ModernMom Focus Vol.1 No.3 Chapter 2 April 2015

Page 1

Vol.1 No.3 / Chapter 2 April 2015

Chapter

2

Interview :

หยุดห่วงโซ่แห่งความรุนแรง...เริ่มตั้งแต่ ในบ้าน

พญ.อัมพร เบญจพลพิทักษ์ ผู้อำ�นวยการสถาบันราชานุกูล

Stop Violence Issue

เหี้ยม! พ่อเลี้ยงเยาวชน ตีลูก 1 ขวบดับอนาถ โหดเหี้ยม หญิงอินเดียถูกรุมโทรมบนรถเมล์ ก่อนโยนทิ้งออกจากรถ สุดโหด!! ไอเอสโชว์คลิปฆ่าตัดคอหมู่ 2556 ไทยมีเด็กและสตรีถูกกระทำ�รุนแรง

อยู่ ในลำ�ดับที่ 36 จาก 75 ประเทศที่มีการกระทำ�รุนแรงทางกายมากที่สุด ไทยอยู่ในลำ�ดับที่ 7 จาก 71 ประเทศที่มีการกระทำ�รุนแรงทางเพศมากที่สุด 1


2


Vol.1 No.3 / Chapter 2 April 2015

Stop Violence issue Contributor

คุณสรรพสิทธิ์ คุมพ์ประพันธ์

ประธานมูลนิธิศูนย์พิทักษ์สิทธิเด็ก และผู้ชำ�นาญการ ด้านพันธกรณีระหว่างประเทศ สำ�นักงานคณะกรรมการ สิทธิมนุษยชนแห่งชาติ

พญ.อัมพร เบญจพลพิทักษ์

ผู้อำ�นวยการสถาบันราชานุกูล พบวิ ธี เ ลี้ ย งลู ก ให้ ห่ า งไกลความรุ น แรง พบวิ ธี หยุดห่วงโซ่ความรุนแรงที่เริ่มต้นได้ตั้งแต่ในบ้าน

NEXT ON Digital Detox Issue

www.modernmommag.com www.booksmile.co.th www.issuu.com โดย search modernmom focus

สวัสดีค่ะคุณแม่ ModernMom ทุกท่าน

ModernMom Focus กับ Hot Issue ที่เมื่ออ่านแล้ว อาจจะรูส้ กึ “เจ็บ” กับความรุนแรงใน “STOP VIOLENCE” ความรุ น แรงที่ เ กิ ด ขึ้ น ในสั ง คมปั จ จุ บั น แม้ ไ ม่ ท ราบ สถิติแต่ก็สัมผัสได้จากสิ่งที่พบเห็นและหน้าหนังสือพิมพ์ ความรุนแรงที่ทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น มาได้ในหลาย รูปแบบทีเ่ ราอาจจะนึกไม่ถงึ และเผลอ! ทำ�กับลูกโดยไม่รตู้ วั ...พบกับสองนักวิชาการทีจ่ ะทำ�ให้คณ ุ พ่อคุณแม่เข้าใจและ หยุดความรุนแรงได้ตั้งแต่ในบ้าน... Chapter 1 : คุณสรรพสิทธิ์ คุมพ์ประพันธ์ ประธาน มูลนิธศิ นู ย์พทิ กั ษ์สทิ ธิเด็ก ฉายภาพความรุนแรงหลากหลาย รูปแบบให้เข้าใจและเข้าใจความรุนแรงในมุมที่เราอาจจะ นึกไม่ถึง Chapter 2 : พญ.อัมพร เบญจพลพิทักษ์ ผู้อำ�นวยการ สถาบันราชานุกูล กับวิธีเลี้ยงให้ห่างความรุนแรง ModernMom Focus

เจ้าของ : กลุ่มบริษัท อาร์แอลจี สร้างสรรค์ โดย : นิตยสาร ModernMom Contact Us กลุม่ บริษทั อาร์แอลจี 932 ถนนประชาชืน่ แขวงวงศ์สว่าง เขตบางซือ่ กรุงเทพฯ 10800 กองบรรณาธิการ การตลาดและประชาสัมพันธ์ โทรศัพท์ 0 2831 8400, 0 2913 7555 ต่อ 4420-4424, 3520, 3535 โทรสาร 0 2831 8499 อีเมล์ : mmm@rlg.co.th แผนกโฆษณา โทรศัพท์ 0 2831 8400, 0 2913 7555 ต่อ 3361, 3332, 3359, 3345, 4723 โทรสาร 0 2831 8477 อีเมล์ : rungladda@rlg.co.th

3


Chapter 2 >>

4


Chapter 2 >>

ความรุนแรง

ที่คุณต้องรู้

ความรุนแรงรูปแบบต่างๆ ที่แฝงเร้นอยู่ ในบ้าน ไร้บาดแผลทางกาย มีแต่บาดแผลทางใจ ทีอ่ าจส่งผลกระทบต่ออารมณ์และพฤติกรรมของ เด็กได้ ซึง่ บาดแผลทีเ่ กิดขึน้ ทัง้ ทางร่างกายและจิตใจเมือ่ เกิดกับเด็กแล้ว จะรุนแรงมากและกว่าบาดแผลทางกายที่ปรากฏ และอาจต้องใช้เวลา รักษาและเยียวยาทั้งชีวิตของเด็ก

5


ความรุนแรงทางกายและทางจิตใจ ทางกาย

ทางจิตใจ

การตบตี

การกระทำ�ที่ส่งผล ต่อจิตใจของเด็ก

การทำ�ร้ายเด็ก สะท้อนออกมา ด้วยบาดแผล ความรุนแรง

ความรุนแรงทางวาจา

ความรุนแรงทางเพศ

ด่าทอ ต่อว่า ใช้คำ�ที่ทำ�ให้ เด็กท้อแท้สิ้นหวังหรือรู้สึก หมดคุณค่าในตัวเอง

โดยผูเด็ก้ใหญ่ ถูกทำ�ร้ายทางเพศ หรือผู้ที่เหนือกว่า

ด้วยกำ�ลัง

การทอดทิ้ง

การละเลยเด็ก

6


ความรุนแรงจากการใช้สื่อ

ใช้สื่ออย่างไม่เหมาะสม

โพสต์ ไลค์ แชร์ ส่งต่อ โดยเฉพาะบนสังคมออนไลน์

เผยแพร่แล้วย้อนกลับมาทำ�ร้ายลูกเอง ยังมีความรุนแรงรูปแบบใหม่ๆ ที่เกิดจากการใช้สื่ออย่างไม่เหมาะสม โดยเฉพาะ

สื่อทางอินเทอร์เน็ตหรือสังคมออนไลน์ พ่อแม่บางคนไม่ทันระวังเผยแพร่รูปลูกของตัว เอง หรือรูปของเด็กอื่นๆ ในแง่ที่ ไม่ดีออกไป จนอาจมีผลกระทบมาถึงตัวเด็กได้ เช่น เด็กอาจจะถูกล้อเลียนจากภาพที่พ่อแม่เผยแพร่ หรือทำ�ให้เด็กรู้สึกแย่หากรู้ว่าพ่อ แม่พูดถึงตนเองในทางไม่ดี ในโซเชียลเน็ตเวิร์ก ซึ่งเป็นเรื่องที่พ่อแม่ยุคใหม่ควรระวัง อย่างยิ่ง เพราะทุกสิ่งที่อยู่ในอินเทอร์เน็ตไม่มีวันสูญหายไปไหน แม้จะลบโพสต์หรือลบ รูปนั้นไปแล้ว แต่ในโลกดิจิตอลไม่มีสิ่งใดถูกลบได้ง่ายๆ อาจหลงเหลือให้เด็กไปค้นพบ ได้ในวันใดวันหนึ่งในอนาคต 7


ความรุนแรงในครอบครัวปี 2557 - 2558 ปี

2557

มีเหตุรุนแรงที่เกิดขึ้น ทั้งกรณี ทำ�ร้ายร่างกาย การขู่บังคับ การละเลยทอดทิ้ง การกักขังหน่วงเหนี่ยว และเหตุอื่น รวมแล้วกว่า 600 เหตุการณ์ แต่มีการดำ�เนินคดีแจ้งความร้องทุกข์เพียง 172 เหตุการณ์

ผู้ถูกกระทำ�ที่เป็นเด็กและเยาวชน รวมทั้งชายและหญิงมีถึง 42 คน ความสัมพันธ์ระหว่างผูก ้ ระทำ�ความรุนแรงต่อเด็กและเยาวชน เป็นพ่อและแม่ที่แท้จริงมากกว่าพ่อและแม่เลี้ยง

ปี

2558

ตั้งแต่เดือนมกราคม - มีนาคม

พบสถิติผู้ถูกกระทำ�ซึ่งเป็นเด็กและเยาวชนรวม 4 คน แต่ไม่ปรากฏว่าทั้ง 4 คนมีการแจ้งความดำ�เนินคดี

ข้อมูลจาก : กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ 8


Chapter 2 >>

Interview : พญ.อัมพร เบญจพลพิทักษ์

จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น ผู้อำ�นวยการสถาบันราชานุกูล

หยุดห่วงโซ่แห่ง

ความรุนแรง ผลกระทบจากความรุนแรงในรูปแบบต่างๆ ที่เกิดกับเด็กนั้น คล้าย ห่วงโซ่ที่อาจทำ�ให้เด็กคนนั้นทำ�พฤติกรรมด้วยความรุนแรงในรูปแบบ ต่างๆ ตอ่ ไป เพราะเด็กๆ ก�ำ ลังเรียนรู้โลกผ่านการมองเห็นและปฏิสมั พันธ์ กับคนใกล้ชิด

9


เรื่อง : กองบรรณาธิการ / ภาพ : ธาร ธงไชย

ทำ�ความเข้าใจความรู้สึกและปมปัญหา ที่ เ กิ ด ขึ้ น ในใจลู ก แล้ ว ตอบโจทย์ นั้ น แก้ปญ ั หาด้วยการอยูเ่ คียงข้างลูก เสนอ ทางออกที่เหมาะสม ปรับพฤติกรรม ของลูก ขณะเดียวกันก็ปรับพฤติกรรม ของพ่ อ แม่ ไ ปด้ ว ย เพราะสิ่ ง ที่ ลู ก ทำ � ทั้ ง หมดเป็ น กระจกสะท้ อ นให้ เ ห็ น ถึ ง พฤติกรรมของพ่อแม่เอง พญ.อัมพร เบญจพลพิทักษ์

10


Chapter 2 >>

“เนื่องจากการเติบโตของเด็ก เด็กจะ มีการรับรู้และเรียนรู้ตลอดเวลา บางครั้ง ข้อมูลหรือกระบวนการทำ�ความรุนแรงส่ง ผลกระทบต่อเด็กโดยที่เด็กรับรู้แบบที่ไม่ ได้กลั่นกรอง เรื่องความรุนแรงที่ผ่านสื่อ หรือโซเชียลเน็ตเวิร์ก คือการรับรู้ของเด็ก และมีผลต่อการเรียนรู้ การเรียนรู้ทั้งจาก บุคคลแวดล้อม และจากสือ่ ต่างๆ ทำ�ให้เด็ก เกิดความเข้าใจทั้งต่อตนเอง ต่อคนรอบ ข้าง และต่อสังคมทีก่ ว้างขวางออกไป การ ปล่อยให้เด็กได้รับสื่อที่เต็มไปด้วยความ รุนแรง การฆ่า การประหัตประหาร การ ทำ�ร้ายกันทางเพศ หรือการมีพฤติกรรมที่ ไม่เหมาะสม โดยเด็กไม่ได้รับการปกป้อง แล้วเด็กสัมผัสกับสื่อเหล่านั้นเต็มๆ ไม่ว่า สือ่ ทีส่ ะท้อนถึงภาพเลวร้ายของคนอืน่ หรือ เป็นสิง่ ทีส่ ะท้อนถึงภาพเลวร้ายของคนใกล้ ตัวก็ตาม มันมีผลต่อการรับรู้ของเด็ก ไม่ ว่าจะทำ�ให้เกิดความตื่นกลัว เป็นบาดแผล ทางใจ เกิดเป็นฝันร้าย ความรู้สึกเหล่านั้น ล้วนมีผลกระทบต่อการพัฒนาตัวเองใน ระยะยาวของเด็ก” การรับสื่อที่มีเนื้อหาเต็มไปด้วยความ รุนแรง อาจทำ�ให้เด็กที่สัมผัสกับสื่อที่ไม่ เหมาะสมนั้นเกิดการชาชินกับภาพความ รุนแรง และอาจจะเกิดความเข้าใจผิดคิด ไปเองว่า วิธีการอย่างที่ตัวเองเห็นจากสื่อ นัน้ เป็นอีกหนึง่ วิถขี องการได้รบั การยอมรับ หรือการเอาตัวรอดในสังคม

“เด็กบางคนนอกจากจะกลัวอาจจะมี การเก็บซ่อนความกลัวนัน้ ไว้ แล้วพยายาม ที่จะเลียนแบบ เอาอย่างความไม่เหมาะ สม แล้วในที่สุดก็ชาชินกับเรื่องนั้นด้วย การตัง้ ตัวเองเป็นผูท้ �ำ สิง่ เหล่านัน้ เอง หรือ เด็กทีเ่ ริม่ สัมผัสกับการใช้สอ่ื ต่างๆ ด้วยตัว เอง โดยเฉพาะอินเตอร์เน็ทหรือโซเชียล เน็ตเวิรก์ ด้วยตัวเอง แล้วก็ไม่ได้รบั การดูแล ทีเ่ หมาะสมจากผูป้ กครอง เช่น ใช้ไลน์หรือ โซเชียลเน็ตเวิรก์ ล้อเลียนเพือ่ น หรือเป็นขา โจ๋ไปทำ�ให้เพือ่ นเกิดความเสียหาย ทีห่ มอ เคยเจอก็การไปโพสต์รปู เพือ่ นในอิรยิ าบถที่ ไม่เหมาะสม แล้วก็มกี ารล้อเลียนในลักษณะ ของคุกคามทางเพศกับเพื่อนของตัวเอง ทัง้ ๆ ทีเ่ ป็นแค่เด็กวัยประถมหรือมัธยมต้น เอง ผูป้ กครองก็ละเลยไม่ได้ใส่ใจ หรือเมือ่ รับรู้แล้วก็ไม่ได้มีการกำ�กับหรือชี้แนะเด็ก ให้ถูกทาง เด็กคนนี้ก็เกิดการเรียนรู้ผิดๆ แล้วก็ท�ำ ไปกันใหญ่เลย ซึง่ แน่นอนสักระยะ หนึ่งผ่านไป เด็กก็จะได้รับผลกระทบจาก พฤติกรรมไม่ดีของตัวเอง เด็กหลายคนก็ จะเริม่ โดนต่อว่า ถูกปฏิเสธ ถูกกีดกัน้ จาก กลุม่ เพือ่ น ไม่สามารถเข้าสังคมได้ แล้วก็มี ผลกระทบต่อความรูส้ กึ ภาคภูมิใจในตนเอง ความมัน่ ใจในตนเอง และคุณค่าของตนเอง ตรงนีค้ อื ความรุนแรงทีม่ นั แฝงเร้นเป็นเหตุ เล็กๆ ทีผ่ ู้ใหญ่มองข้าม แล้วพอเวลาผ่าน ไปกลับกลายเป็นปัญหาอารมณ์ ปัญหา พฤติกรรมใหญ่โตไปเลยได้” 11


การรับรู้ความรุนแรงของเด็ก ผลจากการรับรู้

การรับรู้

ตื่นกลัว เกิดบาดแผลทางใจ ฝันร้าย มีพฤติกรรมเลียนแบบ ชินชากับความรุนแรง เข้าใจว่าความรุนแรง คือวิธีที่ถูกต้อง ได้รับการยอมรับจาก สังคม

ความรุนแรง

กระทบ ต่อการพัฒนาตัวเอง ในระยะยาว ผลกระทบ ที่สะท้อนกลับ

โดนต่อว่า จากเพื่อนในกลุ่ม ในสังคมออนไลน์ ปฎิเสธจากกลุ่มเพื่อน เกิดปัญหาด้านอารมณ์ ไม่เห็นคุณค่าตัวเอง ขาดความภาคภูมิ ใจ ในตัวเอง

12


ต้พฤตินเหต ุ กรรม รุนแรง ธรรมชาติของเด็กแต่ละคนไม่เหมือนกัน สาเหตุที่ ทำ�ให้เด็กมีแนวโน้มทีจ่ ะมีพฤติกรรมรุนแรง เกิดได้ทงั้ จากเหตุผลทางร่างกาย และเกิดจากสภาพแวดล้อม รวมถึงการเลี้ยงดู

13


Chapter 2 >>

ปัจจัยทางร่างกาย  เด็กที่มีข้อจำ�กัดทางสติปัญญา จะง่ายต่อการเกิดพฤติกรรมรุนแรง เช่น อาจจะคิ ด คาดการณ์ ล่ ว งหน้ า ได้ ไ ม่ ดี ทักษะการตัดสินใจไม่ดี หรือไม่สามารถ เรียนรู้ความเห็นอกเห็นใจผู้อื่นได้ เด็ก บางกลุ่มที่มีปัญหาเรื่องของสติปัญญา อย่างรุนแรง จะนึกถึงแต่ความต้องการ ของตั ว เอง ปล่ อ ยให้ อารมณ์ เ ข้ า มา เกี่ยวข้องในการตอบสนอง  เด็ ก ที่ มี ปั จ จั ย เอื้ อ ทางชี วภาพ ได้ แ ก่ เด็ ก ที่ มี ปั ญ หาเรื่ อ งสมาธิ ส้ั น หรื อ มี ภ าวะทางชี ว ภาพที่ เ ป็ น เด็ ก ที่ เลี้ยงยาก ปรับตัวยาก รั้งรอไม่เป็น ทำ � ให้ เ ขาเกิ ด ความรุ น แรง สนใจสิ่ง ที่มีความรุ น แรงเพราะว่ า สิ่ง เหล่ า นั้น ตอบสนองความต้ อ งการของเขาได้ ดีกว่า ง่ายกว่า แต่วา่ ปัจจัยทางชีวภาพ ทั้ ง หมดนี้ ปั จ จุ บั น นี้ อ าการเหล่ า นี้ สามารถควบคุ ม และแก้ ไ ขได้ ด้ว ยยา ได้ แ ล้ ว รวมกั บ การปรั บ พฤติ กรรม ทำ � ให้ ส ามารถช่ ว ยเหลื อ เด็ ก กลุ่ ม นี้ ได้สงู มาก

ปัจจัยทางด้านสภาพแวดล้อมและ การเลี้ยงดู มี ผ ลกั บ อารมณ์ ค วามรู้ สึ ก ของ เด็กมาก และเป็นสาเหตุใ ห้เด็ก เกิด พฤติกรรมรุนแรงมากกว่าปัจจัยทาง ชีวภาพ  รูปแบบการเลี้ยงดู ในสั ง คม เล็กๆ ที่ใกล้ชิด รวมถึงเพื่อนบ้าน ทั้ง พ่อแม่คนรอบข้างของเด็ก จนกระทั่ง ถึงเพื่อนบ้าน โรงเรียน เพื่อน แล้ว ก็สังคมขนาดใหญ่ที่เขาอาศัยอยู่ด้วย ทั้ ง ปั จ จั ย ทางจิ ต ใจและปั จ จั ย ทาง สั ง คมมั น เกาะเกี่ ย วแน่ น มาก บาง ครั้งด้วยเหตุผลทางสังคมก็ทำ�ให้ตัว เด็ ก เองมี ภาวะอารมณ์ ที่ เ ป็ น ปั ญ หา เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนา ในที่สุด ก็กลายเป็นพฤติกรรมที่ ไม่เหมาะสม ส่ ง ผลต่ อ สั ง คม แล้ ว สั ง คมที่ เ ต็ ม ไป ด้วยความรุนแรงนี้เอง ที่ส่งผลกระทบ กลับมายังเด็ก กลายเป็นวัฏจักรต่อไป ไม่สิ้นสุด

14


ปัจจัยทางจิตใจ การปฏิบัติต่อเด็ก ความเป็นพ่อแม่ ที่ไม่ว่าจะเป็นการละเลยเพิกเฉย ไม่ได้ เติมเต็มความรักให้กับเขาในช่วงเวลา ที่เขาควรจะเรียนรู้ความรัก เด็กขวบ ปี แ รกต้ อ งรั ก และมั่ น อกมั่ น ใจในตั ว พ่อแม่ แต่ถ้าสมมติว่าพ่อแม่เฉยเมย เย็นชา เด็กไม่ได้รู้สึกว่าตัวเองเป็นที่รัก เป็นปัญหาก็คือเด็กจะไม่ภูมิใจตนเอง และจะไม่รักพ่อแม่ ไว้วางใจพ่อแม่ไม่ เป็น การทีเ่ ขาไม่สามารถรักพ่อแม่ตอบ กลับได้ จะทำ�ให้เขาเกิดความยากในการ ปรับตัวที่จะอยู่ร่วมกับคนอื่นในสังคม เพราะฉะนั้นถ้าพ่อแม่เฉยเมยเย็นชา

หรื อ หนั ก กว่ า นั้ น พ่ อ แม่ ทำ � ร้ า ยหรื อ คุกคามเขาก็จะทำ�ให้เด็กเห็นว่าความ รุนแรงคือทางแก้ปัญหาของพ่อแม่ ซึ่ง เป็นคนใกล้ตัวเขาที่สุด เด็กจะรู้สึกว่า พ่อแม่ก็ไม่ได้มคี วามรูส้ กึ ทีด่ ตี อ่ เขา เมือ่ เขาโตขึน้ เขามีก�ำ ลัง เขาก็จะเรียนรูด้ ว้ ย การเลียนแบบพ่อแม่ ว่าอาละวาดแบบ นี้ทุกอย่างถึงจะจบ ต้องใช้กำ�ลังแบบนี้ ทุกคนถึงจะยอม อันนี้คือปัญหาที่เกิด จากทั้งการเลียนแบบจากต้นแบบคือ พ่อแม่ แล้วก็เกิดจากกลไกต่อเนือ่ งทาง จิตใจและอารมณ์ทพี่ ฤติกรรมของพ่อแม่ ส่งผลกระทบให้เกิดขึ้นในตัวเขา 15


 ตรวจเช็กความรุนแรงของลูก

อย่างไรก็ตามสำ�หรับความเป็นครอบครัว ไม่มีสิ่งที่เรียกว่าสายเกิน ไป คุณพ่อคุณแม่อาจต้องเริม่ สังเกตลูกน้อยของตัวเองตัง้ แต่วนั นีเ้ พือ่ ป้องกันไม่ให้ลูกเข้าไปอยู่ในวงจรของความรุนแรง

อายุ 1-2 ปี

เล่น หรือสื่อสารโดยวิธีการที่รุนแรง การต่อว่าด่าทอ

ใช้คำ�ที่ออกมาพร้อมกับอารมณ์เกรี้ยวกราดอยู่เสมอๆ ไม่สามารถพัฒนาอารมณ์จิตใจของตัวเองได้ตามวัย เช่น หนึ่งขวบรอ ไม่เป็น สองขวบเล่นแรง และทำ�ลายข้าวของโดยเจตนา

อายุ 3-6 ปี

อายุเกิน 3 ปีแล้ว ยังมีพฤติกรรมเหมือนเดิมตอนอายุ 1-2 ปี ระหว่างที่เล่นกับเพื่อน เล่นแรง ทำ�ให้เพื่อนเจ็บ ทำ�ให้เกิดอันตรายกับ คนอื่น โดยไม่สามารถเข้าใจผลลัพธ์ที่ตามมา

6 ปีขึ้นไป

กระชาก ดึง ของที่ตัวเองอยากได้ หรือทุบตีคนอื่นเพื่อแย่งชิง หรือว่า ไม่เคยนึกถึงจิตใจของคนอื่น ทำ�ให้คนอื่นรู้สึกเจ็บปวด เสียหาย เจ็บใจ อยู่เสมอๆ ไม่คำ�นึงถึงกฎเกณฑ์ของโรงเรียน ทำ�อะไรตามใจชอบ หยิบข้าวของ หรือแอบเอาของคนอื่นโดยไม่ได้รับอนุญาต ไม่ค�ำ นึงถึงความรูส้ กึ ของสิง่ มีชวี ติ อืน่ ๆ เช่น ทำ�ร้าย และแกล้งสัตว์เสมอ

** หากมีพฤติกรรมเหล่านี้ในแต่ละช่วงวัยถือเป็นสัญญาญว่าเด็กคนนีม้ แี นวโน้มทีจ่ ะมีพฤติกรรมรุนแรง 16


เมื่อลูกเริ่มรุนแรง...ต้องไม่รุนแรงตอบกลับ หากสังเกตว่าลูกมีพฤติกรรมที่ ไม่เหมาะสม พ่อแม่ต้องตั้งสติ ให้ดี สิ่งสำ�คัญคือ ไม่ด่วนลงโทษลูกไปตามอารมณ์โกรธ เพราะการลงโทษ เด็กอย่างรุนแรงด้วยอารมณ์ ไม่ช่วยให้สถานการณ์ดีขึ้น ลดความคาดหวังลงก่อน ปั ญ หาที่ เ รามั ก เจอในพ่ อ แม่ เป็นความห่วงใยของพ่อแม่ แต่เป็น ความห่ ว งใยที่ แ สดงออกแล้ ว ทำ � ให้ สถานการณ์แย่ลง ก็คอื เมือ่ เห็นแล้วรูส้ กึ โกรธ รู้สึกผิดหวังที่ลูกเป็นเช่นนั้น ก็ แสดงออกถึงความโกรธและผิดหวังโดย ไม่ได้กลั่นกรอง เช่น อาจจะยิ่งทำ�ร้าย เด็ก อาจจะเป็นการตี การด่าว่าให้เจ็บใจ หรือการประจานให้เด็กเสียหน้าหนักยิง่

กว่าเดิม มักเป็นปฏิกิริยาอัตโนมัติของ คนที่ควบคุมความโกรธไม่ได้ ในขณะที่ พ่อแม่ทำ�สิ่งนั้น ไม่ได้ช่วยให้เด็กดีขึ้น กลับทำ�ให้เด็กแย่ลง ยิ่งทำ�ให้ปัญหา แย่ลง เด็กก็จะรับรูว้ า่ ตัวเองยิง่ ไร้คณ ุ ค่า เด็กแค่อาจจะยังไม่สามารถแยกแยะ หรือ เรีย นรู้ไ ด้ว่า หลายๆ อย่า งที่เขา เลียนแบบพ่อแม่มาผิดตรงไหน ทำ�ไม พ่อแม่ทำ�ได้ 17


Chapter 2 >> ให้กับลูกในเชิงของความใจเย็น แล้วก็ ระงับสติอารมณ์เด็ก แก้ปญั หาอารมณ์ของตนเองด้วยวิธกี าร เพราะบางครั้งเด็กอาจจะมีเหตุผล ทีอ่ อ่ นโยนนุม่ นวล เวลาเห็นลูกขุน่ เคือง ของตัวเองว่าก็ฉันโมโห ฉันก็เลยต้อง ก็เข้าไปถามว่าหนูเป็นยังไงบ้าง หนู เอาไม้ทุบเจ้าน้องหมาน้องแมว เขา โมโหอะไรเหรอ ใช้ความหนักแน่นของ อาจจะมีเหตุผลว่าเขาควบคุมอารมณ์ พ่อแม่ในการดูแลจิตใจลูก การเข้าใจ ไม่ ไ ด้ เขาทนไม่ ไ หวคุ ณ พ่ อ คุ ณ แม่ ลูกไม่ได้แปลว่าตามใจ บางครั้งเด็ก ต้ อ งหลั ก ให้ ดี ๆ คื อ ยั ง ไงเด็ ก ก็ ยั ง มี เกรี้ยวกราดเพราะไม่พอใจพ่อแม่ หรือ โอกาสของการพัฒนาสูงมาก ถ้าหาก เลียนแบบพ่อแม่ นั่นยิ่งเป็นสิ่งที่พ่อแม่ พ่อแม่พร้อมจะร่วมพัฒนาไปกับเขา ควรต้องหันมาพิจารณาพฤติกรรมของ สอนให้เด็กเข้าใจอารมณ์ตวั เอง ตนเองให้ละเอียดรอบคอบยิ่งขึ้น สอนให้ ลู ก รู้ จั ก อารมณ์ ข องตั ว เป็นต้นแบบทีด่ ี เอง อย่าโมโหรุนแรง ให้รู้ว่านี่คือจุด ถ้ า หากสั ง เกตเห็ นว่ า เด็ ก เกรี้ ย ว อ่อนของตัวเขาเอง นี่คือจุดบกพร่อง กราดเพราะความขุ่นเคืองต่อตัวพ่อแม่ ที่ เ ขาจะต้ อ งแก้ ไ ข แต่ ก ารแก้ ไ ข หรือเลียนแบบพ่อแม่ เราคงต้องมาปรับ จะต้ อ งเข้ า ใจเด็ ก ก่ อ นว่ า เขาทำ � ด้ ว ย ความสัมพันธ์ที่ดีให้เกิดขึ้น มีน้อยนักที่ ความขุ่ น เคื อ งอะไร ทำ � ด้ ว ยความ เด็กจะเป็นเด็กรุนแรงโดยไม่มเี หตุปจั จัย ไม่ เ ข้ า ใจส่ ว นไหนของวิ นั ย สั ง คม รอบข้างเป็นตัวกระตุ้น ด้านชีวภาพ เขายั ง มี ข้ อ อ่ อ นด้ อ ยในเรื่ อ งการ อย่างเดียวเป็นเพียงเหตุผลเล็กๆ ที่ เข้าใจความรู้สึกของคนอื่นใช่หรือไม่ เราสามารถควบคุมและจัดการได้ด้วย ถ้ า เรามองเห็ น ปั ญ หาว่ า มั น เกิ ด จาก การเลี้ยงดู รวมถึงจัดสภาพแวดล้อม อะไร เราถึ ง จะรู้ ว่ า แล้ ว เราจะก้ า ว ที่เหมาะสม เข้ า ไปสู่ การแก้ ปั ญ หาอย่ า งไร เด็ ก เหล่ า นี้ จำ � เป็ น ต้ อ งได้ รั บ ความเข้ า ใจ ก่อนว่าเขาโกรธ เขารู้สึกโดดเดี่ยวนะ เขาเข้าใจผิดนะว่าการแกล้งน้องหมา เป็นไปได้นอ้ ยทีเ่ ด็กจะมีพฤติกรรม น้องแมวแบบนี้คือความเก่งความกล้า รุนแรงโดยไม่มีปัจจัยรอบข้างเป็น ดูแลด้วยความรัก ตัวกระตุน้ ปัจจัยทางชีวภาพอย่าง พ่ อ แม่ ควรมี ความรั ก เป็ น พื้ น ฐาน เดียวเป็นเพียงเหตุผลเล็กๆ ที่เรา หากอยากจะให้เขาเข้าใจคนอื่นให้เป็น สามารถควบคุม และจัดการได้ดว้ ย เข้าใจตัวเองให้เป็น แล้วพัฒนาให้เขา การเลีย้ งดู รวมถึงจัดสภาพแวดล้อม ที่เหมาะสม เก่งขึ้นในเชิงของอารมณ์และคุณธรรม เพราะฉะนั้นควรทำ�ตัวให้เป็นต้นแบบ 18


Chapter 2 >>

ลงโทษอย่างไร

ไม่รุนแรง ธรรมชาติของวัยเด็กอาจมีดื้อรั้นไม่เชื่อฟัง หรืองอแงโยเยเป็นเรื่อง ธรรมดา สิ่งสำ�คัญคือพ่อแม่ต้องรับมือด้วยความละมุนละม่อม ไม่ใช้ อารมณ์ ในการดุด่าหรือลงโทษลูกทันทีไปตามอารมณ์โกรธ วินยั ทางบวก ลดการปะทะและลงโทษ การทำ�ผิดจริงๆ ต้องมีการลงโทษ ต้องยอมรับว่าการสร้างวินัยในตัวเด็ก การลงโทษเป็ น ส่ ว นหนึ่ ง แต่ คำ � ว่ า ลงโทษในที่ นี้ ไ ม่ ไ ด้ ห มายถึ ง เป็ น ทาง เลือกเดียวในการสร้างวินัยในตัวเด็ก เราจะใช้คำ�ว่าลงโทษต่อเมื่อเด็กทำ�ผิด ที่รุนแรงพอสมควร แต่ถ้าหากเราย้อน กลับไปดูการปูพรมของวินัยในเด็กด้วย วิธกี ารทางบวกก่อน เช่น สามารถให้ค�ำ

ชี้แนะ หรือชื่นชม เมื่อเด็กทำ�ดี แนะนำ� ให้รู้ว่าสิ่งที่เหมาะสมในการแสดงออก คืออะไร ลงโทษด้วยท่าทีจริงจังในเรือ่ งทีต่ อ้ ง จริงจัง ใช้การลงโทษเอาไว้กำ�กับในเรื่องที่ สำ�คัญจริงๆ ซึ่งเรื่องสำ�คัญ โดยทั่วไป ที่บรรดาจิตแพทย์หรือคุณหมอเด็กมัก จะเน้นย้ำ�มีอยู่ 3 เรื่อง คือ เรื่องการ ทำ�ร้ายตัวเอง เด็กที่ทำ�ร้ายตัวเองไม่ว่า

19


Chapter 2 >>

จะเป็นเอาหัวโขกพื้น ส่วนหนึ่งอาจจะ ต้องการต่อรองอะไรบางอย่างจากพ่อ แม่ หรือต้องการระบายความโกรธ แต่ ถ้าเขาทำ�ร้ายตัวเอง พ่อแม่ไม่ยอม เขา ทำ�ร้ายตัวเองไม่ได้ เขาเป็นทีร่ กั ของเรา เพราะฉะนัน้ ถ้าเขาทำ�ร้ายตัวเอง เราจะ ลงโทษเขา อันที่สอง การทำ�ร้ายคนอื่น โดยเจตนา ถ้าเด็กตั้งใจเข้าไปตีคนอื่น เลย อันนี้คือกฎเลย เขาทำ�ไม่ได้ อันที่ สามคือเจตนาทำ�ลายข้าวของและรังแก สัตว์เลี้ยง ถ้าเกิดเหตุการเหล่านี้เขา จะถูกลงโทษ การลงโทษเราสามารถ แจกแจงให้เด็กรู้ทันทีที่เด็กรู้เดียงสา

วิ ธี ก ารลงโทษอาจจะเป็ น การใช้ มือตีมือลูกเบาๆ เพื่อเป็นสัญญาณให้ รู้ว่า นี่คือสัญลักษณ์ของการลงโทษที่ จริงจัง มาจากทั้งความเสียใจและความ ตั้งใจดีของพ่อแม่ที่รักลูกมากที่สุด ลูก เจ็บเราก็เสียใจแต่ว่าเราจำ�เป็นต้องเอา จริงเพื่อให้ลูกรู้ว่าเราเอาจริงในเรื่องนี้ แต่ถ้าเป็นความผิดที่เบาลงไป การว่า กล่าวตักเตือนอย่างจริงจัง จับตัวลูกมา คุยด้วยน้ำ�เสียงจริงจัง ระหว่างลงโทษ ไม่ควรหัวเราะไป เตือนไป เพื่อให้เกิด ความจริงจังในการลงโทษและไม่ให้เด็ก เกิดความสับสน 20


Chapter 2 >>

เด็กก่อน แล้วก็ขีดวงของการลงโทษ ไว้ กั บ การกระทำ � ความผิ ด แล้ ว ก็ มี การลงโทษเป็ น ขั้ น ๆ ที่ เ หมาะสม กับเหตุการณ์ โดยที่ ไม่แกว่งไกวไป ตามอารมณ์ของพ่อแม่ เราก็ไม่ต้อง กังวลว่า ในอนาคตต่อไปเราจะต้อง มาจัดการกับเชื้อของความรุนแรงที่ เกิ ด ขึ้ น ในตั ว ลู ก ทั้ ง นี้ ทั้ ง นั้ น ฐานที่ สำ � คั ญ คื อ ความรั ก ของพ่ อ แม่ และ การมี เ วลาคุ ณ ภาพอยู่ ด้ ว ยกั น เมื่ อ ไหร่ ก็ ต ามที่ ลู ก ไม่ ไ ด้ รู้ สึ ก ผู ก พั น กั บ พ่ อ แม่ ไม่ ไ ด้ มี ศ รั ท ธาในตั ว พ่ อ แม่ คนถือวินัยก็ ไม่ได้มีความหมายอะไร ก็ จ ะเป็ น เหมื อ นบางสั ง คมที่ ผู้ ค นไม่ ได้ศรัทธาตำ�รวจ แล้วก็แอบทำ�ความ ผิดลับหลังตำ�รวจเท่านั้น เพราะเขา ไม่ได้คิดว่ามีศรัทธาหรือมีเยื่อใยที่ดี อยากจะย้ำ � ว่ า วิ นั ย ในเด็ ก เป็ น สิ่ ง ที่ สามารถส่งทอดให้เขารู้ว่าเมื่อเคารพ ในวิ นั ย แล้ ว เขาได้ ต อบโจทย์ ความ รักของพ่อแม่ แล้วทำ�ให้คนที่รักเขา มีความสุข มากไปกว่านั้น เขาเองก็ มีความสุขที่เป็นคนดีของพ่อแม่ด้วย เพราะฉะนั้นสิ่งเหล่านี้ จะทำ�ให้ความ รุนแรงในครอบครัวลดน้อยลงค่ะ 

ลงโทษด้วยการตัดสิทธิบางอย่าง บางครั้งอาจเลือกการลงโทษด้วย การตัดสิทธ์ิบางอย่าง เช่น เพราะว่า หนูไม่ท�ำ การบ้าน หนูตอ้ งอดดูโทรทัศน์ หนึ่ ง สั ป ดาห์ การตั ด สิ ท ธ์ิ บ างอย่ า ง ที่ เ ขาเคยได้ รั บ ก็ เ ป็ นวิ ธี การลงโทษที่ ไม่ใช่ความรุนแรง เด็กจะเรียนรู้ว่าเมื่อ มีพฤติกรรมไม่ดี พวกเขาต้องสูญเสีย อะไรบางอย่างไปเสมอ เมื่อเรียนรู้เช่น นีเ้ ด็ก จะลดพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมลง ไปได้ มอบหมายภารกิ จ ให้ ทำ � เป็ น การ ลงโทษ เด็ ก จะเรี ย นรู้ ว่ า เมื่ อ พวกเขา ทำ � อะไรลงไปแล้ ว มี ผ ลกระทบเกิ ด ขึ้ น เสมอ ต้ อ งรั บ ผิ ด ชอบในสิ่ ง ที่ ตั ว เองทำ � เสมอ ครั้ ง ต่ อ ไปเด็ ก ก็ จ ะ คิ ด คำ � นวณผลลั พ ธ์ และคาดการณ์ เหตุ การณ์ ล่ ว งหน้ า ได้ ดี ขึ้ น ว่ า อะไร ควรทำ� อะไรไม่ควรทำ� การลงโทษด้วยวิธีต่างๆ ไล่สเต็ป มาเรื่อยๆ จนกว่าจะถึงการตี ซึ่งส่วน ใหญ่จะสงวนการตีไว้ เพื่อใช้ลงโทษ กั บ พฤติ ก รรมที่ เ ป็ น ปั ญ หารุ น แรง จริงๆ ถ้าเมื่อไหร่ก็ตามที่เรารู้จักใช้ วินั ยทางบวกมาปูเป็น พื้นฐานให้กับ 21


Chapter 2 >>

สมดุลแห่งความรักป้องกันความรุนแรง

เรามีเด็กทีเ่ หงาลึกๆ จำ�นวนมากขึน้ เรือ่ ยๆ เด็กจำ�นวนมากอยู่ในสภาพทีอ่ ยูบ่ า้ นคนเดียว เพราะพ่อแม่อาจจะออกไปทำ�งานมากจนแทบไม่มเี วลาให้ลกู แล้วก็กลายเป็นแก่นแกนในการสร้างปัญหาสังคมมากขึน้ ทุกที ซึง่ พ่อแม่สว่ นใหญ่กว่าจะรู้ ก็เลยเวลาทีจ่ ะสือ่ สารความรักไปถึงลูกได้แล้ว ประตูแห่งความรักในจิตใจของเด็กได้ปดิ ลงไปตัง้ แต่ 3-4 ปีแรก ไม่รกั เขาตัง้ แต่ 3 ปีแรก มารักทีหลังเขาก็เริม่ ระแวงแล้ว เริม่ ไม่ เชือ่ มัน่ ความผูกพันทีม่ น่ั คงก็ ไม่เกิดขึน้

ยิง่ ช่วงเวลานัน้ มีประเด็นของความรุนแรงอะไรเกิดเข้ามาใกล้ๆ ให้เขาสัมผัส ให้เขารับรู้ได้ เขาก็พร้อมทีจ่ ะเตลิดเปิดเปิงไปตามรูป แบบของความรุนแรงเหล่านัน้

22


DIGITAL DETOX ถึงคราวต้องล้างพิษ(ดิจิตอล)ให้ลูก

ดาวน์ โหลดทุกวันที่ 15 และ 30 ของทุกเดือน ดาวน์ โหลดฉบับย้อนหลัง


24


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.