นิสิตนักศึกษา ปีที่ 49 (พ.ศ.2559) ฉบับที่ 2

Page 1


“การสร้างสรรค์ตนเอง การสร้างบ้านเมืองก็ตาม มิใช่ ว่าสร้างในวันเดียว ต้องใช้ เวลา ต้องใช้ ความเพียร ต้องใช้ ความอดทน เสียสละ แต่ส�ำคัญที่สุดคือความอดทน คือไม่ย่อท้อ ไม่ย่อท้อในสิง่ ที่ดีงาม สิง่ ที่ดีงามนัน้ ท�ำมันน่าเบื่อ บางทีเหมือนว่าไม่ได้ผล ไม่ดัง คือดูมันครึท�ำดีน่ี แต่ขอรับรองว่าการท�ำให้ดีไม่ครึต้องมีความอดทน เวลาข้างหน้าจะเห็นผลแน่นอนในความอดทนของตนเอง” พระบรมราโชวาท พระราชทานแก่นักเรียน นักศึ กษา ครู และอาจารย์ ของสถานศึ กษาในระดับอุ ดมศึ กษา อาชีวศึ กษา และสามัญศึ กษา ในโอกาสเข้าเฝ้ าฯ ณ อาคารใหม่ สวนอัมพร วันที่ 27 ตุลาคม 2516


7

9

เบือ้ งหลังการจัดระเบียบรถตู้ กับ ปั ญหาที่ยังไร้ทางออก

“Nek Chand’s Rock Garden” สวนรูปปั ้นหิน ของศิลปิ นผู ้โดดเดี่ยว

10

กัญชา = ยาเสพติด ? อีกแง่มุม จากยาพิษของสังคม

14

“เติ้ล - ปิ ยะชาติ ทองอ่วม” นักเขียนบทผู ้เ ปิ ดเส้นทาง ให้เ พศทางเลือ ก

หนังสือพิมพ์ฝึกหัดภาควิชาวารสารสนเทศ คณะนิเทศศาสตร์ จุ ฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฉบับประจ�ำเดือนธันวาคม พ.ศ. 2559


4

SHOWCASE

บทบรรณาธิการ

เรื่องเล่าจากปก

เสรีกัญชา เป็นมากกว่าปัญหาของกัญชาชน

ชื่อผลงาน : ความเพียร โดย เดชฤทธิ์ ลิมป์ ศิริพันธ์ การเป็นศิ ลปิ นจะต้องหมัน่ ฝึ กฝน ใช้ ความคิด สร้างสรรค์ และที่ส�ำคัญ คือ ใช้ ความเพียรพยายาม ไม่ต่างกับสาขาอาชีพใดๆ ภาพนีไ้ ด้รบั แรงบันดาลใจมาจากพระราชนิพนธ์ใน พระบาทสมเด็ จ พระเจ้ า อยู ่ หั ว ภู มิ พ ลอดุ ล ยเดช เรือ่ ง “พระมหาชนก” ในภาพนี ้ มนี กั ศึกษาคนหนึง่ ก�ำลัง ฝึกซ้อมเปียโนกลางทะเล ด้านบนมีแผนที่ฝีพระหัตถ์ สื่ อ ถึ ง ความเพี ย รพยายามของนั ก ศึ ก ษาในการหมั่ น ฝึกซ้อม เพื่อให้เรือขับเคลื่อนไปให้ถึงฝั่ง เปรียบเสมือน พระมหาชนกว่ายน�้ำข้ามมหาสมุทรเจ็ดวันเจ็ดคืน

วันหยุดยาว : นโยบายไทย มองการณ์ไกลไม่พอ?

ในช่ ว งหนึ่ ง ปี ที่ ผ ่ า นมา กระแส “เสรี กั ญ ชา” หรื อ การถอดกั ญ ชาออกจากรายชื่ อ สิ่งเสพติด เพือ่ ให้รฐั บาลเข้ามาควบคุมการผลิตและจัดจ�ำหน่ายอย่างถูกกฎหมาย กลายเป็นประเด็น ที่ได้รับความสนใจอย่างมากในสังคมไทย เหตุเพราะหลายๆ ประเทศเริม่ มีงานวิจยั ว่ากัญชาสามารถ รักษามะเร็งได้ และบางประเทศ อาทิ อุรุกวัย เนเธอร์แลนด์ และบางรัฐในอเมริกา ก็เริ่มเปิดให้ซื้อ ขายกัญชากันอย่างเสรีแล้ว ท�ำให้กลุ่ม “กัญชาชน” หรือกลุ่มคนเสพกัญชาในไทย เริ่มเรียกร้องให้ ประเทศไทยมี เ สรี กัญ ชาบ้ า ง แต่ อ งค์ ก ารอาหารและยา (อย.) ยั ง คงไม่ อ นุ มัติ ใ ห้ เปิ ด เสรี กั ญ ชา ด้วยเห็นว่ายังไม่มีงานวิจัยรองรับมากพอว่ากัญชารักษามะเร็งได้จริง ประเด็ น ที่ ห ลายฝ่ า ยยั ง ตั้ ง ค� ำ ถาม คื อ ผลกระทบที่ จ ะเกิ ด ขึ้ น หากไทยเปิ ด เสรี กั ญ ชา นักวิชาการบางกลุ่มเสนอว่า เสรีกัญชาจะท�ำให้การเพาะปลูกกัญชาไม่ผิดกฎหมาย นั่น หมายความว่านั ก วิ ท ยาศาสตร์ จ ะสามารถศึ ก ษากั ญ ชาได้ ม ากขึ้ น และต่ อ ยอดงานวิ จั ย ทางการ แพทย์ ใ ห้ พั ฒ นาไปมากกว่าเดิม นอกจากนี้ กัญชายังเป็นพืชเศรษฐกิจที่โลกก�ำลังจับตามอง สภา เกษตรกรเสนอว่า เสรี กั ญ ชาจะช่ ว ยลดรายจ่ า ยในการน� ำ เข้ า ยาปี ล ะหลายหมื่ น ล้ า น เพิ่ ม เม็ ด เงิ น ให้ รั ฐ บาลและเป็นเครื่องมือกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศได้อย่างดี แต่รัฐบาลอาจจะต้อง เพิ่ มมาตรการในการควบคุมให้หนักแน่นมากขึ้น เพราะถึงแม้ว่า งานวิจัยหลายงานจะพบว่า กัญชา ไม่มีผลเสียร้ายแรงเท่าเหล้าหรือบุหรี่ แต่กัญชาก็ยังส่งผลกระทบต่อประสาทการรับรู้ และส่งผลเสีย ต่อปอดในระยะยาวไม่ต่างกัน การอนุญาตให้มีการซื้อ-ขายกัญชาอย่างถูกกฎหมาย แม้จะอยู่ภายใต้ การควบคุมของรัฐ ก็มีความเสี่ยงที่จะท�ำให้ผู้บริโภคส่วนหนึ่งใช้กัญชามากเกินความจ�ำเป็นได้ อย่างไรก็ตาม การเปิดเสรีกญ ั ชาเป็นประเด็นทีม่ คี วามเกีย่ วพันกับหลายฝ่าย ดังนัน้ ภาครัฐ จึงควรร่วมกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและนักวิชาการ เปิดพื้นที่ให้มีการอภิปรายและถกเถียงกันในเรื่องนี้ เพื่อให้ประชาชนรู้และเข้าใจ และน�ำไปสู่บทสรุปที่เหมาะสมกับทุกฝ่าย

เรื่อง : ปริม แสวงสารศานติ์

เมื่อกลางเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา การท่องเทีย่ วแห่งประเทศไทย (ททท.) ยื่ น เรื่ อ งต่ อ คณะรั ฐ มนตรี ใ ห้ อ นุ มั ติ วันที่ 27 ก.ย. ซึ่งเป็นวันท่องเทีย่ วโลก ให้ เ ป็ น วั น หยุ ดราชการ เพื่ อ ให้ มี วันหยุ ดยาวตัง้ แต่วันที่ 24-27 ก.ย. 2559 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อกระตุ้น การท่องเที่ยวที่ซบเซาลงหลังเกิดเหตุ ระเบิดหลายจุ ดในพืน้ ที่ภาคใต้ แต่เมือ่ เรื่ อ งดั ง กล่ า วถู ก เผยแพร่ อ อกไป กลับเกิดกระแสคัดค้านในหมูป่ ระชาชน อย่างกว้างขวาง เรื่องดังกล่าวไม่ได้ รับการอนุมตั จิ ากคณะรัฐมนตรีในทีส่ ดุ

คาราโอเกะหลังห้อง

แม้โครงการวันหยุดยาวครั้งนี้จะไม่ได้ รั บ การอนุ มั ติ แต่ ใ นปี 2559 รั ฐ บาลก็ ไ ด้ ประกาศ “วันหยุดยาว” มาแล้วหลายครั้ง โดย มีการประกาศชดเชยวันหยุดราชการเพิม่ หรือ ทีเ่ รียกกันว่า “วันหยุดฟันหลอ” ท�ำให้มวี นั หยุด ยาวติดต่อกันหลายวัน ได้แก่ วันหยุดยาวสีว่ นั ในเดือนพฤษภาคมเนือ่ งในวันฉัตรมงคล และ วันหยุดยาวห้าวันในวันอาสาฬหบูชาต่อเนื่อง วันเข้าพรรษาในเดือนกรกฎาคม โดยเหตุผล

หนึ่งของการประกาศ “วันหยุดยาว” คือเพื่อ กระตุน้ การท่องเทีย่ ว โดยเฉพาะการท่องเทีย่ ว ในประเทศทีค่ าดว่าจะมีเงินสะพัดกว่าพันล้าน แต่ความตั้งใจของคณะรัฐมนตรีดูจะ สวนทางกับแนวโน้มการจับจ่ายของประชาชน ในประเทศ โดยเฉพาะในช่ ว งต้ น เดื อ น พฤษภาคมทีผ่ า่ นมา อันเป็นเวลาเดียวกับการ เปิดเทอมของนักเรียนประถมฯ และมัธยมฯ ตลาดสินค้าอุปกรณ์การเรียนที่ควรจะคึกคัก ก็กลับนิ่งสนิทซ�้ำยังดูจะซบเซาลง เนื่องจาก เศรษฐกิจทีฝ่ ดื เคืองท�ำให้กลุม่ ผูป้ กครองจ�ำกัด การซื้อเท่าที่จ�ำเป็นมาเป็นเวลา 2-3 ปีแล้ว นอกจากนี้ เมื่ อ พิ จ ารณาจากผลวิ จั ย ของ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย เรื่องตลาดคนไทยเที่ยว ต่างประเทศ ในปี 2559 พบว่า คนไทยมีแนว โน้ ม เดิ น ทางท่ อ งเที่ ย วมากขึ้ น จริ ง แต่ เ ป็ น การไปเที่ ย วต่ า งประเทศเสี ย ส่ ว นใหญ่ โดยอาศัยช่วงเวลาวันหยุดยาวที่เพิ่มขึ้นใน การเดินทางไกลที่ใช้เวลาเดินทางมากกว่า ในประเทศ นโยบายที่ไม่บรรลุวัตถุประสงค์ไม่ใช่ เรื่ อ งแปลกส� ำ หรั บ รั ฐ บาลไทยเท่ า ไหร่ นั ก หากมองย้ อ นกลั บ ไปยั ง นโยบายที่ ผ ่ า นมา

ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนเปิด-ปิดภาคเรียนใน ระดั บ อุ ด มศึ ก ษาที่ ไ ม่ ส อดคล้ อ งกั บ สภาพ แวดล้ อ ม หรื อ นโยบายจ� ำ น� ำ ข้ า วที่ ไ ม่ มี แผนรองรับข้าวทีล่ น้ ตลาด โครงการวันหยุดยาว ที่หมายจะกระตุ้นเศรษฐกิจ กลับกลายเป็น โครงการที่ ถู ก อกถู ก ใจแค่ เ หล่ า เด็ ก ๆ ที่ ไม่ต้องการไปโรงเรียนแต่ไม่ใช่ส�ำหรับผู้ใหญ่ วัยท�ำงานอย่างกลุ่มผู้ใช้แรงงานหรือลูกจ้าง ที่ได้ค่าเหนื่อยเป็นรายวัน เพราะเมื่อมีวันหยุด มากขึ้ น คนกลุ ่ ม นี้ ก็ จ ะต้ อ งเสี ย รายได้ ไ ป จ�ำนวนหนึ่งโดยที่มีรายจ่ายเท่าเดิม ภาคธุ ร กิ จ ก็ อ าจได้ รั บ ผลกระทบจาก วันหยุดที่ยาวนานเกือบสัปดาห์ งานที่จ�ำเป็น ต้องติดต่อกับหน่วยงานราชการจะไม่สามารถ ด�ำเนินการได้ในวันหยุดราชการ ท�ำให้เวลา ติดต่องานเหลือน้อยลง รวมถึงงานทีต่ อ้ งติดต่อ กับต่างประเทศ เพราะส่วนมากบริษัทใหญ่ๆ มั ก จะวางแผนงานกั น เป็ น รายปี ขณะที่ การประกาศวันหยุดราชการมักท�ำในเวลาที่ กระชั้ น ชิ ด เพี ย งหนึ่ ง หรื อ สองเดื อ นก่ อ น ถึงวันนั้นๆ หากวันที่วางแผนไว้ตรงกับวันดัง กล่าวพอดีกจ็ ะท�ำให้งานไม่เป็นไปตามแผนและ มีแนวโน้มจะเสียหายหนัก เพราะเวลาการท�ำงาน

กองบรรณาธิการ

ทีห่ ายไป ท�ำให้พนักงานต้องเร่งท�ำงานในระยะ เวลาที่ มี อ ยู ่ อ ย่ า งจ� ำ กั ด และอาจส่ ง ผลให้ คุณภาพของงานด้อยลงได้ ดังนัน้ ก่อนการออกนโยบายใดๆ รัฐบาล ควรปรึ ก ษาหารื อ กั บ นั ก วิ ช าการ หรื อ ผู้เชี่ยวชาญที่มีความเกี่ยวข้องทั้งในภาครัฐ และเอกชน รวมถึงพูดคุยกับกลุ่มผู้ที่มีส่วนได้ ส่ ว นเสี ย จากนโยบาย เพื่ อ ให้ น โยบาย บรรลุ วั ต ถุ ป ระสงค์ และสามารถใช้ ไ ด้ จ ริ ง การแก้ปัญหาเป็นส่วนย่อยๆ โดยไม่ค�ำนึงถึง ผลกระทบต่อภาพรวมและผลระยะยาวเช่นนี้ นอกจากจะเป็นการแก้ปญ ั หาทีไ่ ม่ตรงจุดแล้ว ยังอาจก่อปัญหาใหม่เพิ่มขึ้น ประหนึ่งการพยายามตะบี้ตะบันเล่น เกมซู โ ดกุ ไ ปที ล ะช่ อ งโดยไม่ หั น มองตาราง ทั้งหมด ท�ำให้ต้องแก้แล้วแก้อีกอยู่เรื่อยไป กว่าจะได้คำ� ตอบทีถ่ กู ต้อง ก็เสียยางลบไปแล้ว หลายก้อน ดีไม่ดีกระดาษก็อาจจะขาดรุ่ยจน ใช้การไม่ได้อีก

หนังสือพิมพ์ฝึกปฏิบัติ ภาควิชาวารสารสนเทศ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย บรรณาธิการผู้พิมพ์โฆษณา : ผศ.ดร. ณรงค์ ข�ำวิจิตร์ อาจารย์ที่ปรึกษา : อ.พรรษาสิริ กุหลาบ บรรณาธิการเนื้อหา : ธรัลหทัย กีรติศุภเศรษฐ์ กองบรรณาธิการ : ณัฐธชา ทังคพัฒนกุล , ณัชชา วงศ์ใหญ่ , ณิชาภัทร ศิริพรชัยกุล , ธันวา ลุจินตานนท์ , ธนพร ตรีเนตร , ปริม แสวงสารศานติ์ , สุจินันท์ อมรเพชรกุล บรรณาธิการฝ่ายศิลป์ : ณัชชา วงศ์ใหญ่ บรรณาธิการสร้างสรรค์สื่อออนไลน์ : ธนพร ตรีเนตร ที่อยู่ : 254 ถ.พญาไท แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10300 โทร. 0-2218-2140 Facebook : www.facebook.com/nisitjournal Twitter : @nisit_journal


5

HOT ISSUE เจ็ดเดือนปั ดตก เบนซ์ชนเก๋ง เรื่องเงียบแล้วหรือ?

คาราคาซัง

เรื่อง : ณัฐธชา ทังคพัฒนกุล, ธนพร ตรีเนตร, ธรัลหทัย กีรติศุภเศรษฐ์ ภาพ : ณัชชา วงศ์ใหญ่

เมื่อวันที่ 13 มี.ค. 2559 ชายวัย 37 ปี ขับ รถเบนซ์พุ่งชนท้ายรถฟอร์ดอย่างแรงจนเกิดไฟ ลุกท่วม เป็นเหตุให้นักศึกษาปริญญาโทสองคน ในรถฟอร์ดถึงแก่ชีวิต ในระหว่ า งที่ ผู ้ ต ้ อ งหาออกบวชให้ แ ก่ ผู้เสียชีวิต ศาลจังหวัดพระนครศรีอยุธยาได้มีมติยื่นฟ้องผู้ต้องหารวม 8 ข้อหา หลังจาก ลาสิกขาแล้ว ผู้ต้องหาได้มาเจรจากับญาติผู้เสียชีวิต และกราบขอขมาครอบครัวผู้ตายเพื่อ อโหสิกรรม ซึ่งอาของผู้ต้องหาได้ให้สัมภาษณ์ว่าผลการเจรจาเป็นที่น่าพอใจ และครอบครัว ของตนก็พร้อมจะชดใช้คา่ เสียหายทุกอย่าง โดยศาลได้นดั ตรวจพยานอีกครัง้ ในวันที่ 15 ส.ค. 2559 แต่จนถึงวันนีก้ ย็ งั ไม่มขี า่ วคราวเพิม่ เติม

สองปี ผ่านไป คุณตันได้เงินคืนหรือยัง? เมื่อวันที่ 23 มี.ค. 2557 กลุ่มอาจารย์ นักเรียน และผู้ปกครองของวงโยธวาทิต โรงเรียนสตรีวทิ ยา 2 เดินทางมารวมตัวทีอ่ ารีนา 10 เพือ่ ขอยืมเงินนายตัน ภาสกรนที เจ้าของ ผลิตภัณฑ์ชาเขียวอิชิตันจ�ำนวน 3.1 ล้านบาท เพื่อเป็นทุนส�ำหรับการประกวดดนตรีที่ ประเทศเนเธอร์แลนด์ พร้อมรับปากว่าจะคว้าชัย ปีทแี่ ล้ว นายกสมาคมผูป้ กครองฯ สตรีวทิ ยา 2 เผยว่าจะคืนเงินให้นายตันอย่างแน่นอน หลังเปลี่ยนผู้อ�ำนวยการโรงเรียน กระทั่งมีการโยกย้ายต�ำแหน่งเป็นที่เรียบร้อยแล้ว แต่เรื่อง ก็ยังเงียบอยู่ และฝั่งนายตันก็ยังไม่มีการเคลื่อนไหวใดๆ ในประเด็นนี้ เมื่อวันที่ 25 ก.ย. ที่ผ่านมา สมาชิกเว็บไซต์พันทิปได้ตั้งกระทู้ถามความคืบหน้าเรื่อง การคืนเงินหลังเหตุการณ์ผ่านไปกว่า 2 ปี มีสมาชิกเข้ามาแสดงความคิดเห็นกว่ า 200 ความคิดเห็น ทั้งยังมีบางความคิดเห็นน�ำรายชื่อของกลุ่มคนที่เคยลงชื่อเพื่อขอยืมเงิน จากนายตันไว้ เพื่อจัดเป็นบัญชีด�ำส�ำหรับพิจารณาเข้าท�ำงานต่อไป

เจ็ดเดือนพ้นผ่าน คดีชายพิการจะจบอย่างไร? เมื่อวันที่ 1 พ.ค. ที่ผ่านมา มีเหตุการณ์กลุ่มวัยรุ่นใช้ก�ำลังท�ำร้ายชายพิการ เจ้าของร้านขนมปัง ก่อนจะใช้มีดฟันชายคนดังกล่าวจนถึงแก่ชีวิต ทนายความของผูต้ ายฟ้องกลุม่ วัยรุน่ ในข้อหาร่วมกันฆ่าผูอ้ นื่ โดยเจตนา แต่จำ� เลย ให้การปฏิเสธ ทัง้ ทนายฝัง่ จ�ำเลยยังกล่าวว่าตนพร้อมสูค้ ดี เนือ่ งจากผูต้ ายได้เข้าท�ำร้าย กลุ่มวัยรุ่นก่อน อีกทั้งยังมีหลักฐานการตรวจพบสารเสพติดในร่างกายผู้ตาย ซึ่งจะ น�ำเข้ามาต่อสู้ในชั้นศาลต่อไป ล่าสุด ศาลจะนัดพิจารณาหาข้อเท็จจริงเพื่อตรวจสอบ หลักฐานอีกครั้ง ในวันที่ 19 ธ.ค. 2559

VOX POP

‘ถ้าคุณมีสิทธิ์ออกกฎหมายได้หนึ่งข้อ คุณจะออกกฎหมายอะไร?’ เรื่อง : ธรัลหทัย กีรติศุภเศรษฐ์, ธนพร ตรีเนตร, ธันวา ลุจินตานนท์

“ลดภาษีน�ำเข้าอุปกรณ์ศิลปะ เพราะมันแพงมากเลยครับ “อยากออกกฎหมายให้คนไทยต้องเรียน Critical Thinking “อยากออกกฏหมายเกี่ยวกับต้นไม้ใน กทม. ที่ต่างประเทศเขาซื้อได้ถูกกว่า ท�ำให้นักเรียนศิลปะเขาเข้าถึง (การคิดเชิงวิพากษ์) เพราะคนไทยส่วนมากไม่มีหลักการคิด เพราะต้นไม้ที่ปลูกบนถนนมันค่อนข้างเกะกะ อุปกรณ์ได้มากกว่า อย่างสีไม้ที่อเมริกาเนี่ย ขายถูกกว่าที่ไทย มั น เกิ ดจากการที่เขาเลือกต้นไม้ไม่ถูก อย่างที่สิงคโปร์ ทีด่ ีพอ ท�ำให้พวกเขาขาดความคิดที่จะไตร่ตรอง เกินครึ่ง ซื้อที่โน่นได้ 1,000 แต่ในไทยตั้ง 3,500” ต้นไม้ตามทางเขาสวย เพราะเขามีกฎหมายทางด้านนี้” ที่หาเหตุผล เอาแต่มองว่าฝั่งตัวเองถูก” ธนิษฐา ตั้งสุขสว่างพร ตวง อังสนานนท์ นภัทร เอกจริยกร นิ ส ต ิ ปี 5 คณะสถาปั ตยกรรมศาสตร์ จุฬาฯ บัณฑิตคณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ นิสิตปี 2 คณะครุศาสตร์ สาขาวิชาศิลปศึกษา จุฬาฯ


6

SOCIAL ISSUE

บันทึกการต่อสู้ชุมชนป้อมมหากาฬ สะท้อนแนวทางใหม่ในการพั ฒนา เรื่อง : รัชตะ ทองรวย กรณี ค วามขั ด แย้ ง เกี่ ย วกั บ พื้ น ที่ ป้ อมมหากาฬในช่ วงเดื อ น ก.ย.-ต.ค. ที่ผ่านมา แสดงให้เห็นถึงพลังในการเคลื่อนไหวของชุ มชน และ การมีส่วนร่วมของภาคประชาสังคม ทัง้ ยังเป็นจุ ดเริม่ ต้นการเปลี่ยนแปลง วิ ถี ชี วิ ต ของคนในชุ มชน ที่ ส่ ง ผลถึ ง แนวคิ ด การพั ฒ นาเมื อ งของคน ในสังคม ความขัดแย้งเริ่มต้นในปี 2535 เมื่อกรุงเทพมหานครได้ออกพระราชกฤษฎีกาเวนคืน ที่ดินเขตพื้นที่ป้อมมหากาฬ เพื่อจัดสร้างเป็นสวนสาธารณะ โดย พ.ร.ฎ. ฉบับนี้ส่งผลให้ เกิดการไล่รื้อบ้านในพื้นที่ จ�ำนวน 12 หลัง เมื่อวันที่ 3 ก.ย. ที่ผ่านมา ทั้งยังเป็นข้อผูกมัด ทางกฎหมายให้ ช าวบ้ า นที่ รั บ เงิ น ชดเชยแล้ ว ถื อ ว่ า คื น สิ ท ธิ์ ใ ห้ กั บ กทม. อย่ า งไรก็ ดี การรวมตัวกันของชาวบ้าน และการเข้ามามีส่วนร่วมของนักวิชาการและภาคประชาสังคม หลายกลุ่ม ท�ำให้การไล่รื้อและจัดสร้างสวนสาธารณะยังไม่ลุล่วง ชาวชุมชนป้อมมหากาฬเองก็ตื่นตัวกับการถูกไล่รื้อมาโดยตลอด โดยในปี 2541 ได้มี การร่วมมือกับสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน ยื่นข้อเสนอ 5 ประการ ต่อกทม. ดังนี้ 1. ชาวชุมชนจะมีการจัดตั้งเวรยามเพื่อรักษาความปลอดภัย 2. ชาวชุมชนขออาสาดูแลรักษาความสะอาดสวนสาธารณะ 3. ชุมชนป้อมมหากาฬจะพัฒนาชุมชน เพือ่ เป็นตัวอย่างของชุมชนทีส่ ามารถอยูอ่ าศัย คู่กับสวนสาธารณะ 4. กรุงเทพมหานครจะมีรายได้จากการจัดเก็บค่าเช่าที่ดินจากชุมชน 5. ชุมชนป้อมมหากาฬจะพัฒนาชุมชนให้เป็นอีกแหล่งท่องเทีย่ วของกรุงเทพมหานคร ในปี 2548 ชุมชนชาวป้อมได้ร่วมมือกับ อ.ชาตรี ประกิตนนทการ อาจารย์ประจ�ำ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ม.ศิลปากร ในโครงการวิจยั เพือ่ จัดท�ำแผนแม่บทเพือ่ การอนุรกั ษ์ และพัฒนาชุมชนบ้านไม้โบราณ ณ ป้อมมหากาฬ โดยศึกษาลักษณะเรือนไม้และวางแผน บูรณะ จากนั้น สมาคมสถาปนิกสยาม กลุ่มสถาปนิกผังเมืองจิตอาสาและภาควิชาการ ต่างก็เข้ามาร่วมสร้างสรรค์แผนพัฒนา จนเกิดเป็นกลุ่มมหากาฬโมเดล ที่น�ำเสนอรูปแบบ การพัฒนาเพื่อการอยู่ร่วมกันของชุมชน โบราณสถาน และเมือง ศานนท์ หวังสร้างบุญ จากกลุม่ มหากาฬโมเดล เปิดเผยว่า แนวคิดหลักของกลุม่ คือ “กระบวนการ Co–Create” หรือ การรวบรวมเอาผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในพื้นที่ รวมไปถึง

ฝั่งวิชาการ เช่น สถาปนิกชุมชน นักประวัติศาสตร์ และวิศวกร มาสร้างสรรค์แผนการพัฒนา ร่ ว มกั น โดยค� ำ นึ ง ถึ ง บริ บ ททางประวั ติ ศ าสตร์ แ ละชุ ม ชน เพื่ อ ออกแบบวิ ถี ชี วิ ต และ ภูมิปัญญาท้องถิ่น ที่เน้นกระบวนการมีส่วนร่วมจากทั้งรัฐและชุมชน “เวลาต่ อ สู ้ อ ะไรมั น มี ส องข้ า งเสมอ ข้ า งชุ ม ชน-ข้ า งให้ ไ ล่ ซึ่ ง ในกรณี นี้ มั น ไม่ ใ ช่ ทั้งสองแบบ” ศานนท์กล่าวถึงสถานการณ์ความขัดแย้งในปัจจุบันว่า อยากให้จบแบบ ทั้งสองฝ่ายช่วยกันพัฒนาวัดกันด้วยวิสัยทัศน์ และกระบวนการมีส่วนร่วม กลุ่มมหากาฬโมเดลและชุมชนป้อมฯ ได้ท�ำงานร่วมกันและมีผลผลิตออกมาเป็น “พิพธิ ภัณฑ์ทมี่ ชี วี ติ ” ทีเ่ ปิดตัวสูส่ าธารณะเมือ่ วันที่ 10 ก.ค. ทีผ่ า่ นมา โดยชาวบ้านได้ปรับปรุง ท�ำความสะอาดพื้นที่ จัดแสดงภูมิปัญญาต่างๆ อาทิ บ้านช่างทอง การท�ำเครื่องดนตรีไทย การท�ำกรงนกเขาชวา ฯลฯ และเปิดให้คนภายนอกได้เข้าไปสัมผัสวิถีชีวิตของชุมชน ด้วยตัวเอง มีการจัดเวรยามดูแล เพื่อความรู้สึกเป็นมิตรแก่ผู้มาเยือน นอกจากนี้ ชาวชุมชนป้อมฯ ร่วมกับ ผศ. ดร.ปริ ญ ญา เทวนฤมิ ต รกุ ล และ กลุ่มนักศึกษาจากคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จัดงาน Co–Create เพื่อหา ทางออกทางกฎหมายเมื่อวันที่ 11 ต.ค. ที่ผ่านมา โดยอาจารย์ปริญญาชี้ว่า ที่มาของปัญหา เกิดจาก พ.ร.ฎ. เวนคืนที่ดิน 2535 แต่กฎหมายฉบับนี้เป็นเรื่องของนโยบาย และนโยบาย ย่อมเปลี่ยนแปลงได้ กลุ่มนักศึกษาน�ำเสนอสองทางออก ทางแรกคือการออกพ.ร.ฎ. ฉบับใหม่เพื่อยกเลิก กฎหมายฉบั บ เดิ ม โดยอาจเป็ น “พ.ร.ฎ. เพื่ อ ชุ ม ชนป้ อ มมหากาฬและการท่ อ งเที่ ย ว เชิ ง อนุ รั ก ษ์ ” ซึ่ ง เป็ น ข้ อ ตกลงระหว่ า งกทม.กั บ ชุ ม ชน เพื่ อ ให้ ชุ ม ชนมี ห น้ า ที่ อ นุ รั ก ษ์ ภูมปิ ญ ั ญาดัง้ เดิม หรืออีกทางหนึง่ คือ การออก “โฉนดชุมชน” เพือ่ ให้ชาวบ้านสามารถบริหาร จัดการพื้นที่ภายในชุมชนได้ด้วยตัวเอง ส่วนกทม. มีหน้าที่ก�ำกับดูแล แนวทางนี้เป็น การพบกันตรงกลางระหว่างรัฐกับชุมชน ได้รับประโยชน์ทั้งสองฝ่าย ชุมชนสามารถด�ำเนิน วิถีชีวิตได้ตามเดิม พร้อมท�ำหน้าที่อนุรักษ์พื้นที่และวัฒนธรรม ส่วนกทม.ก็มีรายได้จาก การก�ำหนดค่าเช่า และแบ่งเบาภาระการดูแลโบราณสถานไปด้วย ปั จ จุ บั น ชุ ม ชนป้ อ มมหากาฬยั ง ท� ำ งานร่ ว มกั บ กลุ ่ ม ต่ า งๆ อย่ า งต่ อ เนื่ อ ง และ อยูใ่ นกระบวนการจัดตัง้ กรรมการพหุภาคีเพือ่ เจรจาร่วมกับกทม. รวมทัง้ วางแผนจัดกิจกรรม เพือ่ สือ่ สารกับสังคมภายนอกถึงวิถชี วี ติ ดัง้ เดิม แนวทางใหม่ในการอยูร่ ว่ มกันของชุมชน เมือง และโบราณสถานที่ซึ่งเป็นแนวทางที่พวกเขาร่วมกันสร้างขึ้นเอง

“ขันทอง เนื้อนวล” เป็นนักการทูต ต้องถอดสูทลงดิน

สัมภาษณ์ : ณัชชา วงศ์ใหญ่ , ปรีชญา จงศรีสวัสดิ์ เรือ่ ง-ภาพ : ณิชาภัทร ศิรพ ิ รชัยกุล

ด้ ว ยภาพลั ก ษณ์ ท่ี ส ง่ า งาม เป็ น ถึ ง ตั ว แทนของรั ฐ ไปท� ำ งาน ต่ า งแดน ไม่ น่ า แปลกใจเลยว่ า เหตุใดอาชี พ “นักการทูต” จึงเป็น อาชีพในอุ ดมคติของใครหลายคน

แต่ ส� ำ หรั บ “ขั น ทอง เนื้ อ นวล” นักการทูตวัย 32 ปี แห่งสถานกงสุลใหญ่ ณ เมื อ งฮ่ อ งกงแล้ ว อาชี พ นี้ ไ ม่ ไ ด้ มี แ ต่ ภ าพ สวยหรูอย่างที่ใครหลายคนคาดไว้ มาลอง ฟังเรื่องราวการออกประจ�ำการต่างประเทศ ของนักการทูตหนุ่มคนนี้ดูว่าสี่ปีในฮ่องกง เขาต้องพบเจออะไรมาบ้าง

“ในละคร ทีเ่ ลขาฯ โทรมาขอว่า ‘วันนีไ้ ม่เข้างานนะ’ ในชีวติ จริง ถ้าไม่เข้างาน ก็กลับกรุ งเทพฯ ไปดีกว่า

- ขันทอง เนือ้ นวล

นักการทูตแห่งสถานกงสุลใหญ่เมืองฮ่ องกง

ชีวิตในฮ่องกงเป็นอย่างไร? ขันทอง: ฮ่องกงเป็นเมืองทีป่ รับตัวไม่ยาก มี ความเป็นมิตร และผมก็ชอบพบปะผูค้ นด้วย แต่ เ รื่ อ งงานก็ ห นั ก เราดู แ ลคนไทยกว่ า สามหมื่ น คนในฮ่ อ งกง วั น หยุ ด เทศกาลก็ ต้องท� ำ งานเพราะเป็ น ช่ ว งที่ ค นไทยมา เที่ ย ว ถ้าเขาท�ำพาสปอร์ตหาย ที่แรกที่เขา

จะมาก็ คื อ สถานกงสุ ล ไทย เพราะเรา เป็ น ประเทศไทยในฮ่ อ งกง นอกจากนี้ ก็ มี ง านจิ ป าถะอื่ น เช่ น ร้ อ งเรี ย น ยื ม เงิ น แต่ง-หย่า ท�ำบัตรประชาชนด้วย งานเยอะมาก คิดอย่างไรกับการที่คนส่วนใหญ่มองว่า ชีวิตนักการทูตสุขสบาย? ขันทอง: บางทีคนติดภาพนักการทูตจากใน ละคร ว่าเป็นอาชีพหรูหรางานสบาย แต่ ความจริงมันไม่ใช่ อย่างในละครกลรักลวงใจ ทีเ่ ลขาฯ โทรมาขอว่า “วันนีไ้ ม่เข้างานนะ” ในชีวติ จริง ถ้าไม่เข้างานก็กลับกรุงเทพฯ ไปดีกว่า ความจริงไม่ได้สวยหรูขนาดนั้น บางทีเราก็ตอ้ งไปเยีย่ ม ไปดูแลคนไทย ในคุก ส่วนใหญ่จะติดคุกจากกรณีขนยาเสพติด เข้ามาในฮ่องกง เราจะเป็นเหมือนทีพ่ งึ่ ด่านแรก ของพวกเขาเลย เคยมี ก รณี ไ ปช่ ว ยหญิ ง ขายบริการด้วย เป็นหญิงขายบริการชาวไทย ทีอ่ ยากหนีจากสภาพแวดล้อมทีน่ ี่ เราก็ขบั รถ ไปรับเขา ปิดม่านไม่ให้มาเฟียเห็น พามาพัก ที่สถานกงสุล แล้วจัดซื้อตั๋วส่งกลับไทยให้

เคยเจอเหตุการณ์หรือกรณีแปลกๆ ไหม? ขันทอง: เคยช่วยคนไทยที่มีอาการทางจิต เขาบอกว่ า ตั ว เองถู ก รั ฐ บาลจี น ฝั ง ชิ ป มา เพื่อติดตามความเคลื่อนไหวเขาตลอดเวลา เราต้ อ งค่ อ ยๆ คุ ย กั บ เขาว่ า คุ ณ ควรไป โรงพยาบาลดูก่อน เพื่อสแกนว่ามีชิปฝังจริง ไหม ถ้าไม่เจอ ก็ลองไปวัดดู เผือ่ โดนของอะไร เข้าไป เราต้องท�ำให้เขารู้สึกวางใจ ไม่ใช่ไป ซ�ำ้ เติม อาจจะดุเขาบ้างตอนเขามีอาการกลัว มากๆ ให้ เ ขารู ้ ว ่ า เราอยากช่ ว ย ล่ า สุ ด ส่ ง ขึ้นเครื่องกลับไทยไปแล้ว รู้สึกอย่างไรกับการเป็นนักการทูต? ขันทอง: อาชีพนักการทูตมีหลายแบบ เช่น UN (United Nations - องค์การสหประชาชาติ) อาจเป็นนักการทูตในอุดมคติของใครหลายคน เพราะท� ำ งานอยู ่ กั บ กระดาษ เข้ า ประชุ ม เขี ย นรายงาน แต่ ผ มชอบแบบที่ เ ป็ น อยู ่ มากกว่า เพราะได้ลงมือท�ำจริง ช่วยคนได้ เต็มที่ เพราะผมยึดว่า ถึงเป็นนักการทูต ก็ตอ้ ง ถอดสูทออกมาลงดินได้เหมือนกัน


7

SOCIAL ISSUE

เบื้องหลังการจัดระเบียบรถตู้ หรือการจัดระเบียบครัง้ นีจ้ ะเป็นเพียงค�ำตอบชัว่ คราวของสังคม?

เรื่อง : ปริม แสวงสารศานติ์ / ภาพ : ธันวา ลุจินตานนท์

“รถตู้จ้า... ขึน้ ทางนีเ้ ลยจ้า ...”

“อย่างไรก็ต้องย้ายออกอยู ่ดี เพราะรูปแบบการประกอบการ และลักษณะของรถตู้ไม่เหมาะ จะเป็นรถโดยสารสาธารณะ”

เสี ย งที่ เ คยจอแจบริ เ วณอนุ ส าวรี ย ์ ชัยสมรภูมิเบาบางลงมาก หลังรถตู้เส้นทาง กรุงเทพฯ-ต่างจังหวัดทั้งหมดที่เคยจอดรับ-ส่ง ผู ้ โ ดยสารบริ เ วณดั ง กล่ า วมาเป็ น เวลานาน ได้ย้ายไปประจ�ำตามสถานีขนส่ง(บขส.)ต่างๆ เมื่ อ วั น ที่ 25 ต.ค. ที่ ผ ่ า นมา ตามแผนการ จั ด ระเบี ย บที่ ว างไว้ คื อ รถตู ้ ที่ วิ่ ง ในเส้ น ทาง ภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียง เหนื อ ให้ ไ ปอยู ่ ที่ “หมอชิ ต 2” รถตู ้ ที่ วิ่ ง ใน เส้ น ทางภาคใต้ แ ละภาคตะวั น ตกให้ ไ ป ประจ�ำการที่ “สายใต้ปน่ิ เกล้า” ส่วนรถตูท้ วี่ งิ่ ใน เส้นทางตะวันออกให้ประจ�ำการที่ “เอกมัย” “ถ้ารถตู้ย้ายออกจากอนุสาวรีย์ชัยฯ คง ลองไปใช้บริการรถไฟแทน เพราะถูกกว่า แล้ว เวลาทีใ่ ช้ในการเดินทางก็ไม่ตา่ งกันมากนักแล้ว” นางสาวธั ญ ธรณ์ ธนั น ชั ย วลี นั ก ศึ ก ษา มหาวิทยาลัยวัย 21 ปี เป็นหนึง่ ในผูใ้ ช้รถตูท้ คี่ ดิ ว่าการย้ายครั้งนี้ท�ำให้การเดินทางยุ่งยาก ใช้ เวลามากขึ้น และไม่สามารถกะเวลาเดินทางที่ แน่นอนได้ ทั้งยังเกรงว่าวินมอเตอร์ไซค์บริเวณ นัน้ จะถือโอกาสขึน้ ค่าโดยสารในช่วงเวลาเร่งด่วน

ทางฝั ่ ง กลุ ่ ม ผู ้ ป ระกอบการอย่ า ง นายสุ ร พจน์ ตั้ ง เจริ ญ พนั ก งานขั บ รถตู ้ วัย 65 ปี และพนักงานคนอื่นๆ ก็ประสบปัญหา เรื่ อ งที่ จ อดรถ เพราะก่ อ นการจั ด ระเบี ย บ กลุ ่ ม รถตู ้ เ ส้ น ทางต่ า งๆ ล้ ว นมี ที่ จ อดรถ

-

ดร.สุเมธ องกิตติกลุ สถาบันวิจยั เพือ่ การพัฒนาประเทศไทย (TDRI)

ใต้ทางด่วนบริเวณรอบอนุสาวรียช์ ยั สมรภูมทิ มี่ ี การแบ่งไว้เป็นสัดส่วน และอยู่ในที่ร่ม ต่างจาก ทีจ่ อดรถแห่งใหม่ทมี่ ไี ม่เพียงพอต่อจ�ำนวนรถตู้ จนบางส่วนต้องจอดไว้กลางแจ้ง นอกจากนี้ กลุม่ ผูป้ ระกอบการยังกังวลว่าจ�ำนวนผูโ้ ดยสาร อาจจะลดลงเพราะการเดินทางทีย่ งุ่ ยากมากขึน้ อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการและคนขับรถก็ จ�ำต้องย้ายตามระเบียบของบขส. มิเช่นนั้นก็ จะไม่ได้รับอนุญาตให้ขับรถตู้โดยสาร “อย่ า งไรก็ ต ้ อ งย้ า ยออกอยู ่ ดี เพราะ รูปแบบการประกอบการและลักษณะของรถตู้ ไม่ เ หมาะที่ จ ะเป็ น รถโดยสารสาธารณะ” ดร.สุ เ มธ องกิ ต ติ กุ ล ผู ้ อ� ำ นวยการวิ จั ย ด้ า นนโยบายการขนส่ ง และโลจิ ส ติ ก ส์ สถาบันวิจยั เพือ่ การพัฒนาประเทศไทย (TDRI) กล่ า วถึ ง ประเด็ น การย้ า ยรถตู ้ ที่ เ ป็ น ปั ญ หา คับข้องใจอยู่ในขณะนี้ ดร.สุ เ มธ เล่ า ว่ า ธุ ร กิ จ รถตู ้ เ กิ ด ขึ้ น มา อย่างผิดกฏหมาย ที่ผ่านมารัฐบาลหลายชุด มี ค วามพยายามในการจั ด ระเบี ย บรถตู ้ หลายครั้ ง เพื่ อ ให้ มี ค วามปลอดภั ย และ

ตรวจสอบได้ เนื่องจากในระยะแรกคนขับรถตู้ มี ร ายได้ ค ่ อ นข้ า งดี ท� ำ ให้ ห ลายคนหั น มา ประกอบอาชี พ นี้ ม ากขึ้ น จนเกิ ด การแข่ ง ขั น กั นเอง คนขั บ รถจึ งเร่ งท� ำ รอบเพื่ อ ให้ ไ ด้ เ งิ น เพิ่ ม ขึ้ น ส่ ง ผลให้ เ กิ ด อุ บั ติ เ หตุ ขึ้ น หลายต่ อ หลายครัง้ ด้วยเหตุนี้ บขส.จึงเข้ามาดูแลกิจการ รถตู้ โดยจั ด เป็ น รถโดยสารร่ ว มบริ ก ารเพื่ อ ควบคุมเรือ่ งความปลอดภัย และอาจจะเปลีย่ น ไปใช้รถมินิบัสแทนในอนาคต ความคิดที่จะน�ำรถมินิบัสมาใช้เป็นหนึ่ง ใ น ข ้ อ เ ส น อ แ น ะ จ า ก โ ค ร ง ก า ร ศึ ก ษ า ความปลอดภั ย ในการใช้ ร ถตู ้ โ ดยสาร ประจ�ำทางปี 2559 ซึ่งจัดท�ำโดยสถาบันขนส่ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่มองว่าลักษณะ ของรถมิ นิ บั ส มี ค วามปลอดภั ย และคุ ้ ม ค่ า มากกว่ารถตู้ เพราะสามารถบรรทุกคนได้มากกว่า และวิง่ ด้วยความเร็วระดับทีป่ ลอดภัย นอกจากนี้ สถาบันขนส่ง จุฬาฯ ยังได้ส�ำรวจความคิดเห็น ของผู้โดยสารจ�ำนวน 500 คน ผลปรากฏว่า หากค่าโดยสารเท่ากัน ผู้ใช้บริการจะเลือกใช้ มินบิ สั มากกว่ารถตู้ และเมือ่ ศึกษาความเป็นไปได้

และความคุ้มค่าของการใช้งาน พบว่า กว่า ร้อยละ 90 ของรถตู้หมวด 2 สามารถเปลี่ยนมา ใช้มินิบัสแทนได้ ซึ่งหมายความว่าในอนาคต รถตู้โดยสารเหล่านี้อาจจะมีจ�ำนวนลดลง และ หมดไปในที่สุด แน่นอนว่าผูโ้ ดยสารหลายคนคงมีคำ� ถาม และความกังวลต่อการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ในปัจจุบนั และในอนาคต ทัง้ ในเรือ่ งความสะดวก ความปลอดภัย และผลกระทบที่ยังไม่สามารถ ประเมิ นในเวลาอันสั้ นได้ ส� ำหรั บ ประเด็นนี้ ดร.สุเมธ จาก TDRI ยอมรับว่า ยังไม่มนี โยบายหรือ แนวทางจัดการปัญหาทีแ่ น่นอน และยังจ�ำเป็น ต้องมีการพูดคุยกับทุกฝ่ายทีเ่ กีย่ วข้องก่อน แต่ ตนก�ำลังศึกษาผลกระทบและแนวทางจัดการ รถตู้ในอนาคต แม้จะมีเสียงคัดค้านจากผู้ใช้ และผู้ให้บริการ ที่มองว่าการจัดระเบียบครั้งนี้ เป็นเรื่องที่ไร้ประโยชน์ แต่ตนก็ยังยืนยันว่า การจั ด ระเบี ย บรถตู ้ ค รั้ ง นี้ เ ป็ น สิ่ ง ที่ ค วรท� ำ ในระยะยาว เพราะการให้บขส. เข้ามาควบคุม ดูแลรถตูจ้ ะช่วยพัฒนาคุณภาพของการบริการ ให้ได้มาตรฐานมากยิ่งขึ้น “จุดประสงค์หลักก็เพือ่ สร้างความปลอดภัย บนท้องถนนและเพื่อควบคุมการประกอบการ ให้ ไ ด้ ม าตรฐานทั้ ง คุ ณ ภาพและราคาเพื่ อ อ�ำนวยความสะดวกให้ประชาชนผู้ใช้ท้องถนน ให้ได้มากที่สุด” ดร.สุเมธย�้ำ เป้าหมายหลักของการจัดระเบียบรถตูค้ รัง้ นี้ แม้ ข ณะนี้ จ ะยั ง ไม่ ส ามารถสรุ ป ได้ ว ่ า การจัดระเบียบครัง้ นีจ้ ะสามารถแก้ปญ ั หาต่างๆ ได้อย่างไร แต่การเปลี่ยนแปลงครั้งนี้คงจะ ไม่ใช่ครั้งสุดท้าย เพราะปัญหารถตู้โดยสาร เป็นปัญหาทีเ่ รือ้ รังมานาน การแก้ไขจึงไม่นา่ จะ ท� ำ ได้ ใ นครั้ ง เดี ย ว และเพื่ อ ให้ บ ริ ก ารขนส่ ง มวลชนสามารถตอบสนองความต้องการ และ คุณภาพชีวติ ของผูโ้ ดยสารได้ทกุ ฝ่าย จึงจ�ำเป็น ต้องอาศัยการพูดคุยและความร่วมมือจากทุก ฝ่ายทีเ่ กีย่ วข้องจนกว่าจะได้บทสรุปทีเ่ หมาะสม


8

TRAVEL

กะดีจีน

กับคุณค่าที่หายไป เรื่อง-ภาพ : ณัฐธชา ทังคพัฒนกุล

ว่ากันว่า คนเราจะมองเห็นคุณค่าของสิง่ ต่างๆ ก็เมื่อไม่มีมันอยู ่อีกต่อไป

ฉันเกิดและเติบโตในย่านกะดีจนี ย่านทีใ่ ครหลายๆ คนยกย่องว่า เป็นย่านเมืองเก่าทีม่ คี ณ ุ ค่า คู่ควรแก่การอนุรักษ์ แต่ฉันกลับไม่เคยรู้สึกเช่นนั้นเลย อาจเพราะความเคยชินกระมัง จึงไม่เห็นว่า สถานที่แห่งนี้จะพิเศษกว่าที่อื่นอย่างไร จนเมื่อวันหนึ่งที่ฉันตื่นขึ้นมา แล้วพบว่าสิ่งที่คุ้นเคยอยู่ ทุกวันได้เปลี่ยนแปลงไป ความรู้สึก “ใจหาย” ก็พุ่งขึ้นมาจุกอยู่ที่อก ตึกแถวขนาดห้าคูหาที่เคยมองทุกเช้า บัดนี้เหลือเพียงเศษหินก้อนน้อยเป็นเสมือนของ ดูต่างหน้า ไม่รู้ว่ามันหายไปตั้งแต่เมื่อไร แต่รู้ตัวอีกทีก็หายไปเสียแล้ว เช่นเดียวกับตึกแถวไม้ที่อยู่ ถัดไปอีกซอยหนึ่ง แม้ไม่ได้ถูกทุบทิ้ง ทว่าสิ่งที่ปรากฏตรงหน้าก็ท�ำให้ฉันแปลกใจอยู่ไม่น้อยเหมือน กัน เพราะบานประตูไม้แสนคลาสสิกที่อยู่คู่ตลาดโบราณมาเนิ่นนาน บัดนี้ถูกทาทับด้วยสีขาว และ ปรากฏภาพแม่วัวตัวใหญ่เข้ามาแทนที่ มองอย่างไรก็ไม่เข้ากันเอาเสียเลย และดูเหมือนว่าแม่วัว ตัวนั้นจะท�ำให้ความเก่า ที่เป็นเสน่ห์ของย่านนี้ลดลงไปไม่น้อย ไม่ต่างกันนัก จิตสุภา เจริญพิเชษฐ์ หรือ หนูดี เด็กสาววัย 19 ปี ที่อาศัยอยู่ในชุมชนนี้ มาตั้งแต่เกิด ก็คิดว่าการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นท�ำให้ “เสน่ห์ของความเก่า” หายไปเช่นกัน หนูดีเล่าให้ฟังว่า เมื่อก่อนเธอไม่เคยรู้สึกว่าชุมชนที่เธออาศัยอยู่พิเศษกว่าชุมชนอื่นเลย จนกระทั่งโรงเรียนจัดให้มาทัศนศึกษาที่นี่ เธอจึงได้รู้จักชุมชนของตนเองมากขึ้น “ตอนที่ครูพามาก็แปลกใจนะ ที่อยู่ของเรา เรามองมันก็แค่ตึกแถวเก่าๆ แต่พอมีคนมาเที่ยว มากขึน้ ก็ทำ� ให้รสู้ กึ ว่า ถึงบ้านเราไม่ได้อยูใ่ นย่านธุรกิจ ย่านแสงสี แต่ไอ้ความเก่านีม่ นั ก็เป็นตัวดึงดูด นักท่องเที่ยว และไอ้ความเก่านี่แหละที่ท�ำให้ชุมชนของเราเป็นสถานที่ที่ส�ำคัญ” หญิงสาวหยุดพูดครู่หนึ่ง ก่อนจะยกถุงกาแฟโบราณขึ้นดื่ม ภาพของเด็กสาวกับถุงกาแฟ โบราณในมือ ท�ำให้ฉันเผลอยิ้มออกมา ด้วยไม่คิดว่าจะได้เห็นภาพที่ดูไม่เข้ากัน แต่กลับลงตัว อย่างประหลาด เด็กสาวมองภาพแม่วัวบนประตูไม้อีกครั้ง ก่อนจะเอ่ยเสียงเบา “จริงๆ มันก็สวยนะ แต่เรา อยากให้การปรับปรุงเป็นแค่การซ่อมแซม มากกว่าการเปลี่ยนรูปแบบให้ทันสมัยขึ้น คนสมัยใหม่ ไม่จำ� เป็นต้องสนใจอะไรทีใ่ หม่ทกุ อย่าง ความเก่าต่างหากทีเ่ ป็นแรงดึงดูดอย่างดี ถ้าเราปรับปรุงให้ มันทันสมัยแล้วความเก่าที่เป็นเอกลักษณ์หายไป ชุมชนนี้ก็แทบจะไม่ต่างไปจากสถานที่ท่องเที่ยว อื่นเลย ถ้าหมดรุ่นเราแล้วใครจะรู้ว่ากะดีจีนคืออะไร ได้ยินแค่ชื่อ หาข้อมูลแค่ในเน็ตเหรอ ไม่อยาก ให้เป็นแบบนั้นเลย” ก่อนจากกัน ฉันมองภาพแม่ววั บนบานประตูไม้ และลวดลายต่างๆ บนประตูของตึกแถวหลายหลัง ในย่ า นนี้ อี ก ครั้ ง ได้ ยิ น ว่ า ภาพเหล่ า นี้ เ ป็ น ฝี มื อ กลุ ่ ม นั ก ศึ ก ษาในโครงการฟื ้ น ฟู ย ่ า นกะดี จี น ที่ร่วมมือกับคนในชุมชนเพื่อปรับปรุงบริเวณชุมชนให้สวยงาม บางทีฉันอาจจะคิดตรงข้ามกับ พวกเขาทีพ่ ยายามให้ความส�ำคัญกับการฟืน้ ฟู และปรับปรุงให้เข้ากับสมัยนิยมมากขึน้ แต่ฉนั มองว่า เสน่หข์ องย่านนีอ้ ยูท่ คี่ วามเก่าเสียมากกว่า คงจะจริงอย่างทีห่ นูดวี า่ คนสมัยใหม่ไม่จำ� เป็นต้องสนใจ อะไรที่ใหม่ทุกอย่าง และคนสมัยเก่าก็ไม่จ�ำเป็นต้องยึดติดกับการอนุรักษ์เสมอไป จากชุมชนใกล้บ้าน ฉันเดินออกมาไกลขึ้น ใจก็นึกภาวนาขอให้การเปลี่ยนแปลงนี้เกิดขึ้น แค่ในละแวกนี้เถอะ อย่าได้ลดเสน่ห์ความเป็นชุมชนเก่าลงไปมากกว่านี้เลย แต่ดูเหมือนค�ำขอ ของฉันจะไม่เป็นผล เมือ่ ทางเดินไม้รมิ น�ำ้ ทีอ่ ยูค่ ชู่ มุ ชนมาหลายชัว่ อายุคนได้พงั ทลายลงไป สิง่ ทีเ่ หลือ อยูต่ รงนัน้ คือทางเดินปูนทีย่ นื หยัดต้านลมฝนอย่างทรนง ราวเหล็กทีก่ างกัน้ ไว้ชา่ งดูหนักแน่น มัน่ คง หากแต่ฉนั กลับหวนคิดถึงราวกัน้ ไม้แบบเก่า ทีด่ เู หมือนคุณตาผูอ้ อ่ นโยนเสียมากกว่า ไม่มเี สียงฝีเท้า กระทบไม้ดัง ตุ้บ! ตุ้บ! มีแต่เสียงเครื่องยนต์ของรถจักรยานยนต์ที่แล่นสวนกันไปมา ช่างเป็น

ทางเดินที่อึกทึกครึกโครม...แต่ไร้ซึ่งชีวิตชีวา เมือ่ ก้าวเท้าออกจากทางเดินริมน�ำ ้ เบือ้ งหน้าของฉัน คือโบสถ์ซางตาครูส้ โบสถ์ทเี่ ป็นศูนย์รวม จิตใจของคนในชุมชน และที่นั่น ฉันได้พบกับใครบางคนที่แสนคุ้นเคย พรรณรายณ์ สรกุล หรือ แพรว หญิงสาวชาวคริสต์ วัย 21 ปี เพื่อนสนิทในวัยเด็กของฉัน โบสถ์ซางตาครูส้ ในวันนีแ้ ตกต่างจากทีฉ่ นั เคยเห็นเมือ่ ก่อนมาก แพรวเล่าว่าการเปลีย่ นแปลงต่างๆ เกิดจากบาทหลวงที่เวียนมาประจ�ำอยู่ที่โบสถ์ทุกๆ สี่ปี ซึ่งจะมีความส�ำคัญมากในฐานะผู้น�ำชุมชน “แต่ก่อนในโบสถ์จะใช้แผ่นไม้ธรรมดากั้นระหว่างเรากับคุณพ่อเวลาสารภาพบาป แต่ตอนนี้ ท่านปรับปรุงใหม่ ท�ำเป็นห้องติดแอร์ จริงๆ เราว่าแบบเดิมก็โอเคแล้วนะ แอร์ไม่จ�ำเป็นเท่าไร คุณพ่อก็คงอยากอ�ำนวยความสะดวกให้คนที่มาโบสถ์ให้มากที่สุดแหละ แต่อาจจะไม่ได้ถาม คนในชุมชนเลยว่าเขาต้องการมากขนาดนี้หรือเปล่า เพราะบางคนก็ไม่ได้ต้องการท�ำให้มันมากไป อย่างเราก็อยากให้เป็นชุมชนเดิมๆ ตัวโบสถ์แบบเดิม เล็กๆ อยู่ด้วยกันแล้วอบอุ่นดี” ไวเท่าความคิด ฉันเอ่ยปากถามหนึง่ ค�ำถามทีด่ งั ขึน้ ในใจ “อะไรคือสิง่ ทีแ่ กให้คณ ุ ค่ามากทีส่ ดุ ในชุมชน” แพรวนิ่งคิดสักพัก ก่อนจะเอ่ยออกมาพร้อมรอยยิ้ม “พวกวิถีชีวิตคนเก่าๆ และที่ขาดไม่ได้เลย คือคนในชุมชน คนแก่ๆ เขาก็เสียไปจะหมดแล้ว ถ้าไม่มีคนมาสานต่อ ก็คงไม่เป็นชุมชน อาจจะเป็นแค่สถานที่ท่องเที่ยวธรรมดาๆ เราอยากให้ มีคนสานต่อสิ่งเก่าๆ พวกนี้ ทั้งขนม ชุมชน หรือโบสถ์ มันจะได้ไม่สูญหายไป” ค�่ำคืนนั้น ฉันหลับตาลง แต่ยังเห็นภาพในความคิดชัดเจน ภาพแม่วัวตัวใหญ่บนบานประตู ไม้ ภาพสะพานไม้ที่แปรเปลี่ยนเป็นสะพานปูน ภาพโบสถ์สีครีมแดงที่ดูคุ้นตา แต่กลับไม่คุ้นเคย และสุดท้าย ภาพตึกแถวห้าคูหา ทีแ่ ม้จะไม่มเี ศษซากหลงเหลืออยูแ่ ล้ว แต่ภาพของมันยังคงชัดเจน ในมโนทัศน์ ใจหาย...เมื่ อ ได้ ยิ น ว่ า บริ เ วณนี้ จ ะท� ำ เป็ น ที่ จ อดรถแทน แต่ ฉั น ก็ ค งจะเรี ย กร้ อ งขอให้ ตึกเหล่านั้นกลับมาไม่ได้ ฉันท�ำได้เพียงยอมรับว่า มุมมองของเราที่มีต่อการให้คุณค่าของสิ่งต่างๆ ในชุมชนนั้น ช่างแตกต่างกันเหลือเกิน…


9

TRAVEL

สวนรูปปั้นหินที่มีชีวิต แห่งเมืองจันดิการ์ ประเทศอินเดีย เรื่อง-ภาพ : รัชตะ ทองรวย

อินเดีย คือประเทศแห่งความแตกต่าง หลากหลาย แต่ทุกอย่างกลับอยู ่รวมกันได้ อย่ า งลงตั ว ถนนที่ แ ออั ด มี ทั ้ง รถยนต์ จักรยาน มอเตอร์ไซค์ และเกวียนเทียมวัว ในย่านที่หรู หราร�่ำรวยที่สุดในกรุ งนิวเดลี เมืองหลวงของอินเดีย ก็ยังมีขอทานนัง่ อยู ่ ทุกมุ มถนน และในเมืองที่เป็นระเบียบที่สุดใน ประเทศอย่ า งจั น ดิ ก าร์ (Chandigarh) เมื อ งหลวงของรั ฐ ปั ญ จาบ เมืองที่ เลอ คอร์บูซิเ ยร์ (Le Corbusier) สถาปนิ ก ชาวสวิ ส ชื่ อ ดั ง เป็ นผู ้ ว างผั ง เมื อ งและ อ อ ก แ บ บ อ า ค า ร ส� ำ คั ญ ๆ ก ลั บ มี สวนสาธารณะประจ�ำเมืองที่ประดับตกแต่ง ด้ ว ยรู ป ปั ้ น หิ น จากเศษวั ส ดุ ส่ิ ง ก่ อ สร้ า ง ที่ ปั้ น ขึ้ น จากมื อ ของเจ้ า หน้ า ที่ ก รมโยธา ตัวเล็กๆ คนเดียว อาจเป็ น โชคร้ า ย ที่ ข ้ า พเจ้ า มาถึ ง เมืองจันดิการ์ในวันจันทร์ ซึ่งเป็นวันที่บรรดา หอศิลป์ พิพธิ ภัณฑ์ และศูนย์ศลิ ปะงานออกแบบ ทั่วทั้งเมือง พร้อมใจกันหยุดให้บริการ ไม่มีทางเลือกมากนัก ข้าพเจ้าพลิกเปิด หนังสือน�ำเที่ยว Lonely Planet และพบว่า ที่ ห นึ่ ง ที่ ยั ง เปิ ด คื อ สวนหิ น ของเน็ ก ชานด์ (Nek Chand’s Rock Garden) ทว่ า Lonely Planet ก็ไม่ได้บรรยายอะไรไว้มาก นอกจากระบุว่าเป็นสวนหินหน้าตาเหนือจริง ใช้เวลาการสร้างกว่า 20 ปี “เหมือนกับร่วงลงไปในหลุมกระต่าย เข้าสู่ เขาวงกตภายในจินตนาการของชายคนหนึ่ง” จากค�ำบรรยายนี้ ยากที่จะคาดเดาได้ว่า สวนนี้หน้าตาเป็นอย่างไร ข้าพเจ้าจึงเลือก จะไปดู กั บ ตาตั ว เอง หลั ง ช� ำ ระค่ า เข้ า สวน 20 รู ป ี (ประมาณ 10 บาทไทย) ข้ า พเจ้ า ก็ก้มตัวผ่านประตูที่มีลักษณะเป็นช่องแคบ

เล็กๆ ในก�ำแพงคอนกรีตสูงเทียมศีรษะ และ พบกับสวนหินของเน็ก ชานด์ ยอมรั บ ว่ า เมื่ อ พู ด ถึ ง สวนหิ น ข้ า พเจ้ า จินตนาการไว้ถึงสวนหินแบบญี่ปุ่น อันเป็น สวนพืชพรรณไม้ มีหินเป็นส่วนประกอบ แต่ สวนหินของเน็ก ชานด์นนั้ มีแต่หนิ จริงๆ ภายใน คือก�ำแพงหินปูนก่อสูง เรียงรายด้วยรูปปัน้ ทรง คล้ายมนุษย์ในอากัปกิริยาต่างๆ กัน ทุกตัว ถูกปั้นขึ้นด้วยเนื้อคอนกรีตสีเทา ภายนอก ปกคลุมด้วยวัสดุใช้แล้ว ทั้งกระเบื้อง แก้ว ฝาขวด ลูกแก้ว ปลัก๊ ไฟ ฯลฯ เรียงรายกันอย่าง เป็ น ระเบี ย บบ้ า ง ไม่ เ ป็ น ระเบี ย บบ้ า ง แต่จ�ำนวนมากมายเกินนับ รูปปั้นเหล่านี้ดูคล้ายงานศิลปะของเด็ก หรื อ ศิ ล ปะเพื่ อ รณรงค์ เ รื่ อ งสิ่ ง แวดล้ อ ม แต่ขา้ พเจ้ากลับรูส้ กึ ได้วา่ มันคืองานศิลปะเพือ่ บ�ำบัดจิตใจ ในบรรดารูปปั้นมากมายหลาย ร้ อ ยตั ว ไม่ มี สั ก ตั ว ที่ ยิ้ ม แย้ ม อาจเพราะ

จนรูปปั้นหินทั้งหลายกินพื้นที่กว่า 13 เอเคอร์ (ประมาณ 7 สนามฟุ ต บอล) นั่ น ยิ่ ง ท� ำ ให้ ข้ า พเจ้ า เชื่ อ ว่ า เน็ ก ชานด์ อ าจจะทุ ่ ม เท เพื่อสะท้อนความรู้สึกบางอย่างภายในจิตใจ ซึ่ ง บ้ า งก็ ว ่ า เป็ น การร� ำ ลึ ก ถึ ง หมู ่ บ ้ า นใน ความทรงจ� ำ วั ย เด็ ก ของเขา บ้ า งก็ ว ่ า เป็ น การจ� ำ ลองภาพสวรรค์ ต ามความเชื่ อ ทางศาสนาของเขา แต่ไม่วา่ อย่างไร ข้าพเจ้าก็

ข้าพเจ้าสัมผัสได้ถึงจิตวิญญาณของเมืองในรูปปั ้น ผ่านเศษขยะที่เป็นความทรงจ�ำของเมืองเก่า ในงานศิลปะที่เกิดใหม่ เน็ก ชานด์ ศิลปินผูป้ น้ั รูปปัน้ ทัง้ หมดนี ้ มาจาก ดิ น แ ด น แ ห ่ ง ค ว า ม ขั ด แ ย ้ ง เ ข า ลี้ ภั ย การแบ่ ง แยกประเทศปากี ส ถานมาที่ เมืองจันดิการ์ในช่วงปี 2490 และมาพบกับ ซากปรั ก หั ก พั ง จากการก่ อ สร้ า งเมื อ งใหม่ เข้าพอดี วัสดุที่เขาใช้ปั้นก็รวบรวมมาจากกว่า 50 หมู ่ บ ้ า นในละแวกที่ ถู ก ท� ำ ลายเพื่ อ การสร้างเมือง เน็ ก ชานด์ ป ั ้ น รู ป ปั ้ น อยู ่ ค นเดี ย ว อย่างลับๆ กว่า 18 ปี ผลิตผลงานอย่างต่อเนือ่ ง

สั ม ผั ส ได้ ถึ ง จิ ต วิ ญ ญาณของเมื อ งที่ อ ยู ่ ใ น รูปปั้น ผ่านเศษขยะที่เป็นความทรงจ�ำของ เมืองเก่าในงานศิลปะที่เกิดใหม่ ชาวเมื อ งจั น ดิ ก าร์ ก็ น ่ า จะสั ม ผั ส ได้ เช่นเดียวกัน เพราะเมื่อมีผู้พบรูปปั้นลับๆ ของ เขา แทนที่มันจะถูกท�ำลาย กลับถูกน�ำมาจัด แสดงจนกลายเป็นสวนสาธารณะประจ�ำเมือง ส่วนเน็ก ชานด์ก็ได้รับต�ำแหน่งวิศวกรประจ�ำ สวน พร้อมด้วยลูกน้องและเงินเดือน ท�ำหน้าที่ พัฒนาสวนอย่างเต็มรูปแบบ

เมื่อข้าพเจ้าเดินต่อไปจนถึงส่วนที่สอง แ ล ะ ส ่ ว น ที่ ส า ม ข อ ง ส ว น ก็ ไ ด ้ พ บ กั บ สถาปัตยกรรมหลากหลายลักษณะ ทัง้ ลานถ�ำ ้ น�้ ำ ตก อั ฒ จั น ทร์ วิ ห าร ร้ า นขายชา ห้ อ ง ที่เต็มไปด้วยตู้ปลาและกระจกลวงตา และ ลานชิงช้า แม้จะมีฝนตกพร�ำๆ แต่ก็มีเด็กน้อย ชาวอินเดียวิง่ เล่นกลางลานชิงช้า โดยมีพอ่ แม่ นั่งดื่มชาแกล้มขนมซาโมซ่าอยู่ใกล้ๆ สวนหิน ไม่ได้มีแต่รูปปั้นหินอีกต่อไป แต่ได้กลายเป็น สวนสาธารณะโดยสมบูรณ์แบบ อีกสิง่ ทีท่ ำ� ให้รสู้ กึ ถึงความเป็นสาธารณะ ก็คือป้ายที่แปะตลอดทางเดินในสวน เขียนว่า Keep Clean. The City Is Yours. เพียงถ้อยค�ำ เรียบง่ายในภาษาอังกฤษและฮินดี แต่ก็ท�ำให้ นั ก ท่ อ งเที่ ย วที่ มี ม ากมาย โดยเฉพาะ ชาวอิ น เดี ย ช่ ว ยกั น ท� ำ ให้ ส วนหิ น แห่ ง นี้ ยั ง สะอาดสวยงามอยู่ได้ ในวั น ต่ อ มา เมื่ อ ข้ า พเจ้ า ออกจาก เมื อ งจั น ดิ ก าร์ จึ ง เพิ่ ง สั ง เกตว่ า รู ป ปั ้ น หน้ า สถานีรถไฟเป็นงานศิลปะสไตล์เน็ก ชานด์ ในตอนนัน้ ข้าพเจ้าเพียงประทับใจ ทีง่ านศิลปะ เล็กๆ ของคนเพียงคนเดียว สามารถก้าวมาเป็น สั ญ ลั ก ษณ์ ห นึ่ ง ของเมื อ งได้ แต่ ข ้ า พเจ้ า ยั ง ไม่ รู ้ ว ่ า ไม่ เ พี ย งหน้ า สถานี ร ถไฟเท่ า นั้ น เน็ ก ชานด์ แ ละงานศิ ล ปะของเขายั ง ก้ า วไปปรากฎบนแสตมป์ ใ นช่ ว งปี 2526 และได้ เ ดิ น ทางข้ า มโลกไปจั ด แสดงที่ Capital Children’s Museum ในกรุงวอชิงตัน ดีซี และ American Folk Art Museum ใน น ค ร นิ ว ย อ ร ์ ค แ ล ะ ล ่ า สุ ด จั ด แ ส ด ง ที่ มหาวิหารชิเชสเตอร์ มณฑลเวสต์ซัสเซ็กซ์ ประเทศอังกฤษเมื่อปี 2558 ที่ผ่านมา ข้าพเจ้ายังไม่รู้ว่า สวนหินแห่งนี้ได้ก่อให้ เกิ ด Nek Chand Foundation มู ล นิ ธิ ท่ี ระดมทุ น เพื่ อ การดู แ ลรั ก ษาสวน ซึ่ ง มี ฐ าน ปฏิบัติงานอยู่ในอินเดียและอังกฤษ ยังไม่รู้ว่า มีคนมากมายทั้งในและต่างประเทศ ที่ท�ำงาน อาสาสมัครกับมูลนิธินี้เพื่อดูแลสวนหินแห่งนี้ และยั ง ไม่ รู ้ ว ่ า สวนหิ น แห่ ง นี้ เป็ น แหล่ ง ท่องเที่ยวที่มีผู้เข้าชมต่อปีเยอะที่สุดในอินเดีย เป็นอันดับสอง รองจากทัชมาฮาล ตัวเน็ก ชานด์เองก็คงไม่รู้ว่าจากสองมือ ของเขาจะกลายเป็ น สวนหิ น ที่ ยิ่ ง ใหญ่ ข อง คนทั้งเมืองได้ขนาดนี้


10

MAIN COURSE

WEED BOOM เรื่อง-ภาพ : ธนพร ตรีเนตร , สุจินันท์ อมรเพชรกุล

เมื่อพู ดค�ำว่า “กัญชา” สิง่ ที่แต่ละคน นึ ก ถึ ง อ า จ จ ะ แ ต ก ต่ า ง กั น ไ ป บ้างคิดถึงการหัวเราะเฮฮาไม่ยอมหยุ ด บ้ า งคิ ด ถึ ง ภาพของ “บ็ อ บ มาร์ เ ลย์ ” นั ก ร้ อ งชื่ อ ดั ง ไอดอลของผู ้ ใ ช้ กั ญ ชา ทั่ว โลก บ้ า งคิ ด ถึ ง ยาเสพติ ด อั น ตราย น่ากลัว บ้างนึกถึงประโยชน์ทางการแพทย์ แล้ ว เรารู้ อ ะไรเกี่ ย วกั บ กั ญ ชาบ้ า ง? POT Culture กั ญ ชาอยู ่ คู ่ กั บ ผู ้ ค นมาหลายร้ อ ยปี ผ่ า นพิ ธี ก รรมของศาสนาต่ า งๆ แต่ ม าได้ รั บ ความนิยมสูงสุดจากวัฒนธรรมฮิปปี้ ในช่วงยุค หลั ง สงครามโลกครั้ ง ที่ 2 เมื่ อ วั ย รุ ่ น อเมริ กั น กลุ ่ ม หนึ่ ง ต้ อ งการหลี ก หนี ส งคราม ต่ อ ต้ า น ค่านิยมทางสังคมและการเมือง มองหาความ สงบสุข และมุง่ สูธ่ รรมชาติ กัญชาจึงเป็นหนึง่ ใน สิ่งที่วัยรุ่นยุคนั้นยึดถือ จนกลายเป็นวัฒนธรรม การเสพกัญชา (Cannabis Culture) ในที่สุด กลิ่นควันจากยุคบุปผาชนฟุ้งกระจายไปทั่วโลก แทรกซึมไปกับงานศิลปะและหนังปุน๊ (Stoner Film) ผลวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสาร The Lancet Psychiatry เมื่อปี 2016 พบว่า ในช่วงกว่า ทศวรรษที่ผ่านมา ชาวอเมริกันใช้กัญชาเพิ่มขึ้น เป็นเท่าตัวจาก 21.2 ล้านคนในปี 2002 เป็น 31.9 ล้านคนในปี 2014 สาเหตุหลักมาจาก กระแสการเรี ย กร้ อ งให้ แ ก้ ไ ขกฎหมายเกี่ ย ว กัญชา ท�ำให้กัญชากลายเป็นที่พูดถึงมากขึ้น ผลส� ำ รวจของ JWT Intelligence จั ด ให้ วัฒนธรรมการเสพกัญชา เป็นหนึ่งในไลฟ์สไตล์ เทรนด์และการเปลี่ยนแปลงของโลกที่น่าสนใจ ในปี 2016 ผลส�ำรวจยังพบว่า ชาวอเมริกันกว่า ร้อยละ 74 เชื่อว่า กัญชาจะกลายเป็นที่ยอมรับ ในสังคมทัดเทียมกับแอลกอฮอล์ภายใน 10 ปี

ปุ ๊ นไหมน้อง? แม้กฎหมายบ้านเราจะระบุว่ากัญชาเป็น สารเสพติดและผิดกฎหมาย แต่ผใู้ ช้กญ ั ชาอย่าง ป้อ เฟย และ ต๋า (นามสมมติ) นักศึกษาปีสอง เห็ น ตรงกั น ว่ า กั ญ ชาไม่ ใ ช่ ส ารเสพติ ด เพราะ ไม่ท�ำให้เกิดอาการอยากยาเมื่อหยุดใช้ “ผมไม่เคยคิดว่าเป็นสารเสพติดมาตั้งแต่ แรกแล้วครับ มีเพือ่ นทีเ่ สพยาอย่างอืน่ ผลมันไม่ เหมือนกัน อย่างอาการที่อยากยา หรือต้องการ ใช้ ถ้าให้เลิก ก็เลิกได้” ป้อกล่าว ทั้งสามเล่าว่า เมื่อจะเสพกัญชาก็จะม้วน กัญชาแทนไส้บุหรี่ เพราะสะดวก ส่วนวิธีที่นิยม อี ก อย่ า งก็ คื อ การผสมในขนมบราวนี่ ซึ่ ง จะ ออกฤทธิ์ช้ากว่าการใช้ผ่านบุหรี่หรือบ้อง ป้อและเฟยยังมองว่าด้วยตัวกฎหมายและ การปิดกั้นความรู้เกี่ยวกับกัญชา ท�ำให้คนเสพ กัญชามีภาพลักษณ์ที่ไม่ดีในสังคมไทย เฟยจึง อยากให้มกี ารพูดคุยถึงการใช้งานทางการแพทย์ มากขึ้น กัญชาคือยา ในสายตาคนทั่วไป กัญชาอาจจะหมายถึง ยาเสพติด ทว่าในสายตาของนักวิจัย กัญชา คือพืชชนิดหนึ่งที่น่าสนใจมาก งานวิจัยหลาก หลายชิ้ น ทั่ ว โลก พบว่ า กั ญ ชามี คุ ณ สมบั ติ รอบด้ า น เว็ บ ไซต์ ส ถาบั น มะเร็ ง แห่ ง ชาติ สหรัฐอเมริกา (National Cancer Institute: NCI) รวบรวมและเผยแพร่ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับ กั ญ ชาและการใช้ กั ญ ชาในทางการแพทย์ โดยระบุวา่ การทานยาเม็ดทีม่ สี ว่ นผสมสารสกัด จากกั ญ ชาสามารถลดอาการคลื่ น ไส้ แ ละ อาเจียนได้ดีกว่ายาตัวเก่าที่องค์การอาหารและ ยาแห่งสหรัฐอเมริกา (FDA) รับรองไว้ด้วยซ�้ำ อีกทั้งยังช่วยกระตุ้นความอยากอาหารให้กับผู้ ป่วยมะเร็งและผู้ป่วยเอดส์ที่ได้รับผลข้างเคียง

จากการรั ก ษา นอกจากนั้ น ยั ง ช่ ว ยบรรเทา ความเจ็บและความเครียดได้ อย่างไรก็ตาม งาน วิจยั บางชิน้ เป็นเพียงการศึกษาขนาดเล็กทีย่ งั ไม่ สามารถน�ำมาใช้รักษาได้จริง ทว่าผลลัพธ์ก็ บ่ ง บอกถึ ง ศั ก ยภาพในการรั ก ษาโรคของ พืชชนิดนี้ ส่ ว นประเด็ น เรื่ อ งกั ญ ชารั ก ษามะเร็ ง ที่ ถกเถี ย งกั น มายาวนาน เว็ บ ไซต์ NCI ก็ ไขข้ อ ข้ อ งใจเกี่ ย วกั บ ประเด็ น นี้ ว ่ า ยั ง ไม่ มี งานวิ จั ย ระดั บ ทดลองในคนเกิ ด ขึ้ น ท� ำ ให้ การรักษามะเร็งด้วยกัญชายังไม่ได้รับอนุญาต ในหลายรัฐ แต่งานวิจัยในสัตว์หลากหลายชิ้นก็ แสดงให้เห็นประสิทธิภาพในการยับยัง้ การเจริญ เติบโตของเซลล์มะเร็งโดยไม่กระทบกับเซลล์ ทั่วไป ได้แก่ มะเร็งล�ำไส้ใหญ่, มะเร็งตับ, มะเร็ง เต้านม อีกทัง้ ยังช่วยบรรเทาอาการข้างเคียงจาก การรักษามะเร็ง อย่างอาการคลื่นไส้อาเจียน หรือความเครียดได้

FYI : ราสตากับมาร์เลย์

“บ็อบ มาร์เลย์” นักร้องเรกเก้ ชื่ อ ดั ง ผู ้ ล่ ว งลั บ กลายเป็ นอี ก หนึ่ ง สั ญ ลั ก ษณ์ ข องกั ญ ชาชนทั่ ว โลก มากว่า 30 ปี หลังจากมาร์เลย์หันมา นั บ ถื อ ลัทธิราสตาฟารี (Rastafari) ที่เชื่อในการใช้ ชีวิตตามหลักธรรมชาติ ต่อต้านวัตถุนยิ ม และเชื่อในการบ�ำบัด จิตใจจากภายในผ่านการใช้ กัญชา มาร์ เ ลย์ ไ ด้ แ รงบั น ดาลในการท� ำ เพลงจากหลั ก ค� ำ สอน รวมไปถึ ง การใช้ กั ญ ชา ราสตาฟาเรียนเรียก กัญชาว่า “สมุ นไพร (Herb)” เพราะเชื่อ ว่ากัญชาช่ วยบ�ำบัดจิตใจ และท�ำให้ เข้าถึงจิตวิญญาณของตนนัน่ เอง


11

MAIN COURSE

FYI : Green is Now ในการเลื อ กตั ้ง ทั่ ว ไปครั ้ง ล่ า สุ ด ของ สหรัฐฯ โดนัลด์ ทรัมป์ ได้เป็นผู ้น�ำคนใหม่ไป เรียบร้อยแล้ว แต่รูห้ รือไม่วา่ ในบัตรเลือกตัง้ ของห้ารัฐ ได้แก่ แคลิฟอร์เนีย, เนวาดา, เมน, แมสซาชู เซตส์ และแอริโซนา ได้เพิ่ม หัวข้อในการลงประชามติว่า “การใช้ กัญชา เพื่อการผ่อนคลาย (Recreational use) ควรถูกกฎหมายหรือไม่?” ซึ่งอเมริกญ ั ชาชน สี่ ใ นห้ า รั ฐ โหวตให้ “ผ่ า น” ขาดแต่ รัฐแอริโซนาเท่านัน้ ใจความส�ำคัญของข้อเสนอ (Proposition) ในประเด็นนีข้ องทัง้ ห้ารัฐคล้ายๆ กัน คือบุ คคลอายุ 21 ปี ขนึ้ ไป ใช้ กัญชาเพื่อการ ผ่ อ นคลายได้ อ ย่ า งถู ก กฎหมาย ทั ้ง ยั ง อนุญาตให้ด�ำเนินธุ รกิจเกี่ยวกับกัญชาได้ แต่ต้องอยู ่ในบริเวณที่รัฐก�ำหนด เช่ น ใน รัฐเนวาดา สถานประกอบการต้องอยู ่ห่าง จากโรงเรียนมากกว่า 300 เมตร ส่วน รัฐแมสซาชู เซตส์จะอนุญาตให้ด�ำเนินธุ รกิจ กัญชาได้ในอีกสองปี ข้างหน้า ทั ้ง สี่ รั ฐ อนุ ญ าตให้ ป ลู ก กั ญ ชาได้ ใ น ปริมาณที่ก�ำหนด โดยรัฐเนวาดาสามารถ ปลูกกัญชาเพื่อใช้ ส่วนตัวได้ แต่ต้องปลูกใน สถานที่ปิด ไม่เสพกัญชาในที่สาธารณะหรือ ขณะขับรถ และมีโทษปรับหากไม่ปฏิบัติตาม กฎหมายดังกล่าว นอกจากนี้ ยังมีการเก็บภาษีจากธุ รกิจ และการเพาะปลูกกัญชา ร้อยละ 10 ใน รัฐเมน และร้อยละ 15 ในรัฐแคลิฟอร์เนีย และเนวาดา โดยจะจัดสรรเงินภาษีท่ีได้ให้แก่ โรงเรียนต่างๆ รวมถึงหน่วยงานสาธารณสุข ของรัฐ ก่อนหน้านี้ มีการอนุญาตให้ใช้ กัญชา เพื่ อ ผ่ อ นคลายได้ อ ย่ า งถู ก กฎหมายใน รัฐโอเรกอน, โคโรโลโด และ วอชิงตัน

ปลูกได้ไหม นักวิจัยขอ เมื่ อ กั ญ ชายั ง ถื อ เป็ น ยาเสพติ ด อยู ่ ผลกระทบที่เกิดขึ้นกับวงการเภสัชศาสตร์ใน ไทยย่อมตามมา มุมมองจากเภสัชกรอย่าง ผศ. ภญ. ดร.นิยดา เกียรติยงิ่ อังศุลี ผูจ้ ดั การ ศู น ย์ วิ ช าการเฝ้ า ระวั ง และพั ฒ นาระบบยา (กพย.) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า “อย. (ส�ำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา) จะบอกตลอดเวลาว่ า เขาไม่ ไ ด้ ห ้ า ม มาขอ อนุญาตสิ แต่สิ่งที่เรารู้สึกคือ เขาไม่พร้อมที่จะ สนับสนุน การจะวิจัยกัญชาคือเราต้องปลูก เพราะมันมีพนั ธุเ์ ฉพาะ หรือถ้าไม่ปลูกก็ตอ้ งไป เก็บมา แล้วพอไปเก็บก็จะโดนต�ำรวจจับ เพราะ ถือว่าครอบครองและขนย้าย หรือเราจะบอกว่า เราได้รบั อนุญาตวิจยั แต่กบั คนทีป่ ลูกเขาไม่ได้ ด้วย ถ้าจะเก็บก็ต้องหลบเลี่ยง หรือแม้แต่คน จะวิจัยก็ยุ่งยากในการขอ เพราะบ้านเราไม่มี ศูนย์กลางในการอนุมัติโปรโตคอล (ระเบียบ การ) ถ้ า เกี่ ย วกั บ กั ญ ชาคุ ณ ต้ อ งผ่ า นปปส. (ส�ำนักงานป้องกันและปราบปรามยาเสพติด)” ผศ.ดร.ภญ.นิยดาเสริมว่า “ถ้าเทียบความ ร้ายแรงกับเฮโรอีน กัญชาจะอยู่ตรงไหน ถ้า ส า ม า ร ถ บ อ ก ไ ด ้ ก็ จ ะ ส า ม า ร ถ จั ด ก า ร ข้ อ กฎหมายด้ ว ยความแรงที่ ต ่ า งกั น ได้ แต่ ตอนนี้มันถูกเหมารวม โทษมันหนัก มีอะไร เข้มงวดเยอะ มันควรจะจัดระบบใหม่” อาจารย์ ย�้ำว่า การเรียกร้องให้กัญชาถูกกฎหมายในที่ นี้นั้นไม่จ�ำเป็นต้องเปิดให้ซื้อ-ขายหรือบริโภค อย่างอิสระ เพียงแต่เปิดกว้างและสนับสนุน การวิจัยอย่างที่ท�ำกันในหลายประเทศ เช่น แคนาดา, โปรตุเกส, สหรัฐอเมริกา (25 รัฐ) เป็นต้น To free or not to free จากการประชุ ม สมั ช ชาสหประชาชาติ สมั ย พิ เ ศษว่ า ด้ ว ยปั ญ หายาเสพติ ด โลก (United Nation General Assembly Special Session - UNGASS 2016) เมือ่ วันที่ 19-21 เม.ย. ที่ผ่านมา ตัวแทนจาก 193 ประเทศที่เข้าร่วม ประชุมได้ประกาศเปลี่ยนนโยบายจาก สังคม ปลอดยาเสพติด (Drug-Free Society) เป็ น “สังคมทีป่ ลอดภัยจากการใช้สารเสพติดในทาง

“ถ้าเทียบกับเฮโรอีน กัญชาจะอยู ่ตรงไหน ตอนนีม้ ันถูกเหมารวม ควรจะจัดระบบใหม่” - ผศ.ภญ.ดร.นิยดา เกียรติยิง่ อังศุลี ศูนย์วิชาการเฝ้ าระวังและพัฒนาระบบยา จุ ฬาฯ ที่ ผิ ด (A society free of drug abuse)” นั่นก็เพราะหลายประเทศทั่วโลกตระหนักแล้ว ว่าการประกาศสงครามกับยาเสพติดที่ผ่านมา นั้นล้มเหลว การเปลี่ยนจากก�ำจัดเป็นจัดการ ให้อยู่ในการดูแลของรัฐ ดูจะเป็นทางออกที่ ได้ ผ ลมากกว่ า อย่ า งไรก็ ตาม ตั ว แทนจาก ประเทศไทย พล. อ. ไพบูลย์ คุม้ ฉายา รัฐมนตรี ว่าการกระทรวงยุติธรรม ได้แถลงในที่ประชุม ว่าประเทศไทยไม่เห็นด้วยกับการให้ยาเสพติด ถูกกฎหมาย เหล่าประเทศที่ลองปรับเปลี่ยนกฎหมาย ยาเสพติด ต่างมีมาตรการที่แตกต่างกันไป แต่ หลักๆ คือผู้เกี่ยวข้องต้องมีใบอนุญาตจากรัฐ และมี อ ายุ ใ นเกณฑ์ ที่ เ หมาะสม เช่ น เนเธอร์แลนด์เปิดให้ซอื้ ขายหรือมี Social Club (สถานที่ที่จัดไว้ส�ำหรับเสพกัญชา) วิธีดังกล่าว ส่งผลให้รฐั มีรายได้จากภาษีกญ ั ชาอีกทางหนึง่ ส่ ว นรั ฐ โคโลราโดในสหรั ฐ อเมริ ก าก็ ใ ช้ วิ ธี ใกล้เคียงกัน ผลคือ แม้จะมีผู้เสพขาจรเพิ่มขึ้น แต่ผู้เสพติดลดลง และการเข้าถึงของเยาวชน ก็ไม่ได้เพิ่มขึ้นแต่อย่างใด ในประเทศไทย รัฐพล แสนรักษ์ ผูจ้ ดั การ กลุม่ กัญชาชนและมีเดีย กลุม่ ผูเ้ คลือ่ นไหวเพือ่ เสรีกญ ั ชาในประเทศไทย พูดถึงความเข้าใจผิด ของคนหมู่มากกับค�ำว่าเสรีกัญชา ในรายการ ชั่วโมงที่ 26 ช่อง NOW26 เมื่อวันที่ 10 ธ.ค. 2558 ว่า “ค�ำว่าเสรีกัญชาถูกเข้าใจว่าเป็น การใช้และปลูกอย่างเสรี แต่ที่จริงแล้ว เสรี กัญชาหรือกัญชาถูกกฎหมาย คือวิธีการแก้ ปั ญ หากั ญ ชาในตลาดมื ด การเข้ า ถึ ง ของ เยาวชน อันตรายจากผู้ใช้” การเคลื่อนไหวเกี่ยวกับเสรีกัญชายังเป็น ที่พูดถึงในโลกออนไลน์อยู่เสมอ จากสถิติของ เว็บไซต์ประชามติ (prachamati.org) เว็บไซต์

ที่ให้ชาวโซเชียลได้แสดงความคิดเห็นเกีย่ วกับ ประเด็นทางสังคมต่างๆ พบว่ามีผู้สนใจเรื่อง กั ญ ชาถู ก กฎหมายมากเป็ น อั น ดั บ หนึ่ ง เมื่ อ เที ย บกั บ เรื่ อ งอื่ น ๆ ด้ ว ยคะแนนเสี ย ง 8,300 เสียง โตมร ศุขปรีชา คอลัมน์นสิ ต์จาก นิตยสาร GM ให้ความเห็นไว้ในบทสัมภาษณ์ ของ iLaw เรื่อง สิทธิขาดพลัง ในสังคมที่ ‘อ�ำนาจนิยม’ เป็นใหญ่ ว่า “อาจเป็นเพราะ เรื่องกัญชามีจุดร่วมทางชนชั้น เพราะไม่ว่าจะ เป็ น ชาวบ้ า นหรื อ คนที่ มี ฐ านะร�่ ำ รวยต่ า งก็ พึ่งพากัญชาด้วยกันทั้งนั้น ไม่ว่าจะน�ำมาใช้ ประกอบอาหาร หรือใช้เสพเพื่อความบันเทิง” คงปฏิ เ สธไม่ ไ ด้ ว ่ า ทั่ ว โลกก� ำ ลั ง เปิ ด ให้ กัญชาโผล่ขนึ้ มารับแสงแดดบนดินมากกว่าแต่ ก่อน แต่ก็ยังไม่มากพอที่จะท�ำให้เติบโตได้ นอกจากไม้บรรทัดของบ้านเมืองแล้ว ก็คงเป็น ไม้บรรทัดในใจเราด้วยว่าจะเลือกวัดคุณค่า ของกัญชาจากบริบทไหน

“Rum teach you to be a drunkard, and herb teach you to be someone.”

(สุราท�ำให้คณ ุ เป็นไอ้ขเี้ มา แต่กญ ั ชาจะท�ำให้คณ ุ เป็นคน) - บ็อบ มาร์เลย์


12

CULTURE

คนสมัยเก่ากับระบบขนส่งสมัยใหม่ ปัญหาที่ไทยต้องรับมือ เรื่อง-ภาพ : ณิชาภัทร ศิริพรชัยกุล

ก า ร เ ดิ น ท า ง ใ น ปั จ จุ บั น มี ค ว า ม ส ะ ด ว ก ส บ า ย ขึ้ น ก ว่ า แ ต่ ก่ อ น โดยเฉพาะในเมื อ งหลวงอย่ า งกรุ ง เทพฯ ที่ มี ร ะ บ บ ข น ส่ ง ม ว ล ช น ส มั ย ใ ห ม่ ทั ้ง รถไฟฟ้ าและรถไฟใต้ ดิ น เข้ า มารองรั บ คนในสังคมได้อย่างดี ทว่าส�ำหรับคนสมัยเก่าอย่างผู้สูงอายุ แล้ว พวกเขาอาจต้องปรับตัวกับระบบเหล่านี้ อีกไม่น้อย ถึงแม้ว่าระบบขนส่งสมัยใหม่จะ มีสงิ่ อ�ำนวยความสะดวก อย่างบันไดเลือ่ นหรือ ลิฟต์ แต่ในมุมของผู้สูงอายุส่วนมากกลับไม่ได้ รู้สึกว่าสิ่งเหล่านี้สะดวกเท่าที่ควร โดยเฉพาะ ในปั จ จุ บั น ที่ ป ระเทศไทยก� ำ ลั ง ก้ า วเข้ า สู ่ สังคมสูงอายุโดยสมบูรณ์ (Aged Society) จากข้อมูลของสถาบันวิจยั ประชากรและ สังคม มหาวิทยาลัยมหิดล พบว่า ในปี 2557 ประเทศไทยมี ป ระชากรอายุ 60 ปี ขึ้ น ไป คิดเป็นร้อยละ 15.3 ของประชากรทัง้ หมด และ คาดว่าอีกราว 20 ปี จะเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 29 ของประชากรทั้งหมด ดังนั้น เพื่อรองรับสังคม ที่ประชากรมีอายุยืนยาวขึ้น การตระหนักถึง ความต้องการของพวกเขาจึงเป็นสิ่งส�ำคัญ ผูส้ งู อายุสว่ นมากรูส้ กึ เป็นปัญหาเมือ่ ต้อง เดิ น ขึ้ น บั น ได นายบุ ญ ชั ย ปั ญ จรั ต นากร

ผู ้ โ ดยสารวั ย 58 ปี กล่ า วว่ า “วั ย อย่ า งเรา ไม่กล้าเดินขึ้นบันไดโดยไม่จับราวแล้ว เพราะ กลัวจะพลาดตกลงมา” พร้อมเสริมว่า แม้ตนจะ เป็ น ผู ้ ที่ อ อกก� ำ ลั ง กายอย่ า งสม�่ ำ เสมอก็ ยั ง ไม่วางใจถ้าต้องเดินขึ้นบันได อีกทั้งพื้นที่ไม่ ราบเรี ย บในบางสถานี ยิ่ ง ท� ำ ให้ มี โ อกาส พลาดล้มสูง “คนสู ง วั ย ที่ มี ป ั ญ หาขาก็ ต ้ อ งค่ อ ยๆ เดินขึ้นบันไดเองโดยไม่มีพนักงานคอยช่วย” นางศรีสมร คเชนทร์ทอง ผู้โดยสารวัย 72 ปี ให้ ค วามเห็ น ว่ า แม้ บ นสถานี จ ะมี พ นั ก งาน คอยบริการ แต่บริเวณบันไดเดินขึ้นจากระดับ พืน้ กลับไม่มใี ครคอยช่วย ซึง่ จะเป็นปัญหามาก ส�ำหรับผู้สูงอายุที่มีปัญหาสุขภาพ ปัญหาถัดมา คือ บริเวณจุดแตะบัตร เข้าสถานีทผี่ สู้ งู อายุสว่ นใหญ่กงั วลว่า ประตูกนั้ ปิ ด เร็ ว เกิ น ไปจนอาจท� ำ ให้ เ กิ ด อั น ตรายได้ หากเดินไม่เร็วพอ เนื่องจากผู้สูงอายุไม่ได้มี ความคล่องตัวสูงเท่าวัยรุ่น ผู้สูงอายุบางราย เคยมีประสบการณ์ถูกประตูกั้นแข็งๆ ชนเข้า กับตัวเองด้วย นายบุญชัยเล่าว่า “คนมีอายุอย่างเรา โดนชนเข้าไปก็สาหัส สะโพกยอกไปหลายวัน เข้ า ใจว่ า ระบบมี ไ ว้ ป ้ อ งกั น ไม่ ใ ห้ ค นเข้ า เกิ น หนึ่ ง คน แต่ ก็ ค วรเพิ่ ม เจ้ า หน้ า ที่ ค อย

ช่ ว ยเหลื อ เพื่ อ ลดปั ญ หานี้ ” เนื่ อ งจากใน บางสถานี ที่ มี ผู ้ โ ดยสารไม่ ม ากนั ก จะไม่ มี เจ้ า หน้ า ที่ ป ระจ� ำ บริ เ วณจุ ด แตะบั ต รเลย ในบางเวลา

นี่ เ ป็ น ความสั บ สนซึ่ ง ท้ า ยที่ สุ ด ต้ อ งอาศั ย ความเคยชิน จึงคลายความกังวลส่วนนี้ไปได้ หลากหลายปั ญ หาการใช้ บ ริ ก ารจาก มุ ม มองผู ้ สู ง อายุ สะท้ อ นถึ ง ความพยายาม ในการออกแบบของระบบขนส่ ง สมั ย ใหม่ ที่ ยั ง ตอบสนองความต้ อ งการของกลุ ่ ม คนสมัยเก่าได้ไม่เต็มที่ เพื่อรองรับผู้สูงอายุ ที่ มี แ นวโน้ ม เพิ่ ม ขึ้ น ในสั ง คมไทย แนวคิ ด การออกแบบเพื่อมวลชน (Universal Design) จึ ง มี ค วามส� ำคั ญ อย่ า งยิ่ ง เพื่ อ ที่ พ วกเขาจะ ใช้บริการระบบขนส่งสมัยใหม่ได้อย่างเท่าเทียม กับคนทุกกลุ่มในสังคม แนวคิด Universal Design เป็นที่รู้จัก มานานโดยเฉพาะในประเทศพัฒนาแล้วอย่าง ญี่ปุ่น จากข้อมูลของศูนย์เทคโนโลยีโลหะและ วัสดุแห่งชาติ กล่าวว่า ในปี 2558 ญี่ปุ่นเป็น ประเทศเดียวที่มีผู้สูงอายุมากกว่าร้อยละ 30 ของประชากร นั บ เป็ น ประเทศที่ เ ข้ า สู ่ สั ง คมสู ง อายุ เ ป็ น ประเทศแรกๆ ของโลก และกลายเป็ น ที่ จั บ ตามองว่ า ญี่ ปุ ่ น จะมี การออกแบบเพื่ อ อ� ำ นวยความสะดวก แก่ผู้สูงอายุอย่างไร ผู้ที่เคยใช้รถไฟฟ้าในญี่ปุ่นเล่าว่า แต่ละ สถานี จ ะมี บั น ไดเลื่ อ นอย่ า งทั่ ว ถึ ง บางแห่ ง มี ลิ ฟ ต์ เ พื่ อ ผ่ อ นแรง ส่ ว นบั น ไดปกติ จ ะใช้ ขั้นบันไดที่มีความสูงน้อยเพื่อลดความเสี่ยง ที่จะพลาดตกลงมา ที่น่าสนใจคือ ประตูกั้น บริเวณช่องตรวจตั๋วที่มีลักษณะคล้ายเบาะนิ่ม ไม่ก่อให้เกิดอันตราย นอกจากนี้ ทางสถานียัง มีการบอกพื้นที่ในสถานีด้วยแผนผังที่มีปุ่มกด รับข้อมูลโดยตรง เพื่อลดปัญหาความสับสน เรื่องทิศทาง และป้ายบอกทางที่มีแสงสว่าง บนพื้นป้ายสีเข้ม เพื่อให้สามารถมองเห็นได้ อย่างชัดเจนทั้งกลางวันและกลางคืน ที่ส�ำคัญ คื อ สถานี ใ ดที่ ไ ม่ มี สิ่ ง อ� ำ นวยความสะดวก อย่ า งทั่ ว ถึ ง จะมี ก ารฝึ ก อบรมเจ้ า หน้ า ที่ ประจ�ำสถานีอย่างถูกวิธี ทั้งการให้บริการและ การใช้อุปกรณ์ เช่น ทางลาดส�ำหรับผู้ใช้รถเข็น โดยจะฝึกอบรมอย่างน้อยปีละ 1-2 ครั้ง แนวคิดการออกแบบในประเทศญี่ปุ่น นับเป็นกรณีศึกษาที่น่าสนใจ และเป็นหนึ่ง

“คนมีอายุ อย่างเรา โดนชนเข้าไปก็สาหัส สะโพกยอกไปหลายวัน เข้าใจว่าระบบมีไว้ป้องกัน ไม่ให้คนเข้าเกินหนึ่งคน แต่ก็ควรเพิม่ เจ้าหน้าที่ คอยช่ วยเหลือ เพื่อลดปั ญหานี”้ - บุ ญชัย ปั ญจรัตนากร ผู ้โดยสารวัย 58 ปี

นอกจากนี้ ผู้สูงอายุบางส่วนยังกล่าวถึง ปัญหาเรื่องเส้นทางภายในสถานี และระบบ จ่ า ยบั ต รอั ต โนมั ติ นางล� ำ ดวน สมอุ น ผู้โดยสารวัย 60 ปี เล่าว่า “ช่วงแรกเราสับสน ไม่ รู ้ จ ะไปทางไหน ไม่ รู ้ วิ ธี ใ ช้ ตู ้ ซื้ อ บั ต รด้ ว ย อ่านป้ายก็ไม่เข้าใจ แล้วก็ไม่ค่อยมีพนักงาน ช่ ว ยแนะน� ำ ถ้ า คนไม่ ค ่ อ ยรู ้ เ รื่ อ งคงขึ้ น ไม่ได้เลย” อย่างไรก็ตาม นางล�ำดวนเห็นว่า

ใ น แ บ บ อ ย ่ า ง ที่ ดี ข อ ง ก า ร อ อ ก แ บ บ ระบบขนส่งสมัยใหม่ที่ประเทศไทยควรศึกษา ควบคู ่ ไ ปกั บ การรั บ ฟั ง ความคิ ด เห็ น จาก คนทุกกลุ่มในสังคมโดยเฉพาะกลุ่มผู้สูงอายุ เพือ่ ให้ระบบขนส่งสมัยใหม่สามารถตอบสนอง ความต้องการของทุกคนในสังคมได้ และเพื่อ เตรี ย มรั บ มื อ กั บ สั ง คมสู ง อายุ โ ดยสมบู ร ณ์ ที่ ก�ำลังจะมาถึงในไม่ช้า


13

EDUCATION

นักวิชาการชี้ บัณฑิตใหม่หยุดพักก่อนท�ำงานมากขึ้น ส่งผลกระทบตลาดแรงงาน

เรื่อง-ภาพ : ณัฐธชา ทังคพัฒนกุล

อาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์ จุ ฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มองแนวโน้มที่บัณฑิต หยุ ดพักก่อนท�ำงานเพิม่ ขึน้ ว่าเป็นผลจากแนวคิดของคนรุ ่นใหม่ท่ีรักอิสระ ซึ่งอาจท�ำให้ เกิดปั ญหาขาดแคลนแรงงานในอนาคต

ที่มา : ผลส�ำรวจโดย ‘นิสิตนักศึ กษา’

สถิ ติ แ นวโน้ ม การท� ำ งานและการศึ ก ษาต่ อ ของ บัณฑิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตั้งแต่ปีการศึกษา 2553 ถึง​ 2557 จัดท�ำโดยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พบว่า หลัง ส�ำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีแล้ว อัตราการเข้าท�ำงาน และการเข้าศึกษาต่อของบัณฑิตมีจ�ำนวนลดลง ในขณะที่ บัณฑิตทีย่ งั ไม่ทำ� งานมีจำ� นวนเพิม่ ขึน้ จากร้อยละ 10.9 ใน ปี 2553 เป็นร้อยละ 24.5 ในปี 2557 จากก ารส�ำรวจความต้องการหลังส�ำเร็จของศึกษา ของบั ณฑิตในปีการศึกษา 2558 จ�ำนวน 148 คน ทาง แบบสอบถามออนไลน์ โดย “นิสติ นักศึกษา” พบว่า บัณฑิต จ�ำนวน 64 คน คิดเป็นร้อยละ 43.2 เลือกทีจ่ ะไม่หางานทันที แต่จะใช้ชว่ งเวลาหลังส�ำเร็จการศึกษาเพือ่ วัตถุประสงค์อนื่ อาทิ เพื่อพัฒนาทักษะเสริมต่างๆ เพื่อไปท�ำงานพิเศษและ ท่องเที่ยวในต่างประเทศ หรือแม้กระทั่งหยุดเพื่อพักผ่อน หลังจากเรียนมาอย่างต่อเนื่องกว่า 16 ปี เหตุผ ลของการมีช่วงพักหลังส�ำเร็จการศึกษาของ บัณฑิต บางส่วน คือเพื่อส�ำรวจความต้องการของตนเอง เนือ่ งจากยังไม่คน้ พบอัตลักษณ์ของตนและอาชีพทีต่ อ้ งการ ในอนาค ต ในขณะที่ บั ณ ฑิ ต อี ก จ� ำ นวนหนึ่ ง ตอบว่ า การศึกษาตลอดเวลากว่า 16 ปีทผี่ า่ นมานัน้ เป็นการท�ำตาม ความต้ องการของผู ้ ป กครอง แต่ ไ ม่ ไ ด้ เ รี ย นในสิ่ ง ที่

ตนเองช อบ จึงอยากใช้ช่วงเวลาพักเพื่อท�ำในสิ่งที่ตนเอง ต้องกา รก่อนจะหางานท�ำต่อไปในอนาคต โดยบัณฑิต ส่วนใหญ่มีช่วงระยะเวลาพักประมาณหกเดือน อ. ดร .วรประภา นาควั ช ระ อาจารย์ ป ระจ� ำ คณะเศร ษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า หากแนว โน้มที่บัณฑิตเข้าสู่ตลาดแรงงานน้อยลงยังคง เกิ ด ขึ้ น ต่ อ ไปเรื่ อ ยๆ อาจส่ ง ผลเสี ย ต่ อ ตลาดแรงงาน ในอนาคตได้ “ต้องรอดูต่อไปว่า เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนี้จะเกิดขึ้นแค่ ปีสองปีแล้วจะไม่เป็นอีก หรือว่าจะเกิดไปเรื่อยๆ เพราะ ประเทศเราก�ำลังจะก้าวเข้าสู่สังคมสูงวัย คือก�ำลังแรงงาน จะมีอตั ราน้อยลง ประชากรก็ลดลง เพราะฉะนัน้ ถ้าบัณฑิต เลือกที่จะไม่เข้าสู่ตลาดแรงงานมากขึ้น ก็จะท�ำให้ปัญหา ก�ำลังแรงงานน้อยลงทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น” อ. ดร. วรประภา ยังให้ความเห็นเพิ่มว่า บัณฑิต ในปัจจุบนั เป็นกลุม่ วัยทีอ่ ยูใ่ นช่วงรอยต่อของการเปลีย่ นรุน่ ซึ่ ง จะมี ลั ก ษณะรั ก อิ ส ระ เป็ น ตั ว ของตั ว เอง ไม่ ช อบ การถูกบังคับหรือตั้งเงื่อนไข จึงเป็นไปได้ว่า เมื่อบัณฑิต กลุ่มนี้ยุติการมีช่วงพักหลังส�ำเร็จการศึกษาแล้ว อาจไม่ได้ ต้องการ เข้าสู่ตลาดแรงงาน แต่จะผันตัวไปรับงานอิสระ หรือประกอบธุรกิจส่วนตัวแทน

ถ้ายังรัก...ก็ต้องเรียนไหว

เรื่อง-ภาพ : ธนพร ตรีเนตร, สุจินันท์ อมรเพชรกุล

ถ้าสิ่ งที่เราก�ำลังเรียนอยู ่ ไม่ใช่ สิง่ ที่ เราชอบ ยิง่ เรียนยิง่ เข้าใจตนเอง ว่าอยาก ประกอบอาชี พอื่น เราจะ ท�ำอย่างไร? ลุยสองปริญญา เพื่อเรียนสิง่ ที่ชอบ ด้วยความหลงใหลในวิชาประวัตศิ าสตร์ มาตัง้ แต่เด็ก ต้นคูน-ณัฐพงศ์ ลาภบุญทรัพย์ จึงตัดสินใจสมัครเรียนหลักสูตร Pre-degree คณะมนุ ษ ย ศาสตร์ สาขาประวั ติ ศ าสตร์ เพื่อการ ท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยรามค�ำแหง ตั้งแต่ชั้นมัธยมปลาย การเรียนปริญญาตรีกับ มัธยมไปพร้อมๆ กัน ท�ำให้เขาต้องอ่านหนังสือ หนักขึน้ แต่ตน้ คูนกลับรูส้ กึ สนุก เพราะได้เรียน สิ่งที่สนใจจริงๆ จากตอนแ รกที่ คิ ด ไว้ ว ่ า จะเรี ย นต่ อ คณะนิ เ ทศ ศาสตร์ แต่ เ มื่ อ คุ ณ ย่ า มี ปัญหา สุขภาพกะทันหัน ต้นคูณจึงเปลีย่ นใจเลือกเรียน คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ แทน การต้องเรียนใน สิง่ ทีไ่ ม่ชอบ ส่งผลต่อจิตใจของเขามากกว่าทีค่ ดิ “ไม่มีวั นไหนไม่อยากลาออก สอบทีไรร้องไห้ ทุกที พอเราไม่ชอบความพยายามเราก็ไม่มา”

ความสุขในการเรียนมหาวิทยาลัยของต้นคูน คือการได้เรียนปริญญาโททีค่ ณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยา ลัยสุโขทัยธรรมาธิราช นอกจากนี้ การได้เป็นครูสอนพิเศษวิชาภาษาไทยและ สังคมศึกษาควบคูไ่ ปด้วยในเวลานัน้ ท�ำให้ตน้ คูน ค้นพบอีกหนึ่งงานที่เขารัก นั่นคือการเป็นครู ต้นคูนวางแผนจะเป็นครูคู่กับงานดูแล โรงงานผลิ ต ยาของครอบครั ว ในอนาคต “เรามีความสุขกับทั้งสองอย่าง งานหนึ่งเรามี ความสุขในแง่รายได้และครอบครัว แต่อกี งาน ก็มคี วามสุขในผลลัพธ์และจิตใจ เรารูส้ กึ ว่ามัน สร้ า งประ โยชน์ ไ ด้ ครู เ ป็ น อาชี พ ที่ ท� ำ ก� ำ ไร ไม่ได้นะ เราไม่มีลูกค้า มีแต่นักเรียน เราอยาก เป็ น ครู ไ ปเรื่ อ ยๆ การท� ำ งานกั บ เด็ ก เป็ น การเติมพลังดีๆ ให้เราเยอะมาก” เริม่ ต้นใหม่ อย่าเสียดายเวลา หลั ง จาก ส� ำ เร็ จ การศึ ก ษาสาขาวิ ช า ประชาสัม พั นธ์ จากคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาฯ กะแพร-ศิ ร ภัสสร อินนันชัย ก็เริ่มชีวิตวัย ท�ำงานด้ว ย ง านหลากหลายรูปแบบ ตั้งแต่ ประชาสัมพั น ธ์ไปถึงการตลาด จนเมื่อมาท�ำ

ฟรี แ ลนซ์ เ ธ อจึ ง มี เ วลาทบทวนสิ่ ง ที่ เ ธอ อยากท�ำแต่ ไ ม่เคยกล้าลอง นั่นคือการเรียน ออกแบบภายใ น หลังจากไม่มั่นใจในฝีมือ ตัวเองมานา น กะแพรก็ตัดสินใจสมัครเรียน หลั ก สู ต รออ ก แ บบภายในและผลิ ต ภั ณ ฑ์ ทีโ่ รงเรียนชนาพัฒน์ สถานทีท่ เี่ รียกความมัน่ ใจ ในตัวเธอกลับคืนมา เพราะสองปีที่นี่ท�ำให้เธอ เข้ า ใจศาสต ร์ ของวิ ช าออกแบบที่ ว ่ า ไม่ มี อะไรถูกผิด แ ละงานออกแบบทุกชิ้นล้วนมี คุณค่าในตัวเอง เมื่อเรีย นจบหลักสูตรดังกล่าว กะแพร ได้ ทุ น เรี ย น ต่ อ ด้ า นการออกแบบภายใน ที่ประเทศอิ ต าลีอีกหนึ่งปี ปัจจัยทางภาษา และวั ฒ นธรร ม ท� ำ ให้ ก ะแพรต้ อ งพยายาม หนั ก ขึ้ น กว่ า เ พื่ อ น แต่ เ ธอก็ ยั ง ยื น ยั น ว่ า เมื่อกลับไทย เธอจะเป็นนักออกแบบให้ได้ “พรสวรรค์ มั น ท�ำให้คุณไปได้เร็ว แต่ ไม่ ไ ด้ หมาย ค ว า ม ว่ า คุ ณไม่ มี แล้ วคุณจะ ท� ำ มั น ไม่ ไ ด้ ไ ม่ มี ท างที่ เ ราจะกลายเป็ น สถาปนิกชื่อ ดั ง ใ น ปีสองปี เรากดดันตัวเอง มากไปรึเปล่ า อย่ ากังวล ลองท�ำไปก่อน ให้ เวลาตั ว เองท� ำ สิ่ ง ที่ อ ยากท� ำ สุ ด ท้ า ยมั น

ณัฐพงศ์ ลาภบุ ญทรัพย์

ศิรภัสสร อินนันชัย

อาจจะไม่ ใ ช่ แ ต่ ก็ ท� ำ ให้ เ ราได้ รู ้ จั ก ตั ว เอง เพิ่มขึ้น” มีเหตุผลมากมายที่รั้งเราไว้ให้อยู่กับ สิ่ ง ที่ เ ป็ น อยู ่ แต่ ถ ้ า นั่ น ท� ำ ให้ เ ราได้ แ ต่ ม อง สิ่ ง ที่ เ รารั ก อยู ่ ห ่ า งๆ ลองรวบรวมแรงฮึ ด แล้ ว เปลี่ ย นแปลงเส้ น ทางชี วิ ต สั ก ครั้ ง ก็คงคุ้มค่าไม่แพ้กัน


14

GENDER

บันทึกหน้าใหม่ ของตัวละครเพศทางเลือก เรื่อง-ภาพ : ณัชชา วงศ์ใหญ่

“พอเราดูละครบ่อยๆ เราจะเห็นว่าตัวละครพวกนี้ ออกมาแล้วต้องตลก จะมีภาพจ�ำว่าต้องเป็นแบบนี้ คนที่เคยดูละครที่มี

ตุ๊ด เกย์ ทอม ดี้ ก็จะรู้สึกว่ามันเป็นเรื่องตลก เพราะเขาเห็นแค่นนั ้ ไง”

‘ประวัตศิ าสตร์จะไม่ซ�้ำ ประวัตศิ าสตร์จะ ต้องเปลีย่ น เปลีย่ นไปเปน็ ฉันและเธอเท่าเทียมกัน’ “ตุด๊ ” ตัวละครทีส่ ามารถสร้างเสียงหัวเราะ ให้ผู้ชมได้ตั้งแต่เดินเข้าฉากมา ไม่ว่าจะเป็น ท่ า ทางและน�้ ำ เสี ย งที่ เ ลี ย นแบบผู ้ ห ญิ ง ท่าทีออ้ ยอิง่ เมือ่ เจอพระเอก หรือการโปรยเสน่ห์ ใส่หนุ่มหล่อ ล้วนแต่เป็นลักษณะของตุ๊ด หรือ ตั ว ละครเพศทางเลื อ กที่ มั ก จะถู ก ออกแบบ ให้เป็นเช่นนี้เสมอมา

ภาพจาก http://tvshow.tlcthai.com

จ น ก ร ะ ทั่ ง มี ค น ๆ ห นึ่ ง ลุ ก ขึ้ น ม า เปลี่ ย นแปลงสิ่ ง เหล่ า นี้ ผู ้ พ ลิ ก โฉมให้ กั บ ตั ว ละครเหล่ า นี้ ไ ม่ ใ ช่ ใ ค ร อื่ น น อ ก จ า ก เติ้ ล - ปิ ย ะชาติ ทองอ่ ว ม คนเขียนบท ผู ้ ป ระกาศตนเป็ น LGBT (Lesbian Gay Bisexual Transgender) ในวงการบั น เทิ ง กั บ ประสบการณ์ ก ารเขี ย นบทกว่ า 9 ปี ในบริ ษั ท ผลิ ต ภาพยนตร์ แ ละละคร GTH เจ้ า ของผลงาน เนื้ อ คู ่ ป ระตู ถั ด ไป และ เนื้ อ คู ่ อ ยากรู ้ ว ่ า ใคร เขาคื อ ผู ้ ก� ำ กั บ และ คนเขี ย นบทคนแรกที่ มี โ อกาสน� ำ เสนอ เรื่ อ งราวของเพศทางเลื อ กในมุมที่แตกต่าง อย่าง ไดอารี่ตุ๊ดซี่ส์ เดอะ ซีรีส์ “พอเราดูละครบ่อยๆ เราก็จะเห็นว่าตัวละคร พวกนีอ้ อกมาแล้วต้องตลก ก็จะมีภาพจ�ำว่าต้อง เป็นแบบนี้ คนที่เคยดูละครที่มีตุ๊ด เกย์ ทอม ดี้ ก่อนหน้าก็จะรูส้ กึ ว่ามันเป็นเรือ่ งตลก เพราะว่า เขาเห็นแค่นั้นไง” เติ้ลอธิบาย เติล้ เล่าว่าเนือ้ เรือ่ งของไดอารีต่ ดุ๊ ซีส่ ์ เดอะ ซีรสี ์ นั้น ได้ รั บ การดั ด แปลงมาจากเพจเฟซบุ ๊ ก “บันทึกของตุด๊ ” ทีม่ คี นติดตามกว่าหนึง่ ล้านคน เรื่ อ งราวในเพจไม่ ไ ด้ มี เ พี ย งความตลก ของเจ้ า ของเพจและเพื่ อ นเท่ า นั้ น แต่ เ ป็ น การจดบันทึกชีวิตของกลุ่มเพื่อนเพศทางเลือก ในหลากหลายแง่มมุ เติล้ จึงสนใจทีจ่ ะหยิบยก เรื่ อ งราวเหล่ า นี้ ม าน� ำ เสนอให้ สังคมได้เห็น แง่มุมที่แตกต่างจากภาพลักษณ์เดิมๆ ของ

กลุม่ คนเพศทางเลือก เมือ่ เรือ่ งราวจากชีวติ จริง กลายมาเป็นบทละครโทรทัศน์ เนื้อเรื่องไดอารี่ ตุ๊ดซี่ส์ เดอะ ซีรีส์ จึงมีความสมจริงและครบรส แม้วา่ ชีวติ ของตัวละครทัง้ สีจ่ ะดูสนุกสนานและ มีสีสัน แต่ชีวิตของพวกเขาก็ไม่ได้มีแต่เสียง หัวเราะเสมอไป เมือ่ ต้องพบเจอเรือ่ งราวทีไ่ ม่ได้ ตลกอย่างทีค่ ดิ อาทิ ตัวละครป่วยเป็นโรคเอดส์ การปิดบังเรื่องเพศวิถีจากครอบครัว หรือการ แก้ปญ ั หา เรือ่ งความสัมพันธ์ระหว่างเพศทางเลือก ทีซ่ บั ซ้อนกว่าความสัมพันธ์หญิงชาย มิตรภาพ ของตัวละครหลักทัง้ สีก่ ท็ ำ� ให้เรื่องราวแต่ละตอน ผ่านไปได้ดว้ ยดี นับเป็นปรากฏการณ์ใหม่สำ� หรับ ละครโทรทั ศน์ ไ ทย ที่ ผู ้ ช มจะได้เห็นเบื้ อ งลึ ก ของชีวิตตัวละครเพศทางเลือกมากขึ้น

“เพศทางเลือกก็มีชีวิต เหมือนคนปกติคนหนึ่ง มีความหลากหลายทาง มนุษย์ เขาก็เป็นหนึ่งใน ลักษณะทางชีวภาพ” ทว่าการเปิดพืน้ ทีส่ ำ� หรับเล่าเรือ่ งแบบใหม่ ก็ ต ้ อ งมาพร้ อ มกั บ การใส่ ใ จรายละเอี ย ดต่ อ ตัวบทมากขึ้น เนื่องจากผู้เขียนต้องค�ำนึงถึง ทั ศ น ค ติ ข อ ง ผู ้ ช ม ที่ มี ต ่ อ ตั ว ล ะ ค ร จ า ก

การรับชมละครทีม่ เี พศทางเลือกเป็นตัวเดินเรือ่ ง เติ้ ล จึ ง ต้ อ งปรึ ก ษากั บ บุ ค คลต้ น เรื่ อ ง และ ขอความเห็นก่อนที่จะน�ำบทไปถ่ายท�ำจริง “เราอยู่ในเมืองไทย มันไม่มีทางน�ำเสนอ อะไรได้ 100 เปอร์ เ ซนต์ หรื อ น� ำ เสนอ โดยที่ ไ ม่ แ คร์ ศี ล ธรรม จริ ย ธรรม สั ง คม และเราไม่ อ ยากเอาแต่ ส นุ ก อย่ า งเดี ย ว ทุ ก อย่ า งมั น ต้ อ งอยู ่ บ นความรั บ ผิ ด ชอบ ต่ อ สั ง คม เช่ น ต้ อ งไม่ น� ำ เสนอด้านมืดของ ตัวละครทีเ่ ด็กและเยาวชนไม่ควรรู้ ” เติ้ลกล่าว ทุกวันนี้ละครโทรทัศน์ยังคงเป็นสื่อหลัก ที่ ม อบรอยยิ้ ม และความบั น เทิ ง ให้ กั บ ผู ้ ช ม ชาวไทย ในฐานะคนเขี ย นบทผู ้ ถ ่ า ยทอด เรื่ อ งราวของตั ว ละคร เติ้ ล อยากให้ ผู ้ ช ม ไม่ ไ ด้ เ พี ย งความสนุ ก แต่ ยั ง ได้ แ ง่ คิ ด และ ได้ท�ำความเข้าใจตัวละครเหล่านี้ให้ลึกซึ้งขึ้น แม้ ว ่ า เพศทางเลื อ กจะถู ก จดจ� ำ ว่ า เป็ น สีสันของวงการบันเทิง แต่ในความเป็นจริง ชีวิตของเพศทางเลือกในทุกสายอาชีพต่างก็มี ความหลากหลายไม่แพ้หญิงชายเลย “มันจะท�ำให้เขาเห็นว่า เพศทางเลือกก็มี ชีวติ เหมือนคนปกติคนหนึง่ มีความหลากหลาย ทางมนุ ษ ย์ มี ค นดี คนเลว คนเตี้ ย คนสู ง คนสวยคนไม่สวย เขาก็เป็นหนึง่ ในลักษณะทาง ชีวภาพ ” เติ้ลทิ้งท้าย


15

ART & ENTERTAINMENT

สิทธิ มนุษย์ สตรีท

เรื่อง-ภาพ : ธันวา ลุจินตานนท์

การถ่ายภาพแนวสตรีท (Street Photography) คือการถ่ายภาพใน

พืน้ ทีส่ าธารณะโดยไม่มกี ารจัดฉาก ความ โดดเด่นของภาพสตรีทคือการถ่ายทอด มุ มมองของช่ างภาพทีม่ ตี อ่ สภาพแวดล้อม ที่ดูธรรมดาให้ไม่ธรรมดา ภาพถ่ า ยแนวสตรี ท ส่ ว นใหญ่ จ ะ เล่าเรื่องผ่านเครื่องแต่งกาย สีหน้าอารมณ์ หรือกิริยาท่าทางของบุคคลในภาพซึ่งเป็น คนที่ช่างภาพพบเห็นตามสถานที่สาธารณะ แต่ค�ำถามที่ตามมา คือการถ่ายภาพแบบนี้ ละเมิ ด สิ ท ธิ ข องบุ ค คลที่ เ ป็ น ส่ ว นหนึ่ ง ในภาพหรือไม่ “ผมมองว่ามันเป็นสิทธิข์ องทัง้ สองฝ่าย ช่างภาพมีสิทธิ์ที่จะถ่าย และคนที่ถูกถ่ายก็ สามารถเข้ามาถาม เข้ามาเรียกร้องสิทธิของ

เขาได้ เ ช่ น กั น ” ทวี พ งษ์ ประทุ ม วงษ์ ช่ า งภาพแนวสตรี ท อั น ดั บ ต้ น ๆ ของ ประเทศไทยที่ ไ ปคว้ า รางวั ล ระดั บ สากล มาจากหลายเวที เสริมว่า ส�ำหรับตน หาก ผูท้ ถี่ กู ถ่ายเดินมาขอให้ลบ เขามักจะอธิบาย ให้คนฟังก่อน ว่าสิ่งที่เขาท�ำอยู่คืออะไร แต่ ถ้ า ผู ้ ที่ ถู ก ถ่ า ยไม่ พ อใจ เขาก็ จ ะลบทั น ที ตามหลักจรรยาบรรณของช่างภาพ เช่นเดียวกับ จุฑารัตน์ ภิญโญดุลยเจต ช่างภาพสตรีทดาวรุ่งผู้เขียนบทความให้กับ เว็บไซต์​ siamstreetnerds.com กล่าวว่า “เราไม่อยากไปถ่ายใครตอนก�ำลังแต่งหน้า แล้วอ้าปากน่าเกลียด เพราะถ้าเราโดนถ่าย ตอนนั้นเร าก็ไม่ชอบเหมือนกัน” วิธีคิดนี้ ท�ำให้ภาพถ่ายของเธอมักจะมีเงามาบดบัง ใบหน้าของผูค้ นในพืน้ ทีส่ าธารณะ จนพัฒนา เป็นเอกลักษณ์ที่โดดเด่นในผลงานของเธอ

“สังคมปัจจุบนั บันเอือ้ ให้เราถูกถ่ายได้ ทุกเมือ่ ทัง้ จากกล้องวงจรปิด กูเกิลแมป หรือ จากภาพข่าว แต่มันจะละเมิดผู้อื่นหรือไม่ ขึ้ น อยู ่ กั บตั ว ช่ า งภาพว่ า มี วิ จ ารณญาณ ขนาดไหนมากกว่า” อาทิตย์ เลิศรักษ์มงคล ช ่ า ง ภ า พ แ ล ะ ผู ้ เ ขี ย น พ็ อ ก เ ก ต บุ ๊ ก แนวท่องเที่ยว พาราณสี มนุษย์ สตรีท แสดงความคิดเห็น ในทางกฎหมาย การถ่ายภาพสตรีท ไม่นับว่าเป็นการละเมิดสิทธิส่วนบุคคลใคร เพราะเป็ น ก ารกระท� ำ ที่ เ กิ ด ขึ้ น ในพื้ น ที่ สาธารณะ “ป ระเทศไทยยังไม่มีกฎหมาย รองรั บ เรื่ องการละเมิ ด สิ ท ธิ ใ นพื้ น ที่ สาธารณะของคนทั่วไป แต่ช่างภาพก็ควรมี จรรยาบรรณในการถ่าย รวมถึงการเผยแพร่ ด้วยเช่นกัน” อ. ดร. ปิติ เอี่ยมจ�ำรูญลาภ อาจารย์คณะนิติศาสตร์ จุฬาฯ อธิบาย

นักวิชากา รด้านกฎหมายยังกล่าวว่า หากภาพถ่าย ละเมิดสิทธิส่วนบุคคล และ สร้ า งความเ สี ย หายแก่ บุ ค คลในรู ป ให้ เสื่อมเสียด้านภาพลักษณ์ หรือชื่อเสียง ศาล สามารถตัดสินให้ช่างภาพลบรูป และจ่าย ค่าสินไหมแก่ผเู้ สียหายได้ แต่ถา้ บุคคลในรูป เป็ น เด็ ก อา ยุ ต�่ ำ กว่ า 18 ปี จะถื อ ว่ า ท� ำ ความผิดตาม พ.ร.บ.คุม้ ครองเด็ก มาตรา 27 ที่ ร ะบุ ว ่ า ห้ า มเผยแพร่ สื่ อ สารสนเทศ ทุ ก ประเภทที่ ท� ำ ให้ เ กิ ด ความเสี ย หาย แก่จิตใจ ชื่อเสียง และสิทธิประโยชน์ของ เด็ ก และช่ างภาพจะถู ก ด� ำ เนิ น การทาง กฎหมายทันที


16

PHOTO ESSAY

บันทึกความทรงจ�ำ ในวันที่ต้องไป เรื่อง : ปริม แสวงสารศานติ์ , ธรัลหทัย กีรติศุภเศรษฐ์ ภาพ : ธันวา ลุจินตานนท์

พืน้ ที่ใต้ทางด่วนอนุสาวรีย์ชยั สมรภูมิท่ีถูกจับจองโดยเหล่าคนขับรถตู้ ถูกแต่งเติมให้น่าอยู ่ เมื่อพี่ๆ น�ำเก้าอีผ้ ้าใบ แคร่ ไ ม้ และอ่างล้างหน้ามาตัง้ ในบริเวณดังกล่าว จนที่โล่งว่างใต้ทางด่วนกลายเป็นบ้านหลังที่สองของพวกเขา แต่ในเวลานี้ สังคมรถตู้กลับมาเป็นพืน้ ที่ว่างเปล่า เมื่อมาตรการจัดระเบียบรถตู้มีผลบังคับใช้ เมื่อวันที่ 25 ต.ค. ที่ผ่านมา

ส� ำ หรั บ โชเฟอร์ ทั้ ง หลาย “รถตู ้ ” ไม่ เ พี ย งเป็ น เครื่ อ งมื อ ท�ำมาหากิน แต่ยังเป็นเสมือนห้องพักที่พวกเขาใช้เวลาอยู่บนนั้น เกือบทั้งวันระหว่างรอออกรถ

เสียงพูดคุยและเสียงหัวเราะที่เกิดขึ้นในชุมชนรถตู้เคยสร้าง ความอบอุ่นให้กับสมาชิก ซึ่งอาจเป็นบรรยากาศที่หาไม่ได้ในที่ แห่งใหม่ ลึกๆ แล้ว ชาวชุมชนอาจจะกลัวความเหงา พอๆ กับที่ กังวลเรื่องความเปลี่ยนแปลงก็เป็นได้

หากจะมีใครที่ผูกพันกับชุมชนแห่งนี้ไปไม่น้อยกว่าเหล่าคน ขับ ก็คงหนีไม่พน้ ทายาทตัวน้อยของชุมชน ด้วยชัว่ โมงการท�ำงาน ที่กินเวลาเกือบทั้งวันของผู้ปกครอง เด็กน้อยจึงต้องอยู่ในความ ดูแลของพี่เลี้ยงมือสมัครเล่นเหล่านี้


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.