Policybrief jun 2015 14

Page 1

สา นั ก ง า น เ ศ ร ษ ฐ กิ จ ช า ย แ ด น แ ล ะ โ ล จิ ติ ก ส์

|1

POLICY BRIEF การสัมภาษณ์พิเศษ ดร.อนุรัตน์ อินทร ประธานหอการค้าจังหวัดเชียงราย ใน หัวข้อ “ศักยภาพการค้าการลงทุนในพื้นที่ชายแดนจังหวัดเชียงราย”1 เรียบเรียงโดย วราวุฒิ เรือนคา จุดเด่นของเขตเศรษฐกิจพิเศษจังหวัด เชียงราย

จังหวัดเชียงรายมีจุดเด่นที่มีพื้นที่อาเภอชายแดนทั้ง 3 อาเภอ ประกอบด้วย อาเภอแม่สาย อาเภอเชียงแสน และอาเภอเชียงของ ซึ่งทั้ง 3 อาเภอนี้ได้รับการพัฒนาให้เป็นพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษจังหวัดเชียงราย ทั้งนี้ จัง หวัด เชีย งรายมี ความสามารถในการเชื่ อมโยงระหว่างประเทศ ต่อ ไปยั ง 3 ประเทศคู่ ค้ า ที่ สาคั ญ ได้ แ ก่ สภาพเมี ย นมาร์ สาธารณรั ฐ ประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) และสาธารณรัฐประชาชนจีน (จีน ตอนใต้) ในขณะที่พื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษจังหวัดอื่นๆนั้นเชื่อมต่อเพียง หนึ่งประเทศ ฉะนั้น เขตเศรษฐกิจ พิเศษจังหวัดเชียงรายจึง สร้างความ แตกต่างอย่างมากในการเป็นจุดยุทธศาสตร์ที่สาคัญต่อการตัดสินใจมา ลงทุนของนักลงทุนทั้งในประเทศและต่างประเทศ

1

บทความสัมภาษณ์นี้เป็นหนึ่งในบทความพิเศษของ “ศักยภาพการเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษในพื้นที่ชายแดนจังหวัดเชียงราย: บริบท การค้า การลงทุน การขนส่ง และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์” เพื่อเป็นประโยชน์แก่การพัฒนาศักยภาพการค้าและการลงทุนของ จังหวัดเชียงรายทั้งภาครัฐบาล ภาคธุรกิจ และภาคประชาชน


สา นั ก ง า น เ ศ ร ษ ฐ กิ จ ช า ย แ ด น แ ล ะ โ ล จิ ติ ก ส์

|2

บทบาทของหอการค้าต่อการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ หอการค้าเป็นหน่วยงานหนึ่งที่มีบทบาทสาคัญในฐานะกรรมการของคณะกรรมการการจัดตั้งเขตเศรษฐกิจ พิเศษจังหวัดเชียงราย โดยการให้ความคิดเห็นด้านเศรษฐกิจของจังหวัดเชียงราย การสนันสนุนข้อมูล ในด้านการค้า การลงทุนต่างๆ และโครงสร้างพื้นฐานในพื้นที่เพื่อให้ภาครัฐพิจารณาและดาเนิน การ ทั้งนี้ในอนาคตจะมีการจัดการ ประชุมเขตเศรษฐกิจพิเศษจังหวัดเชียงราย โดยเชิญหอการค้าทั่วประเทศ นักลงทุนทั้งในประเทศและต่า งประเทศ ประชาชนทั่วไป เพื่อให้ความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับการพัฒนาพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษ สิทธิประโยชน์ทางด้านภาษี และมิใช่ภาษี ตลอดจนความชัดเจนของสถานที่ในการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรม นอกจากนี้ หอการค้าฯ ยังได้มีโครงการ จัดทาฐานข้อมูลเกี่ยวกับเขตเศรษฐกิจพิเศษจังหวัดเชียงราย เพื่อเป็นแหล่งข้อมูลสาคัญแก่นักลงทุนและประชาชนทั่วไป ที่มีความสนใจที่จะลงทุนในจังหวัดเชียงราย ซึ่งเป็นการร่วมกลุ่มกันระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน อาทิ ข้อมูลด้านการ อุปโภคบริโภค ราคาที่ดิน การคมนาคมและโลจิสติกส์ สิทธิประโยชน์ทางด้านภาษีและไม่ใช่ภาษี แรงงาน และข้อมูล อื่นๆที่ช่วยให้นักลงทุนสามารถนาไปศึกษาเพื่อตัดสินใจลงทุนในเขตเศรษฐกิจพิเศษของจังหวัดเชียงราย

ความพร้อมของจังหวัดเชียงรายในการเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษในแต่ละอาเภอ คณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชน (กรอ.) จังหวัดเชียงรายได้สรุปผลการคัดเลือกพื้นที่ของรัฐในพื้นที่ 3 อาเภอ เพื่อเสนอให้รัฐบาลนาไปพิจารณา ได้แก่ อาเภอแม่สาย มีจานวน 8 จุดแต่ละจุดมีเนื้อที่ประมาณ 57 - 870 ไร่ และ อาเภอเชียงแสน มีจานวน 3 พื้นที่เนื้อที่ ประมาณ 96 - 2,500 ไร่ และอาเภอเชียงของมีจานวน 8 พื้นที่ เนื้อที่ ประมาณ 73 - 3,021 ไร่ (ประชาชาติ, 2558) ทั้งนี้ การประกาศเขตการลงทุนในจังหวัดเชียงรายจะให้โอกาสแก่ธุรกิจ ขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ในพื้นที่เป็นอันดับแรก เพื่อที่จะช่วยให้นักลงทุนในพื้นที่สามารถแข่งขันกับนักลงทุน รายใหญ่จากข้างนอก รวมถึงการปรับเปลี่ยนระบบการผลิตให้เหมาะสมและสอดคล้องกับนักลงทุนรายใหญ่ เพื่อ สร้าง ความสมดุลของวงจรธุรกิจ

รูปแบบการลงทุนที่เหมาะสมกับเขตเศรษฐกิจพิเศษเชียงราย จากการประกาศของคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ (กนพ.) ได้มีการส่งเสริมให้เกิดการ ลงทุนในกิจการในเขตเศรษฐกิจพิเศษทั้งหมด 13 กิจการ ทั้งนี้ ทางคณะกรรมการร่ว มภาครัฐและเอกชน (กรอ.) จังหวัดเชียงราย ได้เสนอให้คณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษพิจารณาเพียง 10 กิจการ ได้แก่ 1. อุตสาหกรรมการเกษตร 2. ประมงและกิจการที่เกี่ยวข้อง 3. กิจการอุตสาหกรรมสิ่งทอ เครื่องนุ่งห่มและเครื่องหนัง 4. กิจการผลิตเครื่องเรือน 5. กิจการอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ 6. กิจการผลิตเครื่องมือแพทย์ 7. กิจการ ผลิตยา 8. กิจการโลจิสติกส์ 9. กิจกรรมนิคมหรือเขตอุตสาหกรรม และ 10. กิจการสนับสนุนการท่องเที่ยว และได้ ยกเว้ น 3 กิจ การ ได้ แก่ 1. เซรามิ ก 2. อุตสาหกรรมยานยนต์ เครื่ อ งจั ก ร และชิ้ น ส่ ว น และ 3. อุ ตสาหกรรม เครื่องใช้ไฟฟ้า และอิเล็กทรอนิกส์ เนื่องจากจังหวัดใกล้เคียงอย่างลาปางได้มีความเชี่ยวชาญอุตสาหกรรมเซรามิก และ ดาเนินกิจการมายาวนาน อีกทั้งความพร้อมทางวัตถุดิบและแรงงานที่ทักษะที่มีอยู่ในพื้นที่ เช่นเดียวกันกับอุตสาหกรรม เครื่องใช้ไฟฟ้า และอิเล็กทรอนิกส์ที่ได้มีการลงทุนในจังหวัดลาพูนอยู่แล้ว ดังนั้นทางเขตเศรษฐกิจพิเศษเชียงรายจึงให้ ความสาคัญด้านการเป็นศูนย์กระจายสินค้า และบรรจุภัณฑ์หรือการเพิ่ม Value Added และ Value Creation ใน สินค้าดังกล่าว ส่วนอุตสาหกรรมยานยนต์ เครื่องจักร และชิ้นส่วน ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมหนัก (Heavy Industry) ไม่ เหมาะสมต่อการลงทุนในเขตเศรษฐกิจพิเศษเชียงราย ซึ่งจะส่งผลให้เกิดมลภาวะและส่งผลกระทบเชิงลบต่อสังคม โดยรวม


สา นั ก ง า น เ ศ ร ษ ฐ กิ จ ช า ย แ ด น แ ล ะ โ ล จิ ติ ก ส์

|3

ทางหอการค้าจังหวัดเชียงรายได้สนับสนุนให้เกิดการลงทุนในกิจการบางกิจการเป็นพิเศษที่มีความเหมาะสม ต่อการลงทุนอย่างมากในเขตเศรษฐกิจพิเศษเชียงราย ตัวอย่างเช่น 1. อุตสาหกรรมการแปรรูปสินค้าเกษตร เนื่องจากจังหวัดเชียงรายมี ผลิตผลทางการเกษตรที่หลากหลายที่สามารถ สร้างมูลค่าเพิ่มได้ อาทิ ชา กาแฟ ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ลิ้นจี่ เป็นต้น จึงเหมาะแก่การทาอุตสาหกรรมสาหรับการแปรรูป ทางการเกษตรอย่างมาก นอกจากนี้ กลุ่มนักลงทุนชาวจีนมีความสนใจในการเข้ามาลงทุนในอุตสาหกรรมการเกษตรของ ประเทศไทย ซึ่งจะทาให้เกิดการยกระดับความสามารถของการผลิตสินค้าเกษตรแปรรูปอย่างมาก เช่น ทุเรียน และ ลาไย 2. อุตสาหกรรมสิ่งทอ ที่เน้นผ้าทอพื้นเมืองเป็นหลัก ซึ่งจะเน้นการเจาะตลาดและส่งเสริมให้เกิดการจาหน่ายสินค้า ภายในประเทศเป็นหลัก ในรูปแบบของอุตสาหกรรมท้องถิ่นและ OTOP และไม่สนับสนุนการผลิตเสื้อผ้าตลาดทั่วไปที่ เชียงรายไม่มีความสามารถในการแข่งขันกับประเทศเพื่อนบ้านได้ เนื่องจากประเทศเพื่อนบ้านมีอัตราค่าจ้างแรงงานที่ ต่ากว่ามาก 3. อุตสาหกรรมการผลิตยาจากสมุนไพรพื้นบ้าน เช่น ผลิตภัณฑ์จาพวกยาหม่อง ยาดมสมุนไพร เป็นต้น ซึ่งปัจจุบัน สมุนไพรไทยได้รับความนิยมอย่างมากจากนักท่องเที่ยวชาวจีนที่นิยมซื้อสินค้าจากประเทศไทยไปเป็นของฝากและของที่ ระลึก 4. อุตสาหกรรมโลจิสติกส์ ภาครัฐควรเข้าไปลงทุนก่อสร้างศูนย์กระจายสินค้าที่อาเภอเชียงของโดยตรง เนื่องจากการ ลงทุนดังกล่าวต้องใช้เงินลงทุนจานวนมากจึงยากที่ภาคเอกชนจะเข้ามาลงทุนโดยขาดการสนับสนุนจากภาครัฐ ปัจจุบัน จีนได้ทาการก่อสร้างศูนย์กระจายสินค้าครบวงจรที่ชายแดนบ่อหาน - บ่อเต็น (จีน - สปป.ลาว) เป็นที่เรียบร้อยแล้ว หากนักลงทุนจีน ตัดสินใจที่จะการสร้างศูนย์กระจายสินค้าชายแดนฝั่งห้วยทราย – เชียงของ (สปป.ลาว – ไทย) เพิ่มขึ้นอีกแห่ง ผู้ประกอบการไทยจะเกิดการเสียเปรียบอย่างมาก จึงเป็นปัญหาที่ภาครัฐจาเป็นจะต้องผลักดันให้เร็ว ที่สดุ

บริบทการเปลี่ยนแปลงของพื้นที่ชายแดน บริบทการค้าของเมืองชายแดนมีการเปลี่ยนแปลงไปตามพลวัตทางเศรษฐกิจ การค้า และการลงทุนของเมือง ชายแดน จังหวัดเชียงราย ที่สาคัญคือ อาเภอแม่สายที่มมี ูลค่าการค้าสูงกับเมืองท่าขี้เหล็กอยู่ในระดับสูง สหภาพเมียน มาร์ เช่นเดียวกันกับอาเภอเชียงของกับเมืองห้วยทราย สปป.ลาว โดยสินค้าส่วนมากที่ประชาชนจากประเทศเพื่อนบ้าน มีนาเข้ามากที่สุดคือ สินค้าอุปโภคบริโภค โดยในปี 2557 มูลค่าการค้าชายแดนจังหวัดเชียงรายสูงถึง 4 หมื่นล้านบาท อย่างไรก็ตาม ยังคงมีมูลค่าต่ากว่าการค้าชายแดนของอาเภอแม่สอด จังหวัดตากที่มีมูลค่าสูงถึง 7 – 8 หมื่นล้านบาท เนื่องจากพื้นที่แม่สอดสามารถเชื่อมต่อไปยังเมืองหลักของเมี ยนมาร์ได้สะดวกและรวดเร็ว อาทิ เมียวดี มะละแหม่ง เมาะลาไย และย่างกุ้ง ทั้งนี้ คาดว่าในอนาคตพื้นที่ชายแดนจังหวัดเชียงรายจะมีมูลค่าการค้าจะมีการเติบโตสูงขึ้น เนื่องจากพื้นที่จังหวัดเชียงรายสามารถเชื่อมต่อไปได้ถึง 3 ประเทศ ได้แก่ สปป.ลาว เมียนมาร์ และจีน

อุปสรรคในการวางแผนนโยบายเพื่อพัฒนาเมืองชายแดน การบริหารเขตเศรษฐกิจพิเศษเชียงรายยังคงมีอุปสรรคและปัญหา เนื่องจากผู้ว่าราชการจังหวัดไม่ได้มีอานาจ บริหารแบบเบ็ดเสร็จ หน่วยงานภาครัฐต่างๆ ยังคงขึ้นตรงต่อหน่วยงานส่วนกลางของประเทศ ทั้งนี้ในการบริหารควรมี


สา นั ก ง า น เ ศ ร ษ ฐ กิ จ ช า ย แ ด น แ ล ะ โ ล จิ ติ ก ส์

|4

ผู้บริหาร (Chief Executive Officer: CEO) ที่มีความสามารถ ความรู้ และประสบการณ์ในการบริหารเขตเศรษฐกิจ พิเศษ

ศักยภาพทางการค้าและการลงทุน ความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SME) ถือว่าเป็นตัวชี้วัดศักยภาพทางการค้า การลงทุนที่สาคัญของการพัฒนาเศรษฐกิจชายแดน โดยต้องให้ความสาคัญต่อการส่งเสริมและพัฒนาสินค้าท้องถิ่นให้มี มาตรฐานความเป็นสากล (Universal Standard) สินค้าต้องมีเอกลักษณ์เฉพาะเจาะจง (Unique) และสร้างความ แตกต่างจากพื้นที่อื่น (Product Differentiation) เช่น การพัฒนานวัตกรรมของผู้ประกอบการ SME ในด้านการ ออกแบบบรรจุภัณฑ์ (Packaging Design) และการสร้างมูลค่าเพิ่ม (Value Added) ให้แก่สินค้า เป็นต้น

นโยบายที่เหมาะสมต่อการค้าการลงทุนชายแดนในอนาคต ในด้านนโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจและความร่วมมือระหว่างประเทศของจังหวัดเชียงรายควรให้ความสาคัญ กับ กรอบความมือ GMS และประชาคมอาเซียนควบคู่กันไป เนื่องจากว่าการลงทุนในเขตเศรษฐกิจพิเศษเชียงรายควร มองคู่ค้าที่สาคัญคือ ประเทศจีน

การพัฒนาความร่วมมือกับประเทศคู่ค้าและความสัมพันธ์เชิงพื้นที่ การพัฒนาความร่วมมือกับประเทศคู่ค้าบริเวณชายแดนนั้น ทั้งสองประเทศจะต้องมีการพัฒนาและเติบโตไป พร้อมกัน (Inclusive Growth) การเติบโตร่วมจะช่วยให้พื้นที่ชายแดนมีการพัฒนาศักยภาพอย่างมากในด้านการค้าและ การลงทุน โดยทางหอการค้าจะมีการจัดประชุมเกี่ยวกับเขตเศรษฐกิจพิเศษเชียงราย โดยเชิญบุคคลสาคัญจากประเทศ เพื่อนบ้านเข้าร่วมประชุม เพื่อที่จะได้เกิดการพัฒนาร่วมกันระหว่างพื้นที่ชายแดนของประเทศคู่ค้าและพื้นที่ชายแดนของ จังหวัดเชียงราย

สรุปประเด็นสาคัญ จังหวัดเชียงรายเป็นจังหวัดที่มีศักยภาพอย่างมากในด้านการค้าการลงทุน โดยเฉพาะในพื้นที่บริเวณชายแดน ที่มีมูลค่าทางการค้าอยู่ในระดับสูงอย่างมาก และมีการขยายตัวเพิ่มมากขึ้นในแต่ละปี เนื่องจาก จังหวัดเชียงรายมีพื้นที่ ชายแดนที่เปรียบเสมือนประตูที่สามารถเชื่อมต่อไปได้ถึง 3 ประเทศ ที่เป็นคู่ค้าสาคัญ ได้แก่ เมียนมาร์ สปป.ลาว และ จีนตอนใต้ ซึ่งเส้นทางที่เชื่อมจากจังหวัดเชียงรายที่ผ่านไปยังประเทศเพื่อนบ้านสู่จีนตอนใต้ที่เรียกกันว่าถนน R3A และ ถนน R3B เป็นเส้นทางที่อยู่บนระเบียงเศรษฐกิจเหนือ-ใต้ (North-South Economic Corridor: NSEC) ภายใต้ความ ร่วมมืออนุภูมิภาคลุ่มแม่น้าโขง (Greater Mekong Sub-region: GMS) ซึ่งความร่วมมือดังกล่าวได้ผลักดันให้เกิดการ พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่เอื้อต่อการค้าและการลงทุน อาทิ สะพานมิตรภาพไทย-ลาวแห่งที่ 4 ที่อาเภอเชียงของ และ ท่าเรือเชียงแสนแห่งที่ 2 เป็นต้น นอกจากนี้ จังหวัดเชียงรายยังมีท่าอากาศยานแม่ฟ้าหลวงที่เป็นท่าอากาศยาน นานาชาติที่มีความสาคัญต่อการขนส่งระหว่างประเทศ ทั้งนี้ จังหวัดเชียงรายมีสินค้าที่เป็นลักษณะเฉพาะและมีความ พิเศษแตกต่างจากพื้นที่อื่น เช่น ผ้าทอพื้นเมือง ที่สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้า และพัฒนาให้กลายเป็นสินค้าที่เป


สา นั ก ง า น เ ศ ร ษ ฐ กิ จ ช า ย แ ด น แ ล ะ โ ล จิ ติ ก ส์

|5

เปรียบเสมือนตราสัญลักษณ์ประจาจังหวัด รวมถึงสินค้าเกษตรไม่ว่าจะเป็น ชา กาแฟ และลิ้นจี่ ที่มีศักยภาพในการ ผลิตเพื่อส่งออกอย่างมาก ตลอดจนสินค้าประเภทยาสมุนไพรพื้นบ้าน และเครื่องเรือนจากยางพาราเป็นสินค้าที่มีความ ต้องการอย่างมากในตลาดเอเชีย อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการชายแดนมีความต้องการการสนับสนุนอย่างมากจากภาครั ฐในเรื่องการให้สิทธิ ประโยชน์ การให้ข้อมูล การสร้างความร่วมมือ การปรับปรุงกฎระเบียบและเงื่อนไขที่เกี่ยวข้องกับการค้าและการลงทุน รวมถึงให้การสนับสนุนด้านการพัฒนาการขนส่งและโลจิสติกส์ ซึ่งจะช่วยให้เชียงรายมีศักยภาพให้การพัฒนาพื้นที่ให้ กลายเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษในอนาคตข้างหน้า โดยนโยบายที่ควรให้ความสาคัญเป็นหลัก คือ 1. การสร้างห่วงโซ่ มูลค่าชายแดน (Border Value Chain: BVC) เพื่อเชื่อมโยงการผลิตจากต้นน้าจนถึงปลายน้าในพื้นที่ชายแดนต่างๆใน ภูมิภาค 2. การสร้างนวัตกรรมและเอกลักษณ์ของสินค้า OTOP ในกลุ่มของผู้ประกอบการ SMEs เป็นการมูลค่าให้กับ สินค้าของจังหวัดเชียงรายให้สามารถแข่งขันในเวทีระดับอาเซียน และเวทีระดับโลก 3. นโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจ ร่วมชายแดน (Border Economic Policy) หรือนโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจข้ามแดน (Cross-border Economy Policy) ที่ช่วยผลักให้เกิดการยกระดับการพัฒนาสู่การเติบโตแบบคู่ขนานของพื้นที่ชายแดนของประเทศไทย และเพื่อน บ้านไปพร้อมกัน

สานักงานเศรษฐกิจชายแดนและโลจิสติกส์ (Office of Border Economy and Logistics: OBELS) มีหน้าที่ ดาเนินงานด้านการรวบรวมข้อมูลและวิจัยทางด้านเศรษฐกิจการค้าชายแดนและโลจิสติกส์ เพื่อนาไปสู่การยกระดับ องค์ความรู้ที่เป็นฐานสาคัญของประเทศไทย ซึ่งส่งผลต่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และการสร้างความสามารถใน การแข่งขันของประเทศและยกระดับคุณภาพชีวิตในสังคม Office of Border Economy and Logistics (OBELS), Mae Fah Luang University, 333 Moo 1, Tasud, Muang, Chiang Rai, Thailand. Tel. +66 53916680 Email: obels.mfu@gmail.com


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.