Working paper jun 9 ยักษ์ค้าปลีกสู่สมรภูมิชายแดนเชียงราย

Page 1

OBELS WORKING PAPER NO.9

JUNE 2015

ยักษ์ค้าปลีกสู่สมรภูมิชายแดนจังหวัดเชียงราย พรพินันท์ ยี่รงค์ ณัฐพรพรรณ อุตมา ปฐมพงศ์ มโนหาญ ภายหลั งการเข้าเป็ นสมาชิกขององค์กรการค้าโลกของประเทศไทยในปี 2538 ส่ งผลให้เกิดการปรับ กฎระเบียบหลายอย่างเพื่อให้เกิดรูปแบบการค้าที่เป็นเสรีมากยิ่งขึ้น ทาให้เกิดการหลั่งไหลเข้ามาของบรรษัทข้าม ชาติค้าปลีกจากหลากหลายประเทศ โดยลักษณะเฉพาะตัวของบรรษัทข้ามชาติค้าปลีกในประเทศไทย ได้เข้ามาใน ฐานะที่เป็นผู้ลงทุนเข้ามาถือหุ้น (equity investors) ซึ่งส่งผลให้เกิดการโอนย้ายทรัพยากร (resource transfer) อาทิ การโอนย้ายเงินทุน การโอนย้าย การโอนย้ายการบริหารจัดการ จากประเทศแม่ผ่านบรรษัทข้ามชาติไปสู่ ประเทศไทย ทาให้เกิดการค้าปลีกค้าส่งรูปแบบใหม่ที่มีความหลากหลายยิ่งขึ้น 1 ซึ่งในตอนแรกบรรษัทข้ามชาติค้า ปลีกส่วนใหญ่ที่เข้ามาลงทุนในประเทศไทยจะร่วมทุน (joint ventures) กับกลุ่มทุนค้าปลีกชั้นนาของไทย ได้แก่ เครือเจริญโภคภัณฑ์ เครือเซ็นทรัล เป็นต้น ซึ่งการเข้ามาในลักษณะนี้จะเกิดประโยชน์ต่อบรรษัทข้ามชาติในการได้ เข้าถึงทรัพยากรและตลาดของประเทศผู้รับลงทุนอย่างไม่มีขีดจากัดในด้านเวลา รวมถึงการได้อภิสิทธิ์ทางการเมือง (political preferment) และในทางทฤษฎี ประเทศผู้รับลงทุนสามารถที่จะเข้าถึงทรัพยากร เทคโนโลยี ทักษะ โดยไม่สูญเสียอานาจในการควบคุม หลังจากปี 2540 ประเทศไทยประสบกับภาวะวิกฤตเศรษฐกิจขั้นรุนแรง ส่งผล ให้กลุ่มทุนชั้นนาของประเทศไทยจาเป็นที่ต้องขายหุ้นส่วนมากให้กับบรรษัทข้ามชาติ เป็นผลให้บรรษัทข้ามชาติ ส่วนหนึ่งเข้ามาถือหุ้นของห้างค้าปลีกเกือบทั้งหมด (Tesco-Lotus Big C และ Makro) และอีกส่วนหนึ่งเข้าถือหุ้น ของห้างค้าปลีกอย่างเต็มตัว2 (Carrefour และ Tops) ในความเป็นจริงแล้ว ลักษณะการให้สิทธิในการครอบครอง บริษัทของบรรษัทข้ามชาติอย่างเต็มตัวนั้นไม่เป็นที่ยอมรับสาหรับประเทศผู้รับลงทุนส่วนใหญ่ โดยที่รัฐบาลของ ประเทศผู้รับลงทุนจะพยายามใช้มาตรการการจากั ดการลงทุน เนื่องจาก ลักษณะการลงทุนโดยบรรษัทข้ามชาติ เข้ามาถือหุ้นอย่างเต็มตัว (wholly-owned foreign subsidiaries) จะส่งผลให้บรรษัทข้ามชาติสามารถที่จะจากัด การเข้าถึงของผู้รับลงทุนในการแสวงหาประโยชน์จากความรู้ ความสามารถของประเทศแม่ได้ แต่ในกรณีของ 1

รูปแบบการค้าปลีกค้าส่งสมัยใหม่ที่ถูกถ่ายทอดจากประเทศผ่านบรรษัทข้ามชาติสู่ประเทศไทย ได้แก่ ห้างค้าปลีกค้าส่งแบบเงินสดและบริการตนเอง (cash & carry) ของ Siam Makro จากบรรษัทข้ามชาติสัญชาติเนเธอร์แลนด์ ร้านสะดวกซื้อสมัยใหม่ของ 7-11 จากบรรษัทข้ามชาติสัญชาติอเมริกัน และห้างค้าปลีกค้าส่งแบบ hypermarket ของ Carrefour จากบรรษัทข้ามชาติสัญชาติฝรั่งเศส 2 หลังวิกฤติเศรษฐกิจปี 2540 ห้างเทสโก้-โลตัสมีผู้ถือหุ้นชาวต่างชาติถึงร้อยละ 98 ในขณะที่นักลงทุนชาวไทยเพียงแค่ร้อยละ 2 เช่นเดียวกันกับห้างบิ๊กซี และห้างแม็คโครที่นักลงทุนคนไทยถือหุ้นอยู่ร้อยละ 34 และร้อยละ 10 ตามลาดับ แต่ชาวต่างชาติได้ถือหุ้นอยู่ที่ร้อยละ 66 และร้อยละ 90 ตามลาดับ นอกจากนี้ ห้างคาร์ฟูร์และห้างท้อปส์ถูกนักลงทุนต่างชาติครอบครองอย่างเต็มตัว (นิพนธ์ พวพงศกร และคณะ, 2545)

ยักษ์ค้าปลีกสู่ สมรภูมิจังหวัดเชียงราย

หน้า 1


OBELS WORKING PAPER NO.9

JUNE 2015

ประเทศไทย บรรษัทค้าปลีกข้ามชาติได้เข้ามารูปแบบของการร่วมทุนก่อน ทาให้สามารถใช้ประโยชน์จากการ เข้าถึงทรัพยากรต่างๆของประเทศผู้รับลงทุน และอภิสิทธิ์ทางการเมืองได้อย่างคุ้นเคย รวมถึงการที่รัฐบาลในแต่ละ ยุคสมัยของประเทศไทยพยายามที่จะหนุนการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (Foreign Direct Investment: FDI) ในวันที่ 25 ธันวาคม 2541 คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนได้ประกาศให้มีการส่งเสริมการค้าปลีกและค้าส่งสินค้า อุปโภค-บริโภค3 การส่งเสริมดังกล่าวขัดต่อพ.ร.บ.การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. 2542 ที่ห้ามไม่ให้คน ต่างชาติถือเกินกว่าร้อยละ 49 อย่างไรก็ตาม ประเทศไทยได้พยายามที่จะออกพ.ร.บ. การประกอบธุรกิจค้าปลีกค้า ส่งโดยตรง เพื่อคุ้มครองธุรกิจรายย่อยให้เกิดการแข่งขันอย่างเป็นธรรม หากแต่การออกกฎหมายดังกล่าวจะขัดต่อ กฎเกณฑ์ขององค์การการค้าโลกที่ประเทศไทยเป็นสมาชิก รวมถึงขัดต่อสนธิสัญญาระหว่างประเทศทั้งในระดับทวิ ภาคี และระดับภูมิภาค จึงทาให้ประเทศไทยไม่สามารถที่จะออกกฎหมายมาควบคุมการขยายตัวของบรรษัทค้า ปลีกอย่างจริงจังได้ ส่งผลให้ตลาดการค้าปลีกของไทยถ่ายเทบทบาทไปที่บรรษัทข้ามชาติเกือบทั้งหมด โดยที่ บรรษัทข้ามชาติสามารถที่จะดาเนิน กิจ การทั้งในการนาความรู้ และเทคโนโลยีจากประเทศแม่มาใช้อย่างเต็ม รูปแบบ และมีการเติบโตอย่างรวดเร็วหลังจากนั้นเป็นต้นมา การเติบโตอย่างไร้ขอบเขตปราศจากการควบคุมของภาครัฐ บรรษัทข้ามชาติค้าปลีกเริ่มที่จะขยายสาขา อย่างเร่งรีบจากพื้นที่ในเมือง ชานเมืองจนเข้าไปสู่หัวเมือ งขนาดใหญ่ในต่างจังหวัดของแต่ละภาค โดยมีการขยาย สาขาหลากหลายรูปแบบทั้งการค้าส่งและการค้าปลีก และขนาดตั้งแต่เล็กจนเทียบเคียงกับร้านสะดวกซื้อจนถึง ขนาดใหญ่มากแบบห้างสรรพสินค้า เพื่อตอบสนองความต้องการบริโภคของผู้คนที่อาศัยอยู่ในท้องถิ่น เป็นผลให้ เกิดการแข่งขันของตลาดการค้าปลีกที่รุนแรงมากขึ้น และส่งผลกระทบโดยตรงต่อร้านค้าปลีกค้าส่งแบบดั้งเดิมราย ย่อยในพื้นที่ต่างจังหวัดไปสู่การเลิกกิจการของร้านค้าปลีกจานวนมาก เนื่องจากร้านค้าปลีกค้าส่งดั้งเดิมรายย่อยไม่ สามารถที่จะแข่งขันในหลายด้าน ภายหลังปี 2548 ภาครัฐและภาคเอกชนเริ่มตระหนักถึงการขาดการวางแผนใน การควบคุมกิจการค้าปลีกในประเทศไทย จึงได้พยายามที่ออกมาตรการต่างๆมาควบคุม เช่น การควบคุมพื้นที่ การจากัดพื้นที่ และการกาหนดเวลาเปิด -ปิด ตลอดจนการออกพ.ร.บ. เฉพาะสาหรับการค้าปลีกเพื่อควบคุมการ ขยายตัวโดยตรง แต่นั้นก็เป็นเพียงแค่การควบคุมทางกายภาพเท่านั้น4 ผลต่อเนื่องให้เกิดผลกระทบได้กระจายวง กว้างออกไปอย่างมาก ร้ า นค้ า ปลี ก ดั้ ง เดิ ม ถื อ ได้ ว่ า เป็ น หน่ ว ยเศรษฐกิ จ ระดั บ ชุ ม ชนที่ มี ค วามส าคั ญ ต่ อ สั ง คมไทยอย่ า งมาก เนื่องจากร้านค้าอย่างโชห่วยหรือตลาดมีความใกล้ชิดกับผู้บริโภคมากที่สุด ซึ่งในทุกชุมชนจะมีโชห่วยอย่างน้อย 1 3

คณะกรรมส่งเสริมการลงทุนได้กาหนดประเภทและเงื่อนไขให้กับกิจการค้าปลีกค้าส่งสินค้าอุปโภคบริโภค ดังนี้ 1. เป็นกิจการที่มอี ยู่แล้ว ก่อนวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2542 ไม่ว่าจะตั้งอยู่ในเขตใด 2. การขยายสาขาสามารถให้ตั้งได้เฉพาะในเขต 1 เท่านั้น และมีขนาดพื้นที่ขายไม่ต่ากว่า 1,000 ตาราง เมตรต่อสาขา 3. เงินลงทุนในส่วนของต่างชาติต้องนามาจากต่างประเทศทั้งสิ้น 4. จะไม่คานึงถึงอัตราส่วนของผู้ถือหุ้นต่างชาติ 5. จะได้รับสิทธิที่ไม่ เกี่ยวข้องกับภาษีอากรเท่านั้น และ 6. ต้องยื่นคาขอรับการส่งเสริมภายในวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ.2542 เท่านั้น 4 ฝ่ายวิจัย บมจ.ธนาคารกรุงศรีอยุธยา อ้างใน เมฆแสงสวย (2556: 9) ยักษ์ค้าปลีกสู่ สมรภูมิจังหวัดเชียงราย

หน้า 2


OBELS WORKING PAPER NO.9

JUNE 2015

– 2 ร้ า นกระจายตั ว อยู่ ทุ ก ย่ อ มหญ้ า เพื่ อ บริ ก ารผู้ บ ริ โ ภคที่ มี ค วามต้ อ งในการจั บ จ่ า ยใช้ ส อยซื้ อ สิ น ค้ า ใน ชีวิตประจาวัน ผู้ประกอบการร้านค้าปลีกดั้งเดิมจึงค่อนข้างมีความคุ้นเคยกับคนในชุมชนเป็นอย่างมาก แต่เมื่อ เวลาผ่านไป การค้าปลีกสมัยใหม่หลายรูปแบบเริ่มเข้ามา ทาให้ร้านค้าปลีกดั้งเดิมต้องเข้าสู่การแข่งขันที่ยากจะตั้ง รับ เนื่องจาก ความได้เปรียบในหลายด้านของห้างค้าปลีกสมัยใหม่ เช่น ราคาสินค้าที่ถูกกว่า ประเภทสินค้าที่ มากกว่า การจัดวางที่ทันสมัยกว่า หรือแม้แต่ความสะดวกในการนารถยนต์ส่วนตัวไปจอดเพื่อซื้อสินค้า จึงเป็น เหตุผลสาคัญให้ผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการซื้อสินค้าไปอย่างสิ้นเชิง ผู้คนสมัยนี้มีรายได้ที่เริ่มสูงขึ้นตาม ขนาดเศรษฐกิจของประเทศที่เติบโตขึ้น แต่กลับมีเวลาน้อยลงในการจับจ่ายซื้อสินค้า ฉะนั้น ผู้บริโภคจึงมี พฤติกรรมในการซื้อสินค้าครั้งหนึ่งทีละมากๆ และนานๆครั้ง นอกจากนี้ รายได้ที่สูงขึ้นทาให้ผู้บริโภคส่วนมากมี รถยนต์ส่วนตัวใช้ ส่งผลให้ห้างค้าปลีกสมัยใหม่ส่วนใหญ่มีการสร้างที่จอดรถกว้างๆเพื่อตอบสนองการเปลี่ยนแปลง ของผู้บริโภค ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทาให้ปัจจุบันร้านค้าปลีกดั้งเดิมส่วนใหญ่ไม่สามารถปรับตัวได้ (นิพนธ์ พวพงศกร และ คณะ, 2545) จึงกลายเป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทาให้ร้านค้าปลีกดั้งเดิมจานวนหนึ่งได้ล้มหายตายจากไปจากระบบ เศรษฐกิจของไทย ในความเป็นจริง การแข่งขันอย่างรุนแรงทางธุรกิ จจากการเข้ามาของห้างค้าปลีกข้ามชาติ จะ เป็นตัวกระตุ้นให้ผู้ประกอบการร้านค้าปลีกดั้งเดิมต้องปรับปรุงคุณภาพการให้บริการทางการค้า เพื่อให้สามารถ แข่งขันและแย่งชิงส่วนแบ่งทางการตลาดจากห้างค้าปลีกข้ามชาติ แต่อุปสรรคทางด้านทุนที่ไม่เพียงพอ ทาให้ ผู้ประกอบการค้าปลีกท้องถิ่นไม่สามารถไปถึง ณ จุดนั้นได้ ทาให้เกิดกระแสการต่อต้านอย่างมากถึงการแข่งขันที่ ไม่เท่าเทีย ม พร้ อมทั้งยกกฎหมายที่เกี่ย วข้องมาเป็นเครื่องมือในการต่อรอง อาทิ กฎหมายการค้าปลีกค้าส่ ง กฎหมายการแข่งขันทางการค้า กฎหมายผังเมือง กฎหมายประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว เป็นต้น อย่างไรก็ตาม การเข้ามาของห้ างค้าปลี กได้ให้ ป ระโยชน์ แก่ผู้ ผลิ ต /ผู้ จัดจาหน่ายบางรายให้ส ามารถพัฒ นาระบบการจัดการ สมัยใหม่จากห้างไฮเปอร์มาร์เก็ต จนสามารถส่งออกสินค้าไปยัง ต่างประเทศเองได้ (นิพนธ์ พวพงศกร และคณะ, 2545) ถึงแม้บ รรษัทข้ามชาติจะเข้ามาภายหลั งจากการเข้าเป็นสมาชิกองค์กรการค้าโลก (World Trade Organization: WTO) ของประเทศไทยในปี 2538 แต่การขยายตัวอย่างรุนแรงของห้างค้าปลีกข้ามชาติได้เริ่มขึ้น ในปี 2540 ช่วงเวลาของวิกฤตเศรษฐกิจครั้งยิ่งใหญ่ของประเทศ ซึ่งวิกฤตดังกล่า วได้ส่งผลให้บริษัทข้ามชาติเข้ามา ครอบครองตลาดค้าปลีกของไทยอย่างเต็มตัว เพื่อตอบสนองความต้องการในการบริโภคสินค้าของผู้คนที่อาศัยอยู่ ในท้องถิ่น จึงได้ดาเนินการนาความรู้และเทคโนโลยีจากประเทศแม่มาขยายสาขาในรูปแบบที่มีความหลากหลาย มากขึ้น (เมฆแสงสวย, 2556) ทาให้หัวเมืองตามต่างจังหวัดจะมีห้างค้าปลีกแต่ละบริษัทอย่างน้อยหนึ่งถึงสองสาขา เข้าไปดาเนินกิจการ เช่นเดียวกับจังหวัดเชียงรายที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย ได้มีห้างค้า ปลีกไฮเปอร์มาร์เก็ตข้ามชาติรายแรกอย่าง Big C เข้าไปขยายกิจการในช่วงปี 2540 เช่นกัน ห้าง Big C เป็นห้าง ไฮเปอร์มาร์เก็ตที่มีโรงภาพยนตร์ขนาดกลางเปิดร่วมอยู่ภายใน กลายเป็นสถานที่ที่นิยมสาหรับชาวเชียงรายในการ ไปเดินเที่ยวเล่น ดูภาพยนตร์ และจับจ่ายใช้สอยซื้อสินค้าเข้าบ้าน ต่อมาห้างไฮเปอร์มาร์เก็ต Tesco Lotus ก็เข้า ยักษ์ค้าปลีกสู่ สมรภูมิจังหวัดเชียงราย

หน้า 3


OBELS WORKING PAPER NO.9

JUNE 2015

ไปขยายสาขาบริเวณชายแดนของจังหวัดเชียงรายที่อาเภอแม่สายในปี 2548 (ผู้จัดการ 360° รายสัปดาห์, 2553) ได้พยายามที่จะขยายสาขาไปยังอาเภอต่างๆ และเน้นบริเวณที่เป็นพื้นที่ติดชายแดนของจังหวัดเชียงราย โดยเน้น การใช้กลยุทธ์การย่อขนาดไซส์ของกิจการเพื่อให้เข้าถึงแหล่งชุมชนมากขึ้น คือ เทสโก้ โลตัส เอ็กซ์เพรส ที่มีขนาด พื้นที่การขายใกล้เคียงกับร้านสะดวกซื้อ (convenience store) ประมาณ 150 – 360 ตารางเมตร แต่มีจานวน สินค้ามากกว่าประมาณ 2,600 รายการ ก่อให้เกิดผลกระทบอย่างมากต่อร้านค้าปลีกรายย่อยที่อยู่ภายในจังหวัด เชียงราย ในปี 2556 Tesco Lotus ได้ขยายกิจการไปยังพื้นที่ชายแดนอีกอาเภอหนึ่ง คือ อาเภอเชียงของ เป็นการ ขยายกิจการในรูปแบบของไฮเปอร์มาร์เก็ตเช่นเดียวกับที่เคยขยายกิจการไปที่อาเภอแม่สาย ทาให้ปัจจุบันสาขา ของห้างไฮเปอร์มาร์เก็ตเทสโก้-โลตัสขนาดใหญ่ได้ครอบครองพื้นที่ชายแดนเกือบหมด เหลือเพียงอาเภอเชียงแสน ที่ยังเป็นโลตัสเอ็กซ์เพรสขนาดเล็ก การขยายสาขาไปยังพื้นที่อาเภอชายแดน งานวิจัยชิ้นนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบของทางเศรษฐกิจและสังคมต่อการขยายตัวของห้างค้า ปลีกข้ามชาติในอาเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย ได้ใช้ข้อมูลทุติภูมิของอาเภอเชียงของ เช่น มูลค่าการค้าชายแดน ประเภทสินค้าส่งออกและนาเข้า นโยบายส่งเสริมการลงทุน เป็นต้น และข้อมูลปฐมภูมิที่ได้จากการลงพื้นที่ไป สัมภาษณ์ร้านค้าปลีก ค้าส่ง รวมถึงผู้ที่เกี่ยวข้องในอาเภอเชียงของ โดยจะนาแนวคิดการศึกษาเชิงสถาบัน ร่วมกับ แนวคิดทางเศรษฐศาสตร์และการจัดการมาเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการวิเคราะห์ผลลลัพธ์และผลกระทบของการค้า ปลีกที่เกิดขึ้น และนาผลสรุปมาใช้ในการออกข้อเสนอแนะเชิงนโยบายต่อภาครัฐบาลท้องถิ่น ภาคเอกชน และภาค ธุรกิจ เพื่อให้เกิดการปรับตัวให้เข้ากับพลวัตทางเศรษฐกิจการค้าปลีกในอาเภอเชียงของที่เปลี่ยนแปลงไปอย่าง รวดเร็ว

ทบทวนแนวคิดการศึกษาเชิงสถาบัน กาญจน์ชูฉัตร (2550) ได้เสนอแนวคิดการเปลี่ยนแปลงระดับท้องถิ่นต่อห้างค้าปลีกข้ามชาติ ซึ่งแต่ละ ผลลัพธ์ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขทางสถาบันเป็นหลัก เนื่องจากในแต่ละระบบเศรษฐกิจของแต่ละพื้นที่ มีรูปร่างหน้าตาที่ แตกต่างกันไป ซึ่งบางครั้งก็ไม่ขึ้นอยู่กับความสัมพันธ์ทางตลาด (Market Relationship) เสมอไป เช่นแนวคิดของ เศรษฐศาสตร์นีโอคลาสสิก หากความสัมพันธ์ที่มิใช่ตลาด (Non-market Relationship) มีความสาคัญมากใน สังคมไทย โดยเฉพาะระดับท้องถิ่นที่มีความสัมพันธ์ที่หลากหลาย ในลักษณะที่เป็นแนวดิ่ง เช่น ความสัมพันธ์เชิง อุปถัมภ์ และความสัมพันธ์ในแนวราบ เช่น ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ความมีน้าใจ และความรักในท้องถิ่น การเปลี่ยนแปลงที่มีพื้นฐานอยู่บนความสัมพันธ์ของระบบตลาด (Market Relationship) แบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ (1) ท้องถิ่นโลกาภิวัฒน์ (Pro-Globalization) ซึ่งเป็นรูปแบบของท้องถิ่นที่ไม่มีบทบาทในระบบเศรษฐกิจ ไม่มีความได้เปรียบทางตลาด แต่เป็นผู้ที่เข้าสู่ตลาดก่อน (First Mover) เพียงเท่านั้น เมื่อห้างค้าปลีกข้ามชาติเข้า ยักษ์ค้าปลีกสู่ สมรภูมิจังหวัดเชียงราย

หน้า 4


OBELS WORKING PAPER NO.9

JUNE 2015

มา จึงไม่มีการประท้วงเพื่อกีดกัน ทาให้ผู้ประกอบการท้องถิ่นส่วนหนึ่งจาต้องเปลี่ยนอาชีพ ไม่ ก็เลิกกิจการไปใน ที่สุด (2) ท้องถิ่นร่วมทุน (Joint-Venture) รูปแบบนี้ ทุนท้องถิ่นถือไพ่เหนือกว่าด้วยการถือครองที่ดินทาเลทอง แต่ไม่ประสงค์ที่จะแข่งขันกับห้างค้าปลีข้ามชาติโดยตรง จึงหันไปร่วมทุนกับห้างค้าปลีกข้ามชาติด้วยการให้เช่า ที่ดินในระยะยาว เพื่อแสดงผลประโยชน์ที่มั่นคงและเป็นรูปธรรม ส่วนการเปลี่ยนแปลงที่มีความสัมพันธ์ที่มิใช่ระบบตลาด หรือ เรียกกันว่า “ท้องถิ่นนิยม” (Localization) ซึ่งเกิดจากการก่อร่างจากจิตสานึกของสังคมและชุมชน จนรวมเป็นสิ่งที่เรียกว่า “อัตลักษณ์” เป็นรูปแบบที่เกิดมา พร้ อมๆกั บ ความเป็ น ชาตินิ ย ม แบ่ งออกเป็ น 2 ลั ก ษณะเช่ นกั น (1) ท้ องถิ่น นิย มแบบกี ดกั น (Protective Localism) ลักษณะนี้ เป็นลักษณะที่ท้องถิ่นตัดสินใจที่จะแข่งขันในตลาดต่อไป แต่ไม่ได้มีจุดประสงค์ที่จะแข่งขัน อย่างเสรี โดยอาศัยความสัมพันธ์ที่มีต่อรัฐท้องถิ่น ในการออกกฎระเบียบเพื่อกีดกันไม่ให้ห้างค้าปลีกข้ามชาติเข้ามา ในตลาด5 (2) ท้องถิ่นนิยมแบบแข่งขัน (Competitive Localization) คือ การที่ห้างท้องถิ่นสามารถรวมตัวกันเป็น หนึ่ง และพัฒนาศักยภาพในการแข่งขัน จนสามารถครองสัดส่วนในตลาดสูงกว่าห้างค้าปลีกข้ามชาติ ประกอบกับ ผู้บริโภคมีความนิยมในการซื้อสินค้าจากห้างท้องถิ่น ทาให้ค้าปลีกท้องถิ่นมีความได้เปรียบในทุกๆด้าน นอกจากนั้น “หอการค้า จั ง หวัด ” เป็ น ตัว แปรที่มี บ ทบาทส าคัญ ในการทาให้ เกิ ดการใช้ท รัพ ยากร และการจัดสรรอย่ างมี ประสิทธิภาพ เกิดประโยชน์แก่สังคมโดยรวม โดยสามารถแบ่งบทบาทการลดต้นทุนธุรกรรมได้ 2 ส่วน คือ การ สร้างความร่วมมือ เช่น ประสานงาน จัดหางบประมาณ และการสนับสนุนระบบคุณค่าที่เอื้อต่อท้องถิ่น เช่น การ กระตุ้นให้ผู้บริโภคซื้อสินค้าจากห้างท้องถิ่น หรือ การกระตุ้นให้ห้างท้องถิ่นเข้าหาผู้บริโภค การวิเคราะห์ โ ดยใช้การศึกษาเชิงสถาบันจะทาให้ การมองภาพของพลวัตการค้าปลี กในแต่ล ะพื้นที่มี มุมมองที่แตกต่างออกไปกว่าการเน้นการวิเคราะห์เพียงการปรับตัวของกลไกลตลาด ที่ให้ความสาคัญเพียงแค่การ เชื่อมโยงระหว่างราคาสินค้าและปริมาณสินค้าเป็นสาคัญ ทั้งที่องค์ประกอบอย่างอื่นอย่างเช่น การเมืองในพื้นที่ วัฒนธรรม ทุนท้องถิ่น อาจจะมีอิทธิพลมากกว่าแค่ปัจจัยทางเศรษฐกิจ เพราะการขับเคลื่อนของสถาบันใดสถาบัน หนึ่งจะไม่สามารถเป็นไปได้ หากขาดแรงกระตุ้นจากสถาบันอื่น แม้ว่าในทางทฤษฎีเศรษฐศาสตร์กระแสหลั ก พยายามที่จะวิเคราะห์แก่นของพลวัตทางเศรษฐกิจจากการเปลี่ยนแปลงของสิ่งใดสิ่งหนึ่งก็ตาม

5

ท้องถิ่นกีดกัน เป็นแนวคิดที่คล้ายคลึงกับ “การแสวงหาค่าเช่าทางเศรษฐกิจ” (Rent-seeking) ที่ปัจเจกชนพยายามแสวงหาค่า Economic rents เพื่อสร้างทานบกีดขวาง (Barrier to Entry) ไม่ให้ผู้ค้ารายอื่นเข้ามายังตลาด โดยใช้รัฐเป็นตัวผลักดันให้เกิดสภาวะผูกขาด (Monopoly Market) จน ส่งผลกระทบให้เกิดต้นทุนทางสังคม (Social Cost) ค้นหาจาก http://www.oknation.net/blog/print.php?id=383106 เมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2558 ยักษ์ค้าปลีกสู่ สมรภูมิจังหวัดเชียงราย

หน้า 5


OBELS WORKING PAPER NO.9

JUNE 2015

รูปที่ 1 ทางเลือกของทุนท้องถิ่นและผลลัพธ์ของการการค้าปลีก

ที่มา: แปลงภาพจากกาญจน์ชูฉัตร, 2550

ทบทวนงานแนวคิดด้านส่วนประสมทางการตลาด ศิริวรรณ เสรีรัตน์และคณะ (2546) ได้อธิบายการกาหนดกลยุทธ์ที่เกี่ยวข้องกับส่วนประสมทางการตลาด (Marketing mix) ของสินค้าประกอบไปด้วย 4 ด้าน (4P’s) ได้แก่ ด้านผลิตภัณฑ์ (Product) ด้านราคา (Price) ด้านช่องทางจัดจาหน่าย (Place) และด้านการส่งเสริมการตลาด (Promotion) ตารางที่ 1 องค์ประกอบของส่วนประสมทางการตลาด (Marketing mix) 4P’s ส่วนประสมทางการตลาด (4P’s)

คาอธิบาย

ผลิตภัณฑ์ (Product)

สิ่งที่สามารถตอบสนองความต้องการ และความพึงพอใจของลูกค้า เช่น ตราสินค้า คุณภาพ ความหลากหลาย บรรจุภัณฑ์ เป็นต้น

ราคา (Price)

ราคาเป็นตัวสะท้อนคุณค่า (Value) ของสินค้า หากคุณค่าของตัว สินค้าสูงกว่าราคา ผู้บริโภคก็จะตัดสินใจซื้อ คุณสมบัติของราคา อาทิ การกาหนดราคา การให้ส่วนลด การให้ระยะเวลาการชาระเงิน

ยักษ์ค้าปลีกสู่ สมรภูมิจังหวัดเชียงราย

หน้า 6


OBELS WORKING PAPER NO.9

ส่วนประสมทางการตลาด (4P’s)

JUNE 2015

คาอธิบาย

การจัดจาหน่าย (Place)

กิจกรรมการเคลื่อนสินค้าและบริการออกไปสู่ตลาดเป้าหมาย ซึ่ง กิจกรรมที่ช่วยกระจายสินค้า ประกอบไปด้วย การขนส่ง การ คลังสินค้า และการเก็บรักษาสินค้าคงคลัง รวมถึงสถาบันการตลาดที่ มีส่วนช่วยให้เกิดช่องทางการจัดจาหน่ายสินค้าให้ถึงมือผู้บริโภค การส่งเสริมการตลาด (Promotion) เครื่องมือในการสื่อสารระหว่างผู้จัดจาหน่าย และผู้บริโภค ซึ่งมีอิทธิ ผลต่อความรู้สึก ความเชื่อ และพฤติกรรมการซื้อ โดยมีเครื่องมือ ส่งเสริมทางการตลาด ได้แก่ การโฆษณา การขายโดยใช้พนักงานขาย การส่งเสริมการขาย การให้ข่าวและประชาสัมพันธ์ และการตลาด ทางตรง ที่มา: ศิริวรรณ เสรีรัตน์และคณะ, 2546

ทบทวนงานวิจัยด้านผลกระทบต่อเศรษฐกิจมหภาค นิพนธ์ พวพงศกร และคณะ (2545) ได้ศึกษาผลกระทบด้านเศรษฐกิจมหภาคต่อธุรกิจค้าปลีกขนาดใหญ่ พบว่าการขยายของห้างค้าปลีกขนาดใหญ่ได้ส่งผลกระทบต่อเงินทุนภายในประเทศ การจ้างงาน รายได้จากภาษี และผลิตภาพของธุรกิจค้าปลีก ก่อนปี 2541 ไฮเปอร์มาร์เก็ตเริ่มจะลงทุนระยะยาวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็ นผล ให้กิจการไฮเปอร์มาร์เก็ตไทยต้องขายกิจการให้กับชาวต่างชาติ หลังจากนั้น ไฮเปอร์มาร์เก็ตก็มีการลงทุนระยะยาว อย่างหนักภายในประเทศไทย การขยายตัวของไฮเปอร์มาร์เก็ตได้ส่งผลให้ธุรกิจค้าปลีกดั้งเดิมจานวนหนึ่งมีการปิด ตัวลง และส่งผลให้การจ้างงานลดลง อย่างไรก็ตาม ก็ได้ส่งผลให้การจ้างงานเพิ่มขึ้นเช่นกัน โดยเฉพาะการจ้างงาน ของแรงงานมีทักษะ (Skilled-labor) ที่ทาให้รายได้เฉลี่ยของประเทศเพิ่มขึ้น ในด้านของการชาระภาษีพบว่า ห้าง ค้าปลีกขนาดใหญ่มีสัดส่วนการเสียภาษีที่น้อยกว่าร้านค้าปลีกรายย่อยดั้งเดิม เนื่องจากสาเหตุของการขาดทุ น สะสม ส่วนทางด้านผลิตภาพของธุรกิจค้าปลีกพบว่า ซูเปอร์มาร์เก็ตของไทยมีผลิตภาพทางด้านแรงงาน และ ประสิทธิภาพการใช้พื้นที่สูงกว่าสหรัฐ แต่ไฮเปอร์มาร์เก็ตและร้านสะดวกซื้อมีผลิตทั้งสองอย่างต่ากว่า

สาเหตุการเข้ามาของบรรษัทค้าปลีกข้ามชาติในอาเภอเชียงของ จากวิวัฒนาการของการค้าบริเวณชายแดนเชียงของ-ห้วยทราย พบว่าการค้าบริเวณชายแดนดังกล่าวมี การเปลี่ยนแปลงอย่างมากในแต่ละยุคสมัย โดยก่อนหน้าที่จะมีการเปิดเป็นจุดผ่านแดนถาวรการค้าดั้งเดิมจะมี ยักษ์ค้าปลีกสู่ สมรภูมิจังหวัดเชียงราย

หน้า 7


OBELS WORKING PAPER NO.9

JUNE 2015

ลั ก ษณะของการแลกเปลี่ ย นสิ น ค้ า มากกว่ า การใช้ เ งิ น ตรา หลั ง จากปี 2532 พลเอก ชาติ ช าย ชุ ณ หวั ณ นายกรัฐมนตรี ได้ประกาศให้พื้นที่ชายแดนที่เคยเป็นประตูหน้าด่านของสนามรบกลายมาเป็นสนามการค้าระหว่าง ประเทศ ทาให้ยุคสมัยนั้น ที่ดินในเชียงของจึงเป็นที่ต้องการของกลุ่มนายทุนจากเป็นอย่างมาก ส่งผลให้ราคาที่ดิน ของเชียงของปรับตัวสูงขึ้นจากการเก็งกาไร หลังจากปี 2546 ได้มีการเปิดท่าเรือน้าลึกเชียงของ เป็นผลทาให้มี สินค้าเข้าออกบริเวณอาเภอเชียงของหลากหลายมากขึ้น ก่อนที่ในปี 2556 จะมีการเปิดสะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 4 เชื่อมเส้นทาง R3A จากคุนหมิง ประเทศจีนตอนใต้ ผ่านสปป.ลาวยังจังหวัดเชียงราย ทาให้การค้าทางบก กลายมาเป็นที่นิยมมากขึ้น เนื่องจากประหยัดต้นทุนการขนส่งสินค้ามากกว่าการขนส่งสินค้าทางเรือผ่านแม่น้าโขง หลังจากนั้นเป็นต้นมารูปแบบของการค้าชายแดนของอาเภอเชียงของก็มีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างสิ้นเชิง ราคา ที่ดินที่ปรับตัวสูงขึ้นกว่าสมัยก่อน เป็นผลต่อเนื่องจากการประกาศให้อาเภอเชียงของเป็นเมืองที่จะถูกประกาศให้ พัฒนาเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษ (สาเนียง, 2556) ในตลอดระยะ 1 ปีที่มีการเปิดสะพานมา ทาให้เกิดการทะลักของ ทุนจานวนมากที่เข้ามาดาเนินกิจการต่างๆ เช่น โรงแรม อพาร์ตเมนต์ คลินิก โรงพยาบาล ประกันชีวิต ไฟแนนซ์ รวมถึงห้างค้าปลีกขนาดใหญ่ (ไชยมล, 2558) เปรียบเสมือนแม่เหล็กที่ดึงดูดการลงทุนจากทั้งในประเทศและ ต่างประเทศ การขยายตัวของการค้าชายแดนมีความสาคัญอย่างมากต่อการลงทุนบริเวณชายแดน เพราะจะช่วยดึงดูด นักลงทุนให้เข้ามาดาเนินธุรกิจที่เน้นการค้าระหว่างประเทศเป็นสาคัญ จากรูปที่ 2 แสดงให้เห็นถึงมูลค่าการค้ารวม การส่งออก การนาเข้า และดุลการค้าตั้งแต่ปี 2546 ถึงปี 2557 เป็นที่น่าสังเกตว่ามูลค่าการค้าชายแดนในปี 2557 มีการเติบโตสูงขึ้นอย่างมากจากปี 2546 โดยมีการเติบโตเฉลี่ยสะสม (Compound Annual Growth Rate: CAGR)6 อยู่ที่ร้อยละ 32.09 ซึ่งเป็นผลของการเติบโตเฉลี่ยสะสมของมูลค่าการส่งออกอยู่ที่ร้อยละ 32.89 ในขณะที่ มูลค่าการนาเข้ามีการเติบโตไม่แตกต่างกันมากนักอยู่ที่ร้อยละ 29.69 อัตราการเติบโตสะสมที่สูงกว่าของมูลค่าการ ส่งออก ทาให้มูลค่าดุลการค้ามีการเติบโตเฉลี่ยสะสมถึงร้อยละ 34.49 มูลค่าการค้าชายแดนบริเวณอาเภอเชียง ของมีการขยายตัวอย่างมาก และมีแนวโน้มจะเติบโตมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากข้อมูลโครงสร้างการส่งออกสินค้าจากด่านเชียงของไปยังประเทศเพื่อนบ้านและจีนตอนใต้ในปี 2557 พบว่าสินค้าที่ถูกส่งออกมาที่สุด ได้แก่ น้ามันดีเซลหมุนเร็ว (27%) เครื่องอุปโภคบริโภค (15%) ผลไม้สด (12%) ยางพารา (11%) น้ามันเบนซิน (7%) วัสดุก่อสร้าง (6%) และอื่นๆ สังเกตได้ว่าเครื่องอุปโภคบริโภคมีความสาคัญ ต่อการส่งออกสินค้าของด่านเชียงของเป็นอย่างมาก โดยมีการส่งออกเป็นอันดับสองรองจากน้ามันดีเซล เนื่องจาก สินค้าอุปโภค-บริโภคมีความจาเป็นต่อการดารงชีวิตของผู้คน นอกจากนี้ สปป.ลาว เมียนมาร์ รวมถึงจีนตอนใต้ ไม่ สามารถที่จะผลิตสิ นค้าอุปโภค-บริโภคเพียงพอต่อความต้องการของคนในประเทศได้ จึงต้องนาเข้าสินค้าจาก

6

จากการคานวณของผู้วิจยั

ยักษ์ค้าปลีกสู่ สมรภูมิจังหวัดเชียงราย

หน้า 8


OBELS WORKING PAPER NO.9

JUNE 2015

ประเทศไทยเข้าไปทดแทนช่องว่างระหว่างอุปสงค์ที่ล้นเกินและอุปทานที่ขาดแคลน เป็นโอกาสสาหรับประเทศไทย ในการส่งออกสินค้าประเภทนี้ รูปที่ 2 มูลค่าการค้าชายแดน ส่งออก นาเข้า และดุลการค้าปี 2546 - 2557 20000 15000

นาเข้า

10000

ส่งออก การค้ารวม

5000

ดุลการค้า

0 -5000

2546 2547 2548 2549 2550 2551 2552 2553 2554 2555 2556 2557 ที่มา: ด่านศุลกากรเชียงของจังหวัดเชียงราย, 2558

ในระดับของพื้นที่ชายแดน ชาวลาวจานวนมากข้ามมาจากฝั่ งเมืองห้ว ยทรายเข้ามาซื้อสินค้าอุปโภค บริโ ภคจากร้ านค้าท้องถิ่นในฝั่ งของอาเภอเชียงของ ทั้งจุดประสงค์เพื่อนาไปใช้บริโภคในครัว เรือนและซื้อไป จาหน่ายภายในร้านค้าในฝั่งของสปป.ลาว ศักยภาพการส่งออกสินค้าประเภทอุปโภค-บริโภคเป็นปัจจัยหนึ่งที่ส่งผล ทาให้ห้างไฮเปอร์มาร์เก็ตเทสโก้ -โลตัสเข้ามาขยายกิจการภายในอาเภอเชียงของเพื่อเข้าถึงตลาดของผู้บริโภคทั้ง ชาวไทย และชาวลาว อาเภอเชียงของเป็นหนึ่งในอาเภอหนึ่งของจังหวัดเชียงรายที่มีพรมแดนติดกับประเทศเพื่อนบ้าน ติดกับ เมืองห้วยทราย แขวงบ่อแก้ว สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) โดยมีแม่น้ากั้นกลางระหว่างสอง เมือง ทาให้บริเวณเชียงของ-ห้วยทรายเป็นพื้นที่ที่มีการค้าขายระหว่างกันมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน และมีข้อ ได้เปรียบของที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ เนื่องจากอาเภอเชียงของตั้งอยู่บนระเบียงเศรษฐกิจเหนือใต้ (North-South Economic Corridor: NSEC) ที่เรียกว่าเส้นทาง R3A ภายใต้กรอบความร่วมมือของอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้าโขง (Greater Mekong Sub-region : GMS) เอื้อประโยชน์อย่างมากในการค้าขายระหว่างประเทศลาว และประเทศ จี น ตอนใต้ เป็ น ตั ว ผลั กดั น ให้ ก ารค้า ระหว่ า งประเทศในพื้ นที่ พรมแดนอ าเภอเชี ยงของมีค วามส าคั ญมา กขึ้ น นอกจากนี้ ยังมีกรอบความร่วมมืออีกมากมายที่ให้สิทธิประโยชน์ ได้แก่ ยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจอิร วดี - เจ้าพระยา - แม่โขง (Ayeyawady - Chao Phraya - Mekong Economic Cooperation Strategy : ACMECS) ความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก (Asia-Pacific Economic Cooperation : APEC) แผนการ

ยักษ์ค้าปลีกสู่ สมรภูมิจังหวัดเชียงราย

หน้า 9


OBELS WORKING PAPER NO.9

JUNE 2015

พัฒนาเขตเศรษฐกิจสามฝ่าย อินโดนีเซีย-มาเลเซีย-ไทย (Indonesia – Malaysia – Thailand Growth Triangle : IMT-GT) การเปิดเขตการค้าเสรีอาเซียน-จีน (ASEAN China Free Trade Agreement : ACFTA) ความริเริ่ม แห่งอ่าวเบงกอลสาหรับความร่ วมมือหลากหลายสาขาทางวิชาการและเศรษฐกิ จ (Bay of Bengal Initiative for Multi-Sectoral Technical and Economic Cooperation : BIMSTEC) สมาคมประชาชาติแห่งเอเชีย ตะวันออกเฉียงใต้ (Association of South East Asian Nations: ASEAN) และโครงการสี่เหลี่ยมเศรษฐกิจไทยลาว-จีน-พม่า (Economic Quadrangle Cooperation : EQC) ที่จะช่วยพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในการเชื่อมโยง พื้นที่เศรษฐกิจ การค้าและการลงทุนข้ามพรมแดน รวมถึงการส่งเสริมการท่องเที่ยว ซึ่งกิจการต่างๆที่ได้ลงทุนใน บริเวณอาเภอเชียงของก็สามารถที่จะใช้สิทธิโยชน์จากกรอบความร่วมมือต่างๆได้อย่างเต็มที่ นอกจากนี้ ตามประกาศของคณะกรรมการนโยบายเขตเศรษฐกิจพิเศษที่ 1/2558 และ 2/2558 ได้ ประกาศให้จังหวัดเชียงรายเป็นหนึ่งในจังหวัดเที่ได้รับการพัฒนาเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษ ซึ่งอาเภอเชียงของได้เป็น หนึ่งในอาเภอที่มีพื้นที่ติดชายแดน จึงได้รับสิทธิประโยชน์สาหรับกิจการที่ได้รับการส่งเสริมให้มีการลงทุน ตาม ประกาศของคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนที่ 4/2558 วันที่ 18 ธ.ค. 2557 โดยแบ่งออกเป็น 2 กรณี 1. กรณี กิจการตามบัญชีประเภทของ BOI ได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเพิ่มเติมจากหลักเกณฑ์ปกติ 3 ปี แต่รวม แล้วไม่เกิน 8 ปี หากเป็นกิจการในกลุ่ม A1 และ A2 จะได้รับการลดหน่อยภาษีเงินได้ร้อยละ 50 เพิ่มอีก 5 ปี ใน เวลา 10 ปี จะได้รับการหักค่าขนส่ง ไฟฟ้า และประปา 2 เท่า รวมถึงการหักค่าติดตั้งหรื อก่อสร้างสิ่งอานวยความ สะดวกได้ร้อยละ 25 ของเงินลงทุน ตลอดจนยกเว้นอากรขาเข้าเครื่องจักร อากรขาเข้าวัตถุดิบที่ใช้ผลิตเพื่อการ ส่งออก อนุญาตให้ใช้แรงงานต่างด้าวไร้ฝีมือ และสิทธิประโยชน์อื่นๆ อาทิ การถือครองที่ดิน การนาช่างฝีมือต่าง ด้าวมาทางาน เป็นต้น 2. กรณีกิ จการเป้าหมาย ที่ตอนนี้ยังมีการกาหนดกิจการเป้าหมายเฉพาะ 5 พื้นที่แรกที่ ได้รับการพัฒนาเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษเท่านั้น สิทธิประโยชน์ได้รับจะต่างจากกรณีแรกตรงที่กิจการดังกล่าวจะ ได้รั บ การยกเว้น ภาษี เงิน ได้ นิ ติบุ คคลสู งสุ ด 8 ปี และได้ รับ การลดหย่อ นภาษี เงิน ได้ ร้อยละ 50 เพิ่มอี ก 5 ปี (สานักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน, 2558) ฉะนั้น การขยายตัวอย่างมากของการค้าชายแดน และการส่งออกสินค้าอุปโภค-บริโภค ประโยชน์จากการ ได้รับสิทธิประโยชน์ภายใต้กรอบความร่วมมือ และการได้รับการส่งเสริมการลงทุนเป็นพิเศษจากการเป็นพื้นที่ที่จะ ได้รับการพัฒนาเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษ และนิคมอุตสาหกรรมชายแดน จึงเป็นปัจจัยบวกที่ดึงดูดให้บรรษัทข้าม ชาติค้าปลีกขนาดใหญ่อย่าง ห้างเทสโก้ -โลตัสให้เข้ามาขยายกิจการห้างค้าปลีกไฮเปอร์มาร์เก็ตขนาดใหญ่ในพื้นที่ ชายแดนอาเภอเชียงของ อย่างไรก็ตาม แม้การเข้ามาของห้างค้าปลีกต่างชาติขนาดยักษ์ได้ส่งผลกระทบเชิงบวก เช่น การเพิ่มการจ้างงาน การเพิ่มรายได้ให้กับรัฐบาลจากการชาระภาษี การยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้คน แต่ก็ ส่งผลกระทบเชิงลบต่อกลุ่มผู้ประกอบการรายย่อยที่ประกอบกิจการค้าปลีกและค้าส่งภายในพื้นที่

ยักษ์ค้าปลีกสู่ สมรภูมิจังหวัดเชียงราย

หน้า 10


OBELS WORKING PAPER NO.9

JUNE 2015

ผลกระทบจากบรรษัทค้าปลีกข้ามชาติ การวิเคราะห์ ผลกระทบจากบรรษัทค้าปลีกข้ามชาติในอาเภอเชียงของเป็นการวิเคราะห์ เชิงคุณภาพ (Descriptive Analysis) โดยใช้เครื่องมือการวิเคราะห์ 2 ด้าน ได้แก่ ด้านแนวคิดเชิงสถาบัน และด้านผลกระทบ ทางเศรษฐกิจ และสังคม ตลอดจนทาการสัมภาษณ์ธุรกิจค้าปลีกค้าส่งภายในอาเภอเชียงของจานวน 6 กิจการ และผู้ที่เกี่ยวข้อง 1 คน ระหว่างวันที่ 24 - 26 เมษายน 2558 จากการเข้าไปสัมภาษณ์ร้านค้าส่ง และร้านค้าปลีก ซึ่งเป็นร้านค้าแบบดั้งเดิมบนเส้นทางระหว่างวัดพระ แก้วถึงท่าเรือบั๊คประมาณ 1.8 กิโลเมตร เป็นเส้นทางที่มีร้านขายสินค้าอุปโภค-บริโภคทั้งค้าส่งและค้าปลีกอยู่ ตลอดเส้นทาง พบว่ากิจการค้าส่งส่วนมากได้เปิดกิจการมามากกว่า 20 ปี เนื่องจากเป็นกิจการที่สืบทอดต่อกันมา ของตระกูลตั้งแต่อดีต ส่วนกิจการค้าปลีกบ้างก็เปิดมามากกว่า 10 ปี บ้างก็พึ่งเปิดได้ไม่นานนั ก แต่โดยรวมแล้ว กิจการค้าปลีกค้าส่งส่วนใหญ่ได้ถูกดาเนินมาก่อนที่จะมีห้างเทสโก้-โลตัวมาเปิดกิจการแทบทั้งนั้น ซึ่งผลกระทบของ ระหว่างร้านค้าปลีกและร้านค้าส่งมีความแตกต่างกันอยู่มาก ผลกระทบของธุรกิจค้าส่งค้าปลีกในอาเภอเชียงของ สามารถแบ่งออกได้เป็นสามพื้นที่ คือ ร้านค้าบริเวณที่ใกล้กับท่าเรือบั๊ค7 ร้านค้าที่อยู่ระหว่างทางจาก 7-11 ไปยัง ท่าเรือบั๊ค และบริเวณใกล้กับร้านสะดวกซื้อ 7-11 ห่างจากท่าเรือบั๊คประมาณเกือบ 2 กิโลเมตร ผู้วิจัยได้สอบถาม เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของการค้าในอดีตจนถึงปัจจุบัน ผลกระทบที่ได้รับและการปรับตัวของร้านค้า ผู้ประกอบกิจการร้านค้าส่งร้านหนึ่งที่อยู่บริเวณท่าเรือบั๊คเป็นกิจการร้านค้าส่งที่ดาเนินกิจการมาแล้วกว่า 30 ปี เป็นกิจการของตระกูลที่ลูกชายได้สืบทอดต่อมากล่าวว่า “การค้าในอดีตมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก ลูกค้าขาจรที่เคยมีมาซื้อสิน ค้าในอดีตหายไปหมด เหลื อลูกค้าขาประจาที่เป็นชาวลาวที่ยังคงซื้อสิ นค้าอยู่เป็น ประจา ผลกระทบที่ได้รับจากห้างเทสโก้ -โลตัสแค่ประมาณ 40% ของยอดขายที่ลดลง ทางร้านค้าก็มีการปรับตัว บ้าง เช่น การไปส่งของให้กับลูกค้าถึงที่” ส่วนผู้ประกอบการค้าปลีกที่อยู่ในบริเวณเดียวกันที่ได้ดาเนิ นกิจการมา 2 ปี ก่อนที่โลตัสจะเข้ามาเปิดกล่าวว่า “สถานการณ์การค้าในร้านก็ปกติดี ไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงอะไรมาก และ ไม่ได้รับผลกระทบอะไรจากห้างเทสโก้ -โลตัสที่มาเปิดเลย เนื่องจากลูกค้าประจาของร้านเป็นชาวบ้านที่อยู่ใน ละแวกนี้เสียส่วนมาก” ร้านค้าปลีกส่วนใหญ่จะมีการกระจายตัวอยู่ตลอดเส้นทางจาก 7-11 ไปยังท่าเรือบั๊ค ผู้ประกอบการร้านค้า ปลีก A ที่ดาเนินกิจการมาแล้วกว่า 30 ปี กล่าวว่า “การค้าในปัจจุบันค่อนข้างเงียบอย่างมากผิดกับสมัยก่อน ทาง ร้านได้รับผลกระทบนิดหน่อยจากการที่ลูกค้าจานวนหนึ่งหันไปซื้อสินค้าจากห้างเทสโก้ -โลตัสแทน แต่ก็ไม่ได้มีการ ปรับตัวอะไร เพราะขายอย่างนี้มาตั้งนานแล้ว ยังคงมีลูกค้าเข้ามาเรื่อยๆ”

7

ท่าเรือบั๊คเป็นท่าเรือที่ใช้ข้ามฝั่งไปยังสปป.ลาว ก่อนสะพานมิตรภาพไทย-ลาวแห่งที่ 4 จะถูกสร้าง ท่าเรือดังกล่าวถือว่ามีความสาคัญอย่างมาก

ยักษ์ค้าปลีกสู่ สมรภูมิจังหวัดเชียงราย

หน้า 11


OBELS WORKING PAPER NO.9

JUNE 2015

ผู้ประกอบการร้านค้าปลีก B กล่าวว่า “การค้าเปลี่ยนแปลงไปเยอะมากจากอดีต นักท่องเที่ยวเงียบหาย ลงไปเยอะ ทางร้านได้รับผลกระทบจากทั้งห้างเทสโก้ -โลตัส ร้านสะดวกซื้อ 7-11 และสะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 4 ยอดขายลดลงเยอะ ขายของได้น้อยลง แต่ก็พออยู่ได้” ผู้ประกอบการร้านค้าปลีก C กล่าวว่า “บริเวณเชียงของปัจจุบันมีการค้าขายน้อยลงเยอะ เปลี่ยนแปลงไป มาก ลูกค้าของทางร้านส่วนมากเป็นชาวบ้าน จึงไม่ได้รับผลกระทบอะไรมาก แต่ร้านค้าส่ งจะได้รับผลกระทบเยอะ กว่า ถ้าได้รับผลกระทบมากก็จะเป็นผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจที่ซบเซา” ผู้ประกอบร้านค้าปลีก D กล่าวว่า “ลูกค้าที่เป็นขาจรอย่างนักท่องเที่ยวนานๆที่จะเข้ามาซื้อสินค้า แต่ ลูกค้าขาประจายังคงวนเวียนเข้ามาอยู่ต่อเนื่อง โดยสินค้าหลักที่ขายได้คือสินค้าที่ใช้ในชีวิตประจาวัน เช่น สบู่ ยาสี ฟัน แชมพู ครีมอาบน้า ทางร้านไม่ค่อยซื้อสินค้าลดราคาจากห้างเทสโก้ -โลตัสมาขาย เนื่องจากเป็นสินค้าที่ใกล้ หมดอายุแล้วทั้งนั้น แต่จะรับสินค้าจากร้านค้าส่งที่เข้ามาส่งสินค้าถึงที่ พร้อมมีบริการรับเปลี่ยน และตรวจเช็ค สินค้าอยู่เสมอ เป็นสิ่งที่ห้างเทสโก้ -โลตัสไม่มี การปรับตัวก็ไม่ได้เปลี่ยนแปลงอะไรมาก โดยพยายามที่จะเลือก สินค้าที่ชาวเชียงของนิยมใช้มาจาหน่ายในร้านเสียส่วนใหญ่” ผู้ประกอบการร้านค้าปลีก E ได้ดาเนินกิจการมา 16 ปีแล้ว กล่าวว่า “ลูกค้าน้อยลงเยอะ เงียบมาก เป็น เพราะเศรษฐกิจไม่ค่อยดี ส่วนตัวไม่ได้รับผลกระทบอะไรจากห้างเทสโก้ -โลตัส ได้ไปซื้อของบางอย่างจากห้างเทส โก้-โลตัสมาจาหน่ายในร้านบ้าง แต่ส่วนใหญ่ก็สั่งซื้อจากร้านค้าส่ง เพราะสินค้าบางตัวโลตัสก็ไม่มีจาหน่าย จานวน ลูกค้ายังคงมีปริมาณเท่าเดิม แต่มีการซื้อในปริมาณที่น้อยลงกว่าเดิม” ผู้ป ระกอบการร้านค้าปลี ก F กล่ าวว่า “ลูกค้าหายไปประมาณ 50% จากแต่ก่อน แต่ไม่ได้มาจาก ผลกระทบของโลตัสที่เข้ามาเปิดแต่อย่างใด เพราะลูกค้าของทางร้านจะเป็นชาวเขาที่อยู่บริเวณเชียงของเป็นส่วน ใหญ่ ชาวลาวบางส่วนที่เคยซื้อสินค้าหันไปนารถเข้ามาทางสะพานและขับเข้ามาซื้อสินค้าที่โลตัส” ถึงกระนั้น ผู้ป ระกอบการร้ านค้าส่งที่อยู่ใกล้กับร้านสะดวกซื้อ 7-11 กล่ าวว่า “ลู กค้าจานวนหนึ่งที่ ประกอบการอาชี พ ทางราชการนิ ย มที่ จ ะไปซื้ อ สิ น ค้ า ในห้ า งเทสโก้ -โลตั ส มาก เนื่ อ งจากเป็ น ห้ า งที่ มี เครื่องปรับอากาศ และมีที่จอดรถ ส่วนลูกค้าประจาที่เป็นชาวลาวยังคงสั่งซื้อสินค้าจากทางร้านอยู่เป็นประจา แต่มี การเปลี่ยนพฤติกรรมไปซื้อสินค้าจากห้างเทสโก้-โลตัสมากในช่วงที่มีการลดราคาอย่างหนัก โดยรวมแล้วจึงไม่ได้รับ ผลกระทบอะไรมากนัก” เป็นที่น่าสังเกตว่าบริเวณที่ใกล้กับร้านสะดวกซื้อไม่พบร้านค้าปลีกเลยซักร้าน นอกจากนี้ ผู้วิจัยยังเข้าไปสัมภาษณ์บุคคลที่ใกล้ชิดกับสมาคมและองค์กรท้องถิ่นต่างๆภายในอาเภอเชียง ของ พบว่าในช่วงเทศกาล เช่น วันสงกรานต์ วันปีใหม่ และวันตรุษจีน ผู้คนในเมืองเชียงของจะแห่กันเข้ามาจับจ่าย ใช้สอยในเทสโก้ -โลตัส มากเป็ นพิเศษ ส่งผลให้บริเวณร้านค้าบริเ วณตลาดสดไม่คึกคักเท่าที่ควร ต่างจากช่ว ง เทศกาลก่อนที่จะมีเทสโก้-โลตัวเข้ามาเปิดกิจการ ทั้งนี้ บุคคลดังกล่าวยังให้ข้อมูลเกี่ยวกับการเข้ามาเปิดเทสโก้ ยักษ์ค้าปลีกสู่ สมรภูมิจังหวัดเชียงราย

หน้า 12


OBELS WORKING PAPER NO.9

JUNE 2015

โลตัสว่า ก่อนหน้าที่จะมีการเปิดเทสโก้-โลตัสเชียงของ ได้มีเสียงต่อต้านจากกลุ่มผู้ค้าขายอยู่บ้างแต่ก็ไม่เป็นผล ซึ่ง หลังจากเทสโก้-โลตัสได้ถูกเปิดกิจการอย่างเป็นทางการ ร้านค้าต่างๆก็ได้รับความเดือดร้อนอย่างมาก การวิเคราะห์บริบทของการค้าปลีกในอาเภอเชียงของ ผลลัพธ์ของการค้าปลีกตามงานของกาญจน์ชูฉัตร (2550) มีรากฐานมาจากความหลากหลายของเงื่อนไข ทางสถาบัน (institutional factors) ที่จะทาให้เกิดรูปแบบของการค้าปลีกในท้องถิ่นที่มีความแตกต่างกัน และมี ความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของพื้นที่ ประกอบไปด้วย พฤติกรรมของห้างท้องถิ่น ความได้เปรียบของห้างท้องถิ่น ความสัมพันธ์ในท้องถิ่น และบริบทของเกม พบว่าร้านค้าปลีกค้าส่งในอาเภอเชียงของมีพฤติ กรรมแบบต่างคนต่าง แข่งขัน และมีการเข้าสู่ตลาดก่อน (first mover) มามากกว่า 10 ปีแล้ว การเข้ามาของบรรษัทข้ามชาติรายเดียวยัง ไม่สามารถผลักให้ร้านค้าปลีกค้าส่งในอาเภอเชียงของปิดกิจการหรือย้ายไปตลาดอื่น ความได้เปรียบของร้านค้า ท้องถิ่นในอาเภอเชียงของคือ การมีสายสั มพันธ์ทางการค้ามายาวนาน ทาให้พฤติกรรมของลูกค้าประจาอย่างชาว ลาวที่มีการสั่งซื้อสินค้าจากร้านค้าส่งมาตั้งแต่อดีต ไม่ได้เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการซื้อสินค้าไปมากนัก ทาให้ ร้านค้าในอาเภอเชียงของยังคงแข่งขันได้ ซึ่งความสัมพันธ์ในท้องถิ่นของร้านค้ากับภาครัฐหรือภาคเอกชนอาจจะมี อยู่ เนื่องจากร้านค้าปลีกค้าส่งส่วนมากเป็นร้านค้าเก่าแก่ที่ดาเนินกิจการมายาวนาน ไม่ได้ใช้ความสัมพันธ์ที่มิใช่ ตลาดเพื่อเรียกร้องขอความเป็นธรรม แต่ก็มีเสียงคัดค้านอยู่บ้างจากกลุ่มผู้ค้าแต่ไม่ได้เกิดเป็นกระแสต่อต้านอย่าง อาเภอแม่สาย และบริบทของเกมในอาเภอเชียงของเป็นการแข่งขันแบบเสรี เนื่องจากอาเภอเชียงของเป็นพื้นที่เขต เศรษฐกิจพิเศษชายแดนที่ค่อนข้างถูกสนับสนุนให้เกิดการลงทุน จึงได้รับความเห็นชอบจากทั้งทางภาครัฐ และ ภาคเอกชนในการเข้ามาขยายกิจการของห้างเทสโก้ -โลตัส ฉะนั้นลักษณะของผลลัพธ์การค้าปลีกในอาเภอเชียง ของใกล้เคียงกับลักษณะแบบท้องถิ่นโลกาภิวัฒน์ ตารางที่ 2 ผลลัพธ์การค้าปลีกจากการวิเคราะห์โดยใช้เครื่องมือเชิงสถาบัน 1. 2. 3. 4.

ปัจจัยเชิงสถาบัน พฤติกรรมของห้างท้องถิ่น ความได้เปรียบของห้างท้องถิ่น ความสัมพันธ์ในท้องถิ่น บริบทของเกม

ยักษ์ค้าปลีกสู่ สมรภูมิจังหวัดเชียงราย

ธุรกิจค้าปลีก เข้าสู่ตลาดก่อน สายสัมพันธ์อันยาวนาน ไม่แน่ชัด แข่งขันแบบเสรี

ธุรกิจค้าส่ง เข้าสู่ตลาดก่อน สายสัมพันธ์อันยาวนาน ไม่แน่ชัด แข่งขันแบบเสรี

หน้า 13


OBELS WORKING PAPER NO.9

JUNE 2015

ปัจจัยที่มีผลกระทบเชิงเศรษฐสังคมจากการขยายตัวของห้างค้าปลีกขนาดใหญ่ จากการเข้าไปลงพื้นที่สารวจพร้อมกับสัมภาษณ์ร้านค้าปลีกค้าส่งที่อยู่บริเวณตัวเมืองอาเภอเชียงของ พบว่า ร้านค้าปลีกส่วนใหญ่ไม่ค่อยได้รับผลกระทบจากห้างเทสโก้ -โลตัส เนื่องจากสินค้าที่จาหน่ายในร้านเป็น สินค้าที่ใช้ในชีวิตประจาวัน และคัดเฉพาะสินค้าที่เป็นที่นิยมในพื้นที่เท่านั้น ทาให้สินค้ามีการหมุนเวียนเข้าออกอยู่ ตลอดเวลา แต่ผลกระทบที่ร้านค้าปลีกได้รับกับเป็นการเปิดสะพานมิตรภาพไทย-ลาวแห่งที่ 4 กับภาวะเศรษฐกิจที่ ย่าแย่มากกว่า ทาให้ผู้บริโภคขาจรที่เป็นนักท่องเที่ยวหายไปเป็นจานวนมาก เป็นผลกระทบแบบลูกโซ่ต่อการลดลง ของรายได้ของธุรกิจ ที่เกี่ย วข้องกับการท่องเที่ยว ส่งผลให้ ผู้บริโภคในพื้นที่มีการซื้อสิ นค้าที่ลดปริมาณน้อยลง กว่าเดิม ในด้านของการค้าส่งพบว่าร้านค้าส่งที่อยู่ใกล้ร้านสะดวกซื้อ 7-11 ไม่ได้รับผลกระทบจากห้างเทสโก้-โลตัส มาก มีการลดลงของจานวนลูกค้าชาวลาวเพียงเล็กน้อย ในช่วงที่ห้างเทสโก้-โลตัสมีการมหกรรมลดราคาสินค้าแค่ เท่านั้น นอกเหนือจากนั้น ลูกค้าชาวลาวยังคงมาเข้ามาสั่งซื้อสินค้ากับทางร้านเหมือนเดิม แต่ลูกค้าที่ประกอบ อาชีพเกี่ยวกับทางราชการได้มีการเปลี่ยนพฤติกรรมไปใช้บริการห้างเทสโก้ -โลตัสอย่างชัดเจน เป็นเพราะผู้บรโภค เหล่านี้มีรถส่วนตัวใช้เกือบหมดทุกครัวเรือน ซึ่งห้างเทสโก้-โลตัสมีที่จอดรถที่สะดวกสบายต่อการนารถส่วนตัวไปใช้ บริการมากกว่า โดยลูกค้าชาวลาวก็มีแนวโน้มที่จะนารถส่วนตัวข้ามจากฝั่งเมืองห้วยทรายผ่านมาทางสะพาน มิตรภาพไทย-ลาวแห่งที่ 4 เพื่อเข้ามาซื้อสินค้าที่ห้างเทสโก้ -โลตัสเหมือนกัน ส่วนร้านค้าส่งที่อยู่ใกล้กับท่าเรือบั๊ค ได้รับผลกระทบที่รุนแรงกว่าร้านค้าส่งที่อยู่ใกล้ 7-11 พบว่าจานวนลูกค้า และยอดขายลดลงอย่างมาก ทางร้านได้ มีการปรับตัวโดยการจัดส่งสินค้าถึงที่ ซึ่งเป็นบริการที่ห้างเทสโก้ -โลตัสไม่มีให้ สามารถสรุปเป็นผลกระทบทาง เศรษฐกิจและสังคมได้ตามตาราง ตารางที่ 3 ผลกระทบทางเศรษฐสังคมการขยายตัวของการค้าปลีก ปัจจัยที่ส่งผลกระทบ - รายได้จากคนท้องถิ่น

- รายได้จากชาวลาว

ธุรกิจค้าปลีก คนท้องถิ่นส่วนมากเป็นลูกค้าขา ประจาที่เน้นความสะดวกในการ เดินทางในการไปซื้อของ จึงยังเลือกที่ จะซื้อสินค้าแถวพื้นที่ที่ตนเองอาศัย จึงไม่ได้สูญเสียรายได้จากลูกค้ากลุ่มนี้ (+) ร้านค้าปลีกไม่ค่อยมีลูกค้าเป็นชาวลาว แต่จะเป็นลูกค้าที่เป็นคนท้องถิ่น ทั้ง ชาวไทยและชาวเขา จึงไม่ได้รับ ผลกระทบ (0)

ยักษ์ค้าปลีกสู่ สมรภูมิจังหวัดเชียงราย

ธุรกิจค้าส่ง ลูกค้าที่เป็นคนท้องถิ่นที่ชอบซื้อสินค้าใน ปริมาณมากจากร้านค้าส่งคือ ลูกค้าที่เป็น ข้าราชการ ซึ่งจากการสัมภาษณ์พบว่า ลูกค้าราชการส่วนหนึ่งได้หันไปจับจ่ายซื้อ สินค้าในห้างเทสโก้-โลตัสบ้าง แต่ก็ยังซื้อ สินค้ากับร้านค้าอยู่ (0) ชาวลาวส่วนใหญ่ยังคงใช้บริการกับ ร้านค้าส่งท้องถิ่น เนื่องจากมีการค้าขาย กันมายาวนานมากกว่า 20 ปี รวมถึงการ ที่ร้านค้าส่งมีบริการส่งสินค้าถึงที่ แต่ หน้า 14


OBELS WORKING PAPER NO.9

ปัจจัยที่ส่งผลกระทบ

-

-

-

-

JUNE 2015

ธุรกิจค้าส่ง กระนั้นชาวลาวจานวนหนึ่งก็หันไปซื้อ สินค้าจากห้างไฮเปอร์มาร์เก็ตในช่วงลด ราคา และการมีสะพานมิตรภาพแห่งที่ 4 อานวยความสะดวกให้ชาวลาวสามารถ ขับรถข้ามฝั่งมาซื้อสินค้าได้ง่ายขึ้น (-) การเข้า/ออกธุรกิจ จากการสอบถามยังไม่พบว่ามีร้านค้า จากการสอบถามยังไม่พบว่ามีร้านค้าส่งที่ ปลีกที่ปิดกิจการ (0) ปิดกิจการ (0) ด้านราคา ราคาสินค้าของห้างค้าปลีกจะถูกกว่า ราคาสินค้าของห้างค้าปลีกจะถูกกว่า ร้านค้าปลีกในช่วงของการลดราคา (-) ร้านค้าส่งในช่วงของการลดราคา (-) ด้านผลิตภัณฑ์ สินค้าของห้างค้าปลีกมีความ สินค้าของห้างค้าปลีกมีความหลากหลาย หลากหลายกว่าแต่ร้านค้าท้องถิ่นขาย กว่าแต่ร้านค้าท้องถิ่นขายสินค้าที่เป็นที่ สินค้าที่เป็นที่นิยมสาหรับลูกค้าประจา นิยมสาหรับลูกค้าประจา (-) (-) ด้านสถานที่ ในด้านสถานที่ ร้านค้าปลีกไม่มีที่จอด ในด้านสถานที่ ร้านค้าส่งไม่มีที่จอดรถ รถ ทาให้บางครั้งเกิดรถติดบริเวณ แต่ร้านค้าส่งรับส่งสินค้าให้แก่ลูกค้าชาว ร้านค้าบ้าง เนื่องจากบริเวณตัวเมือง ลาวที่เป็นขาประจาถึงท่าเรือ จึงทาให้ไม่ เชียงของถนนค่อนข้างคับแคบ เป็นปัญหาสาหรับร่านค้าปลีกในด้านนี้ (-) หากแต่ห้างไฮเปอร์มาร์เก็ตมีพื้นที่จอด รถขนาดใหญ่ จึงสะดวกแก่ลูกค้าที่มี รถยนต์มากกว่า (-) ด้านการส่งเสริมการขาย ร้านค้าปลีกไม่ได้มีการส่งเสริมการขาย ร้านค้าส่งไม่ได้มีการส่งเสริมการขายอะไร อะไรเป็นพิเศษ จาหน่ายสินค้า เป็นพิเศษ จาหน่ายสินค้าตามปกติ ไม่มี ตามปกติ ไม่มีการโฆษณา (-) การโฆษณา (-) พฤติกรรมผู้บริโภค ลูกค้าที่เป็นขาประจายังคงใช้บริการ ลูกค้าชาวลาวบางกลุ่มที่มีรถยนต์ส่วนตัว กับร้านค้าปลีกอยู่ ไม่ว่าจะเป็นชาว ขับผ่านเข้ามาทางสะพานมิตรภาพแห่งที่ ไทยหรือชาวเขา เนื่องจากอยู่ใกล้กับที่ 4 มาซื้อสินค้าจากโลตัสบ้าง แต่ลูกค้าขา พักอาศัย แต่บางกลุ่มก็มีการเข้าไปซื้อ ประจาชาวลาวที่มีการค้าขายกันมานาน สินค้าในเทสโก-โลตัสบ้าง เพื่อใช้ ยังคงใช้บริการจากร้านค้าส่งอยู่ (0) บริการอื่นๆ เช่น รับประทานอาหาร

ยักษ์ค้าปลีกสู่ สมรภูมิจังหวัดเชียงราย

ธุรกิจค้าปลีก

หน้า 15


OBELS WORKING PAPER NO.9

ปัจจัยที่ส่งผลกระทบ

ธุรกิจค้าปลีก ชาระค่าบริการโทรศัพท์ (0)

JUNE 2015

ธุรกิจค้าส่ง

หมายเหตุ: (+) ปัจจัยส่งผลกระทบเชิงบวก (-) ปัจจัยส่งผลกระทบเชิงลบ (0) ปัจจัยไม่ส่งผลกระทบ

บทสรุปและข้อเสนอแนะทางนโยบาย บรรษัทข้ามชาติค้าปลีกมีการขยายตัวอย่างรวดเร็วมากในพื้นที่ต่างจังหวัด โดยเฉพาะบริเวณพื้นที่ที่มี พรมแดนติดกับประเทศเพื่อนบ้าน เนื่องด้วยพื้นที่ชายแดนเป็นพื้นที่ที่มีโอกาสในการเติบโตอย่างรวดเร็ว สังเกตได้ จากตั ว เลขการค้ า ชายแดนเกื อ บทุ ก ด่ า นมี อั ต ราการการขยายตั ว ทางการค้ า ที่ สู ง มาก ประกอบกั บ จ านวน นักท่องเที่ยวที่เพิ่มขึ้นในทุกปี ทาให้พื้นที่ชายแดนเป็นพื้นที่ที่เปรียบเสมือนแม่เหล็กขนาดใหญ่ที่ดึงดูดเงินลงทุน จานวนมหาศาลจากกลุ่มนักลงทุนจากนานาประเทศ เป็นผลต่อเนื่องให้เกิดการพัฒนาทางเศรษฐกิจของประเทศ และยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน ทั้งนี้ รัฐบาลในหลายยุคได้พยายามที่จะสนับสนุนให้เปิดการค้าการลงทุน อย่างเสรี และไม่ได้มีการใช้บทกฎหมายในการควบคุมการขยายตัวของห้างค้าปลีกข้ามชาติอย่างแท้จริง จึงทาให้ เกิดกระแสต่อต้านบรรษัทข้ามชาติอย่ างหลี กเลี่ ยงไม่ได้ ซึ่งเป็นปัญหาที่ยังไม่ได้รับการแก้ไขมาจนถึงทุกวันนี้ ฉะนั้นการเข้าไปของบรรษัทข้ามชาติ หรือ การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศไปในพื้นที่ชายแดนไม่ได้ส่งผลกระทบ เชิงบวกต่อสังคมโดยรวม (society as a whole) เสมอไป หลังจากปี 2540 การขยายการลงทุนของบรรษัทข้ามชาติค้าปลีกมีลักษณะที่พยายามกระจายตัวออกไป ยังท้องถิ่น ซึ่งทาให้หัวเมืองตามต่างจังหวัดที่มีศักยภาพทางด้านค้าปลีกมีสาขาของห้างค้าปลีกข้ามชาติเกือบในทุก พื้นที่ รวมถึงจั งหวัดเชีย งรายที่เป็ นเมืองติดชายแดน และมีศักยภาพสูงมากในด้านการค้ าระหว่างประเทศ ณ ตอนนี้ ห้างค้าปลีกข้ามชาติเทสโก้ -โลตัสได้เข้ามาไปเปิดห้างไฮเปอร์มาร์เก็ตที่อาเภอแม่สาย และอาเภอเชียงของ เป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดยมีเป้าประสงค์ที่จะมาแสวงหาตลาดขนาดใหญ่จากทั้งผู้บริโภคภายในพื้นที่ และผู้บริโภค จากประเทศเพื่อนบ้าน ทาให้ตลาดการค้าปลีกบริเวณชายแดนเป็นตลาดที่มีขนาดค่อนข้างใหญ่กว่าพื้นที่ทั่วไป แต่ การขยายสาขาเข้าไปในพื้นที่อาเภอชายแดนได้ส่งผลให้ร้านค้าปลีกค้าส่งรายย่อยปิดกิจการเป็นจานวนมากไม่ต่าง จากที่พื้นที่ห่างชายแดน เนื่องจากไม่สามารถที่จะสู้ห้างค้าปลีกข้ามชาติในด้านทุน เทคโนโลยี และการบริหาร จัดการที่เหนือกว่า จึงเป็นสาเหตุให้เกิดการศึกษาผลกระทบจากการขยายตัวของห้างค้าปลีกต่อผลกระทบทาง เศรษฐกิจและสังคมในอาเภอเชียงของ แม้ว่าตอนนี้ ผลกระทบจากห้างเทสโก้ -โลตัสจะยังไม่มากนัก แต่อีกไม่นานสมรภูมิชายแดนอาเภอเชียง ของจะกลายเป็นที่จับจองของกลุ่มห้างค้าปลีกขนาดยักษ์ ซึ่งผู้ให้สัมภาษณ์คนหนึ่งกล่าวว่าห้างไฮเปอร์มาร์เก็ต Big C กาลังจะเข้ามาขยายสาขาเหมือนกัน ทาให้ร้านค้าปลีกค้าส่งดั้งเดิมจะต้องเผชิญกับการแข่งขันที่รุนแรงมากขึ้น ยักษ์ค้าปลีกสู่ สมรภูมิจังหวัดเชียงราย

หน้า 16


OBELS WORKING PAPER NO.9

JUNE 2015

จนอาจทาให้ร้านค้าเหล่านี้ต้องออกจากตลาดไปก็เป็นได้ เนื่องจาก อาเภอเชียงของเป็นอาเภอชายแดนที่อยู่ใน แผนการพัฒนาให้เป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดน ทาให้ไม่สามารถที่จะนากฎหมายทั่วไปที่ร้านค้าปลีกค้าส่ง มาใช้ เป็นเครื่องมือในการต่อรองได้ ฉะนั้น ร้านค้าปลีกค้าส่งจะต้องมีการปรับตัวอย่างหนักเพื่อให้สามารถรักษากิจการ ของตนเองไว้ได้ และให้สอดคล้องกับการค้าเสรีในรูปแบบเต็มตัวในอนาคตอันใกล้นี้ โดยใช้รูปแบบของท้องถิ่นนิยม แบบแข่งขัน ผนวกกับกลยุทธ์ท้องถิ่นในการเปลี่ยนวัฒนธรรมให้เป็นทุน คือ การที่ใช้ร้านค้าปลีกค้าส่งอาศัยสาย สัมพันธ์ใกล้ชิดกับ คนในพื้นที่ กับชาวลาวฝั่งห้วยทรายที่ได้ทาการค้ากันมาตั้งแต่ อดีตมาใช้เป็นเครื่องมือในการ แข่งขันกับห้างค้าปลีก ซึ่งร้านค้าปลีกค้าส่งสามารถที่จะรับรู้ถึงความต้องการสินค้าของผู้บริโภคในตลาดชายแดนได้ ดีกว่า ทั้งนี้ กลยุทธ์ดังกล่าวต้องพึ่งพาความร่วมมือจากหลายกลุ่มด้วยกัน ประกอบไปด้วย ร้านค้าท้องถิ่น รัฐ ท้องถิ่น ซัพพลายเออร์ และหอการค้า ที่จะช่วยกันประสานงานเพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันของกลุ่มร้านค้า ปลีกค้าส่งดั้งเดิม และเพิ่มระบบคุณค่าทางวัฒนธรรมให้แก่ร้านค้าท้องถิ่นให้มากขึ้น

บรรณานุกรม เมฆแสงสวย. (2556). ประเด็นทางด้านภูมิศาสตร์การค้าปลีกกับการค้าปลีกของไทย. กรุงเทพฯ. ชัยพงษ์ สาเนียง. (19 กรกฎาคม 2556). How to... เปลี่ยนเมืองเชียงของให้เป็นเมืองเศรษฐกิจชายแดนของไทย? เรียกใช้เมื่อ 16 เมษายน 2558 จาก http://www.siamintelligence.com/transform-trade-bordercity-in-chiang-rai/ ชินภัทร์ ไชยมล. (1 พฤษภาคม 2558). หนึ่งเมือง สองแบบ เสียงท้องถิ่นห่วงใยเชียงของ. เรียกใช้เมื่อ 14 พฤษภาคม 2558 จาก http://bit.ly/1DGAT5m นิพนธ์ พวพงศกร และคณะ. (2545). การค้าปลีกของไทย: ผลกระทบของการแข่งขันของผู้ประกอบการค้าปลีก ขนาดใหญ่จากต่างประเทศ. กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย. ปกรณ์ เมฆแสงสวย. (2555). ประเด็นทางด้านภูมิศาสตร์การค้าปลีกกับพัฒนาการด้านการค้าปลีกของไทย. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. ผู้จัดการ 360° รายสัปดาห์. (11 มิถุนายน 2553). ศึกค้าปลีกเชียงราย กาลังประทุเมื่อCPNเปิดแนวรบชิงกาลังซื้อ ไทย - ตปท. เรียกใช้เมื่อ 17 เมษายน 2558 จาก http://www.manager.co.th/iBizChannel/ViewNews.aspx?NewsID=9530000080752

ยักษ์ค้าปลีกสู่ สมรภูมิจังหวัดเชียงราย

หน้า 17


OBELS WORKING PAPER NO.9

JUNE 2015

วีระยุทธ กาญจน์ชูฉัตร. (2550). สองนคราการค้าปลีกไทย: บทบาทของสถาบันและพลวัตบรรษัทค้าปลีกข้ามชาติ. วารศาสตร์เศรษฐศาสตร์ธรรมศาสตร์. ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ. (2546). การบริหารการตลาดยุคใหม่. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์บริษัท. สานักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน. (2558). นโยบายส่งเสริมการลงทุนในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ. เข้าถึงได้จาก http://www.boi.go.th/index.php?page=pdf_page&menu_id=365

สานักงานเศรษฐกิจชายแดนและโลจิสติกส์ (Office of Border Economy and Logistics Study: OBELS) มี หน้าที่ดาเนินงานด้านการรวบรวมข้อมูลและวิจัยทางด้านเศรษฐกิจการค้าชายแดนและโลจิสติกส์ เพื่อนาไปสู่การ ยกระดั บ องค์ ค วามรู้ ที่ เป็ น ฐานส าคัญ ของประเทศไทย ซึ่ง ส่ ง ผลต่ อ การพัฒ นาทรั พ ยากรมนุษ ย์ แ ละการสร้ า ง ความสามารถในการแข่งขันของประเทศและยกระดับคุณภาพชีวิตในสังคม

Office of Border Economy and Logistics Study (OBELS), Mae Fah Luang University, 333 Moo 1, Tasud, Muang, Chiang Rai, Thailand. Tel. 6653916680 Email: obels.mfu@gmail.com.

ยักษ์ค้าปลีกสู่ สมรภูมิจังหวัดเชียงราย

หน้า 18


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.