แนวทางการพัฒนาธุรกิจเมกะเทรนด์ ด้านสุขภาพของพื้นที่ชายแดน กรณีศึกษาอำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย

Page 1

แนวทางการพั ฒ นาธุ ร กิ จ

เมกะเทรนดด  านสุขภาพ พื้ น ที ่ ช า ย แ ด น ก ร ณี ศึ ก ษ า อ ำ เ ภ อ เ ชี ย ง ข อ ง

จั ง หวั ด เชี ย งราย

-Megatrend Business Development on Health in Border Area of Chiangrai-


แนวถางการพัฒนาธุรกิจเมกะเถรนด์ ด้านสุขภาพของพื๊นถี่ชาฝแดน กรณีศึกผาอาเภอเชีฝงของ จังหวัดเชีฝงราฝ สานักงานเศรผฐกิจชาฝแดนและไลจิสติกส์ (OBELS) มหาวิถฝาลัฝแม่ฟ๋าหลวง


แนวถางการพัฒนาธุรกิจเมกะเถรนด์ ด้านสุขภาพของพื๊นถี่ชาฝแดน กรณีศึกผาอาเภอเชีฝงของ จังหวัดเชีฝงราฝ

ชื่อผูเ้ ขียน

:

หน่วยงาน

:

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ณัฐพรพรรณ อุตมา อาจารย์ สุพรรณิการ์ ขวัญเมือง สานักงานเศรษฐกิจชายแดนและโลจิสติกส์ สานักวิชาการจัดการ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง มีนาคม 2561 100 เล่ม

พิมพ์ครั้งที่ 1 : จานวน : ได้รบั ทุนสนับสนุนการวิจัย และจัดพิมพ์โดย : มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง 333 หมู่ 1 ตาบลท่าสุด อาเภอเมือง จังหวัดเชียงราย โทรศัพท์: 0-5391-6000, 0-5391-7034 โทรสาร: 0-5391-6034, 0-5391-7049 http://www.mfu.ac.th พิมพ์ที่ : เอราวัณการพิมพ์ 28/10 ถนนสิงหราช ตาบลศรีภูมิ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50200 โทร/แฟกซ์. 053-214491 E-mail : Arawanprinting@gmail.com


คานา ปั จ จุ บั น ประเทศต่ า งๆ ในโลกได้ เ ข้ า สู่ ยุ ค ที่ เ มกะเทรนด์ ( Megatrend) มีอิท ธิพ ลต่ อการด าเนิน ชีวิ ตของประชาชน การด าเนินธุ รกิ จ และการเปลี่ย นแปลง ทางเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม เมกะเทรนด์ที่เป็นแรงผลักดันในการขับเคลื่อน การพัฒนาเศรษฐกิจ ประกอบด้วย เทรนด์สังคมเมือง เทรนด์เพื่อสุขภาพ เทรนด์สังคม สูงวัย เทรนด์ Tech Startup และเทรนด์สังคมไร้เงินสด ทั้งนี้ พื้นที่ชายแดนเป็นพื้นที่ ที่มีความเป็นพลวัตตามการเปลี่ยนแปลงบริบทของเศรษฐกิจโลก ประเทศเพื่อนบ้าน และประเทศไทย จึงถือเป็นโอกาสของหน่วยธุรกิจในการเตรียมความพร้อมเพื่อรับมือ กับการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว นอกจากนี้ศักยภาพทางพื้นที่ ทรัพยากรทางธรรมชาติ และความหลากหลายของประชากรในพื้ น ที่ ช ายแดนและการเข้ า มาเยื อ น ของนั ก ท่ อ งเที่ ย วชาวต่ า งชาติ พื้ น ที่ ช ายแดนอ าเภอเชี ย งของ จั ง หวั ด เชี ย งราย จึง เป็ น หนึ่ ง ในอ าเภอที่ ส าคัญ ต่ อ การพั ฒ นาทั้ ง ด้ า นการค้ าชายแดน ควบคู่ ไ ปกั บ “การพัฒนาเมืองเข้า สู่เมกะเทรนด์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งธุรกิจ ที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ ” ซึ่ ง สอดคล้ อ งกั บ เป้ า ประสงค์ ข องยุ ท ธศาสตร์ จั ง หวั ด เชี ย งราย ที่ เ น้ น สร้ า ง การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนให้ดีขึ้น และเป็น การเพิ่ม มูล ค่า สิ นค้า การเกษตร เพื่อ สร้างอาชีพ สร้างความยั่งยืน ให้แก่ป ระชาชน ในพื้น ที่และชุม ชนใกล้เ คียง การศึก ษาพฤติกรรมการบริโภคของผู้บ ริโภคต่อ ธุรกิ จ เมกะเทรนด์ด้านสุขภาพ ตลอดจนแนวทางการพัฒนาธุรกิจเมกะเทรนด์ด้านสุขภาพจึง เป็นสิ่งสาคัญอย่างยิ่ง


เอกสารฉบับนี้เป็นส่วนหนึ่งของงานวิจัยเรื่อง “แนวทางการพัฒนาธุรกิจ เมกะเทรนด์ด้านสุขภาพของพื้นที่ชายแดน จังหวัดเชียงราย : มุมมองด้านผู้บริโภค” ทุนสนับ สนุน วิจั ยจากมหาวิ ทยาลัย แม่ ฟ้า หลวง ปีงบประมาณ 2560 ซึ่งน าเสนอ ภาพรวมบริบทของตลาดสินค้าและบริการเมกะเทรนด์ด้านสุขภาพในอาเภอเชียงของ จังหวัดเชียงรายทั้งด้านผู้บริโภคและผู้ประกอบการ รวมทั้งแนวทางในการพัฒนา ธุรกิจเมกะเทรนด์ด้านสุขภาพในพื้นที่ชายแดน เพื่อเผยแพร่องค์ความรู้ให้กับผู้ที่สนใจ และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าเอกสารฉบับนี้จะเป็นประโยชน์ในการเสริมสร้างความรู้และ ให้ข้อคิดเห็นที่เป็นประโยชน์ต่อผู้ประกอบการ นักวิชาการ หน่วยงานภาครัฐในการ ประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อไป สานักงานเศรษฐกิจชายแดนและโลจิสติกส์ สานักวิชาการจัดการ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง กุมภาพันธ์ 2561


สารบัญ 1

พฤติกรรมและควาต้องการสินค้าและบริการเมกะเถรนด์ ด้านสุขภาพ

6

ศักฝภาพของธุรกิจเมกะเถรนด์ด้านสุขภาพ ในอาเภอเชีฝงของ จังหวัดเชีฝงราฝ

8

แนวถางการพัฒนาเศรผฐกิจด้านสุขภาพของประเถศโถฝ

11

แนวถางการพัฒนาธุรกิจเมกะเถรนด์ด้านสุขภาพ อาเภอเชีฝงของ จังหวัดเชีฝงราฝ

26

บรรณานุกรม

28

ภาคพนวก


พฤติกรรมและควาต้องการ สิ นค้าและบริการ เมกะเถรนด์ด้านสุ ขภาพ

เมกะเทรนด์ด้านสุขภาพเป็นหนึ่งในเมกะเทรนด์โลกที่น่าจับตามอง ส่วน หนึ่งเป็นผลมาจากกระแสการเพิ่มขึ้นของผู้สูงอายุในประเทศต่างๆทั่วโลก โดยเฉพาะ อย่างยิ่งกลุ่มประเทศพัฒนาแล้วซึ่งประชากรมีกาลังซื้อสูง ขณะเดียวกัน ประเด็นด้าน การดูแลสุขภาพเองก็ได้รับความสนใจอย่างมากในช่วงหลายปีที่ผ่านมา สะท้อนจาก ตั ว เลขการเพิ่ ม ขึ้ น ของสั ด ส่ ว นการรั บ ริ โ ภคอาหารเพื่ อ สุ ข ภาพจากรายงานของ Euromonitor (2018) แสดงการเพิ่ มขึ้ นของการใช้ จ่า ยในการบริ โภคอาหารเพื่ อ สุ ข ภาพจากปี พ .ศ. 2554 ที่ มี มู ล ค่ า 131,027.10 ล้ า นบาท และเพิ่ ม ขึ้ น เป็ น 181,576.60 ล้า นบาท ในปีพ.ศ. 2559 หรือมีอัตราการขยายตัวสะสมร้อยละ 6.7 ขณะที่การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพเองก็มีการขยายตัวเพิ่มขึ้นเช่นเดียวกัน โดย Global Wellness Institution (2017) รายงานว่า ในปีค.ศ. 2013 มูลค่าตลาดการ ท่องเที่ยวเพื่อสุขภาพนั้นอยู่ที่ 494.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และขยายตัวเพิ่มขึ้น เป็น 563.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในปีค.ศ.2015 หรือมีอัตราการขยายตัวสะสม ร้อยละ 6.7 และมีแนวโน้มว่าจะขยายตัวเพิ่มขึ้นในอนาคต กระแสด้านสุขภาพจึง กลายเป็นกระแสใหม่ที่คนส่วนใหญ่ให้ความสนใจและไม่ได้มองข้ามปัญหาด้านสุขภาพ และความสาคัญของการดูแลสุขภาพอีกต่อไป ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มคนสูงวัย แต่ยังรวมถึง คนวัยหนุ่มสาวและคนวัยทางานที่ต้องการมีรูปร่างดีและสุขภาพแข็งแรงอีกด้วย ธุรกิจเมกะเทรนด์ด้านสุขภาพ ถือว่าเป็นกลุ่มธุรกิจที่ส าคัญต่อการพัฒนา เศรษฐกิ จ ของประเทศและสร้ า งโอกาสให้ แ ก่ ผู้ ป ระกอบการในพื้ น ที่ ช ายแดน

แนวทางการพัฒนาธุรกิจเมกะเทรนด์ดา้ นสุขภาพพืน้ ที่ชายแดน 1


โดยเฉพาะจังหวัดเชียงราย เหตุผลประการแรก ได้แก่ ความมีศักยภาพทางภูมิศาสตร์ ของจังหวัดเชียงรายที่มีดินแดนติดกับประเทศเพื่อนบ้าน เช่น สาธารณรัฐแห่งสหภาพ เมียนมา และสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว นอกจากนี้ยังสามารถเชื่อมต่อกับ ประเทศที่ส าม เช่น สาธารณรัฐ ประชาชนจี น (ตอนใต้ ) สาธารณรั ฐอิ นเดีย รวมถึ ง สาธารณรั ฐ สั ง คมนิ ย มเวี ย ดนาม ประการที่ ส อง ประชากรในพื้ น ที่ ช ายแดนมี การตอบสนองต่อกระแสการรักสุขภาพและสังคมผู้สูงอายุค่อนข้างมาก และประการ สุ ด ท้ า ย จั ง หวั ด เชี ย งรายเป็ น จั ง หวั ด ที่ มี ค วามอุ ด มสมบู ร ณ์ ท างด้ า นอาหาร แหล่ ง ท่ อ งเที่ ย วทางธรรมชาติ ความพร้ อ มของธุ ร กิ จ บริ ก าร และการบริ ก ารทาง การแพทย์ จึงเป็นหนึ่งเป้าหมายที่เกิดการเคลื่อนย้ายของกลุ่มประชากรผู้สูงอายุและ กลุ่ม ชาวต่ า งชาติที่ เกษีย ณอายุจ ากประเทศต่า งๆ เข้า มาพ านั กระยะยาวในจัง หวั ด เชียงราย ซึ่งสอดคล้อ งกับ แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศไทยให้เป็นศู นย์กลาง สุขภาพนานาชาติระยะ 10 ปี ทั้งนี้ พฤติกรรมและความต้องการสินค้าและบริการเมกะเทรนด์ด้านสุขภาพ ของผู้บริโภคในพื้นที่ชายแดน อาเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย สะท้อนให้เห็นถึงวีถีชีวิต รูปแบบการบริโภค และปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริโภคสินค้าและบริการเมกะเทรนด์ทั้งที่ เป็นอาหาร (Food products) และที่ไม่ใช่อาหาร (Non-food product) ในเอกสารนี้ ได้แบ่งประเภทสินค้าและบริการออกเป็น 4 ประเภทได้แก่ อาหารเพื่อสุขภาพ บริการ ด้านการรักษาสุขภาพ บริการเพื่อส่งเสริมสุขภาพ ประเภทนวดและสปา และบริการ ส่งเสริมสุขภาพแบบฟิตเนส ซึ่งสามารถแสดงภาพรวมของพฤติกรรมและความต้องการ ของผู้บริโภคในสินค้าและบริการเมกะเทรนด์ด้านสุขภาพได้ดังนี้

แนวทางการพัฒนาธุรกิจเมกะเทรนด์ดา้ นสุขภาพพืน้ ที่ชายแดน 2


พฤติกรรมและความต้องการ อาหารเพื่ออสุ ขภาพ

พฤติกรรมการบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพ ในพื้นที่ชายแดนอาเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย ตามลักษณะทางประชากร พบว่า ผู้บริโภคอาหารเพื่อสุขภาพเป็น ผู้หญิ งมากกว่า ผู้ชาย และผู้บ ริโ ภคในทุ กช่ว งอายุ มีก ารบริโ ภคอาหารเพื่อ สุข ภาพ ในสัดส่วนที่ค่อนข้า งสูง เมื่อพิจ ารณาตามระดับรายได้พบว่า พฤติกรรมการบริโภค อาหารเพื่อสุขภาพมีความแตกต่างกันตามระดับรายได้ โดยกลุ่มผู้มีรายได้น้อยนิยม บริโภคอาหารฟังก์ชันและอาหารพื้นบ้านที่ปรุงเอง ขณะที่ผู้มีรายได้ระดับปานกลาง นิย มบริโ ภคอาหารเสริม มากที่สุ ด และผู้ ที่ มีร ายได้ สูง นิ ยมบริ โภคอาหารคลีน โดย ช่องทางการสื่อสารที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพมากที่สุดได้แก่ การพูดคุยปากต่อปาก การแนะนาสินค้าในกลุ่มอาหารเพื่อสุขภาพแบบปากต่อปากนั้น มักได้ผลดีในการชักจูงให้ผู้บริโภคหันมาบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพ รองลงมาเป็นสื่อ โทรทัศ น์ แ ละสื่ อ สัง คม (Social Media) ซึ่ง มี ผ ลในทางจิ ต วิท ยาต่อ การบริ โ ภคของ ผู้ บ ริ โ ภค ทั้ ง นี้ ซู เ ปอร์ ม าเก็ ต และตลาดท้ อ งถิ่ น เป็ น ช่ อ งทางการจ าหน่ า ยที่ ไ ด้ รั บ ความนิยมมากที่สุด ความคิดเห็นเกี่ยวกับความต้องการบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพ ผู้บริโภคส่วน ใหญ่มองว่าอาหารเพื่อสุขภาพกาลังเป็นที่นิยมและมีประโยชน์มากกว่าอาหารทั่วไป โดยแรงจูงใจในการเลือกบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพมาจากความต้องการให้ตนเองมี สุขภาพร่างกายที่แข็งแรง เพื่อป้องกันโรค และเพื่อรักษาโรค โดยมักเลือกซื้ออาหารเพื่อ สุขภาพที่ผ่า นการรับรองจากสถาบันที่น่าเชื่อถือ รวมทั้ งแรงจูงใจจากการจ าหน่า ย ผลิตภั ณ ฑ์ที่มี ความหลากหลายและมีการกาหนดราคาชั ดเจน ทั้ง นี้ แนวโน้ม ความ ต้ อ งการบริ โ ภคอาหารเพื่ อ สุ ข ภาพในอนาคต ส่ ว นใหญ่ เ ป็ น ผู้ ที่ มี อ ายุ ร ะหว่ า ง 26 ถึง 30 ปี มีการศึกษาและรายได้อยู่ในระดับปานกลางถึงระดับสูง โดยปัจจัยที่มี อิ ท ธิ พ ลต่ อ ความต้ อ งการบริ โ ภคอาหารเพื่ อ สุ ข ภาพในอนาคตได้ แ ก่ อิ ท ธิ พ ลจาก ผู้มี ชื่ อเสี ยงและการส่ ง เสริ มการตลาด ส าหรั บผู้ ที่ ไ ม่มี แ นวโน้ม ที่ จ ะบริ โภคอาหาร เพื่อสุขภาพให้ความเห็นว่า อาหารเพื่อสุขภาพมีราคาแพง อาหารเพื่อสุขภาพไม่มีความ แตกต่ า งจากอาหารที่ ปรุง ตามปกติ จึงไม่ มีความจ าเป็นต่ อการบริโ ภค และอาหาร สุขภาพยังหาซื้อได้ยากอีกด้วย แนวทางการพัฒนาธุรกิจเมกะเทรนด์ดา้ นสุขภาพพืน้ ที่ชายแดน 3


พฤติกรรมและความต้องการ บริการรักผาสุ ขภาพ

บริการด้านการรักษาสุขภาพเป็นบริการพื้นฐานที่มีความจาเป็นสาหรับมนุษย์ พฤติกรรมการใช้บริการของคนในพื้นที่อาเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย ส่วนใหญ่นิยม ใช้บริการจากโรงพยาบาลรัฐ รองลงมาได้แก่โรงพยาบาลเอกชน เนื่องจากปัจจัยด้าน ค่า ใช้จ่า ยที่ต่ากว่า หรือไม่ มีค่าใช้จ่ายจากการใช้สิทธิ ประกันสุขภาพถ้วนหน้า สิท ธิ ข้าราชการหรือประกันสังคม ทั้งนี้ หากอาการป่วยยังไม่รุนแรงมากนัก ผู้ใช้บริการมัก เลือกเข้า รับบริการจากคลินิกมากกว่าโรงพยาบาลรัฐ เนื่องจากความสะดวก รวดเร็ว และค่าใช้จ่า ยในการรักษาไม่สูงมากนัก โดยเฉลี่ยแล้วคนทั่วไปมักเข้ารับบริการด้าน สุขภาพปีละไม่เกิน 2 ครั้ง ยกเว้นกลุ่มผู้สูงอายุที่มีโรคประจาตัวที่ต้องเข้ารับการตรวจ ทุกๆ 3 ถึง 4 เดือน ทั้งนี้โรคประจาตัวที่มักพบกับผู้สูงอายุได้แก่โรคความดันโลหิตสูง และโรคเบาหวาน ขณะที่โรคประจาตัวที่มักพบในคนวัย 30 ถึง 40 ปีได้แก่โรคภูมิแพ้ ความคิดเห็นเกี่ยวกับการตัดสินใจเลือกสถานพยาบาลของผู้ใช้บริการ พบว่า ปัจ จัย ที่มี อิท ธิพ ลต่อ การเลือ กใช้ บริ การ ได้แ ก่ อิท ธิพ ลจากคนใกล้ ชิ ด สิท ธิใ นการ รักษาพยาบาล ความสามารถของบุคลากรทางการแพทย์ และความสะดวกในการ เดินทาง ปัจจุบันพื้นที่ชายแดนเชียงของมีโรงพยาบาลรัฐอยู่เพียงแห่งเดียวซึ่งไม่เพียงพอ ต่อความต้องการใช้บริการ ทาให้คนส่วนใหญ่ต้องการให้มีสถานพยาบาลเพิ่มมากขึ้น พฤติกรรมและความต้องการ บริการสปาและนวด

พฤติกรรมการใช้บริ การสปาและนวดในพื้นที่ ชายแดนอาเภอเชี ยงของ จังหวัดเชียงราย ตามลักษณะทางประชากร พบว่า ผู้ใช้บริการส่วนใหญ่ เป็นเพศหญิง มากกว่ า เพศชาย อยู่ ใ นวั ย ท างาน และมี ร ายได้ ร ะดั บ ปานกลางถึ ง ระดั บ สู ง โดย ผู้ใช้บริการที่มีอายุระหว่าง 26 ถึง 40 ปีนิยมใช้บริการนวด ซาวน่า และบริการขัดผิว มากกว่าคนในกลุ่มอื่นๆ ขณะที่ผู้ใช้บริการสูงวัยนิยมใช้บริการนวดเพื่อความผ่อนคลาย แนวทางการพัฒนาธุรกิจเมกะเทรนด์ดา้ นสุขภาพพืน้ ที่ชายแดน 4


และรักษาอาการปวดเมื่อยตามร่างกายมากกว่าบริการที่เน้นความสวยงาม นอกจากนี้ ผู้ใช้บริการส่วนมากนิยมใช้บริการไม่เกิน 2 ครั้งต่อเดือน ทั้งนี้ช่องทางการสื่อสารที่มี อิทธิพลต่อการเข้ามาใช้บริการมากที่สุดได้แก่ การพูดคุยปากต่อปาก รองลงมาคือสื่อโซ เชียล และการแสดงป้ายหน้าร้าน ความคิดเห็นเกี่ยวกับการตัดสินใจเลือกสถานบริการสปาและนวด พบว่า ปัจจัย ที่มีอิ ทธิ พ ลต่อ การเลือ กใช้บ ริก าร ได้แ ก่ การให้ บริ การที่ ดี ความสะอาด และความ เหมาะสมของราคา ทั้งนี้ แนวโน้มความต้องการใช้บริการสปาและนวด ส่วนใหญ่เป็นผู้ที่ มีอายุน้อยกว่า 40 ปี ซึ่งสอดคล้องกับการเข้าสู่สังคมสูงวัย สาหรับผู้ที่ไม่มีแนวโน้มที่จะ ใช้บริการสปาและนวดให้ความเห็นว่า ราคาค่าบริการสปาและค่อนข้างแพง และเป็น พฤติกรรมและความต้องการ บริการฟิ ตเนส

พฤติกรรมของผู้ใช้บริการฟิตเนสในพื้นที่ชายแดนอาเภอเชียงของ จังหวัด เชียงราย พบว่า ผู้ใช้บริการฟิตเนสส่วนใหญ่นิยมใช้บริการวิ่งหรือเดินบนลู่วิ่งไฟฟ้า รองลงมาคือการปั่นจักรยานและการยกน้าหนัก โดยใช้บริการไม่เกิน 2 ครั้งต่อเดือน และบริการแต่ละครั้งประมาณ 1 ถึง 2 ชั่วโมง เหตุผลหลักของการใช้บริการฟิตเนส ได้แก่ ความต้องการให้ร่างกายแข็งแรงและเพื่อลดน้าหนัก ทั้งนี้ช่องทางการสื่อสารที่มี อิทธิพลต่อการเข้ามาใช้บริการมากที่สุดได้แก่ การรับฟังจากคนใกล้ชิด รองลงมาคือ อิทธิพลจากสื่อโซเชียล และการแสดงป้ายหน้าร้าน ความคิดเห็นเกี่ยวกับการตัดสินใจเลือกสถานบริการฟิตเนส พบว่า ปัจจัยที่มี อิทธิพลต่อการเลือกใช้บริการ ได้แก่ คุณภาพมาตรฐานของอุปกรณ์ การให้บริการ และ ความสะอาดของสถานที่ ทั้งนี้ แนวโน้มความต้องการใช้บริการฟิตเนส ส่วนใหญ่เป็นผู้ที่ มีอายุน้อยกว่า 30 ปีสอดคล้องกับกระแสรักสุขภาพ ส าหรับผู้ที่ไม่มีแนวโน้มที่จะใช้ บริการฟิตเนสให้ความเห็นว่า ค่าใช้จ่ายในการใช้บริการนั้นค่อนข้างสูง จานวนสถาน บริการฟิตเนสในพื้นที่ยังจากัด และมีบริการฟิตเนสในพื้นที่สาธารณะแล้ว

แนวทางการพัฒนาธุรกิจเมกะเทรนด์ดา้ นสุขภาพพืน้ ที่ชายแดน 5


ศั กฝภาพของธุรกิจเมกะเถรนด์ด้านสุ ขภาพ ในอาเภอเชีฝงของ จังหวัดเชีฝงราฝ

ศักยภาพของธุรกิจ อาหารเพื่อสุ ขภาพ

ธุรกิจร้านอาหารเพื่อสุขภาพในพื้นที่ส่วนใหญ่ประกอบด้วย ธุรกิจอาหารเจ ธุรกิจ อาหารคลีน ที่ผ่านมาอาเภอเชียงของได้จัดกิจ กรรมที่เรียกว่า “Clean Food, Good Taste” ซึ่งเป็นกิจกรรมที่รณรงค์ให้ผู้ประกอบการหันมาให้ความสาคัญกับการ คัดสรรวัตถุดิบและการปรุงแต่งอาหารที่ส่งผลดีต่อสุขภาพของผู้บริโภค ปัจจุบันมีร้านที่ ผ่านเกณฑ์มาตรฐานจานวน 4 ร้าน เมื่อพิจารณาสภาพการแข่งขันของตลาดอาหารเพื่อ สุขภาพในอาเภอเชียงของ พบว่ามีภาวะการแข่งขันค่อนข้างรุนแรง ปัจจัยที่ทาให้ตลาด เกิดการแข่งขันอย่างรุนแรง ได้แก่ ประการแรก การเข้ามาของผู้ประกอบการรายใหม่ ทาได้ ไม่ ยากนั ก เนื่อ งจากต้ นทุ นการดาเนิน ธุร กิจ อาหารสุข ภาพในตลาดชายแดน ค่อนข้างต่า และ/หรือผู้ประกอบการสามารถทาธุรกิจในรูปแบบครอบครัว ประการที่ สอง อานาจการต่อรองกับผู้บริโภคค่อนข้างน้อยตามพฤติกรรมการผู้บริโภคอาหารเพื่อ สุขภาพในพื้นที่ชายแดนที่ยังไม่สูงเท่าที่ควร และ ประการที่สาม การมีผลิตภัณฑ์อื่นที่ สามารถทดแทนอาหารเพื่อสุขภาพได้มาก ขณะเดียวกัน ปัจ จัยที่ทาให้การแข่งขันใน ตลาดลดความรุนแรง ได้แก่ ประการแรก ความรุนแรงของการแข่งขันในตลาดอาหาร เพื่อสุขภาพมีน้อย ผู้ประกอบการแต่ล ะรายมีผลิตภัณฑ์ที่มีลักษณะเฉพาะของตนเอง และ ประการที่ส อง การต่อรองกับผู้จ าหน่ายวัตถุดิบมีค่อนข้างสูงตามจ านวนผู้ผ ลิต สินค้าเกษตร (สินค้าต้นน้า) ในพื้นที่ที่มีค่อนข้างมาก

แนวทางการพัฒนาธุรกิจเมกะเทรนด์ดา้ นสุขภาพพืน้ ที่ชายแดน 6


ศักยภาพของธุรกิจ บริการนวดและสปา

ธุรกิจบริการสปาและนวดถือได้ว่าเป็นธุรกิจหนึ่งที่สาคัญของอาเภอเชียงของ โดยผู้ใช้บริการหลักเป็นคนในพื้นที่ รองลงมาคือนักท่องเที่ยว เมื่อพิจารณาสภาพการ แข่ ง ขั น ของธุ ร กิ จ บริ ก ารสปาและนวด พบว่ ามี ภ าวะการแข่ ง ขัน ไม่ รุ น แรงมากนั ก สืบเนื่องมาจาก ประการแรก การเข้ามาของผู้ประกอบการรายใหม่ทาได้ค่อนข้างยาก เนื่องจากการดาเนินธุรกิจนวดและสปานั้นมีข้อกาหนดด้านการให้บริการตามกฎหมาย โดยเฉพาะใบรับอนุญาตประกอบโรคศิลป์ของผู้ให้บริการ และการขาดแคลนบุคลากรที่ มีความเชี่ยวชาญด้านการให้บริการนวด และ ประการที่สอง อานาจการต่อรองกับ ผู้ใช้บริก ารค่อนข้ า งสูง ผู้ ให้บริก ารแต่ล ะรายมักมี ทักษะเฉพาะเป็ นของตนเองและ ผู้ใช้บริการมักเลือกรับบริการตามทักษะของผู้ให้บริการที่ตนชื่นชอบและมีความภักดีต่อ บริการนั้นด้วย ศักยภาพของธุรกิจ บริการฟิ ตเนส

บริการฟิตเนสเป็นหนึ่งในบริการที่ได้รับความนิยมตามกระแสเมกะเทรนด์ ด้า นการส่ง เสริ ม สุข ภาพ ความนิย มในการดู แลและรั ก ษาภาพลั กษณ์ ของตนเอง (Self-image) ให้เป็นผู้ที่มีสุขภาพดี รวมทั้งการตระหนักถึงการดูแลสุขภาพตนเองให้ มากขึ้น ทาให้ในระยะ 2 ปีที่ผ่านมาในพื้นที่ชายแดนเชียงของมีการเข้ามาของธุรกิจฟิต เนสครบวงจร (รวม 2 ธุรกิจ) และชมรมฟิตเนสประจาอาเภอเชียงของ เมื่อพิจารณา สภาพการแข่งขันของธุรกิจ ฟิตเนส พบว่ามีภาวะการแข่งขันไม่รุนแรงมากนัก สืบ เนื่องมาจาก ประการแรก การเข้ามาของผู้ประกอบการรายใหม่ทาได้ค่อนข้างยาก เนื่องจากต้นทุนการดาเนินการที่ค่อนข้างสูงและการมีบริการฟิตเนสในพื้นที่สาธารณะ ที่มีรัฐบาลจัดทาขึ้น และ ประการที่สอง อานาจการต่อรองกับผู้ใช้บริการค่อนข้างสูง การจัด หาบริ การฟิ ตเนสและผู้ ฝึก สอน (Trainer) ที่ ส ามารถดึง ดูด และสร้า งความ ประทับใจแก่ผู้ใช้บริการให้มีความจงรักภักดีต่อการให้บริการค่อนข้างยาก แนวทางการพัฒนาธุรกิจเมกะเทรนด์ดา้ นสุขภาพพืน้ ที่ชายแดน 7


แนวถางการพัฒนา เศรผฐกิจด้านสุ ขภาพ ของประเถศโถฝ

แนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจด้านสุขภาพของประเทศไทยตามแผนพัฒนา เศรษฐกิจและสังคมของประเทศ รวมถึงยุทธศาสตร์การพัฒนาเศรษฐกิจด้านสุขภาพมี ดังนี้ ยุทธศาสตร์ช าติ ระยะ 20 ปี (พ.ศ.2560-2579) เป็น กรอบยุท ธศาสตร์ ที่ มุ่งเน้นการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยมีเป้าหมายในการสร้างความมั่นคงในทุกระดับและทุก มิติ ทั้งด้านการเมือง สังคม ความมั่นคงทางอาหารรวมถึงการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน เพื่อขับเคลื่อนประเทศจากประเทศที่มีรายได้ปานกลางสู่ประเทศที่มีรายได้สูง แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 เป็นแผนพัฒนาที่อยู่บน พื้นฐานแนวคิดของกรอบยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี มุ่งเน้นการพัฒนาประเทศสู่การ เป็นประเทศที่มีความ “มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน” โดยยุทธศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนา อุตสาหกรรมด้านสุขภาพได้ถูกบรรจุอยู่ในยุทธศาสตร์การพัฒนาศักยภาพทุนมนุษย์ การ สร้า งความเข้ม แข็งทางเศรษฐกิจ และแข่งขันได้อย่างยั่งยืน การเติบ โตที่เป็ นมิตรกั บ สิ่งแวดล้อมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและระบบโลจิสติก การ พัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิจัย และนวัตกรรม และความร่วมมือระหว่างประเทศ เพื่อการพัฒนา แผนยุทธศาสตร์กรมส่งเสริมการเกษตรกระทรวงการเกษตรและสหกรณ์ (พ.ศ. 2560-2564) เป็ น แผนยุ ท ธศาสตร์ ที่ มุ่ ง เน้ น การพั ฒ นาทรั พ ยากรมนุ ษ ย์ แ ละ ทรัพ ยากรทุนบนพื้นฐานแนวคิดเศรษฐกิจ พอเพียง โดยมียุทธศาสตร์ส าคัญได้แก่การ พัฒ นาเกษตรกร พั ฒ นาการผลิ ตสิ นค้ า เกษตร และส่ง เสริ มเศรษฐกิ จ พอเพี ยง การ ขับเคลื่อนการดาเนินงานโดยใช้เครื่องมือส่งเสริมการเกษตร และการเพิ่มประสิทธิภาพ การส่งเสริมการเกษตรโดยใช้แนวคิด Smart farm

แนวทางการพัฒนาธุรกิจเมกะเทรนด์ดา้ นสุขภาพพืน้ ที่ชายแดน 8


ยุ ท ธศาสตร์ ก ารพั ฒ นาประเทศไทยให้ เ ป็ น ศู น ย์ ก ลางสุ ข ภาพนานาชาติ (พ.ศ.2560-2569) เป็นแผนยุทธศาสตร์ที่เตรียมความพร้อมให้กับประเทศในการเป็น ศูนย์กลางสุขภาพนานาชาติ (Medical Hub) โดยมียุทธศาสตร์ที่สาคัญ ได้แก่ การเพิ่ม ขี ด ความสามารถในการแข่ ง ขั น ด้ า นการจั ด บริ ก ารสุ ข ภาพ การพั ฒ นาบริ ก าร รักษาพยาบาล การพัฒนาบริการเพื่อส่งเสริมสุขภาพ การพัฒนาบริการแพทย์แผนไทย และการแพทย์ ท างเลื อ ก การพั ฒ นาบริ ก ารวิ ช าการและงานวิ จั ย ทางการแพทย์ (Academic Hub) การพัฒนายาและผลิตภัณฑ์สุขภาพ และการส่งเสริมการตลาดและ ประชาสัมพันธ์ แผนพัฒนาการท่องเที่ยวแห่งชาติ ฉบับที่ 2 (พ.ศ.2560-2564) เป็นกรอบ แนวทางการพัฒนาภาคการท่องเที่ยวที่มุ่งเน้นไปยังกลุ่มนักท่องเที่ยวที่มีศัยกภาพสูงและ การสนับสนุนการท่องเที่ยวเชิงคุณภาพ โดยมีกลุ่มนักท่องเที่ยวเชิงการแพทย์และกลุ่ม นักท่องเที่ยวเชิงสุขภาพเป็นกลุ่มลูกค้าหลัก แผนพัฒนาจังหวัดเชียงราย (พ.ศ.2561-2564) เป็นแผนพัฒนาที่เน้นการเพิ่ม ขีดความสามารถด้านการค้า การลงทุน โลจิส ติกส์ การท่องเที่ยว การเกษตรเชื่อมโยง กลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียนและกลุ่มประเทศอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้าโขง และยกระดับ คุณภาพชีวิตประชาชน ยุทธศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาอุตสาหกรรมด้านสุขภาพ ได้ แ ก่ การส่ ง เสริ มการผลิ ต สิน ค้ าเกษตรคุ ณ ภาพ มาตรฐานสากล และเป็ น มิต รกั บ สิ่งแวดล้อม การดารงฐานวัฒนธรรมล้านนาเพื่อเพิ่มมูลค่าการท่องเที่ยว เชิงวัฒนธรรม เชิ ง นิเ วศ และเชิง สุ ขภาพ และการพั ฒ นาทรัพ ยากรมนุ ษ ย์แ ละคุ ณ ภาพชีวิ ต เพื่ อ ให้ ประชาชนอยู่เย็นเป็นสุข แผนแม่บทการพัฒนาเมืองเชียงของ เป็นแผนพัฒนาเศรษฐกิจระดับท้องถิ่นที่ นาจุดเด่นในสินค้าและบริการของแต่ล ะตาบลมาบูรณาการร่วมกันและใช้ชื่อว่า “เชียง ของประตูสู่อนาคต (Chiang Khong gate to the future) : เชียงของดาวเด่น (ดาว 7 แฉก)” โดยหนึ่งในแผนฯ หลักคือการเป็นเมืองศูนย์กลางการเกษตรสีเขียว และการ ท่องเที่ยวเชิงกีฬา จากแผนพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมของประเทศและยุทธศาสตร์การพัฒนา เศรษฐกิจด้านสุขภาพ สามารถสร้างความเชื่อมโยงกลไกการพัฒนาเศรษฐกิจด้านสุขภาพ ของประเทศไทยได้ดังนี้ แนวทางการพัฒนาธุรกิจเมกะเทรนด์ดา้ นสุขภาพพืน้ ที่ชายแดน 9


ตารางที่ 1 สรุปภาพรวมและความเชื่อมโยงกลไกการพัฒนาเศรษฐกิจ ด้าน สุขภาพของประเทศไทย

ประเด็นยุทธศาสตร์จากกรอบ ยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี/ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ฉบับที่ 12

แผน ยุทธศาสต ร์กรม ส่งเสริม การเกษตร

ยุทธศาสตร์ การพัฒนา ประเทศไทย ให้เป็น ศูนย์กลาง สุขภาพ นานาชาติ (MEDICAL HUB)

1. การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์

2. การสร้างมูลค่าเพิ่ม

3. การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน 4. การเพิ่มขีดความสามารถใน การแข่งขันแบบบูรณาการ 5. การส่งเสริมการใช้ เทคโนโลยี 6. การประชาสัมพันธ์และ การตลาด 7. ยุทธศาสตร์ความร่วมมือ ระหว่างประเทศ 8. งานวิจัยและองค์ความรู้ 9. การจัดการด้านสิ่งแวดล้อม และธรรมชาติ 10. การพัฒนาคุณภาพชีวิต ของประชาชน

เเผน พัฒนาการ ท่องเที่ยว แห่งชาติ ฉบับ ที่ ๒

ยุทธศาสตร์ จังหวัด เชียงราย

แผนแม่บท พัฒนาอาเภอ เชียงของ

√ √

√ √

ตารางข้างต้นแสดงกลไกของการพัฒนาเศรษฐกิจด้านสุขภาพของประเทศไทย ซึ่งกลไกที่สาคัญ ได้แก่ การนาเทคโนโลยีเข้ามาใช้มากขึ้น การพัฒนาบุคลากร การสร้าง มูล ค่ า เพิ่ม การพั ฒนาคุณ ภาพชี วิตของประชาชน การประชาสัมพั นธ์ และการตลาด รวมถึง การจั ดการด้า นสิ่ งแวดล้อมและธรรมชาติ รองลงมาคื อการวิจัยและสร้างองค์ ความรู้ และความร่วมมือระหว่างประเทศ แนวทางการพัฒนาธุรกิจเมกะเทรนด์ดา้ นสุขภาพพืน้ ที่ชายแดน 10


แนวถางการพัฒนาธุรกิจเมกะ เถรนด์ด้านสุ ขภาพ อาเภอเชีฝง ของ จังหวัดเชีฝงราฝ

แนวทางการพัฒนาธุรกิจเมกะเทรนด์ด้านสุขภาพในอาเภอเชียงของ จังหวัด เชียงรายนี้ ได้ท าการประมวลผลจากผลการศึกษาพฤติกรรมและความต้องการของ ผู้บริโภค ศักยภาพในการดาเนินธุรกิจ ความคิดเห็นจากผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง และกลไกการ พัฒนาเศรษฐกิจด้านสุขภาพของประเทศไทย โดยมุ่งเน้นการสร้างความเชื่อมโยงภายใน ธุรกิจเมกะเทรนด์ (Intra-business Megatrend) (รูปที่ 1) และการกาหนดแนวทางการ พัฒนาธุรกิจให้สอดคล้องกัน ดังนี้ รูปที่ 1 แนวทางการพัฒนาธุรกิจเมกะเทรนด์ด้านสุขภาพ เทคโนโลยี

พัฒนาบุคลากร

สร้างมูลค่าเพิ่ม

คุณภาพชีวิต

ศูนย์ออกกาลังกาย

บริการรักษาสุขภาพ

เมืองสุขภาพชายแดน 1 ผลิตภัณฑ์ 2 บริการ

อาหารเพื่อสุขภาพ

บริการนวดและสปา การตลาดสมัยใหม่

ความร่วมมือระหว่างประเทศ

เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

วิจัยและสร้างองค์ความรู้

แนวทางการพัฒนาธุรกิจเมกะเทรนด์ดา้ นสุขภาพพืน้ ที่ชายแดน 11


แนวถางการพัฒนาธุรกิจเมกะเถรนด์ด้านสุ ขภาพ อาเภอเชีฝงของ จังหวัดเชีฝงราฝ

วิสัยทัศน์ พันธกิจ

การสร้างเมืองสุขภาพชายแดน 1 ผลิตภัณฑ์ 3 บริการ ส่งเสริมการพัฒนาระบบนิเวศน์ธุรกิจในอุตสาหกรรมเพื่อสุขภาพ (Health Business Ecosystem) เป้าประสงค์หลัก 1. พัฒนาอาเภอเชียงของสู่การเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมด้านสุขภาพ ของจังหวัดเชียงรายโดยเน้นการใช้เทคโนโลยี บุคลากร และวิถีท้องถิ่น เชื่อมโยงการใช้บริการจากนักท่องเที่ยวและประชากรจากประเทศ เพื่อนบ้าน 2. พัฒนาและเตรียมความพร้อมให้กับธุรกิจท้องถิ่นในการก้าวเข้าสู่ยุคเม กะเทรนด์ให้มีการพัฒนาอย่างยั่งยืนท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงของ กระแสโลก 3. กระจายรายได้และผลประโยชน์สู่ชุมชนอย่างเสมอภาค 4. สร้างภาคีท้องถิ่นที่มาจากทุกภาคส่วนให้มีความเข้มแข็งเพื่อการพัฒนา ที่มีความสอดคล้องเป็นไปในทิศทางเดียวกัน ประเด็นยุทธศาสตร์ 1. ยกระดับอุตสาหกรรมต้นน้าในการเป็นเมืองสุขภาพ 2. สร้างขีดความสามารถในการแข่งขันแบบบูรณาการ 3. พัฒนาช่องทางการสื่อสารและเทคโนโลยีการให้บริการแบบครบวงจร

แนวทางการพัฒนาธุรกิจเมกะเทรนด์ดา้ นสุขภาพพืน้ ที่ชายแดน 12


ทั้งนี้ การบรรลุเป้าประสงค์ของการพัฒนาธุรกิจเมกะเทรนด์ด้านสุขภาพที่มี วิสัยทัศน์เพื่อการสร้างเมืองสุขภาพชายแดน 1 ผลิตภัณฑ์ 3 บริการ จาเป็นต้องมี แนวทางและยุทธศาสตร์การดาเนินการ ดังตารางที่ 2 ตารางที่ 2 ยุทธศาสตร์และกลยุทธ์การพัฒนาธุรกิจเมกะเทรนด์ด้านสุขภาพ อาหาร เพื่อ สุขภาพ

ยุทธศาสตร์/กลยุทธ์

นวดและ สปา

ฟิตเนส

บริการ รักษา สุขภาพ

ยุทธศาสตร์ที่ 1 ยกระดับสินค้าและบริการต้นน้าในการเป็นเมืองสุขภาพ กลยุทธ์ที่ 1 การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์

กลยุทธ์ที่ 2 การพัฒนาศักยภาพของผู้ประกอบการ

กลยุทธ์ที่ 3 พัฒนาคุณภาพของสถานประกอบการ

กลยุทธ์ที่ 4 พัฒนาบริการวิชาการและกระจายองค์ความรู้สู่ชุมชน

กลยุทธ์ที่ 5 การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน

กลยุทธ์ที่ 1 การกระตุ้นการพัฒนาในระดับธุรกิจ ( Business)

กลยุ ท ธ์ ที่ 2 การพั ฒ นาภายในอุต สาหกรรม ( Intra-value

ยุทธศาสตร์ที่ 2 เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันแบบบูรณาการ

Creation) กลยุท ธ์ที่ 3 การพัฒนาระหว่างอุตสาหกรรม ( Inter-value

Creation) กลยุ ท ธ์ ที่ 4 การพั ฒ นาในระดั บ ท้ อ งถิ่ น ( Local-value

Creation) ยุทธศาสตร์ที่ 3 พัฒนาช่องทางการสื่อสารและเทคโนโลยีการให้บริการแบบครบวงจร กลยุทธ์ที่ 1 การพัฒนาด้านเทคโนโลยี

กลยุทธ์ที่ 2 การประชาสัมพันธ์และการตลาด

แนวทางการพัฒนาธุรกิจเมกะเทรนด์ดา้ นสุขภาพพืน้ ที่ชายแดน 13


ยุทธศาสตร์ที่ 1 ฝกระดับสิ นค้าและบริการต้นน๊าในการเป็นเมืองสุ ขภาพ ธุรกิจ ด้า นสุขภาพเป็นธุรกิจ ที่มีขนาดใหญ่และเกี่ยวข้องกับการดูแลสุขภาพ ทั้งหมด หากพิจารณาเฉพาะกลุ่มธุรกิจ อาหารเพื่อสุขภาพ การบริการทางการแพทย์ บริการการนวดและสปา และบริการฟิตเนส ซึ่งอยู่ในกระแสเมกะเทรนด์ที่มีแนวโน้ม เติบโตขึ้นในอนาคตในพื้นที่ชายแดน พบว่าการพัฒนาธุรกิจดังกล่าวจาเป็นต้องเริ่มจาก การพัฒนาสินค้าและบริการในระดับต้นน้า เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมในการเข้าสู่ การเป็นเมืองแห่งสุขภาพ ดังนี้ เป้าประสงค์เชิงยุทธศาสตร์ 1. แรงงานในพื้นที่มีทักษะและคุณภาพทั้งด้านภาคการเกษตรและภาคการบริการ 2. มีความพร้อมด้านพื้นที่และด้านโลจิสติกส์ในการเป็นเมืองแห่งสุขภาพ 3. สามารถกระจายได้รายสู่ชุมชน รวมถึงยกระดับคุณภาพผลิตภัณฑ์ในพื้นที่ให้ เป็นที่ยอมรับและมีมูลค่าสูงขึ้น กลยุทธ์ที่ 1 การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ก. การสนับสนุนให้มีศูนย์เรียนรู้ด้านการเกษตรในพื้นที่ตาบลที่มีความพร้อมด้าน การเกษตรเพื่อส่งเสริมและให้ความรู้ด้านการทาเกษตรปลอดภัยกับเกษตรกร รวมถึงทาหน้าที่ในการประสานงานระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และเกษตรกร โดยศูนย์ดังกล่าวจะต้องดาเนินการในเชิงรุกเพื่อเข้าถึงกลุ่มเกษตรกรให้ได้มาก ที่สุด ข. การส่งเสริมการประกอบวิชาชีพภาคการบริการนวดและสปาในกลุ่มแรงงานไร้ ทักษะ โดยการเข้า ไปอบรมให้ความรู้ พัฒนาทักษะให้กับ แรงงาน อาทิ กลุ่ ม แม่บ้านที่ยังไม่มีอาชีพ กลุ่มเกษตรกรที่ขาดรายได้ในช่วงที่ไม่สามารถทาเกษตรได้ หรือกลุ่มคนว่างงาน ค. ส่งเสริมให้มีการจัดตั้งสถาบันด้านการศึกษาในพื้นที่ โดยเน้นหลักสูตรที่เกี่ยวข้อง แนวทางการพัฒนาธุรกิจเมกะเทรนด์ดา้ นสุขภาพพืน้ ที่ชายแดน 14


กับการบริการด้านสุขภาพ เช่น การแพทย์ การพยาบาล การบริบาล รวมถึง หลักสูตรอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อสร้างบุคลากรในพื้นที่ ง. ส่งเสริมการจัดกิจกรรมฝึกอบรมบุคลากรที่มีส่วนเกี่ยวข้องในอุตสาหกรรมเพื่อ เพิ่มทักษะความรู้ด้านสุขภาพอย่างสม่าเสมอ จ. ปลูกฝังจิตสานึกรักบ้านเกิดให้กับคนในอาเภอเชียงของเพื่อลดอัตราการออกไป ทางานนอกพื้นที่ การกาหนดโครงการ: ระดับอาเภอ ระดับจังหวัด หน่วยงานที่รับผิดชอบ: สานักงานเกษตรอาเภอเชียงของ/ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น/ ภาคเอกชน/ สถาบันด้านการศึกษา เช่น มหาวิทยาลัย วิทยาลัย โรงเรี ย น/ ส านั ก งานสาธารณสุ ข / ส านั ก งานเกษตรอ าเภอ/ สานักงานพัฒนาชุมชน กลยุทธ์ที่ 2 การพัฒนาศักยภาพของธุรกิจท้องถิ่น วิสาหกิจชุมชน รองรับการ ท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ ก. ส่งเสริมการรวมกลุ่มและสร้างเครือข่ายเพื่อให้สมาชิกในกลุ่มได้เรียนรู้ทักษะ ของกันและกันทาให้ศักยภาพโดยรวมสูงขึ้น รวมถึงทาให้การพัฒนาเป็นไปใน ทิศทางเดียวกันมากขึ้น ข. ส่งเสริมการผลิตภายในชุมชนโดยการเข้าไปให้ความช่วยเหลือทั้งในด้านวิชาการ และทรัพยากรทุน ค. ส่งเสริมการนาภูมิปัญญาชาวบ้านมาใช้ในการผลิตและแปรรูปผลิตภัณฑ์เกษตร รวมถึ ง การน าความรู้ ใ หม่ ๆ มาประยุ ก ต์ ใ ช้ ร่ ว มด้ ว ยเพื่ อ เพิ่ ม มู ล ค่ า ให้ กั บ ผลิตภัณฑ์ เพื่อเป็นการต่อยอดการผลิต ง. การพั ฒนาต้นแบบวิส าหกิ จ ชุม ชนด้า นการเกษตรเพื่อเป็นแบบอย่ างในการ พัฒนาโดยมุ่งเน้นการพึ่งพาตนเองและสามารถแปรรูปผลผลิตในท้องถิ่นได้โดย ใช้วัตถุดิบที่มาจากภายนอกให้น้อยที่สุด

แนวทางการพัฒนาธุรกิจเมกะเทรนด์ดา้ นสุขภาพพืน้ ที่ชายแดน 15


การกาหนดโครงการ: ระดับอาเภอ ระดับจังหวัด หน่ ว ยงานที่ รั บ ผิ ด ชอบ: หอการค้ า อ าเภอเชี ย งของ/ องค์ ก รปกครองส่ ว นท้ อ งถิ่ น / ภาคเอกชน/ วิสาหกิจชุมชน/ เครือข่ายสมุนไพรสามัคคีจังหวัด เชียงรายเชียงราย/ สภาอุตสาหกรรมจังหวัดเชียงรายเชียงราย/ สานักงานเกษตรอาเภอเชียงของ กลยุทธ์ที่ 3 พัฒนาคุณภาพของสถานประกอบการให้มีมาตรฐานที่สูงขึน้ ก. การส่งเสริมและให้ความช่วยเหลือในการปรับปรุงพัฒนาธุรกิจด้านสุขภาพเดิมที่ มีอยู่ในพื้นที่ให้มีประสิทธิภาพและมีศักยภาพสูงขึ้น ข. ส่งเสริมให้สถานประกอบการด้านบริการนวดและสปาได้รับมาตรฐานในระดับที่ สูงขึ้น ค. การให้ ใบรับ รองสถานประกอบการร้ านอาหารที่ มีการจ าหน่า ยอาหารเพื่ อ สุขภาพ โดยพิจารณาให้ใบรับรองตามคุณภาพและความปลอดภัยของวัตถุดิบที่ ใช้ ง. ส่งเสริมการใช้วัตถุดิบด้านเกษตรในพื้นที่โดยเฉพาะอย่างยิ่งการนาพืชปลอด สารพิ ษ พื ช อิ น ทรี ย์ แ ละพื ช ธรรมชาติ ม าใช้ ใ นการประกอบอาหารเพื่ อ จั ด จาหน่าย จ. พัฒนาภาพลักษณ์ของธุรกิจสปาและนวดโดยการบังคับใช้กฎหมายกฎเกณฑ์ที่มี ความเข้ ม งวดปราบปรามธุ ร กิ จ แอบแฝงในพื้ น ที่ รวมถึ ง การใช้ ก าร ประชาสัมพันธ์ส ร้างความเข้าใจกับคนในพื้นที่ร่วมด้วยเพื่อแก้ไขปัญหาขาด แคลนแรงงาน การกาหนดโครงการ: ระดับอาเภอ ระดับจังหวัด ระดับประเทศ หน่วยงานที่รับผิดชอบ: สถาบันการศึกษา/ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น/ สานักงาน สาธารณสุข อาเภอเชียงของ/ องค์กรปกครองในพื้นที่/ ชมรม ร้านอาหารอาเภอเชียง-ของ/ สานักงานเกษตรอาเภอเชียงของ/ สถานีตารวจ/ ชมรมนวดและสปา อาเภอเชียงของ แนวทางการพัฒนาธุรกิจเมกะเทรนด์ดา้ นสุขภาพพืน้ ที่ชายแดน 16


กลยุทธ์ที่ 4 พัฒนาบริการวิชาการและกระจายองค์ความรู้สู่ชุมชน ก. การส่งเสริมและให้ความช่วยเหลือในการปรับปรุงพัฒนาธุรกิจด้านสุขภาพเดิม ที่มีอยู่ในพื้นที่ให้มีประสิทธิภาพและมีศักยภาพสูงขึ้น ข. ส่งเสริมให้สถานประกอบการด้านบริการนวดและสปาได้รับมาตรฐานในระดับ ที่สูงขึ้น ค. การให้ ใบรับรองสถานประกอบการร้านอาหารที่มีการจ าหน่ ายอาหารเพื่ อ สุขภาพ โดยพิจารณาให้ใบรับรองตามคุณภาพและความปลอดภัยของวัตถุดิบที่ ใช้ ง. ส่งเสริมการใช้วัตถุดิบด้านเกษตรในพื้นที่โดยเฉพาะอย่างยิ่งการนาพืชปลอด สารพิ ษ พื ช อิ น ทรี ย์ แ ละพื ช ธรรมชาติ ม าใช้ ใ นการประกอบอาหารเพื่ อ จั ด จาหน่าย จ. พัฒนาภาพลักษณ์ของธุรกิจสปาและนวดโดยการบังคับใช้กฎหมายกฎเกณฑ์ที่ มี ค วามเข้ ม งวดปราบปรามธุ ร กิ จ แอบแฝงในพื้ น ที่ รวมถึ ง การใช้ ก าร ประชาสัมพันธ์ส ร้างความเข้าใจกับคนในพื้นที่ร่วมด้วยเพื่อแก้ไขปัญหาขาด แคลนแรงงาน การกาหนดโครงการ: ระดับอาเภอ ระดับจังหวัด ระดับประเทศ หน่วยงานที่รับผิดชอบ: สถาบันการศึกษา/ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น/ สานักงาน สาธารณสุข อาเภอเชียงของ/ องค์กรปกครองในพื้นที่/ ชมรม ร้านอาหาร อาเภอเชียงของ/ สานักงานเกษตรอาเภอเชียงของ/ สถานีตารวจ/ ชมรมนวดและสปา อาเภอเชียงของ กลยุทธ์ที่ 5 การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการเป็นเมืองแห่งสุขภาพ ก. ส่งเสริมให้มีการพัฒนาสถานประกอบการประเภทบ้านพักคนชรา (Nursing Home) หรือ สถานพ านัก ระยะยาว (Long Stay) โรงพยาบาลเอกชน เพื่ อ รองรับการให้บริการด้านสุขภาพแบบครบวงจรสาหรับคนสูงอายุในพื้นที่และ แนวทางการพัฒนาธุรกิจเมกะเทรนด์ดา้ นสุขภาพพืน้ ที่ชายแดน 17


นักท่องเที่ยวสูงอายุซึ่งมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น ข. การสนับสนุ นให้ มีการลงทุน ในธุ รกิจ ด้ านสุข ภาพ เช่น สถานบริ การฟิ ตเนส สถานพยาบาล ร้านอาหารเพื่อสุขภาพ โรงงานผลิตและแปรรูปอาหารเพื่อ สุขภาพรวมถึงธุรกิจ ด้านการก่อสร้างต่อเติมบ้านสาหรับผู้สูงอายุ (In-home Service) ให้มีความเหมาะสมต่อการใช้ชีวิตของผู้สูงวัยผ่านการให้สิทธิพิเศษ ด้านการลงทุน เป็นต้น ค. การพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานด้านการสื่อสาร เช่น การพัฒนาเทคโนโลยี สารสนเทศและการสื่อสาร (Information Communication Technology : ICT) เครือข่ายโทรศัพท์รวมถึงระบบอินเตอร์เน็ตให้มีประสิทธิภาพและเข้าถึง ผู้ใช้บริการอย่างทั่วถึง ง. การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านโลจิสติกส์เพื่ออานวยความสะดวกด้านการ เดินทาง การกาหนดโครงการ: ระดับอาเภอ ระดับจังหวัด ระดับประเทศ หน่วยงานที่รับผิดชอบ: สานักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน/ หน่วยงานปกครอง ในพื้นที่/ สถาบันการศึกษา/ ภาคเอกชน/ กรมทางหลวงชนบท

แนวทางการพัฒนาธุรกิจเมกะเทรนด์ดา้ นสุขภาพพืน้ ที่ชายแดน 18


ยุทธศาสตร์ที่ 2 เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันแบบบูรณาการ การสร้า งขีดความสามารถในการแข่งขันแบบบูรณาการเป็นการสร้างความ ร่วมมือและความเชื่อมโยงการทางานจากหลายภาคส่วน ทั้งจากภาคเอกชนด้วยกันเอง (Private to Private) ภาครั ฐ และภาคเอกชน ( Government to private) และ การพัฒนาความร่วมมือระหว่างภาครัฐกับภาครัฐ (Government to Government) เพื่อสร้างความร่วมมือระหว่างกันในการพัฒนาสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันแบบ บูรณาการ การพิจ ารณาวางแผนกลยุทธ์ส ามารถแบ่งเป็น การพัฒนาในระดับธุรกิ จ (Business) การพัฒนาภายในอุตสาหกรรม (Intra-value Creation) การพัฒนาระหว่าง อุตสาหกรรม (Inter-value Creation) และการพัฒนาในระดับท้องถิ่น (Local-value Creation) ซึ่งในแต่ละระดับมีแนวทางการพัฒนาที่แตกต่างกัน ดังนี้ เป้าประสงค์เชิงยุทธศาสตร์ 1. ยกระดั บความสามารถในการแข่ งขั น ของธุร กิ จ ในพื้น ที่ ให้ เ ท่า ทั นต่ อ ความ เปลี่ยนแปลงของกระแสธุรกิจโลก 2. พัฒนาของอุตสาหกรรมด้านสุขภาพทั้งอุตสาหกรรมเป็นไปในทิศทางเดียวกัน และสามารถพัฒนาไปพร้อมๆ กันโดยทุกภาคส่วนมีความร่วมมือกันแบบบูรณา การ 3. พัฒนาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและศักยภาพในการลงทุนของธุรกิจด้านสุขภาพ รวมถึงอุตสาหกรรมอื่นๆ ในพื้นที่ กลยุทธ์ที่ 1 การกระตุ้นการพัฒนาในระดับธุรกิจ (Business) ก. การสร้า งการตระหนักในธุรกิจ (Business or commercial awareness) ที่ เป็นส่วนประกอบของธุรกิจเมกะเทรนด์ด้านสุขภาพ กล่าวคือ ธุรกิจอาหารเพื่อ สุขภาพ นวดและสปา ฟิตเนส และบริการรักษาสุขภาพ จ าเป็นต้องพัฒนา แนวทางการพัฒนาธุรกิจเมกะเทรนด์ดา้ นสุขภาพพืน้ ที่ชายแดน 19


ธุรกิจของตนเองให้เท่าทันต่อความเปลี่ยนแปลงของกระแสโลกและเหมาะสมต่อ คนในพื้นที่ เช่น กระแสของคนสูงอายุ (Generation Baby Boomer) ที่ชอบ ออกเดินทางตามลาพัง (Solo Traveler) กระแสการออกกาลังกายของคนเจ เนอเรชั่ น เอ็ก ซ์ (Generation X) กระแสการท างานพร้อ มกั บการพัก ผ่ อ นที่ เ รี ย ก ว่ า Beisure (Business and Leisure) ข อ ง ค น ยุ ค มิ ล เ ล น เ นี ย ล (Generation Millennials) รวมถึง พฤติ ก รรมการเลี ย นแบบของคนเจนเนอ เรชั่นแซด (Generation Z) ที่นิยมหาข้อมูลจากสื่ออินเทอร์เน็ตและมี Micro Influencer เป็น แบบอย่า งในการทากิ จ กรรมต่ างๆ เช่ น การท่ องเที่ยว การ บริโภคอาหาร เป็นต้น การกาหนดโครงการ: ระดับอาเภอ หน่วยงานที่รับผิดชอบ: ภาคเอกชน/ หน่วยงานปกครองในพื้นที่/ หอการค้าอาเภอเชียงของ กลยุทธ์ที่ 2 การพัฒนาภายในอุตสาหกรรม (Intra-value Creation) ก. การสร้างความร่วมมือในการออกแบบการท่องเที่ยวเพื่อสุขภาพแบบครบวงจร ผ่า นแพคเกจทั วร์ ทั้ง การบริ การด้า นอาหาร กิจ กรรมส่ งเสริม สุขภาพและ บริการรักษาสุขภาพ ข. การสร้า งชมรมธุรกิจ ด้านสุขภาพ เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูล ข่าวสารและพัฒนา ธุรกิจเมกะเทรนด์ด้านสุขภาพอย่างเป็นระบบ ค. การอานวยความสะดวกด้านกฏหมายและข้อบังคับต่างๆ เช่น การผ่อนปรน มาตรการที่ เป็น อุปสรรคต่อ การประกอบธุร กิจ เพื่อสุข ภาพ ได้แ ก่ การเพิ่ ม จานวนปีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพนวดแผนไทย เป็นต้น ง. การอานวยความสะดวกด้านการลงทุนให้มีความรวดเร็วและคล่องตัวมากขึ้น โดยการเพิ่ ม จ านวนเจ้ า หน้ า ที่ ห รื อ การน าเทคโนโลยี เ ข้ า มาใช้ เ พื่ อ เพิ่ ม ประสิทธิภาพในการให้บริการ รวมถึงปรับเปลี่ยนกฎเกณฑ์ที่มีผ ลทาให้เกิด ความล่าช้าและการปรับปรุงระบบการทางานภายในให้ความเชื่อมโยงและส่ง แนวทางการพัฒนาธุรกิจเมกะเทรนด์ดา้ นสุขภาพพืน้ ที่ชายแดน 20


ข้อมูลถึงกันได้อย่างรวดเร็ว เพื่อลดขั้นตอนและเวลาในการดาเนินการ จ. การเพิ่ มมาตรการบัง คับใช้ กฎระเบียบ เช่น ตรวจสอบสารเคมีในผลิตภัณ ฑ์ เกษตรรวมถึงเนื้อสัตว์เพื่อยืนยันคุณภาพและความปลอดภัยของพืชผักในพื้นที่ ฉ. การให้ สิ ท ธิ ป ระโยชน์ ด้ า นการลงทุ น ในธุ ร กิ จ เพื่ อ สุ ข ภาพจากส านั ก งาน คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (Board of Investment : BOI) การกาหนดโครงการ: ระดับอาเภอ ระดับจังหวัด ระดับประเทศ หน่วยงานที่รับผิดชอบ: ภาคเอกชน/ หอการค้า อาเภอเชียงของ/ กระทรวงสาธารณสุข/ ศูนย์ประสานการบริการด้านการลงทุน/ สานักงานคณะกรรมการ ส่งเสริมการลงทุน/ กระทรวงอุตสาหกรรม กลยุทธ์ที่ 3 การพัฒนาระหว่างอุตสาหกรรม (Inter-value Creation) ก. การสนับสนุนการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม เพื่อเพิ่มจานวนนักท่องเที่ยวในพื้นที่ โดยความนิยมด้านการท่องเที่ยวเชิงท้องถิ่นเพิ่มสูงขึ้นในกลุ่มคนรุ่นใหม่ การ นาเสนอประสบการณ์ที่แตกต่างให้กับผู้มาเยือนจึงเป็นสิ่งสาคัญในฐานะเมือง แห่งการท่องเที่ยว รวมถึงการประชาสัมพันธ์กิจกรรมงานประเพณีของท้องถิ่น ให้เป็นที่รู้จัก ข. การยกระดับมาตรฐานการให้บริการด้านการท่องเที่ยวให้มีความครบวงจรมาก ยิ่งขึ้น ค. การสร้า งศูนย์วัฒนธรรมประจาอาเภอเพื่อแสดงให้เห็นถึงคุณ ค่า วัฒนธรรม และความเป็นมาของอาเภอเชียงของ ง. การนาแนวคิดด้านการท่องเที่ยวทางธรรมะมาใช้ในการกระตุ้นการท่องเที่ยว และสร้า งมูลค่าเพิ่มโดยการจัดทาแผนท่องเที่ยวทางธรรมพ่วงการใช้บริการ ด้ า นสุ ข ภาพ เช่ น การใช้ บ ริ ก ารสปาเงี ย บ (Calm spa) การท าสมาธิ (Meditation) เป็นต้น จ. การกระจายข้อมูลจากส่วนกลางไปสู่ภาคเอกชนเพื่อเพิ่มโอกาสด้านธุรกิจการ ท่องเที่ยว รวมถึงการนาเทคโนโลยีมาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการท่องเที่ยว แนวทางการพัฒนาธุรกิจเมกะเทรนด์ดา้ นสุขภาพพืน้ ที่ชายแดน 21


ให้กับนักท่องเที่ยว ฉ. การการสนั บ สนุ น ด้ า นแหล่ ง เงิ น ทุ น ผ่ า น SME Bank ธนาคารพาณิ ช ณ์ แ ละ ธนาคารรัฐ รวมถึงแหล่งเงินทุนอื่นๆ เช่น การทา Cloud Funding หรือการ จัดตั้งโครงการสนับสนุนด้านการเงินแก่ธุรกิจเพื่อสุขภาพในพื้นที่ การกาหนดโครงการ: ระดับอาเภอ ระดับจังหวัด หน่วยงานที่รับผิดชอบ: สานักงานวัฒนธรรมจังหวัดเชียงรายเชียงราย/ สานักงานการ ท่องเที่ยวและกีฬา จังหวัดเชียงรายเชียงราย/ หน่วยงานปกครอง ในพื้นที่/ ภาคเอกชน/ วัด/ ธนาคารพาณิชณ์และธนาคารรัฐ กลยุทธ์ที่ 4 การพัฒนาในระดับท้องถิ่น (Local-value Creation) ก. การพัฒนาต่อยอดแหล่งท่องเที่ยวเดิมที่มีอยู่แล้ว ให้เป็นที่รู้จักและพัฒนาพื้นที่ จากการเป็นเมืองผ่าน (Pass) เพื่อเดินทางไปยังจุดหมายปลายทางอื่นๆ ให้ กลายเป็นเมืองแห่งการท่องเที่ยวตามแผนแม่บทพัฒนาอาเภอเชียงของ (พ.ศ. 2561 – 2564) ข. การเพิ่มกิจกรรมด้านกีฬาและสุขภาพ โดยสร้างความร่วมมือกับประเทศเพื่อน บ้านเพื่อใช้ศักยภาพด้านพื้นที่ให้เกิดประโยชน์ ค. การพั ฒนาพื้นที่ ส าธารณะส าหรับ การออกก าลัง กาย เช่ น โครงการพัฒนา เส้นทางปั่นจักรยานริมโขง เป็นต้น ง. การสร้ า งความร่ ว มมื อ ระหว่ า งประเทศเพื่ อ อ านวยความสะดวกด้ า นการ เดินทางข้ามประเทศ รวมถึงการดาเนินกิจกรรมที่สนับสนุนด้านการท่องเที่ยว ร่วมกัน การกาหนดโครงการ: ระดับอาเภอ ระดับจังหวัด ระดับประเทศ หน่วยงานที่รับผิดชอบ: องค์กรปกครองส่วยท้องถิ่น/ สานักงานการท่องเที่ยวและกีฬา จังหวัดเชียงรายเชียงราย/ ส านักงานสาธารณสุข อาเภอเชียง ของ/ สานักงานตรวจคนเข้าเมือง อาเภอเชียงของ แนวทางการพัฒนาธุรกิจเมกะเทรนด์ดา้ นสุขภาพพืน้ ที่ชายแดน 22


ยุทธศาสตร์ที่ 3 พัฒนาช่องถางการสื่ อสารและเถคไนไลฝีการให้บริการแบบ การนาเทคโนโลยีเข้ามาใช้ในการให้บริการและใช้ในการสื่อสารกับผู้บริโภคเป็น สิ่ ง ที่ จ าเป็ น มากในปั จ จุ บั น โดยเฉพาะอย่ า งยิ่ ง ในยุ ค ที่ ก ารพั ฒ นาด้ า นเทคโนโลยี เคลื่อนไหวอย่างรวดเร็ว จากการที่อาเภอเชียงของเป็นพื้นที่ที่อยู่บริเวณชายแดนและ กลุ่ ม เป้ า หมายด้ า นการท่ อ งเที่ ย วไม่ ใช่ เ พี ย งแต่ ค นในประเทศ แต่ เ ป็ น นั กท่ อ งเที่ ย ว ชาวต่างชาติด้วย จึงมีความจาเป็นที่ต้องปรับตัวเพื่อรองรับกับพฤติกรรมของผู้บริโภคทั้ง ภายในและต่างประเทศ ดังนั้นการนาเทคโนโลยีเข้ามาใช้จะช่วยยกระดับอุตสาหกรรม ทั้ ง ด้ า นของการให้ บ ริ ก ารและการผลิ ต ซึ่ ง มี ก ลยุ ท ธ์ ใ นการพั ฒ นามี 2 ด้ า นได้ แ ก่ การพัฒนาเทคโนโลยีซอฟต์แวร์และการประชาสัมพันธ์รวมถึงการตลาด เป้าประสงค์เชิงยุทธศาสตร์ 1. สร้า งการรับรู้ด้านภาพลักษณ์ของอาเภอเชียงของด้านการเป็นเมืองแห่งการ บริการด้านสุขภาพ 2. เพิ่มจานวนนักท่องเที่ยวทั้งกลุ่มนักท่องเที่ยวทั่วไปและนักท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ ผ่านการอานวยความสะดวกในการเข้าถึงข้อมูลด้วยระบบออนไลน์ 3. มีการใช้นวัตกรรมในการดาเนินธุรกิจและการวางแผนเชิงยุทธศาสตร์ กลยุทธ์ที่ 1 การพัฒนาด้านเทคโนโลยี ก. ส่งเสริมการพัฒนาสื่อและเทคโนโลยีที่ใช้ในการให้ข้อมูลด้านการท่องเที่ยวใน ภาษาต่างๆ สาหรับนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ ข. การร่วมมือในการสร้างโมเดลธุรกิจและแพล็ตฟอร์มของธุรกิจเมกะเทรนด์ด้าน สุขภาพ (Megatrend Business Platform) เพื่อการเข้าถึงของผู้บริโภค ค. การจั ด ท าแอปพลิ เ คชั่ น บนมื อ ถื อ (Mobile Application) และเว็ บ ไซต์ (Website) ในการอานวยความสะดวกด้านการท่องเที่ยวเพื่อสุขภาพอย่าง แนวทางการพัฒนาธุรกิจเมกะเทรนด์ดา้ นสุขภาพพืน้ ที่ชายแดน 23


ง. จ. ฉ. ช.

ครบวงจร ส่งเสริมให้ความรู้กับผู้ประกอบการด้านการนาเทคโนโลยีมาใช้ในการประกอบ ธุรกิจ การสนับสนุนให้มีการรับการชาระเงินจากระบบออนไลน์เพื่ออานวยความ สะดวกให้กับลูกค้า การวิจัยและพัฒนาผลิตภัฑณ์ด้านซอฟต์แวร์ที่ตรงต่อความต้องการใช้บริการ ในพื้นที่ การจัดเก็บ ข้อมูล ขนาดใหญ่ (Big Data) ผ่านระบบออนไลน์ของพฤติกรรม นักท่องเที่ยวในพื้นที่เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการวิเคราะห์แนวทางการพัฒนาการ ท่องเที่ยวด้านสุขภาพต่อไปในอนาคต

การกาหนดโครงการ: ระดับอาเภอ ระดับจังหวัด ระดับประเทศ หน่วยงานที่รับผิดชอบ: หน่วยงานปกครองในพื้นที่/ ภาคเอกชน/ สถาบันการศึกษา/ SME Bank ธนาคารพาณิชณ์และธนาคารรัฐ กลยุทธ์ที่ 2 การประชาสัมพันธ์และการตลาด ก. ส่งเสริมให้ความรู้ด้านอาหารปลอดภัยและการออกกาลังกายแก่ประชาชนใน พื้นที่ ข. การประชาสัมพันธ์ผ่ านสื่อสังคมออนไลน์ (Social Media) โดยการเชิญผู้ มี อิทธิพล (Influencer) เช่น นักเขียนอิสระ Youtuber หรือ Blogger เข้ามาใช้ บริการด้านสุขภาพในพื้นที่และเป็นตัวแทนในการประชาสัมพันธ์ผ่านการเขียน วิจ ารณ์ (Review) หรื อ ผ่ า นคลิ ป วี ดิ โ อ (Video) ซึ่ ง เป็น การท าการตลาดที่ เข้าถึงกลุ่มคนจานวนมาก ค. การเดิ น สาย Roadshow ในงานประชาสั ม พั น ธ์ ด้ า นการท่ อ งเที่ ย ว ภายในประเทศและต่างประเทศ

แนวทางการพัฒนาธุรกิจเมกะเทรนด์ดา้ นสุขภาพพืน้ ที่ชายแดน 24


ง. ส่งเสริมการจัดกิจกรรมเพื่อประชาสัมพันธ์ในพื้นที่ เช่น กิจกรรมปั่นจักรยาน กิจกรรมวิ่ง กิจกรรมเทศกาลอาหารเพื่อสุขภาพ เป็นต้น การกาหนดโครงการ: ระดับอาเภอ ระดับจังหวัด หน่วยงานที่รับผิดชอบ: สานักงานสาธารณสุข อาเภอเชียงของ/ ภาคเอกชน/ หน่วยงาน ภาครัฐ เช่น หน่วยงานปกครอง สานักงานสาธาณสุข เป็นต้น

แนวทางการพัฒนาธุรกิจเมกะเทรนด์ดา้ นสุขภาพพืน้ ที่ชายแดน 25


บรรณานุกรม Euromonitor. (2560). Retrieved June 4, 2560, from http:// www.portal.euromonitor.com/portal/dashboard/index Global Wellness Institute. (2017, January). Global Wellness Economy Monitor [PDF]. International Medical Travel Journal. (2012, January 6). GOVERNMENT STRATEGY FOR MEDICAL TOURISM HELPS HOSPITALS IN SOUTH KOREA. Retrieved December, 2017, from https://www.imtj.com/news/ government-strategy-medical-tourism-helps-hospitals-south-korea/ International Trade Centre (ITC). (2014). MEDICAL AND WELLNESS TOURISM: LESSONS FROM ASIA [PDF]. Geneva: International Trade Centre (ITC). Kotler, P., & Armstrong, G. (2553). Principal Of Marketing (13th ed.). Upper Saddle River, New Jersey: Pearson Education,Inc. KPMG. (2557). Future State 2573: The global megatrends shaping governments. 1-3 Medical Tourism Index. (n.d.). Destination Ranking. Retrieved December, 2017, fromhttps://www.medicaltourismindex.com/overview/destinationranking/ Ortega, D. L., & Tschirley, D. L. (2558). Demand for food safety in emerging and developing countries A research agenda for Asia and Sub-Saharan Africa. Journal of Agribusiness in Developing and Emerging Economies, 7(1), 21-34. Schwab, K., Sala-i-Martín, X., Samans, R., & Blanke, J. (2016). The Global Competitiveness Report 2016–2017 [PDF]. Geneva: World Economic Forum. World Economic Forum. (2017). The Travel and Tourism Competitiveness Report 2017 [PDF]. Geneva: World Economic Forum. World Health Organization. (2017). World health statistics 2017: monitoring health for the SDGs, Sustainable Development Goals [PDF]. World Health Organization. แนวทางการพัฒนาธุรกิจเมกะเทรนด์ดา้ นสุขภาพพืน้ ที่ชายแดน 26


โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชเชียงของ. (2550). โครงร่างองค์กรโรงพยาบาลสมเด็จพระ ยุพราชเชียงของ (Rep.). เชียงของ, เชียงราย. กรมการปกครอง. (ม.ป.ป.). ระบบสถิติทางการทะเบียน: สถิติประชากรและบ้าน - จานวน ประชากรแยกรายอายุ. Retrieved June 4, 2560, from http:// stat.dopa.go.th/stat/statnew/upstat_age.php กรมพัฒนาธุรกิจการค้า. (n.d.). VALUE CREATION HANDBOOK. กระทรวงพาณิชย์. กรมส่งเสริมการเกษตร. (2016, June 16). ร่างแผนยุทธศาสตร์กรมส่งเสริมการเกษตร พ.ศ. 2560 – 2564 [PDF]. กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. (2016, September). ยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศไทย ให้ เป็นศูนย์กลางสุขภาพนานาชาติ (MEDICAL HUB) [PDF]. กองแผนงาน กรมส่งเสริมการเกษตร. (2016). แผนยุทธศาสตร์ กรมส่งเสริมการเกษตร พ.ศ. 2560 - 2564 [PDF]. กรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. ปิยพันธ์ วงศ์ยะรา. (2559) 6 แนวการลงทุนในเมกะเทรนด์ปี 59. หน่วยวิจัยกรุงศรี. ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (TCDC). (2017). เจาะเทรนด์โลก 2018 โดย TCDC: IN/TO the future (Individual and Together with the New State of Mind) [PDF]. ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (TCDC) สานักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้. สานักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี. (2016, September). ยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศไทยห้ เป็นศูนย์กลางสุขภาพนานาชาติ (Medical Hub) (พ.ศ. 2559 - 2568) ระยะ10 ปี . Retrieved December, 2017, from https://cabinet.soc.go.th/soc/ Program2-3. jsp?top_serl=99321107 สานักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี. (2017, August 24). ร่างยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2560 - 2579) [PDF]. สานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สานักนายกรัฐมนตรี. (n.d.). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่สิบสอง พ.ศ. 2560- 2564 [PDF]. สานักงานปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (n.d.). เเผนพัฒนาการท่องเที่ยวแห่งชาติ ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2560– 2564) [PDF]. กรุงเทพฯ: สานักงานกิจการโรงพิมพ์องค์การ สงเคราะห์ทหารผ่านศึก. สานักงานสถิติแห่งชาติ. (2560). Retrieved June, 2560, from http:// chiangrai.old.nso.go.th/nso/project/search_option/search_result.jsp อาเภอเชียงของ. (n.d.). แผนแม่บทการขับเคลื่อนเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษเชียงรายพื้นที่ อาเภอเชียงของ [PDF]. แนวทางการพัฒนาธุรกิจเมกะเทรนด์ดา้ นสุขภาพพืน้ ที่ชายแดน 27


ภาคพนวก สรุปผลการประชุมกลุ่มย่อย (Focus group) เรื่อง “แนวทางการพัฒนาธุรกิจเมกะเทรนด์ด้านสุขภาพของพื้นที่ชายแดน จังหวัดเชียงราย : มุมมองด้านผู้บริโภค” ระหว่างวันที่ 18 ธันวาคม ถึง 19 ธันวาคม 2560 ณ โรงแรมน้าโขง ริเวอร์ไซด์. รายชื่อผูเ้ ข้าร่วมให้ความคิดเห็น 1. นายสงวน ซ้อนกลิ่นสกุล 2. นางสาวศิรินภา สินนาศักดิ์ 3. นายณรงค์ ปล้องมาก 4. นายสุพจน์ วิชา 5. นางมนสิชา ไชยทน 6. นางดวงฤดี อัศวทองคา 7. นายอารุณ มูลชนะ 8. นายธิติพงษ์ พลอยเหลือง 9. ว่าที่ร้อยโททัศน์ไชย ไชยทน 10. นายประหยัด มณีมูล 11. นางพุทธา กฤตธิยพงศ์ 12. นายณัฐวุฒิ คาอาณา 13. นางพจณีย์ จันต๊ะคราม 14. นางธนวรรณ บุญกรับพวง 15. นายฤชัย จุฬะรุ่งเรือง 16. นางสาวอาณตา โพธิวิจิตร 17. นางสาวอลิสา นอลใส 18. นายสุรฉัตร จันระวังยศ 19. นายเวชพิสิฐ เรืองสุข 20. นายตะวัน แสงเพชร์

ตาแหน่ง ตาแหน่ง ตาแหน่ง ตาแหน่ง ตาแหน่ง ตาแหน่ง ตาแหน่ง ตาแหน่ง ตาแหน่ง ตาแหน่ง ตาแหน่ง ตาแหน่ง ตาแหน่ง ตาแหน่ง ตาแหน่ง ตาแหน่ง ตาแหน่ง ตาแหน่ง ตาแหน่ง ตาแหน่ง

รองประธานหอการค้าจังหวัดเชียงราย ผู้อานวยการศูนย์บริการเบ็ดเสร็จด้านการลงุทนเชียงของ รองปลัดเทศบาลตาบลเวียงเชียงของ ผู้อานวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจาตาบล ปลัดเทศบาลตาบลสถาน หัวหน้าฝ่ายอานวยการเทศบาลตาบลสถาน ประธานเครือข่ายสมุนไพรแห่งประเทศไทย นักวิชาการสาธารณสุขชานาญการ ปลัดเทศบาลตาบลเวียง นักวิชาการพัฒนาชุมขนชานาญการ ผู้ประกอบการร้านอาหารเจ ผู้ประกอบการร้านอาหารฮิมดอย โรงเรียนเชียงของนวดแผนไทย ประธานกลุ่มวิสาหกิจสมุนไพรรวมมิตรชุมชนบ้านเขียะ วิสาหกิจชุมชนเกษตรธรรมชาติเชียงของ วิสาหกิจชุมชนเกษตรธรรมชาติเชียงของ ประธานชมรมร้านอาหารเชียงของ ร้านอาหารหลังบ้าน เดอะคาเฟ่ ชมรมเชียงของฟิตเนส เจ้าของกิจการฟิจเนส

แนวทางการพัฒนาธุรกิจเมกะเทรนด์ดา้ นสุขภาพพืน้ ที่ชายแดน 28


...การยกระดับอุตสาหกรรมตนน้ำ การสรางขีดความสามารถในการแขงขันแบบบูรณาการ การพัฒนาชองทางการสื่อสารและเทคโนโลยีการใหบริการแบบครบวงจร...

แนวทางการพัฒนาธุรกิจเมกะเทรนดดานสุขภาพ “เมืองสุขภาพชายแดน 1 ผลิตภัณฑ 3 บริการ”


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.