยูใ่ นสูตรการคำ�นวณการสูญเสียรายได้ของ อ่านต่อหน้า 3

ศาลฟันทายาท ‘สมัคร’ อ่วม ร่วมชดใช้ กทม. 587 ล้าน เมื่อเช้าวันที่ 30 เมษายน ที่ห้องพิจารณา 2 ศาลปกครองกลาง ถนนแจ้งวัฒนะ ศาลอ่าน คำ�พิพากษา คดีหมายเลขดำ� 1843/2553 ที่ กรุงเทพมหานคร (กทม.) ยื่นฟ้อง คุณหญิงสุ รัตน์ สุนทรเวช ภรรยานายสมัคร สุนทรเวช อดีตผู้ว่าราชการ กทม., นางกาญจนากร ไชย ลาภ และนางกานดาภา มุ่งถิ่น ทายาทของ นายสมัคร เป็นผู้ถูกฟ้องที่ 1-3 เพื่อให้ผู้ถูก ฟ้องทั้งสามซึ่งเป็นผู้รับมรดกจากนายสมัคร ร่วมกันชดใช้ค่าเสียหาย กรณีที่นายสมัคร กระทำ�ความผิดเกี่ยวกับการจัดซื้อรถเรือดับ เพลิง หลัง ป.ป.ช.ชี้มูลความผิดเนื่องจากร่วม กับ บริษัท สไตเออร์ เดมเลอร์ พุค สเปเชียล ฟาห์รซอยก์ จํากัด ประเทศออสเตรีย กำ�หนด ราคาซื้อขายให้สูงเกินจริง โดยในวันนี้ (30 เมษายน) ภรรยา และบุตรของนายสมัคร ผู้ถูกฟ้อง ไม่ได้เดิน ทางมาร่วมฟังคำ�พิพากษาแต่มอบอำ�นาจให้

แจกฟรี

ในฉบับ

ไทม์ ไลน์

issn 2350-9848

ลอว์นิวส์

นายสุขสันต์ สุขสวัสดิ์ ทนายความ มาศาลแทน ส่วน กทม. ผู้ฟ้อง ไม่ได้เดินทางมาศาล ศาลพิเคราะห์แล้ว เห็นว่า พฤติการณ์ ของนายสมัคร และ พล.ต.ต.อธิลักษณ์ ตันชู เกียรติ อดีตผู้อำ�นวยการสำ�นักป้องกันและ บรรเทาสาธารณภัย กทม. ตั้งแต่เริ่มโครงการ จนถึงการลงนามในสัญญามีลักษณะเป็นการ เร่งรีบ เพื่อให้มีการดำ�เนินการตามสัญญา ระหว่างที่นายสมัครยังคงดำ�รงตำ�แหน่งผู้ว่า ราชการ กทม. แม้จะมีการอ้างเหตุจำ�เป็นใน การดำ�เนินโครงการจากการเติบโตของ กทม. แต่ทั้งสอง ไม่ได้ดำ�เนินการอย่างรอบคอบ ใน การพิจารณารายละเอียดสัญญาลักษณะรัฐต่อ รัฐตามขั้นตอนที่ ครม. มีมติ และยังไม่ได้นำ� กรณีอื่นที่หน่วยทหารพัฒนาของ บก.สส. ได้ ทำ�สัญญาแบบรัฐต่อรัฐกับบริษทั สไตเออร์ฯ มา พิจารณาประกอบ ในการปฏิบัติตามขั้นตอน ต่างๆ ให้ครบถ้วนสมกับกรณีทั้งที่นายสมัคร

เป็นผูว้ า่ ราชการ กทม. ย่อมต้องรับรูแ้ ละเข้าใจ จากพยานหลักฐานจึงฟังได้ว่าการกระทำ�ของ นายสมัครดังกล่าวจงใจประมาทเลินเล่อ ทำ�ให้ กทม.เสียหาย จึงพิพากษาให้ทายาทซึ่งเป็น ผู้รับมรดก ชดใช้เงินค่าเสียหาย ร้อยละ 30 ของความเสียหายทั้งหมดจำ�นวน 1,958 ล้าน บาทเศษ คิดเป็นเงินทัง้ สิน้ 587,580,000 บาท พร้อมดอกเบีย้ ร้อยละ 7.5 ต่อปี นับจากวันฟ้อง โดยให้ช�ำ ระเสร็จภายใน 60 วันตัง้ แต่วนั ทีม่ คี �ำ พิพากษา ภายหลั ง นายสุ ข สั น ต์ สุ ข สวั ส ดิ์ ทนายความของคุณหญิงสุรัตน์ กล่าวว่าหลัง จากนี้ จ ะไปปรึ ก ษากั บ คุ ณ หญิ ง สุ รั ต น์ และ ทายาททั้งสอง เรื่องการอุทธรณ์คดี ต่อศาล ปกครองสูงสุด ซึ่งจะต่อสู้ในประเด็นที่ว่าศาล ปกครองไม่มีอำ�นาจพิพากษาในคดีนี้ เพราะ เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับมรดก ที่ควรจะต้องยื่น ฟ้องคดีต่อศาลแพ่ง

รอลงอาญา 4 ปี ศาลอุทธรณ์พิพากษาเพิ่มโทษสาวซิ่ง ชนรถตู้มีผู้เสียชีวิต 9 ศพเมื่อปี 2554 จำ�คุก 2 ปี คงเดิม แต่เพิ่มรอลงอาญา เป็น 4 ปี พร้อมห้ามขับรถจนกว่าอายุ 25 ปี เมื่ อ วั น ที่ 22 เมษายน ศาล เยาวชนและครอบครั ว กลางได้ อ่ า นคำ � พิ พ ากษาศาลอุ ท ธรณ์ ค ดี น างสาวแพรว (นามสมมติ) อายุ 20 ปี เป็นจำ�เลยในความ ผิดฐานขับรถยนต์โดยประมาทเป็นเหตุใน ผู้อื่นถึงแก่ความตาย และได้รับอันตรายต่อ ร่างกาย บาดเจ็บสาหัส ทรัพย์สินเสียหาย และใช้โทรศัพท์มือถือขณะขับรถยนต์ คดีนี้ สืบเนื่องจากเมื่อวันที่ 27 ธันวาคม 2553 นางสาวแพรว ซึ่งเป็น เยาวชนอายุ 17 ปี ขับรถยนต์ฮอนด้าซีวิค ห ม า ย เ ล ข ท ะ เ บี ย น ฎ ว 8 4 6 1 กรุงเทพมหานคร ขึ้นบนทางยกระดับดอน เมืองโทลล์เวย์ และพุ่งชนกับรถตู้โดยสาร ทะเบียน 13-7795 กรุงเทพมหานคร ซึ่งวิ่ง ให้บริการระหว่างมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รังสิตกับอนุสาวรียช์ ัยสมรภูมิ เป็นเหตุให้มี ผู้ เ สี ย ชี วิ ต รวม 9 ศพ คดี นี้ ศ าลชั้ น ต้ น พิพากษาจำ�คุก 2 ปี แต่ให้รอลงอาญา 3 ปี และห้ามขับรถอีกจนกว่าอายุ 25 ปี บำ�เพ็ญ ประโยชน์ 48 ชั่วโมง ส่วนความผิดฐานใช้ โทรศัพท์ขณะขับรถยกฟ้อง ศาลอุทธรณ์พิเคราะห์แล้วมีคำ� พิพากษาแก้โทษจากจำ�คุก 2 ปี รอลงอาญา 3 ปี ให้เพิ่มจำ�คุก 2 ปี รอลงอาญา 4 ปี บำ�เพ็ญประโยชน์ 48 ชั่วโมงต่อปี เป็นเวลา รวม 4 ปี ส่วนโทษอื่นให้คงตามศาลชั้นต้น ด้านพันตำ�รวจเอกศรัญ นิลวรรณ บิดาของนางสาวสุดาวดี นิลวรรณ หรือน้อง นุน่ นักศึกษาคณะนิตศิ าสตร์ มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์ ผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์ดัง กล่าว ระบุว่าพอใจกับคำ�ตัดสินของศาล ที่ มีการเปลี่ยนแปลงโทษ ซึ่งหลังจากนี้จะมี การปรึกษากันระหว่างญาติผเู้ สียชีวติ ถึงการ อ่านต่อหน้า 3


2

ลอว์นิวส

ปีที่ 1 ฉบับที่ 9 วันพฤหัสบดีที่ 1 - วันพฤหัสบดีที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

บทบรรณาธิการ

แนะนำ�คอลัมน์ ใหม่

วันที่ 1 พฤษภาคม ของทุกปี วันแรงงานแห่งชาติ แม้ในปัจจุบันจะได้มีการเพิ่มเงินค่าแรงขั้นต่ำ�ให้สูงขึ้นจากเดิม มากเป็นวันละ 300 บาท ซึ่งทำ�เอานายจ้างหลายๆ รายถึงกับโอดครวญกันมาแล้ว แต่ด้วยเศรษฐกิจในขณะนี้ซึ่ง เครื่องอุปโภคบริโภคทุกอย่างราคาก็สูงขึ้นเป็นทวีคูณ ค่าแรงขั้นต่ำ�จำ�นวน 300 บาท จะกลายเป็นน้อยเกินไป สำ�หรับลูกจ้างเสียแล้ว ตอนนี้คงต้องหันมาเห็นใจลูกจ้างกันแทนแล้วนะคะ เราคงปฏิเสธกันไม่ได้นะคะว่าการที่ เศรษฐกิจตกต่ำ�ลงในขณะนี้ ส่วนหนึ่งก็เป็นผลมาจากเหตุการณ์บ้านเมืองที่ยังไม่ลงรอยกันมาหลายเดือน ทำ�ให้ พ่อค้าแม่ค้าและนักลงทุนจากต่างประเทศขาดความมั่นใจในการมาลงทุนในบ้านเรา เพราะเกรงจะเกิดความไม่ สงบในบ้านเมืองขึ้นเมื่อไหร่ก็ไม่อาจทราบได้ ก็ได้แต่หวังว่าทุกฝ่ายจะสามารถเจรจาและจบลงกันได้โดยเร็ว ก่อนที่เศรษฐกิจไทยเราจะ ตกต่�ำ ลงไปกว่านีแ้ ละจะฟืน้ ตัวได้ยาก หลายฝ่ายยังจับตามองกันว่าศาลรัฐธรรมนูญจะมีค�ำ วินฉิ ยั เกีย่ วกับคดีของนายถวิล เปลีย่ นศรี ออก มาเป็นรูปแบบใด จะมีผลทำ�ให้นายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีต้องพ้นจากตำ�แหน่งทั้งคณะหรือไม่ ซึ่งในวันที่ 28 เมษายน ที่ผ่านมา นี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฯ ได้มีพระบรมราชโองการแต่งตั้งให้ นายถวิล เปลี่ยนศรี กลับมาเป็นเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่ง ชาติตามเดิมแล้ว ฝ่าย กปปส. ก็ยังมุ่งมั่นเรียกร้องให้มีการปฏิรูปก่อนการเลือกตั้ง โดยจะประกาศในวันที่ 30 เมษายน นี้ อย่างเป็น ทางการว่าจะเรียกรวมพลครั้งสุดท้ายวันที่เท่าไร ถึงขนาดเปรยออกมาว่าหากรวมพลไม่ได้จำ�นวนคนมากเหมือนแต่ก่อน อาจจะยอม มอบตัวกันเลยทีเดียว ในส่วนฝ่ายกลุ่มเสื้อแดงก็ได้ประกาศจะมีการรวมพลใหญ่เช่นกันในวันที่ 6 พฤษภาคม 2557 โดยหมายว่าจะช่วย กดดันศาลรัฐธรรมนูญในการอ่านคำ�วินิจฉัยส่วนหนึ่งได้ ดิฉันว่างานนี้ ก็คงต้องว่ากันไปนะคะตามผิดตามถูก แต่ละฝ่ายก็ควรทำ�หน้าที่ ของตนในขอบเขตอำ�นาจหน้าทีข่ องตนเอง ไม่กา้ วก่าย และเคารพสิทธิและอำ�นาจของแต่ละฝ่าย ถ้าทำ�ได้เช่นนี้ จึงจะเป็นการคานอำ�นาจ กันที่ถูกต้องและบ้านเมืองก็จะอยู่กันอย่างสงบสุข ทางคณะกรรมการการเลือกตั้งเองก็ได้เรียกประชุมทุกฝ่ายเพื่อจะกำ�หนดวันเลือกตั้ง ส.ส. ใหม่ ซึ่งคาดว่าน่าจะเป็นกลางเดือนกรกฎาคมนี้ สภาพอากาศในโลกเราก็เกิดการปรวนแปรไม่แพ้การเมืองไทยเรากันเลยนะคะ จากเหตุการณ์โศกนาฏกรรมเครื่องบินของ สายการบินมาเลเซีย MH 380 สูญหายไป ซึ่งจนปัจจุบันนี้ก็ยังไม่เป็นที่แน่ชัดว่าเกิดจากการถูกจี้ หรือเครื่องบินตกด้วยเหตุใด ก็มาเกิด เหตุการณ์เรือเฟอร์รขี่ า้ มฟากในประเทศเกาหลีใต้อบั ปางร่มกลางทะเลอีก และด้วยสภาพอากาศทีเ่ ลวร้ายมาก คลืน่ สูง น้�ำ เชีย่ ว จนทำ�ให้ ทางการไม่สามารถเข้าไปช่วยเหลือผู้ประสบภัยได้ทันท่วงที เป็นที่น่าเสียดายที่ต้องมีผู้เสียชีวิตเป็นจำ�นวนมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับ นักเรียน สำ�หรับในประเทศไทยเราเอง อากาศในช่วงนี้ก็ร้อนมากและมีพายุเข้าจนอาจทำ�ให้เกิดลูกเห็บตกได้ ส่วนหนึ่งก็คงเป็นเพราะ เกิดการตัดไม้ทำ�ลายป่ากันมาก ทั้งไม้พะยูง และไม้ในป่าสาละวิน เมื่อวันที่ 27 เมษายน 2557 ได้มีการประชุมใหญ่สามัญประจำ�ปีของสภาทนายความ ซึ่งมีทนายความจากทั่วประเทศเข้าร่วม ประชุมกันอย่างล้นหลาม และเป็นที่น่ายินดีที่เราได้ร่วมกันแสดงความยินดีกับทนายความที่ได้รับการเลือกตั้งให้เป็น ส.ว. ในครั้งนี้ ซึ่ง แต่ละท่านนั้นได้เคยอุทิศตนช่วยเหลือสังคมและเป็นทนายความอาสามาเป็นเวลาหลายสิบปี จึงไม่เป็นที่นา่ แปลกใจเลยที่ทกุ ท่านได้รบั ความไว้วางใจจากประชาชนและได้รับคะแนนเสียงให้ได้รับตำ�แหน่ง ส.ว. กองบรรณาธิการขอร่วมแสดงความยินดีกับส.ว.ใหม่ทุกท่าน ด้วยค่ะ และขอชื่นชมทุกท่านที่ได้สร้างชื่อเสียง เป็นตัวอย่างที่ดี และสร้างความน่าเชื่อถือให้กับอาชีพทนายความของเรา และท้ายสุดนี้ สภาทนายความเองก็ได้พยายามเสริมสร้างเกียรติยศให้กบั ทนายความทุกท่าน โดยกำ�ลังดำ�เนินการกำ�หนดอักษรย่อนำ�หน้าชือ่ ผูป้ ระกอบ วิชาชีพทนายความเช่นเดียวกับกรณีคำ�นำ�หน้าของแพทย์ หรือทันตแพทย์ โดยได้มีการพิจารณากันอยู่ว่า คำ�นำ�หน้าทนายความควรจะ เป็น ท. หรือ ทน. หรือ ทค. เราคงทราบผลอย่างเป็นทางการเร็วๆ นี้นะคะ แอน พี. วรรณประทีป บรรณาธิการ

/

/กรี๊ด!

ตายแล้ มีคน ตายแล้ว!!ว!! มีคนขโมย ขโมยของในร้ ของในร้าน!! าน!! วัวันรุรุ่ง่งขึขึ้น้น โมย ี๋ยวนี้/ ข ว ั ด เจ้าหหยุดเ ! ้ย /เฮี่ตำ�รวจ น

/หยุ /หยุดดก็ก็บบ้า้าน่น่ะะสิสิ//

อะไรกั อะไรกันน! มาจั มาจับบผม ผม ทำท�าไม ไม เจ้ า ของร้ าน เจ้าของร้านไม่ ไม่เ่ออาเรื เอาเรื งผมนี่อ่!งผมนี่

กรี กรี๊ด๊ด!!!หนูหนู จะ จะโทรแจ้ โ ท ร แ จ้ งง ารวจเพืเพื ่ อ ่อ ตำ�ตรวจ แ จ้งง คความ วาม แจ้ งทุ กกข์ข์ค่ ะค่ะ ร้ร้อองทุ บอส! บอส! /หยุดดเดีเดี๋ยวนี ๋ยวนี ้นะ/ /หยุ ้นะ!/

1วันวันต่ต่ออมา

พูดถึงอาชีพที่เกี่ยวข้องกับการใช้กฎหมาย คนทัว่ ไปก็คงรูจ้ กั แค่ต�ำ รวจและทนายความ ทัง้ ทีจ่ ริงแล้วมีอาชีพที่ ใช้กฎหมายเยอะมาก คอลัมน์ Law Citizen จะพาผู้อ่านไป ทำ � ความรู้ จั ก กั บ บุ ค คลในสายอาชี พ กฎหมายในสาขาต่างๆ ว่ามีหน้าที่ทำ�อะไร ประสบการณ์ตา่ งๆ และเหตุการณ์ทปี่ ระทับ ใจ ฉบับแรก ขอนำ�เสนอ ตำ�แหน่งที่ทุกคน เคยได้ ยิ น ชื่ อ ผ่ า นๆ แต่ อ าจยั ง ไม่ รู้ ร าย ละเอียดอย่าง อัยการ หรือ ทนายความ ของรัฐที่เราคุ้นปากคุ้นหูกัน

อีกคอลัมน์ที่สาวที่กำ�ลังจะเป็นแม่ หรือคน เป็นแม่ รวมถึงคนที่ไม่อยากเป็นแม่ไม่ควร พลาด MISSCOVERY โดยจะเล่าเรื่อง ร า ว ผ่ า น ก า ร ค้ น พ บ ข อ ง ผู้ ห ญิ ง ประสบการณ์ ในการเลีย้ งลูกทีอ่ าจให้ไอเดีย และแรงบันดาลใจ อ่านสนุกอ่านเพลิน ใน เล่มแรกมีชื่อตอนว่า ผู้หญิงที่ไม่อยากเป็น แม่ จะเป็นอย่างไรต้องพลิกไปอ่านหน้า 10

เรื่องและภาพโดย ปองกานต์ ขุนภาษี

ะค่ะ/

แม่พร อ ื ค น ้ ั /ดิช

! หวานหมู มูลล่ะะ// /หึ/หึหวานห

ค่ค่ะะ คืคืออดิดิชชั้นั้นมาคิ มาคิดดดูดูแแล้ล้ว วไม่ไม่ เอาเรื ค่ะ เอาเรื ่องดี่อกงดี ว่ากค่ว่ะ าของ ของราคาแค่ น ด ิ เดี ย ว ช่ ว งนี ด ้ ช ิ น ้ ั อยาก ราคาก็แค่นิดเดียว ช่วงนี้ดิชั้นอยากททำาบุ �บุญญน่น่ะะค่ค่ะะ

คุคุณณแน่ แน่ใใจนะครั จนะครับบ ว่ า จะไม่ เ อาเรื ว่าจะไม่เอาเรื ่อง?่อง

แม้ผู้เสียหายจะไม่ติดใจ แ ม้นผูคดี ้ เ สี ยกหับาเธอแล้ ย จ ะ ไ ม่วติ แต่ ดใจ ดำ�เนิ ด าเนิ น คดี ก ั บ เธอแล้ ว แต่ เมื่อเป็นความผิดฐานลัเกมื่อ พ ย์ ทรัเป็ พย์นผความผิ ู้อื่น ย่ดอฐานลั มเป็กนทรั ความ ้อื่น ย่อมเป็ นความผิ ผิดผูอาญาต่ อแผ่ นดินดอาญา ไม่อาจ ยอมความกั นได้อาจยอมความ พนักงาน ต่อแผ่นดิน ไม่ สอบสวนจึ มีอำ�นาจ งมี กันได้ พนักงงานสอบสวนจึ สอบสวนคดี ตาม ตามป.อ. ป.อ. อานาจสอบสวนคดี 334. ป.วิ . อ. 121 334, ป.วิ.อ.121 ว.แรก ว.แรก

/เข้า/เข้ ใจ๋?า/ใจ๋/

/โธ่!././ /โฮ๋

หนังสือพิมพ์ลอว์นิวส์ จัดทำ�โดยสภาทนายความในพระบรมราชูปถัมภ์ ที่ปรึกษา นายเดชอุดม ไกรฤทธิ์ นายพูลศักดิ์ บุญชู ผศ. ว่าที่ร้อยตรี ดร. สุรพล สินธุนาวา นายชวน คงเพชร ดร. สุธรรม วลัย เสถียร, นายสุมิตร มาศรังสรรค์, นายนิวัติ แก้วล้วน, ดร. เกียรติศักดิ์ วรวิทย์รัตนกุล บรรณาธิการ, ผู้พิมพ์, ผู้โฆษณา นางแอน พลอยส่องแสง กองบรรณาธิการ นายสุวิทย์ เชยอุบล นายสุนทร พยัคฆ์ นายวิเชียร ชุบไธสง นางสาวอรอนงค์ เทศะบำ�รุง นายธีรศักดิ์ วิชชุตานนท์ นายชัยณรงค์ กัจฉปานันท์ นายสุชาติ ชมกุล นายชลิต ขวัญแก้ว ร้อยตรีสุรศักดิ์ รอนใหม่ นายพิเชฐ คูหาทอง นายอาสา เม่นแย้ม นายผาติ หอกิติ ติกลุ นายวิทยา แก้วไทรหงวน นายวันรัฐ นาคสุวรรณ นายโอฬาร กุลวิจติ ร นายวีรวัฒน์ จิตต์ปรุง ศิลปกรรม นายฉัตรชัย ทองศักดิ์ เลขที่ 7/89 อาคาร 10 ถนนราชดำ�เนินกลาง แขวงบวรนิเวศ เขตพระนคร กรุงเทพฯ 10200 โทรศัพท์ 0-2280-1567 แฟกซ์ 0-2282-9908 E-mail : lawnewslct@gmail.com


ลอว์นิวส์ ต่อจากหน้า 1 : ยอดคืนภาษี ห้าหมื่นล้าน กรมสรรพากรไว้ เ รี ย บร้ อ ยแล้ ว โดย ประเมินว่าตัง้ แต่โครงสร้างอัตราภาษีเงินได้ บุคคลธรรมดาใหม่มีผลบังคับเมื่อปลายปีที่ แล้ ว กรมสรรพากรจะสู ญ เสี ย รายได้ ประมาณ 20,000 ล้านบาท สำ � หรั บ เม็ ด เงิ น การขอคื น ภาษี 50,000 ล้านบาท มีผทู้ ยี่ นื่ ขอคืนทัง้ หมด 3.5 ล้านคน จากปีภาษีที่แล้วอยู่ที่ 2.8 ล้านคน โดยในจำ�นวนนีก้ รมสรรพากรได้คนื ภาษีไป แล้ ว ประมาณ 71% หรื อ เป็ น เม็ ด เงิ น ประมาณ 29,000 ล้านบาท ซึง่ เป็นข้อมูล ณ วันที่ 23 เมษายนทีผ่ า่ นมา โดยมัน่ ใจว่ากรม สรรพากรจะคืนภาษีให้ผู้ที่มีเงินได้ที่ขอคืน ภาษีได้เกือบทัง้ หมดได้ภายใน 1-2 เดือนนี้ ยกเว้นกรณีที่มีผู้ที่ยื่นแบบไว้ไม่ถูกต้องหรือ ไม่ครบถ้วน ทำ�ให้เจ้าหน้าที่ต้องเรียกข้อมูล และขอเอกสารเพิ่ ม เติ ม ส่ ง ผลให้ ก าร พิจารณาการคืนภาษีล่าช้าไปด้วย น า ย สุ ท ธิ ชั ย ก ล่ า ว ว่ า ใ น ปีงบประมาณ 2557 นี้ กรมสรรพากรจะ พยายามเพิม่ ประสิทธิภาพการจัดเก็บรายได้ ให้มากขึ้น โดยในช่วง 6 เดือนแรกของปีงบ ประมาณ 2557 (ตุลาคม 2556-มีนาคม 2557) จัดเก็บรายได้รวม 705,613 ล้านบาท ต่ำ�กว่าประมาณการ 23,451 ล้านบาท หรือ 3.2% แต่ยังสูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้ว 4% ซึ่งเป็นผลมาจากภาวะเศรษฐกิจไทยได้รับ ผลกระทบจากปั ญ หาการเมื อ งทำ � ให้ ประชาชนลดการอุปโภคและบริโภค ล่าสุด อธิบดีกรมสรรพากรได้สั่ง ให้เจ้าหน้าทีส่ รรพากรในเขตพืน้ ทีส่ �ำ คัญของ ระบบเศรษฐกิจคือ สำ�เพ็ง เยาวราช ประตู น้� ำ วัดตึก และย่านวรจักร ตรวจสอบบรรดา ร้านค้าส่งในแหล่งธุรกิจดังกล่าวอย่างเข้ม งวดเพราะมีหลักฐานทีช่ ดั เจนว่าบรรดาร้าน ค้าส่งเหล่านี้เสียภาษีไม่ครบถ้วน

ต่อจากหน้า 1 : อุทธรณ์แก้โทษสาวซิ่ง ยื่นฎีกาต่อสู้คดี ตนเองและญาติยังทำ�ใจไม่ ได้ที่ลูกสาวมาเสียชีวิตลง ส่วนคดีแพ่งที่มี การฟ้องร้องเรียกค่าเสียหาย ศาลได้พกั การ พิจารณาคดีไว้จนกว่าคดีอาญาจะพิจารณา เสร็จสิ้น สำ�หรับคดีดงั กล่าว เกิดขึน้ เมือ่ วัน ที่ 27 ธันวาคม 2553 โดยขณะนั้น นับว่า เป็นอุบัติเหตุรุนแรงสะเทือนขวัญส่งท้ายปี เก่า มีผู้เสียชีวิตจำ�นวนมาก และผู้เสียชีวิต หลายรายอยูใ่ นสภาพน่าหวาดเสียว รวมถึง ผูก้ อ่ เหตุเป็นบุคคลในตระกูลดัง จึงทำ�ให้คดี นี้ได้รับความสนใจจากสังคมอย่างมาก

ปีที่ 1 ฉบับที่ 9 วันพฤหัสบดีที่ 1 - วันพฤหัสบดีที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

3

เหยื่อบึ้มร้องสภาทนาย สั่งทนายอาสาช่วยเต็มที่ เหยื่ อ ระเบิ ด สมั ย สงครามโลกที่ ล าด ปลาเค้ า เดิ น ทางมาพบนายกสภา ทนายความ เพื่ อ ขอความช่ ว ยเหลื อ ดำ�เนินคดี ด้านนายกสภาทนายความสั่ง ทนายอาสาให้ความช่วยเหลือเต็มที่ เมื่ อ วั น ที่ 22 เมษายน ที่ ส ภา ทนายความ ในพระบรมราชูปถัมภ์ นางเพียง ใจ ผ่อนผัน ประธานองค์กรสภาชุมชนเขต บางเขน นำ�ชาวบ้านย่านลาดปลาเค้า 72 แยก 1 4 แ ข ว ง อ นุ ส า ว รี ย์ เ ข ต บ า ง เ ข น กรุงเทพมหานคร ที่ได้รับผลกระทบจากเหตุ ร้ า น รั บ ซื้ อ ข อ ง เ ก่ า รั บ ซื้ อ ร ะ เ บิ ด ส มั ย สงครามโลกมาแล้วเกิดเหตุระเบิดขณะทำ�การ แยกส่วน จนมีคนเสียชีวิตและบาดเจ็บ บ้าน เรือนใกล้เคียงได้รับความเสียหาย กว่า 180 หลังคาเรือน เมื่อวันที่ 2 เมษายนที่ผ่านมา เดินทางมาขอเข้าพบนายอุดมเดช ไกรฤทธิ์ นายกสภาทนายความ เพื่อร้องขอความช่วย เหลือเกี่ยวกับคดีแพ่งจากเหตุการณ์ดังกล่าว นางเพียงใจ กล่าวว่าจนถึงปัจจุบนั ชาวบ้านยัง ไม่ได้รับความกระจ่างจากเจ้าหน้าที่รัฐเรื่อง การชดเชยค่าเสียหาย สอบถามไปที่เจ้าขอ ร้านขายของเก่าก็ผัดผ่อนอ้างว่าไม่มีเงิน ไป ถามทางสถานีต�ำ รวจนครบาลบางเขน แต่รอ้ ย เวรเจ้าของคดีแจ้งว่าในส่วนคดีแพ่งผู้เสียหาย ต้องไปฟ้องคดีเอาเอง และทางร้านต้นเหตุได้

ส่งคนมาตัดขนย้ายเหล็กโครงอาคาร ทัง้ ทีเ่ จ้า หน้าที่มีหนังสือห้ามขนย้ายสิ่งของใดๆ ใน ระยะเวลา 45 วัน นอกจากนั้น อยากให้ตรวจ สอบเรื่องการขออนุญาตการเปิดสถานรับซื้อ ของเก่า เรือ่ งระเบียบอาคารสถานที่ ข้อบังคับ ตาม พ.ร.บ. ของกรุงเทพมหานครด้วย ด้านนายอุดมเดช ไกรฤทธิ์ นายก สภาทนายความ พร้อมกรรมการฝ่ายช่วย เหลือประชาชนสภาทนายความ กล่าวว่าเบือ้ ง ต้นทางสภาทนายความได้รับเรื่องและมอบ หมายให้เจ้าหน้าทีฝ่ า่ ยช่วยเหลือประชาชนเข้า ดูแล ซักถามรายละเอียดเบื้องต้น ก่อนให้ ทนายความอาสาลงพื้ น ที่ ต รวจสอบราย ละเอียดความเสียหาย ส่วนจะมีเจ้าหน้าที่รัฐ

มีส่วนเกี่ยวข้องหรือละเลยในการกระทำ�ผิด เรื่องอะไรบ้างคงต้องดูในรายละเอียดอีกที ทั้งนี้ เหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นเมื่อ วันที่ 2 เมษายนที่ผ่านมา เนื่องจากมีคนงาน ก่อสร้างบ้านแห่งหนึง่ ในซอยลาดปลาเค้า 72 แยก 10 ขุดเจาะพืน้ ดินแล้วพบวัตถุทเี่ ป็นเหล็ก ขนาดใหญ่ หนัก 230 กิโลกรัม จึงได้นำ�ไป ขายที่ร้านรับซื้อของเก่า จากนั้น คนงานของ ร้านรับซื้อของเก่า ได้ใช้แก๊สเป่าเพื่อตัดเหล็ก จึงเกิดการระเบิดขึ้น ทำ�ให้มีผู้เสียชีวิต 9 ราย บาดเจ็บราว 20 คน บ้านเรือนเสียหายอีก หลายสิบหลังคาเรือน มีผู้ได้รับความเสียหาย นับร้อยคน

อย. พัฒนาจดแจ้งเครื่องสำ�อาง

รู้ผลทันที - ออนไลน์ 24 ชม. อย. ลดขั้นตอนการรับจดแจ้งเครื่องสํา อางควบคุม เร่งพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์ ให้ รั บ จดแจ้ ง เครื่ อ งสํ า อางได้ โ ดย อั ต โนมั ติ โดยในอนาคตอั น ใกล้ ผู้ ประกอบการสามารถยื่นคําขอจดแจ้งได้ ตลอด 24 ชั่ ว โมง ไม่ จํ า กั ด จํ า นวน ประมวลผลทั น ที และมี ม าตรฐาน เดียวกัน เภสัชกร ประพนธ์ อางตระกูล รอง เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) และในฐานะโฆษก อย. เปิดเผยว่า สํานักงาน คณะกรรมการอาหารและยา (อย.) มีนโยบาย ปรับปรุงกระบวนการทํางาน (Reprocess) ให้มปี ระสิทธิภาพ รวดเร็ว โปร่งใส ลดขัน้ ตอน การรับจดแจ้งเครือ่ งสําอางควบคุม โดยพัฒนา ระบบคอมพิวเตอร์ให้สามารถรับจดแจ้งเครือ่ ง สาํ อางได้โดยอัตโนมัติ ซึง่ มีขอ้ ดีคอื ผูป้ ระกอบ การสามารถยื่นคําขอจดแจ้งเครื่องสําอางได้ ตลอด 24 ชั่วโมง ไม่จํากัดจํานวน ประมวล ผลทันที ด้วยมาตรฐานเดียวกัน ซึ่งจากเดิม

เมื่อผู้ประกอบการส่งคําขอจดแจ้งเข้ามาทาง อิ น เทอร์ เ น็ ต เจ้ า หน้ า ที่ จ ะพิ จ ารณาราย ละเอียดทั้งหมด ตั้งแต่คําที่ใช้เป็นชื่อการค้า/ ชื่อเครื่องสําอาง ประเภท ตลอดจนสารที่ใช้ เป็นส่วนผสม ว่ามีความสอดคล้องกัน และไม่ ขัดกับกฎหมาย จึงจะออกใบรับแจ้งให้ ซึ่งจะ ใช้เวลา 3 วันทําการ แต่เมือ่ ใช้ระบบรับจดแจ้ง อัตโนมัติ หากผู้ประกอบการส่งรายละเอียด คํ า ขอจดแจ้ ง เข้ า มาได้ ค รบถ้ ว น ระบบจะ ประมวลผล และรับแจ้งโดยอัตโนมัติ ได้รับ ใบรับแจ้งทันที ทัง้ นี้ ระบบจะสามารถคัดกรอง รายละเอียดได้ระดับหนึ่ง ดังนั้น ผู้ประกอบ การจะต้องแจ้งรายละเอียดด้วยความรอบคอบ ระมัดระวัง ตามคําแนะนําในคู่มือที่สํานัก งานฯ กําหนดอย่างเคร่งครัด เพราะหากผู้ ประกอบการแจ้งรายละเอียดทีไ่ ม่ถกู ต้อง หรือ ไม่ตรงตามข้อเท็จจริง ผู้ประกอบการจะต้อง รับผิดชอบในปัญหาที่จะเกิดขึ้นและอาจเป็น อุปสรรคในการดําเนินการขั้นตอนอื่นๆ ต่อ ไป เช่น ถ้าชือ่ ประเทศผูผ้ ลิตทีร่ ะบุในใบรับแจ้ง

ไม่ตรงกับข้อมูลที่ฉลาก จะไม่สามารถผ่าน พิธีการทางศุลกากรเพื่อนําเข้า เป็นต้น ใน กรณีที่ผู้ประกอบการตรวจสอบพบว่าข้อมูลที่ แจ้งไว้ไม่ถกู ต้อง หรือประสงค์จะปรับสูตรของ ผลิตภัณฑ์โดยยังคงใช้ชื่อเดิม สามารถทําได้ ด้วยการทําหนังสือแจ้งขอยกเลิกใบรับแจ้งเดิม และยื่นคําขอจดแจ้งใหม่ การดําเนินงานเพือ่ รับจดแจ้งเครือ่ ง สําอางด้วยระบบอัตโนมัตินี้ ได้มีการพัฒนา มาอย่างต่อเนือ่ ง โดยมุง่ เน้นให้ระบบสามารถ ประมวลผลได้อย่างครบถ้วนสมบูรณ์ ทั้งใน ส่วนของสารเคมีที่ใช้เป็นส่วนผสม และคําที่ ห้ามใช้เป็นชื่อหรือส่วนหนึ่งของชื่อเครื่องสํา อาง โดย อย.จะเริม่ ให้กลุม่ อาสาสมัครทดลอง ใช้ระบบ ในวันที่ 28 เมษายน 2557 นี้ เพื่อ ตรวจสอบความพร้อมของระบบ และจะได้ พั ฒ นาให้ ส มบู ร ณ์ ที่ สุ ด เพื่ อ ให้ บ ริ ก ารแก่ ผู้ ประกอบการ ทุกรายในอนาคตอันใกล้นี้ รอง เลขาธิการฯ และในฐานะโฆษก อย. กล่าวใน ที่สุด


4

ลอว์นิวส

ปีที่ 1 ฉบับที่ 9 วันพฤหัสบดีที่ 1 - วันพฤหัสบดีที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

ศัลยกรรมเป็นเหตุ! หวิดกลับประเทศไม่ ได้ ประสบปัญหาดังกล่าว ชาวต่างชาติที่มักเดินทางเข้ามาทำ� ศัลยกรรมในเกาหลีคอื ชาวจีนและญีป่ นุ่ อายุ ระหว่าง 36-54 ปี บางครัง้ พวกเขาต้องประสบ ปัญหาไม่สามารถเดินทางกลับประเทศ โดย ปัญหาดังกล่าวนี้เริ่มเกิดขึ้นบ่อยครั้งจนทำ�ให้ กลายเป็นเรื่องธรรมดาสำ�หรับโรงพยาบาลที่ จ ะ ต้ อ ง อ อ ก เ อ ก ส า ร ยื น ยั น ห ม า ย เ ล ข หนั ง สื อ เดิ น ทาง เอกสารยื น ยั น การทำ � ศัลยกรรมทีร่ ะบุชอื่ โรงพยาบาลไว้อย่างชัดเจน และเอกสารรับรองช่วงเวลาที่อยู่ในเกาหลีใต้ ให้ผู้ที่มาทำ�ศัลยกรรม ทั้งนี้ เพื่ออำ�นวยความ สะดวกให้คนไข้เดินทางกลับประเทศตน นอกจากนี้ สื่อที่มีความใกล้ชิดกับ รัฐบาลจีน “ไชนา เดลี”ยังเคยออกมาเปิดเผย ว่า ผูห้ ญิงทีเ่ พิง่ กลับมาจากการทำ�ศัลยกรรมที่

wallstreetjournal.com

สื่อกิมจิเผยชาวต่างชาติที่มาศัลยกรรม หลายรายไม่สามารถเดินทางออกนอก เกาหลีได้หลังศัลยกรรมใบหน้า เนือ่ งจาก ใบหน้ า จริ ง ไม่ ต รงกั บ รู ป ในพาสปอร์ต ร้ อ นถึ ง โรงพยาบาลต้ อ งออกหนั ง สื อ รับรองให้ สื่อออนไลน์ “ออนโบอาและมุนฮ วา” ของเกาหลีใต้เผย ปัจจุบันนี้โรงพยาบาล หลายแห่งในเกาหลีใต้ตอ้ งออกเอกสารยืนยัน ใบหน้าให้กบั ผูท้ มี่ าทำ�ศัลยกรรมทีเ่ ดินทางมา จากต่างแดน เนื่องจากใบหน้าก่อนและหลัง ทำ�ศัลยกรรมของคนไข้มคี วามแตกต่างกันมาก จนเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองไม่ยอมให้ออก นอกเกาหลีใต้เพื่อเดินทางกลับประเทศ ทั้งนี้ ในปี 2552 มีหญิงชาวจีนจำ�นวน 23 รายที่ไม่ สามารถเดินทางออกนอกเกาหลีได้ เนือ่ งจาก

เกาหลีใต้ จะถูกเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมือง แนะนำ�ให้ไปทำ�หนังสือเดินทางเล่มใหม่โดย ทันที เกาหลีใต้ก�ำ ลังกลายเป็นเมืองหลวง แห่งการทำ�ศัลยกรรมใบหน้าที่มีผู้คนจากทั่ว โลกเดินทางมาศัลยกรรมมากถึง 25,176 ราย ส่วนใหญ่เป็นชาวจีน จากสถิติของปี 2554 โดยในเกาหลีเองก็พบว่า ในผู้หญิงทุกๆ 77

ราย จะมีหนึ่งรายที่เคยทำ�ศัลยกรรมมา และ ผู้หญิงอายุ 19-49 ปี ในกรุงโซลร้อยละ 20 เคยผ่านมีดหมอมาแล้วทั้งสิ้น ถ้าหากเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นในเมือง ไทย ซึ่งเป็นประเทศที่ชาวต่างชาตินิยมเดิน ทางมาทำ�ศัลยกรรมเช่นกัน ก็นา่ คิดเหมือนกัน ว่า หนังสือรับรองโรงพยาบาลจะช่วยให้เดิน ทางกลับประเทศได้หรือไม่?

สิแอนทพีธิ. วรรณประที สตรีป และ ยศกร ศรีอมร

กฎหมายครอบครัวกับ สิทธิและหน้าที่ของหญิงไทย : ความสัมพันธ์ระหว่างสามีภรรยา mymodernmet.com

ได้กล่าวไปแล้วในตอนที่ 1 และ 2 ถึงเงื่อนไข และวิธีการสมรส ตามกฎหมาย เมื่อมีการสมรส เกิดขึ้นย่อมต้องมีความสัมพันธ์ และมีการสิ้นสุด ในครั้งนี้จะได้ พูดถึงความสัมพันธ์ระหว่างสามี ภรรยา ซึ่งบัญญัติอยู่ในมาตรา 1461-1464/1 ตามที่ เ คยกล่ า วไปแล้ ว ว่ า การสมรสจะทำ � ได้ ต่ อ เมื่ อ ชาย หญิงยินยอมเป็นสามีภรรยากัน และ ต้องแสดงการยินยอมต่อหน้านาย ทะเบียน กฎหมายได้บัญญัติให้ชัด ลงไปอี ก ว่ า ที่ ว่ า ยิ น ยอมเป็ น สามี ภรรยากั น นั้ น ต้ อ งถึ ง ขนาดอยู่ กิ น ด้วยกันฉันท์สามีภรรยา และสามี ภรรยาต้องช่วยอุปการะเลี้ยงดูกัน

ตามความสามารถและฐานะของตน (ป.พ.พ. มาตรา 1461) ฟังดูเหมือนกับว่ามาตรา 1461 นี้ จ ะไม่ มี ส าระสำ � คั ญ อะไร มาก...แต่ คำ�ว่า “อุปการะ” นี่เองที่ ทำ�ให้บทบัญญัตินี้เกิดผลมากมาย ตามกฎหมาย เช่นการร่วมกันเลี้ยง ดูบตุ รของบิดามารดา หรือการเรียก ค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรจากอีกฝ่าย เมื่อมีการหย่ากัน แต่มีประเด็นที่ อยากหยิ บ ยกมาจากคำ � พิ พ ากษา ของศาลฏีกาคือ คำ�พิพากษาฎีกาที่ 4751/2551 “โจทก์บรรยายฟ้องมี ใจความว่า โจทก์เป็นภริยาโดยชอบ ด้วยกฎหมายของ ส. ผู้ตายมีบุตร ด้วยกัน 3 คนผูต้ ายมีหน้าทีอ่ ปุ การะ เลี้ ย งดู โจทก์ แ ละบุ ต รทั้ ง สามของ

โจทก์ การทีจ่ �ำ เลยที่ 1 ทำ�ละเมิดเป็น เหตุให้ผู้ตายถึงแก่ความตายทำ�ให้ บุตรทั้งสามของโจทก์และโจทก์ต้อง ขาดไร้ผู้อุปการะ จึงขอเรียกค่าขาด ไร้อุปการะของบุตรโจทก์และโจทก์ เช่นนี้ มีความหมายพอเป็นที่เข้าใจ ได้ว่าบุตรทั้งสามของโจทก์ขอเรียก ค่าสินไหมทดแทนตามสิทธิของตน ด้วยนั่นเอง แต่เพราะเหตุที่บุตรทั้ง สามของโจทก์เป็นผูเ้ ยาว์ยงั ฟ้องหรือ คดีเองไม่ได้โจทก์ซึ่งเป็นมารดาและ ผู้ แ ทนโดยชอบธรรมจึ ง ฟ้ อ งแทน ย่อมถือได้ว่าโจทก์ฟ้องในนามของ บุ ต รทั้ ง สามคนด้ ว ยโดยปริ ย าย โจทก์จึงมีอำ�นาจฟ้องเรียกค่าขาดไร้ อุปการะของบุตรผู้เยาว์ทั้งสามได้” จากคำ � พิ พ ากษาฎี ก านี้

ทำ�ให้เห็นได้ว่า นอกจากโจทก์ซึ่ง เป็นภรรยาของผูต้ ายทีส่ ามารถเรียก ค่าขาดไร้ผู้อุปการะสำ�หรับตัวเองได้ แล้ว ยังมีการเรียกค่าขาดไร้อปุ การะ สำ � หรั บบุ ต รของโจทก์ กับ ผู้ตายได้ ด้วย โดยเรียกจากบุคคลซึ่งทำ�ให้ สามีของตนถึงแก่ความตาย เพราะ โดยปกติ แ ล้ ว สามี มี ห น้ า ที่ ต้ อ ง อุ ป การะเลี้ ย งดู ภ รรยา และบิ ด า มีหน้าทีต่ อ้ งอุปการะเลีย้ งดูบตุ รตาม กฎหมาย เมื่อมีบุคคลมาทำ�ให้สามี หรือบิดานั้นต้องเสียชีวิตลงและไม่ สามารถเลี้ยงดูอุปการะได้อีกต่อไป บุคคลที่ทำ�ให้ถึงแก่ความตายนั้นก็ ต้องรับผิดชอบเสมือนทำ�หน้าทีแ่ ทน ผู้ตายนั่นเอง (คำ�พิพากษาเรื่องนี้มี กฎหมายที่เกี่ยวข้องคือ การเรียกค่า

สิ น ไหมทดแทนจากการกระทำ � ละเมิดจนทำ�ให้ผอู้ นื่ ถึงแก่ความตาย ตามมาตรา 443 ซึ่งเป็นการเรียก ร้องจากสิทธิที่จะได้รับการอุปการะ ตามกฎหมาย) เรื่องที่เกี่ยวข้องกับคำ�ว่า อุปการะในกฎหมายแพ่ง กฎหมาย อาญา และกฎหมายอื่นๆ ยังมีอีก มาก ซึ่งคงต้องดูกันเป็นกรณีไป แต่ จะขอย้ำ�อีกครั้งหนึ่งว่าไม่ว่าจะเป็น หญิงหรือชาย เมื่อปรารถนาที่จะมี ชีวิตสมรสด้วยกันแล้ว แม้จะไม่ต้อง พิจารณาบทบัญญัติของกฎหมาย ก็ ควรจะต้องช่วยเหลือดูแลเลี้ยงดูซึ่ง กันและกัน เพื่อจะได้อยู่กินกันไป ตลอดชีวติ หากไม่แล้วการสมรสนัน้ อาจจะได้สิ้นสุดก่อนเวลาอันควรได้


ลอว์นิวส์

ปีที่ 1 ฉบับที่ 9 วันพฤหัสบดีที่ 1 - วันพฤหัสบดีที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

5

ขบข่าวเอามากั ด ABC นิรนาม

oknation.net

ผมมากับพระ (2) ผมเคยเขียนคอลัมน์นี้เกี่ยวกับพระสงฆ์องค์ เจ้าไปแล้วครั้งหนึ่งในฉบับที่ 5 (ปักษ์แรก เดือนมีนาคม) ซึง่ ตอนนัน้ เป็นเรือ่ งพระยืนรับ บาตร-เวียนเทียนกับข้าวถุง แต่ดเู หมือนตอน นีว้ งการสงฆ์ก�ำ ลังกลับมาเป็นทีจ่ บั ตาอีกครัง้ ในสองประเด็นร้อน นั่นคือประเด็น “พระ กะเทย” และ “สมียันดะ” ในประเด็นแรก เรือ่ งปัญหารักร่วม เพศในวงการสงฆ์ เรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องใหม่แต่ อย่ า งใด เพราะถ้ า ลองพิ จ ารณาจากพระ ไตรปิฎกที่มีข้อห้ามมิให้ “บัณเฑาะก์” (อ่าน ว่า บัน-เดาะ แปลว่า กะเทย) บวชเป็นพระ ในพระพุทธศาสนาแล้ว ก็ย่อมแสดงให้เห็น ว่าปัญหานี้มีอยู่คู่กับวงการพระสงฆ์องค์เจ้า มานานนับพันปี ซึ่งถ้านับเฉพาะของไทยก็มี หลักฐานปรากฏย้อนกลับไปอย่างน้อยก็รอ้ ย กว่าปีทแี่ ล้ว โดยปรากฏในประชุมประกาศใน รัชกาลที่ 4 ที่บันทึกพฤติกรรมของพระภิกษุ ที่ว่า “...บางจำ�พวกเป็นคนเกียจคร้าน กลัวจะเกณฑ์ให้ราชการ หลบลี้หนีเข้าบวช เป็นภิกษุ สามเณร อาศัยพึง่ พระศาสนาเลีย้ ง ชีวติ แล้วประพฤติอนาจารทุจริตต่างๆ จนถึง เล่นสวาทเป็นปาราชิกก็มอี ยูโ่ ดยมาก...” (คำ� ว่า “เล่นสวาท” เป็นคำ�ที่ใช้สำ�หรับความ สัมพันธ์เชิงชู้หนุ่มระหว่างชายกับชาย หาก เป็นหญิงกับหญิงจะใช้คำ�ว่า “เล่นเพื่อน”)

ฉะนั้น ปัญหาเรื่องนี้จึงมิใช่ปัญหา ใหม่แต่อย่างใด แต่ก็น่าแปลกใจว่า แม้จะมี หลักฐานบ่งบอกว่าเรื่องราวเหล่านี้มีมานาน นับร้อยนับพันปี แต่ก็ยังคงมีเรื่องทำ�นองนี้ เกิดขึ้นอยู่เรื่อยๆ โดยเมื่อหลายปีก่อน ก็มี ภาพพระใช้ผ้าผูกคาดเอวคล้าย “โอบิ” ของ ชาวญีป่ นุ่ ทำ�ให้ชดุ จีวรดูรดั รูปยิง่ ขึน้ จนคล้าย ชุดแฟชั่นมากกว่าที่จะเป็นเครื่องนุ่งห่มของ พระสงฆ์ รวมถึงการเผยแพร่ภาพที่ไม่เหมาะ สมอืน่ ๆ อีกหลายภาพในโลกออนไลน์ ซึง่ ผม จะไม่ขอลงรายละเอียดว่าเป็นภาพอะไรบ้าง กลัวท่านผูอ้ า่ นจะเกิดจินตภาพตามแล้วนอน ไม่หลับ ก็คงต้องจับตากันต่อไปว่า บรรดา ผู้ ห ลั ก ผู้ ใ หญ่ ใ นวงการพุ ท ธศาสนาจะมี มาตรการในการจั ด การกั บ ปั ญ หาเหล่ า นี้ อย่างไร เพราะได้ข่าวมาว่าระดับเจ้าอาวาส และพระชั้นผู้ใหญ่เองก็มีอยู่หลายรูปเช่นกัน ดังจะเห็นจากข่าวพระตุย๋ สามเณรภาคฤดูรอ้ น ที่เกิดขึ้นเป็นประจำ� จนทำ�ให้ชาวบ้านหลาย คนไม่กล้าส่งบุตรหลานมาบวชภาคฤดูร้อน เพราะกลัวจะได้ลูกสาวกลับบ้านไปแทน ประเด็ น ต่ อ มาคื อ การกลั บ มา เหยียบแผ่นดินเกิดอีกครั้งของอดีตพระผู้โด่ง ดังไปทั่วทั้งประเทศ จากกรณีถูกกล่าวหาว่า ล่ ว งละเมิ ด ทางเพศสี ก า จนมี ลู ก ด้ ว ยกั น พร้ อ มทั้ ง ยั ง พ่ ว งข้ อ หาอื่ น ๆ ตามมาอี ก

มากมาย จนถูกขับออกจากการเป็นพระ แต่ ด้วยพฤติกรรม “ยันดะ” สมชือ่ จึงเปลีย่ นจาก ผ้าเหลืองเป็นผ้าเขียว เพื่อที่จะได้ไม่ถูกข้อหา แต่งกายเลียนแบบพระ (แต่ยังคงเรียกตัวเอง ว่าพระ) และขอลี้ภัยทางการเมือง (?) ไปยัง ถิ่นพญาอินทรี จนกระทั่งผ่านไปกว่า 20 ปี จึงได้กลับมาประเทศไทยอีกครัง้ เมือ่ ช่วงหลัง สงกรานต์ที่ผ่านมา ด้วยผมเผ้ายาวรุงรังและ หนวดเครา พร้อมเปลี่ยนเฉดสีผ้าคลุมเป็น ม่วง-เขียว ที่แลดูแล้วคล้ายนินจาเต่าพิกล แต่ไม่นา่ เชือ่ แม้จะจากแผ่นดินเกิด ไปนานกว่า 20 ปี แต่ทันทีที่กลับมาถึงเมือง ไทยก็ ไ ด้ รั บ การต้ อ นรั บ อย่ า งอบอุ่ น จาก บรรดาแฟนคลับและผู้ที่หลงใหลศรัทธากัน อย่างล้นหลาม พร้อมกับการอารักขาอย่าง หนาแน่น ไม่ให้สื่อมวลชนเข้าไปทำ�ข่าวหรือ ถ่ า ยภาพ ยกเว้ น เฉพาะบรรดา “ติ่ ง สมี ” เท่านั้น ที่เข้าไปสวมกอดได้อย่างแนบแน่น ชนิดไม่อายผ้าเขียวกันเลยทีเดียว ชนิดที่ว่า ถ้านักร้องนักแสดงซุป’ตาร์จากแดนโสมมา เห็น คงต้องอายม้วนต้วนกลับบ้านกันหมด แน่ๆ (ยกเว้นแต่เพียงป้ายไฟวิ้งวับเท่านั้นที่ สมียันดะอาจจะสู้ไม่ได้) เรื่องของสมียันดะก็เป็นที่น่าสนใจ ว่า เพราะเหตุใดจึงมีการปล่อยให้ลกั ลอบเดิน ทางออกนอกประเทศได้ การใช้สิทธิลี้ภัย ทางการเมือง การได้รบั สัญชาติอเมริกนั การ

ใช้ชอื่ ในพาสปอร์ตว่าเป็นพระ ทัง้ ๆ ทีข่ าดจาก ความเป็นพระไปแล้ว รวมถึงเหตุในเจ้าหน้าที่ จึงปล่อยให้คนๆ นี้ลอยนวลนานกว่า 20 ปี จนคดีขาดอายุความไป เรือ่ งนีค้ งต้องฝากนัก กฎหมายทุกท่านช่วยกันหาคำ�ตอบหน่อยล่ะ ครับ แม้สมียนั ดะจะเตรียมเดินทางกลับ อเมริกาในเดือนหน้าก็ตาม แต่ก็ต้องจับตา มองต่อไปว่า บุคคลทีม่ ขี า่ วว่าไปพักพิงอยูก่ บั สมียันดะอย่าง “สมีคำ�” จะใช้แผนเดียวกัน ในการเดินทางกลับมาประเทศไทยหรือไม่? และถ้าใช้แผนเดียวกันจริง จะมีวธิ กี ารในการ จับกุมและดำ�เนินคดีหรือไม่? อย่างไร? ซึ่งผู้ ทีม่ หี น้าทีเ่ กีย่ วข้องในการดำ�เนินคดีกบั บุคคล เหล่านี้ ควรมีวิจารณญาณในการแยกแยะ ระหว่าง “หน้าทีต่ ามกฎหมาย” กับ “ศรัทธา ส่วนบุคคล” เพื่อที่จะรักษาความศักดิ์สิทธิ์ ของกฎหมายและความสงบสุขของสังคม มิ ฉะนัน้ แล้ว ผูก้ ระทำ�ผิดเหล่านีก้ จ็ ะอาศัยความ เคารพยำ�เกรงของผู้หลักผู้ใหญ่ในบ้านเมือง ในการกระทำ�ละเมิดต่อกฎหมายต่อไป และ ท้ า ยที่ สุ ด กฎหมายก็ จ ะเสื่ อ คลายความ ศักดิส์ ทิ ธิแ์ ละนำ�ไปสูค่ วามวุน่ วายในสังคมดัง ที่ เ ห็ น ในหลายกรณี ที่ กำ � ลั ง เกิ ด ขึ้ น อยู่ ใ น ปัจจุบัน


6

ลอว์นิวส

ปีที่ 1 ฉบับที่ 9 วันพฤหัสบดีที่ 1 - วันพฤหัสบดีที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

“เสี่ยขาว” เจอคุก เลีย ่ งจ่ายภาษี 85 ล้าน ชำ�ระภาษีสรรพาสามิตต่อกรมสรรพสามิต รวมยอดเงินทั้งสิ้น 85,382,470.67 บาท ทำ�ให้กรมสรรพสามิตกระทรวงการคลังได้รบั ความเสียหาย เหตุเกิดที่แขวงคลองตันเหนือ เขตวัฒนา แขวงถนนนครไชยศรี เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร เกี่ยวพันกัน ขอให้ศาล พิ พ ากษาลงโทษจำ � เลยตามความผิ ด ด้ ว ย จำ�เลยให้การปฏิเสธ ศาลพิ เ คราะห์ คำ � เบิ ก ความและ พยานหลักฐานทีท่ งั้ สองฝ่ายนำ�สืบหักล้างกัน แล้วเห็นว่า จำ�เลยเป็นกรรมการผู้จัดการ สถานบันเทิงซานติก้าผับ นับเป็นผู้ประกอบ การตามมาตรา 4 มีหน้าทีค่ วบคุมดูแลรับผิด ชอบกิจการต่างๆ ภายในร้าน รวมทั้งมีหน้า ที่ต้องยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีต่อกรม สรรพสามิต แต่จ�ำ เลยกลับไม่ยนื่ แบบรายการ เสียภาษีดังกล่าว เพื่อเจตนาหลีกเลี่ยงภาษี จริงจึงเป็นความผิดตามฟ้อง พิพากษาว่า จำ � เลยมี ค วามผิ ด ฐานไม่ ยื่ น แบบแสดง รายการเสียภาษี อันเป็นการเลี่ยงภาษี รวม 4 กระทงลงโทษจำ�คุกกระทงละ 3 เดือน รวม จำ�คุกจำ�เลย 12 เดือน แต่เนื่องจากจำ�นวน ภาษีเป็นยอดเงินทีม่ มี ลู ค่าสูง โทษจำ�คุกจึงไม่ รอลงอาญา ส่วนข้อหาแจ้งความเท็จและข้อ

voicetv.co.th

“เสี่ยขาว” เจ้าของซานติก้าผับเจอคุก รอบสอง หลังศาลอาญาพิพากษาจำ�คุก 12 เดือน ไม่รอลงอาญา ฐานเลี่ยงภาษี สรรพสามิตกว่า 85 ล้านบาท เมื่ อ วั น ที่ 25 เมษายน ที่ ห้ อ ง พิจารณา 904 ศาลอาญา ถนนรัชดาภิเษก ศาลอ่านคำ�พิพากษาคดีเลีย่ งภาษี ทีพ่ นักงาน อัยการฝ่ายคดีพเิ ศษ 4 เป็นโจทก์ ยืน่ ฟ้องนาย วิสุข เสร็จสวัสดิ์ หรือเสี่ยขาว กรรมการผู้ จัดการบริษัท ไวท์ แอนด์ บราเธอร์ส์ (2003) จำ�กัด ผู้บริหารสถานบันเทิงชื่อดัง ซานติก้า ผับ ย่านเอกมัย เป็นจำ�เลย ในความผิดฐาน กระทำ�ผิด พ.ร.บ.ภาษีสรรพสามิต พ.ศ.2527 มาตรา 4, 25, 48, 136, 148, 164, 165 และ 167 ตามฟ้องโจทก์เมือ่ วันที่ 2 ธันวาคม 2553 ระบุความผิดจำ�เลยสรุปว่า เมื่อระหว่างวันที่ 13 พฤศจิกายน 2546 – 31 ธันวาคม 2551 จำ�เลยกับพวก ร่ ว มกั น แจ้ ง ข้ อ ความอั น เป็ น เท็ จ แก่ เ จ้ า พนักงานสรรพสามิต ในการขอใบอนุญาต ขายสุรา ยาสูบ และไพ่ รวมทั้งสถานบริการ ไนต์คลับ และดิสโก้เธค โดยจำ�เลยกับพวกมี เจตนาเพือ่ หลีกเลีย่ งการเสียภาษีสรรพสามิต ด้วยการไม่ยนื่ แสดงแบบรายการภาษีและไม่

หาอื่นๆ ให้ยกฟ้อง เนื่องจากคดีขาดอายุ ความ ภายหลังทนายความระบุวา่ เตรียมหลัก ทรัพย์ยื่นประกันตัว และอุทธรณ์คดีต่อไป สำ�หรับนายวิสุข หรือเสี่ยขาว กับ พวกรวม 7 คน ได้ถูกอัยการฝ่ายคดีอาญา กรุงเทพใต้ยื่นฟ้องเป็นจำ�เลยร่วม ต่อศาล อาญากรุงเทพใต้ในความผิดฐานทำ�ให้เกิด เพลิงไหม้เป็นเหตุให้ผู้อื่นเสียหายและเป็น อันตรายกับชีวิตผู้อื่น, กระทำ�การประมาท เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย, กระทำ�การ ให้ผู้อื่นได้รับอันตรายสาหัสและกระทำ�การ ให้ผู้อื่นได้รับอันตรายแก่กายและจิตใจ ตาม ประมวลกฎหมาย มาตรา 225, 291, 300, 390 และกระทำ�ผิด พ.ร.บ.สถานบริการ พ.ศ. 2509 มาตรา 16/1, 16/3, 27 และ 28/1 ฐาน เป็นผู้รับอนุญาตตั้งสถานบริการปล่อยปละ ละเลยให้บคุ คลซึง่ อายุต�่ำ กว่า 20 ปี เข้าไปใน

สถานบริการและปล่อยปละละเลยให้มีการก ระทำ�ผิดเกี่ยวกับยาเสพติดในสถานบริการ มาตรา 291 กรณีเกิดเพลิงไหม้ซานติกา้ ผับเมือ่ คืนวันที่ 31 ธันวาคม 2551 ต่อเนื่องวันที่ 1 มกราคม 2552 จนเป็นเหตุให้ลูกค้าผู้เข้าไป ใช้บริการ ภายในอาคารถึงแก่ความตาย 67 คน บาดเจ็บสาหัส 32 คน บาดเจ็บอีก 71 คน โดยคดีดงั กล่าวศาลชัน้ ต้นพิพากษา ให้จ�ำ คุก นายวิสุขหรือเสี่ยขาว เป็นเวลา 3 ปี ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 291 อันเป็น บทหนักสุด ซึ่งนายวิสุขได้ยื่นอุทธรณ์ให้ศาล ยกฟ้องด้วย ต่อมาเมือ่ วันที่ 22 ตุลาคม 2556 ศาลอุทธรณ์มีคำ�พิพากษาแก้ให้ยกฟ้องนาย วิสุขทุกข้อหา อัยการโจทก์และโจทก์ร่วมจึง ยื่นฎีกา ซึ่งในขณะนี้ คดีดังกล่าวอยู่ระหว่าง การพิจารณาของศาลฎีกา

จีนกร้าว! ยึดเรือยุ่น อ้างหนี้สมัยสงครามโลก ความวิตกแก่บริษัทญี่ปุ่นที่ทำ�ธุรกิจ ในแดนมังกรซึ่งอดีตเคยอยู่ใต้การ ปกครองของกองกำ�ลัง สมเด็จ พระ จักรพรรดิช่วงปี 2474-2488 และ อาจบั่นทอนแถลงการณ์ร่วมว่าด้วย การปรับความสัมพันธ์สู่ระดับปกติ เมื่อปี 2515 ซึ่งภายใต้ข้อตกลงนี้ จี น ต ก ล ง จ ะ ไ ม่ เ รี ย ก ร้ อ ง ค่ า ปฏิกรรมสงครามจากญี่ปุ่น ขณะกระทรวงต่างประเทศ จี น ระบุ ว่ า คดี นี้ ไ ม่ เ กี่ ย วกั บ ค่ า ปฏิกรรมสงคราม รัฐบาลปักกิ่งยัง ปฏิบัติตามข้อตกลงปี 2515 ยังคง คุ้มครองสิทธิและผลประโยชน์ของ นักลงทุนต่างชาติ แต่กรณีนี้เป็นข้อ พิพาทเนื่องจากสัญญาเชิงพาณิชย์ ทั่วไป มิตซุย ระบุบนเว็บไซต์ว่าการยึดเรือ บาวสตีล อีโมชัน เกี่ยวข้องกรณีเรือ สองลำ�ที่บริษัทไดโดะ ชิปปิ้ง ของ ญี่ปุ่นเช่าซื้อจาก “จงเว่ย สตีมชิพ” ของจีนในปี 2479 โดยทำ�สัญญาหนึง่ ปี ต่อมา เรือทัง้ สองลำ�ถูกกองทัพเรือ ญีป่ นุ่ เกณฑ์ไปใช้กอ่ นสัญญาเช่าหมด อายุ และอั บ ปางในทะเลช่ ว ง สงครามโลกครั้ ง ที่ ส อง ภายหลั ง บริษัทไดโดะ ชิปปิ้ง เปลี่ยนชื่อเป็น

นาวิซ ไลน์ และผนวกกิจการกับมิต ซุย ในปี 2542 ต่ อ มา ทายาทประธาน บริษทั เจ้าของเรือจีน ยืน่ ฟ้องเรียกค่า ชดเชยจากรัฐบาลญีป่ นุ่ ตัง้ แต่ปี 2507 โดยศาลพิจารณาคดีความการเดิน เรื อ ทะเลเซี่ ย งไฮ้ ระบุ ชื่ อ โจทก์ คื อ นายเฉิน ชุน และ เฉิน เจิ้น ผู้เป็น หลานของผูก้ อ่ ตัง้ ชุง เว่ย สตีมชิพ จน กระทั่งปี 2550 ศาลออกคำ�สั่งให้มิต ซุย จ่ายค่าเสียหายแก่โจทก์ 2,920 ล้านเยน (ประมาณ 890 ล้านบาท) มิตซุยยื่นอุทธรณ์แต่ศาลตัดสินยืน คำ�พิพากษาในปี 2553 มิตซุยจึงยื่น คำ�ร้องขอให้ศาลประชาชนสูงสุดของ จีน เปิดการพิจารณาคดีใหม่ แต่ศาล ปฏิเสธคำ�ร้องในปี 2554 หลังการเจรจายอมความนอกศาลไม่ สำ�เร็จ โจทก์ได้ยนื่ คำ�ร้องในธันวาคม 2556 เพื่อขอบังคับใช้คำ�พิพากษา และเมื่ อ มิ ต ซุ ย ไม่ ป ฏิ บั ติ ต ามคำ � พิพากษานัน้ จึงนำ�มาสูก่ ารยึดเรือใน ที่สุด นายเฉิน ผิง น้องชายวัย 57 ของผู้ฟ้อง และเป็นตัวแทนของ นายเฉิน เจิ้น ที่เสียชีวิตไปแล้ว เปิด เผยว่า พอใจกับคำ�ตัดสินของศาล ที่

reuters.com

ศาลจี น มี คำ � สั่ ง ยึ ด เรื อ ญี่ ปุ่ น ลำ � หนึ่ง เนื่องจากบริษัทเจ้าของเรือ ติ ด หนี้ บ ริ ษั ท จี น ตั้ ง แต่ ส มั ย สงครามโลกครั้ ง ที่ 2 ล่ า สุ ด บริษัญี่ปุ่นยอมจ่ายหนี้บางส่วน แล้ว เมื่อวันที่ 19 เษายนที่ผ่าน มา ศาลพิจารณาคดีการเดินเรือใน นครเซี่ยงไฮ้ของจีน มีคำ�สั่งยึดเรือ บาวสตีล อีโมชั่นของบริษัทมิตซุย โอ.เอส.เค.ไลน์จากญี่ปุ่น เพราะข้อ พิพาทหนี้สินสมัยญี่ปุ่นยึดครองเมื่อ เกือบ 80 ปีก่อน โดยศาลออกคำ�สั่ง ขณะที่เรือบรรทุกแร่เหล็กขนาดยักษ์ ลำ�นี้ เทียบท่าเซีย่ งไฮ้ มณฑลเจ้อเจียง นับเป็นครัง้ แรกทีจ่ นี ยึดทรัพย์สนิ ของ บริษัทญี่ปุ่น ในคดีที่เกี่ยวข้องกับค่า ชดเชยความเสี ย หายจากสงคราม หรือค่าชดเชยการยึดครองประเทศ ซึ่งเรือที่ถูกยึด เป็นเรือบรรทุกขนาด ใหญ่ สามารถบรรทุกแร่เหล็กได้ถึง 226,434 ตัน และมีมูลค่าเมื่อครั้งสั่ง ต่อเรือในปี 2550 อยู่ที่ราว 92 ล้าน บาท ด้ า นบริ ษั ท ญี่ ปุ่ น ได้ ยื่ น คัดค้านการยึดเรือลำ�ดังกล่าวแล้ว พร้อมระบุว่าคำ�ตัดสินนี้ยังอาจสร้าง

ทำ�ให้ความฝันของคนหลายรุ่นของ ตระกู ล เป็ น จริ ง ในที่ สุ ด แม้ ญี่ ปุ่ น ยืนยันว่าภายใต้ขอ้ ตกลงทีล่ งนามกับ ประเทศเอเชียหลังสงคราม ละเว้น การจ่ า ยค่ า ชดเชยแก่ บุ ค คลหรื อ บริษัทในประเทศเหล่านั้นด้วย แต่ จีนกับเกาหลีใต้แย้งว่า ข้อตกลงไม่ ครอบคลุมบริษทั และบุคคล และศาล เกาหลีใต้ได้มีคำ�ตัดสินในคดีคล้าย กั น เมื่ อ ไม่ น านมานี้ คื อ ให้ บ ริ ษั ท ญี่ ปุ่ น จ่ า ยค่ า ชดเชยฐานบั ง คั บ ใช้ แรงงานในสมัยสงครามโลกครั้งที่ สอง ขณะเมื่อเดือนที่แล้ว ศาลจีนได้ รับฟ้องคดีทพี่ ลเมืองจีนกลุม่ หนึง่ ยืน่ ฟ้ อ งบริ ษั ท ญี่ ปุ่ น ฐานบั ง คั บ ใช้

แรงงานพวกเขาสมัยสงคราม ล่ า สุ ด เ มื่ อ วั น ที่ 2 4 เมษายน ศาลพิจารณาคดีความการ เดินเรือทะเลเซี่ยงไฮ้ อนุมัติคำ�ร้อง ปล่อยเรืออกจากท่าแล้ว หลังบริษัท เจ้าของเรือจากญี่ปุ่นชำ�ระเงินคงค้าง บางส่ ว น เป็ น จำ � นวน 390,000 ดอลลาร์สหรัฐ (ราว 12.8 ล้านบาท) จากทั้งหมด 28 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 924 ล้านบาท) คดีนี้ก็น่าจะเป็นตัวอย่าง ให้แก่หลายๆ คนว่า “หนี้” ก็คือ “หนี”้ ทีร่ อการชำ�ระจากลูกหนีเ้ สมอ ไม่ว่าจะผ่านไปนานเท่าไรก็ตาม


ลอว์นิวส์

ปีที่ 1 ฉบับที่ 9 วันพฤหัสบดีที่ 1 - วันพฤหัสบดีที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

ไทม์ ไลน์ วีรจิตต วัฒนบำ�รุง

7

พระราชพิธีฉัตรมงคล

ในช่วงต้นเดือนพฤษภาคมนี้ จะมีวันสำ�คัญอีกวันหนึ่งคือวันฉัตรมงคลซึ่งตรงกับวันที่ 5 พฤษภาคมของทุกปี เป็นวันที่ระลึกถึงการประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษกครอง ราชย์เป็นพระมหากษัตริย์ ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั ซึง่ เป็นพระราชพิธที สี่ �ำ คัญยิง่ เพราะเป็นการเชิดชูว่าพระองค์ทรงเป็นพระประมุขของประเทศโดยสมบูรณ์แล้ว มีสิทธิ และพระราชอำ�นาจบริบูรณ์ทุกประการ เช่น การใช้พระเศวตฉัตร 9 ชั้นเป็นเครื่องหมาย แสดงพระเกียรติยศ การใช้ “พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั ” แทน “สมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั ” เป็นต้น ซึ่งเมื่อวันครบรอบการประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษกเวียนมาครบปี ก็จะ มีการจัดพระราชพิธีฉัตรมงคลเพื่อเป็นการสมโภชเครื่องราชูปโภคทั้งปวง โดยมีที่มา ของการพระราชพิธีดังต่อไปนี้... ก่อน 2394 พิ ธี ฉั ต รมงคลถื อ เป็ น พิ ธี ข องเจ้ า พนั ก งานในพระราชฐานที่ มี ห น้ า ที่ รั ก ษา เครื่องราชูปโภคและพระทวารประตูวัง ได้ จัดการสมโภชสังเวยเครื่องราชูปโภคที่ตน รักษาในเดือน 6 เนื่องจากเป็นช่วงที่มีพระ ราชพิธีน้อย และจัดเป็นงานภายใน มิใช่งาน หลวง 2394 6 เมษายน สมเด็จพระเจ้าน้องยา เธอ เจ้าฟ้ามงกุฎ ประกอบพระราชพิธีบรม ราชาภิ เ ษก ขึ้ น ครองราชย์ เ ฉลิ ม พระ ปรมาภิไธยว่า พระบาทสมเด็จพระปรเมนทร มหามงกุฎ พระจอมเกล้าเจ้าอยูห่ วั ตรงกับวัน พฤหัสบดีเดือน 6 ขึ้น 15 ค่ำ� ปีกุน ตรีศก จุลศักราช 1213 ในการบรมราชาภิเษกในครัง้ นี้ พระองค์ทรงมีพระราชดำ�ริถึงพระราชพิธี ฉัตรมงคล ดังปรากฏใน “พระราชพิธสี บิ สอง เดือน” พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระ จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวว่า “...วันบรมราชาภิเษกนั้นเป็นมหา มงคลสมัย ซึง่ ประเทศทัง้ ปวงทีม่ พี ระเจ้าแผ่น ดินปกครอง ย่อมนับถือวันนั้นว่าเป็นวัน นักขัตฤกษ์มงคลกาล แต่ในกรุงสยามนีเ้ ฉยๆ อยู่ มิได้การนักขัตกฤษ์อนั ใด ครัง้ นีก้ าลบรม ราชาภิเษกของพระองค์เฉพาะตรงกับสมัยที่ เจ้าพนักงานเคยสมโภชเครือ่ งสิรริ าชูปโภคแต่ เดิ ม มา ควรที่ จ ะมี ก ารสมโภชพระมหา เศวตฉัตรให้เป็นสวัสดิมงคลแก่ราชสมบัต.ิ ..” แต่เนื่องจากเป็นธรรมเนียมใหม่ ไม่มีผู้ใดเข้าใจ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า เจ้าอยู่หัวจึงทรงอธิบายว่าเป็นการสมโภช เครื่องราชูปโภค จึงไม่มีผู้ใดคัดค้าน จึงโปรด เกล้ า ฯ ให้ จั ด พระราชพิ ธี ส มโภชเครื่ อ ง ราชูปโภคขึ้นในวันคล้ายวันบรมราชาภิเษก ของพระองค์ ซึ่งตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ� เดือน 6 และพระราชทานชื่ อ ว่ า “พระราชพิ ธี ฉัตรมงคล” โดยนิมนต์พระสงฆ์มาสวดเจริญ พระพุทธมนต์ในวันเดือน 6 ขึ้น 13 ค่ำ� 14 ค่ำ� ฉันที่พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ขึ้น 14 ค่ำ�สวดมนต์ 15 ค่ำ�ฉันที่พระที่นั่งไพศาล ทักษิณ ขึ้น 15 ค่ำ�สวดมนต์ แรม 1 ค่ำ�ฉันที่ พระที่นั่งอนันตสมาคม

2411 1 ตุลาคม พระบาทสมเด็จพระจอม เกล้าเจ้าอยูห่ วั สวรรคต ณ พระทีน่ งั่ ภาณุมาศ จำ � รู ญ (พระที่ นั่ ง บรมพิ ม านในปั จ จุ บั น ) สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ กรมขุนพินติ ประชานาถ สืบราชสมบัตติ อ่ เป็น พระมหากษัตริย์ 11 พฤศจิกายน เจ้ า ฟ้ า จุ ฬ าลงกรณ์ประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษก เป็นพระมหากษัตริย์ เฉลิมพระปรมาภิไธยว่า พ ร ะ บ า ท ส ม เ ด็ จ พ ร ะ ป ร มิ น ท ร ม ห า จุฬาลงกรณ์ พระจุฬาลงกรณ์เกล้าเจ้าอยู่หัว โดยมีสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) เป็นผู้สำ�เร็จราชการแผ่นดิน เนื่องจากในขณะนั้น พระองค์มีพระชนมายุ เพียง 15 พรรษา ยังไม่ทรงบรรลุนิติภาวะ จึง ต้องมีผู้สำ�เร็จราชการแผ่นดิน 2412 เจ้ า พนั ก งานจั ด งานพระราชพิ ธี ฉัตรมงคลในวันขึ้น 15 ค่ำ� เดือน 6 เช่นเคย แม้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยูห่ วั ได้ทรงทักท้วง เพราะไม่ตรงกับวันที่เสวย ราชย์ แด่สมเด็จกรมหลวงวงศาธิราชสนิท พระบรมวงศ์ผใู้ หญ่ กับสมเด็จเจ้าพระยาบรม มหาศรีสุริยวงศ์ ผู้สำ�เร็จราชการแผ่นดินใน ขณะนั้น ไม่เห็นด้วย โดยอ้างว่า เป็นการ สมโภชพระที่นั่ง ตามที่พระบาทสมเด็จพระ จอมเกล้ า เจ้ า อยุ่ หั ว ทรงเคยอธิ บ ายไว้ แม้ สมเด็ จ เจ้ า ฟ้ า มหามาลา กรมขุ น บำ � ราบ ปรปักษ์ ผูส้ �ำ เร็จราชการในพระราชสำ�นักและ ว่าพระคลังทัง้ ปวงจะทรงเห็นด้วยกับพระบาท สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวด้วยอีกองค์ ก็ตาม พระราชพิธีฉัตรมงคลจึงยังจัดขึ้นใน เดือน 6 ต่อไป 2416 16 พฤศจิกายน พระบาทสมเด็จ พระปรมิ น ทรมหาจุ ฬ าลงกรณ์ พระ จุฬาลงกรณ์เกล้าเจ้าอยูห่ วั ได้จดั การพระบรม ราชาภิเษกครั้งที่ 2 โดยได้รับการเฉลิมพระ ปรมาภิไธยในครั้งนี้ว่า พระบาทสมเด็จพระ ปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ฯ พระจุลจอมเกล้า เจ้าอยู่หัว ในโอกาสนี้ พระองค์มีพระราชดำ�ริ ว่า นับแต่การสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ มี

พระมหากษัตริย์ครองสิริราชสมบัติมาถึง 5 พระองค์นับระยะเวลารวมได้กว่า 90 ปี โดย ไม่ มี เ หตุ ก ารแก่ ง แย่ ง ชิ ง อำ � นาจจนเกิ ด ศึ ก กลางพระนครเมื่อมีการผลัดแผ่นดินดังเช่น สมัยกรุงศรีอยุธยา และถึงแม้พระองค์จะทรง ครองสิริราชสมบัติเมื่ออายุยังน้อย พระบรม วงศานุ ว งศ์ แ ละข้ า ราชการทั้ ง ปวงก็ มิ ไ ด้ รังเกียจและยังคงรับสนองพระเดชพระคุณ เหมือนเช่นที่ผ่านมา ซึ่งนับเป็นความดีความ ชอบพระบรมวงศานุวงศ์และข้าราชการทั้งที่ ล่วงลับไปแล้วและยังมีชีวิตอยู่ พระองค์จึงมี จิตคิดบำ�รุงวงศ์ตระกูลของท่านเหล่านี้ จึงทรง สถาปนาเครื่ อ งราชอิ ส ริ ย าภรณ์ โดย พระราชทานนามว่า “เครื่องราชอิสริยาภรณ์ จุลจอมเกล้า” เพื่อเป็นเครื่องหมายแสดง อิสริยยศและเพื่อระลึกถึงความดีความชอบ ของท่านผู้ใหญ่ที่ได้รักษาแผ่นดินมาแต่ก่อน และผู้ที่ได้ทำ�นุบำ�รุงแผ่นดินในปัจจุบัน และ ได้เปลี่ยนมาทำ�พิธีฉัตรมงคลในวันแรม 13 ค่ำ� เดือน 12 (ตรงกับที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2416) ซึ่งตรงกับวันบรมราชาภิเษกจริง โดย ได้ทรงกล่าวว่า เพราะถือว่าเป็นการบำ�เพ็ญ กุ ศ ล ตามพระราชบั ญ ญั ติ วั น ประชุ ม ตรา จุลจอมเกล้า และโปรดเกล้าฯ ให้จัดพระราช พิธฉี ตั รมงคลในวันแรม 11 ค่�ำ ถึง 13 ค่� ำ เดือน 12 ตัง้ แต่นนั้ เป็นต้นมา ดังปรากฏในพระราช พิธีสิบสองเดือนว่า “...เมื่ อ สร้ า งตราจุ ล จอมเกล้ า เปลี่ยนได้ด้วยพาโลเป็นทำ�บุญตามพระราช บัญญัตวิ นั ประชุมตราจุลจอมเกล้า ก็นบั ได้อยู่ ว่าเพราะเครื่องราชอิสริยยศจอมเกล้า พาให้ เป็นที่ยินยอมพร้อมใจกันเปลี่ยนมาเดือน12 ได้โดยไม่มีใครทักท้วงว่ากระไร ลืมการที่ได้ เถียงกันในปีมะเส็งเอกศกนัน้ เสียสิน้ ในปีจอ ฉกเป็นปีแรกทำ�การฉัตรมงคลในเดือน12 เป็ น การเรี ย บร้ อ ยเหมื อ นไม่ ไ ด้ เ คยมี ก าร ฉัตรมงคลมาแต่ก่อนเลยทีเดียว...” 2425 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้า อยูห่ วั ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เพิม่ เติม พระราชพิธีฉัตรมงคลโดยให้อาลักษณ์อ่าน ประกาศการพระราชพิธีฉัตรมงคลและให้ ทหารบก ทหารเรือ ยิงสลุตฝ่ายละ 101 นัด ในวันแรม 12 ค่ํา เดือน 12 อันเป็นวันที่ 2

ของการประกอบพระราชพิธีฉัตรมงคล 2429 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้า อยู่หัว ทรงเพิ่มพิธีถวายบังคมพระบรมรูป สมเด็จพระบูรพกษัตริยาธิราชขึน้ ในพระทีน่ งั่ สุทไธสวรรย์ 2453 23 ตุลาคม พระบาทสมเด็จพระ จุ ล จอมเกล้ า เจ้ า อยู่ หั ว สวรรคต สมเด็ จ พระบรมโอรสาธิร าช เจ้า ฟ้า มหาวชิร าวุธ สยามมกุฎราชกุมาร สืบราชสมบัติต่อเป็น พระมหากษัตริย์ 11 พฤศจิกายน พระบาทสมเด็จ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงประกอบพระ ราชพิธบี รมราชาภิเษกเฉลิมพระราชมณเฑียร และได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จดั งาน พระราชพิ ธี บ รมราชาภิ เ ษกเฉลิ ม พระราช มณเฑียรตามพระราชประเพณี แห่งการเสด็จ ขึ้นครองสิริราชสมบัติของพระมหากษัตริย์ ไทย ระหว่างวันที่ 3 ถึง 14 พฤศจิกายน (ทัง้ นี้ วันอันเป็นอุดมฤกษ์วันบรมราชาภิเษก ตรง กับวันศุกร์ที่ 11 พฤศจิกายน) 2454 20 พฤศจิกายน พระบาทสมเด็จ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยูห่ วั ทรงพระกรุณาโปรด เกล้าฯ ให้จัดงานพระราชพิธีบรมราชาภิเษก สมโภช ขึ้ น อี ก ครั้ ง หนึ่ ง ระหว่ า งวั น ที่ 8 พฤศจิกายน ถึงวันที่ 10 ธันวาคม เนื่องจาก พระองค์มีพระราชดำ�ริว่าการจัดงานพระราช พิธีบรมราชาภิเษก ครั้งที่ 2 นั้น สอดคล้อง กับประเพณีนิยมของประเทศทั้งปวงในยุโรป ที่ถือว่าพิธีดังกล่าวนั้นเป็นพิธีมงคล และมัก ฉลองรื่นเริงเมื่อเสร็จจากงานพระบรมศพ พระเจ้าแผ่นดินพระองค์ก่อน และออกจาก การไว้ ทุ ก ข์ แ ล้ ว ดั ง นั้ น พระราชพิ ธี บ รม ราชาภิเษก ครัง้ ที่ 2 ในรัชสมัยพระองค์จงึ เป็น พระราชพิธีเฉลิมฉลองสำ�หรับราษฎร และ เปิดโอกาสให้นานามิตรประเทศได้ส่งผู้แทน มาร่วมงาน นับเป็นครั้งแรกที่มีเจ้านายจาก ต่างประเทศมาร่วมในงานพระราชพิธีบรม ราชาภิเษก


8

ลอว์นิวส

ปีที่ 1 ฉบับที่ 9 วันพฤหัสบดีที่ 1 - วันพฤหัสบดีที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

(ภาพจากซ้ายไปขวา) พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า เจ้าอยู่หัวขณะประกอบพระราชพิธี บรมราชาภิเษกครั้งแรก (chaoprayanews.com) พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้า อยู่หัว ขณะทรงประกอบพระราช พิธีบรมราชาภิเษก (soravij.com) พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่ หัว ขณะทรงประกอบพระราชพิธี บรมราชาภิเษก (royjaithai.com)

2457 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้า อยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เพิ่มการ พระราชกุศลทักษิณานุประทานแก่พระบูรพ มหากษัตริยาธิราชในพระราชพิธีฉัตรมงคล โดยให้ประกอบพิธี ณ พระที่นั่งอัมรินทร วินจิ ฉัย และเปลีย่ นการเรียกชือ่ พระราชพิธนี ี้ ว่า พระราชพิธีทักษิณานุปทานและพระราช พิธีฉัตรมงคล สืบมาจนถึงปัจจุบัน 2468 25 พฤศจิกายน พระบาทสมเด็จ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวสวรรคต สมเด็จ พระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงสุโขทัย ธรรมราชาสื บ ราชสมบั ติ ต่ อ เป็ น พระมหา กษัตริย์ 2469 25 กุมภาพันธ์ (พ.ศ. 2468 ตาม ปฏิทนิ เดิม เนือ่ งจากในขณะนัน้ ยังถือวันที่ 1 เมษายนเป็นวันขึ้นปีใหม่) เจ้าฟ้ากรมหลวง สุโขทัยธรรมราชาประกอบพระราชพิธีบรม ราชาภิเษก เฉลิมพระนามาภไธยว่าพระบาท สมเด็ จ พระปกเกล้ า เจ้ า อยู่ หั ว โดยทรง ประกอบพระราชพิธบี รมราชาภิเษกตัง้ แต่วนั ที่ 23 ถึง 25 กุมภาพันธ์ 2478 2 มีนาคม (พ.ศ. 2477 ตามปฏิทิน เดิม) พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงประกาศสละราชสมบัติ รัฐบาลจึงอัญเชิญ พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอานันมหิดลขึ้น เป็นพระมหากษัตริย์ เฉลิมพระปรมาภิไธยว่า สมเด็ จ พระเจ้ า อยู่ หั ว อานั น ทมหิ ด ล ซึ่ ง พระองค์ยังทรงพระเยาว์ จึงมีพระเจ้าวรวงศ์ เธอ กรมหมื่นอนุวัตรจาตุรนต์ พระเจ้าวรวง ศ์ เ ธอ พระองค์ เจ้ า อาทิ ต ย์ ทิ พ อาภา และ เจ้าพระยายมราช (ปัน้ สุขมุ ) เป็นคณะผูส้ �ำ เร็จ ราชการแผ่นดิน แต่เนื่องจากยังมิได้ทรงรับ พระบรมราชาภิเษก การพระราชพิธีนี้จึงไม่ เรียกพระราชพิธีฉัตรมงคล 2489 9 มิถุนายน สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว อานันทมหิดลสวรรคต สมเด็จพระเจ้าน้องยา เธอ เจ้าฟ้าภูมิพลอดุลยเดชสืบราชสมบัติต่อ

เป็ น พระมหากษั ต ริ ย์ พระนามสมเด็ จ พระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช แต่เนื่องจาก ยั ง ทรงไม่ บ รลุ นิ ติ ภ าวะ จึ ง ต้ อ งมี ผู้ สำ � เร็ จ ราชการแผ่นดินแทนไปก่อน 15 สิงหาคม สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำ�เนินกลับไปศึกษาต่อ ณ ประ เทศสวิตเซอร์แลนด์ 2493 18 มีนาคม พิธีเตรียมน้ำ�อภิเษก ประธานสงฆ์ได้ประกาศเทวดาในการทำ�น้ำ� อภิเษก เพื่อใช้ในการประกอบพระราชพิธี บรมราชาภิเษก 19 มีนาคม พิธีเวียนเทียนสมโภช น้ำ�อภิเษก 24 มีนาคม สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จนิวัติพระนคร เพื่อเตรียมการถวายพระ เพลิงพระบรมศพสมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั อานันท มหิดล พระราชพิธีราชาภิเษกสมรส และพระ ราชพิธีบรมราชาภิเษก 23 เมษายน วันประกอบพระราช พิธีการจารึกพระสุพรรณบัฎ ดวงพระราช สมภพ และตราพระราชลั ญจกร ณ พระ อุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม โดยมีพระ ปรมาภิไธยในพระสุพรรณบัฎ ว่า “พระบาท สมเด็จพระปรมินทรมหาภูมพิ ลอดุลยเดช มหิ ตลาธิเบศรรามาธิบดี จักรีนฤบดินทรสยามิ นทราธิราช บรมนาถบพิตร” 3 พฤษภาคม พิธีถวายราชสักกา ระ แด่สมเด็จพระบรมราชบุพการี 4 พฤษภาคม พิธีประกาศการพระ ราชพิธบี รมราชาภิเษก จุดเทียนชัย และเจริญ พระพุทธมนต์การพระราชพิธบี รมราชาภิเษก ซึ่ ง เป็ น การประกอบพระราชพิ ธี บ รม ราชาภิเษกเพียงเบื้องต้น 5 พฤษภาคม เป็นวันประกอบการ พระราชพิธีบรมราชาภิเษก เริ่มจากสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวทรงรับการสรงพระมูรธาภิเษก พระราชครูวามเทพมุนี (สวาสดิ์ พราหมณกุล) ทำ�หน้าทีพ่ ระมหาราชครูกราบบังคมทูลถวาย ชัยมงคล น้อมเกล้าฯ ถวาย พระนพปฎลมหา เศวตฉัตร แล้วทูลเกล้าฯ ถวาย พระสุพร รณบั ฎ จารึ ก พระปรมาภิ ไ ธย เครื่ อ ง เบญจราชกกุธภัณฑ์ เครือ่ งบรมขัตติยราชวรา ภรณ์ เครื่ อ งราชู ป โภค และพระแสงราช ศัสตราวุธ ทหารบกทหารเรือ ยิงปืนใหญ่

เฉลิมพระเกียรติ จากนัน้ ทรงมีพระปฐมบรม ราชโองการว่า “เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพือ่ ประโยชน์สขุ แห่งมหาชนชาวสยาม” เสร็จ แล้วพระราชครูวามเทพมุนี รับสนองพระปฐม บรมราชโองการ ทรงหลั่งทักษิโณทก ตั้งพระ ร า ช สั ต ย า ธิ ษ ฐ า น จ า ก นั้ น จึ ง เ ส ด็ จ พระราชดำ�เนินออกมหาสมาคม ณ พระที่นั่ง อมรินทรวินจิ ฉัยมไหยศูรยพิมาน โดยมี คณะ องคมนตรี คณะรั ฐ มนตรี คณะทู ต านุ ทู ต สมาชิกรัฐสภา ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ เฝ้าทูล ละอองธุลีพระบาท ถวายชัยมงคล หลังจาก นั้น ทรงสถาปนาเฉลิมพระเกียรติยศ สมเด็จ พระราชินีสิริกิติ์ พระอัครมเหสี ให้ทรงดำ�รง ฐานันดรศักดิ์เป็น สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชิ นี แล้ ว เสด็ จ ด้ ว ยกระบวน พยุหยาตราสถลมารคทรงประกาศพระองค์ เป็นพุทธศาสนูปถัมภก ณ พระอุโบสถ วัด พระศรีรัตนศาสดาราม เป็นอันเสร็จพระราช พิธีบรมราชาภิเษก 6 พฤษภาคม พระบาทสมเด็ จ พระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินี เสด็จพระราชดำ�เนินประกอบ พระราชพิ ธี เ ฉลิ ม พระราชมณเฑี ย ร ณ พระที่นั่งจักรพรรดิพิมาน โดยทรงประทับ แรม ในพระบรมมหาราชวัง รุ่งเช้า จึงเสด็จ พระราชดำ�เนินกลับ 7 พฤษภาคม พระบาทสมเด็ จ พระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินี เสด็จออกสีหบัญชรเสด็จออก ยั ง ท้ อ งพระโรงกลาง พระที่ นั่ ง จั ก รี ม หา ปราสาท พระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้ คณะทูตานุทูตและกงสุลต่างประเทศ เฝ้าทูล ละอองธุลีพระบาท ถวายชัยมงคล จากนั้น เสด็จออกสีหบัญชรพระราชทานพระบรมราช วโรกาส ให้พสกนิกรเฝ้าทูลละอองธุลพี ระบาท 8 พฤษภาคม พิธสี ถาปนาฐานันดร ศักดิ์พระราชวงศ์ ณ พระที่นั่งอมรินทรวินิจ ฉัยมไหศูรยพิมาน พระราชวงศ์ที่ได้รับการ โปรดเกล้าฯ สถาปนาฐานันดรศักดิ์ ได้แก่ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระชัยนาทนเรนทร พระวรวงศ์เธอ กรมหมืน่ พิทยลาภพฤฒิยากร พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวิวัฒนไชย และ พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้านักขัตรมงคล

ในปั จ จุ บั น พระบาทสมเด็ จ พระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช โปรดเกล้าฯ ให้ประกอบพระราชกุศลในวันฉัตรมงคลรวม 3 วัน ซึ่งเริ่มตั้งแต่วันที่ 3 พฤษภาคม เป็นพิธี สงฆ์ งานพระราชกุศลทักษิณานุประทาน ณ พระทีน่ งั่ อมรินทรวินจิ ฉัย ทรงนิมนต์พระสงฆ์ มาสวดมนต์ แล้วพระราชาคณะถวายพระ ธรรมเทศนา พระสงฆ์สดับปกรณ์พระบรมอัฐิ สมเด็จพระบรมราชบุรพการี อุทิศถวายแด่ พระบรมราชบุรพการี วันที่ 4 พฤษภาคม เริม่ พระราชพิธีฉัตรมงคล เจ้าพนักงานอัญเชิญ เครื่ อ งราชกกุ ธ ภั ณ ฑ์ ขึ้ น ประดิ ษ ฐานบน พระแท่ น ใต้ พ ระมหาปฎลเศวตฉั ต ร พระ ราชครูหัวหน้า พราหมณ์อ่านประกาศพระ ราชพิธฉี ตั รมงคล พระสงฆ์สวดพระพุทธมนต์ เย็น และวันที่ 5 พฤษภาคม ในตอนเช้าทรง พระราชทานภัตตาหารแด่พระสงฆ์ พราหมณ์ เบิกแว่นเวียนเทียนสมโภชพระมหาเศวตฉัตร และเครือ่ งราชกกุธภัณฑ์ เมือ่ ถึงเวลาเทีย่ งตรง ท ห า ร เรื อ แ ล ะ ท ห า ร บ ก ยิ ง ปื น ใ ห ญ่ เฉลิมพระเกียรติ พร้อมกัน 2 กอง รวม 42 นัด นอกจากนี้ ยังมีพิธีพระราชทานเครื่อง ราชอิสริยาภรณ์ตราจุลจอมเกล้า ให้แก่ผทู้ ไี่ ด้ รับพระราชทานด้วย หลังจากนั้น ทรงเสด็จ นมั ส การพระพุ ท ธมหามณี รั ต นปฏิ ม ากร (พระแก้วมรกต) และถวายบังคมพระบรมรูป สมเด็จพระบูรพมหากษัตริยาธิราชเจ้า ณ ปราสาทเทพบิดร ในพระบรมมหาราชวัง เป็น อันเสร็จพิธี จึงเห็นได้ว่า พระราชพิธีฉัตรมงคล นี้ไม่เป็นเพียงแค่การฉลองเครื่องราชูปโภค เพี ย งในฐานะวั ต ถุ สิ่ ง ของเท่ า นั้ น แต่ ยั ง เป็ น การแสดงความกตั ญ ญู ต่ อ สมเด็ จ พระ บูรพมหากษัตราธิราชและพระราชวงศ์ชั้น ผู้ ใ หญ่ ผู้ ท รงมี คุ ณู ป การอั น ใหญ่ ห ลวงต่ อ แผ่นดิน ทีไ่ ด้ทรงรักษาบ้านเมืองไว้ให้เป็นปึก แผ่นมั่นคงมาจนถึงทุกวันนี้ และยังเป็นการ แสดงถึงการยอมรับของคนในชาติทมี่ ตี อ่ พระ ประมุขของตน ชาวไทยทุกคนจึงควรร่วมกัน แสดงความจงรักภักดีให้เป็นที่ประจักษ์ด้วย การกระทำ � ความดี ถ วายเป็ น พระราชกุ ศ ล เนื่องในโอกาสมหามงคลดังกล่าว


ลอว์นิวส์

ปีที่ 1 ฉบับที่ 9 วันพฤหัสบดีที่ 1 - วันพฤหัสบดีที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

9

ทีว.่แราชดำห่�งเนินีน ้

พระที่นั่งไพศาลทักษิณ

เนื่องในวันฉัตรมงคลนี้ “ที่แห่งนี้” จะนำ�เสนอสถานที่ที่ ใช้ ในการพระราชพิธีบรมราชาภิเษก 5 พฤษภาคม 2493 ซึ่งเป็น สถานที่สำ�คัญที่สร้างขึ้นมาตั้งแต่แรกสร้างกรุงรัตนโกสินทร์ และเป็นสถานที่ประดิษฐานของเทพยดาที่สำ�คัญองค์หนึ่งของคนไทย ที่แห่งนี้... “พระที่นั่งไพศาลทักษิณ” พระที่นั่งไพศาลทักษิณ เป็นพระที่นั่งในหมู่ พระที่นั่งจักรพรรดิพิมาน ซึ่งเป็นพระที่นั่ง เรียงกัน 3 องค์ มีชอื่ คล้องจองกันว่า จักรพรรดิ พิมาน – ไพศาลทักษิณ – อมรินทรวินิจฉัยม ไหสูรยพิมาน ซึ่งถ้าเราเดินเข้าชมพระบรม มหาราชวัง จากทางสนามหลวงผ่านประตู วิ เ ศษไชยศรี และเดิ น ตรงเข้ า มายั ง ประตู พิ ม านไชยศรี ก็ จ ะพบกั บ หมู่ พ ระที่ นั่ ง จั ก รพรรดิ พิ ม านอยู่ ท างด้ า นซ้ า ยมื อ ของ พระทีน่ งั่ จักรีมหาปราสาท โดยมีพระทีน่ งั่ อม รินทรวินิจฉัยมไหสูรยพิมานอยู่หน้าสุด ถัด ไปจะเป็ น พระที่ นั่ ง ไพศาลทั ก ษิ ณ โดยมี พระที่นั่งจักรพรรดิพิมานอยู่ด้านในสุด ชื่อ “ไพศาลทักษิณ” นี้ หมายถึง “ผู้ยิ่งใหญ่ทางใต้” ซึ่งเป็นการรับอิทธิพลมา จากอินเดียตามคติไตรภูมิพระร่วง ซึ่งระบุว่า มหาจักรพรรดิราชจะอุบัติขึ้นแต่เฉพาะใน ชมพูทวีป ซึ่งอยู่ทางใต้ของเขาพระสุเมรุ ซึ่ง พระที่นั่งองค์นี้ก็ยังตั้งอยู่ทางด้านทิศใต้ของ พระที่ นั่ ง อมริ น ทรวิ นิ จ ฉั ย มไหสู ร ยพิ ม าน (หมายถึงที่ประทับของพระอินทร์ คือ เขา พระสุ เ มรุ ) พระที่ นั่ ง ไพศาลทั ก ษิ ณ จึ ง ใช้ สำ�หรับพระราชพิธีบรมราชาภิเษกของพระ มหากษัตริยท์ กุ รัชกาล ยกเว้นพระบาทสมเด็จ พระพุ ท ธยอดฟ้ า จุ ฬ าโลกมหาราช ที่ ท รง ปราบดาภิ เ ษกก่ อ นการสร้ า งพระที่ นั่ ง พระองค์นี้ อันเป็นการสอดคล้องกับนามของ พระที่นั่ง พระทีน่ งั่ องค์นมี้ ลี กั ษณะเป็นอาคาร ทรงไทยก่ออิฐถือปูน ผนังภายนอกฉาบปูน เรียบทาสีขาว ลักษณะเป็นพระที่นั่งโถงยาว 11 ห้อง (ช่วงเสา) ทอดยาวจากทิศตะวันออก

ไปทิศตะวันตก ยกพื้นสูง 2 เมตร ด้านที่ ติดต่อกับท้องพระโรงหน้าเป็นคูหาเปิดโล่ง มี อัฒจันทร์ทางขึ้นลงตอนกลาง และที่เฉลียง ชัน้ ลดของสองปีก ด้านทีเ่ ชือ่ มกับพระทีน่ งั่ อม รินทรวินิจฉัยมไหยสูรยพิมาน มีผนังกั้น มี ประตูตรงกลางเรียกว่า “พระทวารเทวราช มเหศวร” เป็นทางเฉพาะของพระมหากษัตริย์ สำ�หรับเสด็จ สองข้ า งมี พ ระทวารเทวราช มเหศวร มีพระบัญชร 10 ช่อง เฉพาะด้านที่ เปิดออกสูพ่ ระทีน่ งั่ อมรินทรวินจิ ฉัยมไหยสูรย พิ ม าน และลานภายนอกประดั บ เป็ น ซุ้ ม บันแถลง นอกนั้น เป็ น เรื อ นแก้ วลายดอก เบญจมาศ หลังคามุงกระเบื้องดินเผาเคลือบ สี ประดับช่อฟ้าใบระกา หางหงส์ นาคสะดุ้ง ปิดทองประดับกระจกสีทอง หน้าบันจำ�หลัก ไม้ รูปสมเด็จพระอมรินทราธิราชประทับใน วิมานปราสาทสามยอด พื้นกระจกสีน้ำ�เงิน ประกอบลายก้านขดหัวนาค ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธ ยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงใช้พระทีน่ งั่ องค์ นี้สำ�หรับการประทับทรงพระสำ�ราญ เสวยพ ระกระยาหาร และประกอบพระราชานุกจิ ใน บางโอกาสโปรดเกล้าฯ ให้ พระบรมวงศ์ ข้า ราชบริ พ ารชั้ น ผู้ ใ หญ่ เข้ า เฝ้ า ทู ล ละอองธุ ลี พระบาท และบำ�เพ็ญพระราชกุศลภายใน แม้ เมื่อปลายรัชกาลทรงพระประชวรได้ประทับ บรรทมและว่าราชการที่พระที่นั่งองค์นี้ โดย ให้ ข้ า ราชการเข้ า เฝ้ า อยู่ ที่ ช านชาลา ข้ า ง พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัยมไหยสูรยพิมาน และเสด็จสวรรคตในพระที่นั่งองค์นี้ ในสมัยของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้า นภาลัย (รัชกาลที่ 2) ทรงตั้งการพระราชพิธี

บรมราชาภิเษก ณ พระที่นั่งองค์นี้ โดยทรง ตั้งพระที่นั่งอัฐทิศอุทุมพรราชอาสน์ เป็นที่ ประทับรับน้ำ�อภิเษก และพระที่นั่งภัทรบิฐ เป็นที่ประทับรับเครื่องเบญจราชกกุธภัณฑ์ เครื่องบรมขัตติยราชูปโภคอันเป็นโบราณ มงคล พระแสงราชศาสตราวุธ และพระแสง อัษฎาวุธ ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก และ เป็นพระราชประเพณีสบื มาจวบจนปัจจุบนั ว่า พระมหากษัตริยแ์ ห่งราชวงศ์จกั รีทกุ พระองค์ จะทรงประกอบพระราชพิธบี รมราชาภิเษก ณ พระที่นั่งองค์นี้ จุดที่น่าสนใจของพระที่นั่งไพศาล ทั ก ษิ ณ ก็ คื อ จิ ต รกรรมบนฝาผนั ง ภายใน พระที่นั่งไพศาลทักษิณ ที่วาดเหตุการณ์การ ประกอบบุญบารมีของพระอินทร์ตั้งแต่อดีต ชาติเมื่อครั้งยังเป็นมนุษย์นาม “มฆมาณพ” จนได้จุติเป็นพระอินทร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ภาพจิตรกรรมด้านหลังพระที่นั่งภัทรบิฐที่ วาดเป็ น เหตุ ก ารณ์ เ ฉลิ ม ฉลองตอนที่ ม ฆ มาณพได้ จุ ติ บ นสวรรค์ ชั้ น ดางดึ ง ส์ เ ป็ น พระอินทร์ ซึ่งมีเหล่าทวยเทพเทวดานางฟ้า มาฟ้อนรำ�กันมากมาย แต่บนพระแท่นของ พระอินทร์กลับว่างเปล่า เพื่อเป็นการเชื่อม โยงว่า พระอินทร์ซงึ่ ได้จตุ มิ านัน้ ก็คอื ผูท้ กี่ �ำ ลัง รับการถวายเครือ่ งราชกกุธภัณฑ์บนพระทีน่ งั่ ภัทรบิฐนั่นเอง นอกจากพระที่นั่งสององค์นี้แล้ว ภายในพระที่ นั่ ง ไพศาลทั ก ษิ ณ ยั ง มี สิ่ ง ศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองอีกองค์หนึ่ง คือ “พระ สยามเทวาธิ ร าช” ซึ่ ง พระบาทสมเด็ จ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 4) ทรงมี พระราชดำ�ริว่า เมืองไทยเรานี้มีเหตุการณ์

หวิดๆ จะต้องเสียอิสรภาพมาหลายต่อหลาย ครัง้ แล้ว แต่เผอิญให้มเี หตุรอดพ้นได้เสมอมา ชะรอยจะมีเทพยดาองค์ใดองค์หนึ่งที่คอย พิ ทั ก ษ์ รั ก ษาอยู่ จึ ง สมควรจะทำ � รู ป เทพ พระองค์นั้นขึ้น ไว้สักการบูชา จึงทรงพระ กรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระวรวงศ์เธอ พระองค์ เจ้าประดิษฐวรการปั้นหล่อเทวรูปสมมุติขึ้น ถวายพระนามว่ า พระสยามเทวาธิ ร าช ประดิษฐาน ณ พระที่นั่งทรงธรรมในหมู่ พระที่ นั่ ง พุ ท ธมณเฑี ย ร ในพระอภิ เ นาว์ นิเวศน์ ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระ จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) มีพระ ราชดำ � ริ ว่ า พระอภิ เ นาว์ นิ เวศน์ พ ระพุ ท ธ มณเฑียร และพระที่นั่งทรงธรรม ซึ่งเป็น โครงสร้างเสาไม้หุ้มปูน ที่ได้สร้างขึ้นในสมัย พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ ชำ�รุดทรุดโทรมลงมาก ยากที่จะบูรณะให้คง สภาพเดิมไว้ได้ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้รอื้ ลงทัง้ หมด และอัญเชิญพระสยามเทวาธิ ราชไปประดิษฐานไว้ ณ พระวิมานทองสาม มุขเหนือลับแลบังพระทวารเทวราชมเหศวร์ ในพระที่นั่งไพศาลทักษิณ ตราบจนถึงทุกวัน นี้ พระที่ นั่ ง ไพศาลทั ก ษิ ณ จึ ง เป็ น สัญลักษณ์ของการเป็นพระมหากษัตริย์โดย สมบูร ณ์ทั้ งในด้ า นการบรมราชาภิเ ษกขึ้น ครองราชท่ามกลางความปิติยินดีของพสก นิกร และในด้านพระราชภาระในการปกปักษ์ รักษาชาติไทยให้รอดพ้นจากเหตุภยันตราย ต่างๆ นานา และเจริญพัฒนาถาวรสืบไป

พระที่นั่งไพศาลทักษิณ ตั้งอยู่ ในเขตพระราชฐานชั้นกลางของพระบรมมหาราชวัง เปิดให้เข้าชมทุกวัน เวลา 8.30 - 16.30 น. คนไทยเข้าชมฟรี ชาวต่างชาติเสียค่า เข้าชม (พระบรมมหาราชวัง) 350 บาท โปรดแต่งกายสุภาพก่อนเข้าชมสถานที่


10

ลอว์นิวส

ปีที่ 1 ฉบับที่ 9 วันพฤหัสบดีที่ 1 - วันพฤหัสบดีที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

LAW CITIZEN

MISSCOVERY Bewtyfulmom

พูดถึงอาชีพทีเ่ กีย่ วข้องกับการใช้กฎหมาย คนทัว่ ไป ก็คงรู้จักแค่ตำ�รวจและทนายความ ทั้งที่จริงแล้วมีอาชีพที่ ใช้ กฎหมายเยอะมาก คอลัมน์ Law Citizen จะพาผู้อ่านไป ทำ�ความรู้จักกับบุคคลในสายอาชีพกฎหมายในสาขาต่างๆ ว่า มีหน้าที่ทำ�อะไร ประสบการณ์ต่างๆ และเหตุการณ์ที่ประทับใจ ฉบับแรก ขอนำ�เสนอ ตำ�แหน่งที่ทุกคนเคยได้ยินชื่อผ่านๆ แต่ อาจยังไม่รู้รายละเอียดอย่าง อัยการ หรือ ทนายความของ รัฐที่เราคุ้นปากคุ้นหูกัน คุณคงยศ คุณจักร์ รองอัยการ จังหวัดสมุทรปราการ จะมาเล่าให้ฟังถึงหน้าที่ของอัยการให้ เราได้รู้จักมากยิ่งขึ้น

หลังจากได้รับปริญญาโททั้ง สองใบจาก Indiana University ในสาขา กฎหมายทั่วไป และ กฎหมายระหว่าง ประเทศกับกฎหมายเปรียบเทียบจาก Chicago-Kent College of Law คุณคงยศ ก็ได้กลับมาสอบเข้าบรรจุเป็น อัยการจังหวัดสมุทรปราการ “สำ�หรับงานอัยการก็ตอ้ งบอก ว่ า เป็ น งานคดี เรี ย กได้ ว่ า 70-80 เปอร์เซ็นต์เป็นงานคดีอาญา ถ้าอยู่ใน กรุงเทพฯ จะแบ่งออกเป็นกองต่างๆ เลย เช่น คดียาเสพติด คดีพิเศษ คดีทาง เศรษฐกิจ แต่ถ้าเป็นต่างจังหวัด ก็ทำ� ทัง้ หมดในท้องทีน่ นั้ อย่างทุกวันนีผ้ มอยู่ ทีจ่ งั หวัดสมุทรปราการก็จะเป็นคดีทเี่ กิด ขึ้นในจังหวัดสมุทรปราการทั้งหมด ลัก วิ่ง ชิง ปล้น ยาเสพติด ไม่จ่ายค่าจ้าง แรงงาน พวกคดีทมี่ โี ทษทางอาญาทีเ่ กิด ขึ้ น ในท้ อ งที่ นั้ น ๆ แต่ อั ย การก็ มี อี ก หน้าที่นึงคือทำ�คดีแพ่งด้วย แต่คดีแพ่ง จะต้ อ งเป็ น คดี ที่ คู่ พิ พ าทเป็ น รั ฐ เช่ น อบต. โดนฟ้อง อบจ. ฝากให้ฟ้องคดีให้ กระทรวง ทบวง กรมทั้งหลาย ซึ่งจริงๆ แล้ว อบต. อบจ. ก็มีนิติกรประจำ�อยู่ แต่ บางคดีต้องใช้อำ�นาจของอัยการในการ ฟ้องคดี และยังมีงานอีกด้านนึงเป็นงาน ล่ า สุ ด ซึ่ ง ท่ า นอั ย การสู ง สุ ด ให้ ค วาม สำ�คัญมาก เป็นงานด้านคุ้มครองสิทธิ์ ให้ ค วามช่ ว ยเหลื อ ประชาชน ซึ่ ง จะมี สำ�นักงานคุม้ ครองสิทธิแ์ ละให้ความช่วย เหลือแก่ประชาชน เช่น คดีร้องจัดการ มรดก ก็จะยื่นคำ�ร้องให้ แล้วไปไต่สวน ให้ด้วย หรือรับบุตรบุญธรรม และยังมี การให้ คำ � ปรึ ก ษาด้ า นกฎหมาย ก็ มี ทนายอาสาเข้ามาช่วย แต่ถ้าพูดถึงงาน อัยการแล้ว ก็มงี านคดีเป็นงานหลัก งาน ว่ า ความ ก็ เ ป็ น ทนายนั่ น แหละ เป็ น ทนายของรัฐ มีน้อยมากที่ทำ�เป็นทีม โดยเฉพาะคดีใหญ่ๆ คดีที่ประชาชนให้ ความสนใจ คดีที่มีความยุ่งยากหรือซับ ซ้อนเป็นพิเศษ ก็จะมีการตั้งทีมเรียกว่า คณะทำ�งาน แต่โดยพื้นฐานแล้วจะเป็น สำ�นวนใครสำ�นวนมัน ซึง่ ก็จะผ่านการก ลั่นกรองตามระบบบังคับบัญชา เช่น ได้ สำ�นวนมาก็ตอ้ งเสนอให้อยั การทีอ่ าวุโส กว่าเป็นคนตรวจ แล้วส่งให้ หัวหน้า อัยการเป็นคนพิจารณาอีกชั้นนึงว่าเห็น ด้วยหรือไม่อย่างไร ซึ่งในแต่ละลำ�ดับ ความเห็นก็จะเป็นอิสระจากกัน เช่น ผม

อาจจะเห็นควรสั่งฟ้อง อัยการที่อาวุโส กว่ า อาจเห็ น ควรสั่ ง ไม่ ฟ้ อ ง หั ว หน้ า อัยการอาจจะสั่งฟ้องหรือไม่ก็ได้ แต่ว่า แต่ละคนก็ต้องทำ�ความเห็นและเหตุผล ไว้ด้วยว่า มีเหตุผลอะไรมาสนับสนุน ความคิดของตนเอง “คดีที่เจอบ่อยที่สุดคือคดียา เสพติด ประมาณ 60-70 เปอร์เซ็นต์ของ คดีทงั้ หมด ซึง่ คดียาเสพติดก็สามารถนำ� ไปสู่คดีต่างๆ ต่อไปได้ เช่น ลักทรัพย์ ก็ตามมา คนที่ติดยาก็หาเงินไปซื้อยา คดีที่พบก็มียาบ้าเป็นส่วนใหญ่ มีกัญชา บ้าง “ที่ สำ � นั ก งานอั ย การจั ง หวั ด สมุทรปราการมีอัยการประมาณ 30 คน ถือว่าเยอะมาก เพราะว่า คดีที่ปากน้ำ� แต่ละปีมจี �ำ นวนมาก เฉพาะสำ�นวนทีจ่ บั ตั ว ผู้ ต้ อ งหาได้ ปี ที่ แ ล้ ว มี ป ระมาณ 12,000 – 13,000 คดี เนื่ อ งจาก สมุทรปราการเป็นที่ตั้งของโรงงานเยอะ ผู้ใช้แรงงานก็เยอะ มีปัญหาเด็กแว้นซ์ เยอะ แล้วก็จะมีปัญหาต่อไปตามมาคือ คนต่างด้าวเยอะ บางทีเราต้องการพยาน ตำ�รวจไปตามพยานมาศาลก็ตามลำ�บาก เพราะส่วนใหญ่ไม่ใช่คนในท้องที่ เป็น คนมาจากต่างจังหวัดมาทำ�งานสักพักก็ ไป ก็จะมีปัญหาในการสืบพยาน หา พยานได้ลำ�บาก “สิ่ ง ที่ ป ระทั บ ใจในอาชี พ อัยการ ก็ไม่ได้มีที่ประทับใจมาก เพราะ มองว่าเป็นการปฏิบตั ติ ามหน้าทีเ่ ลยไม่รู้ สึกอะไรมาก อย่างบางคนรูส้ กึ ว่าสิง่ ทีเ่ รา ทำ�ลงไปเป็นบุญคุณต่อเขา ผูเ้ สียหายบาง คนเขารู้สึกประทับใจ ครั้งหนึ่งเคยไปว่า ความคดีชิงทรัพย์ให้ เขาประทับใจมาก เอาขนมมาให้ มาขอบคุณด้วยตัวเอง ซึ่ง อัยการคนอื่นๆ ก็คงเจอเหมือนกัน แต่ ตัวผมประสบการณ์น้อยแค่หกปี อาจจะ ยังเจออะไรไม่คอ่ ยมาก พอเจอตรงนี้ เรา ก็ รู้ สึ ก ว่ า ประทั บ ใจ เพราะทำ � ไปตาม หน้าที่ ไม่ได้คาดหวังอะไรมาก แต่ก็มี แบบนี้อยู่สองสามครั้ง เคยมีบางคดีทำ� คดีให้ชาวบ้าน สืบพยานเสร็จเอาเงินใส่ ซองมาให้เรา มายื่นให้ในศาลเลย ก็ เป็นเรื่องประหลาดดี ประสบการณ์ว่า ความในศาลก็สนุก เพราะแม้จะเป็น อั ย การ แต่ ก็ ยั ง เด็ ก เพราะอายุ น้ อ ย บางทีก็เจอทนายอาวุโสหลายรูปแบบ กรณี ข องจำ � เลย พอได้ ล องพู ด คุ ย กั บ

จำ�เลย ก็พอจะรู้ว่าจำ�เลยทำ�หรือไม่ทำ� พอดูจากอากัปกิริยาได้ แต่กับบางคดีก็ สังเกตยาก สุดท้ายก็ต้องยึดในพยาน หลักฐานอยูด่ ี มีอยูค่ รัง้ นึงก็เจอจำ�เลยลุก ขึ้นมาชี้หน้าในศาลเลย แต่โดยทั่วไปที่ เคยเจอ จำ�เลยก็ไม่เคยมองว่าอัยการเป็น ศัตรู ก็แปลกดีเหมือนกัน ก็ไม่รู้ว่าทำ�ไม บางครั้ ง ก็ จ ะมี อ ารมณ์ บ้ า งในระหว่ า ง พิจารณา” “เวลาว่างจากงานหรือวันหยุด ผมก็ชอบกลับมารดน้ำ�ต้นไม้ ชอบอ่าน หนังสือ ยอมรับว่าหลังๆ อ่านหนังสือ วิ ช าการน้ อ ยมาก เพราะว่ า เรี ย น กฎหมายมามันก็เหนือ่ ย อ่านเยอะตัง้ แต่ เรียนปริญญาตรี สอบเน สอบโท สอบ อัยการ แต่วา่ เราก็พยายามอัพเดทตัวกฎ หมายใหม่ๆ ก็เป็นคนสนใจในข่าวสาร ความเป็ น ไปของกฎหมายบ้ า นเมื อ ง ใหม่ๆ ตามอยูต่ ลอด แต่ถา้ เป็นเวลาว่าง ชอบเล่นดนตรี ฟังเพลง อ่านหนังสือที่ ไม่ใช่ทางวิชาการ “ผมชอบอัพเดทข้อมูลข่าวสาร อยูแ่ ล้ว เพราะว่าอยูก่ บั เพือ่ นๆ ก็คยุ เรือ่ ง เครียด เรื่องกฎหมายกันอยู่แล้ว อย่าง เช่ น เพื่ อ นก็ จ ะมาขอคำ � ปรึ ก ษา แลก เปลี่ยนข้อมูลกัน ซึ่งคนภายนอกจะมอง ว่านักกฎหมายเราต้องรู้หมด ถามอะไร ก็จะต้องรู้ทุกเรื่อง แต่ในความเป็นจริง มันก็ไม่ใช่ อย่างเป็นอัยการก็จะมีความ เชี่ยวชาญด้านกฎหมายอาญา ถ้ามีงาน คดีอาญามาก็ต้องทำ�ให้ได้ “อยากฝากถึงผู้ที่สนใจอยาก เป็นอัยการว่า ต้องขยัน โดยเฉพาะอย่าง ยิง่ เรือ่ งการอ่านหนังสือ ผมนับถือเลยนะ คนที่สอบผ่าน ว่ามีความมานะสูงมาก ยากมาก ขยันมากจริงๆ เชื่อไหม บาง คนฟังแบ็คกราวด์แล้วอึ้งเลย มีอยู่คน หนึ่งเคยเป็น รปภ. มาก่อน อาศัยช่วง เวลาเป็นรปภ. อ่านหนังสือสอบ แล้วก็ ไปเรียนราม บางคนเคยทำ�งานโรงงาน มาก่อน ก็เลยคิดว่า สุดท้ายแล้วถ้าคุณมี ความมานะ มีความตั้งใจ มันก็จะมีวัน ของเรา อยากให้มาช่วยกันทำ�งานใน วงการยุติธรม เพราะระยะหลังๆ วงการ ยุตธิ รรมก็จะถูกปัดซ้ายปัดขวา นอกจาก เราจะมี ค วามมานะแล้ ว หากเรามี อุดมการณ์ในจิตใจด้วยก็จะยิ่งดี ก็อยาก ให้สๆู้ ถ้ามีความตัง้ ใจจริง เพราะเห็นคน ที่ตั้งใจจริง ก็ทำ�ได้ทั้งนั้น”

ผู้หญิงที่ ไม่อยากเป็นแม่ คุณเคยเป็นไหม รำ�คาญเสียงเด็กร้องที่ร้านอาหาร เราอุตส่าห์ หาร้านบรรยากาศดีๆ อาหารอร่อย อยากดื่มด่ำ�กับ อาหารมื้อนี้อย่างมีความสุข ก็มีมารเด็กน้อยมาร้อง กรีด๊ ๆ ทำ�ให้อาหารมือ้ นีห้ มดความอภิรมย์ไปโดยสิน้ เชิง คุณเคยเป็นไหม ขึ้นเครื่องบินไฟลท์ยาว เตรียมตัวนอนบน เครื่องให้เต็มตา จะได้ตื่นมาถึงที่หมายอย่างสดชื่น แต่ ดันนั่งใกล้เด็กจอมป่วนที่ก่อกวนยุกยิก จุกจิกตลอด ไฟลท์ ไม่เป็นอันนอนกันเกือบทั้งโรล ถึงที่หมายอย่าง อารมณ์เสียและง่วงนอน! ดิฉันเคยเป็น เป็นมากด้วย ถึงกับปฏิญาณกับ น้องสาวว่าชาตินี้จะไม่มีลูกเด็ดขาด ชีวิตนี้ต้องการหา สามีมาเคียงข้างเท่านั้น ฉันไม่รักเด็ก! แต่แล้ว เมื่อแต่งงาน ชีวิตก็ดี มีความสุข แต่ รูส้ กึ ว่าชีวติ คูม่ นั ขาดอะไรไป ทำ�ไมมันเบือ่ จะทำ�ผม แต่ง หน้า ช้อปปิ้ง เช็คเรทติ้ง มันก็ไม่หาย ทำ�ไมไปเที่ยวไหน ก็สนุกนะ แต่ก็ซ้ำ�ๆ เดิมๆ ขาดๆ โหวงๆ และทั้งๆ ที่ก็ มี ผู้ ช ายที่ ฉั น เลื อ กมาอย่ า งดี อ ยู่ ข้ า งกายแล้ ว ทั้ ง คน ครอบครัวเราไปไหนด้วยกัน 2 คน เห็นบ้านอื่นเขามี 3 4 5 รู้สึกเหงา อิจฉา ทำ�ไมเราไม่มีบ้าง แล้วก็มานั่งถามตัวเอง เอ๊ะ! เราเป็นอะไร เรา ไม่เคยอยากมีลูกนี่นา เด็กน่ารำ�คาญจะตาย สกปรก เลอะเทอะ เข้าใจยาก เห็นใครมีลกู ก็บน่ เหนือ่ ย ส่ายหน้า อย่ามีเลย แต่เห็นเวลาไปช้อปปิ้ง วิ่งไปเลือกของให้แต่ ลูก กับข้าวกับปลาอะไร ตระเตรียมหาให้ด้วยความ พิถีพิถัน ปากก็บ่นแต่สีหน้าดูมีความสุขล้นของพี่แกคือ อะไรกัน ในที่สุด เราก็ท้อง... โห นี่แค่ท้องนะ ความรู้สึกมันมาจากไหนไม่รู้ เต็มตื้นอยู่ข้างใน คนไม่เคยเห็นไม่เคยรู้จักกัน ทำ�ไมถึง รู้สึกได้มากขนาดนี้ สามีที่ว่ารักมาก เห็นกันทุกวัน ยัง ไม่รู้สึกขนาดนี้เลย จะกินอะไร จะทำ�อะไร จะนอนท่า ไหน อาบน้ำ�ถูขี้ไคลอะไร เป็นห่วงเป็นใยคนในท้องไป ซะหมด วันที่คลอดเค้าออกมา น้ำ�ตาไหลไม่หยุด ทั้งๆ ที่หน้าตาลูกตอนนั้นเต็มไปด้วยเมือกแหยะๆ ขาวๆ ร้องไห้ดงั ลัน่ จนเห็นลิน้ ไก่สนั่ ระวิงอย่ใู นปาก แต่มนั ช่าง ซาบซึ้งเหลือเกิน มีความสุขอย่างที่อธิบายกับใครไม่ได้ ยิ่งวินาทีที่ได้อุ้มลูกครั้งแรก ลูกดูดนมครั้งแรก มันเป็น วินาทีที่คงจดจำ�ไปจนวันตาย ณ วันนี้ ดิฉันมีลูก 2 คนแล้ว (สามี 1... แน่สิ ยะ!) มั่นใจมากว่าสิ่งที่ฉันเป็น ผู้หญิง 99% ทั้งโลกต้อง เป็น มันไม่ใช่การมนง มโนไปเอง แต่มนั สันดาปมาจาก จิตสำ�นึก มาจากสัณชาตญาณ มาจากต่อมใต้สมองเพื่อ ดำ�รงเผ่าพันธุ์มนุษย์ต่อไป มันไม่ใช่อะไรเล่นๆ แต่มัน คืองานสร้างคน ที่ก่อกำ�เนิดมาจากความรัก...


ลอว์นิวส์

ปีที่ 1 ฉบับที่ 9 วันพฤหัสบดีที่ 1 - วันพฤหัสบดีที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

BINGEWATCH

11

สัภารการ มภาษณ์

ภาพยนตร์รวมวายร้ายของสไปเดอร์แมน

หลายๆ คนที่ ไ ด้ ช ม The Amazing Spider-Man 2 น่าจะได้ทราบ กันแล้วว่าเราจะได้ชมภาพยนตร์ที่เป็น เรื่องราวของกลุ่มตัวร้ายจากสไปเดอร์ แมนทั้ ง หกตั ว ที่ ร วมกั น ในนาม The Sinister Six แต่กว่าจะได้ดูเราอาจจะได้ ดู The Amazing Spider-man 3, Venom ก่อน ใน End Credit ของ The Amazing Spider-man 2 ได้เผยให้เรา

เห็นสัญลักษณ์ของเหล่าร้ายทั้งหมด 6 ตัวทีจ่ ะมารวมทีมกัน ได้แก่ สัญลักษณ์ที่ เป็นเครื่องยนต์ไอพ่นนั่นคงไม่ใช่ใคร นอกจาก Green Goblin ตัวร้ายในภาค นี้ นอแรดที่เห็นนั่นก็บอกว่าเราจะได้ เห็น Rhino กลับมาสู้กับสไปเดอร์แมน อีก และอีกสี่ตัวร้ายใหม่ที่เรายังไม่เคย เห็ น ในสไปเดอร์ แ มนเวอร์ ชั่ น นี้ ขา แมงมุมยนต์นั่นก็ Doctor Octopus

สัญลักษณ์คล้ายหน้าสิงโตบนชุดของตัว ละคร Kraven the Hunter ที่ดูคล้ายๆ ปีกคือ Vulture มนุษย์แร้ง ส่วนอันท้าย สุดที่คล้ายหน้ากากแล้วมีควัน ยังเป็นที่ วิ พ ากษ์ วิ จ ารณ์ กั น ว่ า เป็ น ตั ว อะไรแน่ ระหว่าง Mysterio จอมนักสร้างภาพ มายา หรือไม่ก็ Chameleon มนุษย์ กิง้ ก่าพันหน้า แต่กม็ เี สียงแตกอีกบอกว่า อาจเป็น Black Cat!!

ภาพยนตร์

BAD NEIGHBORS

13 SINS

GODZILLA

สงครามขอคืนพื้นที่แบบสุดเกรียน­กำ�ลังจะเร­ิ่ม ขึ้น เมื่อคู่สามีภรรยาพร้อมลูกน้อย ต้องเผชิญ หน้ากับเด็กมหาลัยสุดแ­สบ แผนแก้เผ็ดสุดป่วน กับเรื่องกวนๆ จึงเกิดขึ้น พบกับนักแสดงขวัญ ใจสาวๆ แซค เอฟรอน (จาก That Awkward Moment และ High School Musical Series) และ เดฟ ฟรังโก (จาก 21 Jump Street) ในบทเด็กมหาลัยสุดเกรียนที่มาป่­วนคู่ สามีภ­ รรยาโลกสวยที่รับบทโด­ย เซธ โรแกน (This is The End, The 40-Year-Old Virgin) และโรส เบิร์น (จาก Insidious : Chapter 2, X-Men : First Class) ภาพยนตร์กำ�กับการแสดงโดย นิค สโตลเลอร์ (จาก Forgetting Sarah Marshall, Get Him to the Greek) (เข้าฉาย 8 พฤษภาคม 2557)

ดั ด แปลงจากภาพยนตร์ ไ ทยอย่ า ง 13 เกม สยอง สู่ 13 Sins เล่ า เรื่ อ งราวของ เอลเลียต บรินเดิล เซลล์แมนตกอับที่ประสบ ปัญหาหนี้สินพะรุงพะรังจนไม่รู้จะหาทางออก อย่างไร เขาเริ่มรู้สึกสิ้นหวังกับชีวิตแต่งงาน กระทัง่ มีโทรศัพท์ลกึ ลับโทรมาหาเขาพร้อมกับยืน่ ข้อเสนอให้เล่นเกมจำ�นวน 13 ด่าน เพือ่ ให้ได้เงิน รางวัล 6.2 ล้านเหรียญ เอลเลียตคิดว่านี่อาจ จะเป็นการเล่นตลกอะไรสักอย่าง ปลายสายจึง บอกกับเขาว่าให้ตแี มลงวันทีเ่ กาะอยูท่ ผี่ นังให้ตาย แล้วเขาก็จะได้รับเงิน 1000 ดอลลาร์ เมื่อเขา ลงมื อ ทำ � เงิ น ก็ ถู ก โอนเข้ า มาในบั ญ ชี ข อง เขาจริงๆ เอลเลียตจึงต้องกระโจนลงไปเล่นเกม ต่อไปเรือ่ ยๆ โดยแต่ละด่านทีผ่ า่ นไปนัน้ ก็ทวีความ ยากขึ้นทุกทีและเริ่มเต็มไปด้วยความโหดร้าย เลือดเย็น กว่าเขาจะรู้สึกตัวทุกอย่างก็ก้าวเลย คำ�ว่ากฎหมายไปไกลเกินกว่าจะหันหลังกลับได้ทนั มันพาชีวิตของเขาเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่ คาดไม่ถึงเลยทีเดียว (เข้าฉาย 8 พฤษภาคม 2557)

Warner Bros. Pictures และ Legendary Pictures ภูมิใจเสนอมหากาพย์การกำ�เนิดขอ งก๊อตซิลล่า­ญี่ปุ่นโดยถูกโตโฮปลุกคืนชีพขึ้นมา อีกครั­ง้ กับตำ�นานและการผจญภัยอันน่าตืน่ เต้น ของเหล­่าสัตว์ประหลาดทั้งหลายที่จะมาต่อต้าน สิง่ ­ชวั่ ร้ายทีถ่ กู สร้างมาจากนักวิทยาศาสตร์ และ กำ�ลังจะคุกคามการดำ�รงอยูข่ องมวลมนุษยชา­ ติ. Gareth Edwards มานั่งแท่นกำ�กับให้กับ ภาพยนตร์เรือ่ งนี้ โดยมี Aaron Taylor-John, Ken Watanabe, Elizabeth Olsen, Juliette Binoche, Sally Hawkins, David Strathaim และ Bryan Cranston มาร่วม แสดงให้กับภาพยนตร์เรื่องนี้ (เข้าฉาย 15 พฤษภาคม 2557)

วันนี้ "ลอว์นิวส์" ได้มีโอกาสสัมภาษณ์บุคคล บันเทิงที่มีคุณภาพ และคิวงานแน่นอีกคนนึง "อ้น - ศรีพรรณ บุนนาค" ผู้หญิงอารมณ์ ดีที่ทำ�แทบจะทุกอย่างแล้วในวงการบัน เทิง ใครจะเคยรู้บ้างว่าผู้หญิงอารมณ์ดีคนนี้เคย ออกเทปมาแล้ว ตลอดการสัมภาษณ์วนั นีเ้ ต็ม ไปด้วยเสียงหัวเราะ และข้อคิดดีๆ เราไปอ่าน บทสัมภาษณ์ ในฉบับนี้กันดีกว่าค่ะ

“ตอนนี้ใน 1 วัน งานที่ทำ�ก็มีอัดรายการ กับถ่ายละคร แล้วก็งานอีเว้นท์บ้าง ในบางวันก็มีฝึก โยคะเพิ่ม “ส่วนในเรือ่ งของการทำ�งานก็มเี หนือ่ ยนะ แต่วา่ โชคดีทวี่ า่ งานทีท่ �ำ อยูท่ กุ วันนีม้ นั เหนือ่ ยแต่กาย ไม่ค่อยเหนื่อยใจ แต่ก็มีบ้างนะที่เบื่อและท้อในบาง งาน ก็มบี า้ งทีไ่ ม่อยากทำ�หรือรูส้ กึ ฝืน แต่วา่ เราก็ตอ้ ง รู้จักกำ�หนดจิตใจ บอกใจตัวเอง ปลอบตัวเองว่ามัน ก็คืองานของเรา เราก็ต้องผ่านไปให้ได้ เราต้องโต เป็นผูใ้ หญ่ เราต้องไม่งเี่ ง่า ก็ตอ้ งตืน่ ไปทำ�ให้มนั เสร็จ ไปทำ�อย่างตั้งใจและก็ทำ�ให้มันเสร็จ และต้องไม่ใช่ ทำ�เสร็จแบบลวกๆ ด้วยนะ เราต้องทำ�อย่างตัง้ ใจ ทำ� มันออกมาให้ดีที่สุด “ฟีดแบคจากละครสามีตีตรา คือดีมาก ดี เกินคาด คือปกติเล่นละครก็ไม่ได้คาดหวังอะไรมาก อยูแ่ ล้ว เพราะเราทำ�อย่างเต็มทีแ่ ละตัง้ ใจ แต่ฟดี แบค ดีมากจริงๆ คนจะพูดถึงแต่นวล เจอเราก็เรียกนวลๆ คือเราก็ดีใจ ก็เป็นกำ�ลังใจให้เราอีกทางนึง “ส่วนใครที่สนใจอยากจะเข้ามาในวงการ บันเทิง ก็อยากจะบอกว่ามันไม่ได้สวยงามสวยหรู อย่างทีร่ สู้ กึ หรือทีค่ ดิ กันนะคะ คือเราต้องมีวนิ ยั ต้อง ซือ่ สัตย์ อดทนกับหน้าทีก่ ารงานของเรา ไม่ใช่วา่ แต่ง หน้าทำ�ผมสวยๆ แล้วเดินเข้ากล้องสะบัดไปมา เชิดๆ ไปมามันก็ไม่ใช่อ่ะค่ะ “คือวงการบันเทิง อย่าคิดแต่ที่จะมากอบ โกยเงินอย่างเดียว บางคนมาไตรมาสเดียวแล้วก็ไป แต่ทสี่ �ำ คัญทีส่ ดุ คือ เราจะรักษาความดีของเรา ความ มีระเบียบวินยั ความซือ่ สัตย์ หรืออะไรทีจ่ ะช่วยรักษา ตั ว เองให้ อ ยู่ ไ ปนานๆ ตรงนี้ มั น จะยากมากกว่ า เพราะวงการบันเทิงมันเป็นอะไรที่ฉาบฉวยเหมือน กับทุกๆ วงการอาชีพนัน่ แหละค่าาา” (ลากเสียงยาว) รายการ คันปาก ออกอากาศทุก วันจันทร์ - ศุกร์ เวลา 7.30 น. ทางช่อง 7 ไป follow อินสตาแกรม ของ อ้น ศรีพรรณ ได้ที่ @ohnsri1000


12

ลอว์นิวส

ปีที่ 1 ฉบับที่ 9 วันพฤหัสบดีที่ 1 - วันพฤหัสบดีที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

U.S. SUPREME COURT DECISION REINSTATES $185 MILLION ARBITRAL AWARD

Placing New Focus on Clear Prerequisites to Arbitration in Bilateral Investment Treaties

By Jacob A. Manning of Dinsmore & Shohl LLP

In the early 1990s, BG Group was a part of a consortium that became the successful bidder to purchase a controlling interest in a state-owned gas utility in Argentina named MetroGAS. A r g e n ti n a h a d a w a r d e d MetroGAS a 35-year exclusive license to distribute natural gas in Buenos Aires. At the time, Argentina had enacted statutes providing that its regulators would calculate gas tariffs in U.S. dollars and that those tariffs would be set at rates sufficient to allow gas distribution firms a reasonable return. In 2001 and 2002, however, Argentina faced an economic crisis and enacted new laws, changing the basis for calculating gas tariffs from dollars to pesos, at a rate of 1 peso per dollar, at a time when the exchange rate was 3 pesos to the dollar. As a result, MetroGAS’ profits quickly became losses. BG Group sought arbitration, invoking an investment treaty that had been executed by the United Kingdom and Argentina, which applied to disputes between one of those nations and an

investor from the other. Article 8 of the treaty authorized either party to submit a dispute to a competent tribunal of the country in whose territory the investment was made. Article 8 also provided for arbitration if, eighteen months after the dispute had been submitted to the tribunal, no decision had been made or if the decision had been made but the parties were still in dispute. The parties chose arbitrators and those arbitrators conducted hearings on both the substance of the dispute, as well as the arbitrators’ “jurisdiction” to hear the dispute. Argentina had claimed that BG Group’s failure to first seek relief in an Argentine court prevented the arbitrators from exercising jurisdiction over the dispute. The arbitrators found that they had jurisdiction, noting among other things that Argentina had limited access to its court system for parties injured by the economic measures, and that requiring a private party to seek relief in Argentina’s courts for eighteen months would lead to “absurd and unreasonable result[s].” The arbitrators also found in favor of BG Group on the merits and awarded it $185 million in damages. Both parties filed petitions for review in the United States District Court for the District of Columbia, as the locus of the arbitration had been in Washington, D.C. BG Group sought to enforce the arbitral award under the New

img.rt.com

In an opinion issued in BG Group PLC v. Republic of Argentina, 134 S. Ct. 1198 (2014), the United States Supreme Court found that a prerequisite to arbitration was a procedural issue to be decided by the arbitration panel and not an issue for the courts to decide. In effect, the opinion reinstated the award by an arbitration panel of $185 million in favor of the British firm, BG Group, PLC and against the Republic of Argentina.

York Convention and the Federal Arbitration Act, and Argentina sought to set aside the award in part on the ground that the arbitrators lacked jurisdiction. The Court confirmed the award, but following an appeal, the United States Circuit Court for the District of Columbia Circuit reversed that decision. The appellate court found that the application of the precondition to arbitration—litigation in Argentina’s courts—was a matter for the courts to decide, and it gave the arbitrators’ decision no deference. It found that the circumstances did not excuse BG Group’s failure to comply with the requirement, and as a result, the arbitrators lacked authority to decide the dispute. BG Group sought review before the United States Supreme Court on the question of whether the application of the precondition was a matter for the arbitrators or the courts to decide. The Supreme Court first decided that it would interpret the bilateral investment treaty as it would interpret a contract. It held that courts usually presume that the parties intend arbitrators to decide disputes about the meaning and application of particular procedural preconditions for the use of arbitration, while courts may presume that the parties intend courts to decide questions

concerning whether an arbitration clause applies to a particular controversy. Since the issue in this case was of the former variety—a dispute about a precondition to arbitration, not whether there is a duty to arbitrate at all—if the treaty were a contract, the Court found that the parties would have intended that arbitrators would decide the issue. Next, the Court considered whether the document being a treaty instead of a contract made a difference in its analysis. The Court found that the language of the treaty did not evidence an intent other than that the arbitrators would decide procedural issues. Thus, the usual presumption that the parties intended arbitrators to decide those procedural issues applied. The Court left open the question whether treaties that contain conditions of consent, as some do, would compel a different result. Since the issue was one to be decided by the arbitrators, the Court held that it should grant the arbitrators a great level of deference in their decision as to their own authority to hear the dispute. Having decided what level of review to grant the arbitrators’ decision, the Court proceeded to consider whether the arbitrators had cor-

rectly decided whether the precondition to arbitration should be forgiven. The Court found that the arbitrators’ decision was lawful, and even though the Court may not have decided the issue the same if it were presented to it initially, it could not say that the arbitrators’ decisions were barred by the treaty. Thus, the Court reversed the decision of the Court of Appeals and in effect, reinstated the award in BG Group’s favor. The decision certainly warrants review by parties negotiating bilateral investment treaties. If those parties wish to deviate from the courts’ presumptions about whether arbitrators or courts should decide prerequisites to arbitration, they should make that clear in the treaty. But the same principle applies to parties negotiating a contract containing an arbitration clause. If there is a preference whether courts or arbitrators decide issues concerning prerequisites to arbitration, those parties should clearly state their intentions within the arbitration clause, so that the focus can be on the substance of the dispute and not on preliminary questions of the authority to hear the dispute.


ลอว์นิวส์

ปีที่ 1 ฉบับที่ 9 วันพฤหัสบดีที่ 1 - วันพฤหัสบดีที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

13

CHINA CASE REPORT – COURT APPLIES “COMMON SENSE” PRINCIPLE OVER STRICT INTERPRETATION OF LAW By Winston & Strawn LLP

Recently, various Chinese media sources reported on a labor and employment case from Guangdong Province relating to overtime compensation and unlawful termination. Despite laws that are very protective of employees, the decision was in favor of the employer. There is no official or comprehensive system for reporting legal cases in China, nor any formal concept of binding case law precedent. The case itself, as well as the fact that it was reported, is interesting because the court’s decision appears to be based less on a strict interpretation of the law and, instead, indicates an “equitable” approach to the dispute. Background A Chinese employee of a domestic Chinese company in Zhongshan City (southern China) worked as a factory manager for just over a year. The company terminated the employment contract, claiming a “serious breach of company rules and policies,” citing the manager’s intolerant and overbearing management style and that, as a result, the company lost a number of wellqualified employees. This type of termination constituted a summary dismissal without notice or severance. The employee brought a claim to the local labor dispute arbitration commission (as required for first instance labor claims) for unlawful termination on the basis that this was not a serious breach. He also claimed that he had not been paid for the overtime he had worked. The labor arbitration commission rejected the employee’s claims, although the reasons have not been reported. The employee then appealed the matter to the Zhongshan Secondary People’s Court, claiming unlawful termination, unpaid overtime, and double salary for failure to conclude a written employment contract. Legal Points From a legal perspective, the employee alleged several vi-

able bases for his claims. Termination – The details of his actions are not clear, but a termination for serious breach of discipline normally requires the employer to show evidence of a very grave act or omission and/or that the behavior results in substantial harm to the employer. Management style normally would not be sufficient, unless it constituted actual physical or verbal aggression. However, there are very few other grounds to rely on for termination. The most logical would be “incompetence,” which is also hard to prove and requires notice and severance. Overtime – All employees are entitled to paid overtime (or in some cases, time off in lieu) if they work more than 40 hours per week, unless they are registered by the employer with the local labor bureau under a specific exemption scheme (such as the irregular working hours scheme for management personnel, travelling sales staff, and security personnel). The manager had worked consistently more than 40 hours per week and was not registered under such a scheme. Written Contract – Employers must put in place a written employment contract with employees within one month of commencement; otherwise, the employee is entitled to double salary from the end of the one month until the employer does so. In this case, the employer claimed to have given a contract to the employee, but there was no evidence of this contract on file. Accordingly, under a strict interpretation, the em-

ployee appears to have several reasonable arguments and, in the PRC, it is common for both labor arbitration commissions and the courts to take a rigid approach. The Court’s Decision The court gave a clear judgment on each of the three claims, which in each instance departed from the strict letter of the law and applied a more “equitable” approach to the situation. Termination – The court decided that the employer had failed to show that the seriousness of the manager’s behavior justified termination for serious breach of company rules, but, equally, that the employee’s actions had a detrimental impact on the operation and business of the company. Accordingly, the court held that, on the principle of fairness and after appropriate consideration of the overall situation, the termination should be deemed a mutual termination and that the employer should pay severance to the employee based on his length of service (i.e., 1.5 months’ salary to reflect more than one year, but less than 18 months of service). This is the statutory formula for severance used in situations where severance applies. It is surprising, however, that the court did not either uphold the termination without severance or hold the termination to be unlawful. Overtime – The court held that, although the employee was not registered under an overtime exemption scheme (as required by law), he was a factory manager and, therefore, should be expected to work certain additional hours for the needs of

the business without payment of overtime. In making its decision, the court also noted that it had taken into consideration the fact that the manager’s salary was higher than the level shown for a factory manager in the “ Wa g e G u i d e l i n e s ” f o r Zhongshan City (even though it is not mandatory to follow the Guidelines). Written Contract / Double Salary – Finally, the court held that while the company could not show definitively that it had given a contract to the employee to sign, the employee should not be entitled to double salary because it was clear that, as the factory manager, he was responsible for certain HR matters, such as putting contracts in place with other employees. Implications

courts (and to a lesser extent the labor arbitration commissions) to look at the overall situation and provide a judgment that they consider to be “equitable.” Again, while there is no system of binding case law precedent in China, there is also no guarantee that a court or labor arbitration commission will take a “broader” view. It is worth noting that this was a domestic Chinese employer and that, in practice, the bar sometimes can be set higher for foreign invested companies in China. However, this case illustrates that there can be value in arguing a reasonable position, especially if the wider workforce or the business of the company is affected, even if this position is contrary to a strict interpretation of the law.

Chinese labor laws are very restrictive on and provide little flexibility for employers; therefore, this was a good result for the company. For example, there is no right to terminate for under-performance, unless this constitutes incompetence. It is common for employees to succeed in relying on the letter of the law against an employer, even if the practical situation is more complex. That said, paradoxically, it is often executives that succeed in doing so rather than factory workers, for whom the law was originally aimed at protecting.

We recommend having comprehensive and China- specific employment documentation and HR systems. In particular, this means: (i) understanding the law and the restrictions and constraints; and (ii) putting in place documentation that is consistent with the law, but also supplements and builds on this with additional detail and examples in areas where the law itself does not provide further guidance, or where this is appropriate for the needs of the business and the role of the employee. For example, setting out expressly specific behavior that the company may consider a “serious breach” and which may lead to summary dismissal. As with all business activities in China, it is important to have a strategy!

In this case, the cynical view is that there is no consistency in labor and employment disputes, or that the law can be ignored in determining a dispute, such that the outcome remains as unpredictable as ever. On the other hand, this case shows a new tendency of the


14

ปีที่ 1 ฉบับที่ 9 วันพฤหัสบดีที่ 1 - วันพฤหัสบดีที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

LEGAL TERMS & CONCEPTS MADE EASY

ลอว์นิวส

Ann & Edward Thiravej Ploysongsang

Situation in Thailand & New York State

We continue our focus on the legal profession in other countries. In this issue we consider the curious notion of rank within the legal profession in the UK and in Commonwealth countries by briefly discussing the term Queen’s Counsel (or King’s Counsel when a male sovereign is in power). As there are no longer any Serjeants-at-Law (SL) left in the UK or in the Commonwealth, we will not discuss that obsolete rank.

Queen’s Counsel (noun). This is a senior, honorary rank within the legal profession of the United Kingdom and the Commonwealth. Members receive their appointment by letters patent by the British Sovereign and can append the post-nominal letters “QC” behind their names. They also become entitled to wear distinctive silk gowns of office. This privilege is informally known as “taking silk.” The Queen’s Counsel honor first appeared around 1600 C.E. during the reign of King James I (so technically the first appointee was a King’s Counsel). Traditionally, Queen’s Counsels were selected by the government on the advice of established legal figures from the ranks of senior barristers typically with at least 15 years of experience. The reason why barristers were chosen and not solicitors was because only barristers had the sole right of audience in higher courts to represent the Crown. As mentioned in our last edition of this column, solicitors originally did not have the right to appear in audience before higher courts. As the profession has expanded and now includes the right to appear before certain higher courts, solicitors are now eligible to become Queen’s Counsel.

QUEEN’S COUNCEL

Under the current system, which was revised in 2004, Queen’s Counsels are selected by a nine-member panel chaired by legal practitioners, a retired judge and non-lawyers. The appointees are no longer chosen by the government though appointments are still formally made on the advice of the Lord Chancellor, who is a member of the government.

appointment was therefore seen by many as a burden and would-be appointees typically waited until very late in their careers before lobbying for the appointment. Fortunately, nowadays the appointment does not entail such disadvantages, and Queen’s Counsels can enjoy their appointments without losing their ability to work in all areas of legal practice.

In former British colonies such as Hong Kong and in Commonwealth countries that operate as republics, such appointments are called Senior Advocates (SA), Senior Counsels (SC), or President’s Counsels (PC). For all other purposes, however, these appointees are treated on par with Queen’s Counsels at least in their home jurisdictions.

Example 1: The arbitration clause stipulated that the arbitral tribunal be headed by a Queen’s Counsel.

In previous centuries the appointment as a Queen’s Counsel had a significant downside: namely an appointee was prohibited from drafting pleadings, handling junior-level matters, or even appearing in court without a junior barrister. In short by accepting the appointment, Queen’s Counsels had precluded themselves from further engaging in certain legal work. They had to limit their roles to lead counsel and could only handle more important cases. The

Example 2: Interestingly, some of the most vigorous campaigners who sought to keep the system of Queen’s Counsel albeit with some reforms were ethnic minority barristers and solicitors. They argued that the system provided them with the means to advance in the profession and overcome prejudice. Example 3: After the handover of Hong Kong from the British to the Chinese, no new Queen’s Counsels were appointed. All subsequent appointments have been created Senior Counsel.

Thailand like most jurisdictions of the world does not have different ranks within the legal profession. The most junior and most senior legal practitioners hold equal rank and privilege within the profession though of course experience and fame (or notoriety for that matter) is another matter altogether. Starting in 2006 the New York State Bar Association (NYSBA), which is a voluntary bar association (a concept we will discuss later), instituted its Empire State Counsel program. The purpose of the program is to acknowledge those NYSBA members (both individual attorneys and even law firms) who provide at least 50 hours of pro bono legal services (i.e., free legal services to indigent clients) each year. (For law firm awardees they typically have to sponsor a few Empire State Counsels within their organization before themselves being recognized). The program is intended to acknowledge a greater number of NYSBA members who might not otherwise be eligible for the other service awards given out by the NYSBA, which usually require a much higher level of public service and commitment. Empire State Counsel honorees receive a certificate, a lapel pin and may use the honorific designation “Empire State Counsel.” Their names and the names of law firms that participate in the program are published in various NYSBA publications. Unlike the Queen’s Counsel program which grants or nominally acknowledges senior rank within the legal profession, the Empire State Counsel program is only an honorific and does not attest to the seniority of the honoree. Furthermore, the Empire State Counsel honorific has a shelf-life of only one year and must be re-earned each year. The Queen’s Counsel designation on the other hand is a lifetime achievement award though presumably it can be revoked under certain circumstances. Lastly, the Empire State Counsel honorific is essentially an award given by a private organization, albeit one granted courtesy recognition by the Courts in New York State. This is unlike the Queen’s Counsel honorific, which requires both formal government approval as well as royal assent and is essentially a state award. The Lawyers Council of Thailand could consider implementing a program either along the lines of the Queen’s Counsel or the Empire State Counsel program. Each program has its benefits and could be used to distinctively acknowledge different levels of achievement and public service within the legal profession. The Queen’s Counsel (actually King’s Counsel) program, however, would probably be far more difficult to implement given the government approval and royal assent needed, and would very likely invoke jealousy on the part of other learned professions. Perhaps the Lawyers Council of Thailand could appease these other organizations by refraining from making further recommendations for royal decorations, and instead lobby for government approval and royal assent for the appointment of Thai King’s Counsels (TKC) or Thai Sovereign’s Counsel (TSC). Please note that the contents and views expressed in this issue are strictly those of the authors, and do not necessarily represent the views of the Lawyers Council of Thailand, its leadership or its members.


ลอว์นิวส์

ปีที่ 1 ฉบับที่ 9 วันพฤหัสบดีที่ 1 - วันพฤหัสบดีที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

15

Entering the AEC

Courtesy by Dej-Udom & Associates

INDONESIA (1) Indonesia is a republic with a presidential system. The President is the head of state, commander-in-chief, and the director of domestic governance, policy-making, and foreign affairs. Since 1999, there have been constant changes to the constitution, and many political and governmental structures have undergone major reforms. The 2004 Presidential election was the first time the people directly elected the President and Vice President. Indonesia has only been a bicameral government since 2004, and its legislative branch is the People's Consultative Assembly. Indonesia’s judicial branch is led by the Supreme Court and its judges are appointed by the President. Indonesia has a mixed economy where the state and the private sector direct the economy. It has the largest economy in Southeast Asia, is an emerging global market economy, and a member of the G‐20 major economies. Manufacturing and processing of food and beverages, machinery, chemicals, and textiles account for 47% of the GDP followed by services at 38% and agriculture at 14%. It has a labor force of

117.4 million with 49% working in services, 38% in agriculture, and 13% in industry. Indonesia ranks 27th in the world for exports and is expected to keep rising. Its major imports are machinery and equipment, chemicals, fuels, and foodstuffs, and its major exports include oil and gas, electrical appliances, plywood, textiles, and rubber. Tourism is another important part of the economy and a significant source of foreign exchange revenue. Indonesia attracts many foreigners for tourism and employment, and most workers are in the oil and mining sector and the telecommunications industry. For expatriates, Indonesia is a beautiful, exciting place to live with diverse options for everything. Cost of living can be expensive, especially for quality accommodations and schooling, and the hot humid weather can take some adjustment. Outside Jakarta, health care is poor, and many go to Singapore for serious medical attention. Influenced by Islam, it is a conservative country, and foreigners, especially women, will have to conform to the local way of life.

Legal System Indonesia’s legal system is a civil law system based on Dutch colonial law, customary law (Adat), and the national legal system enacted after its independence in 1945. The Supreme Court is the highest court and supervises all the lower courts in Indonesia’s judicial system. It is the final court of appeal, but does not have the power of judicial review. In Indonesia, all judges are selected by the President from a list approved by the Legislature, and under their civil law traditions, courts do not apply the principle of precedent. State Courts are separate courts of first instance that try most civil and criminal cases, and High Courts hear all State Court appeals. All civil cases begin in a regional State Court, and after a case is registered, it is then heard by a panel of judges over a series of eight sessions. If an appeal is not submitted, a Lower Court’s verdict takes effect fourteen days after the verdict’s delivery. Most appeals are heard by the High Courts and can move on to the Supreme Court. While the Supreme Court is technically the country’s highest ap-

peal court, a separate Constitutional Court was established in 2003. It has sole authority over constitutional review of legislation and laws, disputes over constitutional competence and electoral results, the dissolution of political parties, and the impeachment of a president or vice president. Indonesia’s other specialized courts include Military courts, a State Administrative Court, a Religious Court that deals with codified Sharia law, and the Commercial Court. Established in 1998, the Commercial Court is a court of first instance that appeals directly to the Supreme Court. It has jurisdiction over bankruptcy and other commercial dispute matters including intellectual property rights. Under the Indonesian National Board of Arbitration (BANI), companies can settle a wide range of business disputes out of court. The Board is autonomous and independent, and State Courts have no authority over cases under the BANI arbitration process.

AIRLINES DEFEAT RABBI IN SUPREME COURT BATTLE OVER FREQUENT FLYER MILES continued from page 16 Wolens and held that the implied covenant was a stateimposed obligation in Minnesota and not a voluntary undertaking, so the claim was preempted by the ADA. While the ruling gives airlines greater protection from common law claims, the Supreme Court did not give the airlines carte blanche to cancel frequent flier benefits. Rather, there are at least four reasons to tread cautiously:

1. The ruling only

applies where state law does not allow the parties to contract around the implied covenant. If a state’s laws allow parties to waive the covenant, their failure to do so explicitly could be interpreted as a voluntary undertaking, and a claim for breach of that covenant would not be preempted by the ADA. 2. Courts are not passengers’ only avenue for redress. Rather, the Department of Transportation has authority to “prohibit and punish

unfair pursue traditional and debreach of contract ceptive claims for violating practicterms of the frequent es” in flier programs. Justhe airtice Alito noted that line inRabbi Ginsberg dustry might have had a and has remedy if he had apf r e pealed the dismissal quently of his breach of conu s e d tract claim and arRabbi Binyomin Ginsberg this powgued that Norther to act on complaints related west’s actual rationale for to frequent flier programs. terminating his benefits was 3. Customers can still not program “abuse,” but an

effort to cut costs. 4. Finally, Justice Alito cautioned airlines about the perils of the free market. “If an airline acquires a reputation for mistreating the participants in its frequent flyer program (who are generally the airline’s most loyal and valuable customers), customers can avoid that program and may be able to enroll in a more favorable rival program.”


LAWNEWS

ลอว์นิวส

ปีที่ 1 ฉบับที่ 9 วันพฤหัสบดีที่ 1 - วันพฤหัสบดีที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

BULLETINS

Thursday - Thursday, May 1 - 15, 2014

Free!!

AIRLINES DEFEAT RABBI IN SUPREME COURT BATTLE OVER FREQUENT FLYER MILES Not even a Higher Power could save a rabbi’s frequent flyer miles from the High Court. By Daniel J. Stuart of Arnold & Porter LLP 2, 2014 that Rabbi Ginsberg’s implied covenant claim was preempted by the Airline Deregulation Act (ADA), which precludes states from enforcing “a law, regulation, or other provision having the force and effect of law related to a price, route, or service” offered by an airline. The Court’s decision had three bases. First, the Court noted that carving out exceptions to preemption for common-law rules such as the implied covenant claim would undermine the ADA’s deregulatory purpose. Second, the Court found that the claim related to “rates, routes, or services” governed by the ADA because Rabbi Ginsberg sought restoration of benefits that would allow him to purchase cheaper tickets and upgrade to higher levels of service. Finally, the Court

ลอว์นิวส์

reuters.com

In 2008, Northwest cancelled Rabbi Binyomin Ginsberg’s frequent flier account, relying on a provision in the program permitting Northwest to cancel an account “in its sole judgment” if the customer abused the program. The airline contended that Rabbi Ginsberg abused the program by calling the office 24 times to complain, and that he had been awarded $1,925 in travel vouchers, 78,500 bonus miles, a voucher extension for his son, and $491 in cash reimbursements. In response, Rabbi Ginsberg filed a class action in the US District Court for the Southern District of California, including a claim that the cancellation breached the common-law implied covenant of good faith and fair dealing. In a victory for the airline industry, a unanimous Supreme Court held on April

Rabbi Binyomin Ginsberg (R) talks to reporters about his case, in which he sued Northwest Airlines for breach of contract after the airline said he had abused their frequent flyer program, following arguments before the U.S. Supreme Court in Washington

considered whether the covenant of good faith and fair dealing between the parties here was a “state-imposed obligation or simply one that the parties voluntarily undertook.” A prior Supreme Court case (American Airlines, Inc. v. Wolens) had held that passengers could pursue claims based on “privately ordered obligations” that were not imposed by the state. But here the Court distinguished continued on page 15

Inside CHINA CASE REPORT – COURT APPLIES “COMMON SENSE” PRINCIPLE OVER STRICT INTERPRETATION OF LAW Page 13

Legal Terms & Concepts made easy : Queen’s Counsel

Page 14

Entering the AEC : INDONESIA (1) Page 15

สภาทนายความในพระบรมราชูปถัมภ์ เลขที่ 7/89 อาคาร 10 ถนนราชดำ�เนินกลาง แขวงบวรนิเวศ เขตพระนคร กรุงเทพฯ 10200 โทรศัพท์ 0-2280-1567

รวมข่าว เล่ากฎหมาย ให้สาระประชาชน

ชำ�ระค่าฝากส่งเป็นรายเดือน ใบอนุญาตเลขที่ พ.211/2547 ปณ.ราชดำ�เนิน เหตุขัดข้องที่นำ�จ่ายผู้รับไม่ได้ 1. จ่าหน้าไม่ชัดเจน 2. ไม่มีเลขที่บ้านตามจ่าหน้า 3. ไม่ยอมรับ 4. ไม่มีผู้รับตามจ่าหน้า 5. ไม่มารับภายในกำ�หนด 6. เลิกกิจการ 7. ย้ายไม่ทราบที่อยู่ใหม่ 8. อื่นๆ ลงชื่อ.........................................


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.