OBELS WORKING PAPER No.15 , Oct 2016
ผลกระทบของอัตราแลกเปลี่ยนเงินหยวนต่อการค้าการลงทุนไทย สิทธิชาติ สมตา, วราวุฒิ เรือนคา บทนา การค้าระหว่างประเทศ (International Trade) และการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (Foreign Direct Investment) ถือได้ว่ามีบทบาทสาคัญต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศไทย เช่นเดียวกันกับ อัตราแลกเปลี่ยนสกุลเงินตราต่างประเทศเป็นปัจจัยสาคัญที่มีผลต่อการนาเข้า -ส่ง ออก และการเคลื่อนย้าย เงินทุนในการลงทุนระหว่างประเทศ เนื่องจากเงินเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนที่สาคัญเพราะประเทศต่างๆ ในโลกมีระบบเงินตราที่แตกต่างกัน จึงทาให้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศถูกพัฒนาขึ้นมาเพราะ หากไม่ทราบอัตราแลกเปลี่ยนเงินต่างระหว่างประเทศจะทาให้ไม่สามารถเปรียบเทียบราคาระหว่างประเทศได้ ทั้ง นี้การที่ค่าเงินหรืออัตราแลกเปลี่ยนอ่อนค่าหรือแข็ง ค่านั้น จะมีผลต่อการแข่งขันและความได้เปรียบเชิง การค้าระหว่างประเทศ ดังนั้นอัตราแลกเปลี่ยนจึง มีความสาคัญ อย่างมากต่อการค้าและการลงทุนระหว่าง ประเทศ เพราะอัตราแลกเปลี่ยน (Exchange rate) คือ ราคาของหน่วยหนึ่งของเงินตราต่างประเทศเมื่อคิด เป็นเงินตราในประเทศ การค้าของไทยกับจีนในช่วงแรกค่อนข้างจากัด เนื่องจากรัฐบาลจีนยังไม่ได้เปิดเสรีทางการค้ามากนัก การค้าระหว่างประเทศในสมัยเหมาเจ๋อตุงเป็นเพียงส่วนเสริมของระบบเศรษฐกิจ คือการนาผลผลิตที่เหลือ ส่ง ออกและน าเข้ าผลผลิ ตที่ ไม่ เ พีย งพอเท่ านั้ น แต่ห ลั ง ยุ คเหมาเจ๋ อ ตุง ถือ ว่ าการค้ าระหว่ างประเทศนั้ น มี ความสาคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ หลักฐานที่สาคัญ แสดงให้เห็นถึงความสาคัญในการส่งเสริม การค้าระหว่างประเทศอันดับแรกๆ คือ 1) การลดการควบคุมสินค้าเข้า -ออก โดยการลดหรือยกเลิกรายการสินค้าต้องห้าม รายการสินค้า โควตา กาแพงภาษีศุลกากร 2) การจัดตั้งกลไกนาสินค้าเข้าและส่งสินค้าออก รวมทั้งจัดแสดงนิทรรศการส่งเสริมสินค้าออก 3) การที่รัฐเลิกผูกขาดธุรกิจการค้าต่างประเทศ 4) การเปิดการค้าเสรีตามชายแดนขยายมากขึ้น และ 5) การส่งเสริมการลงทุนต่างประเทศให้ไปผลิตสินค้าในจีน เช่น ในเขตเศรษฐกิจพิเศษประเภทต่างๆ เพื่อการส่งออกเป็นต้น1 และด้วยกระแสโลกาภิวัตน์ (Globalization) ทีม่ ีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงด้านเศรษฐกิจและสังคม ของประเทศต่างๆในโลก ทาให้เกิดการพัฒนาด้านเศรษฐกิจและการค้าระหว่างประเทศเป็นไปอย่างเสรีและ สะดวกรวดเร็ว ด้วยเหตุผลดังกล่าวทาให้นโยบายในแต่ละประเทศสนับสนุนการเปิดการค้าเสรีกับต่างประเทศ และการเจรจาเปิดเขตการค้าเสรี (Free Trade Area) เพื่อเอื้อประโยชน์และพึ่งพากันระหว่างประเทศคู่ค้า เป็นหนึ่งปัจจัยที่ส่งผลให้จีนเข้าเป็นสมาชิกองค์การการค้าโลก (World Trade Organization: WTO) ในปี 1
เขียน ธีระวิทย์, นโยบายต่างประเทศจีน. (กรุงเทพมหานคร: สานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) และศูนย์วิจัยจีน ศึกษา สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2541), น.111 – 113
พ.ศ.2544 ทาให้อุปสรรคทางการค้าของจีนกับประเทศต่างๆ ลดลงอย่างมาก รวมถึงประเทศไทยด้วยเช่นกั น หลังจากนั้นจีนได้ที่จะพยายามขยายความร่วมมือทางเศรษฐกิจกับภูมิภาคและประเทศต่างๆ และในปี พ.ศ. 2546 จีนกับอาเซียนได้ทาความตกลงเขตการค้าเสรีอาเซียน-จีน (Asean-China Free Trade Agreement : ACFTA) เพื่อลดภาษีการค้าระหว่างประเทศและได้มีการยกระดับความตกลงเขตการค้าเสรีอาเซียน-จีน (ACFTA) เพื่ออานวยความสะดวกทางการค้า และพัฒนาความร่วมมือทางเศรษฐกิจ อย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ การค้าระหว่างทั้งสองประเทศขยายตัวอย่างรวดเร็ว หลังความตกลงเขตการค้าเสรีอาเซียน-จีนมีการขยายตัว สูงที่สุดในปี พ.ศ.2551 ซึ่งอัตราการเติบโตสะสม (Compound Average Growth Rate: CAGR) ของมูลค่า การค้า ระหว่า งไทยกั บจีนเติ บโตร้อ ยละ 210.89 (ดัง รู ปที่ 1) ก่อนประสบวิ กฤตเศรษฐกิจ แฮมเบอร์เกอร์ (Hamburger Crisis) ในปี พ.ศ.2552 หลังจากผ่านวิกฤตเศรษฐกิจโลกมูลค่าการค้าระหว่างไทยกับจีนเพิ่ม สูงขึ้นจนกระทั้งแซงหน้าญี่ปุ่นขึ้นมาเป็นประเทศคู่ค้าอันดับหนึ่งของไทยตั้งแต่ปี พ.ศ.2556 จนถึงปัจจุบัน รูปที่ 1 มูลค่าการค้าของประเทศไทย ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2540 – 2558 ล้านเหรียญสหรัฐฯ 80,000
สหภาพยุโรป
จีน
ญี่ปุ่น
สหรัฐอเมริกา
70,000 60,000
วิกฤตเศรษฐกิจโลก
50,000 40,000 30,000
20,000 10,000 0
2540 2541 2542 2543 2544 2545 2546 2547 2548 2549 2550 2551 2552 2553 2554 2555 2556 2557 2558
ที่มา : กรมศุลกากร, 2559
การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (Foreign Direct Investment: FDI) ในประเทศไทยถือว่ามี ความสาคัญ อย่ างมากที่ ผ่า นมาในการพั ฒนาเศรษฐกิ จของประเทศ และการพัฒ นาจากประเทศที่ พึ่ง พา เกษตรกรรมไปสู่ประเทศอุตสาหกรรมที่มีการส่ง ออกสินค้าที่หลากหลาย เนื่องจากเงินออมในประเทศไม่ เพียงพอต่อความต้องการของธุรกิจที่จะนาไปใช้ในการขยายกิจการและความต้ องการลงทุนธุรกิจใหม่ ดังนั้น เงินลงทุนจากต่างประเทศจะช่วยลดช่องระหว่างเงินออมในประเทศกับความต้องการเงินทุน นอกจากนี้การ ลงทุนจากต่างประเทศยังมาพร้อมกับการถ่ายทอดเทคโนโลยี (Technological transfer) และการถ่ายทอด ความรู้ (Know-how) ซึ่งจะช่วยให้อุตสาหกรรมของประเทศมีการพัฒนาได้อย่างก้าวกระโดด เพื่อศักยภาพใน การแข่งขันและการส่งออกให้กับประเทศ รวมถึงการพัฒนาผลิตภาพแรงงานและสร้างการจ้างงานที่เพิ่มขึ้น จากการศึกษาของ Jansen (1995) พบว่า การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโตทาง เศรษฐกิจผ่านการกระตุ้นการลงทุนภาคเอกชนและการส่งออก โดยการลงทุน โดยตรงจากต่างประเทศได้เน้น 1
สานักงานเศรษฐกิจชายแดนและโลจิสติกส์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
การผลิตเพื่อส่งออกเป็นหลัก ส่งผลให้เศรษฐกิจได้ขยายตัวมากขึ้นจากการส่ง ออก ซึ่งการเพิ่มขึ้นของการ ส่งออกในช่วงนั้นไม่ได้ก่อให้เกิดผลของ “Dutch disease” คือ ประเทศที่มีสินค้าส่งออกมากและมีรายได้จาก การส่งออกสูง จะส่งผลให้ค่าเงินของประเทศเหล่านี้แข็งค่ามากเกินไปจะทาให้ประเทศไม่สามารถแข่งขันกับ ประเทศอื่นได้และผลที่ตามมาคือการหดตัวทางเศรษฐกิจ แต่ในขณะนั้นถึงแม้ประเทศไทยมีการส่งออกเพิ่มขึ้น แต่ค่าเงินไม่ได้แข็งค่าตามภาวะการขยายตัวทางเศรษฐกิจแต่อย่างไร การไหลเข้าของเงินทุนทางตรงระหว่างประเทศมายังประเทศไทยเริ่มจากช่วงการใช้นโยบายการค้า แบบการส่งเสริมการส่งออก (พ.ศ.2515-2539) ซึ่งได้มีการปรับเปลี่ยนกฎหมายการส่งเสริมการลงทุนในการ ตัดสินใจโครงการการลงทุนที่จะได้รับการส่งเสริมมากขึ้น รวมถึงเพิ่มสิทธิประโยชน์ที่ผู้ลงทุนจะได้รับ เช่น การ งดภาษี นิติบุค คลสูง สุด 8 ปี และการลดภาษี นาเข้ าสาหรับเครื่องจัก รและวัตถุดิ บ นอกจากนี้ ในช่ว งเวลา ดังกล่าวยังมีการลงนามในข้อตกลง Plaza Accord ในปี พ.ศ.2528 ซึ่งทาให้เงินเยนแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับเงิ น ดอลลาร์ สรอ. ประเทศญี่ปุ่นจึงสูญเสียความได้เปรียบในการแข่ง ขันด้านราคาในตลาด บริษัทข้ามชาติใน ประเทศญี่ปุ่นจึงจาเป็นต้องเคลื่อนย้ายฐานการผลิตมายังประเทศอื่นที่มีต้นทุนการผลิตที่ถูกกว่า ซึ่งประเทศ ไทยเป็นตัวเลือกประเทศแรกๆ สาหรับประเทศญี่ปุ่นในการเข้าลงทุน เนื่องจากประเทศไทยมีความสัมพันธ์อัน ดีกับประเทศญี่ปุ่นมาโดยตลอด และยังมีค่าจ้างที่ต่าในเวลาดังกล่าว รวมถึงมีความมั่นคงทางเศรษฐกิจและ การเมือง และมีอัตราแลกเปลี่ยนที่คงที่ ประเทศไทยจึง เป็นผู้รับเงินทุนทางตรงระหว่างประเทศที่สาคัญ 2 ขณะเดียวกันจีนได้ส่งเสริมการออกไปลงทุนยัง ต่างประเทศตั้ง แต่ปี ค.ศ.1979 โดยสนับสนุนให้บริษัทหรือ วิสาหกิจที่มีศักยภาพออกไปลงทุนในต่างประเทศ อาทิซึ่ง ในช่วงปี ค.ศ.1979-2002 จีนได้เข้ามาลงทุนใน ประเทศจานวน 234 โครงการ มีมูลค่าการลงทุนประมาณ 214.7 ล้านดอลลาร์ สรอ. ซึ่งจีนเข้ามาลงทุนในไทย มากเป็นอันดับหนึ่งในอาเซียนและเป็นอันดับห้าของโลกรองจากฮ่องกงและมาเก๊า สหรัฐอเมริกา แคนาดา และออสเตรเลีย ตามลาดับ อย่างไรก็ตามเมื่อเปรียบเทียบการลงทุนจีนในไทยกับการลงทุนของประเทศอื่นๆ ในไทย เช่น ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และสิงคโปร์ พบว่า การลงทุนของจีนในไทยยัง มีปริมาณค่ อนข้างน้อย 3 ถึงแม้ ในช่วงหลังเกิดวิกฤตการณ์เงินในไทยตั้งแต่ปี พ.ศ.2540 เป็นต้นมา ค่าเงินบาทที่อ่อนลงส่งผลให้ค่าเงินหยวน แข็งค่าขึ้น ซึ่งนับว่าเป็นโอกาสอันดีที่จีนจะสามารถขยายการลงทุนในไทยได้มากขึ้น นอกจากนั้นการที่ค่าเงิน หยวนแข็ง ขึ้นมากเมื่อเทียบกับค่าเงินบาทยังส่งผลให้การลงทุนของจีนในไทยมีต้นทุนต่าลงมากเมื่อคิดเป็น ค่าเงินหยวน อย่างไรก็ตามการลงทุนของจีนในไทยขณะนั้นก็ไม่ได้เพิ่มขึ้นมากนัก
2
บรรณาธิการ กรกรัณย์ ชีวะตระกุลพงษ์ และ อาภากร นพรัตยาภารณ์, ปัจจัยที่กาหนดเงินทุนทางตรงระหว่างประเทศขา ออก: กรณีศึกษาเปรียบเทียบประเทศไทยกับประเทศสิงคโปร์, (กรุงเทพฯ: พัฒนศิลป์พริ้นท์ แอนด์ แพ็ด จากัด, 2558), น.1-2 3 CHINA: AN EMERGING OUTWARD INVESTOR, http://unctad.org/sections/dite_fdistat/docs/china_ebrief_en.pdf, December 2003 สานักงานเศรษฐกิจชายแดนและโลจิสติกส์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง 2
รูปที่ 2 มูลค่าการลงทุนจากต่างประเทศในประเทศไทย ตั้งแต่ปี 2548 – 2558 สหรัฐอเมริกา
400,000
จีน
ญี่ปุ่น
เกาหลีใต้
ล้านบาท
300,000 200,000 100,000 0 2548
2549
2550
2551
2552
2553
2554
2555
2556
2557
2558
-100,000
ที่มา : Bank of Thailand (CEIC), 2559
จากรูปที่ 2 จะเห็นได้ว่าญี่ปุ่นเป็นประเทศที่มีการลงทุนในประเทศไทยมากที่สุดหากเปรียบเทียบกับ ประเทศอื่นๆ โดยในปี พ.ศ.2552 มูลค่าการลงทุนจากต่างประเทศในประเทศไทยลดลงจากปัญ หาวิฤกต เศรษฐกิจแฮมเบอร์เกอร์ (Hamburger Crisis) ก่อนที่จะลดลงอีกในปี พ.ศ.2554 จากเศรษฐกิ จโลกที่ชะลอตัว ปัญ หาหนี้สาธารณะในกลุ่ม ประเทศยูโรที่ยัง ยืดเยื้อ และเหตุภัย พิบัติที่ญี่ปุ่นส่ง ผลกระทบต่อ การผลิตของ อุตสาหกรรมยานยนต์และอิเล็กทรอนิกส์ในหลายประเทศ รวมถึงการเคลื่อนย้ายเงินลงทุนออกจากประเทศ ส่งผลให้มูลค่าการลงทุนจากต่างประเทศของไทยลดลงโดยเฉพาะจากประเทศญี่ปุ่น อย่างไรก็ตามมูลค่าการ ลงทุนจากต่างประเทศในประเทศไทยหลังปี พ.ศ.2555 ได้มีมูลค่าเพิ่มขึ้นตามภาวะเศรษฐกิจโลก โดยในปี พ.ศ. 2558 มูลค่าการลงทุนของญี่ปุ่นกับจีนแตกต่างกันประมาณ 118,795.60 ล้านบาท ถึงแม้จีนจะมีการดาเนิน นโยบายก้าวออกไปลงทุน (Go Out Strategy) เพื่อสนับสนุนให้นักลงทุนชาวจีนออกไปลงทุนในต่างประเทศ ทั้งในระดับของภาคเอกชนและรัฐบาลท้องถิ่น โดยมีการใช้มาตรการจูงใจ เช่น การสนับสนุนด้านการเงินจาก ธนาคารเพื่อการส่งออก-นาเข้า (Export-Import Bank of China) การให้การกู้ยืม การลดมาตรการทางภาษี และกฎเกณฑ์ต่างๆ เพื่อส่งเสริมการกระจายการลงทุนในภาครัฐบาล ลดการแข่งขันในภาคเอกชน แต่การ ลงทุนของจีนในประเทศไทยพบว่ามีมูลค่าค่อนข้างน้อย ทั้ง นี้ การค้ าระหว่า งประเทศและการส่ ง ออกเป็ นหนึ่ง ในกลไกสาคัญ ในการเร่ง รัด นาเงิ นตราจาก ต่างประเทศเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจ ซึ่งในปัจจุบันจะเห็นได้ว่าภาคการส่งออกเป็นแหล่งรายได้ที่สาคัญและเป็น ปัจจัยที่ทาให้มีการขยายตัวและพัฒนาเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่องของประเทศไทย ดังนั้นอัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา ระหว่างประเทศเป็นตัวแปรสาคัญที่ส่งผลต่อการค้าและการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ การเปลี่ยนแปลง ของอัตราแลกเปลี่ยนจึงมีผลสาคัญต่อการส่งออกของประเทศนั้นคือเมื่อประเทศดังกล่าวลดค่าเงินของตนเอง ทางทฤษฏีแล้วในระยะสั้นจะมีผลทาให้การส่งออกของประเทศเพิ่มมากขึ้นและถ้าประเทศดัง กล่าวมีอัตรา แลกเปลี่ยนที่แข็งค่าขึ้นในทางทฤษฏีแล้วในระยะสั้นจะมีผลทาให้การส่งออกของประเทศลดลง ซึ่งที่ผ่านมาจีน ได้ออกมาประกาศปรับค่าอ้างอิงของค่าเงินหยวนให้อ่อนค่าลงที่ว่าเป็นการขยับค่าเงินครั้งสาคัญของจีน โดย การปฏิรูประบบการเงินของจีนในครั้งนี้เพื่อให้เงินหยวนเคลื่อนไหวตามกลไกตลาดมากขึ้น และช่วยพยุง เศรษฐกิจภาคการส่งออกอีกครั้ง หลังจากความพยายามกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านการบริโภคภายในประเทศ ไม่ว่า
3
สานักงานเศรษฐกิจชายแดนและโลจิสติกส์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
จะเป็นการลดอัตราดอกเบี้ย ลดสัดส่วนการกันสารองของธนาคารพาณิชย์ รวมทั้ง ดาเนินโครงการปรับปรุง โครงสร้างพื้นฐานจานวนมากแต่ผลลัพธ์ยังไม่สาเร็จเท่าที่ควร เงินหยวนมีบทบาทมากขึ้นในเศรษฐกิจการเงินระหว่างประเทศจากการเติบ โตของเศรษฐกิจจีนที่ก้าว ขึ้นมาเป็นประเทศมหาอานาจทางเศรษฐกิจของโลก ท่ามกลางการพัฒนาเศรษฐกิจจีนพยายามผลักดันให้เงิน หยวนมีบทบาทในระบบเศรษฐกิจการเงินระหว่างประเทศ โดยในปี พ.ศ.2548 จีนได้วิวัฒนาการเงินหยวนด้วย การปรับเปลี่ยนระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบคงที่ (Fixed Exchange Rate) ที่ให้ค่าเงินหยวนผูกติดกับเงิน ดอลลาร์ สรอ.เพียงสกุลเดียว สู่ระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบลอยตัวภายใต้การจัดการ (Managed Floating Exchange Rate) ด้วยการกาหนดให้ดาเนินเงินหยวนอ้างอิง กับตะกร้าเงินที่เป็นคู่ค้ากับจีน ได้แก่ สกุลเงิน ดอลลาร์ สรอ. ยูโร เยน วอน และอื่นๆ ทั้งนี้จีนได้ประกาศให้มีการใช้เงินหยวนเป็นสกุลเงินในการชาระบัญชี การค้าระหว่างประเทศ ต่อมาปี พ.ศ.2552 จีนได้พยายามผลักดันให้เงินหยวนเข้ามามีบทบาทในด้านการเงิน โลกและได้ลงนามในข้อตกลงสวอปเงินตรา (Swap Agreement)4 คือข้อตกลงการแลกเปลี่ยนเงินตาระหว่า ง ธนาคารของประเทศต่างๆ เช่น ฮ่องกง เกาหลีใต้ มาเลเซีย และสิงคโปร์ ฯลฯ เช่นเดียวกันในปีดังกล่าวจีนได้ เริ่มโครงการนาร่องการชาระด้วยสกุลเงินหยวนใน 5 เมืองใหญ่ ได้แก่ เซี่ยงไฮ้ กวางโจว เซินเจิ้น จูไห่ และตง กวน ต่อมาได้ขยายพื้นที่นาร่องเป็น 20 มณฑล ในปี พ.ศ.2553 พร้อมทั้งประกาศให้ทุกพื้นที่ของจีนสามารถ ทาการค้าด้วยสกุลเงินหยวนกับทุกประเทศได้โดยไม่มีข้อจากัด ตั้งแต่ปี พ.ศ.2554 เป็นต้นมา จากการผลักดัน บทบาทเงินหยวนอยู่เป็นระยะเวลาหลายปีและหนึ่งในความพยายาม คือการนาเงินหยวนเข้าสู่ตะกร้าของ IMF ที่เรียกว่า Special Drawing Rights หรือ SDR ในปี พ.ศ.2558 ทาให้จีนลดการพึ่งพาเงินดอลลาร์ สรอ.และ ก้าวเข้าสู่การเป็นสกุลเงินสาคัญในระบบเศรษฐกิจโลก ทั้งนี้เงินหยวนเข้าสู้ตะกร้าเงิน IMF มีผลตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2559 นี้เป็นต้นไป บทบาทเงิน หยวนต่อ ประเทศไทยนั้ นธนาคารแห่ง ประเทศไทยกั บธนาคารกลางแห่ง สาธารณรั ฐ ประชาชนจี น ได้ร่ ว มลงนามในความตกลงทวิภ าคี เ พื่ อ แลกเปลี่ ย นเงิ น ตราสกุ ล หยวนและบาท ฉบั บ ที่ 1 (Bilateral Swap Agreement) ในปี พ.ศ.2554 ทาให้ผู้ประกอบการไทยและจีนสามารถเลือกใช้เงินสกุล ท้องถิ่นในการชาระค่าสินค้าและบริการระหว่า งกัน โดยกาหนดวงเงินจานวน 70 พันล้านหยวน และบันทึก ความเข้าใจว่าด้วยการแต่งตั้งธนาคารชาระดุลเงินหยวนในประเทศ 5 เพื่อสนับสนุนการบริหารสภาพคล่องเงิน หยวนอย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ต่อมาในปี พ.ศ.2557 ได้มีขยายความตกลงทวิภาคีเพื่อแลกเปลี่ยนเงินตรา สกุลหยวนและบาท ฉบับที่ 2 ด้วยวงเงิน 70 พันล้านหยวนเท่าเดิมซึ่งอายุความจะหมดในปี พ.ศ.2560 จากผล ของความตกลงทวิภาคีเพื่อแลกเปลี่ยนเงินตราสกุลหยวน และบาททาให้การชาระเงินค่าสินค้าเข้า -สินค้าออก ในรูปแบบเงินหยวนเหรินหมินปี้ (RMB) มากขึ้น
4
ผลของการทา Swap Agreement ทาให้ต้นทุนการค้าระหว่างประเทศกับจีนลดลง จากการที่ธนาคารกลางของประเทศ ต่างๆสามารถขายเงินหยวนให้ผู้นาเข้าส่งออกสินค้าและบริการจากจีนเพื่อให้สามารถใช้เงินสกุลท้องถิ่นและเงินหยวนในการ ซื้อขายกับจีน โดยไม่จาเป็นต้องแลกเปลี่ยนเงินตราผ่านเงินดอลลาร์ สรอ. 5 นามว่า ธนาคารไอซีบีซี (Industrial and Commercial Bank of China (Thai)) สานักงานเศรษฐกิจชายแดนและโลจิสติกส์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง 4
รูปที่ 3 สัดส่วนการชาระเงินค่าสินค้าเข้า-สินค้าออกเงินหยวนเหรินหมินปี้ (RMB) ของไทย ตั้งแต่ไตรมาสที่ 1 พ.ศ.2558 – ไตรมาสที่ 2 พ.ศ.2559 การชาระเงินค่าสินค้าออก
ร้อยละ 0.8
การชาระเงินค่าสินค้าเข้า
0.7 0.6 0.5 0.4
0.3 0.2 0.1 0 Q1/2558
Q2/2558
Q3/2558 Q4/2558 ไตรมาส/ปี ที่มา : ธนาคารแห่งประเทศไทย, 2559
Q1/2559
Q2/2559
จากรูปที่ 3 เห็นได้ว่าสัดส่วนการชาระเงินค่าสินค้าออกเงินหยวนเหรินหมินปี้จากไตรมาสที่ 1 ปี พ.ศ. 2558 ร้อยละ 0.1 เพิ่มขึ้นในไตรมาสที่ 2 ปี พ.ศ.2559 เป็นร้อยละ 0.2 และสัดส่วนการชาระเงินค่าสินค้าเข้า เงินหยวนเหรินหมินปีจ้ ากไตรมาสที่ 1 ปี พ.ศ.2558 ร้อยละ 0.2 เพิ่มขึ้นในไตรมาสที่ 1 ปี พ.ศ.2559 เป็นร้อย ละ 0.7 ก่อนลดลงเหลือร้อยละ 0.6 ในไตรมาสที่ 2 ของปี พ.ศ.2559 คาดว่าหลังจากที่เงินหยวนเข้าสู่ตะกร้า เงิน IMF อย่างเป็นทางการในวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ.2559 นี้ สัดส่วนการชาระเงินค่าสินค้าเข้า -สินค้าออกเงิน หยวนเหรินหมินปี้ของไทยจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ผลจากการสร้างเชื่อมั่นในบทบาทของเงินหยวนและความตกลงทวิ ภาคีแก่ภาคธุรกิจและสถาบันการเงินในการใช้เงินสกุลหยวนและบาทในการค้าและการลงทุนระหว่างกัน ฉะนั้นการค้าระหว่างประเทศและการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศมีความสาคัญต่อการขยายตัวและ พัฒ นาเศรษฐกิ จอย่า งต่ อเนื่อ งของประเทศไทย จึง นามาสู่วั ตถุ ประสงค์ ของการศึก ษาความสัม พัน ธ์แ ละ ผลกระทบของอัตราแลกเปลี่ยนเงินหยวนต่อการค้าการลงทุนของไทย วรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง ในส่วนนี้ จะกล่า วถึงเอกสารวิ จัยและทฤษฎีที่ เกี่ยวข้ องกับการวิเคราะห์ส ภาพแวดล้อมของอัตรา แลกเปลี่ยนที่มีผลต่อการค้าการลงทุนระหว่างประเทศ อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างประเทศมีความสาคัญอย่างมากต่อการค้าและการลงทุน รวมถึงเป็น หนึ่งปัจจัยที่มีผบต่อการตัดสินใจของการลงทุนระหว่างประเทศ โดยความเคลื่อนไหวของอัตราแลกเปลี่ยนมีผล ต่อกระแสลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศจากการศึกษาของ Cushman (1985), Froot and Stein (1991) และKohlhagen (1977) พบว่า การลดค่าเงินของประเทศผู้รับการลงทุนจากต่างประเทศจะช่วยกระตุ้นการ ไหลเข้าของการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ ตรงกันข้ามหากค่าเงินแข็งจะส่งผลให้การไหลเข้าของการลงทุน 5
สานักงานเศรษฐกิจชายแดนและโลจิสติกส์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
โดยตรงจากต่างประเทศลดลง โดยพื้นฐานแล้วมี 2 ช่องทางจากอัตราแลกเปลี่ยนที่มีผลกระทบต่อการลงทุน โดยตรงจากต่างประเทศ ได้แก่ 1. ผลกระทบจากความมั่นคั่งทางการเงิน (wealth effect) 2. ผลกระทบจาก ต้นทุนการผลิต (relative production cost) โดยการลดค่าเงินของประเทศผู้รับการลงทุนโดยตรงจาก ต่า งประเทศ จะทาให้ ต้น ทุน การผลิ ตในประเทศลดลง ได้ แก่ การลดลงของต้น ทุน ด้า นแรงงาน ค่า เช่ า ที่ เครื่อ งจั ก ร และสิน ทรั พ ย์อื่ นๆ ท าให้ ได้ ก าไรจากการส่ง ออก รวมถึ ง สามาถดึ ง ดู ด การลงทุน โดยตรงจาก ต่างประเทศให้เข้ามาลงทุนเพิ่มขึ้น6 ขณะเดียวกันจากการศึกษาของ Campa (1993) พบว่าอัตราแลกเปลี่ยนสามารถส่งผลกระทบต่อผล การดาเนินการของบริษัท ไม่ว่าจะเป็นในด้านกาไรหรือภาระหนี้ ดังนั้นอัตราแลกเปลี่ยนอาจจะเป็นปัจจัยที่มี อิทธิผลต่อการตัดสินใจลงทุน รวมถึงการดาเนินนโยบายเศรษฐกิจและอัตราแลกเปลี่ยนของประเทศ7 อย่างไรก็ตามจากการศึกษาของ Lane and Milesi-Ferretti (2004), Kalemli-Ozcan, Sorensen, and Yosha (2003) และ Hau (2002) ได้ให้มุมมองเกี่ยวกับการลงทุนระหว่างประเทศกับการผันผวนของ อัตราแลกเปลี่ยนว่า ความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนอาจลดลงจากความร่วมมือทางการเงินระหว่างประเทศ รวมไปถึงเป็นการส่งเสริมการลงทุนระหว่างประเทศมากขึ้ น ขณะเดียวกันหากมีการเคลื่อนไหวของอัตรา แลกเปลี่ยนมากขึ้น จึงเกิดคาถามเชิงประจักษ์ที่ว่าการลงทุนระหว่างประเทศที่มากขึ้นจะช่วยลดหรือเพิ่มความ ผัวผวนของอัตราแลกเปลี่ยนหรือไม่8 นอกจากนี้การศึกษาของ Hall et al. (2010) พบว่า ความสัมพันธ์ระหว่างความผันผวนของอัตรา แลกเปลี่ยนและการค้าระหว่างประเทศของกลุ่มประเทศที่กาลังพัฒนากับกลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่นั้น ความ ผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนมีผลกระทบต่อการส่ง ออกของประเทศกาลัง พัฒนามากกว่าการส่ง ออกของ ประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ในตลาด อาจเพราะการขยายของตลาดทุนทาให้ลดผลกระทบจากความผันผวนของ อัตราแลกเปลี่ยนในการส่งออกเมื่อเทียบกับกลุ่มประเทศกาลังพัฒนาอื่นๆ9 ดังนั้นเห็นได้ว่าการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศที่ได้รับประโยชน์จากการลดค่าเงินของประเทศผู้รับ ลงทุน เนื่องจากค่าเงินที่ลดลงส่งผลให้ต้นทุนการผลิตลดลง จึงเป็นปัจจัยสาคัญที่ดึงดูดกลุ่มการลงทุนโดยตรง จากต่างประเทศที่เน้นการผลิตเพื่อการส่งออกเป็นหลัก ทั้งนี้จากการศึกษาปัจจัยที่กาหนดเงินทุนทางตรงระหว่างประเทศขาออก: กรณีศึกษาเปรียบเทียบ ประเทศไทยกับประเทศสิงคโปร์ (จันทร์ทิพย์ และกรกรัณย์, 2558) พบว่า แรงผลักดันการลงทุนระหว่าง ประเทศขาออกของไทยนั้น ปัจจัยผลักที่สาคัญคือการขยายตลาด ทรัพยากรธรรมชาติและแรงงาน และภาษี โดยเฉพาะภาษีนิ ติบุคคลค่ อนข้างสู ง ซึ่งปัจ จัยที่ไ ม่ผ ลต่อการตัดสินใจออกไปลงทุนระหว่างประเทศได้แ ก่ โครงสร้างพื้นฐาน ความยากง่ายของการดาเนินธุรกิจ และการเงิน ขณะที่แรงดึงดูดการลงทุนระหว่างประเทศ ของประเทศ CLMV มีปัจจัยดึงดูดหลักทางด้านสิทธิประโยชน์เพื่อการขยายตลาด ทรัพยากรธรรมชาติและ
6
Yuqing Xing, Why is China so attractive for FDI? The role of exchange rates, China Economic Review 17 (2006), p.203-204 7 Johu Manuel Luiz, Harris Charalambous, Factors influencing foreign direct investment of South African financial services firms in Sub-Saharan Africa, International Business Review 18 (2009), p.308 8 Almukhtar Al-Abri , Hamid Baghestani, Foreign investment and real exchange rate volatility in emerging Asian countries, Journal of Asian Economics 37 (2015), p.37 9 Dimitrios Asteriou, kaan Masatci and Keith Pilbeam, Exchange rate volatility and international trade: International evidence from the MINT countries, Economic Modelling 58 (2016), p.134 สานักงานเศรษฐกิจชายแดนและโลจิสติกส์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง 6
แรงงาน และภาษีโดยเฉพาะภาษีนิติบุคคล ทั้งนี้ปัจจัยทางด้านโครงสร้างพื้นฐาน ความยากง่ายของการดาเนิน ธุรกิจ และการเงิน ไม่เป็นปัจจัยที่สาคัญต่อการดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ วิธีการศึกษาและแบบจาลอง เพื่อที่จะศึกษาว่า ผลกระทบของอัตราแลกเปลี่ยนเงินหยวนต่อการค้าการลงทุนไทยหรือไม่ การศึกษา ในครั้งนี้ได้ใช้วิธีการทางเศรษฐมิติ (economic methods) เพื่อที่จะบรรลุวัตถุประสงค์นี้ ซึ่งก็คื อ แบบจาลอง เวกเตอร์ออโต้รีเกรสชั่น (Vector Autoregessive : VAR) เป็นแบบจาลองศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร ต่างๆ ในการทดสอบทั้งนี้ตัวแปรที่เลือกใช้ในแบบจาลอง VAR ในการศึกษาครั้ง นี้ ประกอบด้วย 3 ตัวแปร ได้แก่ 1) อัตราแลกเปลี่ยนบาทต่อหยวน 2) มูลค่าการค้ารวมระหว่างประเทศไทย-จีน 3) มูลค่าการลงทุน โดยตรงจากประเทศจีนในไทย ซึ่งข้อมูลที่ใช้ในการศึกษาเป็นข้อมูลประเภททุติยภูมิเก็บรวบรวมจากธนาคาร แห่ง ประเทศไทย กรมศุลกากรและ CEIC Data โดยใช้ข้อมูลรายเดือนในช่วงเดือ นมกราคม 2548 ถึ ง พฤษภาคม 2559 ทั้งนี้จากแบบจาลอง VAR ที่ทราบถึงความสัมพันธ์ของตัวแปรดังกล่าว เพื่อศึกษาความเปลี่ยนแปลงที่ อาจเกิดขึ้นของตัวแปรต่อไป โดยมีสมการแสดงความสัมพันธ์ของตัวแปรอย่างง่ายและแบบเมทริกซ์ ดังสมการ ที่ (1) และ (2) p
yt Ayt j t
(1)
j 1
1 j FX 1,t FDI 1,t 2 j 3 j TRD1,t
โดยที่
1j 2j 3j
1 j FX 1,t 1 1,t 3 j FDI 1,t 1 2,t 3 j TD1,t 1 3,t
(2)
คือ อัตราแลกเปลี่ยน FDI1,t คือ มูลค่าการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ TRD1,t คือ มูลค่าการค้ารวมระหว่างประเทศ คือ Error Term 1,t Fx1,t
ผลการศึกษา 1) ทดสอบความมีเสถียรภาพของข้อมูล (Stationary/Unit Root Test) ในการทดสอบความมีเสถียรภาพของข้อมูลโดยวิธีการมาตรฐานที่เรียกว่า Augmented DickeyFuller (ADF) Test พบว่าข้อมูลตัวแปรอัตราแลกเปลี่ยน มูลค่าการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ และมูลค่า การค้ารวมระหว่างประเทศ ยอมรับสมมุติฐานหลัก ซึ่งหมายความว่าเป็นตัวแปรมีความนิ่ง (stationary) ใน ระดับผลต่างขั้นที่ 1 (first difference) ดังแสดงในตารางที่ 1
7
สานักงานเศรษฐกิจชายแดนและโลจิสติกส์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
ตารางที่ 1 : ตารางแสดงผลการทดสอบความนิ่ง (Stationary Test) ของตัวแปรที่ระดับ Level ตัวแปร Stationary อัตราแลกเปลี่ยน (Fx) I(1) มูลค่าการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) I(1) มูลค่าการค้ารวมระหว่างประเทศ (TRD) I(1) ที่มา : จากการคานวณโดยผู้วิจัย
2) การหาค่าความยาวของความล่าที่เหมาะสม (Optimal Lag Length) ในการหาค่ายาวของความล่าที่เหมาะสม โดยดูได้จากค่า Schwarz information criterion (SC) ซึ่ง โดยทั่วไปแล้วจะเลือกจานวน lag จากจานวนค่า SC ต่าสุด จากตาราง จะเห็นว่าจานวน lag เท่ากับ 2 คือ จานวนที่เหมาะสมที่สุด ดังนั้นการศึกษานี้จึงเลือกจานวน lag ที่ 2 ดังแสดงในตารางที่ 2 ตารางที่ 2 : การหาค่าความยาวของความล่าที่เหมาะสม (Optimal Lag Length) Lag 0 1 2 3 4 5 6
LogL -2732.997 -2399.250 -2363.737 -2359.160 -2354.841 -2350.627 -2345.904
LR NA 646.6334 67.14239 8.438815 7.760036 7.375543 8.043860
FPE AIC SC 7.39e+14 42.74995 42.81679 4.62e+12 37.67579 37.94316 3.06e+12* 37.26152* 37.72943* 3.28e+12 37.33062 37.99907 3.53e+12 37.40377 38.27275 3.81e+12 37.47854 38.54805 4.09e+12 37.54537 38.81542 ที่มา : จากการคานวณโดยผู้วิจัย * indicates lag order selected by the criterion
HQ 42.77711 37.78442 37.45163* 37.60222 37.75684 37.91309 38.06140
3) ผลการวิเคราะห์แบบจาลอง VAR ผลการวิเคราะห์เพื่อหาผลกระทบของอัตราแลกเปลี่ยนเงินหยวนต่อการค้าการลงทุนของไทยจะถูก นาเสนอจากผลของแบบจาลอง VAR โดยดูจากค่าสัมประสิทธิ์ (VAR coefficient) และ Impulse Response Function ดังนี้ ตารางที่ 3 : ค่าสัมประสิทธิ์ผลกระทบของอัตราแลกเปลี่ยนเงินหยวน(FX)ต่อการค้าการลงทุนของไทย Variable coefficient Standard errors in t-statistics D(FDI(-1)) 2.30E-06** (1.6E-06) [ 1.40722] D(FDI(-2)) 1.60E-06** (1.6E-06) [ 1.00716] D(TRD(-1)) 3.90E-07 (4.9E-07) [ 0.79937] D(TRD(-2)) -3.47E-07 (4.9E-07) [-0.70288] ที่มา : จากการคานวณโดยผู้วิจัย ** ระดับนัยสาคัญ 99%
จากแบบจาลอง VAR ของผลกระทบของอัตราแลกเปลี่ยนเงินหยวนต่อการค้าการลงทุนของไทยจะ พบว่าตัวแปรอัตราแลกเปลี่ยนมีผลต่อการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศของจีนในไทยอย่างมี นัยสาคัญทาง 8
สานักงานเศรษฐกิจชายแดนและโลจิสติกส์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
สถิติ ที่ระดับนัยสาคัญ 99% ทั้งในระยะที่ 1 ระยะที่ 2 และอัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทต่อหยวนส่งผลกระทบต่อ การลงทุนโดยตรงจากประเทศจีนในไทยในระยะยาว เนื่องจากตลาดแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศเป็นตลาด ที่มีความผันผวนมาก ทั้งนี้การกาหนดอัตราแลกเปลี่ยนเงินหยวนค่อนข้างให้ความสาคัญต่อสกุลเงินดอลลาร์ สรอ. เป็นสาคัญถึงแม้ว่าจีนจะประกาศว่าจะมีการดาเนินนโยบายการเงินโดยอ้างอิงค่าเงินหยวนกับค่าเงินใน ตะกร้า IMF และประเทศคู่ค้าที่สาคัญซึ่งรวมถึงค่าเงินบาทด้วย ขณะเดียวกันเองการอ้างอิงค่าเงินบาทของไทย นั้นไม่ได้อ้างอิงเฉพาะกับค่าเงินหยวนอย่างเดียวเท่านั้น ซึ่งค่าเงินเงินบาทของไทยจาเป็นต้องอ้างอิงกับสกุลเงิน ของประเทศมหาอานาจเศรษฐกิจและประเทศคู่ค้าสาคัญ ไม่ว่าจะเป็น ดอลลาร์ สรอ. ยูโร เยน หยวน ฯลฯ ทา ให้ค่าเงินเคลื่อนไหวไปตามนโยบายการเงินและสภาวะเศรษฐกิจของประเทศนั้นๆ เพื่อไม่ให้ส่งออกกระทบต่อ ภาคการส่งออกและเศรษฐกิจของไทยจึงเป็นผลให้เกิดการผันผวนของค่าเงินบาท ฉะนั้นผลการศึกษาจึงแสดง ให้เห็นว่าผลของอัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทต่อหยวนมีผลกระทบต่อการลงทุนโดยตรงจากประเทศจีนในระยะ ยาว ทั้งนี้ การลงทุนของจีนนอกจากจะให้ประเทศไทยเป็นฐานการผลิตเพื่อส่งออกไปยังประเทศต่างๆทั่ว โลกแล้ว สินค้าดังกล่าวยัง ส่งออกกลับไปยังประเทศจีนด้วย ฉะนั้นการลงทุนระหว่างประเทศของจีนในไทย อัตราแลกเปลี่ยนจึงเป็นปัจจัยหนึ่งที่มีผลต่อการตัดสินใจของนักลงทุนและการปรับตัวกับการเปลี่ยนแปลงของ อัตราแลกเปลี่ยนระหว่างประเทศ ขณะที่อัตราแลกเปลี่ยนมีผลต่อการค้ารวมระหว่างประเทศไทยกับจีน อย่างไม่มีนัยสาคัญ เนื่องจาก การค้า ระหว่ างประเทศในปัจ จุบั นได้มี การท าข้ อตกลงซื้ อขายล่ว งหน้า เพื่ อป้ องกัน การผั นผวนของอั ตรา แลกเปลี่ยน จึงทาให้ค่าเงินหยวนที่อ่อนค่าลงไม่ส่ง ผลกระทบต่อการค้าของไทยมากนักเช่น มี การลงนามใน ความตกลงทวิภาคีเพื่อแลกเปลี่ยนเงินตราสกุลหยวนและบาท (Bilateral Swap Agreement) ในปี พ.ศ. 2554 จนถึง ปั จ จุบั น ส่ง ผลให้ ก ารลงทุน โดยตรงจากประเทศจี น ในไทยนั้ น เพิ่ม ขึ้ น โดยในปี พ.ศ. 2554 ประมาณ 549.04 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเป็น 18,763.56 ล้านบาท ในปี พ.ศ. 2555 ซึ่งผลจากความตกลงทวิภาคี เพื่อแลกเปลี่ยนเงินตราสกุลหยวนและบาท เป็นเครื่ องมือในการป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ย น (hedging) ซึ่งจะช่วยลดความผันผวนของผลตอบแทนจากการลงทุนต่างประเทศได้ และเป็นหนึ่งปัจจัยที่ สามารถความเชื่อ มั่น ให้ แก่ นัก ลงทุนจี น อีก ทั้ง เนื่ องจากการปรั บค่ าเงิ นหยวนของจีน นั้น เป็ นการกระตุ้ น เศรษฐกิจภาคการส่งออกของประเทศ และเพื่อให้เงินหยวนเคลื่อนไหวตามกลไกตลาดมากขึ้นจึง ส่งผลต่อ การค้าระหว่างประเทศในระยะสั้นเท่านั้น แต่ก็มีแนวโน้มว่าการอ่อนค่าของเงินหยวนจะทาให้มูลค่าการค้าของ ไทยเพิ่มขึ้นในระยะยาว
9
สานักงานเศรษฐกิจชายแดนและโลจิสติกส์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
รูปที่ 4 ผลกระทบของอัตราแลกเปลี่ยนเงินหยวนต่อการค้าการลงทุนของไทยจากแบบจาลอง VAR
ที่มา : จากการคานวณโดยผู้วิจัย
การพิจารณาแบบจาลอง VAR เพื่อเปรียบเทียบและบ่งชี้ขนาดและระยะเวลาของผลกระทบจากกราฟ Impulse Response Function: IRF จากรูปที่ 4 จะเห็นว่าผลกระทบของอัตตราแลกเปลี่ยน(FX) ต่อการค้า รวมระหว่ างประเทศไทยกับจี น (TRD) นั้นส่ ง ผลกระทบตั้ง แต่ในระยะที่ห นึ่ง โดยการอ่ อนค่า ของอัตรา แลกเปลี่ยนทาให้การค้าไทยเพิ่มขึ้นในเดือนที่ 1-4 หรือในระยะสั้น (Short-run shock) แล้วจึงมีขนาดลดลง เรื่อยๆ จนกลับเข้าสู่ ดุลยภาพหลังเดือนที่ 4 เป็นต้นไป หรืออาจกล่าวได้ว่าเมื่อเวลาผ่านไป ผู้ประกอบการ สามารถปรับกลยุทธ์เพื่อรองรับความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนได้ในเดือนที่ 5 ขณะเดียวกันเมื่อพิจารณา Impulse Response Function จากแบบจาลอง VAR เพื่อเปรียบเทียบ และบ่งชี้ขนาดและระยะเวลาของผลกระทบของอัตราแลกเปลี่ยนที่มีต่อการลงทุนทางตรงจากต่างประเทศ จากรูปที่ 4 จะเห็นว่า อัตราแลกเปลี่ยนส่งผลกระทบต่อการลงทุนโดยตรงจากประเทศจีนในไทย (FDI) อย่างมี นัยสาคัญ โดยลักษณะของผลกระทบ (Shocks) เกิดขึ้นตั้งแต่ระยะที่ 1 – 9 ซึ่งจะเห็นว่ามีขนาดและระยะเวลา มากกว่าการค้าต่างประเทศ ผลกระทบเกิดขึ้นตั้งแต่เดือนที่ 1 จากนั้น ค่อยๆ ปรับตัวลดลงในเดือนที่ 2 และ เพิ่มขึ้นเดือนที่ 3 ก่อนที่จะปรับตัวลดลงสู่ดุลภาพในเดือนที่ 8-9 เป็นต้นไป เนื่องจากเป็นช่วงที่เศรษฐกิจและ นักลงทุนสามารถปรับตัวรับกับการเปลี่ยนแปลงได้ สรุปผลการศึกษา ผลอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างประเทศมีอิทธิพลมากกว่าในอดีต ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของการค้า ระหว่างประเทศที่มีความซับซ้อนมากขึ้น รวมถึงการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ ปัจจุบันจะพบว่าเหต การณ์ทางการเงินของกลุ่มประเทศมหาอานาจทางเศรษฐกิจเปลี่ยนแปลงเป็นประจา เพื่อเป็นการช่วยพยุง เศรษฐกิจของประเทศนั้นๆ จึงทาให้ประเทศกาลังพัฒนาประสบปัญหาในการอ้างอิงค่าเงินของตนกับประเทศ มหาอานาจทางเศรษฐกิจและประเทศคู่ค้าที่สาคัญอยู่อย่างสม่าเสมอ เพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อการค้าระหว่าง ประเทศและการเติบโตเศรษฐกิจของประเทศ
10
สานักงานเศรษฐกิจชายแดนและโลจิสติกส์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
รูปที่ 5 ช่องทางการส่งผ่านผลกระทบของอัตราแลกเปลี่ยนต่อการค้าการลงทุน
จากการศึกษาพบว่าช่องทางการส่ง ผ่านผลของอัตราแลกเปลี่ยนต่อการค้าการลงทุน มี 2 ช่องทาง ได้แก่ 1) ค่าเงินบาทอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับค่าเงินหยวน จะทาให้ต้นทุน ด้านแรงงาน ค่าเช่าที่ เครื่องจักร การ นาเข้าวัตถุดิบขั้นต้น และสินทรัพย์อื่นๆ ลดลงในมุมมองของนักลงทุนจีน ทั้งนี้การลดลงของต้นทุนทาให้กาไร จากการส่ง ออกเพิ่มมากขึ้น จึงเป็นปัจจัยที่สาคัญ ในการดึง ดูดการลงทุนโดยตรงจากต่างป ระเทศ และ 2) ค่าเงินบาทอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับค่าเงินหยวนส่งผลให้การส่งออกของไทยและการค้ารวมระหว่างประเทศไทย กับจีนเพิ่มขึ้นตามไปด้วย ดังนั้นผลกระทบของอัตราแลกเปลี่ยนเงินหยวนต่อการค้าการลงทุนไทยพบว่า อัตราแลกเปลี่ยนเงิน บาทต่อหยวนส่งผลกระทบต่อการลงทุนโดยตรงจากประเทศจีนในไทยมากกว่าการค้าระหว่างประเทศไทยกับ จีน ในระยะยาว ฉะนั้นจากผลการศึกษาดังกล่าวจะเป็นการสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ผู้ประกอบชายแดนใน ปัจจุบันที่ทาการค้าระหว่างประเทศกับจีน เพื่อเป็นหนึ่งปัจจัยของการเลือกใช้เงินสกุลหยวนในการชาระค่า สินค้าและบริการระหว่างกัน ซึ่งการชาระเงินหยวนจะช่วยลดความผันผวนของรายได้และต้นทุนได้ในระดับ หนึ่ง เนื่องจากเงินหยวนและเงินภูมิภาคอื่นๆ ส่วนใหญ่มักเคลื่อนไหวไปในทิศทางเดียวกันกับเงินบาท มากกว่า เงินดอลลาร์ สรอ. และส่งผลดีต่อการเจรจากับคู่ค้าชาวจีนเพื่อลดต้นทุนสินค้า เนื่องจากคู่ค้าจีนที่รับชาระค่า สินค้าด้วยเงินหยวน ไม่มีความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนทาให้ไม่มีต้นทุนในการป้องกันความเสี่ยงจากอัตรา แลกเปลี่ ยนและไม่ ต้อ งเสี ย Conversion Cost ด้ว ย ทั้ ง นี้ห ากเงิ น หยวนกลายมาเป็ น International Currency หรือ Regional Currency ก็จะเป็นประโยชน์กับการขยายตัวของการค้าชายแดนในอนาคต
11
สานักงานเศรษฐกิจชายแดนและโลจิสติกส์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
เอกสารอ้างอิง เขียน ธีระวิทย์ (2541) นโยบายต่างประเทศจีน. กรุงเทพมหานคร: สานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) และศูนย์วิจัยจีนศึกษา สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัน ทร์ ทิ พ ย์ และกรกรั ณ ย์ (2558) ปั จ จั ย ที่ก าหนดเงิ น ทุ น ทางตรงระหว่ า งประเทศขาออก: กรณี ศึ ก ษา เปรียบเทียบประเทศไทยกับประเทศสิงคโปร์ ใน การออกไปลงทุนในต่างประเทศของ ไทย: การ วิเคราะห์ แนวโน้ม ปัจจัยกาหนดการออกไปลงทุนและผลกระทบที่ เกิดขึ้น. บรรณาธิการ กรกรัณย์ ชีวะตระกุลพงษ์, อาภากร นพรัตยาภารณ์. กรุงเทพฯ: พัฒนศิลป์พริ้นท์ แอนด์ แพ็ด จากัด Almukhtar Al-Abri , Hamid Baghestani. (2015) Foreign investment and real exchange rate volatility in emerging Asian countries. Journal of Asian Economics 37: 34 – 47 Dimitrios Asteriou, kaan Masatci and Keith Pilbeam. (2016) Exchange rate volatility and international trade: International evidence from the MINT countries. Economic Modelling 58: 133 – 140 Johu Manuel Luiz, Harris Charalambous. (2009) Factors influencing foreign direct investment of South African financial services firms in Sub-Saharan Africa. International Business Review 18: 305 – 317 Karel Jansen. (1995) The Macroeconomic Effects of Direct Foreign Investment: The Case of Thailand. World Development, Vol. 23, NO. 2: 193 – 210 UNCTAD. (2003) CHINA: AN EMERGING OUTWARD INVESTOR. Available at : http://unctad.org/ sections/dite_fdistat/docs/china_ebrief_en.pdf Yuqing Xing. (2006) Why is China so attractive for FDI? The role of exchange rates. China Economic Review 17: 198 – 209
สานักงานเศรษฐกิจชายแดนและโลจิสติกส์ (Office of Border Economy and Logistics: OBELS) มีหน้าที่ ดาเนินงานด้านการรวบรวมข้อมูลและวิจัยทางด้านเศรษฐกิจการค้าชายแดนและโลจิสติกส์ เพื่อนาไปสู่การยกระดับ องค์ความรู้ที่เป็นฐานสาคัญของประเทศไทย ซึ่งส่งผลต่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และการสร้างความสามารถใน การแข่งขันของประเทศและยกระดับคุณภาพชีวิตในสังคม Office of Border Economy and Logistics (OBELS), Mae Fah Luang University, 333 Moo 1, Tasud, Muang, Chiang Rai, Thailand. Tel. +6653916680 Email: obels@mfu.ac.th
12
สานักงานเศรษฐกิจชายแดนและโลจิสติกส์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง