Life & Family Vol.2 No.19 August 2015

Page 1

สื่อในกลุ่มบริษัท อาร์แอลจี

Vol.2 No.19 August 2015

Raw Food

ออร์แกนิกฟู้ด

สุขภาพดีด้วย อาหารสด

ทางเลือกของ คนรักสุขภาพ

คลีนฟู้ด

เทรนด์อาหาร มาแรง

น้ำ�มัน...

M o d e r n L i f e ส ม ดุ ล ชี วิ ต 3 6 0 ํ

Healthy Food

for

กินแบบไหนดี?

Good Life กินรักษ์สุขภาพ

ครบเครื่อง เรื่องต้องรู้ ผู้หญิงยุคใหม่

FREE พร้อมนิตยสาร ModernMom



Editor Talk

Contents

Vol.2 No.19 August 2015

สวั สดีค่ะ คุณผู้อ่านที่รัก You Are What You Eat

คือประโยคดังเกี่ยวกับ สุขภาพที่หลายๆ คนจ�ำได้แม่นค่ะ หรือจะพูดง่ายๆ ว่า สุขภาพดีหรือแย่ก็อยู่ที่อาหารที่เราหยิบเข้าปากนี่แหละ ค่ะ Life & Family เดือนสิงหาคมนี้จะชวนคุณๆ ที่รักและ ครอบครัวมาใส่ ใจ เลือกสรรอาหารเพื่อสร้างสุขภาพดี ในฉบับ Healthy Food for Good Life กินรักษ์สุขภาพ นอกจากกระแสของการใส่ใจดูแลสุขภาพที่มาแรงขึ้น เรื่อยๆ ในทุกมุมโลกแล้ว การเลือกกินอาหารดีมีคุณภาพ ถือเป็นจุดเริม่ ต้นดูแลตัวเองให้ลดความเสีย่ งปัญหาสุขภาพ ช่วยให้ห่างไกลจากโรคต่างๆ เรียกว่า ป้องกัน แบบนี้ง่าย สะดวก ประหยัดกว่าซ่อมสุขภาพตอนป่วยกันภายหลัง เยอะค่ะ อ่ า นแล้ ว เกิ ด แรงบั น ดาลใจไม่ ว ่ า จะเป็ น Organic Food, Clean Food หรือ Raw Food หากสนใจก็เริ่มต้น ดูแลสุขภาพตัวเองด้วยอาหารดีๆ กันได้เลยค่ะ

Editor Talk

3

Guru : Healthy Senior รับมือปัญหาปัสสาวะเล็ด

4

Guru : Wellness เลือกน�ำ้ มันให้ถูก (หัว) ใจ?

5

Highlight : Healthy Food for Good Life - Organic Food : ทางเลือกของคนรักสุขภาพ - Clean Food : อีกขั้นของอาหารเพื่อสุขภาพ - Raw Food : มังสวิรัติรักษ์โลก รักสุขภาพ - Directory Health Food Shop

6

Our Home ขัดสีฉวีวรรณเครื่องประดับ

18

Inspire Corner Lovely Lunch Bag

20

Relax Zone Fashion Food Designed by The Square 22

ทีมงานนิตยสาร Life&Family

เจ้าของ กลุ่มบริษัท อาร์แอลจี (RLG) ประธานกรรมการบริหาร อนันต์ ศิริภัสราภรณ์ ผู้ก่อตั้งและประธานสถาบัน อาร์แอลจี สุภาวดี หาญเมธี ที่ปรึกษา ศ.นพ.ไกรสิทธิ์ ตันติศิรินทร์, ศ.พญ.ชนิกา ตู้จินดา, ดร.เลขา ปิยะอัจฉริยะ, ศ.พญ.วัณเพ็ญ บุญประกอบ, ดร.สายสุรี จุติกุล, รศ.พญ.เสาวคนธ์ อัจจิมากร, ดร.วรนาท รักสกุลไทย, รศ.นพ.วิทยา ถิ​ิฐาพันธ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ศิริพร ผลชีวิน รองประธานฝ่ายปฏิบัติการสายธุรกิจ Communications ชนิดา อินทรวิสูตร รองประธานฝ่ายบริหารและการ เงิ น มาลี จั น ทร์ ม าลี ผู้ อำ � นวยการบริ ห าร Woman Business ชนิ ด า อิ น ทรวิ สู ต ร บรรณาธิ ก ารอำ � นวยการ/บรรณาธิ ก ารผู้ พิ ม พ์ ผู้ โ ฆษณา สรั ญ ญา โภคาลั ย บรรณาธิ ก ารบริ หาร สรั ญ ญา โภคาลั ย บรรณาธิ ก าร สุ ช าดา เทพหินลัพ บรรณาธิการต้น ฉบับและพัฒนาเนื้อหา ศศิพินทุ์ อุษณีย์มาศ กองบรรณาธิการ นภชา ทังคัมวิจิตร พิสูจน์อักษร ดารารัตน์ ดีก้องเสียง Creative Director วันเฉลิม สุขมาก หัวหน้าศิลปกรรม เด่นใจ โกมลกาญจน ศิลปกรรม นิพนธ์ โพธิ์ชุม, มณเฑียร ศุภโรจน์ ช่างภาพ ธาร ธงไชย, เอกรัตน์ ศรีพานิชย์ ศิลปกรรมอาวุโสงานขายโฆษณาและสื่ออิเล็กทรอนิกส์ วชรพรรณ น้อยศรี, พัฒนา กลิ่นอ่อน ประสานงานกองบรรณาธิการ พิมพ์ชนก ณ สงขลา ผู้จัดการฝ่ายการตลาด มาลินี อัศว์วิเศษศิวะกุล ผู้อำ�นวยการฝ่ายขายสื่อโฆษณา สุรชัย บรรลือ ผู้จัดการฝ่ายขายสื่อโฆษณา รุ้งลัดดา จักรบุตร #3343 เจ้ า หน้ า ที่ ข ายสื่ อ โฆษณา ประภั ส สร ทองดี #3359, กุ ณ ฑลี จิ โ นการ #3334 ลิ น ดา เจนวิ วั ฒ น์ ส กุ ล #4723 ผู้ อำ � นวยการฝ่ า ยขายสื่ อ โฆษณา Corporate สมอุ ร า สั ง ขจั น ทร์ #2210 รองผู้ อำ � นวยการฝ่ า ยขายสื่ อ โฆษณา Corporate สมใจ ชวาลวณิ ช ชั ย #2211 เจ้ า หน้ า ที่ ข ายสื่ อ โฆษณา Corporate นั น ทิ ย า ยิ น ดี #3332, อิ น ทิ ร า เสลานนท์ #3333, วิ ภ าวดี ดิ ษ ฐสุ ธ รรม #2241, สิ ริ พ ร ทองไกร #2234, จิ ต ติ ม า โพสิ น ธุ์ #2242 ประสานงานฝ่ า ยขายโฆษณา สุ ร างค์ สุ ริ ว งษ์ #3325 ผู้เชี่ยวชาญฝ่ายเทคโนโลยีการผลิต ปัญณภพ ศรีหะรัญ ประสานงานฝ่ายผลิต สุชรัสส์ คงมิ่ง Contact Us กลุม่ บริษทั อาร์แอลจี 932 ถนนประชาชืน่ แขวงวงศ์สว่าง เขตบางซือ่ กรุงเทพฯ 10800 กองบรรณาธิการ การตลาดและประชาสัมพันธ์ โทรศัพท์ 0 2831 8400, 0 2913 7555 ต่อ 4420-4424, 3520, 3535 โทรสาร 0 2831 8499 mmm@rlg.co.th แผนกลูกค้าสัมพันธ์(บริการสมาชิก) โทรศัพท์ 0 2831 8400, 0 2913 7555 ต่อ 2221-2 โทรสาร 0 2831 8422 member@rlg.co.th แยกสี/เพลท : บริษัท สุนทรฟิล์ม จำ�กัด โทรศัพท์ 0 2216 2760 พิมพ์ : บริษัท พิมพ์ดี จำ�กัด โทรศัพท์ 0 2401 9401 กระดาษ : บริษัท ดั๊บเบิ้ล เอ (1991) จำ�กัด (มหาชน) โทรศัพท์ 0 3853 8968 จัดจำ�หน่าย : เพ็ญบุญ โทรศัพท์ 0 2615 8625 แผนกโฆษณา โทรศัพท์ 0 2831 8400, 0 2913 7555 ต่อ 3361, 3332, 3359, 3345, 4723 โทรสาร 0 2831 8477 rungladda@rlg.co.th

Life & Family 3


Guru : Healthy Senior

เรื่อง นพ.วิโรจน์ ตระการวิจิตร ผู้อำ�นวยการฝ่ายการแพทย์ โรงพยาบาลนครธน

รับมือปัญหา

ปัสสาวะเล็ด สิ่งที่ลูกหลานควรให้การดูแลผู้สูงอายุที่มีอาการกลั้น ปัสสาวะไม่อยู่มีดังนี้ครับ • ช่วยพาท่านเข้าห้องน�้ำบ่อยๆ อย่ารอให้ปวดปัสสาวะ ก่อน เพราะจะเข้าไม่ทัน • ก่อนนอนหรือก่อนออกจากบ้าน งดดื่มน�ำ้ ก่อนอย่าง น้อย 3-4 ชั่วโมง เพื่อลดปริมาณปัสสาวะในช่วงกลางคืน และระหว่างเดินทาง • แก้ปัญหาการไอจามเบ่งของท่าน เพื่อลดอาการ ปัสสาวะเล็ด • ดูแลระวังเรื่องอากาศเย็น เครื่องดื่มที่มีกาเฟอีน แอลกอฮอล์หรือยาขับปัสสาวะ เพราะจะท�ำให้ปสั สาวะเพิม่ มากขึ้นได้ • พาไปตรวจสุขภาพเพื่อตรวจหาความผิดปกติ โดย เฉพาะอย่างยิ่งระบบทางเดินปัสสาวะ รวมทั้งระบบการ เคลื่อนไหว เพื่อให้แน่ใจว่าไม่มีภาวะผิดปกติ หรือถ้ามีจะ ได้ช่วยแก้ไขได้ • ปรับปรุงสิ่งแวดล้อม เช่น ทางเดินไปห้องน�้ำต้อง สะดวกและใกล้ การมีอุปกรณ์ช่วยปัสสาวะข้างเตียงหรือ ในรถ การจัดหาผ้าอ้อมอนามัยทีส่ ะดวกใช้ให้พร้อมอยูเ่ สมอ จะเห็นว่าปัญหาเรื่องกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ ปัสสาวะราด เป็นเรื่องละเอียดอ่อนของผู้สูงอายุที่ลูกหลานคนใกล้ชิด ต้องใส่ใจ คอยถามไถ่เป็นระยะๆ เพราะท่านมักไม่บอกให้ รู้ การให้การดูแลด้วยความรักความห่วงใย ร่วมกับการ แก้ปัญหาทางด้านสุขภาพ จะช่วยให้ปัญหาดังกล่าวลด น้อยลง และท่านก็จะด�ำเนินชีวิตได้อย่างมีความสุขมาก ขึ้นครับ

ปัญหาเรื่องกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ ปัสสาวะเล็ด ปัสสาวะ ราด เป็นปัญหาที่พบได้บ่อยในผู้สูงอายุ ก่อให้เกิดความ อึดอัดไม่สบายกาย รู้สึกอับอายและก็ไม่กล้าบอกลูกหลาน กรณีที่คุณแม่บ่นให้คุณลูกฟังถือว่าดีมาก แสดงว่าแม่ลูก สนิทสนมพูดคุยกันเปิดเผยดีครับ การแก้ปัญหาต้องไปดูที่สาเหตุก่อนว่าเกิดจากอะไร ตัวอย่างเช่น ถ้าเกิดจากการที่มีปัญหาทางร่างกาย เดิน ไปห้องน�้ำไม่ไหว ห้องน�้ำอยู่ไกลไปล�ำบาก อย่างนี้ก็ต้อง ไปแก้ที่การช่วยเรื่องการเดิน และจัดให้ห้องน�้ำสะดวกแก่ การเข้าถึง แต่ถ้าเกิดร่วมกับความผิดปกติอย่างอื่น เช่น ปัสสาวะ เล็ดเวลาไอจามเบ่ง หรือมีอาการปวดปัสสาวะบ่อยผิดปกติ หรือมีอาการปวดอักเสบบริเวณทางเดินปัสสาวะ หรือไม่ พบอาการผิดปกติอื่นใดเลย อย่างนี้ควรให้แพทย์ระบบ ทางเดินปัสสาวะตรวจเพิ่มเติมเพื่อหาสาเหตุที่แน่ชัด และ เพื่อการรักษาที่ถูกต้องต่อไป

Life & Family 4


Guru : Wellness

เรื่อง นพ.กฤษดา ศิรามพุช ผู้อำ�นวยการศูนย์เวชศาสตร์อายุรวัฒน์นานาชาติ American Board of Anti-aging Medicine

เลือกน�้ำมันให้ถูก (หัว) ถ้าเป็นผมจะไม่ปลงใจกับใครเลย เพราะรักเดียวใจ เดียวครับ (แฮ่) เปล่าหรอกครับไม่ได้เกี่ยวกับหัวจิตหัวใจ แต่อย่างใด แต่ที่จะพอมีเกี่ยวบ้างนิดๆ ก็ที่เราห่วงเกี่ยวกับ การใช้น�้ำมันก็คือหัวใจครับ ยิ่งมีใครต่อใครมาเสนอน�ำ้ มัน คุณสมบัติเลิศล�้ำ ยิ่งท�ำให้รักพี่เสียดายน้อง เลือกยากยิ่ง กว่ารจนาเสี่ยงพวงมาลัย ไม่เป็นไร ไม่ตอ้ งสับสนหัวใจไปครับ เพราะการจะเลือก ต้องค่อยๆ มาเริ่มดูกันไปว่าน�้ำมันแต่ละชนิดมีดีอะไร แล้ว คุณจะได้ไอเดียครับ เริ่มจากน�้ำมันมะกอก ถ้าได้ชนิดที่บริสุทธิ์นำ�้ หนึ่งชนิด บีบมาหีบแรกเลยยิ่งดี แบบที่เรียกว่า เอ็กซตร้า เวอร์จิ้น หรือทีเ่ ชฟเรียกกันสั้นๆ ว่า อีโว (EVOO) นั่นล่ะครับ น�้ำมัน มะกอกชนิดนีม้ กี รดไขมันไม่อมิ่ ตัวเชิงเดีย่ วอยูม่ ากซึง่ มีสว่ น ดีต่อสุขภาพครับ ส่วนถัดมาน�้ำมันมะพร้าว เป็นน�้ำมันอีกชนิดที่ขึ้นชื่อ มาพักหนึ่งแล้ว โดยมีของดีอยู่ที่ไขมันไตรกลีเซอไรด์สาย กลาง (MCT) และวิตามินอีกับอีกหลายๆ ของดีในน�้ำมันที่ มีส่วนช่วยร่างกายได้ ล�ำดับถัดมาคือน�้ำมันหมู ที่มีของดีเป็นกรดไขมันโอเมก้า 3 ที่เป็นยอดปรารถนาของหลายคนซึ่งแม้จะไม่มาก เท่าปลาทะเล แต่ก็เป็นทางหนึ่งที่ช่วยเราได้เหมือนกัน สังเกตนะครับว่าทุกน�้ำมันมีดีในตัวเองหมด แล้วถ้าดู ให้ดีจะเห็นว่าแต่ละชนิดก็มีข้อเสียของมันเช่นกัน เป็นต้น ว่าราคาแพง กรดไขมันกระตุ้นการอักเสบ มีไขมันอิ่มตัว สูง ฯลฯ ซึ่งเมื่อจับมายืนเทียบรุ่นกันเหมือนนักมวยก่อน ขึ้นชกแล้วก็ต้องบอกว่าไม่มีใครกินขาดเสียทีเดียว มวยถูกคู่ด้วยกันทั้งนั้น ช่วยสุขภาพได้หมดทุกน�้ำมัน ครับ เพียงแต่วา่ คุณต้องมีหลักการใช้นำ�้ มันแบบอายุรวัฒน์ ติดตัวไว้สักนิดจะได้สะดวกในชีวิตและไม่เสี่ยงกับข้อเสีย ของแต่ละมันมากจนเกินไป ดังเทคนิคง่ายๆ ต่อไปนี้ครับ

ใจ?

• เลือกใช้นำ�้ มันสลับกัน ใช้ให้หลากหลาย ให้จำ� ง่ายๆ ว่า อย่าฝากชีวิตไว้กับน�้ำมันชนิดใดชนิดหนึ่งเพียงอย่างเดียว เพราะน�้ำมันทุกชนิดล้วนมีดีในตัวของมัน ไม่มีชนิดใดดี ทั้งร้อยครับ มีเทคนิคในการปรับใช้ก็เช่น มื้อนี้กินสลัด ราดน�้ำมันมะกอกแล้ว มื้อหน้าอาจเป็นปลาทอดน�้ำมัน เมล็ดชาหรือว่าผักบุ้งไฟแดงน�ำ้ มันดอกค�ำฝอยบ้างก็ได้ • อย่าดื่มน�้ำมัน ข้อนี้คุณที่รักอย่าเพิ่งข�ำนะครับ เพราะ ทุกสิ่งที่เล่าล้วนมาจากเรื่องที่เคยเจอด้วยประสบการณ์ ทีค่ นไข้เล่าว่า เขากินน�ำ้ มันสุขภาพทีเ่ พือ่ นแนะน�ำทีละเป็น ช้อนหรือในรายการก็มผี ชู้ มถามว่าการใช้นำ�้ มันพืชกลัว้ ล้าง คอจะดีหรือไม่ ขอให้เลี่ยงดีกว่าครับ ส�ำหรับคุณที่อยากใช้ น�ำ้ มันบ�ำบัดขอให้เลือกน�ำ้ มันปลาทีม่ กี ารศึกษาว่าช่วยเพิม่ ไขมันดีได้และลดเสี่ยงโรคหัวใจได้แน่นอนครับ • สลับไร้มันบ้าง ขอให้ลองปรุงแบบมันน้อยหรือไร้ มันดูด้วยครับ เพราะอาหารหลายชนิดอร่อยได้แม้ไม่ต้อง ใช้น�้ำมันทอด ตัวอย่างง่ายๆ คือ ไข่ดาว ท�ำเป็นไข่ดาวน�้ำ สุขภาพที่ ไร้มันได้ หรืออย่างไข่เจียวก็อาจลองเหยาะ น�้ำส้มลงกระทะแทนน�้ำมันแล้วทอดไข่ดู ก็หอมดีมีสุขภาพ ครับ • สร้างกฎทากะทะ โดยปกติวิธีการใช้นำ�้ มันง่ายๆ คือ การเทจากขวดจนน�้ำมันท่วมแล้วบรรจงหยอดไข่ที่ตีแล้ว ลงไปให้ฟูฟ่องสมดั่งโฆษณา ทว่าเรื่องจริงที่ไม่ใช่แอ็กติ้ง หน้าจอก็คือเราควรบริโภคน�ำ้ มันไม่เกินวันละ 4 ช้อนโต๊ะ จึงขอให้ใช้วธิ ที ากระทะด้วยแปรงชุบน�ำ้ มันหรือสเปรย์นำ�้ มัน แทนจะดีกว่าครับ เลือกให้เหมาะ ใช้ให้ถกู รับรองได้ประโยชน์ปลอดความ เสี่ยงจากน�้ำมันแน่นอนครับ

Life & Family 5


HIGHLIGHT : Healthy Food, Good Life เรื่อง กิ่งกาญจน์

Healthy Food for Good Life ปัจจุบันเกิดการเปลี่ยนแปลงในวงการอาหารทั้งไทยและเทศ ที่เห็นได้จากเมนู ร้านอาหารทัว่ โลกไม่วา่ จะในเอเชีย ยุโรป หรือในประเทศไทยเองปรับรายการอาหาร ให้เป็นไปในรูปแบบเพื่อสุขภาพมากขึ้นทุกขณะ แม้อาหารสุขภาพจะไม่ได้ง่ายและ รวดเร็ว อย่างเช่นอาหารฟาสต์ฟู้ดที่นิยมกินกันมานาน แต่คนกลับยอมเสียเงิน เพิ่มขึ้น รอคอยมากขึ้น เพื่อจะรับประทานอาหารที่สดใหม่ สะอาดและดีต่อสุขภาพ มากขึ้น การหวังผลด้านสุขภาพจากการปรับเปลี่ยนอาหารนั้น เป็นแนวทางที่ ผู้เชี่ยวชาญด้านโภชนาการเห็นด้วย ดังค�ำกล่าวที่ว่า “You Are What You Eat.” หรือ “กินอย่างไรได้อย่างนัน้ ” ด้วยองค์ความรูจ้ ากการวิจย ั ด้านอาหารมากมายใน โลก ทีย ่ ืนยันว่าโรคภัยไข้เจ็บในปัจจุบันส่วนใหญ่เกิดจากอาหาร และพบปัญหาความ ปลอดภัยในอาหารเพิ่มมากขึ้นเป็นทวีคูณ

Life & Family 6


Food & Health Info คนไทยป่วยเป็นโรคไตเกือบ 8 ล้านคน จากการรับประทานโซเดียมสูงเกินไปและอาหารรสจัด ในรอบ 5 ปี คนไทยเสียชีวิต จากโรคมะเร็งเฉลี่ยชั่วโมงละ 5 คน และมีผู้ป่วยเพิ่มขึ้นถึง 30% หรือราว 30,000 คนในแต่ละปี 15,000 ชนิดคือจ�ำนวนสารเคมี ที่เราเสี่ยงได้รับจากอาหาร น�้ำดื่มและอากาศ สถิติจากองค์การอนามัยโลกพบว่า ประชากรเกือบ 30% ของโลก เป็นโรคที่เกิดจากอาหาร (Food-borne Disease) เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคไต โรคนิ่วและโรคภูมิแพ้

ที่มา : ข้อมูลจากกระทรวงสาธารณสุข

Organic Food อาหารที่ทำ� จากผลผลิต ทางการเกษตรแบบอินทรีย์ คือไม่ใช้สารเคมีใดๆ ในการบ�ำรุงให้เติบโต

Clean Food อาหารที่ไม่ผ่านการปรุงแต่ง ด้วยสารเคมีต่างๆ หรือผ่านการแปรรูปให้น้อยที่สุด เน้นความสด สะอาดของอาหาร และคงรสชาติเดิมของวัตถุดิบ เอาไว้ ให้มากที่สุด

Raw Food

Life & Family 7

เป็นการกินมังสวิรัติแบบหนึ่ง ที่หลีกเลี่ยงความร้อน การปรุงรสและกระบวนการแปรรูป เพื่อคงคุณค่าทางอาหาร และรสชาติเดิม ตามธรรมชาติของวัตถุดิบ ให้ ได้มากที่สุด


Organic Food : ทางเลือกของคนรักสุขภาพ

Organic Food หรืออาหารออร์แกนิก คือจุดเริ่มต้นของคนรักสุขภาพ ที่ก�ำลังเป็นตัวเลือกที่มาแรงต่อเนื่องมาหลายปี ด้วยความเชื่อที่ว่า อาหาร ออร์แกนิกช่วยลดความเสี่ยงจากอันตรายในอาหารและยังช่วยฟื้นฟูร่างกายให้ ดีขึ้นกว่าเดิมด้วย อาหารออร์แกนิก เรียกเป็นไทยสั้นๆ ว่า อาหารอินทรีย์ หมายถึงอาหารที่ ท�ำจากผลผลิตทางการเกษตรแบบอินทรีย์คือ ไม่ใช้สารเคมีใดๆ ในการบ�ำรุงให้ เติบโต ไม่ใช้ปยุ๋ สังเคราะห์หรือสารเร่ง ไม่มกี ารตัดต่อพันธุกรรม ไม่ใช้สารก�ำจัด ศัตรูพืชในบการปลูกพืชผัก เมือ่ ฟังอย่างนีแ้ ล้วคงพอนึกออกว่าอาหารอินทรียจ์ ะมีผลดีตอ่ ร่างกายอย่างไร บ้าง แน่นอนว่าอาหารที่เกิดจากกระบวนการสร้างโดยธรรมชาติแท้จริง 100% ย่อมมีมาตรฐาน สะอาด บริสุทธิ์ ไม่มีสารตกค้างหรือสารก่อมะเร็งใดๆ ให้ต้อง กังวลยามบริโภค ปัจจุบันอาหารออร์แกนิกได้รับความนิยมอย่างกว้างขวางมากขึ้น ท�ำให้ หาซื้อผลิตภัณฑ์วัตถุดิบได้สะดวกขึ้น ไม่ว่าจะเป็นพืชผัก ผลไม้จากฟาร์ม ออร์แกนิกซึ่งมีการผลิตกระจายอยู่ทั่วประเทศ หรือในห้างสรรพสินค้าซึ่ง มี ผ ลิ ต ภั ณ ฑ์ แ ปรรู ป จากผั ก ผลไม้ อ อร์ แ กนิ ก น� ำ เข้ า จากต่ า งประเทศ เช่ น เครื่องดื่มสมุนไพรออร์แกนิก เครื่องปรุงอาหารที่ผ่านการอบแห้งเก็บไว้ใช้ ได้นาน ขนมธัญพืชประเภทต่างๆ ทั้งเม็ดงา ลูกเดือย ถั่วต่างๆ Life & Family 8


Organic Food ดีกับสุขภาพ

มีงานวิจัยจากประเทศอังกฤษ ซึ่งตีพิมพ์ในวารสารด้านโภชนาการ British Journal of Nutrition และนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยนิวคาสเซิล (Newcastle University) ได้สรุปผลการศึกษาถึงความปลอดภัยและประโยชน์ของอาหาร ออร์แกนิกได้ดังนี้ • ออร์แกนิกดีกว่าอาหารที่ผลิตโดยระบบเกษตรที่ใช้สารเคมีจริง โดยเฉพาะ ในผั ก ผลไม้ ธั ญ พื ช และอาหารที่ เ ป็ น ผลิ ต ภั ณ ฑ์ จากพื ช ที่ เ พาะปลู ก ใน ระบบเกษตรอินทรียจ์ ะมีสารต้านอนุมลู อิสระ (แอนติออกซิแดนต์) สูงกว่าถึง 60% • อาหารออร์แกนิกมีวิธีปลูกที่เพิ่มคุณภาพแก่ผลผลิต ซึ่งดีกว่าฟาร์มทั่วไป ที่ผลิตอาหารโดยใช้สารเคมีจะให้คุณภาพอาหารที่ลดลง • ผลิตภัณฑ์ประเภทพืชผักผลไม้ที่ปลูกแบบออร์แกนิกจะมีสารต้านอนุมูล อิสระมากกว่ารวมถึง 50% การเปลี่ยนมารับประทานอาหารออร์แกนิกจึงท�ำให้ ร่างกายได้รับสารต้านอนุมูลอิสระเพิ่มขึ้นถึง 20-40% โดยไม่เพิ่มแคลอรี • อาหารออร์แกนิกไม่มีสารตกค้างของสารเคมี จึงไม่ก่อให้เกิดโรคใดๆ ที่ เกิดจากอาหาร ขณะที่การผลิตทั่วไปมีสารเคมีตกค้างในพืชถึง 75% รองลงมา อาหารแปรรูปมีสารตกค้าง 45% และผักมีสารตกค้างถึง 32% • อาหารออร์แกนิกปลอดภัยจากแคดเมียมซึ่งเป็นโลหะหนัก อันก่อให้เกิด โรคมะเร็งกระเพาะอาหาร จากข้อดีเหล่านี้นักโภชนาการสมัยใหม่จึงสนับสนุนให้คนได้รับประทาน อาหารออร์แกนิกเท่าที่จะหาได้ ซึ่งภาพรวมที่ชัดเจนในแง่สุขภาพของคน ไทยคือการช่วยต้านโรคต่างๆ อันเป็นปัญหาระดับชาติอยู่ในขณะนี้ ไม่ว่าจะ เป็นโรคมะเร็ง ภูมิแพ้ โรคหัวใจ หลอดเลือดสมอง โรคไต โรคนิ่ว ซึ่งอาหาร ออร์แกนิกมักให้สารอาหารครบถ้วน มีคณุ ค่าทางโภชนาการสูงกว่าอาหารทัว่ ๆ ไป โดยเฉพาะในหญิงตั้งครรภ์จะได้รับค�ำแนะน�ำให้เลือกกินอาหารออร์แกนิก เพราะช่วยลดความเสีย่ งทีจ่ ะเกิดขึน้ กับลูกน้อยในครรภ์และยังท�ำให้แม่มสี ขุ ภาพ ดีอีกด้วย ส�ำหรับผูช้ นื่ ชอบการรับประทานผลไม้ซงึ่ มีความเสีย่ งจากสารป้องกันเชือ้ รา สูงมาก หากหันมาเลือกผลไม้จากสวนออร์แกนิกจะพบว่าให้ความสดชื่นแก่ ร่างกายได้มากกว่า เพราะวิตามินและสารอาหารมีครบถ้วน และไม่ท�ำให้เสี่ยง ต่อสารเคมีตกค้างในร่างกาย อีกทั้งยังมีรสชาติที่ดีกว่า ไม่มีกลิ่นเหม็นของ ยาฆ่าแมลงด้วย นอกจากนั้นผู้ผลิตอาหารออร์แกนิกได้ประโยชน์จากการหลีกเลี่ยงสารเคมี เกษตรกรส่วนใหญ่มีสุขภาพที่ดีขึ้น ไม่ว่าจะการปลูกพืชผักหรือเลี้ยงสัตว์ ยัง ได้อยู่ในสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยมากขึ้น ลดอันตรายทั้งจากการท�ำงานและ การอยู่อาศัย โดยเฉพาะบ้านของเกษตรกรที่อยู่ในบริเวณเดียวกับที่ท�ำงาน สมาชิกในบ้านไม่ต้องเสี่ยงกับอันตรายของสารเคมีและยังท�ำให้ระบบนิเวศ โดยรวมดีขึ้นอีกด้วย Life & Family 9


3 ประเภทของอาหารออร์แกนิก

1. พืชผักผลไม้ออร์แกนิก เป็นพืชที่เติบโตด้วยขั้นตอนที่ปราศจากสารเคมี ในการปลูก ตั้งแต่เตรียมดิน หว่านไถ ลงเมล็ด เลี้ยงดูจนกว่าจะเก็บเกี่ยวเป็นไป โดยธรรมชาติ ไร้สารปนเปื้อน ไม่ผ่านการฉายรังสี ไม่ใช้สารเร่งใดๆ 2. สัตว์เลี้ยงออร์แกนิก การเลี้ยงสัตว์ด้วยเศษอาหารธรรมชาติ ในสิ่ง แวดล้อมสบายๆ ตามธรรมชาติ ใช้มาตรฐานปศุสัตว์อินทรีย์เป็นกรอบปฏิบัติ ปล่อยให้สัตว์ ได้สัมผัสดิน แสงแดด อากาศที่บริสุทธิ์ มีคอกและโรงเรือนที่ ปลอดภัย มีที่ให้สตั ว์ได้วงิ่ เล่น ออกก�ำลังกาย ท�ำให้มภี มู ติ า้ นทานดีและปลอดโรค พร้อมเป็นอาหารปลอดภัยส�ำหรับบริโภค เนือ้ สัตว์ออร์แกนิกส่วนใหญ่มสี แี ดงสด แบบธรรมชาติ ไม่ใช่สีแดงเข้ม มีกล้ามเนื้อแข็งแรง เนื้อไม่แหยะ 3. ผลิตภัณฑ์ออร์แกนิก ทั้งกลุ่มอาหาร ชา กาแฟ ผลิตภัณฑ์ในธุรกิจสปา ร้านอาหาร เครื่องส�ำอาง ยา สมุนไพร หรือแม้แต่นำ�้ ยาท�ำความสะอาด ท�ำจาก วัตถุดิบออร์แกนิกที่ไม่มีสารเคมีใดๆ ตกค้าง

Life & Family 10


มาตรฐานอาหารออร์แกนิก

ปัจจุบันผลิตภัณฑ์ออร์แกนิกครอบคลุมอาหารหลากชนิด ทั้งของสดและ ของแห้ง ทั้งจ�ำพวกผัก ผลไม้ เนื้อสัตว์ นม ไข่ เครื่องปรุง แป้ง น�ำ้ ตาล ขนม และเครื่องดื่ม โดยแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ 1.ผลิตภัณฑ์ออร์แกนิก 100% ซึ่งจะปลอดสารเคมีทุกกระบวนการในการ ผลิต แปรรูป ขนส่ง จัดจ�ำหน่าย เก็บรักษา 2.ผลิตภัณฑ์ออร์แกนิก 95% ซึ่งอาจมีกระบวนการบางขั้นตอนที่จ�ำเป็น ต้องใช้สารเคมีเข้ามาช่วยในสัดส่วนราว 5% แม้ว่าผลิตภัณฑ์และอาหารออร์แกนิกมีวางขายทั่วไปและหาได้ง่ายขึ้น แต่ผู้บริโภคควรตรวจสอบและพิจารณาให้ดีก่อนซื้อ เนื่องจากการส�ำรวจของ กรมอนามัยพบว่า อาหารออร์แกนิกที่วางขายอาจไม่ได้มาตรฐานเสมอไป ส�ำหรับในต่างประเทศสหภาพยุโรป สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่นและหลายประเทศ ได้ออกกฎให้มีใบรับรองอาหารอินทรีย์หลังจากผ่านการตรวจสอบมาตรฐาน ของแหล่งผลิตเสียก่อน ขณะที่ประเทศไทยยังมีการปลอมแปลงฉลากหรือใส่ ชื่อว่าเป็นอาหารออร์แกนิกโดยไม่มีการตรวจสอบแหล่งที่มาก่อนออกสู่ตลาด

วิธีเลือกให้ปลอดภัย

สัญลักษณ์สินค้าออร์แกนิก สัญลักษณ์สินค้าออร์แกนิกในต่างประเทศ เช่น สินค้าน�ำเข้าจากประเทศอังกฤษ อเมริกา แคนาดา เป็นต้น

สัญลักษณ์สินค้าออร์แกนิกที่มีมาตรฐาน ในประเทศไทย ตรารับรองเกษตรอินทรีย์ของกรมวิชาการเกษตร กรมประมง กรมปศุสัตว์ และกรมการข้าว กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

ตรารับรองขององค์กรมาตรฐาน เกษตรอินทรีย์ภาคเหนือ

ตรารับรองของชมรมเกษตรอินทรีย์เกาะพะงัน เป็นระบบการรับรองมาตรฐานแบบชุมชนมีส่วนร่วม (Participatory Guarantee System - PGS) ส�ำหรับเกษตรอินทรีย์บนเกาะพะงัน จังหวัดสุราษฎร์ธานี ที่มา : http://www.greennet.or.th Life & Family 11

• ตรวจสอบฉลาก ซึ่งระบุรายละเอียดของที่มาของอาหาร ระบุที่ตั้ง วิธีผลิตที่ชัดเจน • ตรวจสอบรายละเอียด ของส่วนผสม ในกรณีที่เป็นผลิตภัณฑ์แปรรูป ควรพิจารณาถึงเครื่องปรุงที่เติมเข้าไป และต้องระบุว่าเป็นส่วนผสมที่เป็น ออร์แกนิกด้วยเช่นกัน • มองหาสัญลักษณ์รับรอง มาตรฐานออร์แกนิก ทั้งสัญลักษณ์ที่รับรองภายในประเทศและ จากต่างประเทศ ซึ่งส่วนใหญ่จะมีโทนสีเขียว • หมั่นหาข้อมูลและศึกษา ก่อนเลือกซื้อผลิตภัณฑ์เสมอๆ


Clean Food : อีกขั้นของอาหารเพื่อสุขภาพ การมีผลิตภัณฑ์อาหารออร์แกนิกปลอดสารไว้รับประทานเป็นประจ�ำนั้น ถือว่าเป็นความโชคดีอย่างมาก แต่สิ่งหนึ่งที่มักถูกมองข้ามไปคือกระบวนการ ปรุงแต่งอาหารให้สุก ทั้งปรุงแต่งรสชาติและสีสันที่หากมากเกินไป ก็อาจกลาย เป็นอาหารที่สร้างความเสี่ยงต่อสุขภาพได้ในเวลาต่อมา แม้จะผลิตจากวัตถุ ดิบออร์แกนิกก็ตาม นั่นคือที่มาของการเกิดอาหารประเภทคลีนฟู้ด (Clean Food) ซึ่งเป็นเทรนด์อาหารที่มาแรงตั้งแต่ปี 2013 เป็นต้นมา และได้รับความ นิยมมากที่สุดในปี 2015 นี้ อาหารคลีนฟู้ด (Clean Food) แปลได้ตรงตัวว่าคือ อาหารสะอาด เป็น อาหารที่ไม่ผา่ นการปรุงแต่งด้วยสารเคมีตา่ งๆ หรือผ่านการแปรรูปให้นอ้ ยทีส่ ุด เพราะสารปรุงรสในปัจจุบันนั้นเต็มไปด้วยสารสังเคราะห์ โดยเฉพาะสีและกลิ่น สังเคราะห์ ทั้งยังเต็มไปด้วยวัตถุกันเสีย อาหารคลีนนั้นเน้นที่ความสด สะอาด ของอาหาร ไม่ผ่านกระบวนการหมักดองที่มากเกินไป มีรสที่ไม่เค็มจัดหรือ หวานจัด หากเป็นไปได้ให้คงรสชาติเดิมของวัตถุดิบเอาไว้ให้มากที่สุด อาหารประเภทคลีนฟู้ดนั้นไม่ใช่การเน้นรับประทานแต่ผักผลไม้ แต่ควรคง ไว้ซึ่งสัดส่วนที่พอเหมาะพอดีและครบถ้วน 5 หมู่ กินได้ทั้งพืชผัก ผลไม้ ปลา เนื้อสัตว์ อาหารทะเล เพียงแต่ให้เลือกวัตถุดิบที่สดสะอาด ไม่ต้องผ่านการปรุง ใดๆ มาก่อน แต่นำ� มาประกอบอาหารอย่างง่ายๆ ใช้เครือ่ งปรุงน้อยๆ ใช้กรรมวิธี รักษาคุณค่าทางอาหารให้มากที่สุด การรับประทานอาหารคลีนฟูด้ นัน้ จ�ำเป็นต้องใช้ใจและสติ ส�ำหรับการบริโภค อีกด้วย โดยเฉพาะผู้ที่ยึดติดรสชาติอาหารอย่างใดอย่างหนึ่งมาเป็นเวลานาน เช่น ชอบกินรสเค็มรสหวาน จะต้องลดละเลิกการติดรสชาติเหล่านั้นเพื่อรับ เอาการปรุงแต่งให้น้อยลง หรือไม่ต้องผ่านการปรุงแต่งเลย นั่นคือการเอาชนะ ใจตัวเองด้วยอย่างหนึ่ง อาหารคลีนนั้นเหมาะสมมากส�ำหรับผู้รักสุขภาพทั่วไป รวมถึงผู้ป่วย เช่น โรคไต โรคเบาหวาน และโรคไขมันในเลือดสูง เพราะเมื่อปรุงแต่งน้อย มีรส อ่อนๆ ไม่จัดเกินไปก็ช่วยลดปริมาณน�้ำตาลและโซเดียมในการบริโภคลงได้ มาก อาหารคลีนจึงช่วยให้ผู้ป่วยฟื้นฟูสุขภาพได้เร็ว และช่วยท�ำให้คนทั่วไปมี ภูมิต้านทานร่างกายดีขึ้น ไม่เจ็บป่วยง่าย เป็นผลดีในระยะยาว อีกทั้งส�ำหรับ ผู้ต้องการลดน�้ำหนัก ลดไขมัน จะให้ผลได้อย่างดีเมื่อรับประทานได้ระยะหนึ่ง

Life & Family 12


หลักกิน Clean Food

• เอาชนะการยึดติดในรสชาติเดิมๆ ไม่ว่าจะเผ็ดจัด เค็มจัด หรือหวานจัด • กินอาหารในปริมาณที่พอดีกับร่างกาย ให้รู้สึกอิ่มพอดี กินอาหารมากเกินที่ร่างกายต้องการอาจเกิดผลเสียได้ ทั้งเรื่องน�้าหนักตัว ปริมาณสารตกค้างและโรคที่เกิดจากความอ้วน • ลดปริมาณของเกลือและน�้าตาลลงให้มากที่สุด • กินอาหารอย่างสมดุลเสมอในแต่ละวัน ครบถ้วนทั้งผักผลไม้ เนื้อสัตว์ แป้ง ไปพร้อมๆ กัน มากกว่าเลือกแต่อย่างใดอย่างหนึ่ง ไม่ควรกินอาหารซ�้าๆ • กินแป้งให้น้อยลง แต่หากชอบกินแป้งให้เลือกที่มีคุณภาพ เช่น แป้งจากข้าวกล้องหรือข้าวโอต • ฝ กปรุงอาหารเอง เพื่อควบคุมรสชาติและคุณภาพของอาหาร • ดื่มน�้าเปล่า แทนชา กาแฟ หรือเปลี่ยนเป็นน�้าผลไม้แทน • เริ่มต้นกินคลีนฟู้ดวันละ 1 มื้อ ส�าหรับคนที่ไม่เคยกินมาก่อนให้ผสมผสานกับอาหารชนิดอื่น แล้วค่อยๆ เพิ่มจ�านวนมื้อเมื่อรู้สึกคุ้นเคยกับรสชาติดีแล้ว • หมั่นศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับอาหาร เพื่อรู้เท่าทันในเรื่องโภชนาการ

Life & Family 13


Raw Food : มังสวิรัติรักษ์ โลก รักสุขภาพ เรารู้ดีว่าการกินอาหารมังสวิรัติคือ การเลือกกินแต่อาหารจ�ำพวกผักและ ผลไม้เพื่อให้ได้รับกากใยอาหารมากที่สุดโดยไม่กินเนื้อสัตว์ คนที่เคร่งครัด มากๆ มักจะกินแต่ผัก งดเนื้อสัตว์ ไข่ นม หรือผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของนม และไข่เลย แต่บางกลุม่ อาจเลือกดืม่ นมกับผักได้ และอีกกลุม่ คือมังสวิรตั ทิ เี่ ลือก กินนมและไข่ร่วมกับผัก แต่ไม่กินเนื้อสัตว์ใดๆ ส�ำหรับ Raw Food เป็นแนวทางการกินแบบมังสวิรัติอย่างหนึ่ง ที่ได้รับ ความนิยมตามหลัง Clean Food มาอย่างติดๆ แม้ว่ามีกระแสความนิยมมา นานหลายปีแล้ว แต่อาจเป็นเพราะข้อจ�ำกัดในเรื่องความครบถ้วนของสาร อาหาร Raw Food จึงมักจ�ำกัดในแวดวงคนรักสุขภาพบางกลุ่มที่มีแนวคิด ต้องการรักษาทรัพยากรธรรมชาติร่วมด้วย Raw Food นั้นเรียกกันง่ายๆ ใน แวดวงผู้บริโภคว่าอาหารสดมีลักษณะอาหารที่ตรงตัว ต่างจากมังสวิรัติทั่วไป ตรงที่จะกินแต่อาหารที่สดเท่านั้น เช่น ผักสด ผลไม้สด โดยไม่ผ่านกระบวนการ ความร้อนใดๆ เลย คุณสมบัติที่เด่นชัดของ Raw Food มี 3 ข้อคือ 1. ต้องไม่ผ่านการปรุง 2. ต้องไม่ผ่านความร้อน 3. ต้องไม่ผ่านกระบวนการแปรรูปใดๆ แนวคิดของอาหาร Raw Food นั้นคือการหลีกเลี่ยงความร้อนและการ ปรุงรส ซึ่งเชื่อว่าเป็นตัวท�ำลายคุณค่าทางอาหาร และท�ำให้อาหารมีรสชาติ ผิดเพี้ยนไปจากเดิม แต่ต้องการคงรสชาติเดิมตามธรรมชาติของวัตถุดิบให้ได้ มากทีส่ ดุ ซึง่ จะว่าไปแล้วไม่ใช่เรือ่ งใหม่แต่อย่างใด อาหารไทยบ้านเราก็มอี าหาร ประเภท Raw Food หลายชนิดที่เป็นอาหารประจ�ำชาติ เช่น น�้ำพริกกินคู่กับ ผักสด ข้าวย�ำปักษ์ใต้ที่แค่คลุกให้เข้ากัน หรือเมี่ยงค�ำกินกับผักสดและเครื่อง เคียงเล็กน้อยเท่านั้น แต่ก่อนอาหารที่กล่าวมานั้นใช้ส่วนผสมจากธรรมชาติ ทั้งหมด เช่น มะนาว มะเฟือง มะเขือพวง กะปิ เกลือ ไม่จ�ำเป็นต้องใช้เครื่อง ปรุงรสอื่นเพิ่มเลย Raw Food ยังแบ่งประเภทออกไปอีก 3 ประเภท ได้แก่ • Raw Veganism กินแต่ผกั ไม่เกีย่ วข้องกับเนือ้ สัตว์เลย และอนุญาต ให้ใช้ความร้อนในการประกอบอาหารได้บ้าง แต่ต้องไม่เกิน 40 องศาเซลเซียส หากเกินกว่านั้นจะท�ำลายคุณค่าอาหารไปหมดและทิ้งสารพิษไว้แทน • Beyond Vegetarianism-raw Food กินเหมือนแบบแรก แต่เพิ่มนมและไข่ได้ • Raw Animal Food Diets นอกจากผักแล้วกินเนื้อปลาได้ แต่ ควรเป็นปลาสด ปลาดิบ หรือปรุงด้วยความร้อนไม่เกิน 40 องศาเซลเซียส และ ต้องเลือกปลาจากฟาร์มออร์แกนิกเท่านั้น Life & Family 14


Raw Food ดีกับสุขภาพ

Raw Food ท�ำง่าย ใช้เวลาน้อย ประหยัดเงินแต่ให้ประโยชน์มากกว่าที่คิด • ให้คุณค่าอาหารครบถ้วน ไม่ถูกท�ำลายด้วยความร้อนระหว่าง ปรุงอาหาร ผักและผลไม้สดจะคงเก็บวิตามิน เกลือแร่ กรดไขมันและเอนไซม์ ไว้เพื่อให้ร่างกายได้รับอย่างเต็มที่ • ยิ่งกินยิ่งเพิ่มภูมิคุ้มกันแก่ร่างกายได้ดี กิน Raw Food เป็น ประจ�ำมักมีภูมิต้านทานดี ไม่เป็นภูมิแพ้ง่าย เมื่อเจ็บป่วยจะหายเร็ว • ลดความเสีย่ งจากการสะสมสารพิษทีไ่ ด้รบั จากอาหาร เช่น ไขมันที่อยู่ในสัตว์บางชนิด ซึ่งเมื่อโดนความร้อนแล้วจะกลายเป็นสารพิษ สะสมในร่างกายได้ • อาหาร Raw Food ขึน้ ชือ ่ เรือ ่ งการล้างพิษแก่รา่ งกาย ได้ดีและยังช่วยให้ผิวพรรณสดใส • กินเป็นประจ�ำจะช่วยให้มีระบบขับถ่ายที่ดี อาหารย่อยได้ดี เพราะเต็มไปด้วยไฟเบอร์ • ประหยัดเวลาในการท�ำ ประหยัดค่าใช้จ่ายในการซื้อ เครื่องปรุงรส บูดเสียยากและเก็บรักษาได้ง่าย ถึงแม้ปัจจุบันอาหารประเภท Organic Food, Clean Food และ Raw Food ที่มีขายในบ้านเราจะยังมีราคาค่อนข้างสูงกว่าอาหารทั่วไป แต่ก็ไม่ใช่อาหารที่ จ่ายเพื่อความสิ้นเปลือง คนไม่น้อยที่ยอมเสียเงินจ่ายมากกว่าด้วยมุมมองที่คิด ว่าเป็นการลงทุนด้านสุขภาพ และประหยัดค่ายารักษาโรคอันจะเกิดในอนาคต เพราะอาหารนั่นเอง ที่จริงแล้วอาหารสุขภาพมี ให้เลือกมากมายและไม่จ�ำเป็นต้องจ่ายด้วย ราคาแพง หากน�ำหลักการที่เหมาะสมของอาหารปลอดภัยไปประยุกต์ ใช้ใน ชีวิตประจ�ำวัน เช่น แบ่งพื้นเล็กๆ ในบ้านปลูกผักกินเอง ท�ำอาหารเองโดยใช้ เครือ่ งปรุงรสทีป่ ลอดภัย ควบคุมการผลิตและเก็บรักษาอาหารให้สะอาด เป็นต้น เป็นวิธีที่ช่วยให้มีสุขภาพดีได้ โดยเฉพาะเมื่อรวมเข้ากับการออกก�ำลังกายที่ เหมาะสมกับสภาพร่างกายและดูแลจิตใจให้ร่าเริงแจ่มใส เพียงเท่านี้สุขภาพดี ก็ไม่ไกลเกินเอื้อมแล้วค่ะ Life & Family 15


Directory Health Food Shop ร้านเพื่อนดินฟ้า จ�ำหน่ายผลิตภัณฑ์ปลอดสารพิษ 67/45 ซอยนวมินทร์ 46 ถนนนวมินทร์ แขวงคลองกุ่ม เขตบึงกุ่ม กรุงเทพฯ 10230 โทรศัพท์ : 0 2375 2549 แฟกซ์ : 0 2375 8521 ................................ ร้านดีใจออร์แกนิค จ�ำหน่ายผลิตภัณฑ์ออร์แกนิก 113/36 - 37 ถนนลาดหญ้า แขวงคลองสาน เขตคลองสาน กรุงเทพฯ 10600 โทรศัพท์ : 0 2439 2100 แฟกซ์ : 0 2439 2102 www.djaiorganic.co.th ................................ บ้านธัญพืช จ�ำหน่ายผลิตภัณฑ์ออร์แกนิกแปรรูป และธัญพืช 9/269 ถ.พุทธบูชา จอมทอง กรุงเทพฯ 10150 โทรศัพท์ : 0 2869 3744 ................................ ร้านบ้านข้าวกล้อง จ�ำหน่ายผลิตภัณฑ์ข้าวกล้องอินทรีย์ 364/21 ถ.พุทธบูชา ทุ่งครุ (ตรงข้ามหมู่บ้านสวนธน) กรุงเทพฯ 10140 โทรศัพท์/แฟกซ์ : 0 2874 8315 ................................ ร้านสุวรรณภูมิเพื่อสุขภาพและความงาม จ�ำหน่ายผลิตภัณฑ์เครื่องส�ำอางและความงามปลอดภัย 1511/12 ถ.พหลโยธิน พญาไท กรุงเทพฯ 10400 (ใกล้ BTS สะพานควาย) โทรศัพท์ : 08 1854 2942 ................................ ร้านสวนเงินมีมา จ�ำหน่ายผลิตภัณฑ์ออร์แกนิก 77-79 ถนนเฟื่องนคร แขวงวัดราชบพิธ เขตพระนคร กรุงเทพฯ 10200 โทรศัพท์ : 0 2622 0955, 66 แฟกซ์ : 0 2622 3228 www.suan-spirit.com ................................ บ้านสวนไผ่สุขภาพ จ�ำหน่ายผลิตภัณฑ์และอาหารออร์แกนิก 17 ซอยอารีย์ 1 ถ.พหลโยธิน แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพฯ 10400 โทรศัพท์ : 0 2615 1583, 0 2615 2454 ................................

ร้านเลมอนฟาร์ม จ�ำหน่ายสินค้าเกษตรอินทรีย์ จัดกิจกรรมส่งเสริม การเพาะปลูกผักออร์แกนิกแก่เกษตรกร 104/34 หมู่ 1 อาคารอเวนิว ถนนแจ้งวัฒนะ แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กทม. 10210 โทรศัพท์ : 0 2575 2222 แฟกซ์ : 0 2575 3789 www.lemonfarm.com มี 12 สาขา คือ แจ้งวัฒนะ, ประชาชื่น, เกษตร, ประดิษฐ์มนูญธรรม, ศรีนครินทร์, เพชรเกษม 57, สุขุมวิท 39, บางแค, ราชพฤกษ์, ตลาดเสรีมาร์เก็ต, พระราม 9 ................................ ร้านโป๊ะผัก จ�ำหน่ายผักปลอดสารพิษ 1/9 แผงลอยท่าเทียบเรือพรานนก ถ.พรานนก แขวงศิรริ าช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ 10700 โทรศัพท์ : 0 2866 1719, 0 2411 2951 ................................ ร้านเอเดน ขายสินค้าออร์แกนิก ได้แก่ ผัก ผลไม้ ข้าวกล้อง ธัญพืช สินค้าธรรมชาติ สมุนไพร สินค้าหัตถกรรม บริษัท เอเดน อินเตอร์เนชั่นแนล จ�ำกัด โครงการไวท์มอลล์ ถ.ประชาราษฎร์สาย 1 โทรศัพท์ : 0 2913 6571-3 ต่อ 32-37 www.adenshop.com มีสาขาที่เชียงใหม่ ล�ำปาง ขอนแก่น ตราด และโคราช ................................ ร้าน Health Me จัดหน่ายอาหารมังสวิรัติ ผลิตภัณฑ์ปลอดสารพิษ และบริการออร์แกนิกดิลิเวอรี่ 20/1 ม.2 ปากซอยราษฎร์บูรณะ 34 ถ.ราษฎร์บูรณะ แขวง/เขตราษฎร์บูรณะ กรุงเทพฯ 10140 โทรศัพท์/แฟกซ์ : 0 2428 3408 ................................ ร้านบ้านนาวิลิต จ�ำหน่ายข้าวพันธุ์พื้นบ้าน และผลิตภัณฑ์ปลอดสารพิษ 183 อาคารรีเจ้นท์เฮ้าส์ ชั้น 1 ถ.ราชด�ำริ แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10500 โทรศัพท์/แฟกซ์ : 0 2651 9779 http://baannavilit.com ................................

Life & Family 16



HOME & LIFESTYLE Our Home เรื่อง เอกเขนก

ขัดสีฉวีวรรณเครื่องประดับ เครื่องประดับมากมายหลายชิ้นของคุณผู้หญิงที่มีหลายแบบและหลากชนิดวัตถุนั้น อาจจะดูไม่ค่อยมีปัญหาเรื่องความสกปรก แต่บางชิ้นพอใส่ไปนานๆ กลับหมองจากคราบเหงื่อไคล หรือเครื่องเงินและไข่มุกชิ้นโปรดหากเก็บไว้นานๆ ก็ด�ำและหมองได้ จึงต้องจับเครื่องประดับในกล่อง มาขัดสีฉวีวรรณกันบ้าง ขอแนะน�ำตัวช่วยให้คุณได้ชุบชีวิตเครื่องประดับชิ้นโปรดกลับมาสดใสดังเดิมค่ะ

อะลูมิเนียมฟอยล์

แอมโมเนีย

อะลูมิเนียมฟอยล์ที่ไว้ห่ออาหารท�ำกับข้าวนี่แหละค่ะ สามารถช่วยคุณท�ำความสะอาดบรรดาเครื่องเงินทั้งหลาย ได้ โดยน�ำเอาแผ่นอะลูมิเนียมฟอยล์มาวางไว้บนชามหรือ จานก้นลึก จากนั้นวางเครื่องประดับลงไปแล้วโรยเบ็กกิ้ง โซดาบนเครื่องประดับก่อน แล้วจึงเทน�้ำร้อนลงไป เบ็กกิ้ง โซดาและอะลูมเิ นียมฟอยล์จะไปท�ำปฏิกริ ยิ ากันท�ำให้เครือ่ ง เงินของคุณแวววาวขึ้นค่ะ อาจต้องพลิกเครื่องประดับให้ สบู่และน�้ำ สบู่และน�้ำเหมาะกับการท�ำความสะอาดเครื่องประดับ สัมผัสกับแผ่นอะลูมิเนียมฟอยล์อย่างทั่วถึง จากนั้นก็เอา ประเภทไข่มุกและเทอร์ควอยส์ โดยเอาไข่มุกไปล้างใน มาล้างน�ำ้ สะอาดและเช็ดให้แห้ง น�้ำอุ่นที่ผสมกับสบู่ อาจเป็นสบู่เหลวหรือน�้ำยาล้างจาน ก็ได้ค่ะ แล้วล้างออกด้วยน�้ำก่อนเช็ดให้แห้ง ส่วนเทอร์Tips ควอยส์นั้นให้ใช้แปรงสีฟันขนนุ่มจุ่มน�้ำอุ่นแล้วมาขัดเศษ • อย่าลืมถอดแหวนทุกครั้ง ฝุ่นผงทั้งหลายออก จากนั้นจึงเช็ดให้แห้ง ที่ส�ำคัญควร ที่ล้างมือหรือทาครีม วางผึ่งให้แน่ใจว่าแห้งสนิทก่อนเก็บนะคะ เพราะสบู่หรือครีมจะไปเกาะสะสม ที่แหวนจนท�ำให้หมองได้ น�้ำส้มสายชู • ทุกครั้งหลังสวมใส่ไข่มุก ตัวช่วยที่เหมาะกับการท�ำความสะอาดเครื่องทองและ ควรใช้ผ้านุ่มๆ เช็ดที่เครื่องประดับ พลอยต่างๆ โดยเอาไปแช่ในน�้ำส้มสายชูประมาณ 10-15 เพราะอาจจะมีคราบไคลจากตัวเรา นาที แล้วขัดด้วยแปรงสีฟันเบาๆ หลังจากนั้นจึงล้างด้วย หรือคราบน�ำ้ หอมไปติดได้ น�้ำเปล่าและซับให้แห้ง • ควรเก็บทองใส่ถุงแยกแต่ละชิ้นไว้ เพื่อป้องกันรอยขีดข่วนจากการเสียดสี Life & Family

เหมาะกับการท�ำความสะอาดเพชร โดยใช้แอมโมเนีย 1/4 ถ้วยผสมกับน�้ำอุ่น 1 ถ้วย ก่อนเอาเครื่องประดับลงแช่ แล้วใช้แปรงสีฟนั ปลายนุม่ ขัดฝุน่ ผงทีม่ กั ติดอยูต่ ามซอกฐาน แหวนหรือตัวเรือนต่างๆ จากนัน้ จึงซับให้แห้งด้วยผ้าขนหนู

18



HOME & LIFESTYLE Inspire corner เรื่อง จินตนา เวสเซลลิ่ง

Lovely

Lunch Bag ด้วยวิถีชีวิตที่เร่งด่วนของคนในยุคปัจจุบัน การเตรียมอาหารกลางวันไปเองจากบ้าน อาจจะไม่เป็นที่นิยมทั้งกับคนท�ำงานหรือเด็กๆ ที่ต้องไปโรงเรียน และอาจถือเป็นเรื่องแปลก ด้วยซ�้ำไปนอกเสียจากว่าจะเป็นโอกาสพิเศษจริงๆ แต่การท�ำอะไรที่สวนกระแสอย่างการ หันมาใส่ใจเรื่องของอาหารที่เราปรุงเองจากบ้านก็ถือเป็นเรื่องน่าสนใจไม่น้อยค่ะ... ฉบับนี้ ฉันจะชวนคุณท�ำของน่ารักๆ อย่างกระเป๋าใส่อาหารกลางวัน รับประกันความน่ารักที่จะท�ำ ให้ใครหลายคนเปลี่ยนใจหันมาเตรียมมื้อกลางวันจากบ้านไปเองกันเลยทีเดียว อุปกรณ์

• ผ้าส�ำหรับด้านนอกของตัวกระเป๋า (ลายดอกสีนำ�้ เงิน) ขนาด 30 x 25 ซม. จ�ำนวน 2 ชิ้น เผื่อเนื้อที่ตะเข็บไว้ 1.5 ซม. • ผ้าส�ำหรับบุด้านในของกระเป๋า (ลายจุดสีแดง) ขนาด 30 x 25 ซม. จ�ำนวน 2 ชิ้น เผื่อเนื้อที่ตะเข็บไว้ 1.5 ซม. • ผ้าส�ำหรับส่วนบนส�ำหรับรูดปิดปากกระเป๋า (ลายทางขาวด�ำ) ขนาด 30 x 15 ซม. จ�ำนวน 2 ชิ้น เผื่อเนื้อที่ตะเข็บด้านริม 2 ด้าน และด้านล่างไว้ 1.5 ซม. • ฉนวนบุเก็บความร้อนและความเย็น ขนาด 27 x 25 ซม. (หาซื้อได้ตามร้านอุปกรณ์ก่อสร้าง) • สายกระเป๋าหรือริบบิ้นผ้าอย่างหนา 2 ชิ้น ยาวชิ้นละ 30 ซม. • เชือกส�ำหรับใช้รูดปากกระเป๋า • สายวัด, กรรไกรตัดผ้า, ชอล์กเขียนผ้า, เข็มหมุด

Life & Family 20


1

2

3

4

5

6

7

8

9

วิธีท�ำ : 1. น�ำฉนวนมาเย็บติดกับด้านผิด ด้าน 7 ซม. จากนั้นเย็บปลายสาย เนื้อที่ไว้ 5 ซม. ลงมาสองทบ ก่อนที่ ของผ้ า ที่ ท� ำ เป็ น ด้ า นนอกของตั ว กระเป๋า (ผ้าลายดอกสีน�้ำเงิน) เย็บ เฉพาะด้านบนและด้านล่าง เย็บห่าง จากขอบเข้ามาประมาณ 0.5 ซม. อาจจะยึดด้วยเข็มหมุดก่อนลงมือเย็บ เพือ่ ให้เย็บง่ายขึน้ และใช้ฝเี ข็มห่าง ท�ำ วิธีเดียวกันนี้กับผ้าทั้ง 2 ชิ้น หลังบุ ฉนวนแล้วให้น�ำผ้าทั้ง 2 ชิ้น เอาด้าน ถูกประกบกัน เย็บตามตะเข็บอีกครั้ง (1.5 ซม.) ของทุกด้านยกเว้นด้านบน 2. เมื่อเย็บเสร็จแล้วตรงด้านข้าง ทั้ง 2 ด้านจับท�ำมุมเพื่อให้เป็นทรง ของก้นกระเป๋า ใช้สายวัดให้ได้ระยะ 8 ซม. ใช้ชอล์กลากเส้นเพื่อท�ำแนว เย็บ ลงมือเย็บตามแนวเส้น 3.หลังเย็บเสร็จให้ตัดมุมออก เว้น ระยะตะเข็บไว้ 1.5 ซม. ท�ำวิธเี ดียวกัน กับทั้ง 2 มุมของก้นกระเป๋า 4.กลับผ้าด้านถูกออกมา ถึงตอนนี้ เราจะเริ่มเห็นกระเป๋าออกมาเป็นรูป เป็นร่างแล้ว น�ำสายกระเป๋ามาเย็บ ติดตรงขอบ ระยะห่างจากริมทั้งสอง

กระเป๋าให้ติดกับตัวกระเป๋า ระยะห่าง จากขอบ 0.5 ซม. 5.ผ้าบุด้านใน (ลายจุดสีแดง) ท�ำ แบบเดี ย วกั น (แต่ ไ ม่ ต ้ อ งบุ ฉ นวน) โดยหันด้านถูกประกบกัน เย็บทุกด้าน ยกเว้นด้านบน จับท�ำมุมกับส่วนก้น กระเป๋า 6.ลากเส้นมุมระยะ 8 ซม. เช่น เดียวกัน จากนั้นเย็บตามแนวเส้นและ ใช้กรรไกรตัดมุมเข้ามาให้เหลือตะเข็บ ขนาด 1.5 ซม. แล้วกลับผ้าน�ำด้าน ถูกออกมา 7.ส่วนของผ้าปิดปากกระเป๋าด้าน บนเว้นเนื้อที่ไว้ 5 ซม. ส�ำหรับพับ ลงมาให้เป็นช่องสอดเชือกส�ำหรับรูด ปิดปาก น�ำด้านถูกประกบกัน ลงมือ เย็บตรงด้านข้างทั้งสองด้านก่อน เว้น เนื้อที่ตะเข็บเข้ามา 1.5 ซม. เมือ่ เย็บเสร็จแล้วใช้เตารีดรีดตะเข็บ ขอบผ้าทั้งสองชิ้นให้แบน ก่อนที่จะ เย็บริมตะเข็บทัง้ สองด้านซ�ำ้ อีกครัง้ (ดู รูปประกอบ) จากนั้นพับส่วนบนที่เว้น Life & Family 21

จะลงมื อ เย็ บ ขอบทั้ ง หมดโดยรอบ เสร็จขั้นตอนนี้เราจะได้ช่องไว้ส�ำหรับ สอดเชือก 8.น�ำชิ้นส่วนที่เย็บแล้วมาประกอบ กัน เพือ่ ให้เข้าใจง่าย จัดล�ำดับชิน้ งาน ตามภาพ ซึง่ ได้แก่ ผ้าสีนำ�้ เงินอยูด่ า้ น นอกสุด (หันด้านผิดออก), ตามด้วย สายกระเป๋า, ผ้าลายทางสีดำ � (หันด้าน ถูกออก), ผ้าลายจุดสีแดงจะอยู่ด้าน ในสุด (หันด้านถูกออก) จัดก้นกระเป๋า ให้เข้ากัน และริมขอบบนกระเป๋าให้ เสมอกัน ยึดด้วยเข็มหมุด และเย็บ ขอบบนเว้นตะเข็บเข้ามา 1.5 ซม. และเว้ น ช่ อ งให้ ก ลั บ ผ้ า ไว้ ป ระมาณ 5 ซม. 9.จากนั้นกลับผ้าผ่านช่องที่เว้นไว้ ใช้เตารีดรีด จากนั้นเย็บปิดชิ้นงาน ตรงขอบซ�้ำอีกครั้งเพื่อให้ดูเรียบร้อย แล้ ว สอดเชื อ กผ่ า นช่ อ ง เสร็ จ แล้ ว ถือว่าเป็นอันเรียบร้อยส�ำหรับกระเป๋า ใส่อาหารกลางวันใบนี้


HOME & LIFESTYLE Relax Zone เรื่อง กัลยกร

Fashion Food

Designed by The Square ใจกลางเมื อ งกรุ ง ย่ า นประตู น�้ ำ ที่ เ ต็ ม ไปด้ ว ยผู ้ ค นที่ เร่งรีบมากมาย หลังจากเสร็จสิ้นภารกิจแล้ว ลองเดิน เข้ามาลิ้มลองรสชาติของอาหาร ตกแต่งในบรรยากาศ แฟชั่นดีไซน์ทันสมัยของห้องอาหารเดอะสแควร์ โรงแรม โนโวเทล กรุงเทพ แพลทินัม ประตูน�้ำสิคะ แล้วคุณจะลืม ความเร่งรีบที่มีไปเลยล่ะค่ะ ด้วยความที่ย่านนี้มีผู้คนหลายเชื้อชาติอาศัยอยู่ ห้อง อาหารเดอะสแควร์จึงน�ำเสนอสไตล์บุฟเฟ่ต์นานาชาติ เมนูอาหารหลากหลายละลานตาทีเดียวค่ะ หากสะดวกไป ช่วงเทีย่ งขอแนะน�ำบุฟเฟ่ตน์ านาชาติมอ้ื กลางวัน TASTE ’N FASHION INTERNATIONAL LUNCH BUFFET เมนู ขึ้นชื่อของที่นี่คือเมนูอาหารจีน เป็ดย่าง หมูแดง หมูกรอบ

ความพิเศษของเมนูนี้จะอยู่ที่เนื้อหมูแดงนุ่มมาก กินแล้ว แทบจะละลายในปาก ส่วนหมูกรอบก็กรุบกรอบจริงๆ กิน เพลินได้เรื่อยๆ ส่วนเป็ดย่าง เนื้อเป็ดเหนียวนุ่มก�ำลังดี รสชาติครบรส นอกจากนี้ยังมีอาหารฝรั่งอย่าง สปาเกตตี พิซซ่า แถมปิดท้ายด้วยเมนูของหวานอย่าง ข้าวเหนียว มะม่วงน�้ำดอกไม้ เพียงแค่ยกผ่านจมูกกลิ่นหอมชวนให้ น่าลิ้มลองมากๆ และอีกหนึ่งเมนูของหวานขึ้นชื่อที่พลาด ไม่ได้คือเมนู ชีสพาย ที่อร่อยถูกปากมากค่ะ ขอแนะน�ำว่าควรกินทีละน้อยจะชิมได้ครบค่ะ หาก ใครได้มารับประทานบุฟเฟ่ต์ที่นี่จะบอกว่าคุ้มมากๆ แถม รสชาติความอร่อยจะท�ำให้คณ ุ ลืมไม่ลง และต้องอยากกลับ มาอีกครั้งแน่ๆ ค่ะ

Info : ห้องอาหารเดอะสแควร์

ที่ตั้ง : โรงแรมโนโวเทล กรุงเทพ แพลทินัม ประตูนำ�้ เวลาเปิดบริการ : จันทร์-ศุกร์ ตั้งแต่เวลา 11:30 น.-14:30 น. บริการบุฟเฟ่ต์นานาชาติมื้อกลางวัน TASTE ’N FASHION INTERNATIONAL LUNCH BUFFET ราคา 499 บาท ++ ต่อท่าน เสาร์-อาทิตย์ ตั้งแต่เวลา 11.30-14.30 น. บริการบุฟเฟ่ต์มื้อกลางวัน SEAFOOD BBQ FESTIVAL WEEKEND BRUNCH BUFFET ราคา 849 บาท ++ ต่อท่าน ฟรีน�้ำผลไม้ไม่อั้น และราคา 1,349 บาท ++ ต่อท่าน สามารถดื่มเบียร์และไวน์ได้ไม่อั้น โทรศัพท์ : 02-209-1700 ต่อ 8703 www.novotelbangkokplatinum.com Life & Family 22




Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.