นิสิตนักศึกษา ฉบับแปดริ้ว เมืองยั่งยืน (มิ.ย. 2561)

Page 1

8

ช�ำแหละพัฒนาการผังเมืองแปดริ้ว ก้าวต่อไปของผังเมือง EEC คืออะไร และใครกันแน่ที่ได้ประโยชน์

20

วารสารฝึกปฏิบัติ ภาควิชาวารสารสนเทศ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฉบับมิถุนายน 2561

“การมีส่วนร่วมของชุมชน” มีจริงหรือไม่ เมื่อ EEC ย่างกรายเข้าไปในพื้นที่ท�ำกิน

24

ฝันร้ายสี่ปีของชาวโยธะกา ที่ต้องเผชิญการให้ออกจากพื้นที่

ฉบั ฉบับ บแปดริ แปดริ้ว้ว เมื เมือ องยั งยั่ง่งยื ยืน น


00

ฉบับโครงการระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก

ฉะเชิงเทรานี้ถิ่นสิ้นทุกข์อุทธรณ์ บารมีหลวงพ่อโสธรผองชาวนครรื่นกมล เนืองแน่นทรัพย์สินมีค่า เรือกสวนนาพืชผักปลามากล้น ทั้งปวงชนขยันอดทน ต่างขวายขวนหาทรัพย์ดินสินนาทั่วกัน เพลง ฉะเชิงเทราร่มเย็น ค�ำร้อง: พรพิรุณ


สารบัญ วารสารฝึกปฏิบัติ ภาควิชาวารสารสนเทศ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อาจารย์ที่ปรึกษา พรรษาสิริ กุหลาบ กองบรรณาธิการ นัจนันท์ เกตุสุวรรณ พชร ค�ำช�ำนาญ รณิดา บริบูรณ์ภัทรกุล สิรารมย์ เตชะศรีอมรรัตน์ บรรณาธิการฝ่ายศิลป์ นัจนันท์ เกตุสุวรรณ กองบรรณาธิการฝ่ายศิลป์ เมธาวจี สาระคุณ รณิดา บริบูรณ์ภัทรกุล สิรารมย์ เตชะศรีอมรรัตน์ บรรณาธิการผู้พิมพ์ผู้โฆษณา ผศ.ดร. ณรงค์ ข�ำวิจิตร์ ที่อยู่ : 254 ถนนพญาไท แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330 โทร : 0-2218-2140 Facebook : www.facebook.com/nisitjournal Twitter : @nisitjournal Website : http://nisitjournal.press

ภาพปก: สมาชิกกลุ่มเกษตรอินทรีย์สนามชัยเขต ก�ำลังเก็บผักจากแปลงทดลองของกลุ่ม ภาพ: เมธาวจี สาระคุณ

เร่งตอกเสาเข็มโครงสร้างพื้นฐาน ปูทางเข้าเส้นชัย EEC

5

แผนลงทุนโครงการระเบียง เศรษฐกิจภาคตะวันออก ปี 2560-2564

6

ผังเมืองแปดริ้ว เมื่อฝันสลายใต้มือ คสช.

8

วนเกษตร หนึ่งค�ำตอบจากภาคเกษตรกรรม ในวันที่ผังเมืองฉะเชิงเทราเปลี่ยน

12

กลุ่มเกษตรอินทรีย์ ชีวิตดีๆ ที่ชาวชุมชนลิขิตเอง

16

ส่วนร่วมภาคประชาชน ฟันเฟืองที่หายไป ในก้าวที่ยิ่งใหญ่ของภาคตะวันออก

20

สี่ปีแห่งการต่อสู้ และอนาคตที่แขวนอยู่บนเส้นด้าย ของชาวโยธะกา

24


ฉบับโครงการระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวั นออก TITLE

00 00

บทบรรณาธิการ

เสียงของชุมชนหายไปไหน ในโครงการ EEC โครงการระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor: EEC) เริม่ เป็นทีร่ จู้ กั ผ่านการประชาสัมพันธ์ของรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา เมือ่ เดือน ม.ค. 2560 โครงการนี้กินพื้นที่สามจังหวัดในภาคตะวันออก ได้แก่ ฉะเชิงเทรา ชลบุรี และระยอง รัฐบาลเชื่อว่า EEC จะดึงดูดนักลงทุนต่างชาติให้เข้ามาประกอบการมากขึ้น และส่งผลให้เศรษฐกิจไทยโตขึ้น ร้อยละ 5 ต่อปี อย่างไรก็ตาม หลายฝ่ายมองว่า EEC เป็นภาคต่อของ “อีสเทิรน์ ซีบอร์ด” ทีเ่ ป็นเสมือนฝันร้าย ของประชาชนในภาคตะวันออกมาตัง้ แต่สมัยรัฐบาลพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ เมือ่ ปี 2525 เพราะ โครงการดังกล่าวเป็นปัจจัยส�ำคัญทีท่ ำ� ให้เกิดมลพิษทัง้ ทางน�ำ้ และอากาศ จนส่งผลให้สภาพแวดล้อม และระบบนิเวศในบริเวณนั้นเสื่อมโทรม ปัญหาเหล่านี้ไม่เพียงส่งผลต่อสุขภาวะของคนในพื้นที่ แต่ยังท�ำให้ชาวบ้านในหลายชุมชนไม่สามารถท�ำประมงท้องถิ่นได้เช่นเดิม กองบรรณาธิการ นิสติ นักศึกษา เห็นว่า การผลักดันโครงการ EEC เป็นเจตนาดีของรัฐบาล ที่มุ่งพัฒนาเศรษฐกิจ เพื่อพาประเทศไทยก้าวผ่านการเป็นประเทศรายได้ปานกลางสู่รายได้สูง แต่ EEC เป็นโครงการอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ภาครัฐจ�ำเป็นต้องศึกษาข้อมูลที่เกี่ยวข้องและรับฟัง ความเห็นให้รอบด้าน พร้อมทั้งให้ข้อมูลทั้งด้านดีและด้านเสียแก่ประชาชนอย่างครบถ้วน “การขาดการมีส่วนร่วมของชุมชน” เป็นปัญหาของโครงการ EEC ที่ทั้งชาวชุมชนและ ผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายเห็นตรงกัน ประการแรกคือ ชาวบ้านแทบไม่ได้รับรู้ว่า EEC คืออะไร พืน้ ทีอ่ ยูอ่ าศัยของตนอยูใ่ นโครงการ EEC หรือไม่ พืน้ ทีน่ นั้ จะถูกน�ำไปสร้างเป็นอะไร ผลกระทบระยะ ต่างๆ จะเป็นอย่างไร ภาครัฐมีนโยบายส�ำหรับชดเชยหรือเยียวยาอย่างไร และที่ส�ำคัญ คือการขาด พื้นที่ที่ชาวบ้านจะสื่อสารต่อภาครัฐและสาธารณะว่าพวกเขาคิดเห็นอย่างไรต่อโครงการนี้ นอกจากนั้น ชาวบ้านบางส่วนยังรู้สึกว่า การพูดคุยเจรจากับภาครัฐเป็นไปได้ยาก ชาวบ้าน ไม่สามารถแสดงข้อห่วงกังวลของตนในฐานะคนในพืน้ ทีเ่ พือ่ ให้ภาครัฐน�ำไปพิจารณาในโครงการได้ ในฐานะสื่อวารสารศาสตร์เพื่อชุมชน กองบรรณาธิการ นิสิตนักศึกษา เห็นว่า หากภาครัฐ ต้ อ งการท� ำ ให้ ช าวชุ ม ชนเชื่ อ มั่ น ก็ ค วรเสนอแนวทางแก้ ไ ขปั ญ หาที่ ยั ง คงอยู ่ จ ากโครงการ “อีสเทิร์นซีบอร์ด” เสียก่อน โดยเฉพาะเรื่องมลพิษที่กระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่และสิ่งแวดล้อม เพราะปั ญ หาเหล่ า นี้ ยั ง คงเป็ น ภาพจ� ำ ที่ ท� ำ ให้ ช าวภาคตะวั น ออกยั ง ไม่ อ าจยอมรั บ โครงการ อุตสาหกรรมใหม่ที่จะเข้ามาในพื้นที่ ยิ่งไปกว่านั้น ภาครัฐควรเปิดพื้นที่สาธารณะให้ชาวชุมชนมาร่วมรับรู้และอภิปรายถกเถียง เกี่ยวกับ EEC เพื่อให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการก�ำหนดอนาคตของตน เพราะชาวภาคตะวันออก ผู้เป็นเจ้าของพื้นที่ ย่อมมีสิทธิพลเมืองในการแสดงความเห็นเกี่ยวกับโครงการ และเสนอแนวทาง การพัฒนาพื้นที่ของพวกเขาร่วมกันกับภาครัฐและเอกชน เพื่อให้การพัฒนาเป็นไปอย่างยั่งยืน เศรษฐกิจเดินหน้าได้ โดยไม่ทิ้งชุมชนไว้ข้างหลัง



MAPS


MAPS


ฉบับแปดริ้ว เมืองยั่งยืน

8

ผังเมืองแปดริ้ว

เมื่อฝันสลายใต้มือ คสช. เอกสาร ผั ง เมื อ งรวมเบื้ อ งต้ น โดย FYI

ธรรมวัฒน์ อินทจักร (พ.ศ.2560) อธิบายว่า ผังเมือง หมายถึง แผนผังเมืองที่จัดท�ำขึ้นเพื่อ ควบคุมการใช้ประโยชน์ที่ดินตามกฎหมาย เพื่อ ก�ำหนดทิศทางการพัฒนาเมือง ลดความขัดแย้ง ในการใช้ประโยชน์จากที่ดินระหว่างกลุ่มต่างๆ และดูแลพื้นที่อนุรักษ์ การใช้ประโยชน์ที่ดินแบ่งออกเป็น 22 ประเภท โดยใช้รหัสสีแบ่งประเภท อาทิ ทีด่ นิ เพือ่ ชนบทและเกษตรกรรมเป็ น สี เ ขี ย ว ที่ ดิ น เพื่ อ อุตสาหกรรมและธุรกิจเป็นสีม่วง ส่ ว นกฎหมายผั ง เมื อ งหลั ก นั้ น คื อ พระราชบั ญ ญั ติ ก ารผั ง เมื อ ง (ฉบั บ ที่ 4) พ.ศ. 2558 ซึ่งในแต่ละพื้นที่ก็จะมีกฎกระทรวง เฉพาะ ซึ่งมีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่เป็นผู้ ท�ำหน้าที่ควบคุมการใช้ประโยชน์ที่ดินให้เป็นไป ตามทีก่ ำ� หนดไว้ในผังเมือง โดยจะท�ำหน้าทีต่ รวจ สอบตั้ ง แต่ ก ารขออนุ ญ าตก่ อ สร้ า ง ไปจนถึ ง พิจารณาข้อร้องเรียนต่างๆ ตามกฎกระทรวงที่ บังคับใช้ คูม่ อื การวางและจัดท�ำผังเมืองเฉพาะ โดย กรมโยธาธิการและผังเมือง กระทรวง มหาดไทย (พ.ศ.2552) ระบุไว้ว่า ผังเมืองมี หลายระดับ เช่น ผังเมืองประเทศ ผังภาค ผัง อนุภาค ผังเมืองรวมจังหวัด ผังเมืองรวมชุมชน เป็นต้น โดนจะแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ ได้แก่ ผังเมืองรวม คือ แผนผังควบคุมโดย ทั่วไปหรือแม่บท ที่ใช้เป็นแนวทางในการพัฒนา และการดํ า รงรั ก ษาเมื อ ง รวมทั้ ง บริ เ วณที่ เกี่ยวข้องหรือชนบทในด้านการใช้ประโยชน์ใน ทรัพย์สิน การคมนาคมและการขนส่ง บริการ สาธารณะ และสภาพแวดล้อม ผั ง เมื อ งเฉพาะ คื อ แผนผั ง และ โครงการดําเนินการ เพื่อพัฒนาหรือดํารงรักษา บริเวณเฉพาะแห่งหรือกิจการทีเ่ กีย่ วข้องในเมือง และบริเวณที่เกี่ยวข้องหรือชนบท ซึ่งจะละเอียด กว่าผังเมืองรวมและเจาะจงลงไปในพื้นที่นั้นๆ

เรื่อง-ภาพ: สิรารมย์ เตชะศรีอมรรัตน์

หากผั ง เมื อ งแปดริ้ ว เป็ น คน กว่ า จะเดิ น หน้ า มาจนถึ ง วั น ที่ มี ก ารประกาศใช้ ผั ง เมื อ งรวม จั ง หวั ด ฉะเชิ ง เทราอย่ า งเป็ น ทางการก็ นั บ ว่ า เดิ น ทางมาไกลโข ส่ ว นหนึ่ ง เป็ น เพราะได้ แ รงกายแรง ใจของเพื่ อ นร่ ว มทางอย่ า งประชาชนชาวแปดริ้ ว ที่ ร ่ ว มกั น ก� ำ หนดทิ ศ ทางผั ง เมื อ งเพื่ อ วางแผน อนาคตของจั ง หวั ด ทั้ ง ยั ง ได้ อ าศั ย ความร่ ว ม มื อ จากเครื อ ข่ า ยต่ า งๆ ในภาคตะวั น ออก อาทิ เครื อ ข่ า ยเพื่ อ นตะวั น ออก วาระเปลี่ ย นตะวั น ออก เครือข่าย Land Watch Thai แต่ เ มื่ อ ผั ง เมื อ งแปดริ้ ว เดิ น ทางใกล้ ถึ ง ความส� ำ เร็ จ อย่ า งที่ ตั้ ง ใจ ก็ ม าถึ ง ทางตั น ซะก่ อ น เมื่ อ ปะทะเข้ า กั บ ยั ก ษ์ ใ หญ่ ที่ ม าแรงสุ ด ๆ ในวิ น าที นี้อย่างโครงการ EEC แรกเริ่มผังเมืองแปดริ้ว (อดีต - 2555)

ก่ อ นปี 2555 เมื อ งแปดริ้ ว หรื อ จั ง หวั ด ฉะเชิงเทราได้รบั ผลกระทบจากโครงการขนาดใหญ่ของ รัฐและเอกชนไม่น้อย โดยเฉพาะจากการตั้งโครงการ โดยปราศจากกฎหมายผังเมืองมาก�ำหนด อย่างการตัง้ โรงงานอุตสาหกรรมนอกพื้นที่เขตอุตสาหกรรม เช่น โครงการโรงไฟฟ้ า ถ่ า นหิ น ที่ อ� ำ เภอบางคล้ า และ โครงการบ่อขยะที่อ�ำเภอหนองแหน ซึ่งเป็นโครงการที่ ส่งผลกระทบต่อสิง่ แวดล้อมสูง แต่ตงั้ อยูใ่ กล้ชมุ ชนหรือ เขตอนุรักษ์ เมื่อปี 2555 ประชาชนที่เห็นความส�ำคัญของ การจัดท�ำผังเมืองจึงได้กอ่ ตัง้ สมัชชาแปดริว้ เมืองยัง่ ยืน เพื่ อ เป็ น ช่ อ งทางให้ ช าวฉะเชิ ง เทรามี ส ่ ว นร่ ว มใน การก�ำหนดทิศทางการจัดท�ำผังเมือง โดยการแสดง ความคิดเห็นต่อกรมโยธาธิการและผังเมืองอย่างเป็น ทางการและรูปธรรม ผังเมืองแปดริ้วส�ำเร็จ! (2556 - 2558)

เมื่อวันที่ 3 พ.ค. 2556 กรมโยธาธิการและ ผังเมือง กระทรวงมหาดไทย ประกาศใช้ผังเมืองรวม จังหวัดฉะเชิงเทราอย่างเป็นทางการ หลังจากใช้เวลา จัดท�ำกว่า 10 ปี โดยมีสมัชชาแปดริ้ว เมืองยั่งยืน และ ชาวฉะเชิงเทราเป็นผู้ให้ข้อมูลและแสดงความต้องการ ต่อการจัดแบ่งประเภทพืน้ ที่ โดย กฎกระทรวงให้บงั คับ


ฉบับแปดริ้ว เมืองยั่งยืน

9

ผังเมืองรวมจังหวัดฉะเชิงเทรา ผังเมืองรวมเมืองบางปะกง ผังเมืองรวมชุมชนบ้านโพธิ์ ผังเมืองรวมชุมชนพนมสารคามฯ ผังเมืองรวมชุมชนสุวินทวงศ์ ผังเมืองรวมเมืองฉะเชิงเทรา ผังเมืองรวมเมืองบางคล้า ผังเมืองรวมชุมชนบางน�้ำเปรี้ยว ผังเมืองรวมชุมชนแปลงยาว อยู่ในกระบวนการปรับปรุง

อยู่ในกระบวนการจัดท�ำใหม่ เนื่องจากของเดิมหมดอายุ

อยู่ในกระบวนการจัดท�ำใหม่

ทุกผังหยุดไว้ก่อน

ผังเมือง EEC เดินหน้าเต็มก�ำลัง

ที่มา : เวทีสาธารณะ “แปดริ้วผังเมืองเพื่อแปดริ้วเมืองน่าอยู่อย่างยั่งยืน” เมื่อวันที่ 24 พ.ค. 2561

ใช้ผังเมืองรวมฉะเชิงเทรา พ.ศ. 2555 มีสัดส่วนพื้นที่สี เขียวหรือเขตเกษตรกรรมมากที่สุด รองลงมาเป็นพื้นที่ สี ช มพู ข องเขตชุ ม ชน พื้ น ที่ สี ฟ ้ า ของเขตที่ โ ล่ ง เพื่ อ การรั ก ษาสภาพแวดล้ อ ม และพื้ น ที่ สี ม ่ ว งของเขต อุตสาหกรรมซึ่งมีเพียงเล็กน้อย แต่หลังจากการประกาศใช้ผงั เมืองรวมจังหวัด ฉะเชิงเทราเพียงไม่นาน กรมโยธาธิการและผังเมืองก็ ประกาศให้มกี ารด�ำเนินการปรับปรุงผังเมือง เพือ่ ให้เกิด ความทันสมัย ใน 2 ระยะ ได้แก่ ระยะเร่งด่วน หมายถึง การปรับผังเมืองทีป่ ระกาศใช้ไปแล้วให้มคี วามยืดหยุน่ มากขึ้ น และระยะต่ อ ไป หมายถึ ง ด� ำ เนิ น การวาง ผังเมืองรูปแบบใหม่ผ่านบริษัทที่ปรึกษา เครือข่ายสมัชชาแปดริ้ว เมืองยั่งยืน จึงได้เดิน หน้าเปิดเวทีสาธารณะทั่วจังหวัดฉะเชิงเทรา เพื่อให้ ความรู้เกี่ยวกับทิศทางผังเมืองและรวบรวมความคิด เห็ น ของประชาชนในพื้ น ที่ เพื่ อ น� ำ เสนอต่ อ กรม โยธาธิ การและผังเมืองและบริษัทที่ปรึกษา จนเมื่อปี 2558 กระบวนการจัดท�ำผังเมืองทั้งหมดของจังหวัด ฉะเชิงเทราก็หยุดชะงักลง เนือ่ งจากข่าวคราวของ EEC เดินทางมาถึงพื้นที่ ผังเมืองแปดริ้ว ฝันสลาย และ EEC (2559 - 2560)

วันที่ 20 ม.ค. 2559 เหมือนมีเรือ่ งราวพลิกกลับ บนแผ่นดินแปดริว้ เมือ่ ราชกิจจานุเบกษาเผยแพร่คำ� สัง่ หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 3/2559 เรื่อง การยกเว้นการใช้บังคับกฎหมายว่าด้วยการผังเมือง

และกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารในพื้นที่เขต เศรษฐกิจพิเศษ และค�ำสั่งที่ 4/2559 เรื่อง การยกเว้น การใช้ บั ง คั บ กฎกระทรวงให้ ใ ช้ บั ง คั บ ผั ง เมื อ งรวม ส�ำหรับการประกอบกิจการบางประเภท กล่าวโดยสรุป ก็คือ ประกาศดังกล่าวมีผลให้ระงับการประกาศใช้ ผังเมืองในฉะเชิงเทรา ชลบุรี และระยอง ไว้ก่อน สาเหตุทรี่ ฐั บาลประกาศหยุดใช้ผงั เมือง ทัง้ ๆ ที่ พึง่ จะน�ำมาใช้ได้ไม่นาน เพราะการเข้ามาของโครงการ ขนาดใหญ่ยักษ์ระดับเมกะของเมกะโปรเจกต์อย่าง โครงการ EEC ทีม่ งุ่ จะพัฒนาจังหวัดฉะเชิงเทรา ระยอง และชลบุรี ให้กลายเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษอีกครัง้ หลัง จากรัฐบาลพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ประกาศพัฒนา โครงการอีสเทิรน์ ซีบอร์ด เมือ่ ปี 2525 เพือ่ ยกระดับทาง เศรษฐกิจให้ประเทศอย่างกว้างขวาง แต่ส่งผลกระทบ ต่อคุณภาพชีวิตของคนพื้นที่อย่างใหญ่หลวง เมื่อวันที่ 25 ต.ค. 2560 ราชกิจจานุเบกษาก็ เผยแพร่คําสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 47/2560 เรื่อง ข้อกําหนดการใช้ประโยชน์ในที่ดินใน พื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก โดยให้ หน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องจัดท�ำแผนผังการพัฒนา โครงสร้ า งพื้ น ฐานและระบบสาธารณู ป โภคในพื้ น ส�ำหรับโครงการ EEC โดยมิให้นํากฎหมายว่าด้วยการ ผังเมืองมาใช้บังคับ นอกจากการประกาศครัง้ นีจ้ ะท�ำให้ผงั เมืองถูก ระงับใช้แล้ว การจัดท�ำผังเมืองรวมฉะเชิงเทราตาม ทิศทางที่ภาคประชาสังคมและประชาชนร่วมจัดท�ำก็ ต้องยุตลิ งโดยสิน้ เชิง เพือ่ ลัน่ ระฆังให้เริม่ จัดท�ำผังเมือง ทีต่ อบโจทย์การพัฒนาโครงการ EEC อย่างเป็นทางการ


ฉบับแปดริ้ว เมืองยั่งยืน

10

ผังเมืองรวมจังหวัดฉะเชิงเทราปี 56

ที่ดินประเภทอนุรักษ์ชนบทแล ที่ดินประเภทอนุรักษ์ป่าไม้ ที่ดินประเภทพัฒนาเกษตรกร

ที่ดินประเภทชนบทและเกษตรกรรม ที่ดินประเภทอนุรักษ์ชนบทและเกษตรกรรม ที่ดินประเภทอนุรักษ์ป่าไม้

ที่ดินประเภทที่โล่งเพื่อการรัก

ที่ดินประเภทที่โล่งเพื่อการรักษาสภาพแวดล้อม

ที่ดินประเภทพัฒนาเมือง

ที่ดินประเภทชุมชน

ที่ดินประเภทอุตสาหกรรม

ที่ดินประเภทอุตสาหกรรมและคลังสินค้า

ที่ดินประเภทรองรับการพัฒน

ที่ดินประเภทชนบทและปศุสัตว์

ที่มา : กฎกระทรวงให้บังคับใช้ผังเมืองรวมฉะเชิงเทรา พ.ศ. 2555

ที่มา : กัญจน์ ทัตติยกุล ผู้ประสานงานกล ในเวทีสาธารณะ “แปดริ้วผังเมืองเพื่อแปดร

เส้นทางการพัฒนาผังเมือ ก้าวต่อไปของผังเมือง EEC

กรมโยธาธิการและผังเมืองได้ให้ข้อมูลในเวที สาธารณะ “แปดริว้ ผังเมืองเพือ่ แปดริว้ เมืองน่าอยูอ่ ย่าง ยั่งยืน” เมื่อวันที่ 24 พ.ค. 2561 เกี่ยวกับผังเมือง EEC ซึง่ ก�ำลังเดินหน้าอย่างเต็มก�ำลังในขณะนีไ้ ว้วา่ แบ่งเป็น 2 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 การจัดท�ำผังเมือง EEC

กรมโยธาธิ ก ารและผั ง เมื อ งรั บ หน้ า ที่ เ ป็ น ผู ้ ด�ำเนินการหลักในการจัดท�ำผังเมือง EEC หรือผังเมือง รวม 3 จังหวัด ได้แก่ ฉะเชิงเทรา ระยอง และชลบุรี ตาม ก�ำหนดของ พ.ร.บ. EEC ผังเมืองรวม 3 จังหวัดนีจ้ ะต้อง แล้วเสร็จภายใน 1 ปี และจะบังคับใช้ทั่วเขตแดนของ ทั้ง 3 จังหวัด มีผลให้ทุกจังหวัดต้องปฏิบัติตาม มนตรี ศักดิ์เมือง ที่ปรึกษาด้านการผังเมือง (นักผังเมืองทรงคุณวุฒิ) กรมโยธาธิการและผังเมือง กล่าวในเวทีสาธารณะฯ ว่า “ผังเมือง EEC จะมีการเข้า มามีสว่ นร่วมจากภาคประชาชน เพียงแต่คงไม่สามารถ ท� ำ ได้ ม ากเหมื อ นกระบวนการจั ด ท� ำ ผั ง เมื อ งปกติ เนื่องจากเวลาที่ค่อนข้างจ�ำกัด” ร ะ ย ะ ที่ 2 ก า ร จั ด ท� ำ ผั ง เ มื อ ง ร ว ม จั ง ห วั ด แ ล ะ ชุมชนตามผังเมือง EEC

เมื่อผังเมือง EEC ถูกบังคับใช้เรียบร้อยแล้ว

แต่ละกรมโยธาธิการและผังเมืองจะต้องจัดท�ำผังเมือง รวมจังหวัดและผังเมืองรวมชุมชน เพือ่ ให้สอดคล้องกับ ผังเมือง EEC เว็บไซต์ประชาชาติธุรกิจรายงานเมื่อวันที่ 21 ธ.ค. 2560 โดยอ้างค�ำพูดของ มณฑล สุดประเสริฐ อธิบดีกรมโยธาธิการและผังเมืองว่า “รัฐมีค�ำสั่ง ม.44 ให้กรมและส�ำนักงานเพือ่ การพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจ ภาคตะวันออก (สกรศ.) เร่งจัดท�ำผัง EEC ให้เสร็จใน หกเดือน โดยลดขัน้ ตอนการจัดท�ำผังให้เสร็จเร็วขึน้ จาก เดิมใช้เวลาหนึง่ ปี ให้โครงการ EEC เกิดขึน้ เป็นรูปธรรม โดยเร็ว เพือ่ สร้างความเชือ่ มัน่ ให้กบั นักลงทุน แม้ผงั จะ ออกโดยกระบวนการพิเศษแต่กต็ อ้ งรับฟังความคิดเห็น ของประชาชนด้วย” หากเป็นไปตามก�ำหนด ผังเมือง EEC ต้องแล้วเสร็จในเดือน ก.ค. 2561 นี้ ใครได้ประโยชน์จากผังเมือง EEC

หลังจากการเข้ามาของ EEC และการประกาศ หยุดผังเมืองรวมจังหวัดเดิม ส่งผลให้ราคาทีด่ นิ บริเวณ สามจังหวัดพุ่งสูงขึ้น รวมถึงจังหวัดฉะเชิงเทรา เว็ บ ไซต์ ป ระชาชาติ ธุ ร กิ จ รายงานเมื่ อ วั น ที่ 5 เม.ย. 2560 ว่า วัฒนา รัตนวงศ์ ประธานหอการค้า จังหวัดฉะเชิงเทรา กล่าวว่า หลังรัฐบาลประกาศพัฒนา EEC การซือ้ ขายทีด่ นิ ในฉะเชิงเทราคึกคักขึน้ และราคา ที่ดินก็ปรับตัวสูงขึ้นกว่า 50% อย่างไรก็ตาม เนื่องจาก


ฉบับแปดริ้ว เมืองยั่งยืน

11

ผังเมืองรวมจังหวัดฉะเชิงเทราปี 58 อยู่ระหว่างการศึกษา ไม่สามารถใช้อ้างอิงได้

ก.ค. 61

ก�ำหนดเสร็จสิ้น ผังเมือง EEC

ผังเมืองรวมจังหวัดฉะเชิงเทราและผังเมือง ทั้งหมดใน 2 จังหวัด ฉะเชิงเทรา ชลบุรี และระยอง จะต้องถูกด�ำเนินการให้ สอดคล้องกับผังเมือง EEC

ละเกษตรกรรม

รรมและการตั้งถิ่นฐาน

กษาสภาพแวดล้อมและการประมง

นาเมือง

ลุ่มศึกษาการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก ริ้วเมืองน่าอยู่อย่างยั่งยืน” เมื่อวันที่ 24 พ.ค. 2561

องรวมจังหวัดฉะเชิงเทรา

ทีด่ นิ ส่วนใหญ่อยูใ่ นเขตผังเมืองพืน้ ทีส่ เี ขียว จึงไม่มกี าร ลงทุนด้านอุตสาหกรรมมากนัก จะถูกน�ำมาพัฒนาเป็น เมืองส�ำหรับพืน้ ทีท่ อี่ ยูอ่ าศัยมากกว่า โดยเฉพาะในเขต ตัวเมือง ครอบคลุมอ�ำเภอเมือง บ้านโพธิ์ และบางคล้า ส่วน วิบูลย์ กรมดิษฐ์ กรรมการและประธาน เจ้าหน้าที่การตลาด บมจ.อมตะ คอร์ปอเรชั่น ก็ได้เปิด เผยต่อประชาชาติธรุ กิจในรายงานชิน้ เดียวกันว่า ตัง้ แต่ รัฐบาลประกาศผลักดันโครงการ EEC ราคาซื้อขาย ที่ดินในพื้นที่ภาคตะวันออก โดยเฉพาะชลบุรี ระยอง และฉะเชิงเทรา ก็มีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้น ในส่วนของ อมตะ มีก�ำไรจากการซื้อขายที่ดินราว 1,000 ล้านบาท สะท้อนให้เห็นว่า นโยบายรัฐเรื่องพื้นที่ EEC ท�ำให้ มูลค่าการซื้อขายพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมสูงขึ้นตาม ความกังวลของชาวแปดริ้ว

กัญจน์ ทัตติยกุล ผู้ประสานงานกลุ่มศึกษา การพั ฒ นาระเบี ย งเศรษฐกิ จ พิ เ ศษภาคตะวั น ออก (EEC Watch) ผูม้ ภี มู ลิ ำ� เนาอยูท่ อี่ ำ� เภอบางคล้า จังหวัด ฉะเชิงเทรา เผยความกังวลต่อการเปลี่ยนทิศทางของ ผังเมืองรวมให้สอดคล้องกับผังเมือง EEC ในสาม ประเด็น ได้แก่ การละเลยพืน้ ทีก่ ารเกษตรและนโยบาย ความมั่นคงทางอาหาร การดูแลชุมชนท้องถิ่นดั้งเดิม และการแก้ปญ ั หาการจัดการน�ำ้ และมลพิษทีจ่ ะเกิดขึน้ จากภาคอุตสาหกรรม

กัญจน์เล่าว่า เรื่องที่หนึ่ง คือ EEC ไม่เคยพูด เรื่ อ งศั ก ยภาพของพื้ น ที่ ฉ ะเชิ ง เทรา ในฐานะพื้ น ที่ ทางการเกษตรและความมัน่ คงทางอาหาร แต่พดู ถึงแค่ เรื่ อ งโครงสร้ า งพื้ น ฐานและการขยายอุ ต สาหกรรม เป้ า หมายทั้ ง 10 การปรั บ พื้ น ที่ ผั ง เมื อ งเพื่ อ รองรั บ อุตสาหกรรมตามแนวทางของ EEC จึงอาจละเลย ศักยภาพของพื้นที่ ประเด็นที่สอง คือ EEC ไม่เคยพูดถึงชุมชนที่มี อยูเ่ ดิมและการดูแล พูดถึงแค่เรือ่ งการพัฒนาเมืองใหม่ การพัฒนา เขาเห็นว่าควรจะพัฒนาจากเมืองทีม่ คี นอยู่ ก่อน ดูแลท้องถิ่นเดิม แล้วค่อยไปสร้างเมืองใหม่ ประเด็นที่สาม คือ EEC ไม่ได้พูดถึงศักยภาพ ในการพั ฒ นาพื้ น ที่ เพราะพื้ น ที่ 3 จั ง หวั ด มี ป ั ญ หา สิง่ แวดล้อมเดิม ทัง้ เรือ่ งทรัพยากรน�ำ้ ซึง่ มีปญ ั หาทัง้ เรือ่ ง น�้ำแล้งและน�้ำท่วม และเรื่องของการรองรับมลพิษเดิม จากเขตนิคมอุตสาหกรรมที่ยังไม่สามารถแก้ไขได้ “เรากังวลว่าปัญหาเก่ายังไม่ได้ถูกจัดการให้ เรียบร้อยเลย แล้วจะมีปัญหาใหม่มาอีกหรือไม่ เพราะ เมื่อคราว Eastern Seaboard สร้างทั้งปัญหาสุขภาพ และปัญหาสิง่ แวดล้อมอืน่ ๆ ทีน่ ำ� ไปสูก่ ารล่มสลายของ ทรัพยากรในพื้นที่” กัญจน์กล่าว


ฉบับแปดริ้ว เมืองยั่งยืน

12

วนเกษตร

หนึ่งค�ำตอบ จากภาคเกษตรกรรม ในวันที่ผังเมือง ฉะเชิงเทราเปลี่ยน เรื่อง: รณิดา บริบูรณ์ภัทรกุล ภาพ: เมธาวจี สาระคุณ

ในวั น ที่ รั ฐ บาลปล่ อ ยโครงการ EEC ลง มาที่ จั ง หวั ด ชลบุ รี ฉะเชิ ง เทรา และระยองอย่ า ง ไม่ ทั น ตั้ ง ตั ว สองจั ง หวั ด แรกถู ก วางบทบาทให้ เป็ น เมื อ งอุ ต สาหกรรม ที่ เ ชื่ อ ว่ า จะน� ำ พาเม็ ด เงิ น มหาศาลเข้ า สู ่ ป ระเทศและเพิ่ ม ผลิ ต ภั ณ ฑ์ ม วล รวมในประเทศ (GDP) ให้ สู ง ขึ้ น ได้ อ ย่ า งรวดเร็ ว ขณะที่ ฉ ะเชิ ง เทราถู ก วางฐานะเป็ น เมื อ งอยู ่ อ าศั ย ชั้ น ดี เ พื่ อ รองรั บ การขยายตั ว ของอุ ต สาหกรรม และการคมนาคมในโครงการ

บึงบัวในสวนวนเกษตร อ�ำเภอสนามชัยเขต จังหวัดฉะเชิงเทรา

คลืน่ ระลอกแรกทีเ่ ป็นผลจาก EEC คือ การปรับ ผังเมืองรวมของทั้งฉะเชิงเทรา ชลบุรี และระยอง ที่ รัฐบาลคาดว่าจะเสร็จสิน้ ในเดือนกรกฎาคม 2561 ภาค ส่วนอสังหาริมทรัพย์ได้รบั ผลพลอยได้จากราคาทีพ่ งุ่ สูง ขึ้นเป็นเท่าตัวในระยะเวลาสั้นๆ ทว่าส�ำหรับคนส่วน มากในฉะเชิงเทราอย่างเกษตรกร พวกเขาเริม่ กังวลต่อ ผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมจากภาคอุตสาหกรรม ทั้ง ทางดิ น น�้ ำ และอากาศ และที่ ส� ำ คั ญ คื อ พื้ น ที่ เกษตรกรรมที่ ลดลงจากการขี ดเส้ นเปลี่ ยนสี ตามที่ ผู้ก�ำหนดนโยบายเห็นดีงาม นิสิตนักศึกษา คุยกับ ครรชิต เข็มเฉลิม ทายาทของ ผู้ใหญ่วิบูลย์ เข็มเฉลิม ปราชญ์ชุมชนผู้ ริเริ่มแนวคิด “วนเกษตร” และต้นแบบสวนวนเกษตร ที่อ�ำเภอสนามชัยเขต จังหวัดฉะเชิงเทรา รวมทั้งเป็น หัวหน้าศูนย์ศึกษาและพัฒนาวนเกษตร ผู้ใหญ่วิบูลย์ เข็มเฉลิม ว่า วนเกษตรและคนในภาคเกษตรกรรมจะ อยู่อย่างไรเมื่อภาคอุตสาหกรรมเริ่มรุกคืบเข้ามาใน ฉะเชิงเทรามากขึ้น


ฉบับแปดริ้ว เมืองยั่งยืน

ครรชิต เข็มเฉลิม หัวหน้าศูนย์ศึกษาและพัฒนาวนเกษตร ผู้ใหญ่วิบูลย์ เข็มเฉลิม เกษตรกรรมในวันที่ถูกทิ้งไว้ข้างหลัง

“โดยธรรมชาติ ข องการถู ก ฝั ง หั ว มาของ ข้าราชการของนายทุน เขาเชื่อว่าเม็ดเงินมากมาย มหาศาลทีท่ ำ� ให้ประเทศเกิดการพัฒนาเป็นเงินทีเ่ ข้ามา ได้บนฐานอุตสาหกรรม ไม่ใช่เกษตรกรรม” ครรชิต เข็ ม เฉลิ ม ชวนมองนโยบายรั ฐ ที่ ส ะท้ อ นถึ ง การให้ ความส�ำคัญเฉพาะภาคอุตสาหกรรม แต่กลับทอดทิ้ง ภาคเกษตรกรรมไว้ข้างหลังเรื่อยมา ครรชิตมองว่า การเตรียมปล่อยผังเมืองใหม่ที่ สอดคล้องและเอือ้ อ�ำนวยต่อภาคอุตสาหกรรมเป็นการ ตอกย�้ำว่า รัฐบาลให้ความสนใจกับโครงการระเบียง เศรษฐกิจภาคตะวันออก โดยเฉพาะอย่างยิ่งโครงการ ที่มีแรงหนุนจากอุตสาหกรรมเป็นหลัก รัฐบาลจึงปรับ ลดพืน้ ทีส่ เี ขียวส�ำหรับโซนเกษตรกรรมลง และเพิม่ พืน้ ที่ สีม่วงส�ำหรับโซนอุตสาหกรรมขึ้น รวมทั้งปรับเงื่อนไข ต่างๆ เพื่อสนับสนุนภาคอุตสาหกรรมให้เกิดขึ้นได้ง่าย และด� ำ เนิ น การอย่ า งเร่ ง รี บ ตรงกั น ข้ า มกั บ ภาค เกษตรกรรม ที่รัฐบาลไม่ให้ความสนใจเท่าที่ควรเมื่อมี การร้องขอให้แก้ไขและช่วยเหลือปัญหาด้านต่างๆ เช่น การสนับสนุนให้ยกเลิกใช้สารเคมีทำ� การเกษตร 4 ชนิด ได้เเก่ คาร์โบฟูราน เมโทมิล ไดโครโตฟอส เเละอีพีเอ็น และการจัดการขยะที่ถูกน�ำมาทิ้งในบ่อขยะ “แน่นอนว่าส่วนใหญ่เวลาทุนเขาคิดอะไร ระบบ ทุนส่วนใหญ่เขาคิดถึงเป้าหมายทีจ่ ะสร้างความร�ำ่ รวย ไม่ว่ารัฐบาลหรือเอกชน เป้าหมายก็คือท�ำอย่างไรจะ เห็นเม็ดเงินเข้ามาพัฒนาประเทศเพื่อตอบโจทย์ GDP ของประเทศ” ครรชิตกล่าว

13

บริเวณทางเข้าสวนวนเกษตร อ�ำเภอสนามชัยเขต จังหวัดฉะเชิงเทรา ความมั่นคงทางอาหาร กับศักดิ์ศรีในการปฏิเสธระบบทุน

ครรชิตยังเห็นว่า การไม่สามารถพึ่งพาตนเอง ด้านอาหารได้คอื การขาดความมัน่ คงทางอาหาร แม้วา่ คนจะหาเงินได้มากมาย แต่ชีวิตส่วนหนึ่งของคนทั่วไป ยังต้องซื้ออาหาร หากแต่คนที่สามารถผลิตวัตถุดิบใน การประกอบอาหารได้เอง ไม่จ�ำเป็นต้องซื้อหาจาก นายทุนภาคเอกชน ท�ำให้มคี วามมัน่ คงทางอาหารด้วย การพึง่ พาทรัพยากรทีต่ นเองมี จึงถือเป็นศักดิศ์ รีในการ ปฏิเสธระบบทุน แต่ ผ ลจากการปรั บ ลดพื้ น ที่ เ กษตรกรรมใน ผังเมืองใหม่ท�ำให้ครรชิตแสดงความกังวลถึงปัญหา ความมัน่ คงทางอาหาร เนือ่ งจากมองว่า ภาคการเกษตร คือภาคการผลิตที่เป็นแหล่งอาหารเลี้ยงประชากรใน พื้นที่ ทั้งระดับชุมชน ระดับประเทศและระดับโลก หาก แต่พื้นที่การเกษตรเหล่านี้ได้รับผลกระทบจากการขีด เส้นผังเมืองใหม่ เขาก็เกิดค�ำถามว่าความมั่งคงทาง อาหารที่อยู่ ณ ที่แห่งนี้จะเป็นเช่นไรต่อไป “การปรับผังเมืองเป็นการส่งสัญญาณว่าภาค การเกษตรเตรียมตัวได้รับผลกระทบ เราจะเห็นว่า ท้ อ งนาหลายที่ ถู ก ถมเพื่ อ ท� ำ บ้ า นจั ด สรรรองรั บ ความเจริ ญ เกษตรกรในโลกนี้ มี ม ากขึ้ น ตลอด แต่ ปัจจุบันพื้นที่ผลิตอาหารนั้นลดลง อย่าลืมว่าคนเพิ่ม อาหารเท่าเดิม บอกเลยว่าคนมีอาหารเท่านัน้ ทีจ่ ะครอง โลก เมือ่ ถึงเวลานัน้ การแย่งชิงทรัพยากรกันมัน ไม่มที าง ที่เกษตรกรจะแย่งชิงนายทุนได้” ครรชิตกล่าว


ฉบับแปดริ้ว เมืองยั่งยืน

14

วนเกษตรยังตระหง่านกลางกระแสทุนนิยม

ครรชิตสะท้อนมุมมองของคนท�ำวนเกษตรที่ มีต่อโครงการ EEC ว่า แนวคิดวนเกษตรถูกออกแบบ ให้อยู่ร่วมกับระบบทุนได้โดยไม่มีปัญหา เนื่องจาก หัวใจของแนวคิดวนเกษตรคือการพึ่งพาตนได้ด้วย ฐานทรัพยากรทีต่ นมี และทรัพยากรนัน้ ไม่จำ� เป็นต้อง มี จ� ำ นวนมาก แต่ ต ้ อ งมี ค วามหลากหลายของ ทรัพยากร ดังนั้น อย่างน้อยที่สุดท�ำให้คนมีความ มั่นคงทางอาหาร ไม่จ�ำเป็นต้องพึ่งพาการซื้อจาก ภายนอก “นี่คือการที่ท�ำให้เราสามารถอยู่ร่วมกับทุนที่ มันมีการเข้ามาตลอดเวลาได้ เพราะว่าเราไม่สนใจ ถ้า เราไม่มีเงิน แต่เราก็ยังมีทรัพยากรที่เป็นของเราเอง เราจึงสามารถจัดการได้ นี่ต่างหากคือสิ่งที่ท�ำให้เรา อยู่ร่วมกับระบบทุนได้ ไม่ใช่การอยู่แบบง้อเขาตลอด “แต่ถา้ EEC มีผลกระทบต่อเราก็ตอ้ งบอกให้ เขารู้ว่าคุณเข้ามาแบบเบียดเบียน เพราะวนเกษตร พยายามรณรงค์ให้คนเลิกเบียดเบียนผู้อื่นและเลิก เบียดเบียนตัวเอง เมื่อเราลดการเบียดเบียนตัวเอง แล้วเราก็ไม่อยากเห็นใครมาเบียดเบียนเราเหมือนกัน

ถ้าคุณเข้ามาโดยไม่เป็นปัญหาอะไรกับเรานั่นก็เรื่อง ของคุณ” ครรชิตอธิบายเหตุผลที่ว่าวนเกษตรยังคง ยืนหยัดได้แม้ว่าภาคอุตสาหกรรมจะเข้ามา อย่างไรก็ตาม หัวหน้าศูนย์ศกึ ษาและพัฒนา วนเกษตร ผู้ใหญ่วิบูลย์ เข็มเฉลิม แสดงความกังวล ต่อปัญหาการจัดการขยะทีถ่ กู น�ำมาทิง้ ในฉะเชิงเทรา ว่า ปัญหาดังกล่าวส่งผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมต่อ คนในพื้ น ที่ ม าอย่ า งยาวนาน และภาครั ฐ ยั ง ไม่ สามารถจัดการแก้ไขได้ โดยการวางฉะเชิงเทราเป็น เมืองที่อยู่อาศัยจะยิ่งท�ำให้ปัญหาการจัดการขยะ ยิง่ พอกพูน เนือ่ งจากมีการย้ายถิน่ ฐานของคนจ�ำนวน มากเข้ามาเพิ่ม “ในบรรดาสามจั ง หวั ด ระยอง ชลบุ รี ฉะเชิงเทรา จังหวัดฉะเชิงเทรากลัวทีส่ ดุ ในการจัดการ ขยะ จาก 100% จัดการได้แค่ 30% ทีเ่ หลือเป็นปัญหา ทิ้งไว้ให้ชาวบ้าน เมื่อฉะเชิงเทราเน้นเรื่องเมืองที่อยู่ อาศัย ปัญหาขยะเดิมแก้ไขได้แค่ 30% แล้วคนที่เข้า มาใหม่ เ ขาไม่ เ อาขยะมาด้ ว ยหรื อ โดยเฉพาะถุ ง พลาสติกขยะเปียกขยะแห้งขยะอะไรสารพัด เผาที เหม็นหมด มนุษย์ที่เข้ามาอยู่ใหม่นี้เป็นมนุษย์พันธุ์ พิเศษทีไ่ ม่สร้างขยะแม้แต่ชนิ้ เดียวใช่หรือเปล่า ผูท้ ที่ ำ� เรื่อง EEC ต้องตอบให้ได้” ครรชิตกล่าว


ฉบับแปดริ้ว เมืองยั่งยืน

15

วนเกษตรในมุมมอง ของเกษตรกรรุ่นใหม่

ฉวีวรรณ พิมพัฒน์ ผู้ประสานงานเครือข่ายวนเกษตรป่าตะวันออก มูลนิธิสายใยแผ่นดิน

FYI วนเกษตร ต้นแบบการพึ่งพาตน บนฐานทรัพยากรหลากหลาย เว็บไซต์มูลนิธิเกษตรกรรมยั่งยืน (ประเทศไทย) ระบุวา่ “วนเกษตร” คือแนวคิดการพึง่ พาตนเอง จากฐานทรัพยากรที่มี โดยการท�ำเกษตรกรรม ไม้ยนื ต้น ไม้ผล ไม้ใช้สอย และพืชสวนไร่นาผสม ผสานในพื้นที่อย่างหลากหลาย เพื่อตอบสนอง ความต้องการด�ำรงชีพของตนเองในระยะยาว โดยเฉพาะอย่างยิง่ ด้านอาหารในครัวเรือน และ สามารถขยายขีดความสามารถไปสู่การพึ่งพา กันและกันในชุมชน ดังค�ำขวัญว่า “มีกินเป็น พืน้ ฐาน มีสวัสดิการยามเฒ่าชรา มีความหลาก หลายคล้ายป่าธรรมชาติ ก่อเกิดวิสาหกิจชุมชน”

ฉวีวรรณ พิมพัฒน์ หนึ่งในลูกศิษย์ผู้สืบสาน แนวทางวนเกษตรของผูใ้ หญ่วบิ ลู ย์ และผูป้ ระสานงาน เครือข่ายวนเกษตรป่าตะวันออก มูลนิธิสายใยแผ่นดิน กล่าวถึงข้อดีของความหลากหลายแบบฉบับวนเกษตร ว่า นอกเหนือจากการมีกินแล้ว การปลูกต้นไม้และพืช ผักผลไม้อย่างหลากหลายยังเป็นการตอบสนองปัจจัย พื้นฐานในการด�ำรงชีพ อาทิ ยารักษาโรคที่มาจากพืช สมุนไพร และบ้านจากต้นไม้ที่ปลูกไว้ล่วงหน้า ดังนั้น ผู ้ น� ำ แนวคิ ด วนเกษตรไปใช้ จึ ง ต้ อ งมี ค วามรู ้ เช่ น การประกอบอาหาร การก่ อ สร้ า งบ้ า น เพื่ อ เสริ ม ศักยภาพทรัพยากรที่มีให้เกิดเป็นประโยชน์สูงสุด ฉวีวรรณเล่าว่า การพึ่งพากันในเครือข่ายวน เกษตร ช่วยท�ำให้เกิดการจ้างงานและเม็ดเงินที่หล่อ เลี้ ย งคนในชุ ม ชนให้ อ ยู ่ ไ ด้ แม้ ว ่ า พื้ น ที่ ใ นการผลิ ต ทรัพยากรจะมีจำ� กัด แต่หากบริหารจัดการน�ำทรัพยากร ชนิดใดชนิดหนึ่งจากเครือข่ายวนเกษตรมารวมกัน จะ ก่อให้เกิดทรัพยากรจ�ำนวนมาก สามารถน�ำไปต่อยอด ได้ “คนทีท่ ำ� วนเกษตรบนพืน้ ทีเ่ ล็กๆ อาจจะหนึง่ ไร่ อาจจะมีขนุนสามต้นในพื้นที่ของตัวเอง แต่ถ้ามีคน ท�ำวนเกษตร 30 คนในหมูบ่ า้ น บ้านละสามต้น 30 หลัง ก็เกือบร้อยต้น ขนุนเกือบร้อยต้นนี้อาจจะน�ำไปสร้าง อาชีพให้คนคนหนึง่ ได้ สมมติวา่ เรามีผลไม้รอ้ ยชนิด แค่ บ้านสองสามต้นแต่นำ� มาหมุนเวียนกันภายในหมูบ่ า้ น ในหนึ่งปี หากมีคนเข้าไปจัดการก็กลายเป็นการสร้าง อาชีพใหม่ในหมู่บ้านเรา ซึ่งไม่จ�ำเป็นต้องไปไหนไกล” ฉวีวรรณกล่าว เพือ่ ให้ชวี ติ คนท�ำวนเกษตรด�ำเนินไปอย่างราบรืน่ ในยุคโลกาภิวัตน์ ฉวีวรรณมองว่า คนท� ำ วนเกษตร รุ่นใหม่ควรหาค�ำตอบให้ได้วา่ จะท�ำเช่นไรให้วนเกษตร ตอบสนองความต้องการขัน้ พืน้ ฐานของคนในสังคมยุค 4.0 ที่อาจเพิ่มขึ้นจากปัจจัยสี่ของชีวิตแบบดั้งเดิม อย่างไรก็ตาม ลูกศิษย์ผสู้ านต่อแนวทางวนเกษตร มองว่า ท้ายที่สุดความแตกต่างระหว่างการพึ่งพาตน แบบวนเกษตรกั บ การพึ่ ง พาผู ้ อื่ น แบบทุ น นิ ย มคื อ การบริหารจัดการเงินบนพืน้ ฐานการประมาณตน “ตอนนีเ้ ริม่ ปลูกกาแฟและก�ำลังหาวิธคี วั่ กาแฟ กินเองให้อร่อย เพราะต้องเก็บค่ากาแฟไปซื้ออย่างอื่น ที่ฟุ่มเฟือย แต่ฝีมือยังไม่ถึงขั้น ก็ต้องกินกาแฟยี่ห้อ ไปก่อน ไม่แปลกที่เราจะมีส่วนเสี้ยวทุนนิยมในตัว เรา ต้องประมาณตัวตามอัตภาพของเรา” ฉวีวรรณกล่าว


ฉบับแปดริ้ว เมืองยั่งยืน

16

กลุ่มเกษตรอินทรีย์ ชีวิตดีๆ ที่ชาวชุมชนลิขิตเอง

เรื่อง: พชร ค�ำช�ำนาญ ภาพ: เมธาวจี สาระคุณ

หากจะใช้ ค� ำ ว่ า “ชุ ม ชนเข้ ม แข็ ง ” เพื่ อ อธิ บายความเป็ น ชุ ม ชนบ้ า นยางแดง อ� ำ เภอสนามชั ย เขต จั ง หวั ด ฉะเชิ ง เทรา ก็ ค งไม่ ผิ ด นั ก เนื่ อ งจากชาวบ้ า นมี ผลิ ต ผลทางการเกษตรเพี ย งพอต่ อ ความต้ อ งการบริ โ ภค และยั ง มากพอจะ น� ำ ไปขายสร้ า งรายได้ ใ ห้ ค รอบครั ว ด้ ว ยการมี ส ่ ว นร่ ว มออกแบบชุ ม ชนของ ตนเอง ท� ำ ให้ “กลุ ่ ม เกษตรอิ น ทรี ย ์ อ� ำ เภอสนามชั ย เขต” ยั ง ยื น หยั ด อยู ่ ไ ด้ จ นถึ ง วันนี้

นิสติ นักศึกษา คุยกับ นันทวัน หาญดี ผูป้ ระสานงานกลุม่ เกษตรอินทรีย์ อ�ำเภอ สนามชัยเขต อดีตอาสาสมัครจากมูลนิธอิ าสาสมัครเพือ่ สังคมรุน่ ทีเ่ จ็ด ผูเ้ ข้ามาท�ำงานกับ กลุ่มผู้หญิงของกลุ่มเกษตรอินทรีย์ฯ ตั้งแต่ปี 2528 ถึงเรื่องพัฒนาการของกลุ่ม และ ความคิดเห็นต่อโครงการ EEC ซึ่งจะกินพื้นที่มาถึงอ�ำเภอสนามชัยเขตด้วย

นันทวัน หาญดี ผู้ประสานงานกลุ่มเกษตรอินทรีย์ อ�ำเภอสนามชัยเขต


ฉบับแปดริ้ว เมืองยั่งยืน

เกษตรกรรมทางเลือก เกษตรกรรมทางรอด

นันทวัน กล่าวว่า เดิมทีบา้ นยางแดงเป็นชุมชน ที่ขาดแคลนอาหารส�ำหรับการบริโภคแม้จะเป็นพื้นที่ เกษตรกรรม ทั้งยังมีสถานะทางเศรษฐกิจที่ไม่ดีนัก เพราะชาวบ้านเป็นหนี้สิน ส่วนที่ดินก็อยู่ในเขตป่า เสื่อมโทรม เป็นชุมชนเกิดใหม่ที่ชาวบ้านยังไม่รวมตัว กัน เพราะมีที่มาที่หลากหลาย จนเมื่อปี 2520 เกษม เพชรนที นักส่งเสริม สิทธิชุมชนจากมูลนิธิบูรณะชนบทแห่งประเทศไทย ได้ เข้ามาริเริม่ กระบวนการให้ชาวบ้านช่วยกันคิดวิเคราะห์ ปั ญ หาและหาทางแก้ ไ ข เกษมเคยท� ำ งานกั บ ศาสตราจารย์ปว๋ ย อึง้ ภากรณ์ อดีตผูว้ า่ การธนาคารแห่ ง ประเทศไทย ซึ่ ง เป็ น ผู ้ ริ เ ริ่ ม ให้ มี ก ารจั ด ท� ำ แผน พัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติในปี 2504 นันทวัน กล่าวว่า ในขณะนัน้ ภาครัฐเชือ่ ว่า การพัฒนาเศรษฐกิจ ของประเทศจะเติบโตขึ้นโดยใช้อุตสาหกรรมน�ำ เมื่อ อุ ต สาหกรรมท� ำ ให้ เ ศรษฐกิ จ โตขึ้ น จะหยาดหยด ความเจริญไปสูช่ นบท แต่ภายหลังกลับพบว่า เมือ่ ภาค อุตสาหกรรมเข้มแข็ง ก็ดงึ ทรัพยากรจากชนบทไปใช้ ยิง่ ท�ำให้ช่องว่างทางชนชั้นเพิ่มขึ้น เมือ่ เกษมเห็นถึงความผิดพลาดของการพัฒนา ที่ ไ ม่ ไ ด้ ม องให้ ร อบด้ า น จึ ง เริ่ ม กระตุ ้ น ให้ ชุ ม ชนตั้ ง ค�ำถามเกีย่ วกับปัญหาของตนเอง พบว่า ปัญหาแรกคือ เรือ่ งอาหารไม่พอเพียงในครอบครัว เกษตรกรจึงรวมตัว กันสร้างต้นแบบเศรษฐกิจชุมชนเพื่อการพึ่งพาตนเอง หลักการคือ ปลูกทุกอย่างทีจ่ ะเป็นอาหาร เลีย้ งสัตว์เป็น แหล่ ง โปรตี น ยกเลิ ก การปลู ก มั น ส� ำ ปะหลั ง ซึ่ ง เป็ น นโยบายทีร่ ฐั บาลส่งเสริม กลับมาปลูกพืชทีม่ อี ยูแ่ ล้วใน ชุมชน เรียกการท�ำเกษตรกรรมแนวนี้ว่า “เกษตรกรรม ทางเลือก” หรือ “เกษตรกรรมยั่งยืน” อีกปัญหาคือ ภาวะหนีส้ นิ จากการกูย้ มื เงินเพือ่ ลงทุนปลูกมันส�ำปะหลัง ชาวบ้านจึงร่วมกันก่อตั้งกลุ่ม ออมทรัพย์ เพื่อให้เป็นแหล่งทุนในชุมชน “เกษตรกรรมทางเลื อ ก ไม่ ใ ช่ เ กษตรกรรม กระแสหลักทีร่ ฐั บาลส่งเสริม ซึง่ ตอนนัน้ รัฐบาลส่งเสริม ให้ปลูกอ้อย มัน ข้าวโพด ปอ ฝ้าย แต่เกษตรกรรมทาง เลือกคือปลูกอะไรก็ได้ที่เหลือกินแล้วน�ำไปขาย ท�ำให้ ชุมชนกลับมามองเรื่องการพึ่งพาตนเองในระยะยาว ที่ลดการพึ่งพาคนอื่น” นันทวันอธิบาย “ผู้หญิง” ก�ำลังหลักแห่งการพัฒนาชุมชน

ในปี 2528 นันทวันเดินทางจากนครปฐมเข้ามา ที่ต�ำบลบ้านยางแดง ในฐานะอาสาสมัครจากมูลนิธิ-

17

อาสาสมัครเพื่อสังคม และได้รับมอบหมายให้ท�ำงาน ร่วมกับกลุ่มผู้หญิง เธอเล่าว่า ในตอนแรก ผู้ชายมี บทบาทหลักในการวางแผนการพัฒนาชุมชน แต่ภาย หลังพบว่า การวางบทบาทเช่นนี้ท�ำให้ผู้หญิงไม่มีพื้นที่ ในการแสดงความเห็นและเสนอแนะ การน�ำนโยบาย จากทีป่ ระชุมไปปฏิบตั จิ งึ เป็นคนละทิศทาง เพราะผูช้ าย เป็นผู้เข้าประชุมเพื่อหาวิธีการแก้ปัญหา แต่ปรากฏว่า คนที่น�ำมาปฏิบัติกลับเป็นผู้หญิง “ยกตัวอย่างเช่น เรื่องไก่หรือหมู คนที่มาอบรม เป็นผูช้ าย แต่คนทีเ่ ลีย้ งไก่เลีย้ งหมูเป็นผูห้ ญิง ท�ำให้เป็น ปัญหา การพัฒนากิจกรรมที่จะยกระดับคุณภาพชีวิต ก็มปี ญ ั หาด้วย” ผูป้ ระสานงานกลุม่ เกษตรอินทรียฯ์ เล่า กลุ่มผู้หญิงจึงเริ่มกระบวนการการท�ำงานด้วย การสร้างพืน้ ทีก่ ารเรียนรู้ โดยจัดให้มกี ารประชุมกันเพือ่ พูดคุยถึงปัญหาของตนเอง ผลิตข้อมูลเพือ่ ประกอบการ วิเคราะห์ปัญหา น�ำไปสู่การแก้ปัญหาที่ตรงจุด และ เป็นการแก้ปัญหาในระยะยาว “กระบวนการพวกนี้จะเป็นพื้นที่ของการแลก เปลี่ยนพูดคุย แบ่งปัน ให้ก�ำลังใจกัน ขณะเดียวกันก็มี ข้อมูลใหม่ๆ ที่เข้ามาเพิ่มการวิเคราะห์ อย่างพี่ก็จะมี ข้อมูลว่า มันมีผลมาจากนโยบายซึ่งจะมากระทบกับ ชุมชน แต่ชมุ ชนยังมองไม่ออก เพราะว่ามันเกิดช่องว่าง ระหว่างชุมชนกับนโยบายใหญ่ ไม่สามารถที่จะเห็น ภาพเชื่อมกันได้ เพราะฉะนั้น พื้นที่ตรงนี้ก็ท�ำให้เรา เชื่อมเอาข้อมูลเข้ามาได้” นันทวันยกตัวอย่าง กระบวนการการท�ำงานเช่นนีไ้ ด้รบั การผลักดัน เรื่อยมาโดยกลุ่มผู้หญิง จนเมื่อเริ่มสามารถตั้งตัวได้ มีการน�ำพืชป่ามาปลูกในบริเวณบ้านจนมีอาหารเพียง พอและสามารถขายเป็นรายได้ จึงก่อตัง้ เป็น “เครือข่าย เกษตรกรรมทางเลื อ ก” ในปี 2532 เป็ น พื้ น ที่ ข อง เกษตรกรผู ้ ห ญิ ง ในต� ำ บลบ้ า นยางแดงได้ เ ข้ า มามี บทบาทในการพั ฒ นาชุ ม ชนและความอยู ่ ร อดของ ครอบครัว กลุ่มออมทรัพย์ ธนาคารชุมชน เพื่อการพัฒนาชุมชน

การตั้ง “กลุ่มออมทรัพย์” เพื่อเป็นแหล่งทุน ภายในในช่วงแรกของการแก้ปัญหาความไม่พอเพียง ด้ า นอาหารและภาวะหนี้ สิ น เป็ น กุ ญ แจส� ำ คั ญ ใน การขับเคลื่อนโครงการพัฒนาของชุมชน สมาชิกจะรู้ กันว่า ทุกวันที่ 10 ของทุกเดือน สมาชิกครอบครัวฝ่าย หญิงจะต้องเข้ามาฝากเงินที่กลุ่มออมทรัพย์ กรรมการ กลุ่มออมทรัพย์ก็จะจดบันทึกเป็นบัญชีการฝากเงิน


18

เพื่อ ให้เป็นระบบการจัดการการเงินที่ตรวจสอบได้ นันทวันมองว่า กระบวนการเช่นนี้เป็นการสร้างความ เป็นเจ้าของร่วม การมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ และ ความโปร่งใสในการบริหารจัดการ “เราเห็นความส�ำคัญในการใช้ทุนข้างในใน การแก้ปญ ั หาของตัวเองมากกว่าการรอคอยและขอรับ การช่ ว ยเหลื อ จากข้ า งนอก ที่ นี่ ถู ก วางระบบแนว ความคิดการพัฒนาด้วยตนเองโดยค่อยๆ สะสมทุน กลุ่ม ออมทรัพย์ที่นี่เลยใช้วิธีเปิดพื้นที่ให้ผู้หญิงเข้ามา ออม มีการเรียนรูพ้ ดู คุยกัน มีกระบวนการเปิดโลกทัศน์ โดยน�ำผูห้ ญิงไปเรียนรูข้ า้ งนอก เราลงทุนเรือ่ งการเรียน รู้สูงมาก” นันทวันกล่าว กิจวั ตรการออมเช่นนี้ท�ำให้กลุ่มออมทรัพย์ กลายเป็นธนาคารของชุมชน สมาชิกบางคนมีฐานะ ทางการเงินที่เติบโตจนน�ำเงินไปฝากธนาคารด้วยเพื่อ เก็บดอกเบีย้ เยาวชนในชุมชนก็ไม่จำ� เป็นต้องกูเ้ งินจาก ภายนอกไปเรียน เมือ่ ขีดความสามารถในการออมเพิม่ ขึน้ ก็มที นุ เพือ่ แก้ปญ ั หาคับขันทีต่ อ้ งใช้เงินจ�ำนวนมากได้ “กลุ่มออมทรัพย์ช่วยลดการเป็นหนี้นอกระบบ ข้างนอก สนับสนุนโอกาสให้ลูกหลานได้เรียนหนังสือ สูงขึ้ น พ่อแม่ไม่มีเงินก็สามารถมากู้ในกองทุนเป็นการ สนับสนุนลูกหลานเรา หรือกรณีทดี่ นิ ทีม่ ปี ญ ั หาแล้วต้อง ขายที่ ดินออกไปให้คนนอกกลุ่มรับซื้อ ก็เปลี่ยนเป็นให้ คนในกลุม่ ซือ้ ทีด่ นิ เก็บไว้ให้สมาชิกในกลุม่ ทีม่ ที ดี่ นิ น้อย มาเช่า ซื้อ สุดท้ายก็ได้เป็นเจ้าของที่ดิน” นันทวันยก ตัวอย่าง แนวคิดกลุม่ ออมทรัพย์เช่นนีเ้ คยอยูใ่ นนโยบาย “กองทุนหมู่บ้าน” ของรัฐบาลทักษิณ ชินวัตร ที่จัดสรร เงินให้หมูบ่ า้ นละหนึง่ ล้านบาท เพือ่ ให้แต่ละหมูบ่ า้ นน�ำ ไปบริห ารจัดการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ แต่ผู้ประสาน งานกลุ่มเกษตรอินทรีย์ฯ บอกว่า ชาวบ้านเห็นว่า การ ได้รบั เงินจากภายนอกท�ำให้ชาวบ้านไม่รคู้ ณ ุ ค่าของเงิน ไม่รสู้ กึ ถึงความเป็นเจ้าของ จึงไม่สามารถจัดการเงินได้ อย่างยั่งยืน กลุ่มเกษตรอินทรีย์จึงปฏิเสธรับเงินจาก รัฐบาล แล้วก�ำหนดเป็นระเบียบของกลุ่มว่า ห้ามให้ สมาชิกกลุ่มไปเป็นสมาชิกกองทุนเงินล้าน “ถ้าไปเป็นสมาชิกย่อมมีความเสีย่ งทีจ่ ะมีภาระ หนี้สินเพิ่ม มันเหมือนมีเชือกอีกหลายๆ เส้นไปล่ามคอ ระบบการผลิตแบบนี้ไม่มีทางที่จะปลดภาระหนี้สินได้ สุดท้ายก็จะมีปญ ั หาทีก่ องทุนเงินล้าน ถ้าเกิดปัญหาล่ม ที่กองทุนเงินล้าน ก็จะล่มที่กลุ่มด้วย ซึ่งทุนจากข้างใน มีรากฐานมายาวนาน ต้นทุนสูงเกินกว่าที่จะปล่อยให้ ล่ม ก็ เลยประกาศเป็นนโยบายของผู้หญิงในกลุ่ม” นันทวันอธิบาย

ฉบับแปดริ้ว เมืองยั่งยืน

การขอรับรองมาตรฐานสากล สู่การก่อตั้งกลุ่มเกษตรอินทรีย์ฯ

แ ต ่ เ ดิ ม ก า ร ท� ำ เ ก ษ ต ร ก ร ร ม ที่ อ� ำ เ ภ อ สนามชัยเขตมีปัญหาสองประการ คือ การใช้สารเคมี ซึ่งมีผลกระทบต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม และอ�ำนาจ การต่ อ รองต�่ ำ เนื่ อ งจากไม่ มี ก ารรวมตั ว กั น ของ เกษตรกรเพื่อเพิ่มอ�ำนาจการต่อรอง จนในปี 2544 เครือข่ายฯ เห็นช่องทางในการยกระดับกลุม่ รวมทัง้ ช่วย ขจัดปัญหาสองประการนี้ โดยการขอรับรองมาตรฐาน สากล จนสามารถมีผลผลิตส่งออกไปยังยุโรปได้ จึงก่อ ตั้งเป็น “กลุ่มเกษตรอินทรีย์ อ�ำเภอสนามชัยเขต” “เผอิญตลาดยุโรปมีกลุ่มผู้บริโภคที่เขาสนใจ ข้าวเหลืองประทิวซึ่งมีอยู่ในโซนนี้เท่านั้น เราเลยเป็น พืน้ ทีเ่ ป้าหมายทีผ่ คู้ า้ ในยุโรปเข้ามาปรึกษาหารือว่า จะ เป็นไปได้ไหมว่ากลุ่มที่นี่จะยกระดับการผลิตข้าวพื้น บ้านในระบบเกษตรอินทรีย์แล้วขอรับรองมาตรฐาน สากลแล้วส่งไปยุโรป” นันทวันเล่า การได้ เ รี ย นรู ้ เ รื่ อ งมาตรฐานสากล รวมทั้ ง การน� ำ มาใช้ ใ นการเพาะปลู กและตรวจสอบพื ชผั ก ท�ำให้กลุม่ เกษตรอินทรียฯ์ ได้เป็นโมเดลต้นแบบการท�ำ เกษตรอินทรีย์ปลอดสารเคมี ที่นอกจากจะได้ฟื้นฟู ความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติแล้ว ยัง เป็นการ จัดกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันในชุมชน รวมถึง จัดการตลาดปลายทางอย่างเป็นระบบ เพือ่ สร้างความ เชือ่ มัน่ ว่า ระบบการผลิตอาหารปลอดภัยนีจ้ ะขยายไป ยังพืน้ ทีอ่ นื่ มากขึน้ จนปัจจุบนั กลุม่ เกษตรอินทรียฯ์ เป็น ผู ้ ผ ลิ ต อาหารปลอดสารเคมี ร ายใหญ่ ที่ สุ ด ใน ภาคตะวันออก “เรือ่ งอาหารมันส�ำคัญนะ อาหารทีไ่ ม่ปลอดภัย มันปนเปื้อน ท�ำให้เจ็บป่วย ท�ำให้สูญเสียคนที่รักรอบ ตัวไปด้วยเรื่องที่เกิดจากการกิน ดังนั้น เราจะต้อง สนับสนุนเกษตรกรที่ปลูกพืชแบบไม่ใช้สารเคมี เพราะ ผลิตอาหารที่ปลอดภัย ท�ำให้เราแข็งแรง ท�ำให้เราอยู่ ในระบบอาหารที่ ดี มี แ ต่ ร ้ า นอาหารปลอดภั ย ” นันทวันย�้ำ การเข้าร่วมสมัชชาคนจน สู่การเรียนรู้สิทธิพลเมือง

เมือ่ รัฐบาลชวน หลีกภัย ประกาศใช้จากปัญหา ของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 8 พ.ศ.​2540 ซึ่งบรรจุเรื่องเกษตรกรรมยั่งยืนของกลุ่ม เกษตรอินทรียฯ์ ไว้ในแผนด้วย แต่ไม่จดั สรรงบประมาณ เพื่ อ ให้ เ กษตรกรน� ำ ไปบริ ห ารจั ด การในชุ ม ชน


ฉบับแปดริ้ว เมืองยั่งยืน

กลุ่มเกษตรอินทรีย์ฯ จึงตัดสินใจเชื่อมโยงกับเครือข่าย สมัชชาคนจน ซึ่งประกอบด้วยผู้ที่ได้รับผลกระทบจาก แผนพัฒนาเศรษฐกิจฯ กว่า 200 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่ม ชาวบ้านในภาคตะวันออกเฉียงเหนือทีไ่ ด้รบั ผลกระทบ จากโครงการพัฒนาของรัฐ กลุ่มผู้ติดเชื้อเอชไอวี กลุ่ม ผู้-พิการ กลุ่มผู้สูงอายุ และกลุ่มแรงงานที่ถูกเลิกจ้าง อย่างไม่เป็นธรรม เป็นต้น เพื่อติดตามเรื่องนโยบายที่ จะสนับสนุนและส่งเสริมการพัฒนาระบบเกษตรกรรม ยั่งยืนที่มีพื้นที่เป้าหมาย 25 ล้านไร่ทั่วประเทศ “การที่เราเข้าร่วมกับสมัชชาคนจนถือเป็นการ ก้าวข้ามที่ส�ำคัญขององค์กรเครือข่ายที่นี่ที่ท�ำให้เรา เรียนรู้เรื่องสิทธิพลเมืองภายใต้รัฐธรรมนูญ ที่จะเข้าไป มีสว่ นร่วมในการก�ำหนดและผลักดันให้รฐั สนับสนุนสิง่ ทีต่ วั เองท�ำแล้วเป็นค�ำตอบชัดเจนแล้วว่าเป็นทางเลือก ที่ท�ำให้เกษตรกรรายย่อยอยู่รอด และมีการเขียนไว้ใน แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 8 อยู่ แล้ว ท�ำไมกระทรวงเกษตรไม่ด�ำเนินการ” นันทวัน อธิบาย ระหว่างการเข้าร่วมกับสมัชชาคนจน นันทวัน บอกว่า ชาวบ้านบางคนกังวลว่า การชุมนุมเป็นสิ่งผิด กฎหมาย และมักน�ำไปสูค่ วามรุนแรง แต่กย็ งั เชือ่ มัน่ ใน แนวทางเกษตรกรรมยั่งยืน จึงตัดสินใจเข้าร่วมการ ชุมนุม ซึง่ นับเป็นการเติบโตครัง้ ยิง่ ใหญ่ของชาวบ้านใน กลุ่ม “การชุมนุมเป็นสิทธิขั้นพื้นฐาน เป็นการเรียก ร้องประโยชน์ของกลุ่มเกษตรกรรายย่อย และท�ำเพื่อ สังคมไทยด้วย เพราะคนทุกคนต้องบริโภคอาหาร เรา มีบทบาทที่จะสร้างทางเลือกและระบบที่ยิ่งใหญ่เชิง นโยบาย ทีเ่ อือ้ ให้ระบบเกษตรกรรมยัง่ ยืนครอบคลุมทุก พื้นที่ที่เป็นพื้นที่เพาะปลูกอาหารชั้นดี พื้นที่ที่มีความ หลากหลายของฐานทรั พ ยากรธรรมชาติ เป็ น ฐาน สนับสนุนการพัฒนาอย่างยั่งยืน สร้างระบบเศรษฐกิจ ทีเ่ ข้มแข็งและกระจายให้ทกุ คนทีเ่ ป็นเกษตรกรรายย่อย สามารถอยูไ่ ด้อย่างมีความสุข และท�ำให้สงั คมไทยเข้ม แข็งขึ้นด้วย” นันทวันกล่าว การเข้ามาของ EEC คนในพื้นที่ต้องมีส่วนร่วม

ในปี 2560 รั ฐ บาล พลเอกประยุ ท ธ์ จันทร์โอชา ผลักดันโครงการ EEC ในบริเวณสาม จังหวัดภาคตะวันออก คือ ฉะเชิงเทรา ชลบุรี และระยอง เป็นการลงทุนสร้างโครงสร้างพื้นฐานเพื่อดึงดูดนัก ลงทุ น ต่ า งชาติ หวั ง ให้ ตั ว เลขเศรษฐกิ จ ไทยโตขึ้ น อย่างไรก็ตาม EEC ถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่า ไม่สามารถ

19

พัฒนาเศรษฐกิจได้ในระยะยาว และขาดการมีสว่ นร่วม ของประชาชน ในเมือ่ พืน้ ทีอ่ ำ� เภอสนามชัยเขตก็อยูใ่ นผัง EEC ด้วย ผู้ประสานงานกลุ่มเกษตรอินทรีย์สนามชัยเขตจึง มองว่า กระบวนการของ EEC ยังขาดการมีส่วนร่วม ของคนในพื้นที่ เนื่องจากเป็นกรอบแนวคิดการพัฒนา ที่ ดึ ง อ� ำ นาจการตั ด สิ น ใจกลั บ ไปอยู ่ ใ นมื อ รั ฐ อย่ า ง เบ็ดเสร็จเด็ดขาด และยังมองว่า EEC คือ ภาคสมบูรณ์ ของอีสเทิรน์ ซีบอร์ด ซึง่ เป็นฝันร้ายของชาวตะวันออกที่ ยังไม่ได้รับการแก้ไข “อีสเทิร์นซีบอร์ดมันเลวร้ายมาก สิ่งที่เขาบอก ว่าต้องการอุตสาหกรรมที่สะอาดที่บอกว่าอัจฉริยะทั้ง หลาย มันไม่ใช่ของเราและมันเป็นการลงทุนจากข้าง นอกทั้งหมดเลย กับเราดูคุณภาพประชาชนของเราว่า แต่ ล ะคนสามารถจะเข้ า ไปอยู ่ ใ นระบบการพั ฒ นา อุตสาหกรรมแบบนีไ้ ด้จริงไหม แล้วการตัดสินใจก�ำหนด ทิศทางการพัฒนายังอยู่ในอ�ำนาจการตัดสินใจของ หน่วยงานรัฐอยู่ดี เพราะฉะนั้นเสียงของประชาชนไม่ อาจจะเข้าไปถึง” นันทวันกล่าว นอกจากนัน้ นันทวันยังวิเคราะห์วา่ EEC จะไม่ หยุดอยูแ่ ค่สามจังหวัด เพราะแนวคิดเรือ่ งเขตเศรษฐกิจ พิเศษถูกปักหมุดไว้ทั่วประเทศ แต่พื้นที่อื่นไม่สามารถ ดึงดูดนักลงทุนได้เท่า EEC เนือ่ งจากพืน้ ทีภ่ าคตะวันออก มาความพร้อมด้านโครงสร้างอุตสาหกรรมอยูแ่ ล้ว EEC จึงอาจเป็นพื้นที่น�ำร่องที่ท�ำให้เขตอุตสาหกรรมขยาย ตัวไปทั่วประเทศได้ โดยอาศัยอ�ำนาจตามมาตรา 44 ในรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว ปี 2557 ในการยกเลิก ผังเมือง นันทวันกล่าวว่า ประชาชนในพืน้ ทีค่ วรเป็น “หุน้ ส่วนโดยตรง” ในทุกกระบวนการของ EEC มีสิทธิเ์ สนอ แนวทางการพัฒนา EEC ทีเ่ หมาะกับฐานทรัพยากรใน พืน้ ที่ โดยเห็นว่า พืน้ ทีส่ นามชัยเขตเป็นพืน้ ทีผ่ ลิตอาหาร ปลอดสารพิษ มีความมั่นคงทางด้านอาหาร จึงควรส่ง เสริมให้เป็นส่วนกลางอาหารปลอดภัย (Healthy Food Hub) ดีกว่าท�ำอุตสาหกรรมหนักหรือพัฒนาเป็นพื้นที่ อยู่อาศัยของนักลงทุน “ควรก�ำหนดทิศทางการพัฒนาทีส่ อดคล้องกับ ศักยภาพและเพิ่มขีดความสามารถของคนทุกคนที่อยู่ ในพื้นที่ภาคตะวันออก ให้เข้าถึงกระบวนการพัฒนา และได้ รั บ ประโยชน์ อ ย่ า งเท่ า เที ย มและเป็ น ธรรม เข้มแข็งและเกิดความยั่งยืน เราไม่อยากเป็นแค่เหยื่อ หรือเป็นผู้เสียสละ แต่เราเป็นเจ้าของพื้นที่ เราจ�ำเป็น ต้องเข้าไปมีสว่ นร่วมในกระบวนการการก�ำหนดทิศทาง การพัฒนาและการตัดสินใจของรัฐบาล” นันทวันย�้ำ


20

ฉบับแปดริ้ว เมืองยั่งยืน

ส่วนร่วมภาคประชาชน ฟันเฟืองที่หายไป ในก้าวที่ยิ่งใหญ่ของภาคตะวันออก เรื่อง: นัจนันท์ เกตุสุวรรณ ภาพ: เมธาวจี สาระคุณ

ท่ามกลางการด�ำเนินไปของแผนการพัฒนาที่ภาครัฐและเอกชนหวังจะท�ำให้ภาคตะวันออก ของประเทศไทยกลายเป็ น เขตเศรษฐกิ จ พิ เ ศษ ที่ เ น้ น การลงทุ น จากต่ า งชาติ ใ นอุ ต สาหกรรม เป้ า หมายอย่ า งยานยนต์ แ ละอิ เ ล็ ก ทรอนิ ก ส์ อั จ ฉริ ย ะ ทุ ก ย่ า งก้ า วของ โครงการ EEC ที่ เ กิ ด ขึ้ น ภายใต้พระราชบัญญัติเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก พ.ศ. 2561 หรือ พ.ร.บ. EEC จึงมี คณะกรรมการนโยบายพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก หรือคณะกรรมการ EEC คอยก�ำกับและอนุมัติเห็นชอบตลอดโครงการ


ฉบับแปดริ้ว เมืองยั่งยืน

คณะกรรมการฯ ทีส่ ว่ นใหญ่ เข้ามาด้วยต�ำแหน่งทางการเมือง และระบบราชการ ประกอบด้วย นายกรัฐมนตรีเป็นประธาน รอง นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีกระทรวงที่ เกี่ ย วข้ อ ง สภาหอการค้ า สภา อุ ต สาหกรรม และผู ้ ท รงคุ ณ วุ ฒิ อาทิ นักวิชาการ อาจารย์ ซึ่งถูก สรรหาโดยภาครัฐ การก�ำหนดให้มี การพิจารณารายงาน EIA เป็นการ เฉพาะในเขตพั ฒ นา EEC และ ก�ำหนดให้ใช้เวลาเพียง 120 วันใน การพิ จ ารณารายงาน ทั้ ง ยั ง มี อ�ำนาจตัดสินใจในประเด็นต่างๆ เกีย่ วกับโครงการอย่างเบ็ดเสร็จ สิง่ ที่ ข าดหายไปในกระบวนการ ด�ำเนินโครงการพัฒนาเศรษฐกิจ ขนาดใหญ่อย่าง EEC คือเสียงจาก ภาคประชาชนว่าคิดเห็นอย่างไรต่อ โครงการที่จะมาเปลี่ยนชีวิตของ เขาในระยะเวลา อันใกล้ สุ ภ าภรณ์ มาลั ย ลอย ผูจ้ ดั การมูลนิธนิ ติ ธิ รรมสิง่ แวดล้อม (EnLaw) กล่าวว่า ปัญหาหลักของ พ.ร.บ. EEC คือการยกเว้นอ�ำนาจ ตามกฎหมายของกฎหมายอี ก หลายฉบั บ และน� ำ อ� ำ นาจการ ตัดสินใจในเชิงกระบวนการอนุมัติ อนุญาต และการออกระเบียบกฎ เกณฑ์เกี่ยวกับการอนุมัติ อนุญาต ใหม่ให้แก่คณะกรรมการ EEC ซึ่ง โดยทั่วไปกฎหมายไม่สามารถให้ อ�ำนาจระดับนี้แก่กลุ่มคณะบุคคล ได้ เนื่องจากเป็นโครงการที่ก่อให้ เกิ ด ความเสี่ ย งด้ า นสิ่ ง แวดล้ อ ม และสุขภาพ ซึ่งต้องการการมีส่วน ร่วมจากภาคประชาชน เมื่ อ มี ก ารรวบอ� ำ นาจ ตัดสินใจแบบเบ็ดเสร็จเด็ดขาดอยู่ ที่คณะกรรมการชุดใดชุดหนึ่ง โดย ไม่ผา่ นกระบวนการมีสว่ นร่วมและ แสดงความคิ ด เห็ น จากภาค ประชาชน ผลกระทบหลายๆ ด้าน ที่จะเกิดขึ้นต่อประชาชนในพื้นที่ที่

21

จะเกิดโครงการพัฒนาจึงแทบไม่ได้ รับการพูดถึง “ในทางกฎหมายปกติ เช่น ในกรณีการจะขออนุญาตก่อสร้าง โรงไฟฟ้า จะต้องมีกระบวนการมี ส่ ว นร่ ว มของประชาชนโดยถู ก ก� ำ กั บ จากคณะกรรมการก� ำ กั บ กิจกรรมพลังงาน แต่ พ.ร.บ. EEC ฉบั บ นี้ หากพบเหตุ ใ ดที่ ท� ำ ให้ กระบวนการพัฒนาเป็นปัญหาหรือ ล่าช้า คณะกรรมการ EEC มีสิทธิ เสนอให้แก้ไขและปรับปรุงระเบียบ เพือ่ ให้กระบวนการนัน้ ด�ำเนินไปได้ ดั ง นั้ น ก ร ะ บ ว น ก า ร อ นุ ญ า ต โรงไฟฟ้าในเขตพัฒนา EEC จึงไม่มี หลั ก ประกั น ว่ า กระบวนการมี ส่วนร่วมของประชาชนจะยังคงอยู่ เนือ่ งจากมีวตั ถุประสงค์หลักในการ ส่งเสริมการลงทุน โดยมิได้กล่าวถึง การมี ส ่ ว นร่ ว มของประชาชนไว้ แต่ อ ย่ า งใด ต่ า งจากกิ จ กรรม ลักษณะเดียวกันในโครงการอืน่ ๆ ที่ การเซ็ น ใบอนุ ญ าตต้ อ งให้ ค ณะ กรรมการก�ำกับกิจกรรมพลังงาน เซ็ น อนุ ญ าตก่ อ น” สุ ภ าภรณ์ ย ก ตัวอย่าง ผู ้ จั ด การ EnLaw ยั ง วิเคราะห์วา่ เนือ่ งจากรัฐบาล คสช. มีทมี่ าจากการรัฐประหาร ซึง่ หลาย ฝ่ายมองว่าไม่เป็นไปตามหลักการ ประชาธิปไตย รัฐบาลจึงพยายาม ผลักดันเศรษฐกิจประเทศเพือ่ ให้ได้ รั บ การยอมรั บ จากประชาชน ประกอบกับพืน้ ทีภ่ าคตะวันออกนัน้ เดิมเป็นพื้นที่พัฒนาโครงสร้างทาง เศรษฐกิจบางส่วนไว้แล้ว อาทิ การ เชื่อมต่อคมนาคมและเทคโนโลยี การใช้น�้ำในภาคอุตสาหกรรม จึง ง่ายต่อการด�ำเนินนโยบายต่อยอด ทางเศรษฐกิจและถูกเลือกให้เป็น พื้นที่ส�ำหรับโครงการขนาดใหญ่ อย่าง EEC หากแต่สภุ าภรณ์เห็นว่า ใน การพัฒนาเขตเศรษฐกิจดังกล่าว

นั้น ภาครัฐไม่สามารถมองแค่การ พั ฒ นาโครงสร้ า งพื้ น ฐานได้ เนือ่ งจากพืน้ ทีภ่ าคตะวันออกยังคง ประสบปั ญ หาด้ า นชุ ม ชนและ สิ่งแวดล้อมอยู่ โดยไม่ได้รับการ แก้ไขทั้งด้านสิ่งแวดล้อมและการ เยียวยาผู้ได้รับผลกระทบ ดังนั้น การพั ฒ นานี้ ก็ อ าจเพิ่ ม ประเด็ น ปัญหาจากทีม่ อี ยูเ่ ดิมให้มากขึน้ ไป อีก สุภาภรณ์มองว่า ผลกระทบ จาก EEC นั้นเริ่มตั้งแต่เมื่อ พ.ร.บ. EEC ผ่านการอนุมตั ิ สิง่ แรกคือการ ปั่นราคาที่ดินให้สูงขึ้น เนื่องจาก นายทุนพร้อมจะเข้ามาเช่า-ซื้อเพือ่ ประกอบกิจการ ส่วนกลุม่ คนรายได้ ต�ำ่ ในพืน้ ทีไ่ ม่สามารถเข้าถึงทีด่ นิ ได้ แต่เดิมประชาชนกลุม่ นีอ้ าจเคยเช่า พื้นที่เพื่ออยู่อาศัยหรือท�ำกิน บาง รายอยู่ในที่ดินที่ถูกจัดสรรโดยรัฐ แต่ เ มื่ อ พรบ.ฉบั บ นี้ ผ ่ า น รั ฐ อาจ เวนคืนที่ดินบางส่วนเพื่อไปตอบ สนองนโยบาย EEC ได้ ส่ ว นผลกระทบทางสิ่ ง แวดล้อมนั้น สุภาภรณ์คาดการณ์ ว่า ปัจจัยส�ำคัญในการก่อตั้งเขต อุ ต สาหกรรม คื อ ที่ ดิ น และการ คมนาคม เมื่อที่ดินถูกเปลี่ยนเป็น โรงงานอุ ต สาหกรรมขนาดใหญ่ ห รื อ ถู ก ป รั บ ไ ป เ ป ็ น เ ส ้ น ท า ง คมนาคมอย่ า งรถไฟรางคู ่ ห รื อ ทางหลวงพิเศษ​(มอเตอร์เวย์) ย่อม เกิดผลกระทบตั้งแต่กระบวนการ สร้างไปจนถึงภายหลังการสร้างต่อ ทรั พ ยากรธรรมช าติ อ ย่ า งน�้ ำ อากาศ และระบบนิเวศ อาทิ น�้ำไม่ เพียงพอ มลพิษทางอากาศ สัตว์ปา่ อพยพออกจากถิ่ นอาศัย เป็นต้น ปัจจุบนั พืน้ ทีภ่ าคตะวันออกยังคงมี ปัญหามลพิษอยู่เป็นทุนเดิม ขณะ ที่แผนการพัฒนา EEC เองก็ไม่ได้ ปรากฏนโยบายหรื อ แนวทางใน การประเมินผลกระทบทางสุขภาพ และสิ่งแวดล้อมชุมชนที่ชัดเจน


ฉบับแปดริ้ว เมืองยั่งยืน

22

EEC Watch หนึ่งกระบอกเสียง จากประชาชนถึง EEC

สุภาภรณ์ มาลัยลอย ผู้จัดการมูลนิธินิติธรรมสิ่งแวดล้อม (ENLaw)

กัญจน์ ทัตติยกุล ผู้ประสานงานกลุ่มศึกษาการพัฒนา ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC Watch)

ระหว่างกระบวนการร่างพ.ร.บ. EEC ภาค ประชาชนและประชาสั ง คมได้ ร วมตั ว กั น เป็ นกลุ ่ ม ศึกษาการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวัน ออก (EEC Watch) เพื่อผลักดันให้เกิดการมีส่วนร่วม จากภาคประชาชนในการด� ำ เนิ น โครงการ EEC กัญจน์ ทัตติยกุล ผู้ประสานงาน EEC Watch กล่าว ว่า ด้วยการเข้ามาอย่างรวดเร็วของโครงการ EEC โดย เฉพาะการลงทุนด้านอุตสาหกรรม เครือข่ายจึงจ�ำเป็น ต้องให้ข้อมูลเกี่ยวกับผลกระทบแก่ประชาชนในพื้นที่ รวมถึง รวบรวมข้อห่วงกังวลของชาวชุมชนต่อโครงการ EEC สะท้อนกลับไปยังภาครัฐและสู่สาธารณะ ด้วย หวังว่าภาครัฐจะน�ำไปสู่ทิศทางในการทบทวนหรือ แก้ ไ ขนโยบายในอนาคตที่ อ าจริ ด รอนสิ ท ธิ ข อง ประชาชนในพื้นที่โครงการ กัญจน์ยังกล่าวว่า เมื่อกระบวนการมีส่วนร่วม ที่ภาครัฐจัดให้อย่างเวทีรับฟังความคิดเห็น ก็ไม่ได้เปิด โอกาสให้ประชาชนได้เข้าไปเสนอความเห็นมากนัก หน่วยงานอย่าง EEC Watch จึงต้องเป็นกระบอกเสียง ในการสื่ อ สารข้ อ เสนอจากชุ ม ชนและภาคส่ ว นที่ เกี่ยวข้อง ให้ไปถึงภาครัฐ แม้ EEC Watch จะเป็นพื้นที่หนึ่งในการช่วย สือ่ สารข้อมูลเกีย่ วกับโครงการ EEC ระหว่างภาครัฐกับ ประชาชน แต่กัญจน์เล่าว่า ในช่วงแรกของการร่าง พ.ร.บ. EEC ภาคประชาชนไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลจาก ภาครัฐได้เนื่องจากพบว่ามีการปิดกั้นข้อมูล เครือข่าย จึงต้องด�ำเนินการตามพรบ.ข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 เพื่อขอเข้าถึงข้อมูลของภาครัฐที่เกี่ยวข้อง แต่ซึ่งกว่ากระบวนการอุทธรณ์จะส�ำเร็จ พ.ร.บ. EEC ก็ได้ประกาศบังคับใช้มาก่อนแล้ว กัญจน์กล่าวถึงความส�ำคัญของการมีสว่ นร่วม จากภาคประชาชนต่อว่า โครงการ EEC นั้นมีโอกาสที่ จะท�ำให้ดีได้ เนื่องด้วยเทคโนโลยีการสื่อสารถึงชุมชน ที่ง่ายขึ้น รัฐมีสื่อ มีงบประมาณ แต่หัวใจส�ำคัญคือ ภาครัฐควรรับฟังความคิดเห็นจากทุกส่วน ซึ่งไม่ใช่แค่ ชุมชน แต่รวมถึงภาควิชาการ และภาคเอกชนกลุ่ม ต่างๆ มาประกอบกัน เขายังตัง้ ข้อสังเกตว่า ภาครัฐยังติดในกรอบคิด เดิมคือ ต้องลงทุนโครงการใหญ่ๆ เพือ่ ให้ผลิตภัณฑ์มวล รวมและตัวเลขการลงทุนของประเทศเติบโตด้วยภาค อุตสาหกรรมเป็นหลัก แต่ในความเป็นจริง ประเทศยัง มีปัญหาอื่นๆ ที่ใหญ่กว่าด้านเศรษฐกิจ ภาครัฐจึงควร


ฉบับแปดริ้ว เมืองยั่งยืน

มองการพัฒนาแบบครบมิตมิ ากขึน้ ได้แก่ คุณภาพชีวติ การดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม และเป้าหมายการพัฒนาที่ ยั่งยืน “ในแง่ของที่อยู่อาศัย การจะตั้งเมืองน่าอยู่ เมืองใหม่ ไม่ควรมองความส�ำคัญของเมืองดั้งเดิมเลย หรือถ้าในแง่อุตสาหกรรม ก็ควรจะเป็นอุตสาหกรรมที่ จะต่อยอดศักยภาพและผลผลิตในพื้นที่ เรามีพืชผล การเกษตรที่สามารถต่อยอดไปได้ เป็นอุตสาหกรรม ขนาดย่อมที่ไม่ต้องใช้พื้นที่หรือลงทุนสูง ได้ต่อยอดสิ่ง ที่มีอยู่ ยกระดับภาคเกษตรกรรม แต่หน่วยงานที่ดูแล ยังไม่ค่อยได้คิดเรื่องนี้ จึงจ�ำเป็นต้องใช้การมีส่วนร่วม จากประชาชนเข้ามาเติมเต็มให้การพัฒนาสมดุลขึ้น” กัญจน์เสริม วิถีประชาธิปไตย แนวทางหลัก ในการทวงสิทธิการมีส่วนร่วม

ในวันนี้ที่พ.ร.บ. EEC ถูกบังคับใช้แล้ว สุภาภ รณ์ ผู ้ จั ด การ EnLaw เห็ น ว่ า การแก้ ไ ขหรื อ ยกเลิ ก โครงการเป็นไปได้ยากเพราะการแก้ไขกฎหมายจ�ำเป็น ต้องใช้อ�ำนาจรัฐ เธอจึงเพียงหวังว่าจะมีการเลือกตั้ง โดยเร็ ว เพื่ อ ที่ รั ฐ บาลชุ ด ต่ อ ไปจะกลั บ มาทบทวน แนวทางและนโยบายการพัฒนา ที่จะน�ำไปสู่การปรับ แก้หรือยกเลิกกฎหมายที่ละเมิดสิทธิชุมชนฉบับนี้ออก ไป แล้วกลับมาให้ความส�ำคัญกับการพัฒนาที่ยั่งยืน ซึ่ ง เ ห็ น ค ว า ม ส� ำ คั ญ ข อ ง ค น สิ ท ธิ ชุ ม ช น ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมที่มากขึ้น รวมไป ถึงมองการพัฒนาที่สอดคล้องกับศักยภาพในพื้นที่ ให้ คนส่วนใหญ่มีงานและสามารถพึ่งพาตนเองได้

23

“การพัฒนาไม่ว่าจะเป็นในแง่ใดก็จ�ำเป็นต้อง ใช้ทรัพยากรเหมือนกัน แต่อุตสาหกรรมใช้ทรัพยากร เยอะมาก พื้นที่เยอะ อาจก่อผลกระทบจ�ำนวนเยอะ ต้องทบทวนว่าการพัฒนาแบบนี้จะไปท�ำลายในอีก หลายมิติ ทัง้ ภาคแรงงาน และเกษตรกรรม ถ้าคนมีงาน ท�ำ สวัสดิการดี ชีวิตที่ดี ประเทศก็มั่นคง แต่ถ้าไม่มอง ส่วนนี้ ต่อให้ GDP ดี แต่เราเห็นคนตกงาน ไม่มีที่ท�ำกิน คนยากจนเพิ่มมากขึ้น ไม่สามารถเรียกว่าความมั่นคง ได้” สุภาภรณ์กล่าว ท้ายที่สุดแล้ว สุภาภรณ์เห็นว่า การเลือกตั้งจะ น�ำมาซึง่ อ�ำนาจต่อรอง เสียงของประชาชนจะเข้าไปถ่วง ดุล ก�ำกับได้มากกว่ารัฐบาลทีไ่ ม่ได้มาจากการเลือกตัง้ ที่จะเข้ามาแก้ไขรัฐธรรมนูญ ตรวจสอบค�ำสั่ง หรือ ประกาศทีล่ ะเมิดสิทธิหรือขัดต่อหลักนิตริ ฐั นิตธิ รรม ซึง่ กระบวนการนี้อาจใช้เวลามากกว่าวาระของรัฐบาล หนึ่งชุด “ทุกอย่างต้องใช้เวลา เราไม่มีอ�ำนาจเบ็ดเสร็จ เด็ดขาด ความรวดเร็วไม่ใช่ค�ำตอบในการมองหรือแก้ ปัญหาระยะยาว อย่างเช่น เราสองสามคนคิดว่าสิ่งนี้ ดีแล้วตัดสินใจท�ำไปเลย สิ่งที่เราท�ำเป็นนโยบายหรือ กระทบคนหลายๆ คน แม้ว่ามันจะดี แต่คนที่เขาจะได้ รับผลกระทบเขาไม่เข้าใจ มันก็อาจจะถูกทักท้วงหรือ คัดค้านได้ “แต่ถ้าเรามั่นใจว่าสิ่งที่คิดมามันดี ไม่ว่าจะ นโยบายหรือกฎหมาย เราไปคุยกับคนที่จะต้องถูก บังคับใช้และได้ผลกระทบอย่างเข้าใจกัน แม้ว่าจะใช้ เวลา แต่สิ่งเหล่านั้นจะผ่านไปราบรื่น หรือแม้จะมี ปัญหาในการบังคับใช้หรือในการปฎิบัติ เราก็ร่วมกัน ในการจัดการและแก้ไขปัญหาอย่างมีส่วนร่วมได้” ผู้จัดการ EnLaw ย�้ำ


ฉบับแปดริ้ว เมืองยั่งยืน

24

สี่ปีแห่งการต่อสู้ และอนาคตที่แขวนอยู่บนเส้นด้าย ของชาวโยธะกา

บ น พื้ น ที่ ลุ ่ ม ต�่ ำ ที่ มี ท า ง ร ถ ไ ฟ พ า ด ผ ่ า น ตลอดสองฝั ่ ง ถนนแคบเล็ ก เต็ ม ไปด้ ว ยทุ ่ ง นา เขี ย วขจี ด้ ว ยชาวบ้ า นในบริ เ วณนี้ ล ้ ว นประกอบ อาชี พ ท� ำ นาเป็ น หลั ก หากมองภายนอก อาจเห็ น ว่ า ชี วิ ต ของชาวบ้ า นด� ำ เนิ น ไปอย่ า งปรกติ สุ ข ต่ อ เมื่ อ ได้ ล องพู ด คุ ย จึ ง พบว่ า ปั ญ หาการให้ ย ้ า ย ออกจากพื้ น ที่ ยั ง เป็ น ฝั น ร้ า ยหลอกหลอนชาว บ้านที่นี่มาเป็นเวลาสี่ปี ชีวต ิ ใน “โยธะกา” จากอดีต สูว ่ น ั ทีถ ่ ก ู ให้ยา้ ยออก

ข้อมูลชุมชนทีจ่ ดั ท�ำโดยชาวบ้านหมู่ 11 ต�ำบล โยธะกา อ�ำเภอบางน�้ำเปรี้ยว จังหวัดฉะเชิงเทรา ระบุ ว่า ต�ำบลโยธะกามีประวัติความเป็นมากว่า 80 ปี แยก มาจากต�ำบลดอนเกาะนาและต�ำบลหมอนทองเมื่อปี 2480 มีเนือ้ ที่ 36,375 ไร่ ปัจจุบนั มีครัวเรือน 1,654 ครัว เรือน มีประชากร 6,362 คน และประชากรร้อยละ 90 ประกอบอาชีพอาชีพเกษตรกรรม สมหมาย บุญนิมิ ผู้ใหญ่บ้านหมู่ 11 เล่าว่า พืน้ ทีน่ เี้ ดิมทีเป็นของเจ้าจอมแพในสมัยรัชกาลทีห่ า้ ต่อ มาในปี 2491 กองทัพเรือซื้อต่อจากเจ้าจอมแพ ที่ดิน บริเวณนีจ้ งึ กลายเป็นทีร่ าชพัสดุและชาวบ้านไม่มโี ฉนด มีเพียงสัญญาเช่ากับกรมธนารักษ์ปีต่อปีเท่านั้น เมื่อปี 2557 ชาวบ้านได้รับจดหมายแจ้งจาก กองทัพเรือว่า หน่วยงานจะขอคืนพื้นที่ 4,000 ไร่ ด้วย เหตุผลว่า จะน�ำพื้นที่บริเวณหมู่ 11 ไปท�ำสุสาน แต่ พืน้ ทีท่ เี่ หลือ กองทัพเรือไม่ได้เปิดเผยว่าจะขอคืนไปท�ำ อะไร

เรื่อง: พชร ค�ำช�ำนาญ ภาพ: นัจนันท์ เกตุสุวรรณ

“ตอนที่ยังไม่มีโครงการอะไรมา เราก็กะว่าจะ อยู่ได้นาน แต่เขาจะเอาที่คืน เราก็เดือดร้อน มีหนังสือ มาไล่บอ่ ยมาก ตอนนีเ้ ขามีอำ� นาจเขาก็ไม่สนใจเรา เขา จะไล่เราอย่างเดียว เราก็ทำ� นาของเราต่อไป แต่บางคน ก็กังวล เพราะเขาไม่มีการพูดถึงค่าชดเชย” ผู้ใหญ่ฯ สมหมายกล่าว ละม้าย สรรพชัย วัย 60 ปี ชาวบ้านหมู่ 11 เล่าว่า แต่ก่อนไม่เคยมีการเก็บค่าที่ แต่เมื่อมีการเก็บ ตนก็ยินดีจ่ายเพื่อแลกกับที่ชาวบ้านจะได้มีที่อยู่อาศัย และท�ำมาหากิน หากไม่มเี งินก็สามารถผ่อนจ่ายได้ ต่อ มาส�ำนักงานธนารักษ์จังหวัดฉะเชิงเทราแจ้งว่า ต่อไป นี้จะเก็บค่าเช่า และบอกกับชาวบ้านว่า ไม่ต้องกังวล ไม่ว่าอย่างไรที่ดินตรงนี้ก็เป็นของชาวบ้าน ชาวบ้านจึง แบ่งสัญญาเช่าไปให้ลูกหลาน เพราะหวังว่าที่ดินตรงนี้ จะตกเป็นของลูกหลานต่อไป “มีการมาเก็บค่าเช่า ชาวบ้านก็ให้ อยู่ๆ เขาก็ บอกว่าไม่เก็บแล้ว ไม่ให้เช่า มีหนังสือมาให้ คนไม่รู้ หนังสือ ทหารเขาก็วิ่งมาบอก ใบเช่าที่เป็นสมุดแบบนี้ เขาขอคืน แล้วใครจะไปคืน พอไปราชพัสดุ เขาก็ว่า ที่นี่ต่อไปจะมีโฉนด เราก็ว่า ถ้ามีเจ้าของแล้วท�ำไมไม่ บอกล่ะ คิดว่าเป็นของเราแล้ว อยู่ๆ ก็มาบอกว่ามี เจ้าของ” ละม้ายกล่าว ผูใ้ หญ่ฯ สมหมาย ให้ดจู ดหมายจากส�ำนักงาน ธนารักษ์พื้นที่ฉะเชิงเทรา ลงวันที่ 9 ก.พ. 2559 เรื่อง “ขอให้ไปถอนคืนเงินประกันการเช่าที่ดินราชพัสดุ” ซึ่ง ระบุ ว ่ า ทางส� ำ นั ก งานธนารั ก ษ์ ข องดเก็ บ ค่ า เช่ า ที่


ฉบับแปดริ้ว เมืองยั่งยืน

25

ทุ่งนาปรังของชาวบ้านต�ำบลโยธะกา ซึ่งเป็นหนึ่งในกว่า 4,000 ไร่ที่ถูกเวนคืน

เนือ่ งจากกองทัพเรือมีโครงการจะใช้พนื้ ทีบ่ ริเวณหมู่ 11 เพื่อประโยชน์ทางราชการ โดยให้ชาวบ้านไปยื่นถอน เงินประกันการเช่า และให้ออกจากพื้นที่ภายใน 15 วัน แม้จนถึงวันนี้ จะยังไม่มีเจ้าหน้าที่จากหน่วย งานใดเข้ามาจัดการให้ชาวบ้านย้ายออกจากพืน้ ทีท่ ตี่ น อยู่มาตั้งแต่บรรพบุรุษ อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ชาวบ้าน กังวลคือ อนาคตที่ไม่แน่นอน เพราะจดหมายไม่ได้พูด ถึงแนวทางการชดเชยการยุติการเช่าที่ไว้แต่อย่างใด และไม่อาจแน่ใจได้วา่ วันใดหน่วยงานทีเ่ กีย่ วข้องจะเข้า มาด�ำเนินการให้พวกตนย้ายออกไป ยืน ่ เรือ ่ งร้องเรียน แต่ยง ั ไร้ความคืบหน้า

เมื่อมีการขอคืนพื้นที่เกิดขึ้น ผู้ใหญ่บ้านสม หมายแห่งหมู่ 11 เผยว่า ตนและชาวบ้านพยายาม เจรจาผ่านผู้น�ำท้องถิ่น ไปจนถึงเดินทางไปยื่นหนังสือ ด้วยตนเองที่กรุงเทพฯ บางหน่วยงานให้ค�ำตอบเพียง ว่า เรือ่ งนีอ้ ยูร่ ะหว่างการด�ำเนินการ แล้วก็ยงั ไม่มคี วาม คื บ หน้ า แต่ ก็ มี ห ลายหน่ ว ยงานที่ ไ ม่ ติ ด ต่ อ กลั บ มา ราวกับไม่เคยมีการร้องเรียนเกิดขึ้น ยิ่งท�ำให้ชาวบ้าน กังวลใจ “เคยมีการร้องเรียนไปที่ส�ำนักงานผู้ตรวจการ แผ่นดิน แต่ก็ถูกบอกให้เลิกร้องเรียน เคยร้องเรียนไปที่ ศูนย์ด�ำรงธรรม ธนารักษ์ ส�ำนักนายกรัฐมนตรี ขึ้นรถตู้ กันไป” ผู้ใหญ่บ้านหมู่ 11 อธิบาย สมหมายน�ำจดหมายจากกองทัพเรือที่ส่งมา หลังจากตนส่งเรื่องร้องเรียนไป ลงวันที่ 22 ม.ค. 2561

มาให้ดู ในจดหมายระบุว่า “กองทัพเรือมีแผนการใช้ ประโยชน์ที่ดินบริเวณดังกล่าวแล้ว จึงขอยืนยันการ ยกเลิ ก สั ญ ญาเช่ า ที่ ดิ น บริ เ วณศู น ย์ เ กษตรกรรม ทหารเรือโยธะกาแปลงดังกล่าว พร้อมกับให้รื้อถอนสิ่ง ปลูกสร้าง ขนย้ายทรัพย์สนิ และบริวารออกไปจากทีด่ นิ พร้อมกับท�ำหนังสือส่งมอบคืนที่ดินให้แก่กองทัพเรือ หากท่านยังคงเพิกเฉยทางราชการมีความจ�ำเป็นทีต่ อ้ ง ด�ำเนินคดีตามกฎหมายต่อไป” ซึ่งสมหมายมองว่า ข้อความเช่นนี้ชี้ว่ากองทัพเรือได้ปิดช่องทางการร้อง เรียน และชาวบ้านไม่สามารถท�ำอะไรต่อได้นอกจาก เตรียมย้ายออก ความหวังเดียวของชาวบ้าน คือการได้เจรจาต่อรอง

นอกจากอนาคตที่แขวนอยู่บนเส้นด้าย การที่ หน่วยงานเจ้าของพื้นที่ท�ำเพียงส่งจดหมาย แต่ไม่ สือ่ สารกับชาวบ้านอย่างเป็นทางการด้วยวิธอี นื่ ๆ ก็เป็น อีกปัญหาทีช่ าวบ้านกังวล ผูใ้ หญ่บา้ นสมหมายบอกว่า ตนอยากให้มกี ารเจรจาต่อรองกันเกิดขึน้ แต่ปญ ั หาคือ ชาวบ้านไม่รวู้ า่ จะต้องไปเจรจากับใคร ใครเป็นเจ้าของ โครงการ หรือแม้แต่โครงการนี้คืออะไรกันแน่ “ได้ยนิ มาว่า เขามีงบประมาณมาแล้ว 150 ล้าน บาท จะมาท�ำเป็นเรดาร์ฉายเรือด�ำน�ำ้ ชาวบ้านก็ตอ่ รอง ไปว่า ถ้าจะสร้างเสาเรดาร์แล้วมีพนื้ ทีเ่ หลือ ชาวบ้านขอ ท�ำนาได้ไหม ขอเช่าที่ก็ได้ แต่เขาไม่สนใจ” สมหมาย กล่าว


ฉบับแปดริ้ว เมืองยั่งยืน

26

ด้าน วันเพ็ญ บุญนิมิ วัย 50 ปี ชาวบ้านหมู่ 11 บอกว่า หลังจากปี 2557 มา ชาวบ้านไม่สามารถ ประกอบอาชีพเกษตรกรรมได้เหมือนเดิม เพราะมีข้อ ห้ามเกี่ยวกับการดัดแปลงพื้นที่จากกองทัพเรือ และมี ทหารมาตรวจตราอยู่บ่อยครั้ง “ที่ดินเขาไม่ให้ใช้ค่ะ แค่เอาดินมาถม เขาก็ไม่ ให้ท�ำเลย ท�ำอะไรกับพื้นที่ไม่ได้เลย ขุดบ่อปลาก็ไม่ได้ ปลูกต้นไม้เพิ่มก็ไม่ได้ ทุกอาทิตย์สองอาทิตย์ เขาก็จะ มาถ่ า ยรู ป บอกว่ า ต้ อ งห้ า มเปลี่ ย นแปลงใหม่ เปลี่ยนแปลงยังไง จะมีทหารมาดูตลอด” ชาวบ้าน โยธะกากล่าว วันเพ็ญยังกล่าวว่า หากสามารถเจรจาได้ จะ ขอให้ตนและชาวบ้านคนอื่นๆ ได้อยู่บนพื้นที่นี้ต่อไป เพราะอยู่มาตั้งแต่บรรพบุรุษ ประกอบอาชีพท�ำนามา นาน มีภาระหนี้สิน ไม่สามารถไปเริ่มต้นชีวิตใหม่บน พื้นที่ใหม่ที่ไม่มีความผูกพันได้ “คนมันก็เคยอยู่มันก็สะดวกสบาย เราอยู่กัน แบบพี่น้อง ไปอยู่ที่อื่นเรายังไม่รู้เลยว่าจะเป็นอย่างไร แล้วก็การท�ำกินตรงนี้ เขาอยู่ได้ของเขา แค่มีบ้านอยู่ เขาก็อยู่ได้ ถ้าไปอยู่ที่อื่น เราก็ไม่รู้จะท�ำกินอะไร เรามี หนีส้ นิ จะให้หาเงินไปซือ้ ทีใ่ หม่มนั ไม่มที าง อยากขอเช่า ซือ้ พืน้ ทีต่ รงนี้ ให้มกี ารก�ำหนดปีไปด้วย ไม่งนั้ ก็จะกังวล ว่าจะมีปัญหาตามมาอีกหรือเปล่า” วันเพ็ญกล่าว

สมหมาย บุญนิมิ ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ 11 ต�ำบลโยธะกา

การเข้ามาของ EEC กับก้าวต่อไปของการต่อสูข ้ องชาวโยธะกา

ประชาชาติธรุ กิจ รายงานเมือ่ วันที่ 4 มี.ค. 2561 โดยอ้ า งค� ำ พู ด ของ พชร อนั น ตศิ ล ป์ อธิ บ ดี ก รม ธนารั ก ษ์ ว ่ า กรมธนารั ก ษ์ ไ ด้ จั ด หาที่ ร าชพั ส ดุ ใ น ฉะเชิงเทราในบริเวณศูนย์เกษตรกรรมทหารเรือฯ ต�ำบล โยธะกา อ�ำเภอบางน�้ำเปรี้ยว พื้นที่ประมาณ 4,000 ไร่ เศษ ส่งมอบให้ EEC ไปเรียบร้อยแล้ว เพื่อพัฒนาให้ เป็น “เมืองที่อยู่อาศัยชั้นดีที่ทันสมัย” รองรับการขยาย ตัวของกรุงเทพฯ และ EEC “มองว่าไม่เหมาะที่จะเป็นพื้นที่อุตสาหกรรม เพราะเป็นพื้นที่ลุ่มต�่ำมาก น�้ำท่วมเป็นประจ�ำ เป็นจุด บรรจบของแม่น�้ำนครนายกและแม่น�้ำปราจีน ถ้ามอง ในการใช้พื้นที่คิดว่าท�ำอะไรใหญ่ๆ ไม่เหมาะ ท�ำนา เหมาะที่สุด” กัญจน์ ทัตติยกุล ผู้ประสานงานกลุ่ม ศึกษาการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวัน ออก (EEC Watch) กล่าวถึงพื้นที่ที่ถูกเวนคืน กัญจน์ วิเคราะห์ว่า พื้นที่บริเวณหมู่ 11 ต�ำบล โยธะกา ไม่น่าจะเป็นพื้นที่ที่อยู่ใน EEC และไม่เหมาะ จะใช้ท�ำประโยชน์ด้านอุตสาหกรรม แต่เป็นพื้นที่ที่

ละม้าย สรรพชัย ชาวบ้าน หมู่ 11 ต�ำบลโยธะกา

วันเพ็ญ บุญนิมิ ชาวบ้าน หมู่ 11 ต�ำบลโยธะกา


ฉบับแปดริ้ว เมืองยั่งยืน

27

กองทัพซึ่งเข้ามาเป็นรัฐบาลหลังการรัฐประหารเมื่อปี 2557 อยากได้คืน แล้ว ปล่อยให้เอกชนเช่าต่อ เห็นตัวอย่างได้จากพื้นที่โยธะกาฝั่งจังหวัดนครนายกที่ กองทัพเรือได้คืนไปแล้ว ด้าน พรพนา ก๊วยเจริญ จาก กลุ่ม Land Watch Thai ซึ่งเป็นองค์กร ทีส่ นับสนุนและส่งเสริมขบวนการการเคลือ่ นไหวด้านสิทธิของผูท้ ปี่ ระสบปัญหา จากกฎหมายและนโยบายด้านทีด่ นิ และป่าไม้เห็นว่า ข้อมูลพืน้ ทีส่ ำ� คัญต่อชาว บ้านมาก เพราะช่วยสร้างความชอบธรรมในการต่อสูเ้ รือ่ งสิทธิทดี่ นิ “ถ้าเราไม่มี ข้อมูลว่าชาวบ้านอยู่กันมาสามชั่วอายุคน ท�ำนาที่นี่มาตลอด คนทั่วไปก็จะคิด ว่าชาวบ้านผิด เพราะไปอยูบ่ นทีด่ นิ ของคนอืน่ แต่ถา้ เราท�ำให้เห็นได้วา่ ชาวบ้าน เขามีสิทธิที่จะอยู่ตรงนี้นะ เขาอยู่มานาน ชาวบ้านจะมีความชอบธรรมในการ ร้องเรียนมากขึ้น” พรพนาอธิบาย อย่างไรก็ตาม ชาวบ้านไม่สามารถรวบรวมข้อมูลเองได้ เพราะไม่ สามารถเข้าถึงข้อมูลบางส่วนจากหน่วยงานรัฐ องค์กรภาคประชาสังคมอย่าง Land Watch Thai จึงมีหน้าที่หาข้อมูลและรวบรวมเป็นเอกสารให้ชาวบ้านยื่น ไปพร้อมกับหนังสือร้องเรียนไปที่หน่วยงานต่างๆ “ชาวบ้านยังท�ำข้อมูลไม่เป็น หรือมีข้อมูลจากภาครัฐที่ชาวบ้านเข้าถึงไม่ได้ แต่เรื่องการเคลื่อนไหวชาวบ้าน ต้องเป็นคนเคลื่อนไหวเอง โดยใช้ข้อมูลพื้นที่แนบไปด้วย” พรพนากล่าว นอกจากนัน้ พรพนายังกล่าวถึงแผนการการร้องเรียนขัน้ ต่อไปของชาว บ้านว่า จะยืน่ หนังสือร้องเรียนไปทีค่ ณะกรรมการนโยบายทีด่ นิ แห่งชาติ ซึง่ เป็น ผู้ดูแลที่ดินแปลงใหญ่ในประเทศ ตามค�ำแนะน�ำของส�ำนักงานคณะกรรมการ สิทธิมนุษยชน เพราะส�ำนักงานธนารักษ์จงั หวัดฉะเชิงเทราไม่สามารถช่วยอะไร ได้ หากกองทัพเรือยังเป็นเจ้าของที่ดิน “ก็อยากได้ทอี่ ย่างเดิม อยากจะอยูก่ นั เหมือนเดิม เพราะว่าเราไม่มที อี่ นื่ ให้ไปแล้ว และก็ไม่มีเงินทุนที่จะย้ายไปอยู่ที่อื่น เพราะว่าหนี้สินภาระก็เยอะ” วันเพ็ญ ชาวบ้านหมู่ 11 ย�้ำ

คณะกรรมการนโยบายที่ด ่ดินินแห่ แห่งงชาติ ชาติ รูรู้จ้จักักคณะกรรมการนโยบายที “ลดความเหลื่อมล�้ำและแก้ไขปัญหาการไร้ที่ดินท�ำกินของเกษตรกรและผู้ยากจน โดยการจัดที่ดินให้แก่ ผูย้ ากไร้ทไี่ ม่มที ดี่ นิ ท�ำกิน ในลักษณะแปลงรวมโดยไม่ให้กรรมสิทธิ”์ นีเ่ ป็นนโยบายที่พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ให้ไว้แก่คณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ (คทช.) เว็ บ ไซต์ คทช. ระบุ แ นวทางการด� ำ เนิ น การตามอ� ำ นาจหน้ า ที่ ข องคณะอนุ ก รรมการสามคณะ คื อ คณะอนุกรรมการจัดหาที่ดิน คณะอนุกรรมการจัดที่ดิน และคณะอนุกรรมการส่งเสริมและพัฒนาอาชีพ รวมถึง คทช. จังหวัด ภายใต้การก�ำกับของ คทช. ไว้ดังนี้ 1. จัดหาที่ดินที่จะจัดให้แก่ผู้ยากไร้ที่ไม่มีที่ดินท�ำกิน พร้อมด้วยชื่อผู้ครอบครอง 2. จัดที่ดินให้ผู้ยากไร้ที่ไม่มีที่ดินท�ำกินในรูปแบบสหกรณ์ หรือรูปแบบอื่นที่เหมาะสม เพื่อให้มีการรับรอง สิทธิชุมชนในการจัดการที่ดินโดยไม่ให้กรรมสิทธิ์ ตามระยะเวลาที่ก�ำหนด 3. ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพ รายการตลาดในรูปแบบเศรษฐกิจชุมชนตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง ภาย ใต้การใช้ระบบอนุรักษ์ดินและน�้ำที่เหมาะสม 4. จัดตั้งกลไกการบริหารจัดที่ดินของชุมชน สหกรณ์ โดยใช้ประชาคมหมู่บ้าน คณะกรรมการสหกรณ์/ ชุมชน โดยการควบคุมก�ำกับของส่วนราชการจังหวัด อ�ำเภอ ต�ำบล และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น



Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.