WP12 (OCT 2016)

Page 1

OBELS WORKING PAPER No.12 , Oct 2016

การศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจของจังหวัดเชียงราย พบธรรม บรรณบดี, พรพินันท์ ยี่รงค์ ที่มาและความสาคัญ จังหวัดเชียงรายเป็นจังหวัดที่อยู่เหนือสุดของประเทศไทย และมีพื้นที่ชายแดนเชื่อมต่อกับประเทศ เพื่อนบ้านอย่างสปป.ลาว และเมียนมาร์ รวมถึงมีพื้นที่ทางน้ําและทางบกสามารถเชื่อมโยงไปยังจีนตอนใต้ ทํา ให้เชียงรายเป็นประตูการค้าชายแดนที่มีศักยภาพอย่างมากในช่วงหลายปีที่ผ่านมา นอกจากการค้าชายแดน การท่องเที่ยวของจังหวัดเชียงรายยังเป็นทีน่ ิยมสําหรับชาวจีน ชาวต่างชาติ และชาวไทยในต่างพื้นที่ เนื่องจาก สภาพภูมิอากาศที่มีอุณหภูมิต่ํากว่าหลายพื้นที่ในประเทศไทย ตลอดจนมีแหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจ อาทิ วัด ร่องขุ่น ดอยตุง วัด พระแก้ว ภูชี้ฟ้า และบ้านดํา ซึ่ง เป็นรูปแบบของการท่องเที่ยวเชิงศิลปวัฒนธรรม และมี ความเป็ น ธรรมชาติ ฉะนั้ น การค้ า ชายแดน และการบริ ก าร โดยเฉพาะด้า นการท่ อ งเที่ย ว จึ ง เป็ น สอง เครื่องยนต์หลักที่รัฐบาลพยายามที่ จะนํามาใช้ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของจังหวัดเชียงราย โดยใน 19 ปีที่ ผ่านมา ผลิตภัณฑ์มวลรวมของจังหวัดเชียงราย ณ ราคาคงที่ (Real Gross Provincial Product: RGPP) มี การขยายตัวสะสม (Compound Average Growth Rate: CAGR) อยู่ร้อยละ 3.57 ชี้ให้เห็นว่าการเติบโตของ เศรษฐกิจเชียงรายในระยะยาวมีสัญญาณที่ดี รูปที่ 1 มูลค่า GPP และอัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจจังหวัดเชียงรายปี 2538 - 2557 60,000

0.12

0.1

50,000

0.08

40,000

0.06

30,000

0.04 0.02

20,000

0

10,000

-0.02

0

-0.04 2538

2540

2542

2544

2546 Real GDP

2548

2550

2552

2554

2556

%YoY

ที่มา: สานักงานคณะกรรมเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (NESDB) อย่างไรก็ตาม ในปี 2557 มูลค่า RGPP ของจังหวัดเชียงรายกลับมีการหดตัวร้อยละ 1.71 ลดลงจากปี ก่อน 912 ล้านบาท ทั้งที่ในปี 2556 และ 2555 มีการขยายตัวถึงร้อยละ 4.6 และ 9.67 ตามลําดับ ซึ่งในระยะ


ที่ผ่านมาการเปลี่ยนแปลงของบริบทการค้าโลกใหม่ที่ทําให้แต่ละประเทศทั่วโลกมีการค้าระหว่างกันลดน้อยลง ซึ่งเป็นผลต่อเนื่องจากวิกฤตเศรษฐกิจโลก ทั้งวิกฤตเศรษฐกิจแฮมเบอร์เกอร์ของอเมริกาในปี 2551 และวิกฤต ยูโรโซนหรือกรีซในปลายปี 2552 ตลอดจนภาวะเงินฝืดเรื้อรังของญี่ปุ่น และการชะลอตัวของเศรษฐกิจจีนได้ ส่งผลกระทบต่อการค้าโดยรวมของไทย รวมถึง การค้าชายแดนเช่นกัน ส่วนในด้านของปั ญหาในพื้นที่อย่าง อําเภอเชียงของหลังการเปิดประชาคมอาเซียน กลับไม่มีผลตอบรับดีเท่าที่ควร และมีสถานการณ์ที่แย่ลงอย่าง มาก เนื่ อ งจากสปป.ลาวมี ก ารเก็ บค่ า ธรรมเนี ย มในการนํ า เข้ า สิ น ค้ าที่ สู ง ขึ้ น เพิ่ ม ต้ น ทุน การส่ ง ออกของ ผู้ประกอบการชาวไทย นอกจากนี้ การปิดด่านสบหลวยของเมียนมาร์ในช่วงปลายเดือนพฤษภาคม 2559 ที่ผ่านมา ได้ส่งผล ให้เรือเดินสินค้าบริเวณชายแดนตําบลสบรวก อําเภอเชียงแสน จัง หวัดเชียงราย-บ้านต้นผึ้ง แขวงบ่อแก้ว สปป.ลาว ไม่สามารถขนส่งสินค้าเข้า -ออกได้ ซึ่งเส้นทางดังกล่าวใช้เป็นเส้นทางการค้าจากเมียนมาร์ไปสู่จีน ตอนใต้ในทางบก ซึ่งการปิดด่านเมียนมาร์เป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงรัฐบาลใหม่ในเดือนเมษายน 2559 ทั้งนี้ ในด้านของการท่องเที่ยว หลังจากการเปิดสะพานมิตรภาพไทย-ลาวแห่งที่ 4 ทําให้มีชาวจีนหลั่งไหลกัน เข้ามาท่องเที่ยวในรูปแบบของรถส่วนตัวและคาราวานรถ แต่หลังจากมีการออกกฎระเบียบเข้มงวดสําหรับการ นํารถยนต์ส่วนตัวของจีนเข้ามาตั้งแต่ 27 มิถุนายน 2559 มีผลต่อการลดลงของจํานวนนักท่องเที่ยวจีน ซึ่งเป็น แหล่งรายได้หลักของการท่องเที่ยวเชียงราย และการที่ประเทศมหาอํานาจตะวันตกอยู่ในสภาวะเศรษฐกิจซบ เซา ก็ส่งผลให้นักท่องเที่ยว เช่น รัสเซีย อังกฤษ มีการเข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทยน้อยลง รูปที่ 2 เปรียบเทียบการเติบโตทางเศรษฐกิจของจังหวัดเชียงรายและประเทศไทยปี 2539 -2557 30% 20% 10%

0% 2539

-10%

2541

2543

2545

2547

2549

2551

2553

2555

2557

-20% -30%

Thailand Growth

Chiang Rai Growth

ที่มา: สานักงานคณะกรรมเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (NESDB) เมื่อมองการเติบโตทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศไทยและจังหวัดเชียงราย พบว่าเศรษฐกิจของไทยมี การขยายตัวทางเศรษฐกิจที่มีความผันผวน หรือมีความอ่อนไหวต่อปัจจัยต่างๆทั้งภายนอกและภายในสูงกว่า เช่น ในช่วงปี 2540 - 2541 เป็นช่วงของการเกิดวิกฤตเศรษฐกิจต้มยํากุ้งของไทย อัตราการเติบโตหดตัวเฉลี่ย ร้อยละ 21.03 ขณะที่อัตราการเติบโตของเชียงรายหดตัวเฉลี่ยเพียงร้อยละ 2.06 ส่วนในช่วงของปี 2544 เศรษฐกิจไทยมีการชะลอตัวร้อยละ 4.72 จากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกที่ส่งผลต่อการส่งออกโดยรวม เชี ย งรายกลั บ ขยายตั ว ร้ อ ยละ 1.31 เช่ น เดี ย วกั บ ในช่ ว งของวิ ก ฤตเศรษฐกิ จ ที่ ต่ อ เนื่ อ งกั น มาของทาง 1

สํานักงานเศรษฐกิจชายแดนและโลจิสติกส์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง


สหรัฐ อเมริ กาและยุโรป ทํา ให้เศรษฐกิ จไทยเกิดการหดตัวของการเติบโตที่ร้อ ยละ 4.43 โดยที่เศรษฐกิ จ เชียงรายยังคงเติบโตร้อยละ 2.67 มีเพียงในปี 2557 ที่ภาวะเศรษฐกิจของจังหวัดเชียงรายและประเทศไทยมี การหดตัวพร้อมกัน แม้ว่าเชียงรายจะได้รับผลกระทบจากเปลี่ยนแปลงของปัจจัยภายนอกอย่างวิกฤตเศรษฐกิจ และการ ชะลอตัวของเศรษฐกิจที่ผ่านมา แต่บริบทใหม่ทางเศรษฐกิจที่ เปลี่ยนไป และความเป็นโลกาภิวัต น์เริ่มที่จะทํา ให้เศรษฐกิจของเชียงรายเริ่มเชื่อมต่อกับสังคมโลก ดังเช่นมูลค่า GPP ที่มีการหดตัวในปี 2557 ฉะนั้น จังหวัด เชียงรายต้องได้รับการศึกษาภาคการผลิตใดส่ง ผลต่อการเติบโตของเศรษฐกิจ เพื่อที่จะออกนโยบายในการ สนับสนุนได้ชัดเจนและถูกต้อง โดยงานวิจัยชิ้นนี้ ได้ทําการศึกษาปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจหวัด ซึ่งใช้ ข้อมูลตั้ง แต่ปี 2549 - 2557 จากสํานั กงานการคลัง จัง หวัด เชียงรายที่ทําการเก็บ รวบรวมดัชนีชี้ วัดภาวะ เศรษฐกิ จ ของจั ง หวั ด เชี ย งราย และข้ อ มู ล สถิ ติ ผ ลิ ต ภั ณ ฑ์ ม วลรวมของจั ง หวั ด เชี ย งรายจากสํ า นั ก งาน คณะกรรมการได้รายงานประจําปี การวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อการเติบโตของเศรษฐกิจจังหวัดเชียงราย 1. เครื่องมือที่ใช้ในการวิเคราะห์และข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลในงานวิจัยชิ้นนี้ใช้เครื่องมือ “การวิเคราะห์การถดถอย (Regression Analysis)” เป็นวิธีทางสถิติอย่างหนึ่งที่ใช้ศึกษาลักษณะความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรตั้งแต่ 2 ตัวแปรขึ้นไป เพื่อใช้ในการ พยากรณ์ค่ าของตัว แปรหนึ่ง จากตัวแปรอื่ นๆ จุดประสงค์ของการวิเ คราะห์ก ารถดถอยคือ การประมาณ ค่าพารามิเตอร์ตลอดจนการตรวจสอบความเหมาะสมกับข้อมูล ซึ่งตัวแปรในการถดถอยสามารถแบ่งออกเป็น สองชนิด ชนิดแรกเป็นตัวแปรที่ขึ้นอยู่กับตัวแปรอื่นเรียกว่า ตัวแปรตาม (Dependent Variable หรือ Response Variable) ส่วนอีกชนิดหนึ่งเป็นตัวแปรที่ใช้ควบคุมหรือใช้อธิบายตัวแปรตามเรียกว่าตัวแปรอิสระ (Independent Variable หรือ Predictor Variable) จํานวนตัวแปรอิสระอาจมีเพียงตัวเดียวหรือมากกว่า หนึ่งตัวแปรก็ได้ ถ้าใช้ตัวแปรอิสระตัวเดียวเรียกว่า การถดถอยอย่างง่าย (Simple Regression) แต่ถ้าใช้ตัว แปรอิสระมากกว่าหนึ่งตัวแปรเรียกว่า การถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression) ใช้วิธีการประมาณแบบ กําลังสองน้อยที่สุด (Ordinary Least Square หรือ OLS) เพื่อลดค่าความคลาดเคลื่อนของข้อมูลให้น้อยที่สุด ในการศึกษา โดยในการศึกษาจะใช้การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ ดังสมการนี้

โดยที่ Y = ค่าของตัวแปรตาม X1,X2,X3,…,Xn = ค่าของตัวแปรอิสระมีค่าตั้งแต่ 1,2,…,n ตัว = ค่าคงที่หรือค่า Intercept ของสมการถดถอย β1, β2, β3,…,βn = ค่าพารามิเตอร์หรือค่าสัมประสิทธิ์การถดถอยของตัวแปรอิสระตัวที่ 1,2,…,n ตามลําดับ u = ค่าความคลาดเคลื่อน (Error or Residual)

2

สํานักงานเศรษฐกิจชายแดนและโลจิสติกส์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง


ตั ว แปรอิ ส ระที่ นํ า มาใช้ ใ นการวิ เ คราะห์ มี ทั้ ง หมด 6 ตั ว ชี้ วั ด ได้ แ ก่ ตั ว ชี้ วั ด ภาคการเกษตร (Agricultural Sector: AGRI) การบริการ (Service Sector: SER) อุตสาหกรรม (Industrial Sector: IND) การลงทุนภาคเอกชน (Private Investment: PI) การบริโภคครัวเรือน (Household Consumption: HC) และการค้าชายแดน (Cross-Border Trade: CBT) และตัวแปรตามคือ ผลิตภัณฑ์มวลรวมของจังหวัดเชียงราย (Gross Provincial Product: GPP) ฉะนั้น จึงสามารถจําลองแบบความสัมพันธ์จากสมการถดถอยพหุคูณ ดังนี้

ตารางที่ 1 ข้อมูลสถิติของตัวแปรอิสระที่ใช้กาหนดปัจจัยที่ส่งผลกระทบเศรษฐกิจเชียงราย เกษตร 12844 12972 8919 13238 10475 11403 12742 14277 14446 10188 9563

2548 2549 2550 2551 2552 2553 2554 2555 2556 2557 2558

การบริการ อุตสาหกรรม การลงทุน 33026 78806 1119 34192 82356 745 37690 84973 796 41599 90062 890 42059 92821 1113 50615 97356 798 55819 101856 765 68713 108493 1050 74531 112272 853 73611 115039 1332 73904 118643 1253 ที่มา: สานักงานการคลังจังหวัดเชียงราย

การบริโภค 118 159 275 290 312 345 373 394 406 500 508

ค้าชายแดน 7071 6659 7498 8703 9194 14645 22709 27947 30234 32316 34262

หมายเหตุ: 1. ภาคการเกษตรใช้ตัวชี้วัดของราคาข้าว 2. ภาคการบริการใช้ตัวชี้วัดของมูลค่าการค้าปลีกค้าส่ง 3. ภาคอุตสาหกรรมใช้ตัวชี้วัดของทุนจดทะเบียนโรงงานอุตสาหกรรม 4. ภาคการลงทุนของเอกชนใช้ตัวชี้วัด ของทุนจดทะเบียนนิติบุคคล 5. ภาคการบริโภคของครัวเรือนใช้ตัวชี้วัดของภาษี มูลค่าเพิ่ม (VAT) และ 6. ภาค การค้าชายแดนใช้ตัวชี้วัดของดุลการค้าชายแดน 2. ผลการวิเคราะห์ จากตารางที่ 1 สามารถสรุปได้ว่าตัวแปรอิสระที่ส่งผลต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจเชียงราย ได้แบ่ง ออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่มีนัยสําคัญทางสถิติที่ 0.1 คือ ภาคการเกษตร ภาคการลงทุนเอกชน ภาคการ บริโภคครัวเรือน ภาคการค้าชายแดน ส่วนภาคที่มีนัยสําคัญทางสถิติที่ 0.01 คือ ภาคการบริการ อย่างไรก็ตาม ภาคอุตสาหกรรมเป็นเพียงภาคเดียวที่ไม่มีนัยสําคัญทางสถิติ โดยมี ค่าสัมประสิทธิแสดงการตัดสินใจเชิงซ้อน (Coefficient of Multiple Determination หรือ R2) อยู่ที่ร้อยละ 99.96 แสดงถึงอิทธิพลของตัวแปรอิสระ (5 ตัวชี้วัด) ที่มีต่อตัวแปรตาม (เศรษฐกิจของจังหวัดเชียงราย)

3

สํานักงานเศรษฐกิจชายแดนและโลจิสติกส์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง


ตารางที่ 1 ผลการวิเคราะห์สมการถดถอยพหุคูณของปัจจัยที่มีผลต่อเศรษฐกิจเชียงราย ตัวแปรอิสระ ค่าคงที่ (C) ภาคการเกษตร ภาคการบริการ ภาคอุตสาหกรรม การลงทุนเอกชน การบริโภคครัวเรือน การค้าชายแดน

ค่าสัมประสิทธ์ t-statistic P-value -8214.02 -0.56 0.617* 0.65 2.61 0.076* 1.08 9.96 0.0022*** 0.048 0.19 0.8560 3.09 2.37 0.098* 37.65 2.901831 0.0624* -0.34 -2.711846 0.0731* ที่มา: คานวณโดยผู้วิจัย *มีนัยสําคัญทางสถิติระดับ 0.1 **มีนัยสําคัญทางสถิติระดับ 0.05 ***มีนัยสําคัญทางสถิติระดับ 0.01 ค่าสัมประสิทธิ์ (Coefficient) ของตัวแปรอิสระที่มีนัยสําคัญทางสถิติสามารถอธิบายได้ ดังนี้ 1. ภาคการเกษตรมีค่าสัมประสิทธิ์อยู่ที่ 0.65 (ß1) หมายความว่า หากมูลค่าภาคการเกษตรมีการเพิ่มขึ้น/ ลดลงร้อยละ 1 จะส่งผลให้มูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมของจังหวัดเชียงรายเพิ่มขึ้น/ลดลงร้อยละ 0.65 2. ภาคการบริการมีค่าสัมประสิทธิ์อยู่ที่ 1.08 (ß2) หมายความว่า หากมูลค่าภาคการบริการมีการเพิ่มขึ้น/ ลดลงร้อยละ 1 จะส่งผลให้มูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมของจังหวัดเชียงรายเพิ่มขึ้น/ลดลงร้อยละ 1.08 3. ภาคการลงทุนของเอกชนมีค่าสัมประสิทธิ์อยู่ที่ 3.09 (ß3) หมายความว่า หากมูลค่าภาคการลงทุนของ เอกชนมีการเพิ่มขึ้น/ลดลงร้อยละ 1 จะส่งผลให้มูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมของจังหวัดเชียงรายเพิ่มขึ้น/ ลดลงร้อยละ 3.09 4. ภาคการบริโภคของครัวเรือนมีค่าสัมประสิทธิ์อยู่ที่ 37.65 (ß4) หมายความว่า หากมูลค่าภาคการบริโภค ของครัวเรือนมีการเพิ่มขึ้น/ลดลงร้อยละ 1 จะส่ ง ผลให้มูล ค่าผลิตภัณ ฑ์มวลรวมของจัง หวั ดเชียงราย เพิ่มขึ้น/ลดลงร้อยละ 37.65 5. ภาคการค้าชายแดนมีค่าสัมประสิทธิ์อยู่ที่ -0.34 (ß4) หมายความว่า หากมูลค่าภาคการบริโภคของ ครัวเรือนมีการเพิ่มขึ้น/ลดลงร้อยละ 1 จะส่งผลให้มูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมของจังหวัดเชียงรายลดลง/ เพิ่มขึ้นร้อยละ 37.65 ผลจากค่าสัมประสิทธิเห็นได้ภาคการเกษตร ภาคการบริการ ภาคการลงทุนของเอกชน และภาคการ บริโภคของครัวเรือนต่างก็มี ความสัมพันธ์เชิง บวก (Positive Relationship) หรือเอื้อต่อการเติบโตทาง เศรษฐกิจของจังหวัดเชียงราย ขณะที่ ภาคการค้าชายแดนกลับเป็นภาคการผลิตเดียวในระบบเศรษฐกิจของ เชียงรายที่มีความสัมพันธ์ในเชิงลบ (Negative Relationship) เมื่อพิจารณาจากค่าสัมประสิทธิ์ภาคที่ควรให้ การสนับสนุนมากที่สุด คือ ภาคการบริโภคของครัวเรือน รองมาได้แก่ การบริการ การเกษตร และการลงทุน ภาคเอกชน จากผลการวิเคราะห์ทําให้ได้สมการ ดังนี้

4

สํานักงานเศรษฐกิจชายแดนและโลจิสติกส์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง


สถานการณ์ของปัจจัยที่มีผลต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจของจังหวัดเชียงราย จากการวิเคราะห์ ทําให้ได้ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวมของจังหวัดเชียงราย โดย ปัจจัยที่ส่ง ผลเชิงบวก ประกอบด้วย ภาคการเกษตร ภาคการบริการ ภาคการลงทุนเอกชน และภาคการ บริโภคครัวเรือน และปัจจัย ที่ส่งผลเชิงลบ คือ ภาคการค้าชายแดน ในส่วนนี้จึงเป็นติดตามสถานการณ์ของ ปัจจัยต่างๆ เพื่อดูแนวโน้มการเติบโตทางเศรษฐกิจของเชียงรายในอนาคต 1. สถานการณ์ภาคการเกษตร จัง หวัดเชียงรายมีสินค้า เกษตรที่สํา คัญ หลากหลายชนิด แต่ สินค้าเกษตรที่มีความสํ าคัญ ที่สุดของ จังหวัดเชียงราย คือ ข้าว โดยดร.อนุรัตน์ อินทร ประธานหอการค้าจังหวัดเชียงรายได้กล่าวว่า “ข้าวหอมมะลิ ของจังหวัดเชียงรายอร่อยที่สุดในประเทศไทย เนื่องจาก ได้รับการปลูกในสภาพแวดล้อมที่เอื้ออํานวย ทั้งใน ด้านของดิน ฟ้า น้ํา และอากาศ จึงทําให้มีรสชาติที่ดีกว่าพื้นที่อื่น ” เกษตรกรส่วนใหญ่ในจังหวัดเชียงรายนิยม ปลูกข้าวหอมมะลิ และข้าวเหนียวสําหรับการบริโภคและจําหน่าย ทั้ง นี้ โครงการรับจํานําข้าวที่ไ ด้รับการ ประกาศในช่วงเดือนตุลาคม 2554 ส่งผลให้ปริมาณผลผลิตข้าวเพิ่มสูงขึ้นอย่างมาก จนเกินกว่าความต้องการ ของผู้บริโภคทั้งในและนอกประเทศ ทําให้ราคาข้าวเข้าสู่ภาวะตกต่ํา จากที่ราคาตันละ 14,427 บาท ในปี 2558 เหลือเพียงตันละ 9,563 บาท ในขณะที่ ราคาข้าวในตลาดโลกก็อยู่ในระดับต่ําเช่นกัน ตกอยู่ประมาณ 10,000 บาทต่อตัน ณ ปัจจุบัน สถานการณ์การส่งออกข้าวของประเทศไทยลดลงจนน้อยกว่าการส่งออกข้าว ของประเทศอินเดีย โดยราคาข้าวของประเทศอินเดียอยู่ที่ประมาณ 390 เหรียญสหรัฐต่อตัน ให้ราคาดีกว่า ราคาข้าวของไทยที่ตกอยู่ที่ 370 - 380 เหรียญสหรัฐต่อตัน (สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย, 2559) ซึ่งสถานการณ์ ของราคาข้าวในจังหวัดเชียงรายกําลังตกต่ําสะท้อนสถานการณ์การส่งออกข้าวของไทยในตลาดโลกได้เป็น อย่างดี จากรูปที่ 3 ราคาข้าวในปี 2557 หดตัวถึงร้อยละ 29.48 ก่อนจะเริ่มปรับตัวดีขึ้นในปี 2558 แต่ยังหด ตัวที่ร้อยละ 0.061 โดยการขยายตัวสะสม 9 ปี ตั้งแต่ปี 2549 - 2558 หดตัวที่ร้อยละ 3.23 รูปที่ 3 ราคาและอัตราการขยายตัวของข้าวปี 2549 - 2558 20,000

60% 40% 20% 0% -20% -40%

ล้านบาท

15,000 10,000 5,000 0 2549

2550

2551

2552

2553

ราคาข้าว

2554

2555

2556

2557

2558

%YoY

ที่มา: สํานักงานการคลังจังหวัดเชียงราย 2. สถานการณ์ภาคการบริการ ภาคบริ การเป็นภาคหนึ่ง ในระบบเศรษฐกิ จที่มีค วามสํา คัญ ต่อ การเจริญ เติบโตทางเศรษฐกิจของ จังหวัดเชียงราย โดยเฉพาะในด้านการของการค้าปลีกค้าส่ง ซึ่งมีการเติบโตที่ดีมาตลอดมาตั้งแต่อดีต ที่ผ่านมา จังหวัดเชียงรายมีทุนยักษ์ค้าปลีกเข้ามาเปิดสาขาเป็นจํานวนมาก ได้แก่ เทสโก้โลตัส บิ๊กซี ซึ่งมีการเข้ามาขยาย สาขาในรู ป แบบของห้ า งร้ า นขนาดใหญ่ และห้ างร้ า นขนาดเล็ กที่ เ ป็ น ร้ านสะดวกซื้ อ ใกล้เ คี ย งกับ 7 -11 5

สํานักงานเศรษฐกิจชายแดนและโลจิสติกส์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง


นอกจากนี้ ทุนค้าส่งขนาดยักษ์ก็ตามมา ได้แก่ คาร์ฟูร์ และแมคโคร ยัง ไม่รวมห้างสรรพสินค้าที่ขายสินค้า เฉพาะอย่างวัสดุก่อสร้าง เช่น โฮมโปร์ โกลบอลเฮ้าส์ และไทวัสดุ ทั้งนี้ ร้านค้าปลีกค้าส่ง ที่เป็นที่นิยมกับคน ท้องถิ่นอย่างมาก คือ ธนพิริยะ ซึ่งเป็นกิจการของนักธุรกิจชาวเชียงราย มีการปรับโฉมให้ดูทันสมัย สามารถ แข่งขันจากโมเดิร์นเทรดจากข้างนอก นอกจากนี้ ห้างสรรพสินค้าเพียงแห่งเดียวที่เข้ามาเปิดในไม่กี่ปีที่ผ่านมา คือ ห้างสรรพสินค้าในเครือเซ็นทรัล ปัจจัยสําคัญที่ดึงดูดให้ทุนค้าปลีกค้าส่งจากภายนอกเข้ามาในพื้นที่คือ การ ที่เชียงรายมีพื้นที่เชื่อมต่อกับประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งมีความต้องการซื้อสูงในด้านของสินค้าอุปโภค-บริโภค และ วัสดุก่อสร้าง รวมถึงอาหารและอื่นๆ ห้างค้าปลีกรูปแบบไฮเปอร์มาร์เก็ตจึงเข้าไปขยายตัวตามพื้นที่ชายแดน โดยเฉพาะเข้าไปกระจุกมากอยู่ที่อําเภอแม่สายที่มีพื้นที่เชื่อมต่อกับจังหวัดท่าขี้เหล็ก ประเทศเมียนมา ฉะนั้น แนวโน้มของการค้าปลีกค้าส่งยังเติบโตไปได้มาก ตราบเท่าที่เศรษฐกิจของประเทศเพื่อนบ้านยังขยายตัว จาก รูปที่ 4 เห็นได้ว่าในปี 2557 มูลค่าการค้าปลีกค้าส่งของเชียงรายมีการหดตัวเป็นปีแรกที่ร้อยละ 1.23 นับตั้งแต่ ปี 2548 เป็นต้นมา จาก 74,531 ล้านบาท ลดลงมาอยู่ที่ 73,611 ล้านบาท อย่างไรก็ตาม ในปี 2558 ก็ กลับมาขยายตัวเพิ่มขึ้นที่ร้อยละ 0.40 หรือเพิ่มขึ้นเป็น 73,904 ล้านบาท โดยการขยายตัวสะสม 9 ปี ตั้งแต่ปี 2549 - 2558 มีการขยายตัวที่ดีอยู่ที่ร้อยละ 9.36 รูปที่ 4 มูลค่าและอัตราการขยายตัวของภาคค้าปลีกและค้าส่งปี 2549 - 2558 80,000

25%

70,000

20%

ล้านบาท

60,000

15%

50,000 40,000

10%

30,000

5%

20,000

0%

10,000 0

-5% 2549

2550

2551

2552

2553

มูลค่าค้าปลีกค้าส่ง

2554

2555

2556

2557

2558

%YoY

ที่มา: สํานักงานการคลังจังหวัดเชียงราย 3. ภาคการลงทุนของเอกชน เชียงรายถือว่าเป็นหนึ่งในพื้นที่ภาคเหนือเป็นแหล่งดึงดูดการลงทุนจากภายนอกอย่างมาก เนื่องจาก เชียงรายเป็นพื้นที่ที่เชื่อมต่อกับชายแดน และสามารถเชื่อมไปถึงจีนตอนใต้ ทําให้การลงทุนทําธุรกิจในจังหวัด เชียงรายมีตลาดขนาดใหญ่ และกําลังซื้อสูง โดยการลงทุนที่เข้ามาส่วนใหญ่ก็เป็นในด้านของการบริการเป็น หลัก อาทิ โรงแรม ร้านอาหาร คลังสินค้า ธุรกิจขนส่งโลจิสติกส์ ซึ่งปัจจุบันจังหวัดเชียงรายค่อนข้างได้รับความ นิยมในการเข้ามาท่องเที่ยวของชาวจีนเป็นอย่างมาก นอกจากนี้ การค้า ชายแดนก็เป็นหนึ่งในตัวดึง ดูดการ ลงทุนที่เกี่ยวข้องกับการอํานวยความสะดวกทางการค้า ซึ่งการเกิดขึ้นของสะพานมิตรภาพไทย-ลาวแห่งที่ 4 ก็ 6

สํานักงานเศรษฐกิจชายแดนและโลจิสติกส์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง


เป็นโครงสร้างพื้นฐานที่สําคัญต่อการขนส่งสินค้าข้ามแดน และมีแนวโน้มว่าในอนาคตจะมีการลงทุนก่อสร้าง ศูนย์เปลี่ยนถ่ายรูปแบบการขนส่งสิน ค้า (Inter Modal Facilities) โดยภาครัฐ (คมชัดลึก , 2555) และ ภาคเอกชนจากประเทศจีนที่เริ่มเข้ามาดําเนินโครงการศูนย์โลจิสติกส์ใกล้กับสะพาน ตําบลสถาน อําเภอเชียง ของ ทั้ ง นี้ ทุ น จดทะเบี ย นนิ ติ บุ ค คลของจั ง หวั ด เชี ย งรายในปี 2558 มี ก ารหดตั ว ร้ อ ยละ 5.9 ลดลงจาก 1,331.69 ล้านบาท เหลือเพียง 1,253.08 ล้านบาท ทั้ง ที่ในปี 2557 มีการขยายตัวถึง ร้อยละ 56.11 เป็น เพราะอยู่ในช่วงของเศรษฐกิจขาลงของทั้งประเทศไทย และโลก รวมถึงการขาดความเชื่อมั่นของนักลงทุนทั้ง ไทยและต่างชาติจากความไม่มั่นคงทางการเมืองที่ยืดเยื้อมาจนถึงปัจจุบัน โดยการขยายตัวสะสม 9 ปีของทุน จดทะเบียนนิติบุคคลอยู่ร้อยละ 1.27 รูปที่ 5 ทุนจดทะเบียนและอัตราการขยายตัวของนิติบุคคลปี 2549 - 2558 1,400

80%

1,200

60%

ล้านบาท

1,000

40%

800

20%

600

0%

400

200

-20%

0

-40% 2549

2550

2551

2552

2553

ทุนนิติบุคคล

2554

2555

2556

2557

2558

%YoY

ที่มา: สํานักงานการคลังจังหวัดเชียงราย 4. ภาคการบริโภคครัวเรือน ภาษีมูลค่า (Value Added Tax: VAT) เป็นตัวแปรที่ใช้วัดการบริโภคของภาคครัวเรือนได้เป็นอย่างดี โดยตั้ง แต่ ปี 2548 พบว่ามีก ารเพิ่มขึ้น อย่างต่อเนื่องของปริมาณการบริโภคสิ นค้าภายในจัง หวัด เชียงราย เชียงราย ซึ่งการบริโภคมีการขยายตัวแบบก้าวกระโดดอย่างมากในปี 2550 อยู่ที่ร้อยละ 72.95 เพิ่มขึ้นจาก 159.07 ล้านบาท เป็น 275.10 ล้านบาท เป็นช่วงเวลาก่อนเกิดวิกฤตเศรษฐกิจของอเมริกา ที่เป็นปัจจัยทําให้ เงินบาทแข็งเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ มีการแข็งค่าขึ้นประมาณร้อยละ 6.3 จึงมีการนําเข้าเพิ่มบริโภคสินค้า จากต่างประเทศในปริมาณสูง โดยมูลค่าการนําเข้าของไทยเพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 4.8 ประกอบกับปัจจัยสนับสนุน อย่างการคลี่คลายของสถานการณ์ทางการเมือง และการทรงตัวของอัตราดอกเบี้ยที่อยู่ในระดับต่ํา (ธนาคาร แห่งประเทศไทย, 2550) ทั้งนี้ ในปี 2558 รัฐสามารถจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มได้ 507.53 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจาก 499.55 ล้านบาท ในปี 2557 หรื อร้อยละ 1.6 ทั้งที่ในปี 2557 มีการขยายตัวของการจัดเก็บภาษีถึงร้อยละ 23.07 เนื่องจากเศรษฐกิจโลกและประเทศไทยกําลังอยู่ในช่วงถดถอย มีการส่งออกลดลง ส่งผลต่อรายได้ของ ประเทศที่ลดลงด้วยเช่นกัน อย่างไรก็ตาม การขยายตัวสะสมในระยะ 9 ปี มีสัญ ญาณที่ดีมากอยู่ที่ร้อยละ 328.4 7

สํานักงานเศรษฐกิจชายแดนและโลจิสติกส์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง


รูปที่ 6 การจัดเก็บและอัตราการขยายตัวของภาษีมูลค่าเพิ่มค้าปลีกค้าส่งปี 2549 - 2558 600

80% 70%

500

60% ล้านบาท

400

50%

300

40%

30%

200

20% 100

10%

0

0% 2549

2550

2551

2552

2553 VAT

2554

2555

2556

2557

2558

%YoY

ที่มา: สํานักงานการคลังจังหวัดเชียงราย 5. การค้าชายแดน ในช่วงปี 2553 และ 2554 ดุลการค้ามีการขยายตัวถึงร้อยละ 44.08 และ 43.94 ตามลําดับ หลังจาก การเสร็จสิ้นการก่อสร้างสะพานมิตรภาพไทย-ลาวแห่งที่ 4 ที่อําเภอเชียงของ ทําให้สามารถส่งสินค้าทางบกไป ยังสปป.ลาว และจีนตอนใต้ทางบกได้ แต่ในปี 2556 กลับขยายตัวเหลือเพียงร้อยละ 6.63 สาเหตุเนื่องมาจาก การที่มีอุปสรรคทางการค้ามากขึ้น โดยทางเชียงรายเป็นแหล่ง ผลิตข้าวหอมมะลิ ขนาดใหญ่ แต่ไ ม่สามารถ ส่งออกทางชายแดนของเชียงรายได้ เพราะเชียงรายไม่ได้มีโควตาการส่งออกข้าวได้โดยตรงจากจีน ทําให้ต้อง ส่งข้าวไปเปลี่ยนสัญชาติที่สปป.ลาว ก่อนจะส่งต่อไปที่ จีนตอนใต้อีกที ส่งผลต่อการเพิ่มขึ้นของต้นทุนในการ ขนส่ง และมีการเก็บค่าธรรมเนียมในแต่ละพื้นที่ของสปป.ลาวสูงขึ้น รวมถึงการที่ไทยยังไม่ได้มีการเจรจาใน ข้อตกลงด้านข้อกีดกันทางการค้าที่มิใช่ภาษี (Non-Trade Barrier) ในด้านของการตรวจโรคพืชกับประเทศจีน อย่างจริงจัง นอกจากนี้ ความไม่สะดวกในการเดินเรือจากการทีจ่ ีนมีการปล่อยน้ําจากเขื่อนมายังแม่น้ําโขงที่ไม่ สม่ําเสมอ จึงทําให้เรือที่จอดอยู่เชียงแสนไม่สามารถขนส่งสินค้าได้ตลอดทั้งปี (ไทยรัฐ, 2558) อย่างไรก็ตาม จากปี 2556 - 2558 ดุลการค้าเริ่มมีการปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในปี 2557 มีการขยายตัวร้อยละ 7.8 เพิ่มขึ้นจาก 38,392.82 ล้านบาท เป็น 41,387.39 ล้านบาท และในปี 2558 มีการขยายตัวร้อยละ 8.79 เพิ่มขึ้นเป็น 45,026.83 ล้านบาท การขยายตัวเฉลี่ยสะสมในระยะ 9 ปี อยู่ที่ร้อยละ 16.69

8

สํานักงานเศรษฐกิจชายแดนและโลจิสติกส์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง


ล้านบาท

รูปที่ 7 มูลค่าและอัตราการขยายตัวของดุลการค้าชายแดนปี 2549 - 2558 50,000 45,000 40,000 35,000 30,000 25,000 20,000 15,000 10,000 5,000 0

50% 45% 40% 35% 30% 25% 20% 15% 10% 5% 0% 2549 2550 2551 2552 2553 2554 2555 2556 2557 2558 ดุลการค้า

%YoY

ที่มา: สํานักงานการคลังจังหวัดเชียงราย สรุปและข้อเสนอแนะ เชียงรายเป็นพื้นทีที่มีโอกาสในการขยายตัวทางเศรษฐกิจสูง เนื่องจากเป็นพื้นที่ที่มีอาณาเขตติดต่อกับ ประเทศเพื่อนบ้านทั้ง 2 ประเทศ และสามารถเชื่อมต่อไปยังจีนตอนใต้ ซึ่ง เป็นกลุ่มตลาดขนาดใหญ่ ทําให้ เหมาะสมแก่การเป็นเส้นทางขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ หรือเป็นจุดเปลี่ยนถ่ายสินค้าต่อไปยังประเทศเพื่อน บ้าน และประเทศคู่ค้า สามารถการกระจายสินค้าได้ทั่วทั้งภูมิภาคอาเซียน ประกอบกับเป็นหนึ่งในพื้นที่ ได้รับ การจัดตั้งให้เป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษในทั้ง 3 อําเภอที่ ได้แก่ อําเภอเชียงแสน อําเภอเชียงของ และอําเภอแม่ สาย นอกจากนี้ จังหวัดเชียงรายยังมีจุดเด่นในด้านของภาคบริ การ ทั้ง ในด้านของค้ าปลีกค้าส่ ง และการ ท่องเที่ยว โดยในการศึกษาคั้งนี้ ได้การวิเคราะห์การถดถอยแบบพหุคูณ (Multiple regression analysis) ซึ่ง จะใช้วิธีการประมาณการกําลังสองน้อยที่สุด (Ordinary Least Square) ซึ่งมีวัตถุประสงค์ในการศึกษาปัจจัย ที่ส่งผลกระทบต่อการเติบโตของเศรษฐกิจของจังหวัดเชียงราย โดยใช้ข้อมูลสถิติตั้งแต่ปี 2548 - 2558 จาก ภาคการเกษตร ภาคการบริ การ ภาคอุตสาหกรรม ภาคการลงทุนของเอกชน ภาคการบริโภคของครัวเรือน และภาคการค้าชายแดนมาเป็นตัวแปรอิสระ และนําเอาผลิตภัณฑ์มวลรวมของจังหวัดเชียงรายมาเป็นตัวแปร ต้น จากการวิเคราะห์พบว่า มีเพียงภาคอุตสาหกรรมที่เป็นกิจกรรมทางเศรษฐกิจเดียวที่ไม่มีผลต่อการ เปลี่ยนแปลงของผลิตภัณฑ์มวลรวมของจังหวัดเชียงราย เป็นเพราะจังหวัดยังไม่มีอุตสาหกรรมขนาดใหญ่มาลง เยอะ เนื่องสภาพพื้นที่ ผังเมือ งของจัง หวัดเชี ยงรายเป็นพื้น ที่เกษตรกรรม ชุมชน และป่า ไม้เป็น ส่วนใหญ่ ประกอบกับประชาชนในจังหวัดเชียงรายยังประกอบอาชีพเกษตรแบบดั้งเดิม ทําให้ไม่สามารถขยับการผลิตไป ในด้านของการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมในการผลิต โดยเชียงรายมีวัตถุดิบทางการเกษตรที่มีความพร้อม สําหรับการนําแปรรูป สร้างแบรนด์ และทําการตลาด ฉะนั้นรัฐบาลท้องถิ่นต้องให้การสนับสนุน และอํานวย 9

สํานักงานเศรษฐกิจชายแดนและโลจิสติกส์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง


ความสะดวกให้กับกิจการขนาดเล็กและขนาดกลางที่มีการใช้เทคโนโลยี และนวัตกรรมเพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้าให้ มากขึ้น ซึ่งจะช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันในตลาดต่างประเทศ และยกระดับทั้งรายได้และคุณภาพ ชีวิตของประชาชนในจังหวัดเชียงรายให้สูงขึ้น

10

สํานักงานเศรษฐกิจชายแดนและโลจิสติกส์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง


เอกสารอ้างอิง คมชั ดลึ ก. (2555) เชียงของ'ศู นย์ เปลี่ย นถ่ ายขนส่ ง สิ นค้ า. สืบ ค้นเมื่อ วัน ที่ 28 กรกฎาคม 2559, จาก http://www.komchadluek.net/news/detail/139520 ฐานเศรษฐกิจ (2559) เมียนมาได้ประธานาธิบดีคนใหม่ ‘ทิน จ่อ’ รับตําแหน่ง 1 เมษายนนี้. สืบค้นเมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 2559, จาก http://www.thansettakij.com/2016/03/17/38475 ไทยรัฐออนไลน์ (2558) รมต.พาณิชย์ไปเชียงราย ถกปัญหาข้าว-การค้าส่งออกชายแดน. สืบค้นเมื่อวันที่ 26 กรกฏาคม 2559, จาก http://www.thairath.co.th/content/524780 ไทยรัฐออนไลน์ (2559) ปลัดคลัง มั่นใจแบงก์ชาติรับมือบาทแข็ง ได้ ยันไม่แทรกแซง. สืบค้นเมื่อวันที่ 26 กรกฏาคม 2559, จาก http://www.thairath.co.th/content/694057 ธนาคารแห่งประเทศไทย (2550) รายงานเศรษฐกิจและการเงินและการเงิน ปี 2550. สืบค้นเมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม 2559, จาก https://www.bot.or.th/Thai/MonetaryPolicy/EconomicConditions/ AnnualReport/AnnualReport/full_2550.pdf ธนาคารแห่งประเทศไทย (2559) รายงานภาวะเศรษฐกิจปี 2559. สืบค้นเมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม 2559, จาก https://www.bot.or.th/Thai/MonetaryPolicy/EconomicConditions/Pages/default.aspx ประชาชาติธุรกิจ (2558) กลุ่มทุนยักษ์ "เจ๋ฟง ยูนนาน" ลุยโลจิสติกส์ฮับเชียงของบุกเออีซี . สืบค้นเมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม 2559, จาก http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1440403751 ผู้จัดการออนไลน์ (2559) เดี้ยงสนิท! พม่าปิดท่าฯ ริมโขง เรือจีน-ลาวจอดริมฝั่งระนาว กระทบค้าชายแดนไทย หมื่นล้าน. สืบค้นเมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 2559, จาก http://manager.co.th/Local/ViewNews.aspx?NewsID=9590000071614 ผู้จัดการออนไลน์ (2559) น้ําตาล-เนื้อแช่แข็งอ่วม! หลังพม่า-จีนปิดท่าฯ สบหลวย-คุมเข้มด่าน 2400. สืบค้น เมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 2559, จาก http://www.manager.co.th/Local/ViewNews.aspx?NewsID=9590000073273 ผู้จัดการออนไลน์ (2559) ร้างเลย! รถ นทท.จีนหายหลังไทยคุมเข้ม สถิติตี๋-หมวยขับผ่าน R3a เหลือ “ศูนย์ คัน”. สืบค้นเมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 2559, จาก http://www.manager.co.th/local/viewnews.aspx?NewsID=9590000071910 วรพล กิตติรัตวรางกูร (2559) เศรษฐกิจปี 59 ยุ่งยาก-ย่ําแย่. สืบค้นเมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม 2559, จาก http://www.thaipost.net/?q=เศรษฐกิจปี-59-ยุ่งยาก-ย่ําแย่. สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์ (2558) การเปลี่ยนแปลงรูปแบบการค้าในโลก และผลกระทบต่อ รูปแบบการค้า การส่งออกและการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างของประเทศไทย. สืบค้นเมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม 2559, จาก https://www.pier.or.th/?abridged=%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0 %B9%80%E0%B8%9B%E0%B8%A5%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%A2%E0%B8% 99%E0%B9%81%E0%B8%9B%E0%B8%A5%E0%B8%87%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0 %B8%9B%E0%B9%81%E0%B8%9A%E0%B8%9A%E0%B8%81%E0%B8%B2 สํานักงานจัดหางานจังหวัดเชียงราย (2558) ข้อมูลแรงงานต่างด้าว 3 สัญชาติ อําเภอแม่สาย อําเภอเชียงแสน อําเภอเชียงของ. สํานักงานพาณิชย์จังหวัดเชียงราย (2558) มูลค่าการค้าชายแดนจังหวัดเชียงราย 11

สํานักงานเศรษฐกิจชายแดนและโลจิสติกส์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง


สํานักงานสถิติแห่งชาติ (2559) ผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัด ณ ราคาประจําปี จําแนกตามสาขาการผลิต จังหวัด เชียงราย พ.ศ. 2548 - 2557p. สืบค้นเมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 2559, จาก http://service.nso.go.th/nso/web/statseries/statseries15.html Positioning. (2551) ท่องเที่ยวปี’52 : เร่งฟืน้ ความเชื่อมั่น..ฝ่าวิกฤตเศรษฐกิจ. สืบค้นเมื่อวันที่ 30 กรกฏาคม 2559, จาก http://positioningmag.com/45169 World Bank. (2559) เศรษฐกิจโลกปีพ.ศ. 2559 จะได้รับผลกระทบอย่างหนักจากการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ อย่างช้าๆ ของกลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่. สืบค้นเมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม 2559, จาก http://www.worldbank.org/th/news/press-release/2016/01/06/anemic-recoveryin-emerging-markets-to-weigh-heavily-on-global-growth-in-2016 World Bank. (2559) ธนาคารโลกคาดการณ์ว่าการเติบโตทางเศรษฐกิจของภูมิภาคเอเชียตะวันออกและ แปซิฟิกยังคงฟื้นตัวท่ามกลางสภาวะเศรษฐกิจโลกอันท้าทาย. สืบค้นเมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม 2559, จาก http://www.worldbank.org/th/news/press-release/2016/04/10/east-asia-pacificgrowth-remains-resilient-in-face-of-challenging-global-environment-says-world-bank

สํานักงานเศรษฐกิจชายแดนและโลจิสติกส์ (Office of Border Economy and Logistics: OBELS) มีหน้าที่ ดําเนินงานด้านการรวบรวมข้อมูลและวิจัยทางด้านเศรษฐกิจการค้าชายแดนและโลจิสติกส์ เพื่อนําไปสู่การยกระดับ องค์ความรู้ที่เป็นฐานสําคัญของประเทศไทย ซึ่งส่งผลต่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และการสร้างความสามารถใน การแข่งขันของประเทศและยกระดับคุณภาพชีวิตในสังคม Office of Border Economy and Logistics (OBELS), Mae Fah Luang University, 333 Moo 1, Tasud, Muang, Chiang Rai, Thailand. Tel. +6653916680 Email: obels@mfu.ac.th

12

สํานักงานเศรษฐกิจชายแดนและโลจิสติกส์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.