Policybrief_june2014_9

Page 1

OBELS POLICY BRIEF No. 9, June 2014

การปรับตัวของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวในอาเภอเชียงแสนกับการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ และ ผลกระทบจากการเปิดเขตเศรษฐกิจพิเศษบ้านต้นผึ้ง แขวงบ่อแก้วในฝั่งลาว พรพินันท์ ยี่รงค์ ปฐมพงศ์ มโนหาญ อาเภอเชียงแสนเป็นอาเภอที่ขึ้นชื่อว่าเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมที่มีประวัติศาสตร์ยาวนาน ไม่ ว่าจะเป็นโบราณสถานที่เป็นวัดเก่าแก่ที่ตั้งเรียงรายอยู่ในละแวกทั้งเขตในเมืองและนอกเมืองมีมากกว่า 100 วัด และยังมีทะเลสาบเชียงแสนที่เป็นจุดแหล่งดูนกต่างๆถึง 79 ชนิด แต่ที่เป็นจุดสนใจของเหล่านักท่องเที่ยว และ นักลงทุนจากทุกสารทิศคือ ดินแดนสามเหลี่ยมทองคาหรือ สบรวกที่เป็นพื้นรอยต่อระหว่างสามประเทศ ได้แก่ ประเทศไทย (จังหวัดเชียงราย) สปป.ลาว (แขวงบ่อแก้ว) และประเทศพม่า (แขวงท่าขี้เหล็ก, รัฐฉาน) โดยมี แม่น้าโขงที่เป็นแม่น้าสายใหญ่ตัดผ่านเป็นเส้นแบ่งเขตชายแดนที่มาบรรจบกัน ซึ่งแต่เดิมนั้นพื้นที่ตรงนี้เคยเป็น พื้นที่ที่เคยปลูกฝิ่นและเป็นแหล่งผลิตยาเสพติดแหล่งใหญ่ ปัจจุบันเหลือไว้เพียงพิพิธภัณฑ์ฝิ่นให้ผู้คนมาศึกษา ความเป็ น ไป ทาให้ เชีย งแสนเป็ น แหล่ งดึงดูด นักท่องเที่ยวทั้งชาวไทย และชาวต่างชาติจานวนมาก ทั้ง นี้ ทางการท่องเที่ยวจังหวัดเชียงรายก็ได้มีแผนงานในการพัฒนาโบราณสถาน อารยธรรมล้านนา และเมืองเก่าใน อาเภอเชียงแสนอย่างต่อเนื่อง รวมถึงการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวั ฒนธรรมยังถูกกาหนดให้อยู่ในแผนพัฒนา เศรษฐกิจ และสังคมฉบับที่ 10 อีกด้วย พื้นที่บริเวณเชียงแสนนั้นมีการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ สังคม การเมือง และวัฒนธรรมอย่างมาก โดยเฉพาะการเข้ามาของกลุ่มทุนขนาดใหญ่ของประเทศจีนที่ได้เข้าไปลงทุนและพัฒนาเศรษฐกิจ การค้า และ บริ การในเมืองต้น ผึ้ง สปป .ลาว ซึ่งมีสัญญาในการให้ สัมปทานจากรัฐ บาลลาวถึง 99 ปี โดยใช้โ ครงการว่า “Kings Romans of Laos Asian Economic & Tourism Development Zone" ซึ่งโครงการนี้ได้ตั้งบน พื้นที่บริเวณสามเหลี่ยมทองคา ติดริมน้าโขงตรงข้ามกับบ้านสบรวก ตาบลเวียง อาเภอเชียงแสนของจังหวัด เชียงราย ในปัจจุบัน King Romans ขึ้นชื่อว่าเป็นสถานที่แสวงโชคที่ขึ้นชื่อ มีบ่อนคาสิโนขนาดใหญ่ที่สร้าง ขึ้นมาก่อนสิ่งปลูกสร้างอื่นๆ ก่อนจะตามมาด้วยโรงแรมระดับห้าดาว และแหล่งพักผ่อนหย่อนใจต่างๆ จากวัน นั้นถึงวันนี้ ก็เป็นเวลาถึงเจ็ดปีที่กลุ่มนักลงทุนได้ตัดสินใจเข้ามาลงทุนในฝั่งลาว โดยอนาคตจะมีการก่อสร้าง สนามบินนานาชาติขนาดใหญ่ โรงพยาบาล เขตปลอดภาษี และสิ่งปลูกสร้างอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับการค้า และ


การบริการอีกมากมาย เพื่อเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนที่กาลังจะมาถึงในปี 1

2015

นอกจากนั้น ประเทศไทยยังได้เข้าร่วมโครงการพัฒนาความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาค ลุ่ม แม่น้าโขง (Greater Mekong Sub-Region: GMS) ซึ่งจะมีส่วนช่วยผลักดันให้การท่องเที่ยวของประเทศที่ เป็นสมาชิกในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้าโขงเชื่อมโยง และพัฒนาไปพร้อมกัน โดยมีธนาคารพัฒนาเอเชีย (Asian Development Bank) เป็นผู้สนับสนุนหลัก โครงการที่จะเข้ามาช่วยสนับสนุนการท่องเที่ยวในอนุภูมิภาค ได้แก่ ความตกลงว่าด้วยการขนส่งข้ามแดนในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้าโขง (GMS Cross border Transport Agreement) ที่จะช่วยอานวยความสะดวกให้คนผ่านแดนหรือข้ามแดนในอนุภูมิภาค และโครงการจัดทา แผนการตลาดท่องเที่ยว Six countries ซึ่งประสานงานโดย Agency for Coordinating Mekong Tourism Actitvies (AMTA) โดยสานักงานถูกตั้งอยู่ที่การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย เพื่อส่งเสริมการเชื่อมโยงการ ท่องเที่ยวระหว่างประเทศในรูปแบบของ Package Tour และผลักดันให้เกิด GMS Visa เพื่ออานวยความ สะดวกให้นักท่องเที่ยวจากนอกอนุภูมิภาค2 ฉะนั้น ทางอาเภอเชียงแสนจะต้องเตรียมพร้อมเพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจที่กาลังจะ เกิดขึ้น เพื่อพัฒนาให้เป็นเมืองหน้าด่านที่สาคัญในทั้งด้านการค้า การบริการ และการท่องเที่ยว พร้อมทั้ง กระตุ้นให้ภาคเอกชนตื่นตัวกับปัจจัยภายนอกที่จะส่งผลกระทบไม่ว่าจะเป็นทางลบ หรือทางบวก และพร้อมที่ จะปรับตัวให้เท่าทัน และลดความเสี่ยงในการดาเนินธุรกิจ ทั้งนี้เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ การ เติบโตของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ผลกระทบจากการจัดตั้ง เขตเศรษฐกิจพิเศษในฝั่งลาว การปรับตัวของ ภาคเอกชน และนโยบายที่จะถูกนาเสนอในอนาคต เพื่อให้มองเห็นภาพรวม และสถานการณ์ปัจจุบันของการ ท่องเที่ยวในเชียงแสนก่อนที่จะถูกนาไปเสนอแนะเป็นนโยบาย

ภาพบริเวณสามเหลี่ยมทองคา3 1

วรียา หยึกประเสริฐ, การลงทุนและพัฒนาเขตเศรษฐกิจการค้าและบริการของจีน ในเขตเมืองต้นผึ้ง สปป.ลาว: วิกฤต หรือโอกาส, สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ. 2 3

เรื่องเดียวกัน ถ่ายโดย สิทธิชาย สมตา, 2555


ประเด็นที่ ๑: การเติบโตของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวในอาเภอเชียงแสน Q: ทาไมถึงเลือกที่จะทาธุรกิจเกี่ยวกับการท่องเที่ยวที่อาเภอเชียงแสน? คุณณัฐวุฒิ: ด้วยความที่เป็นคนพื้นที่เชียงแสนแต่กาเนิด จึงเล็งเห็นศักยภาพด้านการท่องเที่ยวในอาเภอเชียง แสน ว่าเป็น เมืองที่ติดชายแดนลาว และพม่า เป็นหนึ่งในอาเภอที่จะพัฒนาให้เป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษตาม ยุทธศาสตร์การพัฒนาของจังหวัดเชียงราย และยังไม่มีคนที่เข้ามาทาธุรกิจเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์เป็นเรื่อง เป็นราว รวมถึงโอกาสจากการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปี 2558 จึงตัดสินใจที่จะเริ่มต้นธุรกิจจาก โครงการโขงวิวพลาซ่า ที่มีการก่อสร้างเป็นอาคารพาณิชย์ และ Home office ที่เปิดให้นักลงทุนทั้งไทยและ เทศเข้ามาจับจองอยู่หลายคูหา ก่อนที่ต่อมาจะเปิดสถานีโขงวิว ที่เป็นทาเป็นฟาร์มแกะ ร้านอาหาร ร้านกาแฟ พร้อมบริการรถรางเพื่อบริการ และรองรับนักท่องเที่ยวที่ผ่านเข้ามาในอาเภอเชียงแสน ด้วยความที่จุดผ่าน แดนถาวรของอาเภอเชียงแสนต่อไปมีโครงการที่จะสร้างเป็นศูนย์กระจายสินค้าที่มีรูปแบบมาจากจุดผ่านแดน ถาวรของอาเภอแม่สาย ซึ่งจะเป็นแหล่งดึงดูดนักท่องเที่ยวให้มาจับจ่ายใช้สอย แต่อย่างไรก็ตาม แม้ว่าอาเภอ เชียงแสนมีจุดเด่นในด้านของความเป็นเมือง ซึง่ เป็นตัวดึงดูดให้นักท่องเที่ยวให้เข้ามาศึกษาถึงความเป็นมา แต่ ในทางตรงกันข้ามก็ทาให้อาเภอเชียงแสนไม่ค่อยตื่นตัวมากนัก4 คุณจุรีย์: ไม่ได้เป็นคนท้องถิ่นแต่กาเนิด แต่ประกอบอาชีพเป็นอาจารย์อยู่จังหวัดเชียงใหม่ โดยที่สามีเป็นคน เลือกที่จะมาสร้าง Guest house ที่นี้ ด้วยความที่สมัยเรียนเคยพานักท่องเที่ยวชาวต่างชาติไปเดินเขา (Trekking) จึงมีประสบการณ์การทางานเกี่ยวกับการท่องเที่ยวโดยเฉพาะ และเล็งเห็นว่านักท่องเที่ยวเข้าไปที่ อาเภอเชียงแสนเยอะ น่าจะมีโอกาสในทาธุรกิจเกี่ยวกับการท่องเที่ยวสูง5 Q: การท่องเที่ยวในอาเภอเชียงแสนจากอดีตจนถึงปัจจุบันเปลี่ยนแปลงไปมากแค่ไหน? คุณณัฐวุฒิ: เปลี่ยนไปค่อนข้างมากโดยเฉพาะรูปแบบของกลุ่มนักท่องเที่ยว เนื่องจากปัจจุบันข้อมูลข่าวสาร ค่อนข้างรวดเร็ว และเข้าถึงกลุ่มนักท่องเที่ยวได้สะดวกขึ้น มากกว่าแต่ก่อน ซึ่งการท่องเที่ยวของอาเภอเชียง แสนในอดีตจะเป็นนักท่องเที่ยวต่างชาติที่จะสะพายกระเป๋าเข้ามาท่องเที่ยวในเชียงแสนด้วยตัวเอง แต่ปัจจุบัน การเข้ามาของนักท่องเที่ยวจะมีธุรกิจนาเที่ยวเข้ามามีบทบาทมากขึ้น ซึ่งการเพิ่มขึ้นของจานวนนักท่องเที่ยว ผลักดันให้เศรษฐกิจภายในอาเภอเชียงแสนเติบโตขึ้นอย่างมาก แต่ก็ยังไม่ถึงขั้นก้าวกระโดด ซึ่งเป็นรูปแบบการ เติบโตแบบตายตัวของตัวเมืองเชียงแสนไปเสียแล้ว ระยะหลังจะเห็นว่ามีธุรกิจโรงแรม และที่พักในรูปแบบ ต่างๆทั้งรายใหญ่ และรายย่อยเพิ่มมากขึ้น ทาให้ตัวเลือกในการเข้าพักของนักท่องเที่ยวมีความหลากหลายมาก ยิ่งขึ้น6 คุณวิภาส: ธุรกิจการท่องเที่ยวในอาเภอเชียงแสนมีการเติบโตดีขึ้นเล็กน้อยจาก 7 ปีที่แล้ว ส่วนมากจะเป็น นักท่องเที่ยวชาวไทยที่มาเที่ยวอย่างสม่าเสมอ แต่นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติแทบจะไม่มีให้เห็นมาก เนื่องจาก 4

สัมภาษณ์คณ ุ ณัฐวุฒ,ิ 12/06/2557 สัมภาษณ์คณ ุ จุรีย,์ 14/06/2557 6 อ้างแล้ว คุณณัฐวุฒิ 5


สถานการณ์ทางการเมืองของประเทศไทยที่ไม่มั่นคง ถ้ามาเที่ยวก็จะเป็นรูปแบบการเที่ยวในระยะสั้นมากกว่า ระยะยาว คือประมาณ 2 ถึง 3 วันเท่านั้น ซึ่งลูกค้าของทางร้านส่วนมากจะเป็นลูกค้าประจาเสียมากกว่า ลูกค้า ที่เป็น นักท่องเที่ยวจะตกประมาณร้อยละ 20 ของลูกค้าทั้งหมด และเป็นลูกค้าที่อยู่แบบระยะยาว (Long Weekend)7 คุณจุรีย์: ปริมาณนักท่องเที่ยวที่เป็นชาวต่างชาตินั้นแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ คือ นักท่องเที่ยวที่มากับธุรกิจ นาเที่ยว และ Backpacker ซึ่งจานวนของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่เป็น Backpacker นั้น ลดน้อยลงอย่าง เห็นได้ชัด เหลือประมาณร้อยละ 20 ของจานวนคนที่เคยเข้าพักในรีสอร์ท เป็นเพราะแหล่งท่องเที่ยวมีความ น่าสนใจน้อยลงเมื่อเทียบกับอาเภอแม่ สายที่อยู่ใกล้ๆกัน การเดินทางที่สะดวกขึ้นทาให้คนเลือกจะไปเที่ยวที่ อาเภอแม่สายมากกว่า นักท่องเที่ยวส่วนมากที่มาพักก็จะพักในระยะเวลาที่สั้นลง นักท่องเที่ยวต่างชาติโดยรวม ลดน้อยลง เพราะสถานการณ์บ้านเมืองไทยที่ไม่มั่นคงมาตั้งแต่ปี 2554 กระทบความเชื่อมั่น และความ ปลอดภัย ของนั กท่องเที่ย วที่มีกาลั งซื้อสู ง แล้ ว ปัจจัยอื่นๆเช่น ค่าเงินบาทไทยแข็งค่า ทาให้ นักท่องเที่ยว สามารถแลกเงินได้ปริมาณที่น้อยลง รวมถึงการเกิดวิกฤตเศรษฐกิจทางยุโรป และสหรัฐอเมริกา ปัจจุบันนี้ คน ที่มาเข้าพักที่รีสอร์ทคิดเป็นนักท่องเที่ยวที่รีสอร์ท ร้อยละ 20 จากคนที่เข้าพักทั้งหมด อีกร้อยละ 80 กลับเป็น นักลงทุน นักวิชาการ นักวิจัย และกลุ่มรับรองของทางราชการที่มาศึกษาดูงานในอาเภอเชียงแสนทั้งนั้น ประเด็นที่ ๒: ผลกระทบจากการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษในฝั่งลาว Q: การพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษในฝั่งลาวถือว่าเป็นวิกฤตหรือโอกาสสาหรับการท่องเที่ยวในอาเภอเชียง แสน คุณวีระศักดิ์: การที่นักลงทุนจีนตัดสินใจมาลงทุนที่สปป.ลาวในเขตเศรษฐกิจพิเศษเป็นสิ่งที่ดีมากสาหรับการ ท่องเที่ยวในอาเภอเชียงแสน ถือเป็นเป็นโอกาสที่นักท่องเที่ยวคนทั้งสองฝั่งจะข้ามไปมาเพื่อท่องเที่ยวที่เป็นเชิง ประวัติศาสตร์ที่เชื่อมโยงกัน โดยนักท่องเที่ยวชาวจีนจะชื่นชอบการท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์เป็นพิเศษ8 คุณพรเลิศ: สาหรับการพัฒนาเศรษฐกิจในฝั่งลาวไม่ได้มีผลกระทบต่อการเดินเรือเลย แต่กลับทาให้รอบในการ เดิน เรื อเพิ่มขึ้น ทั้งขาเข้าเชียงแสน และขาออกไปเมืองต้นผึ้งเป็นเสมือนจุดขาย แต่ตอนนี้สิ่งที่มีผลให้ การ เดินเรือที่ปกติในช่วง high season จะมีรอบการเดินเรือมากกว่า 10 เที่ยว และ low season ประมาณ 5 ถึง 10 เที่ยว แต่หลังจากมีปัญหาความมั่นคงทางการเมืองทาให้ในช่วง low season ผู้ประกอบธุรกิจการเดินเรือ ไม่ได้รับรายได้เท่าเดิม เนื่องจากการใช้ด่านตรวจคนเข้าเมืองที่เดียว ณ จุดผ่านแดนถาวรสามเหลี่ยมทองคา ทา ให้นักท่องเที่ยวที่มากับธุรกิจนาเที่ยวจาเป็นต้องแสดง passport บางครั้งนักท่องเที่ยวก็ไม่ต้องการที่จะแสดง เพราะกลัวหาย เมื่อหายแล้วการที่จาทา passport ใหม่ต้องใช้ระยะเวลานาน และขั้นตอนที่ยุ่งยาก9

7

อ้างแล้ว คุณณัฐวุฒิ สัมภาษณ์นายอาเภอวีระศักดิ,์ 12/06/2557 9 สัมภาษณ์คณ ุ พรเลิศ 12/06/2557 8


คุณณัฐวุฒิ: การสร้างแหล่งท่องเที่ยวในเขตเศรษฐกิจพิเศษที่ฝั่งลาวไม่ได้มีผลเลย แต่สิ่งที่ทาให้นักท่องเที่ยว ลดลงจากเดิมมาก คือการที่ถูกบังคับให้ลงที่จุดผ่านแดนเดียว เนื่องจากสถานการณ์ทางการเมืองที่ไม่ปกติ10 คุณวิภาส: การพัฒนาเขตเศรษฐกิจในฝั่งลาวไม่มีผลกระทบต่อการทาธุรกิจในเชิงลบ แต่ถือว่าเป็นเป็นโอกาส สาหรับธุรกิจที่จะได้รับรายได้เพิ่ม อย่างเช่น มีการสั่งเบเกอรี่ของทางร้านกาแฟไปที่ฝั่งลาวมากขึ้น โดยที่ส่งผ่าน ทางจุดผ่านแดนถาวรสามเหลี่ยมทองคาขึ้นเรือไปยังเมืองต้นผึ้ง11 คุณจุรีย์: ไม่มีผลกระทบ แต่กระทบต่อคนลาวเอง การที่นักธุรกิจเอกชนชาวจีนเข้าไปลงทุนในฝั่งลาวนั้น ก็เพื่อ ทรัพยากรมนุษย์ของสปป.ลาวที่ถูก โดยรัฐบาลยอมให้นักธุรกิจชาวจีนเอาพื้นที่ทองคาตรงสามเหลี่ยมเศรษฐกิจ ไปหากาไรในการทาธุรกิจ คนลาวนั้นจริงๆไม่ได้อะไรจากการพัฒนาเลย ซ้ายังโดนย้ายถิ่นอยู่ออกจากแหล่งทา มาหากินด้วยซ้า โดยเฉพาะตรงเกาะดอนซาวที่เคยเป็นตลาดท้องถิ่นของคนลาว เมื่อมีการพัฒนาเกิดขึ้น พ่อค้า ชาวจีนก็เข้าไปแทนที่ และนาสินค้าจีนมาขายแทน ทาให้คนลาวสูญเสียรายได้ตรงนั้น ในระยะยาวก็จะส่งผล กระทบต่อการท่องเที่ยวในเชียงแสน เมื่อนักท่องเที่ยวไม่เห็นความน่าสนใจในการท่องเที่ยวเมื องบ้านต้นผึ้งใน ฝั่งลาวก็จะไม่เข้ามาท่องเที่ยวในเชียงแสนด้วยเช่นกัน นอกจากนั้นยังมีปัญหาเรื่องอาชญากรรม และแหล่งการ พนันที่ประเทศไทยไม่สามารถเข้าไปตรวจสอบได้อีกด้วย12 ประเด็นที่ ๓: การปรับตัวของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว Q: ธุรกิจการท่องเที่ยวมีการปรับตัวอย่างไรบ้าง? คุณพรเลิศ: ในภาคธุรกิจแทบจะไม่มีการปรับตัวมากนัก เนื่องจากเมื่อภาคธุรกิจได้รับข่าวสารการเปลี่ยนแปลง มาจากแหล่งข้อมูลต่างๆ ก็จะมีการปรับตัวทันทีอยู่ตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็นการปรับตัวต่อการเปิดประชาคม เศรษฐกิจอาเซียน การพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษในฝั่งลาว หรือการเกิดขึ้นของโครงการ King Romans ก็ตาม ภาคธุรกิจก็จะพร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ13 คุณวีระศักดิ์: ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจรายใหญ่ หรือธุรกิจรายย่อยก็จะมีการปรับตัวด้วยตนเองอยู่แล้ว สิ่งที่ทาง อาเภอเชีย งแสนเข้าไปช่ว ยเหลื อคื อ การให้ ค วามรู้ ใหม่ๆ และการหาแหล่ งเงิน ทุนเพื่ อพัฒ นาธุรกิ จเพีย ง เท่านั้น14 คุณณัฐวุฒิ: ภาคธุรกิจก็มีการปรับตัวอย่างแข็งขัน เพราะภาคเอกชนมีการเดิ นหน้าอยู่ต่อเนื่องโดยไม่คิดที่จะ รอภาครัฐบาลเข้ามาช่วยเหลือแต่อย่างใด แต่เมื่อมีปัญหาในทางราชการ การเดินเอกสารที่สาคัญก็จะขอความ ช่วยเหลือจากทางรัฐบาล เพื่อลดอุปสรรคในการดาเนินธุรกิจเพียงเท่านั้น หลังจากมีการเปิดตัวของเขต เศรษฐกิจพิเศษในฝั่งลาว ภาคเอกชนก็ได้จับมือกับการท่องเที่ยวของภาคเอกชนในฝั่งลาวเพื่อจัด package 10

อ้างแล้ว คุณณัฐวุฒิ สัมภาษณ์คณ ุ วิภาส 13/06/2557 12 อ้างแล้ว คุณจุรีย์ 13 อ้างแล้ว คุณพรเลิศ 14 อ้างแล้ว นายอาเภอวีระศักดิ์ 11


ร่วม โดยใช้แนวคิดในการมุ่งไปด้านสนับสนุนแหล่งท่องเที่ยว และการเพิ่มจานวนการเข้าพักในสองฝั่ง โดยการ สร้างเครือข่ายโรงแรม ที่พักต่างๆ ร้านอาหาร ฯลฯ15

Q: มีหน่วยงานที่เข้ามาช่วยเหลือ ส่งเสริม และสนับสนุนหรือไม่? คุณณัฐวุฒิ: ทางโขงวิวมีความร่วมมือกับสภาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวอาเภอเชียงแสน สมาคมสหพันธ์การ ท่องเที่ยวอาเภอเชียงแสน และทางอาเภอเชียงแสนอยู่แล้ว16 คุณวิภาส: เคยมีหน่วยงานอย่างการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) เคยเข้ามาส่งเสริม และให้ความรู้ใน ช่วงแรกๆ และมีการจัดงานใหญ่ๆเยอะ เช่น ไตรกีฬาสามเหลี่ยมทองคา แต่ช่วงหลังๆนี้เงียบไปเยอะ17 คุณจุรีย์: เคยเข้าไปร่วมประชุมเกี่ยวกับการท่องเที่ยวในอาเภอเชียงแสนหลายครั้ง มีความรู้สึกว่าการประชุม คือการแค่คุยกัน แต่ไม่มีอะไรปรากฏให้เห็นแน่ชัด เปล่าประโยชน์ เหมือนไม่ได้รู้จริง และทาไม่ได้ นอกจากนั้น กลุ่มที่เรียกไปประชุมนั้น ก็ไม่ใช่กลุ่มที่มีส่วนได้ส่วนเสียในการท่องเที่ยวจริงๆ18 ประเด็นที่ ๔: นโยบาย ยุทธศาสตร์ และความร่วมมือ ในระดับพื้นที่ ระดับจังหวัด ระดับประเทศ และเขต ชายแดน Q: อะไรคือปัญหาสาหรับการท่องเที่ยวในเชียงแสน? ควรที่จะสนับสนุนอย่างไร? คุณวิภาส: ปัญหาของอาเภอเชียงแสนในด้านการท่องเที่ยว ยังหาจุดขายจริงๆไม่ได้ ทาให้ท่องเที่ยวเป็นไป ไม่ได้เต็มรูปแบบ ทั้งๆที่มีทรัพยากรในการท่องเที่ยวเยอะ ไม่ว่าจะเป็นทะเลสาบ แม่น้าสายใหญ่หลายสาย กาแพง วัดเก่า ถ้านักท่องเที่ยวมาเที่ยวก็ต้องใช้เวลาอยู่นานๆ แบบ long weekend ถึงจะเที่ยวจนถึงแก่นของ ประวัติศาสตร์เชียงแสน อย่างไรก็ตาม เชียงแสนมีความได้เปรียบในทุกๆด้านไม่ว่าจะเป็น ท่าเรือที่ขนส่งสินค้า และเดินทางไปยังสปป.ลาว และพม่า ดินแดนสามเหลี่ยมทองคา ทาให้มีความหลากหลายในการประกอบ ธุรกิจ ส่งผลให้การท่องเที่ยวเป็นสัดส่วนของเม็ดเงินเล็กๆเมื่อเทียบกับเม็ดเงินจากการค้าขายผ่านทางชายแดน หรือการปล่อยที่ให้เช่า19

15

อ้างแล้ว คุณณัฐวุฒิ อ้างแล้ว คุณณัฐวุฒิ 17 อ้างแล้ว คุณวิภาส 18 อ้างแล้ว คุณจุรีย์ 19 อ้างแล้ว คุณวิภาส 16


เชียงแสนมีราคาที่ดินสูงมาก และมีค่าเช่าที่สูงเช่นกัน ทาให้ต้นทุนการเริ่มต้นในการทาธุรกิจนั้นสูง อย่างน้อยต้องมีเงินถึงห้าล้านบาทในการลงทุน ทาให้ยากต่อนักธุรกิจหน้าใหม่ที่จะเข้าไปเริ่มทาธุรกิจ และด้วย ราคาค่าเช่าที่สูง จึงทาให้ผู้ที่ถือครองที่ดินเลือกจะปล่อยให้เช่าเพื่อกินค่าเช่าอยู่เฉยๆมากกว่า เข้าไปเสี่ยงในการ ทาธุรกิจ นอกจากนั้น การท่องเที่ยวแบบต่อเนื่องของเมืองชายแดนก็เป็นอุปสรรคสาหรับ Backpacker ที่จะ นั่งรถจากอาเภอเชียงแสนไปยังอาเภอเชียงของ เนื่องจากไม่มีรถประจาทางที่ เข้ามาบริการ ทาให้นักท่องเที่ยว ไม่กล้าที่เข้ามาเที่ยวอย่างจริงจัง คุณจุรีย์: เชียงแสนมีอะไรให้ส่งเสริมหลายอย่าง ที่สามารถให้คนข้างนอกได้รู้จักมากขึ้น สามารถที่จะเป็น ศูนย์กลางของเชียงรายได้เลย โดยการท่องเที่ยวของอาเภอเชียงแสนนั้น รัฐบาลกลางต้องมองลงมาในระดับ ท้องถิ่นให้มาก ไม่ใช่แค่คุยกัน ต้องทั้งถามความคิดเห็น และแบ่งปันความรู้ อะไรที่ธุรกิจในท้องถิ่นรู้ทางรัฐบาล ส่ ว นกลางต้ องรั บ ฟัง อะไรที่ ท้อ งถิ่ น ไม่รู้ รั ฐ บาลกลางก็ต้ องบอก อย่ างที่บ อกว่า การประชุ มเกี่ย วกั บการ ท่องเที่ยวเกิดขึ้นหลายครั้ง แต่ไม่มีการผลักดันที่ถึงที่สุดจริงๆ และมีการเรียกกลุ่มธุรกิจที่มาประชุมไม่ถูกกลุ่ม20 รัฐบาลควรที่จะมีการผลักดันโครงการที่ถูกเสนอไปแล้วให้เกิด อย่างเช่น เขตปลอดภาษี และการเปิด counter ตรงจุดผ่านแดนถาวรให้มีการแลกเปลี่ยนเงินได้ จะช่วยอานวยความสะดวกให้กับนั กท่องเที่ยวมาก ขึ้น อาเภอเชียงแสนควรจะเป็นเหมือนลาตัว เชียงของและแม่สายควรจะเป็นเหมือนแขนทั้งสองข้าง เพราะ เชียงแสนอยู่ตรงกลางระหว่างเมืองชายแดนสองเมือง แทนที่จะมุ่งแต่ไปพัฒนาที่แม่สายอย่างเดียว แม่สายมี ปัญหาเยอะ ไม่ว่าเป็นปัญหาเรื่องการคมนาคม ปัญหาการคอรัป ชั่น ปัญหาขัดแย้งระหว่างชายแดนไทยและ พม่า ทาให้ช่วงหนึ่งนักลงทุนในแม่สายย้ายมาลงที่เชียงแสนเยอะมาก ด้วยเหตุผลว่าแม่สายมีการพัฒนาที่เต็มที่ แล้ว ทางรัฐบาลก็ไม่คิดว่าเหตุการณ์แบบนี้จะเกิดขึ้น เชียงแสนได้เปรียบในทุกด้าน ปัญหาขัดแย้งด้านชายแดน กับลาวก็ไม่มี ตอนนี้ โครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่มีการสร้างโครงการทางรถไฟรางคู่ สายเด่นชัย-เชียงรายเชียงของได้ถูกเสนอ แต่กลับคิดว่าเชียงของไม่ควรจะมีรถไฟเข้าไปถึง ควรจะเข้ามาถึงเชียงแสนมากกว่า เพราะ เชียงของมีการขนส่งด้ว ยรถยนต์ที่ส ะดวกอยู่แล้ ว แต่เชียงแสนมีท่าเรือ รถไฟควรที่จะอยู่คู่กับท่าเรือ เพื่อ เชื่อมต่อการขนส่งคน และสินค้า จะช่วยลดปัญหาคมนาคมทางบก และยังสามารถต่อไปอย่างเมืองชายแดน อย่างแม่สายได้ใกล้กว่าเชียงของ หากเชียงแสนมีการบริการจัดการทางภาครัฐที่ดี ควรเพิ่มการรับประกันความมั่นคง และการป้องกัน ความเสี่ยงให้แก่นักลงทุนมากขึ้น และผลักดันให้เกิด Model เชิงพื้นที่ของเชียงรายมายังเมืองชายแดน เพราะ เงินลงทุนนั้นรออยู่ชายแดนเยอะ และพร้อมที่จะลงทุนเมื่อเห็นโอกาส และความสะดวกสบาย นอกจากนั้นควร เพิ่มความง่ายในการตรวจคนเข้าเมือง และพิธีการทางศุล กากรต้องมีความกระชับ และลดขั้นตอนลง และควร อยู่ที่เดียวกัน เรียกว่าเป็น One Stop Service และให้เพื่อนบ้านอานวยความสะดวกมากขึ้น เพราะตอนนี้ เพื่อนบ้านสามารถเข้าบ้านเราได้ง่าย แต่ประเทศจีน กลับไม่อนุญาตให้คนไทยเข้าไปยังยู นนาน หรือประเทศ ลาวก็เก็บค่าธรรมเนียมในการเข้าประเทศสูงเกิน เมื่อเปิดประชาคมอาเซียนควรที่จะมีความเท่าเทียมมากขึ้น จนกระทั่งไม่มีต้นทุนในการเข้าประเทศเลย

20

อ้างแล้ว คุณจุรีย์


การเลือกผู้แทนในอาเภอเชียงแสนก็เป็นปัญหา เมื่อผู้ว่าที่ถูกเลือกอยู่ได้เต็มที่ไม่เกิน 1 ปี อย่างเช่น นายอาเภอในเชียงแสนนั้นอยู่ได้หนึ่งปีก็ออก ยังไม่ทันได้คิด หรือทาอะไร ได้แต่รับนโยบายมากจากส่วนกลางที่ ไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอมาใช้ Q: ทางอาเภอเชียงแสนมีนโยบายอะไรที่เข้ามาส่งเสริมการท่องเที่ยวในอาเภอเชียงแสนหรือไม่? คุณวีระศักดิ:์ ภาครัฐบาล และภาคธุรกิจในท้องถิ่นได้มีการประชุมร่วมกัน เพื่อแบ่งพื้นที่ในเชียงแสนเพื่อให้เกิด การเติบโตร่วมกันในทุกๆภาคส่วน ทาเป็น road map อนุภูมิภาคลุ่มแม่น้าโขงของอาเภอเชียงแสนโดยเฉพาะ โดยแบ่งออกเป็น 4 โซน ได้แก่ โซนแรกจะเป็นโซนเกี่ยวกับการเกษตรอยู่ที่ตาบลแม่เงิน โซนที่สองจะโซนของ โบราณสถาน เมืองเก่า กาแพงเมืองอยู่ที่ตาบลเวียง โซนที่สามจะเป็นโซนของ modern trade อยู่ตรงสาม แยกโขงวิว และโซนสุดท้ายจะเป็นโซนของสินค้านานาชาติที่มาจากจีนตอนใต้ และประเทศเพื่อนบ้านอยู่ตรง สามเหลี่ยมทองคา และมีความร่วมมือกับทางบ้านต้นผึ้งที่จะเชื่อมโยงเขตเศรษฐกิจพิเศษของทั้งสองฝั่งอีก ด้วย21 สรุปแต่ละประเด็นของการท่องเที่ยวในเชียงแสน ประเด็ น ที่ ๑: การเติ บ โตของอุ ต สาหกรรม  การท่องเที่ยวในเชียงแสนมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง แต่ การท่องเที่ยวในอาเภอเชียงแสน ไม่ถึงขั้นก้าวกระโดด อาจเป็นเพราะการท่องเที่ยวของ เชียงแสนเป็นเชิงประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรม ทาให้ไม่ สามารถพัฒนาการท่องเที่ยวให้เต็มรูปแบบได้ จึงเป็น เหมือนดาบสองคมที่เป็นทั้งโอกาส และอุปสรรค  ปริมาณนักท่องเที่ยวโดยรวมลดลงอย่างมากจากแต่ก่อน แต่ปริมาณนักท่องเที่ยวที่เป็นชาวต่างชาติลดลงมากเป็น พิเศษ โดยเฉพาะกลุ่มที่เป็น Backpacker อาจเป็น เพราะปัจจัยหลายๆอย่าง เช่น สถานการณ์ทางการเมือง ที่ไม่มั่นคง การที่ไม่มีรถโดยสารจากเชียงของไปเชียง แสน การที่แหล่งท่องเที่ยวอื่นดูน่าสนใจมากกว่าอย่าง อาเภอแม่สาย ค่าเงินบาทที่แข็งขึ้น และวิกฤตเศรษฐกิจ ในยุโรปกับสหรัฐอเมริกา  ระยะเวลาในการพักอาศัยก็ลดน้อยลง โดยที่ส่วนมาก นักท่องเที่ยวจะพักแค่คืนสองคืนเพื่อที่จะต่อไปยังอาเภอ แม่ ส าย ไม่ ไ ด้ อ ยู่น าน ท าให้ ก ารท่ อ งเที่ ย วแบบ long weekend แทบจะไม่มีให้เห็นมากนัก ประเด็นที่ ๒: ผลกระทบจากการพัฒนาเขต  การพัฒนาเขตเศรษฐกิจในฝั่งลาวไม่ได้มีผลกระทบกับ เศรษฐกิจพิเศษในฝั่งลาว การท่องเที่ยวในเชียงแสนในเชิงลบ แต่เป็นโอกาสใน 21

อ้างแล้ว คุณวีระศักดิ์


ประเด็นที่ ๓: การปรับตัวของอุตสาหกรรม การท่องเที่ยว

ประเด็นที่ ๔: นโยบาย ยุทธศาสตร์ และ ความร่วมมือ ในระดับพื้นที่ ระดับจังหวัด ระดับประเทศ และเขตชายแดน

 

การเพิ่มรายได้ให้กับธุรกิจการท่องเที่ยวเสียมากกว่า ทา ให้ เ กิ ด การเชื่ อ มความสั ม พั น ธ์ ร ะหว่ า งเขตเศรษฐกิ จ พิ เ ศษในบ้ า นต้ น ผึ้ ง ทั้ ง ในระดั บ อ าเภอ ต าบล และ หน่ ว ยงานที่ เ กี่ ย วข้ อ งของทางรั ฐ บาล รวมถึ ง ความ ร่วมมือระหว่างภาคเอกชนด้วยกัน แต่ผลกระทบในเชิง ลบนั้นเกิดในทางสังคมมากกว่า ทาให้ภาพลักษณ์ของ เชียงแสนในระยะยาวอาจถูกมองว่าเป็นเมืองทางผ่านไป ยังบ่อนคาสิโนในฝั่งลาว ภาคธุรกิจด้านการท่องเที่ยวมีการปรับตัวอยู่สม่าเสมอ เมื่อได้รับข่าวสาร ที่ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนแปลงทาง เศรษฐกิจ การเมือง หรือสังคม ก็จะปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ เพื่อให้เท่าทันกับการเปลี่ยนแปลง เช่น การที่โรงแรม หรือที่พักมีการจ้างพนักงานที่สามารถพูดได้หลายภาษา เพื่อรองรับนักท่องเที่ยวที่เป็นชาวต่างชาติมากขึ้น จึงไม่ เป็นปัญหาสาหรับภาคธุรกิจการท่องเที่ยวในการปรับตัว มาก ทั้งนี้ยังมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น สภาอุตสาหกรรม การท่ อ งเที่ ย วอ าเภอเชี ย งแสน สมาคมสหพั น ธ์ ก าร ท่องเที่ยวอาเภอเชียงแสน เข้ามาส่งเสริม และสนับสนุน ให้ เ กิ ด การท่ อ งเที่ ย วที่ ห ลากหลายมากขึ้ น และทาง อาเภอเชี ย งแสนยั งได้ ใ ห้ การสนับ สนุ น ในด้ า นการให้ ความรู้ และแหล่งเงินทุนแก่นักธุรกิจรายย่อย ภาคธุ ร กิ จ การท่ อ งเที่ ย วต้ อ งการให้ มี ก ารสนั บ สนุ น มี ภาครัฐบาลมีการพูดคุยกับนักธุรกิจในท้องถิ่นให้มากขึ้น โดยควรรับฟังความคิดเห็นกันและกัน รั ฐ บาลควรอ านวยความสะดวกให้ แ ก่ นั ก ท่ อ งเที่ ย ว โดยเฉพาะการข้ ามจากฝั่ ง ไทยไปฝั่ ง ลาว เช่ น การลด ขั้นตอน และระยะเวลาในการทา Border pass หรือ ขยายวันในการอยู่ทฝี่ ั่งลาวให้นานขึ้น การเปิด counter ที่สามารถแลกเปลี่ยนเงินไทยเป็นเงินลาว หรือเงินสกุล อื่นๆได้ที่ด่านได้ รวมถึงช่วยผลักดันให้เกิดเขตเศรษฐกิจ พิเศษและ One Stop Service ในการผ่านด่านให้ เกิดขึ้น นอกจากนั้น ระบบราชการควรที่จะเปลี่ยนระยะเวลา ของการดารงตาแหน่งของผู้แทนให้ นานขึ้น จาก 1 ปี เป็น 4 ปี เพื่อให้โครงการต่างๆมีความต่อเนื่อง และมี ประสิทธิภาพมากขึ้น


 ปัจจุบัน ทางอาเภอเชียงแสนได้มีนโยบายที่เป็น road map ระยะยาวเพื่อดาเนินการพัฒนาการท่องเที่ยวของ เชียงแสนให้เป็นรูปเป็นร่างมากขึ้น โดยมีจัดระเบียบ เมืองให้เป็นสัดเป็นส่วน ง่ายต่อการจัดการ ตรวจสอบ และบริหารมากขึ้น การท่องเที่ยวของเชียงแสนได้โ ดนเปลี่ยนแปลงรูปแบบของการท่องเที่ยวไปมาก ทั้งที่สิ่งที่จะเป็น โอกาสกลับกลายเป็นวิกฤตสาหรับผู้ประกอบการการท่องเที่ยว ไม่ว่าจะเป็นเอกลักษณ์ของเชียงแสนเองที่ทาให้ ไม่สามารถทาตลาดการท่องเที่ยวสมัยใหม่ได้อย่างไม่เต็มที่ หรือการที่เทคโนโลยีการสื่อสารและสารสนเทศก้าว ไกลจนสามารถลดต้นทุนทางธุรกรรมในการท่องเที่ยวของกลุ่มนักท่องเที่ยว เมื่อนักท่องเที่ยวสามารถติดตาม ผลตอบรับจาก Social Media และเว็บไซต์จัดนาเที่ยว ก็จะทาให้ตัวเลือกในการท่องเที่ยวมากขึ้น หรือจะ เรียกว่ามีความหลากหลายในความพึงพอใจต่อระบบการท่องเที่ยวมากขึ้นนั้นเอง อาจจะทาให้การมาพัก หรือ เที่ ย วเชี ย งแสนเป็ น ตั ว เลื อ กที่ไ ม่ คุ้ ม ค่ า กั บ การแวะเวี ย นมาเมื่ อ มี ตั ว เลื อ กที่ดี ก ว่ า ทางหน่ว ยงานไม่ ว่ า จะ ภาครัฐบาล หรือเอกชนในพื้นที่พยายามที่จะผลักดันการเที่ยวแบบ Package Tour ที่ได้ทาความร่วมมือกับ ทางประเทศลาว ให้เกิดการนาเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม และวิถีชีวิตซึ่งมีความเชื่อมโยงกัน แต่ผลที่ จะออกมากลายเป็นเรื่องของอนาคตว่าจะสามารถตอบสนองความต้องการที่ เลื่อนไหลอย่างรวดเร็ว ของกลุ่ม นั ก ท่ องเที่ ย วได้ ห รื อ ไม่ ฉะนั้ น การสนั บ สนุ นของทางหน่ว ยงานที่ เกี่ ย วข้อ ง ทั้ง ภาครั ฐ และเอกชนควรให้ ความสาคัญกับการท่องเที่ยวในรูปแบบใหม่ๆมากขึ้น เช่น 1) Business Tour 22 ซึ่งแนวโน้มของการท่องเที่ยวในเชียงแสน กลับมีกลุ่มของนักธุรกิจ นักวิจยั นักวิชาการ หรือกลุ่มของนักวิชาการที่มาพักอาศัย และท่องเที่ยวในเชียงแสนเพิ่มมากขึ้น 2) 2) Incentive Tour 23 โดยการรับเหมาแต่ละบริษัท หรือหน่วยงาน และสร้างเครือข่ายการท่องเที่ยวที่ ครบวงจร ตั้งแต่รถตู้ ที่พัก ร้านอาหาร และธุรกิจนาเที่ยว 3) 3) Meeting Convention and Exhibition 24 ในอนาคตเชียงแสนจะมีท่าเรือที่นาสินค้ามาจัดแสดง และเป็นแหล่งกระจายสินค้า ฉะนั้นนิทรรศการ และงานแสดงต่างๆจะเกิดขึ้นอย่างแน่นอน 4) Special – Interest Group Tour 25 เชียงแสนมีโบราณสถานเก่าแก่ มีนกพันธุ์หายากให้ชมที่ ทะเลสาบ มีการจัดแข่งไตรกีฬาสามเหลี่ยมทองคา จึงเป็นโอกาสให้ธุรกิจท่องเที่ยวสร้างรายได้โดยตรง จากความสนใจเฉพาะเหล่านี้ได้เป็นอย่างดี รู ป แบบการท่องเที่ย วของเชีย งแสนไม่ควรที่จะมีรูปแบบที่ตายตัว หรือ พยายามที่จะกระตุ้นการ ท่องเที่ยวแบบเดิม ไม่ว่าจะด้วยสถานการณ์การเมืองที่ไม่สงบ การที่ค่าเงินบาทแข็งค่า หรือภาวะเศรษฐกิจของ 22

เป็นการเดินทางของนักธุรกิจ ที่มเี ป้าหมายไม่ว่าจะเป็นการไปประชุม ไปร่วมสัมมนา เจรจาธุรกิจ หรือแม้แต่การพักผ่อน หย่อนใจ ซึ่งในประเทศอุตสาหกรรม รายได้จากท่องเที่ยวในประเภทนี้จะสูงมาก เพราะมีการเดินทางอยู่ตลอดเวลา ไม่ขึ้นกับ ฤดูกาล และมีกาลังซื้อที่สูง 23 เป็นการท่องเที่ยวที่หน่วยงาน หรือบริษัทจัดให้แก่พนักงานบริษัท หรือลูกค้าเพื่อตอบแทนแก่ผู้ให้ผลประโยชน์ อาจมี จุดประสงค์เพื่อพักผ่อนหย่อนใจ หรือการทาธุรกิจร่วม 24 เป็นการท่องเที่ยวที่มีจุดประสงค์เพื่อเข้าร่วมประชุมสัมมนา นิทรรศการ หรือชมการแสดงโดยเฉพาะ 25 เป็นการท่องเที่ยวเฉพาะความสนใจ ที่มีจุดประสงค์เพื่อทากิจกรรมใดกิจกรรมหนึ่งเป็นพิเศษ เช่น ไปชมการแข่งขันกีฬา การเที่ยวชมธรรมชาติ การเดินป่า การชมโบราณสถาน เป็นต้น


ยุโ รปและอเมริ กา ควรที่จ ะใช้โ อกาสการที่ไทยเป็นประเทศอุตสาหกรรมใหม่ (Newly Industrialized Countries) และเชียงแสนเป็นประตูชายแดน ในการผลักดันในด้านอื่นๆของการท่องเที่ยวให้สอดคล้องกับการ เติบโตของอุตสาหกรรมการผลิต เพื่อส่งผลให้เกิดการเติบโตร่วม (Inclusive Growth) ระหว่างตลาดสินค้า และตลาดบริการ นอกจากนั้น ในกรณีที่การท่องเที่ยวแบบเดิมไม่สัมฤทธิ์ผล เพื่อกระจายความเสี่ยงของธุรกิจ การท่องเที่ยวในประเภทต่างๆที่ได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอก เนื่องจากเป็นปัจจัยที่ควบคุมไม่ได้ หรือ คาดการณ์ไม่ได้ จึงต้องสร้างความร่วมมือที่เข้มแข็ งให้เชียงแสนมีการท่องเที่ยวที่มีความหลากหลายมากขึ้น และติดตามข่าวสารให้เท่าทัน เพื่อปรับตัวให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองที่แปร ผันตามกาลเวลา พลิกวิกฤตให้กลายมาเป็นโอกาส เพื่อเสริมสร้างเศรษฐกิจที่ยั่งยืน (Sustainable Economy)



เอกสารอ้างอิง ภันฑิลา วิชาโห้ง. แนวทางพัฒนาการตลาดนักท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมเมืองเชียงแสนจังหวัดเชียงราย. มหาวิทยาลัยนเรศวร. วรียา หยึกประเสริฐ. การลงทุนและพัฒนาเขตเศรษฐกิจการค้าและบริการของจีน ในเขตเมืองต้นผึ้ง สปป. ลาว: วิกฤตหรือโอกาส. สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ ผู้ให้สัมภาษณ์ภาครัฐบาล คุณวีระศักดิ์ สิริสิทธิ์ (นายอาเภอเชียงแสน) 12/06/2557 ผู้ให้สัมภาษณ์ภาคเอกชน คุณณัฐวุฒิ รัศมีจันทร์ (เจ้าของโครงการโขงวิวพลาซ่า และโขงวิวสเตชั่น) 12/06/2557 คุณพรเลิศ พรหมปัญญา (เจ้าของท่าเรือเหนือสยาม) 12/06/2557 คุณวิภาส สกุลพาณิชย์เจริญ (เจ้าของธุรกิจร้านกาแฟมองดูน้า) 13/06/2557 คุณจุรีย์ (เจ้าของธุรกิจจินแม่โขงวิวรีสอร์ทแอนด์สปา) 14/06/2557

สานักงานเศรษฐกิจชายแดนและโลจิสติกส์ (Office of Border Economy and Logistics: OBELS) มีหน้าที่ ดาเนินงานด้านการรวบรวมข้อมูลและวิจัยทางด้านเศรษฐกิจการค้าชายแดนและโลจิสติกส์ เพื่อนาไปสู่การยกระดับ องค์ความรู้ที่เป็นฐานสาคัญของประเทศไทย ซึ่งส่งผลต่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และการสร้างความสามารถใน การแข่งขันของประเทศและยกระดับคุณภาพชีวิตในสังคม Office of Border Economy and Logistics (OBELS), Mae Fah Luang University, 333 Moo 1, Tasud, Muang, Chiang Rai, Thailand. Tel. 6653916680 Email: obels.mfu@gmail.com.


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.