ModernMom Focus Vol.1 No.10 Chapter 2 November 2015

Page 1

Chapter

2

“เลือกกิน” เพื่อลูกสุขภาพดี

Vol.1 No.10 / Chapter 2 November 2015



Vol.1 No.10 / Chapter 2 November 2015

Chapter 1 : รู้ทัน!! อาหารทำ�ลายสุขภาพ Chapter 2 : “เลือกกิน” เพื่อลูกสุขภาพดี

สวัสดีค่ะคุณแม่ ModernMom ทุกท่าน

ModernMom Focus ฉบับพาไปกินเพื่อสุขภาพของ ลูกน้อยกันค่ะ เพราะค�ำที่ว่า You’re What you Eat นั้นเป็นจริง ยิ่งกับเจ้าตัวเล็กกินอะไรต้องระวังเป็นอย่าง มาก เพราะร่างกายของเด็กอ่อนไหวต่ออาหารทีก่ นิ เข้าไป ได้งา่ ยกว่า และเด็กเองก็ใจอ่อนกับอาหาร ขนมทีม่ หี น้าตา สีสันเย้ายวนใจได้มากกว่า แถมถ้ามาพร้อมกับรสชาติ ที่หวาน ซาบซ่ายิ่งถูกใจ กินทีไรชื่นใจทุกที... แต่อะไร ที่อยู่ภายใต้ความหอมหวาน และซาบซ่าเหล่านี้ เราจะ พาคุ ณ พ่ อ คุ ณ แม่ ไ ปท� ำ ความรู ้ จั ก เพื่ อ ออกห่ า งอาหาร ท�ำลายสุขภาพทั้ง 2 Chapter Chapter 1 รู้จักอาหารท�ำลายสุขภาพ เพื่อหลีกเลี่ยง และทราบถึงพิษภัยของอาหารและขนมที่พ่อแม่ต้องรู้ Chapter 2 เลือกกินให้ดี เพื่อสุขภาพที่ดีของลูกน้อย ModernMom Focus

www.modernmommag.com www.booksmile.co.th www.issuu.com โดย search modernmom focus

เจ้าของ : กลุ่มบริษัท อาร์แอลจี สร้างสรรค์ โดย : นิตยสาร ModernMom Contact Us กลุม่ บริษทั อาร์แอลจี 932 ถนนประชาชืน่ แขวงวงศ์สว่าง เขตบางซือ่ กรุงเทพฯ 10800 กองบรรณาธิการ การตลาดและประชาสัมพันธ์ โทรศัพท์ 0 2831 8400, 0 2913 7555 ต่อ 4420-4424, 3520, 3535 โทรสาร 0 2831 8499 อีเมล์ : mmm@rlg.co.th แผนกโฆษณา โทรศัพท์ 0 2831 8400, 0 2913 7555 ต่อ 3361, 3332, 3359, 3345, 4723 โทรสาร 0 2831 8477 อีเมล์ : rungladda@rlg.co.th


Chapter 2 >>

4


Chapter 2 >>

Better Food, Better Health เปลี่ยนโฉมโภชนาการให้ลูกน้อย เพื่อฟื้นฟูสุขภาพให้แข็งแรง

ปัญหาสุขภาพในเด็กที่เนื่องมาจากอาหารการกินนั้น มีทั้งภาวะขาดสารอาหาร คือไม่ได้รับอาหารตามสัดส่วนที่เหมาะสม ไม่ได้รับสารอาหารที่ครบถ้วน ทำ�ให้ร่างกาย ซูบผอม ไม่มีแรง ไม่สดชื่น ไม่เจริญเติบโตเท่าที่ควร และอีกแบบหนึ่งคือภาวะตรงกันข้าม คือโภชนาการเกิน จากการกินมากเกินไปก่อเป็นโรคอ้วน และที่สำ�คัญที่สุด คือการกิน อาหารที่อันตราย รับสารอาหารต่างๆ มากเกินร่างกายต้องการ เกิดการสะสม และ ก่อโรคอื่นๆ ตามมาอีกมากมาย ดังนั้น เมื่อปัญหาเกิดจากการกิน การแก้ ไขก็คือการปรับเปลี่ยนการกินนั่นเอง ไม่ว่าจะเป็นทั้งวิธีการกิน ประเภทอาหารที่นำ�มาให้เด็กๆ กิน และแนวคิดหรือทัศนคติ ต่อการกิน โดยเชื่อว่านี่คือหัวใจสำ�คัญที่จะนำ�พาเด็กไทยให้พ้นจากวิกฤติสุขภาพ เสื่อมโทรมจากอาหารได้

5


10 แนวคิด เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกิน ครอบครัวคือผู้มีบทบาทสำ�คัญที่สุดในการสร้างพฤติกรรมการกินให้แก่เด็ก พ่อแม่เป็นผู้กำ�หนด รูปแบบอาหารให้เด็กกินจนกลายเป็นความคุ้นชิน ความชอบ วัฒนธรรม และส่งผลต่อการเจริญเติบโต ในเด็ก แนวคิดในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกิน จึงเกิดขึ้นในบ้านเป็นอันดับแรก แนวคิด 10 ข้อต่อไปนี้จึงเป็นพื้นฐานการกินที่ถูกต้องที่เริ่มได้จากที่บ้าน ตามด้วยโรงเรียน และไปสู่ สังคมอื่นๆ

ทำ�อาหารกินเอง ปลอดภัยกว่าซือ้

คำ�กล่าวที่ว่า อาหารที่ทำ�เองแม้จะไม่อร่อยที่สุดแต่เป็นอาหารที่น่าทานที่สุด ยังใช้ ได้ ทุกสมัย อาหารโฮมเมดนั้นมีข้อดีคือเราควบคุมกระบวนการผลิตด้วยตัวเอง ตั้งแต่ขั้นตอน การเลือกซื้อ การชำ�ระล้าง การปรุงให้สุก และยังปรุงรสให้ถูกปากอีกด้วย ในขณะที่อาหาร นอกบ้านนัน้ ส่วนใหญ่อาจใช้วตั ถุดบิ ที่ ไม่สดเท่าใดนัก การปรุงที่ ไม่สะอาดมากพออาจก่อโรค ได้ เช่น โรคติดเชื้อทางเดินอาหาร ท้องร่วง ลำ�ไส้อักเสบ เป็นต้น

ไม่รบั ประทานอาหารในรถถ้าไม่จ�ำ เป็น

ครอบครัวสมัยใหม่เร่งรีบและทำ�กิจวัตรต่างๆ ในรถมากขึน้ รวมถึงการรับประทานอาหาร ด้วย อาหารที่กินในรถมักเป็นอาหารประเภทฟาสต์ฟู้ดเพราะกินง่าย ซื้อง่าย ไม่เลอะเทอะ และเด็กๆ ชอบ หารู้ไม่ว่าเมื่อกินบ่อยๆ จนชินก็กลายเป็นนิสัย เท่ากับเสี่ยงที่จะรับอาหาร ฟาสต์ฟู้ดทุกวัน ซึ่งเต็มไปด้วยไขมัน น้ำ�ตาล และโซเดียมสูง

ทำ�เรือ่ งกินให้เป็นเรือ่ งสนุก

มื้ออาหารในบ้านควรเป็นช่วงเวลาที่เด็กๆ มีความสุข เด็กๆ จึงจะซึมซับเอาวัฒนธรรม การกินอาหารในบ้านและใส่ ใจรายละเอียดการปรุงอาหารมากขึ้น คุณพ่อคุณแม่ควรทำ�ให้ การปรุงอาหารเป็นเรือ่ งผ่อนคลาย สนุกสนาน เด็กๆ มีสว่ นร่วมและฝึกปรุงอาหารของตัวเอง ทำ�ให้รู้จักวัตถุดิบ ใส่ ใจกับรายละเอียดต่างๆ เป็นพื้นฐานให้เขาทำ�อาหารเป็นและรู้จักเลือก อาหารมากขึ้น

จัดมือ้ พิเศษของครอบครัว

แม้จะใส่ ใจเมนูอาหารในบ้านอย่างเข้มงวด เพื่อให้เด็กๆ ได้รับแต่อาหารที่มีประโยชน์ แต่อย่าทำ�ให้การกินและสุขภาพเป็นเรื่องซีเรียสเกินไป อาจมีบางวันหรือบางมื้อ จัดเมนู พิเศษที่เด็กๆ โปรดปราน อนุญาตให้เขากินของที่อยากกินได้ ในปริมาณที่เหมาะสม และกิน โดยตระหนักว่าจะได้รับอะไรบ้างจากสิ่งนั้น เช่น กินไอศกรีมทำ�ให้อ้วน มีน้ำ�หนักเพิ่ม เด็กๆ จึงต้องออกกำ�ลังกายเป็นประจำ� เพื่อไม่ ให้อ้วน เป็นต้น 6


สอนลูกอ่านฉลากสินค้า

ยิง่ หากลูกๆ อยู่ในวัยชอบอ่าน เหมาะมากทีจ่ ะให้ลกู อ่านให้ฟงั ปลูกฝังความละเอียดอ่อน ในการพิจารณาสินค้า เลือกของที่มีคุณภาพ รู้จักปฏิเสธส่วนผสมที่อันตราย เช่น หากอ่าน เจอว่ามีผงชูรสในปริมาณมาก ก็บอกลูกว่าไม่ควรซื้อมากิน เป็นต้น

หลีกเลีย่ งอาหารแปรรูปและอาหารกระป๋องให้มากทีส่ ดุ

แม้จะเป็นอาหารทีอ่ ร่อย เด็กๆ โปรดปราน พ่อบ้านแม่บา้ นมีตดิ ไว้เวลาฉุกเฉิน แต่อย่าปล่อย ให้อาหารกระป๋อง หรือบะหมี่สำ�เร็จรูป กลายเป็นมื้อหลักของบ้าน อธิบายให้เด็กๆ เข้าใจว่า กินได้แต่ไม่ควรบ่อย และเมื่อกินแล้วร่างกายจะต้องรับอะไรเข้าไปบ้าง การพูดตรงไปตรงมา จะทำ�ให้เด็กๆ ระวังมากขึ้น

ค้นหาวิธสี ร้างสรรค์ดงึ ดูดเด็กรักสุขภาพ

ทำ�ให้เมนูสุขภาพของบ้านเป็นเมนูที่น่าสนใจมากขึ้น ด้วยการชวนลูกๆ มาตั้งชื่ออาหาร ชนิดนัน้ จะช่วยสร้างความภูมิ ใจ ความมัน่ ใจให้กบั เด็กๆ เป็นต้นว่า เมนูผดั ผักรวม อาจตัง้ ชือ่ เป็น “สวนผักของฉัน” หรือเมนูไก่อบ อาจตั้งชื่อเป็น “กุ๊กไก่ ในซอสแสนอร่อย” เป็นต้น

มองหาร้านอาหารปลอดภัย

ทุกสัปดาห์อาจพากันออกไปทานข้าวนอกบ้านสักมื้อ แต่ใช้กลวิธีตามล่าหาร้านอาหาร ปลอดภัย เพื่อให้ลูกสนุกไปด้วย กับการลุ้นว่าจะได้ทานร้านไหนดี หากเด็กๆ โตแล้วอาจให้ ช่วยค้นหาร้านอาหารสุขภาพที่แนะนำ�ทางอินเทอร์เน็ตเพื่อไปทดลองกิน เป็นต้น จะทำ�ให้การ กินอาหารสุขภาพสนุกสนานมากขึ้น

พูดคุยเรือ่ งสุขภาพกับลูก

ระหว่างกินอาหาร เรื่องสุขภาพเป็นเรื่องที่เชื่อมโยงกับการกินที่ค่อยๆ สอนพวกเขาได้ พูดคุยอย่างผ่อนคลายถึงประโยชน์ของอาหารแต่ละมื้อ สิ่งที่เขาได้รับจากการกินอาหาร สุขภาพ และเปิดให้เด็กๆ มีส่วนร่วมในการวางแผนเมนูอาหารในมื้อถัดไป

ชวนลูกไปตลาด

เป็นอีกวิธีที่ ได้ทั้งความสนุกและความรู้ ไปพร้อมๆ กัน ระหว่างไปตลาด โดยเฉพาะ ตลาดสดที่มีผักผลไม้ขาย เป็นช่วงเวลาที่เด็กๆ ได้เรียนรู้จักวัตถุดิบของจริง ซึมซับวิธีการ เลือกซื้อของมีคุณภาพ มีทักษะการทำ�อาหารได้ดีขึ้นเมื่อตอนโต 7


Super Food : อาหารเพิ่มพลังให้ลูกรัก เมือ่ เลีย่ งไม่ให้เด็กๆ ต้องเจอกับอาหารอันตรายได้แล้ว ก็ถงึ เวลาเลือกอาหารทีป่ ลอดภัยและมีประโยชน์ สำ�หรับเด็กๆ กันบ้าง ต่อไปนี้คือ ประเภทอาหารที่เรียกกันว่า “ซูเปอร์ฟู้ด” หรือ สุดยอดอาหารสุขภาพ สำ�หรับเด็กๆ นั่นเอง ไข่ แหล่ ง โปรตี น ที่ ดี ม าก ช่ ว ยให้ ร่ า งกายดู ด ซึ ม แคลเซี ย ม อิ่มสบายท้อง ย่อยง่าย เหมาะสำ�หรับเป็นอาหารเช้าของเด็กๆ ทำ�ให้ ไม่หิวง่ายเกินไป แต่ก็ ไม่แน่นท้องเกินไป

เต้าหู้ อาหารจากถั่วเหลืองที่มีโปรตีน ป้องกันมะเร็ง ได้ด้วย เหมาะสำ�หรับทำ�เมนูผัดใส่ผัก ทอดจิ้มด้วยน้ำ�จิ้ม เพื่อกินง่ายขึ้น หรือทำ�เป็นซุปเต้าหู้ หรือใส่ ในแกงจืด

ข้าวโอ๊ต มี ง านวิ จั ย ว่ า ข้ า วโอ๊ ต ทำ � ให้ เ ด็ ก

ถัว่ เป็นแหล่งไขมันทีด่ ตี อ่ สุขภาพ ช่วยในการ

มี ส มาธิ ที่ ดี ไ ด้ เพราะข้ า วโอ๊ ต เป็ น ธั ญ พื ช ที่ ใ ห้ พลังงานทีด่ ี ไม่หวิ ง่าย จึงทำ�ให้มสี มาธิ ในการเรียน เพราะไม่รู้สึกหิวก่อนถึงเวลา

เจริญเติบโต ป้องกันโรคหัวใจ จะกินแบบง่ายๆ เช่น ถั่วต้ม หรือใส่ไปในอาหารและขนมก็ย่อมได้ ประโยชน์ดี

โยเกิรต์ มีแบคทีเรียสุขภาพทีช่ ว่ ยเพิม่ ภูมคิ มุ้ กัน และช่วยย่อยอาหาร

มีโปรตีนที่ดี และควรเลือกแบบไขมันต่ำ� รสไม่หวานนัก เพื่อป้องกัน น้ำ�ตาลเกิน กินได้ทุกวันจะช่วยระบบขับถ่ายให้เด็กๆ ได้ด้วย

นม นมเป็นแหล่งโปรตีนและแคลเซียมที่ดี ให้พลังงานสมองและ

ร่างกาย โปรตีนจากนมจะช่วยสร้างเนื้อเยื่อสมอง ขณะที่แคลเซียม ช่วยให้กระดูกและฟันของเด็กแข็งแรงดีด้วย 8


ผลไม้ เต็ ม ไปด้ ว ยวิ ต ามิ น และแร่ ธ าตุ และมี เ ส้ น ใย ที่ช่วยระบบการขับถ่าย เด็กๆ กินผลไม้ได้เกือบทุกชนิด ยิ่ ง มี ค วามหลากหลาย ยิ่ ง ดี ต่ อ สุ ข ภาพ แต่ ค วรล้ า ง ให้สะอาดทุกครั้ง

บลูเบอรี่ เป็นผลไม้แห่งปีที่วิจัยว่าดีต่อสุขภาพมาก มีสารต้านอนุมูล

อิสระ ป้องกันการเกิดโรคหัวใจ เบาหวาน และบำ�รุงสมอง หากเลือก กินมื้อเช้า อาจผสมลงไปในอาหารหรือนม หากเป็นช่วงบ่าย ใส่ไปใน สลัดหรือขนมหวาน ใส่โยเกิร์ต หรือปั่นเป็นสมูตตี้ก็ ได้

กะหล่�ำ ปลี เด็กส่วนใหญ่มักกินง่ายกว่าผักชนิดอื่น เพราะมีรสอ่อน

กลิ่นไม่แรง มีสรรพคุณช่วยขับสารพิษที่เป็นอันตรายในร่างกาย ออกไปได้ สามารถทำ�อาหารให้เด็กๆ ได้หลากหลาย เช่น แกงจืด ผัดใส่ก๋วยเตี๋ยวหรือบะหมี่ ทำ�ซุป หรือทานสดๆ

มะเขือเทศ เต็มไปด้วยไลโคปีน สารป้องกันมะเร็ง ช่วยทำ�ให้ร่างกาย

ดูดซึมสารอาหารที่ดี ได้ ใส่รวมไปในอาหารเด็กได้แทบทุกเมนู หรือกิน ในรูปแบบซอสมะเขือเทศรวมกับอาหารอื่นๆ

ปลา ปลาเกือบทุกชนิดดีสำ�หรับเด็ก แต่หากต้องการ

บำ�รุงสมองเป็นพิเศษ แนะนำ�ให้กินปลาแซลมอนด้วย เพราะมีโอเมก้า 3 ซึ่งช่วยต้านการอักเสบ ป้องกันภาวะ ซึมเศร้า การทำ�เมนูปลาต้องระวังก้าง อาจใช้วิธีแกะ เนื้อปลาก่อนแล้วนำ�ไปปรุง เช่น ปลาทอด ต้มเค็ม ย่าง หรือใส่สลัด 9


ฟื้นฟูสุขภาพเด็กด้วยอาหารดีมีประโยชน์ เด็กๆ ในวัยกำ�ลังโตจำ�เป็นต้องได้รับอาหารที่มีประโยชน์เพื่อการเจริญเติบโต ซึ่งไม่ ใช่แค่การ มีรูปร่างเติบใหญ่ตามวัยเท่านั้น แต่หมายถึงการมีอวัยวะต่างๆ ที่ทำ�งานได้ดี มีประสิทธิภาพ มีสมองที่ พร้อมสำ�หรับการเรียนรู้ และระบบการทำ�งานทุกส่วนของร่างกายสมบูรณ์ ซึ่งอาหารถือเป็นตัวหลักที่ ทำ�ให้เด็กเติบโตเหล่า หากสำ�รวจพบว่าเด็กมีพฤติกรรมการกินที่ ไม่เหมาะสม หรือโภชนาการบกพร่อง การรีบแก้ไขให้เร็วเท่าไหร่ ยิ่งดีต่อสุขภาพระยะยาวเท่านั้น

สมองและระบบประสาท :

ใน 1,000 วันแรกของชีวิต สมองของลูกต้องได้รับการพัฒนาจากอาหาร

บำ�รุงสมอง ซึ่งประกอบไปด้วย โอเมก้า 3 และ โอเมก้า 6 จากปลา ถั่ว และไข่ ต้องการ DHA และ ARA กรดไขมันบำ�รุงสายตาจากเนื้อปลาทุกชนิดทั้งปลา ทะเลและปลาน้ำ�จืด และยังต้องการสารอื่นๆ จากผัก ผลไม้ กล้วย ผักใบเขียว อาหารเหล่านี้ช่วยฟื้นฟู บำ�รุงสมอง และระบบประสาทให้ลูกได้

ฟันและกระดูก : ฟันและกระดูกทีก่ �ำ ลังเจริญเติบโตอย่างแข็งแรง อาจถูกทำ�ลายจากอาหาร

บางชนิด การฟื้นฟูร่างกายลูกให้กลับมาดีเช่นเดิมก็ด้วยการกินอาหารที่มี แคลเซียมสูง และฟอสฟอรัส แมกนีเซียม ฟลูออไรด์ ทองแดง สังกะสี และแมงกานีส แร่ธาตุเหล่านี้พบในเนื้อสัตว์ เครื่องในสัตว์ นมแม่ เนื้อปลา หมู เนื้อวัว ไข่แดง ตับ ไก่ เป็นต้น

กล้ามเนือ้ : กว่าเด็กแต่ละคนจะยืดตัวให้เติบโตเต็มที่ ได้ จำ�เป็นต้องได้รับอาการเสริม

สร้างกล้ามเนื้อ ซึ่งรู้กันดีว่าคือโปรตีนน่ะเอง โปรตีนที่ดีสำ�หรับเด็ก หาได้จาก ปลาแทบทุกชนิด แต่ควรเริ่มที่ปลาน้ำ�จืดก่อนเพื่อเลี่ยงการแพ้อาหารทะเล ปลาเป็นแหล่งโปรตีนเส้นใยสั้น ไขมันต่ำ� ย่อยง่าย นอกจากปลาคือ ถั่ว ตับหมู ตับไก่ เนือ้ ไก่ และไข่แดง ทีข่ าดไม่ได้คอื นม จะช่วยให้กล้ามเนือ้ ของลูกเจริญเติบโต เต็มที่ และมีร่างกายแข็งแรง

กระเพาะอาหารและระบบย่อยอาหาร : ระบบการย่อยอาหารของเด็กจะไม่เรรวนหากเลือกกินอาหารที่เหมาะสม ตั้งแต่ยังเล็ก ได้แก่ การกินนมแม่อย่างเดียวในช่วง 6 เดือนแรก และหลัง เดือนที่ 6 เริม่ ต้นด้วยข้าวบดผสมไข่ ปลาและผัก หรือกล้วยน้�ำ ว้า จนเมือ่ ลูกใกล้ 1 ปีกินอาหารแข็งได้บางชนิดที่ย่อยง่าย เช่น ผักต้ม แครกเกอร์ บิสกิตรสจืด จนเมื่อเลยวัย 1-2 ปีขึ้นไป แม้จะกินอาหารได้เหมือนผู้ ใหญ่แล้วก็ตาม แต่ควร ให้กินอาหารที่ย่อยง่าย ได้ครบทั้งนม ข้าว ผักและผลไม้ เพื่อไม่ ให้ท้องผูก แค่นี้ระบบการย่อยก็ดี ได้แล้ว 10


สอนลูกอย่างไรให้เข้าใจเรื่องโภชนาการ การทำ�ความเข้าใจกับเด็กๆ เรือ่ งโภชนาการ คือ การสร้างป้อมปราการอันยัง่ ยืนสำ�หรับตัวเด็กทัง้ ในวันนีแ้ ละอนาคต เพราะคงไม่มพ ี อ่ แม่คนไหนจะ สามารถเป็นผูจ้ ดั อาหารให้ลกู ได้ตลอดไป เมือ่ โตขึน้ เด็กทุกคนล้วนมีโอกาสเลือกกินอาหารด้วยตัวเอง การตระหนักในคุณภาพอาหารจะช่วยให้พวกเขา มีสขุ ภาพดีได้ดว้ ยตัวเอง

วิธที จ่ี ะสอนลูกให้เข้าใจเรือ่ งโภชนาการทีด่ ี มีแนวทางดังนี้ 1.บอกลูกอย่างตรงไปตรงมา ว่าอาหารช่วยให้

สุขภาพดี ได้อย่างไร แม้ ในช่วงที่เขายังเล็กๆ อาจจะยัง ไม่เข้าใจ แต่โตขึน้ จะเริม่ เข้าใจและแยกแยะประเภทอาหาร ที่ดีและไม่ดี ได้ด้วยตัวเอง 2.ใช้สื่อต่างๆ อธิบายลูกเกี่ยวกับอาหาร ไม่ว่า จะเป็ น คลิ ป ที่ น่ า สนใจ หนั ง สื อ ข่ า ว บทความทาง อินเทอร์เน็ต พยายามหมั่นหยิบยกมาพูดคุยในบ้าน หรือชวนลูกดูด้วยกันพร้อมอธิบาย 3.กินให้เห็นเป็นตัวอย่าง เพราะเด็กๆ ส่วนใหญ่ก็ มีพฤติกรรมและนิสยั การกินมาจากคนในบ้านเป็นหลัก เมือ่ ไม่อยากให้ลกู กินสิง่ ไหน ก็ ไม่ควรกินให้เห็น และทาง ตรงกันข้าม ควรกินอาหารสุขภาพให้เป็นวัฒนธรรมใน ครอบครัว 4.หาทางเลือกอื่นแทนอาหารขยะเสมอ บ่อยครั้ง ที่อาจไม่ ได้เตรียมอาหาร อาหารมี ไม่พอ เบื่ออาหาร หรือทำ�งานดึกเกินไป แทนที่จะหยิบอาหารขยะประเภท จังก์ฟู้ด และบะหมี่สำ�เร็จรูปมากิน ให้ สำ� รองอาหาร คุณภาพไว้ ในตู้เย็นอยู่เสมอ เช่น ผัก ผลไม้ ขนมไทย รสไม่หวาน

5.ใส่ ใจอย่างใกล้ชดิ เวลาลูกเล็กกินอาหาร คุณพ่อ คุณแม่ควรเลือกอาหารให้ลกู หากเขาเริม่ กินตามเพือ่ น ควรพูดคุยให้เข้าใจและตัง้ กฎว่าอันไหนกินได้ อันไหนกิน ไม่ ได้ อย่าปล่อยให้ลูกกินแบบตามใจเพื่อให้แค่อิ่มและ อร่อย แต่เป็นผู้แนะนำ�ลูกเสมอ 6.เครื่องดื่มแบบผู้ ใหญ่อย่าให้ลูกกิน เพราะนี่เป็น เรื่องใหญ่ที่เด็กๆ ติดน้ำ�อัดลมและกาแฟได้ง่ายมาก ทั้งที่ ไม่ ใช่ของสำ�หรับเด็ก และผู้ ใหญ่ส่วนใหญ่ ใจอ่อน เพราะเห็นลูกอยากดื่ม บางครั้งหากอนุญาตให้กินได้ เด็ ก จะแอบไปกิ น เองที่ โ รงเรี ย นหรื อ บ้ า นเพื่ อ นโดย ไม่เข้าใจถึงผลทีต่ ามมา ทางทีด่ คี วรบอกไปว่าไม่ควรกิน ด้วยเหตุผลอะไร 7.สอนให้รู้เท่าทันสื่อ ไม่ว่าโฆษณาขนมและอาหาร จะมาในรูปแบบไหน หน้าตาน่ากินเพียงใดก็ตาม สอนให้ ลูกพิจารณาก่อนเสมอที่จะหยิบเข้าปาก ทำ�ให้เป็นนิสัย จะช่วยให้เขาปลอดภัยจากอาหารได้เอง

ผู้ปกครองหลายท่านที่อาจไม่มีเวลาใส่ใจเรื่องอาหารลูก มักคิดว่ากินนิดๆ หน่อยๆ ไม่เป็นไร แต่หารู้ไม่ว่าผล ของการกินอาหารไม่ปลอดภัยนั้น จะทำ�ให้ต้องเสียค่าใช้จ่ายกับเรื่องสุขภาพเด็กในภายหลังอย่างมหาศาลทีเดียว อย่าลืมนำ�เทคนิคเหล่านี้ไปใช้เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกิน เลือกอาหารสุขภาพ และสอนลูกให้เข้าใจเรื่อง โภชนาการ เพียงเท่านี้ก็เป็นรากฐานที่ดีของสุขภาพลูกๆ เมื่อเติบโตขึ้นแล้วค่ะ 11


และ

ความรัก...ย่อมมาพร้อมกับความกังวลใจ เตรียมความพร้อมที่มีต่อลูก...

Smart Mom ในแบบของคุณเป็นอย่างไร? ความสุขที่ไร้กังวลของ “แม่” คือ ได้เห็นลูกรัก มีความสุข และท�ำวันนี้ ให้ดีที่สุด

เพือ่ ยืนยันการเป็น

Smart Mom ที่ใช่คณ ุ ผ่าน

ดูรายละเอียดเพิ่มเติมและสมัครได้ที่

ความสุขที่ไร้กังวลของ “แม่” คือ ได้เห็นลูกรัก มีความสุข และวางแผน อนาคตของลูก

www.facebook.com/momypedia


ธนชาตประกันภัย ร่วมกับนิตยสาร ModernMom และเว็บไซต์ momypedia ชวนคุณแม่ร่วมสนุกและ ทดสอบความเป็น Smart Mom ในตัวคุณ มอบสิ่งดีๆ ให้กับครอบครัวยุคใหม่ 2 ต่อ...

ต่อที่ 1...

รับฟรีทันทีกระเป๋าสะพายข้าง Happy PA for Child ท�ำบททดสอบ 200 ท่านแรก

เพียงสนุกและร่วมแชร์บททดสอบ

ต่อที่ 2...

สมัครประกันภัยอุบัติเหตุถึงลูกถึงคุณ Happy PA for Child กับธนชาตประกันภัย เพียง

2,100 บาท

300 ท่านแรก รับ 4 ต่อ

เพิ่มมูลค่ากว่า 4,000 บาท สมัครได้ตั้งแต่วันนี้ - 25 ธันวาคม 2558

ต่อที่ 1 หมอนหมีสอดมือลูกรัก มูลค่า 299 บาท จ�ำนวน 300 รางวัล ต่อที่ 2 ชุดหนังสือเสริมทักษะลูก 4 เล่ม มูลค่า 1,000 บาท จ�ำนวน 300 รางวัล ต่อที่ 3 ได้ภาพปกนิตยสาร ModernMom ที่เป็นภาพของลูกน้อย หรือภาพครอบครัว แบบ Exclusive 1 ฉบับ และนิตยสารต่อเนื่องอีก 2 ฉบับ (รวม 3 ฉบับ) จ�ำนวน 300 รางวัล ต่อที่ 4 ลุ้นเข้าร่วม Learning Trip 50 ครอบครัว ท�ำกิจกรรมที่ ไร่ปลูกรัก จ. ราชบุรี คุ้มครองถึงลูกถึงคุณด้วย ประกันภัยอุบัติเหตุถึงลูกถึงคุณ Happy PA for Child แผน Sliver Extra 1 ปี เบี้ยประกันภัยราคา 2,100 บาท คุ้มครองสูงสุด 700,000 บาท


ดาวน์ โหลดฉบับย้อนหลัง

ดาวน์ โหลดทุกวันที่ 15 และ 30 ของทุกเดือน


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.