Workingpaper mar2014 4

Page 1

OBELS WORKING PAPER NO.4

MARCH 2014

การติดตามสถานการณ์การลงทุนของจังหวัดเชียงรายในระยะ 5 ปีที่ผ่านมา สิทธิชาติ สมตา ณัฐพรพรรณ อุตมา การลงทุนในจังหวัดเชียงรายจากอดีตจนถึงปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงไปค่อนข้างมาก ในอดีตประชาชน จังหวัดเชียงรายมีอาชีพเกษตรกรรมเป็นหลัก ต่อมาเมื่อมีการใช้นโยบายเปลี่ ยนสนามรบให้เป็นสนามการค้าในปี 2532 ทาให้จังหวัดเชียงรายได้รับความสนใจจากนักลงทุนทั้งในและต่างประเทศ เนื่องมาจากจังหวัดเชียงรายมี พื้นที่ชายแดนติดกับสาธารณรัฐแห่งสหภาพพม่าและสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ซึ่งมีพื้นที่ติดกับ ชายแดนเพื่อนบ้านทั้งหมด 3 อาเภอ ได้แก่ อาเภอแม่สาย อาเภอเชียงแสน และอาเภอเชียงของ ผลจากนโยบาย ดังกล่าวทาให้เกิดประตูเศรษฐกิจ (Gateway) ของประเทศไทยกับประเทศเพื่อนบ้านขึ้น ส่งผลให้เกิดมูลค่าทาง เศรษฐกิจบริเวณชายแดนและเป็นการสร้างมูลค่าเศรษฐกิจให้แก่จังหวัดเชียงรายด้วยเช่นกัน และที่สาคัญ รัฐบาลมี มติเห็นชอบให้อาเภอเชียงของจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษที่มีการส่งเสริมการลงทุนไม่ว่าจะเป็นการส่งเสริมในด้าน ของสิทธิประโยชน์ทางภาษี สิทธิประโยชน์ที่มิใช่ภาษี และมาตรการการลงทุนต่างๆ ขึ้น จึงทาให้เชียงของเป็นพื้นที่ ที่มีความน่าสนใจในการลงทุน เมื่อเกิดการค้าชายแดนสิ่งที่ตามมาก็คือ การนาเข้า -ส่งออกสินค้าระหว่างประเทศ ถือว่าเป็นสิ่งที่สาคัญต่อระบบเศรษฐกิจเป็นอย่างมาก ปัจจุบันจังหวัดเชียงรายได้มีการเปิดใช้สะพานมิตรภาพไทยลาวแห่งที่ 4 ซึ่งถือว่าเป็นยุทธศาสตร์สาคัญ กับการลงทุน เนื่องจากสะพานแห่งนี้มีการเชื่อมต่อกันกับเส้นทางสาย R3A ซึ่งเส้นทางนี้เชื่อมจากประเทศไทย (อาเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย) เข้าบ้านห้วยทราย แขวงบ่อแก้ว (สปป. ลาว) เข้าสู่สิบสองปันนา เชียงรุ่ง คุนหมิง (ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน) มีระยะเวลาในการเดินทางระหว่าง 3 ประเทศในเวลาที่รวดเร็ว และมีผลดีต่อการประกอบธุรกิจทางด้านขนส่งสินค้าและการท่องเที่ยวระหว่างประเทศที่ สมบูรณ์แบบที่สุดเส้นทางหนึ่ง รวมทั้งการเชื่อมต่อประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN) กรอบความร่วมมือ ระเบียงเศรษฐกิจอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้าโขง (GMS) และความร่วมมือหลากหลายสาขาทางวิชาการและเศรษฐกิจ (BIMSTEC) เข้าด้วยกัน จึงถือว่าเส้นทางดังกล่าวเป็นเส้นทางเศรษฐกิจสายสาคัญอย่างแท้จริง และทาให้จังหวัด เชียงรายสามารถดึงดูดเม็ดเงินจากข้างนอกให้เข้ามาลงทุนในจังหวัดได้เป็นอย่างมาก จากความพร้อมในเรื่องของ ยุทธศาสตร์เชิงภูมิศาสตร์ โครงสร้างพื้นฐาน และระบบสาธารณูปโภคที่อานวยความสะดวกในการรองรับการ ลงทุน จึงทาให้เกิดการลงทุนในเรื่องอุตสาหกรรมการเกษตรครบวงจร อุตสาหกรรมทั่วไป การขนส่ง และภาค บริ การการท่องเที่ย ว อีกทั้งจั งหวัดเชีย งรายมีบทบาทในการพัฒ นาเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดนและการเป็น ศูนย์กลางการค้าชายแดนของประเทศไทยด้วย สถานการณ์การลงทุนในระยะ 5 ปีที่ผ่านมา โครงสร้างทางเศรษฐกิจที่สาคัญของจังหวัดเชียงรายประกอบด้วยภาคการเกษตร อุตสาหกรรม และภาค บริการเป็นหลัก ประชาชนในจังหวัดเชียงรายประกอบอาชีพด้านการเกษตรค่อนข้างมากและเป็นฐานเศรษฐกิจ ของประเทศ รองลงมาคือภาคอุตสาหกรรม ซึ่งมีอัตราการเติบโตของการลงทุนค่อนข้างสูง ทั้งการลงทุนจากใน ประเทศและต่างประเทศ เพราะจังหวัดเชียงรายได้มีการขยายตัวทางการค้าชายแดนระหว่างประเทศเพื่อนบ้าน ไม่ ว่าจะเป็นการค้าชายแดนบริเวณอาเภอแม่สาย เชียงแสน และเชียงของ จึงทาให้นักลงทุนมีความสนใจเข้ามาลงทุน ในจังหวัดเชียงราย ไม่ว่าจะเป็นอุตสาหกรรมในภาคการเกษตร การขนส่งสินค้า คลังสินค้า และภาคบริการ ซึ่งเป็น การติดตามสถานการณ์การลงถุนของจังหวัดเชียงรายในระยะ 5 ปีถ่ผ ี ่านมา

หน้า 1


OBELS WORKING PAPER NO.4

MARCH 2014

สิ่งที่ทาให้จังหวัดเชียงรายมีการเติบโตทางเศรษฐกิจขึ้นเรื่อยๆ สามารถพิจารณาได้จากผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัด เชียงราย (Gross provincial product : GPP) โดยเฉพาะในปี 2556 โครงสร้างเศรษฐกิจของจังหวัดมีมูลค่า GPP เท่ากับ 81,263 ล้านบาท อัตราผลิตภัณฑ์มวลรวมเฉลี่ยร้อยละ 3.26 จากการเติบโตของเศรษฐกิจของจังหวัด เชียงรายเมื่อพิจารณาจากมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมในแต่ละปี แม้ว่าในปี 2552 การเติบโตของเศรษฐกิจได้มีการ หยุดซะงักลงหรือมีมูลค่า GPP ที่ลดลง ในอัตราผลิตภัณฑ์มวลรวมเฉลี่ยร้อยละ -1.28 โดยมีสาเหตุมาจาก (1) การ เกิดวิกฤติเศรษฐกิจโลกที่มีผลกระทบต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศไทย (2) ความไม่มีเสถียรภาพทาง การเมืองทีส่ ่งผลให้เศรษฐกิจไทยมีความผันผวน และกระทบต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุน (3) ราคาน้ามันเชื้อเพลิง ที่ปรับราคาสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องทาให้ประชาชนต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและระมัดระวังการใช้จ่าย และ (4) การ แทรกแซงตลาดทางการเกษตรจากภาครั ฐ ในการออกมาตรการรับประกั นราคาหรือ การรับ จาน าสิ นค้า ทาง การเกษตร ได้แก่ ข้าว ข้าวโพด ชา กาแฟ และมันสาปะหลัง เป็นต้น รูปที่ 1 ผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัดเชียงรายในปี 2547 – 2556 90,000 80,000

67,922

70,000 ล้านบาท

60,000 50,000 40,000

39,317

45,230

47,222

2548

2549

60,641

59,864

2551

2552

78,700

81,263

2555

2556

71,628

52,366

30,000 20,000 10,000 0 2547

2550

2553

2554

ที่มา : จากการคานวณ, สานักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (2556)

การเติบโตของมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัดเชียงรายที่เพิ่มขึ้น มักมาพร้อมกับการลงทุนอย่างมหาศาล ในจังหวัดเชียงราย และคาดว่าในปี 2557 มูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมของจังหวัดเชียงรายจะมีมูลค่าที่เพิ่มขึ้นอีกมาก เนื่องจากจังหวัดเชียงรายได้มีการเปิดใช้สะพานมิตรภาพไทย – ลาว แห่งที่ 4 จึงทาให้มีการขยายการลงทุนเป็น จานวนมากในจังหวัดเชียงราย ไม่ว่าจะเป็นในด้านของการขนส่งและโลจิสติกส์ ภาคบริการการท่องเที่ยว การ กระจายสินค้า และภาคอุตสาหกรรม ตารางที่ 1 ชี้ให้เห็นว่า เมื่อผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัดเชียงรายมีการเติบโต มากขึ้นเรื่อยๆ สิ่งที่ตามมาก็คือมูลค่าการลงทุนที่เพิ่มมากขึ้น ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งที่ทาให้ผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัด เชียงรายเพิ่มขึ้นเช่นเดียวกัน ตั้งแต่ปี 2551 – 2555 มูลค่าการลงทุนเพิ่มในมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในปี 2555 มูลค่าการลงทุนมีการก้าวกระโดดจากในปี 2554 มีมูลค่าการลงทุนเปลี่ยนแปลงจาก 765 ล้านบาท เป็น 1,049 ล้านบาท ในปี 2555 และคาดว่าในปี 2556 – 2557 จะมีการมูลค่าการลงทุนที่เพิ่มมากขึ้น เนื่องจากว่าจังหวัด การติดตามสถานการณ์การลงถุนของจังหวัดเชียงรายในระยะ 5 ปีถ่ผ ี ่านมา

หน้า 2


OBELS WORKING PAPER NO.4

MARCH 2014

เชียงรายได้มียุทธศาสตร์ในการรองรับการลงทุนทั้งในและต่างประเทศ อีกทั้งการค้าชายแดนในช่วงนี้ได้รับความ สนใจจากนักลงทุนเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะในอาเภอเชียงของได้มีการจัดตั้งเศรษฐกิจพิเศษ ตารางที่ 1 มูลค่าการลงทุนในจังหวัดเชียงรายในปี 2551 – 2555 1,200

1,049.77

1,000

ล้านบาท

800 600

475.60

760.90

765.38

2553

2554

536.30

400 200 0 2551

2552

2555

ที่มา : ธนาคารแห่งประเทศไทย สานักงานภาคเหนือ

หากนามูลค่าการลงทุนมาเปรียบเทียบกับผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัดเชียงรายในช่วงของปี 2552 – 2554 (รูปที่ 2) พบว่า การลงทุนในจังหวัดเชียงรายมีการเคลื่อนไหวที่สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของสภาวะเศรษฐกิจ โดยรวม ในปี 2552 เส้นกราฟมีค่าเป็นลบ เนื่องจากสภาวะเศรษฐกิจซบเซา เศรษฐกิจหดตัว ผลิตภัณฑ์มวลรวม ลดลง ทาให้เกิดการว่างงานของประชากร ขณะที่ในปี 2553 เส้นกราฟมีค่าเป็นบวก แสดงถึงสภาวะเศรษฐกิจเริ่ม ฟื้นตัวดีขึ้นส่งผลให้ในปี 2554 มีอัตราการเติบโตที่มากขึ้นไปด้วย โดยสรุป กราฟความสัมพันธ์ระหว่างการเติบโต ของการลงทุนและการเติบโตของ GPP ส่วนมากจะออกมาให้รูปแบบการเคลื่อนไหวขึ้นลงตามสภาวะเศรษฐกิจทั้ง ในและต่างประเทศ คาดว่าในปี 2555 – 2556 กราฟเส้นนี้สามารถที่จะเพิ่มสูงขึ้นได้อีก เนื่องจากในปี 2555 มี มูลค่าการลงทุนสูงถึง 1,049 ล้านบาท เลยทีเดียว ประกอบกับมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมในปี 2556 ก็มีมูลค่ามาก ขึ้นด้วยเช่นกัน ดังนั้นคาดว่าในช่วงของปี 2556 – 2557 ความสัมพันธ์ดังกล่าวจะยังคงเพิ่มขึ้นอีกตามสภาวะ เศรษฐกิจที่มีแนวโน้มดีขึ้นเรื่อยๆ จังหวัดเชียงรายจึงเป็นแหล่งที่เหมาะกับการลงทุนและการเป็นศูนย์กลางการค้า ชายแดนของประเทศเป็นอย่างมาก

การติดตามสถานการณ์การลงถุนของจังหวัดเชียงรายในระยะ 5 ปีถ่ผ ี ่านมา

หน้า 3


OBELS WORKING PAPER NO.4

MARCH 2014

รูปที่ 2 การเปรียบเทียบมูลค่าการลงทุนกับผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัดเชียงราย ในปี 2552 - 2554 อัตราการขยายตัวของมูลค่าการลงทุน

25% 2552

20% 2554 15% 10% 5%

2553

0% -150% -100% -50% 0% 50% 100% 150% 200% 250% 300% 350% อัตราการขยายตัวของ GPP เชียงราย

ที่มา : จากการคานวณ, ธนาคารแห่งประเทศไทย สานักงานภาคเหนือ

อย่างไรก็ตาม หากพิจารณาแนวโน้นการลงทุนจากการเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวมรายสาขาการผลิต ของจังหวัดเชียงราย (ตารางที่ 2) พบว่า มูลค่าการผลิตการลงทุนในจังหวัดเชียงรายในภาคของการเกษตรระหว่าง ปี 2547 – 2552 ได้มีการผันผวนอย่างมาก ขณะที่การเติบโตทางการผลิตการลงทุนในปี 2553 และ ปี 2554 มี อัตราการเติบโตเฉลี่ยที่ใกล้เคียงกัน เมื่ อนามาเปรียบเทียบกับการเติบโตของมูลค่า การผลิตการลงทุนนอกภาค การเกษตร จะเห็นได้ว่านอกภาคการเกษตรมีการเติบโตที่รวดเร็วหลังจากปี 2550 เป็นต้นมา และเป็นการเติบโตที่ สูงกว่าในภาคการเกษตร ส่วนใหญ่เป็นการเติบโตในภาคการขนส่ง ภาคอุตสาหกรรม ภาคบริการการท่องเที่ยว การค้าปลีกค้าส่ง และสถาบันทางการเงิน นอกจากนี้ รูปที่ 3 แสดงการเปรียบเทียบอัตราการเติบโตของผลิตภัณฑ์ มวลรวมจั งหวัดเชีย งราย ในภาคการเกษตรและนอกภาคการเกษตร จะเห็ นได้ว่าผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัด เชียงรายนอกภาคการเกษตรมีการเติบโตมากกว่าภาคการเกษตร แต่เนื่องจากการขาดข้อ มูลเชิงสถิติ ทาให้ไม่ สามารถวิเคราะห์ความสัมพันธ์ร ะหว่างมูล ค่าการลงทุนว่ามีความสอดคล้องการการเติบโตผลิตภัณฑ์มวลรวม จังหวัดเชีย งรายหรื อไม่ หากพิจ ารณาความสั มพันธ์ระหว่างแนวโน้มการลงทุน นอกภาคการเกษตรกับ มูล ค่า ผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัดเชียงราย (รูปที่ 4) พบว่า ในปี 2554 มูลค่าการลงทุนลดลงถึงร้อยละ 98 (เมื่อเทียบกับปี 2552 กับ 2553 ที่มีมูลค่าการลงทุนร้อยละ 257 และ 270 ตามลาดับ) ขณะที่มูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมนอกภาค การเกษตรในปี 2554 กลั บมีมูล ค่า ที่สูงขึ้น อาจเป็นไปได้ว่าประสิทธิผลจากการลงทุน ในปีนั้นๆ อาจจะแสดง ผลตอบแทนในปีถัดๆ ไป แต่การวิเคราะห์ดังกล่าวยังขาดข้อมูลเชิงลึก ทาให้ไม่สามารถทราบได้ว่า การเติบโตของ ภาคนอกการเกษตรนั้นเป็นการเติบโตของสาขาการผลิตสาขาใดและมูลค่าการลงทุนนั้นได้ลงทุนสาขาใดมากที่สุด

การติดตามสถานการณ์การลงถุนของจังหวัดเชียงรายในระยะ 5 ปีถ่ผ ี ่านมา

หน้า 4


OBELS WORKING PAPER NO.4

MARCH 2014

ตารางที่ 1 ผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัดเชียงราย แยกตามรายปีและสาขาการผลิต พ.ศ. 2546 – 2554 สาขาการผลิต ภาคเกษตร สาขาเกษตรกรรม การล่าสัตว์ และการป่าไม้ สาขาประมง ภาคนอกเกษตร สาขาเหมืองแร่และเหมืองหิน สาขาอุตสาหกรรม สาขาไฟฟ้า แก๊ส และการประปา สาขาก่อสร้าง สาขาการขายส่ง การขายปลีก การซ่อมแซมยานยนต์ฯ สาขาโรงแรมและภัตตาคาร สาขาการขนส่ง สถานที่เก็บสินค้าและการคมนาคม สาขาตัวกลางทางการเงิน สาขาบริการด้านอสังหาริมทรัพย์ฯ สาขาการบริหารราชการและการป้องกันประเทศฯ สาขาการศึกษา สาขาการบริการด้านสุขภาพและสังคม สาขาการให้บริการด้านชุมชน สังคมฯ สาขาลูกจ้างในครัวเรือนส่วนบุคคล Gross Provincial Product (GPP)

2546 9,390 8,977 413 25,940 149 1,898 618 1,908 4,817 1,022 2,006 1,810 3,165 3,577 3,124 1,054 511 280 35,330

2547 10,815 10,326 489 28,540 158 2,194 722 1,612 5,135 1,105 2,627 2,030 3,285 3,912 3,659 1,257 649 196 39,355

2548 14,396 13,642 753 30,957 202 1,826 726 2,016 5,697 1,140 2,419 2,326 3,548 4,425 4,221 1,372 725 318 45,356

ราคาประจาปี (ล้านบาท) 2549 2550 2551 14,182 16,101 21,563 13,343 15,231 21,039 840 871 524 33,151 36,317 39,222 265 305 283 2,251 3,185 4,568 725 716 715 2,138 2,506 2,757 5,804 6,515 7,457 1,413 1,859 1,930 2,589 2,642 2,693 2,792 3,113 3,260 3,959 3,962 3,349 4,065 3,858 3,516 4,625 5,214 5,712 1,516 1,589 1,807 719 714 779 287 135 389 47,330 52,414 60,779

ที่มา : สานักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

การติดตามสถานการณ์การลงถุนของจังหวัดเชียงรายในระยะ 5 ปีถ่ผ ี ่านมา

หน้า 5

2552 18,360 17,604 756 41,620 413 4,866 927 2,806 8,247 1,652 2,757 3,484 3,590 3,635 6,059 2,142 860 291 60,089

2553 25,164 24,400 765 44,380 440 5,297 969 1,989 9,403 1,687 2,917 3,878 3,801 4,303 6,537 2,244 780 359 69,772

2554 24,989 24,887 763 47,761 553 5,360 1,027 2,372 9,660 2,016 2,985 4,179 4,240 4,813 7,420 2,408 880 352 73,915


OBELS WORKING PAPER NO.4

MARCH 2014

รูปที่ 3 การเปรียบเทียบอัตราการเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัดเชียงรายในปี 2547- 2554 30%

25% 20% 15%

10% 5% 0%

2547 ภาคเกษตร 11.09% ภาคนอกเกษตร 8.29%

2548 0.96% 7.89%

2549 12.18% 2.87%

2550 7.74% 1.98%

2551 17.37% 4.90%

2552 26.00% 12.36%

2553 16.49% 2.44%

2554 16.47% 21.57%

ที่มา : สานักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

รูปที่ 4 ผลิตภัณฑ์มวลรวมนอกภาคการเกษตรกับมูลค่าการลงทุนในปี 2552 – 2554 300% 200% 100% 0% -100%

270.02%

257.06% 12.35%

2.45%

21.57%

2552

2553

2554 -98.01%

ภาคนอกเกษตร มูลค่าสินค้าทุน (K)

-200%

ที่มา : จากการคานวณ, ธนาคารแห่งประเทศไทย สานักงานภาคเหนือ

ภาคอุตสาหกรรม การลงทุนในภาคอุตสาหกรรมในจังหวัดเชียงรายส่วนใหญ่มาจากอุตสาหกรรมการเกษตร การแปรรูปอาหาร และ อุตสาหกรรมหนักอย่างโลหะ กึ่งโลหะ เป็นต้น โดยอุตสาหกรรมการเกษตรมี มูลค่าการลงทุนสูงที่สุด รองลงมาคือ อุตสาหกรรมการแปรรูป และอุตสาหกรรมหนัก เนื่องจากจังหวัดเชียงรายเป็นจังหวัดที่มีการเกษตรเป็นสาคัญ ดังนั้นผลผลิตทางสินค้าการเกษตรจึงมีปริมาณและมูลค่ามาก รูปที่ 5 แสดงให้เห็นว่า ในปี 2553 เชียงรายมีมูลค่า การผลิตในภาคอุตสาหกรรมลดลงเมื่อเทียบกับปี 2552 เนื่องจากผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจที่ตกต่า ทาให้นัก ลงทุนไม่มั่นใจในการลงทุน อย่างไรก็ตาม ในปี 2554 มีมูลค่าการลงทุนเพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากสภาวะเศรษฐกิจเริ่มดี ขึ้น ทาให้นักลงทุนมีความเชื่อมั่นมากขึ้นด้วย พร้อมทั้งเศรษฐกิจการค้าชายแดนเริ่มมีการตื่นตัวมากขึ้น จึงสามารถ ดึงดูดนักลงทุนเข้ามาลงทุนได้เป็นอย่างมาก และคาดว่าในปีต่อๆไป การลงทุนจะเพิ่มขึ้นมากขึ้นอีกด้วย รูปที่ 5 ผลิตภัณฑ์มวลรวมสาขาอุตสาหกรรมกับมูลค่าการลงทุนของจังหวัดเชียงรายในปี 2552 – 25554 การติดตามสถานการณ์การลงถุนของจังหวัดเชียงรายในระยะ 5 ปีถ่ผ ี ่านมา

หน้า 6


OBELS WORKING PAPER NO.4

300%

MARCH 2014

257.06%

270.02%

200% 100% 0% -100%

5.50%

-7.17%

2552

2553

สาขาอุตสาหกรรม

39.85%

มูลค่าสินค้าทุน (K) 2554

-98.01%

-200%

ที่มา : จากการคานวณ, ธนาคารแห่งประเทศไทย สานักงานภาคเหนือ

ภาคค้าปลีกค้าส่ง การค้าปลีกค้าส่งเป็นธุรกิจอีกหนึ่งประเภทที่น่าสนใจเป็นอย่างมากในการลงทุน เนื่องจากจังหวัดเชียงราย มีการเติบโตทางเศรษฐกิจค่อนข้างสูง เมื่อเศรษฐกิจเติบโตมาก ประชาชนมีรายได้มากขึ้น มีอานาจในการซื้อมาก ขึ้น ความต้องการซื้อก็มากขึ้นด้วยเช่นกัน นอกจากนี้ การค้าปลีกค้าส่งยังสามารถสร้างอาชีพใหม่ๆ ให้เกิดขึ้นแก่ คนที่ยังไม่ประกอบอาชีพ จึงไม่น่าแปลกใจมากนักกับการเติบโตของการค้าปลีกค้าส่งเมื่อเทียบกับมูลค่าการลงทุน รูปที่ 6 แสดงให้เห็นว่า มูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมของการค้าปลีกค้าส่งในปี 2554 มีการเติบโตมากอยู่ที่ร้อยละ 59 ซึ่งเพิ่มขึ้นจากปี 2552 และ ปี 2553 และคาดว่าในปี 2555 – 2557 การค้าปลีกค้าส่งจะมีมูลค่ามากขึ้นด้วย เนื่องจากการขยายตัวของประชากรและการเคลื่อนย้ายประชากรเข้ามาในจังหวัดเชียงราย ที่มีทั้งผู้บริโภคคนไทย และผู้บริโภคชาวต่างชาติและแรงงานต่างด้าวจานวนมาก ดังนั้นการค้าปลีกค้าส่งจึงเป็น ธุรกิจที่น่าสนใจในการเข้า มาลงทุนในจังหวัดเชียงราย รูปที่ 6 ผลิตภัณฑ์มวลรวมสาขาการค้าปลีกค้าส่งกับมูลค่าการลงทุนของจังหวัดเชียงรายในปี 2552 – 25554 300%

257.06%

270.02%

200% 100%

19.34%

4.38%

2552

2553

0% -100%

59.92%

สาขาการขายส่ง การขายปลีก การ ซ่อมแซมยานยนต์ฯ

มูลค่าสินค้าทุน (K) 2554 -98.01%

-200%

ที่มา : จากการคานวณ, ธนาคารแห่งประเทศไทย สานักงานภาคเหนือ

การขนส่งและโลจิสติกส์ จากความได้เปรียบของจังหวัดเชียงรายที่มีพื้นที่ติดกับประเทศเพื่อนบ้าน และมีเส้นทางการค้าที่สาคัญ สาหรับการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศไทยบ้าน ไม่ว่าจะเป็นเส้นทางบกตามถนนสาย R3A ที่เชื่อมต่อประเทศลาว เข้าสู่ตอนใต้ของประเทศจีน และ ถนนสาย R3B ที่เชื่อมต่อประเทศพม่าเข้าสู่ตอนใต้ของประเทศจีน และเส้นทาง การติดตามสถานการณ์การลงถุนของจังหวัดเชียงรายในระยะ 5 ปีถ่ผ ี ่านมา

หน้า 7


OBELS WORKING PAPER NO.4

MARCH 2014

น้าที่เชื่อมต่อประเทศไทยและประเทศจีนตอนใต้โดยตรง จึงทาให้กิจกรรมการขนส่งและกิจกรรมอื่นๆที่เกี่ยวข้อง ในจังหวัดเชียงรายมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น นอกจากนี้จังหวัดเชียงรายได้มีการกาหนดยุทธศาสตร์ภายใต้แผนพัฒนา เขตเศรษฐกิจพิเศษเชียงราย โดยให้อาเภอเชียงของเป็นศูนย์กลางเมืองโลจิสติกส์และการบริการขนส่ง (Logistics City) ภาคการขนส่งและโลจิสติกส์ ของจังหวัดเชียงรายจึงมีแนวโน้มการเติบโตที่มากขึ้น ในปี 2554 มีอัตราการ เติบโตร้อยละ 47 เพิ่มขึ้นจากปี 2553 ที่มีการเติบโตร้อยละ 12 (รูปที่ 7) จะเห็นได้ว่าภาคการขนส่งและโลจิสติกส์ ของเชียงรายอยู่ในช่วงการลงทุนแบบก้าวกระโดด และคาดว่าในปีต่อๆไป มูลค่าการลงทุนในภาคของการขนส่ง และโลจิสติกส์จะยิ่งมีมูลค่าที่เพิ่มมากขึ้นไปพร้อมกับการเติบโตทางเศรษฐกิจของจังหวัดเชียงราย รูปที่ 7 ผลิตภัณฑ์มวลรวมสาขาขนส่งกับมูลค่าการลงทุนของจังหวัดเชียงรายในปี 2552 – 25554 300%

257.06%

270.02%

200% 100% 0% -100%

16.47%

12.91%

2552

2553

47.72%

สาขาการขนส่ง สถานที่เก็บสินค้าและ การคมนาคม มูลค่าสินค้าทุน (K)

2554 -98.01%

-200%

ที่มา : จากการคานวณ, ธนาคารแห่งประเทศไทย สานักงานภาคเหนือ

สถาบันทางการเงิน ระยะที่ผ่านมา จังหวัดเชียงรายมีมูลค่าของการลงทุนจากในประเทศและต่างประเทศเป็นจานวนมาก สิ่งที่ ตามมาพร้อมการลงทุนคือความพร้อมให้บริการของสถาบันทางการเงิน เนื่องจากกิจกรรมการลงทุนและกิจกรรม ทางการเงินเป็นกิจกรรมที่มักจะเกิดขึ้นพร้อมๆกัน ไม่ว่าจะเป็นโอนเงินระหว่างประเทศ การฝาก/ถอนเงิน และการ กู้ยืมเงิน ซึ่งเป็นสิ่งสาคัญเป็นอย่างมากสาหรับการลงทุนในจังหวัดที่มีการพัฒนาเศรษฐกิจที่เติบโตอย่างรวดเร็ว เช่นจังหวัดเชียงราย จากรูปที่ 8 จะเห็นได้ว่า ในปี 2553 มีมูลค่าผลิตภัณฑ์รวมสาขาการเงินมีอัตราการเติบโตร้อย ละ 13 เมื่อเปรียบเทียบกับมูลค่าการลงทุนในปีดังกล่าวที่มอี ัตราการเติบโตร้อยละ 270.02 แม้ว่าในปี 2554 มูลค่า ผลิตภัณฑ์รวมสาขาการเงินและมูลค่าการลงทุน มีการเติบโตที่ลดลงก็ตาม แต่คาดว่าในปีต่อๆไป สถาบันทางการ เงินจะมีการเติบโตมากขึ้น เพื่อรองรับการลงทุนจากชาวต่างชาติเนื่องจากการเติบโตทางเศรษฐกิจจังหวัดเชียงราย แม้ว่าโครงสร้างทางเศรษฐกิจของจังหวัดเชียงรายที่กาลังเติบโตนั้น จะเป็นตัวชี้วัดที่สาคัญที่ใช้ในการ ตัดสินใจในการลงทุนของนักลงทุนทั้งในประเทศและต่างประเทศ แต่อาจไม่เพียงพอต่อการตัดสินใจในการลงทุน อย่างแท้จริง การเข้ามาลงทุนในจังหวัดเชียงรายสิ่งที่สาคัญที่ควรคานึงถึ งด้วย คือ การศึกษาความเป็นมาของการ เติบโตในแต่ละสาขาการผลิตในจังหวัดเชียงรายว่าได้มีการเติบโตอย่างไรบ้าง และการลงทุน ควรจะเป็นไปใน ทิศทางใด จากสถิติมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัดเชียงรายจาแนกตามสาขาการผลิต (ตารางที่ 2) แสดงให้เห็นว่า

การติดตามสถานการณ์การลงถุนของจังหวัดเชียงรายในระยะ 5 ปีถ่ผ ี ่านมา

หน้า 8


OBELS WORKING PAPER NO.4

MARCH 2014

รูปที่ 8 ผลิตภัณฑ์มวลรวมสาขาการเงินกับมูลค่าการลงทุนของจังหวัดเชียงรายในปี 2552 – 2554 300%

257.06%

270.02%

200% 100% 0%

-100%

สาขาตัวกลางทางการเงิน 4.48%

13.41%

2552

2553

10.34%

มูลค่าสินค้าทุน (K)

2554 -98.01%

-200%

ที่มา : จากการคานวณ, ธนาคารแห่งประเทศไทย สานักงานภาคเหนือ

ภาคการเกษตรมีการเติบโตเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ โดยในปี 2554 มีมูลค่า 25,436 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 36 และนอกเหนือจากภาคการเกษตร มีมูลค่า 44,471 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 63 ซึ่งมีมูลค่าเพิ่มขึ้นจากปี 2553 ภาคการเกษตร มีมูลค่า 21,893 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 37 และภาคนอกการเกษตร มีมูลค่า 36,582 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 62 จากมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัดเชียงรายจาแนกตามสาขาการผลิตนั้น ที่มีมูลค่าเพิ่มมากขึ้น ในภาคการเกษตรนั้น ถือได้ว่าเป็นภาคการลงทุนที่น่าสนใจ เนื่องจากว่าจังหวัดเชียงรายผลผลิตทางการเกษตร ค่อนข้างมาก หากเลือกที่จะลงทุนภาคการเกษตรถือว่าเป็นภาคการลงทุนที่น่าสนใจ อย่างไรก็ตามเพียงมูลค่าไม่ สามารถที่ทาให้เกิดความเชื่อมั่นได้เสมอไป ดังนั้นสิ่งที่ จะทาให้ความเชื่อมั่นแก่นักลงทุนที่จะเข้าลงทุนในจังหวัด เชียงราย ได้แก่ สัดส่วนของผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัดเชียงรายจาแนกตามสาขาการผลิต และการเติบโตของ ผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัดเชียงรายจาแนกตามสาขาการผลิต ในภาคการเกษตร อุตสาหกรรม การบริการ และ การค้าปลีกค้าส่ง ดังนี้ 1. ภาคการเกษตร การผลิตภาคการเกษตรของจังหวัดเชียงราย ประกอบด้วย 2 ประเภท ได้แก่ (1) การเกษตรกรรม การล่า สัตว์ และป่าไม้ และ (2) การประมง โดยผลผลิตของสาขาเกษตรกรรม นี้ มีมูลค่าการเติบโตที่มากขึ้นตามลาดับ (ตารางที่ 3) เนื่ อ งจากจั งหวัด เชี ย งรายเป็ น จัง หวั ด เกษตรกรรมมีป ระชากรและเนื้อ ที่ใ นการประกอบอาชี พ ค่อนข้างมาก จึงไม่น่าแปลกใจมากนักกับการเพิ่มขึ้นของการเติบโตทางการเกษตรของจังหวัด ผลผลิตสินค้าเกษตร ที่สาคัญของจังหวัดเชียงราย ได้แก่ ข้าว ข้าวโพด มันสาปะหลัง ชา กาแฟ ลาไย ลิ้นจี่ ถั่วเหลือง ยางพารา ฯลฯ สามารถสร้างรายได้ให้แก่จังหวัดจานวนมาก หากต้องการเพิ่มการลงทุนในจังหวัดเชียงรายนี้ ภาคการเกษตรหรือ อุตสาหกรรมการเกษตรเป็นภาคการลงทุนที่น่าสนใจมากกับประเทศที่มีการเกษตรกรรมเป็นพื้นฐานหลัก

การติดตามสถานการณ์การลงถุนของจังหวัดเชียงรายในระยะ 5 ปีถ่ผ ี ่านมา

หน้า 9


OBELS WORKING PAPER NO.4

MARCH 2014

รูปที่ 9 อัตราการเติบโตของภาคการเกษตรในปี 2546 – 2554 60% 40% 20% 0% -20%

2547

2548

2549

2550

2551

2552

2553

2554

-40% -60% %YoYภาคเกษตร

%YoYสาขาเกษตรกรรมฯ

%YoYสาขาประมง

ที่มา : สานักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

2. การค้าปลีกค้าส่ง ปัจจุบัน การค้าปลีกค้าส่งถือว่าเป็นธุรกิจ ที่ให้บริการเพื่อกระจายสินค้าให้ถึงมือผู้บริโภคทั่วประเทศ และ เป็นธุรกิจที่สาคัญกับการเติบโตทางเศรษฐกิจ อีกด้วย จังหวัดเชียงรายมีการเติบโตของธุรกิจ การค้าปลีกค้าส่ง ที่ เพิ่มขึ้น ในปี 2553 มีการเติบโตร้อยละ 7 และเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 9 ในปี 2554 (รูปที่ 10) ธุรกิจการค้าปลีกค้าส่ง ในจังหวัดที่เพิ่มขึ้นนี้เป็นผลมาจากการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของจังหวัด และเพื่อตอบสนองความต้องการ บริโภคของประชากรในจังหวัด ปัจจุบันธุรกิจการค้าปลีกค้าส่งมี รูปแบบที่ทันสมัยมากขึ้น อาทิ ห้างสรรพสินค้า ศูนย์การค้าหรือธุรกิจข้ามชาติที่เข้ามาลงทุนรูปแบบต่างกัน ไม่ว่าจะเป็นดิสเคาวท์สโตร์ ซูเปอร์มาเก็ต ร้านคอนวี เนียนสโตร์ที่เปิดตลอด 24 ชั่วโมง ซึง่ ต่างจากเดิมทีธ่ ุรกิจค้าปลีกเป็นธุรกิจที่มขี นาดเล็ก ได้แก่ หาบเร่แผงลอย หรือ ร้านขายของชาที่เรียกว่า โชวห่วย อย่างไรก็ตามการเติบโตของการค้าปลีก/ค้าส่ง ยังสามารถสร้างอาชีพใหม่ให้กับ ประชากรในพื้นที่มากขึ้น กระจายโอกาสการบริโภคให้เท่าเทียมกันระหว่างผู้ที่ อาศัยอยู่ในเมืองและชนบท และ ช่วยส่งเสริมเศรษฐกิจและการดึงดูดให้เข้ามาลงทุนในภาคการค้าปลีกค้าส่งอีกด้วย รูปที่ 10 อัตราการเติบโตของภาคการค้าปลีกค้าส่งในปี 2546 – 2554 16% 14% 12% 10% 8% 6% 4% 2% 0% 2547

2548

2549

2550

2551

2552

2553

2554

ที่มา : สานักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ การติดตามสถานการณ์การลงถุนของจังหวัดเชียงรายในระยะ 5 ปีถ่ผ ี ่านมา

หน้า 10


OBELS WORKING PAPER NO.4

MARCH 2014

3. ภาคการบริการ จังหวัดเชียงรายตั้งอยู่เหนือสุดของประเทศไทยแนวชายแดนติ ดต่อกับประเทศเพื่อนบ้าน ปัจจุบันจังหวัด เชีย งรายเป็ น เมืองศูน ย์ กลางเศรษฐกิจ การค้าและการท่องเที่ยว และได้มีการปรับปรุงเส้ นทางคมนาคมจาก เชียงรายสู่ประเทศเพื่อนบ้าน ทั้งทางบก ทางเรือ และทางอากาศ ทาให้ เกิดการสร้างรายได้แก่จังหวัดเชียงราย จากการเข้ามาของนักท่องเที่ยวและนักลงทุน และการพัฒนาเศรษฐกิจที่เติบโตขึ้นตามลาดับ (ตารางที่ 5) และเป็น ภาคเศรษฐกิจหนึ่งทีม่ ีความน่าสนใจที่จะลงทุนเป็นอย่างมาก ตารางที่ 4 อัตราการเติบโตของภาคการบริการ สาขาการผลิต สาขาโรงแรมและภัตตาคาร สาขาการขนส่ง สถานที่เก็บ สินค้าและการคมนาคม สาขาตัวกลางทางการเงิน สาขาบริการด้าน อสังหาริมทรัพย์ฯ สาขาการบริหารราชการและ การป้องกันประเทศฯ สาขาการศึกษา สาขาการบริการด้านสุขภาพ และสังคม สาขาการให้บริการด้านชุมชน สังคมฯ สาขาลูกจ้างในครัวเรือนส่วน บุคคล

2547 8.11%

2548 2549 2550 3.12% 23.98% 31.55%

2551 2552 3.81% -14.41%

2553 2554 2.15% 19.46%

2.07%

1.92%

2.35%

5.83%

2.32%

12.14% 14.59% 20.04% 11.48%

4.72%

6.87% 11.32%

7.76%

30.91% -7.90%

3.81%

7.02%

7.99% 11.60%

0.08% -15.46%

7.18%

-5.09%

-8.87%

3.38% 18.40% 11.84%

9.57% 12.72%

9.56%

6.07%

9.36% 13.12% -8.14% 17.11% 15.37% 19.26%

9.14% 10.53%

4.80%

26.95% 11.69% -0.76%

-0.69%

13.73% 18.55%

5.88% 11.55%

7.89% 13.51% 4.76%

7.30%

9.12% 10.34% -9.29% 12.85%

-30.08% 62.39% -9.96% -52.99% 188.89% -25.14% 23.25% -1.98% ที่มา : สานักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

สาขาโรงแรมและภัตตาคารมีอัตราการเติบโตของมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมสูงขึ้นมาตามลาดับนับแต่ปี 2546 โดยในปี 2553 มีมูลค่า 606 ล้านบาท หรือมีอัตราเติบโตร้อยละ 1.04 ขณะที่ในปี 2554 มีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้น เป็น 829 ล้านบาท อัตราการเติบโตร้อยละ 1.19 เนื่องจากจังหวัดเชียงรายเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ได้รับความนิยม ตลอดทั้งฤดูกาล ไม่ว่าจะเป็นการท่องเที่ยวในรูปแบบการชื่นชมและสัมผัสภูเขา ศิลปวัฒนธรรมล้านนา อาหาร การเป็นอยู่ วิถีชีวิตที่เรียบง่าย จึงสามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวทั้งในและต่างประเทศได้เป็นอย่างดี สาขาการขนส่ง สถานที่เก็บสินค้า และการคมนาคม มีการเติบโตของมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมที่ค่อนข้าง ผันผวนไปตามภาวะเศรษฐกิจ เมื่อเศรษฐกิจซบเซาการบริโภคอุปโภคลดน้อยลง จึงเป็นผลให้มูลค่าการเติบโตมีการ ผันผวนในช่วงปี 2549 – 2552 แต่อย่างไรก็ตามในปี 2553 – 2554 มีอัตราการเติบโตเริ่มสูงขึ้น โดยในปี 2553 มีมูลค่า 2,283 ล้านบาท เติบโตร้อยละ 3.91 และในปี 2554 มีมูลค่า 3,372 ล้านบาท เติบโตร้อยละ 4.89 การติดตามสถานการณ์การลงถุนของจังหวัดเชียงรายในระยะ 5 ปีถ่ผ ี ่านมา

หน้า 11


OBELS WORKING PAPER NO.4

MARCH 2014

เนื่องจากการค้าชายแดนเริ่มมีความสนใจมากขึ้นจากนักลงทุน พร้อมทั้งในปัจจุบันจังหวัดเชียงรายได้มียุทธศาสตร์ การค้าชายแดนใหม่เกิดขึ้นจากการเปิดใช้สะพานมิตรภาพไทย – ลาว แห่งที่ 4 จึงจะมีการขนส่งสินค้าระหว่าง ประเทศที่รวดเร็ว สะดวกมากยิ่งขึ้น อาจกล่าวได้ว่าสาขาการขนส่ง สถานที่เก็บสินค้า และการคมนาคม ที่ภาค ธุรกิจทีน่ ่าลงทุนอย่างมาก โดยเฉพาะธุรกิจโลจิสติกส์ คลังสินค้า และกระจายสินค้า สาขาบริการอสังหาริมทรัพย์ เป็นสาขาหนึ่งที่น่าสนใจในการลงทุนเป็นอย่างมากในจังหวัดเชียงราย โดยใน ปี 2553 มีมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวม 5,916 ล้านบาท หรือมีอัตราการเติบโตร้อยละ 10.13 และมีมูลค่าผลิตภัณฑ์ มวลรวมเพิ่มเป็น 7,291 ล้านบาท หรือเติบโตร้อยละ 10.43 ในปี 2554 สืบเนื่องจากการเติบโตทางเศรษฐกิจของ จังหวัดเชียงรายอย่างต่อเนื่อง ทาให้เกิด การเคลื่อนย้ายคนจากพื้นที่อื่นๆเข้ามาในจังหวัดเชียงราย เมื่อจานวน ประชากรมากขึ้น พื้นที่ที่อยู่อาศัยก็ต้องมีการขยายเพื่อรับรองการเติบโตของเมือง ดังนั้นจะเห็นได้ทั่วไปในเมืองที่มี ความเจริ ญทางเศรษฐกิจ การคือ การซื้อขายที่ดิน การก่อสร้างอาคาร เช่น คอนโดมิเนียม บ้านจัดสรร และ ทาวน์เฮาส์ เป็นต้น 4. ภาคอุตสาหกรรม ในปี 2555 จังหวัดเชียงราย มีโรงงานที่ขึ้นทะเบียนกับสานักงานอุตสาหกรรมจังหวัดเชียงราย รวมทั้งสิ้น 940 โรงงาน เงินลงทุนรวม 12,106 ล้านบาท มีแรงงานทั้งหมด 14,771 คน (รูปที่ 11) แรงงานทั้งหมดส่วนใหญ่ จะถูกจ้างแรงงานในภาคอุตสาหกรรมการเกษตร รองลงมาคือ อุตสาหกรรมอโลหะ และอุตสาหกรรมอาหาร แต่ อย่างไรก็ตามการเติบโตของอุตสาหกรรมเหล่านี้จะยังไม่หยุดนิ่ง โอกาสของการเข้ามาลงทุนในด้านอุตสาหกรรมยัง มีอยู่มาก การเติบโตทางเศรษฐกิจของจังหวัดเชียงรายและการมียุทธศาสตร์พัฒนาพื้นที่ของจังหวัดเชียงรายที่ติด กับประเทศเพื่อนบ้านจะช่วยดึงดูดการเข้ามาของเม็ดเงินในภาคอุตสาหกรรม รูปที่ 11 สถิติจานวนโรงงานในจังหวัดเชียงรายในปี 2552 – 2555 25% 20% 15%

จานวนโรงงาน (แห่ง)

10%

เงินลงทุน (ล้านบาท)

แรงงาน (คน)

5% 0% 2553

2554

2555

ที่มา : สานักงานอุตสาหกรรมจังหวัดเชียงราย

แนวโน้มการลงทุนในจังหวัดเชียงราย การลงทุนในจังหวัดเชียงรายมักมีการเปลี่ยนแปลงไปตามสภาพทางเศรษฐกิจของประเทศและของโลก โดยมีปัจจัยสาคัญๆที่มากาหนดแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงการลงทุนดังนี้ การติดตามสถานการณ์การลงถุนของจังหวัดเชียงรายในระยะ 5 ปีถ่ผ ี ่านมา

หน้า 12


OBELS WORKING PAPER NO.4

MARCH 2014

1. ผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัดเชียงราย (Gross provincial product : GPP) โดยทั่วไป มูลค่าและอัตราการเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวมมักถูกใช้เป็นดัชนีชี้วัดและคาดการณ์แนวโน้ม การลงทุน หากผลิตภัณฑ์มวลรวมของจั งหวัดเชียงรายมีแนวโน้มเพิ่มสู งขึ้น ก็สามารถคาดการณ์เบื้องต้นได้ว่า แนวโน้มการลงทุนก็จะมีมูลค่าสูงขึ้นเช่นเดียวกัน จากการคานวณทางสถิติ พบว่า อัตราเติบโตเฉลี่ยสะสมต่อปีของ ผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัดเชียงรายในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา (GPP Compound Growth Rate :10 years Change) มีค่าเฉลี่ยเท่ากับร้อยละ 7.53 (โดยทั่วไปอัตราเติบโตเฉลี่ยสะสมต่อปีส่วนมากจะมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 0 – 3) ซึ่ง เป็นดัชนีชี้วัดการเติบโตทางเศรษฐกิจของจังหวัดเชียงรายที่ผ่านมามีการเปลี่ยนแปลงมากน้อยเพียงใดแล้ว และยัง ทาให้เห็นว่า ถึงแม้จังหวัดเชียงรายจะได้รับผลกระทบจากการผันผวนทางเศรษฐกิจ แต่การเติบโตยังไม่หยุดนิ่ง จึง เป็นตัวชี้วัดความเชื่อมั่นที่ดีให้แก่นักลงทุนในการเข้ามาลงทุน รูปที่ 9 อัตราการเติบโตเฉลี่ยผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัดเชียงรายในปี 2547 - 2556 18% 16%

15.80%

15.04%

14%

13.46%

12%

11.34%

10%

10.89%

9.87%

8% 6%

5.46%

4.40%

4%

3.26%

2% 0% -2%

2547

2548

2549

2550

-1.28% 2551 2552

2553

2554

2555

2556

-4%

ที่มา : จากการคานวณ, สานักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

เมื่อปลายปี 2552 สภาวะเศรษฐกิจโลกเริ่มดีขึ้น พร้อมทั้งนักลงทุนมีความเชื่อมั่นการลงทุนในประเทศ ไทยจึงทาให้ในปี 2553 มูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัดกระโดดขึ้นมากกว่าในปี 2552 คิดเป็นร้อยละ 13.46 และ แม้ว่าในปี 2556 อัตราเฉลี่ยผลิตภัณฑ์มวลรวมมีอัตราที่น้อยลง แต่ก็ลดลงเพียงร้อยละ 3.26 ในขณะที่ผลิตภัณฑ์ มวลรวมกลับมีมูลค่าที่เพิ่มขึ้น (รูปที่ 9) อย่างไรก็ตามในปี 2557 คาดว่าปริมาณการลงทุนในจังหวัดเชียงรายจะมี มูลค่าที่เพิ่มมากขึ้น เนื่องจากการเปิดใช้สะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 4 พร้อมทั้งการได้รับอนุมัติโครงการจัดตั้ง เขตเศรษฐกิจพิเศษเชียงของ ซึ่งทาให้การค้าชายแดนมีความคึกคักและดึงดูดนักลงทุนเข้ามาในจังหวัดเชียงรายไม่ ว่าจะเป็นในภาคการเกษตร อุตสาหกรรม การขนส่ง การกระจายสินค้า และภาคบริการการท่องเที่ยว

การติดตามสถานการณ์การลงถุนของจังหวัดเชียงรายในระยะ 5 ปีถ่ผ ี ่านมา

หน้า 13


OBELS WORKING PAPER NO.4

MARCH 2014

2. รายได้ต่อหัวของประชากร จากรูปที่ 10 แสดงให้เห็นถึง รายได้เฉลี่ยต่อหัว (per capita GPP) ของประชากรจังหวัดเชียงรายที่มีเพิ่ม สูงขึ้น เมื่อมีการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ของจังหวัดเชียงรายที่เพิ่มขึ้น ส่งผลให้ ประชากรมีความกินดีอยู่ดีเพิ่ม มากขึ้นด้วย ในปี 2556 รายได้เฉลี่ยต่อหัว เท่ากับ 63,338 บาท ซึ่งมีรายได้ต่อหัวที่เพิ่มขึ้นจากปี 2547 อย่างมาก แม้ว่า ในปี 2552 อัตรารายได้เฉลี่ยต่อหัวของคนเชียงรายลดลงเหลือเพียง 49,675 บาทเนื่องจากสภาวะเศรษฐกิจ มีการชะลอตัว รูปที่ 10 รายได้เฉลี่ยต่อหัวของประชาชนในจังหวัดเชียงรายในปี 2547 - 2556 70,000 60,000

บาทต่อเดือน

50,000 40,000

33,341

38,200

39,717

2548

2549

56,136

50,540

49,675

2551

2552

59,018

64,614

63,338

2555

2556

43,842

30,000 20,000 10,000 0 2547

2550

2553

2554

ที่มา : จากการคานวณ, สานักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

รูปที่ 11 การเปรียบเทียบมูลค่าการลงทุนของประชากรและรายได้ต่อหัวของประชากรในจังหวัดเชียงราย 50%

41.31%

36.67%

40% 30% 20% 10%

รายได้ต่อหัว 12.27%

8.69%

1.32%

8.59%

10.97%

ทุนต่อประชากร

0.28%

0% 2552

2553

2554

2555

ที่มา : ธนาคารแห่งประเทศไทย สานักงานภาคเหนือ, ธนาคารออมสิน

นอกจากนี้ รูปที่ 11 แสดงให้เห็นว่า รายได้ต่อหัวของประชากรนั้นมี ความสัมพันธ์ไปในทิศทางเดียวกับ การเติบโตของมูลค่าการลงทุนต่อประชากร ในปี 2554 มูลค่าการลงทุนต่อประชากรมีสัดส่วนที่ลดลงจากปีที่ผ่าน มา ส่งผลให้รายได้ต่อหัวมีสัดส่วนที่ลดลงเช่นเดียวกัน ต่อมาปี 2555 มูลค่าการลงทุนต่อประชากรมีสัดส่วนที่เพิ่ม การติดตามสถานการณ์การลงถุนของจังหวัดเชียงรายในระยะ 5 ปีถ่ผ ี ่านมา

หน้า 14


OBELS WORKING PAPER NO.4

MARCH 2014

สูงขึ้นร้อยละ 36 รายได้ต่อหัวของจังหวัดเชียงรายก็มีสัดส่วนที่เพิ่มขึ้นเช่นเดียวกัน คาดว่าในปี 2556 – 2557 รายได้ต่อหัว ของจั งหวัดเชีย งรายจะมีแนวโน้มเพิ่ม ขึ้นตามแนวโน้มการเพิ่มขึ้นของมูล ค่าการลงทุน ในจังหวัด เชียงราย 3. จานวนประชากร แม้ว่าภาวะเศรษฐกิจของประเทศจะมีความผันผวนในช่วงของปี 2552 แต่การลงทุนในจังหวัดเชียงรายก็ ยังคงมีอย่างต่อเนื่อง ปัจจัยสาคัญประการหนึ่งที่ทาให้เกิดการลงทุนนั้น ได้แก่ คุณภาพและจานวนของประชากรใน จังหวัดเชียงราย จากรูปที่ 12 จะเห็นได้ว่า ประชากรในจังหวัดเชียงรายมีอัตราที่เพิ่มสูงมากขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะ ในปี 2555 – 2556 เป็นช่วงระยะเวลาที่เศรษฐกิจของจังหวัดเชียงรายกาลังเติบโตขึ้นเรื่อยๆ จากการค้าชายแดน ระหว่างประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งอาจเป็นสาเหตุให้มีแรงงานจากต่างถิ่นหลั่งไหลเข้ามาทางานในจังหวัดเชียงราย และ คาดว่าในปี 2557 จานวนประชากรที่จะเข้ามาในจังหวัดเชียงรายจะเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ เพื่อตอบสนองความ ต้องการทางเศรษฐกิจ ที่มีการเติบ โตอย่ างไม่จากัดในพื้นที่ จานวนประชากรถือได้ว่าเป็นฐานสาคัญต่อระบบ เศรษฐกิจเป็นอย่างมากในการพัฒนาทิศทางของเศรษฐกิจ เมื่อจานวนประชากรมากขึ้นจานวนแรงงานก็เพิ่มมาก ขึ้นด้วยเช่นเดียวกัน และประชากรที่เข้ามาสู่จังหวัดเชียงรายทั้งคนในพื้นที่และนอกพื้นที่นั้นล้วนมีประสิทธิภาพที่ จะขับเคลื่อนเศรษฐกิจของจังหวัดให้ก้าวหน้าไปข้างหน้า นอกจากนี้ทางจังหวัดเชียงรายได้มี แผนการส่งเสริมการ พัฒนาศักยภาพมนุษย์ คาดว่าแรงงานที่เข้าสู่ อุตสาหกรรมใดๆ จะเป็นแรงงานที่มีคุณภาพและสามารถพัฒนา อุตสาหกรรมของนักลงทุนและเศรษฐกิจของจังหวัดเชียงรายได้อย่างเข้มแข็ง จังหวัดเชียงรายจึงถือได้ว่าเป็นพื้นที่ที่ น่าสนใจเป็นอย่างมากในการเข้าไปลงทุน เนื่องจากความได้เปรียบยุทธศาสตร์เชิงพื้นที่ เชิงทรัพยากรการผลิต และ การมีบทบาทในการพัฒนาเศรษฐกิจของจังหวัดเชียงรายเพื่อให้เป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจชายแดน อาจกล่าวได้ ว่าจังหวัดเชียงรายมีความพร้อมเป็นอย่างมากสาหรับรองรับการเข้ามาลงทุนทั้งในและต่างประเทศ

คน

รูปที่ 12 จานวนประชากรในจังหวัดเชียงรายในปี 2547 – 2556 1,300 1,280 1,260 1,240 1,220 1,200 1,180 1,160 1,140 1,120

1,283

1,179

1,184

1,189

1,194

1,200

2547

2548

2549

2550

2551

1,205

1,210

1,214

1,218

2552

2553

2554

2555

2556

ที่มา : สานักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

การติดตามสถานการณ์การลงถุนของจังหวัดเชียงรายในระยะ 5 ปีถ่ผ ี ่านมา

หน้า 15


OBELS WORKING PAPER NO.4

MARCH 2014

4. จานวนการจ้างงาน/แรงงานข้ามถิ่น จังหวัดเชียงรายเป็นจังหวัดชายแดนที่ติดกับประเทศเพื่อนบ้าน จึงทาให้มีแรงงานจากประเทศเพื่อนบ้ าน เข้ามาทางานจานวนมาก ส่วนใหญ่เป็นแรงงานจากประเทศพม่า และประเทศลาว การเข้ามาของแรงงานเหล่านี้ อาจมีสาเหตุจาก (1) อัตราค่าจ้างแรงงานต่างด้าวที่ต่ากว่าอัตราค่าจ้างแรงงานไทย ทาให้โรงงานอุตสาหกรรมส่วน ใหญ่นิยมจ้างแรงงานต่างด้าวเข้ามาทางาน และ (2) ภาวะการขาดแคลนแรงงานในประเทศ เนื่องจากคนไทยมี การศึกษาที่เพิ่มสูงมากขึ้น จึงมีโอกาสเลือกงานมากขึ้น แต่ในปัจจุบันแรงงานที่มีการศึกษาที่สูงขึ้น กลับ ไม่มีโอกาส ในการเลือกงานมากนัก จึงทาให้ภาวะการตกงานของแรงงานที่มีทักษะเป็นจานวนมากของประชากรคนไทยที่จบ การศึกษาใหม่ๆ อย่างไรก็ต ามจานวนการจ้างงานในจังหวัดเชียงรายที่เพิ่มมากขึ้น สามารถรองรับประชากรที่ เพิ่มขึ้นด้วยเช่นเดียวกันจากการที่มีการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรมที่เพิ่มมากขึ้นจากการเติบโตทางเศรษฐกิจ ดังนั้นแรงงานจึงไม่ใช่อุปสรรคของการเข้ามาลงทุนของนักลงทุนทั้งจากในประเทศและต่างประเทศ 5. การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน โครงสร้างพื้นฐานของจังหวัดเชียงรายมีความพร้อมเป็นอย่างมากในการรองรับการลงทุน ไม่ว่าเป็นในเรื่อง ของการคมนาคม สาธารณูปโภค การสื่อสาร ฯลฯ โดยในเรื่องของการคมนาคม ทางจังหวัดเชียงรายได้มีเส้นทาง ทางบกทีม่ ีการขยายถนนจาก 2 เลน ให้เป็น 4 เลน เพื่อรองรับการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ ทางอากาศนั้น จะ เห็นได้ว่าเชียงรายเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ได้รับความนิยมจึงได้มีสายการบินหลายบริษัทที่มีต้นทาง – ปลายทางที่ จังหวัดเชียงราย เป็นอีกช่องทางในคมนาคม และสุดท้ายทางเรือ โดยที่จังหวัดเชียงรายมีแม่น้าโขงไหล่ ผ่านจึงทาให้ เกิดการค้าชายแดนตามลาน้าโขง ไม่เพียงแต่มีผลประโยชน์ทางการค้าเท่านั้นยังเชื่อมโยงไปถึงภาคบริการการ ท่องเที่ยว ด้านสาธารณูปโภคได้มีการพัฒนาไปพร้อมๆกับการพัฒนาเมืองเชียงรายและอุตสาหกรรม เช่นเดียวกับ ด้านการสื่อสารที่ถือได้ว่าเป็นด้านที่สาคัญเป็นอย่ างมากในการดาเนินธุรกิจระหว่างประเทศจากการเข้ามาของ ธุรกิจข่ายเครือสื่อสาร ดังนั้นในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของจังหวัดเชียงรายจึงมีความพร้อมสาหรับการลงทุน เป็นอย่างมาก 6. โครงการจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษ จังหวัดเชียงรายมีพื้นที่ติดชายแดนที่ภาครัฐได้มีมติเห็นชอบการจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษเชียงราย ณ อาเภอแม่สาย เชียงแสน และเชียงของ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง อาเภอเชียงของที่มี ความได้เปรียบด้านทาเลที่ตั้งซึ่งอยู่ ใกล้กับเส้นทาง R3A ที่สามารถเชื่อมต่อ ไปยัง สปป.ลาว และจีน ส่งผลให้เชียงของมีศักยภาพในการพัฒนาเป็น เขตนิคมอุตสาหกรรมเกษตรครบวงจร และเขตอุตสาหกรรมทั่วไป โดยเชียงของถูกกาหนดให้จัดตั้ง “เขตเศรษฐกิจ พิเศษเชียงของ” ขึ้นที่ตาบลศรีดอนชัย และตาบลสถาน อาเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย บนพื้นที่ 16,000 ไร่ ทั้งนี้เขตเศรษฐกิจพิเศษเชียงของจะเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษทีพ่ ัฒนาสู่การเป็นประตูเศรษฐกิจตอนบนของไทย 7. นโยบายส่งเสริมการลงทุน และนโยบายอื่นๆที่เกี่ยวข้อง ปัจจุบัน จังหวัดเชียงรายได้มีนโยบายส่งเสริมการลงทุนและนโยบายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องที่สามารถดึงดูดนัก ลงทุนจากในประเทศและต่างประเทศ นโยบายเหล่านี้จะให้สิทธิพิเศษต่างๆ แก่นักลงทุน อาทิ สิทธิประโยชน์ทาง ภาษีและที่ไม่ใช่ภาษีเพื่อการค้าการลงทุน ปรับปรุงกฎหมายเพิ่มสิทธิพิเศษ การลดภาษีวัตถุดิบนาเข้า ลดภาษีบารุง การติดตามสถานการณ์การลงถุนของจังหวัดเชียงรายในระยะ 5 ปีถ่ผ ี ่านมา

หน้า 16


OBELS WORKING PAPER NO.4

MARCH 2014

ท้องที่ ภาษีโรงเรือน ภาษีที่ดิน ภาษีเงินได้ การยกเว้นค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิ มาตรการการให้บริการ แบบ One Stop Service แก่แรงงานต่างด้าว การอานวยความสะดวกทางการขนส่งว่าด้วยการขนส่งข้ามพรหม แดนในอนุภาคลุ่มแม่น้าโขง (CBTA : GMS Cross- Border Transport Agreement) การทาธุรกรรมเงินตรา ต่างประเทศ และ GMS Business Card ให้กับนักธุรกิจ ใช้ควบคู่กับ Passport และ Border Pass อย่างไรก็ตาม การดาเนินการตามนโยบายดังกล่าวยังไม่เรียบร้อย และยังมีนโยบายอื่นๆ โดยเฉพาะนโยบายชายแดนร่วมที่ควรจะ เกิดขึ้น หากสิ่งต่างๆเหล่านี้ได้ดาเนินการแล้วเสร็จ คาดว่าการลงทุนในจังหวัดเชียงราย เฉพาะอาเภอเชียงของจะมี แนวโน้มการเติบโตที่เพิ่มสูงขึ้น 8. ความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ ประเทศไทยได้มีกรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาคหลากหลายกรอบความร่วมมือ กรอบความ ร่วมมือที่สาคัญๆที่จังหวัดเชียงรายสามารถนามาใช้ในการสร้างความได้เปรียบในพื้นที่ ได้แก่ กรอบความร่วมมือ ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN) กรอบความร่วมมือระเบียงเศรษฐกิจอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้าโขง (GMS) และ ข้อตกลงความร่วมมือระหว่างประเทศลุ่มแม่น้าอิระวะดี-เจ้าพระยา-แม่โขง (ACMECS) โดยทางจังหวัดเชียงรายได้ มีการกาหนดยุทธศาสตร์ของจังหวัด ในการพัฒนาเศรษฐกิจในกรอบความร่วมมือดังกล่าวนี้ ในเรื่องของการเป็น ศูนย์ทางการค้า การลงทุน การท่องเที่ยว โลจิสติกส์ เชื่อมโยงระหว่างกลุ่มจังหวัด กลุ่มประเทศในอนุภูมิภาคลุ่ม แม่น้าโขง และกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียน ไม่เพียงเท่านี้จังหวัดเชียงรายได้มีรูปแบบในการพัฒนาการเชื่อมโยง หลายจุด (Multi – Modal) การพัฒนาชุดเชื่อมต่อชายแดน และศูนย์เปลี่ยนถ่ายรูปแบบการขนส่งสิ นค้าอีกด้วย ซึ่งน่าจะเป็นความได้เปรียบของจังหวัดเชียงรายที่นากรอบความร่วมมือเหล่านี้ มาใช้ในการส่งเสริมการลงทุนใน จังหวัด โดยเฉพาะในพื้นที่ชายแดนของจังหวัดเชียงราย จากการศึกษาสถานการณ์การลงทุนในระยะเวลา 5 – 10 ปีที่ผ่านมา เห็นได้ว่าจังหวัดเชียงรายได้มีการ เปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคมอย่างมาก การเติบโตทางเศรษฐกิจที่รวดเร็วและเข็มแข็งทาให้จังหวัดเชียงราย เป็นเมืองที่น่าสนใจในการเข้าไปลงทุน ประกอบกับการมีแผนยุทธศาสตร์จังหวัดเชียงราย การส่งเสริมการลงทุน และความได้เปรีย บเทียบทางพื้น ที่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งพื้นที่ชายแดนอาเภอเชียงของที่ได้รับอนุมัติจัดตั้งนิคม อุตสาหกรรมเชีย งของและได้รั บ ความเห็ น ชอบจัดตั้งเขตเศรษฐกิ จพิเศษ อาเภอเชียงของ โดย อุ ตสาหกรรม เป้าหมายที่น่าสนใจในการลงทุนในเขตเศรษฐกิจพิเศษเชียงของ ได้แก่ เกษตรแปรรูป สิ่งทอ โลจิสติกส์ (การขนส่ง คลังสินค้า คลังน้ามัน และตลาดกลาง) อุปกรณ์ไฟฟ้า และผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น เอกสารอ้างอิง ธนาคารเพื่อการส่งออกและนาเข้าแห่งประเทศไทย, ส่วนเศรษฐกิจต่างประเทศ ฝ่ายวิชาการ. (2551) เชียงของ บ่อแก้ว อีกหนึ่งเมืองคู่แฝดเชื่อมไทย-สปป.ลาว ตอนบน สานักงานคลังจังหวัดเชียงราย. (2555) รายงานประมาณการเศรษฐกิจจังหวัดเชียงราย ปี 2555 สานักงานจังหวัดเชียงราย. แผนพัฒนาจังหวัดเชียงรายประจาปี พ.ศ. 2553 – 2556 สานักงานจังหวัดเชียงราย. ยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดเชียงรายประจาปี พ.ศ.2557 - 2560

การติดตามสถานการณ์การลงถุนของจังหวัดเชียงรายในระยะ 5 ปีถ่ผ ี ่านมา

หน้า 17


OBELS WORKING PAPER NO.4

MARCH 2014

สานักงานเศรษฐกิจชายแดนและโลจิสติกส์ (Office of Border Economy and Logistics: OBELS) มีหน้าที่ ดาเนินงานด้านการรวบรวมข้อมูลและวิจัยทางด้านเศรษฐกิจการค้าชายแดนและโลจิสติกส์ เพื่อนาไปสู่การยกระดับ องค์ความรู้ที่เป็นฐานสาคัญของประเทศไทย ซึ่งส่งผลต่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และการสร้างความสามารถใน การแข่งขันของประเทศและยกระดับคุณภาพชีวิตในสังคม

Office of Border Economy and Logistics (OBELS), Mae Fah Luang University, 333 Moo 1, Tasud, Muang, Chiang Rai, Thailand. Tel. 6653916680 Email: obels.mfu@gmail.com.

การติดตามสถานการณ์การลงถุนของจังหวัดเชียงรายในระยะ 5 ปีถ่ผ ี ่านมา

หน้า 18


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.