นิสิตนักศึกษา ฉบับ ณ พระนคร (พ.ค. 2562)

Page 1

ฉบับ ณ พระนคร วารสารฝึกปฏิบัติภาควิชาวารสารสนเทศ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฉบับพฤษภาคม 2562

11

ร่วมส�ำรวจตลาดค้าสังฆภัณฑ์อันดับหนึ่ง ของประเทศไทย

16

เรียนรู้เรื่องราว “ผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะ” ท�ำไมพวกเขาตัดสินใจออกมาจาก “บ้าน”


รายชื รายชื่อ ่อกองบรรณาธิ กองบรรณาธิก การ าร วารสารฝึกปฏิบัติ ภาควิชาวารสารสนเทศ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อาจารย์ที่ปรึกษา : พรรษาสิริ กุหลาบ บรรณาธิการเนื้อหา : โมเลกุล จงวิไล กองบรรณาธิการ : ชนนิกานต์ แก้วแก่นเพชร, ชินภัทร จันทร์หล้าฟ้า, โมเลกุล จงวิไล, เอม มฤคทัต บรรณาธิการฝ่ายศิลป์ : เอม มฤคทัต บรรณาธิการผู้พิมพ์ผู้โฆษณา : ผศ.ดร.ณรงค์ ข�ำวิจิตร์ ที่อยู่ : 254 ถนนพญาไท แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330 โทร : 0-2218-2140 Facebook : www.facebook.com/nisitjournal Twitter : @nisitjournal Instagram : @nisitjournal Website : http://nisitjournal.press


พั พัน นธกิ ธกิจจของเรา ของเรา ที่ใดมี “คน” ที่นั่นมี “เรื่องราว” “ชุมชน” คือสถานที่ที่มีผู้คนอาศัยอยู่ร่วมกัน แน่นอนว่าย่อมเต็มไปด้วยเรื่องราว ต่างๆ อาจเป็นการด�ำรงชีวิตที่เรียบง่าย ศิลปะงานฝีมืออันปราณีต หรือเสียงเรียกร้องที่ สังคมไม่เคยได้ยิน กระนั้น เรื่องราวที่เกิดขึ้นในอดีตและที่ก�ำลังเป็นไปในปัจจุบันอาจไม่ได้เหมือนกัน เสียทีเดียว “ความเปลี่ยนแปลง” ที่เกิดขึ้นอาจสร้างผลลัพธ์ทั้งในแง่บวกและลบต่อ ชุมชน ความเปลี่ ย นแปลงในชุ ม ชน “พระนคร” ถื อ เป็ น หนึ่ ง ในภาพสะท้ อ นความ เปลีย่ นแปลงทีเ่ กิดขึน้ ในสังคมไทย ซึง่ ชีใ้ ห้เห็นว่า การถูกฉาบด้วยภาพจ�ำซ�ำ้ ๆ ทีน่ ำ� เสนอ แต่เพียงด้านทีส่ วยงาม อาจท�ำให้ผคู้ นทัง้ ในและนอกพืน้ ทีไ่ ม่ทนั ตระหนักว่า ชุมชนก�ำลัง เผชิญหน้ากับการเปลี่ยนแปลงที่น�ำมาซึ่งปัญหา “นิสิตนักศึกษา” จึงมุ่งหวังเป็นสื่อกลาง เพื่อบอกเล่าเรื่องราวในชุมชนให้สังคมได้ มองเห็นแง่มุมใหม่ๆ ขณะเดียวกัน ก็หวังให้ชาวชุมชนได้รู้ว่า “บ้าน” ของพวกเขามีเรื่อง ราวใดเกิดขึน้ หรือเปลีย่ นแปลงไป ซึง่ อาจเป็นจุดเริม่ ต้นทีผ่ ลักดันไปสูก่ ารแก้ไขปัญหาต่อไป


สารบัญ ญ สารบั 6

แผนที่

แผนที่ท่องเที่ยวย่านพระนคร

8

สกู๊ปชุมชน

จากหนึ่งสู่สาม : เมื่อกาลเวลากำ�ลังเปลี่ยนแปลงสามแพร่ง

11

Main Course

สำ�รวจวงการ... ย่านสังฆภัณฑ์อันดับหนึ่งของประเทศไทย

16

สารคดี

ไร้บ้าน...ไม่ไร้ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์

18

Interview

“ถ้าหมดหนี้ พี่ก็จะเลิกทำ�” : พันธนาการที่ต้องสะสาง กับเส้นทางชีวิตของ Sex Worker

20

ท่องเที่ยว

โบสถ์พราหมณ์ : ความเก่าที่เข้ากับคนรุ่นใหม่

22

ท่องเที่ยว

“บ้านหมอหวาน บำ�รุงชาติสาสนายาไทย” ฟื้นชีพยาไทย ในสมัยนิยมยาฝรั่ง


บทบรรณาธิ บทบรรณาธิก การ าร

การเปลี่ยนผ่านท่ามกลางกาลเวลาที่เปลี่ยนแปลง ย่านร้านอาหารเลื่องชื่อ หรือวัดวาเก่าแก่ คงเป็นภาพสะท้อนของ “พระนคร” ที่ใครหลาย คนรับรูเ้ มือ่ พินจิ ดูแบบเผินๆ อย่างไรก็ดี หากมีโอกาสได้ยา่ งเท้าก้าวลึกเข้าไป จะพบว่าในชุมชน แห่ ง นี้ ยั ง มี ก ารเปลี่ ย นแปลงอี ก มากมายที่ ไ ม่ เ คยถู ก กล่ า วถึ ง เช่ น เดี ย วกั บ อี ก หลายพื้ น ที่ การเปลี่ยนแปลงในย่านพระนครนี้ก่อให้เกิดปัญหาและความท้าทายครั้งใหม่ ซึ่งผลักดันให้ คนในชุมชนต้องปรับตัว “นิสิตนักศึกษา” เดินเข้าไปในย่านพระนครเพื่อเรียนรู้แง่มุมต่างๆ ของชุมชนที่ผู้คน ภายนอกอาจไม่เคยมองเห็น เราพบว่าภายใต้บรรยากาศทีด่ เู ก่าแก่ เต็มไปด้วยเรือ่ งเล่าของการ เปลี่ยนแปลง ตั้งแต่ย่านร้านค้าสังฆภัณฑ์ส�ำคัญที่ในอดีตเคยคึกคัก แต่ปัจจุบันก�ำลังซบเซา ชุมชนบ้านใกล้ที่เดิมเคยรวมตัวกันได้ แต่วันนี้ก�ำลังเติบโตไปคนละทิศทาง ไปจนถึงจ�ำนวน คนไร้บ้านในย่านนี้ที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ความเข้าใจใน “ชุมชน” จ�ำต้องมาจากการมองที่รอบด้าน ทะลุผ่านฉากหน้าที่สวยงามไป ให้เห็นถึงปัญหา รวมถึงมองด้วยมิติซึ่งไม่เคยอยู่ในสายตามาก่อน ทุกครั้งที่ได้มีโอกาสรับรู้ เรื่องราวใหม่ๆ นั่นอาจหมายถึงความรู้ความเข้าใจที่ก�ำลังเพิ่มพูนมากขึ้น “นิสติ นักศึกษา” ไม่ใช่ชาวชุมชน จึงไม่อาจถ่ายทอดเรือ่ งราวการเปลีย่ นผ่านทีเ่ กิดขึน้ ในย่าน พระนครได้อย่างทะลุปรุโปร่ง คงต้องเป็นคนในชุมชนผู้ซึ่งใช้ชีวิตอยู่กับการเปลี่ยนแปลงนี้ที่จะ สามารถบอกกล่าวเรื่องราวได้อย่างลึกซึ้ง เราจึงเป็นได้เพียงสื่อกลางที่ช่วยส่งผ่านเรื่องเล่า ประสบการณ์ หรือความรู้สึกของชาวชุมชน ให้ผู้คนภายนอกได้รับรู้ ในสิ่งที่ชุมชนพยายามต่อ รองและดิ้นรนเพื่อให้พ้นผ่าน แม้การเป็นสื่อกลางนี้อาจไม่สามารถพาไปสู่แนวทางที่จะแก้ ปัญหาได้ในพริบตา แต่อย่างน้อยก็อาจเป็นฐานความรู้ให้ผู้คนในชุมชนนี้ หรือชุมชนอื่นๆ ที่ ก�ำลังต่อสู้กับกระแสแห่งความเปลี่ยนผ่านได้เรียนรู้ต่อไป




สกู๊ปชุมชน

8

จากหนึ จากหนึ่ง่งสูสู่ส่สาม: าม:

เมื เมื่อ่อกาลเวลาเปลี กาลเวลาเปลี่ย่ยนแปลงสามแพร่ นแปลงสามแพร่งง

เรื่อง : เอม มฤคทัต ภาพ : ชินภัทร จันทร์หล้าฟ้า

ในอดีต พื้นที่แห่งนี้เคยเป็นแหล่งการค้าที่ส�ำคัญ ในปัจจุบัน พื้นที่แห่งนี้กลายเป็นอีกหนึ่งสถานที่ ท่องเที่ยวหากพูดถึงย่านพระนคร ด้วยภาพที่คุ้นตาของตึกโบราณสองชั้นแบบชิโนโปรตุกสี อันเป็นเอกลักษณ์ของแพร่งนราและแพร่งภูธร ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 รวมทั้งซากประตูโบราณของ วั ง สรรพสาตรศุ ภ กิ จ หน้ า แพร่ ง สรรพศาสตร์ ท� ำ ให้ ชุมชนสามแพร่งกลายเป็นอีกหนึ่งสถานที่ท่องเที่ยวที่ มักถูกโปรโมทผ่านสือ่ ของทัง้ ภาครัฐและเอกชน ทีย่ งั คง ไว้ทั้งตัวอาคารและร้านค้าเก่าแก่ ถ้าจะให้คุ้นที่สุด คง หนีไม่พ้นภาพของสามชุมชนที่รวมตัวกันจัดงานภายใต้ ชื่อ “งานสามแพร่ง” ทุกๆ สิน้ ปีตงั้ แต่ปี 2539 เป็นต้นมา หากในความเป็นจริงแล้ว กาลเวลาที่ผ่านไปกลับ ท� ำ ให้ ค วามเป็ น ชุ ม ชนของแพร่ ง ทั้ ง สามต่ า งค่ อ ยๆ เปลี่ยนไปคนละทิศคนละทาง แพร่งนรา : เรียนรู้ที่จะรักษาเพื่อ คงไว้ซึ่งอัตลักษณ์ของชุมชน “แต่ก่อนที่ตรงนี้เป็นศูนย์รวมของการค้า จริงๆ เรียกว่าสามารถใช้ชีวิตตรงนี้ได้เลย เพราะอยู่ใกล้ทั้ง บางล�ำภู ส�ำเพ็ง เยาวราช บ้านหม้อ” พีใ่ หญ่ - บุญทรง พฤกษาพงษ์ วัย 55 ปี เจ้าของร้านอาหารตามสั่ง ที่ชาว แพร่งนรายกให้เป็นผูน้ ำ� ในการจัดกิจกรรมต่างๆ เล่าถึง ชุมชนแห่งนีเ้ มื่อเกือบ 50 ปีที่แล้ว ที่นอกจากจะล้อม รอบไปด้วยแหล่งการค้าส�ำคัญแล้ว ทัง้ หัวและท้ายถนน

ยังติดกับอาคารราชการทัง้ หลาย ไม่วา่ จะเป็นกระทรวง มหาดไทย กระทรวงกลาโหม กระทรวงแรงงาน และ ศาลยุติธรรม พี่ใหญ่เล่าให้ฟังว่าในสมัยก่อน คนในพื้นที่ประกอบ อาชีพค้าขาย ถนนฝั่งคลองหลอดจะมีร้านขายของเก่า และสินค้ามือสอง ส่วนช่วงศุกร์ เสาร์ อาทิตย์จะมีเรือ ขายผลไม้ ต ามฤดู ก าลมาจอด นอกจากนี้ ใกล้ ๆ กระทรวงต่ า งๆ จะมี แ ผงขายหนั ง สื อ พอได้ เวลา เปิดเทอม นักเรียนก็จะต้องน�ำใบสัง่ หนังสือมาให้รา้ นจัด หรือซื้อเฉลยแบบฝึกหัดกันที่นี่ ด้านถนนตะนาวเป็น ร้านและโรงงานเครื่องหนังขนาดย่อมที่ขายทั้งเข็มขัด กระเป๋า รองเท้า ส่งออกต่างประเทศและส่งไปขายที่ บางล�ำภู ส่วนพื้นที่ระหว่างซอยจะเป็นส�ำนักงานทนาย และร้านอาหารเพื่อรองรับคนที่เข้ามาติดต่อราชการใน บริเวณนี้ “ช่วงปี 2525 พอสนามหลวงย้ายไปจตุจกั ร คนก็ไม่ มาขายของที่ นี่ แ ล้ ว ต่ อ มาระบบศาลเริ่ ม แยกเป็ น ศาลธนบุรี ศาลอาญา ศาลแขวง อาชีพที่เคยอยู่ตรงนี้ก็ อยู่ไม่ได้ ยิ่งพอลูกหลานในบ้านตัวเองเริ่มได้รับการ ศึกษาที่ดี ไม่ส านต่ออาชีพของพ่อแม่ ไปท�ำงานใน บริษัทหรือท�ำงานที่ดีกว่าที่พ่อแม่เขาเคยท�ำ อาชีพ ค้าขายต่างๆ เลยหายไป” พี่ใหญ่สรุป อย่างไรก็ดี พีใ่ หญ่มองว่าในทุกการเปลีย่ นแปลงควร มี เรื่ อ งเล่ า เช่ น เดี ย วกั บ อั ต ลั ก ษณ์ ข องชุ ม ชนที่ ค วร


สกู๊ปชุมชน ช่วยกันรักษาไว้ พี่ใหญ่และเพื่อนๆ ในชุมชนใกล้เคียง ทั้งแพร่งภูธรและแพร่งสรรพศาสตร์จึงรวมตัวกันในปี 2539 จัด “งานสามแพร่ง” เป็นเทศกาลเล็กๆ โดยหวัง ให้ชมุ ชนเป็นอีกหนึง่ สถานทีท่ อ่ งเทีย่ วส�ำหรับครอบครัว ที่มีทั้งกิจกรรมและการเล่าเรื่องราวในอดีตของชุมชน เท่าที่จะสามารถท�ำได้ “เราควักกระเป๋าจัดงานกันเอง หมดเลย ทาสีชุมชนใหม่ หากิจกรรมที่น่าสนใจมาให้ เด็กๆ ท�ำ แล้วใครมีของเก่า เราก็ให้เขาเอามาโชว์ที่ โรงเรียนตะละภัฏ” พี่ใหญ่เล่า จากงานเทศกาลในครัง้ นัน้ ส่งผลให้ชมุ ชนสามแพร่ง เริ่มเป็นที่รู้จักมากขึ้นในวงกว้าง จากงานเล็กๆ ระดับ ชุมชนจึงกลายเป็นงานขนาดใหญ่ที่ได้รับการสนับสนุน จากหน่วยงานรัฐ เช่น กทม. และ ททท. ท�ำให้สามแพร่ง กลายเป็นเพียงสถานที่จัดงานที่ถูกก�ำหนดภาพลักษณ์ จากคนภายนอก ปัจจุบัน สสส. กลุ่มดินสอสี และกลุ่มรักยิ้ม ซึ่งเป็น องค์กรภาคประชาสังคมที่ท�ำงานด้านศิลปะ ร่วมกับ เยาวชนได้เข้ามาเป็นผูร้ บั ช่วงต่อในการจัดงาน โดยปรับ รูปแบบกิจกรรมเป็นการพาเยาวชนที่สนใจลงมาศึกษา ชุมชน พร้อมกับเปิดซุ้มกิจกรรมด้านศิลปะให้กระจาย ไปทั่วชุมชนในช่วงเดือนพฤศจิกายนของทุกปี ท�ำให้ ชาวบ้านเองก็ได้กลับมามีส่วนร่วมกับงานของชุมชน มากขึ้นด้วยเช่นกัน แม้เรื่องเล่าของชุมชนจะถูกถ่ายทอดผ่านการพา เด็กๆ ที่สนใจมาเรียนรู้กับชุมชนเป็นประจ�ำทุกปีท่ีมี งานเทศกาล แต่พี่ใหญ่ยอมรับว่าจ�ำนวนเด็กๆ ที่มาร่วม งานในปั จจุ บัน นั้น ลดลงอย่างเห็นได้ชัด นอกจากนี้ สภาพสังคมก็เปลี่ยนแปลงไป บวกกับเหตุการณ์ไฟไหม้ เมื่ อ ปี 2560 ท� ำ ให้ บ้านเรือนเสียหายกว่า 13 หลัง นอกจากนี้ โรงเรียนตะละภัฏซึ่งเป็นอาคารไม้เก่าแก่ กลางชุมชนก็มีสภาพผุพังจนใช้การไม่ได้ก็ต้องได้รับ การซ่อมแซมในเร็ววันนี้ ท�ำให้ผู้น�ำชุมชนยอมรับว่า สถานการณ์ของชุมชนนัน้ อยูใ่ นช่วงทีย่ งั ไม่รวู้ า่ จะไปใน ทิศทางไหนต่อไป

9 “เพราะฉะนั้นเมืองเก่าต้องมีคนเล่าเรื่อง วิถีชีวิต ความเป็นอยู่ที่ผ่านมา อาชีพเดิมๆ มันเคยเป็นอย่างไร มาก่อน ในอนาคตเราไม่มีทางรู้ว่ามันจะเหลือสักเท่า ไหร่หรือหายไปเลยไหม เพราะฉะนั้นในตอนนี้ที่ท�ำได้ ก็อยากจะเก็บเรื่องราวเหล่านี้เอาไว้ให้ได้” พี่ใหญ่สรุป แพร่ ง ภู ธ ร : จั ด การด้ ว ยระบบ องค์กรเพื่อชุมชนที่น่าอยู่ เช่นเดียวกับแพร่งนรา เมื่อเกือบ 60 ปีที่แล้ว แพร่ง ภูธรเคยเป็นศูนย์รวมร้านอาหารชื่อดังมากมาย สังเกต ได้จากสวนหย่อมขนาดเล็กประมาณตึกแถว 7 คูหา พีก่ อล์ฟอภิชาญ วัลลา อายุ 49 ปี ประธานกรรมการชุมชน เล่าให้ฟังว่า พื้นที่บริเวณสวนหย่อมที่ตั้งอยู่กลางชุมชน นี้เคยเป็นเพิงตั้งร้านอาหาร ก่อนจะถูกดัดแปลงเป็น โรงอาหารส�ำหรับรองรับผูท้ มี่ าติดต่อราชการที่กระทรวง ต่างๆ ใกล้ชมุ ชน จนกระทัง่ เมือ่ ปี 2504 กระทรวงต่างๆ ย้ายไปตัง้ บริเวณอืน่ พืน้ ทีน่ จี้ งึ ถูกปรับเป็นสวนหย่อมให้ ชาวบ้านใช้ท�ำกิจกรรมและพักผ่อน “อาหารที่แพร่งนี้พูดได้ว่าอร่อยที่สุด แต่ก่อนท่าน เอกอัครราชทูต ข้าราชการต่างๆ จะมากินอาหารกัน ตรงนี้จนพื้นที่ตรงนี้ครึกครื้นมาก เดี๋ยวนี้ต่างคนต่างท�ำ มาหากิน จะเจอกันทีก็เลิกงาน หรือบ้านไหนที่มีคนแก่ ก็มักจะไม่ค่อยมีลูกหลาน เป็นแม่หม้ายกับเป็นโสดกัน เยอะ สุดท้ายก็ไม่มีคนสานต่ออาชีพ” พี่กอล์ฟอธิบาย ปัจจุบนั ชุมชนแห่งนีจ้ งึ เงียบเหงาลงไปถนัดตา พีก่ อล์ฟ เล่าว่าชุมชนจะกลับมาคึกคักก็ต่อเมื่อมีงานเทศกาล ประจ�ำปีอย่างงานสามแพร่งเท่านั้น เพราะชาวบ้านจะ รู้สึกภูมิใจที่ได้ใช้พื้นที่ของชุมชนเป็นส่วนหนึ่งของการ จัดกิจกรรม นอกจากนี้พวกเขายังใช้โอกาสนี้ตั้งซุ้ม เฉพาะกิจส�ำหรับขายอาหารและขนม รวมทั้งได้ติดต่อ กับเพื่อนบ้านในแพร่งใกล้เคียงอีกด้วย อย่างไรก็ตาม พี่กอล์ฟมองว่าสิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่ ชาวบ้านพึงพอใจ และยินดีที่จะให้คนนอกอย่าง สสส. และ กลุม่ องค์กรศิลปะต่างๆ เข้ามาช่วยจัดกิจกรรมเพือ่


10

ไม่ให้เกิดความวุ่นวายกันเองภายในชุมชน เช่นเดียวกับการสนับสนุนการจัดงานประจ�ำปี พีก่ อล์ฟ ยังคงยินดีเปิดรับการเข้ามาของหน่วยงานรัฐเพื่อช่วย บริหารจัดการชุมชนในด้านอืน่ ๆ เช่น กระทรวงกลาโหม มาตัง้ ไลน์กลุม่ ส�ำหรับคนในชุมชน เพือ่ แก้ปญ ั หาทัง้ การ ปรับทัศนียภาพให้น่าอยู่หรือการส่งเจ้าหน้าที่เข้ามา จัดระเบียบยามที่มีคนไร้บ้านเข้ามาในชุมชน ถึงแม้ชุมชนอาจไม่ได้คึกคักเหมือนเก่า แต่ประธาน กรรมการชุมชนเห็นว่าการได้รับบริการจากภาครัฐใน ช่วงนี้ก็ถือเป็นโอกาสดีที่ชาวบ้านจะได้มีชุมชนที่น่าอยู่ และคงเอกลักษณ์ตั้งแต่อดีตเอาไว้ พี่กอล์ฟมองว่าแม้ ชุมชนใกล้เคียงจะเปลี่ยนแปลงไปเป็นแบบไหน แต่เท่า นี้ก็ถือว่าเพียงพอแล้วส�ำหรับแพร่งภูธรในปัจจุบัน แพร่ ง สรรพศาสตร์ : แยกย้ า ย ด้วยยอมรับกับการเปลี่ยนแปลง ขณะทีท่ งั้ แพร่งนราและแพร่งภูธรยังคงมีอาคารเก่า เหมือนดังเช่นร้อยปีทผี่ า่ นมา แพร่งสรรพศาสตร์กลับไม่ เหลือเค้าเดิมเมื่ออาคารส่วนใหญ่ถูกเปลี่ยนให้กลาย เป็นตึกแถวหลายชั้นที่ดูทันสมัยด้วยรูปทรงที่หลาก หลาย และเปลี่ยนรูปแบบการใช้งานเป็นทั้งออฟฟิศ บ้านเช่า และโรงงานขนาดย่อม เหลือเพียงร้านค้า เก่าแก่เพียง 2-3 ร้านเท่านั้น ตั้งแต่เกิดไฟไหม้ครั้งใหญ่ช่วงปี 2509 ผู้คนจ�ำนวน หนึ่งต้องย้ายออกไปอยู่ที่อื่น บวกกับต่อมาสภาพของ ชุมชนที่เคยเป็นที่อยู่อาศัยก็เปลี่ยนแปลงไปเป็นอาคาร พาณิชย์ ท�ำให้แพร่งสรรพศาสตร์แทบไม่มีภาพของ ชาวบ้านทีอ่ อกมาพูดคุยหรือนัง่ เล่นกันหน้าบ้านเหมือน ในแพร่งอื่นๆ นอกจากนี้ ชาวบ้านบางส่วนก็ไม่ทราบ ความเป็นไปในชุมชนของตนมากนัก “กลุ่มคนที่แต่งตั้งมาประสานงานกับชาวบ้านไม่ได้ เกิดขึน้ จากการเลือกขึน้ มา แต่เป็นการแต่งตัง้ กันขึน้ มาเอง

สกู๊ปชุมชน

เขามีหน้าที่แค่ประชาสัมพันธ์ข่าวสาร” สุวัชร สายัณห์ นิโคธร เจ้าของร้านอาหารตามสั่งแห่งหนึ่งในชุมชน แพร่งสรรพศาสตร์ให้ความเห็น สุวัชรยังเล่าอีกว่าการไม่มีตัวแทนชุมชนอย่างเป็น ทางการนีเ้ องทีท่ ำ� ให้เมือ่ ชาวบ้านมีปญ ั หาจึงไม่สามารถ หาตัวแทนรับเรื่องร้องเรียนเพื่อไปประสานกับภาครัฐ ที่เกี่ยวข้องได้ หรือเมื่อแจ้งไปตามหน่วยงานต่างๆ เรื่อง เหล่านั้นก็มักจะเงียบหาย ไม่ได้ถูกแก้ จนกลายเป็น ปัญหาที่วนอยู่ในชุมชนมาโดยตลอด “ที่ผ่านมามีทั้ง เรื่องของคนที่เข้ามาขายบริการในชุมชนจนมีปากเสียง กับนักท่องเที่ยววุ่นวาย” สุวัชรอธิบาย เจ้าของร้านอาหารตามสัง่ บอกว่า เมือ่ ต่างคนต่างอยู่ ชาวบ้านจึงไม่ได้มองว่าชุมชนแห่งนี้มีความเป็นสถานที่ ท่องเที่ยวเหมือนกับสองแพร่งที่ผ่านมา ดังนั้นความ ต้องการจัดการพื้นที่หรือดูแลรักษาชุมชนก็ลดลง เช่น เดียวกับความต้องการรวมตัวกันของคนในชุมชนด้วย แพร่งสรรพศาสตร์จึงกลายเป็นเพียงพื้นที่อยู่อาศัย ที่ผู้คนรู้สึกว่าไม่จ�ำเป็นต้องมีส่วนร่วมกับกิจกรรมใด ที่เกิดขึ้นในชุมชนสามแพร่งก็ได้ “ชาวบ้ า นไม่ ไ ด้ รู ้ สึ ก ว่ า ที่ นี่ มี วิ ถี ชี วิ ต ชุ ม ชนอะไร ที่ยังมีชื่อเสียงก็เพราะยังเป็นย่านเก่าแก่หนึ่งเท่านั้น ไม่มใี ครเสียดายชุมชนทีก่ ำ� ลังจะเปลีย่ นไปแล้ว คนทีอ่ ยู่ ก็มีแต่คนแก่ๆ เด็กๆ เขาก็ไม่รู้สึกอะไร อีก 15 ปีพื้นที่ ตรงนี้ คงกลายเป็นโฮสเทลของนายทุนข้างนอกหมด” สุวชั รปิดท้าย ภาพทีด่ เู หมือนจะรวมชุมชนทีอ่ ยูใ่ กล้กนั ให้เป็นหนึง่ เดียว กลับไม่สะท้อนการด�ำรงอยูข่ องชุมชนสามแห่งทีม่ คี วาม หลากหลายและมุง่ หน้าไปคนละทิศได้ ไม่วา่ เส้นทางของ ชุมชนสามแพร่งจะมาบรรจบกันบ้างเหมือนเดิมหรือไม่ ชาวชุมชนยังคงมุ่งหวังให้การด�ำรงอยู่ต่อไปสอดคล้อง กับความเปลี่ยนแปลงในสังคมเมือง


สำ�รวจวงการ... ย่านสังฆภัณฑ์อันดับ 1 ของไทย

เรื่อง - ภาพ : โมเลกุล จงวิไล

“ใครจะซื้อสินค้าเกี่ยวกับสังฆภัณฑ์เขาก็ต้องนึกถึง เสาชิ ง ช้ า ทั่ วประเทศที่นี่คือแหล่ง ใหญ่สุด” พี ร ญา ธรรมอารี หรือ แนน วัย 44 ปี ทายาทรุ่นที่ 2 ของร้าน รุง่ เรืองพานิช หนึง่ ในกิจการสังฆภัณฑ์แถบเสาชิงช้าล่างกล่าว ประโยคข้างต้นจะเมคเซนส์ขึ้นในบัดดล หากได้ มี โ อกาสไปทอดน่ อ งริ ม ถนนบำ�รุ ง เมื อ ง ตั้ ง แต่ แ ยก สำ�ราญราษฎร์ ผ่านเสาชิงช้า ไปจรดสี่แยกตัดถนน ตะนาว คนแปลกถิน่ อาจต้องร้องว้าวเมือ่ เห็นว่าสองข้าง ทางของที่นี่ต่างเต็มไปด้วยแสงสีทอง ซึ่งสะท้อนจาก ปฏิมากรรมองค์พระพุทธรูปนับร้อยที่วางเรียงรายอยู่ ริมถนน จนทำ�ให้ชุมชนแถบนี้ถูกกล่าวขานว่าเป็นย่าน ขายสังฆภัณฑ์ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย

บนถนนสายนี้ที่หาซื้อชุดสังฆทานได้ง่ายกว่าอาหาร ตามสั่ง เพราะปัจจุบันมีร้านขายสังฆภัณฑ์กว่า 30 ร้าน ตัง้ อยูส่ องข้างทางถนนใหญ่ (รวมทัง้ ในตรอกน้อยซอยเล็ก ต่างๆ) แบ่งออกเป็นสองโซนหลักๆ ได้แก่ แถบเสาชิงช้า บน นับตั้งแต่เสาชิงช้าไปจนถึงสี่แยกตัดถนนตะนาว และ เสาชิงช้าล่าง ตั้งแต่แยกสำ�ราญราษฎร์ไปจรดเสาชิงช้า รวมเป็นระยะทางกว่า 700 เมตร วิจิตต์ ธรรมอารี วัย 78 ​ปี เจ้าของร้านรุ่งเรืองพานิช และคุณพ่อของพีรญา เล่าถึงความเป็นมาของชุมชนแถบ นี้ว่า เดิมทีย่านนี้เต็มไปด้วยร้านย้อมและเย็บผ้าเหลือง ผูอ้ ยูอ่ าศัยในย่านนีส้ ว่ นใหญ่เป็นลูกหลานชาวจีนซึง่ อพยพ เข้ามาอยู่ไทย ก่อนที่คนรุ่นหลังจะเริ่มขยับขยายกิจการ


12 เพิ่ ม สิ น ค้ า ประเภทพระพุ ท ธรู ป และเครื่ อ งใช้ ต่ า งๆ ภายในวัด จนกลายมาเป็นอย่างที่เห็นทุกวันนี้ สอดคล้ อ งกั บ ค� ำ บอกเล่ า ของ สุ เ ทพ จั น ยั่ ง ยื น เจ้าของร้านแสงธรรมประทีปแถบเสาชิงช้าบนที่กล่าว ว่ า ย่ า นนี้ เ ป็ น ที่ พั ก อาศั ย ของชาวจี น มาตั้ ง แต่ ต้น รัตนโกสินทร์ กระทัง่ มีการตัดถนนบ�ำรุงเมืองพาดผ่านใน สมัยรัชกาลที่ 4 จึงท�ำให้บริเวณนี้มีผู้คนจากหัวเมือง ต่างๆ สัญจรไปมาหนาแน่น เนื่องจากตั้งอยู่ใกล้สถานที่ ราชการส�ำคัญอย่างกระทรวงกลาโหมและกระทรวง มหาดไทย ก่อนจะพัฒนากลายเป็นย่านการค้าในเวลาต่อมา นอกจากนี้ ชาวชุมชนส่วนใหญ่มีความช�ำนาญในการ เย็บผ้าเหลือง จึงท�ำให้กลายเป็นแหล่งขายจีวรทีส่ ำ� คัญด้วย “พอถนนบ�ำรุงเมืองเปิด ย่านนี้ก็กลายเป็นแหล่ง การค้า ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 6 ซึ่งเป็นช่วงที่คนจีน อพยพเข้ า มากรุ ง เทพฯ เยอะ เขาก็ ม าอยู ่ กั บ คนใน ตระกูลแซ่เดียวกัน ตามๆ กันเข้ามาแถบนี้ มาท�ำงานอยู่ ด้วยกัน อยูไ่ ปอยูม่ าก็เริม่ เปิดกิจการเป็นของตัวเอง ขาย ของทีใ่ กล้เคียงกับผ้าเหลือง จนกลายเป็นร้านสังฆภัณฑ์ ในที่สุด” สุเทพกล่าว การตลาดสังฆภัณฑ์ กลุ่มลูกค้า ราคาขาย และไฮซีซั่น

Main Course ท�ำบุญโดยการซื้อสิ่งของถวายวัด แต่ไม่มีความรู้เรื่อง สังฆภัณฑ์ จึงต้องอาศัยการไถ่ถามความต้องการจาก เจ้าอาวาสก่อนแล้วค่อยมาซือ้ หรือหากยังไม่เข้าใจความ ต้องการของวัดก็อาจต้องนิมนต์พระสงฆ์มาที่ร้านเพื่อ เลือกสินค้าด้วยตัวเองและค่อยให้โยมเป็นผูช้ ำ� ระเงิน ส่วนประเภทที่ 2 คือลูกค้าทีท่ ำ� บุญเป็นประจ�ำทุกปี กลุ่มนี้จะมีความเชี่ยวชาญเรื่องสินค้ามากเป็นพิเศษ ในระดับคล่องกว่าเจ้าอาวาส หรือขนาดรู้ดีกว่าร้านค้า ลูกค้ากลุ่มนี้มักจะมาจับจ่ายเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ต่างๆ ไปถวายด้วยตัวเอง พีรญาเล่าว่า เนื่องจากสินค้ามีความหลากหลายจึง ท�ำให้มมี ลู ค่าตัง้ แต่หลักสิบไปจนถึงหลักล้าน ผลิตภัณฑ์ ที่แพงที่สุดเป็นงานประติมากรรมที่สั่งท�ำโดยเฉพาะ เนื่องจากต้นทุนในการท�ำแม่พิมพ์ค่อนข้างสูงและผ่าน กรรมวิธีหลายขั้นตอน “สินค้าเกี่ยวกับพระพุทธรูป รูปหล่อ รูปเหมือน ที่เป็นงานทองเหลืองซึ่งสั่งท�ำเฉพาะ มันต้องผ่านกว่า สิบช่างกว่าจะออกมาเป็นหนึ่งชิ้นงาน ต้นทุนจึงค่อน ข้างสูง ราคาก็เลยแพงตาม” ทายาทรุน่ ที่ 2 ของร้านกล่าว เช่นเดียวกับสินค้าประเภทอื่น สังฆภัณฑ์ย่อมมีช่วง ที่ยอดขายพุ่งพรวดเป็นจรวด กับช่วงที่ขายได้เรื่อยๆ เอื่อยๆ เพียงแต่ส�ำหรับวงการนี้ ซีซั่นอาจไม่ได้อยู่ที่ ฤดูกาลทางธรรมชาติ แต่ขึ้นอยู่กับฤดูกาลทางศาสนา สุเทพ เจ้าของร้านแสงธรรมประทีป บอกว่าช่วงขายดี ของสินค้าสังฆภัณฑ์ในรอบปีจะมีอยู่ 3 อีเวนท์ใหญ่ๆ ได้แก่ เทศกาลสงกรานต์ 1 เดือนก่อนเข้าพรรษา และ 1 เดือนก่อนออกพรรษาทีจ่ ะมีงานทอดกฐิน ซึง่ เป็นช่วง ที่ผู้คนพากันมาซื้อวัตถุปัจจัยต่างๆ ไปถวายวัด

พีรญาอธิบายว่า ลูกค้าที่มาซื้อสังฆภัณฑ์จะมีทั้ง กลุม่ ผูบ้ ริโภคทีซ่ อื้ ไปใช้งานโดยตรง และกลุม่ พ่อค้าปลีก ที่ซื้อไปขายต่อ สมัยก่อนลูกค้าประเภทแรกจะต้องเข้า มาหน้าร้านเพื่อเลือกสินค้าด้วยตัวเอง ในขณะที่กลุ่ม ขายปลีกนัน้ คุณพ่อของเธอจะต้องน�ำสินค้าไปเสนอขาย โดยวิ่งตระเวนขายตามร้านค้าปลีกต่างๆ ทั่วประเทศ ผิดกับสมัยนี้ที่ลูกค้าทั้งสองกลุ่มนิยมสั่งซื้อสังฆภัณฑ์ เ ศ ร ษ ฐ กิ จ ศ รั ท ธ า แ ล ะ จำ � น ว น ลู ก ค้ า ผ่านช่องทางออนไลน์ เช่น เฟซบุก๊ หรือไม่ก็ไลน์ จากนัน้ ทางร้านจึงจะน�ำสินค้าไปส่ง แต่ก็ยังมีบ้างที่เดินทางเข้า ที่น้อยลง เมื่อสภาพเศรษฐกิจของประเทศในช่วง 2 - 3 ปีที่ มาดูหน้าร้านด้วยตัวเอง พีรญาบอกต่อว่า กลุ่มลูกค้าที่ซื้อไปใช้งานโดยตรง ผ่านมาไม่สดใสนัก แม้แต่ตลาดสายบุญอย่างวงการสังฆภัณฑ์ จะมีสองประเภทใหญ่ๆ ประเภทที่ 1 คือลูกค้าที่อยาก ก็ได้รับผลกระทบไม่ต่างจากสินค้าอุปโภคบริโภคอื่นๆ


13

Main Course เพราะยอดขายลดลงอย่างเห็นได้ชัด “เงินจะมาซื้อสังฆภัณฑ์ส่วนใหญ่ต้องเป็นเงินเหลือ เงินเก็บ ถ้าตัวเองไม่พอใช้ ไม่พอส่งบ้านส่งรถก็ไม่มีใคร อยากมาท�ำบุญ ก็มนั ช็อตอ่ะ” พีรญาแห่งร้านรุง่ เรืองพานิช อธิบาย ก่อนจะขยายความต่อว่า “ที่รา้ นจะมีรถส่งของ 4 คัน มอเตอร์ไซค์ 2 คัน ถ้าเป็นช่วงพีค ช่วงไฮซีซนั่ แต่กอ่ น รถวิ่งไม่เคยพอ ทุกวันต้องจ้างภายนอกมาช่วยส่งให้ ตลอด อีก 3 - 4 คัน แต่ปัจจุบันอย่างเช่นช่วงนี้ซึ่งปกติ ต้องขายดี แต่รถกลับไม่ได้วิ่งตลอด วันหนึ่ง 4 คันออก 2 คันแบบนี้ ไม่ได้เต็มทุกวัน” พีรญาพูดต่อว่า อีกช่วงหนึ่งที่ธุรกิจซบเซาคือเมื่อ เกิดกระแสข่าวทุจริตเงินทอนวัด ซึ่งเป็นการยักยอกงบ ประมาณปฏิสังขรณ์และพัฒนาที่วัดได้จากส�ำนักงาน พระพุทธศาสนาแห่งชาติ โดยมีพระสงฆ์เข้าไปพัวพัน ด้วย เมื่อมีการเปิดโปงและออกหมายจับพระสงฆ์ชั้น ผู้ใหญ่ 5 รูป ส่งผลให้ลูกค้าจ�ำนวนมากหมดศรัทธา จนไม่มีใครอยากมาซื้อของถวายพระอีกเพราะกลัวว่า ท�ำไปก็ไม่ได้บุญ แต่พอกระแสข่าวซาลง ธุรกิจก็กลับสู่ ภาวะซบเซาเนื่องจากพิษเศรษฐกิจตามเดิม พฤติ ก รรมของคนสมั ย นี้ ที่ นิ ย มซื้ อ ของออนไลน์ ก็เป็นอีกส่วนส�ำคัญทีท่ ำ� ให้ยอดขาย โดยเฉพาะในตลาด ต่างจังหวัดลดน้อยลง ทายาทร้านรุ่งเรืองพานิช เล่าว่า “สมัยก่อนไม่มีโซเชียล ใครจะซือ้ สังฆภัณฑ์กต็ อ้ งนึกถึง

เสาชิงช้าและมาที่นี่ พอยุคอินเทอร์เน็ตเข้ามา คนทีเ่ คย ท�ำงานกับโรงงานเรามัง่ โรงงานคนอืน่ มัง่ เขาก็ออกไปท�ำเอง เปิดร้านเองที่บ้านและโฆษณาผ่านโซเชียล ลูกค้าจาก ต่างจังหวัดก็เลยมาเสาชิงช้าลดลง เพราะซื้อแถวบ้าน มันถูกกว่าไม่มีค่าขนส่ง” เช่นเดียวกับ สุจติ รา ฉอจิระพัณธิ์ หรือ จิม๋ วัย 42 ปี ทายาทรุน่ 2 ของร้านเนตรทราย พานิช ย่านเสาชิงช้าบน ที่กล่าวว่า ธุรกิจค้าสังฆภัณฑ์ของครอบครัวเธอก็ก�ำลัง เจอปัญหาเช่นเดียวกัน โดยในสองปี ที่ผ่านมามีจ�ำนวน ลูกค้าลดลงถึงประมาณร้อยละ 70 เนื่องจากมีร้านเปิด ใหม่กระจายตามต่างจังหวัดมากขึน้ และร้านเหล่านัน้ ก็ เริม่ หันมาขายผ่านออนไลน์ ท�ำให้ลกู ค้าเลือกเดินทางไป จับจ่ายในร้านที่ใกล้บ้านกว่า “ขนาดปิดร้านไหมเหรอ ถ้าตอนนีก้ ย็ งั แต่อกี หน่อย ไม่แน่ จริงๆ เราก็พยายามจะออนไลน์นะ แต่การคุย ออนไลน์มันก็ไม่เหมือนต่อหน้า มันไม่มีต้นทุนที่ลูกค้า ต้องเสีย ท�ำให้บางทีคุยๆ อยู่ก็หายไป พอมากเข้าก็ต้อง มีแอดมินที่มาคอยตอบเฉพาะแบบไปยุ่งกับอย่างอื่นไม่ ได้ บางคนเข้ามาถามห้ารอบหกรอบแล้วก็ไม่เอา เราก็ เลยไม่ค่อยอยากคุย” สุจิตรากล่าว เทคนิคทุจริต…ในธุรกิจสายบุญ

ไม่ว่าสินค้าประเภทไหนๆ ย่อมมีกลยุทธ์การขาย


14

ที่ ทั้ ง ใช้ ใ นเชิ ง การตลาดและใช้ เ พื่ อ เอาเปรี ย บลู ก ค้ า แต่จะน้อยมากก็แล้วแต่สามัญสำ�นึก แต่ใครจะนึกว่า สินค้าเกี่ยวกับศาสนา ก็ยังมีการใช้กลโกงชนิดที่ว่าไม่ กลัวบาปกันเลยทีเดียว “สังฆภัณฑ์ก็เหมือนสินค้าทุกประเภท มีทั้งของ แบรนด์ ของก็อป” พีรญาเอ่ยถึงอีกหนึ่งปัญหาที่พาให้ บางกิจการในย่านนีป้ ดิ ตัวลงไป นัน่ ก็คอื การมีจรรยาบรรณ และความซื่อสัตย์ต่อลูกค้า “สินค้าทุกชนิดจะต้องเป็น ตามพุทธบัญญัติ ซึง่ เป็นหลักทีซ่ เี รียสมาก” เจ้าของร้าน สังฆภัณฑ์อธิบาย ทายาทรุน่ 2 ของร้านรุง่ เรืองพานิช เล่าให้ฟงั ว่า เคย ได้ยินเสียงบ่นจากลูกค้าถึงผลิตภัณฑ์ที่ร้านค้ามีวิธีซิก แซกต่ า งๆ เพื่ อ ลดต้ น ทุ น ตั้ ง แต่ ท ริ ค ธรรมดาอย่ า ง ถังสังฆทานที่บรรจุสิ่งของแค่ด้านบน แต่ด้านล่างว่าง เปล่าเป็นอากาศธาตุ จนถึงบางกรณีที่ร้ายแรงยิ่งกว่า เพราะไม่เพียงผิดหลักศาสนา แต่ยังเป็นอันตรายต่อ ตัวผู้ใช้ซึ่งก็คือพระภิกษุสงฆ์ อาทิ สินค้าประเภทบาตร พระ ที่ตามหลักต้องท�ำจากสแตนเลสเพราะจะทนทาน ต่อความร้อน แต่ก็มีการน�ำบาตรที่เป็นโลหะผสมมา ขายในต่างจังหวัดซึ่งผู้คนนิยมตักข้าวร้อนๆ ใส่บาตร โดยตรง เมื่อความร้อนสัมผัสก้นบาตรสารตะกั่วใน โลหะผสมก็ จ ะละลายออกมา ท� ำ ให้ พ ระที่ ฉั น ข้ า ว

Main Course

ในบาตรเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็ง ขณะที่ สุ เ ทพจากร้ า นแสงธรรมประธี ป เล่ า ให้ ฟังเช่นกันว่าปัจจุบันสินค้าสังฆภัณฑ์หลายประเภท มีคุณภาพหย่อนยาน อาทิ องค์พระพุทธรูป “เดี๋ยวนี้มี การลดคุณภาพของสินค้าเพื่อแข่งในเรื่องราคา อย่าง พระพุทธรูปทองเหลืองเดี๋ยวนี้มีการออกมาใหม่เป็น อะลูมิเนียม ขนาดเท่าเดิม งานสวยเหมือนเดิม แต่ วัตถุดบิ ถูกลง เป็นการซือ้ อย่างหนึง่ แต่ขายอีกอย่างหนึง่ หมายถึงตอนลูกค้าสั่งซื้อ สั่งทองเหลือง แต่ตอนส่งส่ง เป็นอะลูมิเนียม และลูกค้าก็แยกไม่ออก” สุเทพกล่าว เช่นเดียวกับสุจิตราจากร้านเนตรทราย พานิช ซึ่ง เล่ า ว่ า เคยมี ลู ก ค้ า ที่ ซื้ อ ผ้ า ไตรจี ว รแล้ ว ขนาดความ ยาวไม่ พ อ ทำ�ให้ ต้ อ งมาหาซื้ อ ใหม่ เนื่ อ งจากสิ น ค้ า ถู ก พั บ มาสำ�เร็ จ รู ป ในห่ อ บวกกั บ ลู ก ค้ า ไม่ ท ราบ รายละเอี ย ดว่ า ผ้ า ที่ ใช้ บ วชพระควรจะมี ค วามยาว เท่ า ไหร่ จึ ง ไม่ ไ ด้ แ กะออกมาเพื่ อ เช็ ค ดู กว่ า จะรู้ อี ก ที ก็ คื อ วั น งานว่ า ผ้ า ที่ ซื้ อ มานั้ น ไม่ ผ่ า นมาตรฐาน แม้ศรัทธาต่อสถาบันและประเพณีทางศาสนาอาจ คงอยู่ในสังคมไทย แต่รูปแบบของธุรกิจสังฆภัณฑ์ใน ย่านนี้อาจเปลี่ยนไปตามความผันแปรทางเศรษฐกิจ และสังคม ถือเป็นความท้าทายใหม่ๆ ให้ผู้ค้าขายต้อง เร่งปรับตัว



16

สารคดี

ไร้บ้าน ... ไม่ไร้ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ เรื่อง - ภาพ: ชินภัทร จันทร์หล้าฟ้า

“พี่ไม่อยากกลับไปอยู่บ้าน กลับไปก็ไม่มีอะไรท�ำ… บ้านนัน้ ไม่ใช่ของเราแล้ว เป็นของพ่อเลีย้ ง ไม่มบี า้ นของ ตัวเองก็เลยมาอยู่ที่นี่” “ออกจากบ้านมาปีกว่าแล้ว เพราะว่ามีปัญหากับ ทีบ่ า้ น… ออกมาแล้วมีความสุขนะ ยิ้มได้ตลอด” “บ้าน” เป็นหนึ่งในปัจจัยการด�ำรงชีวิตของมนุษย์ แต่คนกลุ่มหนึ่งกลับเลือกเดินออกจากบ้านของตัวเอง มาใช้ชีวิตเป็น “ผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะ” หากใครสั ญ จรบริ เวณสนามหลวง-ราชด� ำ เนิ น คลองหลอด คงสังเกตเห็นผู้คนพักอยู่ตามทางเท้าหรือ หน้าอาคารต่างๆ เป็นกลุม่ ๆ ถ้าเดินตลอดเส้นทางดังกล่าว คืนหนึง่ ๆ คงนับคร่าวๆ ได้ไม่ตำ�่ กว่า 30 คน แล้ว “ท�ำไม” พวกเขาจึงตัดสินใจออกมาจาก “บ้าน” เมื่อบ้านไม่ให้ความสุขใจ จึงต้องใช้ชีวิตใน ที่สาธารณะ

วิชาญ ชื่นค�ำ ชายอายุ 51 ปี เล่าให้ฟังว่าเขาออก จากบ้านที่อยู่กับน้องชายมาเกือบ 20 ปีแล้ว เพราะไม่

สะดวกใจอาศัยอยูก่ บั น้องชาย และไม่มบี า้ นของตนเอง ให้กลับไป “ผมเคยท�ำงานอยู่บริษัทปูน CPAC ช่วงปี 2534 ถึง ปี 2543 แต่ว่าตอนนั้นแฟนป่วยเป็นมะเร็ง ก็เลยขาย บ้านขายทุกอย่าง แล้วสุดท้ายพอแฟนเสียชีวิตก็เลย ไม่มีบ้านอยู่ เงินก็หมดไปกับการรักษาแฟน” วิชาญ ย้อนเรื่องราวในอดีต ปัจจุบนั วิชาญท�ำงานรับจ้างทัว่ ไป และพยายามเก็บ เงินซือ้ บ้านใหม่เพราะไม่อยากกลับไปอยูก่ บั ญาติ พร้อม บอกด้วยรอยยิ้มเล็กๆ ว่า “มีความหวังนิดๆ” วิชาญยังมีลูกสาว 1 คนซึ่งก�ำลังเรียนอยู่ในระดับ อุดมศึกษา เขาฝากฝังให้น้องชายเป็นคนเลี้ยงดู และ ยอมรับว่านานๆ ครัง้ จะได้เจอหน้ากัน “ลูกสาวเขาบอก เข้าใจทีพ่ อ่ ออกมาใช้ชวี ติ ข้างนอก บอกว่าดีทยี่ งั มีชวี ติ อยู”่ ส่วน ฝ้าย ชาวบางกอกใหญ่อายุ 27 ปี ออกจากบ้าน มาแล้วครึ่งปี บอกว่าสาเหตุที่ออกมาอยู่ในที่สาธารณะ เนื่องจากถูกคนในบ้านท�ำร้าย “ออกจากบ้านเพราะว่า


สารคดี ลุงท�ำร้าย แล้วแม่ก็ร้องไห้ บอกว่าให้แจ้งต�ำรวจ ไม่ก็ให้ ออกมาถ้ามีที่ไป ก็เลยตัดสินใจออกมา” ฝ้ายยอมรับว่าการได้ออกมาใช้ชีวิตข้างนอกมีข้อดี “ได้ท�ำงาน มีของใช้ มีโทรศัพท์ เก็บเงินซื้อของ ส่งลูก เรียน” ปัจจุบันเธอรับจ้างต่อคิวจองรองเท้า สั่งสินค้า และรับงานเป็นผู้ชมตามรายการโทรทัศน์ต่างๆ เธอ บอกว่ามีเครือข่ายที่จะแจ้งผ่านทางโทรศัพท์มือถือว่า ช่วงนี้มีรายการให้เธอไปเข้าร่วม ตอนนี้ฝ้ายฝากฝังให้น้องสาวเป็นคนเลี้ยงลูกชาย ชัน้ ป.1 และลูกสาวที่ก�ำลังเข้าอนุบาล “เราอยากอยู่กับ ลูกนะ ตอนนีค้ อื ลูกชายก�ำลังจ�ำ้ ม�ำ่ เขาก็รคู้ วามบ้าง ก็บอก น้องสาวเขาว่าแม่ไม่ได้ทงิ้ นะ แม่มาท�ำงาน เราก็พยายาม เก็บเงินให้ลูก” เธอบอกด้วยรอยยิ้มและแววตาที่แสดง ถึงความรักที่มีต่อลูกๆ เมื่อการไร้บ้านถูกท�ำให้ไร้ศักดิ์ศรี

วาสนา (สงวนนามสกุล) หญิงอายุราว 40 ปีซึ่งอยู่ บริ เวณคลองหลอดเล่ า ให้ ฟ ั ง ว่ า เคยเจอเหตุ ก ารณ์ เจ้าหน้าทีร่ ฐั มาไล่ โดยพูดกับเธอว่า “อย่าท�ำให้ภาพลักษณ์ ไม่ดี สังคมมองว่าพวกเรา (คนไร้บ้าน) ไม่ดี” ซึ่งเธอก็ ยอมรับการกล่าวหานั้นเพราะรู้สึกว่าไม่สามารถท�ำ อะไรได้ อย่างไรก็ตาม วาสนาบอกว่า “ไม่หวังให้ใคร เข้าใจหรอก ขนาดรัฐยังไม่เข้าใจเราเลย รัฐก�ำลังเหยียบ เราอยู่ เราไม่ใช่คนของรัฐ” เช่นเดียวกับ เวียงสวรรณ์ แก้วสาลี หรือ หน่อย ชาวศรี ส ะเกษที่ เ คยมาใช้ ชี วิ ต ในที่ ส าธารณะที่ สนามหลวง และปัจจุบันเป็นแม่ค้าขายข้าวไข่เจียว เธอ ตัดพ้อว่าเจ้าหน้าที่รัฐไม่เคยเข้ามาพูดคุยท�ำความเข้าใจ กับผู้อาศัยในที่สาธารณะ แม้เธอจะเข้าใจว่าภาครัฐ ต้ อ งการภาพความสวยงามของพื้ น ที่ ส นามหลวงคลองหลอด แต่หากท�ำให้สวยงามแล้วผู้อาศัยในที่ สาธารณะสามารถอาศัยได้ด้วย ก็น่าจะเป็นเรื่องดี เวียงสวรรณ์ยังเล่าให้ฟังว่าแม้ตอนที่เธอเป็นแม่ค้า ไม่ใช่ผู้อาศัยในที่สาธารณะแล้ว ก็เคยถูกไล่ที่เช่นกัน

17 โดยเจ้ า หน้ า ที่ รั ฐ ต้ อ งการให้ เ ธอย้ า ยไปขายอาหาร บริเวณสนามหลวง 2 ใกล้กับนครปฐม ซึ่งเธอมองว่า ไม่มีลูกค้า ท�ำให้ขายไม่ได้ หรือบางครั้งเจ้าหน้าที่ก็มา บอกให้หยุดขายเป็นเวลาหนึ่งเดือนโดยไม่แจ้งล่วงหน้า หรือถามความเห็นประชาชนละแวกคลองหลอดก่อน แม่คา้ ขายไข่เจียวจึงอยากให้เสียงของเธอไปถึงภาครัฐ ว่ า “เธออยากอยู ่ ต รงนี้ ” เพราะส� ำ หรั บ เธอแล้ ว สนามหลวงเปรียบเสมือนบ้านหลังใหญ่ ที่ไม่ได้น่ากลัว แต่อบอุ่น ภาวะไร้บา้ น… เหมือนห่างไกลแต่ใกล้ตวั กว่าทีค ่ ด ิ

มนทกานต์ ฉิมมานี นักวิจัยประจ�ำสถาบันวิจัย สังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เสนอว่า เรื่องของคน ไร้บ้านเป็นประเด็นที่สังคมควรให้ความสนใจและร่วม ป้องกันแก้ไข โดยให้เหตุผลว่าภาวะไร้บา้ นเป็นเรือ่ งใกล้ตวั เพราะวันหนึ่งผู้สูงอายุในบ้านที่หลงๆ ลืมๆ อาจเดิน ออกมาแล้วกลับบ้านไม่ได้ วันหนึ่งคนใกล้ตัวอาจออก มาเป็นคนไร้บ้าน หรือตัวเราเองวันหนึ่งอาจล้มละลาย ท�ำให้ไม่มีที่พักพิงก็เป็นได้ ด้ า น อั จ ฉรา สรวารี เลขาธิ ก ารมู ล นิ ธิ อิ ส รชน ซึ่งท�ำงานกับผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะบริเวณสนามหลวง คลองหลอดและปริมณฑลมากว่าทศวรรษ แนะว่า การ ป้องกันไม่ให้เกิดผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะเพิ่มขึ้นวิธีหนึ่ง คือ “การยอมรับ” จากสมาชิกในครอบครัว “มนุ ษ ย์ ทุ ก คนต้ อ งการการยอมรั บ การมี ตั ว ตน การมีมติ รภาพ บางคนรวยกว่าเราออกมาเป็นคนไร้บา้ น เพราะอะไร ไม่ใช่เพราะว่าต้องการอิสระ แต่เขาแค่ไม่ได้ รับการยอมรับในครอบครัว เขาไม่มตี วั ตนในครอบครัว ลึกๆ แล้วมนุษย์ต้องการความสุข ต้องการการยอมรับ จากสังคม การมีตัวตน” เธอบอก เช่นเดียวกับ วิชาญ ผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะที่เคยถูก คนในสังคมแสดงอาการหวาดกลัวและดูถกู เขาเผยรอย ยิ้มเย้ยหยันโลก แล้วพูดว่า “คนเหมือนกัน ก็อยากให้ดู ว่าเป็นคน อย่าดูแค่ด้วยสายตาว่าเราต่างจากคุณ”


18

Interview

“ถ้าหมดหนี้ พี่ก็จะเลิกทำ�” : พันธนาการที่ต้องสะสาง กับเส้นทางชีวิตของ Sex Worker เรื่อง - ภาพ : ชนนิกานต์ แก้วแก่นเพชร

ริมถนนราชดำ�เนิน ตรงข้ามสนามหลวง ผูค้ นเดินไป มาขวักไขว่และแสงไฟสว่างจ้า บริเวณแห่งนี้ขึ้นชื่อว่า เป็นหนึ่งในจุดนัดพบยอดนิยมอันดับต้นๆ ระหว่างผู้ซื้อ ความสุขทางกายและคนทำ�งานบริการ (Sex Worker) ที่เปิดทำ�การตลอดทั้งวัน “นามสมมติเหรอ เรียกพี่ว่า พี่ขนุนก็ได้ พี่ชอบชื่อนี้ พี่ชอบขนุน มันหวานอร่อย” แรกเริ่ ม ท� ำ ความรู ้ จั ก แววตาของหญิ ง สาว ชาวศรีสะเกษ วัย 37 ปี เต็มไปด้วยความไม่สบายใจที่ จะพูดคุยเรื่องอาชีพนี้ ใช้เวลาอยู่พักใหญ่กว่าเกราะ ก�ำแพงแห่งความไม่วางใจจะทลายลง “พี่ขนุน” เล่าว่า อาชีพแรกที่ทำ�หลังจากตัดสินใจ จากบ้านเกิดเข้ามากรุงเทพฯ คือเป็นแม่บ้านทำ�ความ สะอาด แต่จู่ๆ ก็ตกงาน เพราะมีชายหนุ่มมาติดพัน

“ท�ำงานแม่บ้านไม่นาน มีผู้ชายมาชอบ แวะมาหา เจ้านายเขาไม่ชอบเลยให้พี่ออก” หลังจากทีพ่ ขี่ นุนว่างงานระยะหนึง่ ก็คดิ ได้วา่ ต้องหา งานใหม่ แต่เพราะไม่มคี วามรูแ้ ละทักษะฝีมอื เลยตัดสินใจ มานั่งตรงริมถนนราชด�ำเนิน และเริ่มท�ำงานบริการ “ตั้งแต่วันนั้นถึงวันนี้ก็ 8 ปีแล้ว ตื่นเช้ามา พี่ก็นั่งรถเมล์ จากที่พักแถวปิ่นเกล้ามาลงที่นี่ แล้วก็นั่งรอลูกค้าทั้งวัน ตั้งแต่ 9 โมงเช้า กลับห้องเช่าอีกทีคือ 4 ทุ่ม” พีข่ นุนเล่าว่า ทีน่ มี่ คี นท�ำงานตัง้ แต่อายุ 14 ถึง 60 ปี บางคนอายุเกือบ 70 ปี ค่าบริการต่อครัง้ ขัน้ ต�ำ่ คือ 300 บาท คนที่มีลูกค้าประจ�ำ อาจจะได้ค่าบริการเพิ่มเป็น ครั้งละ 500 บาท หากพอใจก็จะได้ทิปเพิ่มมากน้อย แล้วแต่ลูกค้าจะให้ ส่วนค่าโรงแรม ลูกค้าก็ต้องเป็นคน จ่ายเอง โรงแรมใกล้ๆ จะมีเรตราคาให้เลือกชัว่ โมงเดียว


19

Interview 80 บาท สองชั่วโมง 150 บาท ถ้าจะต่อเวลาก็แล้วแต่ จะตกลงกัน นอกจากนีก้ ารใช้ถงุ ยางอนามัยป้องกันการตัง้ ครรภ์ และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์เป็นส่วนทีล่ กู ค้าต้องดูแล ค่าใช้จ่าย แต่ถ้าลูกค้าไม่ได้เตรียมถุงยางอนามัยมา พี่ ขนุนก็จะมีเตรียมไว้ขายเป็นการสร้างรายได้อีกทาง “บางทีพี่ก็ขาย (ถุงยางอนามัย) ด้วยนะ เพราะเวลา ไปตรวจเลือด หรือมีคนมาแจก ก็จะเก็บไว้ขาย ไซส์ 49 ไซส์ 52 จะออกบ่อย เราได้มาฟรี ก็ขายแค่ 20 บาท เพราะบางคนเขาก็ไม่พกถุงยาง แต่พกี่ ต็ อ้ งป้องกันตัวเอง ลูกค้าเมาๆ มาพี่ก็ไม่เอานะ กลัวเขาท�ำร้ายร่างกาย มันไม่คุ้ม” พี่ขนุนกล่าว พี่ขนุนเสริมว่าปัจจุบันนี้รายได้ไม่ดีเหมือนแต่ก่อน บางครั้งนั่งทั้งวันก็ไม่มีลูกค้า ทั้งที่เมื่อก่อนได้ลูกค้า 2-3 รอบ มีรายได้ทุกวัน แต่ด้วยอายุที่มากขึ้น และมีเพื่อน ร่วมอาชีพหน้าใหม่ ๆ มากขึ้น เพราะบางคนมองว่าการ ประกอบอาชีพนี้รายได้ดีกว่าท�ำงานรับจ้างที่มีค่าแรง ขั้นต�่ำเพียง 300 บาท เมื่อเป็นเช่นนี้ จ�ำนวนลูกค้าใหม่ จึงลดลง รายได้ทกุ วันนีส้ ว่ นใหญ่จะมาจากลูกค้าประจ�ำ หนี้นอกระบบ บ่วงรัดที่ยังสลัดไม่ได้

“ทีพ่ ยี่ งั ท�ำอยูเ่ พราะยังเป็นหนี้ ถ้าหมดหนีพ้ กี่ จ็ ะเลิก

ท�ำ มันเหนื่อยนะ ท�ำทุกวันมันก็เหนื่อย ในหนึ่งเดือน พีไ่ ด้หยุดแค่สามวันคือช่วงประจ�ำเดือนมา” พีข่ นุนบอก พี่ขนุนเล่าว่าเธอยังติดหนี้นอกระบบทั้งเงินต้นและ ดอกเบี้ยรวมกันราว 3 หมื่นบาท ด้วยอัตราดอกเบี้ย ร้อยละ 20 ที่เจ้าหนี้เรียกเก็บ ท�ำงานมากเท่าไหร่ก็ยัง หาเงินจ่ายได้ไม่หมด เธอเล่าว่าหากปลดหนี้ได้ก็อยาก กลับไปใช้ชีวิตบั้นปลายกับครอบครัวที่บ้านเกิด “ได้ น ้ อ ยได้ ม ากก็ ท� ำ เหนื่ อ ยแค่ ไ หนก็ ท นเอา” พี่ขนุนบอก “ถ้าหนี้หมดก็อยากกลับบ้าน อยากกลับไป พั ก ผ่ อ น อยากกลั บ บ้ า นไปเปิ ด ร้ า นขายของอยู ่ กั บ ลูกหลาน แต่คงอีกนานเพราะกว่าลูกจะเรียนจบมันมีคา่ ใช้จ่ายที่ต้องใช้” พี่ขนุนยอมรับว่าอาชีพนี้ยังไม่เป็นที่ยอมรับทั้งจาก คนภายนอกและคนในครอบครัว เพือ่ นร่วมอาชีพหลาย คนต้องปกปิดครอบครัวว่ารายได้ที่ส่งไปนั้นเป็นงาน รับจ้าง งานแม่บ้านทั่วไป ไม่สามารถพูดได้เลยว่าที่มา ของเงินมาจากการค้าบริการ “มันไม่แปลกนะที่สังคมไทยจะยังมองว่าคนที่ท�ำ อาชีพนีเ้ ป็นคนไม่ดี พีไ่ ม่โกรธเขาทีจ่ ะไม่ยอมรับอาชีพนี้ แต่พี่ก็อยากให้มองเห็นว่ายังมีเราที่อยู่ในสังคมนี้ เราที่ เป็นคนเหมือนกัน ถึงต้นทุนชีวิตกับเส้นทางชีวิตจะต่าง กันก็ตาม” พี่ขนุนกล่าว

บริเวณคลองหลอดที่เป็นจุดนัดพบของลูกค้าและคนทำ�งานบริการ


20

ท่องเที่ยว

โบสถ์พราหมณ์: ความเก่าที่เข้ากับคนรุ่นใหม่ เรื่อง : โมเลกุล จงวิไล ภาพ : ชินภัทร จันทร์หล้าฟ้า, ชนนิกานต์ แก้วแก่นเพชร

บริเวณริมถนนดินสอ เยื้องเสาชิงช้าเล็กน้อย เป็นที่ตั้งของอีกหนึ่งสถานที่อายุกว่า 200 ปี ซึ่งมีความส�ำคัญมา ตัง้ แต่สมัยต้นรัตนโกสินทร์ แม้จะไม่ใหญ่โตโออ่า แต่ ‘เทวสถานโบสถ์พราหมณ์’ แห่งนี้ ก็มสี ถานะเสมือนศูนย์กลาง ความเชือ่ แบบพราหมณ์ในไทยทีม่ ผี คู้ นหลัง่ ไหลเข้ามาสักการะบูชาอยูไ่ ม่ขาดด้วยเหตุผลนานับประการ ไม่วา่ จะเป็น ความรู้สึกศักดิ์สิทธิ์ของสถานที่ ศิลปะอันงดงามของประติมากรรม หรือบรรยากาศแสนเงียบสงบ เมือ่ ขึน้ ชือ่ ว่า ศาสนสถาน (บวกโบราณ) คงพอเดาได้ไม่ยากว่าบรรดาผูเ้ ยีย่ มชมสวนใหญ่เป็นกลุม่ วัยกลางคนไป จนถึงสูงอายุ ดังจะเห็นได้จากวัดทั่วไปที่คนรุ่นใหม่ไม่ค่อยแวะเวียนไปกันแล้ว แต่ส�ำหรับโบสถ์พราหมณ์ ภาพจ�ำ เดิมๆ นี้อาจต้องยกเว้นไว้ เพราะในบรรดาแขกผู้มาเยือนส่วนใหญ่ก็มีกลุ่มวัยรุ่นปะปนอยู่ไม่น้อย “นิสิตนักศึกษา” จึงสนใจอยากค้นหาความเป็นมาและแรงดึงดูดของเทวสถานแห่งนี้ที่ยังสามารถจูงใจคน รุ่นใหม่ให้แวะเวียนไปเที่ยวชมได้ ประวัติความเป็นมา & หน้าตาปัจจุบัน

เทวสถานโบสถ์พราหมณ์กอ่ สร้างขึน้ ในปี 2327 ตามค�ำบอกเล่าของพระมหาราชครูพธิ ศี รีวสิ ทุ ธิคณ ุ ประธาน พระครูพราหมณ์คนปัจจุบนั ย้อนกลับไปในสมัยต้นรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 1 ทรงมีพระราชด�ำริให้สร้างศาสนสถาน ของพราหมณ์ไว้ ณ ต�ำแหน่งกึ่งกลางเมือง ตามหลักความเชื่อที่มีมาตั้งแต่สมัยอยุธยา “รัชกาลที่ 1 ทรงสร้างเมืองโดยวัดพืน้ ทีจ่ ากแม่นำ�้ ถึงก�ำแพงเมืองและตัง้ สถานสักการะเทพยดา หรือ โบสถ์พราหมณ์ ไว้เป็นศูนย์กลาง ตามหลักการสร้างเมือง” พระมหาราชครูฯ กล่าว “ภายในท�ำเป็นอาคารสามหลัง มีโบสถ์ พระศิวะ พระพิฆเนศ และพระนารายณ์ เป็นแบบนี้มาตั้งแต่สมัย ร.1” เทวสถานประกอบด้วยอาคารก่ออิฐถือปูน (ก่อด้วยอิฐและฉาบปูนทับ) สามหลัง ตั้งเรียงกันโดยหันหน้าออก ไปทางถนนพร้อมมีกำ� แพงล้อมแต่ละหลังเป็นอาคารชัน้ เดียว ทาสีขาว ส่วนใหญ่ผนังเรียบไม่มลี วดลาย สือ่ ถึงความ เงียบสงบ โบสถ์ทั้งสามตั้งอยู่ไม่ห่างกันนัก ท�ำให้ใช้เวลาไม่ถึงครึ่งชั่วโมงก็สามารถเดินชมเทวสถานแห่งนี้ได้ครบ


ส่วนบริเวณท้ายเทวสถานเป็นอาคารหลังใหม่ทสี่ ร้างขึน้ ในสมัยรัชกาลที่ 9 ชั้นล่างใช้เป็นส�ำนักงาน และชั้นบน เป็นห้องสมุดเก็บหนังสือเกีย่ วกับศาสนา ประวัตศิ าสตร์ และวัฒนธรรม ซึ่งเปิดให้บุคคลภายนอกเข้าชมได้ สักการะบูชา เทพยดาทั้ง 4

“ลองเข้าไปกราบกันรึยัง?” พระมหาราชครูฯ ถาม กลับเมื่อนิสิตนักศึกษา เอ่ยถามถึงเอกลักษณ์ส�ำคัญที่ ท�ำให้สถานที่แห่งนี้ยังได้รับความนิยมและมีผู้เข้ามา เยี่ยมชมจ�ำนวนมาก ประธานพระครูพราหมณ์เล่าว่าภายในเทวสถาน มีเทวรูปส�ำคัญ 4 องค์อันได้แก่ พระพิฆเนศ พระพรหม พระนารายณ์ และพระอิศวร ซึ่งถือเป็นไฮไลท์ที่ดึงดูด ผูค้ นจ�ำนวนมากให้หลัง่ ไหลเข้ามาไม่ขาด บ้างมาเยีย่ มชม บ้างมาสักการะบูชา แต่ก็มีผู้ที่เดินเข้ามาด้วยความ อยากรู้อยากเห็น เพราะศาลพระพรหมที่ตั้งเด่นอยู่ ด้านหน้าท�ำให้ผู้คนที่สัญจรผ่านไปมารู้สึกสะดุดตาจน อยากเข้ามาเยี่ยมชม เทวรูปทั้ง 4 ยังมีความเก่าแก่เพราะถูกสร้างขึ้น ตัง้ แต่สมัยสุโขทัย แต่ละองค์เป็นตัวแทนของสิง่ ศิรมิ งคล ต่างๆ “เริม่ ไหว้พระพิฆเนศเพือ่ เอาปัญญา จากนัน้ ก็ไหว้ พระพรหมซึ่งเป็นผู้สร้าง รับเอาความเมตตา ต่อไปก็ พระนารายณ์ ตัวแทนของความอุดมสมบูรณ์ ความเป็น ระเบียบ และมาปิดท้ายที่ศิวลึงค์ (พระอิศวร) พระบิดา ของจักรวาล การก�ำเนิดไม่มีที่สิ้นสุด เพื่อรับเอาความ สงบร่มเย็นและการหลุดพ้น” พระมหาราชครูฯ แนะน�ำ ล�ำดับการเยี่ยมชม โบสถ์พราหมณ์ ตามความคิดคนรุน ่ ใหม่

“นิสิตนักศึกษา” ลองสอบถามคนรุ่นใหม่ ถึงความ รู้สึกและปัจจัยที่ท�ำให้พวกเขาเลือกเข้ามาเยี่ยมชม ศาสนสถานโบราณแห่งนี้ ธัธริยา ธรรมรักษ์ บัณฑิตจบใหม่อายุ 22 ปี เล่าให้ ฟังว่า เธอกับกลุ่มเพื่อนรู้จักโบสถ์พราหมณ์แห่งนี้มา ตั้งแต่สมัยเรียนมัธยมปลาย ตอนนั้นครูมอบหมายให้

เธอมาท�ำรายงานที่มิวเซียมสยามซึ่งอยู่บริเวณโรงเรียน วัดราชบพิธและอยู่ในย่านเดียวกับเทวสถานฯ จึงได้มี โอกาสนั่งรถโดยสารผ่านสถานที่นี้ ธัธริยาสนใจเลยแวะ เข้ามาเยี่ยมชม ก่อนจะประทับใจความสงบร่มเย็นของ ที่ นี่ แ ละกลั บ มาเที่ ย วอี ก ตลอด ทั้ ง ช่ ว งม.ปลาย มหาวิทยาลัยจนถึงทุกวันนี้ “ปกติ เ ป็ น คนชอบวาดรู ป อยู ่ แ ล้ ว เลยรู ้ สึ ก ชอบ ศิลปะของที่นี่ โดยเฉพาะรูปปั้น ส่วนตัวเป็นคนชอบ ความเงียบสงบ ส�ำหรับที่นี่พอได้เข้าไปในโบสถ์เราจะ รู้สึกถึงความสงบ รู้สึกเย็น รู้สึกสบาย” ธัธริยากล่าว ขณะที่ จิตาภา ทวีหันต์ นักศึกษามหาวิทยาลัย วัย 20 ปี แบ่งปันประสบการณ์ว่า “รู้จักโบสถ์นี้สมัย เรี ย นอยู ่ ม.6 เพราะไปเดิ น แถวย่ า นนั้ น แล้ ว ร้ อ น ก็เลยเข้าไปนั่งพักร่ม” นักศึกษาหญิงบอกว่า จุดเด่นของศาสนสถานแห่งนี้ คื อ ความงาม โดยเฉพาะตั ว อาคาร นอกจากนี้ ศ าล พระพรหมซึง่ ประดิษฐานอยูด่ า้ นหน้ายังมีความโดดเด่น “เราชอบที่มีสถานที่แบบนี้อยู่ เพราะมันท�ำให้เห็นว่า ประเทศไทยมีหลายความเชื่อซึ่งมาจากที่อื่น อีกอย่าง คื อ คนดู แ ลที่ นี่ ก็ ใ ห้ ข ้ อ มู ล ดี ว ่ า จะต้ อ งไหว้ อ ะไรก่ อ น อะไรหลัง” จิตาภาเสริม แม้ความเชื่อเรื่องศาสนาในสังคมยุคใหม่จะเปลี่ยน ผันไปตามกาลเวลา แต่ลึกๆ แล้วมนุษย์ทุกคนล้วนยัง ต้องการสิง่ ยึดเหนีย่ วทางใจให้ได้พงึ่ พิงเมือ่ ต้องการปลีก หนีจากโลกภายนอก คือสาเหตุทที่ ำ� ให้ผคู้ นจ�ำนวนมาก รวมถึงคนรุ่นใหม่ยังหลั่งไหลเข้ามายังเทวสถานแห่งนี้ อยู่ไม่ขาด ตามความเห็นของพระมหาราชครูฯ “คนที่มาสักการะบูชา คือคนที่ต้องการความสุข สงบ ร่ ม เย็ น เราไปไหว้ พ ระบ่ อ ยๆ เพื่ อ ท� ำ ให้ จิ ต ใจ มีความเข้มแข็ง เพือ่ ยันอบายมุข กิเลสต่างๆ ทีจ่ ะเข้ามา จากภายนอก ท�ำให้ต้องมีสิ่งแวดล้อมที่ดีอย่างสถานที่ สักการะแบบนี้ เพื่อที่เมื่อมีทุกข์จากโลกภายนอกแล้ว ต้องการความสงบ จะได้เข้ามาได้” พระมหาราชครูฯ กล่าว


22

ท่องเที่ยว

ภาสินี ญาโณทัย ทายาทรุ่นที่ 4 ของบ้านหมอหวาน

“บ้านหมอหวาน บำ�รุงชาติสาสนายาไทย” ฟื้นชีพยาไทย ในสมัยนิยมยาฝรั่ง “ตอนทีต่ ดั สินใจออกจากงานมาสืบทอดกิจการ คือทุก คนในบ้านส่ายหัวหมด เพราะเราก็มีงานประจ�ำที่มั่นคง อีกทัง้ ตอนนัน้ ทีค่ ณ ุ ป้ากับคุณน้าท�ำ มีลกู ค้าเก่าแก่แค่ 20 ราย เป็นลูกค้าที่มีอายุเยอะๆ แล้ว เขาก็ไม่เข้าใจว่าจะออกจาก งานมาท�ำกิจการที่มีอยู่แค่นี้ท�ำไม” ภาสินี ญาโณทัย หรือ พี่เอ๊ะ อดีตพนักงานบริษัท เอกชน ทายาทรุ่นที่ 4 ของบ้านหมอหวาน ร้านยาเก่าแก่ ในย่านพระนครเล่า พี่ เ อ๊ ะ ย้ อ นอดี ต ให้ ฟ ั ง ว่ า ในช่ ว งปลายรั ช กาลที่ 6 หมอหวาน รอดม่วง ซึ่งเป็นคุณทวดของเธอ สร้างที่แห่งนี้ ขึ้นเพื่อเป็นคลินิก ร้านขายยา และบ้านพัก โดยจะมีผู้ป่วย

ทางเข้าบ้านหมอหวาน ซอยเทศา ถนนบำ�รุงเมือง

เรื่อง - ภาพ : ชนนิกานต์ แก้วแก่นเพชร

แวะเวียนมาตรวจรักษาและรับยาแผนโบราณ เช่น ยาหอม อย่างไม่ขาดสาย หลังจากหมอหวานเสียชีวติ คุณยายทีเ่ ป็นลูกสาวคนโต ของหมอหวานก็สืบทอดต�ำรับและวิธีการปรุงยา แต่ไม่มี การตรวจรักษาอย่างแต่ก่อนเพราะคุณยายไม่ใช่หมอ ถัดมายุคที่ 3 บ้านหมอหวานแทบไม่ได้เปิดบ้านให้คน เข้ามาซื้อยา ในยุคนี้ลูกค้าประจ�ำจะโทรศัพท์มาให้จัด เตรียมยาไว้กอ่ น เมือ่ มาถึงจะใช้วธิ กี ดกริง่ หรือสัน่ โซ่ทคี่ ล้อง หน้าประตูบ้านเพื่อติดต่อและรับยาผ่านประตู เมือ่ ถึงรุน่ ที่ 4 คือพีเ่ อ๊ะ เธอจึงคิดจะเปิดประตูบา้ นหมอ หวานให้คนภายนอกได้มาเยือนอีกครั้ง เพราะไม่ต้องการ ให้ร้านยาแห่งนี้ต้องปิดตัวลง “กิจการที่เราเคยเจอหรือ สั ม ผั ส ในวั ย เด็ ก ร้ า นอาหาร ร้ า นท� ำ กระเป๋ า รองเท้ า พอเวลาผ่านไปเราโตขึ้น เราไปที่นั่นอีกที กิจการพวกนั้น เลิกท�ำไปแล้ว เราก็รู้สึกว่าน่าเสียดาย พอหันกลับมามอง กิจการของตัวเอง มันก็มีแนวโน้มที่จะเป็นแบบนั้น ถ้าเรา ไม่ลงมาท�ำ กิจการของบรรพบุรุษก็มีโอกาสปิดตัวลงได้ เหมือนกัน”


ท่องเที่ยว จากร้านยา สู่พิพิธภัณฑ์ “ด้วยความที่เป็นร้านขายยาอายุเกือบจะร้อยปี คนที่มา บางทีเขาไม่ได้มุ่งหวังว่าจะมาซื้อยา เขาปั่นจักรยาน สะพาย กล้ อ งมาเพื่ อ ถ่ า ยรู ป เก๋ ๆ พอเขามาแล้ ว ได้ รั บ ค� ำ อธิ บ าย น�ำชมสถานที่ แล้วอยากมีอะไรเป็นที่ระลึกกลับไป “มันก็เลยกลายเป็นว่ายาของหมอหวานเป็นของฝาก บางทีคนทีซ่ อื้ ไปไม่ได้ใช้เอง แต่เอาไปฝากผูใ้ หญ่ทบี่ า้ นแล้วดี คนที่บ้านชอบก็ฝากให้กลับมาซื้อซ�้ำ กลายเป็นว่าเราได้ ลู ก ค้ า ประจ� ำ จากคนที่ แวะมาเที่ ย วบ้ า น เป็ น พิ พิ ธ ภั ณ ฑ์ ท้องถิ่นที่ยังมีชีวิตอยู่” ทายาทรุ่นที่ 4 กล่าว การปรั บ เปลี่ ย นไม่ ใช่ เ พี ย งแค่ ก ารเปิ ด บ้ า นเท่ า นั้ น แต่ ยั ง มี ก ารเล่ า เรื่ อ งผ่ า นบรรจุ ภั ณ ฑ์ ที่ เ ป็ น จุ ด เด่ น ของ บ้ า นหมอหวาน เช่ น ตั ว หนั ง สื อ ของฉลากยาเก่ า สี ข อง ตัวบ้าน หรือรายละเอียดต่างๆ ของบ้านหมอหวาน ให้คน จดจ�ำ เป็นที่ระลึก และเป็นของฝากติดไม้ติดมือผู้มาเยือนได้ “ต�ำรับยายังเหมือนเดิม เพิ่มเติมคือบรรุภัณฑ์ที่ใส่ความ ตั้งใจ สร้างเอกลักษณ์ดึงจุดเด่นของร้านหมอหวาน สื่อสาร ออกไปให้คนรู้จัก และจดจ�ำได้ เราโชคดีที่มีสถานที่จริง มี ก ารปรุ ง ยาจริ ง ๆ เราก็ ห ยิ บ สี ข องตึ ก พื้ น กระเบื้ อ ง ตัวหนังสือของฉลากยาเก่า มาสร้างสรรค์บรรจุภัณฑ์ให้เขา จดจ�ำแบรนด์หมอหวานได้” พี่เอ๊ะกล่าว ทายาทรุ ่ น ที่ 4 เล่ า ว่ า การปรั บ ตั ว ตามกาลเวลาที่ แปรเปลีย่ นของบ้านหมอหวานทัง้ 4 ยุค ท่ามกลางความนิยม ในยาแพทย์แผนปัจจุบัน ไม่ใช่เพียงท�ำเพื่อสืบทอดกิจการที่ เป็นมรดกของครอบครัวเท่านั้น แต่เพราะต้องการรักษาให้ ยาไทยยังอยู่ และต้องการสื่อสารเพื่อเปลี่ยนทัศนคติของคน ที่มีต่อยาแผนโบราณ “พี่อยากจะสานมรดกที่บรรพบุรุษพี่สร้างเอาไว้ ค�ำว่า มรดกนี้ไม่​่ใช่เพียงตัวบ้าน หรือตัวต�ำรับยาเท่านั้น แต่เป็น เจตจ�ำนงที่จะบ�ำรุงชาติสาสนายาไทย คือท�ำให้ยาไทยยังอยู่ อยากให้คนภูมิใจที่จะใช้ ลบภาพจ�ำว่าเชย อยากให้มองว่า เป็นเทรนด์รักสุขภาพแบบคลาสสิกมากกว่า” พี่เอ๊ะทิ้งท้าย

23 ประโยชน์ของยาหอม “ยาหอม” เกิดจากการนำ�เครื่องหอมหรือ สมุ น ไพรที่ มี ก ลิ่ น หอมหลายชนิ ด ที่ มี ส รรพคุ ณ แตกต่างกันมาปรุงเป็นยาทีใ่ ช้เพือ่ ปรับสมดุลและ ปรับการทำ�งานของร่างกาย ขั้นตอนทำ�ยาหอม นำ�ส่วนประกอบมาบดจนเป็นเนื้อเดียวกัน

ตักแบ่ง และปั้นเป็นก้อนกลม

นำ�มาห่อทองคำ�เปลว

นำ�ใส่บรรจุภัณฑ์



Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.