Obels outlook 2016 (2)

Page 1



ชื่อหนังสือ : OBELS OUTLOOK 2016 ผู้แต่ง : สำนักงานเศรษฐกิจชายแดนและโลจิสติกส์ สนับสนุนทุนวิจัย : มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง ปีที่จัดทำ : 2559 ISBN : 978-974-9766-83-5 พิมพ์ครั้งที่ 1 : ตุลาคม 2559 จำนวน 150 เล่ม ราคา : 200 บาท การติดต่อ

:

สำนักงานเศรษฐกิจชายแดนและโลจิสติกส์ สำนักวิชาการจัดการ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง ตำบลท่าสุด อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย 57100 โทรศัพท์ 053 916680

พิมพ์ที่

:

เอราวัณการพิมพ์ 28/10 ถ.สิงหราช ต.ศรีภูมิ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50200 โทร/แฟกซ์. 053-214491 E-mail : Arawanprinting@gmail.com


คำนำ สำนักงานเศรษฐกิจชายแดนและโลจิสติกส์ (หรือ โอเบลส์) ได้จัดทำเอกสาร OBELS OUTLOOK 2016 ขึ้น เพื่อรวบรวมและนำเสนอผลงานวิชาการและผลงาน วิจัยในระหว่างปีพ.ศ. 2559 ที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ ชายแดนจังหวัดเชียงราย กลุ่มประเทศอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง และกลุ่มประเทศ อาเซียน อันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงในสังคมโลก รายงาน OBELS OUTLOOK 2016 ประกอบด้วย 5 ส่วน ส่วนแรกเป็นประเด็น การวิจัยทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกลุ่มประเทศอาเซียน ส่วนที่ 2 เป็นประเด็นการศึกษาเกี่ยวกับประเทศจีนที่มีต่อการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ ของประเทศไทย ส่วนที่ 3 เป็นการนำเสนอการวิเคราะห์สถานการณ์ทางเศรษฐกิจ ของพื้นที่ชายแดนจังหวัดเชียงราย ส่วนที่ 4 เกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์เศรษฐกิจ ชายแดนในจังหวัดเชียงราย ก่อนยุคโลกาภิวัตน์ และส่วนที่ 5 เป็นบทความวิชาการที่ นำเสนอมุมมองและแนวทางการพัฒนาพื้นที่ชายแดนของประเทศไทย สำนักงานโอเบลส์ฯ ได้จัดทำรายงาน OBELS OUTLOOK เป็นประจำทุกปี ซึ่งปีนี้เป็นฉบับที่ 3 โดยหวังว่า รายงานนี้จะเป็นงานศึกษาและข้อมูลอีกชุดหนึ่งที่ผู้ สนใจด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ชายแดน ไม่ว่าจะเป็นหน่วยงาน ภาครัฐและเอกชน นักวิชาการ และประชาชนทั่วไป สามารถนำไปใช้ประโยชน์ตาม ความเหมาะสมต่อไป

สำนักงานเศรษฐกิจชายแดนและโลจิสติกส์

Office of Border Economy and Logistics Study

ตุลาคม 2559


สารบัญ ส่วนที่ 1

เศรษฐกิจของกลุ่มประเทศลุ่มแม่น้ำโขงและอาเซียน : บริบททางเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม แนวทางการพัฒนาความเชื่อมโยงตลาดและโอกาส 1 การส่งยางพาราในเขตภาคเหนือตอนบนของไทย เพื่อส่งออกไปยัง ตลาดจีน (ตอนใต้) ในเส้นทาง R3A

ดร.สุเทพ นิ่มสาย, ผศ.ดร.ณรงค์ พลีรักษ์, รศ.ดร.เริงชัย ตันสุชาติ, คุณอุรารัฐ เรือนคำ

ATIGA and its implication on the cross-border trade

29

Khin Maung Nyunt

ปัจจัยเชิงสถาบันกับการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ ในประเทศไทย

41

ณัฐพรพรรณ อุตมา

ผลกระทบทางเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม และสังคม จากการพัฒนา 63 พลังน้ำในลุ่มน้ำโขงตอนล่าง อภิสม อินทรลาวัณย์, David Wood, Richard Frankel

ส่วนที่ 2

จีนศึกษา (China The Series) นโยบายเศรษฐกิจต่างประเทศของจีนต่อบริบทใหม่ของ เศรษฐกิจในภูมภิ าคเอเชีย สิทธิชาติ สมตา, พรพินันท์ ยี่รงค์, ณัฐพรพรรณ อุตมา

95


ผลกระทบของอัตราแลกเปลีย่ นเงินหยวนต่อการค้าการลงทุนไทย 107

วงจรทัวร์ศูนย์เหรียญปัจจัยเสี่ยงต่อเศรษฐกิจการท่องเที่ยวไทย 129

สิทธิชาติ สมตา, วราวุฒิ เรือนคำ, ณัฐพรพรรณ อุตมา

วราวุฒิ เรือนคำ

ส่วนที่ 3

พลวัตทางเศรษฐกิจเมืองชายแดนจังหวัดเชียงราย การศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจของ จังหวัดเชียงราย พบธรรม บรรณบดี, พรพินันท์ ยี่รงค์

ความสัมพันธ์ของการขยายตัวของค้าชายแดนและการเติบโต ทางเศรษฐกิจของจังหวัดเชียงราย

147

165

พรพินันท์ ยี่รงค์, ณัฐพรพรรณ อุตมา

การศึกษาสถานการณ์แรงงานเมียนมาในปัจจุบัน กรณีศึกษา: 187 จังหวัดเชียงราย วิลาวัณย์ ตุทาโน, สิทธิชาติ สมตา

ส่วนที่ 4

ประวัติศาสตร์เศรษฐกิจชายแดน ประวัติศาสตร์เศรษฐกิจชายแดน ก่อนยุคโลกาภิวัตน์ สิทธิชาติ สมตา, พรพินนั ท์ ยีร่ งค์, ไอรดา วางกลอน, ณัฐพรพรรณ อุตมา

205


ส่วนที่ 5

บทความวิชาการ: แนวทางสู่การพัฒนาเมืองชายแดน ความเชื่อมโยงระหว่างการบิน การท่องเที่ยว และเศรษฐกิจ ของจังหวัดเชียงราย วราวุฒิ เรือนคำ แนวทางการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสู่การพัฒนาเขต เศรษฐกิจพิเศษชายแดนจังหวัดเชียงราย ไอรดา วางกลอน, พรพินันท์ ยี่รงค์

ความเหมาะสมของราคาทีด่ นิ ในพืน้ ทีช่ ายแดนภายใต้ การเป็นเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ

กมลมาศ นิยมเศรษฐกิจ, พรพินันท์ ยี่รงค์

แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจชายแดนในยุคดิจิตอล

นวัตกรรมการพัฒนาเมืองเวียงแก่น

ท่าลี่... การสนับสนุนการลงทุนเพื่อการค้าชายแดน

233

241

293

317

พรพินันท์ ยี่รงค์, วิลาวัณย์ ตุทาโน, ณัฐพรพรรณ อุตมา

335

สิทธิชาติ สมตา, ณัฐพรพรรณ อุตมา

พรพินันท์ ยี่รงค์, ณัฐพรพรรณ อุตมา

345



ส่วนที่1 เศรษฐกิจของกลุ่มประเทศ ลุ่มแม่น้ำโขงและอาเซียน : บริบททางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม


สำนักงานเศรษฐกิจชายแดนและโลจิสติกส์

แนวทางการพัฒนาความเชื่อมโยงตลาดและโอกาสการ ส่งยางพาราในเขตภาคเหนือตอนบนของไทย เพื่อส่งออกไปยังตลาดจีน (ตอนใต้) ในเส้นทาง R3A ดร.สุเทพ นิ่มสาย, ผศ.ดร.ณรงค์ พลีรักษ์, รศ.ดร.เริงชัย ตันสุชาติ, คุณอุรารัฐ เรือนคำ

การเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างการผลิตและการตลาดของอุตสาหกรรมรม ยางพาราในตลาดโลก ส่งผลกระทบต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมยางพาราและเสถียร ภาพราคายางพาราของไทยในปัจจุบัน ราคายางพารามีแนวโน้มลดลงจากเดิมเป็น อย่างมาก อันมีสาเหตุหลักมาจากการผันผวนของราคายางพาราในตลาดโลกและ ปริมาณผลผลิตยางพาราที่เพิ่มขึ้น รวมถึงการขยายการลงทุนในอุตสาหกรรมยาง พาราของนักลงทุนต่างชาติ เช่น จีน ในประเทศกลุ่มอาเซียน ได้แก่ สปป.ลาว และ สหภาพเมียนมา เป็นต้น อย่างไรก็ตามตลาดผู้ใช้ยางพาราที่สำคัญของโลกเช่น จีน ยังมีความต้องการในการใช้ยางพาราอย่างมากจึงถือเป็นโอกาสของประเทศไทยใน การส่งออกยางพาราไปยังประเทศจีน ประเทศไทยจึงมีการส่งเสริมการพัฒนาการ ค้าและการลงทุนในอุตสาหกรรมยางพาราอย่างต่อเนื่อง รัฐบาลไทยพยายามใช้ นโยบายส่งเสริมด้านการผลิต การตลาดและการแปรรูปยางพาราของไทย ในการ เพิ่มศักยภาพและความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมยางพาราของไทย ในตลาดโลก

I1I


OBELS OUTLOOK 2016

การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์หลัก คือ การวิเคราะห์แนวทางการพัฒนา ความเชื่อมโยงของตลาดยางพาราในเขตภาคเหนือตอนบนของไทย เพื่อการส่งออก ไปยังตลาดในกลุ่มประเทศอาเซียน โดยเน้นการศึกษาโอกาสการส่งออกยางพาราไทย ไปยังประเทศจีน (ตอนใต้) ในเส้นทางการเชื่อมโยงทางการในเขตภาคเหนือตอนบน ในเส้นทาง R3A และแม่น้ำโขง การศึกษาแบ่งออกเป็น 2 ประเด็นหลัก คือ 1.การ ศึกษาและวิเคราะห์ศักยภาพและการจัดการเชิงพื้นที่ของธุรกิจยางพาราในเขตภาค เหนือตอนบนโดยเฉพาะศักยภาพด้านการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน โดยผู้วิจัย ได้ทำการลงพื้นที่สำรวจและสัมภาษณ์ผู้เล่นที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชนในโซ่ อุปทานยางพาราในเขตภาคเหนือตอนบนของไทย รวมถึงได้ทำการวิเคราะห์ศักยภาพ เชิงพื้นที่ในการหาจุดที่เหมาะสมสำหรับการตั้งจุดรับซื้อยางพารา ด้วยวิธีการทาง เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ (Geoinformation Technology) และการวิเคราะห์เชิง ลำดับชัน้ (Analytic Hierarchy Process: AHP) โดยใช้กรณีศกึ ษาเขตพืน้ ทีใ่ นจังหวัด เชียงราย นอกจากนี้ยังได้วิเคราะห์ถึงความเชื่อมโยงของตลาดยางพาราในเขตภาค เหนือตอนบนของไทยไปยังโรงงานแปรรูปในภูมิภาคต่างๆ ของประเทศไทย และ 2.การวิเคราะห์ศักยภาพและแนวทางการพัฒนาการส่งออกยางพาราของไทยใน ตลาดอาเซียน และจีน (ตอนใต้) โดยการลงพื้นที่สำรวจและสัมภาษณ์ผู้เล่นที่เกี่ยวข้อง ทัง้ ภาครัฐและเอกชนในอุตสาหกรรมยางพาราในประเทศ สปป.ลาว สหภาพเมียนมา และจีน (ตอนใต้) จากการศึกษาศักยภาพเชิงพื้นที่ของธุรกิจยางพาราในเขตภาคเหนือตอนบน พบว่า อุตสาหกรรมยางพาราในเขตภาคเหนือตอนบนนั้นมีศักยภาพในการผลิตที่สูง แต่ยังมีข้อจำกัดหลายประการ อาทิ การขาดกลไกในการเพิ่มมูลค่าให้กับยางพารา และข้อจำกัดด้านการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน เนื่องจากผู้ประกอบการในพื้น ที่มีจำนวนไม่มาก และยังขาดโรงงานแปรรูป อีกทั้งผลผลิตขั้นต้นในพื้นที่เขตภาค เหนือจะต้องมีการขนส่งไปจำหน่ายให้กบั โรงงานแปรรูปในภูมภิ าคต่างๆ เช่น เขตภาค ตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลาง จึงทำให้ราคายางที่เกษตรกรได้รับจะต่ำกว่า

I2I


สำนักงานเศรษฐกิจชายแดนและโลจิสติกส์

ราคายางในเขตภาคอื่นที่มีต้นทุนโลจิสติกส์ที่ต่ำกว่า แต่อย่างไรก็ตามอุตสาหกรรม ยางพาราในเขตภาคเหนือตอนบนยังมีโอกาสและศักยภาพในการส่งออกไปยังประเทศ เพือ่ นบ้าน โดยเฉพาะโรงงานแปรรูปของนักลงทุนจีนทีม่ าลงทุนใน สปป.ลาว รวมถึง การส่งออกไปยังจีนตอนใต้ เนื่องจากมีข้อได้เปรียบด้านอาณาเขตและเส้นทางการค้า ในเส้นทางแม่น้ำโขงและ R3A ทั้งนี้หน่วยงานภาครัฐและเอกชนจะต้องร่วมวางแผน การบริหารจัดการยางพาราเชิงระบบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งแผนการพัฒนาและบริหาร จัดการด้านการรวมกลุม่ ของเกษตรกรหรือสหกรณ์ และแนวทางการเพิม่ มูลค่าให้กบั ผลิตภัณฑ์ยางพาราของไทย เพื่อเพิ่มโอกาสทางการตลาดและความสามารถในการ แข่งขันในตลาดอาเซียน คำสำคัญ: การจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน/ ยางพารา/อาเซียน / จีน /การตลาด ที่มาและความสำคัญ ยางพาราเป็นพืชเศรษฐกิจที่ทำรายได้มากที่สุดในภาคเกษตรกรรมของไทย ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ด้วยแนวโน้มความต้องการยางพาราที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในตลาดโลก อีกทั้งประเทศไทยมีภูมิประเทศที่เหมาะสมต่อการปลูกยางพารา จึงทำ ให้ประเทศไทยมีการเพิ่มพื้นที่ปลูกยางพาราและมีการขยายตัวของอุตสาหกรรมยาง พาราอย่างต่อเนือ่ ง ปัจจุบนั ประเทศไทยเป็นประเทศทีม่ อี ตั ราผลผลิตและปริมาณการ ส่งออกยางธรรมชาติเป็นอันดับหนึ่งของโลก ในปี 2558 ปริมาณการผลิตยางพารา อยู่ที่ระดับ 4.0 ล้านตัน ซึ่งลดลงจากปี 2557 ร้อยละ 2 เนื่องจากการเปลี่ยนแปลง ทางสภาพภูมิอากาศและราคาของยางอยู่ในช่วงขาลงจึงทำให้ผลผลิตออกสู่ตลาดลด ลงโดยประเทศคู่ค้ายางพาราที่สำคัญของประเทศไทย ได้แก่ ประเทศจีน มาเลเซีย และญี่ปุ่น ตามลำดับโดยเฉพาะอย่างยิ่งการผลิตเพื่อส่งออกไปจีนนั้นมีสัดส่วนที่มาก ที่สุดคิดเป็น ร้อยละ 58 ซึ่งประเทศจีนมีการขยายตัวเพิ่มขึ้น อีกทั้งประเทศจีนเป็น ประเทศที่มีการขยายตัวในอุตสาหกรรมการผลิตรถยนต์ที่เพิ่มขึ้นและกลายเป็น ประเทศที่มีการผลิตรถยนต์มากเป็นอันดับหนึ่งของโลก จึงส่งผลให้จีนมีความต้องการ ใช้ยางพาราในประเทศมากขึ้นตามไปด้วย

I3I


OBELS OUTLOOK 2016

จากปริมาณความต้องการยางพาราในตลาดโลกมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อ เนื่อง ส่งผลให้รัฐบาลไทยมีการส่งเสริมการผลิตและอุตสาหกรรมการส่งออกยางพารา อย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้เพื่อรักษาความเป็นผู้นำในการผลิตและส่งออกยางพาราของไทย ให้มีศักยภาพในการแข่งขันกับตลาดต่างประเทศ รัฐบาลไทยได้มีนโยบายเพื่อส่งเสริม ให้มีการเพิ่มขึ้นของสวนยางพารา และส่งเสริมให้มีการปลูกยางพาราทดแทนพืช เศรษฐกิจชนิดอื่น โดยรัฐบาลส่งเสริมและขยายพื้นที่ปลูกยางพาราที่ไปยังภาคเหนือ และภาคอีสานของประเทศไทย โดยภาครัฐมีการจัดตั้งโครงการ “ปลูกยางพาราเพื่อ ยกระดับรายได้และความมั่นคงให้แก่เกษตรกรในแหล่งปลูกยางใหม่” ซึ่งนโยบาย ของโครงการมีแผนการขยายพื้นที่ปลูกยางพาราในระหว่างปี 2547-2549 จำนวน 1,000,000 ไร่ คิดเป็นสัดส่วนการเพิ่มพื้นที่ปลูกยางพาราในภาคเหนือร้อยละ 30 และภาคตะวันออกเฉียงเหนือร้อยละ 70 และกำหนดนโยบายเพิ่มพื้นที่ปลูกยาง รอบที่ 3 อีกกว่า 800,000 ไร่ ในช่วงต้นปี 2554 ทำให้ในปี 2553 ประเทศไทยมีพื้น ที่ปลูกยางพารารวมกว่า 18.32 ล้านไร่ และปัจจุบันในปี 2557 มีพื้นที่ปลูกยางพารา ในประเทศไทยสูงถึง 25 ล้านไร่ สามารถกรีดยางได้กว่า 17 ล้านไร่ มีผลผลิต 5,984 ล้านตัน และผลผลิตเฉลี่ย 342 กิโลกรัม ต่อไร่ ซึ่งเพิ่มขึ้นถึง 7 ล้านไร่ในระยะเวลา 10 ปีที่ผ่านมา (สำนักงานสถิติการเกษตร, 2558) ภาคเหนือมีการขยายพื้นที่ปลูกยางพาราเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันภาค เหนือมีพื้นที่ปลูกยางพาราประมาณ 8 แสนไร่ ซึ่งส่วนใหญ่จะปลูกมากในพื้นที่จังหวัด เชียงราย พะเยา น่าน และพิษณุโลก ซึ่งในปี 2558 สามารถกรีดยางพาราได้ ร้อยละ 50 ของพื้นที่ทั้งหมด ซึ่งจะมีน้ำยางสดออกสู่ตลาดประมาณ 10,000 ตัน/เดือน และ คาดว่าจะมีพื้นที่เปิดกรีดยางใหม่เพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 20 ต่อปี ซึ่งจากปัญหาราคา ยางพาราที่ลดลงอย่างต่อเนื่องนั้น รัฐบาลยังไม่สามารถที่จะแก้ไขปัญหานี้ได้ จึงทำให้ สมาคมเครือข่ายเกษตรสถาบันเกษตรกรยางพาราไทยภาคเหนือ ได้นำตัวแทนเกษตรกร 4 จังหวัด ได้แก่ เชียงราย พะเยา น่าน และพิษณุโลก มารวมตัวกันเข้าไปเจรจาซือ้ ขาย ยางพารากับนักธุรกิจทางประเทศจีน (ตอนใต้) เพื่อหาช่องทางการตลาดใหม่ รวมถึง ส่งออกยางพาราแปรรูปไปจีน

I4I


สำนักงานเศรษฐกิจชายแดนและโลจิสติกส์

จากนโยบายดังกล่าว รวมถึงแรงผลักดันจากตลาดต่างประเทศที่มีอัตราการ ขยายตัวเพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะปริมาณแนวโน้มความต้องการใช้ยางพาราที่เพิ่มขึ้น อย่างต่อเนื่องของประเทศเพื่อนบ้านที่สำคัญ ได้แก่ สาธารณรัฐประชาชนจีน ซึ่งมี อาณาเขตใกล้เคียงกับพื้นที่ในภาคเหนือของประเทศไทย ส่งผลให้พื้นที่ปลูกยางพารา ทางภาคเหนือของประเทศไทยมีการขยายตัวของการปลูกอย่างต่อเนื่องและรวดเร็ว อย่างไรก็ตามจากการสำรวจผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในอุตสาหกรรมยางพาราทั้งในภาครัฐ และเอกชน อาทิ เกษตรกรพ่อค้าผู้รับซื้อยางพาราในภาคเหนือ และผู้ประกอบการ ส่งออกยางพาราไปยังประเทศจีน รวมถึงการรวบรวมข้อมูลจากรายงานวิชาการต่างๆ พบว่า อุตสาหกรรมยางพาราในเขตภาคเหนือนั้นยังมีข้อจำกัดและอุปสรรค ในการ ดำเนินธุรกิจหลากหลายรูปแบบ อาทิ ปัญหาด้านราคายางทีย่ งั คงผันผวน ปัญหาและ อุปสรรคที่เกษตรกรขาดความรู้และความเชี่ยวชาญในการกรีดยาง ปัญหาความไม่เป็น ธรรมในระบบการตลาด ปัญหาการขาดแคลนแหล่งรับซื้อหรือตลาดกลางในการรวบ รวมและรับซือ้ ผลผลิตยาง ปัญหาการขาดแคลนแหล่งผลิตหรือโรงงานพัฒนาผลิตภัณฑ์ แปรรูปยางโดยใช้นวัตกรรมสมัยใหม่ตามการผลิตของตลาดโลก และปัญหาด้านการ จัดการโลจิสติกส์และซัพพลายเชน เป็นต้น ด้วยเหตุผลในข้างต้นส่งผลให้เกษตรกร ชาวสวนยางในภาคเหนือตอนบนของประเทศไทยประสบปัญหาในหลายประการ และต้องการหาแนวทางการแก้ไขปัญหาเพือ่ พัฒนาการผลิตและการตลาด รวมถึงการ พัฒนาอุตสาหกรรมยางพาราของภาคเหนือตอนบนให้เป็นระบบที่ดีและมีคุณภาพ มากขึน้ โดยเฉพาะอย่างยิง่ เพือ่ เป็นการเตรียมความพร้อมเพือ่ รองรับการเข้าสูป่ ระชาคม อาเซียน (AEC) จากการวิเคราะห์ในเบื้องต้นของผู้วิจัย ทำให้มองเห็นโอกาสและช่องทางการ ส่งออกผลิตภัณฑ์ยางพาราชนิดต่างๆ ของไทย ไปยัง สปป.ลาว และจีน ซึ่งด่าน ชายแดนทั้งด่านอำเภอเชียงแสน และอำเภอเชียงของมีการส่งออกยางพาราซึ่งเป็น โอกาสที่ทางการค้า แต่อย่างไรก็ตามการส่งออกยางพาราโดยใช้เส้นทางแม่น้ำโขงแม่น้ำล้านช้าง และเส้นทาง R3A นั้น ยังเป็นเส้นทางใหม่ที่ใช้ในการขนส่ง และยังไม่

I5I


OBELS OUTLOOK 2016

มีงานวิจัยที่ศึกษาเฉพาะด้าน ซึ่งงานวิจัยที่ผู้วิจัยได้ทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องกับ ยางพาราที่มีมาในช่วงก่อน ปี 2555 นั้น มีการศึกษาในเชิงลึกทั้งในเรื่องของต้นทุน โลจิสติกส์ การจัดการโซ่อุปทาน และโซ่คุณค่า แต่เป็นการศึกษาในพื้นที่การปลูก ยางพาราเดิม (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคใต้ และภาคกลาง) แต่ยังไม่มีประเด็น การศึกษาด้านการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน รวมถึงต้นทุนโลจิสติกส์ ในการ จัดการยางพาราเพื่อการส่งออกผ่านทางแม่น้ำโขง-แม่น้ำล้านช้าง และเส้นทาง R3A ไปยัง สปป.ลาว และประเทศจีน ดังนั้นในการศึกษาโซ่อุปทานโครงสร้างตลาดราคา ยางพาราในภาคเหนือตอนบน และความเชือ่ มโยงของตลาด (โดยมุง่ เน้นการวิเคราะห์ โอกาสทางการตลาด และความเชื่อมโยงของตลาดส่งออกเพื่อนบ้านที่สำคัญ เช่น ประเทศจีน รวมไปถึง ประเทศผู้ผลิตแห่งใหม่ในอนาคต เช่น สปป.ลาว สหภาพ เมียนมา และประเทศต่างๆ ในกลุ่มประเทศ ASEAN ในเส้นทางเศรษฐกิจสาย R3A) ศักยภาพโอกาส และอุปสรรคทางการผลิต รวมถึงการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อปุ ทาน ยางพาราของอุตสาหกรรมในเขตภาคเหนือตอนบนของไทย ระบบการจัดการการค้า ชายแดน ต้นทุนโลจิสติกส์ยางพาราของการส่งออกยางพาราของไทยในเส้นทางระเบียง เศรษฐกิจ R3A และแนวทางการพัฒนานโยบายและทิศทางการส่งเสริมที่เหมาะสม ของภาครัฐ ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการจัดการด้านการผลิต พื้นที่เพาะปลูก รวมถึง นโยบายด้านราคาและการสนับสนุนด้านการตลาด ของอุตสาหกรรมยางพาราในเขต ภาคเหนือตอนบน เพื่อสร้างความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมยางพารา เพื่อเตรียมความพร้อมสู่ประชาคมอาเซียน

วัตถุประสงค์ของโครงการ

การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์หลัก คือ เพื่อศึกษาและวิเคราะห์แนวทาง การพัฒนาความเชื่อมโยงตลาดและโอกาสการส่งยางพาราในเขตภาคเหนือตอนบน ของไทย เพื่อไปยังตลาดจีน (ตอนใต้) ในเส้นทาง R3A ซึ่งมีความเชื่อมโยงกับตลาด ประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียน (เน้นสาธารณรัฐประชาชนจีน สปป.ลาว และสหภาพ เมียนมา) โดยมีวัตถุประสงค์ย่อยดังต่อไปนี้

I6I


สำนักงานเศรษฐกิจชายแดนและโลจิสติกส์

1. ศึกษาโซ่อุปทานโครงสร้างตลาดราคายางพาราในภาคเหนือตอนบน และ ความเชื่อมโยงของตลาดในอุตสาหกรรมยางพาราในเขตภาคเหนือตอนบนของไทย (โดยมุ่งเน้นการวิเคราะห์โอกาสทางการตลาด และความเชื่อมโยงของตลาดส่งออก เพื่อนบ้านที่สำคัญ เช่น ประเทศจีน รวมไปถึง ประเทศผู้ผลิตแห่งใหม่ในอนาคต เช่น สปป.ลาว สหภาพเมียนมา และประเทศต่างๆ ในกลุ่มประเทศ ASEAN ในเส้นทางเศรษฐกิจสาย R3A) 2. วิเคราะห์ศักยภาพ โอกาส อุปสรรคทางการผลิตและการตลาด รวมถึงการ จัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทานยางพาราของอุตสาหกรรมต้นน้ำ เน้นเกษตรกรผู้ปลูก ในเขตภาคเหนือตอนบนของไทย (เน้นจังหวัดเชียงราย) เพื่อเตรียมความพร้อมสู่ ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน 3. ศึกษาระบบการจัดการการค้าชายแดน ต้นทุนโลจิสติกส์ยางพาราของการ ส่งออกยางพาราของไทยในเส้นทางระเบียงเศรษฐกิจ R3A (เน้นการศึกษาในเส้นทาง การส่งออกของไทยในเส้น R3A (เชียงของ) 4. ศึกษาแนวทางการพัฒนานโยบายและทิศทางการส่งเสริมที่เหมาะสมของ ภาครัฐ ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการจัดการด้านการผลิต และพื้นที่เพาะปลูก รวมถึงนโย บายด้านราคาเพื่อสร้างเสถียรภาพราคายางพาราในอุตสาหกรรมยางพาราของไทย และการสนับสนุนด้านการตลาด ของอุตสาหกรรมยางพาราในเขตภาคเหนือตอนบน เพื่อสร้างความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมยางพารา เพื่อเตรียมความ พร้อมสู่ประชาคมอาเซียน

โซ่อุปทานและความเชื่อมโยงของตลาดยางพาราในเขตภาคเหนือ ตอนบนของไทย

จากการศึกษาโซ่อุปทานยางพาราในเขตภาคเหนือตอนบน (เน้นกรณีศึกษา จังหวัดเชียงราย ซึ่งถือเป็นแหล่งผลิตยางพาราที่มีพื้นที่เพาะปลูกและผลผลิตสูงสุด ในเขตภาคเหนือตอนบน) พบว่า เกษตรกรสวนยางพาราในเขตภาคเหนือตอนบน ส่วนใหญ่เป็นเกษตรกรรายย่อย มีพื้นที่ปลูกยางเฉลี่ยครัวเรือนละประมาณ 20 ไร่

I7I


OBELS OUTLOOK 2016

เกษตรกรส่วนใหญ่นยิ มขายผลผลิตในรูปแบบยางก้อนถ้วย (คิดเป็นประมาณร้อยละ 80 ของผลผลิตยางพาราที่จำหน่ายในตลาด) รองลงมาเป็นน้ำยางดิบ (ประมาณร้อยละ 10) และยางแผ่นดิบ (ประมาณร้อยละ 10) เนื่องจากยางก้อนถ้วยเป็นที่ต้องการของ ตลาดพ่อค้าคนกลาง ที่เข้ามาส่งเสริมและรับซื้อโดยตรงกับเกษตรกร ถือได้ว่ากลไก ตลาดยางพาราในเขตภาคเหนือตอนบนนั้นมีลักษณะกึ่งผูกขาด พ่อค้าคนกลางท้องถิ่น มีอิทธิพลอย่างมากต่อกลไกตลาดในเขตภาคเหนือตอนบน สหกรณ์การเกษตรเริ่มเข้ามาบทบาทมากขึ้นในโซ่อุปทานยางพาราในเขตภาค เหนือตอนบน สหกรณ์หลายแห่งมีการส่งเสริมและรับซื้อน้ำยางสดจากเกษตรกรเพื่อ นำมาแปรรูปเป็นยางแผ่นรมควันเพื่อจำหน่ายให้กับผู้ประกอบการนำเข้าสู่โรงงาน แปรรูปในภูมิภาคอื่นต่อไป โรงงานแปรรูปยางพาราในเขตภาคเหนือตอนบนยังมีจำนวนไม่มาก และส่วน ใหญ่เป็นโรงงานขนาดเล็กถึงขนาดกลางซึ่งมีการแปรรูปผลผลิตในขั้นต้นเท่านั้น โรง งานแปรรูปท้องถิน่ ทำการแปรรูปยางก้อนถ้วย เป็นแผ่นยาง เครพประมาณร้อยละ 80 แปรรูปน้ำยางสดเป็นยางแผ่นดิบประมาณร้อยละ 10 และแปรรูปยางแผ่นดิบเป็น ยางแผ่นรมควันประมาณร้อยละ 10 แล้วส่งผลผลิตที่ได้ไปยังโรงงานแปรรูปขั้นกลาง และขั้นสูงในภูมิภาคอื่นๆ ต่อไป โดยตลาดที่ผู้ประกอบการในเขตภาคเหนือตอนบน และสหกรณ์สง่ ผลผลิตไปจำหน่ายจะอยูเ่ ป็นโรงงานแปรรูปขนาดใหญ่ในเขตในภาคกลาง (คิดเป็นร้อยละ 92) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (คิดเป็นร้อยละ 4) ภาคตะวันออก (คิดเป็นร้อยละ 3) และภาคใต้ (คิดเป็นร้อยละ 1)

I8I


สำนักงานเศรษฐกิจชายแดนและโลจิสติกส์

รูปที่ 1 โซ่อุปทานยางพาราในเขตภาคเหนือตอนบน (กรณีศึกษาจังหวัดเชียงราย) เกษตรกร (Up-stream)

ยางก้อนถ้วย, น้ำ ยางสด,ยางแผ่นดิบ เศษยาง/ขี้ยาง

พ่อค้า (Middle-stream)

โรงงาน (Middle-stream)

Logistics

พ่อค้าคนกลาง (รับซื้อ) ยางก้อนก้วย 80% ยางแผ่นดิบ 10%

โรงงานแปรรูปท้องถิ่น จังหวัดเชียงราย แผ่นยางเครพ 80% ยางแผ่นดิบ 10%

783กม./10ซม. 761 บ./ตัน

ภาคกลาง (92%)

End Industries

โรงงานคอนพาวด์ (Compound Rubber)

ภาคตะวันออก (3%) 996กม./13ซม. 961 บ./ตัน

สหกรณ์ (รับซื้อ) น้ำยางสด 10%

แปรรูป ยางแผ่นรมควัน 10%

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (4%)

โรงงานผลิตภัณฑ์ยาง

783กม./13ซม. 438 บ./ตัน ภาคใต้(1%) 1,745กม./13ซม. 1,632 บ./ตัน

ที่มา: จากการปรับปรุงโดยผู้วิจัย

ปัญหาและอุปสรรคในอุตสาหกรรมยางพาราในเขตภาคเหนือตอน บนของไทย

อุตสาหกรรมยางพาราในเขตภาคเหนือตอนบนนั้นมีศักยภาพการผลิตอยู่ใน เกณฑ์ที่สูงแต่ยังมีข้อจำกัดหลายประการ เช่น ปัญหาด้านราคายางซึ่งผันผวนอย่าง ต่อเนื่อง ปัญหาด้านความไม่เป็นธรรมในระบบการตลาด ปัญหาการขาดแหล่งรับซื้อ หรือตลาดกลางในการรับซื้อและรวบรวมผลผลิตยาง ปัญหาการขาดแหล่งผลิตหรือ โรงงานพัฒนาผลิตภัณฑ์หรือแปรรูปยางโดยใช้นวัตกรรมที่ทันสมัยตามความต้องการ ของการแข่งขันในตลาดโลก ปัญหาด้านการจัดการโลจิสติกส์และซัพพลายเชน เป็นต้น ซึ่งทำให้เกษตรกร รวมถึงผู้เกี่ยวข้องในอุตสาหกรรมในธุรกิจยางพาราในเขตภาคเหนือ ตอนบนต้องเร่งหาแนวทางในการพัฒนาระบบการจัดการธุรกิจและอุตสาหกรรม ยางพาราอย่างเป็นระบบและยั่งยืน ทั้งนี้ผู้วิจัยได้ทำการสรุปประเด็นปัญหาต่างๆ ได้ ดังตารางต่อไปนี้

I9I


OBELS OUTLOOK 2016

ตารางที่ 1 ปัญหาและอุปสรรคของเกษตรกรชาวสวนยาง

ประเด็นปัญหา รายละเอียด การผลิต • เกษตรกรชาวสวนยางส่วนใหญ่ยังขาดทักษะและความชำนาญใน การเลือกพื้นที่ปลูกที่เหมาะสม เกษตรกรมีการปลูกยางทั้งในเขต พื้นที่ราบสูงและพื้นที่นารวมถึงการขาดความรู้ในการคัดเลือกกล้า พันธุ์ที่เหมาะสมกับพื้นที่เพาะปลูกยางพารา • มีข้อจำกัดด้านพื้นที่สำหรับการเพาะปลูกยางพาราซึ่งพื้นที่ปลูก ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่เนินเขา และเกษตรกรบางส่วนมีการปลูกยาง พาราในพื้นที่ที่ไม่มีเอกสารสิทธิ • ขาดความรู้และทักษะในการปลูกและดูแลรักษา รวมถึงการเก็บ เกี่ยวผลผลิตยางพารา อาทิ โรคระบาดในยางพารา ปุ๋ยที่เหมาะ สำหรับยางพารา และการจำกัดวัชพืช เป็นต้น เป็นผลทำให้มาตรฐาน คุณภาพการผลิตที่ไม่คงที่ • ขาดแคลนแรงงานที่มีทักษะ และมีความรู้ในการผลิตและเก็บเกี่ยว ผลผลิตรวมถึงปัญหาค่าแรงขั้นต่ำที่สูงขึ้น ส่งผลให้เกิดปัญหาการ ขาดแคลนแรงงาน โดยเฉพาะแรงงานที่มีฝีมือในการผลิตยางพารา • ปัญหาความเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ หรือฤดูกาลในพื้นที่ ภาคเหนือตอนบนทำให้เก็บผลผลิตได้ไม่สม่ำเสมอ • ประสิทธิภาพผลผลิตต่อไร่ของเกษตรกรส่วนใหญ่อยู่ในระดับต่ำ เมื่อเทียบกับผลผลิตในภาคอื่น รวมถึงผลผลิตในภาพรวมยังมีคุณ ภาพไม่สงู มากนัก เนือ่ งจากชาวสวนยางพาราส่วนใหญ่เป็นเกษตรกร รายย่อย ทำให้ขาดการบริหารจัดการ และอุปกรณ์ที่มีคุณภาพใน การเก็บเกี่ยว ส่งผลทำให้ผลผลิตยางมีคุณภาพต่ำแต่อย่างไรก็ดี ผลผลิตยางพาราในเขตภาคเหนือตอนบนของเกษตรกรบางส่วน ที่มีระบบการผลิตและการจัดการที่ดี ซึ่งสามารถผลิตยางพาราที่ มีคุณภาพสูงได้ • ขาดความรู้ด้านการรักษาคุณภาพของผลผลิตยางพาราหลังจาก การเก็บเกี่ยว (กรีดยาง) รวมถึงการพัฒนาเพิ่มมูลค่าของยางพารา จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้ราคาขายยางไม่สูง

I 10 I


สำนักงานเศรษฐกิจชายแดนและโลจิสติกส์

ประเด็นปัญหา

รายละเอียด • ขาดความรู้ด้านการรักษาคุณภาพของผลผลิตยางพาราหลังจาก การเก็บเกี่ยว (กรีดยาง) รวมถึงการพัฒนาเพิ่มมูลค่าของยางพารา จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้ราคาขายยางไม่สูง • การผลิตยางพาราในเขตภาคเหนือมีต้นทุนการผลิตค่อนข้างสูง ประกอบกับราคาวัสดุ เครื่องมืออุปกรณ์การเกษตรมีราคาสูงขึ้น

การตลาด

• การเอาเปรียบจากพ่อค้าคนกลาง สาเหตุจากการที่เกษตรกรไม่มี อำนาจในการต่อรอง เนือ่ งเกษตรกรส่วนใหญ่เป็นรายย่อยไม่นยิ ม รวมกลุ่มกัน เป็นผลให้ถูกเอารัดเอาเปรียบจากพ่อค้าคนกลางได้ โดยง่าย อีกทั้งจำนวนพ่อค้าหรือผู้ประกอบการที่เข้ามารับซื้อผล ผลิตจากเกษตรกรมีจำนวนไม่มาก หรือกล่าวได้ว่าเป็นลักษณะ ตลาดแบบกึ่งผูกขาด • ถึงแม้ระบบการจัดการในรูปแบบสหกรณ์จะมีบทบาทอย่างมาก ในการเข้ามาช่วยเหลือเกษตรกรทั้งด้านการผลิตและการตลาด แต่สหกรณ์ส่วนใหญ่ยังมีความพร้อมในด้านการจัดการและการ แปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่ายางให้แก่เกษตรกร • ขาดระบบการบริหารข้อมูลข่าวสารที่เชื่อมโยงข้อมูลระหว่างตลาด กลาง และตลาดท้องถิ่น ทำให้เกษตรกรไม่ได้รับข้อมูลด้านราคา และสถานการณ์ซื้อขาย จึงถูกเอาเปรียบจากพ่อค้าคนกลาง • ปัจจุบนั ชาวสวนยางพาราจะพึง่ ตัวพ่อค้าคนกลางเป็นหลัก โดยหลัง จากที่ชาวสวนยางกรีดยางเสร็จก็จะไปขายให้กับ ตลาดรับซื้อยาง ท้องถิ่น จากนั้นตลาดในท้องถิ่นก็ส่งไปยังพ่อค้าคนกลาง เพื่อส่ง ต่อไปโรงงานเอกชนอีกทอดหนึ่ง ซึ่งเห็นได้ชัดว่าวงจรการรับซื้อ ยางพาราจะเป็นไปหลายทอด ส่งผลให้ชาวบ้านเสียผลประโยชน์ จากการหักหัวคิวของพ่อค้าคนกลางในแต่ละทอด

I 11 I


OBELS OUTLOOK 2016

ตารางที่ 2 ปัญหาและอุปสรรคของพ่อค้าคนกลาง/สหกรณ์

ประเด็นปัญหา

รายละเอียด

กลุ่ม/สมาชิก

• สหกรณ์ยังขาดระบบการจัดการเก็บข้อมูลของสมาชิก รวมถึง ระบบการจัดตั้งกองทุนยาง เพื่อเป็นกองทุนสำหรับใช้ในการ พัฒนาการเพาะปลูกยางพาราในแต่ละพื้นที่ • การแย่งลูกค้าระหว่างพ่อค้าคนกลาง และสหกรณ์ ในเขตพื้นที่ เดียวกัน ทำให้สมาชิกหันไปใช้บริการจากพ่อค้าคนกลางแทน การใช้บริการของสหกรณ์ • สหกรณ์ไม่สามารถเข้าถึงเกษตรกรบางส่วนได้ จึงทำให้การ พัฒนาพื้นที่เพาะปลูกไม่ครอบคลุมเท่าที่ควร

การผลิต/ การแปรรูป

• ถึงแม้ระบบการจัดการในรูปแบบสหกรณ์มีบทบาทอย่างมากใน การเข้ามาช่วยเหลือเกษตรกรทั้งด้านการผลิตและการตลาด แต่ สหกรณ์ส่วนใหญ่ยังขาดความพร้อมในด้านการจัดการและการ แปรรูปเพือ่ เพิม่ มูลค่ายางให้แก่เกษตรกร เนือ่ งจากข้อจำกัดด้าน งบประมาณ และนโยบายการส่งเสริมของภาครัฐที่ยังขาดความ ชัดเจน รวมถึงนโยบายและระเบียบว่าด้วยการตัง้ โรงงานเพือ่ แปร รูปผลผลิตยางพาราที่ทำให้สหกรณ์ไม่สามารถบริหารจัดการได้ อย่างมีประสิทธิภาพ • การรวบรวมผลผลิ ต จากเกษตรกรบางช่ ว งยั ง ไม่ ไ ด้ ป ริ ม าณที่ เพียงพอต่อการผลิตจึงส่งผลให้ชะลอการผลิต และการส่งสินค้า ไม่เป็นไปตามเป้าหมาย • สหกรณ์เน้นการผลิตยางแผ่นดิบ แล้วนำมาแปรรูปเป็นยางแผ่น รมควัน ซึ่งเกษตรกรส่วนใหญ่เน้นการเก็บเกี่ยวผลผลิตเป็นยาง ก้อนถ้วยมากกว่าน้ำยางสด จึงทำให้น้ำยางสดขาดตลาดไม่ เพียงการพอต่อการนำมาแปรรูปยางแผ่นดิบ

I 12 I


สำนักงานเศรษฐกิจชายแดนและโลจิสติกส์

ประเด็นปัญหา

รายละเอียด

การตลาด

• การขาดแคลนผู้รับซื้อผลผลิตในพื้นที่ และยังไม่มีโรงงานแปรรูป ผลิตภัณฑ์ยางพาราขนาดใหญ่ในพื้นที่ โดยเฉพาะอุตสาหกรรม การแปรรูปยางพาราขั้นสูงเพื่อเป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับยางพารา • ปัญหาการตลาดหรือเครือข่ายที่เชื่อมโยงยังไม่มีประสิทธิภาพ มากพอ สหกรณ์ยังไม่สามารถเชื่อมโยงระบบเครือข่ายทางการ ตลาดได้ดีเท่าที่ควร จึงเกิดการแตกแยกของกลุ่มสมาชิก การแย่ง การรับซื้อของพ่อค้าคนกลางจึงเป็นสาเหตุหนึ่งที่เชื่อมโยงกับ ปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นกับสหกรณ์ • ขาดบริหารจัดการด้านข้อมูลทางการค้า อาทิ ข้อมูลด้านราคา และ ข้อมูลสถานการณ์ซื้อขายที่ถูกต้องและทันสมัย ซึ่งเป็นระบบข้อ มูลที่มีความเชื่อมโยงระหว่างตลาดกลางและตลาดท้องถิ่น

การขนส่ง

• ขาดบุคลากรที่ความรู้ความเข้าใจในการบริหารจัดการด้านการ จัดการระบบโลจิสติกส์ ในการขนส่งยางพาราไปจำหน่ายยังตลาด เป้าหมายในภูมภิ าคต่างๆ เนือ่ งจากต้นทุนโลจิสติกส์ถอื เป็นต้นทุน ที่สำคัญประการหนึ่งของธุรกิจยางพาราในเขตภาคเหนือตอนบน • พื้นที่และเส้นทางในการรวบรวมยางพาราจากเกษตรกรเข้าถึง ยาก เนื่องจากเป็นพื้นที่ราบสูงเนินเขา

I 13 I


OBELS OUTLOOK 2016

ตารางที่ 3 ปัญหาและอุปสรรคของผู้ประกอบการแปรรูปยางพาราในเขตภาคเหนือตอนบน

ประเด็นปัญหา

รายละเอียด

การรับซื้อ

• ขาดการวิเคราะห์จุดรับซื้อยางพาราที่เหมาะสม อีกทั้งเขตจุด รับซื้อยางพาราส่วนใหญ่ในปัจจุบันอยู่ไกลจากพื้นที่การเพาะปลูก ของเกษตรกร • คุณภาพของยางที่รับซื้อส่วนใหญ่ยังมีคุณภาพไม่สูงมาก และมี ความผันผวนในด้านคุณภาพอย่างมาก

การตลาด

• ปัญหาด้านราคายางที่มีความผันผวน คุณภาพยางไม่เหมาะสม กับราคายาง • ขาดทักษะและข้อมูลด้านการจัดการการตลาดที่ดีในการติดต่อค้า ขาย รวมถึงโอกาสในการเจรจาธุรกิจกับผู้ประกอบการในประเทศ เพื่อนบ้าน เช่น ผู้ประกอบการจีน • มีการแข่งขันที่รุนแรงระหว่างผู้ประกอบการ เช่น การกว้านซื้อ ยางเครพของพ่อค้าต่างถิ่นแล้วทำการส่งขายให้พ่อค้าคนจีน เพื่อ ส่งต่อไปยังโรงงานที่ประเทศจีน (ตอนใต้)

การแปรรูปยาง

• เทคโนโลยีส่วนใหญ่ต้องนำเข้าจากต่างประเทศทำให้ต้นทุนการ ผลิตสูง • ขาดเทคโนโลยีเครื่องจักรที่ทันสมัยเพื่อใช้ในการแปรรูปผลิตภัณฑ์ ยางพารา • ขาดความรู้ในการพัฒนาสินค้าให้ได้มาตรฐานตามความต้องการ ของตลาดการส่งออก (STR) • ปริมาณและคุณภาพของผลผลิตที่ได้จากเกษตรกรไม่ต่อเนื่องจึง ทำให้มีการชะลอการผลิต

การขนส่ง

• จุดรับซื้อยางของผู้ประกอบการบางจุดการขนส่งเข้าถึงยาก เนื่อง จากเป็นพื้นที่เนินเขาและอยู่ห่างไกล

I 14 I


สำนักงานเศรษฐกิจชายแดนและโลจิสติกส์

ประเด็นปัญหา การขนส่ง

รายละเอียด • จุดรับซื้อยางของผู้ประกอบการบางจุดการขนส่งเข้าถึงยากเนื่อง จากเป็นพื้นที่เนินเขาและอยู่ห่างไกล • โครงสร้างพื้นฐานด้านเส้นทางการขนส่งทางบก ในบางพื้นที่ยัง ขาดการพัฒนา • สัดส่วนสินค้าที่ไม่แน่นอนทำให้ไม่สามารถบรรทุกได้เต็มลำรถ บรรทุก เมื่อขนส่งยางเข้าโรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ทำให้ ต้นทุนการขนส่งสูง

จากข้อมูลดังกล่าวจะเห็นได้ว่าการผลิต และโซ่อุปทานยางพาราในเขตภาค เหนือตอนบนมีข้อจำกัดหลายประการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการผลิตและการ จัดการโลจิสติกส์ ทัง้ นี้ ผูว้ จิ ยั จึงได้ทำการวิเคราะห์ความเป็นไปได้ในการจัดสรรพืน้ ทีต่ ง้ั จุดรับยางพาราในเขตภาคเหนือตอนบนเพื่อให้ได้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ในการวางแผน บริหารจัดการเชิงพื้นที่ต่อไป โดยมีรายละเอียดในส่วนถัดไป

ศักยภาพเชิงพื้นที่ในการหาจุดที่เหมาะสมสำหรับการตั้งจุด รับซื้อยางพารา

ผู้วิจัยได้ทำการวิเคราะห์ศักยภาพเชิงพื้นที่ในการตั้งจุดรับซื้อยางพารา โดยใช้ กรณีศึกษาจังหวัดเชียงราย เพื่อใช้ต้นแบบของการวิเคราะห์และนำข้อมูลไปช่วยใน การวางแผนพัฒนาตลาดและจุดรับซื้อยางพาราในอนาคต โดยใช้เทคนิคด้านระบบ สารสนเทศทางภูมศิ าสตร์ (Geographic Information System: GIS) ซึง่ เป็นประโยชน์ แก่ผู้ประกอบการใช้ตัดสินใจตั้งจุดรับซื้อยางพารา จากการวิเคราะห์โดยใช้ค่าถ่วง น้ำหนักของปัจจัยจากการประเมินของผู้เชี่ยวชาญในโซ่อุปทานยางพาราในเขตภาค เหนือตอนบน โดยทำการวิเคราะห์เปรียบเทียบแบบทีละคู่ (Pairwise Comparison) และวิเคราะห์ค่าถ่วงน้ำหนักโดยกระบวนการการวิเคราะห์เชิงลำดับขั้น (Analytic Hierarchy Process: AHP) โดยแบ่งสีตามพื้นที่ 3 ระดับ ได้แก่ เหมาะสมน้อย

I 15 I


OBELS OUTLOOK 2016

(สีแดง) เหมาะสมปานกลาง (สีเขียว) และเหมาะสมมาก (สีเหลือง) ซึง่ จากการวิเคราะห์ สามารถกำหนดพื้นที่เหมาะสมในการจัดตั้งจุดรับซื้อน้ำยางพาราในจังหวัดเชียงราย ได้ดังรูปพื้นที่เหมาะสมในการจัดตั้งจุดรับซื้อน้ำยางพาราในจังหวัดเชียงราย รูปที่ 2 พื้นที่เหมาะสมในการจัดตั้งจุดรับซื้อน้ำยางพาราในจังหวัดเชียงราย

ที่มา: ระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ (Geographic Information System: GIS)

I 16 I


สำนักงานเศรษฐกิจชายแดนและโลจิสติกส์

จากการข้อมูลวิเคราะห์ศักยภาพเชิงพื้นที่ในการตั้งจุดรับซื้อยางพาราในจังหวัด เชียงราย เห็นได้ว่า ตำบลห้วยซ้อ อำเภอเชียงของ จ.เชียงราย เป็นบริเวณที่มีความ เหมาะสมในการตั้งจุดรับซื้อน้ำยางพาราในระดับมากที่สุด (รูปที่ 2) ของพื้นที่จังหวัด เชียงรายซึ่งมีลักษณะที่เหมาะสม และสอดคล้องกับปัจจัยทั้งในด้านภูมิศาสตร์และ ด้านการจัดการโลจิสติกส์ อาทิ ลักษณะทางภูมิศาสตร์ของตำบลห้วยซ้อส่วนใหญ่ เป็นที่ราบ และมีความลาดชันน้อย มีถนนตัดผ่านพื้นที่ทั่วทั้งตำบล และมีแหล่งชุมชน กระจัดกระจายอยู่ทั่วไป เป็นต้น รูปที่ 3 พื้นที่เหมาะสมในการตั้งจุดรับซื้อน้ำยางพาราของตำบลห้วยซ้อ อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย

ที่มา: ระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ (Geographic Information System: GIS) หมายเหตุ: เหมาะสมน้อย (สีแดง) เหมาะสมปานกลาง (สีเขียว) และเหมาะสมมาก (สีเหลือง)

I 17 I


OBELS OUTLOOK 2016

โอกาสและอุปสรรคของอุตสาหกรรมยาพาราของไทยในตลาด อาเซียน-จีน (ตอนใต้)

การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานการคมนาคมขนส่งซึ่งสร้างความเชื่อมโยงระหว่าง จีน (ตอนใต้) สหภาพเมียนมา สปป.ลาว และประเทศไทยตามโครงการ “ระเบียงเศรษฐกิจ อนุภาคลุม่ แม่นำ้ โขง” (GMS Economic Corridors) ทำให้โอกาสในการค้าขายระหว่าง ภาคเหนือตอนบนของไทยกับจีน (ตอนใต้) ดีกว่าภาคอื่นๆของไทย เนื่องจากมีต้นทุน ค่าขนส่งสินค้าที่ต่ำกว่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งเส้นทางเศรษฐกิจสาย R3A ที่เชื่อมโยง จากเชียงรายถึงนครคุนหมิงได้อย่างสมบูรณ์ แม้ว่าสภาพถนนในช่วงของสปป.ลาว ยังมีสภาพแค่พอใช้ได้ แต่โดยรวมแล้วสามารถใช้ในการวิ่งรถขนส่งสินค้าสินค้าจาก เชียงของ-เชียงรุ่งได้ภายใน 1 วัน (ไม่รวมเวลาดำเนินการทางศุลกากร) เป็นการขนส่ง ที่เร็วที่สุดสะดวกกว่าการขนส่งทางเรือจากเชียงแสน-เชียงรุ่ง (แม้จะมีต้นทุนค่าขนส่ง แพงกว่า) และยิ่งใช้เวลาน้อยกว่าการขนส่งทางทะเลไปที่ท่าเรือในมณฑลกวางตุ้งที่ใช้ เวลาไม่น้อยกว่า 7 วัน และยังต้องเปลี่ยนถ่ายสินค้าขนส่งเข้ามาในเขตตอนใต้ของจีน อีกด้วย ในส่วนของเสถียรภาพและความปลอดภัยระหว่างเส้นทางขนส่งนั้นถือได้ว่า มีสถานะดีกว่าเส้นทางเศรษฐกิจสาย R3B และเส้นทางน้ำในแม่น้ำโขงเป็นอย่างมาก จากการวิเคราะห์สถิติการส่งออกยางพาราของไทยไปยังประเทศเพื่อนบ้าน ผ่านด่านชายแดนในเขตภาคเหนือตอนบนพบว่ามีการส่งออกยางพาราผ่านด่าน ศุลกากรเชียงแสนและด่านศุลกากรเชียงของ จังหวัดเชียงรายเพื่อส่งออกไปยังประเทศ สปป.ลาว และจีน (ตอนใต้) ซึ่งแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องโดยเมื่อเทียบสัดส่วน การขนส่งยางพาราผ่านเส้นทางศุลกากรเชียงแสนและด่านศุลกากรเชียงของในช่วงที่ ผ่านมา พบว่าปัจจุบันเส้นทางการส่งออกของพาราผ่านเส้นทางด่านศุลกากรเชียงของ เป็นที่นิยมมากกว่า ด่านศุลกากรเชียงแสนเมื่อเทียบเป็นมูลค่าแล้ว ในปี 2557 มีอัตรา การขนส่งยางพาราผ่านด่านศุลกากรเชียงของมากกว่าด่านศุลกากรเชียงแสนสูงถึง ร้อยละ 65 และในอนาคตคาดว่าจะมีการขนส่งยางพาราผ่านด่านศุลกากรเชียงของ จะเพิม่ มากขึน้ โดยเส้นทางขนส่งผ่านด่านศุลกากรเชียงของจะขนส่งสินค้าไปยังประเทศ

I 18 I


สำนักงานเศรษฐกิจชายแดนและโลจิสติกส์

หลัก 2 ประเทศ ได้แก่ สปป.ลาว และประเทศจีน (ตอนใต้) ซึ่งสัดส่วนการส่งออกมี แนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น รูปที่ 4 เปรียบเทียบปริมาณและมูลค่าการส่งออกยางพาราระหว่างด่านเชียงของและ ด่านเชียงแสน จังหวัดเชียงราย 20,000

1400

18,000

ปริมาณการส่งออก (ตัน)

14,000

1000

12,000

800

10,000 8,000

600

6,000

400

4,000

200

2,000

ปริมาณส่งออกเชียงของ ปริมาณส่งออกเชียงแสน มูลค่าส่งออกเชียงของ มูลค่าส่งออกเชียงแสน

มูลค่า (ล้านบาท)

1200

16,000

2553 576.05 9,398.94

2554 373.05 3,043

2555 6,677.99 3,301.96

2556 8,269.53 4,082

2557 18,737.27 7,397.63

49.87 801.46

48.85 419.91

931.91 329.27

643.44 321.92

1316.56 501.60

200

ที่มา รวบรวมโดยผู้วิจัยโดยใช้ฐานข้อมูลจากกรมศุลกากรเชียงแสนและเชียงของ (2557)

ในส่วนของการส่งออกยางพารานัน้ ยังมีความต้องการจากโรงงานผลิตผลิตภัณฑ์ ยางของจีน และมีความเป็นไปได้ในการจำหน่ายตรงให้กับโรงงานในมณฑลยูนนาน (ไม่ต้องผ่านตัวแทนนำเข้าสินค้าไปจำหน่าย) โดยผู้ค้ายางพาราของไทยต้องทำการ ผลิตและควบคุมคุณภาพสินค้าทีจ่ ะจำหน่ายให้เป็นสินค้าทีม่ คี ณ ุ ภาพและเป็นมาตรฐาน รวมทั้งต้องสร้างเครือข่ายการประชาสัมพันธ์การติดต่อสื่อสารให้ผู้ซื้อจากจีนสามารถ เข้าถึงสินค้าและผู้ค้าได้โดยง่าย แต่ด้วยเหตุที่เส้นทางเศรษฐกิจนี้เป็นเส้นทางใหม่ที่ เปิดใช้งานมาไม่นานจึงมีอุปสรรคในการขนส่งสินค้าอยู่ เช่น ปริมาณสินค้าเที่ยวไป กับเที่ยวกลับไม่สมดุลกันเป็นอย่างมาก สัดส่วนการวิ่งรถเปล่ากลับจีนค่อนข้างสูง

I 19 I


OBELS OUTLOOK 2016

(น่าจะเป็นประโยชน์ในการส่งสินค้าจากไทยไปจีน) ระบบของด่านศุลกากรไทย-ลาวจีน รวมถึงค่าธรรมเนียมขั้นตอนและพิธีการทางศุลกากรที่ยังไม่สอดคล้องกันทำให้ ต้นทุนและเวลาขนส่งเพิ่มขึ้น

ด่านศุลกากร แม่สาย เชียงราย 248 กม. เมืองลา (ต้าลั่ว) (ประเทศจีน) 134 กม. เชียงรุ่ง (ประเทศจีน) 522กม. คุนหมิง (ประเทศจีน) ค่าใช้จ่าย โดยเฉลี่ย/ ตัน

26 ชั่วโมง

22 ชั่วโมง ปริมาร การขนส่ง ต่อเที่ยว สามารถ บรรทุกได้ 30 ตัน โดยใช้รถ บรรทุกพ่วง อัตรานี้ ไม่รวมการ จัดเก็บภาษี ระหว่าง การเดินทาง ต้นทุนการ ขนส่งอาจ มีการ เปลี่ยนแปลง โดยแปรผัน ต่อปริมาณ ยางต่อเที่ยว

เส้นทาง การขนส่ง R3A

ระยะทาง (กิโลเมตร) ระยะเวลา (ชั่วโมง)

ค่าใช้จ่าย

904 กิโลเมตร

22 ชั่วโมง

เชียงของ (ห้วยทราย) 235กม. บ่อเต็น/ บ่อหาน (สปป.ลาว) 320กม. จิ่งหง (ประเทศ จีน) 158กม. ซือเหมา (ประเทศ จีน) 492กม. คุนหมิง (ประเทศ จีน)

1,205 กิโลเมตร

เส้นทาง การขนส่ง R3A

ระยะทาง (กิโลเมตร) ระยะเวลา (ชั่วโมง)

ตารางที่ 4 เส้นทางการขนส่งยางพาราในเส้นทาง R3A และเส้นทาง R3B ค่าใช้จ่าย ปริมาณ การขนส่ง ต่อเที่ยว สามารถ บรรทุกได้ 30 ตัน โดยใช้รถ บรรทุกพ่วง อัตรานี้ไม่ รวมการจัด เก็บภาษี ระหว่าง การเดินทาง ต้นทุนการ ขนส่งอาจ มีการ เปลี่ยนแปลง โดยแปรผัน ต่อปริมาณยาง ต่อเที่ยว

ค่าใช้จ่าย 3,266 - 3,500 98,000 -105,000 ค่าใช้จ่าย 3,333 - 5,000 100,000 – 150,000 โดยเฉลี่ย/ ตัน บาท/ตัน บาท/เที่ยว โดยเฉลี่ย/ ตัน บาท/ตัน บาท/เที่ยว

ที่มา รวบรวมโดยผู้วิจัย จากการสำรวจและสัมภาษณ์

I 20 I


สำนักงานเศรษฐกิจชายแดนและโลจิสติกส์

หมายเหตุ: - ระยะทางระยะเวลาและต้นทุนเป็นการประมาณการโดยเฉลี่ย จากการเก็บข้อมูล ของผู้วิจัย - ระยะเวลาของการขนส่งไม่รวมเวลาพักรถ และเวลาการดำเนินการพิธีการศุลกากร เส้นทาง R3B เป็นอีกเส้นทางเลือกหนึ่งของการขนส่งยางพารา ระยะทางในการขนส่ง ใกล้เคียงกับเส้นทาง R3A แต่มูลค่าขนส่งผ่านเส้นทาง R3B มีอัตราที่สูงกว่า เนื่องด้วยเส้นทางนี้ มีดา่ นตรวจสินค้าจำนวนมากในสหภาพเมียนมา อีกทัง้ สภาพถนนในการสัญจรยังไม่สมบูรณ์มากนัก จากการลงสำรวจของทีมวิจัย พบว่าเส้นทางนี้ไม่มีผู้ประกอบการคนจีนใช้เลย และสหภาพเมียนมา มีการเปิดปิดด่านที่ไม่แน่นอน รวมถึงการเรียบเก็บค่าผ่านทางและการใช้เวลาในการเดินทางที่ยาว นาน เส้นทางการขนส่ง R3B ตารางที่ 5 เส้นทางการขนส่งยางพาราผ่านเส้นทางน้ำ (ท่าเรือเชียงแสน)

ค่าใช้จ่าย โดยเฉลี่ย/ ตัน

72 ชั่วโมง ประมาณ 3วัน

48 ชั่วโมง ประมาณ 2วัน

96 ชั่วโมง ประมาณ 4 วัน

72 ชั่วโมง ประมาณ 3 วัน

เส้นทางที่ 2 ท่าเรือเชียงแสน (เชียงราย) 300 กม. ท่าเรือจิ่งหง (ประเทศจีน)

220 กิโลเมตร

เส้นทางที่ 1 ท่าเรือเชียงแสน (เชียงราย) 220 กม. ท่าเรือกวนเหล่ย (ประเทศจีน)

ระยะทางแลระยะเวลาในการขนส่ง ระยะทาง เวลาขาขึ้น เวลาขาล่อง (กิโลเมตร) (ชั่วโมง) (ชั่วโมง)

300 กิโลเมตร

เส้นทางน้ำ

15,00-2,500 บาท/ตัน

ค่าใช้จ่าย ปริ ม าณน้ ำ หนั ก ในการขนส่ ง ยางพาราขึ้นอยู่กับขนาดของ เรือขนส่งและช่วงฤดูกาลซึ่งเรือ ขนส่ง มี 2 ขนาดคือ ขนาด 80 ตัน และขนาด 120-150 ตัน ทั้งนี้ค่าใช้จ่ายในการขนส่งใน ช่ ว งเดื อ นธั น วาคม–เมษายน จะสูงเนื่องจากเป็นช่วงฤดูแล้ง อัตรานี้ไม่รวมการจัดเก็บภาษี ระหว่างการเดินทางต้นทุนการ ขนส่ ง อาจมี ก ารเปลี่ ย นแปลง โดยแปรผันต่อปริมาณยางต่อ เที่ยว 150,000 – 250,000 บาท /เที่ยว

ที่มา รวบรวมโดยผู้วิจัย จากการสำรวจและสัมภาษณ์

I 21 I


OBELS OUTLOOK 2016

การขนส่งทางน้ำเป็นเส้นทางการคมนาคมเพื่อการขนส่งทางโลจิสติกส์ของผู้ ประกอบการการค้ามาแต่ยาวนาน โดยเส้นทางนี้เป็นการเชื่อมระหว่าประเทศ ไทยสปป.ลาว-เมียนมา-จีน หรืออาจเรียกเส้นทางขนส่งเส้นทางแม่น้ำโขงได้ว่า “เส้นทาง สายไหม” โดยในประเทศไทยจะมีอำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงรายเป็นจุดเริม่ ต้นของ เส้นทางการค้า เห็นได้ว่าประเทศไทยมีโอกาสใน การส่งออกยางพาราไปยังตลาดจีนตอนใต้ แต่ผู้ประกอบการและหน่วยงานภาครัฐ ควรต้ อ งให้ ค วามสำคั ญ กั บ การพั ฒ นา การจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทานยาง พาราของไทยในเชิงยุทธ์ศาสตร์มาใช้ใน การเสริมสร้างโอกาสทางการค้าและเพิ่ม ประสิทธิภาพของโซ่อุปทานเพื่อการส่ง ออกยางพาราของไทยไปประเทศจี น (ตอนใต้) จากการศึกษาพบว่าผู้เล่นในโซ่ อุปทานยางพาราของไทยตั้งเกษตรกร สหกรณ์ ผู้ประกอบการแปรรูปยางพารา และผู้ส่งออก รวมถึงหน่วยงานภาครัฐ ต้องเผชิญกับโอกาสและความท้าทายหลาย ประการทั้งในด้าน การผลิต การตลาด และการค้าระหว่างประเทศ ดังตารางที่ 4 ดังนั้นผู้เล่นในโซ่อุปทานตั้งแต่เกษตรกร สหกรณ์ ผู้ประกอบการแปรรูป/ผู้ ส่งออก จึงจำเป็นที่จะต้องมีการวางแผนและหาแนวทางในการปรับตัวเพื่อให้สามารถ อยู่รอดและมีความสามารถในการแข่งขันที่เพิ่มสูงขึ้น โดยแนวทางการปรับตัวดังกล่าว ควรเป็นการบริหารจัดการเชิงระบบที่จะช่วยเพิ่มศักยภาพในด้านการผลิต การตลาด และการค้าระหว่างประเทศได้เป็นอย่างดี ผู้วิจัยจึงได้ทำการวิเคราะห์แนวทางการ

I 22 I


สำนักงานเศรษฐกิจชายแดนและโลจิสติกส์

ปรับตัวของผู้เล่นในโซ่อุปทานแต่ละส่วนจากปัญหาและอุปสรรคที่พบในการจัดการ โซ่อุปทานยางพาราในเขตภาคเหนือตอนบน เพื่อหาแนวทางการพัฒนาหรือการ ปรับตัวของผู้เกี่ยวข้องในโซ่อุปทานยางพาราในเขตภาคเหนือตอนบนที่เหมาะสม ดังรูปที่ 4 ตารางที่ 4 แสดงโอกาสและอุปสรรคในอุตสาหกรรมการส่งออกยางพาราของไทย ไปยังตลาดอาเซียน-จีน

ศักยภาพ

โอกาส

อุปสรรค ปัจจัยทางการผลิต

การผลิต • เกษตรกรมี ศั ก ยภาพและความ สามารถในผลิตน้ำยางที่มีคุณภาพ ดีได้ • มีการพัฒนาการแปรรูปยางพารา ที่มีคุณภาพอย่างต่อเนื่อง • มีวตั ถุดบิ มีความหลากหลายสามารถ แปรรูปยางส่งเข้าตลาดได้หลายพืน้ ที่ เช่น ยางแผ่นรมควัน ยางเครพ เป็นต้น • มีกลุ่มส่งเสริมการพัฒนาการผลิต ยาง เพือ่ ให้ความรูแ้ ก่เกษตรกรหรือ สหกรณ์ผู้ผลิตยางที่มีศักยภาพและ เป็นพี่เลี้ยงให้กับเกษตรรายย่อยได้

นโยบาย และ การ ส่งเสริม

• ภาครัฐและเอกชนมีนโยบายในการ ส่งเสริมการผลิตยางพารา เพือ่ ป้อน ตลาดเพื่อบริโภคในประเทศ และ ส่งออกไปยังเพื่อนบ้านทั้งในส่วน

I 23 I

• เกษตรกรส่วนใหญ่ยังขาดความรู้ และความเข้าใจในรูปแบบการกล้า พันธุ์ที่เหมาะสมกับพื้นที่ปลูก รวม ถึงความต้องการของตลาด (ความ ต้ อ งการในประเทศและตลาด ส่งออก) • ต้องใช้เงินลงทุนจำนวนมากและใช้ ระยะเวลานานในการปลูกจนเก็บ เกี่ยวผลผลิต ทำให้เกษตรกรส่วน ใหญ่ หั น ไปทำอาชี พ อื่ น หรื อ ปลู ก พืชชนิดอื่นเพื่อสร้างรายได้เพิ่มอาจ ส่งผลให้อนาคตพื้นที่ปลูกยางจะ ลดลง • ต้นทุนการปลูกยางของเกษตรกร ค่อนข้างสูง • นโยบายการส่งเสริมของหน่วยงาน ภาครัฐยังขาดกลยุทธ์ในเชิงรุกแบบ บูรณาการตลอดโซ่อุปทาน และ นโยบายส่วนใหญ่เป็นการส่งเสริม


OBELS OUTLOOK 2016

ศักยภาพ

โอกาส

อุปสรรค ปัจจัยทางการผลิต

ของการแปรรูปยางพาราอย่างต่อ เนื่อง • หน่วยงานรัฐและเอกชนบางแห่ง มีความเข้มแข็ง และสามารถสร้าง เครือข่ายในการเพิ่มศักยภาพการ ผลิต และการตลาดได้ดี

ปลูกยาง และการพัฒนาพันธุ์ • ขาดนโยบายทีช่ ดั เจนในการวางแผน การผลิตเพื่อตอบสนองความต้อง การของตลาด • ขาดนโยบายในการจัดสรรพืน้ ทีป่ ลูก ที่เหมาะสม (Zoning) เพื่อรักษา ระดับผลผลิต (Supply) ที่จะออก สู่ตลาดอย่างเหมาะสม • นโยบายส่วนใหญ่ขาดการบูรณา การระหว่างภาครัฐและเอกชน หรือ แม้กระทัง่ หน่วยงานภาครัฐด้วยกัน

การตลาด • ความต้องการยางพาราในตลาด อาเซียน-จีน ยังสูงและยังมีโอกาส ทางการตลาดอีกมาก • โอกาสในการพั ฒ นาผลิ ต ภั ณ ฑ์ ยางพาราในตลาดทีส่ ำคัญ เช่น จีน ซึง่ ยังมีความต้องการสูงและสามารถ พัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อเข้าตลาดได้ ในหลายรูปแบบซึ่งถือเป็นโอกาส ในการเพิม่ มูลค่ายางพาราของไทย

• ความต้ อ งการของตลาดมี ค วาม ผันผวนสูง ประกอบกับการแข่งขัน จากคู่แข่งที่เพิ่มสูงขึ้นโดยเฉพาะ สปป.ลาว สหภาพเมียนมา เป็นต้น • ขั้นตอนการส่งยางพาราของไทย ไปยังประเทศจีน นั้นยังมีข้อกำจัด ด้านปริมาณ หรือต้องมีโควต้าการ นำเข้ายางพาราจากไทยไปจีน • ผลกระทบจากการนำยางพาราจาก สปป.ลาว ราคาถูกของผู้ประกอบ การจีน ส่งผลต่อการนำเข้ายางพารา ของประเทศไทย • การขยายการลงทุนในอุตสาหกรรม ยางพาราใน สปป.ลาว สหภาพ เมียนมา ของนักลงทุนจีนที่เข้ามา

I 24 I


สำนักงานเศรษฐกิจชายแดนและโลจิสติกส์

ศักยภาพ

โอกาส

อุปสรรค ปัจจัยทางการผลิต ลงทุนในลักษณะครบวงจร ตั้งแต่ ผลิต แปรรูปยาง ส่งออกยางพารา กลับไปจีนด้วยตนเองสูง

ปัจจัยด้านนโยบายการค้าระหว่างประเทศและโลจิสติกส์ นโยบาย และข้อ ตกลง ทาง การค้า

• นโยบายและข้อตกลงทางการค้า ด้านการแปรรูปยางพารา อาจถือ เป็นโอกาสที่สำคัญของไทยในการ พัฒนาผลิตภัณฑ์และส่งออกไปยัง ตลาดในประเทศเพื่อนบ้านได้เพิ่ม มากขึ้น

• ผลกระทบจากนโยบายของประเทศ เพื่อนบ้านในการเปิดให้สัมปทาน พื้นที่ และอนุญาตให้ตั้งโรงงาน แปรรูปของนักลงทุนของจีนส่งผล กระทบต่ อ การส่ ง ออกยางพารา ของไทย • ผลกระทบของนโยบายการส่งเสริม การลงทุนจากต่างชาติในอุตสา หกรรมยางพาราของประเทศเพือ่ น บ้าน อาทิ การไม่เก็บภาษีการนำ เข้าเครื่องจักรเป็นต้น • ข้อจำกัดด้านนโยบายโควต้าการ นำเข้ายางพาราจากไทยไปจีน

ระบบ โลจิสติกส์ (การค้า ชายแดน)

• ประเทศไทยมีจุดเคลื่อนย้ายหรือ การขนส่งยางพาราที่มีศักยภาพ หลายจุด รวมถึงมีด่านชายแดน ในการส่งออกไปยังประเทศเพื่อน บ้านได้หลายประเทศ ประกอบกับ ระบบการจัดการโลจิสติสก์ของ ไทยอยูใ่ นเกณฑ์ทด่ี ี สามารถส่งออก ได้ครั้งละ

• การค้าส่วนใหญ่เป็นรูปแบบการค้า ชายแดน ซึ่งเป็นการค้าแบบไม่ เป็นทางการ จึงทำให้มีข้อจำกัด ค่อนข้างมากและมีการเปลีย่ นแปลง บ่อยครัง้ ซึง่ ถือเป็นอุปสรรคทีส่ ำคัญ โดยเฉพาะอย่ า งยิ่ ง การค้ า ไปยั ง ตลาดจีน (ตอนใต้)

I 25 I


OBELS OUTLOOK 2016

ศักยภาพ

โอกาส

อุปสรรค ปัจจัยทางการผลิต

• โอกาสทางการค้าในเส้นทาง R3A และแม่น้ำโขงซึ่งถือเป็นเส้นทาง สายเศรษฐกิจที่สำคัญ และเป็น เส้นทางการขนส่งที่มีศักยภาพใน การส่งออกยางพาราของไทยไป ตลาดจีนตอนใต้ในอนาคต

I 26 I

• ประเทศเพือ่ นบ้านมีการเปลีย่ นแปลง นโยบายด้านการค้าชายแดนและ โลจิสติกส์ ส่งผลต่อระบบการจัด การโลจิสติกส์และโซ่อุปทานการ ส่งออกยางพาราของไทย


สำนักงานเศรษฐกิจชายแดนและโลจิสติกส์

I 27 I


OBELS OUTLOOK 2016

I 28 I


สำนักงานเศรษฐกิจชายแดนและโลจิสติกส์

ATIGA and its implication on the cross-border trade Asst. Prof. Khin Maung Nyunt 1, Ph.D School of Management, MFU

The ASEAN Free Trade Area (AFTA) was signed in 1992 and the Common Effective Preferential Tariff Scheme (CEPT) was initiated in 1993. The Protocol to Amend the Agreement on CEPT-AFTA for the Elimination of Import Duties was adopted in 2003 followed by the entry force of the ASEAN Trade in Goods Agreement (ATIGA) in 2010. In the latter, the ATIGA rates will apply instead of CEPT. For the ASEAN-6 (Brunei, Indonesia, the Philippines, Malaysia, Singapore and Thailand), 99.2% of tariff lines indicate ATIGA tariff rate (or CEPT rate) of 0% in 2014, while 90.8% of tariff lines of Cambodia, Lao PDR, Myanmar and Vietnam (CLMV) show ATIGA rate of 0% in 2015. In average, the share of ATIGA 0% tariff lines across ASEAN Member States (AMS) have reached 96.0% by 2015. In addition, CLMV has flexibility rules for extending tariff elimination for some sensitive products up to 7% of tariff lines until 2018. It notes that not all traded goods among the AMS will be eligible for ATIGA tariff preferences and it depends on two main types of goods as set out in ATIGA. 1

Priority to current post, Dr. Khin Maung Nyunt worked as a Senior Economist at the ASEAN-Australia Development Cooperation Program Phase 2, the ASEAN Secretariat, Jakarta, Indonesia for the period 2010-2016.

I 29 I


OBELS OUTLOOK 2016

Figure 1 Type of Goods and Sources of Trade Preferences

Source: Author’s illustration.

The ‘wholly obtained or produced goods’ in AMS receives benefit of tariff reduction under ATIGA. However, ‘not wholly obtained or produced goods’, exporters and manufacturers have the option to apply either the regional value content (RVC) criterion or the change in tariff classification (CTC) criterion to gain benefits under ATIGA.

(1) Wholly Obtained or Produced Good

Goods obtained or produced in the exporting Member State from products are identified as follows: a) Plant and plant products, including fruit, flowers, vegetables, trees, seaweed, fungi and live plants, grown and harvested, picked or gathered in the exporting Member State, b) Live animals, including mammals, birds, fish, crustaceans, mollusks, reptiles, bacteria and viruses, born and raised in the exporting Member State, c) Goods obtained from live animals in the exporting Member State, d) Goods obtained from hunting, trapping, fishing, farming, aquaculture, gathering or capturing conducted in the exporting Member State, e) Minerals and other naturally occurring substances, not included in a (to d), extracted or taken from its soil, waters, seabed or beneath its seabed, f) Products of sea-fishing taken by vessels registered with a Member State and entitled to fly its flag and other products taken from the waters,

I 30 I


สำนักงานเศรษฐกิจชายแดนและโลจิสติกส์

seabed or beneath the seabed outside the territorial waters of that Mem ber State, provided that that Member State has the rights to exploit such waters, seabed and beneath the seabed in accordance with inter national law, g) Products of sea-fishing and other marine products taken from the high seas by vessels registered with a Member State and entitled to fly the flag of that Member State, h) Products processed and/or made on board factory ships registered with a Member State and entitled to fly the flag of that Member State, exclusively from products referred to in g), i) Articles collected there which can no longer perform their original purpose nor are capable of being restored or repaired and are fit only for disposal or recovery of parts of raw materials, or for recycling purposes, and j) Waste and scrap derived from production in the exporting Member State; or used goods collected in the exporting Member State, provided that such goods are fit only for the recovery of raw materials.

(2) Not Wholly Obtained or Produced Goods

If a good isn’t part of ATIGA’s list of 2000 goods with specific requirements, exporters and manufacturers have the option to apply either the RVC or CTC based on the following conditions: i. if the goods have a RVC of not less than 40% – determined using one of the two methods mentioned under ATIGA. ii. if all non-originating materials used in the production of the goods have undergone a CTC at four-digit level HS classification. Thus for the good of AMS to be eligible for ATIGA tariff preferences, first goods need to meet the ROO requirement. For AMS’s trade with non-ASEAN members e.g. ASEAN +1, non-preferential rate known as most favoured nation (MFN) rate also can used known as the ATIGA or ASEAN+1 Free Trade Agreement (FTA) rate. A choice of tariff rate may depend on the margin of preferences (e.g. the difference between MFN rate and ATIGA preferential rate) and the costs of preference utilisation. The lower the margin of preferences, or the higher the costs of preference utilisation the lower is the incentive for traders to use the preferential rate.

I 31 I


OBELS OUTLOOK 2016

Thus the CEPT scheme reflects actual ‘preference utilization’ which indicated still very low in 2010 for most ASEAN countries based on available data. To claim for preferential tariff, the exporters need to apply for a ‘certificate of origin’ (CO) known also as “Form-D’ under ATIGA. While the value of imports by ASEAN-9 under CEPT using Form-D, increased from USD 9.2 billion in 2005 to USD 26 billion in 2010, preference utilization rates range from almost zero for Myanmar (0.5 percent), Brunei (3.3 percent) and Lao PDR (3.4 percent), to a modest level for Malaysia (11.1 percent), Vietnam (13.4 percent), Indonesia (19 percent), and Thailand (22.6 percent). Only imports by Cambodia and the Philippines points to significant preference utilization rates of 47.1 percent and 41.1 percent, respectively. It suggests the need for AMS to claim more the opportunities of benefits by using effectively Form-D under ATIGA in the future. Figure 2 ATIGA Tariff and MFN Rates of ASEAN6 and CLMV

Source: The ASEAN Secretariat, ASEAN Integration Report 2015.

Rules of Origin

Rules of Origin (ROO) aim to contribute to preference utilisation as well ase market integration efforts. These include the introduction of advance-rulings, the simplification of Operational Certification Procedures (OCP) for ATIGA ROO, and other trade facilitative processes such as harmonisation or alignment of national procedures.

I 32 I


สำนักงานเศรษฐกิจชายแดนและโลจิสติกส์

Figure 3 ATIGA and System of Preferences

Source: Author’s illustration.

Accumulation Principle

The accumulation principle is also applied to the agreements in relation to ROO. It allows countries’ producers and exportrs to a trade agreement to share production and jointly comply with the relevant ROO provisions. For producers within ASEAN, this principle allows materials to be sourced from all ASEAN member states without forgoing tariff reductions.

De Minimis

The de minimis principle allows goods which have non-originating materials and are unable to meet their relevant CTC requirements to enjoy preferential tariff treatment. Certain goods can be considered originating under the ATIGA if: (a) the value of all non-originating materials used in its production do not undergo the required change in tariff classification does not exceed 10% of the FOB value of the good, and the good meets all other applicable criteria for qualifying as an originating good; (b) the value of non-originating materials shall be included in the value of non-originating materials for any applicable RVC requirement for the goods.

I 33 I


OBELS OUTLOOK 2016

Product Specific Rule

Product Specific Rules (PSRs) under ATIGA focuse on applicable rules for those particular products of partucular industry or sector. It seems to be more liberal in practice, contributing to easier compliance. The list of applicable PSRs under ATIGA is set out in Annex 3 of the Agreement.

Self-Certification

Self-Certification under ATIGA allows trusted traders/exporters who are qualified, can self certified the origin in Invoice Declaration or other commercial documents (i.e. Billing Statements, Delivery order, Packing list) instead of ‘certificate of origin (CO)’ known also as ‘Form D’. The self-certification aims to reduce the costs associated with ‘Form D’ application and facilitate trade that encourage freer flow of ASEAN originating goods and competitiveness. It has been implemented through the first and the second Pilot Projects in AMS.

Trade Facilitation

Key trade facilitation measures (TFM) comprise of reforming the ATIGA Rules of Origin, implementing trade facilitation work programmes, developing the ASEAN Trade Repository, addressing the issues of non-tariff measures, developing the ASEAN Single Window, the signing of the ASEAN Agreement on Customs in 2012 and harmonisation of standards, as well as pursuing mutual recognition arrangements (MRAs). There are three specific initiatives under transport facilitation, namely: (i) the ASEAN Framework Agreement on the ASEAN Facilitation of Goods in Transit (AFAFGIT); (ii) the ASEAN Framework Agreement on the Facilitation of the Inter-State ransport (AFAFIST); and (iii) the ASEAN Framework Agreement on Multimodal Transport (AFAMT).

I 34 I


สำนักงานเศรษฐกิจชายแดนและโลจิสติกส์

Figure 4 Trade Facilitation Measures under ATIGA

Trade Facilitation

Goods in Transit Transport

Inter-State Trasport

ASEAN Trade Repositotry

Multimodal Trasport

NTM, NTB ASEAN Single Window

Customs MRA (PIS)

Source: Author’s illustration.

ASEAN Trade Repository

The establishment of an ASEAN Trade Repository (ATR) in AMS for documenting trade and customs laws and procedures for public access, has been authorised under Article 13 of ATIGA. Most AMS have completed their National Trade Repository web portals.

Non-Tariff Measures

On the removal of Non-Tariff Barriers (NTB), it has been performed in accordance with the agreed Work Programme on NTB elimination. The NTB will be eliminated by 2010 for Brunei Darussalam, Indonesia, Malaysia, Singapore and Thailand by 2010; by 2012 for the Philippines; and by 2015 with flexibilities up to 2018 for the CLMV. AMS are currently revising NTM inventory using WTO-consistent United Nations Conference on Trade and Development (UNCTAD) Classifications. However, quantitative data are not available to identify the number of ASEAN NTMs identified as NTBs. Based on the WTO Integrated Trade Intelligence Portal (I-TIP Goods) lists including the 10 AMS, six categories of Technical Barriers to Trade

I 35 I


OBELS OUTLOOK 2016

(TBT) are classified as follows: Antidumping (ADP); Countervailing (CV); Quantitative Restrictions (QR); Safeguards (SG); Sanitary and Phytosanitary (SPS); and Special Safeguards (SSG).Table 1 reports notified measures of AMS. Table 1 Notified Non-Tariff Measures (I: initiate, F: in force)

Source: The ASEAN Secretariat, ASEAN Integration Report 215.

Table 1 highlights that the largest areas of TBTs account for 1,188 measures although only 62 are in force, and SPS (accounting for 735 measures, with 249 in force).

ASEAN Single Window

The ASEAN Single Window (ASW) has being implemented through an integrated platform of partnerships among government agencies and end-users, such as economic, transport and logistics operators in the movement of goods. The National Single Window (NSW) will facilitate cross-border trade by enabling electronic data exchange for cargo clearance and release. The AEC Blueprint targeted the operationalisation of NSWs in the ASEAN-6 by 2008 and the CLMV by 2012. A more comprehensive and binding Protocol on the Legal Framework to Implement the ASW was finalised in September 2014, and signed in 2015. It constitutes the legal aspects of the implementation of the ASW in the AMS.

I 36 I


สำนักงานเศรษฐกิจชายแดนและโลจิสติกส์

Customs

Trade facilitation measures under the Customs are dentified comprehensively in ATIGA. The objectives are to ensure predictability, consistency and transparency in the application of AMS customs laws; to promote efficient administration of customs procedures and expeditious clearance of goods; to simplify and harmonise customs procedures and practices; and to promote cooperation among customs authorities. These measures cover pre-arrival documentation, risk management, the application of IT, customs valuation, Authorised Economic Operators, Post Clearance Audit and advance rulings. ASEAN is also using its own ASEAN Harmonised Tariff Nomenclature (AHTN), which is an 8-digit nomenclature, based on the 6-digit HS. The use of the AHTN facilitates trade negotiations at more detailed product levels.

Standards and Conformance

Standards, technical regulations and conformity assessment procedures (STRACAP) and conformance contribute the trade attributye. But it has also been cited as the most important classes of NTMs. Harmonisation of standards and technical regulations in ASEAN is governed by the ASEAN Guidelines on STRACAP. The ASEAN Guideline on Conformity Assessment provides mutual recognition of conformity assessment among the AMS. Moreover the ASEAN Consulative Committee on Standards and Quality (ACCSQ) looks into legal metrology issues concerning trade supporting the technical infrastructure programme in ASEAN, including common procedures on legal metrology such as the ASEAN Common Requirements on Pre-packaged Products and Common Verification Procedures for Non-automatic Weighing Instruments. Inter-laboratory comparison programmes have also been conducted on mass and on volume measurement standards among the AMS.

Integration of Priority Sectors

The Integration of Priority Sectors (IPS) covers originally 11 PIS, namely electronics, eASEAN, healthcare, wood-based products, automotive, rubber-based products, textiles and apparel, agro-based products, fisheries, air travel and tourism. The logistics sector was added as the 12th PIS in 2006.

I 37 I


OBELS OUTLOOK 2016

Measures included harmonising standards, developelopmnt and implementation of harmonised regulatory schemes as well as develop MRAs. These reflect electrical and electronic equipment, medical devices, pharmaceutical products, cosmetics, automotive and auto parts, prepared foodstuff, building and construction materials, traditional medicines and health supplements, and rubber-based products. More detailed consideration on sanitary and phytosanitary (SPS) measures are found in four natural resource-based PIS. The most relevant common NTM measures with respect to PIS, that need to remove NTM are classified under 15 categories viz.: (1) Tariff Elimination; (2) NTMs; (3) ROO; (4) Customs Procedures; (5) Standards and Conformance; (6) Logistics Services; (7) Outsourcing and Industrial Complementation; (8) ASEAN Integration System of Preferences ; (9) investment; (10) Trade and Investment Promotion; (11) Intra-ASEAN Trade and Investment Statistics; (12) Intellectual Property Rights; (13) Movement of Persons; (14) Facilitation of Travel; and (15) Human Resource Development.

Natural Resource-Based (NRB) PIS

There exists four NRB-PIS, namely agro-based products, fisheries, rubberbased and wood-based products. The PISw Roadmaps set out a list of agreed measures for priority implementation based on common issues and sector-specific measures identified at 8-digit AHTN level. It varies from 270 products for rubber-based products to 106 for agro-based products. The number of products covered as a proportion of the total number also varies from 100% of all eligible products for fisheries to 11.9% of agro-based products. ASEAN Trade in Goods Agreement (ATIGA) under AEC Blueprint 2025 will continue to work on two key activities: simplify and strengthen the implementation of the ROO and accelerate and deepen the implementation of TFM. In conclusion, the implications for the cross-border can be drawn the following section. The AEC activities are viewed in some countries as a government initiative in the absence of private initiated one. By weighting welfare gains and losses of ASEAN integration, the private sector has become profoundly to realize the possible benefits that can be obtained under the commencement of AEC in

I 38 I


สำนักงานเศรษฐกิจชายแดนและโลจิสติกส์

2015. The ‘wholly obtained or produced goods’ under ATIGA reflect main products that are traded particularly at the borders. The accomplishment of PIS (12 sectors) roadmap has highlighted that the use of effective of the above mentioned ATIGA measures would encourage substantially the inflows of the foreign direct investment (FDI) in AMS based on the country’s level of development and p reparedness. The attainment of benefits under AFTA by the private sector, among others, are critically associated with the effective use of trade principles, tools and measures such as the effective use of trade preference scheme and the effective TF measures provided by the public sector; the innovations in private sector; and the public-private partnership in the NRB and PIS, which are calling for in the immediate future.

References

ASEAN Secretariat and the World Bank. (2013) ASEAN Integration Monitoring Report, a Joint Report by the ASEAN Secretariat and the World Bank, Jakarta. ASEAN Secretariat. (2015) ASEAN Integration Report 2015, the ASEAN Secretariat and the World Bank, Jakarta. ASEAN Secretariat. (2015) ASEAN Trade Good in Good Agreement, the ASEAN Secretariat and the World Bank, Jakarta. The ASEAN Secretariat. (2015) ASEAN 2025: Forging Ahead Together, Jakarta

I 39 I


OBELS OUTLOOK 2016

I 40 I


สำนักงานเศรษฐกิจชายแดนและโลจิสติกส์

ปัจจัยเชิงสถาบันกับการลงทุนโดยตรง จากต่างประเทศในประเทศไทย ณัฐพรพรรณ อุตมา

บทคัดย่อ

บทความนี้เน้นศึกษาความสัมพันธ์ของปัจจัยเชิงสถาบันต่อการลงทุนโดยตรง จากต่างประเทศในประเทศไทย โดยการรวบรวมข้อมูลทุติยภูมิแบบ Panel data ตัง้ แต่ปคี .ศ. 2005-2015 และทำการวิเคราะห์โดยใช้เครือ่ งมือทางเศรษฐมิตทิ เ่ี รียกว่า Panel data model analysis ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยเชิงสถาบันทีม่ คี วามสัมพันธ์ กับการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศในประเทศไทยในทิศทางเดียวกันอย่างมีนัย สำคัญทางสถิติ ได้แก่ คุณภาพของมาตรการควบคุมของประเทศผู้รับการลงทุนและ ประเทศผูล้ งทุน ผลทีไ่ ด้จากการศึกษานี้ สามารถใช้ในการวางแผนดำเนินการทีเ่ กีย่ วข้อง กับการดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศในประเทศไทยต่อไป คำสำคัญ การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ, ปัจจัยเชิงสถาบัน, แบบจำลองแบบ พานอล

I 41 I


OBELS OUTLOOK 2016

1. บทนำ

การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (Foreign direct investment: FDI) เป็นหนึ่งในกลไกขับเคลื่อนการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศไทย รวมถึงการ พัฒนาศักยภาพการผลิตจากการถ่ายทอดความรู้และเทคโนโลยีจากต่างประเทศ ไม่วา่ จะเป็นการผลิตในอุตสาหกรรมต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ การยกระดับความ สามารถในการแข่งขันของประเทศ การเพิ่มศักยภาพแรงงานและทรัพยากรมนุษย์ และการพัฒนาห่วงโซ่คุณค่าทางการผลิต ที่ผ่านมาการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ ของไทยมักอยูใ่ นรูปแบบของการลงทุนเพือ่ เข้าถึงทรัพยากรผลิต (Resource-seeking FDI) การลงทุนเพื่อแสวงหาประสิทธิภาพการผลิต (Efficiency-seeking FDI) การ ลงทุนเพื่อแสวงหาสินทรัพย์เชิงกลยุทธ์ (Strategic asset-seeking FDI) การลงทุน เพื่อแสวงหาตลาดใหม่ (Market-seeking FDI) และ การลงทุนเพื่อแสวงหาฐานการ ผลิตเพื่อส่งออกไปยังประเทศอื่น (Export-platform FDI) เป็นสำคัญ และแม้ว่านัก ลงทุนจากต่างประเทศได้เข้ามาลงทุนในประเทศไทยด้วยวัตถุประสงค์ที่หลากหลาย กลั บ ไม่ พ บการลงทุ น จากต่ า งประเทศในรู ป แบบของการเรี ย นรู้ ท างเทคโนโลยี (Technology-seeking FDI) ในประเทศไทยแต่อย่างใด ฉะนั้น หากประเทศไทย ต้องการพัฒนาประเทศไปสู่การเป็นแหล่งดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศแล้วนั้น จำเป็นต้องพัฒนาด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมให้มีความเหมาะสมและตอบโจทย์ ความต้องการของนักลงทุนจากต่างประเทศ ทั้งนี้ต้องอาศัยความร่วมมือกันของทั้ง ภาครัฐบาลและภาคเอกชนในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้วยนวัตกรรม (Innovationdriven) เมื่อพิจารณาความสัมพันธ์ระหว่างการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศและ ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศเบื้องต้น (Gross Domestic Product: GDP) ของ ประเทศไทย (รูปที่ 1) พบว่า แนวโน้มการลงทุนจากต่างประเทศในไทยจะเปลี่ยน แปลงไปตามสถานการณ์เศรษฐกิจของโลก เช่น FDI ในไทยมีแนวโน้มหดตัวลงเมื่อ เกิดวิกฤตเศรษฐกิจการเงินโลกในปีค.ศ. 2008 และต่อเนื่องจนถึงปีค.ศ. 2011

I 42 I


สำนักงานเศรษฐกิจชายแดนและโลจิสติกส์

เช่นเดียวกับ การลดลงของ FDI อันเนื่องมากจากภาวะการหดตัวของเศรษฐกิจของ โลกในปีค.ศ. 2014 ทั้งนี้ อัตราการเติบโตเฉลี่ยสะสมต่อปี (Compound Annual Growth Rate: CAGR) ของการลงทุนจากต่างประเทศในไทยระหว่างปีค.ศ. 20052015 มีค่าเท่ากับร้อยละ 0.92 ต่ำกว่าอัตราการเติบโตของ GDP เฉลี่ยสะสมใน ประเทศไทย ซึ่งมีค่าเท่ากับร้อยละ 3.30 อย่างไรก็ตามตัวเลขดังกล่าวสามารถสะท้อน ถึงพลังของคลื่นโลกาภิวัตน์และคลื่นภูมิภาคาภิวัฒน์ได้เป็นอย่างดี

รูปที่ 1 การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศและผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ เบื้องต้นของประเทศไทย ที่มา: ธนาคารแห่งประเทศไทย (2559)

การเกิดวิกฤตเศรษฐกิจการเงินในประเทศสหรัฐอเมริกาและยุโรปที่ผ่านมา ได้ส่งผลอย่างมากต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศต่างๆ ในโลก รวมทั้ง ประเทศไทย ผลกระทบดังกล่าวฯทำให้เกิดกระแสของการจัดระเบียบเศรษฐกิจโลก ใหม่ (New world order) โดยประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่จะมีบทบาทในการกำหนด ระเบียบเศรษฐกิจโลกมากขึ้น โดยเฉพาะประเทศจีนที่มีส่วนสำคัญและมีบทบาทสูง ในการจัดระเบียบดังกล่าว ทีผ่ า่ นมาจีนได้ดำเนินการปฏิรปู เศรษฐกิจเพือ่ ขยายบทบาท

I 43 I


OBELS OUTLOOK 2016

ในเวทีโลกภายใต้หลักการ “New normal” รวมทั้งการดำเนินยุทธศาสตร์ “One Belt One Road” และการจัดตั้งธนาคารเพื่อการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานเอเชีย (The Asian Infrastructure Investment Bank: AIIB) ตลอดจนการบรรจุเงินหยวน เข้าสกุลเงินสำรองในตะกร้าหน่วยสิทธิเบิกถอนพิเศษ (Special drawing right: SDR) นอกจากนี้ ประเด็นการสร้างและส่งเสริมหลักธรรมาภิบาลของประเทศต่างๆ ในโลก ได้ถูกหยิบยกขึ้นมาเป็นส่วนหนึ่งของระเบียบเศรษฐกิจโลกใหม่อีกด้วย อย่างไรก็ตาม การเปลี่ยนแปลงต่างๆ ในเวทีโลกถือเป็นความท้าทายของประเทศไทยในการนำพา ประเทศไปสู่การเติบโตที่เข้มแข็งและยั่งยืน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสร้างความสมดุล ของการบริหารเศรษฐกิจไทย (Economic governance balance) ด้วยการสร้าง ธรรมาภิบาลของระบบกฎหมาย การบริหารจัดการภาครัฐ และความมั่นคงทาง การเมือง ซึ่งถือว่ามีความสำคัญอย่างมากต่อการสร้างความเชื่อมั่นกับนานาประเทศ ที่ต้องการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจกับประเทศไทย หรือกล่าวได้ว่า บทบาทของ ปัจจัยเชิงสถาบัน (Institutional factors) นั้นมีความสำคัญและส่งผลกระทบต่อ พลวัตการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ เช่น การค้าและการลงทุน ระหว่างประเทศ และการเคลื่อนย้ายแรงงานระหว่างประเทศอีกด้วย จากความสำคัญดังกล่าว การศึกษานี้จึงได้เน้นการศึกษาถึงบทบาทของปัจจัย เชิงสถาบัน (การมีสิทธิ์มีเสียงของประชาชน ความมีเสถียรภาพทางการเมืองคุณภาพ ของมาตรการควบคุม และการควบคุมปัญหาทุจริตประพฤติมิชอบ) ที่มีผลต่อการ ลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศในประเทศไทย ผลที่ได้รับจากการศึกษานี้อาจเป็น ข้อมูลอีกส่วนหนึ่งในการเสนอแนะรูปแบบการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศที่เน้น ความมีเสถียรภาพเชิงสถาบัน (institution-seeking FDI) และสามารถนำไปใช้ ประโยชน์ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการปรับปรุงและส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศ ในประเทศไทยต่อไป

I 44 I


สำนักงานเศรษฐกิจชายแดนและโลจิสติกส์

2. สถานการณ์การลงทุนจากต่างประเทศในประเทศไทย

ในส่วนนี้ เป็นการนำเสนอสถานการณ์การลงทุนจากต่างประเทศในประเทศไทย แยกตามรายประเทศและภาคเศรษฐกิจ แนวโน้มการลงทุนจากต่างประเทศในไทย และความสัมพันธ์ของปัจจัยเชิงสถาบันและการลงทุนจากต่างประเทศในไทย 2.1 การลงทุนจากต่างประเทศในไทย แยกตามรายประเทศ จากสถิติของธนาคารแห่งประเทศไทย (2559) พบว่า ประเทศที่มีมูลค่าเงิน ลงทุนในไทยระหว่างปีค.ศ. 2005-2015 สูงที่สุด (รูปที่ 2) ได้แก่ ประเทศญี่ปุ่น รอง ลงมาได้แก่ กลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียน สหรัฐอเมริกา กลุ่มประเทศยุโรป และ ประเทศจีน (และฮ่องกง) ตามลำดับ รูปที่ 2 มูลค่าการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศของไทยรายประเทศ ระหว่างปีค.ศ. 2006-2015 (ล้านเหรียญสหรัฐ)

ASEAN = ; AUS = Australia; BVI = British Virgin Islands; CHE = Switzerland; CHN = China; EU = European Union; HKG = Hong Kong; JPN = Japan; USA = United States; KOR = South Korea

ที่มา: ธนาคารแห่งประเทศไทย (2559)

I 45 I


OBELS OUTLOOK 2016

เมื่อพิจารณาอัตราการเติบโตเฉลี่ยสะสมของมูลค่าการลงทุนจากประเทศญี่ปุ่น ในไทย ระหว่างปีค.ศ.2005-2015 พบว่ามีอัตราการเติบโตสะสมต่อปีเพียงร้อยละ 0.08 ขณะที่อัตราการเติบโตสะสมของการลงทุนจากประเทศอาเซียนและประเทศจีน มีค่าติดลบเท่ากับร้อยละ 14.11 และ 15.78 ตามลำดับ ส่วนอัตราการเติบโตสะสม ของการลงทุนจากสหรัฐอเมริกาและประเทศยุโรปมีอัตราร้อยละ 3.08 และ 5.10 ตามลำดับ จากตัวเลขการเติบโตเฉลี่ยสะสมต่อปีดังกล่าวได้นำมาซึ่งข้อสงสัยที่ว่า หากประเทศไทยจำเป็นต้องพึ่งพิงการลงทุนจากประเทศในภูมิภาคเอเชียแล้ว อะไร ที่เป็นสาเหตุหลักของการเติบโตเฉลี่ยสะสมที่หดตัวเช่นนี้ และประเทศไทยต้องปรับ ตัวอย่างไรเพื่อดึงดูดการลงทุนจากประเทศเหล่านั้น

2.2 การลงทุนจากต่างประเทศในไทย แยกตามภาคเศรษฐกิจ รูปที่ 3 แสดงมูลค่าการลงทุนจากต่างประเทศในไทยแยกตามภาคเศรษฐกิจ ระหว่างปีค.ศ. 2006-2015 พบว่า การลงทุนจากต่างประเทศส่วนใหญ่กระจุกตัวใน ภาคอุตสาหกรรมการผลิตมากที่สุดถึงร้อยละ 26.37 รองลงมาคือภาคเหมืองแร่ ร้อยละ 25.31 ภาคการเงินร้อยละ 14.81 และภาคการค้าปลีกค้าส่งร้อยละ 9.40 อัตราการเติบโตเฉลี่ยสะสมระหว่างปีค.ศ. 2006-2015 ของภาคการค้าปลีกค้าส่งมี อัตราสูงที่สุด เท่ากับร้อยละ 39 รองลงมาคือ ภาคอุตสาหกรรมการผลิตร้อยละ 34 ทั้งนี้ อุตสาหกรรมการผลิตที่นักลงทุนจากต่างประเทศนิยมเข้ามาดำเนินธุรกิจใน ประเทศไทย ได้แก่ การผลิตผลิตภัณฑ์อาหาร (ร้อยละ 27.46) การผลิตเคมีภัณฑ์ และผลิตภัณฑ์เคมี (ร้อยละ 11.86) การผลิตผลิตภัณฑ์คอมพิวเตอร์ อิเล็กทรอนิกส์ และอุปกรณ์ทใ่ี ช้ในทางทัศนศาสตร์ (ร้อยละ 11.21) การผลิตเครือ่ งดืม่ (ร้อยละ 7.93) และการผลิตยานยนต์ รถพ่วง และรถกึ่งรถพ่วง (ร้อยละ 7.63) เป็นต้น (ธนาคารแห่ง ประเทศไทย 2559)

I 46 I


สำนักงานเศรษฐกิจชายแดนและโลจิสติกส์

รูปที่ 3 มูลค่าการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศของไทยรายภาคเศรษฐกิจ ระหว่างปีค.ศ. 2006-2015 (ล้านเหรียญสหรัฐ)

AGRI = Agriculture, forestry and fishing; MIN = Mining and quarrying; MANU = Manufactures of food products, beverages, textiles, paper and paper products, chemicals and chemical products, rubber and plastics products, computer, electronic and optical products, electrical equipment, machinery and equipment, and motor vehicles, trailers and semi-trailers; ENER = Electricity, gas, steam and air conditioning supply; WRT = Wholesale and retail trade; repair of motor vehicles and motorcycles; TRAN = Transportation and storage; ACCOM = Accommodation and food service activities; FIN = Financial and insurance activities; ESTAT = Real estate; OTHRS =Others.

ที่มา: ธนาคารแห่งประเทศไทย (2559)

2.3 การลงทุนจากต่างประเทศต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศของไทย หากพิจารณาสัดส่วนการลงทุนจากต่างประเทศในไทยต่อผลิตภัณฑ์มวลรวม ในประเทศของไทย (FDI/GDP) ระหว่างปีค.ศ. 2005-2015 (รูปที่ 4) พบว่า FDI/GDP มีการเคลื่อนไหวขึ้นลงตามภาวะเศรษฐกิจของโลก เช่น การลดลงของ FDI/GDP ใน ช่วงการเกิดวิกฤตเศรษฐกิจการเงินโลก ระหว่างปีค.ศ. 2008-2010 และการหดตัว ของเศรษฐกิจโลกในปีค.ศ. 2014 นอกจากนี้จากการพยากรณ์สัดส่วนการลงทุนจาก ต่างประเทศต่อ GDP ของไทยระหว่างปีค.ศ. 2016-2020 ด้วยวิธี 6-month moving average พบว่า FDI/GDP มีแนวโน้มลดลง ดังนั้นหากประเทศไทยจำเป็นต้องใช้การ ลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศเป็นเครื่องมือในการขับเคลื่อนการเติบโตทางเศรษฐกิจ

I 47 I


OBELS OUTLOOK 2016

ให้มีความยั่งยืน แนวนโยบายเพื่อส่งเสริมการลงทุนแบบเดิมอาจจะไม่ทำให้เกิดผล สำเร็จตามที่คาดหมายไว้ แนวทางหนึ่งที่ได้มีการกล่าวถึงคือการสร้างความเข้มแข็ง ของโครงสร้างสถาบัน ซึ่งอาจเป็นหนึ่งในปัจจัยการดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ ในประเทศไทยได้ หากเป็นเช่นนั้น การสร้างและส่งเสริมหลักธรรมภิบาลจำเป็นต้อง ได้รับการดำเนินการอย่างเร่งด่วน รูปที่ 4 มูลค่าและแนวโน้มการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศต่อ GDP ของประเทศไทย ระหว่างปีค.ศ. 2005-2020

ที่มา: ธนาคารแห่งประเทศไทย (2559)

2.4 ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยเชิงสถาบันและการลงทุน จากต่างประเทศของไทย ปัจจัยเชิงสถาบันเป็นปัจจัยทีส่ ะท้อนโครงสร้างทางสังคมทีเ่ กีย่ วข้องกับกฏหมาย และการบังคับใช้กฎหมาย การบริหารจัดการของภาครัฐ และความมัน่ คงทางการเมือง ของประเทศนั้นๆ ในการศึกษานี้ได้นำแนวคิดของ Worldwide Governance Indicators (WGI) จัดทำโดย World Bank มาใช้ในการอธิบายระดับของปัจจัยเชิงสถาบัน ประกอบด้วย 6 ด้าน ได้แก่ เสรีภาพของประชาชนในการแสดงความคิดเห็น (Voice and Accountability) การปราศจากความรุนแรงและการก่อการร้าย (Political Stability and Absence of Violence/ Terrorism) ความมีประสิทธิผลของภาครัฐ

I 48 I


สำนักงานเศรษฐกิจชายแดนและโลจิสติกส์

(Government Effectiveness) คุณภาพในการควบคุม (Regulatory Quality) การบังคับใช้กฎหมาย (Rule of Law) และการควบคุมการคอรัปชั่น (Control of Corruption) รูปที่ 5 แสดงความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยเชิงสถาบันและการลงทุนจาก ต่างประเทศของไทย ระหว่างปีค.ศ. 2005-2015 ซึ่งยังไม่พบความสัมพันธ์ระหว่าง กันอย่างชัดเจนนัก อาจบอกได้เพียงว่า ประเทศไทยสามารถดึงดูดการลงทุนโดยตรง จากต่างประเทศด้วยการบริหารจัดการของภาครัฐที่ก่อให้เกิดประสิทธิผล การสร้าง และดำเนินนโยบายและระเบียบข้อบังคับอย่างมีคุณภาพ ความสามารถในการบังคับ ใช้กฎหมายอย่างมีคุณภาพ และการควบคุมไม่ให้เกิดการใช้อำนาจรัฐเพื่อสร้างผล ประโยชน์แก่ภาคเอกชน รูปที่ 5 การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศของไทยและระดับของปัจจัยเชิงสถาบัน ระหว่างปีค.ศ. 2005-2015

VA = Voice and Accountability; PV = Political Stability and Absence of Violence; GE = Government Effectiveness; RQ = Regulatory Quality; RL = Rule of Law; CC = Control of Corruption

ที่มา: World Bank (2016)

I 49 I


OBELS OUTLOOK 2016

3. การทบทวนเอกสาร

จากการทบทวนเอกสาร พบว่า งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับปัจจัยเชิงสถาบันหรือ ธรรมาภิบาลและการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศส่วนใหญ่ทำการศึกษาใน 2 ประเด็น ประเด็นแรก เป็นการศึกษาว่าปัจจัยเชิงสถาบันหรือธรรมาภิบาลมีผลกระทบต่อการ ลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศหรือไม่ ประเด็นที่สอง เป็นการศึกษาว่าการลงทุนโดย ตรงจากต่างประเทศมีผลทำให้ประเทศผู้รับการลงทุนมีระดับคุณภาพของปัจจัยเชิง สถาบันหรือธรรมาภิบาลเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร ในประเด็นที่เกี่ยวกับปัจจัยเชิงสถาบันมีผลกระทบต่อการลงทุนโดยตรงจาก ต่างประเทศนั้น ได้มีผู้ทำการศึกษาไว้ค่อนข้างมาก ผลการศึกษาเชิงประจักษ์มีทั้งใน ส่วนที่สรุปว่า ปัจจัยเชิงสถาบันมีผลต่อการดึงดูด FDI และ ปัจจัยเชิงสถาบันไม่มีผล ต่อการดึงดูด FDI ตัวอย่างเช่น Sánchez-Martín et al. (2014) ศึกษาปัจจัยทาง เศรษฐกิจต่างๆ รวมทั้งปัจจัยเชิงสถาบันว่ามีผลต่อการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ ในกลุม่ ประเทศละตินอเมริกา ผลการศึกษา พบว่า นักลงทุนจากต่างประเทศมีแนวโน้ม การลงทุนในประเทศทีม่ กี ฎระเบียบข้อบังคับทีม่ คี ณ ุ ภาพและมีความเสีย่ งในการถูกยึด กิจการโดยรัฐบาลต่ำ เช่นเดียวกับ ผลการศึกษาของ Kang and Jiang (2012) ที่ อธิบายว่าปัจจัยสถาบันที่เกี่ยวข้องกับระบบการเมือง การบริหารจัดการของภาครัฐ และคุณภาพของกฎหมายและระเบียบปฏิบัติ มีผลต่อการดึงดูดการลงทุนของนัก ลงทุนจากประเทศจีนเข้าไปลงทุนในประเทศแถบภูมิภาคเอเชียและเอเชียตะวันออก เฉียงใต้ และ Karim et al. (2011) ได้ทำการศึกษาความสัมพันธ์ของปัจจัยเชิงสถาบัน (ประกอบด้วย เสถียรภาพของรัฐบาล ความเสี่ยงในการลงทุน การคอรัปชั่น กฎหมาย และการปฏิบตั ิ และคุณภาพการบริหารจัดการของภาครัฐ) ต่อการลงทุนโดยตรงจาก ต่างประเทศในประเทศมาเลเซีย ผลการศึกษา พบว่า ปัจจัยเชิงสถาบันมีผลต่อการ ดึงดูดนักลงทุนจากต่างประเทศในมาเลเซีย ส่วนงานวิจัยที่ให้ผลในทางตรงข้าม เช่น Aleksynska and Havrylchyk (2013) ได้ศึกษาว่าปัจจัยเชิงสถาบันมีผลกระทบ ต่อการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศในประเทศกำลังพัฒนาและประเทศที่มีการ

I 50 I


สำนักงานเศรษฐกิจชายแดนและโลจิสติกส์

เปลีย่ นผ่านของระบบเศรษฐกิจ (Transition economy) ผลการศึกษา พบว่า คุณภาพ ของสถาบันในประเทศผู้รับการลงทุนไม่มีความสัมพันธ์กับการดึงดูดการลงทุนจาก ต่างประเทศ เช่นเดียวกับ Walsh and Yu (2010) ได้ทำการศึกษาปัจจัยเชิงสถาบันที่ ว่าด้วยความเป็นอิสระของตุลาการและความมีประสิทธิภาพของระบบกฎหมายมี ผลกระทบต่อการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ โดยแยกเป็นการลงทุนในอุตสาหกรรม พื้นฐาน (Primary sector FDI) อุตสาหกรรมการผลิต (Secondary sector FDI) และอุตสาหกรรมบริการ (Tertiary sector FDI) ผลการศึกษาชี้ว่า ความเป็นอิสระ ของตุลาการและความมีประสิทธิภาพของระบบกฎหมายไม่มีผลกระทบต่อการลงทุน จากต่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็นการลงทุนในรูปแบบอุตสาหกรรมพื้นฐาน การผลิต และ การบริการ นอกจากนี้ งานวิจัยที่ผ่านมายังได้มีการศึกษาถึงผลกระทบของการลงทุน โดยตรงจากต่างประเทศต่อคุณภาพของปัจจัยเชิงสถาบันอีกด้วย เช่น Long et al. (2015) ทำการทดสอบว่าการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศมีผลต่อของคุณภาพของ กฎหมายในประเทศจีน ผลการศึกษา พบว่า ยิ่งมีการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ เข้ามาในประเทศจีนมากเท่าใดก็ยิ่งมีการปรับปรุงคุณภาพของกฎหมายในประเทศจีน มากขึ้นเท่านั้น ขณะที่งานวิจัยของ Demir (2016) ได้ทำการศึกษาว่าการลงทุน โดยตรงจากต่างประเทศมีผลต่อช่องว่างของคุณภาพสถาบัน (Institutional development gap) ระหว่างประเทศผู้ลงทุนและผู้รับการลงทุน ผลการศึกษา พบว่า FDI ไม่มีผลต่อการพัฒนาปัจจัยเชิงสถาบันระหว่างประเทศผู้ลงทุนและประเทศผู้รับการ ลงทุน ไม่ว่าประเทศผู้รับการลงทุนจะเป็นประเทศพัฒนาแล้วหรือประเทศกำลังพัฒนา ก็ตาม จากการทบทวนเอกสารข้างต้น ปัจจัยเชิงสถาบันของประเทศผู้รับการลงทุน และประเทศผู้ลงทุนถือว่าเป็นปัจจัยหนึ่งที่มีความสำคัญต่อการตัดสินใจลงทุนของ นักลงทุนจากต่างประเทศ เพื่อทดสอบความสำคัญดังกล่าวกับการลงทุนโดยตรงจาก ต่างประเทศในไทย การศึกษานี้จึงได้กำหนดสมมติฐานการศึกษาดังนี้

I 51 I


OBELS OUTLOOK 2016

H1: ปัจจัยเชิงสถาบันของประเทศผู้รับการลงทุนส่งผลกระทบทางบวกต่อการลงทุน โดยตรงจากต่างประเทศในไทย H2: ปัจจัยเชิงสถาบันของประเทศผู้ลงทุนส่งผลกระทบทางบวกต่อการลงทุนโดยตรง จากต่างประเทศในไทย

4. วิธีดำเนินการวิจัย

4.1 การรวบรวมข้อมูล ข้อมูลที่ใช้ในการศึกษานี้เป็นข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary data) แบบ Panel data ของประเทศที่เข้ามาลงทุนในประเทศไทย ประกอบด้วย กลุ่มประเทศสมาชิก อาเซียนจำนวน 9 ประเทศ ได้แก่ ประเทศบรูไน กัมพูชา อินโดนีเซีย สปป.ลาว มาเลเซีย เมียนมา ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และเวียดนาม และกลุ่มประเทศนอกสมาชิกอาเซียน จำนวน 38 ประเทศ ได้แก่ กลุ่มประเทศยุโรป (ประเทศออสเตรีย เบลเยี่ยม ไซปรัส เดนมาร์ก ฟินแลนด์ ฝรั่งเศส เยอรมัน ไอร์แลนด์ อิตาลี ลักเซมเบอร์ก เนเธอร์แลนด์ สเปน สวีเดน และอังกฤษ) กลุม่ ประเทศตะวันออกกลาง (ประเทศอิหร่าน คูเวต โอมาน การ์ตา ซาอุดอิ าระเบีย และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์) ออสเตรเลีย บาฮามาส เบอร์มวิ ดา หมูเ่ กาะเคย์แมน จีน ฮ่องกง อินเดีย ญีป่ นุ่ ลิกเตนสไตน์ มอริเชียส นิวซีแลนด์ ปานามา รัสเซีย ซามัว เกาหลีใต้ สวิสเซอร์แลนด์ ไต้หวัน และสหรัฐอเมริกา รวมทั้งสิ้น 47 ประเทศ โดยทำการรวบรวมจากเอกสารทีม่ กี ารเผยแพร่ของหน่วยงานต่างๆ ระหว่าง ปีค.ศ. 2005-2015 จำนวน 11 ปี ประกอบด้วย ข้อมูลการลงทุนโดยตรงจากต่าง ประเทศในไทยจากฐานข้อมูลธนาคารแห่งประเทศ (Bank of Thailand) และข้อมูล ปัจจัยเชิงสถาบันจากฐานข้อมูลของ International Country Risk Guide (ICRG) สถิติเชิงพรรณนาของตัวแปรในแบบจำลองปัจจัยเชิงสถาบันที่มีผลต่อการลงทุน โดยตรงจากต่างประเทศในไทย แสดงในตารางที่ 1

I 52 I


สำนักงานเศรษฐกิจชายแดนและโลจิสติกส์

ตารางที่ 1 ค่าสถิติเชิงพรรณของตัวแปรในแบบจำลอง ตัวแปร fdi va_i

pv_i

rq_i

cc_i

va_j pv_j

rq_j

cc_j

รายละเอียด

แหล่ง ข้อมูล

มูลค่าการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศใน Bank of ประเทศไทย (ล้านเหรียญสหรัฐ) Thailand การมีสิทธิ์มีเสียงของประชาชนของประเทศผู้ ICRG รับการลงทุน (ค่าคะแนนเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 0 ถึง 1) ความมี เ สถี ย รภาพทางการเมื อ งและการ ปราศจากความรุนแรงของประเทศผู้รับการ ลงทุน (ค่าคะแนนเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 0 ถึง 1) ระดั บ คุ ณ ภาพของมาตรการควบคุ ม ของ ประเทศผู้รับการลงทุน (ค่าคะแนนเฉลี่ยอยู่ ระหว่าง 0 ถึง 1) การควบคุมปัญหาทุจริตประพฤติมิชอบของ ประเทศผู้รับการลงทุน (ค่าคะแนนเฉลี่ยอยู่ ระหว่าง 0 ถึง 1) การมีสิทธิ์มีเสียงของประชาชนของประเทศ ผู้ลงทุน (ค่าคะแนนเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 0 ถึง 1) ความมี เ สถี ย รภาพทางการเมื อ งและการ ปราศจากความรุนแรงของประเทศผู้ลงทุน (ค่าคะแนนเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 0 ถึง 1) ระดั บ คุ ณ ภาพของมาตรการควบคุ ม ของ ประเทศผู้ลงทุน (ค่าคะแนนเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 0 ถึง 1) การควบคุมปัญหาทุจริตประพฤติมิชอบของ ประเทศผู้ลงทุน (ค่าคะแนนเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 0 ถึง 1)

จำนวน ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบน (ตัวอย่าง) มาตรฐาน 517

2.46

2.69

517

-0.54

0.18

ICRG

517

-0.51

0.05

ICRG

517

-0.46

0.08

ICRG

517

-1.17

0.12

ICRG

440

-0.29

0.38

ICRG

440

-0.29

0.12

ICRG

440

-0.22

0.31

ICRG

440

-0.58

0.38

หมายเหตุ: ค่าเฉลี่ยและค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของตัวแปรอยู่ในรูปลอการิทึม

I 53 I


OBELS OUTLOOK 2016

4.2 วิธีการวิเคราะห์ข้อมูล การศึกษานีเ้ ป็นการวิเคราะห์เชิงปริมาณ (Quantitative analysis) ว่าด้วยการ ศึ ก ษาปั จ จั ย เชิ ง สถาบั น ที่ มี ผ ลกระทบต่ อ การลงทุ น โดยตรงจากต่ า งประเทศใน ประเทศไทย โดยมีแบบจำลองการวิเคราะห์ในรูปแบบลอการิทึม ดังนี้

lnfdiijt=β0+β1 lnfdiij,t-1+β2 lninstitutionit+β3 lninstitutionjt+εijt

(1)

โดยกำหนดให้ fdiijt คือ การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (j: j=1,..,47) ของ ประเทศไทย (i: i=1) ในปีที่ t (t=1,..,11) institutionit คือ ชุดตัวแปรปัจจัยเชิง สถาบันของประเทศไทย (i) ในปีที่ t institutionjt คือ ชุดตัวแปรเชิงสถาบันของ ประเทศผู้ลงทุนในต่างประเทศ (j) ในปีที่ t ปัจจัยเชิงสถาบันที่มีผลกระทบต่อการลง ทุนโดยตรงจากต่างประเทศ ประกอบด้วย ตัวแปรด้านธรรมาภิบาล (Governance) ของประเทศผู้ลงทุนและผู้รับการลงทุน ประกอบด้วย การมีสิทธิ์มีเสียงของประชาชน และภาระรับผิดชอบ (Voice and Accountability: va) ความมีเสถียรภาพทาง การเมืองและการปราศจากความรุนแรง (Political Stability and Absence of Violence: pv) คุณภาพของมาตรการควบคุม (Regulatory Quality: rq) เป็นขีด ความสามารถของรัฐบาลในการกำหนดนโยบาย และออกมาตรการควบคุม รวมถึง การบังคับใช้นโยบายและมาตรการดังกล่าว ให้เป็นไปอย่างเหมาะสมและเอื้อต่อการ ส่งเสริมให้ภาคเอกชนสามารถพัฒนาได้ และการควบคุมปัญหาทุจริตประพฤติมชิ อบ (Control of Corruption: cc) คือ ค่าสัมประสิทธิ์คงที่ที่ประมาณการได้ (Estimated coefficient) และ คือ ค่าความคลาดเคลื่อน (Error term) การทดสอบคุณสมบัติของแบบจำลองที่เลือกมา (Diagnostic Tests) ก่อน การหาความสัมพันธ์ในแบบจำลอง (1) ได้แก่ การทดสอบการกระจายของข้อมูลแบบ ปกติ (Normality test) ด้วยวิธี Jarque-Bera test มีสมมติฐานการทดสอบ Ho: การกระจายตัวของข้อมูลเป็นแบบปกติ (Normal distribution) และ Ha: การกระจาย

I 54 I


สำนักงานเศรษฐกิจชายแดนและโลจิสติกส์

ตัวของข้อมูลไม่เป็นแบบปกติ (Non-normal distribution) การทดสอบปัญหา สหสัมพันธ์ของตัวคลาดเคลื่อน (Autocorrelation) เป็นการทดสอบความสัมพันธ์ ของค่าความคลาดเคลื่อนจากข้อมูล Panel data ด้วยวิธี Wooldridge test โดยมี สมมติฐานการทดสอบ Ho: ความคลาดเคลื่อนไม่มีความสัมพันธ์ต่อกัน (No Autocorrelation) และ Ha: ความคลาดเคลือ่ นมีความสัมพันธ์ตอ่ กัน (Autocorrelation) การทดสอบปัญหาความไม่คงที่ของค่าความแปรปรวนของค่าความคลาดเคลื่อน (Heteroscedasticity) ด้วยวิธี Breusch-Pagan test โดยมีสมมติฐานการทดสอบ Ho: ความแปรปรวนของตัวคลาดเคลื่อนมีค่าคงที่ (Homoscedasticity) และ Ha: ความแปรปรวนของตัวคลาดเคลื่อนมีค่าไม่คงที่ (Heteroscedasticity) และ การ ทดสอบปัญหาพหุสัมพันธ์เชิงเส้น (Multicollinearity) หรือเป็นการทดสอบความ สัมพันธ์ของตัวแปรอิสระตั้งแต่ 2 ตัวแปรขึ้นไปในสมการถดถอยเชิงพหุคูณด้วยวิธี Variance Inflation Factor (VIF) test หลังจากทำการทดสอบคุณสมบัติของแบบจำลองที่เลือกมาแล้ว จะทำการ ประมาณค่าความสัมพันธ์ของแบบจำลอง (1) แบบ Panel Data Analysis ด้วยวิธี Fixed Effects Model (FEM) และ Random Effects Model (REM) เพื่อหาค่า สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์มาวิเคราะห์ความสัมพันธ์ในแบบจำลองปัจจัยเชิงสถาบันที่มี ผลต่อการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศในประเทศไทย ผลการประเมินค่าในแบบ จำลองขึ้นอยู่กับการทดสอบความเหมาะสมของ estimators ด้วยการทดสอบ Hausman’s specification test โดยมีสมมติฐานการทดสอบ Ho: REM estimator มีความเหมาะสมสำหรับการประมาณค่าแบบจำลอง และ Ha: FEM estimator มีความเหมาะสมสำหรับการประมาณค่าแบบจำลอง ในการศึกษานี้ ได้ทำการวิเคราะห์ ผลของปัจจัยเชิงสถาบันต่อการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศในประเทศไทย โดย แยกเป็น 4 แบบจำลองตามประเทศผู้ลงทุน ได้แก่ แบบจำลองที่ 1 ปัจจัยเชิงสถาบันที่มีผลต่อการลงทุนจากทุกประเทศในโลก (47 ประเทศ) ในประเทศไทย

I 55 I


OBELS OUTLOOK 2016

แบบจำลองที่ 2 ปัจจัยเชิงสถาบันที่มีผลต่อการลงทุนจากกลุ่มประเทศสมาชิก อาเซียนในประเทศไทย แบบจำลองที่ 3 ปัจจัยเชิงสถาบันที่มีผลต่อการลงทุนจากกลุ่มประเทศนอก สมาชิกอาเซียนในประเทศไทย แบบจำลองที่ 4 ปัจจัยเชิงสถาบันที่มีผลต่อการลงทุนจากกลุ่มประเทศสมาชิก RCEP (กลุม่ ประเทศอาเซียน ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ จีน ญีป่ นุ่ เกาหลีใต้ และอินเดีย) ในประเทศไทย

5. ผลการศึกษา

การวิเคราะห์เชิงปริมาณด้วย Panel data model analysis ของปัจจัยเชิง สถาบันต่อการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศในไทยด้วยวิธี Fixed effect model และ Random effect model ผลการศึกษาเชิงประจักษ์แสดงในตารางที่ 2 ผลการ ทดสอบคุณสมบัติของแบบจำลอง Panel Data Model ทั้ง 4 แบบจำลอง พบว่า แบบจำลองไม่มีปัญหา Normality หรือแบบจำลองมีการกระจายของข้อมูลแบบ ปกติ ไม่มีปัญหา Heteroscedasticity หรือค่าความแปรปรวนของค่าความคลาด เคลื่อนมีค่าคงที่ และไม่พบปัญหา Multicollinearity หรือตัวแปรอิสระของแบบ จำลองไม่มีพหุสัมพันธ์เชิงเส้นแต่อย่างใด อย่างไรก็ตาม ทั้ง 4 แบบจำลองมีปัญหา Autocorrelation หรือค่าความคลาดเคลื่อนในแบบจำลองมีความสัมพันธ์ต่อกัน นอกจากนี้ การทดสอบ Hausman test ในแบบจำลองทัง้ 4 แบบจำลอง พบว่า แบบ จำลองที่ 1 (การลงทุนจากต่างประเทศในไทย) แบบจำลองที่ 3 (การลงทุนจากประเทศ นอกสมาชิกอาเซียนในไทย) และแบบจำลองที่ 4 (การลงทุนจากกลุม่ ประเทศ RCEP ในไทย) ควรใช้การประมาณค่าแบบจำลองด้วย FEM estimator ขณะที่แบบจำลอง ที่ 2 (การลงทุนจากกลุ่มประเทศอาเซียนในไทย) ควรใช้การประมาณค่าแบบจำลอง ด้วย REM estimator

I 56 I


สำนักงานเศรษฐกิจชายแดนและโลจิสติกส์

ผลจากการทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยเชิงสถาบันที่ว่าด้วยการมีสิทธิ์ มีเสียงของประชาชนและภาระรับผิดชอบ (va) ความมีเสถียรภาพทางการเมืองและ การปราศจากความรุนแรง (pv) คุณภาพของมาตรการควบคุม (rq) และการควบคุม ปัญหาทุจริตประพฤติมิชอบ (cc) ที่มีต่อการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศในไทย (แบบจำลองที่ 1) พบว่า คุณภาพของมาตรการควบคุมของประเทศผู้รับการลงทุน และประเทศผูล้ งทุน เป็นปัจจัยทีม่ คี วามสัมพันธ์กบั การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ ในไทยในทิศทางเดียวกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ขณะที่ความมีเสถียรภาพทาง การเมืองและการปราศจากความรุนแรง เป็นปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับ FDI ในไทย ในทิศทางตรงกันข้ามอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ อย่างไรก็ตาม ปัจจัยเชิงสถาบันที่ว่า ด้วยการมีสิทธิ์มีเสียงของประชาชน และการควบคุมปัญหาทุจริตประพฤติมิชอบ กลับไม่มคี วามสัมพันธ์กบั FDI ในไทยแต่อย่างใด กล่าวโดยสรุป ปัจจัยเชิงสถาบันทีว่ า่ ด้วยการมีสิทธิ์มีเสียงของประชาชนและภาระรับผิดชอบ ความมีเสถียรภาพทางการ เมืองและการปราศจากความรุนแรง และการควบคุมปัญหาทุจริตประพฤติมิชอบ ไม่ใช่ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจลงทุนของนักลงทุนจากต่างประเทศในไทย ขณะที่ คุณภาพของมาตรการควบคุมเป็นปัจจัยสำคัญที่ดึงดูดนักลงทุนจากต่างประเทศมา ยังประเทศไทย

I 57 I


OBELS OUTLOOK 2016

ตารางที่ 2 ผลการคาดประมาณปัจจัยเชิงสถาบันที่มีผลต่อการลงทุนโดยตรง จากต่างประเทศในประเทศไทย Model 1 lfdi_i va_i pv_i rq_i cc_i va_j

FEM (1) 0.09** (1.94) 0.22 (0.21) -4.52 (-1.23) 2.56 (1.33) -0.54 (-0.46)

REM (2) 0.52* (13.70) -0.19 (-0.16) -4.60 (-1.10) 3.39 (1.55) -1.24 (-0.92)

pv_j rq_j cc_j constant Obs. F-test/Wald test R-square Jarque-Bera test Wooldridge test VIF test Breusch-Pagan test Hausman test

0.67 -1.09 (0.23) (-0.33) 470 470 2.41** 194.09* 0.19 0.29 1.55 69.15* 3.21 5.89 262.85*

Model 2

FEM REM (3) (4) 0.06 0.46* (1.19) (10.65) -0.48 -0.04 (-0.39) (-0.03) -6.73*** -5.29 (-1.71) (-1.19) 5.05* 4.29*** (2.41) (1.84) -0.14 -0.44 (-0.11) (-0.31) -0.69 -0.13 (-0.58) (-0.28) -0.01 -0.91 (-0.00) (-0.75) 1.67*** 0.67 (1.69) (1.08) 0.80 1.19* (0.75) (2.75) 1.53 0.68 (0.48) (0.20) 400 400 1.81*** 188.32* 0.15 0.32 1.08 61.67* 2.93 9.52 222.85*

FEM (1) 0.18*** (1.74) 1.39 (0.56) -5.81 (-0.70) 0.63 (0.15) 1.65 (0.61)

REM FEM REM (2) (3) (4) 0.52* 0.10 0.31* (6.27) (0.87) (2.81) 0.92 5.01 1.83 (0.35) (1.58) (0.58) -5.24 -5.08 -6.71 (-0.59) (-0.52) (-0.64) 0.38 2.41 3.28 (0.08) (0.46) (0.60) 0.63 1.21 1.19 (0.22) (0.38) (0.36) 1.02 2.34 (0.45) (1.48) -15.79*** 1.81 (-1.85) (0.52) 0.54 -2.61 (0.22) (-1.23) 2.48 2.17** (0.88) (1.90) 1.16 -0.58 2.76 4.80 (0.18) (-0.08) (0.34) (0.59) 99 99 77 77 2.09*** 45.75* 1.62 37.27* 0.28 0.35 0.10 0.38 3.71 0.43 159.61* 39.98* 3.22 5.99 11.08 15.64 23.21* 11.86

หมายเหตุ: 1) *, **, และ ***หมายถึง ตัวแปรมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 99 95 และ 90 ตามลำดับ และ 2) ค่าในวงเล็บแสดง t-statistics ในแบบจำลอง FEM และ z-statistics ในแบบจำลอง REM

I 58 I


สำนักงานเศรษฐกิจชายแดนและโลจิสติกส์

ตารางที่ 2 (ต่อ) Model 3 lfdi_i va_i pv_i rq_i cc_i va_j

FEM (1) 0.06 (1.27) -0.05 (-0.05) -4.16 (-1.02) 2.93 (1.37) -1.10 (-0.83)

REM (2) 0.50* (11.51) -0.44 (-0.31) -4.44 (-0.94) 4.05 (1.64) -1.66 (-1.09)

pv_j rq_j cc_j constant

0.53 -1.13 (0.16) (-0.30) Obs. 380 380 F-test/Wald test 1.34 136.39* R-square 0.14 0.26 Jarque-Bera test 3.20 Wooldridge test 49.46* VIF test 3.21 Breusch-Pagan test 3.50 Hausman test 242.17*

Model 4

FEM REM (3) (4) 0.04 0.47* (0.72) (9.86) -1.75 -0.73 (-1.30) (-0.49) -7.61*** -5.72 (-1.78) (-1.16) 6.21* 5.10** (2.68) (1.96) -0.45 -0.81 (-0.32) (-0.51) 1.91 -0.12 (0.53) (-0.19) 1.30 -0.76 (0.52) (-0.56) 2.52** 1.21 (2.24) (1.47) -0.33 0.94*** (-0.26) (1.71) 1.17 0.02 (0.33) (0.01) 330 330 1.57 149.91* 0.10 0.31 0.86 45.95* 2.79 5.77 228.09*

FEM (1) 0.07 (0.92) -1.88 (-0.98) -14.20** (-2.21) 6.59** (1.96) 0.49 (0.24)

REM (2) 0.57* (9.13) -1.31 (-0.58) -12.58*** (-1.68) 5.80 (1.48) -0.28 (-0.62)

FEM REM (3) (4) 0.03 0.46* (0.36) (6.07) -1.59 -1.22 (-0.72) (-0.49) -15.05** -13.59*** (-2.12) (-1.66) 8.42** 7.46*** (2.24) (1.74) 0.63 0.17 (0.27) (0.06) -0.10 1.34 (-0.05) (1.09) -1.73 1.49 (-0.41) (0.53) 0.87 -0.88 (0.39) (-0.53) 0.09 0.39 (0.05) (0.46) -2.29 -3.69 -1.29 -1.21 (-0.45) (-0.62) (-0.22) (-0.19) 160 160 140 140 2.40** 91.61* 1.39 67.85* 0.15 0.37 0.12 0.34 0.42 0.12 32.26* 28.83* 3.21 4.91 3.37 8.54 96.55* 93.31*

หมายเหตุ: 1) *, **, และ *** หมายถึง ตัวแปรมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 99 95 และ 90 ตามลำดับ และ 2) ค่าในวงเล็บแสดง t-statistics ในแบบจำลอง FEM และ z-statistics ในแบบจำลอง REM

I 59 I


OBELS OUTLOOK 2016

เมือ่ พิจารณาแยกตามกลุม่ ประเทศทีม่ าลงทุนในประเทศไทย พบว่า ปัจจัยเชิง สถาบันทีว่ า่ ด้วยคุณภาพของการควบคุมปัญหาทุจริตประพฤติมชิ อบของประเทศผูม้ า ลงทุนเป็นปัจจัยสำคัญต่อการตัดสินใจลงทุนของนักลงทุนจากกลุ่มประเทศสมาชิก อาเซียนในไทย (แบบจำลองที่ 2) ขณะทีป่ จั จัยเชิงสถาบันทีว่ า่ ด้วยคุณภาพของมาตรการ ควบคุมของประเทศผูร้ บั การลงทุนและประเทศผูล้ งทุนเป็นปัจจัยสำคัญต่อการตัดสินใจ ลงทุนของนักลงทุนจากกลุ่มประเทศนอกสมาชิกอาเซียนในไทย (แบบจำลองที่ 3) เช่นเดียวกัน ปัจจัยเชิงสถาบันที่ว่าด้วยคุณภาพของมาตรการควบคุมของประเทศ ผู้รับการลงทุนเป็นปัจจัยสำคัญต่อการตัดสินใจลงทุนในกลุ่มประเทศ RCEP (แบบ จำลองที่ 4)

6. บทสรุปและนัยเชิงนโยบาย

การศึกษานี้ มีวตั ถุประสงค์ในการทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยเชิงสถาบัน ต่อการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศในประเทศไทย ทั้งการลงทุนจากประเทศใน กลุ่มอาเซียนและประเทศนอกกลุ่มอาเซียน โดยใช้ข้อมูลทุติยภูมิแบบ Panel data ตัง้ แต่ปคี .ศ. 2005-2015 และทำการวิเคราะห์โดยประยุกต์ใช้เครือ่ งมือทางเศรษฐมิติ ที่เรียกว่า Panel data model analysis ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยเชิงสถาบันที่มี ความสัมพันธ์กับการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศในไทยในทิศทางเดียวกันอย่างมี นัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ คุณภาพของมาตรการควบคุมของประเทศผู้รับการลงทุน และประเทศผู้ลงทุน ขณะที่การควบคุมปัญหาทุจริตเป็นปัจจัยสำคัญต่อการตัดสินใจ ลงทุนของกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียน อนึ่ง การศึกษาถึงปัจจัยเชิงสถาบันว่าด้วย ระบบการเมือง ระบบกฎหมายและการควบคุมการปฏิบัติ และระบบการดำเนินการ ของภาครัฐต่อการขยายตัวของการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศสามารถนำมาใช้ เป็นแนวทางการส่งเสริมการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศที่เน้นความมีเสถียรภาพ เชิงสถาบัน (institution-seeking FDI) และนำไปใช้ในการวางแผนดำเนินการที่เกี่ยว ข้องกับการดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศในประเทศไทยต่อไป

I 60 I


สำนักงานเศรษฐกิจชายแดนและโลจิสติกส์

เอกสารอ้างอิง

Aleksynska, M. and Havrylchyk, O. (2013) FDI from the south: The role of institutional distance and natural resources. European Journal of Political Economy. 29: 38–53. Demir, F. (2016) Effects of FDI Flows on Institutional Development: Does It Matter Where the Investors are from? World Development. 78:341–359. Kang, Y. and Jiang, F. (2012) FDI location choice of Chinese multina tionals in East and Southeast Asia: Traditional economic factors and institutional perspective. Journal of World Business. 47:45–53. Karim, Z.A., Zaidi, M.A.S., Ismail, M.A. and Karim, B.A. (2011) Institutions and foreign direct investment (FDI) in Malaysia: empirical evidence using ARDL model. MPRA Paper No. 31899. Munich Personal RePEc Archive (MPRA) Long, C. Yang, J. and Zhang, J. (2015) Institutional Impact of Foreign Direct Investment in China. World Development. 66:31–48. Sánchez-Martín, M. E., de Arce, R. and Escribano, G. (2014) Do changes in the rules of the game affect FDI flows in Latin America? A look at the macroeconomic, institutional and regional integration determinants of FDI. European Journal of Political Economy. 34: 279–299. Walsh, J. P. and Yu, J. (2010) Determinants of Foreign Direct Invest ment: A Sectoral and Institutional Approach. IMF Working Paper WP/10/187. International Monetary Fund.

I 61 I


OBELS OUTLOOK 2016

I 62 I


สำนักงานเศรษฐกิจชายแดนและโลจิสติกส์

ผลกระทบทางเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม และสังคม จากการพัฒนาพลังน้ำใน ลุ่มน้ำโขงตอนล่าง2 อภิสม อินทรลาวัณย์, David Wood และ Richard Frankel

โครงการพัฒนาพลังงานน้ำในลำน้ำโขงและลำน้ำสาขาจะปิดกั้นเส้นทางอพยพ ของปลา เปลี่ยนแปลงพื้นที่น้ำท่วม เปลี่ยนการไหลของตะกอนดินและแร่ธาตุอาหาร การเปลีย่ นแปลงนีจ้ ะทำให้ปลาธรรมชาติมปี ริมาณลดลงส่งผลกระทบต่อการทำประมง จับปลาในแม่น้ำโขงซึ่งเป็นแหล่งประมงน้ำจืดขนาดใหญ่ที่สุดในโลก รายงานของ ศาสตราจารย์คอสแตนซ่าแสดงให้เห็นว่า หากมีการเปลี่ยนแปลงสมมติฐานที่สำคัญ บางประการในแผนการพัฒนาลุม่ น้ำโขงตอนล่างระยะที่ 2 ทีจ่ ดั ทำโดยคณะกรรมาธิการ แม่น้ำโขง (เช่น เปลี่ยนอัตราส่วนลดของทรัพยากรธรรมชาติและราคาต้นทุนของปลา) ความเป็นไปได้ทางเศรษฐกิจของโครงการพัฒนาพลังงานน้ำที่แสดงค่าในรูปแบบของ การวิเคราะห์มูลค่าปัจจุบันของต้นทุน และผลประโยชน์สุทธิจากการพัฒนาโครงการ (NPV) นั้นจะเปลี่ยนไปจากค่าที่เป็นบวก (ผลการศึกษาเหมือนในแผนพัฒนาลุ่มน้ำ ระยะที่ 2 : BDP2) เป็นค่าที่เป็นลบ เอกสารทำการฉบับนี้ได้ทบทวน ย่อความ และ ปรับปรุงข้อมูลรายงานของศาสตราจารย์คอสแตนซ่า โดยทำการศึกษาเพิ่มเติมและ เปลี่ยนแปลงข้อสมมุติฐานที่สำคัญบางตัวให้มีความถูกต้องมากยิ่งขึ้น มูลค่าปัจจุบัน ของผลประโยชน์สุทธิจากการพัฒนาโครงการ (NPV) สามารถสรุปได้ดังนี้ 2

การวิจัยเรื่อง “แนวทางการวางแผนเพื่อการพัฒนาทรัพยากรน้ำในลุ่มน้ำโขงตอนล่าง” ที่ทำการศึกษาโดยมหาวิทยาลัย Portland State University มลรัฐโอเรกอนร่วมกับมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย เมื่อปี 2554 ซึ่งต่อจากนี้จะ อ้างถึงการวิเคราะห์ข้อมูลจากรายงานของศาสตราจารย์คอสแตนซ่า, รายงานการประเมินผลกระทบทางด้านสิ่งแวดล้อมระดับ ยุทธศาสตร์เกี่ยวกับเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำในแม่น้ำโขงสายหลัก (SEA)

I 63 I


OBELS OUTLOOK 2016

ตารางเปรียบเทียบผลการศึกษามูลค่าปัจจุบันของผลประโยชน์สุทธิจากการพัฒนาโครงการระหว่าง แผนพัฒนาลุ่มน้ำระยะที่ 2 ที่จัดทำขึ้นโดยคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง กับ เอกสารทำการฉบับนี้ ผลการศึกษา

ประเภทของ ผลปรโยชน์

ภาพอนาคต ภาพอนาคต แผนพัฒนาลุ่มน้ำ แผนพัฒนาลุ่มน้ำ ระยะที่ 2 ระยะที่ 2 (6 เขื่อน) (11 เขื่อน) มูลค่าปัจจุบันสุทธิ (ล้านดอลลาร์)

แผนพัฒนาลุ่มน้ำระยะที่ 2

พลังน้ำ

25,000

32,800

-1,000

-1,900

อื่นๆ (รายละเอียดตาม บริบท)

2,700

2,500

ผลกระทบต่อเศรษฐกิจ ทั้งหมด

26,700

33,400

เอกสารทำการฉบับนี้

พลังน้ำ

25,000

32,800

ใช้อัตราส่วนลด 3% สำหรับทรัพยากรธรรมชาติ

การประมงจับปลา

-27,000

-54,900

อื่นๆ (รายละเอียดตาม บริบท)

-400

300

ผลกระทบต่อเศรษฐกิจ ทั้งหมด

-2,400

-21,800

ใช้อัตราส่วนลด 10% ทุกกรณี การประมงจับปลา

ที่มา: จากการคำนวณโดยผู้วิจัย

I 64 I


สำนักงานเศรษฐกิจชายแดนและโลจิสติกส์

จากตารางข้างบนดังกล่าวสามารถสรุปได้ว่า มูลค่าปัจจุบันสุทธิมีค่าติดลบ ทัง้ สองกรณีของภาพอนาคต เนือ่ งจากต้นทุนการสูญเสียการประมงจับปลา (ใช้อตั รา ส่วนลดของทรัพยากรธรรมชาติ 3%) มีค่าสูงกว่าผลประโยชน์จากการผลิตกระแส ไฟฟ้าพลังงานน้ำ เอกสารทำการฉบับนี้ยังได้ทำการวิเคราะห์ความอ่อนไหว โดยได้ เปลี่ยนแปลงค่าตัวแปรบางตัว (เช่น ปริมาณปลาอพยพที่คาดการณ์ว่าจะสูญพันธ์ ไปหากมีการพัฒนาพลังงานน้ำมูลค่าและราคาต้นทุนของปลา และอัตราส่วนลด) โดยสามารสรุปได้ว่า ข้อเสนอโครงการพัฒนาพลังงานน้ำในลำน้ำสายหลักของภาพ อนาคตทั้งสองแบบ คือ ทั้งแบบ 6 เขื่อน และ 11 เขื่อน จะไม่ก่อให้เกิดผลประโยชน์ สุทธิทางเศรษฐกิจ นอกจากนี้คณะผู้วิจัยยังค้นพบความไม่สอดคล้องกันของข้อมูลที่ ปรากฏอยู่ในแผนพัฒนาลุ่มน้ำระยะที่ 2 (มูลค่าปัจจุบันสุทธิของพลังงานน้ำ) และมี ข้อโต้แย้งในความไม่สมเหตุสมผลของสมมติฐานสำคัญของแผนพัฒนาลุม่ น้ำระยะที่ 2 ที่ว่า ผลประโยชน์จากการผลิตและค้ากระแสไฟฟ้าพลังงานน้ำจะเกิดขึ้นแก่ประเทศ ที่จะสร้างเขื่อน จากสมมุติฐานข้างต้นผลประโยชน์ส่วนใหญ่จะตกเป็นของประเทศ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว ดังข้อมูลที่ปรากฏในแผนพัฒนา ลุ่มน้ำระยะที่ 2) เอกสารทำการฉบับนี้ได้ท้าทายสมมุติฐานเดิม โดยมีสมมุติฐานใหม่ ที่ว่า ผลประโยชน์บางส่วนเท่านั้น (30%) ที่จะเกิดขึ้นแก่ประเทศเจ้าบ้าน ในขณะที่ ผลประโยชน์ส่วนใหญ่ (70%) จะเกิดแก่ประเทศผู้ลงทุนโครงการและประเทศที่นำ เข้ากระแสไฟฟ้าโดยเฉพาะในช่วง 25 ปี ของการสัมปทานโครงการ ทั้งนี้ การเปลี่ยน แปลงสมมุติฐานใหม่นี้ให้ประเทศไทยและสปป.ลาวเป็นผู้รับผลประโยชน์ แต่ทว่า กัมพูชาและเวียดนามจะแบกรับต้นทุนหลักจากโครงการพัฒนาพลังงานน้ำในลำน้ำ สายหลัก หรืออาจกล่าวได้วา่ ผลประโยชน์จากการพัฒนาโครงการจะเกิดกับนักพัฒนา โครงการและผูน้ ำเข้ากระแสไฟฟ้า หากแต่ชมุ ชนทีย่ ากจน ชุมชนผูห้ าปลา และชุมชน เกษตรกรรมในชนบทที่อาศัยอยู่ในที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงทั้งหลายจะต้องแบกรับผล กระทบทางลบจากการพัฒนาครั้งนี้

I 65 I


OBELS OUTLOOK 2016

อย่างไรก็ตาม เอกสารทำการฉบับนี้มีตระหนักถึงความไม่แน่นอนของข้อมูล หลายตัว โดยมีข้อสังเกตุว่าตัวแปรบางตัวอาจถูกประเมินค่าไว้ต่ำเกินไป (เช่น ต้นทุน วัฒนธรรม/สังคม ต้นทุนความสูญเสียจากการประมงจับปลาและต้นทุนการสูญเสียของ ตะกอนดินและธาตุอาหารทีล่ ดลง) ในขณะทีต่ วั แปรบางตัวอาจถูกประเมินค่าไว้สงู เกินไป (เช่น ผลประโยชน์ที่ได้จากการผลิตและค้าพลังงาน) เอกสารทำการฉบับนี้มีข้อเสนอให้ ทำการศึกษาเพิ่มเติม ทั้งนี้เพื่อทำให้ผลการประเมินแบบจำลองทางเศรษฐศาสตร์มูลค่า ปัจจุบันสุทธิ (NPV) ที่มีความแม่นยำมากยิ่งขึ้น อย่างไรก็ตาม คณะผู้วิจัยคาดการณ์ว่า หากต้นทุนต่างๆที่กล่าวไว้ข้างต้นได้รับการพิจารณาอย่างรอบคอบและรอบด้านแล้ว ผล ประโยชน์สุทธิทางเศรษฐกิจยิ่งจะมีค่าเป็นลบมากยิ่งขึ้น เอกสารทำการฉบับนี้มีความเห็นไปในทิศทางเดียวกันและสนับสนุนข้อเสนอแนะ รายงานของศาสตราจารย์คอสแตนซ่า และรายงานการประเมินผลกระทบทางด้าน สิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์เกี่ยวกับเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำในแม่น้ำโขงสายหลัก (SEA) ที่ให้ ชะลอการสร้างเขื่อนในลำน้ำสายหลักออกไปจนกว่าผลกระทบทางสังคมและความเสี่ยง ของโครงการจะได้รับการศึกษาอย่างรอบคอบและรอบด้านมากยิ่งขึ้น

ภูมิหลัง

แม่น้ำโขงเป็นแม่น้ำที่มีการทำประมงน้ำจืดขนาดใหญ่ที่สุดในโลก (ประมาณการ จับปลาได้ 2.1 ถึง 2.5 ล้านตันต่อปี) เป็นระบบนิเวศแม่น้ำที่มีความหลากหลายทาง ชีวภาพเป็นอันดับสามของโลก (ด้วยพันธุ์ปลากว่า 800 ชนิดโดยประมาณ) จะเป็นรองก็ เพียงแต่แม่น้ำอเมซอนและแม่น้ำคองโกเท่านั้น ตัวเลขสถิติปลาที่จับนี้ยังไม่ได้นับรวมถึง ผลผลิตปลาในทะเลชายฝัง่ อีกประมาณ 0.5 – 0.7 ล้านตันต่อปี (ดังแสดงในรายงาน SEA) และสัตว์น้ำชนิดอื่นๆ (OAA) เช่น กุ้ง ปู หอย และกบ อีกประมาณ 0.5 ล้านตันต่อปี ความอุดมสมบูรณ์ต่างๆ ของระบบนิเวศนี้สัมพันธ์กับพื้นที่ชุ่มน้ำและขึ้นอยู่กับปริมาณ การไหลเวียนของตะกอนดินและธาตุอาหารในแม่น้ำโขงและการขึ้นลงของระดับน้ำใน แต่ละฤดูกาลอย่างเป็นธรรมชาติ อย่างไรก็ตามความอุดมสมบูรณ์ของระบบนิเวศนี้จะ

I 66 I


สำนักงานเศรษฐกิจชายแดนและโลจิสติกส์

เปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิงหากโครงการพลังงานน้ำทั้งหมดได้สร้างขึ้นตามที่ระบุไว้ในแผน พัฒนาลุ่มน้ำระยะที่ 2 ทั้งนี้เนื่องจากเส้นทางอพยพของปลาทั้งหมดจะถูกปิดกั้นลง ณ ปัจจุบันไม่มีเทคโนโลยีหรือบันไดปลาโจนใดที่สามารถบรรเทาผลกระทบและมี ความเหมาะสมกับชนิดของความหลากหลายและขนาดของพันธุ์ปลาในแม่น้ำโขง (Dugan et.al., 2010) ที่ผ่านมามีการศึกษาผลกระทบและความเป็นไปได้ในการพัฒนาโครงการ จำนวนมากมาย รายงานที่สำคัญได้แก่ แผนการพัฒนาลุ่มน้ำโขงตอนล่าง ระยะที่ 2 (BDP2) และรายงานการประเมินผลกระทบทางด้านสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ เกี่ยวกับเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำในแม่น้ำโขงสายหลัก (SEA) เอกสารทำการฉบับนี้ได้ทำ การวิ เ คราะห์ ค วามเป็ น ไปอี ก ครั้ ง หนึ่ ง โดยใช้ ส มมุ ติ ฐ านเดี ย วกั น กั บ รายงานของ ศาสตราจารย์คอนแตนซ่า โครงการในแผนพัฒนาลุม่ น้ำระยะที่ 2 และรายงาน SEA ข้อ แตกต่างสำคัญของเอกสารทำการฉบับนี้กับรายงานอื่นๆ ได้แก่ การปรับปรุงการ ประมาณการมูลค่าของปลา การประเมินค่าการบริการจากระบบนิเวศและอัตรา ส่วนลดของทุนทางธรรมชาติ เช่น การประมงและพื้นที่ชุ่มน้ำ โดยรายงานของ ศาสตราจารย์คอสแตนซ่าได้เน้นย้ำถึงความเสี่ยงทางสังคมและสิ่งแวดล้อม อันเป็น ผลมาจากความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจที่จะเกิดขึ้นจากภาพอนาคตของแผนการ สร้างเขื่อนในแม่น้ำสายหลัก โดยได้มีข้อเสนอให้ทำการศึกษาเพิ่มเติมถึงผลกระทบที่ อาจเกิดขึ้น รายงานศาสตราจารย์คอสแตนซ่า ยังได้เน้นย้ำอีกว่ารัฐบาลของประเทศ ต่างๆ ลุ่มน้ำโขงตอนล่างควรพิจารณาอย่างรอบคอบถึงความสมดุลระหว่างการพัฒนา พลังงานน้ำกับพัฒนาวิถีชีวิตชนบทที่เป็นธรรมและยั่งยืน นับเนื่องจากการจัดพิมพ์รายงานของศาสสตราจารย์คอสแตนซ่า ได้มีประชุม ถกเถียงทางวิชาการกันอย่างรอบด้านอีกหลายครั้ง การประชุมเชิงปฏิบัติการระดับ ภูมิภาคที่จัดโดยมูลนิธิ Stimson ณ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย ประเทศไทย เมื่อปี 2557 สรุปบทเรียนและประเด็นต่างๆที่สำคัญไว้ดังนี้

I 67 I


OBELS OUTLOOK 2016

- ผลกระทบด้านลบของการประมงจับปลาคาดว่าจะเกิดขึ้นกับประชากรใน ลุ่มน้ำกว่า 30 ล้านคนโดยเฉพาะอย่างยิ่งประชาชนที่อาศัยอยู่ในประเทศกัมพูชาและ บริเวณสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขงของเวียดนาม (เอกสารทำการฉบับนี้ได้แก้ไขและ ปรับปรุงข้อมูลรายงานของศาสตราจารย์คอสแตนซ่าซึ่งพยากรณ์ไว้ว่าประเทศไทย จะได้รับผลกระทบจากมากที่สุด) - การประเมินผลกระทบจากการประมงล่าสุดพบว่า ปัจจุบันมีการจับปลา 2.1-2.5 ล้านต้น/ปี ในลุ่มน้ำโขงและหากมีการสร้างเขื่อนครบตามจำนวนที่ระบุไว้ใน แผน ผลกระทบจากการสูญเสียการประมงจะมีมลู ค่าสูงกว่าทีม่ กี ารประเมินคาดการณ์ ไว้ก่อนหน้านี้ - การโครงการเขื่อนไซยะบุรีตัดสินใจเดินหน้า ในขณะที่การประเมินผลกระทบ ทางสิ่งแวดล้อมข้ามพรมแดนยังไม่เสร็จสิ้นนั้น จะเป็นการสร้างบรรทัดฐานให้แก่การ พัฒนาเขื่อนอื่นๆอีกหลายเขื่อนในแม่น้ำโขงสายหลัก - รายงานที่ทำก่อนหน้านี้ ได้ประเมินผลกระทบทางวัฒนธรรม/สังคมของ โครงการพลังงานน้ำทีจ่ ะเกิดขึน้ ไว้ตำ่ เกินไป นอกจากนีต้ น้ ทุนในการเยียวยาผลกระทบ ที่จะเกิดขึ้นดังกล่าวก็ไม่ได้ถูกนำไปคิดรวมไว้ในต้นทุนการพัฒนา

แบบจำลองทางเศรษฐศาสตร์และการคำนวณอัตราส่วนลด

เอกสารทำการนี้เน้นการประเมินผลกระทบจากการพัฒนาโครงการ โดย คำอธิบายของภาพอนาคตต่างๆมีดังนี้ 1. “ภาพอนาคต 6 เขื่อน” หมายถึง ภาพอนาคตแผนในอีก 20 ปีข้างหน้าใน ลุม่ น้ำโขงตอนล่างด้วยการสร้าง 6 เขือ่ นในแม่นำ้ สายหลักทางตอนเหนือของ สปป.ลาว ซึ่งรวมแผนการพัฒนาพลังงานน้ำอีก 30 เขื่อนในแม่น้ำสาขา 2. “ภาพอนาคต 11 เขื่อน” หมายถึง ภาพอนาคตแผนในอีก 20 ปีข้างหน้า ในลุ่มน้ำโขงตอนล่างที่ต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงสภาวะภูมิอากาศ ของโลก ภาพอนาคตนี้นับรวมแผนการสร้าง 11 เขื่อนในแม่น้ำสายหลัก และแผนการพัฒนาพลังงานน้ำอีก 30 เขื่อนในแม่น้ำสาขา

I 68 I


สำนักงานเศรษฐกิจชายแดนและโลจิสติกส์

เอกสารทำการนี้ทำการคำนวณต้นทุนและผลประโยชน์ตามที่ระบุไว้ในในแผนพัฒนา ลุ่มน้ำโขงระยะที่ 2 (BDP 2) โดยจะแสดงผลในรูปของมูลค่าปัจจุบันสุทธิ (NPV) ใน ช่วงระยะเวลาการประเมิน 50 ปี (โปรดดูคำจำกัดความของมูลค่าปัจจุบันสุทธิใน กรอบด้านล่าง) โดยคำนวณบนฐานอัตราส่วนลดที่ 10% ซึง่ ค่ามาตรฐานทัว่ ไปในการ ประเมินโครงการโครงสร้างพืน้ ฐาน อย่างไรก็ตามรายงานของศาสตราจารย์คอสแตนซ่า ได้โต้แย้งวิธีการคำนวณมูลค่าปัจจุบันสุทธิ (NPV) โดยคำนวณบนฐานอัตราส่วนลดที่ 10% นั้นว่าไม่เหมาะสมกับทุนทางทรัพยากรธรรมชาติ (เช่น การประมงจับปลาและ พื้นที่ชุ่มน้ำ) สำหรับทุนทางทรัพยากรธรรมชาตินั้น รายงานของศาสตราจารย์คอสแตนซ่า ได้เสนอให้ใช้อัตราส่วนลดที่ต่ำกว่า 10% (รายงานของศาสตราจารย์คอสแตนซ่าใช้อัตราส่วนลดที่ 1% และ 3% สำหรับทุนทางธรรมชาติ) และไม่ควรมี ขอบเขตเวลาที่สิ้นสุด (50 ปี) เช่นเดียวกันกับทุนทางเศรษฐกิจชนิดอื่นๆ มูลค่าปัจจุบันสุทธิ (NPV) ของโครงการคือผลรวมของอัตราส่วนลดกระแส เงินสดในอนาคต (การลงทุน รายได้ ต้นทุน เงินกู้) ครอบคลุมระยะเวลาการ ประเมินโครงการ กระแสเงินสดในอนาคตนีจ้ ะถูกคำนวณมูลค่าให้เป็นปัจจุบนั โดยทั่วไปการประเมินความเป็นไปได้ของโครงการจะใช้อัตราส่วนลด 10% - หากมูลค่าปัจจุบันสุทธิของโครงการเป็นบวกหมายถึง ผลประโยชน์ มีค่าสูงกว่าต้นทุน โครงการมีความคุ้มค่าในการลงทุน - หากมูลค่าปัจจุบันสุทธิของโครงการเป็นลบหมายถึง ต้นทุนมีค่าสูง กว่าผลประโยชน์ โครงการไม่มีความคุ้มค่าในการลงทุน

I 69 I


OBELS OUTLOOK 2016

เอกสารทำการฉบับนี้ใช้วิธีวิทยาเช่นเดียวกันกับรายงานของศาสตราจารย์ คอสแตนซ่าและได้ทำการคำนวณค่าความอ่อนไหวโดยใช้อตั ราส่วนลดสำหรับทรัพยากร ธรรมชาติที่ 1% 3% และ 4% โดยอัตราส่วนลดที่ 4% นับว่าเป็นค่าสูงสุดสำหรับ อัตราส่วนลดที่ใช้การคำนวณต้นทุนทางทรัพยากรธรรมชาติ (Stiglitz, 1994) การคำนวณค่าความอ่อนไหวโดยใช้ค่าอัตราส่วนลดที่ต่างกันนี้ให้ผลสรุป คล้ายคลึงกัน โดยอัตราส่วนลดที่ต่ำจะส่งผลให้ผลกระทบด้านลบจากการสูญเสีย ทรัพยากรการประมงมีค่าสูงขึ้น อย่างไรก็ตาม เอกสารทำการฉบับนี้ไม่ได้คำนวณ อัตราเงินเฟ้อในการคำนวณมูลค่าปัจจุบนั สุทธิ ทัง้ นีเ้ พือ่ ให้เกิดความสอดคล้องเดียวกัน กับแผนพัฒนาลุ่มน้ำระยะที่ 2 และรายงานของศาสตราจารย์คอสแตนซ่า ตารางที่ 1 สรุปสมมุติฐานการคำนวณมูลค่าปัจจุบันสุทธิและอัตราส่วนลด

วิธีการคำนวณ

อัตราส่วนลด

พลังน้ำ

มูลค่าปัจจุบันสุทธิ-ระยะเวลา 50 ปี

10%

การเพาะเลี้ยงสัตว์และพืชน้ำ

มูลค่าปัจจุบันสุทธิ-ระยะเวลา 50 ปี

10%

การประมงเลี้ยงปลาในกระชัง

มูลค่าปัจจุบันสุทธิขอบเขตเวลาไม่สิ้นสุด

3%

การประมง จับปลา

มูลค่าปัจจุบันสุทธิขอบเขตเวลาไม่สิ้นสุด

3%

พื้นที่ชุ่มน้ำ

มูลค่าปัจจุบันสุทธิขอบเขตเวลาไม่สิ้นสุด

3%

ตะกอนดิน/ธาตุอาหาร

มูลค่าปัจจุบันสุทธิขอบเขตเวลาไม่สิ้นสุด

3%

อื่นๆ (ดูข้อความด้านล่าง)

มูลค่าปัจจุบันสุทธิ-ระยะเวลา 50 ปี

10%

ที่มา: จากการสรุปโดยผู้วิจัย

I 70 I


สำนักงานเศรษฐกิจชายแดนและโลจิสติกส์

บันทึกท้ายตาราง : มูลค่าปัจจุบันสุทธิในเอกสารนี้ สำหรับ ผลกระทบด้าน อื่นๆ (ได้แก่ ผลกระทบจากการผลิตการเกษตรแบบชลประทาน การลดลงของความ หลากหลายทางชีวภาพ และพื้นที่อ่อนไหวทางระบบนิเวศ การลดลงของพื้นที่ป่า การลดลงของพื้นที่ปลูกข้าว ผลกระทบจากความเสียหายจากน้ำท่วม ผลกระทบจาก รุกล้ำของน้ำเค็ม ผลกระทบจากพื้นที่ริมฝั่งที่ถูกกัดกร่อนสูญหาย ผลกระทบจากการ เดินเรือ) ได้ใช้ค่าเดียวกันกับ แผนพัฒนาลุ่มน้ำระยะที่ 2 ซึ่งคำนวณอยู่บนฐานอัตรา ส่วนลด 10% ในระยะเวลาการประเมิน 50 ปี

ข้อสมมติฐานสำคัญ

1. การผลิตพลังงานน้ำ แผนพัฒนาลุ่มน้ำระยะที่ 2 และรายงาน SEA ได้คาดการณ์ภาพอนาคตไว้ว่า การผลิตพลังงานน้ำในลุ่มน้ำโขงตอนล่างจะมีปริมาณถึง 25,000 เมกะวัตต์สำหรับ ภาพอนาคต 11 เขื่อน และ 18,000 เมกะวัตต์ สำหรับภาพอนาคต 6 เขื่อน โดยจะ ต้องลงทุนพัฒนาโครงการเป็นจำนวนเงินถึง 52 ล้านล้านเหรียญสหรัฐสำหรับภาพ อนาคต 11 เขื่อน และจะมีมูลค่าปัจจุบันสุทธิ 33 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ (ในจำนวน 11 เขื่อนที่จะก่อสร้างนี้ 9 เขื่อนจะสร้างในสปป.ลาว และอีก 2 เขื่อนจะสร้างใน ประเทศกัมพูชา โดยพลังงานไฟฟ้าจากน้ำส่วนใหญ่กว่า 90% จะถูกส่งออกขายให้ กับประเทศไทยและเวียดนาม กระแสไฟฟ้าพลังน้ำที่ผลิตได้จากทั้ง 11 เขื่อนนี้ คิดเป็น 6-8% ของความต้องการพลังงานทั้งหมดในประเทศลุ่มน้ำโขงได้ในปี 2025) การประเมินทางเศรษฐกิจของพลังงานน้ำในแผนพัฒนาลุ่มน้ำระยะที่ 2 ได้มี สมมุติฐานว่าประเทศเจ้าบ้านน่าจะเป็นเจ้าของโครงการ และผลประโยชน์จากการผลิต และขายกระแสไฟฟ้าพลังน้ำจะเป็นของประเทศเจ้าบ้าน แต่สมมุติฐานดังกล่าวดูจะ ไม่สมจริงและผลประโยชน์จากการผลิตและขายกระแสไฟฟ้าส่วนใหญ่นั้นไม่น่า จะเกิดขึ้นกับ สปป.ลาวหากมองจากข้อมูลงบลงทุนอันมหาศาล นอกจากนี้ แผน พัฒนาลุ่มน้ำระยะที่ 2 ยังมีสมมุติฐานเพิ่มเติมเกี่ยวกับการซื้อขายพลังงานที่ว่าราคา

I 71 I


OBELS OUTLOOK 2016

ค่าไฟฟ้านำเข้าและส่งออกจะอยู่ที่ 85% ของราคาทดแทนการนำเข้าของประเทศ นำเข้าพลังงาน จากสมมุติฐานดังกล่าวข้างต้นนี้จะก่อให้เกิดผลประโยชน์เฉพาะจาก การส่งออกและค้าพลังงาน เป็นมูลค่าปัจจุบันสุทธิกว่า 10 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ นอกจากนี้ ข้อมูลต้นทุนทางการเงินเพื่อลงทุนพัฒนาโครงการในบันทึกทางเทคนิค ของแผนพัฒนาลุ่มน้ำระยะที่ 2 ดูเหมือนจะต่ำกว่าความเป็นจริง ณ ปัจจุบัน ส่งผล ต่อตัวเลขมูลค่าปัจจุบันสุทธิของผลประโยชน์พลังงานน้ำที่ไม่สมจริง อย่างไรก็ดีจาก ข้อจำกัดทางข้อมูลทำให้เอกสารทำการชิ้นนี้ไม่สามารถวิเคราะห์ในรายละเอียด เชิงลึกได้ เอกสารทำการฉบับนี้มีข้อเสนอให้ทำการศึกษาในรายละเอียดเพิ่มเติม ต่อไป จากสมมุติฐานและข้อจำกัดบางกล่าวข้างต้น เอกสารทำการชิ้นนี้จึงใช้มูลค่า ปัจจุบันสุทธิของผลประโยชน์พลังงานดังที่แสดงในแผนพัฒนาลุ่มน้ำระยะที่ 2 และใน รายงานของศาสตราจารย์คอสแตนซ่า (25 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ สำหรับภาพอนาคต 6 เขื่อน และ 32.8 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ สำหรับภาพอนาคต 11 เขื่อน) แต่ได้ เปลี่ยนแปลงสมมุติฐานการจัดสรรผลประโยชน์การผลิตและการนำเข้าและส่งออก พลังงานให้สมเหตุสมผลมากยิ่งขึ้น กล่าวคือ สำหรับประเทศเจ้าบ้านที่จะสร้างเขื่อน จะได้รับผลประโยชน์ 30% และ ประเทศผู้ให้ทุนก่อสร้างโครงการและนำเข้ากระแส ไฟฟ้าจะได้รับผลประโยชน์ 70% จากผลประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นทั้งหมด สมมุติฐาน ดังกล่าวข้างต้นตั้งอยู่บนฐานคิดที่ว่า ปัจจุบันโครงการพัฒนาพลังงานน้ำขนาดใหญ่มี การลงทุนข้ามชาติโดยบริษัทสัญชาติไทยถือหุ้นกว่า 80% ในขณะที่สปป.ลาวถือหุ้น 20% และปริมาณของกระแสไฟฟ้าที่ผลิตได้ส่วนใหญ่ (90%) จะถูกส่งออกมายัง ประเทศไทย สมมุติฐานนี้มีผลทำให้การแบ่งปันผลประโยชน์ปัจจุบันสุทธิ (NPV) สำหรับภาพอนาคต 6 เขื่อนที่มีมูลค่าเท่ากับ 25 ล้านล้านเหรียญสหรัฐเปลี่ยนไป โดย สปป.ลาวจะได้รับผลประโยชน์ปัจจุบันสุทธิ 28% ประเทศไทย 56% กัมพูชา 4% และเวียดนาม 12% ส่วนมูลค่าผลประโยชน์ปัจจุบันสุทธิสำหรับภาพอนาคต 11 เขื่อน ซึ่งมีมูลค่ารวมกว่า 32.8 ล้านล้านเหรียญสหรัฐนั้น สปป.ลาวจะได้รับผลประโยชน์

I 72 I


สำนักงานเศรษฐกิจชายแดนและโลจิสติกส์

ปัจจุบันสุทธิ 22% ประเทศไทย 46% กัมพูชา 11% และเวียดนาม 21%

2. การประมงในอ่างเก็บน้ำหลังเขื่อน

โครงการการพัฒนาพลังงานน้ำจะเพิ่มพื้นที่กักเก็บน้ำตลอดจนศักยภาพการ ประมงในอ่างเก็บน้ำหลังเขื่อนตลอดลำน้ำโขง อย่างไรก็ตามการเปลี่ยนแปลงนี้อาจ จะส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงคุณภาพน้ำเนื่องจากปริมาณชีวมวลจำนวนมากที่จม อยู่ใต้น้ำจะเกิดการย่อยสลายโดยจุลินทรีย์ในที่อับอากาศโดยไม่อาศัยออกซิเจน กระบวนการย่อยสลายนี้จะลดทอนปริมาณออกซิเจนในน้ำส่งผลความเสียหายต่อ ชีวิตสัตว์และพืชน้ำที่อยู่ลึกลงไป เอกสารทำการนี้ใช้สมมุติฐานการเพิ่มขึ้นของการ ประมงในอ่างเก็บน้ำหลังเขื่อนเช่นเดียวกันกับแผนพัฒนาระยะที่ 2 คือมีศักยภาพ การประมงเพิ่มขึ้นอีกปีละ 64,000 ตัน (สำหรับภาพอนาคต 11 เขื่อน) โดยประเมิน มูลค่าผลประโยชน์จากการประมงจับปลาในอ่างเก็บน้ำหลังเขื่อนไว้ที่ 2.50 เหรียญ สหรัฐต่อกิโลกรัม

3. การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ

การผลิตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำได้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในบริเวณลุ่มน้ำโขง การ ประมาณการล่าสุดพบว่า ผลผลิตจากการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ณ ปัจจุบัน มีปริมาณ อยู่ที่ 2.4 ล้านตันต่อปี โดยประเทศที่ผลิตได้มากคือ ประเทศไทยและเวียดนาม (Hortle, 2015) การเพิ่มขึ้นของผลผลิตสัตว์น้ำด้วยการเพาะเลี้ยงอาจจะบรรเทา การสูญเสียทรัพยากรการประมงธรรมชาติได้อยูบ่ า้ ง แต่ไม่สามารถทดแทนการสูญเสีย จากการประมงและการจับปลาธรรมชาติทั้งหมด ทั้งนี้ เนื่องจากการผลิตเพาะเลี้ยง สัตว์และพืชน้ำที่เพิ่มขึ้นอย่างมากในปัจจุบันโดยเฉพาะในประเทศเวียดนามนั้นก็เป็น ไปเพื่อการส่งออกไปสู่ประเทศนอกลุ่มแม่น้ำโขง ข้อค้นพบที่สำคัญบางประการของ รายงาน SEA พบว่า แนวคิดการทดแทนการสูญเสียการประมงจับปลาธรรมชาติด้วย การผลิตเพาะเลีย้ งสัตว์และพืชน้ำอาจมีอปุ สรรคทีค่ วรพิจารณาไตร่ตรองอย่างรอบคอบ สองประการดังนี้ เหตุผลแรกคือผลผลิตจากการเพาะเลี้ยงสัตว์และพืชน้ำส่วนใหญ่

I 73 I


OBELS OUTLOOK 2016

ต้องอาศัยกับการจับปลาธรรมชาติเพือ่ เป็นวัตถุดบิ ในการผลิตปลาป่นเพือ่ ทำเป็นอาหาร ปลา เหตุผลประการที่สองการผลิตเพาะเลี้ยงสัตว์และพืชน้ำนั้นต้องมีการลงทุนทำห้ ต้นทุนการผลิตสูงกว่าการจับปลาตามธรรมชาติอยู่มาก เอกสารทำการฉบับนีใ้ ช้สมมุตฐิ านเดียวกับรายงานของศาสตราจารย์คอสแตนซ่า คือ มูลค่าปลาจากการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำเท่ากับ 2.5 เหรียญสหรัฐต่อกิโลกรัมและ การผลิตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจะเพิ่มขึ้นอีก 10% ของปลาตามธรรมชาติที่จะสูญเสียไป อย่างไรก็ตาม เอกสารทำการฉบับนี้ใช้การคำนวณผลประโยชน์การเพาะเลี้ยงสัตว์ และพืชน้ำเป็นมูลค่าปัจจุบันสิทธิโดยใช้อัตรส่วนลดที่ 10% เป็นระยะเวลา 50 ปี เหมือนกับการลงทุนประเภทอื่นๆ เนื่องจากการเพาะเลี้ยงสัตว์และพืชน้ำมีค่าใช้จ่าย ในการบริหารจัดการและบำรุงรักษาไม่เหมือนกับปลาที่จับได้ตามธรรมชาติ

4. การประมงจับปลาธรรมชาติ

ปัจจุบนั ข้อมูลสถิตกิ ารประมงจับปลาตามธรรมชาติในแม่นำ้ โขงของ 4 ประเทศ ลุ่มน้ำโขงตอนล่างมีความไม่แน่นอนค่อนข้างสูง ทั้งนี้ สืบเนื่องจากข้อมูลการจับปลา ภายใต้รายงานของรัฐบาลที่ไม่ครอบคลุมการประมงพื้นบ้าน และข้อมูลการประมง เพื่อการค้าที่มีการรายงานค่าไว้ต่ำกว่าความเป็นจริง ด้วยเหตุผลดังกล่าวข้างต้นการ ประเมินค่าการสูญเสียการประมงจับปลาหากเขื่อนทั้งหลายถูกสร้างในแม่น้ำโขงจึง เป็นเรื่องที่ทำได้ยากลำบากมากเนื่องจากขาดข้อมูลในเรื่องของชนิดพันธุ์ปลา แหล่ง ที่อยู่อาศัยและรูปแบบและนิสัยของการอพยพของปลาแต่ละชนิด อย่างไรก็ตาม ข้อมูลทางวิชาการในการประเมินค่าการจับปลาและผลกระทบจากการสร้างเขื่อนได้ นำมาสรุปไว้ในภาคผนวกที่ 2 โดยการประเมินค่าผลกระทบทางเศรษฐกิจ (มูลค่าปัจจุบนั สุทธิ NPV) ในแผนพัฒนาลุ่มน้ำโขงระยะที่ 2 ได้ประเมินผลกระทบต่อการจับปลา จากการสร้างเขือ่ นไว้โดยใช้ตวั เลขค่าต่ำทีส่ ดุ ของความเป็นไปได้ในการสูญเสียทรัพยากร ประมง รายงานของศาสตราจารย์คอสแตนซ่าได้สันนิษฐานว่ามีการประมงจับปลา ในแม่น้ำโขง 2.3 ล้านตันต่อปี และหากเขื่อนทั้งหมด 11 เขื่อนถูกสร้างขึ้น ผลผลิต

I 74 I


สำนักงานเศรษฐกิจชายแดนและโลจิสติกส์

จะลดลง 58% จากปริมาณปลาที่จับได้ทั้งหมดและประเทศไทยจะได้รับผลกระทบ จากการสูญเสียการประมงจับปลามากที่สุด ในขณะที่แผนพัฒนาลุ่มน้ำระยะที่ 2 (BDP 2) และรายงาน SEA คาดว่าการสูญหายหลักของการประมงจับปลาน่าจะเกิด ขึ้นกับประเทศกัมพูชาและเวียดนาม เอกสารทำการฉบับนี้ทบทวนและแก้ไขข้อมูลการจับปลาอพยพย้ายถิ่นให้ แม่นยำมากขึ้น โดยสันนิษฐานว่าความเป็นไปได้ที่ปลาอพยพระยะไกลจะสามารถ ปรับตัวอยู่รอดได้ภายใต้ภาพอนาคต 11 เขื่อนนั้นแทบจะเป็นไปไม่ได้เลย เนื่องจาก เส้นทางการอพยพของปลาทั้งหมดจะถูกปิดกั้นลงโดยเขื่อนที่จะสร้างขึ้นทั้งในแม่น้ำ สายประธานและในลุ่มน้ำสาขา ข้อมูลการสูญเสียของการประมงจับปลาอันเนื่อง มาจากการพัฒนาพลังงานน้ำและการสร้างเขื่อนนั้นสามารถสรุปได้ตามตารางที่ 2 โดยค่าประเมินดังกล่าวเป็นข้อสรุปจากแผนของรายงานการพัฒนาลุ่มน้ำระยะที่ 2 (BDP 2) ประเมินค่าโดย Hortle (2009) ตารางที่ 2 ประเมินค่าความเสียหายของการจับปลา เนื่องจากแผนโครงการพัฒนาพลังงานน้ำ การจับปลาล่าสุด (ตัน/ปี) สปป.ลาว ไทย กัมพูชา เวียดนาม รวมทั้งหมด

ภาพอนาคต 6 เขื่อน ภาพอนาคต 11 เขื่อน การคาดคะเน การคาดคะเน การจับปลาที่สูญเสีย การจับปลาทีส่ ูญเสีย (ตัน/ปี) (ตัน/ปี)

220,000 840,000 700,000 340,000 2,100,000

40,000 50,000 140,000 60,000 290,000

ที่มา: จากการคำนวณโดยผู้วิจัย

I 75 I

50,000 50,000 340,000 140,000 580,000


OBELS OUTLOOK 2016

บันทึกท้ายตาราง : การประเมินการจับปลาด้านบนไม่ได้นับรวมผลผลิตปลา ชายฝัง่ อีก 0.5-0.7 ล้านตัน/ปี (รายงานโดย SEA) และผลผลิตของสัตว์นำ้ อืน่ ๆ (OAA) อีกประมาณ 0.5 ล้านตัน/ปี ซึ่งต้องพึ่งพาอาศัยการพัดพาของตะกอนดินธาตุอาหาร ในแม่น้ำโขง เอกสารทำการฉบับนี้ สันนิษฐานมูลค่าปลาหรือสัตว์น้ำที่เลี้ยงในอ่างเก็บน้ำ หลังเขื่อนไว้ที่ 2.5 เหรียญสหรัฐต่อกิโลกรัมและสำหรับปลาที่จับตามธรรมชาติไว้ที่ 3.5 เหรียญสหรัฐต่อกิโลกรัม ซึง่ เป็นราคาขัน้ ต่ำทีซ่ อ้ื ขายในตลาด ณ ปัจจุบนั นอกจากนี้ มูลค่าปลาที่ทำการประเมินนี้ยังไม่ได้รวมไปถึงกิจกรรมต่อเนื่องทางเศรษฐกิจอื่นๆ อีกเช่น กิจกรรมต่อเนื่องทางเศรษฐกิจจากการผลิตเครื่องมือประมง อุตสาหกรรม ผลิตและแปรรูปอาหาร เป็นต้น มูลค่าและราคาของปลาที่ใช้ทำการประเมินผล กระทบในเอกสารทำการฉบับนี้ได้มาจากการข้อมูลการสำรวจราคาในท้องตลาดที่ จัดทำโดยกรมประมงของประเทศไทยในปี 2557 และได้ทำการสอบทานข้อมูลราคาปลา ในตลาดกับประเทศเวียดนาม สำหรับประเทศไทยและเวียดนามนั้นราคาปลาในท้อง ตลาดของจำพวกปลากินเนื้อจากบ่อเลี้ยง (เช่น ปลาช่อน ปลาดุก ปลาสวาย ปลาหมอ) และสำหรับจำพวกปลากินพืช (เช่น ปลาตะเพียน ปลานิล) จะอยู่ในอัตรากิโลกรัมละ 2-3 เหรียญสหรัฐ ในขณะที่ปลาที่จับจากธรรมชาติ (เช่น ปลาตะเพียน ปลาเกล็ด ปลา ตะเพียนทอง ปลาโมงยาง) จะมีราคาสูงกว่าในอัตรากิโลกรัมละ 5-10 เหรียญสหรัฐ (การสือ่ สารส่วนบุคคล, 2015)

5. พื้นที่ชุ่มน้ำ

ได้มีการประมาณการไว้ว่ากว่า 25% ของพื้นที่ในลุ่มน้ำโขงตอนล่างเป็นพื้นที่ ชุ่มน้ำ (MacArtney, 2015) พื้นที่ชุ่มน้ำประกอบด้วยผืนป่าที่น้ำท่วมถึง พื้นที่ชื้นแฉะ เป็นโคลนตม นาข้าว หนอง คลอง บึง และทุ่งหญ้า ซึง่ ถูกน้ำท่วมในช่วงฤดูฝน ตาม รายงานการประเมินภาพอนาคต 6 เขื่อนของแผนการพัฒนาลุ่มน้ำทั้งลุ่มน้ำ (MRC 2011) คาดการณ์ไว้วา่ พืน้ ทีช่ มุ่ น้ำในทุกรูปแบบจะมีปริมาณพืน้ ทีล่ ดลง เนือ่ งจากทัง้ 6

I 76 I


สำนักงานเศรษฐกิจชายแดนและโลจิสติกส์

เขื่อนหลักจะสร้างในพื้นที่ที่สูงกว่าระดับน้ำทะเลในประเทศสปป.ลาว และอ่างเก็บน้ำ จะกักเก็บน้ำไว้สง่ ผลกระทบต่อพืน้ ทีป่ า่ ชุม่ น้ำทีเ่ ดิมเคยเป็นพืน้ ทีน่ ำ้ ท่วมในฤดูฝนในพืน้ ที่ ตอนล่าง อย่างไรก็ตามสำหรับภาพอนาคต 11 เขือ่ น (ทีเ่ ขือ่ นอีก 5 เขือ่ นจะสร้างในพืน้ ที่ ตอนล่างของสปป.ลาว และกัมพูชา) จะส่งผลให้พื้นที่ทุ่งหญ้าน้ำท่วมในพื้นที่ตอนล่าง ของสปป.ลาว มีปริมาณทีเ่ พิม่ ขึน้ รายงานของศาสตราจารย์คอสแตนซ่าสันนิษฐานมูลค่าของพื้นที่ชุ่มน้ำไว้แตก ต่างกันไปตามแต่ชนิดของพื้นที่ชุ่มน้ำโดยอ้างอิงถึงมูลค่าพื้นที่ชุ่มน้ำที่ได้มาจากกรณี ศึกษาดินดอนปากแม่น้ำมิสซิสซิปปี้ (Batker et.al., 2008) มูลค่าบริการจากระบบ นิเวศพื้นที่ชุ่มน้ำเฉลี่ยที่ใช้ในรายงานของศาสตราจารย์คอสแตนซ่าคือ 3,000 เหรียญ สหรัฐ/เฮกแตร์/ปี ในขณะทีร่ ายงานการวิจยั ของ De Groot และคณะ (2012) พบว่า มูลค่าทางเศรษฐกิจทัง้ หมดจากบริการของระบบนิเวศพืน้ ทีช่ มุ่ น้ำของโลกมีคา่ ระหว่าง เฉลี่ยระหว่าง 3,300 ถึง 25,680 ดอลลาร์สหรัฐต่อเฮกแตร์ต่อปี เอกสารทำการฉบับ นี้ใช้มูลค่าบริการจากระบบนิเวศพื้นที่ชุ่มน้ำที่ได้มาจากการสำรวจครัวเรือน 780 ครัวเรือนในบริเวณบึงโขงโหลง ซึ่งเป็นบึงน้ำจืดขนาดใหญ่ที่สุดในภาคอีสานในจังหวัด บึงกาฬ ประเทศไทย (Chaikumbung, 2013) โดยได้ประมาณการมูลค่าบริการ จากระบบนิเวศพื้นที่ชุ่มน้ำเฉลี่ยไว้ที่ 1,300 ดอลลาร์สหรัฐต่อเฮกแตร์ต่อปี อย่างไรก็ ตามเอกสารทำการฉบับนีม้ ขี อ้ สังเกตุถงึ ตัวเลขมูลค่าบริการจากระบบนิเวศพืน้ ทีช่ มุ่ น้ำ ที่ได้จากกรณีศึกษาบึงโขงโหลง จังหวัดบึงกาฬที่ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยจากที่อื่นๆ อันเนื่อง มาจากครัวเรือนที่ทำการสำรวจเหล่านี้มีรายได้ต่ำกว่าที่อื่นๆส่งผลต่อความสามารถ และความเต็มใจที่จะจ่ายค่าบริการจากระบบนิเวศ เอกสารทำการฉบับนี้ได้ประเมิน มูลค่าบริการจากระบบนิเวศพื้นที่ป่าชุ่มน้ำไว้ที่ 1,500 ดอลลาร์สหรัฐต่อเฮกแตร์ต่อปี พื้นที่ชื้นแฉะและโคลนตมไว้ที่ 1,200 ดอลลาร์สหรัฐต่อเฮกแตร์ต่อปี และทุ่งพื้นที่ หญ้าชุ่มน้ำไว้ที่ 1,000 ดอลลาร์สหรัฐต่อเฮกแตร์ต่อปี

I 77 I


OBELS OUTLOOK 2016

การคำนวณทางเศรษฐกิจ สำหรับมูลค่าปัจจุบนั สุทธิได้สรุปไว้ในตารางที่ 3 โดยรายละเอียดความแตกต่าง ของเอกสารทำการฉบับนี้กับรายงานของศาสตราจารย์คอสแตนซ่าสามารถสรุปได้ ดังนี้ (1) การสูญเสียการประมงจับปลาซึ่งได้แสดงไว้ในตารางที่ 2 ภายใต้ หัวข้อที่ 4 ในขณะที่รายงานของศาสตราจารย์คอสแตนซ่าสันนิษฐาน ปริมาณการจับปลาไว้ที่ 2.3 ล้านตันต่อปี และ 58% ของปริมาณ ปลาที่จับได้ในแต่ละปีจะสูญเสียไปหากมีการพัฒนาพลังงานน้ำ (2) มูลค่าของพื้นที่ชุ่มน้ำซึ่งใช้กรณีศึกษาของประเทศลุ่มน้ำโขงตอนล่าง แทนการเทียบโอนมูลค่าจากดินดอนปากแม่น้ำมิสซิสซิปปี้ (3) ปรับปรุงตัวเลขการประมงในอ่างเก็บน้ำหลังเขื่อนซึ่งคลาดเคลื่อนไป ในรายงานฉบับที่แล้วให้ถูกต้อง (4) ผลกระทบทางเศรษฐกิจทีจ่ ะเปลีย่ นแปลงไป เช่น การประมงจับปลา การประมงในอ่างเก็บน้ำหลังเขื่อนการเพาะเลี้ยงสัตว์และพืชน้ำ และ ผลกระทบต่อพื้นที่ชุ่มน้ำจะมีคา่ เพิม่ ขึน้ ตามระยะเวลานับจากเริม่ การ ก่อสร้างและจะมีคา่ สูงสุดในปีท่ี 15 เป็นต้นไป (5) การคำนวณมูลค่าปัจจุบันสุทธิจากการเพาะเลี้ยงสัตว์และพืชน้ำ ใช้ อัตราส่วนลดที่ 10% ด้วยระยะเวลาการประเมิน 50 ปี (6) ตัวเลขมูลค่าปัจจุบันสุทธิสำหรับผลประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นจากการผลิต พลังงานน้ำถูกแบ่งให้เป็นของประเทศเจ้าบ้าน 30% และประเทศผู้ ลงทุนโครงการและนำเข้ากระแสไฟฟ้ารายใหญ่ 70% (7) การทบทวนประมาณค่ามูลค่าปัจจุบันสุทธิ (NPV) ในเอกสารทำการ ฉบับนี้ ได้คำนวณรวมผลกระทบทางทางสังคม/วัฒนธรรม และการ สูญเสียไหลของตะกอนดินและธาตุอาหาร มาเป็นส่วนหนึ่งของต้นทุน การพัฒนาโครงการ

I 78 I


สำนักงานเศรษฐกิจชายแดนและโลจิสติกส์

ตารางที่ 3 สรุปมูลค่าปัจจุบันสุทธิสำหรับภาพอนาคต 6 เขื่อน (ล้านดอลลาร์สหรัฐ) แผนพัฒนา ลุ่มน้ำระยะที่ 2

รายงานของ ศาสตราจารย์ คอสแตนซ่า

เอกสาร ทำการฉบับนี้

25,000

25,000

25,000*

การประมงในอ่างเก็บน้ำ

100

4,000

2,700

การเลี้ยงสัตว์และพืชน้ำ

1,300

800

400

การประมงจับปลา

-1,000

-28,500

-27,000

พื้นที่ชุ่มน้ำ

-200

-4,500

-1,500

สังคม/วัฒนธรรม

0

0

-800

ตะกอนดิน/ธาตุอาหาร

0

0

-2,700

อื่นๆ

1,500

1,500

1,500

รวมทั้งหมด

26,700

-1,700

-2,400

พลังงานน้ำ

ที่มา: จากการสรุปและคำนวณโดยผู้วิจัย *มูลค่าปัจจุบันสุทธิ (NPV) ของพลังงานน้ำได้มาจากแผนพัฒนาลุ่มน้ำระยะที่ 2 (BDP2) ซึ่งอาจมี ตัวเลขประมาณการสูงกว่าความเป็นจริง (รายละเอียดอธิบายไว้แล้วในหัวข้อที่ 1)

I 79 I


OBELS OUTLOOK 2016

ตารางที่ 4 ต้นทุนและผลประโยชน์แยกรายประเทศ สำหรับภาพอนาคต 6 เขื่อน (ล้านดอลลาร์สหรัฐ) แผนพัฒนาลุ่มน้ำระยะที่ 2

รายงานของ เอกสาร ศาสตราจารย์คอสแตนซ่า ทำการฉบับนี้

สปป.ลาว

17,600

16,600

4,600

ไทย

3,900

-1,400

10,300

กัมพูชา

1,400

-15,000

-13,200

เวียดนาม

3,800

-1,900

-4,100

รวมทั้งหมด

26,700

-1,700

-2,400

ที่มา: จากการสรุปและคำนวณโดยผู้วิจัย ตารางที่ 5 สรุปมูลค่าปัจจุบันสุทธิ คำนวณสำหรับภาพอนาคต 11 เขื่อน (ล้านดอลลาร์สหรัฐ) แผนพัฒนา ลุ่มน้ำระยะที่ 2

รายงานของ ศาสตราจารย์ คอสแตนซ่า

เอกสาร ทำการฉบับนี้

32,800

32,800

32,800*

การประมงในอ่างเก็บน้ำ

200

26,100

4,300

การเลี้ยงสัตว์และพืชน้ำ

1,300

4,000

800

การประมงจับปลา

-1,900

-133,600

-54,900

100

3,500

1,100

สังคม/วัฒนธรรม

0

0

-1,500

ตะกอนดิน/ธาตุอาหาร

0

0

-5,400

900

900

900

33,400

-66,300

-21,800

พลังงานน้ำ

พื้นที่ชุ่มน้ำ

อื่นๆ รวมทั้งหมด

ที่มา: จากการสรุปและคำนวณโดยผู้วิจัย

I 80 I


สำนักงานเศรษฐกิจชายแดนและโลจิสติกส์

*มูลค่าปัจจุบันสุทธิ (NPV) ของพลังงานน้ำได้มาจากแผนพัฒนาลุ่มน้ำระยะที่ 2 (BDP2) ซึ่งอาจมี ตัวเลขประมาณการสูงกว่าความเป็นจริง (รายละเอียดอธิบายไว้แล้วในหัวข้อ 1) ตารางที่ 6 ต้นทุนและผลประโยชน์แยกรายประเทศ สำหรับภาพอนาคต 11 เขื่อน (ล้านดอลลาร์สหรัฐ) แผนพัฒนาลุ่มน้ำระยะที่ 2

รายงานของ เอกสาร ศาสตราจารย์คอสแตนซ่า ทำการฉบับนี้

สปป.ลาว

22,600

20,400

3,400

ไทย

4,500

-39,100

11,000

กัมพูชา

2,600

-33,700

-26,400

เวียดนาม

3,700

-13,900

-9,800

รวมทั้งหมด

33,400

-66,300

-21,800

ที่มา: จากการสรุปและคำนวณโดยผู้วิจัย

ตารางที่ 3 และ 5 แสดงภาพผลกระทบทางเศรษฐกิจให้เห็นชัดเจนว่า มูลค่า การสูญเสียการประมงจับปลาจากธรรมชาติ (ซึ่งส่วนใหญ่เป็นปลาอพยพย้ายถิ่น) มี ค่าสูงกว่าผลประโยชน์จากการพลังงานน้ำสำหรับทั้งสองภาพอนาคต 6 เขื่อน และ 11 เขื่อน สำหรับตารางที่ 4 และ 6 ได้แสดงให้เห็นว่าโครงการพลังงานน้ำน่าจะก่อให้ เกิดประโยชน์ต่อประเทศไทยและ สปป.ลาว ในขณะที่ประเทศกัมพูชาและเวียดนาม น่าจะได้รับผลกระทบด้านลบ ผลการทบทวนการประเมินต้นทุนและผลประโยชน์ จากการพัฒนาพลังงานน้ำครั้งนี้มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญกับผลการศึกษาอื่นๆ ต่างก็ประเมินว่าประเทศสปป.ลาวน่าจะเป็นผู้รับผลประโยชน์หลักในภาพอนาคต ทัง้ หมด ในขณะทีป่ ระเทศไทยน่าจะได้ผลกระทบด้านลบ (กรณีภาพอนาคต 11 เขือ่ น)

I 81 I


OBELS OUTLOOK 2016

การคำนวณค่าความอ่อนไหว

ผลการคำนวณค่าความอ่อนไหว เมือ่ ทำการเปลีย่ นแปลงตัวแปรทีส่ ำคัญบางตัว สามารถสรุปได้ดังแสดงในตารางข้างล่างดังต่อไปนี้ ตารางที่ 7 ผลการคำนวณค่าความอ่อนไหวสำหรับภาพอนาคต 6 และ 11 เขือ่ น (ล้านดอลลาร์สหรัฐ) ภาพอนาคต 6 เขื่อน ภาพอนาคต 11 เขื่อน แผนพัฒนาลุ่มน้ำระยะที่ 2 แผนพัฒนาลุ่มน้ำระยะที่ 2 เอกสารทำการฉบับนี้

-2,400

-21,800

การสูญเสียทรัพยากรการประมง จั บ ปลาโดยใช้ ตั ว เลขประมาณ การที่เลวร้ายที่สุดจากแผนพัฒนา ลุ่มน้ำระยะที่ 2

-37,500

-57,800

การเปลี่ยนแปลงมูลค่าปลาจาก เดิม โดยลดราคาปลาเลี้ยงเป็น กิโลกรัมละ 2 ดอลลาร์และปลา ธรรมชาติเป็นกิโลกรัมละ 3 ดอลลาร์

800

-15,000

การเปลี่ย นแปลงมู ล ค่ า ปลาจาก เดิม โดยเพิ่มราคาปลาเลี้ยงเป็น กิโลกรัมละ 3 ดอลลาร์และปลา ธรรมชาติเป็นกิโลกรัมละ 4 ดอลลาร์

-57,000

-28,600

เปลี่ยนแปลงอัตราส่วนลด 4% สำหรับทรัพยากรธรรมชาติ

6,100

-5,500

ทีม่ า: จากการสรุปและคำนวณโดยผูว้ จิ ยั

I 82 I


สำนักงานเศรษฐกิจชายแดนและโลจิสติกส์

อาจกล่าวโดยสรุปได้ว่า การเปลี่ยนแปลงปริมาณการสูญหายของการประมง จับปลาหรือการเพิม่ ราคาปลาให้สงู ขึน้ จะส่งผลให้มลู ค่าปัจจุบนั สุทธิดา้ นลบมีคา่ ติดลบ มากยิ่งขึ้น นอกจากนี้การเปลี่ยนแปลงอัตราส่วนลดสำหรับทรัพยากรธรรมชาติโดย ใช้อัตราส่วนลดที่ 4% (ถือเป็นค่าอัตราส่วนลดสูงสุดสำหรับทรัพยากรธรรมชาติ) ก็จะส่งผลต่อมูลค่าปัจจุบันสุทธิเช่นเดียวกัน โดยที่อัตราส่วนลดที่ 4% ทำให้ภาพ อนาคต 11 เขื่อนจะมีผลกระทบสุทธิทางเศรษฐกิจเป็นลบเช่นเดียวกัน

ผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมและสังคมวัฒนธรรม

1. ผลกระทบต่อระบบนิเวศ คุณค่าจากการบริการของระบบนิเวศของระบบนิเวศวิทยาแม่น้ำโขงมีมากมาย เช่น บริการและประโยชน์ที่ได้รับจากการให้และการเป็นแหล่งเสบียง ได้แก่ อาหาร การประมง ผลผลิตจากพืชและสัตว์น้ำ น้ำจืดที่สะอาดและน้ำเพื่อการชลประทาน เป็นต้น นอกจากนี้ระบบนิเวศวิทยาแม่น้ำโขงยังให้บริการด้านอื่นๆอีก เช่น บริการ และประโยชน์ทไ่ี ด้รบั จากการควบคุมกลไกและการทำงานของระบบ ได้แก่ การควบคุม และรักษาสมดุลของน้ำและบรรยากาศ ความสามารถในการป้องกันการกัดเซาะ ชะล้างของหน้าดิน ความสามารถในการบรรเทาเบาบางผลกระทบจากภัยธรรมชาติ และความคงทนของตลิ่งแม่น้ำ บริการและประโยชน์ที่ได้รับในฐานะที่เป็นปัจจัย สนับสนุนและเกื้อกูลต่อระบบชีวิตทั้งหมด ได้แก่ การควบคุมการหมุนเวียนของธาตุ อาหารในดิน ความสำคัญในฐานะเป็นแหล่งการผลิตขั้นปฐม การเกิดดินตะกอน การไหลเวียนของธาตุอาหาร แหล่งเสบียงอาหารและบริการและประโยชน์ที่ได้รับ ทางด้านสังคมวัฒนธรรม ได้แก่ การท่องเที่ยว ความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของสถานที่ ผลประโยชน์จากการกระจายรายได้เพื่อกิจกรรมทางวัฒนธรรม เป็นต้น ปัจจุบันการประเมินมูลค่าประโยชน์จากการบริการของระบบนิเวศนยังเป็น แนวคิดที่ใหม่และยังไม่ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางในการการประเมินผลกระทบ ทางเศรษฐกิจที่ผ่านมา เอกสารทำการฉบับนี้เสนอให้มีการประเมินมูลค่าบริการของ

I 83 I


OBELS OUTLOOK 2016

ระบบนิเวศอย่างรอบด้านและชัดเจนอันจะนำไปสูค่ วามสมดุลของการจัดสรรทรัพยากร ของสังคมที่ยั่งยืน เป็นธรรม และ มีประสิทธิภาพสูงสุด

2. ผลกระทบต่อการไหลของตะกอนดินและธาตุอาหาร

รายงานวิจัยที่ผ่านมาได้ประมาณการจำนวนการทับถมของตะกอนแขวนลอย ในแม่น้ำโขงไว้ที่ 160-165 ล้านตันต่อปี ตะกอนดินต่างๆเหล่านี้ได้เติมธาตุอาหารที่ สำคัญให้แก่พื้นที่การเกษตรสองฝั่งแม่น้ำโขง (หรือคิดเป็นปริมาณเทียบเท่าของปุ๋ย ฟอสเฟตปีละ 26,000 ตัน) โครงการพัฒนาพลังงานน้ำของแม่น้ำโขงตอนบนใน ประเทศจีนที่ผ่านมาได้ส่งผลกระทบต่อการลดลงของจำนวนตะกอนดินและมูลค่า ของธาตุอาหารกว่า 50% ปัจจุบนั จำนวนตะกอนดินสะสมเหลือเพียง 80 - 82.5 ล้านตัน ต่อปี การศึกษาล่าสุดได้ทำการประมาณการไว้วา่ หากมีการก่อสร้างเขือ่ นทัง้ หมดตาม แผนทั้งหมดในลำน้ำสายหลัก การทับถมของตะกอนดินลดลงโดยรวมถึง 56 - 84% [ตามรายงานของ (Kummu et.al., 2010)] 75% [ตามรายงานของ SEA (ICEM 2010)] และสูงถึง 96% [ตามรายงานของ (Kondolf, 2014)] โดยจะส่งผลกระทบอย่างรุนแรง ต่อบริเวณดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำที่ต้องพึ่งพาอาศัยการสะสมของตะกอนดิน ในการดูแลป้องกันการกัดเซาะของชายฝั่งก่อให้เกิดความสมดุลของระบบนิเวศและ วัฏจักรการไหลเวียนของธาตุอาหาร รายงานของ Anthony และคณะ (2015) ยังได้ กล่าวไว้ว่า การกัดเซาะชายฝั่งที่ยาวกว่า 180 กิโลเมตรกำลังเป็นภัยผลคุกคามที่สำคัญ ปัจจุบันกว่า 90% ของชายฝั่งทะเลในทะเลจีนใต้กำลังเผชิญกับปัญหาการกัดเซาะ อันจะนำไปสู่ภัยคุกคามทางความมั่นคงทางอาหารในชีวิตความเป็นอยู่ของเกษตรกร และชาวประมง มีการประมาณการไว้ว่าความเสียหายจากสูญเสียตะกอนดินมีมูลค่าระหว่าง 100 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ถึง 1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปี ในเอกสารทำการฉบับนี้ ใช้ตวั เลขความสูญเสียขัน้ ต่ำทีส่ ดุ คือ 100 ล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปีสำหรับภาพอนาคต 6 เขื่อน และ 200 ล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปีสำหรับภาพอนาคต 11 เขื่อน โดยได้

I 84 I


สำนักงานเศรษฐกิจชายแดนและโลจิสติกส์

สันนิษฐานว่าการสูญเสียตะกอนกินและธาตุอาหารจะส่งผลแก่ประเทศเวียดนาม 70% และกัมพูชา สปป.ลาว และไทยจะได้รับความสูญเสียประเทศละ 10% ของมูลค่า ความสูญเสียทั้งหมด ทั้งนี้ ควรทำการศึกษาเพิ่มเติมในเรื่องของผลกระทบต่อปริมาณ และต้นทุนการสูญเสียของตะกอนดินและธาตุอาหารหากมีการพัฒนาพลังงานน้ำใน แม่น้ำโขงตามที่ระบุไว้ในแผนการพัฒนาลุ่มน้ำ

3. ผลกระทบด้านสังคม

จากการทบทวนแผนพัฒนาลุ่มน้ำระยะที่ 2 พบว่าผลกระทบทางสังคม วัฒนธรรม (เช่นเดียวกันกับผลกระทบต่อการประมงจับปลา) ไม่ได้ถูกนำไปประเมิน ไว้อย่างรอบด้าน การก่อสร้างเขื่อนไฟฟ้าและการพัฒนาพลังงานน้ำในแม่น้ำโขงและ แม่น้ำสาขาจะส่งผลต่อความมั่นคงทางอาหารและการดำรงชีวิตของคนในลุ่มน้ำกว่า 30 ล้านคน ขอบเขตความเข้าใจในเรื่องการพึ่งพาทรัพยากรน้ำและระบบนิเวศแม่น้ำ เพื่อการดำรงชีวิต ผลกระทบจากการพัฒนาต่อสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีของคน ในลุ่มน้ำยังมีอยู่อย่างจำกัดแต่ค่อยๆโผล่ปรากฏออกมาสู่วรรณกรรมสาธารณะมาก ยิ่งขึ้น การดำรงชีวิตของคนในพื้นที่ลุ่มน้ำโขงตอนล่างนั้นส่วนใหญ่ต้องพึ่งพาอาศัย ความอุดมสมบูรณ์ของระบบนิเวศแม่น้ำโขง ข้อเสนอเพื่อการพัฒนาพลังงานน้ำใน ลุม่ น้ำโขงอันจะนำไปสูก่ ารพัฒนาประเทศให้ทนั สมัยของภูมภิ าคนีจ้ ะเป็นปัจจัยทีส่ ำคัญ ในการกำหนดอนาคตความเป็นอยู่ของคนในลุ่มน้ำโขงตอนล่าง การทบทวนวรรณกรรมเพิ่มเติม พบว่าต้นทุนของการบรรเทาผลกระทบทาง สังคมของแต่ละโครงการเพื่อให้สอดคล้องกับแนวปฏิบัติที่ดีที่กำหนดไว้โดยธนาคาร โลกอยู่ที่ 5-12% ของต้นทุนการลงทุนทั้งหมด เอกสารทำการฉบับบนี้ ประมาณการ ต้นทุนการเยียวยาของผลกระทบทางสังคม/วัฒนธรรมโดยใช้มูลค่าการประเมินขั้น ต่ำที่สุดคือ 5% ของงบลงทุนทั้งหมด

I 85 I


OBELS OUTLOOK 2016

การประเมินความเสี่ยง

การวิเคราะห์ตน้ ทุนผลประโยชน์และการคำนวณมูลค่าปัจจุบนั สุทธิ (NPV) เป็น เครื่องมือสนับสนุนการตัดสินใจในการลงทุนที่สำคัญและจะเป็นประโยชน์อย่างมาก เมื่อข้อมูลปัจจัยนำมีความถูกต้องชัดเจน แต่สำหรับกรณีข้อเสนอโครงการพลังงาน น้ำในแม่น้ำโขงสายหลักนั้น ข้อมูลปัจจัยนำอีกหลายตัวยังมีความคลุมเครือ เช่น ผลกระทบข้ามพรมแดนและผลกระทบสะสมของโครงการที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต บทสรุปของรายงานการประเมินทางยุทธศาสตร์ดา้ นสิง่ แวดล้อมต่อเรือ่ งพลังงาน น้ำในแม่น้ำโขงสายหลัก (SEA) ได้วิเคราะห์ผลกระทบและความเสี่ยงของการพัฒนา พลังงานน้ำในแม่น้ำสายหลักไว้ดังนี้ - จะเกิดการเปลี่ยนแปลงและเกิดผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อวงจรทาง อุทกวิทยา ระบบการไหลเวียนของน้ำและตะกอนดินที่สะสมอยู่ตลอดในลุ่ม น้ำโขง - ระบบนิเวศแม่น้ำตั้งแต่แขวงบ่อแก้วจนถึงหลวงพระบาง ตลอดจนพื้นที่อ่าง เก็บน้ำหลังเขื่อนอื่นๆ จะเปลี่ยนแปลงไปอย่างสิ้นเชิงเนื่องจากการเปลี่ยน แปลงของวัฏจักรทางอุทกวิทยาทางธรรมชาติซึ่งป็นปัจจัยหลักที่ก่อให้เกิด ความอุดมสมบูรณ์และความหลากหลายของสิ่งมีชีวิต - การลดลงของตะกอนดินในแม่น้ำโขงจะส่งผลกระทบอย่างรุนแรงโดยเฉพาะ บริเวณดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำในเวียดนาม - เขื่อนในแม่น้ำสายหลักของลุ่มน้ำโขงตอนล่างจะส่งผลกระทบต่อความมั่นคง ของระบบนิเวศและระบบสิ่งมีชีวิตในน้ำของแม่น้ำโขง กล่าวคือ แหล่งดำรง ชีพและที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตในแม่น้ำซึ่งเดิมเคยขึ้นลงอย่างเป็นธรรมชาติ จะถูกท่วมจมอยู่ใต้น้ำอย่างถาวร - การสูญเสียความมั่นคงของระบบนิเวศแหล่งดำรงชีพนี้จะทำให้ผลิตภาพขั้น ปฐมภูมิลดลง

I 86 I


สำนักงานเศรษฐกิจชายแดนและโลจิสติกส์

- การเปลี่ยนแปลงของสภาวะภูมิอากาศจะเพิ่มความเป็นไปได้ของภัยพิบัติที่ รุนแรงที่อาจส่งผลกระทบต่อความปลอดภัยของเขื่อนหากไม่นำความเป็น ไปได้ของภัยพิบัตินี้มาพิจารณาในขั้นตอนการออกแบบก่อสร้างเขื่อน - ผลกระทบในเชิงลบนี้จะทำให้สัตว์และพืชที่มีความสำคัญในระดับนานาชาติ ตกอยู่ในภาวะเสี่ยงอันตรายและจะสูญพันธุ์ไปจากโลก - โครงการในแม่นำ้ สายหลักจะทำลายความอุดมสมบูรณ์ ทัง้ การผลิตและความ หลากหลายของทรัพยากรปลาในแม่น้ำโขง - ภาคการเกษตรจะได้รับผลกระทบจากการท่วมขังของพื้นที่บางส่วน เกิดการ สูญเสียพื้นที่ทำกิน และการสูญเสียพื้นที่ริมตลิ่งแม่น้ำ แม้จะมีการขยายพื้นที ่ การเกษตรแบบชลประทาน ความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นเหล่านี้ไม่มีเครื่องมือหรือเทคโนโลยีใดๆที่จะสามารถ บรรเทาเบาบางผลกระทบลงได้อาจนำไปสู่ภาวการณ์ขาดแคลนอาหารครั้งยิ่งใหญ่ ในลุ่มน้ำโขงตอนล่างโดยเฉพาะบริเวณที่ราบสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขงที่เป็นแหล่งอู่ ข้าวอู่น้ำที่สำคัญของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเป็นแหล่งผลิตอาหารให้ประเทศ เวียดนามกว่า 50% ผลิตข้าว 90% และผลิตอาหารทะเลอีก 60% มีมูลค่าการ ส่งออกหลายพันล้านเหรียญสหรัฐต่อปี ด้วยเหตุนี้การสูญเสียความมั่นคงทางอาหาร และโปรตีนสำหรับคน 30 ล้านคน นี้อาจนำไปสู่การอพยพย้ายถิ่นของประชากรใน พื้นที่ก่อให้เกิดวิกฤติทางสังคมและวัฒนธรรม

I 87 I


OBELS OUTLOOK 2016

บทสรุป

1. การศึกษานี้ยืนยันผลการศึกษาในรายงานของศาสตราจารย์คอสแตนซ่า โดยการเปลี่ยนแปลงสมมุติฐานบางตัวที่ระบุไว้ในแผนพัฒนาลุ่มน้ำระยะที่ 2 (BDP2) (เช่น อัตราส่วนลดของทรัพยากรธรรมชาติ มูลค่าราคาปลาเป็น 3 เหรียญสหรัฐต่อ หนึง่ กิโลกรัม) จะทำให้บทสรุปในแผนพัฒนาลุม่ น้ำระยะที่ 2 (BDP2) ถูกเปลีย่ นแปลงไป โครงการพัฒนาพลังงานน้ำมีมูลค่าปัจจุบันสุทธิ (NPV) เป็นลบ (มีต้นทุนมากกว่า ผลประโยชน์) 2. เอกสารฉบับนี้ประมาณการว่า ความสูญเสียทางเศรษฐกิจของการประมง จับปลา (บนพืน้ ฐานของข้อมูลของปลาอพยพ) มากกว่าผลประโยชน์ทไ่ี ด้รบั จากเขือ่ น ไฟฟ้าพลังงานน้ำ 3. การเปลี่ยนแปลงสมมุติฐานเรื่องการแบ่งปันผลประโยชน์ โดย 30% เป็น ของประเทศเจ้าบ้าน และ 70% เป็นของประเทศผู้ลงทุนโครงการและนำเข้ากระแส ไฟฟ้าส่งผลให้ประเทศไทยและลาวเป็นผู้ได้รับผลประโยชน์หลักจากโครงการไฟฟ้า พลังงานน้ำ ในขณะที่กัมพูชาและเวียดนามต้องแบกรับภาระต้นทุน หรือกล่าวอีก อย่างหนึ่งว่า นักพัฒนาโครงการ ผู้นำเข้ากระแสไฟฟ้าจะได้รับประโยชน์แต่คนยาก จนที่อาศัยอยู่ในชนบทกลับต้องรับภาระจากการพัฒนาครั้งนี้ 4. เอกสารทำการฉบับบนี้มีข้อสังเกตว่า มูลค่าปัจจุบันสุทธิ (NPV) ของการ สูญเสียการประมงจับปลาที่ระบุไว้ในแผนพัฒนาลุ่มน้ำระยะที่ 2 (BDP2) นั้นประมาณ การไว้ต่ำเกินไป (ทั้งตัวเลขปริมาณการประมงจับปลาที่จะลดลงและมูลค่าราคาปลา) ในขณะที่มูลค่าปัจจุบันสุทธิ (NPV) ของผลประโยชน์ที่เกิดจากเขื่อนไฟฟ้าพลังงาน น้ำนั้นประมาณการไว้สูงเกินไป (ตัวเลขการลงทุนต่ำเกินจริง และผลประโยชน์จาก การขายกระแสไฟฟ้าสูงเกินไป) 5. แผนพัฒนาลุ่มน้ำระยะที่ 2 (BDP2) ไม่ได้ถูกประเมินค่าผลกระทบทางสังคม และวัฒนธรรมอย่างรอบด้าน แต่สำหรับแนวปฏิบัติที่ดีนั้นค่าใช้จ่ายเพื่อการเยียวยา และบรรเทาผลกระทบจะอยู่ที่ 5-12% ของต้นทุนการลงทุนทั้งหมดซึ่งจะทำให้ โครงการพัฒนาพลังงานน้ำมีมูลค่าปัจจุบันสุทธิ (NPV) เป็นลบมากยิ่งขึ้น

I 88 I


สำนักงานเศรษฐกิจชายแดนและโลจิสติกส์

6. หากโครงการในแม่น้ำสายหลักไม่สามารถดำเนินการต่อไปหรือจำต้องเลื่อน ออกไปนั้นจะก่อให้เกิดความเสี่ยงไม่มากนักต่อเรื่องความมั่นคงของกระแสไฟฟ้าใน พื้นที่ลุ่มน้ำโขงตอนล่าง เนื่องจากสามารถผลิตจากแหล่งทรัพยากรทางเลือกอื่นๆ ได้ (เช่น พลังงานแสงอาทิตย์ ลม พลังงานชีวมวล) หรือปรับปรุงแก้ไขการใช้พลังงาน ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น 7. ในการทบทวนการศึกษาครั้งนี้ประมาณการว่า ประเทศสปป.ลาวจะได้รับ ผลประโยชน์จากการพัฒนาพลังงานน้ำมีมูลค่าปัจจุบันสุทธิ (NPV) ในเชิงบวกของทั้ง สองภาพอนาคต ทัง้ นีป้ ระเทศไทย กัมพูชา และเวียดนาม สามารถชดเชยค่าเสียโอกาส ให้ประเทศสปป.ลาว เพื่อไม่ให้ดำเนินการพัฒนาเขื่อนพลังงานน้ำในแม่น้ำโขง โดยจ่าย ประเทศละ 100 ล้านเหรียญสหรัฐต่อปี (รวม 3 ประเทศเป็นเงิน 300 ล้านเหรียญ สหรัฐต่อปี) เป็นระยะเวลา 30 ปีซึ่งจะเท่ากับมูลค่าปัจจุบันสุทธิ (NPV) ที่ประเทศ สปป.ลาวจะได้รับ แผนค่าใช้จ่ายเพื่อชดเชยค่าเสียโอกาสนี้มีมูลค่าน้อยกว่าความ สูญเสียด้านการประมงจับปลาที่จะเกิดขึ้นในประเทศกัมพูชาและเวียดนาม โดยชุมชน วิชาการและองค์กรระหว่างประเทศสามารถสนับสนุนกิจกรรมงานวิจัยที่จำเป็นเพื่อ การพัฒนาที่ยั่งยืน ปรับปรุงความรู้ ความเข้าใจ และวิธีการบรรเทาผลกระทบ ที่อาจ เกิดขึ้นในอนาคต

ข้อเสนอแนะ

1. พิจารณาแนวคิด “การจ่ายค่าบริการจากระบบนิเวศ” จากหลายๆประเทศ ในลุ่มน้ำโขงตอนล่างเพื่อชดเชยค่าเสียโอกาสให้แก่ประเทศลาว 2. ศึกษาประเมินความเสี่ยงอย่างรอบคอบ รอบด้าน โดยนักพัฒนาเขื่อนต้อง วางเงินประกันจำนวนหนึ่งที่เป็นหลักประกันความเสียหาย สามารถชดเชยหากเกิด เหตุการณ์หรือผลกระทบที่รุนแรง 3. ศึกษาต้นทุนและผลประโยชน์ที่อาจเกิดขึ้นทั้งหมดอันหมายรวมถึงต้นทุน ทางสิ่งแวดล้อมและสังคม ทั้งนี้จะทำให้ราคาซื้อขายพลังงานเป็นราคาที่สะท้อนต้นทุน ที่แท้จริงของการพัฒนาพลังงานน้ำ

I 89 I


OBELS OUTLOOK 2016

เอกสารทำการฉบับนี้เสนอให้มีการศึกษาในรายละเอียดเพิ่มเติม ในเรื่อง การ ประเมินโครงการพัฒนาพลังงานน้ำในลุม่ น้ำโขงตอนล่าง การประเมินต้นทุนทางสังคม และสิ่งแวดล้อมโดยเฉพาะเรื่องต้นทุนการสูญเสียการประมงจับปลาและการเปลี่ยน แปลงของตะกอนดิน/ธาตุอาหาร ทั้งนี้เพื่อทำให้การประเมินค่าทางเศรษฐกิจของการ พัฒนาพลังงานน้ำในลำน้ำหลักตลอดลำน้ำโขงแม่นยำมากขึ้น คณะผู้วิจัยหวังเป็น อย่างยิ่งว่าเอกสารทำการฉบับบนี้จะส่งเสริมให้เกิดการถกเถียงทางวิชาการ และการ อภิปรายในวงกว้าง และขอน้อมรับข้อเสนอแนะจากผูม้ สี ว่ นได้สว่ นเสียทีส่ นใจทัว่ ทุกหน แห่งที่จะทำให้การศึกษาในอนาคตมีขอบเขตและความชัดเจนของข้อมูลมากยิ่งขึ้น

I 90 I


สำนักงานเศรษฐกิจชายแดนและโลจิสติกส์

เอกสารอ้างอิง

An, V. V. (2015) Death by a 1000 Cuts or Just Another Day at the Of fice. American Fisheries Society. Portland, Oregon. Anthony, E. J., Brunier, G., Besset, M., Goichot, M., Dussouillez, P., & Nguyen, V. L. (2015) Linking rapid erosion of the Mekong River delta to human activities. Scientific reports 5, 14745. Barlow, C. (2008) Dams, fish and fisheries in the Mekong River Basin. Catch and Culture 14(2): 4-7. Barlow, C., Baran, E., Halls, A. S., & Kshatriya, M. (2008) How much of the Mekong fish catch is at risk from mainstream dam develop ment?. Catch and Culture 14(3). Batker, D., I. de la Torre, R. Costanza, P. Swedeen, J. Day, R. Boumans, & Bagstad., K. (2010) Gaining ground: Wetlands, hurricanes, and the economy: The value of restoring the Mississippi River Delta. Environmental Law Reporter 40: 11106–11110. Chaikumbung, M. (2013) Estimating wetland values: A comparison of benefit transfer and choice experiment values. Doctor of Phi- losophy, Deakin University, Australia. Costanza, R., I. Kubiszewski, P. Paquet, J. King, S. Halimi, H. Sanguann goi, N. L. Bach, R. J. Frankel, J. Ganjaseni, A. Intralawan and D. Morell. (2011) Alternative Planning Approaches for Hydro power Develo- ment in the Lower Mekong Basin, Portland State University USA and Mae Fah Luang University Thailand. Cowx, I. G., W. Kamonrat, N. Sukumasavin, R. Sirimongkolthawon, S. Suksri and N. Phila. (2015) Larval and Juvenile Fish Communities of the Lower Mekong Basin MRC Technical Paper No. 49. Phnom Penh, Cambodia.

I 91 I


OBELS OUTLOOK 2016

De Groot, Stuip, Finlayson and Davidson. (2006) Valuing wetlands: Guidance for valuing the benefits derived from wetland ecosys tem services, Ramsar Technical Report No. 3. De Groot, R., L. Brander, S. Van Der Ploeg, R. Costanza, F. Bernard, L. Braat, M. Christie, N. Crossman, A. Ghermandi and L. Hein. (2012) Global estimates of the value of ecosystems and their services in monetary units. Ecosystem services 1(1): 50-61. Dugan, P. (2008) Mainstream dams as barriers to fish migration: inter national learning and implications for the Mekong. Catch and Culture 14(3). Dugan, P., C. Barlow, A. A. Agostinho, E. Baran, C. F. Cada, D. Chen, C. Ian G, J. W. Ferguson, T. Jutagate, M. Mallen-Cooper, G. Marmul la, J. Nestler, M. Petrere, R. L. Welcomme and K. O. Winemiller. (2010) Fish Migration, Dams, and Loss of Ecosystem Services in the Mekong Basin. AMBIO 39: 344-348. Hall, D. and L. Bouapao. (2010) Social Impact Monitoring and Vulner ability Assessment: Regional Report. Mekong River Commission, Vientiane, Lao PDR: 179. Halls, A. (2010) Estimation of Annual Yield of Fish by Guild in the Lower Mekong Basin, WorldFish center, Phnom Penh, Cambodia.Hortle, K. G. (2007) Consumption and the Yield of Fish and other Aquatic Animals from the Lower Mekong Basin. MRC Technical Paper No. 16, Mekong River Commission, Vientiane, Lao PDR. Hortle, K. G. and P. Bamrungrach. (2015) Fisheries Habitat and Yield in the Lower Mekong Basin MRC Technical Paper No. 47, Mekong River Commission, Phanon Penh, Cambodia.

I 92 I


สำนักงานเศรษฐกิจชายแดนและโลจิสติกส์

ICEM. (2010) Fisheries Baseline Assessment Working Paper. ICEM. (2010) MRC Strategic Environmental Assessment (SEA) of Hydro power on the Mekong Mainstream. Hanoi, Vietnam. Kondolf, G., Z. Rubin and J. Minear. (2014) Dams on the Mekong: cumulative sediment starvation. Water Resources Research 50(6): 5158-5169. Kummu, M., X. Lu, J. Wang and O. Varis. (2010) Basin-wide sediment trapping efficiency of emerging reservoirs along the Mekong. Geomorphology 119(3): 181-197. McCartney, M. (2015) Wetlands play critical role in economic growth of the Mekong. Mekong River Commission. (2010) Assessment of Basin-wide Develop ment Scenarios: Technical Note 11 Impacts on Fisheries. Vientiane, Lao PDR. Mekong River Commission. (2011) Assessment of Basin-wide Devel opment Scenarios – Basin Development Plan Programme, Phase 2. Vientiane, Lao PDR. Nam, S. (2015) Importance of Inland Capture Fisheries in the Lower Mekong Basin. American Fisheries Society. Portland, Oregon. Stiglitz, J. (1994) Discount rates, the rate of discount for benefit cost analysis and the theory of second best. Cost Benefit Analysis (2nd ed.). R. Layard and S. Glaister. Cambridge, Cambridge Uni versity Press. Van Zalinge, N. Degen, P. Pongsri, C. Sam Nuov, Jensen J., Nguyen V.H. and X. Choulamany. (2004) The Mekong River System. Proceedings of the Second International Symposium on the Management of Large Rivers for Fisheries, Vol. 1, FAO Regional Office for Asia and the Pacific, Bangkok, Thailand.

I 93 I


OBELS OUTLOOK 2016

ส่วนที่ 2

จีนศึกษา (China The Series)

I 94 I


สำนักงานเศรษฐกิจชายแดนและโลจิสติกส์

นโยบายเศรษฐกิจต่างประเทศของจีนต่อ บริบทใหม่ของเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชีย สิทธิชาติ สมตา, พรพินันท์ ยี่รงค์ และณัฐพรพรรณ อุตมา

นับตั้งแต่เปลี่ยนผ่านมาครึ่งศตวรรษจากการดำเนินนโยบายปฏิรูปและเปิด ประเทศ จีนได้ก้าวขึ้นมาเป็นมหาอำนาจทางการเมืองและทางเศรษฐกิจของโลก จีน ไม่เพียงมีบทบาทโดดเด่นในเวทีการเมืองระหว่างประเทศเท่านั้น หากแต่ยังมีฐานทาง เศรษฐกิจขนาดใหญ่ที่สำคัญของโลก และมีการขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ในด้านการต่างประเทศ จีนได้ให้ความสำคัญต่อการวางนโยบายและ ยุทธศาสตร์ใหม่ของจีนให้สอดคล้องกับสถานการณ์ทง้ั ในประเทศและระหว่างประเทศ พร้อมทั้งขยายความสัมพันธ์และความร่วมมือระหว่างประเทศและองค์กรระหว่าง ประเทศต่างๆ นโยบายต่างประเทศของจีนมุ่งให้ความสนใจต่อการค้า การลงทุน และการให้ความช่วยเหลือต่อประเทศต่างๆ ทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็นประเทศเพื่อนบ้าน ในแถบเอเชีย สหภาพยุโรป อเมริกาเหนือ ลาตินอเมริกา และทวีปแอฟริกา

I 95 I


OBELS OUTLOOK 2016

นโยบายต่างประเทศของจีนในช่วงปี 1949-1976 ของเหมาเจ๋อตุง เน้นอุดมการณ์ และหลักการอิงลัทธิมาร์กซ-เลนิน โดยนำเอาลัทธิมาร์กซ-เลนินมาทำให้เป็นของจีน ชาวต่างชาตินิยมเรียกว่า ลัทธิเหมา (Maoism) แต่ในจีนนิยมเรียกกันว่า “ความคิด ของเหมาเจ๋อตุง” (Mao Zedong Thought) ในส่วนที่เกี่ยวกับนโยบายต่างประเทศ “ลัทธิเหมา” เน้นเรื่อง อุดมการณ์ (Ideology) ลัทธิสากลนิยม (internationalism) “อำนาจ” (power) “ผลประโยชน์” (interest) และเงื่อนไขระหว่างประเทศควบคู่ กันไป (เขียน ธีระวิทย์, 2541, น.11-12) รวมทั้งต่อต้านการขยายอาณานิคมหรือการ ต่อต้านลัทธิครองความเป็นเจ้าของ (hegemonism) ในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ จีนให้ความสำคัญกับสหภาพโซเวียตเป็นหลักในการพัฒนาเศรษฐกิจและอุตสาหกรรม ร่วมกันรวมถึงนำรูปแบบการพัฒนาของโซเวียตมาปรับใช้ในประเทศ และมุ่งเน้นให้ ความช่วยเหลือกลุ่มประเทศพันธมิตรที่มีรูปแบบการปกครองคล้ายกันเพื่อให้สามารถ พึ่งตนเองได้ตามแนวคิดของเหมาเจ๋อตุง การดำเนินนโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจในประเทศช่วงปี 1958-1962 เหมาเจ๋อตุง ได้ยกเลิกแผนพัฒนาเศรษฐกิจฉบับที่ 2 และได้เสนอนโยบายพัฒนาเศรษฐกิจ ที่เรียกว่า “ธงแดง 3 ผืน” (Three Red Banners) ประกอบด้วยธงแดงผืนที่ 1 คือ การให้ความสำคัญแก่ภาคอุตสาหกรรมและเกษตรกรรมไปพร้อมๆกัน ธงแดงผืนที่ 2 พยายามเพิ่มพูนผลผลิตในทุกๆ ด้านอย่างรวดเร็ว และธงแดงผืนที่ 3 คือ การสร้าง คอมมูนประชาชนให้เป็นหน่วยพืน้ ฐานทางด้านการผลิต การบริหารการศึกษาสาธารณสุข และการทหาร โดยมีกองการผลิตใหญ่ (production brigade) และกองการผลิตเล็ก (production team) เป็นหน่วยงานระดับรอง เพื่อลดความสำคัญของครอบครัวใช้ ชีวติ แบบกลุม่ มากขึน้ เป็นอุดมการณ์ทก่ี ระตุน้ ให้ชาวจีนเสียสละและร่วมมือกันพัฒนา จีนให้ก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว (จุลชีพ ชินวรรโณ, 2541, น.22) อย่างไรก็ตามผลของ นโยบายก้าวกระโจนไม่ประสบความสำเร็จเท่าทีค่ วร เนือ่ งจากความแปรผันของสภาพ อากาศทำให้ไม่สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ตามเป้าหมาย เกิดการขาดแคลนอาหาร และวิกฤตเศรษฐกิจจนนำไปสู่การปล้นสะดมของทางการ ต่อมาในปี 1966-1976 การพัฒนาเศรษฐกิจจีนได้ยึดลัทธิการพึ่งตนเอง โดยจีนปรับโครงสร้างเศรษฐกิจให้

I 96 I


สำนักงานเศรษฐกิจชายแดนและโลจิสติกส์

เป็นแบบพึ่งตนเอง คอมมูนและหน่วยต่างๆทางสังคม รวมทั้งระบบทหารมีอัตราการ พึ่งตนเองในทางเศรษฐกิจสูง การค้าระหว่างประเทศไม่ได้รับการส่งเสริม ไม่มีการ ออกไปลงทุนในต่างประเทศ และไม่รับการลงทุนจากต่างประเทศ (เขียน ธีระวิทย์, 2541, น.17) ซึ่งลัทธิการพึ่งตนเองได้จบลงพร้อมกับการจากไปของเหมาเจ๋อตุง การเปลี่ยนแปลงเศรษฐกิจและนโยบายต่างประเทศของจีนได้ก้าวเข้าสู่ช่วง สำคัญตั้งแต่การขึ้นมาของเติ้งเสี่ยวผิง ในปี 1978 โดยเติ้งเสี่ยวผิงได้ประกาศนโยบาย การพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศคือ “สี่ทันสมัย” เป็นแนวคิดในการพัฒนาเกษตรกรรม อุตสาหกรรม การทหาร และวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยมีการปฏิรูป เศรษฐกิจภายในประเทศโดยตรงทั้งในภาคเกษตรกรรมและภาคอุตสาหกรรม โดย นโยบายเปิดประเทศเพื่อรับเอาวิทยาการหรือวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจากภาย นอกมาเพื่อใช้ประโยชน์ ด้วยเหตุนี้นโยบายปฏิรูปกับนโยบายเปิดประเทศจึงมีความ สำคัญควบคู่กันไปอย่างแยกไม่ออก ต่อมาในปี 1979 จีนได้ออกกฎหมายว่าด้วยการ ลงทุนร่วมระหว่างจีนและต่างชาติ เพื่อสร้างโอกาสลงทุนร่วมกับชาวต่างชาติ และ ช่วยพัฒนาเศรษฐกิจของจีน ในปีเดียวกันจีนได้จัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษขึ้น 4 แห่ง ได้แก่ เซินเจิ้น จูไห่ ซันเถา และเซี่ยเหมิน ตามด้วยเมืองที่มีชายฝั่งทั้งหมด 14 แห่ง ต่อมาในปี 1984 จีนได้ทำการเปิดดอนสามเหลี่ยมของปากแม่น้ำแยงซี แม่น้ำจูเจียง และดอนสามเหลี่ยมตอนใต้ของมณฑลฝูเจี้ยน ในปี 1985 และในปี 1988 ประกาศ ยกฐานะเกาะไหหลำเป็นมณฑลและเปิดเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษเป็นแห่งที่ห้า (เขียน ธีระวิทย์, 2542, น.23) เป็นการพัฒนาพื้นที่ให้มีการลงทุนด้านอุตสาหกรรม พื้นที่ เฉพาะเขตการค้า และพื้นที่เพื่อการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีระดับสูง โดยมีจุด ประสงค์เพื่อดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ เทคโนโลยีทางวิชาการ ส่งเสริมการส่ง ออกเพื่อเงินตราต่างประเทศ และแก้ปัญหาคนว่างงาน ทั้งนี้ในปี 1987 เติ้งเสี่ยวผิง กล่าวว่า ภายใต้เงื่อนไขที่เป็นที่เป็นอยู่ จีนควรให้ความสนใจต่อผลประโยชน์ทาง เศรษฐกิจมากขึน้ โดยต้องให้ความสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจก่อนการพัฒนาอาวุธ (เขียน ธีระวิทย์, 2541, น.18)

I 97 I


OBELS OUTLOOK 2016

ในส่วนของนโยบายต่างประเทศ จีนดำเนินนโยบายที่เป็นอิสระและยึดมั่นใน หลัก 5 ประการ ได้แก่ เคารพอธิปไตยและบูรณาภาพแห่งดินแดนของกันและกันไม่ รุกรานซึง่ กันและกัน ไม่แทรกแซงกิจการภายในของกันและกัน เท่าเทียมกันและสนอง ผลประโยชน์ของกันและกัน และอยูร่ ว่ มกันโดยสันติ (เขียน ธีระวิทย์, 2541, น.19) ตามสภาวะแวดล้อมที่มีการเปลี่ยนแปลงทำให้หลังจากทศวรรษ 1980 เป็นต้นมา ภารกิจสำคัญของประเทศนัน้ เปลีย่ นไปเน้นทีก่ ารสร้างเศรษฐกิจเป็นสำคัญ ยึดมัน่ และ ไม่ลังเลที่จะดำเนินการเปิดประเทศต่อโลกภายนอก ติดต่อกับนานาประเทศบน พื้นฐานของผลประโยชน์ร่วมและเท่าเทียมกัน ด้วยเหตุนี้ จีนจึงตัดสินใจกำหนดทิศ ทางนโยบายต่างประเทศใหม่ในปี 1982 ซึ่งเรียกว่า “นโยบายต่างประเทศจีนใหม่” (New Chinese foreign policy) ท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงหลังจากการปฏิรูปและการเปิดประเทศของ เติ้งเสี่ยวผิงจนถึงปัจจุบัน การเข้าเป็นสมาชิกขององค์การการค้าโลก (WTO) ของจีน ประสบความสำเร็จในเดือนพฤศจิกายน ปี 1999 หลังจากพยายามมาตลอดช่วง 15 ปี ส่งให้เศรษฐกิจจีนมีการขยายตัวเพิม่ ขึน้ อย่างมาก ไม่วา่ จะเป็นด้านการค้าระหว่าง การไปลงทุนโดยตรงยังต่างประเทศ และการให้ความช่วยเหลือต่างประเทศของจีน ภายหลังปี 2000 เศรษฐกิจจีนขยายตัวเพิ่มขึ้นส่งผลให้ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายใน ประเทศจีน (GDP) เติบโตขึน้ ด้วยเช่นกัน (รูปที่ 1) ในปี 2007 อัตราการเติบโตของ GDP เพิ่มสูงขึ้น 14.19% ถือได้ว่าเป็นการเติบโตสูงที่สุดของจีน หลักจากนั้น GDP ลดลง เหลือ 9.23% ในปี 2009 สาเหตุมาจากวิกฤตเศรษฐกิจแฮมเบอร์เกอร์ของสหรัฐอเมริกา และฟืน้ ตัวขึน้ เล็กน้อยในปี 2011 ประมาณ 10.63% หรือ เพียง 1.4% จากปี 2009 หลังจากนัน้ GDP ของจีนได้ลดถอยลงตามสภาวะเศรษฐกิจโลกโดยในปี 2014 เหลือเพียง 7.35% อย่างไรก็ตาม ด้วยฐานเศรษฐกิจขนาดใหญ่ถึงแม้ GDP จะลดลงจีน ยังคงเป็นอันดับหนึ่งของโลก

I 98 I


สำนักงานเศรษฐกิจชายแดนและโลจิสติกส์

รูปที่ 1 ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศจีน (Gross Domestic Product :GDP)

ที่มา : World Bank (CEIC), 2558

• การค้าระหว่างประเทศของจีน

การค้าระหว่างประเทศในสมัยเหมาเจ๋อตุงเป็นเพียงส่วนเสริมของระบบ เศรษฐกิจ คือการนำผลผลิตที่เหลือส่งออกและนำเข้าผลผลิตที่ไม่เพียงพอเท่านั้น แต่หลังยุคเหมาเจ๋อตุงถือว่าการค้าระหว่างประเทศนั้นมีความสำคัญในการพัฒนา เศรษฐกิจของประเทศ หลักฐานที่สำคัญที่แสดงให้เห็นถึงความสำคัญในการส่งเสริม การค้าระหว่างประเทศในอันดับต้นๆ คือ 1) ลดการควบคุมสินค้าเข้า-ออก โดยการ ลดหรือยกเลิกรายการสินค้าต้องห้าม รายการสินค้าโควตา กำแพงภาษีศุลกากร 2) จัดตั้งกลไกนำสินค้าเข้าและส่งสินค้าออก รวมทั้งจัดแสดงนิทรรศการส่งเสริมสินค้า ออก 3) รัฐเลิกผูกขาดธุรกิจการค้าต่างประเทศ 4) เปิดการค้าเสรีตามชายแดน และ 5) การส่งเสริมการลงทุนต่างประเทศให้ไปผลิตสินค้าในจีน (เช่น ในเขตเศรษฐกิจพิเศษ ประเภทต่างๆ) เพื่อการส่งออกเป็นต้น (เขียน ธีระวิทย์, 2541, น.111-113) โดย สัดส่วนมูลค่าการค้าต่างประเทศของจีนเทียบกับ GNP เพิ่มจาก 10% ในปี 1978 เป็น 36% ในปี 1993 และ 37% ในปี 1994 ส่งผลให้อันดับการค้าต่างประเทศ ของจีนเป็นอันดับ 10 ในปี 1995 (เขียน ธีระวิทย์, 2541, น.113) ขณะเดียวกันหลัง

I 99 I


OBELS OUTLOOK 2016

จากจีนได้เข้าเป็นสมาชิกของ WTO การค้าระหว่างประเทศของจีนได้ขยายตัวมากขึ้น จากรูปที่ 2 เห็นได้ว่าสัดส่วนมูลค่าการค้าต่างประเทศของกับแต่ละทวีปเทียบกับ GDP มูลค่าการค้าเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งจากสัดส่วนการค้าทวีปเอเชียเป็นทวีปคู่ค้า สำคัญของจีน รองลงมาคือสหภาพยุโรป อเมริกาเหนือ ลาตินอเมริกา และแอฟริกา รูปที่ 2 สัดส่วนการค้าระดับทวิภาคีระหว่างจีนกับแต่ละทวีปปี 2001 - 2014

ที่มา : General Administration of Customs และ World Bank (CEIC) คำนวณโดยผู้วิจัย, 2558

ในปี 2008 สัดส่วนการค้ากับแต่ละทวีปมีการขยายตัวสูงที่สุดก่อนวิกฤตเศรษฐกิจแฮมเบอร์เกอร์ (Hamburger Crisis) ในปี 2009 แต่มีเพียงทวีป 2 ทวีป เท่านั้นที่สามารถกลับมาเติบโตได้สูงกว่าในปี 2008 คือ ทวีปเอเชีย ที่มีการเติบโต ประมาณ 42.71% ในปี 2008 ลงลดเหลือ 33.53% ในปี 2009และฟื้นตัวเพิ่มสูงขึ้น 44.95% ในปี 2011 และเพิ่มขึ้นอีกในปี 2013 ประมาณ 45.27% เห็นได้ว่าฟื้นตัว ขึ้นมากกว่า 10% จากปี 2009 เช่นเดียวกันกับสหภาพยุโรป ที่มีการเติบโตประมาณ 15.98% ในปี 2008 ลงลดเหลือ 12.21% ในปี 2009 และฟื้นตัวเพิ่มสูงขึ้น 16.55% ในปี 2011 ในขณะทวีปอเมริกาเหนือ ลาติอเมริกา และแอฟริกา เติบโตขึ้นเพียง

I 100 I


สำนักงานเศรษฐกิจชายแดนและโลจิสติกส์

11.51%, 4.48% และ 3.35% ตามลำดับ อย่างไรก็ตามหลังปี 2013 เป็นต้นมา สัดส่วนการค้าแต่ละทวีปของจีนมีอัตราค่อยๆ ลดลงจากสภาวะเศรษฐกิจโลกชะลอตัว

• การลงทุนระหว่างประเทศของจีน

การลงทุนต่างประเทศ ก่อนปี 1979 ด้วยเหตุผลของอุดมการณ์ จีนมีนโยบาย ไม่รับการลงทุนในประเทศและไม่ไปลงทุนต่างประเทศ เนื่องจากช่วงนั้นผู้นำจีนมี แนวคิดว่าการลงทุนจากต่างประเทศเป็นที่มาของการขูดรีดระหว่างประเทศที่ติดมา กับลัทธิทุนนิยม จนกระทั่งเติ้งเสี่ยวผิงได้ออกกฎหมายว่าด้วยการลงทุนร่วมสำหรับ จีนกับต่างชาติ ขณะเดียวกันก็ได้เปิดโอกาสให้นกั ลงทุนจีนออกไปลงทุนยังต่างประเทศ การลงทุนของจีนในต่างประเทศประกอบด้วย 2 ลักษณะ ได้แก่ 1) การทำสัญญา รับเหมาโครงการ โดยส่วนมากจากเป็นการรับเหมา เพื่อก่อสร้างถนน สะพาน เขื่อน เป็นต้น 2) การลงทุนธุรกิจในต่างแดน ส่วนใหญ่จากเป็นการลงทุนในภาคอุตสาหกรรม อุตสาหกรรมแปรรูปการเกษตร และการค้าและการบริการ รูปที่ 3 มูลค่าการลงทุนในต่างประเทศของจีนปี 2001 - 2014

ที่มา : Ministry of Commerce (CEIC), 2558

I 101 I


OBELS OUTLOOK 2016

การลงทุนในต่างประเทศของจีนเพิ่มขึ้นนับตั้งแต่การเข้าเป็นสมาชิก WTO โดยในปี 2004 การลงทุนในต่างประเทศของจีนเพิ่มขึ้นถึง 276,316 ล้านหยวน ซึ่ง ถือได้ว่าเป็นมูลค่าการลงทุนที่ค่อนข้างสูง อย่างไรก็ตามการลงทุนทยอยลดลงตาม สภาพเศรษฐกิจโลกทีไ่ ม่สามารถสร้างความเชือ่ มัน่ แก่นกั ลงทุนได้ จนกระทัง่ ในปี 2009 มูลค่าการลงทุนลดเหลือเพียง 138,309 ล้านหยวน หรือประมาณ 1 เท่า จากปี 2004 ถึงแม้ในปีถัดมาจะมีการลงทุนเพิ่มขึ้นแต่ก็เพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อยเท่านั้น การให้ความช่วยเหลือต่างประเทศของจีนได้เริม่ ตัง้ แต่ทศวรรษ 1950 ถึงแม้วา่ จีนเป็นเพียงประเทศที่กำลังพัฒนา แต่ด้วยความเป็นพี่ใหญ่ของภูมิภาคเอเชียจึงต้อง รักษาความยิ่งใหญ่เอาไว้ โดยช่วงปี 1951-1971 การให้ความช่วยเหลือต่างประเทศ ของจีนเน้นไปยังกลุ่มประเทศค่ายคอมมิวนิสต์เป็นสำคัญและประเทศนอกค่าย คอมมิวนิสต์ การให้ความช่วยเหลือประเทศค่ายคอมมิวนิสต์ส่วนมากใช้ในการพัฒนา ระบบการคมนาคมและขนส่ง การชลประทาน และสิ่งก่อสร้างในการอุตสาหกรรม ในขณะประเทศนอกค่ายคอมมิวนิสต์ ให้ความช่วยเหลือในด้านเครื่องบริโภค และ เงินตรา เพื่อนำไปพัฒนาประเทศและช่วยค้ำงบประมาณให้สมดุลกับรายจ่ายต่อ ไป หลังจากปี 1978 จีนได้ยึดหลักการในการให้ความช่วยเหลือต่างประเทศ ได้แก่ 1) การช่วยเหลือให้ตั้งอยู่บนความเท่าเทียมกันและได้ผลประโยชน์ร่วมกัน 2) เคารพใน อำนาจอธิปไตยของรัฐที่ได้รับความช่วยเหลือ 3) จีนให้เงินกู้โดยมีดอกเบี้ยในอัตรา ต่ำ 4) การให้ความช่วยเหลือของจีนเพื่อให้ผู้รับไม่ต้องพึ่งจีนแต่ให้รู้จักพึ่งตนเอง 5) จีนเลือกให้ความช่วยเหลือที่ใช้ทุนน้อยและประสบผลสำเร็จ 6) จีนจะจัดหาอุปกรณ์ ที่ดีที่สุดในประเทศจีนให้แก่ประเทศผู้รับตามราคาท่องตลาด

I 102 I


สำนักงานเศรษฐกิจชายแดนและโลจิสติกส์

รูปที่ 4 การให้ความช่วยเหลือต่างประเทศของจีนปี 2001 - 2013

ทีม่ า : OECD, 2558

การให้ความช่วยเหลือทางเพิ่มมากขึ้นและที่น่าจับตามองอย่างยิ่งคือ ทวีป แอฟริกากับทวีปเอเชีย เห็นได้วา่ จากรูปที่ 4 ในปี 2005-2008 การให้ความช่วยเหลือ ของจีนต่อแอฟริกากับเอเชียนัน้ เพิม่ ขึน้ ลดลงสลับกัน หลักจากปี 2009 จนถึงปัจจุบนั จีนให้ความช่วยเหลือแก่แอฟริกามากกว่าทวีปอื่นๆ โดยการให้ความช่วยเหลือต่าง ประเทศของจีนส่วนมากจะเป็นรูปแบบการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน และการให้เงินกู้ ดอกเบี้ยต่ำ เป็นหลักถึงแม้ว่าการค้าระหว่างประเทศจีนกับแอฟริกาจะไม่สูงเท่าทวีป อื่นๆ แต่การให้ความช่วยเหลือของจีนที่มีต่อแอฟริกานั้นมีทิศทางบวก อาจแสดงให้ เห็นว่าจีนให้ความสำคัญต่อแอฟริกาเพิ่มมากขึ้นและในอนาคตจะทำให้แอฟริกา เป็นตลาดที่สำคัญของจีนไม่ว่าจะเป็นด้านการค้าการลงทุน จากการเข้าเป็นสมาชิก WTO ส่งผลให้เศรษฐกิจจีนขยายตัวเพิ่มขึ้นไม่ว่าจะ เป็นการค้า การลงทุน ระหว่างประเทศ แต่อย่างไรก็ตามการเกิดขึ้นของวิกฤตแฮมเบอร์เกอร์ได้ส่งผลต่อระบบเศรษฐกิจอย่างรุนแรง ทำให้ GDP มูลค่าการค้าระหว่าง

I 103 I


OBELS OUTLOOK 2016

ทวีป การลงทุนในต่างประเทศของจีนลดลงอย่างมาก แต่สิ่งตรงข้ามคือการให้ความ ช่วยเหลือต่อแอฟริกากลับเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ฉะนั้นการดำเนินนโยบายต่างประเทศของ จีนในอนาคตจะดำเนินนโยบายต่างประเทศไปในทิศทางใด และมีจุดมุ่งหมายในการ พัฒนาทวีปใดในโลก ไม่ว่าจะเป็นยุทธศาสตร์ “One Belt One Road” เป็นการ สร้าง “ความเชื่อมโยง” (Connectivity) และ “ความร่วมมือ” (Cooperation) รอบ ด้านกับนานาประเทศในภูมิภาคเอเชียอาคเนย์ ตะวันออกกลาง และยุโรป เช่นเดียว กันกับสหรัฐอเมริกาที่ได้ดำเนินการเจรจาความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก หรือ Trans-Pacific Partnership Agreement (TPP) ที่ประสบความสำเร็จเมื่อไม่ นานมานี้ จีนจะดำเนินการวางแผนยุทธศาสตร์และนโยบายต่างประเทศต่อไปอย่างไร เพื่อถ่วงดุลอำนาจสหรัฐอเมริกาและขยายบทบาทอิทธิพลของจีนในเวทีโลก

I 104 I


สำนักงานเศรษฐกิจชายแดนและโลจิสติกส์

เอกสารอ้างอิง

เขี ย น ธี ร ะวิท ย์ (2541) นโยบายต่างประเทศจีน. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย. เขียน ธีระวิทย์ ปฐมบท. ใน วรศักดิ์ มหัทธโนเบล (บรรณาธิการ) (2542) จีน ไทย ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์จีนศึกษา สถาบันเอาเชีย ศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, หน้า 1-33. จุลชีพ ชินวรรโน. การเมืองสาธารณรัฐประชาชนจีน: อดีต ปัจจุบัน และอนาคต. ใน ไชยวัฒน์ ค้ำชูและประทุมพร วัชรเสถียร (บรรณาธิการ) (2542) จีนใน โลกที่กำลังเปลี่ยนแปลง. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์จีนศึกษา สถาบันเอาเชีย ศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, หน้า 1-54. รังสรรค์ ธนะพรพันธุ์ (2552) จาก GATT สู่ WTO. โครงการ WTO Watch (จับกระแส องค์การการค้าโลก). สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร (2557) สาระสังเขปประเด็นการปฏิรูป ประเทศไทยด้านเศรษฐกิจ. สํานักการพิมพ์สํานักงานเลขาธิการสภาผู้แทน ราษฎร. อรัญญา ศิรผิ ล (2556) ผูค้ า้ จีนในชายแดนลุม่ น้ำโขง. คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัย เชียงใหม่. Shang-Jin Wei. (1995) The Open Door Policy and China’s Rapid Growth: Evidence from City-level Data. University of Chinago Press. Thomas W. Robinson, และ Shambaugh David. (1994) Chinese Foreign Policy: Theory and Practice. New York: Oxford University Press.

I 105 I


OBELS OUTLOOK 2016

I 106 I


สำนักงานเศรษฐกิจชายแดนและโลจิสติกส์

ผลกระทบของอัตราแลกเปลี่ยนเงินหยวน ต่อการค้าการลงทุนไทย สิทธิชาติ สมตา, วราวุฒิ เรือนคำ และณัฐพรพรรณ อุตมา

บทนำ

การค้าระหว่างประเทศ (International Trade) และการลงทุนโดยตรงจาก ต่างประเทศ (Foreign Direct Investment) ถือได้ว่ามีบทบาทสำคัญต่อการเติบโต ทางเศรษฐกิจของประเทศไทย เช่นเดียวกันกับอัตราแลกเปลี่ยนสกุลเงินตราต่าง ประเทศเป็นปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการนำเข้า-ส่งออก และการเคลื่อนย้ายเงินทุนใน การลงทุนระหว่างประเทศ เนือ่ งจากเงินเป็นสือ่ กลางในการแลกเปลีย่ นทีส่ ำคัญเพราะ ประเทศต่างๆ ในโลกมีระบบเงินตราที่แตกต่างกัน จึงทำให้ระบบอัตราแลกเปลี่ยน เงินตราต่างประเทศถูกพัฒนาขึ้นมาเพราะหากไม่ทราบอัตราแลกเปลี่ยนเงินต่าง ระหว่างประเทศจะทำให้ไม่สามารถเปรียบเทียบราคาระหว่างประเทศได้ ทั้งนี้การที่ ค่าเงินหรืออัตราแลกเปลี่ยนอ่อนค่าหรือแข็งค่านั้นจะมีผลต่อการแข่งขันและความได้ เปรียบเชิงการค้าระหว่างประเทศ ดังนั้นอัตราแลกเปลี่ยนจึงมีความสำคัญอย่างมาก ต่อการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศ เพราะอัตราแลกเปลี่ยน (Exchange rate) คือ ราคาของหน่วยหนึ่งของเงินตราต่างประเทศเมื่อคิดเป็นเงินตราในประเทศ

I 107 I


OBELS OUTLOOK 2016

การค้าของไทยกับจีนในช่วงแรกค่อนข้างจำกัด เนื่องจากรัฐบาลจีนยังไม่ได้เปิด เสรีทางการค้ามากนัก การค้าระหว่างประเทศในสมัยเหมาเจ๋อตุงเป็นเพียงส่วนเสริม ของระบบเศรษฐกิจ คือการนำผลผลิตที่เหลือส่งออกและนำเข้าผลผลิตที่ไม่เพียงพอ เท่านั้น แต่หลังยุคเหมาเจ๋อตุงถือว่าการค้าระหว่างประเทศนั้นมีความสำคัญในการ พัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ หลักฐานที่สำคัญแสดงให้เห็นถึงความสำคัญในการ ส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศอันดับแรกๆ คือ 1) การลดการควบคุมสินค้าเข้า-ออก โดยการลดหรือยกเลิกรายการสินค้า ต้องห้าม รายการสินค้าโควตา กำแพงภาษีศุลกากร 2) การจัดตั้งกลไกนำสินค้าเข้าและส่งสินค้าออก รวมทั้งจัดแสดงนิทรรศการ ส่งเสริมสินค้าออก 3) การที่รัฐเลิกผูกขาดธุรกิจการค้าต่างประเทศ 4) การเปิดการค้าเสรีตามชายแดนขยายมากขึ้น และ 5) การส่งเสริมการลงทุนต่างประเทศให้ไปผลิตสินค้าในจีน เช่น ในเขตเศรษฐกิจ พิเศษประเภทต่างๆ เพื่อการส่งออกเป็นต้น3 และด้วยกระแสโลกาภิวัตน์ (Globalization) ที่มีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลง ด้านเศรษฐกิจและสังคมของประเทศต่างๆในโลก ทำให้เกิดการพัฒนาด้านเศรษฐกิจ และการค้าระหว่างประเทศเป็นไปอย่างเสรีและสะดวกรวดเร็ว ด้วยเหตุผลดังกล่าว ทำให้นโยบายในแต่ละประเทศสนับสนุนการเปิดการค้าเสรีกับต่างประเทศ และการ เจรจาเปิดเขตการค้าเสรี (Free Trade Area) เพือ่ เอือ้ ประโยชน์และพึง่ พากันระหว่าง ประเทศคู่ค้า เป็นหนึ่งปัจจัยที่ส่งผลให้จีนเข้าเป็นสมาชิกองค์การการค้าโลก (World Trade Organization: WTO) ในปี พ.ศ.2544 ทำให้อุปสรรคทางการค้าของจีนกับ ประเทศต่างๆ ลดลงอย่างมาก รวมถึงประเทศไทยด้วยเช่นกัน หลังจากนั้นจีนได้ที่จะ 3 เขียน ธีระวิทย์, นโยบายต่างประเทศจีน. (กรุงเทพมหานคร: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) และศูนย์วิจัยจีน

ศึกษา สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2541), น.111 – 113

I 108 I


สำนักงานเศรษฐกิจชายแดนและโลจิสติกส์

พยายามขยายความร่วมมือทางเศรษฐกิจกับภูมิภาคและประเทศต่างๆ และในปี พ.ศ.2546 จีนกับอาเซียนได้ทำความตกลงเขตการค้าเสรีอาเซียน-จีน (Asean-China Free Trade Agreement : ACFTA) เพื่อลดภาษีการค้าระหว่างประเทศและได้มี การยกระดับความตกลงเขตการค้าเสรีอาเซียน-จีน (ACFTA) เพื่ออำนวยความสะดวก ทางการค้า และพัฒนาความร่วมมือทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้การค้า ระหว่างทั้งสองประเทศขยายตัวอย่างรวดเร็ว หลังความตกลงเขตการค้าเสรีอาเซียนจีนมีการขยายตัวสูงที่สุดในปี พ.ศ.2551 ซึ่งอัตราการเติบโตสะสม (Compound Average Growth Rate: CAGR) ของมูลค่าการค้าระหว่างไทยกับจีนเติบโตร้อยละ 210.89 (ดังรูปที่ 1) ก่อนประสบวิกฤตเศรษฐกิจแฮมเบอร์เกอร์ (Hamburger Crisis) ในปี พ.ศ.2552 หลังจากผ่านวิกฤตเศรษฐกิจโลกมูลค่าการค้าระหว่างไทยกับจีนเพิ่ม สูงขึ้นจนกระทั้งแซงหน้าญี่ปุ่นขึ้นมาเป็นประเทศคู่ค้าอันดับหนึ่งของไทยตั้งแต่ปี พ.ศ.2556 จนถึงปัจจุบัน รูปที่ 1 มูลค่าการค้าของประเทศไทย ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2540 – 2558

ที่มา : กรมศุลกากร, 2559

I 109 I


OBELS OUTLOOK 2016

การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (Foreign Direct Investment: FDI) ใน ประเทศไทยถือว่ามีความสำคัญอย่างมากทีผ่ า่ นมาในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ และการพัฒนาจากประเทศที่พึ่งพาเกษตรกรรมไปสู่ประเทศอุตสาหกรรมที่มีการส่ง ออกสินค้าที่หลากหลาย เนื่องจากเงินออมในประเทศไม่เพียงพอต่อความต้องการ ของธุรกิจที่จะนำไปใช้ในการขยายกิจการและความต้องการลงทุนธุรกิจใหม่ ดังนั้น เงินลงทุนจากต่างประเทศจะช่วยลดช่องว่างระหว่างเงินออมในประเทศกับความต้องการ เงินทุน นอกจากนี้การลงทุนจากต่างประเทศยังมาพร้อมกับการถ่ายทอดเทคโนโลยี (Technological transfer) และการถ่ายทอดความรู้ (Know-how) ซึ่งจะช่วยให้ อุตสาหกรรมของประเทศมีการพัฒนาได้อย่างก้าวกระโดด เพือ่ ศักยภาพในการแข่งขัน และการส่งออกให้กับประเทศ รวมถึงการพัฒนาผลิตภาพแรงงานและสร้างการ จ้างงานทีเ่ พิม่ ขึน้ จากการศึกษาของ Jansen (1995) พบว่า การลงทุนโดยตรงจากต่าง ประเทศช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจผ่านการกระตุ้นการลงทุนภาค เอกชนและการส่งออก โดยการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศได้เน้นการผลิตเพื่อ ส่งออกเป็นหลัก ส่งผลให้เศรษฐกิจได้ขยายตัวมากขึ้นจากการส่งออก ซึ่งการเพิ่มขึ้น ของการส่งออกในช่วงนั้นไม่ได้ก่อให้เกิดผลของ “Dutch disease” คือ ประเทศที่มี สินค้าส่งออกมากและมีรายได้จากการส่งออกสูง จะส่งผลให้ค่าเงินของประเทศเหล่า นี้แข็งค่ามากเกินไปจะทำให้ประเทศไม่สามารถแข่งขันกับประเทศอื่นได้และผลที่ตาม มาคือการหดตัวทางเศรษฐกิจ แต่ในขณะนั้นถึงแม้ประเทศไทยมีการส่งออกเพิ่มขึ้น แต่ค่าเงินไม่ได้แข็งค่าตามภาวะการขยายตัวทางเศรษฐกิจแต่อย่างไร การไหลเข้าของเงินทุนทางตรงระหว่างประเทศมายังประเทศไทยเริ่มจากช่วง การใช้นโยบายการค้าแบบการส่งเสริมการส่งออก (พ.ศ.2515-2539) ซึ่งได้มีการ ปรับเปลี่ยนกฎหมายการส่งเสริมการลงทุนในการตัดสินใจโครงการการลงทุนที่จะ ได้รับการส่งเสริมมากขึ้น รวมถึงเพิ่มสิทธิประโยชน์ที่ผู้ลงทุนจะได้รับ เช่น การงดภาษี นิติบุคคลสูงสุด 8 ปี และการลดภาษีนำเข้าสำหรับเครื่องจักรและวัตถุดิบ นอกจากนี้ ในช่วงเวลาดังกล่าวยังมีการลงนามในข้อตกลง Plaza Accord ในปี พ.ศ.2528 ซึ่ง

I 110 I


สำนักงานเศรษฐกิจชายแดนและโลจิสติกส์

ทำให้เงินเยนแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์ สรอ. ประเทศญี่ปุ่นจึงสูญเสียความ ได้เปรียบในการแข่งขันด้านราคาในตลาด บริษัทข้ามชาติในประเทศญี่ปุ่นจึงจำเป็น ต้องเคลื่อนย้ายฐานการผลิตมายังประเทศอื่นที่มีต้นทุนการผลิตที่ถูกกว่า ซึ่งประเทศ ไทยเป็นตัวเลือกประเทศแรกๆ สำหรับประเทศญี่ปุ่นในการเข้าลงทุน เนื่องจาก ประเทศไทยมีความสัมพันธ์อันดีกับประเทศญี่ปุ่นมาโดยตลอด และยังมีค่าจ้างที่ต่ำ ในเวลาดังกล่าว รวมถึงมีความมัน่ คงทางเศรษฐกิจและการเมือง และมีอตั ราแลกเปลีย่ น ทีค่ งที่ ประเทศไทยจึงเป็นผูร้ บั เงินทุนทางตรงระหว่างประเทศทีส่ ำคัญ4 ขณะเดียวกัน จีนได้ส่งเสริมการออกไปลงทุนยังต่างประเทศตั้งแต่ปี ค.ศ.1979 โดยสนับสนุนให้ บริษัทหรือวิสาหกิจที่มีศักยภาพออกไปลงทุนในต่างประเทศ ในช่วงปี ค.ศ.19792002 จีนได้เข้ามาลงทุนในประเทศจำนวน 234 โครงการ มีมูลค่าการลงทุนประมาณ 214.7 ล้านดอลลาร์ สรอ. ซึ่งจีนเข้ามาลงทุนในไทยมากเป็นอันดับหนึ่งในอาเซียน และเป็นอันดับห้าของโลกรองจากฮ่องกงและมาเก๊า สหรัฐอเมริกา แคนาดา และ ออสเตรเลีย ตามลำดับ อย่างไรก็ตามเมื่อเปรียบเทียบการลงทุนจีนในไทยกับการลง ทุนของประเทศอื่นๆ ในไทย เช่น ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และสิงคโปร์ พบว่า การลงทุนของ จีนในไทยยังมีปริมาณค่อนข้างน้อย5 ถึงแม้ในช่วงหลังเกิดวิกฤตการณ์เงินในไทย ตั้งแต่ปี พ.ศ.2540 เป็นต้นมา ค่าเงินบาทที่อ่อนลงส่งผลให้ค่าเงินหยวนแข็งค่าขึ้น ซึ่งนับว่าเป็นโอกาสอันดีที่จีนจะสามารถขยายการลงทุนในไทยได้มากขึ้น นอกจาก นั้นการที่ค่าเงินหยวนแข็งขึ้นมากเมื่อเทียบกับค่าเงินบาทยังส่งผลให้การลงทุนของ จีนในไทยมีต้นทุนต่ำลงมากเมื่อคิดเป็นค่าเงินหยวน อย่างไรก็ตามการลงทุนของจีน ในไทยขณะนั้นก็ไม่ได้เพิ่มขึ้นมากนัก

4

บรรณาธิการ กรกรัณย์ ชีวะตระกุลพงษ์ และ อาภากร นพรัตยาภารณ์, ปัจจัยทีก่ ำหนดเงินทุนทางตรงระหว่างประเทศขาออก: กรณีศึกษาเปรียบเทียบประเทศไทยกับประเทศสิงคโปร์, (กรุงเทพฯ: พัฒนศิลป์พริ้นท์ แอนด์ แพ็ด จำกัด, 2558), น.1 -2 5 CHINA: AN EMERGING OUTWARD INVESTOR, http://unctad.org/sections/dite_fdistat/docs/china_ebrief_en.pdf, December 2003

I 111 I


OBELS OUTLOOK 2016

รูปที่ 2 มูลค่าการลงทุนจากต่างประเทศในประเทศไทย ตั้งแต่ปี 2548 – 2558

ที่มา : Bank of Thailand (CEIC), 2559

จากรูปที่ 2 จะเห็นได้ว่าญี่ปุ่นเป็นประเทศที่มีการลงทุนในประเทศไทยมาก ที่สุดหากเปรียบเทียบกับประเทศอื่นๆ โดยในปี พ.ศ.2552 มูลค่าการลงทุนจากต่าง ประเทศในประเทศไทยลดลงจากปัญหาวิฤกตเศรษฐกิจแฮมเบอร์เกอร์ (Hamburger Crisis) ก่อนที่จะลดลงอีกในปี พ.ศ.2554 จากเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว ปัญหาหนี้ สาธารณะในกลุ่มประเทศยูโรที่ยังยืดเยื้อ และเหตุภัยพิบัติที่ญี่ปุ่นส่งผลกระทบต่อ การผลิตของอุตสาหกรรมยานยนต์และอิเล็กทรอนิกส์ในหลายประเทศ รวมถึงการ เคลื่อนย้ายเงินลงทุนออกจากประเทศ ส่งผลให้มูลค่าการลงทุนจากต่างประเทศของ ไทยลดลงโดยเฉพาะจากประเทศญี่ปุ่น อย่างไรก็ตามมูลค่าการลงทุนจากต่างประเทศ ในประเทศไทยหลังปี พ.ศ.2555 ได้มีมูลค่าเพิ่มขึ้นตามภาวะเศรษฐกิจโลก โดยในปี พ.ศ.2558 มูลค่าการลงทุนของญีป่ นุ่ กับจีนแตกต่างกันประมาณ 118,795.60 ล้านบาท ถึงแม้จนี จะมีการดำเนินนโยบายก้าวออกไปลงทุน (Go Out Strategy) เพือ่ สนับสนุน ให้นกั ลงทุนชาวจีนออกไปลงทุนในต่างประเทศ ทัง้ ในระดับของภาคเอกชนและรัฐบาล ท้องถิน่ โดยมีการใช้มาตรการจูงใจ เช่น การสนับสนุนด้านการเงินจากธนาคารเพือ่ การ ส่งออก-นำเข้า (Export-Import Bank of China) การให้การกูย้ มื การลดมาตรการทาง ภาษี และกฎเกณฑ์ต่างๆ เพื่อส่งเสริมการกระจายการลงทุนในภาครัฐบาล ลดการ แข่งขันในภาคเอกชน แต่การลงทุนของจีนในประเทศไทยพบว่ามีมูลค่าค่อนข้างน้อย

I 112 I


สำนักงานเศรษฐกิจชายแดนและโลจิสติกส์

ทั้งนี้การค้าระหว่างประเทศและการส่งออกเป็นหนึ่งในกลไกสำคัญในการ เร่งรัดนำเงินตราจากต่างประเทศเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจ ซึ่งในปัจจุบันจะเห็นได้ว่าภาค การส่งออกเป็นแหล่งรายได้ที่สำคัญและเป็นปัจจัยที่ทำให้มีการขยายตัวและพัฒนา เศรษฐกิจอย่างต่อเนื่องของประเทศไทย ดังนั้นอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่าง ประเทศเป็นตัวแปรสำคัญที่ส่งผลต่อการค้าและการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ การเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยน จึงมีผลสำคัญต่อการส่งออกของประเทศนั้น คือเมื่อประเทศดังกล่าวลดค่าเงินของตนเองทางทฤษฏีแล้วในระยะสั้น จะมีผลทำให้ การส่งออกของประเทศเพิ่มมากขึ้นและถ้าประเทศดังกล่าวมีอัตราแลกเปลี่ยนที่ แข็งค่าขึ้นในทางทฤษฏีแล้วในระยะสั้นจะมีผลทำให้การส่งออกของประเทศลดลง ซึ่งที่ผ่านมาจีนได้ออกมาประกาศปรับค่าอ้างอิงของค่าเงินหยวนให้อ่อนค่าลงที่ว่า เป็นการขยับค่าเงินครั้งสำคัญของจีน โดยการปฏิรูประบบการเงินของจีนในครั้งนี้ เพื่อให้เงินหยวนเคลื่อนไหวตามกลไกตลาดมากขึ้น และช่วยพยุงเศรษฐกิจภาคการ ส่งออกอีกครัง้ หลังจากความพยายามกระตุน้ เศรษฐกิจผ่านการบริโภคภายในประเทศ ไม่ว่าจะเป็นการลดอัตราดอกเบี้ย ลดสัดส่วนการกันสำรองของธนาคารพาณิชย์ รวม ทั้งดำเนินโครงการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานจำนวนมากแต่ผลลัพธ์ยังไม่สำเร็จเท่า ที่ควร เงินหยวนมีบทบาทมากขึ้นในเศรษฐกิจการเงินระหว่างประเทศจากการเติบ โตของเศรษฐกิจจีนที่ก้าวขึ้นมาเป็นประเทศมหาอำนาจทางเศรษฐกิจของโลก ท่าม กลางการพัฒนาเศรษฐกิจจีนพยายามผลักดันให้เงินหยวนมีบทบาทในระบบเศรษฐกิจ การเงินระหว่างประเทศ โดยในปี พ.ศ.2548 จีนได้วิวัฒนาการเงินหยวนด้วยการ ปรับเปลี่ยนระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบคงที่ (Fixed Exchange Rate) ที่ให้ค่าเงิน หยวนผูกติดกับเงินดอลลาร์ สรอ.เพียงสกุลเดียว สู่ระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบลอย ตัวภายใต้การจัดการ (Managed Floating Exchange Rate) ด้วยการกำหนดให้ ดำเนินเงินหยวนอ้างอิงกับตะกร้าเงินที่เป็นคู่ค้ากับจีน ได้แก่ สกุลเงินดอลลาร์ สรอ. ยูโร เยน วอน และอื่นๆ ทั้งนี้จีนได้ประกาศให้มีการใช้เงินหยวนเป็นสกุลเงินในการ

I 113 I


OBELS OUTLOOK 2016

ชำระบัญชีการค้าระหว่างประเทศ ต่อมาปี พ.ศ.2552 จีนได้พยายามผลักดันให้เงิน หยวนเข้ามามีบทบาทในด้านการเงินโลกและได้ลงนามในข้อตกลงสวอปเงินตรา (Swap Agreement)6 คือข้อตกลงการแลกเปลีย่ นเงินตาระหว่างธนาคารของประเทศ ต่างๆ เช่น ฮ่องกง เกาหลีใต้ มาเลเซีย และสิงคโปร์ ฯลฯ เช่นเดียวกันในปีดังกล่าว จีนได้เริ่มโครงการนำร่องการชำระด้วยสกุลเงินหยวนใน 5 เมืองใหญ่ ได้แก่ เซี่ยงไฮ้ กวางโจว เซินเจิ้น จูไห่ และตงกวน ต่อมาได้ขยายพื้นที่นำร่องเป็น 20 มณฑล ในปี พ.ศ.2553 พร้อมทั้งประกาศให้ทุกพื้นที่ของจีนสามารถทำการค้าด้วยสกุลเงินหยวน กับทุกประเทศได้โดยไม่มีข้อจำกัด ตั้งแต่ปี พ.ศ.2554 เป็นต้นมา จากการผลักดัน บทบาทเงินหยวนอยู่เป็นระยะเวลาหลายปีและหนึ่งในความพยายาม คือการนำเงิน หยวนเข้าสู่ตะกร้าของ IMF ที่เรียกว่า Special Drawing Rights หรือ SDR ในปี พ.ศ.2558 ทำให้จีนลดการพึ่งพาเงินดอลลาร์ สรอ.และก้าวเข้าสู่การเป็นสกุลเงิน สำคัญในระบบเศรษฐกิจโลก ทั้งนี้เงินหยวนเข้าสู้ตะกร้าเงิน IMF มีผลตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2559 นี้เป็นต้นไป บทบาทเงินหยวนต่อประเทศไทยนัน้ ธนาคารแห่งประเทศไทยกับธนาคารกลาง แห่งสาธารณรัฐประชาชนจีนได้ร่วมลงนามในความตกลงทวิภาคีเพื่อแลกเปลี่ยนเงิน ตราสกุลหยวนและบาท ฉบับที่ 1 (Bilateral Swap Agreement) ในปี พ.ศ.2554 ทำให้ผู้ประกอบการไทยและจีนสามารถเลือกใช้เงินสกุลท้องถิ่นในการชำระค่าสิน ค้าและบริการระหว่างกัน โดยกำหนดวงเงินจำนวน 70 พันล้านหยวน และบันทึก ความเข้าใจว่าด้วยการแต่งตัง้ ธนาคารชำระดุลเงินหยวนในประเทศ7 เพือ่ สนับสนุนการ บริหารสภาพคล่องเงินหยวนอย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ต่อมาในปี พ.ศ.2557 ได้มี ขยายความตกลงทวิภาคีเพื่อแลกเปลี่ยนเงินตราสกุลหยวนและบาท ฉบับที่ 2 ด้วย 6

ผลของการทำ Swap Agreement ทำให้ต้นทุนการค้าระหว่างประเทศกับจีนลดลง จากการที่ธนาคารกลางของประเทศ ต่างๆ สามารถขายเงินหยวนให้ผู้นำเข้าส่งออกสินค้าและบริการจากจีนเพื่อให้สามารถใช้เงินสกุลท้องถิ่นและเงินหยวนในการ ซื้อขายกับจีน โดยไม่จำเป็นต้องแลกเปลี่ยนเงินตราผ่านเงินดอลลาร์ สรอ. 7 นามว่า ธนาคารไอซีบีซี (Industrial and Commercial Bank of China (Thai))

I 114 I


สำนักงานเศรษฐกิจชายแดนและโลจิสติกส์

วงเงิน 70 พันล้านหยวนเท่าเดิมซึง่ อายุความจะหมดในปี พ.ศ.2560 จากผลของความ ตกลงทวิภาคีเพื่อแลกเปลี่ยนเงินตราสกุลหยวน และบาททำให้การชำระเงินค่าสินค้า เข้า-สินค้าออกในรูปแบบเงินหยวนเหรินหมินปี้ (RMB) มากขึ้น รูปที่ 3 สัดส่วนการชำระเงินค่าสินค้าเข้า-สินค้าออกเงินหยวนเหรินหมินปี้ (RMB) ของไทย ตั้งแต่ไตรมาสที่ 1 พ.ศ.2558 – ไตรมาสที่ 2 พ.ศ.2559

ที่มา : ธนาคารแห่งประเทศไทย, 2559

จากรูปที่ 3 เห็นได้ว่าสัดส่วนการชำระเงินค่าสินค้าออกเงินหยวนเหรินหมินปี้ จากไตรมาสที่ 1 ปี พ.ศ.2558 ร้อยละ 0.1 เพิ่มขึ้นในไตรมาสที่ 2 ปี พ.ศ.2559 เป็น ร้อยละ 0.2 และสัดส่วนการชำระเงินค่าสินค้าเข้าเงินหยวนเหรินหมินปี้จากไตรมาส ที่ 1 ปี พ.ศ.2558 ร้อยละ 0.2 เพิ่มขึ้นในไตรมาสที่ 1 ปี พ.ศ.2559 เป็นร้อยละ 0.7 ก่อนลดลงเหลือร้อยละ 0.6 ในไตรมาสที่ 2 ของปี พ.ศ.2559 คาดว่าหลังจากที่เงิน หยวนเข้าสูต่ ะกร้าเงิน IMF อย่างเป็นทางการในวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ.2559 นี้ สัดส่วน การชำระเงินค่าสินค้าเข้า-สินค้าออกเงินหยวนเหรินหมินปี้ของไทยจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ผลจากการสร้างเชื่อมั่นในบทบาทของเงินหยวนและความตกลงทวิภาคีแก่ภาคธุรกิจ และสถาบันการเงินในการใช้เงินสกุลหยวนและบาทในการค้าและการลงทุนระหว่างกัน

I 115 I


OBELS OUTLOOK 2016

ฉะนั้นการค้าระหว่างประเทศและการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศมีความ สำคัญต่อการขยายตัวและพัฒนาเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่องของประเทศไทย จึงนำมาสู่ วัตถุประสงค์ของการศึกษาความสัมพันธ์และผลกระทบของอัตราแลกเปลี่ยนเงินหยวน ต่อการค้าการลงทุนของไทย

วรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง

ในส่วนนี้จะกล่าวถึงเอกสารวิจัยและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการวิเคราะห์สภาพ แวดล้อมของอัตราแลกเปลี่ยนที่มีผลต่อการค้าการลงทุนระหว่างประเทศ อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างประเทศมีความสำคัญอย่างมากต่อการค้า และการลงทุน รวมถึงเป็นหนึ่งปัจจัยที่มีผบต่อการตัดสินใจของการลงทุนระหว่าง ประเทศ โดยความเคลื่อนไหวของอัตราแลกเปลี่ยนมีผลต่อกระแสลงทุนโดยตรงจาก ต่างประเทศจากการศึกษาของ Cushman (1985), Froot and Stein (1991) และ Kohlhagen (1977) พบว่า การลดค่าเงินของประเทศผูร้ บั การลงทุนจากต่างประเทศ จะช่วยกระตุ้นการไหลเข้าของการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ ตรงกันข้ามหากค่า เงินแข็งจะส่งผลให้การไหลเข้าของการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศลดลง โดยพืน้ ฐาน แล้วมี 2 ช่องทางจากอัตราแลกเปลี่ยนที่มีผลกระทบต่อการลงทุนโดยตรงจากต่าง ประเทศ ได้แก่ 1. ผลกระทบจากความมั่นคั่งทางการเงิน (wealth effect) 2. ผล กระทบจากต้นทุนการผลิต (relative production cost) โดยการลดค่าเงินของ ประเทศผู้รับการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ จะทำให้ต้นทุนการผลิตในประเทศ ลดลง ได้แก่ การลดลงของต้นทุนด้านแรงงาน ค่าเช่าทีด่ นิ เครือ่ งจักร และสินทรัพย์อน่ื ๆ ทำให้ได้กำไรจากการส่งออก รวมถึงสามารถดึงดูดการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ ให้เข้ามาลงทุนเพิ่มขึ้น8 8

Yuqing Xing, Why is China so attractive for FDI? The role of exchange rates, China Economic Review 17 (2006), p.203-204

I 116 I


สำนักงานเศรษฐกิจชายแดนและโลจิสติกส์

ขณะเดียวกันจากการศึกษาของ Campa (1993) พบว่าอัตราแลกเปลี่ยน สามารถส่งผลกระทบต่อผลการดำเนินการของบริษัท ไม่ว่าจะเป็นในด้านกำไรหรือ ภาระหนี้ ดังนั้นอัตราแลกเปลี่ยนอาจจะเป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจลงทุน รวมถึงการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจและอัตราแลกเปลี่ยนของประเทศ9 อย่างไรก็ตามจากการศึกษาของ Lane and Milesi-Ferretti (2004), KalemliOzcan, Sorensen, and Yosha (2003) และ Hau (2002) ได้ให้มุมมองเกี่ยวกับ การลงทุนระหว่างประเทศกับการผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนว่า ความผันผวนของ อัตราแลกเปลี่ยนอาจลดลงจากความร่วมมือทางการเงินระหว่างประเทศ รวมไปถึง เป็นการส่งเสริมการลงทุนระหว่างประเทศมากขึ้น ขณะเดียวกันหากมีการเคลื่อนไหว ของอัตราแลกเปลีย่ นมากขึน้ จึงเกิดคำถามเชิงประจักษ์ทว่ี า่ การลงทุนระหว่างประเทศ ที่มากขึ้นจะช่วยลดหรือเพิ่มความผัวผวนของอัตราแลกเปลี่ยนหรือไม่10 นอกจากนี้การศึกษาของ Hall et al. (2010) พบว่า ความสัมพันธ์ระหว่าง ความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนและการค้าระหว่างประเทศของกลุ่มประเทศที่ กำลังพัฒนากับกลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่นั้น ความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนมี ผลกระทบต่อการส่งออกของประเทศกำลังพัฒนามากกว่าการส่งออกของประเทศ เศรษฐกิจเกิดใหม่ในตลาด อาจเพราะการขยายของตลาดทุนทำให้ลดผลกระทบจาก ความผันผวนของอัตราแลกเปลีย่ นในการส่งออกเมือ่ เทียบกับกลุม่ ประเทศกำลังพัฒนา อื่นๆ11

9

Johu Manuel Luiz, Harris Charalambous, Factors influencing foreign direct investment of South African financial services firms in Sub-Saharan Africa, International Business Review 18 (2009), p.308 10 Almukhtar Al-Abri , Hamid Baghestani, Foreign investment and real exchange rate volatility in emerging Asian countries, Journal of Asian Economics 37 (2015), p.37 11 Dimitrios Asteriou, kaan Masatci and Keith Pilbeam, Exchange rate volatility and international trade: International evidence from the MINT countries, Economic Modelling 58 (2016), p.134

I 117 I


OBELS OUTLOOK 2016

ดังนัน้ เห็นได้วา่ การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศทีไ่ ด้รบั ประโยชน์จากการลด ค่าเงินของประเทศผู้รับลงทุน เนื่องจากค่าเงินที่ลดลงส่งผลให้ต้นทุนการผลิตลดลง จึงเป็นปัจจัยสำคัญที่ดึงดูดกลุ่มการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศที่เน้นการผลิตเพื่อ การส่งออกเป็นหลัก ทัง้ นีจ้ ากการศึกษาปัจจัยทีก่ ำหนดเงินทุนทางตรงระหว่างประเทศขาออก: กรณี ศึกษาเปรียบเทียบประเทศไทยกับประเทศสิงคโปร์ (จันทร์ทิพย์ และกรกรัณย์, 2558) พบว่า แรงผลักดันการลงทุนระหว่างประเทศขาออกของไทยนั้น ปัจจัยผลักที่สำคัญ คือ การขยายตลาด ทรัพยากรธรรมชาติและแรงงาน และภาษี โดยเฉพาะภาษีนติ บิ คุ คล ค่อนข้างสูง ซึง่ ปัจจัยทีไ่ ม่มผี ลต่อการตัดสินใจออกไปลงทุนระหว่างประเทศได้แก่โครง สร้างพื้นฐาน ความยากง่ายของการดำเนินธุรกิจ และการเงิน ขณะที่แรงดึงดูดการ ลงทุนระหว่างประเทศของประเทศ CLMV มีปัจจัยดึงดูดหลักทางด้านสิทธิประโยชน์ เพือ่ การขยายตลาด ทรัพยากรธรรมชาติและแรงงาน และภาษีโดยเฉพาะภาษีนติ บิ คุ คล ทั้งนี้ปัจจัยทางด้านโครงสร้างพื้นฐาน ความยากง่ายของการดำเนินธุรกิจและการเงิน ไม่เป็นปัจจัยที่สำคัญต่อการดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ

วิธีการศึกษาและแบบจำลอง

เพื่อที่จะศึกษาว่า ผลกระทบของอัตราแลกเปลี่ยนเงินหยวนต่อการค้าการลง ทุนไทยหรือไม่ การศึกษาในครั้งนี้ได้ใช้วิธีการทางเศรษฐมิติ (economic methods) เพื่อที่จะบรรลุวัตถุประสงค์นี้ ซึ่งก็คือ แบบจำลองเวกเตอร์ออโต้รีเกรสชั่น (Vector Autoregessive : VAR) เป็นแบบจำลองศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรต่างๆ ใน การทดสอบทัง้ นีต้ วั แปรทีเ่ ลือกใช้ในแบบจำลอง VAR ในการศึกษาครัง้ นี้ ประกอบด้วย 3 ตัวแปร ได้แก่ 1) อัตราแลกเปลี่ยนบาทต่อหยวน 2) มูลค่าการค้ารวมระหว่าง ประเทศไทย-จีน 3) มูลค่าการลงทุนโดยตรงจากประเทศจีนในไทย ซึ่งข้อมูลที่ใช้ใน การศึกษาเป็นข้อมูลประเภททุติยภูมิเก็บรวบรวมจากธนาคารแห่งประเทศไทย กรม ศุลกากร และ CEIC Data โดยใช้ข้อมูลรายเดือนในช่วงเดือนมกราคม 2548 ถึง พฤษภาคม 2559

I 118 I


สำนักงานเศรษฐกิจชายแดนและโลจิสติกส์

ทั้งนี้จากแบบจำลอง VAR ที่ทราบถึงความสัมพันธ์ของตัวแปรดังกล่าว เพื่อ ศึกษาความเปลีย่ นแปลงทีอ่ าจเกิดขึน้ ของตัวแปรต่อไป โดยมีสมการแสดงความสัมพันธ์ ของตัวแปรอย่างง่ายและแบบเมทริกซ์ ดังสมการที่ (1) และ (2)

โดยที่

1,t Fx

คือ อัตราแลกเปลี่ยน คือ มูลค่าการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ คือ มูลค่าการค้ารวมระหว่างประเทศ คือ Error Term

1,t FDI

TRD 1,t

ผลการศึกษา

1) ทดสอบความมีเสถียรภาพของข้อมูล (Stationary/Unit Root Test) ในการทดสอบความมีเสถียรภาพของข้อมูลโดยวิธีการมาตรฐานที่เรียกว่า Augmented Dickey-Fuller (ADF) Test พบว่าข้อมูลตัวแปรอัตราแลกเปลี่ยนมูล ค่าการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ และมูลค่าการค้ารวมระหว่างประเทศ ยอมรับ สมมุติฐานหลัก ซึ่งหมายความว่าเป็นตัวแปรมีความนิ่ง (stationary) ในระดับผลต่าง ขั้นที่ 1 (first- difference) ดังแสดงในตารางที่ 1 ตารางที่ 1 : ตารางแสดงผลการทดสอบความนิง่ (Stationary Test) ของตัวแปรทีร่ ะดับ Level

ตัวแปร

Stationary

อัตราแลกเปลี่ยน (Fx) มูลค่าการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) มูลค่าการค้ารวมระหว่างประเทศ (TRD)

I(1) I(1) I(1)

ทีม่ า : จากการคำนวณโดยผูว้ จิ ยั

I 119 I


OBELS OUTLOOK 2016

2) การหาค่าความยาวของความล่าที่เหมาะสม (Optimal Lag Length) ในการหาค่ายาวของความล่าทีเ่ หมาะสม โดยดูได้จากค่า Schwarz information criterion (SC) ซึ่งโดยทั่วไปแล้วจะเลือกจำนวน lag จากจำนวนค่า SC ต่ำสุด จาก ตาราง จะเห็นว่าจำนวน lag เท่ากับ 2 คือจำนวนที่เหมาะสมที่สุด ดังนั้นการศึกษา นี้จึงเลือกจำนวน lag ที่ 2 ดังแสดงในตารางที่ 2 ตารางที่ 2 : การหาค่าความยาวของความล่าที่เหมาะสม (Optimal Lag Length) Lag 0 1 2 3 4 5 6

LogL -2732.997 -2399.250 -2363.737 -2359.160 -2354.841 -2350.627 -2345.904

LR FPE AIC NA 7.39e+14 42.74995 646.6334 4.62e+12 37.67579 67.14239 3.06e+12* 37.26152* 8.438815 3.28e+12 37.33062 7.760036 3.53e+12 37.40377 7.375543 3.81e+12 37.47854 8.043860 4.09e+12 37.54537

SC HQ 42.81679 42.77711 37.94316 37.78442 37.72943* 37.45163* 37.99907 37.60222 38.27275 37.75684 38.54805 37.91309 38.81542 38.06140

ที่มา : จากการคำนวณโดยผู้วิจัย * indicates lag order selected by the criterion

3) ผลการวิเคราะห์แบบจำลอง VAR ผลการวิเคราะห์เพื่อหาผลกระทบของอัตราแลกเปลี่ยนเงินหยวนต่อการค้าการ ลงทุนของไทยจะถูกนำเสนอจากผลของแบบจำลอง VAR โดยดูจากค่าสัมประสิทธิ์ (VAR coefficient) และ Impulse Response Function ดังนี้

I 120 I


สำนักงานเศรษฐกิจชายแดนและโลจิสติกส์

ตารางที่ 3 : ค่าสัมประสิทธิ์ผลกระทบของอัตราแลกเปลี่ยนเงินหยวน (FX) ต่อการค้าการลงทุนของไทย

Variable D(FDI(-1)) D(FDI(-2)) D(TRD(-1)) D(TRD(-2))

coefficient Standard errors in 2.30E-06** (1.6E-06) 1.60E-06** (1.6E-06) 3.90E-07 (4.9E-07) -3.47E-07 (4.9E-07)

t-statistics [ 1.40722] [ 1.00716] [ 0.79937] [-0.70288]

ที่มา : จากการคำนวณโดยผู้วิจัย ** ระดับนัยสำคัญ 99%

จากแบบจำลอง VAR ของผลกระทบของอัตราแลกเปลี่ยนเงินหยวนต่อการ ค้าการลงทุนของไทยจะพบว่าตัวแปรอัตราแลกเปลี่ยนมีผลต่อการลงทุนโดยตรงจาก ต่างประเทศของจีนในไทยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับนัยสำคัญ 99% ทั้งใน ระยะที่ 1 ระยะที่ 2 และอัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทต่อหยวนส่งผลกระทบต่อการ ลงทุนโดยตรงจากประเทศจีนในไทยในระยะยาว เนื่องจากตลาดแลกเปลี่ยนเงินตรา ต่างประเทศเป็นตลาดที่มีความผันผวนมาก ทั้งนี้การกำหนดอัตราแลกเปลี่ยนเงิน หยวนค่อนข้างให้ความสำคัญต่อสกุลเงินดอลลาร์ สรอ. เป็นสำคัญถึงแม้ว่าจีนจะ ประกาศว่าจะมีการดำเนินนโยบายการเงินโดยอ้างอิงค่าเงินหยวนกับค่าเงินใน ตะกร้า IMF และประเทศคู่ค้าที่สำคัญซึ่งรวมถึงค่าเงินบาทด้วย ขณะเดียวกันเองการ อ้างอิงค่าเงินบาทของไทยนั้นไม่ได้อ้างอิงเฉพาะกับค่าเงินหยวนอย่างเดียวเท่านั้น ซึ่งค่าเงินบาทของไทยจำเป็นต้องอ้างอิงกับสกุลเงินของประเทศมหาอำนาจเศรษฐกิจ และประเทศคู่ค้าสำคัญ ไม่ว่าจะเป็น ดอลลาร์ สรอ. ยูโร เยน หยวน ฯลฯ ทำให้ค่า เงินเคลื่อนไหวไปตามนโยบายการเงินและสภาวะเศรษฐกิจของประเทศนั้นๆ เพื่อ ไม่ให้ส่งออกกระทบต่อภาคการส่งออกและเศรษฐกิจของไทยจึงเป็นผลให้เกิดการ ผันผวนของค่าเงินบาท ฉะนัน้ ผลการศึกษาจึงแสดงให้เห็นว่าผลของอัตราแลกเปลีย่ น เงินบาทต่อหยวนมีผลกระทบต่อการลงทุนโดยตรงจากประเทศจีนในระยะยาว

I 121 I


OBELS OUTLOOK 2016

ทัง้ นี้ การลงทุนของจีนนอกจากจะให้ประเทศไทยเป็นฐานการผลิตเพือ่ ส่งออก ไปยังประเทศต่างๆทั่วโลกแล้ว สินค้าดังกล่าวยังส่งออกกลับไปยังประเทศจีนด้วย ฉะนั้นการลงทุนระหว่างประเทศของจีนในไทย อัตราแลกเปลี่ยนจึงเป็นปัจจัยหนึ่งที่ มีผลต่อการตัดสินใจของนักลงทุนและการปรับตัวกับการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลก เปลี่ยนระหว่างประเทศ ขณะที่อัตราแลกเปลี่ยนมีผลต่อการค้ารวมระหว่างประเทศไทยกับจีน อย่าง ไม่มีนัยสำคัญ เนื่องจากการค้าระหว่างประเทศในปัจจุบันได้มีการทำข้อตกลงซื้อขาย ล่วงหน้าเพื่อป้องกันการผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน จึงทำให้ค่าเงินหยวนที่อ่อนค่า ลงไม่ส่งผลกระทบต่อการค้าของไทยมากนักเช่น มีการลงนามในความตกลงทวิภาคี เพื่อแลกเปลี่ยนเงินตราสกุลหยวนและบาท (Bilateral Swap Agreement) ในปี พ.ศ.2554 จนถึงปัจจุบัน ส่งผลให้การลงทุนโดยตรงจากประเทศจีนในไทยนั้นเพิ่มขึ้น โดยในปี พ.ศ. 2554 ประมาณ 549.04 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเป็น 18,763.56 ล้านบาท ในปี พ.ศ. 2555 ซึ่งผลจากความตกลงทวิภาคีเพื่อแลกเปลี่ยนเงินตราสกุลหยวนและ บาท เป็นเครื่องมือในการป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน (hedging) ซึ่งจะ ช่วยลดความผันผวนของผลตอบแทนจากการลงทุนต่างประเทศได้ และเป็นหนึ่ง ปัจจัยที่สามารถความเชื่อมั่นให้แก่นักลงทุนจีน อีกทั้งเนื่องจากการปรับค่าเงินหยวน ของจีนนัน้ เป็นการกระตุน้ เศรษฐกิจภาคการส่งออกของประเทศ และเพือ่ ให้เงินหยวน เคลื่อนไหวตามกลไกตลาดมากขึ้นจึงส่งผลต่อการค้าระหว่างประเทศในระยะสั้นเท่า นั้น แต่ก็มีแนวโน้มว่าการอ่อนค่าของเงินหยวนจะทำให้มูลค่าการค้าของไทยเพิ่มขึ้น ในระยะยาว

I 122 I


สำนักงานเศรษฐกิจชายแดนและโลจิสติกส์

รูปที่ 4 ผลกระทบของอัตราแลกเปลี่ยนเงินหยวนต่อการค้าการลงทุนของไทย จากแบบจำลอง VAR

ที่มา : จากการคำนวณโดยผู้วิจัย

การพิจารณาแบบจำลอง VAR เพือ่ เปรียบเทียบและบ่งชีข้ นาดและระยะเวลา ของผลกระทบจากกราฟ Impulse Response Function: IRF จากรูปที่ 4 จะเห็น ว่าผลกระทบของอัตตราแลกเปลี่ยน (FX) ต่อการค้ารวมระหว่างประเทศไทยกับจีน (TRD) นั้นส่งผลกระทบตั้งแต่ในระยะที่หนึ่ง โดยการอ่อนค่าของอัตราแลกเปลี่ยน ทำให้การค้าไทยเพิม่ ขึน้ ในเดือนที่ 1-4 หรือในระยะสัน้ (Short-run shock) แล้วจึง มีขนาดลดลงเรื่อยๆ จนกลับเข้าสู่ดุลยภาพหลังเดือนที่ 4 เป็นต้นไป หรืออาจกล่าว ได้ว่าเมื่อเวลาผ่านไป ผู้ประกอบการสามารถปรับกลยุทธ์เพื่อรองรับความผันผวน ของอัตราแลกเปลี่ยนได้ในเดือนที่ 5

I 123 I


OBELS OUTLOOK 2016

ขณะเดียวกันเมื่อพิจารณา Impulse Response Function จากแบบจำลอง VAR เพือ่ เปรียบเทียบและบ่งชีข้ นาดและระยะเวลาของผลกระทบของอัตราแลกเปลีย่ น ที่มีต่อการลงทุนทางตรงจากต่างประเทศ จากรูปที่ 4 จะเห็นว่า อัตราแลกเปลี่ยนส่ง ผลกระทบต่อการลงทุนโดยตรงจากประเทศจีนในไทย (FDI) อย่างมีนัยสำคัญ โดย ลักษณะของผลกระทบ (Shocks) เกิดขึ้นตั้งแต่ระยะที่ 1 – 9 ซึ่งจะเห็นว่ามีขนาด และระยะเวลามากกว่าการค้าต่างประเทศ ผลกระทบเกิดขึ้นตั้งแต่เดือนที่ 1 จากนั้น ค่อยๆ ปรับตัวลดลงในเดือนที่ 2 และเพิ่มขึ้นเดือนที่ 3 ก่อนที่จะปรับตัวลดลงสู่ดุล ภาพในเดือนที่ 8-9 เป็นต้นไป เนื่องจากเป็นช่วงที่เศรษฐกิจและนักลงทุนสามารถ ปรับตัวรับกับการเปลี่ยนแปลงได้

สรุปผลการศึกษา

ผลอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างประเทศมีอิทธิพลมากกว่าในอดีต ไม่ว่า จะเป็นในเรื่องของการค้าระหว่างประเทศที่มีความซับซ้อนมากขึ้น รวมถึงการเติบโต ทางเศรษฐกิจของประเทศ ปัจจุบันจะพบว่าเหตุการณ์ทางการเงินของกลุ่มประเทศ มหาอำนาจทางเศรษฐกิจเปลี่ยนแปลงเป็นประจำ เพื่อเป็นการช่วยพยุงเศรษฐกิจ ของประเทศนั้นๆ จึงทำให้ประเทศกำลังพัฒนาประสบปัญหาในการอ้างอิงค่าเงิน ของตนกั บ ประเทศมหาอำนาจทางเศรษฐกิ จ และประเทศคู่ ค้ า ที่ ส ำคั ญ อยู่ อ ย่ า ง สม่ำเสมอ เพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อการค้าระหว่างประเทศและการเติบโตเศรษฐกิจ ของประเทศ

I 124 I


สำนักงานเศรษฐกิจชายแดนและโลจิสติกส์

รูปที่ 5 ช่องทางการส่งผ่านผลกระทบของอัตราแลกเปลี่ยนต่อการค้าการลงทุน

จากการศึกษาพบว่าช่องทางการส่งผ่านผลของอัตราแลกเปลี่ยนต่อการค้า การลงทุนมี 2 ช่องทาง ได้แก่ 1) ค่าเงินบาทอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับค่าเงินหยวน จะทำให้ต้นทุนด้านแรงงาน ค่าเช่าที่ดิน เครื่องจักร การนำเข้าวัตถุดิบขั้นต้น และ สินทรัพย์อื่นๆ ลดลงในมุมมองของนักลงทุนจีน ทั้งนี้การลดลงของต้นทุนทำให้กำไร จากการส่งออกเพิ่มมากขึ้น จึงเป็นปัจจัยที่สำคัญในการดึงดูดการลงทุนโดยตรงจาก ต่างประเทศ และ 2) ค่าเงินบาทอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับค่าเงินหยวนส่งผลให้การ ส่งออกของไทยและการค้ารวมระหว่างประเทศไทยกับจีนเพิ่มขึ้นตามไปด้วย ดังนัน้ ผลกระทบของอัตราแลกเปลีย่ นเงินหยวนต่อการค้าการลงทุนไทยพบว่า อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทต่อหยวนส่งผลกระทบต่อการลงทุนโดยตรงจากประเทศ จีนในไทยมากกว่าการค้าระหว่างประเทศไทยกับจีนในระยะยาว ฉะนั้นจากผลการ ศึกษาดังกล่าวจะเป็นการสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ผู้ประกอบชายแดนในปัจจุบันที่ทำ การค้าระหว่างประเทศกับจีน เพื่อเป็นหนึ่งปัจจัยของการเลือกใช้เงินสกุลหยวนใน การชำระค่าสินค้าและบริการระหว่างกัน ซึ่งการชำระเงินหยวนจะช่วยลดความ ผันผวนของรายได้และต้นทุนได้ในระดับหนึ่ง เนื่องจากเงินหยวนและเงินภูมิภาค อื่นๆ ส่วนใหญ่มักเคลื่อนไหวไปในทิศทางเดียวกันกับเงินบาท มากกว่าเงินดอลลาร์

I 125 I


OBELS OUTLOOK 2016

สรอ. และส่งผลดีต่อการเจรจากับคู่ค้าชาวจีนเพื่อลดต้นทุนสินค้า เนื่องจากคู่ค้าจีน ที่รับชำระค่าสินค้าด้วยเงินหยวน ไม่มีความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนทำให้ไม่มี ต้นทุนในการป้องกันความเสีย่ งจากอัตราแลกเปลีย่ นและไม่ตอ้ งเสีย Conversion Cost ด้วย ทั้งนี้หากเงินหยวนกลายมาเป็น International Currency หรือ Regional Currency ก็จะเป็นประโยชน์กับการขยายตัวของการค้าชายแดนในอนาคต

เอกสารอ้างอิง

เขียน ธีระวิทย์ (2541) นโยบายต่างประเทศจีน. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานกองทุน สนับสนุนการวิจยั (สกว.) และศูนย์วจิ ยั จีนศึกษา สถาบันเอเชียศึกษาจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย จันทร์ทพิ ย์ และกรกรัณย์ (2558) ปัจจัยทีก่ ำหนดเงินทุนทางตรงระหว่างประเทศขาออก: กรณีศกึ ษาเปรียบเทียบ ประเทศไทยกับประเทศสิงคโปร์ ใน การออกไปลงทุน ในต่างประเทศของไทย: การวิเคราะห์แนวโน้ม ปัจจัยกำหนดการออกไปลงทุน และผลกระทบที่เกิดขึ้น. บรรณาธิการ กรกรัณย์ ชีวะตระ กุลพงษ์, อาภากร นพรัตยาภารณ์. กรุงเทพฯ: พัฒนศิลป์พริ้นท์ แอนด์ แพ็ด จำกัด Almukhtar Al-Abri , Hamid Baghestani. (2015) Foreign investment and real exchange rate volatility in emerging Asian countries. Journal of Asian Economics 37: 34 – 47 Dimitrios Asteriou, kaan Masatci and Keith Pilbeam. (2016) Exchange rate volatility and international trade: International evidence from the MINT countries. Economic Modelling 58: 133 – 140 Johu Manuel Luiz, Harris Charalambous. (2009) Factors influencing foreign direct investment of South African financial services firms in Sub-Saharan Africa. International Business Review 18: 305 – 317 Karel Jansen. (1995) The Macroeconomic Effects of Direct Foreign Investment: The Case of Thailand. World Development, Vol. 23, NO. 2: 193 – 210

I 126 I


สำนักงานเศรษฐกิจชายแดนและโลจิสติกส์

UNCTAD. (2003) CHINA: AN EMERGING OUTWARD INVESTOR. Available at : http://unctad.org/sections/dite_fdistat/docs/china_ebrief_en.pdf Yuqing Xing. (2006) Why is China so attractive for FDI? The role of exchange rates. China Economic Review 17: 198 – 209

I 127 I


OBELS OUTLOOK 2016

I 128 I


สำนักงานเศรษฐกิจชายแดนและโลจิสติกส์

วงจรทัวร์ศูนย์เหรียญ ปัจจัยเสี่ยงต่อเศรษฐกิจการท่องเที่ยวไทย วราวุฒิ เรือนคำ

บทนำ

หากพิจารณาโครงสร้างของเศรษฐกิจไทยในปี 2557 คงหนีไม่พน้ ว่ารายได้หลัก ของประเทศมาจากภาคบริการมีมูลค่าสูงถึงร้อยละ 52.99 ของ GDP12 ขณะที่ภาค อุตสาหกรรมร้อยละ 36.77 และภาคเกษตรร้อยละ 10.23 ตามลำดับ มีการใช้แรง งานในภาคบริการสูงถึงร้อยละ 38.14 นอกจากนั้นประเทศไทยยังมีรายได้จากการ ท่องเทีย่ วอย่างต่อเนือ่ งตัง้ แต่อดีตถึงปัจจุบนั มีอตั ราการเจริญเติบโตเฉลีย่ ต่อปี (CAGR) ที่ร้อยละ 18 โดยในปี 2558 มีรายรับจากการท่องเที่ยวสูงถึง 1.46 ล้านล้านบาท (จากรูปที่ 1) ดังนั้นจะเห็นได้ว่าภาคการท่องเที่ยวมีบทบาทสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจ ไทยอย่างมาก

12 สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ : สคช.

I 129 I


OBELS OUTLOOK 2016

รูปที่ 1 รายได้รวมจากภาคการท่องเที่ยวปี 1975 - 2014

ที่มา: กรมการท่องเที่ยว

ภาคการท่องเที่ยวมีบทบาทสำคัญต่อเศรษฐกิจไทยมาโดยตลอด โดยเฉพาะ ในช่วงที่ภาคการส่งออกเติบโตน้อยหรือติดลบ การท่องเที่ยวและบริการมักจะแสดง บทบาทเป็นพระเอกในการพยุงเศรษฐกิจไทยไว้เสมอ การเติบโตของรายได้หลักมา จากการเพิ่มขึ้นของจำนวนนักท่องเที่ยวที่หันมาเที่ยวประเทศไทยมากขึ้น เนื่องจาก ประเทศไทยเป็นประเทศทีม่ คี วามหลากหลายด้านศิลปวัฒนธรรม มีทรัพยากรธรรมชาติ ที่สวยงาม เป็นที่จุดหมายของนักท่องเที่ยวทั่วโลกที่ครั้งหนึ่งในชีวิตต้องมาสัมผัส เช่น เดียวกับนักท่องเที่ยวชาวจีนที่นับวันจะมีจำนวนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ สาเหตุหนึ่งมาจากการ เติบโตของเศรษฐกิจจีนที่ทำให้รายได้เฉลี่ยต่อหัวของคนจีนสูงขึ้นอย่างรวดเร็วทำให้ ชาวจีนรุ่นใหม่นิยมออกมาเที่ยวต่างประเทศมากขึ้น หากพิจารณาจำนวนนักท่องเที่ยว ตามสัญชาติ13 ในปี 2558 พบว่านักท่องเที่ยวที่มีจำนวนมากที่สุดคือเอเชียตะวันออก ถึงร้อยละ 67 จำนวนนีเ้ ป็นนักท่องเทีย่ วจีน 7.98 ล้านคน มาเลเซีย 3.4 ล้านคน เกาหลีใต้ 1.36 ล้านคน ญีป่ นุ่ 1.35 ล้านคน ตามลำดับ รองลงมาคือ ยุโรปร้อยละ 19 อเมริการ้อยละ 4 13 กรมการท่องเที่ยว

สรุปรายได้และค่าใช้จ่ายการท่องเที่ยวจากนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่เดินทางเข้าประเทศไทยปี 2558 (มกราคม - ธันวาคม)

I 130 I


สำนักงานเศรษฐกิจชายแดนและโลจิสติกส์

เอเชียใต้รอ้ ยละ 5 ตะวันออกกลางร้อยละ 2 โอเชียเนียร้อยละ 3 และแอฟริการ้อยละ 1 ตามลำดับ นอกจากนั้นหากดูค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อหัวต่อวันจะพบว่า นักท่องเที่ยวจีน มีคา่ ใช้จา่ ยต่อหัวสูงถึง 5,983 บาทต่อวัน ระยะเวลาพำนัก 8.14 วัน ก่อให้เกิดรายได้ ต่อเศรษฐกิจไทยกว่า 388,694 ล้านบาท ซึ่งถือว่าเป็นชาติเดียวในโลกที่ก่อให้เกิด มูลค่าทางเศรษฐกิจสูงสุดต่อประเทศไทยเมือ่ เปรียบเทียบกับประเทศอืน่ ๆ (ดังตารางที่ 1) นักท่องเที่ยวจีนในปี 2558 มีจำนวน 7.98 ล้านคน สร้างมูลค่ากว่าสามแสนล้านบาท ตารางที่ 1 รายได้จากการท่องเที่ยวจำนวนนักท่องเที่ยวมากที่สุด 10 อันดับปี 2558 อันดับ

ประเทศ

1 2 3 4 5 6 7 8 9 10

จีน มาเลเซีย เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น สปป.ลาว สิงคโปร์ สหราชอาณาจักร รัสเซีย ไต้หวัน สหรัฐอเมริกา

จำนวนที่ จำนวนวันพัก การใช้จ่ายต่อหัว รายรับจาก เดินทางเข้ามา (เฉลีย่ ต่อวัน) นักท่องเที่ยว (ล้านบาท) 7,981,407 3,407,553 1,359,211 1,349,388 1,230,521 1,074,755 896,591 877,120 545,560 827,110

8.14 4 .83 7.72 8.06 5.79 5.60 17.29 17.07 7.60 13.38

5,983 5,241 5,418 5,189 4,267 6,136 4,295 4,587 5,099 5,022

ที่มา: กระทรวงท่องเที่ยวและกีฬา กรมการท่องเที่ยว

I 131 I

388,694 86,255 56,847 56,431 30,404 36,932 66,580 68,679 21,141 55,577


OBELS OUTLOOK 2016

สาเหตุหนึ่งที่ทำให้นักท่องเที่ยวจีนเข้ามาเที่ยวในประเทศไทยจนทำให้ตัวเลข จำนวนนักท่องเทีย่ วจีนกระโดดถึงร้อยละ 70 หรือจาก 2,761,21 คน เป็น 4,609,717 คน ในปี 2556 คือค่านิยมจากภาพยนตร์เรือ่ ง “Lost in Thailand, 2555”14 ทีน่ ำเสนอ เรื่องราวสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆรวมถึงภาพความประทับใจที่ถ่ายทอดอย่างลงตัวใน ภาพยนตร์ ด้วยเหตุนี้ในปี 2556 เป็นต้นมาทำให้อัตราการเติบโตของนักท่องเที่ยว จีนเติบโตอย่างต่อเนือ่ งโดยเฉพาะในช่วง Golden Week หรือช่วงเทศกาลเฉลิมฉลอง วันชาติจนี ในช่วงระหว่างวันที่ 1-10 ตุลาคม ของทุกปีทน่ี กั ท่องเทีย่ วชาวจีนนิยมออก มาเที่ยวต่างประเทศและจับจ่ายใช้สอยเป็นจำนวนมากรวมถึงวัฒนธรรมการซื้อของ ฝากของทีร่ ะลึกกลับไปฝากญาติผใู้ หญ่ทป่ี ระเทศจีน จึงทำให้เศรษฐกิจการท่องเทีย่ วไทย ไม่ว่าจะเป็นภาคโรงแรม รีสอร์ท ร้านอาหาร ร้านขายของที่ระลึกรวมถึงอุตสาหกรรม ที่เกี่ยวเนื่องกับการท่องเที่ยวต่างได้รับผลกระทบเชิงบวก (Positive Externality Spillover) ตามไปด้วย จากตารางที่ 2 จะเห็นว่าในปี 2559 ตั้งแต่เดือนมกราคม – สิงหาคม จำนวนนักท่องเที่ยวมีจำนวนเพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนเดียวกันของปี ก่อน ตารางที่ 2 จำนวนนักท่องเที่ยวจีนที่เข้ามาประเทศไทย จากเดือนมกราคม-ธันวาคม (2555-2559) เดือน

2555

2556

2557

2558

2559

CAGR%

ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค.

226,128 158,205 195,038 211,590 190,060 174,179 259,394

341,505 465,015 370,505 410,698 381,928 367,298 456,055

359,077 360,083 317,815 331,409 302,505 218,135 360,198

563,925 780,139 660,642 697,374 662,989 622,266 790,973

814,593 958,204 856,676 816,028 738,570 715,413 865,355

38% 57% 45% 40% 40% 40% 42%

14 Chinese comedy film directed and co-written by Xu Zheng and starring Xu Zheng, Wang Baoqiang, and Huang Bo

I 132 I


สำนักงานเศรษฐกิจชายแดนและโลจิสติกส์

เดือน 2555 2556 2557 2558 2559 CAGR% ส.ค. 272,419 473,674 449,427 804,467 891,382 34% ก.ย. 228,613 453,125 423,563 534,671 N/A 33% ต.ค. 262,081 300,464 500,871 579,688 N/A 30% พ.ศ. 294,409 323,516 513,692 635,437 N/A 29% ธ.ค. 289,097 265,934 495,206 648,836 N/A 31% รวม 2,761,213 4,609,717 4,631,981 7,981,407 5,766,855 20% ที่มา: กระทรวงท่องเที่ยวและกีฬา กรมการท่องเที่ยว (ข้อมูล ณ วันที่ 11 ต.ค. 2559)

ปัญหาที่ตามมาจากการเพิ่มขึ้นของจำนวนนักท่องเที่ยวจีนคือการเข้ามาฉวย โอกาส (Search Activity) ของบริษัทนำเที่ยวในประเทศไทย โดยการบังคับขายทัวร์ ทางเลือก (Optional Tour) พาไปชมโชว์ลามกอนาจาร หรือพาไปเที่ยวตามแหล่ง ท่องเทีย่ วทีไ่ ม่เหมาะสม (ชัยฤกษ์ แก้วพรหมมาลย์, 2558)15 ซึง่ ก่อให้เกิดผลเสียต่อภาพ ลักษณ์การท่องเที่ยวไทย นอกจากนั้นแล้วการบังคับขายทัวร์ หรือการพานักท่องเที่ยว ไปซือ้ สินค้าตามร้านขายเครือ่ งประดับ ร้านขายของทีร่ ะลึกเพือ่ หากำไรจากเปอร์เซ็นต์ และส่วนต่าง การบังคับให้นักท่องเที่ยวซื้อของ การหลอกขายของปลอม การลอยแพ นักท่องเที่ยว ทำให้ความรู้สึกของนักท่องเที่ยวจีนรู้สึกเหมือนถูกเอารัดเอาเปรียบจาก บริษทั ทัวร์ไทย ซึง่ ผลทีต่ ามมาก็คอื โอกาสการจะกลับมาท่องเทีย่ วอีกในอนาคต (Revisit) อาจจะลดลง ในขณะที่เกิดปัญหาทัวร์ศูนย์เหรียญมีความกังวลว่าจะส่งผลกระทบต่อ เศรษฐกิจของประเทศเป็นวงกว้าง เช่น 1) การลดลงของจำนวนนักท่องเที่ยวซึ่งทำให้รายได้จากการท่องเที่ยวลดลง 2) การเข้ามายึดตลาดทัวร์ไทยและอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องโดยชาวจีนเอง 3) ปัญหามัคคุเทศก์ผิดกฎหมาย 15 ปัญหาทัวร์ศูนย์เหรียญและผลกระทบต่อประเทศไทย วารสารสถาบันวิชาการป้องกันประเทศ ปีที่ 6 ฉบับที่ 4 เดือน

กันยายน 2558

I 133 I


OBELS OUTLOOK 2016

4) อาจก่อให้เกิดปัญหาการประกอบธุรกิจเพื่อการฟอกเงินตามมาในอนาคต ซึง่ ปัจจุบนั รัฐบาล กรมการท่องเทีย่ วแห่งประเทศไทย ตำรวจท่องเทีย่ ว ได้มมี าตรการ ในการแก้ไขปัญหาทัวร์ศูนย์เหรียญอย่างจริงจัง และควบคุมพฤติกรรมบริษัททัวร์และ ไกด์ทั้งชาวไทย/ชาวจีน เพื่อลดความเสี่ยงที่จะเกิดปัญหาต่อเศรษฐกิจในอนาคตต่อไป ดังนั้นงานศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาพฤติกรรมการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยว ชาวจีน วงจรปัญหาทัวร์ศูนย์เหรียญ และคาดการณ์ผลกระทบต่อเศรษฐกิจที่อาจจะ เกิดขึ้นหากจำนวนนักท่องเที่ยวลดลง เพื่อเป็นข้อมูลเชิงประจักษ์แสดงให้เห็นว่าหาก จำนวนนักท่องเที่ยวจีนเปลี่ยนไป มูลค่าทางเศรษฐกิจจะเปลี่ยนไปมากหรือน้อยอย่างไร วรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง ในส่วนนี้จะกล่าวถึงเอกสารวิจัยและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการวิเคราะห์ผล กระทบปัญหาทัวร์ศูนย์เหรียญต่อเศรษฐกิจไทย ดังนี้ ทัวร์ศูนย์เหรียญส่งผลกระทบต่อภาพลักษณ์การท่องเที่ยวและเศรษฐกิจไทย ในการศึกษาของ ชัยฤกษ์ แก้วพรหมมาลย์, 255816 พบว่าทัวร์ศูนย์เหรียญส่งผลทำ ให้เกิดการ “รุกคืบ” เข้ามาของกลุ่มนักธุรกิจจีนที่เข้ามายึดหัวหาดเปิดบริษัทนำเที่ยว และธุรกิจอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวในไทย โดยมีจำนวนเพิ่มขึ้นมากในระยะ 4-5 ปีทผ่ี า่ น และมีลกั ษณะการให้คนไทยเป็นหุน่ เชิด หรือ “นอมิน”ี บังหน้าในการจด ทะเบียนธุรกิจ หรือมีการนำเอาคนจีนเข้ามาสวมบัตรประชาชนไทยแล้วตั้งสำนักงาน ภัตตาคาร ร้านอาหาร โรงแรมที่พัก เพื่อรองรับนักท่องเที่ยวจีน รวมถึงการเข้าซื้อ กิจการ (Takeover) และการเข้าซื้อหุ้นภัตตาคาร ร้านอาหาร โรงแรม เป็นสามารถ เหตุให้ก่อให้เกิดเงินกระจุกตัวอยู่ในกลุ่มนักธุรกิจคนจีนเท่านั้น แทนที่จะหมุนเวียน ตามธุรกิจของคนไทย เช่นเดียวกับอัครพงษ์ อัน้ ทอง และมิง่ สรรพ์ ขาวสะอาด17, 2558 16

ปัญหาทัวร์ศูนย์เหรียญและผลกระทบต่อประเทศไทย วารสารสถาบันวิชาการป้องกันประเทศ ปีที่ 6 ฉบับที่ 4 เดือนกันยายน 2558 17 ความได้เปรียบในการแข่งขันด้านการท่องเทีย่ วของอาเซียนในตลาดนักท่องเทีย่ วจีน, อัครพงศ์ อัน้ ทอง และ มิง่ สรรพ์ ขาวสอาด วารสารเศรษฐศาสตร์และกลยุทธ์การจัดการ ปีที่ 2 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม-ธันวาคม 2558 หน้า 66

I 134 I


สำนักงานเศรษฐกิจชายแดนและโลจิสติกส์

ในงานศึกษาเรื่อง ความได้เปรียบในการแข่งขันด้านการท่องเที่ยวของอาเซียนใน ตลาดนักท่องเที่ยวจีนพบว่าตลาดท่องเที่ยวจีนมีการขยายตัวต่อเนื่องตั้งแต่หลังปี 2552 เนื่องจากความนิยมของนักท่องเที่ยวจีนที่นิยมมาเที่ยวเมืองไทยมากขึ้นและ พบว่าหลังปี พ.ศ. 2552-2557 อาเซียนมีความได้เปรียบในการแข่งขันเพิ่มขึ้นใน ตลาดนักท่องเที่ยวจีน โดยมีอัตราส่วนความได้เปรียบในการแข่งขัน (Competitive Advantage Ratio: CAR) สูงขึ้น

วิธีการศึกษา

การศึกษานี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนา (Descriptive Analysis) โดยศึกษา โครงสร้างของวงจรปัญหาทัวร์ศูนย์เหรียญ และประเมินผลกระทบต่อเศรษฐกิจ โดย มีสมมติฐานว่าหากนักท่องเที่ยวลดลง รายได้จากการท่องเที่ยวที่ประเทศไทยจะได้ รับลดลงตาม โดยจะใช้เครื่องมีทางสถิติเบื้องต้น (Descriptive Statistics) ในการ วิเคราะห์ข้อมูลพฤติกรรมนักท่องเที่ยว วงจรทัวร์ศูนย์เหรียญ รวมถึงการคาดการณ์ (Forecast) จำนวนนักท่องเที่ยวหลังจากเดือนสิงหาคม – ธันวาคมเพื่อที่จะนำไป วิเคราะห์รายได้จากการท่องเที่ยวที่อาจเปลี่ยนแปลงไปโดยมีแบบจำลองแสดงความ สัมพันธ์ของรายได้จาการท่องเที่ยวดังนี้

โดยที่ = Tourism Receipts รายได้จากการท่องเที่ยว = Arrivals จำนวนนักท่องเที่ยวชาวจีน = Length of Stay ระยะเวลาพำนักเฉลี่ย = Per Capita spending (average per day) ค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อหัวต่อวัน

I 135 I


OBELS OUTLOOK 2016

ผลการศึกษา พฤติกรรมการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวจีน

ลักษณะนักท่องเที่ยวจีนที่นิยมมาเที่ยวประเทศไทยมีอยู่ 2 รูปแบบ ได้แก่ เดินทางท่องเที่ยวด้วยตนเอง (Freelance Individual Tourist: FIT) และมากับ บริษัททัวร์ (Tour Group) ซึ่งแบ่งเป็น 4 แบบ ดังนี้ รูปแบบที่ 1 ทัวร์ศนู ย์เหรียญ (Zero-Dollar Tour) หรือคิกแบ็กทัวร์ (Kickback Tour) โดยนักท่องเที่ยวมีค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อหัวต่ำสุด ประมาณ 4,000 – 5,000 บาท รูปแบบที่ 2 ทัวร์ชอปปิ้งและออปชั่น (Shopping and Option Tour) มีค่า ใช้จ่ายเฉลี่ยต่อหัวต่ำกว่า 10,000 บาท รูปแบบที่ 3 ทัวร์โนชอปปิ้ง (No-Shopping Tour) มีค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อหัว มากว่า 15,000 บาท รูปแบบที่ 4 ทัวร์โนชอปปิง้ โนออปชัน่ ซึง่ เป็นกลุม่ ทีม่ คี า่ ใช้จา่ ยเฉลีย่ ต่อหัวสูงสุด คือมากกว่า 30,000 บาทขึ้นไป รูปที่ 2 รูปแบบการท่องเทีย่ วของนักท่องเทีย่ วจีน

ทีม่ า: สำนักข่าวไทย

I 136 I


สำนักงานเศรษฐกิจชายแดนและโลจิสติกส์

วงจรทัวร์ศูนย์เหรียญ (Zero-Dollar Tour Cycle)

พิจารณาจากรูปที่ 3 วงจรทัวร์ศูนย์เหรียญเริ่มต้นจากการที่นักท่องเที่ยวจีน ซื้อทัวร์มาท่องเที่ยวประเทศไทย 5 วัน 5 คืน ด้วยราคาถูกหรือต่ำกว่าต้นทุน เช่น ราคาทัวร์ที่รวมค่าอาหาร ที่พัก เดินทาง 15,000 บาทต่อคน จากนั้นบริษัททัวร์ที่ ประเทศจีนดำเนินการส่งนักท่องเที่ยวมาเมืองไทยโดยการเช่าเหมาลำ (Charter Flight) ที่มีต้นทุนค่าตั๋วเครื่องบิน 13,000 บาทต่อคน ทำให้บริษัททัวร์ที่ประเทศจีน ได้กำไร 2,000 บาทต่อคน หมายความว่าหากจำนวนนักท่องเที่ยวจีนมีความต้องการ มาเที่ยวประเทศไทยมากขึ้น บริษัทเหล่านี้จะได้กำไรมากขึ้น จากนั้นเมื่อนักท่องเที่ยวเดินทางมาถึงประเทศไทย บริษัททัวร์ที่ประเทศไทย รับกลุ่มนักท่องเที่ยวโดยไม่ได้รับเงิน หรือรับ 0$ จึงเป็นที่มาของคำว่า “ทัวร์ศูนย์ เหรียญ” จากนัน้ บริษทั ไทยมีหน้าทีน่ ำนักท่องเทีย่ วจีนเดินทางท่องเทีย่ ว ตามกำหนดการ ที่วางไว้ โดยต้องเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายด้านการเดินทาง อาหาร ที่พัก เช่น ค่าเช่ารถ เฉลีย่ 1,200 บาทต่อคน ค่าทีพ่ กั คืนละ 1,200 จำนวน 5 คืน ค่าอาหารมือ้ ละ 150 บาท จำนวน 10 มื้อ เฉลี่ยแล้วบริษัททัวร์ไทยมีต้นทุนต่อหัวที่ต้องจ่ายให้นักท่องเที่ยวจีน เป็นจำนวน 5,700 บาท โดยยังไม่ได้รับเงินใดๆ เมื่อมีต้นทุนแต่ยังไม่มีรายรับ บริษัท ทัวร์ไทยจึงมีการขายทัวร์ทางเลือกหรือทัวร์เสริม (Option Tour) โดยคิดค่าบริการ รายหัว เช่น พาไปชมสถานที่ท่องเที่ยวที่ไม่ได้ระบุไว้ในกำหนดการเดินทาง พาไปชม โชว์ลามกอนาจาร หลอกขายยาโด๊ป พาไปซื้อจิวเวอร์รี่ราคาสูง เป็นต้น

คาดการณ์ผลกระทบต่อเศรษฐกิจ

ในการศึกษาครั้งนี้ได้แบ่งผลกระทบจากปัญหาทัวร์ศูนย์เหรียญออกเป็น 2 ลักษณะคือ ผลกระทบทางตรง (Direct Effect) ทีส่ ามารถคำนวณหาค่าทางเศรษฐกิจ ได้ และผลกระทบทางอ้อม (Indirect Effect) ที่ไม่สามารถประเมินค่าทางเศรษฐกิจ ได้ ดังนี้

I 137 I


OBELS OUTLOOK 2016

รูปที่ 3 วงจรทัวร์ศนู ย์เหรียญ

ทีม่ า: ไทยรัฐออนไลน์ (6 ก.ค. 2558)

1. ผลกระทบทางตรง (Direct Effect)

1.1 ผลกระทบในระดับมหภาค (Macro Level) การลดลงของนักท่องทำให้รายได้จากการท่องเทีย่ วของประเทศลดลงนักท่องเทีย่ ว จีนถือได้วา่ เป็นตลาดใหญ่ทส่ี ดุ ของเศรษฐกิจการท่องเทีย่ วไทยโดยมีจำนวนนักท่องเทีย่ ว 7,981,407 คนในปี 2558 มีอตั ราเติบโตเฉลีย่ ต่อปี (CARG%) ทีร่ อ้ ยละ 20 นักท่องเทีย่ ว มีคา่ ใช้จา่ ยเฉลีย่ ต่อหัวเฉลีย่ ต่อวัน 5,983 บาท มีระยะเวลาพำนัก (Length of Stay) เฉลีย่ 8.14 วัน ดังนัน้ หากจำนวนนักท่องเทีย่ วจีนลดลง (เปรียบเทียบกับเดือนสิงหาคม 2559 ซึ่งเป็นเดือนสุดท้ายที่มีตัวเลข) รายได้การท่องเที่ยวก็จะลดลงตามพบว่าหาก นักท่องเที่ยวลดลงร้อยละ 1 รายได้การท่องเที่ยวจะเท่ากับ 42,978 ล้านบาทหรือ ลดลง 434 ล้านบาท หากลดลงร้อยละ 5 รายได้การท่องเทีย่ วเท่ากับ 41,241 ล้านบาท ลดลง 2,171 ล้านบาทจากเดือนสิงหาคม 2559

I 138 I


สำนักงานเศรษฐกิจชายแดนและโลจิสติกส์

ตารางที่ 3 คาดการณ์รายได้การท่องเที่ยวของประเทศไทย กรณีลดลงและเพิ่มขึ้น จากเดือนสิงหาคม 59 (ล้านบาท) กรณีนักท่องเที่ยวลดลงจากเดือนสิงหาคม 59

กรณีนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นจากเดือนสิงหาคม 59

ลดลง

เพิ่มขึ้น

จำนวน รายได้การ รายได้ นักท่องเที่ยว ท่องเทีย่ ว ที่เพิ่มขึ้น

+1% +2% +3% +4% +5% +6% +7% +8% +9% +10% +11% +12% +13% +14% +15%

900,296 909,210 918,123 927,037 935,951 944,865 953,779 962,693 971,606 980,520 989,434 998,348 1,007,262 1,016,175 1,025,089

-1% -2% -3% -4% -5% -6% -7% -8% -9% -10% -11% -12% -13% -14% -15%

จำนวน รายได้การ รายได้ นักท่องเที่ยว ท่องเทีย่ ว ที่ลดลง 882,468 873,554 864,641 855,727 846,813 837,899 828,985 820,071 811,158 802,244 793,330 784,416 775,502 766,589 757,675

42,978 42,544 42,109 41,675 41,241 40,807 40,373 39,939 39,505 39,071 38,636 38,202 37,768 37,334 36,900

-434 -868 -1,303 -1,737 -2,171 -2,605 -3,039 -3,473 -3,907 -4,341 -4,776 -5,210 -5,644 -6,078 -6,512

ที่มา: คำนวณโดยผู้วิจัย

I 139 I

43,846 44,280 44,714 45,148 45,582 46,016 46,451 46,885 47,319 47,753 48,187 48,621 49,055 49,489 49,924

434 868 1,302 1,736 2,170 2,604 3,039 3,473 3,907 4,341 4,775 5,209 5,643 6,077 6,512


OBELS OUTLOOK 2016

อย่างไรก็ตามหากทำการคาดการณ์ด้วยวิธี Box and Jenkins18 โดยมีแบบ จำลอง ARIMA (2,1,1) พยากรณ์แบบ Static Forecast ข้อมูลอนุกรมเวลาตั้งแต่ เดือนมกราคม 2555 ถึง เดือนธันวาคม 2559 พบว่าการเพิ่มขึ้นของนักท่องเที่ยวจีน ตั้งแต่เดือนมกราคม-สิงหาคม ยังมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง และในเดือนกันยายน ตัวเลขจำนวนนักท่องเที่ยวที่คาดการณ์ได้ดังรูปที่ 4 รูปที่ 4 ผลการคาดการณ์จำนวนนักท่องเที่ยวจีนแบบ Static Forecast

18 George E.P. Box และ Gwilym M. Jenkins ในปี ค.ศ. 1970

I 140 I


สำนักงานเศรษฐกิจชายแดนและโลจิสติกส์

เมือ่ นำข้อมูลทีค่ าดการณ์ไว้มาคำนวณหารายได้การท่องเทีย่ วของประเทศไทย พบว่า รายได้จากการท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นตามจำนวนนักท่องเที่ยวจีนที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้น โดยเดือนกันยายน 2559 คาดว่านักท่องเที่ยวจีนจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 71 จากเดือน เดียวกันเมื่อปีก่อนหน้า มูลค่าทางเศรษฐกิจที่จะเกิดขึ้นเท่ากับ 44,654 ล้านบาท ส่วนเดือนตุลาคมผลการคาดการณ์ชี้ว่าจำนวนนักท่องเที่ยวเท่ากับ 945,424 คนเพิ่ม ขึน้ ร้อยละ 63 เทียบกับเดือนเดียวกันในปีกอ่ นหน้า สร้างรายได้กว่า 46,034 ล้านบาท ส่วนพฤศจิกายนตัวเลขนักท่องเทีย่ วและรายได้การท่องเทีย่ วยังคงเพิม่ ขึน้ ที่ 969,845 คน และ 47,233 ล้านบาทตามลำดับ เดือนธันวาคมตัวเลขคาดการณ์อยู่ที่ 995,089 คน และ 48.4 ล้านบาทตามลำดับ โดยรวมตัวเลขจำนวนนักท่องเที่ยวชาวจีนทั้งปี 2559 อยู่ที่ 10,483,289 คน สร้างรายได้การท่องเที่ยวสู่ประเทศไทยกว่า 510,553 ล้านบาท ดูรายละเอียดจากตารางที่ 4 ตารางที่ 4 ประมาณการณ์จำนวนนักท่องเที่ยวและรายได้การท่องเที่ยวจาก นักท่องเที่ยวจีนปี 2559 เดือน ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย.* ต.ค.*

จำนวนที่เดิน จำนวนวันพัก การใช้จ่ายต่อหัว รายรับจากนักท่องเที่ยว ทางเข้ามา (เฉลี่ยต่อวัน) (ล้านบาท) 814,593 958,204 856,676 816,028 738,570 715,413 865,355 891,382 916,892 945,242

8.14 8.14 8.14 8.14 8.14 8.14 8.14 8.14 8.14 8.14

5,983 5,983 5,983 5,983 5,983 5,983 5,983 5,983 5,983 5,983

I 141 I

39,671,998,741 46,666,087,090 41,721,509,015 39,741,885,565 35,969,555,483 34,841,772,069 42,144,190,375 43,411,747,439 44,654,125,765 46,034,836,208


OBELS OUTLOOK 2016

เดือน จำนวนที่เดิน จำนวนวันพัก การใช้จ่ายต่อหัว รายรับจากนักท่องเที่ยว ทางเข้ามา (เฉลี่ยต่อวัน) (ล้านบาท) พ.ศ.* ธ.ค.* รวม

969,845 995,089 10,483,289

8.14 8.14 8.14

5,983 5,983 5,983

47,233,040,551 48,462,432,008 510,553,180,310

ที่มา: คำนวณโดยผู้วิจัย หมายเหตุ: * = ค่าประมาณการณ์

1.2 ผลกระทบในระดับจุลภาค (Micro Level)

ผลกระทบต่อรายได้ของธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากทัวร์ศูนย์เหรียญ ได้แก่ ร้านอาหารท้องถิ่น เนื่องจากทัวร์ศูนย์เหรียญมีการนำนักท่องเที่ยวจีนเข้ารับประทาน อาหารในร้านของนอมินีจีน หรือเข้าเฉพาะร้านที่มีความร่วมมือที่ให้ส่วนแบ่งผลกำไร ดังนั้นจำนวนค่าใช้จ่ายที่นักท่องเที่ยวจะจ่ายเพื่อร้านอาหาร (Food & Beverage) ร้านขายของที่ระลึก ค่าใช้จ่ายเพื่อการช๊อปปิ้งจะลดลง ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรม เพื่อการท่องเที่ยวและบันเทิง รวมถึงธุรกิจที่พักอาศัย (Accommodation) ทั่วไปที่ ไม่มคี วามร่วมมือกับทัวร์จนี และธุรกิจการขนส่งโดยสาร เช่น แท็กซี่ รถตูไ้ ม่ประจำทาง จะหายไปตามจำนวนนักท่องเที่ยวจีนที่เดินทางกับทัวร์ศูนย์เหรียญ หากคาดการณ์วา่ จำนวนนักท่องเทีย่ วจีนทัง้ หมดทีเ่ ข้ามาประเทศไทยในปี 2559 เท่ากับ 10,483,289 คน โดยจำนวนนีเ้ ป็นนักท่องเทีย่ วทีเ่ ดินทางมากับทัวร์ศนู ย์เหรียญ ร้อยละ 50 ดังนั้น จำนวนนักท่องเที่ยวจำนวน 5,241,645 คน จะไม่มีค่าใช้จ่ายเพื่อ การช๊อปปิ้ง ที่พัก ร้านอาหาร ค่าเดินทางท่องเที่ยว ฯลฯ เนื่องจากบริษัททัวร์จะเป็น คนจ่าย และจะจ่ายให้กับที่พัก ร้านอาหาร ร้านค้าที่ทำข้อตกลงไว้เท่านั้น ดังนั้นค่า ให้จ่ายเฉลี่ยในแต่ละกิจกรรม (ตารางที่ 5) ก็จะหายไปตามจำนวนนักท่องเที่ยวที่เดิน ทางมากับทัวร์ศูนย์เหรียญตามลำดับ สามารถดูรายละเอียดค่าใช้จ่ายในแต่ละหมวด ที่จะหายไปในปี 2559 ดังตารางที่ 5

I 142 I


สำนักงานเศรษฐกิจชายแดนและโลจิสติกส์

ตารางที่ 5 ประมาณการณ์รายได้การท่องเที่ยวจากนักท่องเที่ยวจีนปี 2559 (ล้านบาท) ประเภทการใช้จ่าย

2557

2558

2559* รายรับจากการท่องเที่ยว (ไม่มีทัวร์ศูนย์เหรียญ)

2559* รายรับจากการท่องเที่ยว (มีทัวร์ศูนย์เหรียญ)

การจับจ่ายซื้อของ

1,142

1,639

139,862

69,931

ความบันเทิง

549

681

58,112

29,056

การเที่ยวชม

183

323

27,601

13,801

สิ่งอำนวยความสะดวก 1,450

1,576

134,468

67,234

อาหารและเครื่องดื่ม

935

1,099

93,803

46,902

การขนส่งท้องถิ่น

489

564

48,133

24,066

อื่นๆ

61

101

8,587

4,294

4,809

5983

510,553

255,277

เฉลี่ยต่อวัน

ที่มา: กระทรวงท่องเที่ยวและกีฬา กรมการท่องเที่ยว และการคำนวณโดยผู้วิจัย

2. ผลกระทบทางอ้อม (Indirect Effect)

ถึงแม้วา่ ผลกระทบทางอ้อมทีเ่ กิดขึน้ จะไม่สามารถคำนวณเป็นตัวเงินได้แต่ไม่ใช่ ว่าจะไม่มีความสำคัญ เนื่องจากปัจจัยเสี่ยงหนึ่งที่ประเทศไทยควบคุมได้ยากคือ โอกาส ในการกลับมาท่องเทีย่ วใหม่ในอนาคตของนักท่องเทีย่ ว (Tourist’s Revisit) แน่นอน ว่าการที่ไม่สามารถสร้างภาพลักษณ์เชิงบวกต่อสถานการณ์ทัวร์สูญเหรียญจะส่งผล กระทบต่อภาพลักษณ์การท่องเที่ยวของประเทศไทยเป็นอย่างมาก โดยทั่วไปแล้ว (Rule of Thumb) นักท่องเที่ยวเมื่อถูกเอารัดเอาเปรียบจะไม่มีความพึงพอใจและมี โอกาสน้อยมากที่จะกลับมาท่องเที่ยวอีก ที่สำคัญมากกว่านั้นคือในยุคที่โลกสามารถ เข้าถึงข้อมูลออนไลน์ได้ นักท่องเที่ยวเหล่านั้นจะบอกเล่าเรื่องราวที่เขาเผชิญจาก ปากต่อปาก หรืออาจจะโพสต์ข้อความในสื่อสังคมต่างๆ จะยิ่งทำให้ผลกระทบกลาย เป็นวงกว้างขึ้นเรื่อยๆอย่างรวดเร็ว ประกอบกับนักท่องเที่ยวนิยมหาข้อมูลก่อนการ

I 143 I


OBELS OUTLOOK 2016

เดินทางหรืออ่านตามการรีวิวตามแหล่งต่างๆในเครือข่ายทางสังคมออนไลน์ (Social Media) แน่นอนว่าภาพลักษณ์ที่เสียไปเป็นการยากที่กู้คืนมาและยากที่จะสร้างให้ เกิดความเข้าใจที่ถูกต้องได้

สรุปผลการศึกษา

ทัวร์ศูนย์เหรียญ (Zero-Dollar Tour) คือทัวร์ราคาถูกที่เป็นที่นิยมในหมู่ นักท่องเที่ยวจีน โดยพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวจีนนิยมจะมาท่องเที่ยวเป็นกลุ่ม (Group Tour) เนื่องจากมีราคาถูก มีการอำนวยความสะดวกครบวงจรโดยบริษัท ทัวร์ไม่ว่าจะเป็นการเดินทาง การจองที่พัก ร้านอาหาร หรือกำหนดการท่องเที่ยว และซื้อของฝาก แต่ปัญหาที่เกิดขึ้นคือการฉวยโอกาสจากเค้กชิ้นโตโดยการเอารัด เอาเปรียบนักท่องเทีย่ ว หลอกพาไปเทีย่ วในแหล่งท่องเทีย่ วทีไ่ ม่เหมาะสมหลอกขายของ ราคาแพงคุณภาพต่ำ จึงก่อให้เกิดปัญหาต่อเศรษฐกิจการท่องเที่ยวไทย ที่พึ่งพิงราย ได้จากภาคการท่องเที่ยวเป็นจำนวนมาก ผลกระทบที่เกิดขึ้นสามารถแบ่งออกเป็น ผลกระทบทางตรง (Direct Effect) ต่อเศรษฐกิจและสามารถวัดค่าได้ แบ่งออกเป็น 2 ระดับ คือระดับมหาภาค (Macro Level) โดยจะทำให้รายได้การท่องเที่ยวไทย ลดลงเมื่อเทียบกับเดือนสิงหาคม 59 เท่ากับ 2,171 ล้านบาท หากนักท่องเที่ยวจีน คนลดลงร้อยละ 5 และลดลง 4,341 ล้านบาท หากนักท่องเที่ยวลดลงร้อยละ 10 ตามลำดับ ถึงอย่างไรก็ตามหากพิจารณาตัวเลขนักท่องเที่ยวจีนตั้งแต่ปี 2555 พบว่า จำนวนนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ผลการพยากรณ์จากแบบจำลอง ARIMA (2,1,1) โดยวิธี Box and Jenkins ชี้ให้เห็นว่าจำนวนนักท่องเที่ยวจะเพิ่มขึ้นอย่าง ต่อเนื่อง ดังนั้นหากจำนวนนักท่องเที่ยวเพิ่มรายได้จากภาคการท่องเที่ยวก็จะเพิ่มขึ้น ตาม โดยการคาดการณ์พบว่าในปี 2559 นักท่องเทีย่ วรวมทัง้ ปีจำนวน 10,483,289 คน อัตราเติบโตร้อยละ 34.34 (%YoY) รายได้การท่องเที่ยวรวมทั้งปีเท่ากับ 510,553 ล้านบาท อัตราเติบโตร้อยละ 31.35 (%YoY) ดังนั้นหากประเทศไทยไม่อยากสูญเสีย รายได้จากภาคการท่องเที่ยวจากตลาดนักท่องเที่ยวจีน ควรแก้ไขปัญหาภาพลักษณ์ ทีเ่ กิดขึน้ จากปัญหาทัวร์ศนู ย์เหรียญ โดยการเร่งสร้างภาพลักษณ์ทด่ี ี รวมถึงการต้อนรับ

I 144 I


สำนักงานเศรษฐกิจชายแดนและโลจิสติกส์

นักท่องเที่ยวด้วยจิตไมตรีของความเป็นเจ้าบ้านที่ดี ดังคำกล่าวของอาจารย์เฉลิมชัย โฆษิตพิพตั น์ ศิลปินแห่งชาติและผูส้ ร้างวัดร่องขุน่ ทีก่ ล่าวว่า “ยินดีกบั คนจีนทุกคน วัดร่องขุ่นคนจีนมากันเยอะ จัดระเบียบคนจีนได้เรียบร้อย อธิบายวัฒนธรรมของเรา เขาก็ไม่ทำ ปัญหาของการท่องเที่ยวเราคือ แหล่งท่องเที่ยวพร้อมรองรับหรือไม่...”

เอกสารอ้างอิง

ชัยฤกษ์ แก้วพรหมมาลย์ (2558) ปัญหาทัวร์ศูนย์เหรียญและผลกระทบต่อประเทศ ไทย วารสารสถาบันวิชาการป้องกันประเทศ ปีที่ 6 ฉบับที่ 4 เดือนกันยายน 2558 หน้า 38 -50 มิ่งสรรพ์ ขาวสอาด และคณะ (2556) เศรษฐศาสตร์ว่าด้วยการท่องเที่ยว Tourism Economics สถาบันศึกษานโยบายสาธารณะ, อ.เมือง , จังหวัดเชียงใหม่ อัครพงศ์ อั้นทอง และ มิ่งสรรพ์ ขาวสะอาด (2558) ความได้เปรียบในการแข่งขัน ด้านการท่องเที่ยวของอาเซียนในตลาดนักท่องเที่ยวจีน, วารสารเศรษฐศาสตร์ และกลยุทธ์การจัดการ ปีที่ 2 ฉบับที่ 2 เดือนกรกฎาคม-ธันวาคม 2558 หน้า 66-79

I 145 I


OBELS OUTLOOK 2016

ส่วนที่ 3 พลวัตทางเศรษฐกิจเมืองชายแดน จังหวัดเชียงราย

I 146 I


สำนักงานเศรษฐกิจชายแดนและโลจิสติกส์

การศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจ ของจังหวัดเชียงราย พบธรรม บรรณบดี, พรพินันท์ ยี่รงค์

ที่มาและความสำคัญ

จังหวัดเชียงรายเป็นจังหวัดทีอ่ ยูเ่ หนือสุดของประเทศไทย และมีพน้ื ทีช่ ายแดน เชื่อมต่อกับประเทศเพื่อนบ้านอย่างสปป.ลาว และเมียนมาร์ รวมถึงมีพื้นที่ทางน้ำ และทางบกสามารถเชือ่ มโยงไปยังจีนตอนใต้ ทำให้เชียงรายเป็นประตูการค้าชายแดน ทีม่ ศี กั ยภาพอย่างมากในช่วงหลายปีทผ่ี า่ นมา นอกจากการค้าชายแดน การท่องเทีย่ ว ของจังหวัดเชียงรายยังเป็นที่นิยมสำหรับชาวจีน ชาวต่างชาติ และชาวไทยในต่าง พื้นที่ เนื่องจากสภาพภูมิอากาศที่มีอุณหภูมิต่ำกว่าหลายพื้นที่ในประเทศไทย ตลอด จนมีแหล่งท่องเทีย่ วทีน่ า่ สนใจ อาทิ วัดร่องขุน่ ดอยตุง วัดพระแก้ว ภูชฟ้ี า้ และบ้านดำ ซึ่งเป็นรูปแบบของการท่องเที่ยวเชิงศิลปวัฒนธรรม และมีความเป็นธรรมชาติ ฉะนั้น การค้าชายแดน และการบริการ โดยเฉพาะด้านการท่องเที่ยว จึงเป็นสองเครื่องยนต์ หลักที่รัฐบาลพยายามที่จะนำมาใช้ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของจังหวัดเชียงราย

I 147 I


OBELS OUTLOOK 2016

โดยใน 19 ปีที่ผ่านมา ผลิตภัณฑ์มวลรวมของจังหวัดเชียงราย ณ ราคาคงที่ (Real Gross Provincial Product: RGPP) มีการขยายตัวสะสม (Compound Average Growth Rate: CAGR) อยู่ร้อยละ 3.57 ชี้ให้เห็นว่าการเติบโตของเศรษฐกิจเชียงราย ในระยะยาวมีสัญญาณที่ดี รูปที่ 1 มูลค่า GPP และอัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจจังหวัดเชียงรายปี 2538 - 2557

ที่มา: สำนักงานคณะกรรมเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (NESDB)

อย่างไรก็ตาม ในปี 2557 มูลค่า RGPP ของจังหวัดเชียงรายกลับมีการหดตัว ร้อยละ 1.71 ลดลงจากปีก่อน 912 ล้านบาท ทั้งที่ในปี 2556 และ 2555 มีการขยาย ตัวถึงร้อยละ 4.6 และ 9.67 ตามลำดับ ซึ่งในระยะที่ผ่านมาการเปลี่ยนแปลงของ บริบทการค้าโลกใหม่ที่ทำให้แต่ละประเทศทั่วโลกมีการค้าระหว่างกันลดน้อยลง ซึ่ง เป็นผลต่อเนื่องจากวิกฤตเศรษฐกิจโลก ทั้งวิกฤตเศรษฐกิจแฮมเบอร์เกอร์ของอเมริกา ในปี 2551 และวิกฤตยูโรโซนหรือกรีซในปลายปี 2552 ตลอดจนภาวะเงินฝืดเรื้อรัง ของญี่ปุ่น และการชะลอตัวของเศรษฐกิจจีนได้ส่งผลกระทบต่อการค้าโดยรวมของ ไทย รวมถึงการค้าชายแดนเช่นกัน ส่วนในด้านของปัญหาในพืน้ ทีอ่ ย่างอำเภอเชียงของ หลังการเปิดประชาคมอาเซียน กลับไม่มีผลตอบรับดีเท่าที่ควร และมีสถานการณ์ที่ แย่ลงอย่างมาก เนือ่ งจากสปป.ลาวมีการเก็บค่าธรรมเนียมในการนำเข้าสินค้าทีส่ งู ขึน้ เพิ่มต้นทุนการส่งออกของผู้ประกอบการชาวไทย

I 148 I


สำนักงานเศรษฐกิจชายแดนและโลจิสติกส์

นอกจากนี้ การปิดด่านสบหลวยของเมียนมาร์ในช่วงปลายเดือนพฤษภาคม 2559 ทีผ่ า่ นมา ได้สง่ ผลให้เรือเดินสินค้าบริเวณชายแดนตำบลสบรวก อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย-บ้านต้นผึง้ แขวงบ่อแก้ว สปป.ลาว ไม่สามารถขนส่งสินค้าเข้า-ออกได้ ซึ่งเส้นทางดังกล่าวใช้เป็นเส้นทางการค้าจากเมียนมาร์ไปสู่จีนตอนใต้ในทางบก ซึ่ง การปิดด่านเมียนมาร์เป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงรัฐบาลใหม่ในเดือนเมษายน 2559 ทั้งนี้ ในด้านของการท่องเที่ยว หลังจากการเปิดสะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 4 ทำให้มีชาวจีนหลั่งไหลกันเข้ามาท่องเที่ยวในรูปแบบของรถส่วนตัวและ คาราวานรถ แต่หลังจากมีการออกกฎระเบียบเข้มงวดสำหรับการนำรถยนต์ส่วนตัว ของจีนเข้ามาตั้งแต่ 27 มิถุนายน 2559 มีผลต่อการลดลงของจำนวนนักท่องเที่ยว จีน ซึ่งเป็นแหล่งรายได้หลักของการท่องเที่ยวเชียงราย และการที่ประเทศมหาอำนาจ ตะวันตกอยู่ในสภาวะเศรษฐกิจซบเซา ก็ส่งผลให้นักท่องเที่ยว เช่น รัสเซีย อังกฤษ มี การเข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทยน้อยลง รูปที่ 2 เปรียบเทียบการเติบโตทางเศรษฐกิจของจังหวัดเชียงราย และประเทศไทยปี 2539 -2557

ที่มา: สำนักงานคณะกรรมเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (NESDB)

I 149 I


OBELS OUTLOOK 2016

เมือ่ มองการเติบโตทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศไทยและจังหวัดเชียงรายพบว่า เศรษฐกิจของไทยมีการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่มีความผันผวน หรือมีความอ่อนไหว ต่อปัจจัยต่างๆทั้งภายนอกและภายในสูงกว่า เช่น ในช่วงปี 2540 - 2541 เป็นช่วง ของการเกิดวิกฤตเศรษฐกิจต้มยำกุ้งของไทย อัตราการเติบโตหดตัวเฉลี่ยร้อยละ 21.03 ขณะที่อัตราการเติบโตของเชียงรายหดตัวเฉลี่ยเพียงร้อยละ 2.06 ส่วนใน ช่วงของปี 2544 เศรษฐกิจไทยมีการชะลอตัวร้อยละ 4.72 จากการชะลอตัวของ เศรษฐกิจโลกที่ส่งผลต่อการส่งออกโดยรวม เชียงรายกลับขยายตัวร้อยละ 1.31 เช่น เดียวกับในช่วงของวิกฤตเศรษฐกิจที่ต่อเนื่องกันมาของทางสหรัฐอเมริกาและยุโรป ทำให้เศรษฐกิจไทยเกิดการหดตัวของการเติบโตที่ร้อยละ 4.43 โดยที่เศรษฐกิจ เชียงรายยังคงเติบโตร้อยละ 2.67 มีเพียงในปี 2557 ที่ภาวะเศรษฐกิจของจังหวัด เชียงรายและประเทศไทยมีการหดตัวพร้อมกัน แม้ว่าเชียงรายจะได้รับผลกระทบจากเปลี่ยนแปลงของปัจจัยภายนอกอย่าง วิกฤตเศรษฐกิจ และการชะลอตัวของเศรษฐกิจที่ผ่านมา แต่บริบทใหม่ทางเศรษฐกิจ ที่เปลี่ยนไป และความเป็นโลกาภิวัตน์เริ่มที่จะทำให้เศรษฐกิจของเชียงรายเริ่มเชื่อม ต่อกับสังคมโลก ดังเช่นมูลค่า GPP ที่มีการหดตัวในปี 2557 ฉะนั้น จังหวัดเชียงราย ต้องได้รับการศึกษาภาคการผลิตใดส่งผลต่อการเติบโตของเศรษฐกิจ เพื่อที่จะออก นโยบายในการสนับสนุนได้ชัดเจนและถูกต้อง โดยงานวิจัยชิ้นนี้ ได้ทำการศึกษา ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจจังหวัด ซึ่งใช้ข้อมูลตั้งแต่ปี 2549 - 2557 จากสำนัก งานการคลังจังหวัดเชียงรายที่ทำการเก็บรวบรวมดัชนีช้วี ัดภาวะเศรษฐกิจของจังหวัด เชียงราย และข้อมูลสถิติผลิตภัณฑ์มวลรวมของจังหวัดเชียงรายจากสำนักงานคณะ กรรมการได้รายงานประจำปี

I 150 I


สำนักงานเศรษฐกิจชายแดนและโลจิสติกส์

การวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อการเติบโตของเศรษฐกิจจังหวัดเชียงราย

1. เครื่องมือที่ใช้ในการวิเคราะห์และข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลในงานวิจัยชิ้นนี้ใช้เครื่องมือ “การวิเคราะห์การถดถอย (Regression Analysis)” เป็นวิธีทางสถิติอย่างหนึ่งที่ใช้ศึกษาลักษณะความสัมพันธ์ ระหว่างตัวแปรตั้งแต่ 2 ตัวแปรขึ้นไป เพื่อใช้ในการพยากรณ์ค่าของตัวแปรหนึ่งจาก ตัวแปรอืน่ ๆ จุดประสงค์ของการวิเคราะห์การถดถอยคือ การประมาณค่าพารามิเตอร์ ตลอดจนการตรวจสอบความเหมาะสมกับข้อมูล ซึ่งตัวแปรในการถดถอยสามารถ แบ่งออกเป็นสองชนิด ชนิดแรกเป็นตัวแปรทีข่ น้ึ อยูก่ บั ตัวแปรอืน่ เรียกว่า ตัวแปรตาม (Dependent Variable หรือ Response Variable) ส่วนอีกชนิดหนึ่งเป็นตัวแปร ที่ใช้ควบคุมหรือใช้อธิบายตัวแปรตามเรียกว่าตัวแปรอิสระ (Independent Variable หรือ Predictor Variable) จำนวนตัวแปรอิสระอาจมีเพียงตัวเดียวหรือมากกว่า หนึ่งตัวแปรก็ได้ ถ้าใช้ตัวแปรอิสระตัวเดียวเรียกว่า การถดถอยอย่างง่าย (Simple Regression) แต่ถ้าใช้ตัวแปรอิสระมากกว่าหนึ่งตัวแปรเรียกว่า การถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression) ใช้วธิ กี ารประมาณแบบกำลังสองน้อยทีส่ ดุ (Ordinary Least Square หรือ OLS) เพื่อลดค่าความคลาดเคลื่อนของข้อมูลให้น้อยที่สุดในการศึกษา โดยในการศึกษาจะใช้การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ ดังสมการนี้ GPP = β0 + β1 x1+ β2 x2+ β3 x3 +....+βn xn+u

โดยที่ Y = ค่าของตัวแปรตาม X1,X2,X3,…,Xn = ค่าของตัวแปรอิสระมีค่าตั้งแต่ 1,2,…,n ตัว = ค่าคงที่หรือค่า Intercept ของสมการถดถอย β1, β1, β1,…,βn = ค่าพารามิเตอร์หรือค่าสัมประสิทธิ์การถดถอยของตัวแปร อิสระตัวที่ 1,2,…,n ตามลำดับ u = ค่าความคลาดเคลื่อน (Error or Residual)

I 151 I


OBELS OUTLOOK 2016

ตัวแปรอิสระทีน่ ำมาใช้ในการวิเคราะห์มที ง้ั หมด 6 ตัวชีว้ ดั ได้แก่ ตัวชีว้ ดั ภาค การเกษตร (Agricultural Sector: AGRI) การบริการ (Service Sector: SER) อุตสาหกรรม (Industrial Sector: IND) การลงทุนภาคเอกชน (Private Investment: PI) การบริโภคครัวเรือน (Household Consumption: HC) และการค้า ชายแดน (Cross-Border Trade: CBT) และตัวแปรตามคือ ผลิตภัณฑ์มวลรวมของ จังหวัดเชียงราย (Gross Provincial Product: GPP) ฉะนั้น จึงสามารถจำลองแบบ ความสัมพันธ์จากสมการถดถอยพหุคูณ ดังนี้ GPP = β0 + β1 AGRI + β2 SER + β3 IND + β4 PI+ β5 HC + β6 CBT + u

ตารางที่ 1 ข้อมูลสถิติของตัวแปรอิสระที่ใช้กำหนดปัจจัยที่ส่งผลกระทบเศรษฐกิจเชียงราย

2548 2549 2550 2551 2552 2553 2554 2555 2556 2557 2558

เกษตร การบริการ อุตสาหกรรม การลงทุน การบริโภค 12844 33026 78806 1119 118 12972 34192 82356 745 159 8919 37690 84973 796 275 13238 41599 90062 890 290 10475 42059 92821 1113 312 11403 50615 97356 798 345 12742 55819 101856 765 373 14277 68713 108493 1050 394 14446 74531 112272 853 406 10188 73611 115039 1332 500

9563

73904

118643

1253

ที่มา: สำนักงานการคลังจังหวัดเชียงราย

I 152 I

508

ค้าชายแดน 7071 6659 7498 8703 9194 14645 22709 27947 30234 32316

34262


สำนักงานเศรษฐกิจชายแดนและโลจิสติกส์

หมายเหตุ: 1. ภาคการเกษตรใช้ตัวชี้วัดของราคาข้าว 2. ภาคการบริการใช้ตัวชี้วัด ของมูลค่าการค้าปลีกค้าส่ง 3. ภาคอุตสาหกรรมใช้ตัวชี้วัดของทุนจดทะเบียนโรงงาน อุตสาหกรรม 4. ภาคการลงทุนของเอกชนใช้ตัวชี้วัดของทุนจดทะเบียนนิติบุคคล 5. ภาคการบริโภคของครัวเรือนใช้ตวั ชีว้ ดั ของภาษีมลู ค่าเพิม่ (VAT) และ 6. ภาคการค้า ชายแดนใช้ตัวชี้วัดของดุลการค้าชายแดน

2. ผลการวิเคราะห์

จากตารางที่ 1 สามารถสรุปได้ว่าตัวแปรอิสระที่ส่งผลต่อการเติบโตทาง เศรษฐกิจเชียงราย ได้แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.1 คือ ภาคการเกษตร ภาคการลงทุนเอกชน ภาคการบริโภคครัวเรือน ภาคการค้า ชายแดน ส่วนภาคที่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.01 คือ ภาคการบริการ อย่างไรก็ตาม ภาคอุตสาหกรรมเป็นเพียงภาคเดียวที่ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ โดยมีค่าสัมประสิทธิ แสดงการตัดสินใจเชิงซ้อน (Coefficient of Multiple Determination หรือ R2) อยู่ที่ร้อยละ 99.96 แสดงถึงอิทธิพลของตัวแปรอิสระ (5 ตัวชี้วัด) ที่มีต่อตัวแปรตาม (เศรษฐกิจของจังหวัดเชียงราย) ตารางที่ 1 ผลการวิเคราะห์สมการถดถอยพหุคูณของปัจจัยที่มีผลต่อเศรษฐกิจเชียงราย

ตัวแปรอิสระ ค่าคงที่ (C) ภาคการเกษตร ภาคการบริการ ภาคอุตสาหกรรม การลงทุนเอกชน การบริโภคครัวเรือน การค้าชายแดน

ค่าสัมประสิทธ์ -8214.02 0.65 1.08 0.048 3.09 37.65 -0.34

t-statistic -0.56 2.61 9.96 0.19 2.37 2.901831 -2.711846

ที่มา: คำนวณโดยผู้วิจัย

P-value 0.617* 0.076* 0.0022*** 0.8560 0.098* 0.0624* 0.0731*

*มีนัยสำคัญทางสถิติระดับ 0.1 **มีนัยสำคัญทางสถิติระดับ 0.05 ***มีนัยสำคัญทางสถิติระดับ 0.01

I 153 I


OBELS OUTLOOK 2016

ค่าสัมประสิทธิ์ (Coefficient) ของตัวแปรอิสระที่มีนัยสำคัญทางสถิติสามารถอธิบาย ได้ ดังนี้ 1. ภาคการเกษตรมีค่าสัมประสิทธิ์อยู่ที่ 0.65 (ß1) หมายความว่า หากมูลค่า ภาคการเกษตรมีการเพิ่มขึ้น/ลดลงร้อยละ 1 จะส่งผลให้มูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมของ จังหวัดเชียงรายเพิ่มขึ้น/ลดลงร้อยละ 0.65 2. ภาคการบริการมีคา่ สัมประสิทธิอ์ ยูท่ ่ี 1.08 (ß2) หมายความว่า หากมูลค่า ภาคการบริการมีการเพิ่มขึ้น/ลดลงร้อยละ 1 จะส่งผลให้มูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมของ จังหวัดเชียงรายเพิ่มขึ้น/ลดลงร้อยละ 1.08 3. ภาคการลงทุนของเอกชนมีค่าสัมประสิทธิ์อยู่ที่ 3.09 (ß3) หมายความว่า หากมูลค่าภาคการลงทุนของเอกชนมีการเพิ่มขึ้น/ลดลงร้อยละ 1 จะส่งผลให้มูลค่า ผลิตภัณฑ์มวลรวมของจังหวัดเชียงรายเพิ่มขึ้น/ลดลงร้อยละ 3.09 4. ภาคการบริโภคของครัวเรือนมีคา่ สัมประสิทธิอ์ ยูท่ ่ี 37.65 (ß4) หมายความว่า หากมูลค่าภาคการบริโภคของครัวเรือนมีการเพิ่มขึ้น/ลดลงร้อยละ 1 จะส่งผลให้ มูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมของจังหวัดเชียงรายเพิ่มขึ้น/ลดลงร้อยละ 37.65 5. ภาคการค้าชายแดนมีค่าสัมประสิทธิ์อยู่ที่ -0.34 (ß4) หมายความว่า หา กมูลค่าภาคการบริโภคของครัวเรือนมีการเพิ่มขึ้น/ลดลงร้อยละ 1 จะส่งผลให้มูลค่า ผลิตภัณฑ์มวลรวมของจังหวัดเชียงรายลดลง/เพิม่ ขึน้ ร้อยละ 37.65 ผลจากค่าสัมประสิทธิ์ เห็นได้ภาคการเกษตร ภาคการบริการ ภาคการลงทุนของเอกชน และภาคการบริโภค ของครัวเรือนต่างก็มคี วามสัมพันธ์เชิงบวก (Positive Relationship) หรือเอือ้ ต่อการ เติบโตทางเศรษฐกิจของจังหวัดเชียงราย ขณะที่ภาคการค้าชายแดนกลับเป็นภาค การผลิตเดียวในระบบเศรษฐกิจของเชียงรายที่มีความสัมพันธ์ในเชิงลบ (Negative Relationship) เมื่อพิจารณาจากค่าสัมประสิทธิ์ ภาคที่ควรให้การสนับสนุนมากที่สุด คือ ภาคการบริโภคของครัวเรือน รองมาได้แก่ การบริการ การเกษตร และการลงทุน ภาคเอกชน จากผลการวิเคราะห์ทำให้ได้สมการ ดังนี้ GPP=-8412.02 + 0.65AGRI + 1.08SER + 0.048PI+ 3.09HC-0.34CBT+u

I 154 I


สำนักงานเศรษฐกิจชายแดนและโลจิสติกส์

สถานการณ์ของปัจจัยที่มีผลต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจของ จังหวัดเชียงราย

จากการวิเคราะห์ ทำให้ได้ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวม ของจังหวัดเชียงราย โดยปัจจัยที่ส่งผลเชิงบวก ประกอบด้วย ภาคการเกษตรภาคการ บริการ ภาคการลงทุนเอกชน และภาคการบริโภคครัวเรือน และปัจจัยที่ส่งผลเชิงลบ คือ ภาคการค้าชายแดน ในส่วนนี้จึงเป็นติดตามสถานการณ์ของปัจจัยต่างๆ เพื่อดู แนวโน้มการเติบโตทางเศรษฐกิจของเชียงรายในอนาคต 1. สถานการณ์ภาคการเกษตร จังหวัดเชียงรายมีสนิ ค้าเกษตรทีส่ ำคัญหลากหลายชนิดแต่สนิ ค้าเกษตรทีม่ คี วาม สำคัญที่สุดของจังหวัดเชียงราย คือ ข้าว โดยดร.อนุรัตน์ อินทร ประธานหอการค้า จังหวัดเชียงรายได้กล่าวว่า “ข้าวหอมมะลิของจังหวัดเชียงรายอร่อยที่สุดในประเทศ ไทย เนื่องจากได้รับการปลูกในสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวย ทั้งในด้านของดิน ฟ้า น้ำ และอากาศ จึงทำให้มีรสชาติที่ดีกว่าพื้นที่อื่น” เกษตรกรส่วนใหญ่ในจังหวัด เชียงรายนิยมปลูกข้าวหอมมะลิ และข้าวเหนียวสำหรับการบริโภคและจำหน่าย ทั้งนี้ โครงการรับจำนำข้าวที่ได้รับการประกาศในช่วงเดือนตุลาคม 2554 ส่งผลให้ ปริมาณผลผลิตข้าวเพิ่มสูงขึ้นอย่างมาก จนเกินกว่าความต้องการของผู้บริโภคทั้งใน และนอกประเทศ ทำให้ราคาข้าวเข้าสู่ภาวะตกต่ำ จากที่ราคาตันละ 14,427 บาท ในปี 2558 เหลือเพียงตันละ 9,563 บาท ในขณะที่ ราคาข้าวในตลาดโลกก็อยู่ใน ระดับต่ำเช่นกัน ตกอยู่ประมาณ 10,000 บาทต่อตัน ณ ปัจจุบัน สถานการณ์การส่ง ออกข้าวของประเทศไทยลดลงจนน้อยกว่าการส่งออกข้าวของประเทศอินเดีย โดย ราคาข้าวของประเทศอินเดียอยู่ที่ประมาณ 390 เหรียญสหรัฐต่อตัน ให้ราคาดีกว่า ราคาข้าวของไทยที่ตกอยู่ที่ 370 - 380 เหรียญสหรัฐต่อตัน (สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย, 2559) ซึ่งสถานการณ์ของราคาข้าวในจังหวัดเชียงรายกำลังตกต่ำสะท้อนสถานการณ์ การส่งออกข้าวของไทยในตลาดโลกได้เป็นอย่างดี จากรูปที่ 3 ราคาข้าวในปี 2557 หดตัวถึงร้อยละ 29.48 ก่อนจะเริม่ ปรับตัวดีขน้ึ ในปี 2558 แต่ยงั หดตัวทีร่ อ้ ยละ 0.061 โดยการขยายตัวสะสม 9 ปี ตั้งแต่ปี 2549 - 2558 หดตัวที่ร้อยละ 3.23

I 155 I


OBELS OUTLOOK 2016

รูปที่ 3 ราคาและอัตราการขยายตัวของข้าวปี 2549 - 2558

ที่มา: สำนักงานการคลังจังหวัดเชียงราย

2. สถานการณ์ภาคการบริการ

ภาคบริการเป็นภาคหนึ่งในระบบเศรษฐกิจที่มีความสำคัญต่อการเจริญเติบโต ทางเศรษฐกิจของจังหวัดเชียงราย โดยเฉพาะในด้านการของการค้าปลีกค้าส่ง ซึ่งมี การเติบโตที่ดีมาตลอดมาตั้งแต่อดีต ที่ผ่านมา จังหวัดเชียงรายมีทุนยักษ์ค้าปลีก เข้ามาเปิดสาขาเป็นจำนวนมาก ได้แก่ เทสโก้โลตัส บิ๊กซี ซึ่งมีการเข้ามาขยายสาขาใน รูปแบบของห้างร้านขนาดใหญ่ และห้างร้านขนาดเล็กที่เป็นร้านสะดวกซื้อใกล้เคียง กับ 7 -11 นอกจากนี้ ทุนค้าส่งขนาดยักษ์ก็ตามมา ได้แก่ คาร์ฟูร์ และแมคโคร ยังไม่ รวมห้างสรรพสินค้าที่ขายสินค้าเฉพาะอย่างวัสดุก่อสร้าง เช่น โฮมโปร์ โกลบอลเฮ้าส์ และไทวัสดุ ทั้งนี้ ร้านค้าปลีกค้าส่งที่เป็นที่นิยมกับคนท้องถิ่นอย่างมาก คือ ธนพิริยะ ซึ่งเป็นกิจการของนักธุรกิจชาวเชียงราย มีการปรับโฉมให้ดูทันสมัย สามารถแข่งขัน จากโมเดิร์นเทรดจากข้างนอก นอกจากนี้ ห้างสรรพสินค้าเพียงแห่งเดียวที่เข้ามาเปิด ในไม่กี่ปีที่ผ่านมา คือ ห้างสรรพสินค้าในเครือเซ็นทรัล ปัจจัยสำคัญที่ดึงดูดให้ทุนค้า ปลีกค้าส่งจากภายนอกเข้ามาในพื้นที่คือ การที่เชียงรายมีพื้นที่เชื่อมต่อกับประเทศ เพื่อนบ้าน ซึ่งมีความต้องการซื้อสูงในด้านของสินค้าอุปโภค-บริโภค และวัสดุก่อสร้าง รวมถึงอาหารและอืน่ ๆ ห้างค้าปลีกรูปแบบไฮเปอร์มาร์เก็ตจึงเข้าไปขยายตัวตามพืน้ ที่ ชายแดน โดยเฉพาะเข้าไปกระจุกมากอยู่ที่อำเภอแม่สายที่มีพื้นที่เชื่อมต่อกับจังหวัด

I 156 I


สำนักงานเศรษฐกิจชายแดนและโลจิสติกส์

ท่าขี้เหล็ก ประเทศเมียนมา ฉะนั้น แนวโน้มของการค้าปลีกค้าส่งยังเติบโตไปได้มาก ตราบเท่าที่เศรษฐกิจของประเทศเพื่อนบ้านยังขยายตัว จากรูปที่ 4 เห็นได้ว่าในปี 2557 มูลค่าการค้าปลีกค้าส่งของเชียงรายมีการหดตัวเป็นปีแรกที่ร้อยละ 1.23 นับ ตั้งแต่ปี 2548 เป็นต้นมา จาก 74,531 ล้านบาท ลดลงมาอยู่ที่ 73,611 ล้านบาท อย่างไรก็ตาม ในปี 2558 ก็กลับมาขยายตัวเพิ่มขึ้นที่ร้อยละ 0.40 หรือเพิ่มขึ้นเป็น 73,904 ล้านบาท โดยการขยายตัวสะสม 9 ปี ตั้งแต่ปี 2549 - 2558 มีการขยายตัว ที่ดีอยู่ที่ร้อยละ 9.36 รูปที่ 4 มูลค่าและอัตราการขยายตัวของภาคค้าปลีกและค้าส่งปี 2549 - 2558

ที่มา: สำนักงานการคลังจังหวัดเชียงราย

3. ภาคการลงทุนของเอกชน

เชียงรายถือว่าเป็นหนึ่งในพื้นที่ภาคเหนือเป็นแหล่งดึงดูดการลงทุนจากภาย นอกอย่างมาก เนื่องจากเชียงรายเป็นพื้นที่ที่เชื่อมต่อกับชายแดน และสามารถเชื่อม ไปถึงจีนตอนใต้ ทำให้การลงทุนทำธุรกิจในจังหวัดเชียงรายมีตลาดขนาดใหญ่ และ กำลังซื้อสูง โดยการลงทุนที่เข้ามาส่วนใหญ่ก็เป็นในด้านของการบริการเป็นหลัก อาทิ โรงแรม ร้านอาหาร คลังสินค้า ธุรกิจขนส่งโลจิสติกส์ ซึ่งปัจจุบันจังหวัดเชียงราย

I 157 I


OBELS OUTLOOK 2016

ค่อนข้างได้รับความนิยมในการเข้ามาท่องเที่ยวของชาวจีนเป็นอย่างมาก นอกจากนี้ การค้าชายแดนก็เป็นหนึ่งในตัวดึงดูดการลงทุนที่เกี่ยวข้องกับการอำนวยความสะดวก ทางการค้า ซึ่งการเกิดขึ้นของสะพานมิตรภาพไทย-ลาวแห่งที่ 4 ก็เป็นโครงสร้าง พืน้ ฐานทีส่ ำคัญต่อการขนส่งสินค้าข้ามแดน และมีแนวโน้มว่าในอนาคตจะมีการลงทุน ก่อสร้างศูนย์เปลีย่ นถ่ายรูปแบบการขนส่งสินค้า (Inter Modal Facilities) โดยภาครัฐ (คมชัดลึก, 2555) และภาคเอกชนจากประเทศจีนที่เริ่มเข้ามาดำเนินโครงการศูนย์ โลจิสติกส์ใกล้กับสะพาน ตำบลสถาน อำเภอเชียงของ ทั้งนี้ ทุนจดทะเบียนนิติบุคคล ของจังหวัดเชียงรายในปี 2558 มีการหดตัวร้อยละ 5.9 ลดลงจาก 1,331.69 ล้านบาท เหลือเพียง 1,253.08 ล้านบาท ทั้งที่ในปี 2557 มีการขยายตัวถึงร้อยละ 56.11 เป็น เพราะอยู่ในช่วงของเศรษฐกิจขาลงของทั้งประเทศไทย และโลก รวมถึงการขาดความ เชื่อมั่นของนักลงทุนทั้งไทยและต่างชาติจากความไม่มั่นคงทางการเมืองที่ยืดเยื้อมา จนถึงปัจจุบนั โดยการขยายตัวสะสม 9 ปีของทุนจดทะเบียนนิตบิ คุ คลอยูร่ อ้ ยละ 1.27 รูปที่ 5 ทุนจดทะเบียนและอัตราการขยายตัวของนิติบุคคลปี 2549 - 2558

ที่มา: สำนักงานการคลังจังหวัดเชียงราย

I 158 I


สำนักงานเศรษฐกิจชายแดนและโลจิสติกส์

4. ภาคการบริโภคครัวเรือน

ภาษีมูลค่า (Value Added Tax: VAT) เป็นตัวแปรที่ใช้วัดการบริโภคของภาค ครัวเรือนได้เป็นอย่างดี โดยตั้งแต่ปี 2548 พบว่ามีการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องของ ปริมาณการบริโภคสินค้าภายในจังหวัดเชียงรายเชียงราย ซึ่งการบริโภคมีการขยาย ตัวแบบก้าวกระโดดอย่างมากในปี 2550 อยู่ที่ร้อยละ 72.95 เพิ่มขึ้นจาก 159.07 ล้านบาท เป็น 275.10 ล้านบาท เป็นช่วงเวลาก่อนเกิดวิกฤตเศรษฐกิจของอเมริกา ที่เป็นปัจจัยทำให้เงินบาทแข็งเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ มีการแข็งค่าขึ้นประมาณ ร้อยละ 6.3 จึงมีการนำเข้าเพิ่มบริโภคสินค้าจากต่างประเทศในปริมาณสูง โดยมูลค่า การนำเข้าของไทยเพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 4.8 ประกอบกับปัจจัยสนับสนุนอย่างการ คลี่คลายของสถานการณ์ทางการเมือง และการทรงตัวของอัตราดอกเบี้ยที่อยู่ใน ระดับต่ำ (ธนาคารแห่งประเทศไทย, 2550) ทั้งนี้ ในปี 2558 รัฐสามารถจัดเก็บ ภาษีมูลค่าเพิ่มได้ 507.53 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจาก 499.55 ล้านบาท ในปี 2557 หรือร้อยละ 1.6 ทั้งที่ในปี 2557 มีการขยายตัวของการจัดเก็บภาษีถึงร้อยละ 23.07 เนื่องจากเศรษฐกิจโลกและประเทศไทยกำลังอยู่ในช่วงถดถอย มีการส่งออกลดลง ส่งผลต่อรายได้ของประเทศที่ลดลงด้วยเช่นกัน อย่างไรก็ตาม การขยายตัวสะสมใน ระยะ 9 ปี มีสัญญาณที่ดีมากอยู่ที่ร้อยละ 328.4 รูปที่ 6 การจัดเก็บและอัตราการขยายตัวของภาษีมูลค่าเพิ่มค้าปลีกค้าส่งปี 2549 - 2558

ที่มา: สำนักงานการคลังจังหวัดเชียงราย

I 159 I


OBELS OUTLOOK 2016

5. การค้าชายแดน

ในช่วงปี 2553 และ 2554 ดุลการค้ามีการขยายตัวถึงร้อยละ 44.08 และ 43.94 ตามลำดับ หลังจากการเสร็จสิน้ การก่อสร้างสะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 4 ที่อำเภอเชียงของ ทำให้สามารถส่งสินค้าทางบกไปยังสปป.ลาว และจีนตอนใต้ทาง บกได้ แต่ในปี 2556 กลับขยายตัวเหลือเพียงร้อยละ 6.63 สาเหตุเนื่องมาจากการ ที่มีอุปสรรคทางการค้ามากขึ้น โดยทางเชียงรายเป็นแหล่งผลิตข้าวหอมมะลิขนาด ใหญ่ แต่ไม่สามารถส่งออกทางชายแดนของเชียงรายได้ เพราะเชียงรายไม่ได้มีโควต้า การส่งออกข้าวได้โดยตรงจากจีน ทำให้ต้องส่งข้าวไปเปลี่ยนสัญชาติที่ สปป.ลาว ก่อนจะส่งต่อไปที่จีนตอนใต้อีกที ส่งผลต่อการเพิ่มขึ้นของต้นทุนในการขนส่ง และ มีการเก็บค่าธรรมเนียมในแต่ละพื้นที่ของสปป.ลาวสูงขึ้น รวมถึงการที่ไทยยังไม่ได้มี การเจรจาในข้อตกลงด้านข้อกีดกันทางการค้าที่มิใช่ภาษี (Non-Trade Barrier) ใน ด้านของการตรวจโรคพืชกับประเทศจีนอย่างจริงจัง นอกจากนี้ ความไม่สะดวกใน การเดินเรือจากการที่จีนมีการปล่อยน้ำจากเขื่อนมายังแม่น้ำโขงที่ไม่สม่ำเสมอ จึงทำ ให้เรือที่จอดอยู่เชียงแสนไม่สามารถขนส่งสินค้าได้ตลอดทั้งปี (ไทยรัฐ, 2558) อย่างไร ก็ตาม จากปี 2556 - 2558 ดุลการค้าเริ่มมีการปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในปี 2557 มีการขยายตัวร้อยละ 7.8 เพิ่มขึ้นจาก 38,392.82 ล้านบาท เป็น 41,387.39 ล้านบาท และในปี 2558 มีการขยายตัวร้อยละ 8.79 เพิม่ ขึน้ เป็น 45,026.83 ล้านบาท การขยายตัวเฉลี่ยสะสมในระยะ 9 ปี อยู่ที่ร้อยละ 16.69

I 160 I


สำนักงานเศรษฐกิจชายแดนและโลจิสติกส์

รูปที่ 7 มูลค่าและอัตราการขยายตัวของดุลการค้าชายแดนปี 2549 - 2558

ที่มา: สำนักงานการคลังจังหวัดเชียงราย

สรุปและข้อเสนอแนะ

เชียงรายเป็นพืน้ ทีท่ ม่ี โี อกาสในการขยายตัวทางเศรษฐกิจสูง เนือ่ งจากเป็นพืน้ ที่ ที่มีอาณาเขตติดต่อกับประเทศเพื่อนบ้านทั้ง 2 ประเทศ และสามารถเชื่อมต่อไปยัง จีนตอนใต้ ซึง่ เป็นกลุม่ ตลาดขนาดใหญ่ ทำให้เหมาะสมแก่การเป็นเส้นทางขนส่งสินค้า ระหว่างประเทศ หรือเป็นจุดเปลีย่ นถ่ายสินค้าต่อไปยังประเทศเพือ่ นบ้าน และประเทศ คู่ค้า สามารถการกระจายสินค้าได้ทั่วทั้งภูมิภาคอาเซียน ประกอบกับเป็นหนึ่งในพื้น ที่ได้รับการจัดตั้งให้เป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษในทั้ง 3 อำเภอได้แก่ อำเภอเชียงแสน อำเภอเชียงของ และอำเภอแม่สาย นอกจากนี้ จังหวัดเชียงรายยังมีจุดเด่นในด้าน ของภาคบริการ ทั้งในด้านของค้าปลีกค้าส่ง และการท่องเที่ยว โดยในการศึกษา ครั้งนี้ได้การวิเคราะห์การถดถอยแบบพหุคูณ (Multiple regression analysis) ซึ่ง จะใช้วิธีการประมาณการกำลังสองน้อยที่สุด (Ordinary Least Square) ซึ่งมีวัตถุ ประสงค์ในการศึกษาปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการเติบโตของเศรษฐกิจของจังหวัด เชียงราย โดยใช้ขอ้ มูลสถิตติ ง้ั แต่ปี 2548 - 2558 จากภาคการเกษตร ภาคการบริการ ภาคอุตสาหกรรม ภาคการลงทุนของเอกชน ภาคการบริโภคของครัวเรือน และภาค

I 161 I


OBELS OUTLOOK 2016

การค้าชายแดนมาเป็นตัวแปรอิสระ และนำเอาผลิตภัณฑ์มวลรวมของจังหวัดเชียงราย มาเป็นตัวแปรต้น จากการวิเคราะห์พบว่า มีเพียงภาคอุตสาหกรรมที่เป็นกิจกรรมทางเศรษฐกิจ เดียวทีไ่ ม่มผี ลต่อการเปลีย่ นแปลงของผลิตภัณฑ์มวลรวมของจังหวัดเชียงรายเป็นเพราะ จังหวัดยังไม่มีอุตสาหกรรมขนาดใหญ่มาลงเยอะ เนื่องสภาพพื้นที่ผังเมืองของจังหวัด เชียงรายเป็นพื้นที่เกษตรกรรม ชุมชน และป่าไม้เป็นส่วนใหญ่ ประกอบกับประชาชน ในจังหวัดเชียงรายยังประกอบอาชีพเกษตรแบบดั้งเดิม ทำให้ไม่สามารถขยับการผลิต ไปในด้านของการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมในการผลิต โดยเชียงรายมีวัตถุดิบทาง การเกษตรทีม่ คี วามพร้อมสำหรับการนำแปรรูป สร้างแบรนด์ และทำการตลาด ฉะนัน้ รัฐบาลท้องถิ่นต้องให้การสนับสนุน และอำนวยความสะดวกให้กับกิจการขนาดเล็ก และขนาดกลางที่มีการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้าให้มากขึ้น ซึ่ง จะช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันในตลาดต่างประเทศ และยกระดับทั้งราย ได้และคุณภาพชีวิตของประชาชนในจังหวัดเชียงรายให้สูงขึ้น

เอกสารอ้างอิง

คมชัดลึก. (2555) เชียงของ’ศูนย์เปลีย่ นถ่ายขนส่งสินค้า. สืบค้นเมือ่ วันที่ 28 กรกฎาคม 2559, จาก http://www.komchadluek.net/news/detail/139520 ฐานเศรษฐกิจ (2559) เมียนมาได้ประธานาธิบดีคนใหม่ ‘ทิน จ่อ’ รับตำแหน่ง 1 เมษายนนี.้ สืบค้นเมือ่ วันที่ 27 กรกฎาคม 2559, จาก http://www.thansettakij. com/2016/03/17/38475 ไทยรัฐออนไลน์ (2558) รมต.พาณิชย์ไปเชียงราย ถกปัญหาข้าว-การค้าส่งออกชายแดน. สืบค้นเมื่อวันที่ 26กรกฏาคม 2559, จาก http://www.thairath.co.th/ content/524780 ไทยรัฐออนไลน์ (2559) ปลัดคลัง มั่นใจแบงก์ชาติรับมือบาทแข็งได้ ยันไม่แทรกแซง. สืบค้นเมื่อวันที่ 26 กรกฏาคม 2559, จาก http://www.thairath.co.th/ content/694057

I 162 I


สำนักงานเศรษฐกิจชายแดนและโลจิสติกส์

ธนาคารแห่งประเทศไทย (2550) รายงานเศรษฐกิจและการเงินและการเงิน ปี 2550. สืบค้นเมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม 2559, จาก https://www.bot.or.th/Thai/ MonetaryPolicy/EconomicConditions/AnnualReport/AnnualRe port/full_2550.pdf ธนาคารแห่งประเทศไทย (2559) รายงานภาวะเศรษฐกิจปี 2559. สืบค้นเมือ่ วันที่ 22 กรกฎาคม 2559, จาก https://www.bot.or.th/Thai/MonetaryPolicy/ EconomicConditions/Pages/default.aspx ประชาชาติธุรกิจ (2558) กลุ่มทุนยักษ์ “เจ๋ฟง ยูนนาน” ลุยโลจิสติกส์ฮับเชียงของบุก เออีซี. สืบค้นเมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม 2559, จาก http://www.prachachat. net/news_detail.php?newsid=1440403751 ผู้จัดการออนไลน์ (2559) เดี้ยงสนิท! พม่าปิดท่าฯ ริมโขง เรือจีน-ลาวจอดริมฝั่งระนาว กระทบค้าชายแดนไทยหมืน่ ล้าน. สืบค้นเมือ่ วันที่ 27 กรกฎาคม 2559, จาก http://manager.co.th/Local/ViewNews.aspx? NewsID=9590000071614 ผู้จัดการออนไลน์ (2559) น้ำตาล-เนื้อแช่แข็งอ่วม! หลังพม่า-จีนปิดท่าฯ สบหลวย คุมเข้มด่าน 2400. สืบค้นเมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 2559, จาก http://www. manager.co.th/Local/ViewNews.aspx?NewsID=9590000073273 ผู้จัดการออนไลน์ (2559) ร้างเลย! รถ นทท.จีนหายหลังไทยคุมเข้ม สถิติตี๋-หมวย ขับผ่าน R3a เหลือ “ศูนย์คัน”. สืบค้นเมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 2559, จาก http://www.manager.co.th/local/viewnews.aspx? NewsID= 9590000071910 วรพล กิตติรัตวรางกูร (2559) เศรษฐกิจปี 59 ยุ่งยาก-ย่ำแย่. สืบค้นเมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม 2559, จาก http://www.thaipost.net/?q=เศรษฐกิจปี-59- ยุ่งยาก-ย่ำแย่. สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์ (2558) การเปลี่ยนแปลงรูปแบบการค้าในโลก และผลกระทบต่อรูปแบบการค้า การส่งออกและการเปลีย่ นแปลงเชิงโครงสร้าง ของประเทศไทย. สืบค้นเมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม 2559, จาก https://www.

I 163 I


OBELS OUTLOOK 2016

pier.or.th/?abridged=%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0 %B9%80%E0%B8%9B%E0%B8%A5%E0%B8%B5%E0%B9%88%E 0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B9%81%E0%B8%9B%E0%B8%A5% E0%B8%87%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B8%9B%E0%B9%81 %E0%B8%9A%E0%B8%9A%E0%B8%81%E0%B8%B2 สำนักงานจัดหางานจังหวัดเชียงราย (2558) ข้อมูลแรงงานต่างด้าว 3 สัญชาติ อำเภอ แม่สาย อำเภอเชียงแสน อำเภอเชียงของ. สำนักงานพาณิชย์จังหวัดเชียงราย (2558) มูลค่าการค้าชายแดนจังหวัดเชียงราย สำนักงานสถิติแห่งชาติ (2559) ผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัด ณ ราคาประจำปี จำแนก ตามสาขาการผลิต จังหวัดเชียงราย พ.ศ. 2548 - 2557p. สืบค้นเมือ่ วันที่ 27 กรกฎาคม 2559, จาก http://service.nso.go.th/nso/web/statseries/ statseries15.html Positioning. (2551) ท่องเทีย่ วปี’52 : เร่งฟืน้ ความเชือ่ มัน่ ..ฝ่าวิกฤตเศรษฐกิจ. สืบค้น เมื่อวันที่ 30 กรกฏาคม 2559, จาก http://positioningmag.com/45169 World Bank. (2559) เศรษฐกิจโลกปีพ.ศ. 2559 จะได้รับผลกระทบอย่างหนักจาก การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจอย่างช้าๆ ของกลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่. สืบค้น เมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม 2559, จาก http://www.world bank.org/th/ news/press-release/2016/01/06/anemic-recovery-in-emerging markets-to-weigh-heavily-on-global-growth-in-2016 World Bank. (2559) ธนาคารโลกคาดการณ์ว่าการเติบโตทางเศรษฐกิจของภูมิภาค เอเชียตะวันออกและ แปซิฟิกยังคงฟื้นตัวท่ามกลางสภาวะเศรษฐกิจโลกอัน ท้าทาย. สืบค้นเมือ่ วันที่ 21 กรกฎาคม 2559, จาก http://www.worldbank. org/th/news/press-release/2016/04/10/east-asia-pacific-growth remains-resilient-in-face-of-challenging-global-environment-says- world-bank

I 164 I


สำนักงานเศรษฐกิจชายแดนและโลจิสติกส์

ความสัมพันธ์ของการขยายตัวของค้าชายแดน และการเติบโตทางเศรษฐกิจของจังหวัดเชียงราย พรพินันท์ ยี่รงค์, ณัฐพรพรรณ อุตมา

ที่มาและความสำคัญ

การค้าชายแดนเริ่มเข้ามามีบทบาทอย่างมากต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของ ประเทศไทยในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ในความเป็นจริงแล้วการค้าชายแดนเป็นการค้า ระดับเล็กทีเ่ ป็นรูปแบบของการค้าภายในพืน้ ทีร่ ะหว่างชาวบ้านของฝัง่ ไทย และประเทศ เพื่อนบ้าน หากแต่ปัจจุบันการค้าชายแดนถูกมองในมุมที่กว้างขวางมากขึ้น จากที่ เคยเน้นในการส่งออก และนำเข้าสินค้ากับประเทศทีม่ แี นวชายแดนเชือ่ มต่อกัน เริม่ ที่ จะเชือ่ มโยงไปยังการค้ากับประเทศทีส่ าม ส่วนหนึง่ เป็นผลจากการขยายตัวของกระแส โลกาภิวัตน์ ที่ทำให้เกิดการเคลื่อนย้ายของทุน แรงงาน สินค้า และทรัพยากรระหว่าง ประเทศมากขึ้น ทั้งนี้ ความร่วมมือทางเศรษฐกิจที่สำคัญอย่าง ความร่วมมือทาง เศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง (GMS) เป็นความร่วมมือของ 6 ประเทศ ได้แก่ ไทย เมียนมาร์ สปป.ลาว กัมพูชา และจีนตอนใต้ ซึ่งได้รับทุนสนับสนุนจากธนาคาร พัฒนาเอเชีย (ADB) ทำให้เกิดการพัฒนาเส้นทางคมนาคม และโครงสร้างพื้นฐาน

I 165 I


OBELS OUTLOOK 2016

บนระเบียงเศรษฐกิจเหนือ-ใต้ (NSEC) และระเบียงเศรษฐกิจตะวันออก-ตะวันตก (EWEC) เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดความสะดวกในการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ ทางบก และทำให้เกิดการพัฒนาระบบโลจิสติกส์ที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น นอกจากนี้ ยังมีความร่วมมืออื่นที่มีความสำคัญ ได้แก่ สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออก เฉียงใต้ (ASEAN) และยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจอิรวดี - เจ้าพระยา - แม่โขง (ACMECS) เป็นต้น จากความสำคัญของการค้าชายแดน ทำให้รัฐบาลมองเห็นความสำคัญในการ พัฒนาศักยภาพของพืน้ ทีช่ ายแดน ในวันที่ 19 มิถนุ ายน 2557 จึงได้มกี ารแต่งตัง้ คณะ กรรมการนโยบายเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ และทำการประกาศพื้นที่ในการพัฒนา ให้เป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษ โดยแบ่งพื้นที่ในการพัฒนาออกเป็นสองระยะ ระยะที่ 1 ได้แก่ จังหวัดตาก มุกดาหาร สระแก้ว สงขลา และตราด ระยะที่ 2 ได้แก่ จังหวัด หนองคาย นราธิวาส เชียงราย นครพนม และกาญจนบุรี โดยการพัฒนาเขตเศรษฐกิจ มีจุดประสงค์หลักในการกระจายการพัฒนาให้ลงไปสู่พื้นที่ต่างๆ โดยการอาศัยการ ดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจในหลากหลายด้าน แต่พยายามที่จะเชื่อมโยงด้านต่างๆ เอื้อประโยชน์ให้เกิดการค้าชายแดนกับประเทศเพื่อนบ้าน และประเทศที่สามเป็นตัว ขับเคลื่อนเศรษฐกิจในแต่ละภูมิภาค และพัฒนาคุณภาพชีวิต และความเป็นอยู่ที่ดี ของประชาชน พร้อมทั้งเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันในเวทีการค้าระดับโลก ฉะนั้น รัฐบาลต้องการที่จะให้เขตเศรษฐกิจช่วยดึงดูดการลงทุนจากภายนอกและกระตุ้นการ ลงทุนจากภายใน โดยมีการให้สทิ ธิประโยชน์ทง้ั การลดหย่อน และยกเว้นภาษีเครือ่ งจักร ภาษีการนำเข้าวัตถุดิบเพื่อส่งออก ภาษีมูลค่าเพิ่ม และได้รับสิทธิประโยชน์จากการ ใช้แรงงานข้ามชาติแบบถูกกฎหมาย เพื่อมาส่งเสริมให้เกิดการค้าชายแดน ซึ่งจะนำ ไปสู่การพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไทย อย่างไรก็ตาม นโยบายสนับสนุนการค้า ชายแดน และการพัฒนาเขตเศรษฐกิจได้ให้ผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจแก่ประชาชน ในแต่ละพื้นที่ตามเป้าประสงค์ของการพัฒนาจริงหรือไม่

I 166 I


สำนักงานเศรษฐกิจชายแดนและโลจิสติกส์

งานวิจยั ชิน้ นี้ จึงมีจดุ ประสงค์เพือ่ ทีจ่ ะศึกษาผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจมหภาค จากการขยายตัวของการค้าชายแดนของจังหวัดเชียงราย เพื่อตอบคำถามของ ประสิทธิภาพของการออกนโยบายในการพัฒนาผ่านการส่งเสริมการค้าชายแดนของ จังหวัดเชียงรายต่อการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ส่วนที่ 2 ได้ทำการศึกษาการเปลีย่ น แปลงของเศรษฐกิจจังหวัดเชียงรายตั้งแต่ปี 2546 ถึงปี 2556 และการค้าชายแดน ทั้ง 3 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเชียงแสน อำเภอเชียงของ และอำเภอแม่สาย ตั้งแต่ปี 2546 ถึงปี 2558 ส่วนที่ 3 คือ การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของการขยายตัวของการ ค้าชายแดนและการเติบโตทางเศรษฐกิจของจังหวัดเชียงรายด้วยผ่านการประยุกต์ ใช้ทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์ และผลการศึกษาของงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง พร้อมทั้งใช้ เครื่องมือทางเศรษฐกิจมิติเพื่อทดสอบความเป็นเหตุเป็นผลของตัวแปรตามและตัว แปรอิสระในแบบจำลองที่เรียกว่า การทดสอบ Granger Causality19 ส่วนสุดท้ายคือ การให้ข้อเสนอแนะและแนวทางในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของจังหวัดเชียงราย

ภาพรวมการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจของจังหวัดเชียงราย

จากข้อมูลสถิติของสำนักงานคณะกรรมพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (2558) ในรูปที่ 1 พบว่าในปี 2557 มูลค่าของผลิตภัณฑ์มวลรวมของจังหวัดเชียงราย ณ ราคาคงที่ (Real Gross Provincial Product: RGPP) มีการหดตัวร้อยละ 1.71 ลดลงจาก 53,193 ล้านบาท ในปี 2556 มาอยู่ที่ 52,252 ล้านบาท ในปี 2557 เป็น ผลมาจากการหดตัวของภาคบริการถึงร้อยละ 3.58 ลดลงจาก 34,348 ล้านบาท ในปี 2556 มาอยู่ที่ 33,117 ล้านบาท ในปี 2557 ขณะที่ ภาคอุตสาหกรรมยังขยาย ตัวได้ดีอยู่ที่ร้อยละ 2.17 เพิ่มขึ้นจาก 6,717 ล้านบาท ในปี 2556 ไปอยู่ที่ 6,661 ล้านบาท ในปี 2557 เช่นเดียวกับภาคเกษตรที่มีการขยายตัวร้อยละ 4.85 เพิ่มขึ้น จาก 12,184 ล้านบาท ในปี 2556 ไปอยู่ที่ 12,448 ล้านบาท ในปี 2557

19 อัครพงศ์ อั้นทอง (2555) อ้างถึง Granger (1969)

I 167 I


OBELS OUTLOOK 2016

รูปที่ 1 ผลิตภัณฑ์มวลรวมของจังหวัดเชียงรายตั้งแต่ปี 2538 - 2556

ที่มา: สำนักงานคณะกรรมพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (2558)

เมื่อพิจารณาการเติบโตทางเศรษฐกิจในระยะยาว ภาคเกษตรมีการขยายตัว ของมูลค่า GPP ค่อนข้างดีกว่าภาคอุตสาหกรรม และภาคบริการ โดยภาคเกษตรมี การเติบโตเฉลีย่ สะสม (Compound Average Growth Rate: CAGR) ในระยะ 19 ปี ตั้งแต่ปี 2538 จนถึง 2557 อยู่ที่ร้อยละ 4.85 โดยในปี 2538 มูลค่าอยู่ที่ 5,064 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเป็น 12,448 ล้านบาท ในปี 2557 ขณะที่ภาคบริการมีการขยายตัว สะสมโดยเฉลี่ยรองมาอยู่ที่ร้อยละ 3.48 จากมูลค่า 17,299 ล้านบาท ในปี 2538 เพิ่มขึ้นเป็น 33,117 ล้านบาท ในปี 2557 และภาคอุตสาหกรรมเป็นภาคที่มีการ ขยายตัวในระยะยาวต่ำสุด แต่ยังอยู่ในแนวโน้มที่ดี อยู่ที่ร้อยละ 2.17 เพิ่มขึ้นจาก 4,469 ล้านบาท ในปี 2538 เป็น 6,717 ล้านบาท ในปี 2557 โดยภาพรวม เศรษฐกิจ ของเชียงรายกำลังเข้าสู่ภาวะซบเซา หรือ หดตัวร้อยละ 1.71 เป็นผลมาจากการ ขยายตัวที่ลดลงของภาคบริการที่เป็นกำลังหลักของเศรษฐกิจเชียงรายเป็นสำคัญ แต่ ในระยะยาวจากปี 2538 - 2557 เศรษฐกิจเชียงรายยังคงขยายตัวสะสมได้ดีอยู่ที่ ร้อยละ 3.57

I 168 I


สำนักงานเศรษฐกิจชายแดนและโลจิสติกส์

รูปที่ 2 เปรียบเทียบโครงสร้างเศรษฐกิจเชียงรายปี 2538 และปี 2557

ที่มา: สำนักงานคณะกรรมพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (2558)

ในส่วนของโครงสร้างเศรษฐกิจของจังหวัดเชียงรายจากรูปที่ 2 พบว่ามูลค่า GPP ภาคบริการเป็นส่วนสำคัญต่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจมาตั้งแต่อดีต โดยในปี 2538 ภาคบริการมีสัดส่วนอยู่ร้อยละ 64.47 ของมูลค่า GPP รวม ลดลงเล็กน้อยไป อยู่ที่ร้อยละ 63.34 ของมูลค่า GPP รวม ในปี 2557 ขณะที่ภาคเกษตรเป็นภาคที่มี ความสำคัญรองลงมา อยู่ที่ร้อยละ 18.87 ของมูลค่า GPP รวม ในปี 2538 เพิ่มขึ้น เป็นร้อยละ 23.81 ของมูลค่า GPP รวม ในปี 2557 ทั้งนี้ ภาคอุตสาหกรรมเป็นภาค ที่มีสัดส่วนน้อยสุดอยู่ที่ร้อยละ 16.66 ของมูลค่า GPP รวม ในปี 2538 ลดลงเหลือ เพียงร้อยละ 12.85 ของมูลค่า GPP รวม ในปี 2557 เห็นได้วา่ บทบาทของภาคบริการ ยังคงอยู่ในอันดับต้นของการเติบโตทางเศรษฐกิจ แม้จะมีสัดส่วนลดลงเล็กน้อย แต่ ภาคเกษตรเริ่มที่จะขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และมีแนวโน้มที่จะขยายตัวสูงขึ้น ในอนาคต ขณะที่ภาคอุตสาหกรรมมีการเติบโตไม่มากนักทั้งปัจจุบันและช่วงที่ ผ่านมา

สถานการณ์การค้าชายแดนของจังหวัดเชียงราย

ในด้านของการค้าชายแดน จังหวัดเชียงรายถือว่ามีศกั ยภาพอย่างมาก เนือ่ งจาก เชียงรายเป็นเพียงจังหวัดเดียวที่มีด่านชายแดนมากที่สุดในเชียงรายมากถึง 16 แห่ง

I 169 I


OBELS OUTLOOK 2016

อยู่ที่ 3 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเชียงแสน อำเภอเชียงของ และอำเภอแม่สาย ซึ่งมีพื้นที่ เชือ่ มต่อในทัง้ ทางน้ำและทางบกกับประเทศเพือ่ นบ้านอย่าง สปป.ลาว เมียนมาร์ รวมถึง ประเทศแผ่นดินใหญ่อย่างจีนตอนใต้ ทำให้เกิดการค้าระหว่างกันมาโดยตลอดส่วนใหญ่ การค้าชายแดนมีการขยายตัวในเกือบทุกปี (รูปที่ 3) โดยในปี 2558 การค้าชายแดน มีการหดตัวร้อยละ 12.53 จากปีก่อนที่มีการขยายตัวถึงร้อยละ 10.23 เช่นเดียวกัน กับดุลการค้าที่ปีก่อนมีการขยายตัวร้อยละ 9.65 ก่อนจะหดตัวร้อยละ 14.43 ในปี 2558 ที่ผ่านมา การค้าชายแดนมีการขยายตัวเป็นบวกมาตลอด ขณะที่ดุลการค้ามี การหดตัวบ้างในปี 2547 ร้อยละ 15.65 และในปี 2549 ร้อยละ 5.75 อย่างไรก็ตาม ในระยะยาวการค้าชายแดนยังมีการขยายตัวที่ดี โดยมีการเติบโตเฉลี่ยสะสมอยู่ที่ ร้อยละ 14.8 เช่นเดียวกับดุลการค้าที่มีการเติบโตสะสมโดยเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 18.11 รูปที่ 3 และ 4 การขยายตัวของการส่งออก การนำเข้า มูลค่าการค้ารวม และดุลการค้าปี 2547 - 2558

ที่มา: สำนักงานพาณิชย์จังหวัดเชียงราย (2559)

I 170 I


สำนักงานเศรษฐกิจชายแดนและโลจิสติกส์

ทั้งนี้ สถานการณ์การนำเข้า-ส่งออกกำลังเข้าสู่ช่วงซบเซาอย่างมากในปี 2558 (รูปที่ 4) โดยมูลค่าการนำเข้าหดตัวอยู่ที่ร้อยละ 6.19 น้อยกว่ามูลค่าการ ส่งออกที่มีการหดตัวถึงร้อยละ 13.32 การส่งออกที่หดตัวเป็นผลมาจากสถานการณ์ ของเศรษฐกิจโลกที่กำลังชะลอตัวอย่างหนัก ส่งผลต่อการนำเข้าสินค้าจากประเทศ คู่ค้าหลักของประเทศไทย เมื่อรายได้จากการส่งออกลดลงก็จะส่งผลถึงการนำเข้า สินค้าจากต่างประเทศด้วยเช่นกัน อย่างไรก็ตาม การเติบโตโดยเฉลี่ยสะสมของการ ส่งออกอยู่ที่ร้อยละ 16.09 และการนำเข้าอยู่ที่ร้อยละ 8.71 ยังมีสัญญาณในระยะ ยาวที่ค่อนข้างดี ตารางที่ 1 สัดส่วน และโครงสร้างสินค้าการนำเข้า-ส่งออกกับประเทศเพื่อนบ้าน ประเทศ

5 อันดับสินค้านำเข้า

5 อันดับสินค้าส่งออก

เมียนมาร์ 1. สินแร่ โลหะและอื่นๆ (36.82%) ส่งออก 56.85% 2. ผลไม้และของปรุงแต่งจากผลไม้ นำเข้า 17.17% (20.21%) 3. โค กระบือ สุกร แพะ แกะ (11.09%) 4. พืชและผลิตภัณฑ์จากพืชอื่นๆ (6.56%) 5. เครื่องจักรที่ใช้ในอุตสาหกรรม และส่วนประกอบ (2.23%)

1. เครื่องดื่มแอลกฮอล์ (15.07%) 2. เครื่องดื่มไม่มีแอลกฮอล์ (9.08%) 3. น้ำมันดีเซล (6.75%) 4. น้ำมันเบนซิน (5.92%) 5. เหล็กและเหล็กกล้า (5.70%)

สปป.ลาว 1. ไม้แปรรูป (7.63%) ส่งออก 43.15% 2. พืชและผลิตภัณฑ์จากพืชอื่นๆ นำเข้า 82.83% (5.04%) 3. เคมีภัณฑ์และอนินทรีย์ (2.01%) 4. ธัญพืช (1.42%) 5. ผลิตภัณฑ์จากแร่อื่นๆ (1.13%)

1. ไก่ (24.86%) 2. เนื้อและส่วนต้างๆของสัตว์ที่ บริโภคได้ (21.79%) 3. น้ำมันดีเซล (12.00%) 4. สินค้าปศุสัตว์อื่นๆ (8.37%) 5. น้ำมันเบนซิน (5.41%)

ที่มา: กรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ (2556)

I 171 I


OBELS OUTLOOK 2016

สถานการณ์การส่งออกและนำเข้ากับประเทศเพื่อนบ้าน (ตารางที่ 1) พบว่า สัดส่วนมูลค่าการส่งออกไปยังเมียนมาร์สูงกว่ามูลค่าการส่งออกไปยังสปป.ลาว โดยสัดส่วนมูลค่าการส่งออกไปเมียนมาร์อยู่ที่ร้อยละ 56.85 ขณะที่สัดส่วนมูลค่า การส่งออกไปยังสปป.ลาวอยู่ที่ร้อยละ 43.15 ทั้งนี้สัดส่วนมูลค่าการนำเข้าสินค้า จากสปป.ลาวกลับสูงกว่ามูลค่าการนำเข้าสินค้าจากเมียนมาร์ โดยสัดส่วนมูลค่า การนำเข้าสินค้าจากสปป.ลาวอยู่ที่ร้อยละ 82.83 ขณะที่ สัดส่วนมูลค่าการนำเข้า สินค้าจากเมียนมาร์อยู่ที่ร้อยละ 17.17 ในด้านของโครงสร้างของสินค้านำเข้าส่งออกของทั้ง 2 ประเทศค่อนข้างแตกต่างกันมาก โดยสินค้าที่มีมูลค่าการนำเข้า สูงสุดจากเมียนมาร์ คือ สินแร่โลหะและอื่นๆ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 36.82 และ สินค้าทีม่ มี ลู ค่าการส่งออกสูงสุดไปเมียนมาร์ คือ เครือ่ งดืม่ แอลกฮอล์ คิดเป็นสัดส่วน ร้อยละ 15.07 ส่วนมูลค่าของสินค้าที่นำเข้าสูงสุดจากสปป.ลาว คือ ไม้แปรรูป คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 7.63 และมูลค่าของสินค้าที่ส่งออกสูงสุดไปสปป.ลาว คือ ไก่ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 24.86 เห็นได้ว่าสินค้าส่วนใหญ่ที่นำเข้าจากประเทศ เพื่อนบ้านเป็นสินค้าประเภททรัพยากรทางธรรมชาติ เช่น สินแร่ ไม้แปรรูป แต่ สินค้านำเข้าเป็นเครื่องอุปโภค-บริโภค และพลังงาน ซึ่งการนำเข้าจากเมียนมาร์ ค่อนข้างมีกระจุกตัวของสินค้ามากกว่าการนำเข้าจากสปป.ลาว แต่การส่งออก ไปยังสปป.ลาวมีการกระจุกตัวของสินค้ามากกว่าการส่งออกไปเมียนมาร์

ทฤษฎีการค้าระหว่างประเทศและการเติบโตทางเศรษฐกิจ

วิวัฒนาการของทฤษฎีการค้าระหว่างประเทศ ได้เริ่มต้นจากการแสวงหา กำไรจากการค้าของลัทธิพาณิชย์นิยม เพื่อเพิ่มความมั่งคั่งให้กับประเทศ สู่การ สะสมทุนในรูปแบบของทองคำและโลหะเงิน รัฐได้มกี ารดำเนินนโยบายทางการค้า แบบเกินดุล หรือทำให้เกิดการส่งออกที่มากกว่าการนำเข้า อย่างไรก็ตาม ลัทธิ ดังกล่าวเป็นการสนับสนุนให้แต่ละประเทศไม่เปิดตลาด ฉะนั้น การค้าระหว่าง ประเทศจึงไม่สามารถเกิดขึ้นได้ เนื่องจาก มีผู้ที่ต้องการขายสินค้าเพียงฝ่ายเดียว เป็นผลให้ลัทธิเสรีนิยมเริ่มเข้ามามีบทบาท โดยทฤษฎีแรกได้ถูกนำเสนอโดย Smith

I 172 I


สำนักงานเศรษฐกิจชายแดนและโลจิสติกส์

(1776) ภายใต้กฎการได้เปรียบโดยสมบูรณ์ (absolute advantage) โดยอาศัย การแบ่งงานกันทำ (division of labor) และความเชี่ยวชาญ (specialization) ทีท่ ำให้คนต้องผลิตเฉพาะอย่าง ซึง่ จะทำให้เกิดความชำนาญ เมือ่ เกิดความชำนาญ แล้วจะทำให้สามารถผลิตสินค้าได้เพิม่ ขึน้ และส่งออกไปแลกกับสินค้าของประเทศ อื่น ทุกประเทศก็จะได้ผลผลิตเพิ่มขึ้น ต่อมา Ricardo (1817) ได้ทำการพัฒนา แนวคิดเพิ่มเติมเกี่ยวกับการผลิตเพื่อส่งออกว่า ประเทศควรที่จะมีการผลิตสินค้า ที่ตัวเองมีความได้เปรียบเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอื่น แม้ว่าสินค้าบางชนิดของ ประเทศตนเองจะมีต้นทุนการผลิตที่ต่ำกว่า และการพัฒนาแนวติดต่อยอดสุดท้าย ของจากสำนักคลาสสิกสู่สำนักนีโอคลาสสิก คือ Heckscher-Ohlin (1933) ได้ เสนอว่าทรัพยากรเป็นปัจจัยหลักในการกำหนดความได้เปรียบของการผลิตสินค้า เพื่อส่งออก โดยพิจารณาจากต้นทุนของปัจจัยการผลิต คือ ทุน และแรงงาน หาก ประเทศหนึ่งมีปัจจัยการผลิตมากกว่าอีกประเทศหนึ่ง แสดงว่าต้นทุนของปัจจัย การผลิตในประเทศนั้นต้องต่ำกว่าอีกประเทศ (ตีรณ พงศ์มฆพัฒน์, 2534) โดย ทฤษฎีที่ได้รับการพัฒนา มีจุดประสงค์หลักในการเพิ่มผลผลิต ส่งออก และนำ รายได้กลับเข้าสู่ประเทศ ทั้งนี้ การค้าระหว่างประเทศมีบทบาทอย่างมากต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ ของประเทศ เนือ่ งจากการค้าระหว่างประเทศ ทำให้เกิดการส่งออกมากขึน้ ก่อให้ เกิดรายได้สู่ประเทศ ส่งผลต่อการเพิ่มขึ้นของอุปสงค์ต่อสินค้าและบริการภายใน ประเทศ ฉะนั้นเมื่อมีความต้องการสูงขึ้น ผู้ผลิตก็จะเพิ่มผลผลิตของสินค้าและ บริการ และมีการนำเข้าเครื่องจักร และวัตถุดิบในการผลิต ตลอดจนเพิ่มการ จ้างงาน นอกจากนี้ การค้าระหว่างช่วยให้เกิดการใช้ทรัพยากร หรือปัจจัยการผลิต ที่มีอยู่อย่างมีประสิทธิภาพ โดยนำไปผลิตสินค้าที่มีความได้เปรียบ และลดการ ผลิตสินค้าที่ไม่มีความเชี่ยวชาญ ทั้งนี้ ในด้านของผลประโยชน์ต่อตลาด จากการ ขยายตัวของการผลิตสินค้าและบริการ จะส่งผลให้เกิดการผลิตที่ประหยัดต่อขนาด (Economies of Scale) พร้อมทั้งการซึมซับทักษะความรู้และเทคโนโลยีที่มีผล

I 173 I


OBELS OUTLOOK 2016

อย่างมากต่อการพัฒนาประสิทธิภาพของกระบวนการผลิต สุดท้าย คือทำให้เกิด การเคลื่อนย้ายทุนข้ามประเทศในรูปแบบของการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (Foreign Direct Investment: FDI) จากประเทศพัฒนาไปสูป่ ระเทศกำลังพัฒนา จากความต้องการแสวงหาปัจจัยการผลิตราคาถูก เพือ่ ผลิตสินค้าและส่งออก (นิฐิตา เบญจมสุทิน, 2548) จากอดีตจนถึงปัจจุบัน มีงานวิจัยที่ได้ทำการศึกษาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ ระหว่างการเติบโตทางเศรษฐกิจและการค้าระหว่างประเทศจำนวนมาก และมีผล การศึกษาทีอ่ อกมาแตกต่างกัน จากการศึกษาของ Chaudhry et al. (2010) และ Busse and Königer (2012) พบว่าการค้าระหว่างประเทศส่งผลต่อการเติบโต ทางเศรษฐกิจในทางเดียว ขณะที่ Iqbal et al. (2010) พบว่าการนำเข้าส่งผลต่อ เศรษฐกิจของประเทศในทางเดียว แต่พบความสัมพันธ์ต่อกันระหว่างการส่งออก และการเติบโตทางเศรษฐกิจ ทัง้ นี้ Saibu Muibi Olufemi (2004), Saibu Muibi Olufemi (2004), ABBAS (2012) และ Shihab and Soufan (2014) กลับพบ ว่าการขยายตัวทางเศรษฐกิจส่งผลต่อการเปิดการค้าในทางเดียว ส่วน Ramos (2001) และ Gries and Redlin (2012) พบว่าการค้าและการเติบโตทางเศรษฐกิจ ต่างมีความสัมพันธ์ต่อกัน เมื่อทำการหาความสัมพันธ์โดยเบื้องต้นระหว่างการขยายตัวของการค้า ชายแดนกับการเติบโตทางเศรษฐกิจในสองทาง พบว่าการค้าทัง้ การค้าและการเติบโต ทางเศรษฐกิจมีความสัมพันธ์ต่อกันในเชิงบวก จากค่า R-square อยู่ที่ร้อยละ 95.42 แสดงทั้งสองตัวแปรค่อนข้างมีอิทธิพลต่อกันในระดับสูง โดยเศรษฐกิจซึ่งใช้ตัวชี้วัด จากมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมของจังหวัดเชียงรายมีผลต่อการค้าชายแดนสูงกว่าที่ การค้าชายแดนมีผลต่อเศรษฐกิจ พิจารณาจากค่าสัมประสิทธิอ์ ยูท่ ่ี 1.91 หมายความว่า หากมีการเพิ่มขึ้นของการเติบโตทางเศรษฐกิจร้อยละ 1 การค้าชายแดนจะเพิ่มขึ้น ร้อยละ 1.91 ขณะที่ ผลประโยชน์จากการค้าชายแดนต่อเศรษฐกิจมีคา่ ประสิทธิอ์ ยูท่ ่ี

I 174 I


สำนักงานเศรษฐกิจชายแดนและโลจิสติกส์

0.5 หมายความว่าหากการค้าชายแดนเพิ่มขึ้นร้อยละ 1 เศรษฐกิจจะเติบโตมากขึ้น ร้อยละ 0.5 รูปที่ 5 และ 6 ความสัมพันธ์ระหว่างการค้าชายแดนและเศรษฐกิจของจังหวัดเชียงราย

ที่มา: สำนักงานคณะกรรมพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และสำนักงานพาณิชย์จังหวัดเชียงราย (2558)

แม้ว่าจะเป็นการหาความสัมพันธ์ในเบื้องต้น แต่ข้อมูลของมูลค่าการค้า ชายแดน และการเติบโตของเศรษฐกิจเชียงรายก็เป็นไปในทิศทางเดียวกันดังใน รูปที่ 5 และ 6 ฉะนั้น จึงมีความเป็นไปได้ว่าสองตัวแปรดังกล่าวจะมีความสัมพันธ์ ต่อกันอย่างมีนยั สำคัญ จึงต้องมีการใช้เครือ่ งมือทางเศรษฐศาสตร์ทเ่ี รียกว่า causality test เพื่อหาความสัมพันธ์ดังกล่าวในเชิงลึก

ข้อมูลและเครื่องมือเพื่อหาความสัมพันธ์

ข้อมูลของผลิตภัณฑ์มวลรวม ณ ราคาคงที่ ของจังหวัดเชียงราย รายสาขา เก็บรวบรวมมาจากสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ขณะที่ มูลค่าการค้าชายแดน การส่งออก และการนำเข้าเก็บรวบรวมมาจากสำนักงาน พาณิชย์จังหวัดเชียงราย ซึ่งถูกเก็บมาจากด่านศุลกาการเชียงของ เชียงแสน และ แม่สาย ระยะเวลาตั้งแต่ปี 2546 ถึงปี 2557

I 175 I


OBELS OUTLOOK 2016

ตารางที่ 2 ข้อมูลอนุกรมเวลาของตัวแปรด้านการค้าชายแดนและเศรษฐกิจปี 2546 - 2557 2546 2547 2548 2549 2550 2551 2552 2553 2554 2555 2556 2557 BX

55300 5260 8934 8942 10006 11208 11797 18006 26241 31959 33294 36615

BM

1575 2118 1870 2284 2508 2505 2603 3071 3531 4019

BT

6875 7378 10804 11226 12513 13714 14400 21077 29772 35978 37368 41189

AG

8151 7967 9236 8477 9235 9387 9441 9784 10372 11576 11522 11864

FIS

415

513

807

906

893

697

715

730

743

638

662

584

MIN

143

145

198

250

281

245

289

314

406

554

522

488

MAN 1654 1842 1803 1942 2237 2643 2549 ENER 587 639 655 615 653 719 860 BUD 1870 1525 1822 1767 2010 2056 2153 SALE 4890 4971 5352 5280 5815 6241 6299 SER 1014 1108 1139 1402 1756 1756 1579

4074 4575

2425 2555 2619

2669 2672

934

1018 1163

1163 1232

1492 1675 1597

2307 2325

6864 6848 7800

7924 8429

1612 1933 2208

2362 2073

2464 2664 2701 3088

3509 3323

2497 2664 2815 3297

3788 4257

3787 3955 4372 4310

5018 3887

2627 3066 3345 3817

3162 2317

3052 3254 3545 3613 3879 4008 4146 4420 4731 5216

5337 5712

HNS 1033 1149 1202 1270 1314 1449 1701 1761 1869 1994 CNP 502 621 664 630 612 630 695 611 665 738 HEP 277 194 331 290 132 384 301 354 321 244

2028 2053

TNC 1994 2570 2390 2496 2467 2470 FIN 1810 1834 1976 2120 2217 2166 REAL 3255 3478 3762 4203 4235 3585 PUB 3478 3488 3724 3196 2972 2571 ED

ที่มา: สำนักงานคณะกรรมพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และสำนักงานพาณิชย์จังหวัดเชียงราย (2558)

I 176 I

799

795

421

271


สำนักงานเศรษฐกิจชายแดนและโลจิสติกส์

คำอธิบายตัวแปร : ตัวแปรด้านการค้าชายแดน BX = การส่งออกชายแดน BM = การนำเข้าชายแดน BT = การค้าชายแดน

ตัวแปรด้านการเติบโตทางเศรษฐกิจ AG = เกษตรกรรม FIS = การประมง MIN = การทำเหมืองแร่ MAN = อุตสาหกรรม ENER = พลังงาน BUD = ก่อสร้าง SALE = ค้าปลีกค้าส่ง SER = โรงแรม และร้านอาหาร

TNC = คมนาคมและการสื่อสาร FIN = ตัวกลางทางการเงิน REAL = อสังหาริมทรัพย์ PUB = การบริหารราชการ ED = การศึกษา HNS = การบริการด้านสุขภาพและสังคม CNP = การให้บริการด้านชุมชน สังคมฯ HEP = ลูกจ้างในครัวเรือนส่วนบุคคล

เครื่องมือที่จะนำมาใช้ในการตรวจสอบความสัมพันธ์ของตัวแปรในแบบ จำลอง คือ Granger Causality Test เพื่อใช้ในการหาความสัมพันธ์ของตัวแปร ทั้งสองว่ามีการกำหนดซึ่งกันและกันแบบสองทิศทาง หรือเพียงทิศทางเดียว ทำให้ สามารถตรวจสอบความเป็นเหตุเป็นผลของตัวแปร 2 ตัว Granger (1969) ไม่ว่า จะเป็นตัวแปรตาม หรือตัวแปรอิสระในแบบจำลอง โดยสมมติฐานหลักได้สมมติ ตัวแปรที่เป็นข้อมูลอนุกรมเวลา (time series data) 2 ตัว ดังนี้ H0 = X ไม่เป็นสาเหตุของ Y (Y does not Granger cause X) H0 = Y ไม่เป็นสาเหตุของ X (X does not Granger cause Y) หากค่าสถิติ F ทีค่ ำนวณได้มคี า่ สูงกว่าค่าวิกฤต (P-value < Critical Value) แสดงว่า ปฏิเสธสมมติฐานหลักที่ว่า X หรือ Y ไม่เป็นสาเหตุของการเปลี่ยนแปลง ของ Y หรือ X หมายความว่า X หรือ Y เป็นสาเหตุของการเปลี่ยนแปลงของ Y หรือ X ผลการศึกษา จากการตรวจสอบความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรด้านการค้าชายแดนและ มูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวม ณ ราคาทีใ่ นแต่ละสาขาการผลิตด้วย Granger Causality Test ในส่วนของมูลค่าการส่งออก (ตารางที่ 3) พบว่าความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร

I 177 I


OBELS OUTLOOK 2016

ทางเศรษฐกิจต่างๆ และการส่งออกเป็นความสัมพันธ์ในทางเดียว โดยสาขาพลังงาน เป็นสาขาการผลิตเดียวที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงของมูลค่าการส่งออก ขณะที่การ เปลี่ยนแปลงมูลค่าการส่งออกเป็นเป็นสาเหตุจาก 3 ตัวแปร ได้แก่สาขาเกษตรกรรม เหมืองแร่ และคมนาคม/การสื่อสาร ตารางที่ 3 ผลการตรวจสอบความสัมพันธ์ระหว่างมูลค่าการส่งออก และเศรษฐกิจของจังหวัดเชียงราย

สมมติฐานหลัก

F-Statistic P-value

มูลค่าการส่งออกเป็นสาเหตุของสาขาเกษตรกรรม มูลค่าการส่งออกเป็นสาเหตุของสาขาเหมืองแร่ สาขาพลังงานเป็นสาเหตุของการมูลค่าการส่งออกชายแดน มูลค่าการส่งออกเป็นสาเหตุของสาขาคมนาคมและการ สื่อสาร

6.77 7.37 6.52 14.24

0.038* 0.032* 0.041* 0.009**

ที่มา: จากการคำนวณของผู้วิจัย หมายเหตุ : * มีนัยทางสถิติอยู่ที่ระดับ 0.05 และ ** มีนัยทางสถิติอยู่ที่ 0.01

ในส่วนของมูลค่าการนำเข้า (ตารางที่ 3) พบว่ามี 2 ตัวแปรที่เป็นสาเหตุต่อการ เปลี่ยนแปลงของมูลค่าการนำเข้า ได้แก่ สาขาการบริการด้านสุขภาพ และสาขา ลูกจ้างในครัวเรือนส่วนบุคคล ขณะที่ มูลค่าการนำเข้าที่เปลี่ยนแปลงไปเป็นผลจาก สาขาเกษตรกรรม เหมืองแร่ และการบริการด้านชุมชนและสังคม

I 178 I


สำนักงานเศรษฐกิจชายแดนและโลจิสติกส์

ตารางที่ 5 ผลการตรวจสอบความสัมพันธ์ระหว่างมูลค่าการนำเข้า และเศรษฐกิจของจังหวัดเชียงราย สมมติฐานหลัก

F-Statistic

P-value

มูลค่าการนำเข้าเป็นสาเหตุของสาขาเกษตรกรรม มูลค่าการนำเข้าเป็นสาเหตุของสาขาเหมืองแร่ สาขาการบริการด้านสุขภาพเป็นสาเหตุของการมูลค่าการนำเข้า ชายแดน มูลค่าการนำเข้าเป็นสาเหตุของสาขาการให้บริการด้านชุมชน และสังคม สาขาลูกจ้างในครัวเรือนส่วนบุคคลเป็นสาเหตุของการมูลค่าการ นำเข้าชายแดน

19.85 5.88 8.53

0.004** 0.049* 0.024*

7.51

0.031*

9.86

0.018*

ที่มา: จากการคำนวณของผู้วิจัย หมายเหตุ : * มีนัยทางสถิติอยู่ที่ระดับ 0.05 และ ** มีนัยทางสถิติอยู่ที่ 0.01

ต่อมา ในส่วนของความสัมพันธ์ระหว่างการค้าชายแดนและเศรษฐกิจของ จังหวัดเชียงราย (ตารางที่ 6) พบว่าการเปลี่ยนแปลงของการค้าชายแดนเป็นผลมา จากสาขาการผลิต 3 สาขา ได้แก่ สาขาเหมืองแร่ สาขาคมนาคมและการสือ่ สาร และ สาขาการให้บริการด้านชุมชนและสังคม ขณะที่ การเปลี่ยนแปลงของสาขาการผลิต ที่เป็นสาเหตุจากการค้าชายแดน คือ สาขาเกษตรกรรม และสาขาพลังงาน

I 179 I


OBELS OUTLOOK 2016

ตารางที่ 6 ผลการตรวจสอบความสัมพันธ์ระหว่างมูลค่าการค้าชายแดน และเศรษฐกิจของจังหวัดเชียงราย สมมติฐานหลัก

F-Statistic

P-value

มูลค่าการค้าชายแดนเป็นสาเหตุของสาขาเกษตรกรรม

8.29

0.026*

สาขาเหมืองแร่เป็นสาเหตุของมูลค่าการค้าชายแดน

8.33

0.026*

มูลค่าการค้าชายแดนเป็นสาเหตุของสาขาพลังงาน

6.26

0.044*

สาขาคมนาคมและการสื่อสารเป็นสาเหตุของมูลค่าการค้า ชายแดน

12.87

0.011*

สาขาการให้บริการด้านชุมชนและสังคมเป็นสาเหตุของมูลค่า การค้าชายแดน

12.49

0.011*

ที่มา: จากการคำนวณของผู้วิจัย หมายเหตุ : * มีนัยทางสถิติอยู่ที่ระดับ 0.05 และ ** มีนัยทางสถิติอยู่ที่ 0.01

เมือ่ ทำการตรวจสอบความสัมพันธ์ของตัวแปรต่างๆด้านการค้าชายแดน ได้แก่ มูลค่าการค้าชายแดน มูลค่าการส่งออก และมูลค่าการนำเข้า และผลิตภัณฑ์มวลรวม ของจังหวัดเชียงราย ณ ราคาคงที่ พบว่าตัวแปรด้านการค้าชายแดนมีความสัมพันธ์ ในทางเดียวต่อเศรษฐกิจของจังหวัดเชียงราย หมายความว่ามูลค่าการค้า การส่งออก และการค้าชายแดนเป็นสาเหตุของการเปลีย่ นแปลงของเศรษฐกิจของจังหวัดเชียงราย แต่เศรษฐกิจของจังหวัดเชียงรายไม่ได้เป็นสาเหตุของการเปลี่ยนแปลงของตัวแปร ด้านการค้าชายแดน ทั้งนี้ มูลค่าการค้าและการส่งออกชายแดนมีตัวเลขของค่าทาง สถิติที่เหมือนกัน เนื่องจาก การส่งออกเป็นสัดส่วนหลักของการค้าชายแดน

I 180 I


สำนักงานเศรษฐกิจชายแดนและโลจิสติกส์

ตารางที่ 7 ผลการตรวจสอบความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรด้านการค้าชายแดน และเศรษฐกิจเชียงราย

สมมติฐานหลัก การค้าชายแดนเป็นสาเหตุของเศรษฐกิจ เศรษฐกิจเป็นสาเหตุของการค้าชายแดน การส่งออกชายแดนเป็นสาเหตุของเศรษฐกิจ เศรษฐกิจเป็นสาเหตุของการส่งออกชายแดน การนำเข้าแดนเป็นสาเหตุของเศรษฐกิจ เศรษฐกิจเป็นสาเหตุของการนำเข้าชายแดน

F-Statistic P-value 8.23703 1.06772

0.0262 0.411

8.23703 1.06772

0.0262 0.411

6.30515 0.90674

0.043 0.4613

ที่มา: จากการคำนวณของผู้วิจัย หมายเหตุ : * มีนัยทางสถิติอยู่ที่ระดับ 0.05 และ ** มีนัยทางสถิติอยู่ที่ 0.01

สรุปและข้อเสนอแนะ

ในหลายปีที่ผ่านมา การค้าชายแดนเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในแผนการพัฒนา เศรษฐกิจของจังหวัดเชียงราย ซึ่งเป็นหนึ่งในมิติของการพัฒนาเพื่อการเติบโต และ เพิม่ ความสามารถในการแข่งขัน โดยทัง้ รัฐบาลกลางพยายามทีจ่ ะส่งเสริมให้เกิดความ ร่วมมือการค้าชายแดน ซึ่งมีจุดประสงค์เพื่อให้กลุ่มประเทศ GMS และ ASEAN+6 มีการแข่งขันที่เสรี นอกจากนี้ ได้มีการวางแผนให้เกิดเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษใน พื้นที่ชายแดน โดยใช้ประโยชน์จากอำเภอเชียงแสน อำเภอเชียงของ และอำเภอ แม่สายที่มีพื้นที่เชื่อมต่อกับประเทศอย่างสปป.ลาว เมียนมาร์ และจีนตอนใต้ ซึ่งได้ มีการประกาศอย่างเป็นทางการไปในปี 2558 แต่ยังติดปัญหาในเรื่องของการจัดสรร พื้นที่ที่แน่นอน ดังนั้นงานวิจัยชิ้นนี้ จึงมีจุดประสงค์ในการศึกษาให้เห็นถึงประโยชน์ จากการค้าชายแดนต่อเศรษฐกิจของจังหวัดเชียงราย อย่างไรก็ตาม การเติบโตทาง เศรษฐกิจอาจเป็นปัจจัยสำคัญในการกระตุ้นให้เกิดการค้าชายแดน ทำให้จำเป็นต้อง ศึกษาความสัมพันธ์ทั้งสองทาง และวิเคราะห์เชิงลึกลงไปในแต่ละสาขาการผลิต

I 181 I


OBELS OUTLOOK 2016

จากผลการศึกษาการตรวจสอบความสัมพันธ์ของการค้าชายแดนที่ใช้ตัวแปร ของมูลค่าการค้า การส่งออก และการนำเข้า และเศรษฐกิจของจังหวัดเชียงรายที่ใช้ ตัวแปรของผลิตภัณฑ์มวลรวม ณ ราคาคงที่ (ดังรูปที่ 7) โดยมีการใช้ข้อมูลตั้งแต่ปี 2546 - 2557 เป็นระยะเวลา 11 ปี พบว่ามูลค่าส่งออกมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของ สาขาการเกษตรกรรม เหมืองแร่ และคมนาคม/การสือ่ สาร และสาขาพลังงานเป็นเหตุ ต่อการเปลี่ยนแปลงของมูลค่าการส่งออกอย่างมีนัยสำคัญ ขณะที่ สาขาการบริการ ด้านสุขภาพ และสาขาลูกจ้างในครัวเรือนส่วนบุคคลส่งผลกระทบต่อการเปลีย่ นแปลง ต่อมูลค่าการนำเข้า โดยที่มูลค่าการนำเข้าส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงของสาขาเกษตร กรรม สาขาเหมืองแร่ และสาขาบริการชุมชนและสังคม ส่วนความเปลี่ยนแปลงของ การค้าชายแดนได้รับอิทธิพลจากสาขาเหมืองแร่ คมนาคม/การสื่อสาร และการให้ บริการชุมชน/สังคม รวมทั้งการค้าชายแดนเป็นสาเหตุต่อการเปลี่ยนแปลงในสาขา เกษตรกรรม และสาขาพลังงาน ทั้งนี้ จากการตรวจสอบความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร ด้านการค้าชายแดน และผลิตภัณฑ์มวลรวม ณ ราคาที่ของจังหวัดเชียงรายโดยไม่ แยกสาขา พบว่าการค้า การส่งออก และการนำเข้าชายแดนเป็นสาเหตุของการ เปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ หากแต่การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจไม่ส่งผลต่อการ เปลี่ยนแปลงของตัวแปรการค้าชายแดน

I 182 I


สำนักงานเศรษฐกิจชายแดนและโลจิสติกส์

รูปที่ 7 สรุปการตรวจสอบความสัมพันธ์ของตัวแปรด้านการค้าชายแดนและเศรษฐกิจ

ที่มา: สรุปโดยผู้วิจัย

ทำให้สรุปได้วา่ แม้การค้าชายแดนมีผลต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจในเชียงราย โดยเฉพาะในด้านการส่งออก แต่เป็นผลกระทบที่ค่อนข้างกระจุกตัวอยู่ในสาขาการ ผลิตบางสาขา แทนทีจ่ ะมีการกระจายผลประโยชน์ ฉะนัน้ การส่งเสริมการค้าชายแดน ถือว่ารัฐบาลออกนโยบายและแผนการพัฒนาเศรษฐกิจมาได้ถูกทาง แต่ควรที่จะการ กระจายการพัฒนาทางเศรษฐกิจให้มีความครอบคลุมไปในหลากหลายภาคการผลิต เพื่อช่วยลดความเหลื่อมล้ำในการพัฒนาสู่ความยั่งยืนในอนาคต

I 183 I


OBELS OUTLOOK 2016

เอกสารอ้างอิง

การประชุมคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ (2558) กำหนดพืน้ ทีเ่ ขต เศรษฐกิจพิเศษ ระยะที่ 2. ประกาศคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาเศรษฐกิจ พิเศษ. ตีรณ พงศ์มฆพัฒน์ (2534) ความได้เปรียบทางเศรษฐกิจและความสำเร็จทาง อุตสาหกรรม, วารสารเศรษฐศาสตร์จุฬาลงกรณ์ 3(2): 206-255. นิฐิตา เบญจมสุทิน (2548) เศรษฐศาสตร์ระหว่างประเทศ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สำนักงานคณะกรรมพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (2558) ข้อมูลสถิตผิ ลิตภัณฑ์ มวลของจังหวัดเชียงรายปีพ.ศ. 2538 - 2557. ฐานข้อมูล CEIC. สำนักงานพาณิชย์จงั หวัดเชียงราย (2559) ข้อมูลสถิตมิ ลู ค่าการค้าชายแดนด่านจังหวัด เชียงรายปีพ.ศ. 2547 - 2558. สำนักงานจังหวัดเชียงราย (2557) แผนพัฒนาจังหวัดเชียงรายพ.ศ. 2557 - 2560. สืบค้นเมื่อวันที่ 21 กันยายน 2559. อัครพงศ์ อั้นทอง (2555) เศรษฐมิติว่าด้วยการท่องเที่ยว. โครงการเมธีวิจัยอาวุโส. สำนักงานกองทุนสนับสนุนงานวิจัย. หน้า 39-41. Chauadhry et al. (2010) Exploring the causality relationship betweentrade liberalization, human capital and economic growth: Empirical evidence from Pakistan. Journal of Economics and International Finance Vol. 2(8): 175-182. Francisco F. Ribeiro Ramos. (2000) Exports, imports, and economic growth in Portugal: evidence from causality and co-integration analysis. Economic Modelling 18: 613-623. R. Shihab and T. Soufan. (2014) The Causal Relationship between Exports and Economic Growth in Jordan. International Journal of Business and Social Science 5(3): 302-308.

I 184 I


สำนักงานเศรษฐกิจชายแดนและโลจิสติกส์

Muhammad Shahzad Iqbal. (2010) Causality Relationship between Foreign Direct Investment, Trade and Economic Growth in Pakistan. Journal of Asian Social Science 6(9): 82-89. M. Busse and J. Königer. (2012) Trade and Economic Growth: A Re-ex amination of the Empirical Evidence. Hamburg Institute of Inter- national Economics. Research Paper 123: 1-21. Saibu. Muibi Olufemi. (2004) Trade Openness and Economic Growth in Nigeria: Further Evidence on the Causality Issue. South African Journal of Economic and Management Sciences 7(2): 229-314. Shujaat ABBAS. (2012) Causality between Exports and Economic Growth : Investigating Suitable Trade Policyfor Pakistan. Eurasian Journal of Business and Economics 5(10): 91-98. T. Gries and M. Redlin. (2012) Trade Openness and Economic Growth: A Panel Causality Analysis. Center of International Economics. Working Paper Series 6: 1-19.

I 185 I


OBELS OUTLOOK 2016

I 186 I


สำนักงานเศรษฐกิจชายแดนและโลจิสติกส์

การศึกษาสถานการณ์แรงงานเมียนมาในปัจจุบัน กรณีศึกษา : จังหวัดเชียงราย วิลาวัณย์ ตุทาโน, สิทธิชาติ สมตา

ที่มาและความสำคัญ จังหวัดเชียงรายเป็นจังหวัดหนึ่งที่มีชายแดนติดกับประเทศเพื่อนบ้านทั้ง สปป.ลาว และเมียนมา ซึ่งตลอดหลายปีที่ผ่านมามีแรงงานจากประเทศเพื่อนบ้าน จำนวนมากอพยพเข้ามาทำงานในไทยโดยผ่านทางจังหวัดเชียงรายเข้าไปสูเ่ มืองสำคัญ อย่างเช่น เชียงใหม่ กรุงเทพมหานครและปริมณฑล และบางส่วนทำงานอยู่ในจังหวัด เชียงราย ซึ่งเป็นที่ทราบกันดีว่าแรงงานต่างด้าวเหล่านี้เป็นแรงงานหลักที่สำคัญใน อุตสาหกรรมหลักของไทยทัง้ การก่อสร้าง การแปรรูปอาหาร และการประมง เป็นต้น ซึ่ ง ในช่ ว งระยะเวลาหลายปี ที่ ผ่ า นมามี ค วามเปลี่ ย นแปลงเกิ ด ขึ้ น มากมายทั้ ง ใน ประเทศไทย ประเทศเพื่อนบ้าน รวมถึงในระดับโลกที่อาจส่งผลกระทบถึงการ เปลี่ยนแปลงด้านโครงสร้างของแรงงานต่างด้าวในประเทศไทย ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community : AEC) เป็น อีกปัจจัยหนึ่งที่จะทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงขึ้นกับภูมิภาคเอเชียตะวันตกเฉียงใต้

I 187 I


OBELS OUTLOOK 2016

โดยประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนเป็นการพัฒนาความร่วมมือด้านเศรษฐกิจระหว่าง 10 ประเทศ ความตัง้ ใจโดยแรกเริม่ AEC จะต้องเกิดขึน้ ในปี พ.ศ. 2563 (ค.ศ. 2020) แต่ในการประชุมสุดยอดอาเซียนครัง้ ที่ 13 เดือนมกราคม 2550 ทีเ่ มืองเซบู ประเทศ ฟิลิปปินส์ ได้เกิดข้อตกลงใหม่ให้เลื่อนการจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนเร็วขึ้น อีก 5 ปี คือ เริ่มตั้งแต่ พ.ศ. 2558 (ค.ศ. 2015) โดยมีเป้าหมายหลักที่อ้างอิงตาม แถลงการณ์บาหลี ฉบับที่ 2 (Bali Concord II) คือ การเป็นฐานการผลิตและเป็น ตลาดเดียว โดยอนุญาตให้มกี ารเคลือ่ นย้ายสินค้า การบริการ การลงทุน และแรงงาน ฝีมือใน 7 สาขาวิชาชีพหลักอย่างอิสระ เพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางสังคมและแก้ ปัญหาความยากจนในหลายประเทศ (กรมอาเซียน กระทรวงการต่างประเทศ, 2558) โดยหลายปีที่ผ่านมา ประเทศไทยเองก็ได้จัดเตรียมแผนการพัฒนาในหลากหลายด้าน โดยเฉพาะการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและระบบโลจิสติกส์ การเพิ่มศักยภาพให้กับ ทรัพยากรมนุษย์ การพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี นวัตกรรม และความคิด สร้างสรรค์ รวมถึงการประกาศจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษขึ้นตามแนวชายแดนระหว่าง ประเทศ โดยมีจดุ ประสงค์เพือ่ ขยายการเชือ่ มโยงด้านการค้าและโลจิสติกส์กบั ประเทศ เพื่อนบ้านให้มากขึ้น โดยการจัดตั้งแบ่งออกเป็นสองระยะด้วยกัน ซึ่งในระยะแรก ประกอบด้วย 5 จังหวัด ได้แก่ ตาก มุกดาหาร สระแก้ว ตราด และสงขลา ต่อมาได้ ประกาศเขตเศรษฐกิจพิเศษระยะทีส่ องเพิม่ อีก 5 จังหวัด ได้แก่ เชียงราย กาญจนบุรี หนองคาย นครพนม และนราธิวาส ซึ่งงานวิจัยชิ้นนี้จะทำการศึกษาเกี่ยวกับการ สถานการณ์การเปลี่ยนแปลงของแรงงานต่างด้าวในจังหวัดเชียงราย ซึ่งเป็นหนึ่งใน จังหวัดที่ถูกจัดตั้งให้เป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษรองรับกับการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจ อาเซียน โดยเชียงรายเป็นจังหวัดหนึ่งที่มีศักยภาพทั้งในด้านการค้า การขนส่ง และ ภูมิศาสตร์ คือ การมีขอบเขตชายแดนเชื่อมต่อกับสปป.ลาว เมียนมา รวมถึงการเชื่อม ต่อไปยังจีนตอนใต้ ซึง่ ถือเป็นประเทศคูค่ า้ สำคัญทีม่ คี วามสัมพันธ์กนั มาอย่างยาวนาน อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ผู้เขียนให้ความสนใจมากที่สุดก็คือ การเปลี่ยนแปลงของ จำนวนแรงงานต่างด้าวที่เข้ามาทำงานในจังหวัดเชียงรายหลังการเข้าสู่ประชาคม

I 188 I


สำนักงานเศรษฐกิจชายแดนและโลจิสติกส์

เศรษฐกิจอาเซียน เศรษฐกิจของประเทศเพื่อนบ้าน รวมถึงเศรษฐกิจของจังหวัด เชียงราย ซึ่งปัจจัยเหล่านี้จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงด้านโครงสร้างของแรงงาน ต่างด้าวที่เข้ามาทำงานในประเทศไทย

วัตถุประสงค์ของการศึกษา

1) เพื่อศึกษาสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงของแรงงานต่างด้าว หลังเข้าสู่การ เป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน 2) เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการเคลื่อนย้ายของแรงงานต่างด้าว สู่จังหวัดเชียงราย

ผลการศึกษา

1. สถานการณ์การเปลี่ยนแปลงของแรงงานต่างด้าว หลังเข้าสู่การเป็นประชาคม เศรษฐกิจอาเซียน ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนถือเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ในการอพยพของแรงงานต่างด้าว รวมถึงสถานการณ์ทางการเมืองและเศรษฐกิจ ในประเทศเพื่อนบ้าน รวมทั้งการจัดตั้งเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษของประเทศไทย เพือ่ กระตุน้ การค้าการลงทุน ทำให้มกี ารปรับปรุงโครงสร้างพืน้ ฐานขนาดใหญ่ ทัง้ ถนน ไฟฟ้า และการเตรียมความพร้อมในด้านอื่น ส่งผลให้เกิดการจ้างงานและอุปสงค์ของ แรงงานเพิ่มสูงขึ้นในช่วงหลายปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะแรงงานไร้ฝีมือที่เป็นกำลังสำคัญ ในการก่อสร้างสาธารณูปโภคพื้นฐานต่างๆ ในช่วงต้นปี 2559 ที่ผ่านมา หลังการเข้า สู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน การเติบโตทางเศรษฐกิจของเชียงรายไม่ได้มีการขยาย ตัวมากนัก เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจในประเทศที่ยังไม่ฟื้นตัว รวม ทัง้ จีนประเทศคูค่ า้ สำคัญมีการชะลอตัวทางเศรษฐกิจ ทำให้ในครึง่ ปีแรกของประชาคม เศรษฐกิจอาเซียนไม่ส่งผลให้มีการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจที่ชัดเจน อย่างไรก็ตาม หากมีปัจจัยบวกเกิดขึ้นเพิ่มเติมอาจทำให้เห็นถึงความเปลี่ยนแปลงที่ชัดเจนยิ่งขึ้น ขณะเดียวกันเรื่องของสถานการณ์แรงงานต่างด้าวซึ่งเป็นปัจจัยการผลิตที่สำคัญใน

I 189 I


OBELS OUTLOOK 2016

อุตสาหกรรมต่างๆ ของจังหวัดเชียงราย โดยมีแรงงานต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตทำงาน คงเหลือ ณ มกราคม 2559 จำนวน 8,426 คน โดยแยกเป็นเข้าเมืองถูกกฎหมาย จำนวน 5,704 คน และเข้าเมืองผิดกฎหมายจำนวน 2,722 คน แบ่งเป็นเพศชาย จำนวน 4,594 คน และเพศหญิงจำนวน 3,832 คน ซึ่งมีจำนวนแรงงานต่างด้าวที่ได้ รับอนุญาตให้ทำงานคงเหลือน้อยกว่าปี 2558 ดังตารางที่ 1 ตารางที่ 1 จำนวนแรงงานต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตให้ทำงานคงเหลือ จังหวัดเชียงราย (คน) ข้อมูล ณ มกราคม 2551 มกราคม 2552 มกราคม 2553 มกราคม 2554 มกราคม 2555 มกราคม 2556 มกราคม 2557 มกราคม 2558 มกราคม 2559

เข้าเมืองถูกกฎหมาย เข้าเมืองผิดกฎหมาย

รวมทั้งสิ้น รวม 14,561 14,270 19,515 16,593 22,607 14,638 14,245 12,711 8,426

ชาย 7,898 7,881 11,047 9,378 12,871 7,831 7,665 6,827 4,594

หญิง 6,663 6,389 8,468 7,215 9,736 6,807 6,580 5,854 3,832

รวม 692 829 814 948 2,341 10,351 11,089 9,779 5,704

คิดเป็น 5% 6% 4% 6% 10% 71% 78% 77% 68%

รวม คิดเป็น 13,869 95% 13,441 94% 18,701 96% 15,645 94% 20,266 90% 4,287 29% 3,156 22% 2,932 23% 2,722 32%

ที่มา: สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว กระทรวงแรงงาน, 2558

จากจำนวนแรงงานต่างด้าวทีไ่ ด้รบั อนุญาตให้ทำงานคงเหลือในจังหวัดเชียงราย เห็นได้ว่าจำนวนแรงงานต่างด้าวที่เข้าเมืองผิดกฎหมายมีอัตราลดลงอย่างชัดเจน (ตารางที่ 1) จากเดือนมกราคม 2551 มีจำนวนแรงงานต่างด้าวลักลอบเข้าเมืองผิด กฎหมายคิดเป็นร้อยละ 95 ของจำนวนทัง้ หมด ในขณะเดือนมกราคม 2559 มีแรงงาน ต่างด้าวลักลอบเข้าเมืองผิดกฎหมายลดลงเหลือร้อยละ 32 เนือ่ งจากภาครัฐได้เข้มงวด เรื่องการลักลอบเข้าเมือง โดยภาครัฐได้ผ่อนผันให้นายจ้างพาแรงงานต่างด้าวสัญชาติ

I 190 I


สำนักงานเศรษฐกิจชายแดนและโลจิสติกส์

เมียนมา ลาว และกัมพูชา ที่ลักลอบทำงานอยู่ในประเทศไทยมาจดทะเบียนซึ่งครั้ง นี้นับเป็นการจดทะเบียนครั้งใหญ่ในปี 2552 และได้สิ้นสุดลงในปี 2555 ต่อมาในปี 2557 ได้มีการจัดตั้งศูนย์บริการจดทะเบียนแรงงานต่างด้าว (One Stop Service : OSS) จึงส่งผลให้แรงงานต่างด้าวที่ทำงานอยู่ในประเทศไทยโดยผิดกฎหมายขึ้นจด ทะเบียนเพิ่มมากขึ้น อาจกล่าวอีกหนึ่งปัจจัยที่ส่งผลให้แรงงานต่างด้าวขึ้นทะเบียน มากขึ้น จากการลดค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนแรงงานต่างด้าว การขอใบอนุญาต ทำงานสำหรับแรงงานตามฤดูกาลและแรงงานรายวัน และการอนุญาตให้เปลี่ยนนาย จ้างได้ ตามพระราชบัญญัติการทำงานของคนต่างด้าวฉบับใหม่ขึ้นในปี 2551 แรงงานต่างด้าวในพื้นที่จังหวัดเชียงรายส่วนใหญ่เป็นแรงงานชาวเมียนมา ประมาณร้อยละ 80 – 90 ส่วนที่เหลือเป็นแรงงานชาวลาว และชาวกัมพูชา โดย ปัจจัยหลักของการเคลื่อนย้ายเข้ามาทำงานในพื้นที่จังหวัดเชียงรายนั้นประกอบด้วย 2 ปัจจัยหลัก ดังนี้ 1) ปัจจัยผลัก ได้แก่ สถานการณ์ดา้ นเศรษฐกิจและการเมืองของประเทศต้นทาง 2) ปัจจัยดึง คือ การขาดแคลนแรงงานไร้ฝีมือในบางสาขา โดยเฉพาะงานใน กลุม่ 3D คือ Difficult (งานหนัก) Dirty (งานสกปรก) และ Dangerous (งานอันตราย)

2. ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการเคลื่อนย้ายของแรงงานต่างด้าว สู่จังหวัดเชียงราย

2.1 ปัจจัยผลัก (Push Factor) • เศรษฐกิจและการเมืองของประเทศต้นทางของแรงงานต่างด้าว ภาวะเศรษฐกิจและการเมืองภายในประเทศมีความสำคัญอย่างยิ่งในการสร้าง ความเชือ่ มัน่ ให้แก่นกั ลงทุนภายในประเทศและนอกประเทศ รวมถึงประชาชนทัว่ ไป ซึง่ ที่ผ่านมาเมียนมาอยู่ภายใต้การปกครองโดยทหารทำให้เศรษฐกิจเติบโตช้ากว่ากลุ่ม ประเทศใกล้เคียง ทำให้ประชาชนวัยแรงงานในประเทศเดินทางไปทำงานยังประเทศ ใกล้เคียง โดยประเทศไทยเป็นหนึ่งประเทศที่สำคัญของการเคลื่อนย้ายเข้ามาทำงาน

I 191 I


OBELS OUTLOOK 2016

ของชาวเมียนมา ซึง่ แรงงานต่างด้าวชาวเมียนมาในประเทศไทยมีจำนวนกว่า 2 ล้านคน ทั่วประเทศ และอีก 2 หมื่นกว่าคนในจังหวัดเชียงราย ถือเป็นแรงงานสำคัญต่อ อุตสาหกรรมหลักของประเทศไทย และจังหวัดเชียงราย ในอุตสาหกรรมหลักเหล่านี้ ได้แก่ อุตสาหกรรมการแปรรูปอาหาร อุตสาหกรรมการเกษตร การก่อสร้าง ไปจนถึง อุตสาหกรรมสิ่งทอ ไม่เพียงแต่แรงงานชาวเมียนมาเท่านั้นยังรวมไปถึงชนกลุ่มน้อย จากประเทศเมียนมา (ไทใหญ่ กะเหรี่ยง ไทลื้อ ฯลฯ) ที่เคลื่อนย้ายเข้ามาเป็นแรงงาน ในประเทศ และเมื่อมองย้อนกลับไปก็พบว่าแรงผลักดันที่ทำให้ชาวเมียนมาและชน กลุ่มน้อยกลุ่มต่างๆ หลั่งไหลออกจากประเทศของตนเองก็คือ ความยากจน จากการรายงานของ Human Development Report (2556) พบว่าประเทศ เมียนมาเป็นประเทศทีย่ ากจนทีส่ ดุ ประเทศหนึง่ ในทวีปเอเชีย โดยถูกจัดให้อยูใ่ นอันดับ ที่ 149 จาก 186 ประเทศ และมีผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ (Gross Domestic Product : GDP) อยูท่ ่ี 58.65 พันล้านเหรียญสหรัฐ และรายได้เฉลีย่ ต่อหัวอยูท่ ่ี 1,106 ดอลลาร์สหรัฐต่อปี หรือประมาณ 38,770 บาท ทัง้ นี้ จากการสำรวจข้อมูลยังพบอีกว่า แรงงานชาวเมียนมาที่ทำงานในประเทศจะได้รับค่าตอบแทนต่อวันเฉลี่ย 3,600 จ๊าด หรือ ประมาณ 106 บาท ซึ่งเป็นอัตราค่าแรงขึ้นต่ำที่รัฐบาลพม่าเพิ่งมีการปรับให้สูง ขึ้นเมื่อปลายปี 2558 ที่ผ่านมา เป็นไปได้ว่าก่อนหน้านี้ค่าแรงต่อวันของการทำงาน ในประเทศเมียนมาน่าจะต่ำกว่านี้ ซึ่งหากเทียบกับการเข้ามาทำงานในประเทศไทย ที่มีโอกาสจะได้รับค่าตอบแทนประมาณ 100 - 300 บาท (อัมพกา มาตา, ม.ป.ป) ชาวพม่าบางส่วนจึงยินดีที่จะเข้ามาหาโอกาสภายในประเทศไทย โดยเฉพาะบริเวณ ชายแดนซึ่งอยู่ใกล้กับประเทศเมียนมา นอกจากนี้ เมียนมาเป็นประเทศทีเ่ ศรษฐกิจตัง้ อยูบ่ นพืน้ ฐานของภาคการเกษตร และการบริการเป็นหลัก จากการรายงานของ International Fund for Agricultural Development (ม.ป.ป) กล่าวว่ากว่า 36% ของ GDP เมียนมา มาจากภาคการเกษตร โดยรายงานดังกล่าวระบุว่า มีประชากรที่เป็นแรงงานในภาคการเกษตรอยู่ถึง 70%

I 192 I


สำนักงานเศรษฐกิจชายแดนและโลจิสติกส์

ซึ่งการทำเกษตรส่วนใหญ่นั้นยังเป็นแบบดั้งเดิม คือ ไม่มีการนำเทคโนโลยีหรือมีโครง สร้างพื้นฐานที่ดีเข้ามาสนับสนุน ทำให้ผลิตผลที่ได้นั้นไม่สูงมากนัก ส่งผลถึงรายได้ ของเกษตรกรทีย่ งั อยูใ่ นระดับต่ำ (World Bank, 2559) ทัง้ นี้ ปัญหาเรือ่ งความไม่สงบ ในพื้นที่รวมถึงความขัดแย้งระหว่างชนกลุ่มน้อยกับรัฐบาลเมียนมาก็เป็นอีกปัจจัย หนึ่งที่ทำให้ประชาชนเมียนมาส่วนหนึ่งหลบหนีออกมา อย่างไรก็ตาม ในปี 2553 เมียนมามีการเลือกตั้งเกิดขึ้นเป็นครั้งแรกในรอบ 20 ปี เพื่อแสดงให้เห็นถึงจุดยืนของเมียนมาในการที่จะเป็นประเทศประชาธิปไตย โดย พรรคสหภาพเอกภาพและการพัฒนา (USDP) ได้รับชัยชนะด้วยคะแนนเสียง กว่า 70% เป็นก้าวแรกที่สำคัญที่ทำให้สหประชาชาติเปลี่ยนมุมมองที่มีต่อเมียนมา และในปี 2555 นางออง ซาน ซูจี ได้รับการปล่อยตัวออกจากบ้านพักหลังถูกกักให้ อยู่แต่ในบริเวณบ้านกว่า 22 ปี รวมถึงเป็นปีแรกที่เมียนมาประกาศเปิดประเทศอย่าง เป็นทางการโดยมียุทธศาสตร์ที่สำคัญในการพัฒนาประเทศอยู่ 3 ข้อหลัก ได้แก่ การลดความขัดแย้งกับชนกลุ่มน้อย สร้างเสถียรภาพทางการเมือง และการพัฒนา เศรษฐกิจและสังคมให้ดีขึ้น (สุภาพรรณ วัฒนาอุดมชัย, 2556) ทั้งนี้ เมียนมายังมีแผนการดึงเงินลงทุนจากต่างประเทศโดยการลดมาตรการ ด้านการค้าและการลงทุนที่เข้มงวดลง อนุญาตให้มีการร่วมทุนระหว่างต่างชาติใน ธุรกิจบางประเภทที่เคยสงวนไว้ให้แต่ชาวเมียนมา เช่น การทำเหมืองแร่ ธุรกรรมการ เงิน อัญมณี รวมถึงยังมีการให้สิทธิพิเศษต่างๆกับนักลงทุน เพื่อดึงดูดเงินลงทุนจาก ต่างประเทศ และเมื่อมีการลงทุนที่มากขึ้นย่อมจะทำให้เกิดการจ้างงานมากขึ้นเช่น เดียวกัน ส่งผลให้ชาวเมียนมาจะมีรายได้เพิ่มขึ้น ซึ่งจะช่วยลดปัญหาความยากจน ภายในประเทศลง นอกจากนี้จะทำให้แรงงานเมียนมาในประเทศเดินทางกลับไปยัง ประเทศของตน และอาจจะส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมไทย

I 193 I


OBELS OUTLOOK 2016

ขณะเดียวกัน สหภาพยุโรปเองก็ได้ทำการยกเลิกมาตรการคว่ำบาตรทุกประเภท กับเมียนมา คือ อนุญาตให้มกี ารค้าระหว่างกัน โดยได้คนื สิทธิพเิ ศษทางการค้า (Generalized System of Preferences : GSP) ซึ่งจะเป็นประโยชน์กับเมียนมามาก เพราะสิทธิพิเศษดังกล่าวทำให้ราคาสินค้าที่สหภาพยุโรปนำเข้าจากเมียนมาถูกลง จากการที่ภาษีอากรขาเข้าลดลง รวมถึงเป็นโอกาสของประเทศต่างๆที่ต้องการย้าย ฐานการผลิตไปยังเมียนมา เพื่อใช้ประโยชน์ในการลดต้นทุนภาษีจากสิทธิพิเศษ GSP เป็นสิ่งหนึ่งที่จะช่วยให้เศรษฐกิจของเมียนมาเติบโตสูงขึ้น จากการรายงานของธนาคารโลกพบว่าในปี 2555 ซึ่งปีแรกของการเปิด ประเทศทำให้ผลิตภัณฑ์มวลรวมของเมียนมาพุ่งสูงถึง 74.69 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ และลดลงในปี 2556 ไปอยู่ที่ 58.65 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งปรับตัวสูงขึ้นอย่าง ต่อเนื่องในปีถัดมา ดังในรูปที่ 1 รูปที่ 1 ผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศเมียนมาปี 2555 - 2558

ที่มา : World Bank (2559)

I 194 I


สำนักงานเศรษฐกิจชายแดนและโลจิสติกส์

จากตัวเลขข้างต้น เห็นได้ว่าผลิตภัณฑ์มวลรวมของเมียนมาเติบโตสูงขึ้นอย่าง ต่อเนื่อง ทำให้รายได้เฉลี่ยต่อหัวเพิ่มสูงขึ้นตามไปด้วย ทั้งนี้ จากความคิดเห็นของ ดร.อนุรัตน์ อินทร ประธานหอการค้าจังหวัดเชียงราย กล่าวว่า “เศรษฐกิจของเมียน มามีโอกาสที่จะพัฒนามากขึ้น และเป็นไปได้ว่าแรงงานจากเมียนมาจะเข้ามาทำงาน ในไทยน้อยลง” ซึ่งจากการลงพื้นที่สำรวจความคิดเห็นของช่องโทรทัศน์ Thai PBS (2556) ทั้งในประเทศไทยและเมียนมามีแนวโน้มไปในทิศทางเดียวกัน คือ แรงงาน ชาวเมียนมามีความประสงค์ทจ่ี ะกลับประเทศ หากเศรษฐกิจภายในประเทศดีขน้ึ และ มีมาตรฐานการครองชีพที่สูงขึ้น ขณะเดียวกัน จากการศึกษาของ อัมพกา มาตา (ม.ป.ป) พบว่าแรงงานชาวเมียนมามีความประสงค์ที่จะกลับไปยังประเทศบ้านเกิด ขณะที่ชนกลุ่มน้อยอย่างชาว ไทใหญ่ ไทลื้อ กะเหรี่ยง ฯลฯ มีแนวโน้มที่จะอยู่ใน ประเทศไทยต่อไป ในปัจจุบัน แรงงานเมียนมายังคงเข้ามาทำงานในประเทศไทย เนื่องจากค่า แรงที่สูงกว่าในเมียนมาแม้ว่าเมียนมาจะถูกจัดอันดับให้เป็นประเทศที่ยากจนที่สุดใน อาเซียน รวมถึงเป็นประเทศที่มีมาตรฐานการดำรงชีวิตที่ไม่สูงมากนัก แต่มีแนวโน้ม ที่จะปรับตัวสูงขึ้นทุกปี (United Nations Development Programme, 2556) โดยการเปิดประเทศของเมียนมา ได้มีการนำนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจมาใช้ ทำให้ เกิดความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจครั้งใหญ่ และก้าวกระโดด แม้ว่าจะยังขาดความ พร้อมในด้านโครงสร้างพื้นฐานที่ต้องปรับปรุงอีกมาก แต่การที่รัฐบาลเข้ามาลงทุน เพื่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานเหล่านี้ทำให้เกิดการจ้างงานและอาชีพขึ้น ทั้งนี้ ปัจจัย ทางด้านการเมืองมีการปรับตัวในทิศทางที่ดีขึ้น รัฐบาลเองก็มีความพยายามอย่าง เต็มที่ที่จะพัฒนาเศรษฐกิจ โดยการปฏิวัติรูปแบบการปกครองเพื่อสร้างความมั่นใจ ให้กับนักลงทุนชาวต่างชาติ จากการวิเคราะห์เบื้องต้นของสถานการณ์เศรษฐกิจและการเมืองในเมียน มาแล้ว จะเห็นว่าแรงผลักดันจากภายในประเทศลดลง คือ ปัญหาความยากจนได้รับ

I 195 I


OBELS OUTLOOK 2016

การบรรเทาให้ดีขึ้น รวมถึงสถานการณ์ด้านการเมืองระหว่างชนกลุ่มน้อยกับรัฐบาล เมียนมาเองก็กำลังอยู่ในขั้นของการเจรจาแก้ไข ซึ่งต้องสังเกตทิศทางของการเจรจา ในครั้งต่อไป แม้จะมีการลงทุนและการพัฒนาในด้านต่างๆ มากขึ้น แต่สำหรับแรงงาน ค่าแรงยังคงเป็นปัจจัยสำคัญที่เป็นทั้งตัวดึงและตัวผลักแรงงานออกไปนอกประเทศ • อุปสงค์และอุปทานต่อแรงงานภายในประเทศเมียนมา การวิเคราะห์เบื้องต้นจากสถานการณ์ทางเศรษฐกิจ รวมถึงการลงทุนต่างๆ ที่เข้าไปยังประเทศเมียนมาพบว่า อุปสงค์การจ้างงานในประเทศสูงขึ้น จากการที่ รัฐบาลลงทุนพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานภายในประเทศ มีการย้ายฐานการผลิต จากประเทศอื่นเข้าไปยังเมียนมา รวมถึงการลงทุนจากต่างชาติที่เพิ่มขึ้น ขณะที่ อุปทาน หรือความต้องการที่จะทำงานอยู่ในระดับสูง เนื่องจากก่อนที่เมียนมาจะมี การเปิดประเทศ ประชากรส่วนใหญ่ต้องพึ่งพาตนเองเป็นหลักและการปกครองใน ระบบสังคมนิยมไม่คงที่ ทำให้การลงทุนในธุรกิจขนาดใหญ่ หรือการค้าขายเป็นไป ได้ยาก ทำให้การจ้างงานมีนอ้ ย อีกทัง้ ค่าแรงอยูใ่ นอัตราทีต่ ำ่ ทำให้ประชากรส่วนใหญ่ ต้องอยู่ในภาวะยากจน ดังนั้น หากเศรษฐกิจของเมียนมาเข้าสู่การเติบโตมากขึ้นจาก การลงทุนและการค้าจะทำให้อุปทานการจ้างงานและรายได้ของประชาชนเพิ่มขึ้น เช่นเดียวกันหากรัฐบาลเมียนมาสามารถแก้ไขปัญหาความขัดแย้งระหว่างชน กลุ่มน้อยกับคนเมียนมาได้ เหลือเพียงปัจจัยเดียวที่เป็นตัวกำหนดจำนวนแรงงานที่ จะย้ายไปทำงานประเทศอื่น คือ อัตราค่าจ้าง และเสถียรภาพทางการเมือง มีความ เป็นไปได้ว่าแรงงานชาวเมียนมาจะเข้ามาทำงานในไทยน้อยลง หรือแรงงานที่ทำงาน ในไทยอยู่แล้วอาจจะหันกลับไปทำงานในประเทศของตนมากขึ้น

I 196 I


สำนักงานเศรษฐกิจชายแดนและโลจิสติกส์

2.2 ปัจจัยดึง (Pull Factor) • เศรษฐกิจและการเมืองของจังหวัดเชียงราย (ปัจจัยดึง) เศรษฐกิจพืน้ ฐานของจังหวัดเชียงรายมาจากด้านการท่องเทีย่ ว การเกษตรกรรม อุตสาหกรรมแปรรูปการเกษตร และการค้าชายแดน ซึง่ เป็นปัจจัยหลักทีส่ ำคัญต่อการ พัฒนาเศรษฐกิจของจังหวัดเชียงราย อีกทั้งในช่วงที่ของการชะลอตัวของเศรษฐกิจ โลกและประเทศคู่ค้าที่สำคัญ รวมถึงปัญหาทางการเมืองในประเทศ ทำให้การค้า ชายแดนของจังหวัดเชียงรายเป็นประตูการค้ากับประเทศเพื่อนบ้านที่สำคัญต่อ การค้าการส่งออกของประเทศ ด้วยพื้นฐานทางเศรษฐกิจของจังหวัดเชียงราย ทำให้ ผู้ประกอบการจำเป็นต้องพึ่งพาแรงงานไร้ฝีมือเป็นหลัก ฉะนั้นสิ่งที่จูงใจให้แรงงาน เมียนมาเข้ามาทำงานในจังหวัดเชียงราย คือ โอกาสในการได้งานและอัตราค่าแรงที่ สูงกว่าในประเทศของตนเอง รวมถึงการเดินทางทีค่ อ่ นข้างสะดวก เนือ่ งจากมีชายแดน ติดต่อกัน ทำให้เกิดการเข้ามาทำงานของแรงงานต่างด้าวส่วนหนึ่งในประเทศไทย ทัง้ ทีถ่ กู กฎหมายและผิดกฎหมาย ปัจจัยดึงอีกประการหนึง่ คือ การขาดแคลนแรงงาน ในบางสาขาทำให้มกี ารจ้างแรงงานต่างด้าวเกิดขึน้ ในจังหวัดเชียงรายนัน้ มีงานหลาย ประเภทที่จำนวนแรงงานไทยไม่เพียงพอต่ออุปสงค์ของแรงงานแม้ว่าจะมีตำแหน่ง ว่างอยู่ อย่างเช่น งานก่อสร้าง งานบ้าน งานในภาคการเกษตร หรือในโรงงาน อุตสาหกรรม ซึ่งแรงงานไทยบางส่วนปฏิเสธการทำงานเหล่านี้ทำให้เกิดปัญหาการ ขาดแคลนแรงงานขึ้น ผู้ประกอบการเองก็ต้องหาทางออกโดยการจ้างแรงงานต่าง ด้าวทดแทน

I 197 I


OBELS OUTLOOK 2016

รูปที่ 2 เปรียบเทียบจำนวนแรงงานต่างด้าวกับ GPP ปี 2551 - 2556

ที่มา : สำนักงานแรงงานจังหวัดเชียงราย, สำนักงานการคลังจังหวัดเชียงราย (2559)

จากรูปที่ 2 แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ของจำนวนแรงงานต่างด้าวและการ เติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวมของจังหวัดเชียงราย (GPP) ที่เป็นไปในทิศทางเดียวกัน คือ เมื่อ GPP สูงขึ้นจำนวนแรงงานต่างด้าวก็มีแนวโน้มที่สูงขึ้นตามไปด้วย ยกเว้นใน ปี 2555 ซึง่ เป็นปีแรกทีร่ ฐั บาลประกาศใช้นโยบายค่าแรงขัน้ ต่ำ 300 บาท ทำให้มกี าร เข้ามาของแรงงานต่างด้าวมากกว่าปกติ เป็นไปได้ว่าหากเศรษฐกิจของเชียงรายมีการ ขยายตัวเพิ่มขึ้น ส่งผลให้การเข้ามาของแรงงานต่างด้าวเพิ่มขึ้น เนื่องจากปัจจุบัน เชียงรายยังไม่มกี ารนำเทคโนโลยีในการผลิตเข้ามาทดแทนการใช้แรงงาน และแรงงาน คนไทยมีแนวโน้มว่าจะไม่เข้ามาทำงานในกลุ่มงานหนัก งานสกปรก และงานอันตราย ทั้งนี้ จากการสัมภาษณ์ คุณพลวัต ตันศิริ ประธานหอการค้าจังหวัดเชียงราย ได้ให้ความเห็นว่า “เศรษฐกิจของเชียงรายในครึง่ ปีแรกของปี 2559 ยังคงอยูใ่ นเกณฑ์ดี ทั้งภาคการเกษตรที่ราคาสินค้าเกษตรค่อนข้างสูง เนื่องจากภาวะสินค้าขาดตลาด

I 198 I


สำนักงานเศรษฐกิจชายแดนและโลจิสติกส์

ทำให้เกษตรกรมีรายได้ดี ในด้านของการค้าชายแดนซึง่ ประเทศไทยเองได้รบั ประโยชน์ จากการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศเพือ่ นบ้าน ทำให้มกี ารส่งออกในระดับทีด่ ”ี และจากการรายงานสำนักงานพาณิชย์จังหวัดเชียงรายพบว่า มูลค่าการค้าสูงขึ้น อย่างมากในไตรมาสแรกของปี 2559 ดังตารางที่ 3 ตารางที่ 3 เปรียบเทียบมูลค่าการค้าชายแดนของจังหวัดเชียงราย เดือนมกราคม - มีนาคม 2559

ประเทศ

2559 ส่งออก นำเข้า ดุลการค้า

จีน เมียนมา ลาว รวม

1,745 337 6,102 11,185

676 63 30 770

1,069 3,273 6,072 10,415

รวม 2,433 3,400 6,132 11,956

2558

อัตราการ เปลี่ยนแปลง

1,517 3,866 4,390 9,774

59.66 -12.03 39.68 22.33

ที่มา: รวบรวมโดยสำนักงานพาณิชย์จังหวัดเชียงราย

ภาคการท่องเทีย่ วของจังหวัดเชียงรายทีผ่ า่ นมา มีจำนวนนักท่องเทีย่ วเดินทาง เข้ามาในจังหวัดเชียงรายช่วงไตรมาสที่ 1-3 เพิ่มมากขึ้นจากปีที่แล้วและคาดว่าใน ปลายปีจำนวนนักท่องเที่ยวน่าจะเพิ่มขึ้น และมีแนวโน้มว่าเศรษฐกิจของเชียงราย จะมีการขยายตัวเพิ่มขึ้นจากการเป็นเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ โดยมีจุดมุ่งหมายที่ จะเป็นศูนย์กลางด้านโลจิสติกส์ที่มีเส้นทางค้าชายแดน R3A และ R3B เชื่อมโยงไปสู่ ประเทศเพื่อนบ้าน การเป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยว และแหล่งผลิตสินค้าเกษตรแปร รูปที่มีคุณภาพ รวมถึงการเป็นแหล่งการค้าชายแดนที่มีศักยภาพ มีการเตรียมความ พร้อมในหลายด้านเพื่อดึงนักลงทุนเข้ามาในพื้นที่ รวมถึงการให้สิทธิประโยชน์พิเศษ ต่างๆ ทั้งการยกเว้นภาษี การอนุญาตการจ้างแรงงานต่างด้าว ซึ่งเป็นไปได้ว่าหาก การจัดตั้งเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษประสบความสำเร็จด้วยดีและมีนักลงทุนเข้ามา

I 199 I


OBELS OUTLOOK 2016

ลงทุน อุปสงค์ของแรงงานไร้ฝีมือก็น่าจะสูงขึ้นตามไปด้วย ขณะที่แรงงานไทยส่วนใหญ่ ปฏิเสธการทำงานหนักรวมถึงโครงสร้างแรงงานมีการเปลีย่ นแปลงไป คือ คนไทยได้รบั การศึกษามากขึ้น แต่ยังไม่สูงถึงขั้นเป็นแรงงานทักษะ ทำให้แรงงานกลุ่มนี้กลายเป็น คนว่างงาน รวมถึงแรงงานบางส่วนก็เกษียณอายุออกไปมาก (นุชจรี วงษ์สันต์, 2559) ดังนัน้ แรงงานทีจ่ ะเข้ามาทดแทนก็คอื แรงงานต่างด้าวทีย่ งั ไม่มที กั ษะสูงนัก และอดทน ต่อการทำงาน อย่างไรก็ตาม หากมีการนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีเข้ามาใช้ใน อุตสาหกรรมเพื่อลดการจ้างงาน อาจช่วยลดปัญหาการขาดแคลนแรงงานไร้ทักษะ ลงได้ รวมถึงการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้มศี กั ยภาพมากขึน้ ช่วยให้อตั ราการว่างงาน ลดลง ก็จะส่งผลทำให้เศรษฐกิจของเชียงรายมีการขยายตัวมากขึ้น • อุปสงค์และอุปทานของแรงงานต่างด้าวภายในจังหวัดเชียงราย แนวโน้มอุปสงค์ของแรงงานต่างด้าวในจังหวัดเชียงรายมีการปรับตัวสูงขึ้น จากการที่มีการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ และจากการที่แรงงานไทยได้รับการศึกษา มากขึ้น ทำให้มีความต้องการในการใช้แรงงานน้อยลง ขณะเดียวกันอุปทานของแรง งานต่างด้าวขึน้ อยูก่ บั อัตราค่าจ้างทีจ่ ะต้องมีการปรับให้สงู ขึน้ เทียบเท่ากับแรงงานไทย หรือให้น้อยกว่ากันไม่มากนัก เนื่องจากแรงกดดันจากปัจจัยผลักน้อยลงทำให้ขาด แรงจูงใจในการเข้ามาทำงานในประเทศไทย อย่างไรก็ตาม แรงงานที่เข้ามาทำงาน ในจังหวัดเชียงรายส่วนใหญ่มาจากรัฐฉานซึ่งส่วนใหญ่เป็นชนกลุ่มน้อย หากรัฐบาล เมียนมายังไม่มีมาตรการที่ดีพอในการลดความขัดแย้งลง อาจสร้างแรงจูงใจให้คน กลุ่มนี้เข้ามาทำงานในประเทศไทยเพิ่มขึ้น

ข้อสรุปและเสนอแนะ

การเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนยังไม่ได้สร้างผลกระทบที่ชัดเจนทาง เศรษฐกิจต่อจังหวัดเชียงรายมากนัก ขณะเดียวกัน จำนวนแรงงานต่างด้าวที่ได้รับ อนุญาตให้ทำงานยังคงมีจำนวนเท่าเดิม แต่มีปัจจัยภายนอกอีกหลายอย่างที่จะต้อง นำมาพิจารณา คือ การที่ประเทศเมียนมามีการพัฒนามากขึ้นอาจเป็นเหตุผลที่ทำให้

I 200 I


สำนักงานเศรษฐกิจชายแดนและโลจิสติกส์

จำนวนแรงงานต่างด้าวในประเทศไทยไม่ได้เพิ่มขึ้น และมีแนวโน้มที่จะลดลง เนื่อง จากการพัฒนาและแรงดึงดูดจากประเทศต้นทางที่มากขึ้น ในขณะที่เชียงรายเองก็ มีความต้องการที่จะจ้างแรงงานต่างด้าวเพิ่มขึ้นจากการที่แรงงานไทยปฏิเสธการทำ งานระดับล่างทำให้เกิดปัญหาการขาดแคลนแรงงานไร้ทักษะโดยเฉพาะอย่างยิ่ง หากมีการจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษขึ้นปัญหานี้จะยิ่งรุนแรงขึ้นเนื่องจากแรงงานต่าง ด้าวเองก็มีการเรียกร้องค่าจ้างที่สูงขึ้นซึ่งเป็นสิ่งที่ผู้ประกอบการจะต้องเตรียมความ พร้อมในการรับมือ ทัง้ นี้ รัฐบาลควรเข้ามาช่วยแก้ไขโดยการสนับสนุนให้เกิดเทคโนโลยี ใหม่ การนำนวัตกรรมเข้ามาใช้ในภาคการผลิต รวมถึงการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้ มีศักยภาพที่สูงขึ้น เป็นการปรับเศรษฐกิจของประเทศให้เข้าสู่การเป็นประเทศแห่ง เทคโนโลยีแทนการพึ่งพาแรงงานในการผลิตอย่างเข้มข้น

เอกสารอ้างอิง

กรมอาเซียน กระทรวงการต่างประเทศ (2558) ประชาคมอาเซียน (ASEAN Com munity). สืบค้นเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2559, จาก http://www.mfa.go.th/ asean/contents/files/asean-media-center-20121126-190330 788160.pdf ชัยพงศ์ สำเนียง (ม.ป.ป) ความย้อนแย้งของแรงงานต่างด้าว: มนุษย์ล่องหนไร้ตัวตน หรือฟันเฟืองสำคัญ ทางเศรษฐกิจ?. สืบค้นเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2559, จาก http://www.siamintelligence.com/thai-labor-migration-status นุชจรี วงษ์สันต์ (2559) ทิศทางและการพัฒนาประเทศตามนโยบายของรัฐบาลและ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12. สำนักงานคณะกรรมการ พัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. ศิวิไล ชยางกูร (2555) แรงงานข้ามชาติกับความต้องการดูแลผู้สูงอายุในประเทศไทย. มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา สิริรัฐ สุกันธา (2557) การเคลื่อนย้ายแรงงานข้ามชาติสัญชาติพม่าในเขตภาคเหนือ ตอนบนของประเทศไทย. Journal of Economics 2557, 18/1 (มกราคม มิถุนายม) : 59-61

I 201 I


OBELS OUTLOOK 2016

สุภาพรรณ วัฒนาอุดมชัย (2555) มองเศรษฐกิจการเงินพม่าหลังเปิดประเทศ. ธนาคาร แห่งประเทศไทย สำนักงานภาคเหนือ สำนักงานแรงงานจังหวัดเชียงราย (2559) รายงานสถานการณ์แรงงานจังหวัดเชียงราย ไตรมาส 1 ปี 2559 (มกราคม - มีนาคม). เชียงราย: สำนักงานแรงงานจังหวัด เชียงราย. สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติสำนักนายกรัฐมนตรี (2554) แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับทีส่ บิ เอ็ดพ.ศ. 2555 - 2559. สืบค้นเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2559, http://art-culture.cmu.ac.th/imag es/uploadfile/depfile-150910140608.%E0%B8%A8 อัมพกา มาตา (ม.ป.ป) การศึกษาแรงงานข้ามชาติในจังหวัดเชียงราย.ศูนย์ขอ้ มูลภูมภิ าค และท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย International Fund for Agricultural Development (ม.ป.ป). Rural poverty in the Republic of the Union of Myanmar. สืบค้นเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2559, จาก http://www.ruralpovertyportal.org/country/home/tags/ myanmar Thai PBS (2556) ASEAN Beyond 2015 แรงงานพม่ากลับบ้าน. กรุงเทพ, ประเทศไทย : Thai PBS United Nations Development Programme. (2013) Human development report 2013. New York USA : United Nations Development Programme (UNDP) World Bank. (2016) Myanmar : Analysis of farm production economics. Washington USA: The International Bank for Reconstruction and Development การสัมภาษณ์ พลวัต ตันศิริ. ประธานหอการค้าจังหวัดเชียงราย. สัมภาษณ์วันที่ 8 สิงหาคม 2559

I 202 I


สำนักงานเศรษฐกิจชายแดนและโลจิสติกส์

ส่วนที่ 4 ประวัติศาสตร์เศรษฐกิจชายแดน

I 203 I


OBELS OUTLOOK 2016

I 204 I


สำนักงานเศรษฐกิจชายแดนและโลจิสติกส์

ประวัติศาสตร์เศรษฐกิจชายแดนเชียงราย ก่อนยุคโลกาภิวัตน์ สิทธิชาติ สมตา, พรพินันท์ ยี่รงค์, ไอรดา วางกลอน และณัฐพรพรรณ อุตมา

ประวัติศาสตร์เศรษฐกิจก่อนยุคฟื้นฟูเชียงราย

พระยาพรหม (พระพรหมมหาราช) เป็นโอรสพระยาพังคราชเจ้าเมืองโยนก (อยู่ในเขตอำเภอเชียงแสนปัจจุบัน) ผู้ทรงกอบกู้อิสรภาพของชาติไทยให้รอดพ้น จากการรุกรานย่ำยีของพวกขอมได้เมื่อปีพ.ศ.1479 โดยหลังการขับไล่ขอมพระพรหม ทรงพยายามสร้างมิตรระหว่างเมืองพี่เมืองน้อง เช่น เมืองไชยนารายณ์ เพื่อความ มั่นคงในการปกครอง นอกจากนี้ยังเป็นนักการเศรษฐกิจและการค้า ด้วยการพัฒนา โครงสร้างพื้นฐาน ได้แก่ ถนน ให้เชื่อมต่อกันในทุกหมู่บ้านทุกเมือง ซึ่งจะเห็นได้จาก ถนนระหว่างแม่สาย – เชียงแสนที่ยังมีปรากฏจนถึงทุกวันนี้ ไปมาค้าขายและการ เดินทางสะดวกมากขึ้น และพระองค์ยังเป็นนักการเกษตร โดยพระองค์ได้ขยาย เมืองและพัฒนาพื้นที่บริเวณตีนดอยเวา เพื่ออพยพผู้คนเข้ามาทำการเกษตรและมี การขุดคันคูเพื่อกักเก็บน้ำไว้ในการเกษตร เลี้ยงปลา ส่งผลให้อาหารและน้ำมีความ อุดมสมบูรณ์มากขึ้น

I 205 I


OBELS OUTLOOK 2016

ก่อนถึงช่วงการสร้างอาณาจักรของพระยามังรายจะกล่าวถึงช่วงการพัฒนา ของกลุ่มพระเจ้าสิงหนวติกุมาร ซึ่งเป็นรอยต่อสำคัญต่อการพัฒนาและการสร้าง อาณาจักรของพระยามังราย ด้วยการพัฒนาของกลุ่มพระเจ้าสิงหนวติกุมารได้มีการ การขยายตัวเข้ามาในเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำกก ต่อมาได้ตั้งเมืองนาคพันธ์โยนกบนฝั่ง แม่น้ำกก และพระเจ้าสิงหนวติกุมารมีความสัมพันธ์อันดีต่อกลุ่มลัวะและไตในเขต ที่ราบลุ่มแม่น้ำกกนั้นมีหลักฐานว่า พวกลัวะ ตั้งถิ่นฐานอยู่ตามเชิงเขากลุ่มที่สำคัญ คือ ปู่เจ้าลาวจก ตั้งเมืองในแถบดอยตุง ลัวะ20 มีความสัมพันธ์กับชุมชนในเขตพื้น ราบในทางด้านเศรษฐกิจ เพราะมีหลักฐานกล่าวถึงการแลกเปลี่ยนพืชไร่ระหว่าง พวกลาวจก21กับพวกขอมชาวเมือง ท่ามกลางพัฒนาการทางการเมืองที่สำคัญของ กลุ่มปู่เจ้าลาวจก จากในเขตที่สูงลงมาในเขตพื้นราบ แล้วสร้างศูนย์กลางอยู่ที่เมือง หิรัญนครเงินยาง (อำเภอเชียงแสนในปัจจุบัน) ซึ่ง จิตร ภูมิศักดิ์ สันนิษฐานว่า พัฒนาการของกลุ่มลาวจังกราชในการสร้างเมืองหิรัญนครเงินยางนั้นเป็นพัฒนาการ ที่มีความต่อเนื่อง และมีความสำคัญขึ้น การพัฒนาอาณาจักรล้านนาไทยของพระยา มังราย กล่าวคือ จากเมืองนาคพันธ์โยนก ได้มีการขยายเมืองออกไปโดยทั่วในเขตที่ ราบลุ่มแม่น้ำกก ในรูปแบบของการสร้างบ้านแปลงเมือง เมืองเหล่านี้ต่อมากลาย เป็นฐานอำนาจที่สำคัญของพระยามังรายในการสร้างอาณาจักรล้านนา พระยามังราย พระองค์ทรงเป็นโอรสของท้าวลาวเมงและนางเทพคำขยาย ซึ่งเป็นพระธิดาของเมืองเชียงรุ่ง ทรงเป็นผู้ปกครองคนสำคัญในการสถาปนาอำนาจ 21

ชาวลัวะ หรือ ชาวละว้า เป็นกลุ่มชนออสโตรนีเซียนและเรียกตัวเองว่า “ละเวียะ” ถิ่นกำเนิดที่แท้จริงยังไม่ทราบแน่ชัด แต่ เป็นที่เชื่อกันว่าอพยพมาจากทางตอนใต้ของไทย มลายา หรือ เขมร เมื่อประมาณ 2,000 ปีมาแล้ว บางคนเชื่อว่า พวกลัวะ เป็น เชื้อสายเดียวกับพวกว้าที่อยู่ทางภาคเหนือของเมียนมาร์และตอนใต้ของมณฑลยูนนานในประเทศจีน เพราะมีความคล้ายคลึง กันทางด้านภาษา ลักษณะรูปร่างและการแต่งกาย 22 คำว่า ลาว (ในชื่อลาวจก) หมายถึงผู้เป็นใหญ่ หรือกษัตริย์ แต่นักปราชญ์บางท่านว่ามาจากคำว่า ลัวะ หรือละว้า หมายถึงกลุ่มชนพูดภาษาตระกูลมอญ-เขมร คำว่า จก (ในชื่อลาวจก) แปลว่า จอบ (ทำด้วยเหล็ก ใช้ขุดดิน เฮ็ดไฮ่บนที่สูง) หมายความว่าปู่เจ้าควบคุมเทคโนโลยีถลุงโลหะก้าวหน้าที่สุดของยุคนั้น แล้วมีเครื่องมือการผลิตก้าวหน้ากว่าคนอื่นๆ http:// www.matichon.co.th/news/19257

I 206 I


สำนักงานเศรษฐกิจชายแดนและโลจิสติกส์

ของราชวงค์สายลาวจังกราช พระยามังรายขึ้นครองราชย์ต่อจากพระบิดา เมื่อปีพ.ศ. 1802 เมืองต่างๆที่เคยอยู่ใต้อำนาจของหิรัญนครเงินยางกลับแตกแยก แย่งชิง และ รุกรานกันเสนอ จึงทำให้พระยามังรายจัดการปราบปรามเมืองต่างๆในบริเวณใกล้ ไกล ต่อมาในปีพ.ศ.1805 พระยามังราย ได้สร้างเมืองใหม่ขึ้นมานามว่า “เชียงราย” และสถาปนาให้เมืองเชียงรายเป็นศูนย์กลางแห่งใหม่แทนเมืองหิรัญนครเงินยาง เนื่องจากพระยามังรายไม่อาจขยายอาณาเขตอำนาจขึ้นไปทางเหนือเพราะเขตแดน ไปประชิดกับอาณาจักรสิบสองปันนาซึ่งที่ความสัมพันธ์ทางสายเลือดกับตัวพระยามังรายเอง และการย้ายเมืองหลวงมายังเชียงรายเพื่อหลบภัยจากมองโกลที่ขยาย อำนาจมาใกล้เมืองหิรัญนครเงินยาง ในขณะเดียวกันเชียงรายกลายเป็นฐานอำนาจ ที่สำคัญของพระยามังรายในการขยายอำนาจไปยังเมืองต่างๆ และมุ่งพัฒนาบ้าน เมืองให้ก้าวหน้าด้วยการสร้างกาดสร้างลี (ตลาด) เพื่อให้เศรษฐกิจภายในดีขึ้น บ้านเมืองจะได้มีทุนรอนในการจับจ่ายในการพัฒนา ทั้งนี้ในการปกครองของพระยามังรายนั้นได้ใช้มังรายศาสตร์ คือ ตรากฎหมายที่เป็นลายลักษณ์อักษรไว้สำหรับให้ “ท้าวขุน” ซึ่งหมายถึงขุนนางผู้ปกครองบ้านเมือง ได้ใช้เป็นข้อวินิจฉัยถ้อยความ และตัดสินคดีความของประชาชนที่มีข้อพิพาทต่อกัน ประชาชนไม่จำเป็นต้องรอให้ พระยามังรายตัดสินคดี ซึ่งผลการบังคับใช้กฎหมายเป็นเอกภาพตลอดทั่วพระราช อาณาจักร และการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างเมืองมิตรและเมืองพี่เมืองน้องนั้นใช้ การสร้างความสัมพันธ์ทางเครือญาติ 2 รูปแบบคือ การแต่งงานระหว่างเมืองและ การส่งลูกไปปกครองเมืองต่างๆ บทบาททางการค้าในช่วงพุทธศตวรรษที่ 19-22 นัน้ เป็นการค้าทีเ่ กิดจากความ สัมพันธ์ระหว่างเมืองทางตอนบนกับเมืองท่าทางตอนล่าง เมืองทางตอนบนทำหน้าที่ ในการส่งสินค้าจากเมืองทางตอนในลงมาขายที่เมืองท่าทางตอนล่าง และที่เมืองท่า เหล่านี้มีพ่อค้าจากที่ต่างๆ ทั้งภายในและภายนอกเอเซียอาคเนย์ พ่อค้าเหล่านี้เดิน ทางเข้ามาซื้อสินค้าจากเอเซียตะวันออกเฉียงใต้และในขณะเดียวกันก็นำสินค้าจาก เมืองของตนหรือเมืองที่ผ่านมาขาย สินค้าเหล่านี้จะถูกเข้ามาขายยังเมืองทางตอนบน

I 207 I


OBELS OUTLOOK 2016

การตั้งอาณาจักรล้านนาของพระยามังรายได้คำนึกถึงเหตุผลทางเศรษฐกิจ ด้วย เพราะการขยายตัวทางการค้าเป็นแรงกระตุ้นที่ก่อกำเนิดอาณาจักรล้านนา เนื่องจากการสร้างเมืองบนเส้นทางการค้าเป็นสิ่งจำเป็นต่อความต้องการขยาย อาณาเขตเข้าครอบครองดินแดนที่มีความเจริญทางเศรษฐกิจและเป็นศูนย์กลาง การค้า ฉะนั้นการที่ผนวกอาณาจักรหริภุญไชย เพราะว่าเมืองหริภุญไชยเป็นศูนย์ กลางการค้าของป่าที่สำคัญ โดยอาศัยแม่น้ำปิงเป็นเส้นทางผ่านสินค้าจากเมือง ตอนในภาคพื้นทวีปออกสู่เมืองท่าใกล้ทะเล ซึ่งการค้าในสมัยหริภุญไชยเน้นการค้า กับเมืองท่าด้านอ่าวไทย และในสมัยพญามังรายได้ยกทัพไปเมืองหงสาวดี ศูนย์การค้า ของมอญ ในครัง้ นัน้ ทรงได้นางพายโคกลับมาสะท้อนความสนใจต่อการเชือ่ มเส้นทาง ทางการค้าจากล้านนาไปสูท่ ะเลด้านอ่าวเมาะตะมะ และในทีส่ ดุ เส้นทางการค้าสายหลัก จากเชียงใหม่สู่หัวเมืองมอญใช้อย่างแพร่หลาย เนื่องจากเส้นทางการค้าจากลำพูน – เชียงใหม่ออกสู่ทะเลด้านอ่าวเมาะตะมะใกล้และสะดวกกว่าด้านอ่าวไทย จึงทำให้ มีพ่อค้าจากเมืองต่างๆเดินทางมาค้าขายทั้งทางบกและทางน้ำ จนกระทั่งถึงสมัย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเก้าเจ้าอยู่หัวถูกลดบทบาทและยุติลง เ ชี ย ง แ ส น เ ป็ น เมืองท่าสำคัญในการค้าขายกับเมืองทางตอนบน สินค้าที่ได้จากการนำเข้าจากนอก เมืองมาจาก 2 ทางคือ จากเมืองท่า เช่น สินค้าผ้าจากอินเดีย เป็นต้น กับสินค้าที่ มาจากเมืองทางตอนบน ทำให้เชียงแสนอยู่ในฐานะเป็นศูนย์กลางการค้าในเขตที่ ราบลุ่มแม่น้ำกก คือทำหน้าที่รับและส่งสินค้า คู่กับเมืองเชียงใหม่ซึ่งเป็นศูนย์กลาง ล้านนาตอนล่าง ซึ่งสินค้าต่างๆจะถูกส่งจากแหล่งผลิตมายังล้านนาไทย อาจเป็นการ ส่งต่อมาจนถึงเชียงใหม่ เห็นได้จากกรณีที่พ่อค้าจากเชียงแสนนำหม้อแสนเหลือง มาขายที่เชียงใหม่ปรากฎว่าหม้อทองเหลืองนี้เป็นสินค้าที่ส่งมาจากยูนนานที่เมือง เชียงแสนนี้ มีหลักฐานว่า พ่อค้าจากน่านนำสินค้าขึ้นมาขายมากมายหลายพวก เชียงแสนจึงอาจเป็นศูนย์กลางทางการค้าของล้านไทยในเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำกก และ คอยรับสินค้าจากเขตทางตอนบนเพื่อส่งมาขายต่อยังเชียงใหม่ นอกจากการส่งสินค้า แล้วยังมีพ่อค้าจากยูนนานซึ่งมีหลักฐานปรากฎว่ามีกองคาราวานพ่อค้า เดินทางจาก ยูนนานลงมาค้าขายที่เชียงใหม่ทุกปี พ่อค้าเหล่านี้จะนำสินค้ามาขายและจะซื้อสินค้า

I 208 I


สำนักงานเศรษฐกิจชายแดนและโลจิสติกส์

ที่เป็นที่ต้องการกลับไปขายทางตอนบน สินค้าที่พ่อค้าจากเขตทางตอนบนต้องการ มาก ได้แก่ พวกอาหาร คือข้าว และสินค้าฟุ่มเฟือย เช่น สินค้าผ้า จะขายดีมาก มี หลักฐานสมัยรัตนโกสินทร์ว่า กองคาราวานจากยูนนานนำทองแดงและผ้าไหมมา แลกเปลี่ยนสินค้าผ้าจากอาณาจักรล้านนาไทย ลักษณะการค้าในอาณาจักรล้านนา เป็นรัฐที่มีเกษตรกรรมเป็นพื้นฐานสำคัญ และมีการค้าระหว่างรัฐเป็นจุดเสริมการเกษตรกรรมในระบบเศรษฐกิจแบบพอยังชีพ โดยเมืองในอาณาจักรล้านนาทีเ่ หมาะสมกับการค้ามี 2 จุดหลัก ได้แก่ 1) เมืองเชียงใหม่ อาศัยแม่น้ำปิงเป็นเส้นทางการค้าไปสู่เมืองทางใต้ การมีลักษณะเป็นการส่งต่อเป็น ทอดๆ ในโคลงมังรายรบเชียงใหม่ได้กล่าวถึงเมืองฮอดซึ่งอยู่ริมน้ำปิง เป็นจุดที่มีการ รับส่งสินค้ากันชุกชุม พ่อค้าจากกรงศรีอยุธยาก็มาค้าถึงที่นั่น อย่างไรก็ตาม เส้นทาง การค้าสายสำคัญยิง่ กว่าคือ จากต้าหลีใ่ นยูนนานลงมาเชียงแสน เชียงใหม่ ต่อไปเมือง ระแหง และเมืองเมาะตะมะ เพราะมีเครือข่ายไกลมากจากเมืองตอนในภาคพื้นทวีป ไปออกเมืองท่าทางทะเลในเขตหัวเมืองมอญ 2) เมืองเชียงแสน ตั้งอยู่บนเส้นทาง การค้าทีเชื่อมต่อระหว่างเชียงใหม่กับเมืองทางตอนบน คือ รัฐฉาน เมืองเชียงตุง เมืองสิบสองปันนา ยูนนาน และเมืองน่าน ตลอดจนหลวงพระบาง เมืองเชียงแสน ทำหน้าทีส่ ง่ ผ่านสินค้าลงสูเ่ ชียงใหม่ และผ่านไปเมืองท่าตอนล่าง บนเส้นทางการค้ารัฐ ล้านนากำหนดให้มนี ายด่าน (นายเกิน นายอ่าย) คอยตรวจตราคนเดินทางและพ่อค้า นอกจากสองเมืองหลักแล้ว เมืองขนาดเล็กในล้านนาต่างก็ทำการค้าภายในระหว่าง เมืองต่างๆ และค้าขายภายนอกกับพ่อค้าต่างชาติ ดังพบชื่อเมืองที่พ่อค้าฮ่อจากจีน ยูนนานนำกองคาราวานมาค้ากับเมืองทางตอนล่าง ประกอบด้วยน่าน พะเยา เชียงใหม่ เวียดนามตอนเหนือ เมืองในเขตลุ่มน้ำอิรวดี หลวงพระบาง เวียงจันทร์ แสดงว่าเส้น ทางการค้าจากยูนนานลงมามีหลายเส้นทาง และเมืองน่าน แพร่ พะเยา อาจส่งผ่าน สินค้าลงเมืองท่าโอยไม่ต้องผ่านเชียงใหม่ก็ได้22 22

สรัสวดี อ๋องสกุล, ประวัติศาสตร์ล้านนา, (กรุงเทพมหานคร: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน), 2551), น. 218-219

I 209 I


OBELS OUTLOOK 2016

หลังจากพระยามังรายสวรรคตในปีพ.ศ.1860 เชียงรายจึงถูกลดฐานะจากเมือง ราชธานีกลายเป็นเมืองลูกหลวงที่ปกครองโดยเจ้านายเชื้อราชวงค์สำคัญและในที่ สุดก็ถูกลดฐานะกลายเป็นเพียงเมืองหน้าด่านที่ต้องเผชิญกับการรุกรานของรัฐไทย ใหญ่ ไทลื้อ และอาณาจักรล้านช้างอยู่เสมอ จนกระทั่งเมืองเชียงรายเข้าสู่ภาวะ สงครามโดยถูกยึดครองเป็นของพม่าในปีพ.ศ.2101 และสามารถยึดครองกลับมา ได้ช่วงปีพ.ศ.2317 จากสภาวะสงครามเรื้อรังส่งผลให้ประชาชนกระจัดกระจายหนีภยั สงครามออกไปยังเมืองต่างๆ ทำให้เชียงรายเข้าสู่เมืองร้างก่อนเข้าสู่ยุคฟื้นตัวและ การพัฒนา

ประวัติศาสตร์เศรษฐกิจยุคฟื้นตัวและการพัฒนา เมืองเชียงราย พ.ศ. 2389 – 2476

จากสภาวะสงครามเชียงรายประสบปัญหาการลดจำนวนประชากรลงอย่าง มาก และเป็นปัญหาที่จำกัดการเติบโตของเชียงรายมาเป็นระยะเวลานาน การฟื้นฟู เมืองเชียงรายได้เริ่มต้นอีกครั้งในปีพ.ศ.2386 จากเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่และลำปาง ขอพระราชทานตั้งเมืองขึ้นใหม่พร้อมกัน ประกอบด้วย เชียงราย พะเยา และงาวใน สมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 3 โดยเจ้าเมืองเชียงใหม่มโหตร ประเทศส่งเจ้านายบุตรหลานสายเจ้าเจ็ดตนพาไพร่พลไปตั้งเมืองเชียงราย เนื่องจาก เป็นเมืองชายแดนตอนเหนือที่สำคัญ หากการปล่อยให้หัวเมืองต่างๆ ยังคงเป็นเมือง ร้างจะส่งผลอันตรายต่อล้านนา เนื่องจากพม่ายังคงมีอิทธิพลอย่างมากในทางตอน เหนือแถบดินแดนไทลื้อ สิบสองปันนา เชียงตุง โดยให้เจ้าธรรมลังกาเป็นเจ้าเมือง เชียงราย และได้ก่อสร้างกำแพงเมืองเชียงรายในปีพ.ศ.2400 และพ.ศ.2404 เมือง เชียงรายจึงค่อยๆฟื้นตัวกลับเป็นบ้านเมือง ซึ่งในขณะนั้นเมืองชายแดนเชียงของอยู่ ภายใต้การปกครองของเมืองน่าน ต่อมาในปีพ.ศ.2422-2423 พระเจ้าอินทวิชยานนท์ ส่งเจ้าอินต๊ะมาครองเมืองเชียงแสน และต่อสู้จากการคุกคามของเชียงตุง ทั้งนี้ด้วย การสนับสนุนจากเชียงใหม่และเชียงรายทำให้เชียงแสนฟื้นตัวอย่างช้าๆ เนื่องจาก เป็นเมืองชายแดนที่มีผู้คนน้อย

I 210 I


สำนักงานเศรษฐกิจชายแดนและโลจิสติกส์

นอกจากนี้ ยังสอดรับกับนโยบายการจัดการจากกรุงเทพทีม่ กี ารเกณฑ์ขา้ ราชการ พร้อมไพร่พลเข้ามาตั้งถิ่นฐานที่เชียงราย เพื่อรื้อฟื้นเชียงรายในฐานะเมืองหน้าด่าน ขึ้นอีกครั้ง เพราะทางรัฐบาลกรุงเทพ ให้ความสำคัญกับการป้องกันอำนาจพม่าที่ อาจขยายเข้ามาในบริเวณพรมแดนทางเหนืออย่างมาก ซึ่งเป็นการจัดการปกครอง แบบรวมศูนย์อำนาจ ลดอำนาจเจ้านายผู้ปกครองและส่งข้าราชการจากกรุงเทพเข้า ไปปกครองแทน และเชียงรายในตอนนี้จึงถูกกำหนดโดยนโยบายจากกรุงเทพและ การเมืองระหว่างประเทศมากขึ้นกว่าเดิม ทั้งนี้ภายในการทำสนธิสัญญาเชียงใหม่ฉบับที่ 1 ระหว่างสยามกับอังกฤษใน ช่วงปีพ.ศ.2416 มีสาระสำคัญเกี่ยวกับการค้าระหว่างหัวเมืองในปกครองอังกฤษและ ร่วมมือกันป้องกันโจรผู้ร้าย พร้อมกับพิจารณาคดีความที่ เกิดขึ้นระหว่างคนในบังคับ ของอังกฤษกับคนเชียงใหม่ซงึ่ อยูใ่ นราชอาณาจักรสยาม ต่อมาในปีพ.ศ.2426 สยามกับ รัฐบาลอังกฤษ ได้ตกลงทำสนธิสัญญาเชียงใหม่ฉบับที่ 2 ขึ้น เพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิด ขึ้นระหว่างคนในบังคับอังกฤษที่เข้ามาค้าขายและสัมปทานทำไม้ในเขตแดนเมือง เชียงใหม่ ซึ่งการทำสนธิสัญญาทั้ง 2 ฉบับดังกล่าวทางเชียงรายไม่ได้เข้าไปมีส่วนร่วม แต่อย่างใด เชียงรายเริ่มมีบทบาททางการเมืองที่ชัดเจนในฐานะเมืองชายแดนที่สำคัญ ในช่วงปีพ.ศ.2427 อังกฤษประกาศสงครามกับพม่า ทางรัฐบาลกรุงเทพจึงส่งทหาร เข้ามาป้องกันไม่ให้คนภายนอก โดยเฉพาะจากหัวเมืองทางเหนือล่วงล้ำเขตแดน เข้ามาตัง้ ถิน่ ฐานในเชียงรายบริเวณท่าขีเ้ หล็กเวียงพาน และในปีพ.ศ.2428 พม่าพ่ายแพ้ แก่อังกฤษ เช่นเดียวกันได้เกิดการอพยพของผู้คนตลอดเวลาทำให้เชียงรายขยายตัว ออกไปอย่างรวดเร็ว หมู่บ้านใหม่ๆ เกิดขึ้นตามลำห้วรอบตัวเมือง และขยายตัวออก ไปเหมือนไม่มีวันสิ้นสุด ซึ่งประชากรของเชียงรายที่เพิ่มขึ้นจากการอพยพเข้ามานี้ มากกว่าอัตราการเพิ่มของประชากรตามปกติที่เข้ามาตั้งถิ่นฐานในยุคเริ่มต้นของ การฟื้นตัว

I 211 I


OBELS OUTLOOK 2016

เมื่อพม่าตกเป็นอาณานิคมของอังกฤษและได้เข้ามาแสวงหาผลประโยชน์ทาง ด้านการเมืองและเศรษฐกิจในภาคเหนือของไทย เนือ่ งจากเชียงรายตัง้ อยูบ่ นเส้นทาง การค้าเข้าสู่รัฐไทยใหญ่และภาคใต้ของจีน และปัญหาที่เกิดขึ้นจากการแทรกแซงทาง การเมืองของอังกฤษต่อเชียงรายก็คือ การที่ศาลปกครองของเชียงรายไม่มีสิทธิใน การตัดสินคดีความของคนในบังคับอังกฤษเป็นผลมาจากสนธิสัญญาเชียงใหม่ฉบับที่ 2 และมีกงสุลอังกฤษที่นครเชียงใหม่คอยดูแลคุ้มครอง ส่งผลให้เกิดการก่อการร้าย จากกลุ่มไทใหญ่ที่เป็นคนในบังคับอังกฤษในสามหัวเมืองทั้งที่เมืองฝาง เชียงแสน และ เชียงราย ความเป็นเมืองชายแดนและความสำคัญทางการเมืองของเชียงราย ทำให้เกิด การเคลื่อนย้ายของกลุ่มชาติพันธ์กับเข้าตั้งถิ่นฐาน และการเข้ามาของข้าราชการ จำนวนมากในเชียงราย ส่งผลเชียงรายได้รับการพัฒนามากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นในเรื่อง ของการปรับปรุงการคมนาคม และการสื่อสาร (โทรเลข) ในปีพ.ศ.2443 และในปี พ.ศ.2446 มีการสร้างถนนเชื่อมระหว่างเชียงใหม่ – เชียงราย เป็นเส้นทางที่เมือง เชียงรายใช้ติดต่อกับโลกภายนอกทั้งทางขบวนม้า วัว เกวียน และคนแบกหามและ คนเดินทางทั่วไป จึงทำให้อังกฤษมองเห็นสำคัญของเชียงรายทางด้านศักยภาพทาง การค้าจากการสำรวจของกงสุลอังกฤษที่เชียงใหม่ในปีพ.ศ.2447 เนื่องจากเป็นศูนย์ รวมของคาราวานจากยูนนาน รัฐไทยใหญ่ สินสองปันนา และลาว ในปีต่อมารัฐบาล อังกฤษได้ส่งผู้ช่วยกงสุลขึ้นไปประจำที่เชียงราย เพื่อดูแลคนในบังคับอังกฤษและ ผลประโยชน์ทพ่ี ง่ึ รักษาของอังกฤษ เนือ่ งจากกงสุลอังกฤษคาดการณ์ถงึ ศักยภาพทาง การค้าที่จะเพิ่มขึ้นหากได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐด้วยการสร้างทางเกวียนและ ทางรถไฟ ด้วยการเข้ามาของกงสุลอังกฤษในเชียงราย ทำให้รฐั บาลจำเป็นต้องจัดการ ปกครองเชียงรายให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นในปีพ.ศ.2449 ด้วยการรวมเมืองบริเวณ เชียงใหม่เหนือที่มีเชียงรายเป็นศูนย์กลางเข้ากับเมืองเชียงคำ เชียงของ ดอกคำใต้ แม่ใจ จนกระทั่งในปีพ.ศ.2453 เชียงรายได้รับยกฐานะเป็นเมืองจัตวา นับรวมอยู่ใน พระราชอาณาจักรสยาม ซึ่งกิจการต่างๆ อันเกี่ยวเนื่องด้วยการปกครอง กฎหมาย

I 212 I


สำนักงานเศรษฐกิจชายแดนและโลจิสติกส์

และการค้าก็เปลี่ยนแปลงไปจากการปฏิบัติแบบกึ่งจารีตประเพณีในสมัยที่เป็นมณฑล และมณฑลเทศาภิบาลมาเป็นแบบหัวเมืองชั้นในสยาม และเป็นที่ตั้งของศาลเมือง และศาลต่างประเทศ ทำให้เชียงรายมีความสำคัญมากขึ้น ในที่สุดเมื่อมีการยกเลิก มณฑลในปีพ.ศ.2476 เชียงรายก็อยู่ในฐานะจังหวัดหนึ่งของไทย

ประเภทการค้าชายแดน ทั้งในระบบและนอกระบบ

ผลกระทบจากการทำสนธิสัญญาเบาว์ริงในปีพ.ศ. 2398 ช่วงยุคสมัยของ รัชกาลที่ 4 ส่งผลต่อรูปแบบการค้าและการใช้ชีวิตของประชาชนเมืองเชียงราย อย่างมาก นอกจากการเพิ่มจำนวนการเรียกเก็บภาษีจากราษฎรแล้ว การหลั่งไหล เข้ามาของกลุม่ พ่อค้าและสินค้าจากต่างชาติกเ็ พิม่ มากขึน้ อย่างต่อเนือ่ ง เนือ่ งจากการ ทำข้อตกลงเปิดเสรีทางการค้าระหว่างราชอาณาจักรสยามและสหราชอาณาจักร โดยมีสาระสำคัญดังนี้ 1. คนในบังคับของอังกฤษจะอยู่ภายใต้อำนาจควบคุมของกงสุลอังกฤษและได้ สิทธิสภาพนอกอาณาเขต 2. คนในบังคับอังกฤษได้รับสิทธิในการค้าขายอย่างเสรีในเมืองท่าทุกแห่งของ ประเทศสยาม 3. ยกเลิกค่าธรรมเนียมปากเรือและกำหนดอัตราภาษีขาเข้าและขาออกชัดเจน โดยอัตราภาษีขาเข้าของสินค้าทุกชนิดกำหนดไว้ที่ร้อยละ 3 (ยกเว้นฝิ่น เงินทองและข้าวของเครือ่ งใช้ของพ่อค้า) และสินค้าส่งออกให้มกี ารเก็บภาษี ชั้นเดียว โดยเลือกว่าจะเก็บภาษีชั้นในหรือภาษีส่งออก 4. พ่อค้าชาวอังกฤษได้รับอนุญาตให้ซื้อขายโดยตรงกับเอกชนสยาม หากพ่อ ค้าชาติอื่นได้รับสิทธิพิเศษเพิ่มเติม อังกฤษจะได้สิทธิพิเศษนั้นด้วย 5. รัฐบาลสยามสามารถสงวนสิทธิ์ในการห้ามส่งออกข้าว เกลือและปลา เมื่อ สินค้าดังกล่าวขาดแคลนในประเทศ

I 213 I


OBELS OUTLOOK 2016

จึงส่งผลให้ประเทศสยามต้องยกเลิกระบบการค้าผูกขาดของพระคลังสินค้า ทำให้รายได้ของรัฐบาลในช่วงนั้นลดลงอย่างมาก การเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ส่งผลกระทบ ไปยังหัวเมืองต่างๆรวมถึงเมืองเชียงรายด้วย เนื่องจากเชียงรายในช่วงปีพ.ศ.2386 ยังถูกปกครองในฐานะเมืองบริวารของเมืองเชียงใหม่ แต่เดิมที่เศรษฐกิจของเมือง เชียงรายเป็นเศรษฐกิจแบบพึ่งพาตัวเอง ประชาชนส่วนใหญ่นิยมทำการเกษตร เพื่อหาเลีย้ งชีพ ก็ได้เปลีย่ นแปลงมาเป็นการผลิตเพือ่ การค้า เช่น เส้นทางการค้าวัวต่าง เชียงใหม่-เชียงราย โดยมีพ่อค้านำปลาแห้งจากเชียงราย มาแลกเปลี่ยนกับหมาก ผ้า เกลือ และสิ่งจำเป็นอื่นๆจากเชียงใหม่23 แต่เป็นการค้าเพียงเล็กๆน้อยๆ หรือเป็น เพียงอาชีพเสริมเท่านั้น ผลผลิตทางการเกษตรที่สำคัญของเมืองเชียงรายคือข้าว เนื่องจากเชียงราย มีพื้นที่ที่อุดมสมบูรณ์ เหมาะแก่การเพาะปลูกและเป็นเมืองที่มีพื้นที่ทำนามากที่สุด ในภาคเหนือ ทำให้ประชากรส่วนใหญ่นิยมปลูกข้าวเป็นอาชีพหลัก เชียงรายจึงกลาย เป็นเมืองอู่ข้าวอู่น้ำเนื่องจากมีปริมาณการผลิตข้าวที่เพิ่มมากขึ้นทุกปี หลังจากรัฐบาลมีการเปิดใช้เส้นทางคมนาคมที่สามารถเชื่อมต่อเมืองเชียงราย กับนครลำปาง ซึ่งเป็นเส้นทางที่สร้างขึ้นเพื่อเชื่อมต่อกับทางรถไฟสายเหนือ ลำปางเชียงใหม่ ข้าวจึงกลายเป็นสินค้าสำคัญที่เป็นที่ต้องการของคนต่างถิ่นรวมถึงตลาด ต่างประเทศ โดยในช่วงปีพ.ศ.2471-พ.ศ.2472 บริษัทอิสต์เอเชียติค เป็นบริษัทแรก ที่นำโรงสีข้าวมาตั้งที่บริเวณเมืองพะเยา เพื่อสีข้าวให้แก่คนงานป่าไม้และพนักงาน และหลังจากนั้นไม่นาน นายมุ่ย เตวิทย์ ก็ลงทุนตั้งโรงสีไฟที่อำเภอเมืองเชียงราย โดยการลงทุนครั้งนี้ถือเป็นจุดเริ่มต้นของอุตสาหกรรมแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร ในเมืองเชียงราย เมื่อการค้าข้าวเริ่มคึกคักขึ้นจึงมีบริษัทโรงสีไฟจินเส็งของกลุ่มพ่อค้า 23 24

สรัสวดี อ๋องสกุล, ประวัติศาสตร์ล้านนา, (กรุงเทพมหานคร: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน), 2551) สรัสวดี อ๋องสกุล, ประวัติศาสตร์ล้านนา, (กรุงเทพมหานคร: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน), 2551)

I 214 I


สำนักงานเศรษฐกิจชายแดนและโลจิสติกส์

ชาวจีนจากกรุงเทพขึ้นมาตั้งโรงสีที่บริเวณอำเภอพาน จากนั้นก็ขยายตัวไปตามแหล่ง ผลิตข้าวที่สำคัญ เช่น อำเภอแม่จัน และอำเภอเชียงคำ เมื่อมีการขยายตัวของโรงสี การขยายพื้นที่นา และผลผลิตก็เพิ่มขึ้นตามไปด้วย อาจกล่าวได้ว่าเศรษฐกิจของ เชียงรายตั้งแต่ปีพ.ศ.2470 เป็นต้นมา มีข้าวเป็นผลผลิตสำคัญในการขับเคลื่อนและ สร้างมูลค่าที่มีผลกระทบต่อเศรษฐกิจโดยตรง ซึ่งสถิติมูลค่าการค้าข้าวในประเทศไทย ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2470 เป็นต้นมานั้น ปริมาณการส่งออกข้าวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจนถึง ระดับ 2 ล้านตันในปี พ.ศ. 2520 (ช่วง 50 ปี) หรือมีอตั ราเพิม่ เฉลีย่ 1 ล้านตันต่อ 25 ปี (มูลนิธิข้าวไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์)25 นอกจากข้าวแล้ว เมืองเชียงรายยังมีสินค้าเกษตรชนิดอื่นและของป่าบาง ประเภทที่นิยมนำมาแลกเปลี่ยนซื้อขาย เช่น หนังสัตว์ สมุนไพร กระดูกเสือ ส่วนทาง แถบลุม่ แม่นำ้ อิงจะมีปลาก่อแห้ง ปลาบอกหรือปลาร้า ทีช่ าวบ้านนิยมหาบไปขายตาม เมืองต่างๆ อย่างไรก็ตาม การค้าขายในส่วนนี้เป็นเพียงอาชีพเสริมในช่วงฤดูกาลที่ ว่างจากการทำนาเท่านั้น การเพาะปลูกหรือการเลี้ยงสัตว์ยังไม่ใช่การผลิตเพื่อการค้า แต่จะเป็นการผลิตเพือ่ นำไปใช้ในครัวเรือน หรือใช้ในพิธกี ารสำคัญต่างๆ เช่น งานบวช งานขึ ้ น บ้ านใหม่ หรือการรับ รองแขกคนสำคัญ การค้าขายในช่ว งแรกๆ จึงมีไม่ มากนัก เป็นเพียงการค้าขนาดย่อมที่ใช้การแลกเปลี่ยนสินค้าแบบของแลกของ จึง ไม่ค่อยมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจโดยรวม ผลกระทบของการค้าหลังจากมีการเปิดเส้นทางที่เชื่อมโยงกับนครลำปาง– พะเยา – เชียงราย – แม่สาย เส้นทางที่สร้างขึ้นเพื่อเชื่อมต่อกับทางรถไฟสายเหนือ ลำปาง-เชียงใหม่ ในปีพ.ศ.2465 คือมีการหลั่งไหลเข้ามาของสินค้าที่ผลิตในโรงงาน อุตสาหกรรมมากขึ้น สินค้าเหล่านี้ถูกสั่งมาจากนครลำปางเพื่อนำมาจำหน่ายใน 25

มูลนิธิข้าวไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์, การค้าข้าว, http://www.thairice.org/html/aboutrice/about_rice8.htm.สืบค้น เมื่อ 18 พฤษภาคม พ.ศ.2559

I 215 I


OBELS OUTLOOK 2016

เชียงรายโดยพ่อค้าชาวจีน ซึ่งมีราคาถูกและเป็นสินค้าที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต ได้แก่ ไม้ขีดไฟ เกลือทะเล ตะปู เครื่องมือเครื่องใช้ที่ทำมาจากเหล็ก เช่น เลื่อยไม้ ค้อน สิ่ว โซ่ถ่วงแห ตะกั่วสำหรับลูกปืน กำมะถัน และดินประสิว นอกจากสินค้าอุตสาหกรรมแล้ว ยังมีผ้าทอจากโรงงานซึ่งเป็นสินค้าที่เป็นที่ ต้องการในท้องตลาดอย่างมาก เนื่องจากมีราคาถูกและมีความสะดวกในการใช้สอย มากกว่าผ้าพื้นเมืองที่ทอใช้เอง โดยกลุ่มพ่อค้าที่ครองตลาดผ้าทอคือพ่อค้าชาวอินเดีย ซึ่งนิยมนำเข้าผ้าแพรภัณฑ์มาจากต่างประเทศ นอกจากสินค้าทางการเกษตรแล้ว การค้าไม้ก็เป็นอีกหนึ่งธุรกิจที่เข้ามามี บทบาทต่อระบบเศรษฐกิจของเมืองเชียงราย ด้วยการเป็นเมืองที่มีทรัพยากรป่าไม้ที่ อุดมสมบูรณ์กว่า 2 ล้านไร่ เชียงรายจึงเป็นเมืองที่ดึงดูดนักลงทุนและบริษัทค้าไม้ จากต่างชาติ โดยในสมัยรัชกาลที่ 4 มีการลงทุนจากบริษทั อิสต์เอเชียติก เอ. อาฟริกนั บริษัทร่วมทุนระหว่างประเทศเดนมาร์กและประเทศฝรั่งเศส ที่ได้รับสัมปทานจาก รัฐสยามในการอนุญาตให้คา้ ไม้สกั ในเขตป่าไม้ และมีการจัดตัง้ สำนักงาน 2 แห่ง ได้แก่ บริเวณฝั่งแม่น้ำกก และทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำอิง อำเภอเทิง ในระยะแรก เชียงรายไม่ได้เข้ามามีบทบาทในการทำธุรกิจป่าไม้เหมือนเมือง อื่นๆ เนื่องจากพื้นที่ป่าไม้ของเชียงรายนั้นมีปริมาณไม้สักน้อย ซึ่งไม้สักถือเป็นไม้ที่มี มูลค่าและเป็นที่ต้องการของตลาดโลกมากกว่าไม้ชนิดอื่น นอกจากนี้เชียงรายยังมีข้อ จำกัดในการทำป่าไม้อีกหลายด้าน เช่น ปัญหาการขาดแคลนกำลังคน ปัญหาการคม นาคมและค่าใช้จ่ายการขนส่ง ซึ่งกล่าวได้ว่า การทำป่าไม้ในยุคนั้นเกิดผลประโยชน์ ทางเศรษฐกิจต่อเมืองเชียงรายน้อยมาก พื้นที่ในล้านนาที่มีการเติบโตของการทำป่าไม้ได้แก่ เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง แพร่ และน่าน โดยได้รับอนุญาตให้รับเช่าทำป่าไม้ หรือขอสัมปทานจากเจ้าของป่า

I 216 I


สำนักงานเศรษฐกิจชายแดนและโลจิสติกส์

หรือเจ้าเมืองโดยตรง ซึ่งผลประโยชน์ส่วนใหญ่ และทุกขั้นตอนการผลิตของการทำ ป่าไม้จะตกอยู่ในมือของบริษัทป่าไม้ประเทศอังกฤษ ตั้งแต่การเริ่มรับเช่าทำป่าไม้ การตั้งโรงงานเลื่อยไม้ การจำหน่ายไปจนถึงการขนส่ง เมื่อเปรียบเทียบค่าใช้จ่ายและต้นทุนต่างๆแล้วจึงพบว่ามีจำนวนเงินมูลค่า เพียงเล็กน้อยเท่านั้นที่เข้ามาหมุนเวียนในเมืองเชียงราย การเข้ามาลงทุนของบริษัท ค้าไม้ต่างชาติแทบจะไม่มีผลประโยชน์ต่อเศรษฐกิจเมืองเชียงรายเลย ซึ่งเมื่อเปรียบ เทียบกับการค้าไม้ที่เมืองอื่น เช่น เมืองแพร่ และนครลำปางแล้วถือว่าการค้าไม้ที่ เมืองเชียงรายนั้นยังไม่ประสบความสำเร็จ และเมื่อเข้าสู่การปกครองในสมัยรัชกาล ที่ 5 ก็ไม่มีนโยบายให้สัมปทานการค้าไม้แก่บริษัทใดๆ เนื่องจากเล็งเห็นว่าเมือง เชียงรายเป็นพืน้ ทีช่ ายแดน ทำให้ถกู มองว่ามีความเสีย่ งต่อความมัน่ คงหากจะอนุญาต ให้ต่างชาติเข้ามาทำธุรกิจ อีกทั้งยังมีอุปสรรคในการค้าไม้หลายด้าน เช่น การขนส่ง ไม้ออกสู่ตลาด และการขาดแคลนแรงงาน

รูปแบบของการค้าชายแดน

รูปแบบการค้าที่สำคัญของเมืองเชียงรายหลังจากเข้าสู่ยุคฟื้นฟูนั้นส่วนใหญ่ ขึ้นอยู่กับกองคาราวานของพ่อค้าถิ่นที่เกิดขึ้นระหว่างล้านนากับดินแดนต่างๆ ที่อยู่ บริเวณใกล้เคียง เช่น ยูนนาน พม่า รัฐฉาน และหลวงพระบาง เชียงรายมีทำเลที่ตั้ง เป็นเสมือนศูนย์รวมของพ่อค้าจากดินแดนทางเหนือ เช่น พ่อค้าฮ่อจากยูนนานทีน่ ยิ ม นำใบชา ตะกั่ว ฝิ่น หม้อ เหล็ก ผ้าขนสัตว์ และหมวกมาขาย พ่อค้าลื้อจากเมือง ลวงและเมืองสิบสองปันนา นำเอาม้า ควาย ขึ้ง และผ้าทอมือมาขาย ในขณะที่พ่อค้า กลุ่มเล็กๆ ที่เดินทางมากจากหลวงพระบางโดยล่องเรือมาตามลำแม่น้ำโขง จะนำ เกลือ ไหม ขี้ผึ้ง พริก ไข่ปลาบึก จอบเหล็ก และสินค้าลาวอื่นๆมาแลกเปลี่ยนซื้อขาย กับสินค้าผ้าฝ้าย และสินค้าอื่นๆ กลุ่มสุดท้าย คือพ่อค้าไทยใหญ่หรือพ่อค้าเงี้ยวกลุ่ม ชาติพันธุ์ในตะกูลไท-กะได ส่วนใหญ่ตั้งถิ่นฐานในรัฐฉานและกระจายไปในบริเวณ ใกล้เคียง เช่น ลาว และจีนตอนใต้ ไทใหญ่เป็นกลุม่ พ่อค้าทีม่ บี ทบาทมากทีส่ ดุ ในการค้า

I 217 I


OBELS OUTLOOK 2016

ของเชียงราย ลักษณะการค้าขายของพ่อค้าไทใหญ่จะเป็นแบบเร่ขาย เช่นเดียวกับ พ่อค้าฮ่อ โดยจะตระเวนขายสินค้าตามหัวเมืองต่างๆ ทั้งสินค้าของตนหรือสินค้า พื้นเมืองจากท้องถิ่นอื่น เช่น รองเท้าแตะที่ทำด้วยหนังสัตว์ หมวก เครื่องเขินต่างๆ หรืออัญมณีประเภท ยี่หร่า ทับทิม มรกต ที่เป็นสินค้าที่ต้องการของกลุ่มคนชนชั้น สูงโดยนิยมนำไปทำเป็นเครื่องประดับและเครื่องแต่งกาย โดยแลกเปลี่ยนกับเกลือ ปลาแห้ง และผ้าฝ้าย นอกจากกลุ่มคาราวานพ่อค้าต่างถิ่นแล้ว ยังมีอีกหนึ่งกลุ่มคนที่เข้ามาควบคุม การค้าของเชียงราย คือ กลุม่ พ่อค้าชาวจีนทีอ่ พยพมาจากกรุงเทพ โดยคนจีนรุน่ แรกๆ นั้นได้อพยพเข้ามาพร้อมกับข้าราชการไทยที่มาประจำในภาคเหนือหลังการก่อกบฏ เงี้ยว พ่อค้าจีนเหล่านี้ได้เข้ามาเปิดร้านตัดเย็บเสื้อผ้า ทำยาสมุนไพร เปิดร้านขาย สินค้าทั่วไป หรือแม้กระทั่งต่อแพเพื่อรับจ้างบรรทุกคนและสินค้าข้ามฝาก จนร่ำรวย และสามารถตั้งรกรากสร้างฐานะในเชียงรายได้ กลุ่มพ่อค้าชาวจีนรุ่นแรกของตัวเมือง เชียงรายนั้น ได้แก่ เถ้าแก่ฮิมกี่ เถ้าแก่เชาว์ เถ้าแก่ฟุ่นเข้ามาประมาณช่วงปีพ.ศ.24492450 เป็นผู้บุกเบิกการค้าและมีเส้นสายที่ผูกพันกับทางราชการและบริษัททำไม้ ซึ่ง ที่ตั้งของบ้านเถ้าแก่ฮิมกี่ เถ้าแก่ฟุ่น และเถ้าแก่เชาวน์อยู่บริเวณทางทิศใต้และทิศ ตะวันออกของตลาดสดเทศบาล 1 ในปัจจุบัน ในช่วงระหว่างปีพ.ศ. 2364-พ.ศ.2469 การขยายบทบาทของพ่อค้าชาวจีนมี มากขึ้น ช่วงระยะเวลา 5 ปี มีจำนวนพ่อค้าชาวจีนอพยพและกระจายตัวทั่วทั้งจังหวัด เชียงรายไปจนถึงบริเวณอำเภอแม่สายซึ่งมีกลุ่มพ่อค้าชาวจีนรวมตัวกันถึง 300 คน ถือได้ว่าเป็นอัตราการเพิ่มขึ้นที่รวดเร็วอย่างมาก ดังนั้นบทบาทการค้าของเชียงราย ในช่วงนี้จึงเปลี่ยนผ่านจากพ่อค้าไทใหญ่ไปอยู่ในมือของพ่อค้าชาวจีนแทน สาเหตุ ที่ทำให้พ่อค้าชาวจีนประสบความสำเร็จและมีบทบาทเข้าไปแทนที่พ่อค้าไทใหญ่นั้น เป็นเพราะพ่อค้าชาวจีนรุ่นใหม่ได้รับการช่วยเหลือจากพ่อค้าชาวจีนรุ่นแรกๆที่มี ประสบการณ์และมีความมั่งคั่งจากการค้าขายมาก่อน ชาวจีนรุ่นแรกได้นำเงินทุนที่

I 218 I


สำนักงานเศรษฐกิจชายแดนและโลจิสติกส์

สะสมไว้มาให้คนจีนรุ่นใหม่กู้ เพื่อนำไปใช้ลงทุนในการค้าขาย โดยพ่อค้าชาวจีนที่มั่ง คั่งเป็นนายทุนเงินกู้และมีพ่อค้าจีนรายย่อยเป็นผู้กู้เงินไปลงทุนค้าขาย บางรายเป็น ทั้งแหล่งเงินกู้และรับจำนอง จำนำสินค้า ซึ่งมีการขยายตัวทางธุรกิจจนสามารถ พัฒนาให้เป็นธุรกิจการเงินและการธนาคารพาณิชย์ ด้วยเหตุนี้จึงทำให้พ่อค้าไทใหญ่ ในเมืองเชียงรายนั้นทำได้เพียงแค่การค้าขายเล็กๆน้อยๆเท่านั้น เนื่องจากขาดแคลน แหล่งเงินในการลงทุน การตั้งชุมชนของชาวจีนในเมืองเชียงรายนั้นขยายตัวออกไปอย่างต่อเนื่อง โดยแต่ละชุมชนจะมีลกั ษณะพิเศษ คือ ชาวจีนนิยมอยูร่ วมกันเป็นกลุม่ ใหญ่ มีหวั หน้า ปกครองกันเอง และมีการช่วยเหลือเกื้อกูลกัน การขยายตัวของชุมชนชาวจีนแพร่ กระจายไปทั่วทั้งจังหวัดเชียงราย ไม่ว่าจะเป็นที่ อำเภอแม่จัน แม่สาย เชียงของ และ อำเภอพาน ลักษณะเด่นของพ่อค้าชาวจีนคือจะมีรูปแบบการค้าขายที่ดำเนินไป ตามสัญชาตญาณ สามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาวะเศรษฐกิจของเมืองเชียงรายได้เป็น อย่างดี จนกระทั่งสามารถพัฒนาตัวเองให้เป็นศูนย์กลางการค้าและเศรษฐกิจของ เมืองไปในที่สุด โดยเฉพาะในช่วงปีพ.ศ.2565-2467 ที่รัฐบาลเปิดเส้นทางเชื่อมโยง จากนครลำปาง – พะเยา – แม่สาย ทำให้ต้นทุนในการขนส่งสินค้าและระยะเวลาใน การขนส่งลดลงเป็นเท่าตัว จึงทำให้พ่อค้าชาวจีนมีกำไรจากการค้าขายและมีอิทธิพล ต่อการเปลี่ยนแปลงของรูปแบบเศรษฐกิจเมืองเชียงราย การขยายตัวที่เพิ่มขึ้นของกลุ่มพ่อค้าชาวจีน ส่งผลให้การนำเข้าสินค้าสำเร็จ รูปเพิ่มมากขึ้น อีกทั้งยังลดบทบาททางการค้าของพ่อค้าคาราวาน เนื่องจากพ่อค้า ชาวจีนมีความได้เปรียบทางการค้ามากกว่า สามารถสั่งซื้อสินค้าจากกรุงเทพได้ ถูกกว่า และซือ้ เป็นเงินเชือ่ ได้ 2-3 เดือน ในขณะทีพ่ อ่ ค้าคาราวานต่างถิน่ ต้องใช้เงินสด ในการซื้อสินค้า และสามารถขายได้เพียงสินค้าพื้นเมืองเท่านั้น จึงทำให้ประชากร เมืองเชียงรายต้องพึ่งพาสินค้าสำเร็จรูปจากกรุงเทพมากขึ้นจนกลไกราคาในตลาด กรุงเทพสามารถควบคุมโครงสร้างเศรษฐกิจของเมืองเชียงรายได้ การค้าส่วนใหญ่ ของเมืองเชียงรายจึงเริ่มถูกควบคุมโดยพ่อค้าและนักลงทุนชาวจีน

I 219 I


OBELS OUTLOOK 2016

นอกจากกลุม่ พ่อค้าชาวจีนแล้ว ในช่วงปีพ.ศ.2490 ได้มกี ารอพยพเข้ามาของชาวอินเดีย โดยเดินทางข้ามมหาสมุทรจากประเทศปากีสถานมาขึ้นฝั่งที่พม่าและนั่งรถโดยสาร เข้าสู่ชายแดนประเทศไทย เนื่องจากเหตุผลทางการเมืองและการเกิดสงครามแบ่ง แยกดินแดนขึ้นที่บริเวณเอเชียใต้ ทำให้เชียงรายมีชาวอินเดียอพยพเข้ามาตั้งรกรากที่ อยู่อาศัยเพิ่มขึ้น และมีบทบาททางการค้าขายระหว่าง ไทย พม่า จีน และลาว

รูปแบบของการชำระเงิน

การค้าขายในเมืองเชียงรายจะคับคัง่ ไปด้วยคาราวานพ่อค้าต่างถิน่ ในช่วงเดือน พฤศจิกายนถึงเดือนเมษายนของทุกปีจะมีพอ่ ค้าม้าต่างวัวควายต่าง จากยูนนาน ขบวน พ่อค้าชาวไทใหญ่ และกองคาราวานพ่อค้าต่างถิ่นเดินทางมายังเชียงรายเพื่อทำการ ค้าขาย กลุ่มพ่อค้าเหล่านี้ใช้ทั้งระบบแลกเปลี่ยนสินค้าแบบของแลกของ (Barter) และการค้าขายเป็นเงินตรา ซึ่งกลุ่มบุคคลที่ใช้เงินตราในการซื้อขายสินค้า คือ กลุ่ม เจ้านายผู้ปกครองบ้านเมือง หรือพ่อค้าที่ต้องการซื้อของเพื่อขายต่อ โดยเงินที่ใช้ใน การซื้อขายสินค้าทำมาจากแร่เงินบริสุทธิ์ (Silver) ที่ทำเป็นรูปร่างต่างๆแล้วตีตรา ของเจ้าเมืองประทับรับรองน้ำหนักและความบริสุทธิ์ของก้อนเงิน เช่น ในกลุ่มผู้ไท หรือผู้ลาวในเวียดนามตอนเหนือและลาวล้านช้าง นิยมทำเป็นรูปเรือเรียกว่า เงินฮาง ส่วนในล้านนานั่นนิยมทำเป็นรูปคีม เรียกว่าเงินคีม ในยูนนานของจีนทำเป็นรูปสำเภา และในพม่านิยมทำเป็นรูปสิงห์ ซึ่งรูปร่างของตราประทับนี้จะแตกต่างกันตามความ นิยมและความต้องการของเจ้าเมืองในแต่ละท้องที่

I 220 I


สำนักงานเศรษฐกิจชายแดนและโลจิสติกส์

รูปที่ 1 หน้าตาของเงินฮาง

ที่มา : http://kanchanapisek.or.th/kp6/sub/book/book.php?book=29&chap=6 & page=t29-6-infodetail03.html

ต่อมาเมื่อกองทัพอังกฤษยึดครองพม่าได้สำเร็จทั้งหมด จึงมีการออกเงิน เหรียญกษาปณ์ที่ทำด้วยโลหะเงิน ซึ่งเงินกษาปณ์นี้ได้มาตรฐานกว่าเงินท้องถิ่นทั่วไป เรียกว่า เงินแถบหรือเหรียญรูปี ซึ่งนิยมใช้กันทั่วไปในอาณานิคมอินเดียและพม่า การทีอ่ งั กฤษนำเงินรูปมี าใช้ในล้านนานัน้ เนือ่ งจากล้านนาไม่มเี งินตราการแลกเปลีย่ น เพียงพอ อังกฤษเห็นว่าไม่สะดวกต่อการค้า ดังนั้นในล้านนาจึงใช้เงินรูปีหรือเงินแถบ จนถึงช่วงครึ่งหลังของรัชกาลที่ 5 จึงเริ่มมีนโยบายใช้เงินบาท การใช้เงินรูปีจึงแพร่ หลายไปทั่วทั้งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จนความนิยมนั่นแพร่กระจายมายังอาณาจักร ล้านนาน กลุ่มพ่อค้าต่างถิ่นต่างยินดีที่จะซื้อขายสินค้าด้วยเงินรูปี เนื่องจากการค้า ของเมืองเชียงรายในระยะแรกส่วนใหญ่อยู่ในมือของพ่อค้าไทใหญ่และฮ่อมากกว่า พ่อค้าท้องถิ่น จึงนิยมใช้เงินรูปีในการซื้อขายและชำระภาษีมากกว่าเงินบาท ซึ่งอัตรา การแลกเปลี่ยนที่ใช้กันคือ 1 เหรียญรูปี เท่ากับ 0.75 บาท จากการที่เมืองเชียงรายมีลักษณะเป็นเมืองชายแดน และเป็นเส้นทางสำหรับ เดินทางไปยังหัวเมืองสำคัญต่างๆ เช่น เมืองเชียงใหม่ พะเยา และลำปาง จึงทำให้ เชียงรายกลายเป็นสถานีที่พักของกองคาราวานพ่อค้าต่างถิ่นและได้มีการสร้างด่าน

I 221 I


OBELS OUTLOOK 2016

เก็บภาษีขึ้นที่เมืองดู่ ทางเหนือของแม่น้ำกก และบริเวณแม่คีหรือจันเพื่อเก็บภาษี ผ่านทางและพักรอการตรวจชำระภาษี ตามหลักกฎหมายมังรายศาสตร์ ตั้งแต่เริ่มมี การฟื้นฟูเมืองเชียงรายเมื่อปีพ.ศ.2386 กำหนดไว้ว่าราษฎรจะต้องมีการจ่ายค่าที่นา ที่เรียกว่า “หางข้าว” หลังจากการเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้ว โดยจ่ายในอัตราร้อยละ 2.5 ของผลผลิตทั้งหมด ต่อมาภายหลังในปีพ.ศ.2436 เริ่มมีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการ ปกครองโดยการนำระบบมณฑลมาปรับใช้ จึงทำให้มีคำสั่งในการเก็บภาษีต่างๆเพิ่ม มากขึน้ เช่น ภาษีทน่ี า ภาษีสรุ า ภาษีฝน่ิ และภาษีสมพัตรสร และเมือ่ มีการเปลีย่ นแปลง รูปแบบการปกครองใหม่อกี ครัง้ ในปีพ.ศ.2443 กระทรวงมหาดไทยได้เพิม่ ภาษีรายคน หัวละ 4 บาท โดยเรียกเก็บจากประชาชนที่เป็นคนฉกรรจ์แทนการเกณฑ์แรงงาน ตามจารีตประเพณี และเพิ่มภาษีที่นาสำหรับชาวนาในเขตเมืองเชียงรายจะต้องเสีย ภาษีในอัตราไร่ละ 18 อัฐ จะเห็นได้ว่าระบบเศรษฐกิจและการค้าของประชาชนเชียงรายนั้นส่วนใหญ่ เป็นการผลิตเพื่อบริโภค หรือเรียกได้ว่าเป็นเศรษฐกิจแบบพึ่งพาตัวเอง ประชาชน ทั่วไปส่วนใหญ่นิยมทำการเกษตรและนำผลผลิตที่ได้มาแลกเปลี่ยนกันโดยใช้วิธีการ แลกเปลีย่ นแบบของแลกของหรือการค้าขายเพียงเล็กๆน้อย ซึง่ เงินตราของสยามและ เงินรูปีนั้นจะถูกใช้ในการแลกเปลี่ยนหมุนเวียนกันในเฉพาะเจ้าเมือง ผู้ปกครองเมือง ชนชั้นสูง และในกลุ่มพ่อค้าบางรายเท่านั้น

การอพยพของกลุ่มคนในเมืองเชียงราย-เมืองเชียงแสน

การอพยพของผู้คนจากต่างถิ่น ทั้งจากภายในประเทศ และนอกประเทศที่ได้ เข้ามาในเมืองเชียงราย และเมืองเชียงแสน เพื่อศึกษาจุดประสงค์การเข้ามาตั้งถิ่นฐาน ผูค้ น อาจเข้ามาเพือ่ ค้าขายสินค้าภายในพืน้ ที่ หรือกับประเทศใกล้เคียงอย่างเมียนมาร์ สปป.ลาว หรือจีนตอนใต้ ตลอดจนการอพยพเพื่อหนีสงคราม ที่ทำให้เกิดเป็นเมือง เชียงรายกลายเป็นเมืองชายแดนที่มีการค้าขายติดต่อกับประเทศเพื่อนบ้าน และจีน ตอนใต้

I 222 I


สำนักงานเศรษฐกิจชายแดนและโลจิสติกส์

การอพยพเข้ามาในเมืองเชียงรายเริ่มต้นในช่วงของยุคการฟื้นฟูในปีพ.ศ.2386 มีสาเหตุจากสถานการณ์ความมั่นคงของชายแดน และการที่ผู้นำล้านนามีการ เปลี่ยนแปลงนโยบายทางการเมือง จากที่เคยกวาดต้อนผู้คนไปไว้ที่เชียงใหม่ ลำปาง และลำพูนในช่วงของ “เก็บผักใส่ซา้ เก็บข้าใส่เมือง” ได้เปลีย่ นมาเป็นการฟืน้ ฟูหวั เมือง ล้านนาต่างๆ เพื่อสถาปนาความมั่นคงให้กับเมืองเชียงใหม่ นอกจากนี้ ได้พยายาม ที่จะสร้างความมั่นคงทางชายแดน เนื่องจากการเป็นเมืองร้างเปรียบเสมือนการเปิด โอกาสให้พม่าเข้ามาในล้านนาได้อีกครั้ง ซึ่งในตอนนั้นพม่ามีอิทธิพลอย่างมากใน แถบสิบสองปันนา และเชียงตุง ประกอบกับการเตรียมความพร้อมเพื่อเข้าประชิด เมืองเชียงตุงทีเ่ ป็นฐานทัพของพม่าทีก่ ารรบกับหัวเมืองล้านนามาโดยตลอด ซึง่ เชียงราย มีที่ตั้งอยู่ไม่ใกล้จากเชียงตุงมากนัก จึงเหมาะแก่การเป็นที่ตั้งทางทหาร ทั้งนี้ การตั้ง เมืองเชียงราย พะเยา และเชียงของขึ้นมาใหม่เพื่อให้ทำหน้าที่ 3 อย่างสำหรับการ เป็นเมืองหน้าด่านประกอบด้วย การขยายอาณาเขต การรักษาเขตแดน และการสืบ ข่าวของศัตรู หลังจากน่านได้ฟื้นฟูเชียงของขึ้นมาในปีพ.ศ.2384 เชียงใหม่ก็ได้มีการแข่งขัน กับน่านในการเพิม่ ประชากรในเมือง โดยน่านมีความได้เปรียบในเรือ่ งของความสัมพันธ์ ที่ใกล้ชิดกับหัวเมืองลื้อในสิบสองปันนา เมืองน่านจึงนำคนจากหัวเมืองสิบสองปันนา ไปตั้งถิ่นฐานอยู่ตามแนวชายแดน เพื่อดึงดูดในคนเชื้อสายเดียวกันอพยพเข้ามาอยู่ ตาม เรียกว่า “นโยบายสืบเชื้อ” ซึ่งภายหลังทางเชียงใหม่ก็นำวิธีดังกล่าวไปใช้กับการ หาประชากรเพิ่มให้กับเมืองเชียงรายในช่วงของการฟื้นฟู คือ การนำคนจากเมือง พยาก เมืองเลย เมืองสาด และเชียงตุงไปทำไร่ทำนาอยู่ในเมืองเชียงราย เพื่อดึงดูด ในคนจากเมืองเดียวกันที่ไม่พอใจกับการปกครองของพม่าอพยพเข้ามา ส่งผลให้เกิด การหลั่งไหลของผู้คนเข้ามาอย่างคับคั่ง และทำให้เกิดความมั่นคงในพื้นที่ชายแดน ด้วยเช่นกัน

I 223 I


OBELS OUTLOOK 2016

ทั้งนี้ พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวฯ ได้มีพระกรุณาให้จัดตั้งเมืองเชียงราย เมืองพะเยา และเมืองงาว โดยมีพระราชดำริให้เมืองดังกล่าวเป็นหัวเมืองชั้นนอกที่ทำหน้าที่รักษา เขตแดน และสืบข่าวราชการจากพม่า และได้สนับสนุนให้เกลี้ยกล่อมให้ผู้คนตาม แนวชายแดนพม่าเข้ามาอยู่ในเมืองมากขึ้น เป็นส่วนช่วยให้เมืองเติบโตในภาคภาย หน้า ในปีพ.ศ.2386 เจ้าธัมมลังกาจึงนำประชาชนกว่า 1,000 ครัวเรือน หรือประมาณ 7,000 คน จากเชียงใหม่ขึ้นไปบุกเบิกฟื้นฟูเมืองเชียงราย ซึ่งประชากรส่วนใหญ่ ประกอบด้วย 3 ชนชาติ ได้แก่ ชาวไทเขินจากเชียงตุง ชาวไทลื้อหรือยองจากเมืองเลน และชาวไทยวนจากเมืองพยาก และเมืองสาด พื้นที่เชียงแสนได้มีการอพยพของลื้อ จากเชียงตุง เงี้ยว และเขิน เข้ามาตั้งบ้านเรือน จากการบั่นทอนของอำนาจในช่วงที่ เชียงใหม่สูญเสียผู้นำที่เข้มแข็ง ทำให้เชียงใหม่อ่อนแอลงอย่างต่อเนื่อง เชียงตุง มอง เห็นโอกาสในการขยายเขตแดนจึงพยายามส่งคนเข้ามาปักหลักบริเวณเวียงพางคำ โดยกรุงเทพฯ ได้พยายามส่งกองทัพไปขับไล่ แต่ไม่ประสบความสำเร็จ ต่อมาในปี พ.ศ.2427 อังกฤษได้ประกาศสงครามกับพม่าอย่างเป็นทางการ เมืองเชียงตุงจึง พยายามที่จะรวมกับนครรัฐในรัฐฉาน ทำให้เกิดความเข้มแข็งทางทหารขึ้นมา จึงได้ ส่งผู้คนเข้ามาตั้งถิ่นฐานบริเวณเชียงแสนอีกครั้ง โดยเชียงแสนในตอนนั้นมีประชากร จากเชียงตุงมากกว่าเชียงรายและเชียงใหม่อย่างมาก สุดท้ายก็ถูกขับไล่ไปได้สำเร็จ ทำให้ชาวลำพูนขึ้นมาตั้งเมืองเชียงแสนสำเร็จในปีพ.ศ2428 ช่วงประมาณปีพ.ศ.2427-2428 ได้เกิดภาวะภัยแล้ง 2 ปีตดิ ในหัวเมืองเชียงใหม่ เมืองลำปาง และเมืองลำพูน ทำให้ราษฎรจากสามหัวเมืองอพยพย้ายถิ่นฐานไปยัง เชียงราย โดยได้มีการยกเลิกกฎหมายห้ามย้ายถิ่นฐาน ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา เมือง เชียงรายก็ขยายตัวอย่างรวดเร็ว การเพิ่มขึ้นของประชากรในเชียงรายจากการอพยพ เข้ามาครั้งนี้มากกว่าการอพยพเข้ามาตามปกติในช่วงเริ่มต้นฟื้นฟูเมืองเชียงราย ใน ขณะที่บริเวณเขตเทิงและเชียงของมีการอพยพเข้ามาของชาวไทลื้อจากทางตอนใต้ ของสิบสองปันนา

I 224 I


สำนักงานเศรษฐกิจชายแดนและโลจิสติกส์

การอพยพครั้งใหญ่ได้เกิดขึ้นอีกครั้งในช่วงระหว่างปีพ.ศ.2433-2435 เนื่อง จากภาวะภัยแล้งติดต่อกันถึง 3 ปี โดยเฉพาะในเมืองลำปาง และเมืองแพร่ ทั้งนี้การ เปลี่ยนแปลงกฎหมายที่ทำให้ประชากรสามารถเคลื่อนย้ายได้อย่างเสรี เป็นปัจจัย สำคัญที่ทำให้เมืองเชียงรายกลายเป็นเมืองที่เต็มไปด้วยกลุ่มผู้อพยพชาวไทยวน ชาว ไทยอง และชาวลื้อ และกลายมาเป็นประชากรหลักจนถึงปัจจุบัน นอกจากนี้พบว่า มีประชากรบางส่วนจากมณฑลยูนนาน คือ ชาติพันธุ์มูเซอ ได้อพยพขึ้นมาอยู่บริเวณ ยอดเขาแถบเชียงแสน ซึ่งน่าจะเข้ามาก่อนปีพ.ศ.2428 ช่วงที่ล้านนาปลอดสงคราม และมีความสงบกว่าดินแดนอื่น ทั้งนี้ อีกชนชาติที่เข้ามาในช่วงแรกของการบุกเบิก คือ ชาวไทใหญ่ ที่เข้ามาในรูปแบบของพ่อค้าวัวต่างจากทางตอนเหนือของรัฐฉานที่มี พื้นที่ติดต่อกับจีน ได้มีการปรากฎชัดเจนในปีพ.ศ.2440 เป็นต้นมา ในขณะเดียวกันกับการยกเลิกกฎหมายสิทธิใ์ นการโยกย้ายถิน่ ฐาน รัชกาลที่ 5 ได้ประกาศให้มีการเลิกทาสในปีพ.ศ.2454 ทำให้ประชาชนที่พ้นจากการเป็นทาส อพยพมายังเชียงรายเพื่อแสวงหาที่ดินทำกินทั้งจากลำปาง ลำพูน และเชียงใหม่ รวมถึงชาวไทลื้อจากสิบสองปันนา เป็นการอพยพของประชาชนในล้านนาตอนใต้ เข้ามาตั้งถิ่นฐานในเชียงราย จากการเข้ามาของการพัฒนาระบบการค้าจากรัฐฉาน ของอังกฤษและจากจีนยูนนานระหว่างปีพ.ศ.2386-2443 ได้ส่งผลให้เชียงรายกลาย เป็นสถานีที่พักของคาราวานในบริเวณของอำเภอแม่จัน กลายเป็นด่านเก็บภาษีที่ คาราวานต้องพักรอการชำระ ทำให้มีการอพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานในเชียงรายมากขึ้น ชาวไทใหญ่จึงอพยพเข้ามาตั้งร้านค้าเงินแถบใกล้ด่านเก็บภาษีอย่างมากมาย รวมถึง จีนฮ่อที่เข้ามาตั้งโรงเตี้ยมไว้รับรองชาวจีนด้วยกัน ประชาชนชาวยองเมืองพูนจากลุ่ม แม่น้ำทาเป็นหนึ่งกลุ่มที่มีการอพยพมายังเชียงรายอย่างต่อเนื่อง โดยมีการอพยพขึ้น มาเพิ่มเติมในปีพ.ศ.2456 2458 และ 2460 ทั้งนี้ การอพยพเกิดมาจากการแสวงหา ทิ่ดินทำกินเป็นส่วนใหญ่ ในครั้งที่เชียงรายเข้ามาอยู่ในอาณาจักรสยามแล้ว คนจาก เมืองน่านก็มีการอพยพย้ายเข้ามา แม้จะมีการควบคุมอย่างเข้มงวด จากรายงานของ ปลัดกระทรวงมหาดไทยกล่าวว่า ในปีพ.ศ.2455 มีการอพยพเข้ามามากที่สุดทั้งจาก

I 225 I


OBELS OUTLOOK 2016

เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง น่าน และแพร่ ในความเป็นจริงแล้ว การอพยพเข้ามาตั้งถิ่น ฐานในพื้นที่เชียงรายไม่ได้เป็นไปอย่างเสรีแม้ว่าจะมีการยกเลิกกฎหมาย กระบวน การอพยพต้องเริ่มต้นจากการส่งเครือญาติเข้าไปสำรวจพื้นที่เป้าหมาย และติดต่อทำ ความตกลงกับผู้ปกครองที่ จึงจะสามารถเข้าไปตั้งถิ่นฐานได้อย่างสมบูรณ์ สรุปได้ว่าการอพยพในช่วงระหว่างปีพ.ศ.2386-2427 ขึ้นอยู่กับพื้นที่เขตการ ปกครองของแต่ละเมือง ซึ่งมีจุดประสงค์ โดยประชากรส่วนใหญ่ที่อพยพมมาจาก นครเชียงใหม่ คือ ชาวไทเขิน ไทลื้อจากเมืองพยาก และเมืองเลน ชาวไทยวนจาก เมืองสาด มีจุดประสงค์ในการแสวงหาที่ดิน ขณะที่ประชากรจากนครลำปางคือ ชาวลำปาง และชาวพะเยาที่มีแรงจูงใจในการกลับมาตั้งถิ่นฐานของบรรพบุรุษเดิม ทั้งนี้ ประชากรจากนครน่านเป็นการกลับมาฟื้นฟูเมืองของชาวเมืองเทิง และเชียง ของเก่าที่ได้อพยพไปอยู่ที่นครน่าน ส่วนการอพยพในช่วงระหว่างปีพ.ศ.2428-2442 เป็นการอพยพที่มีปัจจัย สำคัญมาจากการยกเลิกกฎหมายควบคุมการย้ายถิน่ ฐานทีส่ ง่ ผลให้เกิดการเคลือ่ นย้าย ประชากรอย่างเสรี และภาวะภัยแล้งอย่างหนักในหลายพื้นที่ที่เกิดขึ้นอย่างซ้ำซ้อน จากนครลำปาง เมืองแพร่ เชียงใหม่ และนครลำพูน ในขณะที่กลุ่มชาติพันธุ์ที่เข้ามา จากต่างประเทศประกอบด้วย 1) กลุ่มชาวไทลื้อจากสิบสองปันนาตอนใต้ หรือเมืองล่า และเมืองพง ที่อพยพหนีภัยสงคราม 2) ไทใหญ่ เข้ามาในฐานะของพ่อค้าวัวต่างม้า ที่เข้ามาค้าขายตามชุมชนจนแทรกซึมเข้ากับกลุ่มไทยวน และไทลื้อ 3) ฮ่อ กลุ่มคน ค้าทางไกลเช่นเดียวกับไทใหญ่ แต่เน้นการสร้างสถานีไว้ตามหัวเมืองสำคัญต่างๆ โดย มีอาชีพรวบรวมสินค้าพื้นเมืองท้องถิ่นที่กองคาราวานต้องการ 4. ลาวพวน หรือชน เผ่าไท-ลาวจากเมืองเชียงขวาง ที่เข้ามาในปีพ.ศ. 2470-2390 เข้ามาเพื่อตั้งถิ่นฐาน และสุดท้ายคือการอพยพในยุคปีพ.ศ.2453 ช่วงที่เชียงรายได้รับการประกาศให้เป็น เมืองในราชอาณาจักรสยาม มีการเข้ามาของผู้อพยพจากลุ่มน้ำทาหรือโหล่งแม่ทา กลุ่มที่มีบทบาทคือ ข้าราชการที่ย้ายขึ้นปฏิบัติราชการ และพ่อค้าชาวจีนจากทางใต้ ที่เข้ามาค้าขาย ได้เข้ามาแทนที่การค้าแบบขบวนม้าต่างและวัวต่างของพ่อค้าไทใหญ่

I 226 I


สำนักงานเศรษฐกิจชายแดนและโลจิสติกส์

การตัดเส้นทางสายใหม่จากลำปางมายังเชียงรายในปีพ.ศ.2455 ได้ส่งผลให้ เชียงรายกลายเป็นศูนย์การรวบรวมสินค้าจากดินแดนตอนเหนือส่งต่อไปยังตลาดใหญ่ ที่กรุงเทพฯ และเป็นสถานีรวบรวมสินค้าท้องถิ่นไปขายที่นครลำปาง ทำให้ประชากร อพยพเข้ามาเชียงรายเพิ่มขึ้นจากการเข้ามาบุกเบิกที่นา นอกจากนี้ ได้มีการเข้ามา ของพ่อค้ากลุ่มใหม่ชาวจีนที่เดินทางมากับรถไฟที่ขยายมาถึงนครลำปางในปีพ.ศ. 2455-พ.ศ.2456 เป็นผู้นำระบบทุนนิยมแบบเสรีเข้ามาในเชียงราย ทำให้เกิดการ ขยายของบทบาทการค้าปลีก และกระจายไปถึงชายแดนอำเภอแม่สาย จนกลายเป็น ชุมชนชาวจีน การเคลื่อนย้ายของประชากรมายังเชียงรายมีอยู่ต่อเนื่อง ประกอบด้วยหลาย ชาติพันธุ์ ที่เป็นชนชาติไทเผ่าต่างๆ ได้แก่ ไทยวน ไทลื้อ ไทใหญ่ ชาวจีนฮ่อ/จีนโพ้น ทะเล และกลุ่มมูเซอร์ ลีซอ เย้า และกระเหรี่ยง กลายเป็นลักษณะเฉพาะของชาว เชียงรายจนถึงทุกวันนี้ ทั้งนี้ มีกลุ่มการเข้ามาของคนเชื้อสายจีนตลอดเวลา และข้าว ที่เป็นพืชเศรษฐกิจของจังหวัดเชียงรายได้ทำให้เกิดการรวมกลุ่มพ่อค้าข้าวขึ้น เป็นตัว ดึงดูดให้พ่อค้าชาวลำปางเข้ามาประกอบธุรกิจมากขึ้น ตารางสรุปการอพยพของผู้คนในแต่ละยุค ช่วงปีพ.ศ. 2386 – 2427

ช่วงปีพ.ศ. 2428 – 2442

ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2453 เป็นต้นไป

การอพยพขึ้นอยู่กับเขตการปกครอง • นครเชี ยงใหม่ : ชาวไทเขิ น ไทลื ้ อ จากเมืองพยาก และเมืองเลน ชาว ไทยวนจากเมืองสาด มีจุดประสงค์ ในการแสวงหาที่ดิน • นครลำปาง: ชาวลำปาง และชาว พะเยาที่มีแรงจูงใจในการกลับมา ตั้งถิ่นฐานของบรรพบุรุษเดิม • นครน่าน: ชาวเมืองเทิง และเชียง ของเก่ากลับมาฟื้นฟูเมือง

• ปัจจัยสำคัญมากจากภาวะภัยแล้ง และการยกเลิกกฎหมายการห้าม ย้ายถิ่นฐานส่งผลให้ผู้คนจากนคร ลำปาง เมืองแพร่ เชียงใหม่ และ นครลำพูนอพยพเข้ามา รวมถึง ชนเผ่าต่างๆ ได้แก่ชาวไทลื้อจาก สิบสองปันนาตอนใต้ หรือเมืองล่า และเมืองพง ชาวไทใหญ่ทเ่ี ป็นพ่อค้า วัวต่างม้า จีนฮ่อพ่อค้าทางไกลและ ชาวเผ่าไท-ลาวจากเชียงขวาง

• หลังจากเชียงรายเข้าเป็นส่วนหนึ่ง ของอาณาจักรสยาม ทำให้กลุ่มที่ เข้ามาคือข้าราชการจากกรุงเทพฯ และพ่อค้าชาวจีนจากทางใต้ • การยกเลิกทาสสมัยรัชกาลที่ 5 ทำ ให้ผู้คนจากนครลำปาง ลำพูนและ เชียงใหม่อพยพเข้ามา • การตัดเส้นทางใหม่ และรถไฟเชื่อม ลำปางทำให้ พ่ อ ค้ า จี น โพ้ น ทะเล เข้ามา

I 227 I


OBELS OUTLOOK 2016

ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของจังหวัดเชียงราย

ความสัมพันธ์ระหว่างเมืองเชียงรายและหัวเมืองต่างประเทศ เพื่อศึกษาถึงการ ขยายตัวของความสัมพันธ์ในอดีตที่มีผลต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบันความสัมพันธ์กับ ประเทศต่างๆของอาณาจักรสยามในยุคของรัชกาลที่ 3 ได้สร้างความสัมพันธ์อันดี ทางการค้ากับจีน และมีความสัมพันธ์ที่ดีกับชาติตะวันตก ทั้งอังกฤษ และฝรั่งเศส ในขณะที่ต้องสู้รบในการแย่งชิงดินแดนกับลาว พม่า และญวนอย่างต่อเนื่อง เชียงราย ในยุคนี้กำลังได้รับการฟื้นฟูจากเชียงใหม่ เนื่องจาก การเป็นเมืองร้างทำให้เชียงราย เสี่ยงต่อการถูกรุกรานจากพม่าจากดินแดนไทลื้อ สิบสองปันนา เชียงตุง ซึ่งพม่าได้ใช้ กองทัพจากเชียงตุงรบกับหัวเมืองล้านนามาโดยตลอด ฉะนั้น การฟื้นฟูในครั้งนี้ไม่ได้ มีเป้าหมายเพียงแค่การสถาปนาให้เชียงใหม่มีความมั่นคงมากขึ้น หากแต่เป็นการ ปฏิรปู พืน้ ทีช่ ายแดนให้สามารถเตรียมพร้อมกับสงคราม ขยายและรักษาเขตแดน และ การสืบหาข่าวสารทางการทหาร คือ การเตรียมความพร้อมเชียงรายให้กลายเป็น เมืองหน้าด่านสำหรับสมรภูมิรบอย่างสมบูรณ์แบบ หรือป้อมปราการป้องกันการบุก เข้ามาของศัตรูจากทางทิศเหนือในการสร้างความสัมพันธ์ของเชียงรายในช่วงแรกจะ อยู่ภายใต้การดำเนินการของเมืองเชียงใหม่ โดยในปีพ.ศ.2388 ทางเชียงใหม่ได้ส่ง เจ้าชายทีอ่ พยพมาจากเชียงตุงขึน้ ไป “สืบสัญไชยไมตรี” พยายามทีจ่ ะเจรจาให้เชียงตุง มาเข้ากับกรุงเทพฯที่แขวงเมืองเชียงแสน โดยมีความประสงค์เพื่อที่จะใช้ความเป็น เครือญาติในการเข้าหา ทั้งนี้ อีกจุดประสงค์หนึ่งคือการเข้าไปแสดงว่าทางเชียงใหม่ ได้ยอมรับเขตแดนของเมืองเชียงตุงถึงแค่บริเวณแม่น้ำรวก และแม่น้ำสาย ซึ่งเป็น เมืองท่าขี้เหล็กในปัจจุบัน ทั้งที่ก่อนหน้านี้ พื้นที่ของเมืองพยาก และเมืองเลนในปี พ.ศ.2347 เป็นเขตแดนของเมืองเชียงแสนการรุกล้ำเขตแดนของเชียงตุงสร้างความ กังวลใจอย่างมากให้กับเมืองเชียงใหม่ จึงได้ยกทัพเข้าไปตีเมืองเชียงตุง แต่ไม่เป็นอัน สำเร็จ ทำให้รัชกาลที่ 3 ซึ่งเป็นกษัตริย์ของอาณาจักรสยามในตอนนั้น ได้เข้ามาจัด การปัญหาโดยการจัดตัง้ กองทัพขึน้ มา อย่างไรก็ตาม รัชกาลที่ 3 ได้สววรคตก่อนทีจ่ ะ ได้นำทัพได้ตีเมืองเชียงตุง ต่อมาในปีพ.ศ.2396 รัชกาลที่ 4 จึงนำทัพที่ถูกเตรียมไว้ จากเมืองกรุงเทพฯ ลำปาง น่าน ลำปาง และลำพูนได้ยกทัพขึ้นไปตั้งฐานที่เมือง

I 228 I


สำนักงานเศรษฐกิจชายแดนและโลจิสติกส์

เชียงรายเพื่อรอเข้าประชิดเชียงตุง การสงครามในครั้งนั้นก็ยังไม่สามารถที่จะเอา ชนะได้ เมื่อเข้าปีพ.ศ.2397 เป็นช่วงที่เจ้าครองนครเชียงใหม่ที่ครองเมืองมาถึง 6 ปีกว่า ได้สวรรคตลง ทำให้เชียงใหม่ขาดผู้นำในการทำสงครามที่เข้มแข็ง ส่งผลให้เชียงใหม่ อ่อนแอลงมาก เชียงตุงจึงอาศัยโอกาสในการเข้ามายึดพื้นที่บริเวณเวียงพางคำ กว่า เชียงรายจะรู้ตัวก็เข้าปีพ.ศ.2418 แม้ว่าทางกรุงเทพฯได้สั่งการให้กองทัพจากหัวเมือง ล้านนาต่างๆเข้าไปขับไล่ แต่ก็มีผลเพียงชั่วคราวเท่านั้น ทำให้ชาวลื้อจากเชียงตุง เงี้ยว และเขินกลับมาตั้งถิ่นฐานอีกครั้งผู้ครองนครเชียงใหม่คนต่อมาจึงได้เปลี่ยน แผนเป็นการสั่งการให้เจ้าครองนครจากเมืองลำพูนนำผู้คนอพยพขึ้นไปตั้งเมือง เชียงแสน เพื่อป้องกันไม่ให้ชาวเชียงตุงกลับเข้ามาอาศัย แต่ไม่สำเร็จและถูกขับไล่ จนต้องถอยลงไปอยู่เมืองพาน ทำให้ปัญหาการแก่งแย่งดินแดนยังหาทางแก้ไขไม่ได้ ซึ่งหลังจากปีพ.ศ.2427 พม่าถูกประกาศสงครามโดยอังกฤษ เมืองเชียงตุงและเมือง นครรัฐในรัฐฉาน จึงรวมตัวกัน ส่งผลให้กำลังทหารของเชียงตุงแข็งแกร่งขึ้น จึงส่ง ผู้คนเข้ามาในเชียงแสนอีกครั้ง ทำให้ข้าหลวงที่ขึ้นมาพระจำที่เชียงใหม่นำทัพขึ้นมา ขับไล่ชาวไทเขิน และไทใหญ่จากเชียงแสน แต่เชียงตุงกลับส่งหนังสือถึงเชียงใหม่ว่า “คนที่ตั้งบ้านเรือนที่เชียงแสน ถ้าเป็นของคนเมืองใด ให้เมืองนั้นว่ากล่าว” อย่างไร ก็ตาม ทางกรุงเทพฯไม่สามารถที่จะยอมรับหนังสือดังกล่าวได้ เนื่องจากประชากร ชาวเชียงรายและเชียงใหม่มีปริมาณการตั้งบ้านเรือนน้อยกว่าชาวเชียงตุงในเชียงแสน อย่างมาก ชาวลำพูนเข้ามาตั้งเมืองเชียงแสนสำเร็จในปีพ.ศ. 2428 หลังจากชาว เชียงตุงถูกขับไล่ออกไปเป็นที่เรียบร้อย พร้อมทั้งข้าหลวงจากกรุงเทพฯได้นำกำลัง ทหารขึ้นไปตั้งป้อมปราการขึ้น 4 แห่ง แต่สำเร็จเพียงแห่งเดียวในท่าขี้เหล็ก เพื่อไม่ ให้หัวเมืองจากทางเหนือเข้ามาล่วงล้ำเขตแดนเพื่อตั้งรกรากในเชียงราย ปีพ.ศ.2428 เป็นต้นมา พม่าพ่ายแพ้สงครามแก่อังกฤษ ทำให้บรรดารัฐเล็กๆของไทใหญ่ได้ยินยอม เข้าเป็นรัฐในอาณานิคมของอังกฤษ รวมถึงเมืองเชียงตุงที่ได้ยอมรับการเป็นรัฐใน อารักขาในปีพ.ศ.2433 เป็นการสิ้นสุดความขัดแย้งของการขยายดินแดนจากเชียงตุง โดยสิ้นสุดการแบ่งเขตแดนที่แม่น้ำรวกและแม่น้ำสายตรงเมืองท่าขี้เหล็ก

I 229 I


OBELS OUTLOOK 2016

การติดต่อสร้างความสัมพันธ์ระหว่างอาณาจักรสยามและยุโรปเริ่มต้นเมื่อ ปลายปีพ.ศ.2386 ซึ่งได้ส่งผลถึงเมืองเชียงใหม่และเชียงรายด้วยเช่นกัน แม้จะไม่ได้ ส่งผลต่อเชียงรายในระยะแรก หรือช่วงปีพ.ศ.2416-2417 ทั้งนี้ รัฐบาลอาณานิคม อินเดียของอังกฤษอ้างกรรมสิทธิ์บริเวณเวียงไชยปรีชา ทำให้รัฐบาลสยามต้องยอม ยกให้กับอังกฤษตามสนธิสัญญาในปีพ.ศ.2435 ซึ่งเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นได้ส่งผลกระทบ ต่อความปลอดภัยของสิทธิในการครอบครองดินแดนของเชียงรายตลอดลุม่ แม่นำ้ รวก และลุ่มแม่น้ำสาย นอกจากนี้ การเข้ามาของชาวตะวันตก 2 คนในจังหวัดเชียงราย ในปีพ.ศ.2417 และปีพ.ศ.2433 ช่วยให้วิสัยทัศน์ของชาวเชียงรายเปิดกว้างมากขึ้น ในที่สุด การคืบคลานเข้ามาของฝรั่งเศสทางฝั่งลาวก็เข้ามายึดฝั่งซ้ายของเมือง เชียงแสนในปีพ.ศ.2436 และได้เรียกร้องให้สยามถอยห่างออกจากชายแดนเชียงแสน 25 กิโลเมตร ทำให้ที่ทำการเมืองเชียงแสนถูกย้ายไปที่อำเภอแม่จันห่างออกจากตัว เมืองเดิม 30 กิโลเมตร ในขณะที่การเข้ามาของชาวอเมริกัน สัญชาติแคนาดาในปี พ.ศ.2443 ได้เข้ามาเพื่อเป็นนายช่างคุมการก่อสร้างศาลาว่าการบริเวณเชียงใหม่ เหนือในเชียงราย พร้อมทั้งได้เข้ามาพัฒนากิจการโรงพยาบาล และจัดระบบการ ศึกษา ทั้งนี้ ด้วยความเป็นสัญชาติแคนาดาอันเป็นประเทศหนึ่งในเครือจักรภพของ อังกฤษ จึงถูกแต่งตั้งจากรัฐบาลอังกฤษให้เป็นผู้ช่วยกงสุลอังกฤษประจำบริเวณ เชียงใหม่เหนือ ส่งผลประโยชน์กับเชียงรายอย่างมาก โดยเฉพาะในด้านของการเฝ้า ระวังการบุกรุกของฝรั่งเศสไม่ให้ข้ามแม่น้ำโขงเข้ามา ซึ่งเป็นไปตามสัญญาระหว่าง อังกฤษและฝรั่งเศสในเรื่องของการห้ามรุกล้ำดินแดนของกันและกัน อย่างไรก็ตาม สิ่งที่สร้างปัญหาให้กับเชียงรายในช่วงปีพ.ศ.2448 คือกลุ่มชาวไทใหญ่ที่เข้ามาก่อ การร้ายที่ได้รับการสนับสนุนจากเชียงตุงภายใต้การเป็นพลเมืองในบังคับของอังกฤษ อาศัยอยู่ตามแนวชายแดน เหตุการณ์ความไม่สงบจากการก่อการร้ายของชาวไทใหญ่ ก็ได้สิ้นสุดลงเมื่อปีพ.ศ.2450 เมื่อรัฐบาลตัดสินใจส่งกองทหารมาอยู่ประจำเมือง เชียงราย เพื่อปกป้องประชาชนให้พ้นจากภัยรุกรานและการก่อการร้าย

I 230 I


สำนักงานเศรษฐกิจชายแดนและโลจิสติกส์

จากการศึกษาประวัติศาสตร์เศรษฐกิจชายแดนในช่วงก่อนฟื้นฟูเมืองเชียงราย และช่วงฟื้นฟูการพัฒนาเมืองชายนั้น ทำให้เห็นว่าการค้าปลีกค้าส่งมีความสำคัญใน การขับเคลื่อนเศรษฐกิจชายแดนตั้งแต่ยุคอดีตจนถึงปัจจุบัน

เอกสารอ้างอิง

โครงการสัมมนาทางวิชาการเชียงรายในทศวรรษหน้า. 21-22 พฤศจิกายน 2534 ณ โรงแรมเวียงอินทร์ จังหวัดเชียงราย บดินทร์ กินาวงศ์ และพัชรินทร์ ชัยอิน่ คำ (2555) 750 ปี เมืองเชียงราย-ประวัตศิ าสตร์ จังหวัดเชียงราย. เชียงใหม่: มิ่งเมืองนวรัตน์ จำกัด สรัสวดี อ๋องสกุล (2551) ประวัติศาสตร์ล้านนา. กรุงเทพมหานคร: อมรินทร์พริ้นติ้ง แอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน)

I 231 I


OBELS OUTLOOK 2016

ส่วนที่ 5 บทความวิชาการ: แนวทางสู่การพัฒนาเมืองชายแดน

I 232 I


สำนักงานเศรษฐกิจชายแดนและโลจิสติกส์

ความเชื่อมโยงระหว่างการบิน การท่องเที่ยว และเศรษฐกิจของจังหวัดเชียงราย วราวุฒิ เรือนคำ

“การทำงาน ไม่ควรมองว่าจะได้ ผลงาน อะไร แต่ควรมองว่า สังคมจะได้อะไร” นายอิทธิพล บุญอารีย์ ผู้อำนวยการท่าอากาศยานแม่ฟ้าหลวง (2559)

I 233 I


OBELS OUTLOOK 2016

การเติบโตผู้โดยสารสนามบินเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

“จำนวนผู้โดยสารผ่านสนามบินแม่ฟ้าหลวงเติบโตอย่างต่อเนื่อง ในปี 2559 โดยจำนวนผู้โดยสารเติบโตถึง 20% เมื่อเทียบกับสถิติจำนวนผู้โดยสารปี 2558 ในเดือน กุมภาพันธ์ 2559 มีผู้โดยสารมากถึง 172,450 คน และมีแนวโน้มเติบโต ที่จะขยายตัวสูงขึ้นในอนาคต” ปัจจัยทีท่ ำให้ผโู้ ดยสารเติบโต ได้แก่ 1. จำนวนสายการบินเพิม่ ขึน้ 2. ราคาตัว๋ ต่ำลง 3. โปรโมชั่นจากสายการบิน Happy Hour 4. อุปสงค์การท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นจากวัฒนธรรมล้านนาและเทศกาลต่างๆ 5. การเตรียมการขยายเส้นทางการบินจากภูมิภาคสู่ภูมิภาค เช่น เชียงราย-อุดร เชียงราย-กระบี่ ทำให้ผโู้ ดยสารเดินทางท่องเทีย่ วได้สะดวกสบายมากขึน้ ผนวกกับแผนพัฒนา สนามบินในระยะสั้นและระยะยาวของสนามบิน เพื่อเตรียมพร้อมรองรับจำนวน ผู้โดยสารที่เพิ่มขึ้น โดยได้มีการปรับปรุงอาคารผู้โดยสารใหม่ เช่น การเพิ่มจำนวน เค้าเตอร์ให้บริการ เพิ่มหลุมจอด และอื่นๆ จากโอกาสการเติบโตนี้ ควรมีการศึกษา เพิ่มเติมว่ากลุ่มผู้โดยที่เข้ามาเชียงรายได้มีการกระจายตัวไปสู่ภาคเศรษฐกิจอะไรเป็น ส่วนใหญ่ หากเราทราบอัตราส่วนการมีส่วนร่วมในภาคเศรษฐกิจต่างๆ ของผู้โดยสาร จะทำให้กำหนดกลุ่มเป้าหมายได้มากขึ้น เช่น กลุ่มที่เดินทางมาเชียงรายเพื่อการ ท่องเที่ยว เพื่อมารักษาพยาบาล มาปฏิบัติธรรม เพื่อการค้าการลงทุน หรือแม้แต่ ผ่านเข้ามาเพือ่ ไปเทีย่ วต่อทีค่ งิ โรมันส์ สปป.ลาว โดยเฉพาะอย่างยิง่ ภาคการท่องเทีย่ ว และบริการ ควรมีการศึกษาเชิงประจักษ์ว่าภาพการเติบโตของผู้โดยสารเป็นภาพ ลวงตาหรือไม่ นักท่องเที่ยวเข้ามาแล้วมีการใช้จ่ายต่อหัวเท่าไหร่ เขามาแล้วไปทาน อะไร พักทีโ่ รงแรมไหน เข้าไปสูห่ ว่ งโซ่อปุ ทาน (supply chain) ไหนบ้าง อีกทัง้ ระดับ

I 234 I


สำนักงานเศรษฐกิจชายแดนและโลจิสติกส์

ความพึงพอใจมากน้อยแค่ไหน และที่สำคัญในอนาคตผู้โดยสารหรือนักท่องเที่ยวมี ความต้องการที่จะกลับมาเที่ยวเชียงรายอีกหรือไม่ โจทย์ที่สำคัญคือเราจะทำอย่างไร ให้นักท่องเที่ยวกลับมาเที่ยวอีก ไม่เพียงแค่มาครั้งเดียวแล้วไม่กลับมาอีกเลย ปัจจัย หนึ่งที่ทำให้เศรษฐกิจเชียงรายเติบโตจึงหนีไม่พ้นรายได้จากการท่องเที่ยว

การจัดคลัสเตอร์ด้านการท่องเที่ยว (Clusterize Tourism)

เชียงรายเป็นจังหวัดที่มีความหลากหลายด้านการท่องเที่ยว มีวัฒนธรรม หลากหลาย มีธรรมชาติทส่ี วยงาม และสภาพอากาศดีจนได้ขน้ึ ชือ่ ว่าเป็นสวิตเซอร์แลนด์ เมืองไทย เรามีสถานที่ท่องเที่ยวหลายแห่งที่เป็นจุดหมายปลายทาง (Destination) ของนักท่องเที่ยว ดังนั้นจังหวัดควรจะประกาศคลัสเตอร์ ด้านการท่องเที่ยวว่าหาก มาเชียงรายแล้วต้องไปที่ไหนบ้าง เช่น

1. Class A (must go) เป็ น สถานที ่ “ต้ อ งไป” หากมาถึ ง เชี ย งราย เช่ น วัดร่องขุน่ บ้านดำ แม่สาย สามเหลีย่ มทองคำ เป็นต้น ซึง่ เป็นสถานทีไ่ ด้รบั ความนิยม จากนักท่องเที่ยวอย่างมาก 2. Class B (should go) สถานทีท่ น่ี กั ท่องเทีย่ วต่างถิน่ มาแล้ว “ควรไป” เนือ่ ง จากนักท่องเที่ยวอาจไม่ทราบว่ามีสถานที่นี้อยู่ ฉะนั้นควรที่จะมีการสร้างเรื่องราว (Story) เพื่อต่อยอดความสนใจให้นักท่องเที่ยว

I 235 I


OBELS OUTLOOK 2016

3. Class C (Likely to go) เป็นสถานที่ที่ไม่ควรพลาดหากมีการเดินทางเข้า มาเทีย่ วในครัง้ นี้ หรือน่าทีจ่ ะเดินทางมาเทีย่ วในครัง้ ต่อไปเหมือนกับโครงการ 12 เมือง ต้องห้าม ของกระทรวงท่องเที่ยวฯ หลังจากนั้นเราสามารถกำหนดได้ว่าควรจะไป ทานอะไร พักที่ไหน เป็นแผนภูมิ pareto chart และแผนภูมิก้างปลา ที่ทำให้มอง เห็นความเชื่อมโยงไปถึงการใช้จ่ายต่อหัวของนักท่องเที่ยวที่นำไปสู่การเติบโตของ เศรษฐกิจเชียงรายได้ ทั้งนี้ การจัดสรรคลัสเตอร์การท่องเที่ยวอย่างชัดเจน จะทำให้ จังหวัดสามารถที่จะสนับสนุนงบประมาณแก่สถานที่ท่องเที่ยวในแต่ละคลัสเตอร์ได้ ถูกต้องมากยิ่งขึ้น

การจัดการสถานที่ท่องเที่ยวให้ได้มาตรฐานโลก (Standardize Tourism)

เชียงรายมีสถานทีท่ อ่ งเทีย่ วทีน่ า่ สนใจมากมาย และมีความหลากหลายแต่ยงั ขาด การพัฒนาให้ได้มาตรฐานในระดับโลก เช่น สามเหลี่ยมทองคำ ซึ่งมีประวัติศาสตร์ และเรื่องราวที่น่าสนใจ แต่ยังไม่มีการสร้างเรื่องราวให้นักท่องเที่ยวเข้าใจว่าทำไมถึง เรียกว่าสามเหลี่ยมทองคำ การท่องเที่ยวจะให้ความรู้สึกที่มากกว่า หากเราใส่ประวัติ ศาสตร์หรือเรื่องราว (Story) ของสถานที่ท่องเที่ยวนั้นๆลงไป แต่ปัญหาที่เกิดขึ้นคือ เรายังขาด Museum of Golden Triangle ที่ตั้งอยู่ใกล้บริเวณนั้น ที่จะเล่าเรื่องราว ประวัติความเป็นมาให้น่าสนใจ ทันยุคสมัย ก่อนที่นักท่องเที่ยวจะไปเช็คอินถ่ายรูป และซือ้ ของฝาก ตามลำดับ เราควรจะมีการจัดลำดับกิจกรรมของการเทีย่ วชมให้เป็น ระบบเหมือนสถานที่ท่องเที่ยวหลายๆแห่งในยุโรป เช่น มีการจัดให้เข้าชมพิพิธภัณฑ์ ให้เห็นเรื่องราวความเป็นมาของสถานที่เพื่อทำให้เกิดการสร้างมูลค่าเพิ่มหลังจากนั้น จึงพานักท่องเที่ยวไปทำกิจกรรมนันทนาการ ณ สถานที่จริง เพื่อให้นักท่องเที่ยวมี ความรู้สึกว่าเป็นมากกว่าการเข้ามาเที่ยวชมสถานที่เพียงอย่างเดียว พร้อมทั้งควรมี ทำการถ่ายภาพที่ระลึก และ Check in ผ่านสื่อโซเชียลมีเดียต่างๆ สุดท้ายคือพาไป ซื้อของฝากและของที่ระลึก เป็นการแปรสภาพสถานที่ท่องเที่ยวที่ธรรมดาให้กลาย เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่มีมูลค่าเพิ่มทั้งทางด้านธุรกิจและทางด้านจิตใจ

I 236 I


สำนักงานเศรษฐกิจชายแดนและโลจิสติกส์

การเปลี่ยนทัศนคติเกี่ยวกับหน้า Low Season (Change Attitude)

“หากทฤษฎีบอกว่าคนจะซื้ออาหารวันละสามเวลา ป่านนี้ร้านสะดวกซื้อคง จะหยุดกิจการไปแล้ว จงอย่าเชื่อว่าทุกคนชอบหน้าหนาว ดังนั้นเราควรเลิกมองหน้าฝน ว่าเป็นหน้า low season” เนื่องจากผู้บริโภคมีรสนิยมต่อในการเลือกบริโภคที่แตก ต่างกัน นักท่องเที่ยวก็คือผู้บริโภคเช่นกัน ย่อมมีรสนิยมที่หลากหลาย บางกลุ่มชอบ ฤดูร้อน บางกลุ่มชอบฤดูหนาว บางกลุ่มก็ชอบฤดูฝน เพราะชุ่มฉ่ำมองทางไหนเขียวขจี ซึ่งเป็นไปไม่ได้ที่จะมีแต่นักท่องเที่ยวที่รอแต่ฤดูหนาว ฉะนั้นควรเปลี่ยนมุมมองให้ มองหน้าฝนจาก low season ให้เป็น Green season และส่งเสริมการท่องเที่ยวตาม ฤดูจะดีกว่า ดังนั้นเราควรจะมองว่าในฤดูฝนเรามีศักยภาพด้านการท่องเที่ยวอะไรที่ จะเป็นจุดขายให้กับเชียงราย เนื่องจากเชียงรายมีที่พักที่เป็นโรงแรมและรีสอร์ทที่อยู่ ท่ามกลางธรรมชาติมากมาย เช่น ดอยแม่สลอง ดอยตุง เชียงของ แม่สรวยหรือที่อื่นๆ ซึ่งสามารถเป็นเป้าหมายของนักท่องเที่ยวที่อยากจะมาพักผ่อน สัมผัสธรรมชาติ แบบ สงบเงียบ หรืออาจจะมีกิจกรรมการส่งเสริมการท่องเที่ยวฤดูฝนเพื่อกระตุ้นให้ นักท่องเที่ยวมาเที่ยวเชียงรายมากขึ้น

การสร้างอุปสงค์แฝงด้านการท่องเที่ยว (Promote Latent Demand)

อุปสงค์แฝงหรืออุปสงค์ซ่อนเร้น (Latent Demand) คือ ความต้องการต่อ สินค้าที่แอบแฝงจากความต้องการจริง รวมถึงการต้องการสินค้าที่แปลกใหม่โดยผู้ บริโภคไม่มีความตั้งใจอยากเลือกซื้อตั้งแต่แรก แต่มีแรงกระตุ้นที่ทให้เกิดแรงจูงใจนั้น ขึ้นมา เช่น ตัวอย่างของกลยุทธ์ด้านการตลาดของห้างสรรพสินค้าต่างๆ ในการสร้าง แรงจูงใจให้ลูกค้าซื้อสินค้า จากการทำโปรโมชั่นต่างๆ ตอนแรกลูกค้าอาจจะไม่ได้ อยากมาซื้อสินค้าชนิดนั้น แต่ห้างสรรพสินค้ามีเทศกาลอาหารหรือของฝาก หรือ กิจกรรมต่างๆ จูงใจให้ลูกค้ามาเที่ยวชม ผลลัพธ์คือลูกค้าเกิดความต้องการแฝงต่อ สินค้าอื่นๆ ของห้างสรรพสินค้าไปด้วย เช่นเดียวกับการท่องเที่ยว ควรที่จะมีการ สร้างอุปสงค์แฝงให้นักท่องเที่ยวเข้ามาเที่ยวเชียงรายให้มากขึ้น จากการโปรโมท

I 237 I


OBELS OUTLOOK 2016

ผ่านเทศกาลการท่องเที่ยวให้เข้ามาในเชียงรายก่อน แล้วค่อยชักจูงให้เกิดความต้อง การท่องเที่ยวในที่ต่างๆ หรืออาจเป็นสถาบันการศึกษา ควรพัฒนาบุคลากรในด้าน การท่องเที่ยว ให้เกิดเป็นยุวทูตด้านการท่องเที่ยว (Tourist Ambassador) หรือเป็น ไกด์นำเสนอการท่องเทีย่ วของเชียงราย ผนวกกับการทีเ่ ชียงรายกำลังจะมีเขตเศรษฐกิจ พิเศษ (Special Economic Zone: CRSEZ) ใน 3 อำเภอ คือเชียงแสน เชียงของ และแม่สาย จะทำให้นักลงทุนหรือผู้ประกอบการที่สนใจอยากจะมาทำธุรกิจใน เชียงราย ได้เดินทางเข้ามาเที่ยวชมพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษมากขึ้น เราอาจใช้โอกาสนี้ ส่งเสริมให้นักลงทุนให้กลายเป็นนักท่องเที่ยวไปในเวลาเดียวกัน

ทฤษฎีเชิงโครงสร้างในการสร้างผลลัพธ์ขั้นสุดท้าย (Increase Ultimate Outcome) ทฤษฎีเชิงโครงสร้างในการสร้าง ผลลัพธ์ขน้ั สุดท้าย (Ultimate Outcome) สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการพัฒนา การท่องเที่ยวได้ โดยวัตถุประสงค์หลัก คื อ เน้ น การเพิ่ ม ผลลั พ ธ์ ขั้ น สุ ด ท้ า ย (Ultimate Outcome) แทนที่การเพิ่ม ผลลัพธ์ (Output) แบบธรรมดา หาก ประยุกต์การใช้ทฤษฎีเชิงโครงสร้างใน การสร้ า งผลลั พ ธ์ ขั้ น สุ ด ท้ า ยกั บ การ ท่องเที่ยว จะได้กระบวนการสร้างผลลัพธ์ ขั้นสุดท้ายดังนี้

I 238 I


สำนักงานเศรษฐกิจชายแดนและโลจิสติกส์

คำอธิบายตัวแปร :

1. Input = นักท่องเที่ยว 2. Process = อุตสาหกรรมท่องเที่ยวและบริการ 3. Output = จำนวนนักท่องเที่ยวที่คาดหวังไว้ 4. Outcome = ระดับความพึงพอใจของนักท่องเที่ยว 5. Ultimate outcome = นักท่องเที่ยวที่อยากกลับมาเที่ยวเชียงรายอีก อย่างต่อเนื่อง เมื่อกำหนดให้ปัจจัยนำเข้า (Input) คือ นักท่องเที่ยวที่เดินทางมาที่จังหวัด เชียงราย ซึ่งเป็นปัจจัยนำเข้าขึ้นอยู่กับการส่งเสริม เทศกาล ฤดูกาล หรือปัจจัยอื่นๆ ของนักท่องเที่ยว ส่วนกระบวนการ (Process) คือ อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและ บริการ ทีใ่ ห้บริการนักท่องเทีย่ วตัง้ แต่ออกจากสนามบิน เข้าทีพ่ กั นำเทีย่ ว ร้านอาหาร ร้านของฝาก จนถึงการเดินทางกลับ ซึ่งปัจจัยนี้สามารถควบคุมได้จากความร่วมมือ ของภาครัฐบาล เอกชน ประชาชน และภาคการศึกษา ในการมุ่งพัฒนามาตรฐาน อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและบริการให้ได้มาตรฐานสากล (Standardization) ซึ่งหาก Process ของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและบริการได้มาตรฐาน จะทำให้ เกิดผลลัพธ์ (Output) หรือ จำนวนนักท่องเที่ยวที่เราคาดหวังไว้ในแต่ละปี จากนี้คือกระบวนการสำคัญที่สุด คือจะทำอย่างไรให้ Output ที่เกิดขึ้นให้ กลายเป็นผลลัพธ์ขั้นสุดท้าย (Ultimate Outcome) ซึ่งก็คือจำนวนนักท่องเที่ยวที่ อยากกลับมาเที่ยวเชียงรายอีกอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นควรมีการเปลี่ยนจาก Output ให้เป็นประสิทธิผล (Outcome) ก่อน โดยการมุ่งเน้นส่งเสริมการศึกษาวิจัยด้านการ ท่องเที่ยวในทุกมิติ (Tourism Research) เพื่อเป็นการศึกษาสถานการณ์ ปัญหา/ อุปสรรค โอกาส รวมถึงระดับความพึงพอใจของนักท่องเที่ยว (Preferences) ที่ จะเป็นสิ่งดึงดูดให้นักท่องกลับมาเที่ยวเชียงรายอีก ซึ่งสุดท้ายแล้วหากกระบวนการ ทฤษฎีเชิงโครงสร้างทำงานอย่างมีประสิทธิภาพก็จะทำให้เกิดวัฎจักรการท่องเที่ยว อย่างยั่งยืนสู่จังหวัดเชียงรายในอนาคต

I 239 I


OBELS OUTLOOK 2016

I 240 I


สำนักงานเศรษฐกิจชายแดนและโลจิสติกส์

แนวทางการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน สู่การพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดน จังหวัดเชียงราย ไอรดา วางกลอน, พรพินันท์ ยี่รงค์

ในวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2558 คณะกรรมการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ (กนพ.) ได้ประกาศให้มีการจัดตั้งเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษในพื้นที่ชายแดนทั้งหมด 10 พื้นที่ โดยทำการแบ่งออกเป็น 2 ระยะ ในระยะที่ 1 ประกอบด้วย 5 พื้นที่ ได้แก่ ตราด ตาก มุกดาหาร สระแก้ว และสงขลา และระยะที่ 2 ประกอบด้วย หนองคาย นราธิวาส เชียงราย นครพนม และกาญจนบุรี รวมพื้นที่กว่า 6,220 ตารางกิโลเมตร หรือ 3.87 พันไร่ ซึ่งพื้นที่ต่างๆที่อยู่ในแผนการพัฒนาจะได้รับทั้งสิทธิประโยชน์จาก หลากหลายหน่วยงานในหลากหลายด้าน อาทิ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการ ลงทุน (Board of Investment : BOI) กรมสรรพากร ด่านศุลกากร ธนาคารเพื่อการ ส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (Export-Import Bank of Thailand : EXIM Bank) เป็นต้น ที่ให้สิทธิประโยชน์ตั้งแต่การยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล การอนุญาต ให้ใช้แรงงานต่างด้าว รวมไปถึงการให้สินเชื่อเพื่อการลงทุนใหม่ และการขยายกิจการ ในระยะยาว (สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, 2559) โดยวัตถุประสงค์หลัก คือ การพยายามที่จะดึงดูดการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ

I 241 I


OBELS OUTLOOK 2016

(Foreign Direct Investment : FDI) เพื่อผลักดันให้เกิดการเพิ่มขึ้นของขีดความ สามารถในการผลิต ลดความเหลื่อมล้ำ พร้อมทั้งยกระดับคุณภาพชีวิตของคนในทั่ว ทุกภูมภิ าค ทัง้ นี้ การพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษมีกลยุทธ์ 4 ประการ ได้แก่ 1. การสนับสนุน พื้นที่เศรษฐกิจใหม่ 2. การสนับสนุนโครงสร้างพื้นฐาน 3. การสนับสนุนวิสาหกิจ ขนาดกลางและขนาดย่อม และ 4. จัดระเบียบพื้นที่ชายแดน (กรมประชาสัมพันธ์, 2558) ซึ่งการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเป็นหนึ่งในกลยุทธ์ที่รัฐบาลได้ให้ความสำคัญ เนื่องจากเป็นปัจจัยที่ช่วยให้เกิดการอำนวยความสะดวกทางการเคลื่อนย้ายสินค้า และดึงดูดให้เกิดการลงทุนในพื้นที่ได้เป็นอย่างดี แนวคิดของเขตเศรษฐกิจพิเศษมีการนำมาใช้อย่างแพร่หลายในหลากหลาย กลุ่มประเทศ ทั้งในประเทศที่เป็นสมาชิกของประชาคมอาเซียน และประเทศกำลัง พัฒนาอื่นๆ อาทิ เขตเศรษฐกิจพิเศษอีสกันดาร์ เขตเศรษฐกิจพิเศษเซิ่นเจิ้น เขต เศรษฐกิจพิเศษประเทศอินโดนีเซีย เขตเศรษฐกิจพิเศษเคซอง เป็นต้น ทั้งนี้โดยนิยาม ของเขตเศรษฐกิจพิเศษ คือ เขตพื้นที่ที่จัดตั้งขึ้นเป็นการเฉพาะตามกฎหมายเพื่อ ประโยชน์ต่อการส่งเสริม สนับสนุน และอำนวยความสะดวก รวมทั้งให้สิทธิพิเศษ บางประการในการดำเนินกิจการต่าง ๆ เช่น การอุตสาหกรรม การพาณิชยกรรม การบริการ หรือกิจการอื่นใดที่เป็นประโยชน์แก่การเศรษฐกิจของประเทศ รูปแบบ ของเขตเศรษฐกิจพิเศษมีหลายประเภท เช่น เขตการค้าเสรี เขตอุตสาหกรรมเสรี เขตปลอดภาษี เขตการค้าชายแดนเสรี และเขตพัฒนาแปรรูปเพื่อการส่งออก (กรม ประชาสัมพันธ์, 2558) ดังนั้นงานวิจัยชิ้นนี้จึงมีวัตถุประสงค์ในการศึกษาสถานการณ์ และประเมินความพร้อมเบื้องต้นของโครงสร้างพื้นฐานใน 3 พื้นที่ชายแดน ได้แก่ อำเภอเชียงแสน อำเภอเชียงของ และอำเภอแม่สาย ตลอดจนวิเคราะห์ศักยภาพ ของโครงสร้างพื้นฐานในด้านต่างๆทั้งในด้านของข้อมูลเชิงปริมาณ และข้อมูลเชิง คุณภาพจากการประเมินและให้ความคิดเห็นของผู้ประกอบการในและนอกพื้นที่ ชายแดน เพื่อเสนอแนะแนวทางในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในพื้นที่ชายแดน จังหวัดเชียงราย

I 242 I


สำนักงานเศรษฐกิจชายแดนและโลจิสติกส์

พื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดนจังหวัดเชียงราย

การจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดนจังหวัดเชียงรายประกาศขึ้นในวันที่ 24 เมษายน 2558 โดยนโยบายการส่งเสริมและกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลไทย เนื่อง จากเล็งเห็นศักยภาพของจังหวัดเชียงรายและการมีที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ที่เหมาะสม สำหรับการเป็นศูนย์กลางทางการค้าและการลงทุน อีกทั้งยังเป็นจุดยุทธศาสตร์ที่ เชื่อมโยงตามแนวระเบียงเศรษฐกิจเหนือ-ใต้ (NSEC) และความร่วมมือของกลุ่ม เศรษฐกิจในอนุภาคลุม่ แม่นำ้ โขง (GMS) โดยเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษเชียงรายประกอบ ไปด้วย 3 อำเภอ ได้แก่ อำเภอแม่สาย อำเภอเชียงแสน และอำเภอเชียงของ มีพื้นที่ ทั้งหมดประมาณ 916 ตารางกิโมเมตร โดยมีจุดผ่านแดนถาวรทั้งหมด 6 จุด ที่มี อาณาเขตติดต่อกับสหภาพเมียนมา และ สปป.ลาว ทั้งนี้รัฐบาลจึงมีนโยบายผลักดัน ให้พื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดนจังหวัดเชียงรายเป็นเมืองหน้าด่านประตูเศรษฐกิจ ของไทยกับกลุม่ ประเทศอาเซียน (AEC) กลุม่ เศรษฐกิจในอนุภาคลุม่ แม่นำ้ โขง (GMS) และกลุ่มการค้าเสรี BIMSTEC เพื่อดึงดูดนักลงทุนชาวต่างชาติและพัฒนาเขตพื้นที่ ชายแดนให้เกิดประโยชน์สูงสุด

1. การศึกษาความพร้อมโครงสร้างพื้นฐานและสาธารณูปโภคของพื้นที่ ชายแดนจังหวัดเชียงราย

1.1 โครงสร้างพื้นฐานและสาธารณูปโภคของพื้นที่อำเภอแม่สาย อำเภอแม่สายเป็นอำเภอทีต่ ง้ั อยูบ่ ริเวณเหนือสุดของประเทศไทย มีพน้ื ที่ 285 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 178,125 ไร่ ลักษณะภูมิประเทศโดยทั่วไปมีลักษณะ เป็นภูเขาและป่าร้อยละ 21.6 ของพื้นที่ทั้งหมด ส่วนพื้นที่ตอนกลางและทางทิศ ตะวันออกของอำเภอจะมีลักษณะเป็นที่ราบ พื้นที่ส่วนใหญ่ใช้เป็นที่ตั้งของชุมชนและ การทำเกษตรกรรม โดยมีอาณาเขตติดต่อทางกับทิศเหนือกับสหภาพเมียนมาโดยมี แม่นำ้ สายและแม่นำ้ รวกเป็นแนวกัน้ อาณาเขต ทิศใต้ตดิ ต่อกับอำเภอแม่จนั ทิศตะวัน ออกติดต่อกับอำเภอเชียงแสน และทิศตะวันตกติดต่อกับสหภาพเมียนมาร์โดยมี เทือกเขาแดนลาวเป็นแนวกั้นอาณาเขต

I 243 I


OBELS OUTLOOK 2016

ตารางที่ 1 รายละเอียดโครงสร้างพื้นฐานและสาธารณูปโภคของพื้นที่อำเภอแม่สาย ประเภทของโครงสร้างพื้นฐาน ถนน

รายละเอียด • อำเภอแม่สายตัง้ อยูป่ ลายสุดของถนนพหลโยธิน (ทางหลวง หมายเลข 1) ติดกับเมืองท่าขีเ้ หล็กของประเทศเมียนมา โดยมีแม่น้ำสายเป็นเส้นแบ่งเขตประเทศ ระบบการ คมนาคมและการขนส่ ง ของอำเภอแม่ ส ายใช้ ก าร คมนาคมทางบกเป็นหลัก โดยมีระยะห่างจากตัวจังหวัด เชียงรายประมาณ 60 กิโลเมตร สภาพถนนในปัจจุบัน ของทางหลวงสายประธานหมายเลข 1 เป็นแบบมาตรฐาน พิเศษ มีขนาด 4 ช่องจราจร มีเกาะกลางแบบยก (Raised Median) เพื่อแยกทิศทางการจราจร ผิวทางเรียบ มี ประสิทธิภาพ สามารถเดินทางได้อย่างรวดเร็วและเป็น เส้นทางหลักที่สำคัญ มีบทบาทมากต่อการพัฒนาความ เจริญของอำเภอแม่สาย • ในส่วนของถนนภายในอำเภอแม่สายนัน้ เป็นแบบเส้นตรง (Linear Type) ซึ่งมีสภาพไม่ค่อยดีนัก เขตทางค่อน ข้างแคบ ได้แก่ ถนนเหมืองแดง ถนนเลียบคลองชล ประทาน ถนนเลีย่ งเมืองของกรมโยธาธิการ ถนนป่ายาง ยังต้องการการพัฒนาและปรับปรุงให้เหมาะสมกับการ เปลี่ยนแปลงสู่การเป็นเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ และ เส้นทางเพื่อการท่องเที่ยว ได้แก่ ถนนสายลมจอย ถนน เลี่ยงเมืองแม่สาย และถนนขึ้นดอยผาหมี

ท่าเรือ

• อำเภอแม่สายยังไม่มีการพัฒนาเรื่องของการคมนาคม ทางน้ำ มีเพียงในลักษณะของการสัญจรข้ามฝั่งของ ประชาชนในพื้นที่ตลอดแม่น้ำสาย

I 244 I


สำนักงานเศรษฐกิจชายแดนและโลจิสติกส์

ประเภทของโครงสร้างพื้นฐาน

รายละเอียด

ท่าอากาศยาน

• อำเภอแม่สายสามารถใช้ท่าอากาศยานนานาชาติแม่ฟ้า หลวงได้ ซึง่ มีศกั ยภาพในการรองรับกิจกรรมทีจ่ ะเกิดขึน้ ในอนาคต แต่ยังต้องมีการพัฒนาเส้นทางการบินกับ ประเทศเพื่อนบ้านและปรับปรุงท่าอากาศยานในบาง ส่วนเพื่อรองรับความต้องการของผู้โดยสารในอนาคต

ระบบขนส่งทางราง (รถไฟ)

• ไม่มี

ระบบน้ำประปาและสุขาภิบาล

• ระบบประปา: ตำบลแม่สายซึง่ เป็นเขตชุมชนเมือง ได้รบั น้ำจากการประปาภูมิภาค ส่วนชุมชนชนบทในระดับ หมู่ บ้ า นจะได้ รั บ น้ ำ อุ ป โภคบริ โ ภคจากระบบประปา ชนบท นอกจากนั้นแต่ละครัวเรือนจะมีบ่อน้ำตื้นหรือถัง รองน้ำฝนเพื่อใช้สำหรับอุปโภคบริโภค • การจัดการน้ำเสีย: พืน้ ทีอ่ ำเภอแม่สายยังไม่มกี ารจัดการ น้ำเสีย ประชาชนในพื้นที่ยังคงใช้วิธีการบำบัดและ กำจัดน้ำเสียที่ออกจากห้องสุขาโดยใช้บ่อเกรอะ และ บ่อซึม ส่วนน้ำเสียจากส่วนอื่นๆของอาคารจะใช้วิธีการ กำจัดโดยการระบายลงสูท่ อ่ ระบายน้ำ ลำรางสาธารณะ และไหลลงสู่แหล่งน้ำธรรมชาติ • การจัดการมูลฝอย: ในส่วนของการจัดการมูลฝอยของ อำเภอแม่สาย ปัจจุบันยังไม่มีระบบจัดการที่สมบูรณ์ และถูกสุขลักษณะ โดยส่วนใหญ่ใช้วิธีเก็บขนไปกอง ทิ้งนอกเมืองในพื้นที่เอกชนที่อยู่ในเขตรับผิดชอบของ อบต.เวียงพางคำ ซึง่ มีการฝังกลบอย่างไม่ถกู วิธี จึงทำให้ เกิดปัญหากลิ่นเหม็นและแมลงวัน

ระบบไฟฟ้าและพลังงาน

• ระบบไฟฟ้าของอำเภอแม่สายเป็นระบบจำหน่ายไฟฟ้า ส่วนภูมิภาค ขนาดพิกัดแรงดัน 33 เควี โดยจ่ายพลังงาน

I 245 I


OBELS OUTLOOK 2016

ประเภทของโครงสร้างพื้นฐาน

รายละเอียด

ระบบสื่อสารและโทรคมนาคม

ไฟฟ้ า มาจากสถานี จ่ า ยไฟฟ้ า ย่ อ ยของอำเภอแม่ จั น ปัจจุบันระบบไฟฟ้าในอำเภอแม่สายยังสามารถตอบ สนองความต้องการของประชาชนในพื้นที่ได้อย่าง เพียงพอ

• ระบบโทรศัพท์ในอำเภอแม่สายอยู่ในความรับผิดขอบ ขององค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย สามารถติดต่อ กับประเทศเพื่อนบ้าน ได้แก่ สหภาพเมียนมาร์ และ ประเทศจีนได้อย่างสะดวก สำหรับการให้บริการ E-commerce ปัจจุบันมีค่อนข้างหนาแน่น ทั้งบริษัท ไทยและต่างชาติ สัญญาณโทรศัพท์สามารถใช้บริการ ได้อย่างทั่วถึง ทั้งนี้ ระบบ 3G แต่อาจมีการขัดข้อง บ้างเล็กน้อย ยังคงต้องการการพัฒนาเพื่อรองรับความ ต้องการที่สูงขึ้น ที่มา: จากการค้นคว้าโดยผู้วิจัย

1.2 โครงสร้างพื้นฐานและสาธารณูปโภคของพื้นที่อำเภอเชียงแสน อำเภอเชียงแสนตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำโขง มีพื้นที่รวมทั้งสิ้น 442 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 276,250 ไร่ สภาพโดยทั่วไปเป็นที่ราบสลับภูเขา โดยมีพื้นที่ราบ ประมาณร้อยละ 55 พื้นที่ภูเขาประมาณร้อยละ 33 และพื้นน้ำประมาณร้อยละ 12 ของพืน้ ทีท่ ง้ั หมด อำเภอเชียงแสนมีอาณาเขตของตำบลเวียงและตำบลบ้านแซวติดต่อ กับ สปป.ลาว และสหภาพเมียนมาร์ โดยทิศเหนือติดต่อกับจังหวัดท่าขี้เหล็ก รัฐฉาน สหภาพเมียนมาร์ มีลำน้ำรวกเป็นเส้นกั้นพรมแดน และติดต่อกับเมืองต้นผึ้ง แขวง บ่อแก้ว (หลวงน้ำทา) สปป.ลาว โดยมีแม่น้ำโขงเป็นเส้นกั้นพรมแดน ทิศใต้ติดต่อกับ อำเภอแม่จนั ทิศตะวันออกติดต่อกับอำเภอเชียงของ ทิศตะวันตกติดต่อกับอำเภอแม่จนั และอำเภอแม่สาย

I 246 I


สำนักงานเศรษฐกิจชายแดนและโลจิสติกส์

ตารางที่ 2 รายละเอียดโครงสร้างพืน้ ฐานและสาธารณูปโภคของพืน้ ทีอ่ ำเภอเชียงแสน รายละเอียด

ประเภทของโครงสร้างพื้นฐาน ถนน

• อำเภอเชียงแสนตั้งอยู่ริมแม่น้ำโขง บริเวณจุดบรรจบ พรมแดน 3 ประเทศ ได้แก่ สหภาพเมียนมาร์ สปป.ลาว และประเทศไทย โดยมีระยะห่างจากตัวเมืองเชียงราย ประมาณ 60 กิโลเมตรการเดินทางใช้ทางหลวงหมาย เลข 1 ถึงอำเภอแม่จัน และใช้ทางหลวงหมายเลข 1016 จากอำเภอแม่จันถึงอำเภอเชียงแสน โดยทาง หลวงเป็นถนน 4 ช่องจราจร ผิวทางเรียบสภาพดี ส่วนทางหลวงหมายเลข 1016 เป็นถนน 2 ช่องจราจร แนวทางคดเคี้ยวเป็นบางช่วง • ในส่วนของถนนภายในอำเภอเชียงแสน มีลักษณะเป็น แบบตาราง (Grid Pattern) มีสภาพยังไม่ดีนัก ยังคง ต้องการการปรับปรุงให้ดียิ่งขึ้น ภายในอำเภอยังมีทาง หลวงหมายเลข 12901 สามารถตัดผ่านตัวเมืองและวิ่ง เลียบแม่น้ำโขง เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาการจราจรภายใน ตัวเมือง และหลีกเลี่ยงการทำลายโบราณสถาน

ท่าเรือ

• การคมนาคมทางน้ำที่อำเภอเชียงแสนนับว่ามีความ สำคัญต่อชีวิตและความเป็นอยู่ของคนในพื้นที่อย่างมาก โดยสามารถจำแนกออกได้เป็น 2 ลักษณะ คือ การ คมนาคมทางน้ำเพื่อการท่องเที่ยว และการคมนาคม ทางน้ำเพื่อการค้าขาย o การคมนาคมทางน้ำเพื่อการท่องเที่ยวตาม ลำน้ำโขง: เรือท่องเที่ยวส่วนใหญ่เป็นเรือไทย ซึ่ง มีหลายขนาดตามจำนวนของนักท่องเทีย่ ว ในอดีต อำเภอเชียงแสนมีท่าเทียบเรือท่องเที่ยวประมาณ 25 ท่า ซึง่ มีมากเกินไปทำให้การจอดเรือไม่มคี วาม

I 247 I


OBELS OUTLOOK 2016

ประเภทของโครงสร้างพื้นฐาน

ท่าอากาศยาน

รายละเอียด

เป็นระเบียบ และมีปญ ั หาการจราจรบนฝัง่ ปัจจุบนั จึงท้องถิ่นได้มีการเจรจากับผู้ประกอบการเพื่อ ลดท่าเรือลง โดยมีเป้าหมายให้เหลือ 5 ท่าซึ่งเป็น ท่าที่ได้มาตรฐาน พร้อมกับการวางระเบียบการ จอดเรือให้เรียบร้อยมากขึ้น o การคมนาคมทางน้ำเพือ่ การค้า: เรือทีใ่ ช้ในการ ค้าส่วนใหญ่เป็นเรือขนสินค้าจากประเทศจีน สามารถเดินทางได้เกือบตลอดทั้งปี อาจมีปัญหา เรื่องของร่องน้ำในบางช่วง

• อำเภอเชียงแสนยังไม่มีการก่อสร้างท่าอากาศยานภาย ในพื้นที่ ดังนั้นจึงต้องอาศัยท่าอากาศยานนานาชาติ แม่ฟ้าหลวงในการอำนวยความสะดวกเช่นเดียวกับ อำเภอแม่สาย ระบบขนส่งทางราง (รถไฟ)

• ไม่มี

ระบบน้ำประปาและสุขาภิบาล

• ระบบน้ำประปา: ระบบประปาในเขตเทศบาลตำบล เวียงเชียงแสน มีระบบประปาที่ดูแลและดำเนินการผลิต โดยการประปาส่วนภูมิภาค ใช้น้ำดิบจากบ่อบาดาล โดยมีกำลังการผลิตประมาณ 1,440 ลม.ม./วัน ซึ่งมี ปริมาณเพียงพอต่อการใช้น้ำของคนในพื้นที่ ส่วนพื้นที่ รอบนอกจะจะมีการประปาหมู่บ้าน บ่อน้ำตื้น และ การรองรับน้ำฝนมาใช้เพื่ออุปโภคบริโภค ซึ่งปัจจุบันมี ปัญหาเรื่องของคุณภาพน้ำที่ยังไม่ดีพอ ยังต้องการการ พัฒนาและปรับปรุงเพื่อให้เพียงพอต่อปริมาณผู้ใช้น้ำ ในอนาคต

I 248 I


สำนักงานเศรษฐกิจชายแดนและโลจิสติกส์

ประเภทของโครงสร้างพื้นฐาน

รายละเอียด • การกำจัดน้ำเสีย: พื้นที่อำเภอเชียงแสน ยังไม่มีระบบ รวบรวมและบำบัดน้ำเสียกลาง เนื่องจากพื้นที่ส่วนใหญ่ ยังไม่มีระบบท่อระบายน้ำ น้ำเสียที่เกิดขึ้นจะถูกระบาย ทิ้งโดยม่านการบำบัด บางส่วนจะถูกระบายสู่แหล่งน้ำ ใกล้เคียงหรือแม่น้ำโขงโดยตรง ซึ่งอาจก่อให้เกิดผลกระ ทบต่อน้ำใต้ดินและน้ำผิวดิน • การจัดการมูลฝอย: การจัดการมูลฝอยของอำเภอ เชียงแสนจะเป็นการกำจัดเองโดยการเผาหรือฝัง ส่วน ในพื้นที่เขตเทศบาลตำบลเวียงเชียงแสนได้ดำเนินการ รวบรวมและจัดเก็บมูลฝอยเพื่อนำมากำจัดรวมกันที่ สถานที่ฝังกลบมูลฝอยของเทศบาล ซึ่งตั้งอยู่ในพื้นที่ ย่านเกษตรกรรมนอกเมือง การกำจัดมูลฝอยทำโดยการ นำมาเทกองที่ปากบ่อกำจัดมูลฝอย ทิ้งไว้ให้แห้งและจึง ฝังกลบโดยไม่มีการปูแผ่นยางเพื่อป้องกันน้ำชะเถ้าไหล ซึงลงดิน ซึ่งก่อให้เกิดปัญหาด้านมลพิษ ทางน้ำใต้ดิน กลิ่นเหม็น ควัน รวมทั้งการปนเปื้อนของน้ำ ทำให้น้ำ มีคุณภาพต่ำ

ระบบไฟฟ้าและพลังงาน

• ระบบไฟฟ้าของอำเภอเชียงแสนเป็นระบบจำหน่ายไฟ ของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ขนาดพิกัดแรงดัน 33 เควี โดยจ่ายพลังงานไฟฟ้าจากสถานีจ่ายไฟฟ้าย่อยอำเภอ แม่จันและอำเภอเมืองเชียงราย ปัจจุบันระบบไฟฟ้า ของอำเภอเชียงแสนเพียงพอ แต่ยังมีความต้องการใน การจัดหาหลอดไฟเพื่อให้ส่องสว่างแก่ถนนในชุมชน เมืองและตามทางหลวงหมายเลข 1129

ระบบสื่อสารและโทรคมนาคม

• ระบบโทรศั พ ท์ ข องอำเภอเชี ย งแสนอยู่ ใ นความรั บ ผิดชอบขององค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย สำหรับ

I 249 I


OBELS OUTLOOK 2016

ประเภทของโครงสร้างพื้นฐาน

รายละเอียด บริการ E-commerce มีใช้สำหรับธุรกิจขนาดกลางและ ขนาดใหญ่ สัญญาณโทรศัพท์สามารถใช้บริการได้อย่าง ทั่วถึง แต่ยังมีปัญหาติดขัดเล็กน้อยในบางพื้นที่ ทั้งนี้ ระบบ 3G รองรับสัญญาณดี เล็กน้อย ยังคงต้องการการ พัฒนาเพื่อรองรับความต้องการที่สูงขึ้น

ที่มา: จากการค้นคว้าโดยผู้วิจัย

1.3 โครงสร้างพื้นฐานและสาธารณูปโภคของพื้นที่อำเภอเชียงของ อำเภอเชียงของเป็นอำเภอชายแดนด้านเหนือของจังหวัดเชียงราย มีพื้นที่ ทั้งหมด 837 ตารางกิโลเมตรหรือประมาณ 523,063 ไร่ ลักษณะทางภูมิประเทศ ทั่วไปเป็นภูเขา โดยมีพื้นที่ราบลุ่มตรงกลาง ที่ราบเชิงเขา และที่ราบริมฝั่งแม่น้ำโขง พื้นที่ส่วนใหญ่เต็มไปด้วยป่าไม้และภูเขาล้อมรอบ มีอาณาเขตติดต่อกับ สปป.ลาว โดย มีแม่น้ำโขงเป็นเส้นกั้นอาณาเขต โดยทิศเหนือติดต่อกับเมืองห้วยทราย แขวงบ่อแก้ว สปป.ลาว โดยมีแม่น้ำโขงเป็นเส้นกั้นอาณาเขต ทิศใต้ติดต่อกับตำบลยางฮอม อำเภอ ขุนตาล และตำบลแม่ต๋ำ อำเภอพญาเม็งราย ทิศตะวันออกติดต่อกับเมืองห้วยทราย แขวงบ่อแก้ว สปป.ลาว โดยมีแม่น้ำโขงเป็นเส้นกั้นอาณาเขต และอำเภอเวียงแก่น และทิศตะวันตกติดต่อกับตำบลแม่ต๋ำ อำเภอพญาเม็งราย ตำบลปงน้อย กิ่งอำเภอ ดอยหลวง และตำบลบ้านแซว อำเภอเชียงแสน

I 250 I


สำนักงานเศรษฐกิจชายแดนและโลจิสติกส์

ตารางที่ 3 รายละเอียดโครงสร้างพื้นฐานและสาธารณูปโภคของพื้นที่อำเภอเชียงของ ประเภทของโครงสร้างพื้นฐาน

ถนน

รายละเอียด • อำเภอเชียงของตัง้ อยูท่ างทิศตะวันออกเฉียงเหนือของ จังหวัดเชียงราย บนทางหลวงหมายเลข 1020 มีระยะ ทางห่างจากตัวจังหวัดเชียงรายประมาณ 137 กิโลเมตร การเดินทางไปอำเภอเชียงของสามารถใช้เส้นทางอื่นๆ ได้อีกหลายเส้นทาง ได้แก่ ทางหลวงหมายเลข 1152, 1174, 1173 และ 1098 ซึง่ มีสภาพทีไ่ ม่คอ่ ยดีนกั และ เส้นทางค่อนข้างคดเคีย้ ว เนือ่ งจากลักษณะภูมปิ ระเทศ ของอำเภอเชียงของเป็นภูเขา จึงทำให้การขยายถนน เป็นไปได้ยาก ซึง่ ต้องการการปรับปรุงระบบการจราจร ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยให้มีความเหมาะสม และสอดคล้องกับสภาพของพื้นที่

ท่าเรือ

• ในปัจจุบัน การคมนาคมทางน้ำในอำเภอเชียงของ เป็นการสัญจรด้วยเรือหางยาวข้ามฝัง่ ของประชาชนใน พืน้ ทีแ่ ละนักท่องเทีย่ ว สำหรับรถบรรทุกสินค้าสามารถ ข้ามฝั่งโดยใช้ท่าเรือบั๊ค ซึ่งมีสภาพท่าเรือไม่ดีนัก ใน ขณะที่ท่าเรือใหม่ (ท่าเรือน้ำลึก) ได้ถูกสร้างขึ้นใกล้กับ ท่าเรือบั๊ค แต่ยังไม่สามารถใช้ประโยชน์ได้อย่างเต็มที่ เนื่องจากทางขึ้น-ลงนั้นอยู่สูงกว่าระดับน้ำต่ำสุด ทั้งนี้ เนื่องจากสภาพลำน้ำโขงช่วง อำเภอเชียงของ-อำเภอ เชียงแสน มีสภาพตืน้ เขินและมีเกาะแก่งค่อนข้างมาก การเดินเรือจึงทำได้ยากลพบาก ดังนั้นการปรับปรุง ท่าเรือให้ใช้ได้ตลอดปีจึงมีความจำเป็นอย่างมาก

ท่าอากาศยาน

• เนื่องจากอำเภอเชียงของไม่มีการสร้างท่าอากาศยาน ในพื้นที่ จึงต้องอาศัยท่าอากาศยานนานาชาติแม่ฟ้า หลวงเช่นเดียวกับอำเภอแม่สายและอำเภอเชียงแสน

I 251 I


OBELS OUTLOOK 2016

ประเภทของโครงสร้างพื้นฐาน

รายละเอียด

ระบบขนส่งทางราง (รถไฟ)

• ไม่มี

ระบบน้ำประปาและสุขาภิบาล

• ระบบประปา: พืน้ ทีน่ อกเขตเทศบาลตำบลเวียงเชียงของ จะใช้น้ำในการอุปโภคบริโภคจากประปาหมู่บ้าน บ่อ น้ำตื้น หรือน้ำฝน ซึ่งยังมีปริมาณที่เพียงพอต่อความ ต้องการ แต่ยังไม่ก่อให้เกิดปัญหาภัยแล้ง ส่วนในพื้นที่ เขตเทศบาลจะได้รับน้ำจากการประปาส่วนภูมิภาค ซึ่งมีกำลังผลิตประมาณ 1,920 ลบ.ม. ต่อวัน ร่วมกับ การใช้น้ำดิบจากแม่น้ำโขง • การจัดการน้ำเสีย: พื้นที่อำเภอเชียงของยังไม่มีการ จัดการน้ำเสีย ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้วจะเป็นการบำบัด ในธรรมชาติ น้ำเสียจะไหลซึมลงดิน ไหลลงแหล่งน้ำ ใกล้เคียงหรือแม่น้ำโขง ปัจจุบันปัญหาน้ำเสียยังไม่ รุนแรงมากนัก แต่ในอนาคตที่มีการเปลี่ยนแปลงสู่ เขตพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษจำเป็นต้องมีระบบบำบัด น้ำเสียเพื่อลดปัญหามลพิษทางน้ำ • การจัดการมูลฝอย: ทางเทศบาลจะดำเนินการจัดเก็บ และนำไปกำจัดโดยการเทกองและเผา บนพืน้ ทีส่ าธารณะ ห่างจากเขตเมืองประมาณกิโลเมตร ซึ่งตั้งอยู่ในเขต ตำบลเวียง โดยการให้บริการยังไม่สามารถให้บริการ ครอบคลุมในทุกพื้นที่ บางพื้นที่ที่ไม่ได้รับการบริการ จะมีการตกค้างของมูลฝอยก่อให้เกิดปัญหากลิ่นเหม็น ควัน และแมลงวัน

ระบบไฟฟ้าและพลังงาน

• ระบบไฟฟ้าของอำเภอเชียงของเป็นระบบจำหน่าย ไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ขนาดพิกัดแรงดัน 33 เควี โดยจ่าย พลังงานไฟฟ้าจากสถานีจา่ ยไฟฟ้าย่อยเชียงราย ปัจจุบนั

I 252 I


สำนักงานเศรษฐกิจชายแดนและโลจิสติกส์

ประเภทของโครงสร้างพื้นฐาน

รายละเอียด ระบบไฟฟ้าและพลังงานมีความเพียงพอต่อความต้อง การของคนในพื้นที่ และมีการจำหน่ายไฟฟ้าให้แก่ สปป.ลาว โดยเชื่อมโยงจากบ้านหัวเวียง อบต.เวียง

ระบบสื่อสารและโทรคมนาคม

• ระบบโทรศัพท์ในอำเภอเชียงของอยู่ในความรับผิด ขอบขององค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย สัญญาณ โทรศัพท์สามารถใช้บริการได้อย่างทัว่ ถึง แต่ยงั มีปญ ั หา ติดขัดเล็กน้อยในบางพื้นที่ ทั้งนี้ ระบบ 3G รองรับ สัญญาณดีเล็กน้อย ยังคงต้องการการพัฒนาเพือ่ รองรับ ความต้องการที่สูงขึ้น ที่มา: จากการค้นคว้าโดยผู้วิจัย

2. เกณฑ์การประเมินโครงสร้างพื้นฐานและสาธารณูปโภค

ในส่วนของการวิเคราะห์ความพร้อมของโครงสร้างพื้นฐานและสาธารณูปโภค จากรวบรวมข้อมูลทุติยภูมิจากเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และการเก็บข้อมูล ปฐมภูมิจากการออกแบบสำรวจความคิดเห็นแก่ผู้ประกอบการภายนอกและในเขต พื้นที่ชายแดนจังหวัดเชียงราย โดยเกณฑ์การประเมินแบ่งออกเป็น 2 ประเด็น ได้แก่ 1) การประเมินโครงสร้างพื้นฐานเชิงกายภาพ และ 2) การประเมินโครงสร้างพื้นฐาน ด้านกฎระเบียบและข้อบังคับ โดยเกณฑ์การให้คะแนนได้แบ่งออกเป็น 4 ระดับ (4 = ดีเยีย่ ม 3 = ดี 2 = พอใช้ 1 = ควรปรับปรุง) ซึง่ เกณฑ์การกำหนดคะแนนอ้างอิง จากจิตติชัย รุจนกนกนาฏ และณัชชา ลิมสถายุรัตน์ (2557) และคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาฯ (2554) โดยมีรายละเอียดดังนี้

I 253 I


OBELS OUTLOOK 2016

2.1 เกณฑ์การประเมินคะแนนโครงสร้างพื้นฐานทางถนน ได้อ้างอิงมาจากตารางการแบ่งระดับของทางหลวงอาเซียน (Asian Highway Classification) จากเกณฑ์ดา้ นคุณภาพของผิวทาง (Pavement Type) และจำนวน ช่องทางจราจร ซึ่งแบ่งได้เป็น 4 Class และตารางการออกแบบทางหลวง (Asian Highway design standards) ในส่วนของความเร็วในการออกแบบแบ่งตามระดับของ ทางหลวงทั้ง 4 Class โดยได้ดัดแปลงให้สอดคล้องกับงานวิจัยโดยใช้ปัจจัยด้านสภาพ ผิวทาง จำนวนช่องจราจร และช่วงความเร็วที่วิ่งได้เป็นเกณฑ์ในการประเมินคะแนน ตารางที่ 4 เกณฑ์การให้คะแนนโครงสร้างพื้นฐานทางถนน เกณฑ์ดัชนีโครงสร้าง พื้นฐานทางถนน

วิ่งด้วย ความเร็ว > 120 กม./ ชม.

มอเตอร์เวย์ หรือถนนทีม่ กี ารควบคุมการ จราจรเข้า-ออก (Primary Class)

4

วิ่งด้วย ความเร็ว 90-120 กม./ชม. 3.5

วิ่งด้วย วิง่ ด้วย ความเร็ว ความเร็ว 50-89 ต่ำกว่า 50 กม./ชม. กม./ชม. 3 2.5

ถนนลาดยาง 4 ช่องทางขึ้นไป ผิวถนนเรียน (Class I)

3.5

3

2.5

2

ถนนลาดยาง 2 ช่องทาง ผิวถนนเรียบ (Class II)

3

2.5

2

1.5

ถนนลาดยาง 2 ช่องทาง ผิวถนนขรุขระ หรือถนนลูกรัง (Class III)

2.5

2

1.5

1

2.2 เกณฑ์การประเมินคะแนนโครงสร้างพื้นฐานทางท่าเรือ ได้อ้างอิงมาจากตารางการแบ่งระดับโดยเทียบกับท่าเรือสิงคโปร์ซึ่งเป็นท่าเรือ ตู้สินค้าที่ใหญ่ที่สุดในโลก ประกอบกับมิติการเชื่อมโยงจากแหล่งอุตสาหกรรมไปยัง ท่าเรือ โดยเกณฑ์การให้คะแนนมาจากข้อมูลทุติยภูมิ หนังสือ ข่าว และงานวิจัย ที่เกี่ยวข้อง

I 254 I


สำนักงานเศรษฐกิจชายแดนและโลจิสติกส์

ตารางที่ 5 เกณฑ์การให้คะแนนโครงสร้างพื้นฐานทางท่าเรือ เกณฑ์ดัชนีโครงสร้าง พื้นฐานทางอากาศ

ท่าอากาศยาน ท่าอากาศยาน ท่าอากาศยาน ขนาดใหญ่ ขนาดกลาง ขนาดเล็ก ทางวิ่งยาว ทางวิ่งยาว ทางวิ่งยาว ตั้งแต่ 3.5 กม. ตั้งแต่ 2.5 กม. น้อยกว่า 2.5 กม. จำนวน 2 จำนวน 1 จำนวน 1 ทางวิ่ง ทางวิ่ง ทางวิ่ง

มีการเชื่อมโยงกับเขตนิคมฯ (รัศมี< 10 กม.)

4

3.5

3

ตัง้ อยูใ่ นรัศมีไม่เกิน 100 กม.จากเขตนิคมฯ

3.5

3.0

2.5

ตัง้ อยูใ่ นเขตรัศมี 100-200 กม. จากเขต นิคมฯ

3

2.5

2

ไม่มีสถานีรถไฟตั้งอยู่ในรัศมี 200 กม.

1

2.3 เกณฑ์การประเมินคะแนนโครงสร้างพื้นฐานทางอากาศ ได้อา้ งอิงจากตาราง Typical Facility and Service Attributes ของ Wilbur Smith Associates ซึ่งแบ่งเกณฑ์ระดับของท่าอากาศยานออกเป็น 4 ระดับ โดย ได้นำ 2 ปัจจัยหลักมาเป็นเกณฑ์ในการให้คะแนน ได้แก่ ปัจจัยด้านความยาวของ ทางวิ่ง (Runway Length) และจำนวนทางวิ่ง (Taxiway) เป็นเกณฑ์ โดยดัดแปลงให้ สอดคล้องกับงานวิจัย ประกอบกับมิติการประเมินด้านการเชื่อมโยงจากแหล่งนิคม อุตสาหกรรมไปยังท่าอากาศยาน โดยให้คะแนนจากการรวบรวมข้อมูลทุตยิ ภูมิ หนังสือ ข่าว และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

I 255 I


OBELS OUTLOOK 2016

ตารางที่ 6 เกณฑ์การให้คะแนนโครงสร้างพื้นฐานทางอากาศ เกณฑ์ดัชนีโครงสร้าง พื้นฐานทางอากาศ

ท่าอากาศยาน ท่าอากาศยาน ท่าอากาศยาน ขนาดใหญ่ ขนาดกลาง ขนาดเล็ก ทางวิ่งยาว ทางวิ่งยาว ทางวิ่งยาว ตั้งแต่ 3.5 กม. ตั้งแต่ 2.5 กม. น้อยกว่า 2.5 กม. จำนวน 2 จำนวน 1 จำนวน 1 ทางวิ่ง ทางวิ่ง ทางวิ่ง

มีการเชื่อมโยงกับเขตนิคมฯ (รัศมี< 10 กม.)

4

3.5

3

ตั้งอยู่ในรัศมีไม่เกิน 100 กม. จากเขตนิคมฯ

3.5

3

2.5

ตั้งอยู่ในเขตรัศมี 100-200 กม. จากเขตนิคมฯ

3

2.5

2

ไม่มีสถานีรถไฟตั้งอยู่ในรัศมี 200 กม.

1

2.4 เกณฑ์การประเมินคะแนนโครงสร้างพื้นฐานของระบบ ขนส่งทางราง (รถไฟ) ได้ อ้ า งอิ ง จากองค์ ก ารบริ ห ารการรถไฟกลางของประเทศสหรั ฐ อเมริ ก า ประกอบกับมิติการเชื่อมโยงจากแหล่งอุตสาหกรรมไปยังสถานีรถไฟ โดยเกณฑ์การ ให้คะแนนมาจากข้อมูลทุติยภูมิ หนังสือ ข่าว และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ตารางที่ 7 เกณฑ์การให้คะแนนโครงสร้างพื้นฐานของระบบขนส่งทางราง (รถไฟ) เกณฑ์ดัชนี โครงสร้างพื้นฐานทางรถไฟ

มีการเชื่อมโยงกับเขตนิคมฯ (รัศมีไม่เกิน 10 กม.)

วิ่งด้วย วิ่งด้วย ความเร็ว > ความเร็ว 120 90-120 กม./ชม. กม./ชม. 4

I 256 I

3.5

วิ่งด้วย วิ่งด้วย ความเร็ว ความเร็ว 50-89 ต่ำกว่า 50 กม./ชม. กม./ชม. 3

2.5


สำนักงานเศรษฐกิจชายแดนและโลจิสติกส์

เกณฑ์ดัชนี โครงสร้างพื้นฐานทางรถไฟ

วิ่งด้วย วิ่งด้วย ความเร็ว > ความเร็ว 120 90-120 กม./ชม. กม./ชม.

วิ่งด้วย วิ่งด้วย ความเร็ว ความเร็ว 50-89 ต่ำกว่า 50 กม./ชม. กม./ชม.

ตั้งอยู่ในรัศมีไม่เกิน 100 กม. จาก เขตนิคมฯ

3.5

3

2.5

2

ตั้งอยู่ในเขตรัศมี 100-200 กม. จากเขตนิคมฯ

3

2.5

2

1.5

ไม่มีสถานีรถไฟตั้งอยู่ในรัศมี 200 กม.

1

2.5 เกณฑ์การประเมินคะแนนโครงสร้างพื้นฐานด้านสาธารณูปโภค ได้อ้างอิงมาจากข้อมูลทุติยภูมิ หนังสือ ข่าว และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ในเรื่อง ของความต้องการในด้านคลังสินค้าและศูนย์กระจายสินค้า ด้านไฟฟ้าและพลังงาน ด้านประปาและสุขาภิบาล ด้านสื่อสารและโทรคมนาคม และความสะดวกในการ ข้ามแดนของสินค้าและแรงงานที่มีผลกระทบต่อคุณภาพและผลผลิตจากอุตสาหกรรม ในเขตเศรษฐกิจพิเศษ ตารางที่ 8 เกณฑ์การให้คะแนนคลังสินค้าและศูนย์กระจายสินค้า

ระดับคะแนน 4

ความหมาย มีคลังสินค้าและศูนย์กระจายสินค้าที่มีพื้นที่เพียงพอต่อความต้อง การในการใช้งาน มีเทคโนโลยีทันสมัย มีความสามารถในการเก็บ รักษาสินค้าได้หลายชนิด รวมทั้งสินค้าที่ต้องการแช่เย็นและสินค้า อันตราย ได้มาตรฐานในตำแหน่งพื้นที่ที่เหมาะสม

I 257 I


OBELS OUTLOOK 2016

ระดับคะแนน

ความหมาย

3

มีคลังสินค้าและศูนย์กระจายสินค้าที่มีพื้นที่เพียงพอต่อความ ต้องการในการใช้งาน ได้มาตรฐานแต่อาจจะไม่มีเทคโนโลยีสมัย ขาดความสามารถในการเก็บรักษาสินค้าบางชนิด เช่น สินค้าที่ ต้องการแช่เย็นและสินค้าอันตราย

2

มีพน้ื ทีว่ า่ งเปล่าทีถ่ กู กันไว้สำหรับใช้เป็นคลังสินค้าหรือศูนย์กระจาย สินค้าที่รถขนส่งสินค้าอาจใช้เป็นที่เปลี่ยนถ่ายสินค้าได้ แต่ไม่มี การที่ดีเท่าที่ควร

1

ไม่พบพื้นที่ที่สามารถใช้เป็นคลังสินค้าหรือศูนย์กระจายสินค้าได้ การเปลีย่ นถ่ายสินค้าต้องทำในสถานทีอ่ น่ื เท่านัน้ เช่น ด่านพรมแดน อีกประเทศหนึ่ง เป็นต้น ตารางที่ 9 เกณฑ์การให้คะแนนโครงสร้างพื้นฐานด้านไฟฟ้าและพลังงาน

ระดับคะแนน

ความหมาย

4

มีระบบส่งไฟฟ้าเข้าถึงพื้นที่เขตนิคมฯ และเขตเศรษฐกิจพิเศษ อย่างทั่วถึง สามารถสนองความต้องการของอุตสาหกรรมในพื้นที่ ได้อย่างพอเพียงไม่มีปัญหาเรื่องไฟตกหรือไฟดับ

3

มีระบบส่งไฟฟ้าเข้าถึงพืน้ ทีเ่ ขตนิคมฯ และเขตเศรษฐกิจพิเศษอย่าง ทั่วถึง สามารถสนองความต้องการของอุตสาหกรรมในพื้นที่ได้ อย่างพอเพียง แต่ยังคงมีช่วงเวลาที่ขาดไฟฟ้า ไฟตก หรือไฟดับ อยู่บ้าง แต่ไม่กระทบต่อคุณภาพและอัตราการผลิต

I 258 I


สำนักงานเศรษฐกิจชายแดนและโลจิสติกส์

ระดับคะแนน

ความหมาย

2

มีระบบส่งไฟฟ้าเข้าถึงพื้นที่เขตนิคมฯ และเขตเศรษฐกิจพิเศษใน บางพืน้ ทีเ่ ท่านัน้ และยังไม่สามารถสนองความต้องการของอุตสาหกรรม ในพื้นที่ได้อย่างพอเพียง นอกจากนี้ยังมีปัญหาเรื่องไฟตกหรือ ไฟดับที่ส่งผลกระทบต่อคุณภาพและอัตราการผลิต

1

มีระบบไฟฟ้าเข้าถึงพื้นที่น้อยมาก ไม่เพียงพอต่อความต้องการของ อุตสาหกรรม เป็นปัญหาที่จะส่งผลกระทบต่อคุณภาพและอัตรา การผลิตอย่างมาก

ตารางที่ 10 เกณฑ์การให้คะแนนโครงสร้างพื้นฐานด้านประปาและสุขาภิบาล

ระดับคะแนน

ความหมาย

4

มีระบบน้ำประปาเข้าถึงพื้นที่เขตนิคมฯ และเขตเศรษฐกิจพิเศษ อย่างทั่วถึง และเพียงพอต่อความต้องการในอุตสาหกรรม รวมทั้ง ยังมีระบบสุขาภิบาลทีม่ ปี ระสิทธิภาพ ไม่มปี ญ ั หาเรือ่ งการขาดแคลน น้ำประปา

3

มีระบบน้ำประปาหรือน้ำบาดาลเข้าถึงพื้นที่เขตนิคมฯ และเขต เศรษฐกิจพิเศษอย่างทัว่ ถึง แต่อาจเกิดการขาดแคลนน้ำในบางช่วง ซึ่งไม่มีลกระทบหรือส่งผลกระทบเพียงเล็กน้อยต่อคุณภาพและ อัตราการผลิต ส่วนระบบสุขาภิบาลค่อนข้างมีประสิทธิภาพ

2

มีระบบน้ำบาดาลเข้าถึงพื้นที่เขตนิคมฯ และเขตเศรษฐกิจพิเศษ ในบางพื้นที่เท่านั้น และยังไม่สามารถตอบสนองความต้องการได้ อย่างเพียงพอ รวมทั้งยังมีปัญหาด้านระบบสุขาภิบาลที่ส่งผล กระทบต่อคุณภาพและอัตราการผลิต รวมทั้งสิ่งแวดล้อมในเขต พื้นที่นิคมฯ

I 259 I


OBELS OUTLOOK 2016

ระดับคะแนน

ความหมาย

1

ระบบน้ำบาดาลยังขาดแคลนอยู่มาก ไม่สามารถตอบสนองความ ต้องการในการผลิตได้อย่างเพียงพอ ส่งผลกระทบอย่างมากต่อ คุณภาพและอัตราการผลิต รวมทัง้ ระบบสุขาภิบาลทีไ่ ม่มปี ระสิทธิภาพ ส่งผลเสียต่อสิ่งแวดล้อมบริเวณนิคมฯ

ตารางที่ 11 เกณฑ์การให้คะแนนโครงสร้างพื้นฐานด้านการสื่อสารและโทรคมนาคม

ระดับคะแนน

ความหมาย

4

มีระบบสื่อสารไร้สาย (EDGE/3G/4G) รวมทั้งมีการให้บริการ อินเตอร์เน็ต ADSL ทั่วพื้นที่

3

มีระบบสื่อสารไร้สาย เช่น EDGE/ 3G/4G รวมทั้งมีการให้บริการ อินเตอร์เน็ต ADSL ทีค่ รอบคลุมบางพืน้ ทีเ่ ท่านัน้ แต่ไม่สง่ ผลกระทบ ใดต่ออุตสาหกรรม

2

มีระบบสื่อสารไร้สาย เช่น EDGE/3G/4G รวมทั้งมีการให้บริการ อินเตอร์เน็ต ADSL ที่ครอบคลุมพื้นที่ส่วนน้อย และส่งผลกระทบ ต่ออุตสาหกรรมในพื้นที่

1

ไม่มรี ะบบสือ่ สารไร้สาย เช่น EDGE/3G/4G และอินเตอร์เน็ต ADSL เป็นอุปสรรคอย่างมากต่ออุตสาหกรรมในพื้นที่

I 260 I


สำนักงานเศรษฐกิจชายแดนและโลจิสติกส์

ตารางที่ 12 เกณฑ์การให้คะแนนความสะดวกในการข้ามแดนของสินค้าและแรงงาน ระดับคะแนน

ความหมาย

4

การข้ามแดนของสินค้าและแรงงานในพืน้ ทีร่ ะหว่างจุดผ่านแดนสอง ประเทศสามารถทำได้โดยสะดวก ในเวลาที่สั้นไม่เสียเวลาและมี ความปลอดภัย

3

การข้ามแดนของสินค้าและแรงงานในพืน้ ทีร่ ะหว่างจุดผ่านแดนสอง ประเทศ สามารถทำได้โดยไม่เสียเวลามากและมีความปลอดภัย อาจ เนื่องจากเส้นทางข้ามแดนมีระยะทางไกล/ขาดการบำรุงรักษา

2

การข้ามแดนของสินค้าและแรงงานในพื้นที่ระหว่างจุดผ่านแดนสอง ประเทศสามารถทำได้แต่ไม่สะดวกสบาย มีความปลอดภัยปานกลาง ซึ่งหาไม่ระมัดระวังเท่าที่ควร สินค้าบางส่วนอาจเกิดการเสียหาย แรงงานบางกลุ่ม เช่น ผู้สูงอายุ, ผู้มีสัมภาระมากไม่สามารถเดินทาง ได้โดยสะดวก

1

การข้ามแดนของสินค้าและแรงงานในพืน้ ทีร่ ะหว่างจุดผ่านแดนสอง ประเทศ ทำได้แต่ด้วยความยากลำบาก ขาดความปลอดภัยในชีวิต และทรัพย์สินอย่างมาก สินค้าขนาดใหญ่และแรงงานบางกลุ่มเช่น ผู้สูงอายุ, ผู้มีสัมภาระมาก ไม่สามารถเดินทางผ่านได้

I 261 I


OBELS OUTLOOK 2016

3. การประเมินของโครงสร้างพื้นฐานของพื้นที่ชายแดนเชียงราย จากข้อมูลเชิงปริมาณ

ในส่วนของการประเมินโครงสร้างพืน้ ฐานของพืน้ ทีช่ ายแดนเชียงรายจากข้อมูล เชิงปริมาณ ได้ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสาร หนังสือ ข่าวสาร และงานวิจัย ที่เกี่ยวข้อง เกี่ยวกับข้อมูลโครงสร้างพื้นฐานประกอบด้วย โครงสร้างพื้นฐานทางถนน ท่าเรือ ท่าอากาศยาน ระบบขนส่งทางราง คลังสินค้าและศูนย์กระจายสินค้า ระบบ ไฟฟ้าและพลังงาน ระบบน้ำประปาและสุขาภิบาล ระบบโทรคมนาคมและการสือ่ สาร และความสะดวกในการข้ามแดนของสินค้าและแรงงานของพื้นที่อำเภอเชียงของ อำเภอเชียงแสน และอำเภอแม่สาย เพื่อเปรียบเทียบและสรุปความพร้อมของโครง สร้างพื้นฐานและสาธารณูปโภคในแต่ละพื้นที่ 3.1 การประเมินโครงสร้างพื้นฐานและสาธารณูปโภคของพื้นที่อำเภอแม่สาย จากการประเมินในตารางที่ 13 พบว่าระบบโครงสร้างพื้นฐานในพื้นที่เฉลี่ยรวม ของอำเภอแม่สายอยู่ในระดับพอใช้จนถึงดี (คะแนน 2.89) โดยโครงสร้างพื้นฐาน ทีม่ คี วามพร้อมทีส่ ดุ คือ ความสะดวกในการข้ามแดนของสินค้าและแรงงาน และคลัง สินค้าและศูนย์กระจายสินค้าอยู่ในเกณฑ์ดีมาก (คะแนน 4) เนื่องจากแม่สายมีด่าน ศุลกากรและจุดตรวจคนเข้าเมือง 2 ด่าน และสะพานข้ามแม่น้ำสาย 2 แห่งเพื่อข้าม ไปฝัง่ เมียนมา รวมทัง้ พิธที างศุลกากรในการข้ามแดนสำหรับสินค้า และแรงงานใช้เวลา ไม่มาก นอกจากนี้ ยังมีคลังสินค้าทีม่ พี น้ื ทีเ่ พียงพอต่อความต้องการในการใช้งาน มีเทคโนโลยีทันสมัย มีความสามารถในการเก็บรักษาสินค้าได้หลายชนิด และได้ มาตรฐานอยูใ่ นตำแหน่งพืน้ ทีท่ เ่ี หมาะสม รองมาคือ ระบบโทรคมนาคมและการสือ่ สาร ระบบน้ำประปาและสุขาภิบาล ระบบไฟฟ้าและพลังงาน และท่าอากาศยานอยู่ใน เกณฑ์ดี (คะแนน 3) ส่วนโครงสร้างพื้นฐานทางถนน และท่าเรืออยู่ในเกณฑ์พอใช้ จนถึงดี (คะแนน 2.5) และโครงสร้างพื้นฐานที่ควรปรับปรุง (คะแนน 1) คือ ระบบ ขนส่งทางราง ที่ยังไม่แผนในการก่อสร้างเข้ามาในพื้นที่

I 262 I


สำนักงานเศรษฐกิจชายแดนและโลจิสติกส์

โครงสร้างพืน้ ฐาน

คำอธิบาย

คะแนน

ถนน

ถนนพหลโยธิน (กรุงเทพ-แม่สาย) - ถนน 4 ช่องทาง - ผิวถนนเรียบ - วิ่งด้วยความเร็วเฉลี่ย 60 กิโลเมตรต่อชั่วโมง

2.5

ท่าเรือ

ท่าเรือเชียงแสนแห่งที่ 1 - ท่าเรือขนาดเล็ก - ความยาวท่าเรือไม่เกิน 50 เมตร - ระดับน้ำลึก 2 เมตร - อยู่ในเขตรัศมี 50 กิโลเมตร ท่าเรือเชียงแสนแห่งที่ 2 - ท่าเรือขนาดเล็ก - ท่าเรือขนาดกว้าง 24 เมตร ยาว 300 เมตร - ระดับน้ำลึก 1.5-7 เมตร แตกต่างตามฤดูกาล - อยู่ในเขตรัศมี 40 กิโลเมตร

2.5

ท่าอากาศยาน

ท่าอากาศยานแม่ฟ้าหลวงเชียงราย - ท่าอากาศยานขนาดกลาง - ทางวิ่งยาว 3 กิโลเมตร - อยู่ในเขตรัศมี 60 กิโลเมตร

3

ระบบขนส่งทางราง ไม่มีสถานีรถไฟตั้งอยู่ในรัศมี 200 กิโลเมตร

1

คลังสินค้าและศูนย์ มีคลังสินค้าที่มีพ้นื ที่เพียงพอต่อความต้องการใน การใช้งาน มีเทคโนโลยีทันสมัย มีความสามารถ กระจายสินค้า ในการเก็บรักษาสินค้าได้หลายชนิดได้มาตรฐาน และอยู่ในตำแหน่งพื้นที่ที่เหมาะสม

4

I 263 I


OBELS OUTLOOK 2016

โครงสร้างพืน้ ฐาน

คำอธิบาย

คะแนน

ระบบไฟฟ้าและ พลังงาน

มีระบบส่งไฟฟ้าเข้าถึงพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษ อย่างทั่วถึง สามารถสนองความต้องการของ อุตสาหกรรมในพื้นที่ได้อย่างพอเพียง แต่ยังคง มีช่วงเวลาที่ขาดไฟฟ้า ไฟตก หรือไฟดับอยู่

3

ระบบน้ำประปา และสุขาภิบาล

มีระบบน้ำประปาหรือน้ำบาดาลเข้าถึงพื้นที่เขต เศรษฐกิจพิเศษอย่างทั่วถึง แต่อาจเกิดการขาด แคลนน้ำในบางช่วง

3

ระบบโทรคมนาคม สัญญาณโทรศัพท์สามารถใช้บริการได้อย่างทั่ว และการสื่อสาร ถึง ระบบ 3G มีความพร้อมแต่อาจมีการขัดข้อง บ้างเล็กน้อย

3

ความสะดวกในการ มีด่านศุลกากรและจุดตรวจคนเข้าเมือง 2 ด่าน ข้ามแดนของสินค้า และสะพานข้ามแม่น้ำสายแห่งที่ 1 และ 2 ส่วน และแรงงาน การข้ามแดนของสินค้าและแรงงานมีความสะดวก ปลอดภัย ใช้เวลาไม่มากนัก ส่วนผู้เดินทางข้าม แดนจะต้องใช้เวลารอแถวเพื่อถูกตรวจสอบจาก เจ้าหน้าที่ ศักยภาพของโครงสร้างพื้นฐานและสาธารณูปโภคเฉลี่ยรวม

4

ที่มา: จากการประเมินของผู้วิจัย

I 264 I

2.89


สำนักงานเศรษฐกิจชายแดนและโลจิสติกส์

3.2 การประเมินโครงสร้างพื้นฐานและสาธารณูปโภคของพื้นที่อำเภอ เชียงแสน จากการประเมินในตารางที่ 14 พบว่าระบบโครงสร้างพื้นฐานในพื้นที่เฉลี่ย รวมของอำเภอเชียงแสนอยู่ในเกณฑ์ดี (คะแนน 3) โดยโครงสร้างพื้นฐานที่มีความ พร้อมที่สุด คือ คลังสินค้าและศูนย์กระจายสินค้า และระบบน้ำประปาและสุขาภิบาล อยู่ในเกณฑ์ดีมาก (คะแนน 4) เนื่องจาก คลังสินค้าเพียงพอต่อการใช้งาน ทันสมัย ได้มาตรฐาน และอยู่ในตำแหน่งพื้นที่ที่เหมาะสม ส่วนน้ำประปาสามารถเข้าถึงใน ทุกพื้นที่ โดยมีแหล่งน้ำที่หลากหลาย รองมาคือ โครงสร้างพื้นฐานทางถนน ท่าเรือ ท่าอากาศยาน ระบบไฟฟ้าและพลังงาน ระบบโทรคมนาคมและการสือ่ สาร และความ สะดวกในการข้ามแดนของสินค้าและแรงงาน อยู่ในเกณฑ์ดี (คะแนน 3) ส่วนระบบ ขนส่งทางรางรถไฟเหมือนกับอำเภอแม่สาย คือ ยังไม่มีการก่อสร้างเข้ามาในพื้นที่ ทำให้ได้คะแนนอยู่ในเกณฑ์ควรปรับปรุง ตารางที่ 14 การประเมินโครงสร้างพื้นฐานและสาธารณูปโภคของอำเภอเชียงแสน

โครงสร้างพืน้ ฐาน

คำอธิบาย

คะแนน

ถนน

ทางหลวงหมายเลข 1016 ไปกรุงเทพมหานคร - ถนนลาดยาง 4 ช่องทาง - วิ่งได้ด้วยความเร็วประมาณ 90 กิโลเมตร ต่อชั่วโมง

3

ท่าเรือ

ท่าเรือเชียงแสนแห่งที่ 1 - ท่าเรือขนาดเล็ก - ความยาวท่าเรือไม่เกิน 50 เมตร - ระดับน้ำลึก 2 เมตร

3

I 265 I


OBELS OUTLOOK 2016

โครงสร้างพืน้ ฐาน

คำอธิบาย

คะแนน

ท่าเรือเชียงแสนแห่งที่ 2 - ท่าเรือขนาดเล็ก - ท่าเรือขนาดกว้าง 24 เมตร ยาว 300 เมตร - ระดับน้ำลึก 1.5-7 เมตร แตกต่างตามฤดูกาล ท่าเรือห้าเชียง (ท่าเรือเอกชน) - ท่าเรือขนาดเล็ก ท่าอากาศยาน

ท่าอากาศยานแม่ฟ้าหลวงเชียงราย - ท่าอากาศยานขนาดกลาง - ทางวิ่งยาว 3 กิโลเมตร - อยู่ในเขตรัศมี 90 กิโลเมตร

3

ระบบขนส่งทางราง ไม่มีสถานีรถไฟตั้งอยู่ในรัศมี 200 กิโลเมตร

1

คลังสินค้าและศูนย์ มี ค ลั ง สิ น ค้ า และศู น ย์ ก ระจายสิ น ค้ า ที่ มี พื้ น ที่ กระจายสินค้า เพียงพอต่อความต้องการในการใช้งานมีเทคโนโลยี ทันสมัย มีความสามารถในการเก็บรักษาสินค้า ได้หลายชนิดรวมทั้งสินค้าที่ต้องการแช่เย็นและ สินค้าอันตราย ได้มาตรฐาน และอยู่ในตำแหน่ง พื้นที่ที่เหมาะสม

4

ระบบไฟฟ้าและ พลังงาน

3

มีระบบส่งไฟฟ้าเข้าถึงพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษ อย่างทั่วถึง สามารถสนองความต้องการของ อุตสาหกรรมในพื้นที่ได้อย่างพอเพียง แต่ยังไม่ สามารถรองรับอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ได้

I 266 I


สำนักงานเศรษฐกิจชายแดนและโลจิสติกส์

โครงสร้างพืน้ ฐาน ระบบน้ำประปา และสุขาภิบาล

คำอธิบาย

คะแนน

มีระบบน้ำประปาหรือน้ำบาดาลเข้าถึงพื้นที่เขต เศรษฐกิจพิเศษอย่างทั่วถึง เพราะสามารถดึง น้ำจืดจากแม่น้ำโขงได้ง่าย

4

ระบบโทรคมนาคม สัญญาณโทรศัพท์สามารถใช้บริการได้อย่างทัว่ ถึง และการสื่อสาร แต่ยังมีปัญหาติดขัดเล็กน้อยในบางพื้นที่ และ ระบบ 3G รองรับสัญญาณดี

3

ความสะดวกในการ มีด่านศุลกากรและจุดตรวจคนเข้าเมือง การ ข้ามแดนของสินค้า ข้ามแดนของสินค้าและแรงงานในพื้นที่ระหว่าง และแรงงาน จุดผ่านแดนสองประเทศ สามารถทำได้ค่อนข้าง สะดวก มีความปลอดภัยปานกลาง

3

ศักยภาพของโครงสร้างพื้นฐานและสาธารณูปโภคเฉลี่ยรวม

3

ที่มา: จากการประเมินของผู้วิจัย

3.3 การประเมินโครงสร้างพื้นฐานและสาธารณูปโภคของพื้นที่ อำเภอเชียงของ จากการประเมินในตารางที่ 15 พบว่าระบบโครงสร้างพื้นฐานในพื้นที่เฉลี่ย รวมของอำเภอเชียงของอยู่ในเกณฑ์ดี (คะแนน 3.07) โดยโครงสร้างพื้นฐานที่มีความ พร้อมที่สุด คือ ความสะดวกในการข้ามแดนของสินค้าและแรงงาน ระบบน้ำประปา และสุขาภิบาล และคลังสินค้าและศูนย์กระจายสินค้าอยู่ในเกณฑ์ดีมาก (คะแนน 4) โดยเชียงของมีด่านศุลกากร จุดตรวจคนเข้าเมือง และสะพานมิตรภาพไทย-ลาวแห่งที่ 4 ที่มีความพร้อมต่อการเคลื่อนย้ายของสินค้าและแรงงาน โดยมีพิธีทางศุลกากรที่ ใช้เวลาไม่มาก รวมถึงมีพน้ื ทีส่ ำหรับจอดรถเพียงพอต่อความต้องการระบบน้ำประปา เพียงพออย่างในพื้นที่ เนื่องจากมีทั้งน้ำประปาจากส่วนภูมิภาค น้ำบาดาล และน้ำ

I 267 I


OBELS OUTLOOK 2016

จากแม่น้ำโขง และคลังสินค้ามีจำนวนเพียงพอต่อปริมาณความต้องการ พร้อมทั้งมี ระบบการจัดการที่ทันสมัย และได้มาตรฐาน และกำลังจะมีโครงการศูนย์เปลี่ยน ถ่ายรูปแบบการขนส่งสินค้าเชียงของ (Intermodal Facilities) เพื่อรองรับการขนส่ง สินค้าจากจีนตอนใต้ โครงสร้างพื้นฐานที่มีความพร้อมรองมาคือ โครงสร้างพื้นฐาน ทางถนน ท่าอากาศยาน ระบบไฟฟ้าและพลังงาน และ ระบบโทรคมนาคมและการ สื่อสาร เกณฑ์อยู่ในระดับดี (คะแนน 3) และท่าเรือ เกณฑ์อยู่ในระดับพอใช้จนถึงดี (คะแนน 2.67) ส่วนท่าเรือได้ระดับการประเมินเหมือนกับอำเภอแม่สาย และอำเภอ เชียงแสน คือ ควรปรับปรุง เพราะยังไม่มีโครงการในการก่อสร้างทางรถไฟเข้ามาใน พื้นที่ ตารางที่ 15 การประเมินโครงสร้างพื้นฐานและสาธารณูปโภคของอำเภอเชียงของ

โครงสร้างพืน้ ฐาน

คำอธิบาย

คะแนน

ถนน

ถนนห้วยทราย-ท่าเรือ - ถนนลาดยาง 2-4 ช่องทาง - ผิวถนนเรียบ - วิ่งได้ด้วยความเร็วประมาณ 90 กิโลเมตร ต่อชั่วโมง

3

ท่าเรือ

ท่าเรือบั๊ค - ท่าเรือแม่น้ำ ท่าเรือผาถ่าน - ท่าเรือแม่น้ำ ท่าเรือน้ำลึก - ท่าเรือขนาดเล็ก - ความยาวท่าเรือ 180 เมตร กว้าง 24 เมตร

2.67

I 268 I


สำนักงานเศรษฐกิจชายแดนและโลจิสติกส์

โครงสร้างพืน้ ฐาน ท่าอากาศยาน

คำอธิบาย ท่าอากาศยานแม่ฟ้าหลวงเชียงราย - ท่าอากาศยานขนาดกลาง - ทางวิ่งยาว 3 กิโลเมตร - อยู่ในเขตรัศมี 110 กิโลเมตร ท่าอากาศยานบ่อแก้ว - ท่าอากาศยานขนาดเล็ก - ทางวิ่งยาว 1.5 กิโลเมตร - ตั้งอยู่ในเขตรัศมี 20 กิโลเมตรจากเขตพื้นที่

คะแนน 3

ระบบขนส่งทางราง ไม่มีสถานีรถไฟตั้งอยู่ในรัศมี 200 กิโลเมตร

1

คลังสินค้าและศูนย์ มี ค ลั ง สิ น ค้ า และศู น ย์ ก ระจายสิ น ค้ า ที่ มี พื้ น ที่ กระจายสินค้า เพียงพอ มีเทคโนโลยีทันสมัย ได้มาตรฐาน และ กำลังมีโครงการศูนย์เปลี่ยนถ่ายรูปแบบการขน ส่งสินค้าเชียงของ (Intermodal Facilities) รองรับการขนส่งสินค้าจากจีนในอนาคต

4

ระบบไฟฟ้าและ พลังงาน

มีระบบส่งไฟฟ้าเข้าถึงพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษ อย่างทั่วถึง สามารถสนองความต้องการของ อุตสาหกรรมในพื้นที่ได้อย่างพอเพียงแต่ยังคง มีช่วงเวลาที่ขาดไฟฟ้า ไฟตก หรือไฟดับอยู่บ้าง แต่ไม่กระทบต่อคุณภาพและอัตราการผลิต

3

ระบบน้ำประปา และสุขาภิบาล

มีระบบน้ำประปาหรือน้ำบาดาลเข้าถึงพื้นที่เขต เศรษฐกิจพิเศษอย่างทั่วถึง เพราะสามารถดึง น้ำจืดจากแม่น้ำโขงได้

4

I 269 I


OBELS OUTLOOK 2016

โครงสร้างพืน้ ฐาน

คำอธิบาย

คะแนน

ระบบโทรคมนาคม สัญญาณโทรศัพท์สามารถใช้บริการได้อย่างทัว่ ถึง และการสื่อสาร แต่ยังมีปัญหาติดขัดเล็กน้อยในบางพื้นที่ และ ระบบ 3G รองรับสัญญาณดี

3

ความสะดวกในการ มีดา่ นศุลกากร จุดตรวจคนเข้าเมือง และสะพาน ข้ามแดนของสินค้า มิตรภาพไทย-ลาวแห่งที่ 4 การข้ามแดนของ และแรงงาน สินค้าและแรงงานสะดวกและใช้เวลาไม่มาก มีพื้นที่จัดสรรสำหรับจอดรถเพียงพอต่อความ ต้องการ

4

ศักยภาพของโครงสร้างพื้นฐานและสาธารณูปโภคเฉลี่ยรวม

3.07

ที่มา: จากการประเมินของผู้วิจัย

3.4 ผลสรุปการประเมินโครงสร้างพื้นฐานและสาธารณูปโภค ของพื้นที่ชายแดน สรุปการประเมินโครงสร้างพื้นฐานและสาธารณูปโภคของพื้นที่ชายแดนทั้ง 3 อำเภอ ในตารางที่ 16 พบว่าโครงสร้างพืน้ ฐานทีม่ คี วามพร้อมทีส่ ดุ ในทุกอำเภอ คือ คลังสินค้าและศูนย์กระจายสินค้าคะแนนเฉลี่ยรวมอยู่ในเกณฑ์ระดับดีมาก (คะแนน 4) รองมาคือ ความสะดวกในการข้ามแดนของสินค้า และแรงงาน และระบบน้ำประปา และสุขาภิบาลคะแนนเฉลีย่ รวมอยูใ่ นเกณฑ์ดจี นถึงดีมาก (คะแนน 3.67) ท่าอากาศยาน ระบบไฟฟ้าและพลังงาน และระบบโทรคมนาคมและการสือ่ สารเฉลีย่ รวมอยูใ่ นเกณฑ์ดี (คะแนน 3) โครงสร้างพื้นฐานทางถนน และ ท่าเรือคะแนนเฉลี่ยรวมอยู่ในเกณฑ์ พอใช้จนถึงดี (คะแนน 2.83 และ 2.72 ตามลำดับ) ส่วนระบบขนส่งทางราง หรือ รถไฟ คะแนนเฉลี่ยรวมอยู่ในเกณฑ์ควรปรับปรุง (คะแนน 1) ฉะนั้น คะแนนเฉลี่ย รวมของพื้นที่ชายแดนในด้านของโครงสร้างพื้นฐานและสาธารณูปโภคอยู่ในเกณฑ์ดี (คะแนน 2.99)

I 270 I


สำนักงานเศรษฐกิจชายแดนและโลจิสติกส์

ตารางที่ 16 สรุปการประเมินโครงสร้างพื้นฐานและสาธารณูปโภคของพื้นที่ชายแดน

โครงสร้างพืน้ ฐาน แม่สาย เชียงแสน โครงสร้างพื้นฐานทางถนน 2.5 3 ท่าเรือ 2.5 3 ท่าอากาศยาน 3 3 ระบบขนส่งทางราง (รถไฟ) 1 1 คลังสินค้าและศูนย์กระจายสินค้า 4 4 ระบบไฟฟ้าและพลังงาน 3 3 ระบบน้ำประปาและสุขาภิบาล 3 4 ระบบโทรคมนาคมและการสื่อสาร 3 3 ความสะดวกในการข้ามแดนของ 4 3 สินค้าและแรงงาน 2.89 3 ความสะดวกในการข้ามแดนของ 4 3 สินค้าและแรงงาน เฉลีย่ รวม 2.89 3

เชียงของ พืน้ ทีช่ ายแดน 3 2.83 2.67 2.72 3 3 1 1 4 4 3 3 4 3.67 3 3 4 3.67 3.07 2.99 4 3.67 3.07

2.99

ที่มา: จากการประเมินของผู้วิจัย

จากการประเมินโครงสร้างพื้นฐานและสาธารณูปโภคของพื้นที่ชายแดนจาก ข้อมูลทุติยภูมิ พบว่าพื้นที่ชายแดนทั้งสามอำเภอมีความพร้อมด้านโครงสร้างพื้นฐาน อย่างมากในหลากหลายด้าน ซึ่งอำเภอเชียงของเป็นอำเภอมีความพร้อมที่สุด รองมา ได้แก่ อำเภอเชียงแสน และอำเภอแม่สาย โดยทุกอำเภอมีความพร้อมในด้านของคลัง สินค้าและศูนย์กระจายสินค้าอย่างมาก พร้อมทั้งระบบน้ำประปาและสุขาภิบาล และ ความสะดวกในการข้ามแดนของสินค้าและแรงงาน โดยระบบไฟฟ้าและพลังงาน ตลอดจนระบบโทรคมนาคมและการสื่อสาร ซึ่งควรมีการพัฒนาให้มีความทั่วถึงใน

I 271 I


OBELS OUTLOOK 2016

ทุกพื้นที่มากขึ้น เช่นเดียวกันกับการปรับปรุงสภาพพื้นที่ถนนในสะดวกต่อการขนส่ง สินค้าข้ามแดน และการพัฒนาและขยายท่าเรือที่มีความสามารถในการรองรับสินค้า ในปริมาณที่มากขึ้น ทั้งนี้ ระบบขนส่งสินค้าทางรางรถไฟก็จำเป็นต่อการขนส่งสินค้า เนื่องจากจะช่วยประหยัดต้นทุนได้อย่างมาก

4. การประเมินศักยภาพของพื้นที่ชายแดนเชียงรายต่อการเป็นเขต เศรษฐกิจพิเศษชายแดน

ในส่วนของการประเมินศักยภาพของพื้นที่ชายแดนเชียงรายต่อการเป็นเขต เศรษฐกิจพิเศษชายแดน ได้ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลจากการออกแบบสำรวจการ ประเมินแก่ผู้ประกอบการทั้งในและนอกเขตพื้นที่ชายแดน โดยแบ่งการประเมินออก เป็น 4 ประเด็นหลัก ได้แก่ 1) การประเมินโครงสร้างพื้นฐานเชิงกายภาพ 2) การ ประเมินความพึงพอใจต่อสิทธิประโยชน์และกฎระเบียบในพื้นที่ 3) การประเมิน ความคิดเห็นต่อผลกระทบต่อรายได้ โอกาสในการประกอบอาชีพ และคุณภาพชีวิต และ 4) การประเมินความกังวลต่อปัญหาที่ตามมาจากการพัฒนา ซึ่งในประเด็นแรก จะเป็นการประเมินศักยภาพโครงสร้างพื้นฐานเชิงกายภาพโดยมีเกณฑ์การประเมิน เช่นเดียวกับการประเมินจากข้อมูลเชิงปริมาณข้างต้น (4 = ดีมาก 3 = ดี 2 = พอใช้ 1 = ควรปรับปรุง) ซึ่งผู้ประเมินสามารถให้ระดับคะแนนเช่นเดียวกันในประเด็นที่ 2 ส่วนในประเด็นที่ 3 และ 4 ผูป้ ระเมินต้องให้คะแนนสำหรับความคิดเห็นต่อผลกระทบ และปัญหา (4 = มากที่สุด 3 = มาก 2 = ปานกลาง 1 = น้อย) 4.1 ผลการประเมินศักยภาพของพื้นที่ชายแดนเชียงรายต่อการเป็นเขต เศรษฐกิจพิเศษของผู้ประกอบการนอกเขตพื้นที่ชายแดน จากผลการสำรวจความคิดเห็นของผู้ประกอบการนอกเขตพื้นที่ชายแดน (ตารางที่ 17) คิดว่าโครงสร้างพื้นฐานเชิงกายภาพมีความพร้อมโดยรวมอยู่ในระดับ เกณฑ์พอใช้จนถึงดี โดยผู้ประกอบการให้ค่าคะแนนมากที่สุด (คะแนน 4) ในด้านของ ระบบไฟฟ้าและพลังงาน รองมาได้แก่ ระบบน้ำประปาและสุขาภิบาล (คะแนน 3.83)

I 272 I


สำนักงานเศรษฐกิจชายแดนและโลจิสติกส์

อยู่ในเกณฑ์ดีจนถึงดีมาก ความสะดวกในการข้ามแดนของสินค้าและแรงงาน ระบบ การสื่อสารและโทรคมนาคม ท่าอากาศยาน และถนนอยู่ในเกณฑ์พอใช้จนถึงดี (คะแนน 2.83 2.67 2.67 และ 2.5 ตามลำดับ) คลังสินค้าและศูนย์กระจายสินค้า และท่าเรืออยู่ในเกณฑ์พอใช้ (คะแนนเท่ากันที่ 2.17) และระบบขนส่งรางรถไฟอยู่ ในเกณฑ์ที่ควรปรับปรุง (คะแนน 1) ตารางที่ 17 ผลการประเมินโครงสร้างพื้นฐานทางกายภาพของผู้ประกอบการนอกเขต

รายการ

รายการ

ถนน ท่าเรือ รถไฟ ท่าอากาศยาน คลังสินค้าและศูนย์กระจายสินค้า ระบบไฟฟ้าและพลังงาน ระบบน้ำประปาและสุขาภิบาล ระบบการสื่อสารและโทรคมนาคม ความสะดวกในการข้ามแดนของสินค้าและแรงงาน เฉลีย่ รวม

2.5 2.17 1 2.67 2.17 4 3.83 2.67 2.83 2.65

ที่มา: จากการคำนวณของผู้วิจัย

I 273 I


OBELS OUTLOOK 2016

การประเมินทางด้านสิทธิประโยชน์และกฎระเบียบ ผู้ประกอบการนอกเขต ส่วนใหญ่ให้ความพึงพอใจอยู่ในเกณฑ์พอใช้ (คะแนนเฉลี่ยรวม 2.38) โดยให้ความ พึงพอใจสูงสุดในด้านของการส่งเสริมให้เป็นเขตการท่องเที่ยวในเกณฑ์พอใช้จนถึงดี (คะแนน 2.83) รองมาได้แก่ สิทธิประโยชน์ด้านการผ่อนปรนแรงงานต่างด้าวสิทธิ ประโยชน์ด้านการลงทุน และสิทธิประโยชน์ด้านการผ่อนปรนแรงงานต่างด้าวอยู่ใน เกณฑ์พอใช้จนถึงดีเช่นกัน (คะแนน 2.67 2.5 และ 2.5 ตามลำดับ) ส่วนการจัดการ เขตปลอดอากร การจัดการเขตนิคมอุตสาหกรรม และการจัดการเรื่องสิทธิในการ ถือครองที่ดินอยู่ในเกณฑ์พอใช้ (คะแนน 2.17 2 และ 2 ตามลำดับ) โดยผู้ประกอบ การได้ให้ขอ้ เสนอแนะในเรือ่ งของการให้สทิ ธิประโยชน์แก่นกั ลงทุนในพืน้ ทีแ่ ละชาวไทย ก่อนนักลงทุนต่างชาติ หากมีการเข้ามาลงทุนของชาวต่างชาติควรมีการตรวจสิทธิ ให้ชัดเจนเพื่อป้องกันการสวมสิทธิ์อย่างไม่ถูกต้อง นอกจากนี้ ควรมีการบังคับใช้กฎ ระเบียบอย่างเคร่งครัด ปรับปรุงให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของเหตุการณ์ปัจจุบัน รวมถึงควรให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการตัดสินใจต่อการออกกฎระเบียบ เช่น สิทธิ ในการถือครองที่ดิน การอนุญาตให้ต่างชาติเข้ามาใช้สิทธิประโยชน์ เป็นต้น ทั้งนี้ การพัฒนากฎระเบียบควรมีการปรับให้มีความเป็นสากลเพื่อรองรับความต้องการ ของทั้งนักลงทุนไทยและชาวต่างชาติ ตารางที่ 18 ผลการประเมินความพึงพอใจต่อสิทธิประโยชน์และกฎระเบียบ ของผู้ประกอบการนอกเขต

รายการ

ค่าคะแนน

สิทธิประโยชน์ด้านการลงทุน สิทธิประโยชน์ด้านการผลิตและการบริการ สิทธิประโยชน์ด้านการผ่อนปรนแรงงานต่างด้าว การจัดการเรื่องสิทธิในการถือครองที่ดิน

I 274 I

2.5 2.5 2.67 2


สำนักงานเศรษฐกิจชายแดนและโลจิสติกส์

รายการ

ค่าคะแนน

การจัดการเขตปลอดอากร การจัดการเขตนิคมอุตสาหกรรม การส่งเสริมให้เป็นเขตท่องเที่ยว

2.17 2 2.83

เฉลีย่ รวม

2.38

ที่มา: จากการคำนวณของผู้วิจัย

การประเมินความคิดเห็นจากผู้ประกอบการนอกเขตในด้านการพัฒนาโครง สร้างพืน้ ฐานทีม่ ตี อ่ รายได้คณ ุ ภาพชีวติ และโอกาสในการประกอบอาชีพคะแนนเฉลีย่ อยูใ่ นเกณฑ์ดี (คะแนนเฉลีย่ รวม 3.11) โดยคะแนนในด้านของโอกาสในการประกอบ อาชีพ คุณภาพชีวิต และรายได้ในคะแนนที่ใกล้เคียงกัน (คะแนน 3.17 3.17 และ 3 ตามลำดับ) แสดงว่าผู้ประกอบการนอกเขตค่อนข้างมีความคิดเห็นในเชิงบวกอย่าง มากต่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อเข้าสู่การเป็นเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ ตารางที่ 19 ผลการประเมินความคิดเห็นต่อรายได้ อาชีพ และคุณภาพชีวิต ของผู้ประกอบการนอกเขต

รายการ

ค่าคะแนน

การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานมีผลต่อรายได้เมื่อพื้นที่ ชายแดนเข้าสู่การเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษ

3

การพั ฒ นาโครงสร้ า งพื้ น ฐานมี ผ ลต่ อ โอกาสในการ ประกอบอาชี พ เมื่ อ พื้ น ที่ ช ายแดนเข้ า สู่ ก ารเป็ น เขต เศรษฐกิจพิเศษ

3.17

I 275 I


OBELS OUTLOOK 2016

รายการ

ค่าคะแนน

การพั ฒ นาโครงสร้ า งพื้ น ฐานมี ผ ลต่ อ คุ ณ ภาพชี วิ ต เมื่อพื้นที่ชายแดนเข้าสู่การเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษ เฉลีย่ รวม

3.17 3.11

ที่มา: จากการคำนวณของผู้วิจัย

อย่างไรก็ตาม การพัฒนาเพื่อการเข้าสู่การเป็นเขตเศรษฐกิจอาจส่งผลกระทบ เชิงลบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม โดยผู้ประกอบการนอกเขตคิดว่าปัญหาที่น่าจะเป็น กังวลที่สุด คือ ปัญหามลพิษและขยะอุตสาหกรรม (100%) ปัญหาที่รองมาคือ การ เข้ามาลงทุนต่างถิน่ (83%) การตัดไม้ทำลายป่าและการุกล้ำพืน้ ทีท่ างธรรมชาติ (68%) และสุขภาพและสาธารณสุข (33%) ซึ่งผู้ประกอบการเห็นว่าการกำจัดขยะเป็นหนึ่ง ในปัญหาที่สำคัญอย่างมาก หากผู้ประกอบในเขตพื้นที่นำขยะอุตสาหกรรมออกมา กำจัดทิ้งนอกพื้นที่ จะสร้างปัญหาต่อคนนอกพื้นที่อย่างมาก โดยรัฐบาลควรที่จะนำ การกำจัดขยะเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเช่นกัน นอกจากนี้ ยังมีผลกระทบอื่นๆ เช่น ความหนาแน่นของประชากรที่เพิ่มสูงขึ้น สิ่งที่จะตามมาคือ ปัญหามลภาวะทางสิง่ แวดล้อม ฉะนัน้ ควรมีหน่วยงานทีร่ บั ผิดชอบเพือ่ ลดผลกระทบ ดังกล่าว พร้อมกับการพัฒนาและปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานอย่างต่อเนื่อง ทั่วถึง และ เพียงพอต่อความต้องการในอนาคต

I 276 I


สำนักงานเศรษฐกิจชายแดนและโลจิสติกส์

รูปที่ 1 ผลการประเมินความกังวลต่อปัญหาจากการพัฒนาของผู้ประกอบการนอกเขต

ที่มา: จากการคำนวณของผู้วิจัย

4.2 ผลการประเมินศักยภาพของพื้นที่ชายแดนเชียงรายต่อการเป็นเขต เศรษฐกิจพิเศษของผู้ประกอบการในเขตพื้นที่ชายแดน จากผลการสำรวจความคิดเห็นของ ผู้ประกอบการในเขตพื้นที่ชายแดนคิดว่า โครงสร้างพื้นฐานเชิงกายภาพมีความพร้อมโดยรวมอยู่ในระดับเกณฑ์พอใช้ โดยผู้ ประกอบการให้ค่าคะแนนมากที่สุดในด้านของระบบไฟฟ้าและพลังงาน และถนน (คะแนน 3) รองมาได้แก่ ความสะดวกในการข้ามแดนของสินค้าและแรงงาน ท่าเรือ และท่าอากาศยานอยู่ในเกณฑ์พอใช้ถึงดี (คะแนน 2.8 2.6 และ 2.6 ตามลำดับ) ระบบการสื่อสารและโทรคมนาคม คลังสินค้าและศูนย์กระจายสินค้า และระบบน้ำ ประปาและสุขาภิบาลอยู่ในเกณฑ์พอใช้ (คะแนน 2.4 2.2 และ 2.2 ตามลำดับ) ส่วน รถไฟอยู่ในเกณฑ์ที่ควรปรับปรุง (คะแนน 1.2) โดยผู้ประกอบการได้ให้ความคิดเห็น เพิ่มเติมว่า รัฐบาลควรมีการพัฒนาด้านสาธารณูปโภคให้ดีขึ้น ซึ่งควรมีการจัดการ พื้นที่ที่เป็นสัดส่วนชัดเจน ไม่เข้าไปรุกล้ำ และสร้างความเดือดร้อนในพื้นที่ส่วนบุคคล เพราะจะทำให้เกิดปัญหาที่ตามมาต่อชุมชนในพื้นที่ เช่น ปัญหาควันและมลพิษจาก โรงงานอุตสาหกรรม นอกจากนี้ การขอเวนคืนพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษควรมีการทบ ทวนอย่างละเอียด โดยไม่จำเป็นต้องสร้างในที่ชุมชนเดิม แต่สามารถไปสร้างในพื้นที่ ใหม่ที่มีความพร้อมต่อการจัดวางผังสาธารณูปโภค

I 277 I


OBELS OUTLOOK 2016

ตารางที่ 20 ผลการประเมินโครงสร้างพื้นฐานทางกายภาพของผู้ประกอบการในเขต

รายการ

รายการ

ถนน ท่าเรือ รถไฟ ท่าอากาศยาน คลังสินค้าและศูนย์กระจายสินค้า ระบบไฟฟ้าและพลังงาน ระบบน้ำประปาและสุขาภิบาล ระบบการสื่อสารและโทรคมนาคม ความสะดวกในการข้ามแดนของสินค้าและแรงงาน เฉลีย่ รวม

3 2.6 1.2 2.6 2.2 3 2.2 2.4 2.8 2.44

ที่มา: จากการคำนวณของผู้วิจัย

การประเมินทางด้านสิทธิประโยชน์และกฎระเบียบ ผู้ประกอบการในเขต ส่วนใหญ่ให้ความพึงพอใจอยู่ในเกณฑ์พอใช้ (คะแนนเฉลี่ยรวม 2.14) โดยให้ความ พึงพอใจสูงสุดในด้านของสิทธิประโยชน์ด้านการลงทุน และการส่งเสริมให้เป็นเขต การท่องเที่ยวในเกณฑ์พอใช้จนถึงดี (คะแนน 2.6) รองมาได้แก่ สิทธิประโยชน์ด้าน การผลิตและการบริการ สิทธิประโยชน์ด้านการผ่อนปรนแรงงานต่างด้าว และการ จัดการเขตนิคมอุตสาหกรรมอยู่ในเกณฑ์พอใช้ (คะแนน 2.4 2.2 และ 2 ตามลำดับ) ส่วนการจัดการเรื่องสิทธิในการถือครองที่ดิน และการจัดการเขตปลอดอากรอยู่ใน เกณฑ์ควรปรับปรุงจนถึงพอใช้ (คะแนน 1.6 เท่ากัน) โดยผู้ประกอบการได้ให้ความ คิดเห็นเพิม่ เติมในเรือ่ งของการจัดระเบียบระบบขนส่งมวลชนทีค่ วรมีระเบียบเรียบร้อย

I 278 I


สำนักงานเศรษฐกิจชายแดนและโลจิสติกส์

และมีการบังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มงวด ทั้งนี้ ควรมีการจัดตั้งหน่วยงานที่ทำหน้าที่ ในการรับผิดชอบในพื้นที่เป็นพิเศษ เพื่อคอยสอดส่องดูแลเรื่องความปลอดภัย และ แก้ไขและเยียวยาปัญหาที่เกิดขึ้นในพื้นที่ นอกจากนี้ ในด้านของการให้สิทธิประโยชน์ แก่นักลงทุนต่างชาติสามารถสนับสนุนและส่งเสริมได้ แต่ไม่ควรที่จะละเมิดต่อสิทธิ ส่วนบุคคล และวิถีชีวิตของคนในพื้นที่ ตารางที่ 21 ผลการประเมินความพึงพอใจต่อสิทธิประโยชน์และกฎระเบียบ ของผู้ประกอบการในเขต

รายการ

รายการ

สิทธิประโยชน์ด้านการลงทุน สิทธิประโยชน์ด้านการผลิตและการบริการ สิทธิประโยชน์ด้านการผ่อนปรนแรงงานต่างด้าว การจัดการเรื่องสิทธิในการถือครองที่ดิน การจัดการเขตปลอดอากร การจัดการเขตนิคมอุตสาหกรรม การส่งเสริมให้เป็นเขตท่องเที่ยว เฉลีย่ รวม

2.6 2.4 2.2 1.6 1.6 2 2.6 2.14

ที่มา: จากการคำนวณของผู้วิจัย

การประเมินความคิดเห็นจากผูป้ ระกอบการในเขตในด้านการพัฒนาโครงสร้าง พื้นฐานที่มีต่อรายได้คุณภาพชีวิต และโอกาสในการประกอบอาชีพคะแนนเฉลี่ยอยู่ ในเกณฑ์พอใช้จนถึงดี (คะแนนเฉลี่ยรวม 2.67) โดยคะแนนในด้านของโอกาสในการ ประกอบอาชีพ และรายได้อยู่ในเกณฑ์ที่พอใช้จนถึงดี (คะแนน 2.8 เท่ากัน) ขณะที่ คะแนนการพัฒนาต่อคุณภาพชีวิตอยู่ในเกณฑ์พอใช้ (คะแนน 2.4) แสดงว่าผู้ประกอบ

I 279 I


OBELS OUTLOOK 2016

การในเขตค่อนข้างมีความคิดเห็นในเชิงลบต่อผลประโยชน์ของการพัฒนาโครงสร้าง พื้นฐานเมื่อเข้าสู่การเป็นเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ ตารางที่ 22 ผลการประเมินความคิดเห็นต่อรายได้ อาชีพ และคุณภาพชีวิตของผู้ประกอบการในเขต

รายการ

รายการ

การพัฒนาโครงสร้างพืน้ ฐานมีผลต่อรายได้เมือ่ พืน้ ทีช่ ายแดนเข้า สู่การเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษ

2.8

การพัฒนาโครงสร้างพืน้ ฐานมีผลต่อโอกาสในการประกอบอาชีพ เมื่อพื้นที่ชายแดนเข้าสู่การเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษ

2.8

การพั ฒ นาโครงสร้ า งพื้ น ฐานมี ผ ลต่ อ คุ ณ ภาพชี วิ ต เมื่ อ พื้ น ที่ ชายแดนเข้าสู่การเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษ

2.4

เฉลีย่ รวม

2.67

ที่มา: จากการคำนวณของผู้วิจัย

การประเมินความคิดเห็นจากผู้ประกอบการในเขตต่อปัญหาที่จะเกิดขึ้นตาม มาจากการพัฒนา พบว่าผู้ประกอบการค่อนข้างกังวลกับปัญหาการตัดไม้ทำลายป่า และการรุกล้ำพื้นที่ทางธรรมชาติมากที่สุด (100%) รองมาได้แก่ ปัญหามลพิษและ ขยะอุตสาหกรรม (80%) การเข้ามาของนักลงทุนต่างถิ่น (80%) และปัญหาด้าน สุขภาพและสาธารณสุขเป็นอันดับสุดท้าย (40%)

I 280 I


สำนักงานเศรษฐกิจชายแดนและโลจิสติกส์

รูปที่ 2 ผลการประเมินความกังวลต่อปัญหาจากการพัฒนาของผู้ประกอบการในเขต

ที่มา: จากการคำนวณของผู้วิจัย

4.3 สรุปผลการประเมินศักยภาพของพื้นที่ชายแดนเชียงรายต่อการเป็น เขตเศรษฐกิจพิเศษ จากตารางที่ 23 ผลการประเมินแสดงให้เห็นว่าผู้ประกอบการนอกเขตได้ให้ คะแนนสูงกว่าผู้ประกอบการในเขตเกือบทุกประเด็น ยกเว้นในประเด็นของปัญหา และผลกระทบที่ตามมาจากการพัฒนาให้เป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษ ในด้านของการ ประเมินโครงสร้างพื้นฐานเชิงกายภาพ ผู้ประกอบการนอกเขตให้คะแนนอยู่ที่ 2.65 สูงกว่าการให้ค่าคะแนนของผู้ประกอบการในเขตที่มีค่าคะแนนอยู่ที่ 2.44 ค่าเฉลี่ย ของผู้ประกอบโดยรวมอยู่ที่ 2.55 ถือว่าอยู่ในเกณฑ์พอใช้จนถึงดี ในด้านของการ ประเมินสิทธิประโยชน์และกฎระเบียบ ผูป้ ระกอบการนอกเขตให้คา่ คะแนนอยูท่ ่ี 2.38 สูงกว่าค่าคะแนนของผู้ประกอบการในเขตที่มีค่าคะแนนอยู่ที่ 2.14 ค่าเฉลี่ยของผู้ ประกอบโดยรวมอยู่ที่ 2.26 ถือว่าอยู่ในเกณฑ์พอใช้ ขณะที่ในด้านการประเมิน ผลประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นจากการพัฒนาให้เป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษผู้ประกอบการนอก เขตให้คะแนนอยู่ที่ 3.11 สูงกว่าผู้ประกอบการในเขตที่มีค่าคะแนนอยู่ที่ 2.67 ค่า เฉลี่ยของผู้ประกอบโดยรวมอยู่ที่ 2.89 ถือว่าอยู่ในเกณฑ์พอใช้ถึงดี และในด้านของ การประเมินปัญหาและผลกระทบที่ตามมาจากการพัฒนา ผู้ประกอบการในพื้นที่

I 281 I


OBELS OUTLOOK 2016

ให้ค่าคะแนนอยู่ที่ 2.75 สูงกว่าค่าคะแนนของผู้ประกอบการนอกพื้นที่มีค่าคะแนน อยู่ที่ 2.5 ค่าเฉลี่ยของผู้ประกอบโดยรวมอยู่ที่พอใช้ถึงดี ตารางที่ 23 เปรียบเทียบการประเมินศักยภาพของพื้นที่ชายแดนในด้านต่างๆต่อการเป็นเขต เศรษฐกิจพิเศษระหว่างผู้ประกอบการนอกเขตและผู้ประกอบการในเขตชายแดนเชียงราย

สิทธิประโยชน์และกฎระเบียบ

โครงสร้างพื้นฐานเชิงกายภาพ

รายการ

ผู้ประกอบการ ผู้ประกอบการ เฉลี่ย นอกเขต ในเขต

ถนน ท่าเรือ รถไฟ ท่าอากาศยาน คลังสินค้าและการกระจายสินค้า ระบบไฟฟ้าและพลังงาน ระบบน้ำประปาและสุขาภิบาล ระบบการสื่อสารและโทรคมนาคม ความสะดวกในการข้ามแดนของสินค้า และแรงงาน เฉลี่ยรวม สิทธิประโยชน์ด้านการลงทุน สิทธิประโยชน์ด้านการผลิตและการบริการ สิทธิประโยชน์ด้านการผ่อนปรนเรื่องแรง งานต่างด้าว การจัดการเรื่องสิทธิในการถือครองที่ดิน การจัดการเขตปลอดอากร การจัดการเขตนิคมอุตสาหกรรม การส่งเสริมให้เป็นเขตท่องเที่ยว เฉลี่ยรวม

I 282 I

2.5 2.17 1 2.67 2.17 4 3.83 2.67 2.83

3 2.6 1.2 2.6 2.2 3 2.2 2.4 2.8

2.75 2.39 1.1 2.64 2.19 3.5 3.02 2.54 2.82

2.65 2.5 2.5 2.67

2.44 2.6 2.4 2.2

2.55 2.55 2.45 2.44

2 2.17 2 2.83 2.38

1.6 1.6 2 2.6

1.8 1.89 2 2.72 2.26

2.14


สำนักงานเศรษฐกิจชายแดนและโลจิสติกส์

ปัญหาและผลกระทบ

ผลประโยชน์

รายการ

ผู้ประกอบการ ผู้ประกอบการ เฉลี่ย นอกเขต ในเขต

รายได้ โอกาสในการประกอบอาชีพ คุณภาพชีวิต เฉลี่ยรวม มลพิษและขยะอุตสาหกรรม สุขภาพและสาธารณสุข การตัดไม้ทำลายป่าและรุกล้ำพืน้ ทีธ่ รรมชาติ การเข้ามาของนักลงทุนต่างถิ่น เฉลี่ยรวม

3 3.17 3.17 3.11 4 2 1 3 2.5

2.8 2.8 2.4 2.67 3 1 4 3 2.75

2.9 2.99 2.79 2.89 3.5 1.5 2.5 3 2.63

ที่มา: จากการคำนวณของผู้วิจัย

5. แนวทางการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสู่การเป็นพื้นที่เขต เศรษฐกิจพิเศษ

5.1 แนวทางพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเชิงกายภาพ จากการพิจารณาผลการประเมินจากฐานข้อมูลเชิงปริมาณ และฐานข้อมูลเชิง คุณภาพ โครงสร้างพื้นฐานเชิงกายภาพที่ควรดำเนินการพัฒนามากที่สุด คือ รถไฟ ซึ่งรัฐบาลเคยมีแผนในการลงทุนก่อสร้างทางรถไฟสายใหม่ เด่นชัย-เชียงของ ระยะ ทาง 326 กิโลเมตร ซึง่ เส้นทางดังกล่าวพาดผ่านพืน้ ทีก่ ว่า 4 จังหวัด ได้แก่ แพร่ ลำปาง พะเยา และเชียงราย รวม 10 อำเภอ 30 ตำบล แต่ปัจจุบันได้ถูกชะลอโครงการไว้ และทำการศึกษาการเชื่อมโยงทางเส้นทางรถไฟจากเชียงใหม่-เชียงรายระยะทาง ประมาณ 150 กิโลเมตรแทน (ประชาชาติธุรกิจ, 2558) ฉะนั้น หากรัฐบาลต้องการ ที่จะสนับสนุนการค้าชายแดนในอนาคต ควรที่จะพิจารณาการก่อสร้างทางรถไฟมา ยังเชียงรายใหม่ เพื่อจะช่วยเพิ่มช่องทางการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศไทยกับ ประเทศเพือ่ นบ้าน ประเทศจีนตอนใต้ และประเทศทีส่ าม หากมีการจัดตัง้ เขตเศรษฐกิจ

I 283 I


OBELS OUTLOOK 2016

พิเศษ และต้องการยกระดับให้อำเภอเชียงของเป็นเมืองสำหรับศูนย์เปลี่ยนถ่ายสินค้า (Logistics City) ส่วนโครงสร้างพื้นฐานที่ควรพัฒนารองลงมา คือ ท่าเรือ ปัจจุบันท่าเรือขนาด ใหญ่ที่มีการใช้งานส่งสินค้าในปริมาณมาก คือ ท่าเรือเชียงแสน 2 ซึ่งถูกก่อสร้างขึ้น มาเพื่อทดแทนท่าเรือเชียงแสนแห่งแรก ที่ไม่สามารถขยายพื้นที่ได้ เนื่องจากอยู่ใน ตัวเมืองเชียงแสนที่เป็นพื้นที่ทางประวัติศาสตร์ โดยท่าเรือเชียงแสนแห่งที่สองสามารถ รองรับสินค้าได้ปีละกว่า 6 ล้านต้น มากกว่าท่าเรือเดิมที่รองรับได้ปีละประมาณ 3 แสนตัน พร้อมทั้งมีสิ่งอำนวยความสะดวก และจุดให้บริการแบบเบ็ดเสร็จ (คมชัดลึก, 2555) อย่างไรก็ตาม ผูบ้ ริการใช้ทา่ เรือได้ประสบปัญหาต่างๆ เช่น ปัญหา เกี่ยวกับระบบการหมุนเวียนน้ำที่ไม่ดี ทำให้เกิดน้ำเน่าเสีย จึงไม่สามารถใช้น้ำในการ อุปโภคได้ พร้อมทั้งต้นทุนที่เพิ่มขึ้นจากการระยะทางการขนส่งที่ไกลกว่าเดิม รวมถึง บริเวณดังกล่าวในแม่น้ำโขงมีร่องน้ำที่ตื้นเขิน และไม่ชัดเจน นอกจากนี้ ถนนที่เชื่อม ต่อที่เป็นถนนหมู่บ้านไปยังท่าเรือไม่รองรับต่อการใช้งาน ทำให้ถนนพังเสียหาย ทำ ให้ผู้ประกอบการขนส่งสินค้าทางเรือต้องหันไปใช้ท่าเรือห้าเชียง ที่เป็นท่าเรือเอกชน บริเวณบ้านสบรวก สามเหลี่ยมทองคำแทน เนื่องจากช่วยลดระยะทางกว่า 30 กิโลเมตร (ผู้จัดการออนไลน์, 2555) ขณะที่อำเภอเชียงของมีสะพานมิตรภาพไทยลาวแห่งที่ 4 จึงไม่มีการขนส่งสินค้าผ่านทางเรือในปริมาณมาก เป็นในลักษณะของ การเคลื่อนย้ายสินค้าอุปโภค-บริโภคขนาดเล็ก และการข้ามฝั่งของผู้คนระหว่างฝั่ง เชียงของ-บ้านต้นผึ้ง ขณะที่อำเภอแม่สายมีสะพานข้ามแม่น้ำสายถึง 2 แห่งที่ให้ บริการเคลื่อนย้ายสินค้าและคนไปยังเมืองท่าขี้เหล็ก จึงไม่มีปัญหาในด้านของความ จำเป็นในการพัฒนาท่าเรือ ฉะนั้น จากที่กล่าวมาในข้างต้นรัฐบาลควรที่จะมีการ แก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น หากในอนาคตต้องการที่จะการจัดตั้งอำเภอเชียงแสนให้เป็น เมืองสำหรับการท่าเรือ (Port City)

I 284 I


สำนักงานเศรษฐกิจชายแดนและโลจิสติกส์

โครงสร้างพื้นฐานถนน ก็เป็นปัจจัยสำคัญอย่างมากต่อการค้าและการลงทุน โดยเฉพาะการจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษเพื่อดึงดูดนักลงทุน ซึ่งถนนที่ได้รับการสนับสนุนในการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง คือ ถนนที่อยู่บนเส้นทาง R3A (ไทย-สปป.ลาว-จีน) และ R3B (ไทย-เมียนมา-จีน) ซึ่งอยู่ภายใต้ระเบียงเศรษฐกิจเหนือ-ใต้ (North South Economic Corridor: NSEC) ของโครงการอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง (Greater Mekong Sub-region : GMS) โดยได้รับการสนับสนุนเงินทุนในการพัฒนาต่างๆ โดย ธนาคารแห่งเอเชีย (Asian Development Bank: ADB) เนื่องจากเป็นเส้นทาง ขนส่งสินค้าที่สำคัญจากภาคกลางที่เป็นแหล่งผลิตสินค้า ส่งผ่านขึ้นมาทางภาคเหนือ ออกไปยังประเทศเพื่อนบ้าน และประเทศจีนตอนใต้ ซึ่งเป็นกลุ่มตลาดขนาดใหญ่ ฉะนั้น เส้นทางดังกล่าวจึงควรได้รับการปรับปรุงให้มีความสะดวกสบายต่อการขนส่ง สินค้า และควรมีการขยายช่องจราจรเพิ่ม เพื่อให้สามารถรองรับปริมาณรถที่สัญจร ได้มากขึ้น อย่างไรก็ตาม การจัดการระบบจราจร และความปลอดภัยสำหรับผู้ใช้รถ ใช้ถนน ตลอดจนผู้คนที่อยู่รอบข้างก็เป็นสิ่งสำคัญ ท่ากาศยาน คลังสินค้าและการกระจายสินค้า ระบบไฟฟ้าและพลังงาน ความ สะดวกในการข้ามแดนของสินค้าและแรงงาน และระบบน้ำประปาและสุขาภิบาล ที่มีค่าคะแนนอยู่ในเกณฑ์พอใช้จนถึงดี ควรที่จะมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง มีแผน โครงการที่ชัดเจนและจัดงบประมาณในแต่ละปี หากมีเขตเศรษฐกิจพิเศษเกิดขึ้น โดย เฉพาะการวางระบบสาธารณูปโภคอย่างไฟฟ้า น้ำประปา การสื่อสาร และการ คมานาคมขนส่งที่เป็นขนส่งมวลชนให้เพียงพอต่อความต้องการของคนในพื้นที่ และ รองรับการขยายตัวของเมืองชายแดนในอนาคต โดยควรที่จะมีการจัดสรรพื้นที่ใน การพัฒนาให้เป็นสัดส่วน ไม่รุกล้ำไปในพื้นที่ชุมชน และพื้นที่ทางธรรมชาติ รวมถึง ไม่ส่งผลกระทบต่อวิถีการดำเนินชีวิตของคนในพื้นที่ นอกจากนี้ ควรมีการวางระบบ การกำจัดของเสียและน้ำเสีย เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมใน ภายหลัง ทั้งนี้ การพัฒนาที่ดีควรมีการกระจายไปในทุกพื้นที่อย่างทั่วถึง ไม่ให้กระจุก อยู่ในพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่ง จะช่วยทำให้เกิดความเท่าเทียมของการเติบโตทางเศรษฐกิจ ของแต่ละพื้นที่ได้เป็นอย่างดี

I 285 I


OBELS OUTLOOK 2016

5.2 แนวทางพัฒนาสิทธิประโยชน์และกฎระเบียบ ในด้านของสิทธิประโยชน์ ที่ควรได้รับการพิจารณา ปรับปรุง และพัฒนาที่สุด ในมุมมองของผู้ประกอบการผ่านการประเมิน คือ สิทธิประโยชน์ด้านการผ่อนปรน แรงงานต่างด้าว ปัจจุบัน ประเทศไทยประสบปัญหากับเรื่องแรงงานอย่างมาก เนื่อง จากประเทศไทยมีการผลิตที่เน้นใช้แรงงานเข้มข้น (Labor-Intensive) และยังไม่ สามารถก้าวข้ามไปสู่การใช้เทคโนโลยีเข้มข้นในการผลิต (Technology-Intensive) ทำให้เมื่อมีการขาดแคลนแรงงานจากปัจจัยหลายอย่าง อาทิ การเข้าสู่สังคมสูงวัย ที่ทำให้คนในกำลังแรงงานลดน้อยลง โดยเฉพาะแรงงานไร้ทักษะ (unskilled-labor) จึงจำเป็นที่จะต้องพึ่งพาแรงงานจากประเทศเพื่อนบ้านแทน แต่ปัญหา คือ แรงงาน ต่างด้าวที่ได้รับการจดทะเบียนอย่างถูกกฎหมายไม่สามารถที่จะออกไปทำงานยังพื้น ที่อื่นได้ นอกจากพื้นที่ชายแดน ต้องมีใบอนุญาตสำหรับการทำงาน (work permit) ซึ่งค่อนข้างมีความยุ่งยาก และขั้นตอนในทำมาก ทำให้ผู้ประกอบการมีความลำบาก ในการนำแรงงานจากประเทศเพื่อนบ้านมาใช้งานได้อย่างสะดวก ดังนั้น รัฐบาลควร ที่จะหาแนวทางในการปรับปรุงกฎระเบียบให้มีความยืดหยุ่นมากขึ้น แต่ก็ไม่ควรละ เลยด้านความมั่นคงของประเทศไทยเช่นกัน สิทธิประโยชน์ด้านการลงทุน มีหน่วยงานต่างๆพร้อมที่จะให้สิทธิประโยชน์ มากมายแก่นักลงทุนที่อยู่ในกิจการเป้าหมายกว่า 13 กิจการ ทั้งในด้านของการยก เว้นและการลดหย่อนภาษีเครื่องจักร และวัตถุดิบที่นำมาผลิตจากต่างประเทศ ซึ่งมี ความหลากหลายและมีความต้องการของนักลงทุนของไทยและต่างชาติ อย่างไร ก็ตาม สิ่งที่น่าเป็นห่วง คือ ผลประโยชน์ของคนในพื้นที่ ที่อาจจะสูญเสียผลประโยชน์ จากการเข้ามาของนักลงทุนต่างถิ่นที่อาจเข้ามาโดยถูกกฎหมาย หรือการสวมสิทธิ์ ซึ่งปัญหาการสวมสิทธิ์สามารถแก้ไขได้โดยหน่วยงานที่รับผิดชอบต้องมีการตรวจให้ แน่ใจว่านักลงทุนที่เข้ามาเป็นนักลงทุนถูกต้องตามเงื่อนไขที่กำหนด ไม่ได้ใช้ตัวแทน (nominee) เข้ามาขอสิทธิประโยชน์ ทั้งนี้ รัฐบาลควรที่จะจัดอบรมให้ข้อมูลเรื่อง สิทธิประโยชน์ที่จะได้รับจากการลงทุนพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษแก่นักลงทุนในพื้นที่

I 286 I


สำนักงานเศรษฐกิจชายแดนและโลจิสติกส์

รวมถึงเปิดโอกาสให้ประชาชนมีสว่ นร่วมในการหารือเพือ่ ร่างสิทธิประโยชน์ กฎระเบียบ และข้อบังคับ เนื่องจาก คนในพื้นที่เป็นผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียต่อการเข้ามาจัดตั้งเขต เศรษฐกิจพิเศษอย่างชัดเจน ส่วนสิทธิประโยชน์ด้านการผลิตและการบริการ ก็ควรมี การปรับปรุงให้เท่าทันต่อการเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์โลก เพื่อให้ไม่ให้เกิดช่อง ว่างของผลประโยชน์ระหว่างผู้ประกอบการไทยและผู้ประกอบการต่างชาติ 5.3 แนวทางพัฒนาผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อเข้าสู่การเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษ ควรที่จะ พิจารณาผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจต่อพื้นที่เป็นสำคัญ ทั้งในด้านของการเพิ่มขึ้น ของรายได้ การเพิ่มโอกาส และช่องทางในการประกอบอาชีพของประชาชน รวมถึง การพัฒนาและยกระดับคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น ซึ่งหากประชาชนในพื้นที่พิจารณาว่า ได้รับผลประโยชน์จากการเข้ามาจัดตั้งเขตเศรษฐกิจอย่างเป็นรูปธรรม คือ ก่อให้เกิด การไหลเวียนของเงินในพื้นที่ จะช่วยเพิ่มความมั่นใจแก่ประชาชนต่อการพัฒนาได้ อย่างมาก โดยรัฐบาลควรที่จะเข้ามาอบรม ให้ความรู้ และชี้ให้เห็นถึงประโยชน์ใน รูปแบบของทั้งตัวเงิน ผลกระทบทางตรง และทางอ้อมที่เขตเศรษฐกิจพิเศษจะให้กับ ประชาชน และเศรษฐกิจในพื้นที่ 5.4 แนวทางการแก้ไขปัญหาต่อผลกระทบในอนาคต หากมีจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษ และมีการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน สิ่งที่หลีก เลี่ยงไม่ได้ คือ ผลกระทบเชิงลบที่มีต่อสังคม และสิ่งแวดล้อม ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของ มลพิษทางอากาศ ทางน้ำ และการสะสมของขยะ ซึ่งเป็นผลผลิตจากกิจกรรมทาง เศรษฐกิจ เมื่อเศรษฐกิจมีการเติบโตสูงขึ้น หมายความว่า กิจกรรมทางเศรษฐกิจก็ จะเพิ่มมากขึ้น ซึ่งหากไม่มีการจัดวางระบบในการบำบัด และกำจัดขยะที่ดีในการ พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเชิงกายภาพ ภาระดังกล่าวก็จะตกแก่ชุมชนและสิ่งแวดล้อม ในที่สุด ซึ่งจะตามมาด้วยปัญหาทางสุขภาพและสาธารณสุข ดังนั้น รัฐบาลจึงต้องมี การตั้งหน่วยงานเฉพาะกิจเพื่อเข้ามาสอดส่องดูแล และจัดการปัญหาที่เกิดขึ้นจาก

I 287 I


OBELS OUTLOOK 2016

การจัดตัง้ เขตเศรษฐกิจพิเศษโดยเฉพาะ เพือ่ ให้ประชาชนมีพน้ื ทีใ่ นการออกความคิดเห็น และร้องเรียน พร้อมทั้งมีการจัดการแก้ไขปัญหาอย่างทันท่วงที นอกจากนี้ รัฐบาล ควรที่จะบังคับใช้กฎหมายในด้านผังเมืองให้ชัดเจนว่าพื้นที่ใดเป็นพื้นที่สำหรับเกษตรกรรม พื้นที่สำหรับอุตสาหกรรม พื้นที่ชุมชน พื้นที่พาณิชยกรรม และพื้นที่ปา่ ไม้ เพือ่ ไม่ให้เกิดการรุกล้ำเข้าไปในพืน้ ทีท่ างธรรมชาติ และเกิดการตัดไม้ ทำลายป่า ทั้งนี้ ผู้ประกอบการในพื้นที่ ซึ่งส่วนใหญ่ประกอบกิจการขนาดเล็ก เช่น ร้านค้าปลีก ร้านค้าส่ง ซึ่งมีมูลค่าทางเศรษฐกิจและทุนที่ไม่มาก ไม่สามารถที่จะแข่งขันกับทุน ขนาดใหญ่ทม่ี าจากต่างถิน่ หรือทุนข้ามชาติทม่ี คี วามได้เปรียบทางการตลาดสูง ฉะนัน้ รัฐบาลควรที่จะช่วยเพิ่มขีดความสามารถของผู้ประกอบการในพื้นที่ ในด้านของการ จัดอบรม การให้ความรูใ้ นเชิงปฏิบตั ิ และการให้เงินทุนทำให้ผปู้ ระกอบการสามารถ อยู่รอดและแข่งขันกับทุนขนาดใหญ่ที่มาจากนอกพื้นที่ได้ โดยควรที่จะมีหน่วยที่คอย ชี้แนะ และให้คำปรึกษา พร้อมทั้งติดตามผลการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง

บทสรุป

การพัฒนาศักยภาพของโครงสร้างพื้นฐานเป็นปัจจัยสำคัญอย่างมาก ที่ช่วย ขับเคลื่อนให้เขตเศรษฐกิจพิเศษเกิดความลื่นไหลของกิจกรรมเศรษฐกิจในพื้นที่ชาย แดนให้เกิดความลื่นไหล ซึ่งความพร้อมของโครงสร้างพื้นฐาน ทั้งในเชิงของกายภาพ สิทธิประโยชน์และกฎระเบียบ รวมถึงผลกระทบเชิงบวกและเชิงลบที่เกิดขึ้น ควรที่ จะมีการประเมินเพื่อให้เกิดแนวทางการพัฒนาที่ชัดเจน และถูกต้อง การศึกษาครั้งนี้ จึงได้ทำการศึกษาศักยภาพของโครงสร้างพื้นฐานในพื้นที่ชายแดนจากการรวบรวม ข้อมูลเชิงปริมาณในเบื้องต้น และได้ทำการประเมินโครงสร้างพื้นฐานเชิงกายภาพ ตลอดจนสิทธิประโยชน์และกฎระเบียบ ผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ และผลกระทบ ต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมที่จะตามมา โดยออกแบบสอบถามแก่ผู้ประกอบการภายใน และภายนอก ซึ่งจากการผลการศึกษาพบว่า พื้นที่ชายแดนต้องมีการปรับปรุงและ พัฒนาในเกือบทุกด้าน โดยในด้านของโครงสร้างพื้นฐานเชิงกายภาพ ได้รับการ ประเมินน้อยในด้านของระบบรางรถไฟที่เป็นปัจจัยสำคัญในการขนส่งสินค้าทางบก

I 288 I


สำนักงานเศรษฐกิจชายแดนและโลจิสติกส์

ในด้านของสิทธิประโยชน์ ได้รับการประเมินน้อยในด้านของสิทธิประโยชน์การ ผ่อนปรนแรงงานต่างด้าว ซึ่งเป็นปัญหาระดับชาติสำหรับผู้ประกอบการ ในด้านของ ผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ มีความไม่มั่นใจของผู้ประกอบการต่อคุณภาพชีวิตที่จะ ดีขึ้นหรือแย่ลงของคนในพื้นที่ และสุดท้ายในด้านของผลกระทบเชิงลบที่จะตามมา เป็นที่น่ากังวลอย่างมากในเรื่องของมลพิษ และขยะที่จะเกิดขึ้นจากการเข้ามาตั้ง โรงงานอุตสาหกรรม เนือ่ งจากค่าคะแนนเฉลีย่ ของผูป้ ระกอบการต่อโครงสร้างพืน้ ฐาน และอืน่ ๆ โดยรวมอยูใ่ นเกณฑ์พอใช้จนถึงดีเท่านัน้ ฉะนัน้ รัฐบาลควรทีจ่ ะมีการพิจารณา แนวทางการพัฒนาโครงสร้างฐานพืน้ ฐาน การปรับปรุงสิทธิประโยชน์และกฎระเบียบ โดยให้ประชาชนในพื้นที่เข้ามามีส่วนร่วมมากยิ่งขึ้น การสื่อสารให้ความรู้ความเข้า ใจอย่างทั่วถึงและเท่าทันกับการเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์ เพื่อให้ประชาชนและ นักลงทุนเกิดความเชื่อมั่น พร้อมทั้งการวางระบบ การป้องกัน และศึกษา เพื่อไม่ให้ เกิดปัญหาที่จะตามมาในอนาคต ทั้งนี้ งานวิจัยชิ้นนี้ ต้องการเพื่อให้พื้นที่ชายแดน จังหวัดเชียงรายสามารถเข้าสู่การเป็นเขตเศรษฐพิเศษชายแดนได้อย่างมีประสิทธิภาพ และยั่งยืน

I 289 I


OBELS OUTLOOK 2016

เอกสารอ้างอิง

การลงทุนของภาคเอกชนไทยในเขตเศรษฐกิจพิเศษทางตอนใต้ของอินเดีย (Sri City) กรณีศึกษา บริษัท Rockworth. จาก THAI Trade Centre, Chennai, India สืบค้นเมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม 2559, จากhttp://ditp.go.th/contents_ attach/132497/132497.pdf ข้อมูลพื้นฐานเขตพัฒนาเศรษฐกิจจังหวัดเชียงราย, จาก Chiangrai Special Economic Zone (CRSEZ) สืบค้นเมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม 2559, จาก http://www.crsez.com/th/economic_zone บริษัท พอล คอนซัลแตนท์ จำกัด (2554) การศึกษาความเหมาะสมการจัดตั้งเขต เศรษฐกิจพิเศษชายแดนจังหวัดเชียงราย: รายงานขั้นสุดท้ายฉบับสมบูรณ์. กรุงเทพฯ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง, สำนักงานคณะกรรมการการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม แห่งชาติ จังหวัดเชียงราย (2547) การประชุมเสริมสร้างความเข้าใจและ ระดมสมอง: โครงการจัดตั้งเขตเศรษฐกิจชายแดนเชียงราย ณ มหาวิทยาลัย แม่ฟ้าหลวง วันที่ 9 ธันวาคม 2547. เชียงใหม่ มาตราการสนับสนุนจากภาครัฐ, จาก Chiangrai Special Economic Zone (CRSEZ) สืบค้นเมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม 2559, จาก http://www.crsez.com/th/ government_support สถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนา (2557) โครงการวิจัย เรื่อง แนว ทางและมาตรการเพื่อการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษบริเวณพื้นที่แนวชายแดน ของไทย. กรุงเทพฯ. แผนแม่บท, จาก Chiangrai Special Economic Zone (CRSEZ) สืบค้นเมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม 2559, จากhttp://www.crsez.com/th/model_scheme Astonishing Incentives . from Gabon Special Economic Zone SA (GSEZ). Available at: http://www.gsez.com/invest-in-nkok-sez

I 290 I


สำนักงานเศรษฐกิจชายแดนและโลจิสติกส์

Connectivity. Sri City (P) Limited. Available at: http://www.sricity.in SEZ connectivity.html Incentives. from Iskandar Investment. Available at: http://www.iskan darinvestment.com/ investment-opportunities/incentives-2/ Infrastructure. Sri City (P) Limited. Available at: http://www.sricity.in/ export-processing-zones-infrastructure.html Infrastructure & Connectivity from Iskandar Investment. Available at: http://www.iskandarinvest ment.com/value-creation/smart connected-city/ Infrastructure Development, MEDINI Iskandar Malaysia. Available at: http://www.medini.com.my/ infrastructure-development/ Infrastructure & Connectivity, from i2M Ventures Sdn Bhd Office. Avail able at: http://i2m.com.my/solid-infrastructure/# Iskandar Special Economis Zone มาเลเซีย กระจกสะท้อนการพัฒนาสู่เขต เศรษฐกิจ พิเ ศษชั้นนำแห่ง อาเซียน. จาก เรวดี แก้ว มณี สำนักนโยบาย อุตสาหกรรมมหภาค (สม.) สืบค้นเมือ่ วันที่ 12 พฤษภาคม 2559,จากhttp:// www.oie.go.th/sites/default/files/attachments/article/iskandar.pdf Port of Tanger MED. from Tanger Med Port Authority (part of the Tangier Mediterranean Special Agency (TMSA)). Available at: http://www. portoverview.com/data/4.pdf Presentation of GSEZ Port . from Gabon Special Economic Zone SA (GSEZ). Available at: http://www.gsez.com/ports Speed Limit by Country. Retrieved September 9, 2016. Available at: http:// chartsbin.com/view/41749 Sri City The Business City of unparalleled opportunities. Available at: http://home.jeita.or.jp/iad/pdf/2-5.pdf

I 291 I


OBELS OUTLOOK 2016

The Regional Development Opportunities Tangiers as a model of new development dynamics. Available at: http://www.moroccoem bassybangkok.org/website%20ambassade,The%20 Regional%20 Development%20Opportunities.htm.pdf

I 292 I


สำนักงานเศรษฐกิจชายแดนและโลจิสติกส์

ความเหมาะสมของราคาที่ดินในพื้นที่ชายแดน ภายใต้การเป็นเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ กมลมาศ นิยมเศรษฐกิจ, พรพินันท์ ยี่รงค์

ในทางกฏหมาย ประเทศไทยได้ใช้เกณฑ์ในการชี้วัดความเป็นเมืองผ่านการ พิจารณาความหนาแน่นของประชากรเป็นหลัก โดยพื้นที่ที่มีความหนาแน่นของ ประชากรสูงถูกตีความได้ว่าเป็น “เขตพื้นที่ในเมือง” ส่วนพื้นที่ที่มีความหนาแน่น ของประชากรต่ำถูกตีความให้เป็น “เขตพื้นที่นอกเมืองหรือเขตชนบท” แต่ในทาง เศรษฐศาสตร์ความเป็นเมืองบ่มเพาะมาจากกระบวนการเปลีย่ นแปลงระบบเศรษฐกิจ ชนบท ซึ่งมีการกระจายตัวของประชากรที่เบาบาง และค่อนข้างสม่ำเสมอ พร้อมทั้ง มีการใช้แรงงานอย่างเข้มข้น กลายมาเป็นระบบเศรษฐกิจที่มีความหนาแน่นของ ประชากรสูง และมีความชำนาญงานเฉพาะอย่างในการผลิตสินค้าและบริการ ตลอดจนมีระดับของเทคโนโลยี นวัตกรรม และการเป็นผู้ประกอบการสูง กล่าวคือ จำนวนและความหนาแน่นของประชากรเป็นปัจจัยที่ส่งผลทำให้เกิดความเปลี่ยน แปลงไปสู่ความเป็นเมือง โดยทั่วไป บริเวณที่มีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีของ ประเทศ มีการกระจุกตัวของประชากรสูง หรือมีความเป็นเมืองสูงมักเป็นเมืองท่า หรือเมืองหลวง ตัวอย่างเช่น ศูนย์กลางการธุรกิจของประเทศไทย ที่มีการกระจุกตัว ของประชากรมากที่สุด คือ กรุงเทพฯ เล็กลงมาในระดับจังหวัดความเป็นเมืองตัว อำเภอเมือง แต่บางจังหวัดอาจมีบริเวณที่มีความเป็นเมืองมากกว่าหนึ่งพื้นที่ หรือ มากกว่าแค่อยู่บริเวณอำเภอเมือง เช่น จังหวัดที่มีอาณาบริเวณติดกับทะเล จังหวัด ที่มีอาณาเขตติดกับประเทศข้างเคียง และจังหวัดที่มีพื้นที่ชายแดน ทำให้การขยาย ตัวของเมืองของแต่ละพื้นที่มีรูปแบบที่แตกต่างกันออกไป จากการศึกษาแนวคิดและ ทฤษฏีทเ่ี กีย่ วข้อง พบว่าปัจจัยทีส่ ง่ ผลให้เกิดการขยายตัวของเมืองในรูปแบบแตกต่าง กัน เกิดจากอิทธิพลด้านการคมนาคม และศูนย์รวมของกิจกรรม

I 293 I


OBELS OUTLOOK 2016

ทั้งนี้ เชียงรายเป็นจังหวัดหนึ่งที่มีการขยายตัวของเมืองมากกว่าภายในเขต อำเภอเมือง คือ มีการขยายตัวของความเป็นเมืองมากในพื้นที่บริเวณชายแดนอำเภอ แม่สาย อำเภอเชียงแสน และอำเภอเชียงของ ซึ่งมีอาณาเขตเชื่อมต่อกับประเทศ เพื่อนบ้านอย่าง เมียนมาร์ และสปป.ลาว รวมถึงเชื่อมโยงไปจนถึงจีนตอนใต้ จน กระทั่งเกิดแนวคิดในการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษขึ้นมาในบริเวณพื้นที่ชายแดน ทำให้ในวันที่ 15 กรกฏาคม 2557 รัฐบาลได้มีมติเห็นชอบในการคัดเลือกพื้นที่ที่มี ศักยภาพในการจัดตั้งเขตพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ โดยประกาศพื้นที่ที่จะได้รับการ พัฒนาออกมาทั้งหมดสองระยะ ซึ่งจังหวัดเชียงรายถูกประกาศให้เป็นพื้นที่พัฒนา เขตเศรษฐกิจพิเศษระยะที่ 2 คือ เป็นแผนการจัดตั้งภายในปีงบประมาณ 2559 ครอบคลุมพื้นที่ทั้ง 3 อำเภอชายแดนของจังหวัดเชียงราย พร้อมทั้งได้มีการจัดทำ ร่างแผนแม่บท และแผนการปฏิบัติงานในการขับเคลื่อนจังหวัดเชียงรายสู่การพัฒนา เป็นพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดน หลังจากมีการประกาศให้พื้นที่สามอำเภอชายแดนของจังหวัดเชียงรายเป็น พื้นที่พัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ ส่งผลให้เกิดการกว้านซื้อที่ดิน โดยมีจุดประสงค์ เพื่อการเก็งกำไร ทำให้ราคาที่ดินภายในบริเวณพื้นที่ชายแดนมีการปรับตัวสูงขึ้น อย่างต่อเนื่อง ซึ่งราคาประเมินของปี 2559-2562 ของพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษ เชียงรายเพิ่มสูงขึ้นร้อยละ 27.33 (เดลินิวส์, 2558) ทั้งนี้ จากการสำรววจในปี 2557 ราคาที่ดินใกล้ถนน 1020 บริเวณทางเข้าของสะพานมิตรภาพไทย-ลาวแห่งที่ 4 อำเภอเชียงของ สูงสุดถึง 10,000 บาทต่อตารางวา และต่ำสุดที่ 7,500 บาทต่อ ตารางวา (ประชาชาติธุรกิจ, 2557) เป็นอุปสรรคที่ทำให้ผู้ประกอบการไม่สามารถ ที่จะเข้ามาลงทุนในพื้นที่ได้ เนื่องจาก ราคาที่ดินที่สูงขึ้นย่อมหมายถึงต้นทุนการ ก่อสร้างที่สูงขึ้นเช่นกัน รัฐบาลจึงแก้ไขสถานการณ์ด้วยการเวนคืนที่ดินส.ป.ก. (ที่ดิน ที่รัฐยกให้เกษตรกรเพื่อเป็นที่ดินทำกิน) บริเวณพื้นที่ชายแดน เพื่อนำมาให้เอกชน เช่าทีใ่ นราคาทีถ่ กู ลง ทัง้ นี้ ราคาทีด่ นิ ทีม่ กี ารปรับตัวสูงขึน้ อาจไม่สอดคล้องกับบริบท ของพื้นที่ หรือไม่มีความเหมาะสมต่อการใช้ประโยชน์ของพื้นที่ งานวิจัยชิ้นนี้จึงได้

I 294 I


สำนักงานเศรษฐกิจชายแดนและโลจิสติกส์

ทำการศึกษาเกี่ยวกับความเหมาะสมของราคาที่ดินต่อแต่ละพื้นที่ในอำเภอที่อยู่ติด ชายแดน เพื่อเสนอแนะแนวทางในการจัดการปัญหาราคาที่ดินเป็นอุปสรรคต่อการ ลงทุน

1. ทฤษฎีค่าเช่าโดยประมูล (Bid Rent Theory)

Alonso (1964) และ Muth (1969) ได้ประยุกต์ใช้ทฤษฎีของค่าเช่าโดย ประมูลที่เป็นแบบจำลองในการศึกษาความสัมพันธ์ของระยะห่างระหว่างศูนย์กลาง ของเมือง และราคาค่าเช่า/ที่ โดยพื้นฐานของทฤษฎีดังกล่าว ค่าเช่าจะถูกประมูลใน ราคาสูง เมื่อเข้าใกล้กับศูนย์กลางของเมือง เนื่องจากครัวเรือนพยายามที่จะลด ค่าขนส่งลง ฉะนั้น การอาศัยอยู่ในเมืองช่วยให้ใช้ระยะเวลาในการเดินทางไปทำงาน หรือแสวงหาความบันเทิงสั้นลง ในทางตรงกันข้าม ค่าเช่าจะลดลงเมื่ออยู่ห่างจาก พื้นที่ศูนย์กลาง โดยต้องแลกกับต้นทุนการเดินทางที่สูงขึ้น สรุปได้ระยะทางไปยัง ศูนย์กลางของเมืองมีความสัมพันธ์เชิงลบกับค่าเช่าที่ดิน ดังรูปที่ 1 รูปที่ 1 ฟังก์ค่าเช่าโดยประมูลแบบพื้นฐาน ค่าเช่า

ฟังก์ชั่นค่าเช่าโดยประมูล

ศูนย์กลางของเมือง

ระยะทางจากศูนย์กลางของเมือง ที่มา: Trussell (2010)

I 295 I


OBELS OUTLOOK 2016

สอดคล้องกับทฤษฏีวงแหวน (Concentric Zone Theory) ที่เสนอโดย Burgess et al. (1923) อธิบายว่า การขยายตัวของเมืองจะมีลกั ษณะเป็นรูปวงแหวน เป็นรัศมีต่อเนื่องจากเขตศูนย์กลาง โดยเขตที่อยู่ด้านในสุดเป็นเขตศูนย์กลางธุรกิจ (The Central Business District: C.B.D) ประกอบด้วยสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ มีคนหนาแน่นเวลากลางวัน เนื่องจากเดินทางเข้ามาทำงานหรือประกอบธุรกิจต่างๆ ทำให้จำนวนและความหนาแน่นของประชากรจึงไม่ใช่ปัจจัยเดียวที่ชี้วัดความเป็น เมือง แต่รวมถึงการกระจุกตัวของสิ่งอำนวยความสะดวกด้วย ฉะนั้น รายงานฉบับนี้ จึงศึกษาความเป็นเมืองของแต่ละพื้นที่ชายแดน 3 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเชียงของ อำเภอเชียงแสน และอำเภอแม่สายในเขตพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ โดยเปรียบเทียบ การเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินระหว่างปี 2550 – 2557 และศึกษาปัจจัยชี้วัด ศูนย์กลางความเป็นเมืองของแต่ละอำเภอ รูปที่ 2 ทฤษฎีการกระจายตัวของเมืองแบบวงแหวน (Concentric Zone Theory) จ ง ค ข

ก. ศูนย์กลางธุรกิจ ข. พื้นที่เปลี่ยนผ่าน ค. พื้นที่อยู่อาศัยของชนชั้นล่าง ง. พื้นที่อยู่อาศัยของชนชั้นกลาง จ. พื้นที่อยู่อาศัยของชนชั้นสูง

ที่มา: Burgess et al. (1923)

I 296 I


สำนักงานเศรษฐกิจชายแดนและโลจิสติกส์

2. การวิเคราะห์การใช้ประโยชน์ที่ดินในพื้นที่ชายแดน

2.1 การวิเคราะห์เปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ของที่ดินในเขตพื้นที่ อำเภอแม่สาย พื้นที่อำเภอแม่สาย ตั้งอยู่ในเขตภูมิประเทศที่เป็นเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำ ติดกับ ลำน้ำสาย ซึ่งเป็นเส้นกั้นระหว่างอำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย ประเทศไทย และ จังหวัดท่าขี้เหล็ก รัฐฉาน สหภาพเมียนมาร์ โดยมีพื้นที่รวมทั้งหมด 176,146 ตารางกิโลเมตร ซึง่ ทำการแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 8 ตำบล ประกอบด้วย ตำบลแม่สาย ตำบลเวียงพางคำ ตำบลเกาะช้าง ตำบลโป่งผา ตำบลศรีเมืองชุม ตำบลโป่งงาม ตำบลบ้านด้าย และตำบลห้วยไคร้ โดยตำบลแม่สายเป็นที่ตั้งของจุดผ่านแดนถาวร ระหว่างไทย – เมียนมาร์ ทั้งนี้ พื้นที่ในเขตเมืองมีทั้งหมด 56.13 ตารางกิโลเมตร ซึ่งอยู่ในพื้นที่ของตำบลแม่สาย (22.35 ตารางกิโลเมตร) และตำบลเวียงพางคำ (33.78 ตารางกิโลเมตร) ขณะที่ เขตชนบทมีพน้ื ทีร่ วมทัง้ หมด 120.02 ตารางกิโลเมตร ซึ่งอยู่ในพื้นที่ของตำบลโป่งผา (39.38 ตารางกิโลเมตร) ตำบลศรีเมืองชุม (39.38 ตารางกิโลเมตร) และตำบลเกาะช้าง (41.26 ตารางกิโลเมตร) โดยประชากรมีการกระจุกตัวอยู่ในเขตเมืองถึงร้อยละ 64 หรือประมาณ 41,809 คน ส่วนในเขตชนบทมีการอยู่อาศัยประมาณร้อยละ 36 หรือประมาณ 23,430 คน ซึ่งในเขตเมืองมีการก่อสร้างที่พักอาศัย (บ้าน) ประมาณ 25,483 หลังคาเรือน (ร้อยละ 68.64) มากกว่าในพื้นที่เขตชนบทอยู่ที่ประมาณ 11,643 หลังคาเรือน (ร้อยละ 31.36) ทำให้เขตในเมืองจึงมีความหนาแน่นของประชากรถึง 774.86 คนต่อตารางกิโลเมตร ขณะที่เขตชนบทมีความหนาแน่นของประชากรเพียง 195.22 คนต่อตารางกิโลเมตร อย่างไรก็ตาม พื้นที่เขตชนบทกลับมีการพักอาศัยต่อ ครัวเรือนของประชากรในสัดส่วนที่สูงกว่าอยู่ที่ 2.01 คนต่อหลัง โดยเขตเมืองมีการ พักอาศัยอยู่ที่ 1.64 คนต่อหลัง

I 297 I


OBELS OUTLOOK 2016

ตารางที่ 1 พื้นที่ประชากร จำนวนบ้าน ความหนาแน่น และขนาดของครัวเรือน บริเวณประตูการค้าแม่สายปี 2555 ตำบล ตำบลแม่สาย ตำบลเวียงพางคำ ตำบลโป่งผา ตำบลศรีเมืองชุม ตำบลเกาะช้าง รวมทั้งหมด

พื้นที่ ประชากร จำนวนบ้าน ความหนาแน่น ขนาดของ (ตร.กม.) (คน) (หลัง) (คน/ตร.กม.) ครัวเรือน (คน/หลัง) 22.35 33.78 39.38 39.38 41.26 176.15

21,557 20,252 8,912 4,884 9,634 65,239

13,284 12,199 5,175 2,283 4,185 37,126

965 600 226 124 234 370

1.62 1.66 1.72 2.14 2.3 1.76

ที่มา: กรมโยธาธิการและผังเมือง (2557)

จากการศึกษาความเปลี่ยนแปลงทางประชากรในเขตเมืองและเขตชนบทใน อำเภอแม่สายจากปี 2545- 2555 พบว่าประชากรในเขตเมืองเพิม่ ขึน้ ร้อยละ 0.67 จาก 39,359 คน ในปี 2545 เป็น 41,809 คน ในปี 2555 ขณะที่ประชากรในเขตชนบท เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.61 จาก 22,180 คนในปี 2545 เป็น 23,430 คน ในปี 2555 โดย พื้นที่ปกครองที่มีการเพิ่มขึ้นของประชากรสูงสุด คือ เทศบาลตำบลเวียงพางคำ มี ประชากรเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.33 รองมาได้แก่ เทศบาลตำบลโป่งผาเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.31 และเทศบาลตำบลแม่สายมิตรภาพเพิม่ ขึน้ ร้อยละ 2.31 ทัง้ นี้ พืน้ ทีป่ กครองของเทศบาล แม่สาย องค์การเทศบาลตำบลศรีเมืองชุม และองค์การเทศบาลตำบลกลับหดตัว ร้อยละ 0.93 0.79 และ 0.19 ตามลำดับ แสดงว่ามีการเคลื่อนย้ายของประชากรไป พักอาศัยยังพื้นทื่ที่เป็นเส้นทางขนส่งสินค้าไปยังชายแดนไทย-เมียนมาร์ หรือเส้นทาง R3A มากขึ้น

I 298 I


สำนักงานเศรษฐกิจชายแดนและโลจิสติกส์

จากรายงานโครงการส่งเสริมและพัฒนาด้านการค้า การลงทุนเชื่อมโยงสู่อาเซียน ได้ทำการรวบรวมข้อมูลเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินโดยเปรียบเทียบระหว่าง ปี 2550 – 2557 พบว่าการใช้ดินของพื้นที่เพื่อการพาณิชย์เพิ่มขึ้น ในขณะที่ พื้นที่ สำหรับทำการเกษตร และสถานที่ราชการกลับลดลง ทั้งนี้ มีการเพิ่มขึ้นของพื้นที่ อาคาร ทั้งเพื่อการพาณิชย์ อุตสาหกรรม สำหรับพักอาศัย และเป็นสถานที่ราชการ ตารางที่ 2 การเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินในพื้นที่อำเภอแม่สาย

ประเภทการใช้ประโยชน์ที่ดิน การใช้ที่ดิน พื้นที่อาคาร

เพิ่มขึ้น

ลดลง

พาณิชยกรรม เกษตรกรรม สถานที่ราชการ พาณิชยกรรม อุตสาหกรรม ที่พักอาศัย สถานที่ราชการ ที่มา: บริษัท ปัญญา คอนซัลแตนท์ จำกัด (2558)

ปัจจัยชี้วัดความเป็นเมืองของอำเภอแม่สาย สามารถแบ่งออกเป็น 3 ด้าน ได้แก่ ด้านความหนาแน่นประชากร ด้านสิ่งอำนวยความสะดวก และด้านของจุดผ่าน แดนถาวร จากตารางที่ 2 ปัจจัยชี้วัดความเป็นเมือง แสดงให้เห็นว่าตำบลแม่สาย และตำบลเวียงพางคำมีความหนาแน่นของประชากรสูง ขณะที่อำเภอโป่งผา โป่งงาม และเกาะช้างมีความหนาแน่นของประชากรปานกลาง และตำบลศรีเมืองชุม ห้วยไคร้ และบ้านด้ายมีความหนาแน่นของประชากรต่ำ ทางด้านของสิ่งอำนวยความสะดวก ตำบลเวียงพางคำแสดงถึงความเป็นเมืองสูงมาก จากการจราจรที่หนาแน่น มีสถานที่ ราชการ โรงพยาบาล ห้างสรรพสินค้า และโรงแรมสำหรับรองรับนักธุรกิจ ซึ่งสิ่ง อำนวยความสะดวกพวกนี้แสดงชี้ให้เห็นว่าตำบลเวียงพางคำมีความเคลื่อนไหวทาง

I 299 I


OBELS OUTLOOK 2016

เศรษฐกิจมากกว่าตำบลอื่นในอำเภอแม่สาย ขณะเดียวกันตำบลแม่สายซึ่งเป็นที่ตั้ง ของจุดผ่านแดนสะพานมิตรภาพข้ามแม่น้ำสายแห่งที่ 1 และ 2 มีการเคลื่อนไหว ทางเศรษฐกิจในด้านของการค้าชายแดนเป็นหลัก ทำให้มีการจราจรที่คับคั่งจากการ เข้ามาท่องเที่ยว และขนส่งสินค้า พร้อมทั้งมีที่พักสำหรับรองรับนักธุรกิจและนัก ท่องเที่ยว ตารางที่ 3 ปัจจัยชี้วัดความเป็นเมืองของอำเภอแม่สาย

จุดผ่านแดนถาวร

สิ่งอำนวยความสะดวก

ประชากร/ ความหนาแน่น

ตำบล ตัวชี้วัด ประชากร* (คน) ความหนาแน่น

แม่สาย

เวียง โป่งผา โป่งงาม เกาะช้าง ศรี ห้วยไคร้ บ้านด้าย พางคำ เมืองชุม

20,767 12,718 8,558 8,368 มาก

มาก

ปาน ปาน กลาง กลาง

9,552

4,887

7,363

N/A

ปาน กลาง

น้อย

น้อย

น้อย

ที่ว่าการอำเภอ โรงพยาบาล เส้นทางที่มีการ จราจรหนาแน่น* ห้างสรรพสินค้า โรงแรมสำหรับ รองรับนักธุรกิจ*** สะพานมิตรภาพ ข้ามแม่น้ำสาย แห่งที่ 1 สะพานมิตรภาพ ข้ามแม่น้ำสาย แห่งที่ 2

ที่มา: จากการประเมินโดยผู้วิจัย *ข้อมูลประชากรจากสำนักงานทะเบียน 2558 **เส้นทางทีม่ ปี ริมาณการจราจรหนาแน่นผ่านทางหลวงหมายเลข 1 โดยมีปริมาณการจราจร 1,001 – 2,000 (PCU/ชัว่ โมง) ***เกณฑ์ของโรงแรม แม่บ้าน บริการซักรีด บริการรถรับ-ส่งถึงสนามบิน ร้านอาหาร ห้องประชุม ห้องพักชั้นพิเศษ สิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับผู้พิการ

I 300 I


สำนักงานเศรษฐกิจชายแดนและโลจิสติกส์

หลังจากทำการสำรวจราคาที่ดินรายแปลงกับเจ้าของที่ดินในอำเภอแม่สาย ซึ่งเป็นราคาซื้อ – ขายจริงในตลาด จำนวน 60 ราย โดยแบ่งเป็นการสอบถามข้อมูล จาก ตำบลแม่สาย ตำบลเวียงพางคำ ตำบลโป่งผา ตำบลโป่งงาม ตำบลละ 10 ราย และ ตำบลเกาะช้าง ตำบลศรีเมืองชุม ตำบลห้วยไคร้ และตำบลบ้านด้าย ตำบล ละ 5 ราย โดยมีเงื่อนไขว่าที่ดินแต่ละแปลงที่สำรวจนั้นตั้งอยู่บนพื้นที่ที่อำนวยต่อการ พัฒนา คือ อยู่ห่างจากถนนสายหลักไม่เกิน 4 กิโลเมตร สามารถรวบรวมข้อมูลราคา โดยเฉลี่ยได้ดังรูปที่ 3 รูปที่ 3 ราคาที่ดินรายแปลงโดยเฉลี่ยในพื้นที่อำเภอแม่สาย

ที่มา : รวบรวมโดยผู้วิจัย

เห็นได้วา่ พืน้ ทีท่ เ่ี ป็นเขตเมืองอย่างตำบลแม่สาย และตำบลเวียงพางคำมีราคา ที่ดินโดยเฉลี่ยสูงกว่าพื้นที่อื่นในอำเภอแม่สาย ซึ่งมีราคาเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 2.86 และ 2.7 ล้านบาทต่อไร่ รองมาคือ ตำบลศรีเมืองชุมที่อยู่ห่างออกไปประมาณ 11.8 กิโลเมตร (จากที่ว่าการอำเภอแม่สาย ตำบลเวียงพางคำ) มีราคาที่ดินเฉลี่ยอยู่ที่ 1.9 ล้านบาทต่อไร่ ตำบลห้วยไคร้ห่างออกไปประมาณ 17.9 กิโลเมตร มีราคาที่ดินเฉลี่ย อยู่ที่ 1.51 ล้านบาทต่อไร่ ตำบลโป่งผาห่างออกไปประมาณ 8.4 กิโลเมตร มีราคาที่ ดินเฉลี่ยอยู่ที่ 1.46 ล้านบาทต่อไร่ ตำบลโป่งงามห่างออกไปประมาณ 14 กิโลเมตร มีราคาที่ดินเฉลี่ยอยู่ที่ 890,000 บาทต่อไร่ ตำบลเกาะช้างห่างออกไปประมาณ

I 301 I


OBELS OUTLOOK 2016

9.7 กิโลเมตร มีราคาที่ดินเฉลี่ยอยู่ที่ 690,000 ล้านบาทต่อไร่ และตำบลบ้านด้ายห่าง ออกไปประมาณ 21.6 กิโลเมตร มีราคาที่ดินเฉลี่ยต่ำสุดอยู่ที่ 6 แสนบาทต่อไร่ จาก การวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ระหว่างราคาที่ดิน และระยะทางตามทฤษฎีค่าเช่าโดย ประมูล (รูปที่ 4) พบว่าระยะทางแสดงผลสัมพันธ์เชิงลบที่มีผลเชิงลบต่อราคาที่ดิน แสดงพื้นที่ตำบลที่อยู่ห่างจากศูนย์กลางเมืองแม่สาย คือ ตำบลเวียงพางคำจะมีค่าเช่า หรือราคาที่ดินที่ถูกกว่า พื้นที่ตำบลของตำบลที่อยู่ค่อนข้างใกล้ รูปที่ 4 ความสัมพันธ์ระหว่างระยะทางและราคาที่ดินของอำเภอแม่สาย ตามทฤษฎีค่าเช่าโดยประมูล

ที่มา: จากการคำนวณของผู้วิจัย

I 302 I


สำนักงานเศรษฐกิจชายแดนและโลจิสติกส์

สรุปได้ว่าตำบลเวียงพางคำเป็นเขตศูนย์กลางธุรกิจ (C.B.D) ที่เป็นตั้งของที่ว่า การอำเภอแม่สาย โดยอำเภอทีม่ คี วามเป็นเมืองรองลงมาคือ ตำบลแม่สายทีม่ กี จิ กรรม ทางเศรษฐกิจในด้านของการค้าชายแดนสูง ทำให้ใน 2 ตำบลนี้ มีการกระจุกตัวของ ที่พักอาศัย และประชากรอย่างหนาแน่น แต่เป็นในลักษณะของครัวเรือนขนาดเล็ก พร้อมทั้งมีสิ่งอำนวยความสะดวกที่สะท้อนความเป็นเมือง เช่น โรงแรมขนาดใหญ่ ภัตตาคาร/ร้านอาหาร ห้างค้าปลีก โรงพยาบาล เป็นต้น ในขณะที่ตำบลที่เหลือเป็น พื้นที่ชนบทที่มีจำนวนประชากรที่อยู่อาศัยในระดับที่ต่ำ ทั้งนี้ อำเภอแม่สายเริ่ม เปลี่ยนแปลงไปสู่การเป็นเมืองพาณิชยกรรมที่เข้ามาแทนที่บทบาทของด้านเกษตรกรรมมากขึ้น โดยพิจารณาเปลี่ยนแปลงของการใช้ที่ดิน และการเพิ่มขึ้นของอาคาร ต่างๆ จากผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์เห็นได้ว่าราคาที่ดินโดยเฉลี่ยในแต่ละพื้นที่ แปรผันตามระยะทางสอดคล้องทฤษฎีค่าเช่าที่ดินโดยประมูล 2.2 การวิเคราะห์เปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ของที่ดินในเขตพื้นที่อำเภอ เชียงแสน อำเภอเชียงแสนเป็นพืน้ ทีเ่ ป็นเขตราบลุม่ ตอนกลางและตะวันตกมีพน้ื ทีท่ ส่ี ำคัญ อย่างมากคือ สามเหลี่ยมทองคำ อยู่บริเวณบ้านสบรวก ตำบลเวียง ซึ่งเป็นจุดบรรจบ ของชายแดนสามประเทศ ได้แก่ จังหวัดเชียงราย ประเทศไทย รัฐฉาน เมียนมาร์ และแขวงบ่อแก้ว สปป.ลาว ได้มีการแบ่งเขตการปกครองออกเป็นทั้งหมด 6 ตำบล ประกอบด้วย ตำบลป่าสัก ตำบลศรีดอนมูล ตำบลเวียง ตำบลโยนก ตำบลบ้านแซว และตำบลแม่เงิน โดยตำบลเวียงเป็นที่ตั้งของจุดผ่านแดนถาวรทั้งสองด่าน และ สามเหลีย่ มทองคำ โดยพืน้ ทีท่ อ่ี ยูใ่ นเขตเมือง คือ ตำบลเวียงอยูท่ ่ี 56.6 ตารางกิโลเมตร และตำบลโยนกอยู่ที่ 33 กิโลเมตร รวมทั้งหมด 89.6 ตารางกิโลเมตร คิดเป็นสัดส่วน ร้อยละ 14.72 ขณะที่ พื้นที่เขตชนบทของอำเภอเชียงแสนสูงถึงร้อยละ 85.28 หรือ 512.16 ตารางกิโลเมตร ได้แก่ พื้นที่ของตำบลศรีดอนมูล ตำบลป่าสัก ตำบลบ้านแซว ตำบลแม่เงิน และตำบลหนองป่ากอ ทั้งนี้ เขตพื้นที่ในเมืองมีจำนวนประชากร และ จำนวนหลังคาเรือนสูง แต่ไม่ถึงกับเป็นการกระจุกตัว เนื่องจาก ประชากรที่อาศัย

I 303 I


OBELS OUTLOOK 2016

ในเมืองมีสัดส่วนเพียงร้อยละ 29.37 โดยอีกร้อยละ 70.63 อาศัยอยู่ในชนบท ซึ่ง ตำบลที่มีความหนาแน่นของประชากรสูงสุด คือ ตำบลเวียง และมีความหนาแน่น ของประชากรต่ำสุดคือ ตำบลบ้านแซว นอกจากนี้ ขนาดของครัวเรือนในเขตเมือง ขนาดค่อนข้างเล็ก คือ ไม่เกิน 2 คนต่อหลังคาเรือน ขณะที่ ในเขตชนบทก็ไม่ต่างกัน มาก มีการอยู่อาศัยประมาณ 3 คนต่อหลังคาเรือน จากข้อมูลสถิติปี 2545 - 2555 พบว่า พื้นที่เขตเมืองมีการหดตัวร้อยละ 0.54 และพื้นที่เขตชนบทมีการหดตัวร้อยละ 0.9 แสดงว่ามีการอพยพย้ายออกจากเมืองของประชากร ตารางที่ 4 พื้นที่ ประชากร จำนวนบ้าน ความหนาแน่น และขนาดของครัวเรือน บริเวณประตูการค้าเชียงแสนปี 2555 ตำบล ตำบลเวียง ตำบลศรีดอนมูล ตำบลป่าสัก ตำบลโยนก ตำบลบ้านแซว ตำบลแม่เงิน ตำบลหนองป่าก่อ รวมทั้งหมด

พื้นที่ (ตร.กม.

ประชากร (คน)

56.60 93.17 50.31 33.00 216.36 104.56 54.76 608.76

11,429 7,650 7,648 4,628 10,493 8,268 4,554 54,670

ความ จำนวนบ้าน หนาแน่น (คน/ตร.กม.) (หลัง) 6,196 3,243 3,185 1,916 4,348 2,804 1,864 23,556

ที่มา: กรมโยธาธิการและผังเมือง (2557)

I 304 I

201.93 82.11 152.02 140.24 48.50 79.07 83.16 89.81

ขนาดของ ครัวเรือน (คน/หลัง) 1.84 2.36 2.40 2.42 2.41 2.95 2.44 2.32


สำนักงานเศรษฐกิจชายแดนและโลจิสติกส์

ด้วยรูปแบบกิจกรรมและการใช้ที่ดินที่แตกต่างกันค่อนข้างมากของอำเภอ เชียงแสน คือ มีทั้งกิจกรรมการขนส่งทางน้ำ กิจกรรมการขนส่งทางบก และกิจกรรม รองรับการท่องเทีย่ ว เส้นทางของการขนส่งสินค้าและเส้นทางของนักท่องเทีย่ วทีม่ กี าร ซ้ำซ้อนกันและเกิดความไม่สะดวกในบริเวณตำบลเวียงซึ่งเป็นที่ตั้งของพื้นที่เมืองเก่า และท่าเรือเชียงแสนแห่งที่ 1 เป็นผลให้มกี ารจราจรติดขัดและสภาพถนนทรุดโทรมลง โดยเฉพาะพื้นที่ถนนพหลโยธินและบริเวณข้างเคียงที่มีการใช้งานทุกกิจกรรมอย่าง หนาแน่น ทำให้มีการสร้างท่าเรือแห่งใหม่ขึ้นเพื่อรองรับการขยายตัวที่เพิ่มขึ้นและ การกระจายความหนาแน่นของตำบลเวียงซึ่งขยายตัวได้อย่างจำกัด คือ ท่าเรือ เชียงแสนแห่งที่ 2 ซึ่งตั้งอยู่ในเขตพื้นที่ตำบลบ้านแซว ทางด้านการเปลี่ยนแปลงของ อาคารพักอาศัยมีแนวโน้มหนาแน่นขึ้น แปลงที่ดินมีขนาดเล็กลงเป็นผลมาจากราคา ทีด่ นิ ทีส่ งู ขึน้ การเปลีย่ นแปลงของอาคารพาณิชย์และอุตสาหกรรม ทำให้เกิดแนวโน้ม ขยายตัวของการใช้ทด่ี นิ โดยส่วนใหญ่ในพืน้ ทีร่ อบนอก เนือ่ งจาก ในตัวเมืองมีขอ้ จำกัด ด้านการประกอบกิจกรรมมีค่อนข้างหนาแน่น การขยายตัวของชุมชนเปรียบเทียบ จากข้อมูลสารสนเทศทางภูมิศาสตร์และภาพถ่ายทางอากาศพบว่า มีข้อจำกัดในการ ขยายตัวของพื้นที่ธรรมชาติ ไม่ว่าจะเป็น แม่น้ำโขงทางทิศตะวันออก แม่น้ำคำทาง ทิศตะวันตกและทิศใต้ รวมถึงเมืองเชียงแสนน้อยทางทิศใต้เช่นเดียวกัน ตารางที่ 4 การเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินในพื้นที่อำเภอเชียงแสน

ประเภทการใช้ประโยชน์ที่ดิน พื้นที่อาคาร

เพิ่มขึ้น

พาณิชยกรรม อุตสาหกรรม ที่พักอาศัย สถานที่ราชการ ที่มา: บริษัท ปัญญา คอนซัลแตนท์ จำกัด (2558)

I 305 I

ลดลง


OBELS OUTLOOK 2016

จากตารางที่ 5 แสดงถึงปัจจัยชีว้ ดั ความเป็นเมืองของอำเภอเชียงแสน เห็นได้วา่ ตำบลเวียง คือ ตำบลที่มีความเป็นเมืองของอำเภอเชียงแสน ทั้งในด้านของปัจจัย ด้านความหนาแน่นของประชากร สิ่งอำนวยความสะดวก และจุดผ่านแดนถาวร เช่น ท่าเรือเชียงแสนแห่งที่ 1 ซึ่งปัจจุบันกลายมาอยู่ภายใต้การดูแลของเทศบาล เพื่อ ส่งเสริมกิจกรรมการท่องเที่ยวทางแม่น้ำโขง และมีแนวโน้มที่ตำบลบ้านแซวจะกลาย เป็นศูนย์กลางความเป็นเมืองต่อจากตำบลเวียงที่มีข้อจำกัดในการขยายตัวของพื้นที่ โดยการเปิดท่าเรือเชียงแสนแห่งที่ 2 นำมาซึ่งความเปลี่ยนแปลงทั้งในทางบวก คือ ตารางที่ 5 ปัจจัยชี้วัดความเป็นเมืองของอำเภอเชียงแสน

จุดผ่านแดน ถาวร

สิ่งอำนวยความสะดวก

ประชากรและ ความหนาแน่น

ตำบล ตัวชี้วัด ประชากร* (คน) ความหนาแน่น (มาก-น้อย)

ป่าสัก

ศรีดอนมูล

เวียง

โยนก บ้านแซว แม่เงิน

8,337

7,660

11,334

4,623

10,461

N/A

ปาน กลาง

ปาน กลาง

มาก

น้อย

ปาน กลาง

น้อย

ที่ว่าการอำเภอ โรงพยาบาล เส้นทางที่มีการ จราจรหนาแน่น* ห้างสรรพสินค้า โรงแรมห้าดาว*** ท่าเรือเชียงแสน แห่งที่ 1 ท่าเรือเชียงแสน แห่งที่ 2

ที่มา: จากการประเมินโดยผู้วิจัย *ข้อมูลประชากรจากสำนักงานทะเบียน 2558 ** เส้นทางทีม่ ปี ริมาณการจราจรหนาแน่นผ่านทางหลวงหมายเลข 1016 โดยมีปริมาณการจราจร 1,001 – 2,000 (PCU/ช.ม.) ***เกณฑ์ของโรงแรม แม่บ้าน บริการซักรีด บริการรถรับ-ส่งถึงสนามบิน ร้านอาหาร ห้องประชุม ห้องพัก ชั้นพิเศษ สิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับผู้พิการ

I 306 I


สำนักงานเศรษฐกิจชายแดนและโลจิสติกส์

ความเจริญและการปฎิรปู ทีด่ นิ เพือ่ รองรับกิจกรรมพาณิชย์ จากพืน้ ทีท่ ไ่ี ด้รบั ผลกระทบ ทางอุทกภัยเป็นพื้นที่แรกในอำเภอเนื่องจากเป็นพื้นที่ที่ต่ำที่สุด ปัจจุบัน แทบไม่ได้ รับผลกระทบเลยหรือได้รับผลกระทบน้อย เนื่องจากแต่ก่อนเป็นพื้นที่ทำการประมง ของประชาชนละแวกนั้น เมื่อเกิดท่าเรือเชียงแสนแห่งที่ 2 ขึ้น ทำให้เกิดความยาก ลำบากขึ้นในการทำประมงรวมถึงมลพิษทางน้ำที่อาจเพิ่มขึ้นในอนาคต เมื่อได้ทำการสำรวจราคาที่ดินรายแปลงกับเจ้าของที่ดินในอำเภอเชียงแสน ซึ่งเป็นราคาซื้อ–ขายจริงในตลาดจำนวน 45 ราย ประกอบด้วย ตำบลเวียง ตำบล บ้านแซว ตำบลป่าสัก ตำบลศรีดอนมูล ตำบลละ 10 ราย และตำบลโยนก 5 ราย ขณะที่ ตำบลแม่เงินไม่สามารถหาข้อมูลได้ โดยทำการสำรวจภายใต้เงื่อนไขว่าที่ดิน แต่ละแปลงที่สำรวจต้องตั้งอยู่บนพื้นที่ที่เหมะสมต่อการพัฒนา คือ อยู่ห่างจากถนน สายหลักไม่เกิน 4 กิโลเมตร สามารถรวบรวมข้อมูลราคาที่ดินโดยเฉลี่ยได้ดังรูปที่ 5 รูปที่ 5 ราคาที่ดินรายแปลงโดยเฉลี่ยในพื้นที่อำเภอเชียงแสน

ที่มา : รวบรวมโดยผู้วิจัย

I 307 I


OBELS OUTLOOK 2016

พืน้ ทีต่ ำบลเวียงเป็นพืน้ ทีท่ ม่ี รี าคาทีด่ นิ โดยเฉลีย่ สูงทีส่ ดุ คือ 3.25 ล้านบาทต่อไร่ รองมาได้แก่ ตำบลบ้านแซว ซึ่งห่างออกไปประมาณ 20 กิโลเมตร ราคาที่ดินเฉลี่ย อยู่ที่ 2.11 ล้านบาทต่อไร่ ตำบลโยนกห่างออกไปประมาณ 10.5 กิโลเมตร ราคาที่ดิน เฉลี่ยอยู่ที่ 1.7 ล้านบาทต่อไร่ ตำบลป่าสักห่างออกไปประมาณ 10.6 กิโลเมตร ราคา ที่ดินเฉลี่ยอยู่ที่ 890,000 บาทต่อไร่ และตำบลศรีดอนมูลห่างออกประมาณ 13.9 กิโลเมตร ราคาที่ดินเฉลี่ยอยู่ที่ 630,000 บาทต่อไร่ จากการวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ ระหว่างราคาที่ดินและระยะทางจากตำบลเวียง ซึ่งมีความเป็นเมืองสูงที่สุดของอำเภอ เชียงแสน พบว่าความสัมพันธ์กลับออกมาในเชิงบวก หรือขัดแย้งกับทฤษฎีค่าเช่า โดยประมูล ดังรูปที่ 6 รูปที่ 6 ความสัมพันธ์ระหว่างระยะทางและราคาที่ดินของอำเภอเชียงแสน ตามทฤษฎีค่าเช่าโดยประมูล

ที่มา: จากการคำนวณโดยผู้วิจัย

I 308 I


สำนักงานเศรษฐกิจชายแดนและโลจิสติกส์

สรุปได้ว่าพื้นที่ตำบลเวียงของอำเภอเชียงแสนเป็นพื้นที่ที่แสดงถึงความเป็น ศูนย์กลางของเมืองได้อย่างชัดเจน ทั้งในด้านความหนาแน่นของประชากรสิ่งอำนวย ความสะดวก และเป็นที่ตั้งของท่าเรือเชียงแสนแห่งที่ 1 ทำให้ราคาที่ดินโดยเฉลี่ยสูง กว่าพื้นที่อื่น อย่างไรก็ตาม ความเป็นเมืองของอำเภอเชียงแสนค่อนข้างแตกต่างไป จากอำเภอแม่สาย เนื่องจาก มีการกระจุกของประชากรและที่อยู่อาศัยในพื้นที่ต่ำ เป็นสาเหตุมาจากการที่อำเภอเชียงแสนมีข้อจำกัดในอย่างมากในการพัฒนาตรงส่วน ของตำบลเวียง ทีเ่ ป็นแหล่งรวมโบราณสถานทีม่ คี วามสำคัญอย่างมากต่อประวัตศิ าสตร์ ล้านนาของไทย ทำให้รฐั บาลต่องทำการกระจายความเจริญไปสูพ่ น้ื ทีใ่ นตำบลอืน่ แทน ซึ่งสอดคล้องกับผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างที่ดินและระยะทางพบว่าราคา ที่ดินเพิ่มขึ้นตามการเพิ่มขึ้นของระยะทาง ในความเป็นจริงแล้ว นอกเหนือจากตำบล เวียง ตำบลบ้านแซวเป็นตำบลทีม่ รี าคาทีด่ นิ โดยเฉลีย่ สูงสุด เพราะมีการเข้าไปก่อสร้าง ท่าเรือเชียงแสนแห่งที่ 2 ทำให้มีความต้องการพื้นที่ในบริเวณดังกล่าวสูงขึ้น จึงเป็น ผลให้เกิดความขัดแย้งต่อทฤษฎีค่าเช่าโดยประมูล 2.3 การวิเคราะห์เปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ของที่ดินในเขตพื้นที่ อำเภอเชียงของ อำเภอเชียงของเป็นเขตที่ราบลุ่มสลับเทือกเขาที่มีอาณาเขตเชื่อมต่อกับแขวง บ่อแก้วของสปป.ลาว มีการแบ่งเขตการปกครองออกเป็นเป็น 7 ตำบล ประกอบด้วย ตำบลริมโขง ตำบลเวียง ตำบลสถาน ตำบลศรีดอนชัย ตำบลห้วยซ้อ ตำบลครึ่ง และ ตำบลบุญเรือง โดยตำบลเวียงเป็นที่ตั้งของจุดผ่านแดนถาวรท่าเรือเชียงของ และจุด ผ่านแดนถาวรสะพานมิตรภาพแห่งที่ 4 ซึง่ เชือ่ มระหว่างไทย – ลาว อีกทัง้ เป็นเส้นทาง เชื่อมกับเส้นทาง R3A ที่เชื่อมโยงระหว่างจีน-ลาว-ไทย โดยพื้นที่ส่วนใหญ่ของอำเภอ เชียงของเป็นพืน้ ทีเ่ ขตเมืองคิดเป็นร้อยละ 83 ได้แก่ ตำบลเวียง ตำบลสถาน และตำบล ศรีดอนชัย รวมทั้งหมด 316.3 ตารางกิโลเมตร มีประชากรรวมทั้งหมด 25,427 คน และจำนวนบ้าน 12,248 หลังคาเรือน มีความหนาแน่นของประชากรอยูท่ ่ี 80.31 คน ต่อตารางกิโลเมตร และขนาดของครัวเรือนประมาณ 2 คนต่อหลัง ขณะที่เขตชนบท

I 309 I


OBELS OUTLOOK 2016

คือ พืน้ ทีข่ องตำบลริมโขงเพียงตำบลเดียวคิดเป็นร้อยละ 17 มีพน้ื ทีป่ ระมาณ 153.26 ตารางกิโลเมตร มีประชากร 6,358 คน มีบ้าน 2,181 หลังคาเรือน มีความหนาแน่น ของประชากรอยู่ที่ 41.49 คนต่อตารางกิโลเมตร ต่ำกว่าในเขตเมือง และขนาดของ ครัวเรือนใหญ่กว่าเขตเมืองอยูท่ ไ่ี ม่เกิน 3 คนต่อหลัง จากข้อมูลสถิตปิ ระชากรปี 2545 2555 พื้นที่เขตเมืองของอำเภอเชียงของมีประชากรลดลงร้อยละ 0.54 ขณะที่ในพื้น ที่เขตชนบทมีประชากรลดลงสูงกว่าที่ร้อยละ 0.9 ตารางที่ 6 พื้นที่ ประชากร จำนวนบ้าน ความหนาแน่น และขนาดของครัวเรือน บริเวณประตูการค้าเชียงของปี 2555 ตำบล ตำบลริมโขง ตำบลเวียง ตำบลสถาน ตำบลศรีดอนชัย รวมทั้งหมด

พื้นที่ (ตร.กม.

ประชากร (คน)

153.26 121.60 101 94 469.86

6,358 12,679 3,985 8,763 31,785

ความ จำนวนบ้าน หนาแน่น (คน/ตร.กม.) (หลัง) 2,181 5,378 3,637 3,233 14,429

41.49 104.27 39.46 93.22 67.65

ขนาดของ ครัวเรือน (คน/หลัง) 2.92 2.36 1.10 2.71 2.20

ที่มา: กรมโยธาธิการและผังเมือง (2557)

อำเภอเชียงของค่อนข้างมีการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ของที่ดินคล้ายคลึง กับอำเภอเชียงแสน คือมีรูปแบบกิจกรรมและการใช้ที่ดินที่แตกต่างกันค่อนข้างมาก ทั้งกิจกรรมขนส่งสินค้าและการเดินทางทางน้ำ และการค้าชายแดน ที่หลังจากมีการ เปิดใช้สะพานมิตรภาพแห่งที่ 4 ก็ทำให้มีการขนส่งทางบกเพิ่มขึ้น ขณะเดียวกันการ เปลีย่ นแปลงของอาคารพักอาศัยมีแนวโน้มทีจ่ ะหนาแน่นขึน้ แปลงทีด่ นิ มีขนาดเล็กลง เป็นผลมาจากการเปิดสะพานข้ามแม่น้ำโขงแห่งที่ 4 ผลักให้ราคาที่ดินมีการปรับตัว สูงขึ้น ทั้งนี้ การใช้ที่ดินทางพาณิชยกรรมและอุตสาหกรรมมีแนวโน้มมากขึ้นโดยส่วน

I 310 I


สำนักงานเศรษฐกิจชายแดนและโลจิสติกส์

ใหญ่เป็นการขยายตัวบริเวณชุมชนบริเวณพื้นที่ที่อยู่ใกล้เส้นทางคมนาคมสายหลัก จากการการขยายตัวของชุมชนเปรียบเทียบจากข้อมูลสารสนเทศทางภูมิศาสตร์และ ภาพถ่ายทางอากาศพบว่า เมืองเชียงของมีข้อจำกัดทั้งทางด้านพื้นที่ และทางด้าน ธรรมชาติ เนื่องจากเป็นพื้นที่เมืองเก่าทำให้มีความคับแคบสองข้างถนน นอกจากนั้น ยังมีแม่น้ำโขงทางตะวันออก แม่น้ำอิงทางใต้ และล้อมรอบด้วยภูเขาทางเหนือ ทำให้ มีการขยายตัวของเมืองได้อย่างจำกัด ทำให้เกิดการกระจุกตัวเฉพาะในเขตเวียง ตารางที่ 7 การเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินในพื้นที่อำเภอเชียงของ

ประเภทการใช้ประโยชน์ที่ดิน การใช้ที่ดิน พื้นที่อาคาร

เพิ่มขึ้น

ลดลง

พาณิชยกรรม อุตสาหกรรม พาณิชยกรรม อุตสาหกกรม ที่พักอาศัย ที่มา: บริษัท ปัญญา คอนซัลแตนท์ จำกัด (2558)

จากตารางที่ 3 แสดงปัจจัยชีว้ ดั ความเป็นเมืองของอำเภอเชียงของ เห็นได้ชดั ว่า ตำบลเวียงเป็นพื้นที่ศูนย์กลางความเป็นเมืองของอำเภอเชียงของ และตำบลบุญเรือง ที่มีความหนาแน่นประชากรสูง กับตำบลศรีดอนชัยที่มีการจราจรหนาแน่นมีแนวโน้ม ที่จะมีการขยายตัวของเมืองค่อนข้างสูง ในส่วนของตำบลสถานซึ่งอยู่ใกล้กับตำบล เวียงทีเ่ ป็นศูนย์กลางความเป็นเมืองของอำเภอเชียงของความเป็นไปได้ในการขยายตัว เป็นศูนย์กลางเมืองค่อนข้างสูงเช่นกัน เนื่องจากพื้นที่ตำบลสถานประกอบอัตราส่วน พื้นที่ของที่ดินประเภทอุตสาหกรรมและคลังสินค้าซึ่งอาจส่งผลต่อการขยายตัวของ เมืองในอนาคตได้เช่นกัน

I 311 I


OBELS OUTLOOK 2016

ตารางที่ 8 ปัจจัยชี้วัดความเป็นเมืองของอำเภอเชียงของ

จุดผ่านแดน ถาวร

สิ่งอำนวยความ สะดวก

ประชากร/ ความหนาแน่น

ตำบล ตัวชี้วัด ประชากร* (คน) ความหนาแน่น

บุญเรือง สถาน ศรีดอนชัย

เวียง

ครึ่ง

ห้วยซ้อ ริมโขง

6,716

9,372

8,760

8,179

N/A

12,546 6,380

มาก

ปาน กลาง

ปาน กลาง

มาก

น้อย

น้อย

น้อย

ที่ว่าการอำเภอ เส้นทางที่มีการ จราจรหนาแน่น** ห้างสรรพสินค้า โรงแรมห้าดาว* ท่าเรือบั๊ค สะพานมิตรภาพ ไทย – ลาว แห่งที่ 4

ที่มา: จากการประเมินโดยผู้วิจัย *ข้อมูลประชากรจากสำนักงานทะเบียน 2558 **เส้นทางที่มีปริมาณการจราจรหนาแน่นผ่านทางหลวงหมายเลข 1020 โดยมีปริมาณการจราจร 1,001 – 2,000 (PCU/ช.ม.) ***เกณฑ์ของโรงแรม แม่บ้าน บริการซักรีด บริการรถรับ-ส่งถึงสนามบิน ร้านอาหาร ห้องประชุม ห้องพักชั้นพิเศษ สิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับผู้พิการ

จากการสำรวจราคาที่ดินรายแปลงกับเจ้าของที่ดินในอำเภอเชียงของจำนวน 65 ราย โดยแบ่งเป็น ตำบลเวียง ตำบลบุญเรือง ตำบลศรีดอนชัย ตำบลสถาน ตำบล ครึ่ง ตำบลริมโขง ตำบลละ 10 ราย และตำบลห้วยซ้อ 5 ราย โดยมีเงื่อนไขว่าที่ดิน แต่ละแปลงที่สำรวจนั้นตั้งอยู่บนพื้นที่ที่อำนวยต่อการพัฒนา คือ อยู่ห่างจากถนน สายหลักไม่เกิน 4 กิโลเมตร สามารถรวบรวมข้อมูลราคาโดยเฉลี่ยได้ดังรูปที่ 7 โดย พบว่าตำบลศรีดอนชัยเป็นพื้นที่ที่มีราคาที่ดินโดยเฉลี่ยสูงสุดอยู่ที่ 4.3 ล้านบาทต่อไร่ โดยมีระยะทางห่างจากที่ว่าการอำเภอเชียงของออกไปประมาณ 21.4 กิโลเมตร

I 312 I


สำนักงานเศรษฐกิจชายแดนและโลจิสติกส์

รองมาได้แก่ ตำบลบุญเรืองมีราคาที่ดินเฉลี่ยอยู่ที่ที่ 3.09 ล้านบาทต่อไร่ (ระยะห่าง ประมาณ 57 กิโลเมตร) ตำบลเวียงมีราคาที่ดินเฉลี่ยอยู่ที่ 2.88 ล้านบาทต่อไร่ ตำบล ริมโขงราคาที่ดินเฉลี่ยอยู่ที่ 1.6 ล้านบาทต่อไร (ระยะห่างประมาณ 21.9 กิโลเมตร) ตำบลครึง่ ราคาทีด่ นิ เฉลีย่ อยูท่ ่ี 1.6 ล้านบาทต่อไร่ (ระยะห่างประมาณ 24.3 กิโลเมตร) ตำบลสถานมีราคาที่ดินเฉลี่ยอยู่ที่ 1.13 ล้านบาทต่อไร่ (ระยะห่างประมาณ 10.7 กิโลเมตร) และตำบลห้วยซ้อมีราคาเฉลี่ยต่ำสุดอยู่ที่ 370,000 บาทต่อไร่ (ระยะห่าง ประมาณ 32.8 กิโลเมตร) รูปที่ 7 ราคาที่ดินรายแปลงในพื้นที่อำเภอเชียงของ

ที่มา : รวบรวมโดยผู้วิจัย

เมื่อทำการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างระยะทางจากแต่ละตำบลไปยังเมือง ศูนย์กลาง หรือที่ว่าการอำเภอเชียงของ ตำบลเวียง พบว่าราคาที่ดินโดยเฉลี่ยมีความ สัมพันธ์เชิงบวกกับระยะทาง หมายความว่า พื้นที่ที่มีระยะทางใกล้ศูนย์กลางเมือง จะมีราคาค่าที่ดินที่ต่ำกว่าพื้นที่ที่อยู่ไกลกับศูนย์กลางเมือง แต่เป็นความสัมพันธ์ที่ ไม่มีส่งผลไม่มากนัก ซึ่งมีความก้ำกึ่งระหว่างว่าระยะทางว่ามีอิทธิพลหรือไม่มีอิทธิพล โดยตำบลบุญเรืองกับเป็นพื้นที่ที่มีราคาที่ดินเฉลี่ยสูงสุด ซึ่งสูงกว่าพื้นที่ตำบลเวียงที่ เป็นเมืองศูนย์กลาง และมีพื้นที่อยู่ไกลจากศูนย์กลางของเมืองมากที่สุด เป็นเพราะ ตัวบุญเรืองได้ถูกสำรวจว่าจะเป็นพื้นที่ก่อสร้างให้เป็นนิคมอุตสาหกรรมกว่า 3,000 ไร่ ทำให้มีกลุ่มทุนเข้ามาเก็งกำไร จนส่งผลทำให้ราคาที่ดินสูงกว่ามูลค่าที่แท้จริง

I 313 I


OBELS OUTLOOK 2016

รูปที่ 8 ความสัมพันธ์ระหว่างระยะทางและราคาที่ดินของอำเภอเชียงของ ตามทฤษฎีค่าเช่าโดยประมูล

ที่มา: จากการคำนวณโดยผู้วิจัย

สรุปได้วา่ ตำบลเวียงเป็นพืน้ ทีท่ ม่ี ปี จั จัยทีเ่ ป็นตัวชีว้ ดั ความเป็นเมืองสูงสุด ทัง้ ใน ด้านของจำนวนประชากร ความหนาแน่น การกระจุกตัวของที่อยู่อาศัย การมีสิ่ง อำนวยคาวมสะดวก ทัง้ ห้างค้าปลีก โรงแรม สถานทีร่ าชการ คลินกิ รักษาโรค สะพาน และท่าเรือ แต่กลับไม่ได้มีราคาที่ดินสูงสุด โดยตำบลที่มีราคาที่ดินสูงสุดคือตำบล บุญเรือง ที่มีแนวโน้มว่าจะได้รับเลือกให้เป็นเขตก่อสร้างนิคมอุตสาหกรรมในอนาคต เห็นได้ว่าปัจจัยทางนโยบายเขตเศรษฐกิจพิเศษมีผลอย่างมากต่อราคาที่ดินในอำเภอ เชียงของ

I 314 I


สำนักงานเศรษฐกิจชายแดนและโลจิสติกส์

3. สรุปและข้อเสนอแนะ

จากทฤษฎีเศรษฐศาสตร์เมืองทีช่ อ่ื ว่า ค่าเช่าโดยประมูล ทีห่ ยิบยกการวิเคราะห์ ระหว่างความสัมพันธ์ของราคาที่ดินกับระยะห่วงจากเมืองศูนย์กลาง พบว่ามีเพียง อำเภอแม่สายเพียงอำเภอเดียวสอดคล้องตามทฤษฎี คือ ระยะห่างจากตัวเมืองมาก ราคาที่ดินจะต่ำ และระยะห่างจากตัวเมืองน้อย ราคาที่ดินจะสูง โดยมีการกระจุกตัว ของเศรษฐกิจอยู่ในตำบลเวียงพางคำสูง ซึ่งจำนวนประชากร ที่อยู่อาศัย สิ่งอำนวย ความสะดวกอยู่หนาแน่น ราคาที่ดินบริเวณนั้นจึงสูงกว่าพื้นที่ตำบลอื่น ในขณะที่ อำเภอเชียงแสนมีข้อจำกัดในด้านของการขยายศูนย์กลางของเมืองอย่างตำบลเวียง จากการที่เป็นเมืองที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ รัฐบาลจึงพยายามกระจาย กิจกรรมทางเศรษฐกิจออกไปตำบลรอบนอกแทน จึงทำให้ผลการวิเคราะห์ออกมาไม่ สอดคล้องกับทฤษฎี เช่นเดียวกันกับอำเภอเชียงของ ซึ่งพื้นที่ที่มีราคาที่ดินสูงสุด กลับ อยู่ห่างจากตัวเมืองศูนย์กลางมากที่สุด เนื่องจากมีด้านของนโยบายการจัดตั้งเขตนิคม อุตสาหกรรมเข้ามาเกี่ยวข้อง ทำให้ราคาที่ดินที่เปลี่ยนแปลงไม่ได้อิงอยู่บนฐานของ ทฤษฎี ฉะนั้น ภาครัฐบาลควรที่จะเข้ามาจัดการในเรื่องของการเก็งราคาที่ดิน โดย ใช้วิธีที่มีความประนีประนอมมากกว่าการเวนคืนจากชาวบ้าน และชดเชยในราคาถูก ซึ่งอาจไม่สะท้อนต่อมูลค่าของที่ดินที่แท้จริง แต่เป็นการเข้ามาจัดการในเรื่องของ กฎหมายที่มีผลบังคับใช้ หากตรวจสอบพบว่ามีการเก็งกำไรของที่ดินจริง

I 315 I


OBELS OUTLOOK 2016

เอกสารอ้างอิง

ประชาชาติธุรกิจ (2557) ส่องพอร์ตราคาที่ดินภูมิภาคปี′57 เมืองเศรษฐกิจหลัก ชายแดนพุ่ง 50-100%. สืบค้นเมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2559, จาก http:// www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1388731663 ประชาชาติธุรกิจ (2558) กลุ่มทุนรุมเขตศก.พิเศษ”เชียงของ” เมืองเงินสร้างนิคม ซีพีผุดโรงแรม-แม่โจ้ตั้งวิทยาเขต. สืบค้นเมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2559, จาก http://www.prachachat.net/news_detail.php? newsid=1438156973 เดลินิวส์ (2558) ที่ดินรอบเขตเศรษฐกิจพิเศษ ราคาแพงลิ่วรับค้าชายแดนโต. สืบค้น เมือ่ วันที่ 20 ตุลาคม 2559,จาก http://www.dailynews.co.th/economic/ 366147 Benjamin Trussell. (2010) The Bid Rent Gradient Theory in Eugene, Oregon: Empirical Investigation. Department of Economics, University of Oregon. Available at: http://economics.uoregon.edu/wp-ontent/ uploads/sites/4/2014/07/BenjaminTrussell.pdf

I 316 I


สำนักงานเศรษฐกิจชายแดนและโลจิสติกส์

แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจ ชายแดนในยุคดิจิตอล พรพินันท์ ยี่รงค์, วิลาวัณย์ ตุทาโน, ณัฐพรพรรณ อุตมา

ช่วงปีค.ศ. 1750 นับว่าเป็นการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งแรกที่สร้างจุดเปลี่ยน ทางประวัติศาสตร์ต่อเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมด้วยเครื่องจักรไอน้ำ ต่อมา ในครั้งที่สองเป็นการกำเนิดของเครื่องปั่นไฟฟ้าในช่วงปีค.ศ. 1870 และครั้งที่สาม คือ การเกิดขึ้นของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ และโทรคมนาคมในช่วงปีค.ศ. 1969 ซึ่งเปลี่ยนแปลงทั้งวิถีชีวิต วิถีการผลิต และกิจกรรมทางเศรษฐกิจต่างๆ จากหน้ามือ เป็นหลังมือ ทันใดนัน้ ได้ถอื กำเนิดของการปฏิวตั คิ รัง้ ทีส่ ท่ี พ่ี ลิกโฉมหน้าประวัตศิ าสตร์ แบบไม่มีวันหวนกลับ คือ การต่อยอดและการผสมผสานเทคโนโลยีจากการปฏิวัติ ครั้งที่สาม ซึ่งมีการพึ่งพาและอาศัยการแลกเปลี่ยนของข้อมูลบนอินเตอร์เน็ต ทำให้ เกิดการพัฒนานวัตกรรมการผลิต นำไปสู่การเกิดขึ้นของผลิตภัณฑ์ที่มีความสะดวก สบายต่อการใช้งานของผู้บริโภคในยุคปัจจุบันมากขึ้นในระดับของปัจเจกบุคคล เศรษฐกิจยุคดิจิตอลจึงกลายมาเป็นจุดเชื่อมที่สำคัญของแต่ละประเทศในการ ออกนโยบาย และยุทธศาสตร์ระดับชาติในการส่งเสริม และออกกฎระเบียบในครอบคลุม ทั้งนี้ เศรษฐกิจในยุคนี้มีการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วผิดจากเศรษฐกิจในยุคก่อน อย่าง ระบบการเงินก็มีการนำเอาเทคโนโลยีมาประยุกต์ จนเกิดเป็น FinTech (Financial Technology) ที่สามารถทำได้ตั้งแต่การโอนเงินผ่านทางโทรศัพท์มือถือ การชำระ

I 317 I


OBELS OUTLOOK 2016

ค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน โดยที่ผู้บริโภคไม่จำเป็นต้องพกเงินสดไปต่อแถวเพื่อชำระ เงิน นอกจากนี้ สิ่งที่พัฒนาไปพร้อมกันคือ ระบบการค้าขายแบบออนไลน์ หรือ E-commerce ทีท่ ำให้การแลกเปลีย่ นสินค้าลืน่ ไหลทัว่ โลก ทัง้ นี้ ปัจจัยสำคัญคงไม่พน้ การพัฒนาของระบบ Hardware อย่าง Smart Phone และ โครงข่ายอินเตอร์เน็ต ความเร็วสูงอย่าง 3G และ 4G ที่เข้าถึงคนทุกกลุ่มทุกชนชั้น จนทำให้เกิดกลุ่มตลาด ขนาดใหญ่ ฉะนัน้ การผลิตสินค้าและบริการก็จะทำให้เกิดการประหยัดต่อขนาด (Economies of Scale) ในช่วงเวลาอันสั้นลง ทำให้สินค้าที่ออกมาสู่ตลาดมีการเติบโต แบบก้าวกระโดด Start-up เป็นประเภทของธุรกิจที่เกิดขึ้นในยุคของการปฏิวัติอุตสาหกรรม ครั้งที่ 4 เป็นการสร้างรูปแบบธุรกิจใหม่ที่นำเอาเทคโนโลยี และความสร้างสรรค์มา ผนวกกัน โดยรูปแบบธุรกิจดังกล่าวสามารถทีจ่ ะทำซ้ำได้ (repeatable) และสามารถ เติบโตได้ (scalable) ซึง่ ต้องใช้ความรวดเร็วในการสร้างผลิตภัณฑ์ และเข้าครอบครอง ตลาดที่มีอยู่ ทำให้ธุรกิจ start-up เป็นธุรกิจที่มีการเติบโตแบบความเร็วสูงเปรียบ เสมือนกับความเร็วอินเตอร์เน็ตในยุคนี้ ทั้งนี้ บริษัทที่เป็นมีความโด่งดังในยุคที่ผ่าน มาคือ Google ทีเ่ ข้ามาปฏิวตั กิ ารค้นหาข้อมูลของผูบ้ ริโภคด้วยระบบ Search Engine ที่มีความก้าวหน้ากว่าระบบของบริษัทอื่น ณ ตอนนี้ Google ไม่ได้เพียงแต่พัฒนา ระบบที่มีอยู่ แต่ได้มีการขยายกิจการครอบคลุมไปถึงการค้นหาพื้นที่ด้วย Google Maps และมีระบบเก็บข้อมูลที่เรียกว่า “Cloud Service” อย่าง Google Drive ทำให้สามารถต่อยอดไปสูก่ ารทำ e-Document แบบ online อย่าง Google Sheet พร้อมทั้งมีการลงทุนเพื่อพัฒนาสิ่งอื่นๆที่ไม่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีอีกมากมาย เห็น ได้ว่าธุรกิจ Start-up เป็นธุรกิจที่มีการออกสินค้ามาสู่ตลาด และทำการวิจัยว่าสินค้า สามารถเข้ากับตลาดอย่างว่องไว ซึ่งหากรอช้าบริษัทอื่นก็อาจมีความคิดในรูปแบบ เดียวกันและนำไปพัฒนาเข้าสู่ตลาดก่อน ฉะนั้น ธุรกิจนี้ถือเป็นเกมการชิงไหวชิงพริบ ทางการตลาดอย่างรุนแรง

I 318 I


สำนักงานเศรษฐกิจชายแดนและโลจิสติกส์

เมื่อไม่นานมานี้ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีของรัฐบาลยุค ปัจจุบันได้ออกมาแถลงให้นโยบายเศรษฐกิจดิจิตอลกลายเป็นนโยบายที่ใช้ในการขับ เคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ โดยมีการปรับโครงสร้างของกระทรวงไอซีที เปลี่ยน เป็นกระทรวงดิจิตอลเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแทน ซึ่งเริ่มต้นจากการแก้ไข กฎหมายและระเบียบต่างๆเพือ่ อำนวยความสะดวก และขจัดอุปสรรคต่อนโยบายใหม่ ทำให้เป็นทั้งภาคประชาชน และภาคเอกชนต้องมีการปรับเปลี่ยนวิถีการดำเนินชีวิต และวิถีการทำธุรกิจให้มีความสอดคล้อง ในฐานะที่เชียงรายเป็นจังหวัดที่ตั้งอยู่ เหนือสุดของประเทศไทย ซึ่งเป็นชายแดนที่เชื่อมต่อไปยังประเทศเพื่อนบ้านอย่าง สปป.ลาว และเมียนมาร์ รวมถึงจีนตอนใต้ที่เป็นตลาดขนาดใหญ่ ทำให้ผู้ประกอบ การชายแดนต้องตื่นตัวกับการเปลี่ยนแปลงระดับประเทศในครั้งนี้ ดังนั้น ทาง สำนักงานเศรษฐกิจชายแดนและโลจิสติกส์ (OBELS) จึงได้ขอเข้าสัมภาษณ์คุณสงวน ซ้อนกลิ่นสกุล ผู้ดำรงตำแหน่งรองประธานหอการค้าอำเภอเชียงของจังหวัดเชียงราย ฝ่ายเศรษฐกิจและโลจิสติกส์ ที่มีประสบการณ์ในการประกอบธุรกิจบริเวณพื้นที่ ชายแดนมายาวนาน ในประเด็นของ “แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจ ชายแดนในยุคดิจิตอล” เพื่อติดตามสถานการณ์ของพื้นที่ชายแดนอำเภอเชียงของ เมื่อมีการเข้ามาของเทคโนโลยี และนวัตกรรมสมัยใหม่ ที่มีผลต่อภาคประชาชน และภาคเอกชนในพื้นที่

ในยุคเศรษฐกิจแบบดิจิตอล คาดว่าพื้นที่ชายแดนต้องมีการปรับตัวหรือ ไม่ ในการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมเข้ามาใช้ประโยชน์

คุณสงวน : ในความคิดเห็นส่วนตัวนะครับ ผมคิดว่าพื้นที่ชายแดนควรมีการ เปลี่ยนแปลงให้มากที่สุดเพราะจะเห็นว่าบริเวณพื้นที่ชายแดน ได้มีการเพิ่มขึ้นอย่าง ต่อเนื่องของจำนวนผู้มีกำลังซื้อในช่วงอายุของ Gen X และ Gen Y ซึ่งมองว่าคน กลุ่มนี้น่าจะมีศักยภาพของผู้บริโภคสูงมาก ยกตัวอย่างเช่น ร้าน The vow ซึ่งเจ้า ของร้านย้ายมาจากกรุงเทพ ได้เข้ามาลงทุนสร้างร้านอาหารที่ผนวกรวมกับร้านกาแฟ ที่มีการตกแต่งแบบหรูหรา และสวยงาม ชวนดึงดูดให้เข้าไปนั่ง เหมาะสมอย่างมาก

I 319 I


OBELS OUTLOOK 2016

กับผู้บริโภครุ่นใหม่ โดยเฉพาะผู้บริโภครุ่นใหม่อย่างลาว ที่เดินทางเข้ามาใช้บริการเป็น จำนวนมาก และไม่ได้เข้ามาเพียงครั้งเดียว แต่มากินซ้ำบ่อยครั้ง ส่วนใหญ่ผู้บริโภค รายใหม่ที่เข้ามาจากการติดตามรีวิวของเว็บไซต์ tripadvisor.com ฉะนั้น ร้านค้ารูป แบบดังกล่าวจึงสามารถที่จะตอบโจทย์คนรุ่นใหม่ได้อย่างดี ถ้าถามว่าทำไมถึงต้องมีการพัฒนาในด้านนี้ให้ดีกว่าประเทศเพื่อนบ้านอย่าง ลาว ผมมีความเห็นว่า หากเราไปแข่งขันกับลาวในการท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ในเชิงการ อนุรักษ์วัฒนธรรม เราไม่สามารถสู้เขาได้ เพราะเขายังมีความขลังกว่ามาก น่าชม กว่ามาก ส่วนบ้านเราเองก็ต้องก้าวไปอีกขึ้นมีการพัฒนาให้เป็นเมือง นอกจากนี้เรา ยังมีนักท่องเที่ยวจีนรุ่นใหม่เข้ามา คือ พอเขามาบ้านเราก็ไม่ต้องมีการปรับอะไรมาก เพราะส่วนหนึ่งมาจากความทันสมัยที่เรามีอยู่ แต่ถ้าหากเข้าไปประเทศเพื่อนบ้านเรา ก็จะต้องมีการปรับหลายอย่าง เป็นเหตุว่าทำไมคนชาวลาว และชาวจีนเข้ามาจับจ่าย ใช้สอยในพื้นที่เชียงของ นอกจากนี้ การมีเทสโก้โลตัส ทำให้คนลาวเข้ามาซื้อของนำ กลับไปขายที่ลาวมากขึ้น ทั้งนี้ ลาวยังไม่มีกฎหมายห้ามนำเข้าสินค้า ฉะนั้น เชียงของ ยังคงมีโอกาสในการทำธุรกิจอยู่อีกมาก

ถ้าหากจับกลุ่มเป้าหมายได้ชัดเจน การพัฒนาแนวธุรกิจใหม่จะเป็นไป ในทิศทางไหน

คุณสงวน : การมีระบบการสื่อสารข้อมูลที่กว้างขึ้น ทำให้คนรู้ว่า ร้านไหนดี ร้านไหนอร่อย โดยสามารถที่จะหาข้อมูลจากอินเทอร์เน็ต คนที่มาจากพื้นที่อื่น ไม่ว่า จะเป็นชาวต่างชาติ หรือชาวไทยอาศัยข้อมูลจากเว็บไซต์ที่รวบรวมข้อมูลรีวิวธุรกิจ การบริการในการตัดสินใจเลือกพัก หรือรับประทานอาหาร นอกจากนี้ คนกรุงเทพที่ เล็งเห็นถึงช่องทางโอกาสของธุรกิจจากข้อมูลข่าวสารที่ทั่วถึงก็เข้ามาลงทุนในพื้นที่ อย่าง โรงแรม Fortune River View Chiang Khong ส่งผลทำให้การแข่งขันในพื้นที่ มีความรุนแรงมากขึ้น เป็นผลพลอยได้แก่ผู้บริโภคอย่างมาก ผู้ประกอบการเองก็ พยายามปรับตัวกับการเปลี่ยนแปลง อย่างไรก็ตาม พบว่ามีคนรุ่นใหม่ที่เป็นคนใน

I 320 I


สำนักงานเศรษฐกิจชายแดนและโลจิสติกส์

พื้นที่กลับเข้ามาทำธุรกิจหลังจบการศึกษา ซึ่งเป็นธุรกิจที่ให้บริการด้านสุขภาพอย่าง Fitness เมื่อนักท่องเที่ยวเข้ามาก็สามารถที่จะเลือกใช้บริการจากธุรกิจใหม่เหล่านี้ ได้ ทั้งนี้ ผู้ประกอบการเองก็ต้องคิดว่าจะยกระดับตัวเองขึ้นมาได้อย่างไร จะเพิ่ม ศักยภาพในประกอบธุรกิจอย่างไร ซึ่งคนในพื้นที่จะต้องไปต่อยอดทักษะตัวเองให้ เพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะทักษะการใช้ภาษาอังกฤษ ที่จำเป็นอย่างมากต่อธุรกิจการ บริการในตอนนี้ก็มีการกำหนดกฎระเบียบในการนำรถผ่านแดนโดยกรมการขนส่ง ที่มีความเข้มงวดมากขึ้น โดยก่อนจะเข้ามาต้องแจ้งเข้ามาก่อนว่าจะมาเมื่อไหร่ วันไหน ไปที่ไหนบ้าง นอกจากนี้ ยังไม่อนุญาตให้นำรถออกไปนอกจังหวัดเชียงราย มันก็ทำให้กลุ่มทัวร์เริ่มอึดอัด เพราะว่าไปทำสัญญาว่าจะนำคาราวานเข้ามา พอเจอ กับกฎระเบียบพวกนี้อาจทำให้เกิดปัญหาว่ารถจะต้องมาจอดอยู่แค่เชียงราย หาก ต้องการไปที่อื่นก็ต้องใช้รถบริการของคนไทย ถ้าถามว่าดีหรือเปล่า มันก็ดีนะ คนไทย ก็จะได้รายได้จากส่วนนี้ ถึงแม้ว่าคนจีนเขามีกำลังซื้อเยอะ ถ้าทำแบบนี้จะทำให้คน มาน้อยลงหรือเปล่า แต่เมื่อมีการคุยกับกรมการขนส่ง ก็มีการตกลงกันใหม่ คือ ถ้า หากว่าเป็นคาราวานหรือกรุป๊ ทัวร์กย็ ดื หยุน่ ให้สามารถออกไปยังจังหวัดอืน่ ได้ สำหรับ รถโดยสารขนาดเล็กก็สามารถขับได้เฉพาะในเชียงราย ซึ่งถ้าหากทำแบบนี้ในระยะ ยาวก็น่าจะเป็นผลดี เพราะว่าในความเป็นจริง เมื่อเราไปจีน เราไม่สามารถนำรถ เข้าไปได้เลย หากจะไปก็ต้องไปเป็นคาราวาน และยังต้องแจ้งล่วงหน้าเป็นเดือนด้วย เราทำกลับบ้างก็น่าจะไม่เป็นปัญหา สถานที่ท่องเที่ยวของไทยเองก็ควรมีการฟื้นฟูและสามารถรองรับนักท่องเที่ยว ได้ตลอดเวลา อย่างเช่นทางภาคใต้ หมู่เกาะต่างๆ คาดว่าไม่เกินสิบปีอาจจะถูกทำลาย หมด หากไม่มีกฎเกณฑ์ที่เข้มงวด เมื่อกำหนดกฎเกณฑ์ขึ้นมา นักท่องเที่ยวก็ต้อง ยอมรับและปฏิบัติตาม เพราะมันดีกับคนไทยเองด้วย อย่างร้าน The vow ก็ได้ ประโยชน์จากการที่มีนักท่องเที่ยวเข้ามา เพราะปกติคนในพื้นที่ก็ไม่ค่อยเข้าไปกิน เขาเข้ามาตอนที่สะพานเชียงของยังไม่เสร็จ โดยเห็นโอกาสว่านักท่องเที่ยวจำนวนมาก ยืนรอกันอยู่บริเวณท่าเรือบั๊ก เพราะยังไปไหนไม่ได้ นักท่องเที่ยวก็เดินไปมา เขาจึง

I 321 I


OBELS OUTLOOK 2016

ตัดสินใจลงทุนซื้อที่ในเมือง และเปิดร้าน ตอนแรกก็ยังไม่เข้าที่มาก แต่ว่าราคาของ ในร้านค่อนข้างแพงกว่าร้านอื่น จึงทำให้ร้านดูค่อนข้างเงียบ ไม่ค่อยมีคน อาจเป็น เพราะมีการเปิดสะพานแล้วด้วย อย่างไรก็ตาม สมมติว่ากฎระเบียบของเราสามารถ ทำให้ทุกอย่างอยู่ในกรอบได้ สิ่งที่ควรทำก็คือ พื้นที่จอดรถขนาดใหญ่ ไม่ใช่แค่ลาน จอดรถ แต่เป็นลานจอดรถที่ต้องมี Outlet จำหน่ายสินค้าที่ทันสมัย เป็นพื้นที่ค้า ขายที่นักท่องเที่ยวจีนสามารถซื้อของกลับประเทศเขาไปได้โดยไม่ต้องหอบสินค้ามา ถึงชายแดน

มีแนวโน้มที่จะเกิด Outlet ในพื้นที่อำเภอเชียงหรือไม่

คุณสงวน : ผมพยายามพูดกับทุกหน่วยงานที่เข้ามาสัมภาษณ์ คือ คนจีนซื้อ ของไปจากโลตัสก็เยอะ เขาตั้งใจว่าจะซื้อไปฝากพี่น้องเขาและเขามั่นใจว่าของที่เขา ได้เป็นของแท้แน่นอนไม่ใช่นมปลอม ไม่ใช่ข้าวปลอม เพราะซื้อจากห้างที่เชื่อถือได้ คนจีนเขาเชื่อมั่นในเรามาก แต่จะทำยังไงให้เรามีศักยภาพเพียงพอ ผมไม่ได้มองแค่ เชียงของ ผมอยากให้เขาเปิดทุกด่านที่มีสะพาน วันนี้เขาอาจจะเปิดที่หนองคาย นครพนม และอีกที่ที่เชียงของ โดยไม่ได้มองแค่กำไรตรงจุดนี้จุดเดียว แต่ว่าก็ต้องดู ภาพรวมขององค์กรของเขา ตรงนี้อาจจะดี ตรงนั้นอาจจะไม่ดีคือมันมีโอกาสทาง ธุรกิจอยู่ เหมือน Duty free ของลาวที่เขาเปิดทุกด่านเลยเราต้องเริ่มต้นตรงนี้ครับ ถ้าเราเปิดก็จะทำให้สามารถดึงนักท่องเที่ยวมาได้มากขึ้น ทั้งนี้ อยากให้มีความ แตกต่างนิดนึงที่ว่า อย่าเอาของจากแม่สายมา เพราะของแม่สายมันมีอยู่ทุกที่แล้ว คนที่จะเอามาที่นี่ถ้าเป็นของจากจีน คนที่มาจากสิบสองปันนา จากจีนเขาอาจจะลืม ซือ้ ของฝากจากจีน เขาก็สามารถมาซือ้ ทีเ่ ชียงของได้ เป็นสินค้าทีเ่ หมือนกัน แต่ไม่ตอ้ ง เดินทางไปไกล หากวันนี้มีคณะราชการผู้ใหญ่มา อยากจะได้สินค้า เช่น บ๊วย หรืออะไรก็ตาม ที่เราเชื่อมั่นว่าเป็นของดีของประเทศจีน ขอให้มันมาเปิดอยู่ตรงนี้ ส่วนของดีบ้านเรา อย่าง OTOP Premium 5 ดาว ให้ทำแบบ Outlet ทางเดินยาวๆ ไปเลย ให้นัก

I 322 I


สำนักงานเศรษฐกิจชายแดนและโลจิสติกส์

ท่องเที่ยวเดินกันจนเมื่อยไปเลย เมื่อมันเกิดคนอื่นก็อยากตามเข้ามาอย่างแน่นนอน แต่ทุกวันนี้ไม่มีคนอยู่ มาแล้วก็ไปก็เลย คนจะลงทุนก็ต้องคิดว่าลงทุนจะคุ้มมั้ย อย่าง เชียงของเมืองใหม่คนก็คิดว่าตรงนั้นเป็นทำเลทอง และมีแนวโน้มที่จะรุ่งหลังจากมี การเปิดสะพาน แต่ก็ไม่ได้เป็นอย่างที่คิด คาดว่าอีกสักพักนึงมันก็จะดีเหมือนตรง สี่แยกไฟแดงเมื่อก่อนที่เป็นพื้นที่ห่างจากเมือง พอสักระยะหนึ่งกลับกลายเป็นทำเล ทอง ก็หวังว่าเชียงของเมืองใหม่จะเป็นแบบนั้น แต่เขาก็ต้องปรับตัวก่อนว่า ต้องมีที่ พักกับที่นั่งเล่นเพื่อให้คนที่มาซื้อได้นั่งพัก ได้มาชมสินค้าไม่ใช่เอาแค่ตะแกรงตาข่าย มาแล้วก็เอาสีธงชาติมา แล้วก็ตั้งโชว์ มันธรรมดาเหลือเกิน พอคนเห็นเขาก็ไม่ซื้อ เพราะมันไม่มีอะไรดึงดูด สุดท้ายก็เงียบให้อยู่ฟรีค่าเช่าไม่ต้องเสียเพื่อดึงคนเข้ามา ค้าขาย จนมาถึงตอนนี้สามปีแล้ว ก็เห็นใจทุกคนที่พยายามทำให้เชียงของโต แต่ว่า ก็ไม่โตสักที ค่าใช้จ่ายบนสะพานก็แพงนะครับ เราจะขอช่องทางให้ passport สามารถ ผ่านทางท่าเรือบั๊คก็ยังขอไม่ได้

ถ้าเกิดว่าเด็กรุ่นใหม่ในพื้นที่กลับมา น่าจะมีแนวโน้มที่ธุรกิจใหม่เกิดขึ้น หรือไม่

คุณสงวน : ตอนนี้ก็มีธุรกิจฟิตเนสที่เป็นเด็กที่จบการศึกษาจากมหาวิทยาลัย แม่ฟ้าหลวงมาเปิด เขาก็ใช้การโฆษณาผ่าน Social Media ทำให้เปิดได้ไม่กี่เดือนคน ก็มาใช้บริการกันมาก รวมถึงแนวโน้มของคนเริ่มที่จะสนใจเรื่องสุขภาพมากขึ้น คน รุ่นใหม่ไม่ค่อยสูบบุหรี่ หรือดื่มเหล้าเช่นเดิม

งั้นก็หมายความว่าธุรกิจรุ่นใหม่ที่ตอบโจทย์คนในพื้นที่ก็มีโอกาสเติบโต

คุณสงวน : ก็เป็นไปได้ คนรุ่นใหม่ก็ใช้สื่อทางอินเตอร์เน็ตเป็นตัวเชื่อมไปยังผู้ บริโภค ทำให้ข่าวสารการเกิดธุรกิจต่างๆมันแพร่กระจายไปไวมาก ซึ่งก็ส่งผลให้เกิด ประโยชน์แก่ตัวธุรกิจเอง

I 323 I


OBELS OUTLOOK 2016

คุณสงวนใช้สื่อเหล่านี้ทุกวันหรือไม่

คุณสงวน : ส่วนมากเดี๋ยวนี้ อายุประมาณผมก็ใช้กันเยอะ แล้วยิ่งเด็กเดี๋ยวนี้ ยิ่งไวเลยครับ แต่ว่าเราจะทำยังไงให้คนเชียงของมีกำลังซื้อสินค้ามากขึ้น ถ้าคนไม่มี กำลังซื้อ ธุรกิจที่หรูหรามันจะมีช่องโหว่ แต่ว่าเจ้าของฟิตเนส เขาว่าตอนนี้คนลาว ก็เริ่มเข้ามาใช้บริการฟิตเนสบ้างแล้ว แสดงว่าสิ่งที่บ้านเรากำลังทำอย่างฟิตเนสเนี่ย บ้านเขายังไม่มี ถึงแม้มีเขาก็ยังไม่มีเทรนเนอร์ที่เก่งพอ อย่างเจ้าของฟิตเนสเขาก็ไป ประกวดชายงามได้ที่หนึ่งของประเทศในช่วงนั้น ซึ่งมันก็ช่วยเป็นเครื่องการันตีให้กับ ธุรกิจของเขาเอง มันก็ช่วยให้เขามีลูกค้าเพิ่มขึ้น อันนี้เป็นเพียงตัวอย่างธุรกิจหนึ่งนะ ครับ ส่วนธุรกิจร้านกาแฟ ก็มีร้านใหม่ๆเข้ามาเปิด แต่ตอนนี้ดูแล้วก็เหมือนจะอยู่ช่วง ผ่อนปลายของธุรกิจ อย่างไรเชียงของก็ต้องมีที่แบบนี้ครับ ที่นั่งเล่นร้านกาแฟสบายๆ ทำให้เราสามารถรองรับคนที่เข้ามาท่องเที่ยวได้ ตอนนี้ต้องขอเน้นภาคบริการก่อน เดี๋ยวอย่างอื่นจะตามมาเอง วันนี้ ถ้าอยากทานอาหารประเภท Clean Food ซึ่งฟิตเนสก็จะตอบตรงนี้ว่า จะทานยังไง ร้านผัดไทยิ้มก็ทำ Clean Food ขึ้นมา แล้วสื่อสารผ่านทาง Social Media พวกที่อยู่ฟิตเนสก็ค้นเจอเป็นห่วงโซ่ทางธุรกิจ ดังนั้น อาหาร Clean Food บางคนก็จะสงสัยว่ามันคืออะไร พอคนทราบก็เห็นว่าดี ทำให้เกิดธุรกิจที่ต่อเนื่องกัน ไปเรื่อยๆ ล้วนเป็นเด็กและคนทำงานรุ่นใหม่ทั้งนั้น

ส่วนใหญ่เขาลงทุนกันเองหรือได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาล

คุณสงวน : ไม่มคี รับ ส่วนใหญ่เกิดจากความชอบทัง้ นัน้ เขารัก เขาก็ทำ อยาก ให้ทกุ คนมีสขุ ภาพทีด่ ี แล้วคนก็มาสมัคร ผมก็ไปสมัครดู แต่กอ่ นไม่มเี วลาออกกำลังกาย ครับ ช่วงเย็นประชุมบ่อย แต่ว่าเดี๋ยวนี้ต้องตื่นเช้าทุกวันไปฟิตเนส การออกกำลังกาย ที่ฟิตเนสครึ่งชั่วโมงก็ได้ผล ไม่ลงพุง (หัวเราะ) สิ่งที่คิดอยู่เสมอ คือ กินอันนี้จะดีไหม มันจะดีต่อสุขภาพหรือเปล่า มันทำให้เราตระหนักมากยิ่งขึ้น แล้วเชียงของเดี๋ยวนี้คน ไม่ตอ้ งเข้าเมืองไปไกลเพือ่ ซือ้ ของที่ Big C หรือ Central Plaza เพาะไป Tesco Lotus

I 324 I


สำนักงานเศรษฐกิจชายแดนและโลจิสติกส์

ก็ซื้อได้ พวกโรงแรมก็ไม่ต้องกักตุนสินค้าเช่นกัน สมัยก่อนต้องไปซื้อที่แมคโครเพื่อกัก ตุนสินค้า เรียกว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงของเชียงของในช่วงสามปีที่ผ่านมา ก็คิดว่าคง มีอะไรเกิดขึ้นต่อไปเรื่อยๆ

แสดงว่า Technology กับกระแส Digital ก็เข้ามาเปลี่ยนอะไรไปบ้าง

คุณสงวน : ใช่ครับ เด็กรุ่นใหม่เขาฉลาดขึ้น เวลาจะขายอะไร จะทำอะไรก็รู้ หมด แล้วพวกนี้เขาจะมีการรวมกลุ่มนะครับ แล้วก็มีการดึงเงินเข้ามาในกลุ่ม เราก็ จะเริ่มเห็นการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของธุรกิจ

แล้วในส่วนของค้าปลีกค้าส่งเริ่มมีการใช้เทคโนโลยีหรือดิจิตอลบ้าง หรือไม่

คุณสงวน : เริ่มมีครับ หลายรายก็มีการสร้าง facebook ร้านค้าของตนเอง ขึ้น โดยเน้นสินค้าที่มีความถนัด และหลายอย่าง แต่ว่ามันยังเป็นช่วง ของเจ้าของ ร้านค้าที่เป็น Gen 2 อยู่ ถ้าหากเป็น Gen 3 น่าจะมีการเปลี่ยนแปลงเยอะกว่านี้ เพราะส่วนใหญ่ยงั เป็นรุน่ ผมอยูท่ เ่ี ข้ามาดูแลธุรกิจ คือ ยังใช้รปู แบบการค้าแบบดัง้ เดิม ซื้อมาและขายไป กับกลุ่มลูกค้าประจำ แต่ว่า Gen 3 ถ้าทำกิจการต่อพ่อแม่ก็อาจ มีโอกาสเปลี่ยนแปลงสูงอยู่ แต่ส่วนใหญ่ก็ไปประกอบอาชีพอย่างอื่น ก็ห่วงว่าธุรกิจ SMEs พวกนี้อาจจะต้องปรับตัวเอง ผมบอกทุกครั้งว่า ร้านค้าที่เป็นร้านไม้เก่าก็ทำให้ ดูดีขึ้น ทำให้เป็นลานโชว์สินค้าที่มีศักยภาพ ตกแต่งให้มันดูดี ให้คนที่อยากมาเดิน กลางคืนได้รับความสุนทรีย์ในการเดิน และสินค้าก็ต้องตอบโจทย์นักท่องเที่ยว ซึ่งเป็น คนจีนให้ได้มากที่สุด คนจีนรุ่นใหม่ก็เริ่มมีการใช้จ่าย เงินทองไม่ค่อยเก็บออมกันมาก ออกมาเที่ยวได้อย่างนี้แสดงว่าฐานะดี ตอนนี้ โรงแรม Teak Garden เชียงของ ก็มี กลุ่ม IBIS เข้ามาบริหาร ทำให้มีความเป็นสากล และระบบการจองห้องที่มีความ สะดวกมากขึ้น

I 325 I


OBELS OUTLOOK 2016

ถ้ามีธุรกิจใหม่เข้ามาก็น่าจะเป็นธุรกิจที่มีการเชื่อมโยงกับเทคโนโลยีมาก ขึ้น แล้วก็ธุรกิจที่มีมาอยู่ก่อนแล้วแต่เปลี่ยนเป็นคนอีกรุ่น การค้าขายก็ น่าจะมีการปรับตัวบ้างหรือไม่

คุณสงวน : ชาวลาวเองก็มีการเปลี่ยนแปลงไป อย่างเช่น ตรงตะเข็บชายแดน เขาจะมีตลาดเช้าอยู่ ตอนนี้ก็ยกระดับเข้ามาขายภายในอาคาร มีร้านจำหน่ายเครื่อง เงินรองรับการท่องเที่ยว แต่ว่ามันยังไม่เข้าท่าเท่าไร เช่นเดียวกันกับตลาดจีน แต่หาก เราทำได้ แบบเอาสินค้าแบรนด์เนมมาตั้งจำหน่ายบิรเวณชายแดน อย่าง Duty Free ของ King Power ถ้ามองในระยะยาว อาจจะได้ลูกค้าทั่วประเทศ วันนี้ King Power เข้าซื้อ Air Asia เขาก็เริ่มเอาสินค้าไปจำหน่ายบนเครื่องบิน ถ้ามาลงทุนที่ชายแดนก็ ไม่ต้องลงทุนมาก หากคนจีนรู้ว่าคิงเพาเวอร์ที่กรุงเทพกับที่ชายแดนเป็นบริษัทเดียว กัน เขาก็ไม่จำเป็นต้องไปถึงกรุงเทพ ทำให้การค้าขายดีขน้ึ ซึง่ จะเป็นแม่เหล็กตัวใหญ่ ตัวหนึ่งที่ช่วยดึงดูดทุนหลากหลายขนาดเข้ามา พร้อมทั้งเป็นการกระตุ้นทุนท้องถิ่น ให้มีการลงทุนมากขึ้น ส่วนในเรื่องของผังเมือง ต้องมีการวางและปรับให้มีความเป็นระบบมากขึ้น เพราะเชียงของมันยังไม่โตในทิศทางทีย่ งั ควบคุมได้ ถ้ารถอยากเข้าไปจอดซือ้ ของ และ ลงมาเข้าห้องน้ำ ก็จัดให้เป็นระเบียบเรียบร้อย ดูสวยงาม ผมว่ามันทำได้ แล้วจะรอ โอกาสให้ใคร ก็ต้องใช้ข้อมูลพวกนี้สื่อไปยัง นักวิชาการ อาจารย์ นักธุรกิจ คนที่เขา เห็นโอกาส มันต้องใช้เวลานิดนึงเท่านั้นเอง วันนี้จีนเขาเริ่มคุยกันแล้วในเรื่องทำถนน R3A ซึ่งเป็นเส้นทางใหม่ 6 ช่องจราจร โดยไม่ใช้เส้นเดิม ที่เจอแต่ภูเขาทำถนนอารมณ์ เหมือนที่ไปคุนหมิง จากระยะทาง 350 กิโลเมตร จนถึงบ่อเต็นจะลดเหลือประมาณ แค่ 190 กิโลเมตร ซึ่งถ้าคนจีนมาตั้งแต่สิบสองปันนาที่ตอนนี้ก็กำลังขยายถนน ขยาย อุโมงค์เป็นช่องทางที่ใหญ่และกว้างขึ้น จากคุนหมิง สิบสองปันนา บ่อเต็น จนมาถึง เชียงของไม่น่าเกินสองชั่วโมง มันก็จะสะดวกรวดเร็วขึ้น ดังนั้น คนจีนก็อยากจะมา ที่นี่มาซื้อของกินของใช้ ซื้อของที่เป็นภูมิปัญญาของไทย อีกไม่นานหรอกครับ แล้ว ถ้าที่นี่มีสถาบันการศึกษาที่ดีอย่างมหาวิทยาลัยแม่โจ้ มีโรงพยาบาลเอกชนที่ดีอย่าง

I 326 I


สำนักงานเศรษฐกิจชายแดนและโลจิสติกส์

ศรีบุรินทร์ อะไรก็ได้ที่เป็นจุดแข็งของเราซึ่งเป็นในภาคบริการทั้งหมดเกิดขึ้นที่นี้ ผมว่า เงินของเขาของไม่หลุดลอยไปไหนแน่นอกจากที่นี้

แสดงว่าเชียงของเองก็มกี ารเตรียมความพร้อมในเรือ่ งของ E-Payment มากขึ้นแล้วใช่ไหมครับ?

คุณสงวน : ใช่ครับ เพราะว่าแต่ละธนาคารก็พยายามที่จะปรับเปลี่ยนการทำ ธุรกรรมทางการเงินให้ไปอยู่ในระบบบัตรมากขึ้น รวมถึงทางรัฐบาลเองก็พยายามเร่ง ให้มีการพัฒนามากขึ้น

แล้วอย่างพ่อค้าที่เขาเปิดร้านเองเขาจะมีเครื่องรูดบัตรหรือไม่?

คุณสงวน : ผมว่าเขาก็ต้องปรับตัวนะครับ วันนี้เหมือนที่คุยกัน ตอนนี้ ระบบ การชำระเงินของ Alipay ได้ผนวกเข้ามาในร้านสะดวกซื้อ 7-11 ฉะนั้น ร้านไหนก็ ตามที่ไม่มีเครื่องรูดบัตรพวกนี้อาจทำให้โอกาสที่จะขายให้คนจีนได้ก็น้อยลง

ฉะนั้น หากร้านไหนนำระบบที่ใช้ application ที่เชื่อมโยงกับบัญชี ธนาคาร แปลว่าคนจีนก็จะซื้อของมากขึ้น

คุณสงวน : มันช่วยลดการแลกเปลี่ยนเงินตราที่ต้องใช้ต้นทุนสูง ร้านไหนมี การรับบัตร ก็ทำให้คนใช้เงินสะดวกขึ้น นักท่องเที่ยวเองก็ไม่ต้องพกเงินเป็นจำนวน มากผ่านชายแดน แล้วต้องมาเจอการตรวจตราอีก นอกจากนี้ ยังช่วยให้นกั ท่องเทีย่ ว ต้องการที่ใช้เงินในประเทศเรามากขึ้น

เชียงของก็พร้อมหรือไม่หากมีการนำมาใช้จริง

คุณสงวน : ควรมีการเริ่มต้นจากธุรกิจที่เป็นกลุ่มทุนใหญ่ก่อน เมื่อทุนเล็ก เห็นว่าคนจีนทีต่ อ้ งแลกเงินทุกครัง้ มาซือ้ ของบ้านเรามันน้อยลง เขาก็ตอ้ งเข้าไปค้นคว้าว่า ถ้าอยากขายของให้คนจีน ก็ต้องรับบัตร ภาคเอกชนส่วนใหญ่ในเชียงของก็ยังไม่ทราบ ข้อมูลดังกล่าวมากนัก

I 327 I


OBELS OUTLOOK 2016

งั้นเชียงของก็จะได้รับประโยชน์จากระบบจาก E-payment แต่ว่าพูดถึง ตอนนี้รัฐบาลก็มีการสนับสนุนให้มีการแจกจ่ายเครื่องให้กับร้านค้าเพื่อ ทดลองระบบ

คุณสงวน : อย่างวันนั้นธนาคารแห่งประเทศไทยมาขอข้อมูล เขาพูดเรื่อง Fintech ซึ่งตอนนี้ข้อมูลถูกกระจายเป็นวงกว้าง อยู่ที่ว่าเขาจะนำระบบนี้มาให้เอกชน มาใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างไร ผมว่าอีกไม่นานการค้าแบบหน้าร้านคงหมดไป ไม่จำ เป็นต้องมีหน้าร้านแล้ว คนที่หวังจะซื้อตึกแถวมาทำธุรกิจ ผ่อนธนาคาร ขายของ นิดหน่อย บางทีห้องแถวก็ต้องน้อยลงไป นอกจากไปทำเป็น Office ทุกอย่างก็จะเริ่ม เปลี่ยน กลายเป็นธุรกิจการขนส่งแบบ Express ทำให้การซื้อขายดีขึ้นหากไปรษณีย์ ไทยมีการเชื่อมกับ China Post ได้ช่องทางการขนส่งระหว่าง เชียงของ ห้วยทราย บ่อแก้ว และบ่อเต็นในระดับพัสดุภัณฑ์ก็จะง่ายขึ้น

แต่ไปรษณีย์ไทยก็มีระบบการขนส่งที่ดี

คุณสงวน : อย่าง Kerry Express ก็มีการขนส่งสินค้าทุกวัน โดยมี Lazada เป็นเครือข่ายหลัก ธุรกิจพวกนี้โตขึ้นได้ แล้วยิ่งมาอยู่ชายแดน ยิ่งช่วยตอบโจทย์คนที่ เขามาเที่ยวแล้วเขาอยากส่งของที่ซื้อในไทยกลับบ้าน ว่าจะส่งให้ถึงบ้านเขายังไง ถ้าเรามีการรองรับเส้นทาง R3A ตรงนี้ มีการเชื่อมโยงกับ China Post จะทำให้ สามารถส่งสินค้าได้ครอบคลุมมากยิ่งขึ้น วันนั้นคุยกับทางศุลกากรว่าถ้าหากต้องการ ตรวจสอบพัสดุภัณฑ์ สรรพสามิตต้องทำอย่างไร เดี๋ยวนี้ไม่จำเป็นต้องยุ่งยากอะไร ใช้มือถือซื้อขายกันแปปเดียว

ภาครัฐควรเข้ามามีส่วนร่วมอย่างไรบ้าง

คุณสงวน : สิ่งแรกผมอยากให้มีการอำนวยความสะดวกให้กับโครงการที่ เกิดขึ้นใหม่ อย่างพวก startup ถ้าใครมีความคิดดีๆ ในเรื่องงานวิจัยด้านการพัฒนา ผลิตภัณฑ์ ควรที่จะส่งเสริม วันนี้เด็กของเรามีความคิดที่ดี แต่ไม่รู้ว่าจะไปหาแหล่งทุน แหล่งข้อมูลที่ไหน ต้องเจอใคร ตอนนี้เชียงของเรามีศูนย์ OSS จังหวัดมี เชียงของมี

I 328 I


สำนักงานเศรษฐกิจชายแดนและโลจิสติกส์

แม่สายมี การตอบโจทย์พื้นที่เศรษฐกิจยังไม่เพียงพอ ข้อมูลที่มียังอัพเดทไม่ได้ไวอย่าง ที่คิด การลงทุนก็มีแต่เข้ามาสอบถามแล้วก็หายไปครับ ถ้าเราบอกว่าทุนใหญ่เข้ามา มันอาจจะใช้เวลา แต่ทุนเล็กแบบเรา มันไปได้ไวกว่า ฉะนั้น ต้องมีศูนย์ข้อมูลที่จะ เชื่อมโยงกับองค์กรใหญ่ของรัฐที่จะตอบโจทย์พวกนี้ และสามารถที่จะคุยกันรู้เรื่อง

ดังนั้นภาครัฐก็ควรจะส่งเสริมให้เกิดการดึงการลงทุนจากข้างนอกเข้ามา ใช่หรือไม่

คุณสงวน : ตรงนี้อีกอย่างหนึ่ง อยากจะให้เป็นจุดจัดแสดงสินค้า เนื่องจาก เรามีโรงเรียนระดับนานาชาติได้ โรงพยาบาลระดับเอกชนได้ ศูนย์ประชุมอาจจะไม่ ต้องใหญ่ แต่สามารถจัด Road Show สินค้าได้ เราจะได้ลกู ค้าจากประเทศเพือ่ นบ้าน ไม่ว่า ลาว จีน เมียนมาร์ เวียดนาม มาดูสินค้าของเรา มาดูการเปลี่ยนแปลงที่เกิด ขึ้นรอบโลก หรือเขาอยากจะเอามาแชร์กับเรา ก็เปิดโอกาสให้ ถ้าคนลาวอยากเห็น สินค้าจากต่างประเทศ เขาไม่ต้องไปไกล คนจีนอยากเห็นสินค้าคนไทยก็ไม่ต้องไป ไกล มาเจอกันตรงนี้ อาจจะมาดูสักวันสองวัน ก็ไม่ต้องขนอะไรมามาก ขอแค่มีสินค้า เป็นตัวอย่าง แล้วก็มีตัวแทนองค์กรมานั่งเจรจาพบปะพูดคุยกัน ถ้าอยากเจรจาแบบ ส่วนตัวก็ไปเจอกันข้างนอกก็มีร้านน่านั่งแบบ Coffee and Trade ให้มันแตกต่าง แหวกแนวไป

นี่เป็นเทรนด์ธุรกิจใหม่และแนวคิดที่จะเกิดขึ้นใช่หรือไม่

คุณสงวน : ทุกวันนี้ เอาเฉพาะเชียงรายดีกว่า จริงแล้วเชียงรายกับเชียงใหม่ กำลังซือ้ ไม่ตา่ งกันมากถ้าเปรียบเทียบกัน กลางคืนเชียงใหม่นส่ี ดใสเหลือเกิน กลางคืน เชียงรายนี่ไม่กี่ทุ่มก็เงียบ ทั้งที่มีมหาลัยตั้งสองสามมหาลัย แต่มีหลายอย่างไม่เหมือน เชียงใหม่ ถ้าเชียงของจะทำ หากมองแค่คนเชียงของนีไ่ ม่พอแน่ มันต้องมองวันข้างหน้า พอการคมนาคมสะดวกขึ้น การสื่อสารดีขึ้น วิธีการผ่านแดน และพิธีการทางศุลกากร สะดวกสบายมากขึ้น เป็นธรรมมากขึ้นนะครับ มันจะทำให้คนเข้ามาผ่านช่องทางนี้ เยอะขึ้น แล้วเราบอกว่าเรามีทุกอย่างพร้อมเหมือนในเมืองใหญ่ ไม่จำเป็นต้องเดิน

I 329 I


OBELS OUTLOOK 2016

ทางไปไกล อาจมีสนามบิน มีเส้นทางรถไฟขนาดเล็กเข้ามาถึงตรงนี้ นัง่ มาจากเชียงราย มาถึงเชียงของไม่เกินชั่วโมง นักธุรกิจก็นัดมาเจอกันตรงได้ เมีสถานที่ที่ดีรับรอง มันก็ สร้างความพึงพอใจ เขาทำอะไรเสร็จ รักษาพยาบาลเสร็จ มาเรียนเสร็จ ลูกหลานมา พ่อแม่มาเยีย่ ม คนไข้ปว่ ย ญาติกม็ าเยีย่ มมันก็วนอยูใ่ นธุรกิจพวกนี้ การเดินทางยิง่ สะดวก ขึ้นเท่าไหร่ ผมว่าในเรื่องหลักประกันสุขภาพที่ผมบอก เรื่องประกันชีวิต AEC เราก็ ครอบคลุมไว้เยอะ เราก็กลับมาใช้บริการบ้านเรา ซึง่ เชียงแสนก็เปิดบริการแต่เชียงแสน เหมือนมันยังไม่เวิร์ค อย่างศรีบุรินทร์นี่ก็ยังเงียบอยู่ แต่แม่สายเวิร์คนะครับ เชียงของ ก็เวิร์คครับ เพราะเชียงของมันตรงข้ามกับจังหวัดเขา ลูกค้าส่วนใหญ่ก็จากห้วยทราย ในตัวเมืองก็มากันสี่ถึงห้าหมื่นคน และที่มีรายได้ระดับปานกลางก็เข้ามาใช้บริการ แต่ว่าจะทำยังไงให้ระบบประกันสุขภาพเราที่เป็นเครือของคนไทยสามารถเข้าไปทำ ตลาดนั้นให้ได้เยอะ การบริการรองรับของเอกชน วันนี้อาจจะเป็นแค่ศรีบุรินทร์ วันข้างหน้าอาจจะดีขึ้น อาจจะเป็นโรงพยาบาลเชียงราย กรุงเทพ เข้ามา ก่อนหน้า นี้ผมเพิ่งไปตรวจสุขภาพที่กรุงเทพ มีการบริการอย่างกับพระเจ้า ไหว้ตั้งแต่ประตูเข้า โรงพยาบาลบาลแล้วก็ยังไหว้ ออกมาก็ไหว้อีก เราก็ประทับใจ

ภาครัฐจะเข้ามาช่วยอะไรได้บ้างครับ เขามีทั้งเงินทุนขนาดใหญ่ และ ทรัพยากรบุคคล

คุณสงวน : ถ้าหากเป็นภาครัฐ ในเรื่องธุรกิจก็อยากได้มุมมองใหม่ที่มันต้อง ตามโลกให้ทัน อย่างน้องใหม่ที่จบมาความคิดเขาก้าวไว เขาอาจจะรู้อะไรมากกว่า เราเยอะ เพราะบางอย่างเราไม่รู้จริงๆ คนก็ยังคุยกันในวงจรเดิมประชุมหอการค้าก็ ยังคุยแบบเดิม เราจะพัฒนายุทธศาสตร์จงั หวัดเชียงรายอย่างไรทีภ่ าครัฐเอาสิง่ ทีเ่ กิดขึน้ มาต่อยอดเลย เรามีทุนอยู่แล้ว แต่ถ้าไม่มีทุนก็ใช้การขอสินเชื่อของธนาคาร ซึ่งธนาคาร ก็นา่ จะให้สำหรับคนทีม่ แี นวคิดดี ทำให้เข้าถึงแหล่งทุนง่ายขึน้ รัฐก็ตอ้ งให้ขอ้ มูลทีเ่ ป็น ประโยชน์

I 330 I


สำนักงานเศรษฐกิจชายแดนและโลจิสติกส์

ถ้าเป็นนักธุรกิจที่สามารถเชื่อมโยงเข้ากับภาครัฐได้ ก็ให้เข้าไปเรียนรู้งาน หรือ ฝึกงาน ที่สามารถเอาไปต่อยอดจากสิ่งที่เขามีอยู่ ไปสู่บันไดขึ้นที่ 11 12 13 ให้ไวขึ้น ผมว่าการเปลี่ยนแปลงมันไว ภาครัฐต้องเป็นแหล่งข้อมูลที่เข้าหาได้ง่าย ขอข้อมูลได้ง่าย และต้องจริงใจกับผู้ขอข้อมูลด้วย ไม่ใช่ว่าไปตรงจุดนี้แล้วโยนไปจุดโน้น โยนไปโยนมา สุดท้ายเราก็ไม่ได้อะไรทั้งวัน เสียเวลา ข้อมูลที่ดีรัฐก็ต้องเอามาประชาสัมพันธ์ให้เรา รู้มากขึ้น แต่ถ้าจะเอาเงินมาช่วยอะไรอย่างงี้ ผมว่าประเทศเราก็ไม่ได้รวยอะไรมาก มาย และไม่เหมาะกับคนไทยด้วย เพราะว่าคนไทยเป็นประเภทที่ว่า อะไรที่ได้มาง่ายก็ ไม่ค่อยจะให้ความสำคัญ มันต้องเริ่มต้นจากธุรกิจเล็กก่อน และค่อยขยายออกไป

ทุกวันนี้เชียงของยังขาดอะไรบ้าง

คุณสงวน : อยากได้นายอำเภอที่เก่งครับ ต้องเป็นนายอำเภอที่มีเครือข่ายกับ เพื่อนบ้าน มีความคิดที่ก้าวไกล ตามเอกชนได้ทัน แต่วาเวลานักธุรกิจจากจีนมาพบ ท่านนายอำเภอ มีไหมห้องรับรองดีๆทีจ่ ดั ให้เราพบปะกัน คุยกันแล้วรูส้ กึ ว่ารัฐให้ความ สนใจไม่ใช่ว่ามาแล้วเคว้งไปหมด บางที่ตัวจริงเสียงจริงมาแล้วเราไม่ได้ต้อนรับเขา เรา ก็เสียโอกาส ปรับเปลี่ยนผู้บริหารให้ทันต่อโลก นักเรียนนายอำเภอต้องรู้เรื่องธุรกิจ ด้วย ไม่ใช่รู้แต่ว่าต้องทำยังไงถึงจะได้เป็นรองผู้ว่า ช่วงนี้ผมเห็นนายอำเภอหาย ปลัด หาย วิ่งเต้นกันอยู่

สถานการณ์การค้าตอนนี้เป็นอย่างไรบ้าง

คุณสงวน : ตอนนี้ เขาไปถนนสาย 59 และ 52 กันเยอะ ที่นี่เงียบไปเรื่อยๆ ปัญหาที่เขาจะเก็บค่าธรรมเนียมเพิ่มเนี่ยเขาต้องคิดให้ดีผู้ประกอบการเขาไปที่อื่นได้ ปัญหาของบ้านเราก็คือปัจจัยภายนอกจริงๆ สถานการณ์บ้านเราทุกอย่างก็ปกติ นะครับ ตามขั้นตอนปกติ แต่พอมาเจอการปรับเปลี่ยนความไม่แน่นอนของเพื่อนบ้าน กลายเป็นปัญหาใหญ่ของเรา ปัจจัยภายนอกประเทศนี่แหละที่ทำให้ด่านพรมแดน ของเราเกิดความชะงักงัน ลูกค้าทีเ่ ขามี connection ทีส่ ามารถเปลีย่ นช่องทางได้เนีย่ เขาก็เปลี่ยนช่องทางไปเลย ส่วนลูกค้าเดิมที่จำเป็นต้องรับที่ด่านตรงโมฮัน ก็รับสินค้า

I 331 I


OBELS OUTLOOK 2016

ล็อตที่ตกลงกันไว้เสร็จก็เปลี่ยนเส้นทางเลย ฉะนั้น ถ้าไม่รีบแก้ปัญหาตรงนี้ สะพานก็ จะใช้ประโยชน์ได้ไม่คุ้มค่า

เพราะฉะนั้นเดี๋ยวเขาก็ต้องเดือดร้อนใช่หรือไม่

คุณสงวน : ผมว่าเขาก็ตอ้ งคิด มันเป็นกลุม่ ทุนทีเ่ ป็นเอกชนทีไ่ ปสัมปทานพืน้ ที่ มันก็ต้องจ่ายค่าสัมปทานให้รัฐ ถ้าเขาไม่มีรายได้ขนาดนี้เขาก็ต้องโวยวายกันเองอันนี้ ต้องรอสักระยะหนึ่งให้เขารู้ว่า การทำอย่างนี้มันไม่ถูกต้อง มาตรฐานการผ่านแดน แต่ละที่มันควรมีมาตรฐานมันต้องแจ้ง ต้องมีเหตุมีผล ไม่ใช่ว่าเก็บอันนี้ให้เวียงจันทน์ เก็บอันนี้ให้เจ้าแขวง แล้วที่เก็บไปก็เป็นแค่ทางผ่าน เซ็นเอกสารนิดหน่อย เก็บสามพัน แล้ว ซึ่งมันเป็นการเก็บแบบกินเปล่าเกินไป สะพานมิตรภาพไทย-ลาวแห่งที่ 1 2 3 ไม่เห็นมีปญ ั หา แต่สะพานแห่งที่ 4 มีปญ ั หาเยอะเหลือเกิน ก็เลยคิดหนักเลยว่าเชียงของ ตอนนี้เราจะเป็น logistics hub ต่อไปได้อย่างไร ถ้าทุกคนบอกว่าอยากมาที่นี้ แต่ ต้นทุนสูงเหลือเกิน วิธกี ารก็ยงุ่ ยาก เขาก็ตอ้ งเปลีย่ น สิง่ ทีเ่ ชียงรายอยากจะได้สามด่าน ตัวเลขส่งออกสูง ผมว่ารัฐต้องเข้ามาช่วยในเรื่องการเจรจา พวกนี้แหละที่สำคัญ มีผล กระทบกับภาคธุรกิจ ซึ่งมันจะเป็นคลื่นที่ไวมาก จะต้องตามให้ทัน วันนี้ผู้ว่าบอกว่า เข้าไปเจรจาทางนู้นเขาก็อ้างบอกว่า รอชั้นเทิงๆ (ทุกคน) ซึ่งมันก็ไม่ทันการแล้วครับ ตอนนี้ก็ลงทุนสร้างศูนย์จอดรถขนาดใหญ่ สร้าง office แบบลงทุนส่วนตัว ทั้งนั้นกลุ่มของเราเล็กๆ ก็เหนื่อย ตอนนี้เราก็เหลือแค่การท่องเที่ยว ซึ่งท่องเที่ยวเรา ก็มีคนมาพักค้างคืนน้อยลง การค้าชายแดนก็น้อยลง ทุกคนต้องปรับตัว ต้องบอกรุ่น ต่อไปว่าต้องปรับตัว ฉะนัน้ วิธปี รับตัวคือ ทำให้มนั เจริญ เมือ่ มีความเจริญขึน้ มา มีความ ทันสมัยขึน้ มา คนทีม่ เี งินมีฐานะก็อยากเข้ามาเองโดยอัตโนมัติ ทำชายแดนทุกชายแดน ให้เจริญ แหล่งใช้เงินมันอยู่บ้านเรา ของเขาอาจจะห่างไกลความเจริญ อาจจะมอง ไม่เห็นอะไรหลายอย่าง แต่ถ้าบ้านเรามันเจริญใครก็อยากมาเดี๋ยวนี้คนไข้มาก็ไป ศรีบุรินทร์ไปโอเวอร์บรู๊ค คนลาว คนเมียนมาทั้งนั้น ถ้าเขามาเข้าศูนย์แรกรับใน การส่งต่อ หนักก็สง่ ต่อ เบาก็รกั ษาได้เลย ผมว่ามันก็ทำให้เกิดการจ้างแรงงาน เดีย๋ วนี้

I 332 I


สำนักงานเศรษฐกิจชายแดนและโลจิสติกส์

เชียงของมีโรงเรียนบริบาลศาสตร์แล้วนะครับ มองเห็นแล้วว่าโอกาสที่จะสร้างคนใน เชียงของให้กับธุรกิจในเรื่องโรงพยาบาล อย่างเรื่องการดูแลผู้สูงอายุมีแล้วเช่นกัน

I 333 I


OBELS OUTLOOK 2016

I 334 I


สำนักงานเศรษฐกิจชายแดนและโลจิสติกส์

นวัตกรรมการพัฒนาเมืองเวียงแก่น : บทการสัมภาษณ์นายทัศนัย สุธาพจน์ (นายอำเภอเวียงแก่น) สิทธิชาติ สมตา, ณัฐพรพรรณ อุตมา

เวียงแก่นเป็นหนึง่ ในอำเภอชายแดนของจังหวัดเชียงราย ทีถ่ กู จัดว่าเป็นอำเภอ ที่มีศักยภาพด้านการท่องเที่ยว เกษตรกรรม และการค้าชายแดน เนื่องจากลักษณะ ทางภูมิศาสตร์ที่เต็มไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติ ภูเขา และแม่น้ำ เหมาะแก่การเพาะ ปลูกสินค้าเกษตร อีกทั้งมีอาณาเขตติดต่อกับเมืองห้วยทราย และห้วยปากทา แขวง บ่อแก้ว สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว จึงทำให้อำเภอเวียงแก่นมีจุดเด่น ด้านการท่องเที่ยว การค้าชายแดน และพืชพักผลไม้ เป็นไปตามคำขวัญของอำเภอ “เจ้าหลวงเวียงแก่น ชายแดนไทยลาว น้ำงาวพราวใส ผาไดเด่นดัง ผาตั้งเด่นนาน ส้มโอหวานทองดี” ข้อมูลทัว่ ไปอำเภอเวียงแก่น ประกอบด้วย 4 ตำบล ได้แก่ 1) ตำบล ม่วงยาย 2) ตำบลปอ 3) ตำบลหล่ายงาว และ 4) ตำบลท่าข้ามมีประชากรประมาณ 32,000 คน ประกอบด้วย 9 ชนเผ่า และมีจุดผ่อนปรนการค้า 2 แห่ง ได้แก่ จุด ผ่อนปรนบ้านแจ่มป่อง และจุดผ่อนปรนบ้านห้วยลึก เพือ่ ให้ประชาชนบริเวณชายแดน

I 335 I


OBELS OUTLOOK 2016

สามารถติดต่อค้าขายแลกเปลี่ยน ผลผลิตของตนและสินค้าอุปโภคบริโภคที่จำเป็น ในชีวิตประจำวัน ซึ่งจุดผ่อนปรนบ้านแจ่มป่อง เป็นจุดผ่อนปรนที่ใหญ่ที่สุดใน ประเทศไทย โดยประชากรลาว จากเมืองห้วยทรายและเมืองปากทา จะข้ามฝั่งเพื่อ มาซื้อสินค้าจากจุดผ่อนปรนทุกวันพุธ ประมาณ 1,000 กว่าคน โดยสินค้าส่วนใหญ่ จะเป็น สินค้าอุปโภคบริโภค เครื่องใช้ไฟฟ้า และวัสดุก่อสร้าง ศักยภาพและความได้เปรียบทางภูมิศาสตร์ของเมืองเวียงแก่น ทำให้เมืองมี การเติบโตและมีการพัฒนาเพิ่มมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่ได้รับความ นิยมจากนักท่องเที่ยวอย่างมาก ได้แก่ ภูชี้ฟ้า ภูชี้ดาว ดอยผาตั้ง และผาแล รูปที่ 1 ภูชี้ดาว

ที่มา : http://www.chiangraifocus.com

I 336 I


สำนักงานเศรษฐกิจชายแดนและโลจิสติกส์

ขณะเดียวกันด้วยความได้เปรียบทางภูมิศาสตร์จึงมีการเพาะปลูกพืชผักผลไม้ หลากหลายที่ได้รับความนิยมจากผู้บริโภคทั้งในประเทศและต่างประเทศ ได้แก่ ส้มโอเวียงแก่น ทีเ่ ป็นสินค้าหลักในการส่งออก มีทง้ั หมด 3 สายพันธุ์ คือ พันธุข์ าวใหญ่ พันธุ์ทองดี และพันธุ์เซลเลอร์ โดยได้มีการส่งออกไปยังต่างประเทศได้แก่ ประเทศ เนเธอร์แลนด์ ทวีปยุโรป เขตปกครองตนเองฮ่องกง ประเทศจีน และมณฑลทางตอนใต้ ของประเทศจีน นอกจากนีย้ งั มีผลไม้ตา่ งๆ ทีไ่ ด้รบั ความนิยม เช่น องุน่ ไร้เมล็ด สตอเบอร์ร่ี และกาแฟ โดยกาแฟจะมีการยกระดับคุณภาพและรวมกลุ่มเพื่อสร้างแบรนด์กาแฟ ผาตั้ง (by Doi Pha Tang) ที่สามารถสร้างรายได้ประมาณ 100 ล้านบาทต่อปี รูปที่ 2 สวนส้มโอเวียงแก่น

ที่มา : http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1420561599

ด้วยศักยภาพและความได้เปรียบทางภูมิศาสตร์ของอำเภอเวียงแก่นได้นำไปสู่ นวัตกรรมการพัฒนาเมืองเวียงแก่น เพือ่ เป็นการเสริมสร้างความมัน่ คง การเติบโตทาง ด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมให้เมืองเวียงแก่นและประชาชนในพื้นที่ โดยมี การวางยุทธศาสตร์การพัฒนาประกอบด้วย 4 มิติ ได้แก่ 1) เมืองการค้าชายแดนที่ แสนคึกคัก 2) เมืองท่องเที่ยวลือชื่อ 3) เมืองหลากหลายวัฒนธรรม และ 4) เมือง มหัศจรรย์อัตลักษณ์แห่งพืชพรรณผลไม้ โดยยุทธศาสตร์ทั้ง 4 มิติ ทำให้เกิดการ พัฒนาเป็นห่วงโซ่อุปทานการผลิตสินค้าและบริการของเมืองเวียงแก่น (City’s supply chain) โดยบูรณาการจุดเด่นด้านการค้า การเกษตร การท่องเที่ยว เข้าไว้

I 337 I


OBELS OUTLOOK 2016

ด้วยกัน เพื่อใช้ยุทธศาสตร์นวัตกรรมการพัฒนาให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมาก ที่สุดและนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน โดยมีรายละเอียดดังนี้ ตารางที่ 1 ยุทธศาสตร์นวัตกรรมการพัฒนาเมืองเวียงแก่น

ยุทธศาสตร์นวัตกรรมการพัฒนาเมืองเวียงแก่น 1. เมืองการค้าชายแดนแสนคึกคัก • พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานจุดผ่อนปรน แจมป๋อง/ห้วยลึก • พัฒนาถนน/สะพาน เลียบเขื่อนริม น้ำโขงตลอดแนว • พัฒนาศูนย์บริการประชาชนจุดผ่อน ปรนชายแดน • เสริมสร้างบรรยากาศตลาดการค้า ชายแดน และความสัมพันธ์ไทยลาว

2. เมืองท่องเที่ยวลือชื่อ • รณรงค์สโลแกน“เวียงแก่นนิวซีแลนด์ เมืองไทย” • จัดกิจกรรมต่อเนื่อง เวียงแก่นเที่ยว ได้ทั้งปี มีดีทุกฤดูกาล • ปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานเพื่ออำนวย ความสะดวกนักท่องเที่ยว • ปรับปรุงภูมิทัศน์แหล่งท่องเที่ยว • พัฒนาบุคลากรและประชาชนรองรับ การท่องเที่ยว • โครงการถนน 7 สี มีที่เดียวใน ประเทศไทย • สร้างอัตลักษณ์เชิงการท่องเทีย่ ว เช่น เมืองที่มีหลักกิโลเมตรยักษ์เยอะที่สุด ในประเทศไทย

3. เมืองมหัศจรรย์อัตลักษณ์แห่งพืชพร รณผลไม้ • พัฒนาส้มโอเวียงแก่นและการตลาด • งานเทศกาลส้มโอและของดีอำเภอ เวียงแก่น

4. เมืองหลากหลายวัฒนธรรม • เมืองวัฒนธรรมเก่า เจ้าหลวงเวียงแก่น • เมืองแห่งความหลากหลายวัฒนธรรม ชนเผ่า

I 338 I


สำนักงานเศรษฐกิจชายแดนและโลจิสติกส์

ยุทธศาสตร์นวัตกรรมการพัฒนาเมืองเวียงแก่น • พัฒนาคุณภาพและขยายพื้นที่การ ปลูกและตลาดองุ่นดำไร้เมล็ด • พัฒนาผลไม้และพืชผักเมืองหนาว เช่น สตอเบอร์รี่ บ้วย และการตลาด • พัฒนาและรวมกลุม่ กาแฟ และพัฒนา การแปรรูปกาแฟ รวมทั้งพัฒนา แบรนด์กาแฟเวียงแก่นอย่างเข็มแข็ง และพัฒนาการตลาด • พัฒนาและอนุรักษ์แหล่งน้ำอย่าง ยั่งยืน

• เมืองแห่งความสวย สามัคคี ปรองดอง แผ่นดินธรรม แผ่นดินทอง • เมืองแห่งความน่าอยู่และพอเพียง • จัดกิจกรรมส่งเสริมฟื้นฟูวัฒนธรรม หลากหลายมิติอย่างต่อเนื่องเช่น ปีใหม่มง้ ขมุ เมีย่ น ตรุษจีน สงกรานต์ ลอยกระทง ไหลเรือไฟ • โครงการถนน 7 สี มีที่เดียวใน ประเทศไทย • ส่งเสริมหัตถกรรม ศิลปะ วัฒนธรรม ชนเผ่า

I 339 I


OBELS OUTLOOK 2016

รูปที่ 3 แผนผังของ “Tourism supply chain” สู่ supply chain development in Wiang Kaen City

ที่มา : ภาพโดยผู้วิจัย อำเภอเวียงแก่นมีการจัดกิจกรรมท่องเที่ยวตลอดทั้ง หรือ”เวียงแก่นเที่ยวได้ ทั้งปี มีดีทุกฤดูกาล” ซึ่งจะไม่จัดกิจกรรมในช่วงเวลากัน โดยการจัดกิจกรรมท่องเที่ยว มีทั้งหมด 7 กิจกกรม ได้แก่ 1) เทศกาลส้มโอ ของดีอำเภอเวียงแก่น จัดกิจกรรม ช่วงเดือนกันยายน 2) เทศกาลองุ่นไร้เมล็ด ของดีอำเภอเวียงแก่น จัดกิจกรรมช่วง เดือนธันวาคม 3) กิจกรรม Countdown 6 องศา ช่วงสิน้ เดือนธันวาคม 4) เทศกาล ภูชี้ฟ้าตระการตาดอกพญาเสือโคร่งสีชมพู กิจกรรมช่วงเดือนมกราคม 5) เทศกาล แห่งความรัก สัมผัสมนต์เสน่ห์แห่งแม่น้ำโขง วิวาห์กลางแม่น้ำโขงสุดโรแมนติก “รักสุด เขตประเทศไทย @ ผาได” กิจกรรมในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ ของทุกปี 6) เทศกาล

I 340 I


สำนักงานเศรษฐกิจชายแดนและโลจิสติกส์

มหาสงกรานต์ 2 ฝั่งโขง กิจกรรมช่วง 13 – 15 เมษายน ของทุกปี และ 7) เทศกาล มหกรรม 9 ชนเผ่า กิจกรรมช่วงเดือนพฤษภาคม – มิถุนายน พร้อมทั้งกิจกรรมอื่นๆ ทัง้ นีก้ ารจัดกิจกรรมท่องเทีย่ วได้มกี ารรณรงค์สโลแกน “เวียงแก่นนิวซีแลนด์เมืองไทย” โดยนักท่องเที่ยวจะได้สัมผัสบรรยาการจากภูเขา แม่น้ำ กลุ่มชนเผ่า และพืชพรรณ ผลไม้เมืองหนาว และสถานที่แห่งใหม่ในช่วงฤดูหนาวนี้คือ “ประตูรักแห่งขุนเขา” ประตูผาบ่อง ดอยผาตัง้ อ.เวียงแก่น จ.เชียงราย เขาเล่าว่า...รักแท้คอื การเดินทางทีต่ อ้ ง ไปค้นพบ ที่หินผาแข็งแกร่งที่นิ่งสงบนับล้านปีถือเป็นแหล่งสะสมพลังงานของโลก ใบนี้ จะมีประตูรักแห่งขุนเขา...ที่เต็มไปด้วยพลังรักอันบริสุทธิ์ ให้จับมือคนที่เรารัก แล้วเดินก้าวข้ามผ่าน­ไปด้วยกัน จะช่วยเสริมความรักให้แข็งแกร่งดั่งภูผา รูปที่ 4 ประตูรักแห่งขุนเขา

ที่มา : การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานจังหวัดเชียงราย

ซึ่งยุทธศาสตร์นวัตกรรมการพัฒนาเมืองเวียงแก่นนี้นำไปสู่การพัฒนาเชิง พื้นที่ใน 4 ตำบล โดยคำนึงถึงศักยภาพของแต่ละตำบลในการวางยุทธศาสตร์การ พัฒนา ไม่ว่าจะเป็นลักษณะภูมิศาสตร์ ทรัพยากรธรรมชาติ และประชากร ซึ่งใน แต่ละตำบลจะไม่มียุทธศาสตร์การพัฒนาที่เหมือนกันให้แต่ละมีพื้นที่มีจุดเด่นของ

I 341 I


OBELS OUTLOOK 2016

ตนเอง เพื่อเป็นการกระจายการพัฒนาและการส่งเสริมการท่องเที่ยว การค้า และ เกษตรกรรมที่เหมาะสม ให้แต่ละตำบลเกิดการพัฒนาอย่างเท่าเทียมกัน โดยมี รายละเอียดดังนี้ ตารางที่ 2 ยุทธศาสตร์นวัตกรรมการพัฒนา 4 ตำบล อำเภอเวียงแก่น

ยุทธศาสตร์นวัตกรรมการพัฒนา 4 ตำบล อำเภอเวียงแก่น ตำบลม่วงยาย จุดเน้น แก่งผาได/จุดผ่อนปรนห้วยลึก/ดงเวียงแก่น/อ่างน้ำวอง • ปรับปรุงถนนแก่งผาได เส้นทางจักรยานแสนโรแมนติก • งานเทศกาลรักสุดเขตประเทศไทยฯ • งานประเพณีไหลเรือไฟบ้านห้วยลึก • ตลาดการค้าชายแดนจุดผ่อนปรนห้วยลึก • พัฒนาแหล่งท่องเที่ยวอ่างน้ำวอง • พัฒนาดงเวียงแก่นแหล่งท่องเที่ยววัฒนธรรมเมืองเก่าและประวัติศาสตร์ ตำบลหล่ายงาว จุดเน้น จุดผ่อนปรนแจมป๋อง/สามแยกหล่ายงาว/จุดชมวิวห้วยเอียน • พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานจุดผ่อนปรนแจมป๋อง • งานมหาสงกรานต์ 2 ฝั่งโขง • ปรับปรุงภูมิทัศน์จุดชมวิวห้วยเอียน • ปรับปรุงภูมิทัศน์สามแยกหล่ายงาว • ปรับปรุงป้อมตำรวจสามแยกหล่ายงาว • พัฒนาศูนย์กีฬาอำเภอเวียงแก่น

I 342 I


สำนักงานเศรษฐกิจชายแดนและโลจิสติกส์

ยุทธศาสตร์นวัตกรรมการพัฒนา 4 ตำบล อำเภอเวียงแก่น ตำบลปอ จุดเน้น ผาตั้ง/ภูชี้ดาว/ภูชี้ฟ้า/ผาแล • ปรับภูมิทัศน์สวนหย่อมผาตั้ง • โครงการถนนสายผาตั้ง-ภูชี้ฟ้าตระการตาดอกพญาเสือโคร่งสีชมพู • พัฒนาเส้นทางและภูมิทัศน์ขึ้นภูชี้ฟ้าบ้านร่มฟ้าทอง • งานเค้าดาวน์ 6 องศาที่ผาตั้ง • งานภูชี้ฟ้าตระการตาดอกพญาเสือโคร่งสีชมพู • งานปั่นจักรยานใจเกินร้อย พิชิตดอยผาตั้ง ตำบลท่าข้าม จุดเน้น ศูนย์วัฒนธรรมไทลื้อ/โครงการหลวงห้วยแล้ง • ปรับภูมิทัศน์พัฒนาศูนย์วัฒนธรรมไทลื้อ • สร้างเอกลักษณ์ (landmark) ศูนย์วัฒนธรรมไทลื้อ • พัฒนาปรับปรุงถนนโครงการหลวงห้วยแล้ง • งานเทศกาลองุ่นไร้เมล็ดฯ • ศูนย์กลางวัฒนธรรมไทลื้อของประเทศไทย จากยุทธศาสตร์นวัตกรรมการพัฒนาเมืองเวียงแก่น หากมองในแง่มุมของ การพัฒนาภายใต้แนวคิดการพัฒนาทางเศรษฐกิจ (Economic Development) จะเห็นได้ว่า เป็นการพัฒนาโดยการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ ทรัพยากรมนุษย์ และ ทรัพยากรวัฒนธรรม ที่มีอยู่ในพื้นที่ไปสู่การพัฒนาและส่งเสริมให้เกิดประโยชน์ สูงสุด ในการพัฒนาเศรษฐกิจเชิงพื้นที่เพื่อเป็นการกระจายความเจริญทางเศรษฐกิจ โดยสม่ำเสมอ และต่อเนื่องเป็นระยะเวลายาวนานพอที่จะทำให้เกิดการปรับปรุง เปลี่ยนแปลงสภาพทางสังคมและยกระดับการดำรงชีพของอำเภอให้สูงขึ้น เกิดการ

I 343 I


OBELS OUTLOOK 2016

เพิม่ ขึน้ ของรายได้ทแ่ี ท้จริงต่อประชาชนในพืน้ ที่ (per capita real income) ตลอด ระยะเวลายาวนานเพื่อให้มาตรฐานความเป็นอยู่ของประชาชนส่วนใหญ่ดีขึ้นกว่าเดิม การกระจายรายได้เป็นไปอย่างเสมอภาค ประชาชนส่วนใหญ่ได้รับประโยชน์จาก รายได้ที่เพิ่มขึ้นอย่างเท่าเทียมกัน Sustainable

Economic

Social

ทั้งนี้ในแง่มุมของการพัฒนาภายใต้แนวคิดสังคมวิทยา พบว่า เป็นการจัด ระเบี ย บความสั ม พั น ธ์ ท างสั ง คมด้ ว ยการจั ด สรรทรั พ ยากรของสั ง คมอย่ า งมี ประสิทธิภาพ โดยมีกระบวนการพัฒนาที่ครอบคลุมไปถึงการสร้างอัตลักษณ์ทาง วัฒนธรรมเชิงพื้นที่ ได้แก่ ตำบลท่าข้าม ที่มีประชาชนชนเผ่าจำนวนมากได้มีเป้า หมายในการพัฒนาและส่งเสริมให้เกิดศูนย์กลางวัฒนธรรมไทลือ้ เพือ่ เป็นจุดสำคัญ ของการท่องเที่ยวในเมืองเวียงแก่น พร้อมสร้างรายได้เสริมให้แก่ประชาชนชนเผ่า นอกจากรายได้จากภาคการเกษตรกรรม ซึ่งยุทธศาสตร์นวัตกรรมการพัฒนาเมือง เวียงแก่นทั้ง 4 มิติ ที่นำไปสู่การพัฒนาในทุกตำบลถือได้ว่า เป็นการพัฒนาสิ่งที่ อยู่ในชุมชนและให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการพัฒนา เพื่อสร้างความรัก ความหวง แหนต่อทรัยพากรที่มีอยู่ในการเกิดประโยชน์และยกระดับคุณภาพชีวิตของตนเอง ชุมชน และสังคมที่ดีขึ้น

I 344 I


สำนักงานเศรษฐกิจชายแดนและโลจิสติกส์

ท่าลี่... การสนับสนุนการลงทุนเพื่อ การค้าชายแดน พรพินันท์ ยี่รงค์, ณัฐพรพรรณ อุตมา

อำเภอท่าลี่ เป็นอำเภอหนึ่งที่อยู่ทางตะวันตกของจังหวัดเลย ซึ่งมีอาณาเขต ติดต่อกับอำเภอเชียงคาน และอำเภอเมืองเลยในด้านของตะวันออก และอำเภอ ภูเรือในด้านของทิศใต้ ทั้งนี้ อำเภอท่าลี่มีพื้นที่ที่เชื่อมต่อกับประเทศเพื่อนบ้าน อย่าง สปป.ลาว กับแขวงไซยะบุรที างด้านทิศเหนือ และทิศตะวันตก พืน้ ทีท่ ง้ั หมด ของอำเภอท่าลี่อยู่ที่ 683 ตารางกิโลเมตร คิดเป็นร้อยละ 5.98 ของพื้นที่จังหวัด เลยทั้งหมด โดยมีการแบ่งเขตการปกครองของท่าลี่ได้แบ่งย่อยออกเป็น 6 ตำบล และ 41 หมู่บ้าน

I 345 I


OBELS OUTLOOK 2016

รูปที่ 1 ที่ตั้งของอำเภอท่าลี่ จังหวัดเลย

ที่มา: Wikipedia.com

จากการลงสำรวจพื้นที่อำเภอท่าลี่ จังหวัดเชียงราย เมื่อวันที่ 4 เมษายน 2559 วิถีชีวิตของคนอำเภอท่าลี่ค่อนข้างเรียบง่าย โดยส่วนที่เจริญที่สุดของอำเภอ ท่าลีเ่ ป็นส่วนของตลาดนัด ซึง่ มีเพียง 7-11 และ Lotus Express ทีเ่ ป็นร้านโมเดิรน์ เทรดเข้ามาเปิด นอกนั้นก็เป็นร้านขายของชำ และร้านอาหารขนาดเล็ก ยังไม่พบ เห็นกิจการร้านค้าปลีกขนาดใหญ่ทั้งไทย และต่างชาติในบริเวณดังกล่าว อาจจะ เป็นเพราะเมืองไม่ได้มกี ลุม่ ของนักท่องเทีย่ วจำนวนมากเข้ามา เทียบกับ อำเภอเชียงคาน และอำเภอภูเรือที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ได้รับความนิยมอย่างมากอย่างไรก็ดี ความได้เปรียบของอำเภอท่าลี่ คือ การค้าชายแดน ที่มีศักยภาพในการขนส่งสินค้า ไปยังแขวงไซยะบุรี สปป.ลาว และสามารถเชื่อมไปถึงเมืองเชียงรุ่ง จีนตอนใต้ ตลอดจนเป็นเส้นทางผ่านไปยังแขวงหลวงพระบาง ซึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่เป็น มรดกโลก ได้รับความนิยมจากนักท่องเที่ยวทั่วโลก

I 346 I


สำนักงานเศรษฐกิจชายแดนและโลจิสติกส์

สถานการณ์การค้าชายแดนอำเภอท่าลี่

จังหวัดเลยมีเพียงสองพืน้ ที่ หรือสองอำเภอทีม่ ดี า่ นศุลกากร คือ ด่านศุลกากร เชียงคาน และด่านศุลกากรท่าลี่ ซึง่ ด่านศุลกากรเชียงคานจะติดกับแขวงเวียงจันทน์ โดยมีแม่น้ำโขงขวางกั้นระหว่างสองพื้นที่ ส่วนด่านศุลกากรท่าลี่จะติดกับแขวง เวียงจันทน์ โดยมีแม่น้ำเหืองไหลกั้นพรมแดนทั้งสอง อำเภอท่าลี่มีด่านถาวรเพียง หนึ่งด่าน คือ ด่านพรมแดนไทยลาว บ้านนากระเซ็ง ตั้งอยู่ที่ตำบลอาฮี ซึ่งอยู่ตรง ข้ามกับเมืองแก่นท้าวของแขวงไซยะบุรี โดยมีสะพานมิตรภาพน้ำเหืองไทย-ลาว เป็นโครงสร้างพื้นฐานที่ใช้ในการขนส่งสินค้าระหว่างชายแดน และการเคลื่อนย้าย ของคน ซึ่งด่านนากระเซ็งได้รับความนิยมสำหรับนักท่องเที่ยวที่ต้องการจะเดินทาง ต่อไปเที่ยวที่หลวงพระบาง ระยะทางโดยประมาณอยู่ที่ 360 กิโลเมตร และได้รับ ความนิ ย มในด้ า นการขนส่ ง ออกสิ น ค้ า ไปสู่ ด่ า นพรมแดนโมฮั ง ของจี น ตอนใต้ นครคุนหมิง สิบสองปันนา มณฑลยูนนาน ระยะทางโดยประมาณอยู่ 267 กิโลเมตร รูปที่ 2 บริเวณหน้าด่านพรมแดนบ้านนากระเซ็ง อำเภอท่าลี่ จังหวัดเลย

ที่มา: สิทธิชาติ สมตา เมื่อวันที่ 4 มีนาคม พ.ศ.2559

I 347 I


OBELS OUTLOOK 2016

นอกจากจุดผ่านแดนถาวรสะพานมิตรภาพน้ำเหืองไทย-ลาว อำเภอท่าลี่ ยังมี จุดผ่านแดนถาวรอีกจุดที่ตำบลหนองผือ บ้านปากห้วย ซึ่งอยู่ในระหว่างการยกเลิก เนื่องจาก ด่านพรมแดนบ้านนากระเซ็งมีความสะดวกในการขนส่งสินค้ามากกว่า ปัจจุบนั จึงมีแต่การเข้า-ออกของคน นอกจากนี้ ยังมีจดุ ผ่อนปรนทางการค้าอีก 1 จุด อยู่บริเวณบ้านนากระเซ็ง ตำบลอาฮี ในด้านของสถิติการส่งออก พบว่าด่านอำเภอ ท่าลี่มีการเติบโตของมูลค่าการส่งออกปี 2558 อยู่ที่ร้อยละ -41.1 เป็นตัวเลขติดลบ เนื่องจากปี 2557 ด่านอำเภอท่าลี่มีมูลค่าการส่งออกอยู่ที่ 8,490.66 ล้านบาท และ ตกลงไปอยู่ที่ 5,137.25 ล้านบาท ในปี 2558 ซึ่งอาจเป็นผลจากภาวะเศรษฐกิจโลก ชะลอตัว ส่งผลให้ประเทศเพื่อนบ้าน และประเทศจีนที่เป็นตลาดส่งออกมีการนำเข้า ทีน่ อ้ ยลง ทัง้ นี้ การส่งออกมีการเติบโตสะสมอยูท่ ร่ี อ้ ยละ 28.71 โดยในปี 2552 ด่าน อำเภอท่าลี่มีมูลค่าการส่งออกอยู่เพียง 1,044.87 ล้านบาท ถือว่ามีการเติบโตสูงขึ้น อย่างมากจากอดีต แนวโน้มการส่งออกยังมีสัญญาณที่ดี เนื่องจากแขวงไซยะบุรีของ สปป.ลาวมีโครงการก่อสร้างเขื่อนซึ่งมีระยะเวลาถึง 8 ปี ตั้งแต่ 2555 – 2562 และ มีการก่อสร้างถนนเพื่ออำนวยความสะดวกในการขนส่งสินค้า ทำให้สปป.ลาวต้อง นำเข้าวัสดุก่อสร้างจากฝั่งไทยเป็นจำนวนมาก ฉะนั้น สินค้าส่งออกของอำเภอท่าลี่ จึงตกไปอยู่ที่ วัสดุก่อสร้าง เป็นส่วนใหญ่ รองมาได้แก่ สินค้าอุปโภค-บริโภค น้ำมัน เชื้อเพลิง ยานพาหนะ และเครื่องจักร โดยในปลายปีนี้จะมีการส่งออกเครื่องจักร ขนาดใหญ่ เพื่อใช้ในการก่อสร้างเขื่อนดังกล่าวด้วย

I 348 I


สำนักงานเศรษฐกิจชายแดนและโลจิสติกส์

รูปที่ 3 รถบรรทุกน้ำมันที่มาจอดรอเพื่อส่งออกผ่านด่านพรมแดนบ้านนากระเซ็ง

ที่มา: สิทธิชาติ สมตา เมื่อวันที่ 4 มีนาคม พ.ศ.2559

ในขณะที่ ด้านสถิติของการนำเข้าพบว่า มูลค่าการนำเข้ามีแนวโน้มที่เติบโต สูงขึ้นอย่างมากในปี 2558 โดยมีการเติบโตอยู่ที่ร้อยละ 324.29 เพิ่มขึ้นจาก 206.20 ล้านบาท ในปี 2557 เป็น 874.89 ล้านบาท ในปี 2558 ซึ่งสินค้าที่มีการนำเข้าสูง สุดคือ สินค้าเกษตร รองมาได้แก่ ไม้แปรรูป แร่แบไรต์ ยานพาหนะ และเครื่องจักร รูปที่ 4 รถบรรทุกไม้แปรรูปที่นำเข้าผ่านด่านพรมแดนบ้านนากระเซ็ง

ที่มา: สิทธิชาติ สมตา ถ่ายเมื่อ 4 มีนาคม 2559

I 349 I


OBELS OUTLOOK 2016

การขยายตัวของการนำเข้าเกิดจากการขยายตัวของมูลค่าการนำเข้าสินค้า เกษตรเป็นสำคัญ เนื่องจากมีบริษัทยักษ์ใหญ่ในด้านการผลิตสินค้าเกษตรของไทย เข้าไปทำเกษตรพันธสัญญา (Contract Farming) กับเกษตรกรฝั่งลาว เนื่องจาก ความสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติ และค่าจ้างแรงงานของฝั่งลาวมีราคาถูกกว่า ฝั่งไทย จึงเข้าไปทำสัญญาเพื่อลดต้นทุนในการผลิต ทำให้มูลค่าการนำเข้าเพิ่มสูงขึ้น อย่างต่อเนื่อง แม้ว่ามูลค่าการส่งออกจะหดตัวมากในปี 2558 แต่ยังมีมูลค่าที่สูงกว่า มูลค่าการนำเข้า ทำให้การค้าโดยรวมของด่านศุลกากรท่าลี่เติบโตสอดคล้องกับการ ส่งออก และยังคงได้ดุลการค้าอยู่มาก ซึ่งการขยายตัวของการลงทุนของภาครัฐในฝั่ง สปป.ลาว เป็นตัวกระตุ้นที่ทำให้เกิดการขยายตัวของมูลค่าการส่งออกได้เป็นอย่างดี รูปที่ 5 มูลค่าการค้าชายแดนของด่านอำเภอท่าลี่ปีพ.ศ. 2552 - 2558

ที่มา: กรมการค้าต่างประเทศ, กระทรวงพาณิชย์ (2559)

โอกาสทางการค้าจากการลงทุนชายแดน

แม้ว่าอำเภอท่าลี่จะเป็นอำเภอที่เชื่อมต่อกับประเทศเพื่อนบ้าน กลับไม่มีการ ลงทุนของภาคเอกชนมากนัก ทั้งที่มีการนำเข้าสินค้าเกษตรจากสปป.ลาว และจีน เป็นจำนวนมาก ฉะนั้น หากมีอุตสาหกรรมการผลิตและแปรรูปสินค้าเกษตรจะช่วย กระตุ้นเศรษฐกิจในอำเภอชายแดนท่าลี่ได้เป็นอย่างดี แต่ปัจจุบันกลับมีเพียงโกดัง ไว้กักเก็บสินค้าเกษตรอย่างข้าวโพด และมันสำปะหลังเป็นการชั่วคราว และส่งต่อไป

I 350 I


สำนักงานเศรษฐกิจชายแดนและโลจิสติกส์

ผลิตในโรงงานที่ภาคกลาง หากอำเภอท่าลี่เป็นการลงทุนในด้านการผลิตอุตสาหกรรม การแปรรูปด้านการเกษตรมากขึ้น ก็จะกลายเป็นโอกาสทางการค้าในการส่งออก ผลิตภัณฑ์แปรรูปที่มีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้นไปขายยังต่างประเทศผ่านด่านพรมแดนท่าลี่ได้ มากขึ้น ซึ่งจะช่วยเพิ่มมูลค่าในการส่งออกได้อย่างมาก ตารางที่ 1 จุดอ่อน จุดแข็ง โอกาส และอุปสรรคของอำเภอท่าลี่

จุดแข็ง

จุดอ่อน

เส้นทางขนส่งสะดวก มีสะพานข้ามแม่น้ำเหือง พิธีทางศุลกากรมีความสะดวก และรวดเร็ว

ปัญหาด้านการเมือง สินค้าส่วนใหญ่ไม่ได้มีการผลิตใน จังหวัด ขาดแคลนแรงงานจำนวนมาก เส้นทางคมนาคมจากด่าน พรมแดนไปจังหวัดเลยไม่สะดวก ขาดแคลนนักลงทุนในพื้นที่

โอกาส

จุดอ่อน

พื้นที่เชื่อมต่อกับสปป.ลาว การเปิดประชาคมอาเซียน การก่อสร้างเขื่อนไซยะบุรี ลาวมีทรัพยากรอุดมสมบูรณ์ ลาวมีการส่งเสริมการลงทุนเพื่อขึ้น เส้นทางคมนาคมในลาวสะดวก

แรงงานลาวเป็นแรงงานไร้ทักษะ ต้องแข่งขันกับจีนและเวียดนาม เส้นทางคมนาคมทางบกยังไม่ดีพอ สำหรับรถบรรทุกขนาดใหญ่ ภาษีระหว่างแขวงในสปป.ลาว มีกฎหมายควบคุมน้ำหนัก รถบรรทุก

ที่มา: ปรับปรุงจากด่านศุลกากรบ้านนากระเซ็ง (2559)

I 351 I


OBELS OUTLOOK 2016

อำเภอท่าลี่มีจุดแข็งที่สำคัญ (ตารางที่ 1) คือ ศักยภาพของโครงสร้างพื้นฐาน ที่ใช้ในการส่งสินค้าไปต่างประเทศ คือ สะพานแม่น้ำเหือง และพิธีทางศุลกากรที่มี ความทันสมัย เป็นสากล ซึ่งจะช่วยให้การขนส่งสินค้ามีความรวดเร็วมากยิ่งขึ้น แต่จุด อ่อนของอำเภอท่าลี่คือ สินค้าที่นำเข้ามาไม่ได้มีการผลิตในพื้นที่ เนื่องจากขาดแคลน แรงงาน และนักลงทุนในพื้นที่มีจำนวนไม่มากนัก รวมถึงเส้นทางจากตัวเมืองจังหวัด เลยมายังด่านพรมแดนยังเป็นถนนขรุขระ เป็นอุปสรรคต่อการขนส่งสินค้าอย่างมาก อย่างไรก็ตาม ด้วยศักยภาพทางภูมิศาสตร์การค้าที่เชื่อมต่อกับสปป.ลาว ทำให้อำเภอ ท่าลีก่ ลายเป็นแหล่งโอกาสด้านการค้าชายแดนอย่างมาก ผนวกกับการเปิดประชาคม อาเซียนที่จะช่วยการขนส่งสินค้าไม่มีต้นทุนทางภาษี และการก่อสร้างของเขื่อนไซยะบุรี ที่ช่วยกระตุ้นการส่งออก ซึ่งเส้นทางการคมนาคมในฝั่งลาวจากด่านพรมแดนท่าลี่จน ถึงหลวงพระบางได้มีการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง เพื่อใช้ในการขนส่งสินค้าที่มีปริมาณ เพิ่มขึ้นในทุกปี พร้อมทั้งความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติในสปป.ลาว ยังมี อยู่มาก ดังนั้น นักลงทุนที่เข้ามาสามารถที่จะอาศัยโอกาสดังกล่าว ในการลงทุนใน ด้านของอุตสาหกรรมการผลิตสินค้าเกษตรที่นำเข้ามาจากสปป.ลาว และจีนตอนใต้ ซึ่งหากมีการผลิตในอำเภอท่าลี่มากขึ้น จะช่วยลดต้นทุนในการขนส่งสินค้าเกษตร เพื่อเข้าไปผลิตในภาคกลางได้อย่างมาก เพราะสามารถที่จะส่งสินค้าที่แปรรูปสำเร็จ ไปยังสปป.ลาว และจีนตอนใต้ได้ทนั ที ส่วนปัญหาการขาดแคลนแรงงาน สามารถแก้ไข ได้โดยการอาศัยเทคโนโลยี และเครื่องจักร และนวัตกรรมในการผลิต แต่ภาครัฐทั้งส่วนกลาง และท้องถิ่นต้องมีส่วนในการสร้างแรงจูงใจให้เกิดการ ลงทุนในพืน้ ที่ การเพิม่ งบประมาณในการปรับปรุงซ่อมแซมถนนทีใ่ ช้ในการขนส่งสินค้า จากตัวเมืองเลยถึงอำเภอท่าลี่ทุกเส้นทาง เพื่อขยายทางเลือกในการคมนาคมของทัง้ การท่องเที่ยว และการค้า จากการสัมภาษณ์รองนายด่านศุลกากรบ้านนากระเซ็ง ตำบลอาฮี อำเภอท่าลี่ กล่าวว่า “ทั้งที่อำเภอท่าลี่เป็นพื้นที่ที่อยู่ใกล้แหล่งวัตถุดิบ เช่น มันสำปะหลัง และข้าวโพดที่นำเข้ามาจากต่างประเทศ กลับไม่มีคนมากล้าลงทุน ทำโรงงานแปรรูป เป็นแค่ทางผ่านสำหรับการขนส่งสินค้าไปยังชายแดนไทย-ลาว และ

I 352 I


สำนักงานเศรษฐกิจชายแดนและโลจิสติกส์

เส้นทางเชื่อมต่อไปท่องเที่ยวที่หลวงพระบางเพียงเท่านั้น อาจจะเป็นเพราะว่านักลง ทุนยังไม่มีแรงจูงใจที่จะเสี่ยงลงทุนอะไรที่เป็นขนาดใหญ่” การอยูใ่ กล้แหล่งวัตถุดบิ ถือว่าเป็นแหล่งจูงใจทีด่ สี ำหรับนักลงทุน หากนักลงทุน นำเอาวัตถุดิบที่เป็นสินค้าเกษตรที่มีแหล่งกำเนิดอยู่ที่ประเทศลาว แล้วนำมาแปรรูป ที่ประเทศไทย ผู้ผลิตสามารถที่จะใช้ประโยชน์จากสิทธิพิเศษที่ประเทศพัฒนาแล้ว ได้แก่ สหภาพยุโรป สหรัฐอเมริกา นอร์เวย์ ญีป่ นุ่ ตุรกี แคนาดา สวิสเซอร์แลนด์ และ รัสเซีย ให้กับประเทศที่กำลังพัฒนาอย่าง สปป.ลาว เป็นต้น เรียกว่า ระบบการให้ สิทธิพเิ ศษทางภาษีศลุ กากรเป็นการทัว่ ไป (Generalized System of Preferences: GSP) ซึ่งปัจจุบัน ประเทศไทยไม่ได้รับสิทธิพิเศษดังกล่าวอีกต่อไปแล้ว ก่อนหน้านี้ ทางจังหวัดเลยเคยได้รับการแบ่งให้เป็นเขตส่งเสริมการลงทุนเขต 3 ซึ่งสามารถขอ รับการส่งเสริมด้านการลงทุนที่ให้สิทธิประโยชน์ด้านภาษี และที่ไม่ใช่ภาษีอย่างเต็มที่ ต่อมาภายหลังปี 2558 เป็นต้นมา สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนได้ทำ การยกเลิกการส่งเสริมที่อิงกับเขตพื้นที่ (Zoning) และส่งเสริมและให้สิทธิประโยชน์ ตามประเภทกิจการ (Activity – based Incentives) และให้สิทธิประโยชน์เพิ่มเติม ตามคุณค่าของโครงการ (Merit-based Incentives) ดังรูปที่ 5 รูปที่ 6 การให้สิทธิประโยชน์ตามนโยบายส่งเสริมการลงทุนระยะ 7 ปี

ที่มา: สำนักงานคณะกรรมส่งเสริมการลงทุน (2557)

I 353 I


OBELS OUTLOOK 2016

จากการทีอ่ ำเภอท่าลีม่ คี วามใกล้แหล่งวัตถุดบิ ทางการเกษตร ฉะนัน้ จึงเหมาะ ที่จะเป็นฐานการผลิตในด้านของสินค้าเกษตรแปรรูปในกิจการได้รับการส่งเสริมและ ให้สิทธิประโยชน์ ได้แก่ 1. กิจการอบพืชและไซโล 2. กิจการคัดคุณภาพ บรรจุ และ เก็บรักษาพืช ผัก ผลไม้ หรือดอกไม้ 3. กิจการผลิตแป้งแปรรูป 4. กิจการผลิตน้ำมัน หรือไขมันจากพืชหรือสัตว์ 5. กิจการผลิตวัสดุหรือสารสกัดทางธรรมชาติ 6. กิจการ ผลิตหรือถนอมอาหาร เครื่องดื่ม วัตถุเจือปนอาหาร หรือสิ่งปรุงแต่งอาหาร 7.กิจการ ศูนย์กลางการค้าสินค้าเกษตร ซึ่งหากประกอบกิจการดังกล่าวจะได้รับสิทธิประโยชน์ ดังนี้ ตารางที่ 2 ประเภทกิจการที่ได้รับการส่งเสริม และสิทธิประโยชน์

ประเภทกิจการ

สิทธิ ประโยชน์

กิจการอบพืชและไซโล

B1

• ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล • ยกเว้นอากรเครื่องจักร • ยกเว้นอากรวัตถุดิบผลิตเพื่อการ ส่งออก • ได้รับสิทธิประโยชน์ที่มิใช่ภาษี

A2 / A3

• ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล 8 ปี (A2) / 5 ปี (A3) • ยกเว้นอากรเครื่องจักร • ยกเว้นอากรวัตถุดิบผลิตเพื่อการ ส่งออก • ได้รับสิทธิประโยชน์ที่มิใช่ภาษี

กิจการคัดคุณภาพ บรรจุ และเก็บ รักษาพืชผัก ผลไม้ หรือดอกไม้

I 354 I

รายละเอียด


สำนักงานเศรษฐกิจชายแดนและโลจิสติกส์

ประเภทกิจการ

สิทธิ ประโยชน์

กิจการผลิตแป้งแปรรูป

A3

กิจการผลิตน้ำมันหรือไขมันจากพืช หรือสัตว์

A3

กิจการผลิตหรือถนอมอาหาร เครื่องดื่ม วัตถุเจือปนอาหาร หรือสิ่งปรุงแต่งอาหาร

A3

กิจการศูนย์กลางการค้าสินค้า เกษตร

A3

กิจการผลิตวัสดุหรือสารสกัดทางธ รรมชาติ

A4

รายละเอียด • ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล 5 ปี • ยกเว้นอากรเครื่องจักร • ยกเว้นอากรวัตถุดิบผลิตเพื่อการ ส่งออก • ได้รับสิทธิประโยชน์ที่มิใช่ภาษี

• ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล 3 ปี • ยกเว้นอากรเครื่องจักร • ยกเว้นอากรวัตถุดิบผลิตเพื่อการ ส่งออก • ได้รับสิทธิประโยชน์ที่มิใช่ภาษี

ที่มา: สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (2559)

สิทธิประโยชน์ทใ่ี ห้กบั กิจการทีไ่ ด้รบั การส่งเสริมจะใกล้เคียงกัน คือ ยกเว้นภาษี เงินได้นติ บิ คุ คล ยกเว้นอากรเครือ่ งจักร ยกเว้นอากรวัตถุดบิ ผลิตเพือ่ การส่งออก และ สิทธิประโยชน์อื่นที่ไม่ใช่ภาษี ซึ่งการยกเว้นภาษีสำหรับธุรกิจจะขึ้นอยู่กับระดับของ การใช้เทคโนโลยีในการผลิต โดยทีย่ ง่ิ ใช้เทคโนโลยีการผลิตขัน้ สูง ก็ยง่ิ ได้รบั สิทธิประโยชน์ ในการไม่ต้องชำระภาษีนานขึ้นเท่านั้น ทั้งนี้ พื้นที่อำเภอท่าลี่ จังหวัดเลยเป็นพื้นที่ หนึ่งที่อยู่ติดชายแดน และสามารถที่จะพัฒนาต่อยอดให้เป็นเมืองการผลิตสินค้า แปรรูปด้านการเกษตรโดยอาศัยเทคโนโลยีขน้ั สูงในการผลิต และขอรับสิทธิประโยชน์ จากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน พร้อมทั้งอาศัยสิทธิพิเศษทางภาษี

I 355 I


OBELS OUTLOOK 2016

ศุลกากร GSP โดยการนำเข้าวัตถุดิบทางการเกษตรจากสปป.ลาว หรือจีนตอนใต้เข้า มาผลิตในพื้นที่ และส่งออกสินค้าผ่านด่านท่าลี่กลับไปจำหน่าย

ข้อเสนอแนะ

1. นักลงทุนควรทีจ่ ะอาศัยโอกาสในการเข้าถึงแหล่งทรัพยากรจากต่างประเทศ ที่สามารถนำมาแปรรูปและส่งออกไปยังประเทศพัฒนาแล้วโดยไม่เสียภาษี (GSP) 2. นักลงทุนควรที่จะทำการแปรรูปสินค้าเกษตรโดยอาศัยนวัตกรรม และ เทคโนโลยีในการผลิตขัน้ สูง เพือ่ ให้เกิดการผลิตทีม่ ปี ระสิทธิภาพสูงสุด และแก้ไขปัญหา การขาดแคลนแรงงาน 3. นักลงทุนควรที่จะทำขอรับสิทธิประโยชน์จากกิจการการแปรรูปสินค้า เกษตรจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน เพื่อเพิ่มความได้เปรียบในการ ผลิตสินค้า 4. รัฐบาลควรที่จะให้การสนับสนุนในเรื่องของการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ทั้งการปรับปรุงถนนให้มีความสะดวกในการขนส่งสินค้าจากตัวเมืองเลยมายังด่าน ชายแดน พร้อมทั้งการพัฒนาระบบและพิธีทางศุลกากรให้มีความรวดเร็วมากยิ่งขึ้น 5. รัฐบาลท้องถิ่นควรจะมีแผนการกระตุ้นการลงทุนในพื้นที่อำเภอท่าลี่จังหวัด เลย ทั้งในระยะสั้น และระยะยาว เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจท้องถิ่น โดยอาศัยแรงดึงดูด จากการเป็นพื้นที่ติดชายแดน

เอกสารอ้างอิง

กรมการค้าระหว่างประเทศ (2559) รายงานสถิติการค้าชายและการค้าผ่านแดนของ ประเทศไทย. สืบค้นเมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2559, จาก http://bts.dftgo.th/ btsc/index.php/overview ผู้จัดการออนไลน์ (2557) เปิดแล้วรถโดยสารระหว่างประเทศ เลย-หลวงพระบาง. สืบค้นเมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2559, จาก http://www.manager.co.th/ Travel/ViewNews.aspx?NewsID=9570000002663

I 356 I


สำนักงานเศรษฐกิจชายแดนและโลจิสติกส์

สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (2559) คู่มือส่งเสริมการลงทุน. สืบค้น เมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2559, จาก http://www.boi.go.th/

การสัมภาษณ์

1. รองนายด่านศุลกากรบ้านนากระเซ็ง ตำบลอาฮี อำเภอท่าลี่ วันที่ 6 มีนาคม 2559 2. เจ้าของกิจการโรงแรม Le bar tarry วันที่ 6 มีนาคม 2559

I 357 I


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.