No. 5, March 2014 แนวโน้มนโยบายส่งเสริมการลงทุนในอาเภอเชียงของ จังหวัดเชียงรายในอนาคต* FUTURE INVESTMENT PROMOTION POLICIES AT CHIANG KHONG, CHIANG RAI ณัฐพรพรรณ อุตมา ธิดารัตน์ บัวดาบทิพย์ การเปลี่ยนแปลงพื้นที่ชายแดนเชียงของที่มาพร้อมกับพลวัตของการสร้างความร่วมมือทางเศรษฐกิจกับ ประเทศต่างๆ โดยเฉพาะความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้าโขง ความร่วมมือทางเศรษฐกิจอาเซียนจีนว่าด้วยเขตการค้าเสรีอาเซียน-จีน และการจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ท้าให้เชียงของกลายเป็นพื้นที่ ชายแดนที่มกี ารพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่สามารถเชื่อมต่อกับประเทศต่างๆ ที่อยู่ในภูมิภาคเดียวกัน มีการเติบโต ของการค้าสินค้าและบริการข้ามพรมแดน รวมทั้งมีการขยายตัวของการเคลื่อนย้ายทรัพยากรการผลิต แรงงาน และเงินทุนข้ามพรมแดน และแม้ว่าพลวัตเศรษฐกิจชายแดนดังกล่าว ท้าให้เกิดการขยายตัวทางเศรษฐกิจในระยะ ที่ผ่านมา แต่ก็อาจก่อให้เกิดผลกระทบทางลบต่อสังคม วัฒนธรรม ชุมชน และสิ่งแวดล้อมของเมืองเชียงของได้ เช่นเดียวกัน จากเหตุผลดังกล่าว ยุทธศาสตร์การพัฒนาเมืองเชียงของอย่างมีดุลยภาพและยั่งยืน “หนึ่งเมืองสอง แบบ” จึงได้ถือก้าเนิดขึ้นจากการมีส่วนร่วมของประชาชนคนชาวเชียงของ นัยส้าคัภภายใต้ยุทธศาสตร์ดังกล่าว ได้แก่ การก้าหนดพื้นที่และรูปแบบการพัฒนาที่แตกต่างกันแต่สอดคล้องกันของเมืองเชียงของเก่าและเมืองเชียง ของใหม่ นั่นคือเขตตัวเมืองชั้นในของเมืองเชียงของหรือเขตเมืองเก่า (Old Town) เน้นการเป็นฐานการผลิตทาง เศรษฐกิจการค้าและการท่องเที่ยวแบบเดิม ขณะที่เขตเชียงของเมืองใหม่ (New Town) ครอบคลุมพื้นที่บริเวณ สะพานมิตรภาพไทย-ลาวแห่งที่ 4 (เชียงของ-ห้วยทราย) และพื้นที่ที่เชื่อมต่อโดยรอบ เน้นการพัฒนาเศรษฐกิจ การค้า การลงทุน และการบริการขนส่งที่เชื่อมต่อประเทศต่างๆในภูมิภาคเดียวกัน ซึง่ เชื่อว่ายุทธศาสตร์นี้จะมี อิทธิพลโดยตรงต่อการก้าหนดนโยบายการส่งเสริมการลงทุนในพื้นที่เชียงของทั้งเขตเมืองเก่าและเขตเมืองใหม่ *
บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของงานวิจัย เรื่อง “นโยบายส่งเสริมการลงทุน อ้าเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย” ภายใต้ชุด โครงการวิจัย เรื่อง “การจัดการพื้นที่ชายแดน” ซึง่ ได้รับทุนสนับสนุนจาก สกว . ฝ่ายนโยบายชาติและความสัมพันธ์ข้าม ชาติ (ฝ่าย 1) 1
อนึ่งในปัจจุบัน เมืองเชียงของถือว่าเป็นเมืองชายแดนที่มีความน่าสนใจในการลงทุนอย่างมาก นับตั้งแต่มี การด้าเนินงานก่อสร้างสะพานมิตรภาพไทย-ลาวแห่งที่ 4 จวบจนกระทั่งมีการเปิดใช้สะพานอย่างเป็นทางการเมื่อ ปลายปี 2556 การได้รับอนุมัติจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมเชียงของที่เน้นอุตสาหกรรมบริการรองรับโลจิสติกส์ ในปี 2549 รวมทั้ง การได้รับอนุมัติเห็นชอบให้เมืองเชียงของเป็นหนึ่งในพื้นที่ที่มีศักยภาพในการเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษ ของเชียงราย ที่มีบทบาทของการเป็นเมืองโลจิสติกส์และบริการขนส่งและเมืองแวะผ่านส้าหรับนักท่องเที่ยว (Logistics city) ในปี 2556 อย่างไรก็ตามเมื่อพิจารณาถึงสถานภาพการลงทุนของเชียงของในระยะที่ผ่านมา พบว่า การลงทุนมีการเปลี่ยนแปลงอย่างมาก เดิมนักลงทุนในเมืองเชียงของจะเป็นนักลงทุนท้องถิ่นที่ประกอบ ธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก ประเภทการค้าปลีก/ค้าส่ง และ การท่องเที่ยวเป็นหลัก และมีระบบการบริหาร จัดการแบบครอบครัวที่อาศัยภูมิปัภภาท้องถิ่นมาประยุกต์ใช้ แต่ในปัจจุบัน นักลงทุนที่หลั่งไหลเข้ามาในเมืองเชียง ของล้วนเป็นนักลงทุนจากต่างถิ่นและต่างประเทศที่มีขนาดการลงทุนในระดับกลางและระดับใหภ่ เน้นประกอบ ธุรกิจบริการโลจิสติกส์เป็นหลัก และมีรูปแบบบริการจัดการที่เป็นระบบ อย่างไรก็ตาม แม้ว่าสาเหตุของการเปลี่ยนแปลงสถานภาพการลงทุนในเมืองเชียงของข้างต้น จะเกิดขึ้น เนื่องจากการพัฒนาเส้นทางเชื่อมต่อระหว่างชายแดนประเทศไทยและลาว และมีการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมเชียง ของ แต่อาจจะยังไม่ใช่เหตุผลทั้งหมดที่มีต่อการเปลี่ยนแปลงด้านการลงทุน ดังนั้น การทบทวนถึงสัภภาณการ เปลี่ยนแปลงเชียงของที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงกิจกรรมทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะการลงทุนของพื้นที่ชายแดนแห่ง นี้ จึงเป็นสิ่งที่ควรด้าเนินการในเบื้องต้น ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อภาครัฐและเอกชนที่จะได้น้าหาแนวทางการส่งเสริม การลงทุนที่เหมาะสมกับเมืองชายแดนเชียงของต่อไป
ภาพถ่ายบริเวณสะพานมิตรภาพไทย-ลาวแห่งที่ 4 (เชียงของ-ห้วยทราย) ถ่ายโดย: ณัฐพรพรรณ อุตมา เมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2557 2
คุณยอดฤทัย เรวรรณ์ สมาชิกสภาเทศบาลเวียงเชียงของ Q: เมืองเชียงของได้มีแนวทางในการวางผังเมืองไว้อย่างไรบ้าง คุณยอดฤทัย: ภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้องได้ร่วมกันร่างผังเมืองเชียงของ ซึ่งอยู่ภายใต้แผนพัฒนาเขตเศรษฐกิจ พิเศษเชียงของ โดยท้าการรวบรวมศักยภาพของแต่ละหมู่บ้าน แต่ละต้าบล แต่ละท้องถิ่น ว่าต้องการท้าอะไรบ้าง อยากพัฒนาตรงจุดไหนบ้าง แล้วน้ามาใช้ในการวางยุทธศาสตร์ของพื้นที่นั้นๆ เพื่อท้าให้เกิดการมีส่วนร่วมในการ วางแผนการพัฒนาตามความต้องการแต่ละพื้นที่ อย่างแท้จริง ส่วนการเข้ามาประกอบกิจการของคนนอกพื้นที่ก็ จะต้องมีขอบเขต เช่น การประกอบกิจการโรงงานอุตสาหกรรม โรมแรมระดับใหภ่ๆ จะต้องสอดคล้องกับแผน ยุทธศาสตร์ ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องก็จะต้องร่วมมือกัน การลงทุนขนาดใหภ่ในพื้นที่ตัวเมืองเชียงของเก่า จะไม่ได้ รับอนุภาต ในผังเมืองจะระบุชัดเจนเกี่ยวกับการใช้พื้นที่เชียงของเมืองเก่าและเมืองใหม่ “หนึ่งเมืองสองแบบของ อ้าเภอเชียงของ” ในเขตเชียงของเมืองเก่า จะอนุรักษ์แบบเมืองเก่า โดยเฉพาะอนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณีเก่าๆ ของเราไว้
ภาพถ่ายบริเวณด้านหน้าโครงการศูนย์การค้าชายแดนเชียงของเมืองใหม่ ต.สถาน อ.เชียงของ ถ่ายโดย: ณัฐพรพรรณ อุตมา เมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2557
3
คุณธนิสร กระฎุมพร ประธานหอการค้าอาเภอเชียงของ Q: เชียงของมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไรบ้างในระยะที่ผ่านมา คุณธนิตสร: ในช่วงปี 2556-2557 เป็นช่วงที่เมืองเชียงของมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว มีการเข้ามาลงทุนอย่าง มากมาย โดยเฉพาะด้านโลจิสติกส์ นักลงทุนที่ซื้อที่ ดินส่วนใหภ่น้ามาประกอบธุรกิจด้านโลจิสติกส์ ใครลงทุนก่อน คนนั้นได้เปรียบ แต่นักลงทุนไม่ได้มองถึงปัภหาที่เกิดขึ้นในพื้นที่เลย มองเพียงแต่ว่าเมื่อลงทุนไปแล้ว ต้องด้าเนิน ธุรกิจให้อยู่ได้ นอกจากนีท้ างบริษัทยังได้รับการสนับสนุนจากการนิคมอุตสาหกรรมเชียงของอีกด้วย Q: เชียงของมีการวางผังเมืองและแผนยุทธศาสตร์อย่างไรบ้าง และคนเชียงของได้รับทราบข้อมูลนี้หรือไม่ คุณธนิตสร: อ้าเภอเชียงของได้วางแผนยุทธศาสตร์ของการเป็น 1 เมือง 2 แบบ เขตเชียงของชั้นในจะเป็น Old town เขตรอบนอกจะเป็น New town อยู่ในแผนยุทธศาสตร์เขตเศรษฐกิจพิเศษ เชียงของจะเน้นการท่องเที่ยว และโลจิสติกส์ แผนยุทธศาสตร์ฯนี้ ได้ท้าการเผยแพร่ ประชาสัมพันธ์ ท้าประชาคมทุกพื้นที่ ทั้งนายก กลุ่ม NGO ได้มีการเข้าไปส้ารวจความต้องการของชาวบ้านในพื้นที่ และได้มีการวางแผนส่งเสริมในเบื้องต้น กลุ่ม NGO ก็ได้ลง พื้นที่ภาคสนาม ท้ารายงานสรุปเกี่ยวกับความต้องการของคนในพื้นที่ รายงานทั้งหมดจะถูกส่งมาที่อ้าเภอ หลังจาก นั้นจะมีการแบ่งงานไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมไปถึงการจัดสรรงบประมาณ ส่วนเรื่องการส่งเสริมการลงทุนใน อ.เชียงของ ทางหอการค้าก็มีการชักชวนนักลงทุนให้เข้ามาลงทุนในพื้นที่เพิ่มมากขึ้น Q: คนชาวเชียงของส่วนใหภ่รับรู้ถึงยุทธศาสตร์และการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นมากน้อยแค่ไหน คุณธนิตสร: คนเชียงของยอมรับในการเปลี่ยนแปลง คือยอมรับในการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น คนพื้นที่ต้องได้อะไรบ้าง แม้ว่านักลงทุนอาจจะเสียผลประโยชน์บางตัว แต่เราก็ยอมรับ เราไม่ได้มองแค่ตัวเราเอง Q: ตอนนี้ทางหอการค้าเชียงของได้ท้าความร่วมมือทางเศรษฐกิจกับทางหอการค้าทางฝั่งลาวอย่างไรบ้าง คุณธนิตสร: ความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างไทย-ลาว มีความสัมพันธ์กันตลอด ทางแขวงห้วยทราย ถ้าเทียบกับ เชียงรายคือ อ.เมือง และทางห้วยทรายก็มีชื่อเป็น จ.ห้วยทราย ความร่วมมือทางเศรษฐกิจจะท้าในนาม จ.เชียงราย กับ แขวงบ่อแก้ว อย่างไรก็ตามความแตกต่างของต้าแหน่งข้าราชการลาวและไทย ก็ท้าให้ความร่วมมือระหว่าง พื้นที่ชายแดนออกมาเป็นประเด็นระหว่างประเทศ ไม่ใช่ประเด็นด้านชายแดน เชียงของอยากให้หน่วยงานใน ท้องถิ่นสามารถออกกฎหมายปกครองดูแลตัวเองในพื้นที่ ได้ ปัจจุบันเชียงของก้าลังจะเริ่มร่าง MOU ระหว่างเมือง ชายแดนเชียงของ-ห้วยทราย ซึ่งต้องระดมบุคลากรจากหน่วยงานต่างๆ ของจ.เชียงราย เนื่องจากเชียงของยังมี ข้อจ้ากัดด้านบุคลากรในการด้าเนินการ 4
คุณสงวน ซ้อนกลิ่นสกุล รองประธานหอการค้าจังหวัดเชียงราย ฝ่ายอนุภูมิภาคลุ่มแม่นาโขงและพัฒนาระบบโลจิสติกส์ Q: ภาพรวมของการค้า การลงทุนเชิงพื้นที่ และการเป็นผู้ประกอบการในพื้นที่ อ.เชียงของมีการเปลี่ยนแปลง อย่างไรบ้าง คุณสงวน: สิ่งที่มาเปลี่ยนแปลงเชียงของในช่วง 4-5 ปีที่ผ่านมาคือการสร้างเส้นทาง R3A ท้าให้ทางเลือกในการ ขนส่ง การคมนาคม และโลจิสติกส์มีมากขึ้น และเมื่อสะพานมิตรภาพไทย-ลาวแห่งที่ 4 เชื่อมต่อแล้ว ท้าให้การ ขนส่งระหว่างเชียงของ-ห้วยทราย เปลี่ยนมาใช้สะพานมากขึ้น แต่การใช้สะพานในปัจจุบันยังมีอัตราค่าใช้จ่ายที่สูง มาก คนที่จะเข้ามาท้าธุระส่วนตัวในอ้าเภอเชียงของ เมื่อค้านวณค่าใช้จ่ายดูแล้วก็ไม่คุ้มที่จะข้ามมา เพราะฉะนั้น คนที่จะข้ามมาก็จะเป็นนักธุรกิจที่มีความต้องการในการซื้อสินค้าและสามารถขนส่งกลับไปถึงที่หมายได้อย่าง รวดเร็ว สิ่งที่เราได้รับเพิ่มเติมคือ ด้านการท่องเที่ยวที่เติบโตขึ้นทุกๆปี เป็นกลุ่มนักท่องเที่ยวไทยที่เดินทางไปยังจีน ตอนใต้และกลุ่มนักท่องเที่ยวต่างชาติที่ต้องการข้ามไปประเทศลาว เชียงของจึงเป็นแค่ทางผ่าน อาจจะมาพักค้าง แรมแค่หนึ่งคืนเพื่อเตรียมเอกสารข้ามแดน ในปัจจุบันร้านอาหาร โรงแรม เกสเฮ้าส์เหล่านั้น ก็จะอยู่ได้ด้วยกลุ่ม นักท่องเที่ยวเหล่านี้ Q: ในส่วนของค่าใช้จ่ายที่ใช้ในการข้ามแดนที่ยังสูงอยู่ เราจะสามารถก้าหนดราคาเองได้หรือไม่ คุณสงวน: ปัจจุบันค่าใช้จ่ายข้ามสะพานมิตรภาพไทย-ลาวแห่งที่ 1-3 มีค่าใช้จ่ายทีต่ ่้ากว่าเรามาก แต่เชื่อว่าใน ระยะแรกก็อาจจะเจอปัภหาเช่นเดียวกัน หากมีการเจรจากันระหว่างเมืองชายแดนเชียงของ-ห้วยทราย ก็อาจจะมี การปรับราคาที่เหมาะสมได้ ทางหน่วยงานภาคเอกชนในเชียงของ ก็จะน้าส่งข้อมูลนี้ไปสู่ระดับจังหวัด และระดับ จังหวัดก็ส่งต่อให้กับหน่วยงานที่มีอ้านาจในการตัดสินใจน้าไปด้าเนินการต่อไป บางครั้งอาจจะต้องใช้การเจรจา ระหว่างหน่วยงานในระดับประเทศ Q: ปัจจุบันมีการท้าความร่วมมือทางเศรษฐกิจในระดับเมืองชายแดนเชียงของ-ห้วยทรายหรือไม่ คุณสงวน: มี แต่ปัภหาของการท้าความร่วมมือฯ ระดับเมืองชายแดนตอนนี้ คือความแตกต่างของการใช้อ้านาจใน การตัดสินใจ ทางประเทศลาว เลขาธิการพรรคของแขวงเป็นทั้งเจ้าแขวง และมีอ้านาจเทียบเท่ารัฐมนตรี ซึ่งถ้าจะ มีการเจรจาระหว่างพรมแดนก็จะต้องติดต่อผ่านกระทรวงการต่างประเทศ แต่ทางเชียงของต้องการให้เป็นการ เจรจาระหว่างท้องถิ่น เพราะการติดต่อผ่านระดับจังหวัดไปจนถึงระดับประเทศต้องใช้เวลาพอสมควร ตอนนี้มี สนธิสัภภาหรือ MOU หลายอย่างที่จะต้องด้าเนินการ ซึง่ ท้าให้ประเทศไทยเสียโอกาสหลายๆ อย่างไป 5
Q: แนวโน้มการใช้อ้านาจการตัดสินใจท้าความร่วมมือทางเศรษฐกิจของเมืองชายแดนจะมีการเปลี่ยนแปลงหรือไม่ คุณสงวน: ในมุมมองของภาคเอกชน ผลกระทบที่เกิดขึ้นกับทางฝั่งไทยก็มักจะส่งผลกระทบถึงทางฝั่งลาวเสมอ ตอนนี้ธุรกิจทางฝั่งลาวก็เริ่มซบเซาลงไปบ้างแล้ว หอการค้าเชียงรายพยายามสร้างความสัมพันธ์ระหว่างหน่วยงาน ภาคเอกชนของทั้งทางฝั่งไทยและลาว โดยน้าผลกระทบที่เกิดขึ้นเข้าสู่ที่ประชุมอยู่เสมอ ไม่ว่าจะเป็นผลกระทบที่ เกิดกับธุรกิจเรือรับจ้างระหว่างฝั่งไทยกับฝั่งลาว เนื่องจากคนส่วนใหภ่หันไปใช้บริการสะพานมากขึ้น ขณะที่ ผู้ประกอบการทางฝั่งลาวยังไม่สามารถร้องเรียนอะไรได้มากนัก เพราะระบบการบริหารงานภายในของทางฝั่งลาว อย่างไรก็ตาม หากมีการพบปะกันเจรจากันอย่างไม่เป็นทางการมากขึ้น ก็จะท้าให้การขอความร่วมมือเพื่อแก้ไข ปัภหาร่วมกันระหว่างเมืองชายแดนเป็นไปได้ง่ายขึ้น และสิ่งที่ทางฝั่งลาวควรจะพัฒนาคือเรื่องกฎหมายส่งเสริม การลงทุน เพราะมีแนวโน้มการลงทุนที่เพิ่มขึ้นในอนาคตข้างหน้า ทางลาวถือว่าจีนเป็นคู่ค้าอันดับหนึ่งในการเจรจา เพราะจีนมีศักยภาพในการลงทุนสูงมาก อันดับสองคือภี่ปุ่น ตอนนี้บริษัทของภี่ปุ่นก็เริ่มมาลงทุนในลาวมากขึ้น และมีแนวโน้มที่จะลงทุนเพิ่มขึ้นไปอีก อันดับสามคือเวียดนาม อันดับสี่คือพม่า ส่วนประเทศไทยตอนนี้อยู่อันดับที่ ห้า เพราะปัภหาการเมืองที่ไม่มั่นคงในช่วงที่ผ่านมา ความส้าคัภในการท้าสัภภา ข้อตกลง หรือการเจรจากับ ประเทศไทยเริ่มถูกลดความส้าคัภลงเรื่อยๆ จากข้อมูลดังกล่าวข้างต้น ได้แสดงให้เห็นถึงสัภภาณการเปลี่ยนแปลงของพื้นที่เชียงของที่ส้าคัภ 4 ประการ ได้แก่ ยุทธศาสตร์การพัฒนาเชียงของ “หนึ่งเมืองสองแบบ” ชายแดนภิวัฒน์ เมืองชายแดนเกิดใหม่ และ การเติบโตทางเศรษฐกิจแบบมีส่วนร่วมร่วมกัน เป็นไปได้ว่า ในอนาคตเมืองเชียงของจ้าเป็นต้องผลักดันนโยบาย ส่งเสริมการลงทุนเพื่อตอบสนองต่อ 4 สัภภาณการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ดังนี้ ยุทธศาสตร์การพัฒนาเชียงของ “หนึ่งเมืองสองแบบ” จุดก้าเนิดของยุทธศาสตร์การพัฒนาเชียงของ “หนึ่งเมืองสองแบบ” เกิดขึ้นบนเงื่อนไขที่คนเชียงของ ต้องการเห็นการพัฒนาเมืองไปในทิศทางของการอยู่ร่วมกันอย่างมีดุลยภาพและยั่งยืน ระหว่าง เมืองชายแดนเก่าที่ มีการอนุรักษ์วิถีชีวิตแบบดั้งเดิม และ เมืองชายแดนใหม่ที่มีวิถีชีวิตตั้งอยู่บนการเปลี่ยนแปลงของกระแสโลก โดยมี หลักคิดที่ส้าคัภประการหนึ่งคือ “การรู้จักตัวตน...เข้าใจอดีต เท่าทันปัจจุบัน และเชื่อมโยงสู่อนาคตที่ยั่งยืน” (โครงการศึกษาและพัฒนาแนวทางการจัดการเมืองเชียงของฯ, 2556 หน้า 16) ประชาชนชาวเชียงของจึงได้ รวมตัวกันเพื่อยกร่างยุทธศาสตร์ฯนี้ขึ้น รวมทั้งยังได้หลอมรวมแนวคิดนี้สู่การยกร่างแผนยุทธศาสตร์เขตเศรษฐกิจ พิเศษเชียงของอีกด้วย อย่างไรก็ตาม จากการมีส่วนร่วมในการพัฒนาเมืองเชียงของและการผลักดันให้เกิดการรับรู้ ภายในชุมชนเชียงของ ท้ายที่สุด “หนึ่งเมืองสองแบบ” จะกลายเป็นอัตลักษณ์ของเมืองเชียงของ (Chiang Khong Identity) ทีส่ ามารถตอบโจทย์การเปลี่ยนแปลงในอนาคตได้เป็นอย่างดี 6
ชายแดนภิวัฒน์ ชายแดนภิวัตน์ (Borderization) เป็นกระบวนการเปลี่ยนแปลงที่มีผลกระทบต่อชุมชนและสังคมบริเวณ พื้นที่ชายแดน ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมืองการปกครอง กฎหมาย เทคโนโลยี การสื่อสาร สิ่งแวดล้อม และ วัฒนธรรม ท้าให้เกิดการปรับเปลี่ยนเมืองชายแดนเดิมให้กลายเป็นเมืองชายแดนรูปแบบใหม่ที่ไร้พรมแดนและมี ความส้าคัภต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศเป็นอย่างมาก ตัวอย่างเช่น การขยายกิจกรรมทางเศรษฐกิจข้าม แดน (Cross-border economic activities) อาทิ การเคลื่อนย้ายสินค้าและบริการ ทรัพยากรการผลิต แรงงาน และเงินทุนข้ามแดน ก็ถือว่าเป็นแรงผลักดันหนึ่งของกระแสชายแดนภิวัฒน์เช่นกัน ทั้งนีก้ ระบวนการเปลี่ยนแปลง เมืองชายแดน โดยเฉพาะเมืองชายแดนเชียงของนั้น มักได้รับอิทธิพลมาจากการเปลี่ยนแปลงของประเทศในมิติ ต่างๆ รวมทั้งอิทธิพลของกระแสการเปลี่ยนแปลงของภูมิภาคและของโลก อาทิ อาเซียนภิวัฒน์ (Aseanization) และ โลกาภิวัฒน์ (Globalization) หากเป็นเช่นนั้นแล้ว การเกิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ในปี 2558 ก็น่าจะ ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อการเปลี่ยนแปลงมิติด้านเศรษฐกิจและสังคมข้างต้น เมืองเชียงของก็จะต้องเตรียม รับมือกับกระแสชายแดนภิวัฒน์ โดยเฉพาะด้านเศรษฐกิจ ที่มาพร้อมกับการเปลี่ยนแปลงด้านการค้าสินค้าและ บริการข้ามพรมแดน การลงทุนข้ามพรมแดน และการเคลื่อนย้ายคนข้ามแดน อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เมืองชายแดนเกิดใหม่ เชียงของ ถือว่าเป็นเมืองชายแดนเกิดใหม่ (Emerging Border City) ที่มีการขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่าง ต่อเนื่องในระยะ 5-10 ปีที่ผ่านมา ทั้งภาคการผลิตและภาคการบริการ โดยเฉพาะภาคบริการโลจิสติกส์ที่มีอัตรา การเติบโตแบบก้าวกระโดด นอกจากนี้เมืองเชียงของยังมีการจ้างแรงงานที่เพิ่มสูงขึ้น มีอัตราการเติบโตของการค้า ชายแดนและการค้าข้ามแดนอย่างเห็นได้ชัด และ มีการขยายตัวของการลงทุนทั้งจากในประเทศและต่างประเทศ ด้วยเหตุนี้ จึงปฏิเสธไม่ได้ว่าเมืองเชียงของเปรียบเสมือนเมืองชายแดนเกิดใหม่ ที่มีศักยภาพทางเศรษฐกิจการค้า และการลงทุน และ ศักยภาพทางภูมิเศรษฐกิจที่สามารถเชื่อมต่อประเทศหรือเป็นประตูสู่ประเทศต่างๆ ในภูมิภาค เดียวกันได้เป็นอย่างดี เมืองชายแดนเกิดใหม่แห่งนี้ก้าลังถูกท้าทายจากการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในระดับประเทศ ระดับภูมิภาค และ ระดับโลก ไม่ว่าจะเป็นด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรม ว่าคนเชียง ของจะน้าพาเมืองชายแดนเกิดใหม่นี้ไปในทิศทางใด
7
การเติบโตทางเศรษฐกิจแบบมีส่วนร่วมร่วมกัน การเติบโตทางเศรษฐกิจแบบมีส่วนร่วมร่วมกัน (Mutually Inclusive Growth) กับเมืองชายแดนที่ติดกัน ของประเทศเพื่อนบ้าน เป็นการรวมตัวกันของกิจกรรมทางเศรษฐกิจข้ามแดน ทั้งด้านการผลิต การจ้างงาน การค้า และ การลงทุน โดยมีการด้าเนินนโยบายทางเศรษฐกิจชายแดนร่วมกัน (Common border economic policy) ในรูปของความร่วมมือทางเศรษฐกิจชายแดนหรือข้อตกลงทางเศรษฐกิจชายแดน ท้าให้เกิดการเติบโตของเมือง ชายแดนเป็นไปอย่างเสมอภาคและเท่าเทียมกัน และสามารถสร้างพลังขับเคลื่อนเศรษฐกิจชายแดนให้เติบโตอย่าง ยั่งยืนนั้น ถือเป็นความท้าทายที่ส้าคัภอย่างยิ่ง เมืองเชียงของจะสามารถสร้างการเติบโตทางเศรษฐกิจชายแดน แบบมีส่วนร่วมร่วมกันกับเมืองห้วยทรายในประเทศลาว ได้หรือไม่นั้น ก็ต้องอาศัยความร่วมมือกันของทุกฝ่ายทั้ง ภาครัฐ เอกชน และประชาชนร่วมกันผลักดันให้เมืองชายแดนทั้งสองเห็นประโยชน์ร่วมของการรวมตัวกันในการ ด้าเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจข้ามแดน
1 เมือง 2 แบบ
ชายแดนภิวัฒน์
เมืองชายแดน เกิดใหม่
การเติบโตทาง เศรษฐกิจแบบมี ส่วนร่วมร่วมกัน
โดยสรุป 4 สัภภาณการเปลี่ยนแปลงเมืองเชียงของในอนาคตทีค่ าดว่าจะมีผลต่อการวางกรอบนโยบาย ส่งเสริมการลงทุนในเมืองเชียงของ ประกอบด้วย ยุทธศาสตร์การพัฒนาเชียงของ “หนึ่งเมืองสองแบบ” ชายแดน ภิวัฒน์ เมืองชายแดนเกิดใหม่ และ การเติบโตทางเศรษฐกิจแบบมีส่วนร่วมร่วมกัน ซึง่ ได้ถูกกลั่นกรองจาก ข้อเท็จจริงและการสัมภาษณ์ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง อย่างไรก็ตามบทความนี้เป็นเพียงข้อเท็จจริงเบื้องต้นที่ยังขาดการ สังเคราะห์อย่างเป็นระบบ ดังนั้นจึงยังมิอาจน้าผลการศึกษานี้เป็นฐานความรู้ในการวางนโยบายการส่งเสริมการ ลงทุนที่เหมาะสมกับเมืองชายแดนเชียงของได้
8
กิตติกรรมประกาศ บทความนี้ได้น้าเสนอบางส่วนของข้อเท็จจริงในพื้นที่เชียงของ จังหวัดเชียงราย ภายใต้งานวิจัยเรื่อง “นโยบายส่งเสริมการลงทุนอ้าเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย” ซึ่งเขียนขึ้นเพื่อประมวลงานวิจัยเบื้องต้น ประกอบ กับข้อมูลที่ค้นคว้าเพิ่มเติม และการสัมภาษณ์ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและภาคเอกชน คุณยอดฤทัย เรวรรณ์ สมาชิกสภาเทศบาลเวียงเชียงของ คุณธนิสร กระฎุมพร ประธานหอการค้าอ้าเภอเชียงของ และ คุณสงวน ซ้อน กลิ่นสกุล รองประธานหอการค้าจังหวัดเชียงราย ฝ่ายอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้าโขง ในโอกาสนี้คณะผู้วิจัยฯขอขอบคุณ ทุกท่านทีส่ ละเวลามาให้ข้อมูลอันจะท้าให้บทความนี้มีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น เอกสารอ้างอิง คณะกรรมการบริหารงานจังหวัดแบบบูรณาการจังหวัดเชียงราย. (2556). แผนพัฒนาจังหวัดเชียงราย พ.ศ. 25582561. คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. (2554). รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาความเหมาะสมและ จัดท้าแผนแม่บทการพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจชายแดนจังหวัดเชียงราย. โครงการศึกษาและพัฒนาแนวทางการจัดการเมืองเชียงของภาคใต้แนวคิด “หนึ่งเมืองสองแบบ”. (2556). เชียง ของ: หนึ่งเมืองสองแบบ ยุทธศาสตร์การพัฒนาอย่างมีดุลยภาพและยั่งยืน เอกสารประกอบเวทีประชุมจัดท้า แผนยุทธศาสตร์ระดับต้าบล.
ส้านักงานเศรษฐกิจชายแดนและโลจิสติกส์ (Office of Border Economy and Logistics Study : OBELS) มี หน้าที่ด้าเนินงานด้านการรวบรวมข้อมูลและวิจัยทางด้านเศรษฐกิจการค้าชายแดนและโลจิสติกส์ เพื่อน้าไปสู่การ ยกระดับองค์ความรู้ที่เป็นฐานส้าคัภของประเทศไทย ซึ่งส่งผลต่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และการสร้าง ความสามารถในการแข่งขันของประเทศและยกระดับคุณภาพชีวิตในสังคม
Office of Border Economy and Logistics Study (OBELS), Mae Fah Luang University, 333 Moo 1, Tasud, Muang, Chiang Rai, Thailand. Tel. 6653916680 Email: obels.mfu@gmail.com.
9