OBELS WORKING PAPER No.14 , Oct 2016
ปัจจัยเชิงสถาบันกับการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศในประเทศไทย ณัฐพรพรรณ อุตมา บทคัดย่อ บทความนี้เน้นศึกษาความสัมพัน ธ์ของปัจจัยเชิง สถาบันต่อการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศใน ประเทศไทย โดยการรวบรวมข้อมูลทุติยภูมิแบบ Panel data ตั้งแต่ปีค.ศ. 2005-2015 และทาการวิเคราะห์ โดยใช้เครื่องมือทางเศรษฐมิติที่เรียกว่า Panel data model analysis ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยเชิงสถาบันที่ มีความสัมพันธ์กับการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศในประเทศไทยในทิศทางเดียวกันอย่างมีนัยสาคัญทาง สถิ ติ ได้ แ ก่ คุ ณ ภาพของมาตรการควบคุ ม ของประเทศผู้ รั บ การลงทุ น และประเทศผู้ ล งทุ น ผลที่ ไ ด้ จ าก การศึกษานี้ สามารถใช้ในการวางแผนดาเนินการที่เกี่ยวข้องกับการดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศในประเทศ ไทยต่อไป คาสาคัญ การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ ปัจจัยเชิงสถาบัน แบบจาลองแบบพานอล 1. บทนา การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (Foreign direct investment: FDI) เป็นหนึ่งในกลไกขับเคลื่อน การขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศไทยรวมถึงการพัฒนาศักยภาพการผลิตจากการถ่ายทอดความรู้และ เทคโนโลยีจากต่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็นการผลิตในอุตสาหกรรมต้นน้า กลางน้า และปลายน้า การยกระดับ ความสามารถในการแข่งขันของประเทศ การเพิ่มศักยภาพแรงงานและทรัพยากรมนุษย์ และการพัฒนาห่วงโซ่ คุณค่าทางการผลิต ที่ผ่านมาการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศของไทยมักอยู่ในรูปแบบของการลงทุนเพื่อ เข้าถึงทรัพยากรผลิต (Resource-seeking FDI) การลงทุนเพื่อแสวงหาประสิทธิภาพการผลิต (Efficiencyseeking FDI) การลงทุนเพื่อแสวงหาสินทรัพย์เชิงกลยุทธ์ (Strategic asset-seeking FDI) การลงทุนเพื่อ แสวงหาตลาดใหม่ (Market-seeking FDI) และ การลงทุนเพื่อแสวงหาฐานการผลิตเพื่อส่งออกไปยังประเทศ อื่น (Export-platform FDI) เป็นสาคัญ และแม้ว่านักลงทุนจากต่างประเทศได้เข้ามาลงทุนในประเทศไทยด้วย วัตถุประสงค์ที่หลากหลาย กลับไม่พบการลงทุนจากต่างประเทศในรูปแบบของการเรียนรู้ทางเทคโนโลยี (Technology-seeking FDI) ในประเทศไทยแต่อย่างใด ฉะนั้น หากประเทศไทยต้องการพัฒนาประเทศไปสู่ การเป็นแหล่งดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศแล้ว นั้น จาเป็นต้องพัฒนาด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมให้มี ความเหมาะสมและตอบโจทย์ความต้องการของนักลงทุนจากต่างประเทศ ทั้งนี้ต้องอาศัยความร่วมมือกันของ ทั้งภาครัฐบาลและภาคเอกชนในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้วยนวัตกรรม (Innovation-driven) เมื่อ พิจารณาความสั มพัน ธ์ร ะหว่ างการลงทุ นโดยตรงจากต่ างประเทศและผลิต ภัณ ฑ์มวลรวมใน ประเทศเบื้องต้น (Gross Domestic Product: GDP) ของประเทศไทย (รูปที่ 1) พบว่า แนวโน้มการลงทุน จากต่างประเทศในไทยจะเปลี่ยนแปลงไปตามสถานการณ์เศรษฐกิจของโลก เช่น FDI ในไทยมีแนวโน้มหดตัว ลงเมื่อเกิดวิกฤตเศรษฐกิจการเงินโลกในปีค.ศ. 2008 และต่อเนื่องจนถึงปีค.ศ. 2011 เช่นเดียวกับ การลดลง ของ FDI อันเนื่องมากจากภาวะการหดตัวของเศรษฐกิจของโลกในปีค.ศ. 2014 ทั้งนี้ อัตราการเติบโตเฉลี่ย 1
สานักงานเศรษฐกิจชายแดนและโลจิสติกส์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
$ Million
18,000 16,000 14,000 12,000 10,000 8,000 6,000 4,000 2,000 -2,000
CAGR Intra-ASEAN FDI -14.11% Total FDI 0.92% GDP 3.30%
2005 2006 2007 Intra-ASEAN FDI 2,022 2,845 1,548 Total FDI 8,216 8,918 8,634 GDP 283,77 297,86 314,05
2008 261 8,562 319,47
Global financial crisis
2009 2,686 6,411 317,11
2010 2,221 14,747 340,92
2011 952 2,474 343,76
2012 -745 12,899 368,62
Global recession
2013 528 15,936 378,58
2014 -941 4,975 381,67
2015 442 9,004 392,44
450,000 400,000 350,000 300,000 250,000 200,000 150,000 100,000 50,000 -
$ Million
สะสมต่อปี (Compound Annual Growth Rate: CAGR) ของการลงทุนจากต่างประเทศในไทยระหว่างปี ค.ศ.2005-2015 มีค่าเท่ากับร้อยละ 0.92 ต่ากว่าอัตราการเติบโตของ GDP เฉลี่ยสะสมในประเทศไทย ซึ่งมีค่า เท่ากับร้อยละ 3.30 อย่างไรก็ตามตัวเลขดังกล่าวสามารถสะท้อนถึงพลังของคลื่นโลกาภิวัตน์และคลื่นภูมิภา คาภิวัฒน์ได้เป็นอย่างดี
รูปที่ 1 การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศและผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศเบื้องต้นของประเทศไทย ที่มา: ธนาคารแห่งประเทศไทย (2559) การเกิดวิกฤตเศรษฐกิจการเงินในประเทศสหรัฐอเมริกาและยุโรปที่ผ่านมาได้ส่งผลอย่างมากต่อการ ขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศต่างๆ ในโลก รวมทั้งประเทศไทย ผลกระทบดังกล่าวฯทาให้เกิดกระแสของ การจัดระเบียบเศรษฐกิจโลกใหม่ (New world order) โดยประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่จะมีบทบาทในการ กาหนดระเบียบเศรษฐกิจโลกมากขึ้น โดยเฉพาะประเทศจีนที่มีส่วนสาคัญและมีบทบาทสูงในการจัดระเบียบ ดัง กล่ า ว ที่ผ่ า นมาจี น ได้ ด าเนิ น การปฏิ รู ป เศรษฐกิ จ เพื่อ ขยายบทบาทในเวทีโ ลกภายใต้ห ลั ก การ “New normal” รวมทั้งการดาเนินยุทธศาสตร์ “One Belt One Road” และการจัดตั้งธนาคารเพื่อการลงทุน โครงสร้างพื้นฐานเอเชีย (The Asian Infrastructure Investment Bank: AIIB) ตลอดจนการบรรจุเงินหยวน เข้าสกุลเงินสารองในตะกร้าหน่วยสิทธิเบิกถอนพิเศษ (Special drawing right: SDR) นอกจากนี้ ประเด็นการ สร้างและส่งเสริมหลักธรรมาภิบาลของประเทศต่างๆ ในโลกได้ถูกหยิบยกขึ้นมาเป็นส่วนหนึ่งของระเบียบ เศรษฐกิจโลกใหม่อีกด้วย อย่างไรก็ตาม การเปลี่ยนแปลงต่างๆ ในเวทีโลกถือเป็นความท้าทายของประเทศไทย ในการนาพาประเทศไปสู่การเติบโตที่เข้มแข็งและยั่ง ยื น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การสร้างความสมดุลของการ บริหารเศรษฐกิจไทย (Economic governance balance) ด้วยการสร้างธรรมาภิบาลของระบบกฎหมาย การ บริหารจัดการภาครัฐ และความมั่นคงทางการเมือง ซึ่งถือว่ามีความสาคัญอย่างมากต่อการสร้างความเชื่อมั่น กับนานาประเทศที่ต้องการดาเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจกับประเทศไทย หรือกล่าวได้ว่า บทบาทของปัจจัยเชิง สถาบัน (Institutional factors) นั้นมีความสาคัญและส่งผลกระทบต่อพลวัตการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ ระหว่างประเทศ เช่น การค้าและการลงทุนระหว่างประเทศ และการเคลื่อนย้ายแรงงานระหว่างประเทศอีก ด้วย จากความสาคัญดังกล่าว การศึกษานี้จึงได้เน้นการศึกษาถึงบทบาทของปัจจัยเชิงสถาบัน (การมีสิทธิ์มี เสียงของประชาชน ความมีเสถียรภาพทางการเมือง คุณภาพของมาตรการควบคุม และการควบคุมปัญหา 2
สานักงานเศรษฐกิจชายแดนและโลจิสติกส์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
ทุจริตประพฤติมิชอบ) ที่มีผลต่อการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศในประเทศไทย ผลที่ได้รับจากการศึกษานี้ อาจเป็นข้อมูลอีกส่วนหนึ่งในการเสนอแนะรูปแบบการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศที่เน้นความมีเสถียรภาพ เชิงสถาบัน (institution-seeking FDI) และสามารถนาไปใช้ประโยชน์ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการปรับปรุงและ ส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศในประเทศไทยต่อไป 2. สถานการณ์การลงทุนจากต่างประเทศในประเทศไทย ในส่วนนี้ เป็นการนาเสนอสถานการณ์การลงทุนจากต่างประเทศในประเทศไทยแยกตามรายประเทศ และภาคเศรษฐกิจ แนวโน้มการลงทุนจากต่างประเทศในไทย และความสัมพันธ์ของปัจจัยเชิงสถาบันและการ ลงทุนจากต่างประเทศในไทย 2.1 การลงทุนจากต่างประเทศในไทย แยกตามรายประเทศ จากสถิติของธนาคารแห่งประเทศไทย (2559) พบว่า ประเทศที่มีมูลค่าเงินลงทุนในไทยระหว่างปีค.ศ. 2005-2015 สูงที่สุด (รูปที่ 2) ได้แก่ ประเทศญี่ปุ่น รองลงมาได้แก่ กลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียน สหรัฐอเมริกา กลุ่มประเทศยุโรป และประเทศจีน (และฮ่องกง) ตามลาดับ รูปที่ 2 มูลค่าการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศของไทยรายประเทศ ระหว่างปีค.ศ. 2006-2015 (ล้านเหรียญสหรัฐ) ASEAN, 11,820
CHE, 2,268
KOR, 1,984
CHN (incl. HKG), 7,582
JPN, 36,415 EU, 10,687
AUS, 1,555
USA, 10,758
BVI, 3,560
ASEAN = ; AUS = Australia; BVI = British Virgin Islands; CHE = Switzerland; CHN = China; EU = European Union; HKG = Hong Kong; JPN = Japan; USA = United States; KOR = South Korea ที่มา: ธนาคารแห่งประเทศไทย (2559) เมื่อพิจารณาอัตราการเติบโตเฉลี่ยสะสมของมูลค่าการลงทุนจากประเทศญี่ปุ่นในไทย ระหว่างปีค.ศ. 20052015 พบว่ามีอัตราการเติบโตสะสมต่อปีเพียงร้อยละ 0.08 ขณะที่อัตราการเติบโตสะสมของการลงทุนจาก ประเทศอาเซียนและประเทศจีนมีค่าติดลบเท่ากับร้อยละ 14.11 และ 15.78 ตามลาดับ ส่วนอัตราการเติบโต สะสมของการลงทุนจากสหรัฐอเมริกาและประเทศยุโรปมีอัตราร้อยละ 3.08 และ 5.10 ตามลาดับ จากตัวเลข การเติบโตเฉลี่ยสะสมต่อปีดังกล่าวได้นามาซึ่งข้อสงสัยที่ว่า หากประเทศไทยจาเป็นต้องพึ่งพิ งการลงทุนจาก ประเทศในภูมิภาคเอเชียแล้ว อะไรที่เป็นสาเหตุหลักของการเติบโตเฉลี่ยสะสมที่หดตัวเช่นนี้ และประเทศไทย ต้องปรับตัวอย่างไรเพื่อดึงดูดการลงทุนจากประเทศเหล่านั้น
3
สานักงานเศรษฐกิจชายแดนและโลจิสติกส์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
2.2 การลงทุนจากต่างประเทศในไทย แยกตามภาคเศรษฐกิจ รูปที่ 3 แสดงมูลค่าการลงทุนจากต่างประเทศในไทยแยกตามภาคเศรษฐกิจระหว่างปีค.ศ. 20062015 พบว่า การลงทุนจากต่างประเทศส่วนใหญ่กระจุกตัวในภาคอุตสาหกรรมการผลิตมากที่สุดถึง ร้อยละ 26.37 รองลงมาคือภาคเหมืองแร่ร้อยละ 25.31 ภาคการเงินร้อยละ 14.81 และภาคการค้าปลีกค้าส่งร้อยละ 9.40 อัตราการเติบโตเฉลี่ยสะสมระหว่างปีค.ศ. 2006-2015 ของภาคการค้าปลีกค้าส่งมีอัตราสูงที่สุด เท่ากับ ร้อยละ 39 รองลงมาคือ ภาคอุตสาหกรรมการผลิตร้อยละ 34 ทั้ง นี้ อุตสาหกรรมการผลิตที่นักลงทุนจาก ต่างประเทศนิยมเข้ามาดาเนินธุรกิจในประเทศไทย ได้แก่ การผลิตผลิตภัณฑ์อาหาร (ร้อยละ 27.46) การผลิต เคมีภัณฑ์และผลิตภัณฑ์เคมี (ร้อยละ 11.86) การผลิตผลิตภัณฑ์คอมพิวเตอร์ อิเล็กทรอนิกส์ และอุปกรณ์ที่ใช้ ในทางทัศนศาสตร์ (ร้อยละ 11.21) การผลิตเครื่องดื่ม (ร้อยละ 7.93) และการผลิตยานยนต์ รถพ่วง และรถกึ่ง รถพ่วง (ร้อยละ 7.63) เป็นต้น (ธนาคารแห่งประเทศไทย 2559) รูปที่ 3 มูลค่าการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศของไทยรายภาคเศรษฐกิจระหว่างปีค.ศ. 2006-2015 (ล้านเหรียญสหรัฐ) 60%
120,000
50%
100,000
40%
60,000
20%
40,000
10%
20,000
0% -10%
AGRI FDI 47 CAGR 16%
$ Million
80,000
30%
MIN MANU ENER 97,175 101,224 2,547 34% 20% 11%
CONS WRT TRANS ACCOM FIN ESTAT OTHRS 3,370 36,088 5,046 2,255 56,867 9,611 69,644 28% 39% -1% 15% 26% 23% 52%
0
AGRI = Agriculture, forestry and fishing; MIN = Mining and quarrying; MANU = Manufactures of food products, beverages, textiles, paper and paper products, chemicals and chemical products, rubber and plastics products, computer, electronic and optical products, electrical equipment, machinery and equipment, and motor vehicles, trailers and semitrailers; ENER = Electricity, gas, steam and air conditioning supply; WRT = Wholesale and retail trade; repair of motor vehicles and motorcycles; TRAN = Transportation and storage; ACCOM = Accommodation and food service activities; FIN = Financial and insurance activities; ESTAT = Real estate; OTHRS =Others. ที่มา: ธนาคารแห่งประเทศไทย (2559) 2.3 การลงทุนจากต่างประเทศต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศของไทย หากพิจารณาสัด ส่วนการลงทุนจากต่างประเทศในไทยต่อผลิตภั ณฑ์มวลรวมในประเทศของไทย (FDI/GDP) ระหว่างปีค.ศ. 2005-2015 (รูปที่ 4) พบว่า FDI/GDP มีการเคลื่อนไหวขึ้นลงตามภาวะเศรษฐกิจ 4
สานักงานเศรษฐกิจชายแดนและโลจิสติกส์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
ของโลก เช่น การลดลงของ FDI/GDP ในช่วงการเกิดวิกฤตเศรษฐกิจการเงินโลก ระหว่างปีค.ศ. 2008-2010 และการหดตัวของเศรษฐกิจโลกในปีค.ศ. 2014 นอกจากนี้จากการพยากรณ์สัดส่วนการลงทุนจากต่างประเทศ ต่อ GDP ของไทยระหว่างปีค.ศ. 2016-2020 ด้วยวิธี 6-month moving average พบว่า FDI/GDP มี แนวโน้มลดลง ดังนั้น หากประเทศไทยจาเป็นต้องใช้การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศเป็นเครื่องมือในการ ขับเคลื่อนการเติบโตทางเศรษฐกิจให้มีความยั่งยืน แนวนโยบายเพื่อส่งเสริมการลงทุนแบบเดิมอาจจะไม่ทาให้ เกิดผลสาเร็จตามที่คาดหมายไว้ แนวทางหนึ่ง ที่ไ ด้มีการกล่ าวถึง คือการสร้างความเข้มแข็ง ของโครงสร้า ง สถาบัน ซึ่งอาจเป็นหนึ่งในปัจจัยการดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศในประเทศไทยได้ หากเป็นเช่นนั้น การ สร้างและส่งเสริมหลักธรรมภิบาลจาเป็นต้องได้รับการดาเนินการอย่างเร่งด่วน
FDI/GDP
รูปที่ 4 มูลค่าและแนวโน้มการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศต่อ GDP ของประเทศไทย ระหว่างปีค.ศ. 2005-2020 0.050 0.045 0.040 0.035 0.030 0.025 0.020 0.015 0.010 0.005 -
6-year moving average
2005 2006 2007 2008 2009 2010 2011 2012 2013 2014 2015 2016 2017 2018 2019 2020
ที่มา: ธนาคารแห่งประเทศไทย (2559) 2.4 ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยเชิงสถาบันและการลงทุนจากต่างประเทศของไทย ปัจจัยเชิงสถาบันเป็นปัจจัยที่สะท้อนโครงสร้างทางสัง คมที่เกี่ยวข้องกับกฏหมายและการบังคับใช้ กฎหมาย การบริหารจัดการของภาครัฐ และความมั่นคงทางการเมืองของประเทศนั้นๆ ในการศึกษานี้ได้นา แนวคิดของ Worldwide Governance Indicators (WGI) จัดทาโดย World Bank มาใช้ในการอธิบายระดับ ของปัจจัยเชิงสถาบัน ประกอบด้วย 6 ด้าน ได้แก่ เสรีภาพของประชาชนในการแสดงความคิดเห็น ( Voice and Accountability) การปราศจากความรุนแรงและการก่อการร้าย (Political Stability and Absence of Violence/ Terrorism) ความมี ประสิทธิผลของภาครั ฐ (Government Effectiveness) คุณ ภาพในการ ควบคุม (Regulatory Quality) การบังคั บใช้กฎหมาย (Rule of Law) และการควบคุมการคอรั ปชั่ น (Control of Corruption) รูปที่ 5 แสดงความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยเชิงสถาบันและการลงทุนจากต่างประเทศ ของไทย ระหว่างปีค.ศ. 2005-2015 ซึ่งยังไม่พบความสัมพันธ์ระหว่างกันอย่างชัดเจนนัก อาจบอกได้เพียงว่า ประเทศไทยสามารถดึงดูดการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศด้วยการบริหารจัดการของภาครัฐที่ก่อให้เกิด ประสิทธิผล การสร้างและดาเนินนโยบายและระเบียบข้อบังคับอย่างมีคุณภาพ ความสามารถในการบังคับใช้ กฎหมายอย่างมีคุณภาพ และการควบคุมไม่ให้เกิดการใช้อานาจรัฐเพื่อสร้างผลประโยชน์แก่ภาคเอกชน 5
สานักงานเศรษฐกิจชายแดนและโลจิสติกส์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
รูปที่ 5 การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศของไทยและระดับของปัจจัยเชิงสถาบัน ระหว่างปีค.ศ. 2005-2015 1.000
18,000 16,000
0.500
14,000 12,000 2004
2006
2008
2010
2012
2014
2016
-0.500
10,000 8,000
-1.000
$ Milliom
-
6,000 4,000
-1.500
2,000
-2.000
2004
2006
2008 VA
PV
2010 GE
2012 RQ
RL
2014 CC
2016 FDI
VA = Voice and Accountability; PV = Political Stability and Absence of Violence; GE = Government Effectiveness; RQ = Regulatory Quality; RL = Rule of Law; CC = Control of Corruption ที่มา: World Bank (2016) 3. การทบทวนเอกสาร จากการทบทวนเอกสาร พบว่า งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับปัจจัยเชิงสถาบันหรือธรรมาภิบาลและการ ลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศส่วนใหญ่ทาการศึกษาใน 2 ประเด็น ประเด็นแรก เป็นการศึกษาว่าปัจจัยเชิง สถาบั นหรื อ ธรรมาภิ บ าลมี ผลกระทบต่อ การลงทุ นโดยตรงจากต่ า งประเทศหรื อไม่ ประเด็น ที่ ส อง เป็ น การศึกษาว่าการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศมีผลทาให้ประเทศผู้รับการลงทุนมีระดับคุณภาพของปัจจัยเชิง สถาบันหรือธรรมาภิบาลเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร ในประเด็นที่เกี่ยวกับปัจจัยเชิงสถาบันมีผลกระทบต่อการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศนั้น ได้มีผู้ ทาการศึกษาไว้ค่อนข้างมาก ผลการศึกษาเชิงประจักษ์มีทั้งในส่วนที่สรุปว่า ปัจจัยเชิงสถาบันมีผลต่อการดึงดูด FDI และ ปัจจัยเชิงสถาบันไม่มีผลต่อการดึงดูด FDI ตัวอย่างเช่น Sánchez-Martín et al. (2014) ศึกษา ปัจจั ยทางเศรษฐกิจต่ างๆ รวมทั้ง ปัจ จัยเชิง สถาบั นว่ ามีผ ลต่อ การลงทุ น โดยตรงจากต่า งประเทศในกลุ่ ม ประเทศละตินอเมริกา ผลการศึกษา พบว่า นักลงทุน จากต่างประเทศมีแนวโน้มการลงทุนในประเทศที่มี กฎระเบียบข้อบังคับที่มีคุณภาพและมีความเสี่ยงในการถูกยึดกิจการโดยรัฐบาลต่า เช่นเดียวกับ ผลการศึกษา ของ Kang and Jiang (2012) ที่อธิบายว่าปัจจัยสถาบันที่เกี่ยวข้องกับระบบการเมือง การบริหารจัดการของ ภาครัฐ และคุณภาพของกฎหมายและระเบียบปฏิบัติ มีผลต่อการดึงดูดการลงทุนของนักลงทุนจากประเทศจีน เข้าไปลงทุนในประเทศแถบภูมิภาคเอเชียและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และ Karim et al. (2011) ได้ ทาการศึกษาความสัมพันธ์ของปัจจัยเชิงสถาบัน (ประกอบด้วย เสถียรภาพของรัฐบาล ความเสี่ยงในการลงทุน การคอรัปชั่น กฎหมายและการปฏิบัติ และคุณภาพการบริหารจัดการของภาครัฐ) ต่อการลงทุนโดยตรงจาก ต่า งประเทศในประเทศมาเลเซีย ผลการศึก ษา พบว่า ปั จจั ย เชิง สถาบั น มี ผลต่ อการดึง ดู ด นัก ลงทุน จาก ต่างประเทศในมาเลเซีย ส่วนงานวิจัยที่ให้ผลในทางตรงข้าม เช่น Aleksynska and Havrylchyk (2013) ได้ ศึกษาว่า ปัจ จัยเชิง สถาบัน มีผลกระทบต่อ การลงทุนโดยตรงจากต่า งประเทศในประเทศกาลั ง พั ฒนาและ 6
สานักงานเศรษฐกิจชายแดนและโลจิสติกส์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
ประเทศที่มีการเปลี่ยนผ่านของระบบเศรษฐกิจ (Transition economy) ผลการศึกษา พบว่า คุณภาพของ สถาบัน ในประเทศผู้ รับการลงทุน ไม่มีค วามสัม พันธ์กั บการดึ ง ดูดการลงทุ นจากต่างประเทศ เช่นเดียวกั บ Walsh and Yu (2010) ได้ทาการศึกษาปัจจัยเชิงสถาบันที่ว่าด้วยความเป็นอิสระของตุลาการและความมี ประสิทธิภาพของระบบกฎหมายมีผลกระทบต่อการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ โดยแยกเป็นการลงทุนใน อุตสาหกรรมพื้นฐาน (Primary sector FDI) อุตสาหกรรมการผลิต (Secondary sector FDI) และ อุตสาหกรรมบริการ (Tertiary sector FDI) ผลการศึกษาชี้ว่า ความเป็นอิสระของตุลาการและความมี ประสิทธิภาพของระบบกฎหมายไม่มีผลกระทบต่อการลงทุนจากต่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็นการลงทุนในรูปแบบ อุตสาหกรรมพื้นฐาน การผลิต และการบริการ นอกจากนี้ งานวิจัยที่ผ่านมายังได้มีการศึกษาถึงผลกระทบของ การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศต่อคุณภาพของปัจจัยเชิงสถาบันอีกด้วย เช่น Long et al. (2015) ทาการ ทดสอบว่าการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศมีผลต่อของคุณภาพของกฎหมายในประเทศจีน ผลการศึกษา พบว่า ยิ่งมีการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศเข้ามาในประเทศจีนมากเท่าใดก็ยิ่งมีการปรับปรุงคุณภาพของ กฎหมายในประเทศจีนมากขึ้นเท่านั้น ขณะที่งานวิจัยของ Demir (2016) ได้ทาการศึกษาว่าการลงทุนโดยตรง จากต่างประเทศมีผลต่อช่องว่างของคุณภาพสถาบัน (Institutional development gap) ระหว่างประเทศผู้ ลงทุนและผู้รับการลงทุน ผลการศึกษา พบว่า FDI ไม่มีผลต่อการพัฒนาปัจจัยเชิงสถาบันระหว่างประเทศผู้ ลงทุนและประเทศผู้รับการลงทุน ไม่ว่าประเทศผู้รับการลงทุนจะเป็นประเทศพัฒนาแล้วหรือประเทศกาลัง พัฒนาก็ตาม จากการทบทวนเอกสารข้างต้น ปัจจัยเชิงสถาบันของประเทศผู้รับการลงทุนและประเทศผู้ลงทุนถือว่า เป็นปัจจัยหนึ่งที่มีความสาคัญต่อการตัดสินใจลงทุนของนักลงทุนจากต่างประเทศ เพื่อทดสอบความสาคัญ ดังกล่าวกับการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศในไทย การศึกษานี้จึงได้กาหนดสมมติฐานการศึกษาดังนี้ H1: ปัจจัยเชิงสถาบันของประเทศผู้รับการลงทุนส่งผลกระทบทางบวกต่อการลงทุนโดยตรงจาก ต่างประเทศในไทย H2: ปัจจัยเชิงสถาบันของประเทศผู้ลงทุนส่งผลกระทบทางบวกต่อการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ ในไทย 4. วิธีดาเนินการวิจัย 4.1 การรวบรวมข้อมูล ข้อมูลที่ใช้ในการศึกษานี้เป็นข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary data) แบบ Panel data ของประเทศที่เข้า มาลงทุนในประเทศไทย ประกอบด้วย กลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียนจานวน 9 ประเทศ ได้แก่ ประเทศบรูไน กัมพูชาอินโดนีเซีย สปป.ลาว มาเลเซีย เมียนมา ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และเวียดนาม และกลุ่มประเทศนอก สมาชิกอาเซียนจานวน 38 ประเทศ ได้แก่ กลุ่มประเทศยุโรป (ประเทศออสเตรีย เบลเยี่ยม ไซปรัส เดนมาร์ก ฟินแลนด์ ฝรั่งเศส เยอรมัน ไอร์แลนด์ อิตาลี ลักเซมเบอร์ก เนเธอร์แลนด์ สเปน สวีเดน และอังกฤษ) กลุ่ม ประเทศตะวันออกกลาง (ประเทศอิหร่าน คูเวต โอมาน การ์ตา ซาอุดิอาระเบีย และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์) ออสเตรเลีย บาฮามาส เบอร์มิวดา หมู่เกาะเคย์แมน จีน ฮ่องกง อิน เดีย ญี่ปุ่น ลิกเตนสไตน์ มอริเชีย ส นิวซี แลนด์ ปานามา รัสเซี ย ซามัว เกาหลี ใต้ สวิส เซอร์แ ลนด์ ไต้ หวั น และสหรั ฐอเมริก า รวมทั้ ง สิ้ น 47 ประเทศ โดยทาการรวบรวมจากเอกสารที่มีการเผยแพร่ ของหน่วยงานต่างๆ ระหว่างปีค.ศ. 2005-2015 จานวน 11 ปี ประกอบด้ว ย ข้ อมูลการลงทุน โดยตรงจากต่า งประเทศในไทยจากฐานข้อ มูลธนาคารแห่ ง ประเทศ (Bank of Thailand) และข้อมูลปัจจัยเชิงสถาบันจากฐานข้อมูลของ International Country Risk 7
สานักงานเศรษฐกิจชายแดนและโลจิสติกส์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
Guide (ICRG) สถิติเชิงพรรณนาของตัวแปรในแบบจาลองปัจจัยเชิงสถาบันที่มีผลต่อการลงทุนโดยตรงจาก ต่างประเทศในไทย แสดงในตารางที่ 1 ตารางที่ 1 ค่าสถิติเชิงพรรณของตัวแปรในแบบจาลอง ตัวแปร
รายละเอียด
แหล่งข้อมูล จานวน ค่าเฉลี่ย ค่ า (ตัวอย่าง) เบี่ยงเบน มาตรฐาน fdi มู ล ค่ า การลงทุ น โดยตรงจากต่ า งประเทศใน Bank of 517 2.46 2.69 ประเทศไทย (ล้านเหรียญสหรัฐ) Thailand va_i การมีสิทธิ์มีเสียงของประชาชนของประเทศผู้รับ ICRG 517 -0.54 0.18 การลงทุน (ค่าคะแนนเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 0 ถึง 1) pv_i ความมี เ สถี ย รภาพทางการเมื อ งและการ ปราศจากความรุ น แรงของประเทศผู้ รั บ การ ICRG 517 -0.51 0.05 ลงทุน (ค่าคะแนนเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 0 ถึง 1) rq_i ระดับคุณภาพของมาตรการควบคุมของประเทศ ผู้รับการลงทุน (ค่า คะแนนเฉลี่ยอยู่ร ะหว่าง 0 ICRG 517 -0.46 0.08 ถึง 1) cc_i การควบคุ ม ปั ญ หาทุ จ ริ ต ประพฤติ มิ ช อบของ ประเทศผู้ รั บ การลงทุ น (ค่ า คะแนนเฉลี่ ย อยู่ ICRG 517 -1.17 0.12 ระหว่าง 0 ถึง 1) va_j การมี สิทธิ์มี เสียงของประชาชนของประเทศผู้ ICRG 440 -0.29 0.38 ลงทุน (ค่าคะแนนเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 0 ถึง 1) pv_j ความมี เ สถี ย รภาพทางการเมื อ งและการ ปราศจากความรุนแรงของประเทศผู้ลงทุน (ค่า ICRG 440 -0.29 0.12 คะแนนเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 0 ถึง 1) rq_j ระดับคุณภาพของมาตรการควบคุมของประเทศ ICRG 440 -0.22 0.31 ผู้ลงทุน (ค่าคะแนนเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 0 ถึง 1) cc_j การควบคุ ม ปั ญ หาทุ จ ริ ต ประพฤติ มิ ช อบของ ประเทศผู้ลงทุน (ค่าคะแนนเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 0 ICRG 440 -0.58 0.38 ถึง 1) หมายเหตุ: ค่าเฉลี่ยและค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของตัวแปรอยู่ในรูปลอการิทึม 4.2 วิธีการวิเคราะห์ข้อมูล การศึกษานี้เป็นการวิเคราะห์เชิงปริมาณ (Quantitative analysis) ว่าด้วยการศึกษาปัจจัยเชิง สถาบันที่มีผลกระทบต่อการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศในประเทศไทย โดยมีแบบจาลองการวิเ คราะห์ใน รูปแบบลอการิทึม ดังนี้ 8
สานักงานเศรษฐกิจชายแดนและโลจิสติกส์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
(1) โดยกาหนดให้ t (t=1,..,11)
คือ การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (j: j=1,..,47) ของประเทศไทย (i: i=1) ในปีที่ คื อ ชุ ด ตั ว แปรปั จ จั ย เชิ ง สถาบั น ของประเทศไทย (i) ในปี ที่ t คือ ชุดตัวแปรเชิงสถาบันของประเทศผู้ลงทุนในต่างประเทศ (j) ในปีที่ t ปัจจัยเชิง สถาบั น ที่ มี ผ ลกระทบต่ อ การลงทุ น โดยตรงจากต่ า งประเทศ ประกอบด้ ว ย ตั ว แปรด้ า นธรรมาภิ บ าล (Governance) ของประเทศผู้ลงทุนและผู้รับการลงทุน ประกอบด้วย การมีสิทธิ์มีเสียงของประชาชนและ ภาระรับผิดชอบ (Voice and Accountability: va) ความมีเสถียรภาพทางการเมืองและการปราศจากความ รุนแรง (Political Stability and Absence of Violence: pv) คุณภาพของมาตรการควบคุม (Regulatory Quality: rq) เป็นขีดความสามารถของรัฐบาลในการกาหนดนโยบาย และออกมาตรการควบคุม รวมถึง การ บังคับใช้นโยบายและมาตรการดังกล่าว ให้เป็นไปอย่างเหมาะสมและเอื้อต่อการส่งเสริมให้ภาคเอกชนสามารถ พัฒนาได้ และการควบคุมปัญหาทุจริตประพฤติมิชอบ (Control of Corruption: cc) คือ ค่าสัมประสิทธิ์ คงที่ที่ประมาณการได้ (Estimated coefficient) และ คือ ค่าความคลาดเคลื่อน (Error term) การทดสอบคุณสมบัติของแบบจาลองที่เลือกมา (Diagnostic Tests) ก่อนการหาความสัมพันธ์ใน แบบจาลอง (1) ได้แก่ การทดสอบการกระจายของข้อมูลแบบปกติ (Normality test) ด้วยวิธี Jarque-Bera test มีสมมติฐานการทดสอบ Ho: การกระจายตัวของข้อมูลเป็นแบบปกติ (Normal distribution) และ Ha: การกระจายตัวของข้อมูลไม่เป็นแบบปกติ (Non-normal distribution) การทดสอบปัญหาสหสัมพันธ์ของตัว คลาดเคลื่อน (Autocorrelation) เป็นการทดสอบความสัมพันธ์ของค่าความคลาดเคลื่อนจากข้อมูล Panel data ด้วยวิธี Wooldridge test โดยมีสมมติฐานการทดสอบ Ho: ความคลาดเคลื่อนไม่มีความสัมพันธ์ต่อกัน (No Autocorrelation) และ Ha: ความคลาดเคลื่อนมีความสัมพันธ์ต่อกัน (Autocorrelation) การทดสอบ ปัญหาความไม่คงที่ของค่าความแปรปรวนของค่าความคลาดเคลื่อน (Heteroscedasticity) ด้วยวิธี BreuschPagan test โดยมี ส มมติ ฐ านการทดสอบ Ho: ความแปรปรวนของตั ว คลาดเคลื่ อ นมี ค่ า คงที่ (Homoscedasticity) และ Ha: ความแปรปรวนของตัวคลาดเคลื่อนมีค่าไม่คงที่ (Heteroscedasticity) และ การทดสอบปัญหาพหุสัมพันธ์เชิงเส้น (Multicollinearity) หรือเป็นการทดสอบความสัมพันธ์ของตัวแปรอิสระ ตั้งแต่ 2 ตัวแปรขึ้นไปในสมการถดถอยเชิงพหุคูณด้วยวิธี Variance Inflation Factor (VIF) test หลังจากทาการทดสอบคุณสมบัติของแบบจาลองที่เลือกมาแล้ว จะทาการประมาณค่าความสัมพันธ์ ของแบบจาลอง (1) แบบ Panel Data Analysis ด้วยวิธี Fixed Effects Model (FEM) และ Random Effects Model (REM) เพื่อหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์มาวิเคราะห์ความสัมพันธ์ในแบบจาลองปัจจัยเชิง สถาบันที่มีผลต่อการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศในประเทศไทย ผลการประเมินค่าในแบบจาลองขึ้นอยู่กับ การทดสอบความเหมาะสมของ estimators ด้วยการทดสอบ Hausman’s specification test โดยมี สมมติฐานการทดสอบ Ho: REM estimator มีความเหมาะสมสาหรับการประมาณค่าแบบจาลอง และ Ha: FEM estimator มีความเหมาะสมสาหรับการประมาณค่าแบบจาลอง ในการศึกษานี้ ได้ทาการวิเคราะห์ผล ของปัจจัยเชิงสถาบันต่อการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศในประเทศไทย โดยแยกเป็น 4 แบบจาลองตาม ประเทศผู้ลงทุน ได้แก่ แบบจาลองที่ 1 ปัจจัยเชิงสถาบันที่มีผลต่อการลงทุนจากทุกประเทศในโลก (47 ประเทศ) ในประเทศไทย แบบจาลองที่ 2 ปัจจัยเชิงสถาบันที่มีผลต่อการลงทุนจากกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียนในประเทศไทย แบบจาลองที่ 3 ปัจจัยเชิงสถาบันที่มีผลต่อการลงทุนจากกลุ่มประเทศนอกสมาชิกอาเซียนในประเทศไทย 9
สานักงานเศรษฐกิจชายแดนและโลจิสติกส์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
แบบจาลองที่ 4 ปัจจัยเชิงสถาบันที่มีผลต่อการลงทุ นจากกลุ่มประเทศสมาชิก RCEP (กลุ่มประเทศอาเซียน ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และอินเดีย) ในประเทศไทย 5. ผลการศึกษา การวิเคราะห์เชิงปริมาณด้วย Panel data model analysis ของปัจจัยเชิงสถาบันต่อการลงทุน โดยตรงจากต่างประเทศในไทยด้วยวิธี Fixed effect model และ Random effect model ผลการศึกษา เชิง ประจักษ์แสดงในตารางที่ 2 ผลการทดสอบคุณสมบัติของแบบจาลอง Panel Data Model ทั้ง 4 แบบจาลอง พบว่า แบบจาลองไม่มีปัญหา Normality หรือแบบจาลองมีการกระจายของข้อมูลแบบปกติ ไม่มี ปัญ หา Heteroscedasticity หรื อค่าความแปรปรวนของค่าความคลาดเคลื่อนมีค่า คงที่ และไม่พบปัญ หา Multicollinearity หรือตัวแปรอิสระของแบบจาลองไม่มีพหุสัมพันธ์เชิงเส้นแต่อย่างใด อย่างไรก็ตาม ทั้ง 4 แบบจ าลองมี ปั ญ หา Autocorrelation หรื อ ค่ า ความคลาดเคลื่ อ นในแบบจ าลองมี ค วามสั ม พั น ธ์ ต่ อ กั น นอกจากนี้ การทดสอบ Hausman test ในแบบจาลองทั้ง 4 แบบจาลอง พบว่า แบบจาลองที่ 1 (การลงทุน จากต่างประเทศในไทย) แบบจาลองที่ 3 (การลงทุนจากประเทศนอกสมาชิกอาเซียนในไทย) และ แบบจาลอง ที่ 4 (การลงทุนจากกลุ่มประเทศ RCEP ในไทย) ควรใช้การประมาณค่าแบบจาลองด้วย FEM estimator ขณะที่แบบจาลองที่ 2 (การลงทุนจากกลุ่มประเทศอาเซียนในไทย) ควรใช้การประมาณค่าแบบจาลองด้วย REM estimator ผลจากการทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยเชิงสถาบันที่ว่าด้วยการมีสิทธิ์มีเสียงของประชาชนและ ภาระรับผิดชอบ (va) ความมีเสถียรภาพทางการเมืองและการปราศจากความรุนแรง (pv) คุณภาพของ มาตรการควบคุม (rq) และการควบคุ มปั ญ หาทุ จริ ต ประพฤติ มิช อบ (cc) ที่ มีต่ อ การลงทุ นโดยตรงจาก ต่างประเทศในไทย (แบบจาลองที่ 1) พบว่า คุณภาพของมาตรการควบคุมของประเทศผู้รับการลงทุนและ ประเทศผู้ลงทุน เป็นปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศในไทยในทิ ศทางเดียวกัน อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติ ขณะที่ความมีเสถียรภาพทางการเมืองและการปราศจากความรุนแรง เป็นปัจจัยที่มี ความสัมพันธ์กับ FDI ในไทยในทิศทางตรงกันข้ามอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติ อย่างไรก็ตาม ปัจจัยเชิงสถาบัน ที่ว่าด้วยการมีสิทธิ์มีเสียงของประชาชน และการควบคุมปัญหาทุจริตประพฤติมิชอบกลับไม่มีความสัมพันธ์กับ FDI ในไทยแต่อย่างใด กล่าวโดยสรุป ปัจจัยเชิง สถาบันที่ว่าด้วยการมีสิทธิ์มีเสียงของประชาชนและภาระ รับผิดชอบ ความมีเสถีย รภาพทางการเมืองและการปราศจากความรุน แรง และการควบคุมปัญ หาทุจริ ต ประพฤติมิชอบ ไม่ใช่ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจลงทุนของนักลงทุนจากต่างประเทศในไทย ขณะที่คุณภาพ ของมาตรการควบคุมเป็นปัจจัยสาคัญที่ดึงดูดนักลงทุนจากต่างประเทศมายังประเทศไทย
10
สานักงานเศรษฐกิจชายแดนและโลจิสติกส์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
ตารางที่ 2 ผลการคาดประมาณปัจจัยเชิงสถาบันที่มีผลต่อการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศในประเทศไทย Model 1 FEM (1) 0.09** (1.94) 0.22 (0.21) -4.52 (-1.23) 2.56 (1.33) -0.54 (-0.46)
lfdi_i va_i pv_i rq_i cc_i
REM (2) 0.52* (13.70) -0.19 (-0.16) -4.60 (-1.10) 3.39 (1.55) -1.24 (-0.92)
va_j pv_j rq_j cc_j constant
0.67 (0.23) Obs. 470 F-test/Wald test 2.41** R-square 0.19 Jarque-Bera test 1.55 Wooldridge test 69.15* VIF test 3.21 Breusch-Pagan 5.89 test Hausman test 262.85*
-1.09 (-0.33) 470 194.09* 0.29
FEM (3) 0.06 (1.19) -0.48 (-0.39) -6.73*** (-1.71) 5.05* (2.41) -0.14 (-0.11) -0.69 (-0.58) -0.01 (-0.00)
REM (4) 0.46* (10.65) -0.04 (-0.03) -5.29 (-1.19) 4.29*** (1.84) -0.44 (-0.31) -0.13 (-0.28) -0.91 (-0.75)
1.67*** (1.69) 0.80 (0.75) 1.53 (0.48) 400 1.81*** 0.15 1.08 61.67* 2.93 9.52
0.67 (1.08) 1.19* (2.75) 0.68 (0.20) 400 188.32* 0.32
222.85*
Model 2 FEM (1) 0.18*** (1.74) 1.39 (0.56) -5.81 (-0.70) 0.63 (0.15) 1.65 (0.61)
1.16 (0.18) 99 2.09*** 0.28 3.71 159.61* 3.22 11.08 23.21*
REM (2) 0.52* (6.27) 0.92 (0.35) -5.24 (-0.59) 0.38 (0.08) 0.63 (0.22)
-0.58 (-0.08) 99 45.75* 0.35
FEM (3) 0.10 (0.87) 5.01 (1.58) -5.08 (-0.52) 2.41 (0.46) 1.21 (0.38) 1.02 (0.45) 15.79*** (-1.85) 0.54 (0.22) 2.48 (0.88) 2.76 (0.34) 77 1.62 0.10 0.43 39.98* 5.99 15.64
REM (4) 0.31* (2.81) 1.83 (0.58) -6.71 (-0.64) 3.28 (0.60) 1.19 (0.36) 2.34 (1.48) 1.81 (0.52) -2.61 (-1.23) 2.17** (1.90) 4.80 (0.59) 77 37.27* 0.38
11.86
หมายเหตุ: 1) *, **, และ *** หมายถึง ตัวแปรมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 99 95 และ 90 ตามลาดับ และ 2) ค่าในวงเล็บแสดง t-statistics ในแบบจาลอง FEM และ z-statistics ในแบบจาลอง REM
11
สานักงานเศรษฐกิจชายแดนและโลจิสติกส์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
ตารางที่ 2 (ต่อ)
lfdi_i va_i pv_i rq_i cc_i va_j pv_j rq_j cc_j constant
Model 3 FEM (1) 0.06 (1.27) -0.05 (-0.05) -4.16 (-1.02)
REM (2) 0.50* (11.51) -0.44 (-0.31) -4.44 (-0.94)
FEM (3) 0.04 (0.72) -1.75 (-1.30) -7.61*** (-1.78)
REM (4) 0.47* (9.86) -0.73 (-0.49) -5.72 (-1.16)
2.93 (1.37) -1.10 (-0.83)
4.05 (1.64) -1.66 (-1.09)
6.21* (2.68) -0.45 (-0.32) 1.91 (0.53) 1.30 (0.52) 2.52** (2.24) -0.33 (-0.26) 1.17 (0.33) 330 1.57 0.10 0.86 45.95* 2.79 5.77
5.10** (1.96) -0.81 (-0.51) -0.12 (-0.19) -0.76 (-0.56) 1.21 (1.47) 0.94*** (1.71) 0.02 (0.01) 330 149.91* 0.31
Model 4 FEM (1) 0.07 (0.92) -1.88 (-0.98) -14.20** (-2.21) 6.59** (1.96) 0.49 (0.24)
REM (2) 0.57* (9.13) -1.31 (-0.58) 12.58*** (-1.68) 5.80 (1.48) -0.28 (-0.62)
FEM (3) 0.03 (0.36) -1.59 (-0.72) -15.05** (-2.12) 8.42** (2.24) 0.63 (0.27) -0.10 (-0.05) -1.73 (-0.41) 0.87 (0.39) 0.09 (0.05) -1.29 (-0.22) 140 1.39 0.12 0.12 28.83* 4.91 8.54
REM (4) 0.46* (6.07) -1.22 (-0.49) 13.59*** (-1.66) 7.46*** (1.74) 0.17 (0.06) 1.34 (1.09) 1.49 (0.53) -0.88 (-0.53) 0.39 (0.46) -1.21 (-0.19) 140 67.85* 0.34
0.53 -1.13 -2.29 -3.69 (0.16) (-0.30) (-0.45) (-0.62) Obs. 380 380 160 160 F-test/Wald test 1.34 136.39* 2.40** 91.61* R-square 0.14 0.26 0.15 0.37 Jarque-Bera test 3.20 0.42 Wooldridge test 49.46* 32.26* VIF test 3.21 3.21 Breusch-Pagan 3.50 3.37 test Hausman test 242.17* 228.09* 96.55* 93.31* หมายเหตุ: 1) *, **, และ *** หมายถึง ตัวแปรมีนัยส าคัญทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 99 95 และ 90 ตามลาดับ และ 2) ค่าในวงเล็บแสดง t-statistics ในแบบจาลอง FEM และ z-statistics ในแบบจาลอง REM
12
สานักงานเศรษฐกิจชายแดนและโลจิสติกส์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
เมื่ อ พิจ ารณาแยกตามกลุ่ ม ประเทศที่ มาลงทุ น ในประเทศไทย พบว่ า ปั จ จัย เชิ ง สถาบั น ที่ ว่า ด้ ว ย คุณภาพของการควบคุมปัญหาทุจริตประพฤติมิชอบของประเทศผู้มาลงทุนเป็นปัจจัยสาคัญต่อการตัดสินใจ ลงทุนของนักลงทุนจากกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียนในไทย (แบบจาลองที่ 2) ขณะที่ปัจจัยเชิงสถาบันที่ว่าด้วย คุณภาพของมาตรการควบคุมของประเทศผู้รับการลงทุนและประเทศผู้ลงทุนเป็นปัจจัยสาคัญต่อการตัดสินใจ ลงทุนของนักลงทุนจากกลุ่มประเทศนอกสมาชิกอาเซียนในไทย (แบบจาลองที่ 3) เช่นเดียวกัน ปัจจัยเชิง สถาบันที่ว่าด้วยคุณภาพของมาตรการควบคุมของประเทศผู้รับการลงทุนเป็นปัจจัยสาคัญ ต่อการตัดสินใจ ลงทุนในกลุ่มประเทศ RCEP (แบบจาลองที่ 4) 6. บทสรุปและนัยเชิงนโยบาย การศึกษานี้ มีวัตถุประสงค์ในการทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยเชิงสถาบันต่อการลงทุนโดยตรง จากต่างประเทศในประเทศไทย ทั้งการลงทุนจากประเทศในกลุ่มอาเซียนและประเทศนอกกลุ่มอาเซียน โดยใช้ ข้อมูลทุติยภูมิแบบ Panel data ตั้งแต่ปีค.ศ. 2005-2015 และทาการวิเคราะห์โดยประยุกต์ใช้เครื่องมือทาง เศรษฐมิติที่เรียกว่า Panel data model analysis ผลการศึกษาพบว่า ปัจจั ยเชิงสถาบันที่มีความสัมพันธ์กับ การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศในไทยในทิศทางเดียวกันอย่างมีนัยสาคัญ ทางสถิติ ได้แก่ คุณภาพของ มาตรการควบคุมของประเทศผู้รับการลงทุนและประเทศผู้ลงทุน ขณะที่การควบคุมปัญ หาทุจริตเป็นปัจจัย สาคัญต่อการตัดสินใจลงทุนของกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียน อนึ่ง การศึกษาถึงปัจจัยเชิงสถาบันว่าด้วยระบบ การเมือง ระบบกฎหมายและการควบคุมการปฏิบัติ และระบบการดาเนินการของภาครัฐต่อการขยายตัวของ การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศสามารถนามาใช้เป็นแนวทางการส่งเสริมการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ ที่เน้นความมีเสถียรภาพเชิงสถาบัน (institution-seeking FDI) และนาไปใช้ในการวางแผนดาเนินการที่ เกี่ยวข้องกับการดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศในประเทศไทยต่อไป
13
สานักงานเศรษฐกิจชายแดนและโลจิสติกส์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
เอกสารอ้างอิง Aleksynska, M. and Havrylchyk, O. (2013) FDI from the south: The role of institutional distance and natural resources. European Journal of Political Economy. 29: 38–53. Demir, F. (2016) Effects of FDI Flows on Institutional Development: Does It Matter Where the Investors are from? World Development. 78:341–359. Kang, Y. and Jiang, F. (2012) FDI location choice of Chinese multinationals in East and Southeast Asia: Traditional economic factors and institutional perspective. Journal of World Business. 47:45–53. Karim, Z.A., Zaidi, M.A.S., Ismail, M.A. and Karim, B.A. (2011) Institutions and foreign direct investment (FDI) in Malaysia: empirical evidence using ARDL model. MPRA Paper No. 31899. Munich Personal RePEc Archive (MPRA) Long, C. Yang, J. and Zhang, J. (2015) Institutional Impact of Foreign Direct Investment in China. World Development. 66:31–48. Sánchez-Martín, M. E., de Arce, R. and Escribano, G. (2014) Do changes in the rules of the game affect FDI flows in Latin America? A look at the macroeconomic, institutional and regional integration determinants of FDI. European Journal of Political Economy. 34: 279–299. Walsh, J. P. and Yu, J. (2010) Determinants of Foreign Direct Investment: A Sectoral and Institutional Approach. IMF Working Paper WP/10/187. International Monetary Fund.
สานักงานเศรษฐกิจชายแดนและโลจิสติกส์ (Office of Border Economy and Logistics: OBELS) มีหน้าที่ ดาเนินงานด้านการรวบรวมข้อมูลและวิจัยทางด้านเศรษฐกิจการค้าชายแดนและโลจิสติกส์ เพื่อนาไปสู่การยกระดับ องค์ความรู้ที่เป็นฐานสาคัญของประเทศไทย ซึ่งส่งผลต่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และการสร้างความสามารถใน การแข่งขันของประเทศและยกระดับคุณภาพชีวิตในสังคม Office of Border Economy and Logistics (OBELS), Mae Fah Luang University, 333 Moo 1, Tasud, Muang, Chiang Rai, Thailand. Tel. +6653916680 Email: obels@mfu.ac.th
14
สานักงานเศรษฐกิจชายแดนและโลจิสติกส์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง