ModernMom Focus Vol.1 No.1 February 2015

Page 1

Vol.1 No.1 February 2015

By ModernMom Magazine

Interview...

พญ.พรรณพิมล วิปุลากร รองอธิบดีกรมสุขภาพจิต ‘นิยามครอบครัวเปลี่ยน พ่อแม่เตรียมตอบคำ�ถามลูกยังไง?’ เมทินี กิ่งโพยม(ลูกเกด) คุณแม่นางแบบ ‘คุณแม่สมัยใหม่ เปิดใจ เปิดกว้าง พร้อมเตรียมลูกชายวัยช่างถาม’ มีนา ตัวแทนนิยามครอบครัวใหม่ ‘เมื่อบ้านนี้มีพ่อและแม่เป็นผู้หญิง!!’

...เตรียมลูกก้าวสู่ยุค

Alternative Family



Vol.1 No.1 February 2015 พญ.พรรณพิมล วิปุลากร รองอธิบดีกรมสุขภาพจิต

เมื่อความหมายและองค์ประกอบ ของครอบครัวเปลี่ยนไป มองอีกมุมเพื่อเข้าใจ ครอบครัวยุคปัจจุบัน ผ่านมุมมอง นักจิตวิทยาชั้นนำ�ของเมืองไทย

ลูกเกด เมทินี กิ่งโพยม นักแสดง นางแบบ

ตัวแทนของแม่ยุคใหม่ ที่จะถ่ายทอดความคิด ความรู้สึก และ ทัศนคติต่อการอยู่ในสภาพแวดล้อม ที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ของลูก แต่จะรับมือ และมองความแตกต่างนี้ได้อย่างไร มีนา หญิงไทยที่พบรักกับสาวอเมริกัน หนึ่งมุมมองความคิดเห็นของ ครอบครัวทางเลือก เพราะต้องการเติมเต็มคำ�ว่า “ครอบครัว” ให้สมบูรณ์ ที่เรื่องเพศ ไม่ได้เป็นอุปสรรค และไม่ได้ทำ�ให้ การทำ�หน้าที่ของพ่อและแม่บกพร่อง เพราะเชื่อมั่นว่าความรักเอาชนะทุกสิ่ง เจ้าของ : กลุ่มบริษัท อาร์แอลจี สร้างสรรค์ โดย : นิตยสาร ModernMom Contact Us กลุม่ บริษทั อาร์แอลจี 932 ถนนประชาชืน่ แขวงวงศ์สว่าง เขตบางซือ่ กรุงเทพฯ 10800 กองบรรณาธิการ การตลาดและประชาสัมพันธ์ โทรศัพท์ 0 2831 8400, 0 2913 7555 ต่อ 4420-4424, 3520, 3535 โทรสาร 0 2831 8499 อีเมล์ : mmm@raklukegroup.com แผนกโฆษณา โทรศัพท์ 0 2831 8400, 0 2913 7555 ต่อ 3361, 3332, 3359, 3345, 4723 โทรสาร 0 2831 8477 อีเมล์ : rungladda@raklukegroup.com

สวัสดีค่ะคุณแม่ ModernMom ขอแนะนำ� ModernMom Focus เพือ่ คุณแม่และครอบครัวค่ะ

เป็นอีกหนึ่งความตั้งใจที่ทีมงาน ModernMom ตั้งใจนำ�เสนอแด่ คุณผู้อ่านที่มีไลฟ์สไตล์การท่องโลกหาข้อมูลในรูปแบบดิจิตอล มีเดีย ModernMom Focus เน้นการเลือกสรรเนื้อหาเจาะประเด็น ในความสนใจที่พ่อแม่และครอบครัวต้องรู้ ในช่วงเวลานั้น ที่ สำ�คัญคุณจะหาอ่านจากที่ไหนไม่ได้ เพราะไม่ใช่ข้อมูลที่หาได้ ทั่วไป ประเด็นและข้อสรุป ทางออก สถานการณ์ บทวิเคราะห์ ต่างๆ ที่รอบด้านทุกมุมมอง ที่นี่ที่เดียว !! สำ�หรับฉบับปฐมฤกษ์นี้ เปิดประเด็น Hot Issue ของสังคม ไทย “Alternative Family” ความแตกต่างที่ต้องการความ เข้าใจ และวางแผนการเลี้ยงลูกของเราให้อยู่บนสังคมแห่ง ความหลากหลายนี้ได้อย่างมีความสุข พึงระลึกไว้เสมอว่า เราไม่ สามารถหลีกเลี่ยงและจำ�กัดการ “เป็น” “อยู่” ของลูกกับคนใน สังคมที่หลากหลายและแตกต่างนี้ได้ แล้วพบกันใหม่ฉบับหน้า ในประเด็น “Talk About Sex” ดาวน์โหลดได้ทุกวันที่ 15 ของเดือนค่ะ สรัญญา โภคาลัย บรรณาธิการบริหารฯ

www.modernmommag.com www.booksmile.co.th www.issuu.com โดย search modernmom focus 3


Alternative

ก้าวสู่ยุค

Family หลากหลายและแตกต่าง นิยามครอบครัวที่ ไม่เหมือนเดิม

ในวันที่สังคมมีความหลากหลาย เพศ มีมากกว่า 1, 2 หรือ 3 จากเพศทางเลือก คบกั น เป็ น เพี ย งคู่ รั ก หลายๆ คู่ อ ยาก พัฒนาให้เป็นครอบครัวที่สมบูรณ์ คำ�ว่า “ครอบครัว” จึงเปลี่ยนไป จากชายหญิง มาแต่งงาน สร้างครอบครัวจนมีลกู สูช่ าย กับชาย หญิงกับหญิง แต่งงานกัน หรือ อาจจะมีอีกหลายรูปแบบที่คาดไม่ถึงมา สร้างครอบครัวร่วมกัน แล้วเริม่ มองหาวิธี ที่จะมี โซ่ทองคล้องใจ รูปแบบครอบครัว จึงมีหลากหลายรูปแบบ พบหลากหลาย มุมมองวิธีคิดและทัศนคติจาก 3 มุมมอง

4


ModernMom Focus ฉบับปฐมฤกษ์ เรา จึงถือโอกาสขอเปิดอกแชร์มมุ มองอย่างเปิดกว้างครบ ทุกมุมมองผ่านบุคคลน่าสนใจ 3 ท่านที่เป็นเสมือน ตัวแทนในด้านต่างๆ ของสังคมยุค Alternative Family ท่านแรก พญ.พรรณพิมล วิปุลากร รองอธิบดี กรมสุขภาพจิต ที่มาช่วยมองสังคมว่าจะเปลี่ยนไป อย่างไร รวมทั้งครอบครัวจะต้องเตรียมตอบคำ�ถาม กับลูกแบบไหนจึงเหมาะสม ท่านทีส่ อง ลูกเกด เมทินี กิง่ โพยม คุณแม่นกั แสดง นางแบบ ทีน่ อกจากรายล้อม ด้วยเพือ่ นร่วมงานเพศทีส่ ามแล้ว ยังมีลกู ชายวัยกำ�ลัง ช่างสังเกตอีกด้วย เธอจะคุยกับลูกอย่างไรหากวันหนึง่ เกิดมีคำ�ถามไร้เดียงสาขึ้นมาว่า ทำ�ไมคุณป้าคนนั้น เป็นผู้ชาย หรือเพื่อนในห้องสกายไม่ได้มีคุณแม่เป็น ผูห้ ญิง และคนสุดท้ายทีเ่ ราขอให้เธอเล่าแชร์เรือ่ งราว และมุมมองแบบสุดเอ็กซ์คลูซีฟคือ มีนา หญิงไทยที่ พบรักกับสาวต่างชาติ ทุกวันนี้เธอมีชีวิตครอบครัวที่ สมบูรณ์พร้อม ใช้ชีวิตอยู่ที่อเมริกากับคู่ชีวิตและลูก น้อยอีก 2 คน ModernMom Focus นำ�เสนอเรื่องนี้ ก็เพือ่ ให้ครอบครัวเข้าใจและรับมือกับบริบททางสังคม ที่เปลี่ยนแปลงไปได้ รวมถึงมีวิธีตอบคำ�ถามลูก เพื่อ ไปสู่การปลูกฝังค่านิยม ชุดความคิดใหม่ ให้กับลูก ของเรา เพื่อเข้าใจความหลากหลาย ความแตกต่าง เคารพสิทธิ และให้เกียรติกับความแตกต่าง ไม่ตัดสิน ผิดถูก เพื่อสุดท้ายลูกของเราจะสามารถอยู่ในสังคม แห่งความหลากหลายนี้ได้อย่างมีความสุข

5


เรื่อง : ศิริพร แสงทวี / ภาพ : ธาร ธงไชย, เอกรัตน์ ศรีพานิชย์

เข้าใจนิยามใหม่ของคำ�ว่า

ครอบครัว

คุ ย เปิ ด อกในวั น ที่ สัง คมเปลี่ย นไปกับ นักจิตวิท ยาชื่อ ดัง จากหญิงชายแต่งงาน แล้วมีลูก สู่ความสัมพันธ์และครอบครัวในนิยามใหม่ๆ พญ.พรรณพิมล วิปุลากร รอง อธิบดีกรมสุขภาพจิต มีความคิดเห็นอย่างไรกับเรื่องนี้ ModernMom Focus ขอนัด คุณหมอนั่งคุยเพื่อแลกเปลี่ยนมุมมองกันค่ะ MM Focus : โลกทุกวันนี้เปลี่ยน ไป รวมทัง้ นิยามของคำ�ว่า “ครอบครัว” จากชายหญิง อาจจะเป็นชายชาย หญิง หญิง หรืออื่นๆ อีก รวมทั้งหลังๆ ก็เริ่ม ต้องการมีลกู อาจจะด้วยหลายๆ วิธี ไม่ ว่าจะรับเด็กมาอุปการะ ทำ�กิฟต์ อุม้ บุญ ฯลฯ คุณหมอมีความคิดเห็นเกี่ยวกับ เรื่องนี้อย่างไรบ้างคะ พญ.พรรณพิมล : ถ้ามองเรือ่ งนี้ จะมี 2 ประเด็นที่เปลี่ยนไป อันดับแรก คือ “การใช้ชีวิตคู่” เราจะเห็นว่าวิถีชีวิต คู่และรูปแบบของการเป็นครอบครัว เปลี่ยนภาพไปจากที่เราคุ้นเคย จะมี ครอบครัวเลี้ยงเดี่ยวมากขึ้น หรือเป็น 6

รูปแบบครอบครัวที่มีความหลากหลาย มากขึ้น อย่างที่สองคือ “รูปแบบความ สัมพันธ์” ซึ่งอันนี้จะไม่ได้ผูกติดขนาด เป็นชีวิตคู่หรือชีวิตครอบครัว เรียกว่า ครอบครัวลำ�บาก เลยอยากจะเรียก ว่า “ความสัมพันธ์” แทน แต่บนความ สัมพันธ์นั้นบางทีเขาก็เลือกที่จะมีเด็ก มาอยู่บนความสัมพันธ์ด้วย นี่แหละคือ สิ่งที่น่าสนใจว่าเมื่อตัดสินใจอย่างนั้น แล้วเราควรจะมองที่เรื่องอะไรบ้าง เด็ ก จะต้ อ งการคนทำ � หน้ า ที่ เ ป็ น Parenting ฉะนั้นทั้งสองคนก็ต้องถาม แล้ ว ก็ ท ดสอบตั ว เองว่ า เราอยากทำ � หน้าที่นั้นจริงไหม


เรื่องการเห็นครอบครัวที่หลากหลาย เราควรให้เด็กเติบโตไปแบบไม่มีอคติ ซึ่งในอนาคตข้างหน้าเด็กยังต้องเจอ ความหลากหลายอีกมากมาย ว่าพ่อแม่ของเพื่อนเขาเป็นแบบไหน พญ.พรรณพิมล วิปุลากร รองอธิบดีกรมสุขภาพจิต

7


ไม่ว่าจะความสัมพันธ์แบบไหน เพศอะไร เมื่อตัดสินใจมีเด็กเข้ามา ในทางจิตวิทยายืนยันว่า เด็กต้องการคนทำ�หน้าที่เป็นพ่อแม่ ซึ่งอาจไม่ ใช่พ่อแม่เหมือนอย่างที่เราคุ้นเคย ว่าจะต้องเป็นผู้ชายกับผู้หญิงมาแต่งงานกัน แต่เด็กจะต้องการคนทำ�หน้าที่เป็น Parenting ฉะนั้นทั้งสองคนก็ต้องถามแล้วก็ทดสอบตัวเองว่า เราอยากทำ�หน้าที่นั้นจริงไหม

ถ้าได้ค�ำ ตอบว่าพร้อม มัน่ ใจแน่นอน แล้ ว ก็ จ ะไปสู่การดูว่าเมื่อ มีเ ด็กเข้า มาในความสัมพันธ์แล้วเราจะดูแลเขา อย่างไร จุดนี้ต้องไปที่มุมของเด็กแล้ว เพราะเขาเองก็อาจจะเป็นอีก 1 บุคคล ที่ตั้งคำ�ถาม ต้องการคำ�ตอบ ต้องการ การดูแล เราก็ต้องทำ�หน้าที่เข้าใจเขา ให้การตอบสนองกับเขา เพือ่ ให้กลับไป บรรลุข้อ 1 ที่ว่าเราสองคนมุ่งมั่นตั้งใจ อยากจะมาทำ � หน้ า ที่ พ่ อ แม่ ที่ จ ะต้ อ ง เลี้ยงเขาให้เติบโตไปอย่างมั่นคง MM Focus : คำ�ว่า “ครอบครัว” ในความสัมพันธ์แบบนีด้ เู หมือนละเอียด อ่อนเป็นพิเศษ มีอะไรทีค่ ณ ุ หมอคิดว่า ต้องระวังหรือใส่ใจเป็นพิเศษหรือเปล่าคะ 8

พญ.พรรณพิมล : Alternative Family จะมีอยู่ 3 แบบ แบบแรกคือ เราอยากมีลูก อยากดูแลลูก แต่คู่ของ เราไม่ได้ตอ้ งการด้วย สิง่ นีเ้ ป็นความฝัน ของเราคนเดียว สำ�หรับคู่แบบนี้มีเรื่อง ที่ต้องระวังคือการตัดสินใจ ขอแนะนำ� ว่าอย่าฝืนใจกันเลยค่ะ มันเป็นเรื่อง ลำ�บากใจมากนะ เข้าใจว่าอาจจะเป็น ความฝันของอีกคน แต่ก็เหมือนเรื่อง อื่นๆ ของชีวิตคู่ที่ขัดแย้งกันไป ฝืนกัน ไป ก็ไม่เป็นผลดี ต้องคุยตกลงกันให้ ดี หรือจริงๆ แล้วก็ยังมีวิธีอื่นๆ ที่จะ ดูแลเด็กได้ เช่น ดูแลหลานร่วมกับพ่อ แม่จริงของเขา ก็เป็นการหาทางออก ที่ทำ�หน้าที่พ่อแม่ได้แบบไม่ต้องเต็ม ตัว เราเองก็ไม่ต้องดูแลมาก คู่เราก็ไม่ ต้องฝืนใจ แบบที่สองคือพร้อมใจกัน ทั้งคู่ มีความฝันร่วมกัน อันนี้ถือว่าเริ่ม ต้นดี สิ่งที่ต้องระวังคือการวางแผนว่า จะเตรียมพร้อมในการดูแลเขาอย่างไร ต้ อ งเข้าใจว่ าเมื่ อ มี เ ด็ ก เข้ ามาการใช้ ชีวิตของเราต้องเปลี่ยนแปลงไป โดย เฉพาะช่ ว งขวบปี แ รกที่ เ ขาต้ อ งการ เวลาเป็นอย่างมาก คนเป็นพ่อแม่ต้อง อุ้ม ต้องอดนอน ต้องเปลี่ยนผ้าอ้อม 3 เดือนแรกจะออกจากบ้านไปไหน


ลำ�บากเพราะเขายังเล็กมาก ต้องหา ความรู้ใหม่ๆ เพื่อใช้ในการดูแลเขา ทั้ง เรือ่ งพัฒนาการ สุขภาพ อาหารการกิน สิ่งเหล่านี้เปลี่ยนแปลงชีวิตเราแน่นอน แต่ส่วนใหญ่ก็จะสามารถดำ�เนินไปได้ ต่อตามธรรมชาติ และสามคือเป็นแบบกลางๆ คน หนึ่งมีความต้องการมาก อีกคนก็ไม่ได้ ขัดแย้งอะไร ไม่ได้ต้องการมาก แต่ก็ ไม่ห้ามและพร้อมที่จะให้ความร่วมมือ กลุ่มนี้ต้องระวังว่าคู่เราเขาจะยังคงคิด แบบเดิมไหม ต้องมีการติดตามความ พร้อมเขาอยู่เสมอๆ เนื่องจากตอนเริ่ม ต้นเขาอาจจะไม่ได้ขดั แย้งอะไร แต่การ ทำ�หน้าที่พ่อแม่อาจจะเจออะไรหลายๆ อย่างที่เกิดขึ้นระหว่างทาง ทำ�ให้เกิด ความเหนื่อย ความท้อ ต้องมีการคุย กันเป็นระยะๆ หรือแม้ในคู่แบบที่ 2 ที่ พร้อมมากก็ตาม เพราะพอถึงเวลาจริง โจทย์อาจจะเปลี่ยนไปเรื่อยๆ MM Focus : แล้วกับเด็กล่ะคะ เขา เป็นอีกคนที่น่าจะต้องถูกเตรียมความ พร้อมอย่างหนัก วันหนึ่งเขาต้องมีคำ� ถามแน่ๆ อยากให้คณ ุ หมอให้ค�ำ แนะนำ� 2 ฝั่ง คือ การให้คำ�ตอบกับเด็กใน Alternative Family และแม่ Modern

Mom ที่วันหนึ่งลูกอาจเดินเข้ามาถาม ว่าทำ�ไมแม่เพื่อนไม่ใช่ผู้หญิง พญ.พรรณพิมล : กับเด็กช่วง แรกๆ เขาจะทำ�ความเข้าใจจากความ คุ้ น เคยว่ า ใครคื อ คนที่ ดู แ ลเขาเป็ น หลัก นี่เป็นธรรมชาติปกติของมนุษย์ ประมาณ 5-6 เดือนเขาก็จะเริ่มจำ�ได้ ผ่านกลิ่นกาย น้ำ�เสียง การดูแล เขาจะ คุ้นเคยว่าคนเดิมๆ นี่แหละที่ทำ�หน้าที่ เป็นพ่อแม่ของเขา เป็น bonding ที่ เกิดขึ้นระหว่างเด็กกับผู้ที่ทำ�หน้าที่พ่อ แม่ แล้วเขาก็จะค่อยๆ เข้าใจไปเรื่อยๆ จนกระทั่งเขาเริ่มมีภาษาคือ 2-3 ขวบ จึงจะเริ่มเข้าใจคำ�ว่าพ่อ คำ�ว่าแม่ ว่า แปลว่าอะไร มีความหมายอะไรกับเขา จนถึงจุดหนึ่งที่ไปได้ข้อมูลว่าเขามีพ่อ แม่ต่างจากเพื่อนๆ ถึงค่อยเรียนรู้ว่า คำ�ว่าพ่อแม่มีความเหมือนและความ ต่าง สรุปง่ายๆ คือช่วงต้นของชีวิต เด็กจะเรียนรู้คำ�ว่าพ่อแม่ผ่าน bonding ตอนนั้นเด็กจะตัดเรื่องเพศออกไปเลย จนเด็กเริ่มมีสังคม สมองเริ่มเรียนรู้ได้ ซับซ้อนขึน้ ก็จะเริม่ สังเกตเห็นว่าทำ�ไม คนนี้เป็นพ่อแม่เขา แต่พ่อแม่ของอีก คนเป็นอีกแบบหนึ่ง เขาจะค่อยๆ มี คำ�ถาม ค่อยๆ ตั้งคำ�ถามได้ เริ่มจาก 9


คำ�ถามง่ายๆ นิดหน่อย เพราะความคิด ยังไม่ซับซ้อนมาก จนเมื่อโตขึ้น เข้าสู่ สังคมมากขึ้น เห็นภาพมากขึ้นเรื่อยๆ ถึงจะเริ่มเห็นความต่างของตัวเองมาก ขึน้ เรือ่ ยๆ สำ�หรับการตอบ เราก็แค่ตอบ ตรงๆ ไม่ต้องซับซ้อน สามารถบอกได้ ว่าแม่ไม่ได้ตั้งท้องหนูด้วยตัวเอง แต่ แม่อยากมีลูกมาก คุณได้เขามาด้วย วิธีไหนก็บอกเขาไป แล้วแม่กับลุงป้า น้าอาก็ช่วยกันดูแลหนูมาจนถึงทุกวัน นี้ สำ�หรับเด็กที่รับอุปการะมาเลี้ยง เรา ก็บอกตรงๆ ว่าเรารับเขามาดูแล เขา ก็เหมือนเด็กคนอื่นๆ ที่ต้องการความ ชัดเจนว่าเขามายังไง และเรามีความ ตั้งใจอยากดูแลเขา ส่วนตัวเราเองก็ อย่าน้อยใจถ้าเขาอยากรู้ว่าพ่อแม่เขา เป็นใคร เพราะเป็นเรื่องปกติสำ�หรับ เด็กทีอ่ ยากมัน่ ใจว่าฉันเกิดมามีพอ่ มีแม่ เหมือนเด็กคนอื่นๆ ฉันไม่ใช่เด็กแปลก ประหลาด เป็นเรือ่ งความมัน่ คงของเด็ก ซึ่งอันนี้สำ�คัญกว่า อย่ากังวลเมื่อเด็กมี คำ�ถาม เราก็ตอบไปตามความเป็นจริง ส่วนกับครอบครัวทั่วไป สิ่งที่พ่อ แม่ควรจะพร้อมเสมอคือการให้คำ�ตอบ กับลูก เพราะเราไม่มีทางรู้ว่าเขาจะ เดินไปเจออะไรแล้วมีคำ�ถามเมื่อไหร่ แม้กระทั่งเรื่องในครอบครัวของเราเอง ทำ�ไมแม่ถึงต้องดุพ่อ นั่นคือเขากำ�ลัง ถามความสัมพันธ์ของเราอยู่นะ คุณ

จะตอบแบบไหนล่ะ ซึ่งคำ�ตอบของคุณ จะเป็นสิ่งที่เด็กฝังใจและเรียนรู้เรื่อง ความสั ม พั น ธ์ ไ ปด้ ว ย ขอแนะนำ � ว่ า ช่วงต้นของชีวิต ไม่แปลกที่จะบอกกับลูกตรงๆ ว่าคุณ เด็กจะเรียนรู้ ทะเลาะกันจริงๆ เพราะคุณเผลอโมโห คำ�ว่าพ่อแม่ ไป ซึ่งจะเป็นการให้ลูกเรียนรู้ว่าคนเรา ผ่าน bonding สามารถที่จะมีอารมณ์โกรธ มีอารมณ์ ตอนนั้นเด็กจะตัด เสียได้บา้ ง มีทะเลาะกันบ้างตามประสา เรื่องเพศออกไป แต่มันไม่มีผลต่อความสัมพันธ์ เรา จนเด็กเริ่มมีสังคม ยั ง รั ก กั น ได้ ตามปกติ หรื อ Single สมองเริ่มเรียนรู้ Family เด็กก็จะมีคำ�ถามอีกรูปแบบ ได้ซับซ้อนขึ้น เป็นเรื่องปกติที่ไม่ต้องตกใจ แค่ยนื ยัน ก็จะเริ่มสังเกตเห็น ให้เขามัน่ ใจว่าเขาเกิดมาจากความรัก แค่ ว่าทำ�ไมคนนี้ พ่ อ กั บ แม่ ไ ม่ ส ามารถใช้ ชีวิต ร่ ว มกั น เป็นพ่อแม่เขา ได้ ตอบง่ายๆ สำ�หรับคนเป็นพ่อเป็น แม่ ถ้าลูกมีคำ�ถามก็ตอบไปว่าพ่อแม่ ของเพื่อนเขาคงมีความจำ�เป็นอะไร

10


บางอย่าง ซึ่งการตอบคำ�ถามลูกหลักๆ เลยมาจากทัศนคติของพ่อแม่ ลูกเรา ยังไงก็ต้องโตไปกับเพื่อน เราจึงควร ดูแลลูกเราและดูแลเพื่อนของลูกเรา ด้วย ให้เขาเติบโตแบบมั่นคงไปด้วย กัน อันนี้คือการสร้างสิ่งแวดล้อมให้ ลูกนะ ถ้าเราสามารถทำ�ให้เด็กคนหนึ่ง แข็งแรง มั่นคง นั่นก็คือการเตรียมสิ่ง แวดล้อมที่แข็งแรงมั่นคงให้กับลูกเรา MM Focus : สุดท้ายอยากให้ คุณหมอให้ทัศนคติต่อพ.ร.บ.คู่ชีวิตค่ะ หลายๆ ประเทศเดินหน้าไปแล้ว ใน เมื อ งไทยคุ ณ หมอมี ค วามคิ ด เห็ น อย่างไรบ้าง พญ.พรรณพิมล : สำ�หรับสังคม ไทย ในแง่สงั คมก็คงมีการขับเคลือ่ นกัน ต่อไป ในแง่กฎหมายก็เป็นเพียงแค่องค์

ประกอบหนึง่ ทีเ่ ข้าไปประกอบให้การใช้ ชีวิตของคนกลุ่มหนึ่งได้รับการรับรอง และการยอมรับ แต่ว่าจริงๆ แล้วการ ยอมรับในทางสังคมต่างหากเป็นสิ่งที่ เขาต้องการมากที่สุด กฎหมายที่เขา เรียกร้องก็แค่ต้องการให้เขาได้รับการ ยอมรับในสังคมเท่านั้นเอง แต่ถ้าใน ที่สุดต่อให้กฎหมายออกมาแต่สังคมก็ ยังปฏิเสธเหมือนเดิม อันนัน้ คงไม่ใช่ส่ งิ่ ที่เขาต้องการแน่ๆ แล้วพอมองจริงๆ อย่างทุกวันนี้พอให้ทางเลือกกับคู่ชีวิต มากขึ้น การมาจดหรือผูกเป็นทะเบียน ก็ไม่ได้มีความหมายมากกว่าการได้ใช้ ชีวิตคู่ร่วมกัน ฉะนั้นจะมีก็ดี หรือถ้า ไม่มีแต่สังคมให้การยอมรับน่าจะทำ�ให้ เราอยูร่ ว่ มกันอย่างมีความสุขได้ทงั้ สอง ฝ่ายนะคะ

11


คู่รักเพศเดียวกัน ดูแลลูกได้ดีพอๆ กับ คู่รักต่างเพศ ศูนย์วจิ ยั ครอบครัวของ ม.เคมบริดจ์ ก็ได้สำ�รวจกลุ่มตัวอย่างครอบครัวที่รับ อุปการะเด็กอายุ 4-8 ปี พบว่ากลุ่มคน รักเพศเดียวกันเลี้ยงลูกได้ดีเทียบเท่า คู่รักต่างเพศ 12


โดยทีมวิจัยทำ�การสำ�รวจกลุ่มตัว อย่างครอบครัวเกย์ เลสเบี้ยน และคู่ ชายหญิงในอังกฤษ ที่รับอุปการะเลี้ยง ดูบุตรธิดาที่มีอายุระหว่าง 4-8 ปี โดย เน้นสำ�รวจเรื่องคุณภาพความสัมพันธ์ ในครอบครัว การจัดการปัญหาของพ่อ แม่ และการปรับตัวของเด็ก ผลการทดลองสรุปว่าไม่มหี ลักฐาน ใดๆ ที่สนับสนุนสมมติฐานที่ว่าเด็กมี แนวโน้มจะได้รับผลกระทบบางอย่าง จากการมีพอ่ แม่เป็นคูเ่ กย์และเลสเบีย้ น ซึ่ ง ชี วิ ต ครอบครั ว และคุ ณ ภาพความ สัมพันธ์ ในครอบครัวทุกแบบมีความ คล้ายคลึงกัน ไม่ว่าพ่อแม่จะมีรสนิยม ทางเพศแบบใดก็ตาม แหล่งที่มา : www.prachatai.com 13


เรื่อง : ศิริพร แสงทวี / ภาพ : ธาร ธงไชย, เอกรัตน์ ศรีพานิชย์

ลูกเกด-เมทินี คุณแม่นักแสดง และนางแบบสุดฮอตตลอดกาล ที่คนแวดล้อมเธอ ล้วนเป็นบุคคลเพศที่ 3 แทบทั้งนั้น แถมเคยมีคนมาปรึกษาว่าอยากจะสร้างครอบครัว มีลูกด้วยกัน เธอจะมีมุมมองอย่างไร รวมทั้งในฐานะคุณแม่ของน้องสกาย ถ้าวันหนึ่ง ลูกชายเกิดตั้งคำ�ถาม เธอจะตอบกับลูกอย่างไร

เลี้ยงลูก ให้รู้จักอยู่กับ

ความหลากหลาย ของคนกลุ่มนี้มากขึ้น คุณลูกเกดคิดว่า อย่างไรบ้างคะ ลูกเกด : ทุกวันนี้โลกเปลี่ยนไป เมือ่ ก่อนเราอาจจะชินกับการเห็นผูช้ าย ผู้หญิงแต่งงานกัน แต่ทุกวันนี้ ไม่ ใช่ แล้ว อาจจะมีเพศเดียวกันรักกัน ซึ่ง คนกลุม่ นีเ้ มือ่ รักกันก็คงอยากทีจ่ ะมีสทิ ธิ์ ที่จะได้แต่งงานกัน มีลูกได้ ไม่ใช่อยู่ ด้วยกันเฉยๆ ซึ่งตอนนี้เมืองไทยก็ยัง ไม่มีกฎหมายตัวนี้รองรับ เกดคิดว่ายัง ไงก็ตาม สาวประเภทสอง หรือคนที่ ชอบเพศเดียวกัน คนไทยรับได้อยู่แล้ว เพราะเราก็เห็นอยู่ทุกๆ วัน แล้วมันผิด ตรงไหนที่เมื่อคนเหล่านี้เจอคนที่เขา รัก เจอคู่แท้ของเขา แล้วจะอยากมี

MM Focus : คุณลูกเกดแวดล้อม ด้วยพี่ๆ น้องๆ เพศที่ 3 อยู่มากมาย เห็นอะไรในตัวตนของคนเหล่านี้บ้าง ลูกเกด : เกดทำ�งานกับคนกลุ่ม นี้ คนเหล่ า นี้ เ ป็ น คนแรง เป็ น คนมี สไตล์ มีความคิด รู้สึกยังไงก็พูดออก มาตรงๆ อาจจะกล้ากว่าคนอื่น เพราะ อะไร เพราะเขาต้องต่อสู้มากกว่าคน อื่น ต่อสู้กับความรู้สึกว่าเขาเป็นแบบนี้ เขาจะเปิดเผยให้กบั ครอบครัวเขารูไ้ หม ครอบครัวเขาจะรับได้หรือเปล่า ซึง่ เกด รู้สึกว่าคนเหล่านี้เขาจะเข้มแข็งกว่าคน ปกติ MM Focus : แล้วกับการที่ระยะ หลังเราได้ยินข่าวการสร้างครอบครัว 14


กับการเลี้ยงลูก ถ้าคุณทำ�ให้ยาก มันก็จะยาก แต่ถ้าคุณทำ�ให้ง่าย มันก็จะง่าย เพราะฉะนั้นก่อนที่จะมีวางแผนดีๆ แล้วมันก็จะง่าย ลูกเกด เมทินี กิ่งโพยม นักแสดง นางแบบ

ครอบครัว อยากมีลูก บางคนที่เป็นผู้ หญิงมีไข่ของตัวเองก็อาจจะหา Sperm Donor (ผู้บริจาคอสุจิ) หรือถ้าเป็น ผูช้ ายเพศเดียวกันก็อาจจะหาผูห้ ญิงมา บริจาคไข่แล้วใช้สเปิร์มของตัวเองเพื่อ ให้ลูกยังมีส่วนหนึ่งที่เป็นของเขา หรือ อาจใช้วธิ รี บั เด็กมาเลีย้ ง ซึง่ สำ�หรับเกด คิดว่าเป็นเรื่องที่ไม่ควรมาแอนตี้ หรือ ปฏิเสธสิ่งเหล่านี้ MM Focus : สังคมอาจจะมอง ว่าความสัมพันธ์ของคนเพศที่ 3 มัก ผิวเผิน ไม่ยั่งยืน ควรจะมีเด็กเข้ามาอยู่ ในความสัมพันธ์หรือ? 15


จะบอกกับลูกตรงๆ ว่า โลกเรามีความหลากหลาย เขาอาจมีแม่ที่ไม่เหมือนสกาย แต่เขาก็มีแม่ที่รักเขา รักมากด้วย แม่ของเพื่อนมีความรักล้นเปี่ยม แล้วเขาก็อยากแชร์ความรัก เลยมีเพื่อนหนูขึ้นมา เขาไม่ได้เป็นคนแปลกนะ เขาก็เป็นคนธรรมดา

ลูกเกด : เกดมองว่าคู่ที่รักกันจริง เป็นเนื้อคู่กันก็มี แต่สิ่งที่เราคุ้นตากับ คนเหล่านีก้ ค็ อื เป็นคนสนุกสนาน ปาร์ตี้ ก็เลยตีความกันไปว่าเขาซีเรียสไม่ได้ หรอก รักเดียวใจเดียวไม่ได้หรอก มี แฟนหลายคน เดีย๋ วก็คบคนนี้ เดีย๋ วก็ไป เจอคนโน้น ซึง่ เกดว่าไม่ได้เป็นแบบนัน้ เสมอไปหรอก พอเขาเจอคนที่ใช่จริงๆ คนที่เขารักจริงๆ เขาก็อยากก้าวไปอีก สเต็ปหนึ่งของชีวิตไม่ต่างจากคู่รักทั่วๆ ไป เกดมีเพือ่ นทีเ่ ป็นคูร่ กั เพศเดียวกันคู่ หนึง่ เขาคิดอยากจะมีลกู โดยเขาจะหา ผู้หญิงมาบริจาคไข่ให้ ใช้อสุจิเขา แล้ว ให้ผู้หญิงอุ้มบุญให้ ปรากฏว่าในเมือง ไทยทำ�ไม่ได้ ไปทำ�อเมริกาก็แพง กลาย เป็นว่าเขาท้อไปเลย ตัดสินใจว่าไม่มี ก็ได้ ซึ่งเกดเห็นแล้วก็เสียดาย เพราะคู่ นีเ้ ขาคบกันมาเป็นสิบๆ ปี แล้วก็มคี วาม พร้อมมาก เขาพร้อมทุกอย่าง แล้วก็ อยากแบ่งปันความรักให้กับลูกของเขา แต่ก็ต้องมาติดอุปสรรค เกดยังบอก 16

เลยว่าถ้าฉันไม่ติดว่าต้องทำ�งานหรือ กฎหมายรองรับฉันท้องให้เธอไปแล้ว MM Focus : ในฐานะที่ ผ่ า น การตัดสินใจเรื่องการสร้างครอบครัว มาแล้ว ถ้ามีเพือ่ นกลุม่ นีม้ าปรึกษาเรือ่ ง การสร้างครอบครัว การตัดสินใจมีลูก จะให้คำ�แนะนำ�อย่างไรบ้าง ลูกเกด : อันดับแรกคุณควรสำ�รวจ ตัวเองก่อนว่าคุณพร้อมในทุกๆ ด้านแน่ ใช่ไหม เพราะมันเป็นการรับผิดชอบ ชีวิตอีกทั้งชีวิต แล้วไม่ใช่แค่แป๊บเดียว ไม่เหมือนการซือ้ ปลามาเลีย้ งทีช่ วี ติ สั้น อยู่ไม่นานก็หมดอายุขัยไป แต่ชีวิตคน มันยาวนานกว่านั้น ถ้าคุณพร้อม มัน จะไม่ยากกับการเลี้ยงลูก มีแล้วชีวิต เปลีย่ นค่ะ แต่ถา้ วางแผนดีมนั จะเปลีย่ น ไปในทางทีด่ ี อย่างของเกดการมีลกู เป็น เรื่องที่มีความสุขมาก MM Focus : มีเพื่อนรอบตัวเป็น เพศที่ 3 และมีลูกชายที่พาไปไหนมา ไหนด้วย ลูกเริม่ มีค�ำ ถามบ้างหรือยังคะ ลูกเกด : เขาเห็นอยู่เกือบทุกวัน นะคะ แต่ก็ยังไม่มีคำ�ถามอะไร เกด คิดว่าเขาคงยังไม่เข้าใจ ยังแยกแยะไม่ ออก หรือไม่ก็เห็นจนเป็นเรื่องธรรมดา สำ�หรับเขา ถ้าวันหนึ่งเกิดมีคำ�ถามเกด ก็จะพูดกับเขาตรงๆ หรือถ้าเขาจะเป็น แบบนั้นเราก็จะไม่ว่าหรือแอนตี้ ถ้าลูก


เราไม่ได้เป็นแบบที่เราวางไว้ว่าอยาก จะให้เขาเป็น ในที่สุดเราก็ต้องปล่อย เขา เราไม่ควรที่จะบังคับจนเขาไม่มี ชีวติ เป็นของตัวเองเลย เพราะเกดก็เคย เห็นเหมือนกันคนที่อยู่บ้านต้องโกหก พ่อแม่ว่าเป็นแมนมากเลย แต่พอออก มานอกบ้านแต๋วแตกมากเลย แล้วเขา ก็ไม่มคี วามสุข เป็นคนทีเ่ ก็บกด เป็นคน ทีแ่ รงแต่แรงในทางลบ ฉะนัน้ ในฐานะที่ เราเป็นพ่อแม่เรามีหน้าที่จะเลี้ยงลูกให้ ดีทสี่ ดุ สอนเขาเท่าทีเ่ ราสอนได้ พอเขา โตพอที่จะตัดสินใจเองได้ เราก็มีหน้าที่ ที่จะสนับสนุนเขา เพราะการโดนบังคับ จิตใจเป็นเรื่องที่ทรมานมากเลย MM Focus : หลังๆ เราจะเห็น ดารา นักร้อง คนที่อยู่ในแสงแฟลช มีการ Grand Opening เปิดตัวกันมากขึน้ แล้วคนพวกนีก้ ค็ อื คนทีม่ คี วามสามารถ มีศักยภาพในตัว คิดว่านี่เป็นส่วนหนึ่ง ที่ทำ�ให้คนยอมเปิดใจรับความหลาก หลายหรือเปล่า ลูกเกด : คนรุ่นใหม่มีความเข้าใจ มากขึ้น ยอมรับเรื่องพวกนี้ได้ อาจจะ เป็ น เรื่ อ งของมุ ม มองของสั ง คมด้ ว ย เมื่อก่อนคนอาจจะรับรู้ว่าเขาวีนเหวี่ยง แต่ ปั จ จุ บั น ทุ ก คนเห็ น ความสามารถ เห็นศักยภาพในตัวเขา เกดมั่นใจว่า เมืองไทยจะมีอะไรดีๆ เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

Modern Family พบตัวอย่างครอบครัวของโลกวันนี้

ซิตคอมอารมณ์ดีกับเรื่องราวของ 3 ครอบครัว ที่มาเกี่ยวพันกัน เริ่มที่ครอบครัวแรกกับคุณพ่อเจย์ พ่อหม้ายวัยดึกที่แต่งงานใหม่กับแม่หม้ายสาวลูกติด ชาวโคลัมเบีย พร้อมกับมีลูกเล็กของตนเองอีกหนึ่ง เจย์ต้องก้าวข้ามปัญหาช่องว่างระหว่างวัยและความ แตกต่างทางวัฒนธรรม และการพยายามเข้ากับลูก เลี้ยงให้ได้ อีกครอบครัวหนึ่ง แคลร์ เป็นแม่ที่กระฉับกระเฉง คล่องแคล่ว พร้อมเป็นช้างเท้าหน้า ต่างกับสามีดู จะเป็นช้างเท้าหลัง กับการดูแลลูกทั้ง 3 คนที่อยู่ใน วัยกำ�ลังโต และครอบครัวสุดท้าย คือครอบครัวของ มิตเชลล์กับคาเมรอน สองเกย์หนุ่มที่ต้องการสร้าง ครอบครัวของตัวเองโดยไปรับอุปการะเด็กมาเลี้ยง ซึ่งการที่แต่ละคนมาเกี่ยวข้องก็เนื่องจากแคลร์ และ มิตเชลล์ เป็นลูกของเจย์ แหม...เห็นอย่างนี้ก็ไม่รู้ จะนับญาติกันอย่างไรทีเดียว แต่อย่างไรก็ดีนี่ถือเป็นตัวอย่างของครอบครัวใน โลกปัจจุบันที่มีไม่มีสูตรสำ�เร็จ ไม่เป็นตามแบบแผน หากแม้ว่าแต่ละคนจะมีความแตกต่างกันไป แต่ทุก คนก็ยังยึดเหนี่ยวกันไว้ด้วยคำ�ว่าครอบครัว 17


ในเอเชียยังไม่มีประเทศใด รับรอง พ.ร.บ.คู่ชีวิต ประเทศที่คนเพศเดียวกันสามารถ แต่ ง งานกั น ได้ อ ย่ า งถู ก กฎหมาย มี 19 ประเทศ ได้ แ ก่ อาร์ เ จนติ นา, เบลเยียม, บราซิล, แคนาดา, เดนมาร์ก, อังกฤษ, ฝรัง่ เศส, ไอซ์แลนด์, เม็กซิโก, เนเธอร์แลนด์, นิวซีแลนด์, นอร์เวย์, แอฟริกาใต้ อุรกุ วัย สหรัฐอเมริกา เวลส์ สวีเดน สเปนและโปรตุเกส

แต่สังเกตไหมว่าในเอเชียยังไม่มี ประเทศใดให้การยอมรับเช่นนี้เลย แม้ เวียดนามจะพยายามผลักดันอยู่ช่วง หนึ่งแต่ก็ตกไป ส่วนไทยก็ยังมีความ พยายามอยูเ่ รือ่ ยๆ แต่กย็ งั ไม่สมั ฤทธิผล แหล่งที่มา : www.fes-thailand.org

18


19


เรื่อง : ศิริพร แสงทวี / ภาพ : มีนา

Show Case

Sex

Same Couple

ทอล์คหมดเปลือก เล่าหมดใจเรื่องราวชีวิต

มีนา หญิงไทยที่พบรักกับสาวอเมริกัน นั่นยังไม่ ใช่เหตุผลที่เราอินบ็อกซ์หาเพื่อขอ

พูดคุยกับเธอ แต่เพราะเรารู้มาว่าทุกวันนี้เธอมีครอบครัวที่มีลูกน้อยน่ารักถึง 2 คน ซึ่งเกิดจากการนำ�อสุจิจากธนาคารอสุจิมาผสมกับไข่แล้วฝังไว้ที่รังไข่ของแฟนคุณ มีนา ชีวิตน่าสนใจขนาดนี้เราจึงสไกป์ข้ามทวีปขอให้เธอแชร์เรื่องราวชีวิตให้พวกเราได้ฟัง MM Focus : ตอนนี้ที่เมืองไทย กำ�ลังมีความพยายามผลักดัน พ.ร.บ. คู่ชีวิต ให้ถูกนำ�มาใช้ แล้วกับที่อเมริกา ล่ะคะ ตอนนี้มีกฎหมายรองรับถึงระดับ ไหนแล้ว มี น า : รั ฐ ที่มีนาอยู่คือ อิ ลิน อยส์ เพิง่ จะผ่านกฎหมาย Same Sex Couple Marriage คือที่อเมริกาเขาจะไม่ได้ พิจารณาผ่านกฎหมายทีหนึง่ ทัง้ ประเทศ แต่จะพิจารณาทีละรัฐ บางรัฐได้ บางรัฐ ไม่ได้ สำ�หรับรัฐที่ไม่ได้อาจจะแต่งงาน

ได้แต่กฎหมายก็จะไม่รองรับ สำ�หรับ ประเทศอเมริกาคนไทยอาจจะมองว่า เสรีมากกว่า แต่จริงๆ แล้วที่นี่ค่อนข้าง อนุรักษ์นิยมมาก คนที่นับถือศาสนา อย่างเข้มข้นเขาก็จะเชื่อว่าการรักเพศ เดียวกันเป็นสิ่งผิด MM Focus : แล้วกับการมีลกู ของ คู่รักกลุ่มนี้ล่ะคะ เป็นอย่างไรบ้าง มีนา : สำ�หรับเพศที่ 3 ของที่นี่เขา จะแยกชัดเจนนะคะ Couple ก็จะเป็น แค่คู่รัก จะไม่ใช่ Family ซึ่งแบบหลัง 20


ถ้าคุณอยากพัฒนาไปสู่การเป็นครอบครัว อยากบอกว่าการที่คุณเป็นเพศเดียวกัน ไม่ ใช่ปัญหาหรือข้อจำ�กัด เพราะสิ่งที่สำ�คัญที่สุด สำ�หรับเด็กก็คือความรัก เขาสัมผัสได้ตั้งแต่ยังอยู่ ในท้อง ความรักที่คุณมีต่อคนรักของคุณแล้วต่อยอดจนมาถึง ความรักที่มีต่อลูกจะเป็นสิ่งที่สร้าง เด็กคนหนึ่งให้เป็นผู้ ใหญ่ที่ดีได้ คุณมีนา หญิงไทยที่พบรักกับสาวอเมริกัน

21


ที่อเมริกา มี Same Sex Couple ค่อนข้างเยอะ ที่นี่จะมีทั้งคนที่รับได้ และคนที่ไม่ค่อยเห็นด้วยเท่าไหร่ แต่มีนาว่าคนที่สำ�คัญที่สุดก็คือ ครอบครัวและเพื่อนๆ รอบข้าง

จะมีลูกด้วย แต่การมีลูกก็ ไม่ ใช่เรื่อง ง่าย เพราะการจะรับเด็กสักคนมาเลี้ยง ก็จะมีการเช็กข้อมูลละเอียดมาก หรือ ถ้าต้องใช้วธิ ที างการแพทย์ชว่ ยก็ตอ้ งใช้ Sperm Bank แล้วหา Donor ซึ่งก็ต้อง เปิดเผยตัวตน เพราะหลังจากเด็กอายุ 18 ปีบริบูรณ์แล้วจะต้องสามารถติดต่อ กับ Donor คนนั้นได้ แต่ในกรณีของ มีนาจะแตกต่างจากทั่วไป คือตัวมีนา เองไม่ได้อยากมีลูก เพราะรู้สึกว่าการ อยู่ที่นี่แล้วจะมีลูกเป็นเรื่องที่ค่อนข้าง หนัก ถ้าอยูเ่ มืองไทยเรายังมีญาติพนี่ อ้ ง ช่วยดูแล หรือการจ้างพี่เลี้ยงค่าใช้จ่าย ก็ไม่ได้สูง แต่ที่นี่ค่าพี่เลี้ยงสูงมาก เท่า ที่เห็นเพื่อนๆ ส่งลูกไป Day Care ก็ แทบครึง่ หนึง่ ของเงินเดือน เท่ากับต้อง ไปทำ�งานเพื่อมาจ่ายค่า Day Care กัน เลยทีเดียว แล้วชีวิตการทำ�งานก็ค่อน ข้างหนัก ไม่คอ่ ยมีเวลา เลยรูส้ กึ ว่าชีวติ ที่นี่ไม่ค่อยเหมาะที่จะมีลูกสักเท่าไหร่ 22

แต่แฟนของมีนาเขาเป็นคนที่อยากมี ลูกมาก ก่อนมาคบกันเขาก็มคี รู่ กั ทีเ่ ป็น Same Sex Couple แล้วด้วยความฝัน เขาอยากมีลูกมากก็เลยหาวิธีมีลูกด้วย การไปเอาอสุจิที่ Sperm Bank มาแล้ว ก็ตั้งท้องด้วยตัวเอง ตอนที่มาคบกับมี นาลูกคนแรกอายุประมาณ 2 ขวบ อยู่ กันมาประมาณ 6 ปีเขาก็อยากมีคน ที่ 2 เพราะรู้สึกว่าการมีลูกคนเดียวจะ ทำ�ให้ลูกค่อนข้างเหงา เลยอยากให้ลูก มีเพื่อน MM Focus : ก่อนตัดสินใจน่าจะ ต้องมีการพูดคุยกันเยอะ อะไรที่ทำ�ให้ จากคนทีไ่ ม่อยากมีลกู เลย ยอมมีลกู ได้ มีนา : แฟนของมีนาเขาต้องการ มี Family เขาต้องการให้ครอบครัวมี การเติมเต็มที่สมบูรณ์ แล้วในความ สมบูรณ์ของเขาคือไม่ได้อยากมีลูกแค่ คนเดียว เขาอยากมี 2 คน นี่คือความ ฝันของเขาเลย มีนาเองก็พยายามพูด


ที่รับได้ และคนที่ไม่ค่อยเห็นด้วยเท่า ไหร่ แต่มีนาว่าคนที่สำ�คัญที่สุดก็คือ ครอบครัวและเพื่อนๆ รอบข้าง สำ�หรับ แฟนมีนาเขามีลูกมาแล้ว 1 คน ฉะนั้น ครอบครัวเขาเลยค่อนข้างเปิดรับกับ เรื่องนี้แล้ว ส่วนครอบครัวของมีนา ซึ่ง เป็นคนไทยด้วยแล้ว นี่เป็นการมีลูก แบบที่ไม่ได้แต่งงานมีสามีแล้วมีลกู เขา ก็เลยยังไม่คอ่ ยเป็นทีย่ อมรับสักเท่าไหร่ ทั้งครอบครัวและเพื่อนๆ ยังมีคำ�ถาม ว่า แล้วเด็กเกิดขึ้นมาได้ยังไง Sperm Donor คือใคร คำ�ถามจะมีเยอะแล้วเขา ก็ยังจะไม่ค่อยเข้าใจ ยังรู้สึกว่าเด็กคน นี้เป็นลูกใคร ยังไม่รู้หัวนอนปลายเท้า ของพ่อเด็ก เป็นการเอาลูกเขามาเลี้ยง เอาเมี่ยงเขามาอม ขนาดเพื่อนของ มีนาเองที่วัยเดียวกันก็ยังมีคำ�ถามว่า อ้าว ไปเอาลูกมาจากไหน ไม่รู้จักคน ที่เป็นพ่อเลยเหรอ แต่ที่อเมริกาคนทำ� แบบนีค้ อ่ นข้างเยอะ จึงไม่ใช่เรือ่ งแปลก ใหม่สำ�หรับที่นี่เลย ซึ่งการทำ�ก็จะมี หลายแบบ ทัง้ เอาสเปิรม์ บริจาคมาผสม แล้วฝังไปในคนที่ต้องการจะมีลูก หรือ ไปเอาสเปิรม์ มาจาก Sperm Bank แล้ว ให้คนอุ้มบุญให้ หรือไปเอาไข่บริจาค มาผสมกับอสุจิของตัวเอง หรือไปรับ เด็กมาเลี้ยงก็มีเยอะ ส่วนที่แฟนของ มีนาเลือกวิธีท้องเองก็เพราะเขาอยาก มีประสบการณ์การท้อง อยากเป็นแม่ ที่ได้อุ้มท้องเอง

ให้เขาฟังบ่อยๆ ว่าการมีลูก 1 คนเพียง พอแล้ว เป็น Family แล้ว แรกๆ เขา ก็เอนเอียง แต่สุดท้ายเขาก็ไม่สามารถ เพิกเฉยกับความรู้สึกลึกๆ ของตัวเอง ไม่อาจหยุดความฝันได้ ก็เลยมีการคุย กันเรื่องนี้อีก ครั้งหลังนี่มีนารู้สึกถ้าเรา เลือกทีจ่ ะอยูก่ บั คนนี้ รักคนนี้ ถ้านีค่ อื สิง่ ที่ทำ�ให้เขามีความสุข เราซึ่งเป็นคู่ชีวิต ก็ต้องช่วยสนับสนุนเขา เลยโอเค แล้ว ตัดสินใจใช้วธิ เี ดียวกับรอบแรก ซึง่ ตอน นี้ลูกคนที่สองก็อายุ 6 เดือนแล้ว MM Focus : ในการพิจารณาจาก Couple ไปเป็น Family นอกจากเรื่อง ของมุมมองความคิด เศรษฐานะแล้ว อีกเรื่องที่สำ�คัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน คือสังคมสิ่งแวดล้อม คนรอบข้างคุณ มีนาว่าอย่างไรกันบ้างคะ มีนา : ที่เมืองไทยตัวมีนาไม่เคย เห็น Same Sex ที่มีลูก แต่ที่อเมริกามี ค่อนข้างเยอะเหมือนกัน ที่นี่จะมีทงั้ คน 23


MM Focus : จากคู่ชีวิต เปลี่ยน เป็น Family ชีวิตเปลี่ยนไปไหม ทั้งมุม มองและไลฟ์สไตล์ มีนา : เปลี่ยนค่อนข้างเยอะมาก ตั้งแต่ตอนท้องเลย ที่นี่ไม่ได้มีคนช่วย เยอะ ก็ต้องดูแลกันเอง ทำ�ให้การใช้ เวลาเปลี่ยนไป ความเป็นอิสระน้อยลง จะไปไหนทำ�อะไรก็ไม่ง่ายเหมือนเมื่อ ก่อน เวลาที่เคยเป็นของคนสองคนก็ ไม่ใช่แล้ว ต้องมีเด็กมาเพิ่มอีก 2 คน แต่มีนาก็บอกและขอเขาไว้ตั้งแต่ตอน แรกว่าถึงมีลูกแล้วก็ไม่ได้หมายความ ว่ า เราจะหยุ ด การใช้ ชี วิ ต ของเรา ก็ พยายามที่จะหาเวลาออกไปกินข้าวแค่ สองคนบ้าง ยังต้องเก็บสิ่งนี้ไว้ด้วย ไม่ อย่างนั้นถ้าอะไรก็ลูกๆๆ จะไม่มีเวลา ของตัวเองเลย แล้วมีนากับแฟนเป็นคน ชอบเดินทางทั้งคู่ ทำ�งานทั้งปีต้องไป เทีย่ วพักผ่อนก็ยงั เก็บตรงนี้ไว้อยู่ เพราะ ต่อให้สถานะเปลี่ยนไปก็ต้องไม่หยุดใช้ ชีวิตด้วย MM Focus : ฟังดูแล้วนี่ก็คือรูป แบบของชีวิตคู่เลย จากคู่รักพัฒนามา เป็นครอบครัว เมื่อถึงสเต็ปนี้แล้วก็ต้อง บริหารบาลานซ์ความสัมพันธ์รวมทั้ง ชีวิตส่วนตัวให้ดี มีนา : ใช่ค่ะ ไม่ว่าจะผู้หญิง ผู้ชาย หรื อ ครอบครั ว แบบไหนก็เ หมือ นกัน หัวใจของความสัมพันธ์ก็ไม่ได้ต่างกัน

MM Focus : แต่สิ่งหนึ่งที่แตก ต่างคืออาจจะมีคำ�ถามและต้องเตรียม คำ�ตอบไว้มากกว่าครอบครัวทั่วๆ ไป ตอบคำ�ถามผู้ใหญ่ตอบง่าย กับลูกล่ะคะ มีการเตรียมคำ�ตอบไว้หรือเปล่าหากวัน หนึ่งเขาเกิดมีคำ�ถามถึงเรื่องครอบครัว ของเราขึ้นมา มีนา : อย่างคนโตตอนนีอ้ ายุ 9 ขวบ เริ่มออกไปเจอสังคม ไปเจอเพื่อน เขา เริ่มเรียนรู้เรื่องเพศแล้ว แต่ต้องบอก ก่อนว่าในการเลี้ยงลูกของที่นี่จะไม่ได้ มองว่านีเ่ รือ่ งของผู้ใหญ่ นีเ่ รือ่ งของเด็ก อย่างลูกคนโตก็ถูกสอนมาตั้งแต่เด็ก ว่าครอบครัวมีหลายรูปแบบ ทั้ง mom and dad, mom and mom, dad and dad, only mom, only dad เวลาใคร ถามลูกคนโตของมีนาเขาก็จะบอกว่า เขามีแม่ 2 คน ก็คือแฟนมีนากับแฟน เก่าเขา แล้วพอมีคนถามเขาว่า พ่อไป ไหน มากับพ่อหรือเปล่า เขาก็จะตอบ ว่า ฉันไม่มีพ่อฉันมีแม่ 2 คน หรือพอ คนถามว่า มีนาคือใคร เขาก็บอกว่า my mom’s partner ซึ่งมีนาคิดว่าเขา ไม่ได้รู้สึกว่าเขาแตกต่าง เพราะเขาถูก สอนมาตลอดว่าครอบครัวเป็นได้หลาย แบบ ส่วนทีเ่ ราเลือกทีจ่ ะสอนเขาแบบนี้ เพราะเราไม่อยากให้เขาไปมองคนอื่น ว่าทำ�ไมคุณไม่มีแม่มีแค่พ่อ หรือไม่มี พ่อมีแค่แม่ ไม่อยากให้เขามองคนอื่น 24


แปลกหรื อ รู้ สึ กว่ า ครอบครั ว มี ปั ญ หา อยากให้เขาเป็นเด็กทีร่ จู้ กั เปิดกว้างและ อยู่บนโลกที่มีความแตกต่างได้ MM Focus : คุณมีนาอยากฝาก อะไรทิ้งท้ายไหมคะ ไม่ว่าจะกับคนที่ เห็นหัวข้อนีแ้ ล้วสนใจอยากมีครอบครัว แบบ Alternative Family แล้วกดโหลด อ่าน หรือกับคุณแม่ ModernMom ที่ เมื่อสังคมเปิดกว้างวันหนึ่งคุณอาจจะ เจอคนข้างตัวหรือบ้านข้างเคียงทีอ่ ยูก่ นั แบบ Alternative Family มีนา : สำ�หรับคนทีเ่ ป็น Same Sex Couple ถ้าคุณอยากพัฒนาไปสู่การ เป็นครอบครัว อยากบอกว่าการที่คุณ เป็นเพศเดียวกันไม่ ใช่ปัญหาหรือข้อ

จำ�กัด เพราะสิ่งที่สำ�คัญที่สุดสำ�หรับ เด็กก็คอื ความรัก และสำ�หรับครอบครัว ทั่วไปถ้าเจอครอบครัวที่มีรูปแบบไม่ เหมือนของเรา มีนาคิดว่าสิ่งสำ�คัญ ที่ คุ ณ ต้ อ งสอนให้ ลู ก รู้ ก็ คื อ ในโลกนี้ ไม่ ไ ด้ มี แ ค่ ผู้ ช ายผู้ ห ญิ ง แล้ ว ถ้ า เป็ น เพศอืน่ ๆ ไม่ได้ แปลว่าไม่ดี ถ้าใครทีเ่ ขา ไม่เหมือนเราก็อย่าไปดูถกู หรือตัดสินว่า เขาผิด เพราะโลกนี้มีความแตกต่าง นี่ คือความจริงของสังคมที่คุณต้องบอก ให้ลกู รู้ แล้วไม่ใช่แค่ครอบครัวของมีนา ที่จะต้องบอกลูก ครอบครัวอื่นๆ ก็ต้อง ปลูกฝังลูกเหมือนกันว่าพืน้ ฐานทีส่ �ำ คัญ ของครอบครัวคือความรักค่ะ

When You Have Two Moms

Ebony และ Denise คู่ชีวิตหญิงรักหญิงที่ใช้

ชีวิตอยู่ร่วมกันมากว่า 8 ปี ทั้งสองคนอยู่ในนิวยอร์ค ประเทศสหรัฐอเมริกา แต่งงานอย่างถูกกฎหมาย แล้ ว 3 ปี เนื่ อ งจากเป็ น รั ฐ ที่ อ อกกฎหมายให้ คู่ สมรสเพศเดียวกัน จดทะเบียนสมรสกันได้อย่างถูก กฎหมาย ปัจจุบันมีลูกสาวหนึ่งคน ซึ่งได้มาด้วยวิธี การใช้บริการของธนาคารสเปิร์ม โดยที่ Ebony เป็น ฝ่ายตั้งครรภ์เอง ตลอดเวลา 3 ปีของการมีลูก มัน เติมเต็มความเป็นครอบครัว ดูความน่ารักและวิธีการ เลีย้ งลูกของครอบครัวนี้ได้ที่ https://www.facebook. com/oliviahas2moms 25


Married

ไม่อนุญาต Same Sex Marriage ออก Civil Union แทน

Facebook สร้างไอคอนรูปชายรักชาย บน Timeline

ประเทศอื่ น อาจออกกฎหมายเพื่ อ รองรั บ การ แต่งงานของคูส่ มรสเพศเดียวกันทีเ่ รียกว่า Same-Sex Marriage แต่ประเทศนิวซีแลนด์ รัฐบาลได้ผ่านร่าง กฎหมายในลักษณะคล้ายกัน ซึ่งเรียกว่า Civil Union ซึ่งได้รับสิทธิท่ีเท่าเทียมตามกฎหมายเหมือนการ สมรส (Marriage) ระหว่างหญิงชาย หรือระหว่างเพศ เดียวกัน (Same Sex Marriage) แต่ส่วนที่แตกต่างที่ สำ�คัญก็คือการแต่งงานในลักษณะ Civil Union นั้นไม่ สามารถเรียกได้วา่ เป็น Marriage ถึงแม้ในทางปฏิบตั ิ จะไม่ได้มีผลแตกต่างกันตามกฎหมายก็ตาม สาเหตุที่สำ�คัญก็คือคำ�ว่า Marriage ของชาว ตะวันตกในหลายประเทศนัน้ มีความผูกพันกับศาสนา คริสต์ค่อนข้างสูง และคนส่วนใหญ่มองว่า Marriage นั้นเป็นเหมือนสถาบันอย่างหนึ่งที่ควรจะถูกรักษาไว้ สำ�หรับความสัมพันธ์ระหว่างหญิงและชายเท่านั้น ดังนั้นกฎหมายรองรับการแต่งงานแบบ Civil Union ของคู่สมรสเพศเดียวกัน จึงออกมาเพื่อลดความ ขัดแย้งทางสังคมนั่นเอง

สื่ อ สั ง คมออนไลน์ ที่ ไ ด้ รั บ ความ นิยมสูงสุดอย่าง Facebook ได้สร้าง ฟีเจอร์ใหม่บน Timeline ที่อนุญาตให้ กลุม่ รักร่วมเพศสามารถเปิดเผยสถานะ ของตัวเองได้แล้วผ่านไอคอนที่แสดง ความสัมพันธ์เป็นรูปผู้ชาย-ผู้ชาย ยืน เคียงข้างกัน ต่างจากแต่ก่อนที่มีเพียง ไอคอนรูปเจ้าบ่าว-เจ้าสาว ฟีเจอร์นี้ ถูกสร้างขึ้นมาเนื่องจาก Chris Hughes ผู้ร่วมก่อตั้งเฟซบุ๊คแต่งงานกับ Sean Eldridge พร้อมกับโพสต์ฟเี จอร์ไอคอน ตัวใหม่เป็นรูปผูช้ ายยืนเคียงข้างกันเพือ่ ประกาศข่าวการแต่งงานของเขาทั้ง สอง โดยมี Mark Zuckerberg ผู้ร่วม ก่อตั้งและ CEO พร้อมบรรดาเพื่อนๆ หลายพันคนเข้ามาร่วมคลิก Like และ Comment แสดงความยินดีในครั้งนี้

แหล่งที่มา : http://info.gotomanager.com

แหล่งที่มา : www.veedvil.com

26



Famous Alternative Family Alternative Family เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น และสะท้อนความเป็นไปของสังคมโลกทีเ่ ห็นได้ชดั เจน ถึงความหลากหลายและแตกต่างได้อย่างเป็นรูปธรรม และชัดเจน ท้าทายวิธีคิด ทัศนคติ ความเชื่อในตัว คนเป็นพ่อแม่มากทีเดียวว่าจะมีท่าทีต่อความเปลี่ยน แปลงนี้อย่างไร ในฐานะสถาบันครอบครัว ที่นิยามได้ เปลี่ยนไปแล้ว และทั่วโลกก็กำ�ลังมีกระแสต่อเรื่องนี้ หลากหลายมุ ม มอง เราผู้ เ ป็ น พ่ อ แม่ ก็ ค งถึ ง เวลา ที่จะต้องตั้งหลักกันให้ดีๆ ล่ะค่ะ ModernMom Focus ขอปิดท้ายด้วยเรือ่ งราวของ โทมัส บีทตี้ ชายประเภทสองที่ตั้งท้องแทนภรรยา จนได้รับฉายา “ผู้ชายท้องได้” เขาคือชายข้ามเพศ ที่ทำ�การแปลงเพศจากหญิงเป็นชาย ก่อนตัดสินใจ ตั้งท้องและคลอดลูกถึงสามคนแทนภรรยา ปั จ จุ บั น โทมั ส เป็ น คุ ณ พ่ อ ลู ก สามและย้ า ยจาก ฮาวายไปอยู่ที่แอริโซนา หลังจากหย่าขาดกับภรรยา

เก่า (ซึ่งแน่นอนว่าข่าวหย่ากับภรรยาซึ่งครองรัก มากว่า 9 ปีก็โด่งดังอีกเช่นกัน) จากนั้นเขาได้เข้า ผ่าตัดแปลงเพศเป็นผู้ชายอย่างสมบูรณ์แบบ และได้ พบรักครั้งใหม่กับ แอมเบอร์ นิโคลาส เจ้าหน้าที่ดูแล ผู้ป่วยรายวัน ทั้งสองตกลงใช้ชีวิตร่วมกันพร้อมกับ ลูกทั้งสาม และตอนนี้โทมัสและแอมเบอร์ก็วางแผน จะมีลูกด้วยกันจึงได้ปรึกษาถึงเรื่องการมีลูกคนที่สี่ ของโทมัส โดยครั้งนี้โทมัสวางแผนจะเป็นพ่ออย่าง สมบู ร ณ์ แ บบด้ ว ยการให้ ภ รรยาเป็ น ฝ่ า ยตั้ ง ครรภ์ แต่ถา้ หากไม่ประสบความสำ�เร็จเขาก็ยนิ ดีทจี่ ะตัง้ ท้อง แทนให้ แม้จะไม่เหมือนครอบครัวอื่นๆ แต่ครอบครัวนี้ นับเป็นอีกตัวอย่างของ Alternative Family ที่เปิดตัว สู่สังคมโลก โทมัสเองก็ดูมีความสุขกับครอบครัวของ เขา และเชื่อว่าเขาเองภูมิใจที่ได้เป็นพ่อของลูกอย่าง ที่ตั้งใจไว้

โทมัสให้สัมภาษณ์ โอปราห์ วินฟรีย์ ถึงการใช้ชีวิตกับลูกๆ ในรายการ Oprah Winfrey Network

ข่าวโทมัส ผู้ชายที่ตั้งท้องคนแรกของโลก มีลูกคนที่ 3 จาก NationTV World News

https://www.youtube.com/watch?v=DTgHW4Hxq1w

https://www.youtube.com/watch?v=Fz1QQo03YkU

28


By ModernMom Magazine

Next Issue :

Talk About Sex

พบกันทุกวันที่ 15 ของเดือน


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.