ModernMom Focus Vol.1 No.3 Chapter 1 April 2015

Page 1

Vol.1 No.3 / Chapter 1 April 2015

Chapter

1

Interview :

ความรุนแรงทั้งที่พ่อแม่เผลอทำ�กับลูกโดยไม่รู้ตัว จาก คุณสรรพสิทธิ์ คุมพ์ประพันธ์ ประธานมูลนิธิศูนย์พิทักษ์สิทธิเด็ก

Stop Violence Issue

เหี้ยม! พ่อเลี้ยงเยาวชน ตีลูก 1 ขวบ ดับอนาถ

โหดเหี้ยม หญิงอินเดียถูกรุมโทรมบนรถเมล์ ก่อนโยนทิ้งออกจากรถ สุดโหด!! ไอเอสโชว์คลิปฆ่าตัดคอหมู่ 2556 ไทยมีเด็กและสตรีถูกกระทำ�รุนแรง

อยู่ ในลำ�ดับที่ 36 จาก 75 ประเทศที่มีการกระทำ�รุนแรงทางกายมากที่สุด ไทยอยู่ในลำ�ดับที่ 7 จาก 71 ประเทศที่มีการกระทำ�รุนแรงทางเพศมากที่สุด 1


2


Vol.1 No.3 / Chapter 1 April 2015

Stop Violence issue Contributor

คุณสรรพสิทธิ์ คุมพ์ประพันธ์

ประธานมูลนิธิศูนย์พิทักษ์สิทธิเด็ก และผู้ชำ�นาญการ ด้านพันธกรณีระหว่างประเทศ สำ�นักงานคณะกรรมการ สิทธิมนุษยชนแห่งชาติ

NEXT ON Stop Violence issue Chapter 2 พบกับ พญ.อัมพร เบญจพลพิทักษ์

ผู้อำ�นวยการสถาบันราชานุกูล พบวิ ธี เ ลี้ ย งลู ก ให้ ห่ า งไกลความรุ น แรง พบวิ ธี หยุดห่วงโซ่ความรุนแรงที่เริ่มต้นได้ตั้งแต่ในบ้าน

www.modernmommag.com www.booksmile.co.th www.issuu.com โดย search modernmom focus

สวัสดีค่ะคุณแม่ ModernMom ทุกท่าน

ModernMom Focus กับ Hot Issue ที่เมื่ออ่านแล้ว อาจจะรูส้ กึ “เจ็บ” กับความรุนแรงใน “STOP VIOLENCE” ความรุนแรงที่เกิดขึ้นในสังคมในปัจจุบันแม้ไม่ทราบ สถิติแต่ก็สัมผัสได้จากสิ่งที่พบเห็นและหน้าหนังสือพิมพ์ ความรุนแรงที่ทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น มาได้ในหลาย รูปแบบทีเ่ ราอาจจะนึกไม่ถงึ และเผลอ! ทำ�กับลูกโดยไม่รตู้ วั ...พบกับสองนักวิชาการทีจ่ ะทำ�ให้คณ ุ พ่อคุณแม่เข้าใจและ หยุดความรุนแรงได้ตั้งแต่ในบ้าน... Chapter 1 : คุณสรรพสิทธิ์ คุมพ์ประพันธ์ ประธาน มูลนิธศิ นู ย์พทิ กั ษ์สทิ ธิเด็ก ฉายภาพความรุนแรงหลากหลาย รูปแบบให้เข้าใจและเข้าใจความรุนแรงในมุมที่เราอาจจะ นึกไม่ถึง Chapter 2 : พญ.อัมพร เบญจพลพิทักษ์ ผู้อำ�นวยการ สถาบันราชานุกูล กับวิธีเลี้ยงให้ห่างความรุนแรง ModernMom Focus

เจ้าของ : กลุ่มบริษัท อาร์แอลจี สร้างสรรค์ โดย : นิตยสาร ModernMom Contact Us กลุม่ บริษทั อาร์แอลจี 932 ถนนประชาชืน่ แขวงวงศ์สว่าง เขตบางซือ่ กรุงเทพฯ 10800 กองบรรณาธิการ การตลาดและประชาสัมพันธ์ โทรศัพท์ 0 2831 8400, 0 2913 7555 ต่อ 4420-4424, 3520, 3535 โทรสาร 0 2831 8499 อีเมล์ : mmm@rlg.co.th แผนกโฆษณา โทรศัพท์ 0 2831 8400, 0 2913 7555 ต่อ 3361, 3332, 3359, 3345, 4723 โทรสาร 0 2831 8477 อีเมล์ : rungladda@rlg.co.th

3


Chapter 1 >>

ความรุนแรง 4


Chapter 1 >>

คืออัตราการเสียชีวติ จากความรุนแรงของเด็กทัว่ โลก รายงานล่าสุดจากองค์การยูนิเซฟ ประเทศอังกฤษ (Unicef UK) ประเมินว่า ในปี 2015 นี้ ในทุกวันจะมีเด็กอายุต่ำ�กว่า 20 ปี จำ�นวน 345 คน เสี ย ชี ว ิ ต จากความรุ น แรง ถ้าหากทั ้งโลกล้มเหลว ในข้ อ ตกลงว่ า ด้ ว ยการคุ้ ม ครองเด็ ก และเยาวชน ที่ กำ � ลั ง เผชิ ญ ความรุนแรงในบ้าน โรงเรียน และในชุมชน สอดคล้องกับผลการศึกษา ที่ศึกษาในประเทศเอลซัลวาดอร์ เวเนซุเอลา เฮติ และเลโซโท ซึ่งเป็น กลุ่มประเทศที่มีอัตราการฆาตกรรมเด็กสูงมาก โดยพบว่ามากกว่า 75% ของเด็กทีเ่ สียชีวติ นัน้ เกิดจากสาเหตุความรุนแรงระหว่างบุคคล 5


สถิติความรุนแรงต่อเด็กที่เข้ารับบริการที่ศูนย์พึ่งได้ ตั้งแต่ปี 2550 ถึง 2556

ข้อมูลจาก : http://endviolencethailand.org/violence_against_children

สถิตลิ า่ สุดในปี 2556 พบการกระทำ�รุนแรงต่อเด็กและสตรี

รวม 31,966 ราย เป็นเด็ก 19,229 ราย สตรี 12,638 ราย เฉลี ่ ย วั นละ 87 ราย ปัญหาอันดับ 1 ที่พบในเด็ก 10-15 ปี

คือการล่วงละเมิดทางเพศ ส่วนในสตรีค ือการถูกทำ�ร้ายร่างกาย หน่วยงานสตรีขององค์การสหประชาชาติ (UN Women) รายงาน ว่ า ในปี 2556 ประเทศไทยมีเด็กและสตรีถูกกระทำ�รุนแรงสูงขึ้น

ไทยอยู่ลำ�ดับที่ 36 จาก 75 ประเทศที่มีการกระทำ�รุนแรง ทางกายมากทีส่ ดุ และอยูล่ �ำ ดับที่ 7 จาก 71 ประเทศที่มี การกระทำ�รุนแรงทางเพศมากที่สุด  90% ของเด็กหญิงอายุ 10-15 ปี คิดเป็น 61%

ที่ เ กิ ด ความรุ น แรง รองลงมาคื อ อายุ 15-18 ปี คิ ด เป็ น 22% โดยในจำ � นวนนี้ ถู ก ล่ ว งละเมิ ด ทางเพศมากเป็ น อั น ดั บ หนึ่ ง 13,226 ราย คิดเป็น 69%  รองลงมาคือ ทำ�ร้ายร่างกาย 4,256 ราย โดนกระทำ� จากคนที่รู้จัก ไว้วางใจ และมีความสัมพันธ์ ใกล้ชิด 6


Chapter 1 >>

ข่าวคราวของความรุนแรงเกิดขึ้นทุกวัน... เกิดได้หลากหลาย รู ป แบบที่ เ รานึ ก ไม่ ถึ ง เกิ ด ขึ้ น บ่ อ ยกั บ ทุ ก เพศ ทุ ก วั ย โดยเฉพาะ กั บ เด็ ก และผู้ ห ญิ ง ... ขณะที่ ค วามรุ น แรงดู เ หมื อ นจะเข้ า ใกล้ ตั ว เรามากขึ้ น ทุ ก วั น เราจะปล่ อ ยให้ ค วามรุ น แรงเกิ ด ขึ้ น อยู่ อ ย่ า งนี้ หรื อ เป็ น ส่ ว นหนึ่ ง ของการยุ ติ ค วามรุ น แรงที่ เ ราเองอาจจะทำ � ให้ เกิดขึ้น ความรุนแรงยุติ ได้...เพียงเริ่มต้นที่บ้าน

Checklist : แบบทดสอบความรุนแรงในบ้าน  ลงโทษทุ ก ครั ง ้ เมื อ ่ ลู ก ทำ � แก้ ว แตก โดยไม่ ถ ามสาเหตุ  ด่าทอ ประชด ประชัน เสียดสี ทำ�ร้ายจิตใจลูกเป็นประจำ�  ทอดทิ ง ้ ให้ ล ก ู อยู บ ่ า ้ นและเล่ น ตามลำ � พั ง   ซื้อปืน และของเล่นประเภทอาวุธให้ลูกเล่น สอนลู ก ให้ แ ก้ ป ญ ั หาด้ ว ยการใช้ ก � ำ ลั ง  ถ้าคุณมีพฤติกรรมเหล่านี้มากกว่า 3 ข้อ ต้องรีบเปลี่ยน เพราะ คุณเองเป็นต้นเหตุของการเพาะหน่อเชื้อของความรุนแรงในบ้าน 7


เรื่อง : กองบรรณาธิการ / ภาพ : ธาร ธงไชย

Chapter 1 >>

ในเมื่ อ บ้ า นควรเป็ น สถานที่ ป ลอดภั ย มอบความอบอุ่ น ใจที่ สุ ด สำ � หรั บ เด็ ก บ้ า นควรปลอดจากความรุ น แรงที่ จ ะ ทำ�ร้ายเด็กทุกรูปแบบ คุณสรรพสิทธิ์ คุมพ์ประพันธ์

8


Chapter 1 >>

Interview : คุยกับ คุณสรรพสิทธิ์ คุมพ์ประพันธ์

ประธานมูลนิธิศูนย์พิทักษ์สิทธิเด็ก และผู้ชำ�นาญการด้านพันธกรณีระหว่างประเทศ สำ�นักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ

ในเมื่ อ บ้ า นควรเป็ น สถานที่ ป ลอดภั ย มอบความอบอุ่ น ใจที่ สุ ด สำ � หรั บ เด็ ก บ้ า นควรปลอดจากความรุ น แรงที่ จ ะทำ � ร้ า ยเด็ ก ทุ ก รู ป แบบ แต่ ส ถานการณ์ ท่ี กำ � ลั ง เกิ ด ขึ้ น ทั่ ว โลกคื อ ความ รุ น แรงกำ � ลั ง แทรกซึ ม อยู่ ใ นทุ ก ที่ อยู่ ใ นจิ ต ใจของผู้ ค น อยู่ ใ นบ้ า น ในครอบครั ว อยู่ ใ นคำ � พู ด หรื อ การกระทำ � ของผู้ ค นแวดล้ อ ม เด็ ก อยู่ ใ นสั ง คม และอยู่ ใ นสื่ อ ...เราต่ า งกำ � ลั ง อาศั ย อยู่ ใ นโลก แห่ ง ความรุ น แรง แล้ ว ความรุ น แรงที่เ กิ ด ขึ้น ในสั ง คมเป็ น อย่ า งไร บ้ า ง คุ ณ สรรพสิ ท ธิ์ คุ ม พ์ ป ระพั น ธ์ ประธานมู ล นิ ธิ ศู น ย์ พิ ทั ก ษ์ สิ ท ธิ เ ด็ ก และผู้ ชำ � นาญการด้ า นพั น ธกรณี ร ะหว่ า งประเทศ สำ � นั ก งานคณะกรรมการสิ ท ธิ ม นุ ษ ยชนแห่ ง ชาติ ได้ ก ล่ า วถึ ง ความรุ น แรงในรู ป แบบที่ มั ก ไม่ ค่ อ ยได้ รั บ ความสนใจจากสั ง คม แต่มีผลต่อพฤติ ก รรมของเด็ ก ไม่ น้ อ ยไปกว่ า การทำ � ทารุ ณ ต่ า งๆ ที่เห็นได้ชัดเจน 9


ความรุนแรงที่มองไม่เห็น “ความรุนแรงที่ไม่ค่อยได้พูดถึงกัน แต่แพร่หลายมาก คือความรุนแรงใน เรื่องของการทำ�ร้ายจิตใจ ใช้เรื่องของ การกดดันเด็กในหลายด้าน ถ้าเทียบ ในอดี ต สมั ย ก่ อ นพอโตหน่ อ ยพ่ อ แม่ ก็ปล่อยๆ แล้ว แต่พ่อแม่สมัยนี้เข้าไป ควบคุมและกดดันเด็กหลายอย่าง เช่น กดดันเรื่องเรียน ให้แข่งขัน ให้ลูกต้อง เอาชนะคนอื่นตั้งแต่เล็กๆ เลย นี่พูด ถึงสังคมเมืองที่พ่อแม่อยู่กับลูกนะ แต่ ถ้าพูดถึงในสังคมชนบทอาจไม่ได้เจอ การกดดันลักษณะนี้ แต่จะเป็นลักษณะ ของสภาพสั ง คมที่ ป ล่ อ ยปละละเลย ทอดทิ้ง ซึ่งว่าตามคำ�ชี้แนะทั่วไปของ คณะกรรมการสิทธิเด็กแห่งชาติถือว่า การทอดทิง้ เด็ก เป็นการใช้ความรุนแรง ต่อเด็กเหมือนกัน” ดังที่เราได้เห็นจากข่าวคราวมาก ขึน้ เมือ่ เด็กเล็ก หรือเด็กในวัยเรียนต้อง รับผิดชอบครอบครัวเกินวัย ถูกทอด ทิ้งให้อยู่กันเพียงลำ�พัง เด็กๆ ต้องดูแล ตัวเอง และต้องดูแลพ่อแม่หรือปู่ย่า ตายายที่ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้

“เพราะฉะนั้น จะเห็ น ได้ ว่า เดี๋ย วนี้ จะมี ข่ า วเด็ ก ต้ อ งดู แ ลผู้ ใ หญ่ ดู แ ล ผูส้ ูงอายุ เมื่อเร็วๆ นี้ก็มีข่าวเด็ก 2 ขวบ ต้องดูแลพ่อทีเ่ ป็นอัมพาต อันนีค้ อื ความ รุนแรงรูปแบบใหม่ท่ีเด็กต้องเผชิญอยู่ นั่นหมายถึงว่าเด็กกลุ่มหลัง เด็กที่ถูก ทอดทิ้ง นี่จ ะรุ น แรงกว่ า เด็ ก กลุ่ม แรก เด็กกลุ่มแรกที่อยู่กับพ่อแม่ถูกกดดัน อะไรก็ ต ามจะมี ปั ญ หาด้ า นอารมณ์ จิ ต ใจเฉยๆ แต่ เ ด็ ก กลุ่ ม หลั ง ที่ ถู ก ทอดทิ้ ง นี่ นอกจากจะมี ปั ญ หาทาง อารมณ์จิตใจแล้ว เขายังขาดโอกาส พัฒนาตัวเอง เขาไม่สามารถพัฒนา ตั ว เองเพราะเขาต้ อ งเข้ า ไปดู แ ลรั บ ผิ ด ช อ บ ตั้ ง แ ต่ วั ย ที่ ยั ง ไ ม่ พ ร้ อ ม จะรับผิดชอบ แล้วปัญหาที่ตามมาก็คือ เขาก็ อ าจจะไปปฏิ บั ติ กั บ คนรุ่ น หลั ง เหมือนทีเ่ ขาถูกปฏิบตั มิ า เป็นคล้ายการ ถ่ายทอดจากรุ่นหนึ่งสู่อีกรุ่นหนึ่ง” ความรุนแรงในลักษณะนี้เป็นความ รุนแรงทางด้านจิตใจ ซึ่งอาจส่งผลกระ ทบต่อชีวิตเด็กไปจนตลอดชีวิต ซึ่งใน กรณีที่เด็กถูกทอดทิ้งปล่อยปละละเลย 10


4 รูปแบบ ความรุนแรงต่อเด็ก ความรุนแรง ทางอารมณ์และจิตใจ

ความรุนแรง ทางร่างกาย

พูดจาประชดประชัน  ดุว่าเด็กด้วยถ้อยคำ�รุนแรง  นำ�เด็กไปเปรียบเทียบกับ  เด็กคนอื่นทำ�ให้เด็กรู้สึกด้อยค่า ข่มขู่ให้เด็กหวาดกลัว 

ทำ�ร้ายร่างกาย  ทารุณกรรม  ลงโทษอย่างรุนแรง 

การละเลยทอดทิ้ง

ปล่อยปละละเลยไม่สนใจเด็ก  ให้เด็กอยู่ตามลำ�พัง  ขาดแคลนปัจจัยในการดำ�รงชีวิต  หรือปล่อยให้เด็กต้องรับผิดชอบภาระเกินวัย

ความรุนแรงทางเพศ

ละเมิดทางเพศต่อเด็ก  ทารุณกรรมทางเพศต่อเด็ก  11


สังคมต้องเข้าไปดูแลช่วยเหลือ และ เยียวยาสภาพจิตใจของเด็กให้เร็วที่สุด “ปัญหาทั้งหมดเรียกว่า Emotional Abuse คือ การใช้ความรุนแรงในการ ทำ�ร้ายจิตใจเด็ก เช่น การพูดประชด เด็ ก การเอาเด็ ก ไปเปรี ย บเที ย บกั บ เด็ ก อื่ น ซึ่ ง จริ ง ๆ แล้ ว เราก็ รู้ ว่ า เด็ ก แต่ละคนมีจุดดีจุดด้อย แต่เมื่อพ่อแม่ เอาไปเปรี ย บเที ย บกั บ ลู ก ของคนอื่ น ก็ ต้ อ งเปรี ย บเที ย บในจุ ด ด้ อ ยของลู ก ตัวเองว่าด้อยกว่าเด็กอื่นในบางด้าน เมื่อเปรียบเทียบเช่นนี้ เด็กจะรู้สึกทันที ว่าตัวเองไม่มคี ณ ุ ค่า ไม่มศี กั ยภาพหรือ เป็นคนอ่อนแอไร้ความสามารถ เกิด ความรู้สึกเกี่ยวกับตัวเองในทางลบ นี่ก็

เป็นความรุนแรงที่สูงมาก มีผลกระทบ ต่อชีวติ เด็กสูงมาก หรือด่าว่าเด็กโง่ โดย ไม่ดสู าเหตุวา่ ทำ�ไมเด็กถึงทำ�ไม่ได้ อันนี้ เป็นรูปแบบของคนเมืองหรือคนที่อยู่ กับลูก แต่ไปดูรูปแบบพ่อแม่ไม่ได้อยู่ กับลูก ปล่อยลูกทิง้ ไว้กเ็ ป็นความรุนแรง รูปแบบหนึ่ง แบบหลังจะหนักกว่าแบบ แรก เพราะไม่ได้มีปัญหาแค่เรื่องจิตใจ อารมณ์ แต่จะมีปัญหาเรื่องพัฒนาการ ด้วย แล้วทัง้ สองพวกจะมีปญั หาร่วมกัน คือเขาจะไม่มีทักษะทางสังคม ทักษะ การจัดการปัญหาก็ ไม่มี แล้วเด็กทั้ง สองกลุ่มนี้ล่ะที่มีแนวโน้มจะไปจัดการ ปัญหาด้วยความรุนแรงในรูปแบบต่างๆ ต่อไปอีก”

ลงโทษทางร่างกาย จุดเริ่มต้นความรุนแรงต่อเด็ก รายงานขององค์ การยู นิ เ ซฟ ที่ชื่อว่า Hidden in Plain Sight : A Statistical Analysis of Violence Against Children ตี พิ ม พ์ ใ นปี 2014 ได้ เ ก็ บ รวบรวมข้ อ มู ล ที่ ไ ม่ ไ ด้ มี การบั น ทึ ก ไว้เป็นลายลักษณ์อักษรจาก 190 ประเทศทั่วโลก เพื่อฉายให้เห็นภาพความรุนแรงต่อเด็ก พบว่า 2 ใน 3 ของเด็กอายุระหว่าง 2-14 ปี จำ�นวนประมาณ 1 พันล้านคน ถูกลงโทษทางร่างกาย จากผูเ้ ลีย้ งดู ซึง่ เกิดจากความเชือ่ ของผู้ใหญ่ โดย 1 ใน 3 ของผู้ใหญ่ทวั่ โลกเชือ่ ว่า การลงโทษทางร่างกาย ต่อเด็กด้วยวิธีการใดวิธีการหนึ่งเป็นสิ่งจำ�เป็นในการเลี้ยงดูและการอบรมเด็ก 12


การใช้ความรุนแรงในการทำ�ร้ายจิตใจเด็ก  พูดเปรียบเทียบ กับคนอื่น

 ไม่ได้เลี้ยงดู ให้ความรัก

 พูดประชด

 ทอดทิง้  ด่าว่าโง่

• ขาดทักษะการจัดการปัญหา • ขาดทักษะทางสังคม 13


ความรุนแรงที่แฝงเร้นในสื่อ เด็กและวัยรุ่นในยุคดิจิตอลใช้เวลา อยู่ ห น้ า จอประเภทต่ า งๆ มากกว่ า ทำ � กิ จ กรรมอื่ น ทั้ ง ดู โ ทรทั ศ น์ เล่ น โทรศั พ ท์ มื อ ถื อ เล่ น คอมพิ ว เตอร์ ใช้เวลาอยู่ในสังคมออนไลน์ หรือเล่น เกมคอมพิ ว เตอร์ ต่ า งๆ ในแต่ ล ะวั น หลายชั่ ว โมง นั่ น อาจทำ � ให้ เ นื้ อ หา จากสื่ อ ดิ จิ ต อลทุ ก ประเภทมี ผ ลต่ อ ความคิ ด ค่ า นิ ย ม และพฤติ กรรม ของเด็กมากกว่าพ่อแม่ หากพ่อแม่ไม่ ได้เข้าไปใกล้ชิด สร้างความผูกพันทาง ใจกับลูกให้มากพอ โลกดิจติ อลทัง้ หลาย จะมีอิทธิพลต่อเด็กมากกว่าพ่อแม่ “อี ก อั น ที่ เ ป็ น ความรุ น แรงที่ แ ฝง เข้ามาคือ ความรุนแรงที่เกิดจากการ เผยแพร่ ค วามรุ น แรงของสื่ อ ของ เหตุการณ์ ของเรื่อง ภาพ นิยาย การ

แพร่สื่อที่เน้นการใช้ความรุนแรง เรื่อง ทางเพศ สื่อแบบนี้จะมีผลต่อเด็กที่มี แนวโน้มที่จะมีปัญหาเรื่องพฤติกรรม ก้ า วร้ า วรุ น แรง หากพ่ อ แม่ ไ ม่ ไ ด้ ฝึ ก ทักษะทางสังคม ฝึกทักษะการแก้ปญั หา ให้ มี เ ด็ ก 2 กลุ่ ม ที่ จ ะได้ รั บ กระทบ จากสื่ อ มากคื อ เด็ ก ที่ ผู้ ใ หญ่ ควบคุ ม จัดการปัญหาให้แทนตลอดเวลา หรือ เด็กที่ถูกปล่อยปละละเลยให้รับชะตา กรรมตามบุญตามกรรม เด็กทั้ง 2 กลุ่ม นี้จะไม่ได้มีการพัฒนาทักษะการจัดการ ปัญหา สื่อจะมีอิทธิพลต่อเด็กกลุ่มนี้ มาก เมื่อเขาไม่ได้รับทักษะการจัดการ ปัญหาจากคนใกล้ชิด เขาจะซึมซับวิธี การแก้ปัญหาที่เห็นผ่านสื่อ ซึ่งไม่ ใช่ การเลียนแบบนะ คนชอบเข้าใจผิดว่า เป็นการเลียนแบบจากสือ่ แต่การรับสือ่ เป็นกระบวนการเรียนรู้ของเด็ก” 14


หลากความรุนแรงผ่านสื่อ เนื้ อ หาจากสื่ อ มี ผ ลต่ อ ความคิ ด ค่ า นิ ย ม และพฤติ ก รรมของเด็ ก และวั ย รุ่ น

ไม่ควรปล่อยให้เด็ก ใช้เวลาอยู่หน้าจอโทรทัศนเล่นคอมพิวเตอร์ และวิดีโอเกมมากกว่า ทำ�กิจกรรมอย่างอื่น พ่อแม่หรือผู้ดูแลเด็กควรให้ความใกล้ชิด ตรวจสอบเนื้อหา ควบคุมเวลาที่อยู่หน้าจอ และให้คำ�แนะนำ�เมื่อลูก เปิดรับสื่อประเภทต่างๆ เนื้อหาความรุนแรงในสื่อ 

ความรุ น แรงในละคร อาทิ

ฉากตบตี ด่ า ทอ ทะเลาะวิ วาท ทำ�สงครามสู ้รบกัน ฉากข่มขืน เนื้ อ หาความรุ น แรง หรื อ เรื่ อ ง ทางเพศที่อยู่ในรายการโทรทัศน์ และรายการข่าว

ความรุนแรงในสังคมออนไลน์   เกมที่มีเนื้อหารุนแรง

การเล่นเกม หรือติดเกมที่มีเนื้อหารุนแรง

15

การใช้ค ำ�พูดสร้างความเกลียดชัง การด่ า ทอ ว่ า ร้ า ย การรั ง แกแกล้ ง กั น ในโลกออนไลน์ การเผยแพร่คลิปทะเลาะ วิ ว าทของเด็ ก ซึ่ ง ในโลกออนไลน์ นี้ มีทั้งเด็กที่กระทำ�รุนแรงต่อผู้อื่น และเด็ก ที่ตกเป็นเหยื่อถูกกระทำ�รุนแรง


สือ่ มีอทิ ธิพลต่อเด็กมาก แต่พอ่ แม่มอี ทิ ธิพลต่อเด็ก ได้มากกว่า หากรูจ้ กั วิธตี ดิ อาวุธทางปัญญาให้กบั ลูก ตั้งแต่เล็กๆ คุณสรรพสิทธิ์ เปรียบเทียบว่าการ รับสือ่ ของเด็กเป็นกระบวนการรับข้อมูล และประมวลผล ดังนั้นหากเด็กขาด ทั ก ษะชี วิ ต ในด้ า นต่ า งๆ โดยเฉพาะ ทักษะการคิดวิเคราะห์ และทักษะการ แก้ปัญหา อาจทำ�ให้เด็กเรียนรู้วิธีการ แก้ปัญหาด้วยความรุนแรงที่ได้เรียนรู้ มาจากสื่อ “กระบวนการเรียนรูข้ องเด็กเหมือน กับคอมพิวเตอร์ เวลาโปรแกรมข้อมูล เข้าไป คอมพิวเตอร์ก็จะมีฐานข้อมูล เป็นข้อมูลพื้นฐาน แล้วมีซอฟแวร์ ใน การวิเคราะห์ข้อมูลอีกที ทีนี้เด็กพวก นี้ขาดสองส่วน ส่วนที่หนึ่งคือ ไม่มี ข้ อ มู ล ป้ อ นเข้ า ไป ข้ อ มู ล ที่ ชี้ ใ ห้ เ ห็ น สถานการณ์ปัญหาแล้วก็วิธีการจัดการ แก้ ปั ญ หา ประเด็ น ที่ ส อง เขาไม่ มี ความสามารถในการวิเคราะห์ข้อมูลใน สมองของเขา เพราะการจัดการปัญหา มันต้องมีหลักในการวิเคราะห์ข้อมูล คิ ด วิ เ คราะห์ เ พื่ อ กำ � หนดวิ ธี ก ารแก้ ปัญหา เช่น การพบว่ามีปัญหาอย่าง นี้แก้ได้ไหม ถ้าแก้ได้จะมีวิธีแก้ยังไง ถ้าไม่ได้จะมีวธิ หี รือมีแผนสองแผนสาม ยั ง ไง ที่ เ อามาทดแทนสถานการณ์ ต่ า งๆ มั น ต้ อ งมี ท างเลื อ กทางออก ถ้าหากเด็กไม่คุ้นเคยเรื่องนี้เลย เขา ก็จะไม่สามารถแก้ปัญหานี้ได้ เพราะ

ฉะนัน้ เวลาทีเ่ ขาเจอปัญหาทีอ่ าจจะรูส้ กึ โกรธไม่พอใจ ต้องการวิธีจัดการปัญหา เขาก็จะใช้ความรุนแรงที่ได้ซึมซับเรียน รู้มาจากสื่อ” สื่ อ จะมี อิ ท ธิ พ ลมากถ้ า เด็ ก ไม่ มี คนใกล้ชิดที่คอยดูแลปกป้องคุ้มครอง พวกเขาจากสิ่งเหล่านี้ แต่การปกป้อง คุ้มครองไม่ได้หมายถึงว่าใส่โปรแกรม ควบคุมเด็ก ไม่ใช่แบบนั้น แต่เป็นการ สร้างความผูกพัน สร้างความรู้สึกเห็น อกเห็นใจระหว่างบุคคลแวดล้อมกับเด็ก สองก็ คื อ บุ ค คลแวดล้ อ มต้ อ งกระตุ้ น พัฒนาการในการคิดวิเคราะห์ ให้เด็ก อยู่เสมอ ถ้าคนแวดล้อมมี 2 อย่างนี้ เด็ ก ไม่ มี ท างจะถู ก สื่ อ จากภายนอก เข้ามาคุกคามไม่ว่าด้านใด หรือสื่อไม่ สามารถสร้างปัญหาให้แก่เด็กได้ เพราะ ว่ า ถ้ า เขามี ค วามรู้ สึ ก ผู ก พั น เห็ น อก เห็นใจกับผู้ปกครอง ถ้ามีอะไรไม่ชอบ มาพากลเขาก็ต้องบอกผู้ปกครอง เขา ต้องขอความช่วยเหลือจากผู้ปกครอง หรือถ้าเขามีทักษะในการคิดวิเคราะห์ที่ ดี เขาก็จะต้องตั้งคำ�ถาม ตั้งข้อสงสัย ตัง้ ข้อสังเกตกับการคุกคามทีเ่ ข้ามา เด็ก จะไม่แก้ปญั หาด้วยการกระทำ�รุนแรงต่อ คนอื่น และไม่ตกเป็นเหยื่อของความ รุนแรงหรือการหลอกลวงใดๆ”

16


การรับสื่อ = กระบวนการรับข้อมูล และประมวลผล • ขาดข้อมูลที่เป็นสถานการณ์ปัญหา และวิธีการแก้ปัญหาป้อนเข้า • ไม่มีความสามารถในการวิเคราะห์ข้อมูล

เด็กขาดทักษะชีวิต คิดวิเคราะห์และ ทักษะแก้ปัญหา

เรียนรู้วิธีการแก้ปัญหา ด้วยความรุนแรง ที่ ได้เรียนรู้มาจากสื่อ

เกราะป้องกัน เลี้ยงลูกให้ห่างจากสื่อ

เลี่ยงความรุนแรง

17


Chapter 1 >>

ความรุนแรงอย่างชัดเจนที่เกิดขึ้นกับเด็ก เช่น การทารุณกรรม ทางร่างกาย หรือการล่วงละเมิดทางเพศ เหล่านี้เป็นความรุนแรง ที่ ค นในสั ง คมเริ่ ม ตระหนั ก รู้ ม ากขึ้ น และพยายามเป็ น หู เ ป็ น ตา เพื่ อ ปกป้ อ งเด็ ก ๆ เรี ย กได้ ว่ า ถ้ า พบเด็ ก ถู ก กระทำ � ทารุ ณ ทาง ร่ า ยกายหรื อ ทางเพศ โดยส่ ว นใหญ่ เ ราไม่ น่ิง เฉยอี ก แล้ ว ต้ อ งหา ทางช่ ว ยเหลื อ เด็ ก ออกมาจากสถานการณ์ เ หล่ า นั้ น ให้ เ ร็ ว ที่ สุ ด แต่ ยั ง มี ค วามรุ น แรงในรู ป แบบอื่ น ๆ ที่ มั ก จะเกิ ด ขึ้ น โดยไม่ รู้ ตั ว และคนแวดล้อมเด็กมักจะไม่รู้ว่านั่นคือความรุนแรงเช่นกัน อาทิ คำ�พูดที่ไม่ใช่ข้อเท็จจริง แต่เป็นคำ�พูด ทีม่ าจากทัศนคติทรี่ งั เกียจเหยียดหยาม กลุ่ ม คนที่ มี ลั ก ษณะต่ า งจากตนเอง ทัศนคติแบบนี้ทำ�ให้เด็กรู้สึกแบ่งแยก กั บ คนอื่ น เป็ น ความรุ น แรงที่ พ่ อ แม่ มั ก ทำ � ให้ ลู ก เห็ น อย่ า งไม่ รู้ ตั ว เมื่ อ ปลูกฝังความรู้สึกเกลียดชังกลุ่มคนที่ แตกต่างให้กับลูก ลูกจะไม่รู้วิธีอยู่ร่วม กับคนอื่นที่แตกต่างจากเขา และอาจ นำ�ไปสู่การกระทำ�รุนแรงต่อคนที่แตก ต่าง ไม่วา่ จะเป็นการล้อเลียน การพูดจา ดูถูกทำ�ร้ายจิตใจคนอื่น หรือการกลั่น แกล้งคนอื่น

 ถ้อยคำ�แห่งความเกลียดชัง การพูดในลักษณะทีส่ ร้างความเกลียด ชังหรือดูถกู ต่อกลุม่ คนทีแ่ ตกต่างจากเรา เช่น การเหยียดชาติพนั ธุ์ เชือ้ ชาติ ศาสนา เพศสภาพ สีผวิ หรืออืน่ ๆ ทีเ่ ป็นลักษณะ ที่ติด ตั ว มาตั้ง แต่ เ กิ ด เป็ น การพู ด ใน ลักษณะแบ่งแยกและทำ�ให้รู้สึกเกลียด ชังคนกลุม่ อืน่ เช่น พ่อแม่อาจจะพูดถึง คนศาสนาอื่นให้ลูกฟังว่า คนศาสนา นั้นชอบทำ�อะไรไม่ดี หรือการเหยียด ชาติ พั น ธุ์ เช่ น อาจจะพู ด กั บ ลู กว่ า ชาวเขาเป็นคนไม่ดี ชอบตัดไม้ทำ�ลาย ป่าค้ายาเสพติด เป็นต้น เหล่านีล้ ว้ นเป็น 18


การทอดทิ้งเด็ก  การปล่อยปละละเลย การทอดทิ้งให้ อยูล่ �ำ พัง การไม่เอาใจใส่สขุ ภาพอนามัย ของลูก หรือการปล่อยให้เด็กรับภาระใน ครอบครัวเกินวัย

การทำ�พฤติกรรมรุนแรงให้เด็กเห็น  การทีเ่ ด็กเห็นแบบอย่างการแก้ปญั หา ด้ ว ยความรุ น แรงในครอบครั ว เช่ น พ่อแม่ทะเลาะตบตีกันให้เด็กเห็นเสมอ หรื อ พ่ อ แม่ ใ ช้ ส่ือ สั ง คมออนไลน์ ด้ว ย ถ้อยคำ�หยาบคายรุนแรง แชร์ภาพความ รุนแรงต่างๆ ให้ลกู เห็นเป็นแบบอย่าง

การพูดจาทำ�ร้ายจิตใจ  การพู ด จาทำ � ร้ า ยจิ ต ใจเด็ ก ดุ ด่ า ว่ า กล่ า วอย่ า งรุ น แรงไร้เ หตุผ ล หรือ คำ � พู ด ที่ ทำ � ให้ เ ด็ กรู้ สึ ก ตั ว เองไม่ มี ค่ า รู้ สึ ก ด้ อ ยค่ า สู ญ เสี ย ความมั่ น ใจใน ตัวเอง ทำ�ให้เด็กไม่รู้สึกถึงคุณค่าของ ตัวเอง

การลงโทษเด็กด้วยความรุนแรง  ในนามของความรักและความหวังดี แต่พ่อแม่ ผู้เลี้ยงดู หรือครูลงโทษด้วย การทำ�ร้ายร่างกาย หรือลงโทษด้วยการ ตีเด็ก เด็กจะรูส้ กึ สับสนหรือคิดไปเองว่า ความรุนแรงคือวิธีแก้ปัญหาพฤติกรรม และนำ�ไปสู่การใช้ความรุนแรงลงโทษ คนอืน่ ทีเ่ ด็กคิดว่าต้องปรับพฤติกรรมให้ เหมาะสม

 การกดดันเด็ก นำ�จุดด้อยของเด็กไปเปรียบเทียบ กับเด็กอื่น หรือพูดจากกดดันให้เด็ก ทำ�ให้ได้อย่างที่ผู้ใหญ่ต้องการ ถ้าทำ� ไม่ได้จะไม่รัก ถ้าทำ�ไม่ได้เป็นเด็กโง่ กดดั น ให้ เ ด็ ก ต้ อ งแข่ ง ขั น เรื่ อ งต่ า งๆ อยู่เสมอ 19


Chapter 1 >>

ภัยเงียบของเด็กๆ ในอินเดีย

ในปี 2013 องค์การ Human Rights Watch ได้เผยแพร่รายงาน ที่ชื่อว่า Breaking the Silence Child Sexual Abuse in India โดยเปิดเผย ว่า ทุกปีมีเด็กรวมถึงทารกมากกว่า 7,200 คนถูกข่มขืน ซึ่งผู้เชี่ยวชาญ เชื่อว่ายังมีเหตุการณ์ที่ไม่ได้รายงานอย่างเป็นทางการมากกว่านี้ ในปี 2007 รัฐบาลอินเดียได้สำ�รวจเด็กจำ�นวน 12,500 คน ใน 13 รัฐ ทั่วประเทศ ซึ่งได้เปิดเผยถึงภัยความรุนแรงทางเพศที่กำ�ลังคุกคามเด็กๆ อย่างกว้างขวาง อินเดียมีเด็กทั้งสิ้นประมาณ 430 ล้านคน คิดเป็นจำ�นวนหนึ่งในห้า ของเด็กทัง้ โลก รัฐบาลอินเดียประเมินว่า 40% ของเด็กชาวอินเดียทัง้ หมด นี้กำ�ลังเผชิญกับภัยคุกคามรูปแบบต่างๆ ทั้งการค้ามนุษย์ เด็กไร้บ้าน การใช้แรงงานเด็ก ยาเสพติด และอาชญากรรม ซึ่งเด็กทั้งหมดนี้จำ�เป็น จะต้องได้รับการคุ้มครองอย่างเร่งด่วน 20


การลุกขึ้นสู้ของผู้หญิงอินเดีย

อินเดียได้ช่ือว่าเป็นประเทศที่สถานการณ์ ในเรื่องความปลอดภัย ของเด็กและผู้หญิงน่าห่วงใยมาก รายงานล่าสุดขององค์การยูนิเซฟ เปิ ด เผยสถิ ติ ใ นปี 2014 ประมาณ 43% ของเด็ ก ผู้ห ญิ ง ในอิ น เดี ย เคยเผชิญกับความรุนแรงทางเพศ โดยในจำ�นวนผูห้ ญิงทีเ่ คยพบความรุนแรง ทางเพศมากถึงประมาณ 77% ของเด็กผูห้ ญิงทีอ่ ายุระหว่าง 15-19 ปี สามี ของพวกเธอคือคนทีก่ อ่ เหตุความรุนแรงทางเพศแก่เธอนัน่ เอง ในปี 2014 องค์การอนามัยโลก (WHO) รายงานสถิติการฆาตกรรม เด็กและวัยรุ่น โดยในเด็กและวัยรุ่นทุกๆ 100,000 คน จะมีเด็กที่ถูก ฆ่าตาย 2 คน ในปี 2012 มีเหยื่อเด็กและวัยรุ่นถูกฆาตกรรมทั้งหมด 9,500 คน ซึ่งทำ�ให้อินเดียอยู่ในอันดับ 3 ของประเทศที่มีเหตุฆาตกรรม เด็กมากที่สุด รองลงมาจากไนจีเรีย และบราซิล สถิติปี 2011 พบว่า 1 ใน 5 หรือ 21% ของวัยรุ่นหญิงชาวอินเดียพบกับประสบการณ์ ความรุนแรงตั้งแต่อายุ 15 ปี นั่นคือ มีเด็กผู้หญิง 12 ล้านคนที่เผชิญ กับความรุนแรงเมื่ออายุ 15 ปี นั่นทำ�ให้องค์การยูนิเซฟได้ทำ�แคมเปญรณรงค์ ‘END Violence Against Children’ ผ่านทางสื่อดิจิตอลในอินเดีย ไม่เพียงองค์การยูนิเซฟ แต่ยังมีองค์กรเพื่อสิทธิผู้หญิงและเด็ก รวมทั้งผู้หญิงชาวอินเดียที่เป็น นั ก ต่ อ สู้ เ พื่ อ สิ ท ธิ ส ตรี อี ก จำ � นวนมาก ต่ า งกำ � ลั ง ทำ � งานอย่ า งแข็ ง ขั น เพื่อทำ�ลายวัฒนธรรมความรุนแรงต่อผูห้ ญิงและเด็กในอินเดีย ให้เปลีย่ น แปลงไปในทางที่ยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้หญิงและเด็กให้ดีขึ้น 21


ข้อเท็จจริงที่ต้องใส่ ใจ จากโครงการรณรงค์หยุดความรุนแรงต่อเด็ก #END violence against children ขององค์การยูนิเซฟ

ของเหยื่อฆาตกรรม เป็นเด็กอายุต่ำ�กว่า 19 ปี และในจำ�นวนนี้ 1 ใน 3 เป็นเด็กอายุต่ำ�กว่า 10 ปี ของเด็กหญิงอายุระหว่าง 15-19 ปี เคยตกเป็นเหยื่อของความรุนแรงทางร่างกาย ของเด็กนักเรียน ที่อยู่ในช่วงวัยรุ่นตอนต้นถูกแกล้งเป็นประจำ� ของเด็กหญิงวัยรุ่นตอนต้น คิดว่าเป็นเรื่องถูกต้องที่สามีสามารถตบตีภรรยาได้ ของเด็กทั่วโลก มีแนวโน้มที่จะถูกลงโทษทางร่างกาย ของเด็กอายุระหว่าง 2-14 ปี มีแนวโน้มที่จะได้รับการลงโทษด้วยความรุนแรง ในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง ในบ้านของตัวเอง ข้อมูลจาก : http://www.unicef.org/endviolence/facts.html

22


Stop Violence Issue

Chapter 2 วิธีหยุดห่วงโซ่ความรุนแรงเริ่มต้นที่บ้าน

ดาวน์ โหลดทุกวันที่ 15 และ 30 ของทุกเดือน ดาวน์ โหลดฉบับย้อนหลัง

23



Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.