ความพร้อมของประเทศไทยต่ออนาคตเศรษฐกิจการแชร์อย่างสร้างสรรค์ Is Thailand Ready for Creative Sharing Economy? วราวุฒิ เรือนคํา และ นภัส ร่มโพธิ์ บทคัดย่อ การพัฒนาเศรษฐกิจสังคมสู่ความเป็นเมืองของประเทศกําลังพัฒนา ส่งผลถึงการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้าง แบบพลวัตร (Structural Dynamics) ที่ทําให้รูปแบบการดําเนินชีวิต การบริโภคสินค้า การประกอบอาชีพ รูปแบบ การดําเนินธุรกิจ รวมถึงโครงสร้างเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงไป ไม่ว่าจะเป็น 1) การบริโภคสินค้าภายใต้สภาพแวดล้อม ดิจิทัล (Buying behavior in digital environment) ที่นิยมศึกษาข้อมูลผลิตภัณฑ์ผ่านการรีวิวออนไลน์ก่อนการ ตัดสินใจซื้อของออนไลน์ 2) การบริโภคสินค้าภายใต้เศรษฐกิจการแชร์ (Sharing economy) โดยมุ่งเน้นการบริโภค แบบร่วมมือ ที่มีที่มาจากการแลกเปลี่ยนสินค้าจากลูกค้าสู่ลูกค้า 3) รูปแบบเศรษฐกิจการประกอบอาชีพอิสระแบบ ครั้งคราวตามความต้องการ (Gig economy) สอดคล้องกับค่านิยมรักความเป็นอิสระ เป็นนายตนเอง และไม่ประจํา ทําได้หลากหลาย และ 4) รูปแบบการดําเนินธุรกิจแบบแพลตฟอร์ม ที่มุ่งเน้นแก้ไขปัญหาของผู้บริโภค โดยอาศัย เทคโนโลยีสารสนเทศเชื่อมโยงระหว่างความต้องการของผู้บริโภคและผู้ประกอบการ (Platform business model) ภายใต้) ดังนั้นประเทศควรมี นโยบายพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมให้รองรับการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวอย่างเหมาะสม การศึกษานี้ได้ทําการวัดดัชนี ชี้วัดความพร้อมเศรษฐกิจแบ่งปันแบบสร้างสรรค์ (Creative Sharing Economy Readiness Index: CSERI) ของประเทศไทย จากนั้นทําการเปรียบเทียบกับที่มีระดับการพัฒนาใกล้เคียงหรือสูงกว่า ได้แก่ ประเทศมาเลเซีย เวียดนาม สิงคโปร์ เพื่อหาแนวทางพัฒนาเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวต่อไป คําสําคัญ: ดัชนีชี้วัดความพร้อมเศรษฐกิจแบ่งปันแบบสร้างสรรค์, การบริโภคสินค้าภายใต้สภาพแวดล้อมดิจิทัล, การ บริโภคสินค้าภายใต้สภาพแวดล้อมดิจิทัล, รูปแบบเศรษฐกิจการประกอบอาชีพอิสระแบบครั้งคราว, รูปแบบการ ดําเนินธุรกิจแบบแพลตฟอร์ม 1. บทนา การพัฒนาเศรษฐกิจสังคมสู่ความเป็น เมืองของประเทศกําลังพัฒนา ส่งผลถึงรูปแบบการดําเนินชีวิต การ บริโภคสินค้า การประกอบอาชีพ รูปแบบการดําเนินธุรกิจ รวมถึงโครงสร้างเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงไป ไม่ว่าจะเป็น การบริโภคสินค้าภายใต้สภาพแวดล้อมดิจิทัล (Buying behavior in digital environment) โดยกระบวนการซื้อ สินค้าได้แตกต่างไปจากอดีตได้แก่ 1) การเลือกซื้อสินค้าในร้านออนไลน์แทนการไปเดินเลือกหน้าร้ าน เนื่องจาก สามารถเลือกชมสินค้าได้ตามความต้องการเช่น ระบุรุ่น ขนาด สี ความนิยม หรือกํา หนดลักษณะเฉพาะตัวของสินค้า ได้ 2) สามารถรับฟังความคิดเห็นของผู้ซื้อคนก่อนหน้าที่มีต่อสินค้าที่ตนสนใจได้ผ่านการรีวิวและการให้คะแนน สามารถศึกษารายละเอียดสินค้าได้เชิงลึก 3) สามารถใช้เวลาในการศึกษาเลือกซื้อได้ตามความต้องการโดยไม่ต้อง เกรงใจพนักงาน 4) ระบบการชําระเงินสามารถทําได้ง่ายขึ้นผ่านการชําระเงินออนไลน์รูปแบบต่างๆที่สะดวก เช่น ชํา ระเงิ นปลายทาง การเลื อกผ่อนชํา ระผ่า นบัต รฯ เป็ นต้ น 5) หัว ใจของการซื้ อสิ นค้าออนไลน์ คือการขนส่ง ที่ มี ประสิทธิภาพ สามารถตรวจสอบได้ และ 6) การบริการหลังการขายต่างๆ เช่น เปลี่ยนสินค้า คืนเงิน และการประกัน สินค้ า ซึ่ งในปัจ จุบัน กระแสการบริโ ภคสินค้าภายใต้สภาพแวดล้อมดิจิทั ล ได้มีการเติบ โตและมี บทบาทต่อระบบ เศรษฐกิจไทยมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะการเติบโตระหว่างภาคธุรกิจสู่ธุรกิจ (B2B) และธุรกิจสู่ผู้บริโภค (B2C) ส่งดูได้จาก สถิตมูลค่าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ดังรูปที่ 1
รูปที่ 1 มูลค่าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของประเทศไทยจาแนกตามประเภทผูป้ ระกอบการ (ล้านบาท) 3,000,000
B2G
B2C
B2B
2,500,000 2,000,000 1,542,168 1,500,000
1,234,230
1,230,160
411,720
474,650
703,332
387,550
402,880
314,604
2557
2558
2559
1,000,000 500,000
-
217,458
67,783 344,370
251,699
84,593 272,295
291,209
99,706 393,083
2553 2554 2555 ที่มา: สํานักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์
282,946
121,392 340,081
2556
โดยเฉพาะอุตสาหกรรมค้าปลีก และค้าส่ง การขนส่ง ศิลปะ ความบันเทิง และนันทนาการ ที่มีมูลค่า ecommerce เติบโตสูงสุดตั้งแต่ปี 2557 เป็นต้นมา หมายความว่าผู้บริโภคมีพฤติกรรมการบริโภคสินค้าผ่านช่องทาง อิเล็กทรอนิคส์หรือช่องทางออนไลน์มากยิ่งขึ้น โดยในปี 2557-2558 มีอัตราการเติบโตสูงถึงร้อยละ 112.46 ปี 25582559 เติบโตร้อยละ 32.97 และปี 2559-2560 เติบโตร้อยละ 21.85 ตามลําดับ ดูได้จากตารางที่ 1 ตารางที่ 1 ร้อยละการเติบโตมูลค่า e-Commerce ในประเทศไทย จาแนกตามประเภทอุตสาหกรรม ลําดับ อัตราการเติบโต ปี 2557-2558 ปี 2558-2559) ปี 2559-2560(p) 1 ศิลปะ ความบันเทิง และนันทนาการ 1.66 62.65 27.50 2 การขนส่ง 29.06 30.88 24.99 3 การค้าปลีกและการค้าส่ง 112.46 32.97 21.85 4 การประกันภัย 15.00 14.90 13.89 5 การให้บริการที่พัก 11.18 8.61 8.26 6 ข้อมูลข่าวสารและการสื่อสาร 12.14 65.18 5.15 7 การผลิต -2.70 -0.15 -2.54 8 ธุรกิจบริการอื่นๆ 419.21 -49.62 17.23 ที่มา: สํานักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (p=การคาดการณ์) ขณะเดียวกันพฤติกรรมการบริโภคสินค้าภายใต้เศรษฐกิจการแชร์ (Sharing economy) มีแนวโน้มเติบโต มากขึ้น โดยมุ่งเน้นการบริโภคแบบร่วมมือหรือ แลกเปลี่ยนสินค้าจากลูกค้าสู่ลูกค้า เนื่องจากมีจุดเด่นหลายประการ เช่น 1) เจ้าของสามารถสร้างรายได้จากการแบ่งปันหรือปล่อยเช่าสิ่งที่ตนเป็นเจ้าของเป็นรายครั้งคราว หรือสร้าง รายได้จากสิ่งของหรือทรัพย์สินที่ตนมีมากเกินความจําเป็นหรือไม่ได้ใช้แล้ว (Excess Capacity) ผ่านการใช้เทคโนโลยี
ที่เป็นแพลตฟอร์ม (Platform) ในการให้บริการลูกค้า เช่นการปล่อยเช่าบ้านพัก (AIRBNB) การให้บริการเพลง ออนไลน์(Music and Video Streaming) (SPORTIFY) การให้เช่ารถส่วนตัว (Car sharing) เพื่อการโดยสาร (UBER) หรือ (GRAB TAXI) การจ้างเพื่อนบ้านช่วยทําธุระ (TaskRabbit) ระบบซื้อขายสินค้าทําด้วยมือแนวศิลปะ (ETSY) และการจัดหาบุคคลทํา ความสะอาด (BENEAT) เป็นต้น และในอนาคตมีแนวโน้มเติบโตในหลากหลาย อุตสาหกรรม ไม่ว่าจะเป็นอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเที่ยว การเงิน การขนส่ง ค้ าปลีกค้าส่ง การศึกษา และแฟชั่น 2) ส่งเสริมการลดต้นทุนของธุรกิจเกิดใหม่ (Startups) โดยเฉพาะสินค้าทุนบางประเภทที่ไม่จําเป็นต้องลงทุนซื้อเป็น เจ้าของเอง แต่เป็นการใช้บริการเป็นครั้งคราวตามความจําเป็น เช่นการแบ่งปันพื้นที่ทํางานหรือประชุม (Co-working space) การแบ่งปันเครื่องมือการชําระเงิน (Alipay, True wallet หรือ Wechat Pay) ซึ่งจะช่วยลดต้นทุนของ ธุรกิจได้เป็นจํานวนมาก และ 3) เป็นการส่งเสริมการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมผู้บริโภคให้คํานึงถึงประสบการณ์การใช้ สินค้ามากกว่าการสะสมสิ่งของ เน้นเรื่องความคุ้มค่ามากขึ้น โดยเฉพาะกับสิน ค้าที่มีมูล ค่าสูง ดังนั้นการจัดสรร ทรัพยากรจะมีประสิทธิภาพมากขึ้น เนื่องจากสินค้าจะถูกใช้งานอย่างเต็มประสิทธิภาพ และช่วยลดการผลิตส่วนเกินที่ อาจก่อให้เกิดของเสียจากการผลิต การเติบโตของเศรษฐกิจการแชร์สอดคล้องกับรูปแบบการดําเนินชีวิตของคนรุ่นใหม่ (Gen Y, 2523-2543) ที่นิยมความสะดวกสบาย ได้รับข้อมูลสิ นค้าบริการที่ชัดเจนมากขึ้นผ่านศึกษาข้อมูลจากการบอกเล่าประสบการณ์ หรือการรีวิวสินค้า ให้ความสําคัญกับประสบการณ์หรือ เรื่องราวเกี่ยวกับสินค้าและบริการมากขึ้น และมีแนวทางใน การเลือกบริโภคเป็นของตัวเองเป็นต้น ดังนั้นรูปแบบพฤติกรรมการบริโภคสินค้าบริการจึงเปลี่ยนแปลงไปจากคนรุ่น ก่อน รวมถึงการเปลี่ ยนแปลงพฤติกรรมการทํ างานที่ เน้ นให้ความหมายกับสมดุล การทํา งานและการใช้ชี วิต ให้ ความสําคัญกับอิสระ ใช้ชีวิตให้คุ้มค่า สามารถทํางานได้หลากหลาย และต้องการที่จะเป็นนายตัวเอง ดังนั้นรูปแบบ การประกอบอาชีพจึงเลือกประกอบอาชีพอิสระแบบครั้ง คราวตามความต้องการ (Gig economy) มากขึ้น เช่น รับจ้างอิสระ (freelance) การทํางานด้วยตนเอง (self-employed) การทํางานชั่วคราว (Part time) ตามที่ตนถนัด เป็นต้น นอกจากนี้รูปแบบการดําเนินธุรกิจก็มีการเปลี่ยนแปลงไปจากธุรกิจแบบดั้งเดิม ซึ่งเป็นผลลัพธ์จากการ เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมผู้บริโภค โดยรูปแบบการดําเนินธุรกิจในปัจจุบันมีการมุ่งเน้นแก้ไขปัญหาของผู้บริโภคมากขึ้น (Best solutions finding) โดยอาศัยเทคโนโลยีสารสนเทศเชื่อมโยงระหว่า งความต้องการของผู้บริโภคและ ผู้ประกอบการ (Platform business model) ธุรกิจรูปแบบนี้จึงเป็นตัวปิ ดจุดอ่อนของธุรกิจต่างๆมากมาย เช่น ระบบการชําระเงินที่ยุ่งยากและมีค่าธรรมเนียมสูง ถูกแทนที่ด้วยแพลตฟอร์มการชําระเงินที่ง่ายและไม่มีค่าใช้จ่าย เช่น Alipay, True wallet , Samsung pay, Apple pay, mPay, Apple wallet, Androi Pay และ Wechat Pay เป็นต้น รวมถึงระบบการจองโรงแรมและตั๋วเครื่องบินที่ยุ่งยากถูกแทนที่ด้วยแพลตฟอร์มการจัดการการเดินทางเช่น Agoda, Booking, Traveloka, Airpaz, Skyscanner, Cheaptickets และ Expedia เป็นต้น ข้อได้เปรียบของธุรกิจ แพลตฟอร์มเมื่อเปรียบเทียบกับธุรกิจแบบดั้งเดิมคือ 1) ธุรกิจแพลตฟอร์มสามารถขจัดปัญหาขั้นตอนและความยุ่งยาก ในห่วงโซ่คุณค่าแบบท่อน้ํา (Pipe Value chain) ของธุรกิจแบบดั้งเดิมได้ โดยปกติแล้วกระบวนการจะเริ่มจากการ ผลิต ขนส่ง จัดจําหน่าย และส่งถึงมือลูกค้า ตามลําดับ ซึ่งอาศัยระยะเวลา ขั้นตอน และค่าใช้จ่ายสูง แต่ห่วงโซ่คุณค่า ของแพลตฟอร์มจะถูกกําหนดโดยผู้ใช้ (End users) ทั้งที่เป็นผู้บริโภคและผู้ผลิต โดยผู้ใช้จะเป็นคนสร้างมูลค่าขึ้นมา จากการใช้งานแพลตฟอร์ม เช่นแพลตฟอร์มจากจัดหาแม่บ้านทําความสะอาด ผู้ผลิตหรือแม่บ้านไม่จําเป็นต้องสังกัด บริษัทใด ขณะเดียวกันผู้บริโภคไม่จําเป็นต้องจ้างแม่บ้านผ่านบริษั ทใดๆ เช่นกัน ซึ่งจะเห็นว่าแพลตฟอร์มช่วยลด ขั้ น ตอนตรงกลางและจั บ ผู้ ผ ลิ ต และผู้ บ ริ โ ภคมาเชื่ อ มกั น ดั ง นั้ น แพลตฟอร์ ม จึ ง มี ลั ก ษณะที่ เ ป็ น Interactive Matchmaker ดูได้จากรูปที่ 2 2) ธุรกิจแพลตฟอร์มสามารถสร้างผู้ผลิตที่มีความหลากหลาย อย่างไม่จํากัด โดยคน ท้องถิ่นสามารถสร้างธุรกิจของตัวเองขึ้นมาได้ และ 3) ธุรกิจแพลตฟอร์มสามารถพัฒนารูปแบบการดําเนินธุรกิจได้ อย่างไม่มีที่สิ้นสุดเนื่องจากมีการพัฒนาปรับปรุงจากปฏิกิริยา (Feedback) จากผู้ใช้งานและชุมชนโดยตรง เช่น ตัวอย่างการพัฒนาสารานุกรม Wikipedia ที่ผู้ใช้ร่วมกันพัฒนาข้อมูลขึ้น (ปรีดี, 2016) ดังนั้นรูปแบบธุรกิจ
แพลตฟอร์มจึงเป็นทั้งตัวกระตุ้นผู้ผลิตให้เกิดการปรับตัวเข้าเข้าหาผู้บริโภคมากขึ้น ขณะเดียวกันก็เป็นตัวทําลายธุรกิจ เดิมที่ไม่สามารถปรับตัวเข้าสู่การแข่งขันได้ รูปที่ 2 เปรียบเทียบห่วงโซ่มูลค่า (Value chain) ธุรกิจแบบท่อน้าและธุรกิจแพลตฟอร์ม
PIPE
Producer
Value moving through the pipe
Consumer
PLATFORM Value
Producer
ที่มา: ปรีดี บุญซื่อ, TDRI (2016)
Consumer
ดังนั้นการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างแบบพลวัตร (Structural dynamics change) ดังกล่าวจึงนํามาซึ่งการ ปฏิวัติรูปแบบการดําเนินธุรกิจ ภายใต้การเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้าง 1) การบริโภคสินค้าภายใต้สภาพแวดล้อมดิจิทัล (Buying behavior in digital environment) ที่นิยมศึกษาข้อมูลผลิตภัณฑ์ผ่านการรีวิวออนไลน์ก่อนการตัดสินใจซื้อ ของออนไลน์ 2) การบริโภคสินค้าภายใต้เศรษฐกิจการแชร์ (Sharing economy) โดยมุ่งเน้นการบริโภคแบบร่วมมือ ที่มีที่มาจากการแลกเปลี่ยนสินค้าจากลู กค้าสู่ลูกค้า 3) รูปแบบเศรษฐกิจการประกอบอาชีพอิสระแบบครั้งคราวตาม ความต้องการ (Gig economy) คล้องกับค่านิยมรักความเป็นอิสระ เป็นนายตนเอง และไม่ประจําทําได้หลากหลาย และ 4) รูปแบบการดําเนินธุรกิจแบบแพลตฟอร์มที่มุ่งเน้นแก้ไขปัญหาของผู้บริโภค โดยอาศัยเทคโนโลยีสารสนเทศ เชื่อมโยงระหว่างความต้องการของผู้บริโภคและผู้ประกอบการ (Platform business model) การเปลี่ยนแปลง ดังกล่าวนํามาซึ่งความจําเป็นในการปรับตัวของนโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของภาครัฐ เอกชน และภาค การศึกษาที่ต้องหาคําแนวทางในการรองรับการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวให้สอดคล้องและเหมาะสมต่อไป 2. แนวคิดและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 2.1 พฤติกรรมการซื้อสินค้าภายใต้สภาพแวดล้อมแบบดิจิทัล ในสังคมปัจจุบันรูปแบบการทําธุรกิจได้ถูกเปลี่ยนโฉมไปอย่างมากเนื่องจากเทคโนโลยี ต่างๆได้ เข้ามามี บทบาทต่อการเลือกซื้อสินค้าและรับบริการของประชาชนโดยทั่วไป ผ่านช่องทางใหม่ๆที่อาศัยอินเตอร์เน็ตหรือสังคม ออนไลน์ (Social Network) เป็นตัวช่วยในการตัดสินใจบริโภค โดย รัฐสภายุโรป (European Parliament) ได้ ทํ า การศึ ก ษาเกี่ ย วกั บ พฤติ ก รรมผู้ บ ริ โ ภคในการเลื อ กซื้ อ สิ น ค้ า และบริ ก ารภายใต้ ส ภาพแวดล้ อ มแบบดิ จิ ทั ล (Consumer behaviour in a digital environment) (Patrice Muller, et al. 2011) ผลการศึกษาพบว่าการมี ปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้ผลิตและผู้บริโภคได้ถูกเปลี่ยนแปลงไปภายใต้สภาพแวดล้อมแบบดิจิทัล ผู้ผลิตและผู้บริโภคไม่ได้ มีหน้าที่ผลิตและบริโภคเพียงอย่างเดียว แต่เกิดการที่บุคคลหนึ่งสามารถเป็นได้ทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภคในเวลาเดียวกัน (Prosumer) ภายใต้สภาพแวดล้อมนี้ได้สร้างโอกาสการทําธุจกิจมากมาย ผู้บริโภคสามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารที่
ทันสมัยได้อย่างสะดวกรวดเร็ว สามารถเปรียบเทียบราคาและลักษณะสินค้าได้ง่ายขึ้น ทําให้ผู้บริโภคมีแนวโน้มที่จะ ค้นหาและวิเคราะห์ข้อมูลต่างๆในระบบออนไลน์ก่อนจะตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าและบริการโดยอาศัยการแสดงความ คิดเห็นจากผู้มีประสบการณ์การใช้สินค้าหรือบริการก่อนหน้า (Consumer Reviews and recommendations) อีก ทั้งผู้บริโภคมีแนวโน้มที่จะให้ความสําคัญกับตราสินค้า (Brand names) หรือร้านค้าที่เป็นที่รู้จัก มากกว่าเลือกซื้อ สินค้าจากร้านที่ไม่เป็นที่รู้จัก ซึ่งสอดคล้องกับการศึกษาของ Patrice Muller, et al. (2011) ที่ระบุว่าผู้บริโภคนิยม เลือกซื้อสินค้าออนไลน์จากผู้ประกอบการในประเทศของตนเป็นหลัก มีเพี ยง 23% ที่เลือกซื้ อสินค้าจากร้านค้ า ออนไลน์ที่อยู่นอกประเทศภายในกลุ่มประเทศสหภาพยุโรป อย่างไรก็ตามตัวเลขทางสถิติได้เผยว่า ผู้บริโภคมีแนวโน้ม ที่จะตัดสินใจผิดพลาดจากการรับรู้ข่าวสารในแง่ลบ และมีความเป็นไปได้ว่าผู้ผลิตรายอื่นอาจจะหาประโยชน์จากการ เข้าใจหรือตัดสินใจผิดของผู้บริโภคนี้ได้ ดังนั้นการสร้างตราสินค้าให้เป็นที่รู้จัก (Brand awareness) และการรักษา ชื่อเสียงจึงเป็นสิ่งที่มีความสําคัญในการดึงดูดและรักษากลุ่มผู้บริโภคในยุคดิจิตอล รวมถึงจุดเด่นอีกข้อที่ทําให้ผู้บริโภค หันมาเลือกซื้อสินค้าและบริการออนไลน์คือ ความสะดวกในการเลือกซื้อสินค้าและมีค่าใช้ จ่ายถูกลงเมื่อเทียบกับการ ซื้อสินค้าออฟไลน์ (Purchasing offline) โดยผู้บริโภคมักเลือกซื้อสินค้าที่ไม่ต้องการบริการหลังการขายหรือสินค้าที่ ไม่มีความซับซ้อนและราคาไม่สูงมากนัก เช่น เสื้อผ้า หนังสือ หรือตั๋วเครื่องบิน มากกว่าสินค้าที่มีความซับซ้อน เช่น คอมพิวเตอร์และสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ 2.2 การดาเนินธุรกิจแบบแพลตฟอร์ม (platform business model) การดําเนินธุรกิจในรูปแบบแพลตฟอร์มหรือธุรกิจแบบการจับคู่ (Matchmakers) เป็นรูปแบบการดําเนิน ธุรกิจในยุคดิจิทัล ที่อาศัยเทคโนโลยีสารสนเทศมาเชื่อมโยง คน องค์กร และทรัพยากร ในแบบต่อเนื่องและสองทาง (interactive) ในกระบวนการเชื่อมโยงเป็นเครือข่าย เช่น เชื่อมโยงผู้ที่ต้องการหาที่พักเมื่อเดินทางไปยังต่างประเทศ หรือต่างจังหวัดกับกลุ่มคนอีกกลุ่มที่เป็นเจ้าของทรัพยากร คือ เจ้าของที่พักหรือเจ้าของบ้านที่ต้องการสร้างรายได้จาก ทรัพ ย์ สิ นที่ ต นเองมี หรือผู้ที่ ต้ องการเดิ น ทางแต่ ไ ม่ มีย านพาหนะส่ ว นตั ว หรือไม่ คุ้น เคยเส้ น ทางเชื่ อมกับเจ้ า ของ ยานพาหนะที่อยู่ในบริเวณใกล้เคียง เป็นต้น กระบวนการเหล่านี้ทําให้เกิดการสร้างและแลกเปลี่ยนหรือเกิดมูลค่า เศรษฐกิจขึ้นมา โดยเปลี่ยนจากรูปแบบการดําเนินธุรกิจจากเดิมให้มีความหลากหลายโดยสมาชิกของแต่ละกลุ่ม สามารถเข้าถึงกันได้ง่ายขึ้น ดังนั้น Platform จึงเปรียบเสมือนตลาดสดออนไลน์ที่ผผู้ ลิตและลูกค้าได้เข้ามาพบกัน โดย การดําเนินธุรกิจแบบแพลตฟอร์มนี้มีข้อได้เปรียบกว่าการดําเนินธุรกิจแบบเก่า ประการที่หนึ่ง คือ ช่วยลดขั้นตอนใน การผลิตที่ต้องผ่านการพิจารณาหลายระดับชั้นมาสู่การตัดสินใจของเจ้าของทรัพย์สินหรือองค์ความรู้ได้โดยตรง โดย ให้ผู้ใช้บริการเป็นผู้ตัดสินว่าผู้ผลิตหรือผู้ให้บริการรายนี้สมควรได้อยู่ในตลาดต่อไปหรือไม่ เช่น การให้บริการรถ โดยสารของ Uber หากผู้ให้บริการบริการได้ดีจะมีการประเมินผลโดยผู้ใช้บริการ ทําให้ส่งผลถึงการกลับมาใช้ซ้ําหรือ การตัดสินใจใช้บริการของผู้ใช้บริการรายอื่นๆ ที่นิยมตัดสินใจจากความคิดเห็นของผู้ซื้อหรือรับบริการก่อนหน้า (review) ประการที่สอง คือ ธุรกิจแบบแพลตฟอร์ม สามารถเพิ่มอุปทาน (supply) ที่เข้ามาใหม่อย่างไม่จํากัด และยัง เป็นการเปิดโอกาสให้เจ้าของทรัพย์สินรายย่อยในแต่ละท้องถิ่นสามารถเข้าร่วมในตลาดได้ โดยไม่ต้องอาศัยเงินลงทุน มหาศาลเหมือนรูปแบบธุรกิจแบบเก่า เช่นธุรกิจที่พักอาศัย Airbnb โดยทาง Airbnb เก็บค่าธรรมเนียมประมาณ 11% จากธุรกรรมที่เกิดขึ้น (ปรีดี บุญซื่อ, 2016) ประการที่สาม คือ ธุรกิจแบบแพลตฟอร์ม อาศัยข้อมูลจากปฏิกิริยา (feedback) ของชุมชน มาสร้างและกําหนดคุณค่าผลิตภัณฑ์ เช่น Wikipedia ได้กลายเป็นสารานุกรมออนไลน์ใหญ่ สุดของโลก จากการที่ผู้อ่านจากทั่วโลกเข้ามาช่วยกันแก้ไขปรับปรุงมาจากปฏิกิริยาจากคนอ่านนับล้านๆ คนทั่วโลก ที่ เนื้อหาในแต่ละหัวข้อให้มีความสมบูรณ์มากขึ้น เมื่อเทียบกับ Encyclopedia Britannica ที่ต้องอาศัยคนเขียนเนื้อหา หลายพันคน และอีกประการหนึ่งคือ ธุรกิจแบบ Platform เปลี่ยนรูปแบบจากองค์กรที่ให้เน้นความสําคัญของการ วางแผนทรัพยากรต่างๆ จากภายในองค์กรมาเป็นองค์กรที่เน้นลูกค้าภายนอกโดยไม่ต้องอาศัยพนักงานจํานวนมากใน องค์กรอีกต่อไป เปลี่ยนเป็นอาศัยทรัพยากรเศรษฐกิจหรือสินทรัพย์ของคนในชุมชนในการดําเนินการแทน 2.3 แนวคิดเศรษฐกิจการแชร์ (Sharing Economy) Sharing Economy เป็นโครงสร้างทางธุรกิจแบบใหม่ ที่เป็นที่รู้จักในชื่อการบริโภคชนิดร่วมมือกัน (Collaborative Consumption) และการทําธุรกิจจากเพื่อนสู่เพื่อน (Peer to Peer : P2P) โดยมีแนวคิดสังคม
เศรษฐกิ จ บนพื้ น ฐานของการแบ่ ง ปั น ได้ รั บ การกล่ า วถึ ง ครั้ ง แรกในบทความเชิ ง วิ ช าการเรื่ อ ง “Community Structure and Collaborative Consumption” ในปี 1978 โดย Marcus Felson และ Joe Spaeth นัก สังคมศาสตร์ประจํามหาวิทยาลัย Illinois at Urbana-Champagne โดย sharing economy เป็นแนวคิดที่ช่วยให้ บุคคลโดยทั่วไปสามารถสร้างรายได้จากทรัพย์สินที่ตนมีมากเกินความจําเป็นหรือไม่ได้ใช้แล้ว (Excess Capacity) ผ่านช่องทางการให้บริการบนแพลตฟอร์มต่าง ๆ ที่เป็นตัวเชื่อมต่อระหว่างผู้ให้และผู้รับบริการ โดยผู้รับบริการจะ อาศัยข้อมูลบนเครือข่ายสังคมออนไลน์เป็นพื้นฐานที่ช่วยในการตัดสินใจ เช่น การเลือกที่พัก ยานพาหนะในการ เดินทาง รวมถึงสินค้ามือสอง กระเป๋าแบรนด์เนม และเสื้อผ้า เป็นต้น (สํานักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล , 2017) โดย ผู้รับบริการไม่จําเป็นต้องเสียเงินซื้อทรัพย์สินเหล่านั้นมาเป็นของตนเอง โดยมีการคาดการณ์ว่าในอนาคตจะมีหลาย อุตสาหกรรมที่มีการนําเอาแนวคิด sharing economy เข้าไปใช้ในการดําเนินธุรกิจ ซึ่งธุรกิจที่เป็นที่รู้จักในปั จจุบัน ได้แก่ อุตสาหกรรมการบริการ Airbnb Uber และ Grab taxi โดยปัจจัยสําคัญที่ทําให้แนวคิดนี้ได้รับการยอมรับมาก ขึ้นมาจาก 2 ปัจจัย คือ 1) อัตราการว่างงานที่สูงขึ้นจากสภาพเศรษฐกิจขาลงหลังจากวิกฤติการเงินโลกในปี 2008 และ 2) การเข้าถึงข้อมูลบนเครือข่ายสังคมออนไลน์มีมากขึ้น และทําให้ผู้ให้และผู้รับบริการสามารถเข้าถึงข้อมูลในเชิง คุณภาพและเชิงปริมาณ ซึ่งทําให้ทั้งสองฝ่ายรับรู้ถึงปัจจัยทีม่ ีอิทธิพลต่อความต้องการและพฤติกรรมผู้บริโภคได้ง่ายขึ้น 2.4 แนวคิด Gig Economy แนวคิดเกี่ยวกับ gig economy เริ่มเข้ามีบทบาทและเป็นที่ รับรู้ในระบบการทํางานของคนไทยมากขึ้นใน ปัจจุบัน ถึงแม้ว่าลักษณะการทํางานรูปแบบนี้จะมีอยู่ในสังคมไทยมาอย่างยาวนานแต่จะจํากัดอยู่ในกลุ่มอาชีพรับจ้าง ต่างๆ โดยเฉพาะภาคการเกษตร ซึ่ง gig economy หมายถึง การรับจ้างทํางานเป็นระยะเวลาสัน้ ๆ และการทํางานจะ จบไปและได้ผลตอบแทนตามงานที่ทําเป็นรายครั้ง หรือที่รู้จักกันในลักษณะการทํางานฟรีแลนซ์ หรืองานพาร์ทไทม์ โดยมีจุดเด่นด้านความยืดหยุ่นของเวลาในการทํางาน ผู้ทํางานในลักษณะนี้สามารถเลือกงานที่ตนเองชอบและมี ความสุข gig worker สามารถบริหารจัดการเวลาการทํางานและชีวิตส่วนตัวซึ่งต่างกับพนักงานประจําที่แม้จะมีความ มั่นคงมากกว่าแต่ไม่สามารถเลือกงานได้อย่างอิสระ ต้องทํางานตามที่ได้รับมอบหมายและมีความยืดหยุ่นน้อยกว่า จึง เป็นเหตุผลให้ประชากรวัยทํางานในปัจจุบันหันมาทํางานในรูปแบบนี้มากขึ้น โดยได้รับค่าตอบแทนไม่ด้อยไปกว่าผู้ที่ ทํางานประจําหรืออาจได้มากกว่าหากงานที่ทํามีคุณภาพและมีความขยันในการทํางาน และสิ่งสําคัญอีกประการหนึ่ง คือ gig worker ไม่จําเป็นต้องจบระดับปริญญาก็สามารถทํางานได้ ซึ่งถือเป็นการเปิดกว้างทางโอกาสสําหรับคนทุก ระดับการศึกษาตั้งแต่น้อยกว่ามัธยมศึกษาถึงระดับปริญญาเอก (กัลยรักษ์ นัยรักษ์เสรี, 2017) 2.5 การวิเคราะห์ปัจจัย (Factor Analysis) เทคนิคหนึ่งในการลดจํานวนตัวแปรที่มีจํานวนมากๆให้อยู่ในกลุ่มเดียวกันคือ เทคนิคการวิเคราะห์ปัจจัย สามารถทําได้โดยนําตัวแปรมาแบ่งกลุ่มแล้วเรียกกลุ่มเหล่านั้นว่าปัจจัย และใช้ปัจจัยที่หาได้เป็นตัวแปรใหม่แทนตัว แปรเดิม ปัจ จัยแต่ละกลุ่มจะถูกแบ่งตามความสัมพันธ์ที่ มีต่อกัน โดยตัวแปรที่มีความสัมพันธ์มากจะอยู่ในปัจจั ย เดียวกัน และตัวแปรที่มีความสัมพันธ์กันน้อยจะอยู่กลุ่มเดียวกัน จากนั้นทําการสร้างเมทริกซ์ความสัมพันธ์ โดยหา ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร หากตัวแปรมีความสัมพันธ์กันมากไม่ว่ าจะทางบวกหรือทางลบ ให้อยู่ในปัจจัยเดียวกัน เรียกว่า Factor loading โดยมีขั้นตอนหลักๆ ได้แก่ 1)คํานวณหาจํานวนปัจจัยว่าควรแยกเป็นกี่ปัจจัย โดยทําการ สกัดปัจจัยโดยวิธีตัวประกอบหลัก (PCF) 2) ทําการหมุนแกนกรณีค่า Factor loading แสดงค่าไม่ชัดเจนหรือไม่รู้ว่า ควรจะอยู่ปัจจัยไหน โดยวิธีหมุนแกนแบบตั้งฉาก (Orthogonal) แบบแวรีแมกซ์ (Varimax) ซึ่งเป็นวิธีที่ได้รับความ นิยม หลักเกณฑ์ของเทคนิคการวิเคราะห์ปัจจัย ข้อสมมติเริ่มแรกของการวิเคราะห์ปัจจัยคือ ตัวแปรต่างๆ ( X t ) เป็นฟังก์ชั่นของปัจจัยร่วม (Common factor) และค่าเฉพาะ (Unique factor) และสมมติว่ามีตัวแปร p ตัว สามารถทําเป็นปัจจัยได้ทั้งหมด m ปัจจัย ดังนี้ X 1 l11 F1 l12 F2 ... l1m Fm e1
X 2 l 21 F1 l 22 F2 ... l 2 m Fm e 2 . . . . . . . . . . . . . . . . . . X p l p1 F1 l p 2 F2 ... l pm Fm e p
โดยที่
X i ; i 1,2,..., p l ij ; i , j 1 , 2,.., m m
p e1 ; i 1,2,..., p
(2.1)
= ตัวแปรทั้งหมด p ตัว = ค่าสัมประสิทธ์หรือค่าถ่วงน้ําหนักของ X t เรียกว่า Factor loading = จํานวนปัจจัยร่วม (Common factor) = จํานวนตัวแปร = ค่าเฉพาะ (Unique factor) ของตัวแปรที่ i
หากเขียนในรูปเมทริกซ์จะได้ว่า l11 l12 l1m F1 X1 e1 l X e 21 l 22 l 2 m F2 2 2 X p e p l p1 l p 2 l pm Fm X L F e ( p 1) ( p m) (m 1) ( p 1)
(2.2)
โดยที่
X X1
X2
l11 l12 l l22 21 Xp , L l p1 l p 2
l1m l2 m , F F1 F2 Fm , e e1 e2 e3 l pm
ค่าแปรปรวนของตัวแปรหนึ่งๆ จะถูกแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ ค่าความร่วมกันและค่าแปรปรวนของค่า เฉพาะ สามารถสรุปเป็นประเด็นได้ ดังนี้ 1) ค่าแปรปรวนของตัวแปรหนึ่งๆ จะแบ่งเป็น 2 ส่วนคือ ค่าความร่วมกัน ของตัวแปรต่างๆและค่าแปรครวนของค่าเฉพาะ 2) ค่า Factor loading ( lij )คือค่าที่แสดงความสัมพันธ์ (Coefficient)ระหว่างตัวแปรเดิม X t กับตัวแปรที่สร้างขึ้นใหม่ F j และหากปรับข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบมาตรฐานแล้ว ค่า factor loading ( lij )จะเปลี่ยนบทบาทจากที่แสดงความสัมพันธ์ มาเป็ นแสดงค่าสหสัมพันธ์ (Correlation) ของ ตัวแปรเดิม X t กับตัวแปรที่สร้างขึ้นใหม่ F j และ 3) หลังจากปรับข้อมูลเป็นแบบมาตรฐาน (Standardize) แล้วค่า สหสัมพันธ์ของตัวแปรเดิม X t กับตัวแปรเดิม X t จะเกิดจากผลคูณของค่า Factor loading โดยมีเงื่อนไขของเทคนิค การวิ เคราะห์ปัจจั ย ดัง นี้ 1) ปัจ จัยร่วมไม่มีความสัมพัน ธ์กัน หรือค่า สหสั มพัน ธ์ระหว่าง Fi กับ F j เท่ากับศูน ย์ Corr (Fi , Fj ) 0 ; i j 2) ค่าเฉพาะไม่มีความสัมพันธ์กัน หรือค่าสหสัมพันธ์ระหว่าง ei กับ e j เท่ากับศูนย์ Corr (ei , e j ) 0 ; i j และ 3)ปัจจัยร่วมและค่าเฉพาะไม่มีความสัมพันธ์กัน หรือค่าสหสัมพันธ์ระหว่าง Fi กับ e j เท่ากับ Corr ( Fi , e j ) 0 ; i j
การสกัดปัจจัยด้วยวิธีตัวประกอบหลัก วิธีการสกัดปัจจัยมีอยู่หลากหลายวิธี ในที่นี้จะอธิบายการวิเคราะห์ปัจจัยด้วยวิธี PCF เนื่องจากเป็นวิธีที่ได้รบั ความนิยมอย่างแพร่หลาย โดยวิธีนี้จะอาศัยเทคนิคการวิเคราะห์ตัวประกอบหลัก (Principle Component Analysis: PCA) ขั้นตอนแรกคือ การหาค่า Factor loading ของปัจจัยแต่ละตัวก่อนจะได้สมการคือ F1 l11 X1 l12 X 2 ... l1 p X p F1 l21 X1 l22 X 2 ... l2 p X p
(2.3)
Fp l p1 X1 l p 2 X 2 ... l pp X p
จากสมการ ทําให้ทราบว่า เมทริกซ์ค่าแปรปรวนร่วมของตัวแปร X คือ LL ดังนั้นเมื่อให้ข้อมูลตัวอย่าง จะได้ว่า (2.4) S Lˆ Lˆ ˆ ในการวิเคราะห์ด้วยวิธี PCA ผลของการหาตัวปัจจัยจะไม่มีค่าเฉพาะ เนื่องจากความผันแปรทั้ งหมดของตัวแปรจะ แทนได้ด้วยปัจจัย ทําให้จํานวนตัวแปรมีเท่ากับจํานวนของปัจจัย เมื่อเป็นเช่นนี้แสดงให้เห็นว่าไม่มีผลของส่วนของค่า เฉพาะ ดังนั้นจะได้ว่า (2.5) S Lˆ Lˆ ทั้งนี้ จากหลักการเมทริกซ์ตั้งฉาก (Orthogonal matrix) สามารถแยกส่วนเมทริกซ์ออกได้เป็น (2.6) S CDC โดยที่ เมทริกซ์ C เป็นเมทริกซ์ตั้งฉาก ในแนวตั้งจะมีคุณสมบัติคือ CC CC I และ เมทิรกซ์ D มีลักษณะ ดังนี้ 1 0 0 2 D 0 0
0 0 p โดยที่ 1 , 2 , ... , p เป็นค่าไอเก็นของเมทริกซ์ S และเนื่องจากเมทริกซ์ S เป็นเมทริกซ์จํากัดเขตที่เป็นบวก
(Positive definite matrix) ค่าไอเก็นแต่ละค่าจึงเป็นบวกทั้งหมด และสามารถแยกเมทริกซ์ D ออกได้เป็นดังนี้ 1/ 2 D D1 / 2 D1 / 2 และได้ค่า D
1 0 0
0
2 0
p
0 0
จากการที่สามารถแบ่งเมทริกซ์ D ได้ดังข้างต้น เราจึงสามารถจัดรูปเมทริกซ์ S ได้ใหม่ดังนี้ S CDC CD1 / 2 D1 / 2C CD1 / 2 CD1 / 2 ซึ่งมีความคล้ายคลึงกับ S Lˆ Lˆ ดังนัน ้ หา Lˆ ได้ดังนี้ Lˆ CD1 / 2
โดยที่ เมทริกซ์ C มีขนาด p m ประกอบด้วยเวกเตอร์ไอเก็น m ตัว (c1, c2 ,..., cm ) เมทริ ก ซ์ D มี ข นาดเท่ า กั บ m m ประกอบด้ ว ยค่ า ไอเก็ น ที่ ม ากที่ สุ ด m ค่ า 1, 2 ,..., m โดยที่ 1 , 2 ,..., m เขียนเป็นรูปแบบสมการได้ดังนี้
lˆ11 lˆ12 ˆ ˆ ˆL l21 l22 ˆ ˆ l p1 l p 2
1c11 c Lˆ 1 21 1c p1
lˆ1m c11 c12 lˆ2 m c21 c22 lˆpm c p1 c p 2
2c12 2c22 2c p 2
c1m 1 c2 m 0 c pm 0
0
2 0
mc1m mc2 m mc pm
0 0 m
(2.7)
จากสมการข้างต้นแถวตั้ งของ Lˆ ค่าไอเก็นจะเหมือนกันทุกแถว แสดงว่าแถวตั้งของ Lˆ เป็นสัดส่วนของ เวกเตอร์ไอเก็นของเมทริกซ์ค่าแปรปรวนและค่าความแปรปรวนร่วมของตัวแปร X i (เมทริกซ์ S ) และแสดงให้เห็น ว่า Factor loading หาได้จากเวกเตอร์ไอเก็นและค่าไอเก็น ดั้งนั้นหากสามารถหาค่าเวกเตอร์ไอเก็นและค่าไอเก็นได้ ก็จะสามารถหาค่า Factor loading ได้ค่าไอเก็นหาได้จากผลบวกกําลังสองของค่า Factor loading ของแถวตั้งที่ j ของเมทริกซ์ L เขียนเป็นสมการได้ว่า p
p
i 1
i 1
lˆij2 jcij
2
; j 1,2,..., m p
p
c j cij2 i 1
2 j ij
i 1
เนื่องจากเวกเตอร์ไอเก็นที่ปรับเป็นปกติ (Normalize) แล้วมีค่าผลรวมกําลังสองเท่ากับ c p
i 1
ที่ j ของเมทริกซ์ S คือ
P
lˆ i 1
2 ij
2
ij
1
ดังนั้นค่าไอเกน
j
เมื่อได้ค่าความร่วมกันแล้ว ต่อมคือการหาค่าความแปรปรวนของค่าเฉพาะ ได้จาก
Varˆ X i hˆi2 ˆi2 (2.8) 1 เนื่องจากการปรับค่า X i ให้อยู่ในรูปมาตรฐาน ( Zt ) จะทําให้ Var ( Zi ) 1 ดังนั้นจากสมการที่ (2.8) จะได้ว่า 1 hˆ2 ˆ2 i
ดั้งนั้น ค่าแปรปรวนของ ค่าแปรปรวนรวมของ ค่าความร่วมกันของ ค่าเฉพาะของ
i
Varˆei ˆi2 1 hˆi2
Fi VarˆFi lli2 l22i ... lmi2
Fi และ F j Var( Fi ) Var( Fj ) X i hi2 X i ei 1 hi2
การหาจานวนปัจจัยที่เหมาะสม ขั้นตอนการหาจํานวนปัจจัยที่เหมาะสมก่อนการนําไปใช้ในแบบจําลองสามารถพิจารณาจาก 1) ค่าไอเก็น โดยปัจจัยร่วมที่เหมาะสมควรมีค่าไอเก็นมากกว่า 1 ขึ้นไป 2) พิจารณา Scree plot จากการพล็อคค่าไอเก็น เช่น 1
การปรับให้อยู่ในรูปมาตรฐานทําได้จาก
PCi SDPCi
หากปัจจัยร่วมมีจํานวน m 1 และมีค่าไอเก็นต่ํามากเมื่อเทียบกับจํานวนปัจจัยตัวที่ m หรือค่าไอเก็นลดลงอย่าง รวดเร็ว ดังนั้นเราไม่ควรพิจารณาปัจจัยที่ m 1 แต่ควรจะมีปัจจัยร่วมแค่ m ตัว และ 3) หากค่าแปรปรวนของ ปัจจัยร่วมใดมีค่าน้อยกว่าค่าแปรปรวนเฉลี่ย p ควรจะตัดทิ้งไป p
i
i 1
การหมุนแกนปัจจัยร่วมแบบตั้งฉากโดยวิธีแวรีแมกซ์(Varymax) ขั้นตอนที่ทําให้ตัวแปรมีความชัดเจนขึ้นว่าควรจะจัดอยู่ปัจจัยไหน คือขั้นตอนการหมุนแกนปัจจัยร่วม เช่น ในกรณีที่ค่า loading factor ของตัวแปรไม่แตกต่างกันมากนักหรือไม่ชัดเจน และไม่รู้ว่าควรจะจัดอยู่ปัจจัยไหน ดังนั้นวิธีการหมุนแกนปัจจัยร่วมจะช่วยทําให้ค่า loading factor มีความชัดเจนขึ้น และจะช่วยแก้ปัญหาดังกล่าวได้ วิธีการหมุนแกนปัจจัยร่วมมีหลายวิธี แต่สามารถแบ่งได้เป็น 2 วิธีหลักๆ คือ วิธีการหมุนแกนแบบตั้งฉาก และวิธีหมุน แกนแบบไม่ตั้งฉาก ในการศึกษาครั้งนี้จะใช้วิธีการหมุนแกนแบบตั้งฉาก โดยวิธีแวรีแมกซ์ (Varymax) ซึ่งเป็นวิธีหนึ่งที่ ได้รับความนิยม หลักการของวิธีนี้คือการลดจํานวนตัวแปรที่มีน้ําหนักในแต่ละปัจจัยให้เ หลือน้อยที่สุด โดยพยามยาม ทําให้ตัวประกอบแต่ละคอลัมน์ต่างกันมากที่สุด เพื่อจะช่วยให้ให้ความหมายของแต่ละปัจจัยได้ง่ายขึ้น ดังจะเห็นจาก รูปที่3 หากไม่มีการหมุนแกนจะไม่สามารถเห็นได้ว่าตัวแปรตัวใดอยู่ใกล้ F1 หรือ F2 เนื่องจากค่า loading factor มีค่าใกล้เคียงกัน ดังนั้นจากรูปที่ 3 จะเห็นได้ว่า ( X1, X 2 , X 3 ) ควรจะอยู่ในปัจจัย F2 และ ( X 4 , X 5 , X 6 ) ควร จะอยู่ใน F1 รูปที่3 การหมุนแกนปัจจัย
F1 และ F2
ที่มา: ไพบูลย์ พงษ์ไพเชฐ, 2550 การให้ความหมายปัจจัยร่วม เมื่อได้ปัจจัยร่วมแล้ว ต่อมาคือต้องให้คํานิยามแก่ปัจจัยแต่ละตัว โดยบ่งชี้ว่าปัจจัยร่วมที่สร้างขึ้นมาแทน ปัจ จัย เดิ มมี ความหมายว่า อย่ างไร เป็น ตัว แทนของตัว แปรเดิม ใดบ้า ง โดยการให้ความหมายปั จ จัย ร่ว มควรเป็ น ความหมายที่คลอบคลุมตัวแปรที่มีความผันแปรในปัจจัยร่วมนั้นมาก โดยดูจากค่า Loading ของตัวแปรที่มีปัจจัยร่วม แต่ละปัจจัย แต่หากค่า Loading มาก แสดงว่าตัวแปรดังกล่าวอยู่ในปัจจัยที่สนใจ ควรจะให้ความหมายปัจจัยร่วมให้ ครอบคลุม ถึง ตัว แปรนั้ นด้ว ย ซึ่ง การให้ความหมายของปั จจั ยจะครอบคลุ มตั วแปรได้ มากน้อยแค่ไ หน ขึ้นอยู่กับ ประสบการณ์ของผู้ทําการวิจัยด้วย 3. ขอบเขตและวัตถุประสงค์ การศึกษานี้มุ่งเน้นการวัด ความพร้อมของประเทศต่อ สภาวะเศรษฐกิจการแชร์อย่างสร้างสรรค์ (Creative Sharing Economy Readiness: CSER) ในอุตสาหกรรมต่างๆ ได้แก่ ที่พักโรงแรม การคมนาคม แฟชั่น อาหารและ เครื่องดื่ ม และการศึกษา และพั ฒนาดัช นี ความพร้อมของจั ง หวั ด ในการรองรับสภาวะเศรษฐกิจการแชร์อย่ า ง สร้างสรรค์ (CSEI) ที่ประกอบด้วยปัจจัยความพร้อมด้านโครงสร้างพื้นฐานทางดิจิทัล ปัจจัยความเป็นสังคมเมือง
ปัจจัยด้านเศรษฐกิจ ปัจจัยด้านผู้ผลิตสมัยใหม่ และปัจจัยด้านผู้บริโภคสมัยใหม่ โดยอาศัยเทคนิคการรวบรวมข้อมูล ทุติยภูมิและการสํารวจ จากนั้นทําการคํานวณค่าดัชนีถ่วงน้ําหนักด้วยการวิ เคราะห์ปัจจัยร่วม ภายใต้วัถุประสงค์ การศึกษาดังนี้ 3.1) ศึกษาสถานการณ์ด้านเศรษฐกิจการแชร์อย่างสร้างสรรค์ในประเทศไทย 3.2) ศึกษาเปรียบเทียบ ดัชนีชี้วัดความพร้อมภาวะเศรษฐกิจการแชร์อย่างสร้างสรรค์ (CSERI) ของไทย มาเลเซีย สิงคโปร์ และเวียดนาม และ 3.3) นโยบายรองรับเศรษฐกิจการแชร์อย่างสร้างสรรค์สําหรับประเทศไทย 4. ระเบียบวิธีวิจัย 4.1 การรวบรวมข้อมูล การศึกษานี้มุ่งเน้นการรวบรวมข้อมูลทุติยภูมิจากแหล่งข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับภาวะเศรษฐกิจการแชร์ อย่างสร้างสรรค์ (Creative Sharing Economy: CSE) ในอุตสาหกรรมต่างๆ ได้แก่ ที่พักโรงแรม การคมนาคม แฟชั่น อาหารและเครื่องดื่ม และการศึกษา รวมถึงรวบรวมข้อมูลทุติยภูมิเกี่ยวข้องกับความพร้อมของประเทศไทยในการ รองรับสภาวะเศรษฐกิจการแชร์อย่างสร้างสรรค์ ที่ประกอบด้วยปัจจัยความพร้อมด้านโครงสร้างพื้นฐานทางดิจิทัล ปัจจัยความเป็นสังคมเมือง ปัจจัยด้านเศรษฐกิจ ปัจจัยด้านผู้ผลิตสมัยใหม่ และปัจจัยด้านผู้บริโภคสมัยใหม่ 4.2 การวิเคราะห์ปัจจัยร่วม เนื่องจากการศึกษามุ่งเน้นการพัฒนาดัชนีชี้วัดความพร้อมของจังหวัดต่อการรองรับภาวะเศรษฐกิจการแชร์ อย่างสร้างสรรค์ (Creative Sharing Economy Readiness Index: CSERI) จึงได้ทําการรวบรวมข้อมูลทุติยภูมิ (จํานวนทั้งสิ้น 34 ปัจจัย) จากกลุ่มปัจจัยหลัก 5 กลุ่ม ได้แก่ ปัจจัยความพร้อมด้านโครงสร้างพื้นฐานทางดิจิทัล ปัจจัยความเป็นสังคมเมือง ปัจจัยด้านเศรษฐกิจ ปัจจัยด้านผู้ผลิตสมัยใหม่ และปัจจัยด้านผู้บริโภคสมัยใหม่ ดังนั้นจึง จําเป็นต้องมีการแบ่งกลุ่มปัจจัยเพื่อหาค่าคะแนนถ่วงน้ําหนักด้วยวิธี Principle component Analysis (PCA) หลังจากการหมุนแกนแบบวารีแม็กซ์ จากนั้นทําการตั้งชื่อกลุ่มปัจจัยเพื่อประกอบการคํานวณดัชนีชี้วัดความพร้อม ภาวะเศรษฐกิจการแชร์อย่างสร้างสรรค์ (CSER) และสร้างเป็นค่าคะแนนมาตรฐาน Standardized Index ต่อไป 4.3 การคานวณดัชนีชี้วัดความพร้อมภาวะเศรษฐกิจการแชร์อย่างสร้างสรรค์ (CSER) ดัชนีชี้วัดความพร้อมภาวะเศรษฐกิจการแชร์อย่างสร้างสรรค์ (CSER) หมายถึงดัชนีวัดความพร้อมของจังหวัด ต่อการรองรับภาวะเศรษฐกิจการแชร์อย่างสร้างสรรค์ ประกอบด้วยความพร้อมด้านโครงสร้างพื้นฐานทางดิจิทัล การ เป็นสังคมเมือง เศรษฐกิจ ความพร้อมของผู้ประกอบการ และความพร้อมของผู้บริโภคสินค้าเศรษฐกิจการแชร์อย่าง สร้างสรรค์ การคํานวณดัชนีชี้วัดความพร้อมภาวะเศรษฐกิจการแชร์อย่างสร้างสรรค์ในการศึกษานี้มาจากค่าคะแนน หลังการถ่วงน้ําหนักด้วย PCA ในกลุ่มปัจจัยต่างๆ ดังสมการต่อไปนี้ CSER f ( DINFAR w URBR w ECR w PSSRw CDR w GOVR w )
โดยที่
CSER DINFAR w URBR w
ECR w PSSRw CDR w GOVR w
คือ ดัชนีชี้วัดความพร้อมภาวะเศรษฐกิจการแชร์อย่างสร้างสรรค์ คือ ค่าคะแนนความพร้อมด้านโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลถ่วงน้ําหนัก คือ ค่าคะแนนความพร้อมด้านการเป็นสังคมเมืองถ่วงน้าํ หนัก คือ ค่าคะแนนความพร้อมด้านเศรษฐกิจถ่วงน้ําหนัก คือ ค่าคะแนนความพร้อมด้านการผู้ประกอบการและการประกอบธุรกิจถ่วงน้ําหนัก คือ ค่าคะแนนความพร้อมด้านการผู้บริโภคถ่วงน้ําหนัก คือ ค่าคะแนนความพร้อมด้านนโยบายและรัฐบาลถ่วงน้ําหนัก คือ ค่าความคลาดเคลื่อน
จากนั้นทําการคํานวณค่าคะแนนมาตรฐาน Standardized Index ดังนี้
CSEI
Mean(CSER) Min(CSER) Max(CSER) Min(CSER)
100
4.4 ตัวแปรที่ใช้ในการศึกษา การศึกษานี้ใช้ข้อมูลทุติยภูมิจากการรวบรวมจากแหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้ต่างๆ จํานวนทั้งหมด 34 ตัวแปร โดยแบ่งเป็นตัวแปรทั้งหมด 6 ด้านประกอบด้วยความพร้อมด้านโครงสร้างพื้นฐานทางดิจิทัล การเป็นสังคมเมือง เศรษฐกิจ ความพร้อมของผู้ประกอบการ และความพร้อมของผู้บริโภคสินค้าเศรษฐกิจการแชร์อย่างสร้างสรรค์ ดังนี้ ตารางที่ 2 ตัวแปรที่ใช้ในการศึกษา ลาดับ 1 1.1 1.2 1.3 1.4 2 2.1 2.2 3 3.1 3.2 3.3 3.4 3.5 4 4.1 4.2 4.3 4.4 4.5 4.6 4.7 4.8 4.9 4.10
ตัวแปร DINFAR DINFAR1 DINFAR2 DINFAR3 DINFAR4 URBR URBR1 URBR2 ECR ECR1 ECR2 ECR3 ECR7 ECR8 PSSR PSSR1 PSSR2 PSSR3 PSSR4 PSSR5 PSSR6 PSSR7 PSSR8 PSSR9 PSSR10
4.11 4.12 5 5.1 5.2 5.3
PSSR11 PSSR12 CDR CDR1 CDR2 CDR3
ชื่อตัวแปร หน่วย ความพร้อมด้านโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัล การผลิตไฟฟ้า kWh / capita ความครอบคลุมเครือข่ายมือถือ ร้อยละ แบนด์วิดท์อินเทอร์เน็ต kb /user เซิร์ฟเวอร์อินเทอร์เน็ตที่ปลอดภัยต่อประชากร ต่อ 1 ล้านคน ความพร้อมด้านการเป็นสังคมเมือง อัตราส่วนประชากรที่อาศัยในเมือง ร้อยละ จํานวนที่สิ่งก่อสร้างที่เป็นที่อยู่อาศัย ล้านหน่วย ค่าคะแนนความพร้อมด้านเศรษฐกิจ อัตราค่าโทรศัพท์มือถือแบบเติมเงินมือถือ PPP $ / นาที อัตราค่าบริการอินเทอร์เน็ตบรอดแบนด์คงที่ PPP $ / เดือน ระดับการแข่งขันทางอินเทอร์เน็ตและโทรศัพท์ 0-2 (ดีที่สุด) รายได้ต่อหัว USD ผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ USDmn ความพร้อมด้านการผู้ประกอบการและการประกอบธุรกิจ ความพร้อมใช้งานของเทคโนโลยีลา่ สุด 1-7 (ดีที่สุด) ความพร้อมของเงินร่วมลงทุน 1-7 (ดีที่สุด) อัตราภาษี ร้อยละ/กําไร จํานวนวันที่เริ่มต้นธุรกิจ วัน จํานวนขั้นตอนในการเริม่ ต้นธุรกิจ ครั้ง ความเข้มของการแข่งขันในท้องถิ่น 1-7 (ดีที่สุด) การดูดซึมเทคโนโลยีระดับ บริษัท 1-7 (ดีที่สุด) ความสามารถในการสร้างสรรค์นวัตกรรม 1-7 (ดีที่สุด) จํานวนสิทธิบัตร แอปพลิเคชัน ต่อประชากร ต่อ ล้านคน การใช้ ICT สําหรับธุรกรรมระหว่างธุรกิจกับธุรกิจ 1-7 (ดีที่สุด) B2B การใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อธุรกิจกับผูบ้ ริโภค B2C 1-7 (ดีที่สุด) ระยะเวลาการฝึกอบรมพนักงาน 1-7 (ดีที่สุด) ความพร้อมด้านผู้บริโภค จํานวนการสมัครสมาชิกโทรศัพท์เคลื่อนที่ ต่อ 100 คน บุคคลที่ใช้อินเทอร์เน็ต ร้อยละ ครัวเรือนที่มีคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล ร้อยละ
ที่มา WEF WEF WEF WEF CEIC CEIC WEF WEF WEF CEIC CEIC WEF WEF WEF WEF WEF WEF WEF WEF WEF WEF WEF WEF WEF WEF WEF
ลาดับ 5.4 5.6 5.7 5.8 6 6.1 6.2 6.3 6.4
ตัวแปร CDR4 CDR5 CDR6 CDR7 GOVR GOVR1 GOVR2 GOVR3 GOVR4
ชื่อตัวแปร ครัวเรือนที่มีอินเทอร์เน็ต อินเทอร์เน็ตความเร็วสูงคงที่ การใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ จํานวนผู้ใช้งานเฟสบุ๊ค ความพร้อมด้านนโยบายและรัฐบาล ความสําคัญของ ICTs ต่อวิสัยทัศน์ของรัฐบาล ดัชนีการให้บริการออนไลน์ของรัฐบาล ความสําเร็จของรัฐบาลในการส่งเสริม ICT ความพร้อมด้านกฎหมาย ICT
หน่วย ที่มา ร้อยละ WEF ต่อ 100 คน WEF 1-7 (ดีที่สุด) WEF ล้านคน Internetworldstats 1-7 (ดีที่สุด) 0-1 (ดีที่สุด) 1-7 (ดีที่สุด) 1-7 (ดีที่สุด)
WEF WEF WEF WEF
5. ผลการศึกษา ผลการศึกษาการเตรียมความพร้อมสู่ยุคเศรษฐกิจการแชร์อย่างสร้างสรรค์ประกอบด้วย สถานการณ์ด้าน เศรษฐกิจแบ่งปันแบบสร้างสรรค์ในประเทศไทย ผลการวิเคราะห์ปัจจัยร่วม ดัชนีชี้วดั ความพร้อมเศรษฐกิจแบ่งปัน แบบสร้างสรรค์ของประเทศไทย และนโยบายรองรับเศรษฐกิจแบ่งปันแบบสร้างสรรค์ ดังนี้ 5.1 สถานการณ์ด้านเศรษฐกิจแบ่งปันแบบสร้างสรรค์ในประเทศไทย จากการสํารวจข้อมูลทุติยภูมิเกีย่ วกับสถานการณ์ด้านเศรษฐกิจแบ่งปันแบบสร้างสรรค์ในประเทศไทย พบว่า ประเภทธุรกิจแบ่งปันแบบสร้างสรรค์มีการประยุกต์ใช้กับอุตสาหกรรมหลากหลายประเภท ได้แก่ ประเภทที่อยู่อาศัย ประเภทการจ้างงานอิสระ ประเภทการขนส่ง ประเภทแฟชั่น ประเภทร้านอาหารและคาเฟ่ และ ประเภทการศึกษา ได้ผลการศึกษาดังตารางที่ 3 ดังนี้ ตารางที่ 3 จานวนธุรกิจแบ่งปันแบบสร้างสรรค์ในประเทศไทย ที่อยู่อาศัย (Accommodation) ลําดับ ชื่อธุรกิจ ลักษณะสินค้าและบริการ รูปแบบแพตฟอร์ม 1 Airbnb ให้บริการจองห้องพักและอาหารเช้า เว็บไซต์/แอพพลิเคชัน่ 2 traveloka ให้บริการจองที่พักและจองตั๋วเครื่องบิน เว็บไซต์/แอพพลิเคชัน่ 3 Agoda ให้บริการจองที่พักและจองตั๋วเครื่องบิน เว็บไซต์/แอพพลิเคชัน่ 4 Booking.com ให้บริการจองที่พัก, ตั๋วเครื่องบิน, รถไฟ, รถบัส, บริการ เว็บไซต์/แอพพลิเคชัน่ เช่ารถยนต์, บริการแท็กซี่สนามบิน (จองรถไฟ, รถบัส และบริการแท็กซี่สนามบินไม่มบี ริการในประเทศไทย) 5 Trivago ให้บริการจองที่พัก เว็บไซต์/แอพพลิเคชัน่ 6 Expedia ให้บริการจองที่พักและจองตั๋วเครื่องบิน เว็บไซต์/แอพพลิเคชัน่ 7 Skyscanner ให้บริการจองที่พัก, ตั๋วเครื่องบิน, บริการเช่ารถยนต์ เว็บไซต์/แอพพลิเคชัน่ 8 Hotels.com ให้บริการจองที่พัก เว็บไซต์/แอพพลิเคชัน่ 9 TripAdvisor ให้บริการจองที่พัก, ตั๋วเครื่องบิน, บริการเช่ารถยนต์ เว็บไซต์/แอพพลิเคชัน่ 10 HotelsCombined เปรียบเทียบเว็บไซต์จองโรงแรมชั้นนําทั้งหมด เว็บไซต์/แอพพลิเคชัน่ 11 Ctrip ให้บริการจองที่พัก, ตั๋วเครื่องบิน เว็บไซต์/แอพพลิเคชัน่ การจ้างงานอิสระ (Gig Economy) 1 Beneat จัดหาแม่บ้านทําความสะอาด เว็บไซต์/แอพพลิเคชัน่ 2 Seekster บริการจัดหาแม่บ้านทําความสะอาด, ช่างต่อเติมและ เว็บไซต์/แอพพลิเคชัน่ ซ่อมแซม
3
Fastwork
4 5
FixzyAuto Fixzy-Easy Home Maintenance
1 2 3 4 5 6 7 8
Grab Driver Uber GoBike Lalamove NCA booking OBike บขส. ชัวร์ Bangkok MRT
9 10 11 12
Haupcar Kerry Express Rentalcars.com SKOOTAR
1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12
Konvy Pomelo ShopSpot Season Hip n Chic Sephora Snapbag Zilingo LnwShop Shopee Lazada Wish
1 2 3
Wongnai eatigo foodpanda
บริการค้นหาฟรีแลนซ์มืออาชีพเพื่อพัฒนาธุรกิจ (ได้แก่ ด้าน Graphic & illustration, การตลาดและโฆษณา, เขียนและแปลภาษา, ภาพและเสียง, Web & Programming, ปรึกษาและแนะนํา) ให้บริการช่วยค้นหาอู่ซ่อมรถหรือบริการที่เกี่ยวกับรถ ให้บริการช่วยค้นหาช่างซ่อมปัญหาภายในที่อยู่อาศัย ขนส่งและโลจิสติกส์ (Transportation) บริการเรียกรถแท็กซี่, รถยนต์ส่วนตัว, มอเตอร์ไซค์ บริการเรียกรถยนต์ส่วนตัว บริการเรียกมอเตอร์ไซค์, ขนส่งพัสดุ บริการขนส่ง บริการจองตั๋วโดยสารรถบัส ให้บริการเช่าจักรยานสาธารณะระยะสั้น บริการจองตั๋ว บขส. ออนไลน์ บริการวางแผนการเดินทางโดยใช้รถไฟฟ้าใต้ดินใน กรุงเทพฯ และคํานวณค่าโดยสาร ให้บริการคาร์แชร์ริ่ง บริการจัดส่งพัสดุ บริการจัดหารถเช่า, ค้นหา, เปรียบเทียบราคา บริการแมสเซ็นเจอร์ส่งด่วน เพือ่ รับส่งเอกสาร เก็บเช็ค วางบิล ส่งของด่วนภายในวัน สะดวก ประหยัด ไว้ใจได้ ครอบคลุม กทม. - ปริมณฑล แฟชั่น (Fashion) เครื่องสําอางชั้นนํา เสื้อผ้าแฟชั่น แหล่งรวมสินค้า ไอเดีย คุณภาพดี จากฝีมือคนไทย เสื้อผ้าแฟชั่น สินค้าแฟชั่น เครื่องสําอางชั้นนํา เสื้อผ้าแฟชั่นและการแบ่งปันสไตล์แฟชั่นการแต่งตัว เสื้อผ้าแฟชั่นและความงาม บริการช่องทางการซื้อขายสินค้าโดยจับคู่ผู้ซื้อกับผู้ขาย บริการช่องทางการซื้อขายสินค้าโดยจับคู่ผู้ซื้อกับผู้ขาย บริการช่องทางการซื้อขายสินค้าโดยจับคู่ผู้ซื้อกับผู้ขาย บริการช่องทางการซื้อขายสินค้าโดยจับคู่ผู้ซื้อกับผู้ขาย ร้านอาหารและคาเฟ่ (Restaurant and Café) บริการค้นหาร้านอาหาร ร้านเสริมสวยและสปา บริการรจองร้านอาหาร บริการสั่งอาหารเดลิเวอรี่ออนไลน์
เว็บไซต์/แอพพลิเคชัน่
เว็บไซต์/แอพพลิเคชัน่ เว็บไซต์/แอพพลิเคชัน่ เว็บไซต์/แอพพลิเคชัน่ เว็บไซต์/แอพพลิเคชัน่ เว็บไซต์/แอพพลิเคชัน่ เว็บไซต์/แอพพลิเคชัน่ เว็บไซต์/แอพพลิเคชัน่ เว็บไซต์/แอพพลิเคชัน่ เว็บไซต์/แอพพลิเคชัน่ เว็บไซต์/แอพพลิเคชัน่ เว็บไซต์/แอพพลิเคชัน่ เว็บไซต์/แอพพลิเคชัน่ เว็บไซต์/แอพพลิเคชัน่ เว็บไซต์/แอพพลิเคชัน่
เว็บไซต์/แอพพลิเคชัน่ เว็บไซต์/แอพพลิเคชัน่ เว็บไซต์/แอพพลิเคชัน่ เว็บไซต์/แอพพลิเคชัน่ เว็บไซต์/แอพพลิเคชัน่ เว็บไซต์/แอพพลิเคชัน่ เว็บไซต์/แอพพลิเคชัน่ เว็บไซต์/แอพพลิเคชัน่ เว็บไซต์/แอพพลิเคชัน่ เว็บไซต์/แอพพลิเคชัน่ เว็บไซต์/แอพพลิเคชัน่ เว็บไซต์/แอพพลิเคชัน่ เว็บไซต์/แอพพลิเคชัน่ เว็บไซต์/แอพพลิเคชัน่ เว็บไซต์/แอพพลิเคชัน่
4
Foursquare
5 6
honestbee Ocha Manager
7 8 9
Makan eatRanger Indian Food in Thailand
1
รู้หมดกฎหมาย
2
ปัจจัยพื้นฐาน นักเรียนยากจน Duolingo Bright HelloTalk TCASter
3 4 5 6 7 8
GAT Vocabulary Book สูตรฟิสิกส์
1
FlowAccount
2 3 4 5
Omise Kaidee Priceza Home.co.th
6
ONE2CAR
7
CheckRaka
8 JOBTOPGUN ที่มา: จากการสํารวจ
ค้นหาร้านอาหาร คาเฟ่ ร้านกาแฟ ที่เที่ยวยามค่ําคืน แหล่งชอปปิ้ง บริการสั่งอาหารเดลิเวอรี่ออนไลน์ แอปพลิเคชันทีช่ ่วยในการจัดการระบบการขายหน้าร้าน และหลังร้าน สามารถใช้ได้กบั ร้านหลายประเภท ทั้ง ร้านอาหาร ร้านกาแฟ ร้านขนม และร้านอื่นๆ ที่มีความ ต้องการใช้ระบบการจัดการร้าน รวมร้านอาหารอิสลามทั่วไทย แอปพลิเคชั่นสัง่ อาหารส่งถึงที่ รวมร้านอาหารอิสลาม อินเดีย และอาหารมังสวิรัติ การศึกษา (Education) ให้ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายที่จําเป็นและความรู้ใน ชีวิตประจําวัน แอปพลิเคชันขอทุนการศึกษาสําหรับนักศึกษายากจน
เว็บไซต์/แอพพลิเคชัน่ เว็บไซต์/แอพพลิเคชัน่ เว็บไซต์/แอพพลิเคชัน่
เว็บไซต์/แอพพลิเคชัน่ เว็บไซต์/แอพพลิเคชัน่ เว็บไซต์/แอพพลิเคชัน่ เว็บไซต์/แอพพลิเคชัน่ เว็บไซต์/แอพพลิเคชัน่
สําหรับเรียนภาษาต่างประเทศ สําหรับเรียนภาษาอังกฤษ สําหรับเรียนภาษาอังกฤษ แอปพลิเคชันรวมข้อมูลในการสอบมหาวิทยาลัยผ่าน ระบบ TCAS แอปพลิเคชันเตรียมสอบ GAT
เว็บไซต์/แอพพลิเคชัน่ เว็บไซต์/แอพพลิเคชัน่ เว็บไซต์/แอพพลิเคชัน่ เว็บไซต์/แอพพลิเคชัน่
รวมรวมสูตรในวิชาฟิสิกส์ชนั้ มัธยมศึกษาปีที่ 4-6 อื่นๆ (Others) บริการระบบบัญชีเบื้องต้นออนไลน์สําหรับบริษัท startup ไทย บริการระบบชําระเงินครบวงจรออนไลน์ บริการพื้นที่ซื้อ-ขายสินค้ามือสอง บริการค้นหาและเปรียบเทียบราคาสินค้า บริการค้านหาบ้าน-คอนโดฯ พร้อมการเปรียบเทียบ ราคา ทําเล แบบบ้าน บริการเชื่อมโยงผู้ซื้อ และผู้ขายรถยนต์ใหม่และรถมือ สอง บริการข้อมูลเศรษฐกิจ หุ้น น้ํามัน ทองคํา การเงิน รถยนต์ รถมอเตอร์ไซค์ บ้าน คอนโด โทรศัพท์มือถือ บริการช่วยหางาน
เว็บไซต์/แอพพลิเคชัน่
เว็บไซต์/แอพพลิเคชัน่
เว็บไซต์/แอพพลิเคชัน่ เว็บไซต์/แอพพลิเคชัน่ เว็บไซต์/แอพพลิเคชัน่ เว็บไซต์/แอพพลิเคชัน่ เว็บไซต์/แอพพลิเคชัน่ เว็บไซต์/แอพพลิเคชัน่ เว็บไซต์/แอพพลิเคชัน่ เว็บไซต์/แอพพลิเคชัน่
5.2 ผลการวิเคราะห์ปัจจัยร่วม จากการวิเคราะห์องค์ประกอบของปัจจัยร่วมด้วยวิธี Principle Component Analysis (PCA) พบว่าตัว แปรอิสระที่ไม่มีความสัมพันธ์กัน จํานวน 34 ตัวแปร หลังจากการหมุนแกนแบบวารีแม็ก (Varimax with Kaiser Normalization) สามารถแบ่งกลุ่มได้ทั้งหมด 3 กลุ่มปัจจัยที่แสดงถึงความพร้อมในการรองรับภาวะเศรษฐกิจการ แบ่งปันอย่างสร้างสรรค์ ดังนี้ 5.2.1) ปัจจัยความพร้อมด้านเศรษฐกิจ รัฐบาล ผูป้ ระกอบการ และผู้บริโภค ปัจจัยกลุ่มนี้มีจํานวนตัวแปรทั้งหมด 20 ตัวแปร โดยสามารถใช้เป็นตัวแทนอธิบายตัวแปรทั้งหมดได้ร้อยละ 70.529 ประกอบด้วยตัวแปรด้านความพร้อมด้านเศรษฐกิจที่เกี่ยวข้องกับ อัตราค่าโทรศัพท์มือถือแบบเติมเงินมือถือ อัตราค่าบริการอินเทอร์เน็ตบรอดแบนด์คงที่ และระดับการแข่งขันทางอินเทอร์เน็ตและโทรศัพท์ ปัจจัยด้านรัฐบาลที่ เกี่ยวข้องกับ ความสําคัญของ ICTs ต่อวิสัยทัศน์ของรัฐบาล การให้บริการออนไลน์ของรัฐบาล ความสําเร็จของ รัฐบาลในการส่งเสริม ICT อัตราภาษี และความพร้อมด้านกฎหมาย ICT ความพร้อมผู้ประกอบการ ความพร้อมใช้ งานของเทคโนโลยีล่าสุด และความพร้อมของเงินร่วมลงทุน และความพร้อมด้านผู้บริโภคที่เกี่ยวข้องกับ จํานวนการ สมั ค รสมาชิ กโทรศัพ ท์ เคลื่ อนที่ บุคคลที่ ใช้อิน เทอร์เน็ ต ครัวเรือนที่ มีคอมพิ ว เตอร์ส่ว นบุคคล และครัว เรือนที่ มี อินเทอร์เน็ต ดังนี้ ลาดับ 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17 18 19 20
ตารางที่ 4 ปัจจัยความพร้อมด้านเศรษฐกิจ รัฐบาล ผูป้ ระกอบการ และผู้บริโภค ตัวแปร ชื่อตัวแปร ค่า Eigen เริ่มต้น หมุนแกน ECR1 อัตราค่าโทรศัพท์มือถือแบบเติมเงินมือถือ 0.995 0.916 ECR2 อัตราค่าบริการอินเทอร์เน็ตบรอดแบนด์คงที่ 0.263 0.682 ECR3 ระดับการแข่งขันทางอินเทอร์เน็ตและโทรศัพท์ 0.956 0.972 PSSR1 ความพร้อมใช้งานของเทคโนโลยีล่าสุด 0.999 0.852 PSSR2 ความพร้อมของเงินร่วมลงทุน 0.892 0.991 PSSR3 อัตราภาษี -0.38 0.101 PSSR7 การดูดซึมเทคโนโลยีระดับ บริษทั 0.99 0.931 PSSR8 ความสามารถในการสร้างสรรค์นวัตกรรม 0.839 0.987 PSSR9 จํานวนสิทธิบัตร แอปพลิเคชัน ต่อประชากร 0.822 0.452 PSSR10 การใช้ ICT สําหรับธุรกรรมระหว่างธุรกิจกับธุรกิจ B2B 0.995 0.916 PSSR11 การใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อธุรกิจกับผู้บริโภค B2C 0.688 0.94 PSSR12 ระยะเวลาการฝึกอบรมพนักงาน 0.949 0.976 CDR1 จํานวนการสมัครสมาชิกโทรศัพท์เคลื่อนที่ 0.674 0.934 CDR2 บุคคลที่ใช้อินเทอร์เน็ต 1 0.866 CDR3 ครัวเรือนที่มีคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล 0.994 0.816 CDR4 ครัวเรือนที่มีอินเทอร์เน็ต 0.991 0.805 GOVR1 ความสําคัญของ ICTs ต่อวิสัยทัศน์ของรัฐบาล 0.992 0.925 GOVR2 ดัชนีการให้บริการออนไลน์ของรัฐบาล 0.958 0.703 GOVR3 ความสําเร็จของรัฐบาลในการส่งเสริม ICT 0.968 0.963 GOVR4 ความพร้อมด้านกฎหมาย ICT 0.988 0.936
5.2.2) ความพร้อมด้านโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัล และการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต ปัจจัยกลุ่มนี้มีจํานวนตัวแปรทั้งหมด 8 ตัวแปร สามารถใช้เป็นตัวแทนอธิบายตัวแปรทั้งหมดได้ร้อยละ 23.106 ประกอบด้ว ยตั วแปรด้ านโครงสร้างพื้ นฐานดิจิ ทัล ที่เกี่ยวข้องกับ กํา ลั ง การผลิ ตไฟฟ้ า ความครอบคลุ ม เครื อข่า ยมื อ ถือแบนด์ วิ ด ท์ อิน เทอร์ เน็ ต และเซิ ร์ฟ เวอร์อิน เทอร์เน็ ต ที่ ป ลอดภัย รวมถึง ปั จ จั ย ด้ า นการเข้ า ถึ ง อินเทอร์เน็ตเช่น อินเทอร์เน็ตความเร็วสูงคงที่ การใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ และจํานวนผู้ใช้งานเฟสบุ๊ค ดังนี้ ตารางที่ 5 ปัจจัยความพร้อมด้านโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัล และการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต ลาดับ ตัวแปร ชื่อตัวแปร ค่า Eigen เริ่มต้น หมุนแกน 1 DINFAR1 การผลิตไฟฟ้า 0.932 0.759 2 DINFAR2 ความครอบคลุมเครือข่ายมือถือ 0.583 0.992 3 DINFAR3 แบนด์วิดท์อนิ เทอร์เน็ต 0.769 0.927 4 DINFAR4 เซิร์ฟเวอร์อินเทอร์เน็ตที่ปลอดภัยต่อประชากร 0.826 0.887 5 PSSR6 ความเข้มของการแข่งขันในท้องถิ่น 0.877 0.838 6 CDR5 อินเทอร์เน็ตความเร็วสูงคงที่ 0.83 0.884 7 CDR6 การใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ 0.362 0.992 8 CDR7 จํานวนผู้ใช้งานเฟสบุ๊ค -0.295 0.497 5.2.3) ความพร้อมด้านการเป็นสังคมเมือง รายได้ประชากร และการแข่งขันตลาดดิจิทัล ปั จ จั ย กลุ่ ม นี้ มี จํ า นวนตั ว แปรทั้ ง หมด 6 ตั ว แปร สามารถอธิ บ ายตั ว แปรทั้ ง หมดได้ ร้ อ ยละ 6.365 ประกอบด้วยอัตราส่วนประชากรที่อาศัยในเมือง จํานวนที่สิ่งก่อสร้างที่เป็นที่อยู่อาศัย รายได้ต่อหัว ผลิตภัณฑ์มวล รวมประชาชาติ จํานวนวันที่เริ่มต้นธุรกิจ และจํานวนขั้นตอนในการเริ่มต้นธุรกิจ ตารางที่ 6 ปัจจัยความพร้อมด้านการเป็นสังคมเมือง รายได้ประชากร และการแข่งขันตลาดดิจิทัล ลาดับ ตัวแปร ชื่อตัวแปร ค่า Eigen เริ่มต้น หมุนแกน 1 URBR1 อัตราส่วนประชากรที่อาศัยในเมือง 0.252 0.984 2 URBR2 จํานวนที่สงิ่ ก่อสร้างที่เป็นที่อยู่อาศัย -0.994 -0.11 3 ECR7 รายได้ต่อหัว 0.432 0.896 4 ECR8 ผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ -0.924 0.244 5 PSSR4 จํานวนวันที่เริ่มต้นธุรกิจ -0.971 -0.128 6 PSSR5 จํานวนขั้นตอนในการเริ่มต้นธุรกิจ -0.956 -0.13 5.3 ดัชนีชี้วัดความพร้อมเศรษฐกิจแบ่งปันแบบสร้างสรรค์ ผลการคํานวณดัชนีชี้วัดความพร้อมในการรองรับเศรษฐกิจแบ่งปันแบบสร้างสรรค์ (Creative Sharing Economy Readiness Index: CSERI) ที่ประกอบด้วยความพร้อม 3 ด้าน ได้แก่ 1) ความพร้อมด้านเศรษฐกิจ รัฐบาล ผู้ประกอบการ และผู้บริโภค 2) ความพร้อมด้านโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลและการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต และ 3) ความพร้อมด้านการเป็นสังคมเมือง รายได้ประชากร และการแข่งขันตลาดดิจิทัล ซึ่งเป็นค่าที่ถ่วงน้ําหนักด้วยการ วิเคราะห์ปัจจัยร่วมด้วยวิธี PCA จากนั้นหาค่าคะแนนมาตรฐาน (Standardization Index) ที่คะแนนเริ่มต้นจาก 0 100 ได้ผลการศึกษาตามตารางที่ 7 ดังนี้
ตารางที่ 7 ดัชนีชี้วัดความพร้อมเศรษฐกิจแบ่งปันแบบสร้างสรรค์ เศรษฐกิจ รัฐบาล โครงสร้างพืน้ ฐานดิจิทลั การเป็นสังคมเมือง ลําดับ ประเทศ ผู้ประกอบการ และการเข้าถึง รายได้ประชากร และ และผู้บริโภค อินเทอร์เน็ต การแข่งขันตลาดดิจทิ ัล 1 มาเลเซีย (MY) 39.93 55.19 44.67 2 สิงคโปร์ (SG) 22.04 55.78 55.17 3 ไทย (TH) 32.65 42.56 40.77 4 เวียดนาม (VN) 22.04 49.03 42.44
ความพร้อม โดยรวม 46.59 44.33 38.66 37.84
1) ความพร้อมด้านเศรษฐกิจ รัฐบาล ผู้ประกอบการ และผู้บริโภค พบว่าประเทศมาเลเซียมีความพร้อมด้าน เศรษฐกิจ รัฐบาล ผู้ประกอบการ และผู้บริโภคสูงสุด (39.93 คะแนน) รองลงมาคือ ไทย (32.65 คะแนน) สิงคโปร์ และเวียดนาม (22.04 คะแนน) สาเหตุที่มาเลเซียได้คะแนนความพร้อมสูงสุดได้แก่ 1) มาเลเซียมีรัฐบาลพรรคเดียวที่ บริหารประเทศ ทํ าให้การดํา เนิ น นโยบายด้ า นเทคโนโลยีมี ความต่อเนื่องมากกว่ าประเทศไทยและ สิ ง คโปร์ 2) มาเลเซียมีระดับการแข่งขันทางอินเทอร์เน็ตและโทรศัพท์ ความสามารถในการสร้างสรรค์นวัตกรรม ระยะเวลาการ ฝึกอบรมพนักงานด้านเทคโนโลยี ความพร้อมของเงินร่วมลงทุ น การใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อธุรกิจกับผู้บริโภค B2C และ จํานวนการสมัครสมาชิกโทรศัพท์เคลื่อนที่สูงสุด ส่วนสาเหตุที่ไทยได้คะแนนอยู่อันดับสองเนื่องจาก ไทยมีค่าอัตราค่า โทรศัพท์มือถือแบบเติมเงิน และอัตราค่าบริการอินเทอร์เน็ตบรอดแบนด์คงที่ต่ํากว่าสิงคโปร์ มาเลเซีย และเวียดนาม 2) ความพร้อมด้านโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลและการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต พบว่าประเทศที่ได้รับคะแนนสูงสุด ได้แก่ ประเทศสิงคโปร์ (55.78 คะแนน) เนื่องจากประเทศสิงคโปร์มีกําลังการผลิตไฟฟ้าสูง จึงสามารถรองรับกิจกรรม ทางอินเทอร์เน็ตและการเข้าถึงได้มากกว่ า และมีความครอบคลุมเครือข่ายมือถือคุณภาพ แบนด์วิดท์อินเทอร์เน็ต ขนาดใหญ่ มีจํานวนเซิร์ฟเวอร์อินเทอร์เน็ตที่ปลอดภัยต่อประชากรสูง อินเทอร์เน็ตความเร็วสูงคงที่ รวมถึงมีความ เข้มของการแข่งขันในท้องถิ่น และมีการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ สูง รองลงมาได้แก่ มาเลเซีย (55.19 คะแนน) เวียดนาม (49.03 คะแนน) 3) ความพร้อมด้านการเป็นสังคมเมือง รายได้ ประชากร และการแข่งขันตลาดดิจิทัล พบว่าประเทศที่มี คะแนนสูงสุดได้แก่ ประเทศสิงคโปร์ (55.17 คะแนน) เนื่องจาก 1) เป็นประเทศความเป็นสังคมเมืองสูงสุดดูได้จาก จํานวนประชากรที่อาศัยในเขตเมือง เมื่อเทียบกับสามประเทศ 2) เป็นประเทศที่มีรายได้เฉลี่ยต่อหัวสูงที่สุด และ 3) มีความได้เปรียบการแข่งขันตลาดดิจิทัลสูงสุด เนื่องจากมีระยะเวลาในการเริ่มต้นธุรกิจน้อยที่สุดเมื่อเทียบกับสาม ประเทศ 4) เมื่อพิจารณาดัชนีชี้วัดความพร้อมเศรษฐกิจแบ่งปันแบบสร้างสรรค์ ของประเทศไทยโดยรวม พบว่ามีค่า คะแนนความพร้อม (38.66 คะแนน) คิดเป็นอันดับที่ 3 รองจาก มาเลเซีย (46.59 คะแนน) สิงคโปร์ (44.33 คะแนน) ส่วนประเทศที่มีค่าคะแนนความพร้อมน้อยที่สุดคือประเทศ เวียดนาม (37.84 คะแนน) ส่วนค่าคะแนนความพร้อม ด้านเศรษฐกิจ รัฐบาล ผู้ประกอบการ และผู้บริโภค ไทยได้คะแนนความพร้อม (32.65 คะแนน) คิดเป็นอันดับที่ 2 รองจากมาเลเซีย (39.93 คะแนน) ค่าคะแนนความพร้อมด้านโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัล และการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต ได้ คะแนน 42.56 คะแนน คิดเป็ นอัน ดับ ที่ 4 รองจาก สิงคโปร์ (55.78 คะแนน) มาเลเซี ย (55.19 คะแนน) และ เวียดนาม ( 49.03 คะแนน) ส่วนคะแนนความพร้อมด้าน การเป็นสังคมเมือง รายได้ประชากร และการแข่งขันตลาด ดิจิทัล พบว่าประเทศไทยได้คะแนน 40.77 เป็นอันดับที่ 4 รองจาก สิงคโปร์ (55.17 คะแนน) มาเลเซีย (44.67 คะแนน) และ เวียดนาม ( 42.44 คะแนน) ดูได้จากรูปที่ 4
รูปที่ 4 ดัชนีชี้วัดความพร้อมเศรษฐกิจแบ่งปันแบบสร้างสรรค์ 60 เศรษฐกิจ รัฐบาล ผู้ประกอบการ และผู้บริโภค
ภาพรวม CSERI เวียดนาม (VN) ไทย (TH) สิงคโปร์ (SG) มาเลเซีย (MY)
50 40 30 20 10 0
โครงสร้างพื้นฐานดิจิทัล และการ เข้าถึงอินเทอร์เน็ต
การเป็นสังคมเมือง รายได้ และการ แข่งขันตลาดดิจิทัล
5.4 นโยบายรองรับเศรษฐกิจแบ่งปันแบบสร้างสรรค์สาหรับจังหวัดเชียงราย เมื่อเทียบคะแนนความพร้อมของไทยกับ มาเลเซีย สิงคโปร์ และเวียดนาม จะเห็นว่าประเทศไทยมี ความ พร้อมด้านโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลและการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต และความพร้อมการเป็นสังคมเมือง รายได้ประชากร และการแข่งขันตลาดดิจิทัล ในระดับต่ําสุดใน 4 ประเทศข้างต้น จากผลการศึกษาดังกล่าวได้ข้อเสนอแนะว่าประเทศ ไทยควรเร่งพัฒนาในระยะเร่งด่วนได้แก่ 1) โครงสร้างพื้นฐานดิจิทัล และการเข้าถึง โดยการสร้างความครอบคลุมเครือข่ายมือถือ ขยายแบนด์วิดท์ อินเทอร์เน็ต เพิ่มเซิร์ฟเวอร์อินเทอร์เน็ตที่ปลอดภัยต่อผู้ใช้บริการ รวมถึงขยายพื้นที่ให้บริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง ให้ครอบคลุมทั่วประเทศ รวมถึงส่งเสริมการทําธุรกิจในรูปแบบแพลตฟอร์มที่สร้างสรรค์ เพื่อให้เกิดประโยชน์กับทั้ง ผู้ผลิตและผู้บริโภคในประเทศมากขึ้น 2) การพัฒนาพื้นที่ชนบทให้มีการพัฒนาเพื่อรองรับการเป็นสังคมเมือง และควรเร่งการยกระดับรายได้ต่อหัว ของประชากร ควบคู่กับการพัฒนาฝีมือและทักษะของประชากรในทุกระดับการศึกษา รวมถึงการให้ความรู้กับ กลุ่ม ผู้บริโภครุ่นใหม่ที่นิยมใช้บริการซื้อขายและทําธุรกิจในรูป แบบแพลตฟอร์ม ให้ทราบถึงรูปแบบการทํางานและการใช้ งานที่ถูกต้องเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพแข่งขันในตลาดดิจิทัล โดยรัฐบาลควรมีมาตรการส่งเสริมการทําธุรกิจในรูปแบบ ต่างๆ เพื่อสร้างแรงจูงใจในการประกอบธุรกิจการแชร์รูปแบบใหม่ๆ ที่สร้างสรรค์ เช่น การพัฒนาธุรกิจแพลตฟร์มอยู่ อาศัย ลักษณะการจ้างงานอิสระ การขนส่งและโลจิสติกส์ แฟชั่น อาหารและคาเฟ่ และ ในภาคการศึกษา เป็นต้น ขณะเดียวกันไทยได้คะแนนความพร้อมด้านเศรษฐกิจ รัฐบาล ผู้ประกอบการ และผู้บริโภค อยู่อันดับที่ 2 รองจากมาเลเซีย ดังนั้นในระยะกลาง-ยาว ควรส่งเสริมการพัฒนา ดังนี้ 1) การสร้างความพร้อมด้านเศรษฐกิจ โดยสร้างความสามารถในการแข่งขันด้านราคาสินค้าและบริการ ดิจิทัลให้ได้เปรียบประเทศเพื่อนบ้านมากยิ่งขึ้น 2) รัฐบาลควรให้ความสําคัญ ICTs ต่อวิสัยทัศน์ของรัฐบาล ควรเร่งสร้างความปลอดภัยในการใช้งาน อิน เทอร์เน็ ต พั ฒ นาการให้บ ริการออนไลน์ ให้มี ประสิ ทธิ ภาพมากขึ้ น และมาตรการทางกฎหมายที่ ต ามทั น การ เปลี่ยนแปลงด้าน ICT และคอมพิวเตอร์ รวมถึงสร้างแรงจูงจันให้ผู้ประกอบการ และผู้บริโภค ให้เข้าถึงและใช้ ประโยชน์จากเทคโนโลยีดิจิทัล
3) ส่วนผู้ประกอบการ ควรพัฒนาความพร้อมของตัวเองต่อการใช้งานเทคโนโลยีล่าสุด โดยเพิ่มระดับการดูด ซับเทคโนโลยีระดับบริษัท ส่งเสริมระยะเวลาการฝึกอบรมพนักงานให้ก้าวทันการเปลี่ยนแปลงด้านดิจิทัลและ ICT เพิ่มขีดความสามารถในการสร้างสรรค์นวัตกรรม เพิ่มจํานวนการจดสิทธิบัตรนวั ตกรรมที่คิดค้น รวมถึง แสวงหาการ ร่วมลงทุนจากเครือข่าย โดยเปลี่ยนจากการแข่งขันเพื่อเอาชนะ มาเป็ นการแข่งขันเพื่อการพัฒนาตลาด เร่งการใช้ ICT สําหรับธุรกรรมระหว่างธุรกิจกับธุรกิจ B2B และธุรกิจกับผู้บริโภค B2C มากยิ่งขึ้น 4) ด้านผู้บริโภค ควรพัฒนาองค์ความรู้ของตนเองให้ทันการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีดิจิทัล และเพิ่มการใช้ ประโยชน์จากธุรกรรมออนไลน์ 6. สรุปผลการศึกษา งานศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์ด้านเศรษฐกิจการแชร์อย่างสร้างสรรค์ในประเทศไทย ศึกษา เปรียบเทียบดัชนีชี้วัดความพร้อมภาวะเศรษฐกิจการแชร์อย่างสร้างสรรค์ (CSERI) ของไทย มาเลเซีย สิงคโปร์ และ เวียดนาม รวมถึงสังเคราะห์ผลคะแนนความพร้อมภาวะเศรษฐกิจการแชร์อย่างสร้างสรรค์เพื่อหานโยบายรองรับ สําหรับประเทศไทยอย่างเหมาะสม โดยใช้ข้อมูลทุติยภูมิจํานวนทั้งสิ้น 34 ตัวแปร เพื่อคํานวณหาดัชนีชี้วัดความพร้อม เศรษฐกิจการแชร์อย่างสร้างสรรค์ (CSERI) ด้วยการถ่วงน้ําหนักจากค่าคะแนนการวิเคราะห์ปัจจัยร่วม (PCA) ผล การศึกษาพบว่าประเทศไทยมีจํานวนธุรกิจการแบ่งปันอย่างสร้างสรรค์จํานวนมาก ประกอบด้วย การประยุกต์ให้ แพลตฟอร์มในธุรกิจที่เกี่ยวกับ ที่อยู่อาศัย (Accommodation) จํานวน 11 ธุรกิจ ประเภทการจ้างงานอิสระ (Gig Economy) จํานวน 5 ธุรกิจ ด้านการขนส่งและโลจิสติกส์ (Transportation) จํานวน 12 ธุรกิจ ด้านธุรกิจ แฟชั่น (Fashion) 12 ธุรกิจ ร้านอาหารและคาเฟ่ (Restaurant and Café) จํานวน 9 ธุรกิจ การศึกษา (Education) จํานวน 8 ธุรกิจ และธุรกิจด้านอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจการแชร์อีก 8 ธุรกิจ ผลการวิเคราะห์ปัจจัยพบว่ามีกลุ่ม ปัจจัย 3 ด้านส่งผลต่อความพร้อมภาวะเศรษฐกิจการแชร์อย่างสร้างสรรค์ ประกอบด้วย ปัจจัยความพร้อมด้าน เศรษฐกิจ รัฐบาล ผู้ประกอบการ และผู้บริโภค มีค่าคะแนนถ่วงน้ําหนักร้อยละ 70.53 ด้านโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัล และการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต มีค่าคะแนนถ่วงน้ําหนักร้อยละ 23.11 และ ความพร้อมด้านการเป็นสังคมเมือง รายได้ ประชากร และการแข่งขันตลาดดิจิทัล มีค่าคะแนนถ่วงน้ําหนักร้อยละ 6.37 ตามลําดับ การศึกษาดัชนีดัชนีชี้วัดความ พร้อมภาวะเศรษฐกิจการแชร์อย่างสร้างสรรค์ (CSERI) พบว่าประเทศที่มีคะแนนความพร้อมสูงสุดได้แก่ มาเลเซีย ได้ คะแนน 46.59 รองลงมาคือสิงคโปร์ 44.33 คะแนน ไทย 38.66 คะแนน และเวียดนาม 37.84 ซึ่งยังถือว่าอยู่ในระดับ ต่ํา โดยเฉพาะประเทศไทยที่ได้คะแนนภาพรวมอยู่ดับอับรองสุดท้าย จึงต้องมีนโยบายเร่งด่วนเพื่อพัฒนา โครงสร้าง พื้นฐานดิจิทัลและการเข้าถึง การพัฒนาพื้นที่ชนบทให้มีการพัฒนาเพื่อรองรับการเป็ นสังคมเมือง ส่วนในระยะกลาง และระยะยาวควรส่งเสริมการพัฒนา การสร้างความพร้อมด้านเศรษฐกิจ วิสัยทัศน์ของรัฐบาลควรให้ความสําคัญกับ การใช้ ICTs ควรเร่งสร้างความปลอดภัยในการใช้งานอินเทอร์เน็ต ผู้ประกอบการ ควรพัฒนาความพร้อมของตัวเอง ต่อการใช้งานเทคโนโลยีล่าสุด โดยเพิ่มระดับการดูดซึมเทคโนโลยีระดับบริษัท เพิ่มระยะเวลาการฝึกอบรมพนักงานให้ ก้าวทันการเปลี่ยนแปลงด้านดิจิทัลและ ICT เพิ่มขีดความสามารถในการสร้างสรรค์นวัตกรรม ส่งเสริมการจดสิทธิบัตร นวัตกรรมที่คิดค้น รวมถึง แสวงหาการร่วมลงทุนจากเครือข่าย โดยเปลี่ยนจากการแข่งขันเพื่อเอาชนะ มาเป็นการ แข่งขันเพื่อการพัฒนาตลาด เร่งการใช้ ICT สําหรับธุรกรรมระหว่างธุรกิจกับธุรกิจ B2B และธุรกิจกับผู้บริโภค B2C มากยิ่งขึ้น และด้านผู้บริโภค ควรพัฒนาองค์ความรู้ของตนเองให้ทันการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีดิจิทัล และเพิ่มการใช้ ประโยชน์จากธุรกรรมออนไลน์
เอกสารอ้างอิง กัลยรักษ์ นัยรักษ์เสรี. (2017). “ใครใครในโลกล้วนอยากเป็น gig.” EIC Research Series: เรื่องของ gig EP1, SCB Economic Intelligence Center, 7 พฤศจิกายน 2017 ปรีดี บุญซื่อ. (2016). ยุคสมัยของธุรกิจแบบ Platform ภัยคุกคามที่อันตรายสุดต่อธุรกิจแบบดั้งเดิม (online), สืบค้นจาก www.thaipublica.org, 11 พฤศจิกายน 2017 ไพบูลย์ พงษ์ไพเชฐ. (2550). การวิเคราะห์ผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงนโยบายการเงิน โดยวิธี FAVAR.(วิทยานิพนธ์เศรษฐศาสตร์มหาบัญฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย) สํานักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล. (2017). Sharing Economy พลิกโฉมธุรกิจดิจิทัล (online), สืบค้น จาก www.depa.or.th, 11 พฤศจิกายน 2017 สํานักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ .(2017) มูลค่าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของประเทศไทยจําแนกตาม ประเภทผู้ประกอบการ, สืบค้นจาก https://www.etda.or.th/ , 11 พฤศจิกายน 2017 Muller, P., et al. (2011). Consumer behavior in a digital environment. Brussels: European Parliament. World Economic Forum. (2016). Global Information Technology Report 2016. Network Readiness Index report.