นิสิตนักศึกษา ปีที่ 46 (พ.ศ.2556) ฉบับที่ 1

Page 1


สารบัญ*

เจ้าของ ภาควิชาวารสารสนเทศ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

AROUND CHULA 4

บรรณาธิการอำ�นวยการ ผศ.ดร.ณรงค์ ขำ�วิจิตร์

จิตอาสา กิจกรรมที่ ‘ต้อง’ ทำ� ?

ที่ปรึกษา ผศ.ดร.ดวงกมล ชาติประเสริฐ, ผศ.ดร.พิรงรอง รามสูต, ผศ.พิจิตรา สึคาโมโต้, อ.พรรณพิมล นาคนาวา

EDUCATION 5

การศึกษาเพื่อ...หน้าตา? หรือ เพื่อ...อนาคต?

บรรณาธิการบริหาร ศิวพร ว่องไชยกุล รองบรรณาธิการ ฉัตรณรงค์ เมืองวงษ์

IT 6

โซเชียลมีเดีย : สงครามที่ไม่อาจหยุดนิ่ง

ผู้ช่วยบรรณาธิการ อรอุษา พรมอ๊อด บรรณาธิการฝ่ายศิลป์ ภัทรมน สุขประเสริฐ

SCOOP 8

อย่าเอาหนูไปประจาน

พิสูจน์อักษร กฤตภาส คุณบัว

SOCIAL 10

กองบรรณาธิการ กนต์ธร พิรุณรัตน์, กฤตพร ธนะสิริวัฒน์, กฤตภาส คุณบัว ฉัตรณรงค์ เมืองวงษ์, ณภศศิ สุรวรรณ, ธนภรณ์ สาลีผล ประณัฐ พรศรีนิยม, พรรษชล รัตนคงวิพุธ, พิริน วรรณวลี ภัทรมน สุขประเสริฐ, รัตนาภรณ์ ทานนํ้า, สรัญธร แก้วเวียงชัย สิรินุช ชุ่มโสตร์, สุทธิชา สกุลญานนท์วิทยา, วชิร อนันต์เมธากุล วีนัสรินทร์ ศิริผล, อรอุษา พรมอ๊อด

‘ผู้สื่อข่าวมือถือ’ เรื่องไหนฮิต เรื่องไหนฮอต โปรดปรึกษามวลชนโลกไซเบอร์

MAIN COURSE 11 12 14

‘กามาชีพ’ ช้างยังไม่ตายแต่เอาใบบัวมาปิด PLEASE EXCUSE FOR NUDITY โสเภณีถูกกฎหมาย การปลดปล่อยสัญชาตญาณจากขนบ อันสูงส่ง

กองบรรณาธิการฝ่ายศิลป์ จันทร์รวี พีรพันธ์ุ, วชิร อนันต์เมธากุล

ENVIRONMENT

INTERNATIONAL

16

22

บางปะกง-ปลากระพง-บางปะกง

SOCIAL 18 19

SPORT การประกวด ค่านิยมยุคใหม่ INFOGRAPHIC รายการประกวดลิขสิทธิ์

ASEAN 20 21

จงเติมศาสนาลงในช่องว่าง

INFOGRAPHIC LAND AREA COVERED BY FOREST AEC กับ การจัดการพื้นที่สีเขียว

23

นักฟุตบอลกับอาชีพเสริมรายได้มหาศาล

POLITICS 24

DYSTOPIA เมื่อมนุษย์สร้างโลกพระศรีอาริย์

ช่างภาพ พิทวัส ปานแก้ว สถานที่ติดต่อ ภาควิชาวารสารสนเทศ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ถนนพญาไท แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330 โทร. 0-2218-2140 Website: http://www.nisitjournal.com Facebook: http://www.facebook.com/thestudentjournal For iPad: ดาวน์โหลด app CU Magazine ได้ที่ https://itunes.apple.com/th/app/cu-magazine/id529026892?mt=8 พิมพ์ที่ โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ขอขอบคุณ ฟอนต์ PSLxDisplay, ฟอนต์ RSU, ฟอนต์ supermarket

ความทรงจำ�ในอดีตมักจะสวยงามกว่าความจริงที่มันเป็น...และมักจะหอมหวานกว่าสิ่งที่กำ�ลังเกิดใน ปัจจุบันด้วย ช่วงที่ผ่านมา กระแส ‘nostalgia’ หรือ ‘การระลึกถึงความสุขในอดีต’ กำ�ลังมาแรง กระแสที่ว่า สะท้อนให้เราเห็นได้ผ่านเสื้อผ้าแนววินเทจ (vintage) หรือความนิยมการไปเที่ยวตลาดนํ้า สามชุก เพลินวาน เมืองปาย เชียงคาน บรรยากาศงดงามของอดีตที่เราพยายามอนุรักษ์ไว้หรือบางแห่งก็เป็นการจำ�ลองขึ้นใหม่ให้ เหมือนเก่า... ช่างเป็นบรรยากาศที่พาเราหนีจากความจริงและหลุดเข้าไปในความฝัน แต่โลกกำ�ลังหมุนไปทุกวัน ทุกสิ่งเป็นอนิจจังที่ไม่จีรังยั่งยืน หลังจากที่เราเสพ ‘ความทรงจำ�’ กัน อย่างชุ่มปอดแล้ว สุดท้ายเราก็ต้องตื่นมาพบกับปัจจุบัน เราอาจพยายามยื้อยุดอดีตไม่ให้เปลี่ยนแปลง แต่ทุกอย่าง ก็จำ�ต้องเปลี่ยนไปตามครรลอง บางสิ่งในโลกนี้ เปลี่ยนแล้วกลายเป็นสิ่งที่ยอมรับกันว่าช่วยให้ชีวิตดีขึ้น เช่น การคมนาคมขนส่ง บางเรื่องที่เปลี่ยน อย่างการรณรงค์ต่อต้านการเหยียดผิว ดำ�เนินไปตามความเห็นของคนหมู่มากว่าเป็นสิ่งที่ดี บางอย่างทีก่ �ำ ลังเปลีย่ น ยังคงเป็นทีถ่ กเถียงว่าสมควรหรือไม่ เช่น รักร่วมเพศ และการเปลีย่ นแปลงบางประการ... ก็ไม่ใช่สิ่งที่ดีเลย คำ�ถามคือ “แล้วเราจะทำ�อย่างไรต่อไป?” ในเมื่อความเปลี่ยนแปลงเป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ไม่ว่าจะดีหรือร้าย การพยายาม ‘หยุด’ คงไม่ใช่ แนวทางทีเ่ หมาะควรเสียแล้ว ทางออกทีด่ ปี ระการหนึง่ ทีม่ นุษย์จะทำ�ได้จงึ เป็นการ ‘ปรับตัว’ ทัง้ การวางแผนรองรับ สิ่งที่อาจเกิดขึ้นในทางร้ายที่สุด (Worst-case scenario) การปรับทัศนคติของตนเองเพื่อที่จะยอมรับสิ่งใหม่ๆ การผลิตสร้างนวัตกรรมเพื่อชีวิตที่ดีขึ้น หรืออย่างน้อยที่สุด หากคิดจะปรับกลับให้เหมือนเดิม ก็ต้องยอมรับว่า มันอาจจะทำ�ได้แค่ ‘คล้ายเดิม’ เท่านั้น คำ � ตอบของคุ ณ ล่ ะ คื อ อะไร? พยายามหยุ ด ? ยอมปรั บ ? หรื อ กลั บ เข้ า สู่ โลกแห่ ง ความฝั น อันแสนหวานนั้น?

E D I T O R

CONTENTS 2

EDITOR’S TALK

3


จิกิจกรรมที ตอาสา ่ ‘ต้อง’ ทำ� ? กฤตภาส คุณบัว

หากการทำ � กิ จ กรรมจิ ต อาสากลายเป็ นการบั ง คั บ ทำ � เพื่ อ จบการศึ ก ษา แล้ ว ก็ น่ า คิ ด ว่ า กิ จ กรรมที่ พ วกเขาเหล่ า นั้ น ออกไปทำ � จะเป็ นกิ จ กรรมที่ เขาตั้งใจและเต็มใจทำ� หรือทำ�ไปเพียงเพื่อให้ตนเองจบการศึกษาเท่านั้น

E D U C AT I O N

AROUND CHULA 4

สรัญธร แก้วเวียงชัย

ก า ร ศึ ก ษ า

5

เ พื่ อ ...ห น้ า ต า ? ห รื อ ...อ น า ค ต ?

ภาพประกอบ: www.ocscexpo.net

“จุฬาฯ ตั้งเป้า 2 ปี สู่ ม.สร้างเสริมสุขภาพ บังคับปี 1 ทำ�กิจกรรมอาสา บันทึกลงทรานสคริปต์” ข้ อ ความข้ า งต้ น แม้ ว่ า เป็ น หั ว ข้ อ ข่ า วเก่ า เมื่ อ ประมาณ 2 ปี ที่ แ ล้ ว แต่ ป ระเด็ น ‘บั ง คั บ ทำ � กิ จ กรรมจิ ต อาสา’ ก็ ยั ง เป็ น เรื่ อ งที่ ส ร้ า งความสั บ สนให้ กั บ นิ สิ ต ที่ เ ข้ า ศึ ก ษาตั้ ง แต่ ปีการศึกษา 2554 เป็นต้นมา ถึงแม้ว่าในขณะนั้น นพ.ภิรมย์ กมลรัตนกุล อธิการบดีจุฬาฯ จะให้สัมภาษณ์สื่อว่าใน ช่วงปีแรกของการดำ�เนินนโยบายจะยังไม่มีการดำ�เนินการใดๆ แต่ถ้าลองไปถามนิสิตชั้นปีที่ 1-2 ในขณะนี้หลายๆ คน อาจตระหนกและคิดไปว่า นโยบายนี้ได้ถูกประกาศออกมาและบังคับใช้เรียบร้อย ทั้งจากการป้อนข้อมูลจากการปฐมนิเทศ จากรุ่นพี่ รวมถึงในหนังสือ คู่มือนิสิตใหม่ ที่แจกให้กับนิสิตใหม่ที่เข้ามา มีข้อมูลระบุไว้ใน เรื่องของการบังคับทำ�กิจกรรม ‘จิตอาสา’ อย่างน้อย 10 ชั่วโมง/ปีการศึกษา จึงจะมีสิทธิ์ส�ำ เร็จ การศึกษา แน่นอนว่า นโยบายทีป่ ระกาศออกมาก่อให้เกิดคำ�ถามต่อผูท้ ไี่ ด้รบั ผลกระทบ โดยเฉพาะ อย่างยิ่ง ‘นิสิต’ ที่เกิดความสงสัยในนโยบายที่ยังคลุมเครือเช่นนี้ ‘จิตอาสา’ ในความหมายของจุฬาฯ ในหนั ง สื อ คู่ มื อ นิ สิ ต ใหม่ ที่ แ จกให้ แ ก่ นิ สิ ต ในวั น ปฐมนิ เ ทศ ได้ ใ ห้ นิ ย าม ของ ‘กิ จ กรรมจิ ต อาสา’ ไว้ ว่ า เป็ น กิ จ กรรมที่ มี ลั ก ษณะให้ ผู้ เ ข้ า ร่ ว มได้ เ ป็ น อาสาสมั ค ร ที่ไม่หวังค่าตอบแทน โดยร่วมทำ�กิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม ชุมชน และประเทศชาติ รวมถึ ง ไม่ ขั ด ต่ อ ศี ล ธรรมและกฎหมายอี ก ทั้ ง กิ จ กรรมจิ ต อาสาจะต้ อ งไม่ เ ป็ น ส่ ว นหนึ่ ง ของรายวิชาที่ลงทะเบียน ‘เกษตรศาสตร์โมเดล’ กับการเก็บชั่วโมงกิจกรรมเพื่อสำ�เร็จการศึกษา หากลองมองไปยั ง มหาวิ ท ยาลั ย อื่ น ๆ ที่ มี ก ารเก็ บ ชั่ ว โมงกิ จ กรรมเพื่ อ นำ � ไป ประกอบการสำ � เร็ จ การศึ ก ษา อาจยกตั ว อย่ า งที่ เ ห็ น ได้ เ ป็ น รู ป ธรรมอย่ า ง มหาวิ ท ยาลั ย เกษตรศาสตร์ (มก.) ที่ ไ ด้ ร ะบุ ล งไปใน ข้ อ บั ง คั บ ว่ า ด้ ว ยการศึ ก ษาขั้ น ปริ ญ ญาตรี มหาวิ ท ยาลั ย เกษตรศาสตร์ (ฉบั บ ที่ 2) พุ ท ธศั ก ราช 2548 ว่ า จะต้ อ งเข้ า ร่ ว มกิ จ กรรม เสริ ม หลั ก สู ต รที่ ม หาวิ ท ยาลั ย กำ � หนดไม่ น้ อ ยกว่ า 15 กิ จ กรรม มี ห น่ ว ยชั่ ว โมงไม่ น้ อ ยกว่ า 100 ชัว่ โมง ซึง่ ในแต่ละกิจกรรมก็จะมีหน่วยชัว่ โมงแตกต่างกันออกไปตามแต่ลกั ษณะกิจกรรม ซึง่ มีกำ�หนดเกณฑ์ไว้ในประกาศ มก. เรื่องการเทียบค่าประสบการณ์จากการเข้าร่วมกิจกรรมเสริม หลักสูตรของนิสิตฯ

จุฬาฯ กับ Activity Transcript ในความเป็นจริงแล้ว มหาวิทยาลัยหลายๆ แห่งก็มีการบันทึกการทำ�กิจกรรมต่างๆ ของนิสิตนักศึกษาในรูปของ Activity Transcript (A.T.) หรือระบบทะเบียนกิจกรรม ที่จะ บันทึกกิจกรรมที่นิสิตนักศึกษาแต่ละคนได้ทำ�ในปีการศึกษาต่างๆ และรวบรวมเมื่อจบการศึกษา ในส่วนของจุฬาฯ ก็มีระบบนี้เช่นกัน โดยจากการสอบถามผู้เกี่ยวข้อง ได้ข้อมูลว่า การเก็บ A.T. นั้นจะมาจากการเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ ทั้งกิจกรรมของมหาวิทยาลัย เช่น ปฐมนิเทศ ไหว้ครู ลอยกระทง ฯลฯ และกิจกรรมที่นิสิตจัดขึ้น เช่น ค่ายต่างๆ หรือกิจกรรมภายในคณะ โดยระบบการจัดเก็บนั้นจะมีทั้งการใช้บัตรประจำ�ตัวนิสิตบันทึกข้อมูล ณ สถานที่จัดกิจกรรม ภายหลังเสร็จสิ้นกิจกรรม หรือการส่งรายชื่อเข้าไปยังสำ�นักงานบริหารงานกิจการนิสิตเพื่อบันทึก ข้อมูลเข้าระบบต่อไป ยังไม่มีเงื่อนไข ‘บังคับจิตอาสา’ แม้ว่าใน คู่มือนิสิตใหม่ จะเขียนไว้ว่านิสิตต้องเข้าร่วมกิจกรรมจิตอาสา 10 ชั่วโมง/ปี การศึกษา จึงจะมีสิทธิ์สำ�เร็จการศึกษา แต่เมื่อเข้าไปดูในระเบียบจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ว่า ด้วยระบบการศึกษาสำ�หรับขัน้ ปริญญาบัณฑิต พ.ศ. 2540 ซึง่ เป็นฉบับทีใ่ ช้บงั คับในปัจจุบนั กลับ ไม่ได้ระบุเงือ่ นไขทีต่ อ้ งทำ�กิจกรรมจิตอาสาดังกล่าวเป็นเงือ่ นไขเพือ่ สำ�เร็จการศึกษา มีเพียงเงือ่ นไข ในการให้ปริญญาในข้อ 18 ทีร่ ะบุเงือ่ นไขว่า “จะต้องสอบได้หน่วยกิตครบตามหลักสูตร และมีแต้ม เฉลี่ยสะสมไม่ตํ่ากว่า 2.00” เท่านั้น อีกทั้งยังไม่มีความชัดเจนในเรื่องของรูปแบบและหลักเกณฑ์ในการบันทึกชั่วโมง จิ ต อาสาว่ า จะต้ อ งมี ลั ก ษณะอย่ า งไร วิ ธี ป ฏิ บั ติ แ ละการบั น ทึ ก ข้ อ มู ล ว่ า จะต้ อ งทำ � อย่ า งไร รวมถึงมาตรการในการควบคุมและติดตามว่าการทำ�กิจกรรมนั้นเกิดขึ้นจริงและได้ผลอย่างที่ทาง มหาวิทยาลัยคาดหวังไว้หรือไม่ แน่นอนว่าการทำ�กิจกรรม ไม่วา่ จะรูปแบบใดก็ตาม ย่อมมีประโยชน์ตอ่ ตัวผูป้ ฏิบตั ิ และ หากเป็นการทำ�กิจกรรมให้แก่บคุ คลหรือกลุม่ บุคคลภายนอกมหาวิทยาลัย ย่อมทีจ่ ะเกิดประโยชน์ แก่บุคคลเหล่านั้นด้วย ท้ายทีส่ ดุ มหาวิทยาลัยก็ยอ่ มได้ชอื่ เสียงและภาพลักษณ์จากผลของการทำ�กิจกรรมนัน้ แต่หากการทำ�กิจกรรมจิตอาสากลายเป็นการบังคับทำ�เพื่อจบการศึกษาแล้ว ก็น่าคิด ว่ากิจกรรมที่พวกเขาเหล่านั้นออกไปทำ�จะเป็นกิจกรรมที่เขาตั้งใจและเต็มใจทำ� หรือทำ�ไปเพียง เพื่อให้ตนเองจบการศึกษาเท่านั้น และสุดท้าย มหาวิทยาลัยย่อมจะต้องรับผลจากการกระทำ�นั้นเช่นกัน... -

“การศึกษาทำ�ให้คนดูดี”

จากแต่ ก่ อ นที่ แ ม้ จ ะเข้ า รั บ การศึ ก ษา เพื่ อ เลื่ อ นสถานะทางสั ง คม ก็ ยั ง ให้ ความสำ � คั ญ กั บ ความรู้ ที่ ไ ด้ เ ป็ น หลั ก แต่ ปั จ จุ บั นกลั บ กลายเป็ น ว่ า ผู้ ที่ เ ข้ า รั บ การศึกษาให้ความสำ�คัญกับ ‘การสร้าง อั ต ลั ก ษณ์ ตั ว ตนด้ ว ยการปิ ด ผนึ ก ตรา สินค้า’ ให้ตนเอง

ไม่ ใ ช่ คำ � ขวั ญ หาเสี ย งของพรรคการเมื อ งแต่ อ ย่ า ใด หรื อ แม้ จ ะคิ ด ว่ า นี่ คื อ คำ � โปรยโฆษณาเชิ ญ ชวนให้ นั ก เรี ย นเข้ า ศึกษาต่อยังมหาวิทยาลัยใดๆ ก็ไม่ใช่ แต่เป็นคำ�เขียนบนสื่อ โฆษณาเชิญชวนให้เข้าชมนิทรรศการการศึกษาต่อต่างประเทศ ของหน่วยงานรัฐที่นักเรียนนักศึกษาให้ความเชื่อถือในเรื่อง การศึกษาจนทำ�ให้หลายคนใฝ่ฝันจะได้รับทุนเพื่อศึกษาต่อใน ระดับที่สูงขึ้นจากหน่วยงานนี้ อย่างสำ�นักงานคณะกรรมการ ข้าราชการพลเรือน หรือ กพ. ไปเสียได้ แม้ประเทศไทยของเราเริม่ ให้ความสำ�คัญกับการศึกษา มาเนิ่นนานตั้งแต่รัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยูห่ วั ทีป่ ระกาศใช้ พระราชบัญญัตปิ ระถมศึกษา พ.ศ.2464 ก่อให้เกิด ‘การศึกษาภาคบังคับ’ ครั้งแรก ด้วยพระราชประสงค์ ที่ต้องการให้ประชาชนทุกคนได้รับการศึกษาถ้วนหน้ากันจึงรับ แนวคิดจากตะวันตกมานั้น จนปัจจุบันเวลาผ่านไปร่วมร้อยปี แล้ว ก็เป็นที่น่าแปลกใจว่า เพราะเหตุใดคนไทยเราจึงยังมอง การศึกษาเป็นเพียงการ ‘ตีตรา’ เพือ่ ยกระดับทางสังคมให้ตนเอง มากกว่าเพือ่ เข้าไปเก็บเกีย่ วความรูเ้ ชิงวิชาชีพหรือเพือ่ ศึกษาความ เป็นไปของมนุษย์และสังคมเช่นตะวันตกทีเ่ รารับแนวคิดเรือ่ งการ ศึกษาเข้ามาในบ้านเรา ดร.เปรม สวนสมุทร อาจารย์ประจำ�ภาควิชาการสอน ภาษาไทย ภาควิชาหลักสูตร การสอนและเทคโนโลยีการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวถึงประเด็น ดังกล่าวเอาไว้อย่างน่าสนใจว่า แท้จริงแล้วแนวคิดเรื่องการ เข้ารับการศึกษาเพือ่ ยกระดับสถานะทางสังคมนัน้ มีมานานแล้วใน โลกตะวันออกของเรา เช่นการสอบคัดเลือกคนเพือ่ เข้ารับราชการ ของจีนยุคโบราณทีเ่ รียกว่า ‘จอหงวน’ นัน้ ก็นบั ว่าเป็นการใช้การ ศึกษาเพื่อเลื่อนสถานะทางสังคม ใช้ความรู้ต่างเพลงดาบเพื่อ เข้าเป็นข้าราชการฝ่ายบุน๋ ในราชสำ�นัก ซึง่ จุดประสงค์ส�ำ คัญก็คอื

เมื่อได้เป็นขุนนางแล้ว ก็นับว่าเป็น เจ้าคนนายคน เลื่อนสถานะ ทางสังคมขึ้นให้เหนือกว่าราษฎรธรรมดาสามัญด้วย แม้ลักษณะแนวคิดเช่นนี้จะมีมานานจนหยั่งรากลึก ในสังคมตะวันออกรวมทัง้ สังคมไทยไปแล้ว แต่สงิ่ หนึง่ ในแนวคิด ดังกล่าวที่เปลี่ยนแปลงไปในปัจจุบันก็คือ จากแต่ก่อนที่แม้จะ เข้ารับการศึกษาเพือ่ เลือ่ นสถานะทางสังคม ก็ยงั ให้ความสำ�คัญ กับความรู้ที่ได้เป็นหลัก แต่ปัจจุบันกลับกลายเป็นว่าผู้ที่เข้ารับ การศึกษาให้ความสำ�คัญกับ ‘การสร้างอัตลักษณ์ตัวตนด้วย การปิดผนึกตราสินค้า’ ให้ตนเอง แทนที่จะให้ความสำ�คัญว่ามี ความรูค้ วามสามารถแค่ไหน ก็กลับไปให้นาํ้ หนักทีส่ งิ่ ทีม่ คี ณ ุ สมบัติ เป็น ‘ตราสินค้า’ หรือ ‘แบรนด์’ ทีป่ ระกอบภาพลักษณ์และบุคลิก ขึ้นมา ทำ�ให้หลายๆ คนสนใจว่า คนหนึ่งคนใดที่ได้พบ จบการ ศึกษาจากประเทศใด สถาบันไหน ไปจนถึงวุฒิการศึกษาว่า จบการศึกษาระดับใด มากกว่ามองความรูค้ วามสามารถทีเ่ ขามี สิง่ ทีเ่ รียกว่า ‘มหาวิทยาลัยห้องแถว’ ในสหรัฐอเมริกา เมืองแห่งโอกาส ไปจนถึงกรณีปลอมปริญญาบัตรหรือวุฒิบัตร ต่างๆ ของนักการเมืองทีไ่ ด้เห็นเป็นข่าวกันครึกโครมจนต้องตรวจ สอบกันจ้าละหวัน่ ก็คงจะเป็นสิง่ ทีส่ ะท้อนให้เห็นได้ชดั ว่าทรรศนะ ทางการศึกษาในประเด็นการให้คณ ุ ค่าความสำ�คัญนัน้ เปลีย่ นไป จนน่าจับตามองอย่างแท้จริง ก็ได้แต่คาดหวังว่า แม้ทศั นคติ ‘การ ศึกษาทำ�ให้คณ ุ ดูด’ี จะยังคงอยูก่ บั สังคมปัจจุบนั ของไทย แต่ใน อนาคต ทัศนคติของปัจเจกชนที่เข้ารับบริการทางการศึกษาจะ ค่อยๆ เปลี่ยนไปเล็งเห็นคุณค่าของการเรียนว่าเป็นวิธีเก็บเกี่ยว ความรูเ้ พือ่ พัฒนาตนเอง ส่วนการ ‘เลือ่ นสถานะทางสังคม’ ด้วย ใบปริญญานั้นเป็นเพียงแค่ผลพลอยได้เท่านั้น ก่อนที่การศึกษาซึ่งมีจุดประสงค์เพื่อพัฒนาความรู้ และระดับจิตใจของปัจเจกชน จะกลายเป็นการค้าเพือ่ แลกเปลีย่ น เงินตรากับปริญญาบัตรพร้อมตราสัญลักษณ์สถาบันไป -


T

I I

T 6

โซเชี ย ลมี เ ดี ย สงครามที่ไม่อาจหยุดนิ่ง พรรษชล รัตนคงวิพุธ

“เจอเธอออนเอ็มเมื่อไร เราควรจะแชทเลยมะ...หรือ ล่าสุดหลังจากเพิ่งเปิดให้บริการ ‘ส่งของขวัญในเฟซบุ๊ก’ (Faceต้องแกล้งๆ ออฟไลน์” book Gifts) ไปหมาดๆ เฟซบุ๊กก็ประกาศเตรียมเปิดตัวปุ่มบอก ความต้องการอย่าง ‘Want’ ต่ออย่างไม่รอช้า เพื่อมอบอารมณ์ แว่วเสียงเพลงจากวิทยุในเวลายามบ่ายทำ�เอาต้อง ใหม่ๆ ให้แก่ผู้ใช้รวมถึงเอื้อประโยชน์แก่การทำ�ธุรกิจต่างๆ เพื่อ หวนนึกรำ�ลึกความหลังถึงเมื่อช่วงวัยมัธยมโดยไม่ได้ตั้งใจ คิด รุ ก หน้ า ก้ า วสู่ ร ะบบอี ค อมเมิ ร์ ซ (E-Commerce) แต่ แ ม้ จ ะ แล้วก็เผลอนั่งขำ� เพลง ‘เอ็มเอสเอ็น (MSN)’ โดยสามสาว ‘เฟย์- ไม่หยุดนิง่ และมีการพัฒนาตลอดเวลาก็ไม่สามารถนิง่ นอนใจได้ ฟาง-แก้ว’ ในสมัยนั้นนับว่าฮิตอยู่ไม่ใช่น้อย คงไม่ต่างอะไรจาก เมื่อผลการสำ�รวจช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา เฟซบุ๊กซึ่งมีผู้ใช้บริการ ชื่อเพลงสักเท่าไหร่ แต่ลองไปร้องเพลงนี้ให้เด็กยุค 2013 ดูสิ กว่า 901 ล้านคน มีสมาชิกลดลง 1.1 เปอร์เซ็นต์ทั่วโลก เขา ขีค้ ร้านจะทำ�หน้ามึนเหมือนถูกไม้หน้าสามหล่นทับใส่หวั กันเป็น ว่ า กั น ว่ า มั น บ่ ง บอกถึ ง การพุ่ ง ขึ้ น สู่ จุ ด อิ่ ม ตั ว ในไม่ ช้ า แถว แล้วพาลจะหันมาทำ�ยิ้มซื่อตาใสถามกับเราว่า “แล้วไอ้ ดังนั้นโซเชียลมีเดีย ในยุคใหม่จึงต้องกระตือรือร้นที่จะปรับตัว เอ็มเอสเอ็นนี่มันอะไรอะฮับพี่? ป๋มไม่รู้จัก” ให้เราและเฟย์-ฟาง- ให้สดใหม่อยู่เสมอเพราะไม่มีอะไรรับประกันว่าจะอยู่เป็นดาว แก้วต้องนั่งสลดใจเล่นว่า เวลานี่มันช่างผ่านไปเร็วราวโกหก ค้างฟ้า ก็แหม เหมือนเพิง่ จะได้ยนิ เสียง ‘ตือ่ ดือดึง้ ’ กับมองเห็นแถบสีสม้ กะพริบวอบแวบบนหน้าต่าง Windows 98 อยู่เมื่อวานแท้ๆ... นอกจากจะต้องต่อสู้กับตัวเองแล้ว โซเชียลมีเดียที่ เกิดขึ้นก่อนยังต้องแข่งขันกับน้องใหม่รุ่นหลังๆ ที่ผุดขึ้นมาหวัง เมื่ อ ช่ ว งต้ น เดื อ นที่ ผ่ า นมา บริ ษั ท ไมโครซอฟท์ วัดรอยเท้ากับรุน่ พี่ เพราะใครดีใครเด่น ใครครองตลาดได้ เม็ดเงิน ได้ อ อกตั ว ประกาศชั ด เจนแล้ ว ว่ า จะปิ ด การให้ บ ริ ก าร มหาศาลกำ�ลังรออยู่ ดังนัน้ ในช่วงทีเ่ ฟซบุก๊ ระสํา่ ระส่ายกับปัญหา โปรแกรมแชท ‘วิ น โดวส์ ไลฟ์ เมสเซนเจอร์ ’ (Windows เรื่องความเป็นส่วนตัว กูเกิลก็ได้ผลิต ‘กูเกิลพลัส’ (Google+) Live Messenger) หรื อ ‘เอ็ ม ’ ของพวกเรา และน่ า เศร้ า ขึ้นมาโดยมีปัจจัยในด้านความเป็นส่วนตัวและความปลอดภัย ที่ ต่ อ ไปนี้ ก าร ‘ออนเอ็ ม ’ ก็ ค งหายสาบสู ญ ไปจากชี วิ ต ของข้อมูลผู้ใช้เป็นหลัก นอกจากนี้ยังผนวกเข้ากับบริการต่างๆ มนุ ษ ย์ โ ลกตลอดกาล โดยทางไมโครซอฟต์ ใ ห้ เ หตุ ผ ลว่ า จะ ดั้งเดิมของกูเกิล อาทิ บริการแผนที่ Google Maps และมี หันมาผลักดันโปรแกรมสื่อสารแบบเห็นหน้าคู่สนทนาอย่าง ฟีเจอร์ใหม่ๆ เช่น วิดีโอแชทเพิ่มเข้ามา และเมื่อไม่นานมานี้ก็ สไกป์ (Skype) แทน ซึ่งก็ไม่น่าแปลกใจแม้แต่น้อย เพราะเมื่อ ยังปรากฏโซเชียลมีเดียตัวใหม่เพิ่มขึ้นอีก อย่าง ‘ฟีด’ (Pheed) ช่วงกลางปี 2012 ได้มีโอกาสล็อกอินเข้าแอคเคาท์เอ็มเอสเอ็น ซึ่งมีทีท่าว่าจะเป็นดาวรุ่งพุ่งแรงดวงใหม่ เนื่องจากมีการดึง ของตัวเองหลังจากห่างหายไปกว่าสามปี ปรากฏว่าจากแต่ ลักษณะเด่นของทั้งเฟซบุ๊ก ทวิตเตอร์ และยูทูบ (YouTube) มา ก่อนมีตัวสัญลักษณ์สีเขียวสีแดงขึ้นกันพรึ่บพรั่บนับร้อย บัดนี้ ผสมผสานกันอยูใ่ นแพลตฟอร์ม (Platform) เดียว แต่มลี กั ษณะที่ กลับรกร้างราวป่าช้า ไม่ต้องสงสัยว่ารายชื่อในลิสต์เวลานี้คง ลํา้ หน้ากว่า เช่น สามารถพิมพ์ขอ้ ความได้ 420 ตัวอักษร ในขณะที่ กำ�ลังโลดแล่นอยู่บนเฟซบุ๊ก (Facebook), ทวิตเตอร์ (Twitter), ทวิตเตอร์พิมพ์ได้เพียง 140 ตัวอักษร มีฟีเจอร์กดไลค์ (Like) กด อินสตาแกรม (Instagram) กันเป็นแถบแบบได้ใหม่ลืมเก่า ชื่นชอบ (Favourite) อัพโหลดภาพ เสียง และไฟล์วิดีโอ เป็นต้น เอ็มเอสเอ็นซึง่ เคยเฟือ่ งฟูมากในระยะหนึง่ จึงเริม่ เสือ่ มความนิยม โดยไม่กี่สัปดาห์แรกที่เปิดตัวก็มีคนให้ความสนใจจำ�นวนมาก ลงเมือ่ มีโซเชียลมีเดียเหล่านีผ้ ดุ ขึน้ มาแทนที่ โดยทีถ่ า้ ย้อนไปเมือ่ ถึงหลักล้าน และเหล่าคนดังฝั่งตะวันตกหลายคนก็ไปสมัครใช้ 6-7 ปีที่แล้วเราคงไม่เคยนึกฝันมาก่อนว่าจะมีวันนี้ บริการกันอย่างคับคั่ง บนโลกทีห่ มุนไปเร็วเหมือนพายุทอร์นาโด การแข่งขัน ของทุกสิ่งทุกอย่างก็ดูเหมือนจะดุเดือดขึ้นเรื่อยๆ ใครเป็นผู้แพ้ ย่อมต้องยอมล่าถอยและส่งต่อพื้นที่ให้แก่ผู้ชนะอย่างไม่อาจ ขัดขืนได้ กรณีเอ็มเอสเอ็นถือเป็นตัวอย่างที่ดี จากอดีตซึ่งเคย มีผู้เข้าใช้ทั่วโลกกว่า 330 ล้านคน กลับต้องปิดตัวลงเนื่องจาก ยอดผู้ใช้งานลดลงกว่า 48 เปอร์เซ็นต์ต่อปี แสดงให้เห็นว่าไม่มี อะไรอยู่คงที่ ซึ่งทั้งเฟซบุ๊กหรือทวิตเตอร์อันกลายมาเป็นผู้ครอง ตำ�แหน่งโซเชียลมีเดียอันดับต้นๆ คงตระหนักถึงข้อนี้ดีจึงมีการ เปลี่ยนแปลงและพัฒนาให้เห็นกันอยู่ทุกวัน ทั้งการปรับแต่ง รูปลักษณ์ซึ่งทั้งสองยี่ห้อนี้เพิ่งจัดการไปหมาดๆ การปรับปรุง ระบบไทม์ไลน์ (Timeline) หรือแม้แต่ฟเี จอร์ (Feature) ต่างๆ ซึง่ ขยันผลิตกันขึน้ มาตอบสนองต่อวิถคี นรุน่ ใหม่กนั ไม่เว้นแต่ละวัน

ถึงคลื่นลูกเก่าจะเก๋าเกมกว่าแต่อย่าลืมว่าใครก็ไม่อาจ ประมาทคลื่นลูกใหม่ที่ซัดโถมเข้ามาอย่างแรงได้ แม้ในช่วงนี้ จะยังอยู่ในระยะที่เรียกว่าเป็นขาขึ้นของทวิตเตอร์และเฟซบุ๊ก ทว่าดาวค้างฟ้าก็ยงั มีวนั ตาย ในสังเวียนของโลก 4G ทีไ่ ม่ปราณี ใครนั้น ผู้ที่อาจหาญจะก้าวขาแตะฝ่าเท้าลงสังเวียน หมายมั่น จะฟาดฟันเอาพื้นที่และผู้คนบนโลกออนไลน์มาอยู่ในกำ�มือ ให้ได้นั้นคงต้องมั่นใจว่าขาทั้งสองข้างของตัวเองนั้นมั่นคงมาก พอ เรียกได้ว่าต้องถือคติแข็งแกร่งให้มากกว่าคู่ต่อสู้แต่ยอม โอนอ่อนเพื่อปรับตัวให้เข้ากับกระแสสังคม ที่สำ�คัญคือตื่นตัว อยู่เสมอ มิเช่นนั้นอีกสามปี ห้าปี หรือสิบปีข้างหน้า เจ้าพวกเด็ก รุน่ ใหม่จะได้ไม่ตอ้ งมานัง่ เมือ่ ยเบ้หน้าถามว่า “เอ๊ะ เอ๊ะ เอ๊ะ... ไอ้ นี่มันอะไรหนอ!?” -

7

‘5 in 5’

5 นวัตกรรม เปลี่ยนโลกใน 5 ปี วชิร อนันต์เมธากุล ใช่ว่าทุกวันนี้ความเปลี่ยนแปลงของโลกจะเกิดขึ้นจากปัจจัย ทางสังคม เศรษฐกิจ การเมืองเท่านั้น แต่นวัตกรรมไอทีถือเป็นปัจจัยหนึ่งที่ ส่งผลให้เกิดความเปลีย่ นแปลงในโลกใบนีไ้ ด้เช่นกันและนับวันยิง่ มีอทิ ธิพลต่อโลก มากขึ้นเรื่อยๆ ล่าสุด ไอบีเอ็ม (IBM) บริษัทไอทียักษ์ใหญ่เผยว่า ทางไอบีเอ็ม กำ�ลังพัฒนา 5 นวัตกรรมทางด้านเทคโนโลยีที่จะเปลี่ยนแปลงการดำ�เนิน ชีวิตของคนเราในอีก 5 ปีข้างหน้า หรือ ไอบีเอ็ม ไฟว์ อิน ไฟว์ (IBM Five in Five) นวัตกรรมแรกคือ “มนุษย์สามารถสร้างพลังงานมาใช้ได้เอง” โดยอาศัยแหล่งกำ�เนิดพลังงานจากการเคลื่อนไหวของสิ่งต่างๆ รวมทั้ง อากัปกริยาของมนุษย์ ไม่วา่ จะเป็นการเดิน วิง่ การปัน่ จักรยาน แม้แต่ความร้อน จากคอมพิวเตอร์กส็ ามารถสร้างพลังงานได้ และสามารถทีจ่ ะเก็บรวบรวมมา ใช้งานภายในบ้านหรือภายในเมืองต่างๆ โดยนักวิทยาศาสตร์ของไอบีเอ็ม ในไอร์แลนด์กำ�ลังศึกษาวิธีการแปลงพลังงานคลื่นในมหาสมุทรให้กลายเป็น กระแสไฟฟ้าและลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม นวัตกรรมที่สอง คือ “การใช้เสียงพูด ใบหน้าและดวงตาของ มนุษย์แทนรหัสผ่านได้” โดยในอนาคตเราจะไม่ตอ้ งใช้รหัสผ่านอีกต่อไป เพราะ ข้อมูลทางไบโอเมตริก (Biometric) เช่น ข้อมูลเกี่ยวกับเค้าโครงใบหน้า การ สแกนม่านตา และไฟล์เสียงพูด จะถูกประกอบเข้าด้วยกันผ่านทางซอฟต์แวร์ เพื่อสร้างรหัสผ่านออนไลน์แทน นวัตกรรมที่สาม คือ “มนุษย์สามารถใช้สมองสั่งงานแล็ปท็อป และโทรศัพท์มือถือได้” ขณะนี้นักวิทยาศาสตร์ของไอบีเอ็มในสาขาวิชา ชีวสารสนเทศ (Bioinformatics) กำ�ลังทำ�การค้นคว้าวิธกี ารเชือ่ มโยงสมอง ของคนเข้ากับอุปกรณ์ตา่ ง ๆ เช่น คอมพิวเตอร์ หรือสมาร์ทโฟน รวมถึงการ ออกแบบชุดหูฟังที่มีเซ็นเซอร์พิเศษสำ�หรับอ่านคลื่นไฟฟ้าสมอง รวมถึงสีหน้า ระดับความตื่นเต้น การมีสมาธิจดจ่อและความคิดของบุคคล โดยที่บุคคลนั้น ไม่จำ�เป็นต้องขยับร่างกาย นวัตกรรมที่สี่ คือ “ทุกคนสามารถเข้าถึงข้อมูลต่างๆ ได้ทุกที่ ทุกเวลาด้วยเทคโนโลยีโมบายล์” ตัวอย่างเช่น ไอบีเอ็มใช้เทคโนโลยีเสียงพูด และอุปกรณ์พกพาเพื่อช่วยให้ชาวชนบทในอินเดียที่ไม่รู้หนังสือสามารถรับรู้ และถ่ายทอดข้อมูลผ่านทางข้อความที่บันทึกไว้ในโทรศัพท์ เป็นต้น และนวัตกรรมที่ห้า คือ “คอมพิวเตอร์จะช่วยคัดกรองและแจ้ง ข้อมูลสำ�คัญทีส่ อดคล้องกับความต้องการของเรา” ซึง่ ไอบีเอ็มกำ�ลังพัฒนา เทคโนโลยีที่ใช้ระบบวิเคราะห์ข้อมูลแบบเรียลไทม์ เพื่อกลั่นกรองและผนวกรวม ข้อมูลจากทุกแง่มุมของชีวิตมนุษย์เราเพื่อคัดกรองข้อมูลมาเสนอผู้รับตาม ความต้องการเฉพาะบุคคล เชือ่ ว่าเมือ่ นวัตกรรมต่างๆ เหล่านีไ้ ด้รบั การพัฒนาสำ�เร็จจนถึง ขั้นใช้งานจริงได้ โลกคงต้องพบกับความเปลี่ยนแปลงครั้งสำ�คัญอีกครั้ง อาจดังเช่นเหมือนเมื่อหลายสิบปีก่อนที่ระบบการสื่อสารไร้พรมแดนอย่าง อินเทอร์เน็ตเคยสร้างไว้ -


อรอุษา พรมอ๊อด

มื่อช่วงต้นปีที่ผ่านมา หลายคนคงได้เห็นคลิปวิดีโอที่นำ�เสนอการกระทำ�ผิด ของเยาวชนผู้เป็นอนาคตของชาติผ่านทางโลกออนไลน์อย่างกลาดเกลื่อน เรียกได้ว่าเป็นกระแสของช่วงนั้นเลยทีเดียว แค่ในโลกออนไลน์ยังไม่พอ มีการนำ�คลิปวิดีโอที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับ การกระทำ�ซึ่งสังคมมองว่าไม่เหมาะสมมารายงานข่าวผ่านหนังสือพิมพ์ วิทยุ และที่น่าเป็นห่วงคือมีการเผยแพร่ทางโทรทัศน์ซึ่งนับว่าเป็นช่องทางการสื่อสาร ที่สามารถเข้าถึงกลุ่มคนทุกเพศทุกวัย จนทุกวันนี้ไม่สามารถคาดเดาได้เลยว่า จะเกิดอะไรขึน้ กับเยาวชนของชาติทเี่ ป็นผูก้ ระทำ�ความผิด ผูถ้ กู กระทำ�หรือแม้แต่ เด็กและเยาวชนทัว่ ไปทีไ่ ด้รบั ชมข่าวเหล่านีผ้ า่ นจอโทรทัศน์ ในเมือ่ สังคมไทยยังมี สื่อมวลชนที่หากินกับข่าวเด็กและเยาวชนเช่นนี้ ข่าวเด็กนักเรียนมีเพศสัมพันธ์กันในโรงภาพยนตร์จังหวัดราชบุรี แน่นอนว่าคงไม่มีใครไม่เคยได้ยินข่าวนี้ เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นเนื่องจากพนักงาน ภายในโรงภาพยนตร์ได้นำ�คลิปจากกล้องวงจรปิด ซึ่งถ่ายได้ภาพนักเรียนชาย หญิงมีเพศสัมพันธ์กันในโรงหนังออกเผยแพร่บนอินเทอร์เน็ต จนกลายเป็นคดี ที่ตำ�รวจต้องเข้ามาสืบสวนจนพบว่าเยาวชนในคลิปดังกล่าวคือใคร อยู่โรงเรียน ไหน พร้อมดำ�เนินคดีตามกฎหมายกับผู้เผยแพร่คลิปและเยาวชนทั้งสอง เรื่องนี้ กลายเป็นประเด็นร้อนที่ทุกคนพูดถึงกันในขณะนั้น เมือ่ มีการนำ�ข่าวมานำ�เสนอผ่านทางโทรทัศน์ แม้วา่ จะมีการเซ็นเซอร์ เพื่อปิดบังใบหน้า แต่ด้วยสัญชาตญาณของคนเรา มีหรือที่จะไม่อยากดูคลิป วีดโิ อนัน้ ในแบบทีม่ ไิ ด้ผา่ นการเซ็นเซอร์ แม้จะถูกแจ้งลบหลายต่อหลายครัง้ ก็มกั จะมีมอื ดีบนั ทึกเก็บไว้แล้วนำ�กลับมาเผยแพร่อกี เรือ่ ยๆ ประชาชนผูม้ จี ริยธรรมทัง้ หลายต่างพากันแสดงความคิดเห็นตามทัศนคติของตน บ้างก็วา่ เด็กไม่ดบี า้ ง โทษ พ่อแม่เด็กบ้าง บางคนก็สมนาํ้ หน้าเด็กทีท่ �ำ อะไรไม่คดิ และต่างวิพากษ์วจิ ารณ์กนั ไปต่างต่าง นานา จนเด็กในคลิปถึงกับต้องลาออกจากโรงเรียนและย้ายทีอ่ ยูใ่ หม่ เพราะทนความอับอายและการถูกตราหน้าจากสังคมไม่ไหว เมื่อคนเริ่มให้ความสำ�คัญกับข่าวนี้น้อยลง(คนไทยลืมง่าย) ก็มีคน ปล่อยข่าวลือว่าเด็กผู้หญิงในคลิปผูกคอตายแล้ว คนจึงกลับมาสนใจ (วิจารณ์) เรื่องนี้อีก แต่โชคดีที่ในเหตุการณ์จริง แม่เด็กมาเห็นเข้าและช่วยไว้ได้ทัน เด็ก หญิงจึงเพียงแค่พยายามฆ่าตัวตายเท่านั้น ในกรณีทเี่ ยาวชนอยูใ่ นฐานะผูถ้ กู กระทำ�ความผิดทางอาญา แค่เพียง ได้รับความโหดร้ายจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นก็สาหัสพอแล้ว ยิ่งมีการประโคมข่าว ของสื่อมวลชนก็เปรียบเสมือนการตอกยํ้าบาดแผลนั้นให้ลึกลงไปอีก เมื่อไม่นานมานี้มีข่าวที่น่าสลดใจแก่สังคมไทยยิ่งนัก จากคดีพ่อ แท้ๆ ก่อเหตุข่มขืนลูกสาวตัวเองซึ่งมีอายุเพียง 14 ปี นอกจากนี้ยังพบว่าเด็ก หญิงถูกปู่แท้ๆ ของเธอข่มขืนอีก หลังจากเข้าแจ้งความตำ�รวจได้จับกุมพ่อและ ปู่มาดำ�เนินคดีในข้อหากระทำ�ชำ�เราผู้สืบสันดานซึ่งเป็นเด็กหญิงอายุไม่เกิน 15 ปี ในกรณีนี้การนำ�เสนอข่าวของโทรทัศน์รายการหนึ่งนับว่าเป็นการทำ�ร้าย เด็กผู้ถูกกระทำ�อย่างชัดเจน คือ มีภาพการจับกุมผู้กระทำ�ความผิดภายในที่ พักอาศัยซึ่งเป็นบ้านที่ผู้เสียหายอาศัยอยู่ด้วย และมีภาพสัมภาษณ์มารดาของ ผู้เสียหายแม้จะมองเห็นแค่เพียงเสี้ยวใบหน้าแต่ก็ยังเป็นที่สังเกตและจดจำ�ได้ แก่ผู้ใกล้ชิดหรือคนในชุมชนที่เด็กอาศัยอยู่ ซึ่งจะนำ�ไปสู่การระบุตัวตนของ ผูเ้ สียหายได้อย่างชัดเจน มิหนำ�ซาํ้ ยังพยายามถ่ายภาพเด็กหญิงผูเ้ สียหายแม้เด็ก จะพยายามนำ�เสือ้ คลุมใบหน้าไว้ พฤติกรรมเช่นนีท้ �ำ ให้ไม่สามารถกล่าวได้เลยว่า สื่อมวลชนยังใช้จริยธรรมและจรรยาบรรณในการนำ�เสนอข่าว

หากจะพยายามทำ�ความเข้าใจในบทบาทหน้าที่ของสื่อที่ต้องคอย เฝ้าระวัง ตรวจสอบ และนำ�เสนอข่าวที่เป็นความจริงแก่สาธารณชน แต่บทบาท หน้าที่นั้นจะต้องมีจริยธรรมและความรับผิดชอบควบคู่ไปด้วย ซึ่งสื่อมวลชนไทย ในปัจจุบันยังขาดคุณสมบัติด้านนี้อยู่ไม่น้อย การกระทำ�ของสื่อมวลชนปัจจุบันนี้ เป็นตัวการสำ�คัญที่จะกำ�หนด อนาคตของเด็กและเยาวชนผูก้ ระทำ�ความผิดว่าจะไปในทิศทางใด การนำ�ภาพข่าว มาเสนอซาํ้ ๆ แม้จะเป็นความคืบหน้าของข่าวก็ยงั มีการนำ�ภาพมาประกอบเพือ่ ให้ ดูมสี สี นั เร้าอารมณ์ผดู้ หู รือผูอ้ า่ น จะกล่าวว่าการกระทำ�นีค้ อื การทำ�หน้าทีส่ ะท้อน ภาพความเป็นจริงของสังคมหรือนีค่ อื การทำ�หน้าทีอ่ ย่างซือ่ สัตย์ตอ่ อาชีวปฏิญาณ ของสื่อมวลชนได้หรือไม่ หรือเป็นเพียงการตอบสนองสัญชาตญาณความอยากรู้ อยากเห็นของมนุษย์และมีเป้าหมายให้คนดูให้มากที่สุดเท่านั้น ความรับผิดชอบทางจริยธรรมของสื่อมวลชน เป็นความรับผิดชอบ ที่ ต้ อ งใช้ จิ ต สำ � นึ ก พิ จ ารณาและใคร่ ค รวญถึ ง ผลกระทบที่ จ ะเกิ ด ขึ้ น กั บ ผู้ ที่ ตกเป็นข่าว ญาติพี่น้อง และครอบครัว ถึงแม้บางเหตุการณ์จะควรนำ�เสนอ หากวัดตามหลักของ ‘คุณค่าข่าว’ แต่ข่าวก็อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อบุคคลอื่น ทั้งที่เกี่ยวข้องและไม่เกี่ยวข้องในเหตุการณ์ ด้วยรูปแบบการเขียน เนื้อข่าว ความนำ� การพาดหัวข่าวหรือการใช้ภาพประกอบที่อาจสร้างความเจ็บปวดซํ้าๆ ให้แก่ผู้เคราะห์ร้ายที่เป็นข่าวได้ ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ.2546 มาตรา 27 ที่ว่า “ห้าม มิให้ผู้ใดโฆษณาหรือเผยแพร่ทางสื่อมวลชน หรือสื่อสารสนเทศประเภทใด ซึ่ง ข้อมูลเกี่ยวกับตัวเด็ก หรือผู้ปกครอง โดยเจตนาที่จะทำ�ให้เกิดความเสียหาย แก่จิตใจ ชื่อเสียง เกียรติคุณ หรือสิทธิประโยชน์อื่นใดของเด็ก หรือเพื่อแสวงหา ประโยชน์สำ�หรับตนเอง หรือผู้อื่นโดยมิชอบ” นี่เป็นความผิดชัดเจนตามกฎหมาย แต่นั่นก็อาจไม่สำ�คัญเท่ากับความรับผิดชอบต่อคนอ่าน คนดู คนฟังและสังคม รวมไปถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นต่อผู้เสียหายจากการกระทำ�ของสื่อไม่ว่าจะมี กฎหมายบังคับไว้หรือไม่ การกระทำ�ของสือ่ มวลชนนีถ้ อื เป็นการละเมิดสิทธิเด็กและเยาวชน แม้ จะไม่บอกว่าเขาเป็นใคร แต่เมื่อคนรู้จักหรือคนในชุมชนที่เด็กอาศัยอยู่เห็นภาพ เหล่านั้นแม้จะเซ็นเซอร์แล้วก็ยังสามารถจำ�ได้ เป็นการทำ�ให้คนที่ไม่รู้กลายเป็น รู้ แล้วพวกเขาจะอยู่ในสังคมนั้นต่อไปได้อย่างไร ในเมื่อสื่อตราหน้าว่าทำ�ผิด ไม่ ต่างอะไรกับการเอาป้ายไปแขวนคอว่าเด็กคนนี้คือผู้กระทำ�ผิด การตีแผ่ความจริงในลักษณะเช่นนี้ อาจไม่ได้เป็นอุทาหรณ์สอนใจให้ ครอบครัวระวังบุตรหลาน หรือทำ�ให้เด็กเยาวชนเกรงกลัวต่อการกระทำ�ผิดเลย ในทางกลับกันมักจะเกิดการเลียนแบบ ยิ่งเมื่อได้เห็น ได้ยิน ได้ฟังซํ้าๆ ด้วยความ เป็นเด็กย่อมเกิดความอยากรู้อยากลอง อาจทำ�ให้เกิดการกระทำ�ตาม และก็จะมี ปัญหาในลักษณะนี้ไม่จบไม่สิ้นเสียที การแก้ปัญหาที่ดีท่ีสุดก็คือการแก้ปัญหาที่ต้นเหตุ สถาบันครอบครัว โรงเรียน ชุมชน ควรให้ความรู้เกี่ยวกับเด็กอย่างถูกต้อง โดยเฉพาะเรื่องเพศที่มอง ว่าเป็นปัญหาสำ�คัญของไทยที่ควรได้รับการแก้ไขอย่างจริงจัง แต่หากเกิดปัญหา เช่นนีม้ าแล้ว การแก้ปญ ั หาของสังคมไทยเราน่าจะมุง่ ไปทีต่ วั เด็กเสียมากกว่า การ เยียวยาดูแลจิตใจของเด็กที่กระทำ�ความผิดและเป็นผู้ถูกกระทำ�นั้นสำ�คัญเสียยิ่ง กว่าการประโคมข่าวว่า ใคร ทำ�อะไร ทีไ่ หน อย่างไร และเมือ่ ไหร่ ตามลักษณะการ รายงานข่าวของสือ่ มวลชนปัจจุบนั นี้ เพราะมันดูเป็นการทำ�ให้เกิดปัญหา มากกว่า จะทำ�ให้เกิดประโยชน์แก่สาธารณะ -

“ ” การกระทำ � ของสื่ อ มวลชนปั จ จุ บั นนี้ เป็ นตั ว การสำ � คั ญ ที่ จ ะกำ � หนดอนาคตของเด็ ก และเยาวชนผู้ ก ระทำ � ความผิ ด ว่าจะไปในทิศทางใด การนำ�ภาพข่าวมาเสนอซํ้ า ๆ แม้ จ ะเป็ นความคื บ หน้ า ของข่ า วก็ ยั ง มี ก ารนำ � ภาพมาประกอบ เพื่ อ ให้ ดู มี สี สั น เร้ า อารมณ์ ผู้ ดู ห รื อ ผู้ อ่ า น จะกล่ า วว่ า การกระทำ � นี้ คื อ การทำ � หน้ า ที่ ส ะท้ อ นภาพความเป็ นจริ ง ของสั ง คม หรื อ นี่ คื อ การทำ � หน้ า ที่ อ ย่ า งซื่ อ สั ต ย์ ต่ อ อาชี ว ปฏิ ญ าณของสื่ อ มวลชนได้ ห รื อ ไม่ หรื อ เป็ น เพี ย ง การตอบสนองสั ญ ชาตญาณความอยากรู้ อ ยากเห็ น ของมนุ ษ ย์ แ ละมี เ ป้ า หมายให้ ค นดู ใ ห้ ม ากที่ สุ ด เท่ า นั้ น

S C O O P

S C O O P

อย่าเอาหนูไปประจาน

8

9


‘ผู้สื่อข่าวมือถือ’

กนต์ธร พิรุณรัตน์

เรื่องไหนฮิต ข่าวไหนฮอต โปรดปรึกษามวลชนบนโลกไซเบอร์

ากย้ อ นกลั บ ไปดู ท ฤษฎี ข องสื่ อ สารมวลชน พบว่ า ผู้ ส่ ง สารมั ก จะเป็ น คนหรื อ กลุ่ ม ที่ มี อำ � นาจในการ กระจายข่าวสาร เช่น สือ่ มวลชน แต่ในปัจจุบนั เมือ่ โลกได้ เข้าสู่ยุคเทคโนโลยี ยุคที่คนทั่วทุกมุมโลกสามารถสื่อสารติดต่อ กันได้ภายในเวลาไม่ถึง 1 นาที ทำ�ให้ผู้ส่งสารที่แต่ก่อนต้อง มาจากสื่ อ มวลชนหรื อ คนที่ มี ฐ านเสี ย งมาก กลายเป็ น ว่ า คนธรรมดาเพียงคนเดียวก็เป็นผู้ส่งสารได้ จากการสำ � รวจของ The Reuters Institute Digital พบว่าประชาชนชาวอังกฤษมากกว่า 43 เปอร์เซ็นต์ รับข้อมูลข่าวสารผ่านทางอินเทอร์เน็ต โดยผ่านช่องทางของ โซเชียลเน็ตเวิรก์ (Social Network) เช่น เฟซบุก๊ (Facebook) และ ทวิตเตอร์ (Twitter) ส่วนประชาชนทีเ่ หลืออีก 57% ยังคงรับข้อมูล ข่าวสารผ่านทางโทรทัศน์และหนังสือพิมพ์ จากข้อมูลข้างต้น แสดงให้เห็นว่า สือ่ ในยุคปัจจุบนั ถูกเทคโนโลยีอนิ เทอร์เน็ตเข้ามา แทรกแซง สื่อมวลชนกระแสหลักถูกลดบทบาทในการกำ�หนด ประเด็นข่าว อำ�นาจเริม่ ถูกถ่ายโอนไปอยูใ่ นมือของคนเกือบครึง่

ของโลกที่มีความสามารถในการเข้าถึงอินเตอร์เน็ต และจำ�นวน คนเหล่านีก้ ม็ แี นวโน้มจะเพิม่ ขึน้ เรือ่ ยๆ โดยมีการทำ�นายว่า ในปี ค.ศ. 2016 ประชากรราว 3 พันล้านคนของโลกจะกลายเป็นผู้ใช้ อินเทอร์เน็ต (ข้อมูลจาก insurance.com) ถ้ายังไม่เห็นภาพว่าสื่อมวลชนที่เคยเป็นผู้กำ�หนด ประเด็นข่าวสารถูกเปลี่ยนแปลงอย่างไร ขอยกตัวอย่างกรณี ‘คุณครูอังคณา’ ที่อยู่ดีๆ ชื่อนี้ก็ขึ้นหน้าหนึ่งหนังสือพิมพ์หลาย ฉบั บ สถานี ข่ า วเองก็ นำ � เรื่ อ งของคุ ณครู อั ง คณามานำ � เสนอ เมื่อมองตั้งแต่ต้นเรื่องจะพบว่า ‘คุณครูอังคณา’ เป็นชื่อที่เด็ก นักเรียนในคลิปคลิปหนึ่งเอ่ยถึง บังเอิญว่าคลิปนี้กลายเป็นเรื่อง ตลกเฮฮาของสังคมออนไลน์ ถูกแชร์ (share) ทั้งบนเฟซบุ๊กและ ทวิตเตอร์ จนยอดผูช้ มในยูทบู (Youtube) สูงขึน้ เรือ่ ยๆ มีคลิปทีท่ �ำ เลียนแบบตามมาอีกมาก เมื่อกระแสของคลิปโด่งดังและเป็น ที่วิพากษ์วิจารณ์ สื่อมวลชนหลักอย่างโทรทัศน์ - วิทยุ และ หนังสือพิมพ์ จึงจับมาเป็นประเด็นนำ�เสนอ มีการสัมภาษณ์ คุณครูอังคณาและติดตามเรื่องราวของ ‘น้องโต๊ด’ คนอัดคลิป จุดเริ่มต้นของข่าวนี้จึงพูดได้ว่ามาจากมวลชนบนโลกออนไลน์ ที่ผลักดันให้เรื่องบางเรื่องกลายเป็นกระแส อี ก กรณี คื อ ‘คลิ ป น้ อ งก้ อ ง’ จากเว็ บ ไซต์ ยู ทู บ เช่ น เดี ย วกั น โดยในคลิ ป น้ อ งก้ อ งเลี ย นแบบท่ า ทางการ ร้องเพลงของ ‘หวาย ปัญญริสา’ ศิลปินค่ายกามิกาเซ่ (KAMIKAZE) ในเครืออาร์เอส (RS) ในเพลง ‘เสียใจแต่ไม่แคร์’ เมื่อคลิปนี้ ถู ก เ ผ ย แ พ ร่ ป ร ะ ช า ช น อ อ น ไ ล น์ ใ น ท วิ ต เ ต อ ร์ แ ล ะ เฟซบุ๊ ก นอกจากจะสนุ ก สนานเฮฮาไปกั บ คลิ ป แล้ ว บ า ง ส่ ว น ก็ นำ � ม า วิ พ า ก ษ์ วิ จ า ร ณ์ ถึ ง ค ว า ม เ ห ม า ะ ส ม และประเด็ น เรื่ อ งเพศ เนื่ อ งจากตั ว น้ อ งก้ อ งเองนั้ น อายุ ยั ง ไม่ ม ากแต่ มี อ าการออกไปทางตุ้ ง ติ้ ง จึ ง ถู ก เพ่ ง เล็ ง จากคน จำ � นวนหนึ่ ง ท้ า ยที่ สุ ด สื่ อ มวลชนกระแสหลั ก ได้ ห ยิ บ เรื่ อ ง น้องก้องไปรายงานข่าว เชิญน้องก้องไปออกรายการโทรทัศน์ และสืบสาวเรือ่ งราวทีม่ าของคลิปนี้ แม้วา่ จะยังไม่มบี ทสรุปของ ประเด็นเรื่องเพศ แต่ผู้ที่ได้ประโยชน์และความโด่งดังจากโลก ออนไลน์ก็คือตัวน้องก้องเอง เพราะในเวลาต่อมา น้องก้องได้ กลายเป็นพรีเซนเตอร์ของ Gmember ของค่ายเพลง จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ (GMM Grammy) สิง่ ทีก่ ล่าวข้างต้นเป็นการเสนอแนวคิดว่า ในปัจจุบนั ผู้ส่งสารได้เปลี่ยนแปลงไป ทุกคนสามารถกลายเป็นผู้ส่งสาร และทำ�ให้เกิดกระแสและประเด็นในสังคมได้ หรือกลุ่มคนแค่ ไม่เท่าไหร่ก็สามารถสร้างแรงผลักดันให้เกิดสิ่งใดสิ่งหนึ่งได้ เพราะฉะนัน้ ถึงเวลาแล้วทีเ่ ราควรจะรูเ้ ท่าทันความเปลีย่ นแปลง บนหน้าสื่อ จากเดิมที่เราชมโทรทัศน์และอ่านหนังสือพิมพ์ด้วย ความไว้วางใจว่าจะมีการกรองข้อมูลและประเด็นเนือ้ หาทีส่ �ำ คัญ กับชีวติ เรามานำ�เสนอ แต่ในยุคนีท้ เี่ ราสามารถรับข่าวสารจำ�นวน มากได้โดยตรงบนอินเทอร์เน็ต เราจึงต้องกลายเป็นบรรณาธิการ ผู้กรองข้อมูลเสียเอง แม้กระทั่งสื่อหลักก็ลดระดับตัวเองลงมา เกือบจะเคียงบ่าเคียงไหล่กับเรา เพราะนักข่าวหลายคนก็ ‘เล่น ท่าง่าย’ หาข้อมูลจากในโซเชียลเน็ตเวิร์กมารายงาน!! -

‘กามาชีพ’

ช้างยังไม่ตายแต่เอาใบบัวมาปิด ศิวพร ว่องไชยกุล

ชอร์ร่ี สามโคก, น้องจ๊ะ คันหู, โคโยตีง้ านวัด, เซ็กซีส่ ตาร์, พริตตีน้ วดสปา, เด็กนัง่ ดริงก์ ไล่เรือ่ ยไปจนถึงโสเภณี เหล่านี้ คงเป็นคนหรือคำ�ทีไ่ ด้ยนิ บ่อยๆ หากจะกล่าวถึง ‘กามาชีพ’ อันหมายถึงอาชีพทีเ่ กีย่ วข้องกับการบำ�รุงบำ�เรอกามารมณ์ หากมองไปรอบตัว กามาชีพ คงหาได้ไม่ยากนัก เราอาจเห็นป้ายโฆษณางานเทศกาลที่จะมีวงโคโยตี้มาเปิดการ แสดง เราอาจเห็นเบอร์โทรฯ ร้านสปาพริตตี้บนหน้าเว็บไซต์ที่ไหนสักแห่ง เห็นประกาศรับสมัครเด็กนั่งดริงก์ขาวสวย หมวยอึ๋ม กระทู้เว็บบอร์ดประกาศหาสาวมาเป็นเด็กเสี่ย และอีกมากมายที่แฝงอยู่ตามจุดต่างๆ โดยที่เราอาจไม่ใส่ใจ กามาชีพเหล่านีเ้ ติบโตแปรรูปแบบออกไปและขยายจำ�นวนมากขึน้ หากคิดตามหลักเศรษฐศาสตร์แล้ว การทีม่ อี ปุ ทานเพิม่ เป็นไปได้ว่าเกิดจากการที่อุปสงค์เพิ่มก่อน ดังนั้น เราคงสรุปได้ว่า กลุ่มลูกค้าของกามาชีพกำ�ลังขยายฐานเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ด้วยรูปแบบที่ต่างกันเหล่านั้นเอง ในปีพศ.2536 หนังสือพจนานุกรมภาษาอังกฤษและวัฒนธรรม (Dictionary of English Language and Culture) ของสำ�นักพิมพ์ Longman เคยบัญญัติความหมายของคำ�ว่า Bangkok ไว้ว่า “กรุงเทพฯ เมืองท่าและเมืองหลวงสำ�คัญของ ประเทศไทย มีวัดวาอารามและสิ่งก่อสร้างสวยงามอื่นๆ ที่มีชื่อเสียงมากมาย และบ่อยครั้งที่เมืองนี้ถูกกล่าวขานว่าเป็น สถานที่ซึ่งมีโสเภณีจำ�นวนมาก” กรมตำ�รวจจึงอาศัยอำ�นาจตามพรบ.การพิมพ์ พ.ศ.2484 ห้ามสั่งหรือนำ�เข้าพจนานุกรม ฉบับนี้เข้ามาในประเทศไทย เนื่องจากเป็นการขัดต่อศีลธรรมอันดีของประชาชน สิ่งที่เกิดขึ้นนี้สะท้อนถึงความพยายาม ปิดบังประชาชนไม่ให้เห็นภาพลักษณ์ของประเทศตัวเองในสายตาชาวโลก ทั้งที่มันคือความจริงที่เราควรตระหนักและ คิดหาหนทางแก้ไขหากเราไม่ต้องการให้มันเป็นเช่นนั้นมากกว่าจะหลีกหนีและไม่รับรู้เหมือน ‘ช้างตายทั้งตัวเอาใบบัว มาปิด’ แต่สังคมไทยส่วนใหญ่ก็ยังเลือกที่จะมองแต่ตรงใบบัวและทำ�เป็นไม่เห็นช้างที่โผล่พ้นออกมา เวลาผ่านไปเกือบ 20 ปี ปัจจุบันมีอะไรที่เปลี่ยนไปบ้าง เมืองไทยยังคงเป็นเมืองแหล่งท่องเที่ยวยามราตรี เช่ นเดิ ม กามาชี พ ทั้ ง หลายดั ด แปลงตั ว เองให้ เข้ า กั บยุ ค สมั ย หางเครื่ อ งวงลู กทุ่งถูกแทนที่ด้วยโคโยตี้เ ต้นยั่วยวน อาบ อบ นวด ถูกแปลงชื่อเป็นสปาพริตตี้ ไม่ต้องรอให้ครบปีเพื่อซื้อปฏิทินปลุกใจเสือป่าแต่ซื้อได้ทุกเดือนตามแผง นิตยสาร หรือแค่เปิดอินเทอร์เน็ตดูก็ยังได้ แต่สิ่งหนึ่งที่ไม่เคยเปลี่ยนไปเลย คือใบบัวบนตัวช้าง เรายังคงไม่ยอมรับเรื่องทางเพศว่าเป็นเรื่องธรรมชาติ และกามาชีพก็คืออาชีพที่ตอบสนองธรรมชาติ เราไม่ ยอมรับว่าประเทศไทย (ที่เราตีตราไว้ว่าเป็นเมืองพุทธ) เป็นประเทศที่เต็มไปด้วยกามาชีพมากมาย เราปฏิบัติตัวต่อ ชาวโลกดั่งว่าเราไม่รู้ไม่เห็นอะไร ทั้งที่คนทั้งโลกเห็นแหล่งท่องเที่ยวยามราตรีเป็นชื่อเสียงอันดับหนึ่งเมื่อพูดถึง ประเทศไทย ความลักลั่นย้อนแย้งในเรื่องเพศของสังคมนี้คือต้นตอที่มาของปัญหา เรารณรงค์ให้วัยรุ่นปฏิเสธการมี เพศสัมพันธ์แทนทีจ่ ะเน้นการใช้ถงุ ยางอนามัยป้องกันการตัง้ ครรภ์ไม่พงึ ประสงค์ ทัง้ ทีเ่ ราก็รอู้ ยูเ่ ต็มอกว่าวัยรุน่ สมัยนีเ้ ริม่ ทดลองมีเพศสัมพันธ์กันตั้งแต่ยังอยู่มัธยมต้น เราพยายามเซ็นเซอร์สิ่งล่อแหลมทุกอย่างในโทรทัศน์ ขณะที่วงโคโยตี้ เปิดแสดงกันในงานบุญของวัด มีลกู เล็กเด็กแดงเดินไปมาหน้าเวที เราประณามคนทีน่ งุ่ น้อยห่มน้อยในชีวติ จริง แต่ดารา ค่าตัวแพงอันดับหนึ่งของไทยกลับเป็น อั้ม พัชราภา ไชยเชื้อ เซ็กซี่สตาร์แห่งวงการ ในสังคมทีก่ �ำ ลังเปลีย่ นแปลงแถมยังเร่งจังหวะความเร็วขึน้ ด้วยเทคโนโลยี การเข้าถึงสิง่ ต่างๆช่างง่ายดาย การ จะเอาใบบัวปิดช้างต่อไปคงทำ�ไม่ได้เสียแล้ว จะเป็นการดีกว่าหรือไม่หากเราจะยอมรับการมีอยู่จริงของ ‘กามาชีพ’ และ ทำ�ความเข้าใจกลุ่มคนในสายอาชีพเหล่านี้ให้มากขึ้น บางอาชีพที่มีมากแต่กลับอยู่ในมุมมืดอย่าง ‘โสเภณี’ เราอาจจะ ต้องเปลี่ยนความคิด คำ�นึงถึงความปลอดภัยของผู้ประกอบอาชีพและผู้รับบริการก่อนไปพิจารณากรอบแนวคิดเรื่อง ศีลธรรมอันดีงาม เพราะทุกวันนีก้ ามาชีพได้ขยายวงกว้างจนเกินจะหยุดยัง้ หรืออาชีพนางแบบนูด้ ก็กลายเป็น ดาบสองคม หมิ่นเหม่ระหว่างศิลปะกับการยั่วยุทางเพศ ถึงเวลาหรือยังที่สังคมจะต้องเปิดกว้างเพื่อทำ�ความเข้าใจนิยามของศิลปะ สามารถใช้วจิ ารณญาณส่วนบุคคลในการตัดสิน มากกว่าแค่กน่ ด่าเหมารวมทุกผลงานให้เป็นมารทางจริยธรรมไปเสีย

ความดัดจริตของสังคม....ถึงเวลาเปลี่ยนหรือยัง?

MAINCOURSE

S O C I A L 10

11


ความดีงามคือการปกปิด “ความเสื ่อมเสียคือการเปิดเผย

แท้จริงแล้วความเสื่อ มเสียที่ ว่า อาจเป็ น เรื่ องปกติ ธ รรมดาที่ ผู้คนต่างพยายามปฏิเสธกันเองว่ามันไม่ควรมีอยู่จริง อาชีพ ขายความงามของเรือนร่างอย่างอาชีพ ‘นางแบบนูด้ ’ ในทัศนคติ ของสังคมไทย คืออาชีพแห่งความเสือ่ มเสีย ควรดูถกู และผลงาน เป็นของน่าเกลียด ‘กามาชีพ’ ไม่ควรมีอยู?่ หรือความดัดจริตของ สังคมกันแน่ที่ควรถูกกำ�จัด? ค้นหาความเป็นไปในอีกด้านของ อาชีพทีเ่ ป็นมากกว่าภาพถ่าย จากเสียงของ ‘นางแบบนูด้ ’ ทีเ่ ลือก ทางเดินอาชีพอันสุจริตของตัวเองด้วยวามสุขและความภูมิใจ ‘มินนี่ สุคนธ์ฑา ศรีวงศ์’

ที่ไหน” (คนพูดเป็นใคร?) เป็นคนอื่นรอบๆ ข้าง พูดกรอกหูให้ คนในครอบครัวฟังบ่อยๆ สังคมแห่งการติฉนิ นินทา อาจเป็นพวก ทำ�ไมถึงตัดสินใจถ่ายนู้ด และ เปลือยท่อนบน (Topless)? ขีอ้ จิ ฉา แต่ทกุ วันนีก้ ไ็ ม่เห็นเป็นอะไร ครอบครัวรับได้ มีความสุขดี ก็แรกๆ คิดว่าถ่ายธรรมดามันไม่แจ้งเกิดในวงการ ถ้าจะเกิด มีพวกคัดค้านก็มพี วกสนับสนุน เราเลือกฟังพวกสนับสนุนดีกว่า ให้มันไวขึ้น เราก็น่าจะลองเสี่ยงดูดีกว่า ถ้าถ่ายออกมาแล้ว เพราะมันเป็นอาชีพของเรา ทางเราเลือกเอง ไม่ตอ้ งไปขอใครกิน มันเสียก็ปล่อยมันไป แต่ถ้ามันดีขึ้นมันก็ดี เราก็ได้ผลตอบแทน ไม่ได้ผิดกฎหมายอะไรด้วย กลับมาเยอะ คิดจะยึดอาชีพนางแบบเป็นอาชีพหลักต่อไปไหม? รายได้ระหว่างงานถ่ายแบบ บิกินี กับ Topless มีความแตกต่างกัน ก็ ค งจะไม่ ค่ ะ เพราะวั น ใดวั น หนึ่ ง เราแก่ ตั ว ขึ้ น มา ก็ มี ค ลื่ น มากแค่ไหน? ลูกใหม่เข้ามาแทน (ได้วางแผนอาชีพในอนาคตหลังจากงานถ่าย แล้วแต่วา่ มีผลงานมามากน้อยแค่ไหน ถ้ามีผลงานน้อย ประเภท เซ็กซี่ ธรรมดาอยูท่ ปี่ ระมาณ 3,000 - 4,000 บาท ถ้าเป็น Topless ไปเลยอยู่ที่ประมาณ 6,000 - 8,000 บาท นู้ดประมาณ 9,000 -15,000 บาท ขึ้นอยู่กับแต่ละงานด้วย ถ้ามีผลงานมากก็จะ เพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัวเลยทีเดียว

ทัศนคติของตัวเองที่มีต่ออาชีพนางแบบนู้ด มินมองอาชีพนี้อย่างไร? โดยส่วนตัว เรามองว่ามันเป็นศิลปะและไม่ได้เสียหายอะไร แต่ การถ่ายแบบส่วนมากเป็นแนวไหน?? ก็จะเป็นพวกเซ็กซี่, บิกินี แนวคลาสสิกหน่อย ถ้าแนวเท่ไปเลย มันเป็นเหมือนดาบสองคม ในสายตาคนรอบข้าง บางคนมอง ที่ชอบก็คือถ่ายนู้ดบนมอเตอร์ไซค์ เพราะโดยส่วนตัวเราชอบ แง่หนึ่ง บางคนจะมองอีกแง่ ถ้ามีหัวศิลปะจริงๆ เขาจะมองว่า มันเป็นสิง่ สวยงาม ไม่ได้ดทู เี่ รือนร่างนางแบบแล้วไปคิดไม่ดี แต่ Superbike, Big Bike และก็ขับอยู่แล้วด้วย ดูความสวยงามของส่วนโค้งส่วนเว้า ที่ดูแล้วมันเพลิน มันสบาย ตา แต่ถ้าบางคนคิดไม่ดีจะมองว่ามันน่าเกลียด ไม่เหมาะสม เริ่มต้นอาชีพนางแบบได้อย่างไร? ก็จับพลัดจับผลูได้ตั้งแต่ประมาณปีที่แล้ว เริ่มจากเราเล่นเว็บ นี่ทำ�อะไรอยู่ แต่โดยส่วนตัวเรามองว่ามันเป็นศิลปะอย่างหนึ่ง เล่น Facebook เรื่อยเปื่อย พอดีมีตากล้องมาติดต่อถามว่า “อยากถ่ายรูปไหม” เราก็คิดว่า ไอ้เราหน้าตาก็ไม่สวย ไม่ได้หุ่น แล้วคิดว่าทัศนคติของสังคมไทยในปัจจุบันต่ออาชีพนางแบบนู้ด นางแบบ คือนางแบบที่เราคิดภาพไว้น่าจะสูง หุ่นดี สวย อะไร เป็นอย่างไร? แบบนี้ แล้วเราเองไม่ได้มีข้อนั้นเลย แต่ช่างภาพมาติดต่อถ่าย ส่ ว นมากจะมองว่ า เป็ น เรื่ อ งเสื่ อ มเสี ย อย่ า งเราเคยโดน เราก็โอเค ลองถ่ายเล่นๆ ดู เผื่อมีรูปสวยๆ ติดกระเป๋าไว้ ไม่รู้เป็น นินทาโดนประณาม แต่ไม่ค่อยสนใจอะไร (คนพูด เขาพูดว่า เพราะฟลุก้ หรือเปล่า เริม่ มีตากล้องมาติดต่อถ่ายอีก ครัง้ แรกๆ ก็ อย่ า งไรบ้ า ง?) เขาก็ บ อกว่ า “มาถ่ า ยอะไรน่ า เกลี ย ดแบบนี้ ถ่ายฟรีทำ�เป็น Profile พอมากขึ้นเรื่อยๆ ก็เริ่มคิดเรต ถามเราว่า เสียหายต่อวงศ์ตระกูล ถึงหูพ่อแม่ถ้ามาเห็นจะเอาหน้าไปไว้ เราคิดเท่าไหร่ยังไง ช่วงแรกๆ ถ่ายนู้ดเลยหรือเปล่า? ถ่ายแค่เซ็กซี่กับบิกินีก่อน

ภาพประกอบ : Ryuke sky ขอขอบคุณ : สุคนธ์ฑา ศรีวงศ์ และ ชิณณิตา อิภะวัตนกุล

MAINCOURSE

MAINCOURSE 12 12

Y T I D U N R O F E S U C X E PLEASE

ธนภรณ์ สาลีผล

13

แบบบ้างไหม?) ก็คิดนะ อยากหาอาชีพมั่นคง คือเราอยากมีอู่ เราอยากเรียนช่างยนต์ เวลาได้อยู่กับเครื่องยนต์แล้วมีความสุข ว่ามีนางแบบหน้าใหม่เข้ามาเต็มไปหมด คงเพราะมันเป็นวิธีที่ (แล้วจะเป็นนางแบบถึงเมือ่ ไหร่?) ก็จนกว่าเราจะตัง้ เนือ้ ตัง้ ตัวได้ หาเงินง่าย แต่ละคนทีเ่ ข้ามาก็สวยๆ กันทัง้ นัน้ ในสังคมนางแบบ หรือจนกว่าคนดูเขาจะเบื่อเรา (หัวเราะ) เซ็กซี่ไม่มีใครว่าอะไรใครหรอกว่าจะทำ�ศัลยกรรมทำ�อะไรมา ทำ�โน่นนี่นั่นกับหน้าตาตัวเองได้ แค่สวยมาก็ได้เกิดแล้ว จากวันแรกถึงวันนี้ อาชีพและลักษณะการทำ�งานของนางแบบแนว เซ็กซี่เปลี่ยนแปลงไปมากน้อยแค่ไหน? อาชีพนางแบบเดี๋ยวนี้ไม่ได้ยากเหมือนเมื่อก่อนแล้ว โอกาสมี มากขึ้น คนก็แข่งขันกันมากขึ้น ขนาดเราทำ�มาปีกว่าเรายังรู้สึก

ในเมื่อการแข่งขันสูงขึ้นเรื่อยๆ มีวิธีรับมือกับการเปลี่ยนแปลงนี้ อย่างไร? ก็ต้องเปลี่ยนแนวตัวเอง คือพยายามทำ�ให้แนวที่สุดและไม่ซํ้า มากที่สุด ถ้าเน้นแนวใดแนวหนึ่งไปเลย ซํ้ามากไป คนจะเบื่อ แล้วหันไปจ้างนางแบบคนอื่น เพราะตัวเลือกมีเยอะ เราต้อง เริ่มคิดคอนเซ็ปต์เอง มองรอบตัวสิว่าทำ�คอนเซ็ปต์อะไรได้บ้าง (กลายเป็นว่านางแบบต้องเป็นคนคิดคอนเซ็ปต์เองด้วย ไม่ใช่ เป็นหน้าที่ของตากล้อง?) คือช่วยกันได้ก็ช่วยค่ะ ตากล้องก็มีรูป ไว้หากิน นางแบบก็มีรูปไว้หากินเหมือนกัน

ตอบกวนๆ หน่ อ ย “ไม่ ต้ อ งหรอก ตอนนี้ อ ยู่ ส บายแล้ ว ” บางคนมาตือ๊ ชวนกินข้าว ชวนดูหนัง ก็บอก “แฟนโหดค่ะ ไปไม่ได้ แฟนดุ” (แล้วแฟนรับได้ไหม?) ได้ๆ ต่างคนก็ต่างทำ�งานของ ตัวเอง

ความเสี่ยงในการทำ�งานมีมากน้อยแค่ไหน? มีความเสี่ยงสูงมาก ทั้งระหว่างการถ่ายและการเลือกรับงาน เช่นพวกที่อาจจะมาลวนลามตอนถ่าย หรือพวกงานหลอกลวง ต้มตุ๋น ไปทำ�อะไรไม่ดีก็มีเยอะแยะ เราก็ต้องรู้จักปฏิเสธ รู้จัก เลือกงาน อย่าขี้เกรงใจ ต้องรู้จักป้องกันตัวเอง อย่างเวลาถ่าย หลายคนมองว่า นางแบบถ่ายนู้ดกับการการขายบริการเป็นของคู่ ต้องไม่ไปคนเดียว จะมีเพื่อน, แฟนหรือใครสักคนตามไปด้วย กัน มินมองเรื่องนี้ยังไง? ตลอด นางแบบนูด้ กับการขายบริการ มันอยูท่ มี่ มุ มองคนและจิตสำ�นึก ของนางแบบ เพราะเรื่องแบบนี้เกิดขึ้นบ่อยมาก เคยมีคนมาพูด อาชีพนางแบบเป็นอาชีพที่ได้เงินง่ายและสบาย จริงไหม? อย่างนั้นนะ แต่เราก็ตอบไปว่า เรารับงานเป็นนางแบบได้อย่าง ไม่ จ ริ ง เลย งานนิ ต ยสารนี่ ถ่ า ยทั้ ง วั น ห้ า มกิ น ข้ า วกิ น นํ้ า เลย เดียว ไม่มีอย่างอื่น เรามีจรรยาบรรณ เรามีจิตสำ�นึกในการเป็น (ทำ�ไม?) สัดส่วนมันจะเสีย พุงออก ระหว่างถ่ายนี่คือกินอะไร นางแบบ พวกคุณแค่มีหน้าที่ดูก็พอ ไม่จำ�เป็นต้องแตะเนื้อต้อง ไม่ ไ ด้ เ ลย ที่ ทำ � ได้ ม ากสุ ด คื อ พอถ่ า ยเสร็ จ อมนํ้ า แข็ ง ได้ ตัว ไม่จำ�เป็นต้องถึงเนื้อถึงตัวอะไร แค่ดูเพื่อความสวยงามพอ ก้อนหนึง่ แต่ถา้ ออกทริปถ่ายภาพกับตากล้องสมัครเล่นก็ดหี น่อย ไม่ใช่ว่าดูแล้วจะมานั่งคิดอะไรไม่ดี สนุกสนานตามใจฉัน จะพักเมื่อไหร่ก็พักได้ เคยมีคนที่ติดต่อมาแบบ ‘แก่ ใจดี สปอร์ต กทม.’ ไหม? ฝากอะไรถึงสังคมไทยและคนจำ�นวนมาก ที่ยังมองว่าอาชีพถ่ายนู้ด มีค่ะ ก็เคยมีบางคนถามหยาบคายเลย “เป็นเด็กอ่างหรือเปล่า” เป็นเรื่องเลวร้ายและเสื่อมเสีย? เราก็ตอบ “ไม่ใช่ค่ะ เป็นนางแบบธรรมดานี่แหละ” ตอนแรกก็ จะบอกว่าอาชีพถ่ายนูด้ มันก็เป็นอาชีพหนึง่ ในสังคมนางแบบมัน ก็มีทั้งข้อดีและข้อเสีย ส่วนเรื่องผลงานมันก็อยู่ที่วิจารณญาณ ของแต่ ล ะคนแล้ ว ว่ า จะคิ ด ยั ง ไง หนั ง สื อ หรื อ การถ่ า ยแบบ แนวนี้ ก็เป็นแค่สื่อบันเทิงแบบหนึ่ง ให้ดูเพื่อความเพลิดเพลิน ไม่ได้ดูให้ต้องมานั่งวิจารณ์อะไรกันหนักหนา อยากให้คนอื่น ช่วยมองโลกกว้างกว่านี้นิดหนึ่ง เพราะสังคมมันก็เป็นแบบนี้อยู่ แล้ว อาชีพถ่ายนู้ดก็เป็นอาชีพหนึ่งที่สุจริต ไม่ได้เสียหายหรือ ผิดอะไร -


ก า ร ป ล ด ป ล่ อ ย สั ญ ช า ต ญ า ณจ า ก ข น บ อั น สู ง ส่ ง ฉัตรณรงค์ เมืองวงษ์

รู้จักโสเภณี คำ�ว่า ‘โสเภณี’ หมายถึง หญิงที่รับจ้างสำ�เร็จความ ใคร่ของผู้อื่น มีที่มาจากคำ�ว่า ‘หญิงนครโสเภณี’ (Prostitute) โดยราชบัณฑิตยสถานสันนิษฐานว่า นัยหนึง่ น่าจะมาจากการที่ หญิงพวกนีอ้ าศัยเมืองหรือนครเป็นทีห่ าเลีย้ งชีพ ส่วนอีกนัยหนึง่ นั้น ‘นครโสเภณี’ แปลว่า หญิงงามประจำ�เมือง หรือหญิงผู้ทำ� เมืองให้งาม ซึ่งเป็นที่มาของคำ�พ้องความอย่าง ‘หญิงงามเมือง’ ส่วน ‘กะหรี’่ นัน้ มาจากคำ�ว่า ‘โฉกกฬี’ ในภาษาฮินดี แปลว่า เด็ก ผู้หญิง มักใช้ในเชิงเอ็นดูคล้ายกับคำ�ว่า ‘อีหนู’ นั่นเอง จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์มากมายที่พอจะ ทำ�ให้ผู้ที่ ‘ใส่ใจ’ ศึกษาเชื่อได้ว่า โสเภณีในสมัยก่อนหาใช่สิ่ง ตํ่าช้าหรือน่ารังเกียจเช่นในปัจจุบันไม่ เช่น ชาวสลาฟโบราณ ถือว่าหญิงที่มีค่าจะต้องมีชายรักใคร่เสน่หามากและเคยร่วม ประเวณีมาก่อนสมรส ส่วนชาวอินเดียโบราณเชื่อว่าผู้หญิง จะมีความรู้สึกฝังใจอยู่กับชายคนแรกที่เธอร่วมประเวณีด้วย ดังนัน้ หญิงสาวจะยอมเสียพรหมจรรย์ให้กบั ชายต่างถิน่ ทีไ่ ม่รจู้ กั กันและจะไม่เจอกันอีกเพือ่ เป็นการบูชาจิตใจแก่เทวีเบือ้ งบนเสีย นอกจากนี้ ศาสนาพุทธนิกาย ตันตระ ก็มกี ารสร้างสถูปมากมาย ทีเ่ ป็นรูปผูช้ ายกับผูห้ ญิงสมสูก่ นั โดยอนุมานความหมายว่า เมือ่ หลอมรวมปัญญาและบารมีเข้าด้วยกันแล้วย่อมพบกับความสุข ที่หาได้ยากเหมือนพบจุดสุดยอด ทั้งนี้ ก็เพื่อให้ ‘นิพพาน’ เป็น สิ่งที่จับต้องและเข้าใจได้ง่ายสำ�หรับสาวกนั่นเอง ชวนคิด #1 : การค้าประเวณีและการร่วมเพศเป็นสิง่ ทีอ่ ยูต่ รงข้าม กับศีลธรรมจรรยาเสมอไปหรือไม่? ในยุคหนึ่ง จากโสเภณีเพื่อเหตุผลทางศาสนา คือ เป็นการร่วมประเวณีเพื่อบูชาความเชื่อทางจิตใจ ก็กลายมา เป็นโสเภณีเพื่อการค้าและการสะสมทรัพย์ แต่กระนั้น การ ขายบริการทางเพศก็ยังไม่ใช่เรื่องต้องห้ามในหลายวัฒนธรรม ทั่วโลก รวมทั้งสังคมไทยเองด้วย เห็นได้จากหลักฐานคำ�ศัพท์ ในสมัยกรุงศรีอยุธยามีอาชีพหนึ่งที่เรียกว่า ‘รับจ้างทำ�ชำ�เราแก่ บุรุษ’ เชื่อว่าเป็นการขายบริการทางเพศให้แก่ชาวตะวันตกที่ เข้ามาติดต่อค้าขาย เรือ่ ยมาจนกระทัง่ สมัยรัชกาลที่ 5 มีการตรา พระราชกำ�หนดลักษณะข่มขืนล่วงประเวณี ร.ศ.118 ที่ระบุ ชัดเจนว่า โสเภณีเป็นได้โดย ‘สมัครใจ’ เว้นแต่จะโดนบังคับหรือ ล่อลวงมาเท่านั้น ชวนคิด #2 : การค้าประเวณีขัดต่อวัฒนธรรมอันดีงามทีส่ บื ทอด กันมาช้านานของไทยที่มักกล่าวอ้างกันอย่างสวยหรูหรือไม่? นอกจากนี้ นักวิชาการด้านเศรษฐศาสตร์สมัยใหม่ หลายคนในปัจจุบัน เช่น Lena Edlund และ Evelyn Korn ได้ชี้ ให้เห็นว่าหากจะเข้าใจ ‘โสเภณี’ ตามคำ�นิยามของพจนานุกรม ทั่วๆ ไปอาจทำ�ให้มีปัญหาเรื่องการตีความ ‘โสเภณี’ ในทฤษฎี แบบจำ � ลองตลาดการแต่ ง งาน หรื อ Model of Marriage Market ได้ เนือ่ งจากในทางเศรษฐศาสตร์ ไม่ใช่แค่โสเภณีเท่านัน้ ที่ เลือกนอนกับผูช้ ายเพือ่ ผลตอบแทนเป็นสินจ้างรางวัลเท่านัน้ แต่ ข้อเท็จจริงพบว่า การเป็น ‘ภรรยา’ ก็เป็นแหล่งรายได้ส�ำ คัญของ เพศหญิงทีไ่ ม่ใช่โสเภณีเช่นกัน ไม่วา่ ภรรยาหรือโสเภณีตา่ งก็นอน กับผูช้ ายเพือ่ ‘ผลตอบแทน’ ทัง้ คู่ เมือ่ เป็นเช่นนี้ คำ�นิยาม ‘โสเภณี’ ตามพจนานุกรมไม่สามารถแบ่งแยกระหว่างการเป็นโสเภณีหรือ การเป็นภรรยาตามปกติได้ ผลของค่านิยมแบบจัดตัง้ และการหนีความจริงของรัฐไทย อันที่จริง จุดเปลี่ยนที่ทำ�ให้มนุษย์กลายเป็นพวก

โลกสวยและมองการตอบสนองสัญชาตญาณตัวเองว่าเป็น เรื่องที่แย่เพิ่งเกิดขึ้นไม่นาน คือในปี 2492 สหประชาชาติได้ร่าง ‘อนุสัญญาฉบับรวม’ (Consolidated Convention) ที่มีเนื้อหา สาระเป็นการขจัดการค้าสตรีและการแสวงหาประโยชน์จาก หญิงโสเภณี เลิกการทำ�ให้การค้าประเวณีเป็นสิ่งถูกกฎหมาย และส่งเสริมการฝึกอาชีพแก่หญิงโสเภณีขึ้น ซึ่งประเทศไทยเอง ก็ได้เข้าร่วมเป็นรัฐภาคีแห่งอนุสญ ั ญานีแ้ ละออกกฎหมายหลาย ฉบับที่ทำ�ให้โสเภณีกลายเป็นอาชีพที่ ‘ผิดกฎหมาย’ ปัจจุบัน คือ พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้าประเวณี พ.ศ. 2539 ชวนคิด #3 : เมือ่ การทำ�ให้โสเภณีผดิ กฎหมายไม่ได้มาพร้อมกับ นโยบายพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ทไี่ ด้ผล เราได้ประโยชน์มากขึน้ กว่าก่อนหน้านั้นหรือไม่? แน่นอนว่ากฎหมายที่สวนทางกับสัญชาตญาณของ มนุษย์ย่อมควบคุมอะไรไม่ได้ ในช่วงสงครามเวียดนาม การค้า ประเวณีกลับมาแพร่หลายอีกครั้ง โดยเป็นการขายบริการทาง เพศให้กับทหารอเมริกันในรูปแบบของ ‘เมียเช่า’ เมืองท่องเที่ยว กระฉ่อนโลกอย่าง ‘พัทยา’ ก่อกำ�เนิดขึ้นก็เพื่อการนี้เช่นกัน และ แม้กระทัง่ ในปัจจุบนั ปัจจัยหลักทีด่ งึ ดูดนักท่องเทีย่ วต่างชาติให้ ไหลมาเทมาเทีย่ วพัทยาก็ไม่ใช่ทอ้ งทะเลงดงามหรือวัดวาอาราม สวยหรู หากแต่เป็นบริการสนองกำ�หนัดหลากหลายรูปแบบที่มี อยู่เกลื่อนเมือง ไม่ใช่แค่พัทยา ตามเมืองใหญ่ๆ อย่าง ‘กรุงเทพฯ’ หรือ ‘ภูเก็ต’ เราก็สามารถพบเห็นโสเภณีได้ทั่วไป และคนไทยที่ มีแนวคิด ‘เปิดกว้าง’ พอหลายๆ คนก็คงตีความออกได้ไม่ยากว่า การติดอันดับ ‘เมืองสำ�หรับเทีย่ วกลางคืน’ หรือ ‘เมืองสำ�หรับชาย โสด’ อยูบ่ อ่ ยครัง้ ตามสือ่ ต่างประเทศของไทยคงหนีไม่พน้ เหตุผล เรื่องการเข้าถึงบริการทางเพศทั้งโดยตรงและแบบแอบแฝงมา กับธุรกิจอาบ อบ นวดได้อย่างง่ายดายและประหยัด แต่เรื่อง เหล่านีก้ ลับกลายเป็นสิง่ ทีส่ งั คมไทยโดยเฉพาะภาครัฐในปัจจุบนั พยายามหลอกตัวเองกดทับเอาไว้เช่นเดียวกับอีกหลายๆ เรื่อง การปกปิดซ่อนเร้นและหลอกตัวเองของสังคมไทย เช่นนี้นำ�มาซึ่งปัญหาต่างๆ มากมาย หญิงโสเภณีส่วนใหญ่ขาด คุณภาพชีวิตที่ดี รายได้ไม่แน่นอน ไม่มีระบบสวัสดิการของ รัฐเพราะไม่ถือว่าเป็นอาชีพสุจริต ต้องเสี่ยงกับการติดโรคทาง เพศสัมพันธ์ เช่น เอดส์ ซิฟิลิส หนองใน โดยไม่มีมาตรการการ ดูแลรักษาที่ถูกต้องจากหน่วยงานทางด้านสุขภาพ บางราย เข้าไปพัวพันกับ ‘แก๊งค์ผู้มีอิทธิพล’ ในพื้นที่ ถูกบังคับให้ทำ�งาน หนักโดยไม่ได้พักผ่อนจนต้องใช้ ‘ยาเสพติด’ เป็นที่พึ่ง เสียค่า นายหน้าจนรายได้ไม่พอยังชีพ จะขอความช่วยเหลือจากตำ�รวจ ของรัฐก็ไม่ได้ เพราะนัน่ หมายถึงเธอเองก็จะถูกจับไปด้วย บางราย ตั้งครรภ์โดยไม่พึงประสงค์ ต้องไปทำ�แท้งหรือไม่ก็ปล่อยให้เด็ก เกิดมาโดยทีไ่ ม่พร้อมจะดูแล เมือ่ เด็กเหล่านัน้ ขาดการเลีย้ งดูและ การศึกษาที่เหมาะสมตามวัย โสเภณีก็กลายเป็นทางเดินสาย ‘บังคับ’ ทีพ่ วกเขาจะต้องเลือก เกิดเป็น ‘วงจรอุบาทว์’ ขึน้ ในหลืบ มุมหนึง่ ของสังคม เป็นวงจรของกลุม่ คนทีไ่ ม่ได้รบั ความสนใจมาก ไปกว่าถ้อยคำ�ดูถูกเหยียดหยามและการปฏิบัติเยียงพลเมือง ชั้นล่างสุดต่อพวกเขา ชวนคิด #4 : ปัญหาต่างๆ เกี่ยวกับโสเภณีเหล่านี้ถูกทำ�ให้ซับ ซ้อนและแก้ไขยากมากขึน้ โดยตัวโสเภณีเองหรือระบบกฎเกณฑ์ ของรัฐ?

อย่างน้อย ‘ทำ�อะไรสักอย่าง’ อย่างจริงจังต่อประเด็นดังกล่าวบ้าง การทำ � ให้ โ สเภณี ถู ก กฏหมาย หรื อ Legalized Prostitution นั บ เป็ น หนทางหนึ่ ง ที่ ค นไทยจำ � นวนหนึ่ ง และ NGOs กำ�ลังให้ความสนใจ เชื่อกันว่าวิธีการนี้ก่อให้เกิดผลดีต่อ โสเภณีไทยและสังคมไทย กล่าวคือ หากมีการกำ�หนดให้โสเภณี เป็น ‘อาชีพ’ หนึง่ ทีถ่ กู ต้องตามกฎหมาย สิง่ ทีต่ ามมาคือ จะมีการ คัดกรอง การกำ�หนดอายุขั้นตํ่า และการออกใบอนุญาตของ ผูป้ ระกอบอาชีพ ซึง่ ช่วยลดปัญหาการละเมิดสิทธิเด็กและสตรีได้ ขณะเดียวกัน ระบบสวัสดิการทางสุขภาพและการให้ความรู้ ทางเพศศึกษาแก่ผู้ประกอบอาชีพนี้อย่างเพียงพอจะช่วยลด ปัญหาโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์และอาชญากรรมทางเพศ นอกจากนี้ รั ฐ เองก็ ไ ด้ ป ระโยชน์ เ ช่ น กั น ทั้ ง จากการเก็ บ ภาษี โสเภณีและสถานบริการทางเพศต่างๆ ได้อย่างเปิดเผย สามารถ ควบคุมคุณภาพการบริการ ดูแลคุ้มครองสิทธิผู้บริโภคหรือ ผูใ้ ช้บริการ ตัดท่อนํา้ เลีย้ งของกลุม่ อิทธิพล ลดอัตราการว่างงาน ตลอดจนเป็นช่องทางหารายได้เข้าประเทศได้อีกทางหนึ่งด้วย สำ � หรั บ ข้ อ โต้ แ ย้ ง ที่ ว่ า การทำ � Legalized Prostitution หรือ การทำ�ให้โสเภณีถูกกฎหมายจะยิ่งส่งเสริม ให้มีโสเภณีมากขึ้นนั้นไม่ใช่ความจริงเสียทั้งหมด เนื่องจาก การต้ อ งต่ อ สู้ ดิ้ น รนภายใต้ ผื น พรมของกฎหมายและสั ง คม ทำ � ให้ ผู้ ป ระกอบอาชี พ นี้ ต้ อ งทำ � งานหนั ก มากยิ่ ง ขึ้ น การหา สมาชิกเพิ่มจึงทำ�กันอย่างต่อเนื่องอยู่แล้ว ดังนั้น การแห่เข้า มาประกอบอาชีพโสเภณีของผู้หญิงที่ตกงานอาจเกิดขึ้นได้ใน ช่ ว งแรกๆ ของการเปลี่ ย นแปลงเท่ า นั้ น แต่ ใ นระยะยาว แล้ว หากอาชีพนี้ถูกกฎหมายและได้รับการคุ้มครองที่ดีจาก ภาครั ฐ อาจจะยิ่ ง ช่ ว ยจำ � กั ด ผู้ ป ระกอบอาชี พ ที่ ข าดความ รับผิดชอบไปได้ และทำ�ให้โสเภณีเป็นอาชีพทีต่ อ้ งแข่งขันกันตาม ระบบตลาด คือ เน้นคุณภาพมากกว่าปริมาณ เปิดตามองโลก นี่ไม่ใช่เรื่องใหม่ในสังคมโลก หลายๆ ประเทศได้ ‘ปลดแอก’ ทางกฎหมายให้แก่อาชีพโสเภณีกันไปแล้วมากมาย รวมแล้วอย่างน้อย 65 ประเทศทั่วโลก ส่วนใหญ่อยู่ในยุโรปและ อเมริกาใต้ ซึง่ มักจะกำ�หนดให้การค้าประเวณีถกู กฎหมายแต่การ ล่อลวงมาเพือ่ ค้าประเวณีนนั้ ยังผิดกฎหมายอยู่ ส่วนรายละเอียด อื่นๆ นั้นแตกต่างกันไปตามแนวคิดและวัฒนธรรม เช่น โสเภณี ในบางประเทศจำ�เป็นต้องรายงานตัวเพื่อรับการตรวจสุขภาพ ประจำ�ปี ซึ่งในบางประเทศกลับมองว่าเป็นการละเมิดสิทธิ มนุษยชน เป็นต้น ชวนคิด #5 : ประเทศไทยควรทำ� Legalized Prostitution หรือไม่ และกฎหมายโสเภณีที่เหมาะสมกับสังคมไทยควรเป็นอย่างไร?

ตั ว อย่ า งประเทศที่ ป ระสบความสำ � เร็ จ จาก Legalized Prostitution คงหนีไม่พ้นประเทศอย่างออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ สวิตเซอร์แลนด์ มลรัฐเนวาดาของสหรัฐอเมริกา และโดยเฉพาะอย่ า งยิ่ ง ‘เนเธอร์ แ ลนด์ ’ ดิ น แดนกั ง หั น อั น เป็นต้นแบบที่ดีของโสเภณีถูกกฎหมายของนานาชาติ ที่นั่น มีการขึ้นทะเบียนโสเภณี ออกใบอนุญาตทำ�งาน จัดสรรพื้นที่ ที่รู้จักในในนาม Red Light District ให้โดยเฉพาะ เก็บภาษี ให้ความรู้ ตรวจสุขภาพประจำ�ปี และอื่นๆ อีกมากมาย เรียก ได้ ว่ า ‘ครบวงจร’ และมี คุ ณ ภาพอย่ า งมาก อย่ า งไรก็ ต าม ปั ญ หาต่ า งๆ ที่ มี ก่ อ น Legalized Prostitution ในแดน ทุ่งทิวลิปก็ไม่ได้หมดไป 100% เสียทีเดียว เพียงแต่ลดจำ�นวน โสเภณีถูกกฎหมาย และความรุนแรงลงเท่านั้น ซึ่งก็ดีกว่าการพยายาม ‘เหยียบ’ สถิติหลายตัว อาทิ จากศูนย์พิทักษ์สิทธิเด็ก ทำ�ให้ โสเภณีให้จมมิดลงไปเรื่อยๆ โดยไม่ทำ�อะไรเลยอย่างในหลายๆ เราเห็นแนวโน้มว่าจำ�นวนผู้ที่เข้าสู่อาชีพโสเภณีสูงขึ้นเรื่อยๆ ประเทศ ในแต่ละปี นั่นหมายถึง ‘ปัญหาใต้พรม’ ทั้งหมดกำ�ลังเพิ่มขึ้น ชวนคิด #6 : หากประเทศไทยทำ� Legalized Prostitution แล้ว เป็นทวีคูณหากยังไม่มีการแก้ไข ประกอบกับผลการสำ�รวจของ จะสัมฤทธิ์ผลได้อย่างเนเธอร์แลนด์หรือไม่? สวนดุสิตโพล เมื่อปี 2547 ก็แสดงให้เห็นว่าคนไทยรวมแล้วกว่า 58.11 เปอร์เซ็นต์ มองการทำ�ให้ถกู กฎหมายสำ�หรับโสเภณีไปใน เราจะเห็นได้วา่ โลกใบนี้ ‘เปลีย่ นแปลง’ เสมอไม่วา่ จะ เชิงบวกหากมีการวางแผนที่ดีและกระทำ�อย่างรัดกุม ณ บัดนี้ เรื่องไหน ประเด็นใด เรื่องโสเภณีก็เช่นเดียวกัน สำ�หรับเรื่องของ จึ ง น่ า จะถึ ง เวลาแล้ ว ที่ ภ าครั ฐ ต้ อ งเอาใจใส่ แ ก้ ปั ญ หา หรื อ หญิงผู้ขายการปรนเปรอทางเพศแลกเงินอย่าง ‘โสเภณี’ ทั่วโลก

ตอนนีม้ แี นวโน้มทีก่ �ำ ลังเปลีย่ นแปลงทัง้ ทัศนคติและกฎหมายให้ สอดคล้องกับ ‘สัญชาตญาณ’ เดิมของมนุษย์ที่ถูกแสร้งหลงลืม กันมานาน แน่นอนว่าสำ�หรับประเทศไทย เราอาจจะยังไม่พร้อม ในวันนี้ ตอนนี้ หากแต่นี่ไม่ใช่เรื่องของความพร้อม Legalized Prostitution เป็นเรือ่ งของการเริม่ ขยับตัว ลุกขึน้ ก้าวเดิมตามโลก กล้าที่จะเปลี่ยน และยอมรับความจริง ...การจะรั ก ษาสิ ว บนใบหน้ า ให้ ไ ด้ ผ ลย่ อ มต้ อ ง ทำ�ความสะอาดเครื่องสำ�อาง ลบแป้งรองพื้นออกให้หมด แล้ว จึ ง ทายาหรื อ ปรึ ก ษาแพทย์ ต่ อ ไปได้ ฉั น ใดก็ ฉั น นั้ น การแก้ ปัญหาสังคมอันเกิดจากการค้าประเวณีย่อมต้องเริ่มจากการ ปรับเปลี่ยนทัศนคติของคนในสังคมให้ถูกต้องเสียก่อน การ เปลี่ยนระเบียบกฎเกณฑ์ต่างๆ จึงจะมีประสิทธิภาพ... -

ร้านอินเทอร์เน็ต ช่องทางฮิตหาสามีฝรั่งของสาวอีสาน

รัตนาภรณ์ ทานนํ้า

ไม่ว่าจะกี่ปีผ่านไปความนิยมในเรื่องสามีฝรั่งสำ�หรับ สาวๆ ก็ไม่เคยจะตกกระแสไปเลย โดยเฉพาะกับหญิงชาวอีสาน ที่ดูเหมือนว่าหลายๆ คนจะมีความใฝ่ฝันสูงสุดคือการ ‘มีสามีฝรั่ง’ เพราะการมีสามีฝรัง่ นัน้ เป็นหนทางยกระดับความเป็นอยูท่ รี่ วดเร็ว ที่สุดสำ�หรับครอบครัวของพวกเธอ แต่ ห นทางในการเข้ า ถึ ง หนุ่ ม ตานํ้ า ข้ า วนั้ น ไม่ ใ ช่ เรือ่ งง่าย จึงทำ�ให้สาวอีสานจำ�นวนมากมุง่ หน้าเข้าเมืองพัทยา ด้วย ความหวังที่จะได้สามีฝรั่งกลับบ้านเกิดเหมือนสาวอีสานคนอื่นๆ แต่ ดู เ หมื อ นว่ า ปั จ จุ บั น นี้ ห นทางการหาสามี ฝ รั่ ง เริ่มเปลี่ยนไปเมื่อมี ‘อินเทอร์เน็ต’ และ ‘เว็บไซต์หาคู่’ ธุรกิจ รั บ จ้ า งหาสามี ฝ รั่ ง ให้ กั บ สาวอี ส านที่ ไ ม่ มี ค วามรู้ เ รื่ อ งภาษา และการใช้ อิ น เทอร์ เ น็ ต จึ ง เกิ ด ขึ้ น ธุ ร กิ จ นี้ มั ก จะแอบแฝง ในรูปของร้านอินเทอร์เน็ตทั่วๆ ไปที่เรารู้จัก โดยมีคำ�โฆษณา เขี ย นไว้ ห น้ า ร้ า น เช่ น “รั บ จ้ า งหาแฟนต่ า งชาติ รั บ รองผล ร้ อ ยเปอร์ เ ซ็ น ต์ ” ร้ า นอิ น เทอร์ เ น็ ต เหล่ า นี้ ไ ด้ ก ลายเป็ น เครื่องมือสานความฝันของสาวอีสานที่อยากได้สามีฝรั่ง โดย เจ้าของร้านอินเทอร์เน็ตดังกล่าวจะเป็นสาวอีสานที่ได้สามีฝรั่ง แล้วมีความคิดที่อยากจะติดต่อสามีฝรั่งให้กับสาวอีสานคนอื่นๆ เนื่องจากการหาคู่ออนไลน์เป็นหนทางที่ง่ายและไม่เสี่ยงต่อตัว ผู้หญิงเองเท่าการไปทำ�งานในพัทยา ส่ ว นราคาในการว่ า จ้ า งแต่ ล ะร้ า นก็ ไ ม่ เ หมื อ นกั น ขึ้นอยู่กับขั้นตอนการทำ�งานที่ต้องการว่าจ้าง เช่น การสมัคร สมาชิกเว็บไซต์หาคู่ต่างๆ การส่งอีเมล และการแปลเอกสารที่มา จากต่างประเทศ ราคาเท่าไหร่กแ็ ล้วแต่ทางร้านจะเป็นคนกำ�หนด แต่เมือ่ รวมค่าใช้จา่ ยทัง้ หมดแล้วจะตกประมาณ 50,000 บาทเป็น อย่างตํา่ ไม่รวมกับค่าเดินเรือ่ งหนังสือเดินทางและวีซา่ สำ�หรับสาว อีสานที่จะ ‘โกอินเตอร’์ ย้ายไปอยู่เมืองนอก แม้ว่าการหาสามีฝรั่งจะเรียกได้ว่าเป็นหนทางและ วิธีการแก้จนที่เร็วที่สุด แต่การลงทุนว่าจ้างร้านอินเทอร์เน็ตนั้น จะได้สามีฝรั่งที่ดีและยกระดับฐานะได้อย่างที่คาดหวังหรือไม่นั้น ไม่มีใครรู้... -

MAINCOURSE

MAINCOURSE 14

ห โสเภณีถูกกฎหมาย

ากเปรี ย บเที ย บชื่ อ เสี ย งของประเทศไทยเหมื อ น ใบหน้าของหญิงสาวธรรมดาสักคน ‘โสเภณี’ ก็คง เป็ น สิ ว เม็ ด โตที่ อั ก เสบอยู่ ใ ต้ แ ป้ ง รองพื้ น ชนิ ด หนา บนพื้นหน้า บนนั้นถูกประดับประดาด้วย ‘ความงามแบบไทย’ อย่างอาหารการกิน การไหว้ เมืองโบราณ วัด และชายหาด สะอาดขาว เหล่านี้ล้วนพาให้เจ้าของใบหน้าหลงผิดคิดหลอก ตัวเองไปได้ว่ามันสวยงาม...

15


16

ภาพประกอบ: เสก สามย่าน

บางปะกง - ปลากระพง - บางปะกง

ฉั

นถามตั ว เองขณะนั่ ง มองรถที่ ติ ด ยาวไปบนถนน ขาออกกรุ ง เทพฯ - ฉะเชิ ง เทรา ระหว่ า งการ เดิ น ทางไปร่ ว มงานเวที ส าธารณะที่ ว่ า ด้ ว ยความ เปลี่ยนแปลงและผลกระทบที่มีต่อแม่นํ้าบางปะกง ความจริง คือฉันรู้สึกเป็นกังวลมากว่าการไปร่วมงานครั้งนี้ฉันจะไม่ได้ อะไรกลับมาเลย เพราะแม่นํ้าบางปะกงเป็นหัวข้อที่ไกลตัวและ หัวสมองของฉันชนิดที่เรียกว่าฉันไม่รู้ด้วยซํ้าว่ามันไหลผ่าน จังหวัดอะไร เพราะฉะนั้น “ปัญหาของฉัน” ตอนนี้ก็คือฉันกำ�ลัง เดือดร้อนกับความโง่ของตัวเองจนไม่มีเวลาจะใส่ใจเรื่องอะไร อีกทั้งสิ้น ได้แต่ตอบตัวเองไปตามประสาว่า...เรื่องของเรา จะ ต้องเป็นเรื่องที่ทำ�ให้เรารู้สึกเดือดร้อนนั่นแหละ และถ้าเราไม่ เดือดร้อน ก็ไม่ใช่เรื่องของเรา เวที ส าธารณะที่ ฉั น ได้ เ ข้ า ร่ ว มฟั ง ในวั น นี้ มี ชื่ อ ว่ า เด็กวอน...ถามผู้ใหญ่ กรณี:แหล่งอาหารกับการพัฒนา จัดขึ้น ที่วัดสนามจันทร์ อำ�เภอบ้านโพธิ์ จังหวัดฉะเชิงเทรา ในวันที่ 10 พ.ย. 55 แม้ จ ะเป็ น วั น ที่ อ ากาศร้ อ นอบอ้ า ว แต่ ก็ ยั ง มี ชาวบ้ า นและนั ก วิ ช าการมาร่ ว มงานกั น อย่ า งอุ่ น หนาฝาคั่ ง สะท้อนถึงความสำ�คัญในความเปลี่ยนแปลงและผลกระทบที่ มีต่อแม่นํ้าบางปะกงซึ่งทุกคนต่างก็มีส่วนได้ส่วนเสียร่วมกัน ที่ น่าสนใจคือนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 5 จาก “โรงเรียนรุ่งอรุณ” ผู้จัดเวทีสาธารณะครั้งนี้ เดือดร้อนอะไรกับความเปลี่ยนแปลง และผลกระทบดั ง กล่ า ว? โรงเรี ย นเอกชนจากกรุ ง เทพฯ มา

พิริน วรรณวลี

คลุกคลีในพื้นที่ไปเพื่ออะไร? คำ�ตอบที่ได้รับรู้ ชวนให้ตะลึงและ ไม่น่าเชื่อ..เพราะเราต่างก็กินปลากระพง เรื่ อ งมั น เริ่ ม ขึ้ น เมื่ อ บ่ า ยวั น หนึ่ ง เด็ ก เหล่ า นี้ กำ � ลั ง กิ น ปลากระพงทอดนํ้ำ � ปลากั น อย่ า งเอร็ ด อร่ อ ย คุ ณ ครู เ ดิ น เข้ามาแล้วเปิดคลิปวิดีโอที่แสดงเหตุการณ์ที่ปลากระพงใน แม่ นํ้ า บางปะกงตายทั้ ง กระชั ง จากจุ ด เล็ ก ๆ นี้ เ องที่ พ าให้ พวกเขาย้ อ นรอยศึ ก ษาถึ ง ที่ ม าและสาเหตุ ก ารตายของ ปลากระพงและเชื่อมโยงมาถึงความเปลี่ยนแปลงของแม่นํ้า บางปะกง ที่อาจเป็นผลมาจากการเข้ามาของโครงการพัฒนา ต่ า งๆ ในพื้ น ที่ ไม่ ว่ า จะเป็ น นิ ค มและโรงงานอุ ต สาหกรรม ท่าเรือ โรงไฟฟ้า เป็นต้น โดยพวกเขาได้แบ่งพื้นที่การศึกษา ออกเป็ น สามส่ ว นตามลั ก ษณะการประกอบอาชี พ ที่ สำ � คั ญ คือ บางปะกงช่วงต้นที่ชาวบ้านยังทำ�การเกษตรเป็นส่วนมาก ทั้ ง การทำ � นา ทำ � ไร่ และที่ สำ � คั ญ คื อ การทำ � สวน บางปะกง ช่วงกลางที่ยังประกอบอาชีพเพาะเลี้ยงสัตว์นํ้า และบางปะกง ช่วงปลายที่คงไว้ซ่ึงการทำ�ประมงพื้นบ้าน การเพาะเลี้ยงสัตว์ นํ้า และมีป่าชายเลนเป็นทรัพยากรที่สำ�คัญ ข้ อ สั ง เกตของชาวบ้ า นที่ แ ม่ นํ้ า บางปะกงช่ ว งต้ น คื อ การรุ ก ของนํ้ า เค็ ม ที่ ย าวนานผิ ด ปกติ และระดั บ นํ้ า ที่ ไ ม่ เพี ย งพอต่ อ การทดนํ้ า เข้ า สวนในหน้ า นํ้ า หลาก เพื่ อ เก็ บ กั ก นํ้ า จื ด ไว้ ใ ช้ ก่ อ นถึ ง ฤดู แ ล้ ง เพราะเป็ น ช่ ว งเวลาเดี ย วกั น กั บ ที่โรงงานสูบนํ้าดิบของบริษัท East Water ทำ�การเร่งสูบนํ้า

เช่นกัน ชาวบ้านต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มในการสูบนํ้าเข้ามาใช้ใน พื้นที่เพาะปลูก อีกทั้งยังมีเขื่อนทดนํ้าบางปะกงที่ไม่เคยทำ�งาน ตามเป้ า หมายได้ จ ริ ง ทั้ ง ยั ง เป็ น ตั ว กี ด ขวางลำ � นํ้ า ก่ อ ให้ เ กิ ด นํ้าท่วม และระบายนํ้าไม่ทันรวมทั้งนํ้าเค็มดังที่กล่าวไป สำ�หรับบางปะกงช่วงกลาง ชาวบ้านกำ�ลังเร่งระวัง ต่ อ การขยายตั ว ของนิ ค มอุ ต สาหกรรมสู่ พื้ น ที่ แ ก้ ม ลิ ง ตาม ธรรมชาติ รวมถึงการสร้างท่าเรือจำ�นวนมาก ที่รู้กันว่าตอนนี้ กำ�ลังดำ�เนินการอยู่ 6 ท่าติดกันซึ่งถูกสร้างโดยบริษัทเดียวกัน คือ Eastern TPK Capital จำ�กัด ซึ่งเป็นบริษัทลูกของ THH Group ที่ ทำ � ธุ ร กิ จ เกี่ ย วกั บ มั น สำ � ปะหลั ง เอธานอล รวมถึ ง มี ท่ า เรื อ อยู่ แ ล้ ว ที่ อ ยุ ธ ยา ที่ น่ า สั ง เกตคื อ แต่ ล ะท่ า นั้ น จงใจ ที่จะสร้างให้มีขนาดพื้นที่เกือบแต่ไม่เกิน 1,000 ตารางเมตร เพราะรู้ว่าหากมีพื้นที่ถึง 1,000 ตารางเมตร จะต้องทำ� EIA (Environment Impact Assessment) ซึ่งก็คือการประเมิน ผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม อย่างไรก็ดีตามตรรกะแล้ว ท่าเรือ 6 ท่านี้รวมกันแล้วมีพื้นที่ใหญ่กว่า 1,000 ตารางเมตรเสียอีก และ ย่อมนำ�มาซึ่งผลกระทบเหมือนๆ กัน แต่กลับอาศัยช่องโหว่ทาง กฎหมายเพื่อให้รอดพ้นการประเมิน และสุดท้ายบางปะกงช่วงปลายที่แหล่งทรัพยากร อาหารถูกแทนที่ด้วยโรงงานอุตสาหกรรมซึ่งเป็นผลพวงมาจาก แผนพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งตะวันออก หรือ Eastern Seaboard ตามแนวทางของแผนพั ฒ นาเศรษฐกิ จ และสั ง คมแห่ ง ชาติ ฉบับที่ 5 ที่ต้องการขยายแหล่งอุตสาหกรรมให้กว้างขวางยิ่ง ขึ้น เหล่านี้เป็นปัญหาที่ค่อยๆ คืบคลานมาอย่างเงียบเชียบจน ชาวบ้านแทบไม่รู้สึกตัว และขาดการมีส่วนร่วมในการตัดสิน ใจ และที่น่ากังวลคือ ไม่มีใครมองเห็นปัญหานี้นอกจากผู้เฒ่า ผู้แก่ และผู้ใหญ่รุ่นพ่อแม่บางคนที่พยายามรวมตัวกันปกป้อง แผ่ น ดิ น อั น อุ ด มสมบู ร ณ์ ที่ พ วกเขาเคยหาอยู่ ห ากิ น ขณะที่

คนรุ่นใหม่และเยาวชน น้ อ ยคนนั ก ที่ จ ะสนใจ เ รื่ อ ง ร า ว ค ว า ม เปลี่ยนแปลงดังกล่าว ในฐานะ พลเมื อ งของประเทศ ชาติ และเยาวชนซึ่งจะ เป็ น กลุ่ ม ที่ ไ ด้ รั บ ผลก ระทบทั้งหมดทั้งมวลที่ ผู้ใหญ่ตัดสินใจกระทำ�การกันในวันนี้ นักเรียนโรงเรียนรุ่งอรุณ พยายามสร้างความเคลื่อนไหวเพื่อกระตุ้นให้เกิดความตื่นตัว ในชุมชน ผ่านการทำ�รายงาน HIA (Health Impact Assessment) สามฉบับเพื่อมอบให้ชาวบ้านได้นำ�ไปใช้เป็นข้อมูลพื้น ฐาน ประกอบข้อมูลของกลุ่มผู้ใหญ่ผู้เป็นเจ้าของพื้นที่ในการ ยื่นเรื่องเพื่อระงับ คัดค้าน ขอสิทธิ์ในการร่วมพิจารณาหรือ ตัดสินใจในโครงการพัฒนาต่างๆต่อไป ประเด็นหนึ่งที่นักเรียนกลุ่มนี้คำ�นึงถึงอยู่เสมอคือ “เมื่ อ โลกต้ อ งเปลี่ ยนแปลงไป และแม้แต่แม่นํ้าบางปะกงก็ เช่นกัน เราจะทำ�อย่างไรให้ความเปลี่ยนแปลงทั้งปวงอยู่บน ความสมดุ ล ?” พวกเขาตั ด สิ น ใจงั ด เอาจุ ด แข็ ง ของพื้ น ที่ ขึ้ น มาสู้ นั่ น คื อ ทรั พ ยากรที่ ท รงคุ ณ ค่ า และอุ ด มสมบู ร ณ์ ข อง แม่นํ้าบางปะกง ไม่ว่าจะเป็นมะม่วงบางคล้า ฟาร์มกุ้งกุลาดำ� และขาว ปลากระพง ป่าชายเลน ต้นจาก ฯลฯ ที่พวกเขาตีความ ว่าแม่นํ้าบางปะกงเปรียบเสมือน ‘แม่’ ที่ได้ให้ที่อยู่ที่กินแก่ลูก หลานของแม่เสมอมา ฟังผ่านๆ อาจเป็นแค่เพียง ‘ความน่าเสียดาย’ ถ้า สิ่ ง เหล่ า นี้ จ ะหายไปจากวิ ถี ชี วิ ต ของชาวบ้ า น แต่ ถ้ า เรารู้ ว่ า ทรัพยากรเหล่านี้เมื่อถูกคำ�นวณเป็นเม็ดเงิน แต่ละสิ่งล้วนมี

ความสำ�คัญต่อเศรษฐกิจชนิดที่ว่าสู้กับรายได้จากอุตสาหกรรม ได้อย่างสูสี ซึ่งพวกเรานี่แหละที่จะต้องเดือดเนื้อร้อนใจแทน ชาวบางปะกงและประเทศชาติ วงเสวนานี้จึงทิ้งคำ�ถามให้เราได้คิดมากมายไม่ว่า จะเป็น ค่า GDP ที่รัฐให้ความสำ�คัญนั้นจริง ๆ แล้ววัดอะไร ได้บ้าง? ในเมื่อชีวิตความเป็นอยู่ของชาวบ้านไม่เคยดีขึ้นเลย เราจะสร้างหน่วยวัดความสุขและคุณภาพชีวิตของคนในพื้นที่ ขึ้นมาได้ไหม? พอหรือยังกับอุตสาหกรรม? ทำ�อย่างไรเยาวชน ผู้ ต้ อ งรั บ ชะตากรรมจะหั น มาสนใจปั ญ หาด้ ว ยตั ว เอง? ทำ � อย่ า งไรพวกเขาจึ ง จะรู้ ว่ า โชคดี แ ค่ ไ หนที่ ค นไทยมี แ ม่ นํ้ า บางปะกง และหากเราทำ�ให้ ‘แม่’ กลับมาเป็นเหมือนเดิมไม่ได้ เราจะฟื้นฟูแม่ของเราให้แข็งแรงกว่าเดิมได้อย่างไร? หลั ง จากจบงาน ฉั น ขึ้ น รถกลั บ บ้ า นด้ ว ยสมองที่ หนักอึ้งกว่าเดิม เพราะตอนนี้ปัญหาของฉันไม่ใช่การเขียนงาน ที่จะต้องรีบทำ�ให้เสร็จ แต่ฉันกำ�ลังตั้งคำ�ถามที่ยากกว่าเดิม ให้กับตัวเองว่า ถ้าเราไม่รู้ตัวว่ากำ�ลังเดือดร้อนล่ะ? นี่จะเป็น ปัญหาของใคร แล้วถ้าพรุ่งนี้ไม่มีปลากระพงขายในตลาด ฉันก็ เป็นอีกคนที่กำ�ลังเดือดร้อน ใช่หรือเปล่า? -

ENVIRONMENT

ENVIRONMENT

ในชีวิตนี้ มีอะไรบ้างที่เป็นเรื่องของเรา? แล้วเราใช้เกณฑ์ใดในการตัดสินว่าสิ่งใด หรืออะไร “ใช่เรื่อง” หรือ “ไม่ใช่เรื่อง” ของเรา?

17


S O C I A L

S O C I A L

18

19

การประกวด ค่านิยมยุคใหม่ วีนัสรินทร์ ศิริผล

ง ก า ร บั น เ ทิ ง ทุ ก วั น นี้ เ ต็ ม ไ ป ด้ ว ย นั ก แ ส ด ง จำ � นวนมากทั้ ง วั ย รุ่ น และอาวุ โ ส ต่ า งโลดแล่ น อยู่ ทั้ ง ในจอแก้ ว จอเงิ น และเวที ค อนเสิ ร์ ต บุ ค คล ในวงการบันเทิงเหล่านี้ ไม่น้อยที่มีเส้นทางก้าวแรกมาจาก การประกวด โดยมี ชื่ อ เวที นั้ น ๆ เป็ น นามสกุ ล ในวงการจน ผู้ ค นจดจำ � เช่ น ‘บี้ เดอะสตาร์ ’ ‘เบลล์ ไทยแลนด์ ก็ อ ตทาเลนต์’ ‘ตุ้ย เอเอฟ’ ‘อาร์ม เคพีเอ็น’ เป็นต้น หากนึ ก ย้ อ นกลั บ ไปในอดี ต ที่ ก ารประกวดยั ง ไม่ หลากหลายมากนัก การประกวดในความคิดของหลายๆ คน คงไม่พ้นการประกวดนางงามอย่าง ‘มิสไทยแลนด์ยูนิเวิร์ส’ ‘นางสาวไทย’ หรือ ‘มิสไทยแลนด์เวิรด์ ’ ซึง่ นอกจากผูท้ ไี่ ด้ต�ำ แหน่ง จะทำ � หน้ า ที่ น างงามแล้ ว ก็ ยั ง ใช้ ม งกุ ฎ เป็ น สะพานเชื่ อ มสู่ เส้ น ทางบั น เทิ ง นางงามหลายคนยั ง เป็ น ที่ รู้ จั ก กั น ดี จ นถึ ง ทุกวันนีใ้ นฐานะนักแสดง ‘นุย้ - สุจริ า อรุณพิพฒ ั น์’ ‘บุม๋ - ปนัดดา วงศ์ผู้ดี’ และ ‘ลูกเกด - เมทินี กิ่งพโยม’ ส่วนในปัจจุบัน การประกวดมีรูปแบบที่หลากหลาย มากขึน้ ไม่ได้มเี พียงแค่การประกวดเวทีใหญ่ๆ เท่านัน้ แต่บริษทั ห้างร้านต่างๆ ก็ให้ความสนใจในการทำ�การตลาดผ่านเวที การประกวดมากมาย เช่ น ‘มิ ส ที น ไทยแลนด์ ’ ‘มิ ส ซิ ต ร้ า ’ ‘มิสแคนนอน’ และ ‘มิสมอเตอร์โชว์’ ฯลฯ ยิ่งไปกว่านั้น หากพูดถึงการประกวดแห่งยุค คน ส่วนใหญ่มักนึกถึงการประกวดร้องเพลงที่ได้รับความสนใจ

อย่างมากทั้งจากผู้ชมและสปอนเซอร์ต่างๆ น้อยคนนักที่จะ ไม่เคยได้ยนิ ชือ่ รายการอย่าง ‘ทรู อะคาเดมี่ แฟนเทเชีย’ หรือ ‘เดอะ สตาร์ ค้นฟ้าคว้าดาว’ รวมถึงที่ถูกซื้อลิขสิทธิ์จากต่างประเทศ อย่าง ‘เดอะวอยซ์ ไทยแลนด์’ และ ‘ไทยแลนด์ก็อตทาเลนต์’ นอกจากนี้ ยั ง มี ร ายการประกวดอี ก หลากหลายประเภท ทั้งนางแบบ นายแบบ เต้น ทั้งบนเวทีหรือตามนิตยสารและ การแสดงความสามารถต่างๆ ซึ่งมักออกมาในรูปแบบของ รายการทางโทรทัศน์ จากอิทธิพลของสื่อและค่านิยมบางอย่างของสังคม ที่ ส่ ว นหนึ่ ง มาจากการเห็ น ความสำ � เร็ จ ของนั ก ร้ อ งนั ก แสดง ผู้มีชื่อเสียงขึ้นมาจากการประกวด ทำ�ให้เด็กสมัยนี้เริ่มเข้าสู่ การประกวดตั้งแต่อายุยังน้อย ทั้งการประกวดร้องเพลงและ การประกวดแสดงความสามารถ ผู้ จั ด การประกวดเองก็ เอื้ออำ�นวยโดยการเปิดรับสมัครผู้เข้าประกวดตั้งแต่อายุ 15 ปี ขึน้ ไป หากใครทีต่ ดิ ตามการประกวด ‘ทรูอะคาเดมีแ่ ฟนเชีย’ หรือ ‘เดอะสตาร์’ ตั้งแต่รอบคัดเลือกก็คงเห็นว่าจำ�นวนนักเรียนที่มา ประกวดนัน้ มากกว่าผูเ้ ข้าประกวดทีเ่ รียนจบแล้วเสียอีก ไม่เพียง แค่การประกวดร้องเพลงเท่านัน้ การประกวดทีม่ คี �ำ ว่า ‘มิส’ ต่างๆ ก็ได้รับการความนิยมจากวัยรุ่นไทยไม่แพ้กัน สำ�หรับผู้ใหญ่บางคนที่เฝ้ามองอยู่ไกลๆ อาจเกิด คำ�ถามขึน้ มามากมาย อย่างเช่น เด็กรุน่ ใหม่จะประกวดกันไปเพือ่ อะไร? การประกวดจำ�เป็นด้วยหรือ? รางวัลจากการประกวดเป็น

เครือ่ งการันตีคณ ุ ค่าของคนได้ไหม? หากไม่มรี างวัลหรือตำ�แหน่ง จากการประกวดใดๆ จะมีจุดยืนในสังคมได้หรือไม่? หรือแค่ ต้องการใช้เวทีการประกวดเพื่อเข้าสู่วงการบันเทิง? ซึ่งวัยรุ่น หลายคนก็อาจให้คำ�ตอบด้วยวาทกรรมสวยหรูแห่งยุคว่า เป็น เพราะพวกเขาเหล่านั้นมี ‘ความฝัน’ และเลือกที่จะเดินตาม ความฝันของตนเอง และเวทีการประกวดก็เป็นหนึง่ ในทางเลือก แรกๆ ที่จะพาไปถึงฝันได้ง่ายและเร็ว บางคนโชคดี ประสบความสำ�เร็จและมีชื่อเสียงอยู่ ในสังคมมายา ส่วนคนที่โชคร้ายไปไม่ถึงจุดหมายที่วาดหวัง ถ้า ไม่ล้มเลิกความคิด ก็ยังคงเดินหน้าเข้าสู่เวทีอื่นๆ ต่อไป บางคน ตามประกวดไปเรื่อยๆ และไม่มีอาชีพจนอายุมากเลยก็มี ในบางครอบครั ว พ่ อ แม่ ก็ เ ป็ น ฝ่ า ยผลั ก ดั น ลู ก ให้เข้าร่วมการประกวดก่อนช่วงวัยรุ่นเสียเองด้วยซํ้า เพราะ มองเห็นว่าการประกวดเป็นส่วนหนึ่งที่สามารถผลักดันให้ลูก ประสบความสำ � เร็ จ ในอนาคตอี ก ทั้ ง ยั ง เป็ น ประสบการณ์ ที่ แตกต่างจากเด็กคนอื่นในวัยเดียวกัน ซึ่งการประกวดสำ�หรับ เด็กจะเน้นไปในการให้เด็ก ‘กล้าคิด กล้าทำ� กล้าแสดงออก’ เมื่อหลายครอบครัวมีทัศนคติเช่นนี้เพิ่มขึ้น การเข้าสู่วงการ การประกวดตั้ ง แต่ เ ยาว์ วั ย ก็ ก ลายเป็ น ค่ า นิ ย มตามไปด้ ว ย ตัวอย่างทีเ่ ห็นได้ชดั คือ รายการ ‘เดอะเทรนเนอร์ ปัน้ ฝันสนัน่ เวที’ จะเห็ น ได้ ว่ า คนแทบทุ ก ช่ ว งวั ย ในสั ง คมปั จ จุ บั น จะนิยมทั้ง ‘เข้าร่วม’ ทั้ง ‘ชม’ การประกวดกันมากขึ้น และมี แนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นอีกในอนาคต อย่างไรก็ตาม เราไม่อาจ กล่ า วได้ ว่ า แนวโน้ ม ของค่ า นิ ย มดั ง กล่ า วเป็ น สิ่ ง ที่ ไ ม่ ดี ห รื อ ขัดต่อขนบธรรมเนียมหรือวัฒนธรรมทีส่ บื ต่อกันมาของสังคมไทย เวทีการประกวดยังมีข้อดีอยู่มากมาย นำ�ความสำ�เร็จมาสู่คนที่ เป็น ‘คนจริง’ มาแล้วหลายต่อหลายคน และคนเดินถนนธรรมดา อย่างเราๆ ท่านๆ ก็มโี อกาสประสบความสำ�เร็จ หากเลือกทางเดิน ที่เหมาะสมกับความสามารถของตนเอง มีความมุ่งมั่นพยายาม อย่างจริงจัง และสามารถสานต่อความสำ�เร็จให้เป็นประโยชน์กบั ส่วนรวมได้ นี่ย่อมเป็นสิ่งที่น่าสนับสนุนต่อไป -

สุทธิชา สกุลญานนท์วิทยา

MISS WORLD 2012 “Yu Wenxia”

ภาพประกอบ : lifestyle.inquirer.net


A S E A N

A S E A N

20

21

ณภศศิ สุรวรรณ, กฤตพร ธนะสิริวัฒน์

AEC กับการจัดการพื้นที่สีเขียว ณภศศิ สุรวรรณ กฤตพร ธนะสิริวัฒน์

ภู

มิ ภ าคเอเชี ย ตะวั น ออกเฉี ย งใต้ นั บ เป็ น แหล่ ง ผลิ ต อาหารที่สำ�คัญของโลก เป็นพื้นที่หลากหลายทาง เชือ้ ชาติ วัฒนธรรม และมีพนื้ ทีท่ รัพยากรทางธรรมชาติ ทีย่ งั อุดมสมบูรณ์ สิง่ เหล่านีล้ ว้ นเป็นความโดดเด่นของ ภู มิ ภ า คและกำ � ลั ง จะเผชิ ญ หน้ า กั บ การเปลี่ ย นแปลงครั้ ง สำ�คัญจากการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ป่าไม้ ยั ง คงเป็ น ทรั พ ยากรธรรมชาติ ที่ สำ � คั ญ มากของภู มิ ภ าคนี้ ในแง่ของผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม รวมถึงสังคม และวัฒนธรรม แต่ทุกวันนี้ป่าไม้ หรือ ‘พื้นที่สีเขียว’ นั้น ก็ยังคง ลดจำ�นวนลงเรื่อยๆ ภายใต้บริบทของแต่ละประเทศ ในช่วงกว่า 20 ปีที่ผ่านมา สัดส่วนพื้นที่สีเขียวของ ประเทศในกลุ่มเศรษฐกิจอาเซียนลดลงอย่างรวดเร็ว เมื่อปี ค.ศ. 1990 พื้นที่ป่าไม้ในอาเซียนมีอยู่ 2,466,940 ตร.กม. แต่ ในปี ค.ศ. 2010 กลับลดลงเหลือเพียง 2,133,200 ตร.กม. พื้นที่ กว่า 3 แสน ตร.กม. ที่หายไปนี้เทียบเท่ากับประเทศมาเลเซีย ทั้งประเทศเลยทีเดียว สาเหตุ สำ � คั ญ ที่ ทำ � ให้ พ้ื น ที่ ป่ า ลดลง คื อ การ ตัดไม้ทำ�ลายป่าโดยฝีมือมนุษย์ที่รุนแรงขึ้น การบุกรุกป่าอย่าง ผิดกฎหมายเพื่อทำ�เป็นที่อยู่อาศัย สถานที่ท่องเที่ยว หรือพื้นที่ เกษตรกรรม ส่วนหนึ่งอาจเกิดจากการเพิ่มขึ้นของประชากร มนุ ษ ย์ ประกอบกั บ สภาพภู มิ อ ากาศที่ เ ปลี่ ย นแปลง เกิ ด ภัยธรรมชาติบ่อยครั้ง และไฟป่าที่ส่งผลกระทบโดยตรง แม้แต่ ประเทศที่ รํ่ า รวยในอาเซี ย นก็ มี ส ถิ ติ ท างด้ า นสิ่ ง แวดล้ อ มที่ ไม่สู้ดีนัก การก้าวไปข้างหน้าของแต่ละประเทศในประชาคม อาเซียน หากพิจารณาจากนโยบายของแต่ละประเทศในเรื่อง การป่าไม้ภายหลังที่มีการประชุมกันมาหลายครั้ง จะเห็นได้ว่า ‘มาเลเซีย’ ดูเหมือนจะมีศักยภาพที่จะไปถึงหรือครอบคลุมใน เรื่องยุทธศาสตร์การป่าไม้ของอาเซียนที่ได้ร่างกันไว้มากที่สุด

เนื่องจากประเทศมาเลเซียได้ริเริ่มการจัดการป่าไม้อย่างยั่งยืน ในประเทศของตนเองมาตั้งแต่ก่อนที่ AEC จะถือกำ�เนิดแล้ว มาเลเซียเป็นประเทศที่มีระบบการทำ�ไม้แบบเลือกตัด ระบบ การออกใบอนุญาตการตัดฟันไม้ การทำ�ไม้ออกจากป่า และ มีนโยบายระดับชาติเรื่องการจัดการป่าไม้มาตั้งแต่ ค.ศ. 1992 มาเลเซียมีการจัดการอย่างโปร่งใสและเปิดกว้างจนได้รับการ ยกย่องด้านธรรมาภิบาล ทั้งนี้เมื่อมี ‘การประชุมรัฐมนตรีด้าน เกษตรและป่าไม้ของอาเซียน (AMAF)’ ครั้งที่ 20 ที่เวียดนาม เมื่อเดือนกันยายน ค.ศ.1998 ที่ประชุมได้ออกเสียงรับรอง ให้มาเลเซียเป็นผู้นำ�ในการจัดการป่าไม้อย่างยั่งยืนของกลุ่ม ประเทศอาเซียน เป็นผู้ประสานงาน ให้ความช่วยเหลือ และเป็น แหล่งข้อมูลด้านป่าไม้แก่ประเทศสมาชิก นอกจากนีย้ งั มีอกี ประเทศหนึ่งที่ตระหนักในบทบาทของป่าไม้ทั้งในระดับประเทศ และระดับโลก นัน่ ก็คอื ‘บรูไน’ ซึง่ ได้ก�ำ หนดนโยบายทีจ่ ะอนุรกั ษ์ พัฒนา และจัดการทรัพยากรป่าไม้ เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิต ส่งเสริมความเป็นอยูท่ ดี่ ขี องสังคมทัง้ ด้านเศรษฐกิจ สิง่ แวดล้อม และสมดุลด้านนิเวศวิทยา อย่างไรก็ตาม สำ�หรับ ‘ลาว’ นั้น แม้ว่าธนาคารโลก จะมี ส่ ว นสนั บ สนุ น ให้ ใ ช้ ก ารจั ด การป่ า ไม้ บ นรากฐานของ ชุ ม ชน แต่ ก ลั บ ยั ง ไม่ ไ ด้ รั บ ความร่ ว มมื อ จากทั้ ง ภาครั ฐ และ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเท่าที่ควร และจำ�เป็นต้องหาทางออกด้วย การแทรกเรื่องป่าไม้เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของการใช้ที่ดินแบบ บูรณาการอย่างมีส่วนร่วม เพราะวิถีชีวิตดั้งเดิมของคนหมู่มาก ในชนบท ยังต้องอาศัยพื้นที่ทำ�ไร่หมุนเวียน ในขณะเดียวกัน การใช้พนื้ ทีป่ า่ ปลูกสวนยางพาราเพือ่ รายได้ทางเศรษฐกิจก็เพิม่ มากขึน้ การจัดสรรพืน้ ทีท่ �ำ กินและการอนุรกั ษ์ปา่ ควบคูก่ นั ไปจึง ดำ�เนินการได้อย่างยากลำ�บาก ประเทศอื่นๆ ที่น่าจะยังมีปัญหา หรือยังยากที่จะ ทำ�ให้กิจการป่าไม้เป็นรูปธรรมที่สอดคล้องกับกฎกติกาด้าน การป่าไม้ของอาเซียน ได้แก่ กัมพูชา อินโดนีเซีย และพม่า ใน ‘กัมพูชา’ นัน้ แผนงานทีจ่ ะทำ�ให้เกิดการจัดการป่าไม้อย่างยัง่ ยืน ยังติดที่ปัญหาความยากจนของคนในชนบท การให้ชุมชนมี ส่วนร่วมยังคงปฏิบตั ไิ ด้ยาก ส่วนใน ‘อินโดนีเซีย’ ถึงแม้จะยังมีปา่ เหลืออยูถ่ งึ 52 เปอร์เซ็นต์ ของพืน้ ที่ แต่อนิ โดนีเซียก็เป็นประเทศ ที่มีประชากรมากที่สุดในอาเซียน ป่าจึงยังลดลงอยู่เรื่อยๆ โดย สถิติตั้งแต่ปี ค.ศ.1990 เป็นต้นมา พื้นที่ป่าในอินโดนีเซียลดลง

ไปกว่า 250,000 ตร.กม. แล้ว แม้จะพยายามใช้แนวทางการจัดการ ป่าไม้ระดับชุมชนเข้ามาช่วยก็ยังต้องใช้เวลาอีกพอสมควรที่ จะให้ชมุ ชนชนบทสร้างการจัดการป่าไม้อย่างยัง่ ยืน ตามนโยบาย ของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนได้ ในส่วนของ ‘เวียดนาม’ แม้ว่าประเทศต้องตกอยู่ใน ภาวะสงครามกว่าครึง่ ศตวรรษ จนเป็นผลให้ปา่ ดัง้ เดิมถูกทำ�ลาย ไปมาก แต่นบั จากปี ค.ศ.1995 เป็นต้นมา ด้วยการทำ�นุบ�ำ รุงและ การปลูกป่าของรัฐบาล ป่าในประเทศเวียดนามจึงถูกฟื้นฟูจนมี พืน้ ทีเ่ พิม่ มากขึน้ เรือ่ ยๆ ทัง้ นีเ้ วียดนามคาดว่า ภาคการป่าไม้ของ ประเทศจะมีส่วนร่วมในการใช้พื้นที่ว่างเปล่าสร้างงานและปรับ มาตรฐานการครองชีพของพลเมืองของเขาที่อยู่ตามภูเขาให้มี รายได้สูงขึ้น และบรรเทาความยากจนไปพร้อมกับการจัดสรร ที่ดินป่าไม้ให้ผู้ประกอบการทำ�ธุรกิจ ต่อด้วย ‘สิงคโปร์’ แม้จะเป็นประเทศเล็ก และมีพนื้ ที่ ป่าไม้อยูเ่ พียง 2.9 เปอร์เซ็นต์ของพืน้ ทีป่ ระเทศ แต่เท่าทีผ่ า่ นมา ได้ให้ความสำ�คัญต่อการปกป้องดูแลทรัพยากรป่าไม้ ที่ถึงแม้ จะไม่มีข้อตกลง แต่สิงคโปร์ก็ดำ�เนินการให้เกิดความยั่งยืนของ ป่าที่อยู่ในเมืองและตามวนอุทยานอยู่แล้ว ด้วยเหตุที่ประชากร ส่วนใหญ่มีเศรษฐกิจที่ดีจากภาคอุตสาหกรรมและการบริการ ด้านต่างๆ ปัญหาเรื่องการดูแลทรัพยากรป่าไม้ตามกลไกของ ประเทศในกลุ่มประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนจึงไม่น่าเป็นห่วง สำ�หรับ ‘ไทย’ ล่าสุด กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่ ง แวดล้ อ มได้ ป ระกาศเรื่ อ ง แผนจั ด การคุ ณ ภาพ สิง่ แวดล้อม พ.ศ. 2555 - 2559 โดยกระทรวงได้ก�ำ หนดนโยบาย ทีเ่ กีย่ วข้องกับการลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมจากการบริหาร จัดการทรัพยากรป่าไม้ไว้ โดยยังคงยึดหลักปรัชญาเศรษฐกิจ พอเพี ย ง ในการสร้ า งสมดุ ล ระหว่ า งการอนุ รั ก ษ์ แ ละการ ใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ก็คงต้อง ติดตามผลต่อไปว่าแผนงานอนุรักษ์ฉบับใหม่จะได้ผลหรือไม่ สำ�หรับประเทศไทยที่อยู่ในระยะคาบเกี่ยวของการคงจำ�นวน พื้นที่ป่าไว้ และการเร่งปลูกป่าทดแทน ท้ายที่สุดแล้ว ปัญหาสำ�คัญที่กลุ่มประเทศอาเซียน ต้องร่วมมือกันคือการยกระดับบุคลากรด้านป่าไม้ทงั้ เชิงปริมาณ และคุณภาพ รวมถึงความเอาใจใส่จากภาครัฐและเอกชนใน ด้านสิง่ แวดล้อม มิฉะนัน้ แล้ว พืน้ ทีป่ า่ ในอาเซียนก็คงลดลงเรือ่ ยๆ จากการขยายตัวทางเศรษฐกิจ -


S P O R T

INTERNATIONAL

จงเติมศาสนาลงในช่องว่าง ภ้ทรมน สุขประเสริฐ

22

23 23

ากคุ ณ กำ � ลั ง สมั ค รงาน หรื อ กรอกเอกสารสำ � คั ญ บางประการ หรื อ แม้ แ ต่ เ พี ย งมี ค นถามคุ ณ ว่ า คุ ณ นับถือศาสนาอะไร เป็นไปได้หรือไม่ที่คุณจะตอบว่า ‘ไม่มีศาสนา’ หรือกล้าที่จะท้าทายโดยการปล่อยเว้นช่องว่างไว้ ให้เป็นปริศนาต่อไป คนบางคนที่รู้สึกว่าตนเองไม่ได้นับถือศาสนาใดศาสนา หนึ่งอย่างจริงๆ จังๆ อาจไม่กล้าพอที่จะทำ�เช่นนั้น เนื่องจาก เกรงว่าการกระทำ�ดังกล่าวอาจส่งผลกระทบต่อการเข้าสังคม หรือเรื่องราวอื่นๆ อันเกี่ยวข้องกับชีวิตตน เพราะในปัจจุบันอาจ ยังมีคนที่เหมารวมตัดสินผู้ไม่มีศาสนาว่าเป็นคนไม่ดี เป็นคน ป่าเถื่อน ไร้ศีลธรรม เชื่อไม่ได้หรือไม่น่าคบ การตัดสินใจที่จะ เติมศาสนาใดศาสนาหนึ่งลงไปย่อมเป็นทางเลือกที่ปลอดภัย มากกว่า แม้ในความเป็นจริงการกระทำ�เช่นนั้นอาจผิดกับศีล หรือหลักคำ�สอนของบางศาสนาเพราะเข้าข่ายคำ�ว่า ‘โกหก’ ข้อสรุปของปัญหาข้อนี้เปรียบดั่งเขาวงกตอันซับซ้อน ยากนักที่ จะหาข้อสรุปและทางออก หากเท้าความกลับไปถึงที่มาของศาสนานั้น เป็นที่ ทราบว่าตั้งแต่ในสมัยก่อนมนุษย์ใช้ชีวิตอยู่กับความกลัวและ ความไม่รู้ โดยเชื่อว่าปรากฎการณ์ต่างๆ ทางธรรมชาติ เช่น ฟ้าร้อง นํ้าท่วม แผ่นดินไหว เป็นสิ่งที่ถูกกำ�หนดโดยเทพเจ้า คนในสมัยนั้นจึงเริ่มกราบไหว้บูชาเพื่อแสดงความเคารพ รวม ไปถึงขอพรให้เทพเจ้าคุ้มครอง จนการกราบไหว้บูชานั้นกลาย เป็นประเพณีปฏิบัติสืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน มนุษย์จึงผ่านช่วง เวลาอันน่าสะพรึงกลัวมาได้โดยมี ‘ความเชือ่ ’ (ทีภ่ ายหลังพัฒนา เป็น ‘ศาสนา’) เป็นที่พึ่งทางจิตใจ ไม่ว่าจะอยู่ที่แห่งใดบนโลก ศาสนาทุกศาสนาจึง ทำ � หน้ า ที่ เ ป็ น สิ่ ง ที่ ค อยเยี ย วยาและหล่ อ เลี้ ย งมนุ ษ ย์ ใ ห้ มี ความสุขทางใจเสมอมา ดังนั้นหากจะสรุปว่าความเจริญของ สังคมมนุษย์มีวิวัฒนาการควบคู่ไปกับความเจริญรุ่งเรืองของ ศาสนาก็คงไม่ผิดเท่าใดนัก แต่ล่าสุดผลการสำ�รวจเกี่ยวกับการนับถือศาสนา ของคนทั่วโลก โดย Win Gallup International Network พบว่า จำ�นวนผูน้ บั ถือศาสนาในโลกลดน้อยลงในขณะทีผ่ ทู้ ไี่ ม่มศี าสนา หรือไม่ระบุศาสนากลับมีมากขึ้น

ความเลื่อมใสในศาสนาใน 57 ประเทศที่ได้ทำ�การ สำ�รวจอยูท่ ี่ 59 เปอร์เซ็นต์ ลดลงถึง 9 เปอร์เซ็นต์ จากทีเ่ คยสำ�รวจ ในปี 2548 และผู้ประกาศตัวว่าไม่มีศาสนาทั่วโลกเพิ่มขึ้นจาก 4 เปอร์เซ็นต์ เป็น 7 เปอร์เซ็นต์ หากย้อนกลับไปพิจารณาถึงทีม่ าของศาสนาประกอบ กั บ แนวโน้ ม เกี่ ย วกั บ เรื่ อ งศาสนาที่ ป รากฏให้ เ ห็ น นี้ จ ะเป็ น ตั ว ชี้ วั ด ได้ ห รื อ ไม่ ว่ า มนุ ษ ย์ ที่ บ อกว่ า ตนเองไม่ มี ศ าสนานั้ น สามารถใช้ชีวิตโดยไม่ต้องการศาสนาเป็นที่พึ่งอีกต่อไป? รายงานผลการสำ�รวจดังกล่าวข้างต้นได้แสดงให้เห็น ถึงหนึ่งปัจจัยที่อาจส่งผลต่อการนับถือหรือไม่นับถือศาสนาซึ่ง ก็คือ ‘ปัจจัยด้านรายได้’ ผู้ที่มีรายได้ตํ่ามีสัดส่วนการนับถือ ศาสนาสูงกว่าผู้ที่มีรายได้สูงถึง 17 เปอร์เซ็นต์ หากพิ จ ารณาให้ ลึ ก กว่ า นั้ น จะพบว่ า กลุ่ ม คน ที่ มี ร ายได้ สู ง มั ก เป็ น กลุ่ ม คนที่ อ าศั ย อยู่ ใ นประเทศที่ พัฒนาแล้วและมีความเจริญมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ประเทศ ในแถบยุ โ รปตะวั น ตกอั น เป็ น ดิ น แดนกำ � เนิ ด วิ ท ยาการ ความรู้ต่างๆ มากมาย ผู้คนจึงอาจหันมานับถือหรือเคารพใน สิ่งที่จับต้องได้เป็นรูปธรรม มีเหตุมีผลมากกว่า อีกทั้งคนใน ประเทศที่พัฒนาแล้วส่วนใหญ่ (หรือหากจะเรียกว่าผู้นำ�ของ โลกก็ ค งจะไม่ ผิ ด เท่ า ใดนั ก ) ก็ เ ลื อ กที่ จ ะก้ า วเดิ น ให้ ทั น ตาม กระแสสังคมอยูเ่ สมอ ดังนัน้ ในสภาพสังคมทีค่ นให้ความสำ�คัญ กั บ วั ต ถุ นิ ย มเช่ น นี้ อาจไม่ ใ ช่ เ รื่ อ งแปลกหากพวกเขาจะมุ่ ง แสวงหาสิ่งของหรือปัจจัยต่างๆ เพื่อตอบสนองความต้องการ ของตนเอง มากกว่าสิ่งที่เป็นจารีตนิยมอย่างเช่นศาสนา ดังนั้น การใช้ชีวิตโดยการเคารพตนเอง เชื่อในความสามารถที่ตนเอง มีอยู่อาจเป็นเรื่องที่สำ�คัญสำ�หรับคนกลุ่มนี้ หรื อ หากให้ คำ � จำ � กั ด ความคำ � ว่ า ‘วั ต ถุ นิ ย ม’ ใน เชิงวิทยาศาสตร์ วัตถุนิยมจะหมายถึงการให้ความสำ�คัญกับ วัตถุธาตุ และพลังงานที่ ชั่ง ตวง วัดและนับจำ�นวนได้ คนใน สังคมแบบวัตถุนิยมจึงใส่ใจกับการคิดคำ�นวณว่าหากเสียสิ่งใด สิ่งหนึ่งไปแล้ว ผลตอบแทนที่ได้มาจะคุ้มค่าหรือไม่ เมื่อนำ�เรื่อง ศาสนาไปใส่ในกรอบคิดคำ�นิยามนีจ้ ะพบว่าหากศาสนาสามารถ ตอบโจทย์ ไ ด้ ว่ า เมื่ อ เข้ า ร่ ว มแล้ ว จะเสี ย อะไรและจะได้ อ ะไร และถ้าผลลัพธ์ที่ได้ออกมาคุ้มค่า ก็เป็นไปได้ว่าศาสนาจะได้รับ การนับถือแม้จากกลุ่มคนที่ให้ความสำ�คัญกับวัตถุนิยมเช่นกัน นอกจากประเทศในแถบยุ โ รป ประเทศที่ พั ฒ นา แล้วในแถบเอเชียอย่างประเทศญี่ปุ่น ประเทศอันเป็นแหล่ง กำ�เนิดศาสนาชินโต และเป็นประเทศทีม่ วี ดั จำ�นวนมากแห่งหนึง่

ก็กลับเป็นประเทศที่ติดโผคนไม่มีศาสนามากเป็นอันดับต้นๆ ของโลกเช่นกัน ซึง่ แม้คนญีป่ นุ่ บางส่วนจะไม่ระบุศาสนาทีน่ บั ถือ อย่างชัดเจน แต่การใช้ชีวิตของคนญี่ปุ่นเกี่ยวพันกับพิธีกรรม ทางศาสนา ลัทธิ นิกายและปรัชญาต่างๆ มากมาย เช่น การ ดำ�เนินชีวติ โดยยึดถือคุณธรรมจริยธรรมตามอย่างของชินโต และ ขงจื๊อ แม้ว่าจะไม่ได้นับถือศาสนาดังกล่าวก็ตาม ซึ่งการไม่ระบุ ศาสนาของคนญีป่ นุ่ บางส่วนในทีน่ กี้ ไ็ ม่ได้หมายความว่าพวกเขา ห่างไกลศาสนาแต่อย่างใด แม้ เ มื่ อ ก่ อ นศาสนาอาจเป็ น สิ่ ง ที่ เ อื้ อ ต่ อ ความ เจริ ญ สั ง คม แต่ ส ถิ ติ ใ นปี นี้ ชี้ ใ ห้ เ ห็ น ว่ า ประเทศที่ Human Development Index (HDI= ดัชนีการพัฒนามนุษย์) สูงมาก กลับกลายเป็นประเทศที่ศาสนามีความสำ�คัญน้อยลงทั้งสิ้น แต่ หากจะบอกว่าการละทิง้ ศาสนาจะนำ�มาซึง่ ความเจริญก็คงจะไม่ ถูกต้องเพราะในอดีตศาสนามีความสำ�คัญมาก เพียงแต่เมื่อถึง จุดจุดหนึ่ง บางสิ่งบางอย่างอาจถูกให้ความสำ�คัญแทนที่ตาม กลไกของสังคม การให้ ค วามหมายของคนไร้ ศ าสนาว่ า เป็ น คน ป่าเถื่อน ไม่รู้จักพัฒนาตัวเองคงต้องถูกแทนที่ด้วยคำ�นิยาม ใหม่ๆ เพราะนิยามนี้คงไม่ใช่นิยามที่เหมาะสมกับบริบทของ สังคมปัจจุบันอีกต่อไป เมื่อการนับถือศาสนามีแนวโน้มเปลี่ยนแปลงไปใน ทิศทางเช่นนี้แล้ว การใช้ศาสนาเป็นตัวตัดสินว่าใครเป็นคนดี หรือไม่นนั้ อาจไม่ใช่มาตรวัดทีม่ ปี ระสิทธิภาพเท่าใดนัก เนือ่ งจาก เราไม่สามารถสรุปได้วา่ คนไม่มศี าสนาเป็นคนทีไ่ ม่ยดึ ถือสิง่ ใดๆ เลยในชีวิต เพราะแท้จริงแล้วคนเหล่านั้นอาจยึดถือแนวคิดบาง ประการทีเ่ ปีย่ มไปด้วยศีลธรรมและจริยธรรมทีพ่ วกเขากลัน่ กรอง มาจากหลายๆ ศาสนาที่พวกเขาเล็งเห็นว่ามีเหตุมีผลก็เป็นได้ การตัดสินบุคคลอื่นว่าเป็นคนเช่นไรจึงต้องอาศัย หลายๆ กรอบหรือบางทีอาจต้องใช้ ‘สถานการณ์’ เป็นพื้นฐาน เพราะสภาพสังคมที่ซับซ้อนเช่นนี้ มีหลายปัจจัยหลายตัวแปร ประกอบกั น เข้ า เป็ น เหตุ ผ ลของหนึ่ ง การกระทำ � เพี ย งคำ � ว่ า ‘ศาสนา’ จึงไม่เพียงพอ ดังทีพ่ ระไพศาล วิสาโลได้กล่าวไว้วา่ “อย่าตัดสินคน ที่รูปแบบหรือความเชื่ออย่างเดียว ต้องดูที่การกระทำ�ด้วย คน ที่มีความเชื่อสูงส่งหรือสวยหรู แต่ประพฤติตนยํ่าแย่หรือถึงขั้น โหดร้ายป่าเถื่อนก็มีไม่น้อย อย่าลืมว่าการสังหารผู้คนที่บริสุทธิ์ ในนามของศาสนา ก็มใี ห้เห็นอยูเ่ ป็นประจำ�ตลอดประวัตศิ าสตร์ ที่ผ่านมา” -

นักฟุตบอลกับอาชีพเสริมรายได้มหาศาล สิรินุช ชุ่มโสตร์

ณะที่ ผู้ เ ขี ย นกำ � ลั ง ตรวจสอบข่ า ว ฟุ ต บอลตามปกติ ดู เ หมื อ นว่ า ข่ า วเด่ น ดั ง ในช่ ว งนี้ ที่ ทำ � ให้ บ รรดา แฟนคลั บ CR7 หรื อ คริ ส เตี ย โน่ โรนั ล โด้ นั ก เตะซุ ป เปอร์ ส ตาร์ ช าวโปรตุ กี ส ของ เรอัล มาดริด ต้องอกสั่นขวัญแขวน คือข่าวที่ ซุ ป เปอร์ ส ตาร์ ร าคา 80 ล้ า นปอนด์ ถู ก ศอก เข้าคิ้วด้านซ้ายแตกเลือดอาบ จนต้องถอนตัว จากคิวนัดอุน่ เครือ่ งทีมชาติโปรตุเกสกับกาบอง งานนี้ถึงแม้จะเจ็บ แต่ CR7 ก็ลงเตะต่อ และ ตะบันลูกให้เรอัล มาดริดไปหนึ่งลูก สมราคาที่ ทุ่มซื้อมาจากแมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด เมื่อเดือน มิถุนายน 2009 เมื่ อ พู ด ถึ ง ซุ ป เปอร์ ส ตาร์ ค นดั ง อย่างคริสเตียโน่ โรนัลโด้ ก็อดคิดถึงโฆษณา เคลี ย ร์ เมน (Clear Men) ไม่ ไ ด้ ในยุ ค ที่ กระแสโลกาภิ วั ต น์ ง อกงาม การลงทุ น การค้ า ระหว่ า งประเทศเป็ น ไปอย่ า งเสรี โฆษณาหลายชิ้นในประเทศไทย เป็นโฆษณา ที่ถูกซื้อลิขสิทธิ์มาจากต่างประเทศ โฆษณา

หลายชิ้ น มี ลั ก ษณะการผลิ ต เพื่ อ ใช้ สำ � หรั บ เผยแพร่ ไ ปทั่ ว โลก จุ ด นี้ เ อง บุ ค คลที่ ผู้ ค น ชืน่ ชอบ หรือ ‘ไอดอล’ (Idol) เข้ามามีบทบาทใน ตลาดของการโฆษณา เมื่ อ ไอดอลของประเทศหนึ่ ง ๆ ไม่ ไ ด้ เ ป็ น เพี ย งแค่ ไ อดอลของประเทศนั้ น ๆ นั ก ร้ อ งดั ง อย่ า งมาดอนน่ า ไม่ เ พี ย งเป็ น ไอดอลของคนอเมริกัน แต่ยังเป็นไอดอลของ คนทั้งโลก นักแสดงหนุ่มอย่างแบรด พิตต์ ก็ เป็นนักแสดงขวัญใจชาวโลก มากกว่าเป็นเพียง นั ก แสดงชาวอเมริ กั น ในทำ � นองเดี ย วกั น นั ก กี ฬ าของประเทศหนึ่ ง ๆ ก็ ส ามารถเป็ น ขวัญใจของผู้รับชมกีฬาทั่วโลกได้ ด้ ว ยเหตุ นี้ นั ก ฟุ ต บอลในลี ก ต่างชาติ โดยเฉพาะลีกชั้นนำ� อาทิ พรีเมียร์ลีก อังกฤษ เซเรียอาอิตาลี หรือลาลีกาสเปน ที่มี ผู้รับชมปีปีหนึ่งไม่ตํ่ากว่า 600 ล้านคนทั่วโลก (อ้างอิงจากการเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์เผยแพร่ ผ่านเครือข่ายของนิวส์ คอร์ปอเรชั่น (News Corporation) ซึ่งเป็นบริษัทเจ้าของธุรกิจสื่อ ขนาดใหญ่ของโลก เช่น ฟ็อกซ์ (FOX)) จึง กลายเป็นไอดอลระดับโลกได้อย่างรวดเร็ว ห น้ า ที่ ก า ร ง า น ข อ ง นั ก กี ฬ า โดยเฉพาะนักฟุตบอลจึงเปลี่ยนไป นักฟุตบอล

คนหนึ่ ง จึ ง เป็ น ทั้ ง นั ก กี ฬ า ดารา ไอดอล แบรนด์ แอมบาสเดอร์ (Brand Ambassador) หรื อ พรี เ ซนเตอร์ (Presenter) เช่ น เฟอร์ น านโด ตอร์ เ รส กองหน้ า ที ม ชาติ สเปน ที่เป็นพรีเซนเตอร์ของห้างสรรพสินค้า เอล คอรเต้ อิงเกรส (El Corte Inglés) ของสเปน ริคาร์โด้ กาก้า อดีตสตาร์ดังแห่งเอซี มิลานกับ พรีเซนเตอร์ช่องสกายทีวี (Sky TV) ของอิตาลี เดวิด เบ็คแฮม สุดหล่อตลอดกาลของทีมชาติ อังกฤษกับแบรนด์เสือ้ ผ้าเอช แอนด์ เอ็ม (H&M) น อ ก จ า ก สิ น ค้ า ที่ เ น้ น พ ว ก แบรนด์ เ นมและไฮเอน (Hi-end) แล้ ว นักฟุตบอลยังเป็นพรีเซนเตอร์ให้กับสินค้าพวก อาหารและเครื่องดื่มด้วย เช่น ลูคัส โพดอลสกี้ เจ้าชายแห่งทีมชาติเ ยอรมัน กับพรีเ ซนเตอร์ ขนมปังกรอบปรินเซนรอล (Prinzen Rolle) เครื่องดื่มอย่างเป๊ปซี่เอง ก็มักจะได้นักฟุตบอล มาเป็นพรีเซนเตอร์ให้แทบยกทีม ยังไม่รวม ถึงสินค้าประเภทรองเท้า เครื่องดื่มเกลือแร่ อุปกรณ์กฬี า ทีน่ กั ฟุตบอลมักจะได้รบั เลือกเป็น พรีเซนเตอร์อยู่แล้ว เ มื่ อ เ อ า ร า ย ไ ด้ ม า แ จ ก แ จ ง จะพบว่า นักฟุตบอลบางคน มีรายได้จากการ ทำ�งานอืน่ ๆ (เช่น พรีเซนเตอร์ แบรนด์ แอมบาส -

เ ด อ ร์ ) สู ง ก ว่ า เ งิ น ที่ ไ ด้ จ า ก ก า ร เ ต ะ ฟุ ต บอล จากการจั ด อั น ดั บ โดยนิ ต ยสาร ฟรองซ์ ฟุ ต บอล (France Football) ในปี 2012 นั ก ฟุ ต บอลอย่ า งลี โ อเนล เมสซี มี ร ายได้ ป ระมาณ 1.35 พั น ล้ า นบาท แจกแจงเป็นเงินที่ได้จากการลงเตะให้กับทีม บาร์ เ ซโลน่ า 430 ล้ า นบาท เงิ น โบนั ส อี ก ประมาณ 61 ล้านบาท และเงินจากการเป็น พรีเซนเตอร์สินค้า เช่น อาดิดาส (Adidas) อีเอ สปอร์ตเกมส์ (EA Sports games) เป็นเงิน ถึง 860 ล้านบาท นอกจากเมสซีแล้ว นักฟุตบอลอย่าง เดวิด เบ็คแฮม หรือ คริสเตียโน โรนัลโด้ ก็เป็น นักฟุตบอลที่มีรายได้จากการเป็น พรีเซนเตอร์ สินค้า มากกว่าการค้าแข้ง กับแอลเอ กาแล็กซี และเรอัล มาดริด ตามลำ�ดับ จะเห็ น ได้ ว่ า ในยุ ค ที่ โ ลกเปลี่ ย น นักฟุตบอลเองก็เปลี่ยน แม้แต่วงการฟุตบอล เอง ยังกลายเป็นเรื่องที่มีเงินตรา โฆษณาและ ชื่อเสียงเข้ามาเกี่ยวข้อง จึงไม่น่าแปลกใจเลย ที่นักฟุตบอลหลายคนอยากเป็นสตาร์ อยากมี ชื่อเสียง ในเมื่อชื่อเสียงไม่ได้การันตีแค่สโมสร ดังที่จะมาคว้าตัว แต่มันการันตี ถึงงานอื่นๆ ที่ ให้เงินได้มากกว่าการเตะฟุตบอล -


SDP YOCSL TIOTO IO P CI APS 24 24 24

Dystopia

เรื่อง : ประณัฐ พรศรีนิยม ภาพประกอบ : รวินท์ เจริญสุข

เมื่อมนุษย์สร้างโลกพระศรีอาริย์

พุ

ทธพยากรณ์ ใ นพระไตรปิ ฎ กกล่ า วไว้ ว่ า ในอนาคตเมื่ อ มนุ ษ ย์ มี อ ายุ ยื น ถึ ง 8 หมื่ น ปี พระผูม้ พี ระภาคเจ้าทรงพระนาม ‘พระศรีอริยะเมตไตร’ จะเสด็จอุบตั ขิ นึ้ บนโลก พระศาสนา ของพระองค์จะมีความรุง่ เรืองกว่ายุคสมัยใดๆ มนุษย์ทกุ คนอยูใ่ นศีลธรรม ไม่มคี วามขัดแย้ง และสงคราม ทุกคนพอใจในความเป็นอยู่ของตัวเอง ไม่มีความเหลื่อมลํ้าทางฐานะ ทุกคน ไม่ต้องทำ�งาน สิ่งของเครื่องบริโภคทั้งปวงจะเกิดเป็นเครื่องทิพย์ เสื้อผ้าก็เป็นผ้าทิพย์อันเกิดจากต้น กัลปพฤกษ์ 4 มุมเมือง มนุษย์ทุกคนอยู่กันอย่างสันติเเละเท่าเทียม เป็ น เวลาหลายพั น ปี ที่ ม นุ ษ ย์ ม องดู ท้ อ งฟ้ า และจิ น ตนาการถึ ง สรวงสวรรค์ โ ลก พระศรีอาริย์เป็นหนึ่งในแนวคิดสังคมอุดมคติที่กล่าวถึงโลกที่ปราศจากสงคราม โรคภัยไข้เจ็บ และความทุกข์ ในหลายศาสนาเเละลัทธิทางการเมือง รวมถึงวรรณกรรมหลายเล่มเองก็มีการ วาดภาพโลกในอุดมคติเเตกต่างกันออกไป ซึ่งทั้งหมดนี้ต่างถูกเรียกรวมกันว่า Utopia (ยูโทเปีย) อัน หมายถึง โลกที่มีแต่ความดีงามและสันติสุข

ไม่ ไ ด้ รั บ ข่ า วสารทางอื่ น นอกจากรั ฐ การปกครองแบบนี้ เ ป็ น ไป ตามแนวคิด ‘อำ�นาจนิยม’ (Totalitarianism) ซึ่งประชาชนยินยอมให้ ผู้ปกครองกลุ่มหนึ่งมีอำ�นาจเบ็ดเสร็จในการปกครองรัฐ 1984 ของออร์เวลล์ทำ�ให้ผู้อ่านหลายคน เกิดความสงสัยในความจริงของข้อมูลที่ เรารับรูอ้ ยูใ่ นปัจจุบนั ว่าเรากำ�ลังถูกควบคุมโดยอำ�นาจเบือ้ งบนอยูห่ รือไม่ เราอาจจะกำ�ลังถูกล้างสมอง โดยโฆษณาชวนเชื่อที่เราหลงคิดว่าเป็นความจริงอยู่ก็เป็นได้เพราะในอีกแง่หนึ่ง ความเท่าเทียมกันที่ เราใฝ่หาอาจไม่มีอยู่จริงและการที่มนุษย์รับรู้ข้อมูลที่ผ่านการคัดกรองและบิดเบือนแล้วนั้น อาจจะ ดีกว่าการรับรู้ความจริง กระบวนการนี้ อาจเป็นไปเพื่อสันติสุขของประเทศและเพื่อความสงบสุขของ ประชาชน แม้เเต่ในประเทศไทยเอง การควบคุมข่าวสารของรัฐและการเชิดชู Big Brother หรือผูน้ �ำ ใน อุดมคติ ให้ประชาชนมีความจงรักภักดีกอ็ าจจะเป็นวิธกี ารสร้างความรักความสามัคคีให้เกิดขึน้ ในชาติ แบบดิสโทเปียก็เป็นได้

ในอนาคตอั น ใกล้ เป็ น ไปได้ ห รื อ ไม่ ที่ ม นุ ษ ย์ จ ะสามารถเนรมิ ต โลก พระศรีอาริย์ขึ้นได้จริง? สุขนคร เมื่อความสุขคือทุกอย่าง

เสมอภาคนคร เมื่อคอมมิวนิสต์สร้างโลกพระศรีอาริย์

เสมอภาคนครคือเมืองที่ยึดหลักแนวคิด ‘เสมอภาคนิยม’ เป็นที่ตั้ง โลกเราจะไม่มีความ ขัดแย้งและไม่เบียดเบียนซึ่งกันและกันได้ก็ต่อเมื่อทุกคนเสมอภาคกัน คาร์ล มาร์กซ์ นักปรัชญาสังคมนิยมชาวเยอรมันคือต้นแบบของแนวคิดนี้ เขากล่าว ไว้ว่า ประวัติศาสตร์ของสังคมทั้งหมดที่ผ่านมาจนกระทั่งถึงปัจจุบันล้วนแต่เป็นประวัติศาสตร์ แห่งการต่อสู้ทางชนชั้น ตั้งแต่ชนชั้นนายทาสกับทาส ชนชั้นขุนนางกับไพร่ติดที่ดิน จนกระทั่ง ความเจริญทางวิทยาศาสตร์ท�ำ ให้เกิดการปฎิวตั ทิ างอุตสาหกรรมและเกิดระบอบทุนนิยมสังคมชนชัน้ ก็ยังมีอยู่ในรูปแบบของนายทุนกับกรรมกร คาร์ ล มาร์ ก ซ์ จึ ง ได้ เ เถลงคำ � ประกาศพรรคคอมมิ ว นิ ส ต์ (The Communist Manifesto) ที่ต้องการทำ�ให้สังคมมีความเสมอภาค โดยให้ที่ดินเป็นทรัพย์สินส่วนรวมมีการกระจาย รายได้อย่างเท่าเทียม มนุษย์ทุกคนสามารถใช้ชีวิตตามใจปรารถนาโดยมีเพียงความรับผิดชอบ ต่อตนเองและชุมชนโดยรวม แต่เมื่อสหภาพโซเวียตนำ�แนวคิดนี้มาปฎิบัติจริง กลับกลายเป็นว่า ชนชัน้ ล่างในสังคมต้องทำ�งานอย่างหนักให้เเก่รฐั ผูน้ �ำ ของรัฐเกิดทุจริตคอรัปชัน่ กลายเป็นผูน้ �ำ เผด็จการ ใช้อำ�นาจกดขี่ชนชั้นล่างในสังคม ไม่ได้เสมอภาคและแบ่งปันทรัพย์สินอย่างยุติธรรมตามที่พวกเขา ได้วาดฝันกันไว้ Utopia ของคาร์ล มาร์กซ์ จึงกลับกลายเป็น ดิสโทเปีย (Dystopia) โลกอันเลวร้ายที่ ตรงข้ามจากโลกพระศรีอาริย์อย่างสิ้นเชิง

เสนานคร เมื่อความเท่าเทียมไม่มีอยู่จริง

“ผู้ ที่ ค วบคุ ม ปั จ จุ บั น ย่ อ มบงการอดี ต ได้ ผู้ ที่ ค วบคุ ม อดี ต ได้ ย่ อ มบงการอนาคตได้ ” ตอนหนึ่งจากวรรณกรรม1984 โดย จอร์จ ออร์เวลล์ (George Orwell) นวนิยายดิสโทเปียเรื่องนี้เล่าถึงนครลอนดอนในปี ค.ศ.1984 เมื่อรัฐเข้าไปมีบทบาท ในทุ ก สิ่ ง ทุ ก อย่ า งของประชาชน รั ฐ มี ตั ว แทนคอยจั บ ตาดู ผู้ ค นอยู่ ต ลอดเวลาผ่ า นทางจอ โทรภาพที่ติดตั้งในทุกๆ บ้านและทุกสถานที่ของรัฐ จอโทรภาพนั้นจะฉายภาพของ Big Brother หรือ ‘พี่เบิ้ม’ ชายในอุดมคติที่เป็นผู้นำ�สูงสุดของรัฐ ประชาชนจะได้รับข้อมูลที่ถูกบิดเบือน ทั้ง จากจอโทรภาพ จากการเรี ย นรู้ และจากแนวคิ ด ที่ ถู ก ปลู ก ฝั ง มาตั้ ง แต่ เ ด็ ก โดยประชาชน

ในขณะที่โลกใน 1984 ของ จอร์จ ออร์เวลล์ ปกครองประชาชนด้วยความกลัวและ การบิดเบือนข้อมูล โลกของ The Brave New World นวนิยายแนวดิสโทเปียชื่อดังอีกเรื่องของ อัลดัส ฮักซเลย์ (Aldous Huxley) ก้าวลํ้าไปอีกขั้นด้วยโลกที่ปกครองประชาชนผ่าน ‘ลัทธิสุขนิยม’ (Extreme Utilitarianism) โลกอนาคตใน The Brave New world คือโลกที่ไม่แบ่งแยกออกเป็นประเทศต่างๆ อีกต่อไป และมี ‘รัฐโลก’ (World State) เป็นรัฐบาลเพียงหนึ่งเดียวที่ปกครองคนทั้งโลก ประชากรโลก ถูกแบ่งชนชั้นตั้งแต่แรกเกิด รัฐโลกใช้เทคโนโลยีตัดต่อพันธุกรรมเพื่อ ‘สร้าง’ ทารกแบบที่ต้องการ อาทิ ผลิตแฝดเหมือนเก้าสิบหกคู่จากไข่ใบเดียวเพื่อเป็นชนชั้นแรงงาน และใช้กระบวนการควบคุม จิตใจ เช่น เปิดเทปสะกดจิตทารกยามหลับ และการช็อตด้วยไฟฟ้าเพื่อ ‘กล่อม’ ให้พวกเขามีความ ภาคภูมใิ จและพอใจในชนชัน้ ของตัวเอง อยูใ่ นโอวาทของรัฐ รูห้ น้าทีข่ องตัวเองในสังคม และปราศจาก ความทะยานอยากใดๆ ทั้งปวง ในเมื่อรัฐโลกเป็นผู้ควบคุมการสืบพันธุ์ของมนุษยชาติก็ไม่มีใครรู้จักคำ�ว่า ‘พ่อ’ ‘แม่’ หรือ ‘ครอบครัว’ ทุกๆ คนจะอยู่ไปจนถึงอายุ 60 ปี โดยไม่แก่และไม่เจ็บป่วย รัฐสร้างความสุขมา ปรนเปรอผ่านยาวิเศษที่เรียกว่า โซมะ (soma) และมีสื่อบันเทิงเสมือนจริงที่หลอกประสาทสัมผัส ทั้งห้า เรียกว่า ฟีลี่ส์ (feelies) ทุกคนจะเพลิดเพลินจนไม่นึกใฝ่หาเสรีภาพหรือจิตวิญญาณอันเป็นภัย ต่อความเป็นระเบียบเรียบร้อยของรัฐ และหากวันใดประชาชนเกิดรู้สึกเบื่อหน่าย ตื่นตระหนก หรือ ไม่สบายใจ พวกเขาก็เพียงแต่ต้องเสพโซมาและฟีลี่ส์มากกว่าปกติเท่านั้นเอง The Brave New World ดูจะเป็นทางออกทีง่ า่ ยสำ�หรับประชาชนทัว่ ไปเพราะวิทยาศาสตร์ ช่วยดลบันดาลให้มนุษย์มแี ต่ความสุข หากแต่เป็นได้เพียง ‘ดิสโทเปีย’ เพราะปัจจัยสำ�คัญใน ‘ยูโทเปีย’ คือ ‘เสรีภาพในการดำ�เนินชีวิต’ ซึ่งประชาชนใน The Brave New World ไม่มี ในอนาคตอันใกล้ หากมนุษย์ยังคงมองขึ้นไปบนท้องฟ้าและจินตนาการถึงสรวงสวรรค์ ทฤษฎีใดกันที่จะเนรมิตโลกพระศรีอาริย์ให้เกิดขึ้น เมื่อเทคโนโลยีใหม่ๆ สร้างอาหารทิพย์และเสื้อผ้า ทิพย์ให้เป็นจริงได้ เมื่อการแพทย์อันก้าวหน้าทำ�ให้มนุษย์ข้ามพ้นขีดจำ�กัดของความตาย เมื่อ การพัฒนาทางการสื่อสารปลดปล่อยปัจเจกชนให้พ้นจากการควบคุมของรัฐและความไม่รู้ สุดท้าย เมื่ อ วิ ท ยาศาสตร์ แ ละศี ล ธรรมในจิ ต ใจคนเติ บ โตขึ้ น ตามกั น เมื่ อ นั้ น ...โลกพระศรี อ าริ ย์ ก็ อ าจ อยู่เพียงแค่ปลายจมูก -


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.