ดัชนีชี้วัดทางสิ่งแวดล้อมเศรษฐสังคมชายแดน :
การค้าการลงทุน
การเคลื่อนย้ายแรงงาน และมลภาวะทางสิ่งแวดล้อม
ชื่อหนังสือ : ดัชนีชี้วัดทางสิ่งแวดล้อมเศรษฐสังคมชายแดน : การค้าการลงทุน การเคลื่อนย้ายแรงงาน และมลภาวะทางสิ่งแวดล้อม ผู้แต่ง : ณัฐพรพรรณ อุตมา ภายใต้โครงการวิจัย : พลวัตทางสิ่งแวดล้อมเศรษฐสังคมชายแดน : การค้าการลงทุน การเคลือ่ นย้ายแรงงาน และสิง่ แวดล้อม (Border Environmental-socio-economic dynamics : Trade, Investment, Labor Mobility and Environment) หัวหน้าโครงการวิจัย : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณัฐพรพรรณ อุตมา นักวิจัยผู้ช่วยงานภาคสนาม : พรพินันท์ ยี่รงค์, สิทธิชาติ สมตา สนับสนุนทุนวิจัย : สำนักบริหารโครงการส่งเสริมการวิจัยในอุดมศึกษาและ พัฒนามหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติ ภายใต้สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ข้อมูลบรรณานุกรม : ดัชนีทางสิ่งแวดล้อมเศรษฐสังคมชายแดน : การค้าการลงทุน การเคลื่อนย้ายแรงงานและสิ่งแวดล้อม - กรุงเทพฯ : สำนักงานเศรษฐกิจชาย แดนและโลจิสติกส์, มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง, 2559. 100 หน้า. 1. ไทย--การค้ากับต่างประเทศ. I. ชื่อเรื่อง. 382.09593 ISBN : 978-974-9766-84-2 พิมพ์ครั้งที่ 1 : ตุลาคม 2559 จำนวน 1,000 เล่ม การติดต่อ : โครงการจัดตั้งสำนักงานเศรษฐกิจชายแดนและโลจิสติกส์ สำนักวิชาการจัดการ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง ตำบลท่าสุด อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย 57100 โทรศัพท์ 053 916680 พิมพ์ท ี่ : เอราวัณการพิมพ์ 28/10 ถ.สิงหราช ต.ศรีภูมิ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50200 โทร/แฟกซ์. 053-214491 E-mail : Arawanprinting@gmail.com
คำนำ การขยายตัวของกระแสภูมิภาคาภิวัตน์และความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่าง ประเทศในภูมิภาคเดียวกัน ผนวกกับปัจจัยแวดล้อมภายนอกประเทศ อาทิ วิกฤต เศรษฐกิจยุโรป การชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก การปฏิรูปบรรทัดฐานทางเศรษฐกิจ ของจีน (New Normal) รวมทัง้ การเปลีย่ นแปลงสภาพภูมอิ ากาศ (Climate change) ส่งผลให้ภาคการค้าระหว่างประเทศของไทยหดตัวลงอย่างมาก ในทางกลับกัน การค้า ชายแดนและการค้าข้ามแดนของไทยกับประเทศเพื่อนบ้านกลับมีอัตราการเติบโต สูงขึ้น การขยายตัวของกิจกรรมทางเศรษฐกิจในพื้นที่ชายแดน มีการเปลี่ยนแปลง อย่างเห็นได้ชัด ไม่ว่าจะเป็นการค้าสินค้าและบริการข้ามแดน การลงทุนชายแดน และการเคลื่อนย้ายแรงงานข้ามแดน ดังนั้น การพัฒนาเครื่องมือติดตามและชี้วัด สภาวะการเปลีย่ นแปลงของเศรษฐกิจชายแดน ตลอดจนการสร้างคลังสะสมความรู้ ทางเศรษฐกิจชายแดน เพื่อเป็นแหล่งอ้างอิงทางวิชาการจึงมีความสำคัญมากขึ้นตาม แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงทางสภาพเศรษฐกิจชายแดนที่อาจเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ในอนาคต
หนังสือเรื่อง “ดัชนีชี้วัดสิ่งแวดล้อมเศรษฐสังคมชายแดน” เป็นผลผลิตใน รูปแบบหนังสือ โดยได้เรียบเรียงจากผลงานวิจัยเรื่อง “พลวัตทางสิ่งแวดล้อมเศรษฐ สังคมชายแดน บริบทการค้าการลงทุนชายแดน การเคลื่อนย้ายแรงงาน และสภาพ แวดล้อมทางธรรมชาติต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจในพื้นที่ชายแดนของจังหวัดเชียงราย” ได้รบั การสนับสนุนจากสำนักบริหารโครงการส่งเสริมการวิจยั ในอุดมศึกษาและพัฒนา มหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ปีพ.ศ. 2557 เพื่อ เผยแพร่องค์ความรู้ทางเศรษฐกิจชายแดนให้กับผู้ที่สนใจ ผู้วิจัยหวังเป็นอย่างยิ่งว่า หนังสือนีจ้ ะเป็นประโชยน์ในการเสริมสร้างความรูแ้ ก่ประชาชนทัว่ ไป นักวิชาการ ภาครัฐ และภาคเอกชนทีเ่ กีย่ วข้องในการประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์กบั ประเทศไทยต่อไป
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ณัฐพรพรรณ อุตมา สำนักงานเศรษฐกิจชายแดนและโลจิสติกส์ มกราคม 2559
สารบัญ 1 บทนำ
3
2 สถานการณ์ทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมของจังหวัดเชียงราย
11
3 ดัชนีชี้วัดทางสิ่งแวดล้อมและเศรษฐสังคมชายแดน จังหวัดเชียงราย
41
4 แนวนโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจพื้นที่ชายแดน มุมมองด้านเศรษฐกิจ แรงงาน และมลภาวะสิ่งแวดล้อม
63
5 บทสรุป
73
ภาคผนวก การสร้างมาตรวัดคะแนน (Measurement)
81
การค้าการลงทุน การเคลื่อนย้ายแรงงาน และมลภาวะทางสิ่งแวดล้อม
l 1l
ดัชนีชี้วัดทางสิ่งแวดล้อมเศรษฐสังคมชายแดน
l 2l
การค้าการลงทุน การเคลื่อนย้ายแรงงาน และมลภาวะทางสิ่งแวดล้อม
1
บทนำ
จังหวัดเชียงรายเป็นจังหวัดหนึ่งที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของ ประเทศไทย อันเนือ่ งมาจากการเป็นจังหวัดทีม่ พี น้ื ทีช่ ายแดนทีม่ ศี กั ยภาพ เปรียบเสมือน เมืองหน้าด่านทางเศรษฐกิจ (Gateway) กับกลุ่มเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง ตอนบน (The upper Greater Mekong Subregion: GMS) กลุ่มความร่วมมืออาเซียน (The Association of Southeast Asian Nations: ASEAN) กลุ่มความร่วมมือ อนุภมู ภิ าคทางวิชาการและเศรษฐกิจ (The Bay of Bengal Initiative for Multi Sectoral Technical and Economic Cooperation: BIMSTEC) และกลุ่มความ ร่วมมือภายใต้ความตกลงการค้าเสรีอาเซียน – จีน (ASEAN – China Free Trade Area: ACFTA) รวมทัง้ การมีแนวระเบียงเศรษฐกิจเหนือ – ใต้ (North-South Economic Corridor : NSEC) ที่สามารถเชื่อมต่อกับสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา (Republic of the Union of Myanmar) สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (Lao People’s Democratic Republic) และสาธารณรัฐประชาชนจีน (People’s Republic of China) และทำให้เกิดกิจกรรมทางเศรษฐกิจกับประเทศในอนุภูมิภาคเดียวกัน ด้วยความ สำคัญดังกล่าวทำให้พื้นที่ชายแดนทั้งสามอำเภอของจังหวัดเชียงราย ได้แก่ อำเภอ แม่สาย อำเภอเชียงแสน และอำเภอเชียงของ มีการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างมาก ด้วยเหตุนี้ทางคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) จึงได้มีมติเห็นชอบให้มีการจัดตั้ง เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ ระยะที่ 2 ในจังหวัดเชียงราย ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2559 โดยมี แนวทางการพัฒนาพืน้ ทีช่ ายแดนแม่สายให้เป็นเมืองแห่งการค้าชายแดน (Trading City) เนื่องจากอำเภอแม่สายเป็นหนึ่งในพื้นที่ชายแดนที่มีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ การค้าชายแดนในระดับสูง ขณะทีพ่ น้ื ทีช่ ายแดนเชียงแสนเน้นการพัฒนาให้เป็นเมือง มรดกชาติและเป็นประตูการค้าเชือ่ มกับประเทศจีนตอนใต้ตามแนวลำน้ำโขง (Port City)
l 3l
ดัชนีชี้วัดทางสิ่งแวดล้อมเศรษฐสังคมชายแดน
และการพัฒนาพื้นที่ชายแดนเชียงของให้เป็นศูนย์บริการขนถ่ายสินค้าเพื่อนำเข้าส่งออก หรือ Logistics Hub ที่เชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้านเนื่องจากเชียงของ มีสะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 4 ซึ่งเชื่อมโยงกับ สปป.ลาว และจีนตอนใต้ ตาม เส้นทางระเบียงเศรษฐกิจหมายเลข 3A (R3A) ในช่วง 2 ทศวรรษที่ผ่านมา ประเทศไทยมีการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ และสังคมอย่างมากตามกระแสโลกาภิวัตน์ (Globalization) และภูมิภาคาภิวัฒน์ (Regionalization) ซึง่ ส่งผลกระทบทัง้ ทางบวกและทางลบกับการเติบโตทางเศรษฐกิจ ของประเทศไทย ประการแรก ในระยะ 2-3 ปีทผ่ี า่ นมาสถานการณ์เศรษฐกิจการค้าโลกเกิดการ ชะลอตัว ทำให้ประเทศคู่ค้าสำคัญของประเทศไทยอย่างกลุ่มประเทศยุโรปและสหรัฐ อเมริกาลดอัตราการนำเข้า ส่งผลต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศไทยซึ่งเป็น ประเทศที่พึ่งพาการส่งออกเป็นหลักอย่างมาก อย่างไรก็ตามเมื่อพิจารณาแนวโน้ม การส่งออกในระยะดังกล่าวกลับพบว่า มูลค่าการส่งออกสินค้าผ่านชายแดนของไทย ไปยังประเทศเพื่อนบ้านมีอัตราการเติบโตสูงขึ้น เนื่องจากกลุ่มประเทศเพื่อนบ้านของ ไทยมีการขยายตัวเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่องอีกทั้งประชากรส่วนใหญ่นิยมบริโภคสินค้า ของไทยด้วย อาจกล่าวได้ว่า การค้าชายแดนเปรียบเสมือนกลไกขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ของไทยและมีผลต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศอย่างมาก จากสถิติการค้า ชายแดนของสำนักงานพาณิชย์จังหวัดเชียงราย (2557) พบว่า การค้าชายแดนของ จังหวัดเชียงราย มีอัตราการเติบโตที่สูงเมื่อเปรียบเทียบกับการค้าชายแดนในภูมิภาค อื่นของประเทศไทย มูลค่าการค้าชายแดนมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่องในระยะกว่า 10 ปีที่ผ่านมา (รูปที่ 1-1) มูลค่าการค้าระหว่างจังหวัดเชียงรายกับประเทศเพื่อนบ้าน และจีนตอนใต้เปลีย่ นแปลงจาก 6,875.09 ล้านบาท ในปีพ.ศ. 2546 เป็น 41,189.15 ล้านบาท ในปีพ.ศ. 2557 มีอัตราการเติบโตเฉลี่ยสะสมถึงร้อยละ 17.67 โดยการ เติบโตของมูลค่าการค้าชายแดนนี้มาการขยายตัวของมูลค่าการส่งออกและมูลค่า
l 4l
การค้าการลงทุน การเคลื่อนย้ายแรงงาน และมลภาวะทางสิ่งแวดล้อม
การนำเข้า มูลค่าการส่งออกมีการเติบโตค่อนข้างสูงกว่าการนำเข้าโดยมีการเติบโต สะสมเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 19.21 เพิ่มขึ้นจาก 5,299.9 ล้านบาท ในปีพ.ศ. 2546 เป็น 36,614.65 ล้านบาท ในปีพ.ศ. 2557 ในขณะที่มูลค่าการนำเข้าจากปี 2546 อยู่ที่ 1,575.19 ล้านบาทเพิ่มขึ้นเป็น 4,575.5 ล้านบาท ในปีพ.ศ. 2557 คิดเป็นอัตราการ เติบโตเฉลี่ยสะสมอยู่ที่ร้อยละ 10.18 การขยายตัวที่รวดเร็วกว่าของมูลค่าการส่งออก ทำให้จังหวัดเชียงรายได้เปรียบดุลการค้าจากประเทศเพื่อนบ้าน และจีนตอนใต้ อย่างมากโดยมีมูลค่าดุลการค้าในปีพ.ศ. 2557 อยู่ที่ 32,040.15 ล้านบาท เพิ่มขึ้น จาก 3,724.71 ล้านบาท ในปีพ.ศ. 2546 รูปที่ 1-1 การขยายตัวเฉลี่ยสะสมของมูลค่าการค้าชายแดนจังหวัดเชียงราย (ล้านบาท) ส่งออก
นำเข้า
การค้ารวม
คุลการค้า
50,000 40,000 30,000 20,000 10,000 2546 2547 2548 2549 2550 2551 2552 2553 2554 2555 2556 2556
อัตราการเติบโตเฉลี่ยสะสม การส่งออก 19.21% การนำเข้า 10.18% การค้ารวม 17.67% ดุลการค้า 21.61%
ที่มา: คำนวณโดยผู้วิจัย, รวบรวมโดยสำนักงานพาณิชย์จังหวัดเชียงราย (2557)
ประการที่สอง ท่ามกลางการเติบโตทางเศรษฐกิจในเมืองชายแดนจังหวัด เชียงรายนัน้ ได้นำไปสูก่ ารเคลือ่ นย้ายแรงงานจากประเทศเพือ่ นบ้านเข้าสูพ่ น้ื ทีช่ ายแดน จังหวัดเชียงราย ส่งผลให้เกิดการขยายกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ไม่ว่าจะเป็นภาคการ เกษตร ภาคการผลิต ภาคการค้าปลีกค้าส่ง และภาคบริการมากยิ่งขึ้น อย่างไรก็ตาม จากสถิตขิ องสำนักงานแรงงานจังหวัดเชียงราย พบว่า จำนวนแรงงานต่างด้าวทีไ่ ด้รบั อนุญาตให้ทำงานในจังหวัดเชียงราย ณ เดือนมกราคม พ.ศ. 2558 มีทง้ั สิน้ 12,711 คน ซึง่ มีจำนวนลดลงตัง้ แต่เดือนมกราคม พ.ศ. 2555 ซึง่ มีทง้ั สิน้ 22,607 คน โดยมีแรงงาน
l 5l
ดัชนีชี้วัดทางสิ่งแวดล้อมเศรษฐสังคมชายแดน
ทีเ่ ข้าเมืองแบบผิดกฎหมายร้อยละ 90 และเข้าเมืองถูกกฎหมายเพียงร้อยละ 10 เท่า นั้นจากจำนวนรวมทั้งสิ้น หากพิจารณาประเด็นการเข้าเมืองของแรงงานอย่างถูก กฎหมายนั้นเกิดจากความเข้มงวดของภาครัฐบาล และการมีนโยบายส่งเสริมให้ แรงงานต่างด้าวเข้าเมืองถูกกฎหมายมากขึ้น ทำให้แรงงานที่เข้าเมืองแบบผิดกฎหมาย ต้องอพยพกลับประเทศของตนและมักจะกลับเข้ามาทำงานในชายแดนไทยอย่างถูก กฎหมายอีกครั้ง จากสถานการณ์ดังกล่าวทำให้จำนวนแรงงานต่างด้าวตั้งแต่ปีพ.ศ. 2556 มีจำนวนลดลงเหลือเพียง 14,638 คน เป็นแรงงานทีเ่ ข้าเมืองอย่างถูกกฎหมาย ถึงร้อยละ 71 และเป็นแรงงานต่างด้าวที่เข้าเมืองอย่างผิดกฎหมายเพียงร้อยละ 29 เท่านั้น แม้ว่าการลดลงของแรงงานต่างด้าวนั้นได้ส่งผลกระทบต่อการขยายตัวของ กิจกรรมทางเศรษฐกิจในพืน้ ทีช่ ายแดนจังหวัดเชียงราย แต่การเปิดใช้สะพานมิตรภาพ ไทย-ลาว แห่งที่ 4 ในอำเภอเชียงของ ตั้งแต่ปลายปีพ.ศ. 2556 กลับส่งผลให้แรงงาน ต่างด้าวสามารถเคลือ่ นย้ายมาทำงานในพืน้ ทีช่ ายแดนได้สะดวกมากขึน้ ดังนัน้ ภาครัฐ จำเป็นต้องมีมาตรการการรองรับจำนวนแรงงานต่างด้าวที่สอดรับกับการขยายตัว ทางเศรษฐกิจการค้าการลงทุน และการเคลื่อนย้ายแรงงานที่จะเกิดขึ้นในอนาคต อันใกล้ ประการที่สาม ความเปลี่ยนแปลงดังที่กล่าวข้างต้น นอกจากจะส่งผลต่อ เศรษฐกิจและสังคมแล้ว ยังส่งผลต่อสภาพแวดล้อมอันเป็นสาเหตุของปัญหาด้าน สิ่งแวดล้อมที่สำคัญๆ เช่น สภาวะโลกร้อน (global warming) มลภาวะทางน้ำ (water pollution) และ มลภาวะทางอากาศ (air pollution) ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2550 เป็นต้นมา จังหวัดเชียงรายและพื้นที่ชายแดนของประเทศเพื่อนบ้านต้องประสบกับ ปัญหาสิ่งแวดล้อมร่วมกันปัญหาหนึ่ง คือ ปัญหาหมอกควันจากการเผาไหม้ที่เกิด มาจากธรรมชาติและเกิดขึ้นตามฤดูกาล ซึ่งทำให้เกิดมลภาวะทางอากาศและปัญหา ภาวะโลกร้อน สาเหตุที่สำคัญของปัญหาดังกล่าวมาจากรูปแบบการทำการเกษตร ในพื้นที่จังหวัดเชียงรายและจังหวัดใกล้เคียง รวมทั้งประเทศเพื่อนบ้าน (เมียนมา และสปป.ลาว) ที่จำเป็นต้องทำการเผาเศษวัสดุเหลือใช้ในไร่นา โดยเฉพาะไร่ข้าวโพด
l 6l
การค้าการลงทุน การเคลื่อนย้ายแรงงาน และมลภาวะทางสิ่งแวดล้อม
เลีย้ งสัตว์ ทีเ่ กิดขึน้ ในช่วงเดือนมกราคม – เมษายนของทุกปี เพือ่ เตรียมหน้าดินสำหรับ การเพาะปลูกพืชไร่อื่นๆ ต่อไป จากสาเหตุดังกล่าว ทำให้ปริมาตรฝุ่นละอองจาก หมอกควันที่มาจากการเผาไหม้มีแนวโน้มที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ข้อมูลจากสถานี ตรวจวัดคุณภาพอากาศ อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย พบว่า ระหว่างเดือน กุมภาพันธ์ – เมษายน ของปีพ.ศ. 2554 – 2557 ปริมาตรฝุ่นละอองขนาดเล็กกว่า 10 ไมครอนมีค่าสูงเกินกว่ามาตรฐาน โดยในเดือนมีนาคม ปีพ.ศ. 2555 ปริมาตร ฝุ่นละอองขนาดเล็กกว่า PM10 ประมาณ 479.1 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ซึ่งเป็น เดือนที่จังหวัดในภาคเหนือตอนบนมักประสบปัญหาหมอกควันที่เกิดขึ้นจากหลาก หลายสาเหตุ อาทิ ไฟป่าที่เกิดจากภาวะแห้งแล้งโดยธรรมชาติ การเผาพื้นที่สำหรับ เตรียมการเพาะปลูก และการเผาไหม้จากกิจกรรมทางเศรษฐกิจของมนุษย์ เช่น ควัน จากโรงงาน ควันพิษจากยานพาหนะ ควันจากการประกอบอาหารจากการใช้ถ่าน หรือฟืน ควันจากการเผาเพื่อกำจัดขยะหรือของเสีย เป็นต้น การเกิดหมอกควัน ดังกล่าวได้สง่ ผลกระทบต่อทัง้ สภาพแวดล้อม ทัศนะวิสยั ในการจราจรขนส่ง สขุ ภาพ ของมนุษย์และสัตว์ กิจกรรมทางเศรษฐกิจ เช่น การค้าการลงทุน การบริการ การ ท่องเที่ยว รวมถึงคุณภาพชีวิตของประชาชนอีกด้วย จากที่กล่าวข้างต้น บริบทด้านการค้าและการลงทุนชายแดน (Border trade and investment) การเคลือ่ นย้ายแรงงาน (Labor mobility) และปัญหาหมอกควัน ไฟป่า (Haze Pollution) ล้วนมีความสำคัญอย่างมากต่อการพัฒนาศักยภาพของ จังหวัดเชียงราย การค้าและการลงทุนชายแดนเปรียบเสมือนเครื่องยนต์ที่ใช้ขับ เคลือ่ นเศรษฐกิจของจังหวัดเชียงราย โดยเฉพาะการส่งออกทีเ่ ป็นแหล่งรายได้ทส่ี ำคัญ ของประเทศ ปัจจุบันการค้าชายแดนจังหวัดเชียงรายมีการเติบโตสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งขยายตัวตามขนาดเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าเป็นสำคัญ ไม่ว่าจะเป็นจีน สปป.ลาว หรือเมียนมา ทีม่ อี ตั ราการขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนือ่ ง ทำให้บริเวณพรมแดน ของเชียงรายเป็นยุทธศาสตร์ที่ทำให้ผู้ประกอบการสามารถแสวงหาโอกาสทางการค้า สามารถใช้สิทธิประโยชน์จากความร่วมมือในระดับทวิภาคีและระดับภูมิภาคในอำนวย
l 7l
ดัชนีชี้วัดทางสิ่งแวดล้อมเศรษฐสังคมชายแดน
ความสะดวกให้กับการค้ามากยิ่งขึ้น ตลอดจนนโยบายส่งเสริมการลงทุนชายแดนที่มี การสนับสนุนให้มีการลงทุนในพื้นที่ชายแดนอย่างต่อเนื่องมาโดยตลอด นอกจากนี้ แรงงาน ถือเป็นปัจจัยสำคัญในการขับเคลื่อนกิจกรรมทางเศรษฐกิจในพื้นที่ชายแดน จังหวัดเชียงราย จากสภาพภูมิศาสตร์ของจังหวัดเชียงรายที่มีอาณาเขตติดต่อกับ ประเทศเพื่อนบ้าน ส่งผลให้มีการเคลื่อนย้ายแรงงานจากประเทศเพื่อนบ้านเข้ามา ทำงานในพื้นที่ชายแดนจังหวัดเชียงรายเป็นจำนวนมาก ทั้งในภาคอุตสาหกรรม เกษตรกรรม การบริการ และการท่องเที่ยว เป็นต้น อาจกล่าวได้ว่า แรงงานจากประเทศ เพื่อนบ้านนั้นมีความสำคัญต่อการเติบโตของเศรษฐกิจในจังหวัดเชียงราย อย่างไร ก็ตาม แม้ว่าพื้นที่ชายแดนจังหวัดเชียงรายจะมีความได้เปรียบในการแข่งขันทาง เศรษฐกิจหลายประการ แต่ด้วยปัญหาหมอกควันจากการเผาไหม้และไฟป่า ก็ทำให้ จังหวัดเชียงรายเกิดความเสียเปรียบทางการแข่งขันทางเศรษฐกิจเช่นเดียวกัน รวมถึง ผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนในพื้นที่ โดยปัญหาหมอกควันดังกล่าวมีสาเหตุ มาจากการเผาในพื้นที่โล่ง พื้นที่การเกษตร และพื้นที่ป่า บริเวณจังหวัดเชียงรายและ จังหวัดใกล้เคียง รวมถึงประเทศเพื่อนบ้าน ดังนั้น การสร้างมาตรชี้วัดทางสิ่งแวดล้อมและเศรษฐสังคมชายแดน (Border Environmental and Socio-economics Index: BESE) เพือ่ ช่วยติดตามสถานการณ์ ชายแดนและเฝ้าระวังการเปลี่ยนแปลงสภาพเศรษฐกิจชายแดนอันเนื่องมาจากพลวัต ทางการค้าการลงทุน การเคลือ่ นย้ายแรงงาน และปัญหาหมอกควันนับว่าเป็นประโยชน์ ต่อภาครัฐ เอกชน ผู้ประกอบการ และประชาชน ตลอดจนการใช้ดัชนีชี้วัดดังกล่าว ในการอ้างอิงระดับการพัฒนาศักยภาพเศรษฐกิจชายแดนของจังหวัดเชียงรายตามแผน พัฒนาของประเทศและแผนพัฒนายุทธศาสตร์ของจังหวัดเชียงรายได้
l 8l
การค้าการลงทุน การเคลื่อนย้ายแรงงาน และมลภาวะทางสิ่งแวดล้อม
l 9l
ดัชนีชี้วัดทางสิ่งแวดล้อมเศรษฐสังคมชายแดน
l
10
l
การค้าการลงทุน การเคลื่อนย้ายแรงงาน และมลภาวะทางสิ่งแวดล้อม
2
สถานการณ์ทางเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม ของจังหวัดเชียงราย
จังหวัดเชียงรายเป็นจังหวัดที่ตั้งอยู่บนพื้นที่ยุทธศาสตร์หนึ่งในการพัฒนา เศรษฐกิจของประเทศไทยและเป็นประตูเชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้านที่มีแนวโน้ม การเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง ในส่วนนี้จะฉายภาพของสถานการณ์ทาง เศรษฐกิจ การค้า และการลงทุนในพื้นที่ชายแดนจังหวัดเชียงราย รวมทั้งการเคลื่อน ย้ายแรงงานจากประเทศเพือ่ นบ้านมาสูพ่ น้ื ทีช่ ายแดนจังหวัดเชียงราย และสถานการณ์ มลภาวะสภาพแวดล้อมที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงกิจกรรมทางเศรษฐกิจในพื้นที่ชาย แดนจังหวัดเชียงราย ประเทศไทยได้ดำเนินการสร้างยุทธศาสตร์การพัฒนาเศรษฐกิจฉบับใหม่ (New Growth Model) ที่ผนวกหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นกรอบสำคัญ ในการดำเนินการสร้างฐานเศรษฐกิจที่มั่นคงและยั่งยืนด้วยยุทธศาสตร์ 3 ด้านของ ประเทศ (Country Strategy) ยุทธศาสตร์แรก ได้แก่ การหลุดพ้นจากกับดักรายได้ ปานกลาง (Middle-income trap) ด้วยการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและ เติบโต (Growth and Competitiveness) ยุทธศาสตร์ทส่ี อง ได้แก่ การส่งเสริมการ เติบโตเศรษฐกิจที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Green growth) และยุทธศาสตร์ที่สาม ได้แก่ การเน้นการเติบโตแบบมีส่วนรวม (Inclusive growth) เพื่อลดปัญหาความ เหลื่อมล้ำภายในประเทศ ซึ่งยุทธศาสตร์ของประเทศเป็นที่มาและความสำคัญของ การศึกษาสถานการณ์การค้าและการลงทุนชายแดน ที่เปรียบเสมือนหัวใจสำคัญของ การเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศไทย ทั้งนี้รัฐบาลในยุคของคณะรักษาความสงบ แห่งชาติ (คสช.) พ.ศ. 2557 ได้พยายามมุ่งเน้นการพัฒนาเศรษฐกิจที่จะส่งเสริมและ
l
11
l
ดัชนีชี้วัดทางสิ่งแวดล้อมเศรษฐสังคมชายแดน
อำนวยความสะดวกให้กบั การค้าชายแดนและการค้าข้ามแดนเป็นสำคัญ เพือ่ ยกระดับ การค้าชายแดนของประเทศให้สามารถแข่งขันในเวทีระดับภูมิภาคและระดับโลกได้ มากยิ่งขึ้น ภายใต้สถานการณ์การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญทั้งภายนอกและภายในประเทศ ที่ส่งผลกระทบต่อการพัฒนาประเทศไทย แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 ได้ให้ความสำคัญต่อการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชีย ภายใต้ กรอบการค้าเสรีของอาเซียนกับจีน ญี่ปุ่น และอินเดีย (ASEAN plus three) และ ความตกลงหุน้ ส่วนเศรษฐกิจในภูมภิ าคอาเซียน (Regional Comprehensive Economic Partnership: RCEP) ด้วยการปรับโครงสร้างการค้าและการลงทุนให้สอดคล้องกับ การขยายตัวทางเศรษฐกิจของเอเชียและเศรษฐกิจภายในประเทศ ขณะเดียวกันการ พัฒนาเศรษฐกิจในภูมิภาคของประเทศไทยได้ให้ความสำคัญกับการพัฒนาเศรษฐกิจ ตามแนวพืน้ ทีช่ ายแดน/เขตเศรษฐกิจชายแดน เพือ่ เชือ่ มโยงและเพิม่ ขีดความสามารถ ในการพัฒนาฐานการลงทุน ได้แก่ การพัฒนาด้านอุตสาหกรรม การเกษตร การ ท่องเที่ยว และระบบโลจิสติกส์ รวมทั้งให้ความสำคัญต่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ การเคลื่อนย้ายแรงงาน และการพัฒนาเศรษฐกิจที่ไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ด้วยศักยภาพของจังหวัดเชียงรายซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีพรมแดนติดกับประเทศเพื่อนบ้าน ถึง 2 ประเทศ ได้แก่ เมียนมา และสปป.ลาว รวมถึงมีเส้นทางที่ตั้งอยู่บนระเบียง เศรษฐกิจเหนือใต้ จึงทำให้จังหวัดเชียงรายเป็นจุดยุทธศาสตร์ทางเศรษฐกิจที่สำคัญ ของการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไทย
2.1 สถานการณ์ทางด้านเศรษฐกิจจังหวัดเชียงราย
ในปีพ.ศ. 2555 เศรษฐกิจของจังหวัดเชียงราย (Gross Provincial Product: GPP) มีอัตราการขยายตัวร้อยละ 10.41 ปรับตัวดีขึ้นจากปีที่ผ่านมา (รูปที่ 2-1) เป็นผลจากการขยายตัวของภาคการเกษตรที่มีอัตราการเติบโตร้อยละ 15.44 โดยมี สาเหตุมาจากการขยายตัวเพิ่มขึ้นของพื้นที่การเพาะปลูกยางพารา และข้าวโพด
l
12
l
การค้าการลงทุน การเคลื่อนย้ายแรงงาน และมลภาวะทางสิ่งแวดล้อม
เลี้ยงสัตว์เป็นสำคัญ เนื่องจากยางพาราและข้าวโพดเป็นสินค้าเกษตรที่มีความต้องการ ในตลาดอย่างมาก จึงส่งผลให้เกิดแรงจูงใจทางด้านราคาที่ปรับตัวสูงขึ้น ในส่วนของ การเติบโตทางเศรษฐกิจภาคนอกเกษตรมีการขยายตัวร้อยละ 8.20 เป็นผลจากการ ขยายตัวของสาขาตัวกลางทางการเงินมีอตั ราการเติบโตร้อยละ 34.60 การให้สนิ เชือ่ ที่เป็นกิจกรรมหลักของธนาคารในประเภทของสินเชื่ออุปโภค-บริโภคส่วนบุคคล สินเชื่อธุรกิจ และสินเชื่อที่อยู่อาศัยที่ได้รับอิทธิพลจากนโยบายโครงการบ้านหลังแรก ของรัฐบาลซึ่งมีระยะเวลาตั้งแต่วันที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2554 ถึง 31 ธันวาคม พ.ศ. 2555 สาขาที่มีการเติบโตสูงในลำดับถัดมาคือ สาขาการไฟฟ้า ประปา และ โรงแยกก๊าซ มีอัตราขยายตัวร้อยละ 18.05 โดยเป็นการขยายตัวตามปริมาณการ ใช้ไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นของจังหวัดเชียงราย นอกจากนี้ สาขาการขายปลีกขายส่งฯ มีการ ขยายตัวร้อยละ 13.91 เป็นอันดับสามของอัตราเติบโตสูงสุดภาคนอกเกษตรในปี พ.ศ. 2555 รูปที่ 2-1 สภาวะการเติบโตทางเศรษฐกิจของจังหวัดเชียงราย
มูลค้า (ล้านบาท)
GPP
% ภาคเกษตร
% ภาคนอกเกษตร
60,000
20%
50,000
15%
40,000
10%
30,000
5%
20,000
0%
10,000 2547
2548
2549
2550
2551
2552
2553
2554
5%
2555
ที่มา: สำนักงานการคลังจังหวัดเชียงราย, 2557 ที่มา:http://www.fpo.go.th/FPO/modules/Content/getfile.php?contentfileID=3853
l
13
l
ดัชนีชี้วัดทางสิ่งแวดล้อมเศรษฐสังคมชายแดน
ดัชนีราคาผู้บริโภค (Consumer Price Index: CPI) ของจังหวัดเชียงราย มีการขยายตัวเพิ่มขึ้นในทุกปี โดยในปีพ.ศ. 2555 ดัชนีราคาผู้บริโภคอยู่ที่ 134.9 มีการเติบโตเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.07 จากปีก่อน (รูปที่ 2-2) มีการชะลอตัวอย่างมาก จากปีพ.ศ. 2554 ที่มีการขยายตัวถึงร้อยละ 11.31 เป็นผลจากการหดตัวของดัชนี ราคาผลผลิตทางการเกษตรเป็นสำคัญที่ร้อยละ 7.74 เนื่องจากการลดลงของอุปสงค์ ต่อยางพาราของตลาดประเทศจีน และการเพิ่มขึ้นอย่างมากของอุปทานยางพารา (ธนาคารแห่งประเทศไทย, 2555) การเปลีย่ นแปลงดังกล่าว ส่งผลให้ยางพาราเกิดการ ล้นตลาดจึงได้ฉุดให้ราคาตกต่ำลงตามกลไกราคา นอกจากนี้ ยังมีการหดตัวดัชนี ราคาในสาขาภาคนอกเกษตร อาทิ สาขาการไฟฟ้า ประปา และโรงแยกก๊าซ สาขา โรงแรมและภัตตาคาร สาขาการขายส่งขายปลีกฯ และสาขาการขนส่งและสถานที่ เก็บสินค้าอีกด้วย รูปที่ 2-2 การขยายตัวของดัชนีราคาผู้บริโภคของจังหวัดเชียงราย ภาคเกษตร
ภาคเนอกกษตร
%
CPI ภาคเกษตร
% CPI ภาคนอกเกษตร 20%
มูลค้า (ล้านบาท)
60,000
15%
50,000
10%
40,000
5%
30,000 20,000
0%
10,000
5% 2547
2548
2549
2550
2551
2552
2553
2554
2555
10%
ที่มา: สำนักงานการคลังจังหวัดเชียงราย, 2557
“ราคาสินค้าเกษตรตกต่ำอย่างมากในปี พ.ศ. 2548 โดยหดตัวร้อยละ 5.47 ได้ ส่งผลให้ดัชนีผู้บริโภคโดยรวมของจังหวัดเชียงรายมีการหดตัวร้อยละ 1.79 สวนทางกับการเติบโตของเศรษฐกิจที่มีการขยายตัวถึงร้อยละ 8.01”
l
14
l
การค้าการลงทุน การเคลื่อนย้ายแรงงาน และมลภาวะทางสิ่งแวดล้อม
เมื่อพิจารณาการเติบโตเฉลี่ยสะสม (Compound Annual Growth Rate: CAGR) ระหว่างปีพ.ศ. 2546-2555 ของ GPP ณ ราคาคงที่ (Real Gross Provincial Product: Real GPP) ทัง้ ภาคเกษตรและภาคนอกเกษตรมีการเติบโตในระยะยาวทีด่ ี ภาคเกษตรมีการขยายตัวเฉลี่ยสะสมร้อยละ 5.90 ขณะที่ภาคนอกเกษตรมีการ ขยายตัวเฉลี่ยสะสมอยู่ที่ร้อยละ 3.86 ทำให้ผลิตภัณฑ์มวลรวมของจังหวัดเชียงรายมี การขยายตัวเฉลี่ยสะสมร้อยละ 4.46 อาจกล่าวได้ว่า เศรษฐกิจของจังหวัดเชียงรายมี แนวโน้มเติบโตเพิ่มขึ้นอย่างมาก “ราคาสินค้าเกษตรตกต่ำอย่างมากในปี พ.ศ. 2548 โดยหดตัวร้อยละ 5.47 ได้สง่ ผล ให้ดัชนีผู้บริโภคโดยรวมของจังหวัดเชียงรายมีการหดตัวร้อยละ 1.79 สวนทาง กับการเติบโตของเศรษฐกิจที่มีการขยายตัวถึงร้อยละ 8.01” จากโครงสร้างเศรษฐกิจของจังหวัดเชียงรายปีพ.ศ. 2555 สาขาที่มีมูลค่า GPP สูงสุด 5 อันดับแรก คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 70.97 จากมูลค่า GPP รวม ได้แก่ สาขาเกษตรกรรมฯ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 30.80 รองลงมาได้แก่ สาขาบริการ อสังหาริมทรัพย์ฯ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 11.47 สาขาตัวกลางทางการเงินร้อยละ 10.96 สาขาการศึกษาร้อยละ 9.24 และสาขาการบริหารราชการฯ คิดเป็นสัดส่วน ร้อยละ 8.51 (รูปที่ 2-3) จะเห็นได้ว่า ภาคเกษตรกรรมมีบทบาทต่อเศรษฐกิจของ จังหวัดเชียงรายอย่างมาก พืชเศรษฐกิจที่มีมูลค่าสูงและสร้างรายได้จำนวนมาก ได้แก่ ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ชาอัสสัม ยางพารา ลำไย เป็นต้น (สำนักงานเกษตรจังหวัด เชียงราย, 2557) นอกจากนี้ ยังพบว่าการให้บริการอสังหาริมทรัพย์มอี ตั ราการเติบโต อย่างมากจากการลงทุนในการสร้างคอนโดมิเนียม บ้านจัดสรร โดยกลุม่ ทุนขนาดใหญ่ เช่น สุวรรณรายา แลนด์แอนด์เฮ้าส์ (วรัทยา, 2556) เป็นต้น
l
15
l
ดัชนีชี้วัดทางสิ่งแวดล้อมเศรษฐสังคมชายแดน
รูปที่ 2-3 สาขาที่มี GPP สูงสุด 5 อันดับในโครงสร้างเศรษฐกิจเชียงรายปี 2557 เกษตร
17,584
อสังหาฯ การเงิน
6,551 6,255
การศึกษา ค้าปลีกค้าส่ง
5,273 4,856
บริหารราชการ
4,855 0
5,000
10,000
15,000
20,000
มูลค่า (ล้านบาท) ที่มา: สำนักงานการคลังจังหวัดเชียงราย, 2557
เศรษฐกิจของจังหวัดเชียงรายมีการเติบโตอย่างมากจากอดีต และเป็นการ เติบโตที่รวดเร็วและต่อเนื่อง สังเกตได้จากราคาที่ดินของจังหวัดเชียงราย ในหลาย พื้นที่มีการปรับตัวสูงขึ้นเป็นเท่าตัวในระยะเวลา 2 – 3 ปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะบริเวณ พื้นที่ชายแดน ตัวอย่างเช่น ในอดีตราคาที่ดินในอำเภอเชียงของมีราคาอยู่ประมาณ ไร่ละ 3 – 4 ล้านบาท แต่ภายหลังมีการเปิดใช้งานสะพานมิตรภาพไทย-ลาวแห่งที่ 4 ราคาที่ดินมีการปรับราคาสูงขึ้นเป็นประมาณไร่ละ 6 – 9 ล้านบาท เช่นเดียวกับ อำเภอแม่สาย โดยเฉพาะที่ดินบริเวณสะพานข้ามแม่น้ำสายแห่งที่ 2 ปัจจุบันราคาที่ ดินปรับเพิ่มขึ้นจากเดิม 1.5 – 2 ล้านบาทต่อไร่ เป็น 3.5 – 4 ล้านบาทต่อไร่ เป็น ผลการขยายตัวของมูลค่าการค้าชายแดน และมีแนวโน้มในอนาคตที่จะเติบโตสูงขึ้น อย่างต่อเนื่อง
l
16
l
การค้าการลงทุน การเคลื่อนย้ายแรงงาน และมลภาวะทางสิ่งแวดล้อม
สถานการณ์การค้าชายแดน
ในปีพ.ศ. 2557 การส่งออกสินค้าบริเวณชายแดนจังหวัดเชียงรายมีอัตราการ เติบโตอยู่ที่ร้อยละ 6.71 มีการชะลอตัวเพียงเล็กน้อยจากปีก่อน (รูปที่ 2-4) เนื่องจาก การหดตัวอย่างต่อเนื่องของมูลค่าการส่งออกสินค้าไปยังจีนตอนใต้ที่ร้อยละ 9.15 เป็นหดตัวอย่างต่อเนื่องจากปีที่ผ่านมา โดยสินค้าที่ส่งออกไปยังจีนและมีการปรับตัว ของมูลค่าลดลง ได้แก่ สินค้าอุปโภค-บริโภค เครื่องจักรกลและอุปกรณ์สินค้าเกษตร และเคมีภัณฑ์ สาเหตุมาจากการที่ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ในตลาดโลกมีการปรับตัว ลดลงมากอย่างต่อเนื่อง รวมถึงราคาสินค้าเกษตรที่เข้าสู่ภาวะตกต่ำอย่างรุนแรง ตลอดจนผลกระทบจากการใช้มาตรการปฏิรูปเศรษฐกิจของจีนที่ทำให้อุปสงค์ใน ประเทศมีการชะลอตัวลง (ธนาคารแห่งประเทศไทย, 2557) ขณะเดียวกัน การส่งออก สินค้าไปยังสปป.ลาว และเมียนมามีอตั ราการเติบโตร้อยละ 7.28 และร้อยละ 11.15 ตามลำดับ หรือใกล้เคียงกับอัตราการเติบโตของปีที่ผ่านมา นอกจากนี้ การนำเข้าบริเวณชายแดนจังหวัดเชียงราย ในปีพ.ศ. 2557 มีอตั รา การขยายตัวอย่างมากอยู่ที่ร้อยละ 12.3 ทั้งที่ในปีก่อนหน้านี้มีการขยายตัวเพียงแค่ ร้อยละ 1.37 โดยมีสาเหตุมาจากการเติบโตของมูลค่านำเข้าสินค้าจากเมียนมาเป็น สำคัญ ซึ่งมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2555 จนถึงปี พ.ศ. 2557 หรือมีอตั ราการเติบโตสะสมร้อยละ 15.89 โดยสินค้าทีม่ มี ลู ค่าการนำเข้าสูงขึน้ ได้แก่ ไม้ซุง สินค้าเบ็ดเตล็ด ผลส้มสด เปลือกก่อ ดอกเก๊กฮวยตากแห้ง ทานาคา และ สินค้าอุปโภค-บริโภค เช่นเดียวกับ การนำเข้าสินค้าจากจีนตอนใต้ที่มีการขยายตัว อยู่ที่ร้อยละ 13.91 จากปีก่อน อย่างไรก็ตาม ในปี พ.ศ. 2557 มูลค่าการนำเข้าของ สปป.ลาวกลับหดตัวอย่างมากที่ร้อยละ 34.56 ทั้งที่ปีที่แล้วมีการเติบโตอย่างมาก โดยสินค้าที่มีมูลค่าการนำเข้าจากสปป.ลาวลดลงกว่าร้อยละ 10 ได้แก่ ถ่านหินลิกไนท์ พืชผักสด ไม้แปรรูป สินค้าเกษตร ลูกต๋าว หินชายฝั่ง วัสดุที่ใช้ในการก่อสร้าง และ ดอกหญ้า (ก๋ง) ซึง่ มีสาเหตุจากหลายปัจจัย ไม่วา่ จะเป็นการชะลอโครงการลงทุนด้าน เหมืองแร่ของรัฐบาลสปป.ลาวทีท่ ำให้อปุ ทานของถ่านหินลิกไนท์ลดลง และการผันผวน ของอัตราแลกเปลี่ยน (ประชาชาติธุรกิจ, 2557) เป็นต้น
l
17
l
ดัชนีชี้วัดทางสิ่งแวดล้อมเศรษฐสังคมชายแดน
“การส่งออกมีการชะลอตัวจากปีกอ่ น เนือ่ งจากการหดตัวอย่างต่อเนือ่ งของมูลค่า การส่งออกไปยังจีนตอนใต้ ในขณะที่การนำเข้ามีการเติบโตเพิ่มขึ้นค่อนข้างมาก ซึ่งมีสาเหตุจากการขยายตัวของการนำเข้าสินค้าจากจีนตอนใต้และเมียนมาเป็น จำนวนมาก ทำให้มลู ค่าการค้าชายแดนมีการขยายตัวทีด่ ”ี แม้วา่ มูลค่าดุลการค้า ชายแดนจะมีการชะลอตัวลง รูปที่ 2-4 เปรียบเทียบการขยายตัวของมูลค่าการค้าชายแดนจังหวัดเชียงราย 12.30%
10.23% 8.23%
3.37% 6.71%
5.95% 2556 2557
3.86% 1.37% ส่งออก
นำเข้า
การค้ารวม
คุลการค้า
ที่มา: รวบรวมโดยสำนักงานพาณิชย์จังหวัดเชียงราย, 2558
เมื่อทำการเปรียบเทียบการขยายตัวของการค้าชายแดนระหว่างปีพ.ศ. 2556 และ 2557 พบว่า จากการขยายตัวของมูลค่าการนำเข้าในปี พ.ศ. 2557 ส่งผลให้ การค้าชายแดนมีการเติบโตร้อยละ 10.23 เติบโตขึ้นจากปีก่อนอย่างมาก หากแต่ทำ ให้มูลค่าดุลการค้ามีการถดถอยลงจากปีพ.ศ. 2556 ที่มีอัตราการเติบโตร้อยละ 8.23 ลดลงมาเป็นร้อยละ 5.95 ในปีพ.ศ. 2557 เมือ่ พิจารณารูปแบบการค้าในปีพ.ศ. 2557 พบว่า การค้าผ่านแดนบริเวณด่านชายแดนจังหวัดเชียงรายไปยังจีนตอนใต้ส่วนใหญ่ เป็นการค้าภายในอุตสาหกรรมเดียวกัน (Intra-industry trade) ส่วนใหญ่เป็นสินค้า ประเภทเครื่องอุปโภค-บริโภค เครื่องจักรและอุปกรณ์ สินค้าเกษตร ผลไม้สด และ ดอกไม้ประดับ ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 67.48 ของมูลค่าการส่งออกทั้งหมด และร้อยละ 52.49 ของมูลค่าการนำเข้าทั้งหมด ส่วนรูปแบบการค้าชายแดนกับเมียนมาของ
l
18
l
การค้าการลงทุน การเคลื่อนย้ายแรงงาน และมลภาวะทางสิ่งแวดล้อม
จังหวัดเชียงรายนัน้ ส่วนใหญ่เป็นการค้าระหว่างอุตสาหกรรม (Inter-industry trade) ขณะที่สินค้าที่อยู่ภายในอุตสาหกรรมเดียวกันก็เริ่มมีการเติบโตมากขึ้น อาทิ สินค้า เบ็ดเตล็ด และสินค้าอุปโภค-บริโภค คิดเป็นร้อยละ 39.13 และ 5.55 ของมูลค่าการ นำเข้าทั้งหมด เช่นเดียวกันกับการค้าชายแดนกับสปป.ลาวบริเวณด่านชายแดน จังหวัดเชียงรายส่วนใหญ่เป็นการค้าระหว่างอุตสาหกรรม โดยมีสินค้าบางประเภท ที่มีการค้าภายในอุตสาหกรรมเดียวกัน เช่น สินค้าเกษตร และสินค้าประเภทวัสดุ ก่อสร้างจำพวก เศษเหล็ก และเหล็กถลุง คิดเป็นร้อยละ 35.44 ของมูลค่าการส่งออก ทั้งหมด และร้อยละ 3.73 ของมูลค่าการนำเข้าทั้งหมด ปัจจุบันสปป.ลาวมีศักยภาพ ในการผลิตสินค้าประเภทวัสดุที่ใช้ในก่อสร้างพื้นฐานมากขึ้น “การขยายตัวของการค้าแบบภายในอุตสาหกรรมเดียวกันสะท้อนถึงการเติบโต ของเศรษฐกิจประเทศเพือ่ นบ้านทีม่ ศี กั ยภาพในการผลิตสินค้ามากขึน้ โดยเฉพาะ สปป.ลาว และเมียนมาที่หลังจากการเปิดประเทศได้มีการลงทุนในด้านการผลิต ของอุตสาหกรรมสูงขึ้น” รูปที่ 2-5 การเติบโตมูลค่าการค้าชายแดนของประเทศคู่ค้า
มูลค้า (ล้านบาท)
50,000
ส่งออก
นำเข้า
การค้ารวม
คุลการค้า
40,000 30,000 20,000 10,000 2546 2547
2548 2549
2550 2551
2552 2553 2554 2555
2556 2557
ที่มา: รวบรวมโดยสำนักงานพาณิชย์จังหวัดเชียงราย
l
19
l
ดัชนีชี้วัดทางสิ่งแวดล้อมเศรษฐสังคมชายแดน
รูปที่ 2-5 แสดงการเติบโตของมูลค่าการส่งออกชายแดนระหว่างปีพ.ศ. 2547 2557 ว่ามีอตั ราการเติบโตค่อนข้างสูง หรือมีอตั ราการเติบโตเฉลีย่ สะสม (Compound Annual Growth Rate: CAGR) ร้อยละ 19.21 ซึ่งเป็นการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ของการส่งออกไปยังเมียนมา และสปป.ลาว มูลค่าการค้าชายแดน และดุลการค้ามี การขยายตัวสอดคล้องกับมูลค่าการส่งออกอยู่ที่ร้อยละ 17.67 และ 21.61 ตามลำดับ ส่วนการนำเข้ามีการขยายตัวเฉลี่ยสะสมไม่มากนักที่ร้อยละ 10.18 การขยายตัว ดังกล่าวเป็นผลจากการนำเข้าจากจีนตอนใต้เป็นอันดับแรก รองมา ได้แก่ เมียนมา และ สปป.ลาว คาดการณ์ว่าในอนาคตการค้าชายแดนจะมีการเติบโตเพิ่มขึ้นอีกอย่างมาก
สถานการณ์การค้าชายแดนอำเภอเชียงของ “สถานการณ์การค้าชายแดนบริเวณอำเภอเชียงของ พบว่ามีการหดตัวของ มูลค่าการส่งออก ในขณะทีม่ ลู ค่าการนำเข้ามีการเติบโตเพิม่ สูงขึน้ อย่างมาก การ ลดลงของมูลค่าการส่งออกทำให้มูลค่าการค้าชายแดนมีการขยายตัวลดลงเพียง เล็กน้อย ส่งผลให้ดุลการค้ามีการชะลอตัวอย่างมาก แต่ยังคงได้เปรียบดุลการ ค้าจากประเทศเพื่อนบ้าน และจีนตอนใต้”
การส่งออกในปีพ.ศ. 2557 มีการขยายตัวร้อยละ 5.84 ซึ่งเติบโตลดลงจาก ปีก่อน สาเหตุมาจากการหดตัวอย่างรุนแรงของมูลค่าการส่งออกไปยังสปป.ลาวที่ ร้อยละ 87.00 จากการส่งออกสินค้าประเภทเนื้อสัตว์แช่แข็ง และเนื้อสัตว์ที่ทำไว้ ไม่ให้เสีย น้ำมันเบนซิน และวัสดุที่ใช้ในก่อสร้าง โดยที่การส่งออกไปยังจีนตอนใต้ มีการขยายตัวเพียงเล็กน้อยที่ร้อยละ 2.53 ในขณะที่เมียนมามีการขยายตัวอย่าง มากถึงร้อยละ 226.75 ในสินค้าประเภทยางพารา และสินค้าอุปโภค-บริโภค ส่วนการ นำเข้าในปีพ.ศ. 2557 มีการเติบโตเพิ่มขึ้นอย่างมากจากปีก่อนอยู่ที่ร้อยละ 3.81 จากการนำเข้าสินค้าประเภทเครื่องจักรและอุปกรณ์ และบุหรี่เพิ่มขึ้นจากจีนตอนใต้
l
20
l
การค้าการลงทุน การเคลื่อนย้ายแรงงาน และมลภาวะทางสิ่งแวดล้อม
เป็นสำคัญ ทำให้มูลค่าการค้าชายแดนเติบโตอยู่ที่ร้อยละ 5.38 เพิ่มขึ้นจากปีก่อน ซึ่งส่งผลให้ดุลการค้าบริเวณด่านอำเภอเชียงของชะลอตัวลงอย่างมากอยู่ที่ร้อยละ 6.68 เนื่องจากมูลค่าการส่งออกมีการเติบโตต่ำกว่าการขยายตัวของมูลค่าการนำเข้า รูปที่ 2-6 การขยายตัวของการค้าชายแดนด่านอำเภอเชียงของ 10.87% 7.47% 5.69%
5.84%
6.68% 2556 2557
5.38%
3.81% 0.04% ส่งออก
นำเข้า
การค้ารวม
คุลการค้า
ที่มา: ด่านศุลกากรอำเภอเชียงของ, 2558
การค้าชายแดนระหว่างปี พ.ศ. 2546-2557 มีการขยายตัวทีด่ ี (รูปที่ 2-7) โดยมี อัตราการขยายตัวเฉลี่ยสะสมร้อยละ 32.09 เป็นผลมาจากการเติบโตของการค้า ผ่านแดนกับจีนตอนใต้เป็นสำคัญ คือ การส่งออกสินค้าจากเชียงของไปจีนตอนใต้มี การขยายตัวเฉลี่ยสะสมร้อยละ 33.89 ในสินค้าประเภทวัสดุที่ใช้ในการก่อสร้าง เครื่องอุปโภค-บริโภค น้ำมันดีเซลหมุนเร็ว และน้ำมันเบนซินที่มีการส่งออกไปอย่าง ต่อเนือ่ ง ขณะทีก่ ารนำเข้าสินค้าจากจีนตอนใต้มกี ารขยายตัวเฉลีย่ สะสมร้อยละ 26.91 จากการนำเข้าสินค้าประเภทเครื่องจักรและอุปกรณ์ และไม้แปรรูป ที่มีการนำเข้ามา อย่างต่อเนื่อง ทำให้ดุลการค้ามีขยายตัวเฉลี่ยสะสมอยู่ที่ 34.49 ใกล้เคียงกับอัตรา การเติบโตเฉลี่ยสะสมของมูลค่าการค้าและมูลค่าการส่งออกรวมของอำเภอเชียงของ
l
21
l
ดัชนีชี้วัดทางสิ่งแวดล้อมเศรษฐสังคมชายแดน
รูปที่ 2-7 การเติบโตของค้าชายแดนในระยะยาวด่านอำเภอเชียงของ 2,500 2,000 1,500 1,000 500
การนำเข้า
มูลค่าการส่งออก
มูลค่าการค้ารวม
มูลค่าคุลการค้า
500
ม.ค. 2546 ส.ค. 2546 มี.ค. 2547 ต.ค. 2547 พ.ค. 2548 ธ.ค. 2548 ก.ค. 2549 ก.พ. 2550 ก.ย. 2560 เม.ย. 2561 พ.ย. 2561 มิ.ย. 2562 ม.ค. 2563 ส.ค. 2563 มี.ค. 2564 ต.ค. 2564 พ.ค. 2565 ธ.ค. 2566 ก.ค. 2566 ก.พ. 2567 ก.ย. 2567
0
ที่มา: ด่านศุลกากรอำเภอเชียงของ, 2558
นอกจากนี้ การค้าชายแดนบริเวณอำเภอเชียงของส่วนใหญ่ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2557 เป็นการค้าสินค้าระหว่างอุตสาหกรรมเป็นหลัก คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 88.31 ของมูลค่าการส่งออกทั้งหมด และร้อยละ 73.91 ของมูลค่าการนำเข้าทั้งหมด ส่วนการค้าสินค้าภายในอุตสาหกรรมเดียวกันมีเพียงสินค้าประเภทเดียวคือ ผลไม้สด ที่ทั้งส่งออกและนำเข้ากับจีนตอนใต้ อันเป็นผลมาจากข้อตกลงเสรีทางการค้า อาเซียน-จีน (ASEAN - China FTA) คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ11.69 ของสินค้าส่งออก ทั้งหมด และร้อยละ 26.09 ของสินค้านำเข้าทั้งหมด
สถานการณ์การค้าชายแดนอำเภอเชียงแสน “การส่งออกมีการเติบโตแบบชะลอตัว เช่นเดียวกับการนำเข้าที่มีการเติบโต ลดลงอย่างมาก ทำให้มูลค่าการค้า ตลอดจนดุลการค้ามีการเติบโตลดลงตาม ไปด้วย สาเหตุหลักเกิดจากการลดลงอย่างมากของอัตราการเติบโตของมูลค่า การส่งออกไปยังสปป.ลาวและจีนตอนใต้”
l
22
l
การค้าการลงทุน การเคลื่อนย้ายแรงงาน และมลภาวะทางสิ่งแวดล้อม
มูลค่าการส่งออกในปีงบประมาณ 2557 มีอัตราเติบโตอยู่ที่ร้อยละ 11.01 มีการปรับตัวลดลงเล็กน้อยจากปีก่อน (รูปที่ 2-8) เนื่องจาก มูลค่าการส่งออกใน สปป.ลาว มีการชะลอตัวลงจากร้อยละ 51.28 ในปีงบประมาณ 2556 เหลือเพียง ร้อยละ 10.82 ในปี 2557 เป็นการลดลงของมูลค่าการส่งออกในสินค้าประเภทน้ำมัน เชือ้ เพลิง สุรา เบียร์และไวน์ สังกะสี เหล็กเส้น และโครงเหล็ก รถยนต์และส่วนประกอบ ปูนซีเมนต์ น้ำมันปาล์ม และเครื่องจักร ส่วนมูลค่าการส่งออกไปยังเมียนมา และจีน ตอนใต้มีอัตราการเติบโตเพิ่มขึ้นจากปีก่อนอยู่ที่ร้อยละ 24.53 และร้อยละ 3.22 ตามลำดับ รูปที่ 2-8 การขยายตัวของการค้าชายแดนด่านอำเภอเชียงแสน 25.96%
13.82%
14.35% 13.23% 11.28% 10.77%
11.01% 6.00%
ส่งออก
นำเข้า
ค้ารวม
2556 2557
ดุลการค้า
ที่มา: ด่านศุลกากรอำเภอเชียงแสน, 2558
จากรูปที่ 2-8 พบว่า มูลค่าการนำเข้า ณ ด่านชายแดนอำเภอเชียงแสนมีการ ชะลอตัวลงอย่างมากจากร้อยละ 25.96 ในปีพ.ศ. 2556 เหลือเพียงร้อยละ 6.00 ในปีพ.ศ. 2557 สาเหตุเกิดจากการลดลงของมูลค่าการนำเข้าจากจีนตอนใต้เป็นสำคัญ ซึ่งลดลงจากร้อยละ 30.22 ในปีพ.ศ. 2556 เหลือเพียงร้อยละ 6.03 ในปีพ.ศ. 2557 เป็นการหดตัวของมูลค่าการนำเข้าสินค้าประเภทไม้ซงุ สักและของทำด้วยไม้ แร่แมงกานีส พลวง และดีบุก ผลส้มสด ใบชา รถบรรทุก และเครื่องประดับ/สร้อยคอทองคำ ส่วนการนำเข้าสินค้าจากสปป.ลาว ในปีพ.ศ. 2557 มีการเติบโตสูงขึน้ อยูท่ ร่ี อ้ ยละ 6.51 เปลี่ยนไป หลังจากที่มีการหดตัวอย่างรุนแรงในปีก่อน
l
23
l
ดัชนีชี้วัดทางสิ่งแวดล้อมเศรษฐสังคมชายแดน
รูปที่ 2-9 การเติบโตของการค้าชายแดนในระยะยาวด่านอำเภอเชียงแสน มูลค่าการส่งออก
มูลค่า (ล้านบาท)
2,000
มูลค่าการนำเข้า
การค้ารวม
ดุลการค้า
1,500 1,000 500 มิ.ย. 2557
ม.ค. 2557
ส.ค. 2556
มี.ค. 2556
ต.ค. 2555
พ.ค. 2555
ธ.ค. 2554
ก.ค. 2554
ก.พ. 2554
ก.ย. 2553
เม.ย. 2553
พ.ย. 2552
มิ.ย. 2552
ม.ค. 2552
ส.ค. 2551
มี.ค. 2551
ต.ค. 2550
0
ที่มา: ด่านศุลกากรอำเภอเชียงแสน, 2558
จากรูปที่ 2-9 เห็นได้ชัดว่า การเติบโตของมูลค่าการค้าในระยะยาวตั้งแต่ปี งบประมาณพ.ศ. 2551 - 2557 ได้รับอิทธิพลอย่างมากจากมูลค่าการส่งออก ขณะที่ มูลค่าการนำเข้ามีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนือ่ ง ซึง่ มีผลให้ดลุ การค้ามีอตั ราการเติบโต สูงขึ้น หรือมีอัตราการเติบโตเฉลี่ยสะสมของมูลค่าการส่งออกอยู่ที่ร้อยละ 13.38 เป็นผลจากการขยายตัวอย่างต่อเนื่องของมูลค่าการส่งออกไปยังสปป.ลาวเป็นสำคัญ ส่วนมูลค่าการนำเข้ามีการขยายตัวเฉลีย่ สะสมร้อยละ - 8.87 เป็นผลเหตุจากการหดตัว อย่างต่อเนื่องของมูลค่าการนำเข้าจากจีนตอนใต้เป็นสำคัญ ทำให้อัตราการเติบโต สะสมของมูลค่าการค้ารวมอยู่ที่ร้อยละ 13.38 และดุลการค้าอยู่ที่ร้อยละ 19.72 การค้าบริเวณด่านอำเภอเชียงแสนกับประเทศเพื่อนบ้านและจีนตอนใต้ ในปี งบประมาณ พ.ศ. 2557 เป็นการค้าสินค้าระหว่างอุตสาหกรรมคิดเป็นร้อยละ 96.47 ในขณะที่การค้าสินค้าภายอุตสาหกรรมเดียวกันคิดเป็นเพียงร้อยละ 3.5 โดยส่วนใหญ่ เป็นสินค้าประเภทเครื่องจักรและส่วนประกอบ โดยมีมูลค่าการส่งออกมากกว่ามูลค่า การนำเข้า ฉะนั้น สินค้าที่ค้าขายบริเวณชายแดนอำเภอเชียงแสนเป็นสินค้าที่ผลิต ตามความสามารถและความเชี่ยวชาญในการผลิตของแต่ละประเทศเป็นสำคัญ
l
24
l
การค้าการลงทุน การเคลื่อนย้ายแรงงาน และมลภาวะทางสิ่งแวดล้อม
สถานการณ์การค้าชายแดนอำเภอแม่สาย “การส่งออกบริเวณด่านอำเภอแม่สายมีการปรับตัวลดลงอย่างมาก ในขณะที่ การนำเข้ามีการเติบโตสูงขึ้นเป็นเท่าตัว ทำให้การค้าโดยรวมมีการชะลอตัว ตามมูลค่าการส่งออก รวมถึงการหดตัวของดุลการค้าด้วยเช่นกัน”
มูลค่าการส่งออก ณ ด่านอำเภอแม่สายในปีงบประมาณพ.ศ. 2557 มีการ ขยายตัวเพียงแค่ร้อยละ 0.39 จากที่เคยขยายตัวที่ร้อยละ 19.09 ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2556 (รูปที่ 2-10) สาเหตุจากการหดตัวของการส่งออกสินค้าประเภทรถยนต์ อาหารปรุงแต่ง และน้ำมันปาล์มไปยังประเทศเมียนมาเป็นสำคัญ อย่างไรก็ตาม มูลค่าการนำเข้า ณ ด่านอำเภอแม่สายกลับมีการขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 42.53 ในปี งบประมาณพ.ศ. 2556 เป็นร้อยละ 143.96 ในปีงบประมาณพ.ศ. 2557 ซึ่งมาจาก การขยายตัวของการนำเข้าสินค้าประเภทไม้ซุงสักและของทำด้วยไม้ แร่แมงกานีส พลวงและดีบุก ผลส้มสด ใบชา รถบรรทุก และเครื่องใช้ไฟฟ้า ทำให้มูลค่าการค้า ชายแดนมีการขยายตัวต่ำกว่าปีก่อนอยู่ที่ร้อยละ 3.28 และส่งผลให้ดุลการค้ามีการ หดตัวร้อยละ 2.63 รูปที่ 2-10 การขยายตัวของการค้าชายแดนด่านอำเภอแม่สาย 140.00% 2556 2557
42.53% 19.09% 0.39% ส่งออก
19.50% 3.28% นำเข้า
การค้ารวม
18.67%
-2.63%
ดุลการค้า
ที่มา: ด่านศุลกากรอำเภอแม่สาย,2558
l
25
l
ดัชนีชี้วัดทางสิ่งแวดล้อมเศรษฐสังคมชายแดน
นอกจากนี้ ระหว่างปีงบประมาณ 2545 -2557 มูลค่าการค้าชายแดนมีการ เติบโตอย่างต่อเนื่อง สอดคล้องกับการเติบโตของมูลค่าการส่งออก ทำให้ดุลการค้า มีการเติบโตด้วยเช่นกัน แต่การนำเข้ากลับไม่มีขยายตัวมากนัก (รูปที่ 2-11) อัตรา การเติบโตเฉลี่ยสะสมของการค้าชายแดนแม่สายอยู่ที่ร้อยละ 14.63 มูลค่าการ ส่งออกอยู่ที่ร้อยละ 13.87 มูลค่าการนำเข้าอยู่ที่ร้อยละ 38.93 และมูลค่าดุลการค้า อยู่ที่ร้อยละ 13.05 รูปที่ 2-11 การเติบโตของการค้าชายแดนในระยะยาวด่านอำเภอแม่สาย มูลค่าการนำเข้า
การค้ารวม
ดุลการค้า
ต.ค.2552 ม.ค.2553 เม.ย.2553 ก.ค.2553 ต.ค.2554 ม.ค.2554 เม.ย.2554 ก.ค.2554 ต.ค.2554 ม.ค.2555 เม.ย.2555 ก.ค.2555 ต.ค.2555 ม.ค.2556 เม.ย.2556 ก.ค.2556 ต.ค.2556 ม.ค.2557 เม.ย.2557 ก.ค.2557
มูลค่า (ล้านบาท)
มูลค่าการส่งออก 1,600 1,400 1,200 1,000 800 600 400 200 0
ที่มา: ด่านศุลกากรอำเภอแม่สาย,2558
2.2 สถานการณ์การเคลื่อนย้ายแรงงานจังหวัดเชียงราย
ด้วยศักยภาพทางภูมิศาสตร์ของจังหวัดเชียงราย ส่งผลให้เศรษฐกิจในจังหวัด เชียงราย ไม่ว่าจะเป็นบริเวณเขตเมืองและเขตอำเภอชายแดนทั้ง 3 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเชียงของ อำเภอเชียงแสน และอำเภอแม่สายเกิดการขยายตัวอย่างรวดเร็ว ทั้งด้านการค้า การลงทุน อุตสาหกรรม โลจิสติกส์ และการท่องเที่ยว ผลกระทบจาก การเติบโตทางเศรษฐกิจของจังหวัดเชียงรายนี้ ทำให้ประชาชนในจังหวัดเชียงราย มีงานทำ โดยแรงงานในจังหวัดเชียงรายส่วนใหญ่ เป็นแรงงานในภาคเกษตร ทีส่ ำคัญ ได้แก่ ข้าว ข้าวโพด ชา กาแฟ และพืชเศรษฐกิจอื่นๆ และเป็นแรงงานนอกภาค การเกษตร ทีส่ ำคัญได้แก่ อุตสาหกรรม ก่อสร้าง และการบริการ เป็นต้น การขยายตัว
l
26
l
การค้าการลงทุน การเคลื่อนย้ายแรงงาน และมลภาวะทางสิ่งแวดล้อม
ทางเศรษฐกิจในพื้นที่จังหวัดเชียงรายส่งผลให้ประชาชนมีทางเลือกมากขึ้นในการ เข้าสู่ตลาดแรงงาน ก่อให้เกิดการเคลื่อนย้ายแรงงานในพื้นที่และการเคลื่อนย้าย ระหว่างอาชีพ รวมทั้งการเข้ามาของแรงงานจังหวัดอื่นๆ ทั่วภูมิภาค เพื่อตอบสนอง การเติบโตทางเศรษฐกิจทีม่ คี วามต้องการแรงงานอย่างมาก นอกจากนี้ ปัจจัยทางด้าน อัตราค่าจ้างขั้นต่ำก็ส่งผลต่อการเคลื่อนย้ายแรงงานระหว่างอาชีพด้วยเช่นเดียวกัน ข้อมูลจากสำนักงานสถิติจังหวัดเชียงรายปีพ.ศ. 2557 พบว่าจังหวัดเชียงราย มีจำนวนประชากร 1,200,423 คน เป็นชาย 590,446 คน (ร้อยละ 49.19) หญิง 609,977 คน (ร้อยละ 50.81) จากข้อมูลผลการสำรวจภาวะการทำงานของประชากร จังหวัดเชียงรายเฉลี่ยทั้ง 4 ไตรมาสปีพ.ศ. 2557 พบว่า ประชากรในวัยทำงาน (อายุ 15 ปีขน้ึ ไป) มีจำนวน 956,095 คน เป็นผูอ้ ยูใ่ นกำลังแรงงาน มีจำนวน 680,456 คน และผูไ้ ม่อยูใ่ นกำลังแรงงาน มีจำนวน 275,638 คน โดยจำแนกผูท้ อ่ี ยูใ่ นกำลังแรงงาน ได้ 3 กลุ่ม ประกอบด้วย ผู้มีงานทำจำนวน 678,699 คน (ร้อยละ 99.74 ของผู้อยู่ ในกำลังแรงงานทั้งหมด) ผู้ว่างงาน จำนวน 1,564 คน (ร้อยละ 0.23) และผู้ที่รอ ฤดูกาล2 จำนวน 194 คน (ร้อยละ 0.03) และจำแนกผูไ้ ม่อยูใ่ นกำลังแรงงานได้ 3 กลุม่ ประกอบด้วย ผู้ที่ทำงานบ้าน จำนวน 79,161 คน (ร้อยละ 28.72) ผู้ที่เรียนหนังสือ จำนวน 68,139 คน (ร้อยละ 24.72) และอืน่ ๆ จำนวน 128,339 คน (ร้อยละ 46.56) นอกจากนี้ ข้อมูลของสำนักงานสถิติฯ แสดงว่าในไตรมาสที่ 1 ปีพ.ศ. 2558 จังหวัด เชียงราย มีจำนวนประชากรที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไป มีจำนวน 956,222 คน โดยเป็นผู้ ทีอ่ ยูใ่ นกำลังแรงงาน 670,632 คน (ร้อยละ 70.13) และเป็นผูท้ ไ่ี ม่อยูใ่ นกำลังแรงงาน 285,590 คน (ร้อยละ 29.87) ของจำนวนประชากรที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไป ซึ่งจำนวน ประชากรที่เข้าร่วมกำลังแรงงานลดลงจากปีก่อนค่อนข้างมาก
2
ผู้ที่รอฤดูกาล หมายถึง ผู้ที่ไม่เข้าข่ายคำนิยามของผู้มีงานทำ หรือผู้ว่างงาน แต่เป็นผู้รอฤดูกาลที่เหมาะสมเพื่อที่จะทำงาน และเป็นบุคคลที่ตามปกติจะทำงานที่ไม่ได้รับสิ่งตอบแทนในไร่นาเกษตร หรือธุรกิจซึ่งทำกิจกรรมตามฤดูกาล โดยมีหัวหน้า ครัวเรือนหรือสมาชิกคนอื่น ๆ ในครัวเรือนเป็นเจ้าของหรือผู้ดำเนินการ
l
27
l
ดัชนีชี้วัดทางสิ่งแวดล้อมเศรษฐสังคมชายแดน
จังหวัดเชียงรายมีพื้นที่อำเภอชายแดนติดกับประเทศเพื่อนบ้านอย่างเมียนมา และสปป.ลาว โดยมีอำเภอแม่สายติดต่อกับประเทศเมียนมา และอำเภอเชียงแสน กับอำเภอเชียงของติดกับสปป.ลาว ทั้ง 3 พื้นที่เป็นพื้นที่ผ่านเข้า – ออกของแรงงาน จากประเทศเพื่อนบ้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในอำเภอแม่สาย จะมีแรงงานต่างด้าวเข้า มาทำงานเป็นจำนวนมาก เนื่องจากปัจจัยความสะดวกในการเดินทางและความ ต้องการแรงงานในพื้นที่มีจำนวนมาก โดยทั่วไป แรงงานต่างด้าวสามารถเข้ามา ทำงานในพื้นที่แม่สายด้วยการขอวีซ่าอนุญาตทำงาน และการใช้ Boarding Pass ข้ามแดน ซึ่งในรูปแบบหลังนั้น แรงงานมักเข้ามาทำงานแบบการไป – กลับ รายวัน หรือรายสัปดาห์ จากสถิติของสำนักบริหารแรงงานต่างด้าว พบว่า จังหวัดเชียงรายมีแรงงาน ต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตทำงานคงเหลือ ณ มกราคม พ.ศ. 2558 จำนวน 12,711 คน โดยแยกเป็นแรงงานที่เข้ามาทำงานแบบกฎหมายจำนวน 9,779 คน และแรงงาน ที่เข้าเมืองมาทำงานแบบไม่ถูกต้องตามกฎหมายจำนวน 2,932 คน แบ่งเป็นเพศชาย จำนวน 6,827 คน และเพศหญิงจำนวน 5,854 คน ในปีพ.ศ. 2558 จำนวนแรงงาน ต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตให้ทำงานคงเหลือน้อยกว่าปีพ.ศ. 2557 ค่อนข้างมากดัง ตารางที่ 2-1
l
28
l
การค้าการลงทุน การเคลื่อนย้ายแรงงาน และมลภาวะทางสิ่งแวดล้อม
ตารางที่ 2-1 จำนวนแรงงานต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตให้ทำงานคงเหลือจังหวัดเชียงราย (คน) ข้อมูล ณ
รวมทั้งสิ้น รวม
ชาย
หญิง
เข้าเมือง ถูกกฎหมาย รวม คิดเป็น
เข้าเมือง ผิดกฎหมาย รวม คิดเป็น
มกราคม 2551 14,561 7,898 6,663
692
5%
13,869 95%
มกราคม 2552 14,270 7,881 6,389
829
6%
13,441 94%
มกราคม 2553 19,515 11,047 8,468
814
4%
18,701 96%
มกราคม 2554 16,593 9,378 7,215
948
6%
15,645 94%
มกราคม 2555 22,607 12,871 9,736
2,341 10%
20,266 90%
มกราคม 2556 14,638 7,831 6,807 10,351 71%
4,287
29%
มกราคม 2557 14,245 7,665 6,580 11,089 78%
3,156
22%
มกราคม 2558 12,711 6,827 5,854
2,932
23%
9,779 77%
ที่มา: สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว กระทรวงแรงงาน, 2558
เมื่อพิจารณาจำนวนแรงงานต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตให้ทำงานคงเหลือใน จังหวัดเชียงราย ระหว่างปีพ.ศ. 2551-2558 (รูปที่ 2-12) พบว่า แรงงานต่างด้าวที่ เข้าเมืองมาทำงานแบบผิดกฎหมายมีอตั ราลดลงอย่างเห็นได้ชดั เจน จากเดือนมกราคม ปีพ.ศ. 2551 มีจำนวนแรงงานต่างด้าวลักลอบเข้าเมืองผิดกฎหมายคิดเป็นร้อยละ 95 ของจำนวนทั้งหมด ในขณะที่ เดือนมกราคม ปีพ.ศ. 2558 มีแรงงานต่างด้าวลักลอบ เข้าเมืองผิดกฎหมายลดลงเหลือร้อยละ 23 สาเหตุหลักมาจากการเข้มงวดของภาครัฐ ในการลับลอบเข้าเมืองมาทำงาน ที่ผ่านมาภาครัฐได้ผ่อนผันให้นายจ้างพาแรงงาน ต่างด้าวสัญชาติเมียนมา ลาว และกัมพูชาที่ลักลอบทำงานในประเทศไทยสามารถ มาขึ้นทะเบียนเพื่อทำงานในประเทศไทยได้ นับเป็นการจดทะเบียนแรงงานครั้งใหญ่ ในปีพ.ศ. 2552 และได้สน้ิ สุดลงในปีพ.ศ. 2555 ต่อมาในปีพ.ศ. 2557 รัฐบาลได้มกี าร จัดตั้งศูนย์บริการจดทะเบียนแรงงานต่างด้าว (One Stop Service : OSS) ทำให้
l
29
l
ดัชนีชี้วัดทางสิ่งแวดล้อมเศรษฐสังคมชายแดน
แรงงานต่างด้าวทีท่ ำงานอยูใ่ นประเทศไทยโดยแบบผิดกฎหมายสามารถมาลงทะเบียน การทำงานได้สะดวกมากขึ้น รวมทั้งมีการลดค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนแรงงาน ต่างด้าว การขอใบอนุญาตทำงานสำหรับแรงงานตามฤดูกาลและแรงงานรายวัน และการอนุญาตให้เปลี่ยนนายจ้างได้ตามพระราชบัญญัติการทำงานของคนต่างด้าว ฉบับใหม่ขึ้นในปีพ.ศ. 2551 จึงทำให้จำนวนแรงงานต่างด้าวมาลงทะเบียนแรงงาน เพิ่มมากขึ้นด้วย
จำนวนแรงงานต่างด้าว (คน)
รูปที่ 2-12 เปรียบเทียบการเข้าเมืองของแรงงานต่างด้าวในจังหวัดเชียงราย ปีพ.ศ. 2551 - 2558 25,000 20,000 15,000 10,000 5,000 0
2551
2552 2553 2554 เข้าเมืองถูกกฎหมาย รวม
2555 2556 เข้าเมืองผิดกฎหมาย รวม
2557
ที่มา: สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว กระทรวงแรงงาน, 2558
l
30
l
2558
การค้าการลงทุน การเคลื่อนย้ายแรงงาน และมลภาวะทางสิ่งแวดล้อม
จากตารางที่ 2-2 พืน้ ทีอ่ ำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงรายมีจำนวนแรงงานต่างด้าว 3 สัญชาติเข้ามาทำงานมากที่สุด คิดเป็นจำนวน 7,470 คน รองลงมาคืออำเภอ เชียงแสน จำนวน 2,307 คน และอำเภอเชียงของ จำนวน 331 คน ตารางที่ 2-2 ข้อมูลแรงงานต่างด้าว 3 สัญชาติ อำเภอแม่สาย อำเภอเชียงแสน อำเภอเชียงของ กลุ่มที่ผ่าน อำเภอ การพิสูจน์สัญชาติ (จำนวน) แม่สาย 2,540 เชียงแสน 907 เชียงของ 55
กลุ่ม MOU กรณีพิเศษ3 (จำนวน) 1,756 272 16
กลุ่ม MOU กลุ่ม One นำเข้า4 Stop Service รวมทั้งสิ้น (จำนวน) (รวม) 51 3,123 7,470 3 1,125 2,307 1 259 331
ที่มา : สำนักงานจัดหางานจังหวัดเชียงราย, 2558
เมื่อเปรียบเทียบจำนวนแรงงานต่างด้าวกับมูลค่าการนำเข้า–ส่งออกของ ทั้ง 3 อำเภอชายแดน (รูปที่ 2-13) พบว่า จำนวนแรงงานต่างด้าวมีความสัมพันธ์ใน ทิศทางเดียวกับการขยายตัวของมูลค่าการค้าชายแดน และมูลค่าการนำเข้า – ส่งออก โดยเฉพาะปีพ.ศ. 2555 การเพิ่มขึ้นของแรงงานต่างด้าวส่งผลให้เกิดการเพิ่มขึ้นของ มูลค่าการค้าชายแดน และมูลค่าการนำเข้า – ส่งออก ซึง่ สามารถสรุปในเบือ้ งต้นได้วา่ แรงงานต่างด้าวมีความสำคัญต่ออัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ (GPP growth rate) และมูลค่าการค้าการนำเข้า – ส่งออก ของทั้ง 3 อำเภอชายแดน
3 กลุ่ม MOU กรณีพิเศษ คือ คนต่างด้าวซึ่งเข้ามาทำงานในราชอาณาจักรตามกฎหมายพิเศษ ได้แก่ กฎหมายว่าด้วยการส่งเสริม การลงทุน และกฎหมายอื่น (พ.ร.บ. การนิคมอุตสาหกรรม เป็นต้น) 4 กลุม ่ MOU นำเข้า คือ คนต่างด้าวทีเ่ ข้ามาทำงานตามข้อตกลงว่าด้วยการจ้างแรงงานต่างด้าวระหว่าง ประเทศไทยกับประเทศ คู่ภาคี (MOU) ปัจจุบันทำข้อตกลงกับประเทศ 3 ประเทศ คือ สปป.ลาว กัมพูชา และ เมียนมา
l
31
l
ดัชนีชี้วัดทางสิ่งแวดล้อมเศรษฐสังคมชายแดน
รูปที่ 2-13 เปรียบเทียบจำนวนแรงงานต่างด้าวกับมูลค่าการค้าการนำเข้า – ส่งออก ปีพ.ศ. 2551 - 2555 มูลค่า (ล้านบาท) 14,000
จำนวนแรงงาน (คน) 25,000
12,000
20,000
10,000 8,000
15,000
6,000 4,000
10,000 5,000
2,000 2551 2552 แรงงานต่างด้าว (คน)
2553 แม่สาย
2554 เชียงของ
2555 เชียงแสน
0
ที่มา : สำนักงานแรงงานจังหวัดเชียงราย, รวบรวมโดยสำนักงานพาณิชย์ จังหวัดเชียงราย (2558)
2.3 สถานการณ์มลภาวะสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติจังหวัดเชียงราย
หากพิจารณามลภาวะทางสิ่งแวดล้อมต่อการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจของ จังหวัดเชียงรายนั้น พบว่า มลภาวะหมอกควันจากการเผาไหม้ เป็นปัจจัยสำคัญ ต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจไม่ว่าจะเป็นการค้าการลงทุน การขนส่ง และการท่องเที่ยว ในจังหวัดเชียงรายเป็นอย่างมาก สังเกตจากข้อมูลอ้างอิงดังต่อไปนี้ “...สภาวะหมอกควันทีป่ กคลุมทุกพืน้ ทีข่ องภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย ส่งผลกระทบต่อคุณภาพอากาศใน 9 จังหวัดภาคเหนือ ได้แก่ เชียงใหม่ เชียงราย แม่ฮ่องสอน ลำปาง ลำพูน แพร่ น่าน และพะเยา โดยคุณภาพอากาศดังกล่าว ได้ส่ง ผลกระทบต่อสภาวะสุขภาพของประชาชนในพื้นที่ สาเหตุหมอกควันในภาคเหนือ มีที่มาจากหลายแหล่ง ที่สำคัญคือไฟป่า การเผาในที่โล่ง และมลพิษจากการใช้ ยานพาหนะ...” (มงคล, 2553) “...สภาพอากาศที่เอื้อต่อการสะสมของฝุ่นละออง
l
32
l
การค้าการลงทุน การเคลื่อนย้ายแรงงาน และมลภาวะทางสิ่งแวดล้อม
ในอากาศ ทำให้ฝุ่นขนาดเล็กไม่สามารถฟุ้งกระจายสู่บรรยากาศชั้นสูงได้ ส่งผลกระ ทบต่อสุขภาพของประชาชนในเขตภาคเหนือตอนบน...” (เจียมใจ และคณะ, 2551) และ “...ไฟป่าและการเผาในที่โล่งทำให้เกิดสภาวะหมอกควันและฝุ่นละอองแขวน ลอยอยู่ในชั้นบรรยากาศ เกิดปริมาณฝุ่นขนาดเล็กที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางไม่เกิน 10 ไมครอน หรือ (Particular Matter less than 10 microns (micrometers) in diameter: PM10) ซึ่งเป็นอนุภาคฝุ่นขนาดเล็กก่อให้เกิดความรู้สึกระคายเคืองหรือ แสบตา และภาวะการหายใจไม่สะดวก นอกจากนีม้ ลภาวะทางอากาศยังส่งผลกระทบ ต่อภาคธุรกิจ โดยพบว่านักท่องเที่ยวมีจำนวนลดลงในช่วงที่จังหวัดเชียงใหม่ประสบ ปัญหามลพิษทางอากาศและวิฤกตการณ์หมอกควัน อันนำมาซึ่งความเสียหายทาง ด้านเศรษฐกิจเป็นอย่างมาก...” (เรวดี และอารียา, 2552 อ้างถึงใน นิอร และศราวุธ, 2556) นอกจากนี้ สฤณี (2557) กล่าวว่า “การเพาะปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในพื้นที่ สูงชันยังก่อให้เกิดปัญหาสังคมและสิ่งแวดล้อมอื่นๆ อาทิ ปัญหาอุทกภัยอันเนื่องมา จากการมีพื้นที่ป่าลดลง ปัญหาหมอกควันจากการเผาเตรียมพื้นที่ เนื่องจากที่ดอน ไม่สามารถใช้วิธีไถกลบแบบพื้นที่ราบได้ และปัญหาต่อสุขภาพจากการใช้สารเคมี เกินขนาด โดยเกษตรกรส่วนใหญ่มองว่าที่ดอนต้องใช้ยาฆ่าหญ้ามากกว่าปริมาณ ปลอดภัยที่ระบุบนฉลาก” รวมทั้งผลการศึกษาจากโครงการวิจัยการวิเคราะห์สภาพ อากาศและเฝ้าระวังการเกิดมลภาวะอากาศ โดย เจียมใจ เครือสุวรรณ และคณะ (เจียมใจ และคณะ, 2551 อ้างใน มงคล, 2553) พบว่า ปริมาณฝุ่นละอองขนาดเล็ก ในภาคเหนือ มีแหล่งกำเนิดจากไฟป่าและการเผาพืน้ ทีท่ างการเกษตรประมาณร้อยละ 50-70 จากเครื่องยนต์ประมาณร้อยละ 10 โดยส่วนที่เหลือเป็นการพัดพาจาก แหล่งอื่น จังหวัดเชียงรายตัง้ อยูบ่ ริเวณเหนือสุดของประเทศไทย เป็นจังหวัดทีม่ ภี มู ปิ ระเทศ ที่เป็นเทือกเขาสลับที่ราบ มีอาณาเขตทิศเหนือติดต่อกับสาธารณรัฐแห่งสภาพเมียนมา ส่วนทิศตะวันออกเฉียงเหนือติดต่อกับแม่น้ำโขงซึ่งเป็นเขตแดนไทยกับสาธารณรัฐ ประชาธิปไตยประชาชนลาว และติดต่อกับจังหวัดพะเยา ทิศใต้ตดิ ต่อกับจังหวัดพะเยา
l
33
l
ดัชนีชี้วัดทางสิ่งแวดล้อมเศรษฐสังคมชายแดน
ลำปาง และเชียงใหม่ ส่วนทิศตะวันตกติดต่อกับจังหวัดเชียงใหม่ นอกจากนี้จังหวัด เชียงรายยังมีแม่นำ้ หลายสายไหลผ่าน ทีเ่ อือ้ อำนวยต่อการทำเกษตรกรรม ประชาชน ส่วนใหญ่ดำรงชีพด้วยการทำการเกษตรกรรมเป็นพื้นที่เพาะปลูกที่สำคัญ ได้แก่ ข้าว ข้าวโพด ชา กาแฟ และอื่นๆ โดยมีพื้นที่การเกษตรคิดเป็นร้อยละ 35.40 ของพื้นที่ ทัง้ หมด (สำนักงานเกษตรจังหวัดเชียงราย, 2553) อ้างถึงใน นิอร และศราวุธ, (2556) จากพื้นที่ส่วนใหญ่และการประกอบอาชีพเกษตรกรรมของประชาชนในจังหวัด เชียงราย ภายหลังการเก็บเกี่ยวพืชผล เกษตรกรจำเป็นเตรียมพื้นที่สำหรับการปลูก ในครั้งต่อไป และขั้นตอนการเตรียมพื้นที่ของเกษตรกรมักใช้การเผาเศษวัสดุเหลือใช้ ในไร่นามากกว่าการไถกลบ เนือ่ งจากเป็นกระบวนการในการกำจัดตอซังทีง่ า่ ย สะดวก และรวดเร็ว จากการเป็นเมืองเกษตรกรรมของจังหวัดเชียงรายทีม่ กี ระบวนการเตรียมพืน้ ที่ เพาะปลูกด้วยการเผา รวมทั้งการเป็นเมืองที่มีพื้นที่ป่าไม้จำนวนมากที่มักเกิดไฟป่า ตามธรรมชาติเมื่อสภาพอากาศแห้งและตามการกระทำของมนุษย์ ล้วนเป็นสาเหตุ ให้เกิดมลภาวะสิ่งแวดล้อมที่ทำให้เกิดการผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม สัตว์ป่า และ สุขภาพของมนุษย์ ตลอดจนผลต่อกระทบต่อสภาพทางเศรษฐกิจของจังหวัดเชียงราย อีกด้วย ตารางที่ 2-3 สถิติการเกิดไฟป่าในจังหวัดเชียงราย ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2554 - 2557 ปี 2554 ปี 2555 ปี 2556 ปี 2557 พื้นที่ถูก พื้นที่ถูก พื้นที่ถูก พื้นที่ถูก ดับไฟป่า ไฟไหม้ ดับไฟป่า ไฟไหม้ ดับไฟป่า ไฟไหม้ ดับไฟป่า ไฟไหม้ (ครั้ง) (ไร่) (ครั้ง) (ไร่) (ครั้ง) (ไร่) (ครั้ง) (ไร่) 31 85 181 922 98 690 91 905 ที่มา : ส่วนควบคุมไฟป่า สำนักป้องกัน ปราบปราม และควบคุมไฟป่า, 2557
l
34
l
การค้าการลงทุน การเคลื่อนย้ายแรงงาน และมลภาวะทางสิ่งแวดล้อม
โดยทัว่ ไป การเกิดไฟป่านัน้ มักเกิดขึน้ ระหว่างเดือนตุลาคม – มีนาคม เนือ่ งจาก สภาพอากาศที่แห้งและเข้าสู่การเปลี่ยนฤดูทำการเกษตร จากตารางที่ 2-3 เห็นได้ว่า พื้นที่ถูกไฟไหม้ป่ามีจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ จากปีพ.ศ. 2554 มีพื้นที่ถูกไฟไหม้ 85 ไร่ และมีการดับไฟป่าได้จำนวน 31 ครั้ง ถึงปีพ.ศ. 2557 มีพื้นที่ถูกไฟไหม้ 905 ไร่ และ สามารถดับไฟป่าได้จำนวน 91 ครั้ง หรือกล่าวได้ว่า พื้นที่ถูกไฟไหม้ป่าเพิ่มขึ้นถึง ร้อยละ 204 ระหว่างปีพ.ศ. 2554 – 2557 นอกจากนี้ ยังพบว่าระหว่างเดือนตุลาคม พ.ศ. 2557 – มีนาคม พ.ศ. 2558 พื้นที่ป่าให้จังหวัดเชียงรายได้ถูกทำลายจากการ เกิดไฟป่ามากกว่าในปีอื่นๆ อาจเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศโลก ที่มีอากาศร้อนมากขึ้น พร้อมทั้งประเทศไทยอยู่ในช่วงสภาวะแห้งแล้ง ซึ่งผลจากการ เกิดไฟป่าทำให้เกิดปัญหาหมอกควันตามมาในบริเวณภาคเหนือของไทย ตารางที่ 2-4 เปรียบเทียบการเกิดไฟไหม้ป่าจังหวัดเชียงรายระหว่างปีพ.ศ. 2557 และ 2558 ข้อมูลวันที่ 1 ต.ค. 56 - 13 พ.ค. 57 ดับไฟป่า (ครั้ง) 19
พื้นที่ถูกไฟไหม้ (ไร่) 94.50
ข้อมูลวันที่ 1 ต.ค. 56 - 13 พ.ค. 57 ดับไฟป่า (ครั้ง) 37
พื้นที่ถูกไฟไหม้ (ไร่) 145.53
ที่มา : ส่วนควบคุมไฟป่า สำนักป้องกัน ปราบปราม และควบคุมไฟป่า, 2558
กล่าวโดยสรุป ปัญหาหมอกควันจากการเกิดไฟไหม้ป่า ทั้งในจังหวัดเชียงราย ภาคเหนือตอนบน 9 จังหวัด และประเทศเพื่อนบ้าน ถือว่าเป็นวิกฤติมลพิษหมอก ควันที่เกิดขึ้นเป็นประจำทุกปี นอกจากจะมีสาเหตุมาจากไฟป่าตามธรรมชาติแล้ว อีกสาเหตุหนึ่งที่สำคัญ คือ การเผาพื้นที่เพื่อทำการเกษตร การเผาในที่โล่ง การเผา วัชพืช และเศษวัสดุการเกษตรเพื่อเตรียมพื้นที่เพาะปลูกทั้งนอกและในพื้นที่ป่า โดย ปัญหาหมอกควันมักเกิดขึน้ ในช่วงฤดูแล้งของทุกปี (ระหว่างเดือนมกราคม – เมษายน) ทำให้สภาพอากาศของเชียงรายในช่วงระยะเวลาดังกล่าว เกิดหมอกควัน ฝุ่นละออง เถ้า เขม่าควัน ระบายออกสู่บรรยากาศจำนวนมาก และด้วยสภาวะอากาศที่แห้ง
l
35
l
ดัชนีชี้วัดทางสิ่งแวดล้อมเศรษฐสังคมชายแดน
และนิ่ ง จึ ง ทำให้ ฝุ่ น ละอองแขวนลอยอยู่ ใ นบรรยากาศส่ ง ผลกระทบต่ อ คุ ณ ภาพ สิ่งแวดล้อม สุขภาพอนามัยของประชาชน บดบังทัศนวิสัย และส่งผลกระทบต่อการ ท่องเที่ยวอีกด้วย รูปที่ 2-14 เปรียบเทียบคุณภาพอากาศกับจำนวนผู้ป่วยด้วยโรคที่อาจได้รับผลกระทบ จากมลพิษหมอกควัน ปีพ.ศ. 2553 - 2557 จำนวน : คน 200,000 180,000 160,000 140,000 120,000 100,000 80,000 60,000 40,000 20,000 0 2553
มศก./ลบ.ม. 300 250 200 ผู้ป่วยด้วยโรคที่อาจได้รับ ผลกระทบจากมลพิษหมอกควัน 150 ทสจ. อ.เมือง จังหวัดเชียงราย 100 สสจ. อ.แม่สาย จังหวัดเชียงใหม่ 50 2554
2555
2556
2557
0
ที่มา : สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงราย, กรมควบคุมมลพิษ (2558) *** ณ สถานีแม่สาย ข้อมูลปี 2554 เริ่มต้นเดือนกรกฎาคม – ธันวาคม
นอกจากนี้ ปัญหาหมอกควันดังกล่าวได้สง่ ผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน อย่างมาก จากรายงานของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงราย พบว่าจำนวนผู้ป่วย ที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาหมอกควันในปีพ.ศ. 2556 มีจำนวน 163,167 ราย ในปีพ.ศ. 2557 มีจำนวน 163,485 ราย และในปีพ.ศ. 2558 (มกราคม–มีนาคม) มีผู้ป่วยจำนวน 149,763 ราย ซึ่งคาดการณ์ว่าในปีพ.ศ. 2558 จะมีจำนวนผู้ป่วย เพิ่มมากขึ้นจากเดิม เนื่องจากปัญหาหมอกควันในปีพ.ศ. 2558 น่าจะมีความรุนแรง
l
36
l
การค้าการลงทุน การเคลื่อนย้ายแรงงาน และมลภาวะทางสิ่งแวดล้อม
มากขึ้นกว่าปีที่ผ่านมา ทั้งนี้ ในปีพ.ศ. 2557 โรคที่เกิดจากมลพิษหมอกควันมากที่สุด ในจังหวัดเชียงราย ได้แก่ โรคหัวใจ มีจำนวน 55,608 ราย โรคทางเดินหายใจมีจำนวน 50,126 ราย และโรคติดเชือ้ ทางเดินหายใจส่วนบน มีจำนวน 30,355 ราย เปรียบเทียบ กับข้อมูล ณ วันที่ 11 มีนาคม 2558 พบว่า มีผู้ป่วยด้วยโรคหัวใจ มีจำนวน 58,060 รายมากกว่าปีที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม เมื่อเปรียบเทียบความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพ ของอากาศกับจำนวนผู้ป่วยด้วยโรคที่อาจได้รับจากมลพิษหมอกควัน พบว่ามี สัมพันธ์ในทิศทางเดียวกัน นั่นคือ หากคุณภาพของอากาศไม่ดีหรือมีปัญหาหมอกควัน มากขึ้น ย่อมส่งผลให้ประชาชนมีสุขภาพแย่ลงหรือมีจำนวนผู้ป่วยจากโรคที่อาจได้ รับจากมลพิษหมอกควันเพิ่มมากขึ้นตามไปด้วย เมื่อพิจารณาคุณภาพอากาศจากปัญหาหมอกควันและการค้าชายแดนทั้ง 3 อำเภอในจังหวัดเชียงรายด้วยข้อมูลทางสถิติ พบว่า คุณภาพอากาศไม่มีผลต่อ การค้าชายแดนแต่อย่างใด เห็นได้จาก การขยายตัวของการค้าชายแดนอย่างต่อเนือ่ ง ไม่ว่าเป็นจะเป็นช่วงของการเกิดปัญหาหมอกควัน โดยเฉพาะในปีพ.ศ. 2555 ที่มี ปัญหาด้านคุณภาพอากาศสูง แต่มูลค่าการค้าการนำเข้า – ส่งออกก็ยังคงมีอัตราการ เติบโตที่สูงเช่นเดิม อย่างไรก็ตาม ก็ยังไม่สามารถสรุปได้ว่า ผลกระทบของคุณภาพ อากาศจากหมอกควันไม่มีผลกระทบต่อมูลค่าการค้าชายแดน รวมทั้งอัตราการ เติบโตทางเศรษฐกิจแต่อย่างใด
l
37
l
ดัชนีชี้วัดทางสิ่งแวดล้อมเศรษฐสังคมชายแดน
รูปที่ 2-15 เปรียบเทียบคุณภาพอากาศกับมูลค่าการค้าการนำเข้า – ส่งออก ปีพ.ศ. 2551 - 2556 มูลค่า : ล้้านบาท 16,000 14,000 12,000 10,000 8,000 6,000 4,000 2,000 0
2551
2552
2553
ปี
2554
2555
มคก./ลบ.ม. 200 180 160 140 120 100 80 60 40 20 0 2556
AQI แม่สาย เชียงของ เชียงแสน
ที่มา : กรมควบคุมมลพิษ, รวบรวมโดยสำนักงานพาณิชย์จังหวัดเชียงราย (2558)
2.4 สรุป
จากภาพรวมสถานการณ์การค้าการลงทุน การเคลื่อนย้ายแรงงาน และปัญหา หมอกควันต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจของพื้นที่จังหวัดชายแดนดังกล่าวข้างต้น ผู้วิจัย ได้ทำการประเมินปัจจัยที่มีผลต่อศักยภาพการเติบโตของพื้นที่ชายแดนเบื้องต้นใน แต่ละพื้นที่ชายแดนของจังหวัดเชียงราย ดังตารางที่ 2-5 ตารางที่ 2-5 เปรียบเทียบปัจจัยที่มีผลต่อศักยภาพการเติบโตของพื้นที่ชายแดนเบื้องต้น ปัจจัยพื้นฐาน 1. การค้าการลงทุน 1.1 การค้าชายแดน - การส่งออก - การนำเข้า - ประเภทสินค้า นำเข้า-ส่งออก
l
38
l
แม่สาย
*** *** Inter-trade
เชียงแสน
*** *** Inter-trade
เชียงของ
*** *** Inter-trade
การค้าการลงทุน การเคลื่อนย้ายแรงงาน และมลภาวะทางสิ่งแวดล้อม
ปัจจัยพื้นฐาน 1.2 การลงทุน - จำนวนการลงทุน - มูลค่าการลงทุน - ความหลากหลายของ ประเภทลงทุน 2. แรงงาน - จำนวนประชากร - จำนวนแรงงานต่างด้าว - การเติบโตของแรงงาน ต่อ GPP - การเติบโตของแรงงาน ต่อการค้าชายแดน - กฎหมายการจ้างแรงงาน ต่างด้าว 3. ปัญหาหมอกควัน - คุณภาพอากาศ (AQI) - คุณภาพอากาศ (AQI) ต่อ GPP - คุณภาพอากาศ (AQI) ต่อการค้าชายแดน
แม่สาย
เชียงแสน
เชียงของ
** ** กระจุกตัวที่ภาค การค้าปลีกค้าส่ง
** ** กระจุกตัวที่ภาค การค้าปลีกค้าส่ง
** ** กระจุกตัวที่ภาค การค้าปลีกค้าส่ง
** *** **
** * **
** *** **
**
**
**
***
***
***
*** **
*** **
*** **
*
*
*
หมายเหตุ: แสดงระดับความสำคัญของปัจจัยที่มีผลต่อศักยภาพการเติบโตทางเศรษฐกิจของพื้นที่ ชายแดนเบื้องต้น “***” หมายถึง ระดับปัจจัยที่มีผลต่อศักยภาพทางเศรษฐกิจสูงมาก “**” หมายถึง ระดับปัจจัยที่มีผลต่อศักยภาพทางเศรษฐกิจปานกลาง “*” หมายถึง ระดับปัจจัยที่มีผลต่อศักยภาพทางเศรษฐกิจต่ำมาก
l
39
l
ดัชนีชี้วัดทางสิ่งแวดล้อมเศรษฐสังคมชายแดน
l
40
l
การค้าการลงทุน การเคลื่อนย้ายแรงงาน และมลภาวะทางสิ่งแวดล้อม
3
ดัชนีชี้วัดทางสิ่งแวดล้อม และเศรษฐสังคมชายแดน จังหวัดเชียงราย
ในส่วนนี้ เป็นการนำเสนอกระบวนการสร้างดัชนีชว้ี ดั ศักยภาพทางสิง่ แวดล้อม และเศรษฐสังคมชายแดน จากบริบทด้านเศรษฐกิจการค้าการลงทุน การเคลื่อนย้าย แรงงาน และมลภาวะสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติของจังหวัดเชียงราย ที่สามารถใช้ เป็นเครื่องมือติดตามความเคลื่อนไหวของสถานการณ์เศรษฐกิจในพื้นที่ชายแดน
3.1 องค์ประกอบของดัชนีชี้วัดทางสิ่งแวดล้อม และเศรษฐสังคมชายแดน
องค์ประกอบของดัชนีชว้ี ดั ทางสิง่ แวดล้อมและเศรษฐสังคมชายแดน (Border Environmental and Socio-economic Index: BESE Index) ที่ใช้ในการศึกษานี้ ตั้งอยู่บนสมมติฐานว่า การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจการค้าการลงทุนชายแดน การเคลื่อนย้ายแรงงาน และปัญหาหมอกควันในพื้นที่ชายแดนมีผลต่อการเติบโตทาง เศรษฐกิจของจังหวัดเชียงราย หรืออีกนัยหนึ่ง มาตรวัดศักยภาพทางเศรษฐกิจของ พืน้ ทีช่ ายแดนด้วยดัชนี BESE ประกอบด้วย ดัชนีชว้ี ดั หลัก 3 ด้าน ได้แก่ ดัชนีชว้ี ดั ด้าน เศรษฐกิจ การค้า และการลงทุนชายแดน (Economics index: EC) ดัชนีชี้วัดด้าน การเคลื่อนย้ายแรงงาน (Labor mobility index: LM) และดัชนีชี้วัดด้านมลภาวะ ทางสิ่งแวดล้อมจากหมอกควัน (Haze index: HZ) (ตารางที่ 3-1) ดังนี้ 3.1.1 ดัชนีชี้วัดด้านเศรษฐกิจ (EC index) ปัจจัยด้านเศรษฐกิจเป็นปัจจัยที่สำคัญประการแรกที่นำมาใช้ในการกำหนด ดัชนีชี้วัดทางสิ่งแวดล้อมและเศรษฐสังคมชายแดน โดยมีดัชนีชี้วัดย่อย 4 ด้านที่มีผล กระทบโดยตรงต่อการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจชายแดน และสามารถสะท้อนให้ เห็นถึงความสำคัญของดัชนีชว้ี ดั ดังกล่าวต่อเศรษฐกิจชายแดนได้เป็นอย่างดี ประกอบด้วย
l
41
l
ดัชนีชี้วัดทางสิ่งแวดล้อมเศรษฐสังคมชายแดน
ดัชนีชว้ี ดั ด้านการค้า ด้านการลงทุน ด้านการอำนวยความสะดวกด้านการค้า และด้าน ความร่วมมือทางเศรษฐกิจ โดยตัวแปรที่ใช้ในการประเมินด้านการค้า ได้แก่ มูลค่า การส่งออกและนำเข้า ตัวแปรสำหรับการประเมินด้านการลงทุน ได้แก่ จำนวน กิจการจดทะเบียนชายแดน และทุนจดทะเบียนกิจการชายแดน ตัวแปรที่ใช้ประเมิน ด้านการอำนวยความสะดวกด้านการค้า ได้แก่ ท่าเรือเชียงแสนแห่งที่ 2 และตัวแปร ที่ประเมินด้านความร่วมมือทางเศรษฐกิจ ได้แก่ กฎบัตรอาเซียน ความตกลงการค้า เสรีอาเซียน-จีน และความตกลงการค้าสินค้าอาเซียน ดังนั้น ตัวแปรที่ใช้ประเมิน ดัชนีชี้วัดด้านเศรษฐกิจมีทั้งหมดจำนวน 9 ตัวแปร 3.1.2 ดัชนีชี้วัดด้านการเคลื่อนย้ายแรงงาน (LM index) ปัจจัยด้านการเคลือ่ นย้ายแรงงาน เป็นปัจจัยทีช่ ว้ี ดั ศักยภาพของตลาดแรงงาน ความสามารถในการผลิตสินค้าและบริการ และความสามารถในการแข่งขันในพื้นที่ ชายแดน ซึ่งมีบทบาทสำคัญต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจในพื้นที่ชายแดน จึงถูกนำมา ใช้ในการกำหนดดัชนีชี้วัดทางสิ่งแวดล้อมและเศรษฐสังคมชายแดน โดยมีดัชนีชี้วัด ย่อย 3 ด้าน ประกอบด้วย ดัชนีชี้วัดด้านจำนวนแรงงาน ด้านอัตราค่าจ้าง และด้าน นโยบายด้านแรงงาน โดยตัวแปรทีใ่ ช้ในการประเมินด้านจำนวนแรงงาน ได้แก่ จำนวน ประชากรที่มีงานทำจำแนกอาชีพ จำนวนประชากรที่มีงานทำจำแนกเพศ และเขต ปกครอง และจำนวนแรงงานต่างด้าว ตัวแปรที่ใช้ในการวัดด้านอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ ได้แก่ อัตราค่าจ้างขั้นต่ำจังหวัดเชียงราย และอัตราค่าจ้างขั้นต่ำภาคเหนือ และ ตัวแปรสำหรับประเมินด้านนโยบาย ได้แก่ พ.ร.บ. แรงงานต่างด้าว ดังนั้น ตัวแปรที่ ใช้ประเมินดัชนีชี้วัดด้านแรงงานมีทั้งหมดจำนวน 9 ตัวแปร 3.1.3 ดัชนีชี้วัดด้านมลภาวะทางสิ่งแวดล้อม (HZ index) ปัจจัยด้านมลภาวะทางสิ่งแวดล้อม เป็นปัจจัยที่ชี้วัดปัญหาทางสิ่งแวดล้อมที่ มีผลกระทบต่อการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ซึ่งมลภาวะทางสิ่งแวดล้อมที่สำคัญ และเป็นอุปสรรคต่อการขยายตัวและการพัฒนาเศรษฐกิจในพื้นที่ชายแดนจังหวัด เชียงราย ได้แก่ มลภาวะด้านหมอกควันและไฟป่า ดังนั้นจึงถูกกำหนดให้เป็นปัจจัย
l
42
l
การค้าการลงทุน การเคลื่อนย้ายแรงงาน และมลภาวะทางสิ่งแวดล้อม
สำคัญสำหรับการประเมินดัชนีชี้วัดด้านมลภาวะสิ่งแวดล้อม โดยมีตัวแปรที่ใช้ในการ ประเมินจำนวน 5 ตัวแปร ได้แก่ จำนวนจุดความร้อน จำนวนผู้ป่วยที่อาจได้รับผล กระทบจากหมอกควัน จำนวนการดับไฟป่า จำนวนพื้นที่ถูกไฟไหม้ และคุณภาพ อากาศ ตารางที่ 3-1 ตัวแปรที่ใช้ในการประเมินดัชนีชี้วัดทางเศรษฐกิจสังคมและสิ่งแวดล้อม ดัชนีชี้วัดที่ 1
ดัชนีชี้วัดหลัก ดัชนีชี้วัดด้าน เศรษฐกิจ (EC Index)
ดัชนีชี้วัดย่อย 1.1 การส่งออก (EC1) 1.2 มูลค่าการนำเข้า (EC2) 1.3 ท่าเรือเชียงแสนแห่งที่ 2 (EC3) 1.4 ความตกลงการค้าเสรีอาเซียน-จีน (EC4) 1.5 กฎบัตรอาเซียน (EC5) 1.6 ความตกลงการค้าสินค้าอาเซียน (EC6) 1.7 ความตกลงด้านการลงทุนของอาเซียน (EC7) 1.8 จำนวนกิจการจดทะเบียนชายแดน (EC8) 1.9 ทุนจดทะเบียนกิจการชายแดน (EC9)
2
ดัชนีชี้วัดด้าน การเคลื่อนย้าย แรงงาน (LM Index)
2.1 อัตราค่าจ้างขั้นต่ำจังหวัดเชียงราย (LM1) 2.2 อัตราค่าจ้างขั้นต่ำภาคเหนือ (LM2) 2.3 จำนวนประชากรที่มีงานทำจำแนกอาชีพ (LM3) 2.4 จำนวนประชากรที่มีงานทำจำแนกเพศ และเขต ปกครอง (LM4) 2.5 จำนวนแรงงานต่างด้าว (LM5) 2.6 พ.ร.บ. แรงงานต่างด้าวปี 2551 (LM6)
3
ดัชนีชี้วัดด้าน มลภาวะทางสิ่ง แวดล้อม (HZ Index)
3.1 จำนวนจุดความร้อน (HZ1) 3.2 จำนวนผู้ป่วยที่อาจได้รับผลกระทบจากหมอก ควัน (HZ2) 3.3 จำนวนการดับไฟป่า (HZ3) 3.4 จำนวนพื้นที่ถูกไฟไหม้ (HZ4) 3.5 คุณภาพอากาศ อ.แม่สาย และอ.เมือง (HZ5)
หมายเหตุ: รายละเอียดของตัวแปรและแหล่งข้อมูลที่ใช้ในการวัดประเมินดัชนีชี้วัดด้านเศรษฐกิจ ดัชนีชี้วัด ด้านการเคลื่อนย้ายแรงงาน และดัชนีชี้วัดด้านมลภาวะทางสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติอยู่ในภาคผนวก
l
43
l
ดัชนีชี้วัดทางสิ่งแวดล้อมเศรษฐสังคมชายแดน
3.2 การสร้างมาตรวัดคะแนน (Measurement) แนวทางการสร้างมาตรวัดคะแนนเพื่อประเมินดัชนีชี้วัดทางเศรษฐกิจสังคม และสิ่งแวดล้อมชายแดนนี้ได้ประยุกต์มาจากการประเมินดัชนีความก้าวหน้าของคน (Human Achievement Index: HAI) จัดทำโดยสำนักงานคณะกรรมการพัฒนา การเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และการประเมินความสามารถในการแข่งขันของ โลก (Global Competitiveness Index: GCI) จัดทำโดย World Economic Forum ซึ่งได้ทำการประเมินดัชนีชี้วัดทางเศรษฐกิจสังคมและสิ่งแวดล้อมชายแดน บนฐาน ข้อมูลทุตภิ มู ิ (Secondary data) ทีไ่ ด้จากข้อมูลทางสถิตทิ ม่ี หี น่วยงานต่างๆ ได้ทำการ รวบรวมไว้ และบนฐานข้อมูลปฐมภูมิ (Primary data) ที่ได้จากการรวบรวมข้อมูล โดยใช้แบบสอบถามกับผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในพื้นที่ชายแดน ประกอบด้วย ผู้ประกอบ การในพื้นที่ชายแดน เกษตรกร และประชาชนโดยทั่วไป เป็นต้น (รายละเอียดของ ตัวแปรและแหล่งข้อมูลที่ใช้ในการประเมินอยู่ในภาคผนวก) ทั้งนี้ ขั้นตอนในการ สร้างมาตรวัดค่าคะแนนของดัชนี BESE ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ได้แก่ การกำหนด มาตรวัดของดัชนีชี้วัดหลัก (Key factor measurement) การกำหนดมาตรวัดของ ตัวแปรต่างๆ ในดัชนีชว้ี ดั หลัก (Sub-factor measurement) การกำหนดค่าคะแนน ของตัวแปร (Rating scale measurement) และการคำนวณค่าคะแนนของดัชนี ชี้วัดฯ (BESE Measurement) ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 การกำหนดมาตรวัดของดัชนีชี้วัดหลัก (Key factor measurement) เป็นการประเมินความสำคัญของดัชนีชี้วัดหลัก 3 ด้าน ได้แก่ ดัชนีชี้วัดด้าน เศรษฐกิจ ดัชนีชี้วัดด้านการเคลื่อนย้ายแรงงาน และดัชนีชี้วัดด้านมลภาวะทางสิ่ง แวดล้อมจากหมอกควัน โดยใช้เทคนิคเดลฟาย (Delphi technique) ที่อาศัยการ ประเมินความสำคัญของดัชนีชว้ี ดั หลักจากผูเ้ ชีย่ วชาญ (experts) จากนัน้ นำค่าคะแนน ดังกล่าวมาถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนัก เพื่อทำให้ทราบถึงสัดส่วนความสำคัญของดัชนีชี้วัด หลักทัง้ 3 ด้าน ทัง้ นีผ้ ลประเมินของดัชนีชว้ี ดั หลักนีจ้ ะถูกนำมาใช้ประเมินดัชนี BESE ทั้งบนฐานข้อมูลทุติยภูมิและปฐมภูมิ
l
44
l
การค้าการลงทุน การเคลื่อนย้ายแรงงาน และมลภาวะทางสิ่งแวดล้อม
ขัน้ ตอนที่ 2 การกำหนดมาตรวัดของตัวแปรต่างๆ ในดัชนีชว้ี ดั หลัก (Sub-factor measurement) เป็นการประเมินความสำคัญของตัวแปรต่างๆ ที่ถูกกำหนดในการ วัดดัชนีแต่ละด้าน (ด้านเศรษฐกิจ ด้านแรงงาน และด้านมลภาวะสิ่งแวดล้อม) ซึ่งมี ความแตกต่างกันระหว่างการประเมินดัชนี BESE บนฐานข้อมูลทุติยภูมิและปฐมภูมิ ดังนี้ ก. การประเมินดัชนี BESE บนฐานข้อมูลทุตยิ ภูมิ ทำได้โดยวิธกี ารถ่วงน้ำหนัก ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (ที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 90) จากการทดสอบความ สัมพันธ์ระหว่างการเติบโตทางเศรษฐกิจกับตัวแปรต่างๆ ที่ใช้วัดดัชนีด้านเศรษฐกิจ ด้านแรงงาน และด้านมลภาวะจากหมอกควัน ด้วยวิธีวิเคราะห์การถดถอยอย่างง่าย (Simple Regression analysis) ผลการประเมินดังกล่าว ทำให้ทราบถึงสัดส่วน ความสำคัญของตัวแปรต่างๆ ที่ใช้ในการกำหนดดัชนีชี้วัดแต่ละด้าน ข. การประเมินดัชนี BESE บนฐานข้อมูลปฐมภูมิ ทำได้โดยวิธีการถ่วงน้ำหนัก ค่าคะแนนความสำคัญของตัวแปรต่างๆ ที่ใช้วัดดัชนีด้านเศรษฐกิจ ด้านแรงงาน และ ด้านมลภาวะจากหมอกควัน ด้วยการออกแบบสอบถาม (Questionnaires) แก่ผู้ ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในพื้นที่ชายแดน ประกอบด้วย ผู้ประกอบการในพื้นที่ชายแดน เกษตรกร และประชาชนโดยทั่วไป ผลการประเมินดังกล่าว ทำให้ทราบถึงสัดส่วน ความสำคัญของตัวแปรต่างๆ ที่ใช้ในการกำหนดดัชนีชี้วัดแต่ละด้าน ขั้นตอนที่ 3 การกำหนดค่าคะแนนของตัวแปรต่างๆ (Rating scale measurement) เป็นการประเมินค่าศักยภาพของตัวแปรที่กำหนด (ทั้งด้านเศรษฐกิจ ด้านแรงงาน และด้านมลภาวะจากหมอกควัน) ต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจชายแดน ของจังหวัดเชียงราย ซึง่ มีความแตกต่างกันระหว่างการกำหนดค่าศักยภาพของตัวแปร บนฐานข้อมูลทุติยภูมิและปฐมภูมิ ดังนี้
l
45
l
ดัชนีชี้วัดทางสิ่งแวดล้อมเศรษฐสังคมชายแดน
ก. การกำหนดค่าศักยภาพของตัวแปรต่อการเติบโตของเศรษฐกิจชายแดน บนฐานข้อมูลทุติยภูมิ เป็นการประเมินค่าศักยภาพของตัวแปรที่กำหนดจากข้อมูล ทางสถิติที่เกี่ยวข้องในปีพ.ศ. 2557 ตามการกำหนดค่ามาตราส่วน (rating scale) ดังแสดงในตารางที่ 3-2 ทั้งนี้ การกำหนดค่าคะแนนศักยภาพของตัวแปรขึ้นอยู่กับ ความสัมพันธ์ของตัวแปรนั้นๆ ที่มีต่อการเติบโตของเศรษฐกิจเชียงราย ว่าตัวแปร นั้นมีค่าสหสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกัน (ค่าบวก) หรือทิศทางตรงกันข้าม (ค่าลบ) กับ การเติบโตของเศรษฐกิจ ผลการประเมินดังกล่าว ทำให้ทราบถึง ค่าคะแนนศักยภาพ ของตัวแปรต่างๆ ที่มีต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจชายแดน ตารางที่ 3-2 ค่าคะแนนศักยภาพของตัวแปรต่างๆที่ใช้วัดดัชนี BESE ตัวแปรทีม่ คี า่ สัมประสิทธิส์ หสัมพันธ์เป็นบวก* ตัวแปรที่มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เป็นลบ* คะแนน คะแนน เกณฑ์การกำหนดคะแนน เกณฑ์การกำหนดคะแนน การเติบโต การเติบโต 5 4 3 2 1
เติบโตมากกว่าร้อยละ 5 เติบโตระหว่างร้อยละ 0– 5 เติบโตร้อยละ 0 หดตัวระหว่างร้อยละ 0– 5 หดตัวมากกว่าร้อยละ 5
5 4 3 2 1
หดตัวมากกว่าร้อยละ 5 หดตัวระหว่างร้อยละ 0– 5 เติบโตร้อยละ 0 เติบโตระหว่างร้อยละ 0– 5 เติบโตมากกว่าร้อยละ 5
หมายเหตุ: * ค่าสหสัมพันธ์ของตัวแปรที่มีต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจ มีค่าเป็นบวกหรือลบนั้นมา จากการวิเคราะห์การถดถอยอย่างง่าย (Simple Regression analysis) ทีด่ ำเนินการในขัน้ ตอนที่ 2
การกำหนดค่าศักยภาพของตัวแปรต่อการเติบโตของเศรษฐกิจชายแดนบนฐาน ข้อมูลปฐมภูมิ เป็นการประเมินค่าศักยภาพของตัวแปรที่กำหนดต่อการเติบโตทาง เศรษฐกิจในพื้นที่ชายแดนจังหวัดเชียงราย ด้วยการออกแบบสอบถามความคิดเห็น กับผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง (ผู้ประกอบการในพื้นที่ชายแดน เกษตรกร และประชาชนใน พื้นที่ชายแดน) แบบมาตราส่วนประมาณค่า (rating scale) 5 ระดับ โดยค่าคะแนน สูงสุดมีค่าเท่ากับ 5 หมายถึง ตัวแปรมีศักยภาพสูงที่สุดต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจ
l
46
l
การค้าการลงทุน การเคลื่อนย้ายแรงงาน และมลภาวะทางสิ่งแวดล้อม
และค่าคำแนนต่ำสุดมีค่าเท่ากับ 1 หมายถึง ตัวแปรมีศักยภาพน้อยที่สุดต่อการ เติบโตทางเศรษฐกิจ ผลการประเมินดังกล่าว ทำให้ทราบถึง ค่าคะแนนศักยภาพของ ตัวแปรต่างๆ ที่มีต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจชายแดน ขั้นตอนที่ 4 การคำนวณค่าคะแนนของดัชนีชี้วัดสิ่งแวดล้อมเศรษฐสังคม ชายแดน เป็นการประมาณค่าคะแนนของดัชนีชี้วัดทั้ง 3 ด้าน (ทั้งด้านเศรษฐกิจ ด้าน แรงงาน และด้านมลภาวะจากหมอกควัน) ที่มีต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจในพื้นที่ ชายแดนจังหวัดเชียงราย โดยมีสูตรในการคำนวณดังนี้ FACTOR = A × B × C (1) โดย “FACTOR” หมายถึง ค่าคะแนนของตัวแปรที่กำหนด (มีค่าอยู่ระหว่าง 0.00 ถึง 5.00) “A” หมายถึง สัดส่วนของดัชนีชี้วัดหลัก 3 ด้าน ทั้งด้านเศรษฐกิจ ด้าน แรงงาน และด้านมลภาวะจากหมอกควัน (มีคา่ อยูร่ ะหว่าง 0.00 ถึง 1.00) “B” หมายถึง สัดส่วนของตัวแปรที่กำหนดในดัชนีชี้วัดหลัก 3 ด้าน (มีค่าอยู่ระหว่าง 0.00 ถึง 1.00) และ “C” หมายถึง ค่าคะแนนศักยภาพของตัวแปรที่มีต่อการเติบโตของเศรษฐกิจ ชายแดน (มีคา่ อยูร่ ะหว่าง 1 ถึง 5) จากนัน้ นำค่าคะแนนจากตัวแปรทีก่ ำหนดในแต่ละ ดัชนีชี้วัดมาหาค่าเฉลี่ยรวม ซึ่งแสดงถึงระดับคะแนนของดัชนีชี้วัดสิ่งแวดล้อมเศรษฐ สังคมชายแดน ค่าคะแนน 0 แสดงถึง พื้นที่ชายแดนยังไม่มีศักยภาพทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ขณะที่ค่าคะแนน 5 แสดงถึง พื้นที่ชายแดนมีศักยภาพทาง เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมอย่างเต็มที่ 3.3 ดัชนีชี้วัดสิ่งแวดล้อมเศรษฐสังคมชายแดน จากการประเมินค่าคะแนนดัชนีชี้วัดสิ่งแวดล้อมเศรษฐสังคมชายแดน จังหวัด เชียงราย ณ ปี 2558 ด้วยข้อมูลทุติยภูมิ และข้อมูลปฐมภูมิ โดยแบ่งเป็นดัชนีชี้วัด ด้านเศรษฐกิจ ด้านแรงงาน และด้านมลภาวะสิ่งแวดล้อม สามารถแสดงได้ดังนี้
l
47
l
ดัชนีชี้วัดทางสิ่งแวดล้อมเศรษฐสังคมชายแดน
ก. ดัชนีชี้วัดสิ่งแวดล้อมเศรษฐสังคมชายแดน บนฐานข้อมูลทุติยภูมิ จากการประเมินดัชนีชี้วัดสิ่งแวดล้อมเศรษฐสังคมชายแดน ด้วยข้อมูลทาง สถิตริ ะดับจังหวัดและระดับพืน้ ทีช่ ายแดนของตัวแปรทีก่ ำหนดทัง้ สิน้ จำนวน 20 ตัวแปร พบว่า ค่าคะแนนของดัชนีชี้วัดทางด้านเศรษฐกิจการค้าและการลงทุนของจังหวัด เชียงรายและของพื้นที่ชายแดนจังหวัดเชียงราย มีค่าเท่ากับ 2.65 ขณะที่ ค่าคะแนน ของดัชนีชี้วัดด้านการเคลื่อนย้ายแรงงานของจังหวัดเชียงรายมีค่าสูงกว่าของพื้นที่ ชายแดนจังหวัดเชียงราย หรือมีคา่ เท่ากับ 1.11 และ 0.98 ตามลำดับ นอกจากนี้ ดัชนี ชี้วัดทางด้านมลภาวะสิ่งแวดล้อมจากหมอกควันของเชียงรายและของพื้นที่ชายแดน จังหวัดเชียงรายมีคา่ ไม่แตกต่างกันมากนัก หรือมีคา่ เท่ากับ 0.43 และ 0.41 ตามลำดับ ทำให้ค่าคะแนนรวมของดัชนีชี้วัดด้านสิ่งแวดล้อมและเศรษฐสังคมชายแดนของ จังหวัดเชียงรายและของพื้นที่ชายแดนจังหวัดเชียงราย มีค่าเท่ากับ 4.19 และ 4.09 ตามลำดับ หรืออาจกล่าวได้ว่า จังหวัดเชียงรายมีศักยภาพทางเศรษฐกิจ สังคม และ สิ่งแวดล้อมที่สามารถพัฒนาและขยายการเติบโตทางเศรษฐกิจอยู่ในระดับดี เช่น เดียวกับพืน้ ทีช่ ายแดน 3 อำเภอ (อำเภอแม่สาย อำเภอเชียงแสนและอำเภอเชียงของ) ของจังหวัดเชียงราย ตารางที่ 3-3 สรุปค่าดัชนีชี้วัด BESE บนฐานข้อมูลทุติยภูมิของจังหวัดเชียงราย และพื้นที่ชายแดน ดัชนีชี้วัด/มาตรวัด
l
ระดับจังหวัด
ระดับพื้นที่ชายแดน
ดัชนีชี้วัดด้านเศรษฐกิจ (EC Index)
2.65
2.65
ดัชนีชี้วัดด้านการเคลื่อนย้ายแรงงาน (LM Index)
1.11
0.98
ดัชนีชี้วัดด้านมลภาวะทางสิ่งแวดล้อม (HZ Index)
0.43
0.41
ดัชนีชี้วัดเศรษฐสังคมสิ่งแวดล้อม (BESE Index)
4.19
4.09
48
l
การค้าการลงทุน การเคลื่อนย้ายแรงงาน และมลภาวะทางสิ่งแวดล้อม
นอกจากนี้เมื่อพิจารณาในรายดัชนีชี้วัดฯ (ตารางที่ 3-4) พบว่า ตัวแปรสำคัญ ในการกำหนดดัชนีชี้วัดด้านเศรษฐกิจของจังหวัดเชียงรายและของพื้นที่ชายแดน จังหวัดเชียงราย ได้แก่ ปัจจัยด้านการนำเข้า มีคา่ ศักยภาพต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจ เท่ากับ 0.69 และ 0.81 ตามลำดับ รองลงมาได้แก่ ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการจด ทะเบียนกิจการในพื้นที่ชายแดนมีค่าศักยภาพทางเศรษฐกิจเท่ากับ 0.35 และ 0.43 ตามลำดับ และปัจจัยด้านการส่งออก มีคา่ ศักยภาพทางเศรษฐกิจเท่ากับ 0.29 และ 0.35 ตามลำดับ ขณะที่ ตัวแปรสำคัญในการกำหนดดัชนีชี้วัดด้านแรงงานของ จังหวัดเชียงรายและของพื้นที่ชายแดนจังหวัดเชียงราย ได้แก่ ปัจจัยของจำนวน ประชากรที่มีงานทำ มีค่าศักยภาพต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจเท่ากับ 0.75 และ 0.88 ตามลำดับ และปัจจัยด้านอัตราค่าจ้างขั้นต่ำในจังหวัดเชียงรายและในภาค เหนือ มีค่าศักยภาพต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจเท่ากับ 0.11 และ 0.02 ตามลำดับ นอกจากนี้ ตัวแปรสำคัญในการกำหนดดัชนีชี้วัดด้านมลภาวะสิ่งแวดล้อมของจังหวัดเ ชียงรายและของพืน้ ทีช่ ายแดนจังหวัดเชียงราย ได้แก่ ปัจจัยแสดงจำนวนจุดความร้อน มีคา่ ศักยภาพต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจเท่ากับ 0.22 และ 0.32 ตามลำดับ และปัจจัย ด้านคุณภาพอากาศ มีคา่ ศักยภาพต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจเท่ากับ 0.15 และ 0.03 ตามลำดับ ตารางที่ 3-4 เปรียบเทียบค่าดัชนีชี้วัด BESE บนฐานข้อมูลทุติยภูมิของ จังหวัดเชียงรายและพื้นที่ชายแดน จังหวัด พื้นที่ชายแดน ดัชนีชี้วัดด้านเศรษฐกิจ (EC Index) • มูลค่าการส่งออก (EC1) 0.29 0.35 • มูลค่าการนำเข้า (EC2) 0.69 0.81 • ท่าเรือเชียงแสนแห่งที่ 2 (EC3) 0.26 0.25 • ความตกลงการค้าเสรีอาเซียน-จีน (EC4) 0.19 • กฎบัตรอาเซียน (EC5) 0.22 0.16 • ความตกลงการค้าสินค้าอาเซียน (EC6) 0.21 0.25 • ความตกลงด้านการลงทุนของอาเซียน (EC7) 0.26 0.25
l
49
l
ดัชนีชี้วัดทางสิ่งแวดล้อมเศรษฐสังคมชายแดน
จังหวัด 0.35 0.17
พื้นที่ชายแดน 0.43 0.14
2.65
2.65
• อัตราค่าจ้างขั้นต่ำจังหวัดเชียงราย (LM1) • อัตราค่าจ้างขั้นต่ำภาคเหนือ (LM2) • จำนวนประชากรที่มีงานทำจำแนกอาชีพ (LM3) • จำนวนประชากรที่มีงานทำจำแนกเพศ/เขตปกครอง (LM4) • จำนวนแรงงานต่างด้าว (LM5) • พ.ร.บ. แรงงานต่างด้าวปี 2551 (LM6)
0.11 0.11 0.04 0.75 0.08 0.03
0.02 0.02 0.10 0.88 0.002 0.02
ดัชนีชี้วัดด้านการเคลื่อนย้ายแรงงานรวม
1.11
0.98
0.22 0.02 0.01 0.02 0.15 0.43
0.32 0.02 0.02 0.02 0.03 0.41
4.19
4.09
• จำนวนกิจการจดทะเบียนชายแดน (EC8) • ทุนจดทะเบียนกิจการชายแดน (EC9) ดัชนีชี้วัดด้านเศรษฐกิจรวม ดัชนีชี้วัดด้านการเคลื่อนย้ายแรงงาน (LM Index)
ดัชนีชี้วัดด้านมลภาวะทางสิ่งแวดล้อม (HZ Index) • จำนวนจุดความร้อน (HZ1) • จำนวนผู้ป่วยที่อาจได้รับผลกระทบจากหมอกควัน (HZ2) • จำนวนการดับไฟป่า (HZ3) • จำนวนพื้นที่ถูกไฟไหม้ (HZ4) • คุณภาพอากาศ อ.แม่สาย และอ.เมือง (HZ5) ดัชนีชี้วัดด้านมลภาวะทางสิ่งแวดล้อมรวม BESE INDEX
ข. ดัชนีชว้ี ดั สิง่ แวดล้อมเศรษฐสังคมชายแดน บนฐานข้อมูลปฐมภูมิ จากการประเมินดัชนีชี้วัดสิ่งแวดล้อมเศรษฐสังคมชายแดน ด้วยข้อมูลจาก แบบสอบถามผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในพื้นที่ชายแดนจังหวัดเชียงราย ประกอบด้วย ผู้ ประกอบการในพื้นที่ชายแดนจำนวน 82 ราย และประชาชนในพื้นที่จำนวน 142 ราย และเกษตรกรในพื้นที่ชายแดนจำนวน 22 ราย รวมทั้งสิ้นจำนวน 246 ราย (ตารางที่ 3-5) พบว่า ค่าคะแนนของดัชนีชี้วัดทางด้านเศรษฐกิจการค้าและการลงทุนของพื้น ที่ชายแดนจังหวัดเชียงราย มีค่าเท่ากับ 1.67 ขณะที่ ค่าคะแนนของดัชนีชี้วัดด้าน
l
50
l
การค้าการลงทุน การเคลื่อนย้ายแรงงาน และมลภาวะทางสิ่งแวดล้อม
การเคลื่อนย้ายแรงงานของพื้นที่ชายแดนจังหวัดเชียงราย หรือมีค่าเท่ากับ 1.05 และค่าคะแนนของดัชนีชี้วัดทางด้านมลภาวะสิ่งแวดล้อมจากหมอกควันของพื้นที่ ชายแดนจังหวัดเชียงรายมีค่าเท่ากับ 0.41 ทำให้ค่าคะแนนรวมของดัชนีชี้วัดด้าน สิ่งแวดล้อมและเศรษฐสังคมชายแดนของพื้นที่ชายแดนจังหวัดเชียงราย มีค่าเท่ากับ 3.13 หรืออาจกล่าวได้ว่า ในภาพรวมผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในพื้นที่ชายแดนมีความ เชื่อมั่นในศักยภาพทางเศรษฐกิจสังคม และสิ่งแวดล้อมต่อการพัฒนาและขยายการ เติบโตทางเศรษฐกิจของเมืองชายแดนจังหวัดเชียงรายในระดับปานกลางโดยเกษตรกร ในพื้ น ที่ ช ายแดนมี ค วามเชื่ อ มั่ น ในศั ก ยภาพทางเศรษฐกิ จ สั ง คมและสิ่ ง แวดล้ อ ม ของพืน้ ทีช่ ายแดนต่อการเติบโตของเมืองชายแดนสูงทีส่ ดุ (ค่าดัชนี BESE เท่ากับ 3.78) รองลงมาคือ กลุ่มผู้ประกอบการ (ค่าดัชนี BESE เท่ากับ 2.89) และกลุ่มที่มีความ เชื่อมั่นในศักยภาพทางเศรษฐกิจสังคมและสิ่งแวดล้อมของพื้นที่ชายแดนต่อการ เติบโตของเมืองชายแดนน้อยทีส่ ดุ ได้แก่ ประชากรในพืน้ ที ่ (ค่าดัชนี BESE เท่ากับ 2.72) ตารางที่ 3-5 เปรียบเทียบค่าดัชนีชี้วัด BESE บนฐานข้อมูลปฐมภูมิ แยกตามผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ผู้ประกอบการ ประชาชน เกษตรกร ดัชนีชี้วัดด้านเศรษฐกิจ (EC Index) ดัชนีชี้วัดด้านการเคลื่อนย้ายแรงงาน (LM Index) ดัชนีชี้วัดด้านมลภาวะทางสิ่งแวดล้อม (HZ Index) ดัชนีชี้วัดเศรษฐสังคมสิ่งแวดล้อม (BESE Index)
เฉลี่ย
1.58
1.47
1.95
1.67
0.97
0.98
1.21
1.05
0.33
0.27
0.62
0.41
2.89
2.72
3.78
3.13
l
51
l
ดัชนีชี้วัดทางสิ่งแวดล้อมเศรษฐสังคมชายแดน
3.4 การปรับตัวของพื้นที่ชายแดนท่ามกลางกระแสโลก จากการสัมภาษณ์ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในพื้นที่ชายแดนและการประชุมระดม สมอง (Focus Group) กับผู้ประกอบการในภาคเกษตร/อุตสาหกรรม ภาคการ ท่องเที่ยว ภาคค้าปลีกค้าส่ง และภาคโลจิสติกส์/ขนส่ง พบว่า ท่ามกลางการเปลี่ยน แปลงของกระแสโลกาภิวัตน์และภูมิภาคาภิวัฒน์นั้น ได้ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลง ของกิจกรรมทางเศรษฐกิจในบริเวณชายแดนเป็นอย่างมาก ผู้ประกอบการในพื้นที่ ชายแดนจำเป็นต้องปรับตัวให้ทันต่อบริบททางเศรษฐกิจ มีการเตรียมความพร้อม เพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว และมีการวางแผนการพัฒนา พื้นที่อย่างเป็นรูปธรรม เช่น ภาคเกษตรกรรม การพัฒนาภาคเกษตรกรรมให้มีความเข้มแข็งและยั่งยืน จำเป็นต้องส่งเสริมการเพาะปลูกเกษตรอินทรีย์เพิ่มขึ้นเพื่อยกระดับสินค้าเกษตร และสนับสนุนให้เกษตรกรสร้างนวัตกรรมจากภูมิปัญญาชาวบ้านมาใช้ในการดูแล และเพาะปลูกพืช ตลอดจนการสร้างภูมิคุ้มกันจากการเข้ามาของนายทุนนอกพื้นที่ และนายทุนจากต่างประเทศ ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อเกษตรกรในพื้นที่ชายแดนได้ ตัวอย่างเช่น การทำการเกษตรโดยใช้สารเคมีเข้มข้น ณ เมืองต้นผึ้ง แขวงบ่อแก้ว สปป.ลาว (ตรงข้ามกับอำเภอเชียงแสน) จากการเข้ามาเช่าพื้นที่ทำการเพาะปลูก ของนายทุนจากต่างประเทศ ส่งผลให้ประชาชนสปป.ลาวในพื้นที่ดังกล่าว เกิดอาการ ป่วยจากสารเคมีและอาจจะส่งผลต่อสุขภาพประชาชนในระยะยาว เนื่องจากสาร เคมีได้รั่วไหลลงสู่แม่น้ำทำลายทรัพยากรทางน้ำ และหากประชาชนได้นำน้ำนั้นมาใช้ เพาะปลูกพืชเพือ่ บริโภค อาจทำให้รา่ งกายได้รบั สารเคมีดงั กล่าวอีกด้วย อีกทัง้ ทำลาย ความอุดมสมบูรณ์ของดิน ทำให้ดินเสื่อมคุณภาพมากยิ่งขึ้นและส่งผลให้พื้นที่เกษตร เสียหาย ที่ผ่านมานายทุนจากต่างประเทศได้เช่าพื้นที่ในช่วงระยะเวลาที่สั้นประมาณ 3-5 ปี แล้วเปลี่ยนพื้นที่ไปเรื่อยๆ เมื่อหมดสัญญาเช่า ซึ่งส่งผลให้เกษตรกรของ สปป. ลาวไม่สามารถทำการเกษตรได้อีกเลย ปัจจุบันรัฐบาลสปป.ลาว ได้ออกมาเตือนกลุ่ม นายทุนจีนหากมีการใช้สารเคมีเกินขนาดในสวนกล้วยจะสั่งระงับการดำเนินธุรกิจ
l
52
l
การค้าการลงทุน การเคลื่อนย้ายแรงงาน และมลภาวะทางสิ่งแวดล้อม
ทั้งนี้กลุ่มนายทุนจีนได้เข้ามาเช่าพื้นที่ในจังหวัดเชียงรายบางส่วนแล้ว โดยใช้ตัวแทน คนไทยในการเข้ามาลงทุนในพื้นที่ชายแดน ดังนั้น ภาครัฐควรมีมาตรการป้องกันการ เข้ามาของนายทุนให้กับเกษตรกรไทยและพื้นที่ทางการเกษตร รวมทั้งการให้ความรู้ ถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นในอนาคตด้วย ศูนย์ภูมิปัญญากับเกษตรอินทรีย์แบบยั่งยืน • จากการลงพืน้ ทีเ่ พือ่ เก็บข้อมูล พบว่า พืน้ ทีอ่ ำเภอแม่สายมีศนู ย์ให้การอบรม เกี่ยวกับการทำเกษตรอินทรีย์ชื่อว่า “ศูนย์ภูมิปัญญาชาวบ้านตำบลศรีเมือง ชุมที่ได้ก่อตั้งมาตั้งแต่ปีพ.ศ. 2540 ช่วงวิกฤตเศรษฐกิจเอเชีย ที่ส่งผลให้ เกษตรกรติดหนี้สินจำนวนมากจากการกู้ยืมเงินธนาคารเพื่อทำเกษตร โดย จุดประสงค์ของศูนย์ดังกล่าวมีความตั้งใจให้เกษตรกรสามารถลดต้นทุนการ ผลิตสินค้าเกษตร ควบคู่ไปกับการเพิ่มผลผลิต และดำรงตนให้เข้าสู่วิถีชีวิต พอเพียง ปัจจุบัน ศูนย์ฯ ดังกล่าวประสบความสำเร็จอย่างมาก โดยได้รับ การสนับสนุนจากบริษัท สิงห์ คอร์เปอเรชั่น จำกัด ในด้านของเครื่องมือ และ นวัตกรรมทางการเกษตร ตลอดจนมีโครงการที่จะจัดตั้ง “ตลาดสีเขียว” เพื่ อ เป็ น ศู น ย์ ร วบรวมและจำหน่ า ยสิ น ค้ า เกษตรปลอดสารพิ ษ ที่ ต ำบล ศรีเมืองชุม อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย ภาคการท่องเที่ยว เมืองชายแดนทั้ง 3 อำเภอถือได้ว่าเป็นสถานที่ท่องเที่ยว สำคัญของจังหวัดเชียงราย ปัจจุบันสถานการณ์การท่องเที่ยวเกิดการเปลี่ยนแปลง ตามสภาพเศรษฐกิจที่หดตัวลง ส่งผลต่อผู้ประกอบการท่องเที่ยวและประชาชนใน พืน้ ทีท่ ม่ี สี ว่ นร่วมกับภาคการท่องเทีย่ วเป็นอย่างมาก พืน้ ทีอ่ ำเภอแม่สายถือว่าเป็นจุด ท่องเที่ยวที่สำคัญและนักท่องเที่ยวส่วนใหญ่มักจะมาจับจ่ายใช้สอยเพื่อซื้อสินค้า ปลอดภาษีกอ่ นกลับ แต่ปจั จุบนั จำนวนนักท่องเทีย่ วลดลงจากสภาพเศรษฐกิจทีซ่ บเซา ส่งผลกระทบต่อร้านค้า ร้านอาหาร โรงแรมที่พัก รวมถึงประชาชนในพื้นที่ ทาง
l
53
l
ดัชนีชี้วัดทางสิ่งแวดล้อมเศรษฐสังคมชายแดน
หน่วยงานท้องถิ่นและภาคเอกชนจึงร่วมมือกันออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจการ ท่องเที่ยว “แม่สายแกรนด์เซลล์ ปิดเมืองช็อป” ลดราคาสินค้าและบริการในตลาด แม่สาย ตลาดดอยเวา ตลาดสายลมจอย และสินค้าราคาถูกจากตลาดท่าขี้เหล็ก สหภาพเมียนมาในระหว่างวันที ่ 23–28 ตุลาคมพ.ศ.2558 ทีผ่ า่ นมาเพือ่ เป็นมาตรการ กระตุ้นการท่องเที่ยวก่อนเข้าสู่ช่วงไฮซีซั่น เช่นเดียวกันอำเภอเชียงแสน ที่มีสถานที่ “สามเหลี่ยมทองคำ” เป็นจุดท่องเที่ยวสำคัญของอำเภอ การเข้ามาของนักท่องเที่ยว ส่วนมากเป็น One Day Trip จากจังหวัดเชียงใหม่ จึงทำให้เกิดการกระจุกตัวของ กิจกรรมทางเศรษฐกิจบริเวณสามเหลี่ยมทองคำ ขณะเดียวกันอำเภอเชียงของที่ได้ ชื่อว่าเป็นเมืองผ่านของนักท่องเที่ยวมาอย่างยาวนาน การเกิดขึ้นของสะพาน มิตรภาพไทย – ลาว แห่งที่ 4 ได้ส่งผลกระทบต่อการท่องเที่ยวในพื้นที่อำเภอเชียง ของ เนื่องจากจุดตั้งของสะพานมิตรภาพไทย – ลาว แห่งที่ 4 อยู่ก่อนเข้าสู่ตัวอำเภอ ทำให้นกั ท่องเทีย่ วเลือกทีจ่ ะเดินทางต่อเพือ่ ไปพักทีเ่ มืองห้วยทราย สปป.ลาว เนือ่ งจาก สะดวกต่อการเดินทางต่อไปยังเมืองหลวงพระบาง ทัง้ นีภ้ าคประชาชนอำเภอเชียงของ กำลังสร้างกิจกรรมการท่องเที่ยวในพื้นที่โดยอาศัยทรัพยากรธรรมชาติที่อยู่ในพื้นที่ ฉะนั้นในช่วงเวลาที่ผ่านมาเมืองชายแดนทั้ง 3 ได้รับผลกระทบอย่างมากในภาคการ ท่องเที่ยว ดังนั้น การส่งเสริมและพัฒนาสถานที่ท่องเที่ยวระหว่างหน่วยงานทุกภาค ส่วนในพื้นที่ เพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวให้พักอาศัยในพื้นที่มากกว่า 1 วัน จำเป็นต้อง อาศัยความร่วมมือของทุกภาคส่วนไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และ ประชาชน จากสภาพความเป็นจริงข้างต้น การพัฒนาการท่องเที่ยวควรเน้นการพัฒนา สถานทีท่ อ่ งเทีย่ วใหม่โดยกำหนดให้พน้ื ทีช่ ายแดนเป็นสถานทีท่ อ่ งเทีย่ วหลัก เนือ่ งจาก เขตพื้นที่ดังกล่าว มีทรัพยากรธรรมชาติที่สามารถพัฒนาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิง อนุรักษ์ เชิงนิเวศวัฒนธรรม และเชิงเกษตรอินทรีย์ ทั้งนี้ในภาคประชาชนอำเภอ เชียงของได้ทำการศึกษาและจัดกิจกรรมท่องเที่ยวในพื้นที่ เช่น กิจกรรมล่องเรือ ชมแม่น้ำโขง กิจกรรมไหว้พระ 9 วัด กิจกรรมชมสวนผลไม้ เป็นต้น แต่อย่างไร
l
54
l
การค้าการลงทุน การเคลื่อนย้ายแรงงาน และมลภาวะทางสิ่งแวดล้อม
ก็ตามยังขาดการส่งเสริมจากภาครัฐและการประชาสัมพันธ์เชิงรุก ขณะเดียวกันจาก ความได้เปรียบทางยุทธศาสตร์พื้นที่ การเพิ่มเที่ยวบินระหว่างประเทศกับประเทศ เพื่อนบ้านจะเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวในพื้นที่เป็นอย่างดี เนื่องจากปัจจุบัน ประชาชนประเทศเพื่อนบ้านมีรายได้เพิ่มมากขึ้นจากการเติบโตทางเศรษฐกิจของ ประเทศ แต่เส้นทางการเดินทางในประเทศยังไม่เอือ้ อำนวยมากนัก เช่น การเดินทาง ของประชากรลาวใต้ทต่ี อ้ งการไปยังพืน้ ทีล่ าวเหนือ ส่วนใหญ่จะใช้เส้นทางจากเชียงราย ลงสู่ภาคตะวันออกเฉียงใต้ของไทย หรือ การเดินทางกลับภูมิลำเนาของแรงงานชาว เมียนมาต้องเดินทางจากเชียงรายไปยังกรุงเทพฯ เพือ่ เดินทางต่อไปยังประเทศของตน หากมีการส่งเสริมการเพิ่มเที่ยวบินระหว่างประเทศ เช่น เชียงราย – หลวงพระบาง เชียงราย – เวียดนาม และเชียงราย – เมียนมา จะเป็นการเพิ่มจำนวนนักท่องเที่ยว และการหลั่งไหลเข้ามาของนักธุรกิจในพื้นที่ชายแดน ทั้งนี้ปัจจัยที่สำคัญและเอื้อต่อ การพัฒนาอำเภอชายแดนทัง้ 3 อำเภอ คือการพัฒนาห่วงโซ่อตุ สาหกรรมการท่องเทีย่ ว ให้มีประสิทธิภาพและมีความหลากหลายมากขึ้น ท่องเที่ยวแบบยั่งยืนสู่ความเป็นท้องถิ่นนิยม • การท่องเที่ยวบริเวณชายแดนในปัจจุบันได้รับการประชาสัมพันธ์ในรูปแบบ เดิมๆ เช่น ตลาดแม่สาย สามเหลี่ยมทองคำ เป็นต้น ซึ่งทำให้รายได้จากการ ท่องเทีย่ วเกิดการกระจุกตัวอยูแ่ ค่เพียงคนไม่กก่ี ลุม่ ฉะนัน้ การท้องถิน่ สำหรับ พื้นที่ชายแดนควรที่จะยกความเป็นท้องถิ่น วิถีชีวิต และขนบธรรมเนียม ที่ พึ่งพาต้นทุนทางวัฒนธรรม เช่น น้ำตก ภูเขา กิจกรรมหมู่บ้าน เพื่อให้ชุมชน มีส่วนร่วมกับการท่องเที่ยวให้มากขึ้น และนักท่องเที่ยวได้เรียนรู้ถึงวิถีชีวิต ของคนในท้องถิ่นมากขึ้น ตลอดจนส่งเสริมให้เกิดการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ สิง่ แวดล้อม และทรัพยากรธรรมชาติให้คงอยูอ่ ย่างยัง่ ยืน โดยสร้างความรูค้ วาม เข้าใจให้กับนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติให้เข้าใจถึงข้อปฏิบัติของ แหล่งท่องเที่ยวอย่างชัดเจน นอกจากนี้ ควรมีการสนับสนุนให้มีการสร้าง มัคคุเทศก์ท้องถิ่นที่เข้าใจถึงบริบทของการท่องเที่ยวในพื้นที่เป็นอย่างดี
l
55
l
ดัชนีชี้วัดทางสิ่งแวดล้อมเศรษฐสังคมชายแดน
ภาคค้าปลีกค้าส่ง ร้านค้าปลีกค้าส่งในพื้นที่ชายแดนเป็นธุรกิจที่อาศัยความ สัมพันธ์ระหว่างพ่อค้าของฝั่งไทย และฝั่งประเทศเพื่อนบ้าน กิจการส่วนใหญ่จึง ประกอบอาชีพมาแล้วกว่า 10 – 20 ปี โดยสินค้าที่ส่งไปยังประเทศเพื่อนบ้านส่วน ใหญ่คือ สินค้าบริโภค-อุปโภคที่สปป.ลาว และเมียนมามีความต้องการในตลาดอย่าง มาก และมีแนวโน้มที่จะเติบโตเพิ่มขึ้นในทุกปี แต่ปัจจุบัน ห้างค้าปลีกข้ามชาติขนาด ยักษ์อย่าง เทสโก้โลตัส และแมคโครเริ่มเข้ามาจับตลาดพื้นที่ชายแดนมากขึ้นทั้งใน พื้นที่แม่สาย และเชียงของ แม้ว่าในพื้นที่เชียงแสนเทสโก้โลตัสจะยังขยายกิจการใน รูปแบบของห้างขนาดเล็ก แต่ในอนาคตหากพื้นที่มีการขยายตัวทางเศรษฐกิจเพิ่มขึ้น อาจจะส่งผลให้ห้างค้าปลีกขนาดใหญ่เข้าสู่พื้นที่เชียงแสนในอีกไม่ช้าทำให้ภาคค้า ปลีกค้าส่งหลายรายมีการปรับตัวอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนประเภทกิจการ การขนส่งสินค้าถึงที่หมาย หรือการเจาะกลุ่มลูกค้าใหม่ ซึ่งแนวทางการปรับตัวของ ธุรกิจค้าปลีกค้าส่งในแต่ละพื้นที่ชายแดนมีรูปแบบที่แตกต่างกันไป ชาวเชียงของมุ่งสู่ภาคบริการ • ชายแดนอำเภอเชียงของมีการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็วมาก ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา ซึ่งปัจจัยที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ได้แก่ การเปิด สะพานมิตรภาพไทย-ลาวแห่งที่ 4 การพัฒนาเขตเศรษฐกิจชายแดน และ การเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ทำให้กลุ่มนักลงทุนต่างถิ่นทั้งชาวไทย และชาว ต่างชาติมคี วามสนใจทีจ่ ะลงทุนในอำเภอเชียงของเป็นจำนวน ส่งผลให้ธรุ กิจ ท้องถิ่นดั้งเดิม โดยเฉพาะในภาคของการค้าปลีกค้าส่งต้องเผชิญกับการ แข่งขันอันรุนแรงจากการขยายตัวของการค้าปลีกสมัยใหม่ เช่น 7 – 11 และ เทสโก้ โลตัส ทำให้ต้องมีการปรับเปลี่ยนประเภทของกิจการไปสู่ภาคบริการ มากขึ้น เช่น การเปิดธุรกิจนวดแผนไทย ร้านกาแฟ ร้านอาหาร ที่พักอาศัย ซึ่งอาศัยที่ดินเก่าแก่ที่ได้สะสมมาตั้งแต่อดีตมาใช้เป็นทำเลในการประกอบ อาชีพใหม่ เพื่อให้สามารถอยู่ต่อสู้กับการเข้ามาของยุคโลกาภิวัตน์
l
56
l
การค้าการลงทุน การเคลื่อนย้ายแรงงาน และมลภาวะทางสิ่งแวดล้อม
ภาคโลจิสติกส์และขนส่ง การขยายตัวของมูลค่าค้าชายแดนอย่างก้าวกระโดด ในพืน้ ทีจ่ งั หวัดเชียงราย เป็นตัวผลักให้ธรุ กิจการขนสินค้าภายในประเทศ และระหว่าง ประเทศอย่าง ธุรกิจโลจิสติกส์และขนส่ง ก้าวขึ้นมาเป็นธุรกิจที่มีความโดดเด่นอย่าง มาก เนื่องจากการส่งสินค้าบางประเภทต้องอาศัยความเชี่ยวชาญของผู้จัดส่ง เช่น ผักและผลไม้ เป็นต้น การเปิดสะพานมิตรภาพไทย-ลาวแห่งที่ 4 เป็นโครงสร้าง พื้นฐานที่สำคัญต่อภาคโลจิสติกส์ ช่วยอำนวยความสะดวกในการขนส่งสินค้าไปยัง สปป.ลาว และจีนตอนใต้มากยิง่ ขึน้ นอกจากนีด้ า่ นศุลกากรเชียงของได้มกี ารปรับปรุง กฎระเบียบ และการดำเนินเอกสารที่มีความรวดเร็ว ไม่ให้มีการซ้ำซ้อนอย่างในอดีต อุปสรรคทางการค้าและกรอบความร่วมมือระหว่างประเทศ • ปัจจุบัน ประเทศไทยได้มีกรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจมากมาย อาทิ เขตการค้าเสรีอาเซียน-จีน กรอบความร่วมมือ GMS กรอบความร่วมมือ ASEAN กรอบความร่วมมือ ACMECS เป็นต้น 5 ทำให้การค้าระหว่างประเทศ หรือ การค้าชายแดนมีความสะดวกมากขึ้น ส่งผลให้มูลค่าการค้าระหว่างประเทศ มีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม กรอบความร่วมมือต่างๆได้ถูกนำไป ปฏิบัติใช้ในแง่ของการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศเพียงเท่านั้น แต่ไม่ รวมถึงการให้ความร่วมมือของกฎหมายท้องถิน่ ในแต่ละประเทศ เช่น การเรียก เก็บภาษีท้องถิ่นต่างๆ ที่ทำให้สินค้าที่ส่งออกไปในพื้นที่นั้นมีราคาสูงจนไม่ สามารถทีจ่ ะแข่งขันได้ เป็นอุปสรรคอย่างมากต่อการส่งออกหรือนำเข้าสินค้า ฉะนั้นการพัฒนากรอบความร่วมมือในอนาคตต้องลงลึกไปถึงปัญหาและ อุปสรรคที่แท้จริงของการค้าระหว่างประเทศ 5
Greater Mekong Subregion Economic Cooperation (GMS) หรือ กรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่ม แม่น้ำโขง Association of Southeast Asian Nations (ASEAN) หรือ กรอบความร่วมมือกับกลุ่มประเทศอาเซียน และ Ayeyawady-Chaophraya-Makong Economic Cooperation Strategy (ACMECS) หรือ ยุทธศาสตร์ความร่วมมือทาง เศรษฐกิจอิระวดี-เจ้าพระยา-แม่โขง
l
57
l
ดัชนีชี้วัดทางสิ่งแวดล้อมเศรษฐสังคมชายแดน
การแก้ไขปัญหาหมอกควัน ปัญหาหมอกควันในพืน้ ทีช่ ายแดนจังหวัดเชียงราย นั้น เป็นผลมาจากการเผาพื้นที่ทางการเกษตรในพื้นที่ รวมทั้งการเผาพื้นที่ทางการ เกษตรจากประเทศเพื่อนบ้าน เนื่องจากประเทศเพื่อนบ้านยังไม่มีกฎหมาย และ กฎระเบียบการห้ามเผาทีเ่ ข้มงวด อีกทัง้ พืน้ ทีก่ ารเกษตรส่วนมากเป็นพืน้ ทีร่ าบสูงหรือ การเกษตรตามแนวภูเขา ส่งผลให้พื้นที่ชายแดนมีปริมาณหมอกควันเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ กลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียนได้มีการทำข้อตกลงอาเซียนด้านมลพิษหมอกควันข้าม แดน (ASEAN Agreement on Transboundary Haze Pollution : AATHP) ตั้งแต่พ.ศ. 2545 เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหามลพิษทางสิ่งแวดล้อมข้ามแดน เช่น ปัญหามลพิษหมอกควันข้ามแดน และการเคลื่อนย้ายของเสียอันตรายข้ามแดน แต่ปัญหาหมอกควันข้ามแดนก็ยังไม่สามารถแก้ไขได้ ปัจจุบัน ปริมาณหมอกควัน ข้ามแดนกลับมีปริมาณมากขึ้นกว่าเดิมอีกด้วย โดยเฉพาะบริเวณภาคเหนือตอนบน ของไทย เนือ่ งจากการประชุมส่วนมากมุง่ เน้นไปทีก่ ารแก้ไขปัญหามลภาวะหมอกควัน ให้ประเทศสมาชิกอาเซียนเขตเส้นศูนย์สูตรมากที่สุด (บรูไน อินโดนีเซีย มาเลเซีย สิงคโปร์ และไทย) ในขณะทีป่ ระเทศอาเซียนตอนเหนือในเขตภาคพืน้ ทวีปซึง่ มีปญ ั หา หมอกควันมากกว่ากลับไม่ได้รับความสนใจเท่าที่ควร ถึงแม้หน่วยงานในระดับภูมิภาค และท้องถิ่นเองได้มีความพยายามขอความร่วมมือกับประเทศเมียนมาเพื่อส่งเสริม ลดการเผาพืน้ ทีท่ างการเกษตร ผ่านกรอบความร่วมมือคณะกรรมการชายแดนภูมภิ าค ไทย-เมียนมา (Regional Border Committee: RBC) และคณะกรรมการชายแดน ส่วนท้องถิ่น (Township Border Committee: TBC) แล้วนั้นก็ยังไม่ได้ผลเท่าที่ควร ฉะนั้นการสร้างกรอบความร่วมมือระดับภาคีและการดำเนินการตามข้อตกลงเชิง ปฏิบัติทางสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ชายแดนระหว่างสหภาพเมียนมาและสปป.ลาว อาจ จะเป็นมาตรการที่จะช่วยลดปริมาณและปัญหาหมอกควันในพื้นที่ชายแดนได้
l
58
l
การค้าการลงทุน การเคลื่อนย้ายแรงงาน และมลภาวะทางสิ่งแวดล้อม
3.5 การเปรียบเทียบดัชนีชี้วัดด้านสิ่งแวดล้อมและเศรษฐสังคมชายแดน บนฐานข้อมูลทุติยภูมิและปฐมภูมิ จากการคำนวณค่าคะแนนของดัชนีชี้วัดด้านสิ่งแวดล้อมและเศรษฐสังคม ชายแดน พบว่า ค่าดัชนี BESE บนฐานข้อมูลทุตยิ ภูมมิ คี า่ คะแนนเท่ากับ 4.09 ขณะที่ ค่าดัชนี BESE บนฐานข้อมูลปฐมภูมิมีค่าคะแนนเท่ากับ 3.13 (ตารางที่ 3-6) หาก เปรียบเทียบค่าคะแนนในแต่ละด้าน พบว่า ค่าคะแนนดัชนีชี้วัดด้านเศรษฐกิจบนฐาน ข้อมูลทุติยภูมิมีค่าคะแนนเท่ากับ 2.65 สูงกว่าค่าดัชนีชี้วัดฯ บนฐานข้อมูลปฐมภูมิ ทีม่ คี า่ คะแนนเท่ากับ 1.67 เช่นเดียวกัน ค่าคะแนนดัชนีชว้ี ดั ด้านการเคลือ่ นย้ายแรงงาน บนฐานข้อมูลทุติยภูมิมีค่าคะแนนเท่ากับ 0.98 ในขณะที่ค่าคะแนนจากฐานข้อมูล ปฐมภูมิมีค่าคะแนนเท่ากับ 1.05 อย่างไรก็ตาม ค่าคะแนนดัชนีชี้วัดทางด้านปัญหา หมอกควันจากทั้งฐานข้อมูลทุติยภูมิและข้อมูลปฐมภูมิมีค่าเท่ากันที่เท่ากับ 0.41 ตารางที่ 3-6 เปรียบเทียบค่าคะแนนดัชนีชี้วัด BESE บนฐานข้อมูลทุติยภูมิและข้อมูลปฐมภูมิ ดัชนีชี้วัด
ข้อมูลทุติยภูมิ ข้อมูลปฐมภูมิ
ดัชนีชี้วัดด้านเศรษฐกิจการค้าและการลงทุนชายแดน ดัชนีชี้วัดด้านการเคลื่อนย้ายแรงงาน ดัชนีชี้วัดทางด้านปัญหาหมอกควันไฟป่า ดัชนีชี้วัดศักยภาพทางด้านสิ่งแวดล้อมและเศรษฐสังคมชายแดน (BESE Performance Index)
2.65 0.98 0.41 4.09
1.67 1.05 0.41 3.13
ที่มา: จากการคำนวณของผู้วิจัย
เมื่อพิจารณาโครงสร้างของดัชนีชี้วัดทางด้านสิ่งแวดล้อมและเศรษฐสังคม ชายแดน เห็นได้วา่ ดัชนีชว้ี ดั ด้านการเคลือ่ นย้ายแรงงาน และดัชนีชว้ี ดั ศักยภาพทางด้าน ปัญหาหมอกควันไฟป่าระหว่างข้อมูลทุติยภูมิและข้อมูลปฐมภูมิมีค่าคะแนนใกล้ เคียงกัน ในขณะทีด่ ชั นีชว้ี ดั ด้านเศรษฐกิจการและการลงทุนชายแดนมีชอ่ งว่างระหว่าง คะแนนของข้อมูลทุติยภูมิและข้อมูลปฐมภูมิค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับค่าคะแนนของ
l
59
l
ดัชนีชี้วัดทางสิ่งแวดล้อมเศรษฐสังคมชายแดน
ดัชนีชว้ี ดั ทัง้ หมด อาจเนือ่ งจากมาจากข้อมูลสถิตทิ ไ่ี ด้ถกู เก็บรวบรวมได้สะท้อนถึงการ เติบโตของการค้าและการลงทุนชายแดนที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม การ เติบโตของการค้าชายแดนไม่ได้สะท้อนถึงการกระจายรายได้ที่ดี รวมถึงประชาชนใน พื้นที่อำเภอชายแดนไม่ได้มีส่วนมากพอต่อเศรษฐกิจการค้าและการลงทุน ทำให้ผล ประโยชน์ของการค้าชายแดนกระจุกอยู่ที่คนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งในพื้นที่และนอกพื้นที่
l
60
l
การค้าการลงทุน การเคลื่อนย้ายแรงงาน และมลภาวะทางสิ่งแวดล้อม
l
61
l
ดัชนีชี้วัดทางสิ่งแวดล้อมเศรษฐสังคมชายแดน
l
62
l
การค้าการลงทุน การเคลื่อนย้ายแรงงาน และมลภาวะทางสิ่งแวดล้อม
4
แนวนโยบายการพัฒนา เศรษฐกิจพื้นที่ชายแดน มุมมองด้านเศรษฐกิจ แรงงาน และ มลภาวะ สิ่งแวดล้อม
ในส่วนนี้เป็นการนำเสนอนโยบายการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจ การค้า การ ลงทุน การเคลื่อนย้ายแรงงาน และสิ่งแวดล้อมสู่การปฏิบัติการเชิงรับและเชิงรุก โดย พิจารณาจากเป้าหมายการพัฒนาแห่งสหัสวรรษ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม แห่งชาติ แผนพัฒนาจังหวัดเชียงราย แผนยุทธศาสตร์พัฒนาอำเภอเชียงของ และ ดัชนีชี้วัดทางสิ่งแวดล้อมและเศรษฐสังคมชายแดน ตลอดจนความคิดเห็นจากการ ดำเนินการสนทนากลุ่ม (Focus Group) ใน 3 อำเภอชายแดนเพื่อเกิดยุทธศาสตร์ การพัฒนาที่มีความเหมาะสมต่อบริบทของท้องถิ่น และการปรับตัวให้สอดคล้องการ เปลี่ยนทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมของประเทศและโลก 4.1 แนวนโยบายการพัฒนาทางด้านสิง่ แวดล้อม เศรษฐกิจ และสังคมชายแดน จุดมุง่ หมายของการเสนอแนะแนวนโยบายการพัฒนาสิง่ แวดล้อม เศรษฐสังคม ชายแดน จังหวัดเชียงราย เพื่อให้พื้นที่ชายแดนของจังหวัดเชียงรายมีการเติบโตทาง เศรษฐกิจด้วยการขับเคลือ่ นสูก่ ารพัฒนาทางนวัตกรรม หรือ การขับเคลือ่ นสูน่ วัตกรรม ชายแดน (Border Innovation-driven economy) ซึ่งเป็นการสร้างความสามารถ ในการแข่งขันทางเศรษฐกิจของชายแดน ให้เกิดการบูรณาการเติบโตอย่างมีส่วนร่วม และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยแนวทางในการพัฒนา “สิ่งแวดล้อม เศรษฐสังคม ชายแดน จังหวัดเชียงราย” ประกอบด้วย 3 ประเด็นหลัก ประเด็นแรก เป็นการสร้าง ความเข้มแข็งของเศรษฐกิจชายแดน (Border Economic Competitiveness)
l
63
l
ดัชนีชี้วัดทางสิ่งแวดล้อมเศรษฐสังคมชายแดน
ประเด็นที่ 2 เป็นการบูรณาการเพื่อการเติบโตอย่างมีส่วนร่วม (Border Inclusive growth) และประเด็นสุดท้าย การจัดการชายแดนสีเขียว (Green Border Management) ประการแรก การสร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจชายแดน (Border Economic Competitiveness) พื้นที่ชายแดนอำเภอแม่สาย เชียงแสน เชียงของ ต้อง เผชิญกับการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญในหลายบริบททั้งในประเทศ และนอกประเทศ ความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจจึงเป็นรากฐานสำคัญของการพัฒนาทีย่ ง่ั ยืน ระบบเศรษฐกิจ จะต้องมีเสถียรภาพและภูมิคุ้มกันที่เอื้อต่อการปรับตัวเมื่อได้รับผลกระทบจากภาวะ ผันผวนของระบบเศรษฐกิจโลก รวมทั้งจะต้องสร้างสมรรถนะและขีดความสามารถ ในการแข่งขันให้สูงขึ้น ทั้งนี้ จะต้องให้ความสำคัญต่อการเชื่อมโยงเศรษฐกิจระหว่าง พืน้ ทีช่ ายแดนภายในประเทศ ประเทศเพือ่ นบ้าน และประเทศทีส่ ามอย่างมีประสิทธิภาพ และรูเ้ ท่าทัน มีการปรับโครงสร้างการผลิต โดยใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมสมัยใหม่เพือ่ เพิม่ ผลผลิตแทนการเพิม่ การใช้ปจั จัยการผลิต ก่อให้เกิดการเชือ่ มโยงกิจกรรมในภาค เกษตร อุตสาหกรรม การบริการ และโลจิสติกส์ รวมทั้งเชื่อมโยงธุรกิจขนาดใหญ่กับ ธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมอย่างสมดุล ตลอดจนการสร้างผลิตผลที่เกิดจากการ พัฒนานวัตกรรมทีต่ รงกับความต้องการของตลาดภายในและภายนอกประเทศ รวมทัง้ การสร้างความแปลกใหม่เพือ่ นำตลาด ซึง่ จะนำไปสูก่ ารเพิม่ การจ้างงาน การยกระดับ รายได้ที่แท้จริง และคุณภาพชีวิตของคนในพื้นที่ชายแดน การพัฒนาพื้นที่ชายแดน เชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้านจึงจำเป็นต้องมีความพร้อมเพื่อรองรับผลกระทบเชิง เศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม เพื่อสร้างความเข็มแข็งให้ประชาชน ผู้ประกอบการ และทุกภาคส่วนในพืน้ ทีช่ ายแดน
l
64
l
การค้าการลงทุน การเคลื่อนย้ายแรงงาน และมลภาวะทางสิ่งแวดล้อม
รูปที่ 4-1 แนวนโยบายการพัฒนาสิ่งแวดล้อม เศรษฐสังคมชายแดน จุดมุ่งหมาย แนวทาง การพัฒนา
แนวทาง ไปสู่ การปฏิบัติ
การขับเคลื่อนสู่นวัตกรรมชายแดน (Border Innovation-driven Economy) การสร้างความเข้มแข็ง ของเศรษฐกิจชายแดน (Border Economic Competitiveness
การบูรณาการเพื่อการ เติบโตอย่างมีส่วนร่วม (Border Inclusive Growth)
ยุทธศาสตร์การสร้างความสามารถใน การแข่งขัน ยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้าง แรงงาน
การจัดการชายแดน สีเขียว (Green Border Management)
ยุทธศาสตร์การบูรณาการร่วม ทางเศรษฐกิจ ยุทธศาสตร์การป้องกัน หมอกควัน/ไฟป่า
ประการทีส่ อง การบูรณาการเพือ่ การเติบโตอย่างมีสว่ นร่วม (Border inclusive growth) การขับเคลื่อนสู่นวัตกรรมชายแดนจึงเป็นไปในทางปฏิบัติที่ชัดเจนยิ่งขึ้นใน ทุกภาคส่วน โดยยึดแนวคิดการพัฒนาแบบบูรณาการเป็นองค์รวมทีม่ ี “คนเป็นศูนย์กลาง การพัฒนา” มีการเชื่อมโยงทุกมิติของการพัฒนาอย่างบูรณาการ ทั้งในมิติคน สังคม เศรษฐกิจ และสิง่ แวดล้อม เพือ่ สร้างภูมคิ มุ้ กันให้พร้อมเผชิญการเปลีย่ นแปลงทีเ่ กิดขึน้ ในระดับชุมชน ระดับประเทศ ระดับภูมิภาค และระดับประเทศ ขณะเดียวกันให้ ความสำคัญกับการเสนอนโยบายพัฒนาพืน้ ทีช่ ายแดนจากทุกภาคส่วนในพืน้ ทีช่ ายแดน ในการพัฒนาประเทศ ประการที่สาม การจัดการชายแดนสีเขียว (Green Border Management) การเกิดขึ้นของพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษ ดังนั้น การเข้ามาของอุตสาหกรรมต่างๆ ใน พื้นที่ชายแดนมีความจำเป็นอย่างมากในการเข้ามาร่วมกันจัดการพื้นที่ชายแดนให้ อุตสาหกรรมอยู่ร่วมกับชุมชนได้โดยไม่ทำลายทรัพยากรธรรมชาติ โดยส่งเสริมการ สร้างความเข็มแข็งในการแข่งขันด้านเศรษฐกิจและการค้าของอุตสาหกรรมสีเขียว
l
65
l
ดัชนีชี้วัดทางสิ่งแวดล้อมเศรษฐสังคมชายแดน
ที่มีผลิตภัณฑ์และการบริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เช่น การใช้เทคโนโลยีสะอาด การบริหารจัดการพลังงาน การจัดการสารเคมี และกากของเสีย เพื่อการพัฒนาและ แนวทางการปฏิบัติที่ยั่งยืนในอนาคต โดยแนวทางในการพัฒนาที่ได้กล่าวไปข้างต้น จะนำไปสู่การสร้างแนวทางการ ปฏิบตั ซิ ง่ึ ประกอบไปด้วยยุทธศาสตร์หลักในการพัฒนา 4 ยุทธศาสตร์ ได้แก่ ยุทธศาสตร์ การสร้างความสามารถในการแข่งขัน ยุทธศาสตร์การบูรณาการร่วมทางเศรษฐกิจ ยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างแรงงาน และยุทธศาสตร์การป้องกันหมอกควัน/ ไฟป่า ซึ่งได้มีการแจกแจงรายละเอียดและแนวทางในการปฏิบัติดังรูปที่ 4-1 และ ตารางที่ 4-2 ตารางที่ 4-1 ความสอดคล้องของแนวนโยบายกับยุทธศาสตร์การพัฒนา ประเด็นการพัฒนา
ยุทธศาสตร์ การสร้างความ สามารถใน การแข่งขัน
การพัฒนาด้าน การตลาด การพัฒนาด้านการผลิต และปัจจัยการผลิต การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน การพัฒนานโยบาย ของภาครัฐ การพัฒนาด้านสิ่งแวดล้อม การพัฒนาด้านการเงิน การพัฒนาด้านการ เคลื่อนย้ายแรงงาน การรับมือกับหมอกควัน และไฟป่า
l
66
l
ยุทธศาสตร์ การบูรณาการ ร่วมทาง เศรษฐกิจ
ยุทธศาสตร์ การพัฒนา โครงสร้าง แรงงาน
ยุทธศาสตร์ การป้องกัน หมอกควัน/ ไฟป่า
การค้าการลงทุน การเคลื่อนย้ายแรงงาน และมลภาวะทางสิ่งแวดล้อม
4.2 แนวนโยบายสู่การปฏิบัติ ในส่วนนี้ เป็นการนำเสนอแนวนโยบายการปรับตัวจากการเปลี่ยนแปลงทาง ด้านการค้าการลงทุน การเคลื่อนย้ายแรงงาน และผลกระทบภายนอกจากสิ่งแวดล้อม ในพื้นที่ชายแดนอำเภอแม่สาย เชียงแสน และเชียงของ จังหวัดเชียงราย เพื่อเสนอ แนะนโยบายเชิงรุกและเชิงรับให้มีความสอดคล้องกับพื้นที่ชายแดนทั้ง 3 อำเภอ โดยมีรายละเอียดของแต่ละยุทธศาสตร์ดังต่อไปนี้
ยุทธศาสตร์การสร้างความสามารถในการแข่งขัน
ประชาชนในพื้นที่ชายแดนจังหวัดเชียงรายส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตร กรรมเป็นหลัก อีกทัง้ ถือได้วา่ เป็นอาชีพทีส่ ร้างรายได้ให้ประเทศเป็นอย่างมาก อย่างไร ก็ ต ามราคาสิ น ค้ า ทางการเกษตรมี ก ารผั น ผวนอยู่ บ่ อ ยครั้ ง ตามสภาพเศรษฐกิ จ ทำให้ประชาชนในพื้นที่ได้รับผลกระทบ ฉะนั้นการส่งเสริมและพัฒนาความเข้มแข็ง ให้เกษตรกรจึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง เพื่อให้เกษตรกรพร้อมรับมือกับสภาพเศรษฐกิจ ที่ไม่แน่นอน สภาพอากาศที่แปรปรวน และราคาสินค้าเกษตรตกต่ำ ด้วยเหตุนี้ภาค รัฐควรนำนโยบายมาปรับใช้เพื่อพัฒนาคุณภาพสินค้าเกษตรและยกระดับคุณภาพชีวิต ของเกษตรกร ดังนี้ กลยุทธ์ส่งเสริมการตลาด ส่งเสริมให้เกษตรกรสามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย และตลาดผู้บริโภคให้มากขึ้น โดยสนับสนุนการเพาะปลูกพืชที่มีความหลากหลาย และเน้นการทำเกษตรอินทรีย์เพื่อสร้างความเข้มแข็งด้านการตลาดและมาตรฐาน การเกษตร ระยะเร่งด่วน : ภาคเกษตรกรรม ในระยะแรกควรดำเนินการดังต่อไปนี้ (1) การส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกพืชที่มีความหลากหลาย เพื่อเป็นการรับมือและทดแทน ราคาสินค้าเกษตรตกต่ำบางชนิด อาทิ สตอเบอรี่ กล้วยหอม (2) ส่งเสริมการทำเกษตร อินทรีย์ เพื่อยกระดับสินค้าเกษตร (3) ส่งเสริมตลาดสินค้าเกษตรสีเขียวเพื่อช่วยให้
l
67
l
ดัชนีชี้วัดทางสิ่งแวดล้อมเศรษฐสังคมชายแดน
เกษตรกรไม่ตกอยู่ในสภาพเสียเปรียบในการต่อรองราคา และภาคอุตสาหกรรมการ เกษตร ควรมีการสร้างความรู้ ความเข้าใจในมาตรฐานสินค้าในแต่ละประเทศเพื่อ เพิ่มประสิทธิภาพการส่งออกสินค้าเกษตร ระยะกลาง : ภาคเกษตรกรรม ภาครัฐควรส่งเสริมให้เกษตรกรสามารถพัฒนา สินค้า การสร้างแบรนด์สินค้าของตนเอง และสินค้าที่ระบุสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (Geographical Indications: GI) เพื่อปกป้องผลประโยชน์ทางการค้าของตนไม่ให้มี การแอบอ้างในการค้าระหว่างประเทศ หรือสินค้าเกษตรสำหรับตลาดเฉพาะ (Niche Market) เช่น ข้าวอินทรีย์ ฯลฯ และภาคอุตสาหกรรมการเกษตร ภาครัฐสร้างนโยบาย คุ้มครองนักลงทุนในพื้นที่ชายแดนและอุตสาหกรรมเกิดใหม่ พร้อมส่งเสริมกิจกรรม การจับคู่ธุรกิจ (Business Matching) ระยะยาว: ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง : หน่วยงานภาครัฐ ตัวแทนภาคเอกชน และประชาชน การกำหนดนโยบาย : นโยบายระดับพื้นที่ นโยบายระดับประเทศ นโยบาย ระหว่างประเทศ และนโยบายระดับชุมชน ยุทธศาสตร์การบูรณาการร่วมทางเศรษฐกิจ ส่งเสริมการบูรณาการการท่องเทีย่ วร่วมกันในพืน้ ทีอ่ ำเภอชายแดน และระหว่าง พืน้ ทีช่ ายแดน เพือ่ เพิม่ ศักยภาพด้านการท่องเทีย่ ว รวมทัง้ เสริมสร้างสถานทีท่ อ่ งเทีย่ ว ให้มคี วามหลากหลาย ซึง่ จะก่อให้เกิดการเติบโตของอุตสาหกรรมการท่องเทีย่ วร่วมกัน สร้างความตระหนักถึงการรักษาแหล่งทรัพยากรท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ระยะเร่งด่วน : การร่วมมือกันพัฒนาการท่องเที่ยวถือว่ามีความสำคัญอย่างยิ่ง เพื่อการเติบโตของเศรษฐกิจในพื้นที่ ไม่ว่าจะเป็นการร่วมมือระหว่างภาคการเที่ยว ในพื้นที่เองหรือการร่วมมือระหว่างหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชน เพื่อ ระดมความคิด ยกระดับภูมปิ ญ ั ญาท้องถิน่ ในการพัฒนาสถานทีท่ อ่ งเทีย่ ว และทีส่ ำคัญ
l
68
l
การค้าการลงทุน การเคลื่อนย้ายแรงงาน และมลภาวะทางสิ่งแวดล้อม
การเชื่อมโยงห่วงโซ่การท่องเที่ยวทั้งในพื้นที่และระหว่างชายแดนทั้ง 2 ประเทศ ซึ่ง จะทำให้นักท่องเที่ยวเข้าถึงวัฒนธรรม วิถีชีวิต ความเป็นเมืองพี่เมืองน้อง และความ เป็นท้องถิ่นชายแดนอย่างแท้จริง ระยะกลาง : ระยะยาว : ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง : หน่วยงานภาครัฐ ตัวแทนภาคเอกชน และประชาชน การกำหนดนโยบาย : นโยบายระดับพื้นที่ นโยบายระดับประเทศ นโยบาย ระหว่างชายแดน และนโยบายระดับชุมชน ยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างแรงงาน พัฒนาทักษะอาชีพฝีมือแรงงานให้มีคุณภาพ โดยเน้นกลุ่มแรงงานสาขาการ ผลิตที่มีศักยภาพในพื้นที่จังหวัดเชียงราย เพื่อพัฒนาฝีมือแรงงานให้ตรงตามความ ต้องการของตลาดแรงงาน ทั้งหน่วยงานภาครัฐ (หน่วยงานสังกัดกระทรวงแรงงาน สถาบันอาชีวศึกษา องค์กรปกครองส่วนท้องถิน่ และอืน่ ๆ) ภาคเอกชน (ผูป้ ระกอบการ) และกลุ่มแรงงาน โดยมีรายละเอียดดังนี้ กลยุทธ์สง่ เสริมแรงงานในพืน้ ทีแ่ ละการเคลือ่ นย้ายแรงงาน เนือ่ งจากแรงงาน เป็นปัจจัยการผลิตในพื้นที่ ดังนั้นการส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพของแรงงานจึงมี ความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการเพิ่มศักยภาพอุตสาหกรรมในพื้นที่ ระยะเร่งด่วน : ส่งเสริมกิจกรรมการฝึกอบรมพัฒนาทักษะฝีมือแรงงานและ การทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงาน เพื่อให้การเข้าสู่ตลาดแรงงาน ตรงกับความต้อง การของตลาดแรงงานในพื้นที่ และเป็นการยกระดับมาตรฐานฝีมือแรงงานเข้าสู่ระดับ สากล นอกจากนี้ควรสร้างมาตรการป้องกันปัญหาสังคมที่จะเกิดขึ้นจากการเคลื่อน ย้ายแรงงานเข้ามาในพืน้ ทีข่ องแรงงานนอกพืน้ ทีแ่ ละแรงงานต่างด้าว โดยให้สทิ ธิอำนาจ กฎหมายแก่ผู้นำชุมชนเพื่อจะเป็นการเฝ้าระวังเหตุการณ์ในชุมชนและสร้างความ เชื่อมั่นในการดำเนินชีวิตให้คนในพื้นที่
l
69
l
ดัชนีชี้วัดทางสิ่งแวดล้อมเศรษฐสังคมชายแดน
ระยะกลาง : มุง่ เน้นนโยบายการส่งเสริมอุตสาหกรรมใหม่เข้ามาประกอบธุรกิจ ในพื้นที่ชายแดน เพื่อสร้างงานและอาชีพใหม่ให้แรงงานในพื้นที่ ลดการกระจุกตัว ของแรงงานในหัวเมืองต่างๆ อีกทั้งยังสามารถสร้างจิตสำนึกรักษ์บ้านเกิดแก่แรง งานในพืน้ ทีแ่ รงงานทีเ่ คลือ่ นย้ายออกจากพืน้ ทีใ่ ห้กลับเข้าสูพ่ น้ื ทีช่ ายแดนอีกครัง้ เพือ่ เป็น การพัฒนาเศรษฐกิจและการเติบโตของพื้นที่ ระยะยาว : ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง : หน่วยงานภาครัฐ การกำหนดนโยบาย : นโยบายระดับพื้นที่ นโยบายระดับประเทศ ยุทธศาสตร์การป้องกันหมอกควัน/ไฟป่า เน้นการติดตามและการเฝ้าระวังไฟป่าให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ และดำเนินการ เผยแพร่ข้อมูลสถานการณ์มลพิษให้แก่ประชาชน และผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อให้ทราบถึง ผลกระทบทีเ่ กิดขึน้ จากปัญหาหมอกควันและไฟป่าในพืน้ ทีช่ ายแดน ในช่องทางสือ่ สาร ต่างๆ เพื่อกระตุ้นให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาหมอกควัน ระยะเร่งด่วน : มุ่งสร้างข้อบังคับและกฎหมายการจัดการด้านมลภาวะและ สร้างความร่วมมือกับชุมชนและท้องถิ่นขับเคลื่อนมาตรการที่ชัดเจนและเข้มงวดมาก ขึ้นในการห้ามเผาวัชพืช ขยะมูลฝอยทุกชนิด นอกจากนี้หน่วยงานภาครัฐควรปฏิบัติ การเชิงรุกมากขึ้น เช่น การประชาสัมพันธ์ การสร้างจิตสำนึกร่วม เพื่อสร้างความรู้ ในการรับมือเหตุการณ์ไฟป่า การดูแลรักษาสุขภาพจากปัญหาหมอกควัน และสร้าง ความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องต่อปัญหาไฟป่าและการเผาพื้นที่ทางการเกษตรจนกลาย เป็นสาเหตุของมลภาวะทางสิ่งแวดล้อม ระยะกลาง : สร้างมาตรการรองรับปัญหาหมอกควันแบบเร่งด่วน และเพิ่มขีด ความสามารถในการรับมือภัยพิบตั แิ ละการเปลีย่ นแปลงสภาพภูมอิ ากาศ ตัวอย่างเช่น การทำฝนหลวงเพือ่ ลดหมอกควัน การใช้เทคโนโลยีเฝ้าระวังและแจ้งเตือนการเกิดไฟป่า
l
70
l
การค้าการลงทุน การเคลื่อนย้ายแรงงาน และมลภาวะทางสิ่งแวดล้อม
ระยะยาว : ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง : หน่วยงานภาครัฐ ประชาชน การกำหนดนโยบาย : นโยบายระดับพื้นที่ นโยบายระดับประเทศ นโยบาย ระหว่างชายแดน นโยบายระหว่างประเทศ และนโยบายระดับชุมชน
l
71
l
ดัชนีชี้วัดทางสิ่งแวดล้อมเศรษฐสังคมชายแดน
l
72
l
การค้าการลงทุน การเคลื่อนย้ายแรงงาน และมลภาวะทางสิ่งแวดล้อม
5 บทสรุป การพัฒนาศักยภาพทางเศรษฐกิจของพื้นที่ชายแดนในมิติทางการค้าการลงทุน มิติทางสังคม และมิติทางสิ่งแวดล้อม ถือว่าเป็นสิ่งที่มีความสำคัญอย่างมากต่อการ เติบโตและการพัฒนาเศรษฐกิจของจังหวัดชายแดน โดยเฉพาะอย่างยิง่ จังหวัดเชียงราย ที่มีอำเภอชายแดนที่สำคัญ 3 อำเภอ ได้แก่ อำเภอแม่สาย เชียงแสน และเชียงของ ดังนัน้ หากมีเครือ่ งมือทีช่ ว่ ยติดตามสถานการณ์ทางการค้า การลงทุน การเคลือ่ นย้าย แรงงาน และมลภาวะหมอกควันต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจชายแดน จึงนับว่าเป็น ประโยชน์อย่างมากต่อการสร้างความสมดุลและความยั่งยืนให้กับเศรษฐกิจชายแดน การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อสร้างดัชนีชี้วัดสิ่งแวดล้อมและเศรษฐสังคม ชายแดน (Border Environmental and Socio-economics Index: BESE index) โดยนำปัจจัยที่มีผลต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจในพื้นที่ชายแดนของจังหวัดเชียงราย อาทิ ปัจจัยด้านการค้าการลงทุน การเคลื่อนย้ายแรงงาน และมลภาวะสภาพแวดล้อม ทางธรรมชาติมาเป็นกรอบในการศึกษา รวมทั้ง การเสนอแนะแนวทางในการปรับตัว และข้อเสนอแนะเชิงนโยบายเชิงรุกและเชิงรับที่สอดรับกับการเปลี่ยนแปลงทางด้าน การค้าการลงทุนชายแดน การเคลื่อนย้ายแรงงาน และผลกระทบภายนอกจากสิ่ง แวดล้อม ผลการประเมินดัชนีชี้วัดด้านสิ่งแวดล้อมและเศรษฐสังคมชายแดน ในรูปแบบ ของการประเมินค่าคะแนนดัชนีดังกล่าวด้วยข้อมูลทุติยภูมิและข้อมูลปฐมภูมิ (ตาราง ที่ 5-1) พบว่า ดัชนีชี้วัด BESE บนฐานข้อมูลทุติยภูมิและข้อมูลปฐมภูมิ มีความ แตกต่างกันอย่างมาก ค่าคะแนนดัชนีชี้วัด BESE บนฐานข้อมูลทุติยภูมิ มีค่าเท่ากับ 4.09 (ระดับดี) หรือ พื้นที่ชายแดนจังหวัดเชียงรายมีศักยภาพทางการค้าการลงทุน
l
73
l
ดัชนีชี้วัดทางสิ่งแวดล้อมเศรษฐสังคมชายแดน
แรงงาน และสิ่งแวดล้อมต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจเชียงราย อยู่ในระดับดี ขณะที่ ค่าคะแนนดัชนีชี้วัด BESE บนฐานข้อมูลปฐมภูมิซึ่งรวบรวมมาจากการการสัมภาษณ์ ผู้ประกอบการและประชาชนในพื้นที่ มีค่าเท่ากับ 3.13 (ระดับปานกลาง) หรือกล่าว ได้ว่า พื้นที่ชายแดนจังหวัดเชียงรายมีศักยภาพทางการค้าการลงทุน แรงงาน และสิ่ง แวดล้อมต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจเชียงราย อยู่ในระดับปานกลาง ตารางที่ 5-1 เปรียบเทียบค่าคะแนนดัชนีชี้วัดระหว่างข้อมูลทุตยภูมิและข้อมูลปฐมภูมิ ดัชนีชี้วัด
ข้อมูลทุติยภูมิ ข้อมูลปฐมภูมิ
ดัชนีชี้วัดด้านเศรษฐกิจการค้าและการลงทุนชายแดน ดัชนีชี้วัดด้านการเคลื่อนย้ายแรงงาน ดัชนีชี้วัดทางด้านปัญหาหมอกควันไฟป่า ดัชนีชี้วัดศักยภาพทางด้านสิ่งแวดล้อมและเศรษฐสังคมชายแดน (BESE Performance Index)
2.65 0.98 0.41 4.09
1.67 1.05 0.41 3.13
ที่มา: จากการคำนวณของผู้วิจัย
นอกจากนี้ ผลจากการสังเคราะห์ข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth interview) และการจัดประชุมระดมสมอง (Focus Group) ใน 3 อำเภอชายแดน จังหวัดเชียงราย ได้นำไปสู่การกำหนดนโยบายและทิศทางการพัฒนาเมืองชายแดน จังหวัดเชียงรายให้มกี ารเติบโตทางเศรษฐกิจ สังคม และสิง่ แวดล้อมอย่างสมดุลนัน่ คือ ควรมีการสร้างยุทธศาสตร์ที่สอดคล้องกับพื้นที่และนำไปสู่การปฏิบัติเชิงรุกมากขึ้น โดยเฉพาะยุทธศาสตร์การสร้างความสามารถในการแข่งขันของชายแดน ยุทธศาสตร์ การบูรณาการร่วมทางเศรษฐกิจชายแดน ยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างตลาด แรงงานชายแดน และยุทธศาสตร์การป้องกันหมอกควันและไฟป่า ยุทธศาสตร์แรก การสร้างความสามารถในการแข่งขันของชายแดน เพือ่ เสริม สร้างและกระตุ้นเศรษฐกิจในพื้นที่ ไม่ว่าจะเป็นการส่งเสริมการสร้างนวัตกรรมอาหาร
l
74
l
การค้าการลงทุน การเคลื่อนย้ายแรงงาน และมลภาวะทางสิ่งแวดล้อม
การทำเกษตรอินทรีย์ เพื่อสร้างคุณค่าและมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าเกษตร การพัฒนา คุณภาพแหล่งท่องเที่ยวและคุณภาพด้านการบริการและผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวเนื่องกับ การท่องเที่ยวทั้งทางตรงและทางอ้อมให้ได้มาตรฐานและมีอัตลักษณ์ชายแดน และ มุ่งส่งเสริมธุรกิจค้าปลีกค้าส่งให้เติบโตอย่างสมดุลตามศักยภาพของพื้นที่ เช่น การนำ เทคโนโลยีและนวัตกรรมมาใช้ในการบริหารจัดการ ยุทธศาสตร์ที่ 2 การบูรณาการร่วมทางเศรษฐกิจชายแดนโดยมุ่งเน้นการ สร้างความร่วมมือและเครือข่ายระหว่างพื้นที่ชายแดนกับประเทศเพื่อนบ้านทั้งทาง ด้านการเชื่อมโยงการผลิตและอุตสาหกรรม การบูรณาการการท่องเที่ยวร่วมกันใน พื้นที่อำเภอชายแดนและระหว่างพื้นที่ชายแดน เพื่อเพิ่มศักยภาพด้านการท่องเที่ยว รวมทัง้ การเสริมสร้างสถานทีท่ อ่ งเทีย่ วให้มคี วามหลากหลาย ความร่วมมือทางวิชาการ ในการศึกษาถึงสภาพปัญหา และแนวทางในการพัฒนาปรับปรุงประสิทธิภาพของ ค้าปลีกค้าส่ง ตลอดจนมุง่ เน้นการเจรจาความร่วมมือกฎระเบียบและเงือ่ นไขระหว่าง ประเทศให้มีความสอดคล้องกันและปฏิบัติตามกฎระเบียบเดียวกัน ยุทธศาสตร์ที่ 3 การพัฒนาโครงสร้างตลาดแรงงานชายแดน ควรมีการพัฒนา ทักษะอาชีพฝีมือแรงงานให้มีคุณภาพ โดยเน้นกลุ่มแรงงานสาขาการผลิตที่มีศักยภาพ ในพื้นที่ เพื่อพัฒนาฝีมือแรงงานให้ตรงตามความต้องการของตลาดแรงงาน และ ยุทธศาสตร์ที่ 4 การป้องกันหมอกควันและไฟป่า เน้นการปฏิบัติของหน่วยงาน ภาครัฐในเชิงรุกมากขึ้น พร้อมทั้งสร้างกรอบความมือระดับทวิภาคีกับประเทศ เพื่อนบ้าน เพื่อลดปัญหาหมอกควันในพื้นที่ชายแดน ซึ่งทั้ง 4 ยุทธศาสตร์สามารถ นำไปเป็นนโยบาย “การขับเคลื่อนสู่นวัตกรรมชายแดน” ถือว่าเป็นตัวกระตุ้นที่สำคัญ ในการยกระดับเมืองชายแดนไปสู่เมืองที่มีความสามารถในการแข่งขัน มีการเติบโต อย่างมีส่วนร่วม และมีการจัดการชายแดนสีเขียว
l
75
l
ดัชนีชี้วัดทางสิ่งแวดล้อมเศรษฐสังคมชายแดน
l
76
l
การค้าการลงทุน การเคลื่อนย้ายแรงงาน และมลภาวะทางสิ่งแวดล้อม
เอกสารอ้างอิง เจียมใจ เครือสุวรรณ และคณะ. (2551). การวิเคราะห์สภาพอากาศและการเฝ้าระวัง การเกิดมลภาวะอากาศ. รายงานวิจยั ฉบับสมบูรณ์ สำนักงานกองทุนสนับสนุน การวิจัย (สกว.). นิอร สิริมงคลเลิศกุล และศราวุธ พงษ์ลี้รัตน์. (2556). แผนที่เสี่ยงภัยสำหรับการเผา ในที่โล่งจากข้อมูลเชิงพื้นที่หลายแหล่งของจังหวัดเชียงราย. รายงานวิจัยฉบับ สมบูรณ์ แผนงานสร้างเสริมนโยบายสาธารณะที่ดี (นสธ.) และสำนักงานกอง ทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.). มงคล รายะนาคร. (2553). หมอกควันและมลพิษทางอากาศในจังหวัดเชียงใหม่. เชียงใหม่: ล๊อคอินดีไซน์เวิร์ค. สฤณี อาชวานันทกุล. (2557). ห่วงโซ่อุปทานอุตสาหกรรมข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ จ.น่าน. ป่าสาละ. เข้าถึงได้จาก http://www.salforest.com/knowledge/ research-maize-aug สำนักงานการคลังจังหวัดเชียงราย. (2556). สถิติผลิตภัณฑ์จังหวัดเชียงรายแบบ Bottom up ประจำปีพ.ศ. 2555 และประมาณผลิตภัณฑ์จังหวัดปีพ.ศ. 2556. เข้าถึงได้จาก http://www.klangcri.com/team/team3.php สำนักงานพาณิชย์จังหวัดเชียงราย. (2557). สถิติการค้าชายแดนจังหวัดเชียงราย. เข้าถึงได้จาก http://pcoc.moc.go.th/wappPCOC/57/
l
77
l
ดัชนีชี้วัดทางสิ่งแวดล้อมเศรษฐสังคมชายแดน
ไทยรัฐ. (22 พฤศจิกายน 2556). ปรับผังเมืองเชียงรายรองรับการเติบโต.เรียกใช้เมื่อ 18 เมษายน 2558 จาก http://www.thairath.co.th/clip/8468 กรมคงบคุมมลพิษ. (2557). คุณภาพอากาศบริเวณอ.แม่สาย จ.เชียงราย. กรมควบคุมมลพิษ. (2557). คุณภาพอากาศบริเวณทสจ.เชียงราย อ.เมือง จ.เชียงราย. ด่านศุลกากรเชียงแสน. (ม.ป.ป.). มูลค่าการค้าชายแดนด่านอำเภอเชียงแสน. ด่านศุลกากรเชียงของ. (2558). มูลค่าการค้าชายแดนด่านอำเภอเชียงของ. ด่านศุลกากรแม่สาย. (2558). มูลค่าการค้าชายแดนด่านอำเภอแม่สาย. ธนาคารแห่งประเทศไทย. (2555). รายงานภาวะเศรษฐกิจปี 2555. เข้าถึงได้จาก https://www.bot.or.th/Thai/MonetaryPolicy/EconomicConditions/ AnnualReport/Pages/default.aspx ธนาคารแห่งประเทศไทย. (2557). รายงานภาวะเศรษฐกิจปี 2557. เข้าถึงได้จาก https://www.bot.or.th/Thai/MonetaryPolicy/EconomicConditions/ AnnualReport/Pages/default.aspx ประชาชาติธุรกิจ. (30 สิงหาคม 2557). เปิดไส้ในการค้า “ไทย-ลาว” ขยายตัวไม่มาก ปัจจัยลบเริ่มก่อตัว. เรียกใช้เมื่อ 20 เมษายน 2558 จาก http://www. prachachat.net/news_detail.php?newsid=1409321722
l
78
l
การค้าการลงทุน การเคลื่อนย้ายแรงงาน และมลภาวะทางสิ่งแวดล้อม
วรัทยา ไชยลังกา. (25 เมษายน 2556). ทุนใหญ่รุกอสังหาฯ เชียงใหม่-เชียงราย รับเออีซี. เรียกใช้เมื่อ 18 เมษายน 2558 จาก http://www.bangkokbi znews.com/news/detail/502255 ส่วนควบคุมไฟป่า สำนักป้องกัน ปราบปราม และควบคุมไฟป่า. (2557). สถิตกิ ารเกิด ไฟป่าในจังหวัดเชียงราย. สำนักงานเกษตรจังหวัดเชียงราย. (2557). ผลผลิตสินค้าเกษตรปี 2557 จังหวัด เชียงราย. เข้าถึงได้จาก www.chiangrai.doae.go.th สำนักงานการคลังจังหวัดเชียงราย. (2555). ผลิตภัณฑ์มวลรวมของจังหวัดเชียงราย พ.ศ. 2555 และประมาณการ พ.ศ. 2556. เข้าถึงได้จาก http://www. klangcri.com/ สำนักงานจัดหางานจังหวัดเชียงราย. (2558). ข้อมูลแรงงานต่างด้าว 3 สัญชาติ อำเภอแม่สาย อำเภอเชียงแสน อำเภอเชียงของ. สำนักงานพาณิชย์จังหวัดเชียงราย. (2558). มูลค่าการค้าชายแดนจังหวัดเชียงราย. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงราย. (2558). จำนวนผู้ป่วยด้วยโรคที่อาจได้รับผล กระทบจากมลพิษหมอกควัน . สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว. (2558). จำนวนแรงงานต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตให้ทำ งานคงเหลือ.
l
79
l
ดัชนีชี้วัดทางสิ่งแวดล้อมเศรษฐสังคมชายแดน
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (2558) ดัชนีความ ก้าวหน้าของคน ปี 2558. สำนักพัฒนาฐานข้อมูลและตัวชี้วัดภาวะสังคม สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. Schwab, K. (2016) The Global Competitiveness Report 2015–2016. Insight Report. World Economic Forum.
l
80
l
การค้าการลงทุน การเคลื่อนย้ายแรงงาน และมลภาวะทางสิ่งแวดล้อม
ภาคผนวก การสร้างมาตรวัดคะแนน (Measurement) ในงานวิจัยชิ้นนี้ ได้สร้างมาตรวัดคะแนนเพื่อประเมินระดับดัชนีชี้วัดทาง เศรษฐกิจสังคมและสิ่งแวดล้อมชายแดน โดยทำการสร้างมาตรวันคะแนนผ่านวิธีวิจัย แบบผสม (Mixed Research Method) จากข้อมูลเชิงปริมาณ ซึ่งทำการรวบรวม ข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary data) จากฐานข้อมูลสถิติของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่างๆ และข้อมูลปฐมภูมิ (Primary data) ซึ่งทำการรวบรวมด้วยการออกแบบสอบถาม (Questionnaire) แก่ภาคประชาชน ภาคเกษตรกรรม และภาคธุรกิจอื่นๆในพื้นที่ ชายแดน 3 อำเภอ (อำเภอแม่สาย อำเภอเชียงของ และอำเภอเชียงแสน) ทั้งนี้ ขั้น ตอนในการสร้างมาตรวัดจากข้อมูลทั้ง 2 แบบ สามารสรุปได้ดังตารางผนวกที่ 1 ตารางผนวกที่ 1 เปรียบเทียบขั้นตอนการสร้างมาตรวัดคะแนนจากข้อมูลเชิงทุติยภูมิ และข้อมูลปฐมภูมิ ข้อมูลทุติยภูมิ
ข้อมูลปฐมภูมิ
1 การกำหนดมาตรวัดของดัชนีชี้วัดหลัก (Key การกำหนดมาตรวัดคะแนนของดัชนีชี้วัดหลัก factor measurement) ทั้ง 3 ด้าน ด้วย (Key factor measurement) ) ทัง้ 3 ด้าน ด้วย เทคนิคเดลฟาย (Delphi Technique) เทคนิคเดลฟาย (Delphi Technique) 2 การกำหนดมาตรวัดคะแนนของของตัวแปร ต่างๆ ของดัชนีชี้วัดหลักด้วยการหาค่า สัมประสิทธ์สหสัมพันธ์ (Coefficient) จาก วิธกี ารวิเคราะห์การถดถอยอย่างง่าย (Simple Regression analysis) ร่วมกับการถ่วงน้ำหนัก คะแนน
การประเมินค่าคะแนนความสำคัญจากมากถึง น้อยในแต่ละตัวแปรต่างๆของดัชนีชี้วัดหลักโดย ผู้ประกอบการ ประชาชน และเกษตกรในพื้นที่ ชายแดน
3 การกำหนดค่าคะแนนการเติบโต (Rating การถ่วงน้ำหนัก (Weighted Quality Score) scale measurement) ของตัวแปรต่างๆ ด้วยค่าคะแนนเต็มของตัวแปรทั้งหมดในแต่ละ ของดัชนีชี้วัดหลัก ดัชนีชี้วดั
l
81
l
ดัชนีชี้วัดทางสิ่งแวดล้อมเศรษฐสังคมชายแดน
ข้อมูลทุติยภูมิ
ข้อมูลปฐมภูมิ
4 การคูณค่าคะแนนตั้งแต่ขั้นตอนที่ 1 - 3 และ การคูณค่าคะแนนตั้งแต่ขั้นตอนที่ 1 - 3 และ รวมคะแนนทั้ง 3 ดัชนีชี้วัดหลัก รวมเป็นค่าคะแนนทั้ง 3 ดัชนีชี้วัดหลัก
1. การสร้างมาตรวัดคะแนนจากข้อมูลทุติยภูมิ
ในการสร้างมาตรวัดคะแนนจากข้อมูลทุติภูมิ ขั้นตอนที่ 1 เริ่มต้นจากการ กำหนดมาตรวัดคะแนนของดัชนีชี้วัดหลักด้วยเทคนิคเดลฟาย (Delphi technique) โดยอาศัยประเมินสัดส่วนความสำคัญของดัชนีชว้ี ดั ทัง้ 3 ด้านจากผูเ้ ชีย่ วชาญ (experts) จำนวน 3 ท่าน จากตารางที่ 2 ผู้เชี่ยวชาญ 3 คน ได้ให้คะแนนดัชนี้ชี้วัดหลักด้าน เศรษฐกิจ การค้า และการลงทุนอยู่ที่ร้อยละ 60 50 และ 50 ตามลำดับ ค่าคะแนน เฉลี่ยรวมเท่ากับ 53.3 ขณะที่ดัชนีชี้วัดด้านการเคลื่อนย้ายแรงงาน ผู้ร่วมวิจัยแต่ละ คนได้ให้คะแนน 30 40 และ 30 ตามลำดับ ค่าคะแนนเฉลี่ยรวมเท่ากับ 33.3 และ ในดัชนีชี้วัดด้านมลภาวะทางสิ่งแวดล้อม ผู้ร่วมวิจัยได้ให้คะแนนอยู่ที่ 10 10 และ 20 ตามลำดับ ค่าคะแนนเฉลี่ยรวมเท่ากับ 13.3 เห็นได้ว่าผู้ร่วมวิจัยได้ให้สัดส่วน ความสำคัญในด้านของเศรษฐกิจ การค้าและการลงทุนมากที่สุด รองมาคือ ด้านการ เคลื่อนย้ายแรงงาน และปัญหาหมอกควันไฟป่า ตารางผนวกที่ 2 การให้ค่าคะแนนสัดส่วนความสำคัญด้วยเทคนิดเดลฟายต่อดัชนีชี้วัดหลัก ค่าคะแนนความสำคัญ (ร้อยละ) ดัชนีชี้วัดหลัก
ผู้เชี่ยวชาญ คนที่ 1 ผู้เชี่ยวชาญ คนที่ 2 ผู้เชี่ยวชาญ คนที่ 3 เฉลี่ยรวม (ร้อยละ) เศรษฐกิจ การค้า 60 50 50 53.3 และการลงทุน การเคลื่อน 30 40 30 33.3 ย้ายแรงงาน มลภาวะทาง 10 10 20 13.3 สิ่งแวดล้อม
l
82
l
การค้าการลงทุน การเคลื่อนย้ายแรงงาน และมลภาวะทางสิ่งแวดล้อม
หลังจากการให้กำหนดค่าคะแนนของดัชนีชี้วัดหลัก ขั้นตอนที่ 2 คือ การ กำหนดมาตรวัดคะแนนของตัวแปรต่างๆในการวัดดัชนีแต่ละด้าน โดยการสร้างแบบ จำลองความสัมพันธ์ของ 3 ดัชนีชี้วัด ได้แก่ ด้านเศรษฐกิจ การค้า การลงทุน ด้าน การเคลื่อนย้ายแรงงาน และด้านมลภาวะทางสิ่งแวดล้อม และได้ใช้วิธีการวิเคราะห์ ค่าถดถอยอย่างง่าย (Simple regression analysis) หรือการวัดระดับความ สัมพันธ์เชิงเส้นระหว่างสองตัวแปรที่เป็นเหตุเป็นผลกัน ทั้งนี้ สามารถแบบจำลอง จากแต่ละปัจจัยได้ดังนี้ ก. แบบจำลองความสัมพันธ์ของปัจจัยด้านเศรษฐกิจการค้าการลงทุนที่มีต่อ การเติบโตทางเศรษฐกิจเชียงราย log (Growtht) = a0 + a1log(ECt) + µt (1) ข. แบบจำลองความสัมพันธ์ของปัจจัยด้านการเคลื่อนย้ายแรงงานที่มีต่อการ เติบโตทางเศรษฐกิจเชียงราย log (Growtht) = a0 + a1log(LMt) + µt (2) ค. แบบจำลองความสัมพันธ์ของปัจจัยด้านมลภาวะทางสิ่งแวดล้อมที่มีต่อการ เติบโตทางเศรษฐกิจเชียงราย log (Growtht) = a0 + a1log(HZt) + µt (3) โดยที่ Growth ทำหน้าทีเ่ ป็นตัวแปรตาม (Dependent variable) หรือตัวแปร ที่ได้รับผลกระทบจากตัวแปรต้น หรือ ตัวแปรอิสระ (Independent variables) แสดงถึง ผลิตภัณฑ์มวลรวมรายจังหวัด (Gross Provincial Product: GPP) และ รายได้เฉลี่ยของจังหวัดเชียงราย (Gross Provincial Product per capita: GPPpc) ทั้งนี้ ตัวแปรอิสระที่เป็นตัวกำหนด Growth คือ ตัวแปรต่างๆ ที่ถูกกำหนดจากดัชนี ชี้วัดหลัก 3 ด้าน ได้แก่ ด้านเศรษฐกิจ การค้า การลงทุน (ประกอบด้วย 9 ตัวแปร) ด้านการเคลือ่ นย้ายแรงงาน (ประกอบด้วย 6 ตัวแปร) และด้านมลภาวะทางสิง่ แวดล้อม
l
83
l
ดัชนีชี้วัดทางสิ่งแวดล้อมเศรษฐสังคมชายแดน
(ประกอบด้วย 5 ตัวแปร) ซึ่งรายละเอียดของตัวแปรต่างๆจากทั้ง 3 ด้าน ได้แสดงใน ตารางผนวกที่ 3 ตารางผนวกที่ 3 การกำหนดมาตรวัดของตัวแปรต่างๆในดัชนีชว้ี ดั หลักและรายละเอียดของข้อมูล ดัชนีชี้วัดหลัก 1. ด้านเศรษฐกิจ การค้า การลงทุน (Economic, Trade and Investment Index : EC Index)
l
84
l
ตัวแปรอิสระ • มูลค่าการส่งออก (EC1) แสดงถึงการเติบโตของมูลค่า การส่งออกสินค้าชายแดน ตัง้ แต่ปี 2550 – 2555 หน่วย: ล้านบาท • มูลค่าการนำเข้า (EC2) แสดงถึงการเติบโตของมูลค่า การนำเข้าสินค้าชายแดน ตั้งแต่ปี 2550 – 2555 หน่วย: ล้านบาท • ท่าเรือเชียงแสนแห่งที่ 2 (EC3) แสดงถึงการก่อสร้าง ท่าเรือสำหรับการขนส่งออกและนำเข้าสินค้าระหว่าง ประเทศผ่านทางแม่น้ำโขง ปี 2555 เป็นตัวแปร dummy ทีม่ คี า่ 1 ตัง้ แต่ปี 2555 เป็นต้นไป นอกนัน้ มีค่าเป็น 0 • ความตกลงการค้าเสรีอาเซียน-จีน (EC4) แสดงถึง ข้อตกลงการจัดตั้งเขตการค้าเสรีระหว่างประเทศ สมาชิกในประชาคมอาเซียน และประเทศจีน ปี 2551 เป็นตัวแปร dummy ที่มีค่า 1 ตั้งแต่ปี 2551 เป็นต้นไป นอกนั้นมีค่าเป็น 0 • กฎบัตรอาเซียน (EC5) แสดงถึงฉันทามติระหว่าง ประเทศสมาชิกในประชาคมอาเซียน ปี 2552 เป็น ตัวแปร dummy ทีม่ คี า่ 1 ตัง้ แต่ปี 2552 เป็นต้นไป นอกนั้นมีค่าเป็น 0 • ความตกลงการค้าสินค้าอาเซียน (EC6) แสดงถึง ข้อตกลงที่เอื้ออำนวยประโยชน์ทางการค้าระหว่าง ประเทศสมาชิกในประชาคมอาเซียน ปี 2553 เป็น ตัวแปร dummy ทีม่ คี า่ 1 ตัง้ แต่ปี 2553 เป็นต้นไป นอกนั้นมีค่าเป็น 0
การค้าการลงทุน การเคลื่อนย้ายแรงงาน และมลภาวะทางสิ่งแวดล้อม
ดัชนีชี้วัดหลัก
ตัวแปรอิสระ • ความตกลงด้านการลงทุนของอาเซียน (EC7) แสดงถึงข้อตกลงที่เอื้ออำนวยประโยชน์ทางการ ลงทุนระหว่างประเทศสมาชิกในประชาคมอาเซียน ปี 2555 เป็นตัวแปร dummy ที่มีค่า 1 ตั้งแต่ปี 2555 เป็นต้นไป นอกนั้นมีค่าเป็น 0 • จำนวนกิจการจดทะเบียนชายแดน (EC8) แสดงถึง จำนวนของบริษัท และวิสาหกิจที่จดทะเบียนใน พืน้ ทีช่ ายแดน 3 อำเภอ ได้แก่ อำเภอแม่สาย อำเภอ เชียงของ และอำเภอเชียงแสน ตั้งแต่ปี 2550 – 2555 หน่วย: ล้านบาท • ทุนจดทะเบียนกิจการชายแดน (EC9) แสดงทุน จดทะเบียนของบริษัท และวิสาหกิจที่จดทะเบียน ในพื้นที่ชายแดน 3 อำเภอ ได้แก่ อำเภอแม่สาย อำเภอเชียงของ และอำเภอเชียงแสน ตัง้ แต่ปี 2550 – 2555 หน่วย: ล้านบาท
ด้านการเคลื่อนย้ายแรงงาน (Labor Mobility: LM Index)
• อัตราค่าจ้างขั้นต่ำจังหวัดเชียงราย (LM1) แสดงถึง อัตราค่าจ้างแรงงานในจังหวัดเชียงราย ปี 2550 – 2555 หน่วย: บาท • อัตราค่าจ้างขั้นต่ำภาคเหนือ (LM2) แสดงถึงอัตรา ค่าจ้างแรงงานทั่วภาคเหนือ ปี 2550 – 2555 หน่วย: บาท • จำนวนประชากรที่มีงานทำจำแนกอาชีพ (LM3) แสดงถึงจำนวนประชากรที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไปและ มีงานทำ โดยจำแนกอาชีพตามภาคธุรกิจ ปี 2550 – 2555 หน่วย: คน • จำนวนประชากรที่มีงานทำจำแนกเพศ และเขต ปกครอง (LM4) แสดงถึงจำนวนประชากรที่มีงาน ทำจำแนกตามเพศและเขตในเทศบาลกับนอก เทศบาล ปี 2550 – 2555 หน่วย: คน
l
85
l
ดัชนีชี้วัดทางสิ่งแวดล้อมเศรษฐสังคมชายแดน
ดัชนีชี้วัดหลัก
ตัวแปรอิสระ • จำนวนแรงงานต่างด้าว (LM5) แสดงถึงการเคลื่อน ย้ายแรงงานของแรงงานต่างด้าวในจังหวัดเชียงราย ปี 2550 – 2555 หน่วย: คน • พ.ร.บ. แรงงานต่างด้าว (LM6) แสดงถึงการดำเนิน นโยบายด้านการจัดการแรงงานต่างด้าว ปี 2550 – 2551 เป็นตัวแปร dummy ที่มีค่า 1 ตั้งแต่ปี 2550 เป็นต้นไป นอกนั้นมีค่าเป็น 0
ด้านมลภาวะทางสิ่งแวดล้อม (Haze Pollution Index: HZ Index)
l
86
l
• จำนวนจุดความร้อน (HZ1) แสดงถึงบริเวณพื้นที่ที่ เกิดเหตุการณ์ไฟไหม้ทางธรรมชาติและการกระทำ ของมนุษย์ ปี 2550 – 2555 หน่วย: จุด • จำนวนผูป้ ว่ ยทีอ่ าจได้รบั ผลกระทบจากหมอกควัน (HZ2) แสดงถึงจำนวนผู้ป่วยที่ได้รับผลกระทบจาก ปัญหาหมอกควัน ปี 2550 – 2555 หน่วย: คน • จำนวนการดับไฟป่า (HZ3) แสดงถึงจำนวนการดับ ไฟป่าในพื้นที่ ปี 2550 – 2555 หน่วย: ครั้ง • จำนวนพื้นที่ถูกไฟไหม้ (HZ4) แสดงถึงพื้นที่ที่ถูก ไฟไหม้บริเวณพืน้ ทีก่ ารเกษตรกรรม พืน้ ทีป่ า่ อนุรกั ษ์ และพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ ปี 2550 – 2555 หน่วย: จุด • คุณภาพอากาศ อ.แม่สาย และอ.เมือง (HZ5) แสดง ถึงปริมาณขนาดของฝุน่ ละอองในอากาศปี 2550 – 2555 หน่วย: 10 ไมครอน
การค้าการลงทุน การเคลื่อนย้ายแรงงาน และมลภาวะทางสิ่งแวดล้อม
การเก็บรวบรวมข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary data) ได้เก็บในรูปแบบของ สถิติในระหว่างปีพ.ศ. 2550 – 2555 เกี่ยวกับดัชนีชี้วัดด้านเศรษฐกิจการค้าและการ ลงทุนชายแดน ดัชนีชี้วัดด้านการเคลื่อนย้ายแรงงาน และดัชนีชี้วัดด้านปัญหาหมอก ควันไฟป่ามาจากสำนักงานการคลังจังหวัดเชียงราย สำนักงานพาณิชย์จงั หวัดเชียงราย ด่านศุลกากรแม่สาย ด่านศุลกากรเชียงของ ด่านศุลกากรเชียงแสน สำนักงานพัฒนา ชุมชนจังหวัดเชียงรายจังหวัดเชียงราย สำนักงานแรงงานจังหวัดเชียงราย สำนักสถิติ แห่งชาติ สำนักงานสถิตจิ งั หวัดเชียงราย ฝ่ายทะเบียนและข้อมูลสารสนเทศกลุ่มพัฒนา ระบบควบคุมการทำงานของคนต่างด้าว สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว กระทรวง แรงงาน กรมควบคุมมลพิษ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงราย กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืชส่วนควบคุมไฟป่า สำนักป้องกัน ปราบปราม และควบคุม ไฟป่า FIRMS Web Fire Mapper และระบบติดตามจุดความร้อนด้วยดาวเทียม Modis กรมป่าไม้ เมื่อทำการวิเคราะห์การถดถอยอย่างง่าย (Simple Regression Analysis) ทำให้ทราบได้ถึงความสัมพันธ์ของแต่ละมาตรวัดที่มีต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจของ จังหวัดเชียงราย ซึ่งออกมาในรูปแบบของค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (Coefficient) โดยค่าสัมประสิทธิส์ หสัมพันธ์ของแต่ละตัวแปรมีนยั สำคัญทางสถิตทิ ร่ี ะดับ 0.1 (ทีร่ ะดับ ความเชื่อมั่นร้อยละ 90) และตามด้วยการใช้เทคนิคการให้คะแนนถ่วงน้ำหนัก (Weighted Quality Score: WQS) กลายเป็น ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ถ่วงน้ำหนัก (Weighted Coefficient) โดยมีวิธีการดังนี้ ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ถ่วงน้ำหนัก =
ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของแต่ละตัวแปร ผลรวมของค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ทั้งหมด
หมายเหตุ: ตัวแปรตาม (ประกอบด้วย ตัวแปรด้านเศรษฐกิจการค้าและการลงทุน ด้านการ เคลื่อนย้ายแรงงาน และ ด้านมลภาวะทางสิ่งแวดล้อม) ที่มีผลต่อตัวแปรต้น หรือ การเติบโตทาง เศรษฐกิจและรายได้เฉลี่ยของจังหวัดเชียงราย
l
87
l
ดัชนีชี้วัดทางสิ่งแวดล้อมเศรษฐสังคมชายแดน
ต่อมาในขั้นตอนที่ 3 คือ การกำหนดคะแนนด้วยการประมาณค่า (Rating scale measurement) เพื่อประเมินคะแนนการเติบโตของตัวแปรต่างๆแต่ละดัชนี ชี้วัด โดยแบ่งออกเป็น 2 รูปแบบ รูปแบบที่ 1 คือ ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของตัว แปรอิสระมีค่าเป็นบวก (+) หรือมีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกันกับการเติบโตทาง เศรษฐกิจ และรายได้เฉลี่ยของจังหวัดเชียงราย และรูปแบบที่ 2 คือ ค่าสัมประสิทธิ์ สหสัมพันธ์ของตัวแปรอิสระมีค่าเป็นลบ (-) หรือมีความสัมพันธ์ในทิศทางตรงกัน ข้ามกันกับการเติบโตทางเศรษฐกิจ และรายได้เฉลีย่ ของจังหวัดเชียงราย ดังตาราง ผนวกที่ 4 ตารางผนวกที่ 4 การให้คะแนนการเติบโตจากค่าสัมประสิทธิข์ องมาตรวัดของตัวแปรต่างๆ ค่าสัมประสิทธิส์ หสัมพันธ์เป็นบวก คะแนน การเติบโต 5 4 3 2 1
มาตรวัดคะแนน
ค่าสัมประสิทธ์สหสัมพันธ์เป็นลบ
คะแนน การเติบโต เติบโตมากกว่าร้อยละ 5 5 เติบโตระหว่างร้อยละ 0 – 5 4 เติบโตร้อยละ 0 3 หดตัวระหว่างร้อยละ 0 – 5 2 หดตัวมากกว่าร้อยละ 5 1
มาตรวัดคะแนน หดตัวมากกว่าร้อยละ 5 หดตัวระหว่างร้อยละ 0 – 5 เติบโตร้อยละ 0 เติบโตระหว่างร้อยละ 0 – 5 เติบโตมากกว่าร้อยละ 5
ขั้นตอนสุดท้าย คือ การคูณค่าทั้งหมดตั้งแต่ขั้นตอนที่ 1 จนถึง ขั้นตอนที่ 3 และนำเข้าค่าคะแนนของมาตรวัดของตัวแปรต่างๆมารวมกัน จะได้คะแนนดัชนีชี้วัด หลักทางด้านเศรษฐกิจการค้าการลงทุน ดัชนีชี้วัดด้านการเคลื่อนย้ายแรงงาน และ ดัชนีชี้วัดด้านมลภาวะทางสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้ ขั้นตอนการสร้างดัชนีชี้วัดจากฐานข้อมูล ทุติภูมิ สามารถสรุปได้ดังรูปผนวกที่ 1
l
88
l
การค้าการลงทุน การเคลื่อนย้ายแรงงาน และมลภาวะทางสิ่งแวดล้อม
รูปผนวกที่ 1 สรุปขั้นตอนการสร้างดัชนีชี้วัดทางเศรษฐสังคมสิ่งแวดล้อมจากฐาน ข้อมูลทุติภูมิ EC = 0.53
ลำดับที่ 1 การกำหนดดัชนีขี้วัดหลัก (Delphi Technique)
lm = 0.33
ลำดับที่ 2 การกำหนดตัวแปรในดัชนีชี้วัดหลัก (Simple Linear Regression+WQS)
ค่าสัมประสิทธิ์สหพันธ์ (Coefficient)
ลำดับที่ 3 การให้คะแนนการเติบโต (Rating Scale)
คะแนนการเติบโต
ลำดับที่ 4 คูณและรวมค่าคะแนนของตัวแปร และดัชนีชี้วัดหลัก
hz = 0.33
EC lndex lm lndex
bese Index
hz lndex
l
89
l
ดัชนีชี้วัดทางสิ่งแวดล้อมเศรษฐสังคมชายแดน
2. การสร้างมาตรวัดคะแนนจากข้อมูลปฐมภูมิ
ดัชนีชี้วัดทางเศรษฐสังคมสิ่งแวดล้อมชายแดน และการสร้างมาตรวัดจากข้อมูล ปฐมภูมิ มีความแตกต่างชัดเจนกับการสร้างมาตรวัดจากข้อมูลทุติภูมิตรงขั้นตอนที่ 2 และขัน้ ตอนที่ 3 โดยการสร้างมาตรวัดจากข้อมูลปฐมภูมิ ขั้นตอนที่ 1 การใช้เทคนิคเดลฟายโดยการให้ผู้ร่วมวิจัยให้ค่าคะแนนความ สำคัญของดัชนีชว้ี ดั ด้านเศรษฐกิจการค้าการลงทุน การเคลือ่ นย้ายแรงงานและมลภาวะ ทางสิง่ แวดล้อม ซึง่ ค่าคะแนนทีไ่ ด้จากการถ่วงน้ำหนักทีไ่ ด้ออกเหมือนกับข้อมูลทุตภิ มู ิ ที่ร้อยละ 0.53 0.33 และ 0.13 ตามลำดับ ขั้นตอนที่ 2 เป็นการผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในพื้นที่ชายแดนทั้ง 3 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเชียงของ อำเภอเชียงแสน และอำเภอแม่สาย ได้ทำการประเมินความสำคัญ ของมาตรวัดของตัวแปรต่างๆจากการออกแบบสอบถาม (Questionnaire) ซึ่งผู้มี ส่วนเกี่ยวข้องแบ่งออกเป็น 2 ภาคส่วน ได้แก่ ภาคประชาชนจำนวน 142 รายและ ภาคเอกชนจำนวน 104 ราย โดยการสุม่ ตัวอย่างโดยไม่ใช้ความน่าจะเป็น (Nonprobability sampling) ต้องทำการประเมินค่าความสำคัญจากมากถึงน้อย (5 = สำคัญ มาก 4 = สำคัญ และให้ค่าความสัมพันธ์ต่อตัวแปรต่างๆว่ามีแนวโน้มที่จะส่งผล กระทบในเชิงลบ (-) หรือเชิงบวก (+) ของทั้ง 3 ดัชนีชี้วัด ดังนี้ดัชนีชี้วัดด้านเศรษฐกิจ การค้า และการลงทุนประกอบด้วย 15 ดัชนี้ชี้วัดย่อย 1. การเติบโตของการส่งออกชายแดน 2. การเติบโตของการนำเข้าชายแดน 3. ความพร้อมของสะพานมิตรภาพแห่งที่ 4 4. ความพร้อมของท่าเรือเชียงแสนแห่งที่ 2 5. สิทธิประโยชน์จากการเปิดการค้าเสรีอาเซียน-จีน 6. สิทธิประโยชน์จากนโยบายส่งเสริมการลงทุนของ BOI 7. สิทธิประโยชน์จากความร่วมมือ GMS
l
90
l
การค้าการลงทุน การเคลื่อนย้ายแรงงาน และมลภาวะทางสิ่งแวดล้อม
8. การเติบโตของปริมาณนักท่องเที่ยว 9. กฎระเบียบทางการค้าการลงทุน และการสนับสนุนของรัฐบาลกลาง 10. กฎระเบียบทางการค้าการลงทุน และการสนับสนุนของรัฐบาลท้องถิ่น 11. กฎระเบียบทางการค้าการลงทุน และการสนับสนุนของรัฐบาลของ ประเทศคู่ค้า 12. ความพร้อมของสาธารณูปโภค (ไฟฟ้า/ประปา/สื่อสาร) 13. สิทธิประโยชน์ทางภาษีเพื่อการนำเข้าและส่งออก 14. ความพร้อมของระบบการเงินในพื้นที่ 15. เส้นทางคมนาคมขนส่ง
ดัชนีชว้ี ดั ด้านการเคลือ่ นย้ายแรงงานแบ่งออกเป็น 3 ภาค ภาคประชาชนประกอบด้วย 5 มาตรวัดของตัวแปรต่างๆ 1. การเข้ามาของแรงงานต่างถิ่น 2. การเข้ามาของแรงงานต่างด้าวหรือประเทศเพื่อนบ้าน 3. อัตราการค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำ 4. อัตราค่าจ้างแรงงานที่ได้รับ 5. สถานที่ตั้งของสถานที่ประกอบอาชีพ ภาคผู้ประกอบการเกษตรในพื้นที่ชายแดนประกอบด้วย 8 มาตรวัดของตัวแปรต่างๆ 1. การเคลื่อนย้ายแรงงานต่อการดำเนินธุรกิจ 2. การเคลื่อนย้ายแรงงานต่ออัตราค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำ 3. การเคลื่อนย้ายแรงงานต่อสถานประกอบการ 4. การเคลื่อนย้ายแรงงานต่อสวัสดิการแรงงาน 5. ความต้องการแรงงาน 6. ทักษะของแรงงาน 7. จำนวนแรงงาน 8. การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และทักษะวิชาชีพ
l
91
l
ดัชนีชี้วัดทางสิ่งแวดล้อมเศรษฐสังคมชายแดน
และผู้ประกอบการในพื้นที่ชายแดนที่ไม่ใช่เกษตรประกอบด้วย 4 มาตรวัดของ ตัวแปรต่างๆ 1. จำนวนแรงงาน 2. อัตราค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำ 3. ภาวะขาดแคลนแรงงาน 4. การจ้างแรงงานต่างด้าว ดัชนีชี้วัดด้านมลภาวะทางสิ่งแวดล้อมแบ่งออกเป็น 3 ภาค ภาคประชาชนประกอบ ด้วย 4 มาตรวัดของตัวแปรต่างๆ 1. ปัญหาหมอกควันต่อการดำเนินชีวิต 2. ปัญหาหมอกควันต่อการประกอบอาชีพ 3. ปัญหาหมอกควันต่อสุขภาพอนามัย 4. ปัญหาหมอกควันต่อค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพ ภาคผูป้ ระกอบการเกษตรในพืน้ ทีช่ ายแดนประกอบด้วย 10 มาตรวัดของตัวแปรต่างๆ 1. การเผาพื้นที่ทางการเกษตรต่อผลผลิต 2. การเผาพื้นที่ทางการเกษตรต่อการเก็บเกี่ยว 3. การเผาพื้นที่ทางการเกษตรต่อความอุดมสมบูรณ์ 4. การเผาพื้นที่ทางการเกษตรต่อการเตรียมพื้นที่เพาะปลูก 5. การเผาพื้นที่ทางการเกษตรต่อฝุ่นละอองและหมอกควัน 6. การเผาพื้นที่ทางการเกษตรต่อระบบทางเดินหายใจ 7. การเผาพื้นที่ทางการเกษตรต่อจุลินทรีย์และอินทรียวัตถุในดิน 8. การเผาพื้นที่ทางการเกษตรต่อวัชพืชในแปลง 9. การเผาพื้นที่ทางการเกษตรต่อการสูญเสียความชื้นในดิน 10. การเผาพื้นที่ทางการเกษตรต่อภาวะโลกร้อน
l
92
l
การค้าการลงทุน การเคลื่อนย้ายแรงงาน และมลภาวะทางสิ่งแวดล้อม
และผู้ประกอบการในพื้นที่ชายแดนที่ไม่ใช่เกษตรประกอบด้วย 5 มาตรวัดของ ตัวแปรต่างๆ 1. ปัญหาหมอกควันต่อการดำเนินธุรกิจ 2. ปัญหาหมอกควันต่อการขาดแคลนแรงงาน 3. ปัญหาหมอกควันต่อภาพรวมของการดำเนินธุรกิจ 4. ปัญหาหมอกควันต่อประสิทธิภาพในการทำงานของแรงงาน 5. ปัญหาหมอกควันต่อการเผาพื้นที่ทางการเกษตรต่อการดำเนินธุรกิจ : หลังจากให้ผู้ที่เกี่ยวข้องประเมินความสำคัญของแต่ละตัวแปรต่างๆในทั้ง 3 ดัชนีชี้วัดหลัก ขั้นตอนที่ 3 นำค่าคะแนนความสำคัญของผู้ประเมินทั้งหมดในแต่ละ ภาคส่วนมาเฉลีย่ รวมและถ่วงน้ำหนักด้วยคะแนนเต็มของตัวแปรทัง้ หมดในแต่ละดัชนี ชี้วัดหลัก และในขั้นตอนที่ 4 คือ การนำผลตั้งแต่ขั้นที่ 1 - 3 มาคูณกัน และบวก รวมตัวแปรทัง้ หมด จะได้ผลของคะแนนดัชนีชว้ี ดั ด้านเศรษฐกิจ การค้า และการลงทุน (EC Index) ดัชนีชี้วัดด้านการเคลื่อนย้ายแรงงาน (LM Index) และดัชนีชี้วัดด้านมล ภาวะทางสิง่ แวดล้อม (HZ Index) ต่อมา คือ การรวมคะแนนดัชนีชว้ี ดั หลักทัง้ 3 ด้าน ก็ได้จะค่าคะแนนของดัชนีชี้วัดทางเศรษฐสังคมสิ่งแวดล้อมชายแดน ดังรูปผนวกที่ 2
l
93
l
ดัชนีชี้วัดทางสิ่งแวดล้อมเศรษฐสังคมชายแดน
รูปผนวกที่ 2 สรุปขั้นตอนการสร้างดัชนีชี้วัดทางเศรษฐสังคมสิ่งแวดล้อมจากฐานข้อมูลปฐมภูมิ
lm = 0.33
ลำดับที่ 2 การให้คะแนนการเติบโต (Rating Scale)
คะแนนการเติบโต (Crowth Score)
ลำดับที่ 3 การถ่วงน้ำหนักด้วยคะแนนเต็ม (Weighted Quslity Score)
คะแนนถ่วงน้ำหนัก
ลำดับที่ 4 คูณและรวมค่าคะแนนของตัวแปร และดัชนีชี้วัดหลัก
l
94
EC = 0.53
ลำดับที่ 1 การกำหนดดัชนีขี้วัดหลัก (Delphi Technique)
l
hz = 0.33
EC lndex lm lndex hz lndex
bese Index