ModernMom Focus Vol.1 No.7 Chapter 1 August 2015

Page 1

Vol.1 No.7 / Chapter 1 August 2015

e o D nipsum... Joorh em L

Chapter

1

12

ระวัง!!!

ภัยร้ายออนไลน์

Online Criminal



Vol.1 No.7 / Chapter 1 August 2015

Chapter 1 : ภัยร้ายออนไลน์ Online Criminal Chapter 2 : Family Protect from Social Media

สวัสดีค่ะคุณแม่ ModernMom ทุกท่าน

ModernMom Focus กับ Hot Issue แนะน�ำภัยใกล้ตัว ที่คุณแม่อาจจะยังไม่รู้ตัว...โซเชียลเน็ตเวิรก์ ที่เราใช้งาน กันอยู่ทุก ทราบกันดีอยู่แล้วว่ามีทั้งด้านดีและด้านลบ ในด้านดีคงไม่ต้องพูดถึงว่าเป็นการย่อโลก และท�ำให้ เราได้สื่อสารกันได้ง่ายขึ้นซึ่งส่งผลดีกับความสัมพันธ์ ใน ครอบครัว ขณะเดียวกันด้านลบที่ต้องระวังทุกวันนี้ไม่ใช่ เสพติดการใช้งานเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงการโพสภาพ ข้อความ และแชร์โลเคชั่น สิ่งต่างๆ เหล่านี้ล้วนเป็นการ เปิดช่องทางให้มิจฉาชีพเข้าใกล้ลูกน้อยได้ง่ายขึ้น ซึ่ง เป็นสิ่งที่คุณพ่อคุณแม่จ�ำเป็นต้องตระหนัก และรู้เท่าทัน กับภัยใกล้ตัวของโซเชียลเน็ตเวิร์ก พบกับ 2 Chapter ModernMom Focus ที่จะท�ำให้ อยู่ร่วมและใช้งานกับโซเชียลเน็ตเวิร์กได้อย่างรู้เท่าทัน ModernMom Focus

www.modernmommag.com www.booksmile.co.th www.issuu.com โดย search modernmom focus

เจ้าของ : กลุ่มบริษัท อาร์แอลจี สร้างสรรค์ โดย : นิตยสาร ModernMom Contact Us กลุม่ บริษทั อาร์แอลจี 932 ถนนประชาชืน่ แขวงวงศ์สว่าง เขตบางซือ่ กรุงเทพฯ 10800 กองบรรณาธิการ การตลาดและประชาสัมพันธ์ โทรศัพท์ 0 2831 8400, 0 2913 7555 ต่อ 4420-4424, 3520, 3535 โทรสาร 0 2831 8499 อีเมล์ : mmm@rlg.co.th แผนกโฆษณา โทรศัพท์ 0 2831 8400, 0 2913 7555 ต่อ 3361, 3332, 3359, 3345, 4723 โทรสาร 0 2831 8477 อีเมล์ : rungladda@rlg.co.th


Chapter 1 >>

Family Life on Social Network ปัจจุบนั คงปฏิเสธไม่ได้วา่ โลกกำ�ลังขับเคลือ่ นไปข้างหน้าแบบ ทีข่ าดเทคโนโลยี ไม่ได้ โดยเฉพาะคอมพิวเตอร์ และการเชือ่ มโยง ผ่านอินเทอร์เน็ต ในระยะเวลา 10 ปีที่ผ่านมา รูปแบบของการปฏิสัมพันธ์ของ ผู้คนจึงเปลี่ยนแปลงไปมาก จากที่ต้องรอคอยพบเพื่อนสมัยเรียน ในงานคืนสู่เหย้า ทุกๆ 5-10 ปี หรือ พ่อแม่ที่เฝ้ารอเห็นหน้าลูกซึ่ง ไปเรียนต่างประเทศ จะพบกันเพียงปีละ 1 ครั้ง พี่น้องที่พลัดพราก จากกันไปอาศัยอยู่คนละทวีป กว่าจะได้เห็นหน้ากันสักครั้งต้อง อดทนและรอคอยเป็นเวลานาน ซึ่งสิ่งเหล่านี้แทบจะไม่มีอีกแล้ว เมื่อมีการก้าวเข้ามาของเทคโนโลยีและช่องทางสื่อสารที่เรียกกัน ว่า Social Media หรือ Social Network

Social Media หมายถึง สื่ออิเล็กทรอนิกส์ซึ่งมีการแบ่งปันเนื้อหา ทั้งในแง่ของไฟล์ ความคิดเห็น ความชอบต่อผู้คนในสังคม โดยเจ้าของสื่อมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น ซึ่งโซเชียลมีเดียนอกจากใช้ติดต่อกันแล้ว ยังเป็นสื่อส�ำหรับการศึกษา ข้อมูลการท�ำงาน การหางาน เป็นแหล่งความรู้ และอาศัยเทคโนโลยีเพื่อการ เปลี่ยนแปลงสังคมด้วย 4


หมวดหมู่ของ Social Network Social Blog (โซเชียล บล็อก)

เว็บไซต์ ในรูปแบบหนึ่ง มาจากคำ�ว่า Weblog (Website+Log) เป็นการเก็บข้อมูลและแสดงผล ที่เรียงลำ�ดับตามวันเวลา มีทั้งลักษณะ Blog เดี่ยว และ Community Blog ที่รวมหลายๆ Blog เข้าไว้ด้วยกัน เชื่อมโยงผู้เขียน หรือ Blogger ให้มาพูดคุยกันได้

Microblog (ไมโครบล็อก) เว็บไซต์ขนาดเล็ก ใช้ส่งข้อความสั้นๆ ไม่กี่ประโยค เช่น Twitter

Social Network (โซเชียล เน็ตเวิร์ก)

เว็บไซต์เพื่อสังคมออนไลน์ โดยเฉพาะ ได้แก่ Facebook Myspace Hi5 Google+ Linkedin Instagram Foursquare เป็นต้น สามารถแชร์ ข้อความ รูปภาพ วิดีโอ บทความ เพลง และลิงค์ ต่างๆ และเปิดให้ผู้ชมมีส่วนร่วมในการกดไลค์ (Like) กดโหวต (Vote) หรือแสดงความเห็น (Discuss) ได้

Social Network หมายถึง ช่องทางการเชื่อมโยงผู้คนเข้าหากัน ซึ่งอาจเป็นลักษณะของเว็บไซต์ กระดานข่าว Email Web Blog Instant Massage ฯลฯ ที่เปิดบริการให้เข้ามาพูดคุย แลกเปลี่ยนความเห็นกัน จนเกิดเป็นสังคมออนไลน์ขึ้น โดยปัจจุบันนี้ Social Network ที่ได้รับความนิยมมากที่สุดได้แก่ Facebook Twitter Youtube Google+ เป็นต้น 5


เราใช้ Social Network ทำ�อะไร สำ�หรับคนทั่วไปแล้ว Social Network ถูกใช้งานมากที่สุด คือ ผู้บริโภค 7 ใน 10 คน

1.Identity Network ใช้ในการ เผยแพร่ ตั ว ตน ซึ่ ง นำ � เสนอชี วิ ต ด้ า นส่ ว นตั ว การทำ � งาน รสนิ ย ม ความคิดที่มีต่อสิ่งต่างๆ ให้สังคม ได้รบั รู้

ใช้ Social Network ในการ หาข้อมูลก่อนตัดสินจับจ่ายซือ้ ของ ตั้งแต่ปี 2551 เป็นต้นมา นักธุรกิจทุกอาชีพและทุกแขนง

ใช้ Social Network เพื่อ โปรโมทผลงานและสินค้า Social Media ก�ำลังเป็นสื่อ ทีม่ อี ทิ ธิพลต่อคนในสังคมมากทีส่ ดุ

2. Creative Network คือใช้ การเผยแพร่ผลงานเช่น นักเขียน ใช้ แ นะน�ำงานเขี ย นของตั ว เอง นั ก ถ่ า ยภาพใช้ แ สดงภาพถ่ า ย นักออกแบบ ศิลปินใช้แสดงงานให้ ผู้อื่นมองเห็นความคิดสร้างสรรค์ ของตัวเอง

จากการรายงานของเว็บไซต์ Universalmccann.com

มีผู้ใช้วิดีโอออนไลน์ถึง 394,000,000 รายในปัจจุบัน

3. Interested Network ใช้งาน สำ�หรับการสร้างสังคมของกลุ่มคน ทีส่ นใจสิง่ ต่างๆ ร่วมกัน ซึง่ อาจเป็น เรื่องใดก็ได้ ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มผู้สนใจ การทำ � อาหารทานเองกลุ่ม นั ก ปั่น จักรยาน กลุม่ คุณแม่ตง้ั ครรภ์ กลุม่ ผูร้ กั สุขภาพ หรือเป็นกลุม่ เพือ่ นเก่า สมัยเรียน เป็นต้น

และมีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ อย่างมหาศาลในแต่ละปี

การส่งต่อรูปภาพ คลิป ข่าว ต่อบุคคลอื่นถือว่าเป็นเรื่องปกติ ในทุกสังคม

4.Social Market อีกกลุ่มหนึ่ง ที่ กำ � ลั ง เป็ น ที่ นิ ย มมากขึ้ น เรื่ อ ยๆ คือกลุ่มที่ทำ�ธุรกิจผ่านทางโซเชียล เน็ตเวิรก์ ทีผ่ ซู้ อื้ ผูข้ ายติดต่อกันผ่าน ทางโซเชียลทำ�การแลกเปลีย่ นสินค้า ซื้อ ขาย สั่ง ซื้อ แบบออนไลน์ ซึ่ง มี แนวโน้มว่ากำ�ลังจะแซงหน้ากลุม่ อืน่ ๆ ในอี ก ไม่ ช้า นี้เ พราะตลาดออนไลน์ กำ�ลังมีการขยายทีส่ งู มากขึน้ เรือ่ ยๆ

สมาชิกครอบครัว

อย่างน้อย 1 คน มีเพื่อนในโลกออนไลน์ มีผู้ใช้งาน Facebook ปัจจุบัน ราว 1,350 ล้านรายทั่วโลก

ซึ่งเกือบเท่าประชากรของประเทศใหญ่ อย่างจีน และถือเป็นร้อยละ 20 ของ ประชากรทั่วโลก 6


สถิติของ Social Network สถิติความนิยมใน Social Network ต่างๆ ได้แก่

71%

Facebook

23%

Twitter

26%

Instagram

ผู้หญิงใช้งาน Social Network มากกว่าผู้ชาย

62% 74%

28%

Pinterest

28%

LinkedIn

ระหว่างปี 2005-2006 มียอดผู้ ใช้งาน

Social Network

จาก 9%เพิ่มขึ้นเป็น 49%

หรือเพิ่มขึ้นถึง

40%

**ข้อมูลจากสถาบันวิจัย Pew Research Center ณ เดือนกันยายน 2014 7


ครอบครัวกับ Social Media

51%

ใช้เพื่อสื่อสาร กับคนในครอบครัว

ใช้เวลาอย่างน้อย 15-30 นาทีต่อวัน

14% ใช้เวลา 2 ชั่วโมงต่อวัน

20%

อัพเดทสถานะใน โซเชียลมีเดีย เป็นประจำ�และ

สม่ำ�เสมอเพื่อนำ�เสนอความเป็นไปของครอบครัวตนเอง

จากการสำ�รวจของ Microsoft ในปี 2555

เด็กไทยใช้เวลาเข้านอนเฉลี่ยดึกขึ้นเรื่อยๆ และเข้านอนเวลาประมาณ

22.30 น. และตื่น 6.00 น. สิง่ สุดท้ายก่อนเข้านอนคือการใช้โทรศัพท์มอื ถือ เพื่อคุยกับคนในโลกออนไลน์

ข้อมูลจาก สนง.ส่งเสริมการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน (สสค.)

โซเชี ย ลมี เ ดี ย กำ�ลังได้รับความนิยมและมีอิทธิพลกับการใช้ชีวิตของผู้คนแทบทุกสังคม

ไม่เว้นกระทั่งในสังคมครอบครัว การแสดงตัวตนที่ไม่ใช่เฉพาะตัวเองคนเดียว แต่เป็นการนำ�เสนอตัวตน ในลักษณะครอบครัวมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการแนะนำ�คนในครอบครัว แบ่งปันภาพกิจกรรมที่ครอบครัว ทำ�ร่วมกัน การใช้เพื่อการสื่อสารกับคนในครอบครัวตัวเอง เป็นต้น อย่างไรก็ตาม การศึกษาเกีย่ วกับชีวติ ครอบครัวนัน้ ได้ขอ้ สรุปว่า อิทธิพลของ Social Network ที่มีต่อครอบครัวนั้นมีทั้งทางบวกและทางลบ : การสื่อสารที่รวดเร็วขึ้น เชื่อมโยงคนในครอบครัวได้สะดวกมากขึ้น : คนในครอบครัวใช้เวลาอยู่กับตัวเองและสังคมออนไลน์มากขึ้น : บางครั้งแยกตัวออกจากครอบครัว ปลีกตัวมากขึ้นในชีวิตจริง : กรณีที่ติด Social มากๆ อาจมีปฏิสัมพันธ์กับคนในบ้านน้อยลง : แสดงความรู้สึกต่อกันน้อยลง : พูดน้อยลง แต่พิมพ์มากขึ้น และเก็บไประบายในโลก Social มากขึ้น


Chapter 1 >>

เรื่องรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ของเด็กในโลกโซเชียล

แน่นอนว่า การใช้ โซเชียล เน็ตเวิร์ก นั้นไม่ปลอดภัยนักสำ�หรับเด็กๆ ซึ่งปัจจุบัน พบว่ามีเด็กวัยเพียง 6-9 ปี จำ�นวนไม่น้อยที่สร้างตัวตนบนโลกออนไลน์ ไว้พูดคุย กับเพื่อน แม้จะข้อห้ามการใช้งานสำ�หรับเด็กวัยต่ำ�กว่า 13 ปี และมีเงื่อนไขการสมัคร หลายข้อที่ ไม่เปิดให้ ใช้สิทธิ ได้เหมือนผู้ ใหญ่ก็ตาม กลวิธีที่ทำ�ให้เด็กๆ เข้าถึงโลกโซเชียล ได้แก่ การโกงอายุ ใช้ชื่อและหมายเลขปลอม ในการสมัคร ซึ่งกำ�ลังเป็นปัญหาใหญ่ที่ทาง โซเชียล เน็ตเวิร์ก หลายแห่งได้ออกมา ขอร้องให้ผู้ปกครองคอยดูแลการใช้สื่อของเด็กให้อยู่ ในสายตาเสมอๆ แม้เด็กจะมี อายุเกิน 13 ปีแล้วก็ตาม แต่ก็อาจรู้ ไม่เท่าทันกับการใช้งานจนเกิดความเสียหาย แก่ตัวเองและครอบครัวได้

9


Chapter 1 >>

ใช้คำ�พูดที่ ไม่เหมาะสมกับวัย

โพสต์ขอ้ ความ รูปภาพ คลิปวิดีโอ ทีเ่ กีย่ วข้องทางเพศ

ในโลกโซเชียล เช่น คำ�หยาบคาย คำ�ข่มขู่ แสดงอารมณ์ท่ีไม่ผา่ น การคิดทบทวน แสดงอารมณ์ รุนแรงเมือ่ ไม่พอใจ

ตามทีต่ นสนใจโดยไม่รถู้ งึ กฎหมายควบคุมภาพสือ่ ลามก อนาจาร

โพสต์ภาพบุคคลอื่น โดย ไม่ ได้รับอนุญาต หรือโพสต์

ใช้จ่ายบัตรเครดิต ของผู้ปกครอง ในการจับจ่าย

ภาพที่ไม่เหมาะสมในโซเชียล ด้วยความรูเ้ ท่าไม่ถงึ การณ์

ซือ้ ของโดยไม่ยง้ั คิด

ยังไม่เข้าใจเรื่องการเคารพ ความเป็นส่วนตัวของผู้อื่น

ใช้จ่ายเงินกับเกมออนไลน์ บนโซเชียลเน็ตเวิร์ก โดย

เช่น การใส่ขอ้ มูลของเพือ่ น ครอบครัวเพือ่ น บุคคลอืน่ อย่างไม่ปลอดภัย

ไม่ทราบมาก่อนว่ามีราคาแพง บางครัง้ เข้าใจว่าเป็นการใช้งาน ฟรี แต่ถกู เรียกเก็บเงินภายหลัง

เปิดเผยข้อมูลส่วนตัวของ ครอบครัวโดยไม่คิดถึงผล ที่จะตามมา เช่น เบอร์โทรศัพท์

ไม่ตระหนักถึงความเป็นส่วนตัว และการคุม้ ครองตัวตน บนโลกออนไลน์

บ้าน บ้านเลขที่ สถานทีต่ ง้ั ภาพภายในบ้านตนเอง สมาชิก ในครอบครัว ข้อมูลบัตรเครดิต ของพ่อแม่ ฯลฯ

10


Chapter 1 >>

ภัยของครอบครัว บนโลกออนไลน์ "ไม่นานมานี้ เด็กผู้หญิงสองคน ในอเมริกาได้หายตัวไป กว่าสัปดาห์ และโชคดีวา่ ค้นพบตัวอย่างปลอดภัย เมือ่ เช้าวันหนึง่ เด็กได้วงิ่ มาขอความช่วยเหลือจากต�ำรวจ เหตุเกิดเพราะพวกเขา ได้นัดพบกับคนแปลกหน้าในโซเชียลเน็ตเวิร์ก และถูกจับขังไว้ ไม่ให้กลับบ้าน" "ราวๆ ต้นปี 2015 ที่ผ่านมา เด็กสาวอีกคนหนึ่งในทาโคม่า วัย 16 ปีหายตัวไปจากบ้าน เมือ่ กลับมาอีกครัง้ เธอมีภาวะติดยา เสพติด เป็นเพราะเธอได้พบกับเพื่อนต่างวัยที่อายุมากกว่า ในโซเชี ย ลเน็ ต เวิ ร ์ ก และหลงเชื่ อ ว่ า ยาเสพติ ด จะท�ำให้ เ ธอ เป็นผู้ ใหญ่ขึ้น"

ทั้ง 2 กรณีนี้คือตัวอย่างส�ำนักงานต�ำรวจสหรัฐได้น�ำออกมา เตือนผู้ปกครอง ถึงการปล่อยให้เด็กๆ ใช้โซเชียลเน็ตเวิร์กอย่าง ล�ำพัง โดยไม่มีวิจารณญาณและไม่มีการป้องปรามใดๆ ทั้งสิ้น แต่ในหลาย กรณีพบว่า พ่อแม่หรือผู้ใหญ่ในครอบครัวนั้นเอง กลับเป็นผู้สร้างความเสี่ยงให้กับลูก เช่น กรณีศึกษาต่อไปนี้

11


กรณีที่ 1

คุณแม่มือใหม่ โพสต์รูปลูกลงโซเชียลเน็ตเวิร์กทุกวัน โดยระบุสถานที่บ้านอย่างชัดเจน บอกทั้งชื่อจริง นามสกุลจริง ชื่อเล่น ฉายา อาหารโปรดของลูก จนกระทั่งวันหนึ่งเมื่อ คุณพ่อคุณแม่ไม่อยู่ ปล่อยลูกไว้กับคุณยาย ก็ยังโพสต์บอกโลกออนไลน์ว่า “อยูก่ บั ยายไป ก่อนนะ ค�ำ่ ๆ ถึงจะกลับ” แต่เมือ่ กลับมาถึงบ้าน จึงพบว่าลูกหายตัวไป หลังจากคุณยายพา ออกมาเล่นหน้าบ้านได้เพียงแค่ครึ่งชั่วโมงเท่านั้น ในกรณีนคี้ นร้ายได้ตดิ ตามโซเชียลจากคุณแม่ แล้วพาตัวเองไปตีสนิทกับเด็กในวันทีร่ วู้ า่ พ่อแม่ไม่อยู่บ้าน เมื่อสบโอกาสจึงพาลักพาตัวเด็กออกไป โดยคุณยายเองก็ไว้ใจนึกว่า เป็นเพื่อนของแม่จึงยอมให้เล่นด้วย ด้วยความที่รู้ข้อมูลของเด็กแทบทั้งหมด

USER

45

posts

850

124

followers following

EDIT YOUR PROFILE

12

กรณีที่ 2

พ่อแม่มลี กู หน้าตาน่ารักมาก จึงชอบแชร์ภาพลูกของตัวเองพร้อมของเล่นและกิจกรรม ที่ชอบ อาหาร ขนมที่ลูกชอบกิน รวมถึงโรงเรียนที่ลูกเรียนอยู่ เย็นวันหนึ่งเมื่อไปรับ ที่โรงเรียนก็พบว่าเด็กหายตัวไป ครูบอกว่ามีญาติมารับไปแล้ว ซึ่งญาติได้น�ำของเล่น ชิ้นโปรดมาให้เด็กด้วย ของเล่นชิ้นนั้นเหมือนของที่บ้านไม่มีผิด ท�ำให้เด็กๆ คิดว่าแม่ ฝากมาให้ และยอมไปด้วยอย่างง่ายดาย ในกรณีนี้ คนร้ายได้ค้นหาเด็กหน้าตาดีจากโซเชียลเน็ตเวิร์ก และวางแผนลักพาตัวเด็ก อย่างเป็นขั้นตอน สามารถหลอกล่อเด็กได้ด้วยของที่เด็กชอบ โดยคนร้ายสวมบทบาท ตัวแทนผู้ปกครองได้อย่างแนบเนียนจนครูตายใจ


11:30

11:30

กรณีที่ 3

เป็นรูปแบบที่ก�ำลังแพร่หลาย เกี่ยวกับการเข้ามาขโมยภาพ และข้อมูลส่วนตัวของเด็ก เพื่อน�ำไป สร้างเป็นบัญชีใหม่ในโซเชียลเน็ตเวิร์ก โดยการตั้งชื่อให้เด็กใหม่ สร้างเรื่องราวเกี่ยวกับเด็กทั้งหมด ซึ่งเป็นไป ในท�ำนองที่น่าสงสาร เห็นใจ เช่น จากเด็กในครอบครัวอบอุ่น กลายเป็นเด็กคนใหม่ในโซเชียลเน็ตเวิร์ก ซึ่งก�ำพร้า พ่อแม่ตายทั้งหมด แต่ผู้โพสต์อยู่ในฐานะผู้อุปการะ จากนั้นเชิญชวนให้ผู้ใจบุญร่วมบริจาคเงิน ช่วยเหลือเด็ก หรือรับบทบาทพ่อแม่อุปถัมน์ด้านการเงิน กรณีนยี้ ากทีจ่ ะมีการตรวจสอบได้พบ หากพ่อแม่ไม่รถู้ งึ ภาพที่ไปปรากฏยังทีอ่ นื่ ส่วนผูร้ า้ ยได้รบั เงินบริจาค จ�ำนวนมาก อีกทั้งยังมีการท�ำงานเป็นทีม ตัดต่อภาพเด็กกับของบริจาคให้คนในโซเชียลชมอีกด้วย

กรณีที่ 4

1

2

3

4

5

6

7

8

9

*

0

#

การถูกโจรกรรม ID หรือการแฮกเข้าไปในบัญชีของเด็ก ซึ่งส่วนใหญ่พบว่าเด็กจะมีการตั้งพาสเวิร์ด ที่ไม่ซับซ้อน คาดเดาได้ง่ายจากข้อมูลที่มีการโพสต์เป็นประจ�ำ จากนั้นก็ใช้บัญชีนั้นส่งข้อความไปหาเพื่อน ในโซเชียลเพื่อขอความช่วยเหลือ เช่น ขอเงินเพื่อกลับบ้านเนื่องจากหลงทาง ขอเงินบริจาคจากเพื่อนๆ พ่อแม่ ขอของเล่นราคาแพงที่พ่อแม่ไม่ยอมซื้อให้ โดยระบุว่าขอให้เก็บเป็นความลับเพื่อไม่ให้พ่อแม่โกรธ ซึ่งมีผู้ตกหลุมเชื่อและส่งเงินให้ในบัญชีที่ผู้ร้ายจะอ้างว่าเป็นผู้ปกครองของเพื่อนแทน กรณีนี้ส่วนใหญ่จะรู้ตัวในภายหลังว่าถูกแฮก ID แม้จะไม่สูญเสียโดยตรงแต่ก็ท�ำให้คนรอบข้างเกิด ความเสียหายได้ไม่น้อย


Social Network นั้นมีทั้งประโยชน์มหาศาลและมีภัยที่อันตราย ถึงชีวิตหากไม่รู้จักระมัดระวังในการใช้งาน ในฉบับหน้า Chapter 2 เราจะมาเรียนรู้วิธีการใช้ โซเชียลให้ปลอดภัย แนวทางการป้องกัน ความเป็นส่วนตัวของชีวิตครอบครัวในโลกออนไลน์ และแนวทาง การสอนเด็กๆ ให้อยู่ท่ามกลางโลกโซเชียลได้อย่างถูกต้องเหมาะสม

ดาวน์ โหลดฉบับย้อนหลัง

ดาวน์ โหลดทุกวันที่ 15 และ 30 ของทุกเดือน



Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.