SECTION
00
8
12
หิวเมื่อไหร่ก็แวะมา...นางเลิ ้ง เปิ ดเส้ นทางการฟาดฟั น ที่มี “กล้ วยแขก” เป็ นเดิมพัน
เรื่ องราวความผูกพันและ ความหวังของชาวนางเลิ ้ง ที่มีตอ่ ส�ำนักทรัพย์สนิ ฯ ใน “ทังชี ้ วิต...ให้ ทรัพย์สนิ ดูแลฯ ”
ฉบับ โอ้นางเลิ้ง...
วารสารฝึ กปฏิบตั ภิ าควิชาวารสารสนเทศ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฉบับมีนาคม 2561
00
SECTION
“ โอ้นางเลิ้งเอย เคยรื่นรมย์ ... เคยชื่นเคยชม สังคมเย็นร่มพรมพลิ้วพรั่งพรายสายลมแสงจันทร์ ...ฉันยังจดจำ�กำ�ซ่านพล่านในหัวใจผูกพัน ...ภาพพิมพ์สัมพันธ์ รักเก่า ...โอ้นางเลิ้งงาม งามตระการ ...ยังโปรดยังปราน หัวใจตายด้านอาศัยให้มันสำ�ราญสำ�เริง ...แม้ใจตื้นตันมันสิ้นอาลัยแล้วโดยสิ้นเชิง ...ยังรักนางเลิ้งไม่คลาย “
เพลง นางเลิ้ง โดย ยรรยงค์ เสลานนท์ คาร้อง ศรีสวัสดิ์ วิจิตรวรการ ทานอง ชาตรี ศิลปสนอง
พันธกิจของเรา “อั ต ลั ก ษณ์ ชุ ม ชน” เป็ น เสน่ห์เฉพาะตัวของแต่ละย่านอันไม่ สามารถลอกเลียนแบบได้ สะท้ อน ผ่านวัฒนธรรม ประเพณี และวิถีชีวิต โดยเฉพาะในชุมชนที่มีอายุยาวนาน ซึง่ การสืบทอดอัตลักษณ์จากรุ่ นสูร่ ุ่ น ได้ สร้ างความภาคภูมิใจและความ เป็ นน� ำ้ หนึ่งใจเดียวกันให้ กับชุมชน นอกจากนัน้ ยังท� ำให้ ผ้ ูคนภายนอก สัมผัสได้ ถงึ คุณค่าที่แต่ละชุมชนมี เมื่ อ กาลเวลาผั น เปลี่ ย น กระแสแห่งโลกยุคใหม่ได้ สร้ างความ เปลี่ ย นแปลงในวิ ถี ชี วิ ต ของชุม ชน ค�ำถามทีต่ ามมาคือ ประโยชน์ของการ เปลี่ยนแปลงคืออะไร และอัตลักษณ์ ของชุมชนจะเป็ นอย่างไร การมาของค� ำ ถามย่ อ ม ตามมาด้ วยการหาค�ำตอบ เป็ นเรื่ อง
ธรรมดาหากค� ำ ตอบของแต่ ล ะคน ไม่เหมือนกัน แต่เมื่อมีการอาศัยอยู่ ร่ วมกันเป็ นชุมชน การรับฟั งค�ำถาม หรื อค�ำตอบจากทุกฝ่ าย ไม่วา่ จะเป็ น ผู้น�ำ ข้ าราชการ ชาวบ้ าน หรื อบุคคล ภายนอก จ� ำ เป็ นในการรั บ มื อ กั บ ความเปลี่ยนแปลงของชุมชน นิสิตนั กศึกษา จึ ง มุ่ง หวัง เป็ นสายใยความสัมพันธ์ ที่นอกจาก จะน�ำเสนอเรื่ องราวความเป็ นไปใน ชุมชนแล้ ว ยังเป็ นตัวกลางเชื่อมเสียง ระหว่างผู้คน โดยปราศจากอคติ และ ไม่กีดกันความคิดเห็นของฝ่ ายใดฝ่ าย หนึ่ง เราหวัง ว่า จะช่ ว ยสร้ างความ เข้ าใจในชุมชน ไม่วา่ จะเป็ นความเป็ น ไปในวันนี ้หรือทิศทางของชุมชนในวัน ข้ างหน้ า เพื่อน�ำไปสู่ “ค�ำตอบ” ที่เป็ น ประโยชน์ตอ่ ชุมชนอย่างแท้ จริ ง
00
SECTION
สารบัญ สกู๊ปชุมชน
6
สถานีตอ่ ไป.. หลานหลวง ชาวนางเลิ ้งเตรี ยมรับมือสถานีรถไฟสายสีส้ม ประวัติศาสตร์
118 ปี เส้ นทางนางเลิ ้ง
เศรษฐกิจ
7 8
ใครใคร่ค้า “กล้ วยแขก” ค้ า การแข่งขัน จรรยาบรรณ และสันติภาพ
สังคม
การสัญจร เงื่อนไขที่นางเลิ ้งไม่อาจเอาชนะ เรื่องหลัก
10 12
ทังชี ้ วิต...ให้ ทรัพย์สนิ ฯ ดูแล
รายชื่อกองบรรณาธิการ
สัมภาษณ์
16
วิถีชุมชน
18
เสียงชุมชน
20
Infographic
22
แผนที่
23
สมพงษ์ โชติวรรณ บทเรี ยน 76 ปี ที่มี “โรงหนังนางเลิ ้ง” เป็ นผู้สอน
“พจน์ บาร์ เบอร์ ” ร้ านตัดผมชาย ที่อยูค่ นู่ างเลิ ้งกว่า 70 ปี
เสียงชุมชน... คนนางเลิ ้ง จับจ่ายแบบไร้ เงินสดได้ งา่ ยๆ ที่ตลาดนางเลิ ้ง แผนที่ทอ่ งเที่ยวและการเดินทาง ย่านนางเลิ ้ง
วารสารฝึ กปฏิบตั ิ ภาควิชาวารสารสนเทศ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อาจารย์ ท่ ปี รึกษา : พรรษาสิริ กุหลาบ บรรณาธิการเนือ้ หา : สิรารมย์ เตชะศรี อมรรัตน์ กองบรรณาธิการ : สิรารมย์ เตชะศรี อมรรัตน์, นัจนันท์ เกตุสวุ รรณ, พชร ค�ำช�ำนาญ, รณิดา บริ บรู ณ์ภทั รกุล, ธนภัทร เกษร บรรณาธิการฝ่ ายศิลป์ : นัจนันท์ เกตุสวุ รรณ บรรณาธิการผู้พมิ พ์ ผ้ ูโฆษณา : ผศ.ดร. ณรงค์ ข�ำวิจิตร์ ที่อยู่ : 254 ถนนพญาไท แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330 โทร : 0-2218-2140 Facebook : www.facebook.com/nisitjournal Twitter : @nisitjournal Website : http://nisitjournal.press
บทบรรณาธิการ ความท้าทายในความสงบเงียบ ทุกย่างก้ าวที่ย�่ำเดินมีความเก่าแก่ปกคลุมอยู่ทุกอณูพืน้ ผิว ความครึกครืน้ ของย่านบันเทิงส�ำคัญแห่งพระนครไม่หลงเหลือให้ เห็นอีก แล้ วในปั จจุบนั “ความสงบเงียบ” เข้ ามาแทนที่ จนกลายเป็ นสัญลักษณ์ ส�ำคัญของ “นางเลิ ้ง” หลังจากเวลาผ่านไปกว่า 100 ปี นางเลิ ้งยากจะ กลับไปคึกคักดังเก่า แม้ ความสงบจะไม่ได้ นา่ ชิงชัง แต่ความเงียบของ ปั ญหาที่ซอ่ นอยูก่ ็ไม่นา่ เสน่หาเช่นกัน ระหว่างการลงพื ้นทีเ่ ก็บข้ อมูลทีผ่ า่ นมา นิสติ นักศึกษา ได้ เรียน รู้ชมุ ชนนางเลิ ้งผ่านผู้คนและสถานที่ เราพบว่าเบื ้องหลังความเอื ้ออาทร และความเงียบสงบนัน้ ยังมีความท้ าทายทีร่ อการแก้ ไข ไม่วา่ จะเป็ นเส้ น ทางของรถโดยสารสาธารณะและสถานที่จอดรถที่จ�ำกัด ซึง่ ไม่อ� ำนวย ความสะดวกให้ ผ้ ูม าเยื อนตลาดเก่ าแก่ ที่ มี ชื่อ ของชุมชน วิถีชีวิตคนรุ่ นใหม่ที่ท�ำให้ อตั ลักษณ์ ของวัฒนธรรมท้ องถิ่นถูกท้ าทาย หรื อแม้ กระทัง่ ความมัน่ คงด้ านที่อยูอ่ าศัย ที่แม้ จะผ่านมากว่า 100 ปี แต่ชาวชุมชนก็ยงั ไม่ได้ ถือกรรมสิทธิ์ของที่ดนิ “สิทธิชมุ ชน” หมายถึง การที่ชาวชุมชนมีสทิ ธิในการเลือกและ ก�ำหนดชะตาชีวิตของตนเองอย่างอิสระ เพื่อให้ เกิดประโยชน์สงู สุดต่อ ชุมชน ดังนัน้ มิใช่เพียงแต่ภาครัฐหรือผู้น�ำเท่านันที ้ ม่ อี ำ� นาจในการตัดสิน ั้ ความเป็ นไปในอนาคต แต่ชาวชุมชนทังหลายก็ ล้วนมีสทิ ธิในการออก “เสียง” เพื่อก�ำหนดแนวทางและความเป็ นไปของชุมชนเช่นกัน นิสิตนักศึกษา ไม่ใช่ชาวชุมชน จึงไม่อาจแนะน�ำแนวทางที่ จะแก้ ปัญหาอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด แต่ผ้ ทู ี่เข้ าใจปั ญหาอย่างลึก ซึ ้งและถ่องแท้ ที่สดุ พร้ อมทังสามารถหาแนวทางการแก้ ้ ไขที่เหมาะสม ได้ ย่อมเป็ นคนในชุมชนเอง ดังนัน้ การเปิ ดพื ้นที่เสรี ให้ ทกุ คนได้ ออก “เสียง” จึงเป็ นหนึง่ ในวิธีที่นา่ จะสามารถช่วยคลีค่ ลายปั ญหาได้ หรื อถ้ า การแสดงออกอย่างตรงไปตรงมาดูเหมือนเป็ นการติ ก็หวังว่าทุกเสียง จะเป็ นการ “ติเพื่อก่อ” เพื่อต่อชีวิตย่านเก่าแก่นามว่า “นางเลิ ้ง” แห่งนี ้ สืบไป
6
สกู๊ปชุมชน
สถานีต่อไป... หลานหลวง
ชาวนางเลิ้งเตรียมรับมือสถานีรถไฟสายสีส้ม
เมื่อเดือน ก.พ. ที่ผา่ นมา โครงการสร้ าง รถไฟฟ้าสายสีส้มในฝั่ งตะวันออกเริ่ มมีความ คื บ หน้ า แล้ ว หลัง การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟม.) เริ่มปิ ดถนนรามค�ำแหง เพือ่ ก่อสร้ างสถานี รถไฟฟ้า ส�ำหรับฝั่ งตะวันตก รฟม.ก�ำลังศึกษา รู ปแบบการลงทุน โดยคาดว่าจะศึกษาเสร็ จ เมษายนนี ้ จากนัน้ จะขอความเห็ น ชอบจาก คณะกรรมการ รฟม. ต่อไป ก่อนเปิ ดประมูลผู้ให้ บริ การโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มทังเส้ ้ นภายใน ปี นี ้ ผู้อยู่อาศัยในย่านดังกล่าวมีแนวโน้ ม เผชิญการเวนคืนทีด่ นิ หลายจุด เนื่องจากรัฐบาล ยืนยันว่า โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มจะเดินหน้ า ต่อไป เนื่องจากผ่านการวิเคราะห์ผลกระทบสิง่ แวดล้ อม (EIA) แล้ ว “สถานีใต้ ดินหลานหลวง” เป็ นหนึ่งใน สถานีสายสีส้มตะวันตก เมื่อปี 2556 การสร้ าง สถานี ดัง กล่ า วถูก ชาวนางเลิ ง้ กลุ่ม หนึ่ ง ออก มาต่อต้ าน ด้ วยเหตุผลว่าระยะระหว่างสถานี หลานหลวงกับสถานีใกล้ เคียง สันกว่ ้ าระยะห่าง ของสถานีอื่นๆ จึงไม่จ�ำเป็ นที่จะต้ องมี ที่ส�ำคัญ การสร้ างสถานีอาจท�ำให้ สถานที่ทางวัฒนธรรม หลายแห่งของนางเลิ ้งอาจถูกเวนคืน ต้อม (นามสมมติ) พ่อค้ าขายของช�ำย่าน หลานหลวง กล่าวว่า ทีผ่ า่ นมาตนไม่มคี วามรู้สกึ ใดๆ ต่อการสร้ างสถานีใต้ ดินหลานหลวง หาก มีการเวนคืนที่ดิน ตนพร้ อมที่จะไป เนื่องจาก มี ที่ อ ยู่อ าศัย แห่ ง อื่ น รั บ รอง แต่ ก็ อ ดห่ ว งชาว
เรื่อง : ธนภัทร เกษร
บ้ านบริ เวณใกล้ เคียงไม่ได้ “อย่างน้ อยควรแจ้ ง แบบแผนชัดเจนว่าจะเวนคืนตรงไหนบ้ าง เพราะ ที่ผา่ นมายังไม่เห็นแผนที่ชดั เจน ถ้ ามีการเวนคืน จริ งๆ คนที่โดนก็จะได้ เตรี ยมตัวถูก” ต้ อมกล่าว ข ณะที่ สุ วั น แววพลอยงาม แกน น�ำชุมชนวัดแค นางเลิ ้ง ระบุว่า ที่ผ่านมาทาง ชุมชนพยายามขัดขวางการสร้ างสถานีมาตลอด แต่เมือ่ ไม่สามารถต้ านทานกระแสความเจริญได้ จึงพยายามหาทางออกให้ ทกุ ฝ่ าย “ตอนนี ้เรามี การออกแบบผังเวนคืนของเราเสนอให้ รฟม. คนในชุมชนที่ เห็น ผัง ของเราก็ โ อเคหมดนะ” อย่างไรก็ตาม สุวนั แสดงความกังวล ต่อการขอคืนที่ดนิ เพิ่มเติม “ก็ต้องมองว่าเราอยู่ บนที่ดนิ ของส�ำนักทรัพย์สนิ ฯ ถ้ าเขาจะเอาที่คืน จริงๆ ก็ทำ� ได้ เพราะระหว่างทีด่ นิ ทีจ่ ะสร้ างมูลค่า หลายพันล้ านกับการเก็บค่าเช่าไม่กี่บาท คิดว่า เขาจะเลือกอย่างไหนกัน ” สุวนั กล่าว ด้ าน ยุทธนา ป่ าไม้ ผู้อ�ำนวยการเขต ป้อมปราบศัตรูพา่ ย กล่าวว่า เมื่อถึงเวลาด�ำเนิน การก่อสร้ างสถานีใต้ ดินหลานหลวงจริ ง การ เวนคืนจะต้ องเกิดขึ ้นแน่นอน และเป็ นไปตาม ระเบียบของ พระราชบัญญัตวิ า่ ด้ วยการเวนคืน อสังหาริ มทรัพย์ พ.ศ. 2530 ที่จะต้ องมีการท�ำ ประชาพิจารณ์ ก่อนการเวนคืน อย่างไรก็ตาม การเวนคื น ในส่ว นที่ ดิ น ของส�ำ นัก ทรั พ ย์ สิน ฯ ที่นอกเหนือจากที่ดินเอกชน อาจต้ องพิจารณา นโยบายของส�ำนักทรัพย์สนิ ฯ ซึง่ ดูแลพื ้นที่ด้วย
SECTION SECTION
00 00
TIMELINE INFOGRAPHIC
8
เศรษฐกิจ
กล้วยแขก ใครใคร่ค้า “กล้ ยแขก” ค้า การแข่งขัน จรรยาบรรณ และสันติภาพ
เรื่อง-ภาพ : รณิดา บริบูรณ์ภัทรกุล
เมือ ่ สัญญาณไฟเปลีย ่ นมาเป็นสีแดง เมื่อนั้นเป็นเวลาที่พนักงานขายระยะประชิด เริ่มท�ำงาน ขณะที่รถหลายคันซึ่งทอดตัว ยาวบนถนนก็ รั บ การจู ่ โ จมอย่ า งช� ำ นาญ ด้วยการลดกระจกลงพร้อมทั้งยื่นธนบัตร สีเขียวหนึง ่ ใบ เป็นทีเ่ ข้าใจว่า “เอากล้วยแขก 1 ถุง”
“กล้ วยแขก” หรื อ “กล้ วยทอด” อาหาร ที่ขายบนผิวการจราจรในย่านนางเลิ ้งไม่ได้ เป็ น เพี ย ง “อาหารบรรเทาความหิ ว ” หากแต่ คื อ “ซิกเนเจอร์ ” บนถนนที่อาจเป็ นเพียงทางผ่าน ของใครหลายคน จึงไม่แปลกอะไรหากคุณนึกถึง นางเลิ ้ง แล้ วคุณจะนึกถึงกล้ วยแขก! เมื่อ “กล้วยแขก” งอกเป็น “ดอกเห็ด” เมื่อปี 2509 กล้ วยแขกแม่ กมิ ยุ้ย ถือ ก�ำเนิดขึ ้นในตรอกเล็กๆ บนถนนจักรพรรดิพงษ์ กลายเป็ นใบเบิกทางแรกสู่การสร้ างชื่อให้ กับ ถนนสายกล้ วยแขกในย่านนางเลิ ้ง ก่อนที่จะมี กล้ วยแขกแม่กิมล้ งและเจ้ าอื่นๆ ในเวลาต่อมา
นิ สิ ต นั ก ศึ ก ษา ได้ เ ข้ า ไปพูด คุย กับ ไพบูลย์ ชูประเสริฐวงศ์ ทายาทรุ่ นที่สองของ กล้ วยแขกแม่กิมยุ้ย ขณะที่เขาก�ำลังวุ่นอยู่กบั การขายกล้ วยแขกให้ ลูกค้ าขาประจ�ำที่ ก�ำลัง ติดไฟแดงทางเข้ าแยกจักรพรรดิพงษ์ ไพบูลย์ ยื นยันว่า ร้ านของตนเป็ นร้ านกล้ วยแขกเจ้ าเก่า เจ้ าแรกในย่านนางเลิ ้ง ก่อนจะเล่าถึงการเพิ่ม ขึ ้นของคู่ต่อสู้ทางธุรกิจว่า แต่ก่อนมีร้านกล้ วย แขกเพียงสามร้ านเท่านัน้ แต่ในยุคหนึง่ ทีค่ นเห็น ช่องทางว่ากล้ วยแขกนัน้ ขายดี จึงเกิดการท�ำ ธุรกิจตามกัน “เขาท�ำอย่างอื่น อย่างขายส้ มต�ำก็ไม่ดี พอเห็นว่ากล้ วยแขกขายดีก็เลียนแบบ จนเมื่อ ประมาณ 6-7 ปี ก่อน มีคแู่ ข่งเยอะถึง 22 เจ้ า มี ทังทอดกล้ ้ วยแขกขายในบ้ าน ขายในซอย ใน ตรอก ในวัดก็ยงั มี เต็มไปหมด ทังยั ้ งลงมาแย่ง กันขายบนถนนจนเกิดการร้ องเรี ยนว่าเยอะเกิน ไป แล้ วก็กินได้ บ้างไม่ได้ บ้าง ท�ำให้ เสียชื่อเสียง” ทายาทร้ านกล้ วยแขกแม่กิมยุ้ยกล่าว
เศรษฐกิจ
9
ข้อตกลง “เอี๊ยมหกสี”
กระทัง่ ความวุน่ วายบนถนนสายกล้ วย แขกถึ ง หูผ้ ูดูแ ลรั บ ผิ ด ชอบความเรี ย บร้ อยใน พื ้นที่ ทังเจ้ ้ าหน้ าที่ต�ำรวจ สถานีต�ำรวจนครบาล นางเลิ ้ง ส�ำนักงานเขตป้อมปราบศัตรูพา่ ย และ ส�ำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริ ย์ ซึ่งมี อ�ำนาจการบริ หารจัดการที่ดินย่านนางเลิ ้ง จึง จับมือกันแก้ ไขสถานการณ์เฉพาะกิจ โดยเรี ยก ประชุมด่วนผู้ค้ากล้ วยแขกทัง้ 22 เจ้ าให้ มาร่วม ฟั งและลงนามใน “ข้ อตกลง” เกี่ยวกับการจัด ระเบียบการค้ ากล้ วยแขก โดยมีเงื่อนไขที่คำ� นึง ถึงความสะอาดของอาหาร ความปลอดภัยด้ าน การจราจร ความยุติธรรมในการแข่งขัน ตลอด จนความอยูร่ อดของผู้ค้า พ.ต.ท.วิโรจน์ สาขากร สว.จร.สน.นางเลิ ้ง ระบุวา่ ในตอนแรกห้ ามการขายบนผิวการจราจร เมือ่ รถติดก็ให้ ผ้ ขู บั รถเปิ ดประตูลงมาซื ้อเอง โดย คนขายก็ ข ายอยู่ที่ ร้ าน แต่เ พราะผู้ค้ า เห็ น ว่า เป็ นไปไม่ได้ จึงขอเดินไปขายบนถนนเมื่อมีคน ยกมือ หรื อขอลงไปแนะน�ำสินค้ าเมื่อรถติด “สุดท้ ายมีการก�ำหนดพื ้นที่ขายชัดเจน ว่า คุณอยูต่ รงนี ้นะ อยูถ่ นนนี ้จากแยกนี ้ไปแยก นี ้ แล้ วก็ให้ สีละสองท่านในการด�ำเนินการ โดย ต้ องรอรถหยุด เขาเรี ยกแล้ วค่อยเดินไป ไม่ใช่ เดินถามว่าซื ้อไหมครับๆ เรื่ องส�ำคัญคือไม่ให้ มี การร้ องเรี ยน ถ้ ามีโทรศัพท์ร้องเรี ยนมาเราก็ไป จับกุมทันที” พ.ต.ท.วิโรจน์กล่าว บังอร นิลเอวะ เจ้ าของร้ านกล้ วยแขก แม่กิมล้ ง เอี๊ยมขาว บอกว่า ทุกวันนี ้มีเพียงหก ร้ าน ซึ่ง ก็ มี ก ารแบ่ง แยกร้ านผ่า นสี ข องเอี๊ ย ม ได้ แก่ แดง ขาว น� ้ำเงิน ชมพู ม่วง และส้ ม
“สมัยก่อนทะเลาะกันเพราะมีเรื่ องทับ เส้ น แต่พอแบ่งโซนมันก็ ไม่มีเรื่ องอะไร” บังอร กล่ า วและต่ อ ว่ า “ไม่ก้าวก่ายซึง่ กันและกันดี ทีส่ ดุ ” ด้ าน จตุพร บุญยะดาษ แม่ของเจ้ าของ ร้ านกล้ วยแขก เอี๊ยมม่วง มองว่าการค้ าขายต้ อง มีจรรยาบรรณ “เขาแบ่งกันถนนเส้ นนี ้เส้ นนัน้ ป้า ไม่เดินไปขายตรงตลาดหรื อหน้ าร้ านเอี๊ยมสีอื่น ของใครของมัน” จตุพรกล่าว ขีดเส้นท�ำเลทอง มองในมุมนักการตลาด
ดร.กฤติ นี พงษ์ ธนเลิ ศ อาจารย์ ประจ�ำภาควิชาการตลาด คณะพาณิชยศาสตร์ และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มอง ว่า ข้ อตกลงระหว่างผู้ค้ากล้ วยแขกสร้ างความมี ระเบียบมากขึ ้น แต่ก็เป็ นดาบสองคมในเชิงการ ตลาด เพราะไม่ใช่การแข่งขันแบบปกติ “ถ้ าคุณภาพสินค้ าต่างกันมากๆ การ ควบคุมอาจเข้ ามามีผลต่อการแข่งขัน สมมติ ลูกค้ าอยากซื ้อกล้ วยแขกของร้ านเอี๊ยม A มาก แต่บงั เอิญขับรถไปถนนฝั่ งที่เอี๊ยม A ไม่ได้ ขาย เพราะว่าเป็ นหน้ าร้ านของเอี๊ยมอื่น ก็อาจจะ ต้ องซื ้อกล้ วยแขกเอีย๊ มอืน่ แทน ท�ำให้ เอีย๊ ม A ซึง่ ตังใจผลิ ้ ตสินค้ าดีๆ ก็อยูไ่ ม่ได้ ” ดร.กฤตินีกล่าว อาจารย์นกั การตลาดกล่าวว่า การขาย สินค้ าประเภทเดียวกันในย่านเดียวกันท�ำให้ คน จดจ�ำสินค้ าได้ งา่ ยขึ ้น “เมือ่ ขับรถผ่านถนนเส้ นนี ้ คนจะตระหนักได้ ว่าย่านขึ ้นชื่อเรื่ องกล้ วยแขก แต่ผ้ ูบริ โภคจะซือ้ หรื อไม่ซือ้ เป็ นสิทธิ์ ของเขา” และทิ ้งท้ ายว่า “ถ้ ากล้ วยแขกเราดีจริ ง ลูกค้ า อยากกินจริ งๆ ว่าเอี๊ยมนันอร่ ้ อย สุดท้ ายลูกค้ า จะดิ ้นรนมาหาเอี๊ยมนันๆ ้ เอง”
10
สังคม
การสัญจร เงื่อนไขที่นางเลิ้งไม่อาจเอาชนะ
เรื่อง-ภาพ : สิรารมย์ เตชะศรีอมรรัตน์
แม้กรุงเทพมหานครจะมีชอ ื่ เสียงเรือ ่ งสีสน ั ยามค�ำ ่ คืน แต่ในยามกลางวัน กรุงเทพฯ ก็ยังมีย่านที่เปี่ยมด้วยลมหายใจแห่งประวัติศาสตร์อันยาวนานอย่าง ย่านนางเลิง ้ ซึง ่ ตัง ้ อยูใ่ นเขตเมืองเก่าใจกลางของกรุงเทพมหานคร ภายในย่าน เล็กๆ ที่ซ่อนตัวอยู่กลางกรุงแห่งนี้ ยังมีเสน่ห์ไม่เหมือนใครด้วย ตลาดนางเลิ้ง ตลาดโบราณอายุนับร้อยปี
ตลอดระยะการเดินสันๆ ้ ในตลาดนางเลิ ้ง เสน่ห์ที่โดดเด่นของตลาดนางเลิ ้ง คือ อาหารหลากหลายชนิดที่หารับประทานที่ไหนไม่ได้ อีกแล้ ว อย่างไส้ กรอกปลาแนม หรื อปอเปี๊ ยะญวณสูตรโบราณ แต่ยา่ นนางเลิ ้งกลับเงียบเหงาอย่างไม่นา่ เชื่อ เพราะยัง มีอปุ สรรคใหญ่อยูต่ รงหน้ า ซึง่ หลายฝ่ ายมองว่าเป็ นส่วนส�ำคัญที่ท�ำให้ ตลาดนางเลิ ้งไม่ อาจก้ าวเพื่อข้ ามไปสูก่ ารเป็ นย่านท่องเที่ยวคึกคักได้ คือ “การสัญจรเดินทาง” วิเชียร มีสุขสบาย หนึง่ ในคณะกรรมการชุมชนศุภมิตร 2 ที่เป็ นส่วนหนึง่ ของ ย่านนางเลิ ้ง อธิบายว่า “ทีจ่ อดรถเป็ นอุปสรรคส�ำคัญทีส่ ดุ ทีท่ �ำให้ ตลาดนางเลิ ้งเป็ นตลาด ท่องเที่ยวไม่ได้ ” เพราะถ้ าใครขับรถยนต์สว่ นตัวมา สถานที่ใกล้ เคียงเดียวที่จอดได้ และ ใกล้ คือบริ เวณเลียบคลองผดุงกรุงเกษมซึง่ โดยปกติก็ไม่ได้ มีที่จอดมาก รองรับได้ เพียง 50-60 คัน คนท�ำงานบริ เวณนันก็ ้ จอดเต็มหมดแล้ ว จึงไม่พอจะรองรับผู้คนภายนอกอีก และหากวันใดมีขบวนเสด็จบริ เวณเลียบคลองผดุงฯ ผู้คนก็จะไม่สามารถจอดรถได้ เลย “ส่วนบริ เวณเส้ นนครสวรรค์ซึ่งในอดีตเคยจอดข้ างถนนได้ นัน้ ปั จจุบนั จอด ไม่ได้ แล้ ว เพราะเป็ นเส้ นทางที่ม่งุ ไปสะพานพระรามแปด คนสัญจรมากผนวกกับเส้ น ราชด�ำเนินเป็ นเส้ นทางเสด็จบ่อย ดังนัน้ ถ้ าหากนักท่องเที่ยวไม่มีที่จอดจริ งๆ ก็จะต้ อง ไปจอดในที่จอดของโรงเรี ยนวัดโสมนัสราคาชัว่ โมงละ 40 บาท ซึง่ ก็อยู่ไกลตลาดต้ อง เดินมาอีกเป็ นระยะทางราว 500 เมตร” วิเชียรกล่าว วิเชียรเสริ มในส่วนมุมมองของชุมชนว่า อยากให้ หน่วยงานของรัฐมาร่ วมกัน หารื อวิธีกบั ต�ำรวจจราจรท้ องที่เพื่ออะลุม่ อล่วยในการจอด เช่น จอดวันคูว่ นั คี่เหมือนแต่ ก่อน เมื่อเข้ าไปที่ สถานีตำ� รวจนครบาลนางเลิง้ เจ้ าหน้ าที่อธิบายหลักการเบื ้อง ต้ นของการผ่อนผันจราจรว่า ข้ อก�ำหนดบนท้ องถนนเกิดจากการตกลงร่ วมกันของกอง บัญชาการต�ำรวจนครบาล (บชน.) กับ กทม. สน. ไม่สามารถก�ำหนด ผ่อนผัน หรื อ
สังคม
ยกเลิก กฎได้ เ องตามใจชอบ นอกจากนี ้ ยัง ก็ มี นโยบายลงพื น้ ที่ ส ม�่ ำ เสมอและรั บ ทราบปั ญ หา ของประชาชน เพียงแต่การผ่อนผันให้ จอดริ มถนน นครสวรรค์นนเป็ ั ้ นไปได้ ยาก เพราะเป็ นถนนหลักมุง่ สูส่ ะพานพระรามแปดและเป็ นเส้ นทางเสด็จบ่อย แม้ ทางออกเรื่ องที่จอดรถถูกปิ ดตาย แต่ วิเชียรก็ยงั มีความหวัง “ส�ำนักงานทรัพย์สินส่วน พระมหากษัตริ ย์ซงึ่ เป็ นผู้ดแู ลพื ้นที่มีโครงการที่จะ สร้ างที่จอดรถอยู่ท้ายตลาดเร็ วๆ นี ้อย่างแน่นอน แล้ วซึง่ จะกลายเป็ นความหวังในอนาคตของตลาด ต่อไป” เมือ่ สอบถาม สิริพร โชติวรรณ ผู้ประสาน งานชาวบ้ า นและชุม ชนที่ ร่ ว มท� ำ งานกับ ส� ำ นัก ทรัพย์สนิ ฯ เรื่ องนโยบายที่จอดรถแล้ วนัน้ สิริพรให้ ค�ำตอบว่า ทางส�ำนักทรัพย์สนิ ฯ มีแนวคิดทีจ่ ะสร้ าง ทีจ่ อดรถแต่อยูร่ ะหว่างการหารือ เพราะต้ องหาผู้มา ประมูลสัมปทานการสร้ าง ผู้ประมูลจะเป็ นผู้เก็บค่า จอดรถและดูแล โดยบริ เวณที่จะสร้ างคือ บริ เวณ ที่สงั กะสีล้อมรัว้ ภายในตรอกนางเลิ ้ง 1 ที่สามารถ ออกไปทางส�ำนักงานเขตฯ ได้ นอกปั ญหาที่จอดรถ การขนส่งสาธารณะ ก็มีข้อจ�ำกัดเช่นกัน เมื่อ นิสิตนักศึกษา ลงพื ้นที่ เพื่อตรวจสอบขนส่งมวลชนบริ เวณโดยรอบพบว่า ถนนรอบย่านนางเลิ ้งมีทงหมดสี ั้ ่เส้ น ได้ แก่ ถนน นครสวรรค์ ถนนกรุงเกษม ถนนจักรพรรดิพงษ์ และ ถนนหลานหลวง ถนนที่ใกล้ กบั ตลาดนางเลิ ้งที่สดุ คือ ถนนนครสวรรค์ ซึง่ ปั จจุบนั ไม่มีรถโดยสารของ ขสมก. วิง่ ผ่าน ส่วนถนนกรุงเกษมมีรถสาย 53 ผ่าน เพียงสายเดียว เช่นเดียวกับถนนจักรพรรดิพงษ์ ที่ มีสาย 49 ผ่านสายเดียว ส่วนถนนที่มีรถเมล์ผ่าน
11
มากที่สดุ คือ ถนนหลานหลวง ซึง่ มีรถเมล์สาย 2, 8, 37, 44, 59, 60, 79, 183, 511, A4 และ S1 แต่ ระยะทางจากตลาดนางเลิ ้งมาถึงป้ายรถทีใ่ กล้ ทสี่ ดุ บริ เวณถนนหลานหลวงมีระยะทางกว่า 500 เมตร หรื อไกลกว่านัน้ เมื่อสอบถามถามข้ อมูลเบื ้องต้ นผ่านทาง Call center ของ องค์ กรขนส่ งมวลชนกรุ งเทพ (ขสมก.) ได้ รับค�ำตอบว่า บริ เวณถนนนครสวรรค์ ที่ใกล้ ตลาดนางเลิ ้งที่สดุ นันเป็ ้ นถนนขนาดเล็กและ มีเหลี่ยมมุมมาก การตีวงเลี ้ยวของรถ ขสมก. นัน้ ค่อนข้ างกว้ าง เป็ นอันตรายต่อการสัญจร อาคาร และผู้คนบริ เวณดังกล่าว ท�ำให้ กทม. มีข้อตกลง ให้ หลีกเลี่ยงเส้ นทางดังกล่าว ด้ าน ยุ ท ธนา ป่ าไม้ ผู้อ�ำนวยการเขต ป้ อมปราบศัต รู พ่ า ย ชี แ้ จงว่ า หลัง จากทราบ ปั ญหาทางส�ำนักงานเขตมีแผนที่จะเข้ าไปพูดคุย กับ ขสมก. ถึงหนทางเพิ่มเติมขนส่งสาธารณะย่าน นางเลิ ้ง รวมทังหารื ้ อกับส�ำนักทรัพย์สนิ ฯ อย่างเป็ น ทางการเร็วๆ นี “สามารถติ ้ ดตามความคืบหน้ าได้ ใน ปี นี ้แน่นอน” ผอ.เขตกล่าว นอกจากนัน้ ผอ.เขตยัง ได้ เ ล่ า ถึ ง เรื่ อ ง ความพยายามในการผลักดันตลาดนางเลิ ้งให้ เป็ น ตลาดท่องเที่ยวเพิ่มเติมว่า จะมุ่งพัฒนาทังความ ้ สะอาดของตลาดเพิ่มขึ ้น รวมถึงจะประสานงาน กับ ผู้เ กี่ ย วข้ อ งทุก ฝ่ าย เพื่ อ ประชาสัม พัน ธ์ ย่ า น นางเลิ ้ง อย่างไรก็ตาม ยุทธนาเน้ นย� ้ำว่า “เพือ่ ให้ การ เปลี่ยนแปลงตลาดให้ เป็ นการพัฒนาอย่างยัง่ ยืน ชาวชุมชนนางเลิ ้งจ�ำเป็ นที่จะต้ องเข้ ามามีสว่ นร่วม ด้ วยในทุกกระบวนการ”
12
เรื่องหลัก
ประตูบานพับยาวสีขาวเรียงรายตลอดบ้านเรือนตึกแถว กอปรกับหลังคาทรงนีโอคลาสสิคที่เป็นเอกลักษณ์ของชุมชน กลิ่นอาหารลอยกรุ่นชวนให้น�้ำลายสอ โรงภาพยนตร์สแตนด์อโลนตั้งตระหง่านผ่านกาลเวลา ชาวชุมชนอยู่อาศัยและค้าขายสืบต่อกันมากว่าร้อยปี เรื่อง : พชร ค�ำช�ำนาญ, รณิดา บริบูรณ์ภัทรกุล ภาพ : เมธาวจี สาระคุณ
“ผมอยู่มาตังแต่ ้ เกิด รุ่ นพ่อผมเป็ นรุ่ น ต้ นๆ ของที่นี่ ถ้ ายังอยูก่ ็ 100 เศษๆ ผมเป็ นรุ่นที่ สอง เกิดที่นี่แล้ วไม่เคยย้ ายไปไหน เห็นรูปแบบ ตัง้ แต่นางเลิ ้งยังเฟื่ องฟูจนซบลงไประยะหนึ่ง แล้ วช่วงนี ้ก�ำลังบูมขึ ้นมาหน่อย แต่ยงั ไม่โอเคนะ” ไกรสร (นามสมมติ) ชายวัยกลางคน หนึง่ ในผู้ อยูอ่ าศัยย่านนางเลิ ้ง เล่าให้ นิสิตนักศึกษา ฟั ง ถึงภาพการเปลีย่ นแปลงเชิงเศรษฐกิจของตลาด นางเลิ ้ง ไกรสรเล่าว่า ปี นี ้ตลาดนางเลิ ้งจะย่าง เข้ าสูป่ ี ที่ 119 ซึง่ ตลาดในกรุงเทพฯ ที่อายุพอๆ กันนันไม่ ้ มีเหลืออีกแล้ ว “แต่ก่อนที่ยงั พอเห็นก็
คือตรงบางรัก อีกทีค่ อื ตลาดยอดทีเ่ กิดเพลิงไหม้ เพราะฉะนัน้ คนที่อยู่ดงเดิ ั ้ มก็ยังอยากอนุรักษ์ ตรงนี ้เอาไว้ ” จากค�ำบอกเล่าของคนในชุมชน พื ้นที่ ย่านนางเลิ ้งเป็ นของวัดโสมนัสราชวรวิหาร แต่ ส�ำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริ ย์เข้ ามา เป็ นผู้บริ หารจัดการพื น้ ที่ ส่วนนี ้ ซึ่งไกรสรเห็น ว่ า ส�ำนักทรัพย์สนิ ฯ ดูแลคนในชุมชนเป็ นอย่าง ดีมาโดยตลอด “เราก็ ไ ด้ รั บ การสนับ สนุน จากส� ำ นัก ทรัพย์สินฯ อย่างดี เขาเข้ ามาดูแลปรับปรุ งอยู่ เรื่ อยๆ ให้ มีรูปแบบที่ดีขึ ้น เช่น เรื่ องสิง่ แวดล้ อม
เรื่องหลัก
เมื่อก่อนเราจะเห็นว่า ตลาดเราเป็ นตลาดสด ความสะอาดจะไม่มี แต่ได้ งบมาเมือ่ ปี 2546 เริ่ม ปรับปรุงเมื่อปี 2547 ตลาดก็ดใู หม่ขึ ้น รูปลักษณ์ ดีขึ ้น ที่ส�ำคัญคือสะอาดขึ ้น ปั จจุบนั นี ้ตลาดเรา ได้ เป็ นตลาดระดับเพชรของ กทม. เพราะรูปแบบ และเรื่ องสิง่ แวดล้ อมดีขึ ้น” ไกรสรกล่าว แม้ ว่ า ชาวชุ ม ชนจะอาศัย อยู่ใ นย่ า น นางเลิ ้งจากรุ่ นสูร่ ุ่ นมากว่า 100 ปี ภายใต้ การ ดูแลของส�ำนักทรั พย์ สินฯ แต่ ณ วันนี ้ เสียง สะท้ อนของชาวชุมชนหลายคนกลับบอกตรงกัน ว่า ลูกหลานตนตัดสินใจย้ ายออกไปอยูท่ อี่ นื่ แล้ ว ครอบครัวขยาย แต่พื้นที่บ้านไม่อาจขยายตาม
หนึ่ ง ในสิ่ ง ที่ ก ดดั น ให้ ลู ก หลานย่ า น นางเลิ ้งรุ่ นใหม่ๆ เลือกออกไปแสวงหา “บ้ าน ใหม่” เพราะครอบครัวขยายบนพื ้นที่บ้านซึง่ ไม่ สามารถต่อเติมหรื อดัดแปลงส่วนหนึ่งส่วนใด ของบ้ านได้ ปรี ชา ศรี ตุลยโชติ หนึง่ ในชาวชุมชน นางเลิง้ เล่าถึงปั ญหาที่ หลายครอบครั วต้ อง เผชิ ญ เมื่ อ มี ส มาชิ ก ครอบครั ว เพิ่ ม ขึ น้ “บ้ า น
13
ผมมี พี่ น้ องห้ า คน บ้ า นห้ อ งเดี ย ว มัน ก็ ต้ อ ง กระจัดกระจายกันออก ก็มาเซ้ งห้ องอยู่ใกล้ ๆ กัน ส่วนลูกผมมันก็จะอยู่กันไม่ได้ พอโตขึ ้นก็ ต้ องแยกออกไป เพราะว่าครอบครัวขยาย” เขา อธิบายต่อว่า บ้ านตึกด้ านนอกเป็ นสองชัน้ ส่วน บ้ านด้ านในเป็ นโกดังเปิ ดโล่ง สามารถกันเป็ ้ นชัน้ ได้ หากข้ างล่างเรากันเพดานไว้ ้ สงู พื ้นที่ข้างบน ก็จะเตี ้ย แจ่ มจันทร์ (นามสมมติ) ชาวบ้ าน รายหนึง่ เผยถึงการด�ำเนินเรื่ องขอซ่อมแซมหรื อ ดัดแปลงบ้ านต่อส�ำนักทรัพย์สนิ ฯ ว่า ต้ องด�ำเนิน เรื่ องหลายขันตอน ้ และมักได้ ผลตอบรับที่ไม่ดี นัก นอกจากนี ้ เธอยังข้ องใจกับการเสียค่าปรับ เพียงเพราะต้ องการซ่อมแซมบ้ านที่ทรุ ดโทรม ของตนเอง “เวลาขอซ่อมแซมยากมาก เราอยาก จะซ่อมเองเสียตังค์เอง แต่เขาไม่ให้ ซอ่ ม เขาไม่ ยอม หลายบ้ านแอบซ่อมกันหมด แต่พอซ่อม แล้ วเขาเห็น เขาก็เรี ยกเก็บเงินค่าปรับ ถามว่า เขาเอาเปรียบเราไปไหม เพราะเราซ่อมให้ แล้ วยัง มาเอาค่าปรั บจากเราอีก เราท�ำให้ บ้านสภาพ
14
เรื่องหลัก
อาคารในชุมชนที่สร้ างตัง้ แต่ สมัยร.5
ดีขึน้ ” แจ่มจันทร์ เผย เธอกล่าวต่ออีกว่า “คนท�ำ บ้ านก็อยากได้ ความสวยงาม เดินไปเดินมาแล้ ว ชมว่า ‘บ้ านนี ้สวย’ มันเป็ นความภูมใิ จว่าบ้ านเรา สวย” ขณะที่ สิริพร โชติวรรณ ผู้ประสาน งานชาวบ้ านและชุมชนนางเลิ ้ง กล่าวว่า การ ดูแลภายนอกอาคาร เช่น การทาสีตวั อาคาร จะ เป็ นหน้ าที่โดยตรงของส�ำนักทรัพย์สนิ ฯ อย่างไร ก็ตาม แม้ การดูแลภายในบ้ านจะเป็ นเรื่ องของ แต่ ล ะครอบครั ว แต่ ก็ ต้ อ งขออนุญ าตส� ำ นัก ทรัพย์สนิ ฯ ก่อน เนื่องจากส�ำนักทรัพย์สนิ ฯ เป็ น ผู้บริ หารจัดการพื ้นที่ “เหมือนอย่างเราไปเช่าบ้ าน ถ้ าบ้ าน มีปัญหาก็ต้องซ่อม บางเรื่ องต้ องขออนุญาต ซ่ อ มแซม ซ่ อ มแล้ วต้ องเป็ นรู ปแบบเดิ ม โครงสร้ างเดิม ท�ำได้ แค่ซอ่ มแซม ไม่สามารถรื อ้ ถอนได้ “ สิริพรกล่าว สัญญาเช่ากับชะตากรรมบนเส้นด้าย
การด�ำเนินเรื่ องขอดัดแปลงบ้ านเป็ น เพียงข้ อจ�ำกัดหนึ่ง แต่สิ่งที่ชาวบ้ านหลายคน กังวลยิ่งกว่าคือ “การต่อสัญญาเช่ารายสามปี ” ไกรสร เผยความในใจว่า การต่อสัญญา
พืน้ ที่สำ� หรั บสร้ างที่จอดรถบริเวณตรอกนางเลิง้ 2
เช่ารายสามปี สร้ างความรู้สกึ ไม่มนั่ คง “เหมือน เราซื ้อบ้ านแล้ วเขาบอกว่าสามปี ค่อยต่อที กับ อีกที่บอกว่าอยูไ่ ด้ ตลอดชีวิต หรื ออยูไ่ ด้ ซกั 20 ปี สามปี มันสัน้ เราไม่ร้ ูวา่ อีกสามปี ข้ างหน้ าส�ำนัก ทรัพย์สนิ ฯ จะคิดอย่างไรกับผู้เช่า” “คนรุ่นใหม่บางคนก็กงั วลแบบผม เขา คิดยิง่ กว่าเราอีก เขาก็พยายามท�ำงานแล้ วอยาก ไปซื ้อบ้ านข้ างนอก ท�ำงานหาเงินได้ เมื่อไหร่ก็ไป ซื ้อด้ านนอก กันไว้ เผือ่ สามปี หน้ าส�ำนักทรัพย์สนิ ฯ บอกว่าตรงนี ้มีนโยบายจะท�ำอะไร เพราะสามปี มันไม่มหี ลักประกันให้ เขา เขาก็คดิ ว่าโดนเวนคืน เมื่อไหร่ก็ได้ หลายที่ที่เป็ นของส�ำนักทรัพย์สนิ ฯ เคยโดนมาแล้ ว อย่างแถวเจริ ญผลซึง่ เมื่อก่อน ก็เป็ นตลาดเหมือนกัน” ไกรสรแสดงความกังวล และกล่าวต่อว่า “เราพยายามมองในแง่ดีวา่ เขา ไม่เป็ นหรอก แต่อะไรก็เกิดขึ ้นได้ หมด ไม่งนเขา ั้ ไม่ใช้ ค�ำว่าสามปี ต่อทีหรอก” เสียงเพรียกจากปัจจุบน ั ...ถึงอนาคต
ด้ วยข้ อจ�ำกัดทีม่ อี ยูข่ องส�ำนักทรัพย์สนิ ฯ ในเรื่ องการต่อสัญญาและการดัดแปลงอาคาร ท�ำให้ คนนางเลิ ้งรุ่ นเก๋าไม่อาจมัน่ ใจได้ ว่า จะมี โอกาสอาศัย ณ บ้ านซึง่ เป็ นที่เกิดที่เติบโต ไป
เรื่องหลัก
15
ตลาดนางเลิง้ ยามเที่ยงในวันธรรมดา
จนถึง “วาระสุดท้ายของชีวติ ” หรือไม่ เช่นเดียวกับ คนรุ่ น ใหม่ที่ บ รรพบุรุ ษ ได้ อาศัยใต้ ร่ ม เงาของ ส�ำนักทรัพย์สินฯ มากว่าค่อนชีวิต หากวันใดที่ พวกเขาเลือกจะเดินออกไปจากชุมชนเพราะ ไม่อาจทนรับความไม่มนั่ คงเหล่านี ้ได้ อีกต่อไป เมื่อนัน้ ก็คือวันที่ชุมชนต้ องนับถอยหลังก่อนที่ ชื่อ “นางเลิ ้ง” จะถูกลบหายไปตามกาลเวลา ส� ำ หรั บ ไกรสร ชาวบ้ านผู้ ต้ องการ อนุรักษ์ ชุมชนนีต้ ราบสิ ้นลมหายใจ ยังคงเต็ม
เปี่ ยมด้ วยความเชือ่ มัน่ ทีม่ ตี อ่ ส�ำนักทรัพย์สนิ ฯ ว่า จะยังรักษาตลาดเก่าแก่แห่งนี ้ให้ คงอยูส่ ืบไป “คุณลองคิดดูวา่ วันหนึง่ คุณเปลีย่ นแปลง เป็ นอาคารพาณิชย์หรื อห้ างสรรพสินค้ า กับเรา อนุรักษ์ สิ่งเหล่านี ใ้ ห้ ลูกหลานดูว่าเรามี ตลาด ทรงแบบนี ้ ผมตายไปแล้ วยังมีคนมาเยี่ยมชมดู วิถีชีวิต ดูของเก่าๆ ผมยังคิดว่าตราบใดที่ผมยัง มีลมหายใจ ผมเป็ นคนหนึง่ ที่จะไม่ยอม” ไกรสร กล่าว “เราอยากให้ ทรัพย์สนิ ฯ เห็นเรา เราเห็น ทรัพย์สินฯ อยู่แล้ วเพราะนี่เป็ นที่ของท่าน เรา หวังว่าเขาจะอยากให้ เราอยู่ แต่เราก็คาดหวังไม่ ได้ วา่ ในอนาคตจะเป็ นอย่างไร ผมปลูกฝั งให้ ลกู หลานรู้วา่ ที่นี่เป็ นบ้ านเรา แม้ บางทีลกู หลานจะ ไปซื ้อบ้ านข้ างนอก ก็จะบอกเสมอว่านี่เป็ นบ้ าน เรา เป็ นวิถีชีวิต เป็ นเลือดเนื ้อของเรา เราต้ อง รักษาไว้ ” ไกรสรกล่าว
รู้จักส�ำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์
จากความกั ง วลของชาวชุ ม ชน นางเลิ ้งข้ างต้ น นิสิตนักศึกษา ได้ ตดิ ต่อขอ สัมภาษณ์ส�ำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหา กษัตริ ย์ ผู้ดแู ลย่านนางเลิ ้ง แต่ไม่สามารถ สัมภาษณ์ได้ ตามก�ำหนดเวลาปิ ดต้ นฉบับ ข้ อ มูล บนเว็ บ ไซต์ ข องส� ำ นัก งาน ทรัพย์สนิ ส่วนพระมหากษัตริย์ระบุวา่ ภารกิจ ส�ำคัญของส�ำนักทรัพย์สนิ ฯ คือ “การพัฒนา อย่างสมดุลและยัง่ ยืนสี่มิติ” ประกอบด้ วย “มิตดิ ้ านเศรษฐกิจ” คือ ค�ำนึงถึงความสมดุล ลดความเหลื่อมล� ้ำและสร้ างประโยชน์ ต่อ
สังคมส่วนรวม “มิตดิ ้ านสังคม” คือ พัฒนา เพื่อความมัน่ คงโดยเน้ นหลักคุณธรรม “มิติ ด้ านสิ่งแวดล้ อม” คือ เพิ่มพลังชีวิตแก่ชาว เมื อ งบนพื น้ ฐานการพัฒ นาให้ ค นอยู่ร่ ว ม กับธรรมชาติอย่างเกื อ้ กูล และ “มิ ติด้าน วัฒนธรรม” คือ ท�ำนุบ�ำรุ งศาสนา รั กษา และถ่ายทอดคุณค่าความเป็ นไทยจากรุ่ นสู่ รุ่ น ตลอดจนดูแลอาคารอนุรักษ์ เพื่อรักษา ประจักษ์ พยานแห่งหน้ าประวัติศาสตร์ ไว้ ให้ คงอยู่เคียงคู่การพัฒนามหานคร
16
สัมภาษณ์
สมพงษ์ โชติวรรณ บทเรียน 76 ปีที่มี “โรงหนังนางเลิ้ง” เป็นผู้สอน
เรื่อง-ภาพ : นัจนันท์ เกตุสุวรรณ
ภายใต้ชอ ื่ “ศาลาเฉลิมธานี” หรือ “โรงหนังนางเลิง ้ ” อาคารไม้ขนาดใหญ่อายุ กว่า 100 ปีทเี่ รียกได้วา ่ เป็นโรงภาพยนตร์ รุ่นแรกของไทย ขณะนี้ถูกรายล้อมไปด้วย รั้ ว ผ้ า ใบ เพื่ อ เตรี ย มจะกลั บ มามี ชี วิ ต อี ก ครั้ ง ตามนโยบายของหอภาพยนตร์ แ ละ ส�ำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์
โรงภาพยนตร์ความจุประมาณ 500 ทีน่ งั่ แห่งนีถ้ ือก�ำเนิดขึน้ ที่ย่านนางเลิ ้งเมื่อปี 2461 และรับหน้ าที่ให้ ความบันเทิงด้ วยภาพยนตร์ ทงั ้ ไทยและเทศมาเป็ นเวลา 75 ปี ก่อนที่จะปิ ดตัว ลงในปี 2536 เนื่ อ งจากถึ ง คราวซบเซาของ โรงภาพยนตร์ สแตนด์อโลนของไทย สมพงษ์ โชติวรรณ หรื อ ลุงสมพงษ์ คือชายวัย 76 ปี ที่ถือก�ำเนิดที่ยา่ นนางเลิ ้งแห่ง นี ้ ใช้ เวลากว่าครึ่งค่อนชีวิตเดินทางผ่านทังช่ ้ วง ที่เป็ นยุคทองและยุคซบเซาของกิจการโรงหนัง อย่างศาลาเฉลิมธานี และเลือกจะใช้ บนปลาย ั้ ชี วิ ต อยู่ ที่ ชุ ม ชนนางเลิ ง้ ในฐานะทายาทคน สุดท้ ายของโรงภาพยนตร์ แห่งนี ้ ณ บ้ านตึก สองชันซึ ้ ง่ ถูกอุทศิ ให้ เป็ นทีท่ ำ� การชุมชนศุภมิตร 2 ตังอยู ้ ไ่ ม่ไกลจากโรงหนังนางเลิ ้ง
“มันเริ่มต้ นตอนทีค่ รอบครัวไปขอรับช่วง กิจการต่อจากบริ ษัท สหซินีมา ได้ พาโรงหนัง ผ่านทัง้ ช่วงรุ่ งโรจน์ ในสมัยที่ยังเป็ นสื่อบันเทิง ราคาถูกและเข้ าถึงง่ายที่สดุ สมัยนัน้ ราคาตัว๋ หนังใบละแค่ 10 สตางค์” ลุงสมพงษ์ เล่าถึงจุด เริ่ มต้ นของการเข้ าไปเป็ นส่วนหนึ่งของกิจการ โรงหนังเก่าแห่งนี ้ ตังแต่ ้ ชว่ งรุ่งเรื องไปจนถึงช่วง ซบเซาที่สื่อวีดิทศั น์เริ่ มมาเป็ นอีกหนึง่ ทางเลือก ของผู้ที่แสวงหาความบันเทิงที่งา่ ยและราคาถูก มากกว่าโรงภาพยนตร์ แบบเดิมๆ ไม่เพี ยงแต่ความเปลี่ยนแปลงด้ าน ผู้ชม ลุงสมพงษ์ ยงั เล่าว่า ตลอดเวลาที่ใช้ ชีวิต อยู่กบั โรงหนังนางเลิ ้งนัน้ ยังเป็ นการได้ บนั ทึก ประวัติศาสตร์ การฉายภาพยนตร์ ท่ีถูกพัฒนา ให้ ทนั สมัยขึ ้นเรื่ อยๆ “อยูม่ าตังแต่ ้ ฉายหนังด้ วย ฟิ ล์ม 16 มม. ต้ องพากย์ เสียงลงไปสดๆ จน กระทัง่ มาใช้ ฟิล์ม 35 มม. ที่อดั เสียงลงไปบน ฟิ ลม์ ได้ มันเปลีย่ นไปตามยุคตามสมัย จ�ำได้ วา่ มี ยุคหนึ่ง ฉายเรื่ อ ง แม่ น าคพระโขนง นอกจาก ฉายหนัง แล้ ว จะมี ก ารแสดงคั่น ช่ ว งบทโศก พอแสดงจบแล้ ว ก็ ก ลับ ไปฉายหนั ง ต่ อ ” ลุง สมพงษ์ กล่าว ด้ วยความทีร่ าคาถูกและเข้ าถึงง่ายทีส่ ดุ ในขณะนัน้ ศาลาเฉลิมธานีจงึ กลายเป็ นอีกหนึง่ สือ่ บันเทิงทีเ่ ดินทางผ่านทังยุ ้ คสงครามโลกครังที ้ ส่ อง
สัมภาษณ์
17
“ทุกอย่างที่นี่บอกให้เราไม่ประมาท เราต้องตื่นตัวรับมือกับความเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอด ถ้าเราหยุดนิ่ง เราก็แพ้” สมพงษ์ โชติวรรณ ทายาทรุ่นสุดท้ายของ ศาลาเฉลิมธานี
เป็ นที่พกั ผ่อนหย่อนใจให้ กองทัพญี่ป่นุ ที่เข้ ามา พักอยู่สนามม้ านางเลิ ้ง รวมถึงชาวอเมริ กันที่ ผ่านเข้ ามาในยุคสงครามเวียดนาม ลุงสมพงษ์ เล่าอีกว่าในช่วงสงครามนันนั ้ บว่าเป็ นยุครุ่งเรื อง ที่ภาพยนตร์ ก�ำลังเป็ นที่นิยม ก่อนมอดดับลง ด้ วยการย้ ายออกไปของชาวต่างชาติเหล่านัน้ แม้ วา่ ในท้ ายที่สดุ การเปลี่ยนผ่านของ ประวัตศิ าสตร์ การเข้ ามาของเทคโนโลยีที่ท�ำให้ สือ่ บันเทิงมีความหลากหลายและเข้ าถึงง่ายมาก ขึ ้น บวกเข้ ากับต้ นทุนการผลิตภาพยนตร์ ทสี่ งู ขึ ้น จะท�ำให้ ศาลาเฉลิมธานีแห่งนี ้หลงเหลือเพียงแค่ ภาพในประวัตศิ าสตร์ แต่สำ� หรับลุงสมพงษ์ แล้ ว ตลอดระยะเวลาที่ได้ เข้ ามาด�ำเนินกิจการ โรงหนัง แห่ ง นี ก้ ็ ไ ด้ ฝ ากความทรงจ� ำ ไว้ ใ ห้ ต น และย่ า นนางเลิ ง้ มากมาย ไม่ ว่ า จะเป็ นการ เรี ยนรู้อย่างไม่สิ ้นสุดจากกระบวนการผลิตและ จ�ำหน่ายภาพยนตร์ การพบปะผู้คนทีห่ ลากหลาย ทังยั ้ งเป็ นสถานที่ทางประวัติศาสตร์ และแหล่ง สร้ างความบันเทิงของคนทุกคนชนชันอี ้ กด้ วย “ที่ นี่ ก็ ค ล้ า ยกั บ เป็ นอาจารย์ ฝึ กให้ เราได้ เรี ยนรู้ อะไรต่างๆ เราอยู่โรงหนังเราต้ อง
เรี ยนรู้ เทคนิคตังแต่ ้ เครื่ องฉายหนัง ระบบเสียง สาธารณูปโภคต่างๆ ทุกกระบวนการมันมีศาสตร์ มีศิลป์ ท�ำอย่างไรให้ คนสนใจอยากจะดูหนัง เป็ นปรั ช ญาชี วิ ต ที่ ส อนให้ ต้ อ งต่อ สู้กับ ความ เปลี่ยนแปลงของยุคสมัย” ลุงสมพงษ์ กล่าว หลังจากถึงคราวที่ธรุ กิจภาพยนตร์ เดิน มาถึงทางตัน หลังจากปิ ดกิจการโรงภาพยนตร์ ลุงสมพงษ์ จึงตัดสินใจย้ ายไปประกอบอาชี พ เกษตรกรที่ จ.ระยอง ก่อนกลับมาใช้ บนปลาย ั้ ชีวิตที่ถิ่นเกิดย่านนางเลิ ้งแห่งนี ้ “ทุกอย่างที่นี่บอกให้ เราไม่ประมาท เรา ต้ องตืน่ ตัวรับมือกับความเปลีย่ นแปลงอยูต่ ลอด ถ้ าเราหยุดนิ่ง เราก็แพ้ ” ลุงสมพงษ์ กล่าว FYI : ในวาระครบ 100 ปี ของโรงหนังใน
ปี นี ้ ส� ำ นัก ทรั พ ย์ สิน ฯ มี น โยบายปรั บ ปรุ ง โรงหนังให้ กลับมาฉายหนังอีกครัง้ และเป็ น แหล่งเรี ยนรู้ ลุงสมพงษ์ กล่าวว่า โครงการนี ้ ยังคงอยู่ในระหว่างหารื อ แม้ ว่าสุดท้ ายการ ชุบชีวิตศาลาเฉลิมธานีจะส�ำเร็ จหรื อไม่ ตน ก็ ยัง ยิ น ดี เ ปิ ดให้ คนรุ่ น หลั ง ได้ เข้ าศึ ก ษา ประวัตศิ าสตร์ ภาพยนตร์ ณ ย่านนางเลิ ้ง
18
วิถีชุมชน
มาสุดใจ ไปสุดหล่อ : พจน์ บาร์เบอร์ ร้านตัดผมชายที่อยู่คู่นางเลิ้งกว่า 70 ปี
เรื่อง : ธนภัทร เกษร ภาพ : เมธาวจี สาระคุณ, ธนภัทร เกษร
ร้ านพจน์ บาร์ เบอร์ เดิม ก่ อนย้ ายไปอยู่ถนนพะเนียง ท่ า มกลางแสงแดดร้ อ นระอุ เ วลา กลางวัน ตอนที่ก�ำลังเดินทอดน่องอยู่บน ถนนพะเนี ย ง หลั ง จากที่ เ พลิ ด เพลิ น กั บ อาหารอร่ อ ยในตลาดนางเลิ้ ง มาจนอิ่ ม ท้องแล้ว สายตาก็มาสะดุดกับป้ายหน้าร้าน ที่ เขียนว่า “มาสุดใจ ไปสุดหล่อ” ของร้าน ตัดผม พจน์ บาร์เบอร์
แม้ ข้ อ ความจะดูย้ อ นยุค แต่ ก็ ดึง ดูด มากพอที่จะเข้ าไปลองฝี มือช่างรายนี ้สักหน่อย เมื่อเดินเข้ าไป ได้ ยินเสียงเพลงลูกกรุงที่ไม่ค้ นุ หู มองรอบๆ พบสุภาพบุรุษหลากหน้ าหลายตาที่ ส่วนใหญ่ล้วนเป็ นผู้อาวุโส ทันใดนันชายร่ ้ างสูง ดูภมู ฐิ าน เอ่ยถามผมว่า “ตัดทรงอะไรครับ” ไม่รอ ช้ า จึงตอบกลับไปว่า “ตัดสระ รองทรงนะครับ” ชายคนนันคื ้ อ บุญมี รอดจรู ญ ช่าง ตัดผมประจ�ำร้ าน วัย 77 ทีเ่ ล่าถึงชีวติ การท�ำงาน ว่า หลัง เรี ย นจบชัน้ ป.4 เขาก็ ไ ด้ เ ริ่ ม ท� ำ งาน เป็ นช่ า งตัด ผมทัน ที ใ นตลาดสามชุก จัง หวัด สุพรรณบุรี จากนันก็ ้ วนเวียนอยูห่ ลายจังหวัดจน
ได้ เข้ ามาท�ำงานในกรุงเทพฯ เมื่อปี 2499 และ เข้ าท�ำงานกับคุณพจน์ เจ้ าของร้ าน พร้ อมกับ เพื่อนอีก 5 คน ตังแต่ ้ ปี 2507 เป็ นต้ นมา ปั จจุบนั ทัง้ คุณพจน์ และเพื่อนร่ วมงานร่ วมรุ่ นเสียชีวิต แล้ ว เหลือลุงบุญมีท�ำงานอยูเ่ พียงคนเดียว ส่วน ร้ านตัดผมอายุกว่า 70 ปี แห่งนี ้ก็เปลี่ยนมือจาก คุณพจน์ เจ้ าของเดิม มาเป็ นของลูกหลาน ลุง บุ ญ มี เ ล่ า ว่ า มี บ้ า งที่ ลูก ค้ า ที่ เ ป็ น ข้ าราชการจะมาตัดผม แต่สว่ นใหญ่นนจะเป็ ั้ น เพื่ อ นบ้ า นรุ่ น ราวคราวเดี ย วกัน ที่ อ ยู่ล ะแวก ใกล้ เคียง มาแวะนัง่ เล่นตากแอร์ พร้ อมพูดคุย มากกว่า บ้ างก็ หยิบหนังสือพิมพ์ ในร้ านอ่าน บ้ างก็นงั่ ฟั งวิทยุเพลงลูกกรุงที่ลงุ บุญมีเปิ ด บ้ าง ก็นงั่ ฟั งวิทยุเพลงลูกกรุงที่ลงุ บุญมีเปิ ด ตอนนัน้ จึงเข้ าใจเหตุที่ได้ ตดั ผมเร็ ว ไม่ต้องรอคิวแม้ จะ มีคนเต็มร้ าน เพราะเขามาพักผ่อนมากกว่ามา ตัดผม
วิถีชุมชน
19
ชาญชัย สหธนานนท์ วัย 73 เป็ น ลูกค้ าประจ�ำของร้ านพจน์ บาร์ เบอร์ มามากกว่า 30 ปี เขาเล่าถึงสาเหตุที่มาร้ านนี ้ประจ�ำว่าตัด ทรงผมได้ ถกู ใจ ยามที่ไม่ได้ ตดั ก็มาเยี่ยมเยือน พูดคุยกับกลุ่มเพื่อนฝูง แต่ที่ส�ำคัญคือการมา ฟั งเพลงลูกกรุงของชริ นทร์ นันทนาคร ผ่านวิทยุ ลุงบุญมีเป็ นประจ�ำ “เพลงของชริ นทร์ ร้องยาก เสียงสูง ลูกคอต้ องมีก�ำลัง สมัย 40-50 ปี ก่อน เพลงของเขาดังมาก” ลุงชาญชัยกล่าวพร้ อม เอื ้อนเพลงตาม ย่านนางเลิง้ เคยเป็ นหนึ่งในย่านยอด นิยมที่นักการเมืองไทยเข้ ามาใช้ บริ การตัดผม เป็ นประจ�ำ นักการเมืองรุ่ นใหญ่เคยผ่านมือลุง บุญมีมาแล้ วหลายคน เช่น ชุมพล ศิลปอาชา หรื อบัญญัติ บรรทัดฐาน แต่ปัจจุบนั นานๆ ทีจะ เจอลูกค้ ากลุม่ นี “สมั ้ ยก่อนนักการเมืองไม่คอ่ ยมี ตังค์ เวลามาจากต่างจังหวัด ประชุมสภาก็ต้อง เช่าโรงแรมอยู่แถวนี ้ แต่ปัจจุบนั พวกนีร้ วยกัน หมดแล้ ว มีเงินซื ้อบ้ านอยูใ่ นกรุงเทพฯ” ลุงบุญมี กล่าว
หลังจากที่ตดั ผมเสร็ จแล้ ว ได้ มีโอกาส ถามถึงความเปลีย่ นแปลงในชีวิตลุงบุญมีที่เป็ น ช่างตัดผมมากกว่า 60 ปี เขาเล่าว่า การท�ำงาน ในวันนีไ้ ม่มีอะไรแตกต่างมากจากเมื่อเริ่ มต้ น ไม่ว่าจะเป็ นเทคโนโลยีที่หลายสิบปี ผ่านมาจะ พัฒนามากเพียงใด เขายังคงใช้ เพียงวิทยุ เปิ ด ฟั งเพลงลูกกรุงฟั งระหว่างท�ำงาน “ลูกค้ าเขามา ตัดผมไม่ได้ มาดูทีวี อีกอย่างมันอันตราย บาง คนดูเชียร์ มวยทังลู ้ กค้ า ทังช่ ้ าง นอกจากจะช้ า ลงแล้ ว เดี๋ยวกรรไกรอาจบาดคอได้ ” ท่ า มกลางความเปลี่ ย นแปลงของ นางเลิ ้ง ลุงบุญมียงั คงกล่าวว่าไม่มีผลกระทบ ใดๆ แม้ วา่ จะมีนกั ท่องเทีย่ วเพิม่ ขึ ้น แต่สว่ นใหญ่ เพียงแค่แวะถ่ายรูปแล้ วจากไป ขณะทีล่ กู ค้ าของ ลุงบุญมีคอื คนนางเลิ ้งทีค่ ้ นุ เคยกันมาหลายสิบปี ท้ ายสุดลุงบุญกล่าวว่าจะยังคงท�ำงานต่อไปจน ไม่ไหว เพราะหากไม่มีเขาแล้ ว พจน์ บาร์ เบอร์ ต�ำนานนางเลิ ้งกว่า 70 ปี ก็คงต้ องปิ ดตัวลง
ลุงบุญมีกำ� ลังท�ำงานในช่ วงบ่ าย
20
เสียงชุมชน
เสียงชุมชน.. ธนมงคล เจนจบธุรกิจ อายุ 59 ปี
“คนที่นี่เป็ นกันเอง บ้ านช่องก็สวยแบบ โบราณ แต่เรื่ องค้ าขายล�ำบาก ขายไม่ดี เพราะว่า ย่านนี ้ไม่มที จ่ี อดรถ แต่อาหารอร่อยมาก ถ้ าทีอ่ นื่ A ที่นี่ก็ A+ จริ งๆ แล้ วช่วงเที่ยงก็ไม่ได้ ขายดี เพราะ แม่ค้า เยอะ แต่คนที่ เข้ ามามี ประมาณ 300 คน ก็เฉลี่ยๆ ไปตกร้ านละไม่กี่คน ร้ านดังก็ขายอยู่ได้ แต่ร้านไม่ดงั ก็ต้องอยูเ่ พราะบ้ านอยูท่ ี่นี่” สมศรี ภูผาเดียว อายุ 54 ปี
“ป้าอยากให้ มีที่จอดรถที่สดุ เพราะคนจะ ได้ เข้ ามาตลาดเยอะๆ ไม่งนคนมาเขาก็ ั้ โดนล็อกล้ อ เขาก็ไม่อยากมา แล้ วบางทีถ้ามาเสาร์ อาทิตย์จะไม่ ค่อยมีคน แม่ค้าก็กลัวว่าคนไม่มา แล้ วคนมาก็ไม่มี คนขาย เป็ นแบบนี ้วนไป ตลาดไม่เหมือนแต่ก่อน แล้ วที่คนเยอะ ขายดี เดีย๋ วนี ้เศรษฐกิจไม่คอ่ ยดีเขา ก็ไม่ใช้ เงิน ป้ามาขายเสาร์ อาทิตย์ทีไรก็นงั่ หลับ” ณัฐภงค์ อปายคุปต์ อายุ 30 ปี
“ตอนนี ้ตลาดนางเลิ ้งก็เป็ นที่น่าสนใจ ถ้ า ท่านใดจะมาหารับประทานของอร่อยก็เชิญทีน่ ี่ได้ ”
เสียงชุุมชน
21
..คนนางเลิ้ง เรื่อง : พชร ค�ำช�ำนาญ
นันทา ปาลกะวงศ์ ณ อยุธยา อายุ 65 ปี
“เมื่อก่อนแถวนี ้เขาเรี ยกว่าสลัม จะมีสลัม วัดญวณ วัดโสม วัดแค คนเยอะมาก แต่เดีย๋ วนี ้ไม่ มี แล้ ว เพราะโดนไฟไหม้ ไ ปหมด ทางวัด โสม วัดแค วัดญวณก็สร้ างเป็ นตึกๆ ขึ ้นมา คนเงินน้ อย เขาก็ต้องออกไปอยูข่ ้ างนอกกัน” วรรณชัย วราศิริกุล อายุ 62 ปี
“ความเป็ นอยู่ของคนที่นี่เปลี่ยนไปเยอะ แต่ตรงนี ้เป็ นย่านวัฒนธรรมที่เราอยากให้ อนุรักษ์ ไว้ ให้ ลกู หลานเห็นว่า เมื่อก่อนมันมีอย่างนี ้ ถ้ าตรง นี ้หายไปเราไม่ร้ ูจะไปเก็บตลาด 100 กว่าปี นี ้ที่ไหน ในกรุงเทพฯ ที่นี่มีวิถีชีวิต มีของเก่าๆ” วิเชียร สินทัตตโสภณ อายุ 72 ปี
“ชาวบ้ านจะต�ำหนิอย่างเดียว แต่เราต้ อง เสนอเขาด้ วยว่าท�ำยังไง เช่น ที่จอดรถไม่มีใช่ไหม เราก็เสนอว่าให้ สนามม้ า (ราชตฤณมัยสมาคมแห่ง ประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์) แบ่งทีไ่ ว้ ให้ คน มาเที่ยวจอดรถ แล้ วมีรถมาส่ง หรื อมีจกั รยานให้ ปั่ น เป็ นการโปรโมทตลาดนางเลิ ้งไปในตัว”
00
SECTION
SECTION
00
00
SECTION