OBELS WORKING PAPER No.10 , Oct 2016
แนวทางการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสู่การพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดนจังหวัดเชียงราย ไอรดา วางกลอน, พรพินนั ท์ ยี่รงค์ ในวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2558 คณะกรรมการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ (กนพ.) ได้ประกาศให้มี การจัดตั้งเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษในพื้นที่ชายแดนทั้งหมด 10 พื้นที่ โดยทําการแบ่ง ออกเป็น 2 ระยะ ใน ระยะที่ 1 ประกอบด้ ว ย 5 พื้ น ที่ ได้ แ ก่ ตราด ตาก มุ ก ดาหาร สระแก้ ว และสงขลา และระ ยะที่ 2 ประกอบด้วย หนองคาย นราธิวาส เชียงราย นครพนม และกาญจนบุรี รวมพื้นที่กว่า 6,220 ตารางกิโลเมตร หรือ 3.87 พันไร่ ซึ่งพื้นที่ต่างๆที่อยู่ในแผนการพัฒนาจะได้รับทั้งสิทธิประโยชน์จากหลากหลายหน่วยงานใน หลากหลายด้ าน อาทิ สํ านัก งานคณะกรรมการส่ ง เสริมการลงทุน (Board of Investment : BOI) กรมสรรพากร ด่านศุลกากร ธนาคารเพื่อการส่งออกและนําเข้าแห่งประเทศไทย (Export-Import Bank of Thailand : EXIM Bank) เป็นต้น ที่ให้สิทธิประโยชน์ตั้งแต่การยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล การอนุญาตให้ใช้ แรงงานต่างด้าว รวมไปถึงการให้สินเชื่อเพื่อการลงทุนใหม่ และการขยายกิจการในระยะยาว (สํานักงาน คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ , 2559) โดยวัตถุประสงค์หลัก คือ การพยายามที่จะ ดึงดูดการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (Foreign Direct Investment : FDI) เพื่อผลักดันให้เกิดการเพิ่ มขึ้น ของขีดความสามารถในการผลิต ลดความเหลื่อมล้ํา พร้อมทั้ง ยกระดับคุณภาพชีวิตของคนในทั่วทุกภูมิภาค ทั้งนี้ การพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษมีกลยุทธ์ 4 ประการ ได้แก่ 1. การสนับสนุนพื้นที่เศรษฐกิจใหม่ 2. การ สนับสนุนโครงสร้างพื้นฐาน 3. การสนับสนุนวิสาหกิจขนาดเล็กขนาดกลาง และ 4. จัดระเบียบพื้นที่ชายแดน (กรมประชาสัมพันธ์, 2558) ซึ่งการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเป็นหนึ่งในกลยุทธ์ที่รัฐบาลได้ให้ความสําคัญ เนื่องจากเป็นปัจจัยที่ช่วยให้เกิดการอํานวยความสะดวกทางการเคลื่อนย้ายสินค้าและดึงดูดให้เกิดการลงทุนใน พื้นที่ได้เป็นอย่างดี แนวคิ ดของเขตเศรษฐกิจ พิเ ศษมีก ารนํา มาใช้ อ ย่า งแพร่ หลายในหลากหลายกลุ่ มประเทศ ทั้ง ใน ประเทศที่เป็นสมาชิกของประชาคมอาเซียน และประเทศกําลังพัฒนาอื่นๆ อาทิ เขตเศรษฐกิจพิเศษอีสกันดาร์ เขตเศรษฐกิจพิเศษเซิ่นเจิ้น เขตเศรษฐกิจพิเศษประเทศอินโดนีเซีย เขตเศรษฐกิจพิเศษเคซอง เป็นต้น ทั้งนี้ โดยนิยามของเขตเศรษฐกิจพิเศษ คือ เขตพื้นที่ที่จัดตั้งขึ้นเป็นการเฉพาะตามกฎหมายเพื่อประโยชน์ต่อการ ส่งเสริม สนับสนุน และอํานวยความสะดวก รวมทั้งให้สิทธิพิเศษบางประการในการดําเนินกิจการต่าง ๆ เช่น การอุตสาหกรรม การพาณิชยกรรม การบริการ หรือกิจการอื่นใดที่เป็นประโยชน์แก่การเศรษฐกิจของประเทศ รูปแบบของเขตเศรษฐกิจพิเศษมีหลายประเภท เช่น เขตการค้าเสรี เขตอุตสาหกรรมเสรี เขตปลอดภาษี เขต การค้าชายแดนเสรี และเขตพัฒนาแปรรูปเพื่อการส่งออก (กรมประชาสัมพันธ์, 2558) ดังนั้นงานวิจัยชิ้นนี้จึงมี วัตถุประสงค์ในการศึก ษาสถานการณ์ และประเมินความพร้อ มเบื้องต้นของโครงสร้างพื้น ฐานใน 3 พื้น ที่ ชายแดน ได้ แก่ อําเภอเชียงแสน อํา เภอเชีย งของ และอํ าเภอแม่ สาย ตลอดจนวิ เคราะห์ ศักยภาพของ โครงสร้างพื้นฐานในด้านต่างๆทั้งในด้านของข้อมูลเชิงปริมาณ และข้อมูลเชิงคุณภาพจากการประเมินและให้
ความคิดเห็น ของผู้ประกอบการในและนอกพื้นที่ชายแดน เพื่อเสนอแนะแนวทางในการพัฒนาโครงสร้าง พื้นฐานในพื้นที่ชายแดนจังหวัดเชียงราย พื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดนจังหวัดเชียงราย การจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดนจังหวัดเชียงรายประกาศขึ้นในวันที่ 24 เมษายน 2558 โดย นโยบายการส่งเสริมและกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลไทย เนื่องจากเล็งเห็นศักยภาพของจังหวัดเชียงรายและ การมีที่ ตั้ง ทางภูมิศ าสตร์ ที่เหมาะสมสํ าหรับ การเป็นศูนย์ กลางทางการค้า และการลงทุ น อีก ทั้ง ยัง เป็นจุ ด ยุทธศาสตร์ที่เชื่อมโยงตามแนวระเบียงเศรษฐกิจเหนือ -ใต้ (NSEC) และความร่วมมือของกลุ่มเศรษฐกิจใน อนุภาคลุ่มแม่น้ําโขง (GMS) โดยเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษเชียงรายประกอบไปด้วย 3 อําเภอ ได้แก่ อําเภอแม่ สาย อําเภอเชียงแสน และอําเภอเชียงของ มีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 916 ตารางกิโมเมตร โดยมีจุดผ่านแดน ถาวรทั้งหมด 6 จุด ที่มีอาณาเขตติดต่อกับสหภาพเมียนมา และ สปป.ลาว ทั้งนี้รัฐบาลจึงมีนโยบายผลักดันให้ พื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดนจังหวัดเชียงรายเป็นเมืองหน้าด่านประตูเศรษฐกิจของไทยกับกลุ่มประเทศ อาเซียน (AEC) กลุ่มเศรษฐกิจในอนุภาคลุ่มแม่น้ําโขง (GMS) และกลุ่มการค้าเสรี BIMSTEC เพื่อดึงดูดนัก ลงทุนชาวต่างชาติและพัฒนาเขตพื้นที่ชายแดนให้เกิดประโยชน์สูงสุด 1. การศึกษาความพร้อมโครงสร้างพื้นฐานและสาธารณูปโภคของพื้นที่ชายแดนจังหวัดเชียงราย 1.1 โครงสร้างพื้นฐานและสาธารณูปโภคของพื้นที่อาเภอแม่สาย อําเภอแม่สายเป็นอําเภอที่ตั้งอยู่บริเวณเหนือสุดของประเทศไทย มีพื้นที่ 285 ตารางกิโลเมตร หรือ ประมาณ 178,125 ไร่ ลักษณะภูมิประเทศโดยทั่วไปมีลักษณะเป็นภูเขาและป่าร้อยละ 21.6 ของพื้นที่ทั้งหมด ส่วนพื้นที่ตอนกลางและทางทิศตะวันออกของอําเภอจะมีลักษณะเป็นที่ราบ พื้นที่ส่วนใหญ่ใช้เป็นที่ตั้งของ ชุมชนและการทําเกษตรกรรม โดยมีอาณาเขตติดต่ อทางกับทิศเหนือกับสหภาพเมียนมาโดยมีแม่น้ําสายและ แม่น้ํารวกเป็นแนวกั้นอาณาเขต ทิศใต้ติดต่อกับอําเภอแม่จัน ทิศตะวันออกติดต่อกับอําเภอเชียงแสน และทิศ ตะวันตกติดต่อกับสหภาพเมียนมาร์โดยมีเทือกเขาแดนลาวเป็นแนวกั้นอาณาเขต ตารางที่ 1 รายละเอียดโครงสร้างพื้นฐานและสาธารณูปโภคของพื้นที่อาเภอแม่สาย ประเภทของโครงสร้างพื้นฐาน ถนน
1
รายละเอียด อําเภอแม่สายตั้งอยู่ปลายสุดของถนนพหลโยธิน (ทางหลวงหมายเลข 1) ติดกับเมืองท่าขี้เหล็กของประเทศเมียนมา โดยมีแม่น้ําสายเป็น เส้นแบ่งเขตประเทศ ระบบการคมนาคมและการขนส่งของอําเภอแม่ สายฃใช้การคมนาคมทางบกเป็นหลัก โดยมีระยะห่างจากตัวจังหวัด เชียงรายประมาณ 60 กิโลเมตร สภาพถนนในปัจจุบันของทางหลวง สายประธานหมายเลข 1 เป็นแบบ มาตรฐานพิเศษ มีขนาด 4 ช่อง จราจร มีเกาะกลางแบบยก (Raised Median) เพื่อแยกทิศทาง การจราจร ผิ วทางเรียบ มีประสิ ทธิภาพ สามารถเดิ นทางได้อย่า ง รวดเร็วและเป็ นเส้นทางหลักที่ สําคัญ มีบทบาทมากต่อการพัฒนา ความเจริญของอําเภอแม่สาย ในส่วนของถนนภายในอําเภอแม่สายนั้น เป็นแบบเส้นตรง (Linear สํานักงานเศรษฐกิจชายแดนและโลจิสติกส์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
ประเภทของโครงสร้างพื้นฐาน
ท่าเรือ
ท่าอากาศยาน
ระบบขนส่งทางราง (รถไฟ) ระบบน้าประปาและสุขาภิบาล
ระบบไฟฟ้าและพลังงาน
ระบบสื่อสารและโทรคมนาคม
2
รายละเอียด Type) ซึ่ง มีสภาพไม่ค่อ ยดีนัก เขตทางค่อ นข้างแคบ ได้แ ก่ ถนน เหมื อ งแดง ถนนเลี ย บคลองชลประธาน ถนนเลี่ ย งเมื องของกรม โยธาธิ ก าร ถนนป่ า ยาง ยั ง ต้ อ งการการพั ฒ นาและปรั บ ปรุ ง ให้ เหมาะสมกับการเปลี่ยนแปลงสู่การเป็นเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ และเส้นทางเพื่อการท่องเที่ยว ได้แก่ ถนนสายลมจอย ถนนเลี่ยงมือง แม่สาย และถนนขึ้นดอยผาหมี อําเภอแม่สายยังไม่มีการพัฒนาเรื่องของการคมนาคมทางน้ํา มีเพียง ในลักษณะของการสัญ จรข้ามฝั่ง ของประชาชนในพื้นที่ตลอดแม่น้ํา สาย อําเภอแม่สายสามารถใช้ท่าอากาศยานนานาชาติแม่ฟ้าหลวงได้ ซึ่งมี ศักยภาพในการรองรับกิจกรรมที่จะเกิดขึ้นในอนาคต แต่ยังต้องมีการ พัฒนาเส้นทางการบินกับประเทศเพื่อนบ้านและปรับปรุงท่าอากาศ ยานในบางส่วนเพื่อรองรับความต้องการของผู้โดยสารในอนาคต ไม่มี ระบบประปา: ตําบลแม่สายซึ่งเป็นเขตชุมชนเมือง ได้รับน้ําจากการ ประปาภูมิภาค ส่วนชุมชนชนบทในระดับหมู่บ้านจะได้รับน้ําอุปโภค บริโภคจากระบบประปาชนบท นอกจากนั้นแต่ละครัวเรือนจะมีบ่อ น้ําตื้นหรือถังรองน้ําฝนเพื่อใช้สําหรับอุปโภคบริโภค การจั ด การน้ าเสี ย : พื้น ที่ อํ า เภอแม่ ส ายยั ง ไม่ มี ก ารจั ด การน้ํ า เสี ย ประชาชนในพื้นที่ยัง คงใช้วิธีการบําบัดและกําจั ดน้ําเสียที่ออกจาก ห้องสุขาโดยใช้ บ่อเกรอะ และบ่อซึม ส่วนน้ําเสียจากส่วนอื่นๆของ อาคารจะใช้วิ ธีก ารกํา จัด โดยการระบายลงสู่ท่ อระบายน้ํา ลํ าราง สาธารณะ และไหลลงสู่แหล่งน้ําธรรมชาติ การจัดการมูลฝอย: ในส่วนของการจัดการมูลฝอยของอําเภอแม่สาย ปัจจุบันยัง ไม่มีร ะบบจัดการที่สมบูรณ์และถูกสุขลั กษณะ โดยส่ว น ใหญ่ ใ ช้ วิ ธี เ ก็ บ ขนไปกองทิ้ ง นอกเมื อ งในพื้ น ที่ เ อกชนที่ อ ยู่ ใ นเขต รับผิดชอบของ อบต.เวียงพางคํา ซึ่งมีการฝังกลบอย่างไม่ถูกวิธี จึงทํา ให้เกิดปัญหากลิ่นเหม็นและแมลงวัน ระบบไฟฟ้าของอําเภอแม่สายเป็นระบบจําหน่ายไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ขนาดพิกัดแรงดัน 33 เควี โดยจ่ายพลังงานไฟฟ้ามาจากสถานีจ่าย ไฟฟ้าย่อยของอําเภอแม่จัน ปัจจุบันระบบไฟฟ้าในอําเภอแม่สายยัง สามารถตอบสนองความต้ อ งการของประชาชนในพื้ น ที่ ไ ด้ อ ย่ า ง เพียงพอ ระบบโทรศั พ ท์ ใ นอํ า เภอแม่ ส ายอยู่ ใ นความรั บ ผิ ด ขอบของ องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย สามารถติดต่อกับประเทศเพื่อน บ้าน ได้แก่ สหภาพเมียนมาร์ และประเทศจีนได้อย่างสะดวก สําหรับ สํานักงานเศรษฐกิจชายแดนและโลจิสติกส์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
ประเภทของโครงสร้างพื้นฐาน
รายละเอียด การให้บริการ E-commerce ปัจจุบันมีค่อนข้างหนาแน่น ทั้งบริษัท ไทยและต่างชาติ สัญ ญาณโทรศัพท์สามารถใช้บริการได้อย่างทั่วถึง ทั้งนี้ ระบบ 3G แต่อาจมีการขัดข้องบ้างเล็กน้อย ยังคงต้องการการ พัฒนาเพื่อรองรับความต้องการที่สูงขึ้น ที่มา: จากการค้นคว้าโดยผู้วิจัย
1.2 โครงสร้างพื้นฐานและสาธารณูปโภคของพื้นที่อาเภอเชียงแสน อําเภอเชียงแสนตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ําโขง มีพื้นที่รวมทั้งสิ้น 442 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 276,250 ไร่ สภาพโดยทั่วไปเป็นที่ราบสลับภูเขา โดยมีพื้นที่ราบประมาณร้อยละ 55 พื้นที่ภูเขาประมาณร้อยละ 33 และพื้นน้ําประมาณร้อยละ 12 ของพื้นที่ทั้งหมด อําเภอเชียงแสนมีอาณาเขตของตําบลเวียงและตําบลบ้าน แซวติดต่อกับ สปป.ลาว และสหภาพเมียนมาร์ โดยทิศเหนือติดต่อกับจังหวัดท่าขี้เหล็ก รัฐฉาน สหภาพเมียน มาร์ มีลําน้ํารวกเป็นเส้นกั้นพรมแดน และติดต่อกั บเมืองต้นผึ้ง แขวงบ่อแก้ว (หลวงน้ําทา) สปป.ลาว โดยมี แม่น้ํ าโขงเป็น เส้ นกั้ นพรมแดน ทิ ศใต้ ติด ต่อ กับอํ าเภอแม่ จัน ทิศ ตะวันออกติด ต่อ กับอํ าเภอเชีย งของ ทิ ศ ตะวันตกติดต่อกับอําเภอแม่จัน และอําเภอแม่สาย ตารางที่ 2 รายละเอียดโครงสร้างพื้นฐานและสาธารณูปโภคของพื้นที่อาเภอเชียงแสน ประเภทของโครงสร้างพื้นฐาน ถนน
ท่าเรือ
3
รายละเอียด อํา เภอเชีย งแสนตั้ ง อยู่ ริ มแม่ น้ํา โขง บริเ วณจุด บรรจบพรมแดน 3 ประเทศ ได้แก่ สหภาพเมียนมาร์ สปป.ลาว และประเทศไทย โดยมี ระยะห่างจากตัวเมืองเชียงรายประมาณ 60 กิโลเมตร การเดินทางใช้ ทางหลวงหมายเลข 1 ถึง อําเภอแม่จัน และใช้ทางหลวงหมายเลข 1016 จากอําเภอแม่จันถึงอําเภอเชียงแสน โดยทางหลวงเป็นถนน 4 ช่องจราจร ผิวทางเรียบ สภาพดี ส่วนทางหลวงหมายเลข 1016 เป็น ถนน 2 ช่องจราจร แนวทางคดเคี้ยวเป็นบางช่วง ในส่วนของถนนภายในอํ าเภอเชี ยงแสน มีลักษณะเป็นแบบตาราง (Grid Pattern) มีสภาพยังไม่ดีนัก ยัง คงต้องการการปรับปรุง ให้ดี ยิ่งขึ้น ภายในอําเภอยังมีทางหลวงหมายเลข 12901 สามารถตัดผ่าน ตัวเมืองและวิ่งเลียบแม่น้ําโขง เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาการจราจรภายใน ตัวเมือง และหลีกเลี่ยงการทําลายโบราณสถาน การคมนาคมทางน้ําที่อําเภอเชียงแสนนับว่ามีความสําคัญต่อชีวิตและ ความเป็นอยู่ของคนในพื้นที่อย่างมาก โดยสามารถจําแนกออกได้เป็น 2 ลัก ษณะ คื อ การคมนาคมทางน้ํา เพื่อ การท่ อ งเที่ ย ว และการ คมนาคมทางน้ําเพื่อการค้าขาย o การคมนาคมทางน้าเพื่อการท่อ งเที่ยวตามลาน้าโขง: เรือ ท่องเที่ยวส่วนใหญ่เป็นเรือไทย ซึ่งมีหลายขนาดตามจํานวน ของนักท่ องเที่ยว ในอดี ต อํ าเภอเชี ยงแสนมี ท่าเทียบเรื อ สํานักงานเศรษฐกิจชายแดนและโลจิสติกส์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
ประเภทของโครงสร้างพื้นฐาน
ท่าอากาศยาน
ระบบขนส่งทางราง (รถไฟ) ระบบน้าประปาและสุขาภิบาล
ระบบไฟฟ้าและพลังงาน
4
รายละเอียด ท่องเที่ยวประมาณ 25 ท่า ซึ่งมีมากเกินไปทําให้การจอดเรือ ไม่มีความเป็นระเบียบ และมีปัญหาการจราจรบนฝั่ง ปัจจุบัน จึงท้องถิ่นได้ มีการเจรจากับผู้ประกอบการเพื่อลดท่าเรื อลง โดยมีเป้าหมายให้เหลือ 5 ท่าซึ่งเป็นท่าที่ได้มาตรฐาน พร้อม กับการวางระเบียบการจอดเรือให้เรียบร้อยมากขึ้น o การคมนาคมทางน้าเพื่อการค้า: เรือที่ใช้ในการค้าส่วนใหญ่ เป็นเรือขนสินค้าจากประเทศจีน สามารถเดินทางได้เกือบ ตลอดทั้งปี อาจมีปัญหาเรื่องของร่องน้ําในบางช่วง อําเภอเชียงแสนยังไม่มีการก่อสร้างท่าอากาศยานภายในพื้นที่ ดังนั้น จึงต้องอาศัยท่าอากาศยานนานาชาติแม่ฟ้าหลวงในการอํานวยความ สะดวกเช่นเดียวกับอําเภอแม่สาย ไม่มี ระบบน้าประปา: ระบบประปาในเขตเทศบาลตําบลเวียงเชียงแสน มี ระบบประปาที่ดูแลและดําเนินการผลิตโดยการประปาส่วนภูมิภาค ใช้ น้ําดิบจากบ่อบาดาล โดยมีกําลังการผลิตประมาณ 1,440 ลม.ม./วัน ซึ่งมีปริมาณเพียงพอต่อการใช้น้ําของคนในพื้นที่ ส่วนพื้นที่รอบนอก จะจะมีการประปาหมู่บ้าน บ่อน้ําตื้น และการรองรับน้ําฝนมาใช้เพื่อ อุปโภคบริโภค ซึ่งปัจจุบันมีปัญหาเรื่องของคุณภาพน้ําที่ยังไม่ดีพอ ยัง ต้องการการพัฒนาและปรับปรุงเพื่อให้เพียงพอต่อปริมาณผู้ใช้น้ําใน อนาคต การกาจัดน้าเสีย: พื้นที่อําเภอเชียงแสน ยัง ไม่มีระบบรวบรวมและ บําบัดน้ําเสียกลาง เนื่องจากพื้นที่ส่วนใหญ่ยังไม่มีระบบท่อระบายน้ํา น้ําเสีย ที่เกิ ดขึ้ นจะถูก ระบายทิ้ง โดยม่า นการบําบั ด บางส่ว นจะถู ก ระบายสู่แหล่ง น้ําใกล้เ คียงหรือแม่ น้ําโขงโดยตรง ซึ่ง อาจก่อให้เกิ ด ผลกระทบต่อน้ําใต้ดินและน้ําผิวดิน การจัดการมูลฝอย: การจัดการมูลฝอยของอําเภอเชียงแสนจะเป็น การกําจัดเองโดยการเผาหรือฝัง ส่วนในพื้นที่เขตเทศบาลตําบลเวียง เชียงแสนได้ดําเนินการรวบรวมและจัดเก็บมูลฝอยเพื่อนํามากําจัด รวมกั นที่สถานที่ ฝัง กลบมูลฝอยของเทศบาล ซึ่ง ตั้ง อยู่ ในพื้น ที่ย่า น เกษตรกรรมนอกเมือง การกําจัดมูลฝอยทําโดยการนํามาเทกองที่ปาก บ่อกําจัดมูลฝอย ทิ้งไว้ให้แห้งและจึงฝังกลบโดยไม่มีการปูแผ่นยางเพื่อ ป้องกันน้ําชะเถ้าไหลซึงลงดิน ซึ่งก่อให้เกิดปัญหาด้านมลพิษทางน้ําใต้ ดิน กลิ่นเหม็น ควัน รวมทั้งการปนเปื้อนของน้ํา ทําให้น้ํามีคุณภาพต่ํา ระบบไฟฟ้าของอําเภอเชียงแสนเป็นระบบจําหน่ายไฟของการไฟฟ้า ส่วนภูมิภาค ขนาดพิกัดแรงดัน 33 เควี โดยจ่ายพลังงานไฟฟ้าจาก สถานีจ่ายไฟฟ้าย่อยอําเภอแม่จันและอําเภอเมืองเชียงราย ปัจจุบัน สํานักงานเศรษฐกิจชายแดนและโลจิสติกส์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
ประเภทของโครงสร้างพื้นฐาน
ระบบสื่อสารและโทรคมนาคม
รายละเอียด ระบบไฟฟ้าของอําเภอเชียงแสนเพียงพอ แต่ยังมีความต้องการในการ จัดหาหลอดไฟเพื่อให้ ส่องสว่ างแก่ถ นนในชุ มชนเมื องและตามทาง หลวงหมายเลข 1129 ระบบโทรศั พ ท์ ข องอํ า เภอเชี ย งแสนอยู่ ใ นความรั บ ผิ ด ชอบของ องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย สําหรับบริการ E-commerce มีใช้ สําหรับธุรกิจขนาดกลางและขนาดใหญ่ สัญญาณโทรศัพท์สามารถใช้ บริการได้อย่างทั่วถึง แต่ยัง มีปัญหาติดขัดเล็กน้อยในบางพื้นที่ ทั้ง นี้ ระบบ 3G รองรับสัญญาณดี เล็กน้อย ยังคงต้องการการพัฒนาเพื่อ รองรับความต้องการที่สูงขึ้น ที่มา: จากการค้นคว้าโดยผู้วิจัย
1.3 โครงสร้างพื้นฐานและสาธารณูปโภคของพื้นที่อาเภอเชียงของ อําเภอเชียงของเป็ นอําเภอชายแดนด้ านเหนื อของจัง หวั ดเชียงราย มีพื้นที่ทั้ ง หมด 837 ตาราง กิโลเมตรหรือประมาณ 523,063 ไร่ ลักษณะทางภูมิประเทศทั่วไปเป็นภูเขา โดยมีพื้นที่ราบลุ่มตรงกลาง ที่ราบ เชิง เขา และที่ราบริมฝั่งแม่น้ําโขง พื้นที่ส่วนใหญ่เต็มไปด้วยป่าไม้และภูเขาล้อมรอบ มีอาณาเขตติดต่อกับ สปป.ลาว โดยมีแม่น้ําโขงเป็นเส้นกั้นอาณาเขต โดยทิศเหนือติดต่อกับเมืองห้วยทราย แขวงบ่อแก้ว สปป.ลาว โดยมีแม่น้ําโขงเป็นเส้นกั้นอาณาเขต ทิศใต้ติดต่อกับตําบลยางฮอม อําเภอขุนตาล และตําบลแม่ต๋ํา อําเภอ พญาเม็งราย ทิศตะวันออกติดต่อกับเมืองห้วยทราย แขวงบ่อแก้ว สปป.ลาว โดยมีแม่น้ําโขงเป็นเส้นกั้นอาณา เขต และอําเภอเวียงแก่น และทิศตะวันตกติดต่อกับตําบลแม่ ต๋ํา อําเภอพญาเม็งราย ตําบลปงน้อย กิ่งอําเภอ ดอยหลวง และตําบลบ้านแซว อําเภอเชียงแสน ตารางที่ 3 รายละเอียดโครงสร้างพื้นฐานและสาธารณูปโภคของพื้นที่อาเภอเชียงของ ประเภทของโครงสร้างพื้นฐาน ถนน
ท่าเรือ
5
รายละเอียด อํ า เภอเชี ย งของตั้ ง อยู่ ท างทิ ศ ตะวั น ออกเฉี ย งเหนื อ ของจั ง หวั ด เชียงราย บนทางหลวงหมายเลข 1020 มีระยะทางห่างจากตัวจังหวัด เชียงรายประมาณ 137 กิโลเมตร การเดินทางไปอําเภอเชียงของ สามารถใช้เส้นทางอื่นๆได้อีกหลายเส้นทาง ได้แก่ ทางหลวงหมายเลข 1152, 1174, 1173 และ 1098 ซึ่ง มีสภาพที่ไ ม่ค่อยดีนัก และ เส้นทางค่อนข้างคดเคี้ยว เนื่องจากลักษณะภูมิประเทศของอําเภอ เชียงของเป็นภูเขา จึงทําให้การขยายถนนเป็นไปได้ยาก ซึ่งต้องการ การปรับปรุงระบบการจราจรให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยให้มีความ เหมาะสมและสอดคล้องกับสภาพของพื้นที่ ในปัจจุบัน การคมนาคมทางน้ําในอําเภอเชียงของเป็นการสัญจรด้วย เรือหางยาวข้ามฝั่ง ของประชาชนในพื้นที่ และนักท่องเที่ยว สําหรับ รถบรรทุกสินค้าสามารถข้ามฝั่งโดยใช้ท่าเรือบั๊ค ซึ่งมีสภาพท่าเรือไม่ดี นัก ในขณะที่ท่าเรือใหม่ (ท่าเรือน้ําลึก) ได้ถูกสร้างขึ้นใกล้กับท่าเรือ สํานักงานเศรษฐกิจชายแดนและโลจิสติกส์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
ประเภทของโครงสร้างพื้นฐาน
ท่าอากาศยาน
ระบบขนส่งทางราง (รถไฟ) ระบบน้าประปาและสุขาภิบาล
ระบบไฟฟ้าและพลังงาน
ระบบสื่อสารและโทรคมนาคม
6
รายละเอียด บั๊ค แต่ยังไม่สามารถใช้ประโยชน์ได้อย่างเต็มที่ เนื่องจากทางขึ้น -ลง นั้นอยู่สูงกว่าระดับน้ําต่ําสุด ทั้งนี้เนื่องจากสภาพลําน้ําโขงช่วง อําเภอ เชี ย งของ-อํ า เภอเชี ย งแสน มี ส ภาพตื้ น เขิ น และมี เ กาะแก่ ง ค่อนข้างมาก การเดิน เรือจึง ทํา ได้ยากลพบาก ดัง นั้นการปรับปรุ ง ท่าเรือให้ใช้ได้ตลอดปีจึงมีความจําเป็นอย่างมาก เนื่องจากอําเภอเชียงของไม่มีการสร้างท่าอากาศยานในพื้นที่ จึงต้อง อาศัยท่าอากาศยานนานาชาติแม่ฟ้าหลวงเช่นเดียวกับอําเภอแม่สาย และอําเภอเชียงแสน แต่ระยะเวลาในการเดินทางไปยังท่าอากาศยาน ดังกล่าวจะมากกว่าอําเภออื่นในพื้นที่ชายแดน ไม่มี ระบบประปา: พื้นที่นอกเขตเทศบาลตําบลเวียงเชียงของจะใช้น้ําใน การอุปโภคบริโภคจากประปาหมู่บ้าน บ่อน้ําตื้น หรือน้ําฝน ซึ่งยัง มี ปริมาณที่เพียงพอต่อความต้องการ แต่ยังไม่ก่อให้เกิดปัญหาภัยแล้ง ส่วนในพื้นที่เขตเทศบาลจะได้รับน้ําจากการประปาส่วนภูมิภาค ซึ่งมี กําลังผลิตประมาณ 1,920 ลบ.ม. ต่อวัน ร่วมกับการใช้น้ําดิบจาก แม่น้ําโขง การจัดการน้าเสีย: พื้นที่อําเภอเชียงของยังไม่มีการจัดการน้ําเสีย ซึ่ง โดยส่วนใหญ่แล้วจะเป็นการบําบัดในธรรมชาติ น้ําเสียจะไหลซึมลง ดิน ไหลลงแหล่งน้ําใกล้เคียงหรือแม่น้ําโขง ปัจจุบันปัญหาน้ําเสียยังไม่ รุน แรงมากนัก แต่ใ นอนาคตที่มี ก ารเปลี่ย นแปลงสู่ เขตพั ฒนาเขต เศรษฐกิจพิเศษจําเป็นต้องมีระบบบําบัดน้ําเสียเพื่อลดปัญหามลพิษ ทางน้ํา การจัดการมูลฝอย: ทางเทศบาลจะดําเนินการจัดเก็บและนําไป กําจัดโดยการเทกองและเผา บนพื้นที่สาธารณะ ห่างจากเขตเมือง ประมาณ 2 กิโลเมตร ซึ่งตั้งอยู่ในเขตตําบลเวียง โดยการให้บริการยัง ไม่สามารถให้บริการครอบคลุมในทุกพื้นที่ บางพื้นที่ ที่ไม่ไ ด้รับการ บริการจะมีการตกค้างของมูลฝอยก่อให้เกิดปัญ หากลิ่นเหม็น ควัน และแมลงวัน ระบบไฟฟ้าของอําเภอเชียงของเป็นระบบจําหน่ายไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ขนาดพิกัดแรงดัน 33 เควี โดยจ่ายพลังงานไฟฟ้าจากสถานีจ่ายไฟฟ้า ย่อยเชียงราย ปัจจุบันระบบไฟฟ้าและพลัง งานมีความเพียงพอต่อ ความต้องการของคนในพื้นที่ และมีการจําหน่ายไฟฟ้าให้แก่ สปป. ลาว โดยเชื่อมโยงจากบ้านหัวเวียง อบต.เวียง ระบบโทรศั พ ท์ ใ นอํ า เภอเชี ย งของอยู่ ใ นความรั บ ผิ ด ขอบของ องค์ ก ารโทรศั พ ท์ แ ห่ ง ประเทศไทย สั ญ ญาณโทรศั พ ท์ ส ามารถใช้ บริการได้อย่างทั่วถึง แต่ยัง มีปัญ หาติดขัดเล็กน้อยในบางพื้นที่ ทั้ง นี้ สํานักงานเศรษฐกิจชายแดนและโลจิสติกส์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
ประเภทของโครงสร้างพื้นฐาน
รายละเอียด ระบบ 3G รองรับสัญญาณดีเล็กน้อย ยัง คงต้องการการพัฒนาเพื่อ รองรับความต้องการที่สูงขึ้น ที่มา: จากการค้นคว้าโดยผู้วิจัย
2. เกณฑ์การประเมินโครงสร้างพื้นฐานและสาธารณูปโภค ในส่วนของการวิเคราะห์ความพร้อมของโครงสร้างพื้นฐานและสาธารณูปโภค จากรวบรวมข้อมูลทุติย ภูมิจากเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และการเก็บข้อมูลปฐมภูมิจากการออกแบบสํารวจความคิดเห็นแก่ ผู้ประกอบการภายนอกและในเขตพื้นที่ชายแดนจังหวัดเชียงราย โดยเกณฑ์การประเมินแบ่ง ออกเป็น 2 ประเด็น ได้แก่ 1) การประเมินโครงสร้างพื้นฐานเชิงกายภาพ และ 2) การประเมินโครงสร้างพื้นฐานด้าน กฎระเบียบและข้อบังคับ โดยเกณฑ์การให้คะแนนได้แบ่งออกเป็น 4 ระดับ (4 = ดีเยี่ยม 3 = ดี 2 = พอใช้ 1 = ควรปรับปรุง) ซึ่งเกณฑ์การกําหนดคะแนนอ้างอิงจากจิตติชัย รุจนกนกนาฏ และณัชชา ลิมสถายุรัตน์ (2557) และคณะเศรษฐศาสตร์จุฬาฯ (2554) โดยมีรายละเอียดดังนี้ 2.1 เกณฑ์การประเมินคะแนนโครงสร้างพื้นฐานทางถนน ได้อ้างอิงมาจากตารางการแบ่งระดับของทาง หลวงอาเซียน (Asian Highway Classification) จากเกณฑ์ด้านคุณภาพของผิวทาง (Pavement Type) และ จํานวนช่องทางจราจร ซึ่งแบ่งได้เป็น 4 Class และตารางการออกแบบทางหลวง (Asian Highway design standards) ในส่วนของความเร็วในการออกแบบแบ่งตามระดับของทางหลวงทั้ง 4 Class โดยได้ดัดแปลงให้ สอดคล้องกับงานวิจัยโดยใช้ปัจจัยด้านสภาพผิวทาง จํานวนช่องจราจร และช่วงความเร็วที่วิ่งได้เป็นเกณฑ์ใน การประเมินคะแนน ตารางที่ 4 เกณฑ์การให้คะแนนโครงสร้างพื้นฐานทางถนน เกณฑ์ดัชนีโครงสร้างพื้นฐาน ทางถนน มอเตอร์เวย์ หรือถนนที่มีการ ควบคุมการจราจรเข้า-ออก (Primary Class) ถนนลาดยาง 4 ช่องทางขึ้นไป ผิวถนนเรียน (Class I) ถนนลาดยาง 2 ช่องทาง ผิว ถนนเรียบ (Class II) ถนนลาดยาง 2 ช่องทาง ผิว ถนนขรุขระ หรือถนนลูกรัง (Class III)
7
วิ่งด้วย ความเร็ว > 120 กม./ชม.
วิ่งด้วยความเร็ว วิ่งด้วย วิ่งด้วย 90-120 กม./ชม. ความเร็ว 50- ความเร็วต่ากว่า 89 กม./ชม. 50 กม./ชม.
4
3.5
3
2.5
3.5
3
2.5
2
3
2.5
2
1.5
2.5
2
1.5
1
สํานักงานเศรษฐกิจชายแดนและโลจิสติกส์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
2.2 เกณฑ์การประเมินคะแนนโครงสร้างพื้นฐานทางท่าเรือ ได้อ้างอิงมาจากตารางการแบ่งระดับโดยเทียบ กับท่าเรือสิงคโปร์ ซึ่งเป็นท่าเรือตู้สินค้าที่ใหญ่ที่สุดในโลก ประกอบกับมิติการเชื่อมโยงจากแหล่งอุตสาหกรรม ไปยังท่าเรือ โดยเกณฑ์การให้คะแนนมาจากข้อมูลทุติยภูมิ หนังสือ ข่าว และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ตารางที่ 5 เกณฑ์การให้คะแนนโครงสร้างพื้นฐานทางท่าเรือ ท่าเรือน้าลึกขนาด ท่าเรือน้าลึกขนาด เกณฑ์ดัชนี ใหญ่ ความยาว กลาง ความยาว โครงสร้างพื้นฐาน หน้าท่า > 3 กม. หน้าท่า 1-3 กม. ทางท่าเรือ ความลึกร่องน้า > ความลึกร่องน้า 14 ม. 8-14 ม. มีการเชื่อมโยงกับ เขตนิคมฯ (รัศมีไม่ 4.0 3.5 เกิน 10 กม.) ตั้งอยู่ในรัศมีไม่เกิน 150 กม. จากเขต 3.5 3.0 นิคมฯ ตั้งอยู่ในเขตรัศมี 150-300 กม. จาก 3.0 2.5 เขตนิคมฯ ไม่มีท่าเรือตั้งอยู่ใน 1.0 รัศมี 300 กม.
ท่าเรือน้าลึกขนาด เล็ก ความยาวหน้า ท่า < 1 กม. ความ ลึกร่องน้า < 8 ม.
ท่าเรือแม่น้า
3.0
2.5
2.5
2.0
2.0
1.5
2.3 เกณฑ์การประเมินคะแนนโครงสร้างพื้นฐานทางอากาศ ได้อ้างอิงจากตาราง Typical Facility and Service Attributes ของ Wilbur Smith Associates ซึ่งแบ่งเกณฑ์ระดับของท่าอากาศยานออกเป็น 4 ระดับ โดยได้นํา 2 ปัจจัยหลักมาเป็นเกณฑ์ในการให้คะแนน ได้แก่ ปัจจัยด้านความยาวของทางวิ่ง (Runway Length) และจํานวนทางวิ่ง (Taxiway) เป็นเกณฑ์ โดยดัดแปลงให้สอดคล้องกับงานวิจัย ประกอบกับมิติการ ประเมินด้านการเชื่อมโยงจากแหล่งนิคมอุตสาหกรรมไปยัง ท่าอากาศยาน โดยให้คะแนนจากการรวบรวม ข้อมูลทุติยภูมิ หนังสือ ข่าว และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ตารางที่ 6 เกณฑ์การให้คะแนนโครงสร้างพื้นฐานทางอากาศ เกณฑ์ดัชนีโครงสร้าง พื้นฐานทางอากาศ มีการเชื่อมโยงกับเขตนิคม ฯ (รัศมี< 10 กม.) 8
ท่าอากาศยานขนาด ท่าอากาศยานขนาดใหญ่ กลาง ทางวิ่งยาวตั้งแต่ ทางวิ่งยาวตั้งแต่ 3.5 กม. 2.5 กม. จานวน 1 ทาง จานวน 2 ทางวิ่ง วิ่ง 4
3.5
ท่าอากาศยานขนาดเล็ก ทางวิ่งยาวน้อยกว่า 2.5 กม. จานวน 1 ทางวิ่ง 3
สํานักงานเศรษฐกิจชายแดนและโลจิสติกส์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
เกณฑ์ดัชนีโครงสร้าง พื้นฐานทางอากาศ
ท่าอากาศยานขนาด ท่าอากาศยานขนาดใหญ่ กลาง ทางวิ่งยาวตั้งแต่ ทางวิ่งยาวตั้งแต่ 3.5 กม. 2.5 กม. จานวน 1 ทาง จานวน 2 ทางวิ่ง วิ่ง
ตั้งอยู่ในรัศมีไม่เกิน 100 กม. จากเขตนิคมฯ ตั้งอยู่ในเขตรัศมี 100-200 กม. จากเขตนิคมฯ ไม่มีสถานีรถไฟตั้งอยู่ใน รัศมี 200 กม.
ท่าอากาศยานขนาดเล็ก ทางวิ่งยาวน้อยกว่า 2.5 กม. จานวน 1 ทางวิ่ง
3.5
3
2.5
3
2.5
2
1
2.4 เกณฑ์การประเมินคะแนนโครงสร้างพื้นฐานของระบบขนส่งทางราง (รถไฟ) ได้อ้างอิงจากองค์การ บริหารการรถไฟกลางของประเทศสหรัฐอเมริกา ประกอบกับมิติการเชื่อมโยงจากแหล่งอุตสาหกรรมไปยัง สถานีรถไฟ โดยเกณฑ์การให้คะแนนมาจากข้อมูลทุติยภูมิ หนังสือ ข่าว และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ตารางที่ 7 เกณฑ์การให้คะแนนโครงสร้างพื้นฐานของระบบขนส่งทางราง (รถไฟ) เกณฑ์ดัชนี โครงสร้างพื้นฐาน ทางรถไฟ มีการเชื่อมโยงกับ เขตนิคมฯ (รัศมีไม่ เกิน 10 กม.) ตั้งอยู่ในรัศมีไม่เกิน 100 กม. จากเขต นิคมฯ ตั้งอยู่ในเขตรัศมี 100-200 กม. จาก เขตนิคมฯ ไม่มีสถานีรถไฟ ตั้งอยู่ในรัศมี 200 กม.
วิ่งด้วยความเร็ว > 120 กม./ชม.
วิ่งด้วยความเร็ว 90-120 กม./ชม.
วิ่งด้วยความเร็ว 50-89 กม./ชม.
วิ่งด้วยความเร็วต่า กว่า 50 กม./ชม.
4
3.5
3
2.5
3.5
3
2.5
2
3
2.5
2
1.5
1
2.5 เกณฑ์การประเมินคะแนนโครงสร้างพื้นฐานด้านสาธารณูปโภค ได้อ้างอิงมาจากข้อมูลทุติยภูมิ หนังสือ ข่าว และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ในเรื่องของความต้องการในด้านคลังสินค้าและศูนย์กระจายสินค้า ด้านไฟฟ้าและ พลังงาน ด้านประปาและสุขาภิบาล ด้านสื่อสารและโทรคมนาคม และความสะดวกในการข้ามแดนของสินค้า และแรงงานที่มีผลกระทบต่อคุณภาพและผลผลิตจากอุตสาหกรรมในเขตเศรษฐกิจพิเศษ 9
สํานักงานเศรษฐกิจชายแดนและโลจิสติกส์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
ตารางที่ 8 เกณฑ์การให้คะแนนคลังสินค้าและศูนย์กระจายสินค้า ระดับคะแนน ความหมาย มีคลังสินค้าและศูนย์กระจายสินค้าที่มีพื้นที่เพียงพอต่อความต้องการในการใช้งาน มี 4 เทคโนโลยีทันสมัย มีความสามารถในการเก็บรักษาสินค้าได้หลายชนิด รวมทั้งสินค้าที่ ต้องการแช่เย็นและสินค้าอันตราย ได้มาตรฐานในตําแหน่งพื้นที่ที่เหมาะสม มีคลังสินค้าและศูนย์กระจายสินค้าที่มีพื้นที่เพียงพอต่อความต้องการในการใช้งาน ได้ 3 มาตรฐานแต่อาจจะไม่มีเทคโนโลยีสมัย ขาดความสามารถในการเก็บรักษาสินค้าบาง ชนิด เช่น สินค้าที่ต้องการแช่เย็นและสินค้าอันตราย มีพื้นที่ว่างเปล่าที่ถูกกันไว้สําหรับใช้เป็นคลังสินค้าหรือศูนย์กระจายสินค้าที่รถขนส่ง 2 สินค้าอาจใช้เป็นที่เปลี่ยนถ่ายสินค้าได้ แต่ไม่มีการที่ดีเท่าที่ควร ไม่พบพื้นที่ที่สามารถใช้เป็นคลังสินค้าหรือศูนย์กระจายสินค้าได้การเปลี่ยนถ่ายสินค้า 1 ต้องทําในสถานที่อื่นเท่านั้น เช่น ด่านพรมแดนอีกประเทศหนึ่ง เป็นต้น ตารางที่ 9 เกณฑ์การให้คะแนนโครงสร้างพื้นฐานด้านไฟฟ้าและพลังงาน ระดับคะแนน ความหมาย มีระบบส่งไฟฟ้าเข้าถึงพื้นที่เขตนิคมฯ และเขตเศรษฐกิจพิเศษอย่างทั่วถึง สามารถสนอง 4 ความต้องการของอุตสาหกรรมในพื้นที่ได้อย่างพอเพียง ไม่มีปัญหาเรื่องไฟตกหรือไฟดับ มีระบบส่งไฟฟ้าเข้าถึงพื้นที่เขตนิคมฯ และเขตเศรษฐกิจพิเศษอย่างทั่วถึง สามารถสนอง 3 ความต้องการของอุตสาหกรรมในพื้นที่ได้อย่างพอเพียง แต่ยังคงมีช่วงเวลาที่ขาดไฟฟ้า ไฟตก หรือไฟดับอยู่บ้าง แต่ไม่กระทบต่อคุณภาพและอัตราการผลิต มีระบบส่งไฟฟ้าเข้าถึงพื้นที่เขตนิคมฯ และเขตเศรษฐกิจพิเศษในบางพื้นที่เท่านั้น และ 2 ยังไม่สามารถสนองความต้องการของอุตสาหกรรมในพื้นที่ได้อย่างพอเพียง นอกจากนี้ ยังมีปัญหาเรื่องไฟตกหรือไฟดับที่ส่งผลกระทบต่อคุณภาพและอัตราการผลิต มีระบบไฟฟ้าเข้าถึงพื้นที่น้อยมาก ไม่เพียงพอต่อความต้องการของอุตสาหกรรม เป็น 1 ปัญหาที่จะส่งผลกระทบต่อคุณภาพและอัตราการผลิตอย่างมาก ตารางที่ 10 เกณฑ์การให้คะแนนโครงสร้างพื้นฐานด้านประปาและสุขาภิบาล ระดับคะแนน ความหมาย มีระบบน้ําประปาเข้าถึงพื้นที่เขตนิคมฯ และเขตเศรษฐกิจพิเศษอย่างทั่วถึง และ 4 เพียงพอต่อความต้องการในอุตสาหกรรม รวมทั้งยังมีระบบสุขาภิบาลที่มีประสิทธิภาพ ไม่มีปัญหาเรื่องการขาดแคลนน้ําประปา มีระบบน้ําประปาหรือน้ําบาดาลเข้าถึงพื้นที่เขตนิคมฯ และเขตเศรษฐกิจพิเศษอย่าง 3 ทั่วถึง แต่อาจเกิดการขาดแคลนน้ําในบางช่วง ซึ่งไม่มีลกระทบหรือส่งผลกระทบเพียง เล็กน้อยต่อคุณภาพและอัตราการผลิต ส่วนระบบสุขาภิบาลค่อนข้างมีประสิทธิภาพ มีระบบน้ําบาดาลเข้าถึงพื้นที่เขตนิคมฯ และเขตเศรษฐกิจพิเศษในบางพื้นที่เท่านั้น และ ยังไม่สามารถตอบสนองความต้องการได้อย่างเพียงพอ รวมทั้งยังมีปญ ั หาด้านระบบ 2 สุขาภิบาลที่ส่งผลกระทบต่อคุณภาพและอัตราการผลิต รวมทั้งสิ่งแวดล้อมในเขตพื้นที่ นิคมฯ 10
สํานักงานเศรษฐกิจชายแดนและโลจิสติกส์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
1
ระบบน้ําบาดาลยังขาดแคลนอยู่มาก ไม่สามารถตอบสนองความต้องการในการผลิตได้ อย่างเพียงพอ ส่งผลกระทบอย่างมากต่อคุณภาพและอัตราการผลิต รวมทั้งระบบ สุขาภิบาลที่ไม่มีประสิทธิภาพ ส่งผลเสียต่อสิ่งแวดล้อมบริเวณนิคมฯ
ตารางที่ 11 เกณฑ์การให้คะแนนโครงสร้างพื้นฐานด้านการสื่อสารและโทรคมนาคม ระดับคะแนน ความหมาย มีระบบสื่อสารไร้สาย (EDGE/3G/4G) รวมทั้งมีการให้บริการอินเตอร์เน็ต ADSL ทั่ว 4 พื้นที่ มีระบบสื่อสารไร้สาย เช่น EDGE/3G/4G รวมทั้งมีการให้บริการอินเตอร์เน็ต ADSL ที่ 3 ครอบคลุมบางพื้นที่เท่านั้น แต่ไม่ส่งผลกระทบใดต่ออุตสาหกรรม มีระบบสื่อสารไร้สาย เช่น EDGE/3G/4G รวมทั้งมีการให้บริการอินเตอร์เน็ต ADSL ที่ 2 ครอบคลุมพื้นที่ส่วนน้อย และส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมในพื้นที่ ไม่มีระบบสื่อสารไร้สาย เช่น EDGE/3G/4G และอินเตอร์เน็ต ADSL เป็นอุปสรรคอย่าง 1 มากต่ออุตสาหกรรมในพื้นที่ ตารางที่ 12 เกณฑ์การให้คะแนนความสะดวกในการข้ามแดนของสินค้าและแรงงาน ระดับคะแนน ความหมาย การข้ามแดนของสินค้าและแรงงานในพื้นที่ระหว่างจุดผ่านแดนสองประเทศ สามารถทํา 4 ได้โดยสะดวก ในเวลาที่สั้น ไม่เสียเวลาและมีความปลอดภัย การข้ามแดนของสินค้าและแรงงานในพื้นที่ระหว่างจุดผ่านแดนสองประเทศ สามารถทํา 3 ได้ โ ยไม่ เ สี ย เวลามากและมี ค วามปลอดภั ย อาจเนื่ อ งจากเส้ น ทางข้ า มแดนมี ร ะยะ ทางไกล/ขาดการบํารุงรักษา การข้ามแดนของสินค้าและแรงงานในพื้นที่ระหว่างจุดผ่านแดนสองประเทศสามารถทํา ได้แต่ไม่สะดวกสบาย มีความปลอดภัยปานกลาง ซึ่งหาไม่ระมันระวังเท่าที่ควร สินค้า 2 บางส่ว นอาจเกิ ดการเสี ยหาย แรงงานบางกลุ่ ม เช่ น ผู้สู ง อายุ , ผู้ มีสั มภาระมาก ไม่ สามารถเดินทางได้โดยสะดวก การข้ามแดนของสินค้าและแรงงานในพื้นที่ระหว่างจุดผ่านแดนสองประเทศ ทําได้แต่ 1 ด้วยความยากลําบาก ขาดความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินอย่างมาก สินค้าขนาด ใหญ่และแรงงานบางกลุ่มเช่น ผู้สูงอายุ, ผู้มีสัมภาระมาก ไม่สามารถเดินทางผ่านได้ 3. การประเมินของโครงสร้างพื้นฐานของพื้นที่ชายแดนเชียงรายจากข้อมูลเชิงปริมาณ ในส่วนของการประเมินโครงสร้างพื้นฐานของพื้นที่ชายแดนเชียงรายจากข้อมูลเชิงปริมาณ ได้ทําการ เก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสาร หนังสือ ข่าวสาร และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เกี่ยวกับข้อมูลโครงสร้างพื้นฐาน ประกอบด้วย โครงสร้างพื้นฐานทางถนน ท่าเรือ ท่าอากาศยาน ระบบขนส่ง ทางราง คลัง สินค้าและศูนย์ กระจายสินค้า ระบบไฟฟ้าและพลังงาน ระบบน้ําประปาและสุขาภิบาล ระบบโทรคมนาคมและการสื่อสาร และความสะดวกในการข้ามแดนของสินค้าและแรงงานของพื้นที่อําเภอเชียงของ อําเภอเชียงแสน และอําเภอ แม่สาย เพื่อเปรียบเทียบและสรุปความพร้อมของโครงสร้างพื้นฐานและสาธารณูปโภคในแต่ละพื้นที่ 11
สํานักงานเศรษฐกิจชายแดนและโลจิสติกส์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
3.1 การประเมินโครงสร้างพื้นฐานและสาธารณูปโภคของพื้นที่อาเภอแม่สาย จากการประเมินในตารางที่ 13 พบว่าระบบโครงสร้างพื้นฐานในพื้นที่เฉลี่ยรวมของอําเภอแม่สายอยู่ ในระดับพอใช้จนถึงดี (คะแนน 2.89) โดยโครงสร้างพื้นฐานที่มีความพร้อมที่สุด คือ ความสะดวกในการข้าม แดนของสินค้าและแรงงาน และคลังสินค้าและศูนย์กระจายสินค้าอยู่ในเกณฑ์ดีมาก (คะแนน 4) เนื่องจากแม่ สายมีด่านศุลกากรและจุดตรวจคนเข้าเมือง 2 ด่าน และสะพานข้ามแม่น้ําสาย 2 แห่ง เพื่อข้ามไปฝั่งเมียนมา รวมทั้งพิธีทางศุลกากรในการข้ามแดนสําหรับสินค้าและแรงงานใช้เวลาไม่มาก นอกจากนี้ ยังมีคลังสินค้าที่มี พื้นที่เพียงพอต่อความต้องการในการใช้งาน มีเทคโนโลยีทันสมัย มีความสามารถในการเก็บรักษาสินค้าได้ หลายชนิด และได้มาตรฐานอยู่ในตําแหน่งพื้นที่ที่เหมาะสม รองมาคือ ระบบโทรคมนาคมและการสื่อสาร ระบบน้ําประปาและสุขาภิบาล ระบบไฟฟ้าและพลังงาน และท่าอากาศยานอยู่ในเกณฑ์ดี (คะแนน 3) ส่วน โครงสร้างพื้นฐานทางถนน และท่าเรืออยู่ในเกณฑ์พอใช้จนถึงดี (คะแนน 2.5) และโครงสร้างพื้นฐานที่ควร ปรับปรุง (คะแนน 1) คือ ระบบขนส่งทางราง ที่ยังไม่แผนในการก่อสร้างเข้ามาในพื้นที่ ตารางที่ 13 การประเมินโครงสร้างพื้นฐานและสาธารณูปโภคของอาเภอแม่สาย โครงสร้างพื้นฐาน ถนน
ท่าเรือ
ท่าอากาศยาน ระบบขนส่งทางราง คลังสินค้าและศูนย์ กระจายสินค้า 12
คาอธิบาย ถนนพหลโยธิน (กรุงเทพ-แม่สาย) - ถนน 4 ช่องทาง - ผิวถนนเรียบ - วิ่งด้วยความเร็วเฉลี่ย 60 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ท่าเรือเชียงแสนแห่งที่ 1 - ท่าเรือขนาดเล็ก - ความยาวท่าเรือไม่เกิน 50 เมตร - ระดับน้ําลึก 2 เมตร - อยู่ในเขตรัศมี 50 กิโลเมตร ท่าเรือเชียงแสนแห่งที่ 2 - ท่าเรือขนาดเล็ก - ท่าเรือขนาดกว้าง 24 เมตร ยาว 300 เมตร - ระดับน้ําลึก 1.5-7 เมตร แตกต่างตามฤดูกาล - อยู่ในเขตรัศมี 40 กิโลเมตร ท่าอากาศยานแม่ฟ้าหลวงเชียงราย - ท่าอากาศยานขนาดกลาง - ทางวิ่งยาว 3 กิโลเมตร - อยู่ในเขตรัศมี 60 กิโลเมตร ไม่มีสถานีรถไฟตั้งอยู่ในรัศมี 200 กิโลเมตร มี ค ลั ง สิ น ค้ า ที่ มี พื้ น ที่ เ พี ย งพอต่ อ ความต้ อ งการในการใช้ ง าน มี เทคโนโลยีทันสมัย มีความสามารถในการเก็บรักษาสินค้าได้หลาย ชนิดได้มาตรฐาน และอยู่ในตําแหน่งพื้นที่ที่เหมาะสม
คะแนน 2.5
2.5
3 1 4
สํานักงานเศรษฐกิจชายแดนและโลจิสติกส์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
โครงสร้างพื้นฐาน
คาอธิบาย มีระบบส่งไฟฟ้าเข้าถึงพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษอย่างทั่วถึง สามารถ ระบบไฟฟ้าและพลังงาน สนองความต้องการของอุตสาหกรรมในพื้นที่ไ ด้อย่างพอเพียง แต่ ยังคงมีช่วงเวลาที่ขาดไฟฟ้า ไฟตก หรือไฟดับอยู่ ระบบน้ําประปาและ มีระบบน้ําประปาหรือน้ําบาดาลเข้าถึงพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษอย่าง สุขาภิบาล ทั่วถึง แต่อาจเกิดการขาดแคลนน้ําในบางช่วง ระบบโทรคมนาคมและ สัญญาณโทรศัพท์สามารถใช้บริการได้อย่างทั่วถึง ระบบ 3G มีความ การสื่อสาร พร้อม แต่อาจมีการขัดข้องบ้างเล็กน้อย มีด่านศุลกากรและจุดตรวจคนเข้าเมือง 2 ด่าน และสะพานข้าม ความสะดวกในการข้าม แม่น้ําสายแห่งที่ 1 และ 2 ส่วนการข้ามแดนของสินค้าและแรงงานมี แดนของสินค้าและ ความสะดวกปลอดภัย ใช้เวลาไม่มากนัก ส่วนผู้เดินทางข้ามแดน แรงงาน จะต้องใช้เวลารอแถวเพื่อถูกตรวจสอบจากเจ้าหน้าที่ ศักยภาพของโครงสร้างพื้นฐานและสาธารณูปโภคเฉลี่ยรวม ที่มา: จากการประเมินของผู้วิจัย
คะแนน 3 3 3 4 2.89
3.2 การประเมินโครงสร้างพื้นฐานและสาธารณูปโภคของพื้นที่อาเภอเชียงแสน จากการประเมินในตารางที่ 14 พบว่าระบบโครงสร้างพื้นฐานในพื้นที่เฉลี่ยรวมของอําเภอเชียงแสน อยู่ในเกณฑ์ดี (คะแนน 3) โดยโครงสร้างพื้นฐานที่มีความพร้อมที่สุด คือ คลังสินค้าและศูนย์กระจายสินค้า และระบบน้ําประปาและสุขาภิบาลอยู่ในเกณฑ์ดีมาก (คะแนน 4) เนื่องจาก คลังสินค้าเพียงพอต่อการใช้งาน ทันสมัย ได้มาตรฐาน และอยู่ในตําแหน่งพื้นที่ที่เหมาะสม ส่วนน้ําประปาสามารถเข้าถึงในทุกพื้นที่ โดยมีแหล่ง น้ําที่หลากหลาย รองมาคือ โครงสร้างพื้นฐานทางถนน ท่าเรือ ท่าอากาศยาน ระบบไฟฟ้าและพลังงาน ระบบ โทรคมนาคมและการสื่อสาร และความสะดวกในการข้ามแดนของสินค้าและแรงงาน อยู่ในเกณฑ์ดี (คะแนน 3) ส่วนระบบขนส่งทางรางรถไฟเหมือนกับอําเภอแม่ สาย คือ ยัง ไม่มีการก่อสร้างเข้ามาในพื้นที่ ทําให้ไ ด้ คะแนนอยู่ในเกณฑ์ควรปรับปรุง ตารางที่ 14 การประเมินโครงสร้างพื้นฐานและสาธารณูปโภคของอาเภอเชียงแสน โครงสร้างพื้นฐาน ถนน
ท่าเรือ
13
คาอธิบาย ทางหลวงหมายเลข 1016 ไปกรุงเทพมหานคร - ถนนลาดยาง 4 ช่องทาง - วิ่งได้ด้วยความเร็วประมาณ 90 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ท่าเรือเชียงแสนแห่งที่ 1 - ท่าเรือขนาดเล็ก - ความยาวท่าเรือไม่เกิน 50 เมตร - ระดับน้ําลึก 2 เมตร ท่าเรือเชียงแสนแห่งที่ 2 - ท่าเรือขนาดเล็ก - ท่าเรือขนาดกว้าง 24 เมตร ยาว 300 เมตร - ระดับน้ําลึก 1.5-7 เมตร แตกต่างตามฤดูกาล
คะแนน 3
3
สํานักงานเศรษฐกิจชายแดนและโลจิสติกส์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
โครงสร้างพื้นฐาน
คาอธิบาย ท่าเรือห้าเชียง (ท่าเรือเอกชน) - ท่าเรือขนาดเล็ก ท่าอากาศยานแม่ฟ้าหลวงเชียงราย - ท่าอากาศยานขนาดกลาง ท่าอากาศยาน - ทางวิ่งยาว 3 กิโลเมตร - อยู่ในเขตรัศมี 90 กิโลเมตร ระบบขนส่งทางราง ไม่มีสถานีรถไฟตั้งอยู่ในรัศมี 200 กิโลเมตร มี ค ลั ง สิ น ค้ า และศู น ย์ ก ระจายสิ น ค้ า ที่ มี พื้ น ที่ เ พี ย งพอต่ อ ความ คลังสินค้าและศูนย์ ต้องการในการใช้งาน มีเทคโนโลยีทันสมัย มีความสามารถในการ กระจายสินค้า เก็ บ รัก ษาสิ น ค้า ได้ หลายชนิ ดรวมทั้ง สิ นค้ า ที่ต้ อ งการแช่ เ ย็น และ สินค้าอันตราย ได้มาตรฐาน และอยู่ในตําแหน่งพื้นที่ที่เหมาะสม มีระบบส่งไฟฟ้าเข้าถึงพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษอย่างทั่วถึง สามารถ ระบบไฟฟ้าและพลังงาน สนองความต้องการของอุตสาหกรรมในพื้นที่ได้อย่างพอเพียง แต่ยัง ไม่สามารถรองรับอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ได้ ระบบน้ําประปาและ มีระบบน้ําประปาหรือน้ําบาดาลเข้าถึงพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษอย่าง สุขาภิบาล ทั่วถึง เพราะสามารถดึงน้ําจืดจากแม่น้ําโขงได้ง่าย ระบบโทรคมนาคมและ สัญญาณโทรศัพท์ส ามารถใช้บ ริการได้อย่ างทั่ว ถึง แต่ยัง มี ปัญ หา การสื่อสาร ติดขัดเล็กน้อยในบางพื้นที่ และระบบ 3G รองรับสัญญาณดี ความสะดวกในการข้าม มีด่านศุลกากรและจุดตรวจคนเข้าเมือง การข้ามแดนของสินค้าและ แดนของสินค้าและ แรงงานในพืน้ ที่ระหว่างจุดผ่านแดนสองประเทศ สามารถทําได้ แรงงาน ค่อนข้างสะดวก มีความปลอดภัยปานกลาง ศักยภาพของโครงสร้างพื้นฐานและสาธารณูปโภคเฉลี่ยรวม ที่มา: จากการประเมินของผู้วิจัย
คะแนน
3 1 4
3 4 3 3 3
3.3 การประเมินโครงสร้างพื้นฐานและสาธารณูปโภคของพื้นที่อาเภอเชียงของ จากการประเมินในตารางที่ 15 พบว่าระบบโครงสร้างพื้นฐานในพื้นที่เฉลี่ยรวมของอําเภอเชียงของอยู่ ในเกณฑ์ดี (คะแนน 3.07) โดยโครงสร้างพื้นฐานที่มีความพร้อมที่สุด คือ ความสะดวกในการข้ามแดนของ สินค้าและแรงงาน ระบบน้ําประปาและสุขาภิบาล และคลัง สินค้าและศูนย์กระจายสินค้าอยู่ในเกณฑ์ดีมาก (คะแนน 4) โดยเชียงของมีด่านศุลกากร จุดตรวจคนเข้าเมือง และสะพานมิตรภาพไทย-ลาวแห่งที่ 4 ที่มีความ พร้อมต่อการเคลื่อนย้ายของสินค้าและแรงงาน โดยมีพิธีทางศุลกากรที่ใช้เวลาไม่มาก รวมถึ ง มีพื้นที่สําหรับ จอดรถเพียงพอต่อความต้องการ ระบบน้ําประปาเพียงพออย่างในพื้นที่ เนื่องจากมีทั้ง น้ําประปาจากส่วน ภูมิภาค น้ําบาดาล และน้ําจากแม่น้ําโขง และคลังสินค้ามีจํานวนเพียงพอต่อปริมาณความต้องการ พร้อมทั้งมี ระบบการจัดการที่ทันสมัย และได้มาตรฐาน และกําลังจะมีโครงการศูนย์เปลี่ยนถ่ายรูปแบบการขนส่งสินค้า เชียงของ (Intermodal Facilities) เพื่อรองรับการขนส่งสินค้าจากจีน ตอนใต้ โครงสร้างพื้นฐานที่มีความ พร้อมรองมาคือ โครงสร้างพื้นฐานทางถนน ท่าอากาศยาน ระบบไฟฟ้าและพลังงาน และ ระบบโทรคมนาคม และการสื่อสาร เกณฑ์อยู่ในระดั บดี (คะแนน 3) และท่าเรือ เกณฑ์อยู่ในระดับพอใช้จนถึงดี (คะแนน 2.67) 14
สํานักงานเศรษฐกิจชายแดนและโลจิสติกส์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
ส่วนท่าเรือได้ระดับการประเมินเหมือนกับอําเภอแม่สาย และอําเภอเชียงแสน คือ ควรปรับปรุง เพราะยังไม่มี โครงการในการก่อสร้างทางรถไฟเข้ามาในพื้นที่ ตารางที่ 15 การประเมินโครงสร้างพื้นฐานและสาธารณูปโภคของอาเภอเชียงของ โครงสร้างพื้นฐาน ถนน
ท่าเรือ
ท่าอากาศยาน
ระบบขนส่งทางราง คลังสินค้าและศูนย์ กระจายสินค้า
ระบบไฟฟ้าและพลังงาน ระบบน้ําประปา และสุขาภิบาล ระบบโทรคมนาคม และการสื่อสาร ความสะดวกในการข้าม 15
คาอธิบาย ถนนห้วยทราย-ท่าเรือ - ถนนลาดยาง 2-4 ช่องทาง - ผิวถนนเรียบ - วิ่งได้ด้วยความเร็วประมาณ 90 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ท่าเรือบั๊ค - ท่าเรือแม่น้ํา ท่าเรือผาถ่าน - ท่าเรือแม่น้ํา ท่าเรือน้ําลึก - ท่าเรือขนาดเล็ก - ความยาวท่าเรือ 180 เมตร กว้าง 24 เมตร ท่าอากาศยานแม่ฟ้าหลวงเชียงราย - ท่าอากาศยานขนาดกลาง - ทางวิ่งยาว 3 กิโลเมตร - อยู่ในเขตรัศมี 110 กิโลเมตร ท่าอากาศยานบ่อแก้ว - ท่าอากาศยานขนาดเล็ก - ทางวิ่งยาว 1.5 กิโลเมตร - ตั้งอยู่ในเขตรัศมี 20 กิโลเมตรจากเขตพื้นที่ ไม่มีสถานีรถไฟตั้งอยู่ในรัศมี 200 กิโลเมตร มีคลังสินค้าและศูนย์กระจายสินค้าที่มีพื้นที่เพียงพอ มีเทคโนโลยี ทันสมัย ได้มาตรฐาน และกําลังมีโครงการศูนย์เปลี่ยนถ่ายรูปแบบ การขนส่งสินค้าเชียงของ (Intermodal Facilities) รองรับการ ขนส่งสินค้าจากจีนในอนาคต มีระบบส่งไฟฟ้าเข้าถึงพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษอย่างทั่วถึง สามารถสนองความต้องการของอุตสาหกรรมในพื้นที่ได้อย่างพอ เพียงแต่ยังคงมีช่วงเวลาที่ขาดไฟฟ้า ไฟตก หรือไฟดับอยู่บ้างแต่ไม่ กระทบต่อคุณภาพและอัตราการผลิต มีระบบน้ําประปาหรือน้ําบาดาลเข้าถึงพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษ อย่างทั่วถึง เพราะสามารถดึงน้ําจืดจากแม่น้ําโขงได้ สัญญาณโทรศัพท์สามารถใช้บริการได้อย่างทั่วถึง แต่ยังมีปัญหา ติดขัดเล็กน้อยในบางพื้นที่ และระบบ 3G รองรับสัญญาณดี มีด่านศุลกากร จุดตรวจคนเข้าเมือง และสะพานมิตรภาพไทย-ลาว
คะแนน 3
2.67
3
1 4
3 4 3 4
สํานักงานเศรษฐกิจชายแดนและโลจิสติกส์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
โครงสร้างพื้นฐาน คาอธิบาย แดนของสินค้าและแรงงาน แห่งที่ 4 การข้ามแดนของสินค้าและแรงงานสะดวกและใช้เวลาไม่ มาก มีพื้นที่จัดสรรสําหรับจอดรถเพียงพอต่อความต้องการ ศักยภาพของโครงสร้างพื้นฐานและสาธารณูปโภคเฉลี่ยรวม ที่มา: จากการประเมินของผู้วิจัย
คะแนน 3.07
3.4 ผลสรุปการประเมินโครงสร้างพื้นฐานและสาธารณูปโภคของพื้นที่ชายแดน สรุปการประเมินโครงสร้างพื้นฐานและสาธารณูปโภคของพื้นที่ชายแดนทั้ง 3 อําเภอ ในตารางที่ 16 พบว่าโครงสร้างพื้นฐานที่มีความพร้อมที่สุด ในทุกอําเภอ คือ คลังสินค้าและศูนย์กระจายสินค้าคะแนนเฉลี่ย รวมอยู่ในเกณฑ์ระดับดีมาก (คะแนน 4) รองมาคือ ความสะดวกในการข้ามแดนของสิ นค้าและแรงงาน และ ระบบน้ําประปาและสุขาภิบาลคะแนนเฉลี่ยรวมอยู่ในเกณฑ์ดีจนถึง ดีมาก (คะแนน 3.67) ท่าอากาศยาน ระบบไฟฟ้าและพลังงาน และระบบโทรคมนาคมและการสื่อสารเฉลี่ยรวมอยู่ในเกณฑ์ดี (คะแนน 3) โครงสร้าง พื้นฐานทางถนน และท่าเรือคะแนนเฉลี่ยรวมอยู่ในเกณฑ์พอใช้จนถึงดี (คะแนน 2.83 และ 2.72 ตามลําดับ ) ส่วนระบบขนส่งทางราง หรือ รถไฟ คะแนนเฉลี่ยรวมอยู่ในเกณฑ์ควรปรับปรุง (คะแนน 1) ฉะนั้น คะแนน เฉลี่ยรวมของพื้นที่ชายแดนในด้านของโครงสร้างพื้นฐานและสาธารณูปโภคอยู่ในเกณฑ์ดี (คะแนน 2.99) ตารางที่ 16 สรุปการประเมินโครงสร้างพื้นฐานและสาธารณูปโภคของพื้นที่ชายแดน โครงสร้างพื้นฐาน แม่สาย เชียงแสน เชียงของ พื้นที่ชายแดน โครงสร้างพื้นฐานทางถนน 2.5 3 3 2.83 ท่าเรือ 2.5 3 2.67 2.72 ท่าอากาศยาน 3 3 3 3 ระบบขนส่งทางราง (รถไฟ) 1 1 1 1 คลังสินค้าและศูนย์กระจายสินค้า 4 4 4 4 ระบบไฟฟ้าและพลังงาน 3 3 3 3 ระบบน้ําประปาและสุขาภิบาล 3 4 4 3.67 ระบบโทรคมนาคมและการสื่อสาร 3 3 3 3 ความสะดวกในการข้ามแดนของสินค้าและแรงงาน 4 3 4 3.67 เฉลี่ยรวม 2.89 3 3.07 2.99 ที่มา: จากการประเมินของผู้วิจัย จากการประเมินโครงสร้างพื้นฐานและสาธารณูปโภคของพื้นที่ชายแดนจากข้อมูลทุติยภูมิ พบว่าพื้นที่ ชายแดนทั้งสามอําเภอมีความพร้อมด้านโครงสร้างพื้นฐานอย่างมากในหลากหลายด้าน ซึ่งอําเภอเชียงของเป็น อําเภอมีความพร้อมที่สุด รองมาได้แก่ อําเภอเชียงแสน และอําเภอแม่สาย โดยทุกอําเภอมีความพร้อมในด้าน ของคลังสินค้าและศูนย์กระจายสินค้าอย่างมาก พร้อมทั้งระบบน้ําประปาและสุขาภิบาล และความสะดวกใน การข้ามแดนของสินค้าและแรงงาน โดยระบบไฟฟ้าและพลังงาน ตลอดจนระบบโทรคมนาคมและการสื่อสาร 16
สํานักงานเศรษฐกิจชายแดนและโลจิสติกส์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
ซึ่งควรมีการพัฒนาให้มีความทั่วถึงในทุกพื้นที่มากขึ้น เช่ นเดียวกันกับการปรับปรุงสภาพพื้นที่ถนนในสะดวก ต่อการขนส่งสินค้าข้ามแดน และการพัฒนาและขยายท่าเรือที่มีความสามารถในการรองรับสินค้าในปริมาณที่ มากขึ้น ทั้งนี้ ระบบขนส่งสินค้าทางรางรถไฟก็จําเป็นต่อการขนส่งสินค้า เนื่องจากจะช่วยประหยัดต้นทุน ได้ อย่างมาก 4. การประเมินศักยภาพของพื้นที่ชายแดนเชียงรายต่อการเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดน ในส่วนของการประเมินศักยภาพของพื้นที่ชายแดนเชียงรายต่อการเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดน ได้ทําการเก็บรวบรวมข้อมูลจากการออกแบบสํารวจการประเมินแก่ผู้ประกอบการทั้ง ในและนอกเขตพื้นที่ ชายแดน โดยแบ่งการประเมินออกเป็น 4 ประเด็นหลัก ได้แก่ 1) การประเมินโครงสร้างพื้นฐานเชิงกายภาพ 2) การประเมินความพึงพอใจต่อสิทธิประโยชน์และกฎระเบียบในพื้นที่ 3) การประเมินความคิดเห็นต่อ ผลกระทบต่อรายได้ โอกาสในการประกอบอาชีพ และคุณภาพชีวิต และ 4) การประเมินความกังวลต่ อปัญหา ที่ตามมาจากการพัฒนา ซึ่งในประเด็นแรกจะเป็นการประเมินศักยภาพโครงสร้างพื้นฐานเชิงกายภาพโดยมี เกณฑ์การประเมินเช่นเดียวกับการประเมินจากข้อมูลเชิงปริมาณข้างต้น (4 = ดีมาก 3 = ดี 2 = พอใช้ 1 = ควรปรับปรุง) ซึ่งผู้ประเมินสามารถให้ระดับคะแนนเช่นเดียวกันในประเด็นที่ 2 ส่วนในประเด็นที่ 3 และ 4 ผู้ ประเมินต้องให้คะแนนสําหรับความคิดเห็นต่อผลกระทบและปัญหา (4 = มากที่สุด 3 = มาก 2 = ปานกลาง 1 = น้อย) 4.1 ผลการประเมินศักยภาพของพื้นที่ชายแดนเชียงรายต่อการเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษของผู้ประกอบการ นอกเขตพื้นที่ชายแดน จากผลการสํารวจความคิดเห็นของผู้ป ระกอบการนอกเขตพื้นที่ชายแดน (ตารางที่ 17) คิดว่ า โครงสร้างพื้นฐานเชิงกายภาพมีความพร้อมโดยรวมอยู่ในระดับเกณฑ์พอใช้จนถึงดี โดยผู้ประกอบการให้ค่า คะแนนมากที่สุด (คะแนน 4) ในด้านของระบบไฟฟ้าและพลังงาน รองมาได้แก่ ระบบน้ําประปาและสุข าภิบาล (คะแนน 3.83) อยู่ในเกณฑ์ดีจนถึงดีมาก ความสะดวกในการข้ามแดนของสินค้าและแรงงาน ระบบการสื่อสาร และโทรคมนาคม ท่าอากาศยาน และถนนอยู่ในเกณฑ์ พอใช้จนถึง ดี (คะแนน 2.83 2.67 2.67 และ 2.5 ตามลําดับ) คลังสินค้าและศูนย์กระจายสินค้า และท่าเรืออยู่ในเกณฑ์พอใช้ (คะแนนเท่ากันที่ 2.17) และระบบ ขนส่งรางรถไฟอยู่ในเกณฑ์ที่ควรปรับปรุง (คะแนน 1) ตารางที่ 17 ผลการประเมินโครงสร้างพื้นฐานทางกายภาพของผู้ประกอบการนอกเขต รายการ ถนน ท่าเรือ รถไฟ ท่าอากาศยาน คลังสินค้าและศูนย์กระจายสินค้า ระบบไฟฟ้าและพลังงาน ระบบน้ําประปาและสุขาภิบาล ระบบการสื่อสารและโทรคมนาคม 17
ค่าคะแนน 2.5 2.17 1 2.67 2.17 4 3.83 2.67 สํานักงานเศรษฐกิจชายแดนและโลจิสติกส์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
รายการ ความสะดวกในการข้ามแดนของสินค้าและแรงงาน เฉลี่ยรวม ที่มา: จากการคํานวณของผู้วิจัย
ค่าคะแนน 2.83 2.65
การประเมินทางด้านสิทธิประโยชน์และกฎระเบียบ ผู้ประกอบการนอกเขตส่วนใหญ่ให้ความพึงพอใจ อยู่ในเกณฑ์พอใช้ (คะแนนเฉลี่ยรวม 2.38) โดยให้ความพึงพอใจสูงสุดในด้านของการส่งเสริมให้เป็นเขตการ ท่องเที่ยวในเกณฑ์พอใช้จนถึงดี (คะแนน 2.83) รองมาได้แก่ สิทธิประโยชน์ด้านการผ่อ นปรนแรงงานต่างด้าว สิทธิประโยชน์ด้านการลงทุน และสิทธิประโยชน์ด้านการผ่อนปรนแรงงานต่างด้าวอยู่ในเกณฑ์พอใช้จนถึง ดี เช่ น กั น (คะแนน 2.67 2.5 และ 2.5 ตามลํ า ดั บ ) ส่ ว นการจั ด การเขตปลอดอากร การจั ด การเขตนิ ค ม อุตสาหกรรม และการจัดการเรื่องสิ ทธิใ นการถือ ครองที่ดิ นอยู่ ในเกณฑ์พ อใช้ (คะแนน 2.17 2 และ 2 ตามลําดับ) โดยผู้ประกอบการได้ให้ข้อเสนอแนะในเรื่องของการให้สิทธิประโยชน์แก่นักลงทุนในพื้นที่ และชาว ไทยก่อนนักลงทุนต่างชาติ หากมีการเข้ามาลงทุนของชาวต่างชาติควรมีการตรวจสิทธิให้ชัดเจนเพื่อป้องกันการ สวมสิทธิ์ อย่างไม่ถูกต้อ ง นอกจากนี้ ควรมีการบัง คับ ใช้กฎระเบียบอย่างเคร่ง ครัด ปรับปรุง ให้ทั นต่อการ เปลี่ยนแปลงของเหตุการณ์ปัจจุบัน รวมถึงควรให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการตัดสินใจต่อการออกกฎระเบียบ เช่ น สิท ธิ ใ นการถือ ครองที่ ดิ น การอนุ ญ าตให้ ต่ างชาติ เข้ า มาใช้ สิ ทธิ ป ระโยชน์ เป็ น ต้น ทั้ ง นี้ การพั ฒ นา กฎระเบียบควรมีการปรับให้มีความเป็นสากลเพื่อรองรับความต้องการของทั้งนักลงทุนไทยและชาวต่างชาติ ตารางที่ 18 ผลการประเมินความพึงพอใจต่อสิทธิประโยชน์และกฎระเบียบของผู้ประกอบการนอกเขต รายการ สิทธิประโยชน์ด้านการลงทุน สิทธิประโยชน์ด้านการผลิตและการบริการ สิทธิประโยชน์ด้านการผ่อนปรนแรงงานต่างด้าว การจัดการเรื่องสิทธิในการถือครองที่ดิน การจัดการเขตปลอดอากร การจัดการเขตนิคมอุตสาหกรรม การส่งเสริมให้เป็นเขตท่องเที่ยว เฉลี่ยรวม ที่มา: จากการคํานวณของผู้วิจัย
ค่าคะแนน 2.5 2.5 2.67 2 2.17 2 2.83 2.38
การประเมินความคิดเห็นจากผู้ประกอบการนอกเขตในด้านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่มีต่อรายได้ คุณภาพชีวิต และโอกาสในการประกอบอาชีพคะแนนเฉลี่ยอยู่ในเกณฑ์ดี (คะแนนเฉลี่ยรวม 3.11) โดยคะแนน ในด้านของโอกาสในการประกอบอาชีพ คุณภาพชีวิต และรายได้ในคะแนนที่ใกล้เคียงกัน (คะแนน 3.17 3.17 และ 3 ตามลําดับ) แสดงว่าผู้ประกอบการนอกเขตค่อนข้างมีความคิดเห็นในเชิงบวกอย่างมากต่อการพัฒนา โครงสร้างพื้นฐานเพื่อเข้าสู่การเป็นเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ
18
สํานักงานเศรษฐกิจชายแดนและโลจิสติกส์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
ตารางที่ 19 ผลการประเมินความคิดเห็นต่อรายได้ อาชีพ และคุณภาพชีวิตของผู้ประกอบการนอกเขต รายการ การพัฒนาโครงสร้างพืน้ ฐานมีผลต่อรายได้เมื่อพื้นที่ชายแดนเข้าสู่การเป็นเขตเศรษฐกิจ พิเศษ การพัฒนาโครงสร้างพืน้ ฐานมีผลต่อโอกาสในการประกอบอาชีพเมื่อพื้นที่ชายแดนเข้าสู่การ เป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษ การพัฒนาโครงสร้างพืน้ ฐานมีผลต่อคุณภาพชีวิตเมื่อพื้นที่ชายแดนเข้าสู่การเป็นเขต เศรษฐกิจพิเศษ เฉลี่ยรวม ที่มา: จากการคํานวณของผู้วิจัย
ค่าคะแนน 3 3.17 3.17 3.11
อย่างไรก็ตาม การพัฒนาเพื่อการเข้าสู่การเป็นเขตเศรษฐกิจอาจส่ง ผลกระทบเชิงลบต่อสังคมและ สิ่ ง แวดล้ อ ม โดยผู้ ป ระกอบการนอกเขตคิ ด ว่ า ปั ญ หาที่ น่ า จะเป็ น กั ง วลที่ สุ ด คื อ ปั ญ หามลพิ ษ และขยะ อุตสาหกรรม (100%) ปัญหาที่รองมาคือ การเข้ามาลงทุนต่างถิ่น (83%) การตัดไม้ทําลายป่าและการุกล้ํา พื้นที่ทางธรรมชาติ (68%) และสุขภาพและสาธารณสุข (33%) ซึ่งผู้ประกอบการเห็นว่าการกําจัดขยะเป็นหนึ่ง ในปัญหาที่สําคัญอย่างมาก หากผู้ประกอบในเขตพื้นที่นําขยะอุตสาหกรรมออกมากําจัดทิ้งนอกพื้นที่ จะสร้าง ปัญ หาต่ อคนนอกพื้ นที่ อย่ างมาก โดยรัฐบาลควรที่ จะนํ าการกํา จัดขยะเข้ าไปเป็ นส่ วนหนึ่ ง ในการพั ฒนา โครงสร้างพื้นฐานเช่นกัน นอกจากนี้ ยังมีผลกระทบอื่นๆ เช่น ความหนาแน่นของประชากรที่เพิ่มสูงขึ้น สิ่งที่ จะตามมาคือปัญหามลภาวะทางสิ่งแวดล้อม ฉะนั้น ควรมีหน่วยงานที่รับผิดชอบเพื่อลดผลกระทบดังกล่าว พร้อมกับการพัฒนาและปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานอย่างต่อเนื่อง ทั่วถึง และเพียงพอต่อความต้องการใน อนาคต รูปที่ 1 ผลการประเมินความกังวลต่อปัญหาจากการพัฒนาของผู้ประกอบการนอกเขต การเข้ามาของนักลงทุนต่างถิ่น ตัดไม้ทําลายป่าและรุกล้ําพื้นที่ธรรมชาติ สุขภาพและสาธารณสุข มลพิษและขยะอุตสาหกรรม 0%
20%
40%
60%
80% 100% 120%
ที่มา: จากการคํานวณของผู้วิจัย
19
สํานักงานเศรษฐกิจชายแดนและโลจิสติกส์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
4.2 ผลการประเมินศักยภาพของพื้นที่ชายแดนเชียงรายต่อการเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษของผู้ประกอบการ ในเขตพื้นที่ชายแดน จากผลการสํารวจความคิดเห็นของ ผู้ประกอบการในเขตพื้นที่ชายแดนคิดว่าโครงสร้างพื้นฐานเชิง กายภาพมีความพร้อมโดยรวมอยู่ในระดับเกณฑ์พอใช้ โดยผู้ประกอบการให้ค่าคะแนนมากที่สุดในด้านของ ระบบไฟฟ้าและพลังงาน และถนน (คะแนน 3) รองมาได้แก่ ความสะดวกในการข้ามแดนของสินค้าและ แรงงาน ท่าเรือ และท่าอากาศยานอยู่ในเกณฑ์พอใช้ถึงดี (คะแนน 2.8 2.6 และ 2.6 ตามลําดับ ) ระบบการ สื่อสารและโทรคมนาคม คลังสินค้าและศูนย์กระจายสินค้า และระบบน้ําประปาและสุขาภิบาลอยู่ในเกณฑ์ พอใช้ (คะแนน 2.4 2.2 และ 2.2 ตามลําดับ ) ส่วนรถไฟอยู่ในเกณฑ์ที่ควรปรับปรุง (คะแนน 1.2) โดย ผู้ประกอบการได้ให้ความคิดเห็นเพิ่มเติมว่า รัฐบาลควรมีการพัฒนาด้านสาธารณูปโภคให้ดีขึ้น ซึ่งควรมีการ จัดการพื้นที่ที่เป็นสัดส่วนชัดเจน ไม่เข้าไปรุกล้ํา และสร้างความเดือดร้อนในพื้นที่ส่วนบุคคล เพราะจะทําให้ เกิดปัญหาที่ตามมาต่อชุมชนในพื้นที่ เช่น ปัญหาควันและมลพิษจากโรงงานอุตสาหกรรม นอกจากนี้ การขอ เวนคืนพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษควรมีการทบทวนอย่างละเอียด โดยไม่จําเป็นต้องสร้างในที่ชุมชนเดิม แต่ สามารถไปสร้างในพื้นที่ใหม่ที่มีความพร้อมต่อการจัดวางผังสาธารณูปโภค ตารางที่ 20 ผลการประเมินโครงสร้างพื้นฐานทางกายภาพของผู้ประกอบการในเขต รายการ ถนน ท่าเรือ รถไฟ ท่าอากาศยาน คลังสินค้าและศูนย์กระจายสินค้า ระบบไฟฟ้าและพลังงาน ระบบน้ําประปาและสุขาภิบาล ระบบการสื่อสารและโทรคมนาคม ความสะดวกในการข้ามแดนของสินค้าและแรงงาน เฉลี่ยรวม ที่มา: จากการคํานวณของผู้วิจัย
ค่าคะแนน 3 2.6 1.2 2.6 2.2 3 2.2 2.4 2.8 2.44
การประเมินทางด้านสิทธิประโยชน์และกฎระเบียบ ผู้ประกอบการในเขตส่วนใหญ่ให้ความพึงพอใจ อยู่ในเกณฑ์พอใช้ (คะแนนเฉลี่ยรวม 2.14) โดยให้ความพึงพอใจสูงสุดในด้านของสิทธิประโยชน์ด้านการลงทุน และการส่งเสริมให้เป็นเขตการท่องเที่ยวในเกณฑ์พอใช้จนถึงดี (คะแนน 2.6) รองมาได้แก่ สิทธิประโยชน์ด้าน การผลิตและการบริการ สิทธิประโยชน์ด้านการผ่อนปรนแรงงานต่างด้าว และการจัดการเขตนิคมอุตสาหกรรม อยู่ในเกณฑ์พอใช้ (คะแนน 2.4 2.2 และ 2 ตามลําดับ) ส่วนการจัดการเรื่องสิทธิในการถือครองที่ดิน และการ จัดการเขตปลอดอากรอยู่ในเกณฑ์ควรปรับปรุง จนถึงพอใช้ (คะแนน 1.6 เท่ากัน ) โดยผู้ประกอบการได้ให้ ความคิดเห็นเพิ่มเติมในเรื่องของการจัดระเบียบระบบขนส่งมวลชนที่ควรมีระเบียบเรี ยบร้อย และมีการบังคับ ใช้กฎหมายอย่างเข้มงวด ทั้งนี้ ควรมีการจัดตั้งหน่วยงานที่ทําหน้าที่ในการรับผิดชอบในพื้นที่เป็นพิเศษ เพื่อ คอยสอดส่องดูแลเรื่องความปลอดภัย และแก้ไขและเยียวยาปัญหาที่เกิดขึ้นในพื้นที่ นอกจากนี้ ในด้านของ 20
สํานักงานเศรษฐกิจชายแดนและโลจิสติกส์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
การให้สิทธิประโยชน์แก่นักลงทุนต่างชาติ สามารถสนับสนุนและส่งเสริมได้ แต่ไม่ควรที่จะละเมิดต่อสิทธิส่วน บุคคล และวิถีชีวิตของคนในพื้นที่ ตารางที่ 21 ผลการประเมินความพึงพอใจต่อสิทธิประโยชน์และกฎระเบียบของผู้ประกอบการในเขต รายการ สิทธิประโยชน์ด้านการลงทุน สิทธิประโยชน์ด้านการผลิตและการบริการ สิทธิประโยชน์ด้านการผ่อนปรนแรงงานต่างด้าว การจัดการเรื่องสิทธิในการถือครองที่ดิน การจัดการเขตปลอดอากร การจัดการเขตนิคมอุตสาหกรรม การส่งเสริมให้เป็นเขตท่องเที่ยว เฉลี่ยรวม ที่มา: จากการคํานวณของผู้วิจัย
ค่าคะแนน 2.6 2.4 2.2 1.6 1.6 2 2.6 2.14
การประเมินความคิดเห็นจากผู้ประกอบการในเขตในด้านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่มีต่อรายได้ คุณภาพชีวิต และโอกาสในการประกอบอาชีพคะแนนเฉลี่ยอยู่ในเกณฑ์พอใช้จนถึงดี (คะแนนเฉลี่ยรวม 2.67) โดยคะแนนในด้ านของโอกาสในการประกอบอาชีพ และรายได้ อยู่ ในเกณฑ์ที่พอใช้จนถึง ดี (คะแนน 2.8 เท่ากัน) ขณะที่ คะแนนการพัฒนาต่อคุณภาพชีวิตอยู่ในเกณฑ์พอใช้ (คะแนน 2.4) แสดงว่าผู้ประกอบการใน เขตค่อนข้างมีความคิดเห็นในเชิง ลบต่อผลประโยชน์ของการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเมื่อเข้าสู่การเป็นเขต พัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ ตารางที่ 22 ผลการประเมินความคิดเห็นต่อรายได้ อาชีพ และคุณภาพชีวิตของผู้ประกอบการในเขต รายการ การพัฒนาโครงสร้างพืน้ ฐานมีผลต่อรายได้เมื่อพื้นที่ชายแดนเข้าสู่การเป็นเขตเศรษฐกิจ พิเศษ การพัฒนาโครงสร้างพืน้ ฐานมีผลต่อโอกาสในการประกอบอาชีพเมื่อพื้นที่ชายแดนเข้าสู่การ เป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษ การพัฒนาโครงสร้างพืน้ ฐานมีผลต่อคุณภาพชีวิตเมื่อพื้นที่ชายแดนเข้าสู่การเป็นเขต เศรษฐกิจพิเศษ เฉลี่ยรวม ที่มา: จากการคํานวณของผู้วิจัย
ค่าคะแนน 2.8 2.8 2.4 2.67
การประเมินความคิดเห็นจากผู้ประกอบการในเขตต่อปัญหาที่จะเกิดขึ้นตามมาจากการพัฒนา พบว่า ผู้ประกอบการค่อนข้างกังวลกับปัญหาการตัดไม้ทําลายป่าและการรุกล้ําพื้นที่ทางธรรมชาติมากที่สุด (100%) รองมาได้แก่ ปัญหามลพิษและขยะอุตสาหกรรม (80%) การเข้ามาของนักลงทุนต่างถิ่น (80%) และปัญหา ด้านสุขภาพและสาธารณสุขเป็นอันดับสุดท้าย (40%) 21
สํานักงานเศรษฐกิจชายแดนและโลจิสติกส์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
รูปที่ 2 ผลการประเมินความกังวลต่อปัญหาจากการพัฒนาของผู้ประกอบการในเขต การเข้ามาของนักลงทุนต่างถิ่น
ตัดไม้ทําลายป่าและรุกล้ําพื้นที่ธรรมชาติ สุขภาพและสาธารณสุข มลพิษและขยะอุตสาหกรรม 0%
50%
100%
150%
ที่มา: จากการคํานวณของผู้วิจัย 4.3 สรุปผลการประเมินศักยภาพของพื้นที่ชายแดนเชียงรายต่อการเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษ จากตารางที่ 23 ผลการประเมิ น แสดงให้ เ ห็ น ว่ า ผู้ ป ระกอบการนอกเขตได้ ใ ห้ ค ะแนนสู ง กว่ า ผู้ประกอบการในเขตเกือบทุกประเด็น ยกเว้นในประเด็นของปัญหาและผลกระทบที่ตามมาจากการพัฒนาให้ เป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษ ในด้านของการประเมินโครงสร้างพื้นฐานเชิง กายภาพ ผู้ประกอบการนอกเขตให้ คะแนนอยู่ที่ 2.65 สูงกว่าการให้ค่าคะแนนของผู้ประกอบการในเขตที่มีค่าคะแนนอยู่ที่ 2.44 ค่าเฉลี่ยของผู้ ประกอบโดยรวมอยู่ ที่ 2.55 ถื อว่ าอยู่ใ นเกณฑ์พ อใช้จ นถึ ง ดี ในด้ านของการประเมิน สิท ธิป ระโยชน์ และ กฎระเบียบ ผู้ประกอบการนอกเขตให้ค่าคะแนนอยู่ที่ 2.38 สูงกว่าค่าคะแนนของผู้ประกอบการในเขตที่มีค่า คะแนนอยู่ที่ 2.14 ค่ าเฉลี่ ยของผู้ประกอบโดยรวมอยู่ที่ 2.26 ถือว่ าอยู่ใ นเกณฑ์พอใช้ ขณะที่ ในด้า นการ ประเมินผลประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นจากการพัฒนาให้เป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษ ผู้ประกอบการนอกเขตให้คะแนน อยู่ที่ 3.11 สูงกว่าผู้ประกอบการในเขตที่มีค่าคะแนนอยู่ที่ 2.67 ค่าเฉลี่ยของผู้ประกอบโดยรวมอยู่ที่ 2.89 ถือ ว่ า อยู่ ใ นเกณฑ์ พ อใช้ ถึ ง ดี และในด้ า นของการประเมิ น ปั ญ หาและผลกระทบที่ ต ามมาจากการพั ฒ นา ผู้ประกอบการในพื้นที่ให้ค่าคะแนนอยู่ที่ 2.75 สูงกว่าค่าคะแนนของผู้ประกอบการนอกพื้นที่มีค่าคะแนนอยู่ที่ 2.5 ค่าเฉลี่ยของผู้ประกอบโดยรวมอยู่ที่พอใช้ถึงดี ตารางที่ 23 เปรียบเทียบการประเมินศักยภาพของพื้นที่ชายแดนในด้านต่างๆต่อการเป็นเขตเศรษฐกิจ พิเศษระหว่างผู้ประกอบการนอกเขตและผู้ประกอบการในเขตชายแดนเชียงราย โครงสร้างพื้นฐานเชิง กายภาพ
รายการ ถนน ท่าเรือ รถไฟ ท่าอากาศยาน คลังสินค้าและการกระจายสินค้า 22
ผู้ประกอบการนอกเขต ผู้ประกอบการในเขต 2.5 3 2.17 2.6 1 1.2 2.67 2.6 2.17 2.2
เฉลี่ย 2.75 2.39 1.1 2.64 2.19
สํานักงานเศรษฐกิจชายแดนและโลจิสติกส์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
สิทธิประโยชน์และกฎระเบียบ ผลประโยชน์ ปัญหาและผลกระทบ
รายการ ผู้ประกอบการนอกเขต ผู้ประกอบการในเขต ระบบไฟฟ้าและพลังงาน 4 3 ระบบน้ําประปาและสุขาภิบาล 3.83 2.2 ระบบการสื่อสารและโทรคมนาคม 2.67 2.4 ความสะดวกในการข้ามแดนของสินค้าและแรงงาน 2.83 2.8 เฉลี่ยรวม 2.65 2.44 สิทธิประโยชน์ด้านการลงทุน 2.5 2.6 สิทธิประโยชน์ด้านการผลิตและการบริการ 2.5 2.4 สิทธิประโยชน์ด้านการผ่อนปรนเรื่องแรงงานต่างด้าว 2.67 2.2 การจัดการเรื่องสิทธิในการถือครองที่ดิน 2 1.6 การจัดการเขตปลอดอากร 2.17 1.6 การจัดการเขตนิคมอุตสาหกรรม 2 2 การส่งเสริมให้เป็นเขตท่องเที่ยว 2.83 2.6 เฉลี่ยรวม 2.38 2.14 รายได้ 3 2.8 โอกาสในการประกอบอาชีพ 3.17 2.8 คุณภาพชีวิต 3.17 2.4 เฉลี่ยรวม 3.11 2.67 มลพิษและขยะอุตสาหกรรม 4 3 สุขภาพและสาธารณสุข 2 1 การตัดไม้ทําลายป่าและรุกล้ําพื้นที่ธรรมชาติ 1 4 การเข้ามาของนักลงทุนต่างถิ่น 3 3 เฉลี่ยรวม 2.5 2.75
เฉลี่ย 3.5 3.02 2.54 2.82 2.55 2.55 2.45 2.44 1.8 1.89 2 2.72 2.26 2.9 2.99 2.79 2.89 3.5 1.5 2.5 3 2.63
ที่มา: จากการคํานวณของผู้วิจัย 5. แนวทางการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสู่การเป็นพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษ 5.1 แนวทางพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเชิงกายภาพ จากการพิจารณาผลการประเมินจากฐานข้อมูลเชิงปริมาณ และฐานข้อมูลเชิง คุณภาพ โครงสร้าง พื้นฐานเชิงกายภาพที่ควรดําเนินการพัฒนามากที่สุด คือ รถไฟ ซึ่งรัฐบาลเคยมีแผนในการลงทุนก่อสร้างทาง รถไฟสายใหม่ เด่นชัย -เชียงของ ระยะทาง 326 กิโลเมตร ซึ่ง เส้นทางดัง กล่าวพาดผ่านพื้นที่ กว่า 4 จังหวัด ได้แก่ แพร่ ลําปาง พะเยา และเชียงราย รวม 10 อําเภอ 30 ตําบล แต่ปัจจุบันได้ถูกชะลอโครงการไว้ และ ทําการศึกษาการเชื่อมโยงทางเส้นทางรถไฟจากเชียงใหม่ -เชียงรายระยะทางประมาณ 150 กิโลเมตรแทน (ประชาชาติธุรกิจ , 2558) ฉะนั้น หากรัฐบาลต้องการที่จะสนับสนุน การค้าชายแดนในอนาคต ควรที่จ ะ พิจารณาการก่อสร้างทางรถไฟมายังเชียงรายใหม่ เพื่อจะช่วยเพิ่มช่องทางการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศไทย กับประเทศเพื่อนบ้าน ประเทศจีนตอนใต้ และประเทศที่สาม หากมีการจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษ และต้องการ ยกระดับให้อําเภอเชียงของเป็นเมืองสําหรับศูนย์เปลี่ยนถ่ายสินค้า (Logistics City) 23
สํานักงานเศรษฐกิจชายแดนและโลจิสติกส์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
ส่วนโครงสร้างพื้นฐานที่ควรพัฒนารองลงมา คือ ท่าเรือ ปัจจุบันท่าเรือขนาดใหญ่ที่มีการใช้ง านส่ง สินค้าในปริมาณมาก คือ ท่าเรือเชียงแสน 2 ซึ่งถูกก่อสร้างขึ้นมาเพื่อทดแทนท่าเรือเชียงแสนแห่งแรก ที่ไ ม่ สามารถขยายพื้นที่ได้ เนื่องจากอยู่ในตัวเมืองเชียงแสนที่เป็นพื้นที่ทางประวัติศาสตร์ โดยท่าเรือเชียงแสนแห่ง ที่สองสามารถรองรับสินค้าได้ปีละกว่า 6 ล้านต้น มากกว่าท่าเรือเดิมที่รองรับได้ปีละประมาณ 3 แสนตัน พร้อมทั้งมีสิ่งอํานวยความสะดวก และจุดให้บริการแบบเบ็ดเสร็จ (คมชัดลึก, 2555) อย่างไรก็ตาม ผู้บริการใช้ ท่าเรือได้ประสบปัญหาต่างๆ เช่น ปัญหาเกี่ยวกับระบบการหมุนเวียนน้ําที่ไ ม่ดี ทําให้เกิดน้ําเน่าเสีย จึง ไม่ สามารถใช้น้ําในการอุปโภคได้ พร้อมทั้งต้นทุนที่เพิ่มขึ้นจากการระยะทางการขนส่งที่ไ กลกว่าเดิม รวมถึง บริเวณดังกล่าวในแม่น้ําโขงมีร่องน้ําที่ตื้นเขิน และไม่ชัดเจน นอกจากนี้ ถนนที่เชื่อมต่อที่เป็นถนนหมู่บ้านไปยัง ท่าเรือไม่รองรับต่อการใช้งาน ทําให้ถนนพัง เสียหาย ทําให้ผู้ประกอบการขนส่ง สินค้าทางเรือต้องหันไปใช้ ท่าเรือห้าเชียง ที่เป็นท่าเรือเอกชนบริเวณบ้านสบรวก สามเหลี่ยมทองคําแทน เนื่องจากช่วยลดระยะทางกว่า 30 กิโลเมตร (ผู้จัดการออนไลน์, 2555) ขณะที่อําเภอเชียงของมีสะพานมิตรภาพไทย-ลาวแห่งที่ 4 จึงไม่มีการ ขนส่งสินค้าผ่านทางเรือในปริมาณมาก เป็นในลักษณะของการเคลื่อนย้ายสินค้าอุปโภค-บริโภคขนาดเล็ก และ การข้ามฝั่งของผู้คนระหว่างฝั่งเชียงของ-บ้านต้นผึ้ง ขณะที่อําเภอแม่สายมีสะพานข้ามแม่น้ําสายถึง 2 แห่งที่ ให้บริการเคลื่อนย้ายสินค้าและคนไปยังเมืองท่าขี้เหล็ก จึงไม่มีปัญหาในด้านของความจําเป็นในการพัฒนา ท่าเรือ ฉะนั้น จากที่กล่าวมาในข้างต้นรัฐบาลควรที่จะมีการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น หากในอนาคตต้องการที่จะ การจัดตั้งอําเภอเชียงแสนให้เป็นเมืองสําหรับการท่าเรือ (Port City) โครงสร้างพื้นฐานถนน ก็เป็นปัจจัยสําคัญอย่างมากต่อการค้าและการลงทุน โดยเฉพาะการจัดตั้งเขต เศรษฐกิจพิเศษเพื่อดึงดูดนักลงทุน ซึ่งถนนที่ได้รับการสนับสนุนในการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง คือ ถนนที่อยู่บน เส้นทาง R3A (ไทย-สปป.ลาว-จีน ) และ R3B (ไทย-เมียนมา-จีน) ซึ่ง อยู่ภายใต้ระเบียงเศรษฐกิจเหนือ -ใต้ (North South Economic Corridor: NSEC) ของโครงการอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ําโขง (Greater Mekong Subregion : GMS) โดยได้ รั บ การสนั บ สนุ น เงิ น ทุ น ในการพั ฒ นาต่ า งๆโดย ธนาคารแห่ ง เอเชี ย (Asian Development Bank: ADB) เนื่องจากเป็นเส้นทางขนส่งสินค้าที่สําคัญจากภาคกลางที่เป็นแหล่งผลิตสินค้า ส่งผ่านขึ้นมาทางภาคเหนือ ออกไปยังประเทศเพื่อนบ้าน และประเทศจีนตอนใต้ ซึ่งเป็นกลุ่มตลาดขนาดใหญ่ ฉะนั้น เส้นทางดังกล่าวจึงควรได้รับการปรับปรุงให้มีความสะดวกสบายต่อการขนส่งสินค้า และควรมีการขยาย ช่องจราจรเพิ่ม เพื่อให้สามารถรองรับปริมาณรถที่สัญจรได้มากขึ้น อย่างไรก็ตาม การจัดการระบบจราจร และ ความปลอดภัยสําหรับผู้ใช้รถใช้ถนน ตลอดจนผู้คนที่อยู่รอบข้างก็เป็นสิ่งสําคัญ ท่ากาศยาน คลังสินค้าและการกระจายสินค้า ระบบไฟฟ้าและพลังงาน ความสะดวกในการข้ามแดน ของสินค้าและแรงงาน และระบบน้ําประปาและสุขาภิบาลที่มีค่าคะแนนอยู่ในเกณฑ์พอใช้จนถึงดี ควรที่จะมี การพัฒนาอย่างต่อเนื่อง มีแผนโครงการที่ชัดเจนและจัดงบประมาณในแต่ละปี หากมีเขตเศรษฐกิจพิเศษ เกิดขึ้น โดยเฉพาะการวางระบบสาธารณูปโภคอย่างไฟฟ้า น้ําประปา การสื่อสาร และการคมานาคมขนส่งที่ เป็นขนส่งมวลชนให้เพียงพอต่อความต้องการของคนในพื้นที่ และรองรับการขยายตัวของเมืองชายแดนใน อนาคต โดยควรที่จะมีการจัดสรระพื้นที่ในการพัฒนาให้เป็นสัดส่วน ไม่รุกล้ําไปในพื้นที่ชุมชน และพื้นที่ทาง ธรรมชาติ รวมถึงไม่ส่งผลกระทบต่อวิถีการดําเนินชีวิตของคนในพื้นที่ นอกจากนี้ ควรมีการวางระบบการกําจัด ของเสียและน้ําเสีย เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมในภายหลัง ทั้งนี้ การพัฒนาที่ดีควรมีการ กระจายไปในทุกพื้นที่อย่างทั่วถึง ไม่ให้กระจุกอยู่ในพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่ง จะช่วยทําให้เกิดความเท่าเทียมของการ เติบโตทางเศรษฐกิจของแต่ละพื้นที่ได้เป็นอย่างดี 24
สํานักงานเศรษฐกิจชายแดนและโลจิสติกส์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
5.2 แนวทางพัฒนาสิทธิประโยชน์และกฎระเบียบ ในด้ า นของสิ ท ธิ ป ระโยชน์ ที่ ค วรได้ รั บ การพิ จ ารณา ปรั บ ปรุ ง และพั ฒ นาที่ สุ ด ในมุ ม มองของ ผู้ประกอบการผ่านการประเมิ น คือ สิทธิประโยชน์ด้านการผ่อนปรนแรงงานต่างด้าว ปัจจุบัน ประเทศไทย ประสบปัญหากับเรื่องแรงงานอย่างมาก เนื่องจากประเทศไทยมีการผลิตที่เน้นใช้แรงงานเข้มข้น (LaborIntensive) และยังไม่สามารถก้าวข้ามไปสู่การใช้เทคโนโลยีเข้มข้นในการผลิต (Technology-Intensive) ทํา ให้เมื่อมีการขาดแคลนแรงงานจากปัจจัยหลายอย่าง อาทิ การเข้าสู่สังคมสูงวัย ที่ทําให้คนในกําลังแรงงานลด น้อยลง โดยเฉพาะแรงงานไร้ทักษะ (unskilled-labor) จึง จําเป็นที่จะต้องพึ่ง พาแรงงานจากประเทศเพื่อน บ้านแทน แต่ปัญหา คือ แรงงานต่างด้าวที่ได้รับการจดทะเบียนอย่างถูกกฎหมายไม่สามารถที่จะออกไปทํางาน ยังพื้นที่อื่นได้ นอกจากพื้นที่ชายแดน ต้องมีใบอนุญาตสําหรับการทํางาน (work permit) ซึ่งค่อนข้างมีความ ยุ่งยาก และขั้นตอนในทํามาก ทําให้ผู้ประกอบการมีความลําบากในการนําแรงงานจากประเทศเพื่อนบ้านมาใช้ งานได้อย่างสะดวก ดังนั้น รัฐบาลควรที่จะหาแนวทางในการปรับปรุงกฎระเบียบให้มีความยืดหยุ่นมากขึ้น แต่ ก็ไม่ควรละเลยด้านความมั่นคงของประเทศไทยเช่นกัน สิทธิประโยชน์ด้านการลงทุน มีหน่วยงานต่างๆพร้อมที่จะให้สิทธิประโยชน์มากมายแก่นักลงทุนที่อยู่ ในกิจการเป้าหมายกว่า 13 กิจการ ทั้งในด้านของการยกเว้นและการลดหย่อนภาษีเครื่องจักร และวัตถุดิบที่ นํามาผลิ ตจากต่า งประเทศ ซึ่งมี ความหลากหลายและมี ความต้อ งการของนักลงทุนของไทยและต่างชาติ อย่างไรก็ตาม สิ่งที่น่าเป็นห่วง คือ ผลประโยชน์ของคนในพื้นที่ ที่อาจจะสูญเสียผลประโยชน์จากการเข้ามา ของนักลงทุนต่างถิ่นที่อาจเข้ามาโดยถูกกฎหมาย หรือการสวมสิทธิ์ ซึ่งปัญหาการสวมสิทธิ์สามารถแก้ไขได้โดย หน่วยงานที่รับผิดชอบต้องมีการตรวจให้แน่ใจว่านักลงทุนที่เข้ามาเป็นนักลงทุนถูกต้องตามเงื่อนไขที่กําหนด ไม่ไ ด้ใ ช้ตั วแทน (nominee) เข้ ามาขอสิ ทธิ ประโยชน์ ทั้ ง นี้ รั ฐบาลควรที่ จะจัด อบรมให้ ข้อ มูล เรื่ องสิท ธิ ประโยชน์ที่จะได้รับจากการลงทุนพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษแก่นักลงทุนในพื้นที่ รวมถึงเปิดโอกาสให้ประชาชน มีส่วนร่วมในการหารือเพื่อร่างสิทธิประโยชน์ กฎระเบียบ และข้อบังคับ เนื่องจาก คนในพื้นที่เป็นผู้ที่มีส่วนได้ ส่วนเสียต่อการเข้ามาจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษอย่างชัดเจน ส่วนสิทธิประโยชน์ด้านการผลิตและการบริการ ก็ ควรมีการปรับปรุงให้เท่าทันต่อการเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์โลก เพื่อให้ไม่ให้เกิดช่องว่างของผลประโยชน์ ระหว่างผู้ประกอบการไทยและผู้ประกอบการต่างชาติ 5.3 แนวทางพัฒนาผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อเข้าสู่การเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษ ควรที่จะพิจารณาผลประโยชน์ทาง เศรษฐกิจต่อพื้นที่เป็นสําคัญ ทั้งในด้านของการเพิ่มขึ้นของรายได้ การเพิ่มโอกาสและช่องทางในการประกอบ อาชีพของประชาชน รวมถึงการพัฒนาและยกระดับคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น ซึ่งหากประชาชนในพื้นที่พิจารณาว่า ได้รับผลประโยชน์จากการเข้ามาจัดตั้งเขตเศรษฐกิจอย่างเป็นรูปธรรม คือ ก่อให้เกิดการไหลเวียนของเงินใน พื้นที่ จะช่วยเพิ่มความมั่นใจแก่ประชาชนต่อการพัฒนาได้อย่างมาก โดยรัฐบาลควรที่จะเข้ามาอบรม ให้ ความรู้ และชี้ให้เห็นถึงประโยชน์ในรูปแบบของทั้ง ตัวเงิน ผลกระทบทางตรง และทางอ้อมที่เขตเศรษฐกิจ พิเศษจะให้กับประชาชน และเศรษฐกิจในพื้นที่ 5.4 แนวทางการแก้ไขปัญหาต่อผลกระทบในอนาคต หากมีจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษ และมีการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน สิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ คือ ผลกระทบ เชิงลบที่มีต่อสังคม และสิ่งแวดล้อม ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของมลพิษทางอากาศ ทางน้ํา และการสะสมของขยะ ซึ่ง 25
สํานักงานเศรษฐกิจชายแดนและโลจิสติกส์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
เป็นผลผลิตจากกิจกรรมทางเศรษฐกิจ เมื่อเศรษฐกิจมีการเติบโตสูงขึน้ หมายความว่า กิจกรรมทางเศรษฐกิจก็ จะเพิ่มมากขึ้น ซึ่งหากไม่มีการจัดวางระบบในการบําบัด และกําจัดขยะที่ดีในการพัฒนาโครงสร้างพืน้ ฐานเชิง กายภาพ ภาระดังกล่าวก็ จะตกแก่ชุมชนและสิ่ง แวดล้อมในที่สุด ซึ่ง จะตามมาด้วยปัญ หาทางสุ ขภาพและ สาธารณสุข ดังนั้น รั ฐบาลจึงต้องมีการตั้ง หน่วยงานเฉพาะกิจเพื่ อเข้ามาสอดส่องดูแล และจัดการปัญหาที่ เกิดขึ้นจากการจัดตั้ งเขตเศรษฐกิจพิเศษโดยเฉพาะ เพื่อให้ประชาชนมีพื้นที่ในการออกความคิดเห็น และ ร้องเรียน พร้อมทั้งมีการจัดการแก้ไขปัญหาอย่างทันท่วงที นอกจากนี้ รัฐบาลควรที่จะบังคับใช้กฎหมายในด้าน ผังเมืองให้ชัดเจนว่าพื้นที่ใดเป็นพื้นที่สําหรับเกษตรกรรม พื้นที่สําหรับอุตสาหกรรม พื้นที่ชุมชน พื้นที่พาณิชยก รรม และพื้นที่ป่าไม้ เพื่อไม่ให้เกิดการรุ กล้ําเข้าไปในพื้นที่ท างธรรมชาติ และเกิดการตัดไม้ทําลายป่า ทั้ง นี้ ผู้ประกอบการในพื้นที่ ซึ่งส่ วนใหญ่ประกอบกิ จการขนาดเล็ก เช่น ร้ านค้าปลีก ร้านค้ าส่ง ซึ่ง มีมูลค่าทาง เศรษฐกิจและทุนที่ไม่มาก ไม่สามารถที่จะแข่งขันกับทุนขนาดใหญ่ที่มาจากต่างถิ่น หรือทุนข้ามชาติที่มีความ ได้เปรียบทางการตลาดสูง ฉะนั้น รัฐบาลควรที่จะช่วยเพิ่มขีดความสามารถของผู้ประกอบการในพื้นที่ ในด้าน ของการจัดอบรม การให้ความรู้ในเชิงปฏิบัติ และการให้เงินทุนทําให้ผู้ประกอบการสามารถอยู่รอดและแข่งขัน กับทุนขนาดใหญ่ที่มาจากนอกพื้นที่ได้ โดยควรที่จะมีหน่วยที่คอยชี้แนะ และให้คําปรึกษา พร้อมทั้งติดตามผล การดําเนินการอย่างต่อเนื่อง บทสรุป การพัฒนาศักยภาพของโครงสร้างพื้นฐานเป็นปัจจัยสําคัญอย่างมาก ที่ช่วยขับเคลื่อนให้เขตเศรษฐกิจ พิเศษเกิดความลื่นไหลของกิจกรรมเศรษฐกิจในพื้นที่ชายแดนให้เกิดความลื่นไหล ซึ่งความพร้อมของโครงสร้าง พื้นฐาน ทั้งในเชิงของกายภาพ สิทธิประโยชน์ และกฎระเบียบ รวมถึงผลกระทบเชิงบวกและเชิง ลบที่เกิดขึ้น ควรที่จะมีการประเมินเพื่อให้เกิดแนวทางการพัฒนาที่ชัดเจน และถูกต้อง การศึกษาครั้ งนี้ จึงได้ทําการศึกษา ศักยภาพของโครงสร้างพื้ นฐานในพื้นที่ชายแดนจากการรวบรวมข้อมูลเชิ งปริมาณในเบื้องต้น และได้ทําการ ประเมินโครงสร้างพื้น ฐานเชิงกายภาพ ตลอดจนสิทธิประโยชน์และกฎระเบียบ ผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ และผลกระทบต่อ สัง คมและสิ่งแวดล้อมที่ จะตามมา โดยออกแบบสอบถามแก่ผู้ประกอบการภายในและ ภายนอก ซึ่งจากการผลการศึกษาพบว่า พื้นที่ชายแดนต้องมีการปรับปรุงและพัฒนาในเกือบทุกด้าน โดยใน ด้านของโครงสร้างพื้นฐานเชิงกายภาพ ได้รับการประเมินน้อยในด้านของระบบรางรถไฟที่เป็นปัจจัยสําคัญใน การขนส่งสินค้าทางบก ในด้ านของสิทธิประโยชน์ ได้รับการประเมินน้อยในด้านของสิทธิประโยชน์ การผ่อน ปรนแรงงานต่างด้าว ซึ่งเป็นปัญหาระดับชาติสําหรับผู้ประกอบการ ในด้านของผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ มี ความไม่มั่นใจของผู้ป ระกอบการต่อคุณภาพชีวิ ตที่จะดีขึ้นหรือแย่ลงของคนในพื้นที่ และสุดท้ายในด้านของ ผลกระทบเชิงลบที่จะตามมา เป็นที่น่ากังวลอย่างมากในเรื่องของมลพิษ และขยะที่จะเกิดขึ้นจากการเข้ามาตั้ง โรงงานอุตสาหกรรม เนื่องจากค่าคะแนนเฉลี่ยของผู้ประกอบการต่อโครงสร้างพื้นฐานและอื่น ๆโดยรวมอยู่ใน เกณฑ์พอใช้จนถึงดีเท่านั้น ฉะนั้น รัฐบาลควรที่จะมีการพิจารณาแนวทางการพัฒนาโครงสร้างฐานพื้นฐาน การ ปรับปรุง สิทธิประโยชน์ และกฎระเบียบ โดยให้ป ระชาชนในพื้นที่เข้ามามีส่วนร่วมมากยิ่งขึ้ น การสื่อสารให้ ความรู้ความเข้าใจอย่างทั่วถึงและเท่าทันกับการเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์ เพื่อให้ประชาชนและนักลงทุน เกิดความเชื่อมั่น พร้อมทั้งการวางระบบ การป้องกัน และศึกษา เพื่อไม่ให้เกิ ดปัญหาที่จะตามมาในอนาคต ทั้ง นี้ งานวิ จัย ชิ้น นี้ ต้ องการเพื่อ ให้ พื้ น ที่ช ายแดนจัง หวั ดเชี ย งรายสามารถเข้า สู่ก ารเป็น เขตเศรษฐพิเ ศษ ชายแดนได้อย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน
26
สํานักงานเศรษฐกิจชายแดนและโลจิสติกส์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
เอกสารอ้างอิง การลงทุนของภาคเอกชนไทยในเขตเศรษฐกิจพิเศษทางตอนใต้ของอินเดีย (Sri City) กรณีศึกษา บริษัท Rockworth. จาก THAI Trade Centre, Chennai, India สืบค้นเมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม 2559, จากhttp://ditp.go.th/contents_attach/132497/132497.pdf ข้อมูลพื้นฐานเขตพัฒนาเศรษฐกิจจังหวัดเชียงราย, จาก Chiangrai Special Economic Zone (CRSEZ) สืบค้นเมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม 2559, จาก http://www.crsez.com/th/economic_zone บริษัท พอล คอนซัลแตนท์ จํากัด (2554) การศึกษาความเหมาะสมการจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดน จังหวัดเชียงราย: รายงานขั้นสุดท้ายฉบับสมบูรณ์. กรุงเทพฯ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง, สํานักงานคณะกรรมการการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ จังหวัดเชียงราย (2547) การประชุมเสริมสร้างความเข้าใจและระดมสมอง: โครงการจัดตั้งเขตเศรษฐกิจชายแดน เชียงราย ณ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง วันที่ 9 ธันวาคม 2547. เชียงใหม่ มาตราการสนับสนุนจากภาครัฐ, จาก Chiangrai Special Economic Zone (CRSEZ) สืบค้นเมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม 2559, จาก http://www.crsez.com/th/government_support สถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนา (2557) โครงการวิจัย เรื่อง แนวทางและมาตรการเพื่อการ พัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษบริเวณพื้นที่แนว ชายแดนของไทย. กรุงเทพฯ. แผนแม่บท, จาก Chiangrai Special Economic Zone (CRSEZ) สืบค้นเมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม 2559, จากhttp://www.crsez.com/th/model_scheme Astonishing Incentives . from Gabon Special Economic Zone SA (GSEZ). Available at: http://www.gsez.com/invest-in-nkok-sez Connectivity. Sri City (P) Limited. Available at: http://www.sricity.in/SEZ-connectivity.html Incentives. from Iskandar Investment. Available at: http://www.iskandarinvestment.com/ investment-opportunities/incentives-2/ Infrastructure. Sri City (P) Limited. Available at: http://www.sricity.in/export-processing-zonesinfrastructure.html Infrastructure & Connectivity from Iskandar Investment. Available at: http://www.iskandarinvestment.com/value-creation/smart-connected-city/ Infrastructure Development, MEDINI Iskandar Malaysia. Available at: http://www.medini.com.my/infrastructure-development/ Infrastructure & Connectivity, from i2M Ventures Sdn Bhd Office. Available at: http://i2m.com.my/solid-infrastructure/# Iskandar Special Economis Zone มาเลเซีย กระจกสะท้อนการพัฒนาสู่เขตเศรษฐกิจพิเศษชั้นนาแห่ง อาเซียน. จาก เรวดี แก้วมณี สํานักนโยบายอุตสาหกรรมมหภาค (สม.) สืบค้นเมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม 2559, จากhttp://www.oie.go.th/sites/default/files/attachments/article/iskandar.pdf Port of Tanger MED. from Tanger Med Port Authority (part of the Tangier Mediterranean Special Agency (TMSA)). Available at: http://www.portoverview.com/data/4.pdf Presentation of GSEZ Port . from Gabon Special Economic Zone SA (GSEZ). Available at: http://www.gsez.com/ports 27
สํานักงานเศรษฐกิจชายแดนและโลจิสติกส์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
Speed Limit by Country. Retrieved September 9, 2016. Available at: http://chartsbin.com/ view/41749 Sri City The Business City of unparalleled opportunities. Available at: http://home.jeita.or.jp /iad/pdf/2-5.pdf The Regional Development Opportunities Tangiers as a model of new development dynamics. Available at: http://www.moroccoembassybangkok.org/website%20ambassade,The%20Regional%2 0Development%20Opportunities.htm.pdf
สํานักงานเศรษฐกิจชายแดนและโลจิสติกส์ (Office of Border Economy and Logistics: OBELS) มีหน้าที่ ดําเนินงานด้านการรวบรวมข้อมูลและวิจัยทางด้านเศรษฐกิจการค้าชายแดนและโลจิสติกส์ เพื่อนําไปสู่การยกระดับ องค์ความรู้ที่เป็นฐานสําคัญของประเทศไทย ซึ่งส่งผลต่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และการสร้างความสามารถใน การแข่งขันของประเทศและยกระดับคุณภาพชีวิตในสังคม Office of Border Economy and Logistics (OBELS), Mae Fah Luang University, 333 Moo 1, Tasud, Muang, Chiang Rai, Thailand. Tel. +6653916680 Email: obels@mfu.ac.th
28
สํานักงานเศรษฐกิจชายแดนและโลจิสติกส์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง