ModernMom Focus Vol.1 No.9 Chapter 2 October 2015

Page 1

Chapter

2

รับมือ

ไวรัส...วายร้าย

Vol.1 No.9 / Chapter 2 October 2015



Vol.1 No.9 / Chapter 2 October 2015

Chapter 1 : “ไวรัส” ป่วนลูก Chapter 2 : รับมือ “ไวรัส...วายร้าย”

สวัสดีค่ะคุณแม่ ModernMom ทุกท่าน

ModernMom Focus กับ Hot Issue เดือนหน้าฝนต้น หนาวอย่างนี้... จะมีสงิ่ ใดทีค่ ณุ แม่ๆ ใส่ใจเกินเรือ่ งสุขภาพ ไม่มคี ะ่ เพราะว่าอากาศทีเ่ ปลีย่ นแปลงก็ทำ� ให้ลกู น้อยเราไม่ เหมือนเดิม นัน่ คือป่วยตามมาจาก “ไวรัส” ที่ไม่เคยปราณี หลายท่านตัง้ ขอสังเกตว่าเจ้าไวรัสมันเก่งขึน้ หรือเปล่า มีมาก ขึน้ หรืออย่างไร ท�ำไมเพือ่ นลูก ลูกของเพือ่ นป่วยกันบ่อย เสียเหลือเกิน ModernMom Focus ทัง้ 2 Chapter Chapter 1 จะพาคุณแม่ไปท�ำความรู้จักกับอาการหรือ โรคทีเ่ กิดจากไวรัส เจ้าตัวร้ายทีค่ ณ ุ แม่ตอ้ งทราบถึงสาเหตุ และอาการทีเ่ กิดกับลูกน้อย พร้อมวิธกี ารรับมือและป้องกัน Chapter 2 พูดคุยกับคุณหมอผูเ้ ชีย่ วชาญทีจ่ ะท�ำให้เรา ได้รู้จักกับธรรมชาติของไวรัสมากขึ้น แล้วที่ว่ากันว่าไวรัส แข็งแรงขึ้น เข้าใกล้เรามากขึ้น และหลายพันธุ์จนไม่มียา รักษานัน้ จริงหรือไม่ พบค�ำตอบได้ใน ModernMom Focus ทัง้ 2 Chapter ค่ะ ModernMom Focus

www.modernmommag.com www.booksmile.co.th www.issuu.com โดย search modernmom focus

เจ้าของ : กลุ่มบริษัท อาร์แอลจี สร้างสรรค์ โดย : นิตยสาร ModernMom Contact Us กลุม่ บริษทั อาร์แอลจี 932 ถนนประชาชืน่ แขวงวงศ์สว่าง เขตบางซือ่ กรุงเทพฯ 10800 กองบรรณาธิการ การตลาดและประชาสัมพันธ์ โทรศัพท์ 0 2831 8400, 0 2913 7555 ต่อ 4420-4424, 3520, 3535 โทรสาร 0 2831 8499 อีเมล์ : mmm@rlg.co.th แผนกโฆษณา โทรศัพท์ 0 2831 8400, 0 2913 7555 ต่อ 3361, 3332, 3359, 3345, 4723 โทรสาร 0 2831 8477 อีเมล์ : rungladda@rlg.co.th


Chapter 2 >>

สัมภาษณ์พิเศษ รศ.นพ.ชิษณุ พันธุ์เจริญ ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

รู้จัก...ไวรัส (ไม่) ร้าย เรื่องน่ารู้ การป้องกัน และวิธีรับมือ

4


Chapter 2 >>

“ไวรัส” เชื้อโรคที่ ได้รับการกล่าวขานถึงอยู่เสมอ ในฐานะต้นเหตุของโรคระบาดที่น่าหวาดกลัว ไม่ว่าจะเป็นโรคอี โบลา โรคเมอร์ส ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ ใหม่ ฯลฯ ซึ่งล้วนนำ�ความกังวลมาสู่พ่อแม่ เป็นอย่างมากในบางช่วงเวลา เพื่อคลายความสงสัยต่างๆ เราไปทำ�ความรู้จักกับไวรัสด้วยการจับเข่าคุยเรื่องภัยร้ายไวรัสกับ รศ.นพ.ชิษณุ พันธุเ์ จริญ ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทีจ่ ะมา เผยทุกแง่มุมที่พ่อแม่ควรรู้เกี่ยวกับโรคติดเชื้อไวรัสในเด็ก วิธีการป้องกันเชื้อโรคชนิดนี้แบบที่ทำ�ได้จริงใน ชีวิตประจำ�วัน และวิธีการรับมือหากลูกเกิดการติดเชื้อขึ้น

“ไวรัส” โรคระบาดต่างๆ ที่เกิดขึ้นในโลก

วัยป่วยง่าย...ต้องระวัง

ไวรั ส ท� ำ ให้ เ กิ ด โรคระบาดที่ มี ก ารเฝ้ า ระวั ง ในระดับโลก ส�ำหรับในประเทศไทย รศ.นพ.ชิษณุ พั น ธุ ์ เ จริ ญ กล่ า วว่ า ยั ง ไม่ มี อ ะไรต้ อ งกั ง วลนั ก เพียงแต่ควรติดตามข่าวและรู้เท่าทัน “ถ้าพูดถึงโรคระบาดโรคยังไม่เข้ามาในประเทศไทย รัฐบาลมีมาตรการในการป้องกันตรวจสอบ เช่น คนทีม่ าจากเกาหลีจะถูกกักไว้ถา้ มีไข้ มีการเฝ้าติดตาม ระดับโลกเองก็มีการเฝ้าติดตามอย่างใกล้ชิด เรามี โครงสร้างที่พร้อมจากโรคไข้หวัดใหญ่ การเตรียม ความพร้อมเรื่องไข้หวัดใหญ่ท�ำให้ดูแลไวรัสหลายๆ ตัวได้เหมือนกัน ถ้ามีคนไข้เมอร์สเข้ามาเรามีห้อง แยกผู้ป่วยไว้ เราเตรียมไว้หมดแล้วที่จะควบคุม เหมือนตอนเกิดซาร์สเคสแรกๆ ก็มาอยู่ที่สถาบัน บ�ำราศนราดูร เราสามารถควบคุมได้ เพราะฉะนั้น เรื่องความกังวล ไม่รู้เลยก็ไม่กังวล รู้งูๆ ปลาๆ อาจ กังวลมาก เติมความรู้เพิ่มเข้าไป จะกังวลน้อยลง หมออยากให้กลับมาดูแลสุขภาพของเราให้แข็งแรง ที่เหลือก็เป็นเรื่องสิ่งแวดล้อม องค์กร หน่วยงาน แล้วก็เป็นเรื่องที่เราต้องเฝ้าติดตาม เพราะจะมีข่าว ต่างๆ ออกมาเป็นระยะๆ"

“เด็กติดเชื้อไวรัส กลุ่มเรื่องของไข้ทั้งที่เป็นไข้ เฉยๆ กับไข้ที่มีอาการหวัด เกิดจากภูมิคุ้มกันที่ลูก ได้จากแม่ตั้งแต่แรกเกิดเริ่มลดลง ลดถึงระดับต�่ำสุด ที่อายุประมาณ 3-4 เดือน เพราะฉะนั้นพอเด็กอายุ 3-4 เดือน บอกได้เลยว่าเด็กจะต้องเริ่มป่วย อาจจะ เป็นไข้ เป็นหวัด เป็นหวัดอาจจะลงปอดได้ เป็นสิ่งที่ เจอทัว่ ไป ช่วงนี้เป็นช่วงที่ร่างกายไม่แข็งแรง เพราะ ฉะนั้นคุณพ่อคุณแม่ก็ต้องดูแลดีๆ เช่น ฉีดวัคซีน ให้ครบเท่าที่ท�ำได้ ไม่พาลูกไปรับเชื้อโรคนอกบ้าน พาเดินห้าง เข้าเนิร์สเซอรี่ ไม่มาโรงพยาบาลโดยไม่ ได้เจ็บป่วย หรือมาใช้เวลาอยู่ในโรงพยาบาลนานๆ เพราะช่วงวัยนี้มีความเสี่ยง ช่วงที่เสี่ยงช่วงที่สองคือ ช่วงที่เข้าโรงเรียน ช่วงนี้ร่างกายแข็งแรงแล้ว แต่ที่ โรงเรียนหรือสถานรับเลีย้ งเด็กทีม่ เี ด็กจ�ำนวนมากมา อยู่รวมกันเป็นแหล่งแพร่เชื้อที่ส�ำคัญ”

5


โรคติดเชื้อไวรัสที่สำ�คัญ 3 กลุ่ม กลุม่ ระบบทางเดินหายใจ ไวรั ส ที่ ทำ � ให้ เ ป็ น ไข้ แ ละส่ ง ผล ให้ เ กิ ด การติ ด เชื้ อ ในระบบทาง เดิ น หายใจได้ ที่ สำ � คั ญ คื อ เชื้ อ RSV (RSV : Respiratory Syncytial Virus) และเชื้อไวรัส โรคไข้หวัดใหญ่ กลุม่ ระบบทีท่ �ำ ให้เกิดไข้และผดผืน่ ไวรัสทีท่ �ำ ใหเป็นไข้และมีผนื่ เช่น โรคมือเท้าปาก และโรคอีสุกอี ใส กลุม่ ระบบทางเดินอาหาร ไ ว รั ส ที่ ทำ � อั น ต ร า ย ร ะ บ บ ทางเดินอาหาร ทำ�ให้เกิดอาการท้อง เสี ย และโรคอุ จ จาระร่ ว ง ที่ สำ � คั ญ คือ ไวรัสโรต้า

เชื้อไข้หวัดใหญ่ เป็นได้ทุกอายุ เชื้อ RSV เป็นมากในเด็กเล็ก เชื้อไวรัสโรต้า เป็นมากในเด็กวัยเล็ก โรคมือเท้าปาก เป็นมากในเด็กอนุบาล 6


โรคติดเชื้อไวรัส ระบบทางเดินหายใจ

เชื้อ RSV และทางเดินหายใจ

เชื้อไข้หวัดใหญ่ไวรัสต้านได้

เดินหายใจ เชือ้ ทีส่ �ำ คัญทีค่ วรจะพูดถึงน่าจะมีแค่ 2 ตัว ตัวแรกคือเชือ้ RSV ซึง่ มีการระบาดหนักมากในช่วง 2-3 เดือนทีผ่ า่ นมา ติดต่อกันง่ายมาก ไม่มีอะไรป้องกันได้ ไม่มีวัคซีน ในการป้องกัน การป้องกันต้องใช้การป้องกันโดยรวม 2 วิธีคือ • ล้ า งมื อ บ่ อ ยๆ ทั้งเด็กและผู้ ใหญ่ ใส่หน้ากาก อนามัย ซึง่ เด็กเล็กๆ ทำ�ได้ยากมาก เชือ้ RSV สามารถ วินจั ฉัยตรวจทางห้องแล็บได้วา่ เป็น RSV แต่ไม่มยี าที่ใช้ รักษา เป็นโรคทีห่ ายเองได้ โดยรวมไวรัสหายเองได้ แต่ RSV มีความโดดเด่นคือ เนือ่ งจากมันทำ�ให้หลอดลมไวต่อสิง่ กระตุน้ เพราะฉะนัน้ เด็กมีโอกาสที่จะเป็นหอบหืดหลังติดเชื้อ RSV ได้มาก ที เ ดี ย ว ต้ อ งติ ด ตามระยะยาวว่ า เด็ ก ที่ติด เชื้อ RSV จะกลายเป็นหอบหืดไหม เราสามารถลดความเสีย่ งทีจ่ ะ เกิดหอบหืดได้ โดยกินนมแม่ให้นานๆ • สองจัดสิง่ แวดล้อมให้ดี ทีน่ อนมีฝนุ่ เยอะก็แน่นอน มีโอกาสเสีย่ งทีจ่ ะเกิดภูมแิ พ้หรือหอบหืด แต่วา่ มันมีปจั จัย หลายอย่างทีท่ �ำ ให้เกิดหอบหืด การติดเชือ้ RSV เป็นหนึง่ ในปัจจัย

หายใจคือ ไวรัสไข้หวัดใหญ่ เชือ้ RSV พอเด็กโตขึน้ แล้ว ไม่คอ่ ยเป็น แต่ไข้หวัดใหญ่เป็นได้ทกุ อายุตง้ั แต่เด็กจนแก่ แต่มชี ว่ ง 2 อายุทถ่ี า้ เป็นไข้หวัดใหญ่แล้วจะอาการรุนแรง มากคือเด็กเล็ก โดยเฉพาะเด็กต่�ำ กว่า 2 ขวบ กับผู้ใหญ่ อายุเกินกว่า 65 ปี นีค่ อื เหตุผลทีร่ ฐั บาลให้วคั ซีนไข้หวัด ใหญ่ฟรีกบั เด็กอายุต�ำ่ กว่า 2 ปี และผู้ใหญ่อายุมากกว่า 65 ปี ไข้หวัดใหญ่มยี ารักษา เรามียาต้านไวรัสไข้หวัดใหญ่

เชือ้ ไวรัสตัวทีส่ องทีม่ คี วามสำ�คัญของระบบทางเดิน

ไวรัสทีท่ �ำ ให้เป็นไข้และเกิดอาการติดเชือ้ ในระบบทาง

เพราะฉะนั้นมีท้ังวัคซีนในการป้องกัน มีท้ังยาใน การรักษา ยาที่ใช้ ในการรักษาก็จะให้ ในเด็กเล็ก คนแก่ คนทีม่ ีโรคประจำ�ตัว รวมทัง้ คนแข็งแรงอย่างเรา เด็กโต ทีม่ อี าการแทรกซ้อน เช่น เด็กอายุ 5 ปีตดิ เชือ้ ไวรัสไข้หวัด ใหญ่และเป็นปอดบวมก็จะให้ยาต้านไวรัสไข้หวัดใหญ่

7


โรคติดเชื้อไวรัสที่ทำ�ให้เกิดไข้และเป็นผื่น

กินของเย็นนำ�เพื่อให้ชาก่อนกินข้าว พอชาก็จะกินข้าว ได้มากขึ้น นี่เป็นไม้ตายเลยที่จะทำ�ให้เด็กไม่ต้องนอน โรงพยาบาล เราพยายามประคับประคองไม่ ให้เด็ก ต้องนอนโรงพยาบาลโดยให้กินของเย็น แต่พ่อแม่ ไม่ค่อยเชื่อว่าเป็นไข้แล้วให้กินของเย็นได้ยังไง อันตรายทีส่ �ำ คัญจากโรคนีค้ อื ภาวะแทรกซ้อน ซึ่ ง แม้ จ ะพบน้ อ ยมากแต่ ซี เ รี ย สถึ ง ตาย เชื้อเอนเทอโรไวรัส 71 ซึ่งการติดเชื้อไวรัส ตัวนี้อาจทำ�ให้เกิดภาวะแทรกซ้อนทางสมอง มีรายงานในต่างประเทศเยอะ แต่ในประเทศไทย รายงานความรุนแรงแบบนีพ ้ บน้อยกว่า แต่ตอ้ งบอก พ่อแม่ไว้เสมอ เพราะพ่อแม่ไม่ได้คาดหวังว่าลูกฉันอยูด่ ๆี มีแค่ไข้แล้วเสียชีวติ เพราะฉะนัน้ เราจะบอกพ่อแม่เสมอ ว่าในระหว่างที่ดูแลลูกอยู่ท่บี ้าน ถ้ามีอาการเหล่านี้ต้อง ระวัง เช่น มีอาการซึม มีอาการชัก มีอาการกระตุก ซึง่ เป็นอาการทางสมอง นอกจากนีก้ อ็ าจจะมีอาการหัวใจ เต้นผิดปกติหรือหายใจดูผิดปกติ ไป จำ�เป็นต้องมา โรงพยาบาลด่วน หมอไม่อยากให้ประเด็นนี้เป็นเรื่อง ที่ทำ�ให้สังคมตื่นตระหนกจนเกินไป แต่ต้องรู้ว่าแม้จะ พบน้อย แต่รนุ แรงมาก ถ้าเห็นสัญญาณภาวะแทรกซ้อน ทางสมองทีว่ า่ มาให้พามาโรงพยาบาลทันที

มือเท้าปากต้องระวัง

มื อ เท้ า ปาก จาก “เอนเทอโรไวรั ส 71”

ไวรั ส สำ � คั ญ อี ก กลุ่ ม หนึ่ ง คื อ มื อ เท้ า ปาก เกิ ด จาก เชื้ อ ไวรั ส หลายตั ว แต่ เ ชื้ อ ที่ สำ � คั ญ คื อ เอ็ น เทอโร ไวรัส71 ไวรัสตัวนีร้ นุ แรงมากกว่าไวรัสตัวอืน่ ๆ ทีท่ �ำ ให้ เกิดโรคมือเท้าปาก เด็กทีต่ ดิ เชือ้ จะมีไข้ จากนัน้ มีตมุ่ ใสที่ มือเท้าและปาก การระบาดมักเกิดในเด็กอนุบาล พอมีเด็ก คนหนึง่ เป็น การระบาดจะรวดเร็วเพราะเด็กเล่นคลุกคลีกนั มื อ เท้ า ปากเป็ น โรคที่ ไม่ รุ น แรง แต่ มี ก าร แพร่ ร ะบาดมากถึ ง ขนาดต้ อ งปิ ด เนิ ร์ ส เซอรี่ ปิ ด โรงเรี ย น จึ ง มี ค วามสำ � คั ญ ทางการแพทย์ แ ละ สำ � หรั บ โรงเรี ย น ครู จึ ง ต้ อ งมานั่ ง วั ด ไข้ เ ด็ ก ทุ ก วั น คอยเปิดปาก ตรวจมือตรวจเท้าเด็ก เพือ่ ทีจ่ ะแยกเด็ก ที่เป็นมือเท้าปากให้อยู่ที่บ้าน ไม่ ให้มาแพร่ ในโรงเรียน โดยหวั ง ว่ า จะหยุ ด การแพร่ ร ะบาดในโรงเรี ย นได้ ถ้ า หยุ ด ไม่ อ ยู่ เ ป็ น กั น เยอะก็ ปิ ด โรงเรี ย น ทำ � ความ สะอาด พอเด็กหายก็กลับมาเปิดโรงเรียนได้

อีสกุ อีใสรับมือได้

อีสกุ อี ใสเป็นตุม่ ใสคล้ายๆ มือเท้าปาก แต่ไม่ได้อยูแ่ ค่ มือเท้า แต่กลับเป็นทีต่ ามตัว ใบหน้า ตั วโรคอาจจะไม่รุน แรงมาก แต่แ พร่ระบาดไป สูค่ นอืน่ ได้ ถ้าเป็นอีสกุ อี ใสต้องหยุดเรียน ถ้ามีอสี กุ อี ใส ระบาดทั้ ง โรงเรี ยนเป็น เรื่องใหญ่ ไวรัส นี้จะรุน แรง ในผู้ ใหญ่และเด็กโต ถ้าเด็กเล็กเป็นอีสุกอี ใสอาการ จะไม่รุนแรงมาก

โรคมือเท้าปากนี้ ไม่ค่อยรุนแรงแต่ความสำ�คัญ อยู่ ท่ี แ ผลในปากกั บ ไข้ เด็ ก อาจมี ไ ข้ สู ง และชั ก ได้ แต่ไม่ได้เจอบ่อยๆ แต่ทเ่ี จอแน่ๆ คือแผลในปาก ซึง่ เจ็บมาก ทำ�ให้เด็กกินไม่ได้ พ่อแม่กจ็ ะไม่สบายใจ ในตำ�ราจะเขียน เลยว่าให้กนิ ของเย็น น้�ำ เย็น นมเย็น อมน้�ำ แข็ง กินไอติม 8


โรคติดเชื้อไวรัส ระบบทางเดินอาหาร

ไวรัสโรต้า ทำ�หนูทอ้ งเสีย

อาการจากการติดเชื้อไวรัสอีกกลุ่มหนึ่งคือ ไวรัสที่ทำ�ให้ท้องเสีย กลุ่มนี้เกิดจากเด็ก สำ�รวจร่างกายเรื่อยๆ จนถึงวันหนึ่งอมนิ้วแล้วรู้สึกว่ามีความสุข มือที่สกปรก ของทุกอย่าง เอาเข้าปากหมด ขณะที่ระบบทางเดินอาหารยังไม่แข็งแรง กว่าจะแข็งแรงต้องอายุประมาณ 1 ปี เด็กจึงมีอาการท้องเสียได้ตั้งแต่อายุ 3 เดือน เด็กวัย 3 เดือนนี่บอกได้เลยจะมีโรคอยู่ 2 โรคคือ ระบบทางเดินหายใจกับระบบทางเดินอาหาร พอถึง 1 ปี เด็กจะเริ่มป่วยจาก ท้องเสียน้อยลง ยกเว้นไวรัสโรต้า

ซึ่งมีลักษณะสำ�คัญอยู่อย่างหนึ่งคือ ทนทานและอยู่ ในสิ่งแวดล้อมทั่วไปได้ อะไรก็ ฆ่าไม่ได้ ล้างมือให้สะอาดอย่างไรก็ ไม่รอด เด็กหรือคนทุกคนต้องติดเชื้อไวรัสโรต้าสักครั้ง หนึ่งในชีวิต จึงมีคำ�สำ�คัญอันหนึ่งว่า ไวรัสโรต้า คือสาเหตุสำ�คัญที่สุดของโรคอุจจาระร่วงในเด็ก 5 ขวบปีแรก ไม่ว่าจะประเทศไหนในโลก แม้แต่ประเทศที่พัฒนาแล้ว จึงต้องรณรงค์ 2 เรื่อง เพือ่ ป้องกันไวรัสตัวนี้ หนึง่ ต้องกินนมแม่ให้นานทีส่ ดุ แต่กจ็ ะมาติดเชือ้ ไวรัสโรต้าตอนโตหน่อย แต่ถา้ ไม่กนิ นมแม่กอ็ าจจะเป็นได้ตงั้ แต่อายุยงั ไม่ถงึ ขวบ นีค่ อื ภาพรวมของการติดเชือ้ ไวรัสในเด็ก ที่พบบ่อย โรคติดเชื้อของระบบทางเดินอาหาร รู้จักไวรัสโรต้าตัวเดียวก็พอ

9


Chapter 2 >>

การป้องกันไวรัสในชีวิตประจำ�วัน รศ.นพ.ชิษณุ ได้แนะน�ำวิธีป้องกันเชื้อไวรัสที่ ควรท�ำในชีวิตประจ�ำวัน และควรสอนเด็กๆ ให้มี คุ ้ น ชิ น กั บ พฤติ กรรมที่ ถู ก สุ ข ลั ก ษณะให้ เ ป็ น นิ สั ย ตั้งแต่วัยเล็กๆ “วิธปี อ้ งกันไวรัสโรต้า การล้างมือ และปรุงอาหาร สะอาดช่วยป้องกันไวรัสโรต้าได้น้อย แต่ก็ต้องท�ำ เพราะช่วยป้องกันเชื้อโรคอื่นๆ เช่น โรคบิด หรือโรค อหิวาต์ แต่ไวรัสโรต้าป้องกันไม่ได้ ต้องท�ำใจ ไวรัสที่ท�ำอันตรายต่อระบบทางเดินหายใจกับ ไวรัสทีท่ ำ� ให้เกิดไข้อย่างเดียว การติดต่อใกล้เคียงกัน มาก ส่วนใหญ่เราจะเข้าใจว่าไข้หวัดไอจามรดกัน ไอ จามรดกันก็สำ� คัญ แต่ไม่สำ� คัญเท่ากับมือ เช่น พิมพ์ คอมพิวเตอร์ พอจามเอามือปิด มือนั้นไปจับแป้น พิ ม พ์ ต ่ อ เราต้ อ งเปลี่ ย นพฤติ กรรมในการจาม อย่าเอามือปิด ให้ใช้ผ้าปิด ใช้แขนเสื้อปิด และ ต้องท�ำความสะอาดอุปกรณ์ที่เราใช้นิ้วจิ้มเยอะๆ บ่อยๆ เช่น คีย์บอร์ดคอมพิวเตอร์ ปุ่มลิฟต์ ลูกบิด ประตู คนไทยชอบไปเช็ดพื้น ซึ่งไม่มีประโยชน์ เพราะเราไม่เคยเอามือไปเช็ดพื้นแล้วมาจิ้มจมูก การป้ อ งกั น เชื้ อ ไวรั ส เรื่ อ งส� ำ คั ญ คื อ ความสะอาด พฤติกรรมการไอจะต้องถูกต้อง ต้องล้างมืออย่าง สม�่ำเสมอในช่วงที่มีการระบาดของโรค เมื่อไหร่ ก็ตามที่เจ็บป่วยควรรับผิดชอบต่อสังคมโดยการใส่ หน้ากากอนามัย ปิดปากปิดจมูก เวลาไอจามและล้าง มือบ่อยๆ การใส่ ห น้ า กากอนามั ย เมื่ อ มี อ าการไข้ ห วั ด เราต้ อ งสอนตั้ ง แต่ เ ด็ ก เล็ ก ตอนนี้ ใ นโรงเรี ย น

บางโรงเรียนมีการสอนให้เด็กปิดหน้ากากระหว่าง ที่ยังไม่มีอาการเพื่อให้เด็กคุ้นชิน มีการวาดการ์ตูน บนหน้ากากอนามัยเพื่อดึงดูดใจเด็กๆ เรื่องที่สองคือ การสอนเด็ก ล้างมือให้ถูกวิธี ไม่ ใช่ล้างแผล็บๆ จะล้างด้วยน�้ำกับสบู่ หรือแอลกอฮอล์เจลก็ได้ สอน เด็กๆ เปลี่ยนพฤติกรรมการไอจามไม่ให้โดนที่มือ เปลี่ยนพฤติกรรมการกดลิฟท์ โดยใช้ปากกากด หรือ อาจจะใช้กุญแจ ข้อมือ ข้อนิ้ว กดแทนการใช้นิ้วชี้ เป็นต้น ประวัตศิ าสตร์บอกเราไว้ อย่างโรคซาร์สนีเ่ คยสอน เราไว้แล้ว เราสามารถติดตามได้เลยว่า คนที่ติด จากผู้ป่วยคนแรกติดผ่านการกดลิฟท์ มันบอกได้ ขนาดนี้ สิ่งเหล่านี้เราต้องเรียนรู้จากประวัติศาสตร์ แล้วน�ำมาแก้ไขปัจจุบันว่าเราจะท�ำยังไง อย่าหวัง พึ่งรัฐบาล หรือวัคซีนอย่างเดียว สังคมก็ต้องช่วยกัน รณรงค์ ต้องฝึกมาตั้งแต่เด็กแล้วปฎิบัติเป็นประจ�ำ เวลาเรามองการติ ด เชื้ อ เราจะมอง 2 ส่ ว น ส่วนแรกคือคนต้องดี สองคือสิ่งแวดล้อม ต้องดี คนเราก็ จ ะมี ช ่ ว งที่ ร ่ า งกายอ่ อ นแอเองอย่ า ง ที่บอก อายุ 3 เดือนถึง 2 ปี ช่วยไม่ได้เรื่องการ เป็นหวัดเป็นไข้ หรือในช่วง 3 เดือนถึง 1 ปีต้องเจอ ท้องเสีย ในช่วงนัน้ เราต้องรักษาสุขภาพเด็กให้ดที สี่ ดุ ตัวที่จะมาสร้างให้ภูมิคุ้มกันดีมีอยู่ 2 อย่างเท่านั้น อั น แรกภู มิ โ ดยธรรมชาติ คื อ นมแม่ ที่ ป ้ อ งกั น โรคติดเชื้อ ป้องกันโรคภูมิแพ้ได้ด้วย อย่างที่สอง เป็นการสร้างภูมิโดยไม่ใช่ธรรมชาติด้วย วัคซีน” 10


Chapter 2 >> "วัคซีน" ยุติไวรัส “การที่รัฐบาลฉีดวัคซีนให้กับเด็กและผู้สูงอายุ อาจจะไม่พอ ยกตัวอย่าง เด็ก 6 เดือนแรก ยังฉีดวัคซีน ใข้ ห วั ด ใหญ่ ไ ม่ ไ ด้ แต่ ถ้า เด็ ก 6 เดื อ นแรกเป็ น ไข้ ห วั ด ใหญ่ แ ล้ ว เรื่อ งใหญ่ ม าก ดั ง นั้น เราต้ อ ง ฉีดให้คนท้อง หรือจะฉีดให้คนที่ดูแลเด็ก พี่เลี้ยง ปู่ย่าตายาย พ่อแม่ คนในบ้านทั้งหมด จนกระทั่ง เด็กอายุ 6 เดือนเด็กจะเริ่มฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ได้ การป้องกันเป็นเรือ่ งสำ�คัญมาก วัคซีนเป็นอาวุธหนึง่ ที่มาช่วย ตอนนีเ้ ริม่ เจอไข้หวัดใหญ่หนาตาขึน้ และน่าตกใจ เพราะเด็กที่เป็นไข้หวัดใหญ่บางคนฉีดวัคซีนแล้ว แปลว่าปีนี้การคาดคะเนสายพันธ์ุที่จะระบาดอาจไม่ ถูกต้องนัก ปีไหนคาดไม่ค่อยถูก คนที่ฉีดวัคซีนแล้ว ก็จะบ่นว่าท�ำไมฉันฉีดแล้วยังเป็นอยู่ เพราะสายพันธุ์ ไข้หวัดใหญ่มเี ป็นพัน ไข้หวัดใหญ่พบได้ทงั้ ปี แต่เจอ บ่อยในหน้าฝน และหน้าหนาว เราก็จะฉีดวัคซีนดัก ไว้ประมาณเดือนสิงหาคม ส�ำหรับไข้เลือดออกพอเริ่มมีฝนน�้ำขัง ยุงลายก็

เริ่มมาก็จะเริ่มมีไข้เลือดออก เรารอวัคซีนไข้เลือด ออกมานานมากตั้งแต่หมอเป็นหนุ่ม ไม่ส�ำเร็จสักที ตอนนี้ถึงจุดที่น่าจะเป็นความจริงแล้ว มีการตีพิมพ์ ในวารสารชั้นน�ำเรื่องวัคซีนไข้เลือดออกแล้ว แต่ วัคซีนป้องกันได้แค่ 60% ซึ่งวัคซีนทั่วไปควรจะ ป้องกันโรคได้ 80-90% ถึงจะดี แต่เนื่องจากไข้เลือด ออกมันรุนแรง คนเป็นเยอะแล้วมีตายด้วย ป้องกัน ได้แค่ 60% ก็ยังดี แต่แม้จะป้องกันได้แค่ 60% แต่ วัคซีนสามารถความรุนแรงของโรคลงได้ คล้ายๆ วัค ซีนโรต้า คือหยอดวัคซีนโรต้า ก็มีโอกาสเป็นไวรัสโร ต้าอยู่แต่จะลดความรุนแรงของโรคลง จากที่เป็นไข้ เลือดออกแบบช็อก ก็อาจจะไม่เป็นแบบที่ไม่ช็อค ลดโอกาสการนอนโรงพยาบาลน้อยลง อย่างน้อย วัคซีนไข้เลือดออกจะช่วยผ่อนหนักเป็นเบาได้ ตอน นี้มีการศึกษาวัคซีนไข้เลือดออกในเด็กและในคน เอเชียเยอะมาก อีกไม่นานก็น่าจะได้ใช้กัน ถ้าราคา ไม่แพงจนเกินไป ส�ำหรับประเทศไทยก็น่าจะเอามา บรรจุไว้ในแผนสร้างเสริมวัคซีนของประเทศต่อไป”

โรคไหนมีวัคซีนป้องกัน เชื้อ RSV เชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ โรคมือเท้าปาก เชื้อไวรัสอีสุกอี ใส เชื้อไวรัสไวรัสโรต้า เชื้อไวรัสไข้เลือดออก

ไม่มีวัคซีน มีวัคซีน ไม่มีวัคซีน มีวัคซีน มีวัคซีน กำ�ลังจะมีวัคซีน 11


Chapter 2 >> เข้าใจผิด...เข้าใจใหม่ เรื่องไวรัส เมื่อถามถึงความเข้าใจผิดเกี่ยวกับโรคติดเชื้อ ไวรั ส ที่ พ ่ อ แม่ มั ก จะเข้ า ใจคลาดเคลื่ อ นอยู ่ เ สมอ รศ.นพ.ชิษณุ กล่าวว่าพ่อแม่มกั คิดว่าไวรัสมียารักษา กินยาแก้อักเสบทันที เมื่อไหร่ที่เกิดการติด เชือ้ หรือมีการอักเสบต้องกินยาแก้อกั เสบ คออักเสบ กินยาแก้อักเสบ มีนำ�้ มูกเขียว เสมหะเขียวต้องกิน ยาฆ่าเชื้อ ต้องรู้ว่ายาฆ่าเชื้อหรือยาแก้อักเสบเป็น ยาฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ที่พูดมาทั้งหมดเป็นเชื้อไวรัส ซึ่งส่วนใหญ่ไม่มียารักษาเลย ไวรัสหายเอง ต้อง ดื่มน้ำ�เยอะๆ เช็ดตัว ไวรัสมียารักษา? มีไวรัสเพียง 2 ตัวเท่านั้น ที่มียาต้านไวรัส ที่สำ�คัญมากคือ ไวรัสไข้หวัดใหญ่ ที่มียาต้านไวรัส ส่วนเชื้อ RSV โรต้า ไข้เลือดออก รักษาตามอาการและรอหายเอง มือเท้าปากก็ไม่มยี า รักษา ยกเว้นมีผลแทรกซ้อนที่สำ�คัญ เพราะฉะนั้น โดยทั่ ว ไปจึ ง ไม่ ค วรใช้ ย าฆ่ า เชื้ อ โดยไม่ จำ�เป็ น แล้วคำ�ว่าอักเสบไม่ได้หมายถึงต้องใช้ยาแก้อักเสบ ยาแก้ อั ก เสบหรื อ ยาฆ่ า เชื้ อ ใช้ กั บ เชื้ อ แบคที เ รี ย ซึ่งเชื้อแบคทีเรียมักจะมาแทรกซ้อนภายหลัง เช่น เป็นปอดบวมจากเชื้อ RSV สักพักนึง เชื้อแบคทีเรีย เข้ามาแทรกซ้อน เป็นไข้หวัดใหญ่แล้วเชือ้ แบคทีเรีย มาแทรกซ้อน ตอนนั้นถึงจะให้ยาฆ่าเชื้อ ห้ามให้ยา ดักไว้ ไม่มีประโยชน์ ต้องยอมรับว่าไวรัสส่วนใหญ่ รักษาตามอาการ ขอรักษามากกว่าให้น�้ำเกลือ พ่อแม่จะรู้สึกว่า หมอท�ำอะไรมากกว่าให้น�้ำเกลือและพ่นยาได้ไหม อย่างไข้เลือดออกเราให้น�้ำเกลืออย่างเดียว พ่อแม่ก็ คิดว่าน่าจะให้ยาอะไรมาช่วยลูก ซึ่งไม่มียา เรื่องนี้ พ่อแม่ควรท�ำความเข้าใจ หรือเจ็บคอต้องใช้ยาฆ่า เชื้อ หากเจ็บคอนั้นเกิดจากแผลในปาก ซึ่งเป็นไวรัส ก็ไม่ใช้ยาฆ่าเชื้อ ไวรัสมีมากกว่าหนึ่งระบบ ไวรัสจะมีอาการหลาย ระบบ อาการอาจจะไม่รนุ แรงนัก แต่จะมีอาการหลาย

แห่ง เช่น เวลาเราติดเชือ้ หวัด เราจะเริม่ จากมีนำ�้ มูก เจ็บคอ เสียงแหบ ไอ แล้วก็เป็นปอดบวมถ้าไวรัสลง ป อ ด ไ ว รั ส ไ ม ่ ห ยุ ด แ ค ่ นี้ ไ ว รั ส ส า ม า ร ถ ลงกระเพาะได้ท�ำให้มีอาเจียน ไวรัสลงล�ำไส้มีอาการ ถ่ายเหลว ไวรัสขึน้ ตาได้ทำ� ให้เกิดขีต้ า ไวรัสท�ำให้ผวิ เป็นผื่นได้ เช่น โรคมือเท้าปาก อีสุกอีใส ไวรัสท�ำให้ มีอาการหลายระบบมากซึ่งพ่อแม่จะรู้สึกว่ารุนแรง แต่ทางการแพทย์เรากลับมองว่าไวรัสก็รนุ แรงนะ แต่ เราก็ต้องประคับประคองรักษาตามอาการไป พ่อแม่ มักจะรูส้ กึ กังวลอยากจะให้อาการดีขนึ้ เร็วๆ แต่ความ จริงต้องใช้เวลา 3- 7 วัน เรื่องนี้เป็นเรื่องที่ต้อง ท�ำความเข้าใจกันดีๆ นอกจากนี้ไม่ว่าการแพทย์จะเก่งขนาดไหนก็มี สิทธิที่ผู้ป่วยเด็กจะมีอาการหนักได้ ถ้าไวรัสตัวนั้นมี ความรุนแรง เช่น ทั้งๆ ที่รู้ว่าเป็นไข้เลือดออก ท�ำไม ลูกถึงตาย นั่นเพราะอาการของโรคมันรุนแรง เลือด ออกไม่หยุด เกร็ดเลือดต�่ำมาก ซึ่งหมอก็พยายาม อย่างเต็มที่แล้ว ขณะเดียวกันสังคมก็ต้องเข้าใจพ่อ แม่ เด็กที่เป็นไข้เลือดออกมีสุขภาพแข็งแรงดีมา ตลอด ในชีวิตไม่เคยนอนโรงพยาบาล สามวันที่แล้ว ยังวิ่งเล่นอยู่เลย พอไข้สูงเลือดออกเสียชีวิต ดังนั้น ถ้าสังคม หมอ และสื่อมีความเข้าใจซึ่งกันและกันว่า ในบางกรณีมนั ไม่ได้เกิดจากความผิดพลาด บางกรณี มันเกิดจากความยากล�ำบากในการวินิจฉัยโรคและ การรักษา” การติดเชือ้ ไวรัสแม้จะท�ำให้เกิดอาการทีม่ ลี กั ษณะ เหมือนรุนแรงได้หลายอาการ แต่อาการส่วนใหญ่ สามารถรักษาให้หายได้ ส่วนภาวะแทรกซ้อนทีท่ ำ� ให้โรค รุนแรงถึงชีวติ พบได้นอ้ ยมาก ดังนัน้ หากลูกติดเชือ้ ไวรัส คุณพ่อคุณแม่เพียงแต่สงั เกตอาการของลูกน้อยอย่าง ใกล้ชดิ หากพบสัญญาณความรุนแรงของโรคควรพา ลูกไปพบแพทย์ให้ทนั ท่วงที ซึง่ จะช่วยป้องกันภาวะ แทรกซ้อนรุนแรงต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้

12


ดาวน์ โหลดฉบับย้อนหลัง

ดาวน์ โหลดทุกวันที่ 15 และ 30 ของทุกเดือน



Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.