No. 4, January 2014
ความยากง่ายในการประกอบธุรกิจท่องเที่ยวในอาเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย (EASE OF DOING BUSINESS IN CHIANG SAEN DISTRICT, CHIANG RAI PROVINCE) วรนุช วงษ์คม, ณัฐพรพรรณ อุตมา, ภูมิพัฒณ์ มิ่งมาลัยรักษ์ 1. หลักการและเหตุผล การจัดอันดับขีดความสามารถทางการแข่งขัน (World Competitiveness Rankings) ของสถาบัน International Institute for Management Development (IMD) ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ในปี 2556 พบว่า ไทยถูกจัดอันดับให้เป็น ประเทศที่มีความสามารถในการแข่งขัน อันดับที่ 27 จาก 60 ประเทศทั่วโลก ขณะที่การจัดอันดับความความสะดวกใน การเข้าไปประกอบธุรกิจของธนาคารโลก ประจาปี 2557 พบว่า ไทยได้รับการจัดอันดับให้เป็นประเทศที่มีความสะดวกใน การเข้าไปประกอบธุรกิจ อันดับที่ 18 จาก 189 ประเทศทั่วโลก แสดงให้เห็นว่าประเทศไทยมีศักยภาพสูงในการแข่งขัน ระดับนานาชาติ จังหวัดเชียงรายซึ่งเป็นเมืองหน้าด่านทางเศรษฐกิจที่สาคัญที่สามารถเชื่อมต่อกับประเทศเมียนมาร์ สปป. ลาว และประเทศจีน (ตอนใต้) ภายใต้โครงการระเบียงเศรษฐกิจ ตามแนวเหนือใต้ (North-South Economic Corridor: NSEC) ของกลุ่มประเทศความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้าโขง (Greater Mekong Sub Region: GMS) โดยมีเส้นสาคัญคือ R3A และเส้นทาง R3B ที่สามารถเชื่อมไทยกับประเทศเมียนมาร์ สปป.ลาว และจีนตอนใต้เข้าไว้ ด้วยกัน เมืองชายแดนของจังหวัดเชียงราย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมืองเชียงแสน และเชียงของ ซึ่งถือว่าเป็นพื้นที่ยุทธศาสตร์ทาง การค้าสินค้าและบริการกับประเทศเพื่อนบ้านที่สาคัญ เนื่องจากมีเส้นทางการค้าที่เชื่อมต่อกับประเทศเพื่อนบ้านได้ทั้งทาง น้าและทางบก รวมทั้งยังมีโอกาสและศักยภาพในการพัฒนาเศรษฐกิจของพื้นที่ดังกล่าวอีกมาก ทั้งด้านการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยว จากความสาคัญดังกล่าวข้างต้น การศึกษาครั้งนี้จึงมุ่งเน้นศึกษาถึงความยากง่ายในการเข้ามาประกอบ ธุรกิจท่องเที่ยวในอาเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย เพื่อทราบถึงแนวทางในการส่งเสริมการลงทุนในเขตเศรษฐกิจชายแดน อาเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย 2. ความยากง่ายในการดาเนินธุรกิจท่องเที่ยวในอาเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย การศึกษาความยาก-ง่ายในการเข้ามาทาธุรกิจท่องเที่ยวนี้ ได้ใช้ดัชนีชี้วัดความยากง่ายในการดาเนินธุรกิจ (Ease of doing business index) เป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์ โดยปัจจัยหลักที่ใช้ในการประเมินความยากง่ายในการเข้ามาของ ธุรกิจท่องเที่ยว ประยุกต์มาจากแนวทางการประเมินความสะดวกในการเข้าไปประกอบธุรกิจของธนาคารโลก (World
สานักงานเศรษฐกิจชายแดนและโลจิสติกส์ (Office of Border Economy and Logistics : OBELS)
1
Bank, 2014) ซึ่งประกอบด้วยปัจจัยความยากง่ายในการเริ่มต้นธุรกิจ การขออนุญาตก่อสร้าง การจดทะเบียนทรัพย์สนิ การได้รับสินเชื่อ การคุ้มครองผู้ลงทุน การชาระภาษี และสุดท้ายคือ ความยากง่ายในการขอใช้ไฟฟ้า โดยมีมาตรวัด (Rating Scale) ตัวแปรจากระดับน้อยที่สดุ น้อย ปานกลาง มาก มากที่สดุ เท่ากับ 1 2 3 4 และ 5 ตามลาดับ การอ่านค่า คะแนนความยากง่ายในการดาเนินธุรกิจ ถ้าคะแนนมีค่าเท่ากับ 5 แสดงว่าผู้ประกอบการได้รับความสะดวกในการดาเนิน ธุรกิจอยู่ในระดับสูง หากคะแนนมีค่าเท่ากับ 3 แสดงว่า ผู้ประกอบการได้รับความสะดวกในการดาเนินธุรกิจอยู่ในระดับ ปานกลาง และหากคะแนนมีคา่ เท่ากับ 1 ผู้ประกอบการได้รับความสะดวกในการดาเนินธุรกิจอยู่ในระดับต่า การศึกษานี้ ทาการรวบรวมข้อมูลจากแบบสอบถามกับผู้ประกอบการในกลุม่ ธุรกิจท่องเที่ยว ซึ่งประกอบด้วย ธุรกิจโรงแรม ร้านอาหาร และบริษัทนาเที่ยว ในตาบลเวียง อาเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย จานวน 31 ราย ผลการศึกษาความยากง่า ยในการเข้ามาทาธุรกิจ การท่ องเที่ย วในอาเภอเชีย งแสน จั งหวัด เชีย งราย โดยใช้ การ วิเคราะห์ดัชนีชี้วัดความยากง่ายในการดาเนินธุรกิจมาเป็นแนวทางในการวิเคราะห์ มีรายละเอียดดังตารางที่ 1 ตารางที่ 1 ดัชนีชี้วัดความยากง่ายในการประกอบธุรกิจท่องเที่ยวในอาเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย แยกตามปัจจัยการ เข้าทาธุรกิจ (คะแนนเต็ม 5) ปัจจัยความยากง่ายใน ธุรกิจ ธุรกิจบริการ ธุรกิจท่องเที่ยว ที่พัก ร้านอาหาร การเข้ามาทาธุรกิจ นาเที่ยว อื่น ๆ การเริม่ ต้นธุรกิจ 2.68 2.65 3.00 2.40 3.50 การขออนุญาตก่อสร้าง 2.90 2.72 3.00 3.40 3.50 การขอใช้กระแสไฟฟ้า 3.52 3.56 3.00 3.40 3.50 การจดทะเบียนทรัพย์สิน 3.58 3.56 4.00 3.40 4.50 การได้รับสินเชื่อ 2.61 2.67 3.00 2.40 2.50 การคุ้มครองผู้ลงทุน 3.10 3.22 3.00 2.80 3.00 การชาระภาษี 4.48 4.56 4.50 4.40 3.50 รวม 3.27 3.28 3.36 3.17 3.43 จานวนสถาน 31 18 12 5 2 ประกอบการ หมายเหตุ สถานประกอบการกลุ่มธุรกิจท่องเที่ยว สถานประกอบการเดียวสามารถมีบริการทั้งในส่วนของที่พัก และส่วนของ ร้านอาหาร เป็นต้น
จากตารางที่ 1 แสดงให้เห็นว่าผู้ประกอบการด้านการท่องเที่ยวส่วนใหญ่เห็นว่าการเข้ามาประกอบธุรกิจท่องเที่ยวใน อาเภอเชียงแสนนั้น ได้รับความสะดวกในระดับปานกลาง โดยมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ระดับ 3.27 เมื่อพิจารณารายปัจจัย พบว่า ปัจจัยความง่ายในการดาเนินธุรกิจท่องเที่ยว คือ การชาระภาษี (ค่าเฉลี่ย 4.48) รองลงมาการจดทะเบียนทรัพย์สิน (ค่าเฉลี่ย 3.58) และรองลงมาคือการขอใช้กระแสไฟฟ้า (ค่าเฉลี่ย 3.52) ผลการประเมินนี้สอดคล้องกับการสัมภาษณ์ ผู้ประกอบการ (1) ด้านการชาระภาษี ผู้ประกอบการให้ความเห็นว่า “การชาระภาษีในอาเภอเชียงแสนมีความสะดวก สานักงานเศรษฐกิจชายแดนและโลจิสติกส์ (Office of Border Economy and Logistics : OBELS)
2
ค่อนข้างมาก เนื่องจากรัฐบาลมีระยะเวลาให้ชาระภาษีแต่ละประเภทค่อนข้างนาน และใช้เวลาในการชาระภาษีค่อนข้าง น้อย ประกอบกับอาเภอเชียงแสนเป็นเมืองขนาดเล็ก ไม่มีความยุ่งยากในการชาระภาษีเหมือนกับเมืองใหญ่ ๆ อีกทั้งยังมี การชาระภาษีออนไลน์ได้ซึ่งผู้ประกอบการมีความพึงพอใจมาก อย่างไรก็ตามการชาระภาษีส่วนใหญ่ยังคงให้พนักงานไป ชาระเอง ไม่ได้ยื่นผ่านระบบเสียภาษีออนไลน์แต่อย่างใด นอกจากนี้ ผู้ประกอบการได้เสนอแนะแนวทางการปรับปรุง ระบบชาระภาษีว่า ภาครัฐโดยเฉพาะในส่วนปกครองท้องถิ่น ควรขยายระยะเวลาในการชาระภาษีให้นานมากขึ้น เพื่อให้ ผู้ ป ระกอบการหรือเจ้ า ของธุ รกิจ มี เ วลาในการเตรีย มค่ า ใช้ จ่ า ยในส่ ว นนี้ ไ ด้ อ ย่ า งพอเพี ย ง ” และ (2) ด้ า นการขอใช้ กระแสไฟฟ้า ผู้ประกอบการให้ความเห็นว่า “ควรเตรียมความพร้อมด้านสิ่งอานวยความสะดวกขั้นพื้นฐานในการประกอบ ธุรกิจ โดยให้เหตุผลว่า แม้เมืองเชียงแสนเป็นเมืองเล็ก แต่เป็นเมืองที่มีประวัติศาสตร์ที่ยาวนานประกอบกับการคมนาคม ขนส่งที่สะดวก จึงเป็นแหล่งดึงดูดนักท่องเที่ยวเข้ามาเป็นจานวนมาก ซึ่งในอนาคตอันใกล้ เมืองเชียงแสนจะมีการขยายตัว ของกิจกรรมทางเศรษฐกิจอย่างมาก ซึ่งจะมีความจาเป็นด้านปัจจัยพื้นฐานสาธารณูปโภคต่างๆมากยิ่งขึ้น รัฐบาลควรเข้า มามีบทบาทในการเตรียมความพร้อมเพื่อพัฒนาเมืองเชียงแสนให้มากยิ่งขึ้น” ส่ว นปั จ จัย ความยากในการด าเนินธุ รกิ จ ท่องเที่ ยวได้ แก่ การขอสิน เชื่อ (ค่าเฉลี่ย 2.61) และการเริ่มต้ น ธุรกิจ (ค่าเฉลี่ ย 2.68) ซึ่งสอดคล้องกับการสัม ภาษณ์ ผู้ป ระกอบการ (1) ด้านการขอสินเชื่อ ผู้ประกอบการให้ความเห็นว่ า “ภาครัฐไม่ได้มีการสนับสนุนการลงทุนเท่าที่ควร ทาให้ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ต้องมีการทาโครงการและขอสินเชื่อด้วย ตนเอง ทั้งนี้ต้องมีหลักประกันในการขอสินเชื่อ ซึ่งทาให้เกิดความยุ่งยากเนื่องจากผู้ประกอบธุ รกิจนั้นมีรายได้ไม่แน่นอน การขอสิ น เชื่ อ จึ ง ดู จ ากหลั ก ประกั น เป็ น ส่ ว นใหญ่ อย่ า งไรก็ ถ าม ถึ ง แม้ จ ะมี ค วามยุ่ ง ยากในด้ า นการขอสิ น เชื่ อ แต่ ผู้ประกอบการก็ได้มีการขอสินเชื่อจากธนาคารเพื่อทาการเริ่มต้นธุรกิจเป็นส่วนใหญ่ ” และ (2) ด้านการเริ่มต้นธุรกิจ ผู้ประกอบการให้ความเห็นว่า “อาเภอเชียงแสนเปรียบเหมือนเมืองหน้าด่านสาคัญที่จะรองรับนักท่องเที่ยวเป็นจานวน มาก ต้นทุนจึงมีผลต่อการตัดสินใจในการลงทุนทาธุรกิจและอยู่ในระดับมาก ที่ผู้ประกอบการหรือเจ้าของกิจการให้ความ ตระหนักถึงความสาคัญอยู่อย่างเสมอการประกอบธุรกิจ เป็นเรื่องปกติที่จะต้องมีการหาทุนสารอง หรือต้องมีการหาทุน สารอง เพื่อนามาใช้ในการประกอบธุรกิจซึ่งทางภาครัฐเองยังไม่ได้เข้ามามีบทบาทในเรื่องนี้มากนัก ผู้ประกอบการหรือ เจ้าของกิจการต้องดิ้นรน และแสวงหาด้วยตนเอง ในบางครั้งมีความเสี่ยงต่อการหาแหล่งเงินทุน ซึ่งเจ้ าของกิจการจะต้อง แบกรับภาระนี้ไว้โดยที่ไม่ได้รับความช่วยเหลือหรือการให้คาปรึกษาแต่เพียงอย่างใด จึงมองกันว่าเป็นข้อเสียเปรียบสาหรับ การลงทุนที่เชียงแสน เนื่องจากเป็นเมืองที่เล็ก และหาที่ปรึกษาในการลงทุนดังเช่นในเมืองใหญ่ๆ ค่อนข้างยาก” นอกจากนี้ ผลการประเมินความยากง่ายในการดาเนินธุรกิจท่องเที่ยว แยกตามประเภทของรูปแบบของการดาเนิน ธุรกิจท่องเที่ยว (ที่พัก ร้านอาหาร ธุรกิจนาเที่ยว และธรกิจบริการอื่นๆ) มีดังนี้ 2.1 สถานประกอบการประเภทที่พัก การศึกษาระดับความยากง่ายในการเข้ามาทาประกอบธุรกิจประเภทที่พัก พบว่าการเข้ามาประกอบธุรกิจ ที่พักใน อาเภอเชียงแสน ได้รับความสะดวกในระดับปานกลาง โดยมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ระดับ 3.28 เมื่อพิจารณารายปัจจัย พบว่า ปัจจัย ความง่ายในการดาเนินธุรกิจที่พัก ได้แก่ การชาระภาษี (ค่าเฉลี่ย 4.56) รองลงมาคือการขอใช้กระแสไฟฟ้าและการจด ทะเบียน (ค่าเฉลี่ย 3.56) และรองลงมาคือการคุ้มครองผู้ลงทุน (ค่าเฉลี่ย 3.22)
สานักงานเศรษฐกิจชายแดนและโลจิสติกส์ (Office of Border Economy and Logistics : OBELS)
3
2.2 สถานประกอบการประเภทร้านอาหาร การศึกษาระดับความยากง่ายในการเข้ามาทาประกอบธุรกิจประเภทร้านอาหาร พบว่าการเข้ามาประกอบธุรกิจ ร้านอาหารในอาเภอเชียงแสน ได้รับความสะดวกในระดับปานกลาง โดยมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ระดับ 3.36 เมื่อพิจารณารายปัจจัย พบว่า ปัจจัยความง่ายในการดาเนินธุรกิจร้านอาหาร ได้แก่ การชาระภาษี (ค่าเฉลี่ย 4.50) รองลงมาคือการจดทะเบียน ทรัพยฺสิน (ค่าเฉลี่ย 3.43) และรองลงมาการเริ่มต้นธุรกิจ การขออนุญาตก่อสร้าง การขอใช้กระแสไฟฟ้า การได้รับสินเชื่อ และการคุ้มครองผู้ลงทุน (ค่าเฉลี่ย 3.00) ปัจจัยการชาระภาษีเป็นปัจจัยที่ง่ายที่สุด เนื่องจากรัฐบาลมีระยะเวลาให้ชาระ ภาษีแต่ละประเภทค่อนข้างนาน และใช้เวลาในการชาระภาษีค่อนข้างน้อย 2.3 สถานประกอบการประเภทธุรกิจนาเที่ยว การศึกษาระดับความยากง่ายในการเข้ามาทาประกอบธุรกิจนาเที่ยว พบว่าการเข้ามาประกอบธุรกิจนาเที่ยวในอาเภอ เชียงแสน ได้รับความสะดวกในระดับปานกลาง โดยมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ระดับ 3.17 เมื่อพิจารณารายปัจจัย พบว่า ปัจจัยความ ง่ายในการดาเนินธุรกิจนาเที่ยว ได้แก่ การชาระภาษี (ค่าเฉลี่ย 4.40) รองลงมาการขอใช้กระแสไฟฟ้า การขอใบอนุญาต ก่อสร้าง และการจดทะเบียนทรัพย์สิน (ค่าเฉลี่ย 3.00) และรองลงมาคือ การคุ้มครองนักลงทุน (ค่าเฉลี่ย 3.25) ปัจจัยการ ชาระภาษีเป็นปัจจัยที่ง่ายที่สุด เนื่องจากรัฐบาลมีระยะเวลาให้ชาระภาษีแต่ละประเภทค่อนข้างนาน และใช้เวลา ในการ ชาระภาษีค่อนข้างน้อย ส่วนปัจจัยที่ความยากในการดาเนินธุรกิจนาเที่ยว ได้แก่ การเริ่มต้นธุรกิจ และการขอสินเชื่อ (มี ค่าเฉลี่ย 2.25) ซึ่งถือว่ายากกว่าธุรกิจเกี่ยวกับการท่องเที่ยวประเภทที่พักและร้านอาหาร เนื่องจากและค่าใช้จ่ายในการ เริ่มต้นกิจการ 2.4 สถานประกอบการประเภทธุรกิจบริการอื่น ๆ การศึกษาระดับความยากง่ายในการเข้ามาทาประกอบธุรกิจบริการอื่นๆ พบว่าการเข้ามาประกอบธุรกิจ บริการใน อาเภอเชียงแสน ได้รับความสะดวกในระดับปานกลาง โดยมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ระดับ 3.43 เมื่อพิจารณารายปัจจัย พบว่า ปัจจัย ความง่ายในการดาเนินธุรกิจบิรการอื่นๆ ได้แก่ การจดทะเบียนทรัพย์สิน (ค่าเฉลี่ย 4.50) รองลงมาคือการเริ่มต้นธุรกิจ การขอใช้กระแสไฟฟ้า การขออนุญาตก่อสร้าง และการชาระภาษี (ค่าเฉลี่ย 3.50) และรองลงมาคือ การคุ้มครองผู้ลงทุน (ค่าเฉลี่ย 3.00) ปัจจัยการจดทะเบี ยนทรัพย์สินของผู้ประกอบการอยู่ในระดับง่ายที่สุด ซึ่งสอดคล้องกับการสัมภาษณ์ ผู้ประกอบการพบว่า ขั้นตอนในการติดต่อขอจดทะเบียนนั้น มีความสะดวก รวดเร็ว ไม่ยุ่งยากซับซ้อน ใช้เวลาไม่นาน และ ที่สาคัญมีขั้นตอนในการดาเนินการที่ชัดเจน 3. สรุปผลการศึกษา การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความยากง่ายในการประกอบธุรกิจการท่องเที่ยวและเป็น แนวทางการส่งเสริม การลงทุนในธุรกิจท่องเที่ยวในเขตเศรษฐกิจชายแดน อาเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย โดยใช้ดัชนีชี้วัดความยากง่ายใน การดาเนินธุรกิจด้วยมาตรวัด (rating scale) เป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์ ปัจจัยที่ใช้ประกอบการประเมินความยากง่าย ในการเข้ามาของธุรกิจ ได้แก่ การเริ่มต้นธุรกิจ การขอใบอนุญาตก่อสร้าง การใช้กระแสไฟฟ้า การจดทะเบียน การได้รับ สินเชื่อ การปกป้องนักลงทุน และการจ่ายภาษี การศึกษานี้ทาการรวบรวมข้อมูล จากแบบสอบถามกับผู้ประกอบการใน กลุ่มธุรกิจท่องเที่ยว ซึ่งประกอบด้วย ธุรกิจโรงแรม ร้านอาหาร และบริษัทนาเที่ยว ในตาบลเวียง อาเภอเชียงแสน จังหวัด สานักงานเศรษฐกิจชายแดนและโลจิสติกส์ (Office of Border Economy and Logistics : OBELS)
4
เชียงราย จานวน 31 ราย ผลการศึกษา พบว่า การเข้ามาประกอบธุรกิจท่องเที่ยวในอาเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงรายนั้น มีความสะดวกในระดับปานกลาง ปัจจัยความง่ายในการเข้ามาดาเนินธุรกิจของผู้ประกอบการท่องเที่ยว เรียงตามลาดับ ได้แก่ การชาระภาษี การจดทะเบียนทรัพย์สิน และการขอใช้กระแสไฟฟ้า ส่วนปัจจัยที่ทาให้การเข้ามาประกอบธุรกิจ ท่องเที่ยวเป็นไปได้ยาก ได้แก่ การขอสินเชื่อ เอกสารอ้างอิง World Bank (2014) “Doing Business 2014 Understanding Regulations for Small and Medium-size Enterprises”. International Bank for Reconstruction and Development/The World Bank.
สานักงานเศรษฐกิจชายแดนและโลจิสติกส์ (Office of Border Economy and Logistics: OBELS) มีหน้าที่ ดาเนินงานด้านการรวบรวมข้อมูลและวิจัยทางด้านเศรษฐกิจการค้าชายแดนและโลจิสติกส์ เพื่อนาไปสู่การยกระดับ องค์ความรู้ที่เป็นฐานสาคัญของประเทศไทย ซึ่งส่งผลต่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และการสร้างความสามารถใน การแข่งขันของประเทศและยกระดับคุณภาพชีวิตในสังคม
Office of Border Economy and Logistics (OBELS), Mae Fah Luang University, 333 Moo 1, Tasud, Muang, Chiang Rai, Thailand. Tel. 6653916680 Email: obels.mfu@gmail.com.
สานักงานเศรษฐกิจชายแดนและโลจิสติกส์ (Office of Border Economy and Logistics : OBELS)
5