นิสิตนักศึกษา ฉบับ มาแลโคกเมือง (พ.ศ. 2562)

Page 1

1

ฉบับ มาแล โคกเมือง วารสารฝึกปฏิบัติภาควิชาวารสารสนเทศ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฉบับมิถุนายน 2562

การอนุรักษ์ป่าชายเลนและทะเลสาบสงขลา ของชาวโคกเมือง รวมพลังชุมชน เพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน


2 รายชื่อกองบรรณาธิการ วารสารฝึกปฏิบัติ ภาควิชาวารสารสนเทศ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อาจารย์ที่ปรึกษา พรรษาสิริ กุหลาบ บรรณาธิการเนื้อหา ชนนิกานต์ แก้วแก่นเพชร ชินภัทร จันทร์หล้าฟ้า กองบรรณาธิการ ชนนิกานต์ แก้วแก่นเพชร ชินภัทร จันทร์หล้าฟ้า โมเลกุล จงวิไล เอม มฤคทัต บรรณาธิการฝ่ายศิลป์ โมเลกุล จงวิไล บรรณาธิการออนไลน์ เอม มฤคทัต บรรณาธิการผู้พิมพ์โฆษณา ผศ.ดร.ณรงค์ ขําวิจิตร์ ที่อยู่ : 254 ถนนพญาไท แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330 โทร : 02-218-2140 Facabook : www.facebook.com/ nisitjournal Twitter : @nisitjournal Instagram : @nisitjournal Website : http://nisitjournal.press

ปก : ทะเลสาบสงขลาในยามเช้า ปกใน : รูปปั้นแมวเหนือซุ้มอุโมงค์ในวัดคงคาวดี


3

พันธกิจของเรา “ความเข้มแข็งของชุมชน” เป็นปัจจัยส�ำคัญที่ท�ำให้ชุมชนหนึ่งสามารถด�ำรงอยู่ได้ ท่ามกลางกระแสการเปลีย่ นแปลงต่างๆ ไม่วา่ จะเป็นเทคโนโลยี สภาพสังคมเศรษฐกิจ ค่านิยม ในการด�ำเนินชีวิต การที่ชุมชนจะเข้มแข็งได้ต้องอาศัยการร่วมแรงร่วมใจกันของคนในชุมชน ที่จับมือกันเพื่อพัฒนาบ้านของตนเอง ในการท�ำให้ชวี ติ ความเป็นอยูข่ องคนในชุมชนมีคณ ุ ภาพ สมาชิกต้องแสวงหาความรูม้ า ประยุกต์ใช้กับชุมชนของตนอยู่เสมอ และพร้อมใจร่วมกันน�ำความรู้นั้นมาปฏิบัติ “บ้านโคกเมือง” เป็นชุมชนหนึง่ ทีท่ งั้ ผูน้ �ำและสมาชิกชุมชนหมัน่ เสาะหาองค์ความรูม้ า ทดลองใช้เพื่อท�ำให้ชีวิตความเป็นอยู่เปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการรักษา ธรรมชาติ แ ละสภาพแวดล้ อ มให้ อุ ด มสมบู ร ณ์ อ ย่ า งยั่ ง ยื น การคิ ด แนวทางลดรายจ่ า ย เพิม่ รายได้เพือ่ ให้สมาชิกชุมชนมีกนิ มีใช้ทงั้ ในระดับครัวเรือนและระดับชุมชน รวมถึงการช่วยกัน คิดและวางแผนเพื่อให้เดินไปข้างหน้าร่วมกันได้อย่างมั่นคง “นิสิตนักศึกษา” มุ่งหวังเป็นสื่อกลาง บอกเล่าเรื่องราวในชุมชนให้สังคมได้เห็น ตัวอย่างชุมชนที่เข้มแข็งและการรวมกลุ่มกันของสมาชิกในหมู่บ้าน ที่น�ำไปสู่การเป็นชุมชนที่ มีศักยภาพในการพัฒนาตนเองได้โดยไม่ต้องรอความช่วยเหลือจากภาครัฐเพียงอย่างเดียว และหวังให้ชาวโคกเมืองได้เห็นว่า “บ้าน” ของพวกเขายังสามารถเดินหน้าต่อได้ดว้ ยการร่วมมือ ของสมาชิกทุกคนเพื่อท�ำให้แผนการพัฒนาชุมชนในอนาคตเกิดขึ้นได้จริง ขอบคุณพ่ออุดม ฮิ่นเซ่ง และชาวชุมชนบ้านโคกเมืองทุกท่าน ที่ให้ความอนุเคราะห์แก่กองบรรณาธิการ “นิสิตนักศึกษา”


4

สารบัญ 6

18

ประวัติชุมชนและแผนที่บ้านโคกเมือง

บ้านตู้เย็น: ตู้เย็นหลังใหญ่ของบ้านโคกเมือง

8

20

ป่าชายเลนและฟาร์มทะเลชุมชน ผลงานชิน้ ใหญ่...ทีค่ นื ความสมบูรณ์ให้โคกเมือง

“อุง” แมลงตัวจิ๋ว ประโยชน์มหาศาล

12

22

ท่องเที่ยวโคกเมือง เบื้องหลังความส�ำเร็จ และของดีของเด็ดประจ�ำชุมชน

เพราะชุมชนสู้ โรงเรียนจึงอยู่ได้

ชาวประมงแล่นเรือหาปลาในทะเลสาบสงขลา


5

บทบรรณาธิการ

ยั่งยืนด้วยความสร้างสรรค์ มั่นคงด้วยความเข้มแข็ง

ภาพความเป็นชุมชนในความคิดของแต่ละคนย่อมแตกต่างกันออกไปผ่านการรับรู้ทางสื่อมวลชนหรือ ประสบการณ์ส่วนตัว บ้างก็โดดเด่นในด้านเทคโนโลยี บ้างด�ำรงอยู่ด้วยความเชื่อ บ้างกลายสภาพเป็นสังคมที่ไม่มี ใครใส่ใจซึ่งกันและกัน แต่ท่ามกลางบรรดาชุมชนในประเทศไทยทั้งหมื่นพัน ชุมชนหนึ่งก�ำลังพัฒนาไปข้างหน้า ด้วยผู้น�ำที่มีความคิดสร้างสรรค์และสมาชิกที่รวมกลุ่มกันอย่างเข้มแข็ง จากการลงพื้นที่ท�ำความรู้จักชุมชนบ้านโคกเมือง “นิสิตนักศึกษา” พบว่า ชาวบ้านโคกเมืองมีความคิด สร้างสรรค์ใหม่ๆ อยู่เสมอ และลงมือปฏิบัติให้ชุมชนของตนเองน่าอยู่ เต็มไปด้วยเอกลักษณ์ มีธรรมชาติที่ อุดมสมบูรณ์ และมีแนวทางการใช้ชีวิตที่พึ่งตนเองได้ ไม่ว่าจะเป็นแนวคิด “บ้านตู้เย็น” ที่เน้นการลดรายจ่าย สร้างรายได้เพื่อให้แต่ละครัวเรือนมีความมั่นคงทางเศรษฐกิจ ไม่ขาดแคลนอาหารและพลังงาน หรือการฟื้นฟู ป่าชายเลนเพือ่ สร้างดินทีอ่ ดุ มไปด้วยแร่ธาตุจนสามารถปลูกพืชได้เกือบทุกชนิดและเป็นแนวป่าทีแ่ ก้ปญ ั หานำ�้ หลาก หรือการท�ำ “ฟาร์มทะเล” ทีอ่ นุบาลสัตว์นำ�้ ในวันนีเ้ พือ่ เพิม่ ปริมาณสัตว์นำ�้ ไม่ให้หายไปจากทะเลสาบสงขลาในวันหน้า ชุมชนแห่งนี้ประสบความส�ำเร็จเพราะน�ำแนวคิดใหม่ๆ มาปรับใช้ และมีสมาชิกชุมชนที่ร่วมแรงร่วมใจกัน ท�ำให้การพัฒนาเป็นไปอย่างยั่งยืน ต้นอ่อนความส�ำเร็จของชุมชนทีป่ รากฏต่อ “นิสติ นักศึกษา” ล้วนเกิดขึน้ จากรากฐานความคิด ความทุม่ เท ของคนในชุมชน บ้านโคกเมืองคือชุมชนต้นแบบที่เอาใจใส่ต่อทั้งธรรมชาติ เพื่อนร่วมชุมชน และลูกหลาน ในอนาคต หากทุกพื้นที่มุ่งพัฒนาชุมชนให้ยั่งยืนได้ในลักษณะเดียวกันนี้ ประเทศไทยของเราคงเต็มไปด้วย สภาพแวดล้อมที่สมบูรณ์ทั้งบนดิน ในน�้ำ มีพลเมืองที่กินดีอยู่ดี มีความสุข และเชื่อมั่นในพลังของการร่วมมือกัน


6

ประวัติศาสตร์

ประวัติชุมชน สรุปความเป็นมาของชุมชนโคกเมืองได้ดังนี้ 2440 ก่อตั้งเมือง มีหมื่นแย้มเป็นผู้ปกครอง 2482 ก่อตัง้ โรงเรียนบ้านโคกเมือง (ธรรมโมลีคณานุสรณ์) 2536 แยกตั ว ออกมาเป็ น หมู่ บ้ า น จั ด ตั้ ง กลุ่ ม ออมทรั พ ย์ บ้ า นโคกเมื อ ง จั ด ตั้ ง กลุ่ ม ประมง พืน้ บ้าน เริ่มกิจกรรมและเรียนรู้ “รำ�กลองยาว” 2544 จัดตั้งกองทุนเงินล้าน 2547 จัดตั้งกลุ่มอนุรักษ์ป่าชายเลนและฟาร์มทะเล 2548 พ่อวิจิตร อินทะโร เริ่มทำ� “บ้านตู้เย็น” 2549 ได้รบั งบประมาณสนับสนุนการทำ� “ฟาร์มทะเล ชุมชน” 2552 “ฟาร์มทะเลชุมชน” ผ่านร่างข้อบัญญัติสภา องค์การบริหารส่วนตำ�บลบางเหรียง 2555 เริ่มกิจกรรม “อาหารร้อยสาย” รูปปั้นปิ่นโต สัญลักษณ์บ้านโคกเมือง 2557 พ่อเจียร ยางทอง ทดลองเลี้ยงอุง (ชันโรง) “บ้านโคกเมือง” มีทอี่ ยูอ่ ย่างเป็นทางการคือ หมู่ 12 2559 เริ่มทำ�บ้านพักโฮมสเตย์ ต.บางเหรียง อ.ควนเนียง จ.สงขลา แม้ในทางปกครอง 2561 ได้ รั บ คั ด เลื อ กจากกรมการพั ฒ นาชุ ม ชน จะเป็นหมู่บ้านเกิดใหม่ มีอายุไม่กี่สิบปี แต่ชาวบ้าน เป็นหนึ่งในชุมชนท่องเที่ยวนวัตวิถี เชื่อกันว่าพื้นที่แห่งนี้เป็นชุมชนที่มีความเก่าแก่ร่วม ศตวรรษ จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่ขุดค้นพบ หลั ก ฐานดั ง กล่ า วคื อ แท่ น หิ น โบราณที่ ช าวบ้ า น ไปพบแต่ ไ ม่ ท ราบว่ า คื อ อะไร ต่ อ มาในปี 2522 นั ก ศึ ก ษาจากมหาวิ ท ยาลั ย ศรี น คริ น ทรวิ โ รฒ วิ ท ยาเขตสงขลา (มหาวิ ท ยาลั ย ทั ก ษิ ณ ในปั จ จุ บั น ) ที่ ม าลงพื้ น ที่ ไ ด้ ศึ ก ษาวั ต ถุ โ บราณชิ้ น นี้ แ ละเห็ น ว่ า น่าจะเป็นอุมาลึงค์ หรือแท่นนัง่ ขับถ่ายของพระแม่อมุ า ซึ่ ง เป็ น ประติ ม ากรรมหิ น ที่ มั ก พบในปราสาทขอม โบราณ และเชื่อกันว่าเป็นส่วนหนึ่งของการเผยแพร่ ศาสนาในสมัยนั้น จากหลักฐานชิ้นนี้ ชาวบ้านและ ป้ายฟาร์มทะเลโคกเมืองริมทะเลสาบสงขลา นักวิชาการท้องถิน่ จึงสันนิษฐานว่าบ้านโคกเมืองน่าจะมี ความเก่าแก่อย่างน้อยหลักร้อยปี


7


8

สิ่งแวดล้อม

เรื่อง : โมเลกุล จงวิไล ภาพ : ชินภัทร จันทร์หล้าฟ้า

ชายแดนตะวันออกของชุมชนบ้านโคกเมืองคือ บริเวณที่ผืนแผ่นดินบรรจบกับทะเลสาบสงขลาเป็น ระยะทางประมาณ 2 กิโลเมตร หากล่องเรือออกไปและ หันกลับมามองริมฝั่ง จะเห็นป่าชายเลนทอดตัวเป็น แนวยาว เต็ ม ไปด้ ว ยพั น ธุ ์ ไ ม้ ห ลากหลายชนิ ด เช่ น ต้นล�ำพู ต้นโกงกาง ต้นฝาด ไม่เพียงแค่ภาพบนบก เท่านัน้ ทีด่ เู ขียวขจี ใต้นำ�้ ยังเต็มไปด้วยความอุดมสมบูรณ์ ของสัตว์ทะเล ทั้งปลา กุ้ง หอย ความสมบูรณ์ของระบบนิเวศชายฝั่งเป็นอีก จุดเด่นส�ำคัญของบ้านโคกเมือง แต่กว่าจะมาถึงทุกวันนี้ บริเวณดังกล่าวต้องผ่านการฟืน้ ฟูและดูแลมากว่า 20 ปี พ่อธานินทร์ แก้วรัตน์ วัย 52 ปี ชาวประมงและ ประธานกลุม่ ประมงพืน้ บ้านชุมชนโคกเมือง เล่าย้อนไป เมื่อปี 2536 สมัยที่โคกเมืองเพิ่งถูกแยกออกมาเป็น หมูบ่ า้ นใหม่ๆ ว่า ชาวบ้านพยายามจัดตัง้ กลุม่ งานต่างๆ ขึน้

เพื่อบริหารจัดการชุมชน พ่อธานินทร์ได้รับการชักชวน ให้ เ ข้ า มาดู แ ลเขตทะเลสาบและพื้ น ที่ แ นวชายฝั่ง เนื่องจากประกอบอาชีพประมงอยู่แล้ว หลังจากรวม กลุ่มกันได้ 5 - 6 คน จึงเริ่มคิดเรื่องการปลูกป่าชายเลน ขึ้นเพื่อป้องกันปัญหาน�้ำท่วมและคลื่นเซาะชายฝั่ง “แต่ก่อนริมทะเลแถวนี้เป็นป่าโล่งๆ มีต้นไม้ เล็กๆ ขึ้น มีหญ้า และพอช่วงมรสุม เดือนตุลา พฤศจิกา ธันวา หรือช่วงกุมภา มีนา ที่ฝนตกหนัก คลื่นก็จะสูง ท�ำให้เกิดน�้ำท่วม น�้ำหลาก” ประธานกลุ่มประมงกล่าว และเสริ ม ว่ า คลื่ น ที่ สู ง ท�ำให้ ช าวบ้ า นออกไปหาปลา ได้นอ้ ยลง จนหลายคนต้องเปลีย่ นไปประกอบอาชีพอืน่ แทน กลุ่มประมงฯ จึงเริ่มศึกษาเรื่องป่าชายเลนตาม ช่ อ งทางต่ า งๆ ทั้ ง ทางโทรทั ศ น์ วิ ท ยากรจาก มหาวิทยาลัย ดูงานทีช่ มุ ชนอืน่ น�ำข้อมูล ทีไ่ ด้มาลองผิด


9

สิ่งแวดล้อม

พ่ออันดับ ชุมจิต กำ�ลังหาปลานอกเขตฟาร์มทะเลชุมชน บ้านโคกเมือง

ลองถูก “ตอนแรกเราเอาโกงกางมาปลูก แต่ปรากฏว่า ตายเรียบ เพราะเราไม่เข้าใจเรื่องสภาพดิน มันต้อง ศึกษาเรื่องดินอีกว่าแบบไหนเหมาะกับต้นโกงกาง ทีนี้ เราก็มาดูวา่ บ้านเรามีตน้ อะไรขึน้ บ้าง ก็เห็นว่ามีตน้ ล�ำพู เลยเริ่มเอาใส่ถังใส่กระสอบและน�ำมาปลูก ปรากฏว่า เห็นผลมันสามารถปลูกได้” พ่อธานินทร์เล่า กลุ่มประมงฯ จึงตัดสินใจปลูกต้นล�ำพู ซึ่งมีราก หายใจงอกขึ้นมาเหนือพื้นดิน รากเหล่านั้นสามารถ กรองคลื่นเพื่อให้เศษดิน เศษไม้ มาทับถมกันจนกลาย เป็นดินเลนที่มีแร่ธาตุตามธรรมชาติ เมื่อดินดี ชาวบ้าน จึงสามารถปลูกต้นไม้ได้เกือบทุกชนิดบนพื้นที่แห่งนี้ รวมทั้งต้นโกงกาง ป่าชายเลนอันอุดมสมบูรณ์จึงค่อยๆ เกิดขึ้น ปัญหาน�้ำหลากช่วงฤดูมรสุมก็หมดไปเพราะมี ต้นไม้คอยกันคลื่น เมือ่ ป่าอุดมสมบูรณ์ จ�ำนวนสัตว์นำ�้ ในทะเลสาบก็

เพิ่มขึ้น แต่สิ่งที่ตามมาคือการจับสัตว์น�้ำจ�ำนวนมาก โดยไม่ได้ค�ำนึงถึงการเพาะพันธุ์ส�ำหรับวันข้างหน้า พ่ อ ธานิ น ทร์ จึ ง เกรงว่ า จ�ำนวนปลาอาจลดน้ อ ยลง เหมือนในอดีต “พอป่าเกิดขึน้ ความอุดมสมบูรณ์เพิม่ ปลาเยอะขึน้ เราก็คิดย้อนถึงอดีตตอนที่ปลาเยอะแบบนี้ว่าท�ำไมมัน หมดไป ถ้าปล่อยไว้แบบเดิมมันก็จะหมดอีก เราเลย คิ ด ถึ ง เรื่ อ งเขตอนุ รั ก ษ์ ท ะเลขึ้ น มา” ประธานกลุ ่ ม ประมงแห่งบ้านโคกเมืองกล่าว อย่างไรก็ตามการจัดท�ำเขตอนุรกั ษ์ทะเลกลับไม่งา่ ย อย่างที่คิด เนื่องจากต้องอยู่ภายใต้การก�ำกับดูแลของ กรมประมง ซึ่งจะต้องผ่านกระบวนการทางกฎหมาย ที่ ใ ช้ เ วลานานและซั บ ซ้ อ น พ่ อ ธานิ น ทร์ จึ ง เสนอ กรมประมงว่ า จะจั ด ท�ำเป็ น ‘ฟาร์ ม ทะเลชุ ม ชน’

ขึ้นมาแทน


10

“ปลาเยอะขึ้ น นะ คนในชุ ม ชนหาปลา ใกล้ ช ายฝั่ ง ได้ ม ากขึ้ น จากแต่ ก่ อ นที่ ต้ อ งแล่ น เรื อ ออกไปไกลๆ คนที่ ไ ม่ ทำ � ประมงก็หันมาประกอบอาชีพนี้มากขึ้น” - แม่เพ็ญศรี แก้วรัตน์ ชาวประมงวัย 48 ปี -

“นิยามของฟาร์มทะเลชุมชน คือชุมชนสร้าง ขึน้ เอง กติกาเราก�ำหนดขึน้ เอง ข้อไหนไม่ดเี ราก็ประชุมกัน แล้วแก้ไข แต่ถ้าเป็นเขตอนุรักษ์ เราไม่มีสิทธิ์แก้ไขเอง จะท�ำทีตอ้ งเสนอเรือ่ งให้ผมู้ อี �ำนาจอย่าง ส.ส. เข้าไปแก้ กันในสภา ยุ่งยากไม่รู้กี่ปีจะได้ หรือถ้าส่งไปแล้วเขา ไม่สนใจเขาก็ทง้ิ เราก็ได้แต่นงั่ รอ” ประธานกลุม่ ประมง ชี้แจง กติกาของฟาร์มทะเลชุมชนบ้านโคกเมืองคือการ ก�ำหนดเขตที่ ไ ม่ อนุ ญ าตให้มีก ารจับ สัตว์น�้ำ โดยน�ำ ท่ อ นไม้ ม าปั ก ล้ อ ม เริ่ ม ตั้ ง แต่ จ ากชายฝั ่ ง ออกไปใน ทะเลสาบ 275 เมตร และกินพืน้ ทีแ่ นวยาวเป็นระยะทาง 1.125 กิ โ ลเมตร แต่ ยั ง กั น พื้ น ที่ ป ระมาณเกื อ บ 1 กิโลเมตร ให้ผู้ประกอบอาชีพประมงแบบเดินอวน ที่ไม่มีเรือยังสามารถเดินจับปลาได้

สิ่งแวดล้อม

นอกจากนีย้ งั มีการสร้าง ‘บ้านปลา’ โดยน�ำกิง่ ไม้ มาวางถมกันเป็นกองกระจายตามจุดต่างๆ ทั่ว เขต ฟาร์มให้สัตว์น�้ำขนาดเล็กได้เข้ามาอยู่อาศัย “เราสร้างบ้านปลาเพื่อให้ปลาได้อยู่ ได้มาเกิด มาไข่ ถ้าไม่มีบ้านปลา ปลาจะมาอยู่น้อย ที่โล่งๆ มันไม่ อยู่หรอก” พ่ออันดับ ชุมจิต วัย 55 ปี ชาวประมงและ หนึ่งในกรรมการกลุ่มประมงอธิบาย หลั ง ท�ำฟาร์ ม ทะเลชุ ม ชน จ�ำนวนสั ต ว์ น�้ ำ ใน ทะเลสาบก็เพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด “ปลาเยอะขึ้นนะ ดูจากคนในชุมชนสามารถหาปลาใกล้ชายฝั่งได้มากขึ้น จากแต่ก่อนที่ต้องแล่นเรือออกไปไกลๆ หรือคนที่ไม่ท�ำ ประมงก็หันมาประกอบอาชีพนี้มากขึ้น” แม่เพ็ญศรี แก้วรัตน์ ชาวประมงวัย 48 ปี กล่าว พ่ อ อั น ดั บ เห็ น พ้ อ งกั น ว่ า “ปลาเพิ่ ม ขึ้ น จริ ง ตกได้วันละเกือบร้อยโล แต่ก่อนก็ได้เท่าๆ นี้แหละ แต่ต้องออกไปไกล เดี๋ยวนี้ออกไปแถวๆ บริเวณนี้ก็หา ได้แล้ว ประหยัดน�้ำมันไปเยอะ ได้เดือนละเหยียบๆ แสนแน่ะ” พ่ออันดับเสริมอีกว่า การมีฟาร์มทะเลท�ำให้ ชาวประมงสามารถจับปลาได้ตลอดทั้งปี แม้แต่ช่วง มรสุมที่ไม่สามารถแล่นเรือออกไปจับปลาไกลๆ ได้ ถึงกระนัน้ การท�ำฟาร์มทะเลชุมชนก็ใช่จะราบรืน่ ไร้ปญ ั หา การก�ำหนดเขตห้ามจับปลาท�ำให้คนบางส่วน ในชุ ม ชนไม่ เ ห็ น ด้ ว ย จนมี บ างครั้ ง ที่ เ กิ ด การละเมิ ด กฎกติกาที่ชุมชนตั้งไว้ พ่ อ ธานิ น ทร์ เ ล่ า ให้ ฟ ั ง ว่ า แม้ ป ั จ จุ บั น จ�ำนวน ผู้บุกรุกมีเพียง 4 - 5 รายต่อเดือน แต่การจัดเวรยาม เฝ้ า ตรวจตรายั ง จ�ำเป็ น เพื่ อ ป้ อ งกั น ไม่ ใ ห้ เ กิ ด การ ลอกเลียนแบบ เช่นเดียวกับ แม่จนั ทรา วรรละออง แม่คา้ และชาวประมงวัย 44 ปี ที่กล่าวว่า ปัญหาหลักของ การท�ำฟาร์มทะเลก็คือผู้บุกรุก “บางทีก็เป็นคนในชุมชน บางทีก็เป็นคนที่อื่น แต่จ�ำนวนจะไม่เยอะมากถ้าเราเฝ้าดีๆ วิธีรับมือส่วน ใหญ่ก็เตือนเขาดีๆ เขาก็ไม่มายุ่ง บางคน มาจากที่อ่ืน


สิ่งแวดล้อม

เขาไม่รู้ ไม่ได้ดูเขตเพราะมันมืด เราก็แค่ตักเตือน” แม่จันทรากล่าว ด้านพ่อส�ำราญ รัตนะ ผูช้ ว่ ยผูใ้ หญ่บา้ นวัย 60 ปี ซึ่งมีหน้าที่รักษาความสงบเรียบร้อยภายในชุมชนและ เป็นผู้ลาดตระเวนตามเขตฟาร์มทะเล เล่าว่า อีกปัญหา คื อ เมื่ อ เกิ ด การตั ก เตื อ น ผู ้ บุ ก รุ ก บางคนจะตอบโต้ โดยการแอบท�ำลายอุ ป กรณ์ ป ระกอบอาชี พ ของ เหล่ากรรมการ ซึ่งส่วนใหญ่ก็เป็นชาวประมง ส่งผลให้ บางครั้ ง กรรมการไม่ ก ล้ า ปฏิ บั ติ ห น้ า ที่ เ ต็ ม ก�ำลั ง พ่ อ ส�ำราญเห็ น ว่ า หน่ ว ยงานภาครั ฐ โดยเฉพาะส่ ว น ท้องถิ่นควรยื่นมือเข้ามาช่วยเหลือ “ส่วนท้องถิ่นไม่ค่อยเข้ามาดูแลเท่าไหร่ ให้มา ช่ ว ยดู แ ลเข้ า เวรแบบนี้ ไ ม่ มี ส่ ว นใหญ่ ช าวบ้ า นดู แ ล

11 กันเอง ทีจ่ ริงชุดอาสาสมัคร (อ.ส.) อ�ำเภอน่าจะช่วยเข้ามา ดูบา้ ง บางทีคนในพืน้ ทีก่ ไ็ ม่กล้าด้วยสาเหตุอย่างทีพ่ ดู ไป ถ้าได้ อ.ส. อ�ำเภอเข้ามาช่วยน่าจะดี อาทิตย์ละครัง้ หรือ เดือนละครัง้ ก็ยงั ดี” ผูช้ ว่ ยผูใ้ หญ่บา้ นกล่าว ก่อนเสริมว่า การได้ ค นจากภาครั ฐ เข้ า มาดู แ ล จะสามารถช่ ว ย ไกล่เกลีย่ และลดข้อพิพาทระหว่างคนในชุมชนได้มากขึน้ ป่าชายเลนและฟาร์มทะเลชุมชน เป็นผลงานที่ ชาวบ้านโคกเมืองร่วมมือร่วมใจกันสร้าง หากภาคส่วน ต่ า งๆ ทั้ ง สมาชิ ก ในหมู ่ บ ้ า น ภาครั ฐ และเครื อ ข่ า ย ภายนอกร่ ว มมื อ กั น ยิ่ ง ขึ้ น น่ า จะช่ ว ยรั ก ษาความ อุดมสมบูรณ์นี้ให้คงอยู่ต่อไปส�ำหรับบ้านโคกเมืองและ ชุมชนรอบทะเลสาบสงขลาเช่นกัน

ป่าชายเลนที่ชาวชุมชนบ้านโคกเมืองร่วมกันสร้าง


ท่องเที่ยวโคกเมือง

เบื้องหลังความสำ�เร็จและของดีของเด็ดประจำ�ชุมชน เรื่อง - ภาพ : โมเลกุล จงวิไล

แม้บ้านโคกเมืองไม่ได้อุดมไปด้วยจุดหมาย ที่นักท่องเที่ยวทั่วไปฝันหาอย่างหาดทรายสีขาว หรือเกาะแก่งกลางทะเล แต่ความพิเศษของหมูบ่ า้ น แห่งนี้คือการดึงทรัพยากรที่ชุมชนมีอยู่แล้ว ไม่ว่า จะเป็นวิถีชีวิต ความสมบูรณ์ของระบบนิเวศ หรือ ผลิตภัณฑ์พนื้ บ้าน มาน�ำเสนอให้คนภายนอกเรียนรู้ อย่างมีเอกลักษณ์ ชุ ม ชนแห่ ง นี้ มี กิ จ กรรมหลากหลายให้ ผู้มาเยือนได้เลือกสัมผัส ทั้งศึกษาการท�ำเกษตร ผสมผสาน แล่นเรือชมเขตอนุรักษ์ทะเล ปลูกป่า ชายเลน รวมไปถึงเลือกซือ้ ผลิตภัณฑ์ทอ้ งถิน่ แต่การ จะจั ด ทั ว ร์ อ ย่ า งนี้ ไ ด้ ย ่ อ มไม่ ใ ช่ เ รื่ อ งง่ า ย ระบบ การบริหารจัดการหลังบ้านคือหัวใจส�ำคัญซึ่งอาศัย การร่วมแรงร่วมใจจากชาวบ้าน นอกจากผู้มาเยือน จะได้เรียนรู้จากกิจกรรมต่างๆ แล้ว ยังจะได้พบกับ ความเป็นชุมชนที่เข้มแข็งอีกด้วย ชุ ม ชนโคกเมื อ งเปิ ด รั บ กลุ ่ ม ผู ้ ศึ ก ษาดู ง าน ด้ า นการประกอบอาชี พ เกษตรและการอนุ รั ก ษ์ ทะเลสาบตั้งแต่ปี 2553 ต่อมาช่วงประมาณปี 2557 ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรได้ เข้ามาพัฒนาชุมชน และแนะน�ำว่าโคกเมืองน่าจะ ยกระดั บ จากการเปิ ด รั บ ผู ้ ศึ ก ษาดู ง านมาเป็ น การท่องเที่ยว ผนวกกับเมื่อชุมชนเล็งเห็นศักยภาพ พ่อประยูร ฮิ่นเซ่ง ขับรถซาเล้งพาผู้ดูงานศึกษาชุมชน

ในตัวเอง จึงเริ่มขยับขยายเพื่อรองรับนักท่องเที่ยว ทีส่ นใจเรียนรูว้ ถิ ชี วี ติ ชุมชน อันเป็นทีม่ าของโครงการ โฮมสเตย์และแผนการท่องเที่ยวชุมชนในหนึ่งวัน ที่จัดไว้เป็นทางเลือกให้นักท่องเที่ยว พ่ออุดม ฮิน่ เซ่ง ผูใ้ หญ่บา้ นโคกเมือง วัย 57 ปี เล่าว่า แม้ปัจจุบันยังไม่มีนักท่องเที่ยวเข้ามาจริงจัง แต่ชาวบ้านก็คุ้นชินกับการรับรองกลุ่มคนที่เข้ามา ดู ง านซึ่ ง มี เ ฉลี่ ย เดื อ นละ 3 ครั้ ง โดยผู ้ ม าเยื อ น จะติ ด ต่ อ ผ่ า นพ่ อ อุ ด มก่ อ นเป็ น หลั ก เมื่ อ ทราบ รายละเอียดเกี่ยวกับการมาเยือน เช่น วัตถุประสงค์ ของการมาดูงาน จ�ำนวนผู้มาเยือน กิจกรรมที่อยาก ศึกษา ความต้องการบริการขนส่ง ผู้ใหญ่บ้านก็จะ ประสานต่อไปยังกลุ่มงานที่มีส่วนรับผิดชอบ “ส่ ว นใหญ่ จ ะประสานงานผ่ า นกลุ ่ ม ไลน์ ในชุ ม ชนจะมี อ ยู ่ ห ลายกลุ ่ ม เช่ น กลุ ่ ม คนเฝ้ า เล กลุ่มแปรรูป (สัตว์น�้ำ) กลุ่มมัคคุเทศก์อาสาท้องถิ่น กลุ่มกลองยาว กลุ่มจักสาน” พ่ออุดมกล่าว งบประมาณในการด�ำเนิ น งานเป็ น อี ก สิ่ ง ที่ขาดไม่ได้ พ่อผู้ใหญ่อธิบายว่า เงินส่วนนี้จะจัดสรร มาจาก ‘กองทุนกลาง’ หรือกองทุนสวัสดิการของ หมู่บ้าน “กองทุ น สวั ส ดิ ก ารหมู ่ บ ้ า น เดิ ม ที ม าจาก การที่ในบ้านเรามีกองทุนเยอะ ถ้าจะเอาไปใช้เป็น


ท่องเที่ยว

เงินปันผลให้สมาชิกอย่างเดียว มันก็หมดโดยใช่เหตุ เราเลย ประชุมกันขอตัดกองทุนละ 5% มาเข้ากองทุนใหญ่ เช่น จากกลุ่มออมทรัพย์ กองทุนเงินล้าน กลุ่มรับซื้อน�้ำยาง กลุ่มกลองยาว ซึ่งกองทุนนี้ไม่ได้ไว้ใช้กับเรื่องท่องเที่ยว อย่างเดียวนะ ใช้ได้ทุกเรื่องอย่าง จัดการภัยพิบัติ หรือ ให้ทุนการศึกษาเด็กในหมู่บ้าน” ผู้ใหญ่บ้านกล่าว การบริหารจัดการที่เป็นระบบ คือปัจจัยหนึ่งที่ ช่วยให้การท่องเที่ยวของบ้านโคกเมืองเป็นไปได้อย่าง ราบรื่น รศ.ดร.ปาริชาติ วิสุทธิสมาจารย์ ผู้อ�ำนวยการ สถาบันวิจัยการจัดการท่องเที่ยวเชิงนิเวศพื้นที่ภาคใต้ แบบบูรณาการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขต หาดใหญ่ ซึ่งศึกษาศักยภาพของบ้านโคกเมืองในการ เป็นแหล่งท่องเที่ยว อีกทั้งยังเป็นที่ปรึกษาให้ชาวบ้าน วิเคราะห์วา่ ปัจจัยหลักทีเ่ สริมให้การจัดการการท่องเทีย่ ว ของบ้านโคกเมืองประสบความส�ำเร็จ มี 3 ประการ อย่างแรกคือ ความเข้าใจในจุดเด่นของชุมชน เช่นความอุดมสมบูรณ์ของระบบนิเวศ หรือกิจกรรม ของหมู่บ้านซึ่งไม่เหมือนที่อื่น เช่น อาหารร้อยสาย ท�ำให้ รู ป แบบการท่ อ งเที่ ย วของที่ นี่ เ น้ น การเรี ย นรู ้ วิถชี วี ติ มากกว่าการท่องเทีย่ วเพือ่ ความสนุกสนาน หรือ พักผ่อนหย่อนใจ การก�ำหนดภาพลักษณ์แบบนี้ส่งผล ให้ ก ารท่ องเที่ ย วของบ้านโคกเมืองไม่เ น้นเรื่องการ ห�้ำหั่นราคากันเองระหว่างพ่อค้าแม่ขายภายในชุมชน การท�ำก�ำไร หรื อ การมุ ่ ง เป้ า ให้ ไ ด้ นั ก ท่ อ งเที่ ย ว จ�ำนวนมาก แต่สนใจเรื่องการเรียนรู้ระหว่างชุมชน กับผูม้ าเยือนมากกว่า สอดคล้องกับทีพ่ อ่ ผูใ้ หญ่กล่าวว่า “การท่องเที่ยวที่นี่เราไม่ได้ท�ำเป็นธุรกิจ เราเน้นการ ขายบริบทชุมชน เป็นลักษณะการแลกเปลี่ยนเรียนรู้” ปัจจัยถัดมาคือ พันธมิตรจากภายนอกที่ช่วย เหลือชุมชน เช่น มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (มอ.) ที่ จั ด ตลาดเพื่ อ เปิ ด โอกาสให้ ชุ ม ชนน�ำผลิ ต ภั ณ ฑ์ ท้องถิ่นไปวางขายเป็นการประชาสัมพันธ์ชุมชน “มอ.เป็นตัวอย่างพันธมิตรทางการตลาดของ ชุ ม ชน นอกจากการลงมาพัฒ นาแล้วเรายัง ท�ำเรื่อง

13 ตลาดไว้ ด ้ ว ย เรามี ต ลาดซึ่ ง เป็ น รู ป ธรรมในจั ง หวั ด สงขลาอย่างหลาดสยาม ซึ่งจะน�ำเอาผลิตภัณฑ์จาก ชุมชนต่างๆ ทั้ง 16 อ�ำเภอทั่วสงขลามาวางจ�ำหน่าย” รศ.ดร. ปาริชาติ กล่าว ปั จ จั ย สุ ด ท้ า ยที่ นั ก วิ ช าการด้ า นการจั ด การ การท่องเที่ยวมองว่าส�ำคัญคือ ความสามัคคีระหว่าง สมาชิกในชุมชนและภาวะความเป็นผูน้ ำ� รศ.ดร.ปาริชาติ กล่าวว่าผูน้ �ำทีด่ จี ะต้องเป็นทีพ่ งึ่ ได้และคิดเรือ่ งการพัฒนา อยู ่ เ สมอ นับเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยผลักดันหมู่บ้านให้ ประสบความส�ำเร็จในหลายๆ ด้าน ทั้งการท่องเที่ยว สภาพแวดล้อมอันอุดมสมบูรณ์ หรือกองทุนชุมชนที่ เข้มแข็ง อ ย่ า งไรก็ ต าม บ้ า นโคกเมื อ งยั ง เผชิ ญ ความ ท้าทาย เพราะแม้ปัจจุบันการบริหารจัดการต่างๆ จะมี ประสิทธิภาพ แต่ผู้ด�ำเนินการส่วนใหญ่เป็นสมาชิก ช่วงวัย 40 - 60 ปีและมีคนรุ่นใหม่เข้ามาท�ำงานด้านนี้ ไม่มากนัก กฤษณวรรณ เสวีพงษ์ อาจารย์วิทยาลัยชุมชน สงขลา ซึ่งเป็นอีกผู้ห นึ่งที่ให้ค�ำปรึกษาแก่ชาวบ้าน ในการพัฒนาด้านการท่องเที่ยวชุมชนมองว่า บริบท ของสังคมเปลี่ยนไป จึงเป็นธรรมดาที่เยาวชนรุ่นใหม่ จะให้ความส�ำคัญกับชุมชนน้อยลง ดังนัน้ ครอบครัวและ โรงเรี ย นน่ า จะมี บ ทบาทในการท�ำให้ ค นรุ ่ น ใหม่ ม า ช่วยกันใส่ใจชุมชนมากขึ้น “แนวทางการดึงเด็กรุ่นใหม่เข้ามาพัฒนาชุมชน อาจต้องเริ่มที่ครอบครัวก่อน พ่อแม่ต้องพาลูกหลาน เรียนรู้เรื่องทรัพยากรในชุมชน ให้รู้ว่าชุมชนเรามีความ โดดเด่นอะไร “และอีกเรื่องคือการบูรณาการระหว่างชุมชน กับโรงเรียนในท้องถิ่น การพัฒนาหลักสูตรให้เด็กมี จิตตระหนัก จิตที่จะให้บริการเพื่อส่วนรวม ถ้าโรงเรียน ท�ำให้เยาวชนเห็นตรงนี้ มันอาจส่งเสริมให้เขารักชุมชน ได้” กฤษณวรรณกล่าว พร้อมเสริมว่าความรักทีเ่ กิดขึน้ นี้ จะช่วยชักน�ำให้เยาวชนหันมาท�ำงานเพื่อชุมชนได้


14

ท่องเที่ยว

อาหารร้อยสาย

บุฟเฟ่ต์ทอ ้ งถิ่น หลากหลาย อร่อย อิ่มใจ อาหารปิ่นโตจากสมาชิกชุมชน

หนึ่งในจุดเด่นที่ไม่ซ�้ำใครของบ้านโคกเมือง คือ “อาหารร้อยสาย” หรือการที่แต่ละบ้านน�ำอาหารคาวหวานใส่ปิ่นโตอย่างน้อยบ้านละ 1 สาย มาวางรวมกัน ที่ ศู น ย์ ก ารเรี ย นรู ้ ชุ ม ชนเพื่ อ ต้ อ นรั บ แขกผู ้ ม าเยื อ น ให้ได้เลือกตักเลือกชิมอาหารตามใจชอบ เรียกว่าเป็น อาหารบุฟเฟ่ต์มื้อกลางวันแบบท้องถิ่นก็ว่าได้ แม่อารีย์ ฮิ่นเซ่ง วัย 67 ปี เล่าให้ฟังว่า เมื่อก่อน คณะท�ำงานของหมู่บ้านมาคุยงานกันที่ศูนย์ฯ พอถึง เวลาเที่ยง ก็มักจะกลับไปกินข้าวที่บ้าน ท�ำให้เสียเวลา จึงคุยกันว่าให้แต่ละบ้านเอาปิน่ โตใส่อาหารมากินร่วมกัน ดีกว่า ผลปรากฏว่าชาวบ้านได้พูดคุยแลกเปลี่ยนกัน อย่างสนิทสนมผ่านกิจกรรมนี้ ทั้งยังได้แบ่งปันอาหาร รสชาติหลากหลาย อาหารร้อยสายจึงกลายเป็นพื้นที่ พูดคุยของชุมชน เมื่อต้องจัดอาหารรับรองผู้มาศึกษา ดูงาน ชาวบ้านจึงคิดกันว่าผู้มาเยือนน่าจะได้สัมผัส บรรยากาศเช่นเดียวกัน จึงต่อยอดเป็นกิจกรรมมา ตั้งแต่ปี 2555 ในการจัดอาหารร้อยสาย ผู้ใหญ่บ้านจะแจ้ง

เรื่อง - ภาพ : ชินภัทร จันทร์หล้าฟ้า

มายังลูกบ้านอย่างน้อย 1 วันล่วงหน้าผ่านทาง “กลุ่ม ไลน์บ้านโคกเมือง” ว่ามีผู้มาเยือนและต้องการปิ่นโต ให้พอดีกับจ�ำนวนคนที่มา พร้อมมีความต้องการพิเศษ หรือข้อจ�ำกัดอย่างไร ชาวบ้านคนไหนที่สะดวกก็จะ ตอบกลับไปว่าบ้านของตนเองสามารถท�ำปิ่นโตไปร่วม ได้กี่สาย ผู ้ ม าเยื อ นจะไม่ ท ราบว่ า มื้ อ เที่ ย งวั น นั้ น จะมี เมนูใดบ้าง จะทราบเพียงเมนูอาหารมี ‘เยอะมาก’ และ ‘อร่อยมาก’ ครบเครื่องทั้งข้าว ของคาว แกงต่างๆ ของหวาน ผลไม้ เรี ย กว่ า สามารถรั บ ประทานได้ อย่างจุใจ แม่อารีย์บอกว่า “เมนูจะแล้วแต่ว่าบ้านไหน อยากท�ำอะไร ไม่มีก�ำหนดตายตัว” หากพักที่หมู่บ้าน หลายวั น ผู ้ ม าเยื อ นจะได้ ลุ ้ น และตื่ น เต้ น ไปกั บ เมนู ที่ไม่ซ�้ำกันในแต่ละวัน แม่อารีย์ยังบอกอีกว่าเธอมีความสุขมากที่ได้ ท�ำปิ่นโตให้ผู้มาเยือนทาน และอยากบอกผู้มาเยือน ที่จะได้มีโอกาสรับประทานอาหารร้อยสายว่า “ลูกลอง ดูนะ อาหารหลากหลายมาก ลองทุกๆ ปิ่นโตเลย”


ท่องเที่ยว

15 ป้ายต้อนรับผู้มาเยือนที่ศูนย์การเรียนรู้ชุมชน

โฮมสเตย์ อบอุ่นด้วยรัก กับบ้านพักวิถีชุมชน เรื่อง - ภาพ : ชนนิกานต์ แก้วแก่นเพชร

โฮมสเตย์ คื อ บ้ า นพั ก ที่ เ ปิ ด ให้ นั ก ท่ อ งเที่ ย ว มาพั ก ร่ ว มกั บ เจ้ า ของบ้ า น มี วั ต ถุ ป ระสงค์ เ พื่ อ ให้ ผู้ ม าเยื อ นได้ เ รี ย นรู้ วิ ถี ชี วิ ต และความเป็ น อยู่ ข อง ชาวบ้าน โดยเจ้าของบ้านจะจัดที่พัก อาหาร และดูแล ความปลอดภัยให้แขก พ่อประยูร ฮิ่นเซ่ง อายุ 71 ปี อดีตข้าราชการ ตำ�รวจ ชาวบ้านที่ร่วมโครงการโฮมสเตย์บ้านโคกเมือง เล่าให้ฟังว่า โครงการนี้เริ่มต้นจากการที่ผู้ใหญ่อุดม ต้ อ งการให้ ชุ ม ชนมี บ้ า นพั ก ไว้ ร องรั บ นั ก ท่ อ งเที่ ย ว และผู้ที่มาศึกษาดูงานภายในชุมชน “ตอนผู้ใหญ่เรียก ประชุมเรื่องโฮมสเตย์น่าจะปี 59 นะ พอฟังแล้วก็อยาก ทำ�เลย เพราะเป็นพี่ชายแล้วก็เป็นลูกบ้านของผู้ใหญ่ เวลามีโครงการอะไรก็เต็มใจช่วย ส่วนเงินปรับปรุง บ้านก็ใช้เงินส่วนตัวนี่แหละ ยังไงก็บ้านเรา บ้านสวย สะอาด ปลอดภัย เวลาญาติพี่น้องมาก็พักได้ เวลามี นักท่องเที่ยวมาพักก็มีรายได้เสริม” พ่อประยูรกล่าว ค่ า ที่ พั ก พร้ อ มอาหารเช้ า อยู่ ที่ 250 บาท ต่อคนต่อคืน ปัจจุบัน โฮมสเตย์บ้านโคกเมืองที่ผ่าน การประเมินและได้รบั การรับรอง “มาตรฐานโฮมสเตย์ไทย”

ของกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา มีทั้งหมด 5 หลัง คือ บ้านปลากะพง ปลาแป้น ปลาดุก ปลาไหล และ บ้ า นปลาขี้ ตั ง เหตุ ที่ ตั้ ง ชื่ อ เป็ น ปลาเพราะต้ อ งการ สื่ อ สารว่ า ทะเลสาบสงขลามี ค วามอุ ด มสมบู ร ณ์ ในอนาคตชุมชนยังมีแผนจะส่งบ้านสมาชิกเข้าประเมิน ตามมาตรฐานโฮมสเตย์เพิ่มขึ้น รศ.ดร.ปาริ ช าติ ผอ.สถาบั น วิ จั ย การจั ด การ ท่ อ งเที่ ย วเชิ ง นิ เ วศฯ กล่ า วว่ า การมี โ ฮมสเตย์ ในชุ ม ชน หากสามารถบริ ห ารจั ด การการสื่ อ สาร เรือ่ งราว วัฒนธรรมการท่องเทีย่ วชุมชนแบบสะท้อนวิถี ดั้งเดิมไว้ จะช่วยกระจายปัญหาการท่องเที่ยวที่กระจุก ตามตัวเมืองหรืออำ�เภอใหญ่ได้ สิ่งที่ต้องทำ�คือพัฒนา ศักยภาพคนในชุมชนสู่การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ส่วนเจ้าของโฮมสเตย์บ้านโคกเมืองยังบอกว่า หากผู้มาพักโฮมสเตย์มีความต้องการพิเศษหรือติดขัด อะไร ก็บอกเจ้าของบ้านได้ “ถ้าบอกล่วงหน้าจะได้ จั ด เตรี ย มให้ เ หมาะสม บางคนไม่ กิ น เนื้ อ ไม่ กิ น หมู ไม่เผ็ดไม่ผัก หรือแพ้อาหารก็บอกได้ เพราะที่นี่ดูแล เหมือนคนในครอบครัว” พ่อประยูรบอก


16

ท่องเที่ยว

ครัวบ้านโคกเมือง เรียนรู้แนวคิดการแปรรูปอาหารจากวัตถุดิบใกล้ตัว

เรื่อง : เอม มฤคทัต ภาพ : ชินภัทร จันทร์หล้าฟ้า

นอกจากสถานที่ท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์จะเป็น หนึ่งในเอกลักษณ์ของบ้านโคกเมืองแล้ว อีกหนึ่งสิ่งที่ สร้างชื่อเสียงให้กับหมู่บ้านคือการแปรรูปอาหารจาก วัตถุดิบที่ชาวบ้านนิยมเลี้ยงอย่างปลาดุกให้กลายเป็น ผลิตภัณฑ์หลากหลาย ทีส่ ามารถน�ำไปขายนอกหมูบ่ า้ น เพื่อสร้างรายได้ให้กับชุมชนในอีกทางหนึ่ง แม่อมั พร ช่วยพัฒน์ เหรัญญิกกลุม่ แปรรูปสัตว์นำ�้ วัย 61 ปี เล่าว่าการแปรรูปอาหารเริ่มต้นจากกลุ่ม แม่บา้ นทีม่ กั มารวมตัวกันท�ำกิจกรรมต่างๆ ด้วยกันในชุมชน พอมาช่วงปี 2559-2560 หมู่บ้านได้งบประมาณเพื่อ เปลีย่ นบ่อเลีย้ งปลาดุก จากเดิมทีเ่ ป็นบ่อพลาสติกให้เป็น บ่อซีเมนต์ขนาดใหญ่ และเริ่มมีการเลี้ยงแพร่หลายใน หมู่บ้าน กลุ่มแม่บ้านจึงขยายงานออกเป็นกลุ่มแปรรูป สัตว์น�้ำเพื่อให้ผลิตสินค้าได้มากขึ้น ผลิตภัณฑ์ของกลุ่มแปรรูปสัตว์น�้ำมีหลากหลาย ทัง้ ปลาดุกร้าหรือปลาดุกแดดเดียว น�ำ้ พริกนรก ปลาหยอง ข้าวเกรียบ และน�้ำบูดูหวาน รวมไปถึงผลิตภัณฑ์อย่าง แกงไตปลาแห้งซึ่งเป็นแนวคิดของกลุ่มแม่บ้าน กลุ่มแปรรูปสัตว์น�้ำจะรับซื้อปลาดุกพันธุ์รัสเซีย และบิก๊ อุยจากชาวบ้านซึง่ ตอนนีม้ มี ากถึง 30 บ่อ ในราคา กิ โ ลกรั ม ละ 50 บาท เพื่ อ สร้ า งรายได้ เ สริ ม ให้ กั บ ชาวบ้าน จากนั้นสมาชิกกลุ่มจะมาท�ำอาหารร่วมกัน เพือ่ น�ำไปขายเมือ่ มีก�ำหนดออกร้านตามงานเทศกาลต่างๆ ในพื้นที่ใกล้เคียง หรือเมื่อมีผู้สนใจแวะเวียนมาเรียนรู้ ในหมู่บ้าน ถ้าขายในงานไม่หมด ชาวบ้านจะน�ำไป ฝากขายต่ อ ในสหกรณ์ ข องอ�ำเภอต่ า งๆ ในจั ง หวั ด สงขลาและจังหวัดใกล้เคียง

ปลาดุกร้า

ปลาดุกร้าเป็นภาษาถิ่นใต้หมายถึงการทิ้งปลา ไว้จนเปื่อย โดยชาวบ้านจะน�ำปลาดุกมาล้างกับเกลือ และน�้ำตาล ก่อนน�ำไปตากแดดเป็นเวลา 3 วัน

แกงไตปลาแห้ง

แกงไตปลาแห้ ง เป็ น เมนู ที่ แ ม่ ยิ น ดี ฮิ่ น เซ่ ง หนึ่งในสมาชิกกลุ่มแปรรูปสัตว์น�้ำค้นพบโดยบังเอิญ เมื่อท�ำแกงไตปลาแล้วทิ้งแกงไว้บนเตาเป็นเวลานาน จนน�้ ำ แกงแห้ ง กลุ ่ ม แม่ บ ้ า นจึ ง ลองปรุ ง ใหม่ โ ดยน�ำ ไตปลามาผัดพร้อมสมุนไพรต่างๆ จนแห้งเข้าเนือ้ จะกิน เป็นกับข้าวเหมือนแกงไตปลาต้นฉบับ กินแกล้มกับผัก แทนน�้ำพริก หรือผสมกะทิแล้วน�ำไปต้มเป็นแกงก็ได้


17

ท่องเที่ยว

ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา กลุ่มแปรรูปได้รับการ สนับสนุนจากมหาวิทยาลัยในภูมิภาคในการศึกษาวิจัย และคิดค้นวิธีใหม่ๆ เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพในการ ผลิตและการจัดจ�ำหน่าย เช่น มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี ราชมงคลศรี วิ ชั ย ช่ ว ยสร้ า งเครื่ อ งอบพลั ง งาน แสงอาทิตย์ส�ำหรับตากแห้งปลา มหาวิทยาลัยทักษิณ ให้ ค�ำแนะน�ำเรื่ อ งการออกแบบบรรจุ ภั ณ ฑ์ แ ละ สติ๊กเกอร์โลโก้เก๋ๆ ช่วยให้ผลิตภัณฑ์น่าสนใจมากขึ้น ยามน�ำไปออกร้านตามที่ต่างๆ อย่างไรก็ดี ปัญหาหลักที่ชาวบ้านกลุ่มแปรรูป สัตว์น�้ำก�ำลังประสบคือการหาวิธีถนอมอาหารเหล่านี้ ให้มอี ายุนานขึน้ โดยไม่ตอ้ งใช้สารกันบูด เพราะไม่อยากให้ อาหารปนเปื้อนสารเคมีและตรงตามมาตรฐานของ

องค์การอาหารและยา ตอนนี้น�้ำพริกนรกปลาดุกและ แกงไตปลาแห้งจึงอยูไ่ ด้เพียง 7 วันในอุณหภูมหิ อ้ ง และ 2 สัปดาห์ในตู้เย็น แม่อัมพรเล่าวิธีที่ชาวบ้านทดลองเพื่อยืดอายุ อาหาร ทัง้ การเก็บในช่องแช่แข็งหรือใส่ถงั น�ำ้ แข็งเย็นจัด ซึ่งท�ำให้อาหารอยู่ได้นานขึ้นก็จริง แต่ก็ไม่มั่นใจว่า คุณภาพและรสชาติอาหารจะเหมือนสินค้าที่ปรุงใหม่ หรือไม่เมื่อเวลาผ่านไป ดังนั้นโจทย์ส�ำคัญคือการหาวิธีคงคุณภาพและ รสชาติอาหารให้อยูไ่ ด้เป็นเวลานาน หากมีวธิ กี ารถนอม อาหารทีด่ ขี นึ้ ชาวบ้านก็นา่ จะสามารถแปรรูปสินค้าได้ บ่อยครัง้ และจ�ำนวนมากขึน้ ในหลายช่วง โดยไม่ตอ้ งรอ ท�ำเฉพาะเวลามีลูกค้าสั่ง หรือน�ำไปออกร้านเท่านั้น

แผนผังการรวมกลุ่มของชุมชนโคกเมือง


18

เกษตร

แปลงผักสวนครัวบ้านพ่อวิจิตร

บ้านตู้เย็น

ตู้เย็นหลังใหญ่ของบ้านโคกเมือง “ลดรายจ่ า ยและสร้ า งรายได้ ” เป็ น หนึ่ ง ใน แนวทางการใช้ชีวิตอย่างยั่งยืนที่ชาวบ้านโคกเมืองเริ่ม ลองปฏิบัติ ภายใต้ชื่อง่ายๆ ที่เรียกกันติดปากว่า “บ้าน ตู้เย็น” ซึ่งเปรียบพื้นที่ภายในบ้านของตนเหมือนตู้เย็น เมื่ อ หิ ว ก็ ส ามารถเปิ ด หาวั ต ถุ ดิ บ ที่ ห ลากหลายมา ประกอบอาหารได้ทันที การท�ำบ้านตูเ้ ย็นไม่จ�ำเป็นต้องอาศัยบริเวณกว้าง เพียงพืน้ ทีข่ นาดย่อมก็สามารถปลูกพืชผักสวนครัวด้วย วิธกี ารง่ายๆ เช่น ผ่ายางรถยนต์ทใี่ ช้แล้วท�ำเป็นกระถาง ปลูกกะเพรา โหระพา ใบเหลียง และใช้แกลบที่เหลือ จากการสีข้าวมาท�ำปุ๋ย ถ้าใครมีพื้นที่กว้างอย่างสวน ยาง ก็สามารถปลูกยางแบบเกษตรผสมผสานหรือที่ เรียกว่า “พืชร่วมยาง” ด้วยการปลูกพืชผักสวนครัวและ ต้นไม้สร้างรายได้อื่นๆ เช่น ต้นตะเคียน มะม่วง แทรก ระหว่างต้นยาง เพื่อให้ใช้สอยพื้นที่ได้อย่างคุ้มค่า บ้านของพ่อวิจิตร อินทะโร วัย 65 ปี หนึ่งใน สมาชิ ก บ้ า นโคกเมื อ งถื อ เป็ น บ้ า นตู ้ เ ย็ น ครบวงจร จนกลายเป็นทัง้ แหล่งวัตถุดบิ ขนาดใหญ่ส�ำหรับครอบครัว และแหล่งเรียนรูส้ �ำหรับผูท้ สี่ นใจอยากลองน�ำไปปรับใช้ ในบ้านตนเอง พ่อวิจติ รเริม่ ต้นจากการปลูกพืช จากนัน้ จึง ขยับขยายไปสูก่ ารเลีย้ งสัตว์เพือ่ กินและจ�ำหน่าย ทัง้ การท�ำ

เรื่อง : เอม มฤคทัต ภาพ : โมเลกุล จงวิไล

บ่อปลาดุก ปลาสวาย ไก่ และวัวที่ เ ลี้ ย งอย่ า งอิ ส ระ ในพื้นที่สวนหลังบ้านส�ำหรับเอามูลไปหมักก๊าซชีวภาพ โดยเฉพาะ แถมยังมีชันโรง ผึ้งไร้เหล็กในที่เป็นตัวชี้วัด ความอุดมสมบูรณ์ของสภาพแวดล้อม ที่เลี้ยงไว้เพือ่ เก็บ น�ำ้ ผึง้ ขาย โดยพ่อวิจติ รจะใช้เครือ่ งอัดเม็ด ผลิตอาหารสัตว์ ส่วนหนึ่งเพื่อประหยัดค่าใช้จ่าย บริเวณหลังบ้านของพ่อวิจติ รยังเป็นพืน้ ทีท่ ดลอง ใช้เครือ่ งบ่มก๊าซชีวภาพ ผลงานทีอ่ าจารย์และนักศึกษา จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย จังหวัด สงขลา ร่วมกับเทศบาลต�ำบลบางเหรียงช่วยกันสร้าง ขึ้ น เมื่ อ ปี 2557 ด้ ว ยงบประมาณ 6,000 บาท แต่ ค งรายจ่ า ยเรื่ อ งก๊ า ซหุ ง ต้ ม ได้ 2,000 บาทต่ อ ปี เลยทีเดียว หลักการของเครือ่ งบ่มก๊าซ คือการใช้ถงุ พลาสติก ขนาดใหญ่ ห รื อ ถุ ง บอลลู น ต่ อ ท่ อ เข้ า กั บ เตาแก๊ ส ใน ตัวบ้าน หลังจากนั้นจึงน�ำเศษอาหารและมูลสัตว์รวม ประมาณ 200 กิโลกรัมใส่ในถุงเพื่อหมักให้เกิดก๊าซ ประมาณ 7 วั น ก็ จ ะได้ ก ๊ า ซชี ว ภาพส�ำหรั บ หุ ง ต้ ม ถุ ง บอลลู น หนึ่ ง ใบมี อ ายุ ก ารใช้ ง านราว 10-15 ปี หากอากาศร้ อ นมาก อาจได้ ป ริ ม าณก๊ า ซที่ ม ากขึ้ น แต่จะมีอายุการใช้งานน้อยลงตามไปด้วย


19

เกษตร

แผนผังบ้านพ่อวิจิตร (พื้นที่ประมาณ 30 ไร่) สวนปาล์ม

บ่อปลา

ที่เลี้ยงวัวดํา

เตาถ่าน

ก๊าซชีวภาพ เล้าไก่

สวนยางพารา

ครัว คอกวัว

บ้าน

โฮมสเตย์

พื้นที่ทำ�กิจกรรม

การท�ำบ้ า นตู ้ เ ย็ น ท�ำให้ ช าวบ้ า นมี วั ต ถุ ดิ บ ที่หลากหลาย จึงไม่ต้องเสียเงินซื้ออาหารสด เมื่อเข้า ครัวก็สามารถเดินไปเลือกหยิบผักและเนื้อสัตว์ในบ้าน ได้ ต ามต้ อ งการ อี ก ทั้ ง สามารถลดรายจ่ า ยจาก ค่าแก๊สในแต่ละปีได้ด้วย เมื่อวัตถุดิบต่างๆ เหลือก็ยัง สามารถน�ำไปขายที่ตลาดหรือแลกเปลี่ยนเป็นอาหาร ชนิดอื่นๆ กับชาวบ้านในหมู่บ้านได้ เสียงจากเจ้ าของบ้านตู้เย็น

ศรัณย์ ภัทรมาสู่สุข นักเรียนชั้น ม.3

“ที่ตลาดขายมะระ กิโลกรัมละ 40 บาท พอเรามีเมล็ด ปลูกเองได้ เราก็เก็บเงิน 40 บาท ไปท�ำอย่างอื่นได้”

บ้านตู้เย็นท�ำได้ไม่ยาก ชาวบ้านที่มีพื้นที่ใช้สอย มากน้อยต่างกันก็สามารถลองท�ำบ้านตู้เย็นในแบบ ของตั ว เอง โดยอาจเริ่ ม จากการปลู ก ผั ก สวนครั ว ที่ไม่ซับซ้อน เพื่อลดรายจ่ายเบื้องต้นของครอบครัว ไปจนถึ ง การลองขยายไปสู ่ กิ จ กรรมขนาดใหญ่ แบบเดียวกับพ่อวิจิตร และไม่ว่าตู้เย็นหลังนั้นจะเล็ก หรือใหญ่ ชาวบ้านก็สามารถลดรายจ่ายและเพิ่มรายได้ อย่างยั่งยืนได้

จํานงรักษ์ ยางทอง แม่บ้าน

“ตอนเริ่มปลูกพืชร่วมยาง ค่าใช้จ่ายเยอะ แต่ถ้าคิดว่าในอนาคต จะได้ก�ำไรมาก ก็ถือว่าคุ้ม”


20

เกษตร

กระบอกไม้ไผ่ที่ใช้เป็นรังเลี้ยงอุงในบ้านพ่อเจียร ยางทอง

“อุง” แมลงตัวจิ๋ว ประโยชน์มหาศาล เรื่อง : ชินภัทร จันทร์หล้าฟ้า

ภาพ : โมเลกุล จงวิไล

หากใครมีโอกาสมาเยือนชุมชนบ้านโคกเมือง จะพบว่าบางบ้านวางกล่องไม้ขนาดเท่ากล่องใส่รองเท้า หรือมีกระบอกไม้ไผ่แขวนไว้ จนอาจสงสัยว่าเป็นของ แต่งบ้าน แต่จริงๆ แล้ว นี่คืออุปกรณ์การเลี้ยง “อุง” แมลงตัวจิ๋วที่สร้างประโยชน์มหาศาลแก่เกษตรกร “อุง” เป็นภาษาท้องถิ่นใต้ใช้เรียกชันโรง แมลง ขนาดเล็ ก ที่ เ ก็ บ น�้ ำ หวานและเกสรจากดอกไม้ เหมือนผึ้ง ต่างกันที่อุงไม่มีเหล็กใน จึงไม่เป็นอันตราย ในประเทศไทย สามารถพบอุงได้ทุกภูมิภาค ส่วนมาก อาศัยอยู่ในป่าร้อนชื้น ป่าร้อนแห้งแล้ง ป่าพรุ ป่าเมฆ พ่อเจียร ยางทอง อายุ 74 ปี เลี้ยงอุงมาตั้งแต่ ปี 2557 จนปัจจุบันสามารถเปิดบ้านให้ชาวโคกเมือง และชุมชนอื่นๆ มาศึกษาวิธีการเลี้ยงเพื่อสร้างรายได้ พ่อเจียรบอกว่า เมื่อก่อนมีผึ้งในสวนจ�ำนวนมาก คิดได้ ว่าน�้ำผึ้งขายได้ราคาสูง จึงเริ่มเลี้ยงผึ้งก่อน ต่อมาพบว่า อุงก็ผลิตนำ�้ ผึง้ ได้ หลังจากเจอกระบอกไม้ไผ่ทมี่ อี งุ ท�ำรัง อยู่แล้วและภายในมีน�้ำผึ้ง จึงตัดสินใจทดลองเลี้ยงดู พ่อเจียรใช้เวลาหนึ่งปีรออุงสะสมน�้ำผึ้งในรังจน เป็นก้อน จากนัน้ แกะรังแล้วบดก้อนนำ�้ ผึง้ ให้เหลว รังอุง สามกระบอกจะได้น�้ำผึ้งหนึ่งขวดขนาด 700 มิลลิลิตร พ่ อ เจี ย รบอกว่ า ในช่ ว งปี แ รก ยั ง เก็ บ น�้ ำ ผึ้ ง จากอุ ง

ได้ไม่มากนักเพราะเลี้ยงไว้น้อย “ท�ำมาห้าปี รอบแรก ขายไม่ได้เลย ได้น�้ำผึ้งน้อย พอปีที่สอง เริ่มขยายรังเพิ่ม มาปีที่สามเริ่มได้ผล มาได้จริงๆ ช่วงสามปีหลังนี้เอง” โดยทัว่ ไป เกษตรกรจะสามารถเก็บนำ�้ ผึง้ ได้ในช่วง 3 เดือน แต่พ่อเจียรตัดสินใจรอให้ครบหนึ่งปีเพราะ เชื่อว่าจะได้น�้ำผึ้งที่มีสรรพคุณมากกว่า พ่อเจียรให้ เหตุผลว่าเนือ่ งจากอุงมีขนาดเพียง 4 มม. ตัวเล็กกว่าผึง้ จึงสามารถเข้าไปตอมดอกไม้ได้ทุกชนิดและเก็บเกสร และน�้ำหวานจากพืชหลายพันธุ์ “ต้นไม้สมุนไพรมันรักษาแต่ละโรค พออุงไป กินหมด เลยเชื่อกันว่าน�้ำผึ้งชันโรงรักษาได้หลายโรค ... และอุงจะไม่ตอมดอกทีม่ เี คมี ถ้ามีเคมี มันจะรู้ มันไม่กนิ ถ้ า กิ น ก็ ต าย” พ่ อ เจี ย รเสริ ม และยื น ยั น ว่ า ในน�้ ำ ผึ้ ง ชันโรงไม่มีสารเคมีที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ รสชาติ ข องน�้ ำ ผึ้ ง ชั น โรงหวานนวลอมเปรี้ ย ว ไม่หวานจนเลี่ยนเหมือนน�้ำผึ้งบางประเภท เนื่องจาก ขณะตอมดอกไม้แต่ละดอก อุงจะเก็บน�้ำหวานเพียง ร้อยละ 20 จากนั้นเก็บเกสรกลับรังไปสะสมเป็นน�้ำผึ้ง ด้วยนิสยั ทีช่ อบเก็บเกสรดอกไม้มากกว่านำ�้ หวาน อุงจึงมีความส�ำคัญต่อเกษตรกรในฐานะแมลงผสมเกสร ชัน้ เลิศ เพราะเมือ่ มันบินไปยังดอกไม้อนื่ โดยทีย่ งั มีเกสร


เกษตร

จากดอกที่ ต อมก่ อ นหน้ า สะสมอยู ่ บ ริ เ วณขาคู ่ ห ลั ง โอกาสทีเ่ กสรนัน้ จะหล่นไปยังดอกไม้ดอกใหม่และผสม พั น ธุ ์ กั น มี ม าก ต่ า งจากผึ้ ง ทั่ ว ไปที่ มั ก เลื อ กตอมแต่ ดอกไม้ที่รวมกลุ่มกันและยังไม่เคยมีแมลงตัวอื่นมากิน อีกทั้งเก็บน�้ำหวานมากกว่าเกสร โอกาสที่พืชจะผสม พันธุ์จึงยากกว่า ผลที่ตามมาคือพืชในสวนจะผสมพันธุ์กันและ ออกดอกผลได้ดี เป็นการท�ำให้พืชผลงอกงามโดยไม่พึ่ง สารเคมี และเป็นกระบวนการธรรมชาติทที่ กุ ฝ่ายพึง่ พา อาศัยกัน อย่างทีพ่ อ่ เจียรบอกว่า “เราได้เงิน เขา (คนซือ้ น�้ำผึ้ง) ได้สุขภาพ อุงได้อาหาร ต้นไม้ได้ผสมพันธุ์” ด้วยเหตุนี้ นำ�้ ผึง้ ชันโรงจึงมีราคาสูง ปัจจุบนั บาง ประเทศ เช่ น ญี่ ปุ ่ น มาเลเซี ย สั่ ง น�้ ำ ผึ้ ง ชั น โรงจาก ประเทศไทย โดยมีราคาขายขวดละ 500-1,500 บาท ส่วนน�้ำผึ้งชันโรงของพ่อเจียร มีลูกค้าจากมาเลเซียมา เสนอราคาให้ขวดละ 3,000 บาท นอกจากนี้ การที่ อุ ง ไม่ มี นิ สั ย ทิ้ ง รั ง ยั ง สร้ า ง

21 ประโยชน์ไ ด้ ย าวนาน การมี อุ ง อาศั ย อยู ่ ใ นสวนเป็ น ตัวชี้วัดว่าสิ่งแวดล้อมมีความอุดมสมบูรณ์ เพราะหาก ในถิ่นที่อยู่มีอาหารไม่เพียงพอหรือมีสารเคมี อุงจะย้าย หนีไป ผูท้ เี่ ลีย้ งอุงจึงต้องปลูกพืชหลากหลายชนิดเพือ่ ให้ อุงอยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีอาหารตลอดปี นอกจากที่บ้านโคกเมืองแล้ว ปัจจุบันเกษตรกร ในจังหวัดสมุทรสงคราม ชุมพร พัทลุง จันทบุรี เลี้ยงอุง เพื่ อ ใช้ เ ป็ น แมลงผสมเกสรให้ พื ช เศรษฐกิ จ ที่ ผ ล ตอบแทนสูง เช่น ทุเรียน เงาะ ล�ำไย และเกิดธุรกิจให้ เช่ารังอุง สร้างรายได้ทั้งทางตรงและทางอ้อมตลอดปี การเลีย้ งอุงจึงเป็นหนึง่ ในแนวทางเกษตรผสมผสาน ที่ชาวชุมชนโคกเมืองก�ำลังสนใจและเริ่มทดลองเลี้ยง ปัจจุบันมี 3-4 ครัวเรือนน�ำความรู้ที่ได้จากพ่อเจียรมา ปรับใช้ เพือ่ ทีว่ า่ เมือ่ หมดฤดูท�ำยางหรือท�ำสวน พวกเขา ก็ ส ามารถเลี้ ย งอุ ง เพื่ อ ยั ง ชี พ ได้ นอกจากไร่ ส วนจะ อุดมสมบูรณ์ ยังมีพืชผลให้ค้าขายและบริโภคตลอดปี และมีรายได้เสริมจากการขายน�้ำผึ้งชันโรงด้วย


22

การศึกษา

ครูชมัยพร ทองรอด แห่งโรงเรียนบ้านโคกเมือง

เพราะชุมชนสู้ โรงเรียนจึงอยู่ได้

เรื่อง - ภาพ: ชนนิกานต์ แก้วแก่นเพชร

โรงเรียนบ้านโคกเมือง (ธรรมโมลีคณานุสรณ์) ต.บางเหรี ย ง อ.ควนเนี ย ง จ.สงขลา เป็ น โรงเรี ย น ขนาดเล็กที่เปิดสอนระดับอนุบาล 1 ถึงประถมศึกษา ปีที่ 6 ปีการศึกษา 2562 มีนักเรียน 50 คน ก่อนหน้านี้ โรงเรียนเกือบต้องถูกปิดตามค�ำสั่งยุบรวมสถานศึกษา เหตุเพราะมีจ�ำนวนนักเรียนน้อย แต่ด้วยการรวมพลัง ของชาวบ้าน ครู และศิษย์เก่า ท�ำให้โรงเรียนประจ�ำ ชุ ม ชนที่ ก ่ อ ตั้ ง มากว่ า 80 ปี แ ห่ ง นี้ ยั ง สามารถเปิ ด ท�ำการเรียนการสอนต่อได้ ชมั ย พร ทองรอด วั ย 31 ปี ครู โ รงเรี ย น บ้านโคกเมือง เล่าให้ฟงั ว่า ปัจจัยทีท่ �ำให้จ�ำนวนนักเรียน เคยลดลงเหลือเพียง 30 คนจนโรงเรียนเกือบปิดตัว ในปีการศึกษา 2560 คือการเปลีย่ นแปลงทางเศรษฐกิจ และสังคม ที่ส่งผลให้ผู้ปกครองตัดสินใจส่งบุตรหลาน ไปเรียนที่อื่น “เมื่อก่อนคนมีลูกเยอะ การเดินทางยัง ไม่สะดวกเลยมีโรงเรียนในชุมชนเยอะ เด็กๆ จะได้เรียน ใกล้บา้ น แต่พอเวลาเปลีย่ น คนมีลกู น้อยลง มีเทคโนโลยี เข้ามา ผู้ปกครองเข้าถึงข้อมูลโรงเรียนหลายๆ ที่เอามา

เปรี ย บเที ย บกั น มี ท างเลื อ กเพิ่ ม ขึ้ น ก็ อ ยากส่ ง ลู ก ๆ ไปเรียนโรงเรียนใหญ่ๆ ที่มีครูครบ มีห้องเรียนพิเศษ ไกลบ้านกว่าเดิมหน่อยแต่ก็ส่งลูกหลานไปได้เพราะ การเดินทางไม่ล�ำบากแบบเดิม บางโรงเรียนมีรถมารับ ถึงหน้าบ้านก็มี” ครูชมัยพรกล่าว พ่ออุดม ฮิ่นเซ่ง ผู้ใหญ่บ้านโคกเมืองบอกว่า เสียดายหากโรงเรียนต้องปิดตัว เพราะอยากให้เด็กได้ เรียนรูว้ ถิ ชี มุ ชนจากโรงเรียน “ไม่อยากให้โรงเรียนถูกยุบ เพราะเสียดาย เปิดมา 80 ปี โรงเรียนถึงจะเล็กแต่เด็ก ที่นี่ก็มีทักษะเอาตัวรอด จับปลาก็ได้ เลี้ยงสัตว์ก็ได้ เพราะอยู ่ ใ นชุ ม ชนได้ เ ห็ น และซึ ม ซั บ วิ ถี ชี วิ ต ที่ ไ ม่ มี ในต�ำราเรียน ก็เลยอยากให้โรงเรียนยังอยู่ เด็กโคกเมือง จะได้เรียนที่โคกเมืองต่อไป” วิ ก ฤตในครั้ ง นั้ น ท�ำให้ เ กิ ด ความร่ ว มมื อ ของ “บวร” หรือ บ้าน วัด โรงเรียน ด้วยสถานที่ตั้งของ โรงเรียนอยู่ติดวัดและมีชุมชนล้อมรอบ ครู ผู้ปกครอง และชาวบ้ า นจึ ง ร่ ว มมื อ กั น จั ด กิ จ กรรมต่ า งๆ ท�ำให้ โรงเรียนสามารถเปิดสอนได้ถึงปัจจุบัน


23

การศึกษา

“จุดเด่นของทีน่ คี่ อื ชุมชนเข้มแข็ง มีการทอดกฐิน ระดมทุนจากชาวบ้านศิษย์เก่ามาจ้างครูเพิม่ ให้เพียงพอ เสียงเล็กๆ จากเด็กโคกเมือง มี ไ ปสื่ อ สารตามบ้ า นให้ ผู ้ ป กครองส่ ง ลู ก หลาน “เรียนโคกเมืองตัง้ แต่อนุบาล มาเรี ย นที่ นี่ ท�ำกิ จ กรรมร่วมกับ วัดในวันพระใหญ่” อยากเป็นเกษตรกร ครูชมัยพรอธิบาย เพราะชอบปลูกต้นไม้ สอดคล้องกับค�ำพูดพ่อผู้ใหญ่ที่ว่า ข้ามผ่าน อยากท�ำบ้านตู้เย็น วิกฤตได้เพราะความร่วมมือจากคนที่มีความรักและ แบบลุงวิจิตร” ผูกพันกับโรงเรียน “ชาวบ้าน ศิษย์เก่า ก็ช่วยกันอย่าง น้องเคน - ด.ช.ศุภฤกษ์ ณ แฉล้ม ป.6 ครูที่เกษียณที่นี่ก็อาสามาช่วยสอนด้วยใจ” ครูชมัยพรแห่งโรงเรียนบ้านโคกเมืองปิดท้ายว่า ในปีการศึกษาต่อๆ ไป โรงเรียนจะเพิ่มชั่วโมงกิจกรรม ให้ ช าวบ้ า นที่ มี ค วามรู ้ ด ้ า นต่ า งๆ มาสอนนั ก เรี ย น “ชอบมาโรงเรียน “อนาคตจะมีกิจกรรมร่วมกับชุมชนเพิ่มขึ้น เช่น เรียนรู้ ชอบวิชาภาษาอังกฤษ บ้านตู้เย็น ท�ำขนม กลองยาว นักเรียนจะได้ทั้งวิชาการ เพราะครูนวยใจดี” จากครูและวิชาชีพจากวิทยากรในชุมชน ให้เกิดความ ภูมิใจที่ได้เรียนที่นี่”

น้องใบเฟิร์น - ด.ญ.ชุตินันท์ รักนุ้ย ป.2

จำ�นวนครูและนักเรียน โรงเรียนบ้านโคกเมือง

“ชอบวิชาสุขศึกษา เคยไปแข่งฟุตบอล มีชนะบ้างแพ้บ้าง อยากให้เพื่อนใหม่ มาเรียนที่โรงเรียน”

ปีการศึกษา 2562 ผู้อำ�นวยการโรงเรียน ข้าราชการครู 3 คน

ครูอัตราจ้าง 2 คน

น้องคิว - ด.ช.ภาสกร ทองคำ�นุช ป.5

*

นักเรียนอนุบาล 1 ถึง 3 10 คน

นักเรียนประถม 1 ถึง 6 50 คน

* ครูทรงคุณค่า คือครูที่เกษียณอายุราชการที่โรงเรียนโคกเมืองแล้วอาสามาสอน

“ชอบไปโรงเรียน ไปเล่นกับเพื่อน ชอบรำ� อยากรำ�มโนราห์” น้องพิม - ด.ญ.อาภัสรา ทองคำ�นุช ป.1


24


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.