ModernMom Focus Vol.1 No.9 Chapter 1 October 2015

Page 1

Chapter

1

ไวรัสอันตราย ป่วนลูก

Vol.1 No.9 / Chapter 1 October 2015



Vol.1 No.9 / Chapter 1 October 2015

Chapter 1 : “ไวรัส” ป่วนลูก Chapter 2 : รับมือ “ไวรัส...วายร้าย”

สวัสดีค่ะคุณแม่ ModernMom ทุกท่าน

ModernMom Focus กับ Hot Issue เดือนหน้าฝนต้น หนาวอย่างนี้... จะมีสงิ่ ใดทีค่ ณุ แม่ๆ ใส่ใจเกินเรือ่ งสุขภาพ ไม่มคี ะ่ เพราะว่าอากาศทีเ่ ปลีย่ นแปลงก็ทำ� ให้ลกู น้อยเราไม่ เหมือนเดิม นัน่ คือป่วยตามมาจาก “ไวรัส” ที่ไม่เคยปราณี หลายท่านตัง้ ขอสังเกตว่าเจ้าไวรัสมันเก่งขึน้ หรือเปล่า มีมาก ขึน้ หรืออย่างไร ท�ำไมเพือ่ นลูก ลูกของเพือ่ นป่วยกันบ่อย เสียเหลือเกิน ModernMom Focus ทัง้ 2 Chapter Chapter 1 จะพาคุณแม่ไปความรูจ้ กั กับอาการหรือโรค ทีเ่ กิดจากไวรัส เจ้าตัวร้ายทีค่ ณ ุ แม่ตอ้ งทราบถึงสาเหตุและ อาการที่เกิดกับลูกน้อย พร้อมวิธีการรับมือและป้องกัน Chapter 2 พูดคุยกับคุณหมอผูเ้ ชีย่ วชาญทีจ่ ะท�ำให้เรา ได้รู้จักกับธรรมชาติของไวรัสมากขึ้น แล้วที่ว่ากันว่าไวรัส แข็งแรงขึ้น เข้าใกล้เรามากขึ้น และหลายพันธุ์จนไม่มียา รักษานัน้ จริงหรือไม่ พบค�ำตอบได้ใน ModernMom Focus ทัง้ 2 Chapter ค่ะ ModernMom Focus

www.modernmommag.com www.booksmile.co.th www.issuu.com โดย search modernmom focus

เจ้าของ : กลุ่มบริษัท อาร์แอลจี สร้างสรรค์ โดย : นิตยสาร ModernMom Contact Us กลุม่ บริษทั อาร์แอลจี 932 ถนนประชาชืน่ แขวงวงศ์สว่าง เขตบางซือ่ กรุงเทพฯ 10800 กองบรรณาธิการ การตลาดและประชาสัมพันธ์ โทรศัพท์ 0 2831 8400, 0 2913 7555 ต่อ 4420-4424, 3520, 3535 โทรสาร 0 2831 8499 อีเมล์ : mmm@rlg.co.th แผนกโฆษณา โทรศัพท์ 0 2831 8400, 0 2913 7555 ต่อ 3361, 3332, 3359, 3345, 4723 โทรสาร 0 2831 8477 อีเมล์ : rungladda@rlg.co.th


Chapter 1 >>

โรคระบาด เชื้อไวรัสอันตราย คุกคามเด็ก

4


Chapter 1 >>

เมื่อพูดถึงไวรัส เรามักนึกถึงโรคระบาด

โรคระบาดอันเกิดจากการติดเชื้อไวรัสทำ�ให้รู้สึกตื่นตระหนกและหวาดกลัว โรคที่ทำ�ให้ผู้คนล้มตายราวใบไม้ร่วง ยกตัวอย่าง เมื่อประมาณ 10 กว่าปีที่แล้ว ทั้งโลกตื่นตระหนกกับโรคซาร์ส โรคทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรงที่ระบาด ครั้งแรกในประเทศจีน และมีการแพร่ระบาดไปยัง 29 ประเทศ หรือต่อมา โรคไข้หวัดนก ที่เกิดจากเชื้อไวรัส H5N1 ทำ�ให้คนไทยและคนทั้งโลกตื่นตกใจ อยู่พักใหญ่ จนมาถึงเมือ่ ปีทแี่ ล้วถึงปัจจุบนั ทัง้ โลกยังคงจับตามองอย่างหวาดหวัน่ ต่อไวรัส อีโบลา (Ebola virus) ที่ได้คร่าชีวติ ผูป้ ว่ ยชาวแอฟริกนั ไปหลายร้อยราย มีรายงาน การระบาดหนักที่ ไลบีเรีย กีเนีย และเซียราลีโอน ซึ่งเป็นประเทศที่อยู่บริเวณตะวัน ตกของทวีปแอฟริกา เป็นโรคทีย่ งั ไม่มที างรักษา ไม่มวี คั ซีนป้องกัน ผูป้ ว่ ยทีต่ ดิ เชือ้ ไวรัสนี้มีอัตราการเสียชีวิตสูงถึง 60-90 %

ไวรัสอีโบลา ระบาดในทวีปแอฟริกา โรคอีโบลาที่พบระบาดในทวีปแอฟริกา มักพบเกิดกับผู้ ใหญ่และผู้สูงอายุ ไม่ค่อยพบในเด็ก โดยเฉพาะในเด็กเล็ก โรคติดเชือ้ ไวรัสอี โบลา เป็นโรคติดเชือ้ ไวรัสชนิดเฉียบพลันรุนแรง ผูเ้ ชีย่ วชาญ ระบุวา่ การระบาดของเชือ้ ไวรัสอีโบลาในบริเวณตะวันตกของทวีปแอฟริกา ได้สง่ ผล ให้มีผู้เสียชีวิตนับพันราย อาจมีพาหะแพร่เชื้อมาจากผู้ป่วยเด็กหญิงน้อยวัย 2 ปี ในกีเนีย โดยเด็กรายนี้ติดเชื้ออีโบลาและแสดงอาการป่วย 4 วันหลังติดเชื้อ ก่อน ที่จะเสียชีวิตลงเมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2556 โดยยังไม่ทราบสาเหตุว่าเธอติดเชื้อ ไวรัสอีโบลาจากคนหรือสัตว์ และหลังจากนั้นไม่กี่วันพี่สาววัย 3 ขวบของเด็ก และ คุณยายของเด็กก็เสียชีวิตลงตามไป 5


โรคติดเชื้อไวรัส เชื้อไวรัส (Virus) คือ สิ่งมีชีวิตขนาดเล็กมาก

ทำ�ให้เกิดโรคในคนได้หลายโรค ไวรัสจะใช้เซลล์ ใน ร่างกายของมนุษย์ผลิตไวรัสออกมาจำ�นวนมหาศาล ทำ�ให้เซลล์ ไม่สามารถทำ�หน้าที่ ได้ตามปกติ เซลล์ที่ ติดเชื้อไวรัสจะค่อยๆ ตายหรือถูกทำ�ลาย ถ้าเซลล์ ของอวั ย วะใดถู ก ทำ � ลายไปจำ � นวนมากก็ จ ะเกิ ด อาการของโรคต่างๆ ขึ้น อาทิ ไวรัสตับอักเสบ ทำ�ให้ เกิดภาวะตับวาย ไวรัสสมองอักเสบทำ�ให้เกิดอาการ หมดสติ ไม่รู้ตัว ชัก และโคม่า ไวรัสโรคพิษสุนัขบ้า ทำ � ลายเซลล์ ป ระสาททำ � ให้ เ กิ ด อาการเกร็ ง ของ กล้ามเนื้อ หมดสติ และเสียชีวิต การติดเชื้อไวรัสหลายชนิดโดยเฉพาะโรคหวัด (Common cold) โรคไข้หวัดใหญ่ (Influenza) โรคหัด (Measle) โรคอีสกุ อี ใส (Chicken pox) ร่างกายจะสร้างภูมคิ มุ้ กัน ต้านทาน (Antibody) เพื่อต่อต้านเชื้อไวรัสได้ด้วยตัวเองภายใน 2 สัปดาห์หลังจาก ได้รับเชื้อไวรัสเข้าสู่ ในร่างกาย ภูมิคุ้มกันต้านทานนี้จะทำ�ลายเชื้อไวรัสทำ�ให้หายจากโรค ได้โดยอวัยวะต่างๆ ในร่างกายไม่เกิดความเสียหาย ความน่ากลัวของไวรัสอาจจะอยู่ที่การติดต่อ ที่ ไวรัสสามารถติดต่อเข้าสู่ร่างกายได้ หลายทาง เช่น

ไวรัสที่ติดต่อทางยุงกัด

เช่น ไวรัสสมองอักเสบ ไวรัสโรคไข้เลือดออกเด็กที่ พบเสมอในประเทศไทย

ไวรัสที่เข้าทางปาก

ทางการหายใจ

เช่น ไวรัสโรต้าที่ทำ�ให้เกิด โรคท้องร่วง และไวรัสโปลิโอ ที่ ทำ�ให้เกิดโรคแขนขาลีบ ทำ�ให้ เกิดโรคโปลิโอ เป็นต้น

เช่น ไวรัสโรคหวัดธรรมดา ไวรัสโรค ไข้หวัดใหญ่ ไวรัสโรคไข้หวัดนก ไวรัสที่ ทำ�ให้เกิดปอดอักเสบ ไวรัสโรคหัด

ติดต่อทางเลือด

เช่น โรคเอดส์ ไวรัสตับอักเสบทุกชนิด โดยได้รบั เลือดทีม่ เี ชือ้ จากการรับเลือด ถูกเข็ม ฉีดยาทีเ่ ปือ้ นเลือดผูป้ ว่ ยแทงทีผ่ วิ หนัง เลือดที่ มีเชื้อไวรัสเข้าปาก 6


ไวรัสที่คุกคามเด็ก ไวรัสที่คุกคามเด็ก

โรคติดเชื้อไวรัสไม่ ได้น่ากลัวเสมอไป โดยมากมักรักษาหายได้ ความรุนแรงของการติดเชื้อไวรัสขึ้น กับชนิด สายพันธุข์ องไวรัส ปริมาณไวรัสทีเ่ ข้าสูร่ า่ งกาย และสุขภาพของผูป้ ว่ ย ในคนทีม่ ภี มู คิ มุ้ กันต้านทาน โรคต่ำ� โรคมักรุนแรงกว่า เช่น เด็กเล็ก ผู้สูงอายุ หญิงตั้งครรภ์ หรือผู้ที่มีโรคเรื้อรัง

ไวรัสยอดฮิต...คุกคามลูก

ทุกปีเราจะเห็นการออกคำ�เตือน เมื่อพบว่าเด็กๆ เริ่มติดเชื้อและป่วย ด้วยโรคต่างๆ โดยเฉพาะในหน้าฝน ที่เชื้อไวรัสเจริญเติบโตได้ดี โรคต่างๆ เหล่ า นี้ จ ะถู ก กล่ า วถึ ง เพื่ อ ให้ พ่ อ แม่ ระมัดระวังลูกหลาน

โรคไข้เลือดออก โรคติดเชื้อ ในระบบทางเดินหายใจ จากไวรัส RSV โรคมือเท้าปาก ไวรัสโรต้า ทำ�ให้

ท้องร่วงรุนแรง 7


ไวรัส RSV เวียนมาทุกหน้าฝน มักระบาดในช่วงหน้าฝน ไวรัส “Respiratory Syncytial Virus” หรือไวรัส RSV เป็นสาเหตุของอาการหรือโรคติดเชื้อภายในระบบทางเดินหายใจ โดยเฉพาะในเด็ก ไวรัส RSV ติดต่อได้งา่ ยๆ เพียงการสัมผัสใกล้ชดิ หรือสัมผัสสารคัดหลั่งทางตาหรือจมูก และทางลมหายใจ เชื้อไวรัส RSV ต่างจากไข้หวัดธรรมดา เด็กที่เป็น ไข้หวัดธรรมดาจะมีอาการมี ไข้ ไอ จาม น้ำ�มูกไหล กินน้ำ� กินนมได้ ซึ่งจะหายได้ ใน 5-7 วัน แต่สัญญาณเตือนว่า ลูกโดนไวรัส RSV เล่นงาน เด็กจะมีอาการหอบ เหนื่อย บางคนหอบมาก หายใจหอบจนอกบุ๋ม หายใจแรงจน หน้าอกโป่ง หายใจออกลำ�บาก หรือหายใจมีเสียงวี้ดๆ มีภาวะหลอดลมฝอยอักเสบ หรือปอดอักเสบ บางรายไอ มากจนอาเจียน ซึมลง ตัวเขียว กินข้าว กินน้ำ� กินนมไม่ได้ เนื่องจากยังไม่มียารักษา การรักษาเป็นการรักษาแบบประคับประคองตามอาการ และยัง ไม่มวี คั ซีนป้องกันเชือ้ ไวรัส RSV การป้องกันและควบคุมเชือ้ ไวรัส RSV นีต้ อ้ งทำ�ให้รา่ งกายเด็ก แข็งแรงและอบอุน่ อยูเ่ สมอ ไม่น�ำ เด็กไปปะปนในทีแ่ ออัด หรือสถานทีท่ มี่ คี นอยูม่ ากๆ ควรหมัน่ ล้างมือ เด็กบ่อยๆ เพื่อป้องกันการติดเชื้อ ผลการศึกษาใหม่ของนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยเอดินบะระ สก็อตแลนด์การศึกษาระดับโลกครั้งแรก พบว่า ไวรัสอาร์เอสวี (RSV : Respiratory Syncytial Virus) เป็นสาเหตุสำ�คัญที่สุดของการติดเชื้อในระบบทางเดิน หายใจของเด็ก ทำ�ให้เกิดโรคปอดบวมหรือปอดอักเสบ

คร่าชีวิตเด็กทั่วโลกปีละ ราย

200,000

เด็กอายุต�ำ่ กว่า 5 ปี ทัว่ โลก

99%

ติดเชื้อไวรัสดังกล่าว

33.8 ล้านคน

ต้องเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาล 3.4 ล้านคน

อยู่ ในประเทศกำ�ลังพัฒนา 8


โรคมือเท้าปาก ภัยร้ายใกล้ตัวเด็ก มักระบาดในช่วงหน้าฝน โรคมือเท้าปากมักระบาดทุกหน้าฝน โรคนีเ้ กิดประปรายตลอด

ปีแต่จะเพิ่มมากขึ้นในหน้าฝนที่อากาศเย็นและชื้น โรคนี้เกิดจากเชื้อ ไวรัสทีอ่ ยู่ ในกลุม่ เอนเทอโรไวรัส ได้แก่ คอกซากี ไวรัส (Coxsackie virus) บางชนิด และเอนเทอโรไวรัส 71 (Enterovirus 71) ซึ่ง เป็นเชื้อไวรัสที่พบได้บ่อยในเด็กทารกและเด็กเล็กอายุต่ำ�กว่า 5 ปี

หลังจากได้รับเชื้อเด็กจะเริ่มแสดงอาการป่วย มี ไข้ต่ำ� อ่อนเพลีย ต่อมาอีก 1-2 วัน มีอาการคล้าย “อีสกุ อี ใส” หรือการออก “หัด” มีตมุ่ แดง ขนาด 2-8 มิลลิเมตรที่ลิ้น เหงือก กระพุ้งแก้ม ต่อมาจะเห็นเป็นตุ่มน้ำ� สีเทาเล็กๆ แต่ตมุ่ น้�ำ จะแตกเร็วเป็นแผลตืน้ ๆ สีออกเหลืองเทา และมีผนื่ แดง ล้อมรอบ แผลเล็กๆ อาจรวมเป็นแผลขนาดใหญ่ รอยโรคเหล่านี้มักจะ หายไปใน 5-10 วัน ผื่นที่ผิวหนังพบที่มือมากกว่าที่เท้า ความรุนแรง ของโรคมีตั้งแต่น้อยจนอาจถึงขั้นเสียชีวิต การติดต่อส่วนใหญ่เกิดจากเด็กเล็กที่ชอบเล่นคลุกคลี ใกล้ชิดกัน ได้รบั เชือ้ ไวรัสเข้าสูป่ ากโดยตรงในสัปดาห์แรกของการป่วยจะติดต่อง่าย โดยเชื้อไวรัสอาจติดมากับมือหรือของเล่นที่เปื้อนน้ำ�ลาย น้ำ�มูก น้ำ�จาก ตุ่มพองและแผล หรืออุจจาระของผู้ป่วย รวมถึงการไอจามรดกัน โรคนี้ไม่มวี คั ซีนป้องกันและไม่มยี ารักษาโดยเฉพาะ แพทย์จะรักษาแบบประคับประคอง อาการ หากพบเด็กป่วยควรรีบพาเด็กไปพบแพทย์และหยุดพักรักษาตัวที่บ้านประมาณ 7 วัน หรือจนกว่าจะหายเป็นปกติ โรคมือเท้าปากโดยทัว่ ไปกรณีที่ ไม่รนุ แรงสามารถหายได้เองภายในเวลา 5-7 วัน หรือไม่เกิน 2 สัปดาห์ แต่ถ้าเด็กมี ไข้สูง ซึม รับประทานอาหารได้น้อย หรือมีอาการชัก ควรรีบพาไปพบแพทย์เพราะเป็นสัญญาณของภาวะแทรกซ้อนรุนแรง เช่น เยื่อหุ้มสมองอักเสบ สมองอักเสบ ภาวะกล้ามเนื้ออ่อนปวกเปียก หรือกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ ซึ่งภาวะแทรกซ้อนรุนแรง เหล่านี้อาจทำ�ให้เด็กเสียชีวิตได้

สถิติผู้ป่วยโรคมือเท้าปากในไทย ปีละประมาณ

800-1,000 ราย

ในจำ�นวนนี้มากกว่า 9

95%

เป็นเด็กวัย 2-5 ปี


ไวรัสโรต้า...ตัวร้ายทำ�เด็ก 'ท้องร่วงรุนแรง' มักระบาดในช่วงหน้าฝน โรคท้องร่วงกับเด็กน้อยเกิดขึ้นได้เสมอราวกับเป็นของคู่กัน ยิ่ งในหน้ าฝนแบบนี้ เ ชื้ อ ไวรั ส โรต้ า ออกมาอาละวาดได้ง่ายขึ้น ไวรัสโรต้าเป็นสาเหตุทำ�ให้เกิดโรคท้องร่วงในเด็กเล็ก โดยเฉพาะ เด็กวัย 6 เดือนถึง 2 ขวบ เป็นกลุ่มเสี่ยงต่อการติดเชื้อไวรัสโรต้า มากที่สุด

การติดเชื้อไวรัสโรต้าทำ�ให้เกิดลำ�ไส้อักเสบ จึงเกิด อาการโรคท้องร่วง โดยเด็กมักติดเชื้อมาจากของเล่น อาหาร ของใช้ ใกล้ตัวเด็กที่ ไม่สะอาด หากเด็กเล็กที่ชอบ นำ � ของเล่ น หรื อ ของใช้ ที่ มี เ ชื้ อ เข้ า ปากทำ � ให้ ติ ด เชื้ อ ได้ มีการศึกษาวิจัยพบว่าในเด็กแรกเกิดถึงอายุ 5 ขวบแทบ ทุกคนเคยติดเชือ้ นีม้ าแล้ว เมือ่ ติดเชือ้ ไวรัสเด็กจะมีอาการ ท้องเสีย อาเจียน บางรายมีไข้สูง กินได้น้อย และงอแง โรคท้องร่วงจากไวรัสโรต้าสามารถป้องกันได้ด้วยวัคซีน เป็นวัคซีนชนิดรับประทาน (หยอด) สามารถเริ่มให้กับทารกอายุตั้งแต่ประมาณ 6-12 สัปดาห์ องค์การอนามัยโลกแนะนำ�ให้มกี ารนำ�วัคซีนป้องกันไวรัสโรต้าบรรจุในแผนสร้างเสริมภูมคิ มุ้ กันโรค เพื่อช่วยปกป้องเด็กเล็กทั่วโลกจากโรคอุจจาระร่วงจากเชื้อไวรัสโรต้า หลายประเทศทั่วโลก ทัง้ ในทวีปอเมริกา และยุโรปได้บรรจุวคั ซีนโรต้าลงในแผนสร้างเสริมภูมคิ มุ้ กันแห่งชาติแล้ว แต่หลาย ประเทศในแถบเอเชีย และแอฟริกายังไม่มกี ารบรรจุวคั ซีนป้องกันเชือ้ ไวรัสโรต้าในแผนสร้างเสริม ภูมิคุ้มกันโรค สำ�หรับรัฐบาลไทยเริ่มเห็นความสำ�คัญและเตรียมวางนโยบายนี้ไว้ แต่ปัจจุบันยังไม่ ได้บรรจุในแผนวัคซีนแห่งชาติ

“ไวรัสโรต้า” เป็นไวรัสที่แพร่กระจายอย่างกว้างขวางทั่วโลก ในแต่ละปีมเี ด็กเล็กอายุต�่ำ กว่า 5 ขวบป่วยเป็นโรคอุจจาระร่วง ปีละไม่ต่ำ�ว่า 2 ล้านคน จากการติดเชื้อนี้

• ประเทศไทยมีเด็กติดเชื้อไวรัสโรต้า 586,000 ครั้งต่อปี • เข้ามารับการรักษาที่โรงพยาบาล 131,000 ครั้งต่อปี • เข้ารับการรักษาตัวนอนในโรงพยาบาลประมาณ 56,000 ครั้งต่อปี 10


โรคไข้เลือดออก ภัยเงียบจากยุงลาย มักระบาดในช่วงหน้าฝน มีพาหะนำ�โรคคือยุงลาย โรคไข้เลือดออกเป็นปัญหาสาธารณสุขของประเทศใน เขตร้อนชื้นรวมถึงประเทศไทย พบบ่อยในเด็กต่ำ�กว่า 15 ปี โดยเฉพาะช่วงอายุ 2-8 ขวบ เกิดจากเชือ้ ไวรัสไข้เลือดออก ทีช่ อื่ ว่า เดงกี (Dengue) มีพาหะนำ�โรคคือยุงลาย พบผูป้ ว่ ย ได้ตลอดทั้งปีแต่พบมากในช่วงฤดูฝน เนื่องจากเป็นช่วงขยาย พันธุ์ของยุงลาย

หากลูกป่วยเป็นไข้เลือดออก สามารถสังเกตอาการได้ 3 ระยะคือ ระยะที่ 1 ลูกจะมีระยะไข้สูง ประมาณ 2-7 วัน เนื้อตัว และใบหน้าจะแดงกว่าปกติ อาจมีผื่นขึ้น มีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง อาจพบว่ามีจุดเลือดออกตามตัว ระยะที่ 2 เป็นระยะวิกฤต หลังจากที่มี ไข้สูงระยะหนึ่งแล้ว ไข้จะลดลงอย่างรวดเร็ว และจะมีการรั่วของพลาสมา หรือน้ำ�เหลือง ออกนอกเส้นเลือด ถ้าให้สารน้�ำ โดยการกินหรือน้�ำ เกลือทางเส้นเลือด ทดแทนไม่ทัน ผู้ป่วยจะอยู่ ในภาวะความดันโลหิตต่ำ�หรือช็อกได้ ระยะที่ 3 ระยะพั ก ฟื้ น ผู้ป่วยจะมีอาการโดยทั่วไปดีขึ้น หากพบว่าลูกมี ไข้พ่อแม่ควรสังเกตอาการของลูกอย่างใกล้ชิด

โรคนี้ยังไม่มียารักษาเฉพาะ การรักษาเป็นเพียงการรักษาตามอาการเท่านั้น

สถานการณ์ ไข้เลือดออกในประเทศไทย ปี 2557

จำ�นวนผู้ป่วย

เสียชีวิต

ราย

ราย

40,278

41

11


เชื้อไวรัส Enterovirus 68 ในปี 2557 ที่ผ่านมา เด็กชาวสหรัฐหลายร้อยคน ถูกไวรัส Enterovirus 68 คุกคาม ไวรัสนี้ทำ�ให้เกิด โรคติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจทุกปี แต่ ในปีที่แล้วเชื้อ Enterovirus 68 เป็นเชื้อไวรัสชนิดที่พบเป็นสาเหตุ ของอาการเจ็บป่วยทางระบบทางเดินหายใจในประเทศ สหรัฐอเมริกามากที่สุด พบการแพร่กระจายของโรคใน เกือบ 50 รัฐทั่วประเทศ มีเด็กติดเชื้อนี้มากกว่า 400 คน เชื้อไวรัสนี้ทำ�ให้เด็กหายใจไม่ออก และหลายรายพัฒนาไปสู่อาการ กล้ามเนื้ออ่อนแรงคล้ายโรคโปลิโอ ไวรัสชนิดนี้ค้นพบเมื่อ 50 ปีท่แี ล้ว รูจ้ กั ในชือ่ สัน้ ๆ ว่า ไวรัส EV-D68 เป็นสาเหตุให้เกิดอาการคล้ายเป็น ไข้หวัด ในผูป้ ว่ ยเด็กบางกลุม่ อาจเกิดอาการรุนแรง มีภาวะหายใจลำ�บาก หายใจมีเสียงวี๊ด โดยพบว่าผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงมักเป็นผู้ป่วยที่มี โรคหืด (asthma) หรือโรคหลอดลมไวมากผิดปกติ (reactive airway disease) อยูแ่ ล้ว แม้ว่าผู้ป่วยส่วนใหญ่ท่ตี ิดเชื้อ Enterovirus 68 จะมีอาการแสดงทางระบบทางเดินหายใจ เป็นหลัก แต่กระทรวงสาธารณสุข สหรัฐอเมริกา ได้พบว่ามีเด็ก 9 รายทีเ่ กิดอาการกล้ามเนือ้ อ่อนแรงคล้าย โรคโปลิโอ โดยเด็กทัง้ หมดติดเชือ้ ไวรัส EV-D68 และมีอาการติดเชือ้ ระบบทางเดินหายใจก่อน จะเกิดอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรง ไวรัส EV-D68 เป็นหนึง่ ในเชือ้ ไวรัส 100 ชนิดที่ไม่ใช่เชือ้ ไวรัส โปลิโอ โดยไวรัสทัง้ 100 ชนิดนีท้ �ำ ให้เด็กและทารกป่วย 10-15 ล้านคนต่อปี เด็กมีความเสีย่ งต่อการ ติดเชือ้ ไวรัสเหล่านีม้ ากกว่าผู้ใหญ่ เนือ่ งจากระบบภูมคิ มุ้ กันของเด็กยังพัฒนาไม่สมบูรณ์ โดยเฉพาะเด็ก ทีเ่ ป็นโรคหอบหืดอยูแ่ ล้วจะเป็นกลุม่ ทีเ่ สีย่ งมากทีส่ ดุ นอกจากนี้มีรายงานว่าพบร่องรอยของเชื้อไวรัส Enterovirus ที่ทำ�ให้เด็กในทวีปเอเชียและ ออสเตรเลียเกิดอาการกล้ามเนือ้ อ่อนแรงคล้ายโปลิโอ จากรายงานข่าวการระบาดของไวรัส Enterovirus D68 ในสหรัฐอเมริกา จนทำ�ให้มเี ด็กเสียชีวติ สายพันธุข์ องไวรัสทีพ ่ บในอเมริกาเป็นสายพันธุท์ ค่ี ล้ายคลึงกันมากกับสายพันธุท์ พ ่ี บในประเทศไทย พบผูป้ ว่ ยไทย 3 ราย ทีป่ ว่ ยเป็นโรคทางเดินหายใจอักเสบรุนแรงจาก Enterovirus D68 โดยศูนย์ เชีย่ วชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินกิ ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย ได้ศกึ ษาเกีย่ วกับไวรัส Enterovirus D68 มาตัง้ แต่ปี 2554 โรคนีย้ งั ไม่มยี ารักษา ทำ�ได้เพียงรักษาตามอาการ และพยายามช่วยให้เด็กหายใจได้ดขี นึ้ รวมถึงยังไม่มีวัคซีนที่สามารถป้องกันการติดเชื้อไวรัสนี้ ได้

เชื้อไวรัส Enterovirus 68 เล่นงานเด็กอเมริกัน

ติดเชื้อระบบทางเดินหายใจนับร้อย แพร่ระบาดกว่า 40 รัฐ 12


ดาวน์ โหลดฉบับย้อนหลัง

ดาวน์ โหลดทุกวันที่ 15 และ 30 ของทุกเดือน



Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.