ฉบับ เทพาบ้านเรา โครงการโรงไฟฟ้าถ่านหิน
และเสียงสะท้อนจากชาวเทพาสู่สังคม วารสารฝึกปฏิบัติ ภาควิชาวารสารสนเทศ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พฤษภาคม 2561
รายชื่อกองบรรณาธิการ วารสารฝึกปฏิบัติ ภาควิชาวารสารสนเทศ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อาจารย์ที่ปรึกษา: พรรษาสิริ กุหลาบ บรรณาธิการเนื้อหา: พชร ค�ำช�ำนาญ กองบรรณาธิการ: สิรารมย์ เตชะศรีอมรรัตน์ นัจนันท์ เกตุสุวรรณ พชร ค�ำช�ำนาญ รณิดา บริบูรณ์ภัทรกุล ธนภัทร เกษร กองบรรณาธิการศิลป์: สิรารมย์ เตชะศรีอมรรัตน์ นัจนันท์ เกตุสุวรรณ รณิดา บริบูรณ์ภัทรกุล เมธาวจี สาระคุณ เอม มฤคทัต บรรณาธิการผู้พิมพ์โฆษณา: ผศ.ดร.ณรงค์ ข�ำวิจิตร์ ที่อยู่: 254 ถนนพญาไท แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330 โทร : 0-2218-2140 Facebook: www.facebook.com/ nisitjournal Twitter: @nisitjournal Website: http://nisitjournal.press
สแกน QR Code เพื่ออ่านต่อ
สารบัญ พลังงานมาจากไหน
5
ช�ำแหละ PDP2015
6
ส่องข้อดีข้อเสีย 8 ทางเลือกพลังงาน
8
เรื่องราวของถ่านหิน
10
โครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินเทพา
11
เสียงชุมชน คนเทพา
12
ตอบทุกข้อสงสัย จากใจ กฟผ.
14
ท�ำไมต้องเทพา
15
เสียงชุมชนอยู่ตรงไหน
16
รวมกันเราอยู่
18
ผลกระทบจากโรงไฟฟ้าถ่านหิน
19
ผลกระทบต่ออาชีพ
20
ผลกระทบต่อวิถีชุมชน
21
ผลกระทบต่อสุขภาพ
22
ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
23
ในโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินเทพา
บทบรรณาธิ ก าร ร่วมกันรักษาบ้าน...ด้วยการมีส่วนร่วม เมื่อต้นเดือน ก.พ. ทีผ่ า่ นมา พืน้ ทีห่ น้าองค์การสหประชาชาติ กลางกรุงเทพมหานคร กลายเป็นสถานที่ปักหลักชุมนุมของชาวเทพาที่คัดค้านโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหิน จนวันที่ 20 ก.พ. 2561 รมว.พลังงานยินยอมลงนามในสัญญากับกลุ่มผู้ชุมนุม น�ำไปสู่การยกเลิกรายงาน EHIA ฉบับปี 2560 และให้มีการจัดท�ำรายงานประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ (SEA) เพือ่ ประเมินความเหมาะสมของพืน้ ที่ ต.ปากบาง อ.เทพา ว่าเหมาะสมจะสร้างโรงไฟฟ้าหรือไม่ ขณะทีผ่ ชู้ มุ นุมคัดค้านโรงไฟฟ้าก�ำลังเดินทางกลับบ้าน ชาวเทพาทีส่ นับสนุนโครงการ โรงไฟฟ้าถ่านหินได้เดินทางไปชุมนุมที่หน้ากระทรวงพลังงานและ กฟผ. เพื่อให้ รมว.พลังงาน กลับมาใช้รายงาน EHIA ตามเดิม จนวันที่ 28 มี.ค. 2561 รมว.พลังงานได้ลงนามในสัญญา อีกฉบับกับกลุ่มผู้สนับสนุน มีใจความหลักว่า หากการศึกษา SEA พบว่าพื้นที่นี้เหมาะสม ให้จัดท�ำ EHIA ของท่าเทียบเรือส�ำหรับโรงไฟฟ้าถ่านหินให้แล้วเสร็จภายในหนึ่งปี แต่หากไม่ เหมาะสม ก็ค่อยพิจารณาหาพื้นที่อื่นต่อไป ในระหว่างการลงพื้นที่การชุมนุมและ อ.เทพา นิสิตนักศึกษา ได้รับฟังความเห็นที่ หลากหลาย ชาวชุมชนต่างรักบ้านเกิด แต่ทั้งสองฝ่ายมีความกังวลกันคนละประเด็น ฝ่าย สนับสนุนเห็นว่า คุณภาพชีวติ ณ ปัจจุบนั ยังไม่ดเี ท่าทีค่ วร การมีโรงไฟฟ้าจะน�ำพาความเจริญ มาให้ ประชาชนจะมีอาชีพที่มั่นคงขึ้น ขณะที่ฝ่ายคัดค้านกังวลว่า การมีโรงไฟฟ้าถ่านหินจะ ท�ำลายสิ่งแวดล้อม การประกอบอาชีพดั้งเดิม และวิถีชีวิตของคนในชุมชน เมื่อมีความเห็น แตกต่าง แต่ไม่มพี นื้ ทีพ่ ดู คุยเพือ่ ให้ได้รบั ข้อเท็จจริงและหาจุดทีล่ งตัว ทางออกอันเป็นทีย่ อมรับ ของทั้งสองฝ่ายจึงไม่เกิด “การมีส่วนร่วมของประชาชน” เป็นหนึ่งในหลักสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน แม้ว่า ความหวังดีของภาครัฐที่จะพัฒนาพื้นที่เป็นสิ่งที่ดี แต่จะขาดความชอบธรรมทันทีหากขาด การมีสว่ นร่วมของประชาชนผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง นอกจากนั้น การมีส่วนร่วมกันเองภายในชุมชน ก็ส�ำคัญไม่แพ้กัน การหันหน้าเข้าหากัน พูดคุยกันเพื่อหาทางออกที่ทุกคนยอมรับได้น่าจะ เป็นทางออกที่ดีที่สุด นิสิตนักศึกษา ไม่ใช่ชาวชุมชนหรือผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนา จึงไม่อาจเสนอ แนวทางแก้ปัญหาที่มีประสิทธิภาพสูงสุด แต่ชาวชุมชนผู้เข้าใจพื้นที่ “บ้าน” ของตนอย่าง ถ่องแท้น่าจะร่วมพูดคุยกัน และส่งสารไปถึงภาครัฐที่ควรเปิดกว้างรับฟังเสียงของชุมชน เรา จึงท�ำได้เพียงเป็นผู้รวบรวมข้อมูลที่หลากหลาย และเปล่งเสียงของชาวเทพาให้ไกลออก ไปนอกพื้นที่ เราหวังว่า ชาวชุมชนจะตระหนักถึงสิทธิในการมีส่วนร่วมของตน เพื่อรักษา “เทพาบ้านเรา” ไว้ให้อนุชนรุ่นหลังสืบไป
นิสิตนักศึกษา ฉบับ เทพาบ้านเรา I
พลังงานมาจากไหน?
5
เรื่อง-ภาพ: นัจนันท์ เกตุสุวรรณ
แผนพัฒนาก�ำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศ (Power Development Plan : PDP) เป็น แผนแม่บทในการผลิตไฟฟ้าของประเทศ ว่าด้วยการจัดหาพลังงานไฟฟ้าใน 15 -20 ปี เพือ่ สร้างความมั่นคงและความเพียงพอต่อความต้องการใช้ เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของ ประชาชน และเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ
ข้อดี
ข้อเสีย
เป็นเชื้อเพลิงฐาน สามารถผลิตไฟฟ้าได้ ตลอด 24 ชั่วโมง และมีความมั่นคงสูง เนือ่ งจากมีปริมาณส�ำรองมาก นอกจากนัน้ ต้นทุนการผลิตไฟฟ้าจากถ่านหินยังถูก ท�ำให้ค่าไฟฟ้าภายในประเทศถูกลง
ในไทยไม่มีถา่ นหินคุณภาพดี จึงต้องน�ำเข้า ถ่านหินจากต่ า งประเทศ จึ ง มี ค ่ า ขนส่ ง นอกจากนั้น กระบวนการผลิตไฟฟ้ายังก่อ ให้เกิดมลภาวะทางอากาศ และมีสารพิษ จากโลหะหนัก
ข้อดี
ข้อเสีย
เป็นแหล่งพลังงานธรรมชาติที่ใช้แล้วไม่มี วันหมดไป มีค่าใช้จ่ายในการเดินเครื่อง และบ� ำ รุ ง รั ก ษาต�่ ำ และไม่ ก ่ อ ให้ เ กิ ด มลภาวะจากการผลิตไฟฟ้า
ไม่เสถียร เพราะความเข้มของแสงแดดไม่ คงที่ การเก็บไฟฟ้าในแบตเตอรี่เพื่อใช้ เวลากลางคืนมีค่าใช้จ่ายสูง และการท�ำ โซลาร์ฟาร์มต้องใช้พนื้ ทีม่ าก อาจต้องย้าย ชุมชนออกนอกพื้นที่
ถ่านหิน เป็นแร่เชื้อเพลิงที่เกิดจากการตกตะกอนสะสมของซากพืชในยุคดึกด�ำบรรพ์จนเปลี่ยนสภาพเป็น หินตะกอน ยิง่ มีปริมาณคาร์บอนมาก ค่าความร้อนสูง ค่าความชืน้ ต�ำ่ ปริมาณก�ำมะถันต�ำ่ ก็จะยิง่ เป็นถ่านหิน คุณภาพดี โดยถ่านหินที่จะใช้ในโรงไฟฟ้าเทพาคือ ซับบิทูมินัส ที่น�ำเข้าจากอินโดนีเซีย
6 I นิสิตนักศึกษา ฉบับ เทพาบ้านเรา
พลังงานมาจากไหน?
ช�ำแหละ PDP2015
©
เรื่อง: สิรารมย์ เตชะศรีอมรรัตน์ ภาพ: เมธาวจี สาระคุณ
แผน PDP คืออะไร
แผนพัฒนาก�ำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศ (Power Development Plan : PDP) เป็นแผนแม่บทในการผลิตไฟฟ้า ของประเทศ ว่าด้วยการจัดหาพลังงานไฟฟ้าในระยะยาว 15 -20 ปี เพื่อสร้างความมั่นคงและความเพียงพอต่อ ความต้องการใช้ พัฒนาคุณภาพชีวติ ของประชาชน และเพือ่ การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ แผน PDP ฉบับ ปัจจุบัน คือ แผนพัฒนาก�ำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย พ.ศ.2558-2579 หรือ PDP2015
ใครเขียน PDP2015
คณะอนุกรรมการพยากรณ์และจัดท�ำแผนพัฒนาก�ำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศ ในคณะกรรมการนโยบาย พลังงานแห่งชาติ (กพช.)
เป้าหมายที่ระบุไว้ใน PDP2015 ด้านความมั่นคงทางพลังงาน ปริ ม าณพลั ง งานไฟฟ้ า ในประเทศต้ อ งเพี ย งพอ ต่อความต้องการใช้ไฟฟ้าของประเทศ ใช้เชือ้ เพลิงหลาก หลาย และลดความเสีย่ งจากการพึง่ พาเชือ้ เพลิงชนิดใด ชนิดหนึง่ มากเกินไป ด้านเศรษฐกิจ ต้องมีต้นทุนการผลิตที่เหมาะสมและค�ำนึงถึงการใช้ ไฟฟ้าอย่างมีประสิทธิภาพในภาคเศรษฐกิจต่างๆ ด้านสิ่งแวดล้อม ต้องลดผลกระทบที่จะเกิดกับสิ่งแวดล้อมและชุมชน และลดปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ทปี่ ล่อยในการผลิต
สัดส่วนพลังงานเป้าหมาย ปี 2557
ปี 2579
หน่วย: ร้อยละ ที่มา : แผนพัฒนาก�ำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย พ.ศ.2558-2579
ขั้นตอนการจัดท�ำ PDP2015 ขั้นตอนที่ 1 คณะอนุกรรมการฯ จัดท�ำค่าพยากรณ์ความต้องการใช้ ไฟฟ้ า (Load Forecast) ประมาณการแนวโน้ ม เศรษฐกิ จ ไทย หรื อ ผลิ ต ภั ณ ฑ์ ม วลรวมในประเทศ (GDP) และผลิตภัณฑ์มวลรวมรายภาค (GRP) การ เพิ่ ม ประสิ ท ธิ ภ าพ และลดการใช้ พ ลั ง งานไฟฟ้ า สอดคล้องกับแผนอนุรักษ์พลังงาน ขั้นตอนที่ 2 คณะอนุกรรมการฯ จัดท�ำสมมติฐานหลัก ในการจัดท�ำ แผน PDP ความมั่นคงของระบบไฟฟ้า เช่น ก�ำลังผลิต ไฟฟ้าส�ำรอง การกระจายเชื้อเพลิง ในการผลิตไฟฟ้า เป็นต้น ด้านการจัดหาไฟฟ้าในอนาคต เช่น การเลือก ประเภทโรงไฟฟ้า เป็นต้น ด้านสิ่งแวดล้อม เช่น ลดการ ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ เป็นต้น ขั้นตอนที่ 3 คณะอนุ ก รรมการฯ เสนอแผน PDP ต่ อ กระทรวง พลังงาน จัดท�ำประชาพิจารณ์หรือรับฟังความเห็น จาก ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ขั้นตอนที่ 4 คณะอนุ ก รรมการฯ เสนอคณะกรรมการนโยบาย พลังงานแห่งชาติ (กพช.) เห็นชอบ ขั้นตอนที่ 5 คณะอนุกรรมการฯ เสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบ
พลังงานมาจากไหน?
นิสิตนักศึกษา ฉบับ เทพาบ้านเรา I
7
ช�ำแหละ PDP2015 PDP2015 ในส่วนของ “การพิจารณาความมัน่ คงของระบบไฟฟ้าในภาคใต้” ระบุวา่ เนือ่ งจากความต้องการไฟฟ้า ของภาคใต้เพิ่มเฉลี่ย ร้อยละ 3 ต่อปี จึงก�ำหนดให้เพิ่มโรงไฟฟ้า 3 โรง ได้แก่ โรงไฟฟ้าถ่านหินกระบี่ ก�ำลังการผลิต 800 เมกะวัตต์ และโรงไฟฟ้าถ่านหินเทพา ก�ำลังการผลิต 1,000 เมกะวัตต์ 2 โรง
ปริมาณไฟฟ้าส�ำรอง
กฟผ. บอก
ปริมาณไฟฟ้าส�ำรองสามารถสูงเกินร้อยละ 15 ของปริมาณ ประเทศไทยมีปริมาณไฟฟ้าส�ำรองสูง 1 หมืน่ เมกะวัตต์ หรือร้อย การใช้ไฟฟ้าของประเทศได้ ไม่ใช่ทกุ ประเทศทีก่ ำ� หนดพลังงาน ละ 30 ของปริมาณการไฟฟ้าของประเทศ ไฟฟ้าส�ำรองไว้ที่ร้อยละ 15 ไฟฟ้ามีสองประเภท คือ ไฟฟ้าฐานและไฟฟ้าเสริม ประเภท ปริมาณการใช้ไฟฟ้าของไทยลดลงจากการคาดการณ์ 1 พันกว่า ไฟฟ้าฐานต้องผลิตไฟฟ้าได้ 24 ชั่วโมง ซึ่งจะต้องมีให้เกิน เมกะวัตต์ ภายในเวลา 3 ปี และมีแนวโน้มที่จะลดลงห่างจาก ความต้องการในช่วงที่ความต้องการไฟฟ้าสูงสุด การคาดการณ์ ไฟฟ้าผลิตแล้วต้องใช้เลย ไม่สามารถเก็บไว้ได้ ดังนั้น จะต้อง ปริมาณไฟฟ้าส�ำรองทีผ่ ลิตเกินออกมา มีตน้ ทุน 60 ล้านบาทต่อ ผลิตพลังงานเกินจุดสูงสุดของการบริโภคพลังงานไว้ก่อน 1 หมืน่ เมกะวัตต์ จะมาอยู่ในค่าไฟฟ้าที่ประชาชนต้องจ่าย ไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนเป็น non-firm ซึ่งมีโอกาสผันผวนสูง แนวโน้มการผลิตไฟฟ้าโลก คือ การสร้างโรงไฟฟ้าพลังงาน เช่น ลมหยุดพัด หรือเมฆบังแสงอาทิตย์ ท�ำให้ไม่สามารถใช้เป็น หมุนเวียนเพิ่มขึ้น เนื่องจากไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนสามารถ ไฟฟ้าฐานได้ คาดการณ์ช่วงเวลาการใช้ และสามารถใช้เทคโนโลยีเก็บกัก พลังงานไฟฟ้าได้แล้ว
กฟผ. บอก
ปริมาณไฟฟ้าภาคใต้
นักวิชาการบอก
นักวิชาการบอก
ปริมาณไฟฟ้าในภาคใต้ปัจจุบันไม่พอต่อความต้องการ ต้อง ปริมาณไฟฟ้าในภาคใต้เพียงพอต่อการใช้งานแล้ว โดยมีกำ� ลัง อาศัยไฟฟ้าภาคกลางมาช่วย ในอนาคตอาจไม่เพียงพออีกต่อ การผลิตไฟฟ้าทั้งหมดอยู่ที่ 3,089 เมกะวัตต์ ความต้องการ ไป เพราะเมือ่ มีการพัฒนาก็จะยิง่ ต้องการพลังงานไฟฟ้ามากขึน้ สูงสุดคือ 2,713 เมกะวัตต์ และมีปริมาณส�ำรองอยูร่ อ้ ยละ 17.7 ถ้าหากสายส่งหรือท่อก๊าซขัดข้องจะท�ำให้ไม่สามารถส่งไฟฟ้า ภาคใต้สามารถใช้ไฟฟ้าที่ส่งมาจากภาคกลางได้ โดยไม่ต้อง มาจากภาคกลางได้ จะท�ำให้การใช้ไฟฟ้าทั่วภูมิภาคหยุดชะงัก เพิม่ โรงไฟฟ้าในพืน้ ที่ เนือ่ งจากระบบสายไฟในไทยเชือ่ มต่อกัน หมด ทีผ่ า่ นมาปัญหาคือสายส่งเล็กและไม่แข็งแรง ท�ำให้ไฟตก ภาคใต้มศี กั ยภาพในการผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานหมุนเวียนจาก ผู้ผลิตรายย่อยมากเพียงพอ หากสามารถน�ำไฟฟ้าพลังงาน หมุนเวียนจากผูผ้ ลิตรายย่อยเข้าสูร่ ะบบได้ ปริมาณไฟฟ้าทีภ่ าค ใต้ผลิตได้จะขึ้นไปเกิน 3,000 เมกะวัตต์ไปอีก
Update : ดร.เดชรัตน์ สุขก�ำเนิด อาจารย์ประจ�ำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และอนุกรรมการพยากรณ์ และจัดท�ำแผนพัฒนาก�ำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศ ให้ข้อมูลว่า ขณะนี้คณะอนุกรรมการฯ อยู่ระหว่างการด�ำเนินการ เพื่อปรับแผน PDP ฉบับใหม่ เนื่องจาก PDP2015 มีส่วนที่ไม่สอดคล้องกับความเป็นจริง 3 จุดใหญ่ๆ ได้แก่ 1.ปริมาณ ความต้องการไฟฟ้าที่พยากรณ์ไว้คลาดเคลื่อน 2.การเพิ่มบทบาทของผู้ผลิตไฟฟ้ารายย่อย 3.เทคโนโลยีพลังงานที่อยู่ ในแผน PDP2015 มีการเปลี่ยนแปลงในอัตราที่รวดเร็ว เช่น ต้นทุนพลังงานหมุนเวียนนั้นถูกลงอย่างมาก เป็นต้น ที่มา : รองศาสตราจารย์ ดร.เรณู เวชรัตน์พิมล คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ดร.เดชรัต สุขก�ำเนิด คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตร ว่าที่พันตรี ดร.อนุชาต ปาลกะวงศ์ ณ อยุธยา ผู้ช่วยผู้อ�ำนวยการฝ่ายชุมชนสัมพันธ์และสิ่งแวดล้อมโครงการ กฟผ. เว็บไซต์กระทรวงพลังงาน
8 I นิสิตนักศึกษา ฉบับ เทพาบ้านเรา
พลังงานหมุนเวียน
พลังงานมาจากไหน?
ส่ ส่อ องข้ งข้อ อดี ดีขข้ อ ้ อเสี เสีย ย8
พลังงานแสงอาทิตย์
พลังงานก๊าซชีวภาพ
- พลังงานธรรมชาติ ไม่มีค่าใช้จ่ายเชื้อเพลิง - ค่าบ�ำรุงรักษาต�่ำ เพราะอุปกรณ์สึกหรอน้อย - โซลาร์เซลล์มีอายุการใช้งานประมาณ 20 ปี - ไม่ก่อให้เกิดมลภาวะจากการผลิตไฟฟ้า - ความเข้มของแสงแดดไม่คงทีต่ ามสภาพอากาศ และฤดูกาล พลังงานที่ได้จึงไม่เสถียร - การเก็บไฟฟ้าในแบตเตอรีไ่ ว้ใช้ในเวลากลางคืน มีอายุการใช้งานต�่ำและเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น - ต้นทุนสร้างโรงไฟฟ้าด้วยเซลล์แสงอาทิตย์สูง - การท�ำโซลาร์ฟาร์มใช้พื้นที่ 10-15 ไร่ สําหรับ การผลิตกระแสไฟฟ้า 1 เมกะวัตต์ อาจท�ำให้ตอ้ ง ย้ายชุมชนออกนอกพื้นที่
- เทคโนโลยีการเพิม่ ประสิทธิภาพการใช้ทรัพยากร สูงสุด เพื่อปล่อยของเสียสู่สิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด - ลดการปล่อยก๊าซมีเทนออกสู่บรรยากาศ ช่วย ลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก - ก๊าซชีวภาพ 1 ลูกบาศก์เมตร (มีเทน 60%) ทดแทนพลังงานไฟฟ้าได้ 1.40 กิโลวัตต์ชั่วโมง - ต้นทุนของระบบผลิตก๊าซชีวภาพจากของเสีย และระบบบ�ำบัดน�้ำเสียมีค่าใช้จ่ายสูง - การก่อสร้างก่อให้เกิดมลพิษทางเสียง ปัญหา ฝุ่นละออง - ต้องเฝ้าระวังปัญหาการเสื่อมประสิทธิภาพของ ระบบ ที่ อ าจก่ อ ให้ เ กิ ด ปั ญ หาด้ า นกลิ่ น และ คุณภาพน�้ำทิ้ง
พลังงานลม
พลังงานน�้ำ
- พลังงานธรรมชาติ ใช้ได้ไม่มีวันหมดและไม่มี ค่าใช้จ่ายเรื่องเชื้อเพลิง - ไม่ก่อให้เกิดมลภาวะจากการผลิตไฟฟ้า - ขึ้นอยู่กับสภาพอากาศ บางฤดูอาจไม่มีลม ภาคใต้มลี มบกและลมทะเลเป็นหลัก มีลมตะเภา พัดจากทิศใต้ไปทิศเหนือในช่วง ก.พ. ถึง เม.ย. และ ลมว่าว พัดจากทิศเหนือไปทิศใต้ ระหว่าง ก.ย. ถึง พ.ย. พลังงานที่ได้จึงไม่เสถียร - มลภาวะด้านเสียงอยู่ในระดับ 40–44 อาจเกิด ความร�ำคาญส�ำหรับคนทีอ่ ยูใ่ นบริเวณรัศมี 1 ก.ม.
- พลังงานธรรมชาติ มีวัฏจักรหมุนเวียน จึงใช้ได้ ไม่มีวันหมดและไม่มีค่าใช้จ่ายเรื่องเชื้อเพลิง - โครงการโรงไฟฟ้าพลังน�ำ้ ขนาดใหญ่มขี ดี ความ สามารถสูงในการรักษาความมั่นคงให้แก่ระบบ ไฟฟ้า รองรับช่วงเวลาต้องการใช้กระแสฟ้าสูงสุด - ไม่ก่อให้เกิดมลภาวะจากการผลิตไฟฟ้า - ต้นทุนการผลิตไฟฟ้า 1.20 – 2.20 บาทต่อหน่วย - การก่อสร้างแนวท่อส่งน�้ำ อ่างกักเก็บน�้ำ และ เขื่อน ใช้พื้นที่มาก ท�ำให้สูญเสียพื้นที่ป่าไม้ พื้นที่ เกษตรกรรม และพื้นที่อยู่อาศัยของชุมชน
ที่มา: แหล่งเชื้อเพลิงและแหล่งพลังงานที่ใช้ในการผลิตไฟฟ้า กระทรวงพลังงาน คู่มือการพัฒนาและการลงทุนผลิตพลังงานทดแทน กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) วิกิพีเดีย
นิสิตนักศึกษา ฉบับ เทพาบ้านเรา I
พลังงานมาจากไหน?
9
เรื่อง: รณิดา บริบูรณ์ภัทรกุล ภาพ: เมธาวจี สาระคุณ
ทางเลื ทางเลือ อกพลั กพลังงงาน งาน
พลังงานสิ้นเปลือง
พลังงานถ่านหิน
พลังงานก๊าซธรรมชาติ
- เป็นเชื้อเพลิงฐาน สามารถผลิตได้ 24 ชั่วโมง - มีปริมาณส�ำรองมาก ใช้ได้อีกประมาณ 200 ปี - ประเทศไทยมีถ่านหินคุณภาพต�่ำ เช่น ลิกไนต์ จึงต้องน�ำเข้าถ่านหินคุณภาพดีจากต่างประเทศ เช่น อินโดนีเซีย ออสเตรเลีย ท�ำให้เสียค่าขนส่ง - กระบวนการผลิตก่อให้เกิดมลภาวะในอากาศ เช่น คาร์บอนไดออกไซด์เป็นสาเหตุของภาวะโลก ร้อน และซัลเฟอร์ออกไซด์เป็นสาเหตุของฝนกรด - ระบบควบคุ ม มลภาวะทางอากาศ เช่ น เทคโนโลยีระบบจับปรอท (ACI) มีราคาสูง - การเผาไหม้ก่อให้เกิดมลพิษโดยเฉพาะโลหะ หนัก ได้แก่ สารหนู แคดเมียม ปรอท และตะกั่ว เป็นอันตรายต่อร่างกาย
- เป็นเชื้อเพลิงฐาน สามารถผลิตได้ 24 ชั่วโมง - มีความปลอดภัยในการใช้งานสูง เนื่องจากเบา กว่าอากาศ จึงลอยขึ้นเมื่อเกิดการรั่ว - ก๊าซธรรมชาติส่วนใหญ่ที่ใช้ในไทยผลิตได้เอง ในประเทศ ช่วยลดการน�ำเข้าเชื้อเพลิงอื่นๆ - ราคาก๊าซธรรมชาติผูกติดกับราคาน�้ำมัน ซึ่ง ผันผวนอยู่ตลอดเวลา 75% ของปริมาณส�ำรอง ก๊าซธรรมชาติของโลก (180 ล้านล้านลบ.ม. หรือ ประมาณการใช้ 65 ปี ) อยู ่ ใ นยุ โ รปและ ตะวันออกกลาง - กระบวนการผลิตก่อให้เกิดมลภาวะในอากาศ เช่น คาร์บอนไดออกไซด์ ซัลเฟอร์ออกไซด์ และ ไนโตรเจนออกไซด์ เป็นต้น
พลังงานน�้ำมัน
พลังงานนิวเคลียร์
- เป็นเชื้อเพลิงฐาน สามารถผลิตได้ 24 ชั่วโมง - ปริมาณส�ำรองน�้ำมันในไทย 500 ล้านบาร์เรล - ไทยต้องน�ำเข้าน�้ำมันจากต่างประเทศ - ราคาไม่คงที่ ขึ้นกับราคาน�้ำมันของตลาดโลก และสภาพการเมือง-เศรษฐกิจ 60% ของปริมาณ ส�ำรองน�ำ้ มันของโลก (1,697 พันล้านบาร์เรล หรือ ประมาณการใช้ 51 ปี) อยู่ที่ตะวันออกกลาง - กระบวนการผลิตก่อให้เกิดมลภาวะในอากาศ เช่น คาร์บอนไดออกไซด์ ซัลเฟอร์ออกไซด์ เป็นต้น - ไฟฟ้าที่ผลิตได้มีต้นทุนต่อหน่วยสูง
- เชื้อเพลิงนิวเคลียร์ เช่น ธาตุยูเรเนียม 1 ก.ก. เทียบได้กับพลังงานน�้ำมัน 1 แสน ก.ก. จึงช่วย เสริมสร้างความมั่นคงให้ระบบผลิตไฟฟ้า - การผลิตไฟฟ้าโดยพลังงานนิวเคลียร์มตี น้ ทุนต�ำ่ ราคาไม่ผนั แปรมากเมือ่ เทียบกับเชือ้ เพลิงฟอสซิล - ระยะเวลาด�ำเนินงานโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ 30 ปี - ไม่ก่อให้เกิดมลพิษและก๊าซเรือนกระจก - ใช้เงินลงทุนในการก่อสร้างสูง และต้องเตรียม โครงสร้างพื้นฐานและบุคลากรมีประสิทธิภาพ - ก่อให้เกิดกากกัมมันตภาพรังสีปริมาณมาก
ที่มา: BP Statistical Review of World Energy Outlook 2016 Federal Institute for Geoscience and Natural Resources Germany 2016 การผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานนิวเคลียร์ จากเว็บไซต์สมาคมนิวเคลียร์แห่งประเทศไทย
10 I นิสิตนักศึกษา ฉบับ เทพาบ้านเรา
พลังงานมาจากไหน?
เรื่องราวของ
ประเภทของถ่านหิน
ถ่านหิน
เรื่อง: สิรารมย์ เตชะศรีอมรรัตน์ ภาพ: เมธาวจี สาระคุณ
ถ่านหินคุณภาพดี คือ ถ่านหินที่มีปริมาณคาร์บอนสูง ค่าความร้อนสูง ค่าความชื้นต�่ำ ปริมาณขี้เถ้าต�่ำ ปริมาณก�ำมะถันต�่ำ
ถ่านหินคืออะไร
เป็ น แร่ เ ชื้ อ เพลิ ง ติ ด ไฟได้ มี สี น�้ำตาลอ่อนถึงสีด�ำ มีทั้งผิวมัน และผิ ว ด้ า น เกิ ด จากการตก ตะกอนสะสมของซากพืชในยุค ดึ ก ด� ำ บรรพ์ ม าเป็ น เวลาหลาย ล้านปี จนตะกอนได้เปลีย่ นสภาพ ไปเป็นหินตะกอน
ถ่านหินอยู่ที่ไหน
พบแหล่งก�ำเนิดถ่านหินกระจายอยู่เกือบทุกประเทศทั่วโลก แต่แหล่งที่ สามารถขุดมาใช้ได้ พบประมาณ 70 ประเทศ โดยพื้นที่ที่มีปริมาณ ถ่านหินส�ำรองมาก ได้แก่ ทวีปอเมริกาเหนือ พบมากในสหรัฐอเมริกา ทวีปยุโรป พบมากในโปแลนด์ ทวีปเอเชีย พบมากใน จีน ออสเตรเลีย อินเดีย และรัสเซีย ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พบมากใน อินโดนีเซีย ประเทศไทย พบเพียงลิกไนต์คุณภาพต�่ำและซับบิทูมินัส เพียงเล็กน้อย
เทคโนโลยี “ถ่านหินสะอาด”
การพัฒนาด้านการก�ำจัดหรือลดมลพิษ เพื่อน�ำถ่านหินมาใช้เป็นเชื้อเพลิงให้มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม น้อยที่สุด สามารถก�ำจัดมลพิษโดยเฉพาะปัญหาฝุ่นละออง ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ก๊าซออกไซด์ของ ไนโตรเจน แต่ยงั ไม่สามารถก�ำจัดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เทคโนโลยีถา่ นหินสะอาด ไม่สามารถลดมลพิษได้ทั้งหมด เพียงแค่ควบคุมให้อยู่ในค่ามาตรฐานที่รัฐก�ำหนด
(ค่ามาตรฐานอ้างอิงตามประกาศกระทรวงวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม เรื่องก�ำหนดมาตรฐานควบคุมการปล่อยทิ้งอากาศเสียจากโรงไฟฟ้าใหม่ พ.ศ.2553) (ค่ามาตรฐานอ้างอิงประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง ก�ำหนดค่าปริมาณสารเจือปนในอากาศที่ระบายออกจากโรงงาน พ.ศ.2549) ที่มา : เอกสารแจก กฟผ. โรงไฟฟ้าถ่านหินเทคโนโลยีสะอาด รศ.สมศักดิ์ สายสินธุ์ชัย คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ
นิสิตนักศึกษา ฉบับ เทพาบ้านเรา I
โครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินเทพา
11
เรื่อง-ภาพ: นัจนันท์ เกตุสุวรรณ
กฟผ. ให้เหตุผลในการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินที่ เทพาไว้ว่า เทพาอยู่ใกล้บริเวณที่ใช้ไฟฟ้าสูง เพราะเป็นเขต เศรษฐกิจ มีพ้ืนที่ติดชายฝั่งทะเล ซึ่งสามารถสร้างท่าเทียบเรือส�ำหรับการน�ำเข้า ถ่านหินจากอินโดนีเซียได้ และประชาชนส่วนใหญ่ยอมรับโครงการ อย่างไรก็ตาม นักวิชาการบางส่วนมองว่า บริเวณที่ตั้งของโรงไฟฟ้าถ่านหินเทพามีระดับน�ำ้ ตื้น เกินกว่าจะให้เรือเทียบท่าได้ โครงการไม่มีการพิจารณาความเหมาะสมด้านสังคม และสิ่งแวดล้อมอย่างตรงไปตรงมา และยังมีผู้คัดค้านโครงการในพื้นที่ที่ไม่มี โอกาสได้ออกความคิดเห็นอีกด้วย
ร่วมให้ข้อมูลประกอบการท� ำ แผน PDP และเสนอแนะแนวทางการพัฒนาพลังงาน ของประเทศ ประชาชนไม่ได้มสี ว่ นร่วมในการให้ขอ้ มูลหรือเสนอแนะ ในการจัดท�ำแผน ที่ผ่านมาแผน PDP ก�ำหนดโดย ส่วนกลาง ท�ำให้ชาวบ้านไม่ทราบว่าพื้นที่บ้านของ ตนอยู่ในแผนพัฒนานี้ด้วย โดยที่ตนยังไม่เคยได้ให้ ข้อมูลในฐานะคนในพื้นที่เลย ที่มา: EnLaw
ย้อนดูบทบาทของชุมชนในการมีส่วน ร่ ว มตรวจสอบและต่ อ รองโครงการ ขนาดใหญ่ของรัฐ
12 I นิสิตนักศึกษา ฉบับ เทพาบ้านเรา
โครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินเทพา
เ สี ย ง ชุ ม ช น เรื่อง: พชร ค�ำช�ำนาญ, ธนภัทร เกษร ภาพ: สิรารมย์ เตชะศรีอมรรัตน์, รณิดา บริบูรณ์ภัทรกุล, เมธาวจี สาระคุณ
นิอัลอามีน สะมะแอ อายุ 33 ปี เจ้าของร้านขายของช�ำ ของดีเทพาคืออะไร “ผมเป็ น มุ ส ลิ ม นะ แต่ แนะน�ำวัดพระสามองค์ (วัดเทพา ไพโรจน์) เพราะเหมาะส�ำหรับ นักท่องเที่ยวมากราบไหว้ อีกที่ ก็ชายหาดเมืองเทพา เพราะมัน ยังสงบอยู่ และก็เห็นวิถีชีวิตคน ไม่วุ่นวายเกินไปแบบชายหาด หลายๆ แห่ง”
หลี สาเมาะ อายุ 65 ปี อดีตก�ำนันต�ำบลปากบาง อยากเห็นเทพาเป็นอย่างไร “อยากเห็ น เทพาเป็ น เมืองที่เจริญ เป็นเมืองเปิดอย่า เป็นเมืองปิด เพราะว่าเป็นเมือง ปิดอะไรๆ ก็เข้าไม่ได้ ถ้าปรับปรุง เทพาให้ เ ป็ น สถานที่ ท ่ อ งเที่ ย ว เทพาจะเจริญขึ้น คนเทพาจะได้ ไม่ตอ้ งไปท�ำงานทีม่ าเลเซีย”
รอกีเย๊าะ เพ็งเลาะ อายุ 32 ปี แม่ค้าขายขนมหวาน ของดีเทพาคืออะไร “แนะน� ำ อาหารเทพา ต้องไก่ทอดเทพาและกะปิเทพา เพราะไม่มีสารพิษ”
นิสิตนักศึกษา ฉบับ เทพาบ้านเรา I
โครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินเทพา
13
...คนเทพา
อิสดาเรส หะยีเด อายุ 59 ปี รองนายกเทศมนตรีตำ� บลเทพา
ซาเกร คอเลาะ อายุ 27 ปี พ่อค้าขายเครื่องแกง อยากเห็นเทพาเป็นอย่างไร “อยากให้มีเทคโนโลยี มาผสมผสานกั บ วิ ถี ชี วิ ต แบบ ดัง้ เดิม แต่ไม่มนั่ ใจว่าจะเป็นแบบ นัน้ ได้ไหม แต่ในใจคิดว่าน่าจะได้ สัก 60-70 %”
พจนีย์ สะนิ อายุ 40 ปี แม่ค้าขายเครื่องเทศ ของดีเทพาคืออะไร “ของขึ้ น ชื่ อ คื อ อาหาร ทะเล เพราะอาหารที่นี่จับมาสดๆ ไม่ใส่สารพิษ แถมการกินที่นี่ก็ สมบูรณ์มาก”
อยากเห็นเทพาเป็นอย่างไร “เทพาเป็ น เมื อ งที่ มี แม่น�้ำเยอะ เรียกว่าเวนิสของ ภาคใต้ ป่าโกงกางก็เยอะ เป็น แหล่ ง ผลิ ต อาหาร มี เ กาะ มี ปะการัง มีปลาเยอะ มีภูเขา มี ป่า มีน�้ำตก ผลไม้ก็ปลูกขึ้นทั้ง นั้น ยังไม่มีมลพิษ ต้องพัฒนา เ ป ็ น เ มื อ ง ท ่ อ ง เ ที่ ย ว แ ล ะ การเกษตร นักท่องเที่ยวมาก็ บอกว่ า เทพามี ศั ก ยภาพที่ จ ะ เป็นเมืองท่องเที่ยว”
14 I นิสิตนักศึกษา ฉบับ เทพาบ้านเรา
โครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินเทพา
ตอบทุกข้อสงสัยจากใจ กฟผ.
เรื่อง-ภาพ: รณิดา บริบูรณ์ภัทรกุล
ร่วมถกทุกข้อสงสัย ตั้งแต่ที่มาที่ไป จนถึงชาวบ้านจะได้อะไร และอนาคตของโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินเทพาจะเป็นอย่างไร กับ ว่าที่ พ.ต.อนุชาต ปาลกะวงศ์ ณ อยุธยา ผู้ช่วยผู้ว่าการชุมชนสัมพันธ์และสิ่งแวดล้อมโครงการ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
ถาม: ท�ำไมต้องสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินที่เทพา? ตอบ: ถ้าไม่สร้างโรงไฟฟ้า แล้วในอนาคตมีความเจริญ จะท�ำอย่างไร โรงไฟฟ้าใช้เวลาก่อสร้าง 8 ปี จึงต้องคิด ล่วงหน้า เราต้องคิดความเสี่ยงว่าโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่ หนึง่ โรงอาจเกิดขัดข้องโดยฉุกเฉิน ถาม: กฟผ. เตรียมดูแลผลกระทบด้านสิง่ แวดล้อมทีเ่ กิด ขึ้นจากการสร้างและการด�ำเนินงานโรงไฟฟ้าถ่านหิน อย่างไร? ตอบ: การสร้างโรงไฟฟ้าต้องเกิดผลกระทบ แต่ท�ำ อย่ า งไรให้ มั น เกิ ด น้ อ ยที่ สุ ด การไฟฟ้ า ฯ จึ ง เลื อ ก เทคโนโลยีที่ทันสมัยที่เรียกว่า เทคโนโลยีถา่ นหินสะอาด ถาม: กฟผ. เตรียมดูแลผลกระทบด้านสุขภาพที่จะเกิด กับชาวบ้านอย่างไร? ตอบ: ผลกระทบด้านสุขภาพของคนรอบโรงไฟฟ้า ต้อง มองเรือ่ งความเสีย่ งกับโอกาสทีเ่ กิดตลอดอายุโรงไฟฟ้า มีการค�ำนวณจากการกินกับการหายใจ ดูทั้งห่วงโซ่ อาหาร โอกาสเกิดกับประชากรแสนคน ถ้าต�่ำกว่าหนึ่ง ถือเป็นความเสี่ยงที่ยอมรับได้ ถาม: กฟผ. สนับสนุนชาวบ้านในพื้นที่เรื่องอาชีพและ การจ้างงานอย่างไร? ตอบ: เขายังท�ำประมงได้เหมือนเดิม แต่ถ้าอยากท�ำ อย่างอืน่ ก็ตอ้ งส่งเสริมอาชีพให้เขา เราการันตีรายได้ไม่ น้อยกว่าเดิม เราส่งเสริมการจ้างงานในพืน้ ที่ ถ้าต�ำ่ กว่า ปริญญาตรี เราจ้าง 100% ถ้าปริญญาตรีเรารับแยก แบบทีเ่ รียกว่าอัตราท้องถิ่น
ถาม: กฟผ. สนับสนุนให้มกี ารพัฒนาชุมชนอย่างไร? ตอบ: เราเป็นโครงการขนาดใหญ่ของรัฐ กว่าแสนล้าน จะไปกระตุ้นเศรษฐกิจทุกภาค มีกองทุนพัฒนาไฟฟ้า เงิน 1 หมื่นล้านตกอยู่กับชุมชนและใกล้เคียง แต่ต้อง คิดว่าจะเอาเงินกองทุนจาก กฟผ. ไปพัฒนาอะไร ถนน โรงพยาบาล โรงเรียน คุณต้องคิดจากตัวคุณเอง ถาม: กฟผ. จะช่วยเหลือชาวบ้านที่ต้องย้ายออกจาก พื้นที่สร้างโรงไฟฟ้าอย่างไร? ตอบ: ชาวบ้านต้องได้บา้ นแบบเดิมโดยไม่คดิ ราคาเสือ่ ม ที่ดินก็คิดราคาซื้อขายที่มีอยู่จริง การเกษตรจะแยก เป็นราคาที่ดินกับราคาต้นไม้ ทุกอย่างคิดเป็นตังค์ แต่ ถ้าคุณต้องการจัดที่ให้ ก็จัดที่ให้แบบตามใจกลุ่ม ถาม: การทีม่ ที งั้ คนต่อต้านและสนับสนุนโครงการของ กฟผ. อนาคตจะมีเวทีพูดคุยหรือไม่? ตอบ: เห็นด้วยกับเวทีแบบตกลงรอมชอม ความเป็นไป ได้อยู่ที่คนกลางจัด ผมว่าต้องเป็นรัฐ ต้องพูดด้วย วิชาการและต้องไม่วน คุยวันละสองสามประเด็นให้ ตกผลึก ทุกอย่างต้องหันมาพูดคุยกัน ถาม: ชาวบ้านจะเชือ่ มัน่ ศักยภาพการสร้างโรงไฟฟ้าและ ควบคุมผลกระทบต่างๆ ของกฟผ. ได้อย่างไร? ตอบ: เราทดสอบที่ปากปล่องว่าก�ำจัดได้เต็มที่ไหม ซึ่ง ก็ได้อยูแ่ ล้ว เราอยากท�ำประโยชน์ให้ประเทศ ท�ำอย่างไร ก็ตามทีไ่ ปด้วยกันได้ ให้การอนุรกั ษ์และการพัฒนา มันไปด้วยกันได้ โรงไฟฟ้าหมุนเวียนก็ต้องพัฒนา โรงไฟฟ้าฐานก็จ�ำเป็น
นิสิตนักศึกษา ฉบับ เทพาบ้านเรา I
โครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินเทพา
15
ท�ำไมต้องเทพา?
เรื่อง: สิรารมย์ เตชะศรีอมรรัตน์ ภาพ: เมธาวจี สาระคุณ
แผนพัฒนาก�ำลังผลิตไฟฟ้าประเทศไทย พ.ศ.2557-2579 (PDP2015) ก�ำหนดให้มีการเพิ่มก�ำลังการผลิตไฟฟ้าในภาค ใต้ ด้วยโรงไฟฟ้ากระบี่ก�ำลังผลิต 800 เมกะวัตต์ 1 โรง โรง ไฟฟ้าถ่านหินเทพา ก�ำลังการผลิต 1,000 เมกะวัตต์ 2 โรง
ท�ำไมต้องเป็นเทพา ต้องเป็นโรงไฟฟ้าถ่านหิน เพราะต้องการแบ่งสัดส่วน พลังงานมาจากโรงไฟฟ้าก๊าซธรรมชาติ แต่ถ่านหินใน ไทยคุณภาพไม่ดี จึงต้องสั่งซื้อมาจากนอกประเทศ ประเทศแถบใกล้เคียงไทยทีม่ ถี า่ นหินคุณภาพดีจำ� นวน มากคือ อินโดนีเซีย ซึ่งอยู่ติดกับภาคใต้ของไทย
ท�ำไมไม่ต้องเป็นเทพาก็ได้ สามารถแบ่งสัดส่วนพลังงาน โดยการสร้างโรงไฟฟ้า พลังงานหมุนเวียนได้ ไม่จ�ำเป็นจะต้องสร้างโรงไฟฟ้า ถ่านหินเสมอไป
ต้องเลือกสถานที่ที่มีน�้ำลึก 7 เมตรในระยะ 5 กิโลเมตร จากชายฝั่ง เพื่อรองรับท่าเรือน�้ำลึกได้
บริเวณที่ตั้งของโรงไฟฟ้าถ่านหินเทพา ไม่ได้มีระดับน�้ำ ที่ลึกเหมาะสมกับการเทียบท่าของเรือ ท�ำให้ต้องสร้าง สะพานยาวกว่า 3 กิโลเมตรซึ่งถือว่า ยาวเกินกว่า มาตรฐานและใช้ต้นทุนสูงกว่าปกติ
ต้ อ งมี ป ริ ม าณพื้ น ที่ เ พี ย งพอและผ่ า นกระบวนการ ค้ น หาท� ำ เลที่ ตั้ ง โครงการก่อน ซึ่งอ�ำเภอเทพาเป็น หนึ่ง ในพื้ นที่ ที่มี ความเหมาะสมสูงมาก
แม้มปี ริมาณพืน้ ทีเ่ พียงพอ แต่การเลือกพืน้ ทีไ่ ม่เหมาะสม เนื่องจากเปรียบเทียบเฉพาะพื้นที่ในเทพาเท่านั้น ใช้ เฉพาะเกณฑ์ด้านวิศวกรรม ขาดเกณฑ์ดา้ นสังคม และ เกณฑ์ด้านสิ่งแวดล้อมนั้นมีข้อเท็จจริงที่คลาดเคลื่อน
ต้องอยู่ใกล้บริเวณที่มีการใช้ไฟฟ้าสูง เช่น บริเวณ สุราษฎร์ธานีและสงขลา
แนวคิด “ลบหนึง่ ” ซึง่ ใช้ในการจัดท�ำแผน PDP นัน้ เมื่อ ค�ำนวณความมัน่ คงทางพลังงานของภูมภิ าคจะต้องลบ ก�ำลังการผลิตไฟฟ้าของโรงไฟฟ้าที่มากที่สุดออกไป แล้วประเมินว่า ภูมภิ าคจะสามารถเอาตัวรอดจากวิกฤต ไฟฟ้าหรือไม่ ดังนั้น การสร้างโรงไฟฟ้าขนาดเล็กหลาย โรงหรือรับซือ้ จากผูผ้ ลิตรายย่อยทัว่ ภูมภิ าคจะเสริมสร้าง ความมั่นคงทางพลังงานได้มากกว่าการสร้างโรงไฟฟ้า ใหญ่โรงเดียว
ประชาชนส่วนใหญ่ในพื้นที่ต้องให้การยอมรับ
เวที ค. 2 ในกระบวนการจัดท�ำ EHIA ไม่มีชาวบ้านที่ คัดค้านการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินเทพาได้เข้าร่วม เพื่อแสดงความคิดเห็นเลย
ที่มา: ว่าที่พันตรี ดร.อนุชาต ปาลกะวงศ์ ณ อยุธยา ผู้ช่วยผู้ว่าการชุมชนสัมพันธ์และสิ่งแวดล้อม กฟผ.
ที่มา: รองศาสตราจารย์ ดร.เรณู เวชรัตน์พิมล คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ดร.เดชรัต สุขก�ำเนิด คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตร นพ.สุภัทร ฮาสุวรรณกิจ ผอ.โรงพยาบาลจะนะ
16 I นิสิตนักศึกษา ฉบับ เทพาบ้านเรา
โครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินเทพา
เสียงชุมชนอยู่ตรงไหน... ในโครงการโรงไฟฟ้า ถ่านหินเทพา
เรื่อง-ภาพ: พชร ค�ำช�ำนาญ
นิสิตนักศึกษา คุยกับ สุภาภรณ์ มาลัยลอย ผู้จัดการมูลนิธิ นิติธรรมสิ่งแวดล้อม (EnLaw) ว่า โครงการพัฒนาขนาดใหญ่ของรัฐ มีขน ั้ ตอนอย่างไรบ้าง สุภาภรณ์เห็นว่า การพิจารณา โครงการต้องมีขน ั้ ตอนที่พิจารณา อย่างรอบคอบและเปิดให้ประชาชนใน พื้นที่มีส่วนร่วมทุกขั้นตอน
การก�ำหนดแผนพัฒนาก�ำลัง ผลิตไฟฟ้าของประเทศ (PDP)
เป็นแผนที่จะระบุว่าไฟฟ้าพอหรือไม่ หากไม่ พอ จะสร้างโรงไฟฟ้าเพิม่ หรือไม่ สร้างเป็นโรงไฟฟ้าจาก พลังงานอะไร ตลอดจนเลือกบริเวณที่จะสร้าง การมีสว่ นร่วมของชุมชน: ร่วมให้ขอ้ มูลประกอบการท�ำ แผน PDP และเสนอแนะแนวทางการพัฒนาพลังงาน ของประเทศ ข้อสังเกต: ประชาชนไม่ ไ ด้ มี ส ่ ว นร่ ว มในการให้ ข้ อ มู ล หรือเสนอแนะ ที่ผ่านมาแผน PDP ก�ำหนดโดย ส่วนกลาง ชาวบ้านไม่ทราบว่าพื้นที่บ้านตนก็อยู่ใน แผน PDP ด้วย
การประเมินสิ่งแวดล้อม ระดับยุทธศาสตร์ (SEA)
เป็นการประเมินความเหมาะสมของพืน้ ทีโ่ ดย มองภาพรวมว่าหากมีโครงการเกิดขึ้นจะกระทบต่อ ระบบอะไรบ้าง การมีสว่ นร่วมของชุมชน: ระดมความคิดว่ามีผลกระทบ ต่อพื้นที่อย่างไร ตลอดจนเสนอแนวทางในการแก้ไข ข้อสังเกต: ก่อนรายงาน EHIA ฉบับปี 2560 จะถูก ยกเลิก ยังไม่มีการศึกษา SEA แต่อย่างใด
เวทีประชาพิจารณ์ก่อนจัดท�ำ รายงาน EHIA (ไม่ใช่เวที ค.)
หน่วยงานกลางให้ความรู้ชุมชนก่อนจัดเวที เพื่อรับฟังความคิดเห็น จากนั้นจึงน�ำข้อห่วงกังวลมา ร่วมพูดคุยหาทางออกที่ยอมรับได้ทุกฝ่าย การมีสว่ นร่วมของชุมชน: แสดงความเห็นอย่างเสรี หาก มีข้อกังวลก็หามาตรการร่วมกันอย่างสันติ อาจต้องจัด หลายครั้งหากมีประเด็นห่วงกังวลมากและหาข้อสรุป ร่วมกัน ข้อสังเกต: ยังไม่มีการจัดเวทีลักษณะนี้ เพราะไม่มี หน่วยงานกลางทีม่ คี วามพร้อมทัง้ ผูเ้ ชีย่ วชาญ ทุน และ เครื่องมือในการประมวลและติดตามผล
โครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินเทพา
การประเมิน วิเคราะห์ผลกระทบ สิ่งแวดล้อม และสุขภาพ (EHIA)
ศึกษาและประเมินว่าหากสร้างโรงไฟฟ้าขึ้น จะกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของคนในพื้นที่ อย่างไร รวบรวมข้อห่วงกังวลของชุมชนแล้วจัดท�ำเป็น มาตรการที่ช่วยลดหรือป้องกันปัญหาได้ การมีส่วนร่วมของชุมชน: เข้าร่วมในเวทีแสดงความ คิดเห็น (เวที ค.) ซึ่งจัดขึ้นสามครั้ง เวที ค.1 คือ แสดง ความห่วงกังวลเรื่องผลกระทบ เวที ค.2 คือ จัดกลุ่ม (Focus Group) ตามความกังวลแล้วพูดคุยทีละกลุ่ม เพือ่ หาทางออกร่วมกัน โดยไม่กำ� หนดวัน หากมีขอ้ ห่วง กังวลมากก็สามารถจัดได้หลายวัน และเวที ค.3 คือ น�ำ เล่มรายงานที่ค่อนข้างสมบูรณ์มาให้ชุมชนพิจารณา ข้อสังเกต: ทีผ่ า่ นมามักไม่เตรียมความพร้อมชุมชนก่อน เข้าร่วมเวที ค. จ�ำนวนวันในการจัดเวทีน้อยเกินไป มี การแจกของให้ผเู้ ข้าร่วมในวันทีจ่ ดั เวที น�ำเจ้าหน้าทีม่ า ล้อมบริเวณพืน้ ทีจ่ ดั เวที ชาวบ้านได้พดู ข้อห่วงกังวลของ ตัวเองเพียงคนละไม่เกินห้านาที นอกจากนั้น ในเวที ค.2 ที่จัดกลุ่มคุยเรื่องมาตรการนั้น พบว่าไม่มีชาวบ้าน ที่คัดค้านโครงการได้เข้าไปอยู่ใน Focus Group เลย การพิจารณาโครงการของ คณะกรรมการผูช ้ ำ� นาญการพิจารณา รายงานผลกระทบสิง ่ แวดล้อม (คชก.)
การมีสว่ นร่วมของชุมชน: เมือ่ อ่านรายงาน EHIA ทีเ่ ป็น เล่มสมบูรณ์แล้ว หากชุมชนยังมีขอ้ ห่วงกังวลก็สามารถ ท�ำหนังสือถึง คชก. หรือฟ้องร้องไปยังศาลปกครองเพือ่ ให้ยกเลิกรายงาน EHIA ข้อสังเกต: คชก. อ่านเพียงเอกสารที่เจ้าของโครงการ และบริษัทที่ปรึกษาจัดท�ำไว้โดยไม่ลงไปส�ำรวจพื้นที่ หากข้อมูลตั้งต้นผิดก็อาจไม่ทราบ และยังพบว่า คชก. ไม่เผยแพร่รายงาน EHIA เมื่อชาวบ้านยื่นอุทธรณ์ต่อ คณะกรรมการข้อมูลข่าวสารจึงได้รับรายงาน
นิสิตนักศึกษา ฉบับ เทพาบ้านเรา I
17
การพิจารณาโครงการของ คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ (สผ.)
การมีส่วนร่วมของชุมชน: ท�ำหนังสือเข้าร้องเรียนได้ ข้อสังเกต: คชก. ไม่ไปศึ ก ษาพื้ น ที่ ตั้ ง ผู้เชี่ยวชาญที่ ร่วมพิจารณามา จากการแต่ ง ตั้ ง ของหน่ ว ยงานรั ฐ จึ ง ท� ำ ให้ อ าจขาดความเที่ยงธรรมในการพิจารณา และการท� ำ หนั ง สื อ ร้องเรียนอาจมีความหวังน้อยลง เนื่องจากยังไม่เคยมีปรากฏการณ์ที่คณะกรรมการ สิ่งแวดล้อมแห่งชาติจะชะลอโครงการจากการทักท้วง ของชาวบ้าน การพิจารณาอนุมัติโครงการ ของคณะรัฐมนตรี
การมีสว่ นร่วมของชุมชน: ท�ำหนังสือถึง ครม. ว่ายังมีขอ้ ห่วงกังวลอย่างไรบ้าง หรือยังมีขอ้ มูลส่วนไหนใน EHIA ที่ยังเป็นเท็จ ข้อสังเกต: โดยปรกติ ครม. จะไม่ลงไปศึกษาพื้นที่เพื่อ พิจารณาโครงการ ดังนัน้ จะพิจารณาจากความเห็นของ คชก. และ สผ.
การสร้างโรงไฟฟ้า
การมีส่วนร่วมของชุมชน: หากพบว่ามาตรการไม่เป็น ไปตามที่ระบุในรายงาน EHIA สามารถฟ้องต่อศาล ปกครองเพื่อรับการเยียวยาชดเชยได้ ข้อสังเกต: กระบวนการฟ้องร้องต้องใช้เงินและผูเ้ ชีย่ วชาญ ขณะที่องค์กรขนาดใหญ่มีพร้อม แต่ชาวบ้านไม่พร้อม ในส่ ว นนี้ จึ ง เกิ ด ความไม่ เ ท่ า เที ย มขึ้ น และการ เยียวยาด้วยเงินอาจไม่สามารถชดเชยสิ่งที่ชาวบ้าน เสียไปได้
18 I นิสิตนักศึกษา ฉบับ เทพาบ้านเรา
โครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินเทพา
ผลกระทบจากโรงไฟฟ้าถ่านหิน
นิสิตนักศึกษา ฉบับ เทพาบ้านเรา I
เรื่อง-ภาพ: นัจนันท์ เกตุสุวรรณ
ชาวประมงไม่สามารถประกอบอาชีพได้ เนือ่ งจากสัตว์นำ�้ บางชนิดถูก สูบเข้าไปพร้อมกับน�ำ้ ทะเลเพือ่ ใช้ในโรงไฟฟ้า และน�ำ้ ทะเลขุน่ จากการ เคลือ่ นย้ายเรือขนส่งถ่านหิน ชาวบ้านทีป่ ระกอบอาชีพเกษตรกรเดือด ร้อนเนื่ อ งจากขี้ เ ถ้ า และฝุ่ น ควั น จากถ่ า นหิ น ท� ำ ให้ เ กิ ด ความผิ ด ปกติใ นการผสมเกสรและการสังเคราะห์แสงของพืช
การบั ง คั บ โยกย้ า ย เป็ น ผลกระทบด้ า นวิ ถี ชุ ม ชนที่ เ ห็ น ได้ ชั ด เจน ที่สุด เพราะกว่าจะเป็นชุมชนต้ องใช้ เ วลาในการสั่ ง สม ไม่ ว ่ า จะ เป็นความเป็นเครือ ญาติ วั ฒ นธรรม และประเพณี นอกจากนั้ น วิ ถี ชี วิ ต การประกอบอาชี พ ที่ เ คยอยู ่ กั บ ฐานทรั พ ยากรธรรมชาติ ก็ อาจจะเปลี่ยนไปหากที่ที่อพยพไปอยู่ใหม่ไม่มีทรัพยากรแบบเดิม
เมื่อ ปี 2558 กรีนพีซเผยว่า สารพิ ษ จากการเผาไหม้ ข องถ่ า นหิ น ก่อให้เกิดผลกระทบด้านสุขภาพต่อคนในชุมชนได้ ไม่วา่ จะเป็นซัลเฟอร์ ไดออกไซด์และไนโตรเจนออกไซด์ทเี่ ป็นสาเหตุของโรคหลอดเลือดใน สมองแตก ฝุ่นละอองที่ท�ำให้เป็นโรคหอบหืด ตะกั่วที่ท�ำลายระบบ ประสาทในเด็ก รวมถึงสารหนูและแคดเมียมที่เป็นสารก่อมะเร็ง
ขี้เถ้าถ่านหินที่เกิดจากกระบวนการผลิตไฟฟ้าอาจรั่วไหลลงแหล่งน�้ำ ตามธรรมชาติเมื่อฝนตกหนักหรือเกิดพายุ เกิดการระเหยของน�้ำมัน ดีเซลจากการใช้เป็นเชื้อเพลิง การสะสมของตะกอนเลนสีด�ำบริเวณ ชายฝั่ง การแพร่กระจายของสารปรอทสู่อากาศ น�้ำ และสิ่งมีชีวิต อีก ทั้งกระทบต่อสิ่งมีชีวิตที่อาศัยบริเวณชายฝั่งและป่าชายเลน
19
20 I นิสิตนักศึกษา ฉบับ เทพาบ้านเรา
ผลกระทบจากโรงไฟฟ้าถ่านหิน
ผลกระทบต่ออาชีพ อาชีพประมง
เรื่อง: พชร ค�ำช�ำนาญ ภาพ: เอม มฤคทัต
ระหว่างการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหิน ชาวบ้านจะไม่สามารถท�ำประมงในบริเวณเดิมได้ เพราะพื้นที่ การก่อสร้างที่เป็นแหล่งท�ำประมงเดิมจะถูกสงวนไม่ให้เข้า ระหว่างการก่อสร้างโรงไฟฟ้า จะมีการขนส่งอุปกรณ์ก่อสร้างทางเรือ และภายหลังโรงไฟฟ้าสร้าง เสร็จแล้วก็ตอ้ งขนถ่ายถ่านหินเพือ่ น�ำมาเป็นเชือ้ เพลิง การเดินเรือขนส่งนีจ้ ะท�ำให้นำ�้ ขุน่ ท�ำให้ปลาหนีไปจาก บริเวณเดิม ส่งผลให้ชาวบ้านจับปลาได้น้อยลง ป่าชายเลนทีเ่ ป็นแหล่งอนุบาลสัตว์นำ�้ จะได้รบั ผลกระทบจากน�ำ้ เสียจากโรงงาน ซึง่ เป็นน�ำ้ ทีใ่ ช้บำ� บัด มลพิษขั้นสุดท้าย ระบายออกจากโรงไฟฟ้าโดยไม่มีการบ�ำบัดอีกครั้ง ท�ำให้สัตว์น�้ำมีจ�ำนวนน้อยลง แพลงก์ตอนและสัตว์นำ�้ ขนาดเล็กจะติดไปกับน�ำ้ ทีถ่ กู สูบไปใช้ในโรงงาน ท�ำให้จำ� นวนสัตว์นำ�้ ลดลง
อาชีพเกษตรกรรม
ฝุน่ ขีเ้ ถ้าถ่านหินจะท�ำให้พชื ผสมเกสรได้นอ้ ย ลง เพราะขี้เถ้าจะไปจับบนเกสรตัวเมียที่ปกติจะมีน�้ำ เมือกเหนียวๆ ดักจับเกสรตัวผู้ ประสิทธิภาพในการดัก จับเกสรตัวผู้จึงลดลง การปฏิสนธิจึงเกิดขึ้นได้ยาก พืชจะสังเคราะห์แสงได้น้อยลง เพราะขี้เถ้า ถ่านหินอาจลอยไปเกาะบนใบไม้ ปิดกั้นแสงอาทิตย์ ไม่ ใ ห้ เ ข้ า ไปกระตุ ้ น สั ง เคราะห์ แ สงของพื ช การ สังเคราะห์แสงจึงท�ำได้น้อยลง ก๊ า ซซั ล เฟอร์ ไ ดออกไซด์ แ ละไนโตรเจนออกไซด์ที่เกิดจากการเผาไหม้ถ่านหินจะท�ำให้เกิด ฝนกรด ท�ำให้พืชเจริญเติบโตได้ไม่ดี
ที่มา: รศ.ดร.เรณู เวชรัชต์พิมล ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
ผลกระทบจากโรงไฟฟ้าถ่านหิน
นิสิตนักศึกษา ฉบับ เทพาบ้านเรา I
21
ผลกระทบต่อวิถีชุมชน เรื่อง: พชร ค�ำช�ำนาญ ภาพ: เอม มฤคทัต
การเข้ามาของโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินท�ำให้คนในพืน้ ทีแ่ ตกเป็นสองฝ่าย (เพราะมีทงั้ ผูท้ สี่ นับสนุน และคัดค้านโครงการ) มีผลให้กิจกรรมและประเพณีดั้งเดิมที่ต้องใช้ความสามัคคีท�ำได้ยากขึ้น เช่น การจับ ปลาด้วยมือเปล่าทีไ่ ม่สามารถท�ำคนเดียวได้ การท�ำบุญบ้านทีแ่ ต่ละครัวเรือนจะท�ำอาหารไปช่วยงานกัน และ เทศกาลฮารีรายอที่จัดขึ้นหลังผ่านเดือนถือศีลอดก็จะมีคนเข้าร่วมน้อยเต็มที นอกจากนั้น ภาพบรรยากาศ เก่าๆ ที่ตนและลูกเดินเล่นบนหาดทราย หากุ้ง หอย ปู ปลา และเล่นน�้ำทะเลด้วยกันก็อาจไม่มีอีกแล้ว “เราท�ำงานในทะเล กินของทะเล มันพอกิน พอใช้ ยังเหลือส่งลูกเรียนด้วย เราออกทะเลท�ำงาน เลี้ยงครอบครัวไปวันๆ ถ้าไม่มีทะเลที่อุดมสมบูรณ์เรา จะใช้ชีวิตยังไง” วิรพงษ์ หวังหวัน ชาวประมง อ.เทพา
สรวิชญ์ หลีเจริญ ชาวประมง อ.เทพา
“เราต้องสูญเสียทีอ่ ยูอ่ าศัยเดิม สูญเสีย ชุมชนที่มีครบแล้วทั้งโรงเรียนปอเนาะ มัสยิด กุโบร์ และวัด พี่น้องจะกระจัดกระจายไป เสีย พื้นที่ท�ำมาหากิน ซึ่งปัจจุบันเราท�ำอาชีพประมง กับเกษตรเป็นส่วนใหญ่ ทะเล คลองป่าชายเลน แหล่งเพาะพันธุ์สัตว์น�้ำจะเสื่อมโทรมลง เพราะ การปล่อยน�้ำเสีย ชาวประมงหลายพันล�ำเรือจะ จับสัตว์น�้ำได้น้อยลงหรือไม่ได้เลย พื้นที่เพาะ ปลู กผั กผลไม้ ห ลายพั นไร่ ต้ องสู ญ ไป” มัธยม ชายเต็ม ชาวประมง อ.เทพา
“การย้ า ยชุ ม ชนเป็ น สิ ท ธิ ม นุ ษ ยชน อย่างหนึ่ง ชุมชนมีความเป็นวิถี การที่ย้าย 200 กว่าครอบครัวแล้วไปตัง้ ชุมชนใหม่ไม่ใช่เรือ่ งทีจ่ ะ พูดกันง่ายๆ กว่าชุมชนจะตั้งมามันมีวิถีที่สะสม มีความเป็นเครือญาติ ความร่วมมือกันในเชิง พิธีกรรม” สุภาภรณ์ มาลัยลอย
ผู้จัดการมูลนิธินิติธรรมสิ่งแวดล้อม (EnLaw)
22 I นิสิตนักศึกษา ฉบับ เทพาบ้านเรา
ผลกระทบจากโรงไฟฟ้าถ่านหิน
ผลกระทบต่อสุขภาพ เรื่อง: พชร ค�ำช�ำนาญ ภาพ: เอม มฤคทัต
งานวิจัยของกรีนพีซเรื่อง “ต้นทุนชีวิต: โรงไฟฟ้าถ่านหินกับภัยคุกคามต่อสุขภาพของคนไทย” เมื่อ ปี 2558 ซึ่งน�ำผลการวิจัยของมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด สหรัฐฯ ที่ศึกษาผลกระทบของโรงไฟฟ้าถ่านหินต่อ สุขภาพของคนในอินโดนีเซียมาวิเคราะห์กับกรณีโรงไฟฟ้าถ่านหินกระบี่และมาบตาพุด พบว่า โรงไฟฟ้า ถ่านหินในประเทศไทยเป็นสาเหตุให้คนไทยเสียชีวิตประมาณ 1,550 คนต่อปี และอาจพุ่งสูงถึง 5,300 คน ต่อปี หากยังมีโครงการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินต่อไป โดยงานวิจยั พบว่า โรงไฟฟ้าถ่านหินปล่อยสารพิษต่อไปนี้ ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ รายงาน EHIA ฉบับ ปี 2560 ระบุว่า 7,724.85 ตันต่อปี เป็นสาเหตุของอาการระคายเคืองตา โรคหอบหืด โรคหลอดลมอักเสบ โรคหัวใจและ หลอดเลือด และโรคหลอดเลือดในสมองแตก
ไนโตรเจนไดออกไซด์ รายงาน EHIA ฉบับปี 2560 ระบุวา่ ปล่อยออกมา 5,552.21 ตันต่อปี เป็นสาเหตุของโรคหอบหืดก�ำเริบ โรค หลอดเลือดอุดตันเรือ้ รัง อาการหัวใจเต้นผิดจังหวะ โรคเส้นเลือดในสมองแตก
ปรอท (ปนเปื้อนในอาหารในรูปเมทิล เมอร์คิวรี่) รายงาน EHIA ฉบับปี 2560 ระบุว่า ปล่อยออกมา 0.0012770 กรัมต่อวินาที เป็นสารที่ท�ำลายสมอง ระบบประสาท ไต และตับ
ตะกั่ว รายงาน EHIA ฉบับปี 2560 ระบุวา่ ปล่อยออกมา 0.0005110 กรัมต่อวินาที ท� ำ ลายระบบประสาทในเด็ ก ส่ ง ผลกระทบต่ อ การเรี ย นและความจ� ำ อาจ ท�ำลายไต อาจท�ำให้เป็นโรคหัวใจและหลอด เลือดและโลหิตจาง
สารหนูและแคดเมียม รายงาน EHIA ฉบั บ ปี 2560 ระบุ ว ่ า ปล่ อ ยสารหนู อ อกมา 0.000255 กรั ม ต่ อ วิ น าที และแคดเมี ย ม 0.0000640 กรัมต่อวินาที สารนีอ้ าจมีผลกระทบต่อระบบประสาท หัวใจและหลอดเลือด ผิวหนัง ระบบทางเดิน หายใจ และระบบภูมิคุ้มกัน สามารถก่อมะเร็ง ในปอด กระเพาะปัสสาวะ ไต และผิวหนัง
ฝุ ่ น ละออง รายงาน EHIA ฉบั บ ปี 2560 ระบุว่า ปล่อยฝุ่นละอองขนาดเล็กกว่า 2.5 ไมครอน (PM2.5) 513.5 ตันต่อปี เป็นสาเหตุของโรคหอบหืดก�ำเริบ โรค หลอดเลื อ ดอุ ด ตั น เรื้ อ รั ง อาการหัวใจเต้นผิด จังหวะ โรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน ภาวะ หัวใจวาย โรคเส้นเลือดในสมองแตก มะเร็งปอด
ที่มา: Human Cost of Coal Power : How coal-fired power plants threaten the health of Thais. Greenpeace. 2015. รายงาน EHIA ฉบับย่อ
นิสิตนักศึกษา ฉบับ เทพาบ้านเรา I
ผลกระทบจากโรงไฟฟ้าถ่านหิน
23
ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เรื่อง: นัจนันท์ เกตุสุวรรณ ภาพ: เอม มฤคทัต
รศ.ดร.เรณู เวชรัชต์พิมล ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร วิเคราะห์ว่า การสร้างและด�ำเนินการโรงไฟฟ้าเทพาอาจเกิดผลกระทบดังนี้ ศ
นำ�้
การเผาไหม้ถ่านหิน 22,000 ตันต่อวัน ท�ำให้เกิดขี้เถ้าถ่านหิน 3,700 ตันต่อวัน ซึ่งมีสารพิษ อาทิ ซีลิเนียม ตะกั่ว สารหนู แคดเมียม ปรอท เมื่อ ฝนตกหนักหรือเกิดพายุ มีโอกาสที่ท�ำให้คันบ่อขี้เถ้า แตก และรั่วไหลลงสู่แหล่งน�้ำธรรมชาติ ดังที่พบที่ สหรัฐฯ เมือ่ ปี 2551 ว่ามีขเี้ ถ้าถ่านหินกว่า 4.2 ล้านลบ.ม. ไหลลงสู่แม่น�้ำเทนเนสซี ท�ำให้พื้นที่ 0.3 ตร.กม. ใน บริเวณนั้นปกคลุมด้วยขี้เถ้าถ่านหิน การวิจยั ของ Southern Environment Law Center สหรัฐฯ ปี 2555 พบว่า สารซิลีเนียมในขี้เถ้า ถ่ า นหิ น ท� ำ ให้ ป ลาในทะเลสาบซุ ต ตั น นิ ว ยอร์ ค กระดูกคด และเจริญเติบโตผิดปกติ อีกทั้งข้อค้นพบ นีย้ งั ท�ำให้เมือ่ ปี 2556 องค์กรพิทกั ษ์สงิ่ แวดล้อมของ สหรัฐฯ (EPA) ได้พิจารณาให้ขี้เถ้าถ่านหินเป็นวัตถุ อันตราย การสูบน�้ำทะเลขึ้นมาใช้ในการผลิตไฟฟ้า วันละ 9 ล้านลบ.ม. ท�ำให้สัตว์น�้ำถูกสูบขึ้นมาผ่าน กระบวนการทางเคมี มีแพลงก์ตอนตายวันละกว่า 8 แสนล้านตัว ทะเลเสื่อมโทรม และสิ่งมีชีวิตบางชนิด บริเวณปากแม่น�้ำย้ายถิ่นอาศัย
อากา
การเคลื่อนย้ายของรถบรรทุกขนถ่านหิน การถมปรับที่ดิน ขุดบ่อน�้ำและบ่อขี้เถ้าในช่วงสร้าง โรงไฟฟ้า ท�ำให้เกิดฝุ่นละออง ก๊าซพิษ มลพิษทาง เสียง และการสั่นสะเทือนในพื้นที่ก่อสร้าง กระทบ พื้นที่ 3 กม. รอบโครงการ ในการผลิตกระแสไฟฟ้า มีการขนถ่าย ถ่านหินทางเรืออย่างน้อย 100 เทีย่ วต่อปี และน�ำ้ มัน ดีเซลกว่า 4,000 ลบ.ม.ต่อปี ท�ำให้เกิดการระเหยของ น�้ำมันดีเซล ในพื้นที่สามกม.จากชายฝั่ง และการ สะสมของตะกอนเลนสี ด� ำ ในทะเลคล้ า ยในกรณี ของโรงไฟฟ้า อ.มาบตาพุด จ.ระยอง โรงงานมีการติดตั้งเครื่องดักจับสารปรอท (ACI) ตามมาตรฐาน แต่รายงาน EHIA ระบุว่า ACI จะไม่ได้ท�ำงานตลอดเวลา ท�ำให้สารปรอทแพร่ กระจายสู่อากาศและแหล่งน�้ำเป็นพิษต่ออากาศ บริเวณใกล้เคียงในรัศมี 30 กม. ก า ร เ ผ า ไ ห ม ้ ถ ่ า น หิ น ป ล ่ อ ย ก ๊ า ซ คาร์บอนไดออกไซด์ 2.15 ปอนด์ต่อกิโลวัตต์ชั่วโมง ท�ำให้ความร้อนสะสมบนผิวโลกและในบรรยากาศ มากขึน้ อุณหภูมโิ ลกสูงขึน้ มีผลต่อภาวะเรือนกระจก
าติ
รรมช
ากรธ ทรัพย
การสร้างโรงไฟฟ้าบนพืน้ ทีป่ า่ ชายเลน ท�ำให้ปา่ ชายเลนซึง่ เป็นแหล่งอนุบาลสัตว์นำ�้ หายไป จ�ำนวนสิง่ มีชีวิตที่อาศัยอยู่บริเวณป่าชายเลนลดลง ระบบนิเวศขาดความอุดมสมบูรณ์ พื้นที่โครงการทั้งหมดอยู่ในเขตห้ามล่าสัตว์ป่าเขาปะช้าง-แหลมขาม และมีเคยมีผู้พบเห็นสัตว์น�้ำ ทรัพยากรหายาก ได้แก่ โลมาเผือก สีชมพูและสีเทาในน่านน�้ำบริเวณนั้น การสร้างและด�ำเนินการโรงไฟฟ้าซึ่ง มีกิจกรรมตลอดทั้งวันจะท�ำให้สัตว์เหล่านี้ต้องอพยพโยกย้าย ส่งผลต่อระบบนิเวศทางทะเลต่อไป