WP3 (MAR 2014)

Page 1

No. 3, March 2014

แนวโน้มการเติบโตทางเศรษฐกิจและการค้าพื้นที่ชายแดนจังหวัดเชียงราย ธนาภัทร บุญเสริม ณัฐพรพรรณ อุตมา บทคัดย่อ งานวิจัย นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวโน้มการเติบโตของเศรษฐกิจโดยรวมและการค้าชายแดน ระหว่างพรมแดนเชียงรายของประเทศไทยกับประเทศคู่ค้าที่สาคัญอย่าง สปป.ลาว และเมียนม่าร์ สาหรับการ วิเคราะห์ งานวิจัยชิ้นนี้ ได้ใช้ข้อมูล ทุติยภูมิของจังหวัดเชียงราย ได้แก่ ผลิ ตภัณฑ์มวลรวมจังหวัด เชียงราย (Gross Provincial Products: GPP) จานวนประชากร ผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัดต่อประชากร และมูลค่า การค้าชายแดน การส่งออกและการนาเข้า รวมทั้งดุลการค้าชายแดน ครอบคลุมระยะเวลา 10 ปีตั้งแต่ปีพ.ศ. 2547 ถึง พ.ศ. 2556 ในส่วนแรกของงานวิจัยจะทาการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างการขยายตัวของการค้า ชายแดนในจังหวัดเชียงรายกับการขยายตัวของเศรษฐกิจมวลรวม ในรูปของเปอร์เซ็นต์การเปลี่ยนแปลงที่ สะท้อนถึงอัตราการเจริญเติบโตของจังหวัดเชียงราย เพื่อ ชี้ให้เห็นว่าตลอด 10 ปีที่ผ่านมา สถานการณ์และ แนวโน้มการค้าชายแดนระหว่างประเทศไทยกับคู่ค้ารายใหญ่อย่าง สปป.ลาว และประเทศเมียนม่าร์ผ่านทาง พรมแดน ณ ด่านศุล กากรของทั้งสามอาเภอ คือ แม่สาย เชียงแสน และ เชียงของมีส่ วนทาให้ เศรษฐกิจ โดยรวมของจังหวัดเชียงรายขยายตัวมากขึ้น จากการวิเคราะห์ ข้อมูลทุติยภูมิจะเห็นว่าในช่วงหนึ่งทศวรรษที่ ผ่านมา มูลค่าการค้าชายแดนของจังหวัดเชียงรายมีการเติบโตที่สูงขึ้นถึง 7.6 เท่า การค้าชายแดนในปี 2547 มี มูลค่า 4,025 ล้านบาท ขยายตัวไปถึง 30,514.11 ล้านบาทในปี 2556 ทาให้ดุลการค้าชายแดนมีมูลค่าสูงขึ้น ถึง 12.6 เท่า จาก 2,273.80 ล้านบาท ในปี 2547 สูงขึ้นเป็น 28,535.19 ล้านบาท ในปี 2556 และมูลค่า ผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัดของเชียงรายมีการขยายตัวจาก 39,317 ล้านบาท ในปี 2547 เป็น 81,263 ล้าน บาท ในปี 2556 ซึ่งนี่เองเป็นสิ่งที่สะท้อนให้เห็นว่าการที่เศรษฐกิจการค้าชายแดนมีการขยายตัวได้ส่งผลทาให้ ภาพรวมทางเศรษฐกิจของจังหวัดเชียงรายขยายตัวขึ้นเช่นกัน ส่วนที่สองจะทาการวิเคราะห์ภาพรวมของเศรษฐกิจของจังหวัดเชียงราย โดยใช้โมเดลการเติบโตทาง เศรษฐศาสตร์ Solow Growth Model มาเป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์ ผลการวิเคราะห์โมเดลดังกล่าว ชี้ให้เห็นว่า การที่จังหวัดเชียงรายมีการเติบโตและขยายตัวอย่างก้าวกระโดดนั้น มีสาเหตุมาจากการเพิ่มขึ้น ของการลงทุนของภาคเอกชน ซึ่งเห็นได้จากการมูลค่าการสะสมทุนหรือการออมเงินของประชากรในจังหวัด เชียงรายนั่นเอง การสะสมทุนที่เพิ่มขึ้นจะส่งผลกระทบในระยะยาว ทาให้เกิดการนาเงินที่ออมสะสมไว้มา 1


ลงทุนในภาคธุรกิจ และการลงทุนที่เพิ่มขึ้น นั้น ทาให้เกิดการจ้างงานที่เพิ่มขึ้น และยังเป็นการกระตุ้น การ ขยายตัวทางเศรษฐกิจโดยรวมของจังหวัดเชียงรายอีกด้วย หรืออีกนัยหนึ่งการสะสมทุนหรือการเพิ่มเงินออม ของประชาชนมีส่วนทาให้เศรษฐกิจของจังหวัดเชียงรายขยายตัวอย่างแท้จริง 1. สถานการณ์การเติบโตทางเศรษฐกิจของจังหวัดเชียงราย จังหวัดเชียงรายถือเป็นหน้าด่านการค้าชายแดนที่สาคัญของประเทศไทย และเป็นเสมือนดั่งประตูที่ เปิดเข้าไปสู่สนามการค้ากับประเทศเพื่อนบ้านในกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียนอย่าง สปป.ลาว และประเทศ เมียนม่าร์ รวมทั้งเป็นเมืองที่สามารถขยายเศรษฐกิจผ่านช่องทางการค้าผ่านแดนเข้าสู่ตอนใต้ของประเทศจีน ในทศวรรษที่ผ่านมา จั งหวัดเชีย งรายถือเป็นจังหวัดที่มีการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างก้าวกระโดด มูล ค่า ผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัดเชียงรายเพิ่มขึ้นจาก 39,317 ล้านบาทในปี 2547 เป็น 81,263 ล้านบาท ในปี 2556 อัตราการเติบโตเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 8.82 ขณะเดียวกันอัตราการเติบโตสะสม (Compound Growth Rate) อยู่ ทีร่ ้อยละ 7.53 ซึ่งถือว่าเป็นระดับการเติบโตทางเศรษฐกิจที่สูงมาก แม้ว่าอัตราการเติบโตของ GPP ในปี 2556 จะลดลงจากปี 2555 อยู่ที่ร้อยละ 3.26 ก็ตาม ซึ่งสาเหตุหลักมาจากการหดตัวของเศรษฐกิจโดยรวมของ ประเทศไทยในปี 2556 ที่มอี ัตราการเติบโตลดลงอยู่ทรี่ ้อยละ 2.9 รูปที่ 1 การเปรียบเทียบอัตราการเติบโตของ GDP ของประเทศไทย และ GPP ของจังหวัดเชียงราย 20.00% 15.00% 10.00% 5.00% 0.00% -5.00% -10.00% -15.00%

2547 2548 2549 2550 2551 2552 2553 2554 2555 2556

อัตราการเติบโตGDPประเทศไทย (%) 6.30% 4.20% 4.90% 5.40% 1.70% -9.00% 7.40% 6.00% 7.10% 2.90% อัตราการเติบโตGPP จังหวัดเชียงราย 11.34%15.04% 4.40% 10.89%15.80% -1.28%13.46% 5.46% 9.87% 3.26% (%)

ที่มา : ธนาคารแห่งประเทศไทย, สานักงานพาณิชย์จังหวัดเชียงราย รูปที่ 1 แสดงอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศเปรียบเทียบกับจังหวัดเชียงราย ในปี 2551 เศรษฐกิ จ โลกซบเซาจากผลกระทบของการเกิ ด วิ ก ฤติ สิ น เชื่ อ ซั บ ไพรม์ หรื อ ที่ รู้ จั ก กั น ในชื่ อ ของ วิ ก ฤติ 2


แฮมเบอร์เกอร์ที่เกิดขึ้นในประเทศสหรัฐอเมริกา ส่งผลให้การเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศไทยและจังหวัด เชียงรายได้รับผลกระทบด้วยเช่นกัน ทาให้ในปี 2552 การเติบโตของ GDP ของประเทศหดตัวอย่างรุนแรง โดยมีอัตราการเติบโตติดลบถึง ร้อยละ 9 และส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ ในทุกจังหวัดของประเทศ รวมทั้ง จังหวัดเชียงราย มูลค่า GPP ในปี 2552 มีอัตราการเติบโตติดลบที่ร้อยละ 1.28 หรืออาจกล่าวได้ว่าปัจจัย สาคัญต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจของจังหวัดเชียงรายได้แก่การขยายตัวทางเศรษฐกิจระดับมหภาคนั่นเอง และจากวิกฤตทางเศรษฐกิจของโลกดังกล่าว ทาให้อัตราการเติบโตของประเทศไทยในปี 2556 เพิ่มขึ้นเพียง ร้อยละ 3.26 และไม่ว่าอัตราการเติบโตของประเทศจะเพิ่มมากหรือน้อยเพียงใด แนวโน้มและทิศทางการเติบ ของเศรษฐกิจของจังหวัดเชียงรายก็ยังคงขยายตัว อย่างต่อเนื่อง (รูปที่ 2) ด้วยความได้เปรีย บเชิงพื้นที่ที่มีเขต แดนติดกับประเทศเพื่อนบ้านอย่างสปป.ลาวและประเทศเมียนม่าร์ รวมทั้งยังสามารถส่งสินค้า ข้ามแดนไปถึง ตอนใต้ของประเทศจีน สิ่งต่างๆ เหล่านี้ล้วนเป็นองค์ประกอบให้จังหวัดเชียงรายเป็นพื้นที่ที่นักลงทุนจะเข้ามา ทาการลงทุน เพื่อผลประโยชน์ทางธุรกิจอันมหาศาลที่จะเก็บเกี่ยวได้จากเมืองชายแดนแห่งนี้ รูปที่ 2 มูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัดเชียงราย ระหว่างปี 2547-2556 90,000 80,000 70,000 60,000 50,000 40,000 30,000 20,000 10,000 0

78,700 81,263 67,922

71,628

60,641 59,864 39,317

2547

45,230 47,222

2548

2549

52,366

2550

มูลค่า GPP (ล้านบาท)

2551

2552

2553

2554

2555

2556

ที่มา : ธนาคารแห่งประเทศไทย, สานักงานพาณิชย์จังหวัดเชียงราย 2. สถานการณ์การเติบโตของการค้าชายแดนจังหวัดเชียงราย เป็นที่ทราบโดยทั่วกันว่า การเติ บโตทางเศรษฐกิจของจังหวัดเชียงรายอย่างรวดเร็ว นั้น มีสาเหตุมา จากการชยายตัวของการค้าชายแดนกับประเทศเพื่อนบ้านเป็นสาคัญ รูปที่ 3 แสดงแนวโน้มการเปิดการค้า ชายแดน (Trade Openness Index: TDI) กับประเทศเพื่อนบ้านที่มีอัตราเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และ ความสัมพัน ธ์ร ะหว่างการเปิ ดการค้า ชายแดนและอัตราการเติบโตของ GPP จังหวัด เชียงรายยัง มีทิศทาง เดียวกันอีกด้วย อาจกล่าวได้ว่า การขยายตัวของการค้าชายแดนมีผลกระทบกับการขยายตัวเศรษฐกิจของ จังหวัดเชียงรายอย่างมีนัยสาคัญ 3


รูปที่ 3 การเปรียบเทียบการเปิดการค้าชายแดนและมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวม จังหวัดเชียงราย ระหว่างปี 2547-2556 9.87% 3.26% 13.46%

32.22%

15.80%

15.04% 10.89%

11.34%

12.24%

12.59%

12.14%

2547

2548

2549

2550

34.83%

37.55%

2555

2556

22.67%

4.40% 10.24%

5.46%

14.16%

Trade Openess Index

15.54% -1.28%

2551

2552

2553

2554

GPP Annual Growth Rate (% change)

ที่มา : ธนาคารแห่งประเทศไทย, สานักงานพาณิชย์จังหวัดเชียงราย จากความได้เปรียบเชิงภูมิศาสตร์ ที่มีเขตแดนติดกับประเทศเพื่อนบ้าน ทาให้การค้าชายแดนของ จังหวัดเชียงรายกับสปป.ลาว และ ประเทศเมียนม่าร์มีมูลค่าการค้าเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว และทาให้เกิดการ ขยายตัวของภาคธุรกิจจากส่วนต่างๆ ทั้งธุรกิจการผลิตเชิงอุตสาหกรรม ธุรกิจค้าส่งและค้าปลีก และธุรกิจ เกี่ยวกับการบริการทางด้านโลจิสติกส์ ทั้งยังเกิดจากการผลักดันของภาครัฐในการพัฒนาระบบโครงสร้าง พื้นฐานและการคมนาคม และการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจเหนือ-ใต้ (North-South economic corridor) เพื่อส่งเสริมความร่วมมือทางเศรษฐกิจ และแผนความร่วมมือระหว่างประเทศอื่นๆ ให้มากขึ้น ตัวอย่างเช่น ยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจอิรวดี - เจ้าพระยา – แม่โขง (Ayeyawady-Chao Phraya-Mekong Economic Cooperation Strategy: ACMECS) โครงการพัฒนาความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่ม แม่น้าโขง (Greater Mekong Subregion Economic Cooperation: GMS) และ ความตกลงการค้าเสรี อาเซียน-จีน (ASEAN-China Free Trade Area: ACFTA) เป็นต้น ปัจจัยดังกล่าวข้างต้น ทาให้เกิดกิจกรรม เศรษฐกิจด้านการลงทุนบริเวณพื้นที่ชายแดนของจังหวัดเชียงรายมากขึ้น และส่งผลให้เกิดการขยายตัวของ มูลค่าการค้าชายแดนอย่างมหาศาล ซึ่งใน 10 ปีที่ผ่านมา (พ.ศ. 2547-2556) มูลค่าการค้าชายแดนได้เพิ่ม มูลค่าสูงถึง 7.6 เท่า นั่นคือ การค้าชายแดนในปี 2547 มีมูลค่า 4,025 ล้านบาท ขยายตัวไปถึง 30,514.11 ล้านบาทในปี 2556 ทาให้ดุลการค้าชายแดนมีมูลค่าสูงขึ้นถึง 12.6 เท่า จาก 2,273.80 ล้านบาท ในปี 2547 สูงขึ้นเป็น 28,535.19 ล้านบาท ในปี 2556 และมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัดของเชียงรายมีการขยายตัว 4


จาก 39,317 ล้านบาท ในปี 2547 เป็น 81,263 ล้านบาท ในปี 2556 (รูปที่ 4) นับว่าชายแดนจังหวัด เชียงรายในช่วงหนึ่งทศวรรษที่ผ่านมานี้ มีอัตราการเติบโตอย่างรวดเร็วและก้าวกระโดด ส่งผลให้เชียงรายเป็น จังหวัดที่มีการเติบโตทางเศรษฐกิจที่เร็วที่สุดในภูมิภาคนี้ รูปที่ 4 มูลค่าการค้าชายแดนและดุลการค้าชายแดนจังหวัดเชียงราย (ล้านบาท) ระหว่างปี 2547-2556 70,000.00 60,000.00 50,000.00 40,000.00 30,000.00 20,000.00 10,000.00 Trade Value (Total)

2547

2548

2549

2550

2551

2552

2553

2554

2555

2556

4,025.00 5,535.43 5,946.82 6,354.90 8,588.31 9,301.99 15,396.6 23,078.3 27,409.5 30,514.1

Trade Balance (Total) 2,273.80 3,911.31 3,559.08 3,204.54 6,537.15 7,854.87 13,764.8 21,730.1 25,693.3 28,535.1

ที่มา : สานักงานพาณิชย์จังหวัดเชียงราย, ศูนย์บริการข้อมูลการค้าการลงทุนกับประเทศเพื่อนบ้าน กรมการค้า ต่างประเทศ 3. การวิเคราะห์แนวโน้มการเติบโตของการค้าชายแดนจังหวัดเชียงรายกับสปป.ลาวและเมียนม่าร์ จังหวัดเชียงรายเป็ นจังหวัดชายแดนที่มีการค้ากับประเทศเพื่อนบ้าน คือ สปป.ลาว และประเทศ เมียนม่าร์ โดยสามารถทาการค้าได้ทั้งทางน้า (แม่น้าโขง) และทางบก (เส้นทาง R3A และ R3B) สถานการณ์ ในปัจจุบัน การค้าชายแดนไทยจังหวัดเชียงรายมีอัตราการขยายตัวอย่างมาก ในปี 2556 มีมูลค่าการค้ากับ ประเทศเพื่อนบ้าน 30,514.11 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมาราวร้อยละ 11.33 หากพิจารณาการเติบโตของ การค้าในทศวรรษที่ผ่านมา พบว่า การค้าชายแดนมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง หรือขยายตัวเพิ่มขึ้น 7.6 เท่า จาก 4,025 ล้านบาท ในปี 2547 เป็น 30,514.11 ล้านบาท ในปี 2556 เนื่องเพราะมีความได้เปรียบจาก โครงข่ายคมนาคมขนส่งและด้านโลจิสติกส์ที่เชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้าน ตามกรอบการพัฒนาอนุภาคลุ่ม แม่น้าโขง และหลังจากที่ถนนเส้นทาง R3A ใน สปป.ลาวเสร็จเรียบร้อยในปี 2551 การค้า การลงทุน และ การท่องเที่ยวในแนวระเบียงเศรษฐกิจเหนือ–ใต้ได้ส่งผลอย่างเป็นรูปธรรมมากขึ้น หากพิจารณาจากข้อมูลเชิง สถิติการค้าชายแดนของปี 2554 พบว่า มูลค่าการค้าชายแดนกับประเทศเพื่อนบ้านใน 3 อาเภอชายแดนของ จังหวัดเชียงราย คือ อาเภอแม่สายมีมูลค่า 11,276.30 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2555 ร้อยละ 17.97 อาเภอ 5


เชียงแสน มีมูลค่า 8,987.82 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2555 ร้อยละ 21.85 และ อาเภอเชียงของ มีมูลค่า 4,477.44 ล้านบาท ลดลงจากปี 2555 ร้อยละ 6.84 (รูปที่ 5) หรือสามารถวัดเป็นสัดส่วนการค้าของแต่ละ อาเภอชายแดนได้ โดยคิดเป็นร้อยละ 33.09 ร้อยละ 34.30 และ ร้อยละ 32.61 ตามลาดับ รูปที่ 4 มูลค่าการค้าชายแดนจังหวัดเชียงราย รายด่าน (ล้านบาท) ระหว่างปี 2553-2556 12,000.00 10,000.00 8,000.00 6,000.00 4,000.00 2,000.00 -

2553

2554

2555

2556

ด่านศุลกากรแม่สาย

8,305.39

9,714.75

9,558.87

11,276.30

ด่านศุลกากรเชียงแสน

3,191.88

6,017.60

7,375.94

8,987.82

ด่านศุลกากรเชียงของ

2,768.27

3,752.15

4,806.02

4,477.44

ที่มา : สานักงานพาณิชย์จังหวัดเชียงราย, ศูนย์บริการข้อมูลการค้าการลงทุนกับประเทศเพื่อนบ้าน กรมการค้า ต่างประเทศ เป็นที่น่าสังเกตว่า มูลค่าการค้าชายแดน ณ ด่านชายแดนเชียงของ ในปี 2556 มีมูลค่าลดลงจากปี 2555 ถึง 328.58 ล้านบาท สาเหตุที่สาคัญประการหนึ่งคือ การเคลื่อนย้ายกิจกรรมทางเศรษฐกิจของพ่อค้า และผู้ส่งออกบางส่วนไปทาการค้าที่ด่านชายแดนเชียงแสนแทน เนื่องจากการเปิดใช้สะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 4 (เชียงของ – ห้วยทราย) อย่างเป็นทางการ และมีค่าใช้จา่ ยในการดาเนินการเข้าออกและการขนส่งที่ สูงขึน้ ทาให้มูลค่าการค้าของด่านศุลกากรเชียงของในปี 2556 ต่าลง ในทางตรงกันข้าม มูลค่าการค้าชายแดน ที่ผ่านด่านอาเภแเชียงแสนกลับเพิ่มสูงขึ้นจาก 7,375.94 ล้านบาท ในปี 2555 เป็น 8,987.82 ล้านบาท ในปี 2556 โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อเทียบกับปี 2553 แล้ว จะเห็นได้ว่า มูลค่าการค้าชายแดน ณ ด่านศุลกากรเชียง แสนในปี 2556 เพิ่มขึ้นจากปี 2553 เกือบ 3 เท่า ซึ่งนับว่าเป็นการเติบโตของการค้าชายแดนแบบก้าว กระโดดอย่างเห็นชัดเจน อย่างไรก็ตาม เชื่อว่า การเปิดใช้สะพานมิตรภาพไทย– สปป. ลาว แห่งที่ 4 จะทาให้ เกิดการเชื่อมต่อเส้นทาง R3A ระหว่างไทย–สปป. ลาว–จีนตอนใต้ ให้มีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น และคาดว่า ปริมาณการค้าชายแดนของจังหวัดเชียงรายกับประเทศเพื่อนบ้านจะพุ่งขึ้นอีกหลายเท่าตัว รวมทั้งการค้าผ่าน แดนไปที่ตอนใต้ของประเทศจีนก็น่าจะมีมูลค่าที่สูงขึ้นอย่างมหาศาลเช่นกัน เนื่องจากประเทศจีนตอนใต้ยังมี ความต้องการพลังงาน น้ามันเชื้อเพลิง วัตถุดิบ และเสบียงอาหารไปป้อนประชากรที่มีอยู่จานวนมากและมี 6


ความต้องการในการบริโภคในระดับสูง รวมถึงประชาชนของประเทศเมียนมาร์ และ สปป. ลาว ยังคงพึ่งพา สินค้าอุปโภคบริโภคจากไทยเป็นหลัก และนิยมสินค้าไทยเพราะถือว่าเป็นสินค้าที่มีคุณภาพ 4. การวิเคราะห์การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของจังหวัดเชียงรายโดยใช้ Solow Growth Model 4.1 การทบทวนทฤษฎีของ Solow Growth Model โมเดลการเติบโตทางเศรษฐกิจของ (Solow Growth Model) เป็นโมเดลทางเศรษฐศาสตร์ที่ใช้ อธิบายถึงปัจจัยที่มีส่วนในการพัฒนาเศรษฐกิจมวลรวมของประเทศ โดยจะแสดงให้เห็นว่าการที่ประชากรมี การออมเงินมากขึ้นจะเป็นการพัฒนาเศรษฐกิจมวลรวมได้ เพราะการเพิ่มขึ้นของการออมจะทาให้หน่วยธุรกิจ ต่างๆ มีแหล่งเงินทุนเพื่อกู้ยืมไปลงทุนมากขึ้น และการลงทุนที่มากขึ้นนั้น ก็จะไปกระตุ้นเศรษฐกิจโดยรวมให้มี การเติบโต ทั้งนี้ทั้งนั้นการที่เศรษฐกิจจะพัฒนาจากการออมเงินนั้นสามารถทาได้เพียงช่วงระยะเวลาหนึ่ง เท่านั้น เพราะมีการพิสูจน์ว่านอกจากการเพิ่มขึ้นของการออมหรือการสะสมทุนจะทาให้กระตุ้นการค้าและการ ลงทุน ซึ่งจะส่งผลให้เศรษฐกิจขยายตัวแล้ว จานวนประชากรที่เพิ่มขึ้นก็มีส่วนช่วยให้เกิดการขยายตัวทาง เศรษฐกิจด้วย กล่าวคือ เมื่อมีการสะสมทุนมาถึงระดับหนึ่งแล้ว ระบบเศรษฐกิจจะเข้าสู่ Steady State ดังนั้น จานวนประชากรที่เพิ่มขึ้นนั้น ก็จะไปสนับสนุนการสร้างผลผลิตมวลรวมของประเทศได้ และจากการวิเคราะห์ ต่อยอดจาก Solow Growth Model พบว่า ประเทศใดๆ จะพัฒนาเศรษฐกิจต่อได้ นั้น ต้องทาการพัฒนา เทคโนโลยี (Technological Progress) อย่างไรก็ตาม Solow Growth Model ได้กาหนดปัจจัยนี้ให้เป็นตัว แปรภายนอก (Exogenous Variable) หรือ ตัวแปรอิสระ สมมติแบบจาลองการผลิต Cobb-Douglas function มีผลได้ต่อขนาดคงที่ (Constant Return to scale) จากปริมาณแรงงานเป็นสัดส่วนกับทุน และ A เป็ น ปั จ จั ย ที่ ก าหนดจากภายนอกซึ่ ง คงที่ ใ นระยะสั้ น และมี ผ ลต่ อ โมเดลการเติ บ โตทางเศรษฐกิ จ ด้ ว ย หมายความว่าหากปัจจัยทุนเท่าเดิม การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีจะสามารถจะทาให้ประเทศสามารถผลิต สินค้าและบริการเพิ่มขึ้นได้ จากข้อสมมติฐานที่ว่าความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี จะคงที่ในระยะสั้น และปริมาณแรงงานก็เป็น สัดส่วนกับการลงทุน ดังนั้นโมเดลการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ Solow จึงขึ้นกับปัจจัยทุนเป็นหลัก โดยการ ลงทุนในปัจจัยทุนจะเพิ่มหรือไม่ก็ขึ้นอยู่กับว่า ประเทศนั้นมีการออมมากเพียงพอหรือไม่ ดังนั้น จึงได้ข้อสรุป จาก Solow Growth Model ว่าการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศจะขึ้นอยู่กับการออมและการ ลงทุนในปัจจัยทุนเป็นสาคัญ โดยหากประเทศมีการออมมากและมีการนาเงินออมมาใช้ในการลงทุน เช่น การ ลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจ ก็จะทาให้มีอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจสูงกว่าประเทศที่มีการ ออมและการลงทุนต่า แต่เมื่อประเทศมีการออมเงินไปจนถึงระดับหนึ่งแล้ว การเจริญเติบโตของเศรษฐกิจ จะ หยุดลง หรือเข้าสู่ Steady State กล่าวคือ การที่ประชากรออมเงินมากขึ้นจะสะท้อนถึงการนาเงินออกมาใช้ จ่ายเพื่อการอุปโภคและบริโภคน้อยลง ซึ่งจะทาให้เศรษฐกิจมวลรวมหดตัวลงตาม และหยุดการเติบโตในที่สุด โดยสรุป โมเดลการเติบโตของ Solow แสดงให้การเจริญเติบโตในทุน (Capital Stock) แรงงาน (Labour) และความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ว่าจะส่งผลอย่างไรต่อผลผลิต สมการของ Solow Growth Model จะเริ่มจากสมมติฐานที่ให้อัตราการเพิ่มขึ้นของประชากรเท่ากับ n และความต้องการผลผลิตมาจาก 7


การลงทุนและการบริโภค ดังนั้นผลผลิ ตต่อประชากร (y) จะเท่ากับการบริโภคต่อประชากร (c) บวกกับการ ลงทุนต่อประชากร (i) ดังสมการ y = c+ i (1) ตามแบบจาลองของ Solow สมการการบริโภคต่อประชากรเป็นสัดส่วนของรายได้ ซึ่งสามารถเขียนอยู่ในรูป สมการได้ดังนี้ c = (1-s)y (2) โดย s คือ อัตราการออมซึ่งมีค่าอยู่ระหว่าง 0 และ 1 เมื่อแทนสมการ 2 ในสมการ 1 จะได้ดังนี้ y = (1-s)y + i และจากสมการที่ 4 แสดงให้เห็นว่า การออมต่อประชากรจะเท่ากับการลงทุนต่อประชากร sy = i

(3)

(4)

นั่นคือ การลงทุนที่เพิ่มขึ้นจะทาให้ทุนเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ดี ทุนสามารถเสื่อมไปได้ จึงสามารถเขียนสมการการ เปลี่ยนแปลงของทุนต่อประชากร ได้ดังนี้ Δk = i – (d + n)k (5) โดย Δk คือ การเปลี่ยนแปลงของทุน d คือ อัตราค่าเสื่อมของทุน สมการที่ (5) แสดงให้เห็นถึง การเปลี่ยนแปลงของทุนต่อประชากร ซึ่งได้มาจากความแตกต่างระหว่างการ ลงทุนต่อประชากรลบด้วยการลงทุนที่ระดับ Break – Even หรือระดับการลงทุนที่ทาให้ทุนต่อประชากรมี ค่าคงที่ต่อมาแทนสมการที่ว่าด้วยการออมต่อประชากรจะเท่ากับการลงทุนต่อประชากรลงในสมการการ เปลี่ยนแปลงของทุน จะเขียนได้ดังนี้ Δk = sy – (d + n)k (6) เนื่องจากผลผลิตต่อประชากร (y) เป็นฟังก์ชั่นของทุนต่อประชากร y = f(k) (7) ดังนั้น เมื่อแทนค่าผลผลิตต่อประชากรด้วยฟังก์ชั่นของทุนต่อประชากรในสมการการเปลี่ยนแปลงของทุน จะจะได้ Δk = sf(k) – (d+n)k (8) ในสภาวะหยุดนิ่ง (Steady State) ทุนต่อประชากรจะไม่มีการเปลี่ยนแปลง และถ้าสมมติให้ทุนที่สภาวะหยุด นิ่งเท่ากับ k* ดังนั้น sf(k*) = (d+n)k* (9) 8


สมการ Steady State อธิบายได้ว่า ณ สภาวะหยุดนิ่ง การออมต่อประชากร (sf(k)) เท่ากับการลงทุน ที่ระดับ Break – Even ((n+d)k) ซึ่งสามารถเขียนภาพที่สอดคล้องกับสมการSteady State ได้ดังนี้ รูปที่ 5 ความสัมพันธ์ระหว่างการออม การลงทุน และการเติบโตทางเศรษฐกิจ

ทุนต่อประชากร ณ สภาวะหยุดนิ่ง ถูกกาหนดโดยเงื่อนไขที่การออมต่อประชากร (sf(k)) เท่ากับ การ ลงทุนต่อประชากรที่ระดับ Break – Even ((n+d) k) ในรูปที่ 5 สภาวะหยุดนิ่งคือที่จุด A ซึ่งเป็นจุดตัดของ เส้นการออมกับเส้นการลงทุนที่ระดับ Break – Even โดยมีทุนต่อประชากรที่ระดับ Break – Even อยู่ ณ k* ถ้าทุนต่อประชากรที่มีค่าน้อยกว่า k* เช่นที่จุด k1 การออมต่อประชากร (sf(k)) มากกว่า การลงทุนต่อ ประชากรที่ระดับ Break – Even ((n+d)k) เงินออมส่วนเกินจะเปลี่ยนเป็นทุน ดังนั้น ทุนต่อประชากรจะ เพิ่มขึ้น จนกระทั่งการปรับตัวเข้าสู่ k* และถ้าทุนต่อประชากรมากกว่า k* เช่นที่ k2 การออมจะน้อยกว่าการ ลงทุนที่ระดับ Break – Even ดังนั้น ทุนต่อประชากรจะต้องลดลง ผลผลิตต่อประชากรก็ลดลงด้วย เกิดการ ปรับตัวจนกลับเข้าสู่สภาวะหยุดนิ่ง (Steady State) หรือที่ k* กล่าวโดยสรุป หากไม่มีการเจริญเติบโตทางผลิตภาพการผลิต (Productivity Growth) เศรษฐกิจจะ ปรั บ ตัว เข้าสู่ ส ภาวะหยุ ดนิ่ ง ณ สภาวะหยุ ดนิ่ง ทุนต่ อประชากร ผลผลิ ตต่อประชากรและการบริโ ภคต่ อ ประชากร จะมีค่าคงที่ อย่างไรก็ตาม ทุนรวม ผลผลิตรวม และการบริโภครวมจะขยายตัวในอัตราเดียวกันกับ อัตราการเพิ่มขึ้นของประชากร (หรือเท่ากับ n) บทสรุปเช่นนี้ หมายความว่า มาตรฐานการครองชีพสุดท้าย แล้ว จะไม่มีการพัฒนา อย่างไรก็ดี ข้อสรุปนี้ อาจไม่เป็นจริง ถ้าผลิตภาพการผลิตเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง 4.2 การวิเคราะห์การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของจังหวัดเชียงราย โดยใช้ Solow Growth Model สมการการวิเคราะห์ แนวโน้มการเติบโตทางเศรษฐกิจของจังหวัดเชียงรายจาก Solow Growth Model สามารถแสดง ได้ดังนี้ สมการการเปลี่ยนแปลงของทุน: Δk = sf(k)–(d+n)k 9


สมการสภาวะหยุดนิ่ง หรือ Steady State: sf(k*)=(d+n)k* โดยที่ s = อัตราการออมของจังหวัดเชียงราย f(k) = ฟังก์ชั่นของทุนต่อประชากรของจังหวัดเชียงราย k = ทุน ต่อประชากรของจังหวัดเชียงราย d = อัตราค่าเสื่อมของสินค้าทุนของจังหวัดเชียงราย และ n = อัตราการ เติบโตของจานวนประชากรของจังหวัดเชียงราย ขั้นแรก เป็นการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างทุนต่อประชากรกับการลงทุนต่อประชากรของจังหวัด เชียงราย การศึกษานี้ มูลค่าทุนต่อประชากร แสดงด้วย สัดส่วนระหว่างมูลค่าของสินค้าทุน ในจังหวัดเชียงราย กับปริมาณของประชากรในจังหวัดเชียงราย ผลจากการคานวณสามารถแสดงได้ในตารางที่ 1 และรูปที่ 6 ตารางที่ 1 มูลค่าและอัตราการเติบโตของสินค้าทุน จานวนประชากร ระหว่างปี 2551-2555 2551 2552 2553 2554 2555 มูลค่าสินค้าทุน (K) 475,600,000 536,300,000 760,900,000 865,380,000 1,049,770,000 จานวนประชากร (p) 1,199,860 1,205,114 1,209,957 1,213,668 1,218,000 ทุนต่อประชากร (K/p) or k 396.38 445.02 628.87 713.03 861.88 อัตราค่าเสื่อมสินค้าทุน (d) 7% 7% 7% 7% 7% อัตราการเติบโตจานวนประชากร (n) 0.46% 0.44% 0.40% 0.31% 0.36% การลงทุนต่อประชากร [(d + n)k] 29.56 33.10 46.55 52.10 63.41 ที่มา : สานักงานพาณิชย์จังหวัดเชียงราย, สานักงานคลังจังหวัดเชียงราย, ธนาคารแห่งประเทศไทย สานักงานภาคเหนือ

รูปที่ 6 มูลค่าการลงทุนต่อประชากร และทุนต่อประชากรของจังหวัดเชียงราย

70.00 861.88 , 63.41

การลงทุนต่อประชากร

60.00 713.03 628.87

50.00 40.00 445.02 396.38

30.00

การลงทุนต่อประชากร [(d + n)k]

20.00 10.00 -

200.00

400.00

600.00

800.00

1,000.00

ทุนต่อประชากร

10


ต่อมาเป็นการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างทุนต่อประชากรกับการออมต่อประชากรของจังหวัดเชียงราย ทุนต่อประชากรคานวณจากสัดส่วนระหว่างมูลค่าของสินค้าทุนในจังหวัดเชียงรายกับปริมาณของประชากรใน จังหวัดเชียงรายเช่นกัน เมื่อ s(f) = K/P หรือ k ทาให้สามารถหา sf(k) ได้จากผลคูณระหว่างอัตราการออมเงิน ในจังหวัดเชียงรายกับทุนต่อประชากรในจังหวัดเชียงราย ผลการคานวณแสดงในตารางที่ 2 และรูปที่ 7 ตารางที่ 2 มูลค่าเงินฝากและผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัดเชียงราย ระหว่างปี 2551-2555 2551 2552 2553 2554 2555 เงินฝากคงคลัง (ล้านบาท) 50,615.10 58,257.50 63,143.80 66,936.27 70,154.24 ปริมาณเงินฝากต่อปี (S) (ล้านบาท) 3,885.40 7,642.40 4,886.30 3,792.47 3,217.97 Gross provincial product (Y) (ล้านบาท) 60,640.60 59,863.80 67,922.22 71,628.12 78,743.86 อัตราการออม (S/Y) or (s) 6.41% 12.77% 7.19% 5.29% 4.09% ทุนต่อประชากร (K/p) or k 396.38 445.02 628.87 713.03 861.88 การออมต่อประชากร [s*f(k)] or [s*(K/n] 25.40 56.81 45.24 37.75 35.22 ที่มา : สานักงานพาณิชย์จังหวัดเชียงราย, สานักงานคลังจังหวัดเชียงราย, ธนาคารแห่งประเทศไทย สานักงานภาคเหนือ

รูปที่ 7 ความสัมพันธ์ของการออมต่อประชากร และทุนต่อประชากร 60.00 445.02 50.00

การออมต่อประชากร

628.87 40.00

713.03

861.88 , 35.22

30.00 396.38 20.00

การออมต่อประชากร [s*f(k)] or [s*(K/n]

10.00 -

200.00

400.00

600.00

800.00

1,000.00

ทุนต่อประชากร

11


ขั้นตอนสุดท้าย แสดงการหาจุดสภาวะหยุดนิ่ง โดยใช้รูปที่ 6 และ 7 เพื่อแสดงถึงจุดที่การลงทุนต่อ ประชากร[(d+n)k*] เท่ากับการออมต่อประชากร [sf(k*)] ดังแสดงในรูปที่ 8 ชี้ให้เห็นความสัมพันธ์ของการ ลงทุนและการออมต่อประชากรกับทุนต่อประชากร รูปที่ 8 ความสัมพันธ์ของการลงทุนและการออมต่อประชากรกับทุนต่อประชากร 70.00 861.88 , 63.41 60.00

การลงทุนและการออมต่อประชากร

445.02 50.00

630.63 628.87 628.87

40.00 445.02 396.38

30.00

713.03

861.88 , 35.22

การลงทุนต่อประชากร การออมต่อประชากร

396.38 20.00

10.00

-

200.00

400.00

600.00 k*

800.00

1,000.00

ทุนต่อประชากร (k)

รูปที่ 8 แสดงความสัมพันธ์ระหว่างการลงทุนและการออมต่อประชาชน กับทุนต่อประชาชน ซึ่งจะ เห็นว่า จุดตัดระหว่างเส้นการลงทุนต่อประชากร และเส้นการออมต่อประชากร (จุดสีแดง) คือ จุดที่แสดงการ เข้าสู่สภาวะหยุดนิ่ง (Steady State) นั่นเอง โดย ณ จุดนี้ทุนต่อประชากรจะเท่ากับ k* หากวิเคราะห์ตาม ทฤษฎีของ Solow Growth Model พบว่า ถ้าทุนต่อประชากรที่มีค่าต่ากว่าจุด Steady State หรือ k* หรือ ในปี 2552 (เส้นสีเหลือง) การออมต่อประชากรมีค่ามากกว่าการลงทุนต่อประชากรที่ระดับ Break – Even กล่าวคือ ปริมาณเงินออมในจังหวัดเชียงรายมีมากกว่าเงินที่จะถูกกู้ไปลงทุน ซึ่ง เงินออมส่วนเกินจะเปลี่ยนเป็น ทุน ดังนั้น ทุนต่อประชากรจะเพิ่มขึ้น จนกระทั่งการปรับตัวเข้าสู่ k* ซึ่งการเพิ่มทุนต่อประชากรนี้ หมายถึง การเพิ่มขึ้นของมูลค่า GPP หรือการเกิดภาวะเติบโตทางเศรษฐกิจในจังหวัดเชียงรายอีกด้วย 12


ถ้าทุนต่อประชากรมากกว่า k* เช่นในปี 2555 (เส้นสีเขียว) แสดงให้เห็นว่า ปริมาณการออมต่อ ประชาชนต่ ากว่ าปริ ม าณการลงทุน ต่อ ประชาชนในจัง หวั ดเชี ยงราย อีก นั ยหนึ่ง แสดงถึ ง การใช้ทุ นของ ภาคเอกชนที่มากเกินกว่าระดับ ที่มีการออมหรือสะสมทุนไว้ ดังนั้น ทุนต่อประชากรของจังหวั ดเชียงรายก็ จะต้องลดลง ซึ่งส่งผลกระทบให้มลู ค่า GPP หรือ ผลผลิตต่อประชากรก็ลดลงด้วยเช่นกัน ซึ่งตามทฤษฎีแล้วจะ เกิดการปรับตัวจนกลับเข้าสู่สภาวะหยุดนิ่ง (Steady State) หรือที่ k* อีกครั้ง กล่าวคือในปีถัดไป การออมต่อ ประชากรจะเพิ่ มระดับ สู งขึ้น จะกระทั่ง กลั บมามี ปริมาณที่มากกว่ าการลงทุนต่อ ประชากรอีกครั้ งและจะ ก่อให้เกิดการเพิ่มของทุนต่อประชากรที่สะท้อนให้เห็นถึงการขยายตัวของ GPP และการเกิดภาวะเติบโตของ เศรษฐกิจของจังหวัดเชียงรายอีกครั้ง ดังแสดงในรูปที่ 9 รูปที่ 9 ความสัมพันธ์ระหว่างทุนต่อประชากรและผลิตภัณฑ์มวลรวมของจังหวัดเชียงราย 90,000,000,000 80,000,000,000

861.88

70,000,000,000 445.02

60,000,000,000 GPP (Y)

628.87

713.03

396.38

50,000,000,000 40,000,000,000 30,000,000,000

ความสัมพันธ์ระหว่างทุนต่อประชากร กับGPPของจังหวัดเชียงราย

20,000,000,000 10,000,000,000

-

200.00

400.00

600.00

800.00

1,000.00

ทุนต่อประชากร (k)

รูปที่ 9 แสดงให้เห็นถึง ความสัมพันธ์ในเชิงบวกหรือความสัมพันธ์ที่ไปในทิศทางเดียวกันระหว่างทุน ต่อประชากร กับ GPP ของจังหวัดเชียงราย อีกนัยหนึ่ง เมื่อจังหวัดเชียงรายมีการสะสมทุนจากการออมมาก ขึ้นจะทาให้มีทุนต่อประชากรมากขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้เอกชนมีเงินทุนไปลงทุนในธุรกิจต่างๆ อันจะก่อให้เกิดการ จ้างงานและการขยายตัวทางเศรษฐกิจของจังหวัดเชียงราย และเป็นการเพิ่ม GPP ของจังหวัดนั่นเอง มีเพียง ในปี 2552 เท่านั้นที่เมื่อมีทุนต่อประชากรเพิ่มขึ้นแล้ว GPP กลับลดลง อาจเป็นเพราะในปีก่อนหน้านั้น เศรษฐกิจของเชียงรายได้รับผลกระทบมาจากการที่เศรษฐกิจของไทยหดตัว จากการเกิดวิกฤติสินเชื่อซับไพร์ม ในประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งส่งผลต่อเนื่องทาให้ GPP ของจังหวัดเชียงรายหดตัวเช่นกัน

13


เอกสารอ้างอิง สานั กงานเศรษฐกิจ การคลั งจังหวัดเชีย งราย. (2556). รายงานสภาวะเศรษฐกิจการคลั งจังหวัดเชียงราย ประจาปี 2547-2556. สานักงานพาณิชย์จังหวัดเชียงราย. (2556). วารสารข่าวพาณิชย์จังหวัดเชียงรายประจาปี 2547-2556.

สานักงานเศรษฐกิจชายแดนและโลจิสติกส์ (Office of Border Economy and Logistics: OBELS) มีหน้าที่ ดาเนินงานด้านการรวบรวมข้อมูลและวิจัยทางด้านเศรษฐกิจการค้าชายแดนและโลจิสติกส์ เพื่อนาไปสู่การยกระดับ องค์ความรู้ที่เป็นฐานสาคัญของประเทศไทย ซึ่งส่งผลต่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และการสร้างความสามารถใน การแข่งขันของประเทศและยกระดับคุณภาพชีวิตในสังคม Office of Border Economy and Logistics (OBELS), Mae Fah Luang University, 333 Moo 1, Tasud, Muang, Chiang Rai, Thailand. Tel. 6653916680 Email: obels.mfu@gmail.com.

14


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.