จดหมายข่าวมูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์ ฉบับที่ ๑๐๙ ภาวะล้มละลายความเป็นมนุษย์ในสังคมไทย

Page 1

รวบรวม บันทึก ศึกษาข้อมูลทางวัฒนธรรม สนับสนุนการอนุรักษ์เพื่อพัฒนา เผยแพร่เพื่อการศึกษาของ สาธารณชน

มกราคม-มีนาคม ๒๕๕๙

Lek-Prapai Viriyapant Foundation

ปที่ ๒๐ ฉบับที่ ๑๐๙

มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ จดหมายข่าวรายสามเดือน

เปด ประเด็ น โดย ศรีศักร วัลลิโภดม

สารบัญ

ภาวะ “ล มละลาย

ความเป นมนุษย์”

ในสังคมไทย

การตอสูเพื่อเรียกรองสิทธิในที่อยูอาศัยแตเดิมของชาว ชุมชนปอมมหากาฬเมื่อวันอาทิตยที่ ๒๗ มีนาคม ๒๕๕๙

ข้าพเจ้าเป็นนักมานุษยวิทยารุ่นเก่า การมองโลกแนวคิดทฤษฎีและ วิธีการก็เป็นแบบรุ่นเก่า ต่างไปจากรุ่นใหม่ที่เรียกว่ารุ่นหลังสมัยใหม่ [Post Modern] ความมุง่ หมายของนักมานุษยวิทยาคือ การศึกษาให้เข้าใจถึงความเป็น มนุษย์ในฐานะที่เป็นสัตว์โลกชนิดหนึ่งที่มีวิวัฒนาการ [Evolution] แตกต่างไป จากสัตว์โลกอื่นที่เป็นเดรัจฉานอย่างไร

เปดประเด็น ภาวะ “ล้มละลายความเป็นมนุษย์” ในสังคมไทย ศรีศักร วัลลิโภดม หน้า ๑ ความหลากหลายทางสังคมและวัฒนธรรม ความเจ็บปวดที่ชุมชนป้อมมหากาฬ “เมืองประวัติศาสตร์ต้องมีชุมชน” วลัยลักษณ์ ทรงศิริ หน้า ๖ ระบบเหมืองฝายของคนไตค�าตี่ ชุมชนจารีตและสังคมเกษตรกรรมแบบดั้งเดิม วลัยลักษณ์ ทรงศิริ หน้า ๙ พระนครบันทึก “เรือเครื่องเทศ” หัวใจแห่งการค้าบนสายน�้าในอดีต ชฎาภรณ์ แก้วแสนทิพย์ หน้า ๑๒ จากบุญสงกรานต์สู่เวทีประกวดเทพีวิสุทธิกษัตริย์ ณัฐวิทย์ พิมพ์ทอง หน้า ๑4 คนย่านเก่า “พินิจ สุทธิเนตร” กับงานต่อชีวิตวัฒนธรรม “บ้านนราศิลป์” วลัยลักษณ์ ทรงศิริ หน้า ๑๗ กิจกรรม “เสวนาสาธารณะ” สรุปเสวนาสาธารณะ “ย่านเก่า ปัจจุบันและอนาคต ร�าพึง ร�าพัน โดยคนบางล�าพู” จารุวรรณ ด้วงคําจันทร์ หน้า ๒๐ สรุปเสวนาสาธารณะ “ส�ารวจลมหายใจและการท่องเที่ยวบ้านบาตร” ชฎาภรณ์ แก้วแสนทิพย์ หน้า ๒๒


เขตเทือกเขาและที่สูงใน จังหวัดนาน ที่ปลูกพืชแบบเกษตร อุตสาหกรรม เชน ขาวโพด

โดยอาศั ย วิ ช าที่ เ ป็ น สาขาคื อ มานุ ษ ยวิ ท ยากายภาพ [Physical Anthropology] และวิชาโบราณคดีก่อนประวัติศาสตร์ [Prehistoric Archaeology] เป็นเครื่องมือศึกษาให้เห็นขั้นตอน ของวิวัฒนาการ มานุษ ยวิทยากายภาพศึกษาให้เห็นวิวัฒนาการ ทางร่างกายและชีววิทยาที่ท�าให้เห็นว่ามนุษ ย์คือสัตว์คล้ายลิงที่มี วิวัฒนาการเลยเส้นแบ่งของสัตว์เดรัจฉานมาเป็นสัตว์มนุษย์ [Homosapien Sapiens] ที่มีความสามารถในการเรียนรู้สื่อสารกันได้ด้าน ภาษาเชิงสัญลักษณ์ และเป็นสัตว์สังคม [Social Animal] ชนิดหนึ่ง ในขณะที่วิชาโบราณคดีก่อนประวัติศาสตร์ ศึกษามนุษ ย์ ในฐานะเป็นสัตว์วัฒนธรรมที่เรียกว่า Tool Maker คือสามารถคิด เครื่องมือเครื่องใช้ เช่น เครื่องมือหินเพื่อการด�ารงชีวิตรอด สิง่ ทีม่ นุษย์ในฐานะสัตว์สงั คมทีต่ อ้ งอยูร่ วมกันเป็นกลุม่ เหล่า คิดขึ้นเพื่อการมีชีวิตรอดร่วมกัน นั่นคือ วัฒนธรรม [Culture] วิชาโบราณคดีก่อนประวัติศาสตร์นับเนื่องเป็นสาขาหนึ่ง ของวิชามานุษยวิทยาวัฒนธรรม [Cultural Anthropology] ที่เน้น การศึกษาด้านวัฒนธรรมเป็นหลัก แต่วิชาที่ข้าพเจ้าได้รับการอบรม มาเป็นวิชามานุษยวิทยาสังคม [Social Anthropology] เพราะฉะนั้น เวลาทีพ่ ดู ถึงวัฒนธรรมในหนทางของข้าพเจ้าจึงต้องมองทัง้ วัฒนธรรม และสังคมอย่างแยกกันออกไป เปรียบเสมือนเหรียญที่มีสองด้าน ในเหรียญเดียวกัน ถ้าหากวัฒนธรรมคือเนื้อหา สังคมก็คือบริบท [Social Context] ยกตัวอย่างเช่นเรื่องประชาธิปไตยในประเทศไทยในขณะนี้ คนส่วนใหญ่สับสนระหว่างประชาธิปไตยลอยๆ แบบอุดมคติ ว่าต้อง เป็นเช่นนั้นเช่นนี้แล้วอ้างและเลียนแบบประชาธิป ไตยแบบอเมริกา มาเป็นสากล ในขณะที่ประชาธิป ไตยในสังคมไทยที่อยู่ ในบริบท ทางสังคมคือ ประชาธิป ไตยที่มีพระมหากษัตริย์ทรงเป็น ประมุข หาใช่ประธานาธิบดีแบบอเมริกันเป็นประมุขไม่ เพราะมีรูปแบบและ

จดหมายข่าว

ระบบทางสั ง คมเศรษฐกิ จ แตกต่ า งกั น ไม่ ค วรที่ จ ะคิ ด ค้ น เอง แบบลอยๆ หรือที่เรียกว่า “มโน” แล้วมาวิวาทกันอย่างในปัจจุบัน วิชามานุษ ยวิทยาสังคมแบบเก่าๆ ที่ข้าพเจ้าเล่าเรียนมา นั้น เรียกได้อีกอย่างหนึ่งว่า สังคมวิทยาเปรียบเทียบ [Comparative Sociology] คือศึกษาเปรียบเทียบสังคมหนึ่งแตกต่างจากสังคมอื่นๆ ในลักษณะเหมือนกัน คล้ายคลึงกัน หรือแตกต่างกันอย่างไร และมัก เป็นการศึกษาสังคมขนาดเล็ก เช่น สังคมตามท้องถิ่นที่เป็นเผ่าพันธุ์ หรือสังคมแบบประเพณี และปล่อยให้เป็นเรื่องของนักสังคมวิทยา ศึกษาสังคมเมืองหรือสังคมใหญ่ๆ ที่มีความซับซ้อนแทน ในลักษณะ ที่เป็นอีกวิชาหนึ่งที่เป็นเอกเทศ สิ่งที่ข้าพเจ้าสนใจมากในเชิงวิวัฒนาการก็คือ ความเป็น มนุษ ย์และความล่มสลายทางสังคม วัฒนธรรม และความเป็นมนุษ ย์ ข้าพเจ้าได้รบั การอบรมให้เห็นว่า มนุษย์นอกจากเป็นสัตว์สงั คมทีต่ อ้ ง อยู่รวมกันในครอบครัวและชุมชนแล้ว มนุษย์ยังเป็นสัตว์เศรษฐกิจ สัตว์การเมือง และสัตว์ศีลธรรม [Moral Being] โดยเฉพาะความ เป็นสัตว์ศีลธรรมนั้น ถ้าหมดไป ความล่มสลายของความเป็นมนุษย์ก็ จะสิน้ สุดลง [Dehumanization] แต่การล่มสลายของความเป็นมนุษย์ นั้นก็หาได้หมายถึงการล่มสลายของสังคมมนุษ ย์ไม่ เป็นแต่เพียง ปรากฏการณ์ของการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมในเวลา และพื้นที่หนึ่งๆ เช่นนั้น เช่น สังคมบุพกาลในสมัยแรกๆ เป็นสังคมแบบเผ่าพันธุ์ [Tribal Society] ที่คนมารวมกลุ่มกันด้วยความสัมพันธ์ทางเครือ ญาติจากสายเลือดและการแต่งงานของคนที่เป็นชาติพันธุ์เดียวกัน มาเป็นสังคมชาวนา [Peasant Society] ที่ผู้คนหลายชาติพันธุ์ หลายภาษา และเครือญาติเข้ามาอยู่รวมกันในพื้นที่เดียวกัน ท�าให้ เกิ ด ความใกล้ ชิ ด และความรู ้ สึ ก นึ ก คิ ด เป็ น คนที่ เ กิ ดในพื้ น ที่ ห รื อ บ้านเกิดเดียวกัน ๒

มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์


ผังโครงสรางทางสังคม

“สังคมชาวนา” [Peasant Society] แตกต่างไปจาก “สังคม เผ่าพันธุ์” [Tribal Society] ในแง่ที่เป็น “ส่วนหนึ่งของสังคมใหญ่” [Part Society] คือเป็นส่วนหนึ่งของสังคมเมือง รัฐ และในที่สุดก็ ประเทศชาติ ทีม่ วี ฒ ั นธรรมสองระดับ คือ “ประเพณีหลวง” ของสังคม เมืองหรือรัฐอันเป็นส่วนรวมกับ “ประเพณีราษฎร์” ในระดับท้องถิ่น “ประเพณีหลวง” เป็นวัฒนธรรมของคนในสังคมเมื่อท�าหน้าที่บูรณา การให้ “ประเพณีราษฎร์” ที่มีความแตกต่างและหลากหลายในท้อง ถิ่นเกิดส�านึกเป็นผู้คนในสังคมของแผ่นดินหรือชาติเดียวกัน การเกิ ด ขึ้ น ของการศึ ก ษาวิ ช ามานุ ษ ยวิ ท ยาของนั ก มานุษ ยวิทยารุ่นเก่าส่วนหนึ่งนั้น ต้องการศึกษาการเปลี่ยนแปลง ทางสังคมและวัฒนธรรมของความเป็น มนุษ ย์ที่รวมกันเป็นกลุ่ม เป็ น พวกเดี ย วกั น ว่ า เปลี่ ย นแปลงไปในทางราบรื่ น ในครรลอง ของความเป็น มนุษ ย์ หรือเปลี่ยนแปลงไปในทางขัดแย้งรุนแรง จนเกิดภาวะล่มสลายในความเป็นมนุษ ย์หรือไม่ เพราะสังคมมนุษย์เป็นสังคมที่ไม่หยุดนิง่ มีการเปลีย่ นแปลง อยู่ตลอดเวลาในมิติทางพื้นที่และเวลา เหตุของการเปลี่ยนแปลงทาง สังคมและวัฒนธรรมนั้นเกิดขึ้น ๒ ทาง ทางแรกจากภายในสังคมหรือชุมชนนั้น อันเนื่องมาจาก นวัตกรรมใหม่ๆ ที่คนใน [Insider] สังคมนั้นคิดขึ้นมา กับทางที่สอง คือจากการติดต่อเกี่ยวข้องจากภายนอกแล้วรับเอาสิ่งใหม่ๆ แปลกๆ เข้ามา [Culture Contact] ในประวัติศาสตร์การล่มสลายของความเป็นมนุษย์ในสังคม แบบเผ่าพันธุ์และสังคมชาวนาในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และในอีกหลายภูมิภาคของโลกนั้น เกิดขึ้นในสมัยล่าอาณานิคมของ ประเทศทางตะวันตก ที่ท�าให้คนในสังคมคิดอะไรที่เหมาะสมไม่เป็น แล้วไปรับเอาสิ่งที่เห็นว่าดีงามจากภายนอกเข้ามา ท�าให้เกิดความขัด แย้งขึน้ ภายในประการหนึง่ และอีกประการหนึง่ ก็คอื การถูกบังคับจาก อ�านาจทางการเมืองเศรษฐกิจของผูม้ อี า� นาจจากภายนอก เช่น จากรัฐ

จดหมายข่าว

หรือจากต่างชาติ ทีเ่ อากฎเกณฑ์ใหม่ๆ สิง่ ใหม่ๆ เข้ามาแทนทีข่ องเก่า ที่มีอยู่แล้วในสังคม ในดินแดนประเทศไทย สังคมเผ่าพันธุ์ [Tribal Society] เปลี่ยนแปลงและสูญหายไปเกือบหมดแล้ว อันเนื่องจากการเติบโต ของสังคมชาวนาและรัฐที่ท�าให้ความเป็นสังคมเผ่าพันธุ์ล่มสลาย และคงเหลืออยู่ในพื้นที่ชายขอบของรัฐบางแห่งเท่านั้น ความต่างกัน ของสังคมเผ่าพันธุ์กับสังคมชาวนานั้นอยู่ที่ สังคมเผ่าพันธุ์ของคน แต่ละกลุ่มเป็นสังคมอิสระมีอ�านาจดูแลกันเองภายใน โดยอาศัย ความสัมพันธ์กัน ทางระบบเครือญาติ โคตรเหง้า ตระกูล และ ครอบครัว ในขณะที่สังคมชาวนาหาเป็นอิสระไม่ แต่เป็นส่วนหนึ่ง ของสังคมใหญ่ [Part Society] คือต้องพึ่งพิงเมืองและรัฐทาง การเมืองและเศรษฐกิจ ความเป็นปกแผ่นและความมั่นคงทางสังคมไม่ได้เกิดจาก โครงสร้างสังคมในระบบเครือญาติ [Kinship] ของเผ่าพันธุ์ หากอยู่ ที่พื้นที่ซึ่งผู้คนในชุมชนตั้งถิ่นฐานเป็นชุมชนบ้านและเมืองอยู่ร่วมกัน ในลักษณะแผ่นดินเกิด ซึ่งสะท้อนให้เห็นจากความรู้สึกร่วมของคนว่า เป็นคนบ้านไหนและเมืองไหน เป็นต้น หาได้เอาความเป็นชาติพนั ธุม์ า เป็นศูนย์รวม การล่มสลายของสังคมเผ่าพันธุ์และสังคมชาวนาในดิน แดนประเทศไทยนั้นมีเหตุใหญ่ๆ มาจากการเปลี่ยนแปลงที่มาจาก ภายนอก คือ เมือ่ มีอทิ ธิพลทัง้ ทางเศรษฐกิจ การเมือง และวัฒนธรรม เข้ามานั้น คนในสังคมไม่สามารถเลือกเฟ้นและจัดการให้เข้ากัน จนเกิดดุลยภาพระหว่างสิ่งใหม่ๆ และของเก่าๆ ได้ ก็จะเกิดการ ขัดแย้ง [Conflict] ขึ้น โดยเฉพาะความขัดแย้งทางศีลธรรมที่ท�าให้ ศีลธรรมและจริยธรรมในสังคมเสื่อมสลาย [Demoralization] ซึ่ง ถ้าหากไม่มีการฟื้นฟูให้อยู่ในท�านองคลองธรรมแล้ว จะท�าให้ภาวะ ความเป็นมนุษย์ในสังคมนั้นๆ เกิดความล่มสลายในความเป็นมนุษย์ [Dehumanization] จนถึงการใช้ความรุนแรงฆ่าฟันกัน หรือแย่งชิง

มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์


กันอย่างชั่วร้ายยิ่งกว่าเดรัจฉาน ในกรณีการล่มสลายของเผ่าพันธุ์ [Detribalization] เท่า ที่ข้าพเจ้ารับรู้มา แลไม่เห็นความเสื่อมทางศีลธรรมและจริยธรรมที่ น�ำไปสู่การล่มสลายของความเป็นมนุษย์ จนถึงฆ่าฟันกันอย่างล้าง เผ่าพันธุ์ แต่แลเห็นการเปลี่ยนแปลงทางสังคม เศรษฐกิจ จากการ เคยอยูร่ วมกันเป็นเผ่าพันธุใ์ นท้องถิน่ ทีท่ ำ� มาหากินแบบพึง่ พิงธรรมชาติ ตามฤดูกาลทัง้ การล่าสัตว์ การเพาะปลูกทีท่ ำ� ให้ตอ้ งเปลีย่ นทีอ่ ยูอ่ าศัย และพื้นที่ท�ำกิน [Semi-nomadic] มาเป็นการตั้งถิ่นฐานอยู่ติดที่ และท�ำการเพาะปลูกแบบทดน�้ำในที่ราบลุ่มแทน โดยอยู่รวมกันกับ คนในชาติพันธุ์อื่น ในรูปแบบของสังคมชาวนาที่ประกอบด้วยชุมชน บ้านและเมืองในพื้นที่ซึ่งเรียกว่า “ท้องถิ่น” [Locality] ท�ำให้ต้อง เปลี่ยนระบบความสัมพันธ์ทางสังคมจากระบบเครือญาติ [Kinship] มาเป็ น ระบบพี่ น ้ อ งร่ ว มบ้ า นร่ ว มท้ อ งถิ่ น เดี ย วกั น โดยอาศั ย ความสัมพันธ์ในเรื่องการกินดองหรือการแต่งงานระหว่างกันกับ การเป็นเพื่อนบ้าน เช่น ที่มีการผูกเสี่ยวของคนอีสานหรือผูกเกลอ ของคนใต้ รวมทั้งการเข้าสู่ระบบอุปถัมภ์กับคนที่เป็นชนชั้นในเมืองที่ เป็นผู้มีคุณธรรม การล่มสลายของเผ่าพันธุ์ [Detribalization] ดังกล่าวนี้ มีที่มาจากการเสื่อมทางศีลธรรมและจริยธรรม [Demoralization] มาก่อน ดังเห็นได้จากการเกี่ยวข้องกับภายนอก ท�ำให้ความสัมพันธ์ ทางสังคมทีเ่ คยพึง่ พิงกันในทางเศรษฐกิจเพือ่ มีชวี ติ รอดร่วมกัน ความ สัมพันธ์เป็นอัน หนึ่งอันเดียวกันในระบบความเชื่อทางศาสนาและ จริยธรรม ค่านิยมโลกทัศน์ และศักดิ์ศรีของความเป็นเผ่าพันธุ์ที่อยู่ รวมกันเป็นกลุ่มอย่างเสมอภาค มาเป็นความรู้สึกแปลกแยกเห็นแก่ ตัวในลักษณะทีเ่ ป็นปัจเจก ทีร่ บั เอาความเหลือ่ มล�ำ้ เข้ามาสร้างปมด้อย ให้แก่ตนเอง ดังเช่นคนหลายชาติพนั ธุไ์ ม่วา่ คนชอง คนลัวะ ละว้า คนส่วย แลเห็นชาติพันธุ์ตนเองต�่ำต้อยกว่าคนไทยจากภายนอก แล้วพยายาม กลบเกลือ่ นในความเป็นชาติพนั ธุข์ องตนไว้ รวมทัง้ การแตกแยกไม่อยู่ รวมกันเป็นกลุ่มเป็นชุมชนดังเดิม โยกย้ายถิ่นฐานไปอยู่ในที่อื่นๆ ไป เป็นแรงงานในเมือง ไปอยู่ในชุมชนท้องถิ่นของคนที่เป็นชาวนาชาว บ้าน เป็นต้น แต่การล่มสลายทางศีลธรรมและการล่มสลายของเผ่าพันธุ์ ดังกล่าวนี้ ก็หาได้ท�ำลายความเป็นมนุษย์ไม่ หากถูกเปลี่ยนแปลงไป สู่ความเป็นคนในสังคมชาวนา [Peasant Society] ในชุมชนท้องถิ่น [Localization] แทน อย่างย่อๆ ก็คือ กลายเป็น “คนถิ่น” แทน “คนเผ่า” ไป สังคมชาวนาเป็นสังคมของคนที่อยู่ในชุมชนถิ่นหรือท้องถิ่น [Local Communities] ที่ประกอบด้วยบ้านและเมือง มีมาช้านานแต่ สมัยกว่าพันปีที่แล้วมา เริ่มเปลี่ยนแปลงแต่สมัยรัชกาลที่ ๕ อันเป็น เมืองไทยภายใต้อิทธิพลวัฒนธรรมตะวันตก [Westernization] ที่มี มาแต่สมัยรัชกาลที่ ๔

จดหมายข่าว

การปฏิรูปการบริหารราชการแผ่นดินและการปกครองสมัย รัชกาลที่ ๕ เพือ่ ให้เป็นรัฐรวมศูนย์แบบสมบูรณาญาสิทธิราชแบบทาง ประเทศมหาอ�ำนาจทางตะวันตก คือจุดเริม่ ต้นของกระบวนการท�ำลาย ความเป็นอิสระของชุมชนท้องถิน่ และชีวติ วัฒนธรรม [Delocalization] ดังเห็นได้จากการน�ำเอาพื้นที่ทางการบริหาร [Administrative Space] มาแทนที่พื้นที่วัฒนธรรม [Cultural Space] ในรูปแบบ ของหมู่บ้าน ต�ำบลและอ�ำเภอมาแทนที่ความเป็นชุมชนบ้านและเมือง แต่เดิม การให้กรรมสิทธิท์ ดี่ นิ แก่ประชาชนโดยทัว่ ไปและการส่งเสริม การปลูกข้าวเป็นพืชเศรษฐกิจเพื่อการส่งออกได้ทำ� ให้ภูมิวัฒนธรรม ของชุมชนบ้านเมืองทีม่ วี ดั เป็นศูนย์กลาง ทีม่ ธี รรมชาติปา่ เขา ผสมกับ พืน้ ทีท่ ำ� การเพาะปลูกอย่างได้สดั ส่วน มาเป็นพืน้ ทีท่ งุ่ กว้างเพือ่ การท�ำ นา มีโรงสีและตลาดเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจสังคมทีม่ คี นชัน้ กลาง ซึ่งได้แก่พวกพ่อค้าคนจีน เจ้าของนา เจ้าของโรงสี และตลาดเกิดขึ้น การขยายกิจการทางสาธารณูปโภค เช่น ทางรถยนต์ ทางรถไฟ และการชลประทาน ตลอดจนการตั้งสถานที่ท�ำการของ ทางราชการ ท�ำให้ผคู้ นแต่เดิมทีต่ งั้ ถิน่ ฐานชุมชนอยูต่ ามริมน�ำ้ ล�ำคลอง ย้ายเข้ามาตัง้ ถิน่ ฐานใหม่ตามสองฝัง่ ถนนและทางรถไฟ ทัง้ หมดนีท้ ำ� ให้ ชุมชนชาวนาแต่เดิมต้องปรับตัวมาอยู่ในพืน้ ที่ใหม่และสภาพแวดล้อม ใหม่ ซึง่ กระนัน้ ก็ดี รากเหง้าของความเป็นสังคมชาวนาในมิตทิ าง วัฒนธรรมก็ยงั ไม่หมดสิน้ ไป เพราะพืน้ ฐานเดิมเป็นสังคมเกษตรกรรม เป็นแต่เปลีย่ นจากเกษตรกรรมแบบชาวนามาสูเ่ กษตรกรรมแบบกสิกร [Farmer] กสิกรเป็นผูป้ ระกอบการด้วยตนเอง มีทดี่ นิ มีเครือ่ งมือเครือ่ ง ใช้ของตัวเอง ต่างจากชาวนาเดิมทีต่ อ้ งอยูก่ นั เป็นกลุม่ ช่วยเหลือเกือ้ กูล กันในการด�ำรงอยู่และการท�ำมาหากินที่มีลักษณะเป็นปัจเจก ชุมชน เกษตรกรเห็นได้จากการตั้งบ้านเรือนอยู่ในลักษณะกระจายเป็นกลุ่ม ครอบครัว [Homestead] ติดกับทีท่ ำ� กินและทีด่ นิ ของตนเอง แต่กม็ วี ดั โรงเรียน ป่าช้าและตลาดเป็นศูนย์กลางอย่างสังคมชาวนาและการรับ รู้ชีวิตความเป็นอยู่ในสังคมท้องถิ่น [Local Communities] ร่วมกัน โดยย่อสังคมท้องถิ่นยังคงด�ำรงอยู่แม้ว่าจะเปลี่ยนจาก ชาวนามาเป็นเกษตรกรหรือกสิกรแล้วก็ตาม การพัฒนาประเทศให้เป็นสังคมอุตสาหกรรม แต่สมัยรัฐบาล จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็นต้นมา ท�ำให้สังคมท้องถิ่นเริ่มสลายอัน เนื่องมาจากการเคลื่อนย้ายของผู้คนจากที่ต่างๆ ทั้งภายในภายนอก เข้ามาอยู่และตั้งถิ่นฐาน ท�ำสถานที่ประกอบการธุรกิจ อุตสาหกรรม และการสร้างถนน สร้างเขือ่ นพลังงานไฟฟ้าเกินขีดความสามารถของ สังคมท้องถิ่น แต่เดิมจะบูรณาการทางสังคมและวัฒนธรรมให้คนทีเ่ คลือ่ น ย้ายเข้ามามีส�ำนึกร่วมในการเป็นคนในท้องถิ่นเดียวกันได้ นับแต่ รัฐบาลคึกฤทธิ์ ปราโมช รัฐบาลชาติชาย ชุณหะวัณ ที่เอาเศรษฐกิจ การเมืองมาเป็นตัวน�ำในการพัฒนาประเทศให้เป็นสังคมอุตสาหกรรม 4

มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์


เช่น ระบบเงินผันและการปั่นที่ดิน รวมทั้งการขยายตัวของเศรษฐกิจ ทุนนิยม ได้ทำ� ให้สงั คมท้องถิน่ เริม่ แตกสลาย [Delocalization] ดังเช่น การขยายตัวของบรรดาบ้านจัดสรร คอนโดมิเนียม นิคมอุตสาหกรรม เป็นต้น ท�ำให้คนอยู่ในพื้นที่ใหม่อย่างไม่มีหัวนอนปลายตีน ต่างคน ต่างอยูไ่ ม่อาทรแก่กนั และการตัง้ ถิน่ ฐานใหม่เมืองใหม่ทที่ ำ� ลายล�ำน�ำ้ ล�ำคลอง หนองบึง และพืน้ ทีท่ ศี่ กั ดิส์ ทิ ธิ์ได้ทำ� ให้เกิดภาวะล่มสลายทาง ศีลธรรมและจริยธรรม ความเป็นมนุษย์ในฐานะสัตว์สังคมเริ่มเสื่อม และรับเอาค่านิยมและประเพณีทางโลกที่เป็นวัตถุนิยมบริโภคนิยม และความเป็นปัจเจกเยี่ยงเดรัจฉานเข้ามาแทนที่ นับแต่ยุครัฐบาลทักษิณ ชินวัตร เป็นต้นมา เศรษฐกิจโลก เปลี่ยนแปลงเข้าสู่ยุคโลกาภิวัตน์ที่มีพรมแดนเกิดทุนเหนือรัฐและ เหนือตลาด เป็นโครงสร้างไม่มีหัวนอนปลายเท้าแบบทุนนิยมเสรีเข้า ครอบง�ำเศรษฐกิจและการเมืองของประเทศทั้งในเมืองและชนบท ภายใต้โครงสร้างของทุนข้ามชาติที่มีอ�ำนาจเหนือรัฐและ ตลาด ได้ท�ำให้สังคมท้องถิ่นทั้งในเมืองและตามชนบทถูกบดขยี้ทั้ง การถูกไล่ที่ หลอกลวงให้ขายที่อยู่อาศัยและท�ำกิน และการแย่งชิง ทรัพยากรน�้ำและเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมธรรมชาติท่ีควรแก่การ อยู่อาศัยของมนุษย์แทบทุกหนแห่ง กิจกรรมการอุตสาหกรรมทั้งหนักและเบาและการเกษตร อุตสาหกรรมได้รุกล�้ำเปลี่ยนที่ทางการเกษตรแต่เดิมให้หมดไป โดย คนที่เคยเป็นเกษตรกรที่อยู่ติดที่บ้านเกิดเมืองนอน ต้องโยกย้ายไป เป็นแรงงานข้ามถิน่ ข้ามบ้านข้ามเมือง จนเกิดภาวะ “สังคมบ้านแตก” ขึ้นแก่บรรดาลูกหลานที่เป็นเยาวชน ความคิดที่ชั่วร้ายของลั ทธิทุนนิยมแบบไม่มีหัวนอนปลาย เท้าที่ให้ค�ำนิยามความเป็นมนุษย์ใหม่ว่า “ทรัพยากรมนุษย์” นั้น มีผล กระทบไปถึงการศึกษาอบรมตัง้ แต่ระดับครอบครัว ชุมชนท้องถิน่ และ บรรดาโรงเรียนและมหาวิทยาลัยทั่วทั้งประเทศ การแพร่หลายทางเทคนิคของบรรดาเครือ่ งมือในการศึกษา การสอน และการสือ่ สารแทบทุกชนิดของคอมพิวเตอร์ทนี่ า่ เอาแนวคิด ปรัชญาและความรู้ทางวัตถุ ได้ท�ำลายระบบทางศีลธรรม จริยธรรม และความเป็นมนุษย์ให้แก่ผคู้ นในสังคมทุกระดับชัน้ รวมทัง้ ระบบและ กระบวนการทางยุตธิ รรมการออกกฎหมายก็กลับกลายเป็นเหยือ่ และ เครือ่ งมือของบรรดาผูม้ อี ำ� นาจทางการเมืองและเศรษฐกิจในการสร้าง ความถูกต้องที่ปราศจากมโนธรรมให้แก่พวกตน สังคมท้องถิน่ แทบทุกภูมภิ าคก�ำลังถูกท�ำลายในกระบวนการ สลายพืน้ ทีท่ างสังคมและวัฒนธรรม [De-localization] โดยอ�ำนาจรัฐ และอ�ำนาจทุนนิยมมีปรากฏการณ์ให้เห็นแทบทุกเมือ่ ชัว่ ยามในขณะนี้ ดังตัวอย่างไกลตัวในภาคเหนือในเขตจังหวัดแพร่และน่าน ทีร่ ฐั ยินยอม ให้กลุม่ ชาติพนั ธุผ์ สมนายทุนข้ามชาติ ท�ำการเพาะปลูก ท�ำไร่ขา้ วโพด ในพื้นที่ต้นน�้ำยมและน�้ำน่านที่อยู่บนภูเขาและที่สูง จนเกิดอาการเขา หัวโล้นไปทั่ว การปลูกข้าวโพดอันเป็นเกษตรอุตสาหกรรมเชิงเดี่ยวได้

จดหมายข่าว

ท�ำลายความหลากหลายของชีวภาพของนิเวศวัฒนธรรมบนเขาและ ที่สูงของกลุ่มชาติพันธุ์ที่อยู่ในพื้นถิ่น ที่ท�ำการเพาะปลูกในระบบไร่ หมุนเวียนทีเ่ ปลีย่ นแปลงสภาพแวดล้อมในพืน้ ทีท่ ำ� มาหากินในลักษณะ พอเพียง และไม่ท�ำลายความหลากหลายทางชีวภาพ และเป็นการ เกษตรที่ยั่งยืน เพราะการหมุนเวียนไปตามที่ต่างๆ ที่ก�ำหนดไว้ ทาง ราชการขาดความเข้าใจ ความหมายและระบบการท�ำไร่หมุนเวียนของ กลุ่มชาติพันธุ์ที่อยู่ในท้องถิ่นมาแต่เดิมไม่ต�่ำกว่า ๑๐๐ ปีขึ้นไป และ สร้างวาทกรรมโดยนักวิชาการโง่วา่ เป็นการท�ำไร่เลือ่ นลอยทีท่ ำ� ให้พนื้ ที่ ป่าเขาทั้งหมดเตียนโล่ง เลยอ้างกฎหมายและใช้อ�ำนาจยึดครองที่ดิน ที่อยู่อาศัยให้มาเป็นของรัฐ ขับไล่ชุมชนท้องถิ่นให้ด�ำรงอยู่ไม่ได้ แต่ในขณะเดียวกันก็เปิดหนทางให้กบั บรรดานายทุนข้ามชาติ ที่น�ำเอาผลิตผลข้าวโพดเข้าสู่อุตสาหกรรมแปรรูปและส่งออกในการ สนับสนุนกลุม่ ชาติพนั ธุอ์ นื่ และคนจากพืน้ ราบเข้าท�ำไร่เลือ่ นลอยด้วย การใช้เครื่องจักรเครื่องยนต์แทนการเพาะปลูกตามวิธีการธรรมชาติ ของคนในท้องถิน่ แต่เดิม ปัจจุบนั การครอบง�ำของการท�ำไร่เลือ่ นลอย ของกลุ่มชนบนที่สูงนั้นก้าวไกลเกินสภาพความเป็นไร่เลื่อนลอยสู่ภาว การณ์เป็นไร่ถาวรในระบบเกษตรอุตสาหกรรมที่มีนายทุนข้ามชาติผู้ มีอิทธิพลเหนือรัฐและตลาดอยู่เบื้องหลัง ผลที่ตามมาของการท�ำไร่ข้าวโพดถาวรดังกล่าวนี้ ได้ท�ำให้ เกิดความวิบัติอย่างใหญ่หลวงแก่ชีวิตของผู้คนทั้งอยู่ในที่สูงและที่ลุ่ม ต�่ำในขณะนี้ คือ เมื่อฝนตกเกิดดินถล่ม [Land Slide] น�้ำท่วมท�ำให้ บ้านเรือนพังและที่ท�ำกินเสียหายไร้ที่อยู่เป็นประจ�ำเกือบแทบทุกปี เท่านั้นยังไม่เพียงพอ เพราะในฤดูแล้งกลุ่มคนที่ปลูกข้าวโพดบนเขา และที่สูงเผาซังข้าวโพดเพื่อปรับที่ดินเพาะปลูกใหม่ ท�ำให้เกิดควันไฟ และเขม่าไฟปกคลุมไปทัง้ ภูมภิ าค เกิดมลภาวะทางอากาศทีเ่ ป็นภัยต่อ ระบบการหายใจของมนุษย์ ความชัว่ ร้ายและบาปของนายทุนก็ยงั คงด�ำรงอยู่ ในพืน้ ทีเ่ ขต เมือง เช่น กรุงเทพมหานคร ทั้งนายทุนและรัฐเริ่มสุมหัวกันท�ำลาย ชุมชนท้องถิน่ ทีม่ รี ากเหง้ามาแต่สมัยการสร้างกรุงเทพฯ ครัง้ รัชกาลที่ ๑ และรัชกาลที่ ๓ โดยการอ้างการปรับปรุงผังเมืองและสร้างสถานที่ ทางราชการและพื้นที่อยู่อาศัยและการพาณิชย์ใหม่ ให้ดูสวยงาม เป็นเมืองประวัติศาสตร์เพื่อการท่องเที่ยว ผลที่ตามมาคือ ชุมชนมนุษย์ที่ยังฝังตัวอยู่ในบริเวณเมือง กรุงเทพมหานคร ก�ำลังถูกคุกคาม รื้อถอน และขับไล่โดยไม่มี ความชอบธรรมในแทบทุกย่านที่อยู่อาศัยและท�ำกิน การด� ำ เนิ นการชั่ วร้ า ยของการสลายท้ อ งถิ่ น ทางสั ง คม และวั ฒ นธรรมที่ ก� ำ ลั ง จะเป็ น การทุ บ ตี ท� ำ ร้ า ยผู ้ ค นดั้ ง เดิ ม ของ เมืองกรุงเทพฯ ในขณะนี้ ก�ำลังอยู่ที่ “ชุมชนชานก�ำแพงเมืองหลัง ป้อมมหากาฬ” เพราะกรุงเทพมหานครต้องการไล่ชุมชนมนุษ ย์ ออกไป เพื่ อ เอาพื้ น ที่ ไ ปท� ำ สวนสาธารณะเพื่ อ คนรุ ่ น ใหม่ แ ละ นักท่องเที่ยวที่ ไม่มีหัวนอนปลายเท้าแทนที่ชุมชนซึ่งเคยอยู่อาศัย ในกรุงเทพมหานครมาแต่เดิม 5

มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์


ความ ทางสังคมและวัฒนธรรม หลาก โดย วลัยลักษณ์ ทรงศิริ หลาย

ความเจ็บปวดที่ชุมชนปอมมหากาฬ

“เมืองประวัติศาสตร์ต องมีชุมชน”

วัดราชนัดดารามฯ พ.ศ. ๒๔๖๓ และ ๒๕๑๑ ตามลําดับ Image Source: Kanno Rikio, Japan, จากเพจ https://www.facebook.com/77PPP

หลังจากเงีย่ หูฟงั มาโดยตลอดของยุคสมัยทีม่ กี ฎหมายสูงสุด กลายเป็นมาตรา 44 และรัฐธรรมนูญทั้งฉบับก�าลังถูกร่างแล้วร่าง เล่าและยังไม่เห็นภาพของกฎหมายสูงสุดของประเทศที่จะท�าให้ชีวิต วัฒนธรรมของชาวไทยด�าเนินไปอย่างสันติสุขเสียที หลังจากกรุงเทพมหานครเริ่มไล่รื้อย่านตลาดเก่าและตลาด ใหม่ ทีท่ า� มาหากินของชาวบ้านชาวเมืองไปแทบจะหมดเพือ่ พัฒนาพืน้ ที่ ตามเกณฑ์การจัดระเบียบพืน้ ทีต่ า่ งๆ ก็มาถึงล�าดับการไล่รอื้ ชุมชนป้อม มหากาฬ งานส�าคัญที่ยังท�าไม่เสร็จตลอดระยะเวลาเข้าปีที่ ๒4 แล้ว แม้ปัญหาจะยืดเยื้อเปลี่ยนแปลงผู้รับผิดชอบมามากมาย จนแทบจะไม่รู้จุดเริ่มต้น หรือจุดสิ้นสุดของปัญหาการไล่รื้อชุมชน ที่ นั บ วั น จะกลายเป็ น นโยบายแสนจะล้ า หลั ง ไปแล้ ว ว่ า ควรมี กระบวนการแก้ปัญหาที่ ใดหรือท�าอย่างไรจะไม่ ให้เกิดความเสีย หายต่อทั้งกระบวนการพัฒนาพื้นที่ย่านเมืองเก่า การท่องเที่ยวเมือง ประวัติศาสตร์ และท�าลายภาพลักษณ์ของประเทศด้วยความรุนแรง ในการบังคับใช้กฎหมายที่ไม่เป็นธรรมมากไปกว่านี้

จดหมายข่าว

รู้จัก “ตรอกพระยาเพชรฯ” และความเปนชุมชนย่านชานพระนคร เมื่ อ ผู ้ สื่ อ ข่ า วไปถามผู ้ อ� า นวยการท่ า นหนึ่ ง ของกรุ ง เทพ มหานครถึงเรื่องการไล่รื้อชุมชนที่อาจจะเสี่ยงต่อการสูญหายไปของ ชุมชนเก่าแก่ภายในย่านเก่าของกรุงเทพมหานคร ท่านให้คา� ตอบกลับ มาว่า บริเวณชุมชนที่ใกล้กับป้อมมหากาฬนั้นไม่มีรากเหง้าหลงเหลือ อีกแล้ว หากจะมีก็ต้องให้เห็นภาพประจักษ์ดังเช่น “บ้านสาย” ที่เคย ถักสายรัดประคดแต่เลิกไปหลายปีแล้วเพราะไม่มีผู้ท�า แต่บริเวณนั้น เป็นพื้นที่ของเอกชนที่ลูกหลานได้รับพระราชทานที่ดินจากพระมหา กษัตริยใ์ นการเป็นผูบ้ รู ณะวัดเทพธิดารามฯ หรือต้องเห็นคนนัง่ ตีบาตร แบบ “บ้านบาตร” ย่านตีบาตรพระมาตัง้ แต่เริม่ สร้างกรุงฯ และปัจจุบนั ยังมีผสู้ บื ทอดการตีบาตร คนบ้านบาตรต่อสูก้ บั โรงงานปัม๊ บาตรราคา ถูกด้วยตนเอง ไม่มีหน่วยงานใดไปช่วยเหลือ ทุกวันนี้ยังตีบาตรกันอยู่ ๓-4 รายด้วยลมหายใจรวยริน และแน่นอนพื้นที่นั้นเป็นกรรมสิทธิ์ ของส�านักงานทรัพย์สนิ ส่วนพระมหากษัตริย์ ซึง่ กรุงเทพมหานครไม่มี ส่วนได้เสียหรือรับผิดชอบร่วมจัดการให้คนอยู่กับย่านเก่าแต่อย่างไร ๖

มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์


บรรยากาศภายในชุมชนปอมมหากาฬในปจจุบัน

ชุมชนปอมมหากาฬ พ.ศ. ๒๕๑๕ ชางภาพ Nick DeWolf, Image Source: Steve Lundeen, Nick DeWolf Photo Archive, United States, จากเพจ https://www.facebook.com/77PPP

จะให้เข้าใจกันมากกว่านี้ ต้องขอส่งผ่านความรู้เกี่ยวกับ ประวั ติ ศ าสตร์ ข องเมื อ งกรุ ง เทพมหานครในบริ เ วณที่ เ ป็ น เมื อ ง กรุงเทพฯ แต่แรกเริ่มในพื้นที่ย่านประวัติศาสตร์ กรุงเทพมหานคร เป็น “เมืองประวัติศาสตร์” แห่งหนึ่งที่ยังมีชีวิต [Living Historic City] ซึ่งแม้จะมีร่องรอยกลิ่นอายชุมชนย่านเก่าแก่ทั้งหลายอยู่ แต่ดู เหมือนจะไม่มีการศึกษาหรือกล่าวถึงเป็นชิ้นเป็นอันที่เป็นการศึกษา จากภายใน ชุมชนที่ยังมีชีวิตเหล่านี้ต่างเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย ที่กรุงเทพฯ ได้เปลี่ยนแปลงมากว่า ๒๐๐ ปี จากเมืองตามขนบจารีต แบบเมืองโบราณในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ทั่วไป มาเป็นเมืองใน แบบสมัยใหม่ตั้งแต่เมื่อราวรัชกาลที่ 4 ลงมา และปรับเปลี่ยนไปมาก เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ราชส�านักที่เคยอุปถัมภ์งานช่าง งานฝีมือ การมหรสพต่างๆ ของผู้คนรอบพระนครก็เปลี่ยนแปลงไป จนต้องมีการผลิตและค้าขายด้วยตนเอง ซึ่งก็มักต้องพบกับทางตัน และท�าให้งานช่างฝีมือเหล่านี้ที่ ไม่ได้รับการเอื้อเฟื้อจากราชส�านัก ขุน นาง คหบดีอีกต่อไปแล้วถึงแก่กาลจนแทบจะหายไปหมดสิ้น จากย่านส�าคัญต่างๆ ในกรุงเทพฯ เหลือไว้แต่เพียงผู้สูงอายุที่เคยทัน งานช่างต่างๆ และค�าบอกเล่าสืบต่อกันมา นอกก� า แพงเมื อ งส่ ว นที่ ต ่ อ กั บ คู ค ลองเมื อ งนั้ น เรี ย กว่ า “ชานพระนคร” เป็นพื้นที่ซึ่งเคยนิยมอยู่อาศัยเป็นธรรมเนียมปกติ สืบทอดกันมาตามขนบชุมชนแบบโบราณตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ต่อกับกรุงรัตนโกสินทร์ เพราะเป็นเมืองริมน�้าและเมืองลอยน�้าที่มี การคมนาคมและซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้าโดยใช้เรือเป็น พาหนะ ผู้คนจึงนิยมอาศัยทั้งบนเรือ ในแพ และบ้านริมน�้ามากกว่าบริเวณ พื้นที่ภายในที่ต้องใช้การเดินบนบก บริเวณ “ชานพระนคร” ด้านหน้าก�าแพงเมืองใกล้ป้อม มหากาฬมาจนจรดริมคลองหลอดวัดราชนัดดาเป็นที่อยู่อาศัยของ ข้าราชการและชาวบ้านมาหลายยุคสมัยมีการปลูกสร้างอาคารเป็น แนวยาวตลอดตั้งแต่สะพานผ่านฟ้าลีลาศจรดแนวคูคลองวัดเทพธิดา

จดหมายข่าว

ชุมชนปอมมหากาฬ ถายเมื่อป พ.ศ. ๒๕๑๕ ชางภาพ George Lane, United States, จากเพจ https://www.facebook.com/77PPP

รามในปัจจุบัน ในยุคตั้งแต่ราวครั้งรัชกาลที่ ๕ เป็นต้นมา บริเวณนี้ ผู้คนเรียกกันว่า “ตรอกพระยาเพชรฯ” “ตรอกพระยาเพชรฯ” เคยเป็นนิวาสสถานของพระยาเพชร ปาณี (ตรี) ข้าราชการกระทรวงวังและเป็นชาวปี่พาทย์โขนละครเป็น แหล่งก�าเนิดลิเกทรงเครื่อง สมเด็จกรมพระยาด�ารงราชานุภาพทรง เขียนถึงสมเด็จกรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ใน “สาส์นสมเด็จ” ถึง ต้นก�าเนิดของลิเกว่า อาจจะเป็นพระยาเพชรปาณี (ตรี) คิดตั้งโรง ลิเกเก็บค่าดูและเล่นเป็น “วิก” ตามแบบละครเจ้าพระยามหินทรที่มี วิกละครอยู่ที่ท่าเตียน และเล่นเป็นเรื่องต่างๆ เหมือนอย่างละครไม่ เล่นเป็นชุด โดยเอาดิเกร์แบบชาวมลายูผสมกับละครนอกของชาวบ้าน เริ่มเมื่อราว พ.ศ. ๒44๐ ลิเกของพระยาเพชรปาณีเป็นลิเกแบบทรงเครื่องคือส่วนที่ เป็นสวดแขกกลายเป็นการออกแขก มีผู้แสดงแต่งกายเลียนแบบชาว มลายูออกมาร้องเพลงอ�านวยพร ส่วนที่เป็นชุดออกภาษากลายเป็น ละครเต็มรูปแบบ วงร�ามะนายังคงใช้บรรเลงตอนออกแขก แต่ใช้ปี่ พาทย์บรรเลงในช่วงละคร เดินเรือ่ งฉับไว เครือ่ งแต่งกายหรูหราเลียน แบบข้าราชส�านักในสมัยรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ และ

มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์


เอาใจความชอบแบบชาวบ้าน เพลงรานิเกลิงหรือเพลงลิเกคิดขึน้ โดย นายดอกดิน เสือสง่า ในยุคลิเกทรงเครื่องช่วงรัชกาลที่ ๖ แพร่หลายไปทั่วภาคกลางอย่าง รวดเร็ว มีวกิ ลิเกเกิดขึน้ ทัง้ ในพระนครและต่างจังหวัดน�ำเนือ้ เรือ่ งและ ขนบธรรมเนียมของละครร�ำมาใช้ แต่เมื่อเกิดสงครามโลกครั้งที่ ๒ มีความขาดแคลนไปทั่ว ลิเกทรงเครื่องก็หมดไป วงร�ำมะนาที่ ใช้ กับการออกแขกก็เปลี่ยนไปใช้วงปี่พาทย์แทน ต่อมานายหอมหวล นาคศิริ ได้น�ำเพลงรานิเกลิงไปร้องด้นกลอนสดดัดแปลงแบบล�ำตัด ท�ำให้เป็นที่นิยมจนมีชื่อเสียงและมีลูกศิษ ย์มากมาย วิกลิเกที่โด่ง ดังมาตลอดยุคสมัยของความนิยมในมหรสพชนิดนี้คือ “วิกเมรุปูน” ซึ่งอยู่ทางฝั่งวัดสระเกศฯ และไม่ไกลจากวิกลิเกดั้งเดิมของพระยา เพชรปาณี ที่ใกล้ป้อมมหากาฬ ตัวอย่างร่องรอยของผู้คนที่เกี่ยวเนื่องในการแสดงมหรสพ ลิเกในย่านตรอกพระยาเพชรฯ คือสถานที่ผลิตเครื่องดนตรีไทย ตั้ง เสียงระนาด และขุดกลองคุณภาพดีในช่วงรัชกาลที่ ๖ ที่ควรจดจ�ำ คือ นายอูแ๋ ละนางบุญส่ง ไม่เสือ่ มสุข ทีเ่ ป็นผูส้ ร้างกลองเป็นพุทธบูชา ในหลายวัดและที่ส�ำคัญคือ กลองที่ “ศาลเจ้าพ่อหอกลอง” กรมการ รักษาดินแดน ข้างกระทรวงมหาดไทย บ้านของนายอู๋และนางบุญส่ง ไม่เสื่อมสุข สืบทอดมาจาก บิดาอีกทอดหนึ่ง ท่านทั้งคู่เป็นตาและยายของคุณธวัชชัย วรมหาคุณ ผู้น�ำชุมชนป้อมมหากาฬ ผู้ซึ่งอายุห้าสิบกว่าปีแล้ว ดังนั้น บ้านหลังนี้ จึงอยูอ่ าศัยสืบทอดตกกันมาไม่ตำ�่ กว่าในยุครัชกาลที่ ๕ หรือน่าจะใกล้ เคียง ซึ่งควรจะมีรากเหง้าอยู่อาศัยมาไม่ต�่ำกว่าร้อยปีแล้ว พื้นที่ดังกล่าวของบ้านเรือนในป้อมมหากาฬมีเจ้าของที่ดิน หลายโฉนดหลายแปลงทั้งของเอกชนและของวัดราชนัดดาฯ เมื่อ ต้องถูกพระราชบัญญัตเิ วนคืนทีด่ นิ เพือ่ ใช้สำ� หรับสร้างสวนสาธารณะ ให้กับโครงการเกาะรัตนโกสินทร์ ที่ถูกสร้างขึ้นมาเมื่อครั้งหลังยังมี กรรมการเกาะรัตนโกสินทร์ที่ต้อง “ปรับภูมิทัศน์” พื้นที่ต่างๆ ในย่าน เมืองประวัติศาสตร์ โดยไม่เห็นความส�ำคัญของชุมชนที่อยู่อาศัยมา แต่เดิมและคงอยู่ในสภาพทรุดโทรมเพราะติดปัญหาในด้านทุนทรัพย์ ซ่อมแซมในรุ่นลูกหลานและเปลี่ยนมือเนื่องจากการย้ายออกไปของ กลุม่ ตระกูลและการย้ายเข้าของผูม้ าใหม่ ซึง่ เป็นปกติของการอยูอ่ าศัย ในย่านเมือง การออกพระราชบัญญัติเวนคืนในยุคดังกล่าวนั้น น่าจะมี ส่วนส�ำคัญทีท่ ำ� ให้เกิดปัญหาสืบตกทอดมาถึงทุกวันนีค้ อื “ไม่ได้ศกึ ษา รอบด้านในเรื่องประวัติศาสตร์สังคมของชุมชนต่างๆ จนละเลยจน กระทั่งถืออภิสิทธิ์ ไม่เคารพสิทธิชุมชนหรือกฎเกณฑ์ทางสังคมที่ถือ เอากรรมสิทธิ์ทางกฎหมายปัจจุบันเป็นหลักแบบมัดมือชก” เช่นนี้ เป็ น ที่ น ่ า หดหู ่ เ มื่ อ เกิ ด ปั ญ หาการไล่ รื้ อ ชุ ม ชน ซึ่ ง กรุงเทพมหานครให้ข่าวว่าจะก�ำหนดให้เสร็จสิ้นในเดือนพฤษภาคม ๒๕๕๙ นี้ โดยไม่ได้เริ่มเจรจากับชุมชนแต่อย่างใด ชุมชนตามธรรมชาติแห่งนี้ไม่สามารถเติบโตหรือสืบทอดการ

จดหมายข่าว

อยู่อาศัยในพื้นที่ชานพระนครได้มานานแล้วเพราะการไม่ได้เป็นส่วน หนึ่งของการจัดการปกครองของกรุงเทพมหานคร เนื่องจากปัญหา ทางกฎหมายจากพระราชบัญญัติเวนคืนและการควบคุมไม่ให้มีผู้คน เพิ่มจากที่มีอยู่เดิม แต่พื้นที่เหล่านี้ยังมีผู้คนที่สืบทอดความทรงจ�ำของคนตรอก พระยาเพชรปาณี วิกลิเกแหล่งมหรสพชานพระนครอยู่ และยังคง สภาพความร่มรืน่ ชืน่ เย็นในบรรยากาศแบบเมืองประวัตศิ าสตร์ในอดีต ที่ยังมีชีวิตชีวา หากกรุงเทพมหานครยังยืนยันว่าเป็นเจ้าของกรรมสิทธิท์ ดี่ นิ จากพระราชบัญญัตเิ วนคืนทีศ่ าลปกครองได้ตดั สินไปแล้ว โดยไม่สนใจ สิทธิแบบจารีตและสิทธิชมุ ชนทีค่ วรจะได้รบั การพูดคุยถกเถียงในช่วง เวลาทีก่ ารท่องเทีย่ วชุมชนและการท่องเทีย่ วเมืองประวัตศิ าสตร์กำ� ลัง เป็นที่เข้าใจแก่ผู้คนทั่วไปและเห็นประโยชน์ในการเก็บรักษามรดก วัฒนธรรมทางประวัติศาสตร์ที่มีผู้คนอยู่อาศัยได้จริงและมีชีวิตชีวา นั้นไว้ หากจะเหลียวมองดูการท�ำงานการจัดการกับชุมชนในพื้นที่ ทางประวัตศิ าสตร์ เช่นเดียวกับทีท่ างส�ำนักงานทรัพย์สนิ ส่วนพระมหา กษัตริย์ได้ปรับเปลี่ยนวิธีปฏิบัติต่อชุมชนต่างๆ มาเป็นเวลาสักระยะ แล้ว เพื่อท�ำให้ผู้คนสามารถอยู่อาศัยในพื้นที่ประวัติศาสตร์ได้อย่างมี คุณภาพชีวติ ทีด่ ี มีระบบระเบียบและสร้างความเป็นชุมชนด้วยการจัด ตัง้ สหกรณ์ออมทรัพย์เพือ่ ดูแลตนเอง ก็จะช่วยให้พนื้ ทีเ่ หล่านี้ไม่ได้ถกู เปลี่ยนแปลงไปเป็นการสร้างตึก สร้างสนามหญ้าที่ไม่มีจิตวิญญาณ หรือบรรยากาศของสภาพความเป็นเมืองประวัติศาสตร์แต่อย่างใด พวกเราสูญเสียสิง่ มีคา่ ในพระนครเก่าของเราไปแล้วมากมาย และไม่สามารถเรียกคืนได้เนิ่นนานแล้ว อย่าปล่อยให้ชาวบ้านที่ย่าน ป้อมมหากาฬต่อสูเ้ พียงล�ำพัง การย้ายออกไปนัน้ ง่ายดาย แต่หากย้าย ไปแล้ว หมดสิ้นสภาพย่านเก่าที่มีชีวิตวัฒนธรรมให้เหลือเพียงความ ทรงจ�ำในแผ่นป้ายหรือกระดาษนั้น ไม่นับว่าเป็นประโยชน์ต่อแผ่นดิน และผู้คนแต่อย่างใด หากมีการไล่รื้อชุมชนป้อมมหากาฬ สิ่งเหล่านี้จะกลายเป็น มรดกแห่งความบอบช�้ำและความสูญเสียที่พวกเราต้องรับไม้ต่อแทน ชาวชุมชนป้อมมหากาฬ เป็นมรดกแห่งความทุกข์ยากที่ชาวบ้านกลุ่ม หนึง่ มอบไว้ให้ผคู้ นในเมืองกรุงเทพฯ และปัญหาอันไม่มวี นั จบสิน้ นีพ้ วก เราทั้งสิ้นต้องเป็นผู้รับผิดชอบร่วมกันสืบต่อไปนานเท่านาน เป็นตราบาปแก่ใจที่ไม่สามารถพูดคุยให้เกิดความก้าวหน้า ในการจัดการเมืองประวัติศาสตร์ที่มีปัญหายืดเยื้อยาวนาน จนแทบ จะไม่น่าเชื่อว่าเราก�ำลังสู้ทนในสิ่งเหล่านี้เพื่ออะไร

8

มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์


ความ ทางสังคมและวัฒนธรรม หลาก โดย วลัยลักษณ์ ทรงศิริ หลาย

ระบบเหมืองฝายของคนไตคําตี่ ชุมชนจารีตและสังคมเกษตรกรรมแบบดั้งเดิม

ภาพถายหญิงและชาย ชาวไตคําตี่ ภาพจากเอกสารสํารวจชนเผาทางตะวันออก เฉียงเหนือของอินเดีย โดยนักสํารวจชาวอังกฤษ

ทุงนาขาวและเทือกเขาหิมาลัยที่เห็นยอดเขาที่มีหิมะปกคลุม

คนไตในกลุ่มต่างๆ ตั้งแต่ไตอาหมที่ข้ามเทือกเขาปาดไก่มา ตั้งแต่เมื่อราวพุทธศตวรรษที่ ๑8 จนถึงกลุ่มไตค�าตี่ที่ข้ามเทือกเขา ปาดไก่มาเมื่อเพียงไม่กี่ร้อยปีที่ผ่านมาถือเป็นกลุ่ม “คนไต” กลุ่มหนึ่ง ที่ถือว่าเคยเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มคนไตใหญ่หรือไตโหลงจาก “เมือง หมอกขาวมาวโหลง” ทีอ่ ยู่ในเขตรอยต่อของพม่าและจีนก่อนมาก่อตัง้ อาณาจักรส�าคัญในแคว้นอัสสัมโดยผสมผสานกับชนพื้นเมืองและถูก พม่ายึดครองในเวลาต่อมาก่อนทีจ่ ะถูกอังกฤษปกครองไปโดยปริยาย ในยุคอาณานิคมและกลายเป็นคนอัสสัมไปในปัจจุบัน กลุม่ ไตอาหมทีม่ ปี ระชากรราว ๒ ล้านคนในปัจจุบนั ใช้ภาษา อัสสัม ภาษาฮินดี และภาษาอังกฤษ โดยไม่ได้สืบต่อภาษาไตได้เช่น เดียวกับกลุ่มไตกลุ่มอื่นๆ ส่วนกลุ่มคนไตอื่นๆ ก็แยกย้ายมาจากทาง รัฐฉานบ้าง รัฐกะฉิ่นที่อยู่ติดกันบ้าง ในทางประวัติศาสตร์กล่าวว่า คนไตค�าตี่เป็นกลุ่มที่ข้าม เทือกเขาปาดไก่ เมื่อราวพุทธศตวรรษที่ ๒๒-๒๓ ไม่กี่ร้อยปีที่ผ่าน มานี้เอง บรรพบุรุษนั้นเดินทางมาจากแถบลุ่มแม่น�้าชินด์วินซึ่งอยู่ใน รัฐกะฉิ่น สหภาพเมียนมา แล้วข้ามเทือกเขาปาดไก่อันเป็นชายแดน ระหว่างพม่าและอินเดียสู่ที่ราบลุ่มแม่น�้าพรหมบุตร โดยกลุ่มเหล่านี้ แบ่งเป็น ไตค�าตี่ ไตผาเก ไตอ้ายตอน ไตค�ายัง ในกลุ่มคนไตเหล่านี้ เคยตั้งถิ่นฐานอาศัยอยู่ด้วยกันบริเวณใกล้กับเชิงเขาปาดไก่ในรัฐอัส สัมปัจจุบันนี้โดยมีรูปแบบวิถีชีวิต ประเพณีวัฒนธรรม การท�านาทด น�า้ การแต่งงาน บ้านเรือน เครือญาติ การนับถือศาสนาโดยเฉพาะรูป

จดหมายข่าว

แบบของวัดแบบ “จอง” และเรียกผู้น�าของตนว่า “เจ้าฟ้า” เช่นเดียว กับผู้คนในวัฒนธรรมคนไตหรือไทใหญ่อื่นๆ กลุ่มคนไตค�าตี่เริ่มอพยพมายังเชิงเขาทางใต้ของเทือกเขา ปาดไก่ ในแถบตีนเขาโมนาบูม และตั้งถิ่นฐานเป็นกลุ่มใหญ่ริมน�้าติ แอ่ง เมือ่ ตกเป็นส่วนหนึง่ ในอาณานิคมของอังกฤษเจ้าอาณานิคมใช้วธิ ี แบ่งแยกและปกครองโดยให้ไปอยู่ทางรัฐอัสสัมบ้าง ไปอยู่ในดินแดน ศักดิ์สิทธิ์ของชาวฮินดูที่ Parsuramkund บ้าง และอยู่อาศัยกันมาก ในบริเวณถิ่นฐานดั้งเดิมที่ล�าน�้าติแอ่ง แถบบ้านจองค�า โดยให้ที่ดิน ท�ากิน ให้ผนื ป่าในการท�าไม้ให้อาชีพท�ามาหากิน การส�ารวจประชากร ในปี พ.ศ. ๒๕4๖ ระบุวา่ มีประชากรชาวไตค�าตีท่ รี่ ฐั อรุณาจัลอยูร่ าวๆ ๑๕,๐๐๐ คน ธุรกิจการท�าไม้ทา� ให้คนไตค�าตีท่ บี่ า้ นจองค�า เคยเป็นหมูบ่ า้ น ที่ติดอันดับร�่ารวยหนึ่งในสิบของเอเชียเมื่อราวยี่สิบปีก่อน ค�ากล่าวนี้ ไม่น่าเกินความเป็นจริง เพราะพวกเขาเป็นเจ้าของช้างที่ใช้ชักลากไม้ ซุงในป่าตีนเขาหิมาลัย จนเมื่อรัฐบาลอินเดียยกเลิกสัมปทานทั้งหมด ลงในปี พ.ศ. ๒๕๓๓ คนบ้านจองค�าไม่สามารถชักลากไม้ซุงหรือท�า ไม้ได้อย่างเสรีเหมือนในอดีต ต้องปล่อยช้างเลี้ยงไว้ในป่า และจะท�า ป่าไม้ได้ก็ต่อเมื่อขอสัมปทานใหม่ที่ ให้ค่าตอบแทนแก่รัฐค่อนข้างสูง ท�าให้กิจการป่าไม้แทบจะล้มเลิกไปหมด การท�าไม้ที่เลิกไปแล้วท�าให้ สภาพแวดล้อมทัง้ น�า้ และอากาศในต�าบลโลหิตและต�าบลน�า้ ทรายดีขนึ้ กว่าเดิมอย่างมาก ๙

มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์


ลําเหมืองสายยอยบริเวณที่นา

ประตูนํ้าและการปดล็อกกุญแจอยางแนนหนา

ปัจจุบนั คนไตค�าตีห่ นั มาปลูกชา ท�าไร่ชาแทนการท�าป่าไม้ ไร่ ชาแบบอัสสัมส่วนใหญ่ใช้สารเคมีจ�านวนมากและพึ่งพาน�้าฝน แต่ก็มี บางส่วนที่หันมาท�าไร่ชาออร์แกนิกซึ่งท�าให้มีราคาสูงขึ้น คนไตค�าตี่แห่งรัฐอรุณาจัลประเทศทุกวันนี้ ส่วนใหญ่อยู่ อาศัยในบริเวณหุบเขาของลุ่มแม่น�้าโลหิต [Lohit Valley] และอยู่ใน เขตต�าบลโลหิตและต�าบลน�้าทราย [Lohit and Nam Sai District] ใน ทีร่ าบลุม่ หุบเขาโลหิต เป็นพืน้ ทีต่ นี เขาหิมาลัย [Himalayan Foothills] โดยเป็นสาขาของแม่นา�้ พรหมบุตรทีม่ ตี น้ น�า้ อยู่ในเขตปกครองตนเอง ทิเบตตัดผ่านเทือกเขาหิมาลัยไปยังหุบเขาในอัสสัมก่อนจะไหลลงไป ยังบังกลาเทศซึง่ เรียกกันว่าแม่นา�้ ยมุนาและไหลรวมกับแม่นา�้ คงคาจน กลายเป็นดินดอนสามเหลีย่ มปากแม่นา�้ ขนาดใหญ่อนั อุดมสมบูรณ์กอ่ น ไหลออกสู่ทะเล บริเวณทีค่ นไตค�าตีต่ งั้ ถิน่ ฐานอยูร่ มิ ล�าน�า้ สาขาทีอ่ ดุ มสมบูรณ์ ทัง้ ดินและน�า้ คือล�าน�า้ ติแอ่ง เทงกะปานี ก�าลัง และเนาดิฮงิ มีระบบ กรมชลประทานส�าหรับการท�านาด�าชั้นเยี่ยมที่สืบเนื่องมาจากระบบ การท�าเหมืองฝายแบบวัฒนธรรมคนไต ซึ่งคนไตค�าตี่ที่ต�าบลน�้าทรายกล่าวเป็นเสียงเดียวกันว่า วัฒนธรรมการท�านาแบบทดน�า้ [Wet Rice Culture] ถือเป็นอัตลักษณ์ ส�าคัญของคนไตค�าตี่ เอกลักษณ์เด่นในการด�าเนินชีวิตนอกเหนือไปจากการใช้

จดหมายข่าว

ภาษาพูดที่ใช้ภาษาไต บ้านเรือนก็ยังเป็นแบบ “เฮินไต” ที่แบบดั้งเดิม มักใช้ไม้ไผ่ท�าพื้น ฝาบ้าน และโครงหลังคา มุงหลังคาคลุมที่ท�าด้วย ใบลานสานผูก ยกพื้นเรือนสูงและวางต�าแหน่งเรือนในแนวทิศเหนือ ใต้ มีบันไดขึ้นสองทางคือทิศตะวันตกและทิศใต้ และส่วนใหญ่แบ่ง เป็น ๕ ห้องตามพื้นที่ใช้งาน เช่น ชานบ้าน ห้องรับแขกและยังใช้เป็น ห้องนอนส�าหรับพวกเด็กๆ ห้องนอนพ่อแม่ ครัว ห้องกลางคือส่วนที่ เชื่อมระหว่างห้องนอนกับห้องครัว ส่วนใต้ถุนบ้านใช้เลี้ยงสัตว์ในยุคที่ ยังใช้สตั ว์เลีย้ งเพือ่ การท�าเกษตร แต่สว่ นใหญ่ไม่ใช้แล้วแต่จะเป็นพืน้ ที่ วางเครื่องมือต่างๆ และกี่ทอผ้าชนิดต่างๆ ส�าหรับผู้หญิงเมื่อว่างงาน ในไร่นาสวนชาแทน ถือว่าเป็นเรือนขนาดใหญ่กว้างขวางเมื่อเปรียบ เทียบกับบ้านเรือนของคนไตในกลุ่มอื่นๆ ทีเดียว หากมีฐานะมากขึ้น พวกเขาจะปลูก “เฮินไต” ด้วยไม้จริง ทั้งหลัง บ้านที่ท�าจากไม้จริงและท�าจากไม้ไผ่จึงแสดงสถานภาพทาง เศรษฐกิจของครอบครัวคนไตค�าตี่ได้อย่างชัดเจนแม้ในปัจจุบัน แต่ละบ้านมักท�าประตูและรัว้ ไม้ไผ่ อันมีบริเวณมากพอทีจ่ ะ แบ่งพื้นที่ ให้เป็นเรือนไม้ยุ้งฉางส�าหรับเก็บข้าวเปลือก พื้นที่ปลูกผัก สวนครัวและสมุนไพรท�ายา ไม้ยืนต้น ไม้ดอกไว้ถวายพระ กอไผ่ไว้ ใช้ซ่อมแซมเรือน ต้นลานไว้ใช้ใบมุงหลังคา คนไตค�าตีม่ วี งจรชีวติ ในรอบปีตามระบบปฏิทนิ แบบจันทรคติ ที่เริ่มนับเดือนอ้ายหรือเดือนแรกในเดือนธันวาคม เดือน ๕ คือเดือน เมษายนและใช้วันสงกรานต์เป็นช่วงเปลี่ยนผ่านของเทศกาลขึ้นปี ใหม่ โดยใช้มหาศักราชและยังถือเป็นวันขึ้นปีใหม่อย่างเป็นทางการ นอกจากนี้ยังผูกพันอยู่กับวงจรปฏิทินทางพุทธศาสนาและการเกษตร กรรมและการนับถือผีบรรพบุรุษ ดังนั้นประเพณีพิธีกรรมในรอบปีจึง เป็นเรือ่ งเนือ่ งในพุทธศาสนาคล้ายคลึงกับประเพณีรอบปีของชาวพุทธ ในประเทศไทย เดือน ๕ เทศกาลสงกรานต์เป็นช่วงเปลี่ยนผ่านปี มีงาน รื่นเริง ท�าความสะอาดสถานที่ต่างๆ และสรงน�้าพระ เพ็ญเดือน ๖ มีประเพณีวิสาขบูชา บูชาต้นโพธิ์ระลึกถึงการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า เดือนแปดเริ่มเข้าพรรษาในระยะ ๓ เดือน เพ็ญในเดือน ๑๐ ถวาย น�้าผึ้ง พืชผักผลไม้ แด่พระภิกษุ และในเดือนเดียวกันนี้ช่วงวันแรม ๑๐

มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์


ลํานํ้าติแอง ซึ่งชาวบานบูชาพระอุปคุตที่บริเวณแพรกนํ้า

ฝายบนลํานํ้าติแอง

พิธีบูชาบรรพบุรุษ ท�าความสะอาดบ้าน ยุ้งข้าว อาบน�้าช�าระร่างกาย ในแม่น�้าใกล้บ้านแต่เช้ามืด เดือน ๑๑ คือช่วงออกพรรษา และใน ระหว่างเดือน ๑๑ และเดือน ๑๒ คือเทศกาลกฐินและมักจะมีการท�า “จุลกฐิน” กันเพื่อถวายเป็นพุทธบูชาภายในคืนเดียว ส่วนเดือน ๓ มี งานผิงไฟและทานข้าวใหม่โดยการกวนข้าวยาคู ส่วนเดือน 4 ในช่วง วันเพ็ญ เป็นงานบูชาพระธาตุ ซึง่ ชาวบ้านจะร่วมใจกันท�าความสะอาด บูรณะอาคารศาสนะต่างๆ จะเห็นว่าประเพณีในรอบปีนนั้ เป็นความเชือ่ พืน้ ฐานของ “คน ไต” ทั่วไป และคล้ายคลึงเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับประเพณีสิบสอง เดือนของคนไตทีแ่ ม่ฮอ่ งสอน และสัมพันธ์กบั สังคมการเกษตรทีท่ า� นา ที่เป็นสังคมชาวนาพื้นฐานโดยทั่วไป พืน้ ทีน่ าอยูห่ า่ งออกไปจากหมูบ่ า้ น ในพืน้ ทีซ่ งึ่ มีการจับจองไว้ ตัง้ แต่ครัง้ บรรพบุรษุ และอยู่ใกล้สายน�า้ และเนือ่ งจากเป็นพืน้ ที่ใกล้ตนี เขาหิมาลัยและพื้นที่สูงซึ่งเป็นป่าฝนเขตร้อนคล้ายคลึงกับภูมิอากาศ ทางภาคเหนือของไทย มีที่ราบลุ่มอันอุดมสมบูรณ์และล�าน�้าอันอุดม สมบูรณ์ ที่ดินเหล่านี้เป็นกรรมสิทธิ์ที่ ใช้ท�าเกษตรกรรมมาเนิ่นนาน แล้วและกลายเป็นมรดกส่งทอดสืบมา และเป็น “ทุน” ที่ส�าคัญใน สังคมชาวนาของชาวไตค�าตี่ในอดีต ชุมชนคนไตค�าตีท่ ี่ใหญ่ทสี่ ดุ คือทีบ่ า้ นจองค�าและบ้านมะม่วง มีล�าน�้าติแอ่ง ซึ่งเป็นสาขาของล�าน�้าโลหิตไหลผ่านบ้านจองค�า และ การมีสาขาล�าน�้าหลายสายนี้เอง ชาวบ้านท�าฝายชะลอน�้าที่ล�าน�้าสาย ใหญ่ แล้วร่วมกันขุดคลองส่งน�้าหรือล�าเหมืองแยกย่อย โดยลดขนาด ลงตามล�าเหมืองย่อยเส้นทางต่างๆ ลงสู่ที่นาและสวนของชาวบ้าน ท�าได้อย่างมีระบบและมีประสิทธิภาพ ซึ่งระยะทางรวมๆ ของการ ขุดเหมืองมีตั้งแต่เป็นกิโลเมตรจนถึงราวๆ ๑๐ กิโลเมตร ซึ่งจะต้อง เป็นการท�างานแบบร่วมมือกันท�าในระบบเอางาน มีประตูปิดเปิดน�้า ซึ่งในอดีตเป็นประตูน�้าท�าด้วยไม้ที่มีอายุ การใช้งานไม่นานนัก ต่อมารัฐบาลกลางจึงเข้ามาช่วยให้งบประมาณ ในการก่อสร้างประตูน�้าคอนกรีต ซึ่งยังคงระบบเหมืองฝายแบบ

จดหมายข่าว

๑๑

โบราณ เช่น การชลประทานแบบเดิมในล้านนาที่พวกเรารู้จักคุ้นเคย คือ มีแก่เหมืองแก่ฝายที่เป็นผู้อาวุโสและท�าหน้าที่ดูแลการแบ่งน�้า ประตูนา�้ ของคนไตค�าตี่ในปัจจุบนั ยังพบเห็นการคล้องกุญแจ เพือ่ ปิดบานประตูอย่างแน่นหนา และผูท้ จี่ ะมีกญ ุ แจเปิดได้จะต้องเป็น ผู้มีหน้าที่รับผิดชอบเท่านั้น เมื่อจะเปิดประตูน�้าให้น�้าไหลเข้าเหมือง ในอดีตจะมีคนขีจ่ กั รยานไปบอกตามบ้านเจ้าของนาต่างๆ ทีล่ า� เหมือง ไหลผ่าน เพื่อให้เตรียมพร้อมส�าหรับการรับน�้าเข้าเหมือง ซึ่งต้องมี ระบบการจัดแบ่งที่เหมาะสม เช่น หากนาที่อยู่ต้นล�าเหมืองก็จะต้อง รับน�้าให้เท่าเทียมกับนาที่อยู่ท้ายเหมือง โดยการปิดช่องรับน�้าหรือที่ ในวัฒนธรรมล้านนาเรียกว่า “แต” และเป็นการจัดแบ่งจากที่สูงไปยัง ทีต่ า�่ กว่า ดังนัน้ นาทีอ่ ยูท่ ลี่ มุ่ กว่าจึงมีโอกาสได้รบั น�า้ น้อยกว่า จึงต้องมี ระบบการจัดแบ่งอย่างเข้มงวด ส่วนล�าเหมืองทีร่ บั น�า้ ผ่านในทีด่ นิ ของผูใ้ ดก็ตอ้ งมีการขุดลอก และท�าความสะอาดล�าเหมืองทีผ่ า่ นในทีด่ นิ ของตน ซึง่ เป็นความรับผิด ชอบของแต่ละพื้นที่นา ซึ่งสังเกตดูว่า แม้ในฤดูเก็บเกี่ยวก็ตาม น�้าใน ล�าเหมืองก็ยงั ไหลแรงและมีปริมาณค่อนข้างมาก ซึง่ สายน�า้ เหล่านีจ้ ะ ไหลผ่านล�าเหมืองไปรวมกับสายน�้าหลัก และถูกน�าไปใช้ยังหมู่บ้าน อื่นๆ ต่อไป ดังนั้น ระบบเหมืองฝายจึงไม่สามารถใช้หรือสร้างระบบได้ แต่เฉพาะในหมู่บ้านเดียว แต่ต้องมีความสัมพันธ์และเต็มไปด้วยการ แบ่งปันเอื้อเฟื้อต่อผู้คนในลุ่มน�้า ทั้งต้นน�้าและปลายน�้า ซึ่งเป็นพื้นที่ ขนาดใหญ่ที่ต้องรู้จักสภาพแวดล้อมที่ล�าน�้าไหลผ่าน การก�าหนดการ ขุดเหมือง การก�าหนดการแบ่งปันอย่างเท่าเทียม รวมทั้งการระดม การขุดลอกล�าเหมือง การขุดลอกฝาย ซึ่งต้องใช้แรงงานคนจ�านวน มาก ทุกครอบครัวนั้นมีที่นาจะมากหรือน้อย เพียงแต่ในปัจจุบัน ทุนเหล่านี้แปรเปลี่ยนเป็นเงินกู้เพื่อใช้ศึกษาส�าหรับบุตรหลานหรือ การท�าป่าไม้หรือการท�าสวนชาหรือธุรกิจอื่นๆ ในสังคมสมัยใหม่และ ในกระแสการเปลี่ยนแปลงทางสังคมวัฒนธรรมที่เปลี่ยนไปมาก คน

มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์


ไตค�าตี่ผู้มีการศึกษาจ�านวนมากไปเรียนต่างถิ่นในเมืองไกลๆ บางคน ก็ไปศึกษาที่นิวเดลี คนหนุ่มสาวจ�านวนหนึ่งมักออกไปหางานยังต่าง ประเทศ เพราะงานในรัฐอรุณาจัลมีน้อยและไม่หลากหลาย หรือแม้ งานในอินเดียเองก็ตาม กรรมสิทธิ์ที่นาเหล่านี้สงวนไว้เฉพาะชาวไตค�าตี่เท่านั้น และ เนื่องจากเจ้าของพื้นที่ปรับเปลี่ยนไปท�างานอื่นๆ มากขึ้น จึงมีพื้นที่นา ให้เช่ามาก และคนส่วนใหญ่มักเป็นชาวเนปาลี [Nipali] ที่อยู่ในพื้นที่ ข้ามพรมแดน หากไม่จ้างท�าการเกษตรก็จะเช่าท�าโดยแบ่งผลผลิตใน สัดส่วนเจ้าของที่ต่อผู้เช่าราว ๑ : ๓ หรือตามแต่จะตกลงกัน ในทุง่ นาช่วงเวลาเก็บเกีย่ วเราจึงพบครอบครัวเครือญาติและ ผู้คนชาวเนปาลีลงแขกเกี่ยวข้าวเป็นกลุ่ม ซึ่งแรงงานเหล่านี้ก็พบตาม สวนชาทัง้ หมดด้วย และนอกเหนือไปจากการปลูกข้าวทีเ่ ป็นการท�านาปี แล้ว คนไตค�าตี่ยังปลูกข้าวสาลี ข้าวบาร์เลย์ ข้าวฟ่าง ข้าวโพด ด้วย แผ่นดินและการท�านาทดน�า้ เป็นเสมือนหัวใจและอัตลักษณ์ ของคนไตค�าตี่ คนไตค�าตีส่ ว่ นใหญ่ยงั ด�ารงชีพอยูด่ ว้ ยการเกษตรกรรม

เพราะเป็นศูนย์กลางทางสังคม วิถีชีวิต ความเชื่อ และการขับเคลื่อน ทางเศรษฐกิจ ทีท่ า� ให้พวกเขาแตกต่างไปจากกลุม่ ชนเผ่า [Tribes] อืน่ ๆ ในประเทศอินเดีย แสดงความแตกต่างไปจากกลุ่มคนซึ่งอยู่อาศัยบน ที่สูงทั่วไป แต่ในขณะเดียวกันก็ไม่มีระบบชั้นวรรณะแต่พักพิงอยู่ใน ความเชือ่ ทางพุทธศาสนา ส่วนในฐานะทางเศรษฐกิจ การอยูอ่ าศัยใน พืน้ ทีอ่ ดุ มสมบูรณ์และมีเทคโนโลยีพนื้ ฐานของการท�านาทดน�า้ ในพืน้ ที่ อันอุดมสมบูรณ์กน็ บั ว่าเป็นกลุม่ ชนทีม่ คี วามมัน่ คง และมีวฒ ั นธรรมขัน้ สูงจากพืน้ ฐานสังคมเกษตรกรรมและเกษตรอุตสาหกรรมในภายหลัง ทีเดียว อ้างอิง Shri. Baharul Islam Laskar, Smti. Tutumoni Bhuyan. A Study on Customary Laws of the Khamptis with Special Reference to their Land Holding. Law Research Institute, Eastern Region, Gauhati High Court, 2003.

พระนคร บันทึก

โดย ชฎาภรณ์ แก้วแสนทิพย์ นิสิตฝกงาน คณะมนุษยศาสตร์และ สังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

“เรือเครื่องเทศ”

หัวใจแห่งการคาบนสายนํ้าในอดีต วิถีชีวิตคนไทยอยู่ร่วมกับธรรมชาติและสายน�้ามาแสนนาน เราใช้ ป ระโยชน์ จ ากสายน�้ า มากมายทั้ ง การอุ ป โภคบริ โ ภค การเกษตรกรรม และเป็ น ทั้ ง เส้ น ทางหลั ก การสั ญ จรในอดี ต จนกระทั่งก่อให้เกิดเป็นวัฒนธรรมประเพณีและอาชีพแห่งสายน�้า ชี วิ ต ชาวน�้ า ที่ ใ ช้ เ รื อ เป็ น พาหนะจึ ง ท� า ให้ เ กิ ด ตลาดน�้ า ใช้เรือเพื่อค้าขายทางเรือแบบรอนแรมไปไกลๆ ตามชุมชนชายน�้า ในท้ อ งถิ่ น ต่ า งๆ พ่ อ ค้ า แม่ ค ้ าใช้ เ รื อ นั้ น เป็ น ทั้ ง ที่ พั ก อาศั ย และ ร้านค้าลอยน�้า เรือค้าขายมีหลากประเภท แต่มีเรือค้าขายแบบหนึ่งที่

จดหมายข่าว

คุณสุรีย เรสลี ชาวชุมชนมัสยิดฮารูณ ผูมีเชื้อสายชาวมุสลิมบานหัวแหลม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และเปนคนในตระกูลคาเรือเครื่องเทศรุนสุดทาย

เปรียบเสมือนร้านช�าแห่งสายน�า้ เรียกกันสืบต่อมาว่า “เรือเครือ่ งเทศ” หากได้ยินค�าว่า “เรือเครื่องเทศ” แวบแรกของความคิด คงเข้าใจไปว่าเป็นเรือที่บรรทุก ‘เครื่องเทศจ�าเป็นพวกยี่หร่า ผักชี ใบกระวาน กานพลู จันทน์เทศ ดีปลี ยี่หร่า หญ้าฝรั่น มะกรูด พริ กไทย’ นึ ก ภาพพลางนึ ก ถึ ง กลิ่ น เรื อ ล� า นี้ ค งส่ ง กลิ่ น หอมมา ตลอดทาง แต่ความจริงแล้ว เรือเครื่องเทศหมายถึง เรือบรรทุกสินค้า นานาชนิดที่ตั้งโชว์ลูกค้าสองฝั่งน�้าไว้ท้ายเรือ สินค้ามีทั้งของช�า ๑๒

มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์


เครื่องแกวโบฮีเมีย สาธารณรัฐเช็กในปจจุบัน เปนที่มาของชื่อเรือ “เครื่องเทศ” เพราะเปนสิ่งของนํา เขาจากตางประเทศนั่นเอง ซึ่งเปนที่นิยมอยางมากในยุคสมัยที่การคาเรือเครื่องเทศกําลังรุงเรือง

เครื่องใช้ในครัวเรือน เครื่องแก้วสารพัดอย่าง มีสิ่งของที่ ใช้ใน ชีวิตประจ�าวันแบบธรรมดาและแบบหรูหรา เป็นภาพที่ตื่นตาตื่นใจ ส�าหรับผู้คนที่สนใจอยากซื้อของมากทีเดียว คุณสุรีย์ เรสลี ผู้เคยท�าอาชีพเรือเครื่องเทศและมีสายเลือด แห่งการค้าเรือเครื่องเทศ เพราะคุณแม่เป็นชาวเรือบ้านหัวแหลม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ซึ่งประกอบอาชีพเรือเครื่องเทศมานาน เกือบทั้งชีวิตเล่าว่า “…เรือเครื่องเทศเป็นเรือที่ขายของสารพัดอย่าง ตั้งแต่ ของเล่นเด็กจนถึงของใช้พ่อแม่ เรียกได้ว่ามีขายทุกอย่างจริงๆ เรียกว่าสากกะเบือยันเรือรบเลยทีเดียว มีทั้งแจกัน ช้อน ส้อม กระชอน ที่ตักกะทิ ขันตักบาตร มีด ตะกร้อ ตะกร้า ถาด ชามชุด แก้วชุด และของเล่นเด็กทั้งที่เป็นกระดาษ สังกะสี ซึ่งมีแต่ของ คุณภาพดีๆ ทั้งนั้น สินค้าทั้งที่เป็นของไทยและต่างชาติ เช่น ชุดแก้ว ยี่ห้อนีโรตาเก้ ที่มาจากโบฮีเมีย ที่เป็นสาธารณรัฐเช็กในปจจุบัน โดยเรื อ เครื่ อ งเทศจะบรรทุ ก มาในเรื อ กระแชง ซึ่ ง เป็ น เรื อ ที่ มี ขนาดใหญ่ สร้างขึ้นจากการต่อด้วยไม้สักหลายแผ่นเข้าด้วยกัน ท้องเรือโค้งกลมแต่จะแบนกว้าง เพื่อให้บรรจุของได้มากและกินน�้า น้อยลง…” ชุมชนบ้านหัวแหลมเป็นชุมชนทีม่ ชี อื่ เสียงและเป็นต้นก�าเนิด ของการค้าเรือเครือ่ งเทศ เป็นชุมชนอิสลามเชือ้ สายอาหรับ-เปอร์เซีย ที่ ไ ด้ เ ข้ า มาตั้ ง รกรากในสยามและน่ า จะท� า การค้ า มาตั้ ง แต่ ส มั ย กรุงศรีอยุธยาจนมาถึงสมัยต้นรัตนโกสินทร์ มีการอยู่อาศัยบริเวณ ริมแม่น�้าเจ้าพระยาที่บ้านหัวแหลมในเกาะเมือง ท�าอาชีพค้าขายทาง เรือจึงต้องอยู่อาศัยในเรือมากกว่าอยู่ ในบ้านบนบก เพราะใช้เวลา

จดหมายข่าว

๑๓

เป็นพ่อค้าคนกลางขายของเร่ไปตามสายน�้า และถือได้ว่าสร้างรายได้ มากทีเดียว เพราะคนไทยในอดีตนิยมตัง้ บ้านเรือนริมน�า้ ท�าให้สะดวก ต่อการซื้อขาย อีกทั้งในพื้นที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยาเป็นชุมทาง การคมนาคมที่สามารถล่องเรือไปได้ทั่วทุกภูมิภาค ท�าให้ชาวบ้าน หั ว แหลมนั้ น ล่ อ งเรื อ ไปตามเส้ น ทางการสั ญ จรทางน�้ า ไปทั่ ว และรวมทั้งการเข้ามาตั้งรกรากในเขตกรุงเทพมหานครอีกด้วย คุณสุรีย์เล่าต่ออีกว่า “…ในอดีตหมู่บ้านหัวแหลมหากใคร จะมาขอลูกสาวก็จะต้องมี “เรือเครื่องเทศ” เป็นสินสอดของหมั้นเมื่อ เจ้าบ่าวมาสู่ขอเจ้าสาว ในขบวนขันหมากต้องมีเรือเครื่องเทศ ๑ ล�า และต้องใส่ของให้เต็มเรือด้วย เมื่อเสร็จพิธีพ่อแม่ก็จะมอบเรือเครื่อง เทศกลับคืนให้คู่บ่าวสาว ถือว่าเป็นทั้งเรือนหอของคู่บ่าวสาวและ เครื่องมือประกอบอาชีพท�ามาหากินต่อไปในอนาคต การค้าเรือเครือ่ งเทศนัน้ สามารถไปค้าขายได้ทกุ ทีท่ มี่ สี ายน�า้ ทั้งขึ้นเหนือล่องใต้ ทั้งตะวันตกและตะวันออก อยากไปไหนก็ ไป ไปตามสายน�้าแล้วแต่ใจปรารถนา เวลาไปขายเอาแน่เอานอนไม่ได้ ค�า่ ไหนก็นอนนัน่ บางทีไปเป็นปกม็ ี บางทีไปเป็นเดือน ตามแต่ฤดูกาล และการค้าว่าขายดี ไหม ถ้าหากเป็นช่วงเทศกาลจะขายดีกว่าปกติ มาก ได้นั่งนับเงินถึงวันละหมื่นเลยทีเดียว…” คุณสุรีย์ เรสลี เล่าด้วย ใบหน้ายิ้มแย้ม การใช้ ชี วิ ต บนเรื อ เครื่ อ งเทศแม้ จ ะไม่ ส ะดวกสบายเท่ า ชีวิตในบ้านบนบก แต่ก็ถือว่าเป็นช่วงเวลาแห่งความสุขสนุกสนาน เพราะสมาชิกในครอบครัวได้ใช้ชีวิตร่วมกันตั้งแต่พระอาทิตย์ขึ้น จนถึงพระอาทิตย์ลาลับขอบฟ้า หากมีลูกน้อยก็จะมีเสียงเจื้อยแจ้ว ตลอดทางและก็ตอ้ งระมัดระวังการพลัดตกน�า้ ด้วย ภายในเรือมีทนี่ อน

มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์


อยู่บริเวณท้องเรือ ส่วนที่ท้ายเรือจะเป็นที่อาบน�้ำ โดยมีผ้ากั้น อีก ส่วนหนึง่ จะเป็นทีท่ ำ� กับข้าว อาหารก็ตอ้ งมีกกั ตุนไว้เสมอ เพราะระยะ ทางที่แล่นไปไม่สามารถบอกได้ว่าสามารถหาซื้อของกินได้เมื่อไร ตก เย็นก็ต้องจอดเรือพัก ต้องจอดตามท่าชุมชนไม่ให้ห่างไกลผู้คนและ ต้องมีเรือเกาะกลุ่มกัน ประมาณ ๕-๗ ล�ำอยู่ด้วยกัน เพื่อความ ปลอดภัยจากโจรมิจฉาชีพและภัยธรรมชาติ หากมีอะไรก็สามารถช่วย กันได้ท่วงทัน การแล่นเรือไปด้วยกันอาจจะมีการแย่งลูกค้ากันบ้าง แต่ ก็ ขึ้ น อยู ่ กั บ ความโชคดี ห รื อ ความบั ง เอิ ญ ที่ ลู ก ค้ า จะเรี ย กซื้ อ จากเรือล�ำไหน นอกจากจะมีเรือไทยแล้ว ในละแวกใกล้กนั ยังมีเรือมอญ ที่ค้าเครื่องปั้นดินเผามาค้าขายร่วมทางด้วย และส่วนใหญ่จะจอดเรือ พักที่ท่าเดียวกันป้องกันโจรผู้ร้ายเช่นเดียวกัน หัวใจของการค้าเรือเครือ่ งเทศทีม่ เี ครือ่ งเแก้วมากมาย น่าจะ อยูท่ ตี่ อ้ งจัดสิง่ ของทีข่ ายให้ถกู ทีแ่ ละดูสวยงามอยูเ่ สมอ สิง่ ของทีห่ นัก และชิน้ ใหญ่ตอ้ งเอาไว้ดา้ นล่าง ถ้าเป็นชิน้ ของสวยงามก็ตอ้ งตัง้ โชว์เอา ไว้ด้านบน เพื่อดึงดูดความสนใจลูกค้า ทั้งถ้วยชุด แก้วชุด เวลาขาย ก็ต้องขายเป็นชุด มีกระดาษรองกันกระแทก ป้องกันการแตกหักเสีย หาย ตอนกลางวันต้องเอามาตัง้ โชว์ ส่วนตอนกลางคืนก็ตอ้ งจัดเก็บไว้ ใต้ท้องเรือ สิ่งที่ชวนมองเรือเครื่องเทศก็คือ “การแขวนปลาตะเพียน และชฎาไว้ตรงกลางเรือ” ซึ่งถือว่าเป็นสัญลักษณ์ของเรือเครื่อง เทศและเป็นของเล่นเด็กที่ขายดีมาก เมื่อเรือแล่นผ่าน ผู้คนที่เห็น ก็จะตะโกนเป็นเสียงเจื้อยแจ้วว่า “เรือเครื่องเทศมาแล้ว” พร้อมกับ เทคนิคการเรียกลูกค้าของพ่อค้าแม่ค้า หลังจากนั้นเรือก็จอดตามท่า พร้อมค้าขาย การค้าเรือเครือ่ งเทศเฟือ่ งฟูมากในยุคทีย่ งั อาศัยเส้นทางน�ำ้ เป็นหัวใจของการคมนาคม ชาวเรือเครื่องเทศจึงสามารถขายสินค้า

ได้มาก แต่เมื่อหลังจากมีการสร้างเขื่อนต่างๆ นานาหลังช่วงหลังกึ่ง พุทธศตวรรษมาแล้ว ล�ำน�้ำไม่ใช่เส้นทางคมนาคมที่สะดวกอีกต่อไป รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและสาธารณูปโภคที่มีมากมาย การค้าขายทางเรือก็ขนึ้ บกมาค้าขายทางถนนมากขึน้ เรือค้าขายต่างๆ บนสายน�้ำกลับกลายเป็นเพียงความทรงจ�ำไปอย่างรวดเร็ว เมื่อย่างเข้าสู่วัยสาว คุณสุรีย์ เรสลี ย้ายจากบ้านหัวแหลม มาพักแถบใกล้กับมัสยิดฮารูณที่บางรัก และแต่งงานกับชายหนุ่ม จากชุมชนมัสยิดฮารูณแล้ว เห็นว่ากิจการของคุณแม่รงุ่ เรืองก็เดินตาม รอยคุณแม่บ้าง โดยยึดอาชีพขาย “เครื่องเทศ” แบบเดินตามบ้าน พักต่างๆ ในละแวกนั้นราวเกือบสองปีจนเมื่อมีลูกอ่อนแล้วจึงเลิกไป วิ ธี ก ารค้ า คื อ การใช้ เ ครดิ ต ของแม่ ที่ คุ ้ น เคยกั บ ร้ า นค้ า น�ำเจ้าสิ่งของต่างๆ จากต่างประเทศมาแต่ดั้งเดิม โดยจ่ายเงินจ�ำนวน ๑๐,๐๐๐ บาท พร้อมถ่ายส�ำเนาบัตรประชาชนให้ร้านขายส่งแถว ย่านถนนจักรวรรดิ ใกล้ทางขึ้นสะพานพระพุทธยอดฟ้าฯ เดินขาย ตามบ้านแทนแถวมัสยิดฮารูณ ซึ่งขายในราคาผ่อนส่ง เมื่อถึงเวลา เก็บเงินก็เดินไปตามบ้านเพื่อเก็บเงินแต่ไม่มีดอกเบี้ย เพราะดอกเบี้ย เป็นสิง่ ต้องห้ามตามหลักศาสนาของอิสลาม เมือ่ ได้เงินมาก็จะใช้หมุน ในการซื้อของมาขาย แต่หลังจากนั้นเมื่อมีลูกแล้วก็เปลี่ยนมาท�ำอาชีพเย็บผ้า ส่งจิม ทอมป์สันแทน เพราะสามารถท�ำงานอยู่กับบ้านได้ แต่ชุด เครื่องเทศ จ�ำพวกชุดแก้ว ชุดชาม ชุดใส่เครื่องหอมและแจกัน จากโบฮีเมีย คุณสุรีย์ เรสลีก็ยังเก็บรักษาเป็นของที่ระลึกไว้เป็น อย่างดีในตู้โชว์ แต่บรรยากาศการใช้ชีวิตบนเรือเครื่องเทศยังกรุ่นอยู่ ใน ความทรงจ�ำของเธอเสมอ

พระนคร บัโดยนณัทึฐวิกทย์ พิมพ์ทอง

จากบุญสงกรานต์สู่เวทีประกวด

เทพีวิสุทธิกษัตริย์

วันขึ้น ปี ใหม่ไทยในเดือนเมษายน เป็นเวลาที่ทุกคนได้มี โอกาสมาพบปะสังสรรค์และสนุกสนานร่วมกันในงานบุญประเพณี สงกรานต์ เพราะนอกจากจะได้ร่วมท�ำบุญใส่บาตร รดน�้ำด�ำหัวผู้ อาวุโสแล้ว ยังเป็นเวลาที่หนุ่มสาวแต่ละบ้านจะได้มีโอกาสมาเจอะ เจอเพือ่ ร่วมเล่นน�ำ้ สงกรานต์ ก่อพระเจดียท์ ราย และชมมหรสพต่างๆ เป็นการสร้างปฏิสมั พันธ์ของคนในสังคมทีอ่ าศัยช่วงเทศกาลนีท้ ำ� ความ รู้จัก สร้างความใกล้ชิดและความสามัคคีให้เกิดขึ้นในท้องถิ่น

จดหมายข่าว

ทุกวันนี้แม้ในพื้นที่กรุงเทพมหานครจะยังพบเห็นการเล่น น�้ำสงกรานต์ตามท้องถนนและย่านชุมชนต่างๆ แต่กิจกรรมงานบุญ ตามวัดก็ลดน้อยลงไปมาก ต่างจากในอดีตที่แทบทุกย่านจะมีการจัด ประเพณีสงกรานต์ รวมทั้งภาครัฐเองก็เป็นเจ้าภาพจัดพิธีท�ำบุญใส่ บาตรที่ท้องสนามหลวงทุกปี แต่พื้นที่บริเวณ “วิสุทธิกษัตริย์” เป็นย่านหนึ่งในกรุงเทพฯ ที่ยังคงให้ความส�ำคัญต่อบุญประเพณีสงกรานต์ มีการจัดงานเกือบ 14

มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์


ผูชนะการประกวดเทพีวิสุทธิกษัตริย ในอดีตจะไดรับขัน นํ้าพานรองเปนรางวัล คุณสรวงสุดา ลาวัณยประเสริฐ อดีตเทพีสงกรานตวิสุทธิกษัตริยป ๒๕๓๘ และคุณ แตปจ จุบนั เปลีย่ นมาเปนถวยเบญจรงคแทน เพราะการผลิตขันนํา้ พานรองทีเ่ ปนงาน ทิพยสุภา รุงเรืองศรี เทพีสงกรานตวิสุทธิกษัตริยป ๒๕๔๒ บนขบวนแหรถบุปผชาติ ฝมือของยานพานถมไดสูญหายไปแลว

ทุกปี เป็นเวลายาวนานกว่า ๗๐ ปีมาแล้ว

และตกลงที่จะจัดงานบุญสงกรานต์ต่อไป โดยได้รับการสนับสนุน จากผู้อาวุโสในชุมชนขณะนั้น คือ ท่านเจ้าคุณวิเศษธรรมธาดา อดีต บุญสงกรานต์ย่านวิสุทธิกษัตริย์ อธิบดีศาลฎีกา และหลวงอนุการรัชฏ์พัฒน์ (อู๋ รัชตะศิลปิน) การจัด วิสุทธิกษัตริย์เป็นหย่อมย่านที่ตั้งอยู่ระหว่างคลองบางล�าพู งานท�าบุญวันขึน้ ปีใหม่ไทยของชาววิสทุ ธิกษัตริยจ์ งึ ด�าเนินต่อเนือ่ งมา กับคลองผดุงกรุงเกษม ก่อนปี พ.ศ. ๒4๗๑ บริเวณนี้ยังเป็นเรือก จนถึงทุกวันนี้ สวนที่มีชุมชนต่างๆ ตั้งกระจายตัวอยู่ในพื้นที่ เช่น บ้านพานถม บ้าน ช่างหล่อ บางขุนพรหม ฯลฯ โดยมีถนนสามเสนพาดผ่านทางทิศ นางงามตักบาตรสงกรานต์ ตะวันตกขนานกับล�าน�้าเจ้าพระยา มีถนนวิสุทธิกษัตริย์ซึ่งสร้างขึ้น ในปี พ.ศ. ๒48๒ ซึ่งเป็นปีที่มีการจัดงานใหญ่โตมากขึ้น มี ในสมัยรัชกาลที่ ๕ ตัดตรงจากแม่น�้ามาบรรจบกับถนนสามเสน เกิด การนิมนต์พระภิกษุมารับบาตรเช้าถึง ๒,๐๐๐ รูป จัดเลีย้ งพระและตัง้ เป็นแยกบางขุนพรหมซึ่งขณะนั้นยังคงเป็นวงเวียนสามเสน กระทั่ง ศาลาโรงทานเรียงรายตลอดสองฝัง่ ถนนวิสทุ ธิกษัตริย์ พร้อมกับเป็นปี ในปี พ.ศ. ๒4๗๑ มีการตัดถนนวิสุทธิกษัตริย์เพิ่มเติม เชื่อม แรกทีม่ กี ารประกวดประขันนางงามตักบาตรสงกรานต์ขนึ้ ด้วยวิธกี าร จากวงเวียนสามเสนไปทางตะวันออกจรดกับถนนราชด�าเนินนอก ทอดบัตรกับหญิงสาวที่มาร่วมในงานบุญ คือ เป็นการเลือกสรรหญิง การตั ด ถนนสายดั ง กล่ า วนอกจากจะอ� า นวยความสะดวกในการ สาวผูม้ กี ริ ยิ ามารยาทงดงามทีเ่ ข้ามาร่วมงาน ด้วยการทีค่ ณะกรรมการ เดินทางแล้ว ยังเป็นการเปิดพื้นที่สวนผลไม้และย่านชุมชนต่างๆ ที่ จะน�าบัตรไปติดให้กบั หญิงสาวทีต่ รงกับคุณลักษณะ หากหญิงสาวท่าน อยู่ด้านในให้เจริญขึ้น เกิดร้านค้าและบ้านเรือนขึ้นสองฝั่งถนน ใดได้รับบัตรมากกว่าคนอื่น ก็จะได้รับต�าแหน่งนางงามไป นับเป็นสิ่ง รวมถึงน�าพาผู้คนในแต่ละย่านให้มาพบปะสังสรรค์กันง่ายยิ่งขึ้น แปลกใหม่ทเี่ กิดขึน้ ในสังคมไทยเช่นเดียวกับการประกวดนางสาวสยาม จุดเริม่ ต้นของการจัดประเพณีสงกรานต์วสิ ทุ ธิกษัตริยเ์ กิดขึน้ ในยุคนั้น ซึ่งเริ่มจัดขึ้นครั้งแรกในปี พ.ศ. ๒4๗๗ และได้รับการกล่าว ในช่วงปลายปี พ.ศ. ๒4๗8 เมื่อคุณสุวมิตร หรือแฉล้ม คงนิยม ซึ่ง ขวัญถึงอย่างแพร่หลายตามหน้าหนังสือพิมพ์ในเวลานั้น ขณะนั้นเปิดร้านขายของจิปาถะชื่อ “ปรสุราม” บนถนนวิสุทธิกษัตริย์ การจัดงานด�าเนินเรื่อยมาทุกปีจนกระทั่งเกิดสงครามมหา ได้ชักชวนเพื่อนบ้านให้ร่วมจัดท�าบุญเลี้ยงพระในวันตรุษสงกรานต์ เอเชียบูรพาขึ้น จึงชะงักและยกเลิกไปถึง 4 ปีระหว่าง พ.ศ. ๒48๕โดยจัดครัง้ แรกเมือ่ ปี พ.ศ. ๒4๗๙ และได้รบั ความร่วมมือจากทุกครัว ๒488 จนเมื่อเหตุการณ์บ้านเมืองสงบในราวกลางเดือนกุมภาพันธ์ เรือนเป็นอย่างดี ต่างพากันมาช่วยตระเตรียมข้าวของและสถานที่ งาน พ.ศ. ๒48๙ คุณสุวมิตร คงนิยม จึงตั้งโต๊ะประกาศที่จะจัดงาน บุญครัง้ นีส้ ามารถนิมนต์พระจากวัดในละแวกใกล้เคียงได้ถงึ ๒๐๐ รูป สงกรานต์ขึ้นอีกครั้ง โดยขอรับบริจาคทุนทรัพย์จากชาวบ้านเพื่อใช้ วันงานมีพิธีใส่บาตร เลี้ยงพระ และการละเล่นพื้นบ้าน เช่น เสือซ่อน ในการจัดงาน แต่ที่ส�าคัญยิ่งในครั้งนี้ก็คือ ได้รับพระมหากรุณาจาก เล็บ เข้าผีแม่ศรี ผีสาก ฯลฯ สร้างความสุขและความสนุกสนานให้กับ สมเด็จพระนางเจ้าร�าไพพรรณี พระราชินี ในพระบาทสมเด็จพระ ผู้คนในย่านเป็นอย่างมาก ปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๗ ได้พระราชทานทรัพย์ส่วนพระองค์ หลังเสร็จสิ้นงาน คุณสุวมิตร คงนิยม คุณฉัตร เศวตดิษ สนับสนุนการจัดงานสงกรานต์วิสุทธิกษัตริย์ พร้อมกับพระราชทาน และคุณแส ศรีกุลดิศ ซึ่งเป็นแม่งานในการจัดงานครั้งนี้ ได้ปรึกษา นามของงานว่า “งานรับขวัญชาววิสุทธิกษัตริย์” งานสงกรานต์ปีนั้น

จดหมายข่าว

๑๕

มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์


นอกจากการท�ำบุญใส่บาตร เลี้ยงพระ มีมหรสพการละเล่น และ ประกวดนางงามตักบาตรสงกรานต์เช่นเดิมแล้ว ยังมีการอัญเชิญพระ พุทธสิหงิ ค์จำ� ลองจากวัดตรีทศเทพมาประดิษฐานไว้ทกี่ องอ�ำนวยการ เพื่อให้ประชาชนได้สักการะและสรงน�้ำอีกด้วย เทพีสงกรานต์วิสุทธิกษัตริย์ กระทัง่ ปี พ.ศ. ๒๔๙๓ ได้มกี ารเปลีย่ นชือ่ จาก “การประกวด นางงามตักบาตรสงกรานต์” เป็น “การประกวดเทพีสงกรานต์วิสุทธิ กษัตริย์” โดยยังคงรักษาเอกลักษณ์เรื่องการตักบาตรเช้า การแต่ง กาย และเลือกสรรหญิงงามจากกิริยามารยาทแบบไทย เพื่อยึด มั่นขนบธรรมเนียมอย่างไทยที่ต้องการอนุรักษ์ไว้ แตกต่างจากการ ประกวดนางสาวไทยในเวลาเดียวกัน ที่มีการพัฒนารูปแบบการแต่ง กายเป็นอย่างตะวันตก เน้นอวดสรีระกันมากขึ้น ปี พ.ศ. ๒๔๙๗ เป็นปีสุดท้ายที่คุณสุวมิตร คงนิยม ได้ร่วม เป็นประธานจัดงานฯ ก่อนจะเสียชีวิตลง จากนั้นในปีต่อๆ มาได้มี ข้าราชการและผู้มีเกียรติที่อาศัยอยู่ ในละแวกสลับเปลี่ยนกันเป็น ประธานจัดงานกระทั่งปี พ.ศ. ๒๕๐๓ นับเป็นปีแรกที่มีการบันทึกชื่อ ผู้ได้รับต�ำแหน่งเทพีสงกรานต์วิสุทธิกษัตริย์ คือ นางสาวเบญจวรรณ บุญตามี ซึ่งได้ก้าวเข้าสู่วงการมายาในเวลาต่อมา การประกวดเทพีวิสุทธิกษัตริย์ในระยะหลังๆ สาวงามบาง คนสามารถไต่เต้าไปเป็นนักแสดงและผู้มีชื่อเสียงในวงสังคม หลาย คนสามารถก้าวเข้าสูเ่ วทีประกวดที่ใหญ่กว่าและคว้ารางวัลกลับมา ซึง่ คุณนวนัฑ แจ่มนิยม ประธานประชาคมชาววิสุทธิกษัตริย์คนปัจจุบัน และเป็นผู้จัดการประกวดเทพีสงกรานต์วิสุทธิกษัตริย์มานานนับสิบ ปี ได้เล่าถึงประสบการณ์ที่อยู่ในแวดวงเวทีประกวดนางงามในพื้นที่ ใจกลางกรุงแห่งนี้ว่า ในอดีตผู้ที่ ได้รับการทอดบัตรมักเป็นลูกหลานของคนใน ชุมชนทีเ่ ดินทางมาร่วมท�ำบุญใส่บาตร แต่ตอ่ มามีคนจากภายนอกเข้า มาร่วมงานและได้รว่ มการประกวดด้วย ซึง่ คณะกรรมการจัดงานก็มไิ ด้ มีขอ้ ห้ามแต่อย่างใด เหตุการณ์สำ� คัญทีถ่ กู กล่าวขานและคุณนวนัฑยัง จดจ�ำได้ดกี ค็ อื งานสงกรานต์ประจ�ำปี พ.ศ. ๒๕๐๕ คุณหญิงพันธุเ์ ครือ ยงใจยุทธ (สกุลเดิม ลิมปภมร) ได้เดินทางมาร่วมงานท�ำบุญใส่บาตร ที่ท้องสนามหลวงกับหลวงนรอัฎบัญชาผู้เป็นบิดา จากนั้นผ่านมาทาง ถนนวิสุทธิกษัตริย์พบเห็นการจัดงานประจ�ำปีจึงหยุดชม ปรากฏว่าได้ รับการทอดบัตรเข้าร่วมประกวดเทพีสงกรานต์อย่างปัจจุบันทันด่วน และต�ำแหน่งเทพีสงกรานต์วิสุทธิกษัตริย์ในปีนั้นก็คือ คุณหญิงพันธุ์ เครือ ยงใจยุทธ นั่นเอง สร้างความฮือฮาให้กับผู้มาร่วมงานเป็นอย่าง มาก วันนั้นนอกจากคุณหญิงพันธุ์เครือจะได้รับต�ำแหน่งเทพีแล้ว ยัง ได้รับขันน�้ำพานรองเครื่องถมที่เป็นของดีของย่านเป็นรางวัลอีกด้วย เวทีประกวดเทพีวิสุทธิกษัตริย์มีการพัฒนาและได้รับความ สนใจจากสังคมภายนอกมากยิง่ ขึน้ โดยเฉพาะหลังจากปี พ.ศ. ๒๕๑๓ เป็นต้นมา มีการประกวดผ่านสือ่ ประเภทต่างๆ มากขึน้ นอกเหนือจาก

จดหมายข่าว

สื่อหนังสือพิมพ์ที่ตีพิมพ์เผยแพร่มาแต่เดิม โดยปีนี้ได้มีการถ่ายทอด เสียงการประกวดผ่านทางวิทยุเป็นปีแรก และอีก ๒ ปีตอ่ มาได้พฒ ั นา เป็นการถ่ายทอดสดผ่านทางสถานีโทรทัศน์ นับเป็นตัวชี้วัดถึงความ สนใจของประชาชนไม่แพ้การประกวดนางงามระดับชาติ ความเปลีย่ นแปลงอีกอย่างหนึง่ คือ การเริม่ ประกวดหนูนอ้ ย สงกรานต์วิสุทธิกษัตริย์ในปี พ.ศ. ๒๕๒๖ ที่ยังคงเน้นการแต่งกายชุด ไทยและกิริยามารยาทแบบไทยเป็นส�ำคัญ สะท้อนถึงความพยายาม ในการปลูกฝังคุณค่าขนบธรรมเนียมประเพณีที่ดีงามของชาติตั้งแต่ เยาว์วัย ซึ่งสิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นความภาคภูมิใจของคนในย่านวิสุทธิ กษัตริย์ เช่นเดียวกับที่เวทีประกวดของย่านเล็กๆ แห่งนี้ได้รับเกียรติ จากบุคคลส�ำคัญของสังคมมาร่วมเป็นสักขีพยานด้วย อย่างหม่อมกอบ แก้ว อาภากร ณ อยุธยา อดีตนายกสมาคมสตรีไทย ผู้เป็นแบบอย่าง ของสตรีที่อุทิศเวลาให้กับงานส่วนรวมได้มาเป็นประธานการตัดสิน ในปี พ.ศ. ๒๕๓๔ และกรณีที่คุณสรวงสุดา ลาวัณย์ประเสริฐ ผู้ได้ รับต�ำแหน่งเทพีสงกรานต์วิสุทธิกษัตริย์ปี พ.ศ. ๒๕๓๘ ได้ก้าวขึ้นสู่ ต�ำแหน่งนางสาวไทยในปี พ.ศ. ๒๕๔๐ นับเป็นตัวบ่งชีม้ าตรฐานการคัด สรรผูเ้ ข้าประกวดบนเวทีระดับชาวบ้านสูค่ วามส�ำเร็จในเวทีระดับชาติ หลักการเดิม บนสถานที่ใหม่ ปัจจุบนั งานสงกรานต์วสิ ทุ ธิกษัตริยย์ งั คงจัดเป็นประจ�ำทุกปี แม้จะมีอปุ สรรคอยูบ่ า้ งภายหลังจากการสร้างสะพานพระราม ๘ ในปี พ.ศ. ๒๕๔๖ ท�ำให้การจัดประกวดเทพีสงกรานต์วิสุทธิกษัตริย์ต้อง ย้ายไปจัดในหลายพื้นที่ เช่น ลานอเนกประสงค์ของโรงแรมนูโว ซิตี้ อันเป็นบริเวณตลาดนานาเก่า และล่าสุดในปีที่ผ่านมา (พ.ศ. ๒๕๕๘) ได้ยา้ ยไปจัดทีล่ านอเนกประสงค์ใต้สะพานพระราม ๘ คุณนวนัฑกล่าว เพิม่ เติมว่า แม้จะมีอปุ สรรคในด้านพืน้ ที่ แต่ทกุ คนทีเ่ คยร่วมงานกันมา ไม่รู้สึกย่อท้อ และปัจจุบันยังขยายเครือข่ายความร่วมมือไปยังชุมชน ตรอกบ้านพานถมทีม่ คี ณ ุ พิมพ์ศริ ิ สุวรรณาคร เป็นประธานชุมชน กับ ย่านบางล�ำพูที่มีคุณอรศรี ศิลปี ผู้อาวุโสของย่านคอยช่วยประสาน ความร่วมมือจากหลายภาคส่วน แม้ในช่วงเทศกาลสงกรานต์แต่ละ ชุมชนจะมีการจัดงานคาบเกี่ยวกันอยู่ แต่เมื่อมีโอกาสก็จะมาร่วมแรง ร่วมใจกันจัดงานกับชาววิสุทธิกษัตริย์ เพราะอยู่ละแวกเดียวกัน จึง เสมือนประหนึ่งเครือญาติ การประกวดเทพีสงกรานต์ในปัจจุบัน จะมีการประกอบพิธี บวงสรวงสมเด็จฯ เจ้าฟ้าจันทรมณฑล โสภณภควดี กรมหลวงวิสุทธิ กษัตริย์ ก่อนถึงวันงาน ๑ วัน เพือ่ เป็นการร�ำลึกถึงพระมหากรุณาธิคณ ุ ที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานทรัพย์ส่วน พระองค์สร้างถนนวิสทุ ธิกษัตริยข์ น้ึ มา หลังจากเสร็จพิธี ผูเ้ ข้าประกวด จะร่วมกันสรงน�้ำพระ ปล่อยนกปล่อยปลา ตกเย็นจะเป็นเวทีประกวด หนูน้อยสงกรานต์วิสุทธิกษัตริย์ วันรุ่งขึ้นแต่เช้าตรู่จะมีพิธีท�ำบุญใส่ บาตรพระภิกษุสามเณร โดยผู้เข้าประกวดเทพีทุกคนจะต้องมาเข้า ร่วมพิธี จากนั้นช่วงสายจึงเป็นการประกวดเทพีในรอบแรกและรอบ 16

มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์


ตัดสินตามล�าดับ โดยยังคงรักษาเงื่อนไขการตัดสินเช่นในอดีต คือ แต่งกายสุภาพด้วยการสวมใส่ชดุ ไทยจิตรลดา กิรยิ ามารยาทงามอย่าง ไทย และไม่เน้นเครื่องประดับตกแต่งภายนอก นับเป็นเสน่ห์ส�าคัญ ของเวทีประกวดสาวงามแห่งนี้ที่ยังคงรักษาภาพลักษณ์ของกุลสตรี ไทยไว้ ซึ่งในเวทีประกวดอื่นๆ ไม่มี ถือเป็นแบบอย่างและเอกลักษณ์ ที่อาจช่วยกระตุ้นให้สังคมไทยได้ตระหนักถึงคุณค่าเดิมของหญิงไทย ท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงของสังคมสมัยใหม่ที่เน้นให้ผู้หญิงต้อง กล้าแสดงออกในทุกด้าน จนอาจมองข้ามความพอดีอย่างไทยไป ขอบคุณ : คุณนวนัฑ แจ่มนิยม ประธานประชาคมชาววิสุทธิกษัตริย์

คน

ย่โดยานเก่ า วลัยลักษณ์ ทรงศิริ

อ้างอิง “ว่าด้วยการจัดซือ้ ทีด่ นิ และอสังหาริมทรัพย์อย่างอืน่ เพือ่ ตัดถนนวิสทุ ธิ กษัตริย์”. ราชกิจจานุเบกษา. ๒๐ มีนาคม ๒4๗๑ เล่ม 4๕. อังคเรศ บุณทองล้วน. กระบวนการเปลี่ยนแปลงภาพลักษณ์ความ งามทางสรีระของผูห้ ญิงในสังคมไทย : ศึกษาเฉพาะกรณีการประกวด นางสาวไทย. วิทยานิพนธ์ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะ รัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ๒๕๓๗. ๗๐ ปี ประเพณีสงกรานต์วิสุทธิกษัตริย์ ๗ ทศวรรษแห่งต�านาน งาม ตระการคู่พระนคร. (เอกสารเย็บเล่ม)

“พินิจ สุทธิเนตร” กับงานต่อชีวิตวัฒนธรรม

“บ านนราศิลป ” ย่านตรอกละครชาตรีทอี่ ยูฝ่ ง่ั ใต้วดั แคริมถนนหลานหลวงทุก วันนี้ ยังคงมีกลุม่ บ้านละครและดนตรีหลายหลังและบางบ้านเป็นคณะ ผูจ้ ดั โขนละครซึง่ ยังมีกา� ลังท�างานตามแบบบรรพบุรษุ ในสภาพสังคมที่ ไม่เหมือนเดิมก็ยังสู้อุตสาหะท�าสืบต่อกัน หากผ่านไปทางถนนหลานหลวง คงเห็นบ้านไม้งามริมถนน อยูห่ นึง่ หลัง หน้าบ้านเขียนป้ายไว้วา่ “บ้านนราศิลป์” มีซมุ้ ต้นไม้สวยๆ อยู่หน้าบ้านโดยเฉพาะซุ้มดอกพุดดูสดชื่น ร่มรื่นร่มเย็น ดูแตกต่างไป จากถนนด้านนอกที่มีแต่รถติดตลอดวัน “พินิจ สุทธิเนตร” หรือ พี่ปู แห่ง “บ้านนราศิลป์” เล่าให้ฟัง ว่า บ้านนราศิลป์ก�าเนิดจาก “นายแม่” คุณละม่อม สุสังกรกาญจน์ ที่ เป็นนายห้างเจ้าของแป้งตราสโนว์ แล้วมาใช้พื้นที่ย่านบ้านละครแถบ วัดแคนี้จัดสร้างคณะละครขึ้นมาตั้งแต่เมื่อราวรัชกาลที่ ๖ บ้านคุณละม่อมอยู่ท่ีส�าเหร่ ทางฝั่งธนฯ แต่มาท�าบ้านนรา ศิลป์ทางนี้ซึ่งอยู่ในย่านละครชาตรี ลิเก โขนทางวัดแค นางเลิ้งและ วัดสิตารามหรือวัดคอกหมู มีผู้ดูแลคู่ใจคือคุณป้าของพี่ปู และคุณแม่ ของพีอ่ อ๋ ย คือคุณจินดา ปานสมุทร์ ทีเ่ ป็นคนท�างานในโรงงานแป้งมา ช่วยดูแลอีกแรง คุณแม่และคุณป้าของพี่ทั้งสองคนเป็นคนทางตรอก ท�าพาย ซึง่ น่าจะอยู่ใกล้ๆ ย่านนีแ้ ต่ไม่ทราบกันแล้วว่าอยูท่ ี่ไหน ทัง้ คูไ่ ม่ เป็นวิชาละครหรือโขนแต่อย่างใด เพียงแต่รกั และชอบการแสดงเท่านัน้ บ้านนราศิลป์รับจัดงานแสดงโขนกลางแปลง โขนหน้าจอ ละครชาตรีและดนตรีไทยรวมถึงได้กอ่ ตัง้ บริษัทผูส้ ร้างภาพยนตร์ไทย ในยุคแรกๆ ชื่อ “นราศิลป์ภาพยนตร์” เรื่องนางลอย มีครูอาคม สา ยาคมเป็นพระเอก แต่ไม่ได้มาทางสายนี้มากนัก ต่อมาก็ช่วยงานโขน

จดหมายข่าว

๑๗

พินิจ สุทธิเนตร แห่งบ้านนราศิลป

ธรรมศาสตร์ตั้งแต่แรกเริ่ม รวมทั้งงานองค์พระปฐมเจดีย์ที่เป็นงาน ใหญ่ประจ�าปีจัดกันกว่า ๗ วัน ๗ คืน รุ่นนี้คุณจินดาก็เป็นคนคุมงาน แทนแล้ว การเป็นโต้โผหรือผู้จัดการแสดงลักษณะนี้ ท�าให้ต้องมีการ สร้างเครื่องละครและเครื่องแต่งกายโขนและศีรษะโขนจ�านวนมาก บ้านนราศิลป์จงึ เป็นแหล่งขึน้ ชือ่ ในการให้เช่าชุดร�า ชุดละคร โขนต่างๆ ส�าหรับเด็กนาฏศิลป์หรือเด็กๆ ทีเ่ รียนนาฏศิลป์ตามโรงเรียนต่างๆ มา โดยตลอดจนทุกวันนี้ คนในบ้านนัง่ ปักงานดิน้ ต่างๆ อยู่ในบ้านอยู่ ชุดเหล่านีล้ งทุน สูง ใช้เวลามาก ใช้เพียงสองสามครั้งก็เริ่มหมอง แม้จะซักได้ก็เพียง ครั้งสองครั้ง และราคาให้เช่าก็ถูกเสียเหลือเกิน ครั้งที่ยังมีคนในบ้าน

มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์


ภุมรี ปานสมุทร์ บุตรสาวของคุณจินดา ปานสมุทร์ ผู้ดูแลคณะบ้านนราศิลปในยุคก่อนหน้านี้

ไม่นอ้ ย การเช่าชุดหรือแต่งเครือ่ งละครต่างๆ ก็มกั มีคนช่วยแต่ง ช่วย จัดการดูครบวงจรไปหมด ทุกวันนี้ บ้านนราศิลป์ยงั เปิดให้เช่าชุดโขน ละครอยู่ ส่วนการ ขัดโต้โผงานโขน ละครมีบ้างเป็นครั้งคราว ลูกหลานต่างรับราชการ เป็นอาชีพหลัก การจัดงานโขนหรือละครมีบ้างเป็นครั้งคราวในนาม ของบ้านนราศิลป์ คุณพินจิ สุทธิเนตร ผูเ้ ป็นหลานคุณจินดา ปานสมุทร์ ใช้วชิ า ในการเป็นผูจ้ ดั สืบทอด ต่อมาเป็นผูก้ า� กับศิลป์ฝา่ ยละครทีวี รับตัดต่อ จัดให้เช่าเครื่องเสียง จอภาพ ฯลฯ ส่วนน้องชายก็เกี่ยวข้องกับงาน ศิลปะ เช่น ท�าเอฟเฟกต์ของภาพยนตร์ แต่งหน้าเอฟเฟกต์ต่างๆ ที่ส�าคัญคือจัดการตนเองทุ่มเทค้นคว้าข้อมูลหลักฐานทาง ประวัติศาสตร์ของบ้านนราศิลป์ จัดเป็น พื้น ที่เปิดศูนย์ข้อมูลทาง วัฒนธรรม จัดท�าฐานข้อมูลเป็นซีดีทั้งเรื่องทั้งรูป มอบให้กับผู้สนใจ เด็กๆ นักศึกษาทีม่ าขอสอบถามกันเป็นประจ�า การพูดคุยนีค้ อื ทัศนคติ ของคุณพินิจ สุทธิเนตรที่มีต่อมรดกทางวัฒนธรรมของบ้านนราศิลป์ และมุมมองต่อการอนุรักษ์ชีวิตวัฒนธรรมของผู้คนในยุคปัจจุบัน …. ถนนหลานหลวงเส้นนีม้ าถึงย่านสะพานขาว นีค่ อื ย่านของ ศิลปวัฒนธรรม เมื่อก่อนมีอีกหลายบ้านที่เป็นผู้จัด เช่น คณะละคร สายใจ แต่ก็เลิกไปหมด เมื่อก่อนรอบบ้านเราท�ากับข้าวกับปลาแจก จ่ายกันไปทัว่ เดีย๋ วนีก้ ลายเป็นไม่รจู้ กั กันเลยทัง้ ทีอ่ ยูบ่ า้ นติดกัน สังคม เปลีย่ นไปเยอะมาก แล้วคนรุน่ ใหม่เข้ามา คนรุน่ เก่าก็ตายไป บ้านของ

จดหมายข่าว

ผมจึงพยายามรักษาไว้ บ้านเราท�าเครื่องละครมาตั้งแต่รุ่นคุณป้า ก็จะมีอุปกรณ์ ประกอบให้เช่า เช่น ละครเวทีเราก็ท�า ละครร้องเราก็ท�า แต่คนไม่ ค่อยรู้ บ้านเราค่อนข้างจะมีเทคโนโลยีเข้ามาเกี่ยวข้อง สมัยช่อง 4 บางขุนพรหม เราก็จะท�าคอสตูม แล้วคุณพ่อผมเป็นนักแสดงด้วย “คุณเสริมพันธ์ สุทธิเนตร” ตั้งแต่เริ่มก่อสร้างช่อง 4 ก็มีทางกันตนา เป็นผู้ชักชวนเข้าไป และตอนนั้นนาฏศิลป์สัมพันธ์ยังไม่มีเครื่องก็มา เอาเครื่องของเราไป เมือ่ ก่อนนีเ้ ราก็เริม่ จากเป็นคณะละครเล็กๆ แล้วก็มาท�าโขน นายแม่ละม่อม สุสังกรกาญจน์เป็นผู้ก่อตั้ง สอนและสืบทอดมาให้ ทั้งหมดท่านเก่งมาก เป็นผู้หญิงสมัยใหม่ในสมัยนั้น ชอบขี่ม้า ยิงปืน เข้าป่า ขับรถเอง พายเรือ เลี้ยงสัตว์ บ้านท่านที่ส�าเหร่เลี้ยงหมี เสือ ชอบเต้นร�า ชอบออกสังคมตลอด ถ้าท่านมีชวี ติ อยูอ่ ายุนา่ จะประมาณ ๑๕๐ ปีถึงปัจจุบันนี้ ช่วงนั้นการละเล่นในสมัยรัชกาลที่ ๖ อาจจะอยู่ ในช่วงปลายๆ รัชกาลไม่วา่ โขนละครก�าลังเฟือ่ งฟู ท่านเลยสร้างขึน้ มา บ้าง โดยเอานาฏศิลป์แถวตรอกละครนี้มาร่วมเล่น ส่วนคุณแม่จินดา ปานสมุทร์ ก็ศกึ ษามาพร้อมนายแม่ คล้ายกับเป็นเลขา นายแม่ทา� อะไร คุณป้าก็ทา� ด้วย ช่วงนัน้ มีคณะเรืองนนท์ กับบ้านตาฮวดแล้วก็มบี า้ นครู วงศ์ท่านอยู่ตรอกท�าพายซอยติดกันกับที่ตั้งบ้านนราศิลป์ ตรอกนี้ชาว บ้านเคยท�าพายส่งขายตลาดมหานาค ซือ้ ไม้สกั มาจากแถบวัดสระเกศ แล้วมาเหลาเป็นพายเรือพายแจว บ้านนราศิลป์เป็นธุรกิจที่ท่านรักมากกว่า แต่ถ้าใครหาก็ไป โดยพื้นฐานท่านไม่มีความรู้เรื่องการแสดงละครหรือโขนแต่อย่างใด เลย แต่ว่าท่านเป็นคนใฝ่เรียนใฝ่หา รักในการค้นคว้ามาก ต่อมาก็ เริ่มศึกษาทางด้านภาพยนตร์ ถ่ายภาพนิ่ง ถ่ายภาพยนตร์ นายแม่ท่านเอาพวกโขนที่สืบทอดจากในวังมาท�าเป็นคณะ โขนในสมัยนั้นรัชกาลที่ ๖ ท่านจะโปรดละครร้อง นายแม่ท่านก็ท�า คณะละครร้องต่อมา ตอนนั้นเราก็ได้ป้าเพียงใจมาช่วย แล้วก็มีมนัส บุญเกียรติ, ศรีนวล แก้วบัวสาย รุ่นใหญ่ทั้งนั้นที่มาอยู่ พวกปี่พาทย์ ก็เป็นพวกดุรยิ างค์นกั แสดงส่วนหนึง่ ก็มาจากกรมศิลปากรเรามีครูหดั ของเราเองด้วย และอีกส่วนเขาเรียก “โขนในคลอง” จะเป็นพวกครู มาจากคลองบางกอกน้อยมีความแตกต่างกัน โขนในคลองจะเดินเรือ่ ง เร็ว เป็นแบบชาวบ้าน โขนของนราศิลป์เป็นโขนประยุกต์ระหว่างโขนกรมศิลป์ฯ ที่เนิบช้า กับโขนในคลองที่รวดเร็วเอามารวมกันคนจะชอบดูโขนบ้าน นราศิลป์ เพราะเดินเรื่องเร็ว แล้วมีจังหวะจะโคน เครื่องสวยเป็นจุด เด่น คุณพ่อพี่ก็จบนาฏศิลป์รุ่นเดียวกับอาจารย์เสรี หวังในธรรม เป็น คนพื้นเพมาจากวัดดุสิดารามฯ คลองบางกอกน้อย ก่อนที่สะพานปิ่น เกล้าจะตัด แถบนั้นทั้งหมดก็คือเป็นที่ของทางบ้านรุ่นบรรพบุรุษ พอ สะพานปิน่ เกล้าตัดก็ขาย ตอนนีเ้ หลืออยูห่ น่อยเดียว เป็นคนสวน บ้าน นัน้ เป็นทีพ่ ระราชทานจากตระกูลสุทศั น์ ณ อยุธยา คุณย่าพีเ่ ป็นหม่อม หลวง คุณพ่อคุณแม่พบกันเพราะเรียนวิทยาลัยนาฏศิลป์ เป็นคนโขน ๑8

มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์


คุณพ่อเป็นพวกยักษ์ คุณแม่เป็นคนจัดการเครือ่ งโขนเครือ่ งละคร แล้ว เราก็มีโรงโขนเองด้วย และคุณพ่อก็มาเล่นที่นี่ ข้าราชการกรมศิลปากรส่วนใหญ่ทเี่ ป็นผูห้ ลักผูใ้ หญ่เคยผ่าน การร่วมงานกับบ้านนราศิลป์แทบทุกคน อาจารย์เสรี (หวังในธรรม) ดึงมาบ้าง เวลามีโขนเอานักแสดงในกรมฯ มาเล่น คนในกรมฯ ไป รับงานก็มาเอาเครื่องบ้านเราเพราะสมัยนั้นเครื่องแต่งกายของกรมฯ จะเอาเครื่องออกมาไม่ได้ งานที่รับส่วนใหญ่จะเน้นงานศพ เมื่อก่อน ใครมีฐานะเสียชีวิตก็ต้องมีโขน ทีบ่ า้ นนีแ้ ต่เดิมคนในคณะบางส่วนก็นอนกันทีน่ ี่ ยามว่างโขน ว่างละครก็มานั่งสะดึงกัน สะดึงเครื่องโขนไม่ต้องจ้างใคร แต่บ้านอื่น อาจจะมาเช่าชุด เช่น วันนี้มี ๗ ตัว พออีกงานหา ๑๐ ตัว ไม่มีให้ เช่าจึงต้องสร้างอีก ๑๐ ตัวก็ตดิ มาถึงลูกหลาน เราต้องสร้างใหม่เสมอ แม้แต่ดาราก็มาเช่าดูแบบอย่างจากในกรมศิลป์ฯ บ้างในวังบ้าง มาปัก เองคนในบ้านต้องท�ำงานจึงจะได้ค่าแรง แม้แต่ไปท�ำที่อื่นก็ยังมานั่ง ปักสะดึง ยุคที่เหนื่อยสุดก็คือช่วงราว พ.ศ. ๒๕๑๑ เมื่อ ม.ร.ว.คึก ฤทธิ์ ปราโมช มาให้ชว่ ยท�ำโขนธรรมศาสตร์ จึงต้องท�ำผลิตเครือ่ งโขน ทั้งหมด แล้วต้องตระเวนไปกับท่านด้วย ต่อมาก็มีงานในงานประจ�ำปี พระปฐมเจดีย์ที่นครปฐม ท�ำติดต่อกันราว ๖-๗ ปี มีโขนกลางแปลง ฉากเหมือนกรมศิลป์ ละครร้องก็เกิดที่นครปฐม แต่พวกเราค่อนข้าง ทันสมัยก็เข้าสู่วงการทีวี วงการภาพยนตร์ด้วย ท�ำเรื่องโขนด้วยทุน ของเราเอง แต่ก็หยุดแค่นั้นไม่ค่อยประสบความส�ำเร็จเท่าไหร่ เมือ่ คุณพ่อไปทีช่ อ่ ง ๔ บางขุนพรหมในยุคแรกเริม่ เพือ่ เป็นนัก แสดงบ้านนราศิลป์ก็เข้าไปพร้อมกัน มีนักแสดงรุ่นเยาว์ไปแสดง ภาย หลังก็มาท�ำเป็นละครทีวีก็ไม่ได้ปรับอะไรเลยเอาโขนเล่นเป็นตอนๆ เหมือนลิเกบ้างมีรายการเพลง มีละคร นักแสดงทั้งหมดก็จะมาเป็น โฆษกเป็นนักร้อง เพราะว่าเป็นสถานีแรก การเรียนรู้ต้องปรับ ปรับ ใหม่หมด ทุกคนออกมาเชีย่ วชาญมาแล้ว ผมก็ได้มโี อกาสเข้าไปเรียนรู้ ครูบญ ุ ยงค์-บุญยัง เกตุคงก็เคยมาเล่นให้ทบี่ า้ นนี้ เพราะบ้าน นราศิลป์จะมีเครื่องดนตรีครบหมดมีอุปกรณ์พร้อมครูมามาแต่ตัวทุก คนซึ่งต่างจากที่บ้านอื่น แล้วเราเป็นคนเลือกบท เพราะเขาจะเล่นได้ ทุกบทอยูแ่ ล้วส่วนใหญ่เขาไม่มเี ครือ่ งเลยมาตัวเปล่า มารับบททีเ่ ราจัด เตรียมไว้ให้ ละแวกนี้นอกจากบ้านนราศิลป์ก็จะมีบ้านเรืองนนท์ เขาจะ หนักไปทางพวกเครื่องยี่เก แต่พอมาหลังๆ ปี พ.ศ. ๒๕๓๗-๒๕๓๘ ก็ จะมีบ้านมาอีกบ้านโปร่งน�้ำใจ ก็ท�ำอยู่ด้วยกัน ช่วงสงกรานต์ช่วงงาน เทศกาลพวกนักศึกษาอะไรต่ออะไรก็จะมาเช่าจากบ้านเราไป นาง นพมาศบ้าง นางสงกรานต์บ้าง ความต้องการไม่ได้ขาดไปเพียงแต่ ว่าจะมากหรือน้อย ช่วงราว พ.ศ. ๒๕๑๑ เรือ่ ยมาเฟือ่ งฟูมากทีส่ ดุ แต่พอหลังจาก ฟองสบู่แตก ราว พ.ศ. ๒๕๔๐ คนที่จะมาดูโขนดูละครลดน้อยลงไป อย่างงานศพเขาก็เอาพวกดนตรีไปเรายังโชคดี จ้างแต่น้อย ไม่จ้าง

จดหมายข่าว

19

เลยไม่มี บ้านเราท�ำเครื่องละครมาโดยตลอด พอเวลาไม่มีคนมาจ้าง ไปเล่น เขาก็มาเช่าเครื่องเพราะเรามีเครื่องให้เช่า เกือบทุกวันนี้ก็ยัง มีเป็นปกติกท็ ำ� ให้บา้ นนราศิลป์อยูไ่ ด้ เป็นงานในครอบครัวเราจ้างเป็น งานๆ ไป พอเสร็จงานก็จ่ายค่าตัว คนละครเขามีเอกลักษณ์สว่ นตัวของแต่ละบ้านเรามีแต่พงึ่ พา อาศัยกัน ในของแวดวงอื่นไม่รู้ แต่แวดวงนาฏศิลป์ต้องถ้อยทีถ้อย อาศัยกันหมด อย่างบ้านโน้นเครือ่ งไม่พอก็เอาเครือ่ งบ้านเราไป อย่าง บ้านเราตัวไม่พอก็เอาตัวบ้านเขามา จะเป็นอย่างนี้ส่วนใหญ่รับคนละ แนวด้วยบางทีมาบ้านโน้นไม่มีโขน มาบ้านนราศิลป์ สมมุติบ้านเราจะ เอาละครชาตรีหรือละครแก้บน เราก็ให้ไปเลยโดยไม่ต้องมาหักค่าใช้ จ่าย เป็นการให้กัน ท�ำงานร่วมกันมากกว่า บริเวณนี้ (ถนนหลานหลวง ใกล้วัดแค นางเลิ้ง) เป็นย่านที่ เจริญในอดีต แต่ปัจจุบันเมื่อจะมีการสร้างสถานีรถไฟฟ้าใต้ดิน ผมคิดว่าบ้านนราศิลป์ ไม่โดนเวนคืนเราต่อสู้กันมาเยอะ เพราะแต่ เดิมเขาจะเอาตัง้ แต่บา้ นนี้ไปถึงสีแ่ ยกหลานหลวง ซึง่ ไม่มคี วามจ�ำเป็น แค่ระยะทาง ๘๐๐ เมตรถ้าท�ำตรงนี้ประโยชน์สูงสุดคือโรงแรมพริ้น เซสเท่านั้นเองเราก็รวมตัวไป แต่อย่างไรเรารู้เสมอเราสู้ไม่ได้ หนัก เป็นเบาแค่นนั้ อย่างถนนราชด�ำเนินเขาก็แอบท�ำเรียบร้อยไปหมดแล้ว ก็เหลือตรงนี้ที่เขายังต้องจัดการอยู่ ตึกสวยๆ ที่ถนนราชด�ำเนิน ไม่เห็นจ�ำเป็นต้องทุบเลย เอาไว้ แบบเดิมแล้วเจาะภายล่างลงไป โครงสร้างเดิมก็ยงั เหมือนเดิม หากที่ นีถ่ กู รือ้ ไปก็ตอ้ งท�ำใจอย่างเดียว สิง่ ที่ได้รบั กลับคืนมาน้อยมากเขาฟัง แต่เขาไม่ทำ� ตาม หลอกพวกเราด้วยซ�ำ้ ไป ท�ำประชาพิจารณ์เพือ่ ให้ผา่ น สัดส่วนของความเจริญก้าวหน้ามันควรจะมีชอ่ งว่างบ้าง ไม่ใช่วา่ ท�ำสิง่ หนึ่งเพื่อท�ำลายอีกสิ่งหนึ่งเราไม่รู้ว่าช่วงระยะเวลา ๔ ปีที่เขาท�ำ คน อยู่ไม่ได้หรอก ต้องไปอยู่ที่อื่น เขาบอกว่าพอสร้างเสร็จแล้วค่อยย้าย กลับมา มีพื้นที่บ้านเรือน ๒ ส่วน ที่ได้รับผลกระทบแน่ๆ มีค่าใช้จ่าย คืนมาให้ แต่ก็ไม่คุ้มหรอก เอาไปซื้อที่ใหม่ก็ไม่ได้ ส่วนที่ไม่ได้เวนคืน ก็อยู่ไป ทุบตึงๆ นอนไม่ได้แล้วทุกวันนี้ถนนแถวนี้ก็นรกดีๆ นี่เอง รถ ติดช่วงเช้าถ้าเผื่อมาท�ำตรงนี้เข้าไปอีกครึ่งเลน ไม่อยากจะคิด แล้ว ต้องปิดถนนแต่ยื้อเรื่องงบประมาณ แต่เขาก็เริ่มท�ำแล้ว แต่บ้านผมออกแบบรองรับไว้หมดแล้วท�ำให้แข็งแรงขึ้นใน รูปแบบเดิมท�ำให้ดีขึ้นมากกว่าเดิม เราท�ำกันหลายองค์กร ข้างตึกมี เด็กมาท�ำกิจกรรมกันเราเอาย่านเก่าทัง้ หมดย่านโขน ย่านโรงหนัง เรา พยายามดูว่าของดีในส่วนต่างๆ ท�ำร่วมกันหมด เหมือนองค์กรที่ต้อง เรียนรู้ร่วมกันผมจะไม่ขัดแย้งกับใครเลย ถ้าจะแก้ปัญหาที่แท้จริงเรื่องการท�ำตลาดน�้ำต้องท�ำแบบ ตลิง่ ชัน ตลาดน�ำ้ นางเลิง้ ต้องท�ำให้เป็นตลาดน�ำ้ จริงๆ ท�ำให้คนมาเทีย่ ว จริงๆ ไม่ใช่ท�ำแค่ชั่วครั้งชั่วคราว

มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์


กิจกรรม เสวนาสาธารณะ

โดย จารุวรรณ ด้วงค�าจันทร์ นิสิตฝกงาน คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

สรุปเสวนาสาธารณะ

“ย านเก า ป จจุบันและอนาคต รําพึง รําพัน โดยคนบางลําพู”

เศรษฐกิจแล้วนั้น บางล�าพูจึงเป็น พื้น ที่ที่มีผู้คนมากหน้าหลายตา เข้ามาพักอาศัยและท�ามาหากิน มีการเกิดขึ้นของกลุ่มคน พบความ หลากหลายทางเชื้อชาติวัฒนธรรม และวิถีชีวิต แต่ในขณะเดียวกัน นั้นเองความหลากหลายดังกล่าวกลายเป็นเสน่ห์ของย่านบางล�าพู ที่ท�าให้บางล�าพูนั้นมีความแตกต่างจากพื้นที่อื่นๆ ตลาดยอดเป็นตลาดที่มีความคึกคักของผู้คน มีอาหารการ กินมากมายและขายกันได้ตลอดทัง้ วันทัง้ คืนใกล้กบั ตลาดยอดนัน้ เป็น ตลาดผลไม้ ที่มีการน�าผลไม้เข้ามาจากบางยี่ขัน โดยชาวบ้านเรียก กันว่า “ตลาดทุเรียน” เพราะมีการค้าส่งค้าปลีกทุเรียนมากมายเป็น ผลไม้หลัก เพราะบริเวณบางล�าพูคบั คัง่ ไปด้วยผูค้ นและครึกครืน้ ไปด้วย บรรยากาศของการจับจ่ายใช้สอย และการสัญจรไปมาของผู้คน คุณ สิทธิชัย ผลหิตตานนท์ ผู้ประกอบการร้านค้าตั้งแต่สมัยรุ่นพ่อมองว่า สิ่งต่างๆ ที่ตลาดย่านบางล�าพูมีส่งผลท�าให้ย่านนี้เป็นท�าเลทองที่ผู้คน จากหลากหลายที่อพยพโยกย้ายเข้ามาตั้งถิ่นฐาน ต่อมาด้วยการเป็นท�าเลที่ตั้งซึ่งใกล้กับพระบรมมหาราชวัง และย่านส�าคัญอืน่ ๆ ในย่านเมืองเก่าท�าให้ผคู้ า้ ขายบางส่วนเห็นว่าการ เข้ามาของนักท่องเทีย่ วนั้นทีพ่ กั อาศัยก็เป็นหนึง่ ในการสร้างรายได้ไม่ น้อย จึงมีการเปลีย่ นแปลงพืน้ ทีอ่ ยูอ่ าศัยเดิมให้เป็นห้องพักของนักท่อง เที่ยวที่เรียกกันว่า “เกสต์เฮาส์” จนถึงปัจจุบันเกสต์เฮาส์มีเป็นจ�านวนมาก และขยายตัวและ ได้เข้าไปถึงภายในชุมชนทุกตรอกซอกซอยในนามโฮสเทลและที่พัก ในลักษณะการแบ่งห้องพักให้เช่าราคาถูก พร้อมด้วยเกิดนักลงทุน หน้าใหม่มากมายทีเ่ ข้ามาลงทุนในพืน้ ที่ ส่งผลกระทบต่อวิถชี าวชุมชน เดิม บางส่วนเองก็ได้โยกย้ายออกไปอยู่ที่อื่น ด้วยเหตุผลต่างๆ นานา แต่ ป ั จ จั ย ส� า คั ญ พบว่ า สภาพแวดล้ อ มที่ แ ออั ด และค่ า ครองชี พ สู ง ตลอดจนการหมดสัญญาหรือการไล่รื้อเป็นปัจจัยที่ท�าให้ไม่สามารถ อยู่ในพื้นที่ได้

การเสวนาที่ลานบ้านปอมมหากาฬ

เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๒4 มกราคม ๒๕๕๙ มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์ จัดเวทีเสวนาสาธารณะเรื่อง “ย่านเก่า ปัจจุบันและ อนาคต ร�าพึง ร�าพัน โดยคนบางล�าพู” ณ ลานบ้านป้อมมหากาฬ การเสวนาครัง้ นีเ้ ป็นไปในลักษณะประวัตศิ าสตร์การบอกเล่าทีม่ าจาก ประสบการณ์ชีวิตจริง ของผู้คนในชุมชน โดยมีทั้งคนรุ่นเก่า อย่าง คุณอรศรี ศิลปี เจ้าของร้านเสื้อเชิ้ต “นพรัตน์” ร้านดังแห่งย่าน บางล�าพู และคุณสิทธิชัย ผลหิตตานนท์ ประธานประชาคมฟื้นฟู วัฒนธรรมย่านบางล�าพู และอุปนายกสโมสรไลออนส์พระนคร และ ตัวแทนของคนรุ่นใหม่โดยมีคุณปานทิพย์ ลิกขะไชย หัวหน้าชมรม เกสรล�าพู เป็นผู้ร่วมเสวนา “บางล�าพู” ศูนย์กลางทางการค้าทีม่ คี วามคึกคักของคนเมือง กรุงเมื่อครั้งอดีต เป็นดินแดนแห่งความทันสมัย และจุดนัดพบของ ชาวพระนครทั้งวัยรุ่นไปจนถึงผู้เฒ่าผู้แก่ เนื่องมาจากมีศูนย์รวมของ สินค้าทันสมัย อาหารการกินหรือแม้แต่เสื้อผ้าแฟชั่นอันหลากหลาย และมีทั้งพ่อค้าจีน-ไทย นอกจากบรรยากาศของการค้าที่คึกคักแล้วคุณอรศรี ศิลปี หรือป้านิด ผู้ที่ถือว่าเป็นคนเก่าแก่ดั้งเดิมของย่านบางล�าพูได้เล่าว่า บางล�าพูเป็นศูนย์รวมของศิลปะการแสดงต่างๆไม่ว่าจะเป็นวิกลิเก ชื่อดังอย่างลิเกคณะหอมหวล หรือแม้แต่การละคร การดนตรีที่ถือว่า คนดนตรี “บ้านบางล�าพู” นั้นเป็นที่รู้จักและเลื่องชื่อไปทั่วพระนคร พร้อมทั้งยังมีฝีมือเป็นที่ยอมรับกันไปทั่ว และมีตระกูลของศิลปิน ปญหาของคนย่านเก่า การเกิดนักลงทุนหน้าใหม่เข้ามาในพื้นที่แน่นอนว่าส�านึกรัก ที่คนดนตรีไทยทั้งประเทศทราบกันดีในชื่อ “ดุริยประณีต” ในระยะต่ อ มาเมื่ อ เป็ น ที่ รู ้ จั ก และเป็ น จุ ด ศู น ย์ ก ลางทาง และการหวงแหนในพื้นที่ย่อมมีไม่เท่าคนเก่าดั้งเดิมเพราะการเข้ามา

จดหมายข่าว

๒๐

มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์


ของผู้คนหน้าใหม่นั้นเพียงเพื่อผลประโยชน์ทางธุรกิจ หาได้มีความ ผูกพันเฉกเช่นเดียวกับคนท้องถิ่นไม่ ฉะนั้นการลงทุนย่อมต้องการ ผลก�าไรตอบแทนที่คุ้มค่า จึงไม่ได้ตระหนักถึงผลกระทบที่มีต่อชุมชน เมืองเก่าสักเท่าใด เราจึงพบร้านอาหาร ผับ บาร์ต่างๆ มากมายใน บริเวณบางล�าพู นักท่องเที่ยวต่างชาติจ�านวนมากได้แห่กันมาพักในละแวก บางล�าพู โดยเฉพาะบริเวณถนนข้าวสารที่คับคั่งไปด้วยนักท่องเที่ยว ต่างชาติจนพบคนไทยน้อยมากที่อยู่ในบริเวณนั้น แน่นอนว่าการเข้า มาของนักท่องเทีย่ วถือว่าเป็นผลดีในทางเศรษฐกิจแต่ในขณะเดียวกัน การทีม่ นี กั ลงทุนหน้าใหม่ทเี่ ข้ามาแสวงหาก�าไรจากการท่องเทีย่ ว โดย มีการท�าบ้านเก่าเป็นห้องพักเพื่อที่จะรองรับนักท่องเที่ยว ที่เรียกกัน ว่า “เกสต์เฮาส์” ปัจจุบันนี้จ�านวนเกสต์เฮาส์ในย่านบางล�าพูและพื้นที่ ใกล้เคียงมากล้นจนแทบนับกันไม่ไหว แย่ไปกว่านั้นคือ ร้านอาหาร ผับ บาร์ ที่มีอยู่ทุกย่อมหญ้า ไม่เว้นแม้ตามซอกซอย ปากคลอง บางล�าพู ความเมามายที่เกิดขึ้นไปกันไม่ได้เลยกับบริเวณชุมชนย่าน มัสยิดเก่าแก่ของกรุงเทพฯ หรือวัดส�าคัญ และแม้แต่ชวี ติ ของชาวบาง ล�าพูที่ต้องรองรับสิ่งเหล่านี้ แม้ภาพความคึกคักของบางล�าพูจากอดีตจนถึงปัจจุบนั ทีย่ งั มี การจับจ่ายใช้สอยของผูเ้ ข้ามาเยือนกันอยู่ แต่สงิ่ ทีเ่ ปลีย่ นแปลงไปนัน้ คือวิถีชีวิตและวัฒนธรรมของชาวท้องถิ่นค่อยๆ จืดจางไป สิ่งที่เลื่อง ชือ่ อยูท่ กุ วันนีค้ งมีแต่ภาพการท่องเทีย่ วแสง สี เสียง ของนักท่องราตรี และผู้คนต่างชาติที่อาจจะทราบหรือไม่ทราบวัฒนธรรมของคนไทย ก็ตาม แต่ในมุมมองของนักธุรกิจและพ่อค้ากลับมองว่าการเข้ามา ของนักท่องเทีย่ วถือเป็นผลดีเป็นอย่างยิง่ เพราะการท่องเทีย่ วคือการ ท�าให้เศรษฐกิจนั้นเติบโต บ้านเมืองต้องมีการเปลี่ยนแปลงตามโลกา ภิวัตน์แต่ทว่าการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวได้ท�าให้วิถีชีวิต สังคม และ วัฒนธรรมของคนพื้นเมืองเปลี่ยนไปจนไม่หลงเหลืออยู่แล้วนั้น ต่อไป ธุรกิจการท่องเที่ยวของย่านบางล�าพูจะต้องมีต่อไปอย่างไร นักท่อง เทีย่ วทีต่ งั้ ใจเข้ามาชมวิถชี วี ติ ของผูค้ นดัง้ เดิมคงต้องผิดหวัง เพราะการ ท่องเที่ยวดังกล่าวไม่ตอบโจทย์ ทางออกที่ดีที่จะท�าให้ทั้งวิถีชีวิตของ ผูค้ นและธุรกิจการท่องเทีย่ วอยูด่ ว้ ยกันต่อไปได้นนั้ คือ ควรต้องให้การ สนับสนุนการท่องเทีย่ วเชิงอนุรกั ษ์ ควบคุมสถานทีอ่ โคจรทีเ่ สีย่ งในการ ท�าลายชีวติ วัฒนธรรมของคนท้องถิน่ และท�าตัวเป็นเจ้าบ้านทีด่ ีให้กบั ผู้มาเยือน อีกปัจจัยส�าคัญทีส่ ง่ ผลกระทบต่อชาวบางล�าพูคอื “นโยบาย ของรัฐ” ที่ต้องการส่งเสริมการท่องเที่ยวโดยเฉพาะในบริเวณตรอก ข้ า วสารในฤดู ก าลสงกรานต์ โ ดยไม่ ค� า นึ ง ถึ ง ผลกระทบทางชี วิ ต วัฒนธรรมของคนท้องถิ่นบางล�าพูและคนไทยทุกศาสนิก จากความ คิดเห็นของผู้ร่วมฟังเสวนาบางท่านซึ่งเป็นผู้อยู่อาศัยในพื้นที่มีความ เห็นว่าไม่เหมาะไม่ควรทีช่ าวต่างชาติมพี ฤติกรรมล่อแหลมในการเล่น น�า้ สงกรานต์ ถือเป็นการท�าลายวัฒนธรรมทีด่ งี ามพร้อมมีการเสนอให้

จดหมายข่าว

๒๑

โฮสเทลที่เกิดขึ้นมากมายรอบๆ ย่านบางลําพู

รัฐมีการจัดระเบียบควบคุมและท�าความเข้าใจกับนักท่องเทีย่ วในเรือ่ ง ประเพณี วัฒนธรรมให้ดีกว่านี้ นอกจากนัน้ รัฐเองต้องการจัดระเบียบสังคมโดยเฉพาะเรือ่ ง ของเส้นทางการคมนาคม พยายามผลักดันการท่องเที่ยวแนวใหม่ โดยการใช้จักรยาน แต่กลับพบว่าชาวชุมชนที่ต้องเปิดพื้นที่ค้าขายมี ความเดือดร้อนเนื่องมาจากไม่สามารถค้าขายได้ตามปกติ ก�าไรลด ลง เพราะลูกค้านั้นไม่สามารถจอดรถหน้าร้านได้ และข้อส�าคัญคือ ต้องการให้รัฐจัดท�าประชาพิจารณ์เพื่อรับทราบปัญหาของประชาชน และความคิดเห็น ตลอดจนข้อเสนอแนะของพื้นที่ซึ่งจะท�าให้เกิดผล ประโยชน์ทุกฝ่ายแบบเสมอภาค ไม่ต้องให้เพียงชาวชุมชนรับผิดชอบ แต่ฝา่ ยเดียว ก่อนจะประกาศกฎระเบียบเพือ่ บังคับใช้และมีการท�าข้อ ตกลงร่วมกัน เมล็ดพันธุ์ใหม่แห่งย่านบางลําพู ปัจจุบันย่านบางล�าพูนั้นมีกลุ่มเด็กและเยาวชนที่ค่อนข้างจะ เข้มแข็งถือได้ว่าเป็นกลไกรุ่นใหม่ที่ส�าคัญที่ช่วยเพิ่มสีสัน มีศักยภาพ มากพอที่แสดงความเข้มแข็งเหล่านั้นให้ผู้ใหญ่เห็นว่าเด็กรุ่นใหม่ ต้องการสังคมที่น่าอยู่ ต้องการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ของชุมชน และ เข้าใจสภาพความเป็นอยู่ของชุมชนแบบดั้งเดิม มีการร่วมกันลงพื้นที่ ศึกษาและท�าวิจัยกันเอง เข้าใจความหลากหลายของกลุ่มคนที่อาศัย จึงเกิดการรวมกลุ่มของคนรุ่นใหม่ขึ้นมา คุณปานทิพย์ ลิกขะไชยหรือน้องต้า ที่เป็นหัวเรี่ยวหัวแรงใน การขับเคลือ่ นกิจกรรมอาสานี้ไปพร้อมๆกับเด็กในชุมชนทีม่ เี ป้าหมาย เดียวกัน โดยจะคอยจัดพื้นที่สร้างสรรค์ในวันส�าคัญประจ�าปีต่างๆที่ สวนสันติชยั ปราการเป็นหลัก กิจกรรมส่วนใหญ่จะเป็นการแสดงเกีย่ ว กับศิลปวัฒนธรรมของพื้นที่และตามความถนัดของผู้ร่วมกิจกรรม การท� า กิ จ กรรมของกลุ ่ ม คนเหล่ า นี้ เ ริ่ ม ต้ น จากจุ ด เล็ ก ๆ ที่เด็กๆ คิดกันขึ้นมาเองตามก�าลังของตนเองที่จะสามารถสร้างสรรค์ กิจกรรมขึ้นมาได้ จนกระทั่งพวกเขาเหล่านั้นสามารถเปล่งแสงของ ความเป็นเด็กตัวเล็กๆ ให้ผใู้ หญ่เห็นและมีผทู้ เี่ ข้ามาร่วมสนับสนุนมาก

มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์


ขึ้นในเวลาต่อมา สิ่งเหล่านี้ท�าให้เกิดภาพของความเป็นชุมชนที่เข้มแข็งโดย ผ่านกิจกรรมดีๆ แบบเด็กๆ การเคลื่อนไหวของกลุ่มเกสรบางล�าพูนี้เองช่วยให้ผู้ใหญ่ ได้ตระหนักถึงความรักษ์ความหวงแหนพื้นที่ชุมชนเดิม น้องต้ากล่าว เพิ่มเติมถึงปัญหาและข้อจ�ากัดภายในว่า เมื่อเวลาผ่านไป หลายคนก็ มีภาระงานที่เพิ่มขึ้นส่งผลให้การรวมกลุ่มค่อนข้างจะล�าบาก แต่ก็ยัง มีเด็กรุน่ ใหม่ที่ให้ความสนใจขึน้ มาแทนทีอ่ ยูเ่ รือ่ ยๆ เป็นรุน่ ๆ สืบต่อไป จะเห็นได้ว่าจากอดีตจวบจนถึงปัจจุบัน “ย่านบางล�าพู” นั้นถือเป็นย่านการค้าที่ส�าคัญมาโดยตลอด จากย่านการค้าและศูนย์ รวมวิถีชีวิตและวัฒนธรรมกลายมาเป็นเมืองท่องเที่ยวอย่างเต็มรูป แบบที่รัฐเองพยายามสนับสนุนให้คนต่างชาตินั้นเข้ามาท่องเที่ยว

จับจ่ายใช้สอย กิจกรรมมากมายเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว แต่ ใน บางครั้งสิ่งที่นักท่องเที่ยวต้องการอาจจะไม่ ใช่เพียงร้านอาหารดีๆ ที่พักทันสมัย ผับบาร์ร้านอาหารอึกทึกและแบบนั่งแช่ทั้งวันตามที่ หลายฝ่ายเข้าใจ แต่กลับต้องการชมวิถีชีวิตของผู้คนท้องถิ่นจริงๆ ก็เป็นได้ สิ่ ง ที่ ค วรตระหนั ก มากคื อ สนั บ สนุ นการท่ อ งเที่ ย วในเชิ ง อนุรักษ์น่าจะมีประโยชน์กับทุกฝาย เพราะอยู่ในย่านเก่าที่ควรเห็นทั้ง วิถชี วี ติ แบบของจริงในท้องถิน่ และแบบทีท่ นั ตามยุคสมัย นักท่องเทีย่ ว ก็จะได้เห็นวิถีชีวิตของคนไทยที่แท้จริง และคนในชุมชนเองก็สามารถ อาศัยในพื้นที่เดิมได้อย่างสงบสุข และสภาพของชุมชนบางล�าพูก็จะ ไม่ใช่เพียงต�านานที่ผู้เฒ่าผู้แก่เล่าให้ลูกหลานฟงเท่านั้น

กิจกรรม เสวนาสาธารณะ

โดย ชฎาภรณ์ แก้วแสนทิพย์ นิสิตฝกงาน คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

สํารวจ

ลมหายใจ

และ

วันอาทิตย์ที่ ๑4 กุมภาพันธ์ ๒๕๕๙ มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิ ริ ย ะพั น ธุ ์ ร่ ว มกั บ ชุ ม ชนป้ อ มมหากาฬและชุ ม ชนบ้ า นบาตร จัดเสวนาเรื่อง “ส�ารวจลมหายใจและการท่องเที่ยวบ้านบาตร” โดยเชิญ คุณกฤษณา แสงไชย ชาวบ้านบาตร, คุณปราณี สุทดิศ ชาวบ้านบาตร, คุณสรินยา สุทดิศ จิตอาสาชุมชนชาวบ้านบาตร และคุณศานนท์ หวังสร้างบุญ ท่องเที่ยวชุมชนแบบคนรุ่นใหม่ โดยมี คุณวลัยลักษณ์ ทรงศิริ เจ้าหน้าที่จากมูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์ เป็นผู้ด�าเนินรายการ สิ่งที่น่าสนใจของงานนี้นอกจากจะมีการร่วมพูดคุยแลก เปลี่ยนความคิดวิถีชีวิตของชุมชนบ้านบาตร หัตถกรรมการท�าบาตร ที่ก�าลังโรยราและกระแสการท่องเที่ยวในปัจจุบันแล้ว ยังมีร�าวงของ ชุมชนบ้านบาตรมาแสดงเปิดงานและเพื่อเรียกผู้คนให้เข้ามาร่วมฟัง การเสวนาอีกด้วย ร�าวงบ้านบาตรเกิดจากการรวมกลุ่มของคนใน ชุมชนและเป็นชุมชนเดียวในย่านเก่ากรุงเทพฯ ที่มีเพลงร�าวงเป็นของ ตัวเองที่สืบเนื่องมาจากวงร�าวงยามยากของคนในช่วงสงครามโลก ครั้งที่ ๒ เพลงร�าวงบ้านบาตรส่วนใหญ่มีเนื้อหาเกี่ยวกับความรัก การเกีย้ วพาราสีระหว่างหญิงชายแสดงวิถชี วี ติ ของผูค้ นในยุคกว่า ๗๐ ปี ที่ผ่านมา ส่วนเนื้อร้องท�านองจะเป็นลักษณะบทร้อยกรองที่เป็นค�า

จดหมายข่าว

การท องเที่ยว

บ านบาตร

การเสวนาที่ลานบ้านปอมมหากาฬ

คล้องจองกัน จึงท�าให้ฟงั ง่ายและสนุก รวมกับจังหวะของเครือ่ งดนตรี ที่สามารถปลุกเร้าให้ผู้ฟังสามารถลุกขึ้นร�าวงได้ การก่อตัง้ ร�าวงชุมชนบ้านบาตรได้รบั อิทธิพลจากบ้านดนตรี ของ “หลวงประดิษฐ์ไพเราะ” ทีอ่ ยู่ใกล้เคียงในย่านเดียวกัน เมือ่ ได้ฟงั ทุกวันจึงเกิดการจ�า ความสนใจ และเกิดรวมกลุ่มกันของคนที่รักใน เสียงเพลงเหมือนกัน จึงกลายเป็นเพลงเอกลักษณ์ของชุมชนที่มีการ เล่นในเทศกาลสงกรานต์และปีใหม่ ซึง่ ปัจจุบนั ก็ได้รบั การฟืน้ ฟูนา� กลับ ๒๒

มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์


รําวงบ้านบาตรยุคปจจุบัน

มาร้องในงานต่างๆ หลายปีมาแล้ว และมีบทเพลงร�าวงที่รวบรวมกัน มาร้องได้กว่า ๓๐ เพลง การร้องเพลงเป็นหน้าที่ของผู้ชาย ส่วนผู้ หญิงจะร�าประกอบเพลง แต่ปัจจุบันผู้ชายที่ร้องเพลงได้มีน้อยลงมาก จึงให้ผหู้ ญิงมาร้องร�าแทนบรรยากาศแบบเดิมๆ ดังนัน้ การร้องเพลงจึง มีความชดช้อยอ่อนหวานมากกว่าในอดีต วิถชี วี ติ ชุมชนบ้านบาตรกับการท่องเทีย่ วมีความเกีย่ วเนือ่ งกัน เป็นอย่างมาก เพราะในปัจจุบันกระแสการท่องเที่ยวเยี่ยมชมวิถีชีวิต ของคนในชุมชนก�าลังได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก คนต่างชาติล้วน ให้ความสนใจเข้ามาท่องเทีย่ ว ปัน่ จักรยานชมการด�าเนินชีวติ และการ ท�าบาตรพระ และกระแสนี้จึงเป็นที่มาของการเปลี่ยนบ้านหลังเก่าให้ กลายเป็นโรงแรม โดยมีผู้ประกอบการเข้ามาจัดการธุรกิจ แต่คนใน ชุมชนกลับไม่ได้รับประโยชน์เท่าที่ควร “…ถ้าไม่มีคนทํา ไม่มีคนต่อยอด การตีบาตรก็จะหมดไป…” คุณกฤษณา แสงไชย เล่าว่า ตนเองได้กลับมาท�าบาตรเมื่อ ราว ๗ ปีก่อน เพราะเห็นว่าไม่ค่อยมีคนท�า เกรงว่าการท�าบาตรจะ หมดไปอีกทั้งต้องการอนุรักษ์อาชีพนี้ให้คงอยู่ในชุมชนต่อไป การท�า บาตรเป็นงานยากเพราะเป็นงานประณีตศิลป์ที่ท�าจากชิ้นเหล็กที่ต้อง อาศัยความอดทน เพราะมีขั้นตอนมากมาย จึงท�าให้ราคาบาตรค่อน ข้างสูง สมกับความยาก ปัจจุบันบาตรพระมีหลายขนาดและราคา โดยราคาของ บาตรแต่ละใบจะไม่เท่ากันจะขึ้นอยู่กับขนาด เช่น ขนาด ๗ นิ้ว 8 นิ้ว ๙ นิ้ว วัตถุดิบ เช่น เหล็กและสแตนเลส รวมถึงขั้นตอนของการ ผลิต เพราะแต่ละขั้นตอนต้องอาศัยช่างฝีมือหลายประเภท และที่ ส�าคัญในปัจจุบันมีอุตสาหกรรมการผลิตบาตรปั๊มขึ้นมาแข่งขันกับ การท�าบาตรบุ ซึ่งวัสดุและขั้นตอนการผลิตก็ต่างกัน ราคาของบาตร ปัม๊ ก็ยอ่ มถูกกว่าเพราะวัสดุการผลิตก็งา่ ยและได้ผลิตภัณฑ์ทลี ะมากๆ ซึง่ ไม่ตอ้ งลงทุนอะไรมากนัก ลูกค้าก็อยากได้บาตรทีร่ าคาถูกมากกว่า

จดหมายข่าว

๒๓

อยู่แล้ว แต่เมื่อเทียบกับคุณภาพแล้ว บาตรบุย่อมคุ้มค่ากว่าเสมอ เพราะถูกหลักพระวินัย มีทั้งความคงทนและสวยงาม ราคาของบาตร พระในปัจจุบนั ถ้าเป็นบาตรปัม๊ ราคาจะอยูท่ ปี่ ระมาณ ๖๐๐-๗๐๐ บาท ถ้าเป็นบาตรท�าจากสแตนเลสจะมีราคาแพงกว่าคือราว 4,๐๐๐๕,๐๐๐ บาท ส่วนบาตรเหล็กราคาจะถูกกว่าบาตรสแตนเลสประมาณ ๕๐๐ บาท เนื่องจากบาตรสแตนเลสมีขั้นตอนการตีที่ยากกว่า ปัจจุบนั ประเภทของบาตรทีบ่ า้ นบาตรท�าส�าหรับพระสงฆ์จะมี ๒ แบบ คือ บาตรแบบมหานิกายและแบบธรรมยุติกนิกาย บาตรของ พระในสายมหานิกายส่วนใหญ่จะใช้บาตรปัม๊ เพราะไม่มกี ฎเคร่งครัด ในเรือ่ งข้อก�าหนดของการใช้บาตร แต่บาตรพระของกลุม่ ธรรมยุต จะ มีขอ้ ก�าหนดว่าบาตรที่ใช้ตอ้ งประกอบด้วย 8 ชิน้ ต่อกัน มีระยะวัดจาก ขอบบาตร 8-๙ นิ้ว เป็นต้น ตามพระวินัยของธรรมยุติกนิกาย ส่วนคุณสรินยา สุทดิศ ซึง่ มากับคุณแม่คอื คุณปราณี สุทดิศ ที่มีอาชีพท�าบาตรมาแต่ดั้งเดิม และอยู่ในชุมชนบ้านบาตรเช่นเดียว กับสามีผู้ล่วงลับไปแล้ว กล่าวว่า หลังจากคุณพ่อเสียไปตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๓8 ในครอบครัวก็ไม่มี ใครสานต่อการท�าบาตร ถึงแม้สามีของ ตนเองจะพยายามน�าเหล็กแผ่นมาตีและให้ผู้รู้สอน แต่ก็ไม่สามารถ ท�าได้ เพราะงานตีบาตรค่อนข้างยาก ใช้เวลาเรียนรู้นาน ขายแต่ละที ก็ยาก แต่ตนเองก็ยังมีความรู้นี้ติดตัวอยู่ เพราะทั้งชีวิตได้คลุกคลีการ ท�าบาตรมาตั้งแต่เด็ก “…การท่องเที่ยวกับคนย่านเก่า…” หัตถกรรมการท�าบาตรที่ก�าลังจะโรยราหายไปนี้ ได้ก่อให้ เกิดถึงความตระหนักในมิติของปัญหาต่างๆ ทั้งของคนภายในชุมชน และผู้ประกอบการที่อยู่ในพื้นที่ ซึ่งล้วนมีความเกี่ยวข้องกัน เพราะ การท่องเทีย่ วย่านเก่าก็ได้เชือ่ มโยงกับธุรกิจโรงแรม ธุรกิจร้านค้า หาก นักท่องเที่ยวเข้ามาเที่ยวในชุมชนและพักในโรงแรม แต่ ในบริเวณ รอบๆ ไม่มคี วามเป็นวิถชี วี ติ อยู่ การท่องเทีย่ วก็คงไม่ประสบผลส�าเร็จ

มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์


อะไรส�ำหรับนักท่องเที่ยวที่เข้ามา เมื่อกระแสการท่องเที่ยวชุมชนเกิดขึ้น ที่บ้านบาตร คน บ้านบาตรกล่าวว่า คนในชุมชนพร้อมที่จะอ�ำนวยความสะดวกให้ แก่นักท่องเที่ยวเสมอ เช่น ถนนหนทาง การสอนและแสดงวิธีการ ท�ำบาตร ถ้านักท่องเทีย่ วอยากลองท�ำ ช่างท�ำบาตรก็เต็มใจให้ความรู้ เพราะอยากให้เกิดความประทับใจในชุมชมแล้วอยากกลับมาเทีย่ วอีก เมื่อมีนักท่องเที่ยวก็อยากให้สนใจการท�ำบาตรจริงๆ ไม่ใช่มองข้าม ชุมชนเป็นทางผ่านของการเดินทางเท่านั้น หลังจากที่ ได้ฟังถึงสภาพของคนในชุมชนแล้ว คุณศานนท์ หวังสร้างบุญ ผูป้ ระกอบการโรงแรมในย่านบ้านบาตร ซึง่ เป็นคนหนุม่ รุ่นใหม่ได้เล่าว่า แม้ตนเองจะไม่ได้เกิดและเติบโตที่นี่ แต่กลับมีความ สนใจในประวัติศาสตร์ชุมชน รู้สึกว่าสถานที่ซึ่งคนในรุ่นตนคุ้นเคยกับ ย่านเก่าเหมือนคนละโลกกัน ทัง้ นีว้ ยั รุน่ ในปัจจุบนั มีความต้องการอยากท่องเทีย่ วแบบใกล้ ชิดธรรมชาติ ท้องไร่ทงุ่ นา แต่ทกุ คนกลับลืมไปว่าในกรุงเทพฯ ยังมีอกี มุมหนึ่งที่เราไม่เคยรู้มาก่อน นั่นคือวิถีชีวิตของชุมชนที่อยู่ร่วมกันเป็น ครอบครัว มีการประกอบอาชีพแบบเครือข่ายและมีการเอือ้ เฟือ้ ต่อกัน เมื่อเกิดความสนใจ ตนเองและเพื่อนๆ จึงได้ก่อตั้งกลุ่ม once again โดยเข้ามาพูดคุยกับคนภายในชุมชน ก่อนท�ำธุรกิจ โรงแรมในย่านบ้านบาตรนี้ และมองว่าเป็นการท�ำธุรกิจแบบเกื้อกูล คือให้ความส�ำคัญกับสิ่งรอบๆ ตัว และต้องเติบโตไปพร้อมกับชุมชน ไม่ใช่การฆ่าชุมชนแล้วธุรกิจของตนเองสุขสบายฝ่ายเดียว ซึ่งนักท่อง เที่ยวล้วนต้องการความสนุกเมื่อไปเที่ยว และผู้ประกอบการก็ต้อง สร้างความสนุกสนองกลับไป โดยการเอาวิถีชีวิตของคนในชุมชน เป็นต้นทุน แต่ผปู้ ระกอบการกลับไม่ได้ทำ� เช่นนัน้ มีแต่จะเอาประโยชน์ ซึง่ เช่นเดียวกับสิง่ แวดล้อมทีม่ แี ต่คนแย่งกันใช้ แต่ไม่เห็นคุณค่าและไม่ ได้ดูแลสิ่งที่ใช้ไป ทุกคนควรรักษาและดูแลต้นทุนนี้ ซึ่งก็คือชีวิตของ ผู้คนในชุมชนให้เติบโตไปพร้อมกับการท่องเที่ยว ศานนท์ยังกล่าวอีกว่า การท่องเที่ยวและการอนุรักษ์วิถีชีวิต เป็นหน้าที่ของคนรุ่นใหม่เช่นเดียวกัน โดยต้องมองหาทางออกและ การแก้ปัญหา ถึงแม้เป็นสิ่งที่ท�ำได้ยาก แต่ก็ต้องท�ำและต้องมองถึง บริบทรอบๆ ว่าในชุมชนดีๆ แบบนี้เราควรเป็นส่วนหนึ่งในการเกื้อกูล การท�ำอาชีพและวิถชี วี ติ ต่อกันเขาเสนอว่า อยากจะเรียกร้องอยากให้ อาชีพการท�ำบาตรพระเป็นอาชีพที่มีบทบาทและศักดิ์ศรีเทียบเท่ากับ การนับถือแพทย์ที่รักษาคนไข้ นับถือวิศวกรที่ออกแบบสร้างบ้าน

การท่องเที่ยวนั้นต้องอาศัยความร่วมมือจากหลายส่วน ที่ส�ำคัญนั้นคืออาศัยการสนับสนุนจากรัฐบาลเพื่อเป็นการเผยแพร่ ข้อมูลประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวให้แก่ชุมชนซึ่งชุมชนบ้านบาตรได้ มีหน่วยของรัฐเข้ามาบ้าง แต่กลับไม่ได้รับการสนับสนุนการจัดการ อย่างต่อเนือ่ ง มีบอ่ ยครัง้ ทีเ่ ข้ามาแบบผิวเผินแล้วก็ออกไป ไม่ได้ศกึ ษา ถึงปัญหาและข้อมูลอย่างแท้จริง ปัญหาก็ยงั ไม่ได้รบั การแก้ไขเช่นเดิม การท่องเที่ยวในปัจจุบัน เป็นการท่องเที่ยวก่อให้เกิดความ สนุก ความประทับใจ แต่ควรมีความรูก้ ลับไปบ้างส�ำหรับประโยชน์ของ นักท่องเทีย่ วเอง เพือ่ ทีจ่ ะได้รถู้ งึ ภูมปิ ญ ั ญาและมีความรูค้ วามเข้าใจใน ชุมชนนัน้ ๆ ไม่ใช่แค่การเข้ามาถ่ายรูปสวยๆ แล้วก็ออกไปเพราะคงไม่ ได้เกิดประโยชน์ทั้งนักท่องเที่ยวและชุมชนผู้ถูกท่องเที่ยวแน่นอน ความนิยมในการท�ำบาตรพระด้วยมือลดน้อยลงมาก ปัจจุบนั เหลือประมาณ ๓ เจ้าที่ยังรักษาวิธีการนี้อยู่ บาตรพระนั้นท�ำขายเป็น ของที่ระลึกให้แก่นักท่องเที่ยวและมีลูกค้าจากพระภิกษุสงฆ์บ้าง และ ชาวบ้านบาตรส่วนมากได้เปลีย่ นไปประกอบอาชีพอืน่ หมดแล้ว ปัญหา ของการท�ำบาตรพระนั้นนอกจากจะมีทั้งอุตสาหกรรมบาตรปั๊มที่เป็น คู่แข่ง คนที่มีความรู้ความสามารถก็ได้เสียชีวิตไปหมด และที่ส�ำคัญ การไม่มีคนสืบทอดวิชาการตีบาตรที่ค่อนข้างยากและเต็มไปด้วยขั้น ตอนมากมายนี้ได้ ความเป็นธรรมชาติของวิถชี วี ติ ชุมชนเป็นสิง่ ทีม่ อี ยูแ่ ล้ว การ ท่องเที่ยวนั้นมาอาศัยชุมชน จึงควรจะมาดูแลชุมชนที่ตนเข้าไปท่อง เที่ยวกันบ้าง ชาวบ้านบาตรกล่าวว่า ชุมชนต้องรักษาวิถชี วี ติ การท�ำบาตร พระ และสถานที่ของตนเองไว้ โดยการร่วมมือกันภายในชุมชนกับผู้ ประกอบการภายในพื้นที่ และรัฐบาลต้องเป็นหน่วยงานที่ช่วยเหลือ สนับสนุน โดยยึดถือประชาชนเป็นที่ตั้ง ชุมชนบ้านบาตรยังมีสถานการณ์ที่ดีกว่าชุมชนย่านเก่าอื่นๆ เพราะยังสามารถฟื้นได้ เพราะมีต้นทุนที่ดีอยู่แล้ว รวมทั้งบาตรก็ เป็นสินค้าที่มีคุณค่าและมูลค่ามาก แต่ถ้าหากความส�ำคัญของการ ท�ำบาตรก�ำลังจะหายไป เพราะคนภายในไม่มคี นสืบทอดการท�ำบาตร คนถ่ายทอดความรูก้ เ็ ริม่ หมดไป รวมถึงการท่องเทีย่ วทีผ่ ปู้ ระกอบการ เห็นแก่ตัวมากเกินไป ต้องการที่จะแสวงหาผลประโยชน์จากชุมชน อย่างเดียว โดยไม่ได้ให้อะไรกลับมาแก่ชุมชนเลย และที่ส�ำคัญรัฐที่ ไม่ให้การสนับสนุนอย่างจริงจังและเข้าใจอย่างแท้จริงว่าสถานการณ์ ของปัญหาการผลิตบาตรพระนั้นคืออะไร

มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์ ประธานกรรมการ ดร.ไพโรจน์ พงศ์พิพัฒน์ รองประธานกรรมการ อรพรรณ พงศ์พิพัฒน์ กรรมการและเหรัญญิก สุวพร ทองธิว กรรมการและเลขานุการ อมร ทองธิว กรรมการ พิจารณ์ วิริยะพันธุ์, ตุ๊ก วิริยะพันธุ์, รับพร วิริยะพันธุ์ ที่ปรึกษา ศรีศักร วัลลิโภดม, ดร.ธิดา สาระยา,

เจ้าหน้าที่ สุดารา สุจฉายา, วลัยลักษณ์ ทรงศิริ, ลาวัลย์ ธรรมนิรันดร, สมนึก กิจเจริญผล, รัชนีบูล ตังคณะสิงห์ ศรีสมร ฉัตรแก้ว, อรรถพล ยังสว่าง, พรพิมล เจริญบุตร, ณัฐวิทย์ พิมพ์ทอง, อภิญญา นนท์นาท มรกต สาตราคม, จตุพร ทองขันธ์, เกสรบัว อุบลสรรค์, พัชรินธร เดชสมบูรณ์รัตน์, เมธินีย์ ชอุ่มผล, ภูวนาท เช้าวรรณโณ, สุรชาญ อุ่มล�ำยอง

จดหมายข่าว

24

มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธ์ุ ๓๙๗ ถนนพระสุเมรุ แขวงบวรนิเวศ เขตพระนคร กรุงเทพฯ ๑๐๒๐๐ โทรศัพท์ ๐-๒๒๘๑-๑๙๘๘, โทรสาร ๐-๒๒๘๐-๓๓๔๐ Email : Vlekprapaifoundation@gmail.com www.lek-prapai.org

มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.