นวัตกรรมการพัฒนาเมืองเวียงแก่น
ส�ำนักงานพัฒนาชุมชนอ�ำเภอเวียงแก่น
เรื่องโดย สิทธิชาติ สมตา และณัฐพรพรรณ อุตมา
เวียงแก่นเป็นหนึ่งในอ�ำเภอชายแดนของจังหวัดเชียงราย ที่ถูกจัดว่าเป็นอ�ำเภอที่มีศักยภาพด้านการท่องเที่ยว เกษตรกรรม และการค้า ชายแดน เนื่องจากลักษณะทางภูมิศาสตร์ที่เต็มไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติ ภูเขา และแม่น�้ำ เหมาะแก่การเพาะปลูกสินค้าเกษตร อีกทั้งมีอาณาเขต ติดต่อกับเมืองห้วยทราย และห้วยปากทา แขวงบ่อแก้ว สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว จึงท�ำให้อ�ำเภอเวียงแก่นมีจุดเด่นด้านการท่องเที่ยว การค้าชายแดน และพืชพักผลไม้ เป็นไปตามค�ำขวัญของอ�ำเภอ “เจ้าหลวงเวียงแก่น ชายแดนไทยลาว น�้ำงาวพราวใส ผาไดเด่นดัง ผาตั้งเด่นนาน ส้มโอหวานทองดี” ข้อมูลทั่วไปอ�ำเภอเวียงแก่น ประกอบด้วย 4 ต�ำบล ได้แก่ 1) ต�ำบลม่วงยาย 2) ต�ำบลปอ 3) ต�ำบลหล่ายงาว และ 4) ต�ำบลท่า ข้าม มีประชากรประมาณ 32,000 คน ประกอบด้วย 9 ชนเผ่า และมีจุดผ่อนปรนการค้า 2 แห่ง ได้แก่ จุดผ่อนปรนบ้านแจ่มป่อง และจุดผ่อนปรน บ้านห้วยลึก เพือ่ ให้ประชาชนบริเวณชายแดนสามารถติดต่อค้าขายแลกเปลีย่ น ผลผลิต ของตนและสินค้าอุปโภคบริโภคทีจ่ ำ� เป็นในชีวติ ประจ�ำวัน ซึง่ จุดผ่อนปรนบ้านแจ่มป่อง เป็นจุดผ่อนปรนที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย โดยประชากรลาว จากเมืองห้วยทรายและ เมืองปากทา จะข้ามฝัง่ เพือ่ มาซือ้ สินค้าจากจุดผ่อนปรนทุกวันพุธ ประมาณ 1,000 กว่า คน โดยสินค้าส่วนใหญ่จะเป็น สินค้าอุปโภคบริโภค เครื่องใช้ไฟฟ้า และวัสดุก่อสร้าง ศักยภาพและความได้เปรียบทางภูมิศาสตร์ของเมืองเวียงแก่น ท�ำให้เมือง มีการเติบโตและมีการพัฒนาเพิ่มมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่ได้รับความ นิยมจากนักท่องเที่ยวอย่างมาก ได้แก่ ภูชี้ฟ้า ภูชี้ดาว ดอยผาตั้ง และผาแล
นายทัศนัย สุธาพจน์ (นายอ�ำเภอเวียงแก่น)
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ประชาชาติธุรกิจ
เชียงรายโฟกัส เวียงแก่น.com
ขณะเดียวกันด้วยความได้เปรียบทางภูมิศาสตร์จึงมีการเพาะปลูกพืชผักผลไม้หลากหลายที่ได้รับความนิยมจากผู้บริโภค ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ได้แก่ ส้มโอเวียงแก่น ที่เป็นสินค้าหลักในการส่งออก มีทั้งหมด 3 สายพันธุ์ คือ พันธุ์ขาวใหญ่ พันธุ์ ทองดี และพันธุ์เซลเลอร์ โดยได้มีการส่งออกไปยังต่างประเทศ ได้แก่ ประเทศเนเธอร์แลนด์ ทวีปยุโรป เขตปกครองตนเองฮ่องกง ประเทศจีน และมณฑลทางตอนใต้ของประเทศจีน นอกจากนี้ยังมีผลไม้ต่างๆ ที่ได้รับความนิยม เช่น องุ่นไร้เมล็ด สตอเบอร์รี่ และ กาแฟ โดยกาแฟจะมีการยกระดับคุณภาพและรวมกลุ่มเพื่อสร้างแบรนด์กาแฟผาตั้ง (by Doi Pha Tang) ที่สามารถสร้างรายได้ ประมาณ 100 ล้านบาทต่อปี ด้วยศักยภาพและความได้เปรียบทางภูมิศาสตร์ของอ�ำเภอเวียงแก่นได้น�ำไปสู่นวัตกรรมการพัฒนาเมืองเวียงแก่น เพื่อ เป็นการเสริมสร้างความมั่นคง การเติบโตทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมให้เมืองเวียงแก่นและประชาชนในพื้นที่ โดย มีการวางยุทธศาสตร์การพัฒนาประกอบด้วย 4 มิติ ได้แก่ 1) เมืองการค้าชายแดนที่แสนคึกคัก 2) เมืองท่องเที่ยวลือชื่อ 3) เมือง หลากหลายวัฒนธรรม และ 4) เมืองมหัศจรรย์อตั ลักษณ์แห่งพืชพรรณผลไม้ โดยยุทธศาสตร์ทงั้ 4 มิติ ท�ำให้เกิดการพัฒนาเป็นห่วง โซ่อุปทานการผลิตสินค้าและบริการของเมืองเวียงแก่น (City’s supply chain) โดยบูรณาการจุดเด่นด้านการค้า การเกษตร การ ท่องเที่ยว เข้าไว้ด้วยกันเพื่อให้ยุทธศาสตร์นวัตกรรมการพัฒนาให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากที่สุดและน�ำไปสู่การพัฒนา ที่ยั่งยืน โดยมีรายละเอียดดังนี้
ยุทธศาสตร์นวัตกรรมการพัฒนาเมืองเวียงแก่น เมืองการค้าชายแดนแสนคึกคัก
- พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานจุดผ่อนปรนแจมป๋อง/ห้วยลึก - พัฒนาถนน/สะพาน เลียบเขื่อนริมน�้ำโขงตลอดแนว - พัฒนาศูนย์บริการประชาชนจุดผ่อนปรนชายแดน - เสริมสร้างบรรยากาศตลาดการค้าชายแดน และความ สัมพันธ์ไทยลาว
เมืองมหัศจรรย์อัตลักษณ์แห่งพืชพรรณผลไม้
- พัฒนาส้มโอเวียงแก่นและการตลาด - งานเทศกาลส้มโอและของดีอ�ำเภอเวียงแก่น - พัฒนาคุณภาพและขยายพื้นที่การปลูกและตลาดองุ่น ด�ำไร้เมล็ด - พัฒนาผลไม้และพืชผักเมืองหนาว เช่น สตอเบอร์รี่ บ้วย และการตลาด - พัฒนาและรวมกลุ่มกาแฟ และพัฒนาการแปรรูป กาแฟ รวมทั้งพัฒนาแบรนด์กาแฟเวียงแก่น อย่างเข็ม แข็งและพัฒนาการตลาด - พัฒนาและอนุรักษณ์แหล่งน�้ำอย่างยั่งยืน
เมืองท่องเทีย ่ วลือชื่อ
- รณรงค์สโลแกน “เวียงแก่นนิวซีแลนด์เมืองไทย” - จัดกิจกรรมต่อเนื่อง เวียงแก่นเที่ยวได้ทั้งปี มีดีทุก ฤดูกาล - ปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานเพื่ออ�ำนวยความสะดวกนัก ท่องเที่ยว - ปรับปรุงภูมิทัศน์แหล่งท่องเที่ยว - พัฒนาบุคลากรและประชาชนรองรับการท่องเที่ยว - โครงการถนน 7 สี มีที่เดียวในประเทศไทย - สร้างอัตลักษณ์เชิงการท่องเที่ยว เช่น เมืองที่มีหลัก กิโลเมตรยักษ์เยอะที่สุดในประเทศไทย เมืองหลากหลายวัฒนธรรม
- เมืองวัฒนธรรมเก่า เจ้าหลวงเวียงแก่น - เมืองแห่งความหลากหลายวัฒนธรรมชนเผ่า - เมืองแห่งความสวย สามัคคี ปรองดอง แผ่นดินธรรม แผ่นดินทอง - เมืองแห่งความน่าอยู่และพอเพียง - จัดกิจกรรมส่งเสริมฟื้นฟูวัฒนธรรมหลากหลาย มิติอย่างต่อเนื่อง เช่น ปีใหม่ม้ง ขมุ เมี่ยน ตรุษจีน สงกรานต์ ลอยกระทง ไหลเรือไฟ - โครงการถนน 7 สี มีที่เดียวในประเทศไทย - ส่งเสริมหัตถกรรม ศิลปะ วัฒนธรรมชนเผ่า
กาแฟ
ส้มโอ
องุ่นด�ำไร้เมล็ด สตอเบอรี่
อ�ำเภอเวียงแก่นมีการจัดกิจกรรมท่องเที่ยวตลอดทั้ง หรือ”เวียง แก่นเที่ยวได้ทั้งปี มีดีทุกฤดูกาล” ซึ่งจะไม่จัดกิจกรรมในช่วงเวลา กัน โดยการจัดกิจกรรมท่องเที่ยวมีทั้งหมด 7 กิจกกรม ได้แก่ 1) เทศกาลส้มโอ ของดีอำ� เภอเวียงแก่น จัดกิจกรรมช่วงเดือนกันยายน 2) เทศกาลองุน่ ไร้เมล็ด ของดีอำ� เภอเวียงแก่น จัดกิจกรรมช่วงเดือน ธันวาคม 3) กิจกรรม Countdown 6 องศา ช่วงสิ้นเดือนธันวาคม 4) เทศกาลภูชี้ฟ้าจระการตาดอกพญาเสือโคร่งสีชมพู กิจกรรมช่วง เดือนมกราคม 5) เทศกาลแห่งความรัก สัมผัสมนต์เสน่ห์แห่งแม่น�้ำ โขง วิวาห์กลางแม่น�้ำโขงสุดโรแมนติก “รักสุดเขตประเทศไทย @ ผาได” กิจกรรมในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ ของทุกปี 6) เทศกาล มหาสงกรานต์ 2 ฝั่งโขง กิจกรรมช่วง 13 – 15 เมษายน ของทุกปี และ 7) เทศกาลมหกรรม 9 ชนเผ่า กิจกรรมช่วงเดือนพฤษภาคม – มิถุนายน พร้อมทั้งกิจกรรมอื่นๆ ทั้งนี้การจัดกิจกรรมท่องเที่ยว ได้มีการรณรงค์สโลแกน “เวียงแก่นนิวซีแลนด์เมืองไทย” โดยนัก ท่องเที่ยวจะได้สัมผัสบรรยาการจากภูเขา แม่น�้ำ กลุ่มชนเผ่า และ พืชพรรณผลไม้เมืองหนาว และสถานที่แห่งใหม่ในช่วงฤดูหนาวนี้ คือ “ประตูรักแห่งขุนเขา” ประตูผาบ่อง ดอยผาตั้ง อ.เวียงแก่น จ.เชียงราย เขาเล่าว่า...รักแท้คือการเดินทางที่ต้องไปค้นพบ ที่หิน แผนผังของ “Tourism Industry” สู่ Development in Wiang Kaen City ผาแข็งแกร่งที่นิ่งสงบนับล้านปีถือเป็นแหล่งสะสมพลังงานของโลก ใบนี้ จะมีประตูรักแห่งขุนเขา...ที่เต็มไปด้วยพลังรักอันบริสุทธิ์ ให้ จับมือคนที่เรารักแล้วเดินก้าวข้ามผ่านไปด้วยกัน จะช่วยเสริมความรักให้แข็งแกร่งดั่งภูผา ซึ่งยุทธศาสตร์นวัตกรรมการพัฒนาเมืองเวียง แก่นนี้น�ำไปสู่การพัฒนาเชิงพื้นที่ใน 4 ต�ำบล โดยค�ำนึกถึงศักยภาพของแต่ละต�ำบลในการวางยุทธศาสตร์การพัฒนา ไม่ว่าจะเป็นลักษณะ ภูมิศาสตร์ ทรัพยากรธรรมชาติ และประชากร ซึ่งในแต่ละต�ำบลจะไม่มียุทธศาสตร์การพัฒนาที่เหมือนกันให้แต่ละมีพื้นที่มีจุดเด่นของ ตนเอง เพื่อเป็นการกระจายการพัฒนาและการส่งเสริมการท่องเที่ยว การค้า และเกษตรกรรมที่เหมาะสม ให้แต่ละต�ำบลเกิดการพัฒนา อย่างเท่าเทียมกัน โดยมีรายละเอียดดังนี้
ยุทธศาสตร์นวัตกรรมการพัฒนา 4 ต�ำบล อ�ำเภอเวียงแก่น ต�ำบลม่วงยาย
จุดเน้น แก่งผาได/จุดผ่อนปรนห้วยลึก/ดงเวียงแก่น/อ่าง น�้ำวอง - ปรับปรุงถนนแก่งผาได เส้นทางจักรยานแสนโรแมนติก - งานเทศกาลรักสุดเขตประเทศไทย ฯ - งานประเพณีไหลเรือไฟบ้านห้วยลึก - ตลาดการค้าชายแดนจุดผ่อนปรนห้วยลึก - พัฒนาแหล่งท่องเที่ยวอ่างน�้ำวอง - พัฒนาดงเวียงแก่นแหล่งท่องเที่ยววัฒนธรรมเมืองเก่า และประวัติศาสตร์
ต�ำบลปอ
จุดเน้น ผาตั้ง/ภูชี้ดาว/ภูชี้ฟ้า/ผาแล - ปรับภูมิทัศน์สวนหย่อมผาตั้ง - โครงการถนนสายผาตั้ง-ภูชี้ฟ้าตระการตาดอกพญาเสือ โคร่งสีชมพู - พัฒนาเส้นทางและภูมิทัศน์ขึ้นภูชี้ฟ้าบ้านร่มฟ้าทอง - งานเค้าดาวน์ 6 องศาที่ผาตั้ง - งานภูชี้ฟ้าตระการตาดอกพญาเสือโคร่งสีชมพู - งานปั่นจักรยานใจเกินร้อย พิชิตดอยผาตั้ง
ยุทธศาสตร์นวัตกรรมการพัฒนา 4 ต�ำบล อ�ำเภอเวียงแก่น ต�ำบลท่าข้าม
ต�ำบลหล่ายงาว
จุดเน้น จุดผ่อนปรนแจมป๋อง/สามแยกหล่ายงาว/จุดชม วิวห้วยเอียน - พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานจุดผ่อนปรนแจมป๋อง - งานมหาสงกรานต์ 2 ฝั่งโขง - ปรับปรุงภูมิทัศน์จุดชมวิวห้วยเอียน - ปรับปรุงภูมิทัศน์สามแยกหล่ายงาว - ปรับปรุงป้อมต�ำรวจสามแยกหล่ายงาว - พัฒนาศูนย์กีฬาอ�ำเภอเวียงแก่น
จุดเน้น ศูนย์วัฒนธรรมไทลื้อ/โครงการหลวงห้วยแล้ง - ปรับภูมิทัศน์พัฒนาศูนย์วัฒนธรรมไทลื้อ - สร้างเอกลักษณ์ (landmark) ศูนย์วัฒนธรรมไทลื้อ - พัฒนาปรับปรุงถนนโครงการหลวงห้วยแล้ง - งานเทศกาลองุ่นไร้เมล็ดฯ - ศูนย์กลางวัฒนธรรมไทลื้อของประเทศไทย
จากยุทธศาสตร์นวัตกรรมการพัฒนาเมืองเวียงแก่น หากมองในแง่มุมของการพัฒนาภายใต้แนวคิดเศรษฐศาสตร์ (Economics Development) จะเห็นได้วา ่ เป็นการพัฒนาโดยการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ ทรัพยากรมนุษย์ และทรัพยากรวัฒนธรรม ที่มีอยู่ในพื้นที่ไปสู่การพัฒนาและส่งเสริมให้เกิดประโยชน์สูงสุด ในการพัฒนาเศรษฐกิจเชิงพื้นที่เพื่อเป็นการกระจายความเจริญ ทางเศรษฐกิจโดยสม�่ำเสมอ และต่อเนื่องเป็นระยะเวลายาวนานพอที่จะท�ำให้เกิดการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงสภาพทางสังคมและ ยกระดับการด�ำรงชีพของอ�ำเภอให้สูงขึ้น เกิดการเพิ่มขึ้นของรายได้ที่แท้จริงต่อประชาชนในพื้นที่ (real income per capita) ตลอดระยะเวลายาวนานเพื่อให้มาตรฐานความเป็นอยู่ของประชาชนส่วนใหญ่ดีขึ้นกว่าเดิม การกระจายรายได้เป็นไปอย่างเสมอ ภาค ประชาชนส่วนใหญ่ได้รับประโยชน์จากรายได้ที่เพิ่มขึ้นอย่างเท่าเทียมกัน
Sustainable
Economics
Social
ทั้งนี้ ในแง่มุมของการพัฒนาภายใต้แนวคิดสังคมวิทยา พบว่า เป็นการจัดระเบียบความสัมพันธ์ทางสังคมด้วยการจัดสรร ทรัพยากรของสังคมอย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีกระบวนการพัฒนาที่ครอบคลุมไปถึงการสร้างอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมเชิงพื้นที่ ได้แก่ ต�ำบลท่าข้าม ที่มีประชาชนชนเผ่าจ�ำนวนมากได้มีเป้าหมายในการพัฒนาและส่งเสริมให้เกิดศูนย์กลางวัฒนธรรมไทลื้อ เพื่อ เป็นจุดส�ำคัญของการท่องเทีย่ วในเมืองเวียงแก่น พร้อมสร้างรายได้เสริมให้แก่ประชาชนชนเผ่านอกจากรายได้จากภาคการเกษตร กรรม ซึ่งยุทธศาสตร์นวัตกรรมการพัฒนาเมืองเวียงแก่นทั้ง 4 มิติ ที่น�ำไปสู่การพัฒนาในทุกต�ำบลถือได้ว่า เป็นการพัฒนาสิ่งที่อยู่ ในชุมชนและให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการพัฒนา เพื่อสร้างความรัก ความหวงแหนต่อทรัพยากรที่มีอยู่ในการเกิดประโยชน์และ ยกระดับคุณภาพชีวิตของตนเอง ชุมชน และสังคมที่ดีขึ้น