Life & Family Vol.2 No.20 September 2015

Page 1

สื่อในกลุ่มบริษัท อาร์แอลจี

Vol.2 No.20 September 2015

5

เทคนิคบริหาร

ไอเดียเก๋

เงินในบ้าน

ช่วยออมเงิน

ให้ฟิตและเฟิร์ม

คิดให้ดี ก่อนกู้

เตรียมพร้อม

การเงิน

M o d e r n L i f e ส ม ดุ ล ชี วิ ต 3 6 0 ํ

เมื่อมีลูก

Money Matters

เงินทองเรื่องใหญ่ของครอบครัว

ครบเครื่อง เรื่องต้องรู้ ผู้หญิงยุคใหม่

FREE พร้อมนิตยสาร ModernMom



Editor Talk

Contents

Vol.2 No.20 September 2015

สวั สดีค่ะ คุณผู้อ่านที่รัก Money Matters เงินทองเรื่องใหญ่ของครอบครัว คือ

Highlight ที่ Life & Family เดือนกันยายนนี้ตั้งใจน�ำมาฝาก คุณๆ ที่รักค่ะ หลายคนอาจจะคิดว่า เรื่องเงินๆ ทองๆ เป็นเรื่อง ยุ่งยากวุ่นวาย ไม่อยากยุ่งเลย แต่จริงๆ แล้วถ้าไม่วางแผน จัดการให้ดี นี่แหละที่มาของความยุ่งยากเลยทีเดียวค่ะ ยิ่งเป็นเงินของครอบครัวที่มีสมาชิกหลายๆ คนด้วยแล้ว การวางแผนการเงิน ค่าใช้จ่ายต่างๆ ของบ้านยิ่งต้องดูแล ให้ดีค่ะ ฉบับนี้เรามีไอเดียวางแผนบริหารเงินของครอบครัว เทคนิคการออมเงิน จัดการเงินเมื่อมีลูก ฯลฯ เพื่อให้คุณ ลองเอาไปเลือกปรับใช้ วางแผนการเงินของตัวเองและ ครอบครัวให้มั่นคงไร้ปัญหาค่ะ อย่าลืมนะคะว่านอกจากการวางแผนที่ดี การมีวินัย จะช่วยให้คุณท�ำตามแผนและถึงเป้าหมายเรื่องการเงินที่ วางไว้ได้ในที่สุด

Editor Talk

3

Guru : Wellness ดูแลสุขภาพสไตล์คนท�ำงานหน้าจอ

4

Guru : Work Solution เตรียมไปประชุมต่างประเทศกับเจ้านาย

5

Highlight : Money Matters เงินทอง...เรื่องต้องจัดการ - แนวคิดบริหารเงินในบ้าน - แผนเงินส�ำรองฉุกเฉิน - แผนการเงินเมื่อมีลูก - วางแผนเมื่อต้องกู้ - เคล็ดลับการเก็บเงิน - เงินกับชีวิตสมดุล Our Home ก�ำจัดแมลง แบบ Non Toxic

18

Inspire Corner Adorable Fabric Box กล่องผ้าน่ารัก

20

Relax Zone Singapore Element

ทีมงานนิตยสาร Life&Family

6

22

เจ้าของ กลุ่มบริษัท อาร์แอลจี (RLG) ประธานกรรมการบริหาร อนันต์ ศิริภัสราภรณ์ ผู้ก่อตั้งและประธานสถาบัน อาร์แอลจี สุภาวดี หาญเมธี ที่ปรึกษา ศ.นพ.ไกรสิทธิ์ ตันติศิรินทร์, ศ.พญ.ชนิกา ตู้จินดา, ดร.เลขา ปิยะอัจฉริยะ, ศ.พญ.วัณเพ็ญ บุญประกอบ, ดร.สายสุรี จุติกุล, รศ.พญ.เสาวคนธ์ อัจจิมากร, ดร.วรนาท รักสกุลไทย, รศ.นพ.วิทยา ถิ​ิฐาพันธ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ศิริพร ผลชีวิน รองประธานฝ่ายปฏิบัติการสายธุรกิจ Communications ชนิดา อินทรวิสูตร รองประธานฝ่ายบริหารและการ เงิ น มาลี จั น ทร์ ม าลี ผู้ อำ � นวยการบริ ห าร Woman Business ชนิ ด า อิ น ทรวิ สู ต ร บรรณาธิ ก ารอำ � นวยการ/บรรณาธิ ก ารผู้ พิ ม พ์ ผู้ โ ฆษณา สรั ญ ญา โภคาลั ย บรรณาธิ ก ารบริ หาร สรั ญ ญา โภคาลั ย บรรณาธิ ก าร สุ ช าดา เทพหินลัพ บรรณาธิการต้น ฉบับและพัฒนาเนื้อหา ศศิพินทุ์ อุษณีย์มาศ กองบรรณาธิการ นภชา ทังคัมวิจิตร ศศิโสมย์ หาญประจันทร์ พิสูจน์อักษร ดารารัตน์ ดีก้องเสียง Creative Director วันเฉลิม สุขมาก หัวหน้าศิลปกรรม เด่นใจ โกมลกาญจน ศิลปกรรม นิพนธ์ โพธิ์ชุม, มณเฑียร ศุภโรจน์ ช่างภาพ ธาร ธงไชย, เอกรัตน์ ศรีพานิชย์ ศิลปกรรมอาวุโสงานขายโฆษณาและสื่ออิเล็กทรอนิกส์ วชรพรรณ น้อยศรี, พัฒนา กลิ่นอ่อน ประสานงาน กองบรรณาธิการ พิมพ์ชนก ณ สงขลา ผู้จัดการฝ่ายการตลาด มาลินี อัศว์วิเศษศิวะกุล ผู้อำ�นวยการฝ่ายขายสื่อโฆษณา สุรชัย บรรลือ ผู้จัดการฝ่ายขายสื่อโฆษณา รุ้งลัดดา จักรบุตร #3343 เจ้าหน้าที่ขายสื่อโฆษณา ประภัสสร ทองดี #3359, กุณฑลี จิโนการ #3334 ลินดา เจนวิวัฒน์สกุล #4723 ผู้อำ�นวยการฝ่ายขายสื่อโฆษณา Corporate สมอุรา สังขจันทร์ #2210 รองผู้อำ�นวยการฝ่ายขายสื่อโฆษณา Corporate สมใจ ชวาลวณิชชัย #2211 เจ้าหน้าที่ขายสื่อโฆษณา Corporate นันทิยา ยินดี #3332, อินทิรา เสลานนท์ #3333, วิภาวดี ดิษฐสุธรรม #2241, สิริพร ทองไกร #2234, จิตติมา โพสินธุ์ #2242 ประสานงานฝ่ายขายโฆษณา สุรางค์ สุริวงษ์ #3325 ผู้เชี่ยวชาญฝ่ายเทคโนโลยีการผลิต ปัญณภพ ศรีหะรัญ ประสานงานฝ่ายผลิต สุชรัสส์ คงมิ่ง Contact Us กลุม่ บริษทั อาร์แอลจี 932 ถนนประชาชืน่ แขวงวงศ์สว่าง เขตบางซือ่ กรุงเทพฯ 10800 กองบรรณาธิการ การตลาดและประชาสัมพันธ์ โทรศัพท์ 0 2831 8400, 0 2913 7555 ต่อ 4420-4424, 3520, 3535 โทรสาร 0 2831 8499 mmm@rlg.co.th แผนกลูกค้าสัมพันธ์(บริการสมาชิก) โทรศัพท์ 0 2831 8400, 0 2913 7555 ต่อ 2221-2 โทรสาร 0 2831 8422 member@rlg.co.th แยกสี/เพลท : บริษัท สุนทรฟิล์ม จำ�กัด โทรศัพท์ 0 2216 2760 พิมพ์ : บริษัท พิมพ์ดี จำ�กัด โทรศัพท์ 0 2401 9401 กระดาษ : บริษัท ดั๊บเบิ้ล เอ (1991) จำ�กัด (มหาชน) โทรศัพท์ 0 3853 8968 จัดจำ�หน่าย : เพ็ญบุญ โทรศัพท์ 0 2615 8625 แผนกโฆษณา โทรศัพท์ 0 2831 8400, 0 2913 7555 ต่อ 3361, 3332, 3359, 3345, 4723 โทรสาร 0 2831 8477 rungladda@rlg.co.th

Life & Family 3


Guru : Wellness

เรื่อง นพ.กฤษดา ศิรามพุช ผู้อำ�นวยการศูนย์เวชศาสตร์อายุรวัฒน์นานาชาติ American Board of Anti-aging Medicine

ดูแลสุขภาพ

สไตล์คนท�ำงานหน้าจอ นั่งท�ำงานหน้าจอทั้งวัน : ในกรณีนี้ขอให้จัดที่นั่งกับ ปรับหน้าจอให้ดี อย่างน้อยอย่าให้มีแสงสะท้อน (Glare) หน้าจอมากระทบตาเพราะจะท�ำให้นัยน์ตาล้า ซึ่งวิธีหนึ่ง ที่ง่ายๆ คือ ปรับดวงไฟบนเพดานอย่าให้ตกกระทบจอจน หน้าจอเห็นแสงสะท้อนครับ นอกจากนั้นขอให้เลี่ยงการ นั่งท�ำงานหน้าจอในห้องที่แสงน้อยหรือปิดไฟด้วยครับ ใช้หน้าจอมือถือหรือแท็บเล็ต : ควรต้องเลี่ยงการ ก้มหน้าลงกดหน้าจอเป็นเวลานานๆ เพราะมีผลให้กระดูก ต้นคออักเสบและเสื่อมเร็วได้ เพื่อไม่ให้ปวดคอง่ายขอให้ ใช้วิธียกขึ้นมาในระดับสายตา หรือใช้ที่ตั้งช่วยรองรับไว้ ในระดับตาแทน จะได้ไม่ต้องเมื่อยมือครับ ชอบหน้าจอทุกประเภท : เป็นผู้ที่ปลื้มกิจกรรมหน้าจอ ทุกแบบ ไม่ว่าคอมพิวเตอร์ สมาร์ตโฟน แท็บเล็ตหรือ โทรทัศน์ ขอให้ใช้เทคนิคดังนี้คือ พักตาเป็นระยะ อย่าง น้อยทุกครึ่งชั่วโมง ขอให้เตือนตัวเองให้พักสายตาบ้าง โดยละสายตาจากหน้าจอแล้วกะพริบตาก็จะช่วยให้ฟิล์ม น�้ำตาเคลือบกระจายได้ดีไม่แห้ง ส่วนเรื่องแสงขอให้ระวัง การใช้หน้าจอก่อนนอนเพราะอาจท�ำให้ตาค้างหลับยาก

ฟังดูแล้วเราเป็นมนุษย์หวั อกเดียวกันนะครับ ตัวผมเอง ก็เป็นมนุษย์หน้าจอ เพราะในแต่ละวันถ้าไม่เขียนต้นฉบับ กับตรวจคนไข้กต็ อ้ งท�ำงานพิธกี รหน้ากล้องเช้าต่อบ่าย แต่ ทั้งหมดนี้ไม่ได้หมายความว่ามนุษย์หน้าจอจะมีสุขภาพดี ไม่ได้นะครับ ตรงกันข้ามด้วยซ�้ำ พวกเราที่ท�ำงานหน้าจอหรือแทบ จะติดจอในช่วงปิดงบหรือปิดยอดปลายเดือนนี้ กลับมีวิธี ที่จะมีสุขภาพดีได้แบบง่ายๆ โดยไม่ต้องเสี่ยงกับผลข้าง เคียงของการท�ำงานหน้าจอนานๆ ด้วย เพราะการท�ำงาน กับคอมพิวเตอร์นานๆ ไม่ว่าจะนั่งท�ำงานหรือเดิน แล้ว ก้มกดจอเช็กเฟซบุ๊ก แชตไลน์ เข้าไอจี....อะไรต่อมิอะไร นั้นสามารถท�ำให้เกิดอาการไม่พึงประสงค์ ได้ ทั้งออฟฟิศ ซินโดรม กระดูกต้นคอเสื่อม โรคอ้วน มือเท้าชา และ อาการไม่สบายเนือ้ ตัวต่างๆ ซึง่ ปัญหาหลักๆ ทีส่ ง่ ผลกระทบ นั้น ถ้าแบ่งเป็นอวัยวะที่ต้องปะทะกับผลจากจอเป็นด่าน แรกๆ เลยก็ ได้แก่ • นัยน์ตา • สมอง • ต่อมไร้ท่อ • ภูมิคุ้มกัน ทั้งหมดนี้มีส่วนถูกกระทบได้จากหน้าที่การงานที่อยู่ หน้าจอกับตัวหนังสือหรือตัวเลขที่ต้องจดจ่ออยู่อย่างเลี่ยง ไม่ได้ ซึ่งในเรื่องนี้เราต้องใช้เทคนิคแก้กันไปทีละจุด อย่าง ค่อยเป็นค่อยไปไม่ให้กระทบงาน ดังจะขอฝากเป็นทาง เลือกเอาไว้หลายๆ แบบเผื่อคุณๆ ที่รักจะได้เลือกให้เหมาะ กับงานของตัวเองนะครับ

อาหารบ�ำรุงดวงตา ส�ำหรับเรื่องของอาหารที่ช่วยได้มีเยอะครับ ขอฝาก จักษุโภชนา หรือโอชะช่วยดวงตาเอาไว้ง่ายๆ ได้แก่ น�้ำมัน ปลา ปลาทู แซลมอน ผักคะน้า บร็อกโคลี ปวยเล้ง ต�ำลึง ข้าวโพดม่วง ฟักข้าว มะเขือเทศ เก๋ากี้ และเบอร์รี่พันธุ์ ไทยๆ ที่ดีไม่แพ้ของนอก อย่างลูกหม่อน ลูกหว้า ตะขบ อย่าลืมนะครับว่าอยู่หน้าจอก็ไม่ใช่ข้อจ�ำกัด

Life & Family 4


Guru : Work Solution

เรื่อง ธัญญา รอตก้า Personal Coach สถาบันพัฒนาบุคลิกภาพ จอห์น โรเบิร์ต เพาเวอร์ส

เตรียมไป

ประชุมต่างประเทศ กับเจ้านาย การที่ได้เดินทางไปประชุมที่ต่างประเทศกับเจ้านาย นั้นถือเป็นประสบการณ์ที่ดีค่ะ นอกจากต้องเตรียมพร้อมเรื่องงานให้ครบถ้วนและ สมบูรณ์มากที่สุดแล้ว สิ่งส�ำคัญคือต้องพยายามอย่ากังวล หรือวาดภาพจินตนาการในทางลบไว้ก่อน ส�ำหรับสิ่งที่ แนะน�ำในการเตรียมตัวเพิ่มเติมให้พร้อมมีดังนี้ค่ะ การศึกษาข้อมูลประเทศที่ไป ไม่ว่าจะเป็นการเดินทาง สภาพดินฟ้าอากาศ อาหาร การกิน วิถีชีวิตผู้คน เพื่อที่จะได้เตรียมตัวอย่างเหมาะสม ในเรื่องของเสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย อุปกรณ์ที่จ�ำเป็น อย่าง น้อยความพร้อมก็ชว่ ยลดความกังวล อุน่ ใจได้ระดับหนึง่ ค่ะ ข้อห้าม-ความเชื่อต่างๆ การเตรียมเรื่องข้อมูลพวกความเชื่อของแต่ละท้องถิ่น หรือประเทศที่เราไปก็ส�ำคัญค่ะ เรื่องอะไรควรพูดควรท�ำ เรื่องอะไรห้ามเด็ดขาดก็มีความจ�ำเป็นนะคะ จะได้ไม่ชวน คุยในเรื่องที่อีกฝ่ายหนึ่งอึดอัดหรือดูเป็นการเสียมารยาท การสังเกตท่าที ใส่ใจความรู้สึกคนรอบข้าง การปรับ ตัว และการมีข้อมูลที่ชัดเจน ก็ช่วยได้มากแล้วค่ะ ที่ส�ำคัญหากเกิดเหตุการณ์ ไม่คาดฝันต้องตั้งสติ ใจ เย็นๆ เมื่อสงสัยควรขอข้อมูลหรือขอค�ำแนะน�ำจากผู้รู้ เอาใจช่วยให้ทริปไปประชุมครั้งนี้ราบรื่นค่ะ

Life & Family 5


HIGHLIGHT : Money Matters เรื่อง กิ่งกาญจน์

Money Matters เป็นเรื่องปฏิเสธไม่ได้ว่าเรื่องเงินนั้นเป็นเรื่อง ใหญ่ในชีวิตคนเรามาก ขนาดที่ใช้ตัดสินได้ว่า ผู้ที่ ล้มเหลวทางการเงินนั้นอาจท�ำให้ชีวิตด้านอื่นล้ม เหลวไปด้วย เพราะเงินเป็นปัจจัยส�ำคัญที่ใช้แลก ซื้ อ สิ่ ง ของ เครื่ อ งใช้ ของจ� ำ เป็ น ในการด� ำ เนิ น ชี วิ ต การอยู ่ ใ นภาวะขาดเงิ น มั ก ท� ำ ให้ ชี วิ ต ขาด สมดุลไปด้วย Money Matters หรือแปลง่ายๆ ว่าเรื่อง เงินๆ ทองๆ จึงก�ำลังเป็นประเด็นส�ำคัญในสังคม ที่มีการน�ำองค์ความรู้เข้าไปจับ เนื่องด้วยว่าหาก ไม่ใส่ใจกับเรื่องเงินๆ ทองๆ ให้ดีแล้ว ชีวิตก็อาจ ขาดๆ เกินๆ หรือด�ำเนินไปได้โดยไม่ราบรื่นนัก โลก ปัจ จุบัน จึงเป็น ยุคที่ใช้เ งิน แบบต้องวางแผน เป็น เทรนด์ ใ หม่ ที่ ห ลายๆ ประเทศก� ำ ลั ง มี ก ารระดม ความรู้เพื่อสนับสนุนให้พลเมืองตื่นตัวมากขึ้นใน การเลื อ กจั บ จ่ า ยใช้ ส อย ของที่ ซื้ อ ทุ ก อย่ า งให้ ประโยชน์กับชีวิตและคุ้มค่ากับเงินที่ต้องจ่ายออก ไปให้มากที่สุด

Life & Family 6


เงินทอง...เรื่องต้องจัดการ เงิ นทองต้องวางแผน

ส�ำหรับในประเทศไทยเองก็มีกระแสความตื่นตัวไม่น้อยจากผู้เชี่ยวชาญ และสถาบันการเงินมากมายทีส่ นับสนุนให้คนไทยวางแผนการใช้เงินมากขึน้ ไม่วา่ จะเป็นการท�ำรายจ่ายให้พอดีกบั รายรับ การกูย้ มื การตัดสินใจก่อนการ ลงทุน การเก็บออมเงิน การส�ำรองเงินไว้ใช้ยามฉุกเฉิน การแบ่งเงินเพือ่ การ กุศล ฯลฯ ทุกอย่างคือสิ่งที่ต้องน�ำมาวางแผนแทบทั้งสิ้น ไม่สามารถปล่อยให้เงิน ถูกใช้ไปตามอ�ำเภอใจได้อีกต่อไปแล้ว โดยเฉพาะในยามที่เศรษฐกิจโลก ก�ำลังผันผวนอย่างรุนแรง และส่งผลกระทบต่อสังคมขนาดใหญ่ทั้งการเงิน ระดับโลกและการเงินในระดับประเทศอย่างในขณะนี้

Life & Family 7


แนวคิดบริหารเงินในบ้าน กว่าที่คนเราจะจัดการการเงินในระดับใหญ่ๆ หรือลงทุนใน Big Project ใดๆ ก็ตามได้นั้น ต้องหันกลับมามองการจัดการการเงินในบ้านเสียก่อน บ้าน เป็นหน่วยย่อยทีส่ ดุ ทีจ่ ะจ�ำลองสังคมขนาดใหญ่ไว้อย่างครบครัน เพราะค่าใช้จา่ ย ในบ้านนั้นไม่ได้มีเพียงแค่ค่าอาหารการกิน แต่ยังประกอบไปด้วยค่าด�ำรง ชีวิตประจ�ำวัน ค่าบ�ำรุงบ้าน สถานที่ ค่าใช้จ่ายเพื่อการสาธารณูปโภคและอื่นๆ อีกมากมาย ตัวอย่างข้างล่างนี้เป็นสัดส่วนการใช้เงินของชาวอเมริกัน ที่นิยมใช้เป็นโมเดลบริหารการเงินในบ้านมาตั้งแต่ปี ค.ศ.1990-2012 50

%

1990

1995

2003

ส�ำหรับในประเทศไทย ส�ำนักงานสถิติแห่งชาติได้เปิดเผยสัดส่วน ค่าใช้จ่ายของครัวเรือน ตั้งแต่ปี 2550 เป็นต้นมา พบว่า

2012

43

40

39 33

30

30

เบ็ดเตล็ด

33

28 23

13

14

13

10

13

12

4

0

อาหาร

ที่อยู อาศัย

31% 32%

21

20

เสื้อผ า

7

5 5 5

7 2

สุขภาพ

บันเทิง

11

7

5

4 5

เบ็ดเตล็ด

งบสำหรับซื้อ หรือใช ยานพาหนะ

ประกันภัย

จากตัวเลขสัดส่วนล่าสุด เราจะเห็นภาพรวมได้ว่า เทรนด์การใช้เงินในบ้านสมัยใหม่ไม่ ได้ทุ่มเทการใช้จ่ายเพื่ออาหารการกินมากอย่างแต่ก่อน แต่ให้ความส�ำคัญกับค่าใช้จ่ายดูแล บ้านในภาพรวมมากขึ้น และเพิ่มงบส�ำหรับดูแลสุขภาพและประกันภัยมากขึ้น รวมไปถึง การให้ความส�ำคัญกับเงินออมหรือเงินฉุกเฉินมากกว่าเดิม ขณะที่ไม่ยอมเว้นที่จะแบ่งงบไว้ ส�ำหรับความบันเทิงในบ้านด้วย ที่มา : http://www.theatlantic.com

Life & Family 8

อาหาร

8% 9%

การเดินทาง

20% ที่อยู อาศัย

คนไทยให้งบค่าใช้จ่ายด้านอาหารมาก ที่สุด คือ 32% งบส�ำหรับการดูแลบ้านที่อยู่ อาศัย 20% งบเดินทาง 9% งบส�ำหรับซื้อ หรือใช้ยานพาหนะ 8% และงบอื่นๆ ราว 31%


ความล้มเหลวทางการเงิน ความล้มเหลวทางการเงิน นั้นหมายถึงการไม่มีเงินใช้จ่ายเพียงพอ ก่อ หนี้สินรุงรัง แม้จะมีรายได้ระดับสูงและมีเงินเข้ามาเป็นประจ�ำก็ตาม ซึ่งไม่ว่า ใครก็ตามสามารถอยู่ในภาวะนี้ได้ทั้งสิ้นหากไม่วางแผนในการใช้เงิน ซึ่งปัญหา ส่วนใหญ่ของการเงินที่ล้มเหลว มักเกิดจากปัจจัยหลักๆ 5 ประการ ได้แก่ • ใช้เงินอย่างไม่ระมัดระวัง ใช้จ่ายออกไปโดยไม่สัมพันธ์กับรายได้ที่รับ เข้ามา • ใช้เงินอนาคตล่วงหน้า โดยจ่ายในลักษณะสินเชื่อไปก่อน แล้วค่อยตาม ใช้คืนในภายหลัง เช่น เงินกู้ยืม เงินจากวงเงินบัตรเครดิต เป็นต้น • ประมาทกับการใช้เงิน มีแผนการใช้จา่ ยล่วงหน้าโดยไม่แน่ใจว่าจะมีรายได้ เข้ามาหรือไม่ หรือคาดเดาเอาว่าจะมีเงินเข้ามาทั้งที่ไม่มีความแน่นอน • ไม่ส�ำรองเงินส�ำหรับเผื่อเหลือเผื่อขาด เมื่อมีเหตุฉุกเฉินต้องใช้เงินเข้ามา จึงต้องน�ำเงินเก็บไปใช้ทั้งหมด และขาดสมดุลการเงินในเวลาต่อมา • ลงทุนท�ำธุรกิจหรือจ่ายไปในสิ่งที่ไม่มีความรู้เพียงพอ ขาดการวางแผน วิเคราะห์ ขาดที่ปรึกษาและประเมินสถานการณ์ผิดพลาด ปัจจุบันความล้มเหลวทางการเงินเกิดขึ้นทั้งในระดับบุคคล ระดับครอบครัว และระดับองค์กรธุรกิจ ซึ่งหากคุณเองเป็นอีกคนหนึ่งไม่อยากให้เกิดความ ล้มเหลวทางการเงิน ขอแนะน�ำให้ลองศึกษาวิธีบริหารการเงินดังต่อไปนี้ และ น�ำไปใช้บริหารการเงินของตัวเองและครอบครัวกันดูค่ะ

Life & Family 9


บริหารเงินในบ้านอย่างถูกวิธี ใช้เวลาสักวันเพือ่ หยุดกิจกรรมทุกอย่าง แล้วลงมือวางแผนทบทวนพิจารณา การใช้เงินอย่างจริงๆ เพื่อเริ่มต้นวางแผนการเงินที่เหมาะสม โดยใช้หลักการ ดังต่อไปนี้ 1.ประเมินสถานะทางการเงินที่แท้จริงของครอบครัว ความรวย จน มั่งมี เป็นนามธรรมที่ใช้วัดได้ยาก โดยเฉพาะเมื่อมีการ เปรียบเทียบกับผู้อื่น สิ่งที่ต้องประเมินอย่างแท้จริงคือ การตรวจสอบและ ตระหนักว่าปัจจุบันมีสินทรัพย์อยู่เท่าไหร่ และมีหนี้สินเท่าไหร่ จึงจะแสดงถึง ผลลัพธ์ของความมั่งคั่งได้ เพราะคนจ�ำนวนไม่น้อยมีรายได้สูงมากแต่มีหนี้ สินมากกว่า และยังด�ำรงชีวิตแบบลุ่มๆ ดอนๆ ติดขัดเรื่องเงินอยู่เสมอ การ พิจารณาความจริงข้อนีจ้ ะน�ำไปสูก่ ารบริหารและแก้ไขภาระหนีส้ นิ ในล�ำดับต่อไป 2.ตั้งเป้าหมายการใช้เงิน ลองจัดล�ำดับความส�ำคัญของการใช้เงินในบ้าน โดยแบ่งสัดส่วนเป็นร้อยละ ตามตัวอย่างข้างบน แล้วค�ำนวณออกมาเป็นตัวเลขตามรายได้ จะท�ำให้มองเห็น เงินทีต่ อ้ งใช้และเงินคงเหลืออย่างแท้จริง สามารถยืดหยุน่ และปรับได้ตามจ�ำเป็น ซึ่งช่วงแรกหากมีรายจ่ายที่ยังไม่สมดุล ก็ให้ปรับเปลี่ยนตัวเลขในเดือนต่อๆ ไป จนกว่าจะลงตัวที่สุด ตัวอย่างค�ำนวณ สัดส่วนการใช้เงิน มีรายได้เดือนละ

30,000 บาท

ค่าอาหาร

20%

6,000 บาท

การดูแลบ้าน

33%

7,800 บาท

ค่าเสื้อผ้า

4%

1,200 บาท

ดูแลสุขภาพ

5%

1,500 บาท

ความบันเทิง

5%

1,500 บาท

ค่าใช้จ่ายเพื่อการศึกษาบุตรและอื่นๆ 20%

6,000 บาท

เงินออม

5,700 บาท

Life & Family 10

19%

(จากตัวอย่าง หากมีเงินเดือน 30,000 บาท จะมีเงินเก็บเดือนละ 5,700 บาท โดย มี ค ่ า ใช้ จ ่ า ยครอบคลุ ม ทุ ก อย่ า งและไม่ มี หนี้สิน แต่หากมีหนี้สินอยู่แล้วจะมองเห็น ว่าควรหักจากส่วนไหนเพื่อไม่ ให้กระทบ กับค่าใช้จ่ายประจ�ำวัน เช่น หักจากเงิน ออม เป็นต้น)


3.ด�ำเนินตามแผนอย่างมุ่งมั่น แผนการเงินจะมีประโยชน์ก็ต่อเมื่อมีการลงมือท�ำตามนั้น การคุมตัวเลข การเงินอย่างมีวนิ ยั จะช่วยให้แต่ละเดือนคาดเดาการใช้เงินได้อย่างแน่นอน ความ มั่นคงทางการเงินจะเกิดขึ้นจริง ไม่ใช่เพราะมีเงินเหลือมากแต่เป็นเพราะการ จัดการที่ถูกวิธี หากขาดการปฏิบัติตามแผนก็อาจท�ำให้ล้มเหลวทางการเงินได้ เช่นกัน 4.ทบทวนการเงินเป็นระยะ ยืดหยุ่นให้สอดคล้องกับความเป็นจริง ทุกๆ 3-6 เดือน ควรประเมินร่วมกันกับคนในครอบครัว ว่าแผนการเงิน ที่ตั้งไว้เหมาะสมเพียงพอหรือไม่ หัวใจของการใช้เงินคือเพื่อให้ชีวิตมีความ สะดวกสบายขึ้น ได้รับปัจจัยแห่งการด�ำรงชีวิตที่ท�ำให้มีคุณภาพดี และประเมิน ว่าแต่ละเดือนมีอะไรติดขัดหรือไม่ หากมีก็ควรปรับปรุงแผนใช้เงินเป็นระยะ ให้สอดคล้องกับความเป็นจริง

Life & Family 11


แผนเงินส�ำรองฉุกเฉิน เงินส�ำรองฉุกเฉินเป็นเรื่องส�ำคัญมากในยุคปัจจุบัน เพราะมีเรื่องไม่คาด คิดเกิดขึ้นได้เสมอในทุกครอบครัว และมักเกี่ยวข้องกับการใช้เงิน ไม่ว่าจะเป็น การเกิดอุบัติเหตุ ปัญหาสุขภาพ ข้าวของช�ำรุดเสียหาย หรือการโยกย้าย ต�ำแหน่งงานที่ท�ำให้ต้องหาที่อยู่ใหม่ ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใดก็ตามการส�ำรอง เงินในยามฉุกเฉินสามารถท�ำได้ง่ายๆ ดังต่อไปนี้ 1.แบ่งสัดส่วนจากรายได้ประจ�ำเดือน เพื่อเข้าบัญชีส�ำรองไว้อย่างมีวินัย ซึ่งไม่จ�ำเป็นต้องเป็นเงินจ�ำนวนมาก หรือเงินก้อนขนาดใหญ่ แต่เป็นเงินเล็กเงินน้อยที่แบ่งได้จากค่าใช้จ่ายไม่ จ�ำเป็นในบ้าน เป็นประจ�ำสม�่ำเสมอ อย่างต่อเนื่อง 2.อย่าเบิกโดยไม่จ�ำเป็น หากไม่ใช่เรื่องคอขาดบาดตายจริงๆ ไม่ควรเบิกเงินก้อนนั้นมาใช้จ่ายไป ก่อน โดยคิดว่าไว้ค่อยน�ำมาทดแทน เพราะส่วนใหญ่มักจะเก็บเงินส�ำรองไม่ได้ ด้วยเหตุนี้ 3.อย่าใช้ปะปนกับเงินก้อนอื่น เพราะเงินส�ำรองก็คือเงินส�ำรอง ไม่ใช่เงินใช้จ่ายในชีวิตประจ�ำวัน หากเก็บ เงินเข้าบัญชีธนาคารไว้ ควรหลีกเลี่ยงการท�ำบัตร ATM ที่จะท�ำให้เบิกได้ง่ายๆ หรือใช้ระยะเวลาเป็นตัวก�ำหนด เช่น จะเบิกได้ก็ต่อเมื่อครบ 6 เดือน หรือ 1 ปี เป็นต้น 4.ไตร่ตรองเสมอ ก่อนจะน�ำเงินฉุกเฉินมาใช้ ให้แน่ใจจริงๆ ว่าเป็นเหตุการณ์ส�ำคัญที่ไม่สามารถแก้ปัญหาด้วยเงินประจ�ำ เดือน และเมื่อน�ำออกมาใช้แก้ปัญหาได้แล้ว ควรหาทางส�ำรองใหม่ไปอย่าง ต่อเนือ่ งแบบเดิม เพือ่ เตรียมเงินส�ำรองส�ำหรับเหตุการณ์ฉกุ เฉินในอนาคตต่อไป Life & Family 12


แผนการเงินเมื่อมีลูก การมีลูกเป็นเรื่องใหญ่ในชีวิตของทุกครอบครัว เพราะการมีสมาชิกเพิ่ม ขึ้นมาแม้เพียงคนเดียว นั่นหมายถึงค่าใช้จ่ายทุกด้านที่ต้องเพิ่มขึ้น คุณพ่อ คุณแม่จ�ำเป็นต้องวางแผนการเงินไว้เนิ่นๆ ตั้งแต่เริ่มที่คิดจะมีลูก โดยอาจใช้ วิธีออมเงินเพิ่มขึ้นในแต่ละเดือนจะช่วยให้การเงินราบรื่นมากขึ้น โดยเรื่องที่ ต้องค�ำนึงถึง ได้แก่ 1.ค่าใช้จา่ ยระหว่างตัง้ ครรภ์ คุณแม่ตอ้ งแบ่งค่าใช้จา่ ยส่วนหนึง่ ส�ำหรับการเตรียมตัวฝากครรภ์ การนัดหมอแต่ละครั้ง มีคา่ ใช้จ่ายแตกต่างกัน ออกไปตามอายุครรภ์ ตั้งแต่ฝากครรภ์ การอัลตราซาวนด์ การตรวจเลือด ค่า อาหารเสริมและยาบ�ำรุงครรภ์ เป็นต้น ทั้งหมดนี้จะต้องใช้เงินตลอดอายุครรภ์ จนกระทั่งคลอด ซึ่งสามารถขออัตราค่าใช้จ่ายได้จากโรงพยาบาลใกล้บ้านทุก แห่ง ทั้งโรงพยาบาลของรัฐและเอกชน 2.ค่าใช้จ่ายในการคลอดลูก มักต้องใช้จ่ายเงินก้อนใหญ่ตอน คลอดลูก ควรตรวจสอบสิทธิประโยชน์ของตัวเองให้แน่นอนว่าสามารถเบิก จ่ายค่าท�ำคลอดได้จากที่ไหนบ้าง เช่น สวัสดิการประกันสังคมซึ่งให้เบิกได้บาง ส่วน หรือเงินจากประกันสุขภาพ สิทธิตามบัตรทอง หรือเลือกโรงพยาบาล เอกชนที่ยินดีจ่ายค่าใช้จา่ ยเอง ควรสอบถามอัตราค่าท�ำคลอดของโรงพยาบาล เอาไว้ก่อนเพื่อประเมินการใช้จ่าย 3.ค่าใช้จ่ายในการเลี้ยงดูบุตร เด็กวัยแรกเกิด-2 ปี นั้นมีค่า ใช้จ่ายจิปาถะตั้งแต่ค่านม ค่าผ้าอ้อม เสื้อผ้าเด็ก อาหาร ของกินของใช้ ค่า ตรวจสุขภาพ การฉีดวัคซีน เป็นต้น ทั้งหมดนี้เป็นค่าใช้จ่ายที่ต้องเพิ่มขึ้นมา ในแต่ละเดือน 4.ค่าใช้จ่ายส�ำหรับเด็กเล็กวัยเริ่มเข้าเรียน ส่วนใหญ่มัก พาเด็กเข้าเรียนในช่วงหลัง 2 ปีเป็นต้นไป ซึ่งนอกเหนือจากค่าใช้จ่ายพื้นฐาน แล้วต้องเพิ่มค่าเล่าเรียนตามระดับชั้นที่เพิ่มขึ้น ควรเลือกโรงเรียนใกล้บ้านที่ ช่วยประหยัดค่าเดินทาง และมีอัตราค่าเล่าเรียนเหมาะสมกับรายได้ 5.เงินส�ำรองด้านสุขภาพและการศึกษา นอกเหนือจากค่า ใช้จ่ายรายเดือนเพื่อเด็กๆ แล้ว ยังควรเก็บเงินบางส่วนไว้เพื่อเป็นทุนส�ำรอง ส�ำหรับกรณีลูกไม่สบายร้ายแรง การเรียนพิเศษ การเข้าร่วมกิจกรรมพิเศษ การไปทัศนศึกษา เป็นต้น เพื่อไม่ให้กระทบกับค่าใช้จ่ายประจ�ำวัน

Life & Family 13


วางแผนเมื่อต้องกู้ นอกจากเรื่องไม่คาดคิดในครอบครัวแล้ว คนเรายังมีเหตุการณ์ใหม่ๆ เกิด ขึ้นในชีวิตได้เสมอ ไม่ว่าจะเป็นแผนการศึกษาต่อ การย้ายบ้าน โยกย้ายที่ ท�ำงาน การปรับปรุงซ่อมแซมบ้านที่เสียหายเพราะกาลเวลาหรือภัยพิบัติ เป็นต้น หากพิจารณาแล้วว่าจ�ำเป็นต้องกู้ยืมเงินจากสถาบันการเงินจริงๆ ควร ค�ำนึงถึงความเสี่ยงและรักษาสมดุลการเงินให้ได้ เพื่อไม่ให้สถานะทางการเงิน ต้องซวนเซเพราะการเป็นหนี้ คิดให้ดีก่อนเป็นหนี้ เพื่อให้แน่ใจว่าสถานการณ์นั้นมีเหตุผลเพียงพอที่จะต้องหยิบยืมกู้เงิน และ จ่ายดอกเบี้ยทั้งระยะสั้นและระยะยาว อย่าใช้ความคิดเพียงชั่ววูบหรือหุนหัน พลันแล่นกับการก่อหนี้ และให้แน่ใจว่ามีเหตุผลเพียงพอที่จะเป็นหนี้ ปรึกษาคนใกล้ชิด จะเป็นประโยชน์มากหากมีคนช่วยคิด ให้ค�ำปรึกษาและแนะน�ำ อย่าตัดสิน ใจเป็นหนี้เพียงล�ำพังโดยไม่บอกกล่าวคู่ชีวิตหรือคนในครอบครัว เพื่อให้คู่ชีวิต ได้รับรู้สถานะทางการเงินที่แท้จริง กู้ยืมเงินในระบบอย่างถูกต้อง ควรศึกษาเงื่อนไขการกู้ยืมให้ดีที่สุดเพื่อพิจารณาตัวเลขดอกเบี้ย การแบ่ง จ่ายรายงวดที่เหมาะสมกับรายได้แต่ละเดือน และทางที่ดีควรยื่นกู้กับสถาบัน การเงินที่น่าเชื่อถือ มีอัตราดอกเบี้ยตามที่ก�ำหนดไว้ ไม่เอาเปรียบลูกหนี้และ สามารถต่อรองผ่อนผันได้ยามจ�ำเป็น จ่ายหนี้ด้วยตัวเลขที่เหมาะสม หากเป็นหนี้ระยะสั้น มักมีค่างวดที่ค่อนข้างสูง ให้พิจารณาถึงผลกระทบ กับรายจ่ายส่วนอื่นๆ เพื่อมองหาตัวเลขที่เป็นหนี้ในระยะที่เหมาะสม ใช้วิธี กลับไปดูสัดส่วนร้อยละของค่าใช้จ่ายทั้งหมดในบ้าน ทางที่ดีควรแบ่งจาก ส่วนของเงินออมมาเป็นเงินช�ำระหนี้ แทนการเบียดเบียนเงินส่วนอื่นๆ หรือ อาจปรับตัวเลขค่าใช้จ่ายส่วนอื่นลงได้ ไม่ควรเลือกผ่อนจ่ายต่อเดือนสูงมากไป จนกระทบกับคุณภาพชีวิตด้านอื่น อย่าพยายามสร้างหนีห้ ลายทาง หากมีหนีก้ อ้ นที่ 1 พยายามช�ำระให้ตรงเวลา และปิดในเวลาทีเ่ หมาะสม ก่อนทีจ่ ะก่อหนีก้ อ้ นใหม่ ไม่อย่างนัน้ จะท�ำให้เป็นหนี้ หลายทางหลายก้อน และเริ่มเสียสมดุลทางการเงินได้ในที่สุด Life & Family 14


เคล็ดลับการเก็บเงิน แม้จะวางแผนเงินออมเป็นอย่างดี แต่ครอบครัวจ�ำนวนไม่น้อยมักประสบ ปัญหาเงินออมหมดเร็วกว่าที่คิด หรือเก็บเงินหลายปีแต่ไม่สามารถรักษาไว้ใช้ จ่ายยามจ�ำเป็นได้ เคล็ดลับเล็กๆ น้อยๆ ต่อไปนี้น่าจะช่วยให้เก็บเงินได้ง่ายขึ้น 1.หาแรงบันดาลใจในการเก็บเงิน ลองตั้งเป้าหมายเล่นๆ ถึงสิ่งที่มุ่งหวัง และตีค่าออกมาเป็นจ�ำนวนเงินรวม จากนัน้ หารกลับมาเป็นจ�ำนวนเงินทีต่ อ้ งออมในแต่ละเดือน เช่น ต้องการไปเทีย่ ว ต่างประเทศในอีก 2 ปีข้างหน้า เมื่อค�ำนวณว่าต้องเก็บเดือนละเท่าไหร่ก็ให้ท�ำ ตามนั้น และคิดถึงมันบ่อยๆ 2.ชวนคนในบ้านออมเงิน การมีออมสินคนละตัวเป็นเรือ่ งน่ารักมาก ไม่วา่ จะเป็นคุณพ่อคุณแม่ คุณลูก เป็นการสอนวินยั ในการใช้เงินอย่างเป็นรูปธรรม ไม่มีใครเแก่เกินไปทีจ่ ะเก็บเงิน หยอดกระปุก เมื่อเต็มแล้วก็น�ำฝากเข้าบัญชี จะแยกบัญชีของใครของมันหรือ ฝากรวมกัน เพื่อท�ำกิจกรรมร่วมกันก็ได้ 3.หาวิธีออมชวนเก็บเงิน หลายคนใช้วิธีง่ายๆ เช่น ใช้จ่ายเงินค่าอาหารไปวันละเท่าไหร่ก็เก็บเข้า กระปุกเท่านั้น หรือเก็บเงินจากแบงค์ 50 บาททุกใบที่ได้มาโดยไม่จ่ายออกไป หรือทุกๆ วันที่จ่ายไป ให้ค�ำนวณเป็น 20% เพื่อหยอดเข้ากระปุก เป็นต้น การ ตั้งเป้าหมายสนุกๆ ช่วยให้การออมเป็นเรื่องสนุกขึ้นด้วย 4.ฝากคนอื่นออมให้ มีบริษัทหลายแห่งใช้วิธีหักเงินออมให้พนักงานก่อนจ่ายเงินเดือน หรือ บางคนที่ยังไม่มีภาระมากนักก็ใช้วิธีฝากแม่ฝากพ่อให้เก็บไว้แทน 5. เก็บในรูปแบบอื่นๆ ที่อาจไม่ใช่ตัวเงิน อาจเก็บเงินในรูปแบบอืน่ ๆ แทน เช่น การซือ้ พันธบัตร สลากออมสินเพือ่ ลุน้ รางวัล ลงทุนในตลาดหุ้น การเก็บเป็นทองแท่งและรูปพรรณ เป็นต้น ทั้งหมดนี้ อยู่ที่ความชอบและความพอใจ แต่ควรศึกษาเงื่อนไขให้ดีที่สุดก่อน

Life & Family 15


เงินกับชีวิตสมดุล หัวใจของกำรใช้เงินคือ เพือ่ สร้ำงชีวติ ทีม่ คี ณ ุ ภำพ และหัวใจของกำรวำงแผน กำรเงินก็เพื่อให้มีควำมมั่นคงทำงกำรเงินและอนำคตที่สดใส กำรจัดกำรทำงกำรเงินทีถ่ กู ต้องคือ กำรรักษำควำมสมดุลระหว่ำงรำยรับและ รำยจ่ำย กำรมีเงินออมเพื่อไม่ให้ชีวิตซวนเซเมื่อถึงครำวจ�ำเป็น ซึ่งหัวใจ 3 ข้อ ของกำรจัดกำรทำงกำรเงิน นั่นคือ

รู วิธีหาเงิน

ที่มาจากความสามารถ ความขยัน ความซื่อสัตย์สุจริต และถูกกฎหมาย

รู ใช เงิน การใช้ในสิ่งที่จ�าเป็น เหมาะสม รู้เท่าทันการโฆษณา ไม่ตกเป็นเหยื่อ จากความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ การมีสติในการใช้จ่าย อยู่เสมอ

การรู จักเก็บเงิน

การวางแผนเงินออมที่ดี เพื่อใช้จ่ายในอนาคต หรือใช้เงินในการลงทุน ให้งอกเงยขึ้นมาได้ ในอนาคต

กำรวำงแผนกำรเงินที่ดีเป็นพื้นฐำนของกำรวำงแผนเรื่องอื่นๆ ในชีวิตให้ดี ตำมไปด้วย เป็นเรื่องที่สำมำรถท�ำได้ทันที ไม่ต้องรอให้พร้อม ยิ่งวำงแผนได้ เร็ว ยิ่งสร้ำงสมดุลกำรใช้ชีวิตได้เร็ว และคุณภำพชีวิตก็จะดีได้อย่ำงรวดเร็วอีก ด้วยค่ะ Life & Family 16



HOME & LIFESTYLE Our Home เรื่อง เอกเขนก

ก�ำจัดแมลง

แบบ Non Toxic แมลงตัวเล็กตัวน้อยที่อยู่บริเวณรอบบ้านอย่างมด ยุง แมลงสาบนั้น ล้วนก่อความร�ำคาญให้กับคนในบ้าน นอกจากนั้นยังน�ำเชื้อโรคต่างๆ ที่ท�ำให้คนในบ้านเจ็บป่วยได้อีกด้วย ฉบับนี้เรามีวิธีช่วยก�ำจัดแมลงเหล่านี้ ให้ห่างไกลจากบ้านคุณแบบปลอดสารเคมีมาฝากค่ะ 1.ก�ำจัดแหล่งน�้ำขัง เช่น จานชามที่ยัง ไม่ได้ล้างแต่แช่น�้ำไว้เฉยๆ หรือมีน�้ำเจิ่งนองที่ใด ที่นั่นจะ ดึงดูดยุงและแมลงสาบ ฉะนั้นต้องพยายามเช็ดล้างจาน ชามและคว�่ำให้แห้งทันที เช็ดคราบน�้ำที่อาจมีตามพื้น ต่างๆ รวมทั้งสังเกตดูว่าท่อน�้ำและอ่างน�้ำมีน�้ำรั่วหรือไม่ เพื่อหลีกเลี่ยงการดึงดูดเหล่าแมลงเข้ามาในบ้าน

2.อุดรอยรั่วรอยแตก ไม่ว่ารูโหว่ตาม

มุ้งลวด รอยแตกตามผนัง ขอบประตู ขอบหน้าต่าง แม้ เป็นรอยเล็กๆ แต่ก็เป็นประตูต้อนรับเหล่าแมลงให้เดิน เข้าบ้านเราได้อย่างสะดวก ควรอุดรูและรอยรั่วต่างๆ ให้ เรียบร้อย

3.พื้นที่สวนต้องระวัง รู้ไหมคะว่าการ

มีพื้นสวนอยู่ ใกล้บริเวณบ้านมากเกินไปจะส่งให้แมลง ต่างๆ เดินพาเหรดเข้าบ้านคุณได้ ควรจัดสวนให้อยู่ห่าง จากตัวบ้านอย่างน้อย 1 ฟุตเพื่อไม่ให้แมลงต่างๆ ที่เกาะ ตามสุมทุมพุ่มไม้กระโดดเข้าบ้านได้ง่ายๆ

Life & Family 18


4.เศษไม้ อย่ามองข้าม หลายคนนิยม

เอาเศษไม้เล็กๆ มาปูพื้นทางเดิน แต่เศษไม้เหล่านี้ก็จะ เป็นแหล่งซ่องสุ่มของมดไม้และปลวก ซึ่งจะท�ำให้ไปรุม กัดกินไม้ในบ้านคุณๆ ได้เช่นกัน

5.ดินเบาผู้ช่วยไล่แมลง ดินเบาเป็น

ดินซุย น�้ำหนักเบา เนื้อพรุน ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ มี ลักษณะคล้ายชอล์ก เวลาใช้ให้น�ำไปโรยรอบบ้านจะท�ำ หน้าที่เป็นเกราะป้องกันแมลงไม่ให้เข้าบ้าน ซึ่งดินเบานี้ จะดูดซึมของเหลวจากแมลงท�ำให้แมลงตายได้

6.ยาฆ่าแมลงปลอดสารเคมี ส�ำหรับ

คนรักต้นไม้ที่ไม่อยากใช้ยาฆ่าแมลงเพราะบ้านมีลูกเล็ก เรามี สู ต รยาฆ่ า แมลงที่ ไ ม่ มี ส ารเคมี ม าฝากค่ ะ ให้ ใ ช้ กระเทียม 15 กลีบและน�้ำพอท่วมมาปั่นให้เข้ากัน กรอง เอาแต่น�้ำด้วยผ้าขาวบาง น�ำไปฉีดที่ใบไม้ที่ถูกแมลงกัด กินทุกวัน สักพักแมลงจะหายไปค่ะ

7.สูตรเด็ดก�ำจัดแมลงวัน หลายๆ คนร�ำคาญแมลงวันทีจ่ ะบินเข้ามาวนเวียนในบ้าน เพียงเอา น�้ำยาล้างจานมาผสมกับน�้ำเปล่าใน อัตราส่วน 1 : 1 แล้ว น�ำไปพ่นใส่แมลงวันก็จะท�ำให้แมลงวันหายใจไม่ออกและ ถูกก�ำจัดไปในที่สุด ได้เคล็ดลับก�ำจัดแมลงง่ายๆ ไปแล้ว หวังว่าจะไปช่วยให้บ้านของคุณๆ ทั้งหลายปลอดแมลงกวนใจ แถมไม่เสี่ยงสารพิษ สบายใจและปลอดภัยกันทุกบ้านค่ะ Life & Family 19


HOME & LIFESTYLE Inspire corner เรื่อง จินตนา เวสเซลลิ่ง

Adorable

Fabric Box กล่องผ้าน่ารัก

สวัสดีค่ะคุณผู้อ่านที่ติดตามคอลัมน์ Inspire Corner มาตลอดและลองหัดท�ำตาม ดูบ้าง อาจจะเริ่มคุ้นเคยกับรูปแบบการเย็บกระเป๋าที่ฉันเลือกมาสาธิตในแต่ละครั้ง ซึ่งวิธี การหลักๆ จะคล้ายๆ กัน แต่เราสามารถดัดแปลงแพตเทิร์นไปสู่งานหลากหลายแบบได้ ครั้งนี้ก็เช่นกันแต่แทนที่เราจะท�ำเป็นกระเป๋า เราลองมาท�ำกล่องผ้าน่ารักๆ แทนกันค่ะ อุปกรณ์

• ผ้าส�ำหรับท�ำตัวกล่อง 2 ชิ้น (สีกรมท่า) แต่ละชิ้นขนาด 20 x 15 ซม. ตอนตัดเผื่อตะเข็บไว้ 1 ซม. • ผ้าส�ำหรับท�ำผ้าซับใน 2 ชิ้น (ลายจุด) แต่ละชิ้นขนาด 20 x 15 ซม. ตอนตัดเผื่อตะเข็บไว้ 1 ซม. • ผ้าส�ำหรับท�ำตัวฝาปิดด้านบนและด้านหน้า 2 ชิ้น แต่ละชิ้นขนาด 16 x 10 ซม. ตัดเผื่อตะเข็บไว้ 1 ซม. • กระดาษแข็งหรือกระดาษลูกฟูก ขนาด 9 x 10 ซม. จ�ำนวน 4 ชิ้น, ขนาด 10 x 10 ซม. จ�ำนวน 2 ชิ้น, และ 4 x 10 ซม. จ�ำนวน 1 ชิ้น • เชือกส�ำหรับท�ำตัวล็อก • สายวัด เข็มหมุด กระดุม ชอล์กเขียนผ้า กรรไกร ไม้บรรทัด Life & Family 20


1

2

3

4

5

6

7

8

9

วิธีท�ำ : 1.เย็บชิ้นผ้าส�ำหรับท�ำตัวกล่อง (สี ส่วนของผ้าที่เป็นด้านบนซึ่งเป็นฝา กรมท่า) เย็บทุกด้านยกเว้นด้านบน 2. ใช้เตารีดรีดตะเข็บด้านข้างให้ แบนราบ หลังจากนั้นจับมุมทั้งสอง เข้าหากันตามรูป 3.เย็บมุมแต่ละด้านเข้ามา ยาว 10 ซม. หลังเย็บใช้กรรไกรขลิบมุมออก เว้นตะเข็บไว้ 1 ซม. 4.ท�ำวิธีเดียวกันตามขั้นตอน 1 - 3 กับผ้าซับใน (ผ้าลายจุดตามตัวอย่าง) หลังจากนั้นกลับด้านถูกออกมา แล้ว วางลงไปในชิ้นผ้าสีกรมท่าที่เย็บเสร็จ แล้วในข้อ 3 จากนั้นจัดมุมและตะเข็บ ให้ตรงเสมอกันทุกด้าน และใช้เข็ม หมุดยึดผ้าทั้งสองชิ้นไว้ 5.เย็บริมผ้าทั้ง 2 ชิ้นเข้าด้วยกัน เผื่อช่องไว้ 10 ซม. ส�ำหรับกลับด้าน ผ้ าออกมา และไว้ส�ำหรับ การสอด กระดาษแข็งเข้าไประหว่างผ้าทั้ง 2 ชิ้น กระดาษขนาด 9 x 10 ซม. จะอยู่ ด้านที่เป็นก้นกล่อง และด้านข้างทั้ง 2 ด้าน ส่วนกระดาษขนาด 10 x 10 ซม. จะอยูด่ า้ นหน้าและด้านหลังของกล่อง

กล่อง น�ำด้านผิดประกบกัน เย็บทุก ด้านยกเว้นด้านล่าง จากนั้นกลับด้าน ผ้า และสอดกระดาษแข็งขนาด 9 x 10 ซม. ที่เหลือเข้าไป ส่วนกระดาษ ขนาด 4 x 10 ซม. จะเป็นส่วนของฝา ปิดด้านหน้า 6.เย็บปิดด้านที่เหลือ เย็บระหว่าง ฝาด้านบนและด้านหน้า พร้อมกับ ติดกระดุม 7. ประกอบตัวฝาเข้ากับตัวกล่อง โดยใช้วิธีสอยด้วยมือ 8.ติดกระดุมอีกเม็ดทีเ่ หลือตรงด้าน หน้ากล่อง ร้อยเชือกเข้ากับกระดุมไว้ ส�ำหรับท�ำเป็นตัวล็อก 9.เสร็จทุกขั้นตอนเราก็จะได้กล่อง ผ้าน่ารักๆ ตามรูปตัวอย่างไว้ใช้ หาก ใครอยากจะดัดแปลงขนาดกล่องให้ ใหญ่ขึ้น ก็สามารถปรับสัดส่วนจาก ตัวอย่างนี้ได้นะคะ หวังว่างานชิ้นนี้จะไม่ยากเกินไป แล้วพบกันอีกกับงานน่ารักๆ แบบนี้ คราวหน้า Enjoy Sewing ค่ะ Life & Family 21


HOME & LIFESTYLE Relax Zone เรื่อง กัลยกร

Singapore Element

ต่อไปเป็นเมนูลักซา (380 บาท) สไตล์สิงคโปร์ ที่ได้รับ แรงบันดาลใจมาจากวัฒนธรรมเปอรานากัน และท�ำจาก พืชผักสวนครัวเฉพาะของท้องถิ่น จานนี้ถือเป็นเมนูโปรด ตลอดกาลของทั้งชาวสิงคโปร์และชาวต่างชาติจากทั่วโลก ทีเ่ ดินทางไปเยือนประเทศสิงคโปร์ ต่อด้วยเมนูนาซีเลอมะก์ ของมาเลย์ (270 บาท) เสิร์ฟตามแบบดั้งเดิมบนใบตอง และสุดท้าย เมนูก๋วยเตี๋ยวฮกเกี้ยนกุ้งในน�้ำซุป (330 บาท) ก๋วยเตี๋ยวเมนูโปรดอีกจานหนึ่ง โดยชื่อของเมนูนี้มาจาก ชื่อถนนฮกเกี้ยนในสิงคโปร์ นอกจากจะอิ่มท้องกับอาหารอร่อยแล้ว ยังสบายตา ไปกับความร่มรื่น ที่รายล้อมไปด้วยต้นไผ่ในบรรยากาศ กลางแจ้งที่ช่วยให้อาหารสไตล์สิงคโปร์มื้อนี้อร่อยอย่าง ลงตัวจริงๆ ค่ะ

สิงคโปร์ เมืองท่องเที่ยวที่รวบรวมความหลากหลาย แหล่งช็อปปิ้งถูกใจ นอกจากนั้นเรื่องอาหารอร่อยๆ ก็ไม่ แพ้เมืองใดด้วยเช่นกันค่ะ หากคุณเป็นคนหนึ่งที่ถูกปากอาหารสิงคโปร์ ตอนนี้ไม่ ต้องเสียเวลาบินไปแล้วแค่แวะไปที่ ห้องอาหารเอเลเมนท์ โรงแรมอัมรา กรุงเทพฯ ก็จะพบกับอาหารความอร่อยใน สไตล์สิงคโปร์ต้นต�ำรับเลยทีเดียว เชฟโคลิน เหลียง ได้แนะน�ำ 5 เมนูเด็ดทีล่ ว้ นเป็นอาหาร ขึ้นชื่อที่สุดของสิงคโปร์ อาหารแต่ละจานจะบอกเล่าเรื่อง ราวแห่งมรดกสืบทอดทางวัฒนธรรมหลากหลายเชื้อชาติ ของประเทศสิงคโปร์ และชวนให้ร�ำลึกถึงประวัติศาสตร์อัน น่าสนใจทีส่ ะท้อนให้เห็นผ่านกิจกรรมยามว่างที่โปรดปราน ของคนในประเทศนี้ ได้แก่ การเสาะหาอาหารแสนอร่อย รับประทาน ส�ำหรับอาหารต้นต�ำรับสิงคโปร์ทเี่ ป็นไฮไลต์จานแรกคือ อาหารที่เป็นตัวแทนของประเทศสิงคโปร์อย่าง ข้าวมันไก่ ไหหล�ำ (270 บาท) อาหารที่ดูเรียบง่ายแต่อัดแน่นไปด้วย รสชาติทตี่ า่ งจากหน้าตาอันเรียบง่ายโดยสิน้ เชิง จานต่อมา คือ บักกุด๊ เต๋ (230 บาท) ชาวสิงคโปร์ขนานนามว่าบักกุด๊ เต๋ ของโรงแรมอัมรา กรุงเทพฯ เป็นแบบไฮคลาส หรือไฮโซ

Info : ห้องอาหารเอเลเมนท์

ที่ตั้ง : โรงแรมอัมรา กรุงเทพฯ เวลาเปิดบริการ : ตั้งแต่เวลา 07.00 น.-22.30 น. โทรศัพท์ : 0 2021 8888 www.amarahotels.com

Life & Family 22




Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.