OBELS OUTLOOK 2018

Page 1


OBELS OUTLOOK 2018


ชื่อหนังสือ : ผู้แต่ง : จัดทำ�โดย : สนับสนุนทุนวิจัย : ปีที่จัดทำ� : ISBN : จำ�นวน : ราคา :

OBELS OUTLOOK 2018 สำ�นักงานเศรษฐกิจชายแดนและโลจิสติกส์ สำ�นักงานเศรษฐกิจชายแดนและโลจิสติกส์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง 2561 978-616-470-008-6 200 เล่ม 250 บาท

–––––––––––––––––––––––––––––––––––––––––––––––– การติดต่อ : สำ�นักงานเศรษฐกิจชายแดนและโลจิสติกส์ สำ�นักวิชาการจัดการ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง ตำ�บลท่าสุด อำ�เภอเมือง จังหวัดเชียงราย 57100 โทรศัพท์ 053 916 980 เว็บไซต์ http://rs.mfu.ac.th/obels –––––––––––––––––––––––––––––––––––––––––––––––– พิมพ์ที่ : เอราวัณการพิมพ์ 28/10 ถนนสิงหราช ตำ�บลศรีภูมิ อำ�เภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ 50200 โทรและแฟกซ์ 053-214491


คำ�นำ� ส�ำนักงานเศรษฐกิจชายแดนและโลจิสติกส์ (หรือ โอเบลส์) ได้จัดท�ำ เอกสาร OBELS OUTLOOK 2018 ขึน ้ เพื่อรวบรวมข่าวสารงานวิเคราะห์เชิง ลึกเกีย ่ วกับเศรษฐกิจภูมิภาคและชายแดนระหว่างปีพ.ศ.2561 ประกอบด้วย Border economic review เน้นงานวิเคราะห์สถานการณ์ทางเศรษฐกิจของ จังหวัดเชียงรายที่ต่อเหตุการณ์ Working paper เน้นงานวิเคราะห์ประเด็น ทางเศรษฐกิจในภูมิภาคและเมืองชายแดน รวมทั้งแง่คิดและมุมมองระยะยาว ที่มีผลต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจและธุรกิจ Insight น�ำเสนองานวิเคราะห์ เจาะลึกหัวข้อ “ระเบียงเศรษฐกิจ R3A R3B และ R12 เพื่อการเติบโตทาง เศรษฐกิจชายแดน” ที่แสดงมุมมองและแนวทางการพัฒนาพื้นที่ชายแดนของ ประเทศไทย และ Policy Brief เป็ นบทความวิชาการแบบกระชับที่น�ำเสนอ สถานการณ์ทางธุรกิจในพื้นที่ชายแดนที่น่าสนใจ ส�ำนักงานโอเบลส์ฯ ได้จัดท�ำรายงาน OBELS OUTLOOK เป็ นประจ�ำ ทุกปี ซึ่งปีนีเ้ ป็ นฉบับที่ 5 โดยหวังว่าผู้ ที่สนใจด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่ง แวดล้อมในพื้นที่ชายแดน ไม่ว่าจะเป็ นหน่วยงานภาครัฐและเอกชน นักวิชาการ และประชาชนทั่วไปได้รบ ั ข้อมูลที่เป็ นประโยชน์และสามารถน�ำไปประยุกต์ใช้ เป็ นแนวทางในการด�ำเนินงานด้านต่างๆ ต่อไป ส�ำนักงานเศรษฐกิจชายแดนและโลจิสติกส์ Office of Border Economy and Logistics Study


1 2

สารบัญ 6-36

BORDER ECONOMIC REVIEW

สถานการณ์เศรษฐกิจชายแดนเชียงรายปีพ.ศ.2560

WORKING PAPER

37-150

Assessing Japanese Monetary Policy through Bayesian Structural VAR with time varying parameters by Paponpat Taveeapiradeecharoen ทิศทางการค้าและความได้เปรียบทางการค้าชายแดนกับ ประเทศจีน โดย มัลลิกา จันต๊ะคาด, พรพินันท์ ยีร่ งค์ การค้าชายแดนในบริบทของระเบียงเศรษฐกิจเหนือ-ใต้ โดย ณัฐพรพรรณ อุตมา, พบกานต์ อาวัชนาการ,

สิทธิชาติ สมตา

ความเชื่อมโยงทางการค้า-การลงทุน-ความช่วยเหลือ ของจีนต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจของอินโดจีน โดย ณัฐพรพรรณ อุตมา, พรพินันท์ ยีร่ งค์ การส�ำรวจระบบโลจิสติกส์การค้าชายแดนบนเส้นทางเมีย วดี-กอกะเร็ก-ผาอัน โดย ณรัฐ หัสชู, พรวศิน ศิรส ิ วัสดิ์ โอกาสที่เพิ่มขึ้นในการใช้การช�ำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ (E-payment) กรณีศึกษาจังหวัดเชียงราย

โดย พชรพรรณ เลิศวีรพล, มุจรินทร์ ดารามะ, วนัสบดี ติลวรรณกุล, ณัฐพรพรรณ อุตมา


พฤติกรรมการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวผู้สูงอายุชาวต่าง ชาติกับการพัฒนาการท่องเที่ยวของจังหวัดเชียงราย โดย สุนิสา แตงโม, อารีรต ั น์ ศรีไชย,

3

ณัฐกานต์ เหรียญเงิน, อภิสม อินทรลาวัณย์

INSIGHT

151-221

การถอดบทเรียน “ระเบียงเศรษฐกิจ R3 เพื่อการเติบโต ทางเศรษฐกิจชายแดน” โดย มัลลิกา จันต๊ะคาด, สิทธิชาติ สมตา,

พรพินันท์ ยีร่ งค์

การถอดบทเรียน “เส้นทางเศรษฐกิจ การค้า การขนส่ง การท่องเที่ยว เส้นทาง R12: นครพนม – หลังเซิน” โดย วราวุฒิ เรือนค�ำ, นภัส ร่มโพธ์,

4

ณัฐพล รังสฤษฎ์วรการ, อาทิตยา ปาทาน

POLICY BRIEF

222-244

“โกโก้” และ “ถั่วดาวอินคา” พืชเศรษฐกิจใหม่ของ จังหวัดเชียงราย?

การสร้างนวัตกรรม – การสร้างความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจ

5

แนวทางการพัฒนาอุตสาหกรรมเมกะเทรนด์ในยุค เศรษฐกิจดิจิทัลของพื้นที่ชายแดน จังหวัดเชียงราย

OPINION PIECE

บริการจากระบบนิเวศ พื้นที่ชุ่มน�้ำ

245-265

เงินในยุคดิจิตอล : ความแตกต่างของ E-MONEY และ DIGITAL CURRENCY “ด่านชายแดนบ้านฮวก” ก่อนและหลังการเปิดด่านผ่าน แดนถาวร


ส่วนที่ 1 Border economic review

6


สถานการณ์เศรษฐกิจชายแดนเชียงรายปีพ.ศ. 2560 ในปีพ.ศ.2559 ผลิตภัณฑ์มวลรวมของจังหวัดเชียงราย ณ ราคาปีฐาน (มูลค่าที่แท้จริง) มีการขยายตัวจากปีก่อนร้อยละ 2.17 ซึ่งอัตราการเติบโต ลดลงเล็กน้อยจากปีพ.ศ.2558 ที่มีการขยายตัวร้อยละ 2.54 ซึ่งขยายตัวสูง กว่าเศรษฐกิจของภูมิภาคและประเทศที่มีการเติบโตร้อยละ 1.84 และ 3.28 ตามล�ำดับ แต่ต่�ำกว่าการเติบโต โดยเชียงรายถือว่าเป็ นจังหวัดที่มีผลิตภัณฑ์ มวลรวมเป็ นอันดับที่ 4 ของภาคเหนือ รองจาก เชียงใหม่ ก�ำแพงเพชร และ นครสวรรค์ ทั้งนี ้ การขยายตัวทางเศรษฐกิจเป็ นผลมาจากการเติบโตของภาค นอกเกษตรเป็ นส�ำคัญ เนื่องจากการเติบโตทางเศรษฐกิจของภาคเกษตรกรรมมี การหดตัวร้อยละ 5.41 ซึ่งมีการหดตัวอย่างต่อเนื่องตัง้ แต่ปพ ี .ศ.2555 เป็ นต้น มา โดยหากพิจารณาจากโครงสร้างการผลิตโดยรวม สาขาเกษตรกรรมเป็ น สาขาทีม ่ ีมูลค่าสูงสุด ซึ่งคิดเป็ นสัดส่วนร้อยละ 20.43 ของมูลค่าผลิตภัณฑ์มวล รวมทั้งหมด รองมาได้แก่ การค้าปลีกค้าส่ง และการศึกษา ดังนั้นการขยายตัว ทางเศรษฐกิจของจังหวัดเชียงรายจึงมาจากภาคเกษตรกรรมเป็ นหลัก แม้ว่า จะมีการหดตัวอย่างมากในช่วง 4 ปีที่ผ่านมา

รูปที่ 1 อัตราการเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัดเชียงราย ปีพ.ศ.2539-2559

ที่มา: NESDB (2561)

7


สาขานอกภาคเกษตรโดยส่วนใหญ่ในปีพ.ศ.2559 มีการขยายตัวทาง เศรษฐกิจไม่เกินร้อยละ 10 สาขาที่มีการขยายตัวระหว่างร้อยละ 0-5 ได้แก่ เหมืองแร่/หิน (+0.35%) กิจกรรมวิชาชีพ/วิทยาศาสตร์/วิชาการ (+0.68%) ที่พักอาศัย/ร้านอาหาร (+0.96%) กิจกรรมบริการอื่นๆ (+1.98%) กิจกรรม สาธารณสุ ข/สั งคมสงเคราะห์ (+2.47%) การประปา/การก� ำจั ดของเสี ย (+2.60%) และการค้าปลีกค้าส่ง/ซ่อมยานพาหนะ (+4.26%) สาขาที่มีการ ขยายตัวทางเศรษฐกิจระหว่างร้อยละ 5-10 ได้แก่ การศึ กษา (+6.31%) ไฟฟ้ า/แก๊ส/ปรับอากาศ (+6.32%) กิจกรรมบริหารและสนับสนุน (+7.95%) การเงินและประกันภัย (+9.44%) และอุตสาหกรรม (+14.43%) ส่วนสาขาที่มี การขยายตัวทางเศรษฐกิจมากกว่าร้อยละ 10 ได้แก่ การก่อสร้าง (+14.43%) อสังหาริมทรัพย์ (+26.12%) และศิลปะ/นันทนาการ/ความบันเทิง (+35.89%) โดยมีเพียง 3 สาขาที่มีการหดตัว ได้แก่ ข้อมูลและการสื่อสาร (-16.39%) การขนส่งและจัดเก็บสินค้า (-4.08) และการบริหารราชการ/ป้ องกันประเทศ (-0.04%) ในช่วง 20 ปีทีผ ่ ่านมา เศรษฐกิจของจังหวัดเชียงรายมีการขยายตัวเป็ น ส่วนใหญ่ มีอัตราการเติบโตเฉลีย ่ สะสมจากปีพ.ศ.2539-2559 อยู่ที่รอ ้ ยละ 3.36 โดยภาคเกษตรและภาคนอกเกษตรมีการเติบโตในระยะยาวในอัตราที่ ใกล้เคียงกัน เคยมีการขยายตัวทางเศรษฐกิจสูงสุดในปีพ.ศ.2548 อยู่ที่รอ ้ ย ละ 9.57 ซึ่งภาคเกษตรมีการขยายตัวอยู่ที่รอ ้ ยละ 17.79 สูงกว่าภาคนอก เกษตรที่มีการขยายตัวอยู่ที่รอ ้ ยละ 6.46 ซึ่งอาจมีสาเหตุมาจากการที่ราคา ของพืชผลทางเศรษฐกิจมีการปรับตัวสูงขึ้นอย่างมาก1 ส�ำหรับสาขาภาคนอก เกษตรที่มีอัตราเฉลีย ่ สะสมสูงสุด คือ สาขาศิลปะ/นันทนาการ/ความบันเทิง รองมาคือ กิจกรรมวิชาชีพ/วิทยาศาสตร์/วิชาการ และกิจกรรมสาธารณสุข/ สังคมสงเคราะห์ ทั้งนี ้ เห็นได้ว่าการขยายตัวของผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัด เชียงรายค่อนข้างมีความผันผวนอย่างมากในช่วงก่อนปีพ.ศ.2550 เนื่องจาก ความไม่ม่ันคงทางเศรษฐกิจทัง้ ภายในและภายนอกประเทศ รวมถึงสถานการณ์ ทางการเมือง หลังจากนั้น ในช่วงปีพ.ศ.2551-2555 เป็ นช่วงที่มีการขยาย ตัวทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง จนกระทั่งปีพ.ศ.2555 เริ่มมีการขยายตัวลด ลงจนถึงหดตัวในปีพ.ศ.2557 ซึ่งมี สาเหตุส�ำคัญมาจากทั้ง อุ ปสงค์ภายใน ประเทศที่อ่อนแอ การส่งออกยังไม่ฟนตั ื้ ว รวมถึงความไม่แน่นอนทางการเมือง ในประเทศ ท�ำให้เกิดการลดลงของเศรษฐกิจภาคการเกษตร และกลับมาขยาย ตัวอีกครัง้ ด้วยแรงกระตุน ้ จากภาคนอกเกษตรในปีพ.ศ.2558-2559 (รูปที่ 1) 1 ธนาคารแห่งประเทศไทย. (2549). รายงานเศรษฐกิจและการเงินปี 2548. 8


ขณะที่การหดตัวทางเศรษฐกิจเกิดขึ้นแค่เพียง 3 ช่วงเวลา ได้แก่ (1) ช่วงปีพ.ศ.2540-2541 เป็ นช่วงที่มีการเกิดวิกฤตเศรษฐกิจของไทย ส่งผล ให้เกิดการหดตัวในหลายสาขา โดยเฉพาะในด้านของการส่งออกที่มีการชะลอ ตัวอย่างมาก ซึ่งถือว่าเป็ นส่วนส�ำคัญในปั จจัยที่ช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจของ จังหวัดเชียงราย2 (2) ช่วงปีพ.ศ.2549 เป็ นผลจากการหดตัวของภาคเกษตร เป็ นส�ำคัญ ซึ่งได้รบ ั ผลกระทบมาจากการดีดตัวของราคาน�้ำมันในตลาดทีส ่ ่งผล ให้ตน ้ ทุนในการขนส่งสูงขึน ้ ประกอบกับปั ญหาอุทกภัยที่เกิดขึน ้ อย่างต่อเนื่อง3 (3) ช่วงปีพ.ศ.2557 มีสาเหตุมาจากการหดตัวของทั้งภาคเกษตร และภาค นอกเกษตร โดยสินค้าที่มีความส�ำคัญของจังหวัดเชียงรายส่วนใหญ่มีปริมาณ ผลผลิตลดลง แม้ราคาของข้าว และยางพารามีการพุ่งสูงขึ้นก็ตาม ส่วนสาขา ภาคนอกการผลิตที่มีการหดตัวอย่างมาก คือ อสังหาริมทรัพย์ และการบริหาร ราชจัดการภาครัฐ 1. ด้านการผลิต ในส่วนของการรายงานสถานการณ์การผลิตภายในจังหวัดในปีพ.ศ. 2561 ประกอบด้วย 3 หัวข้อ ได้แก่ (1) ด้านเกษตรกรรม แสดงถึงสถานการณ์ ของผลผลิตและราคาของสินค้าทีส ่ �ำคัญของจังหวัด 9 ชนิด ได้แก่ ข้าว ข้าวโพด เลีย ้ งสัตว์ มันส�ำปะหลัง กาแฟ ชา ยางพารา ลิ้นจี่ ล�ำไย และสับปะรด (2) อุตสาหกรรม แสดงถึงสถานการณ์ของจ�ำนวนโรงงาน ประเภทอุตสาหกรรม เงินทุน และแรงงาน และ (3) การบริการ ที่ไม่รวมถึงการท่องเที่ยว แสดงถึง สถานการณ์ด้านการศึกษา การเงิน การสื่อสาร การขนส่ง การแพทย์ และ วิชาชีพ เป็ นต้น 1.1 เกษตรกรรม4 ข้าว มีปริมาณผลผลิตอยู่ที่ 639,498 ตัน หดตัวลดลงจากปีก่อน ร้อยละ 25.95 เป็ นการหดตัวที่ต่อเนื่ องจากปีก่อน โดยเนื้ อที่เพาะปลูกอยู่ ที่ประมาณ 1.14 ล้านไร่ ลดลงจากปีก่อนร้อยละ 17.02 ซึ่งหดตัวอย่างต่อ เนื่องมาตัง้ แต่ปีพ.ศ.2555 นอกจากนี ้ ผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่ก็มีการหดตัวร้อย ละ 10.76 อยู่ที่ 562.57 ตันต่อไร่ เนื่องจากผลผลิตมีแนวโน้มลดลงมากกว่า เนื้อเพาะปลูก ขณะที่ราคาเฉลีย ่ ที่เกษตรกรขายได้อยู่ที่ 4.73 บาทต่อกิโลกรัม ลดลงจากปีก่อนร้อยละ 32.78 หลังจากราคาพุ่งสูงถึง 1,397.94 บาทต่อ 2 ธนาคารแห่งประเทศไทย. (2542). รายงานเศรษฐกิจและการเงินปี 2541. 3 ธนาคารแห่งประเทศไทย. (2550). รายงานเศรษฐกิจและการเงินปี 2549. 4 กรมส่งเสริมการเกษตร. (2561). ระบบสารสนเทศผลิตทางด้านการเกษตร. สืบค้นจาก https://production.doae.go.th/site/login 9


กิโลกรัม ในปีพ.ศ.2557 หลังจากนัน ้ ราคาก็มีการปรับตัวลดลงตลอดมา สาเหตุ หนึ่งมาจากการผลิตที่ลน ้ เกิน ท�ำให้เกิดการกักตุน สร้างแรงกดดันต่อราคา และ อีกสาเหตุหนึ่งคือราคาของข้าวสาลีที่เป็ นสินค้าทดแทนอย่างในอุตสาหกรรม อาหารสัตว์มีราคาลดลง ส่งผลให้มีการสั่งซื้อข้าวลดลง แม้ว่ารัฐบาลจะมีการ ออกมาตรการออกมาช่วยเหลือ เช่น การรับจ�ำน�ำข้าว5

ข้าวโพดเลีย ้ งสัตว์ ปริมาณผลผลิตลดลงร้อยละ 49.32 ซึ่งเป็ นผลมา จากการหดตัวของเนื้อที่เพาะปลูกร้อยละ 17.93 ซึ่งเริ่มมีการหดตัวอย่างต่อ เนื่องมาตัง้ แต่ปพ ี .ศ.2559 ทั้งนี ้ ผลผลิตมีการลดลงมากกว่าเนื้อเพาะปลูก จึง เป็ นผลให้ผลผลิตเฉลีย ่ ลดจาก 1,188.25 ตันต่อไร่ ในปีพ.ศ.2560 มาอยู่ที่ 733.77 ตันต่อไร่ ในปีพ.ศ.2561 ซึ่งก่อนหน้าผลผลิตต่อไร่เพิ่มสูงขึน ้ มาอย่าง มากในช่วงระหว่างปีพ.ศ.2559-2560 อย่างไรก็ดี ราคาเฉลีย ่ มีการปรับตัวสูง ขึ้นร้อยละ 12.65 โดยในปีพ.ศ.2557 มีราคาสูงถึง 24.42 บาทต่อกิโลกรัม ทั้งที่ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ราคาเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 6 บาทต่อกิโลกรัม นอกจากนี ้ ยังเป็ นปีเดียวกับที่ราคาข้าวพุ่งสูง

5 ไทยรัฐออนไลน์. (30 พ.ย. 2559). ไฉนชาวนาไทยถึงจน? เปิดเบื้องหลังราคาข้าวตกต�่ำ สู่ทางออกที่ควรจะเป็ น!.

10


ยางพารา ปริมาณผลผลิตมีการขยายตัวถึงร้อยละ 126.19 ขณะที่ เนื้อเพาะปลูกเพิ่มขึ้นเพียงแค่รอ ้ ยละ 13.68 จึงท�ำให้ผลผลิตเฉลีย ่ สูงขึ้นร้อย ละ 98.97 จาก 60.03 ตันต่อไร่ มาอยู่ที่ 119.45 ตันต่อไร่ ซึ่งผลผลิตเฉลีย ่ มี การเพิ่มขึน ้ อย่างต่อเนื่องตัง้ แต่ปพ ี .ศ.2553 จนกระทั่งมีการหดในปีพ.ศ.2560 และกลับมาขยายตัวอีกครัง้ ในปีพ.ศ.2561 ทั้งนี ้ ตัง้ แต่ปพ ี .ศ.2553-2561 ราคาเฉลี่ยมีการปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่องสวนทางกับเนื้อเพาะปลูกที่สูงขึ้น ในทุกปี ขณะที่ผลผลิตมีการเปลี่ยนแปลงไม่มาก โดยยางพาราก�ำลังประสบ กับปั ญหาการหดตัวของราคาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งมาจากหลากหลายสาเหตุ ทั้ง การผลิ ตมากกว่ าความต้ องการของตลาด สงครามการค้ าระหว่ างจี นและ สหรัฐฯ การปรับตัวสูงขึ้นของราคาน�้ำมัน รวมทั้งการผลิตสินค้าทดแทนอย่าง ยางสังเคราะห์ นอกจากนี ้ ผลผลิตส่วนใหญ่ส่งออกไปที่ประเทศจีน มากกว่า ใช้ในการผลิตของอุตสาหกรรมภายในประเทศ ท�ำให้ไม่สามารถก�ำหนดราคา ได้ แม้ว่าไทยจะเป็ นผู้ผลิตยางพาราอันดับหนึ่งของโลก6 ทั้งนี ้ ในปีพ.ศ. 2561 การส่งออกยางพาราผ่านทางด่านอ�ำเภอเชียงแสนมีการหดตัวลดลงอย่างมาก ทั้งที่ส่งออกไปสปป.ลาว และจีนตอนใต้

6 มติชนออนไลน์. (30 ต.ค. 61). หอค้าคาดยางปี 62 ไม่โต แนะ 14 ทางรอด เน้นปลูก พืชหมุนเวียน ลดปลูกยาง 30%. 11


มันส�ำปะหลัง ทั้งผลผลิตและเนื้อเพาะปลูกมีการหดตัวร้อยละ 96.83 และ 50.56 ตามล�ำดับ เนื่องจากผลผลิตมีการลดลงมากกว่าเนื้อเพาะปลูก ส่ง ผลให้ผลผลิตเฉลีย ่ ต่อไร่ลดลงร้อยละ 93.60 โดยที่ราคามีการปรับตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 7.30 อย่างไรก็ดี ในช่วงที่ผ่านมา ผลผลิตและเนื้อที่เพาะปลูกมีความ ผันผวนมาโดยตลอด กล่าวคือมีการขยายตัวและหดตัวสลับกันทุกปี หากแต่ใน ปีพ.ศ.2560-2561 มีการลดลงอย่างต่อเนื่อง ขณะเดียวกัน ราคามีการขยาย ตัวเป็ นช่วงๆ และสูงสุดในปีพ.ศ.2556 อยู่ที่ 4.81 บาทต่อกิโลกรัม ปั จจุ บัน สถานการณ์ของการผลิตมันส�ำปะหลังในตลาดทั้งในประเทศและโลกไม่เพียง พอต่อความต้องการ จึงท�ำให้ราคามีการปรับตัวสูงขึ้นในหลายประเทศ7

7 ประชาชาติธุรกิจ. (1 กรกฎาคม 2561). หันมันส�ำปะหลังชอตทั่วอาเซ๊ยน โรคใบด่าง คุกคาม-ราคาพุ่ง 3 บาท/กก. 12


สับปะรด แบ่งออกเป็ น 2 ประเภท ได้แก่ 1) สับปะรดบริโภคสด ได้แก่ ภูแล และนางแล และ 2) สับปะรดโรงงาน คือ ปั ตตาเวีย โดยเนื้อเพาะปลูก ส่วนใหญ่เป็ นปั ตตาเวีย รองมาเป็ นภูแล และนางแล แต่ผลผลิตที่มีช่ือเสียงคือ ภูแล และนางแล ซึ่งได้รบ ั การจดทะเบียนในเป็ นสินค้าที่มีส่ิงบ่งชีท ้ างภูมิศาสตร์ (Geographical Indication: GI) ว่ามีความโดดเด่นและมีคุณภาพด้วย ลักษณะของพืน ้ ที่ โดยมีทัง้ จ�ำหน่ายภายในประเทศ และส่งออกไปต่างประเทศ8 ในปีพ.ศ.2561 พื้นที่เพาะปลูกและผลผลิตมีการขยายตัวร้อยละ 11.39 และ 22.15 ตามล�ำดับ ท�ำให้ผลผลิตต่อไร่สูงขึ้นร้อยละ 9.66 โดยที่ราคาเฉลีย ่ มี การปรับตัวลดลงร้อยละ 97.86 โดยผลผลิตเริ่มกลับมาสูงขึ้น หลังจากที่เนื้อ เพาะปลูกเริม ่ มีการขยายตัวต่อเนื่องมาจากปีพ.ศ.2559 อย่างไรก็ดี ระดับราคา กลับไม่มีการเปลี่ยนแปลงมากจากอดีต แต่มีการเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดดใน ปีพ.ศ.2560 อยูท ่ ี่ 390.94 บาทต่อกิโลกรัม อย่างไรก็ตาม ในปั จจุ บันสับปะรด เชียงรายก�ำลังกับสภาวะราคาตกต�่ำ เนื่องจากผลผลิตที่ออกมามากเกินไป9 โดยพันธุ์ที่มีเนื้อเพาะปลูกมากขึ้น คือ สับปะรดที่บริโภคสด ขณะที่สับปะรด โรงงานมีพื้นที่เพาะปลูกลดลง

8 ผู้จัดการออนไลน์. (13 มกราคม 2562). “พาณิชย์” ปิ้ งดันแหล่งผลิตสินค้า GI

เชียงราย เป็ นที่ท่องเที่ยวเพิ่มรายได้เกษตรกร. 9 Thai PBS News. (20 มิถุนายน 2561). เบื้องหลัง! “สับปะรด” ภูแลล้นตลาด. 13


ล�ำไย ปริมาณผลผลิตมีการหดตัวเล็กน้อยร้อยละ 2.40 รวมถึงเนื้อที่ เพาะปลูกที่ลดลงร้อยละ 4.89 ด้วยผลผลิตที่ลดลงต�่ำกว่าเนื้อเพาะปลูก จึง ท�ำให้ผลผลิตเฉลีย ่ ต่อไร่สูงขึน ้ ร้อยละ 2.61 ขณะทีร่ าคาเฉลีย ่ มีการปรับตัวเพิ่ม ขึ้นร้อยละ 20.19 ทั้งนี ้ โดยตลอดมาพื้นที่เพาะปลูกล�ำไยสูงกว่า 150,000 ไร่ แต่ผลผลิตกลับมีการขยับเพิ่มขึน ้ และลดลงค่อนข้างมากในแต่ละปี ขณะทีร่ าคา สูงขึน ้ ต่อเนื่องในปีพ.ศ.2558-2559 ก่อนจะตกลงมาในปีพ.ศ.2560 และเพิ่ม ขึน ้ อีกครัง้ ในปีพ.ศ.2561 นอกจากนี ้ ได้มีการส่งออกทัง้ ล�ำไยสด และแห้งอย่าง ต่อเนื่องไปทั้งเมียนมา และจีนตอนใต้ผ่านทางด่านของจังหวัดเชียงราย แม้ว่า จะมีอัตราการขยายตัวของมูลค่าการส่งออกในช่วงหลายปีหลังค่อนข้างต�่ำ

ลิน ่ ีร่ อ้ ยละ 0.76 แต่ผลผลิต ้ จี่ เนื้อเพาะปลูกมีการขยายตัวเล็กน้อยอยูท มีการขยายตัวค่อนข้างสูงอยู่ที่รอ ้ ยละ 75.99 ท�ำให้ผลผลิตเฉลีย ่ ต่อไร่สูงขึ้น ตามร้อยละ 41.17 ในขณะที่ราคาเฉลีย ่ มีการปรับตัวสูงขึน ้ เช่นเดียวกันร้อยละ 9.76 โดยที่ผ่านมาราคามีการเพิ่มขึ้นสูงสุดในปีพ.ศ.2559 อยู่ที่ 24.36 บาท ต่อกิโลกรัม และต�่ำสุดในปีพ.ศ.2557 อยู่ที่ 14.65 บาทต่อกิโลกรัม ซึ่งแนว โน้มของราคามีการปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากเนื้อที่เพาะปลูกลิ้นจีม ่ ี จ�ำนวนลดลงนับตัง้ แต่ปพ ี .ศ.2554 เป็ นต้นมา จึงส่งผลให้ปริมาณผลผลิตไม่มี การเปลีย ่ นแปลงมาก

14


ชา พันธุช ์ าที่มีการเพาะปลูกในจังหวัดเชียงรายเป็ นหลัก ได้แก่ ชาจีน และชาอัสสั ม ซึ่งเนื้ อที่เพาะปลูกส่ วนใหญ่เป็ นชาอัสสั ม ซึ่งมี แนวโน้ มขยาย ตัวอย่างรวดเร็วกว่าชาจีน ทั้งนี ้ ในปีพ.ศ.2561 ราคาโดยเฉลีย ่ มีการปรับตัว สูงขึ้นร้อยละ 64.78 โดยที่ผลผลิตมีการหดตัวร้อยละ 40.86 ทั้งที่เนื้อเพาะ ปลูกขยายตัวสูงขึ้นร้อยละ 21.99 เป็ นผลให้ผลผลิตเฉลีย ่ ต่อไร่ลดลงร้อยละ 51.32 ทัง้ นี ้ ราคาและผลผลิตมีแนวโน้มสูงขึน ้ ไปพร้อมกัน โดยในปีพ.ศ.2560 เป็ นปีที่ราคามีการขยับขึ้นมาอยู่ที่ 147.84 บาทต่อกิโลกรัม ก่อนที่จะตกลง ในปีต่อมา โดยชาถือเป็ นสินค้าเกษตรที่เป็ นหน้าตาของจังหวัดเชียงราย และ ได้รบ ั การสนับสนุนจากภาครัฐอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็ นหนึ่งในสินค้าที่ได้รบ ั การ จดทะเบียนสิ่งบ่งชีท ้ างภูมิศาสตร์ (GI) ที่อ�ำเภอเมือง อ�ำเภอแม่สรวย อ�ำเภอ เวียงป่ าเป้ า อ�ำเภอแม่ลาว อ�ำเภอแม่จัน อ�ำเภอแม่ฟ้าหลวง อ�ำเภอเชียงของ อ�ำเภอเวียงเชียงรุง้ และอ�ำเภอเชียงแสน พร้อมทั้งได้มีการพัฒนาคุณภาพใน การผลิต และพัฒนาให้เกิดเป็ นผลิตภัณฑ์ผ่านการวิจัยและพัฒนา ด้วยความ ร่วมมือระหว่างสถาบันชา มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง สมาคมชา และหน่วยงาน ที่เกีย ่ วข้อง10

10 เหมือนอ้างอิงที่ 8 15


กาแฟ พันธุท ์ ี่มีช่ือเสียงในจังหวัดเชียงราย คือ อาราบิก้า ซึ่งได้รบ ั การ จดทะเบียน GI ในแบรนด์ของดอยช้างที่ปลูกในต�ำบลวาวี อ�ำเภอแม่สรวย และ ดอยตุง ซึ่งปลูกในพืน ้ ทีโ่ ครงการพัฒนาดอยตุงบนเทือกเขานางนอน11 นอกจาก นี ้ กาแฟดอยช้ างยังได้รบ ั ตราสั ญลักษณ์ GI ในประเทศยุโรปเช่นเดียวกัน ท�ำให้มีโอกาสในการแข่งขันในตลาดระดับโลก12 ในปีพ.ศ.2561 เนื้อที่เพาะ ปลูกกาแฟมีการขยายตัวร้อยละ 33.28 หากแต่ผลผลิตมีการขยายตัวสูงถึง ร้อยละ 330.11 ท�ำให้ราคาเฉลีย ่ ต่อไร่เพิ่มขึ้นร้อยละ 277.52 ซึ่งราคาได้มี การปรับตัวสูงขึ้นร้อยละ 22.07 หลังจากปีพ.ศ.2555 เป็ นต้นมา ราคาของ กาแฟมีทิศทางดิ่งลงอย่างต่อเนื่อง และเริ่มคงที่ในช่วงปีพ.ศ.2558-2561 ขณะเดียวกัน ผลผลิตและเนื้อเพาะปลูกกลับมีการขยายตัวสวนทางกับราคา โดยที่ผ่านมา ภาครัฐของจังหวัดเชียงรายได้มีการส่งเสริมให้มีการพัฒนาร่วม กับภาคอื่นๆ เช่น การท่องเที่ยว โดยมีการจัดงาน Best of Coffee and Tea @ Chiangrai13 แต่ส่ิงที่น่าเป็ นกังวลคือ ปั ญหาการลักลอบน�ำเข้าเมล็ดกาแฟ จากประเทศเพื่อนบ้านตามแนวพรมแดนอย่างสปป.ลาว และเมียนมา มากกว่า นี ้ คณะกรรมการพืชกาแฟได้เปิดให้มีการน�ำเข้ากาแฟในปีพ.ศ.2562 ซึ่งหาก ในประเทศยังคงจ�ำหน่ ายออกไปไม่หมด อาจส่ งผลให้ ราคาของกาแฟตกต�่ำ กว่าเดิม14 11 เหมือนอ้างอิงที่ 8 12 ไทยรัฐ. (29 กรกฎาคม 2558). ดอยช้าง... กาแฟ ‘GI’ อียู ชาวเขาท�ำได้...ชาวเรามุง้ มิง้ . 13 ไทยรัฐ. (29 กันยายน 2560). ‘เชียงราย’ หนุนวิถีไทยสู่เมืองกาแฟ ร่วมสมัยสร้าง เศรษฐกิจชุมชน. 14 ประชาชาติ. (15 พฤศจิกายน 2561). เลือ ่ นน�ำเข้า “กาแฟนอก” 1 เดือนหวัน ่ กระทบชาวไร่. 16


สรุปได้วา่ ในปีพ.ศ.2561 สินค้าเกษตรส่วนหนึ่งมีปริมาณผลผลิตสูงขึน ้ ได้แก่ ยางพารา สับปะรด ลิ้นจี่ กาแฟ และชา อีกส่วนหนึ่งมีการหดตัวลดลง ได้แก่ ข้าว ข้าวโพดเลีย ้ งสัตว์ มันส�ำปะหลัง และล�ำไย โดยสินค้าที่มีการขยาย ตัวของผลผลิตสูงสุด คือ กาแฟ รองมาได้แก่ ยางพารา และชา ในขณะที่ราคา เฉลีย ่ ของสินค้าส่วนใหญ่มีการปรับตัวลดลง ได้แก่ ข้าว ยางพารา สับปะรด ลิ้นจี่ และชา ส่วนสินค้าที่มีราคาปรับตัวสูงขึ้น ได้แก่ ยางพารา ล�ำไย ลิ้นจี่ และ กาแฟ โดยสินค้าที่ราคามีการขยายตัวสูงสุด คือ ล�ำไย รองมาได้แก่ กาแฟ และ ข้าวโพดเลีย ้ งสัตว์ หากพิจารณาการเติบโตในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา ตัง้ แต่ ปีพ.ศ.2557-2561 พบว่ามีการเปลีย ่ นแปลงใน 3 ลักษณะ ได้แก่ สินค้าที่ มีการขยายตัวทั้งผลผลิตและราคา ได้แก่ ล�ำไย ลิ้นจี่ และชา ขณะที่สินค้าที่ มีการหดตัวทั้งผลผลิตและราคา ได้แก่ ข้าว ข้าวโพดเลีย ้ งสัตว์ มันส�ำปะหลัง และสับปะรด ทั้งนี ้ กลับมีบางสินค้าที่ผลผลิตมีการขยายตัวสูงขึ้น ทั้งที่ราคา เฉลีย ่ มีแนวโน้มลดลง ได้แก่ ยางพารา และกาแฟ ดังนั้นการหดตัวของมูลค่า ผลิตภัณฑ์มวลรวมของเชียงรายในช่วงหลายปีที่ผ่านมา และในปีพ.ศ.2561 มี สาเหตุมาจากการลดลงของปริมาณผลผลิต และราคาเฉลีย ่ ของสินค้าเกษตรที่ ส�ำคัญของจังหวัดเชียงราย (ตารางที่ 1)

17


ตารางที่ 1 สรุปสถานการณ์ผลผลิตและราคาเฉลีย ่ ของสินค้าเกษตร 9 ประเภท ประเภท ข้าว ข้าวโพดเลีย ้ งสัตว์ ยางพารา มันส�ำปะหลัง สับปะรด ล�ำไย ลิ้นจี่ กาแฟ ชา

ปี 60/61 ผลผลิต ราคาเฉลีย ่ -25.95% -32.78% -49.32% 12.65% 126.19% -68.04% -96.83% 7.30% 22.15% -97.86% -2.40% 20.19% 0.86% -8.33% 255.37% 14.92% 107.88% -45.18%

CAGR 2557-2561 ผลผลิต ราคาเฉลีย ่ -9.82% -75.88% -9.21% -31.05% 1.92% -32.84% -67.34% -1.07% -3.73% -13.49% 22.39% 13.85% 3.00% 10.45% 159.42% -18.92% 47.58% 10.69%

ที่มา: กรมส่งเสริมการเกษตร (2561)

อย่างไรก็ตาม เพื่อให้การเติบโตทางเศรษฐกิจภาคเกษตรเป็ นไปอย่าง ยั่งยืน ภาครัฐควรมีแนวทางและยุทธศาสตร์ในการพัฒนาสินค้าเกษตรตัง้ แต่ ต้นน�้ำ คือ การพัฒนาภาคการผลิตให้มีประสิทธิภาพ และมีคุณภาพ ได้แก่ การ ประยุกต์ใช้เทคโนโลยี การผลิตตามมาตรฐานสากล การบริหารจัดการพื้นที่ให้ เหมาะสมกับพืชที่ปลูก กลางน�้ำ คือ การแปรรูปและสร้างมูลเพิ่ม ได้แก่ การ จัดท� ำฐานข้อมู ลเพื่อให้ เกษตรกรสามารถติดตามได้เท่ าทั นการเปลี่ยนแปลง ของประเทศ ภูมิภาค และโลก ส่งเสริมให้มีการรวมกลุ่มผลิตของเกษตรกร ส่ง เสริมเกษตรในการจดทะเบียน GI เป็ นต้น และปลายน�้ำ คือ การส่งเสริมการ ตลาด ได้แก่ ส่งเสริมให้มีตราสินค้า ผนวกกับการท่องเที่ยว สร้างแหล่งจ�ำหน่าย สินค้าเกษตรปลอดภัย พัฒนาการขนส่งและการกระจายสินค้า ซึ่งเป็ นหนึ่งใน ยุทธศาสตร์ ภายใต้แผนการพัฒนาจังหวัดพ.ศ.2561-2564 1.2 อุตสาหกรรม จากรายงานความเคลื่ อ นไหวการลงทุ น อุ ต สาหกรรมของจั ง หวั ด เชี ย งรายประจ� ำเดื อนตุ ลาคม พ.ศ.2561 พบว่ ามี โ รงงานที่ ไ ด้ รับอนุ ญาต ให้ ประกอบกิจการจ�ำนวนทั้งหมด 2,064 แห่ ง โดยมีเงินลงทุ นรวมทั้งหมด 18,732.31 ล้านบาท และมีคนงานทัง้ หมด 14,948 คน โดยสาขาอุตสาหกรรม ที่มีการลงทุนสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ (1) อุตสาหกรรมเกษตร อาทิ ข้าว 18


ข้าวโพดเลีย้ งสัตว์ ถั่วเหลือง ขิง กระเทียม ล�ำไย ลิน ้ จี่ และสับปะรด (2) อุตสาห กรรมอื่นๆที่เกีย ่ วข้องกับห้องเย็น หิน กรวด ดิน หรือทรายที่ใช้ในการก่อสร้าง ยาสูบ และโรงน�้ำแข็ง เป็ นต้น และ (3) อุตสาหกรรมอโลหะ อาทิ การท�ำอิฐ ท่อ กิจการเกีย ่ วกับซีเมนต์ และคอนกรีตผสมเสร็จ จากสถิติโดยรวมทั้งจ�ำนวน โรงงาน เงินลงทุน และคนงานของจังหวัดลดลงเมื่อเปรียบเทียบกับปีเดียวกัน ในช่วงก่อนเล็กน้อย อย่างไรก็ดี อุตสาหกรรมเกษตร และอุตสาหกรรมอื่นๆ มี การลงทุนสูงขึน ้ ขณะทีอ ่ ุตสาหกรรมอโลหะมีการลงทุนลดลง ทัง้ นี ้ อุตสาหกรรม เกษตรมีการจ้างงานเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.59 จาก 3,924 คน ในปีพ.ศ.2560 มา อยู่ที่ 4,222 ในปีพ.ศ.2561 (ตารางที่ 2) ตารางที่ 2 การลงทุนอุตสาหกรรมสะสมประจ�ำเดือนตุลาคมปีพ.ศ.2560 และ 2561 ประเภท

จ�ำนวนโรงงาน (แห่ง) 2560 2561 268 270

เงินลงทุน (ล้านบาท) 2560 2561 6,665 7,357

แรงงาน (คน) 2560 3,924

2561 4,222

อุตสาหกรรม เกษตร อุตสาหกรรมอื่นๆ 160 164 4,229 4,246 1,604 1,655 อุตสาหกรรม 151 154 1,480 1,302 1,338 1,334 อโลหะ รวม 2,501 2,064 21,388 18,732 18,013 14,948 ที่มา: ส�ำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดเชียงราย (2561)

ตัง้ แต่ปพ ี .ศ.2558-2561 สถิติสะสมประจ�ำเดือนตุลาคม พบว่าการ ลงทุ นในภาคอุ ตสาหกรรมของจังหวัดโดยรวม ทั้งจ�ำนวนโรงงาน เงินลงทุ น และจ� ำนวนการลงทุ นลดลง แต่อุตสาหกรรมเกษตร อื่นๆ และอโลหะ ซึ่ ง เป็ นอุ ตสาหกรรมหลักของจังหวัดเชียงรายกลับมี จ�ำนวนโรงงาน เงินลงทุ น และจ�ำนวนแรงงานงานสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องรวมถึงการจ้างงาน โดยเฉพาะใน อุตสาหกรรมเกษตรที่มีการขยายตัวของจ�ำนวนแรงงานอย่างมากในช่วง 4 ปี ที่ผ่านมา

19


2. ด้านการลงทุน สถิติการจดทะเบียนธุรกิจ (คงอยู่) ในปีพ.ศ.2561 อยู่ที่ 5,602 ราย มีมูลค่ารวมทัง้ หมด 30,597.28 ล้านบาท ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบจากปีกอ ่ นมียอด การจดทะเบียนเพิ่มขึ้นมา 10 ราย และเงินลงทุนสูงขึ้นประมาณ 1,000 ล้าน บาท โดยกิจการที่มีการจดทะเบียนธุรกิจมากที่สุด คือ การค้าปลีกค้าส่ง/การ ซ่อมยานยนต์-จักรยานยนต์ รองมาได้แก่ การก่อสร้าง และอสังหาริมทรัพย์ ซึ่ งกิจการส่ วนใหญ่มีการจดทะเบี ยนและเงินลงทุ นเพิ่มขึ้น ยกเว้ นกิจการที่ เกีย ่ วข้องกับไฟฟ้ า ก๊าซ น�้ำ และระบบปรับอากาศที่ลดลง นอกจากนี ้ สาขาการ ศึกษามีเงินลงทุนลดลงกว่าครึง่ หนึ่ง ทัง้ ที่จ�ำนวนกิจการสูงขึน ้ ส่วนสาขาที่มีการ ขยายตัวอย่างมาก คือ กิจกรรมที่เกีย ่ วข้องกับสุขภาพ และสังคมสงเคราะห์ มี การจดทะเบียนสูงขึน ้ 5 ราย และมีเงินลงทุนเพิ่มขึน ้ 629.42 ล้านบาท มากกว่า นี ้ มีทั้งหมด 32 ประเทศที่เข้ามาลงทุนในจังหวัดเชียงราย ทั้งประเทศจากฝั่ ง เอเชีย ยุโรป และอเมริกา โดยประเทศทีม ่ ีการเข้ามาลงทุนหรือมีการจดทะเบียน และเงินลงทุนมากที่สุด คือ จีน และญีป ่ ุ่ น ซึ่งคิดเป็ นสัดส่วนรวมกันกว่าครึ่ง ของการจดทะเบียนโดยชาวต่างชาติทั้งหมด โดยสาขาที่ชาวต่างชาติเข้ามาจด ทะเบียนมากที่สุด คือ สาขาการค้าปลีกค้าส่ง หากแต่สาขาที่มีเงินลงทุนสูงสุด คือ สาขาการผลิต เป็ นเพราะการเข้ามาของนักลงทุนญีป ่ น ุ่ และจีนเป็ นส�ำคัญใน การจัดตัง้ อุตสาหกรรมการผลิตสินค้าเกษตรแปรรูป หรือการแสวงหาวัตถุดิบ ในพื้นที่ ตารางที่ 3 นิติบุคคลคงอยู่และเงินทุนจดทะเบียนรายสาขาปีพ.ศ.2560 และ 2561 สาขา

นิติบุคคลคงอยู่ (ราย)

เงินทุนจดทะเบียน (ล้านบาท)

2560

2561

61/60

2560

2561

61/60

เกษตรกรรม

88

98

11%

1,101

1,740

58%

เหมืองแร่/หิน

43

42

-2%

285

282

-1%

การผลิต

475

528

11%

3,028

3,397

12%

ไฟฟ้ า/ก๊าซ/น�้ำ/ระบบปรับ อากาศ

13

9

-31%

285

13

-95%

การจัดการน�้ำ/ของเสีย

10

12

20%

33

39

15%

การก่อสร้าง

1,310

1,458

11%

6,239

6,618

6%

ขายส่ง-ปลีก/ซ่อม

2,180

2,381

9%

7,570

9,513

26%

20


ขนส่ง/จัดเก็บสินค้า

189

205

8%

1,075

1,209

12%

ที่พักแรม/ร้านอาหาร

243

280

15%

3,877

4,305

11%

ข้อมูล/การสื่อสาร

112

117

4%

149

156

5%

การเงิน/ประกันภัย

72

79

10%

979

1,228

25%

อสังหาริมทรัพย์

292

317

9%

4,469

5,254

18%

วิชาชีพ/วิทยาศาสตร์/วิชาการ

204

232

14%

310

317

2%

การบริหาร/สนับสนุน

274

304

11%

558

588

5%

การศึกษา

31

34

10%

242

118

-51%

สุขภาพ/สังคมสงเคราะห์

15

20

33%

291

920

216%

ศิลปะ/ความบันเทิง

51

53

4%

105

107

2%

5,602

6,169

10%

รวมทั้งหมด

30,597 35,805

17%

ที่มา: กรมพัฒนาธุรกิจการค้า (2562)

จากข้อมูลของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า (2 กันยายน 2561) พบว่าใน ปีพ.ศ.2561 จากเดือนมกราคม-กันยายน มีจ�ำนวนการจดทะเบียนจัดตัง้ ใน เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษเชียงรายทั้งหมด 127 ราย มูลค่าการลงทุนอยู่ที่ 224.53 ล้านบาท ถ้าหากเปรียบเทียบจากช่วงเดียวกับในปีกอ ่ น ถือว่ามีจำ� นวน ลดลงเพียง 1 ราย และเงินทุนลดลง 6.39 ล้านบาท ทีผ ่ ่านมาจากปีพ.ศ.25572560 จ�ำนวนการจดทะเบียนและเงินลงทุนมีทิศทางสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องมา โดยตลอด ทั้งนี ้ การลงทุนในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษคิดเป็ นสัดส่วนร้อยละ 21.08 ของการลงทุนทั้งหมดของจังหวัด โดยมีการลงทุนที่อ�ำเภอแม่สายมาก ที่สุด รองมาคือ เชียงแสน และเชียงของ ซึ่งร้อยละ 90 ของการลงทุนดังกล่าว เป็ นธุรกิจขนาดเล็ก และกว่าครึ่งหนึ่งเป็ นการลงทุนในสาขาการค้าปลีกค้าส่ง ตามมาด้วย การบริการ การผลิต และการเกษตร ส�ำหรับประเทศที่เข้ามาถือ ครองกิจการในมูลค่าสูงสุดคือ จีน รองมาคือ เมียนมา และไต้หวัน โดยมีมูลค่า การถือครองสูงสุดสาขาการขนส่งและขนถ่ายสินค้า ซึ่งมีจ�ำนวนกิจการทัง้ หมด 33 ราย มูลค่ารวม 147.20 ล้านบาท แต่มีสัดส่วนการถือครองสูงสุดในสาขา การท�ำเหมืองแร่สินโลหะ ซึ่งมีจ�ำนวนกิจการเพียง 2 ราย มูลค่ารวม 15 ล้าน บาท15

15 http://www.dbd.go.th/download/document_file/Statisic/2561/Special/CHIANGRAI_Zone.pdf 21


3. การค้าชายแดน 3.1 ภาพรวมการค้าชายแดนจังหวัดเชียงราย ในปีพ.ศ.2561 มูลค่าการค้ารวมมีการขยายตัวสูงขึ้นร้อยละ 12.95 เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดือนมกราคม-พฤศจิกายนในปีกอ ่ น ซึ่งเป็ นมาจากแรง ขับเคลื่อนในด้านของการส่งออกเป็ นส�ำคัญทีม ่ ก ี ารขยายตัวร้อยละ 16.89ขณะ ที่ในด้านการน�ำเข้าหดตัวลดลงร้อยละ 5.23 เป็ นผลให้ได้ดุลการค้าชายแดน สูงขึ้นร้อยละ 23.01 (รูปที่ 20) จากปีพ.ศ.2550-2560 พบว่ากิจกรรมการ ค้าหลักคือการส่งออกมาโดยตลอด โดยมีสัดส่วนการค้าร้อยละ 80 ของมูลค่า การค้าชายแดนทั้งหมด แต่แนวโน้มการส่งออกมีอัตราการเติบโตลดลงอย่าง ต่อเนื่อง ขณะเดียวกัน การน�ำเข้ามีการขยายตัวค่อนข้างคงที่ (รูปที่ 21)

ที่มา: กรมการค้าต่างประเทศ (2561)

3.2 การค้าชายแดนแยกประเทศ การเติบโตของการค้าชายแดนเกิดจากการค้ากับประเทศเมียนมาทีม ่ าก ขึ้นทั้งในด้านการส่งออกและน�ำเข้า โดยในด้านของการส่งออกมีการขยายตัว อยูท ่ ี่รอ้ ยละ 43.89 ขณะที่การน�ำเข้ามีการเติบโตอยูท ่ ี่รอ้ ยละ 17.05 ส่วนการ ค้ากับจีนตอนใต้มีการขยายตัวอย่างมากในด้านของการส่งออกร้อยละ 22.89 แต่การน�ำเข้ามีการหดตัวร้อยละ 6.78 ด้วยสัดส่วนการน�ำเข้าของจีนที่สูง จึง เป็ นผลให้การน�ำเข้าโดยรวมลดลง ทั้งนี ้ สปป.ลาวมีการขยายตัวทั้งในด้านของ การส่งออก และการน�ำเข้าอยู่ที่รอ ้ ยละ 12.27 และ 6.26 ตามล�ำดับ ดังนั้น ด้วยการส่งออกที่มีการขยายตัวในทุกประเทศ และการน�ำเข้าที่หดตัวเพียงแค่ จีนตอนใต้ ท�ำให้ได้ดุลการค้าเพิ่มขึ้นอย่างมาก โดยเฉพาะจากประเทศเมียนมา 22


ที่เพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 80 (รูปที่ 22) เมื่อพิจารณาจากมูลค่าการค้าชายแดนตัง้ แต่ปพ ี .ศ.2550-2560 เห็นได้ว่าการค้ากับทั้งสามประเทศมีการเติบโตควบคู่ ไปพร้อมกัน (รูปที่ 23) แต่ในด้านของการส่งออก สปป.ลาวมีการขยายตัวอย่าง ก้าวกระโดดในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา (รูปที่ 24) น�ำหน้าการค้ากับประเทศเมียนมา และจีนตอนใต้ อย่างไรก็ตาม ในด้านของการน�ำเข้าเกือบทัง้ หมดมาจากประเทศ จีนตอนใต้ตลอดมา (รูปที่ 25)

ที่มา: กรมการค้าต่างประเทศ (2561)

3.3 การค้าชายแดนรายด่าน ด่านที่การค้าชายแดนมีการขยายตัวมากที่สุด คือ ด่านอ�ำเภอแม่สาย รองมาได้แก่ ด่านอ�ำเภอเชียงของ และด่านอ�ำเภอเชียงแสน โดยการค้าผ่าน ด่านอ�ำเภอแม่สายเกือบทั้งหมดเป็ นการส่งออกและน�ำเข้ากับประเทศเมียนมา 23


ซึ่งในปีนีม ้ ีการขยายตัวของการส่งออกไปประเทศเมียนมา แต่มีการส่งออกไป จีนตอนใต้ลดลง ขณะที่มีการน�ำเข้าจากประเทศเมียนมาและจีนตอนใต้มาก ขึ้น ซึ่งอาจมีสาเหตุมาจากการเติบโตทางเศรษฐกิจของเมียนมาที่มีการขยาย ตัวร้อยละ 6.84 ซึ่งมีอัตราสูงขึ้นจากปีก่อน หลังจากอัตราถดถอยมาตัง้ แต่ ปีพ.ศ.2556 ส่วนด่านอ�ำเภอเชียงของมีการส่งออกไปจีนตอนใต้ในมูลค่าสูง ขึ้น แต่กลับมีการน�ำเข้าจากจีนตอนใต้ลดลง ขณะที่การค้ากับสปป.ลาว มีการ ขยายตัวในด้านการส่งออกมากกว่าการน�ำเข้า ในขณะที่การค้าผ่านด่านอ�ำเภอ เชียงของมีการขยายตัวของมูลค่าการส่งออกไปจีนตอนใต้ และมูลค่าการน�ำเข้า จากสปป.ลาว แต่มีการน�ำเข้าจากจีนตอนใต้ลดลง (รูปที่ 24 และ 25) อย่างไร ก็ตาม การค้าชายแดนส่วนใหญ่ของเชียงรายผ่านทางด่านอ�ำเภอเชียงของเป็ น หลัก โดยเฉพาะในด้านของการน�ำเข้า (รูปที่ 27) ขณะที่การส่งออกมีมูลค่าสูง กว่าด่านอ�ำเภอเชียงแสนเล็กน้อย (รูปที่ 26)

ที่มา: กรมการค้าต่างประเทศ (2561) 24


การค้ าชายแดนผ่ านด่ านอ� ำเภอแม่ สายเกื อบทั้ งหมดเป็ นการค้ ากั บ ประเทศเมียนมา โดยสินค้าที่ส่งออกไปประเทศเมียนมาจัดอยู่ในประเภทของ สินค้าทุน สินค้าอุปโภค-บริโภค วัสดุก่อสร้าง ซึ่งสินค้าส่วนใหญ่มีการขยาย ตัวสูงขึ้น โดยเฉพาะเครื่องดื่มที่มีแอลกฮอล์ขยายตัวถึงร้อยละ 524.61 ส่วน การน�ำเข้าจากเมียนมาส่วนมากเป็ นแร่ สินค้าเกษตร ปศุสัตว์ และสิ่งทอ แต่มี บางสินค้าทีไ่ ม่มีการน�ำเข้าในปีกอ ่ น ได้แก่ อะลูมิเนียมและผลิตภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์ อาหารอื่นๆ และโค กระบือ สุกร แพะ แกะ ขณะเดียวกัน การน�ำเข้าจากจีนตอน ใต้เป็ นสินค้าจ�ำพวกอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานเข้มข้นอย่างอุตสาหกรรมสิ่งทอ เฟอร์นิเจอร์ เครื่องใช้ในครัว รวมถึงสินค้าประเภทเครื่องใช้ไฟฟ้ า เครื่องท�ำน�้ำ ร้อน และเครือ ่ งมือแพทย์/อุปกรณ์ทางการแพทย์ ซึ่งเป็ นสินค้าที่จัดอยู่ในกลุ่ม ทีใ่ ช้เทคโนโลยีขน ั้ สูง โดยทีส ่ ินค้าในหมวดหมูข ่ องอุตสาหกรรมสิ่งทอมีการหดตัว ลดลง ในขณะที่การส่งออกกว่าร้อยละ 80 กระจุ กอยู่ในสินค้า 5 อันดับแรกที่ มีมูลค่าสูงสุด ได้แก่ โดยมูลค่าการส่งออกค่อนข้างต�่ำ แต่เครื่องส�ำอาง เครื่อง หอม และสบู่ และน�้ำผลไม้มีการขยายตัวสูงขึ้นอย่างมาก (ตารางที่ 4)

ตารางที่ 4 สินค้า 5 อันดับแรกที่มีมูลค่าและการขยายตัวสูงสุดของ ด่านแม่สายปีพ.ศ.2561 ประเทศ เมียนมา

มูลค่าสูงสุด ส่งออก น�ำเข้า น�้ำมันดีเซล, สินแร่ โลหะ น�้ำมันส�ำเร็จรู อื่นๆ, ผลไม้ละ ปอื่นๆ, เครื่อง ของปรุงแต่ง, ดื่มที่มีแอล เหล็ก, กาแฟ กอฮอส์, ชา เครื่องเทศ, เหล็กและ ผักและของ เหล็กกล้า, ปรุงแต่ง เครื่องดื่มที่ไม่ มีแอลกอฮอส์

25

ขยายตัวสูงสุด ส่งออก น�ำเข้า เครื่องดื่ม เครื่องพัก ที่มีแอลกอ กระแสไฟฟ้ า, ฮอส์, รถยนต์ ผ้าทอด้วยด้าย อุปกรณ์และ ฝ้ าย, ผักและ ส่วนประกอบ, ของปรุงแต่ง บะหมี่ก่ึง จากผัก ส�ำเร็จรูปและ อาหารส�ำเร็จ, เคมีภัณฑ์ อินทรีย์, น�้ำมันส�ำเร็จรูปอื่นๆ


จีนตอนใต้

เครื่องส�ำอาง เครื่องหอม และสบู่, น�้ำมันปาล์ม, น�้ำมันส�ำเร็จ รูปอื่นๆ, น�้ำตาลทราย, ผลิตภัณฑ์ เภสัชภัณฑ์

เสื้อผ้า ส�ำเร็จรูป, ผลิตภัณฑ์ อาหารอื่นๆ, เครื่องใช้ไฟฟ้ า และอุปกรณ์ อื่นๆ, กระเป๋ า, รองเท้า

น�้ำผลไม้, เครื่องส�ำอาง เครื่องหอม และสบู่

ที่มา: กรมการค้าต่างประเทศ (2561)

เครื่องใช้เบ็ด เตล็ดอื่นๆ, สิ่งพิมพ์, เครื่องจักรที่ ใช้ในอุตสาหกรรมฯ, เฟอร์นิเจอร์, เครื่องใช้ไฟฟ้ า และอุปกรณ์ อื่นๆ

การค้าชายแดนผ่านด่านอ�ำเภอเชียงแสนส่วนใหญ่เป็ นการค้ากับสปป. ลาว ซึ่งมีสัดส่วนค่อนข้างสูงในด้านของการส่งออก โดยสินค้าทีส ่ ่งออกไปสปป. ลาวส่วนใหญ่เป็ น “สินค้าเกษตรขัน ้ ต้น” (ไก่ ยางพารา สุกร ผักสด) และ “สินค้า ทุน” (น�้ำมันดีเซล น�้ำมันส�ำเร็จรูปอื่นๆ สินค้าแร่และเชื้อเพลิงอื่นๆ) ส่วนการน�ำ เข้าที่มีมูลค่าเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่ องมี เพียงแค่ผลิตภั ณฑ์ จากพืชอื่นๆ และหิ น อ่อน/แกรนิตเท่านั้น ส่วนเมียนมาเป็ นประเทศที่มีการค้ารองลงมา โดยสัดส่วน เกือบทัง้ หมดเป็ นการส่งออก สินค้าทีท ่ �ำการส่งออกคือ “สินค้าอุปโภค-บริโภค” (เครือ ่ งดื่ม) “สินค้าทุน” (น�้ำมันดีเซล น�้ำมันส�ำเร็จรูปอื่นๆ) และ “สินค้าเกษตร ขัน ้ ต้น/แปรรูป” (ยางพารา น�้ำตาลทราย ล�ำไยสด ผักสด ข้าว) ทั้งนี ้ จีนตอน ใต้เป็ นประเทศที่มีการค้าน้อยที่สุด โดยมีการส่งออกมากกว่าการน�ำเข้า สินค้า มากกว่าครึ่งหนึ่ งของมูลค่าการน� ำเข้าทั้งหมดเป็ นการน� ำเข้าข้าว อีกร้อยละ 22.22 เป็ นแป้ ง และที่เหลือเป็ นสินค้าอื่นๆ อาทิ เครื่องจักร เนื้อสัตว์ สัตว์น�้ำ ขณะที่สินค้าส่งออกที่ส�ำคัญคือ “สินค้าทุน” (น�้ำมันดีเซล น�้ำมันส�ำเร็จรูปอื่นๆ) “สินค้ากสิกรรมขัน ้ ต้น” (ยางพารา ไก่) และ “สินค้าเกษตรแปรรูป” (ผลไม้ แปรรูป น�้ำตาลทราย น�้ำมันปาล์ม ไขมันและน�้ำมันจากพืชและสัตว์อ่ืนๆ) โดย หากพิจารณาจากทั้ง 3 ประเทศ พบว่าสินค้าที่มีมูลค่าการส่งออกใน 20 อันดับ แรก ได้แก่ น�้ำมันดีเซล น�้ำตาลทราย ยางพารา น�้ำมันส�ำเร็จรูปอื่นๆ ข้าว รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ยานพาหนะอื่น ๆ และส่วนประกอบ ซึ่งนอกจากจะมี การส่งออกสินค้าจากประเทศไทยผ่านด่านอ�ำเภอเชียงแสนโดยตรงไปประเทศ จีนทางตอนใต้ ผู้ประกอบการได้ท�ำการส่งออกสินค้าสปป.ลาว และเมียนมาต่อ ไปจีนตอนใต้เช่นเดียวกัน (ตารางที่ 5) 26


ตารางที่ 5 สินค้า 5 อันดับแรกที่มีมูลค่าและการขยายตัวสูงสุดของ ด่านเชียงแสนปีพ.ศ.2561 ประเทศ เมียนมา

จีนตอนใต้

สปป.ลาว

มูลค่าสูงสุด ส่งออก น�ำเข้า เครื่องดื่มที่มี แอลกฮอล์, น�้ำมันดีเซล, น�้ำตาลทราย, ยางพารา, เครื่องดื่มที่ไม่ มีแอลกฮอล์

ขยายตัวสูงสุด ส่งออก น�ำเข้า ข้าว, บะหมี่ก่ึง ส�ำเร็จรูปและ อาหารส�ำเร็จ, เครื่องจักรที่ ใช้ในการก่อ สร้างฯ, น�้ำมัน ส�ำเร็จรูปอื่นๆ, น�้ำมันดีเซล น�้ำมันดีเซล, ข้าว, แป้ ง, สิ่งทออื่นๆ, สินค้าทุนอื่นๆ, รถยนต์ เครื่องจักรใช้ ผลไม้แปรรูป, กาแฟ ชา อุปกรณ์และ ในอุตสาหน�้ำมันส�ำเร็จรู เครื่องเทศ, ส่วนประกอบ, กรรมฯ, สัตว์ ปอื่นๆ, เครื่อง สิ่งพิมพ์, ยางพารา, ไก่, น�้ำ, กระดาษ ส�ำอาง เครื่อง กระดาษ/ ผลไม้แปรรูป และผลิตภัณฑ์ หอมและสบู่, กระดาษแข็ง, เม็ดพลาสติก เครื่องจักรที่ใช้ อื่นๆ ในอุตสาหกรรมฯ สินค้าปศุสัตว์ พืชและ ผลไม้แปรรูป, หินอ่อนและ อื่นๆ, ไก่, ผลิตภัณฑ์จาก ยานพาหนะ หินแกรนิต น�้ำมันดีเซล, พืชอื่นๆ, หิน อื่นๆ และส่วน ยางพารา, อ่อนและหิน ประกอบ, เครื่องดื่มที่มี แกรนิต สินค้ากสิกร แอลกฮอล์ รมอื่นๆ, สุกร สดแช่เย็นแช่ แข็ง, เป็ ดสด แช่เย็นแช่แข็ง ที่มา: กรมการค้าต่างประเทศ (2561)

27


การค้ าผ่ านด่ านอ� ำเภอเชี ย งของมี สัดส่ วนของการค้ ากั บจี นตอนใต้ มากกว่าการค้ากับสปป.ลาว โดยเฉพาะการน�ำเข้า โดยการส่งออกไปจีนตอน ใต้มากกว่าร้อยละ 60 เป็ นการส่งออกผลไม้สด นอกจากนั้น เป็ นการส่งออก สินค้าเกษตรอื่นๆ เช่น ล�ำไยแห้ง ข้าว ผักสด ทุเรียน กล้วยไม้ ยางพารา มังคุด โดยสินค้าที่มีการหดตัวอย่างมาก คือ ข้าว ร้อยละ 13.42 และสินค้าที่มีการ ขยายตัวอย่างมาก คือ ถั่ว ขณะที่การน�ำเข้าจากจีนตอนใต้เป็ นสินค้าเกษตร เช่นเดียวกัน ซึ่งท�ำการน�ำเข้าข้าวกว่าร้อยละ 44.66 ผลไม้และของปรุงแต่ง อีกร้อยละ 33.79 ที่เหลือเป็ นการน� ำเข้าผั กและของปรุ งแต่ง เฟอร์นิเจอร์ เครือ ่ งจักรทีใ่ ช้ในอุตสาหกรรม และเคมีภัณฑ์อนินทรีย์ โดยโครงสร้างสินค้าไม่มี การเปลีย ่ นแปลงจากปีก่อน ทั้งนีก ้ ารส่งออกไปสปป.ลาวค่อนข้างหลากหลาย กว่า ทั้งสินค้าทุน วัสดุก่อสร้าง สินค้าเกษตรขัน ้ ต้นและแปรรูป สินค้าอุปโภคบริโภค โดยในปีก่อนมีการส่งออกน�้ำมันดีเซลเป็ นอันแรก แต่ในปีนีก ้ ลายเป็ น สินค้าปศุสัตว์ที่มีการขยายตัวสูงขึ้นมาแทน แต่ในด้านของการน�ำเข้า สัดส่วน ร้อยละ 77.81 เป็ นการน�ำเข้าถ่านหิน ผลิตภัณฑ์จากแร่อ่ืนๆ ของเล่น และ ผลิตภัณฑ์พืช โดยสินค้าที่มีการขยายตัวสูงขึ้นถึงร้อยละ 173.20 คือ เหล็ก (ตารางที่ 6) ตารางที่ 6 สินค้า 5 อันดับแรกที่มีมูลค่าและการขยายตัวสูงสุดของ ด่านเชียงของปีพ.ศ.2561 ประเทศ จีนตอนใต้

มูลค่าสูงสุด ส่งออก น�ำเข้า ผลไม้สด, ข้าว, ผลไม้ ล�ำไยแห้ง, และของปรุง ข้าว,ผักสด , แต่งจากผล เครื่องส�ำอาง ไม้, ผักและ เครื่องหอม ของปรุง และสบู่ แต่งจากผัก, เฟอร์นิเจอร์, เครื่องจักรที่ใช้ ในอุตสาหกรรมฯ

28

ขยายตัวสูงสุด ส่งออก น�ำเข้า ถั่ว, ผลไม้ กระจก แก้ว สด, ทุเรียนแช่ และผลิต เย็นจนแข็ง, ภัณฑ์อ่ืนๆ, บะหมี่ก่ึง เครื่องจักรใช้ ส�ำเร็จรูปและ ในการเกษตร, อาหารส�ำเร็จ, พืชส�ำหรับ ผักสด ท�ำพันธุ,์ บรรจุ ภัณฑ์ กระดาษ, แผ่นฟิล์มฟอยด์ แถบท�ำ ด้วยพลาสติก


สปป.ลาว

สินค้าปศุสัตว์ อื่นๆ, น�้ำมัน ดีเซล, ปูน ซิเมนต์, ไก่, ข้าว

ถ่านหิน, ผลิตภัณฑ์จาก แร่อ่ืนๆ, ของ เล่น, พืชและ ผลิตภัณฑ์ จากพืชอื่นๆ, เหล็ก

สินค้าปศุสัตว์ อื่นๆ, วัตถุดิบ เพื่อใช้ท�ำ เครื่องส�ำอาง, ปูนซิเมน ต์, เอทิลีน, กระดาษแข็ง

กระจก แก้ว และผลิตภัณฑ์ อื่นๆ, ผ้าทอ ด้วยด้ายฝ้ าย, พืชน�้ำมันและ ผลิตภัณฑ์, เหล็ก, สินค้า ทุนอื่นๆ

ที่มา: กรมการค้าต่างประเทศ (2561)

4. การท่องเที่ยว ในปีพ.ศ.2560 จ�ำนวนนักท่องเทีย ่ วมีปริมาณสูงขึน ้ ร้อยละ 8.15 ถือว่า มีการขยายตัวที่ดีขึ้นจากปีก่อนที่มีอัตราอยู่ที่รอ ้ ยละ 3.59 โดยเฉพาะนักท่อง เที่ยวต่างชาติที่ในปีนีม ้ ีการเติบโตอยู่ที่รอ ้ ยละ 6.11 ทั้งที่ในปีก่อนมีการหดตัว เล็กน้อยร้อยละ 0.14 ขณะที่นักท่องเที่ยวชาวไทยมีการขยายตัวที่ดีขึ้นเช่น เดียวกัน (รูปที่ 31) นอกจากนี ้ การท่องเที่ยวในช่วง 10 ปีที่ผ่านมามีการเติบโต ที่ดท ี ัง้ นักท่องเที่ยวชาวไทยและต่างชาติ โดยมีอต ั ราการเติบโตเฉลีย ่ สะสมอยูท ่ ี่ ร้อยละ 13.64 และ 8.26 ตามล�ำดับ (รูปที่ 32) ทั้งนี ้ ค่าใช้จ่ายของนักท่อง เที่ยวเฉลีย ่ ต่อหัวต่อวันเพิ่มสูงขึ้น โดยนักท่องเที่ยวต่างชาติมีการใช้จ่ายเพิ่มขึ้น ร้อยละ 6.42 ขณะที่นักท่องเที่ยวชาวไทยมีการใช้จ่ายสูงขึ้นร้อยละ 4.56 ซึ่ง มีอัตราการเติบโตสูงกว่าปีก่อน จ�ำนวนของนั กท่ องเที่ยวที่เดินทางผ่ านด่านตรวจคนเข้าเมื องอ�ำเภอ เชียงของผ่ านทางสะพานมิตรภาพไทย-ลาวแห่ งที่ 4 ลดลงในปีพ.ศ.2560 ร้อยละ 6.96 ซึ่งในปีก่อนมีการขยายตัวร้อยละ 18.80 โดยจ�ำนวนของนัก ท่องเที่ยวผ่านด่านดังกล่าวมีการขยายตัวต่อเนื่องมาตัง้ แต่ปพ ี .ศ.2556 ขณะ เดียวกัน ด่านตรวจคนเข้าเมืองอ�ำเภอเชียงแสนมีการเติบโตถึงร้อยละ 51.26 เป็ นการขยายตัวที่สูงกว่าในปีกอ ่ นที่มีอต ั ราอยูท ่ ี่รอ้ ยละ 13.91 ซึ่งการข้ามด่าน อ�ำเภอเชียงแสนเป็ นการโดยสารทางน�้ำ (รูปที่ 33) นอกจากนี ้ ในปีนี้ จ�ำนวน ผู้ โดยสารผ่ านท่ าอากาศยานมี การขยายตัวอย่างมาก โดยเฉพาะผู้ โดยสาร ระหว่างประเทศมีการเติบโตสูงขึ้นถึงร้อยละ 98.59 ในขณะที่ผู้โดยสารใน ประเทศมีการขยายตัวอยู่ที่รอ ้ ยละ 11.97 ทั้งที่ในปีก่อนทั้งผู้โดยสารระหว่าง ประเทศและในประเทศมีการหดตัวลดลง (รูปที่ 34)

29


ท่ าอากาศยานแม่ ฟ้าหลวงจังหวัดเชียงรายมี ทั้งหมด 6 สายการบิน ทีท ่ �ำการบินภายในประเทศ ได้แก่ การบินไทยสไมล์ ไทยเวียดเจ็ทแอร์ ไทยแอร์เอเชีย นกแอร์ และไทยไลอ้อนแอร์ ส่วนที่ท�ำการบินระหว่างประเทศมีทั้งหมด 8 สายการบิน ได้แก่ ไทยแอร์เอเชีย ไทยไลอ้อนแอร์ เสฉวนแอร์ไลน์ ไชน่าอีส เทิรน ์ แอร์ไลน์ ไหหนานแอร์ไลน์ ฮ่องกงเอ็กซเพรส ลุ่ยลีแ ่ อร์ไลน์ และตงไห่แอร์ ไลน์ โดยเทีย ่ วบินในประเทศมีการเดินทางไปกรุงเทพฯ หากใหญ่ และภูเก็ต ส่วน เที่ยวบินระหว่างประเทศมีการเดินทางไปสิงคโปร์ มาเลเซีย (กัวลาลัมเปอร์) มา เก๊า จีน (ฉางชา-หูหนาน, เฉิงตู-เสฉวน, คุนหมิง-ยูนนาน เซินเจิ้น-กวางตุ้ง และจิ่งหง-สิบสองปั นนา ว่านซู-ฉงชิ่ง) และฮ่องกง16 ทั้งนี ้ มีการเปิดใช้งานมา ตัง้ แต่ปพ ี .ศ.2535 มีปริมาณผู้โดยสารเป็ นอันดับ 6 ของประเทศ มีอัตราการ เติบโตของผู้โดยสาร รวมถึงมีสายการบิน และเที่ยวบินเพิ่มขึ้น จึงส่งผลให้มี โครงการพัฒนาท่าอากาศยาน แบ่งแผนออกเป็ น 2 ระยะ ในแผนงานการพัฒนา ระยะที่หนึ่ง ระหว่างปีพ.ศ.2567-2571 มีเป้ าหมายในการพัฒนาให้สามารถ รองรับปริมาณจราจรทางอากาศได้ถึงปีพ.ศ.2576 และรองรับผู้โดยสารได้ 4.8 ล้านคนต่อปี ได้แก่ การพัฒนาลานจอดเฮลิคอปเตอร์ ลานจอดอุปกรณ์ สนับสนุนภาคพื้น ขยายอาคารผู้โดยสารทางทิศใต้ ก่อสร้างอาคารรองรับ VIP และ VVIP โรงบ�ำบัดน�้ำเสีย ปรับปรุงระบบผลิตน�้ำประปา ขยายอาคารคลัง สินค้า ก่อสร้างสถานไฟฟ้ าย่อย และก่อสร้างทางขับขนานทิศใต้ ในระยะต่อมา ระหว่างปีพ.ศ.2572-2576 มีเป้ าหมายการพัฒนาให้สามารถรองรับปริมาณ จราจรทางอากาศได้ถึงปีพ.ศ.2581 และรองรับผู้โดยสารได้ 5.2 ล้านคนต่อ ปี ได้แก่ การก่อสร้างลานจอดอากาศยานด้านทิศใต้ ก่อสร้างอาคารผู้โดยสาร และก่อสร้างลานจอดอุปกรณ์ภาคพื้น17

ที่มา: กรมการค้าต่างประเทศ (2561) 16 สามารถตรวจสอบได้ใน Google Flights 17 โครงการพัฒนาท่าอากาศยานแม่ฟ้าหลวง. (ม.ป.ป.). ข้อมูลโครงการ. 30


ที่มา: กรมการค้าต่างประเทศ (2561)

สรุปสถานการณ์เศรษฐกิจชายแดนจังหวัดเชียงรายปี 2018 ในปีพ.ศ.2559 มีการขยายตัวอยู่ที่รอ ้ ยละ 2.17 ซึ่งขยายตัวสูงกว่า การเติบโตของเศรษฐกิจของภูมิภาค แต่ยังคงต�่ำกว่าการเติบโตของประเทศ ทัง้ นี ้ ภาคเกษตรกรรมมีการหดตัวลดลง ซึ่งมีการลดลงต่อเนื่องมาตัง้ แต่ปพ ี .ศ. 2556 ขณะเดียวกัน ภาคนอกเกษตรกลับมีการเติบโตสูงขึน ้ โดยเฉพาะในสาขา การก่อสร้าง อสังหาริมทรัพย์ และศิลปะ นันทนาการ และความบันเทิง จึงเห็น ถึงได้แนวโน้มของการขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจในภาคของบริการ ในด้านของ การผลิตปีพ.ศ.2561 สิ นค้าเกษตรส่ วนหนึ่ งมีปริมาณผลผลิตสู งขึ้น ได้แก่ ยางพารา สับปะรด ลิ้นจี่ กาแฟ และชา อีกส่วนหนึ่งมีปริมาณผลผลิตลดลง ได้แก่ ข้าว ข้าวโพดเลีย ้ งสัตว์ มันส�ำปะหลัง และล�ำไย ส�ำหรับสินค้าเกษตรที่มี ราคาเฉลีย ่ สูงขึ้น ได้แก่ ข้าวโพดเลีย ้ งสัตว์ มันส�ำปะหลัง ล�ำไย และกาแฟ ใน ขณะที่สินค้าเกษตรที่มีราคาเฉลีย ่ ลดลง ได้แก่ ข้าว ยางพารา สับปะรด ลิ้นจี่ และชา ดังนั้น สินค้าเกษตรที่ก�ำลังจะมีแนวโน้มลดลง คือ ข้าว ซึ่งทั้งผลผลิต และราคาเฉลี่ยมีการปรับตัวลดลง ขณะที่สินค้าเกษตรที่มีแนวโน้มสูงขึ้น คือ กาแฟ ซึ่งทัง้ ผลผลิตและราคาเฉลีย ่ มีการปรับตัวสูงขึน ้ อย่างไรก็ดี เมื่อพิจารณา จากการขยายตัวในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา ปริมาณของผลผลิตของสินค้าเกษตร ส่วนใหญ่มีทิศทางขยายตัวสูงขึ้น ส่วนราคาเฉลีย ่ มีการปรับตัวลดลง โดยการ ด�ำเนินการส่งเสริมการเกษตรพ.ศ.2561 ที่ผ่านมา ได้พยายามที่จะผนวกกับ แผนแม่บทด้านโลจิสติกส์โดยชูขา้ วเป็ นต้นแบบในการบริหารจัดการ และท�ำให้ เกิดการร่วมกลุ่มของเกษตรกร18 นอกจากนี ้ ได้มีโครงการสานพลังประชารัฐ 18 ส�ำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. (21 พฤษภาคม 2561). เกษตรฯ ลุยแผนแม่บทกา รพัฒนาโลจิสติกส์และโซ่อุปทานภาคการเกษตร ปี 60-64. 31


เพื่อสนับสนุนการปลูกข้าวโพดหลังฤดูท�ำนา เพื่อแก้ปัญหาราคาสินค้าเกษตร ล้นตลาด และราคาตกต�่ำ19 ในปีพ.ศ.2562 ภาครัฐได้มีเป้ าหมายส�ำคัญที่จะ พัฒนาประสิทธิภาพการบริหารจัดการสินค้าเกษตรตลอดห่วงโซ่อุปทาน เน้นที่ 5 สินค้า ได้แก่ ข้าว ข้าวโพดเลีย ้ งสัตว์ มันส�ำปะหลัง ปาล์มน�้ำมัน และยางพารา ให้ได้มาตรฐานตามความต้องการของตลาด รวมทั้งพัฒนากระบวนการแปรรูป และการตลาด และมีเป้ าหมายเพื่อการพัฒนาศักยภาพของเกษตรกรให้มีความ อัจฉริยะ (Smart Farmer)20 การลงทุนของอุตสาหกรรมโดยรวมลดลง แต่อุตสาหกรรมเกษตรมีการ ขยายตัวสูงขึ้น โดยมีจ�ำนวนการจ้างงานเพิ่มขึ้นเกือบ 5 เท่าตัว ในด้านของการ ลงทุนทั่วไป เกือบทุกสาขามีการขยายตัวสูงขึ้นทั้งในด้านของจ�ำนวนนิติบุคคล คงอยู่ และเงินทุนจดทะเบียน ยกเว้นสาขาเหมืองแร่และหิน และไฟฟ้ า ก๊าซ น�้ำ และระบบปรับอากาศ ขณะที่สาขาการศึกษามีเงินทุนจดทะเบียนลดลงจากปี ก่อน แม้ว่ามีจ�ำนวนนิตบ ิ ุคคลมากขึน ้ ในด้านของการค้าชายแดน การส่งออกไป ทุกประเทศในมูลค่าที่สูงขึ้น ทั้งสปป.ลาว เมียนมา และจีนตอนใต้ แต่มีการน�ำ เข้าจากจีนตอนใต้ลดลงอย่างมาก ซึ่งด่านชายแดนของจังหวัดเชียงรายที่มีการ ขยายตัวทางการค้ามากที่สุด คือ ด่านอ�ำเภอเชียงของ รองมาเป็ นด่านอ�ำเภอ แม่สาย และเชียงแสน ทัง้ นี ้ สินค้าที่มีการส่งออกในแต่ละด่านมีความคล้ายคลึง กัน ประกอบด้วย สินค้าทุน สินค้าอุปโภค-บริโภค วัสดุกอ ่ สร้าง สินค้าเกษตรขัน ้ ต้นและแปรรูป หากแต่สินค้าที่มีการน�ำเข้าขึ้นอยู่กับแต่ละประเทศ โดยการน�ำ เข้าจากจีนตอนใต้เป็ นสินค้าประเภทอุตสาหกรรมสิ่งทอ เครื่องจักร และสิน ค้าอิเล็คทรอนิคส์ ส่วนการน�ำเข้าจากสปป.ลาว และเมียนมาเป็ นสินค้าจ�ำพวก ทรัพยากรธรรมชาติ เช่น หิน แร่ เป็ นต้น รวมถึงสินค้าเกษตรขัน ้ ต้นต่างๆ ในด้านของการท่องเที่ยวในปีพ.ศ.2560 จ�ำนวนนักท่องเที่ยวที่เข้ามามี การขยายตัวสูงขึ้นจากปีก่อน ทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ ขณะที่นักท่องเที่ยว ที่เดินทางข้ามแดนตรงด่านอ�ำเภอเชียงของมีปริมาณลดลง ส่วนเชียงแสนมี จ�ำนวนนักท่องเที่ยวผ่ านแดนเพิ่มขึ้น มากกว่านี ้ มีจ�ำนวนผู้ โดยสารที่ผ่านท่า อากาศยานมากขึ้ นเช่ นเดี ยวกั น โดยเฉพาะผู้ โดยสารที่ เข้ าและออกในต่าง ประเทศ รวมถึงเที่ยวบินทั้งภายในประเทศ และระหว่างประเทศที่เพิ่มขึ้น ทั้งนี ้ 19 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. (18 ตุลาคม 2561). รัฐมนตรีเกษตรฯ สั่งเข้มเดินหน้า “โครงการสานพลังประชารัฐเพื่อสนับสนุนการปลูกข้าวโพดหลังฤดูท�ำนา ปี 2561” ให้ได้ ตามเป้ า 2 ล้านไร่ ใน 33 จังหวัด. 20 ไทยรัฐ. (14 กุมภาพันธุ์ 2561). งบปี 62 อลังการกว่า 2 แสนล้าน เกษตรฯฝั นใหญ่ ทุ่มเงินปั้ น “เกษตรกรปราดเปรื่อง”. 32


การด�ำเนินนโยบายของภาครัฐในการส่งเสริมการท่องเที่ยวในปีพ.ศ.25572560 ด้วยยุทธศาสตร์ที่ 3 การด�ำรงฐานวัฒนธรรมล้านนา เพื่อเพิ่มมูลค่าการ ท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม เชิงนิเวศ และเชิงสุขภาพ ได้มีการส่งเสริมให้การสร้าง ความเชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้าน การก่อสร้าง River of Art หอศิลป์ ริมฝั่ ง แม่น�้ำกก การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวแบบ Long stay การเพิ่มประสิทธิภาพ ในการบริหารจัดการการท่องเที่ยวชุมชน (Community-Based Tourism: CBT) ซึ่งส่วนใหญ่เป็ นการพัฒนาทีเ่ กีย ่ วข้องกับการบ�ำรุงศาสนาและวัฒนธรรม ได้แก่ งานสืบสานต�ำนานไทลื้อจังหวัดเชียงราย21 มากกว่านี ้ ได้มีการจัดการ ท่องเที่ยวที่เชื่อมโยงภายในภูมิภาค คือ โครงการ 5 เส้นทางเกษตรสีเขียวท่อง เทีย ่ วชุมชน ซึ่งเป็ นความร่วมมือระหว่างจังหวัดเชียงราย พะเยา แพร่ และน่าน22 ทั้ งนี ้ กระแสการท่ องเที่ ยวที่ ก�ำลั งจะเกิ ดขึ้ นในปีพ.ศ.2562 ได้ แก่ 1) การเรียนรู ้ เป็ นการมองหาความหมายของการเดินทาง ทักษะการใช้ชีวิต และการท�ำงานอาสาสมัคร 2) ความสะดวกสบาย การอาศัยนวัตกรรมและ เทคโนโลยีเข้ามาเป็ นเครื่องมือที่ช่วยในการอ�ำนวยความสะดวกในการเดินทาง 3) การเจาะลึกเฉพาะคน การใช้ข้อมูลการเดินทางมาวิเคราะห์ด้วยเครื่องมือ เพื่อช่วยค้นคว้าข้อมูล และแนะน�ำตัวเลือกส�ำหรับการเดินทาง 4) การเดินทาง อย่างตระหนักรู ้ ซึ่งเกิดจากการตื่นตัวในประเด็นปั ญหาทางสังคม ทัง้ ในด้านของ ความเท่าเทียม สิทธิมนุษยชน หรือสิ่งแวดล้อม เพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อผู้คน ทีอ ่ าศัยอยูใ่ นแหล่งท่องเทีย ่ ว ตลอดจนการมองหาการเดินทางทีป ่ ลอดภัยต่ออัต ลักษณ์ทางเชื้อชาติ แลเพศวิถี 5) การปราศจากพลาสติก การมีจิตส�ำนึกของ นักเดินทางต่อการรักษาสิ่งแวดล้อม และพร้อมที่จะชดเชยผลกระทบที่เกิดขึ้น 6) การเก็บรักษาประสบการณ์ การค�ำนึงถึงสิ่งที่จะท�ำมากกว่าแค่การไปเยือน ที่ท�ำให้เรียนรู ค ้ วามแตกต่าง และวิถีชีวิตความเป็ นท้องถิ่น 7) การท่องเที่ยว ระยะสั้น เป็ นการวางแผนการท่องเที่ยวในช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์ รวมถึงการ ท่องเที่ยวในราคาประหยัด23 ดังนั้น การด�ำเนินนโยบายเพื่อส่งเสริมการท่อง เที่ยวของจังหวัดเชียงราย ควรค�ำนึงถึงกระแสการท่องเที่ยวที่นักท่องเที่ยวทั่ว โลกต่างให้ความสนใจในปั จจุ บัน โดยเฉพาะการมีฐานข้อมูลเชิงลึกของพื้นที่ เพื่อน�ำมาวิเคราะห์และต่อยอดไปสู่กลยุทธ์ในการดึงดูดนักท่องเที่ยว 21 ส�ำนักงานจังหวัดเชียงราย. (2559). แผนพัฒนาจังหวัดเชียงรายพ.ศ. 2561-2564. 22 ส�ำนักงานท่องเทีย ่ วและกีฬาจังหวัดเชียงราย. (2018). 5 เส้นทางท่องเทีย ่ วสีเขียว เกษตร ชุมชน. 23 ผู้จัดการออนไลน์. (19 ตุลาคม 2561). 8 เทรนด์ปี 2013 เน้นแลกเปลีย ่ นวัฒนธรรม และแนวคิด “Less is more”. 33


จากการเปลี่ยนแปลงในด้านของต่างๆ ท� ำให้ เห็ นว่าเศรษฐกิจในช่วง ปีพ.ศ.2560-2561 มีการขยายตัวที่ดีขึ้นในเกือบทุกด้าน ทั้งการผลิตภาค อุตสาหกรรม การลงทุน การค้าชายแดน และการท่องเทีย ่ ว ยกเว้นเพียงแต่ดา้ น การเกษตรทีค ่ วรจับตามองต่อการลดลงของราคาเฉลีย ่ ทีส ่ วนทางกับการผลิตที่ สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งสะท้อนอย่างชัดเจนผ่านผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ ในภาคการเกษตรทีม ่ ีแนวโน้มลดลงในช่วงหลายปีทีผ ่ ่านมา อย่างไรก็ดี นอกจาก ภาวะสินค้าเกษตรที่มีราคาตกต�่ำ สิ่งที่ควรกังวล คือ การยืดเยื้อของสงคราม การค้าระหว่างจีนและสหรัฐอาจจะส่งผลกระทบต่อการค้าชายแดน เนื่องจาก ปั จจุ บันห่วงโซ่การผลิตต่างๆของไทยค่อนข้างมีความเชื่อมโยงกับจีนค่อนข้าง มาก รวมถึงการชะลอตัวทางเศรษฐกิจของจีน แต่กระนั้นผลกระทบเชิงบวก ที่เกิดจากสงครามดังกล่าวคือมีการไหลเวียนของทุนจากประเทศจีนเข้ามาใน ภาคของอุตสาหกรรมการผลิตมากขึ้น24 มากกว่านั้น จังหวัดเชียงรายก�ำลัง จะมี โครงการขนาดใหญ่ที่เกี่ยวข้องกับส่ งเสริมการค้าและการลงทุ น ได้แก่ การก่อสร้างเส้นทางรถไฟเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ และการก่อสร้างศูนย์ เปลี่ย นถ่ า ยรู ป แบบการขนส่ ง สิ น ค้ า เชี ย งของ รวมถึ ง โครงการพั ฒ นาเขต เศรษฐกิจพิเศษชายแดนต่างๆ25 ซึ่งอาจจะเป็ นปั จจัยที่ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ ในอนาคต เอกสารอ้างอิง EIC. (9 มกราคม 2562). เศรษฐกิจจีน: เติบโตชะลอลง พร้อมจับตาการ เจรจา ในช่วงพักรบสงครามการค้ากับสหรัฐฯ. สืบค้นจาก https:// www.scbeic.com/th/detail/product/5078 Thai PBS News. (20 มิถุนายน 2561). เบื้องหลัง! “สับปะรด” ภูแล ล้นตลาด. สืบค้นจาก https://news.thaipbs.or.th/con tent/272875 โครงการพัฒนาท่าอากาศยานแม่ฟ้าหลวง. (ม.ป.ป.). ข้อมูลโครงการ. สืบค้นจาก https://www.mfl-airport-eia.com/projectinfo. html

24 EIC. (9 มกราคม 2562). เศรษฐกิจจีน: เติบโตชะลอลง พร้อมจับตาการเจรจา ในช่วง พักรบสงครามการค้ากับสหรัฐฯ. 25 เหมือนอ้างอิงที่ 21

34


ไทยรัฐ. (14 กุมภาพันธุ์ 2561). งบปี 62 อลังการกว่า 2 แสนล้าน เกษตรฯ ฝั นใหญ่ทุ่มเงินปั้ น “เกษตรกรปราดเปรื่อง”. สืบค้นจาก https:// www.thairath.co.th/content/1203958 ไทยรัฐ. (29 กรกฎาคม 2558). ดอยช้าง... กาแฟ ‘GI’ อียู ชาวเขาท�ำได้... ชาวเรามุ้งมิ้ง. สืบค้นจาก https://www.thairath.co.th/con tent/514673 ไทยรัฐ. (29 กันยายน 2560). ‘เชียงราย’ หนุนวิถไี ทยสู่เมืองกาแฟ ร่วมสมัย สร้างเศรษฐกิจชุมชน. สืบค้นจาก https://www.thairath. co.th/content/1079060 กรมการค้าต่างประเทศ. (2561). สถิติการค้าชายแดนและผ่านแดน. สืบค้น จาก http://btsstat.dft.go.th/ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า. (2561). สถิติการจดทะเบียนนิติบุคคล. ระบบคลัง ข้อมูลธุรกิจ. สืบค้นจาก http://datawarehouse2.dbd.go.th/ bdw/home/login.html กรมส่งเสริมการเกษตร. (2561). ระบบสารสนเทศการผลิตทางด้านเกษตร. สืบค้นจาก https://production.doae.go.th/site/login กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. (18 ตุลาคม 2561). รัฐมนตรีเกษตรฯ สั่ง เข้มเดินหน้า “โครงการสานพลังประชารัฐเพื่อสนับสนุนการปลูก ข้าวโพดหลังฤดูท�ำนา ปี 2561” ให้ได้ตามเป้ า 2 ล้านไร่ ใน 33 จังหวัด. สืบค้น จาก https://www.ryt9.com/s/prg/2902132 ท่าอากาศยานไทย. (2561). สถิติขนส่งทางอากาศ. สืบค้นจาก http:// aot-th.listedcompany.com/transport.html ธนาคารแห่งประเทศไทย. (2549). รายงานเศรษฐกิจและการเงิน. สืบค้นจาก https://www.bot.or.th/Thai/MonetaryPolicy/Eco nomicConditions/AnnualReport/Pages/default.aspx ผู้จัดการออนไลน์. (13 มกราคม 2562). “พาณิชย์” ปิ้ งดันแหล่งผลิต สินค้า GI เชียงราย เป็ นที่ท่องเที่ยวเพิ่มรายได้เกษตรกร. สืบค้นจาก https://mgronline.com/business/detail/9620000004365 ผู้ จัดการออนไลน์. (19 ตุลาคม 2561). 8 เทรนด์ปี 2013 เน้นแลกเปลี่ยน วัฒนธรรม และแนวคิด “Less is more”. สืบค้นจาก https:// mgronline.com/travel/detail/9610000104700 มติชนออนไลน์. (30 ตุลาคม 61). หอค้าคาดยางปี 62 ไม่โต แนะ 14 ทางรอด เน้นปลูกพืชหมุนเวียน ลดปลูกยาง 30%. สืบค้นจาก https:// www.matichon.co.th/news-monitor/news_1203478 35


ศู นย์วิจัยด้านการตลาดการท่ องเที่ยว. (2561). สถิตินักท่ องเที่ยวไทยและ ต่างชาติ. สืบค้นจาก http://intelligencecenter.tat.or.th/ ส�ำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. (21 พฤษภาคม 2561). เกษตรฯ ลุยแผน แม่บทการพัฒนาโลจิสติกส์และโซ่อุปทานภาคการเกษตร ปี 60-64. สืบค้นจาก https://www.ryt9.com/s/prg/2829538 ส�ำนักงานจังหวัดเชียงราย. (2559). แผนพัฒนาจังหวัดเชียงราย พ.ศ. 2557- 2560. http://www.chiangrai.net/cpwp/?w pfb_dl=267 ส�ำนักงานท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดเชียงราย. (2018). 5 เส้นทางท่องเที่ยว สีเขียว เกษตรชุมชน. สืบค้นจาก http://www.cots.go.th/ news/ detail.php?news_id=695 ส�ำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคม. (2561). สถิตผ ิ ลิตภัณฑ์มวลรวม. สืบค้นจาก https://www.nesdb.go.th/main.php?file name=gross_regional ส�ำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดเชียงราย. (2561). สถิติโรงงาน เงินทุน และ แรงงานของอุตสาหกรรม. สืบค้นจาก http://www.industry. go.th/ chiangrai/

36


ส่วนที่ 2 Working paper

37


Assessing Japanese Monetary Policy through Structural Bayesian VAR with time-varying parameters Paponpat Taveeapiradeecharoen Abstract After Nakajima, Shiratsuka, Teranishi, et al. (2010); Nakajima, Kasuya, and Watanabe (2011); Nakajima (2011) and among others have studied about how time-varying parameter Bayesian VAR can capture the movement of zero bound interest rate and is able to model the behavior of monetary policies in Japan. In our study we aim to capture the shocks by setting both short-term and long-term interest rate to very close to zero. By treating this crucial monetary policy from Bank of Japan as “unconventional monetary policy”, we apply TVP-Structural BVAR with sign restriction in structural impulse response matrix. The results show that for industrial production growth rate, this variable is responsive to short-term interest rate relative to long-term (BOJ’s discount rates). Despite that by using structural historical shock decompositions we found that during the past decades, the shocks from BOJ’s discount rate has steadily affect to Japanese inflation. Keywords— Bayesian Econometrics, State Space, Kalman Filter, Monetary Policy. 1. Introduction During the past decades, Bayesian inferences are extensively developed to be compatible in econometric field. One is worth mentioning is Vector Autoregressive Regression. For example, Dieppe, Legrand, and Van Roye (2016) create Bayesian Econometric toolbox named as “BEAR Toolbox” with the effort 38


to deliver the multiple types of Bayesian VAR packages. From the econometric point of view, we rather treat every observation to be random and dynamically change over time. With this being said, it is more logical for us to include the model that is capable of tracking variations for each specific in time. For example, Primiceri (2005) develop Markov Chain Monte Carlo in Time-varying structural VAR and found that there was a statistical evidence proving that both systematic and non-systematic monetary policy have changed during the last 40 years in US. In addition high inflation and unemployment rate fluctuation are explained by non-policy shocks from monetary policy. To put into a simply word behind the concept of Primiceri (2005) is that they use algorithm from Carter and Kohn (1994) by allowing the interested state vector to be evolved with first-order random walk process via state space model. Koop and Korobillis (2013) apply algorithm from Dynamic model averaging from Raftery, karny, and Ettler (2010) to estimate the time-varying parameter in VAR and found typical TVP-BVAR can be extended to include variables up to 135 variables. According to that algorithm, there is no need for MCMC and thus reduce tremendous of computational burden. Despite above, it seems very promising that the TVPVAR would and could capture the dynamic of macroeconomic observations. In practical world, however, econometricians improve to further theory by allowing the heterogeneity to be corresponding in TVP-VAR via the law of motions. This is so-called “Stochastic Volatility� where the variance in the disturbance term evolves via logarithm form. For instance Nakajima, Kasuya, and Watanabe (2011) develops the MCMC algorithm for TVP-VAR with stochastic volatility form Nakajima, Shiratsuka, Teranishi, et al. (2010) to evaluate the structural volatility change in four Japanese macroeconomic variables 39


(Inflation, Industrial Production, nominal short-term interest rate and money supply). Miyao (2002) uncovers characteristics of variation in Japanese macroeconomic (interest rates, money supply, stock prices and output) from business fluctuations. Yano and Yoshino (2008) implement particle filtering to assess Japanese monetary policy reaction function. They found that the shocks from monetary policy actually has persistent effect on real output especially during the Japan “Bubble Economy” in late 1980s. In this empirical work we apply TVP-BVAR based closely on Primiceri (2005) to estimate the impulse response and to investigate if what Bank of Japan has been done and been doing since the fight of Japan’s deflation since 1990s is rational to their objectives. For more than decade that Japanese government has been dealing against deflation where gross domestic product has not been higher than 2%. Hence our primary goal is to study if monetary policy from Bank of Japan (BOJ) such as promising to set log-term bond yield (10 years) equals to zero helping to fight with deflation. The article is organized as follow: In section 2 we introduce the specifications of TVP-BVAR model. Section 3 is Empirical Result and Section 4 is conclusion and policy implication. 2. Methodologies The implementation of our TVP-BVAR relies in both Kalman filtering and by allowing state vector to be time variant. MCMC algorithm from Carter and Kohn (1994) for state-space model is applied. The baseline model is written as follow: Yt=Xt βt+vt

(1)

βt+1=μ+Fβt+et

(2)

VAR(vt)=R and VAR(et)=Q 40


where Yt is T×N matrix containing the selected macroeconomic variables, Xt is a T×k matrix containing the regressor with parameter evolves over time via the state-space model in eq. (2). Random walk without drift is assumed in this series. Our model have no laws of motion. Therefore variance in disturbance term in eqs. (1) and (2) are constant overtime ie. vt∼N(0,R) and et∼N(0,Q) where R and Q is constant over period. As in eq. (1), we treat βt as unknown estimates. In order to obtain those estimates, Gibbs-sampling algorithm is applied with conditional posterior distribution. In this method we follow Kim, Nelson, et al. (1999) in chapter 8 closely in this description. The compact version of conditional distribution of state variable is given by the following: ∼

T-1 P(β T |Y T)=P(βT |Y T)∏ t=1 P(βt |Bt+1,Yt)

(3)

One crucial assumption that is assumed is the disturbances of both observation equation ie. Eq. (1) and Transition equation eq. (2) are mutually independent normally distributed. Our estimates conditional distribution collapses into: ∼

∼ N(βT|T,PT|T) P(βT |YT) ∼ P(βt |Bt+1,Yt) ∼ N(βt|t,βt+1),P(t|t,βt+1)

(4)

The interpretation of β(i|j) denotes an estimate of β at time i given information in Kalman filter upto time j. In order to finish the algorith we need to estimate mean and variance of the estimate above. This is when Kalman Filtering is taken part of.

41


The Kalman filtering include all recursive equation below. βt|t-1 =μ+Fβt-1|t-1 Pt|t-1 =FPt-1|t-1F’+Q ηt|t-1 =Yt-Hβt|t-1-Azt ft|t-1 =HPt|t-1H’+R -1 βt|t =βt|t-1+Pt|t-1H’ft|t-1 ηt|t-1 -1 Pt|t =Pt|t-1-Pt|t-1H’f t|t-1 HPt|t-1

(5)

By finish running equations above from time t =1,2,...T, at the end of resursive algorithm derives βT|T and PT|T. By using backward recursive algorithm for state-space model from Carter and Kohn (1994), we obtain time-varying parameters in eq. (1)

2.1 Structural Impulse Response A general VAR model with n endogenous variables, p lags and m exogenous predictors from eq. (1) can be written in another form as: yt=A1 yt-1+A2 yt-2+...+Ap yt-p+ϵt

(6)

where t=1,2,...,T yt=(y1,t ,y2,t ,...,yn,t) is a n x 1 vector of endogenous data, A1,A2,...,Ap are p matrices of coefficient for lag 1-p, respectively with dimension of n×n. ϵt=(ϵ1,t ,ϵ2,t ,...,ϵn,t) is a vector of residuals with mutually independent normal distribution assumption satisfied. One can stack samples in the general way to estimate the model in a whole data set as follow: Y=XB+ε

42

(7)


Alternatively for further computational advantage we can rewrite eq. (6), researcher can vectorise eq. (7) to reformulate the model as:

_

y=X β+ϵ

(8)

y=vec(Y),X=In⊗X,β=vec(B),ϵ=vec(ε) _ _ ϵ∼N(0,Σ),whereΣ=Σ⊗IT

(9) (10)

where

_

2.2 Historical Shock Decomposition

Consider eq. (6) By using backward substitution, one obtains yt=A1 yt-1+ϵt=A1 (A1 yt-2+ϵt-1)+ϵt=A 21 yt-2+ϵt+A1ϵt-1

(11)

Going on to more step further it can be written in a summarization form as: p

(t)

yt=∑j=1Aj y1-j+∑ t=1 j=1 Bj ϵt-j

(12)

It is worth to note that matrices B1 ,B2 ,...,Bt-1 is corresponding to the response of y_t to shocks occurring at periods t,t-1,...,2,1 and thus will be interpreted as impulse response function Bj=Ψ

j

(13)

where ∼ Ψj ϵt-j=Ψj DD-1 ϵt-1=Ψj ηt-j 43

(14)


where DD-1 is cholesky decomposition matrix. Precisely, eq. (12) is separated into two parts: first is the shocks from exogenous regressor or lagged dependent variables and constant term and second is from unexpected structural shocks from error terms. Now let’s consider each specific variable i of the model where i=1,2,...,n, one can put subscript i into the model as follow: ∼ ∼ (t) t-1 ∼ yi,t=d i +∑ j=0 (ϕj,i1η1,t-j+ϕj,i2 η2,t-j+...+ϕj,in ηn,t-j)

(14)

where ϕj,ik represents (i,k) elements from structural impulse response matrix 2.3 Algorithm to compute historical decomposition 1. At iteration of i in Gibbs-sampling procedure, draw state vector (coefficients of SVAR in eq. (8) βt,(i) )2 and variance _ of both error term in observation equation ie. Σ(i). (βt,(i) denotes the coefficients drawn at i iteration at time t due to time-varying properties in state-space model.) 2. At iteration i From t=1,2,...,T, compute the impulse _ ∼ response function matrices ϕt,(i) from βt,(i),Σ(i) and D(i). 3. At iteration i From t=1,2,..,T, derive residuals in eq. (8) ϵt,(i) by using βt,(i). After that obtain structural disturbance ηt,(i). ∼ With ηt,(i) and structural impulse response function ϕ t,(i). We are able to derive historical shock as in eq. (15).

44


3. Data Configurations We consider a TVP-SVAR with two lags. Data here is Japanese macroeconomic variables, The time period is between 1957 Q3 through 2017 Q4. Our main objective is to find how output growth and inflation response statistically to monetary policies both in the past and in the future. By agree to set long-term government bond coupon to exact zero, we treat this policy as “Unconventional Monetary Policy”. With this being said, it is thus logical for us to use impulse response function from TVP-SVAR to deliver the results. Given the time-varying parameters in TVP-BVAR we are able to capture if responding Japanese macroeconomic variable has changed over selected period. Our data set is transformed to be approximate stationary. Firstly output is percent change. Secondly Consumer Price Index is at level of Quarter on Quarter percent growth rate. Thirdly we expect treasury bill rate of Japanese government bond as representative for “Short-Term Interest Rates”. Finally is one of the main monetary policy tool from Bank of Japan “Discount Rates”. The final variable is expected to represent the “Long-term Interest Rates”. The final variable is expected to represent the “Long-term Interest Rates” which we consider again one of the central bank’s tool (Lending Rates). 4. Empirical Results The Bank of Japan limits long term interest rate at zero percent as the objective of boosting overall Japanese economy and be able to tolerate against deflation. Theoretically speaking, it is thus rationale for us to assume that the response of industrial production growth, inflation to shocks of monetary policy (in our work we choose Discount Rate as the main monetary policy.) is positive as presented in tables 1 and 2. In our empirical work, time-varying impulse response is provided in time series from TVP-VAR model. As time-varying 45


in parameters of observation equation ie. comvar. Impulse response matrices are obtained for each period of time and calculated for each iteration of current draw of parameters from after posterior mean and variance is obtained. According to 3a and 3b it is statistically proved that industrial production index growth rate is highly sensitive to “Short-run unconventional monetary policy shocks�. The interpretation is quite simple, as advantages from TVP-VAR by allowing state-vectors to be time-variant via state-space model. Each impulse response function is derived from time to time one quarter by quarter. Therefore when we plot it all at one figure. It shows if impulse response to specific shock is actually changing over the periods. fig. 3b for instance, the thickness of time-varying impulse response is narrowed. This implies that the response of industrial production growth to BOJ discount rate is less volatile compared to response to short run interest rates in fig. 3a This interpretation aid goes similarly to impulse response of inflation. figs. 3a and 3d shows impulse responses of inflation to nominal short-run interest rate shocks and discount rate shock. A rise in inflation after monetary tightening using VAR model is well known as the price puzzle, see Sims (1992) Response to short-run shocks are more bulky. Despite what mention above, the shape of both response to shocks are pretty identical. Another point that is worth to discuss is according to fig. 5 Consumer Price Index responses significantly through the monetary contraction during the period between 1990 through late 1992. After that there is a huge expansionary monetary policy which actually drives Japanese inflation to increase steadily. Our statistical evidence from Historical Shock Decomposition functions are capable of tracking those volatility and this is quite reasonable and accurate. Past literature as in Kasa and Popper (1997) happens to find the identical results. 46


Furthermore, as oil shocks occured during the period of 1981 through 1985, the Japanese consumer price index is extremely volatile and responsive to the shocks of BOJ discount rate. Table 1: Sign Restriction to Short-Run Interest Rate Shocks. Responding Variable

Sign Restriction

Output Percent Growth Consumer Price Index Treasury Bill Discount Rate

+ + +

Table 2: Sign Restriction to Long-Run Interest Rate Shocks. Responding Variable

Sign Restriction

Output Percent Growth Consumer Price Index Treasury Bill Discount Rate

+ + + -

Figure 1: Impulse Response of Four Selected Macroeconomic Variables to Structural Shocks of Short-term Interest Rate (Treasury Bill Rates) 47


Figure 2: Impulse Response of Four Selected Macroeconomic Variables to Structural Shocks of Long-term Interest Rate (Discount Rates)

5. Acknowledgement I would like to thank to the Office of Border Economy and Logistic Study: OBELS) for supportive comments on fitting the crucial situations in the past with the statistical evidence. Apart from this, we would like to send appreciation from Mae Fah Luang University, Chiang Rai, Thailand.

48


Industrial Production Growth

Industrial Production Growth

9

10

8 7

5

6 5

0

4 3 2

-5

1 0

5

10

15

20

25

30

35

-10

40

5

10

15

(a)

20

25

30

35

40

25

30

35

40

(b)

Inflation

Inflation

3

3.5

2.5

3 3.5

2

2 1.5

1.5

1 1

0.5 0

0.5 5

10

15

20

25

30

35

40

5

(c)

10

15

20

(d)

Figure 3: Note: Time-varying Impulse Response of Industrial Production Growth and Inflation to Short-term interest rate shocks figs. 3a and 3c and Long-term interest rate shocks figs.3b and 3d, respectively.

49


Short-term Interest Rates

Short-term Interest Rates

1.8

0.1

1.6

0

1.4

-0.1

1.2

-0.2

1

-0.3

0.8

-0.4

0.6

-0.5

0.4

-0.6 5

10

15

20

25

30

35

40

5

10

15

(a)

20

25

30

35

40

30

35

40

(b)

Short-term Interest Rates

Short-term Interest Rates

1.8

0.1

1.6

0

1.4

-0.1

1.2

-0.2

1

-0.3

0.8

-0.4

0.6

-0.5

0.4

-0.6 5

10

15

20

25

30

35

40

5

(c )

10

15

20

25

(d)

Figure 4: Note: Time-varying Impulse Response of Treasury-Bill and Discount Rate to Short-term interest rate shocks figs. 4a and 4c and Long-term interest rate shocks figs.4b and 4d, respectively.

50


Figure 5: Note: Japanese Inflation: Historical shock decomposition obtained from ep. (15)

51


References Chris K Carter and Robert Kohn. On gibbs sampling for state space models. Biometrika, 81(3):541–553, 1994. Alistair Dieppe, Romain Legrand, and Björn Van Roye. The bear toolbox. 2016. Ken Kasa and Helen Popper. Monetary policy in japan: A structural var analysis. Journal of the Japanese and International Economies, 11(3):275–295, 1997. Chang-Jin Kim, Charles R Nelson, et al. State-space models with regime switching: classical and gibbs-sampling approaches with applications. MIT Press Books, 1, 1999. Gary Koop and Dimitris Korobilis. Large time-varying parameter vars. Journal of Econometrics, 177(2):185– 198, 2013. Ryuzo Miyao. The effects of monetary policy in japan. Journal of Money, Credit, and Banking, 34(2):376–392, 2002. Jouchi Nakajima, Munehisa Kasuya, and Toshiaki Watanabe. Bayesian analysis of time-varying parameter vector autoregressive model for the japanese economy and monetary policy. Journal of the Japanese and International Economies, 25(3):225–245, 2011. Jouchi Nakajima, Shigenori Shiratsuka, Yuki Teranishi, et al. The effects of monetary policy commitment: Evidence from time-varying parameter var analysis. Technical report, Institute for Monetary and Economic Studies, Bank of Japan, 2010. Jouchi Nakajima. Monetary policy transmission under zero interest rates: An extended time-varying parameter vector autoregression approach. The BE Journal of Macroeconomics, 11(1), 2011. 52


Giorgio E Primiceri. Time varying structural vector autore gressions and monetary policy. The Review of Economic Studies, 72(3):821–852, 2005. Adrian E Raftery, Miroslav Kárny, and Pavel Ettler. Online prediction under model uncertainty via dynamic model averaging: Application to a cold rolling mill. Techno metrics, 52(1):52–66, 2010. Christopher A Sims. Interpreting the macroeconomic time series facts: The effects of monetary policy. European economic review, 36(5):975–1000, 1992. Koiti Yano and Naoyuki Yoshino. Japanese monetary policy reaction function and time-varying structural vector autoregressions: a monte carlo particle filering ap proach, 2008.

53


ทิศทางการค้าและความได้เปรียบทางการค้าชายแดนกับประเทศจีน มัลลิกา จันต๊ะคาด, พรพินันท์ ยีร่ งค์ บทคัดย่อ งานศึกษาชิ้นนีไ้ ด้ท�ำการวิเคราะห์ความได้เปรียบในการส่งออกสินค้า ของชายแดนไทยไปประเทศจีนทางตอนใต้ และแนวโน้ มของการค้าภายใน อุตสาหกรรมของการค้าชายแดนกับประเทศจีนทีเ่ กิดขึน ้ ระหว่างปีพ.ศ.25502561 เพื่อท�ำให้เห็นถึงความได้เปรียบของความสามารถในการส่งออก ตลอด จนการทิ ศทางการค้ าและการเชื่ อมโยงของห่ วงโซ่ การผลิ ตจากอดี ตจนถึ ง ปั จจุ บันของการค้าชายแดนไทยกับจีนในช่วงที่ผ่านมา โดยจากการศึกษาพบว่า ความได้เปรียบในการส่งออกไปจีนตอนใต้ของทุกด่าน ซึ่งในแต่ละด่านมีความ ได้เปรียบในการส่งออกแตกต่างกันไป โดยด่านที่มีการค้าภายในอุตสาหกรรม เดียวกันมีเพียงแค่ ด่านมุกดาหาร และเชียงของ ในการส่งออกและน�ำเข้าสินค้า ประเภทเดียวกัน ทัง้ นี ้ แนวโน้มของทัง้ ความได้เปรียบในการส่งออก และการค้า ภายในอุตสาหกรรมเดียวกันมีแนวโน้มสูงขึน ้ ตามการขยายตัวของมูลค่าทางการ ค้า นอกจากนี ้ การใช้ค่าดัชนีชีว้ ัดที่แตกต่างกันระหว่าง Balassa RCA และ Normalized RCA ไม่ได้สร้างความแตกต่างให้กับผลความได้เปรียบในการ ส่งออก แต่กลับมีความแตกต่างในด่านของการเปลีย ่ นแปลง ฉะนัน ้ การค้าผ่าน แดนกับจีนตอนใต้เป็ นหนึ่งในช่องทางการค้าที่มีความส�ำคัญ และน่าจับตามอง มากกว่าช่องอื่นๆ ซึ่งในอนาคตไทยมีโอกาส และความจ�ำเป็ นที่จะเชื่อมห่วงโซ่ การผลิตกับจีน น�ำไปสู่การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน และการเติบโต ทางเศรษฐกิจของประเทศ คำ�สำ�คัญ: การค้าชายแดน ความได้เปรียบโดยเปรียบเที ยบ การค้าภายใน อุตสาหกรรมเดียวกัน Keywords: Border trade; Comparative advantage; Intra-inustry trade 1. บทน�ำ การค้าผ่านแดนระหว่างไทยกับประเทศจีนทางตอนใต้ (มณฑลยูนนาน มณฑลกวางสี) เป็ นหนึ่งในช่องทางของการค้าผ่านแดนที่มีความส�ำคัญไม่น้อย กว่าการค้าชายแดนระหว่างไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน หรือการค้าผ่ านแดน 54


ประเทศอื่นๆ เนื่องจากจีนเป็ นตลาดขนาดใหญ่ที่มีก�ำลังซื้อสูงที่ได้รบ ั อิทธิพล จากการเติบโตทางเศรษฐกิจในอัตราที่สูงอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี ้ มณฑลยูนนาน เป็ นมณฑลที่มีความส� ำคัญทางตอนใต้ของประเทศ ในเดือนกันยายนปีพ.ศ. 2561 มีการอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจอยู่ที่รอ ้ ยละ 9.1 ซึ่งสูงเป็ นอันดับ หนึ่ งของประเทศจีน (ศู นย์ข้อมู ลเพื่อธุรกิจไทยในจีน ณ นครคุนหมิ ง, 28 ธันวาคม 2561) ในปีพ.ศ.2561 การค้ากับจีนตอนใต้เมื่อเปรียบเทียบกับการ ค้าผ่านแดนกับประเทศสิงคโปร์ และเวียดนาม มีสัดส่วนอยู่ที่รอ ้ ยละ 38.33 ซึ่งมี สัดส่ วนของการน� ำเข้าสู งกว่าการส่ งออก โดยมู ลค่าการค้ามี การขยาย ตัวอย่างต่อเนื่องมาโดยตลอดทัง้ ในด้านของการส่งออกและการน�ำเข้า โดยด่าน ชายแดนทีม ่ ีความส�ำคัญต่อการค้ากับจีนตอนใต้มากทีส ่ ุด คือ ด่านมุกดาหาร ซึ่ง มีสัดส่วนมากกว่าร้อยละ 70 ของมูลค่าการค้าผ่านแดนกับจีนตอนใต้ทั้งหมด รองมาได้แก่ ด่านเชียงของ ด่านนครพนม และด่านเชียงแสน ซึ่งตัง้ แต่ปพ ี .ศ. 2550-2560 ทุกด่านมีอัตราการเติบโตเฉลีย ่ สะสม (Compound Average Growth Rate: CAGR) ของมูลค่าการชายแดนกับจีนตอนใต้มากกว่าร้อยละ 40 ยกเว้นด่านเชียงแสนเพียงด่านเดียวที่มีการหดตัวลดลง ทั้งนี ้ เส้นทางที่ใช้ ส�ำหรับการขนส่งสินค้าจากประเทศไทยไปจีนตอนใต้ แบ่งออกเป็ น 4 เส้นทาง หลัก ดังนี26 ้ 1) เส้นทาง R3 แบ่งออกเป็ น เส้นทาง R3A จากอ�ำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย ผ่ านแขวงหลวงน�้ำทา (สปป.ลาว) เข้าสู่เมืองบ่อหาน เทศ มณฑลเมิ้งล่า มณฑลยูนนาน (จีน) ระยะทางทั้งหมด 1,858 กิโลเมตร ใช้ระยะ เวลาประมาณ 50 ชั่วโมง และเส้นทาง R3B จากอ�ำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย ผ่านจังหวัดท่าขีเ้ หล็ก (เมียนมา) เข้าสู่เมืองเชียงรุง้ เทศมณฑลเมิ้งล่า มณฑล ยูนนาน (จีน) ระยะทางทั้งหมด 1,383 กิโลเมตร ใช้ระยะเวลาประมาณ 45 ชั่วโมง 2) เส้นทาง R8 จากจังหวัดบึงกาฬ ผ่านเขตปากซัน (สปป.ลาว) ไปยัง เมืองวิงห์ กรุงฮานอย (เวียดนาม) เข้าสู่มณฑลกว่างซี ประเทศจีน ระยะทาง ทั้งหมด 1,797 กิโลเมตร ใช้ระยะเวลาประมาณ 33 ชั่วโมง 3) เส้นทาง R9 จากจังหวัดมุกดาหาร ผ่านสะหวันเขต และแดนสะหวัน (สปป.ลาว) ไปยังลาวบาว และฮานอย (เวียดนาม) เข้าสู่เมืองผิงเสียง มณฑล กว่างซี (จีน) ระยะทางทั้งหมด 1,959 กิโลเมตร ใช้ระยะเวลาประมาณ 35 ชั่วโมง 26 ศูนย์วิจัยเศรษฐศาสตร์ประยุกต์ (2555), บุญทรัพย์ และคณะ (2560) 55


4) เส้นทาง R12 จากกรุงเทพ สู่ด่านพรมแดนจังหวัดนครพนม ผ่าน ด่านนาพาว เมืองท่าแขก แขวงค�ำม่วน (สปป.ลาว) ผ่านด่านลางเซิ่น (เวียดนาม) เข้าสู่เมืองผิงเสียง เขตปกครองกว่างซีจวง มณฑลกว่างซี ระยะทางทั้งหมด 1,694 กิโลเมตร ใช้ระยะเวลาประมาณ 30 ชั่วโมง สิ น ค้ า ส่ ว นใหญ่ ที่ มี ก ารส่ ง ออกไปจี น ตอนใต้ เ ป็ นสิ น ค้ า ประเภท อิ เ ล็ ก ทรอนิ ก ส์ เกษตรขั้น ต้ น และยานยนต์ โดยเครื่อ งคอมพิ ว เตอร์แ ละ อุปกรณ์ เป็ นสินค้าที่มีการส่งออกที่ถึงร้อยละ 45.22 ของมูลค่าการส่งออก ทั้งหมดในขณะที่อีกร้อยละ 23.81 เป็ นการส่งออกผลไม้สดแช่เย็น แช่แข็ง และแห้ง ส่วนการน�ำเข้าที่มีสัดส่วนสูงสุดเป็ นเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ เช่นเดียวกันอยู่ที่รอ ้ ยละ 21.71 รองมาคือ เทปแม่เหล็ก จานแม่เหล็กส�ำหรับ คอมพิวเตอร์ และเครื่องรับ-ส่งสัญญาณและอุปกรณ์ติดตัง้ จึงท�ำให้เห็นถึง แนวโน้ มของการค้าในสิ นค้าประเภทเดียวกัน หรือการเชื่อมโยงของห่ วงโซ่ การผลิตระหว่างไทยกับจีนตอนใต้ ทั้งนี ้ การเปิดการค้าเสรีการอาเซียน-จีน ได้ส่งผลให้การค้าระหว่างประเทศไทยและจีนมีลก ั ษณะของการค้าภายในกลุม ่ 27 อุตสาหกรรมเดียวกันมากขึ้น ซึ่งเป็ นผลจากการเคลื่อนย้ายปั จจัยการผลิต ที่มีต้นทุนต�่ำและเอื้อต่อการขยายการผลิต ซึ่งน�ำไปสู่ต้นทุนการผลิตต่อหน่วย ลดต�่ำลงหรือที่เรียกว่าการประหยัดต่อขนาด (Economies of scale) โดย กลุ่มของอุตสาหกรรมเครื่องจักรกลคอมพิวเตอร์และส่วนประกอบ เครื่องใช้ ไฟฟ้ าและผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิ กส์ ผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีขั้นต้นและขั้นกลาง และยานยนต์ มีลักษณะของการค้าภายในอุตสาหกรรมเดียวกันแบบแนวตัง้ (Vertical Intra-Industry Trade)28 ส่วนใหญ่ประเทศไทยเป็ นผู้ผลิตชิ้น ส่วนเพื่อส่งออกไปประเทศจีน และน�ำเข้าสินค้าส�ำเร็จรูปจากประเทศจีนกลับ มาประเทศไทย ตัวอย่างเช่น สินค้าที่ไทยส่งออกไปจีนเป็ นสินค้าประเภทชิ้น ส่วนคอมพิวเตอร์และเครือ ่ งจักรเป็ นหลัก ในขณะที่การน�ำเข้าสินค้าจากจีนเป็ น สินค้าเครื่องจักรและคอมพิวเตอร์ส�ำเร็จรู ป อย่างไรก็ตามในกลุ่มผลิตภัณฑ์ ปิ โ ตรเคมี ขั้น ปลาย เป็ นกลุ่ ม ที่ มี ก ารค้ า ภายในอุ ต สาหกรรมแบบแนวนอน

27 การค้าภายในกลุ่มอุ ตสาหกรรมเดียวกัน หมายถึง การค้าระหว่างประเทศในสิ นค้าที่ 27 การค้าภายในกลุ่มอุ ตสาหกรรมเดียวกัน หมายถึง การค้าระหว่างประเทศในสิ นค้าที่ คล้ายคลึงกันหรืออาจเป็ นสินค้าในหมวดเดียวกัน โดยการน�ำเข้าส่งออกเกิดขึ้นภายในช่วง คล้ายคลึงกันหรืออาจเป็ นสินค้าในหมวดเดียวกัน โดยการน�ำเข้าส่งออกเกิดขึ้นภายในช่วง เวลาเดียวกัน (EXIM Bank, 2548) เวลาเดียวกัน (EXIM Bank, 2548) 28 การค้าในอุตสาหกรรมเดียวกันแบบแนวตัง้ หมายถึง สินค้ามีลักษณะที่แตกต่างกันด้าน 28 การค้าในอุตสาหกรรมเดียวกันแบบแนวตัง้ หมายถึง สินค้ามีลักษณะที่แตกต่างกัน คุณภาพ และความสามารถในการใช้งาน หรือ แตกต่างกันของบริการที่ได้จากสินค้า (EXIM ด้านคุณภาพ และความสามารถในการใช้งาน หรือ แตกต่างกันของบริการที่ได้จากสินค้า Bank, 2548) (EXIM Bank, 2548) 56


(Horizontal Intra-Industry Trade)29 ซึ่งลักษณะสินค้ามีความคล้ายคลึง กัน ส่วนใหญ่ประเทศไทยมีการส่งออกมากกว่าน�ำเข้า (ธนาคารเพื่อการส่งออก และน�ำเข้าแห่งประเทศไทย, 2548) ดังนัน ้ ความเชื่อมโยงของการส่งออกและ น�ำเข้าภายในห่วงโซ่การผลิตเดียวกันของประเทศไทยและจีนตอนใต้เป็ นเสมือน แผนที่น�ำทางไปสู่การพัฒนาห่วงโซ่คณ ุ ค่าระหว่างกันได้เป็ นอย่างดี การศึกษานี ้ จึงได้ท�ำการวิเคราะห์ความได้เปรียบในการส่งออกสินค้าผ่านแดนไปจีนตอนใต้ และแนวโน้มของการค้าภายในอุตสาหกรรมเดียวกัน เพื่อสะท้อนระดับความ สัมพันธ์ในห่วงโซ่การผลิตของไทยและจีนตอนใต้ที่จะเป็ นประโยชน์ต่อภาครัฐ และเอกชนในการตัดสินใจต่อไป 2. ข้อมูลและวิธวี ิจัย (Data and Method) การศึ กษาครัง้ นี ้ มี วัตถุประสงค์เพื่อศึ กษาความได้เปรียบในการส่ ง ออกของชายแดนไทยไปจีนตอนใต้ และลักษณะของการค้าชายแดนของไทย กับจีนในระยะเวลา 12 ปีที่ผ่านมา (พ.ศ.2550-2561) โดยใช้ข้อมูลสถิติ จากกรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ ทั้งมูลค่าการค้าชายแดน และ มูลค่าการส่งออกและน�ำเข้า 20 อันดับแรก กับประเทศจีนตอนใต้ ของด่าน ศุลกากรชายแดนทีม ่ ีมูลค่าการค้าสูงสุด 4 อันดับแรก ได้แก่ ด่านมุกดาหาร ด่าน เชียงของ ด่านนครพนม และด่านเชียงแสน โดยในการศึกษาความได้เปรียบใน การส่งออกสินค้าได้ใช้เครื่องมือที่เรียกว่า ‘ความได้เปรียบโดยเปรียบเทียบที่ ปรากฏ (Revealed Comparative Advantage)’ หรือ Balassa Index (BRCA) ซึ่งถูกเสนอโดย Balassa, B. (1965) ซึ่งเครื่องมือดังกล่าวได้ถูก น�ำไปใช้อย่างแพร่หลายจนถึงปั จจุ บน ั แต่เนื่องด้วยเครือ ่ งมือดังกล่าวมีขอ ้ จ�ำกัด ซึ่งท�ำให้ไม่สามารถท�ำการเปรียบความสามารถในการส่งออกข้ามอุตสาหกรรม ข้ามประเทศ และข้ามช่วงเวลา จึงได้ถูกพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง โดยเครื่องมือ สุดท้ายที่มีการพัฒนาขึ้นมา คือ Normalized RCA (NRCA) ซึ่งถูกเสนอโดย Yu et al. (2009) ซึ่งทลายข้อจ�ำกัดที่ BRCA ไม่สามารถท�ำได้ดังที่กล่าวไว้ ในข้างต้น (S. Elias & S. Yousan, 2010) ทั้งความแตกต่างของดัชนีชีว้ ัด ทั้งสอง คือ หากค่าของ NRCA เป็ นบวก หรือมากกว่า 0 คือ มีความได้เปรียบ ในการส่งออกสินค้าประเภทดังกล่าว ส่วน BRCA ที่ต้องมีค่ามากกว่า 1 โดย สูตรของ BRCA และ NRCA สามารถค�ำนวณได้ ดังนี ้ 29 การค้าในอุตสาหกรรมเดียวกันแบบแนวนอน หมายถึง กลุ่มสินค้าที่มีลักษณะแตกต่างกัน และสามารถใช้ทดแทนกันได้ (EXIM Bank, 2548) 57


Xij Xt,scn Xj,scn Xit

มูลค่าการส่งออกสินค้าประเภท i ของด่าน j ไปจีนตอนใต้ มูลค่าการส่งออกสินค้าทั้งหมดของด่านชายแดนทั้งหมดไปจีนตอนใต้ มูลค่าการส่งออกสินค้าทั้งหมดของด่าน j ทั้งหมดไปจีนตอนใต้ มูลค่าการส่งออกสินค้า i ของด่านชายแดนทั้งหมดไปจีนตอนใต้

ส่ วนการศึ กษาลักษณะของการค้าชายแดนไทยกับจีนตอนใต้ ได้ใช้ เครือ ่ งมือทีเ่ รียกว่า ‘ดัชนีการค้าภายในอุตสาหกรรมเดียวกัน (Intra-Industry Trade: IIT index)’ ซึ่งแสดงออกมาในรูปแบบของสัดส่วนของการภายใน อุตสาหกรรมเดียวกันต่อสัดส่วนการค้าทัง้ หมด ซึ่งจะมีค่าอยู่ระหว่าง 0-1 โดย ก�ำหนดไว้ว่าหากสินค้าประเภทดังกล่าวมีค่าดัชนี IIT สูงกว่า 0.7 หมายความ ว่า การค้าชายแดนระหว่างไทยกับจีนตอนใต้มีแนวโน้มที่จะเกิดการค้าภายใน อุตสาหกรรมเดียวกัน ซึ่งถือว่าเป็ นการ 2 ทิศทาง (Two-way trade) ใน ทางตรงกันข้าม หากค่าดัชนี IIT ต�่ำกว่า 0.7 หมายความว่า การค้าชายแดน ระหว่างไทยกับจีนตอนใต้เป็ นการในทิศทางเดียวกัน (One-way trade หรือ Inter-Industry trade) โดยดัชนี IIT มีสูตรการค�ำนวณ ดังนี ้

Xij มูลค่าสินค้าส่งออกประเภท i จากด่าน j ไปจีนตอนใต้ Mij มูลค่าสินค้าน�ำเข้าประเภท i ในด่าน j จากจีนตอนใต้

3. ผลการศึกษา ในส่ วนนี ้ ได้ น�ำเสนอผลการศึ กษาที่ แสดงความได้ เปรียบในการส่ ง ออกสินค้าผ่านแดนไปจีนตอนใต้ และแนวโน้มของการค้าภายในอุตสาหกรรม เดียวกัน และความเชื่อมโยงในห่วงโซ่การผลิต ประกอบด้วย ด่านมุกดาหาร ด่านเชี ยงของ ด่านนครพนม และด่านแม่ สาย ซึ่งเป็ นด่านที่มีมูลค่าการค้า ชายแดนกับจีนสูงสุด เพื่อน�ำไปสู่การข้อเสนอแนะให้เกิดการส่งเสริมทางการ ค้ากับจีนตอนใต้ 58


3.1 ด่านมุกดาหาร การส่งออกผ่ านด่านมุกดาหารไปจีนตอนใต้ในปีพ.ศ.2561 กว่าร้อย ละ 83.01 เป็ นการส่งออกเครื่องคอมพิวเตอร์และส่วนประกอบ รองมาได้แก่ วงจรพิมพ์ (ร้อยละ 12.23) ยางยานพาหนะ (ร้อยละ 2.59) และอุปกรณ์ก่ึง ตัวน�ำทรานซิสเตอร์และไดโอด (ร้อยละ 1.92) ซึ่งสินค้าที่มีความได้เปรียบใน การส่งออกมีทั้งหมด 9 รายการ ทั้งนี ้ นอกจากเครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ วงจรพิมพ์ และอุปกรณ์ก่ึงตัวน�ำทรานซิสเตอร์และไดโอด สินค้าอื่นๆมีการส่งออกที่ไม่ต่อเนื่อง บางช่วง หรือแค่บางปี นอกจากนี ้ ค่า ของดัชนี NRCA ขึ้นอยู่กับสัดส่วนการส่งออกของแต่ละสินค้า แตกต่างจาก ค่าดัชนี BRCA ที่แต่ละรายการสินค้ามีค่าที่ค่อนข้างใกล้เคียงกัน ฉะนั้น จึงมี เพียง 3 รายการสินค้าข้างต้นที่มีความได้เปรียบในการส่งออกสูงขึ้นอย่างต่อ เนื่อง รวมถึงแนวโน้มความได้เปรียบในการส่งออกยางพาหนะที่เริ่มมีการส่ง ออกในปีพ.ศ. 2560 ตารางที่ 1 ดัชนีชีว้ ัด BRCA และ NRCA ของสินค้ามูลค่าการส่งออกสูงสุด 20 อันดับแรกผ่านด่านมุกดาหารไปจีนตอนใต้ ประเภทสินค้า

BRCA

NRCA

25512553

25542557

25582561

53.21

1.61

1.55

วงจรพิมพ์

-

1.37

2.53

0.00

-18.09

305.12

ยางยานพาหนะ

-

-

0.83

-0.16

-1.29

16.13

อุปกรณ์กง่ึ ตัวน�ำทรานซิสเตอร์และไดโอด

-

-

3.64

0.01

3.72

7.16

หม้อแบตเตอรีแ่ ละส่วนประกอบ

-

-

1.25

0.00

-0.02

1.08

3.51

0.84

0.73

-0.05

1.32

0.22

เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และ ส่วนประกอบ

เครือ ่ งจักรกลและส่วนประกอบอื่น ๆ

25512553

25542557

556.19 1,578.42

25582561 1,306.86

เครื่องกังหันไอพ่นและกังหันอื่น ๆ

-

-

-

0.00

0.00

0.03

ถ้วยชามท�ำด้วยเซรามิก

-

0.20

2.05

-0.18

-0.03

-0.14

เครื่องส�ำอาง เครื่องหอมและสบู่

-

-

0.00

-6.34

-9.17

-25.16

นาฬิ กา

-

-

0.46

0.00

-0.03

0.04

เครื่องวีดีโอ เครื่องเสียงอุปกรณ์ และส่วนประกอบ

-

-

0.46

0.00

-0.01

-0.02

วัตถุดิบเพื่อใช้ท�ำเครื่องส�ำอาง

-

0.13

0.00

-0.95

-2.11

-8.19

0.38

0.90

0.03

2.04

0.10

-0.11

บรรจุภณ ั ฑ์กระดาษ (หีบ กล่อง ซองฯ)

59


ผลิตภัณฑ์พลาสติกอื่นๆ

0.38

0.70

0.01

3.38

-0.31

-0.08

ผลิตภัณฑ์เหล็กและเหล็กกล้า

0.81

0.08

-

-43.28

-0.17

-0.12

หนังและผลิตภัณฑ์หนังอื่นๆ

-

0.00

-

-0.02

-0.09

-0.02

เครื่องดนตรีและส่วนประกอบ

-

-

-

0.00

0.00

-0.06

เครื่องประดับอัญมณีเทียม

-

0.55

-

0.00

-0.24

0.00

เคมีภัณฑ์อนินทรีย์

-

-

-

-0.30

-0.98

0.00

เคหะสิ่งทอ

-

0.01

-

0.00

-0.28

-0.26

ที่มา: ค�ำนวณโดยผู้วิจัย

สินค้าทีม ่ ก ี ารส่งออกและน�ำเข้าในประเภทเดียวกันผ่านทางด่านชายแดน มุกดาหารมีทัง้ หมด 2 รายการหลัก ได้แก่ เครือ ่ งคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วน ประกอบ (ตารางผนวกที่ 1) โดยส่วนใหญ่มีมูลค่าการส่งออกสูงกว่าการน�ำเข้า ยกเว้นในปีพ.ศ.2558-2559 (รูปที่ 1) และวงจรพิมพ์ หลังจากปีพ.ศ. 2557 มีมูลค่าการส่งออกสูงกว่าการน�ำเข้าตลอดมา (รูปที่ 2) ทัง้ นี ้ หากพิจารณาอัตรา การเติบโตเฉลีย ่ สะสมของการส่งออกและน�ำเข้าทั้งสองรายการสินค้าใน 5 ปี ที่ผ่านมา การส่งออกเครื่องคอมพิวเตอร์ฯมีแนวโน้มขยายตัวช้ากว่าการน�ำเข้า หากแต่การส่ งออกวงจรพิมพ์มีแนวโน้ มขยายตัวเร็วกว่าการน� ำเข้า จากการ วิเคราะห์ ดัชนี การค้าภายในอุ ตสาหกรรมเดียวกัน พบว่าสั ดส่ วนของการค้า ภายในอุตสาหกรรมมีสัดส่วนสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องในทั้งสองรายการสินค้า โดย เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบมีแนวโน้มของการเกิดการค้า ภายในอุตสาหกรรมเร็วกว่าวงจรพิมพ์ ซึ่งในปีพ.ศ.2558 สัดส่วนของการค้า ภายในอุตสาหกรรมของเครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบอยู่ที่ ร้อยละ 43.08 และก้าวกระโดดมาอยู่ที่รอ ้ ยละ 83.03 ขณะเดียวกัน สัดส่วน ของการค้าภายในอุตสาหกรรมเดียวกันของวงจรพิมพ์คอ ่ ยๆเพิ่มสูงขึน ้ ในแต่ละปี จนกระทั่งในปีพ.ศ.2560 สัดส่วนสูงขึ้นมาอยู่ที่รอ ้ ยละ 83.56

ที่มา: ค�ำนวณโดยผู้วิจัย 60


3.2 ด่านเชียงของ การส่งออกไปจีนตอนใต้ผ่านด่านชายแดนเชียงของกระจุ กอยูใ่ นสินค้า ประเภทผลไม้สดกว่าร้อยละ 66.12 ของมูลค่าการส่งออกทั้งหมดในปีพ.ศ. 2561 ส่วนสินค้าที่มีสัดส่วนรองลงมาเป็ นล�ำไยแห้ง ข้าว และผักสด ซึ่งล้วน แต่เป็ นสินค้าเกษตรขัน ้ ต้น โดยสินค้า 20 อันดับแรกที่มีมูลค่าการส่งออกสูงสุด มีความได้เปรียบในการส่งออกทั้งหมด ซึ่งแสดงออกทั้งในดัชนี BRCA และ NRCA ทั้งนี ้ ค่าดัชนี NRCA ส่วนใหญ่ขึ้นอยู่กับสัดส่วนการส่งออก โดยสินค้า ที่มีความได้เปรียบมากที่สุด คือ ผลไม้สด ซึ่งเป็ นสินค้าที่สัดส่วนการส่งออก สูงสุด รองมาได้แก่ ข้าว และล�ำไยแห้ง โดยแม้ว่าล�ำไยแห้งมีสัดส่วนการส่งออก ที่สูงกว่าข้าว แต่กลับมีความได้เปรียบในการส่งออกน้อยกว่า นอกจากนี ้ สินค้า ส่วนใหญ่มีความได้เปรียบที่สูงขึ้น โดยมีบางสินค้าที่เคยขาดความได้เปรียบใน อดีต กลายมามีความได้เปรียบในปีพ.ศ.2561 ได้แก่ ข้าว เครือ ่ งส�ำอาง บะหมี่ กึ่งส�ำเร็จรูปและอาหารส�ำเร็จรูป และเครื่องเทศและสมุนไพร อย่างไรก็ดี บาง สินค้ามีความได้เปรียบลดลง ได้แก่ ปลา ยางพารา และมังคุด หากพิจารณาจาก ค่าดัชนี BRCA หลายสินค้ามีความได้เปรียบลดลงที่ไม่แสดงในดัชนี NRCA ได้แก่ ผลไม้สด ล�ำไยแห้ง กล้วยไม้ ทุเรียนแช่เย็น/แข็ง ผลไม้แปรรูป และรูป แกะสลัก/เครื่องประดับท�ำด้วยไม้ ดังนั้น ดัชนี BRCA และ NRCA ได้แสดง ผลตรงกันในการแสดงความได้เปรียบในการส่งออก แต่แปรผลไม่ตรงกันใน ด้านของความเปลีย ่ นแปลง ตารางที่ 2 ดัชนีชีว้ ัด BRCA และ NRCA ของสินค้ามูลค่าการส่งออกสูงสุด 20 อันดับแรกผ่านด่านเชียงของไปจีนตอนใต้ ประเภทสินค้า

BRCA 25512553

25542557

NRCA 25582561

25512553

25542557

25582561

ผลไม้สดแช่เย็น แช่แข็งและแห้ง

5.65

4.06

3.79

14.73

66.26

510.23

ล�ำไย แห้ง

2.27

4.09

2.51

10.78

88.93

87.13

-

0.09

3.71

0.00

-0.16

181.98

ผักสดแช่เย็น แช่แข็งและแห้ง

0.38

2.26

3.47

-0.05

3.24

27.38

เครื่องส�ำอาง เครื่องหอมและสบู่

0.00

3.11

-4.66

-2.68

30.15

ข้าว

กล้วยไม้ ทุเรียน แช่เย็นจนแข็ง ปลา

0.33

13.79

4.32

3.96

42.52

38.96

44.14

-

3.57

3.44

0.00

1.20

22.06

4.83

4.35

3.93

0.58

192.10

116.71

61


ยางพารา

0.36

1.53

2.07

-44.76

58.69

113.15

ที่นอนหมอนฟูก

18.34

0.27

ผลไม้แปรรูป

0.24

0.90

3.34

0.05

-0.16

31.04

1.60

-7.91

-5.19

11.47

มังคุด

4.33

4.16

3.10

22.09

150.40

210.06

บะหมี่ก่ึงส�ำเร็จรูปและอาหารส�ำเร็จ

0.17

0.66

3.18

-0.15

0.21

13.25

เครื่องเทศและสมุนไพร

4.84

0.55

3.25

-0.40

-0.69

7.55

ถั่ว

0.01

2.34

2.67

-2.75

64.37

25.04

ไฟแช็ค

0.40

2.11

3.80

-7.58

12.63

17.37

ผลิตภัณฑ์ข้าวสาลีอ่ืน ๆ

0.27

1.26

2.70

-1.68

2.37

9.10

เครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอส์

0.46

1.84

2.93

-4.59

11.88

16.94

เฟอร์นิเจอร์ไม้

3.10

1.48

3.63

1.84

0.25

2.66

รูปแกะสลัก และเครื่องประดับท�ำ ด้วยไม้

18.91

2.96

3.95

0.39

1.14

2.96

ที่มา: ค�ำนวณโดยผู้วิจัย

สิ น ค้ า ที่ มี ก ารส่ ง ออกและน� ำ เข้ า ในประเภทเดี ย วกั น ผ่ า นทางด่ า น ชายแดนเชียงของ คือ ข้าว ซึ่งมีการน�ำเข้าก่อนการส่งออก โดยที่เริ่มมีการ ส่งออกในปีพ.ศ. 2555 ชะงักในปีต่อมา และกลับมาส่งออกอย่างต่อเนื่อง ตัง้ แต่ปพ ี .ศ. 2557 เป็ นต้นไป (ตารางผนวกที่ 3) ซึ่งการส่งออกมีมูลค่าต�่ำ กว่าการน�ำเข้าอย่างมาก โดยการน�ำเข้ามีแนวโน้มสูงขึ้น ขณะที่การส่งออกมี แนวโน้มลดลง ทั้งนี ้ จากการวิเคราะห์ดัชนีการค้าภายในอุตสาหกรรม สัดส่วน สูงขึ้นมาอยู่ที่รอ ้ ยละ 68.42 ในปีพ.ศ. 2559 ที่การส่งออกมีการขยายตัวถึง ร้อยละ 3076.38 หลังจากนั้น สัดส่วนการค้าภายในอุตสาหกรรมเดียวกันมี การลดลงตามการหดตัวของมูลค่าการส่งออกข้าว จนกระทั่งเหลือสัดส่วนอยู่ ที่รอ ้ ยละ 42.05 ในปีพ.ศ. 2561 ทั้งนี ้ ในช่วงปีพ.ศ. 2561 ที่ผ่านมา รัฐบาล จีนได้มีการประกาศปรับอัตราภาษีศุลกากรภายใต้ความตกลงการค้าเสรีไทยจีน (Thai-China FTA) ในสินค้าประเภทข้าวและผลิตภัณฑ์อ่ืนจากร้อยละ 5 เป็ นร้อยละ 50 ซึ่งมีผลบังคับใช้ตัง้ แต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2561 เป็ นต้นมา ซึ่ง อาจเป็ นผลให้มูลค่าการส่งออกข้าวของด่านเชียงของลดลงกว่าร้อยละ 38.45 หลังจากที่มีการขยายตัวอย่างต่อเนื่องมาตัง้ แต่ปพ ี .ศ. 2557-256030

30 ไทยรัฐ. (14 ส.ค. 2561). มึน!จีนขึ้นภาษีน�ำเข้าข้าว 50%. สืบค้นจาก https://www. thairath.co.th/content/1354043

62


ที่มา: ค�ำนวณโดยผู้วิจัย

3.3 ด่านนครพนม สิ น ค้ าที่ มี การส่ ง ออกอย่ างต่ อเนื่ องผ่ านทางด่ านชายแดนนครพนม มากกว่า 5 ปี มีเพียงแค่ 3 รายการ ซึ่งทั้งหมดเป็ นสินค้าเกษตรประเภทผลไม้ ได้แก่ ล�ำไยแห้ง ทุเรียน ล�ำไยสด โดยมีหลายสินค้าที่เริม ่ มีการส่งออกในปีพ.ศ. 2561 ได้แก่ อุปกรณ์ก่ึงตัวน�ำทรานซิสเตอร์และไดโอด เพลาส่งก�ำลังและข้อ เหวีย ่ ง ของอื่นๆที่ท�ำด้วยอลูมิเนียม เคมีภัณฑ์เบ็ดเตล็ด เครือ ่ งจักรกลและส่วน ประกอบอื่นๆ และแปรงสีฟัน โดยผลไม้สดที่เป็ นสินค้าที่มีสัดส่วนการส่งออก สูงสุด เริม ่ มีการส่งออกอย่างต่อเนื่องในช่วงปีพ.ศ. 2559-2561 ซึ่งก่อนหน้า เคยมีการส่งออกช่วงหนึ่งในปีพ.ศ. 2556-2557 ทั้งนี ้ มีทั้งหมด 15 รายการ จาก 20 อันดับแรกที่มีมูลค่าการส่งออกสูงสุด โดยสินค้าที่มีความได้เปรียบ มากที่สุด คือ ผลไม้สดแช่เย็น แช่แข็ง และแห้ง ซึ่งเริ่มมีความได้เปรียบในการ ส่งออกในปีพ.ศ. 2561 รองมาได้แก่ ล�ำไย และอุปกรณ์ก่งึ ตัวน�ำทรานซิสเตอร์ และไดโอด หากไม่รวมสินค้าที่มีการส่งออกครัง้ แรกในปีดังกล่าว ส่วนใหญ่มี ความได้เปรียบที่ลดลง ทั้งล�ำไยแห้ง เลนซ์อ่ืนๆ ทุเรียน และล�ำไยสด เนื่องจาก มีมูลค่าการส่งออกลดลง

63


ตารางที่ 3 ดัชนีชีว้ ัด BRCA และ NRCA ของสินค้ามูลค่าการส่งออกสูงสุด 20 อันดับแรกผ่านด่านนครพนมไปจีนตอนใต้ ประเภทสินค้า

BRCA

NRCA

25512553

25542557

25582561

25512553

25542557

25582561

ผลไม้สดแช่เย็น แช่แข็งและแห้ง

32.75

0.17

0.48

0.62

-7.34

-21.39

ล�ำไย แห้ง

39.39

0.39

4.44

0.14

-2.74

62.07

อุปกรณ์ก่ึงตัวน�ำทรานซิสเตอร์และ ไดโอด

-

-

1.83

0.00

-0.89

12.52

วงจรพิมพ์

-

1.02

0.65

0.00

53.59

-40.91

วัตถุดิบเพื่อใช้ท�ำเครื่องส�ำอาง

-

0.28

10.55

-0.01

-0.56

8.85

เลนซ์อ่ืนๆ

-

-

12.73

0.00

0.00

41.73

เครื่องคอมเพรสเซอร์ของเครื่อง ท�ำความเย็น

-

-

11.80

0.00

0.00

5.23

เพลาส่งก�ำลังและข้อเหวี่ยง

-

-

4.84

0.00

-0.41

1.42

หมากฝรัง่ และขนมที่ไม่มีโกโก้ผสม

-

-

4.99

-0.01

-0.58

0.62

25.69

0.51

7.70

0.16

1.46

101.04

เครื่องสูบเชื้อเพลิงของเหลวและ เครื่องสูบลม

-

-

3.44

0.00

-0.05

0.34

เครื่องส�ำอาง เครื่องหอมและสบู่

-

0.12

0.17

-0.08

-1.94

-8.84

ของอื่นๆที่ท�ำด้วยอลูมิเนียม

-

-

4.84

0.00

0.00

0.19

ล�ำไย สด

-

2.23

1.08

-0.44

10.32

-5.92

เคมีภัณฑ์เบ็ดเตล็ด

-

-

4.19

0.00

-0.08

0.00

เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ อื่น ๆ

-

-

0.04

0.00

-0.11

-0.20

แปรงสีฟัน

-

-

1.35

0.00

0.00

-0.03

ผ้าผืนและด้าย

-

2.63

0.12

-0.05

-0.94

-1.54

รองเท้าแตะ

-

0.26

-

-0.01

-1.26

-1.30

ข้าว

-

-

0.00

0.00

-0.06

-39.23

ทุเรียน

ที่มา: ค�ำนวณโดยผู้วิจัย

3.4 ด่านเชียงแสน แม้วา่ เชียงแสนเป็ นด่านมีมล ู ค่าการส่งออกไปจีนตอนใต้ต่ำ� กว่าด่านอื่นๆ และมีแนวโน้มลดลงในช่วงหลายปีที่ผ่านมา แต่มีโครงสร้างของสินค้าส่งออกที่ กระจายตัว และหลากหลาย ทัง้ สินค้าทุน สินค้าเกษตรขัน ้ ต้นและแปรรูป สินค้า ปศุสต ั ว์ เป็ นต้น โดยสินค้าทีม ่ ม ี ล ู ค่าการส่งออกสูงสุด คือ น�ำ้ มันดีเซล รองมาเป็ น 64


รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ และยางพารา ซึ่งเป็ น 3 รายการแรกที่มี ความได้เปรียบสูงสุดตามดัชนี NRCA เช่นเดียวกัน ขณะเดียวกัน สินค้าที่มี ค่าดัชนี BRCA สูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ ยานพาหนะอื่นๆ และส่วนประกอบ น�้ำมันดีเซล และไขมันและน�้ำมันจากพืชและสัตว์อ่ืนๆ โดยจากสินค้าที่มีมูลค่า สูงสุด 20 อันดับแรก มีทั้งหมด 18 รายการ ที่มีความได้เปรียบในการส่งออก แปรผลตรงกันทัง้ ในดัชนี NRCA และ BRCA ทัง้ นี ้ สินค้าที่ขาดความได้เปรียบ ในการส่งออก คือ ผลไม้ และผักสด อย่างไรก็ตาม จากดัชนี NRCA สินค้า ส่วนใหญ่มีความได้เปรียบลดลงอย่างมาก โดยเฉพาะรถยนต์ อุปกรณ์และส่วน ประกอบ ในขณะที่สินค้าที่มีความได้เปรียบสูงขึ้น ได้แก่ น�้ำมันดีเซล ไก่ น�้ำมัน ส�ำเร็จรูปอื่นๆ ไขมันและน�้ำมันจากพืชและสัตว์อ่ืนๆ สิ่งทออื่นๆ และยานพาห นะอื่นๆ และส่วนประกอบ ซึ่งการเปลีย ่ นแปลงของดัชนี NRCA ส่วนใหญ่ไม่ สอดคล้องกับดัชนี BRCA เนื่องจากสินค้าที่มีการความได้เปรียบลดลงในดัชนี NRCA กลับสูงขึ้นในดัชนี BRCA ตารางที่ 4 ดัชนีชีว้ ัด BRCA และ NRCA ของสินค้ามูลค่าการส่งออกสูงสุด 20 อันดับแรกผ่านด่านเชียงแสนไปจีนตอนใต้ ประเภทสินค้า

BRCA

NRCA

25512553

25542557

25582561

25512553

25542557

25582561

น�้ำมันดีเซล

0.88

0.69

7.93

-88.06

-53.41

93.99

รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ

1.99

6.12

9.44

127.11

352.57

158.34

ยางพารา

2.05

3.86

4.86

128.20

147.32

135.41

ไก่

-

4.61

5.17

0.00

1.00

15.20

ผลไม้แปรรูป

1.96

5.01

5.12

18.78

37.14

36.97

น�้ำมันส�ำเร็จรูปอื่น ๆ

0.60

0.29

7.42

-1.60

-1.00

13.46

น�้ำตาลทราย

2.05

5.20

8.63

0.19

51.57

195.07

ผลิตภัณฑ์เภสัชภัณฑ์

2.03

6.22

8.16

24.17

40.34

31.21

น�้ำมันปาล์ม

1.90

4.35

7.39

152.75

147.06

43.45

ไขมันและน�้ำมันจากพืชและสัตว์ อื่นๆ

0.82

4.24

8.74

0.21

0.28

9.62

ผลไม้สดแช่เย็น แช่แข็งและแห้ง

0.61

0.21

0.19

-27.25

-13.44

-65.29

สิ่งทออื่นๆ

1.87

5.86

4.42

2.11

0.19

1.82

เม็ดพลาสติกอื่นๆ

2.06

6.23

8.52

1.00

10.01

3.74

เครื่องส�ำอาง เครื่องหอมและสบู่

1.97

5.43

1.58

10.16

13.22

3.41

65


ผ้าผืนและด้าย

2.05

6.22

9.18

6.13

10.32

6.86

นมและผลิตภัณฑ์นม

1.99

4.72

4.93

2.16

6.00

10.11

สินค้ากสิกรรมอื่น ๆ

1.90

3.85

6.68

8.16

6.87

47.46

ผลิตภัณฑ์ข้าวสาลีอ่ืน ๆ

1.96

4.09

2.93

4.24

7.08

4.38

ยานพาหนะอื่น ๆ และส่วนประกอบ

1.26

5.86

6.51

-0.47

2.93

1.08

ผักสดแช่เย็น แช่แข็งและแห้ง

1.53

2.34

1.08

-0.49

1.84

0.38

ที่มา: ค�ำนวณโดยผู้วิจัย

สินค้าที่เชียงแสนมีการส่งออกและน�ำเข้ากับจีนตอนใต้คอ ่ นข้างมีความ แตกต่างกัน ครึง่ หนึ่งของสินค้าน�ำเข้าเป็ นข้าว อีกร้อยละ 22.22 เป็ นการน�ำเข้า แป้ ง และที่เหลือเป็ นสินค้าอื่นๆ ดังนั้น จึงไม่เห็นถึงแนวโน้มของการค้าภายใน อุตสาหกรรมโดยตรง อย่างไรก็ตาม ได้มีการส่งออกยางพาราไปจีนตอนใต้ แต่ มีการน�ำเข้าวัสดุท�ำจากยางอื่นๆเข้ามา กล่าวคืออาจมีความเชื่อมโยงของห่วง โซ่การผลิตในการส่งออกสินค้าสินค้าเกษตรขัน ้ ต้นจากชายแดนไทยผ่านด่าน เชียงแสนไปแปรรูปที่จีน และส่งกลับมาจ�ำหน่ายในประเทศไทย 3.5 การเปรียบเทียบระหว่างด่านชายแดน ในแต่ละด่านมีการส่งออกสินค้าที่มีความแตกต่าง แม้ว่าจะเป็ นการส่ง ออกไปประเทศจีนตอนใต้เหมือนกัน โดยด่านมุกดาหารเห็นได้อย่างชัดเจนว่า เน้นการส่งออก “สินค้าอิเล็กทรอนิกส์” ซึ่งสัดส่วนส่วนใหญ่เป็ นการส่งออก เครือ ่ งคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ซึ่งสัดส่วนการส่งออกทัง้ หมดไป จีนตอนใต้อยู่ด่านมุกดาหาร ส่วนด่านเชียงของ และนครพนมมีความใกล้เคียง กันในการส่งออก “สินค้าเกษตรขัน ้ ต้น” โดยเฉพาะผลไม้ ขณะที่การส่งออก ผ่ านด่านเชียงแสนมีการส่งออกที่ค่อนข้างหลากหลาย ทั้งสินค้าทุนเชื้อเพลิง สินค้าเกษตรขัน ้ ต้นและแปรรูป สินค้าอุปโภค-บริโภค เป็ นต้น อย่างไรก็ตาม มี บางสินค้าที่แต่ละด่านมีการส่งออกเหมือนกัน (ตารางที่ 5) โดยด่านมุกดาหาร มีการส่งออกวงจรพิมพ์ และอุปกรณ์ก่ึงตัวน�ำทรานซิสเตอร์และไดโอด เหมือน กับด่านเชียงแสน และนครพนม ในขณะที่ด่านเชียงของมีการส่งออกผลไม้สด แช่เย็น แช่แข็งและแห้ง ล�ำไยแห้งเหมือนกับด่านนครพนม รวมถึงมีการส่งออก เครือ ่ งส�ำอาง เครือ ่ งหอมและสบู่ ยางพารา ผลไม้แปรรูป และผลิตภัณฑ์ขา้ วสา ลีอ่น ื ๆ เหมือนกับด่านเชียงแสน ท�ำให้สามารถน�ำมาเปรียบเทียบความได้เปรียบ ในการส่งออกระหว่างด่านชายแดน 66


ตารางที่ 5 ความได้เปรียบในการส่งออกสินค้าของแต่ละด่านชายแดนไปจีน ตอนใต้ (NRCA) ปีพ.ศ. 2560 ด่านชายแดน มุกดาหาร

เชียงของ

นครพนม

เชียงแสน

สินค้าส่งออกที่ได้เปรียบ เครือ ่ งคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ, วงจร พิมพ์, ยางยานพาหนะ, อุปกรณ์กง่ึ ตัวน�ำทรานซิสเตอร์ และไดโอด, หม้อแบตเตอรีแ่ ละส่วนประกอบ, เครื่องจักรกลและส่วนประกอบอื่นๆ, เครื่องกังหัน ไอพ่นและกังหันอืน ่ ๆ, นาฬิกา, เครือ่ งวีดโี อ เครือ่ งเสียง อุปกรณ์และส่วนประกอบ ผลไม้สดแช่เย็น แช่แข็งและแห้ง, ล�ำไยแห้ง, ข้าว, ผักสดแช่เย็น แช่แข็งและแห้ง, เครื่องส�ำอาง เครือ ่ งหอมและสบู,่ กล้วยไม้, ทุเรียน แช่เย็นจนแข็ง, ปลา, ยางพารา, ที่นอนหมอนฟูก, ผลไม้แปรรูป, มังคุด, บะหมี่ก่ึงส�ำเร็จรูปและอาหารส�ำเร็จ, เครื่อง เทศและสมุนไพร, ถั่ว, ไฟแช็ค, ผลิตภัณฑ์ข้าวสาลี อื่นๆ, เครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอส์, เฟอร์นิเจอร์ไม้, รูปแกะสลัก และเครื่องประดับท�ำด้วยไม้ ผลไม้สดแช่เย็น แช่แข็งและแห้ง, ล�ำไยแห้ง, อุปกรณ์ก่ึงตัวน�ำทรานซิสเตอร์และไดโอด, วงจร พิมพ์, วัตถุดิบเพื่อใช้ท�ำเครื่องส�ำอาง, เลนซ์อ่ืนๆ, เครื่องคอมเพรสเซอร์ของเครื่องท�ำความเย็น, เพลาส่งก�ำลังและข้อเหวี่ยง, หมากฝรัง่ และขนม ที่ไม่มีโกโก้ผสม, ทุเรียน, เครื่องสูบเชื้อเพลิง ของเหลวและเครื่องสูบลม, ของอื่นๆที่ท�ำด้วยอลูมิ เนียม, ล�ำไยสด, เคมีภัณฑ์เบ็ดเตล็ด, แปรงสีฟัน น�้ำมันดีเซล, รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ, ยางพารา, ไก่, ผลไม้แปรรูป, น�้ำมันส�ำเร็จรูปอื่นๆ, น�้ำตาลทราย, ผลิตภัณฑ์เภสัชภัณฑ์, น�้ำมันปาล์ม, ไขมันและน�้ำมันจากพืชและสัตว์อ่ืนๆ, สิ่งทออื่นๆ, เม็ดพลาสติกอื่นๆ, เครื่องส�ำอาง เครื่องหอมและ สบู่, ผ้าผืนและด้าย, นมและผลิตภัณฑ์นม, สินค้า กสิกรรมอื่นๆ, ผลิตภัณฑ์ข้าวสาลีอ่ืนๆ, ยานพาหนะ อื่นๆ และส่วนประกอบ ที่มา: ค�ำนวณโดยผู้วิจัย 67

สัดส่วน 99.98%

100%

100%

95.61%


ด่านมุกดาหารและด่านนครพนมมีความได้เปรียบในการส่งออกเหมือน กันใน 2 รายการสินค้า คือ วงจรพิมพ์ และอุปกรณ์ก่ึงตัวน�ำทรานซิสเตอร์และ ไดโอด โดยในช่วงที่ผ่านมาความได้เปรียบของทั้งสองด่านในการส่งออกวงจร พิมพ์ไปจีนตอนใต้มีการเปลีย ่ นแปลงตรงกันข้ามกันมาโดยตลอด (รูปที่ 4) ซึ่ง เห็นได้ว่าหากด่านมุกดาหารมีความได้เปรียบในการส่งออกสูงขึน ้ ด่านนครพนม จะมีความได้เปรียบลดลง และหากด่านมุกดาหารมีความได้เปรียบในการส่ง ออกลดลง ด่านนครพนมจะมีความได้เปรียบสูงขึ้น แต่กระนั้นในปีพ.ศ. 2561 ทั้งสองด่านกลับมีความได้เปรียบสูงขึ้นพร้อมกัน ในขณะที่มุกดาหารมีความได้ เปรียบในการส่งออกอุปกรณ์ก่งึ ตัวน�ำทรานซิสเตอร์และไดโอดมาตัง้ แต่ปพ ี .ศ. 2555 ส่วนด่านนครพนมยังไม่มีการส่งออก แต่ในปีพ.ศ.2561 ด่านนครพนม กลายมามีความได้เปรียบในการส่งออก และสูงกว่าด่านมุกดาหาร (รูปที่ 5) ดัง นัน ้ การส่งออกวงจรพิมพ์ไปจีนตอนใต้มีการใช้งานทดแทนในทัง้ สองด่าน ขณะ ที่อุปกรณ์ก่ึงตัวน�ำทรานซิสเตอร์และไดโอดในช่วงก่อนปีพ.ศ.2561 ได้มีการ ส่งออกจากด่านมุกดาหารเพียงอย่างเดียว ต่อมาจึงเริ่มมีการส่งออกทางด่าน นครพนม

ที่มา: ค�ำนวณโดยผู้วิจัย

ด่ า นเชี ย งของและด่ า นนครพนมมี ก ารส่ ง ออกสิ น ค้ า เหมื อ นกั น 2 รายการ ได้แก่ ผลไม้สดแช่เย็น แช่แข็งและแห้ง และล�ำไยแห้ง โดยที่ผ่านมา มี การส่งออกผลไม้สดแช่เย็น แช่แข็งและแห้งผ่านทางด่านเชียงของเกือบทัง้ หมด ไปจีนตอนใต้ ท�ำให้นครพนมไม่มีความได้เปรียบในการส่งออก ทั้งนี ้ ในปีพ.ศ. 2561 การส่งออกผลไม้สดมีการขยายตัวสูงขึ้นอย่างมาก นอกจากท�ำให้ด่าน 68


เชียงของมีความได้เปรียบในการส่งออกสูงขึ้นต่อเนื่องมาจากอดีต และกลาย มามีความได้เปรียบในการส่งออก ขณะที่การส่งออกล�ำไยแห้งส่วนใหญ่ผ่าน ด่านเชียงของเช่นเดียวกัน ท�ำให้ด่านนครพนมไม่มีความได้เปรียบในช่วงก่อน ปีพ.ศ.2559 โดยด่านนครพนมมีการขยายตัวของการส่งออกล�ำไย จึงเริ่มมี ความได้เปรียบสูงขึ้นมา แต่ยังคงมีมูลค่าต�่ำกว่าด่านเชียงของ

ที่มา: ค�ำนวณโดยผู้วิจัย

สินค้าที่ส่งออกผ่านด่านเชียงแสนและเชียงของเหมือนกันมีทั้งหมด 4 รายการ ได้แก่ เครื่องส�ำอาง เครื่องหอมและสบู่ ยางพารา ผลไม้แปรรูป และ ผลิตภัณฑ์ข้าวสาลีอ่ืนๆ โดยการส่ งออกทุ กรายการสิ นค้าส่ วนใหญ่ผ่านด่าน เชียงแสนเกือบทั้งหมดในอดีต แต่สัดส่วนของการส่งออกผ่านด่านเชียงแสนมี แนวโน้มลดลง จากการหดตัวของมูลค่าการส่งออก ส่วนด่านเชียงของมีการส่ง ออกสูงขีน ้ อย่างต่อเนื่องจนกระทั่งมีสัดส่วนสูงกว่าด่านเชียงแสนในทุกรายการ สินค้า โดยสินค้าประเภทเครื่องส�ำอาง ในช่วงก่อนปีพ.ศ. 2558 การส่งออก ผ่ านด่านอ�ำเภอเชียงของไม่มีความได้เปรียบ ขณะที่ด่านเชียงแสนมีความได้ เปรียบมาโดยตลอด หลังจากนั้นมูลค่าของการส่งออกของด่านเชียงแสนเริ่ม ลดลง สวนทางกับการเพิ่มสูงขึ้นของมูลค่าการส่งออกของด่านเชียงของ (รูป ที่ 8) ขณะเดียวกัน ความได้เปรียบในการส่งออกยางพาราของทั้งสองด่านใกล้ เคียงกันหลังปีพ.ศ. 2556 (รูปที่ 9)

69


ที่มา: ค�ำนวณโดยผู้วิจัย

ในส่ วนของการส่ งออกผลไม้ แปรรู ป ด่านเชียงของและเชียงแสนมี ทิศทางความได้เปรียบในทิศทางตรงข้ามกันตลอดมา กล่าวคือเมื่อด่านเชียงของ มีความได้เปรียบในการส่งออกที่สูงขึ้น ด่านเชียงแสนกลับมีความได้เปรียบลด ลง (รูปที่ 10) แต่โดยส่วนใหญ่เชียงแสนเป็ นด่านหลักในการส่งออก โดยมีเพียง ปีพ.ศ.2560 ทีก ่ ารส่งออกผ่านด่านเชียงของมีมูลค่าสูงกว่าด่านเชียงแสน ขณะ เดียวกัน การส่งออกผลิตภัณฑ์ข้าวสาลีในช่วงก่อนปีพ.ศ.2555 มีเพียงด่าน เชียงแสนที่มีความได้เปรียบในการส่งออก ต่อมาด่านเชียงของมีมูลค่าขยายตัว สูงขึ้น ส่งผลให้หลังจากปีพ.ศ. 2558 ด่านเชียงของมีความได้เปรียบในการส่ง ออกสูงกว่าด่านเชียงแสน (รูปที่ 11)

ที่มา: ค�ำนวณโดยผู้วิจัย 70


ที่มา: ค�ำนวณโดยผู้วิจัย

4. บทสรุปและข้อเสนอแนะ สินค้าที่มีการส่งออกจากทุกด่านมีความได้เปรียบในการส่งออกไปจีน ตอนใต้เกือบทั้งหมด โดยด่านมุกดาหารมีการส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์เป็ น หลัก ส่วนด่านเชียงของและนครพนมส่งออกสินค้าเกษตรขัน ้ ต้นประเภทผลไม้ เป็ นส�ำคัญ ขณะที่ด่านเชียงแสนส่งออกสินค้าประเภทเชื้อเพลิง โดยด่านที่มี แนวโน้มของการค้าภายในอุตสาหกรรมเดียวกัน ได้แก่ ด่านมุกดาหาร และด่าน เชียงของ ซึ่งมีทิศทางสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องตามการขยายตัวทางการค้า ทั้งนี ้ มี การเคลื่อนย้ายของการส่งออกสินค้าจากด่านหนึ่งสู่อีกด่านหนึ่ง ท�ำให้ความได้ เปรียบในการส่งออกมีการเปลีย ่ นแปลงไปตามสัดส่วน อย่างไรก็ดี การเปรียบ เทียบระหว่างดัชนี Balassa Comparative Advantage Index (BRCA) กับ Normalized Comparative Advantage Index (NRCA) มีความ สอดคล้องกันในแง่ของสถานะความได้เปรียบในการส่งออก แต่มีความแตก ต่างกันในด้านของแนวโน้มการเปลีย ่ นแปลง ฉะนั้น การค้าชายแดนสู่จีนตอน ใต้เป็ นสิ่งทีน ่ ่าจับตามองอย่างมาก ในอนาคตไทยมีความจ�ำเป็ นต้องท�ำการเชื่อม ห่วงโซ่การผลิตกับจีน โดยเฉพาะในประเภทของสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ และสินค้า เกษตร ดังนั้นการสร้างความสามารถทางการแข่งขันของด่านชายแดนไทยได้ อย่างเหมาะสมจะท�ำให้เกิดการพัฒนาการค้าผ่านแดนของไทยอย่างแท้จริง

71


เอกสารอ้างอิง Balassa, Bela (1965) Trade Liberalization and Revealed Comparative Advantage. Manchester School of Economic and Social Studies, 33, 99–123. Grubel, H.G. and Lloyd, P.J. (1975) Intra-Industry Trade: The Theory and Measurement of International Trade in Differentiated Products. Macmillan Press, London. Yu, R., Cai, J., & Leung, P. (2008). The normalized revealed comparative advantage index. The Annals of Regional Science,43(1), 267-282. doi:10.1007/s00168-008-0213-3 ธนาคารเพื่อการส่งออกและน�ำเข้าแห่งประเทศไทย. (2548). Intra-Industry Trade กับการเปิดเสรีอาเซียน-จีน. สืบค้นจาก http:// www.exim.go.th/doc/research/FTA/3165.pdf. 30 ธันวาคม 2561 ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในจีน ณ นครคุนหมิง. (28 ธันวาคม 2561). เศรษฐกิจยูนนานยังแกร่ง การค้าต่างประเทศโตร้อยละ 30.9 และรายได้ท่องเที่ยวโตร้อยละ 21.23. สืบค้นเมื่อวันที่ 4 มกราคม 2562 จาก https://www.thaibizchina.com กรมการค้าต่างประเทศ. (2561). สถิติการค้าชายแดนและการค้าผ่ านแดน ของประเทศไทย. สืบค้นเมื่อวันที่ 1 มกราคม 2562 จาก http:// btsstat.dft.go.th/ ศูนย์วิจัยเศรษฐศาสตร์ประยุกต์. (2555). โครงการศึกษาการขยายตลาด ผลไม้สดไทยไปยังสาธารณรัฐประชาชนจีนภายใต้การเปิดเขตการค้า เสรีไทย-จีน. รายงานฉบับสมบูรณ์, ส�ำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. บุญทรัพย์ และคณะ. (2560). โครงการวิเคราะห์และเผยแพร่ขอ ้ มูลเกีย ่ วกับ การใช้ประโยชน์ท่าเรือรอบอ่าวเป่ ยปู้ เขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วง. รายงานฉบับสมบูรณ์, สถานกงสุลใหญ่ ณ นครหนานหนิง กระทรวงการ ต่างประเทศ.

72


73

ที่มา: ค�ำนวณโดยผู้วิจัย

ภาคผนวก


74

ที่มา: ค�ำนวณโดยผู้วิจัย


75

ที่มา: ค�ำนวณโดยผู้วิจัย


76

ที่มา: ค�ำนวณโดยผู้วิจัย


77

ที่มา: ค�ำนวณโดยผู้วิจัย


78

ที่มา: ค�ำนวณโดยผู้วิจัย


79

ที่มา: ค�ำนวณโดยผู้วิจัย


80

ที่มา: ค�ำนวณโดยผู้วิจัย


การค้าชายแดนในบริบทของระเบียงเศรษฐกิจเหนือ-ใต้ ณัฐพรพรรณ อุตมา, พบกานต์ อาวัชนาการ, สิทธิชาติ สมตา บทคัดย่อ บทความวิจย ั นีม ้ วี ต ั ถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงประโยชน์ทางการค้าจากการ เกิดขึ้นของระเบียงเศรษฐกิจเหนือ-ใต้ ไม่ว่าจะเป็ นการขยายขนาดการค้า การ สร้างการค้าหรือเพิ่มพูนทางการค้า และการเบี่ยงเบนทางการค้า โดยเปรียบ เที ยบการค้าชายแดนและข้ามแดนบริเวณด่านชายแดนจังหวัดเชียงรายกับ การค้าชายแดนนอกด่านชายแดนจังหวัดเชียงราย พบว่า การค้าชายแดนของ จังหวัดเชียงรายในบริบทของระเบียงเศรษฐกิจเหนือ-ใต้ ท�ำให้เกิดการเติบโต ทางการค้าชายแดนกับประเทศเพื่อนบ้านทางด้านการส่งออกมากกว่าการน�ำ เข้า นอกจากนีด ้ ่านชายแดนจังหวัดเชียงรายมีการสร้างการค้าและการเบี่ยง เบนทางการค้าระหว่างเมียนมา สปป.ลาว และจีนตอนใต้ เพื่อที่จะขยายการ ค้าชายแดนของจังหวัดเชียงรายให้เกิดประโยชน์สูงสุดและเป็ นการสร้างการ ค้า มากกว่านี ้ ในอนาคตควรเน้นการอ�ำนวยความสะดวกทางการค้า (Trade facilitation) รวมถึงความร่วมมือกันแก้ไขปั ญหาภายในประเทศเพื่อนบ้านที่ มีผลต่อการขนส่งสินค้าไม่ว่าจะเป็ นค่าธรรมเนียมและชนกลุ่มน้อย เพื่อท�ำให้ เกิดประโยชน์ทางการค้าสูงที่สุด ค�ำส�ำคัญ: ระเบียงเศรษฐกิจเหนือ-ใต้ การค้าข้ามแดน การสร้างการค้า การ เบี่ยงเบนการค้า Keyword: North-South economic corridor; Cross-border trade; Trade creation; Trade diversion 1. บทน�ำ นั บตั้งแต่การริเริ่มโครงการพัฒนาความร่วมมื อทางเศรษฐกิจในอนุ ภูมิภาคลุ่มแม่น�้ำโขง (Greater Mekong Subregion Economic Cooperation Program : GMS Program) หรือ หกเหลีย ่ มเศรษฐกิจ ในปีพ.ศ. 2535 และได้รบ ั การสนับสนุนจากธนาคารพัฒนาเอเชีย (Asian Development Bank: ADB) ท�ำให้เกิดการเปลีย ่ นแปลงอย่างมากกับประเทศสมาชิก ทั้ง 6 ประเทศ (กัมพูชา จีนตอนใต้ สปป.ลาว เมียนมา ไทย และเวียดนาม) จากการพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานและการร่วมมือกันพัฒนากฎระเบียบ 81


เพื่ออ�ำนวยความสะดวกต่อการค้าและการขนส่ งระหว่ างกัน ขณะเดียวกัน ทุ ก ประเทศก็ ไ ด้ พั ฒ นาองค์ ป ระกอบต่ า งๆ ภายในประเทศและสร้า งความ ร่วมมือระหว่างประเทศ เพื่อก่อให้เกิดการหลอมรวมกันของภูมิภาคและการ จัดสรรทรัพยากรใหม่ที่มีประสิทธิภาพทางเศรษฐกิจสูงสุด กลายเป็ นพื้นที่เชิง ยุทธศาสตร์ทางเศรษฐกิจและการเมืองโลก ซึ่งสอดคล้องกับแผนงาน GMS ที่ เน้นการสร้างอนุภูมิภาคที่บูรณาการเป็ นหนึ่งเดียวกัน มีความปรองดอง และมี ความมั่งคั่งตามยุทธศาสตร์ 3 ด้าน ได้แก่ การสร้างความเชื่อมโยง (connectivity) การเสริมสร้างศักยภาพในการแข่งขัน (competitiveness) และการ สร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชน (community)31 (ADB, 2015) ความส�ำเร็จของการสร้างความเชื่อมโยงกันทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาค ลุม ่ แม่น�้ำโขงเข้าด้วยกันทีส ่ �ำคัญ ได้แก่ โครงการระเบียงเศรษฐกิจ (Economic Corridor) มีความส�ำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของไทยและกลุ่มประเทศ อนุภูมิภาคลุ่มแม่น�้ำโขง ในปั จจุ บันอนุภูมิภาคลุ่มแม่น�้ำโขงมีระเบียงเศรษฐกิจ 3 เส้นหลัก ได้แก่ ระเบียงเศรษฐกิจเหนือ-ใต้ (North-South Economic Corridor : NSEC) ระเบียงเศรษฐกิจตะวันออก-ตะวันตก (East-West Economic Corridor : EWEC) และระเบียงเศรษฐกิจตอนใต้ (Southern Economic Corridor : SEC) ในแง่ภูมิเศรษฐศาสตร์ ระเบียงเศรษฐกิจเป็ น เสมือนเส้ นทางเชื่อมต่อเขตเศรษฐกิจชายแดนของไทยเข้ากับประเทศเพื่อน บ้าน ดังนั้น สถานภาพ ความก้าวหน้า และระดับการพัฒนาของพื้นที่หรือเมือง ที่ระเบียงเศรษฐกิจทอดผ่านจึงส่งผลต่อการพัฒนาเขตเศรษฐกิจชายแดนของ ไทยโดยตรง (ส�ำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย, 2553)

31 การสร้างความเชื่อมโยง (connectivity) ระหว่างกันให้มากขึน ้ ผ่านการพัฒนาโครงสร้าง พื้นฐานทางกายภาพที่ย่ังยืนและยกระดับโครงข่ายเส้นทางคมนาคมขนส่งให้เป็ นแนวพื้นที่ เศรษฐกิจ (economic Corridors) การเสริมสร้างศักยภาพในการแข่งขัน (competitiveness) ผ่านการอ�ำนวยความสะดวกการเคลื่อนย้ายผู้คนและสินค้าข้ามพรมแดนอย่าง มีประสิทธิภาพและส่งเสริมบูรณาการของตลาด กระบวนการผลิต และห่วงโซ่คุณค่า และ การสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชน (community) ผ่านโครงการและแผนงานที่ตอบสนอง ต่อประเด็นที่เกีย ่ วข้องกับสังคมและสิ่งแวดล้อม (ADB, 2015) 82


ที่มา: ADB (2016)

การค้ า ชายแดนของไทยกั บ ประเทศเพื่ อ นบ้ า นตามแนวระเบี ย ง เศรษฐกิจเหนือ-ใต้ ระหว่างปีพ.ศ.2550-2560 มีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยการค้าผ่านแดนระหว่างไทยกับจีนมีอัตราการเติบโตเฉลี่ยสะสม (Compound Annual Growth Rate: CAGR) มากที่สุดร้อยละ 29.49 รองลง มาคือ สปป.ลาว ร้อละ 15.41 และเมียนมา ร้อยละ 6.58 (ดังรูปที่ 1) ทั้งนี ้ การค้าชายแดนของไทยมีแนวโน้มเติบโตอย่างต่อเนื่อง จากการขยายตัวทาง เศรษฐกิจของประเทศเพื่อนบ้านอย่างเมียนมาและสปป.ลาว โดยมีการส่งออก และการลงทุ นโดยตรงจากต่างประเทศเป็ นแรงสนับสนุนหลักต่อการพัฒนา เศรษฐกิจในประเทศ ขณะเดียวกันจีนเป็ นประเทศที่มีการเติบโตทางเศรษฐกิจ อย่างมากจากการเป็ นฐานผลิตของโลก เป็ นผู้บริโภครายใหญ่ของโลก และยัง เป็ นตลาดหลักที่ส�ำคัญในการน�ำเข้าวัตถุดิบของเอเชียอีกด้วย

83


รูปที่ 1 มูลค่าการค้าชายแดนของไทยกับประเทศเพื่อนบ้านตามแนวระเบียง เศรษฐกิจเหนือ-ใต้ ระหว่างปีพ.ศ.2550-2560 (หน่วย : ล้านบาท)

ที่มา : กรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์

หากมองภาพที่เล็กลงมาในระดับจังหวัด เชียงรายเป็ นหนึ่ งจังหวัดที่ มีระเบียงเศรษฐกิจทอดผ่ านตามแนวระเบียงเศรษฐกิจเหนื อ-ใต้ (NorthSouth Economic Corridor: NSEC) เปรียบเสมือนประตูสู่อาเซียนที่เชื่อม โยงไปยังประเทศเพื่อนบ้าน ได้แก่ สหภาพเมียนมา สปป.ลาว และจีนตอนใต้ หลังปีพ.ศ.2556 เป็ นจุ ดเริ่มต้นส�ำคัญท�ำให้จังหวัดเชียงรายกลายเป็ นพื้นที่ ชายแดนที่มีความส�ำคัญทางการค้าของประเทศไทย เนื่องจากมีด่านชายแดน จ�ำนวน 3 ด่าน ได้แก่ ด่านศุลกากรแม่สาย ด่านศุลกากรเชียงแสน และด่าน ศุลกากรเชียงของ โดยมีรูปแบบการขนส่งทั้งทางบกผ่านเส้นทาง R3A และ R3B รวมถึงการขนส่งเส้นทางน�้ำด้วยแม่น�้ำโขง หากพิจารณาการค้าชายแดน ของจังหวัดเชียงรายกับรายด่านต่างๆ ที่มีการค้ากับประเทศเพื่อนบ้านตาม แนวระเบียงเศรษฐกิจเหนือ-ใต้ พบว่า การค้าชายแดนของจังหวัดเชียงราย กับ สปป.ลาว และสหภาพเมียนมา มีอต ั ราการเติบโตเฉลีย ่ สะสมระหว่างปีพ.ศ. 2550-2560 อยู่ที่รอ ้ ยละ 21.18 และร้อยละ 10.58 ตามล�ำดับ ซึ่งมีอัตรา การเติบโตสูงกว่าด่านต่างๆ นอกจังหวัดเชียงราย ขณะที่การค้าผ่านแดนกับจีน ทางด่านจังหวัดเชียงรายมีอต ั ราการเติบโตเฉลีย ่ สะสมร้อยละ 7.55 (ดังตาราง ที่ 1) ทั้งนีม ้ ูลค่าการค้าชายแดนของจังหวัดเชียงรายมีแนวโน้มลดลงในปีพ.ศ. 2560 อาจเกิดจากปั ญหาการอ�ำนวยความสะดวกทางการค้า เช่น ปั ญหาการ เก็บค่าธรรมเนียมการขนส่งที่เพิ่มขึ้นของสปป.ลาว ในเส้นทาง R3A จึงท�ำให้ เกิดการเปลีย ่ นเส้นทางการขนส่งไปยังด่านชายแดนอื่นๆ ของไทย 84


ตารางที่ 1 มูลค่าการค้าชายแดนของด่านจังหวัดเชียงรายกับด่านต่างๆ ของ ประเทศไทยต่อประเทศเพื่อนบ้าน ระหว่างปีพ.ศ.2550-2560 (หน่วย : ล้านบาท) ปี

สปป.ลาว เมียนมา จีน ด่าน นอกด่าน ด่าน นอกด่าน ด่าน นอกด่าน เชียงราย เชียงราย เชียงราย เชียงราย เชียงราย เชียงราย 2550 1,771 47,624 4,181 93,270 5,588 987 2551 2,428 70,146 5,899 137,802 6,392 2,000 2552 2,481 63,894 6,405 128,361 5,428 3,024 2553 4,002 75,248 10,263 127,609 6,882 13,822 2554 7,317 94,345 12,228 152,148 10,136 24,478 2555 9,649 121,717 12,092 168,380 12,682 34,599 2556 11,301 120,896 13,441 183,519 12,711 28,260 2557 13,059 138,406 14,247 201,462 13,710 35,290 2558 17,238 159,743 12,959 204,965 14,560 46,254 2559 17,916 185,027 12,152 175,753 14,901 51,242 2560 12,091 194,955 11,431 172,900 11,575 75,549 CAGR 21.18% 15.14% 10.58% 6.37% 7.55% 54.30% ที่มา : กรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์

ท่ามกลางสถานการณ์ทางการค้าระหว่างประเทศ และการค้าชายแดน ที่มีแนวโน้ มเติบโตเพิ่มมากขึ้น ทางการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจและข้อตกลง การค้าเสรีกับประเทศต่าง ๆ โดยเฉพาะการเกิดขึ้นของแนวระเบียงเศรษฐกิจ เหนือ-ใต้ (NSEC) น�ำไปสู่ค�ำถามงานวิจัยที่ส�ำคัญ คือ การเกิดขึ้นของระเบียง เศรษฐกิจ NSEC นี ้ ส่งผลกระทบต่อการขยายขนาดการค้า (trade expansion) การเพิ่มมูลค่าทางการค้า (trade creation) หรือการเบีย ่ งเบนทางการ ค้า (trade diversion) อย่างไรบ้าง โดยงานศึกษานีไ้ ด้ท�ำการ เปรียบเทียบ ผลการค้าชายแดนและข้ามแดนใน 3 ลักษณะข้างต้น บริเวณด่านชายแดน จังหวัดเชียงรายกับการค้าชายแดนนอกด่านชายแดนจังหวัดเชียงราย เพื่อ เสนอแนะแนวทางการสร้างประโยชน์ทางการค้าจากการมีระเบียงเศรษฐกิจ เหนือ-ใต้ 85


2. งานวิจัยที่เกีย ่ วข้อง การสร้างหรือเพิ่มพูนทางการค้า (Trade creation) และการเบีย ่ งเบน ทางการค้า (Trade diversion) มักถูกน�ำมาใช้ในการประเมินผลกระทบที่เกิด จากการท�ำความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศหรือกลุม ่ ประเทศ32 (หรือ การลดก�ำแพงภาษีการค้าระหว่างกัน) ที่ประเทศสมาชิกเพิ่มการน�ำเข้าสินค้า ระหว่างกัน และ/หรือ เปลีย ่ นแปลงการน�ำเข้าจากประเทศนอกสมาชิกมาเป็ น ประเทศสมาชิกแทน การสร้างมูลค่าทางการค้า (trade creation) เป็ นผลก ระทบในทางบวก หรือมูลค่าการค้าที่เพิ่มขึ้นอันเนื่องมาจากการลดอัตราภาษี หรือการให้สิทธิพิเศษทางการค้าอื่นๆ ขณะที่การเบี่ยงเบนทางการค้า (trade diversion) เป็ นการเปลีย ่ นแปลงหรือการหันไปน�ำเข้าสินค้าและบริการจาก ประเทศสมาชิกที่มีการลดภาษี แทนที่ประเทศนอกกลุ่มแม้จะมีต้นทุนในการ ผลิตต�่ำกว่าก็ตาม โดยทั้ง trade creation และ trade diversion ซึ่งอาจ ส่งผลกระทบต่อสวัสดิการสุทธิของประเทศ (Net welfare effect) (Viner, 196033 ใน สุทธิพันธ์ จิราธิวัฒน์ 2554, หน้า 32) งานศึ กษาที่เกี่ยวข้องกับผลกระทบจากการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจมี ทั้งเชิงทฤษฎีและเชิงประยุกต์ เช่น งานวิจัยเชิงทฤษฎีของ Missios et al. (2016) ได้ประยุกต์ใช้แนวคิดของ Nash equilibrium เพื่ออธิบายว่าการ รวมกลุม ่ ทางเศรษฐกิจทัง้ แบบสหภาพศุลกากร (Custom union) และเขตการ ค้าเสรี (Free trade area) ช่วยสนับสนุนการค้าเสรีของโลก (Global free trade) และผลจากการเบี่ยงเบนทางการค้าของกลุ่มประเทศที่ท�ำความร่วม มือทางเศรษฐกิจระหว่างกันส่งผลให้ประเทศนอกสมาชิก (ที่ไม่ได้ท�ำความร่วม มือทางเศรษฐกิจ) ท�ำการลดอัตราภาษีการค้าโดยสมัครใจในระยะเวลาต่อมา งานวิจัยเชิงประยุกต์ที่เกีย ่ วข้องกับการสร้างการค้าและการเบี่ยงเบนทางการ ค้าจากการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ เช่น งานศึกษาของ Nicholls (1998) ได้ ประมาณค่าการสร้างการค้าและการเบี่ยงเบนทางการค้าของกลุ่มตลาดร่วม อเมริกากลาง (Central America Common Market) ด้วยแนวคิดการวัด สวัสดิการของผู้บริโภค (Marshallian and Hicksian demand curves) พบว่า การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจท� ำให้ ประเทศสมาชิกทุ กประเทศได้รบ ั ผล 32 ในเบื้องต้น การท�ำความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศมักกระท�ำผ่านการ

ทางการลดก�ำแพงภาษีระหว่างกัน (tariff measures) 33 Jacob Viner. 1960. The Customs Union Issue. New York, Carnegie Endowment for International Peace.

86


จากการเบี่ยงเบนทางการค้ามากกว่าการสร้างการค้าและท�ำให้เกิดความสูญ เสียในสวัสดิการของประเทศ ขณะที่งานศึกษาของ Andrikopoulos et al. (2006) ได้ท�ำการประมาณค่าการสร้างการค้าและการเบีย ่ งเบนทางการค้าของ การรวมกลุ่มสหภาพยุโรป (European Union) จากค่าความยืดหยุ่นแบบไขว้ ของการบริโภคสินค้าน�ำเข้าด้วย Almost Ideal Demand System พบว่า กลุ่มประเทศสหภาพยุโรปมีการจัดสรรการค้าระหว่างกัน แต่ผลจากการเบี่ยง เบนทางการค้ายังไม่ชัดเจนมากนัก นอกจากนี ้ งานศึกษาของ Yang and Martinez-Zarzoso (2014) ได้วิเคราะห์ความสัมพันธ์ของการสร้างเขตการค้าเสรีอาเซียน-จีนกับการส่ง ออกสินค้าระหว่างอาเซียนและจีน โดยใช้แบบจ�ำลอง Gravity model ที่ ก�ำหนดให้ปัจจัยการสร้างการค้าและการเบีย ่ งเบนทางการค้า (มีค่าในลักษณะ Dummy) เป็ นปั จจัยที่ท�ำให้เกิดการขยายการส่งออก ผลการศึกษาชีว้ ่า เขต การค้าเสรีอาเซียน-จีนส่งผลให้เกิดการสร้างการค้าระหว่างประเทศอาเซียน และจีน เช่นเดียวกับการศึกษาของ Esposito (2017) และ Mika and Zymek (2018) ทีท ่ �ำการศึกษาการขยายการค้าของกลุม ่ สหภาพการเงินยุโรป (European monetary union) และกลุม ่ ประเทศทีใ่ ช้เงินสกุลยูโร ตามล�ำดับ และพบว่าการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจของยุโรป (European union) ที่มีการ ใช้เงินสกุลเดียวกันส่งผลให้เกิดการขยายขนาดการค้าระหว่างกัน ทั้งนี ้ งาน ศึกษา Dai et al. (2014) ยังได้ประยุกต์ใช้แบบจ�ำลองการค้าของ Baier and Bergstrand (2007) และ Anderson and Yotov (2011) เพื่อ วิเคราะห์ความสัมพันธ์ของการเบีย ่ งเบนทางการค้ากับการขยายการค้า พบว่า การเบีย ่ งเบนทางการค้ามีผลท�ำให้เกิดการขยายตัวของการน�ำเข้ามากกว่าการ ส่งออกระหว่างประเทศสมาชิก ซึ่งแตกต่างจากงานของ Nieminen (2015) ที่พยายามศึกษาว่าปั จจัยการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจแบบสหภาพการเงินยุโรป ส่งผลให้เกิดการเปลีย ่ นแปลงของดุลการค้า (Trade balance) และพบว่ามี ปั จจัยทางเศรษฐกิจ เช่น รายได้ต่อหัว อัตราการพึ่งพา และบริบททางสถาบัน ที่มีผลกระทบต่อดุลการค้ามากกว่าการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจอีกด้วย ที่น่าสนใจคืองานศึกษาของ Magee (2008) ที่ได้พยายามประยุกต์ แนวคิดการสร้างและการเบีย ่ งเบนของการค้ามาใช้ในการประมาณค่าการสร้าง การค้าและการเบี่ยงเบนทางการค้า เริ่มต้นจากการพยากรณ์แนวโน้มการค้า ก่อนการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจของประเทศที่เป็ นสมาชิกและประเทศนอก สมาชิก โดยใช้แบบจ�ำลอง Gravity model เช่นเดียวกับงานของ Yang and Martinez-Zarzoso (2014) และ Dai et al. (2014) จากนั้นน�ำผลการ 87


พยากรณ์ดงั กล่าวมาเปรียบเทียบกับมูลค่าการค้าทีเ่ กิดขึน ้ จริงหลังจากการรวม กลุม ่ ทางเศรษฐกิจของประเทศต่างๆในโลก โดยประยุกต์ใช้แนวคิดของ Viner (1950) ว่าผลจากการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจประกอบด้วยการสร้างการค้า (การเพิ่มการน�ำเข้าระหว่างประเทศสมาชิก) และการเบีย ่ งเบนทางการค้า (การ เพิ่มการน�ำเข้าของประเทศสมาชิกที่มาจากการลดการน�ำเข้าของประเทศนอก สมาชิก) ซึ่งการศึกษานีส ้ ามารถประมาณมูลค่าการขยายขนาดการค้า การสร้าง การค้า และการเบี่ยงเบนทางการค้าที่เกิดขึ้นได้ นอกจากนีแ้ นวคิดเกีย ่ วกับการสร้างและการเบีย ่ งเบนของการค้า ได้ถก ู น�ำมาประยุกต์ใช้ในประมาณค่ากิจกรรมทางเศรษฐกิจและสังคม เช่น งานของ Lakatos and Walmsley (2012) ได้ศึกษาการสร้างและการเบี่ยงเบนการ ลงทุนจากการสร้างเขตการค้าเสรีระหว่างอาเซียนและจีน (ASEAN-China FTA) และงานของ Hadjiyiannis et al. (2016) ได้ศึกษาว่าการรวมกลุ่ม ทางเศรษฐกิ จท� ำให้ เกิ ดการสร้างและการเบี่ยงเบนทางสั นติ ภาพ (Peace creation and diversion) ซึ่งประโยชน์ของการสร้างและการเบีย ่ งเบนด้าน ต่างๆ จากการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจระหว่างกันสะท้อนความเกีย ่ วข้องกับการ เติบโตทางเศรษฐกิจและการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศในโลก ซึ่งสามารถน�ำ มาใช้ประยุกต์ใช้เพื่อการตัดสินใจก�ำหนดนโยบายหรือส่วนอื่นที่เกีย ่ วข้องต่อไป จากการทบทวนเอกสารข้ า งต้ น งานศึ ก ษานี ้ ได้ ป ระยุ ก ต์ ใ ช้ ก ระบวนการ ประมาณค่าการสร้างและการเบี่ยงเบนของการค้าของ Magee (2008) มา ใช้ในการศึ กษาการขยายการค้าภายใต้การเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม ทางการค้า ในที่นี่คือ การสร้างระเบียงเศรษฐกิจเหนือ-ใต้ เพื่อแสดงประโยชน์ ทางการค้าชายแดนที่เกิดขึ้นจริง และเป็ นข้อมูลเพื่อใช้ในการตัดสินใจที่เป็ น ประโยชน์ต่อการค้าชายแดนจังหวัดเชียงรายต่อไป 3. วิธก ี ารศึกษา 3.1 การรวบรวมข้อมูล ข้อมูลที่ใช้ในการศึกษานีเ้ ป็ นข้อมูลทุตย ิ ภูมิ (Secondary data) แบบ อนุกรมเวลา (time-series) รวบรวมมาจากฐานข้อมูลที่มีการเผยแพร่ของ หน่วยงานระหว่างประเทศ ระหว่างปีพ.ศ.2550-2560 จ�ำนวน 11 ปี ประกอบ ด้วย มูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (Gross domestic product: GDP) ของประเทศไทยจากฐานข้อมูล UNCTAD Statistics. ทีร่ วบรวมโดย United Nations Conference on Trade and Development และมูลค่าการน�ำ เข้าและส่งออกระหว่างด่านชายแดนของประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ้าน 88


ซึ่งประกอบไปด้วย สหภาพเมียนมา สปป.ลาว และจีน จากฐานข้อมูลสถิติการ ค้าชายแดนและการค้าผ่านแดนของประเทศไทย กองความร่วมมือการค้าและ การลงทุน กรมการค้าต่างประเทศ ดังนี ้ ประเทศคู่ค้า ด่านชายแดน ไทย-เมียนมา ด่านศุลกากรแม่สอด ด่านศุลกากรสังขละบุรี ด่านศุลกากร ระนอง ด่านศุลกากรแม่สาย* ด่านศุลกากรเชียงแสน* ด่าน ศุลกากรแม่สะเรียง ด่านศุลกากรประจวบคีรข ี ันธ์ ด่านศุลกากร แม่ฮ่องสอน ด่านศุลกากรส่วนกลาง ด่านศุลกากรเชียงดาว ไทย-สปป. ด่านศุลกากรมุกดาหาร ด่านศุลกากรหนองคาย ด่านศุลกากร ลาว ทุ่งช้าง ด่านศุลกากรช่องเม็ก ด่านศุลกากรนครพนม ด่าน ศุลกากรเชียงแสน* ด่านศุลกากรเชียงของ* ด่านศุลกากรท่าลี่ ด่านศุลกากรบึงกาฬ ด่านศุลกากรเขมราฐ ด่านศุลกากรเชียงคาน ด่านศุลกากรส่วนกลาง ไทย-จีนตอน ด่านศุลกากรมุกดาหาร ด่านศุลกากรเชียงของ* ด่านศุลกากร ใต้ นครพนม ด่านศุลกากรเชียงแสน* ด่านศุลกากรหนองคาย ด่าน ศุลกากรแม่สาย* ด่านศุลกากรทุ่งช้าง ด่านศุลกากรท่าลี่ ด่าน ศุลกากรช่องเม็ก ด่านศุลกากรส่วนกลาง ด่านศุลกากรบึงกาฬ ด่านศุลกากรเชียงคาน ด่านศุลกากรเขมราฐ * ด่านชายแดนจังหวัดเชียงราย เป็ นด่านชายแดนที่อยู่บนระเบียงเศรษฐกิจ R3A และ R3B

3.2 ขัน ้ ตอนการศึกษา ส�ำหรับขัน ้ ตอนการศึกษาในครัง้ นี ้ สามารถแบ่งออกได้เป็ น 2 ขัน ้ ตอน โดยขัน ้ ตอนแรกเป็ นการพยากรณ์มูลค่าการน�ำเข้าและส่งออก ณ ด่านชายแดน จังหวัดเชียงราย (ด่านแม่สาย ด่านเชียงแสน ด่านเชียงของ) และนอกด่าน ชายแดนจั งหวั ดเชี ยงราย โดยอาศั ยแบบจ� ำลองถดถอยเชิ งเส้ นอย่ างง่าย (Simple linear regression model) ที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างการ ค้าชายแดนและผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศระหว่างปีพ.ศ.2550-2556: CBTt = α+βGDPt+ε โดยที่ CBTt เป็ นการค้าชายแดนและผ่านแดนระหว่าง ไทยและประเทศเพื่อนบ้านในปีที่ t; GDPt แสดงขนาดเศรษฐกิจของไทยหรือ ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศของไทยในปีที่ t; α และ β แสดงค่าสัมประสิทธิ์ การถดถอย; และ ε แสดงค่าความคลาดเคลื่อน จากนั้นท�ำการประมาณค่า พารามิเตอร์ในแบบจ�ำลองด้วยวิธก ี ำ� ลังสองน้อยทีส ่ ุด (Ordinary least square) และน� ำผลการประมาณค่ าแบบจ� ำลองมาท� ำการพยากรณ์ มูลค่ าการน� ำเข้ า 89


และส่งออก ณ ด่านชายแดนจังหวัดเชียงราย และนอกด่านชายแดนจังหวัด เชียงรายระหว่างปีพ.ศ. 2557-2560 ซึ่งมูลค่านีจ้ ะแสดงถึงการน�ำเข้าและ ส่งออก ณ ด่านชายแดนหากไม่มีการสร้างระเบียงเศรษฐกิจเหนือ-ใต้ ขัน ้ ตอนต่อมา ใช้วิธป ี ระมาณค่าการขยายการน�ำเข้าและส่งออก ณ ด่าน ชายแดนจังหวัดเชียงราย และนอกด่านชายแดนจังหวัดเชียงราย ระหว่างปีพ.ศ. 2557-2560 หรือจากการมีระเบียงเศรษฐกิจเหนือ-ใต้ โดยประยุกต์ใช้แนวคิด ของ Magee (2008) ดังนี ้ การขยายการค้า (Trade expansion: TEijt เกิดขึน ้ เมื่อการค้าชายแดน เมื่อมีการสร้างระเบียงเศรษฐกิจเหนือ-ใต้ (CBTijt) ระหว่างไทยกับประเทศ เพื่อนบ้าน (i) ณ ด่านชายแดนจังหวัดเชียงราย (j) ในปีที่ t มีมูลค่าสูงกว่าการ ค้าชายแดนเมื่อไม่มีการสร้างระเบียงเศรษฐกิจเหนือ-ใต้ (CBTijt ) เขียนได้ว่า

การเบีย ่ งเบนทางการค้า (Trade diversion:TDijt) เกิดขึน ้ ใน 2 กรณี กรณีแรก การเบีย ่ งเบนทางการค้ามีคา่ เท่ากับTEijt เมื่อการค้านอกด่านชายแดน จังหวัดเชียงรายเมื่อไม่มีการสร้างระเบียงเศรษฐกิจเหนือ-ใต้ (CBTikt ) ระหว่าง ไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน (i) นอกด่านชายแดนจังหวัดเชียงราย (k) ในปีที่ t มีมล ู ค่าสูงกว่า การค้านอกด่านชายแดนจังหวัดเชียงรายเมื่อมีการสร้างระเบียง เศรษฐกิจเหนื อ-ใต้ (CBTikt) และกรณีที่สอง การเบี่ยงเบนทางการค้ามี ค่า เท่ากับTEijt หากความแตกต่างของการค้านอกด่านชายแดนเมื่อไม่มีการสร้าง NSEC และมีการสร้าง NSEC มากกว่าศูนย์และไม่เกินTEijt เขียนได้ว่า

การสร้างการค้า (Trade creation: TCijt) มีคา่ เท่ากับส่วนต่างระหว่าง การขยายการค้าและการเบีย ่ งเบนทางการค้า 90


จากนัน ้ จึงท�ำการเปรียบเทียบประโยชน์ทางการค้าจากการสร้างระเบียง เศรษฐกิจเหนือ-ใต้ ณ ด่านชายแดนจังหวัดเชียงราย กับ 3 ประเทศคู่ค้า ใน ด้านการขยายการค้า (trade expansion) การสร้างมูลค่าการค้า (trade creation) และการเบี่ยงเบนทางการค้า (trade diversion) 4. ผลการศึกษา 4.1 การพยากรณ์การค้าชายแดน การค้าชายแดนของจังหวัดเชียงรายกับประเทศเพื่อนบ้าน ระหว่าง ปีพ.ศ.2550-2560 มีอัตราการเติบโตอย่างต่อเนื่อง ก่อนที่จะลดลงในปีพ.ศ. 2560 ทั้งนี ้ ตารางที่ 2 แสดงค่าประมาณการน�ำเข้า ณ ด่านเชียงราย และนอก ด่านเชียงรายระหว่างปีพ.ศ.2557-2560 โดยพบว่า มูลค่าการน�ำเข้าที่แท้ จริง หลังจากที่มีระเบียงเศรษฐกิจเหนือ-ใต้แล้วของด่านจังหวัดเชียงราย กับ สหภาพเมียนมาและสปป.ลาว มีแนวโน้มลดลงกว่ามูลค่าต�่ำกว่าค่าประมาณ การในกรณีที่การไม่มีระเบียงเศรษฐกิจเหนือ-ใต้ (ความต่างมีเครื่องหมายที่ เป็ นลบ) ขณะที่มูลค่าการน� ำเข้าที่แท้ จริงของด่านจังหวัดเชียงรายกับจีนนั้น สูงกว่ามูลค่าประมาณการ ซึ่งแสดงให้เห็นว่า การมีระเบียงเศรษฐกิจเหนือ-ใต้ (NSEC) ส่งผลดีต่อการน�ำเข้าสินค้าจากจีนเป็ นหลัก ขณะที่ระเบียงเศรษฐกิจ NSEC ไม่ได้สนับสนุนการค้าระหว่างด่านภายในจังหวัดเชียงรายกับสหภาพ เมียนมา และสปป.ลาว อย่างมีนัยส�ำคัญ อย่างไรก็ตาม มูลค่าการน�ำเข้าที่แท้ จริงของ ด่านศุลกากรต่างๆ ที่อยู่นอกจังหวัดเชียงรายสูงกว่ามูลค่าประมาณ การกับสปป.ลาว และจีน ยกเว้น สหภาพเมียนมาในปีพ.ศ.2559-2560 ที่มี การน�ำเข้าน้อยกว่ากว่ามูลค่าประมาณการ โดยอาจได้รบ ั ผลกระทบจากปั ญหา ความไม่สงบทางการเมืองและชนกลุ่มน้อยภายในสหภาพเมียนมา รวมไปถึง ปั ญหาด้านระบบการขนส่งและโลจิสติกส์อีกด้วย

91


ตารางที่ 2 ค่าประมาณการน�ำเข้า ณ ด่านชายแดนเชียงราย และนอกด่าน เชียงราย (หน่วย : ล้านบาท) ปีพ.ศ.

การน�ำเข้า ณ ด่านชายแดน เชียงราย ค่าจริง

ค่า พยากรณ์

ความ ต่าง

การน�ำเข้านอกด่านเชียงราย ค่าจริง

ค่า พยากรณ์

ความต่าง

เมียนมา

2557 3,214

1,901

1,313

117,412 109,701

7,711

เมียนมา

2558

208

1,872

-1,663 113,666 108,414

5,251

เมียนมา

2559

241

1,903

-1,661

74,251

109,790 -35,538

เมียนมา

2560

256

2,072

-1,861

69,960

117,384 -47,424

สปป. ลาว

2557

110

499

-388

27,015

22,513

4,501

สปป. ลาว

2558

145

504

-359

43,595

21,869

21,725

สปป. ลาว

2559

77

498

-421

66,335

22,558

43,777

สปป. ลาว

2560

62

465

-402

75,374

26,359

49,014

จีนตอน ใต้

2557 3,870

3,225

644

20,637

8,213

12,423

จีนตอน ใต้

2558 5,097

3,123

1,973

25,168

7,822

17,345

จีนตอน ใต้

2559 6,129

3,232

2,896

29,406

8,240

21,165

จีนตอน ใต้

2560

3,835

-3,170

33,878

10,547

23,330

664

หมายเหตุ: ค่าพยากรณ์แสดงการประมาณค่าการน�ำเข้าหากไม่มีการสร้างระเบียงเศรษฐกิจเหนือ-ใต้ ที่มา: จากการค�ำนวณ ข้อมูลโดยกรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์

92


ตารางที่ 3 แสดงผลการประมาณค่ามู ลค่ าการส่ งออกของด่านใน จังหวัดเชียงราย และด่านนอกจังหวัดเชียงราย ระหว่างปีพ.ศ.2557-2560 พบว่า มูลค่าการส่งออกที่แท้จริงของด่านจังหวัดเชียงรายกับสหภาพเมียนมา สปป.ลาว และจีนตอนใต้ มีค่าสูงกว่ามูลค่าประมาณการ เช่นเดียวกับมูลค่า การส่ งออกที่ แท้ จริงของด่ านนอกจั งหวั ดเชี ยงรายที่ มีปริมาณสู งกว่ ามู ลค่า ประมาณการกับสปป.ลาว และจีนตอนใต้ ซึ่งเป็ นหลักฐานที่สะท้อนให้เห็นว่า การมีระเบียงเศรษฐกิจเหนือ-ใต้ (NSEC) ส่งผลให้เกิดการส่งออกผ่านด่าน ชายแดนเชียงรายไปยัง สปป.ลาว และจีนตอนใต้เพิ่มขึ้น ขณะที่มูลค่าการ ส่งออกที่แท้จริงของด่านนอกจังหวัดเชียงรายไปยังสหภาพเมียนมามีปริมาณ น้อยกว่ามูลค่าประมาณการณ์ อาจจะสะท้อนได้ว่าระเบียงเศรษฐกิจเหนือ-ใต้ (NSEC) ไม่ได้ส่งผลให้การส่งออกจากไทยไปยังสหภาพเมียนมาเพิ่มขึน ้ ยกเว้น ด่านชายแดนในจังหวัดเชียงราย ที่มีมูลค่าส่งออกแท้จริงสูงกว่ามูลค่าประมาณ การณ์ ตารางที่ 3 ค่าประมาณการส่งออกชายแดน ณ ด่านเชียงราย และนอกด่าน เชียงราย (หน่วย : ล้านบาท) ปีพ.ศ.

การน�ำเข้า ณ ด่านชายแดน เชียงราย ค่าจริง

ค่า พยากรณ์

ความ ต่าง

การน�ำเข้านอกด่านเชียงราย ค่าจริง

ค่า พยากรณ์

ความ ต่าง

เมียนมา

2557 73,554 49,829 23,724

20,452

23,616

-3,164

เมียนมา

2558 81,769 48,233 33,536

19,008

22,884

-3,875

เมียนมา

2559 92,529 49,940 42,589

16,737

23,667

-6,929

เมียนมา

2560 85,836 59,363 26,473

21,664

27,988

-6,324

สปป. ลาว

2557 12,947

9,263

3,684

110,989

93,198

17,790

สปป. ลาว

2558 17,092

8,811

8,281

115,641

90,557

25,083

สปป. ลาว

2559 17,838

9,294

8,543

117,867

93,382

24,485

สปป. ลาว

2560 12,028 11,964

114,999 108,971

6,028

63

93


จีนตอน ใต้

2557

9,839

8,788

1,051

11,282

14,855

-3,573

จีนตอน ใต้

2558

9,462

8,521

941

15,628

14,048

1,579

จีนตอน ใต้

2559

8,772

8,806

-34

14,168

14,911

-743

จีนตอน ใต้

2560 10,910 10,381

529

24,954

19,674

5,279

หมายเหตุ: ค่าพยากรณ์แสดงการประมาณค่าการส่งออกหากไม่มีการสร้างระเบียงเศรษฐกิจเหนือ-ใต้ ที่มา: จากการค�ำนวณ ข้อมูลโดยกรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์

4.2 การสร้างการค้าและการเบี่ยงเบนการค้า ถึงแม้ว่า ผลการศึกษาข้างต้นได้แสดงให้เห็นถึงผลกระทบของการมี ระเบียงเศรษฐกิจแนวเหนือ-ใต้ (NSEC) ที่มีตอ ่ การค้าชายแดนของด่านศุลกา รกรทัง้ ในเขตจังหวัดเชียงรายและนอกเขตจังหวัดเชียงราย ค�ำถามที่ส�ำคัญต่อ มา ก็คอ ื การขยายตัวทางการค้าชายแดนในจังหวัดเชียงราย นัน ้ เป็ นผลมาจาก การสร้างมูลค่าทางการค้า (trade creation) ของด่านเชียงราย หรือการเบีย ่ ง เบนทางการค้า (trade diversion) มากจากด่านศุลกากรอื่นๆ นอกจังหวัด เชียงราย จากตารางที่ 4 แสดงมูลค่าที่เกิดขึ้นจากการสร้างการค้า (trade creation) และการเบีย ่ งเบนทางการค้า (trade diversion) ณ ด่านศุลกากร ในจังหวัดเชียงราย ส�ำหรับมูลค่าการน�ำเข้า พบว่า การน�ำเข้าสินค้าจากสหภาพ เมียนมาและจีนตอนใต้เข้าสู่ด่านชายแดนจังหวัดเชียงรายเป็ นผลมาจากการ เบี่ยงเบนทางการค้า หรืออาจกล่าวได้ว่า ระเบียงเศรษฐกิจเหนือ-ใต้ (NSEC) ท�ำให้เกิดการโยกย้ายสินค้าน�ำเข้าจากด่านศุลกากรอื่นๆ มายังด่านในจังหวัด เชียงรายมากขึ้น โดยส่วนหนึ่งเป็ นผลมาจากการอ�ำนวยความสะดวกทางการ ค้าและการขนส่งผ่านเส้นทาง R3A และ R3B ขณะทีด ่ า้ นการส่งออก พบว่า การขยายตัวของการส่งออกไปยังสหภาพ เมียนมา และจีนตอนใต้ ณ ด่านศุลกากรในจังหวัดเชียงรายเป็ นผลมาจากการ สร้างการค้า (trade creation) คิดเป็ นมูลค่า 126,324 และ 1,051 ล้าน บาท ตามล�ำดับ ขณะที่การเบีย ่ งเบนทางการค้า (trade diversion) ส่งผลให้ เกิดการขยายตัวของการส่งออกไปยัง สปป.ลาว และจีนตอนใต้ คิดเป็ นมูลค่า 20,572 และ 1,470 ล้านบาท ตามล�ำดับ

94


ทัง้ นีส ้ ามารถบ่งชีไ้ ด้ว่าการมีระเบียงเศรษฐกิจเหนือ-ใต้ (NSEC) ท�ำให้ เกิดการสร้างการค้าให้กับด่านชายแดนจังหวัดเชียงราย ผ่านทางการส่งออก เป็ นหลัก โดยมีสหภาพเมียนมาเป็ นตลาดส่ งออกและประตูการค้าชายแดน และผ่านแดนที่ส�ำคัญของไทย นอกจากนีร้ ะเบียงเศรษฐกิจเหนือ-ใต้ ยังท�ำให้ เกิดการใช้ประโยชน์จากการสร้างสิ่งอ�ำนวยความสะดวกเพื่อการค้า ณ ด่าน ชายแดนจังหวัดเชียงราย ที่เชื่อมโยงการค้าชายแดนและผ่านแดนกับประเทศ คู่ค้าหลักทั้ง สหภาพเมียนมา สปป.ลาว และจีนตอนใต้ ตารางที่ 4 การสร้างการค้าและการเบี่ยงเบนการค้า ณ ด่านชายแดน จังหวัด เชียงราย (หน่วย : ล้านบาท) การขยาย การค้านอก ด่านเชียงราย การน�ำเข้า เมียนมา สปป.ลาว จีนตอนใต้ การส่งออก เมียนมา สปป.ลาว จีนตอนใต้

การขยาย การสร้าง การเบี่ยงเบน การค้า ณ ด่าน การค้า ณ ด่าน การค้า ณ ด่าน เชียงราย เชียงราย เชียงราย

12,962 119,019 74,266

1,313 5,514

-

1,313 5,514

73,387 6,859

126,324 20,572 2,522

126,324 1,051

20,572 1,470

ที่มา: จากการค�ำนวณ

5. บทสรุปและข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย การค้าชายแดนของจังหวัดเชียงรายในบริบทของระเบียงเศรษฐกิจ เหนือ-ใต้ (NSEC) ท�ำให้เกิดการเติบโตทางการค้าชายแดนกับประเทศเพื่อน บ้าน โดยเฉพาะด้านการส่งออก ทั้งนี ้ การมีระเบียงเศรษฐกิจเหนือ-ใต้ และ ข้อตกลงเขตการค้าเสรีภายใต้กรอบความร่วมมือประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community: AEC) และอาเซียน-จีน (ASEAN China Free Trade Area: ACFTA) ท�ำให้ด่านชายแดนในจังหวัดเชียงราย มีการขยายตัวทางการค้าทั้งในรู ปแบบของการสร้างการค้าและการเบี่ยงเบน ทางการค้า 95


ผลการศึกษาในครัง้ นีม ้ ีความสอดคล้องกับงานศึกษาของ Yang and Martinez-Zarzoso (2014) ที่พบว่า การสร้างมูลค่าทางการค้า (trade creation) ที่ ขยายตั วมากขึ้ น ระหว่ างอาเซี ยนและจี นเป็ นผลมาจากการ ท�ำความตกลงเขตการค้าเสรีอาเซียน-จีน (ACFTA) และงานศึกษาของ Dai et al. (2014) ที่พบว่าการเบีย ่ งเบนทางการค้ามีผลท�ำให้เกิดการขยายตัวของ การน�ำเข้ามากกว่าการส่งออกระหว่างประเทศ ซึ่งสอดคล้องกับภาพรวมการค้า ชายแดนทัง้ หมดของไทยทีม ่ ก ี ารน�ำเข้าสินค้าจากจีนมากกว่าการส่งออก อย่างไร ก็ตามด่านจังหวัดเชียงรายมีรูปแบบการค้าชายแดนกับจีนด้วยการน�ำเข้าสินค้า น้อยกว่าการส่งออกสินค้า ทั้งนีก ้ ารพัฒนาให้ด่านชายแดนจังหวัดเชียงรายมีการขยายตัวทางการ ค้าเพิ่มมากขึ้นในอนาคต ภาครัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วน ไม่ว่า จะเป็ น กรมศุลกากร ส�ำนักงานตรวจคนเข้าเมือง กรมการขนส่ง ด่านตรวจ พืชและสั ตว์ เป็ นต้น จ�ำเป็ นต้องให้ ความส� ำคัญกับการอ�ำนวยความสะดวก ทางการค้า (Trade facilitation) ให้ มากยิ่งขึ้น เช่น การสร้างระบบการ จั ด การที่ ดี ใ นพิ ธี ก ารปฏิ บั ติ ท างศุ ล กากร รวมไปถึ ง พิ ธี ก ารอิ เ ล็ ก ทรอนิ ก ส์ (E-custom) และการพัฒนาการอ�ำนวยความสะดวกทางค้าด้วยอิเล็คทรอ นิกส์ (E-trade facilitation) ทั้งในเรื่องระบบการช�ำระเงิน (Electronic Payment: E-Payment) การบังคับใช้กฎหมายและความตกลงทางการค้า ระหว่างประเทศอย่างเข้มงวดและมีประสิทธิภาพ และการบูรณาการเชื่อมโยง หน่วยงานที่เกีย ่ วข้องดังที่กล่าวไปแล้วข้างต้นเข้าด้วยกันให้สามารถท�ำงานร่วม กันได้อย่างมีประสิทธิภาพภายใต้แนวคิด E-trade facilitation โดย Trade facilitation ถือเป็ นภารกิจที่ส�ำคัญในการยกระดับและพัฒนาการค้าข้าม พรมแดนให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึน ้ ขณะเดียวกันผู้ผลิตภายในประเทศเอง ก็ มีความจ�ำเป็ นทีจ่ ะต้องท�ำการผลิตและพัฒนาสินค้าและบริการให้คณ ุ ภาพดีและ ได้มาตรฐานระดับนานาชาติ เพื่อหลีกเลีย ่ งปั ญหาที่เกิดขึ้นจากมาตรการกีดกัน ทางการค้าที่มิใช่ภาษี (Non-tariff measures) จากประเทศคู่ค้าด้วย อันจะ น�ำไปสู่การขยายตัวทางการค้าได้อีกด้วย รวมถึงความร่วมมือกันแก้ไขปั ญหา ภายในประเทศเพื่อนบ้านที่มีผลต่อการขนส่งสินค้าไม่ว่าจะเป็ นค่าธรรมเนียม และชนกลุ่มน้อย เพื่อท�ำให้เกิดประโยชน์ทางการค้าสูงที่สุด

96


เอกสารอ้างอิง ADB. 2015. “แผนงานการพัฒนาความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาค ลุ่มแม่น�้ำโขง.” ส�ำนักเลขานุการ GMS, ส�ำนักเอเชียตะวันออกเฉียง ใต้ ธนาคารพัฒนาเอเชีย. ———.2016. “Review of Configuration of the Greater Me kong Subregion Economic Corridors.” GMS SECRETARIAT, Southeast Asia Department, Asian Development Bank. Anderson, James E, and Yoto V Yotov. 2011. “Terms of Trade and Global Efficiency Effects of Free Trade Agreements, 1990-2002.” Working Paper 17003. National Bureau of Economic Research. Andrikopoulos, Andreas A., Dimitrios C. Gkountanis, and John Loizides. 2006. “Trade Creation and Trade Diversion in the European Union: An Alternative Approach.” TheJournal of Economic Asymmetries 3(2): 43–67. Baier, Scott L., and Jeffrey H. Bergstrand. 2007. “Do Free Trade Agreements Actually Increase Members’ International Trade?” Journal of International Economics 71 (1): 72–95. Dai, Mian, Yoto V. Yotov, and Thomas Zylkin. 2014. “On the Trade-Diversion Effects of Free Trade Agreements.” Economics Letters 122 (2): 321–25. Esposito, Piero. 2017. “Trade Creation, Trade Diversion and Imbalances in the EMU.” Economic Modelling 60 (January): 462–72. Hadjiyiannis, Costas, Maria S. Heracleous, and Chrysostomos Tabakis. 2016. “Regionalism and Conflict: Peace Creation and Peace Diversion.” Journal of International Economics 102 (September): 141–59. Lakatos, Csilla, and Terrie Walmsley. 2012. “Investment Creation and Diversion Effects of the ASEAN–China Free Trade Agreement.” Economic Modelling 29 (3): 766–79. 97


Magee, Christopher S. P. 2008. “New Measures of Trade Creation and Trade Diversion.” Journal of International Economics 75 (2): 349–62. Mika, Alina, and Robert Zymek. 2018. “Friends without Benefits? New EMU Members and the ‘Euro Effect’ on Trade.” Journal of International Money and Finance 83 (May): 75–92. Missios, Paul, Kamal Saggi, and Halis Murat Yildiz. 2016. “External Trade Diversion, Exclusion Incentives and the Nature of Preferential Trade Agreements.” Journal of International Economics 99 (March): 105–19. Nicholls, Shelton M. A. 1998. “Measuring Trade Creation and Trade Diversion in the Central American Common Market: A Hicksian Alternative.” World Development 26 (2): 323–35. Nieminen, Mika. 2015. “Trade Imbalances within the Euro Area and with Respect to the Rest of the World.” Economic Modelling, Special Issue on Current Challenges on Macroeconomic Analysis and International Finance Modelling, 48 (August): 306–14. Viner, Jacob. 1950. “The Customs Union Issue.” New York: Carnegie Endowment for International Peace. Yang, Shanping, and Inmaculada Martinez-Zarzoso. 2014. “A Panel Data Analysis of Trade Creation and Trade Diversion Effects: The Case of ASEAN–China Free Trade Area.” China Economic Review 29 (June): 138–51. จิราธิวฒ ั น์ สุทธิพน ั ธ์. 2554. เศรษฐศาสตร์การบูรณาการภูมิภาคว่าด้วยความ ตกลงทางการค้ าเสรีสู่การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ. ส� ำนั กพิมพ์แห่ ง จุ ฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กองบรรณาธิการ ฝ่ ายนโยบายชาติและความสัมพันธ์ข้ามชาติ (ฝ่ าย 1) ส�ำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจย ั (สกว.). (2553). การเปรียบเทียบ ศั ก ยภาพทางเศรษฐกิ จ ของเส้ น ทางสายหลั ก ในระเบี ย งเศรษฐกิ จ อนุภูมิภาคลุม ่ แม่น�้ำโขง. เอกสารบทสรุปเชิงนโยบาย (TRF Policy Brief), ปีที่ 1 ฉบับที่ 2/2553. 98


ความเชื่อมโยงทางการค้า-การลงทุน-ความช่วยเหลือของจีนต่อ การเติบโตทางเศรษฐกิจของอินโดจีน ณัฐพรพรรณ อุตมา, พรพินันท์ ยีร่ งค์ บทคัดย่อ บทความวิ จั ย นี ้มี วั ต ถุ ป ระสงค์ เ พื่ อ ศึ ก ษาความสั ม พั น ธ์ ข องการค้ า ระหว่างประเทศจีนและอินโดจีน การลงทุนจากจีนในอินโดจีน การให้ความช่วย เหลือของจีนกับอินโดจีน และการเติบโตทางเศรษฐกิจของกลุ่มประเทศอินโด จีน โดยการรวบรวมข้อมูลทุติยภูมิแบบ Panel data ตัง้ แต่ปีพ.ศ.25502560 และท�ำการวิเคราะห์โดยใช้การทดสอบความเป็ นเหตุเป็ นผล (Granger causality test) ผลการศึกษาพบว่า การให้ความช่วยเหลือของจีนมีความ สัมพันธ์กับการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศอินโดจีนในทิศทางเดียวอย่าง มีนัยส� ำคัญทางสถิติ ขณะที่การเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศอินโดจีนมี ความสัมพันธ์กับการลงทุนจากจีนในอินโดจีนในทิศทางเดียวอย่างมีนัยส�ำคัญ ทางสถิติ บทบาทของจีนในภูมิภาคอินโดจีนด้านการลงทุนไม่ว่าในรูปแบบการ ลงทุนโดยตรงหรือการลงทุนผ่ านการให้ความช่วยเหลือทางการเงินล้วนมีผล ต่อการเชื่อมโยงกับการเติบโตทางเศรษฐกิจกับกลุ่มประเทศอินโดจีน ค�ำส�ำคัญ: การค้าระหว่างประเทศ การลงทุนจากต่างประเทศ การให้ความ ช่วยเหลือ การเติบโตทางเศรษฐกิจ Keyword: International trade; Foreign direct investment; Foreign aid; Economic growth 1. บทน�ำ นับตัง้ แต่สีจิ้นผิงด�ำรงต�ำแหน่งประธานาธิบดีสาธารณรัฐประชาชนจีน ในปีพ.ศ.2556 จีนได้ขยายบทบาทในเวทีโลกผ่านการด�ำเนินยุทธศาสตร์ทีเ่ ชื่อม โยงกิจกรรมทางเศรษฐกิจกับภูมิภาคในโลก เช่น นโยบายแถบเศรษฐกิจและ เส้นทาง (Belt and Road Initiative: BRI) หรือมักรูจ้ ักกันในนาม “One Belt One Road: OBOR” ภาพความชัดเจนของความส�ำเร็จจากนโยบาย BRI เห็นได้จากความพยายามของประเทศต่างๆ ในโลกหรือกลุ่มประเทศใน แต่ละภู มิภาคล้วนก�ำหนดยุทธศาสตร์ต่างประเทศที่ ขับเคลื่อนไปในทิ ศทาง เดียวกันกับจีน และการพัฒนากรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจร่วมกันกับจีน 99


เพื่อเชื่อมต่อกับโครงการ OBOR อาทิ กรอบความร่วมมือแม่โขง-ล้านช้าง (Lancang-Mekong cooperation: LMC) ระหว่างประเทศจีนและกลุ่ม ประเทศ CLMVT (ประเทศกัมพูชา สปป.ลาว เมียนมา เวียดนาม และไทย) โดย Economic Intelligence Center (2018) ได้ให้ความเห็นว่า ความร่วมมือ LMC เป็ นยุทธศาสตร์ของจีนที่ต้องการเข้ามามีอิทธิพลในภูมิภาคเอเชียตะวัน ออกเฉียงใต้ และช่วยให้จีนขยายเส้นทางการค้าและการลงทุนตามนโยบาย BRI ขณะเดียวกันกลุ่มประเทศ CLMVT ก็ได้รบ ั ผลด้านเศรษฐกิจจากจีนเพิ่ม ขึ้น ไม่ว่าจะเป็ นด้านการค้าระหว่างกัน การลงทุนจากจีน และการให้ความช่วย เหลือของจีน ตารางที่ 1 สัดส่วนการค้า การลงทุน และการให้ความช่วยเหลือของจีนต่อ GDP ของประเทศ CLMVT ระหว่างปีพ.ศ. 2556-2560 (หน่วย: ร้อยละ)

กัมพูชา สปป.ลาว เมียนมา ไทย เวียดนาม

การค้า

การส่งออก

การน�ำเข้า

การลงทุน

18.44 13.00 15.54 15.97 34.02

2.30 6.36 6.79 6.15 9.77

16.15 6.63 8.75 9.82 24.25

6.21 38.95 6.90 0.68 1.87

การให้ความ ช่วยเหลือ* 18.88 2.30 0.54 1.91

หมายเหตุ * แสดงสัดส่วนผลรวมของการให้ความช่วยเหลือจากจีนต่อ GDP ระหว่าง ปีพ.ศ.2556-2559 ที่มา: ณัฐพรพรรณ อุตมา, ร่มเย็น โกไศยกานนท์, และวราวุฒิ เรือนค�ำ (2561)

ตารางที่ 1 แสดงสัดส่วนการค้าระหว่างประเทศจีนและกลุ่มประเทศ CLMVT ต่อ GDP ของประเทศ CLMVT ระหว่างปีพ.ศ.2556-2560 (ภาย ใต้การน�ำของสีจ้ินผิง) พบว่าการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศเวียดนามพึ่ง พิงการค้ากับประเทศจีนสูงที่สุดในกลุม ่ ประเทศ CLMVT รองลงมาคือ กัมพูชา ไทย และเมียนมา ส่วนสปป.ลาวพึ่งพิงการค้ากับจีนน้อยที่สุด แต่สปป.ลาวก ลับพึ่งพิงการลงทุ นจากจี นและความช่ วยเหลือจากจี นสู งที่ สุด ไม่ ว่าจะเป็ น ความช่วยเหลือในรูปแบบของมูลค่าสัญญาก่อสร้าง การลงทุนด้านการบริการ แรงงาน และการลงทุนด้านการบริการออกแบบและให้คำ� ปรึกษา เป็ นต้น ขณะที่ 100


ประเทศอื่นๆ ในกลุ่ม CLMVT มีสัดส่วนการลงทุนจากจีนและการได้รบ ั ความ ช่วยเหลือจากจีนต่อ GDP ค่อนข้างต�่ำ โดยเฉพาะประเทศไทย ความเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจระหว่างจีนและกลุ่มประเทศ CLMVT ที่ มีมากขึ้นน�ำมาซึ่งโอกาสทั้งในด้านการพัฒนาห่วงโซ่การผลิตระหว่างกัน การ พัฒนาห่ วงโซ่มูลค่าในภู มิภาค การยกระดับการค้าและการผลิตระหว่างกัน รวมถึงความส�ำเร็จของการเชื่อมโยงเส้นทางการค้า และการลงทุนตามนโยบาย แถบเศรษฐกิจและเส้นทาง BRI ในงานชิ้นนีจ้ ึงเน้นศึกษาความสัมพันธ์ระหว่าง กิจกรรมทางเศรษฐกิจระหว่างจีนและกลุม ่ ประเทศอินโดจีนและการเติบโตทาง เศรษฐกิจของประเทศอินโดจีน เพื่อยืนยันได้ว่าการรุกคืบทางการค้าและการ ลงทุ นของจีนในภู มิภาคอินโดจีนนี ้ได้น�ำมาซึ่งการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่าง แท้จริง รวมถึงความเสี่ยงที่เศรษฐกิจของ CLMVT ผูกติดกับบทบาท แนวทาง เชิงรุก และเชิงรับกับความท้าทายภายใต้การด�ำเนินนโยบาย BRI ของจีน 2. งานวิจัยที่เกีย ่ วข้อง งานวิ จั ย ที่ เ กี่ ย วข้ อ งกั บ การทดสอบความสั ม พั น ธ์ / ความเชื่ อ มโยง ระหว่างกิจกรรมทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ เช่น การค้าระหว่างประเทศ (Foreign trade) การลงทุนระหว่างประเทศ (Foreign direct investment) และการให้ ความช่วยเหลือต่างประเทศ (Foreign aid) และการ เติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศและกลุ่มประเทศนั้นมีมากมาย การศึกษานี ้ จะน�ำเสนอบทความบางส่วนทีเ่ กีย ่ วข้องกับประเด็นดังกล่าว เช่น การศึกษาของ Sunde (2017) และ Tekin (2012) ที่เน้นทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างการ ลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ การส่งออก และการเติบโตทางเศรษฐกิจ ด้วย Granger causality test กับกลุ่มประเทศพัฒนาน้อยจ�ำนวน 18 ประเทศ และประเทศแอฟริกาใต้ ตามล�ำดับ ผลการศึกษาพบว่า การลงทุนโดยตรงจาก ต่างประเทศ การส่งออก และการเติบโตทางเศรษฐกิจมีความสัมพันธ์อย่างมี เหตุมีผลระหว่างกันทั้งทิศทางเดียวและสองทิศทางอย่างมีนัยส�ำคัญทางสถิติ ขณะที่งานของ Belloumi (2014) ท�ำการทดสอบความสัมพันธ์อย่างเป็ นเหตุ เป็ นผลระหว่างการค้า การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ และการเติบโตทาง เศรษฐกิจของประเทศตูนิเซีย แต่กลับไม่พบความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรแต่ อย่างใด จากการทบทวนเอกสารยังพบงานศึกษาที่ท�ำการทดสอบความเชื่อม โยงของการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศและการเติบโตทางเศรษฐกิจ เช่น งานศึกษาของ Mah (2010) พบว่า การเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศจีน มีความสัมพันธ์กับการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศในทิศทางเดียวกันอย่าง 101


มีนัยส�ำคัญทางสถิติ ขณะที่การศึกษาของ Temiz and Gökmen (2014) ท� ำการทดสอบกับประเทศตุรกี และ Yalta (2013) ที่ ท�ำการทดสอบกับ ประเทศจีน และทั้งสองชิ้นงานไม่พบความสัมพันธ์เชิงเหตุและผลระหว่างการ ลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศและการเติบโตทางเศรษฐกิจแต่อย่างใด นอกจากนี ้ บางชิ้นงานได้ทดสอบความเชื่อมโยงของการลงทุนจากต่าง ประเทศกับตัวแปรทางสิ่งแวดล้อม อาทิ การปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และ การบริโภคพลังงาน เช่นงานศึ กษาของ Abdouli and Hammami (2017) ศึกษาความเชื่อมโยงอย่างเป็ นเหตุเป็ นผลระหว่างการลงทุนโดยตรง จากต่ า งประเทศ การปล่ อ ยก๊ า ซคาร์บ อนไดออกไซด์ และการเติ บ โตทาง เศรษฐกิจ ของกลุม ่ ประเทศตะวันออกกลางและแอฟริกาเหนือ (Middle East and North Africa: MENA) จ�ำนวน 17 ประเทศ พบว่า การลงทุนโดยตรง จากต่างประเทศมีความสัมพันธ์กับการเติบโตทางเศรษฐกิจในทิศทางเดียวกัน อย่างมีนัยส�ำคัญทางสถิติ เช่นเดียวกับการศึกษาของ Omri et al. (2014) ชิ้นงานนีไ้ ด้ทดสอบกับ 54 ประเทศที่ตัง้ อยู่ใน 3 ภูมิภาคใหญ่ ได้แก่ กลุ่มยุโรป และเอเชียกลาง กลุ่มลาตินอเมริกาและแคริบเบียน และกลุ่มตะวันออกกลาง แอฟริกาเหนือ และแอฟริกาตอนใต้ (Sub-Saharan Africa) พบว่าการ ลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศมีความสัมพันธ์กับการเติบโตทางเศรษฐกิจใน สองทิศทางอย่างมีนัยส�ำคัญทางสถิติ ซึ่งผลการศึกษาคล้ายคลึงกับงานของ Amri (2016) ซึ่งท�ำการทดสอบความสัมพันธ์อย่างเป็ นเหตุเป็ นผลระหว่างการ บริโภคพลังงาน การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ และผลผลิตของประเทศ ก�ำลังพัฒนา 50 ประเทศ และประเทศพัฒนาแล้วจ�ำนวน 25 ประเทศ ด้วย Granger causality test พบว่า การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศมีความ สัมพันธ์กบ ั ผลผลิตต่อจ�ำนวนประชากรในสองทิศทางอย่างมีนัยส�ำคัญทางสถิติ ทั้งในกลุ่มประเทศพัฒนาแล้วและประเทศก�ำลังพัฒนา ทั้งนี ้ ยังมีอีกหลายชิ้นงานที่ได้ประยุกต์ใช้เครื่องมือ Granger causality test เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของตัวแปรทางเศรษฐกิจที่มีผลต่อการ เติบโตทางเศรษฐกิจ เช่น งานศึกษาของ Tong and Yu (2018) ได้ท�ำการ ทดสอบความเป็ นเหตุเป็ นผล (Granger causal relationship) ระหว่าง การขนส่ง (Freight transportation) ระหว่างภูมิภาคต่างๆของประเทศ จีนและการเติบโตทางเศรษฐกิจของจีน พบว่า การขนส่งมีความสัมพันธ์กับ การเติบโตทางเศรษฐกิจของจี นในสองทิ ศทางอย่างมี นัยส� ำคัญทางสถิติใน ภูมิภาคที่มีการพัฒนาน้อยและภาคตะวันตก ขณะที่มีความสัมพันธ์ในทิศทาง เดียวในภูมิภาคตะวันออกที่มีความมั่งคั่ง ขณะที่งานศึกษาของ Mallik (2008) 102


ที่ท�ำการทดสอบความสัมพันธ์ระยะยาวระหว่างการให้ความช่วยเหลือจากต่าง ประเทศกับประเทศยากจนในภูมิภาคแอฟริกากับการเติบโตทางเศรษฐกิจ ด้วย Error Correction Mechanism (ECM) และพบว่าการให้ความช่วยเหลือ จากต่างประเทศและการเติบโตทางเศรษฐกิจนั้นมีความสัมพันธ์ระหว่างกัน จากการทบทวนเอกสารข้างต้น พบว่าความเชื่อมโยงระหว่างกิจกรรม ทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ ทั้งการค้าระหว่างประเทศ การลงทุนระหว่าง ประเทศ การให้ความช่วยเหลือต่างประเทศ และการเติบโตทางเศรษฐกิจของ ประเทศ มีทั้งเป็ นความเชื่อมโยงในทิศทางเดียวกัน สองทิศทาง และไม่มีความ เชื่อมโยงกัน ซึ่งไม่สามารถน�ำมาใช้เป็ นข้อสรุปในกรณีของกลุ่มประเทศอินโด จีน ดังนัน ้ การศึกษานีจ้ ึงประยุกต์ใช้เครือ ่ งมือ Granger causality test เพื่อ ท�ำการศึกษาความเชื่อมโยงของการค้าระหว่างประเทศจีนและกลุม ่ ประเทศอิน โดจีน การลงทุนจากจีนในอินโดจีน การให้ความช่วยเหลือของจีนกับอินโดจีน และการเติบโตทางเศรษฐกิจของกลุ่มประเทศ อินโดจีน 3. วิธก ี ารศึกษา 3.1 แบบจ�ำลองการศึกษา แบบจ�ำลอง Vector Autoregressive (VAR) ในการวิเคราะห์ความ สัมพันธ์ระหว่างการค้า การลงทุน และการให้ความช่วยเหลือจากจีนกับประเทศ กลุ่มอินโดจีน และการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศอินโดจีน แสดงในรูป แบบของ log ได้ดังนี ้ q

q

q

lnGDPi,t=β0+∑k=1 β1i,k lnGDPi,t-k+∑k=1 β2i,k lnTRDi,t-k+∑ k=1 β3i,k q lnFDIi,t-k +∑ k=1

(1)

β4i,k lnFECi,t-k+εi,t

โดยก�ำหนดให้ GDPi,t แสดงขนาดเศรษฐกิจหรือมูลค่าผลิตภัณฑ์มวล รวมในประเทศอินโดจีน ณ เวลาที่ t ; TRDi,t แสดงมูลค่าการค้าระหว่างประเทศ จีนและอินโดจีน; FDIi,t คือมูลค่าการลงทุนจากจีนในกลุ่มประเทศอินโดจีน; FECi,t แสดงการให้ความช่วยเหลือของจีนในแถบอินโดจีนหรือการลงทุนภาย ใต้ความร่วมมือทางเศรษฐกิจต่างประเทศของจีนในอินโดจีน; βi คือพารามิเตอร์ (i=0,1,..,4) ; และ εi,t คือค่าความคลาดเคลื่อน โดยค่า i แสดงจ�ำนวนประเทศ ในอินโดจีน (i=1,2,..,N;N=4); ค่า t แสดงระยะเวลา (t=2003,..,T;T=2016); และค่า k แสดงจ�ำนวนตัวแปรในรูป lag 103


3.2 การรวบรวมข้อมูล การศึกษานีใ้ ช้ข้อมูลจาก 4 ประเทศในภูมิภาคอินโดจีน ได้แก่ สปป. ลาว เมียนมา เวียดนาม และไทย (LMVT) ตัง้ แต่ปค ี .ศ.2003-2016 ซึ่งเป็ น ข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary data) แบบพาแนล (Panel data) ได้แก่ ข้อมูล มูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ มูลค่าการน�ำเข้าและการส่งออกกับประเทศ จีน จากฐานข้อมูล UNCTAD Stat. ที่รวบรวมโดย United Nations Conference on Trade and Development รวมทั้งข้อมูลการลงทุนโดยตรง จากประเทศจีน และการลงทุนภายใต้ความร่วมมือทางเศรษฐกิจต่างประเทศ จากจีน หรือ เงินช่วยเหลือจากประเทศจีน (Foreign economic cooperation) ประกอบด้วย มูลค่าสัญญาก่อสร้าง การลงทุนด้านการบริการแรงงาน และการลงทุนด้านการบริการออกแบบและให้ค�ำปรึกษา จากฐานข้อมูล CEIC Database ที่รวบรวมโดย The Ministry of Commerce of the People’s Republic of China (MOFCOM) ค่าสถิติเชิงพรรณนาของตัวแปรแสดงใน ตารางที่ 2 ตารางที่ 2 ค่าสถิติพรรณนาของตัวแปร ข้อมูล รายละเอียด TRD

FDI

GDP

มูลค่าการค้าระหว่างประเทศ จีนและอินโดจีน (ณ ราคาคงที่ ปี 2005=100) (ล้านเหรียญ สหรัฐ) การลงทุนโดยตรงจากประเทศ จีนในอินโดจีน (ณ ราคาคงที่ ปี 2005=100) (ล้านเหรียญ สหรัฐ) มูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมใน ประเทศอินโดจีน (ณ ราคาคงที่ปี 2005=100) (ล้านเหรียญสหรัฐ)

แหล่งข้อมูล ค่าเฉลีย ่ ส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน UNCTAD 13,718 16,571 Stat CEIC (by MOFCOM)

906

922

UNCTAD Stat

88,967

109,139

104


FEC

มูลค่าการลงทุนภายใต้ความ ร่วมมือทางเศรษฐกิจต่าง ประเทศจากจีนในอินโดจีน (ณ ราคาคงที่ปี 2005=100) (ล้านเหรียญสหรัฐ)

CEIC (by MOFCOM)

790

615

หมายเหตุ: ราคาคงที่ปี 2005 เป็ นราคาตลาดที่ปรับด้วยดัชนีราคาผู้บริโภคที่ก�ำหนดให้ปี 2005 เป็ นปีฐาน แหล่งข้อมูลจาก UNCTAD Stat.

3.3วิธก ี ารวิจัย การศึกษาความเชื่อมโยงทางการค้า การลงทุน และความช่วยเหลือ ของจีนต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจของอินโดจีน มีขัน ้ ตอนการวิจัย 5 ขัน ้ ตอน ประกอบด้วย ขัน ้ ตอนที่ 1 การทดสอบคุณลักษณะของข้อมูล (Unit root test) เป็ นการทดสอบข้อมูล Panel data ของตัวแปรในแบบจ�ำลอง VAR ว่ามี ลักษณะที่น่ิง (Stationary) หรือไม่น่ิง (Non-stationary) ปั จจุ บันมีเครื่อง มือทางสถิตท ิ ีใ่ ช้ทดสอบมากมาย เช่น Levin-Lin-Chu test, Breitung test, Im-Pasaran-Shin test และ Fisher -Augmented Dickey Fuller test เป็ นต้น โดยมีสมมติฐานหลัก (Null hypothesis) H0: Non stationary และสมมติฐานทางเลือก (Alternative hypothesis) Ha: Stationary ซึ่ง ค่า t-statistic เป็ นค่าสถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐานหลัก หากข้อมูลมี ความไม่น่ิงมักเกิดปั ญหาความสัมพันธ์ที่บิดเบือน (Spurious regression) ไม่เหมาะที่จะน�ำไปใช้ในการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของแบบจ�ำลอง ขั้นตอนที่ 2 การหาความเหมาะสมของค่าความช้า (Optimal lag length) เพื่อน�ำมาใช้ในการอธิบายความสัมพันธ์ของแบบจ�ำลองได้อย่างถูก ต้องและเหมาะสม โดยทั่ วไปเกณฑ์ดัชนี ที่ใช้วัดความเหมาะสมของค่าความ ช้า ได้แก่ Log likelihood ratio least (LogL), Sequential modified likelihood ratio test (LR), Final prediction error criterion (FPE), Akaike Information Criterion (AIC), Schwarz Information Criterion (SC) และ Hannan Quinn Criterion (HQ) โดยเลือกค่าความล่าช้าจาก จ�ำนวนช่วงเวลาล่าช้าที่ท�ำให้ค่าดัชนี Information Criteria มีค่าต�่ำที่สุด

105


ขั้ น ตอนที่ 3 การทดสอบความสั ม พั น ธ์ เ ชิ ง ดุ ล ยภาพในระยะยาว (Cointegration test) เป็ นการทดสอบความสัมพันธ์เชิงดุลยภาพในระยะ ยาวระหว่ างตั วแปรภายในและตั วแปรภายนอกในแบบจ� ำลอง VAR ด้ วย วิธี Pedroni โดยก�ำหนดสมมติฐานหลัก (Null hypothesis) H0: No cointegration และสมมติฐานทางเลือก (Alternative hypothesis) Ha: Cointegration ซึ่งมีค่า Panel PP statistic, Panel ADF statistic, Group PP statistic และ Group ADF statistic เป็ นค่าสถิติที่ใช้ในการ ทดสอบสมมติฐานหลัก ขัน ้ ตอนที่ 4 การทดสอบความเป็ นเหตุเป็ นผล (Granger causality test / Granger Exogeneity Test) เป็ นการทดสอบว่าตัวแปรหนึ่งเป็ น เหตุให้ เกิดการเปลี่ยนแปลงในอีกตัวแปรหนึ่ งหรือไม่ โดยก�ำหนดสมมติฐาน หลัก (Null hypothesis) คือ “ไม่มีความเป็ นเหตุเป็ นผลกันระหว่างตัวแปร” การศึ กษานี ้ท�ำการทดสอบความเป็ นเหตุ เป็ นผลของแบบจ� ำลองที่ 1 โดย สมมติฐานหลักของการทดสอบมี 2 กรณี กรณีแรก การเติบโตทางเศรษฐกิจ ของประเทศอินโดจีนไม่ ได้เป็ นสาเหตุของการเปลี่ยนแปลงขนาดการค้ากับ จีน การลงทุนจากจีน และการให้เงินช่วยเหลือของจีน และกรณีที่สอง การค้า กับจีน การลงทุนจากจีน และการให้เงินช่วยเหลือของจีน ไม่ได้เป็ นสาเหตุของ การเปลีย ่ นแปลงของการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศแถบอินโดจีน โดย มีค่า Chi-square เป็ นค่าสถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐานหลัก หากผลการ ทดสอบยอมรับสมมติฐานหลัก แสดงว่าตัวแปรทีท ่ �ำการทดสอบไม่ได้เป็ นสาเหตุ ของการเปลีย ่ นแปลงในอีกตัวแปรหนึ่งอย่างมีนัยส�ำคัญทางสถิติ q

q

q

q

q

q

lnGDPi,t=β0+∑ k=1 β11i,k lnGDPi,t-k+∑ k=1 β12i,k lnTRDi,t-k+∑ k=1 β13i,k q lnFDIi,t-k+∑k=1 β14i,k ΔlnFECi,t-k+εi,t (2) lnTRDi,t=β0+∑k=1 β11i,k lnGDPi,t-k+∑ k=1 β12i,k lnTRDi,t-k+∑ k=1 β13i,k q (3) lnFDIi,t-k+∑k=1 β14i,k ΔlnFECi,t-k+εi,t q

q

q

lnFDIi,t=β0+∑k=1 β11i,klnGDPi,t-k+∑ k=1 β12i,k lnTRDi,t-k+∑ k=1 β13i,k (4) lnFDIi,t-k+∑β14i,k ΔlnFECi,t-k+εi,t q

q

q

lnFECi,t=β+∑ k=1 β11i,k lnGDPi,t-k+∑k=1 β12i,k lnTRDi,t-k+∑ k=1 β13i,k q (5) lnFDIi,t-k+∑ k=1 β14i,k ΔlnFECi,t-k+εi,t

โดย k แสดงค่าความล่าช้าตามเกณฑ์ Schwarz Information Criterion (SC) 106


ขั้นตอนที่ 5 การทดสอบความสั มพั นธ์ของตั วแปรในแบบจ� ำลองด้ วยการ ทดสอบการตอบสนองด้วยวิธี Impulse Response เพื่อหาผลกระทบเชิง พลวัตของการเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลัน (Shock) ที่เกิดขึ้นกับตัวแปรใด ตัวแปรหนึ่งและจะส่งผลกระทบอย่างต่อเนื่องต่อตัวแปรอื่นในระบบอย่างไร และการทดสอบความแปรปรวนด้วยวิธี Variance Decomposition เป็ นการ วิเคราะห์แยกส่วนประกอบของความแปรปรวนของตัวแปรทีใ่ นแบบจ�ำลอง โดย คิดเป็ นร้อยละของการแปรปรวนทั้งหมด 4. ผลการศึกษา 4.1 การทดสอบคุณลักษณะของข้อมูล (Unit root test) การทดสอบความนิ่งของข้อมูลหรือการทดสอบ Panel unit root ใน การศึกษานีจ้ ะทดสอบด้วยวิธก ี าร Levin-Lin-Chu (LLC) และ Im-Pasaran-Shin (IPS) โดยสมมติฐานหลักของการทดสอบคือ ข้อมูลมีความไม่น่ิง (Non-stationary data) โดยในทีน ่ ีจ้ ะท�ำการทดสอบ Panel unit root ของ ตัวแปรลอการิทึมการเติบโตทางเศรษฐกิจของอินโดจีน (GDP) การค้าระหว่าง จีนและอินโดจีน (TRD) การลงทุนจากจีนในอินโดจีน (FDI) และการให้ความ ช่วยเหลือของจีนกับอินโดจีน (FEC) ผลการทดสอบดังแสดงในตารางที่ 3 พบว่า มีเพียงตัวแปร GDP ที่ ปฏิเสธสมมติฐานหลักทีร่ ะดับนัยส�ำคัญทางสถิตท ิ ี่ 0.05 นั่นคือ ข้อมูลมีความนิ่ง ที่ระดับ Level หรือมีอน ั ดับความสัมพันธ์ของข้อมูล (Order of integration) เท่ากับ 0 หรือ I(0) ขณะเดียวกันตัวแปร TRD, FDI และ FEC ถูกน�ำมาทดสอบ ที่ระดับ Order of integration เท่ากับ 1 หรือ I(1) ปรากฏว่าสมมติฐานหลัก ที่ระดับนัยส�ำคัญทางสถิติที่ 0.05 หรือ ข้อมูลมีความนิ่งที่ I(1) การศึกษานีไ้ ด้ น�ำข้อมูลการเติบโตทางเศรษฐกิจของอินโดจีนที่ I(0) และข้อมูลการค้าระหว่าง จีนและอินโดจีน การลงทุนจากจีนในอินโดจีน และการให้ความช่วยเหลือของจีน กับอินโดจีน (FEC) ที่ I(1) มาท�ำการทดสอบ Panel Granger Causality, Impulse response และ Variance Decomposition ตามล�ำดับ

107


ตารางที่ 3 ผลการทดสอบ Panel unit root ที่ระดับ Level และผลต่างระดับ ที่หนึ่ง (First differential) ตัวแปร

LevinLin-Chu Ln(GDP) -3.41* Ln(TRD) -3.10* Ln(FDI) -3.70* Ln(FEC) -0.76

Im-Pasaran-Shin 1.73** -0.24 -1.63*** 0.65

ตัวแปร

LevinLin-Chu ∆Ln(GDP) -3.66* ∆Ln(TRD) -4.92* ∆Ln(FDI) -4.92* ∆Ln(FEC) -4.29*

Im-Pasaran-Shin -2.27* -3.12* -5.72* -2.30*

ที่มา: ค�ำนวณโดยผู้วิจัย หมายเหตุ: *, ** และ *** แสดงระดับนัยส�ำคัญทางสถิติที่ 1%, 5% และ 10% ตามล�ำดับ

4.2 การทดสอบความเหมาะสมของค่ า ความช้ า (Optimal lag length) การทดสอบความเหมาะสมของค่าความช้าของแบบจ�ำลอง VAR (1) ด้วยเกณฑ์ดช ั นีทีห ่ ลากหลายดังแสดงในตารางที่ 4 การศึกษานีเ้ ลือกใช้คา่ ความ ล่าช้าที่เหมาะสมจากดัชนี Schwarz Information Criterion (SC) นั่นคือ จ�ำนวนเวลาล่าช้า หรือ Lag order 1 period ตารางที่ 4 ผลการหา Optimal lag length โดยแบบจ�ำลอง VAR Lag 0 1 2 3 4 5

LogL -47.60 70.76 86.28 109.11 137.46 156.55

LR FPE AIC SC NA 2.96E-04 3.22 3.41 199.72 4.98E-07 -3.17 -2.25* 22.32 5.40E-07 -3.14 -1.49 27.11 4.04E-07 -3.57 -1.19 26.57* 2.49E-07* -4.34 -1.23 13.20 3.54E-07 -4.54* -0.69

HQ 3.29 -2.87 -2.60 -2.78 -3.30* -3.27

ที่มา: ค�ำนวณโดยผู้วิจัย หมายเหตุ: * แสดง lag order selected by the criterion ที่ระดับนัยส�ำคัญ 0.05

108


4.3 การทดสอบความสัมพันธ์เชิงดุลยภาพในระยะยาว (Cointegration test) การทดสอบความสัมพันธ์เชิงดุลยภาพในระยะยาวระหว่างตัวแปรใน แบบจ�ำลองที่ (1) ด้วยวิธก ี าร Pedroni residual cointegration test แสดงในตารางที่ 5 เมื่อก�ำหนดให้ GDP เป็ นตัวแปรตามและ TRD, FDI และ FEC เป็ นตัวแปรอิสระ พบว่าค่าสถิติที่ใช้ในการทดสอบกลุ่มประเทศอินโดจีน (สปป.ลาว เมียนมา เวียดนาม และไทย) ยืนยันการปฏิเสธสมมติฐานหลัก ณ ระดับนัยส�ำคัญ 1% นั่นคือ การค้า การลงทุน และการให้ความช่วยเหลือจาก จีนกับการเติบโตทางเศรษฐกิจของอินโดจีนมีความสัมพันธ์เชิงดุลยภาพระยะ ยาวกัน ตารางที่ 5 ผลการทดสอบ Panel Cointegration ด้วยวธี Pedroni residual cointegration test Test statistics | Specification Intercept Intercept and Trend Panel v-statistics -1.30 -2.35 Panel rho-statistics 0.70 1.69 Panel PP-statistics -1.91** -2.47* Panel ADF-statistics -1.81** 1.23*** Group rho-statistics 1.78 2.58 Group PP-statistics -0.92 -2.57* Group ADF-statistics -0.48 -0.21

None -0.72 -0.38 -2.44* -2.44* 0.50 -2.44* -2.33*

ที่มา: ค�ำนวณโดยผู้วิจัย หมายเหตุ: *, ** และ *** แสดงระดับนัยส�ำคัญทางสถิติที่ 1%, 5% และ 10% ตามล�ำดับ

4.4 การทดสอบความเป็ นเหตุเป็ นผลของตัวแปร (Granger cau109


sality test) การทดสอบความเป็ นเหตุเป็ นผล (Granger causality test) ระหว่าง ตัวแปร GDP, TRD, FDI และ FEC จากแบบจ�ำลองที่ (1) แสดงในตารางที่ 6 พบว่า มีเพียง “การให้ความช่วยเหลือจากจีน” ที่มีความเชื่อมโยงต่อ “การ เติบโตทางเศรษฐกิจของกลุม ่ ประเทศอินโดจีน” อย่างมีนัยส�ำคัญทางสถิติ และ มีความเป็ นเหตุเป็ นผลในลักษณะทิศทางเดียว (Unidirectional causality) นอกจากนีจ้ ากการทดสอบ Feedback hypothesis ปรากฏว่ามีเพียง “การ ค้าระหว่างจีนและอินโดจีน” ที่มีความเชื่อมโยงกลับไปที่ “การให้ ความช่วย เหลือจากจีนแก่ประเทศอินโดจีน” ขณะเดียวกันการค้าก็ยังมีความเชื่อมโยง ไปยัง “การลงทุนจากจีนในกลุ่มประเทศอินโดจีน” เช่นเดียวกับ “การเติบโต ทางเศรษฐกิจของอินโดจีน” ที่ปรากฏว่ามีความเชื่อมโยงกับ “การลงทุนจาก จีนในกลุ่มประเทศอินโดจีน” อย่างมีนัยส�ำคัญทางสถิติ ตารางที่ 6 ผลการทดสอบความเป็ นเหตุเป็ นผลของตัวแปร Dependent variable GDP ∆TRD ∆FDI ∆FEC

GDP 1.24 7.48* 0.07

Independent variables ∆TRD ∆FDI ∆FEC 0.72 2.44 6.15* 0.13 0.48 5.49* 0.08 6.39* 0.41 -

All 8.31** 1.67 12.15* 6.63***

ที่มา: ค�ำนวณโดยผู้วิจัย หมายเหตุ: *, ** และ *** แสดงระดับนัยส�ำคัญทางสถิติที่ 1%, 5% และ 10% ตามล�ำดับ

4.5 การทดสอบการตอบสนองของการเติบโตทางเศรษฐกิจ (Impulse response) การทดสอบการตอบสนอง (Impulse response) ของการเติบโต ทางเศรษฐกิจของกลุ่มประเทศอินโดจีนเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลัน (Shock) ของกิจกรรมทางเศรษฐกิจกับจีน แสดงในรูปที่ 1 พบว่า เมื่อมีการ เปลีย ่ นแปลงอย่างฉับพลันของการลงทุนจากจีนในประเทศอินโดจีน และการ ให้ความช่วยเหลือของจีนแก่ประเทศอินโดจีน ผลกระทบในระยะสั้นที่เกิดขึ้น กับการเติบโตทางเศรษฐกิจของกลุ่มประเทศอินโดจีนจะมีทิศทางเป็ นบวกใน ปีแรก และจะค่อยๆ ลดระดับลงในปีที่ 2 จนกลับเข้าสู่ดุลยภาพในระยะยาว 110


ขณะที่เมื่อมีการเปลีย ่ นแปลงอย่างฉับพลันของการค้าระหว่างจีนและอินโดจีน ผลกระทบในระยะสัน ้ ทีเ่ กิดขึน ้ กับการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศอินโดจีน จะมีทิศทางเป็ นลบในปีแรก และส่งผลลบมากที่สุดในปีที่ 2 จากนั้นผลกระทบ ทางลบจะลดลงเรื่อยๆ จนกลับเข้าสู่ดุลยภาพในระยะยาว

รูปที่ 1 ผลการวิเคราะห์ปฏิกิรย ิ าการตอบสนองต่อความแปรปรวน

ที่มา: คำ�นวณโดยผู้วิจัย

4.6 การทดสอบความแปรปรวนของการเติบโตทางเศรษฐกิจ (Vari111


ance decomposition) การทดสอบการแยกส่วนประกอบความแปรปรวน (Variance decomposition) ของการเติ บโตทางเศรษฐกิ จและกิ จกรรมทางเศรษฐกิ จ ระหว่ างกลุ่มประเทศอินโดจี นและจี น แสดงในตารางที่ 7 พบว่ า ค่าความ แปรปรวนของการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศอินโดจีนขึ้นอยู่กับความ แปรปรวนของตนเองถึงร้อยละ 100 ในปีแรก และเมื่อเวลาผ่านไป ค่าความ แปรปรวนของการเติบโตทางเศรษฐกิจขึ้นอยู่กับการให้ ความช่วยเหลือจาก จีน การลงทุนจากจีน และการลดลงของการค้ากับจีน ตามล�ำดับ โดยเมื่อเวลา ผ่านไป 5 ปี ค่าความแปรปรวนของการเติบโตทางเศรษฐกิจสามารถอธิบายได้ ด้วยค่าความแปรปรวนของการให้ความช่วยเหลือจากจีนประมาณร้อยละ 10 ความแปรปรวนของการลงทุนจากจีนร้อยละ 1.5 และความแปรปรวนของ การค้ากับจีนร้อยละ 0.3 เป็ นต้น อีกนัยหนึ่ง การแปรปรวนของการเติบโตทาง เศรษฐกิจของกลุ่มประเทศอินโดจีนสามารถอธิบายได้เป็ นอย่างดีด้วยระดับ ความแปรปรวนของการให้ความช่วยเหลือจากจีน ตารางที่ 7 ผลการวิเคราะห์โดยแยกส่วนประกอบความแปรปรวน Period 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10

S.E. 0.069 0.101 0.125 0.144 0.161 0.176 0.189 0.201 0.212 0.222

LGDP 100.000 92.243 89.997 88.872 88.190 87.739 87.420 87.183 87.001 86.856

DLTRD 0.000 0.582 0.481 0.377 0.311 0.266 0.234 0.211 0.192 0.178

ที่มา: ค�ำนวณโดยผู้วิจัย

5. บทสรุปและข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย

112

DLFDI 0.000 1.489 1.566 1.579 1.575 1.570 1.565 1.562 1.559 1.556

DLFEC 0.000 5.687 7.957 9.171 9.923 10.425 10.780 11.044 11.248 11.410


การศึกษานีม ้ ีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของกิจกรรมทาง เศรษฐกิจระหว่างประเทศจีนและกลุ่มประเทศอินโดจีน 4 ประเทศ กับการ เติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศอินโดจีน ด้วยการทดสอบความเป็ นเหตุเป็ น ผล (Granger causality test) ผลการศึกษาพบความเชื่อมโยงระหว่างกัน 3 แบบ แบบแรก การให้ความช่วยเหลือของจีนแก่ประเทศอินโดจีนมีความเชื่อม โยงต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศอินโดจีนในทิศทางเดียวอย่างมีนัย ส�ำคัญทางสถิติ แบบทีส ่ อง การค้าระหว่างจีนและประเทศอินโดจีนมีความเชื่อม โยงต่อการให้ความช่วยเหลือของจีนและการลงทุนจากจีนในทิศทางเดียวอย่าง มีนัยส�ำคัญทางสถิติ และแบบสุดท้ายการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศอิน โดจีนมีความเชื่อมโยงต่อการลงทุนจากจีนในอินโดจีนในทิศทางเดียวอย่างมีนัย ส�ำคัญทางสถิติ

ผลการศึกษาดังกล่าวสามารถสะท้อนบทบาทของจีนในภูมภ ิ าคอินโดจีน รวมถึงข้อเสนอแนะเชิงนโยบายส�ำหรับกลุม ่ ประเทศอินโดจีน หรือกลุม ่ ประเทศ CLMVT ดังนี ้ ประเด็นแรก ที่ตัง้ ทางภูมิศาสตร์ของ CLMVT ถือว่าเป็ นเส้นทางการ ค้าที่มีศักยภาพในการส่งเสริมความส�ำเร็จของโครงการ BRI ที่มีผลต่อการ ให้ความช่วยเหลือเพื่อทางการเงินหรือการค้า (Foreign aid หรือ Aid for trade) กับประเทศ CLMVT ทั้งนีก ้ ลุ่มประเทศ CLMVT ควรร่วมมือกันหรือ เป็ นหนึ่งเดียวกันในการพัฒนาเส้นทางเศรษฐกิจนีเ้ พื่อให้เกิดประโยชน์กับการ พัฒนาประเทศอย่างแท้จริงและยั่งยืน ข้อตกลงและแผนงานความร่วมมือทาง เศรษฐกิจอาจผลักดันผ่านเวทีการประชุมของกรอบความร่วมมือแม่โขง-ล้าน ช้างที่ท�ำให้เกิดผลลัพธ์ทางนโยบายที่ชัดเจน ประเด็ น ที่ ส อง ปลายทางของความเชื่ อ มโยงกิ จ กรรมการค้ า และ 113


การลงทุนของจีนในกลุ่มประเทศ CLMVT กับการเติบโตทางเศรษฐกิจของ ประเทศ CLMVT ได้มุ่งไปที่การส่ งเสริมการเข้ามาของการลงทุ นจากจีนใน ประเทศ CLMVT ดังนั้น ประเทศ CLMVT จ�ำเป็ นต้องทบทวนนโยบายการส่ง เสริมการลงทุนของชาติ รวมทั้งการเฝ้ าระวังผลจากการด�ำเนินนโยบายการส่ง เสริมการลงทุนของตนว่าท�ำให้เกิดประโยชน์และ/หรือการสูญเสียผลประโยชน์ จากการเข้ามาลงทุนของจีน ดังนั้นการก�ำหนดนโยบายการลงทุนควรท�ำให้เกิด ความยืดหยุน ่ ปรับเปลีย ่ นได้ ก่อให้เกิดประโยชน์ทางเศรษฐกิจต่อประเทศอย่าง แท้จริง และไม่ส่งผลกระทบต่อสวัสดิการของประเทศ ประเด็นสุ ดท้ าย ประโยชน์ ทางตรงต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจของ กลุ่มประเทศ CLMVT เป็ นเพียงการได้รบ ั ความช่วยเหลือทางการเงินหรือการ ค้าจากจีน ซึ่งนับว่าเป็ นความเสี่ยงทางเศรษฐกิจของ CLMVT หากผูกติดกับ บทบาทของจีน หรือพึ่งพิงกิจกรรมทางเศรษฐกิจการค้าและการลงทุนกับจีน ดังนั้น ประเทศ CLMVT ควรพลิกสถานการณ์จากการพึ่งพิงการค้าการลงทุน จากจีนมาเป็ นการใช้ประโยชน์จากการเข้ามาของจีนให้มากที่สุด แนวกลยุทธ์ ในการรับมือนั้นควรมีทั้งกลยุทธ์เชิงรุกและเชิงรับควบคู่กันไป เอกสารอ้างอิง Abdouli, Mohamed, and Sami Hammami. 2017. “Investigating the Causality Links between Environmental Quality, Foreign Direct Investment and Economic Growth in MENA Countries.” International Business Review 26 (2): 264–78. Amri, Fethi. 2016. “The Relationship amongst Energy Consumption, Foreign Direct Investment and Output in Developed and Developing Countries.” Renewable and Sustainable Energy Reviews 64 (October): 694–702. Belloumi, Mounir. 2014. “The Relationship between Trade,FDI and Economic Growth in Tunisia: An Application of the Autoregressive Distributed Lag Model.” Economic Systems, Symposium: Performance of Financial Markets, 38 (2): 269–87. Economic Intelligence Center. 2018. “ส่องยุทธศาสตร์การค้าการ 114


ลงทุนจีนผ่ านกรอบความร่วมมือแม่โขง-ล้านช้าง ใน EIC Outlook Quarter 2, 2018.” Siam Commercial Bank Public Company Limited. Mah, Jai S. 2010. “Foreign Direct Investment Inflows and Economic Growth of China.” Journal of Policy Modeling 32 (1): 155–58. https://doi.org/10.1016/j. jpolmod. 2009.09.001. Mallik, Girijasankar. 2008. “Foreign Aid and Economic Growth: A Cointegration Analysis of the Six Poorest African Countries.” Economic Analysis and Policy 38 (2): 251–60. Omri, Anis, Duc Khuong Nguyen, and Christophe Rault. 2014. “Causal Interactions between CO2 Emissions, FDI, and Economic Growth: Evidence from Dynamic Simultaneous-Equation Models.” Economic Modelling 42 (October): 382–89. Sunde, Tafirenyika. 2017. “Foreign Direct Investment, Exports and Economic Growth: ADRL and Causality Analysis for South Africa.” Research in International Business and Finance 41 (October): 434–44. Tekin, Rıfat Barış. 2012. “Economic Growth, Exports and Foreign Direct Investment in Least Developed Countries: A Panel Granger Causality Analysis.” Economic Modelling 29 (3): 868–78. Temiz, Dilek, and Aytaç Gökmen. 2014. “FDI Inflow as an International Business Operation by MNCs and Economic Growth: An Empirical Study on Turkey.” International Business Review 23 (1): 145–54. Tong, Tingting, and T. Edward Yu. 2018. “Transportation and Economic Growth in China: A Heterogeneous Panel Cointegration and Causality Analysis.” Journal of Transport Geography 73 (December): 120–30. Yalta, A. Yasemin. 2013. “Revisiting the FDI-Led Growth 115


Hypothesis: The Case of China.” Economic Modelling 31 (March): 335–43. ณัฐพรพรรณ อุ ตมา, ร่มเย็น โกไศยกานนท์ , และวราวุฒิ เรือนค�ำ. 2561. รายงานวิจัยฉบับสมบูณ์เรื่อง นโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศและ บริบทใหม่ของประเทศจีนต่อเศรษฐกิจในภูมิภาคอินโดแปซิฟก ิ . สนับสนุนโดย ส�ำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.).

116


การสำ�รวจระบบโลจิสติกส์การค้าชายแดนบนเส้นทางเมียวดีกอกะเร็ก-ผาอัน ณรัฐ หัสชู, พรวศิน ศิรส ิ วัสดิ์ 1. ที่มาและความสำ�คัญ ทำ�ไมถึงต้องเป็ นชายแดนระหว่างไทยกับเมียนมา? งานวิจัยชิ้นเป็ นงานวิจัยในลักษณะของการวิจัยเพื่อการส�ำรวจ (Survey Research) โดยมีวต ั ถุประสงค์หลักเพื่อส�ำรวจระบบโลจิสติกส์ภายใต้การ ค้าผ่านระบบชายแดน (Border Trade) ระหว่างประเทศไทยและเมียนมา โดย ใช้กรณีศึกษาในเส้นทางมืองเมียวดี (ติดกับ อ.แม่สอด จ.ตาก) ผ่านเมืองกอ กะเร็กที่ซ่ึงรัฐบาลไทยได้ท�ำพิธเี ปิดและส่งมอบให้กับรัฐบาลเมียนมาร์ในปีพ.ศ. 2558 (ไทยรัฐ, 2558) โดยเส้นทางเริม ่ ต้นจากเมืองเมียวดี (Myawady) ไปยัง เมืองกอกะเร็ก (Kawkareik) และสิ้นสุดที่เมืองผาอัน (Hpa-An) ระยะทาง รวมทั้งสิ้น 140 กิโลเมตร ซึ่งจากจุ ดสิ้นสุดดังกล่าวมีระยะทางห่างจากเมือง ย่างกุ้งอีกเพียง 270 กิโลเมตรนั้น สาเหตุที่ท�ำให้ระบบโลจิสติกส์ชายแดนระหว่างไทยกับเมียนมามีความ น่าสนใจนั้น เริ่มต้นในปีพ.ศ.2531 รัฐบาลพม่า (ชื่อในขณะนั้น) ได้เริ่มมีการ ปรับเปลีย ่ นระบบเศรษฐกิจจากระบบรัฐบาลทหาร มาสู่ระบบตลาดมากขึ้น ซึ่ง หมายถึงการที่รฐั บาลเริ่มสนับสนุนให้ภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในระบบการ ผลิตและการจัดการมากขึ้น ท�ำให้ปพ ี .ศ.2533-2538 เศรษฐกิจขยายตัวสูง เฉลีย ่ ถึงร้อยละ 8 โดยมีภาคเกษตรเป็ นภาคเศรษฐกิจส�ำคัญ ทว่าภายหลังจาก ปีพ.ศ.2539 เป็ นต้นมา เศรษฐกิจพม่าเข้าสู่การชะลอตัวอันเนื่องมาจากปั ญหา ความไม่ม่ันคงทางการเมือง นอกจากนีย ้ ังเกิดจากการถูกด�ำเนินมาตรการคว�่ำ บาตรต่างๆจากนานาประเทศ (วรินธร ทวีศร, 2542) การเปลีย ่ นแปลงครัง้ ใหญ่ในประเทศพม่าเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ.2555 จากการเลือกตัง้ ซ่อมใน 10 เขตจ�ำนวน ส.ส.รวม 44 ที่น่ัง ซึ่ง พรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย หรือ NLD ของผู้น�ำฝ่ ายค้านของ ประเทศ นางอองซานซูจี ซึ่งพึ่งได้รบ ั อิสรภาพจากรัฐบาลเมื่อปีพ.ศ.2553 ภาย หลังจากถูกจ�ำกัดเสรีภาพเป็ นเวลากว่า 20 ปี ได้ชนะการเลือกตัง้ อย่างท่วมท้น โดยได้ที่น่ัง 43 จากทั้งหมด 44 ที่น่ัง และรัฐบาลพม่ายอมประกาศรับรอง อย่างเป็ นทางการ ก่อนที่จะมีการจัดเลือกตั้งใหญ่ครัง้ ประวัติศาสตร์ในวันที่ 8 พฤศจิกายน 2558 ที๋ซ่ึงพรรค NLD ได้รบ ั ชัยชนะและแต่งตัง้ นายอูิวินมิ้น (U Win Myint) เป็ นประธานาธิบดี (ฐานเศรษฐกิจออนไลน์, 2558) 117


การด�ำเนินการของรัฐบาลพม่าตามทีไ่ ด้กล่าวมาในข้างต้น ทัง้ การปล่อย ตัวนางอองซาน ซูจี และการยอมรับรองผลการเลือกตั้ง เป็ นจุ ดเริ่มต้นของ ความพยายามในการเป็ นประชาธิปไตยและเปิดประเทศมากขึน ้ ของรัฐบาลพม่า ซึ่งท�ำให้นานาชาติได้ระงับมาตรการคว�่ำบาตรต่างๆที่เคยมีกบ ั พม่า เช่น สหภาพ ยุโรป และสหรัฐอเมริกา ที่ได้ผ่อนปรนมาตรการคว�่ำบาตรและเริ่มให้ ความ ช่วยเหลือทางเศรษฐกิจ (ส�ำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า, 2555) นอกเหนือไปจากการเริ่มได้รบ ั การยอมรับจากต่างชาติแล้ว รัฐบาลพม่ายังได้ ด�ำเนินนโยบายเพื่อดึงดูดชาวต่างชาติให้เข้ามายังประเทศพม่าอย่างต่อเนื่อง เช่น การจัดเคาท์ดาวน์ครัง้ แรกในประวัติศาสตร์ประเทศ และการยอมให้มีการ จัดคอนเสิรต ์ ของศิลปินต่างชาติในประเทศเป็ นครัง้ แรกของประเทศ (ไทยรัฐ ออนไลน์, 2556) กระทรวงการต่างประเทศ (2556) รายงานว่าการประชุมเมื่ อวันที่ 31 มกราคม 2554 ประเทศพม่า ได้ประกาศเปลีย ่ นชื่อเป็ น สาธารณรัฐแห่ง สภาพเมียนมา (The Republic of the Union of Myanmar) มีรูปแบบการ ปกครองแบบสาธารณรัฐ มีนายเต่ง เส็ง ด�ำรงต�ำแหน่งประธานาธิบดี (ในขณะ นัน ้ ) ปั จจุ บน ั (พ.ศ.2561) มีประชากรประมาณ 53 ล้านคน โดยผลิตภัณฑ์มวล รวมประชาชาติ (GDP) อยู่ที่ 69,320 ล้านเหรียญสหรัฐ (สถาบันวิจัยนโยบาย เศรษฐกิจการคลัง, 2561) เมื่ อ เปรีย บเที ย บมู ล ค่ า การค้ า ระหว่ า งไทยกั บ ประเทศอาเซี ย นใหม่ (CLMV) ประเทศไทยท�ำการค้ากับเวียดนามมากที่สุด ในขณะที่เมียนมาอยู่ใน อันดับ 3 แต่เมื่อดูในด้านอัตราการขยายตัวในปีพ.ศ.2554 พบว่า อัตราการ ขยายตัวของตลาดเมียนมาอยูใ่ นอันดับหนึ่ง ที่ประมาณร้อยละ 37.28 ในขณะ ที่ปพ ี .ศ.2561 กระทรวงพาณิชย์ได้จด ั ให้กลุม ่ ประเทศ CLMV อยูใ่ นกลุม ่ ตลาด ทีม ่ ีศักยภาพสูง ซึ่งในปีพ.ศ.2560 การส่งออกมีการขยายตัวกว่าร้อยละ 17 ใน ขณะที่ตลาดยุโรปขยายตัวที่รอ ้ ยละ 10 สะท้อนให้เห็นถึงโอกาสและศักยภาพ ของกลุ่ม CLMV โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมียนมา (กระทรวงพาณิชย์, 2558) ระบบโลจิสติกส์ส�ำหรับการค้าชายแดน? ภายหลังจากได้ทราบข้อมู ลการเปลี่ยนแปลงของเมี ยนมาร์ที่ซ่ึงเกิด การเปลีย ่ นแปลงครัง้ ใหญ่จากการเลือกตัง้ และการเปิดประเทศทั้งจากการถูก ยกเลิกมาตราการคว�่ำบาตรจากนานาชาติและจากการส่งเสริมการท่องเที่ยว นั้น ปั จจุ บันข้อมูลด้านเศรษฐกิจของเมียนมาในปีพ.ศ.2560 สามารถสรุปได้ ดังแสดงในตารางที่ 1 118


ตารางที่ 1 ข้อมูลด้านเศรษฐกิจที่ส�ำคัญของเมียนมา GDP

79,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ณ ปี 2560) รายได้ต่อหัวเฉลีย ่ ต่อGDP 1,501 ดอลลาร์สหรัฐฯ (ณ ปี 2560) อัตราเงินเฟ้ อ 9.2 สกุลเงิน จ๊าต (kyat) อัตราแลกเปลีย ่ น (ณ มี.ค. 2560) เฉลีย ่ ประมาณ 39 จ๊าดต่อ 1 บาทไทย ดุลการค้า เกินดุล 27,877.9 ล้านจ๊าต (ณ ปีงบประมาณ 2553-2554 ) อัตราการว่างงาน 4% (ณ ปี 2560) มูลค่าการค้าต่างประเทศ 33 พันล้านดอลลาร์ สรอ. (ขาดดุล 3.9 พันล้านดอลลาร์ สรอ) (ธนาคารแห่ง ประเทศไทย, 2561) มูลค่าการค้าชายแดน 8.5 พันล้านดอลลาร์ สรอ (จีน 80% ไทย 18%) สินค้าส่งออกหลัก ก๊าซธรรมชาติ ไม้และผลิตภัณฑ์จากไม้ อาหารประเภทสัตว์น�้ำ เสื้อผ้า ธัญพืชและ พืชไร่ โลหะและแร่ธาตุ ไม้สัก ตลาดส่งออกหลัก ไทย อินเดีย จีน ฮ่องกง สิงคโปร์ ญีป ่ ุ่ น สินค้าน�ำเข้าส�ำคัญ เครื่องจักรและอุปกรณ์ขนส่งที่ไม่ใช้ไฟฟ้ า และใช้ไฟฟ้ า สิ่งทอ น�้ำมันเพื่อการบริโภค ธาตุโลหะและผลิตภัณฑ์โลหะ แหล่งน�ำเข้าส�ำคัญ สิงคโปร์ จีน ไทย ญีป ่ ุ่ น อินเดีย มาเลเซีย ที่มา : กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (2560)

จากตารางที่ 1 ข้างต้น ไทยมีสัดส่วนมูลค่าการค้าชายแดนเป็ นอันดับ ที่ 2 รองจากจีนโดยมีสัดส่วนประมาณร้อยละ 18 ซึ่งด้วยท�ำเลที่ตัง้ ที่ติดกับ ประเทศไทยตลอดจนความนิยมในสินค้าไทยของเมียนมา ท�ำให้ผู้ประกอบการ ไทยจ�ำนวนมากให้ความส�ำคัญกับการท�ำตลาดเมียนมาที่ซ่ึงนับได้วา่ เป็ นตลาดที่ ค่อนข้างใหม่เมื่อเทียบกับตลาดหลัก เช่น จีน สหรัฐอเมริกา และยุโรป เป็ นต้น โดยเมื่อศึกษาในรายละเอียดการค้าระหว่างไทยกับเมียนมาในภาพรวมระดับ ประเทศสามารถสรุปได้ดังตารางที่ 2-4 ต่อไปนี ้ 119


ตารางที่ 2 ข้อมูลการค้าระหว่างไทยกับเมียนมาปีพ.ศ.2559-2560 รายการ

มูลค่าการค้า การน�ำเข้า การส่งออก

มูลค่า : ล้านบาท 2558

2559

2560

261,872 121,185 140,687

230,139 83,604 146,534

230,491 84,348 146,142

เปลีย ่ นแปลง (%) (2559-2560) +0.15% +0.89% -0.27%

ที่มา : กรมการค้าต่างประเทศ (2561)

ตารางที่ 3 สินค้าไทยส่งออกไปตลาดเมียนมา ปีพ.ศ.2558-2559 ชื่อสินค้า เครื่องดื่ม น�้ำตาลทราย น�้ำมันส�ำเร็จรูป

มูลค่า : ล้านเหรียญสหรัฐฯ 2558 386.12 241.1 366.68

2559 361.16 267.48 267.93

ที่มา : กรมการค้าต่างประเทศ (2560)

ตารางที่ 4 สินค้าที่ไทยน�ำเข้าจากเมียนมา ปีพ.ศ.2558-2559 ชื่อสินค้า ก๊าซธรรมชาติ เนื้อสัตว์ สัตว์มีชีวิต

มูลค่า : ล้านเหรียญสหรัฐฯ 2558 3,272 13.6 62.5

2559 1,950 65 51.9

ที่มา : กรมการค้าต่างประเทศ (2560)

จากตารางที่ 2-4 ข้างต้นจะพบว่าระหว่างปีพ.ศ.2557-2559 มูลค่า การค้าระหว่างไทยกับเมียนมามีอัตราลดลงประมาณร้อยละ 5 มีมูลค่าการค้า รวมปีพ.ศ.2560 อยู่ที่ 6,529 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยไทยมีการส่งออกไปยัง เมียนมามากกว่าการน�ำเข้าในทุกปี สินค้าส่งออกหลักของไทยไปเมียนมาได้แก่ กลุม ่ อาหารในขณะทีส ่ ินค้าส่งออกอันดับที่ 5-10 เป็ นกลุม ่ วัสดุกอ ่ สร้าง ในขณะ ที่การน�ำเข้านั้นอันดับหนึ่งได้แก่ก๊าซธรรมชาติ 120


ในส่วนของภาพรวมการค้าชายแดนระหว่างไทย-เมียนมา พบว่ามีการ ขยายตัวอย่างต่อเนื่อง โดยเมื่อเทียบมูลค่ารวมระหว่างปีพ.ศ. 2557 กับช่วง ปีพ.ศ.2553-2552 จะพบว่ามีมูลค่าเกือบหนึ่งเท่าตัว โดยด่านที่มีการส่งออก สูงที่สุดได้แก่ดา่ นสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี ในขณะที่ดา่ นที่มีการน�ำเข้ามาก ที่สุดได้แก่ด่านแม่สอด จังหวัดตาก ปั จจุ บันเมียนมาได้จัดตัง้ ศูนย์ One Stop Service ภายใต้กรมการค้าชายแดน (Department of Border Trade: DOBT) เพื่ออ�ำนวยความสะดวกในการค้าชายแดน ซึ่งรายละเอียดได้มีการ สรุปไว้ดังแสดงในตารงที่ 5–6 ต่อไปนี ้ ตารางที่ 5 ตารางแสดงมูลค่าการค้าผ่านชายแดนระหว่างไทยเมียนมา (หน่วย:ล้านบาท) ประเภท มูลค่ารวม ส่งออก น�ำเข้า ดุลการค้า

2559 187,905 109,267 78,638 30,629

% ของการค้า ชายแดนกับ ทั้งประเทศ 81.6% 74% 94%

2560 184,331 108,996 75,364 33,601

% ของการค้า ชายแดนกับ ทั้งประเทศ 79% 74% 89%

ที่มา: กรมการค้าต่างประเทศ (2561)

ตารางที่ 6 ตารางแสดงมูลค่าการค้าชายแดนไทยเมียนมาแยกตามด่าน ศุลกากร (หน่วย:ล้านบาท) ด่านชายแดน ด่านแม่สอด ด่านระนอง ด่านแม่สาย ด่านเชียงแสน ด่านสังขละบุรึ

มูลค่าส่งออก ด่านชายแดน มูลค่าน�ำเข้า 2559 2560 2559 2560 80,552 74,578 ด่านสังขละบุรี 69,359 63,651 15,396 20,234 ด่านระนอง 41,21 5,475 8,732 8,059 ด่านแม่สะเรียง 466 299 3,244 3,198 ด่านแม่สาย 172 172 694 503 ด่านแม่สอด 67 84 ที่มา: กรมการค้าต่างประเทศ (2561)

121


จากตารางที่ 5-6 แสดงให้เห็นว่าสัดส่วนของการค้าชายแดนเมื่อเทียบ กับมูลค่ารวมการค้าระหว่างประเทศของไทยและเมียนมานั้นคิดเป็ นสั ดส่ วน เกินกว่าร้อยละ 70 ทั้งน�ำเข้า ส่งออก และมูลค่าโดยรวม สะท้อนให้เห็นถึงช่อง ทางหลักในการท�ำธุรกิจระหว่าง โดยด่านที่มีมูลค่าส่งออกสูงเป็ นอันดับที่ 1 ใน ปีพ.ศ.2559 – 2560 ได้แก่ ด่านแม่สอด อ.แม่สอด จ.ตาก ในขณะที่ด่านที่ มูลค่าน�ำเข้าสูงที่สุดได้แก่ ด่านสังขละ อ.สังขละบุรี จ.กาญจนบุรี ดังนั้นงานวิจัยชิ้นนี จ้ ึงต้องการน� ำเสนอระบบโลจิสติกส์ ชายแดนไทย โดยใช้กรณีศึกษาของเส้นทางเมืองเมียวดี-กอกะเร็ก-ผาอัน ที่ซ่ึงมีจุดเริ่มต้น อยู่ที่ อ.แม่สอด จ.ตาก โดยผู้วิจัยได้ลงพื้นที่ส�ำรวจข้อมูลใน ตุลาคม 2559 โดยเริ่มต้นจากการข้ามด่านพรมแดนบริเวณด่านศุลกากรแม่สอด จากนั้นเดิน ทางโดยใช้รถตูใ้ นเมืองเมียวดีออกเดินทางจากเมืองเมียวดีและไปสิ้นสุดที่เมือง ผาอัน ซึ่งเป้ าหมายหลักเพื่อส�ำรวจโครงสร้างพื้นฐานด้านระบบโลจิสติกส์ ที่ซ่ึง ในงานวิจัยชิ้นนีห ้ มายถึง การไหลทั้ง 4 ประเภท (Flows) ได้แก่ การไหลของ สินค้า (Physical) ข้อมูล (Information) การเงิน (Cash) และย้อนกลับ (Reverse) และวิเคราะห์โอกาสและศักยภาพในการใช้เส้นทางดังกล่าวในการ สนับสนุนการค้าชายแดน 2. ผลจากการส�ำรวจเส้นทาง โครงสร้างพื้นฐานที่สนับสนุนระบบโลจิสติกส์ของเส้นทาง งานวิจัยชิ้นนีเ้ ริ่มต้นการส�ำรวจเส้นทางบริเวณด่านศุลกากรแม่สอด ที่ ซึ่งเป็ นด่านพรมแดนระหว่าง อ.แม่สอด จ.ตาก กับ เมืองเมียวดี โดยมีแม่น�้ำ เมยเป็ นเขตแนวกัน ้ ระหว่างสองประเทศ ซึ่งจะพบว่ามีรถบรรทุกจอดบริเวณ ถนนบริเวณหน้าด่านฯเพื่อรอข้ามไปยังเมืองเมียวดี นอกจากนีย ้ ังมีรถยนต์ส่วน บุคคล รถสามล้อเครื่อง และมอเตอร์ไซต์อีกบางส่วน การเดิ น ทางข้ ามไปยั ง เมื องเมี ย วดี นั้นสามารถแยกได้ ออกเป็ นสอง เงื่อนไข ได้แก่ เดินทางออกจากแม่สอดไปเฉพาะในบริเวณเมืองเมียวดี และ ออกนอกพื้นที่เมืองเมียวดี ซึ่งถ้าหากเป็ นกรณีที่หนึ่ งที่ไปเฉพาะเมืองเมียวดี ไม่จ�ำเป็ นต้องด�ำเนินการขอวีซ่า แต่ถ้าหากต้องการเดินทางไกลกว่าเมืองเมีย วดีนั้นจ�ำเป็ นต้องด�ำเนินการขอวีซ่าในการข้ามพรมแดน ดังนั้นเป็ นจุ ดสังเกต จุ ดที่หนี่งในมุมมองโลจิสติกส์ คือ ถ้าหากต้องการกระจายสินค้าด้วยรถขนส่ง จากไทย การเดินทางที่ไกลกว่าเมืองเมียวดีจะมีต้นทุนในการท�ำวีซ่าเพิ่มขึ้น เมื่อ เทียบกับการขนส่งไปเฉพาะผู้ประกอบการในเมืองเมียวดีและน�ำรถย้อนกลับ มาประเทศไทยเท่านั้น 122


ในกรณีของผู้วิจัยนั้นต้องการเดินทางไปจนถึงเมืองผาอัน จึงได้ด�ำเนิน การขอวีซ่าล่วงหน้าก่อนการเดินทาง โดยเมื่อถึงด่านพรมแดน ทีมวิจัยได้เดิน เท้าเข้าสู่พิธก ี ารของต�ำรวจตรวจคนเข้าเมือง (Immigration Police) ของทั้ง ไทยและเมียนมา ใช้เวลาประมาณ 20 นาที ทั้งนีข ้ ึ้นอยู่กับจ�ำนวนคนที่รอคอย ในขณะนั้น เช่นเดียวกับกรณีของรถขนส่งสินค้า จากการสังเกตุนั้นพบว่าเวลา ส่วนใหญ่เป็ นขัน ้ ตอนการรอในแถว แต่ขัน ้ ตอนตรวจของเจ้าหน้าที่นั้นค่อนข้าง เร็วและมีระเบียบ เมื่อผ่านขัน ้ ตอนการตรวจคนเข้าเมืองแล้วถนนในบริเวณเมืองเมียวดี เป็ นถนนขนาดใหญ่ มีช่องทางจราจรในบางช่วงมากถึง 3 ช่องทางจราจรต่อ ฝั่ ง ซึ่งรถยนตร์ในฝั่ งเมียวดีและประเทศเมียนมานัน ้ มีทัง้ คนขับอยูท ่ างด้านซ้าย และด้านขวาของรถ แต่ทว่าการจราจรในประเทศเป็ นการขับชิดทางขวา ทั้งนี ้ สาเหตุที่การจราจรขับชิดขวาแต่รถในประเทศมีทั้งพวงมาลัยซ้ายและขวาเกิด จากรถยนตร์ส่วนใหญ่ในเมียนมาเป็ นรถมือสอง ซึ่งในช่วงเวลาที่ถูกนานาชาติ คว�่ำบาตรอยู่นั้น การน�ำเข้ารถมือสองจากสหรัฐอเมริกาหรือกลุ่มประเทศยุโรป ที่มีรถพวงมาลัยด้านซ้ายจึงมีจ�ำนวนน้อย ส่งผลให้รอ ้ ยละ 90 เป็ นรถที่มาจาก ญีป ่ ุ่ นที่ซ่ึงเป็ นพวงมาลัยขวา (เดลินิวส์, 2560) ส่งผลให้สภาพการจราจรจึง ค่อนข้างสับสนโดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ขับรถจากประเทศไทย รูปที่ 1 ถนนเชิงเขาตะนาวศรี-กอกะเร็ก

ที่มา: ผู้วิจัย

เมื่อพ้นช่วงเขตชุมชนบริเวณเมืองเมียวดีแล้วนั้น จะพบกับถนนเส้ น ใหม่ที่ซ่ึงเป็ นเป้ าหมายหลักในการส�ำรวจของงานวิจัยชิ้นนี ้ ได้แก่ ถนนเชิงเขา ตะนาวศรี-กอกะเร็ก ซึ่งมีระยะทางรวมทั้งสิ้น 45 กิโลเมตร เริ่มต้นจากเมือง เมียวดี ไปสู่เมืองกอกะเร็ก และเมื่อถึงกอกะเร็กแล้วสามารถแยกเดินทางไป ต่อถึงย่างกุ้งได้ โดยถนนดังกล่าวเป็ นส่ วนหนึ่ งของเส้ นทางหลวงสายเอเชีย 123


หมายเลข 1 ที่เชื่อมระหว่างเมืองโตเกียว-อิสตันบูล เส้นทางดังกล่าวในอดีตนัน ้ มีความยากล�ำบากเนื่องจากภูมิประเทศที่เป็ นภูเขาประกอบกับเป็ นถนนขนาด เล็ก ส่งผลให้ต้องเปิดสัญจรสลับระหว่างวันคู่และวันคี เช่น วันคู่เป็ นวันที่เดิน ทางจากเมียวดีไปกอกะเร็กในขณะที่วันคี่เป็ นวันที่เดินทางจากอกะเร็กมาเมีย วดีเท่านั้น นอกจากนีร้ ะยะทางเพียง 45 กิโลเมตรแต่กลับต้องใช้เวลาเดินทาง ฤดูแล้ง (ที่ซ่ึงไม่มีปัญหาทางขาด หรือดินโคลน) นานถึง 90 นาที รัฐบาลไทย จึงได้รบ ั ผิดชอบค่าก่อสร้างถนนดังกล่าวโดยใช้งบประมาณ 1,320 ล้านบาท โดยส่งมอบเมื่อปีพ.ศ.2558 (ไทยรัฐ, 2558) สภาพถนนแสดงดังรูปที่ 1 จะ พบว่าเป็ นถนนลาดยางขนาด 2 ช่องทางจราจรและมีไหล่ทางพร้อมทั้งผนังกัน ้ ช่วยลดอุบต ั เิ หตุ การเดินทางสามารถท�ำเวลาได้คอ ่ นข้างดีเนื่องจากมีปริมาณรถ น้อยและสภาพผิวถนนค่อนข้างสมบูรณ์ การแซงท�ำได้ไม่ยากเนื่องจากปริมาณ รถที่น้อย อย่างไรก็ตามสภาพที่ถนนที่เป็ นภูเขาจึงง่ายที่จะเกิดอุบัติเหตุถ้าขับ ด้วยความเร็ว ตามที่ได้อธิบายในข้างต้นว่าเส้ นทางใหม่นีส ้ ร้างถึงเมืองกอกะเร็กก่อ นที่จะมีทางแยกและสามารถเดินทางไปต่อได้จนถึงเมืองย่างกุ้งนั้น ถ้าหากเรา พิจารณารู ปที่ 2 ที่ซ่ึงเป็ นแผนที่แสดงเส้นทางดังกล่าว จะพบว่ากอกะเร็กมี ลักษณะเป็ นเมืองทางแยก โดยสามารถแยกได้ 2 เส้นทาง ได้แก่ 1. เส้นทาง ไปสู่เมืองผาอัน (Hpa-an) เมืองหลวงของรัฐกะเหรีย ่ ง มีประชากร 1.4 ล้าน คน และ 2. เส้นทางไปสู่เมืองเมาะละแหม่ง (Mawlamyine) เมืองหลวงของ รัฐมอญ มีประชากร 2 ล้านคน ซึ่งเส้นทางผ่านเมืองเมาะละแหม่งนีเ้ ป็ นเส้น ทางที่นิยมส�ำหรับผู้ที่ต้องการเดินทางไปเมืองย่างกุ้งซึ่งมีระยะทางทั้งสิ้น 450 กิโลเมตรจากเมืองเมียวดี ใช้เวลาประมาณ 6-7 ชั่วโมง รูปที่ 2 แผนที่เส้นทางระหว่างเมืองเมียวดี-กอกะเร็ก-ผาอัน

ที่มา: Google map 124


ถึงแม้จะมีระยะทางเพียง 45 กิโลเมตร แต่ผลจากการเปิดใช้เส้นทาง ดังกล่าว เมื่อพิจารณาในมุมมองทางด้านโลจิสติกส์แล้วนั้นสามารวิเคราะห์ได้ ว่า 1. ข้อจ�ำกัดเรื่องความสามารถในการขนส่งทางบกไปยังเมืองย่างกุ้งที่ใน อดีตเป็ นเพียงวันเว้นวันเนื่องจากต้องให้รถวิ่งสลับวันกันหายไป ส่งผลให้การ ไหลของสินค้าภายในโซ่อุปทานส่งออกจากไทยไปเมียนมามีความต่อเนื่อง เช่น กรณีที่ลูกค้ามีความต้องการทุกวัน หรือ ขนาดการสั่งซื้อและขนส่งที่ประหยัด ที่สุดนั้นคือการขนส่ งทุ กวัน ในสมัยก่อนจะไม่สามารถรองรับได้ แต่ปัจจุ บัน สามารถด�ำเนิ นการได้ 2. ระยะเวลาที่ใช้ในการเดินทางลดลงและความเสี ย หายของสินค้าลดลงจากสภาพถนนที่ได้มาตรฐาน ซึ่งถ้าไม่นับขัน ้ ตอนบริเวณ ชายแดน การขนส่งทางบกไปย่างกุ้งนั้นแทบไม่มีความแตกต่างจากการขนส่ง ภายในประเทศไทย 3. อย่างไรก็ตามข้อจ�ำกัดเรือ ่ งการเดินทางไกลเกินกว่าเขต เมืองเมียวดีและต้องท�ำวีซา่ นัน ้ ยังคงเป็ นอุปสรรคส�ำหรับผู้ทีไ่ ม่ได้เดินทางในเส้น ทางดังกล่าวประจ�ำ ที่จุดสิ้นสุดของถนนดังกล่าวบนระยะทาง 45 กิโลเมตรจะพบกับจุ ด เปลีย ่ นระหว่างถนนดังรูปที่ 1 มาสู่ถนนที่เป็ นถนนท้องถิ่นและสามารถพบเห็น ได้ในทุกพื้นที่ของเมียนมาดังแสดงในรูปที่ 3 โดยใช้เวลาอีกประมาณ 10-15 นาทีบนถนนในรูปที่ 2 ก็จะมาถึงเมืองกอกะเร็กที่ซ่ึงมีลักษณะเป็ นเหมือนเมือง ทางผ่านในการแยกไประหว่างเมาะละแหม่ง และผาอัน

รูปที่ 3 ถนนท้องถิ่นเมื่อสิ้นสุดเส้นทางเมียวดี-กอกะเร็ก

ที่มา: ผู้วิจัย

125


จากรูปที่ 3 จะพบว่าสภาพถนนท้องถิ่นนั้นมีลักษณะเป็ นถนนลาดยาง และไม่มีไหล่ทาง โดยขนาดของถนนนัน ้ จะเล็กกว่าถนนในประเทศไทย กล่าวคือ รถยนตร์สามารถวิ่งสวนกันได้โดยล�ำบาก กล่าวคือ จะต้องชิดขอบถนนทั้งสอง คัน หรือส่วนใหญ่จากการสังเกตุพบว่ารถท้องถิ่นนิยมขับขีโ่ ดยให้ลอ ้ รถยนต์ขา้ ง หนึ่งของตนวิ่งนอกไหล่ทางถึงจะสามารถขับรถสวนกันได้โดยไม่เกิดการเฉีย ่ ว ชนขึ้น นอกเหนือจากขนาดของถนนที่เล็กกว่าประเทศไทยเล็กน้อยที่ซ่ึงอาจ ท�ำให้ผู้ขับจากประเทศไทยเกิดความไม่ช�ำนาญไปบ้างแล้วนั้น สภาพผิ วถนน นั้นถือว่าโดยส่วนใหญ่อยู่ในสภาพที่ดี กล่าวคือปั ญหาหลุมและบ่อบนผิวถนนมี ค่อนข้างน้อย จากการสอบถามข้อมูลพบว่าเนื่องปริมาณรถบรรทุกหนักขนาด ใหญ่บนเส้นทางมีคอ ่ นข้างน้อยเนื่องจากเป็ นถนนท้องถิ่นจึงท�ำให้ผิวถนนจึงค่อน ข้างสมบูรณ์ นอกจากนีบ ้ ริเวณสองข้างทางไม่มีปัญหาจากเขตชุมชนที่ซ่ึงอาจ จะมีผู้คนข้ามถนนซึ่งท�ำให้การขับขี่มีความยากล�ำบากมากขึ้น ทั้งนีผ ้ ู้วิจัยพบ ว่าจ�ำนวนผู้คนที่อาศัยบริเวณริมถนนนั้นมีจ�ำนวนค่อนข้างน้อย แต่มักจะรวม กันอยู่บริเวณเขตชุมชน ดังนั้นการวางแผนเรื่องการเติมน�้ำมันจึงเป็ นสิ่งที่ผู้ที่ สนใจขับรถจากประเทศไทยต้องให้ความส�ำคัญ

รูปที่ 4 ทางเลือกในการเดินทางจากเมืองกอกะเร็ก

ที่มา: Google map

รูปที่ 4 แสดงให้เห็นความเป็ นจุ ดยุทธศาสตร์ของเมืองกะเร็ก กล่าวคือ เมื่อเดินทางมาจากเมืองเมียวดีแล้วนั้นจ�ำเป็ นที่จะต้องผ่านเมืองกอกะเร็ก (45 กิโลเมตรจากเมียวดี) โดยมีทางแยกแบ่งเป็ น 2 ทางไปยังเมืองใหญ่ได้แก่ ได้แก่ 126


1. เส้นทางไปสู่เมืองผาอัน เมืองหลวงของรัฐกะเหรีย่ ง มีประชากร 1.4 ล้านคน และ 2. เส้นทางไปสู่เมืองเมาะละแหม่ง เมืองหลวงของรัฐมอญ มีประชากร 2 ล้านคน ในการส�ำรวจครัง้ นีท ้ ีมวิจัยเลือกเดินทางไปเมืองผาอัน การเดินทางจากเมื องกอกะเร็กไปยังเมื องผาอันนั้นมี ระยะทาง 80 กิโลเมตรจากเมืองกอกะเร็ก หรือเท่ากับประมาณ 125 กิโลเมตรจากเมือง เมียวดีใช้เวลาประมาณ 3-4 ชั่วโมงจากชายแดนอ�ำเภอแม่สอด รูปที่ 5 บริเวณตลาดหลักของเมืองผาอัน

ที่มา: ผู้วิจัย

รูปที่ 5 แสดงให้เห็นถึงบริเวณเขตเมืองของผาอันทีซ ่ ่งึ เป็ นจุดสิ้นสุดของ การส�ำรวจในงานวิจัยชิ้นนี ้ พบว่าลักษณะของโครงสร้างพืน ้ ฐานทางด้านโลจิสติ กส์ได้แก่ ถนน อาคารสิ่งปลูกสร้าง (ส�ำหรับเก็บของ) บริเวณตลาด ตลอดจน การเดินทางเข้าออกตลาดหลักของเมือง มีลก ั ษณะไม่แตกต่างจากประเทศไทย มากนัก ยกเว้นประเด็นเรือ ่ งการจราจรที่ซ่ึงตามที่ได้กล่าวมาในข้างต้นประกอบ ไปด้วยรถทั้งพวงมาลัยซ้ายและขวา อี ก หนึ่ ง จุ ด สั ง เกตในมุ ม มองด้ า นโลจิ ส ติ ก ส์ ไ ด้ แ ก่ สิ่ ง อ� ำ นวยความ สะดวกในการล�ำเลียงของขึน ้ และลงจากรถ (Loading/Unloading) ในเมือง ผาอันนัน ้ มีน้อยมาก ตลอดจนจากการเก็บข้อมูลพบว่านิยมใช้แรงงานคนในการ ล�ำเลียงของลงจากรถและเดินเท้ากระจายสินค้าเข้าไปในตลาดเนื่องจากถนน ค่อนข้างเล็กเกินกว่าที่รถจากประเทศไทยจะเข้าไปถึงบริเวณหน้าร้าน ดังนั้นผู้ ประกอบการไทยจ�ำเป็ นต้องมีเครือข่ายในกิจกรรมโลจิสติกส์ดังกล่าว 127


จากการส� ำ รวจเมื อ งพบว่ า มี นั ก ท่ อ งเที่ ย วต่ า งชาติ ค่ อ นข้ า งน้ อ ย รวมถึงสิ่งอ�ำนวยความสะดวกด้านอุตสาหกรรมท่องเที่ยว เช่น โรงแรม ร้าน อาหาร ก็พบว่ามี ปริมาณค่อนข้างน้ อยเมื่ อเที ยบกับการเป็ นเมื องหลวงของ กะเหรีย ่ ง ทั้งนีจ้ ากการพูดคุยกับผู้ประกอบการในตลาดพบว่ามีทัศนคติที่ดีต่อ สินค้าจากประเทศไทยโดยเชื่อว่าสินค้าไทยมีคุณภาพดี ดังสังเกตได้จากการมี สินค้าไทย เช่น น�้ำยาล้างจาน ผงซักฟอก จ�ำหน่ายทั่วไปในตลาดสด เป็ นต้น 3. ข้อสรุปและบทวิเคราะห์ จากที่ได้น�ำเสนอถึงพลวัตรการเปลี่ยนแปลงของเมียนมาที่เป็ นไปใน ทิศทางบวกภายหลังจากผลการเลือกตัง้ รวมถึงข้อมูลที่ได้น�ำเสนอถึงปริมาณ การค้ า ระหว่ า งประเทศของไทยและเมี ย นมาซึ่ ง มี มู ล ค่ า ผ่ า นระบบการค้ า ชายแดนสูงเป็ นอันดับ 2 เป็ นรองเพียงประเทศจีนนั้น ความส�ำคัญของเส้นทางเมียวดี-กอกะเร็ก ที่งานวิจัยชิ้นนีล ้ งส�ำรวจ พื้ น ที่ ไ ด้ แ ก่ 1.เนื่ อ งด้ ว ยปริม าณการค้ า ระหว่ า งประเทศผ่ า นระบบการค้ า ชายแดนของสองประเทศที่เพิ่มขึน ้ และยังมีแนวโน้มที่เพิ่มขึน ้ ต่อไปนัน ้ ปั จจุ บัน การส่งออกของไทยไปเมียนมาแบ่งได้เป็ น 3 ชนิดหลักได้แก่ ทางบก (ผ่านการ ค้าชายแดน) ทางน�้ำ (ผ่านอ่าวไทย) และทางอากาศ ซึ่งการขนส่งทางน�้ำผ่าน ท่าเรือ เช่น ท่าเรือแหลมฉบัง เป็ นต้น ใช้เวลาประมาณ 10 วัน ในขณะที่การ ขนส่งทางบกใช้ระยะเวลาเพียงไม่ถึงหนึ่งวันภายใต้เส้นทางแม่สอด-เมียวดี งานวิจัยชิ้นนีจ้ ึงได้ท�ำการส�ำรวจสภาพเส้นทางของถนนดังกล่าว เพื่อ วิเคราะห์ ในมุมมองทางด้านโลจิสติกส์ โดยพบว่า 1. การขนส่ งทางบกด้วย เส้ นทางดังกล่าวนั้นสามารถกระจายสิ นค้าไทยไปจนถึงเมืองย่างกุ้งที่ซ่ึงเป็ น เมืองเศรษฐกิจหลักของเมียนมาได้จริงและใช้เวลาน้อยกว่าการขนส่งทางเรือ ประมาณ 9-10 วัน 2. ระบบโครงสร้างพื้นฐานในการรองรับการขนส่งอยู่ ในสภาพที่ค่อนข้างดี ยกเว้นในส่วนของถนนภายในประเทศเมียนมาที่ซ่ึงผู้ขับ รถจากประเทศไทยอาจจะรูส ้ ึกว่ามีขนาดค่อนข้างเล็กและสวนกันล�ำบาก รวม ถึงการขับรถชิดขวาในเมียนมา 3.ขั้นตอนในการขนส่งข้ามแดนระหว่างด่าน แม่สอดและเมืองเมียวดีนั้นถ้าหากผู้ ขนส่งเตรียมเอกสารครบถ้วนแล้วนับว่า ใช้เวลาได้ค่อนข้างเร็ว แต่อย่างไรก็ตามกรณีของการเดินทางเกินจากเมืองเมีย วดีจ�ำเป็ นต้องท�ำวีซ่าซึ่งมีขน ั้ ตอนและค่าใช้จ่ายที่อาจท�ำให้ความสามารถในการ แข่งขันของสินค้าที่ส่งออกผ่านช่องทางนีล ้ ดลง ข้อเสนอแนะจากงานวิจัยชิ้นนี ้ได้แก่ ภายใต้การค้าระหว่างประเทศ กับเมียนมา การส่งออกผ่านระบบการค้าชายแดนสามารถด�ำเนินการได้จริง 128


และใช้เวลาที่ค่อนข้างน้อยเมื่อเทียบกับการส่งทางเรือ แต่ข้อจ�ำกัดที่ส�ำคัญคือ ผู้ประกอบการไทยจ�ำเป็ นอย่างยิ่งทีจ่ ะต้องมีเครือข่ายในโซ่อุปทานของตนทีเ่ ป็ น ผู้ประกอบการในเมียนมาเพื่ออ�ำนวยความสะดวกในหลายประเด็น เช่น พิธก ี าร ทางศุลกากรบริเวณชายแดนเมียวดี ผู้แนะน�ำเส้นทางจราจรเนื่องจากป้ ายบอก ทางค่อนข้างน้อยรวมถีงการสื่อสารภาษาอังกฤษท�ำได้ยากล�ำบากทั้งคนขับรถ จากไทยและเมียนมา ตลอดจนเครือข่ายในการล�ำเลียงสินค้าขึ้นและลงจากรถ ขนส่งก่อนที่จะกระจายไปในพื้นที่ต่างๆจ�ำเป็ นต้องใช้คนท้องถิ่นในการประสาน งาน ดังนั้นข้อเสนอแนะส�ำหรับงานวิจัยต่อไป ได้แก่ ควรมีการศึกษาในเชิงของ สิ่งกีดกันทางการค้าที่ไม่ใช่ภาษี (Non-Tariff Barriers) ของการค้าชายแดน ผ่านเส้นทางดังกล่าว เนื่องจากอาจท�ำให้เกิดต้นทุนเพิ่มเติมที่นอกเหนือไปจาก ต้นทุนทางตรงจากการขนส่ง เป็ นต้น

129


เอกสารอ้างอิง กระทรวงพาณิชย์, 2561, รายงานการแถลงข่าวการค้าระหว่างประเทศของไทย, มิถุนายน 2561, แหล่งเข้าถึง: http://www.ditp. go.th/ contents_attach/236374/236374.pdf ไทยรัฐออนไลน์, 2558, รองนายกสมคิดร่วมพิธส ี ่งมอบถนนสายเมียวดี กอกะเล็ก, 2558, แหล่งเข้าถึง: https://www.thairath.co.th/ content/521756 วรินธร ทวีศร, 2542, พม่า: โอกาสทางการค้าและการลงทุนของไทย, รายงานเศรษฐกิจและการเงินภาคเหนือ ธนาคารแห่งประเทศไทย, แหล่งเข้าถึง: http://www.bot.or.th/Thai/Economic Conditions/Thai/North/ArticleAndResearch/ DocLib_Article/254206@MyanmarInvestOpp.pdf ฐานเศรษฐกิจออนไลน์, 2558, ท�ำความรูจ้ ักผู้น�ำโสร่งคนใหม่, 2558, แหล่ง เข้าถึง: http://www.thansettakij.com/ content/273064 ธนาคารแห่งประเทศไทย, 2561, รายงานข่าวความเคลื่อนไหวส�ำคัญ ด้านเศรษฐกิจการเงินและการเมืองของประเทศเมียนมา, 2561, แหล่งเข้าถึง: https://www.bot.or.th/Thai/MonetaryPolicy/ EconMakhongCanelArea/ Myanmar/News/ Quarterly_Myanmar_2018Q1.pdf กรมการค้าต่างประเทศ, 2561, รายงานสถิติการค้าชายแดนผ่านแดน, แหล่งเข้าถึง: http://www.dft.go.th/bts/trade-report เดลินิวส์, 2560, พม่าห้ามน�ำเข้ารถยนต์มือสองพวงมาลัยขวา, แหล่งเข้าถึง: https://www.dailynews. co.th /for eign/549913

130


โอกาสที่เพิ่มขึ้นในการใช้ E-payment กรณีศึกษา จังหวัดเชียงราย พชรพรรณ เลิศวีรพล, มุจรินทร์ ดารามะ, วนัสบดี ติลวรรณกุล, ณัฐพรพรรณ อุตมา บทน�ำ การช�ำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ (E-payment) ใช้กน ั อย่างแพร่หลาย ในต่างประเทศทั่วโลก โดยใช้เป็ นสื่อในแง่ของการแลกเปลีย ่ นในตลาด ดังนั้น สัดส่วนในการใช้การช�ำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์กำ� ลังเพิ่มขึน ้ ซึ่งจากการศึกษา ของ Moody รายงานว่าการใช้การช�ำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์เพิ่มขึน ้ เป็ น 983 พันล้านเหรียญสหรัฐจาก 56 ประเทศ (Zandi, Singh and Irving, 2013) ระบบการช�ำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์เป็ นระบบการช�ำระเงินในทุกขัน ้ ตอนจะ ไม่ใช้เงินสด โดยเป็ นการถ่ายโอนผ่านอุปกรณ์อเิ ล็กทรอนิกส์ เช่น คอมพิวเตอร์ และสมาร์ทโฟน สิ่งเหล่านีส ้ อดคล้องกับเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงในปั จจุ บัน (Zoom, 2016) ทุกวันนีโ้ ลกมีการพัฒนาไปสู่สังคมดิจิทัล เราสามารถสังเกตได้จากการ เพิ่มขึ้นของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ถูกใช้ในการท�ำงานและเพื่ออ�ำนวยความ สะดวกในชีวิตประจ�ำวัน การใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เพื่อช�ำระเงินเป็ นส่วน หนึ่งของระบบการเงินในทั่วโลก โดย Bengt Nilervall สหพันธรัฐสวีเดนการ ค้ากล่าวว่า “เราเป็ นผู้น�ำของโลกในการซือ ้ ขายแบบไร้เงินสด วิธน ี ีป ้ ลอดภัยกว่า และประหยัดเงินของภาครัฐ เนื่องจากการจัดการเงินและการขนส่งเงินสดมีคา่ ใช้จ่ายสูง” (The Guardian newspaper, 2014) สวีเดนกลายเป็ นสังคม ที่ไร้เงินสดมากที่สุดในโลก นอกจากนีจ้ ีนและเกาหลีใต้ก็มีความพยายามที่จะ กลายเป็ นสังคมที่ไร้เงินสด ในอนาคตอันใกล้สังคมไทยจะเป็ นสังคมที่ใช้การ ช�ำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์จากการสนับสนุนโดยนโยบายของรัฐบาล ดังนั้น การช�ำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์จะเป็ นส่วนหนึ่งของสังคมไทย ทัง้ นีค ้ นไทยต้อง รู ว้ ่าการช�ำระเงินทางอิเล็กทรอนิ กส์ คืออะไรและมีวิธีการใช้อย่างไรในสั งคม โดยรวม นอกจากนีก ้ ารศึกษาวิเคราะห์ของ Moody อธิบายว่าใน 70 ประเทศ ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศและการบริโภคเพิ่มขึ้น โดยการใช้การช�ำระเงิน ทางอิเล็กทรอนิกส์ที่เพิ่มขึ้น อีกทั้งการเพิ่มขึ้นของการใช้ระบบการช�ำระเงิน ทางอิเล็กทรอนิกส์น�ำไปสู่การเติบโตทางเศรษฐกิจ อีกนัยหนึ่งคือประสิทธิภาพ ทางเศรษฐกิจเกิดจากการใช้การช�ำระเงินอิเล็กทรอนิกส์ทีท ่ �ำให้ลดต้นทุนในการ 131


ท�ำธุรกรรมและการไหลเวียนที่เพิ่มขึ้นของสินค้าและบริการ (Zandi, Singh, Korapeckyj, Matsiras, 2016) ตามที่กล่าวข้างต้น การใช้การช�ำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์แพร่หลาย ไปทั่ วโลก มี มากมายงานวิจัยที่ระบุเกี่ยวกับผลกระทบของการใช้การช�ำระ เงินทางอิเล็กทรอนิ กส์ อย่างไรก็ตามปั จจุ บันคนไทยใช้ทั้งการช�ำระเงินทาง อิเล็กทรอนิกส์และการช�ำระเงินที่ไม่ใช่แบบอิเล็กทรอนิกส์ (เช่น เงินสด) ดัง นั้นการวิจัยในครัง้ นีจ้ ึงมีการศึกษาความเป็ นไปได้ที่เชียงรายจะเป็ นจังหวัดไร้ เงินสดโดยใช้การช�ำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ ความส�ำคัญของปั ญหา จากการศึ กษาเกี่ยวกั บประสบการณ์ การใช้ เครื่องมื อการช� ำระเงิน ระหว่างประเทศ Hataiseree and Banchuen (2010) ระบุว่าประเทศไทย มีอัตราการช�ำระทางเงินอิเล็กทรอนิกส์ต่�ำเมื่อเทียบกับประเทศอุตสาหกรรม (industrialized countries) นี่ คือเหตุ ผลที่ รัฐบาลมี นโยบายสนั บสนุ น การช�ำระเงินทางอิเล็กทรอนิ กส์ นอกจากนี จ้ ากการศึ กษาของ Jitsuchon (2000) ระบุ ว่ า ต้ น ทุ น การพิ ม พ์ ธ นบั ต รในประเทศไทยสู ง กว่ า วิ ธี ก ารทาง อิเล็กทรอนิกส์ ดังนั้นธนาคารแห่งประเทศไทยจึงพยายามขับเคลื่อนนโยบาย การช�ำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์เพื่อลดต้นทุนการพิมพ์ธนบัตร หลายปีที่ผ่าน มาจนถึงปั จจุ บันรัฐบาลไทยมุ่งมั่นที่จะสร้างความมั่นใจในการใช้ระบบการช�ำระ เงินทางอิเล็กทรอนิ กส์ ส�ำหรับคนไทย อย่างไรก็ตามระบบการช�ำระเงินทาง อิเล็กทรอนิกส์ “รัฐบาลไทยก�ำลังเตรียมและสนับสนุนรู ปแบบไร้เงินสด เช่น โครงการพร้อมเพย์ (PromptPay) และสังคมไร้เงินสด (Cashless Society) ซึ่งสนับสนุนการใช้การช�ำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ในทุกภาคส่วน” (National e-Payment, 2016) รัฐบาลคาดหวังว่าคนไทยจะไว้วางใจที่จะใช้ระบบการ ช�ำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์และจะเป็ นประโยชน์ต่อทุกภาคส่วนในอนาคตอัน ใกล้

132


รูปที่ 1 ปริมาณการช�ำระเงินผ่านระบบการช�ำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ ระหว่าง ปีค.ศ.2010-2017 (หน่วย:พันรายการ)

ที่มา : ธนาคารแห่งประเทศไทย (2018)

จากรู ปที่ 1 พบว่ า ปริมาณธุ รกรรมการช� ำระเงินที่ ด�ำเนิ นการผ่ าน ระบบการช�ำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ระหว่างปีค.ศ.2010-2017 มีแนวโน้ม เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยในช่วงปีค.ศ.2010 มีปริมาณรายการธุรกรรมอยู่ ที่ 1,125,880 พันรายการ ขยายตัวเป็ น 4,171,254 พันรายการ ในปีค.ศ. 2017 แสดงให้ เห็ นว่าจ�ำนวนการจ่ายเงินธุรกรรมเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่ องผ่ าน ระบบช�ำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทยและมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นใน อนาคตเช่นกัน อย่างไรก็ตามความเป็ นไปได้ที่จังหวัดเชียงรายจะเป็ นจังหวัด ไร้เงินสด อาจมีผลกระทบทั้งทางบวกและลบต่อผู้ คนหรือธุรกิจในเชียงราย ซึ่งผลกระทบเชิงบวกของการใช้ระบบการช�ำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ ตามที่ Taghiyev, Eminov และ Guliyev (2016) พบว่า “การใช้บัตรเครดิตท�ำให้ การบริโภคเพิ่มขึ้นส่งผลต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจ” ขณะที่ผลกระทบในทาง ลบตามที่ Hataiseree and Banchuen (2010) พบว่า “การเพิ่มขึ้นร้อย ละ 10 ของการใช้ธุรกรรมบัตรเดบิตส่งผลให้ความต้องการเงินสดลดลงร้อย ละ 1.5” เมื่อผู้คนใช้ระบบการช�ำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์มากขึ้น ส่งผลกระ ทบต่อความต้องการเงินสดที่อาจเป็ นปั ญหาทางการเงินนโยบายในอนาคต จึ งเป็ นที่ มาในการศึ กษาความเป็ นไปได้ของการใช้ การช� ำระเงินทาง อิ เ ล็ ก ทรอนิ ก ส์ ใ นจั ง หวั ด เชี ย งราย ทั้ ง ในแง่ ข องประเภทเงิ น สถานะภาพ ของประชากรในเชียงราย การปรับเปลี่ยนของโครงสร้างการช�ำระเงินทาง อิเล็กทรอนิกส์ ผลกระทบของการใช้การช�ำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ต่อการ ท่องเทีย ่ ว และผลกระทบในภาคการเงินและความสอดคล้องของนโยบายรัฐบาล 133


วัตถุประสงค์ 1. เพื่ อ ศึ ก ษาสถานการณ์ แ ละแนวโน้ ม การใช้ E-Payment ใน ประเทศไทย 2. เพื่อวิเคราะห์การใช้และแนวโน้มการจ่ายเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ใน จังหวัดเชียงราย 3. เพื่ อศึ กษาแนวทางการพั ฒนาการใช้ E-Payment ในจั งหวั ด เชียงราย ขอบเขตการศึกษา การศึ กษาในครัง้ นี ้ศึกษาถึงโอกาสที่เพิ่มขึ้นในการใช้ E-payment กรณี ศึกษาจั งหวั ดเชี ยงราย โดยได้ท�ำการส� ำรวจในช่ วงเวลาระหว่ างเดือน ตุลาคม ค.ศ.2017 ถึงเดือนพฤษภาคม ค.ศ.2018 ทั้งนีไ้ ด้ท�ำการสุ่มตัวอย่าง ประชากรในจังหวัดเชียงรายจ�ำนวน 1,282,544 คน (ข้อมูลจาก 2016) ตาม สู ตรของ Yamane (1967) ค�ำนวณขนาดตัวอย่างเพื่อรวบรวมข้อมูลโดย ระดับความเชื่อมั่น 95% ดังนั้นขนาดตัวอย่างของการวิจัยนีค ้ ือ 400 ตัวอย่าง ประชากร วิธก ี ารด�ำนินการวิจัย • การรวบรวมข้อมูล ในการศึกษาครัง้ นี ้ ใช้ข้อมูลปฐมภูมิ (Primary data) จากการเก็บ แบบสอบถามกลุ่มประชากรตัวอย่างในจังหวัดเชียงราย เพื่อน�ำมาใช้ในการ วิเคราะห์ ในรูปแบบการสุ่มกลุ่มตัวอย่างจ�ำนวน 400 คน โดยข้อมูลที่ระบุใน แบบสอบถามประกอบด้วย 1) ข้อมูลทั่วไป 2) พฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ต และการช� ำระเงินทางอิเล็กทรอนิ กส์ 3) ความคิดเห็ นของการใช้ การช� ำระ เงินทางอิเล็กทรอนิ กส์ และ 4) แนวทางการพัฒนาระบบการช�ำระเงินทาง อิเล็กทรอนิกส์ในจังหวัดเชียงราย • การวิเคราะห์ข้อมูล ส� ำหรับการวิ เคราะห์ ข้อมู ลการศึ กษาในครัง้ นี ้เป็ นการวิ เคาระห์ เชิ ง ประมาณ (Quantitative analysis) และเชิงคุณภาพ (Qualitative analysis) ซึ่งได้แบ่งออกเป็ น 2 ส่วน โดยส่วนที่ 1 เป็ นการศึกษาสถานการณ์และ แนวโน้มปริมาณธุรกรรมที่ด�ำเนินการผ่านการช�ำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ ระ หว่างปีค.ศ.2010-2017 จากธนาคารแห่งประเทศไทย และท�ำการวิเคราะห์ 134


เชิงพรรณนา และส่วนที่ 2 เป็ นการวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากการเก็บรวบรวม ข้อมูลจากแบบสอบถามและท�ำการวิเคราะห์สถิตเิ ชิงพรรณนา (Descriptive statistics) และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (CFA) ผลการศึกษา 1) สถานการณ์และแนวโน้มการใช้ E-Payment ในประเทศไทย สถานการณ์ การช� ำระเงินทางอิเล็กทรอนิ กส์ ในประเทศมี การขยาย ตัวอย่างต่อเนื่องนับตัง้ แต่มีการสนับสนุนนโยบายพร้อมเพย์ (PromptPay) จากรัฐบาลในปีค.ศ.2016 และการปรับเปลี่ยนการให้ บริการของธนาคาร พาณิชย์ที่ให้ ความส� ำคัญต่อเทคโนโลยีและพฤติกรรมผู้ บริโภคมากขึ้น ทั้งนี ้ มูลค่าการช�ำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์จากปีค.ศ.2010 จ�ำนวน 223,646 พัน ล้านบาท เพิ่มขึ้นเป็ น 402,879 พันล้านบาท ในปีค.ศ.2017 ซึ่งมีอัตราการ ขยายตัวสะสม (CAGR) ระหว่างปีค.ศ.2010-2017 อยู่ที่รอ ้ ยละ 8.77 โดย ในปีค.ศ.2017 การโอนเงิน/ช�ำระเงินผ่านอินเตอร์เน็ตและโทรศัพท์เคลื่อนที่ มีมูลค่ามากที่สุดอยู่ที่ 36,591 พันล้านบาท (CAGR ร้อยละ 16.04) รอง ลงมาคือ การโอนเงิน/ช�ำระเงินผ่ านเครื่องเอที เอ็มมีมูลค่า 2,544 พันล้าน บาท (CAGR ร้อยละ 2.87) และการช�ำระเงินด้วยบัตรเครดิตมีมูลค่า 1,601 พันล้านบาท (CAGR ร้อยละ 11.09) ขณะเดียวกันการช�ำระเงินด้วยเงิน อิเล็กทรอนิกส์ (e-Money) มีอัตราการขยายตัวสะสมมากที่สุดอยู่ที่รอ ้ ยละ 32.05 มีมูลค่าอยู่ที่ 126 พันล้านบาท (ดังรูปที่ 2) นอกจากนี ้ ปริมาณรายการธุรกรรมการช�ำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ ระ หว่างปีค.ศ.2010-2017 มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยในช่วงปีค.ศ. 2010 มีปริมาณรายการธุรกรรมอยู่ที่ 1,125,880 พันรายการ ขยายตัวเป็ น 4,171,254 พันรายการ ในปีค.ศ.2017 ซึ่งมีอต ั ราการขยายตัวสะสม (CAGR) ระหว่างปีค.ศ.2010-2017 อยู่ที่รอ ้ ยละ 20.57 โดยในปีค.ศ.2017 รายการ โอนเงิน/ช�ำระเงินผ่านอินเตอร์เน็ตและโทรศัพท์เคลื่อนที่มีอัตราการขยายตัว สะสมมากที่สุดอยู่ที่รอ ้ ยละ 45.84 (1,179,264 พันล้านรายการ) รองลงมา คือ รายการช�ำระเงินด้วยบัตรเดบิตมีอัตราการขยายตัวสะสมร้อยละ 34.21 (108,277 พันล้านรายการ) และรายการช�ำระเงินอิเล็กทรอนิกส์ (e-Money) มีอัตราการขยายตัวสะสมร้อยละ 28.37 (1,272,216 พันล้านรายการ) (ดัง รูปที่ 3)

135


รูปที่ 2 มูลค่าการช�ำระเงินผ่านระบบการช�ำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ ระหว่าง ปีค.ศ.2010-201734

ที่มา : ธนาคารแห่งประเทศไทย (2018)

รูปที่ 3 ปริมาณรายการการช�ำระเงินผ่านระบบการช�ำระเงินทาง อิเล็กทรอนิกส์ ระหว่างปีค.ศ.2010-201735

ที่มา : ธนาคารแห่งประเทศไทย (2018) 34 ผู้วิจัยเลือกน�ำเสนอข้อมูลมูลค่าการโอนเงินภายในธนาคาร (รวมช�ำระค่าสินค้าบริการ), การช�ำระเงินด้วยบัตรพลาสติก (Payment cards) และเงินอิเล็กทรอนิกส์ (e-Money) เพื่อที่จะให้เห็นถึงความเปลีย ่ นแปลงที่ส�ำคัญของการมีอุปกรณ์เทคโนโลยีเข้ามาอยู่ในขัน ้

ตอนธุรกรรมทางการช�ำระเงิน 35 ผู้วิจัยเลือกน�ำเสนอข้อมูลปริมาณรายการการโอนเงินภายในธนาคาร (รวมช�ำระค่า สินค้าบริการ), การช�ำระเงินด้วยบัตรพลาสติก (Payment cards) และเงินอิเล็กทรอนิกส์ (e-Money) เพื่อที่จะให้เห็นถึงความเปลีย ่ นแปลงที่ส�ำคัญของการมีอุปกรณ์เทคโนโลยีเข้า มาอยู่ในขัน ้ ตอนธุรกรรมทางการช�ำระเงิน

136


ทั้งนี ้ จากสถิติข้างต้นพบว่ามูลค่าและปริมาณรายการที่ช�ำระเงินผ่าน เครื่องเอทีเอ็มมีการเติบโตลดลงอย่างชัดเจน และมีแนวโน้มที่จะลดลงอย่าง ต่อเนื่องในอนาคต 2) วิเคราะห์การใช้และแนวโน้มของการช�ำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ ในจังหวัด เชียงราย • ข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง การเก็บรวบรวมข้อมูลจากแบบสอบถามการใช้และแนวโน้มของการช�ำระเงิน

ทางอิเล็กทรอนิกส์ในจังหวัดเชียงราย พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีอายุระหว่างต�่ำ กว่า 20 ปี ร้อยละ 43.25 รองลงมาคือ อายุระหว่าง 21-30 ปี ร้อยละ 45 และอายุ 31 ปีขึ้นไป ร้อยละ 11.75 เป็ นเพศหญิงร้อยละ 71.25 มากกว่าเพศชายที่มีสัดส่วน อยู่รอ ้ ยละ 24.75 และกลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ (LGBT) ร้อยละ 4 โดยมีอาชีพนักเรียน/นักศึกษาคิดเป็ นร้อยละ 81 รองลงมาคือ อาชีพพนักงานเอกชน และข้าราชการคิดเป็ นร้อยละ 5.75 ในอัตราเท่ากัน อาชีพมีธุรกิจเป็ นของตนเองคิด เป็ นร้อยละ 3.75 และอาชีพท�ำงานอิสระคิดเป็ นร้อยละ 2.50 ซึ่งส่วนใหญ่มีระดับราย ได้น้อยกว่า 15,000 บาท คิดเป็ นร้อยละ 87.5 รองลงมาคือ ระดับรายได้ระหว่าง 15,001-30,000 บาท คิดเป็ นร้อยละ 7 และระดับรายได้มากกว่า 30,001 บาท ขึ้นไป คิดเป็ นร้อยละ 5.5 ทั้งนีก ้ ลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีระดับการศึกษาปริญญาตรี คิดเป็ นร้อยละ 91.25

• พฤติกรรมการใช้อน ิ เทอร์เน็ตและการช�ำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ (E-payment) กลุ่มตัวอย่างประชากรมีการใช้อินเตอร์เน็ตทุกคน โดยส่วนใหญ่เข้าถึง อินเตอร์เน็ตเป็ นอันดับแรกผ่านสมาร์ทโฟนคิดเป็ นร้อยละ 91 รองลงมาคือ โน๊ ตบุ๊คคิดเป็ นร้อยละ 74.5 แท็บเล็ตคิดเป็ นร้อยละ 56.50 และคอมพิวเตอร์ คิดเป็ นร้อยละ 55.25 ทั้งนีก ้ ลุ่มตัวอย่างมีกิจกรรมในการเข้าใช้อินเตอร์เน็ต อันดับแรกคือเครือข่ายสังคมออนไลน์คิดเป็ นร้อยละ 74 รองลงมาคือ การ ค้นหาข้อมู ลทั่ วไปคิดเป็ นร้อยละ 57 การซื้ อสิ นค้ าออนไลน์ คิดเป็ นร้อยละ 44.75 และอีเมลคิดเป็ นร้อยละ 43.75 นอกจากนี ้ พฤติกรรมทางการช�ำระเงินอิเล็กทรอนิกส์ (E-payment) กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เคยช�ำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์คิดเป็ นร้อยละ 87.75 และไม่เคยช�ำระเงินอิเล็กทรอนิกส์คิดเป็ นร้อยละ 12.25 ซึ่งระดับมูลค่าท�ำ ธุ ร กรรมการเงิ น ผ่ า นระบบการช� ำ ระเงิ น ทางอิ เ ล็ ก ทรอนิ ก ส์ ม ากที่ สุ ด อยู่ ใ น ระดับน้อยกว่า 1,000 บาท คิดเป็ นร้อยละ 47.25 รองลงมาคือ ระดับมูลค่า 1,001-4,000 บาท คิดเป็ นร้อยละ 20.50 และระดับมูลค่า 4,001 บาทขึน ้ ไป 137


คิดเป็ นร้อยละ 20 โดยท�ำธุรกรรมการเงินผ่านช่องทางเครื่องเอทีเอ็มและการ บริการธนาคารทางอิเล็กทรอนิกส์ (E-Banking) คิดเป็ นร้อยละ 70.25 ใน อัตราเท่ากัน รองลงมาคือ ผ่านบัตรเครดิต/เดบิต ประเภท VISA, Master card และ Union Pay คิดเป็ นร้อยละ 59.75 และผ่านแอพพลิเคชั่น ได้แก่ True money wallet และ Paypal คิดเป็ นร้อยละ 34.50 และอื่นๆ ร้อยละ 2.25 ทั้งนี ้ สินค้าที่กลุ่มตัวอย่างนิยมจับจ่ายใช้สอยและช�ำระผ่านระบบการ ช�ำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์มากทีส ่ ุด 3 อันดับแรก ได้แก่ เสื้อผ้า ร้อยละ 73.75 ผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ ร้อยละ 37.75 และอุปกรณ์ต่างๆ ร้อยละ 34.25 ซึ่ง เหตุผลที่ใช้ระบบการช�ำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ท�ำให้มีความสะดวก ร้อยละ 86.25 เป็ นการประหยัดเวลา ร้อยละ 69.75 และคิดว่าเป็ นการลดต้นทุนของ ธุรกรรมและต้นทุนการเดินทาง คิดเป็ นร้อยละ 31.25 • แนวทางการพัฒนาระบบการช�ำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ในจังหวัดเชียงราย จากการส� ำรวจความคิดเห็ นของกลุ่มตัวอย่างถึงแนวทางการพัฒนา ระบบการช� ำระเงินทางอิ เล็ กทรอนิ กส์ ที่รัฐบาลหรือผู้ ที่เกี่ยวข้ องควรมี การ ให้ สนั บสนุ นเพื่อก้าวเข้าสู่ สังคมไร้เงินสดตามนโยบายของภาครัฐ 1) ด้ าน โครงสร้างพื้นฐานและอุปกรณ์ พบว่ากลุ่มตัวอย่างมีความเห็นว่ารัฐบาลควรมี การลงทุนโครงสร้างพื้นฐานและอุปกรณ์ทางด้านอินเตอร์เน็ต ร้อยละ 96.50 และรัฐบาลควรเพิ่มอุปกรณ์ที่ใช้ในระบบช�ำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ ร้อยละ 96.25 2) ด้านผู้บริโภค พบว่ากลุ่มตัวอย่างมีความเห็นว่ารัฐบาลควรเพิ่มการ สนับสนุนและส่งเสริมการใช้การช�ำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ ร้อยละ 95 และ รัฐบาลควรออกมาตรการจู งใจเพื่อส่งเสริมให้ใช้การช�ำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ แทนเงินสดและเช็ค ร้อยละ 86 3) ด้านกฎหมายและมาตรการคุ้มครองผู้ บริโภค กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ยอมรับว่ากฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคควรมีการ ปรับเพื่อสร้างความเชื่อมั่นแก่ประชาชน ร้อยละ 99 และ 4) ด้านผู้ประกอบ การมีความเห็นว่ารัฐบาลควรออกมาตรการจูงใจเพื่อส่งเสริมการใช้การช�ำระเงิน ทางอิเล็กทรอนิกส์ส�ำหรับผู้ประกอบการร้อยละ 92.5 และรัฐบาลควรจัดสรร อุปกรณ์เพื่อรองรับการช�ำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ ร้อยละ 95.5

138


• การวิเคราะห์องค์ประกอบของปั จจัยที่มีผลต่อการใช้และแนวโน้มของการ ช�ำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ การศึกษานีไ้ ด้เน้นการจัดกลุ่มของปั จจัยตามความสัมพันธ์และความ ส�ำคัญที่มีผลต่อการใช้และแนวโน้มของการช�ำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ โดย วิธก ี ารวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (Confirmatory Factor Analysis: CFA) จากการวิเคราะห์องค์ประกอบของปั จจัยที่มีผลต่อการใช้และแนวโน้ม ของการช�ำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ ในจังหวัดเชียงราย สามารถแสดงผลการ ศึกษาได้เป็ น 3 ส่วนดังนี ้ 1) การตรวจสอบความเหมาะสมของตัวแปรทีน ่ �ำมาใช้ในการศึกษา พบ ว่า ตัวแปรหรือปั จจัยที่น�ำมาใช้ในการศึกษามีความเหมาะสมกับการวิเคราะห์ ปั จจัย นั่นคือจากการตรวจสอบความเหมาะสมของข้อมูลในการวิเคราะห์ปัจจัย ด้วยค่า Kaiser-Meyer-Olkin (KMO) พบว่า มีค่าอยู่ที่ 0.907 อธิบายได้ว่า ตัวแปรหรือปั จจัยที่น�ำมาใช้ในการศึกษามีความสัมพันธ์กัน ดังนั้นการวิเคราะห์ ปั จจัยจึงมีความเหมาะสม รวมทั้งการตรวจสอบความเป็ นอิสระกันของตัวแปร ด้วย Barlett’s test พบว่า มีคา่ นัยสัมพันธ์ทางสถิติ (Sig.<0.01) มีคา่ ต�่ำกว่า 0.001 อธิบายได้ว่าตัวแปรหรือปั จจัยที่น�ำมาใช้ในการศึกษามีความสัมพันธ์กน ั 2) การวิเคราะห์องค์ประกอบร่วมจากตัวแปร หรือปั จจัยที่ใช้ในการ ศึ กษาจากการสกัดองค์ประกอบด้วยวิธี Principal component พบว่า องค์ประกอบที่มีผลต่อการใช้และแนวโน้มของการช�ำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ สามารถจ� ำ แนกออกได้ เ ป็ น 6 องค์ ป ระกอบ โดยพิ จ ารณาจากค่ า ไอเกน (Eigenvalue) หรือค่าความสามารถในการอธิบายความแปรปรวนของกลุ่ม ปั จจัยที่มีค่ามากกว่า 1.0 ดังนี ้ องค์ประกอบที่ 1 หรือกลุ่มปั จจัยด้านการท�ำธุรกรรมการช�ำระเงินทาง อิเล็กทรอนิกส์ มีค่าไอเกนหรือค่าความสามารถในการอธิบายความแปรปรวน ของกลุ่มปั จจัยอยู่ที่รอ ้ ยละ 4.059 องค์ประกอบที่ 2 หรือกลุ่มปั จจัยด้านการใช้บริการอีคอมเมิรซ ์ มีค่าไอ เกนอยู่ที่รอ ้ ยละ 3.224 องค์ประกอบที่ 3 หรือกลุ่มปั จจัยด้านการสนับสนุนพร้อมเพย์ที่ใช้ใน การช�ำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ มีค่าไอเกนอยู่ที่รอ ้ ยละ 2.998 องค์ประกอบที่ 4 หรือกลุ่มปั จจัยด้านโครงสร้างพื้นฐานและอุปกรณ์ที่ รองรับการท�ำธุรกรรมผ่านการช�ำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ มีคา่ ไอเกนอยูท ่ รี่ อ้ ยละ 2.839 139


องค์ประกอบที่ 5 หรือกลุ่มปั จจัยด้านความเชื่อมั่นในการช�ำระเงินทาง อิเล็กทรอนิกส์ มีค่าไอเกนอยู่ที่รอ ้ ยละ 2.668 องค์ ประกอบที่ 6 หรือกลุ่ มปั จจั ยด้ านการเข้ าถึ งการช� ำระเงินทาง อิเล็กทรอนิกส์ มีค่าไอเกนอยู่ที่รอ ้ ยละ 1.843 3) การวิเคราะห์ปัจจัยด้วยการหมุนแกนของปั จจัยด้วยวิธี Varimax เพื่อท�ำให้ความแปรปรวนของปั จจัยมีค่ามากที่สุด พบว่า กลุ่มปั จจัยที่ 1 คือ ปั จจั ยด้านการท� ำธุ รกรรมการช� ำระเงินทางอิเล็กทรอนิ กส์ สามารถอธิบาย ความแปรปรวนของตัวแปรเดิมจากการหมุนแกนได้รอ ้ ยละ 16.236 ทั้งหมด 7 ตัวแปร ซึ่งประกอบด้วย การท�ำธุรกรรมทางการเงินผ่านการช�ำระเงินทาง อิเล็กทรอนิ กส์ เป็ นระบบการช�ำระเงินที่ทันสมัย (0.735) การใช้ระบบการ ช�ำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์เป็ นสิ่งที่น่าสนใจ (0.735) กลุ่มตัวอย่างมีทัศนคติ ที่ดีต่อการใช้ระบบการช�ำระเงินทางอิเล็กทรอนิ กส์ (0.694) การช�ำระเงิน ทางอิ เ ล็ ก ทรอนิ ก ส์ เ ป็ นระบบที่ ช่ ว ยประหยั ด เวลา (0.760) การช� ำ ระเงิ น ทางอิเล็กทรอนิ กส์ ท�ำให้ มีความสะดวกมากขึ้น (0.771) การช�ำระเงินทาง อิเล็กทรอนิกส์สามารถลดขัน ้ ตอนการท�ำธุรกรรม (0.569) และการช�ำระเงิน ทางอิเล็กทรอนิกส์สามารถลดค่าใช้จ่ายในการท�ำธุรกรรม (0.506) กลุม ่ ปั จจัยที่ 2 คือ ปั จจัยด้านการใช้บริการอีคอมเมิรซ ์ สามารถอธิบาย ความแปรปรวนของตัวแปรเดิมจากการหมุนแกนได้รอ ้ ยละ 12.894 ทั้งหมด 4 ตัวแปร ซึ่งประกอบด้วย การใช้บริการอีคอมเมิรซ ์ สามารถประหยัดเวลาใน การเดินทาง (0.806) การใช้บริการอีคอมเมิรซ ์ สามารถลดต้นทุนในการเดิน ทาง (0.802) การใช้บริการอีคอมเมิรซ ์ มีความสะดวกในการซื้อและขายสินค้า (0.756) และการใช้บริการอีคอมเมิรซ ์ ท�ำให้มีตัวเลือกที่มากขึ้น (0.699) กลุ่มปั จจัยที่ 3 คือ ปั จจัยด้านการสนับสนุนพร้อมเพย์ที่ใช้ในการช�ำระ เงินทางอิเล็กทรอนิ กส์ สามารถอธิบายความแปรปรวนของตัวแปรเดิมจาก การหมุนแกนได้รอ ้ ยละ 11.992 ทั้งหมด 5 ตัวแปร ซึ่งประกอบด้วย นโยบาย พร้อมเพย์สนับสนุนการช�ำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ (0.672) พร้อมเพย์สร้าง ความมั่นใจในการช�ำระเงินทางอิเล็กทรอนิ กส์ (0.751) พร้อมเพย์สามารถ อ�ำนวยความสะดวกในการท�ำธุรกรรมการเงินที่รวดเร็วและปลอดภัย (0.703) ประเทศไทยมีกฎหมายและข้อบังคับทีส ่ ามารถคุม ้ ครองผู้ใช้บริการช�ำระเงินทาง อิเล็กทรอนิกส์ (0.670) และผู้ใช้บริการช�ำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์มีความ มั่นใจในกฎหมายและข้อบังคับ (0.659) 140


กลุ่มปั จจัยที่ 4 คือ ปั จจัยด้านโครงสร้างพื้นฐานและอุปกรณ์ที่รองรับ การท� ำธุ รกรรมผ่ านการช� ำระเงินทางอิเล็กทรอนิ กส์ สามารถอธิบายความ แปรปรวนของตัวแปรเดิมจากการหมุนแกนได้รอ ้ ยละ 11.357 ทั้งหมด 3 ตั วแปร ซึ่ งประกอบด้ วย โครงสร้างพื้ นฐานและอุ ปกรณ์ ที่รองรับธุ รกรรม ผ่ านการช� ำระเงินทางอิเล็กทรอนิ กส์ ในจั งหวั ดเชี ยงรายมี เพียงพอต่อความ ต้องการ (0.830) โครงสร้างพืน ้ ฐานและอุปกรณ์มีความทันสมัย (0.826) และ โครงสร้างพื้นฐานและอุปกรณ์ใช้งานได้อย่างรวดเร็ว (0.822) กลุ่ ม ปั จจั ย ที่ 5 คื อ ปั จจั ย ด้ า นความเชื่ อ มั่ น ในการช� ำ ระเงิ น ทาง อิเล็กทรอนิกส์ สามารถอธิบายความแปรปรวนของตัวแปรเดิมจากการหมุน แกนได้รอ ้ ยละ 10.672 ทั้งหมด 4 ตัวแปร ซึ่งประกอบด้วย การช�ำระเงินทาง อิเล็กทรอนิกส์เป็ นวิธท ี ี่ปลอดภัยในการท�ำธุรกรรมทางการเงิน (0.773) การ ช�ำระเงินทางอิเล็กทรอนิ กส์ สามารถลดอาชญากรรมทางการเงิน (0.770) สถาบันการเงินที่ให้บริการระบบช�ำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์มีระบบรักษาความ ปลอดภัยข้อมูลผู้ใช้บริการ (0.668) และการช�ำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ง่าย ต่อการเรียนรูแ้ ละวิธใี ช้งาน (0.485) กลุม ่ ปั จจัยที่ 6 คือ ปั จจัยด้านการเข้าถึงการช�ำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ สามารถอธิบายความแปรปรวนของตัวแปรเดิมจากการหมุ นแกนได้รอ ้ ยละ 7.372 ทั้งหมด 2 ตัวแปร ซึ่งประกอบด้วย ทุกเพศทุกวัยสามารถเข้าถึงการ ช�ำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ (0.827) และอายุไม่มีอุปสรรคต่อการใช้การช�ำระ เงินทางอิเล็กทรอนิกส์ (0.746) 3. แนวทางการพัฒนาระบบการช�ำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ในจังหวัดเชียงราย แนวทางการพัฒนาระบบการช� ำระเงินทางอิเล็กทรอนิ กส์ ในจั งหวั ด เชียงราย จากการส�ำรวจพบว่า ประการแรก กลุม ่ ตัวอย่างส่วนใหญ่ (ประมาณ ร้อยละ 96) เห็นด้วยว่ารัฐบาลควรลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานอินเทอร์เน็ตและ เพิ่มอุปกรณ์ในการใช้ระบบช�ำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ ประการที่สอง กลุ่มตัวอย่างส่ วนใหญ่ (ประมาณร้อยละ 91) เห็ น ด้วยว่ ารัฐบาลควรเพิ่ มการสนั บสนุ นและส่ งเสริมการใช้ ระบบช� ำระเงินทาง อิเล็กทรอนิกส์และการสร้างมาตรการจู งใจเพื่อสนับสนุนการใช้การช�ำระเงิน ทางอิเล็กทรอนิกส์แทนเงินสด ประการที่สาม กลุ่มตัวอย่างส่ วนใหญ่ (ประมาณร้อยละ 99) เห็ น ด้วยว่ากฎหมายการคุ้มครองผู้บริโภคควรเพิ่มขึ้นเพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ ประชาชนในการใช้ระบบการช�ำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ 141


ประการที่สี่ กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ (ประมาณร้อยละ 99) เห็นด้วย ว่ ารัฐบาลควรส่ งเสริมและจั ดสรรอุ ปกรณ์ เพื่ อสนั บสนุ นการช� ำระเงินทาง อิเล็กทรอนิกส์ในภาคผู้ประกอบการ บทสรุป สถานการณ์การช�ำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ (E-payment) ในประเทศ มีการขยายตัวอย่างต่อเนื่องผ่านอินเตอร์เน็ตและอุปกรณ์เคลื่อนที่ รวมถึงใน รู ปแบบเงินอิเล็กทรอนิ กส์ (e-Money) ที่จะท� ำให้ ประเทศไทยก้าวสู่ สังคม ไร้เงินสด ขณะเดี ยวกั นการใช้ ระบบช� ำระเงินทางอิ เล็ กทรอนิ กส์ ในจั งหวั ด เชียงรายมีแนวโน้มเติบโตอย่างต่อเนื่องในอนาค เนื่องจากประชาชนมีความรู ้ ความเข้าใจ และได้มีการใช้กันอย่างแพร่หลาย รวมถึงการประสบความส�ำเร็จ ของโครงการพร้อมเพย์ที่ท�ำให้ ประชากรมี ความเชื่อมั่ นต่อการช�ำระเงินทาง อิเล็กทรอนิกส์มากขึ้น อย่างไรก็ดีหากรัฐบาลได้มีการสนับสนุนโครงสร้างพื้น ฐานทางอินเตอร์เน็ตที่ครอบคลุม ระบบที่มีความปลอดภัยและมีเสถียรภาพจะ ท�ำให้ประชาชนมีความเชื่อมั่นมากขึ้น เช่นเดียวกันภาครัฐควรมีการสนับสนุน อุ ปกรณ์ให้ แก่ผู้ประกอบการ เพื่อขยายมูลค่าและปริมาณการช�ำระเงินทาง อิเล็กทรอนิกส์สู่การก้าวเป็ นสังคมไร้เงินสดที่แท้จริง เอกสารอ้างอิง Hataiseree, R. and Banchuen, W. (2010). The Effects of E-payment Instruments on Cash Usage: Thailand’s Recent Evidence and Policy Implications. Working Paper 2010-01 Payment Systems Department, p.1-35. Jitsuchon, S. (2000). Thailand’s Economic Growth: A Fifty-Years Perspective (1950-2000). Retrieved from http://econ.tu.ac.th/class/archan/Rangsun/EC%20 460/EC%20460%20Readings/Thai%20Economy/ Structure%20of%20Thai%20Economy/Thailand%27s% 20Economic%20Growth%201950-2000.pdf Moody’s analytics. (2013, February). The impact of electronic payments on economic growth. Economic & Consumer Credit Analytic. Retrieved from https://usa.visa.com/ 142


dam/VCOM/download/corporate/media/ moodys economy-white-paper-feb-2013.pdf Taghiyev, K. et al. (2016). The Analisys of The Factors Influencing on Electronic Paymentsand Relationship among Azerbaijan’s Economy with Them. Retrieved from http://www.iosrjournals.org/iosr-jef/papers/ Vol7-Issue6/Version-2/A0706020110.pdf The guardian newspaper. (2014, November 12). Welcome to Sweden - the most cash-free society on the planet. Retrieved from https://www.theguardian.com / world/2014/nov/11/welcome-sweden-electronic money-not-so-funny The Impact of Electronic Payments on Economic Growth. (2016). Retrieve from https://usa.visa.com/dam/VCOM/ download/visa-everywhere/global-impact/impactof electronic-payments-on-economic-growth. pdf Yamane, T. (1967). Stratistics, An introductory Analysis. Retrieved from www.gbv.de.dms.zbw Zoom. (2016, May 19). Thairath -what is e-payment? Retrieved from https://www.thairath.co.th/content/622086

143


พฤติกรรมการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวผู้สูงอายุชาวต่างชาติกับ การพัฒนาการท่องเที่ยวของจังหวัดเชียงราย สุนิสา แตงโม, อารีรต ั น์ ศรีไชย, ณัฐกานต์ เหรียญเงิน, อภิสม อินทรลาวัณย์ บทน�ำ ปั จจุ บันโลกของเราก�ำลังเผชิญกับโครงสร้างประชากรที่เปลีย ่ นแปลง ไป คือการที่จ�ำนวนประชากรสู งอายุมีแนวโน้ มเพิ่มขึ้น และในอนาคตหลาย ประเทศทั่ ว โลกอาจประสบปั ญหาเกี่ ย วกั บ การเพิ่ ม จ� ำ นวนประชากรผู้ สู ง อายุ เพราะในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาจ�ำนวนประชากรสูงอายุท่ัวโลกเพิ่มขึ้นอย่าง มาก และการเติบโตดังกล่าวคาดว่าจะเร็วขึ้นในทศวรรษข้างหน้ า องค์การ สหประชาชาติรายงานว่า ในปีค.ศ.2015 ประชากรโลกอายุ 60 ปีข้ึนไป มี จ�ำนวน 900.9 ล้านคน เพิ่มขึน ้ ร้อยละ 48 จากจ�ำนวนประชากรสูงอายุ 607.1 ล้านคนทั่วโลกในปีค.ศ.2000 คาดว่าในปีค.ศ.2030 จ�ำนวนประชากรทั่วโลกที่ มีอายุ 60 ปีขน ึ้ ไปจะเติบโต 56 เปอร์เซ็นต์เป็ น 1.4 พันล้าน และในปีค.ศ.2050 ผู้สูงอายุท่ัวโลกจะมีขนาดมากกว่าสองเท่าจาก 900.9 ล้านคนในปีค.ศ.2015 เป็ นเกือบ 2.1 พันล้านในปีค.ศ.2050 อีกทั้งในปีค.ศ.2015 ประเทศไทยเป็ น หนึ่งใน 20 ประเทศที่มีจ�ำนวนประชากรสูงอายุมากที่สุดในโลก การเพิ่มขึน ้ ของ ประชากรผู้สูงอายุส่งผลต่อการเติบโตของการท่องเที่ยวที่เร็วกว่านักท่องเที่ยว วัยอื่นๆ ท�ำให้ตลาดผู้สูงอายุเป็ นสิ่งทีน ่ ่าสนใจส�ำหรับธุรกิจการท่องเทีย ่ ว และนัก ท่องเที่ยวที่มีอายุมากมักมีก�ำลังซื้อสูงและมีเวลาว่างมากในการเดินทางมาท่อง เที่ยว ซึ่งนี่ถือเป็ นโอกาสส�ำหรับธุรกิจท่องเที่ยวในการเพิ่มมูลค่าของผลิตภัณฑ์ หรือบริการด้านการท่องเที่ยวจากผู้สูงอายุที่เพิ่มมากขึ้น เชี ย งรายเป็ นหนึ่ ง ในสถานที่ ท่ อ งเที่ ย วที่ ไ ด้ รับ ความนิ ย มมากที่ สุ ด ในประเทศไทย ในปี พ .ศ.2552 จั ง หวั ด เชี ย งรายมี นั ก ท่ อ งเที่ ย วจ� ำ นวน 1,680,248 คน ประกอบด้วย นักท่องเที่ยวชาวไทยจ�ำนวน 1,430,375 คน และนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติจ�ำนวน 249,873 คน โดยจังหวัดเชียงรายมี รายได้จากการท่องเที่ยวประมาณ 9,405 ล้านบาท จากนักท่องเที่ยวชาวไทย 6,603 ล้านบาท และนักท่องเทีย ่ วชาวต่างชาติ 2,801 ล้านบาท ต่อมาในปีพ.ศ. 2558 จ�ำนวนนักท่องเที่ยวในจังหวัดเชียงรายเพิ่มขึ้นเป็ นสองเท่าจากปีพ.ศ. 2552 เป็ นจ�ำนวน 3.07 ล้านคนในปีพ.ศ.2558 แบ่งเป็ นนักท่องเที่ยวชาวไทย จ�ำนวน 2,521,249 คน และนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติจ�ำนวน 557,727 คน 144


โดยมีรายได้รวมของการท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นเป็ น 22,848 ล้านบาท จากนักท่อง เที่ยวชาวไทย 17,380 ล้านบาทและนักท่องเที่ยวต่างชาติ 5,469 ล้านบาท การวิจัยนีจ้ ึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการท่องเที่ยวสูงอายุชาวต่าง ชาติ รวมถึงศึ กษาปั จจัยที่มีอิทธิพลต่อการใช้จ่ายของนั กท่ องเที่ยวชาวต่าง ชาติ และเสนอแนะผู้ ประกอบการด้านอุ ตสาหกรรมการท่ องเที่ยวเพื่อตอบ สนองพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวสูงอายุเพื่อเพิ่มมูลค่าของภาคการท่องเที่ยว ขอบเขตการศึกษา การศึกษานีไ้ ด้เน้นปั จจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการท่องเที่ยวของนักท่อง เที่ยวต่างชาติสูงอายุ ได้แก่ เพศ อายุ การศึกษา ภูมิประเทศ สถานภาพสมรส และภาวะสุขภาพ ค�ำถามการวิจัยว่าปั จจัยดังกล่าวส่งผลต่อพฤติกรรมการท่อง เที่ยวของนั กท่ องเที่ยวผู้ สูงอายุชาวต่างชาติที่เดินทางมาท่ องเที่ยวในจังหวัด เชียงรายหรือไม่อย่างไร นอกจากนี ้ การศึกษานีย ้ ังท�ำการศึกษาพฤติกรรมการ ให้บริการและมุมมองในด้านอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวจังหวัดเชียงรายของผู้ ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยวในจังหวัดเชียงราย ซึ่งประกอบด้วยธุรกิจโรงแรม ที่พัก และธุรกิจทั วร์ จากนั้นจึงน� ำผลการวิเคราะห์ ของทั้งสองส่ วน ทั้งผู้ ใช้ บริการและผู้ให้บริการด้านการท่องเที่ยวในจังหวัดเชียงรายมาท�ำการวิเคราะห์ แนวทางและการปรับตัวของผู้ประกอบการท่องเที่ยวในจังหวัดเชียงรายเพื่อ ตอบสนองความต้องการของนักท่องเที่ยวได้เพื่อเพิ่มมูลค่าการท่องเที่ยวของ จังหวัดเชียงราย วิธก ี ารด�ำเนินการวิจัย การศึ กษาครัง้ นี ไ้ ด้ท�ำการรวบรวมข้อมูลปฐมภูมิ (Primary Data) จากนักท่องเที่ยวผู้ สูงอายุชาวต่างชาติที่ได้เดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในจังหวัด เชียงราย จ�ำนวน 50 คนด้วยแบบสอบถาม (Questionnaire) และจากผู้ ประกอบการในจังหวัดเชียงราย และผู้ประกอบการในภาคอุตสาหกรรมการ ท่องเที่ยวจังหวัดเชียงราย ด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก (in-depth interview) ระหว่างเดือนมีนาคม-เมษายน พ.ศ.2561 การวิเคราะห์ขอ ้ มูลการศึกษาในครัง้ นีเ้ ป็ นการวิเคราะห์เชิงปริมาณและ เชิงคุณภาพ ประกอบด้วยการวิเคราะห์การถดถอย (regression analysis) เพื่อหาความสัมพันธ์ของปั จจัยที่ส่งผลต่อการใช้จ่ายของนักท่องเที่ยวผู้สูงอายุ ชาวต่างชาติมากที่สุด โดยตัวแปรตามคือ ค่าใช้จ่ายที่นักท่องเที่ยวใช้จ่ายมาก ที่สุด และตัวแปรอิสระ ได้แก่ อายุ เพศ ภูมิประเทศ การศึกษา และสุขภาพ 145


อีกทั้งได้ใช้วิธก ี ารวิเคราะห์เนื้อหา (content analysis) เพื่อเสนอแนะให้กับ ผู้ ประกอบการการท่ องเที่ยวในจังหวัดเชียงรายตอบสนองต่อความต้องการ ของนักท่องเที่ยวผู้สูงอายุ เพื่อเพิ่มมูลค่าของภาคอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ให้มากยิ่งขึ้น ผลการศึกษา ก. ข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง จากการเก็บรวบรวมข้อมูลจากแบบสอบถาม นักท่องเที่ยวผู้ สูงอายุ ชาวต่างชาติที่เดินทางมาเที่ยวจังหวัดเชียงราย พบว่า นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่ มีอายุอยู่ในช่วง 60-64 ปี คิดเป็ นร้อยละ 56 รองลงมาคือช่วงอายุ 65-69 ปี คิดเป็ นร้อยละ 32 และ 70 ปีขึ้นไปคิดเป็ นร้อยละ 12 โดยนักท่องเที่ยวผู้ สูงอายุที่เดินทางมาเที่ยวจังหวัดเชียงรายนั้นมาจากทวีปยุโรปมากถึงร้อยละ 50 และมาจากทวีปเอเชียร้อยละ 34 รองลงมาจะเป็ นอเมริกาเหนือ อเมริกาใต้ และออสเตรเลีย ตามล�ำดับ ทั้งนีส ้ ถานภาพของนักท่องเที่ยวพบว่า ส่วนใหญ่มี สถานภาพสมรสคิดเป็ นร้อยละ 66 รองลงมาคือสถานภาพโสดคิดเป็ นร้อยละ 30 และเป็ นกลุ่มนักท่องเที่ยวที่มีสุขภาพแข็งแรงร้อยละ 92 ข. พฤติกรรมการเดินทางท่องเที่ยวจังหวัดเชียงราย พฤติกรรมการท่ องเที่ยวของผู้ สูงอายุชาวต่างชาติที่เดินทางมาเที่ยว จังหวัดเชียงราย พบว่า นั กท่ องเที่ยวสู งอายุชาวต่างชาติรบ ั รู ข ้ ้อมูลข่าวสาร ด้านการท่องเที่ยวในจังหวัดเชียงรายผ่านทางเพื่อนหรือครอบครัว คิดเป็ นร้อย ละ 38 รองลงมาคือ การรับรูผ ้ ่านทางอินเทอร์เน็ตคิดเป็ นร้อยละ 28 และการ รับรูผ ้ ่านคู่มือแนะน�ำการท่องเที่ยวคิดเป็ นร้อยละ 22 โดยส่วนใหญ่มีลักษณะ การเดินทางมาท่องเที่ยวด้วยตนเองคิดเป็ นร้อยละ 32 รองลงมาคือเดินทาง มาท่องเที่ยวกับเพื่อนคิดเป็ นร้อยละ 26 และเดินทางมาท่องเที่ยวกับครอบครัว คิดเป็ นร้อยละ 22 ซึ่งมากกว่าร้อยละ 50 เป็ นการเดินทางมาท่องเที่ยวจังหวัด เชียงรายเป็ นครัง้ แรก และจะใช้เวลาในการพักประมาณ 1-2 วัน โดยจะมีค่า ใช้จ่ายทางด้านค่าอาหารและที่พักเป็ นหลัก ส่วนใหญ่การเดินทางมาท่องเที่ยว จังหวัดเชียงรายของนักท่องเทีย ่ วผู้สูงอายุชาวต่างชาตินัน ้ พบว่า เดินทางมาเพื่อ พักผ่อนคิดเป็ นร้อยละ 41.6 รองลงมาคือเดินทางมาเพื่อหาประสบการณ์ใหม่ๆ คิดเป็ นร้อยละ 27 และเดินทางมาเพื่อชื่นชมธรรมชาติคิดเป็ นร้อยละ 18

146


ค. การวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อการเดินทางมาท่องเที่ยวจังหวัดเชียงราย จากผลการวิเคราะห์การถดถอยพหุคณ ู (Multiple regression) พบ ว่า ปั จจัยส่วนบุคคลหรือคุณลักษณะส่วนตัวของนักท่องเที่ยวสูงอายุชาวต่าง ชาติ เช่น เพศ อายุ การศึกษา สัญชาติ และสุขภาพ มีผลต่อพฤติกรรมการใช้ จ่ายอย่างมีนัยส�ำคัญทางสถิติ โดยตัวแปรที่มีอิทธิพลมากที่สุดคือ อายุ รองลง มาคือ สุขภาพ และเพศ นอกจากนีเ้ หตุผลส�ำคัญที่เดินทางมาท่องเที่ยวจังหวัด เชียงรายของนักท่องเที่ยวผู้สูงอายุที่ความส�ำคัญคือ ธรรมชาติที่สวยงาม รอง ลงมาคือ ราคาที่พัก และสภาพอากาศ ซึ่งสิ่งที่นักท่องเที่ยวผู้สูงอายุให้ความ ส�ำคัญน้อยที่สุดในการเดินทางมาท่องเที่ยวในจังหวัดเชียงราย คือ บริษัททัวร์ และเทศกาลที่จัดในจังหวัดเชียงราย ตารางที่ 1 การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณของพฤติกรรมการใช้จ่ายของนัก ท่องเที่ยวผู้สูงอายุที่เป็ นชาวต่างชาติ Factors

B

S.E.

Beta

Gender

0.078

0.322

0.034

Age

.0386

0.196

0.273

Education

-0.226

0.152

-0.219

Region

-0.27

0.137

-0.267

0.479

0.582

0.115

Health Status 2

R = 14% SEE = 1.06 F = 2.593*

ที่มา: ค�ำนวณโดยผู้วิจัย และ * ระดับนัยส�ำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

ง. ความต้องการด้านบริการการท่องเที่ยว การศึ กษานี ้ได้ เน้ นศึ กษาความต้ องการด้านบริการการท่ องเที่ ยวใน 3 ด้าน ได้แก่ ความต้องการในด้านการให้บริการ ความต้องการในสิ่งอ�ำนวย ความสะดวก และด้านบริการเพื่อสุขภาพ ผลการศึกษาพบว่า ด้านแรก ความต้องการในด้านการให้บริการแก่นักท่องเที่ยว พบว่า นัก ท่องเที่ยวสูงอายุชาวต่างชาติมีความต้องการบริการที่จริงใจและสุภาพจากผู้ให้ บริการ คิดเป็ นร้อยละ 33.7 รองลงมาคือ ต้องการบริการที่ให้ความเคารพและ ใส่ใจผู้สูงอายุ คิดเป็ นร้อยละ 32.5 และต้องการบริการที่ผู้ให้บริการมีทัศนคติ ที่ดีต่อหน้าที่การงานที่ผู้ให้บริการท�ำ คิดเป็ นร้อยละ 19.3 147


ด้านที่สอง ความต้องการในสิ่งอ�ำนวยความสะดวก พบว่า นักท่องเที่ยว ผู้สูงอายุชาวต่างชาติที่เดินทางมาเที่ยวจังหวัดเชียงรายมากถึงร้อยละ 33 มี ความต้องการพื้นที่พักผ่อนหรือผ่อนคลาย รองลงมาคือ ต้องการทางเดินเท้า คิดเป็ นร้อยละ 29.5 ที่จอดรถ คิดเป็ นร้อยละ 12.5 และป้ ายสัญลักษณ์และ การปฐมพยาบาล คิดเป็ นร้อยละ12.5 และร้อยละ 8 ตามล�ำดับ ด้านสุดท้าย ความต้องการบริการเพื่อสุขภาพ พบว่า นักท่องเที่ยวผู้ สูงอายุ ชาวต่างชาติมีความต้องการบริการนวดแผนไทยและการท�ำสปามากถึงร้อย ละ 25.7 รองลงมาคือการบริการอาหารเพื่อสุขภาพ คิดเป็ นร้อยละ 15.7 และ กิจกรรมนั่งสมาธิ ร้อยละ12.9 จ. ปั ญหาและอุปสรรคของการท่องเที่ยว ปั ญหาและอุปสรรคทีน ่ ักท่องเทีย ่ วผู้สูงอายุชาวต่างชาติพบเจอเมื่อเดิน ทางมาจังหวัดเชียงราย จากกลุ่มตัวอย่างนักท่องเที่ยวจ�ำนวน 50 คน พบว่า นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่หรือจ�ำนวน 31 คน ไม่พบเจอกับปั ญหาเมื่อมาท่องเที่ยว จังหวัดเชียงราย และมีนักท่องเที่ยวจ�ำนวน 19 คน ที่พบเจอปั ญหา โดยปั ญหา ที่นักท่องเที่ยวพบเจอมากที่สุดคือ ปั ญหาด้านระบบขนส่งสาธารณะที่ไม่ท่ัวถึง คิดเป็ นร้อยละ 37 รองลงมาคือ ปั ญหาราคาที่ไม่เป็ นธรรมกับชาวต่างชาติและ ความยากล�ำบากในการสื่อสารกับคนในพื้นที่ คิดเป็ นร้อยละ 18.5 ในอัตรา เท่ากัน และปั ญหาอื่นๆ อาทิ การขาดสถานที่ให้บริการในการแลกเงิน ความ ไม่ม่ันคงหรือความไม่สงบของประเทศ ปั ญหาความล่าช้าในเรื่องการเดินทาง ข้ามประเทศ การเข้าถึงบริการทางการแพทย์ที่ยาก และการจัดสรรกิจกรรม ที่ไม่เหมาะกับนักท่องเที่ยวผู้สูงอายุ ตามล�ำดับ ฉ. แนวทางการปรับตัวของผู้ประกอบการด้านการท่องเที่ยวต่อตลาดนักท่อง เที่ยวผู้สูงอายุชาวต่างชาติ จากการสัมภาษณ์ผู้ประกอบการโรงแรม โฮสเทล และทีพ ่ ก ั ระยะยาว ที่ เกีย ่ วกับการปรับตัวของผู้ประกอบการด้านการท่องเที่ยวของจังหวัดเชียงราย ต่อนักท่องเที่ยวผู้สูงอายุชาวต่างชาติ พบความแตกต่างระหว่างผู้ประกอบการ โรงแรมและโฮสเทลกับผู้ประกอบการที่พักระยะยาว ผู้ประกอบการโรงแรม และโฮสเทลไม่ได้มีการวางแผนที่จะรองรับนักท่องเที่ยวผู้สูงอายุที่อาจจะเพิ่ม ขึ้นในอนาคต เนื่ องจากลูกค้าหลักเป็ นนั กท่ องเที่ ยววั ยรุ น ่ หรือนั กท่ องเที่ ยว สะพายเป้ (Backpacker) ในทางตรงข้าม ผู้ ประกอบการแบบที่พักระยะ ยาวนั้นได้มุ่งเน้นในการให้บริการแก่นักท่องเที่ยวผู้สูงอายุมากเป็ นพิเศษ ทั้งนี ้ 148


ผู้ประกอบการน�ำเที่ยวบอกว่าส่วนใหญ่แล้วนักท่องเที่ยวผู้สูงอายุชาวต่างชาติ มักนิยมใช้บริการทัวร์แบบส่วนตัวมากกว่าทัวร์ที่ต้องเดินทางร่วมกับคนอื่นที่ไม่ ได้รูจ้ ัก นอกจากนีย ้ ังพบว่าบรษัททัวร์เหล่านีไ้ ม่ได้มีการเตรียมการหรือวางแผน ในการตอบสนองต่อนักท่องเที่ยวผู้สูงอายุชาวต่างชาติ เนื่องจากนักท่องเที่ยว ผู้สูงอายุไม่ได้เดินทางท่องเที่ยวในทุกฤดูกาล สรุปและข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย การศึกษาในครัง้ นีเ้ ป็ นการศึกษาพฤติกรรมการท่องเที่ยวของนักท่อง เทีย ่ วผู้สูงอายุชาวต่างชาติทีเ่ ดินทางมาท่องเทีย ่ วในจังหวัดเชียงราย และมุมมอง ของผู้ประกอบการจังหวัดเชียงราย จากการส�ำรวจพบว่านักท่องเทีย ่ วส่วนใหญ่ มาจากทวีปยุโรปและเอเชีย ซึ่งการเดินทางมาท่องเที่ยวในจังหวัดเชียงรายมีจุด ประสงค์หลักคือการพักผ่อนและหาประสบการณ์ใหม่ๆ โดยจะใช้ระยะเวลาใน การท่องเทีย ่ วประมาณ 1-2 วัน และมีคา่ ใช้จา่ ยในด้านอาหารและทีพ ่ ก ั เป็ นหลัก ทั้งนีป ้ ั จจัยที่ส�ำคัญในการเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวของผู้สูงอายุชาวต่างชาติคือ ธรรมชาติที่สวยงาม ราคาที่พก ั และสภาพอากาศ อย่างไรก็ตามปั ญหาที่พบเจอ ในการท่องเที่ยวจังหวัดเชียงรายของนักท่องเที่ยวผู้สูงอายุ ได้แก่ ปั ญหาด้าน ระบบขนส่งสาธารณะ ปั ญหาราคาที่ไม่เป็ นธรรม และปั ญหาด้านการสื่อสาร นอกจากนี ้ จากการสั มภาษณ์เชิงลึกกับผู้ ประกอบการด้านการท่ องเที่ยวใน จังหวัดเชียงราย พบว่า ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ยังไม่มีแผนรับรองและการเต รียมตัวต่อนั กท่ องเที่ยวผู้ สูงอายุ เนื่ องจากกลุ่มลูกค้าหลักเป็ นนั กท่ องเที่ยว สะพายเป้ อีกนักท่องเที่ยวผู้สูงอายุชาวต่างชาติไม่ได้เดินทางเข้ามาท่องเที่ยว ในทุกฤดูกาล อย่างไรก็ตาม แนวโน้มการเติบโตของประชากรผู้สูงอายุในประเทศและต่าง ประเทศทีเ่ พิ่มขึน ้ ภาครัฐและภาคเอกชนควรมีแผนการรองรับกลุม ่ นักท่องเทีย ่ ว ที่หลากหลายช่วงอายุ เพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวจากทั่วโลกให้เข้ามาท่องเที่ยวใน จังหวัดเชียงราย นอกจากนีย ้ งั จ�ำเป็ นทีต ่ อ ้ งมีการพัฒนาโครงสร้างพืน ้ ฐาน ระบบ ขนส่งสาธารณะ และกิจกรรมการให้มีความหลากหลาย ดังนั้นข้อเสนอแนะ เชิงนโยบายเพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวในจังหวัดเชียงราย อาทิ 1. การส่ ง เสริม และพั ฒนาอุ ต สาหกรรมการบริการที่ เกี่ย วข้ องกั บ การท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมนิเวศวิทยาและการท่องเที่ยวเพื่อสุขภาพให้เป็ น มาตรฐานและได้รบ ั การรับรอง เช่น การบ�ำบัดด้วยสปา บ�ำบัดด้านความงาม การนวดร่างกาย อาหารเพื่อสุขภาพ 149


2. การจัดการระบบการขนส่งที่มีประสิทธิภาพและครอบคลุมในสถาน ที่ท่องเที่ยวทั้งหมด และเพียงพอต่อความต้องการเดินทาง 3. การพัฒนาระบบสารสนเทศและข้อมูลการท่องเทีย ่ วแก่นักท่องเทีย ่ ว ชาวต่างชาติให้มีประสิทธิภาพและสามารถเข้าถึงได้มากขึ้น 4. การพัฒนาและแก้ไขปั ญหาราคาที่ไม่เป็ นธรรมส�ำหรับชาวต่างชาติ อย่างจริงจัง

150


ส่วนที่ 3 Insight

151


การถอดบทเรียน “ระเบียงเศรษฐกิจ R3 เพื่อการเติบโตทางเศรษฐกิจชายแดน” มัลลิกา จันต๊ะคาด, สิทธิชาติ สมตา, พรพินันท์ ยีร่ งค์ บทคัดย่อ รายงานการศึ กษาการถอดบทเรียนระเบียงเศรษฐกิจ R3 เพื่อการ เติบโตทางเศรษฐกิจชายแดน นอกจากการส�ำรวจเส้นทาง R3A และ R3B ได้ เชื่อมต่อไปถึงวงกลมเศรษฐกิจล้านช้าง-ล้านนาตะวันออก ซึ่งก�ำลังจะมีการ เกิดขึน ้ ของเส้นทางรถไฟลาว-จีน เพื่อเสนอแนะแนวทางให้รฐั บาลไทยสามารถ เข้าไปสร้างความร่วมมือในระดับจังหวัด หรือผู้ประกอบการไทยเห็นถึงโอกาส ในการเข้าไปลงทุนในพื้นที่ต่างๆตามเส้นทางเศรษฐกิจ จากการวิเคราะห์ดัชนีชี้ วัดสิ่งอ�ำนวยความสะดวกส�ำหรับการขนส่งสินค้าและการท่องเที่ยว พบว่าเส้น ทาง R3B มีความสะดวกสบายในการขนส่งสินค้า หรือการท่องเที่ยวมากกว่า เส้นทาง R3A และวงกลมเศรษฐกิจล้านช้าง-ล้านนาตะวันออก แต่มีจ�ำนวน ของจุ ดพักรถ หรือสถานีบริการน�้ำมันที่น้อยกว่า ซึ่งเป็ นเพราะเส้นทาง R3B ทีท ่ �ำการส�ำรวจมีระยะทางทีส ่ ัน ้ กว่า นอกจากนี ้ จากการสัมภาษณ์หอการค้าของ พื้นที่ต่างๆทั้งในสปป.ลาว พบว่าแขวงหลวงน�้ำทาเป็ นจุ ดเชื่อมต่อที่ส�ำคัญไปสู่ ชายแดนจีนที่มีการจัดตัง้ เขตเศรษฐกิจพิเศษบ่อเต็น-บ่อหาน เป็ นทางผ่านของ สินค้าระหว่างประเทศไทยกับจีน และสถานีแรกของโครงรถไฟจีน-ลาว ส่วน แขวงอุดมไซเปรียบศูนย์กลางทางด้านโลจิสติกส์ที่เป็ นสถานีใหญ่ในการเชื่อม ต่อระหว่างประเทศทั้งไทย จีน ลาว และเวียดนาม ขณะที่แขวงหลวงพระบาง เป็ นจุดหมายปลายทางหลักของนักท่องเทีย ่ วทุกประเภท ซึ่งทุกแขวงมีศักยภาพ ในด้านการท่องเทีย ่ วอย่างมาก เนื่องจากสปป.ลาวยังคงมีทรัพยากรธรรมชาติที่ สมบูรณ์ และเต็มไปด้วยศิลปวัฒนธรรมแบบดัง้ เดิม ส่วนโอกาสด้านการลงทุนที่ ส�ำคัญ คือ เกษตรกรรม มากกว่านี ้ จากการสัมภาษณ์หอการค้าของพื้นที่ต่างๆ ทั้งในเมียนมา พบว่าเศรษฐกิจของท่าขีเ้ หล็กซบเซาอย่างมากกิจกรรมการค้า ชายแดนที่ลดลง ตลอดจนการลดลงของจ�ำนวนนักท่องเที่ยวที่เข้าไปจับจ่าย ซื้อของ ในขณะที่เชียงตุงเผชิญกับการปิดเมืองทางผ่านที่ใช้ในการขนส่งสินค้า ระหว่างเมืองย่างกุ้ง เป็ นผลมาจากความไร้เสถียรภาพทางการเมืองที่เรือ ้ รัง ทั้งนี ้ โอกาสด้านการลงทุนของเมียนมาคือการเข้าไปร่วมลงทุนกับท้องถิ่นใน ด้านของเหมืองแร่ ส่วนการท่องเที่ยวส่วนใหญ่เป็ นชาวไทยที่เข้าแสวงบุญ ใน อนาคตเชียงตุงจะถูกผลักดันให้เป็ นศูนย์กลางกระจายสินค้าขนาดใหญ่ 152


ค�ำส�ำคัญ: ระเบียงเศรษฐกิจ โอกาสทางเศรษฐกิจ ดัชนีชีว้ ัดสิ่งอ�ำนวยความ สะดวกด้านการขนส่งและการท่องเที่ยว Keywords: Economic corridor; Economic opportunity; Transport and tourism facilitation indicator 1. ที่มาและความส�ำคัญ ยุ ท ธศาสตร์ด้ า นความร่ว มมื อ ระหว่ า งประเทศเพื่ อ การพั ฒ นาของ ไทยภายใต้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 (พ.ศ.25602564) ได้มุ่งเน้นที่จะส่งเสริมความร่วมมือเพื่อการพัฒนากับประเทศภายใน อนุภูมิภาค โดยการสร้างเครือข่ายความเชื่อมโยงตามแนวระเบียงเศรษฐกิจ เพื่อสร้างระบบห่วงโซ่การผลิตให้ครอบคลุมทั้งภายในอนุภูมิภาค เอเชียตะวัน ออกเฉียงใต้ และเอเชีย ผลักดันให้ไทยเป็ นศูนย์กลางทางด้านการคมนาคม ขนส่งของภูมิภาคที่เอื้อให้เกิดการเคลื่อนย้ายสินค้า บริการ การลงทุน และ แรงงานระหว่างประเทศ ตลอดจนยกระดับไปสู่การเป็ นหุ้นส่วนการพัฒนาใน ทุกระดับ จึงมีแนวทางในการเชื่อมโยงทางด้านการคมนาคมขนส่ง โลจิสติกส์ และด้านอื่นๆ ภายในกรอบความร่วมมือภายในอนุภูมิภาค ทั้งยังได้มีการส่ง เสริมให้ผู้ประกอบการไทยออกไปลงทุนในต่างประเทศ รวมทั้งสร้างความร่วม มือกับประเทศเพื่อนบ้านในการพัฒนาฐานการผลิตตามแนวระเบียงเศรษฐกิจ (Economic Corridor)36, 37 โดยยุทธศาสตร์ดงั กล่าวได้มีการด�ำเนินการอย่าง ต่อเนื่องมาตั้งแต่แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2555-2559) การมี ความสั มพั นธ์อันดี ทางเศรษฐกิ จของประเทศไทยกั บประเทศ เพื่อนบ้ านอย่างสปป.ลาว และเมี ยนมา ตลอดจนประเทศจี นทางใต้ ท� ำให้ เกิ ดความร่วมมื อในการพั ฒนาภายในอนุ ภูมิภาคภายใต้ โครงการความร่วม มื อ ทางเศรษฐกิ จ ในอนุ ภู มิ ภ าคลุ่ ม แม่ น�้ ำ โขง (Greater Mekong Subregion: GMS) ทีม ่ ีธนาคารพัฒนาแห่งเอเชีย (Asian Development Bank: ADB) เป็ นผู้ให้การสนับสนุนหลัก ได้แก่ ระเบียงเศรษฐกิจตะวันออก-ตะวันตก (East-West Economic Corridor) และระเบี ยงเศรษฐกิ จเหนื อ-ใต้

36 ส�ำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2559). แผนพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติฉบับที่สิบสอง พ.ศ. ๒๕๖๐ - ๒๕๖๔. 37 สถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนา. (2555). โครงการเรื่องโอกาสทาง เศรษฐกิจและผลกระทบจากเส้นทางน่าน-หลวงพระบาง. 153


(North-South Economic Corridor)38 ซึ่งการพัฒนาเส้นทางคมนาคม ขนส่งเป็ นปั จจัยส�ำคัญที่ช่วยส่งเสริมกิจกรรมทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการค้า การลงทุน การท่องเที่ยว ตลอดจนความร่วมมือใน ด้านต่างๆ เพื่อให้ประเทศในอนุภูมิภาคมีการเติบโตไปพร้อมกัน จากข้อมู ลสถิติการค้าชายแดนผ่ านด่านเชียงของ จังหวัดเชียงราย และด่านห้วยโก๋น จังหวัดน่าน พบว่าด่านเชียงของมีการขยายตัวทางการค้า ต�่ำกว่ าด่านห้ วยโก๋นในช่ วง 5 ปีที่ผ่านมา โดยอัตราการเติบโตเฉลี่ยสะสม (Compound Average Growth Rate: CAGR) ตัง้ แต่ปพ ี .ศ.2556-2560 ของมูลค่าการค้าชายแดนด่านเชียงของและด่านห้วยโก๋นอยู่ที่รอ ้ ยละ 12.36 และ 61.56 ตามล�ำดับ โดยจากปีพ.ศ. 2556 มูลค่าการค้าชายแดนผ่ าน ด่านเชียงของ และห้วยโก๋นอยู่ที่ 13,642.86 และ 3,947.39 ล้านบาท ตาม ล�ำดับ ต่อมาในปีพ.ศ.2560 มูลค่าการค้าชายแดนของทัง้ สองด่านสูงขึน ้ มาอยูท ่ ี่ 21,747.50 และ 26,895.31 ล้านบาท ตามล�ำดับ นั้นเป็ นผลจากการเติบโต อย่างก้าวกระโดดของมูลค่าการน� ำเข้าผ่ านด่านห้ วยโก๋นที่ท�ำให้ มูลค่าการค้า ชายแดนสูงขยายตัวจนกระทั่งสูงกว่ามูลค่าการค้าชายแดนผ่านด่านเชียงของ อย่างไรก็ดี ทั้งสองด่านมีการขยายตัวของมูลค่าการน�ำเข้าสูงกว่าการส่งออก โดย CAGR ของมูลค่าการส่งออก และการน�ำเข้าของด่านเชียงของอยู่ที่รอ ้ ย ละ 10.61 และ 17.29 ตามล�ำดับ แต่มูลค่าการส่งออกยังคงสูงกว่าการน�ำเข้า เกือบ 3 เท่า ขณะเดียวกัน ด่านห้วยโก๋นมี CAGR ของมูลค่าการน�ำเข้าถึงร้อย ละ 346.96 แต่การส่งออกมีอัตราอยู่เพียงร้อยละ 0.32 จึงเป็ นผลให้มูลค่า การน�ำเข้าสูงกว่าการส่งออกในช่วงหลังปีพ.ศ.2558 เป็ นต้นมา ทั้งนี ้ สินค้าหลักที่มีการน�ำเข้าผ่านทางด่านเชียงของ ได้แก่ พืชผัก ผล ไม้ เครือ ่ งจักรและอุปกรณ์ ส่วนสินค้าส่งออกหลัก ได้แก่ สินค้าอุปโภค-บริโภค น�้ำมันเชื้อเพลิง และยางพารา ขณะที่สินค้าน�ำเข้าหลักของด่านห้วยโก๋นในช่วง ก่อนปีพ.ศ. 2558 เป็ นการส่งออกสินค้าเกษตรขัน ้ ต้น และอุตสาหกรรมเกษตร แปรรูป อาทิ ไม้แปรรูป ลูกต๋าวหรือลูกชิด ดอกหญ้าท�ำไม้กวาด ลูกเดือยทั้ง เปลือก และข้าวโพดเลีย ้ งสัตว์ แต่หลังจากนั้นเป็ นต้นมา ส่วนใหญ่เป็ นการน�ำ เข้าพลังงานไฟฟ้ า ซึ่งส่งผลให้มูลค่าการน�ำเข้ามีการขยายตัวอย่างก้าวกระโดด

38 ส�ำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2554). การพัฒนาแนวพื้นที่ พัฒนาเศรษฐกิจ (Economic Corridors Development). สืบค้นจาก http://www. nesdb.go.th/ewt_dl_link.php?nid=5136 154


ส่วนสินค้าที่มีการส่งออกเป็ นหลัก สินค้าทุนเชื้อเพลิง และวัสดุก่อสร้าง ทั้งนี ้ ในช่วงระหว่างปีพ.ศ.2557-2558 มูลค่าการส่งออกมีการขยายตัวอย่างมาก เกิดจากการส่งออกตู้ควบคุมไฟฟ้ า รถบรรทุก และรถดัม ๊ พ์

ที่มา: กรมการค้าต่างประเทศ (2561) นอกจากการพัฒนาเส้นทางคมนาคมทีส ่ ่งเสริมการขนส่งสินค้าเป็ นหลัก แล้ว ยังท�ำให้เกิดการเดินทางที่สะดวกมากขึ้นส่งผลท่องเที่ยวตลอดเส้นทาง (รูปที่ 5) พบว่านักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางเข้าไปในแขวงบ่อแก้วและแขวง หลวงน�้ำทามีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะช่วงหลังการเปิดสะพาน มิตรภาพไทย-ลาวแห่งที่ 4 ในปีพ.ศ.2556 เนื่องจากพื้นที่ของทั้งสองแขวง เป็ นเส้นทางการขนส่งสินค้าเป็ นหลักผ่านเส้นทาง R3A ขณะที่จ�ำนวนนักท่อง เที่ยวต่างชาติในแขวงอุดมไชค่อนข้างคงที่ เนื่องด้วยภูมิศาสตร์ของแขวงอุดม ไชยที่ตัง้ อยู่ในวงล้อมของแขวงพงสาลี หลวงพระบาง ไชยบุรี และหลวงน�้ำทา จึงท�ำให้มีนักท่องเที่ยวแวะพักผ่ อนและท�ำกิจกรรมต่างๆระหว่างการเดินทาง ดังนั้น จึงควรมีการศึกษาและวิเคราะห์ดัชนีชีว้ ัดสิ่งอ�ำนวยความสะดวกส�ำหรับ การขนส่งสินค้าและการท่องเที่ยว ตลอดจนศักยภาพและโอกาสทางเศรษฐกิจ ตามเส้นทาง R3 และวงกลมเศรษฐกิจล้านช้าง-ล้านนาตะวันออก

155


รูปที่ 5 สถิติการท่องเที่ยวแต่ละแขวงของสปป.ลาวปีพ.ศ.2553-2560

ที่มา: Ministry of Information (2017)

2. วัตถุประสงค์

1) เพื่อวิเคราะห์ดช ั นีชวี ้ ด ั สิ่งอ�ำนวยความสะดวกส�ำหรับการขนส่งสินค้า และการท่องเที่ยวเส้นทาง R3A และวงกลมเศรษฐกิจล้านช้าง-ล้านนาตะวัน ออก และเส้นทาง R3B (แม่สาย-เชียงตุง) 2) เพื่อศึกษาการวิเคราะห์ศักยภาพและโอกาสทางเศรษฐกิจบนเส้น ทาง R3A วงกลมเศรษฐกิจล้านช้าง-ล้านนาตะวันออก และเส้นทาง R3B (แม่สาย-เชียงตุง) 3. ขอบเขตการศึกษา ด้านพื้นที่ งานชิ้นนีไ้ ด้ท�ำการแบ่งการศึกษาออกเป็ น 2 เส้นทาง ได้แก่ ก. เส้นทาง R3A สามารถแบ่งออกเป็ น 4 ช่วง ได้แก่ (1) อ�ำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย - เมืองห้วยทราย แขวงบ่อแก้ว - ด่านบ่อเต็น แขวงหลวงน�้ำ ทา (สปป.ลาว) ระยะทางทั้งหมด 239 กิโลเมตร ใช้เวลาประมาณ 5 ชั่วโมง 156


7 นาที (2) แขวงหลวงน�้ำทา (สปป.ลาว) - แขวงอุดมไชย (สปป.ลาว) ระยะ ทางทั้งหมด 142 กิโลเมตร ใช้เวลาประมาณ 3 ชั่วโมง 25 นาที (3) แขวงอุดม ไชย (สปป.ลาว) – แขวงหลวงพระบาง (สปป.ลาว) ระยะทางทั้งหมด 208 กิโลเมตร ใช้เวลาประมาณ 4 ชั่วโมง 38 นาที และ (4) แขวงหลวงพระบาง (สปป.ลาว) – ด่านชายแดนน�้ำเงิน เมืองเงิน แขวงไชยบุรี – ด่านผ่านแดนถาวร ห้วยโก๋น อ�ำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดน่าน ระยะทางทั้งหมด 393 กิโลเมตร ใช้เวลาประมาณ 9 ชั่วโมง 19 นาที โดยเส้นทางดังกล่าวถือเป็ นส่วนหนึ่งของ วงกลมเศรษฐกิจล้านช้าง-น่าน-ล้านนาตะวันออก ข. เส้นทาง R3B เป็ นเส้น ทางจากด่านอ�ำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย ผ่านจังหวัดท่าขีเ้ หล็ก ไปสู่จังหวัด เชียงตุง ประเทศเมียนมา ระยะทางทั้งหมด 158 กิโลเมตร ใช้เวลาประมาณ 3 ชั่วโมง 23 นาที ด้านประเด็นการศึกษาและประเภทข้อมูล ประกอบด้วยประเด็นการ ศึ กษาจ�ำแนกตามวัตถุประสงค์อย่างชัดเจน ดังต่อไปนี ้ ก. ด้านปั ญหาและ อุปสรรคการค้าชายแดนและสภาพเส้นทาง ท�ำการศึกษาข้อมูลทุติยภูมิ จาก การรวบรวมจากแหล่งข้อมูลต่างๆ ได้แก่ สิ่งอ�ำนวยความสะดวกทางการค้า (เช่น การช�ำระเงิน/โอนเงิน คลังสินค้า/สถานที่พักรถ เวลาเปิด-ปิดด่าน ฯลฯ) นโยบายและกฎระเบียบต่าง ๆ ที่เกีย ่ วข้องกับการค้าสินค้าและบริการที่เคลื่อน ย้ายผ่านจุ ดผ่านแดนถาวร จุ ดผ่อนปรน และจุ ดผ่านแดนชั่วคราว และพิธก ี าร ศุลกากรและหน่วยงานที่เกีย ่ วข้องที่มีต่อการก�ำหนดมาตรฐานสินค้า การตรวจ สอบสินค้า แหล่งก�ำเนิดสินค้า เป็ นต้น ข. สภาพเส้นทาง (Road Condition Measurement) ค. ศักยภาพและโอกาสทางเศรษฐกิจจากเมืองต่างๆตามเส้น ทาง R3A และ R3B ในด้านของการค้า การลงทุน การท่องเที่ยว รวมทั้งความ ร่วมมือระหว่างประเทศ 4. ทบทวนวรรณกรรม 4.1 การวิเคราะห์สภาพแวดล้อม (SWOT Analysis)39 ในการศึ กษาโอกาสทางเศรษฐกิจจ�ำเป็ นต้องมีการประเมินศั กยภาพ จากปั จจัยภายใน และความท้าทายจากปั จจัยภายนอก จึงต้องมีการวิเคราะห์ สภาพแวดล้ อ ม (SWOT analysis) จึ ง เป็ นเครื่อ งมื อ ที่ น� ำ มาช่ ว ยในการ มองภาพรวมของศั กยภาพของแต่ละพื้นที่ เพื่อท� ำไปสู่ การวางกลยุทธ์ และ นโยบายในการพัฒนา โดยปั จจัยภายใน (Internal factor) แบ่งออกเป็ น 39 TAT and GÜREL. (2017). SWOT ANALYSIS: A THEORITICAL REVIEW. 157


จุ ดแข็ง (Strength) และจุ ดอ่อน (Weakness) แสดงถึงลักษณะที่ท�ำให้พื้น ที่นั้นๆมีความได้เปรียบและเสียเปรียบมากกว่าพื้นที่อ่ืนๆ และปั จจัยภายนอก (External factor) ประกอบด้วย โอกาส (Opportunity) และภัยคุกคาม (Threat) แสดงถึงเหตุการณ์หรือเงื่อนไขในเชิงบวกและเชิงลบ ในด้านของ สังคม การเมือง เศรษฐกิจ ตลาด วัฒนธรรม กฎหมาย เทคโนโลยี สิ่งแวดล้อม เป็ นต้น เมื่อท�ำการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมจึงน�ำไปสู่การวางกลยุทธ์โดยการจับ คูร่ ะหว่างปั จจัยภายในและภายนอก ได้แก่ 1) กลยุทธ์เชิงรุก เป็ นการใช้จุดแข็ง กับโอกาส 2) กลยุทธ์เชิงป้ องกัน เป็ นการใช้จุดแข็งกับภัยคุกคาม 3) กลยุทธ์ เชิงแก้ไข เป็ นการใช้จุดอ่อนกับโอกาส และ 4) กลยุทธ์เชิงรับ เป็ นการใช้จุด อ่อนกับภัยคุกคาม รูปที่ 6 การวิเคราะห์สภาพแวดล้อม (SWOT Analysis) การวิเคราะห์ สภาพแวดล้อม ปั จจัยภายใน

ปั จจัยภายนอก

จุ ดแข็ง

โอกาส

จุ ดอ่อน

ภัยคุกคาม

ปั จจั​ัยภายนอก

รูปที่ 7 การวิเคราะห์ TOWS matrix ปั จจัยภายใน จุ ดแข็ง

จุ ดอ่อน

โอกาส

กลยุทธ์เชิงรุก

กลยุทธ์เชิงแก้ไข

ภัยคุกคาม

กลยุทธ์เชิงป้ องกัน

กลยุทธ์เชิงรับ

ที่มา: TAT and GÜREL (2017)

158


4.2 หลักการวิเคราะห์เส้นทางระเบียงเศรษฐกิจในเชิงคมนาคมขนส่ง และโลจิสติกส์40 ในการศึกษาเส้นทางระเบียงเศรษฐกิจ R3 ประกอบด้วยเส้นทาง R3A และ R3B ได้เชื่อมต่อไปถึงวงกลมเศรษฐกิจล้านช้าง-ล้านนาตะวันออก ใน เชิงคมนาคมขนส่งและโลจิสติกส์ (ซึ่งแบ่งออกเป็ นการนขส่งสินค้าและการ ท่องเที่ยว) นั้นคณะผู้วิจัยได้น�ำกรอบแนวคิดดัชนีชีว้ ัดสิ่งอ�ำนวยความสะดวก ส�ำหรับการขนส่งสินค้าและการท่องเที่ยวของสถาบันระหว่างประเทศเพื่อการ ค้าและการพัฒนา ส�ำหรับการวิเคราะห์เส้นทางระเบียงเศรษฐกิจ R3 ในครัง้ นี ้ คือ 1) ดัชนีชวี ้ ด ั สิ่งอ�ำนวยความสะดวกตามเส้นทางส�ำหรับการขนส่งสินค้า ผู้วิจัยได้ท�ำการพิจารณาว่ามีองค์ประกอบอะไรบ้างตามเส้นทางที่จะท�ำให้การ ขับรถของผู้ขนส่งสินค้าตามเส้นทางนั้นเป็ นไปด้วยความสะดวก ปลอดภัย ซึ่ง พบว่าองค์ประกอบทีส ่ �ำคัญ 2 ส่วน คือ 1) ความง่ายในการน�ำยานพาหนะเข้ามา ขับขี่ ซึ่งพิจารณาจากกฎระเบียบต่างๆ สภาพความง่ายต่อการขับขี่ และสภาพ เส้นทาง และ 2) สิ่งอ�ำนวยความสะดวกตามเส้นทางที่มีความจ�ำเป็ นหรือช่วย อ�ำนวยความสะดวกกับพนักงานขับรถบรรทุกขนส่งสินค้า เช่น สถานีบริการ เชื้อเพลิง สถานีซ่อมบ�ำรุงรถ จุ ดพักรถ และความสะดวกในการติดต่อสื่อสาร ระหว่างเส้นทาง 2) ดัชนีชีว้ ัดสิ่งอ�ำนวยความสะดวกตามเส้นทางส�ำหรับการท่องเที่ยว ผู้วิจัยได้ท�ำการพิจารณาว่ามีองค์ประกอบอะไรบ้างตามเส้นทางที่จะท�ำให้นัก ท่องเที่ยวที่เดินทางตามเส้นทางนั้นเป็ นไปด้วยความสะดวก ปลอดภัย ซึ่งพบ ว่าองค์ประกอบที่ส�ำคัญมี 2 ส่วน คือ 1) ความง่ายในการน�ำยานพาหนะเข้ามา ขับขี่ ซึ่งพิจารณาจากกฎระเบียบต่างๆ สภาพความง่ายต่อการขับขี่ และสภาพ เส้นทาง และ 2) สิ่งอ�ำนวยความสะดวกตามเส้นทางที่มีความจ�ำเป็ นหรือช่วย อ�ำนวยความสะดวกกับนักท่องเที่ยว เช่น สถานีบริการเชื้อเพลิง สถานีซ่อม บ�ำรุงรถ (ในกรณีฉุกเฉิน) โรงแรม ศูนย์บริการ นักท่องเที่ยว ร้านขายสินค้า จ�ำเป็ นและอาหาร สถานพยาบาล ความสะดวกในการติดต่อสื่อสารระหว่างเส้น ทาง เป็ นต้น

40 สถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนา. (2555). โอกาสและผลกระทบทาง เศรษฐกิจจากเส้นทางน่าน-หลวงพระบาง.

159


5. ระเบียบวิธีการดำ�เนินงานวิจัย การศึกษาวิจัยในครัง้ นีเ้ ป็ นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) และปริมาณ (Quantitative) โดยมีระเบียบวิธด ี �ำเนินงานวิจัย และขัน ้ ตอนการด�ำเนินงานของการศึกษาแบ่งประเด็นเนื้อหาที่จะศึกษาไว้โดย ละเอียด ซึ่งมีเนื้อหาสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการศึกษาอย่างชัดเจน ซึ่ง มีรายละเอียดดังต่อไปนี ้ การรวบรวมข้ อ มู ล ได้ ท� ำ การเก็ บ รวบรวมข้ อ มู ล แบบผสมผสาน (Mixed Methods) ทั้งข้อมูลทุติยภูมิในรู ปแบบของสถิติ อาทิ มูลค่าการ ค้าชายแดน การท่องเที่ยว การลงทุน และการสังเกตการณ์แบบไม่มีส่วนร่วม อย่างใกล้ชิด (Non-participant Observation) โดยผู้วิจัยได้ท�ำการลงพื้น ที่ส�ำรวจภาคสนาม ตลอดจนสัมภาษณ์หอการค้าของแขวงหลวงน�้ำทา แขวง อุดมไชย และแขวงหลวงพระบาง การวิเคราะห์ข้อมูลและแสดงผล 1) การก�ำหนดดัชนี ชีว้ ัดสิ่ งอ�ำนวยความสะดวกตามเส้ นทางส� ำหรับ การขนส่งสินค้าและการท่องเที่ยว โดยพิจารณาว่ามีองค์ประกอบที่ช่วยอ�ำนวย ความสะดวกให้กับผู้ขนส่งสินค้าตามมาตรฐานสากล หรือเป็ นไปตามข้อตกลง GMS และ AEC และการเดินทางท่องเที่ยว โดยมีค่าคะแนน 4 ระดับ ได้แก่ ระดับดีมาก (3.50-4.00) ระดับดี (2.50-3.49) ระดับพอใช้ (1.50-2.49) และระดับปรับปรุง (1.00-1.49) (สถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการ พัฒนา, 2555) 2) การสร้างมาตรวั ดคะแนนเพื่อประเมิ นระดับดัชนี ชีว้ ั ดสิ่ งอ�ำนวย ความสะดวกที่จุดผ่านแดนส�ำหรับการขนส่งสินค้า โดยใช้วิธีเดลฟายเทคนิค (Delphi technique) ที่อาศัยการประเมินผลจากผู้เชี่ยวชาญและนักวิจัยที่ ลงพื้นที่ส�ำรวจ 3) การวิเคราะห์สภาพแวดล้อม (SWOT Analysis) ของเมืองตามเส้น ทาง R3A วงกลมเศรษฐกิจล้านช้าง- ล้านนาตะวันออก และเส้นทาง R3B เพื่อ น�ำไปสู่การวางกลยุทธ์ในด้านการค้า การลงทุน การท่องเที่ยว ตลอดจนความ ร่วมมือระหว่างประเทศ ประโยชน์ที่จะได้รบ ั ทราบถึงระดับการอ�ำนวยสะดวกการค้า และการ ท่องเทีย ่ ว พร้อมทัง้ ศักยภาพและโอกาสทางเศรษฐกิจของเส้นทาง R3A วงกลม เศรษฐกิจล้านช้าง- ล้านนาตะวันออก และเส้นทาง R3B

160


6. ผลการสำ�รวจและวิเคราะห์ 6.1 ผลการวิเคราะห์ดช ั นีชว ี้ ด ั สิง่ อำ�นวยความสะดวกสำ�หรับการขนส่ง สินค้า (รูปที่ 8) เส้นทาง R3A เชียงของ-บ่อเต็น เส้นทางช่วงอ�ำเภอเชียงของ จังหวัด เชียงราย-เขตชายแดนบ่อเต็น สปป.ลาว มีค่าคะแนน 2.67 อยู่ในระดับดี เป็ น เส้นทางส�ำหรับการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ (R3A) สภาพเส้นทางไม่คด เคีย ้ วท�ำให้ง่ายต่อการขับขี่ยานพาหนะและมีสถานีบริการเชื้อเพลิงตลอดเส้น ทาง นอกจากนี ้ มีจุดพักรถส�ำหรับผู้ขับรถบรรทุกและผู้โดยสาร เส้นทางแขวงหลวงน�้ำทา-อุดมไซ มีค่าคะแนน 1.87 อยู่ในระดับพอใช้ เนื่องจากสภาพเส้นทางคดเคีย้ วตามแนวไหล่เขาและลาดชันเป็ นอย่างมาก ท�ำให้ ยากต่อการขับขีส ่ �ำหรับบุคคลนอกพื้นที่ ไม่สามารถท�ำความเร็วรถได้เนื่องจาก โค้งอันตรายหลายจุ ด หากเกิดอุบัติเหตุจะส่งผลให้เกิดการจราจรติดขัดเพราะ เป็ นถนน 2 ช่องจราจร เส้นทางแขวงอุดมไซ-หลวงพระบาง มีค่าคะแนน 2.33 อยู่ในระดับ พอใช้ การขนส่งสินค้าระหว่างเส้นทางนีค ้ ่อนข้างน้อยเพราะสินค้าจากอุดมไซ ส่วนใหญ่จะขนส่งมายังแขวงหลวงน�้ำทาเพื่อส่งออกไปยังประเทศจีนและไทย สภาพเส้นทางคดเคีย ้ วและลาดชันเป็ นบางช่วง ยากต่อการขับขีส ่ �ำหรับบุคคล นอกพื้นที่ ยกเว้นบริเวณแขวงที่ถนนเป็ นทางตรงและลาดยางท�ำให้งา่ ยต่อการ ขับขี่ ขณะเดียวสถานที่บริการเชื้อเพลิงและสถานีซ่อมบ�ำรุงสามารถพบได้ตาม บริเวณเมืองขนาดใหญ่ และไม่มีจุดพักรถส่วนใหญ่จะพักรถตามปั้ มน�้ำมันหรือ ร้านอาหาร เส้นทางแขวงหลวงพระบาง-ห้วยโก๋น มีค่าคะแนน 1.60 อยู่ในระดับ พอใช้ เนื่องจากสภาพเส้นทางคดเคีย้ วตามแนวไหล่เขาและเส้นทางบางช่วงเป็ น ถนนลูกรัง มีหลุมบ่อ จึงยากต่อการขับขีส ่ �ำหรับการขนส่งสินค้า จึงใช้ระยะเวลา นานในการเดินทาง เส้นทาง R3B แม่สาย-เชียงตุง มีคา่ คะแนน 3.00 อยูใ่ นระดับดี สภาพ เส้นทางไม่คดเคีย ้ วท�ำให้ง่ายต่อการขับขี่ยานพาหนะและมีจุดพักรถส�ำหรับผู้ ขับรถบรรทุกและผู้โดยสาร ทัง้ นีต ้ ลอดเส้นทางจะมีด่านเก็บค่าผ่านทางและจุ ด รายงานการเข้าเมืองประมาณ 4 จุ ด อย่างไรก็ตามเนื่องจากระยะการเดินทาง ที่ใช้เวลาสั้นท�ำให้สถานีเชื้อเพลิงและสถานีซ่อมบ�ำรุงมีเฉพาะในเขตตัวเมือง

161


รูปที่ 8 ดัชนีชวี ้ ด ั สิ่งอ�ำนวยความสะดวกส�ำหรับการขนส่งสินค้าบนเส้นทาง R3A วงกลมเศรษฐกิจล้านช้าง-ล้านนาตะวันออก และเส้นทาง R3B

ที่มา: จากคณะส�ำรวจ เดือนมกราคม พ.ศ.2561

จากการวิเคราะห์ ดัชนี ชีว้ ัดสิ่ งอ�ำนวยความสะดวกส� ำหรับการขนส่ ง สินค้า เห็นได้ว่าเส้นทางที่มีค่าคะแนนเฉลีย ่ โดยรวมสูงสุด คือ เส้นทางแม่สายเชียงตุง เนื่องจากมีความพร้อมในด้านของโครงสร้างพืน ้ ฐานทางถนน ตลอดจน สถานที่อ�ำนวยความสะดวกแก่ผู้ขับขี่ แต่มีสถานีซ่อมบ�ำรุงรถน้อยกว่าเส้นทา งอื่นๆ เนื่องจากมีระยะการเดินทางที่สั้นกว่า รองมาคือ เส้นทางเชียงของ-บ่อ เต็น ซึ่งมีความพร้อมอย่างมากในด้านของสถานีบริการเชือ ้ เพลิง แต่มีสภาพเส้น ทางและการขับขีท ่ ี่ไม่สะดวกเทียบเท่ากับเส้นทางแม่สาย-เชียงตุง ตามมาด้วย เส้นทางอุดมไซ-หลวงพระบาง เส้นทางหลวงน�้ำทา-อุดมไซ และเส้นทางหลวง พระบาง-ห้วยโก๋น 6.2 ผลการวิเคราะห์ดัชนีชี้วัดสิ่งอำ�นวยความสะดวกสำ�หรับการท่อง เที่ยว (รูปที่ 9) เส้นทางเชียงของ-บ่อเต็น มีคา่ คะแนน 2.46 อยู่ในระดับพอใช้ ซึ่งการ เดินทางท่องเทีย ่ วระหว่างเส้นทางนีไ้ ม่เป็ นทีน ่ ิยมมาก เนื่องจากกลุม ่ นักท่องเทีย ่ ว ส่วนใหญ่ทีเ่ ป็ นคนไทยมีจุดหมายในการเดินทางไปยังเมืองสิบสองปั นนา มณฑล ยูนนานของจีน เพราะสามารถเดินทางถึงภายใน 1 วัน เนื่องจากจากสภาพ เส้นทางที่ดี ท�ำให้สามารถลดเวลาในการเดินทางได้มากขึ้น จึงส่งผลให้จ�ำนวน โรงแรม เกสต์เฮาส์ ร้านอาหาร และจ�ำนวนนักท่องเที่ยวในแขวงบ่อแก้วลดลง 162


ทั้งนีจ้ ากการลงพื้นที่ส�ำรวจแขวงหลวงน�้ำทาพบว่านักท่องเที่ยวชาวต่างชาติยัง คงนิยมเดินเข้ามาท่องเทีย ่ วเชิงธรรมชาติ (trekking) ท�ำให้จำ� นวนโรงแรม เกส ต์เฮาส์ ร้านอาหาร ยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่อง ถึงแม้วา่ จ�ำนวนนักท่องเที่ยวที่เข้า มาจะลดลง เส้นทางแขวงหลวงน�้ำทา-อุดมไซ มีค่าคะแนน 2.08 อยู่ในระดับพอใช้ เนื่องจากสภาพเส้นทางคดเคีย ้ วตามไหล่เขา และเป็ นอันตรายหากมีการเกิด อุบัตเิ หตุของรถบรรทุกจะท�ำให้เสียเวลามากขึน ้ จึงเป็ นอุปสรรคต่อการเดินทาง ท่องเที่ยวระหว่างเส้นทางนี ้ นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่นิยมที่จะเดินทางโดยเรือล่อง แม่น�้ำโขงจากเมืองห้วยทรายแขวงบ่อแก้วไปยังแขวงหลวงพระบาง เส้นทางแขวงอุดมไซ-หลวงพระบาง มีค่าคะแนนสูงสุด 2.67 อยู่ใน ระดับดี เนื่ องจากแขวงอุ ดมไซเปรียบเสมื อนสี่ แยกอินโดจี นที่ อยู่ตรงกลาง ระหว่างแขวงต่างๆ ท�ำให้ในพืน ้ ที่มีโรงแรมและร้านอาหารจ�ำนวนมากและหลาก หลาย รวมถึงสถานที่ท่องเที่ยวที่สามารถให้นักท่องเที่ยวพักผ่อนก่อนเดินต่อไป ยังแขวงหลวงพระบางและแขวงพงสาลี ส่วนใหญ่จะได้รบ ั ความนิยมการพัก ผ่อนจากกลุ่มเดินทางด้วยจักรยานยนต์ท่องเที่ยว (touring motorcycle) และชาวลาวที่เดินทางมาท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติ ทั้งนีเ้ ห็นได้ว่าแขวงอุดมไซนัก ท่องเที่ยวต่างชาติเข้ามาก่อนการเดินทางไปยังแขวงต่างๆ รูปที่ 9 ดัชนีชีว้ ัดสิ่งอ�ำนวยความสะดวกส�ำหรับการท่องเที่ยวบนเส้นทาง R3A วงกลมเศรษฐกิจล้านช้าง-ล้านนาตะวันออก และเส้นทาง R3B

ที่มา: จากคณะส�ำรวจ เดือนมกราคม พ.ศ.2561 163


เส้นทางแขวงหลวงพระบาง-ห้วยโก๋น มีค่าคะแนน 2.17 อยู่ในระดับ พอใช้ โดยเส้ น ทางนี ้ได้ มี การส่ งเสริม ให้ เป็ นเส้ นทางการท่ องเที่ ยวระหว่ าง ประเทศ อย่างไรก็ตาม ด้วยสภาพเส้นทางที่มีความคดเคีย ้ วตามไหล่เขา และ ถนนเป็ นลูกรังบางช่วง ส่งผลต่อความสะดวกในการเดินทาง และเกิดอุบัติเหตุ จึงท�ำให้บริษัทขนส่งผู้โดยสารจ�ำเป็ นที่จะต้องหยุดเดินรถชั่วคราว41 นอกจาก นี ้ ในระหว่ างส� ำรวจเส้ นทางพบว่ ามี การเดินทางท่ องเที่ ยวโดยรถตู้จากเขต ชายแดนห้วยโก๋นไปยังแขวงหลวงพระบาง เนื่องจากเส้นทางดังกล่าวมีระยะ เวลาการเดินทางที่สั้นจึงยังคงเป็ นที่นิยมของนักท่องเที่ยวชาวไทย เส้ นทาง R3B แม่ สาย-เชี ยงตุง มี ค่าคะแนน 2.58 อยู่ในระดับดี เนื่องจากมีสภาพเส้นทางที่ดี และไม่คดเคีย ้ ว จึงท�ำให้มีค่าคะแนนสูงที่สุด ขณะ เดียวกันนักท่องเที่ยวชาวไทยนิยมเดินท่องเที่ยวในรูปแบบทัวร์ ไปตามสถานที่ ท่องเที่ยวทางศาสนาและวัฒนธรรมเป็ นหลัก ท�ำให้มีศูนย์บริการนักท่องเที่ยว ค่อนข้างน้อย จากการวิเคราะห์ดช ั นีชีว้ ัดสิ่งอ�ำนวยความสะดวกส�ำหรับการท่องเที่ยว เห็นได้ว่าเส้นทางที่มีค่าคะแนนสูงสุด คือ เส้นทางอุดมไซ-หลวงพระบาง เป็ น เส้นทางที่พร้อมไปด้วยสถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติระหว่างทาง สถานที่พัก อาศัย ร้านอาหาร และสิ่งอ�ำนวยความสะดวกต่างๆ ได้รบ ั ความนิยมจากทั้ง นักท่องเที่ยวทั้งในและต่างประเทศ รองลงมาคือ เส้นทางแม่สายเชียง-ตุง ซึ่ง มีความสะดวกในองค์ประกอบด้านร้านขายสินค้าอาหาร สภาพเส้นทาง และ การขับขี่ตามเส้ นทางสู งกว่าเส้ นทางอุ ดมไซ-หลวงพระบาง ตามมาด้วยเส้ น ทางเชียงของ-บ่อเต็น เส้นทางหลวงพระบาง-ห้วยโก๋น และเส้นทางหลวงน�้ำ ทา-อุดมไซ 6.3 ผลรวมดัชนีชี้วัดสิ่งอำ�นวยความสะดวกสำ�หรับการขนส่งสินค้า และการท่องเที่ยว เส้นทางที่มีความสะดวกในการขนส่งสินค้ามากที่สุด คือ แม่สาย-เชียง ตุง ซึ่งเป็ นเส้นทางที่มีค่าคะแนนเฉลี่ยโดยรวมสูงสุดเช่นเดียวกัน เนื่องจากมี โครงสร้างพื้นฐานทางถนนที่ดี ช่วยให้เกิดการอ�ำนวยความสะดวกในการขับขี่ ตลอดเส้นทาง อย่างไรก็ตาม เส้นทางดังกล่าวมีระยะทางที่สั้นกว่าเส้นทางอื่นๆ ขณะเดียวกัน เส้นทางที่มีค่าคะแนนสูงสุดในด้านของการอ�ำนวยความสะดวก ด้านการท่องเที่ยว คือ เส้นทางอุดมไซ-หลวงพระบาง ซึ่งเป็ นเส้นทางจากเมือง 41 ข้อมูลในช่วงการเดินทางส�ำรวจช่วงเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.2561 164


พักจากชายแดนไทยไปเมืองท่องเทีย ่ วทีเ่ ป็ นจุดหมายปลายทางของนักท่องเทีย ่ ว ต่างชาติ จึงท�ำให้ที่พักอาศัยและร้านอาหารเพิ่มขึ้นในทุกปี ทั้งนี ้ เส้นทางที่มีค่า คะแนนเฉลีย ่ โดยรวมต�่ำสุด คือ เส้นทางหลวงน�้ำทา-อุดมไซ ซึ่งมีค่าคะแนนต�่ำ กว่าเส้นทางหลวงพระบาง-ห้วยโก๋นไม่มาก รูปที่ 10 ดัชนีชีว้ ัดสิ่งอ�ำนวยความสะดวกส�ำหรับการขนส่งสินค้าและการท่อง เที่ยวบนเส้นทาง R3A วงกลมเศรษฐกิจล้านช้าง-ล้านนาตะวันออก และเส้น ทาง R3B

ที่มา: จากคณะส�ำรวจ เดือนมกราคม พ.ศ.2561

7. ผลการสำ�รวจสภาพทางเศรษฐกิจ 7.1 เส้นทาง R3A และวงกลมเศรษฐกิจล้านช้าง-ล้านนาตะวันออก 7.1.1 ด้านการท่องเที่ยว แขวงหลวงน�้ ำ ทา มี ส ถานที่ ท่ อ งเที่ ย วทางธรรมชาติ ที่ ห ลากหลาย กิจกรรมการท่องเที่ยวที่ได้รบ ั ความนิยมจากกลุ่มนักท่องเที่ยวชาวตะวันตก คือ การเดินป่ า ผจญภัย การศึกษาธรรมชาติ และวิถช ี วี ต ิ ของชนเผ่า ในรูปแบบของ โปรแกรมระยะสั้น 2 - 3 คืน ซึ่งมีความแตกต่างจากความสนใจของนักท่อง เที่ยวชาวจีนที่เลือกเดินทางมุ่งหน้าตรงเข้าสู่หลวงพระบาง เวียงจันทร์ หรือเขต เศรษฐกิจพิเศษต้นผึ้ง ดังนั้นแขวงหลวงน�้ำทาจึงเป็ นเพียงแค่ทางผ่านส�ำหรับ กลุ่มนักท่องเที่ยวจีนเท่านั้น อย่างไรก็ดี นักท่องเที่ยวจีนมีการใช้จ่ายมากกว่า ตะวันตก นักท่องเที่ยวชาวจีนบางกลุ่มก็มีความสนใจในการขับรถยนต์ผ่านเข้า ดูวิถีชีวิต แต่สุดท้ายจุ ดหมายปลายทาง คือ ประเทศไทย หรือกัมพูชา หาก เคยเดินทางเข้ามาแล้ว นักท่องเที่ยวจีนเลือกที่จะเดินทางด้วยเครื่องบินไปลง 165


จังหวัดเชียงใหม่ หรือกรุงเทพฯมากกว่า ในอดีตชาวจีนต้องเดินทางมารูปแบบ ของหมู่คณะ แต่ปัจจุ บันทางการลาวได้มีการผ่อนปรนให้น�ำรถยนต์เข้ามาท่อง เที่ยวอย่างอิสระ 1 คัน ต่อ 1 คน ท�ำให้มีการมาท่องเที่ยวในจ�ำนวนน้อยมาก ขึ้น ส่งผลให้บางครัง้ ที่พักอาศัยไม่เต็ม แต่ที่จอดรถเต็ม จากสถิติอัตราการเข้า พักอาศัยในแขวงหลวงน�้ำทาไม่เคยเกินร้อยละ 60 ของจ�ำนวนห้องพักอาศัย ทั้งหมด และมีแนวโน้มลดลงในช่วง 4-5 ปีที่ผ่านมา ชาวจีนได้เข้ามาท่องเที่ยว เป็ นจ�ำนวนมาก โดยเฉพาะในช่วงของวันแรงงาน และวันชาติของจีน ส� ำ หรับ ชาวตะวั น ตกที่ เ ข้ า มาท่ อ งเที่ ย วมี ทั้ ง จากประเทศแอฟริก า เยอรมัน อิสราเอล เดนมาร์ก และอเมริกา ซึ่งในอดีตมาในรูปแบบเป็ นกลุ่มเช่น เดียวกันกับนักท่องเทีย ่ วจีนจากการยกเลิกกฎหมายของทางการลาว โดยเข้ามา ทางประเทศเวียดนาม หรือไทย ในช่วงหลังเข้ามาเป็ นกลุม ่ เล็ก หรือคนเดียว ซึ่ง ปั จจุ บน ั การข้ามแดนมีความสะดวกขึน ้ มีการยืดระยะเวลาปิดด่าน จากเมื่อก่อน ปิด 5 โมงเย็น ซึ่งนักท่องเที่ยวเข้ามามากในช่วงเดือนตุลาคม นิยมพักที่เมืองสิง เนื่องจากมีสถาปั ตยกรรมและสิ่งก่อสร้างในรูปแบบฝรัง่ สมัยเก่า ซึ่งเริ่มมีการ ช�ำรดทรุดโทรม จากการที่ไม่มีคนเข้ามาดูแลรักษา ท�ำให้นักท่องเที่ยวต่างชาติ เริ่มมีจ�ำนวนลดลง ทั้งนี ้ พฤติกรรมของนักท่องเที่ยวต่างชาติช่ืนชอบในการรับ ประทานอาหารท้องถิ่น และการแต่งกายชุดประจ�ำเผ่า รัฐบาลมีโครงการที่จะปรับปรุงแหล่งท่องเที่ยว และสถานที่เกีย ่ วข้อง กับการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม เช่น พืน ้ ที่ชุมชนในช่วงสงคราม ได้ให้เอกชนเข้า มาสัมปทานปรับปรุงเป็ นแหล่งท่องเที่ยววัฒนธรรมของชนเผ่า รวมทั้งได้มีการ เปิดประมูลสวนดอกไม้ และได้รบ ั ความช่วยเหลือจากธนาคารเพื่อการพัฒนา ลาวในการปรับปรุงถนนบริเวณแหล่งหัตถกรรม นอกจากนี ้ มีแหล่งธรรมชาติ ที่เป็ นสถานที่ท่องเที่ยวที่ส�ำคัญ คือ น�้ำตกทั้งหมด 2 แห่ง ได้แก่ น�้ำดี และทาง ไปเมืองสิง รวมทัง้ ถ�ำ้ เกาเหลาอยูใ่ นเส้นทางไปเมืองเวียงภูคา เมื่อก่อนได้ให้ชาว บ้านมีส่วนร่วมในการอนุรก ั ษ์ ซึ่งปั จจุบน ั ได้มผ ี ู้ทีส ่ นใจเข้ามาลงทุน โดยเมืองเวียง ภูคามีวัดเก่าแก่สมัยยุคขอม แขวงอุดมไซ ด้วยลักษณะทางภูมิศาสตร์ที่ตัง้ อยู่ใจกลางเส้นทางเชื่อม โยงระหว่างประเทศเวียดนาม และไทย จึงเป็ นเมืองที่นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่แวะ พักก่อนเดินทางเข้าสู่แขวงหลวงพระบางที่เป็ นจุ ดหมายปลายทาง จึงเหมาะสม ต่อการพัฒนาและส่งเสริมด้านการท่องเที่ยว โดยแขวงอุดมไซเน้นยุทธศาสตร์ การเชื่อมโยงด้านการท่องเที่ยวระหว่างประเทศที่ประกอบด้วยประเทศไทย จีน เมียนมา และเวียดนาม ตามแนวนโยบายการส่งเสริมเส้นทางการท่องเที่ยว 5 เชียง ได้แก่ เชียงราย เชียงใหม่ เชียงตุง เชียงรุง่ และเชียงทอง โดยแขวงอุดม 166


ไซไม่ใช่เพียงแค่เมืองทางผ่าน แต่เน้นส่งเสริมด้านการท่องเที่ยวเพื่อความผ่อน คลายและการให้บริการที่พักในราคาเข้าถึงได้ รวมทั้งการสร้างมาตรฐานการ บริการที่ดี นอกจากนี ้ มีสถานที่โดดเด่นในด้านวัฒนธรรมและการท่องเที่ยวเชิง ธรรมชาติ โดยมีกลุ่มชาติพันธุถ ์ ึง 12 ชนเผ่า มีสถานที่ท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม กว่า 40 แห่ง สถานทีท ่ ่องเทีย ่ วเชิงธรรมชาติประมาณ 54 แห่ง และสถานทีท ่ ่อง เที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ 12 แห่ง ในปีค.ศ.2017 สถิติจ�ำนวนนักท่องเที่ยวต่าง ประเทศมากกว่านักท่องเที่ยวชาวลาว ในปีค.ศ. 2017 มีจำ� นวนนักท่องเทีย ่ วต่างชาติอยูท ่ ี่ 186,351 คน แนว โน้มของจ�ำนวนนักท่องเทีย ่ วต่างชาติมีทิศทางลดลงใน 3 ปีหลัง แต่ในช่วงทีผ ่ ่าน มาตัง้ แต่ปค ี .ศ.2009-2017 มีอัตราการเติบโตเฉลีย ่ สะสมอยู่รอ ้ ยละ 61.75 แสดงถึงการขยายตัวที่ดีในระยะยาว จ�ำนวนโรงแรมมีทั้งหมด 19 แห่ง ส่วน ใหญ่ตงั้ อยูใ่ นเมืองไซ ซึ่งเป็ นเมืองหลักของแขวงอุดมไซ นอกนัน ้ กระจายอยูต ่ าม เมืองรอยต่อของแขวง เช่น เมืองปากแบง ซึ่งเป็ นเมืองท่าส�ำคัญส�ำหรับนักท่อง เที่ยวโดยสารทางเรือในการพักค้างคืนระหว่างอ�ำเภอเชียงของและเมืองหลวง พระบาง รวมถึงเมืองฮุนที่ตัง้ อยู่ใกล้กับเมืองปากแบง ทั้งนี ้ พฤติกรรมของนัก ท่องเที่ยวต่างชาติที่พบในแขวงอุดมไซส่วนใหญ่เลือกเดินทางมาเพื่อส�ำรวจเส้น ทางธรรมชาติ หรือเลือกพักผ่อนอาศัยในแขวงอุดมไซเป็ นระยะเวลานานหลาย เดือน ส่วนกลุ่มคาราวานรถ Big Bike และรถยนต์เลือกพักค้างคืนในแขวง อุดมไซก่อนมุ่งหน้าสู่เมืองหลวงพระบาง ส่วนพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวชาว ลาวจะสนใจด้านการท่องเที่ยงเชิงธรรมชาติเพื่อพักผ่อนหย่อนใจเป็ นหลัก เช่น อุทยานแห่งชาติน�้ำกลัดยลปา ซึ่งเป็ นพื้นที่ป่าสงวนที่ทางการลาวเปิดสัมปทาน เพื่อส่งเสริมด้านการท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติ ปั จจุ บันบริษัทสัญชาติลาวเป็ นผู้ได้ รับสัมปทานและได้พฒ ั นาด้านการท่องเทีย ่ วและทีพ ่ ก ั เพื่อดึงดูดนักท่องเทีย ่ วทัง้ ต่างชาติและภายในประเทศ ซึ่งได้รบ ั การตอบรับเป็ นอย่างดี มากกว่านี ้ แขวง อุดมไซให้ความสนใจให้เข้ามาลงทุนในโรงแรมระดับ 4 ดาวขึ้นไป รวมถึงการ ลงทุนในการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวโดยเฉพาะเส้นทางการคมนาคม เนื่องจาก ปั ญหาที่พบคือสถานที่แหล่งท่องเที่ยวแต่ละแห่งขาดการสร้างความเชื่อมโยง ท�ำให้ไม่เอื้อต่อการจัดโปรแกรมการท่องเที่ยว แขวงหลวงพระบาง เป็ นเมื อ งที่ มี ศั ก ยภาพด้ า นการท่ อ งเที่ ย วสู ง เนื่องจากได้รบ ั ให้เป็ นเมืองมรดกโลกและเป็ นสถานทีท ่ ่องเทีย ่ วยอดนิยมส�ำหรับ นักท่องเที่ยวชาวตะวันตก เมืองหลวงพระบางสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจมาก ที่สุดเมื่อเที ยบกับเมืองอื่นๆในแขวงหลวงพระบาง คิดเป็ นสั ดส่ วนประมาณ ร้อย 45 ของมูลค่าทั้งหมด โดย จ�ำนวนนั กท่ องเที่ยวต่างชาติเดินมาเข้ามา 167


ประมาณ 600,000 คนต่อปี ในช่วงทีผ ่ ่านมาจ�ำนวนนักท่องเทีย ่ วของหลวงพระ บางมีการขยายตัวต่อเนื่องในทุกปี จากจ�ำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เข้ามาใน ประเทศประมาณ 4.2 ล้านคนต่อปี ในอนาคตสปป.ลาวได้เป้ าหมายในการก ระตุ้นจ�ำนวนนักท่องเที่ยวในประเทศให้เพิ่มขึ้นเป็ น 5.2 ล้านคนต่อปี โดยกลุ่ม นักท่องเที่ยวหลัก คือ ชาวตะวันตก ประกอบด้วย ยุโรป อเมริกา และเยอรมัน เป็ นต้น ซึ่งกลุ่มนักท่องเที่ยวมีหลายประเภทในหลายช่วงอายุทั้งวัยรุน ่ และกลุ่ม ผู้สูงอายุ โดยกลุ่มผู้สูงอายุนิยมมาพักผ่อนเป็ นระยะเวลาหลายเดือน ส่วนกลุ่ม นักท่องเที่ยวเอเชียประกอบด้วย ไทย จีน และเกาหลีเป็ นหลัก โดยปั จจุ บันมี จ�ำนวนนักท่องเที่ยวชาวจีนมากกว่าชาวไทย จ�ำนวนโรงแรมทัง้ หมดในหลวงพระบางมีประมาณ 180 แห่ง มีห้องพัก รับรองกว่า 300 ห้อง ร้านอาหาร 290 แห่ง และมีลก ั ษณะโรงแรมมีหลากหลาย ระดับราคา ซึ่งราคาห้องที่แพงสุดประมาณ 2,500 เหรียญ ทัง้ นี ้ การลงทุนด้าน โรงแรม ร้านอาหาร และประเภทธุรกิจที่อยู่ในบัญชีควบคุมจะให้สิทธิชาวต่าง ชาติสามารถลงทุนได้เองทั้งหมด ส่วนบริษัทน�ำเที่ยวนักลงทุนต่างชาติสามารถ ถือหุ้นได้มากทีส ่ ุดเพียงร้อยละ 40 และกลุม ่ ธุรกิจบ้านพักแบบโฮมสเตย์ให้สิทธิ เฉพาะคนท้องถิ่นที่เป็ นเจ้าของที่ดิน การเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในเมืองหลวง พระบางหากเป็ นลักษณะการท่องเที่ยวแบบกรุ ป ๊ ทัวร์จ�ำเป็ นต้องจ้างบริษัทน�ำ เที่ยวโดยไม่สามารถเข้าเมืองได้โดยพลการเนื่องจากผิดกฎหมาย ยกเว้นกลุ่ม นักท่องเที่ยวแบบอิสระ FIT (Free and Independent Traveler) ปั จจุ บันเส้นทางการคมนาคมในแขวงหลวงพระบางมีทั้งการขนส่งทาง บก ทางน�้ ำ และทางอากาศ โดยท่ าอากาศยานนานาชาติหลวงพระบางเน้ น เส้นทางการบินในแถบเอเชียตะวันออกเฉลียงใต้ และประเทศจีนตอนใต้เป็ น หลัก ส่วนโครงการที่เกีย ่ วข้องด้านการพัฒนาการท่องเที่ยวได้รบ ั ทุนสนับสนุน จาก ADB เป็ นหลัก ซึ่งทางการแขวงหลวงพระบางมีโครงการที่จะพัฒนาเส้น ทางการท่องเทีย ่ ว เพื่อกระตุน ้ การเข้าถึงแหล่งท่องเทีย ่ วต่างๆ และดึงให้นักท่อง เที่ยวพักอาศัยในหลวงพระบางให้นานที่สุด ซึ่งแขวงหลวงพระบางมีศักยภาพ ด้านการท่องเที่ยวสูงมากที่จะดึงดูดนักท่องเที่ยวให้เข้ามา เนื่องด้วยเป็ นเมือง ที่มีเอกลักษณ์ด้านวัฒนธรรมและประติมากรรมที่โดดเด่นรวมทั้งมีแหล่งท่อง เที่ยวเชิงธรรมชาติที่หลากหลาย นอกจากนีย ้ ังมีแหล่งสถานบันเทิงให้พักผ่อน หย่อนใจในยามค�่ำคืน โดยภาพรวม แขวงหลวงพระบางสามารถตอบสนอง ต่อความต้องการของนักท่องเที่ยวได้หลากหลายรูปแบบ และหลากหลายกลุ่ม มากกว่านี ้ ได้มีการท� ำสร้างความร่วมมื อด้านการส่ งเสริมการท่ องเที่ยวภาย ใต้โครงการพัฒนาความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภาคลุ่มแม่น�้ำโขง (GMS) 168


หากในอนาคตหากรถไฟความเร็วสูงมีการเปิดใช้บริการ จะช่วยลดระยะเวลาใน การเดินทาง ย่อมจะส่งผลต่อการมูลค่าเพิ่มด้านการท่องเที่ยวให้แก่เมืองหลวง พระบางอย่างมหาศาล 7.1.2 ด้านการลงทุน แขวงหลวงน�้ำทา โครงการส่วนใหญ่เป็ นกลุ่มทุนจีนที่เข้ามาลงทุน ทั้ง ในโครงการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษที่ตงั้ อยูบ ่ ริเวณชายแดนบ่อเต็น (Boten Special Economic Zone) และนอกพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษภายในใน แขวงหลวงน�้ำทา โดยลักษณะการลงทุนในแขวงหลวงน�้ำทาเป็ นการลงทุนใน ด้านการแปรรูปยางพารา เพื่อส่งสินค้ากลับไปประเทศจีน และอุตสาหกรรม ขนาดย่อม เช่น โรงงานที่เกีย ่ วข้องกับการผลิตวัสดุก่อสร้าง และอุตสาหกรรม แปรรูปยางพารา นอกจากนี ้ ยังมีการลงทุนเพาะปลูกสินค้าเกษตรในระยะสั้น เช่น แตงโม กล้วย ฟั กทอง อ้อย มันส�ำปะหลัง และข้าวโพด โดยที่ตลอดช่วง เวลาที่ผ่านมารัฐบาลส่งเสริมการลงทุนในด้านการเกษตรโดยมีการยกเว้นภาษี ตามพ.ร.บ.ส่งเสริมการลงทุน ซึ่งแขวงหลวงน�้ำทาจัดอยู่ในทั้งพื้นที่ส่งเสริมเขต 1 และ 2 ได้รบ ั การยกเว้นภาษีนิติบุคคลอย่างน้อย 2 ปี และมากสุด 10 ปี42 โดยพื้นที่ตอนเหนือเป็ นพื้นที่หลักส�ำหรับการปลูกกล้วย แต่ปัจจุ บันรัฐบาลไม่ อนุญาตให้นักลงทุนจีนขยายพืน ้ ที่ เนื่องจากตระหนักถึงปั ญหาด้านสุขภาพของ แรงงานและสิ่งแวดล้อมที่จะส่งผลต่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนในอนาคต อย่างไร ก็ตาม กล้วยเป็ นผลไม้ที่มีมูลค่าการส่งออกมากที่สุด ในปีค.ศ.2016 มีมูลค่า การส่งออกอยู่ที่ 197 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงมาอยู่ที่ 158.5 ล้านดอลลาร์ สหรัฐ ในปีค.ศ.2017 และมีแนวโน้มที่จะลดลงอย่างต่อเนื่องในอนาคต ทั้งนี ้ มูลค่าการลงทุนในการเพาะปลูกกล้วยอยูท ่ ป ี่ ระมาณ 20 ล้านกีบต่อเฮกตาร์ตอ ่ ปี และผลตอบแทนจากการเช่าพืน ้ ที่ปลูกกล้วยประมาณ 15 ล้านกีบ ได้สร้างราย ได้ให้แก่แรงงานชาวลาวถึง 780,000 กีบต่อคน (Vientiane Times, 2017) ขณะเดียวกันการลงทุ นในเขตเศรษฐกิจพิเศษบริเวณบ่อเต็น แขวง หลวงน�้ำทา สปป.ลาว มีพื้นที่ติดกับเมืองชายแดนบ่อหาน ประเทศจีน เน้นทาง ด้านการเงินการธนาคาร อุตสาหกรรม โลจิสติกส์และศูนย์กระจายสินค้า การ ค้าการลงทุน และศูนย์บริการทางการแพทย์ รวมทั้งเป็ นแหล่งพัฒนาด้านการ ศึกษา แหล่งวัฒนธรรมและศิลปะ แหล่งท่องเที่ยวและกีฬา อสังหาริมทรัพย์ เป็ นต้น ส่วนประเภทของที่พักอาศัยทั้งโรงแรมและรีสอร์ทมีราคาหลากหลาย 42 Investment Promotion Department of Laos PDR. (30 Oct 2018). Tax and Duty Incentives.

169


ตัง้ แต่ระดับธรรมดาจนถึงระดับ 5 ดาว จ�ำนวนห้องพักอาศัยกว่า 2,000 ห้อง เพื่อรองรับการเดินทางมาเยือนของนักธุรกิจโดยเฉพาะชาวจีนและนักท่องเทีย ่ ว ในอนาคต รวมทั้งมีโครงการก่อสร้างสนามกอล์ฟ และห้างสรรพสินค้าปลอด ภาษี โดยการลงทุนมีลักษณะแตกต่างจากเขตเศรษฐกิจต้นผึ้ง คือ ไม่อนุญาต ให้ เปิดเป็ นคาสิ โน ซึ่งในอนาคตจ�ำนวนประชากรจีนส่ วนหนึ่ งมี แนวโน้ มย้าย ถิ่นฐานเข้ามาตั้งรกรากในบริเวณนี ้ ซึ่งน�ำไปสู่การเปลี่ยนแปลงครัง้ ใหญ่ทาง ด้านเศรษฐกิจและสังคมของสปป.ลาว และประเทศภายในภูมิภาค โดยเฉพาะ เมื่อมีการเชื่อมต่อของโครงการรถไฟ และทางด่วนทีก ่ ำ� ลังจะเกิดขึน ้ ในอนาคต43 ในแขวงหลวงน�้ำทา มีหมู่บา้ นผลิตกระดาษ ส่วนมากผลิตเพื่อใช้เอง แต่ มีการจ�ำหน่ายเมื่อเช่นเดียวกัน ไม่ได้ท�ำการผลิตจ�ำนวนมาก เพราะชาวบ้านไม่ ได้รบ ั การส่งเสริม มากกว่านี ้ มีการต้มสุราที่เป็ นสินค้า OTOP ที่ผลิตในระดับ หมู่บ้าน ได้ท�ำการโฆษณา ติดฉลาก และมีองค์กรที่เกีย ่ วข้องเข้าไปตรวจสอบ มาตรฐาน ท�ำให้ปัจจุ บันมีการเปิดสุราชุมชนอย่างเป็ นทางการทั้งหมด 2 ราย ขณะที่มีหมู่บ้านในเมืองนาแล อยู่ห่างจากเมืองหลวงน�้ำทา 70 กิโลเมตร และ นั่งเรืออีก 4 ชั่วโมง มีช่ือเสียงในด้านของผ้าทอ จึงมีนายทุนจากชาวไทยเข้ามา ลงทุน และส่งออกไปประเทศไทย ปั จจุ บันรัฐบาลได้มีโครงการทดลองที่เมือง หลวงน�้ำทา เมืองสิง และเมืองนาแล ในการส่งเสริมและผลักดันงานทอผ้าและ หัตถกรรม ซึ่งมีการก่อตัง้ ธนาคารให้ชาวบ้านร่วมกลุม ่ กันกูย ้ ม ื ดอกเบีย้ ต�่ำเพื่อน�ำ ไปลงทุนในอุตสาหกรรมสิ่งทอ เพื่อยกระดับคุณภาพและมาตรฐานของสินค้า และส่งออกไปต่างประเทศ แขวงอุดมไซ นโยบายด้านการลงทุนที่เป็ นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและการ พัฒนาอย่างยั่งยืนเป็ นหลัก การลงทุนส่วนใหญ่อยู่ในด้านอุตสาหกรรมอาหาร และเครื่องดื่มขนาดย่อม เช่น โรงงานผลิตน�้ำดื่ม โรงงานน�้ำแข็งและไอศกรีม โรงงานผลิตเส้นหมี่เส้นเฝอ และโรงงานผลิตข้าวจี่ นอกจากนี ้ ยังมีการเข้า มาตัง้ โรงงานอุตสาหกรรมอื่นๆ เช่น โรงงานแปรรูปยางพารา โรงงานผลิตผง ซักฟอกและน�้ำยาล้างจาน เป็ นต้น ในด้านเกษตรกรรรม พบว่าพื้นที่ในเมืองไซมีการเพาะปลูกมากที่สุด ส่วนใหญ่ท�ำการเพาะปลูกข้าวสาลี และข้าวโพด รวมทั้งปลูกพืชผัก โดยเฉพาะ ผักปลอดสารพิษ แตงโม อ้อย และกล้วย ดังนั้น สินค้าเกษตรที่ท�ำการส่งออก คือ กล้วย และข้าวโพด ซึ่งมี เป้ าหมายหลักไปยังประเทศจีน และประเทศ เวียดนามรองมาในสัดส่วนค่อนข้างต�่ำ ทั้งนี ้ ผักปลอดสารพิษได้รบ ั ความนิยม 43 Yunnan. Express. (9 Feb 2017) A visit to Boten Special Economic Zone in Laos. 170


อย่างมากจากชาวต่างชาติ แต่ปัญหาด้านการเกษตรคือเกษตรกรลาวมักเปลีย ่ น การพืชที่ปลูกบ่อยครัง้ ตามการเปลีย ่ นแปลงของระดับราคา ส่วนสินค้าเกษตร ที่ไม่ได้รบ ั ความนิยม หรือที่มีราคาต�่ำ เนื่องจากไม่สามารถระบายสินค้าได้ จาก การที่ผู้รบ ั ซื้อมีจ�ำนวนน้อยราย นอกจากนี ้ ยังขาดการรวมกลุ่มเกษตรกร จึง ท�ำให้ขาดอ�ำนาจในการต่อรองราคา ดังนั้นยุทธศาสตร์ของแขวงอุดมไซจึงให้ ความส�ำคัญต่อการส่งเสริม และสนับสนุนการลงทุนในภาคการเกษตร โดย เฉพาะกลุม ่ บริษัทผู้รบ ั ซื้อวัตถุดบ ิ ซึ่งเป็ นเพิ่มโอกาสในการส่งออกสินค้าเกษตร เนื่ องจากการมี เส้ นทางการขนส่ งชายแดนทั้งประเทศจี นและเวี ยดนามโดย ใช้ระยะเวลาไม่นาน มากกว่านี ้ แขวงอุ ดมไซอุ ดมไปด้วยแหล่งพลังงานและ ทรัพยากรทางธรรมชาติ มีจ�ำนวนเขื่อนขนาดใหญ่ที่สามารถผลิตกระแสไฟฟ้ า 3 แห่ง และเขื่อนขนาดเล็กอีกประมาณ 15 แห่ง ส�ำหรับระยะเวลาการให้ สัมปทานเขื่อนอยู่ที่ประมาณ 29 ปี โดยรัฐบาลจะเป็ นผู้รา่ งสัญญา ส่วนคณะ ผู้ บริหารแขวงเป็ นฝ่ ายลงนามข้อตกลง ส่ วนใหญ่นักลงทุ นเป็ นชาวจีน และ สปป.ลาว และส่งออกไฟฟ้ ามาประเทศไทยเป็ นหลัก ในอนาคตมีแผนการส่ง เสริมการลงทุนด้านพลังงานไฟฟ้ าทางน�้ำ โดยแขวงอุดมไซมีแร่ธาตุเป็ นจ�ำนวน มาก แต่ในปั จจุ บน ั รัฐบาลลาวยังไม่อนุญาตให้มีการขุดเจาะ เนื่องจากไม่มีความ ช�ำนาญมากเพียงพอ แขวงหลวงพระบาง มีโครงสร้างทางเศรษฐกิจที่ประกอบด้วยการท่อง เที่ยวร้อยละ 45 ด้านการเกษตรร้อยละ 35 และด้านอื่นๆประมาณร้อยละ 20 การเติบโตด้านเศรษฐกิจโดยรวมประมาณร้อยละ 8 ต่อปี จ�ำนวนประชากร ประมาณ 450,000 คน และมีพื้นที่ประมาณ 16,000 ตารางกิโลเมตร พื้นที่ ส่วนใหญ่เป็ นพื้นที่ราบสูงร้อยละ 75 โครงสร้างพื้นฐานในเขตหลวงพระบาง มีความพร้อมมากกว่าแขวงหลวงน�้ ำทา และแขวงอุดมไซ ปั จจุ บันทางแขวง หลวงพระบางก�ำลังก่อสร้าง และขยายพื้นที่ตัวเมืองเพื่อเตรียมความพร้อม จากการขยายตัวของประชากรและจ�ำนวนนักท่องเที่ยวที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งสถานีรถไฟจะอยู่ห่างจากตัวเมืองเพียง 6-7 กิโลเมตร ส่วนรถไฟใช้เวลาใน การก่อสร้างเพียง 3 ปี เมืองหลวงพระบางแบ่งพืน ้ ที่เป็ นเขตเมืองใหม่และพืน ้ ที่ เขตเมืองเก่า ปั จจุ บันทางแขวงให้ความส�ำคัญในด้านการลงทุนภาคกสิกรรม เป็ นหลัก เนื่องจากการเติบโตด้านการท่องเที่ยวมีมูลค่าการเติบโตมากเพียง พอแล้ว ส�ำหรับเรื่องกสิกรรมต้องการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและพัฒนา ด้านการเพาะปลูกเพื่อรองรับการบริโภคที่เพิ่มขึ้นจากการขยายตัวของจ�ำนวน ประชากรและนักท่องเที่ยว 171


ปั จจุ บั น ปริม าณวั ต ถุ ดิ บ ในการประกอบอาหารต้ อ งน� ำ เข้ า จากต่ า ง ประเทศ เนื่องจากมีปริมาณไม่เพียงพอต่อความต้องการในประเทศ ดังนัน ้ ธุรกิจ ด้านอาหารที่น่าลงทุน คือ ด้านอาหารเพื่อสุขภาพเป็ นหลัก เช่น การจ�ำหน่ายพืช ผักปลอดสารพิษ โดยมีเงื่อนไขการลงทุน ได้แก่ 1) การก�ำหนดให้มีการจ้าง พนักงานท้องถิ่นอย่างน้อยร้อยละ 60 ของจ�ำนวนพนักงานทั้งหมด และ 2) การถ่ายทอดองค์ความรูแ้ ก่คนในท้องถิ่น โดยภาพรวมนักลงทุนชาวไทย ชาวจีน และชาวมาเลเซียเข้ามาลงทุนในแขวงหลวงพระบางมากที่สุด นักลงทุนชาวไทย ส่วนใหญ่เข้ามาลงทุนในธุรกิจภาคบริการ เช่น ธุรกิจโรงแรม ธุรกิจที่พักอาศัย ตลอดจนธุรกิจด้านความงามอย่างสปา และร้านเสริมสวย อย่างไรก็ตาม ยัง ขาดความไม่พร้อมของวัตถุดบ ิ เนื่องจากทางผู้ประกอบการยังจ�ำเป็ นต้องน�ำเข้า สมุนไพรส�ำเร็จรูปจากประเทศไทย และขาดแคลนแรงงานในบางสายอาชีพทีจ่ ะ เอื้อต่อธุรกิจภาคบริการ รวมทั้งการขาดบุคลากรที่จะให้ความรูด ้ ้านการบริการ เช่น การขาดแคลนอาจารย์สอนการนวดแผนโบราณหรือสอนทักษะการบริการ อื่นๆ อย่างไรก็ตาม ได้มีการสนับสนุนให้แรงงานเข้าร่วมอบรมที่สถาบันพัฒนา ฝีมือแรงงานนานาชาติที่อ�ำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย โดยเน้นการพัฒนา ศักยภาพแรงงานด้านการบริการเป็ นหลัก ด้ า นการเกษตรในแขวงหลวงพระบางส่ ว นใหญ่ ท� ำ การเพาะปลู ก ข้าว ลูกเดือย ข้าวโพด สั ปปะรด กล้วย ชากาแฟ ยาพารา เป็ นต้น ส่ วน ในด้ า นอุ ต สาหกรรมแขวงหลวงพระบางมี น โยบายสนั บ สนุ น การลงทุ น ด้ า นอุ ต สาหกรรมในพื้ น ที่ เ มื องเขตใหม่ ส� ำหรับปั จจุ บั นมี การลงทุ นในกลุ่ ม อุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ได้แก่ การแปรรูปยางพารา และโรงงานผลิตปูนซีเมนต์ นอกจากนี ้ แขวงหลวงพระบางเป็ นแขวงที่ มีการลงทุ นสร้างเขื่อนเพื่อผลิต กระแสไฟฟ้ าจ�ำนวนมาก โดยเขื่อนในแขวงหลวงพระบางมีจ�ำนวนทั้งสิ้น 12 แห่ ง กระจายตามสายแม่ น�้ำที่ ส�ำคัญ จึ งท� ำให้ แขวงหลวงพระบางสามารถ จ�ำหน่ายกระแสไฟฟ้ าได้อย่างทั่วถึง 7.1.3 ด้านการค้าชายแดน แขวงหลวงน�้ ำ ทา สิ น ค้ า ที่ มี ก ารผลิ ต และส่ ง ออกส่ ว นใหญ่ เ ป็ น สินค้าเกษตร เช่น ยางพารา ผลไม้ (กล้วย แตงโม ฟั กทอง) กาแฟ ของป่ า มันส�ำปะหลัง และหัตถกรรม โดยมีจุดหมายปลายทางไปยังประเทศจีนเป็ นหลัก และเวียดนามเป็ นรอง ในขณะที่สินค้าน�ำเข้ามาจากทั้งประเทศไทยและจีนเป็ น สินค้าจ�ำพวกอุปโภค-บริโภค หากเป็ นผลไม้ส่วนใหญ่น�ำเข้าจากประเทศจีน ทัง้ นี ้ ปั จจัยที่ส่งเสริมและอ�ำนวยความสะดวกทางการค้าในปั จจุ บัน คือ การยกเลิก 172


มาตรการภาษี น�ำเข้าส่ งออกตามข้อตกลงเขตการค้าเสรีอาเซียน (ASEAN Free Trade Agreement: AFTA) ซึ่งเป็ นข้อตกลงการส่งเสริมการน�ำเข้า ส่งออกระหว่างรัฐต่อรัฐระหว่างทางการจีน และสปป.ลาวมีอิทธิพลมากกว่า ข้อตกลงว่าด้วยการค้าอื่นๆ โดยเฉพาะข้อตกลงโควตาการน�ำเข้าวัตถุดิบ หรือ การส่งออกสินค้าจากสปป.ลาวไปประเทศจีน เอื้อต่อกลุ่มอุตสาหกรรมที่กลุ่ม นักธุรกิจชาวจีนเข้ามาลงทุน ในด้านของการขนส่ งโลจิสติกส์ มี ความตกลงว่ าด้วยการขนส่ งข้าม พรมแดนในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น�้ำโขง (GMS Cross Border Trade Agreement: CBTA) เข้ามาช่วยการส่งเสริมการขนส่งสินค้าในเขตลุม ่ แม่น�้ำโขง โดย การขนส่งสินค้าระหว่างไทยและลาวไม่ต้องมีการเปลีย ่ นถ่ายรถขณะข้ามแดน โดยประเทศไทยได้ลงนามข้อตกลงร่วมกับสปป.ลาว ท�ำให้การขนส่งจากไทย ข้ามไปสปป.ลาวมีความสะดวกมากขึ้น อย่างไรก็ตาม ประเทศไทย และจีนยัง ไม่มีข้อตกลงที่เกี่ยวข้องกับการขนส่งโลจิสติกส์อย่างเป็ นทางการ ท�ำให้ต้อง มีการเปลี่ยนถ่ายสินค้าที่ด่านชายแดนบ่อเต็น-บ่อหาน แม้ว่าการค้าชายแดน ส่วนใหญ่เป็ นการค้าระหว่างไทยกับจีน โดยสปป.ลาวเป็ นเพียงผู้ขนส่งสินค้า แต่ในบางครัง้ ไม่ใช่สินค้าจากประเทศไทย แต่เป็ นสินค้าที่มาจากสิงคโปร์ หรือ มาเลเซียทีถ ่ ก ู ส่งจากท่าเรือแหลมฉบัง อย่างไรก็ดี ความร่วมมือในระดับประเทศ ได้ผลักดันให้ผู้ประกอบการด้านขนส่งมีการปรับปรุ งการให้บริการ เช่น การ เปลี่ยนรถบรรทุกให้ได้ขนาดเทียบเท่าประเทศอื่นๆ การพัฒนาความสามารถ ของผู้ขับขี่ และค่าขนส่งสินค้าให้ได้มาตรฐานสากล เนื่องจากสปป.ลาวยังไม่ ได้มีการปรับปรุ งบริการขนส่งให้เป็ นไปตามกฎเกณฑ์ของความร่วมมือ ท�ำให้ การขนส่งข้ามชายแดนต้องใช้บริการจากประเทศเพื่อนบ้าน ส่วนบริษัทขนส่ง ของประเทศลาวก็ใช้แค่ขนส่งภายในประเทศ ซึ่งใช้ต้นทุนค่อนข้างสูง เพราะ รถบรรทุกมีขนาดเล็ก ท�ำให้สามารถขนสินค้าได้น้อย และน�้ำมันมีราคาแพงกว่า ประเทศใกล้เคียง นอกจากนี ้ มีความร่วมมือในระดับแขวง แขวงหลวงน�้ำทาถือเป็ นจุ ดยุทธศาสตร์ดา้ นโลจิสติกส์และศูนย์กระจาย สินค้า เนื่องจากมีชายแดนติดต่อกับประเทศจีน จึงมีแผนในการพัฒนาในการ สร้างจุ ดพักรถ และศูนย์บริการครบวงจนในอนาคต แม้ว่าในปั จจุ บันยังไม่มี ความจ�ำเป็ น เพราะใช้ระยะเวลาการเดินทางสัน ้ ทัง้ นี ้ หากรถไฟลาว-จีนที่กำ� ลัง ด�ำเนินการก่อสร้างอยู่ในปั จจุ บันได้มีการเปิดให้ใช้บริการในอนาคต ย่อมส่งผล ต่อปริมาณการขนส่งสินค้าทีม ่ ากขึน ้ น�ำไปสู่การเพิ่มความต้องการการใช้บริการ ศูนย์กระจายสินค้า เพราะการขนส่งจากแขวงหลวงน�้ำทาสามารถเชื่อมต่อกับ ประเทศเมียนมา และเวียดนาม รวมทั้งประเทศไทยผ่านทางอ�ำเภอเชียงของ 173


จังหวัดเชียงราย โดยแขวงหลวงน�้ำทามีความต้องการที่จะท�ำความร่วมมือกับ ประเทศไทยในด้านการค้าและการขนส่งสินค้า เพราะปั จจุ บันปริมาณสินค้า สูงขึ้น ท�ำให้ความต้องการในพาหนะที่ใช้ในการขนส่งเพิ่มขึ้นตาม รวมถึงระบบ ความปลอดภัยของทั้งสินค้า และพนักงานขนส่ง โดยที่ผ่านมาไทยกับลาวมี ความร่วมมือที่ดีตลอดมา ปั จจุ บันรถมีความร่วมมือกับไทยมากกว่า 200 คัน ใช้ส�ำหรับการขนตู้คอนเทนเนอร์ และมีการซื้อประกันภัยให้แก่คนขับ มากกว่า นั้น ไทยควรแก้ไขปั ญหาการขนส่งสินค้าผ่านด่านที่ไม่เป็ นระเบียบ และไม่ถูก ต้องตามกฎหมาย ท�ำให้การขนส่งของลาวต้องเปลืองงบประมาณไปกับการ จ้างแรงงาน การขนถ่ายสินค้า และรถเครน แขวงอุดมไซ พบว่าส่วนใหญ่น�ำเข้าสินค้ามากกว่าส่งออกสินค้าโดยใน ปีค.ศ.2016 มูลค่าสินค้าน�ำเข้า 89,201 ล้านกีบ เพิ่มขึ้นจากปีก่อนที่มูลค่าอยู่ ที่ 84,813 ล้านกีบ ขณะที่มูลค่าสินค้าส่งออกมีมูลค่าอยู่ที่ 49,865 ล้านกีบ ลดลงจากปีก่อนที่มีมูลค่าอยู่ที่ 50,596 ล้านกีบ โดยมีความร่วมมือที่เกีย ่ วข้อง การอ�ำนวยความสะดวกด้านการค้า ได้แก่ สิทธิพิเศษทางภาษี AISP (ASEAN Integration System of Preference) ซึ่งส่งเสริมให้มีการส่งออกสินค้า เกษตร สินค้า OTOP และสินค้าจ�ำพวกของป่ า ไปยังประเทศไทย ส่วนความ ร่วมมือด้านค้าทวิภาคีระหว่างสปป.ลาวและเวียดนามยังไม่เกิดขึ้น ซึ่งหากเกิด ความร่วมมือน่าจะส่งเสริมด้านการค้าได้เป็ นอย่างดี เนื่องจากพื้นที่แขวงอุดม ไซใกล้กบ ั ชายแดนเวียดนาม ส�ำหรับประเทศไทยมีความร่วมมือด้านการเกษตร และการอบรมพัฒนาศักยภาพแรงงานในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น�้ำโขงเป็ นหลัก โดย สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงานนานาชาติ ตัง้ อยูท ่ ี่อำ� เภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย ทั้งนี ้ การขนส่งสินค้าเกษตรใช้รถบรรทุกตู้คอนเทนเนอร์ไปยังประเทศจีนและ เวียดนาม เส้นทางการน�ำเข้าสินค้าจากประเทศไทยสู่แขวงอุดมไซ คือ ฝั่ งตะวัน ออกเฉียงเหนือของไทย และผ่านนครเวียงจันทร์เป็ นหลัก ส่วนใหญ่เป็ นสินค้าอุปโภคบริโภค ส�ำหรับปริมาณสินค้าน�ำเข้าจากประเทศไทยและประเทศจีนไม่ แตกต่างกันมาก ซึ่งสินค้าที่น�ำเข้าจากไทยมีราคาค่อนข้างสูง เนื่องจากมีต้นทุน ด้านการขนส่งและอัตราภาษีที่สูง แขวงหลวงพระบาง เป็ นเมืองมีจำ� นวนนักท่องเทีย ่ วมากมายเดินทางเข้า มาพักอาศัย ท�ำให้ความต้องการสินค้ามีทัง้ จากกลุม ่ นักท่องเที่ยวและคนในท้อง ถิ่น สินค้าส่วนมากน�ำเข้าจากประเทศไทย จีน และเวียดนาม ประเภทสินค้าน�ำ เข้าจากประเทศไทยและประเทศจีนค่อนข้างคล้ายคลึงกันได้แก่สินค้าอุปโภค บริโภค เครื่องใช้ ไฟฟ้ า และอุ ปกรณ์ ก่อสร้าง แต่ สัดส่ วนสิ นค้ าน� ำเข้ าจาก ประเทศจีนน้อยกว่าสินค้าจากประเทศไทย จากการสัมภาษณ์พบว่าส่วนใหญ่ 174


คนลาวในแขวงหลวงพระบางนิยมซือ ้ สินค้าจากประเทศไทยมากกว่า ส่วนสินค้า ส่งออกไปยังประเทศไทย ได้แก่ สินค้าประเภทของป่ า ข้าวโพด งา ลูกเดือย ก�ำยาน และผ้าฝ้ าย ประเทศจีน ได้แก่ ยางพาราแปรรูป และประเทศเวียดนาม ส่วนใหญ่เป็ นสินค้ากสิกรรม ได้แก่ ไม้ และเฟอร์นิเจอร์ การขนส่งสินค้าระหว่างประเทศไทยและหลวงพระบางมีหลากหลาย เส้นทาง ไม่ว่าจะเป็ นทางบก และทางน�้ำ ซึ่งเขตแดนในประเทศไทยที่มีเส้นทาง เชื่อมโยงกับแขวงหลวงพระบางในประเทศไทย ได้แก่ จังหวัดเชียงราย พะเยา น่าน อุตรดิตถ์ เลย และหนองคาย โดยการขนส่งจากด่านเชียงของ-หลวงพระ บางเป็ นการขนส่งสินค้าทางน�้ำเป็ นหลัก ส่วนการล�ำเลียงสินค้าทางบกไปยัง หลวงพระบางเกิดขึ้นในจังหวัดเลย และหนองคาย ส�ำหรับการเขตชายแดน เวียดนามที่ตด ิ ต่อกับแขวงหลวงพระบาง ได้แก่ เมืองเดียนเบียนฟู ปั จจุ บันภาษี มูลค่าเพิ่มในประเทศลาวคิดเป็ นร้อยละ 10 และมาตรการภาษีน�ำเข้าส่งออกขึน ้ อยู่กับข้อตกลงอาเซียน 7.2. ผลการสำ�รวจสภาวะทางเศรษฐกิจบนเส้นทาง R3B 7.2.1 ด้านการท่องเที่ยว จังหวัดท่าขีเ้ หล็ก มีจุดเด่นด้านการท่องเที่ยว ได้แก่ ตลาดค้าปลีกค้า ส่งในบริเวณท่าเหล็ก-แม่สาย และสถานที่ท่องเที่ยวที่เกีย ่ วข้องกับศาสนาเช่น วั ดวาอาราม รวมทั้งวั ดของครู บาบุ ญชุ่ มเกจิ อาจารย์ช่ื อดังที่ ตั้งอยู่เมื องพง จังหวัดท่าขีเ้ หล็ก นอกจากนี ้ ภายในตัวเมืองมีสถานบันเทิงในยามค�่ำคืนโดย เฉพาะแหล่งคาสิโน ซึ่งกลุ่มนักท่องเที่ยวส่วนใหญ่คือ คนไทย จากสถิติการ เดินทางผ่านเข้าออกบริเวณท่าขีเ้ หล็กและแม่สายโดยใช้บัตรผ่านแดน พบว่า จ�ำนวนชาวไทยเดินทางผ่านเข้าออกมากกว่า 7 แสนคนต่อปี ในขณะที่จ�ำนวน ชาวเมียนมาเดินทางเข้าออกมากกว่า 1 ล้านคนต่อปี ระยะเวลาในการเดินทาง ท่องเที่ยวของชาวไทยสามารถแบ่งออกเป็ น 3 กลุ่มได้แก่ กลุ่มแรกเป็ นนักท่อง เที่ยวไปกลับภายในหนึ่ งวัน ส่ วนใหญ่กลุ่มนี ้จะเดินทางเพื่อซื้อสิ นค้าบริเวณ ตลาดชายแดนท่าขีเ้ หล็กเป็ นหลัก กลุ่มต่อมาเป็ นนักท่องเที่ยวเดินทางเพื่อไป แสวงบุญโดยเฉพาะวัดครู บาบุญชุ่ม ซึ่งได้รบ ั กระแสนิยมเป็ นจ�ำนวนมากสืบ เนื่องจากเหตุการณ์ถ�้ำหลวง และกลุ่มสุดท้ายเป็ นนักท่องเที่ยวที่เดินทางเพื่อ ความบันเทิงโดยเฉพาะคาสิโน ซึ่งได้รบ ั ความนิยมอย่างมากจากชาวไทย จึงเห็น ได้ว่าแต่กลุ่มมีลักษณะการท่องเที่ยวที่แตกต่างกันไป ส�ำหรับเส้นทางคมนาคม ในเมื องท่ าขีเ้ หล็กมี ทั้งทางบกได้แก่ เส้ นทาง R3B ที่เชื่อมต่อชายแดนไทย เมียนมา และจีน ทางน�้ำได้แก่ ทางเรือล่องตามแม่น�้ำโขง และทางอากาศได้แก่ 175


ท่าอากาศยานท่าขีเ้ หล็ก นอกจากนีย ้ งั มีการสร้างสะพานมิตรภาพเมียนมา-ลาว ส่งผลให้แนวโน้มการเติบโตด้านการท่องเที่ยวดีขน ึ้ และสามารถพัฒนาเป็ นเส้น ทางการท่องเที่ยวทางธรรมชาติแห่งใหม่ ด้านการด�ำเนินเอกสารผ่านเข้าออก สามารถใช้ทั้งวีซ่าและบัตรผ่านแดนเข้าออก โดยบัตรผ่านแดนเข้าออกส�ำหรับ คนไทยสามารถเดินทางได้ไกลที่สุด คือ เมืองเชียงตุง และสามารถท่องเที่ยว ภายในบริเวณขอบเขตที่ทางการเมียนมาก�ำหนดไว้เป็ นระยะยาวนานสุด 7 วัน การขออนุญาตเดินเข้าเขตไทยของชาวเมียนมานั้นมีอุปสรรคและโดยกีดกัน ด้านระเบียบกฎหมาย เนื่องจากตามกฎหมายความมั่งคงอนุญาตให้ชาวเมียนมา ที่เดินทางเข้าประเทศไทยโดยใช้บัตรผ่านแดนไม่เกิน 250 กิโลเมตร และหาก จะเดินทางเข้าสู่ราชอาณาจักรไทยต้องท�ำวีซ่าเท่านัน ้ ซึ่งสถานกงสุลเมียนมาตัง้ อยู่ที่ย่างกุ้ง ท�ำให้ชาวเมียนมาอาศัยอยู่บริเวณตามแนวชายแดนไม่สะดวกและ ไม่คุ้มค่าในการเดินทางไปเพื่อยื่นขอวีซ่า ดังนั้น ท�ำให้ชาวเมียนมาที่มีก�ำลังซื้อ ไม่ได้รบ ั ความสะดวกในการเดินทางเข้าสู่ตัวเมืองเพื่อจับจ่ายใช้สอยสินค้าและ บริการในจังหวัดเชียงราย อย่างไรก็ตามชาวเมียนมาจะได้อนุญาตให้เดินทาง มายังจังหวัดเชียงรายมากกว่า 250 กิโลเมตร ในกรณีที่เดินทางมาพบแพทย์ หรือรักษาโรคเท่านั้น จากอุปสรรคดังกล่าวท�ำให้นักท่องเที่ยวเมียนมาเดินทาง มาท่องเที่ยวในตัวเมืองจังหวัดเชียงรายไม่มาก ส่วนใหญ่จ�ำนวนชาวเมียนมาที่ เดินทางผ่านเข้า-ออกจึงเป็ นกลุ่มแรงงานและกลุ่มพ่อค้าค้าปลีกค้าส่ง จั ง หวั ด เชี ย งตุ ง เน้ น การท่ อ งเที่ ย วเชิ ง วั ฒ นธรรม ศาสนา และ ประวัติศาสตร์ เชียงตุงมีวัดจ�ำนวนมากและมีประวัติศาสตร์ที่เชื่อมโยงกับล้าน นา จึงท�ำให้กลุ่มนักท่องเที่ยวส่วนใหญ่เป็ นชาวไทยที่นิยมเดินทางไปสักการะ วัดส�ำคัญในเชียงตุง และส่วนใหญ่เป็ นกลุ่มนักท่องเที่ยวผู้สูงวัย โดยภาพรวม มูลค่าการท่องเที่ยวในเชียงตุงไม่สูงมาก แต่มีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง แต่เส้น ทางจากท่าขีเ้ หล็กมาถึงเชียงตุงยังไม่ได้รบ ั การพัฒนาเท่าที่ควร และยังไม่ได้รบ ั การประชาสัมพันธ์ในวงกว้างโดยเฉพาะเส้นทางเดินป่ าชมธรรมชาติ นักท่อง เทีย ่ วตะวันตกนิยมมาท่องเทีย ่ วเชิงธรรมชาติเป็ นหลัก ในปั จจุ บน ั จ�ำนวนโรงแรม มีประมาณ 10 แห่ง โดยที่ภาครัฐบาลมีนโยบายส่งเสริมการอบรมทักษะการให้ บริการแก่พนักงานเพื่อยกระดับมาตรฐานด้านการบริการ 7.2.2 ด้านการค้าลงทุน จังหวัดท่าขีเ้ หล็ก แม้ว่าเป็ นเมืองที่มีความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจ แต่การ เจริญเติ บโตกลั บมี การกระจุ กตั วในตั วเมื อง และชายแดนที่ ติดกั บจั งหวั ด เชียงรายเป็ นหลัก มีจำ� นวนประชากรประมาณหนึ่งแสนกว่าคน โรงเรียนมีตงั้ แต่ 176


ระดับอนุบาลจนถึงระดับมัธยม และสถานศึกษาสังกัดทั้งรัฐบาลและเอกชน โดยมีโรงเรียนนานาชาติถึง 3 โรงเรียน และโรงเรียนวิชาชีพ ประชากรส่วน ใหญ่ประกอบอาชีพค้าชายตามแนวชายแดน ข้าราชการ และเกษตรกร สภาวะ เศรษฐกิจในระยะเวลาที่ผ่านมาก�ำลังตกต�่ำ เนื่องจากการค้าบริเวณชายแดน ซบเซา และมีอุปสรรคในการส่งออกสินค้ามายังประเทศไทย อย่างไรก็ตาม ท่าขีเ้ หล็กเป็ นจังหวัดที่อุดมไปด้วยทรัพยากรแร่ธาตุ การลงทุนด้านทรัพยากร จึงเป็ นที่น่าสนใจ โดยเฉพาะโครงสัมปทานการท�ำเหมืองแร่ขุดทอง มีทั้งกลุ่ม ทุนชาวเมียนมา และชาวจีนที่ให้ความสนใจ อย่างไรก็ดี รัฐบาลเมียนมายังไม่ เปิดเสรีให้แก่นักลงทุนต่างชาติ จึงต้องเป็ นการลงทุนร่วมกับกลุ่มทุนท้องถิ่น ในด้านการเกษตรจังหวัดท่าขีเ้ หล็กส่วนใหญ่เพาะปลูกข้าวโพด กระเทียม ข้าว เป็ นหลัก เนื่องจากยังไม่ใช้สิทธิทางการเสรีอาเซียนอย่างเต็มรูปแบบ จึงท�ำให้ สินค้าบางรายการจึงยังไม่ได้รบ ั การยกเว้นภาษี นอกจากนี ้ ประเทศไทยจ�ำกัด โควตาการน�ำเข้าข้าวโพด กระเทียม จึงท�ำให้เมียนมาหันมาส่งออกไปประเทศ จีนแทน แต่การส่งออกไปยังประเทศจีนมีต้นทุนในการขนส่งค่อนข้างสูง จึง ท�ำให้ส่วนใหญ่ยังคงเลือกส่งออกมายังประเทศไทย จังหวัดเชียงตุง มีประชากร 170,000 คน และมีจ�ำนวนหมู่บ้าน 32 หมู่บ้าน ประชากรที่มีรายได้สูงส่วนใหญ่ท�ำอาชีพค้าขาย ส่วนเกษตรกรราย ได้ขึ้นอยู่กับผลผลิตตามฤดูกาล ส่วนรายได้จากการท่องเที่ยวยังไม่สูงมากนัก เนื่องจากการท่องเที่ยวยังไม่ได้รบ ั ความนิยมอย่างกว้างขวาง เชียงตุงเป็ นเมือง ทางผ่านระหว่างเมืองตองจีซ่งึ เป็ นเมืองหลวงในรัฐฉาน และเป็ นเมืองทีเ่ ชื่อมกับ เส้นทาง R3B ไปยังประเทศจีนตอนใต้ผ่านเมืองลา ประชากรส่วนใหญ่ท�ำการ เกษตร การลงทุนส่วนใหญ่เป็ นการอุตสาหกรรมขนาดเล็ก เช่น โรงงานผลิ ตน�้ำดิ่ืม ยังไม่มีโรงงานแปรรูปสินค้า นอกจากนี ้ นักลงทุนชาวต่างชาติมีความ สนใจในการศึกษาความเป็ นได้ในการลงทุนด้านเหมืองแร่ปูนขาว แต่ด้วยระบบ ด้านสาธารณูปโภคยังไม่พร้อม การจ่ายไฟฟ้ าไม่ต่อเนื่องท�ำให้ไม่มีโรงงานเกิด ขึ้นมากนั กและโครงการการลงทุ นด้านเหมื องแร่จึงชะลอไปก่อน ในปีค.ศ. 2020 นโยบายภาครัฐตัง้ เป้ าหมายจะจ่ายกระแสไฟฟ้ าตลอด 24 ชั่วโมง ซึ่ง น่าจะดึงดูดนักลงทุนทัง้ ในประเทศและต่างชาติได้เป็ นอย่างมาก ในอนาคตเมือง เชียงตุงมีโครงการทีจ่ ะสร้างศูนย์การค้าเช่น ซุปเปอร์มาร์เก็ต ซึ่งในปั จจุ บน ั กาด หลวงถือเป็ นตลาดค้าปลีกและค้าส่งสินค้าที่ใหญ่ที่สุดในเมืองเชียงตุง ในด้าน การเกษตรสินค้าหลักที่มีการเพาะปลูก คือ ข้าว ซึ่งส่วนใหญ่ส่งออกข้าวไปยัง ประเทศจีนและไม่ได้กระจายผลผลิตไปขายภายในประเทศเนื่องจากราคาส่ง ออกไปยังประเทศจีนสูงกว่าราคาภายในประเทศ เส้นทางขนส่งคือ เส้นทาง 177


ผ่ านด่านชายแดนเมืองลาเป็ นหลัก เกษตรกรเชียงตุงสามารถเพาะปลูกข้าว ประมาณ 3 ครัง้ ต่อปี นอกจากนี ้ ได้มีแตงโมที่เกษตรกรนิยมปลูกและมีการส่ง เสริมการเพาะปลูกกาแฟ และชา 7.2.3 ด้านการค้าชายแดน จังหวัดท่าขีเ้ หล็ก ด้านการขนส่งมีทั้งทางบกและทางน�้ำ ซึ่งทางน�้ำมี ต้นทุนที่ต่�ำกว่าแต่ทางบกใช้ระยะเวลาน้อยกว่า เส้นทางบก ได้แก่ ชายแดนจีน ตอนใต้-เมืองลา-เมืองเชียงตุง-เมืองท่าขีเ้ หล็ก ส่วนทางน�้ำเป็ นการล่องเรือ ตามล�ำแม่น�้ำโขง และขนถ่ายสินค้าที่บ้านโป่ ง จากทางน�้ำสู่ทางบก และมุ่งหน้า สู่เมืองท่าขีเ้ หล็ก นอกจากนี ้ มีเส้นทางสะพานมิตรภาพเมียนมา-ลาว ที่เมือง เชียงราบ จังหวัดท่าขีเ้ หล็ก แต่ยงั ไม่เปิดให้บริการ เนื่องจากยังไม่มีการแก้ไขข้อ พิพาทด้านเขตแดน ด่านศุลกากรแม่สายถือเป็ นการค้าชายแดนทีม ่ ีมูลค่าการส่ง ออกสูงสุดอันดับ 3 ของมูลค่าการค้าชายแดนไทย-เมียนมาทั้งหมด (กรมการ ค้าต่างประเทศ, 2561) อย่างไรก็ตาม ในช่วง 5 ปีที่ผ่าน การท่องเที่ยวตลาด ท่าขีเ้ หล็กได้รบ ั กระแสความนิยมน้อยลง ท�ำให้การค้าขายซบเซา แต่การส่ง ออกสินค้าอุปโภค-บริโภคยังมีความส�ำคัญ และเป็ นสินค้าหลักในการส่งออก ไปเมืองท่าขีเ้ หล็ก จังหวัดเชียงตุง ในอดีตผู้ประกอบการเชียงตุงเน้นค้าขายกับพ่อค้าชาว จีนเป็ นส่ วนใหญ่เพื่อกระจายสิ นค้ามายังเมืองท่ าขีเ้ หล็ก จากเหตุการณ์ด่าน ชายแดนเมืองลาถูกปิดท�ำให้ผู้ประกอบการบางส่วนหยุดการซื้อขายสินค้าจาก ชายแดนจีน อย่างไรก็ตาม เส้นทางการค้าตามแนวชายแดนจีนมีหลายเส้นทาง แต่มีตน ้ ทุนทีส ่ ูงกว่าและใช้ระยะเวลานานกว่าชายแดนเมืองลา สินค้าน�ำเข้าหลัก ได้แก่ สินค้าประเภทอุปโภคบริโภคและวัสดุอุปกรณ์กอ ่ สร้าง ซึ่งส่วนใหญ่น�ำเข้า มาจากทัง้ ประเทศไทยและประเทศจีน เสื้อผ้าและเครือ ่ งส�ำอางเป็ นสินค้าน�ำเข้า จากประเทศจีนเป็ นหลัก โดยภาพรวมราคาสินค้าจากประเทศไทยสูงกว่าสินค้า จากประเทศจีน แต่ส่วนใหญ่ชาวเชียงตุงที่มีก�ำลังซื้อจะเลือกบริโภคสินค้าจาก ประเทศไทยเป็ นส่ วนใหญ่เนื่ องจากให้ ความส� ำคัญในด้านคุณภาพสิ นค้าเป็ น หลัก ทั้งนี ้ เชียงตุงวางแผนที่จะเป็ นศูนย์กลางด้านโลจิสติกส์ เพื่อการสร้าง ศูนย์การกระจายสินค้าและเชื่อมโยงการขนส่งไปยังเมืองย่างกุ้ง เมืองตองจี ประเทศไทยและประเทศจีน ความร่วมมือด้านการขนส่งในเมียนมาและไทยยัง ไม่เกิดขึน ้ เนื่องจากการเมียนมาไม่อนุญาตให้รถบรรทุกจากประเทศไทยเดินทาง เข้าสู่เขตแดนเชียงตุง ดังนัน ้ เชียงตุงจึงเหมาะที่จะเป็ นศูนย์กลางกระจายสินค้า และเป็ นจุ ดเปลีย ่ นถ่ายสินค้าซึ่งแนวคิดนีไ้ ด้รบ ั การสนับสนุนจากสมาคมพ่อค้า 178


ย่างกุ้งและตองจี อุปสรรคด้านการขนส่งส่วนใหญ่ถนนยังไม่ได้รบ ั การพัฒนา และเป็ นเส้นทางตามแนวเขา ท�ำให้เป็ นอุปสรรคต่อการขนส่งและง่ายต่อการ เกิดอุบัตเิ หตุ อย่างไรก็ตาม ถนนจากท่าเหล็กไปยังเชียงตุงมีความสะดวกสบาย และใช้ระยะเวลาในการเดินทางเพียง 2-3 ชั่วโมง 8. การวิเคราะห์การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจ ในส่วนนีไ้ ด้ท�ำการวิเคราะห์ศักยภาพด้วยเครื่องมือที่เรียกว่า ‘SWOT’ ที่แบ่งการวิเคราะห์ออกเป็ น 2 ปั จจัย ได้แก่ ปั จจัยภายใน ประกอบด้วย จุ ดแข็ง (Strengths) และจุ ดอ่อน (Weaknesses) และปั จจัยภายนอก ประกอบ ด้วย โอกาส (Opportunities) และภัยคุกคาม (Threats) เพื่อน�ำมาช่วยใน การออกกลยุทธ์ในการพัฒนาเศรษฐกิจทีท ่ �ำให้เกิดความร่วมมือระหว่างประเทศ ตามเส้นทางภายใต้ระเบียงเศรษฐกิจ R3 ซึ่งมาจากผลการส�ำรวจสภาพเส้นทาง เศรษฐกิจในข้างต้น 8.1 สภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจของสปป.ลาว แขวงหลวงน�้ำทา มีสถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่หลากหลาย และ กิจกรรมการท่องเที่ยว เช่น การเดินป่ า ล่องแม่น�้ำ ในการศึกษาธรรมชาติ และ วิถีชีวิตของชนเผ่ า ซึ่งได้รบ ั ความนิ ยมอย่างมากจากนั กท่ องเที่ยวชาวตะวัน ตก แต่เป็ นแค่ทางผ่ านส�ำหรับนักท่องเที่ยวชาวจีนเพียงเท่านั้น โดยทางการ ลาวได้มีการสนับสนุนให้มีการลงทุนด้านเกษตรกรรมในพื้นที่อย่างมาก ซึ่งได้มี ความตกลงที่เกีย ่ วข้องกับการค้า คือ CBTA ที่ช่วยให้เกิดความอ�ำนวยสะดวก ระหว่างการค้าชายแดนไทย-ลาว นอกจากนี ้ ยังมีเขตเศรษฐกิจพิเศษบ่อเต็นที่ เชื่อมโยงกับการโครงการรถไฟลาว-จีนที่ก�ำลังด�ำเนินการก่อสร้าง ซึ่งถือเป็ น โอกาสต่อการสร้างความเชื่อมโยงระดับภูมิภาคทางการค้า การลงทุน และการ ท่องเที่ยว อย่างไรก็ดี ยังขาดข้อตกลงด้านการขนส่งโลจิสติกส์ข้ามพรมแดน ระหว่างประเทศไทยกับจีนที่มาช่วยต่อยอดจากความร่วมมือ CBTA มากกว่า นี ้ การขนส่งสินค้าผ่านแขวงมีต้นทุนค่อนข้างสูง เนื่องจากรถบรรทุกสินค้ามี ขนาดเล็ก และราคาน�้ำมันแพงกว่าประเทศอื่นๆ รอบข้าง

179


ตารางที่ 1 การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจของแขวงหลวงน�้ำทา จุ ดแข็ง (Strengths)

จุ ดอ่อน (Weaknesses)

1. มีสถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่หลาก หลาย ซึ่งได้รบ ั ความนิยมจากนักท่องเที่ยว ชาวตะวันตกในกิจกรรมการเดินป่ า ล่องแม้นำ� เพื่อศึกษาธรรมชาติ และวิถีชีวิตของชนเผ่า 2. ได้ รั บ การส่ ง เสริ ม ให้ มี ก ารลงทุ น ท� ำ เกษตรกรรมจากรัฐบาลลาว

1. เป็ นแค่เมื องทางผ่ านของนั กท่ องเที่ ยว ชาวจี นไปสู่ เมื องอื่ นๆ เช่ น หลวงพระบาง เวียงจันทน์ หรือเขตเศรษฐกิจพิเศษต้นผึ้ง 2. แหล่งท่องเที่ยวที่ส�ำคัญไม่ได้รบ ั การดูแล จึงเริ่มทรุ ดโทรม และมีนักท่ องเที่ยวเข้าไป น้อยลง 3. ต้นทุนในการขนส่งสินค้าสูง เนื่องจากรถ บรรทุกมีขนาดเล็ก และน�้ำมันราคาแพงกว่า ประเทศอื่นๆ

โอกาส (Opportunities)

ภัยคุกคาม (Threats)

1. มี ค วามตกลงว่ า ด้ ว ยการขนส่ ง ข้ า ม 1. ขาดข้ อตกลงการขนส่ งโลจิ สติ กส์ ข้าม พรมแดนในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น�้ำโขง (GMS พรมแดนระหว่างประเทศไทยกับจีน ท� ำให้ Cross Border Trade Agreement: ต้องเสียเวลาในการเปลีย ่ นถ่ายสินค้า CBTA) ท�ำให้ไม่ตอ ้ งเปลีย ่ นถ่ายรถขณะข้าม แดนระหว่างประเทศไทยกับจีน 2. มีการจัดตัง้ เขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดน บ่ อ เต็ น (Boten SEZ) ที่ เ ชื่ อ มโยงกั บ โครงการรถไฟลาว-จี น ที่ ก� ำ ลั ง ด� ำ เนิ น การ ก่อสร้างอยู่ในปั จจุ บัน ท� ำให้ สามารถเชื่อม โยงทั้ ง ในด้ า นการท่ อ งเที่ ย ว และการค้ า ชายแดนระหว่างเมียนมา เวียดนาม และไทย ที่มา: จากคณะส�ำรวจ เดือนมกราคม พ.ศ.2561

แขวงอุ ดมไซ เป็ นเมืองที่เต็มไปด้วยแหล่งพลังงาน และทรัพยากรธรรมชาติ ได้ให้ ความส� ำคัญกับการลงทุ นที่เป็ นมิตรกับสิ่ งแวดล้อมและการ พัฒนาอย่างยั่งยืนเป็ นหลัก ซึ่งได้มีการส่งเสริมให้มีการลงทุนในภาคการเกษตร เป็ นส�ำคัญ โดยเฉพาะในการเพาะปลูกพืชผักปลอดสารพิษ ซึ่งได้รบ ั ความนิยม จากนักท่องเที่ยวต่างชาติ แต่ปัญหาของการเกษตรของแขวง คือ มีการปรับ เปลี่ยนการเพาะปลูกไปตามราคาตลาด ส่งผลให้ปริมาณการผลิตของสินค้า เกษตรไม่คงที่ นอกจากนี ้ ไม่มีการร่วมกลุ่มของเกษตรกร ท�ำให้ขาดอ�ำนาจใน การต่อรองราคา และขาดผู้รบ ั ซื้อรายใหญ่ ส่งผลสินค้าเกษตรบางชนิดมีราคา ตกต�่ำ ทัง้ นี ้ การเข้ามาลงทุนและสัมปทานก่อสร้างเขื่อนผลิตพลังงานไฟฟ้ าได้รบ ั การส่งเสริมจากรัฐบาลลาวเป็ นอย่างมาก ดังนัน ้ จึงมีไฟฟ้ าใช้งานอย่างเพียงพอ 180


ในพื้นที่ ประเทศไทยและลาวได้มีความร่วมมือกันในด้านของการให้สิทธิพิเศษ ทางภาษี AISP ที่ช่วยส่งเสริมให้มีการส่งออกสินค้ากสิกรรมต่างๆจากสปป. ลาวไปประเทศไทย มากกว่านี ้ ได้มีความร่วมมือกันในด้านของการเกษตร และ การอบรมพัฒนาศักยภาพแรงงานในอนุภม ู ภ ิ าคแม่น�้ำโขงกับสถาบันพัฒนาฝีมอ ื แรงงานนานาชาติเชียงแสน แขวงอุดมไซเป็ นหนึ่งในเส้นทางที่รถไฟจีน-ลาวตัด ผ่าน จึงถือเป็ นโอกาสในการเชื่อมโยงโลจิสติกส์ระหว่างประเทศ 4 ประเทศ ได้แก่ ไทย ลาว จีน และเวียดนาม แต่ปัจจุ บันการขนส่งสินค้าจากไทยไปสปป. ลาวมีอัตราภาษีและต้นทุนการขนส่งอื่นๆ ค่อนข้างสูง ตารางที่ 2 การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจของแขวงอุดมไซ จุ ดแข็ง (Strengths)

จุ ดอ่อน (Weaknesses)

1. มีนโยบายด้านการลงทุนที่เป็ นมิตรกับสิ่ง แวดล้อมและการพัฒนาอย่างยั่งยืนเป็ นหลัก 2. มีนโยบายส่งเสริมให้เกิดการลงทุนภาค เกษตร 3. ผั กปลอดสารพิษที่ได้รบ ั ความนิ ยมจาก ชาวต่างชาติ 4. แหล่งพลังงานและทรัพยากรธรรมชาติ

1. เกษตรกรเปลี่ยนชนิ ดของสิ นค้าเกษตร ที่เพาะปลูกตามการเปลีย ่ นแปลงของราคา 2. ขาดการร่วมกลุม ่ ของเกษตรกร ท�ำให้ไม่มี อ�ำนาจในการต่อรองราคา 3. สิ น ค้ า เกษตรที่ ต กต�่ ำ มาจากการที่ ไ ม่ มี ผู้รบ ั ซื้อ

โอกาส (Opportunities)

ภัยคุกคาม (Threats)

1. การเข้ า มาลงทุ น ของสั ม ปทานในการ 1. อัตราการขนส่งและภาษีจากไทยไปสปป. ก่อสร้างเขื่อนผลิตพลังงานไฟฟ้ า ซึ่งรัฐบาล ลาวค่อนข้างสูง มีการส่งเสริมให้มีการลงทุน 2. การให้สิทธิพิเศษทางภาษี AISP (ASEAN Integration System of Preference) ที่ส่งเสริมให้ มีการส่ งออกสิ นค้า กสิกรรมต่างๆไปประเทศไทย 3. ความร่วมมื อกับไทยในด้ านการเกษตร และการอบรมพั ฒ นาศั ก ยภาพแรงงานใน อนุภูมิภาคแม่น�้ำโขง โดยสถาบันพัฒนาฝีมือ แรงงานนานาชาติ อ�ำเภอเชียงแสน จังหวัด เชียงราย 4. การก่อสร้างทางรถไฟความเร็วสู งจีนลาว ที่มา: จากคณะส�ำรวจ เดือนมกราคม พ.ศ.2561

181


แขวงหลวงพระบาง การท่องเที่ยวมีศักยภาพอย่างมาก เป็ นจุ ดหมาย ปลายทางของนักท่องเที่ยวหลากหลายเชื้อชาติ และช่วงอายุ โดยนักท่องเที่ยว สูงอายุนิยมเข้ามาพักผ่อนในระยะยาว ด้วยกิจการที่มีความเกีย ่ วข้องกับการให้ บริการด้านการท่องเที่ยวจ�ำนวน ทั้งโรงแรม เกสต์เฮ้าส์ ร้านอาหาร ตลอดจน สถานบันเทิง จึงมีความพร้อมในการรองรับนักท่องเทีย ่ วจ�ำนวนมาก ซึ่งกฎหมาย ของสปป.ลาวได้อนุญาตให้ต่างชาติสามารถลงทุนได้รอ ้ ยละ 100 ในกิจการ ที่พักอาศัย และร้านอาหาร ส่งผลให้อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเริ่มเข้าสู่ภาวะ อิ่มตัว จึงได้มีการสนับสนุนให้เกิดการลงทุนในภาคเกษตรกรรมแทน ซึ่งจากการ ที่นักท่องเที่ยวมีการขยายตัวในทุกปี ท�ำให้ไม่สามารถผลิตวัตถุดิบที่เป็ นอาหาร ได้เพียงพอต่อความต้องการ จึงต้องน�ำเข้าสินค้าจากประเทศอื่นๆรอบข้าง โดย เฉพาะการน�ำเข้าจากประเทศไทยและจีน มากกว่านั้น ยังแหล่งผลิตวัตถุดิบ เช่น สมุนไพรส�ำหรับภาคการบริการอย่างสปา และเสริมสวย ทั้งนี ้ แม้ว่าจะมี กิจการโรงแรม และร้านอาหารจ�ำนวนมาก แต่ยงั คงขาดแคลน ขาดความรู ้ และ ทักษะของภาคบริการในบางสายอาชีพ ซึ่งปั จจุ บันได้มีความร่วมมือกับสถาบัน พัฒนาฝีมือแรงงานเชียงแสน จึงถือเป็ นโอกาสในการพัฒนาความร่วมมืออย่าง ต่อเนื่องในอนาคต อย่างไรก็ดี การมีความร่วมมือกับกลุม ่ ประเทศใน GMS การ เกิดขึน ้ ของรถไฟจีน-ลาว และการเปิดด่านชายแดนภูซาง จะส่งผลให้มีนักท่อง เที่ยวเดินทางเข้ามาเพิ่มขึ้น แต่การท่องเที่ยวยังคงติดข้อจ�ำกัดในรูปแบบของ กลุ่มคณะที่จ�ำเป็ นต้องอาศัยบริษัทน�ำเที่ยว ซึ่งสร้างต้นทุนให้แก่นักท่องเที่ยว

182


ตารางที่ 3 การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจของแขวงหลวงพระบาง จุ ดแข็ง (Strengths)

จุ ดอ่อน (Weaknesses)

1. เป็ นเมื อ งมรดกโลก และเป็ นสถานที่ ท่องเที่ยวยอดนิยมส�ำหรับนักท่องเที่ยวชาว ตะวั น ตก ท� ำ ให้ เ ป็ นเมื อ งที่ มี ศั ก ยภาพการ ท่องเที่ยวสูง 2. กลุ่มนั กท่ องเที่ยวที่เข้ามามี ความหลาก หลายของประเภท อายุ และเชื้อชาติ 3. นักท่องเที่ยวนิยมเข้ามาพักผ่อนในระยะ ยาว 4. มีกจิ การทีเ่ กีย ่ วเนื่องกับการท่องเทีย ่ วเป็ น จ�ำนวนมากในหลากหลายระดับราคา 5. การลงทุนด้านโรงแรม ร้านอาหาร และ ประเภทธุรกิจที่อยูใ่ นบัญชีควบคุมจะให้สิทธิ ชาวต่างชาติสามารถลงทุ นได้รอ ้ ยละ 100 ส่วนการลงทุนในบริษัทน�ำเที่ยวต้องร่วมทุน กับคนท้องถิ่น 6. มีความพร้อมในด้านของสาธารณูปโภค โดยเฉพาะไฟฟ้ าที่ มี ก ารผลิ ต จากเขื่ อน จ�ำนวนกว่า 12 แห่งตามแม่น�้ำสายหลัก

1. ลั ก ษณะการท่ อ งเที่ ย วแบบกรุ ๊ ป ทั ว ร์ จ�ำเป็ นต้องจ้างบริษัทน�ำเที่ยวโดยไม่สามารถ เข้าเมืองได้โดยพลการ เนื่องจากผิดกฎหมาย 2. การผลิตวัตถุดิบในด้านอาหารที่ไม่เพียง พอต่อความต้องการของประชากรและนั ก ท่องเที่ยวในประเทศ ท�ำให้ต้องมีการน�ำเข้า มาเป็ นจ�ำนวนมาก 3. ขาดแหล่ ง วั ต ถุ ดิ บ ที่ มี ค วามพร้อ มต่ อ การพั ฒนาของภาคบริการท่ องเที่ ยว เช่ น สมุนไพร ที่เป็ นวัตถุดิบส�ำคัญต่อธุรกิจเสริม สวยและสปา 4. ขาดแรงงานในบางสายอาชีพที่จ�ำเป็ นต่อ ธุรกิจภาคบริการ 5. ขาดบุคลากรที่ให้ความรู ด ้ ้านการบริการ เช่น การนวดแผนโบราณ เป็ นต้น

โอกาส (Opportunities)

ภัยคุกคาม (Threats)

1. มีบันทึกความเข้าใจในการร่วมมือพัฒนา เศรษฐกิจและการท่องเทีย ่ วในกลุม ่ GMS ซึ่ง ส่งผลให้นักท่องเที่ยวจ�ำนวนมากขึ้น 2. การก่อสร้างทางรถไฟความเร็วสู งจีนลาว 3. มี ค วามร่ว มมื อ ในการพั ฒ นาศั ก ยภาพ แรงงานกั บ สถาบั น พั ฒ นาฝี มื อ แรงงาน นานาชาติเชียงแสน 4. การเปิดด่านชายแดนถาวรของอ�ำเภอภู ซาง จังหวัดพะเยา 5. มี นโยบายส่ งเสริมให้ มีการท่ องเที่ยวใน ระยะยาวมากขึ้น 6. มี น โยบายส่ ง เสริ ม การลงทุ น ในด้ า น เกษตรกรรม

1. อุ ต สาหกรรมการท่ อ งเที่ ย วเริ่ ม เข้ า สู่ ภาวะอิ่ ม ตั ว จากการขยายตั ว ของกิ จ การ การบริการที่ รวดเร็ว และมี ผู้เล่ นในตลาด จ�ำนวนมาก

ที่มา: จากคณะส�ำรวจ เดือนมกราคม พ.ศ.2561 183


8.2 สภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจของเมียนมา เมียนมาเป็ นจุ ดอ่อนและอุปสรรคในด้านต่างๆ ค่อนข้างมาก ซึ่งปั ญหา ส�ำคัญที่สุด คือ การขาดเสถียรภาพทางการเมืองที่ส่งผลกระทบอย่างมากต่อ การเติบโตทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะในพื้นที่ชายแดนท่ าขีเ้ หล็กที่เข้าสู่ ภาวะ ซบเซา ซึ่งมีนักท่องเที่ยวเดินทางเข้ามาจับจ่ายใช้สอยน้อยลง ทั้งยังท�ำให้เกิด การปิดเมือง ท�ำให้ผู้ประกอบการขนส่งต้องใช้ระยะเวลาในการอ้อมเพื่อขนส่ง สินค้าระหว่างเมืองหลักของเมียนมาอย่างย่างกุ้ง และชายแดนขีเ้ หล็กมากขึ้น ในด้านของอุปสรรคทางการค้าอื่นๆ ประกอบด้วย เส้นทางการขนส่งสินค้าได้ มีการเก็บค่าผ่านทางหลายจุ ด ท�ำให้เสียเวลาในการช�ำระเงิน และใช้ระยะเวลา ในการเดินทางมากขึน ้ การสาธารณูปโภคและโครงสร้างพืน ้ ฐานทีเ่ อือ ้ ต่อการค้า และการลงทุนยังไม่มค ี วามพร้อม โดยการจ่ายกระแสไฟฟ้ าไม่มค ี วามทั่วถึงในทุก พืน ้ ที่ และไม่มีความต่อเนื่อง กฎระเบียบของเมียนมาไม่มีความแน่นอน สามารถ ปรับเปลีย ่ นได้ตลอดเวลา การขาดศูนย์กลางที่ช่วยในการกระจายสินค้าไปตาม เมือง และประเทศต่างๆ เมียนมายังคงไม่ได้มีการเปิดการค้าเสรีภายใต้กฎความ ร่วมมือ ASEAN ไทยได้มีการจ�ำกัดโควตาการน�ำเข้าสินค้าเกษตรบางชนิด กฎ ระเบียบในด้านการเงิน และการโอนเงินระหว่างประเทศขาดความชัดเจน เส้น ทางมิตรภาพเมียนมา-สปป.ลาวที่ยังไม่เปิดให้ ใช้งานจากปั ญหาความมั่นคง ระหว่างประเทศ ไทยและจีนไม่มีความร่วมมือด้านการขนส่งโลจิสติกส์ ท�ำให้ รถบรรทุกจากประเทศไทยไม่สามารถเดินทางผ่ านเมืองเชียงตุง ในด้านของ อุปสรรคในการท่องเที่ยว ประกอบด้วย การไม่มี Visa on Arrival ในพื้นที่ ชายแดน ท�ำให้การด�ำเนินเอกสารเพื่อข้ามแดนต้องใช้ระยะเวลานาน นักท่อง เที่ยวเมียนมาไม่สามารถเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในตัวเมือง ทั้งนี ้ แม้ว่ามีความ ร่วมมือในลุ่มแม่น�้ำโขง แต่ยังไม่มีการแผนการพัฒนาร่วมกันที่ชัดเจน และเป็ น รูปธรรม อย่างไรก็ตาม การเปิดให้ใช้งานสะพานมิตรภาพเมียนมา-ลาว ที่เมือง เชียงราบ จังหวัดท่าขีเ้ หล็ก จะส่งผลให้มีการค้าชายแดนและการท่องเที่ยวที่ มากขึ้น

184


ตารางที่ 4 การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจของเมียนมา จุ ดแข็ง (Strengths)

จุ ดอ่อน (Weaknesses)

1. อุ ด มไปด้ ว ยทรัพ ยากรแร่ธ าตุ จึ ง มี นั ก ลงทุนทั้งจีนและเมียนมามีความสนใจในเข้า มาสัมปทาน โดยเฉพาะการท�ำเหมืองแร่ขุด ทอง 2. มีการขนส่งหลากหลายช่องทาง ทั้งทาง บก และทางน�้ำ 3. ตัง้ อยู่บนระเบียงเศรษฐกิจ R3B

1. การพั ฒนามี การกระจุ กตั วอยู่ ในแค่ ใน เมื อ ง และชายแดนติ ด กั บ อ� ำ เภอแม่ ส าย จังหวัดเชียงราย 2. เศรษฐกิจเข้าสู่ ภาวะตกต�่ำ จากการค้า ชายแดนที่ซบเซา 3. รัฐ บาลเมี ย นมายั ง ไม่ เ ปิ ด เสรีใ ห้ แ ก่ นั ก ลงทุนต่างชาติ จึงต้องเป็ นการลงทุนร่วมกับ กลุ่มทุนท้องถิ่น 4. เส้นทางการขนส่งมีด่านเก็บค่าผ่ านทาง หลายจุ ด ท�ำให้การขนส่งใช้ระยะเวลานาน 5. การเมืองการปกครองขาดเสถียรภาพ ส่ง ผลกระทบต่อการค้าขายตามแนวชายแดน ท�ำให้ต้องหลีกเลีย ่ งพื้นที่พิพาท และกระทบ ต่อต้นทุนการขนส่งที่เพิ่มขึ้น รวมทั้งจ�ำนวน นักท่องเที่ยวลดลงเนื่องจากกังวลด้านความ ปลอดภัย 6. การพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐานยังไม่ ทั่วถึงโดยเน้นพื้นที่ในตัวเมืองเป็ นหลัก และ ยั งไม่ ความพร้อมไม่ สมบู รณ์ โดยการจ่ าย กระแสไฟฟ้ ายังไม่ต่อเนื่อง 7. กฎระเบียบข้อบังคับมีความไม่แน่นอน 8. ขาดศูนย์กลางกระจายสินค้า

185


โอกาส (Opportunities)

ภัยคุกคาม (Threats)

1. การขยายเวลาเปิด-ปิดด่านชายแดน 1. ยังไม่เปิดการค้าเสรีอาเซียนอย่างเต็มรูป 2. ความร่ว มมื อ โครงการพั ฒ นาการท่ อ ง แบบ ท�ำให้สินค้าบางรายการจึงยังไม่ได้รบ ั เที่ยวระหว่างประเทศ 5 เชียง การยกเว้นภาษี 2. ไทยจ� ำ กั ด โควต้ า ในการน� ำ เข้ า สิ น ค้ า เกษตรบางชนิดจากเมียนมา ได้แก่ ข้าวโพด กระเทียม 3. เส้นทางสะพานมิตรภาพเมียนมา-ลาว ที่ เมืองเชียงราบ จังหวัดท่ าขีเ้ หล็ก แต่ยังไม่ เปิดให้บริการ เนื่องจากยังไม่มีการแก้ไขข้อ พิพาทด้านเขตแดน 4. กฎระเบียบด้านการโอนเงินและธุรกรรม ทางการเงินของไทย เนื่ องจากเหตุผลด้าน ความมั่ ง คงส่ ง ผลให้ นั ก ธุ ร กิ จ ในท่ า ขี ้เ หล็ ก มี ความเสี่ ยงถูกตรวจสอบบั ญชี และอายัด บัญชี 5. ความร่วมมือในด้านการท่องเที่ยวยังไม่มี แผนที่ชัดเจน และเป็ นรูปธรรม 6. ยั ง ไม่ มี ก ารเปิ ด ให้ บ ริก าร VISA on Arrival 7. นั ก ท่ อ งเที่ ย วชาวเมี ย นมาไม่ ส ามารถ เดิ น ทางมาท่ อ งเที่ ย วตั ว เมื อ งเชี ย งรายได้ เนื่องจากมีข้อจ�ำกัดระยะทาง 8. ไม่มีความชัดเจนในด้านการเชื่อมโยงการ ขนส่งระหว่างประเทศไทยและเมียนมา 9. รถบรรทุกจากประเทศไทยไม่สามารถเดิน ทางผ่านเมืองเชียงตุง ที่มา: จากคณะส�ำรวจ เดือนมกราคม พ.ศ.2561

9. สรุปและข้อเสนอแนะ ความร่วมมือทางด้านเศรษฐกิจระหว่างไทยกับประเทศเพื่อนบ้านทั้ง ในรู ปแบบของทวิภาคี และพหุภาคีถูกเชื่อมโยงผ่ านเส้นทางคมนาคมภายใต้ ระเบียงเศรษฐกิจตามข้อตกลงของ GMS และมีการปรับกฎระเบียบ โครงสร้าง พื้นฐาน เพื่อให้ เกิดการอ�ำนวยความสะดวกด้านการค้า การลงทุ น และการ ท่องเที่ยวระหว่างกัน ซึ่งภายใต้ระเบียงเศรษฐกิจเหนือ-ใต้ (North-South Economic Corridor) ได้แบ่งออกเป็ น 2 เส้นทาง ได้แก่ เส้นทาง R3A และ R3B นอกจากนั้น เส้นทางที่มีความเชื่อมโยงกับการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง 186


ที่มีความส�ำคัญเช่นเดียวกัน คือ วงกลมเศรษฐกิจล้านนาตะวันออก-ล้านช้าง ซึ่งจากการศึกษาชิน ั นีชวี ้ ด ั สิ่งอ�ำนวยความสะดวกส�ำหรับ ้ นีไ้ ด้ท�ำการวิเคราะห์ดช การขนส่งสินค้าและการท่องเที่ยว และวิเคราะห์สภาพแวดล้อมของเมืองตาม เส้นทางดังกล่าว จากการวิเคราะห์ ดัชนี ชีว้ ัดสิ่ งอ�ำนวยความสะดวกส� ำหรับการขนส่ ง สินค้าและการท่องเที่ยว พบว่าเส้นทางที่มีความสะดวกในการขนส่งสินค้ามาก ที่สุด คือ แม่สาย-เชียงตุง ซึ่งเป็ นเส้นทางที่มีค่าคะแนนเฉลี่ยโดยรวมสูงสุด เช่นเดียวกัน เนื่องจากมีโครงสร้างพื้นฐานทางถนนที่ดี ช่วยให้เกิดการอ�ำนวย ความสะดวกในการขับขีต ่ ลอดเส้นทาง อย่างไรก็ตาม เส้นทางดังกล่าวมีระยะ ทางที่สัน ้ กว่าเส้นทางอื่นๆ ขณะเดียวกัน เส้นทางที่มีคา่ คะแนนสูงสุดในด้านของ การอ�ำนวยความสะดวกด้านการท่องเที่ยว คือ เส้นทางอุดมไซ-หลวงพระบาง ซึ่งเป็ นเส้นทางจากเมืองพักจากชายแดนไทยไปเมืองท่องเที่ยวที่เป็ นจุ ดหมาย ปลายทาง ขณะที่เส้ นทางหลวงน�้ ำทา-อุ ดมไซ มีค่าคะแนนใกล้เคียงกับเส้ น ทางหลวงพระบาง-ห้วยโก๋น จากการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมของเมืองตามเส้นทางเศรษฐกิจของ สปป.ลาว พบว่าทุกแขวงในสปป.ลาวมีศักยภาพในด้านการท่องเที่ยวค่อนข้าง สูง ซึ่งมีแหล่งทรัพยากรทางธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ และแหล่งท่องเที่ยวที่ ต้องได้รบ ั การพัฒนา นอกจากนี ้ มีศักยภาพการลงทุนในด้านของเกษตรกรรม ที่รฐั บาลลาวต้องการให้เกิดการพัฒนาในการภาคการผลิต เพื่อตอบสนองต่อ ความต้องการอาหารของทั้งประชากร และนักท่องเที่ยวที่เข้ามา ซึ่งสปป.ลาวมี ความพร้อมอย่างมากในด้านของพลังงานไฟฟ้ า อย่างไรก็ตาม มีการขาดทักษะ และความรู ใ้ นการให้ บริการ ในด้านของการค้าชายแดน สปป.ลาวท� ำหน้าที่ เสมือนผู้ขนส่งสินค้าให้กับไทยและจีน แต่ปัญหาคือรถบรรทุกมีขนาดเล็ก และ ราคาน�้ำมันแพง ท�ำให้ต้นทุนในการขนส่งสินค้าสูง ซึ่งไทยจ�ำเป็ นต้องอาศัยการ ขนส่งผ่านสปป.ลาว เนื่องจากไทยไม่สามารถใช้รถบรรทุกเข้าไปในประเทศจีน ได้ โดยปั จจุ บันความร่วมมือที่สปป.ลาวมีกับประเทศต่างๆเข้ามาช่วยส่งเสริม ให้เกิดการพัฒนาในประเทศอย่างมาก ซึ่งท�ำให้เกิดการปรับตัวของผู้ประกอบ การด้านการขนส่งให้มีมาตรฐานเทียบเท่ากับประเทศอื่นๆ และอ�ำนวยความ ความสะดวกให้กับการค้าชายแดน ทั้งนี ้ โอกาสจากการมาของรถไฟความเร็ว สูงจีน-ลาวจะส่งผลให้เกิดความเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศมากขึน ้ จากการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมของเมืองตามเส้นทางเศรษฐกิจของ เมียนมา พบว่าเมียนมาต้องมีการแก้ไขปั ญหาในด้านของเสถียรภาพทางการ เมืองที่ได้ส่งผลกระทบแก่ทุกด้าน โดยในช่วงที่ผ่านมาเศรษฐกิจของท่าขีเ้ หล็ก 187


และเชียงตุงเข้าสู่ภาวะซบเซา จากการค้าชายแดนที่ลดลง และการปิดเมือง หลักที่เป็ นทางผ่านในการขนส่งสินค้าจากย่างกุ้ง โดยการค้าชายแดนที่ถือว่า เป็ นกิจกรรมหลักของเมียนมาเต็มไปด้วยปั ญหาและอุปสรรคที่ควรมีการเร่ง แก้ไข เช่น การเก็บค่าผ่ านแดนหลายจุ ด การกระจุ กตัวของการพัฒนาทาง เศรษฐกิจและโครงสร้างพื้นฐาน การจ�ำกัดโควตาของน�ำเข้าสินค้าเกษตรของ ไทย ความไม่แน่นอนของกฎระเบียบด้านการโอนเงินระหว่างประเทศ เป็ นต้น ในด้านของลงทุน เมียนมาไม่ได้มีการเปิดเสรีให้กบ ั ชาวต่างชาติ ท�ำให้ตอ ้ งเข้าไป ในรูปแบบของการร่วมทุน ในด้านของการท่องเที่ยว ความร่วมมือปั จจุ บันยัง ขาดแผนการพัฒนาร่วมกันอย่างชัดเจน ดังนั้นการส� ำรวจเส้ นทางเศรษฐกิจในครัง้ นี ้ ท� ำให้ เห็ นทั้งโอกาสและ อุ ปสรรคที่ทั้งประเทศไทยและสปป.ลาวสามารถที่จะสร้างความร่วมมื อเพื่อ ท�ำให้เกิดความเชื่อมโยง และการเติบโตทางเศรษฐกิจร่วมกัน ทั้งในด้านของ การค้า การลงทุน และการท่องเที่ยว เอกสารอ้างอิง Gürel, E. (2017). Swot Analysis: A Theoretical Review. Journal of International Social Research,10(51), 994- 1006. doi:10.17719/jisr.2017.1832 Investment Promotion Department, (2018). Special Economic Zone (SEZ). [online] Available at http:// www.investlaos.gov.la/index.php/where-to-invest /special-economic-zone?start=2 [Accessed 3 Nov 2018]. Ministry of Information, Culture and Tourism, Tourism Development Department. (2017) Statistical Report on Tourism in Laos 2107. Available at: http://www.tour ismlaos.org/files/files/Statistical%20Report%20on%20 Tourism%20in%20Laos/2017%20Statistical%20Re port%20on%20tourism%20in%20Laos.pdf [Accessed: 25 Nov 2018]. กองความร่วมมือการค้าและการลงทุนกรมการค้าต่างประเทศ. (2561) สถิติการค้าชายแดนและการค้าผ่านแดนของประเทศไทยปี 2559- 2561 (มกราคม-ตุลาคม). สืบค้นจาก http://www.dft.go.th/ 188


bts/trade-report. เมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน 2561. สถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนา. (2555) โอกาสและผล กระทบทางเศรษฐกิจจากเส้นทางน่าน-หลวงพระบาง. ส�ำนักงานตรวจคนเข้าเมือง. (2561) สถิติการเดินทางเข้า-ออกราช อาณาจักรโดยใช้หนังสือเดินทาง และ ใช้บัตรผ่านแดน รายด่าน. สืบค้นจาก https://www.immigration.go.th/immigration_ stats เมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน 2561.

189


การถอดบทเรียนเส้นทางเศรษฐกิจ การค้า การขนส่ง การท่องเที่ยว เส้นทาง R12: นครพนม – หลังเซิน วราวุฒิ เรือนค�ำ, นภัส ร่มโพธ์, ณัฐพล รังสฤษฎ์วรการ, อาทิตยา ปาทาน บทคัดย่อ การศึกษาเรื่องสิ่งอ�ำนวยความสะดวกด้านการค้าการขนส่งตามแนว เส้นทาง R12 (ไทย สปป.ลาว เวียนาม) มุมมองจากผู้ส่งออกไทย เป็ นการ ศึกษาเชิงส�ำรวจ (Exploratory Study) ที่มีวัตถุประสงค์ 4 ประการ ได้แก่ 1. เพื่อวิเคราะห์ดัชนีชีว้ ัดสิ่งอ�ำนวยความสะดวกด้านการค้าและการขนส่ง 2. เพื่อวิเคราะห์ปัญหาและอุปสรรคการค้าชายแดนของไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน 3. เพื่อวิเคราะห์โอกาสและอุปสรรคของระบบการขนส่งโลจิสติกส์ตามแนว เส้นทาง R12 และ 4. เพื่อวิเคราะห์ศักยภาพ/ความพร้อมของสิ่งอ�ำนวยความ สะดวกด้านการท่องเที่ยวข้ามพรมแดน วิธก ี ารส�ำรวจใช้เทคนิคการส�ำรวจแบบ ไม่มีส่วนร่วม (Non-participation Observation) และท�ำการประเมินด้วย วิธก ี ารสังเกตการณ์ (Visual Inspection Rating: VIR) ผลการศึกษาพบ ว่าเส้นทาง R12 เป็ นเส้นทางที่มีระยะสั้นและประหยัดเวลากว่าเส้น R9 และมี สิ่งอ�ำนวยความสะดวกตามเส้นทางอยูใ่ นระดับมาตรฐาน ผู้คา้ สามารถท�ำการค้า ได้ตามปกติ สภาพเส้นทางมีปัญหาบางช่วง อีกทัง้ เป็ นเส้นทางที่มีความสวยงาม ตามธรรมชาติ มีส่ิงอ�ำนวยความสะดวกด้านการท่องเที่ยวอยู่ในระดับดี เหมาะ กับการพัฒนาเป็ นเส้นทางท่องเที่ยว R12 เชื่อมโยงการท่องเที่ยวข้ามพรมแดน ระหว่างไทย สปป.ลาว เวียดนาม และจีนตอนใต้ได้เป็ นอย่างดี ค�ำส�ำคัญ: ระเบียงเศรษฐกิจ โอกาสทางเศรษฐกิจ ดัชนีชีว้ ัดสิ่งอ�ำนวยความ สะดวกด้านการค้าและการขนส่ง Keywords: Economic corridor; Economic opportunity; Trade and transport facilitation indicator 1. ที่มาและความสำ�คัญ ประเทศไทยได้ มีการค้าชายแดนกั บประเทศเพื่ อนบ้ านที่ มีชายแดน 190


ติดต่อกันทั้งหมด 4 ประเทศ ได้แก่ มาเลเซีย เมียนมา สปป.ลาว และกัมพูชา และมีการค้าผ่านแดนกับ 3 ประเทศ ได้แก่ สิงคโปร์ เวียดนาม และจีนตอน ใต้ ซึ่งในปีพ.ศ.2560 มูลค่าการค้าผ่านแดนและชายแดนรวมกันมีค่าเท่ากับ 1,319,068.59 ล้านบาท ซึ่งมีการเติบโตอย่างต่อเนื่องในระยะ 5 ปีที่ผ่าน มา, DFT (2560) โดยสินค้าส่งออกส�ำคัญสามอันดับแรกได้แก่ คอมพิวเตอร์ และส่วนประกอบ (48.67%) ผลไม้แช่แข็ง อบแห้ง และผลไม้สด (23.96%) และวงจรพิมพ์ (4.86%) ขณะเดียวกันเมื่อพิจารณามูลค่าการค้าผ่านแดนจะ พบว่า จีนตอนใต้ เป็ นคู่ค้าที่ใหญ่ที่สุดของไทย รองลงมาได้แก่ เวียดนาม และ สิงค์โปร์ ตามล�ำดับ โดยจีนตอนใต้ถือได้ว่าเป็ นตลาดผลไม้ขนาดใหญ่ของไทย และมีแนวโน้มความต้องการมากขึ้นในอนาคต ทั้งนีต ้ ลาดที่ส�ำคัญของการค้า ผ่านแกนจากไทยสู่จีนได้แก่ กว่างซีจ้วง หนานหนิง และคุนหมิง ส�ำหรับเส้น ทางการผ่านแดนอาศัย 4 เส้นทางที่ส�ำคัญได้แก่ ภาคเหนือ ผ่านเส้นทาง R3A R3B และ ภาคตะวันออกเฉียง เหนือผ่านเส้นทาง R9 และ R12 โดยมูลค่าการ ค้าผ่านแยกรายด่านที่สูงที่สุดอยูท ่ ี่ดา่ นมุกดาหาร คิดเป็ นร้อย 55.4 ของการค้า ผ่านแดนทั้งหมด โดยอาศัยเส้นทาง R9 เป็ นเส้นทางหลักในการค้าผ่านแดนสู่ สปป.ลาว เวียดนาม และผ่านด่านผิงเซียงเข้าสู่หนานหนิง ประเทศจีน ดูได้จาก ตารางที่ 1 ตารางที่ 1 มูลค่าการค้าชายแดน แยกรายด่าน (หน่วย : ล้านเหรียญสหรัฐ) ล�ำดับ

1 2 3 4 5 6 7

ด่านชายแดน

เส้นทาง หลัก

ร้อยละ มูลค่าการค้าผ่านแดน %YoY 2017 2018 (มค-มิย) (มค-มิย) ด่านมุกดาหาร R9 55.41 721.03 267.83 -2.01 ด่านเชียงของ R3A 30.71 287.84 148.44 20.23 ด่านนครพนม R12 5.40 40.92 26.10 22.58 ด่านเชียงแสน R3A 1.77 58.34 8.56 -71.98 ท�ำเนียบ แม่น�้ำโขง 4.02 19.45 N/A ท่าเรือห้าช้าง ท่าเรือ แม่น�้ำโขง 2.60 12.57 N/A เชียงแสน ด่านแม่สาย R3B 0.08 1.09 0.39 -50.27 รวม 100 483.85 191


ที่มา: สถิติการค้าชายแดน , DFT (2018)

ส�ำหรับการส่งออกผลไม้ไทยสู่จีนทัง้ รูปแบบแช่แข็ง อบแห้ง และผลไม้ สด 3 อันดับที่ส�ำคัญที่สุดได้แก่ มังคุด ล�ำไยอบแห้ง และทุเรียน ซึ่งมูลค่าการ ค้าผ่านแดนเข้าสู่จีนมีการเติบโตสูงถึงร้อยละ 329 ในปีค.ศ.2018 ซึ่งเป็ นผล มาจากข้อตกลงพิธส ี ารว่าด้วยข้อก�ำหนดในการตรวจสอบและกักกันโรคส�ำหรับ การส่งออกและน�ำเข้าผลไม้ผ่านประเทศที่สามระหว่างประเทศไทยและจีน (ลง นามเมือวันที่ 24 มิ.ย. 2009) ระหว่างกระทรวงพาณิชย์ไทยกับ Inspection and Quarantine of the China (AQSIQ) ของประเทศจีน ที่อนุญาตให้ ผลไม้ไทยส่งสามารถส่งข้ามไปยังจีนได้โดยไม่ต้องเปิดตู้ และได้รบ ั การอ�ำนวย ความสะดวกด้านการตรวจสอบคุณภาพมาตรฐานต่างๆ โดยเส้นทางส่งออก ผลไม้หลักๆของไทยสู่จีนได้แก่ R9 ซึ่งเป็ นเส้นทางที่มุ่งส่งออกสู่ตลาดหนาน หนิง กว่างซีจ้วง และ R3A ส�ำหรับตลาดคุนหมิง เมื่อเปรียบเทียบระหว่างสอง ตลาดแล้ว พบว่าตลาดหนานหนิงและกว่างซีจ้วงเป็ นตลาดที่มีความส�ำคัญและ เป็ นตลาดที่มีความต้องการขนาดใหญ่ ท�ำให้ผู้ส่งออกผลไม้ไทยนิยมส่งไปขาย กับตลาดหนานหนิง กว่างซีจ้วง เป็ นส่วนใหญ่ โดยเส้นทางที่ใช้ขนส่งที่ส�ำคัญ ได้แก่ เส้นทาง R9 และ R12 ปั ญหาการส่งออกผ่านเส้นทาง 9 ตามการศึกษาของ กฤษณะ สุกันต พงศ์ (2011) ชีใ้ ห้เห็นว่าการขนส่งผ่าน R9 มีอุปสรรคค่อนข้างเยอะ ประกอบ ด้วย 1) ลักษณะทางกายภาพของเส้นทางค่อนข้างขรุขระ ผิวจราจรช�ำรุด เส้น ทางแคบ ท�ำให้เกิดการล่าช้าในการขนส่ง และยังมีปัญหาด้านการจัดการจราจร อยู่ค่อนข้างเยอะ 2) สิ่งอ�ำนวยความสะดวกทางากรค้าชายแดนตามข้อตกลง GMS CBTA ยังไม่ถูกบังคับใช้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น ยังติดปั ญหาเรือ ่ งการ เปลีย ่ นถ่ายสินค้า การเก็บค่าผ่านทางในอัตราสูง การคิดราคาผลไม้ไทยที่ด่าน จีนสูงกว่าความเป็ นจริง ปั ญหาการก�ำจัดความเร็วในสปป.ลาวและเวียดนาม ปั ญหาการเปลี่ยนแปลงกฎระเบียบการค้าของลาวที่ไม่แน่นอน การตรวจค้น สินค้า รวมถึงปั ญหาด้านการเผยแพร่ข้อมูลสิทธิประโยชน์ทางการค้าที่ไม่ท่ัว ถึง ในขณะเดียวกันได้มีการศึกษาจ�ำนวนมากทีพ ่ ยามหาช่องทางการค้าใหม่เพื่อ เพิ่มทางเลือกให้ผู้ส่งออกไทย เช่น Krishna S. 2010; Krishna S. 2011; Nucharee S. 2012; DIPT 2015 ได้ท�ำการศึกษาเส้นทางการค้าผ่านเส้น ทาง R12 จากสะพานมิตรภาพไทยลาวแห่งที่ 3 ด่านศุลกากรนครพนม เข้าสู่ ลาวทีท ่ ่าแขก แขวงค�ำม่วน จากนัน ้ ผ่านด่านชายแดนน�้ำพาว-ล่าจอ เข้าสู่ฮานอย และผ่านด่านหลังเซินและโย่วอีก ้ วาน ประเทศจีน นอกจากการขนส่งสินค้าแล้ว เส้นทาง R12 ก็ยังเป็ นอีกหนึ่งเส้นทางที่มีศักยภาพทั้งในด้านการขนส่งสินค้า 192


และการท่องเที่ยว เพื่อให้เกิดการยกระดับประสิทธิภาพความเชื่อมโยงการค้า การลงทุน การท่องเทีย ่ วระหว่างภาคเหนือของไทย กับภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สปป.ลาว เวียดนาม และจีน ผ่านเส้นทาง R12 ระเบียงเศรษฐกิจตะวันออก-ตะวันตก (East-West Economic Corridor: EWEC) ผู้ศึกษาจึงได้ท�ำการศึกษาเชิง ส�ำรวจในครัง้ นีโ้ ดยมีวัตถุประสงค์ที่จะหาเหตุผลเชิงประจักษ์เพื่อสนับสนุนการ ขนส่งสินค้าผ่านเส้นทาง R12 และเพื่อพิสูจน์สมมติฐานว่า R12 เป็ นเส้นทาง “New-Different-Better” หรือไม่ เมื่อเทียบกับเส้น R9 โดยพิจารณาจาก การประเมินผ่านการส�ำรวจ (Visual Inspection Rating) และการส�ำรวจ ข้อมูลอย่างไม่มีส่วนร่วม (Non-participation Observation) เพื่อลด ปั ญหาด้านอคติ (Bias) และการเข้าข้าง (Conflict of Interest) ประเทศใด ประเทศหนึ่ง โดยท�ำการประเมินเชิงประจักษ์ 3 ด้านที่ส�ำคัญ ได้แก่ สิ่งอ�ำนวย ความสะดวกตามเส้นทาง (Road Facilitation) สภาพเส้นทางจราจร (Road Condition) การอ�ำนวยความสะดวกด้านการค้าและการขนส่ง (Transport and Trade Facilitation: TTF) และการอ�ำนวยความสะดวกทางการท่อง เที่ยว (7A) ตลอดแนวเส้นทาง R12 ถึงด่านชายแดนหลังเซินประเทศเวียดนาม 2. วัตถุประสงค์ วัตถุประสงค์หลักของการศึกษาครัง้ นี ้ เพื่อศึกษาโอกาสและอุปสรรค การค้าชายแดนเส้นทาง R12 เพื่อยกระดับประสิทธิภาพความเชื่อมโยงการค้า ชาย การลงทุน และการท่องเที่ยวตามระเบียงเศรษฐกิจตะวันออก-ตะวันตก (East-West Economic Corridor: EWEC) โดยมีวต ั ถุประสงค์ยอ ่ ยดังนี ้ 1) สิ่งอ�ำนวยความสะดวกตามเส้นทาง R12 (Road Transport Facilitation) 2) ประเมินสภาพเส้นทาง (Road Condition Measurement) 3) วิเคราะห์ ดัชนีชีว้ ัดสิ่งอ�ำนวยความสะดวกการค้าและการขนส่ง (TTF) และ 4) ประเมิน สิ่งอ�ำนวยสะดวกด้านการท่องเทีย ่ ว (7A) โดยมีขอบเขตการศึกษาและระเบียบ วิถีการวิจัยดังนี ้ 3. ขอบเขตการศึกษา ด้านพื้นที่และประชากร การศึ กษานี ้ศึกษาการค้าชายแดนผ่ านเส้ น ทาง R12 ตามแนวระเบี ยงเศรษฐกิจตะวั นออก-ตะวั นตก (East-West Economic Corridor: EWEC) ประกอบด้วยจังหวัดนครพนม–ค�ำม่วน–กวา งบิ่งห์- ฮานอย-หลังเซิน-หนานหนิง โดยผ่านจุ ดผ่านแดน 6 จุ ด ได้แก่ ด่าน นครพนม-ด่านท่าแขก ด่านนาพาว-ด่านจ่าลอ ด่านหลังเซิน-และด่านผิงเสียง 193


(โย่วอีก ้ วาน) รวมระยะทาง 823 กิโลเมตร ด้านประเด็นการศึกษาและประเภทข้อมูล ประกอบด้วยประเด็นการ ศึ กษาจ�ำแนกตามวัตถุประสงค์อย่างชัดเจน ดังต่อไปนี ้ ก. ด้านปั ญหาและ อุปสรรคการค้าชายแดนและสภาพเส้นทาง ท�ำการศึกษาข้อมูลทุติยภูมิ จาก การรวบรวมจากแหล่งข้อมู ลต่างๆ ดังนี ้ สิ่ งอ�ำนวยความสะดวกทางการค้า (เช่น การช�ำระเงิน/โอนเงิน คลังสินค้า/สถานที่พักรถ เวลาเปิด-ปิดด่าน ฯลฯ) นโยบายและกฎระเบียบต่างๆ ที่เกีย ่ วข้องกับการค้าสินค้าและบริการที่เคลื่อน ย้ายผ่านจุ ดผ่านแดนถาวร จุ ดผ่อนปรน และจุ ดผ่านแดนชั่วคราว และพิธก ี าร ศุลกากรและหน่วยงานที่เกีย ่ วข้องที่มีต่อการก�ำหนดมาตรฐานสินค้า การตรวจ สอบสินค้า แหล่งก�ำเนิดสินค้า เป็ นต้น ข. สภาพเส้นทาง (Road Condition Measurement) รูปที่ 1 กรอบแนวคิด Distance, time rules and traffic laws

R12 Transport and Trade Facilitation

Hard Infrestructure

Soft infratructure

Road Transport Facility

Border-crossing facility

Road Condition

Transit facility

Tansport and Trade Facilitation: TTF

Capacity builing and Tachnology used

กรอบความร่วมมือ GMS CBTA ตามการศึกษาของ Yushu (2011) ประเทศในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น�้ำ โขง (Greater Mekong Subregion: GMS) ได้ข้อตกลง (Cross-Border Transport Facilitation Agreement :CBTA) ภายใต้การสนับสนุน ของธนาคาร Asian Development Bank (ADB) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 194


อ�ำนวยความสะดวกด้านการค้าชายแดนและการค้าผ่าน แดนของคนและสินค้า และเพื่อลดความยุ่งยากด้านกระบวนการขน ย้ายสินค้าและคนข้ามแดนในกลุ่มประเทศสมาชิก ได้แก่ ไทย สปป.ลาว และ เวียดนาม โดยเนื้อหาสาระส�ำคัญของบันทึกข้อตกลงสรุปเป็ นประเด็นที่ส�ำคัญ ได้ดังนี ้ 1. การอ�ำนวยความสะดวกด้านการข้ามพรมแดน (Facilitation of Border Crossing Formalities) ก) Single-window inspection (SWI) เป็ นการตรวจสอบและ การควบคุมต่างๆของผู้คน (หนังสือเดินทาง / วีซ่าใบอนุญาตขับขีเ่ งินตราต่าง ประเทศศุลกากรสุขภาพ / ระบาดวิทยา) ยานพาหนะ (การจดทะเบียนความ คุ้มค่าประกัน) และสินค้า (ศุลกากรคุณภาพการสุขาภิบาล / การป้ องกันพืช สัตวแพทย์) ควรด�ำเนินการร่วมกันและพร้อม ๆ กันโดยหน่วยงานที่เกีย ่ วข้อง ที่เกีย ่ วข้อง (เช่นศุลกากร ต�ำรวจตรวจคนเข้าเมือง การค้า การเกษตร หน่วย งานสาธารณสุข) ข) Single-stop inspection (SSI) เจ้าหน้าที่ของประเทศ คู่จะช่วยเหลือซึ่งกันและกันในขอบเขตที่เป็ นไปได้ในการปฏิบัติหน้าที่ของตน โดยต้องท�ำการตรวจสอบร่วมกันและพร้อมกัน และไม่อนุญาตให้มีการติดตัง้ จุ ดควบคุมด้านหลังชายแดนในท้ องถิ่นให้ เจ้าหน้ าที่ควบคุมจากประเทศหนึ่ ง ได้รบ ั อนุญาตให้ปฏิบัติหน้าที่ได้ในอาณาเขตของภาคีคู่สัญญาอีกฝ่ ายหนึ่ง ค) การประสานงานของชั่วโมง ต้องท�ำการประสานเวลาการท�ำงานของชายแดน ที่อยู่ติดกัน และ ง) การแลกเปลีย ่ นข้อมูล ต้องท�ำงานร่วมกันเพื่อให้สามารถ แลกเปลีย ่ นข้อมูลและการอนุมัติสินค้าและนักเดินทางได้ล่วงหน้า 2. การขนส่งข้ามพรมแดน ส�ำหรับ สินค้า (Cross-Border Transport of Goods) ก) ได้รบ ั การยกเว้นจากการตรวจสอบทางศุลกากร ทางกายภาพ เงิน มัดจ�ำ และ เบีย้ ประกัน โดยต้องด�ำเนินการเพื่อยกเว้นสินค้าในการขนส่งระหว่าง ประเทศจาก ศุลกากรตรวจทางกายภาพประจ�ำทีช ่ ายแดน ศุลกากรคุม ้ กันอยูใ่ น ดินแดนแห่งชาติ ข) การฝากพันธบัตรเพื่อเป็ นหลักประกันส�ำหรับภาษีศุลกากร ค) สิทธิการจราจร และการยอมรับรถ โดยให้เสรีภาพในการเดินทางผ่านแดน ส�ำหรับการขนส่งไปยังหรือจากอาณาเขตของผู้อ่ืน การจราจรที่ได้รบ ั สิทธิควร ได้รบ ั การยกเว้นจากภาษีศุลกากรและภาษีใด ๆ และค่าใช้จ่ายที่เกีย ่ วข้องกับ การขนส่งอื่นที่ไม่ใช่ภาษีศุลกากรและภาษีจะถูกเรียกเก็บอย่างเท่าเทียมกัน ง) การตรวจสอบสุขอนามัยพืชและสัตว์ ต้องปฏิบัตต ิ ามข้อตกลงระหว่างประเทศ 195


ทีเ่ กีย ่ วข้องกับข้อบังคับขององค์การอนามัยโลก องค์การอาหารและการเกษตร แห่งสหประชาชาติ และ องค์การโรคระบาดสัตว์ระหว่างประเทศ ในการตรวจ สอบสินค้าข้ามพรมแดน และ จ) ช่องทางพิเศษส�ำหรับการขนส่งสินค้าบาง ประเภทโดยเฉพาะ โดยข้อตกลงนีไ้ ม่ได้ใช้กับสินค้าอันตราย และการขนส่ง สินค้าที่เน่าเสียง่ายจะได้รบ ั การจัดล�ำดับความส�ำคัญส�ำหรับพิธก ี ารตรวจสอบ ข้ามพรมแดนเพื่อไม่ให้เกิดความล่าช้าอย่างไม่สมควร 3. การขนส่งข้ามพรมแดน ส�ำหรับ คน (Cross-Border Transport of People) ก) วีซ่า คนที่ประกอบกิจการขนส่ง จะด�ำเนินการให้วีซ่าแก่คนต่างชาติ ที่ด�ำเนิ นการขนส่ งและต้องปฏิบัติตามข้อก�ำหนดเกี่ยวกับวีซ่าหลายรายการ เข้าเมืองและออกจากประเทศเป็ นระยะเวลานาน ข) การขนส่งผู้โดยสาร การ ด�ำเนินการขนส่งข้ามพรมแดนของประชาชน (เช่นพาหนะยานพาหนะ เส้นทาง การก�ำหนดราคาตั๋ว) จะได้รบ ั การก�ำหนดไว้อย่างชัดเจนในพิธส ี าร 4. การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure) ก) มาตรฐานการออกแบบถนนและสะพาน ประกอบด้วย การก่อสร้าง หรือบูรณะถนน (รวมถึงสะพาน) ที่เชื่อมโยงประเทศจะด�ำเนินการภายใต้กรอบ โครงการแห่งชาติหรือโดยการจัดหาเงินทุนระหว่างประเทศและได้รบ ั อนุญาต จากแหล่งเงินทุ นที่มีอยู่ และต้องตรวจสอบให้ แน่ ใจว่าถนนมีความปลอดภัย มั่นคงและอยู่ในสภาพดีและต้องได้รบ ั การซ่อมแซมที่จ�ำเป็ น ข) ป้ ายถนนและ สั ญญาณ (Road Signs and Signals) สั ญญาณจราจรและสั ญญาณ มาตรฐานในอาณาเขตของตน โดยสิ่งอ�ำนวยความสะดวกในการข้ามพรมแดน ต้องด�ำเนินการเพื่อสร้างหรืออัพเกรดโครงสร้างพืน ้ ฐานที่จ�ำเป็ นในจุ ดผ่านแดน และอ�ำนวยความสะดวกในการรับรองความรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ 5. บทบัญญัติเบ็ดเตล็ด (Miscellaneous Provisions) เอกสารและวิธก ี าร ควรจ�ำกัดจ�ำนวนเอกสารและขอบเขตทีเ่ ป็ นไปได้ขน ั้ ตอนและพิธก ี าร และแปลเอกสารภาษาอังกฤษทั้งหมดที่ใช้ส�ำหรับการจราจร ข้ามพรมแดน ใช้รหัสสินค้า HS Code ทบทวนประโยชน์ของเอกสารและขัน ้ ตอนทั้งหมด ขจัดเอกสารใด ๆ และความต้องการของทางการที่ไม่ได้ให้บริการ เฉพาะอย่างใด ควรปฏิบัติตามการวัดทั้งหมดด้วยระบบเมตริกซ์ ควรแจ้งให้ ทราบล่วงหน้าเกีย ่ วกับข้อก�ำหนดเพิ่มเติมหรือการปรับเปลีย ่ นในเอกสารและขัน ้ 196


ตอนที่ก�ำหนดเพื่อแนะน�ำเกีย ่ วกับการจราจรข้ามพรมแดน และการปฏิบัติตาม และการบังคับใช้กฎหมายและข้อบังคับของประเทศ โดยบุคคลผู้ขนส่งและ ยานพาหนะต้องปฏิบัติตามกฎหมายและข้อบังคับที่มีผลบังคับใช้ในอาณาเขต ของประเทศเจ้าบ้าน ทัง้ นีป ้ ระเทศเจ้าบ้านอาจปฏิเสธการเข้าถึงชั่วคราวส�ำหรับ ผู้ที่ละเมิดบทบัญญัตข ิ องข้อตกลงหรือกฎหมายของประเทศ และต้องให้ความ โปร่งใสในการออกกฎหมายระเบียบข้อบังคับและการรักษาโดยไม่มีการเลือก ปฏิบัติ 4. การพัฒนาเส้นทาง R9 และ R12 หลังจากการลงนามความตกลง GMTA CBTA ในปีพ.ศ.2546 ภายใต้ การสนับสนุนของ ADB แล้วทาง R9 ได้เริม ั สังคมศาสตร์ ่ ศึกษาโดยสถาบันวิจย และรัฐประศาสนศาสตร์มณฑลกวางสี เพื่อส�ำรวจและเพิ่มระดับความเชื่อมโยง ระหว่างหนานหนิง-กรุงเทพฯ ซึ่งได้เริ่มศึกษาในปีพ.ศ.2553 สองปีต่อมา ได้ ประกาศให้เป็ นเส้นทาง R9 โดยเส้นทางนีต ้ ัง้ อยู่บน “ระเบียงเศรษฐกิจหนาน หนิง-สิงคโปร์” จากนั้นเส้นทาง R9 ได้กลายเป็ นที่รูจ้ ักมากขึ้นในหมู่ผู้ส่งออก ไทยโดยเฉพาะการส่งออกผลไม้ไทยไปจีน นอกจากนั้นเส้นทาง R9 ยังได้รบ ั การสนับสนุนจาก ADB ที่จะเชื่อมโยงเมืองเมาะละแม่ง เมียนมา กับเมืองดานัง เวียดนามบนระเบียงเศรษฐกิจตะวันตกตะวันออก (EWEC) อีกทั้งเส้น R9 ยัง สามารถเชื่อมโยงสิงคโปร์ มาเลเซียไทย สปป.ลาว เวียดนามและจีนตอนใต้เข้า ด้วยกันได้เป็ นอย่างดี จากการส�ำรวจของ Krishna S. (2010) ระยะทางของ เส้น R9 เริม ่ จากมุกดาหาร-หลังเซิน เวียดนาม เท่ากับ 1,090 กิโลเมตร ใช้ ระยะเวลาเดินทางประมาณ 39 ชั่วโมง ดูได้จากรูปที่ 2 ในขณะที่ R12 ถูกส�ำรวจและจัดตัง้ เป็ นเส้นทางเชื่อมโยงนครพนม สู่ เมืองหลังเซินประเทศเวียดนาม และเชื่อมต่อไปยังจีนที่มณฑลกวางสี โดยเริ่ม ศึกษาหลังจากการก่อสร้างสะพามมิตรภาพไทยลาวแห่งที่ 3 โดย R12 ถูกใช้ เป็ นอีกเส้นทางในการขนส่งผลไม้ไทยสู่จีน และเชื่อว่ามีระยะทางสั้นกว่า R9 ถึง 290 กิโลเมตร และประหยัดระยะเวลาเดินทางได้กว่า 24 ชั่วโมง อย่างไร ก็ตามการเดินทางโดยเส้น R12 ยังมีอุปสรรคอยูจ่ �ำนวนมาก ซึ่งผู้ชนส่งมีความ จ�ำเป็ นต้องศึกษาอุปสรรคด้านต่างๆ ก่อนการตัดสินใจขนส่ง นอกจากนั้นมีการ ศึ กษาจ�ำนวนมากที่พยามหาข้อเท็จจริงมาสนับสนุนการเดินทางผ่ านเส้นทาง R12 เช่น Krishna S. 2010; Krishna S. 2011; Nucharee S. 2012;

197


DIPT 2015

รูปที่ 2 แผนที่เปรียบเทียบเส้นทาง R9 และ R12

ที่มา: Google Map สร้างเส้นทางโดยผู้เขียน

5. วรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง Krisana (2554) ได้ท�ำการศึกษาเปรียบเทียบข้อมูลทั่วไปและปั ญหา การค้าผ่านแดนระหว่างเส้นทาง R9 และ R12 ในมุมมองของผู้ประกอบการ ไทยที่ท�ำการค้ากับจีน พบว่าเส้นทาง R12 เป็ นเส้นทางที่ถูกค้นพบเส้นใหม่ที่มี ระยะทางจากกรุงเทพมหานคร-หนานหนิง สั้นกว่า R9 แต่ยังติดปั ญหาด้าน สภาพเส้ นทางจราจรที่ยังขรุ ขระ ปั ญหาการจราจรในเวียดนาม ปั ญหาการ ด�ำเนินการขนส่งจากไทย-จีน รวมถึงข้อตกระหว่างไทยกับจีนในการส่งออกผล ไม้ยังไม่สามารถใช้ได้ที่เส้น R12 แต่ด้วยศักยภาพของเส้นทางนีท ้ ี่มีศักยภาพ เป็ นเส้นทางการค้าใหม่จึงถูกหยิบยกให้เป็ นเส้นทางแห่งโอกาส และต้องการให้ รัฐบาลผลักดันข้อตกลงดังกล่าวให้บังคับใช้ได้ในเส้นทาง R12 และควรเจรจา ยกระดับมาตรฐานการปฏิบัติตามข้อตกลง CBTA ในประเทศสปป.ลาวและ เวียดนามให้เป็ นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น ส�ำนักงานความร่วมมือพัฒนาเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน (2561) 198


ได้ท�ำการส�ำรวจเส้นทาง R12 เพื่อมุ่งเน้นยกระดับการค้าชายแดนนครพนม โดยท�ำการศึกษาเส้นทางถนนหมายเลข 12 (R12) นครพนม ไทย–ท่าแขก/นา เพ้า สปป.ลาว–จาลอ/ฮานอย เวียดนาม ระยะทาง 147 กิโลเมตร ในปี 2556 โดยพบว่าสภาพเส้นทาผิวทางช�ำรุดไม่เรียบ ยังไม่ได้มาตรฐาน ถนนในลาวไม่มี ไหล่ทาง ท�ำให้มีอุปสรรคในการสัญจร และบางช่วงเป็ นภูเขาหินปูน ท�ำให้เดิน ทางล�ำบาก โดยได้ให้ข้อเสอนแนะการพัฒนาเส้นทาง 3 ประการดังนี ้ 1) การ ปรับปรุงตามมาตรฐานอาเซียนไฮเวย์ มาตรฐานชัน ้ 2-3 ควรมีช่องทางจราจรที่ มีความกว้างรวม 7 เมตร มีไหล่ทาง 2 ข้าง ข้างละ 1.50-2.0 เมตร 2)ปรับปรุง จุ ดผ่านแดน อาคารส�ำนักงานต่างๆ สถานีขนส่งสินค้าและลานกองเก็บระบบ สาธารณูปโภคสิ่งอ�ำนวยความสะดวกภายในบริเวณด่าน 3) ปรับปรุ งระบบ ไฟฟ้ าส่องสว่างบริเวณทางร่วมทางแยกในชุมชน ระบบระบายน�้ำ ติดตัง้ อุปกรณ์ เพื่อความปลอดภัยบริเวณจุ ดเสี่ยงอันตราย และพัฒนาสิ่งอ�ำนวยความสะดวก แหล่งท่องเที่ยว โดยงบประมาณในการใช้พัฒนาไม่เกินสองพันล้านบาท Tuangmalee (2558) ได้ ท� ำ การศึ ก ษาการอานวยความสะดวก ทางการค้าตามเส้นทางเชื่อมโยงเศรษฐกิจอาเซียน:กรณีศึกษา เส้นทาง R3A ผ่าน สปป.ลาว ให้ความส�ำคัญกับองค์ประกอบสิ่งอ�ำนวยความสะดวกทางการ ค้าตามเส้นทาง R3A ใน สปป.ลาวจ�ำนวน 12 องค์ประกอบ ได้แก่ ความมี มาตรฐานด้านเทคนิคของเส้นทาง ความสะดวกของการใช้เส้นทาง กองทุนการ บูรณทางหลวง เครือข่ายโทรคมนาคม ตลอดแนวเส้นทาง ความแออัดของการ จราจร ความเสี่ยงของการใช้เส้นทาง เครื่องหมายบอกทาง จุ ดพักรถ ปั้ มน้า มัน ร้านซ่อมรถยนต์ ร้านอาหาร และที่พักโรงแรมต่างๆ พบว่าคะแนนประเมิน จากหน่ วยงานภาครัฐ ได้คะแนนเฉลี่ย 4.26 และหน่ วยงานภาคเอกชน ได้ คะแนนเฉลีย ่ 4.12 หรือโดยรวมเฉลีย ่ เท่ากับ 4.16 จากคะแนนเต็ม 5 คะแนน หมายความว่าเส้นทาง R3A ในช่วงของสปป.ลาวมีการอ�ำนวยความสะดวกใน ระดับค่อนข้างดี สถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนา (2555) ศึกษาเรือ ่ ง โอกาสทางเศรษฐกิจและผลกระทบจากเส้ นน่ าน-หลวงพระบางโดยท� ำการ ศึกษาผลกระทบทางเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม และทรัพยากรธรรมชาติ และเปรียบเทียบกับสิ่งอ�ำนวยความสะดวกตามเส้นทางของ R3A พบว่าสิ่ง อ�ำนวยความสะดวกเส้ นทางน่ านไปยังเมื องหลวงพระบางยังมี น้อยและไม่ มี ประสิทธิภาพเท่ากับเส้น R3A ขณะเดียวกันพบว่ามีศักยภาพด้านการอ�ำนวย ความสะดวกด้านการท่ องเที่ยวและธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการท่ องเที่ยว เช่น โรงแรม ร้านอาหาร บริการน�ำเทีย ่ ว ดังนัน ้ รัฐบาลควรให้การสนับสนุนโครงสร้าง 199


พื้นฐานอื่นๆที่เกีย ่ วข้อง 6. วิธีการสำ�รวจ การศึกษาวิจัยในครัง้ นีเ้ ป็ นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) และปริมาณ (Quantitative) โดยมีระเบียบวิธด ี �ำเนินงานวิจัย และขัน ้ ตอนการด�ำเนินงานของการศึกษาแบ่งประเด็นเนื้อหาที่จะศึกษาไว้โดย ละเอียด ซึ่งมีเนื้อหาสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการศึกษาอย่างชัดเจน ซึ่ง มีรายละเอียดดังต่อไปนี ้ วัตถุประสงค์ที่ 1 สิ่งอ�ำนวยความสะดวกตามเส้นทาง R12 (Road Transport Facilitation) วิธก ี ารรวบรวมข้อมูล เป็ นการเก็บข้อมูลทุติยภูมิจากการศึกษาก่อน หน้า ซึ่งเป็ นการสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วมอย่างใกล้ชิด (Non-participant Observation) โดยผู้วิจัยไม่เข้าไปเป็ นส่วนร่วม เพียงเผ้าดูสังเกตพฤติกรรม ในประเด็นที่แสดงถึงโอกาสและอุปสรรค์ของระบบการขนส่งโลจิสติกส์ดังต่อ ไปนี ้ 1) ความมีมาตรฐานด้านเทคนิคของเส้นทาง 2) ความสะดวกของการใช้ เส้นทาง 3) กองทุนการบูรณทางหลวง 4) เครือข่ายโทรคมนาคมตลอดแนว เส้นทาง 5) ความแออัดของการจราจร 6) ความเสี่ยงของการใช้เส้นทาง 7) เครื่องหมายบอกทาง 8) จุ ดพักรถ 9) ปั้ มน้ามัน 10) ร้านซ่อมรถยนต์ 11) ร้านอาหาร และ 12) ที่พักโรงแรมต่างๆ การวิเคราะห์ขอ ้ มูลและแสดงผล ใช้วธิ ก ี ารวิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนา (Content analysis) โดยท�ำการวิเคราะห์ข้อมูลเอกสารเชิงปริมาณและเชิง คุณภาพแยกตามประเด็นปั ญหาและอุปสรรค์ โดยจะน�ำเสนอตารางสรุป แสดง ข้อมูลด้วยแผนภูมิ หรือแผนภาพ ประโยชน์ที่จะได้รบ ั ได้รบ ั ทราบถึงโอกาสและอุปสรรคของระบบการ ขนส่งโลจิสติกส์ตามแนวเส้นทาง R12 เพื่อใช้ประกอบการออกแนวนโยบาย ในการพัฒนาเพื่อยกระดับประสิทธิภาพการค้าชายแดนไทยกับประเทศเพื่อน บ้านผ่านเส้นทาง R12 วัตถุประสงค์ที่ 2 ประเมินสภาพเส้นทาง (Road Condition Measurement) วิธก ี ารรวบรวมข้อมูล เป็ นการรวบรวมข้อมูลทุตย ิ ภูมจิ ากการศึกษาก่อน หน้า ซึ่งใช้วิธี Visual Inspection Rating (VIR) ตามคู่มือการตรวจสอบ และประเมินสภาพทางระบบบริหารงานซ่อมบ�ำรุ งทางหลวงท้องถิ่น (Local Road Maintenance Management System : LMMS) ประกอบด้วย 1) สภาพความขรุขระของเส้นทาง ได้แก่ หลุมบ่อ (Pothole) ร่องยุบตัวเป็ นแอ่ง 200


(Depression) ร่องล้อ (Rutting) รอยปะซ่อมที่เสียหาย (Bad Patching) ผิ วทางหลุดหล่อน (Raveling) และรอยแตก (Crack) 2) ข้อจ�ำกัดการ จราจรจากสภาพภูมิศาสตร์ (Geographical Condition) ประกอบด้วย หิน (Rocks) ฝนหรือน�้ำท่วม (Rain/flood) ลูกเห็บ (Hail) หมอกควัน (Smoke /Fog) แสงจ้า (Glare) พายุฝนฟ้ าคะนอง (Thunder) และ 3) ข้อจ�ำกัดการ จราจรจากสิ่งกีดขวาง (Traffic Condition/ Roadside barriers) ประกอบ ด้วย สัตว์ (Animal ต้นไม้ก่งิ ไม้ (Plants/Bush) คนข้ามถนน (Pedestrian) รถจักรยานหรือจักรยานยนต์ (Motorcycle/bicycle) เครือ ่ งจักรหรือพาหนะ ทางการเกษตร (Agricultural Vehicle) รวมถึงปั ญหารถติด (Traffic jam) การวิเคราะห์ขอ ้ มูลและแสดงผล ใช้วธิ ก ี าร การประเมินสภาพทางหลวง ท้องถิ่นด้วยดัชนีความขรุขระสากล (International Roughness Index (IRI) จากนั้ น ประมวลผลเพื่ อ จั ด ท� ำ เป็ นคะแนนสภาพบริการของสายทาง (Present Serviceability Rating: PSR) หรือ Service Grade มีราย ละเอียดดังนี ้ ตารางที่ 2 Present Serviceability Rating: PSR Service Grade A B C D

Serviceability มีความรูส ้ ึกราบเรียบ นั่งแล้วรูส ้ ึกสบาย ตลอดเส้นทาง ไม่มีหลุม บ่อ หรือรอยปะซ่อมที่เสียหาย มีความรูส ้ ึกราบเรียบ และมีการสะดุด และหลุมบ่อบ้างเล็กน้อย และมีรอยปะซ่อมที่เสียหายบ้าง มีความรูส ้ ึกขรุขระเป็ นระยะแต่ยังพอรับได้ มีหลุมบ่อเป็ นระยะและ ยังไม่ได้รบ ั การซ่อมบ�ำรุง มีความรูส ้ ึกขรุขระมากตลอดเส้นทาง มีหลุมบ่อขนาดใหญ่จน จ�ำเป็ นต้องมีการขับหลบ มีความจ�ำเป็ นต้องมีการปรับปรุงถนน

Source: Road Inspection and Assessment Manual (2018)

ประโยชน์ทจี่ ะได้รบ ั ได้รบ ั ทราบถึงปั ญหาและอุปสรรคของสภาพเส้นทาง จราจรตามเส้นทาง R12 เพื่อใช้เป็ นเหตุผลสนับสนุนการส่งเสริมการพัฒนา เส้นทางการค้าการท่องเที่ยว R12

201


วัตถุประสงค์ที่ 3 วิเคราะห์ดัชนีชีว้ ัดสิ่งอ�ำนวยความสะดวกการค้าและ การขนส่ง (TTF) วิธีการรวบรวมข้อมูล เป็ นการรวบรวมข้อมูลทุ ติยภูมิจากการศึ กษา ก่อนหน้า ซึ่งเป็ นการสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วมอย่างใกล้ชิด (Non-participant Observation) โดยผู้ วิจัยไม่เข้าไปเป็ นส่ วนร่วม เพียงเผ้ าดูสังเกต พฤติกรรม และสอบถามผู้เชี่ยวชาญที่เป็ นผู้ปฏิบัติด้านการค้าขายจริง และ ผู้ที่ควบคุมดูแลกฎระเบียบทางการค้าในบริเวณพื้นที่เป้ าหมาย เพื่อประกอบ การเขียนอธิบายผลการสังเกต โดยมีประเด็นในการสังเกตและสอบถามดัง ต่อไปนี ้ 1. การสังเกตสภาพแวดล้อมบริษัทหรือร้านค้าบริเวณชายแดน 1.1) การสังเกตซึ่งท�ำให้เห็นสภาพเศรษฐกิจสังคม ประเภทของร้านหรือบริษัทของ ผู้ประกอบการ วิถีความเป็ นอยู่ของประชาชนในพื้นที่เป้ าหมาย ประเภทสินค้า ที่ซื้อหรือเสนอขายในระดับท้องถิ่น สถานที่ที่ใช้ในการให้บริการการช�ำระเงิน ภาษาที่ใช้ในการสื่อสาร ซึ่งเป็ นปั จจัยภายนอกที่อาจมีผลต่อการด�ำเนินการค้า การเปิดช่องทางการค้าในปั จจุ บันและอนาคต 1.2) การสังเกตสภาพแวดล้อม ทั่วไปของด่านการค้าและด่านตรวจคนเข้าเมืองในพื้นที่เป้ าหมาย เพื่อสังเกต จ�ำนวนประชาชนหรือกลุ่มผู้ประกอบการค้า สภาพสินค้าบริเวณด่าน อาคาร ศุลกากรและบริเวณโดยรอบ 2. การสังเกตเกีย ่ วกับการท�ำพิธก ี ารศุลกากรและ กระบวนการขนส่งสินค้า เพื่อสังเกตการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้า เมืองและขัน ้ ตอนพิธก ี ารศุลกากร ระบบเอกสารและกฎระเบียบ และ 3. การ สังเกตโครงสร้างพื้นฐานที่อ�ำนวยความสะดวกในการขนส่งสินค้า เช่น สภาพ ถนน สถานีบริการเชื้อเพลิง สถานีซ่อมบ�ำรุงรถ คลังสินค้า จุ ดพักรถและที่พัก พนักงานขับรถ และการข้ามแดนหรือเดินทางระหว่างด่าน รวมถึงสภาพพื้นที่ การให้บริการขนส่ง/ขนถ่ายสินค้า ประเภทของรถบรรทุก สภาพถนน ด่านชั่ง น�้ำหนักความหนาแน่นของรถบรรทุกสินค้า สภาพการบรรทุกสินค้า พื้นที่จอด รถและการขนถ่ายสินค้า การวิเคราะห์ ข้อมู ลและแสดงผล ผู้ วิจัยท� ำการค�ำนวณดัชนี ชีว้ ัดสิ่ ง อ�ำนวยความสะดวกทีจ่ ุดผ่านแดนส�ำหรับการขนส่งสินค้า โดยพิจารณาว่ามีองค์ ประกอบใดที่จุดผ่านแดนที่จะช่วยอ�ำนวยความสะดวกให้กับผู้ขนส่งสินค้าตาม มาตรฐานสากล หรือเป็ นไปตามข้อตกลง GMS และ AEC และเพิ่มเติมตัวชี วัดด้านสภาพแวดล้อมของด่านการค้าและตรวจคนเข้าเมือง และกระบวนการ ขนส่งสินค้า ตาม OECD trade facilitation indicators เพื่อให้ดช ั นีสามารถ อธิบายในรายระเอียดได้มากยิ่งขึน ้ ประด้วย 3 ส่วน คือ 1) สภาพแวดล้อมทั่วไป ของด่านการค้าและด่านตรวจคนเข้าเมืองในพื้นที่เป้ าหมาย 2) การท�ำพิธก ี าร 202


ศุลกากรและกระบวนการขนส่งสินค้า และ 3) โครงสร้างพืน ้ ฐานที่อำ� นวยความ สะดวกในการขนส่งสินค้า โดยค่าคะแนน 4 ระดับ ได้แก่ 4 (ดีเยีย ่ ม) จนถึง 1 (ต้องปรับปรุง) โดยมีระเอียดดังนี ้ ตารางที่ 3 ค่าคะแนนดัชนีชีว้ ัดสิ่งอ�ำนวยความสะดวกที่จุดผ่ านแดนส�ำหรับ การขนส่งสินค้า ระดับคะแนน 3.50-4.00 (เกินมาตรฐาน) 2.50-3.49 (มาตรฐาน) 1.50-2.49 (ปรับปรุง)

1.00-1.49 (ขาดมาตรฐาน)

รายละเอียด เป็ นไปตามมาตรฐานสากล หรือตามกรอบข้อตกลง GMS อย่างสมบูรณ์ ผู้ใช้บริการสามารถด�ำเนินกิจกรรมทางการ ค้าได้โดยไม่ติดขัดเกิดความพึงพอใจต่อผู้ใช้บริการ เป็ นไปตามมาตรฐานหรือตามกรอบข้อตกลง GMS เพียง บางส่วน ผู้ใช้บริการสามารถด�ำเนินกิจกรรมทางการค้าได้ แต่อาจจะมีความติดขัดล่าช้าบ้าง ยังไม่มีมาตรฐาน ไม่เป็ นไปตามกรอบข้อตกลง GMS การ ด�ำเนินกิจกรรมนั้น เป็ นไปด้วยความยุ่งยาก ล�ำบาก ขาด มาตรฐาน แต่ก็ยังสามารถด�ำเนินกิจกรรมทางการค้าต่อ ไปได้ หากผู้ใช้บริการมีความช�ำนาญหรือมีผู้ช่วยเหลือที่มี ประสบการณ์เพียงพอ หรือยอมรับอุปสรรคที่อาจจะเกิด ขึ้นได้ ควรมีการปรับปรุง ขาดมาตรฐาน หรือไม่มีองค์ประกอบนั้นอยู่เลย เป็ น อุปสรรคส�ำคัญต่อการด�ำเนินกิจกรรมทางการค้า ควรมีการ ปรับปรุงอย่างเร่งด่วน

ที่มา: สถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนา (2555)

ประโยชน์ที่จะได้รบ ั ทราบถึงระดับการอ�ำนวยสะดวกการค้า ณ จุ ด ผ่านแดน 6 ด่าน ได้แก่ ด่านนครพนม-ด่านท่าแขก ด่านนาพาว-ด่านจ่าลอ ด่านหลังเซิน-และด่านผิงเสียง (โย่วอีก ้ วาน) เพื่อประกอบการตัดสินใจขยาย เส้นทางการค้าชายแดนทางบกจากไทยไปสู่จีนผ่านเส้นทาง R12 ตามระเบียง เศรษฐกิจตะวันออก-ตะวันตก

203


วัตถุประสงค์ที่ 4 วิเคราะห์ ศักยภาพความพร้อมของระบบการท่ อง เที่ยวข้ามพรมแดน วิ ธีการรวบรวมข้อมู ล เป็ นการเก็บข้อมู ลภาคสนามจากการสั งเกต (Observation) โดยเป็ นการสั ง เกตแบบไม่ มี ส่ ว นร่ ว มอย่ า งใกล้ ชิ ด (Non-participant Observation) โดยผู้วิจัยไม่เข้าไปเป็ นส่วนร่วม เพียง เผ้าดูสังเกตพฤติกรรม โดยมีประเด็นในการสังเกตที่ท�ำให้เห็นศักยภาพ/ความ พร้อ มของระบบการท่ อ งเที่ ย วข้ า มพรมแดนครอบคลุ ม ประเด็ น ดั ง ต่ อ ไปนี ้ 1.ด้านศักยภาพและความพร้อมในด้านสิ่งดึงดูดใจทางการท่องเที่ยว กิจกรรม การท่องเที่ยว การเข้าถึงแหล่งท่องเที่ยว สิ่งอ�ำนวยความสะดวกทางการท่อง เที่ยว ที่พักแรม การบริการเสริมทางการท่องเที่ยว และการบริหารจัดการ 2. โครงสร้างพืน ้ ฐานทีอ ่ ำ� นวยความสะดวกส�ำหรับนักท่องเทีย ่ ว เช่น สภาพถนนเข้า สถานที่ท่องเที่ยว สถานบีบริการเชื้อเพลิง สถานีซ่อมบ�ำรุงรถ จ�ำนวนที่พักหรือ โรงแรม ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว ร้านขายอาหารเครือ ่ งดื่มและของฝาก สถาน พยาบาล การข้ามแดนหรือเดินทางระหว่างแดน และเทคโนโลยีอ�ำนวยความ สะดวกให้นักท่องเที่ยว เป็ นต้น และ 3. รวมถึงจ�ำนวนนักท่องเที่ยว พฤติกรรม การท่องเที่ยว พฤติกรรมการบริโภคสินค้าบริการ การแสดงออกถึงความรูส ้ ึก การวิเคราะห์ข้อมูลและแสดงผล ข้อมูลที่ได้จากข้อมูลที่ได้จากการ ส�ำรวจภาคสนามเพื่อให้ทราบถึงศักยภาพ/ความพร้อมของแหล่งท่องเที่ยว/ ระบบการท่องเที่ยว ในพื้นที่ศึกษา ซึ่งผลการประเมินได้น�ำเสนอในรูปแบบของ ระดับคะแนน คือ ข้อมูลทีม ่ ีลก ั ษณะค�ำถามเป็ นมาตราส่วนวัด (Rating Scale) ก�ำหนดรหัสค�ำตอบไว้ 5 ระดับ ได้แก่

1 2 3 4 5

= = = = =

มีศักยภาพ/ความพร้อม ในระดับ น้อยที่สุด มีศักยภาพ/ความพร้อม ในระดับ น้อย มีศักยภาพ/ความพร้อม ในระดับ ปานกลาง มีศักยภาพ/ความพร้อม ในระดับ มาก มีศักยภาพ/ความพร้อม ในระดับ มากที่สุด

การวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้ใช้ค่าตัวกลางเลขคณิต และการถ่วงน�้ำหนัก คะแนน ในการแปลผลข้อมูลโดยใช้คุณสมบัติของความต่อเนื่องของคะแนน เป็ นเกณฑ์ในการเทียบผลการวิเคราะห์ค่าตัวกลางเลขคณิต โดยแบ่งกลุ่มตาม ช่วงคะแนนการแปลผล ดังนี ้ ช่วงคะแนน 1.00-1.80 = มีศักยภาพ/ความพร้อมในระดับน้อยที่สุด ช่วงคะแนน 1.81-2.60 = มีศักยภาพ/ความพร้อมในระดับน้อย 204


ช่วงคะแนน 2.61-3.40 = มีศักยภาพ/ความพร้อมในระดับปานกลาง ช่วงคะแนน 3.41-4.20 = มีศักยภาพ/ความพร้อมในระดับมาก ช่วงคะแนน 4.21-5.00 = มีศักยภาพ/ความพร้อมในระดับมากที่สุด

ประโยชน์ ที่จะได้รับ ทราบถึงศั กยภาพ/ความพร้อมของระบบการ ท่องเที่ยวข้ามพรมแดน เพื่อประกอบการตัดสินใจพัฒนาความเชื่อมโยงเส้น ทางการท่องเที่ยวของภาคเหนือของไทย เข้าสู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สปป. ลาว เวียดนาม และจีน ผ่านเส้นทาง R12 ทั้งนีป ้ ระโยชน์ทางอ้อมจะเกิดกับ หน่วยงานภาครัฐ เอกชน และองค์กรพัฒนาเอกชนทีเ่ กีย ่ วข้องกับการท่องเทีย ่ ว ข้ามพรมแดน ชุมชนในพื้นที่/แหล่งท่องเที่ยว สถาบันการวิจัยในพื้นที่ และนัก วิชาการทางด้านการท่องเที่ยวหรือกลุ่มบุคคลที่สนใจ 7. ผลการสำ�รวจเชิงประจักษ์ (Empirical Results) 7.1 สิ่งอำ�นวยความสะดวกตามเส้นทาง R12 (Road Transport Facilitation) ก. สภาพทั่วไปของเส้นทางและกฎหมายที่เกีย ่ วข้อง จากการส�ำรวจพบว่าการเดินทางจากนครพนมถึงหลังเซินใช้ระยะทาง ประมาณ 800 กม. หรือเวลาเดินทางโดยรถตู้โดยสารประมาณ 15 ชั่วโมง 15 นาที ประกอบด้วยเส้นทางและด่านชายแดนที่ส�ำคัญได้แก่ 1) จังหวัดนครพนม ประเทศไทย เดินทางผ่านด่านชายแดนนครพนมเข้าสู่สปป.ลาวที่ด่านท่าแขก แขวงค�ำม่วน โดยใช้เส้นทาง R12 จากนัน ้ เดินทางต่อไปยังด่านชายแดนน�้ำพาว สปป.ลาว และด่านจาลอประเทศเวียดนาม ระยะทางเท่ากับ 195 กม. ระยะ เวลา 2 ชั่วโมง 50 นาที สภาพทั่วไปของเส้นทางเป็ นถนนสองเลนที่ค่อนข้าง แคบ ในช่วงชายแดนลาวเวียดนามค่อนข้างเป็ นเขาชันและเดินทางล�ำบาก 2) เส้นทางด่านชายแดนน�้ำพาว-เมืองวินห์ ประเทศเวียดนาม เดินทางโดยใช่เส้น ทาง AH15 และ QL1A ระยะทางรวม 291 กม. ใช้เวลาเดินทาง 2 ชั่วโมง ลักษณะทั่วไปเส้นทางเป็ นทางสองเลนผ่านขุนเขาคดเคีย ้ ว ผิวทางจราจรเรียบ และมีมาตรฐานมากกว่าสปป.ลาว 3) เมืองวินห์-ธัญฮว้า เดินทางโดยใช้เส้นทาง QL1A ระยะทาง 140 กม. ใช้เวลาประมาณ 2 ชั่วโมง 30 นาที สภาพเส้นทาง 4 เลน การสัญจรค่อนข้างดีแต่การจราจรติดขัดเป็ นบางช่วง 4) ธัญฮว้าถึงนิ นบิ่งห์ ระยะทาง 85 กม. ใช้เวลา 2 ชั่วโมง 30 นาที สภาพเส้นทาง 4 เลน การ จราจรเริม ่ ติดขัดเมือเข้าใกล้ฮานอย รถไม่สามารถใช้ความเร็วได้เต็มที่เนื่องจาก มีการจรจารติดขัดในบางช่วง 5) นินบิ่งห์-ฮานอย ระยะทางประมาณ 110 กม. ระยะเวลา 1 ชั่วโมง 35 นาที รถใช้ความเร็วได้มากขึ้นเนื่องจากเป็ นถนน 205


8 เลน มุ่งหน้าเข้าสู่ฮานอย ถึงแม้ว่าจ�ำนวนรถจะเยอะแต่ก็สามารถท�ำความเร็ว ได้เต็มที่ และ 6) ฮานอย-หลังเซิน ใช้เส้นทาง QL1A-QL37-AH1 ระยะทาง จากเมืองหลวงถึงชายแดนประมาณ 180 กม. ใช้เวลาเดินทาง 3 ชั่วโมง 20 นาที เส้นทางค่อนข้างดี มีรถบรรทุกวิ่งเข้าด่านหลังเซิน-โจวอีก ้ วานจ�ำนวนมาก สามารถใช้ความเร็วได้จ�ำกัด ดูรายระเอียดได้จากตารางที่ 4 ตารางที่ 4 ข้อมูลเส้นทาง R12 และกฎหมายที่เกีย ่ วข้อง จาก

ถึง

เส้น ทาง

ต้นทุน USD

ระยะ เวลา ทาง (Hr.) (Km.)

ก�ำหนด ความเร็ว km./hr.

น�้ำหนัก ค่าปรับ สูงสุด ความเร็ว (Tons)

[1] น�้ำพาว นครพนม

R12 -1E

40

195

2:50

เมือง: 40 ชนบท:80

38

5.89 USD

[2] น�้ำ พาว

AH15QL1A

291

2:00

เขตเมือง: 40-60

ไม่เกิน 45

[3] วินห์ ธัญฮว้า

QL1A

140

2:30

12.931,077 USD

[4] ธัญ ฮว้า

นินบิ่งห์

QL1A

85

2:30

[5] นิ นบิ่งห์

ฮานอย

QL1ACT01

110

1:35

[6] ฮานอย

หลังเซิน QL1AQL37AH1

180

3:20

วินห์

รวม, เฉลีย ่

1,540

800

EWEC: 60-80

15:15

55-60

ที่มา: Warawut et al. (2018)

ข. สิ่งอ�ำนวยความสะดวกตามเส้นทาง R12 จากการส�ำเร็จและประเมินด้วยวิธี VIR โดยท�ำการประเมินเส้นทาง R12 โดยแบ่งออกเป็ น 4 ช่วง ได้แก่ นครพนม-น�้ำพาว น�้ำพาว-วินห์ วินห์ฮานอย และฮานอย-หลังเซิน พบว่าสิ่งอ�ำนวยความสะดวกโดยรวม (มาตรฐาน เส้นทาง ความสะดวกสบาย กองทุนบูรณทางหลวง โทรคมนาคม ความแออัด ของการจราจร ความเสี่ยงการใช้เส้นทาง ป้ ายจราจร จุ ดพักรถ ปั้ มน�้ำมัน ร้าน ซ่อมรถ ร้านอาหาร และที่พัก) มีค่าเท่ากับ 2.55 (SD=0.73) หมายความว่า สภาพเส้นทางอยูใ่ นเกณฑ์ดเี ป็ นไปตามมาตรฐานหรือตามกรอบข้อตกลง GMS บางส่วน โดยผู้ใช้บริการสามารถด�ำเนินกิจกรรมทางการค้าได้ แต่อาจจะมีความ 206


ติดขัดล่าช้าบ้าง สิ่งอ�ำนวยความสะดวกทีม ่ ค ี วามพร้อมสูงสุด 3 อันดับแรกได้แก่ มาตรฐานเส้นทาง กองทุนบูรณาการทางหลวง และ ป้ ายจราจรที่เป็ นสากล ส่วนสิ่งอ�ำนวยความสะดวกที่ต้องปรับปรุงได้แก่ ความเสี่ยงในการใช้เส้นทาง ที่พัก และร้านอาหาร เมื่อพิจาณาตามเส้นทางพบว่าเส้นทางฮานอย-หลังเซิน เป็ นเส้นที่มีส่ิงอ�ำนวยความสะดวกพร้อมที่สุด รองลงมาได้แก่ วินห์-ฮานอย นครพนม-น�้ำพาว และน�้ำพาว-วินห์ตามล�ำดับ ดูได้จากตารางที่ 5 ตารางที่ 5 สิ่งอ�ำนวยความสะดวกตามเส้นทาง R12 No.

สิ่งอ�ำนวยความ สะดวกตามเส้น ทาง

ค่าคะแนนความพร้อม

1

มาตรฐานเส้นทาง

3.00

2

ความสะดวกสบาย

3

นครพนม- น�้ำพาวน�้ำพาว วินห์

ค่า เฉลีย ่

S.D.

วินห์ฮานอย

ฮานอยหลังเซิน

1.75

3.75

3.75

3.06

0.94

2.75

1.25

3.25

3.50

2.69

1.01

กองทุนบูรณ ทางหลวง

2.75

1.75

3.50

3.75

2.94

0.90

4

โทรคมนาคม

2.00

1.50

3.25

4.00

2.69

1.14

5

ความแออัดของ การจราจร

3.75

2.50

2.50

2.25

2.75

0.68

6

ความเสี่ยงการใช้ เส้นทาง

1.25

1.75

2.00

2.25

1.81

0.43

7

ป้ ายจราจร

2.75

1.75

2.75

3.75

2.75

0.82

8

จุ ดพักรถ

1.50

1.50

3.00

3.75

2.44

1.13

9

ปั้ มน�้ำมัน

2.00

1.75

2.75

3.75

2.56

0.90

10

ร้านซ่อมรถ

2.00

1.50

2.50

3.75

2.44

0.97

11

ร้านอาหาร

1.50

1.50

3.00

3.00

2.25

0.87

12

ที่พัก

1.50

2.00

2.25

3.00

2.19

0.63

คะแนนเฉลีย ่

2.23

1.71

2.88

3.38

2.55

0.73

ที่มา: Warawut et al. (2018)

สาเหตุที่ท�ำให้เส้นทาง “น�้ำพาว-วินห์” มีความพร้อมน้อยที่สุดเนื่องจาก เป็ นช่วงเส้นทางชายแดนที่อยู่บนเขาคดเคีย ้ ว และตัง้ อยู่ห่างไกลจากตัวเมือง จึงท�ำให้มีการลงทุนร้านอาหาร ที่พัก ปั้ มน�้ำมัน หรือสิ่งอ�ำนวยความสะดวกอื่นๆ ค่อนข้างน้อย ขณะเดียวกันสาเหตุที่ท�ำให้เส้นทาง “ฮานอย-หลังเซิน” มีความ 207


พร้อมมากที่สุดอาจเป็ นสาเหตุมาจากเป็ นเส้นทางหลักหรือเส้นเลือดใหญ่ของ การขนส่งทางบกจากประเทศ GMS เข้าสู่จีน จึงท�ำให้มีการขนส่งจ�ำนวนมาก มีการบูรณะซ่อมแซมตลอดเส้นทาง และมีการลงทุนในสิ่งอ�ำนวยความสะดวก ครบครัน 7.2 ประเมินสภาพเส้นทาง (Road Condition Measurement) ก. ข้อจ�ำกัดสภาพภูมิศาสตร์ (Geographical Condition) จากการศึกษาของ Warawut, et al (2018) พบว่าข้อจ�ำกัดการ จราจรด้านสภาพภูมิศาสตร์ประกอบด้วย หิน (Rocks) ฝนหรือน�้ำท่วม (Rain/ flood) ลูกเห็บ (Hail) หมอกควัน (Smoke /Fog) แสงจ้า (Glare) พายุฝน ฟ้ าคะนอง (Thunder) แบ่งการศึกษาออกเป็ นทัง้ หมด 4 ช่วงได้แก่ นครพนมน�้ำพาว น�้ำพาว-วินห์ วินห์-ฮานอย และฮานอย-หลังเซิน ได้ผลการศึกษาตาม ตารางที่ 6 ผลการศึกษาพบว่าสิท่งที่ตอ ้ งระวังมากที่สุดได้แก่ หินร่วง เนื่องจาก เส้นทาง R12 ในช่วงนครพนม-น�้ำพาว และน�้ำพาว-วินพ์ มีภูเขาหินปูนเป็ น จ�ำนวนมากจึงมีความจ�ำเป็ นต้องระวังกินร่วงจากหน้าผา โดยเฉพาะช่วงที่เข้า ใกล้ด่านชายแดนน�้ำพาว ซึ่งจะเป็ นหุบเขา ดังนั้นต้องใช้ความระมัดระวังเป็ น พิเศษ ส่วนฝนและน�้ำท่วมพบว่าเป็ นอุปสรรคต่อเส้นทางในช่วง นครพนม-น�้ำ พาว และน�้ำพาว-วินห์ ด้วยเช่นกัน เนื่องจากสภาพผิวจราจรอยู่ระหว่างการ ซ่อมแซม ท�ำให้บางช่วงเป็ นดินลูกรังและมีหลุมบ่อขนาดใหญ่จ�ำนวนมาก เมื่อ ฝนตกจะท� ำให้ เกิดถนนลื่นและน�้ ำท่ วมขังหลุมบ่ อ อย่างไรก็ตามเส้ นทางวิ น ห์-ฮานอยและ ฮานอย-หลังเซิน ไม่พบปั ญหาดังกล่าว เนื่องจากเป็ นเส้นทาง ที่ว่ิงผ่านเขตเมือง ไม่มีภูมเขา และสภาพเส้นทางค่อนข้างดีโดยเฉพาะช่วงเข้า ใกล้ด่านดองแดง หลังเซิน และด่านโย่วอีก ้ วาน แต่ส่ิงที่ต้องระวังในเส้นทาง ดังกล่าวคือแสงจ้าในช่วงเวลาบ่ายซึ่งอาจท�ำให้ความสามรถในการมองเห็นของ ผู้ขับน้อยลง

208


ตารางที่ 6 สภาพเส้นทางและสิ่งที่ต้องระวังด้านภูมิศาสตร์ เส้นทาง หิน [1] นครพนม-น�้ำพาว [2] น�้ำพาว-วินห์ [3] วินห์-ฮานอย [4] ฮานอย-หลังเซิน

*** *** -

ข้อจ�ำกัดทางภูมิศาสตร์<?> ฝน/น�้ำ ลูกเห็บ หมอก/ แสงจ้า พายุ ท่วม ควัน ฝนฟ้ า

* * -

-

* * -

** ** ** **

-

ที่มา: Warawut et al. (2018) หมายเหตุ (-) ไม่พบ ระหว่างการส�ำรวจ

ข. สภาพความขรุขระของเส้นทาง (Road Roughness Measurement) ตามตามคู่มือการตรวจสอบและประเมินสภาพทางระบบบริหารงาน ซ่อมบ�ำรุงทางหลวงท้องถิ่น (Local Road Maintenance Management System : LMMS) และตามการศึกษาของ Warawut, et al (2018) ความ ขรุขระของผิวทางเกิดจากสาเหตุ 6 ประการ ประกอบด้วย หลุมบ่อ (Pothole) ร่องยุบตัวเป็ นแอ่ง (Depression) ร่องล้อ (Rutting) รอยปะซ่อมที่เสียหาย (Bad Patching) ผิวทางหลุดหล่อน (Raveling) และรอยแตก (Crack) โดย สาเหตุทั้งหมดเกิดจากการใช้งานถนนและน�้ำหนักของรถบรรทุก หากถนนเส้น ใดมีการใช้งานจ�ำนวนมากและรถบรรทุกมีน�้ำหนักมากจะก่อให้เกิดความช�ำรุด ต่างๆขึน ้ ดังนัน ้ เส้นทางแต่ละเส้นต้องการศึกษาประเมินสภาพอย่างเป็ นประจ�ำ เพื่อการก�ำหนดแนวทางบูรณะซ่อมแซม จากการประเมินสภาพผิวทางจราจร และจัดท�ำเป็ นคะแนน Service Grade เส้นทาง R12 ได้แบ่งออกเป็ น 4 ช่วง ได้ผลการศึกษาตามตารางที่ 7 พบว่า เส้นทางในช่วงแรก ได้แก่ นครพนม-น�้ำ พาว และ น�้ำพาว-วินห์ มีค่าคะแนนประเมินอยู่ระดับ C หมายความว่าสภาพ ทั่วไปของถนนมีความรูส ้ ึกขรุขระเป็ นระยะแต่ยังพอรับได้ มีหลุมบ่อเป็ นระยะ และยังไม่ได้รบ ั การซ่อมบ�ำรุ ง การส�ำรวจพบอีกว่า หลุ่มบ่อที่เกิดขึ้นมีขนาด กว้างและลึกและพบได้ในทุกๆ 50 เมตร ท�ำให้รถบรรทุกไม่สามารถสัญจรได้ และต้องรอให้รถสวนทางมาก่อนถึงจะเดินทางต่อได้ ขณะเดียวกัน เส้นทางช่วง หลังได้แก่ช่วง วินห์-ฮานอย และ ฮานอย-หลังเซิน มีผิวทางจราจรเกรด A คือ มีความรูส ้ ึกราบเรียบ นั่งแล้วรูส ้ ึกสบาย ตลอดเส้นทาง ไม่มีหลุมบ่อ หรือรอย 209


ปะซ่อมที่เสียหาย สภาพผิวทางจราจรค่อนข้างดีท�ำให้สามารถรถบรรทุกเดิน ทางได้สะดวกและสามารถท�ำความเร็วได้มากกว่าช่วงแรก ตารางที่ 7 สภาพผิวทางจราจรตาม Service Grade เส้นทาง

ค่าประเมินสภาพผิวทางจราจร (Service Grade) หลุม บ่อ

ร่องยุบ ตัว

ร่อง ล้อ

รอย ปะ

ผิว หลุด

รอย แตก

เฉลีย ่

[1] นครพนม-น�้ำพาว

D

C

C

B

D

C

C

[2] น�้ำพาว-วินห์

D

C

D

C

C

C

C

[3] วินห์-ฮานอย

A

A

A

B

B

A

A

[4] ฮานอย-หลังเซิน

A

A

A

A

A

A

A

C+

B

C+

B

C+

B

B

ค่าเฉลีย ่

ที่มา: Warawut et al. (2018)

ค. อุปสรรคและสิ่งกีดขวางการจราจร การประเมิ นอุ ปสรรคและสิ่ งกี ดขวางการจราจรในการศึ กษาครัง้ นี ้ ได้ทบทวนจากการศึกษาของ Warawut, et al. (2018) ประกอบด้วยสิ่ง กีดขวาง 6 ประเภทได้แก่ สัตว์ข้ามถนน ต้นไม้หรือกิ่งไม้ข้างทางคนข้ามถนน รถจักรยานยนต์หรือจักรยาน เครื่องจักรการเกษตร และปั ญหารถติด โดยน�ำ เสนอด้วยค่าคะแนนระดับความระมัดระวังตัง้ แต่ระดับน้อยถึงมาก หรือ 1 ดาว ถึง 3 ดาว ผลการศึกษาตามตารางที่ 8 แบ่งตามเส้นทางพบว่า 1) อุปสรรค และสิ่งกีดกวางตามเส้นทางนครพนม-น�้ำพาว มีค่อนข้างมาก ได้แก่ สัตว์ข้าม ถนน โดยเฉพาะในสปป.ลาวจะพบการเลีย ้ งโค กระบือ และแพะ โดยปล่อย ให้หากินตามธรรมชาติ ท�ำให้บางช่วงสัตว์เหล่านีเ้ ดินอยูบ ่ นถนนหรือนอนอยูข ่ า้ ง ถนน รองลงมาคือเครือ ่ งจักรทางการเกษตรและต้นไม้ก่ิงไม้ในบางช่วง เช่น รถ ไถนา เป็ นต้น ส่วนคนข้ามถนน จักรยายนต์ พบบ้างเล็กน้อยในเขตพื้นที่ชุมชน และโรงเรียน ทั้งนีไ้ ม่พบปั ญหารถติดที่จะเป็ นอุปสรรคในสปป.ลาว 2) เส้น ทางน�้ำพาว-วินห์ จะพบอุปสรรคคล้ายคลึงกับช่วงแรก ได้แก่ปัญหาสัตว์เลีย ้ ง ข้ามถนน แต่สัตว์เลีย ้ งจะแตกต่างออกไป เช่น พบสุนัข เป็ ด ไก่ และแพะ ขณะ เดียวกันก็ยังพบการเลีย ้ งวัวโดยปล่อยหากินตามธรรมชาติอยู่บ้าง ส่วนปั ญหา ด้านต้นไม้ก่งิ ไม้ คนข้ามถนน รถติด ยังไม่คอ ่ ยพบในช่วงน�้ำพาว-วินห์ แต่จะเริม ่ พบมากขึ้นเมื่อเข้าไว้เมืองวินห์ 3) วินห์-ฮานอย พบอุปสรรคและสิ่งกีดขวาง ที่เป็ นคน จักรยานยนต์ และรถติดมากยิ่งขึ้น เนื่องจากถนนช่วงนีต ้ ัดผ่านตัว 210


เมืองท�ำให้พบรถจักรยานยนต์เป็ นจ�ำนวนมาก และพบปั ญหาด้านรถติดและ อุบัติเหตุในบางช่วง ซึ่งสาเหตุเกิดจากรถบรรทุกเฉีย ่ วชนรถจักรยานยนต์เป็ น ส่วนใหญ่ ท�ำให้การเดินทางต้องเสียเวลารอในการช่วยเหลือผู้ประสบอุบัติเหตุ 4) ฮานอยหลังเซิน พบปั ญหาลักษณะเดียวกันกับช่วงก่อนหน้า เนื่องจากเป็ น เขตเมืองหลวงที่มีประชากรจ�ำนวนมากและมีรถบรรทุกจ�ำนวนมากด้วยเช่นกัน โดยเฉพาะช่วงเข้าใกล้ด่านชายแดนเวียดนาม-จีน จะพบรถบรรทุกจ�ำนวนมาก เป็ นพิเศษประกอบกับถนนเป็ นสองเลนจึงก่อให้ เกิดปั ญหารถติดบ้างในบาง พื้นที่ ตารางที่ 8 อุปสรรคและสิ่งกีดขวางการจราจร เส้นทาง

[1] นครพนม-น�้ำพาว [2] น�้ำพาว-วินห์ [3] วินห์-ฮานอย [4] ฮานอย-หลังเซิน

อุปสรรคและสิ่งกีดขวางการจราจร (ระดับความ ระมัดระวัง) สัตว์ ต้นไม้ คนข้าง จักร เครื่องจักร รถติด กิ่งไม้ ถนน ยานยนต์ การเกษตร และ อุบัติเหตุ

*** *** -

** * -

* * *** ***

* * *** ***

** * -

* *** **

ที่มา: Warawut et al. (2018) หมายเหตุ (-) ไม่พบ ระหว่างการส�ำรวจ

7.3 สิ่งอ�ำนวยความสะดวกการค้าและการขนส่ง (TTF) จากการศึกษาของ Warawut, et al (2018) พบว่าสิ่งอ�ำนวยความ สะดวกการค้าและการขนส่ง (TTF) ประกอบด้วยปั จจัย 3 ด้านที่ส�ำคัญได้แก่ การอ�ำนวยความสะดวกด้านการข้ามพรมแดน การขนส่งข้ามแดน และ การ เพิ่มขีดความสามารถและการใช้เทคโนโลยี โดยแบ่งการประเมินออกเป็ น 6 ด่านชายแดน ได้แก่ ด่านชายแดนนครพนม-ท่าแขก (TH-LA) ด่านชายแดน น�้ำพาว-จ่าลอ (LA-VT) และด่านหลังเซิน-โย่วอีก ๊ วาน (VT-CN) พบว่าในภาพ การอ�ำนวยความสะดวกการค้าและการขนส่งมีค่าเท่ากับ 2.91(SD=0.50) จากคะแนนเต็ม 5.0 คะแนน หมายความว่าโดยภาพรวมเป็ นไปตามมาตรฐาน หรือตามกรอบข้ อตกลง GMS เพี ยงบางส่ วน ผู้ ใช้ บริการสามารถด� ำเนิ น 211


กิจกรรมทางการค้าได้ แต่อาจจะมีความติดขัดล่าช้าบ้าง เมื่อเปรียบเทียบราย ด่านพบว่า ด่านที่มีคะแนนสูงที่สุดได้แก่ ด่านหลังเซิน-โย่วอีก ๊ วาน (3.19) รอง ลงมาได้แก่ด่านชายแดนนครพนม-ท่าแขก (3.17) และด่านชายแดนน�้ำพาวจ่าลอ (2.38) ตามล�ำดับ เมื่อพิจารณาแยกเป็ นรายด่าน พบว่า 1) ด่านหลังเซิน-โย่วอีก ๊ วาน (3.19) พบว่ า ค่ า คะแนนสู ง สุ ด อั น ดั บ แรกได้ แ ก่ ก ารอ� ำ นวยความสะดวก ด้านการขนส่งข้ามแดน (3.63) เป็ นผลมาจากข้อตกลงทางการค้าชายแดน ระหว่างจีนกับเวียดนามในด้านการด�ำเนินการเคลื่อนย้ายจากด่านต้นทางสู่ดา่ น ปลายทางมีความปลอดภัยสูง รวมถึงมีสุขอนามัย อาทิ ความสะอาดของด่าน เคลื่อนย้ายสินค้า และความเชื่อมโยงของถนนระหว่างการขนถ่ายสินค้าข้าม แดนที่มีประสิทธิภาพ รองลงมาได้แก่ การเสริมสร้างขีดความสามารถ และ การใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย (3.06) ที่ซ่ึงพบว่ามีการเชื่อมโยงข้อมูลผ่านระบบ เทคโนโลยีสารสนเทศขณะขนย้ายสินค้าจากด่านชายแดนต้นทางสู่ดา่ นชายแดน ปลายทาง รวมถึงลดการใช้กระดาษที่มีความซับซ้อนและอาจเกิดความผิ ด พลาดในการสื่อระหว่างด่านชายแดน นอกจากนีใ้ นอันดับสุดท้าย ได้แก่ การ อ�ำนวยความสะดวกด้านการข้ามพรมแดน (2.88) โดยผลการศึ กษาพบว่า ด่านด่านหลังเซิน-โย่วอีก ๊ วาน มีศักยภาพด้านการใช้ระบบ Single Window และ Single Stop Service ที่ช่วยอ�ำนวยความสะดวกการค้าชายแดน เนื่องจากช่วยให้มีความสะดวก รวดเร็ว และง่ายต่อการขนย้ายสินค้าโดยไม่ จ�ำเป็ นต้องผ่านขัน ้ ตอนที่ยุ่งยาก แต่อย่างไรก็ตามเนื่องด้วยระบบที่เชื่อมโยง ของข้อมูลระหว่างด่านชายแดน รวมถึงขนาดพื้นที่ที่กว้าง ผู้เกี่ยวข้องในการ ด�ำเนินพิธก ี ารทางข้ามแดนจึงมีความร่วมมือระหว่างด่านชายแดนจึงมีคะแนน น้อย เป็ นต้น 2) ด่านชายแดนนครพนม-ท่าแขก (3.17) มีคะแนนรองลงมา จาก ด่านหลังเซิน-โย่วอีก ๊ วาน โดยมีจุดเด่นในด้านการเพิ่มขีดความสามารถและ การใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย (3.38) โดยพบว่าการด�ำเนินการพิธผ ี ่านศุลกากร ยังมีการใช้กระดาษแทนการใช้การเชื่อมโยงทางเทคโนโลยีสารสนเทศอยู่ แต่ ส่วนใหญ่เป็ นเอกสารหลักฐานการขนย้ายสินค้าข้ามแดน โดยในการด�ำเนินกา รอื่นๆมีการใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย เช่น ระบบเซนเซอร์ และระบบตรวจสอบตู้ คอนเทนเนอร์ดว้ ยเครือ ่ งเอ็กซเรย์ทีเ่ ชื่อมโยงกับฐานข้อมูลของศุลกากร เป็ นต้น รองลงมาคือด้านการอ�ำนวยความสะดวกด้านการข้ามพรมแดน (3.06) เนื่ อ งจากมี ค วามสั ม พั น ธ์แ ละข้ อ ตกลงทางการค้ า ชายแดนไทย-สปป.ลาว ที่ มีผลด� ำเนิ นงานมาอย่ างต่ อเนื่ องอยู่ แล้ ว รวมถึ งนโยบายด้ านการกระตุ้ น แผนการพัฒนาพืน ้ ที่เศรษฐกิจพิเศษส่งผลให้มีการท�ำงานอย่างเป็ นระบบ มีกฎ 212


ระเบียบชัดเจน และเชื่อมโยงด้านข้อมูลระหว่างศุลกากรเป็ นไปได้อย่างราบ รื่น แต่อย่างไรก็ดีเนื่องจากสภาพพื้นที่ และการพัฒนาที่ยังไม่ทันสมัยส่งผล ต่อระบบการขนย้ายช่องทางเดียว หรือ Single-Window และ การตรวจ เช็คแบบเบ็ดเสร็จ Single Stop ยังไม่สามารถด�ำเนินการได้อย่างสมบูรณ์ ซึ่ง เชื่อมโยงกับ การขนส่งข้ามแดน (3.06) ที่มีคะแนนเท่ากัน รวมถึงได้รบ ั ความ สะดวกจากความร่วมมือระหว่างฝั่ งไทยและฝั่ งสปป.ลาว ส่งผลให้มีระดับความ ปลอดภัยในขณะขนส่งสินค้าข้ามแดน การท�ำธุรกรรม พิธก ี ารศุลกากร และ การอ�ำนวยความสะดวกด้านการความปลอดภัยขณะเปลี่ยนเลนจราจร จาก ด่านศุลกากรไทยไปจนถึงด่านท่าแขก ของสปป.ลาวที่เหมาะสม แต่ยังพบว่า สุ ขอนามัยของด่านศุ ลกากรของทั้งไทย-สปป.ลาวยังขาดการดูแลรักษาที่มี มาตรฐาน เป็ นต้น และ 3) ด่านชายแดนน�้ำพาว-จ่าลอ (2.38) มีคะแนนความ พร้อมของการอ�ำนวยความะสะดวกน้ อยที่สุด โดยพบว่า การเพิ่มขีดความ สามารถและการใช้เทคโนโลยี (2.31) มีคะแนนน้อยที่สุด เนื่องจากยังมีการ ใช้กระดาษในการด�ำเนินการขนย้ายสินค้าภายในด่านชายแดนอยู่เป็ นจ�ำนวน มาก คิดเป็ นร้อยละ 60 ของการด�ำเนิ นการทั้งหมด นอกจากนี ก ้ ารอ�ำนวย ความสะดวกด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศยังไม่ทันสมัยเพียงพอต่อการขนย้าย ในปั จจุ บันที่ซ่ึงมีจ�ำนวนการขนย้ายเป็ นจ�ำนวนมาก ซึ่งเป็ นเหตุมาจากเป็ นพื้นที่ ชายแดนและขาดการสนั บสนุ นด้านการพัฒนาเทคโนโลยีทั้งสองฝั่ ง รองลง มาคือ การขนส่งข้ามแดน (2.38) ที่พบว่าสุขอนามัยเป็ นปั จจัยที่มีคะแนนต�่ำ กว่ามาตรฐาน เช่น การปล่อยของเสียจากรถขนส่งสินค้าประเภทอาหารทะเล ลงพื้นที่จอดรถส่งผลต่อมลพิษทางอากาศ รวมถึงมีความปลอดภัยในสินค้าต�่ำ เนื่องจากมีคนงานไร้สังกัดจ�ำนวนมากเดินสัมผัสสินค้าที่ไม่ใช่สินค้าของตนเอง บ่อยครัง้ เป็ นต้น อย่างไรก็ดีในกรณีของ การอ�ำนวยความสะดวกด้านการข้าม พรมแดน (2.44) มีการพัฒนาช่องทางการขนย้ายที่เหมาะสม และมีการเชื่อม โยงข้อมูลระหว่างฝั่ งประเทศสปป.ลาว และเวียดนามที่ท�ำให้ข้อมูลส่งผ่านกัน อย่างมีประสิทธิภาพ แต่ปัจจัยด้านการประสานงานยังไม่สามารถด�ำเนินการได้ อย่างมีมาตรฐาน เนื่องจากมีการด�ำเนินการด้านเอกสารที่ซ�้ำซ้อนจากความผิด พลาดของการสื่อสารระหว่างพนักงวาน ส่งผลต่อความล่าช้าในการด�ำเนินงาน ซึ่ ง ส่ ง ผลกระทบต่ อ ระยะเวลาและค่ า ระวางการด� ำ เนิ น พิ ธี ก ารศุ ล กากร ดูรายละเอียดได้จากตารางที่ 9 และรูปที่ 3

213


ตารางที่ 9 ดัชนีชีว้ ัดสิ่งอ�ำนวยความสะดวกการค้าและการขนส่ง (TTF) กลุ่ม

การอ�ำนวยความ สะดวก

ค่าคะแนนความพร้อม ค่า S.D. ่ (TH- (LA- (VT- เฉลีย LA) VT) CN) การอ�ำนวย [1] single-window 2.75 3.25 3.75 3.25 0.50 ความสะดวก inspection ด้านการข้าม [2] single-stop 2.75 3.25 3.75 3.25 0.50 พรมแดน inspection [3] coordination 4.00 1.25 1.00 2.08 1.66 of hours of operation [4] advance ex2.75 2.00 3.00 2.58 0.52 change of information and clearance Border Crossing Facility: BCF 3.06 2.44 2.88 2.79 0.32 3.00 2.75 3.00 2.92 0.14 การขนส่ง [5] exemption from physical ข้ามแดน customs inspection [6] bond deposit 3.25 3.50 3.75 3.50 0.25 [7] escort 3.75 2.25 3.75 3.25 0.87 [8] exchange of 3.25 2.75 3.75 3.25 0.50 traffic rights [9] Sanitary and 2.00 1.75 3.25 2.33 0.80 Phytosanitary [10] special re3.25 2.75 3.75 3.25 0.50 gimes for particular categories of goods Transport facility: TPF 3.06 2.38 3.63 3.02 0.63

214


การเพิ่ม ขีดความ สามารถ และการใช้ เทคโนโลยี

[11] advanced Information dissemination [12] cross-border paperless trade [13] Information and communication technology [14] Training workshops and meetings Capacity Building: CAP

3.50

2.75

3.00

3.08

0.38

3.00

2.25

3.50

2.92

0.63

3.25

2.50

3.25

3.00

0.43

3.75

1.75

2.50

2.67

1.01

3.38

2.31

3.06

2.92

0.55

Transport and Trade Facilitation Index(TTF)

3.17

2.38

3.19

2.91

0.50

ที่มา: Warawut et al. (2018)

รูปที่ 3 ดัชนีชีว้ ัดสิ่งอ�ำนวยความสะดวกการค้าและการขนส่ง (TTF)

ที่มา: Warawut et al. (2018) 215


7.4 สิ่งอำ�นวยความสะดวกด้านการท่องเที่ยวข้ามพรมแดน (7A) ก.ศักยภาพทางการท่องเที่ยวของเส้นทาง R12 ผลการประเมินจากผู้เชีย ่ วชาญ 4 ด้าน ได้แก่ ด้านเศรษฐกิจ ด้านการค้า ด้านการขนส่ง และด้านกาท่องเที่ยวต่อศักยภาพและความพร้อมของเส้นทาง R12 ส�ำหรับการท่องเที่ยวในแต่ละรูปแบบ ผลการศึกษาในภาพรวมพบว่ารูป แบบการท่องเทีย ่ ว 3 รูปแบบทีเ่ หมาะสมและมีความพร้อมระดับมาก ได้แก่ การ ท่องเทียวทางธรรมชาติ ผจญภัย การท่องเที่ยวโดยชุมชน (M=4.19, 3.94) และการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม (M=3.00) ส่วนการท่องเที่ยวที่ยังไม่มีความ พร้อมได้แก่ การท่องเที่ยววิถีพุทธ ไลฟสไตล์ และอาหาร ตารางที่ 10 ศักยภาพและความพร้อมการท่องเที่ยวตามเส้นทาง R12 ประเภทของ ศักยภาพและความพร้อม การท่องเที่ยว นครพนม- น�้ำพาว- วินห์- ฮานอยน�้ำพาว วินห์ ฮานอย หลังเซิน ทางธรรมชาติ 4.88 4.88 3.00 4.00 ผจญภัย โดยชุมชน 4.50 4.75 2.75 3.75 เชิงเกษตร 2.75 3.00 1.50 3.50 วัฒนธรรม 2.38 2.13 3.75 3.75 อาหาร 1.25 1.25 2.00 4.00 ชาติพันธ์ 3.38 3.38 1.75 1.75 วิถีพุทธ 0.75 0.25 0.25 0.25 ไลฟสไตล์ 1.00 0.25 2.25 4.50 เฉลีย ่ รวม 2.61 2.48 2.03 3.19

เฉลีย ่ 4.19

ความ หมาย มาก

3.94 มาก 2.69 ปานกลาง 3.00 ปานกลาง 2.13 น้อย 2.56 น้อย 0.38 น้อยที่สุด 2.00 น้อย 2.58 น้อย

ที่มา: การส�ำรวจ

เมื่อพิจารณาตามเส้ นทางท่ องเที่ยวตาม R12 โดยแบ่งเป็ น 4 เส้ น ทาง พบว่า 1) นครพนม-น�้ำพาว มีความพร้อมและศักยภาพในการพัฒนาการ ท่องเที่ยว “เชิงธรรมชาติและการผจญภัย” และ “การท่องเทียวโดยชุมชน” เนื่ อ งจากสภาพเส้ น ทางใกล้ ชิ ด ธรรมชาติ มี ภู เ ขาหิ น ปู น สลั บ ซั บ ซ้ อ นอย่ า ง สวยงาม มีเทือกเขาขนาดใหญ่ ขณะเดียวกันมีพน ื้ ทีร่ าบทีเ่ ป็ นทุ่งหญ้าขนาดใหญ่ 216


เหมาะแก่การท�ำสวน ฟาร์ม หรือสถานทีท ่ ่องเทีย ่ วตามธรรมชาติ ทัง้ นีย ้ งั มีชม ุ ชน ขนาดเล็กเป็ นจ�ำนวนมาก เหมาะกับการจัดท�ำเป็ นการท่องเทีย ่ วโดยชุมชน 2) น�้ำ พาว-วินห์ เหมาะแก่การพัฒนาเป็ นการท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติ โดยชุมชน และ การท่องเที่ยวเชิงชาติพันธุ์ ซึ่งลักษณะทางภูมิศาสตร์เหมาะสมเนื่องจากมีที่ตัง้ อยูบ ่ นหุบเขาสลับซับซ้อน มีแม่น�้ำไหลตามหุบเขาอย่างสวยงาม นอกจากนีย ้ งั มี ชุมชนและวัฒนธรรมที่ค่อนข้างโดดเด่น 3) วินห์-ฮานอย มีความเหมาะสมการ กับพัฒนาเป็ นการท่องเที่ยวโดยชุมชนและเชิงวัฒนธรรม เนื่องจากมีชุมชนที่มี ศักยภาพได้แก่เมืองกว่างบินห์ มีภูเขาสูงแม่น�้ำที่เป็ นเอกลักษณ์ มีวัฒนธรรม และเครื่องแต่งกายของชาวเวียดนามที่โดดเด่น นอกจากนีย ้ ังมีทะเลทราบบน ภูเขาที่น่าไปเยีย ่ มชม 4) ฮานอย-หลังเซิน เป็ นเส้นทางที่มุ่งหน้าเข้าสู่ชายแดน เวียดนาม-จีน มีเอกลักษณ์เป็ นเมืองผ่านที่ผสมผสานระหว่างการท่องเที่ยวเชิง ธรรมชาติเพราะมีภูเขาสูงสวยงาม และการท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และ วัฒนธรรม เนื่องจากเป็ นเมืองที่เคยเกิดสงครามและความขัดแย้งระหว่างจีน เวียดนาม และฝรัง่ เศส ซึ่งจะพบเห็นสถานที่ทางวัฒนธรรมได้ตลอดเส้นทาง โดยเฉพาะบริเวณเมืองหลังเซินที่ตัง้ อยู่บนเขาสูงและมีหมู่บ้านทหารฝรัง่ เศสที่ เคยสร้างไว้บนเขาหลังเซิน นอกจากนีย ้ งั เหมาะกับการพัฒนาเป็ นการท่องเทียว เชิงอาหารและไลฟสไตล์ เนื่องจากมีการผสมผสานระหว่างวัฒนธรรมระหว่าง จีน ฝรัง่ เศส และเวียดนาม ซึ่งท�ำให้เกิดวัฒนธรรมใหม่ที่ผสมผสานกันอย่าง ลงตัว ข. ทรัพ ยากรและสิ่ ง อ� ำ นวยความสะดวกด้ า นการท่ อ งเที่ ย วข้ า ม พรมแดน (7A) จากการประเมินทรัพยากรและสิ่งอ�ำนวยความสะดวกทางการท่องเทีย ่ ว ข้ามพรมแดนของเส้นทาง R12 พบว่าระดับความพร้อมและประสิทธิภาพใน ภาพรวมอยูใ่ นระดับ “ปานกลาง” (M=3.01) ดูได้จากตารางที่ 4-6 และพบว่า สิ่งอ�ำนวยความสะดวกด้านการท่องเที่ยวอยู่ในระดับ “ปานกลาง” (M=3.25) ขณะเดียวกันหากมองสถานที่ท่องเที่ยวจะพบว่ามีความพร้อมระดับ “มาก” (M=4.19) หมายความว่าในภาพรวมยังมีพื้นที่ส�ำหรับการพัฒนาอีกจ�ำนวน มาก (Rooms for Improvement) เช่น การเพิ่มกิจกรรมทางการท่องเที่ยว ที่เกี่ยวข้องกับอัตลักษณ์ของท้ องถิ่นและวัฒนธรรม การส่ งเสริมการลงทุ น ด้านที่พัก การให้บริการ รวมถึงการพัฒนาปั จจัยด้านทรัพยากรมนุษย์และการ บริหารจัดการการท่องเที่ยวให้เป็ นรูปธรรมมากขึ้น

217


หากพิจารณาตามรายเส้นทางจะพบว่าเส้นทางที่มีทรัพยากรการท่อง เทีย ่ วและการอ�ำนวยความสะดวกสูงสุดได้แก่ ฮานอย-หลังเซิน รองลงมาได้แก่ วินห์-ฮานอย น�้ำพาว-วินห์ และนครพนม-น�้ำพาว ดูได้จากตารางที่ 11 ตารางที่ 11 ทรัพยากรและสิ่ งอ�ำนวยความสะดวกด้านการท่ องเที่ยวข้าม พรมแดน ทรัพยากรการ นครพนม- น�้ำพาว- วินห์- ฮานอย- ค่าเฉลีย ่ ท่องเที่ยว น�้ำพาว วินห์ ฮานอย หลังเซิน สถานที่ท่อง 3.75 3.50 4.50 5.00 4.19 เที่ยว กิจกรรม 2.00 2.25 4.50 4.25 3.25 สิ่งอ�ำนวยความ 1.50 2.50 4.50 4.50 3.25 สะดวก ที่พัก 1.25 1.25 4.25 4.75 2.88 การให้บริการ 1.25 1.75 4.00 4.50 2.88 การเข้าถึง 1.50 1.75 3.50 4.00 2.69 การบริหาร 1.50 1.50 4.00 4.00 2.75 จัดการ ทรัพยากร 1.50 1.50 2.75 3.00 2.19 มนุษย์ เฉลีย ่ รวม 1.78 2.00 4.00 4.25 3.01

ความ หมาย มาก ปานกลาง ปานกลาง ปานกลาง ปานกลาง ปานกลาง ปานกลาง น้อย ปานกลาง

ที่มา: การส�ำรวจ

8. ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย ภายใต้ ก ารศึ ก ษาท� ำ ให้ ค้ น พบว่ า เส้ น ทาง R12 ระยะทางที่ สั้ น และ ประหยัดเวลาได้มากกว่า R9 ถึงอย่างไรก็ตามหากจะตอบค�ำถามว่า R12 ดี กว่า R9 หรือไม่ ต้องพิจารณาเหตุผลสนับสนุนอื่นๆ เช่นการศึกษานีพ ้ ยายาม หาข้อเท็จจริงมาสนับสนุน 4 ด้าน ได้แก่ 1) ผลการประเมินเส้นทางซึ่งพบว่า สภาพเส้นทางได้มาตรฐานในระดับหนึ่งซึ่งผู้ ส่งออกสามารถท�ำการค้าได้ตาม ปกติ แต่ควรระวังอุปสรรคด้านผิวการจราจร สิ่งรบกวนต่างๆ 2) สิ่งอ�ำนวย ความสะดวกของเส้นทางพบว่าในช่วงหลังจากที่เข้าเวียดนามแล้วมีส่ิงอ�ำนวย ความสะดวกครบถ้วนและไม่เป็ นอุปสรรคต่อการขนส่งประการใด 3) สิ่งอ�ำนวย 218


ความสะดวกที่จุดผ่านแดนส�ำหรับการขนส่งสินค้า หรือสิ่งอ�ำนวยความสะดวก การค้ าการขนส่ งพบว่ ามี ความสะดวกสบายในระดับมาตรฐาน ทั้งด้านการ อ�ำนวยความสะดวกส�ำหรับการผ่านแดน การขนส่งผ่านแดน และการสนับสนุน การพัฒนาด้านต่างๆ อีกทั้ง 4) ยังมีศักยภาพด้านการท่องเที่ยวที่จะเป็ นเส้น ทางการท่องเที่ยวทางธรรมชาติผจญภัย การท่องเที่ยวโดยชุมชน และการท่อง เที่ยวทางวัฒนธรรม อย่างไรก็ตามสิ่งอ�ำนวยความสะดวกด้านการท่องเที่ยวยัง อยู่ในระดับน้อย ยังต้องการการพัฒนาจากทุกภาคส่วนให้เป็ นรูปธรรมมากยิ่ง ขึ้น ทั้งนีป ้ ั ญหาหลักๆที่ผู้ประกอบการไทยประสบได้แก่ ปั ญหาด้านการขนส่ง สภาพการจราจร ค่าผ่านทาง รวมถึงการไม่มีขอ ้ ตกลง AQSIQ ระหว่างไทย-จีน ส�ำหรับเส้นทาง R12 ท�ำให้การอ�ำนวยความสะดวกด้านการผ่านแดนยังไม่เป็ น ไปอย่างราบรื่น และท�ำให้ผู้ประกอบการไทยต้องแก้ไขปั ญหาด้วยตนเองด้วย วิธต ี ่างๆที่อาจไม่สะดวกมากนัก อย่างไรก็ตามการศึกษานีเ้ ป็ นเพียงการศึกษา เชิงส�ำรวจเบื้องต้นเท่านั้น ผลการศึกษาอาจไม่มีความน่ าเชื่อถือทางวิชาการ เมื่อเปรียบเทียบกับการศึกษาวิจัยอื่นๆ ดังนั้นการศึกษาครัง้ ต่อไปควรค�ำนึง ถึงมิติด้านต้นทุ นการขนส่ ง และประสิ ทธิภาพการด�ำเนิ นการด้านโลจิสติกส์ (Logistics Performance Index) ด้านต่างๆมากยิ่งขึน ้ และควรมีการจ�ำลอง สถานการณ์การส่งออกจริงซึ่งจะท�ำให้ผู้ศึกษาจะเห็นปั ญหาที่แท้จริงมากยิ่งขึน ้

219


เอกสารอ้างอิง Attaporn P. (2010) New Trade Lane:Nanning-Bangkok Economic Corridor, 南宁-曼谷经济走廊 . Consul-General at Nanning, China Thailand Business Information Center Department of Foreign Trade, DFT (2018) , Cross-border trade statistics Ministry of Commerce. http://www.dft. go.th/bts/trade-statistics Department of International Trade Promotion (DITP) (2015) R12 connectivity of Thailand to China, Economic worldwide, Bangkokbiz, Vol 28, No.9846, pp7 Department of Transport, DOT (2018 ) Road Inspection and Assessment Manual Local Road Maintenance Management System (LMMS), Department of Rural Roads, Thailand International Institution for Trade and Development, ITD Thailand (2012) Project on economic opportunity and impact of Nan-Luang Prabang route, Phayathai, Bangkok, pp 19-20 Krishna S. (2011) R12: New Economic Route from East Thai land to Southern China And the role of Vietnamese middlemen.ThaiBiz in China Thailand Business Infor mation Center. http://www.thaibizchina.com/thaibi zchina/th/articles Nucharee S.(2012). A study on Cross-Border Trade Facilitation and Regional Development along Economic Corridors: Thailand Perspectives in Emerging Economic corridors in the Mekong Region. BRC Research Report No.8, Bangkok Research Center, IDE-JETRO, Bangkok, Thailand Tuangmalee P.(2015) Trade facilitation along the path of ASEAN economy: Case study of R3A route through Lao PDR. MFU Connexion: Journal of Humanities and 220


Social Sciences (ISSN 2286-6477), Vol. 4 No. 1. Jan- Jul 201, Mae Fah Luang University, Chiang Rai, Thailand, pp121-147 Smith T. (2015) Regulatory direction and Import of agricultural and food products of China, Academic Seminar on Food Safety and Food Security Year 2015 Consulate (Department of Agriculture), Consulate General, Guangzhou, China Warawut et al (2018) An Exploratory on Cross-Border Transport and Trade Facilitation along R12 Route (Thailand, Lao PDR and Vietnam):The Thailand Perspective, The social Science Review, Saitama University, Japan Yushu F.(2013) Operations Manual for Cross-Border Road Transport in Lao PDR, Thailand and Viet Nam: A Practical Guide for Drivers, East West Economic Corridor, First edition. GMS TTF. http:// http://www. gms-cbta.org/online-resources Yushu F.(2011) Greater Mekong Subregion Cross-Border Transport Facilitation Agreement, Instruments and Drafting History. Asian Development Bank, ADB Avenue, Mandaluyong City, 1550 Metro Manila, Philippines, pp 9-18

221


ส่วนที่ 4 Policy brief

222


“โกโก้” และ “ถั่วดาวอินคา” พืชเศรษฐกิจใหม่ ของจังหวัดเชียงราย? ภาคเกษตรกรรมเป็ นส่วนส�ำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของจังหวัด เชียงรายตัง้ แต่อดีตจนถึงปั จจุ บัน ซึ่งคิดเป็ นสัดส่วนประมาณร้อยละ 20 ของ มูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติทั้งหมดของจังหวัดในปีพ.ศ. 2559 แม้ว่า ในช่วง 2 - 3 ปีที่ผ่านมา มูลค่ามีการหดตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง สาเหตุมาจาก ภาวะราคาตกต�่ำของสินค้าเกษตรที่ส�ำคัญของจังหวัดเชียงราย ได้แก่ ข้าว และ ยางพารา ท�ำให้สถานการณ์ของภาคเกษตรของจังหวัดเชียงรายในปั จจุ บน ั เข้าสู่ ภาวะวิกฤต ฉะนัน ้ จึงต้องมองหาพืชเศรษฐกิจใหม่เข้ามาแทนที่ โดยในเมื่อเดือน พฤศจิกายน พ.ศ. 2561 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ตงั้ คณะท�ำงานในการ ศึกษาความเป็ นไปได้ในการปลูกโกโก้แทนยางพารา เนื่องจากมีความต้องการ อย่างมาก และมีราคาสูงขึ้นในตลาดโลก44 จากรูปที่ 1 แสดงราคาของโกโก้ใน ตลาดปีค.ศ.1990-2018 เห็นได้ว่าราคาของโกโก้ในตลาดโลกมีการปรับตัว สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง แม้จะได้มีอัตราการขยายตัวที่ก้าวกระโดดก็ตาม ในช่วง ที่ผ่านมา ไทยเคยมีการส่งเสริมให้ปลูกโกโก้เมื่อ 30 ปีก่อน เพื่อแก้ไขปั ญหา มะพร้าวราคาตกต�่ำ ซึ่งปลูกมากในทางตอนใต้ของประเทศ45 การพุ่งขึ้นของ ราคาในตลาดโลกได้จุดกระแสให้ประเทศไทยเริ่มมีความตื่นตัวในหลายพื้นที่ มากขึ้นในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ในพื้นที่กว่า 47 จังหวัด ทั่วประเทศ โดยโกโก้เป็ น พืชทีม ่ ีความต้องการในหลากหลายอุตสาหกรรม อาทิ ช็อกโกแลต เครือ ่ งส�ำอาง เป็ นต้น และมีตลาดส่งออกในหลายทวีป อาทิ สหรัฐอเมริกา สิงคโปร์ เยอรมนี ออสเตรเลีย46 ทั้งนี ้ ประเทศที่ท�ำการผลิตโกโก้เป็ นอันดับหนึ่งของโลก คือ ไอ วอรี่ โคสต์ ซึ่งคิดเป็ นสัดส่วนร้อยละ 30 ของผลผลิตทั้งหมดในโลก และมีผู้ ซื้อเป็ นบริษัทยักษ์ใหญ่อย่าง Nestle และ Cadbury ส่วนประเทศที่มีผลผลิต รองมาคือ กาน่า และอินโดนีเซีย ซึ่งประเทศส่วนใหญ่เป็ นประเทศที่อยู่ในทวีป อเมริกาเหนือ47 ปั จจุ บันไทยได้น�ำเข้ามีการน�ำเข้าจากมาเลเซียเป็ นอันดับหนึ่ง 44 มติชน. (27 พ.ย. 2561). ‘กฤษฎา’ ให้บิ๊กเกษตร ตัง้ ทีมศึกษาปลูกโกโก้แทนยางพารา อายุเกิน 25 ปี. 45 ส�ำนักข่าวอิศรา. (18 มกราคา 2562). รูจ้ ัก ‘สายพันธุโ์ กโก้’ ในวันที่รฐั ดันปลูกแทน ยางพาราแก้ราคาต�่ำ จริงจังหรือแค่โปรยยาหอม 46 ประชาชาติ. (21 พฤษภาคม 2561). จับตา “โกโก้” พืช ศก. ตัวใหม่ แห่ปลุฏ 47 จ. อีก 5 ปีบูมหนัก. 47 WorldAtlas. (2018). Top 10 Cocoa Producing Countries. 223


ในสัดส่วนกว่าร้อยละ 70 นอกเหนือจากเป็ นอินโดนีเซีย สิงคโปร์ กานา และ ฝรัง่ เศส เนื่องจากไทยสามารถผลิตภายในประเทศไม่ถึง 200 ตัน ท�ำให้ต้องมี การน�ำเข้าประมาณปีละ 5 หมื่นตัน48 จากรูปที่ 2 แสดงมูลค่าการน�ำเข้าและ การส่งออกโกโก้ของไทยค.ศ.2017-2018 ซึ่งเห็นได้ว่ามูลค่าการส่งออกต�่ำ กว่ามูลค่าค่อนข้างมาก รูปที่ 1 ราคาโกโก้ในตลาดโลกปีค.ศ.1990-2018 (ดอลลาร์สหรัฐ/กิโลกรัม)

ที่มา: World Bank Commodity (2018)

รูปที่ 2 มูลค่าการส่งออกและน�ำเข้าปีค.ศ.2017-2018 (ล้านบาท)

ที่มา: Ministry of Commerce (2018)

48 ฐานเศรษฐกิจ. (7 ธันวาคม 2561). ปลูก “โกโก้” ท�ำเงิน 8 หมื่นต่อไร! สศก. ส่งเสริม แทนยาง - ลดน�ำเข้าปีละ 5 หมื่นตัน.

224


นอกจากโกโก้ พืชเศรษฐกิจที่เป็ นทางเลือกใหม่ ให้ แก่เกษตรกรเช่น เดียวกัน คือ ‘ถั่วดาวอินคา’ ที่ มีแหล่งต้นก�ำเนิ ดดั้งเดิมมาจากป่ าอเมซอน ประเทศเปรู โดยเมล็ดพืชชนิดนีป ้ ระกอบด้วยโปรตีนร้อยละ 33 และน�้ำมัน อีกร้อยละ 54 เป็ นหนึ่ งในพืชที่มีน�้ำมั นโอเมกามากที่สุด มี โอเมก้า 3 ร้อย ละ 48.6 โอเมก้า 6 ร้อยละ 36.8 และโอเมก้า 9 ร้อยละ 8.2 ทั้งนี ้ มีส่วน ประกอบของไขมันที่อ่ิมตัวเพียงร้อยละ 6.2 เมื่อเปรียบเทียบกับน�้ำมันอื่นๆ ถือเป็ นสัดส่วนที่ค่อนข้างต�่ำ นอกจากนี ้ ยังมีวิตามิน A และ E ท�ำให้ได้รบ ั ความ นิยมในอุตสาหกรรมอาหารและเครือ ่ งส�ำอางอย่างมาก แต่ปัจจุ บันการส่งออก ผลิตภั ณฑ์ จากถั่วดาวอินคาไปยุโรปอนุ ญาตให้ อยู่รูปแบบของเครื่องส� ำอาง เพียงเท่านัน ้ เนื่องจากยังคงติดกฎหมายอาหารใหม่ (Novel food) ของสหภาพ ยุโรป อย่างไรก็ตาม ตลาดของถั่วดาวอินคาในรูปแบบของอาหารมีขนาดใหญ่ กว่าเครือ ่ งส�ำอาง ปั จจุ บัน ประเทศเปรูเป็ นผู้น�ำตลาดของถั่วดาวอินคาในยุโรป เนื่องจากได้รบ ั สิทธิทางภาษีศุลกากร GSP+ (General Scheme of Preferences) เช่นเดียวกับโคลัมเบีย และเปรูที่เป็ นคู่แข่งทางตลาดที่ส�ำคัญ49 ดังนั้น โกโก้ และถั่วดาวอินคา อาจจะเป็ นพืชชนิดใหม่ที่เข้าช่วยแก้วิกฤตให้ กับเกษตรในภาวะที่ราคาของสินค้าเกษตรอื่นๆก�ำลังตกต�่ำ จึงท�ำให้ได้มีการ สั มภาษณ์เชิงลึกกับผู้ ที่ท�ำการเพาะปลูกสิ นค้าเกษตรทั้งสองชนิ ดในปั จจุ บัน ได้แก่ บริษัท ผางามกิจเกษตรเชียงราย จ�ำกัด และบริษัท เชียงรายเกษตรกรรม ก้าวหน้า จ�ำกัด ซึ่งเป็ นตัวแทนที่ให้ข้อมูลในด้านต่างๆตัง้ แต่จุดเริม ่ ต้น อุปสรรค การบริหารจัดการ การตลาด เป้ าหมาย ความท้าทาย และการสร้างความร่วมมือ - โกโก้ จากการรับซื้อพืชไร่สู่การปลูกโกโก้ แต่ก่อนบริษัทได้ท�ำการรับซื้อผลผลิตการเกษตรประเภทพืชไร่ แต่ ประสบกับปั ญหาราคาพืชไร่ตกต�่ำเมื่อ 3 ปีก่อน จากปั ญหาการเมืองภายใน ประเทศ จึงตัดสินใจมองหาแนวทางการท�ำเกษตรใหม่ ต่อมาในปีพ.ศ. 2558 จีนได้เข้ามาส่งเสริมให้มีการปลูกข้าวหอมมะลิ แต่ไม่สามารถจ�ำหน่ายได้ แม้ว่า จะท�ำความร่วมมือกับจีนก็ไม่ท�ำการรับซื้อตาม และในปีพ.ศ. 2559 ได้ท�ำการ ศึกษางานวิจัยเกี่ยวกับโกโก้ ซึ่งพบว่าเป็ นหนึ่งในสามของพืชที่มีความส�ำคัญ 49 Osec. (2012). Market Brief for Sacha Inchi: An introduction to the European market for Peruvian exportes. 225


รองจากชาและกาแฟ ในช่วงแรกได้รบ ั เสียงวิจารณ์ถึงความเป็ นไปได้ที่จะปลูก โกโก้ในจังหวัดเชียงราย เนื่องจากเป็ นพืชที่มาจากต่างประเทศ ราคา ผลิตภัณฑ์ และตลาด โกโก้ที่ท�ำการส่งออกขายในปั จจุ บันอยู่ที่ประมาณ 150,000 บาท/ตัน อย่างไรก็ตาม ในแต่ละองค์ประกอบของโกโก้มีราคาที่แตกต่างกัน ซึ่งแบ่งออก เป็ น 1) cocoa nip ที่ใช้ในการท�ำเบเกอรี่ 2) cocoa liquor เป็ นของเหลว ใช้ด่ืมกับกาแฟ 3) cocoa butter เป็ นส่วนที่แยกไขมันออกมา และสุดท้าย คือ 4) cocoa powder เป็ นส่วนสุดท้าย มีราคาอยู่ที่ประมาณ 600 - 700 บาท/กิโลกรัม โดยผลของโกโก้รอ ้ ยละ 100 แบ่งออกเป็ นเปลือกร้อยละ 70 และเมล็ดสุกอีกร้อยละ 30 ซึ่งสามารถน�ำเปลือกไปสร้างมูลค่าเพิ่มต่อได้ ได้การ สร้างความร่วมมือกับต่างประเทศเพื่อส่งออกสินค้า แต่ไม่ได้ท�ำการขอโควตา เพื่อไม่ให้ถูกควบคุมตลาด ปั จจุ บันโดยหลักยังคงจ�ำหน่ายภายในประเทศ โครงการส่งเสริมการปลูกโกโก้ ส�ำหรับเกษตรที่เข้ามาร่วมโครงการดังกล่าว ต้องท�ำสัญญากับบริษัท เพื่อรับประกันว่ามีการรับซื้อผลผลิตจริง โดยต้องรับต้นกล้าจากบริษัทที่เป็ น พันธุท ์ ี่เหมะสม และได้รบ ั การรับรอง พร้อมทั้งมีเจ้าหน้าที่ลงติดตามเพื่อดูแล และให้ค�ำแนะน�ำแก่เกษตรกรตลอดทั้งโครงการ โดยต้องมีการปลูกขัน ้ ต�่ำ 50 ต้น เพื่อความคุ้มค่าในการเข้าโครงการ ใช้เวลา 2 ปี ในการให้ผลผลิต ซึ่งทาง บริษัทจะไปรับจากที่ไร่ และโอนเงินเข้าสู่ธนาคารเพื่อการเกษตร (ธกส.) เพื่อ สร้างรายการเดินบัญชี (statement) ให้แก่เกษตรกร ใน 3 ปีแรก รับซื้อ ผลผลิตอยู่ที่ 7 บาท/กิโลกรัม เป็ นราคาที่อ้างอิงตามตลาดโลก ประกันการคืน ทุนในปีที่ 3 ได้รบ ั รายได้ประมาณ 3,500 - 5,000 บาทต่อเดือน หลังจากปีที่ 6 ขึ้นไป จะท�ำการรับซื้อในราคาที่สูงกว่าตลาด โดยสมาชิกไม่สามารถน�ำผลผลิต ไปจ�ำหน่ายที่อ่ืนได้ จะท�ำการระงับการเป็ นสมาชิก 5 ปี ซึ่งสัญญาจะท�ำการ ระบุโควตาการรับซื้อ เพื่อไม่ให้เกิดการรวมสิทธิ์ หากเกษตรกรท�ำการแปรรูป เองจะได้ราคาที่สูงกว่า พื้นที่ที่มีการรับซื้อไกลสุดอยู่ที่ภาคอีสาน มากกว่านั้น หากไม่ต้องการที่จะท�ำการปลูกเอง สามารถที่จะลงทุนหลุมละ 20 บาท ซึ่งจะ มีการจัดการเกษตรให้ ทั้งนี ้ ต้นโกโก้มีระยะเวลาอยู่ได้มากกว่า 60 ปี ในการให้ ผลผลิต

226


แผนการในอนาคต มีความต้องการที่จะส่งโกโก้ไปประกวดที่ประเทศฝรัง่ เศสให้ชนะ เพื่อ ให้ได้หนังสือรับรอง (certificate) และผลักดันให้กลายเป็ นพืชตัวที่สามของ จังหวัดเชียงราย พร้อมทั้งขยายการผลิตไปสู่ ผลิตภั ณฑ์ เครื่องส� ำอาง และ โรงงานช็อคโกแลต ตลอดจนสร้างแหล่งท่องเที่ยวแห่งใหม่ที่เรียกว่า ‘Choco Land’ - ถั่วดาวอินคา แนวทิศทางการปลูกถั่วดาวอินคา ถั่วดาวอินคาเป็ นพืชเศรษฐกิจทีม ่ ก ี ารปลูกในหลายพืน ้ ที่ ลงทุนเพียงครัง้ เดียวสามารถที่จะเก็บเกีย ่ วได้ถึง 15-40 ปี เป็ นพืชที่มีประโยชนต่อสุขภาพ เศรษฐกิจ และความมั่นคง ซึ่งต้องใช้เวลาในการพัฒนาสายพันธุ์ ศึกษาวิธก ี าร ปลูกให้สัมพันธ์กับป่ า การแปรรูปผลิตภัณฑ์ให้เกิดความน่าเชื่อถือ รวมทั้งต้อง มีกลยุทธ์ทางการตลาดที่เข้าถึงลูกค้าในแต่ละวัย ซึ่งข้อดีของถั่วดาวอินคา คือ สามารถน�ำแปรรูปได้ง่ายทั้งในรูปแบบของอาหาร และเครื่องส�ำอาง ทั้งนี ้ ใน พื้นที่สูงให้ผลผลิตได้ดีกว่า เพราะเป็ นพืชป่ าที่ต้องอาศัยต้นไม้พ่ึงพิง ความท้าทายในการผลักดัน ฐานข้อมูลเป็ นสิ่งจ�ำเป็ นอย่างมากต่อการขับเคลื่อนให้มีการปลูกถั่วดาว อินคามากขึ้น และมีประสิทธิภาพ ซึ่งอยู่ในขัน ้ ต้นระหว่างการด�ำเนินการ โดยมี ความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยต่างๆในการเก็บข้อมูล เช่น พืน ้ ทีเ่ พาะปลูก สถานที่ ต�ำแหน่งรับซือ ้ สายพันธุ์ การก�ำหนดราคา เป็ นต้น เพื่อเผยแพร่ให้กบ ั ประชาชน เฏษตรกร และนักลงทุน นอกจากนั้น ได้มีความร่วมมือกับหลายภาคส่วน เช่น เกษตรกร จุ ดรับซื้อ พ่อค้าคนกลาง จังหวัด บริษัทที่มีลักษณะเดียวกัน สมาคม ผู้ค้าพืช เป็ นต้น ปั จจุ บัน ถั่วดาวอินคาสามารถปลูกได้เพียง 5 ประเทศ ได้แก่ ไทย สปป.ลาว เมียนมา กัมพูชา และเวียดนาม ทั้งนี ้ เป้ าหมายที่ส�ำคัญ คือ การ พัฒนาคุณภาพให้แก่วัตถุดิบให้ตรงตามความต้องการของตลาด เน้นประยุกต์ ใช้นวัตกรรม และงานวิจัย ปั จจุ บันได้พยายามบริการการตลาดด้วยการตัง้ จุ ด รับซือ ้ และโรงงานมาตรฐานให้เหมือนกับการท�ำโรงสีขา้ ว ส่งเสริมงานวิจย ั อย่าง เปิดเผย และออกประชาสัมพันธ์สินค้าในต่างประเทศ

227


โมเดลความสำ�เร็จ จุ ดเริ่มต้นคือต้องชอบศึ กษาค้นคว้า ต้องหาประโยชน์ คิดวิเคราะห์ ท�ำการทดลอง และวิเคราะห์ต้นทุน โดยควรหาที่ปรึกษาแนะน�ำเฉพาะในการ ขออนุญาตต่างๆ ต้องมีการพัฒนางานวิจัยที่มีมาตรฐานในทุกระดับตัง้ แต่ตน ้ น�้ำ จนถึงปลายน�้ำ พร้อมทั้งขับเคลื่อนภาครัฐ ภาคเอกชน และอื่นๆไปสู่อนาคตที่ ยั่งยืน บทสัมภาษณ์ 1. บริษัท ผางามกิจเกษตรเชียงราย จ�ำกัด (วันที่ 11 ตุลาคม 2561) 2. บริษัท บริษัท ผางามกิจเกษตรเชียงราย จ�ำกัด (วันที่ 13 กันยายน 2561) เรียบเรียงโดย พรพินันท์ ยีร่ งค์

228


การสร้างนวัตกรรม - การสร้างความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจ นวัตกรรมเปรียบเสมื อนหั วใจของกระบวนการทางธุรกิจที่แสดงถึง ความคิดริเริ่มใหม่ๆ การใช้เทคโนโลยีในการสร้างสรรค์สินค้าและบริการใหม่ๆ เป็ นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กบ ั ธุรกิจและสร้างหนทางเพื่อความอยูร่ อด (ศูนย์วจิ ย ั ธนาคารไทยพาณิชย์, 2560) อีกทัง้ ยังสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจและสังคม ส่ ง ผลให้ เ ศรษฐกิ จ ของประเทศเติ บ โตตามไปด้ ว ย ในปั จจุ บั น มี ก ารด� ำ เนิ น นโยบายประเทศไทย 4.0 เป็ นการวางรากฐานการพัฒนาประเทศในระยะยาว ซึ่ งเป็ นจุ ดเริ่มต้นในการขับเคลื่อนไปสู่ การเป็ นประเทศที่ ม่ั นคง มั่ งคั่ง และ ยั่งยืน ตามวิสัยทัศน์รฐั บาลที่ปรับเปลี่ยนโครงสร้างเศรษฐกิจจากเดิมไปสู่ยุค เศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม หรือ Value-Based โดยมีฐานคิดหลัก คือ เปลีย ่ นจากการขับเคลื่อนประเทศด้วยอุตสาหกรรมไปสู่การขับเคลื่อนด้วย เทคโนโลยี ความคิดสร้างสรรค์ และนวัตกรรม (กรกนก เธียรวัฒนโชติ และ คณะ, 2560) นอกจากนีแ ้ ผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 (พ.ศ.2560-2564) เน้นการน�ำความคิดสร้างสรรค์และการพัฒนานวัตกรรม ท�ำให้เกิดสิ่งใหม่ที่มีมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจทัง้ ในเรือ ่ งกระบวนการผลิตและรูป แบบผลิตภัณฑ์และบริการใหม่ๆ เพื่อสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจและยกระดับ ห่วงโซ่มูลค่าด้วยการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรม ปั จจุ บันดัชนี นวั ตกรรมโลก (Global Innovation Index) ของ ประเทศไทยจัดอยู่อันดับ 44 (คะแนน 38.00) ในปีค.ศ.2018 ซึ่งขยับขึ้น มาจากอันดับ 51 (คะแนน 37.57) ในปีค.ศ.2017 โดยอยู่อันดับที่ 3 ของ อาเซียนรองจากประเทศสิงคโปร์และมาเลเซีย ทั้งนีจ้ ากการจัดอันดับสถิติที่ ใช้นวัตกรรมขับเคลื่อนเศรษฐกิจมากที่สุดในโลกในปีค.ศ.2018 ของส�ำนักข่าว บลูมเบิรก ์ พบว่า ประเทศไทยอยู่อันดับ 45 ของโลก และเป็ นอันดับที่ 3 ของ อาเซียน ถือว่าประเทศไทยยังคงต้องพัฒนานวัตกรรมในอุตสาหกรรม เพื่อที่ จะพัฒนาเศรษฐกิจของไทยและก้าวพ้นกับดักรายได้ปานกลาง อย่างไรก็ตาม ปั จจุ บันส�ำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติได้มียุทธศาสตร์การพัฒนานวัตกรรมเพื่อ เศรษฐกิจทัง้ หมด 16 ด้าน เช่น อาหาร ผักและผลไม้ เกษตรอินทรีย์ ข้าว สินค้า อุตสาหกรรมเกษตร พลังงานสะอาด ผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ และการท่องเที่ยว เป็ นต้น เพื่อยกระดับและพัฒนาขีดความสามารถของผู้ประกอบการวิสาหกิจ ขนาดกลางและขนาดย่อม (SME) นอกจากนีท ้ างศูนย์วจิ ย ั ธนาคารไทยพาณิชย์ ได้น�ำเสนอแนวทางที่จะขับเคลื่อนธุรกิจให้ ก้าวไปข้างหน้ า ได้แก่ นวัตกรรม ผลิตภัณฑ์ (product innovation) ทีส ่ ร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ให้สามารถเติมเต็ม 229


ความต้องการของผู้บริโภค และ นวัตกรรมโมเดลธุรกิจ (business model) ที่น�ำเสนอรู ปแบบและประสบการณ์ใหม่ๆ ให้กับผู้บริโภค (ศูนย์วิจัยธนาคาร ไทยพาณิชย์, 2560) ทั้งนี ้ เชียงรายถือเป็ นหนึ่งจังหวัดของไทยที่มีวัตถุดิบทางด้านอาหาร ผักและผลไม้ และสินค้าเกษตรกรรมที่มีคุณภาพ รวมถึงสถานที่ท่องเที่ยวเชิง ธรรมชาติและวัฒนธรรม เหมาะสมแก่การต่อยอดพัฒนาสิ นค้าและสถานที่ ท่องเที่ยวดังกล่าวสู่นวัตกรรมเพื่อเพิ่มมูลค่า ในปั จจุ บันผู้ประกอบการจังหวัด เชียงรายเริ่มมีการน�ำนวัตกรรมมาใช้ในการผลิตภัณฑ์สินค้า เช่น ผลิตภัณฑ์ ข้าว ของไร่ร่น ื รมย์50 นอกจากนีส ้ �ำนักงานเศรษฐกิจชายแดนและโลจิสติกส์ ได้ลงพื้นที่สัมภาษณ์ผู้ประกอบการบริษัทเชียงราย โฮมเมด ไอศครีม จ�ำกัด เจ้าของแบรนด์สินค้าไอศครีม little happiness และ Happy Plus ซึ่งได้น�ำ นวัตกรรมมาใช้ในการผลิตภัณฑ์ไอศกรีมแบบผง โดยจะกล่าวถึงประสบการณ์ แนวทาง และการพัฒนาผลิตภัณฑ์

รูปที่ 1 ไอศครีมแบบผงและเยลลี่ Happy Plus “การผลิตรสชาติของไอศครีม ได้มาจากคำ�ติชมของลูกค้าเป็นหลัก” 50 สามารถติดตามอ่าน “นวัตกรรมการเกษตรกับไร่ร่น ื รมย์” ได้ที่ OBELS Outlook 2017

230


• จุดเริ่มต้นของการดำ�เนินธุรกิจไอศครีม เริ่มต้นจากการเปิดร้านกาแฟชื่อ Happy Plus เป็ นหลัก ก่อนที่จะมี โอกาสได้เข้ามาเรียนรู ก ้ ารท�ำไอศครีมโฮมเมดและได้จัดจ�ำหน่ายเป็ นตัวเสริม ในร้าน ต่อมาคุณโศรยาได้เข้าร่วมอบรมในโครงการเสริมสร้างผู้ประกอบการ หน้าใหม่ของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม โดยได้เขียนแผนธุรกิจร้านกาแฟเพื่อ น�ำเสนอแนวทางการพัฒนาธุรกิจของตน ทั้งนีอ ้ าจารย์จากมหาวิทยาลัยแม่ฟ้า หลวงเป็ นที่ปรึกษาได้วิเคราะห์ว่า ไอศครีมมีการเติบโตทางด้านยอดขายและ รายได้ที่สูงกว่ากาแฟ จึงเป็ นไปได้ที่จะท�ำไอศครีมเป็ นธุรกิจ จึงน�ำไปสู้เส้นทาง ธุรกิจไอศกรีม ภายใต้ช่อ ื บริษัท เชียงรายโฮมเมดไอศกรีม จ�ำกัด ภายใต้แบรนด์ little happiness กระจายตามร้านค้าและร้านอาหารทั่วไปในจังหวัดเชียงราย กว่า 80 ร้าน ขณะเดียวกันเริม ั จ้าง ่ มีบริษัทหรือลูกค้ารายใหญ่เข้ามาติดต่อให้รบ ผลิตไอศครีมแก่แบรนด์ต่างๆ (Original Equipment Manufacturer : OEM) ได้แก่ ไร่บุญรอด ไร่ฉย ุ ฟง ดอยดุง และโรงแรมเลอเมอริเดียน เชียงราย เป็ นต้น ซึ่งการรับจ้างผลิต OEM คิดเป็ นร้อยละ 40 ของรายได้ทั้งหมด โดย ลูกค้าส่วนใหญ่เป็ นในรูปแบบของธุรกิจต่อธุรกิจ (B2B) • จุดเปลี่ยนทางธุรกิจ ในช่ วงเวลา 2 ปีที่ผ่านมา การเติบโตของตลาดไอศครีมในจั งหวั ด เชี ยงรายเริ่มอิ่ มตั ว อี กทั้ งสิ นค้าประเภทไอศครีมได้ เข้ าสู่ การท� ำธุ รกิ จที่ มีคู่ แข่งขันสูงขึ้น (Red Ocean) เป็ นที่เรียบร้อย หากต้องการที่จะเพิ่มฐานลูกค้า ใหม่นั้นไม่ควรจะไปแย่งส่วนแบ่งจากตลาดสินค้าเดิม ซึ่งจะท�ำให้ธุรกิจของตน และคู่แข่งต่างประสบปั ญหาในการด�ำเนินธุรกิจในอนาคต • นวัตกรรมและการก้าวข้ามความท้าทายในการดำ�เนินธุรกิจ จากมุมมองที่เห็นว่าตลาดไอศครีมไม่สามารถขยายต่อไปได้แล้วน�ำไป สู่ความท้าทายในการด�ำเนินธุรกิจด้วยการคิดค้นนวัตกรรมใหม่ๆ ขึ้นมา นั่นคือ “ไอศครีมรูปแบบผง Happy Plus” ทั้งนีน ้ วัตกรรมดังกล่าวเกิดจากการได้รบ ั ทุนสนับสนุนจากโครงการพัฒนาขีดความสามารถทางเทคโนโลยีและวิจัยของ ภาคเอกชนในพื้นที่ (Industrial Research and Technology Capacity Development Program: IRTC) และความร่วมมือกันระหว่างอุทยาน วิทยาศาสตร์ภาคเหนือ (Northern Science Park: NIA) กับส�ำนักงาน จัดการทรัพย์สินทางปั ญญาและพัฒนานวัตกรรม มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง (Mae Fah Luang Intellectual Property Management and Innovation Development Office: MFii) นอกจากนีก ้ ารท�ำผลิตภัณฑ์ไอศครีม 231


รูปแบบผงเป็ นการท�ำลายข้อจ�ำกัดของไอศครีมที่ผู้บริโภคส่วนใหญ่มีความเห็น ว่าเป็ นสิ่งที่ท�ำยากและต้องมีเครือ ่ งมือเฉพาะ ซึ่งผลิตภัณฑ์ดังกล่าวสามารถท�ำ รับประทานได้ด้วยตนเองแบบง่ายๆ เพียง 3 ขัน ้ ตอน ได้แก่ 1) เทนม 2) เขย่า และ 3) แช่แข็ง พร้อมรับประทาน “การตลาดยากกว่าสูตรการผลิต” • นวัตกรรมกับการสร้างโอกาสทางธุรกิจ ปั จจุ บน ั ทางบริษัท เชียงรายโฮมเมด ไอศกรีม จ�ำกัด ได้ผลิตไอศครีมรูป แบบผงออกมาแล้ว 2 รสชาติ ได้แก่ ทุเรียน และกระทิ นอกจากนีย ้ งั มีผลิตภัณฑ์ พุดดิง้ รสชาติกระทิ ทุเรียน และอัญชัน ซึ่งกลยุทธ์ทางการตลาดของผลิตภัณฑ์ ทัง้ สองนีไ้ ด้มุ่งเน้นไปยังกลุม ่ นักท่องเทีย ่ วชาวจีน โดยได้มีการวางสินค้าจ�ำหน่าย ที่ห้างสรรพสินค้า Siam discovery, Icon Siam, MBK และพัทยา ซึ่งจุ ด เด่นของไอศครีมรูปแบบผงนั้นประกอบด้วย 1) ง่ายต่อการขนส่ง 2) ง่ายต่อ การขายออนไลน์ 3) ง่ายในขัน ้ ตอนการท�ำ และ 4) ง่ายต่อการท�ำกิจกรรมร่วม ภายในครอบครัว เนื่ องจากไอศครีมรู ปแบบผงสามารถสร้างความรู ส ้ ึ กดีใน กิจกรรมต่างๆ (Function) ในขัน ้ ตอนการท�ำไอศครีม ไม่ว่าจะเป็ นความสนุก ความสัมพันธ์ และมิตรภาพ ระหว่างเพื่อนและครอบครัว ขณะเดียวกันผู้บริโภค สามารถปรับแต่งชนิดของนม ระดับความหวานได้ตามความชอบ หรือเป็ นการ สร้างประสบการณ์ให้กับผู้บริโภค นอกจากนีผ ้ ลิตภัณฑ์ไอศครีมรูปแบบผงถือว่าเป็ นสินค้า Do it yourself (DIY) และได้รบ ั ความสนใจอย่างมากจากกลุม ่ ผู้บริโภคแบบครอบครัว ใน ปั จจุ บันมีบริษัทจากสหรัฐอเมริกาสนใจและติดต่อเข้ามา แต่สินค้าจะต้องระบุ แหล่งทีม ่ าของนม และได้ใบรับรองกฎระเบียบของ USFDA ซึ่งอยูใ่ นแผนระยะ ยาวของบริษัท อย่างไรก็ตามคุณโศรยาเน้นการตลาดในประเทศก่อนอันดับแรก “ไปคนเดียวไปได้เร็ว แต่หากต้องการไปให้ไกลต้องไปพร้อมๆกัน” • นวัตกรรมกับการเติบโตอย่างยั่งยืน ปั จจุ บันทางคุณโศรยาได้มีเป้ าหมายของการท�ำไอศครีมโดยจะเริ่มใช้ วัตถุดิบที่เป็ นเอกลักษณ์ของจังหวัดเชียงรายเป็ นส่วนผสมหลัก ได้แก่ กาแฟ ชาเขียว สับปะรด และโกโก้ เพื่อเชิดชูวัตถุดิบที่มีอยู่มากมายภายในจังหวัด เชียงราย ทั้งในรูปแบบของไอศครีมทั่วไป ไอศครีมรูปแบบผง และเยลลี่ ซึ่ง 232


เป็ นการยกระดับสินค้าเกษตรจังหวัดเชียงรายสู่นวัตกรรม และการเติบโตอย่าง ยั่งยืนร่วมกับเกษตรกรชาวเชียงรายสู่ความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจ เพื่อก้าวเข้าสู่ การเป็ น Ice-Cream Factory “การยอมรับขอติเตือน เป็นการเสนอว่าพร้อมพัฒนาตัวเองให้ดียิ่งขึ้น เป็นจุดแข็งของแบรนด์ little happiness และ Happy Plus” บทสัมภาษณ์ คุณ โศรยา พรินทรากุล บริษัท เชียงรายโฮมเมดไอศกรีม จ�ำกัด (วันที่ 11 ตุลาคม 2561) เรียบเรียงโดย สิทธิชาติ สมตา เอกสารอ้างอิง ศูนย์วิจัยธนาคารไทยพาณิชย์. (2560). จับตานวัตกรรม ที่จะพลิกโฉมธุรกิจ ใน EIC Insight : ซัพพลายเชนจะปรับตัวอย่างไรเมื่อโลกเปลีย ่ น. สืบค้นเมื่อวันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ.2561 แหล่งที่มา: https://www. scbeic.com/th/detail/product/3931 กรกนก เธียรวัฒนโชติ และคณะ. (2560). แนวทางการสร้างมูลค่าเพิ่มด้วย การใช้นวัตกรรมและการพัฒนา ผลิตภัณฑ์จากข้าวกล้องหอมมะลิ กรณีศึกษาขนมบรรจุ ซอง ตราสินค้า ฟิตโต้. การประชุมวิชาการ เสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษาครัง้ ที่ 2, หน้า 356-363.

233


แนวทางการพัฒนาอุตสาหกรรมเมกะเทรนด์ในยุคเศรษฐกิจดิจิทัล ของพื้นที่ชายแดน จังหวัดเชียงราย51 พื้นที่ชายแดนเป็ นพื้นที่ที่มีความเป็ นพลวัตต่อกระแสการเปลีย ่ นแปลง เศรษฐกิจโลกโดยได้รบ ั ผลกระทบทัง้ จากทีเ่ กิดขึน ้ ในประเทศและประเทศเพื่อน บ้าน ซึ่งปั จจุ บันประเทศต่างๆ ในโลกได้เข้าสู่ยุคที่เมกะเทรนด์ (Megatrend) เข้ามามีอิทธิพลต่อการด�ำเนินชีวิตของประชาชน การด�ำเนินธุรกิจ รวมถึงการ เปลีย ่ นแปลงทางเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม เมกะเทรนด์ที่เป็ นแรงผลัก ดันในการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจในทศวรรษหน้ ามั กเกี่ยวกับเทรนด์ สังคมเมือง เทรนด์เพื่อสุขภาพ และเทรนด์สังคมผู้สูงอายุ ซึ่งสอดคล้องกับการ เปลีย ่ นแปลงพฤติกรรมของประชาชนที่ต้องพึ่งพาเทคโนโลยีและนวัตกรรมใน การการด�ำเนินชีวิตและการใส่ใจในสุขภาพ รวมทั้งแนวโน้มการเปลี่ยนแปลง โครงสร้างประชากรเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุมากขึ้น ยุคของธุรกิจเมกะเทรนด์จึง เปรียบเสมือนเข็มทิศในการพัฒนาเศรษฐกิจ แม้ ว่า แนวโน้ มของกระแสโลกจะส่ งผลให้ เกิ ดโอกาสทางธุ รกิ จขึ้ น มหาศาลที่เกี่ยวข้องกับการก้าวสู่ ความเป็ นสั งคมเมือง สั งคมผู้ สูงอายุ และ กระแสการดู แลสุ ขภาพ แต่ การเปลี่ยนแปลงดั งกล่ าวได้ ส่งผลโดยตรงต่ อ กิจการการค้าและการบริการที่ไม่สามารถก้าวทันกระแสของเศรษฐกิจดิจิทัล เช่นเดียวกันกับผู้ ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) วิสาหกิจการรายย่อย (Micro enterprises) วิสาหกิจชุมชน (Social enterprises) และวิสาหกิจขนาดจิ๋ว (Nano enterprises) ของประเทศไทย ที่ จ ะต้ อ งได้ รับ การสนั บ สนุ น จากภาครัฐ และการปรับ ตั ว เพื่ อ รองรับ การน� ำ Digital Economy มาปรับใช้ในการด�ำเนินธุรกิจ มิฉะนั้น ธุรกิจที่มีเงินทุนไม่ มาก อาจถูกกลืนกินและหายไปจากระบบนิเวศน์ธุรกิจ และท�ำให้เศรษฐกิจของ ประเทศไทยเกิดการกระจุ กตัวของการเติบโตอยู่ที่กิจการขนาดใหญ่ ดังนั้น ภาคธุรกิจจ�ำเป็ นต้องตระหนั กถึงการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวที่ เป็ นปั จจัยส� ำคัญในการปรับเปลี่ยนรู ปแบบสิ นค้าและบริการ (Products/ Services transformation) เพื่อตอบสนองต่อกลุ่มผู้บริโภคในยุคปั จจุ บัน ไม่ว่าจะเป็ นกลุ่มผู้บริโภควัยรุน ่ ผู้บริโภควัยท�ำงาน หรือผู้สูงอายุ จึงท�ำให้เกิด 51 ภายใต้โคงการวิจัยเรื่อง “แนวทางการพัฒนาอุตสาหกรรมเมกะเทรนด์ในยุคเศรษฐกิจ ดิจิทัลของพื้นที่ชายแดน จังหวัดเชียงราย”, ชุดโครงการ “การพัฒนาอุตสาหกรรมขนาด กลางและขนาดย่อม” ปีงบประมาณ 2560 สนับสนุนโดย ส�ำนักงานคณะกรรมการวิจัย แห่งชาติ (วช.) และส�ำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) 234


การสร้างและพัฒนาอุตสาหกรรมเมกะเทรนด์ (Mega Trend Industry) ที่ ต อบสนองต่ อ การบริโ ภคอย่ า งมากมาย อาทิ ธุ ร กิ จ การบริก ารผู้ สู ง อายุ (Aging business) ธุ รกิจการบริการทางสุ ขภาพและอาหารเพื่อสุ ขภาพ (Healthy food business) และธุรกิจสมัยใหม่ที่เกีย ่ วพันกับความเป็ นสังคม เมือง (Urbanized business) ซึ่งถือเป็ นแนวทางในการพัฒนาธุรกิจภายใต้ เมกะเทรนด์โลกที่สามารถสร้างรายได้ให้กับประเทศได้มากขึ้น ทั้งนี ้ ความท้าทายของอุตสาหกรรมเมกะเทรนด์ในปั จจุ บัน จากสภาพ แวดล้อมการเปลี่ยนแปลงของอุ ปสงค์ผู้บริโภคจากการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต ความก้าวหน้าของเทคโนโลยี และการพัฒนารูปแบบของการแข่งขันในตลาด น�ำไปสู่การเปลี่ยนแปลงบริบทการด�ำเนินธุรกิจเพื่อตอบสนองความต้องการ และให้ สอดคล้องกับวิถีชีวิตของผู้ บริโภค การศึ กษานี ม ้ ีวัตถุประสงค์ในการ วิเคราะห์สถานการณ์และปั จจัยที่ส่งผลต่อการเติบโตของอุตสาหกรรมเมกะเท รนด์ในยุคดิจิทัลของพื้นที่ชายแดน จังหวัดเชียงราย จากมุมมองด้านผู้บริโภค และผู้ประกอบการ ซึ่งจะช่วยให้เห็นถึงช่องว่างระหว่างอุปสงค์และอุปทานของ อุตสาหกรรมเมกะเทรนด์ และสามารถน�ำไปใช้เป็ นแนวทางการพัฒนาเมือง ชายแดนเพื่อรองรับอุตสาหกรรมเมกะเทรนด์ในยุคดิจิทัล 1. สถานการณ์ของอุตสาหกรรมเมกะเทรนด์ในพื้นที่ชายแดนจังหวัดเชียงราย ในส่วนนี ้ เป็ นการน�ำข้อมูลจากการส�ำรวจด้วยวิธก ี ารแจงนับและการ สังเกตการณ์มาอธิบายสถานะปั จจุ บันและแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของการ ด�ำเนินธุรกิจเมกะเทรนด์ด้านบริการสุขภาพ บริการอาหารเพื่อสุขภาพ และ บริการแบบสั งคมเมื องหรือบริการสมั ยใหม่ รวมทั้งแนวโน้ มการเติบโตของ จ�ำนวนประชากรในพื้นที่ชายแดน จังหวัดเชียงราย ดังนี ้ • ภาพรวมการเปลี่ยนแปลงของธุรกิจเมกะเทรนด์ พืน ้ ที่ชายแดนของจังหวัดเชียงรายทัง้ 3 อ�ำเภอ มีการเปลีย ่ นแปลงตาม กระแสโลกและการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ซึ่งส่งผลต่อการเกิดขึ้นของธุรกิจ ต่างๆ ที่ตอบสนองต่อความต้องการของผู้บริโภคในปั จจุ บันและกระแสความ นิยมใหม่ โดยเฉพาะธุรกิจร้านคาเฟ่ ร้านอาหารเพื่อสุขภาพ และฟิตเนส นับ ว่ามีการเติบโตอย่างมากในพื้นที่ชายแดน โดยเฉพาะอ�ำเภอแม่สายและอ�ำเภอ เชียงของ ขณะที่อ�ำเภอเชียงแสนก็ได้รบ ั ความนิยมไม่แพ้กัน ทั้งนีจ้ ากกระแส ของการดูแลสุขภาพและร่างกายท�ำให้อาหารเพื่อสุขภาพเริ่มเข้ามามีอิทธิพล ในตลาดชายแดนอย่างจริงจัง นอกจากนีจ้ ากการเปลีย ่ นแปลงของโครงสร้าง 235


ประชากรทั้งในพื้นที่ชายแดนและประเทศเพื่อนบ้าน ท� ำให้ เกิดบริการสถาน พยาบาลขนาดเล็กและขนาดกลางจ�ำนวนมากในพื้นที่ชายแดน รู ปที่ 1 สถานประกอบการในพื้นที่ชายแดน 3 อ�ำเภอที่มีความเกี่ยวข้องกับ ธุรกิจเมกะเทรนด์ ธุรกิจเพื่อความเป็ นสังคมเมือง

ธุรกิจอาหารเพื่อสุขภาพ

ที่มา : จากการส�ำรวจโดยผู้วิจัย (2559)

จากการลงพื้นที่ส�ำรวจธุรกิจเมกะเทรนด์ในด้านต่างๆ ได้แก่ ธุรกิจเพื่อ ความเป็ นสังคมเมือง (สมัยใหม่) ธุรกิจอาหารเพื่อสุขภาพ และธุรกิจที่เกีย ่ วข้อง กับบริการผู้สูงอายุ เมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ.2560 พบว่า พื้นที่ชายแดนอ�ำเภอ แม่สายมีแนวโน้มที่จะพัฒนาธุรกิจให้มีสินค้าและบริการแบบสมัยใหม่มากที่สุด โดยมี จ�ำนวนสถานประกอบการที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจบริการแบบสั งคมเมื อง ประมาณ 52 ราย อ�ำเภอเชียงแสนจ�ำนวน 48 ราย และอ�ำเภอเชียงของจ�ำนวน 236


35 ราย รวมทัง้ สิ้น 135 ราย ขณะที่ธุรกิจอาหารเพื่อสุขภาพของอ�ำเภอแม่สาย มีจ�ำนวน 4 ราย อ�ำเภอเชียงแสน 2 ราย และอ�ำเภอเชียงของ 4 ราย รวมทั้ง สิ้น 10 ราย รวมธุรกิจเมกะเทรนด์ของพื้นที่ชายแดน 3 อ�ำเภอมีจ�ำนวนทั้งสิ้น 145 ราย ภาพรวมของการด�ำเนินธุรกิจเมกะเทรนด์ในพื้นที่ชายแดน จังหวัด เชียงราย ทั้งด้านผู้ประกอบการและด้านผู้บริโภค แสดงดังตารางที่ 1 ตารางที่ 1 การเปรียบเที ยบการด�ำเนิ นธุ รกิจเมกะเทรนด์ในพื้นที่ ชายแดน จังหวัดเชียงรายการ ธุรกิจ

แม่สาย

เชียงแสน อาหารเพื่อสุขภาพ การด�ำเนิน พบกิจการที่ พบกิจการที่ ธุรกิจ เกีย ่ วข้องกับบริการ เกีย ่ วข้องกับบริการ อาหารเพื่อสุขภาพ อาหารเพื่อสุขภาพ ทั้งหมด 4 ราย ทั้งหมด 2 ราย เป็ น ทั้งหมดมีขนาดการ อาหารมังสวิรต ั ิ จ้างงาน 11-50 คน ทั้งหมดมีขนาดการ เป็ นร้านอาหารคลีน จ้างงาน 6-10 คน และออแกนิค

พฤติกรรม ผู้บริโภคในพื้นที่ การบริโภค ได้รบ ั อิทธิพลจาก กระแสรักษาสุขภาพ จึงมีความต้องการซื้อ และท�ำให้เกิดร้าน อาหารเพื่อสุขภาพ และสถานออกก�ำลัง กายเพิ่มขึ้น

เป็ นแหล่งท่องเที่ยว ด้านสุขภาพ มีกลุ่ม ที่มีงานอดิเรกในการ ปั่ นจักรยาน ซึ่งใส่ใจ ในการรักษาสุขภาพ และมีการเกิดขึ้น ของสถานออกก�ำลัง กายชุมชน

237

เชียงของ พบกิจการที่เกีย ่ วข้อง กับบริการอาหารเพื่อ สุขภาพ ทั้งหมด 4 ราย เป็ นอาหารคลีน มังสวิรต ั ิ และออแก นิค ทั้งหมด จ�ำแนก เป็ นขนาดการจ้างงาน 6-10 คน ทั้งหมด 3 ราย และขนาดการ จ้างงาน 11-50 คน ทั้งหมด 1 ราย มีการเกิดขึ้นของ สถานออกก�ำลังกาย สมัยใหม่ ท�ำให้คนใน พื้นที่เริ่มรับประทาน อาหารเพื่อสุขภาพ มากขึ้น


บริการสมัยใหม่ การด�ำเนิน พบกิจการที่ พบกิจการที่ เกีย ่ วข้องกับความ ธุรกิจ เกีย ่ วข้องกับความ ทันสมัย หรือความ ทันสมัย หรือความ เป็ นสังคมเมือง เป็ นสังคมเมือง ทั้งหมด 48 ราย ทั้งหมด 52 ราย จ�ำแนกเป็ นขนาด จ�ำแนกเป็ นขนาด การจ้างงาน 6-10 การจ้างงานน้อย คน ทั้งหมด 30 ราย กว่า 5 คน ทั้งหมด 4 ราย ขนาดการ และขนาดการจ้าง จ้างงาน 6-10 คน งาน 11-50 คน ทั้งหมด 27 ราย ทั้งหมด 22 ราย และขนาดการจ้าง งาน 11-50 คน ทั้งหมด 17 ราย พฤติกรรม ผู้คนในพื้นที่ และ การบริโภค นักท่องเที่ยวนิยม เข้าร้านกาแฟ ห้าง สรรพสินค้า และ ร้านอาหารสมัยใหม่ นอกจากนี ้ มีการขับ รถข้ามฝั่ งของชนชัน ้ กลางชาวเมียนมาที่ เข้ามาในพื้นที่เพื่อใช้ บริการ

มีรา้ นกาแฟจ�ำนวน มากที่ตัง้ อยู่ตาม ซอยบริเวณตัว เมืองของอ�ำเภอ เชียงแสน ซึ่งได้รบ ั ความนิยมจากทั้ง นักท่องเที่ยว คนใน พื้นที่ที่ท�ำงานสถาน ที่ราชการ

พบกิจการที่เกีย ่ วข้อง กับความทันสมัย หรือความเป็ นสังคม เมืองทั้งหมด 35 ราย จ�ำแนกเป็ นขนาดการ จ้างงานน้อยกว่า 5 คน ทั้งหมด 4 ราย ขนาดการจ้างงาน 6-10 คน ทั้งหมด 19 ราย และขนาด การจ้างงาน 11-50 คน ทั้งหมด 12 ราย

ชาวสปป.ลาวมีการ ข้ามฝั่ งจากเมืองห้วย ทรายด้วยรถยนต์ ส่วนตัวมาใช้บริการ ที่เป็ นร้านอาหารสมัย ใหม่ ร้านกาแฟ ตลอด จนซื้อสินค้าจากห้าง สรรพสินค้าเทสโก้ โลตัส นอกจากนี ้ คนในพื้นที่โดยเฉพาะ พนักงานราชการมี ก�ำลังซื้อค่อนข้างสูง และมีความต้องการ ในการจับจ่ายใช้สอย ซื้อสินค้าและบริการ

ที่มา: ข้อมูลจากการสังเกตการณ์ ณ เดือนมิถุนายน พ.ศ.2560

238


2. การศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการเติบโตของอุตสาหกรรมเมกะเทรนด์ในพื้นที่ ชายแดนจังหวัดเชียงราย การวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อการเติบโตของอุตสาหกรรมเมกะเทรนด์ ในพื้นที่ชายแดนจังหวัดเชียงราย แบ่งออกเป็ น 2 ส่วน ดังนี ้ ส่วนแรก เป็ นการวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อการบริโภคสินค้าและบริการ เมกะเทรนด์ของผู้บริโภคต่อธุรกิจบริการเพื่อผู้สูงอายุ ธุรกิจอาหารเพื่อสุขภาพ ธุรกิจบริการเพื่อสุขภาพ (ฟิตเนส) ธุรกิจเพื่อความเป็ นสังคมเมือง และร้านนั่ง ท�ำงาน (Co-working space) ด้วยวิธก ี ารวิเคราะห์ Factor analysis นั้น พบว่าปั จจัยทีม ่ ีผลต่อการบริโภคและการใช้บริการด้านผู้บริโภคในอุตสาหกรรม เมกะเทรนด์ทั้ง 5 ธุรกิจมากที่สุด ได้แก่ ปั จจัยด้านส่วนประสมทางการตลาด รองลงมาคือ ปั จจัยด้านจิตวิทยา และปั จจัยด้านสังคมและสื่อออนไลน์ (ตาราง ที่ 2) หากพิจารณาร่วมกับคะแนนที่ได้รบ ั การประเมินโดย Rating scale พบ ว่าปั จจัยทีม ่ ผ ี ลอย่างมากต่อการบริโภคสินค้าและบริการเมกะเทรนด์ในทุกธุรกิจ หรือเป็ นปั จจัยทีม ่ ีคา่ คะแนนสูงกว่าค่าเฉลีย ่ ของปั จจัยทัง้ หมดในแต่ละธุรกิจ คือ ปั จจัยด้านส่วนประสมทางการตลาด อันประกอบด้วย ปั จจัยด้านผลิตภัณฑ์ ปั จจัยด้านราคา และปั จจัยด้านช่องทางการจัดจ�ำหน่ายหรือการอ�ำนวยความ สะดวกด้านสถานที่ ขณะที่ปัจจัยที่มีผลต่อธุรกิจในระดับรองลงมา หรือมีผล กับธุรกิจเพียง 4 ธุรกิจได้แก่ ปั จจัยด้านการส่งเสริมการตลาด และปั จจัยด้าน สังคม ปั จจัยที่มีผลกับธุรกิจเพียง 3 ธุรกิจได้แก่ ปั จจัยด้านเทคโนโลยีและ ปั จจัยด้านวัฒนธรรม ปั จจัยที่มีผลกับธุรกิจ 2 ธุรกิจได้แก่ ปั จจัยด้านจิตวิทยา ทั้งนีป ้ ั จจัยด้านวัฒนธรรม เศรษฐกิจ การเมือง และการด�ำเนินนโยบายภาครัฐ นั้นไม่มีผลกับพฤติกรรมและความต้องการของผู้บริโภคต่อธุรกิจเมกะเทรนด์ ด้านใดเลย (ตารางที่ 3) ซึ่งจากผลการศึกษาผ่านการวิเคราะห์องค์ประกอบ ของปั จจัยสามารถสรุ ปได้ว่า ปั จจัยส่วนประสมทางการตลาดและปั จจัยด้าน จิตวิทยา มีผลต่อการตัดสินใจในการบริโภคสินค้าและบริการเมกะเทรนด์มาก ที่สุด โดยสอดคล้องกับค่าคะแนนประเมิน หรือ Rating scale ในด้านของ ปั จจัยส่วนประสมทางการตลาด

239


ตารางที่ 2 สรุ ปภาพรวมของปั จจั ยที่ มีผลต่ อการบริโภคสิ นค้ าและบริการ เมกะเทรนด์ ปั จจัย หลัก

ส่วน ประสม การตลาด

ปั จจัย ภายใน ด้าน จิตวิทยา

ปั จจัย ภายใน ด้านสังคม

สภาพ แวดล้อม ภายนอก

ปั จจัยย่อย บริการผู้ อาหาร ฟิตเนส คาเฟ่ ร้านนั่ง ค่า สูงอายุ สุขภาพ (FC) (CF) ท�ำงาน ประเมิน (AS) (HF) (CS) ผลิตภัณฑ์ / / / / / *** ราคา / / / ** ช่อง / / / ** ทางจัด จ�ำหน่าย การส่ง / / / / ** เสริมการ ตลาด การรับรู ้ / / / / ** การเรียนรู ้ / / * แรงจู งใจ / / * ความเชื่อ/ / / / / / *** ทัศนคติ เพื่อน/คน รูจ้ ัก สื่อสังคม / / * ออนไลน์ สื่อทั่วไป / / * วัฒนธรรม / / / ** เศรษฐกิจ สังคม / / * การเมือง นโยบาย เทคโนโลยี/ / / / ** การสื่อสาร

หมายเหตุ : 1/ เครื่องหมาย / คือ ปั จจัยที่ค่าไอเกนสูงกว่า 5.00 และ 2/ ค่าประเมิน ***, ** และ * แสดงระดับความส�ำคัญของปั จจัยต่อการบริโภคสินค้าและบริการ เมกะเทรนด์จากมากไปน้อยตามล�ำดับ 240


และส่ วนที่สอง เป็ นการวิเคราะห์ เปรียบเที ยบความต้องการบริโภค สิ นค้ าและบริการเมกะเทรนด์ (จากผลวิ เคราะห์ ส่วนแรก) และสมรรถนะ ของการให้บริการสินค้าและบริการเมกะเทรนด์ของผู้ประกอบการ (จากการ สัมภาษณ์เชิงลึก) 3 ธุรกิจ ได้แก่ ธุรกิจเพื่อความเป็ นสังคมเมือง ธุรกิจอาหาร เพื่อสุขภาพ และธุรกิจบริการเพื่อสุขภาพ (ฟิตเนส) เนื่องจากธุรกิจบริการเพื่อ ผู้สูงอายุและร้านนั่งท�ำงาน (Co-working space) ยังไม่มีบริการในพื้นที่ ผล การวิเคราะห์ดังนี ้ 1) ธุรกิจเพื่อความเป็ นสังคมเมือง จากการส�ำรวจระดับความต้องการ พื้นฐานของลูกค้าต่อสินค้าและบริการในธุรกิจเพื่อความเป็ นสังคมเมืองในมุม มองของผู้ประกอบการ พบว่าความต้องการพื้นฐานต่อสินค้าและบริการมีผล ต่อการซื้อสินค้าและการใช้บริการมากที่สุด รองลงมาคือ ช่วงเวลา สถานที่ กระบวนการให้บริการ ลักษณะบุคลากร โปรโมชั่น และช่องทางการให้บริการ ตามล�ำดับ ขณะที่การประเมินความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจเพื่อความ เป็ นสังคมเมือง พบว่าสภาพแวดล้อมปั จจัยภายในของธุรกิจมีจุดอ่อน (Weakness) มากกว่าจุ ดแข็ง (Strength) และสภาพแวดล้อมปั จจัยภายนอกของ ธุรกิจมีโอกาส (Opportunity) มากกว่าอุปสรรค (Threat) 2) ธุรกิจอาหารเพื่อสุขภาพ จากการส�ำรวจระดับความต้องการพื้นฐาน ของลูกค้าต่อสินค้าและบริการต่ออาหารเพื่อสุขภาพในมุมมองของผู้ประกอบ การ พบว่า กระบวนการให้บริการมีผลมากที่สุด รองลงมาคือ ความต้องการ พื้นฐานต่อสินค้าและบริการ ราคา โปรโมชั่น ลักษณะบุคลากร ช่องทางการให้ บริการ และสถานที่ ตามล�ำดับ ขณะที่การประเมินความสามารถในการแข่งขัน ของธุรกิจเพื่อความเป็ นสังคมเมือง พบว่า สภาพแวดล้อมปั จจัยภายในของ ธุรกิจมีจุดอ่อนมากกว่าจุ ดแข็ง และสภาพแวดล้อมปั จจัยภายนอกของธุรกิจ มีโอกาสมากกว่าอุปสรรค เช่นเดียวกับธุรกิจเพื่อความเป็ นสังคมเมือง 3) ธุ รกิจบริการเพื่อสุ ขภาพ (ฟิตเนส) จากการส� ำรวจระดับความ ต้องการพื้นฐานของลูกค้าต่อสิ นค้าและบริการต่อธุ รกิจบริการเพื่อสุ ขภาพ (ฟิตเนส) ในมุมมองของผู้ประกอบการ พบว่าความต้องการพื้นฐานต่อสินค้า และบริการที่ลูกค้าต้องการมีผลมากที่สุด รองลงมาคือ ลักษณะบุคลากร ช่วง เวลา ช่องทางการให้ บริการ สถานที่ กระบวนการให้ บริการ และโปรโมชั่น ตามล�ำดับ ขณะที่การประเมินความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจเพื่อความ เป็ นสังคมเมือง พบว่าสภาพแวดล้อมปั จจัยภายในของธุรกิจมีจุดแข็งมากกว่า จุ ดอ่อน และสภาพแวดล้อมปั จจัยภายนอกของธุรกิจมีโอกาสมากกว่าอุปสรรค 241


กล่าวโดยสรุ ป ความต้องการพื้นฐานของลูกค้าต่อสิ นค้าและบริการ เป็ นปั จจัยความส�ำเร็จของการด�ำเนินธุรกิจเมกะเทรนด์ในพืน ้ ที่ชายแดนจังหวัด เชียงราย ดังนั้น การกระตุ้นให้เกิดความต้องการในการใช้บริการของผู้บริโภค การสร้างประสบการณ์ให้กบ ั ผู้บริโภคว่าบริการสินค้าเมกะเทรนด์เป็ นบริการพืน ้ ฐานของตน และการสร้างทัศนคติของบริการเมกะเทรนด์ว่าเป็ นบริการในโลก ยุคใหม่ จะท�ำให้เกิดการเติบโตของความต้องการใช้บริการสินค้าเมกะเทรนด์ มากยิ่งขึ้น และการด�ำเนินนโยบายแบบร่วมมือกันภายในอุตสาหกรรมเมกะเท รนด์ (Intra-industry Collaboration) จะช่วยแก้ปัญหาดังกล่าวและน�ำไป สู่การพัฒนาพื้นที่ชายแดนอย่างยั่งยืน 3. การวิเคราะห์ช่องว่างของอุตสาหกรรมเมกะเทรนด์ในพื้นที่ชายแดนจังหวัด เชียงราย จากการวิเคราะห์ชอ ่ งว่างของอุตสาหกรรมเมกะเทรนด์ในพืน ้ ทีช ่ ายแดน จั งหวั ดเชี ยงรายระหว่ างผู้ บริโภคกับผู้ ประกอบการ พบว่ าธุ รกิจเพื่อความ เป็ นสังคมเมืองและธุรกิจอาหารเพื่อสุขภาพมีองค์ประกอบปั จจัยส่วนประสม ทางการตลาดส่ วนใหญ่ที่สอดคล้องกันระหว่ างอุ ปสงค์และอุ ปทาน มี เพียง ปั จจัยด้าน “การส่งเสริมการตลาด” เท่านั้นที่เกิดช่องว่างระหว่างอุปสงค์และ อุปทาน เนื่องจากผู้บริโภคส่วนใหญ่มีความต้องการส่วนลด การสะสมแต้มเพื่อ แลกเครือ ่ งดื่มและอาหาร และของแถม แต่ผู้ประกอบการส่วนใหญ่มองว่าการ สะสมแต้มไม่มีความส�ำคัญเท่าปั จจัยอื่นๆ จึงให้คา่ คะแนนต�่ำทีส ่ ุด อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการมองว่าผู้บริโภคมีความต้องการส่วนลดมากทีส ่ ุดและมีคา่ คะแนน ไปในทิศทางเดียวกัน ฉะนัน ้ ผู้ประกอบการจ�ำเป็ นต้องมีโปรโมชั่นบัตรสะสมแต้ม ให้แก่ผู้บริโภคในการแลกเครือ ่ งดื่มและอาหารเพื่อเป็ นการอุดช่องว่างในตลาด ทั้งนีก ้ ารวิเคราะห์ช่องว่างธุรกิจฟิตเนสพบว่า ผู้บริโภคกับผู้ประกอบ การให้ ความส� ำคัญต่อปั จจัยส่ วนประสมทางการตลาดที่แตกต่างกัน โดยผู้ บริโภคมองว่าปั จจัยด้าน “การส่งเสริมทางการตลาด” มีความส�ำคัญต่อความ ต้ องการบริโภคและการใช้ บริการ ขณะที่ ผู้ประกอบการมองว่ าปั จจั ยด้ าน “สถานที่” มีความส�ำคัญมากกว่าปั จปั จจัยส่วนประสมทางการตลาดด้านอื่นๆ ซึ่งท�ำให้การด�ำเนินธุรกิจฟิตเนสจ�ำเป็ นต้องปรับตัวด้วยการเริ่มให้ความส�ำคัญ กับการส่งเสริมทางการตลาดด้านโปรโมชั่นส�ำหรับสมาชิก การให้ข้อมูลและ ค�ำแนะน�ำในการออกก�ำลังกายอย่างถูกวิธจี ากผู้ฝก ึ สอน (Trainer)

242


โดยสรุป ตลาดบริการเมกะเทรนด์ในพื้นที่ชายแดนจังหวัดเชียงรายยัง ขาดความสอดคล้องกันระหว่างผู้ใช้บริการและผู้รบ ั บริการ โดยเฉพาะด้านการ ส่งเสริมการตลาด ซึ่งเป็ นส่วนที่ส�ำคัญที่ท�ำให้เกิดการเปลีย ่ นแปลงของตลาด บริการเมกะเทรนด์ และเปรียบเสมือนหน้าต่างในการสร้างความสัมพันธ์ระหว่าง ผู้ซื้อและผู้ขาย อีกทั้งยังสามารถขยายฐานผู้บริโภคอย่างต่อเนื่อง ฉะนั้น ควร ท�ำการส่งเสริมการขายให้ถูกจุ ดหรือกระตุ้นให้ถูกจุ ดผู้ใช้บริการ 4. แนวทางการพัฒนาเมืองชายแดนจังหวัดเชียงราย จากผลการศึ กษาข้างต้นได้น�ำมาสู่ การน� ำเสนอแนวทางการพัฒนา เมืองชายแดนจังหวัดเชียงรายเพื่อรองรับอุตสาหกรรมเมกะเทรนด์ในยุคดิจิทัล ประกอบด้วย 1. แนวทางการพัฒนาอุ ตสาหกรรมบริการเพื่อผู้ สูงอายุ ส� ำหรับผู้ ประกอบการในพื้นที่สามารถพัฒนาธุรกิจบริการผู้สูงอายุแบ่งออกเป็ น 6 รูป แบบทางธุรกิจ ดังนี ้ 1) ธุรกิจบริการดูแลผู้ สูงอายุแบบพึ่งพิงระยะยาว 2) ธุรกิจโรงเรียนผู้สูงอายุ 3) ธุรกิจบริการผู้สูงอายุของโรงพยาบาล 4) ธุรกิจให้ บริการทางการแพทย์ผู้สูงอายุและสถานบริบาลสุขภาพ 5) ธุรกิจการบริการ รับ-ส่งผู้สูงอายุ และ 6) ธุรกิจที่พักส�ำหรับผู้สูงอายุ โดยการพัฒนาธุรกิจทั้ง 6 รูปแบบนีถ ้ อ ื ว่าเป็ นแนวทางในการพัฒนาเมืองชายแดนเพื่อรองรับกลุม ่ ธุรกิจ บริการเพื่อผู้สูงอายุ รวมถึงสามารถตอบจุ ดมุ่งหมายของจังหวัดเชียงรายและ การพัฒนาเมืองชายแดน ได้แก่ ยุทธศาสตร์ที่ 1 ยกระดับคุณภาพชีวต ิ ผู้สูงอายุ ยุทธศาสตร์ที่ 2 พัฒนาระบบการเงินส�ำหรับผู้สูงอายุหลังเกษียณ ยุทธศาสตร์ ที่ 3 เสริมสร้างระบบดูแลสุขภาพและสังคมเพื่อผู้สูงอายุให้ดีขึ้น ยุทธศาสตร์ ที่ 4 ส่งเสริมการออกแบบและปรับเปลีย ่ นเมืองให้รองรับสังคมผู้สูงอายุ และ ยุทธศาสตร์ที่ 5 ส่งเสริมการพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีส�ำหรับผู้สูงอายุ 2. แนวทางการพั ฒนาอุ ตสาหกรรมอาหารและบริการเพื่ อสุ ขภาพ ส� ำ หรับ ผู้ ป ระกอบการในพื้ น ที่ ส ามารถพั ฒ นาธุ ร กิ จ อาหารและบริก ารเพื่ อ สุขภาพแบ่งออกเป็ นธุรกิจอาหารเพื่อสุขภาพ และธุรกิจบริการสถานออกก�ำลัง กาย โดยการพัฒนาธุรกิจทั้ง 2 ประเภทนีถ ้ ือว่าเป็ นแนวทางในการพัฒนาเมือง ชายแดนเพื่อรองรับกลุ่มธุรกิจอาหารและบริการเพื่อสุขภาพ รวมถึงสามารถ ตอบจุ ดมุ่ งหมายของจั งหวั ดเชี ยงรายและการพั ฒนาเมื องชายแดน ได้ แก่ ยุทธศาสตร์ที่ 1 ส่งเสริมการเป็ นเมืองเกษตรสีเขียวอย่างยั่งยืน ยุทธศาสตร์ที่ 2 ส่งเสริมตลาดและธุรกิจสีเขียว ยุทธศาสตร์ที่ 3 ส่งเสริมการพัฒนาอาหาร เพื่อสุขภาพ ยุทธศาสตร์ที่ 4 ส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพโดยชุมชน และ ยุทธศาสตร์ที่ 5 ส่งเสริมการดูแลสุขภาพด้วยการออกก�ำลังกาย 243


3. แนวทางการพัฒนาธุรกิจเพื่อความเป็ นสังคมเมือง ส�ำหรับผู้ประกอบ การในพื้นที่สามารถพัฒนาธุรกิจเพื่อความเป็ นสังคมเมืองแบ่งออกเป็ นธุรกิจ ร้านอาหารและคาเฟ่ เพื่อความเป็ นสังคมเมือง และธุรกิจร้านนั่งท�ำงาน โดยการ พัฒนาธุรกิจทั้ง 2 ประเภทนีถ ้ ือว่าเป็ นแนวทางในการพัฒนาเมืองชายแดนเพื่อ รองรับกลุม ่ ธุรกิจเพื่อความเป็ นสังคมเมือง รวมถึงสามารถตอบจุ ดมุ่งหมายของ จังหวัดเชียงรายและการพัฒนาเมืองชายแดน ได้แก่ ยุทธศาสตร์ที่ 1 ส่งเสริม การพัฒนาบุคคลากรและผู้เชี่ยวชาญดิจิทัล ยุทธศาสตร์ที่ 2 ส่งเสริมธุรกิจ สตาร์ทอัพดิจิทัล ยุทธศาสตร์ที่ 3 ส่งเสริมการพัฒนาธุรกิจคาเฟ่ และร้านนั่ง ท�ำงาน ยุทธศาสตร์ที่ 4 ส่งเสริมการพัฒนาเป็ นเมืองศูนย์รวมดิจิทัลนอแมด และยุทธศาสตร์ที่ 5 ส่งเสริมการท่องเที่ยงวิถีดิจิทัลนอแมด คณะผู้วิจัย “แนวทางการพัฒนาอุตสาหกรรมเมกะเทรนด์ในยุคเศรษฐกิจดิจิทัลของพื้นที่ ชายแดน จังหวัดเชียงราย” ณัฐพรพรรณ อุตมา, วราวุฒิ เรือนค�ำ, สุพรรณิการ์ ขวัญเมือง สิทธิชาติ สมตา, พรพินันท์ ยีร่ งค์, วิลาวัณย์ ตุทาโน เรียบเรียงโดย สิทธิชาติ สมตา

244


ส่วนที่ 5 Opinion piece

245


บริการจากระบบนิเวศ พื้นที่ชุ่มน�้ำ บริการจากระบบนิ เวศ (Ecosystem Services) คือ ประโยชน์ ที่ มนุ ษย์ได้รบ ั ทั้งโดยทางตรงและทางอ้อมจากการท� ำหน้ าที่ ของระบบนิ เวศ สามารถแบ่งบริการจากระบบนิเวศ นีอ ้ อกเป็ น 4 ประเภท [1] ได้แก่ 1. บริการและประโยชน์ที่ได้รบ ั จากการให้และการเป็ นแหล่งเสบียง (Provisioning Services) เช่น อาหาร น�้ำสะอาด ไม้ ปลา สมุนไพร 2. บริการและประโยชน์ที่ได้รบ ั จากการควบคุมกลไกและการท�ำงาน ของระบบ (Regulating Services) เข่น การควบคุมและรักษาสมดุลของ น�้ำและบรรยากาศ ความสามารถในการกักเก็บและการกรองน�้ำ ความสามารถ ในการป้ องกันการชะล้างของหน้าดิน ความสามารถในการบรรเทาเบาบางผลก ระทบจากภัยธรรมชาติ 3. บริการและประโยชน์ที่ได้รบ ั ทางด้านสังคมวัฒนธรรม (Cultural Services) เช่นเป็ นสถานที่ท่องเที่ยวและพักผ่อนหย่อนใจ เป็ นแหล่งเรียนรู ้ และสร้างแรงบันดาลใจ 4. บริก ารและประโยชน์ ที่ ไ ด้ รับ ในฐานะที่ เ ป็ นปั จจั ย สนั บ สนุ น และ เกื้อกูลต่อระบบชีวิตทั้งหมด (Supporting Services) เช่น การควบคุมการ หมุนเวียนของธาตุอาหารในดิน ความส�ำคัญในฐานะเป็ นแหล่งการผลิตขัน ้ ปฐม แอนดรู บาล์มฟอร์ด [2] ในบทความเรือ ่ ง“Economic reasons for conserving wild nature” ในวารสาร Science ฉบับที่ 297: หน้าที่ 950953 ท�ำการประเมินมูลค่าของบริการจากระบบนิเวศในหลายกรณีศึกษา พบว่า การเปลีย ่ นรูปการใช้ประโยชน์จากที่ดน ิ จากป่ าโกงกางเป็ นนากุง้ ในประเทศไทย ก่อให้ เกิดต้นทุ นทางเศรษฐกิจและสิ่ งแวดล้อมสู งกว่ าประโยชน์ ที่ได้รบ ั จาก การเลีย ้ งกุ้ง ในประเทศมาเลเซียก็เช่นเดียวกัน การปรับเปลีย ่ นสภาพป่ าเพื่อ การเกษตรสวนปาล์มน�้ำมันนั้น ก่อให้เกิดผลกระทบทางลบที่มีมูลค่าสูงกว่าผล ประโยชน์ที่ได้จากการปลูกปาล์มเสียอีก (ภาพประกอบที่ 1)

246


ภาพประกอบที่ 1 การคิดค�ำนวณผลประโยชน์และต้นทุนทางเศรษฐกิจจากการ เปลีย ่ นแปลงประโยชน์การใช้ที่ดินในรูปแบบต่างๆ คัดลอกจาก[2]

โรเบิรต ์ คอสสแตนซ่า [3] ในบทความเรื่อง “Value of the world’s ecosystem services and natural capital” ในวารสาร Nature ก็ได้ท�ำการ ศึกษาเพื่อประเมินมูลค่าการให้บริการจากระบบนิเวศเช่นกัน การประเมินมูลค่า ระบบนิเวศของโลกนีพ ้ บว่า บริการจากระบบนิเวศมีมูลค่าสูงถึง $33,000 ล้าน ล้านเหรียญสหรัฐต่อปีสูงกว่าผลิตภัณฑ์มวลรวมของโลกที่มีค่าเฉลีย ่ ประมาณ $18,000 ล้านล้านเหรียญสหรัฐต่อปีเสียอีก

247


ภาพประกอบที่ 2 ค่าเฉลีย ่ บริการจากระบบนิเวศต่างๆ คัดลอกจาก[3]

ส�ำหรับกรณีศึกษาพืน ้ ที่ชุ่มน�้ำนัน ้ การศึกษา The Economic Values of the World’s Wetlands ของ องค์กรกองทุนสัตว์ป่าโลก (WWF) ในปี 2004 [4] ได้ท�ำการประเมินมูลค่าบริการจากระบบนิเวศพืน ้ ทีช ่ ม ุ่ น�้ำทั่วโลก พบ ว่า โลกได้รบ ั ประโยชน์จากบริการของระบบนิเวศพืน ้ ทีช ่ ม ุ่ น�้ำสูงถึงกว่าปีละ 3.4 พันล้านเหรียญสหรัฐ โดยทวีปเอเชียมีมูลค่าบริการจากระบบนิเวศพื้นที่ชุ่มน�้ำ สูงกว่าทวีปอื่นๆ โดยมีมูลค่าสูงถึง 1.8 พันล้านเหรียญสหรัฐต่อปี (ดังแสดงใน ตารางที่ 1)

248


ตารางที่ 1 การประเมินมูลค่าทางเศรษฐกิจของบริการจากระบบนิเวศพื้นที่ชุ่มน�้ำแบ่ง ตามทวีปต่างๆในโลก

ส� ำ หรับ ประเทศไทย ผลประโยชน์ ที่ ไ ด้ จากการท� ำ หน้ า ที่ ข องระบบ นิ เวศชุ่ มน�้ ำและระบบนิ เวศอื่นๆยังไม่ ได้รบ ั การประเมิ นมู ลค่าทางเศรษฐกิจ อย่างเหมาะสมและรอบด้านมากนัก ทั้งนีเ้ นื่องจากระบบนิเวศมีลักษณะของ การเป็ นทรัพยากรร่วม (Common-pool Resources) และมู ลค่ าจาก บริการจากระบบนิเวศหลายด้านไม่อยู่ในระบบตลาดที่มีกลไกทางราคารองรับ (Non-market) ท�ำให้การประเมินมูลค่าทรัพยากรเป็ นเรือ ่ งยาก ด้วยเหตุนีเ้ อง พื้นที่ชุ่มน�้ำ (และทรัพยากรธรรมชาติอ่ืนๆ เช่น ป่ าไม้) จึงถูกน�ำไปใช้ประโยชน์ เพื่อตอบสนองความต้องการระยะสั้นที่วัดค่าทางเศรษฐกิจโดยละเลยการใช้ ประโยชน์อย่างยั่งยืนซึ่งเป็ นคุณค่าระยะยาวที่จะได้รบ ั การมุ่งเน้นแสวงหาผล ก�ำไรสูงสุดโดยการวัดจากผลประโยชน์เฉพาะหน้าระยะสั้นนีก ้ ่อให้เกิดความ เสื่อมโทรมของทรัพยากร เป็ นการท�ำลายและลดทอนความสมดุลของระบบ อัน จะก่อให้เกิดโศกนาฏกรรมของพืน ้ ทีส ่ าธารณะ (Tragedy of the commons) ในที่สุด อาจกล่าวโดยสรุปได้วา่ การประเมินผลประโยชน์และการจ่ายค่าบริการ ที่ เกิดจากบริการของระบบนิ เวศยังเป็ นแนวคิดใหม่ ที่ยังไม่ ได้ตกผลึกอย่ าง สมบูรณ์ มีข้อจ�ำกัดและข้อถกเถียงทางวิชาการมากมายถึงความถูกต้องของ ระเบียบวิธแ ี ละผลจากวิจัย อย่างไรก็ตามแนวคิดนี ้ (ถึงแม้จะยังมีข้อถกเถียง ถึงความถูกต้องของระเบียบวิธแ ี ละผลจากวิจัย) นี ้ ได้ขยายปริมลฑลแห่งความ รู ข ้ องการคิดค�ำนวณผลประโยชน์และต้นทุนทางเศรษฐกิจ อันจะน�ำไปสู่การ 249


ตัดสินใจที่ชาญฉลาดหากมีการคิดค�ำนวณอย่างรอบคอบ และรอบด้าน อีกทั้ง จะส่งเสริมให้เกิดการจัดสรรทรัพยากรทีม ่ ีประสิทธิภาพ สร้างความเป็ นธรรมให้ กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมากยิ่งขึ้น (เนื่องจากเป็ นกรอบแนวคิดที่วางอยู่บนพื้น ฐานของวิธีคิดที่ว่าทรัพยากรธรรมชาติไม่สามารถทดแทนกันได้อย่างสมบูรณ์ และไม่ใช่ของฟรีอก ี ต่อไป) และจู งใจให้เกิดการอนุรก ั ษ์ทรัพยากรธรรมชาติ บน หลักการของผู้ได้รบ ั ประโยชน์เป็ นผู้จ่าย ( Beneficiary-pays principle) เป็ นการสร้างความตระหนักในคุณค่าและมูลค่าของระบบนิเวศ เสริมสร้างความ รูส ้ ึกเป็ นเจ้าของและส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการฟื้ นฟูรก ั ษาทรัพยากรอีกด้วย เอกสารอ้างอิง Millennium Ecosystem Assessment (2003). Ecosystem and Their Services. Ecosystems and Human Well-Being: A Framework for Assessment. Washington DC, Island Press. Balmford, A., A. Bruner, P. Cooper, R. Costanza, S. Farber, R. E. Green, M. Jenkins, P. Jefferiss, V. Jessamy and J. Madden (2002). “Economic reasons for conserving wild nature.” science 297(5583): 950-953. Costanza, R., R. d’Arge, R. d. Groot, S. Farber, M. Grasso, B. Hannon, K. Limburg, S. Naeem, R. V. O’Neill, J. Paruelo, R. G. Raskin, P. Sutton and M. v. d. Belt (1997). “The value of the world’s ecosystem services and natural capital.” Nature 387: 253-260. Brander, L. and K. Schuyt (2004). “The economic values of the world’s wetlands.”

250


เงินในยุคดิจิตอล : ความแตกต่างของ E-MONEY และ DIGITAL CURRENCY ปั จจุ บันเราก�ำลังอยู่ในยุดโลกดิจิตอลไร้พรมแดน ด้วยความแพร่หลาย ของ Internet และการเติบโตของ Smart Phones และ Tablets ที่มี ศักยภาพการใช้งานที่หลากหลาย ส่งผลให้เทคโนโลยีทางการเงิน (Financial Technology / Financial Innovation) หรือที่เรียกสัน ้ ๆ ว่า FinTech ได้รบ ั การพัฒนาอย่างก้าวกระโดดตามไปด้วยเช่นกัน โดยเฉพาะนวัตกรรมการช�ำระ เงิน ไม่ว่าจะเป็ นในส่วนของเงินอิเล็กทรอนิกส์ (e-Money/Digital Money) และส่วนที่เป็ นเงินดิจิตอล (Digital currency) ทั้งนี ้ นวัตกรรมการเงินดัง กล่าว ได้ถูกน�ำมาใช้เป็ นสื่อกลางในการแลกเปลีย ่ นบ้างแล้วในปั จจุ บัน และมี แนวโน้มที่จะเปลีย ่ นโฉมรูปแบบการช�ำระเงิน หรือแม้กระทั่งพฤติกรรมการจับ จ่ายใช้สอยของประชาชนอย่างเรา ๆ ด้วยเช่นกัน แม้ว่าหลายท่านอาจจะเคยได้ยน ิ FinTech เหล่านีม ้ าบ้าง ทัง้ ในรูปแบบ ของเงินอิเล็กทรอนิกส์ (e-Money) และเงินดิจิตอล (Digital Currency) ซึ่งเงินทัง้ สองประเภทแม้จะมีความใกล้เคียงกันมาก แต่กม ็ ีความแตกต่างกันอยู่ จนท�ำให้หลาย ๆ ท่าน โดยเฉพาะที่ไม่ได้อยู่ในแวดวงการเงินการธนาคาร อาจมี ความสับสนระหว่าง e-Money และ Digital Currency ได้ ดังนั้น บทความ นี ้จึงต้องการจะน� ำเสนอข้อเท็ จจริงและท� ำความเข้าใจบางประการเกี่ยวกับ e-Money และ Digital Currency ในบริบทของประเทศไทย ส�ำหรับ “เงินอิเล็กทรอนิกส์” ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ให้ค�ำนิยาม ว่าเป็ น มูลค่าเงินที่บันทึกในชิพคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในบัตรพลาสติก หรือเครือ ข่ายอิเล็กทรอนิกส์ เช่น โทรศัพท์เคลื่อนที่ หรือเงินในเครือข่าย Internet โดย เงินอิเล็กทรอนิกส์/กระเป๋ าเงินอิเล็กทรอนิกส์ (e-Money/e-Wallet หรือใน บางครัง้ อาจเรียก Digital money) เป็ นบริการทางการเงินที่ประชาชนน�ำเงิน จริงมาช�ำระไว้ล่วงหน้าให้แก่ผู้บริการ และมีการบันทึกมูลค่าหรือจ�ำนวนเงินไว้ แน่นอน และผู้ให้บริการจะรับผิดชอบต่อ e-Money ดังกล่าวตามเงื่อนไขทีร่ ะบุ ไว้ ซึ่งเงินคงเหลือที่ถูกบันทึกในสื่อต่าง ๆ ยังเป็ นของผู้ใช้บริการตามมูลค่าเงิน นั้นไม่เปลีย ่ นแปลง (เพชรินทร์ หงส์วัฒนกุล และรังสิมา บุญธาทิพย์, 2557) โดยในประเทศไทย “เงินอิเล็กทรอนิกส์ (e-Money)” ที่ถูกใช้หรือ หมุ นเวี ยนในระบบการช� ำระเงินอิเล็กทรอนิ กส์ (Electronic Payment: e-Payment) มีการพัฒนารูปแบบให้มีความสะดวก มีประสิทธิภาพ และมี การรักษาความปลอดภั ยที่ดีขึ้น ท� ำให้ ได้รบ ั ความนิ ยมเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่ อง 251


ทัง้ นี ้ อัตราการเติบโตเพิ่มขึน ้ อย่างต่อเนื่องทัง้ ในเชิงของปริมาณการท�ำธุรกรรม และมูลค่าการใช้จ่าย (ดู ตารางที่ 1) นอกจากนี ้ การท�ำธุรกรรมทางการเงิน ผ่านทาง Internet Banking และ Mobile Banking ก็เพิ่มขึ้นทั้งในเชิง ปริมาณและมูลค่าการใช้จ่ายอย่างมีนัยส�ำคัญเช่นกัน (ดู ตารางที่ 2). การ เติบโตดังกล่าว สะท้อนให้เห็นถึงการพัฒนาและบทบาทของ FinTech ที่เข้ามา อิทธิพลอย่างมากในการท�ำธุรกรรมทางการเงินของไทย รวมไปถึงรูปแบบและ พฤติกรรมการใช้เงินเพื่อจับจ่ายใช้สอยก็มีแนวโน้มที่จะเปลีย ่ นแปลงไปสู่สังคม ไร้เงินสด (Cashless Society) อย่างชัดเจนมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะช�ำระเงิน ผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ (Mobile Banking) ยังคงเป็ นช่องทางที่มีอัตราการ เพิ่มขึ้นสู งและอาจจะกลายเป็ นช่องทางการช�ำระเงินที่ส�ำคัญในไทย โดยใน ปี 2560 มีอัตราเติบโตสูงถึงร้อยละ 51.5 และ 109.9 ในด้านจ�ำนวนบัญชี ลูกค้าที่ใช้บริการ และปริมาณการท�ำรายการ ตามล�ำดับ เมื่อเทียบกับปี 2559 โดยสาเหตุส�ำคัญของการเติบโตดังกล่าว คือ ช่องทาง Mobile Banking นี ้ สามารถได้ท�ำธุรกรรมได้สะดวก รวดเร็ว สามารถให้ความปลอดภัยและความ มั่นใจแก่ผู้ใช้บริการได้ ในระดับมาตรฐานสากลที่สอดคล้องกับหลายประเทศ ทั่วโลก จากการส�ำรวจเบื้องต้นในกลุม ่ ตัวอย่าง 120 คนซึ่งอยูใ่ นวัยท�ำงานและ มีอายุ 21 ปีขึ้นไป พบว่า ช่องทาง Mobile Banking เป็ นช่องทางการช�ำระ เงินที่ได้รบ ั ความนิยมและมีความส�ำคัญมากขึ้นเรือ ่ ย ๆ เนื่องจากเป็ นช่องทางที่ ท�ำธุรกรรมการเงินได้สะดวกและรวดเร็ว อีกทัง้ ผู้ให้บริการทางการเงินได้พฒ ั นา Application ให้ใช้งานได้ง่ายและปลอดภัยมากยิ่งขึ้น ขณะที่กลุ่มตัวอย่าง ที่ยังไม่ท�ำธุรกรรมทางการเงินออนไลน์หรือผ่านทาง e-Money นั้น มีสาเหตุ หลักมาจากความกังวลในเรื่องของระบบความปลอดภัยจากการใช้งาน และ บาง Applications ของผู้ให้บริการทางการเงินที่ใช้บริการอยู่ มีความซับซ้อน และยุ่งยากในการใช้งาน ทั้งนี ้ ในปั จจุ บันการให้บริการ e-Money ถือได้ว่ามีการแข่งขันที่ค่อน ข้างสูงในอุตสาหกรรมบริการทางการเงิน หากผู้ให้บริการทางการเงิน (Financial service providers) ทัง้ ทีเ่ ป็ นสถาบันการเงิน (Banking institutions) และ ที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน (Non-banking institutions) ไม่สามารถปรับ ตัวให้เข้ากับแนวโน้มและรูปแบบการช�ำระเงินที่เปลีย ่ นแปลงอย่างรวดเร็ว เรา ก็อาจจะเห็นผู้ให้บริการทางการเงินบางรายต้องปิดตัวลงและหายไปตลาดการ เงินของไทย ดังที่เคยเกิดขึ้นแล้วในวิกฤติการณ์การเงินต้มย�ำกุ้งในปี 2540 252


ประเด็นที่สอง ขณะที่เงินดิจิตอล (Digital currency) หรือที่อาจคุ้น เคยในชื่อของ Cryptocurrency ถือว่าเป็ นเงินเสมือนจริง (virtual currency) ที่ถก ู สร้างโดยกลไกลทางคอมพิวเตอร์และคณิตศาสตร์ โดยก�ำหนดให้ สามารถช�ำระ โอน และแลกเปลีย ่ นกันได้เฉพาะในเครือข่ายเท่านั้น ยกตัวอย่าง เช่น Bitcoin, Litecoin และ Ethereum เป็ นต้น อย่างไรก็ตาม เงินดิจิตอล นี ้ ยังไม่ถือว่าเป็ นเงินที่ได้รบ ั การยอมรับจากธนาคารกลาง ไม่เป็ นเงินที่ได้รบ ั การยอมรับทางกฎหมาย ไม่สามารถช�ำระหนีไ้ ด้ และไม่มีมูลค่าในตัวเอง ดังที่กล่าวไปแล้วข้างต้น การเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีที่รวดเร็ว ท�ำให้ เกิดนวั ตกรรมทางการเงินใหม่ ๆ ขึ้นมาเป็ นจ� ำนวนมาก และส่ งผลต่อความ อ่อนไหวด้านการก�ำกับดูแลและเสถียรภาพระบบการเงินของประเทศได้เช่น กัน ในปั จจุ บัน ธนาคารกลางในบางประเทศได้พิจารณาน�ำเงินสกุลดิจิตอลของ ธนาคารกลาง ที่เรียกว่า Central Bank Digital Currency (CBDC) มาใช้ ส�ำหรับธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้เปิดตัวโครงการ “อินทนนท์ ” ที่ใช้ เทคโนโลยีบล็อกเชนในการแก้ปัญหาระบบช�ำระเงินระหว่างธนาคารทั้งในและ ต่างประเทศ โดย ธปท. ได้ตัดสินใจที่จะน�ำ CBDC มาใช้ เชื่อมโยงเครือข่าย ในระดับ wholesale ส�ำหรับธนาคารที่เข้าร่วมโครงการเท่านั้น เพื่อเชื่อมต่อ ระบบช�ำระเงินให้สามารถท�ำงานได้แบบ 24/7 (24 ชั่วโมงตลอด 7 วัน) และ จากการส�ำรวจความคิดเห็นจากกลุม ่ ตัวอย่างข้างต้น พบว่า คนส่วนใหญ่ยงั ขาด ความรูค ้ วามเข้าใจในเรื่อง Digital Currency อยู่มากพอสมควร สะท้อนให้ เห็นว่า ทุกภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็ นผู้ให้บริการทางการเงิน (Financial Service Providers) หน่วยงานก�ำกับดูแล โดยเฉพาะธนาคารแห่งประเทศไทย และ หน่วยงานต่างๆ ที่เกีย ่ วข้องจ�ำเป็ นต้องประชาสัมพันธ์ ให้ข้อมูลและสร้างการ รับรู ท ้ ี่ถูกต้องเกี่ยวกับ Digital Currency ขณะที่ผู้ ใช้บริการทางการเงิน เองก็ต้องเตรียมความพร้อมทั้งในเรื่องของความรู ก ้ ารบริหารจัดการทางเงิน เทคโนโลยีและข้อมู ลข่ าวสาร เพื่อที่ จะสามารถใช้ ประโยชน์ จากนวั ตกรรม ทางการเงินให้เกิดประโยชน์สูงสุดและมีความเสี่ยงน้อยที่สุด เนื่องจากสังคม ไร้เงินสด (Cashless Society) ในระดับที่ลึกและแพร่หลายขึ้น คงจะเกิด ขึ้นในอีกไม่นานนี ้

253


254

ที่มา: สถิติระบบการช�ำระเงิน, ธนาคารแห่งประเทศไทย (2561)

ที่มา: สถิติระบบการช�ำระเงิน, ธนาคารแห่งประเทศไทย (2561)


เอกสารอ้างอิง เพชรินทร์ หงส์วฒ ั นกุล และ รังสิมา บุญธาทิพย์. (2557). เงินในโลกดิจต ิ อล. ธนาคารแห่งประเทศไทย. ค้นเมื่อ https:// www.bot.or.th/Thai/ResearchAndPublications/DocLib_ /article2_05_14.pdf ธรรมรักษ์ หมื่นจักร, รัชพร วงศาโรจน์, กษิดศ ิ ตันสงวน และเกวลี สันตโยดม. 2018. Digital Currency Vol.1: Central Bank Digital Currency อีกหนึ่งวิวัฒนาการของเงิน. FOCUSED AND QUICK 124. ธนาคาร แห่งประเทศไทย ธรรมรักษ์ หมื่นจักร, รัชพร วงศาโรจน์, กษิดศ ิ ตันสงวน และเกวลี สันตโยดม. 2018. Digital Currency Vol.2: Crytocurrencies and friends: นวัตกรรม พัฒนาการ ความเสี่ยง และการก�ำกับดูแล. FOCUSED AND QUICK 126. ธนาคารแห่งประเทศไทย กัณตภณ ศรีชาติ. (2556). เงินเสมือน (Virtual Currency) ต่างจากเงินจริง อย่างไร. ธนาคารแห่งประเทศไทย. สืบค้นเมื่อ 2 สิงหาคม 2561. จากhttps://www.bot.or.th/Thai/ResearchAnd Publications/DocLib_/article20_08_13.pdf เสวียน แก้ววงษา. (25xx). เงินดิจต ิ อล: บริบทของการพิจารณาความเป็ น เ งิ น (Digital Currency: A Contextual Consideration of Money). ธนาคารแห่งประเทศไทย ฝ่ ายนโยบายระบบการช�ำระเงิน. (2558). Payments Systems Insight: ก้าวสู่เศรษฐกิจดิจิทัล ด้วยการ ช�ำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ (Moving Towards Digital Econo my with Electronic Payments). สืบค้นเมื่อ 2 สิงหาคม 2561 จาก https://www.bot.or.th/Thai/PaymentSys tems/ Publication/PS_Quarterly_Report/Payment%20 Systems%20Insight/PS_Insight_2015Q1.pdf พรชัย ฬิ ลหาเวสส. (2557). บริการทางการเงินผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที:่ สะดวก รวดเร็ว และปลอดภัย. ธนาคารแห่งประเทศไทย สืบค้น เมื่อ 2 สิงหาคม 2561 จากhttps://www.bot.or.th/Thai/Re searchAndPublications/DocLib_/article_24_07_57.pdf ธนาคารแห่งประเทศไทย. (2561). สถิติระบบการช�ำระเงิน.

255


“ด่านชายแดนบ้านฮวก” ก่อนและหลังการเปิดด่านผ่านแดนถาวร

“ก่อนเป็นด่านถาวร” ด่านชายแดนบ้านฮวก-กิ่วหก อ.ภูซาง จ.พะเยา มีอาณาเขตติดกับ แขวงไชยะบุรี สปป.ลาว ได้มีการท�ำข้อตกลงระหว่างจังหวัดพะเยากับแขวง ไชยะบุรี สปป.ลาว ณ จุ ดผ่อนปรนชายแดนไทย–สปป.ลาว โดยก�ำหนดให้ด่า นบ้านฮวก ให้เป็ น “ด่านผ่อนปรน” เมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2536 ภายใต้ขอ ้ ตกลง ดังกล่าว โดยมีวัตถุประสงค์หลักทางด้านมนุ ษยธรรม และเพื่อการส่ งเสริม ความสัมพันธ์ระดับท้องถิ่นระหว่างชาวภูซางและแขวงไชยะบุรี โดยอนุญาต ให้ประชาชนทั้งสองประเทศสัญจรไปมาเพื่อซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้าอุปโภค บริโภคระหว่างกัน ซึ่งก�ำหนดระเบียบการสัญจรไปมา ประเภทสินค้าที่สามารถ ติดต่อซื้อขาย ระยะเวลาเปิดปิดจุ ดผ่อนปรน มาตรการควบคุมการเดินทางเป็ น อ�ำนาจของผู้ว่าราชการจังหวัด และมีหน่วยงาน 2 ส่วนที่ส�ำคัญในการก�ำกับ ดูแล ได้แก่ ศูนย์อ�ำนวยการป้ องกันการกระท�ำอันเป็ นคอมมิวนิสต์ (ศอป.ปค.) อ�ำเภอภูซางประจ�ำอยู่ มีหน้ารับผิดชอบดูแลการเข้าออกของประชาชนภายใต้ การดูแลของฝ่ ายกิจการพิเศษที่ท�ำการปกครองอ�ำเภอภูซางซึ่งมีนายอ�ำเภอภู ซางเป็ นผู้ดูแล และศุลกากรเชียงของ จังหวัดเชียงราย ท�ำหน้าที่ควบคุมดูแล การน�ำเข้าสินค้าผ่านเข้า-ออกบริเวณจุ ดผ่านแดน

256


สถานการณ์โดยทั่วไปด้านความมั่นคงบริเวณแนวชายแดนในระยะเวลา ที่ผ่านมามีความสัมพันธ์อันดีระหว่างสองประเทศ โดยไม่ปรากฏสถานการณ์ ด้านความรุ นแรง โดยหน่ วยทหารกลางของสปป.ลาวยังคงวางก�ำลังรักษา สถานการณ์ชายแดนลาดตระเวน (ลว.) ท�ำหน้าที่สืบหาข่าวความเคลื่อนไหว ด้ า นความรุ น แรง และไม่ มี ก ารปฏิ บั ติ ก ารทางทหารในเขตไทยแต่ อ ย่ า งใด สถานการณ์ท่ัวไปมีการติดต่อซื้อขายสินค้าตามปกติ ส่วนสถานการณ์ด้านการค้า52 ก่อนเปิดเป็ นด่านชายแดน พบว่ามูลค่า การค้าชายแดนผ่ านจุ ดผ่ อนปรนบ้านฮวก ขึ้นตรงกับด่านศุลกากรเชียงชอง โดยมีรายการสินค้าน�ำเข้าที่ส�ำคัญได้แก่ ไม้แปรรูป เปลือกไม้บง เปลือกไม้บง ลาว เปลือกไม้จ้าหลอด ข้าวโพดเลีย ้ งสัตว์ ลูกเดือย รถตักดิน และหินโม่ ส่วน รายการสินค้าส่งออกทีส ่ �ำคัญได้แก่ เครือ ่ งจักร รถกระบะบรรทุกและอุปการณ์ พาหนะเครื่องจักหนัก น�้ำมันดีเซลหมุมเร็ว น�้ำมันเบนซินไร้สาร เหล็กเส้น เสา ไฟฟ้ า คอนสปั น ปูนซีเมนต์ วัสดุก่อสร้าง สินค้าอุปโภคบริโภค อุปกรณ์ไฟฟ้ า และมีแนวโน้มความต้องการเติบโตต่อเนื่องแปรันตามระดับพัฒนาเศรษฐกิจ และการขยายการลงทุนจากฝั่ งไทยเข้าไปบริเวณบ้านปางมอญ สปป.ลาว และ บริเวณใกล้เคียง หากพิจารณามูลค่าการค้าจะพบว่ามูลค่าการค้าชายแดนมีการ เติบโตอย่างต่อเนื่องตัง้ แต่ปี 2,553 เป็ นต้นมา และมีแนวโน้มเติบโตอย่างก้าว กระโดด ดูได้จากตารางที่ 1

52 ข้ อ ควรทราบเกี่ ย วกั บ การค้ า ชายแดน ณ จุ ด ผ่ อ นปรนบ้ า นฮวก ประกอบด้ ว ย 2 ประการ ได้ แ ก่ การส่ ง ออกต้ อ งขออนุ ญ าตส่ ง ออกที่ ด่ า นศุ ล กากรเชี ย งของและจั ด ท� ำ ใบขนส่ ง สิ น ค้ า ขาออก ยกเว้ น ส่ ง ออกสิ น ค้ า ทั่ ว ไปที่ มี มู ล ค่ า ไม่ เ กิ น 5 หมื่ น บาทให้ ท� ำ เอกสารใบแจ้ ง รายละเอี ย ดสิ น ค้ า ขาออก (กศก. 153) ยื่ น ต่ อ เจ้ า หน้ า ที่ ศุ ล กากร เชี ย งของ และการน� ำ เข้ า สิ น ค้ า ต้ อ งท� ำ ใบขนส่ ง สิ น ค้ า ขาเข้ า ยกเว้ น สิ น ค้ า ทั่ ว ไปมู ล ค่ า ไม่ เ กิ น 5 หมื่ นบาทสามารถขอช� ำ ระภาษี อ ากรปากระวางกั บ เจ้ า หน้ า ที่ ศุ ล กากรได้ 257


ตารางที่ 1 สถิติการค้าชายแดนไทย-สปป.ลาว ผ่ านด่านผ่ อนปรนบ้านฮวก ด่าน ศุลกากรเชียงของ ราษฎรไทย เดินทางไป ลาว (คน/ครัง้ )

ราษฎรลาว เดินทางเข้า ไทย (คน/ครัง้ )

มูลค่าน�ำเข้า (บาท)

มูลค่าส่งออก (บาท)

ดุลการค้า (บาท)

2553

4,231

27,238

4,100,799

24,454,217

20,353,437

2554

3,656

27,879

3,564,028

38,386,132

34,822,104

2555

3,513

34,630

5,883,478 177,681,954 171,798,476

2556

3,260

37,074

2,59,641

2557

4,062

36,619

1,463,019 229,935,451 228,472,431

2558

NA

NA

21,833,798 334,230,642 312,396,843

รวม

18,722

163,440

36,845,122 985,452,016 948,347,270

ปี

180,763,620 180,503,979

ที่มา: ส�ำนักงานพาณิชย์ จังหวัดพะเยา (2559)

สถานการณ์ด้านการเคลื่อนย้ายแรงงาน จากการสัมภาษณ์พีน ่ ้องชาว สปป.ลาวถึงงานที่เข้ามาท�ำในฝั่ งประเทศไทยพบว่าส่วนใหญ่เข้ามาท�ำงานเก็บ เกีย ่ วผลผลิตทางการเกษตรในฤดูเกีย ่ วเกีย ่ ว เช่น ข้าวโพด ล�ำไย และข้าว ส่วน ใหญ่จะอาศัยบัตรผ่านแดนชั่วคราวที่อนุญาตเข้ามาในประเทศไทยได้ถงึ อ�ำเภอ เชียงค�ำ และสามารถอยู่ได้จ�ำนวน 7 วัน โดยค่าจ้างที่ได้รบ ั หลังจากหักค่าเดิน ทางและใช้จ่ายส่วนตัวจะได้รบ ั ประมาณ 1,000-1,300 บาทต่อ 7 วัน ส่วน ทางเจ้าของสวนฝั่ งไทยมองว่าเป็ นการทดแทนการขาดแคลนแรงงานจากฝั่ ง ณ จุ ดผ่ อ นปรนบ้ า นฮวก-กิ่ ว หก สิ น ค้ า ควบคุ ม อื่ น ๆ ต้ อ งปฏิ บั ติ ต ามระเบี ย บของ หน่วยงานที่เกีย ่ วข้องด้วย และควรสอบถามเจ้าหน้าที่ศุลกากรก่อนน�ำเข้าสินค้า

258


ไทยได้เป็ นอย่างดี อีกส่วนหนึ่งคือชาวสปป.ลาวที่ขา้ มมาซื้อของอุปโภคบริโภค ณ ตลาดเชียงค�ำและโลตัสเชียงค�ำ ดูได้จากรูปที่ 1 รูปที่ 1 สถานการณ์การเคลื่อนย้ายแรงงานเข้ามารับจ้างก่อนการเปิดด่านถาวร พ.ศ.2561

ที่มา: ผู้เขียน ถ่ายเมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม 2561

สถานการณ์ดา้ นการท่องเที่ยวและวัฒนธรรม พบว่าพืน ้ ที่ดา่ นชายแดน บริเวณนีเ้ ป็ นพื้นที่ “พหุวัฒนธรรม” ที่มีความหลากหลายทาง “ชาติพันธุ”์ ซึ่ง ในอดีตได้มีการติดต่อซื้อขาย การติดต่อสั มพันธ์ระหว่างเครือญาติระหว่ าง ชาวไทลื้อ-ไทยวน ที่อาศัยอยู่บริเวณแม่น�้ำโขงและแม่น�้ำกกได้แก่ เมืองคอบ เชียงฮ่อน เชียงลม สปป.ลาว รวมถึงเชียงของ เทิง เชียงค�ำ เชียงม่วน เมือง เงิน เมืองปั ว ท่าวังผา ไปจนถึงเมืองน่าน (พระสุนทรกิตติคุณ, 2561) ท�ำให้ กิ จ กรรมท่ อ งเที่ ย วในบริเ วณนี ้มี ลั ก ษณะการท่ อ งเที่ ย วเชิ ง วั ฒ นธรรมหรือ ชาติพันธุ์ โดยนักท่องเที่ยวมักจะรู จ้ ักในนาม “เขตวัฒนธรรมไทลื้อ-ไทยวน” ที่เชื่อมโยวัฒนธรรมล้านนาตะวันตก เชียงตุง และสิบสองปั นนา โดยสถานที่ ท่องเที่ยวที่ส�ำคัญได้แก่ชุมชนไทลื้อ หมู่บ้าน OTOP บ้านฮวก ตลาดชายแดน สองแผ่นดิน วนอุทยานน�้ำตกอุ่นน�้ำตกภูซาง น�้ำตกโป่ งผาถิ่นก�ำเนิดเต่าปูลู ฯ สินค้าท่องเที่ยวที่ส�ำคัญจะเกีย ่ วข้องกับวัฒนธรรมของชาวไทลื้อ-ไทยวน หรือ สินค้าตามอัตลักษณ์ของชาติพันธุ์ เช่น หัตถกรรมผ้าทอมือ ผ้าถักโครเชต์ ผ้า พื้นเมือง เป็ นต้น ส่วนกิจกรรมท่องเที่ยวที่ส�ำคัญได้แก่ กิจกรรมตักบาตรสอง แผ่นดิน ตลาดนัดชายแดนสองแผ่นดินทีจ่ ด ั ทุกวันที่ 10 และ 30 ของทุกๆเดือน โดยชาวสปป.ลาวจะน�ำของป่ าที่หาได้จากฝั่ งลาวออกมาขาย เช่น น�้ำผึ้งป่ า เห็ด สมุนไพร อาหารชนเผ่า รวมถึงผ้าม้ง เป็ นต้น 259


รูปที่ 2 สินค้าทางการท่องเที่ยวตามอัตลักษณ์ไทลื้อ-ไทยวน

ที่มา: ผู้เขียน ถ่ายเมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม 2561

“หลังเป็นด่านถาวร” ด้วยสถานการณ์ด้านความมั่นคง การขยายตัวทางการค้า การลงทุน และการท่องเทีย ่ วของสองฝั่ ง จึงมีความพยามผลักดันด่านผ่อนปรนบ้านฮวกให้ เป็ น “ด่านถาวร” เริม ี .ศ. 2522 โดยความพยายามของคนในพืน ้ ทีแ ่ ละ ่ ตัง้ แต่ปพ ธุรกิจทัง้ สองฝ่ าย ท�ำให้มติคณะรัฐมนตรีวันที่ 31 กรกฎาคม 2561 ได้ประกาศ ให้ดา่ นผ่อนปรนบ้านฮวกเป็ น “จุดผ่านด่านถาวร” สืบเนื่องจากการประชุมคณะ กรรมาธิการร่วมว่าด้วยความร่วมมือระหว่างไทย-ลาว ครัง้ ที่ 21 ที่แขวงจ�ำปา สัก เมื่อต้นปี 2561 และจากการประชุมครม.สัญจรกลุ่มภาคเหนือตอนบน 2 เมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน 2559 ที่ผ่านมา โดยยกระดับเป็ นจุ ดผ่านแดนถาวร มีวัตถุประสงค์เพื่อเชื่อมโยงการค้า การลงทุน การขนส่ง การท่องเที่ยว ศิลป วัฒนธรรมและชาติพันธุใ์ นอนุภูมิภาคลุ่มแม่น�้ำโขงเข้าด้วยกัน “หลังการเปิดด่านถาวร” สิ่งที่จะเกิดขึ้นในระยะสั้นได้แก่ การก่อสร้าง ถนนและจุ ดเปลี่ยนช่องทางจราจร การก่อสร้างอาคาร การบูรณการพัฒนา โครงสร้างพืน ้ ฐาน การก�ำหนดแผนงาน และการบริหารจัดการพืน ้ ที่รว่ มกัน โดย เฉพาะพื้นที่บริเวณด่านและบริเวณใกล้เคียง รวมถึงการปรับตัวขอภาคธุรกิจ ในระยะสั้นต่อการเปลีย ่ นแปลง ได้แก่การปรับตัวของราคาที่ดินและการคาด การณ์ของนักลงทุน โดยกระแสการเปิดด่านถาวรรวมถึงการอนุมติโครงการ ก่อสร้างรถไฟทางคู่เด่นชัย-เชียงของได้ถูกพูดถึงในวงกว้าง ส่งผลให้ระดับ ราคาที่ดินบริเวณใกล้เคียงปรับตัวสูงขึ้น และได้ก่อให้เกิดการเข้ามาเก็งก�ำไร ทีด ่ น ิ ในบางพืน ้ ที่ ส่วนการคาดการณ์ของนักลงทุน ส่วนใหญ่จะมองว่าเป็ นโอกาส ในการขยายความเชื่อมโยงระหว่างไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน จึงเป็ นปั จจัยส่ง เสริมระดับความเชื่อมั่นของนักลงทุนในและนอกพืน ้ ที่ให้เข้ามาลงทุนมากยิ่งขึน ้ 260


โดยเฉพาะภาคการก่อสร้างและภาคการท่องเที่ยวที่จะเห็นได้ชัดเจน อย่างไรก็ตามนักลงทุนภายนอกได้ตงั้ ค�ำถามถึงค่าใช้จ่ายในการลงทุน ความคุม ้ ค่า และตลาดเป้ าหมาย ว่าหากเข้าไปลงทุนจะคุ้มค่าหรือไม่ จากการศึกษาของ ส�ำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดเชียงรายได้ท�ำการรวบรวมข้อมูลชีว้ ัดเศรษฐกิจ ที่ส�ำคัญของบ้านฮวกและอ�ำเภอภูซาง เพื่อประกอบการตัดสินใจของนักลงทุน ได้ผลดังตารางที่ 2 ตารางที่ 2 ดัชนีชีว้ ัดเศรษฐกิจที่ส�ำคัญของบ้านฮวก และ อ.ภูซาง จ.พะเยา ปีพ.ศ.2556-2560 ตัวชีว้ ัดเศรษฐกิจที่ส�ำคัญ

2556

2557

2558

2559

2560

GPP (ล้านบาท)

32,774

32,080

33,391

NA

NA

จ�ำนวนประชากร (คน)

486,744 484,454

482,645 479,188

NA

รายได้ต่อหัว (บาท/ปี)

67,333

66,217

69,183

NA

NA

การใช้จ่ายต่อครัวเรือน (บาท)

11,245

11,835

13,783

NA

NA

หนีส ้ ิน/ครัวเรือน (บาท)

80,663

114,332

148,001

NA

NA

จ�ำนวนนักท่องเที่ยว (คน)

252,709 258,659

274,443

NA

NA

การใช้จ่ายของนักท่องเที่ยว (บาท)

1,188

1,228

1,294

NA

NA

การน�ำเข้าชายแดน (ล้านบาท)

0.259

1.46

21.83

29.16

144.76

การส่งออกชายแดน (ล้านบาท)

180.76

229.93

334.23

310.87

71.99

อัตราดอกเบีย ้ (%) _MRR_ AVG

8

8

8

8

8

อัตราเงินเฟ้ อ (%)

3

2

2

-1

0

NA

NA

1,004

1,087

1,157

ประเภทธุรกิจ - การเกษตร

5

7

8

4

NA

ประเภทธุรกิจ - การผลิต

10

10

10

10

NA

ประเภทธุรกิจ - ค้าปลีกค้าส่ง

230

234

230

271

NA

ประเภทธุรกิจ - การก่อสร้าง

100

265

260

200

NA

ประเภทธุรกิจ - ขนส่งและ โลจิสติกส์

26

28

31

25

NA

ประเภทธุรกิจ - การเงิน

13

13

13

14

NA

ประเภทธุรกิจ - อื่นๆ

4

5

3

2

NA

จ�ำนวนธนาคาร/สถาบันการเงิน

47

47

47

47

47

จ�ำนวนจดทะเบียนธุรกิจ (ราย)

261


ราคาประเมินที่ดิน (บ/ตรม)

150

150

150

275

275

ราคาขายที่ดิน (ราคาตลาด) (บ/ตรม)

1,250

1,250

1,250

2,500

2,500

ราคาเช่าที่ดิน (บ/ตรม/ด)

6

6

6

6

6

ราคาค่าก่อสร้าง (บ/ตรม)

7,500

7,500

7,500

7,500

7,500

ราคาค่าเช่าอสังหาริมทรัพย์ (บ/ตรม)

60

60

60

60

60

ค่าใช้จ่ายในการเริ่มต้นธุรกิจ (บาท)

10,520

10,520

10,520

10,520

11,020

ค่าใช้จ่ายในการขออนุญาต ก่อสร้าง

20

20

20

20

20

อัตราค่าจ้างขัน ้ ต�่ำ (บาทต่อ เดือน)

7,000

7,000

7,000

7,000

7,000

อัตราค่าน�้ำประปา (บาทต่อ เดือน)

NA

NA

NA

NA

500

อัตราค่าไฟฟ้ า (บ/ด)

1,000

1,000

1,000

1,000

1,000

อัตราค่าน�้ำมันเชื้อเพลิง (บ/ด)

2,000

2,000

2,000

2,000

2,000

500

500

500

500

500

อัตราค่าใช้จ่ายในการสื่อสาร (บ/ด)

ที่มา: ฐานข้อมูลธุรกิจอัจฉริยะ อุตสาหกรรมจังหวัดเชียงราย (NRBI)

จากการรวบรวมข้อมูลค่าใช้จ่ายส� ำหรับการด�ำเนิ นธุรกิจ (Cost of Doing Business) ส�ำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดจากฐานข้อมูลธุรกิจอัจฉริยะ (NRBI) สามารถสรุปเป็ นประเด็นที่ส�ำคัญดังนี ้ “ราคาประเมิน” ที่ดินจากธนารักษ์พื้นที่พะเยา 2559-2562 แจ้งว่า ราคาประเมินที่ดินติดทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1093 (สายสบบง - บ้าน ฮวก - ผาตัง้ ) เท่ากับ 450 บาท ต่อตารางวา ส่วนหลังจากเส้นทาง 1093 ถึง จังหวัดเชียงรายมีราคาประเมินเท่ากับ 800-1400 บาท ต่อตารางวา ทั้งนี ้ ราคาประเมินมีการเปลีย ่ นแปลงทุกๆ 3 ปี ราคาประเมินปี 2555-2558 ราคา ประเมินที่ดน ิ ติดทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1093 (สายบ้านสบบง-บ้านฮวก) เท่ากับ 450-750 บาทต่อตารางวา หรือคิดเป็ นไร่ละ 180,000- 300,000 บาท “ราคาขายทีด ่ น ิ ” จากการสัมภาษณ์ประชาชนในพืน ้ ทีถ ่ งึ ราคาขึน ้ อยูก ่ บ ั พื้นที่ติดถนนหรือไม่หรือพื้นที่อยู่ในจุ ดศู นย์กลางธุรกิจหรือไม่ พบว่าหากอยู่ 262


ในตลาดบ้านฮวกหรือใกล้กับด่านชายแดนราคาที่ดินพุ่งสูงขึ้นจากไร่ละ 1 ล้าน บาท เป็ น 4 ล้านบาท ภายใต้กระแสกการผลักดันด่านชายแดนถาวร ได้มี การเข้ามาเก็งก�ำไรของนักลงทุนนอกพื้นที่ ทั้งนี ้ หนังสือพิมพ์มติชนภูมิภาคได้ สัมภาษณ์นาย โกวิท ไชยเมือง ประธานชมรมพ่อค้าเชียงค�ำ และเผยว่าราคา ที่ดินที่มีเอกสารสิทธิ์ โฉนด หรือนส.3 ไร่ละไม่ต่�ำกว่า 2-3 ล้านบาท บางแปลง ติดถนนราคาไร่ละ 4 ล้านบาท โดยราคามีแนวโน้มเพิ่มขึ้นระหว่างปี 60-62 ส่วนราคาเช่าทีด ่ น ิ เพื่อประกอบธุรกิจติดถนนราคาไร่ละประมาณ 10,000 ต่อปี “ราคาค่าก่อสร้าง” โกดัง โรงงาน ออฟฟิศ คลังเก็บสินค้า (warehouse) หลังคาโครงเหล็ก truss อาคารพาณิชย์สองชัน ้ ราคาประมาณตาราง เมตรละ 7,000-8,000 บาท หรือขึ้นอยู่กับผู้รบ ั เหมาก่อสร้างในแต่ละพื้นที่ “ราคาค่าเช่าอาคารพาณิชย์” ตึกหานึ่งคู่หา (2ชัน ้ หรือ 2 00ตาราง เมตร) ราคาค่าเช่าประมาณ 5,000-6,000 บาทต่อเดือน จากการสัมภาษณ์ ผู้ประกอบการไม่นิยมเช่าพื้นที่เนื่องจากเป็ นเจ้าของเอง หรือหากเป็ นนักลงทุน ข้างนอกจะนิยมซื้อที่และสร้างเอง “ค่าใช้จ่ายในการเริม ่ ประมาณ 11,000 ่ ต้นธุรกิจ” ราคาเริม ่ ต้นที่เฉลีย บาทต่อธุรกิจ ประกอบด้วยจ้างแรงงาน ค่าน�้ำค่าไฟ ค่าน�้ำมัน และค่าโทรศัพท์ ซึ่งยังไม่รวมค่าเช่าที่หรืออาคารพาณิชย์ หากรวมค่าเช่าจะเป็ น 16,000 บาท ต่อธุรกิจ “อัตราค่าจ้างแรงงาน” ในพื้นที่เท่ากับ วันละ 350 บาท ท�ำงาน 20 เท่ากับ 7,000 ในบางกรณีเช่นงานสวน ตัดหญ้า หรืองานเฉพาะ จะคิดเป็ น วันละ 400 บาท เดือนละ 8,000 “ราคาค่าน�้ำประปา” เนื่องจากในบริเวณบ้านฮวก ประชาชนนิยมใช้ ประปาภูเขา จึงไม่มีค่าน�้ำประปา แต่หลังจากปี 2560 ได้มีการใช้ระบบมิเตอร์ ประปา เพื่อแก้ไขปั ญหาการใช้น�ำสิ้นเปลืองและปั ญหาน�้ำไม่พอใช้ ท�ำให้เริ่มมี การเก็บค่าน�้ำประปา ราคาเฉลีย ่ จากการสอบถามผู้ประกอบการขนาดเล็ก – ขนาดกลาง พบว่าในแต่ละเดือนมีค่าใช้จ่ายประมาณ 500 ต่อเดือน รวมถึง การใช้งานในครัวเรือนด้วย “ราคาไฟฟ้ า” จากการสัมภาษณ์การไฟฟ้ าส่วนภูมิภาคจังหวัดพะเยามี ราคาเฉลีย ่ 3.69 บาทต่อหน่วย ทัง้ นีร้ าคามีการเปลีย ่ นแปลงทุกๆ 3 เดือนขึน ้ อยู่ กับอัตราค่าไฟฟ้ าโดยอัตโนมัติ (Ft) ทีป ่ ระกาศเปลีย ่ นแปลงจาก คณะกรรมการ ก�ำกับกิจการพลังงาน (กพพ) ซึ่งอัตราการเปลีย ่ นแปลงจะเหมือนกันทั่วประเทศ ดังนัน ้ อัตราค่าไฟฟ้ าต่อเดือนของแต่ละธุรกิจจะขึน ้ อยูก ่ บ ั ปริมาณการใช้งานเป็ น หลัก แต่ละจังหวัดจะไม่มีการได้เปรียบในด้านอัตราพลังงานไฟฟ้ าไม่เท่ากัน 263


“ราคาน�้ ำมัน” ที่เติมต่อเดือนมีแนวโน้ มถูกลงเมื่อเที ยบกับปี 2556 เนื่องจากราคาน�้ำมันดิบที่ปรับตัวลงจากตลาดโลก ทั้งนีป ้ ริมาณการใช้น�ำมัน ของแต่ละธุรกิจไม่เหมือนกัน โดยธุรกิจร้านอาหารขนาดเล็กมีค่าน�้ำมันเฉลี่ย เดือนละ 2,000 บาทต่อคัน เนื่องจากการเดินทางไปซื้อวัตถุดิบในตัวอ�ำเภอ หรือต้องไปท�ำธุรกรรมทางการเงินในตัวอ�ำเภอภูซางและเชียงค�ำ ซึ่งมีระยะทาง ไป-กลับประมาณ 40-60 กม. “ราคาค่าโทรศัพท์และอินเทอร์เน็ต” เนื่องจากธุรกิจ ส่วนใหญ่ในพืน ้ ทีบ ่ า้ นฮวก ยังเข้าไม่ถงึ การใช้นวัตกรรมหรืออินเทอร์เน็ตจึงท�ำให้ อัตราค่าใช้จ่ายในการสื่อสาร โทรศัพท์ และอินเทอร์เน็ตไม่สูงมาก ส่วนใหญ่จะ ใช้บริการโทรศัพท์มือถือรายเดือนของ AIS เนื่องจากมีสัญญาณชัด และการใช้ อินเทอร์เน็ตในการด�ำเนินธุรกิจเช่น FB จะใช้อน ิ เทอร์เน็ตจากเครือข่ายโทรศัพท์ “สิ่งที่ควรให้ความสำ�คัญในอนาคต” การร่วมกันพัฒนาให้เกิดความยั่งยืนในพื้นที่ชายแดน เนื่องจากพื้นที่ ชายแดนมีความเป็ นพหุวัฒนธรรมและมีมิติทางสังคมที่หลากหลาย ดังนั้นเป้ า หมายการพัฒนาควรให้ความส�ำคัญกับปั จจัยทางสังคมต่างๆที่เกี่ยวข้อง เช่น การมีส่วนของชุมชน การสร้างผลกระทบทางสังคมและสิ่งแวดล้อม ทุนทาง มนุษย์ วัฒนธรรม ประเพณี รวมถึงวิถีชีวิตของคนท้องถิ่น เป็ นต้น “รัฐบาล” ได้ท�ำการยกระดับการพัฒนาเศรษฐกิจจังหวัดพะเยาและ เศรษฐกิจชุมชนด้วยการสนั บสนุ นสิ่ งอ�ำนวยความสะดวกการค้า การลงทุ น การท่องเที่ยว ทั้งด้านที่เป็ นโครงสร้างพื้นฐานด้านสาธารณูปโภค (Hard Infrastructure) ต่างๆ ทั้งนีค ้ วรให้ความส�ำคัญกับการอ�ำนวยความสะดวกด้าน ที่เป็ น Soft Infrastructure ด้วยเช่นกัน เช่นเพิ่มประสิทธิภาพในการลดขัน ้ ตอนกระบวนการที่ยุ่งยากซับซ้อนต่างๆ ขัน ้ ตอนทางเอกสาร รวมถึงการให้แรง จู งใจให้เกิดการเข้ามาลงทุนอย่างยั่งยืน และสร้างเชื่อมโยงเศรษฐกิจ การค้า การลงทุน การท่องเที่ยว กับประเทศเพื่อนบ้านอย่างเป็ นรูปธรรม “ภาคเอกชน” ควรมีการศึกษาปั จจัยทีส ่ ่งผลต่อการลงทุนอย่างระเอียด ก่อนการตัดสินใจ เนื่องจากชายแดนเป็ นพื้นที่ที่มีบริบททางเศรษฐสังคมหลาก หลายและเปลีย ่ นแปลงได้งา่ ยเมื่อเปรียบเทียบกับในเมืองหรือเขตอุตสาหกรรม และควรศึกษาอัตลักษณ์ของชุมชนชายแดนนั้นๆก่อนการเข้าไปลงทุนเพื่อไม่ เกิดผลกระทบกับสังคมที่อาจสร้างปั ญหาตามมาในอนาคต “ภาคประชาสั ง คม” ควรเป็ นเจ้ า บ้ า นที่ น่ า รัก ปรับ ตั ว ให้ เ ข้ า กั บ สถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป โดยศึกษากรอบนโยบายและเป้ าประสงค์การ 264


พัฒนาของรัฐบาลอย่างจริงจังและให้ความร่วมมือในการร่วมกันพัฒนาพื้นที่ เช่น การพัฒนาด้านสิ่งแวดล้อม การจัดการขยะและของเสีย การสร้างบรรยาย ในพืน ้ ที่ให้เหมาะกับการค้าการลงทุนและการท่องเทียว และควรให้ความส�ำคัญ กับการรักษาขนบธรรมเนียมประเพณี และอัตลักษณ์ของชุมชนให้คงอยู่ รวม ถึงควรมีการปรับปรุ งหรือยกระดับวัฒนธรรมท้องถิ่นให้มีความร่วมสมัยและ สอดคล้องบริบททางสังคมที่เปลีย ่ นแปลงอยู่ตลอดเวลา ทัง้ นีก ้ ารร่วมกันพัฒนาให้เกิดผลสัมฤทธิส ่ �ำคัญ ์ ูงสุดต้องอาศัยปั จจัยทีส ที่สุดได้แก่ “ความร่วมมือของภาครัฐบาล ภาคธุรกิจ และประชาสังคม” ที่ต้อง ด�ำเนินการร่วมกันอย่างจริงจัง และต้องบูรณาการร่วมกับประเทศเพื่อนบ้าน ด้วยมิตรภาพอันจริงใจ... เอกสารอ้างอิง ส�ำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดเชียงราย (2560) ฐานข้อมูลธุรกิจอัจฉริยะ NRBI สืบคืนออนไลน์ จาก http://uat-nrbi.mfessolutions. com/ สุนทรกิตติคุณ (2561). ด่านบ้านฮวก พหุวัฒนธรรมกับการพัฒนาอย่าง ยั่งยืน.สารนิพนธ์พุทธศาสตรบัณฑิต ๒๕๖๑. มหาวิทยาลัยมหาจุ ฬา ลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตพะเยา วราวุฒิ (2560). ธุรกิจเพื่อความเป็ นสังคมเมืองในพื้นที่ชายแดนบ้านฮวก อ.ภูซาง จ.พะเยา. OBELS Outlook 2017

265


รายชื่อนักวิจัย 1. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณัฐพรพรรณ อุตมา 2. อ.ดร.ณรัฐ หัสชู 3. อ.ดร.พบกานต์ อาวัชนการ 4. อ.ดร.อภิสม อินทรลาวัณย์ 5. อ.ณัฐพล รังสฤษฏ์วรการ 6. อ.นภัส ร่มโพธิ ์ 7. อ.ปพนพัชร์ ทวีอภิรดีเจริญ 8. อ.พรวศิน ศิรส ิ วัสดิ์ 9. อ.มัลลิกา จันต๊ะคาด 10. อ.วราวุฒิ เรือนค�ำ 11. อ.อาทิตยา ปาทาน 12. นางสาว พรพินันท์ ยีร่ งค์ 13. นายสิทธิชาติ สมตา คณะกรรมการโครงการจัดตั้ง สำ�นักงานเศรษฐกิจชายแดนและโลจิสติกส์ 1.ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ร่มเย็น โกไศยกานนท์ ที่ปรึกษา 2. อ.ดร.ฉัตรฤดี จองสุรย ี ภาส ที่ปรึกษา 3. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณัฐพรพรรณ อุตมา ประธานกรรมการ 4.อ.ดร.อภิสม อินทรลาวัณย์ กรรมการ 5. อ.ณัฐพล รังสฤษฏ์วรการ กรรมการ 6.อ.ดร.ณรัฐ หัสชู กรรมการ 7.อ.พรวศิน ศิรส ิ วัสดิ์ กรรมการ 8. อ.ธันวา แก้วเกษ กรรมการ 9. อ.ดร.พบกานต์ อาวัชนการ กรรมการ 10. อ.นภัส ร่มโพธิ ์ กรรมการ 11. อ.วราวุฒิ เรือนค�ำ กรรมการ 12. อ.ระพิพงศ์ พรหมนาท กรรมการ 13. อ.มัลลิกา จันต๊ะคาด กรรมการและเลขานุการ 14. นางสาว ศุภาพิชญ์ โตแตง กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ 15.นางสาว พรพินันท์ ยีร่ งค์ เจ้าหน้าที่ประจ�ำโครงการ 16. นายสิทธิชาติ สมตา เจ้าหน้าที่ประจ�ำโครงการ 266



Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.