ModernMom Focus Vol.1 No.7 Chapter 2 August 2015

Page 1

Vol.1 No.7 / Chapter 2 August 2015

Chapter

2

Family "Protect" จาก โซเชียลมีเดีย ภัยคุกคาม อันตราย จากโลกโซเชียล



Vol.1 No.7 / Chapter 2 August 2015

Chapter 1 : ภัยร้ายออนไลน์ Online Criminal Chapter 2 : Family Protect from Social Media

www.modernmommag.com www.booksmile.co.th www.issuu.com โดย search modernmom focus

สวัสดีค่ะคุณแม่ ModernMom ทุกท่าน

ModernMom Focus กับ Hot Issue แนะน�ำภัยใกล้ตัว ที่คุณแม่อาจจะยังไม่รู้ตัว...โซเชียลเน็ตเวิรก์ ที่เราใช้งาน กันอยู่ทุก ทราบกันดีอยู่แล้วว่ามีทั้งด้านดีและด้านลบ ในด้านดีคงไม่ต้องพูดถึงว่าเป็นการย่อโลก และท�ำให้ เราได้สื่อสารกันได้ง่ายขึ้นซึ่งส่งผลดีกับความสัมพันธ์ ใน ครอบครัว ขณะเดียวกันด้านลบที่ต้องระวังทุกวันนี้ไม่ใช่ เสพติดการใช้งานเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงการโพสภาพ ข้อความ และแชร์โลเคชั่น สิ่งต่างๆ เหล่านี้ล้วนเป็นการ เปิดช่องทางให้มิจฉาชีพเข้าใกล้ลูกน้อยได้ง่ายขึ้น ซึ่ง เป็นสิ่งที่คุณพ่อคุณแม่จ�ำเป็นต้องตระหนัก และรู้เท่าทัน กับภัยใกล้ตัวของโซเชียลเน็ตเวิร์ก ฉบับต่อไป พบกับประเด็น Hot Issue ที่คุณต้องรู้ อย่าลืมติดตามนะคะ ModernMom Focus

เจ้าของ : กลุ่มบริษัท อาร์แอลจี สร้างสรรค์ โดย : นิตยสาร ModernMom Contact Us กลุม่ บริษทั อาร์แอลจี 932 ถนนประชาชืน่ แขวงวงศ์สว่าง เขตบางซือ่ กรุงเทพฯ 10800 กองบรรณาธิการ การตลาดและประชาสัมพันธ์ โทรศัพท์ 0 2831 8400, 0 2913 7555 ต่อ 4420-4424, 3520, 3535 โทรสาร 0 2831 8499 อีเมล์ : mmm@rlg.co.th แผนกโฆษณา โทรศัพท์ 0 2831 8400, 0 2913 7555 ต่อ 3361, 3332, 3359, 3345, 4723 โทรสาร 0 2831 8477 อีเมล์ : rungladda@rlg.co.th


ภัยคุกคามของ โซเชียลมีเดีย ของคุณแม่ยุคใหม่

ใช้...โซเชียลมีเดียในชีวิตประจ�ำวัน โดยใช้อย่างน้อย วันละ 4-6 ชั่วโมง นอกเหนือจาก...

• ใช้เพื่อสั่งซื้อสินค้าออนไลน์ • หาข้อมูลเกี่ยวกับการเลี้ยงเด็ก • พูดคุยกับเพื่อนแล้วใช้...โซเชียลมีเดียในชีวิตประจ�ำวัน... • เผยแพร่เรือ่ งราวชีวติ ครอบครัวให้กบั เพือ่ นๆ ทัง้ เพือ่ นเก่าในชีวติ จริงและเพือ่ นใหม่ในโลกออนไลน์

100

ทุกๆ ครอบครัว จะมีอย่างน้อย 11 ครอบครัว มีความเสี่ยงต่ออาชญากรรมทางอินเทอร์เน็ต

จากการโพสต์เรือ่ งราวในบ้านตัวเอง ต่อสาธารณะ หากการโพสต์นั้นไม่มี ความปลอดภัยเพียงพอ

: ข้อมูลจากนิตยสาร Positioning ซึ่งสำ�รวจพฤติกรรมการใช้งานอินเทอร์เน็ตของกลุ่มคุณแม่ปี 2014-2015

คื อ คดี ใ หม่ ๆ ของอาชญากรทางคอมพิวเตอร์ทเี่ กีย่ วข้องกับโซเชียลมีเดีย เป็นผู้เคยตกเป็นเหยื่อได้รับความเสียหาย ทั้งในรูปแบบต่างๆ กันออกไป ไม่ว่าจะเป็น การถูกแฮกข้อมูล อาชญากรรมทางเพศทีเ่ ข้ามาล่อลวง โจรขโมย ที่ค้นหาบ้านเหยื่อจากโซเชียล โดยการติดตามจากการเช็กอิน การโพสต์สเตตัสต่างๆ 4

: ข้อมูลจากกรมตำ�รวจ


จากเดิมเคยกลัวว่าเด็กจะกลายเป็นเหยื่อได้ง่าย ปัจจุบันมีแนวโน้มว่าทุกกลุ่ม ทั้งเด็ก เยาวชน ผู้ ใหญ่ รวมถึงแม่บ้าน กลายเป็นผู้มีความเสี่ยงต่ออาชญากรรมได้พร้อมๆ กัน และในอัตราเท่ากัน เมื่อประมวล ต้นเหตุความเสี่ยง ผลออกมาดังต่อไปนี้ 1. ผู้ ใช้งานโซเชียลรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ในการโพสต์ สเตตัสของตัวเอง อันเต็มไปด้วยข้อมูลส่วนตัว ทัง้ สถานทีบ่ า้ น กิจวัตรประจ�ำวัน สมาชิกในครอบครัว งานทีท่ �ำ และเวลาไปกลับจากทีท่ �ำงาน 2. ไม่รู้การตั้งค่าป้องกันความเป็นส่วนตัว เข้าใจ ว่ า สิ่ ง ที่ เ ผยแพร่ อ อกไปนั้ น มี แ ต่ เ พื่ อ นที่ รู ้ จั ก กั น เท่านั้น แต่จริงๆ แล้วคนอื่นๆ ไม่ว่าใครก็สามารถ เข้าไปดูข้อมูลได้

3. ตั้งค่าความปลอดภัยต�่ำ ท�ำให้เกิดการแฮก เข้าไปขโมยข้อมูล สร้างความเสียหายได้ง่าย 4. ตามไม่ทันเกี่ยวกับระบบไวรัสการขโมยข้อมูล เนื่องจากมีการส่งต่อกันผ่านทางข้อความของ โซเชียล และเผลอคลิกเข้าไปโดยไม่รู้ว่าก�ำลังเปิด ช่องทางให้ไวรัสท�ำงานดักจับข้อมูลออนไลน์อื่นๆ ได้โดยง่าย

5. ถูกโจมตี โดยใช้เทคนิคพิเศษ ในด้านโปรแกรม ที่ต้องใช้การป้องกันระดับสูง จากการถูกล่อลวง ให้ บ อกพาสเวิ ร ์ ด แก่ ค นอื่ น ให้ เ ข้ า มาฝั ง ระบบ ติดตามไว้ 5


Chapter 2 >>

รับมือป้องกันอาชญากรรม บน โซเชียลมีเดีย การใช้งาน โซเชียลมีเดียนั้น มีทั้งข้อดีข้อเสีย และเกิดขึ้นได้จากพฤติกรรมผู้ ใช้งาน เป็นหลัก การใช้ โซเชียลมีเดียให้เหมาะสมนั้นต้องผสมผสานความเข้าใจในเทคโนโลยี การใช้งานทีพ ่ อเหมาะพอดี ความรูเ้ กีย่ วกับกฎการใช้งาน ความรอบคอบ และสุขภาพจิต ที่ดีของผู้ ใช้ ที่ ไม่ปล่อยให้เรื่องราวของตัวเองต้องตกอยู่ ในความเสี่ยงใดๆ ทั้งสิ้น รูปแบบการใช้งานทีป่ ลอดภัยนัน้ มีการหยิบยกพูดถึงบ่อยครัง้ ทีจ่ ริงแล้ว ทุกโซเชียล เน็ตเวิร์กไม่ ได้มีกฎตายตัวของการใช้งาน เพราะการใช้งานทุกฟังก์ชั่นนั้นสร้างมา เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ ใช้โดยเฉพาะ แต่วิจารณญาณคือสิ่งสำ�คัญสำ�หรับ ผู้ใช้ทกุ คนทุกเพศทุกวัยไม่วา่ จะเป็นการรูจ้ กั แสดงออกการใช้ภาษาทีเ่ หมาะสมในการสือ่ สาร การเปิดโอกาสให้บุคคลอื่นเข้ามาใกล้ชิดกับตนเองและครอบครัว การเข้าร่วมกลุ่มทาง สังคมใดๆ โดยให้แน่ ใจว่าเป็นกลุ่มที่สร้างสรรค์ เป็นต้น

The Dangers of Social Media (Child Predator Social Experiment) Credit by: Coby Persin คลิปวิดีโอนี้จะท�ำให้คุณพ่อคุณแม่เห็นภัยคุกคามทางโซเชียลมีเดีย ที่มาได้หลากหลายรูปแบบ ทางที่ดีคือการป้องกันลูกของเรา ให้ความรู้ รับมือ และบอกถึงพิษภัยของการโซเชียลมีเดีย ที่อาจจะเกิดขึ้นหากไม่ระวังภัย 6


Checklist Before use โซเชียลมีเดีย เช็กพื้นฐานความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีที่ ใช้ และช่องทางโซเชียลเน็ตเวิร์กที่เลือก เพื่อสามารถตั้งค่าการใช้งานได้ถูกต้อง หากไม่ทราบ ควรสอบถามเพื่อน หาผู้แนะนำ� และฝึกการใช้งานให้คล่องระดับหนึ่งก่อนจะโพสต์เรื่องราวส่วนตัวลงไป จำ�กัดเวลาใช้งานอย่างเหมาะสม เพื่อไม่ให้ตนเองติดมากเกินจำ�เป็น การเสพติด โซเชียลมากๆ ทำ�ให้มีเวลาในการไตร่ตรองน้อยลงถึงสิ่งที่จะเผยแพร่ลงโซเชียลมีเดีย ควบคุมอารมณ์ตนเอง เลือกเผยแพร่หรือสือ่ สารในเวลาทีอ่ ารมณ์ปกติ ไม่ขน้ึ สเตตัสด้วย อารมณ์โมโห เมา หรือผิดหวังรุนแรง เพราะจะทำ�ให้ขาดสติและขาดการพิจารณาถึงสิง่ ที่ กำ�ลังสือ่ สารออกไป รู้จักพิจารณาบุคคล ก่อนรับเป็นเพื่อนในโลกโซเชียล ทบทวนก่อนโพสต์สเตตัสที่แสดงข้อมูลส่วนตัว ไม่ว่าจะเป็น สถานที่บ้าน รูปภาพ สมาชิกครอบครัว ควรปกปิดส่วนละเอียดอ่อนและสำ�รวจก่อนตัดสินใจกดเผยแพร่ทกุ ครัง้ ตระหนักถึงการเคารพสิทธิผู้อื่น แม้ไม่ใช่เรื่องราวตัวเอง แต่การโพสต์ข้อมูลส่วนตัว ของคนอื่น เช่นเพื่อนบ้าน ควรขออนุญาต และแน่ใจว่าไม่ก่อให้เกิดความเสี่ยงอันตราย ต่อผู้อื่นด้วยเช่นกัน ไม่โพสต์เรื่องราว เหตุการณ์ ความคิดเห็นทางลบ ที่ทำ�ให้ผู้เกี่ยวข้องในโพสต์ ได้รับ ความเสียหาย หรือถูกรังเกียจ สื่อสารอย่างสุภาพเสมอ เพื่อสร้างมิตรมากกว่าศัตรู ตรวจสอบความถูกต้องเหมาะสมอยู่เสมอ ก่อนแชร์ข้อมูล ตั้งค่ารหัสผ่านที่ปลอดภัย เดาได้ยาก ไม่ใช้รหัสเดียวกับโทรศัพท์ บ้านเลขที่ หรือวัน เดือนปีเกิดซึ่งคนเข้าถึงได้ง่าย ไม่ควรเผยแพร่ขอ้ มูลด้านการเงิน เช่น หมายเลขบัตรเครดิต หมายเลขบัตรประชาชน หมายเลขพาสปอร์ตเป็นต้น หลีกเลี่ยงการโพสต์ข้อความและภาพที่แสดงออกทางเพศ เพราะยิ่งเพิ่มความเสี่ยง ให้กับตนเอง พึงจำ�ไว้ว่าไม่มีอะไรบนอินเทอร์เน็ตที่เป็นส่วนตัวอย่างแท้จริง 7


Chapter 2 >>

กฎหมายควรรู้เกี่ยวกับ

โซเชียลมีเดีย

ถึงแม้จะมีแนวทางการใช้งานโซเชียลมีเดียออกมาเผยแพร่อยู่เป็นประจำ� สม่ำ�เสมอ แต่ผู้ใช้งานจำ�นวนไม่นอ้ ยยังตกเป็นเหยือ่ อาชญากรรม กฎหมายจึงเป็น เรือ่ งจำ�เป็นมากขึน้ ทีจ่ ะช่วยควบคุมพฤติกรรม ช่วยเหลือผูเ้ สียหาย และเป็นกรอบ การใช้งานของคนในสังคมไม่ ให้ล่วงละเมิดกัน โดยปัจจุบันมีกฎหมายที่เกี่ยวข้อง กับการใช้โซเชียลมีเดีย โดยมีแกนหลักของเนื้อหาสาระ ได้แก่

8


เรื่องต้องรู้เมื่อใช้ โซเชียลมีเดีย

การใช้ 1. ต้องอยู่บนพื้นฐานที่ไม่ส่งผลกระทบต่อผู้อื่นให้เดือดร้อน ในลักษณะเสือ่ มเสียชือ่ เสียง และดูหมิน่ ให้ได้รบั ความเสียหาย 2. ต้องไม่ ใช้เพื่อการปลุกระดมให้เกิดการทะเลาะวิวาท หรือทำ�สิ่งที่ผิดกฎหมาย

ผู้ ใช้ 1. ระวังการส่งต่อข้อมูล ที่อาจล่วงละเมิดสิทธิผู้อื่นได้ 2. ควรรับสารอย่างมีสติ ไม่กระจายข่าวที่เกิดความ เข้าใจผิด แตกแยกในสังคม พิจารณาให้รอบคอบก่อน มีการส่งข่าวต่อ 3. หากมีผู้เสียหายจากโซเชียลมีเดีย สามารถเข้าแจ้ง ความ ร้องทุกข์ ร้องเรียน ต่อเจ้าหน้าที่ กองบังคับการ ปราบปรามการกระทำ�ผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทาง เทคโนโลยี และดำ�เนินการเอาผิดได้ 9


บทลงโทษการใช้งาน โซเชียลมีเดีย ที่ไม่เหมาะสม • การโจรกรรมข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต เช่น

การขโมย ID ของผูอ้ นื่ ไปใช้โดยเจ้าของไม่ได้อนุญาต มีความผิดตามมาตรา 9 และ 10 เรียกร้องค่าเสีย หายได้ถึง 1 แสนบาท

• การแชร์ภาพสื่อลามก มีความผิดตาม มาตรา 14 วรรค 4, วรรค 5 มีโทษจำ�คุก ไม่เกิน 5 ปี ปรับไม่เกิน 1 แสนบาท 11:30

11:30

• การส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (Email)

ที่ไม่มที มี่ า หรือปกปิด ปลอมแปลงแหล่งทีม่ า

และรบกวนการใช้คอมพิวเตอร์ของผู้อื่น มีความผิด ตามมาตรา 11 มีโทษปรับไม่กิน 1 แสนบาท

• การนำ�ข้อมูลคนอื่นไปเผยแพร่ โดยแก้ไขให้

เกิดความเสียหาย มีความผิดตามมาตรา 12, 16 โทษจำ�คุกไม่เกิน 5 ปี ปรับ 1-2 แสนบาท

• การตัดต่อภาพผูอ้ นื่ แล้วนำ�ไปเผยแพร่

ทางอินเทอร์เน็ต ทำ�ให้ผอู้ นื่ นัน้ เสียชือ่ เสียง ถูก ดูหมิ่น ถูกเกลียดชัง หรือได้รับความอับอาย มีความผิดตามมาตรา 16 ต้องระวางโทษ จำ�คุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกินหกหมืน่ บาท หรือทั้งจำ�ทั้งปรับ

• การโพสต์ขอ้ ความว่าร้ายผูอ้ นื่ ด่าทอ

ด้วยความเกลียดชัง มีความผิดตามมาตรา 16 เช่นกัน

ปัจจุบัน กฎหมายส�ำคัญเกี่ยวกับการใช้ Social Media สามารถหาอ่านได้จากพระราชบัญญัติ ว่าด้วยการกระท�ำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 โดยอ่านหรือดาวน์โหลด พรบ. ได้ฟรี ที่เว็บไซต์ Thailand Law Forum ที่ url www.thailawforum.com/thailand-computer-crime-law-th 10


Chapter 2 >>

โซเชียลมีเดีย

มีประโยชน์ ได้ เมื่อใช้ ให้ถูก โซเชียลมีเดีย ไม่ได้มแี ต่อนั ตรายเท่านัน้ ทีจ่ ริงแล้วประโยชน์ของการใช้โซเชียล ให้เกิดประโยชน์นั้นมีมากมายเช่นกัน ซึ่งสำ�หรับครอบครัวแล้ว สามารถประยุกต์ มาเป็นเครื่องมือในการพัฒนาครอบครัวได้ไม่น้อย ซึ่งสำ�นักงานวิจัยนานาชาติ HCHR (National Center for Health Research) ได้นำ�เสนอแนวทางการใช้งาน โซเชียลเพื่อให้เกิดประโยชน์แก่ครอบครัว ดังต่อไปนี้

11


เรื่องดีๆ ของโซเชียลมีเดีย ส่งเสริมกระบวนการคิด

การใช้โซเชียลมีเดียเพื่อการสื่อสารที่ถูกต้อง สามารถส่งเสริมกระบวนการคิด การจัดเรียงลำ�ดับ เรื่องราว ฝึกการวิเคราะห์ พิจารณาเรื่องที่รับรู้ได้ หากได้รบั คำ�แนะนำ�ทีถ่ กู ต้องถึงการตรวจสอบข้อมูล ที่ไปที่มาที่เหมาะสมเสียก่อน

ฝึกฝนทักษะ

ในกลุ่มวัยรุ่นนั้น การใช้โซเชียล มีเดีย เป็นการฝึกทักษะการสือ่ สาร อย่ า งหนึ่ ง เพื่ อ ให้ พ วกเขาได้ พ บเจอคนใหม่ ๆ แลกเปลี่ ย นวิ ธี คิ ด ที่ แ ตกต่ า งไปจากสั ง คมเดิ ม พัฒนาความคิด ความรู้ใหม่ๆ เรียนรู้การสร้าง มิตรภาพกับผู้อื่น

สร้างช่องทางการสื่อสาร กับครอบครัว

โซเชี ย ลมี เ ดี ย เป็ น ช่ อ งทาง การสื่อสารภายในครอบครัวให้เกิดขึ้นได้ เพราะ รวดเร็วและมีหลายเรื่องที่พวกเขานิยมเขียนถึง มากกว่าการพูดกันต่อหน้า 12


ต่อยอดเรื่องการศึกษา

มีขา่ วสารดีๆ สือ่ ทีเ่ ป็นประโยชน์ตอ่ การพัฒนาความรู้ และต่อยอดให้ กับการเรียนการศึกษามากกว่าในสถาบันการศึกษามากมายทีร่ อให้เด็กๆ ได้ค้นพบ ขอเพียงให้พวกเขารู้จักแหล่งที่มาอันมีประโยชน์เหล่านั้น

ฝึกฝนการอ่าน การเขียน มากขึ้นได้

แต่ควรใช้เมื่อลูกอายุเกิน 13 ปีไปแล้ว จึงจะดีที่สุด

รักษาอาการซึมเศร้า

จากการเชื่ อ มต่ อ โลกส่ ว นตั ว เข้า กั บ โลก ออนไลน์ เพื่อแลกเปลี่ยน ระบายความรู้สึก หาคำ�แนะนำ� หาที่ปรึกษา โดยปัจจุบันมีผู้ใช้ งานจำ�นวนมากที่มีสุขภาพจิตดีขึ้นจากการได้ สือ่ สารในโลกออนไลน์ เพราะช่วยลดความรูส้ กึ โดดเดี่ยวอ้างว้างลงได้

เกิดไอเดียใหม่ๆ

เมื่ อ เรี ย นรู้ ก ารใช้ ง านในฟั ง ก์ ชั่ น ที่ สร้างสรรค์ของโซเชียลมีเดียได้ จะทำ�ให้เกิด ไอเดี ย มากมายขึ้ น นำ�ไปสู่ การสร้ า งอาชี พ การหารายได้เพิ่มเติม 13


10 วิธีระวังไว้ เมื่อต้องใช้ โซเชียลมีเดีย สอนเด็กๆ ให้รู้จักเคารพตัวเองและเคารพผู้อื่น แทนการห้ามใช้โซเชียลมีเดียชนิดใดชนิดหนึ่ง เพราะ หากไม่มี เฟซบุก๊ พวกเขาก็ยงั มี ทวิตเตอร์ และช่องทาง อื่นๆ อีกมากมาย อย่าเข้าไปต่อว่า เด็กๆ ในโซเชียลเสียเอง เพราะไม่ ไ ด้ เ ป็ น การหยุ ด ให้ พ วกเขาเล่ น แต่เป็นการสร้างกำ�แพงระหว่างพ่อแม่กบั เด็ก อย่างที่แก้ไขได้ยากกว่าเดิม หาข้อตกลงในการจำ�กัดเวลาออนไลน์ ตามเวลาทีเ่ หมาะสม ไม่ใช่หา้ มเล่นโดยเด็ดขาด ระวังกับการคบเพือ่ นในอินเทอร์เน็ต ไม่ว่าจะมาในรูปแบบใดก็ตาม บอกเล่าเรือ่ งราวเกีย่ วกับด้านมืด ของอินเทอร์เน็ตให้ลูกได้รับทราบ เพื่อตามให้ทันถึงรูปแบบของความ เสียหายที่อาจเกิดขึ้นได้กับลูก

สอนพวกเขาให้คดิ ในเรือ่ ง สร้างสรรค์ ทั้งการพูด เขียน สื่อสารอย่างสร้างสรรค์ พวก เขาจะมีวิจารณญาณและความ รอบคอบขึ้นก่อนสื่อสารอะไร ออกไปทางโซเชียล

14


ชี้แนะเรื่องราวที่เด็กๆ ควรพูดถึงในโซเชียล เช่น การเล่นกีฬา การเข้าร่วมสโมสรของโรงเรียน การทำ�งานอาสาสมัคร เพือ่ ไม่ให้พวกเขาหมกมุน่ เรือ่ ง ใดเรื่องหนึ่งมากเกินไป บอกเล่าถึงพิษภัยของอินเทอร์เน็ต โดยเฉพาะผลที่ เ กิ ด ขึ้ น จากความ ประมาท และวิเคราะห์ความเสี่ยงของ ลูกๆ ที่จะเกิดขึ้นได้

ทำ�ข้อตกลงร่วมกันกับเด็กๆ ว่าควรบอก พ่ อ แม่ เ สมอ เมื่ อ คิ ด จะพบใครสั ก คนในโลก ออนไลน์ ไม่แอบไปพบใครโดยพลการ ไม่เปิด บ้านให้คนแปลกหน้า ไม่ขึ้นรถใครโดยไม่จำ�เป็น เป็นต้น สอนให้พวกเขาตระหนักถึงความ สำ�คัญของคนในชีวิตจริงมากกว่า คนในโลกออนไลน์อยูเ่ สมอๆ

แนะนำ�เว็ บ ไซต์ ส ร้ า งสรรค์ ที่ เ หมาะกั บ วั ย ของลูก รวมถึงการรับสื่อประเภทต่างๆ ในโลก ออนไลน์อย่างมีวิจารณญาณก่อนจะปักใจเชื่อ

ในโลกยุคใหม่ที่ก�ำลังหมุนไปอย่างรวดเร็ว ไม่สามารถหยุดยั้งความก้าวหน้าของเทคโนโลยี และการขยาย ตัวของโลกโซเชียลมีเดียได้ สิ่งที่ดีที่สุดคือการสร้างภูมิคุ้มกันให้ตัวเองและครอบครัว รู้จักหาแง่มุมที่ดี และใช้ ให้เกิดประโยชน์ แค่นี้ โซเชียลมีเดีย ก็จะกลายเป็นเครื่องมือที่ทรงพลังแก่สังคมยุคใหม่ได้แล้วค่ะ

ข้อมูลอ้างอิง http://www.positioningmag.com http://www.pewinternet.org http://www.steamfeed.com http://www.parentsprotect.co.uk 15


ดาวน์ โหลดฉบับย้อนหลัง

ดาวน์ โหลดทุกวันที่ 15 และ 30 ของทุกเดือน



Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.