Workingpaper sep2014 6

Page 1

OBELS WORKING PAPER NO.6

SEPTEMBER 2014

สภาวะการลงทุนในจังหวัดเชียงราย พรพินันท์ ยี่รงค์, สิทธิชาติ สมตา, ณัฐพรพรรณ อุตมา จังหวัดเชียงรายเป็นจังหวัดหนึ่งในภาคเหนือตอนบนที่มีศักยภาพในการลงทุน และการค้าสูง ไม่ว่าจะ เป็นในด้านเกษตร อุตสาหกรรม การท่องเที่ยว และอสังหาริมทรัพย์ เนื่องจากจังหวัดเชียงรายมีพื้นที่ชายแดน ที่ติดกับประเทศเพื่อนบ้านอย่าง สปป.ลาว และ เมียนม่าร์ คือ อาเภอเชียงแสน อาเภอเชียงของ และอาเภอ แม่สาย รวมทั้งยังมีการคมนาคมระหว่างประเทศ ผ่านทางลาน้าโขง และเส้นทาง R3A ที่สามารถเชื่อมต่อไปยัง ประเทศจีนตอนใต้ได้อย่างสะดวก ทั้งนี้ ทาให้จังหวัดเชียงรายเป็นที่สนใจจึงดึงดูดนักลงทุน และเม็ดเงินจานวน มาก จึงส่งผลให้ เศรษฐกิจในจังหวัด เชียงรายมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยจากข้อมูล สถิติของส านักงาน พาณิชย์จังหวัดเชียงราย ชี้ให้เห็นว่าผลิตภัณฑ์มวลรวมของจังหวัดเชียงรายตั้งแต่ปี 2546 ถึงปี 2556 มีอัตรา การเติบโตเฉลี่ยสะสม 10 ปีอยู่ที่ร้อยละ 9 โดยในปี 2546 มีผลิตภัณฑ์มวลรวมของจังหวัดอยู่ที่ 34,072 ล้าน บาท และมีการเพิ่มขึ้นมาอย่างต่อเนื่องจนอยู่ที่ 81,263 ล้านบาท ในปี 2556 ซึ่งผลิตภัณฑ์มวลรวมของจังหวัด ตัวชี้วัดที่บอกได้ว่าเศรษฐกิจของจังหวัดเชียงรายกาลังเดินหน้าอย่างเต็มกาลัง รูปที่ 1 ผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัดเชียงราย (GPP) ปี 2551 ถึงปี 2556 90,000 80,000 70,000 60,000 50,000 40,000 30,000 20,000 10,000 2546 2547 2548 2549 2550 2551 2552 2553 2554 2555 2556

ที่มา: สานักงานพาณิชย์จังหวัดเชียงราย และสานักงานการคลังจังหวัดเชียงราย

การเพิ่มขึ้นสูงของผลิตภัณฑ์มวลรวมของจังหวัดเชียงรายมีผลจากการขยายตัวอย่างรวดเร็วในหลาย ด้าน โดยจากข้อมูลสถิติผลิตภัณฑ์มวลรวมของจังหวัด แยกประเภทของสานักงานพาณิชย์จังหวัดเชียงราย ตั้งแต่ปี 2551 ถึง 2555 ชี้ให้เห็นว่าภาคการเกษตร การล่าสัตว์ และป่าไม้ที่มีการเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวม ของจังหวัดมากที่สุดมาตั้งแต่ ปี 2551 จนถึงปี 2555 (ไม่รวมภาคอื่นๆ) โดยมีอัตราการเติบโตสะสมอยู่ที่ร้อย ละ 10 ซึ่งในปี 2551 มีผลิตภัณฑ์มวลรวมของจังหวัดอยู่ที่ 16,268.10 ล้านบาท และเพิ่มขึ้นสูงสุดในปี 2554 อยู่ที่ 28,272 ล้านบาท คิดการเติบโตจากปี 2551 ถึงปี 2554 อยู่ที่ร้อยละ 20 และตกลงมาอยู่ที่ 23,928.74 ล้านบาท ในปี 2555 คิดการเติบโตจากปี 2554 ถึงปี 2555 อยู่ที่ร้อยละ -15 หากมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภาค การเกษตร การล่าสัตว์และป่าไม้ไม่ตกลงในปี 2555 อาจจะมีอัตราการเติบโตสะสมมากกว่าร้อยละ 20 รูปที่ 2 ผลิตภัณฑ์มวลรวมของจังหวัดแยกประเภทปี 2551 ถึงปี 2555 สภาวะการลงทุนในจังหวัดเชียงราย

หน้า 1


OBELS WORKING PAPER NO.6

SEPTEMBER 2014

35,000 เกษตรกรรม การล่าสัตว์ และการป่าไม้

30,000

การผลิตอุตสาหกรรม

25,000 20,000

ขายส่ง การขายปลีก และการซ่อมแซม ฯ

15,000

โรงแรมและภัตตาคาร

10,000

การก่อสร้าง

5,000 อื่นๆ

0 2550

2551

2552

2553

2554

2555

2556

ที่มา: สานักงานพาณิชย์จังหวัดเชียงราย

ภาคที่มีผลิตภัณฑ์มวลรวมของจังหวัด รองมาคือ ภาคการขายส่ง การขายปลีก และการซ่อมแซมฯ มี อัตราการเติบโตสะสมอยู่ที่ร้อยละ 1 ซึ่งมีผลิตภัณฑ์มวลรวมของจังหวัดในปี 2551 อยู่ที่ 9,304.50 ล้านบาท โดยมีผลิตภัณฑ์มวลรวมของจังหวัด สูงที่สุดในปี 2554 เช่นเดียวกันกับภาคการเกษตร การล่าสัตว์และป่าไม้ อยู่ที่ 11,774 ล้านบาท ก่อนจะตกลงมาอยู่ที่ 9,682.61 ล้านบาท ในปี 2555 ซึ่งมีมูลค่าใกล้เคียงกับปี 2551 พิจารณาได้ว่าการเติบโตของภาคการขายส่ง การขายปลีก และการซ่อมแซมฯไม่ได้มีการขยายตัวมากในระยะ 4 ปีที่ผ่านมา ต่อมาเป็นภาคการผลิตอุตสาหกรรมที่มีมูลค่าสูงเป็นอันดับ 3 มีอัตราการเติบโตมากที่สุดใน 3 อันดับ โดยมีอัตราการเติบโตสะสมอยู่ที่ร้อยละ 24 ซึ่งในปี 2551 อยู่ที่ 2,123.40 ล้านบาท และเพิ่มขึ้นไปอยู่ที่ 4,961.92 ล้านบาท ในปี 2555 โดยมีมูลค่าสูงที่สุดในปี 2553 อยู่ที่ 7,793 ล้านบาท ซึ่งเติบโตจากปี 2551 คิด เป็นร้อยละ 92 ถือว่าเป็นอัตราการเติบโตที่สูง มากในเวลาเพียงแค่สองปี ส่วนในภาคการก่อสร้าง และภาค โรงแรมและภัตตาคาร มีอัตราการเติบโตสะสมอยู่ที่ร้อยละ 4 และ 7 ตามลาดับ โดยทั้งสองภาคมีมูลค่าของ ผลิตภัณฑ์มวลรวมของจังหวัดในปี 2551 อยู่ที่ 1,789.80 ล้านบาท และ 1,475.90 ล้านบาท ตามลาดับ จาก ข้อมูลจะเห็นว่าทั้งสองภาคมีมูลค่าที่ไม่แตกต่างกันมาก และยังมีอัตราการการเติบโตที่คงที่เช่นเดียวกัน ตั้งแต่ปี 2551 ถึงปี 2554 ทั้งสองภาคมีมูลค่าสูงที่สุดในปี 2554 อยู่ที่ 2,797 ล้านบาท และ 2,255 ล้านบาท ตามลาดับ เช่นเดียวกับอีกสองภาคที่มีมูลค่าสูงที่สุดในปีเดียวกันคือ ภาคการเกษตร การล่าสัตว์ และป่าไม้ และภาคการขายส่ง การขายปลีก และการซ่อมแซมฯ การลงทุนในจังหวัดเชียงราย จั งหวั ดเชี ย งรายเป็ น จั ง หวัด ที่อยู่ ใ นเขตการลงทุนที่ 3 ตามการแบ่ง เขตการลงทุน ของส านั กงาน คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ซึ่งการลงทุนในจังหวัดเชียงรายก็จะสามารถขอสิทธิประโยชน์ในด้านการ ลงทุนได้หลายอย่าง ซึ่งมีหลักเกณฑ์ที่สามารถขอรับสิทธิประโยชน์เหนือเขตอื่นๆ ดังนี้  ได้รับยกเว้นอาการขาเข้าสาหรับเครื่องจักร

สภาวะการลงทุนในจังหวัดเชียงราย

หน้า 2


OBELS WORKING PAPER NO.6

SEPTEMBER 2014

 ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเป็นระยะเวลา 8 ปี ทั้งนี้ ผู้ได้รับการส่งเสริมในโครงการที่มีขนาดการ ลงทุนตั้งแต่ 10 ล้านบาทขึ้นไป (ไม่รวมค่าที่ดินและทุนหมุนเวียน) จะต้องดาเนินการให้ได้รับใบรับรอง คุณภาพตามมาตรฐาน ISO 9000 หรือมาตรฐานสากลอื่นที่เทียบเท่า ภายในระยะเวลา 2 ปีนับตั้งแต่วัน เปิดดาเนินการ หากไม่สามารถดาเนินการได้ จะถูกเพิกถอนสิทธิและประโยชน์การยกเว้นภาษีเงินได้นิติ บุคคล 1 ปี  ได้รับยกเว้นอากรขาเข้าสาหรับวัตถุดิบหรือวัสดุจาเป็น ส่วนที่ผลิตเพื่อการส่งออกเป็นระยะเวลา 5 ปี  อนุญาตให้หักค่าติดตั้งหรือก่อสร้ างสิ่งอานวยความสะดวก จากกาไรสุทธิร้อยละ 25 ของเงินลงทุน ใน กิจการที่ได้รับการส่งเสริมโดยผู้ได้รับการส่งเสริม จะเลือกหักจากกาไรสุทธิของปีใดปีหนึ่ง หรือหลายปีก็ได้ ภายใน 10 ปีนับแต่วันที่มีรายได้จากกิจการที่ได้รับการส่งเสริม ทั้งนี้ นอกเหนือไปจากการหักค่าเสื่อ ม ราคาตามปกติ  เฉพาะโครงการที่ตั้งในสถานประกอบการ ในนิคมอุตสาหกรรมหรือเขตอุตสาหกรรม ที่ได้รับการส่งเสริม ใน 36 จังหวัด ได้แก่ กระบี่ กาแพงเพชร ขอนแก่น จันทบุรี ชัยนาท ชุมพร เชียงราย เชียงใหม่ ตรัง ตราด ตาก นครราชสีมา นครศรีธรรมราช นครสวรรค์ ประจวบคีรีขันธ์ ปราจีนบุรี พังงา พัทลุง พิจิตร พิษณุโลก เพชรบุรี เพชรบูรณ์ มุกดาหาร แม่ฮ่องสอน ระนอง ลพบุรี ลาปาง ลาพูน เลย สงขลา สระแก้ว สิงห์บุรี สุโขทัย สุราษฎร์ธานี อุตรดิตถ์ และอุทัยธานี รวมถึงนิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบังและนิคมอุตสาหกรรม หรือเขตอุตสาหกรรมในจังหวัดระยอง ให้ไ ด้รับสิทธิและประโยชน์ด้านภาษีอากร และสิทธิประโยชน์ เพิ่มเติมดังนี้ o ให้ได้รับลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคลสาหรับกาไรสุทธิ ที่ได้จากการลงทุนในอัตราร้อยละ 50 ของอัตราปกติ เป็นระยะเวลา 5 ปี นับจากวันที่พ้นกาหนดระยะเวลา การยกเว้นภาษีเงินได้นิติ บุคคล o อนุญาตให้หักค่าขนส่ง ค่าไฟฟ้า และค่าประปา 2 เท่า เป็นระยะเวลา 10 ปี นับแต่ วันที่เริ่มมี รายได้จากกิจการที่ได้รับการส่งเสริม o ได้รับลดหย่อนอากรขาเข้าร้อยละ 75 ของอัตราปกติ สาหรับวัตถุดิบหรือวัสดุจาเป็น ที่เข้ามาผลิต เพื่อจาหน่ายในประเทศเป็นระยะเวลา 5 ปี โดยคณะกรรมการจะอนุมั ติให้คราวละ 1 ปี แต่ วัตถุดิบหรือวัสดุจ าเป็ นนั้น ต้องไม่เป็นของที่ผลิตหรือมีกาเนิดในราชอาณาจักรซึ่ง มีคุณภาพ ใกล้เคียงกันกับชนิดที่จะนาเข้ามาในราชอาณาจักร และมีปริมาณเพียงพอที่จะจัดหามาใช้ได้ ยกเว้น นิ คมอุต สาหกรรมแหลมฉบังและนิคมอุต สาหกรรมหรือ เขตอุต สาหกรรมที่ ได้ รับ การ ส่งเสริมในจังหวัดระยอง  ได้รับลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคล สาหรับกาไรสุทธิที่ได้จากการลงทุนในอัตราร้อยละ 50 ของอัตราปกติ เป็นระยะเวลา 5 ปี นับจากวันที่พ้นกาหนดระยะเวลาการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล  อนุญาตให้หักค่าขนส่ง ค่าไฟฟ้า และค่าประปา 2 เท่า เป็นระยะเวลา 10 ปี นับแต่วันที่เริ่มมีรายได้จาก กิจการที่ได้รับการส่งเสริม  หากตั้งสถานประกอบการในนิคมอุตสาหกรรม หรือเขตอุตสาหกรรม ที่ได้รับการส่งเสริมให้ได้รับลดหย่อน อากรขาเข้าร้อยละ 75 ของอัตราปกติ สาหรับวัตถุดิบหรือวัสดุจาเป็น ที่นาเข้ามาผลิตเพื่อจาหน่ายใน ประเทศเป็นระยะเวลา 5 ปี โดยคณะกรรมการจะอนุมัติให้คราวละ 1 ปี แต่วัตถุดิบหรือวัสดุจาเป็นนั้น ต้องไม่เป็นของที่ผลิตหรือมีกาเนิดในราชอาณาจักร ซึ่งมีคุณภาพใกล้เคียงกันกับ ชนิดที่จะนาเข้ามาใน ราชอาณาจักร และมีปริมาณเพียงพอที่จะจัดหามาใช้ได้ สภาวะการลงทุนในจังหวัดเชียงราย

หน้า 3


OBELS WORKING PAPER NO.6

SEPTEMBER 2014

จากสิทธิประโยชน์การลงทุน เขต 1 และเขต 2 มีสิทธิประโยชน์แค่ 3 ข้อ คือ ได้รับการลดหย่อนอากร ขาเข้ากึ่งหนึ่ง เฉพาะเครื่องจักรอากรไม่ต่ากว่าร้อยละ 10 ได้รับการยกเว้นภาษีนิติบุคคลเป็นเวลา 3 ปี ถ้าอยู่ นิคมอุตสาหกรรม และมีโครงการที่ไม่ต่ากว่า 10 ล้านบาท ในเงื่อนไขที่กาหนด และได้รับยกเว้นอากรขาเข้า สาหรับวัตถุดิบที่จาเป็นสาหรับการผลิตเป็นระยะเวลา 1 ปี ทาให้จังหวัดเชียงรายเป็นหนึ่งใน 58 จังหวัดที่ ได้รั บการส่งเสริ มด้านการลงทุน อย่ างมาก โดยจังหวัดเชียงรายยังมีนิคมอุตสาหกรรมเชียงของที่มีเงินทุน จานวนมากเข้าไปพัฒนาพื้นที่ดังกล่าวให้เป็นพื้นที่สาหรับการผลิต และกระจายสินค้า ซึ่งเป็นพื้นที่ที่อยู่ใกล้ เส้นทางการขนส่งสินค้าไปยังประเทศเพื่อนบ้านอย่าง สปป.ลาว และ สหภาพเมียนม่า ร์ เชื่อมโยงกับสะพาน มิตรภาพไทย-ลาวแห่งที่ 4 ที่เปิดการใช้งานอย่างเป็นทางการเมื่อ 11 ธันวาคม 2556 มานี้ ซึ่งจะเป็นโอกาส สาหรับนักลงทุนหน้าใหม่ในการเข้าไปลงทุนในนิคมอุตสาหกรรมเกิดใหม่ ดังนั้น จังหวัดเชียงรายมีทั้งศักยภาพ ที่เป็นโครงสร้างพื้นฐานอย่างเช่น สะพานมิตรภาพไทย-ลาวแห่งที่ 4 และเส้นทาง R3A บวกกับการส่งเสริมการ ลงทุนที่มีหลักเกณฑ์ที่เป็นสิทธิประโยชน์ มากมายที่จะมาช่วยอานวยความสะดวกให้การเปิดธุรกิจในพื้นที่เขต จังหวัดเชียงรายมีความน่าสนใจจากนักลงทุนทั้งชาวไทย และชาวต่างประเทศมากขึ้น ในการจั ด ตั้งธุร กิจ ใดธุร กิ จ หนึ่ งขึ้น มาจะต้องมีการจดทะเบีย นนิติ บุคคลเพื่อ เป็น ยืนยัน อย่า งเป็ น ทางการว่ามีธุรกิจดังกล่าวเกิดขึ้นจริงตามบทกฎหมาย ซึ่งการจดทะเบียนนิติบุคคลจะมีทั้งหมด 3 ประเภทใหญ่ ตามการเก็บสถิติของสานักงานพาณิชย์จังหวัดเชียงราย ได้แก่ ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ห้างหุ้นส่วนจากัด และ บริษัทจากัด โดยประเภทต่างๆจะมีลักษณะที่แตกต่างกันไป จากสถิติการเก็บข้อมูลการจดทะเบียนนิติบุคคล ตั้งแต่ปี 2545 ถึงปี 2556 ห้างหุ้นส่วนจากัดเป็นประเภทที่มีการจดทะเบียนนิติบุคคลมากที่สุดในจังหวัด เชียงราย รองมาคือบริษัทจากัด และห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ตามลาดับ การจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้น มีระยะห่างระหว่างแต่ละปีสูง รวมทั้งยังมีจานวนการจดทะเบียน และเงินลงทุนรวมที่ไม่สูงมาก ในปี 2545 มี การจัดตั้งห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลขึ้นเพียงแค่ 2 ราย โดยมีทุนจดทะเบียนรวมอยู่ที่ 2,600,000 ล้านบาท เฉลี่ยตก รายละ 1,300,000 ล้านบาท ซึ่งอีก 5 ปีต่อมาไม่มีการจดทะเบียนเลย จนกระทั่ง ในปี 2554 มีการจัดตั้งอีก 1 ราย โดยมีทุนจดทะเบียนอยู่ที่ 500,000 ล้านบาท และอีก 3 ปีต่อมา หรือในปี 2555 ได้มีจัดตั้งเพิ่ม 6 ราย โดยมีทุนจดทะเบียนรวมอยู่ที่ 8.8 ล้านบาท เฉลี่ยตกรายละ 1.5 ล้านบาท ซึ่งคิดเป็นมูลค่าการลงทุนที่ต่ามาก เมื่อเทียบกับการจดทะเบียนประเภทอื่น จากรูปที่ 3 เป็นกราฟแท่งที่แสดงจานวนการจัดตั้งห้างหุ้นส่วนจากัดตั้งแต่ปี 2545 ถึงปี 2556 ซึ่งเป็น ระยะเวลาทั้งหมด 11 ปี ในปี 2545 กับ 2546 มีการจัดตั้งที่มีจานวนใกล้เคียงกันอยู่ที่ 609 ราย และ 599 ราย ตามลาดับ และตามมาด้วยการตกลงของยอดจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลตั้งแต่ปี 2547 เป็นต้นไป จนเพิ่มขึ้นในปี 2554 อยู่ที่ 594 ราย ก่อนที่ยอดการจดทะเบียนจะขึ้นสูงสุดในปี 2555 อยู่ที่ 1,456 ราย และ ลดลงมาในปี 2556 อยู่ที่ 1,087 ราย เมื่อพิจารณาจากเส้นค่าเฉลี่ยการเปลี่ยนแปลง (moving average line) จะเห็นว่าจานวนเส้นจานวนการจัดตั้งเป็นรูประฆังหงาย (U-curve) ซึ่งในจุดที่ยอดจัดตั้งต่าสุดคือในปี 2551 อยู่ที่ 180 ราย

สภาวะการลงทุนในจังหวัดเชียงราย

หน้า 4


OBELS WORKING PAPER NO.6

SEPTEMBER 2014

รูปที่ 3 จานวนการจัดตั้งของห้างหุ้นส่วนจากัดปี 2545 - 2556 1,600 1,400 1,200 1,000 800 600 400 200 0 2545

2546

2547

2548

2549

2550

2551

2552

2553

2554

2555

2556

ที่มา: สานักงานพาณิชย์จังหวัดเชียงราย

จานวนการจัดตั้งเป็นแค่ตัวแปรหนึ่งที่ช่วยเห็นให้ถึงความสัมพันธ์ของเวลากับการจัดตั้งธุรกิจใหม่ แต่ จานวนทุนจดทะเบียนจะช่วยให้เห็นถึงมูลค่าของกิจการโดยรวมในแต่ละปีว่าขนาดของกิจการที่จัดตั้งนั้นมี ขนาดใหญ่ ขนาดกลาง หรือขนาดเล็ก โดยในปี 2545 เป็นปีที่มีการจานวนทุ นจดทะเบียนสูงที่สุดอยู่ที่ 591,588,400 ล้านบาท มีการจัดตั้ง 609 ราย เฉลี่ยตกรายละ 971,410 ล้านบาท ซึ่งมากกว่ามูลค่าโดยรวม ของบางปีในระหว่างปี 2545 ถึงปี 2556 ต่อมาในปี 2546 ถึงปี 2551 มีทุนจดทะเบียนใกล้เคียงกันเฉลี่ย รวมอยู่ที่ 275,435,500 ล้านบาท และจานวนเงินลงทุนจดทะเบียนก็เข้าสู่จุดต่าสุดในปี 2552 ถึง 2555 ก่อน จะเพิ่มขึ้น มาเล็ กน้ อยในปี 2556 ปี ที่มีเงิน ลงทุนจดทะเบียนต่อรายสู งที่สุดคือปี 2550 โดยมี เงินลงทุนจด ทะเบียนอยู่ที่ 269,910,000 ล้านบาท จานวน 182 ราย เฉลี่ยตกรายละ 1,483,021.98 ล้านบาท และปีที่มี เงินลงทุนจดทะเบียนต่อรายต่าที่สุดคือปี 2554 โดยมีเงินลงทุนจดทะเบียนอยู่ที่ 521.45 ล้านบาท จานวน 594 ราย เฉลี่ยตกรายละ 880,000 บาท ชี้ให้เห็นว่าในบางปีแม้ว่าจะมีจานวนห้างหุ้นส่วนจากัดที่มีการจัดตั้ง สูง แต่เงินทุนจดทะเบียนก็ไม่ได้สูงตาม แสดงว่าอาจจะมีจานวนธุรกิจที่เป็นขนาดย่อมสูง ส่วนในบางปีแม้ว่าจะ จานวนห้างหุ้นส่วนจากัดที่ถูกจัดตั้งน้อย แต่มีเงินทุนจดทะเบียนที่สูง แสดงว่าอาจจะมีจานวนธุรกิจที่เป็นขนาด ใหญ่เยอะ อย่างไรก็ตาม การหาค่าเฉลี่ยไม่ได้บ่งบอกถึงขนาดของธุรกิจอย่างชัดเจน รูปที่ 4 จานวนเงินลงทุนจดทะเบียนของห้างหุ้นส่วนจากัดปี 2545 - 2556 700,000,000 600,000,000 500,000,000 400,000,000 300,000,000 200,000,000 100,000,000 0

2545

2546

2547

สภาวะการลงทุนในจังหวัดเชียงราย

2548

2549

2550

2551

2552

2553

2554

2555

2556

หน้า 5


OBELS WORKING PAPER NO.6

SEPTEMBER 2014

ที่มา: สานักงานพาณิชย์จังหวัดเชียงราย

จากที่รู ป ที่ 5 แสดงให้ เ ห็ น ถึง รู ป แบบของเส้ น ความสั มพั นธ์ ระหว่า งบริษั ทจ ากั ดที่จั ดตั้ งใหม่ กั บ ระยะเวลา 11 ปี ตั้งแต่ปี 2545 ถึงปี 2546 ที่มีความคล้ายคลึงกับจานวนการจัดตั้งของห้างหุ้นส่วนจากัด คือ เส้นรูประฆังคว่า (U-curve) ในปี 2545 มีจานวนการจัดตั้งของบริษัทจากัดอยู่ที่ 492 ราย และลดลงในปี ต่อมาจนถึงปี 2554 จานวนการจัดตั้งบริ ษัทจากัดเริ่มมีการขยับตัวเพิ่มขึ้น และขึ้นสู งสุดในปี 2555 อยู่ที่ จานวน 1,011 ราย หลังจากนั้นจานวนการจัดตั้งบริษัทจากัดลดลงอยู่ที่ 971 รายในปี 2556 ซึ่งจุดที่ต่าที่สุด ของจานวนการจัดตั้งบริษัทจ ากัดอยู่ในช่วงเดียวกันกับจานวนการจัดตั้งของห้างหุ้นส่ วนจากัดคือในช่วงปี 2550 ถึงปี 2551 รูปที่ 5 จานวนการจัดตั้งของบริษัทจากัดปี 2545 - 2556 1,200 1,000 800 600 400 200 0 2545

2546

2547

2548

2549

2550

2551

2552

2553

2554

2555

2556

ที่มา: สานักงานพาณิชย์จังหวัดเชียงราย

จากรูปที่ 6 แสดงจานวนเงินลงทุนจดทะเบียนของบริษัทจากัดตั้งแต่ปี 2545 ถึงปี 2556 โดยในปี 2545 ซึ่งมีเงินลงทุนจดทะเบียนสูงที่สุดอยู่ที่ 3,923,071,300 ล้านบาท และก็มีเงินลงทุนเฉลี่ยต่อรายสูงที่สุด เช่นกันอยู่ที่ 7,973,722.15 ล้านบาทต่อราย จากจานวนบริษัทจากัดที่ถูกจัดตั้ง 492 ราย ซึ่งในปีต่อมา จานวน เงินทุนจดทะเบียนก็ลดลงอย่างเห็นได้ชัด จนกระทั่งในปี 2556 มีการเพิ่มขึ้นมาโดยมีเงินทุนจดทะเบียนใหม่อยู่ ที่ 1,418,101,432.03 ล้านบาท ในระหว่างปี 2545 จนถึงปี 2551 เงินทุนจดทะเบียนเฉลี่ยต่อรายไม่ต่ากว่า 2,000,000 ล้านบาท แต่หลังจากนั้นในช่วงระหว่าง 2552 ถึง 2555 มีเงินทุนจดทะเบียนเฉลี่ยต่ากว่า 100 ล้านบาท ชี้ให้เห็นว่าในช่วงระหว่างปี 2545 จนถึงปี 2551 มีการจดทะเบียนของการเป็นบริษัทจากัดของธุรกิจ มูลค่าสูงเยอะ แต่ในช่วงระหว่าง 2552 ถึง 2555 มีการจดทะเบียนของการเป็นบริษัทจากัดของธุรกิจมูลค่าสูง น้อย ซึ่งในปี 2552 เป็นปีที่มีมูลค่าการจดทะเบียนบริษัทเฉลี่ยต่อรายต่าที่สุดอยู่ที่ 2.57 ล้านบาท ในช่วงปี 2552 เป็นช่วงเศรษฐกิจทั่วโลกเข้าสู่ภาวะถดถอย (Recession) ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีการส่งออกสินค้า เป็นรายได้หลักของประเทศ เมื่อสหภาพยุโรป สหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่นซึ่งเป็นแหล่งส่งออกสินค้าที่สาคัญมากมี ภาวะเศรษฐกิจ ซบเซาจึ งส่งผลให้ ป ระเทศไทยได้รับผลกระทบอย่างหนัก จึง อาจส่งผลให้ มีจานวนการจด ทะเบียนบริษัทลดลง หรือมีการจัดตั้งบริษัทที่มีมูลค่าไม่สูงมากเยอะขึ้น เพื่อลดความเสี่ยงจากวิกฤตเศรษฐกิจที่ เกิดขึ้น รูปที่ 6 จานวนเงินลงทุนจดทะเบียนของบริษัทจากัดปี 2545 - 2556

สภาวะการลงทุนในจังหวัดเชียงราย

หน้า 6


OBELS WORKING PAPER NO.6

SEPTEMBER 2014

5,000,000,000 4,000,000,000 3,000,000,000 2,000,000,000

1,000,000,000 0 2545

2546

2547

2548

2549

2550

2551

2552

2553

2554

2555

2556

ที่มา: สานักงานพาณิชย์จังหวัดเชียงราย

จากสถิติทั้งสามประเภทได้แก่ ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ห้างหุ้นส่วนจากัด และบริษัทจากัด จะเห็นว่า การจดทะเบียนของห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลไม่ค่อยมีให้เห็น อาจจะเป็นเพราะเชียงรายมีการจดทะเบียนของ ธุรกิจที่มีมูลค่าค่อนข้างสูง ซึ่งอาจจะเป็นบริษัทที่เป็นธุรกิจการค้าชายแดน และการผลิตทางด้านอุตสาหกรรม เนื่องจากมีมูลค่าที่สูงมากเมื่อเปรียบเทียบกับมูลค่าทุนจดทะเบียนในธุรกิจอื่น ซึ่งในบางปีก็จะมีการจดทะเบียน น้อยราย แต่มีมูล ค่าทุนจดทะเบียนต่อรายสูง หรือในบางปีก็มีการจดทะเบียนเยอะราย แต่มีมูลค่าทุนจด ทะเบียนต่อรายต่า สถิติการจดทะเบียนนิติบุคคลเป็นแค่หนึ่งในตัวชี้วัดด้านการลงทุน ยังมีอีกหลายตัวชี้วัดที่แสดงถึงการ เปลี่ยนแปลง และการเติบโตของการลงทุนในจังหวัดเชียงราย เช่น พื้นที่อนุญาตการก่อสร้าง จานวนโรงงาน อุตสาหกรรม จานวนแรงงานในอุตสาหกรรม ฯลฯ ซึ่งจะมีการเก็บสถิติในเกือบทุกปี ซึ่งเครื่องมือชี้วัดเมื่อนามา พิจารณาร่วมกันแล้ว อาจจะช่วยให้มองเห็นภาพการลงทุนในจังหวัดเชียงรายตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน รวมทั้ง ช่วยเห็นโอกาส และศักยภาพในการลงทุนสาหรับนักลงทุนทั้งชาวไทย และต่างประเทศที่มีความสนใจ จากรูปที่ 7 แสดงกราฟแท่งของพื้นที่อนุญาตให้ก่อสร้างตั้งแต่ปี 2550 ถึงปี 2556 โดยพื้นที่อนุญาตให้ สร้างมีอัตราการเติบโตสะสมอยู่ที่ร้อยละ 15 และมีการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในทุกปี ในปี 2550 มีพื้นที่ที่ได้รับ อนุญาตให้ก่อสร้างอยู่ที่ 208,564.90 ตารางเมตร และเพิ่มขึ้นไปอยู่ ที่ 471,706.90 ตารางเมตรในปี 2556 ซึ่ง ในปี 2552 มีการอนุญาตให้ก่อสร้างถึง 483,061.20 ตารางเมตร รูปที่ 7 พื้นที่อนุญาตให้ก่อสร้างปี 2550 - 2556

สภาวะการลงทุนในจังหวัดเชียงราย

หน้า 7


OBELS WORKING PAPER NO.6

SEPTEMBER 2014

600,000 500,000

400,000 300,000 200,000 100,000 0 2550

2551

2552

2553

2554

2555

2556

ที่มา: สานักงานการคลังจังหวัดเชียงราย

จากรูปที่ 8 แสดงจานวนสถิติของจานวนโรงงาน จานวนแรงงาน และจานวนทุนจดทะเบียนที่ เปลี่ยนแปลงไปในอุตสาหกรรมตั้งแต่ปี 2550 ถึงปี 2554 โดยในปี 2550 มีจานวนโรงงานอุตสาหกรรมทั้งหมด 1,975 โรง จานวนแรงงานอุตสาหกรรมทั้งหมด 15,041 คน และจานวนทุนจดทะเบียนอุตสาหกรรมทั้งหมด 7,393.30 ล้านบาท ก่อนในปีต่อมาจะเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดด ในปี 2551 มีจานวนโรงงานอุตสาหกรรม ทั้งหมด 11,999 โรง จานวนแรงงานอุตสาหกรรมทั้งหมด 92,439 คน และจานวนทุนจดทะเบียนอุตสาหกรรม ทั้งหมด 45,213.40 ล้านบาท ซึ่งคิดอัตราเติบโตเฉลี่ยทั้งหมดประมาณร้อยละ 500

รูปที่ 8 สถิติจานวนโรงงาน แรงงาน ทุนจดทะเบียนในอุตสาหกรรมปี 2550 - 2554 100,000 90,000 80,000 70,000 60,000 50,000 40,000 30,000 20,000 10,000 0

จานวนโรงงานอุตสาหกรรมทั้งหมด (โรง) จานวนแรงงานอุตสาหกรรม (คน) จานวนทุนจดทะเบียนของ อุตสาหกรรมทั้งหมด (ล้านบาท)

2550

2551

สภาวะการลงทุนในจังหวัดเชียงราย

2552

2553

2554 หน้า 8


OBELS WORKING PAPER NO.6

SEPTEMBER 2014

ที่มา: สานักงานการคลังจังหวัดเชียงราย

สรุปสถานการณ์การลงทุนในจังหวัดเชียงรายในระยะเวลา 6 ปี ในแต่ช่วงปีจะการลงทุนจะมีการเปลี่ยนแปลงทีละเล็กละน้อยขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่างที่เกิดขึ้น ซึ่ง รูปแบบของการลงทุน ไม่ว่าจะเป็นประเภทธุรกิจ ประเภทการก่อสร้าง หรือประเภทอุตสาหกรรมที่นักลงทุน เข้ามาจับก็จะแตกต่าง หรือเหมือนกันในแต่ละปี แต่การขยายตัว และหดตัวของการลงทุนนั้นขึ้นอยู่ปัจจัย ภายนอกเป็นส่วนมาก เช่น ภาวะเศรษฐกิจ ภาวะการเมือง ภาวะทางสังคม เป็ นปัจจัยหลักที่ส่งผลกระทบต่อ ความเชื่อมั่นของนักลงทุนโดยตรง รวมถึงการลดหรือการเพิ่มของอุปสงค์ภายใน/ภายนอกประเทศอีกด้วย หากอุปสงค์ลดลงจะทาให้นักลงทุนไม่มั่นใจที่ผลิตสินค้า และบริการตอบสนองต่อตลาด เศรษฐกิจก็จะชะงัก และไม่สามารถเดินหน้าต่อไปได้ ในปี 2550 ทุนจดทะเบียนส่วนใหญ่จะเป็นโรงงานเครื่องเรือนไม้ และขุดตักในที่ดิน ซึ่งมีส่วนที่ทาให้ จานวนแรงงาน โรงงาน และจานวนทุนจดทะเบียนเพิ่มขึ้น ซึ่งส่งผลให้มีการก่อสร้างมากขึ้นในประเภทของ อาคารพาณิชย์ และที่อยู่อาศัย โดยมีปัจจัยภายนอกอย่างราคาน้ามัน และสถานการณ์ที่ไม่ มั่นคงทางการเมือง มาเป็นตัวชะลอการตัดสินใจของนักลงทุน ต่อมาในปี 2551 การจัดตั้งส่วนใหญ่จะเป็นอุตสาหกรรมการเกษตร และอุตสาหกรรมอาหาร เป็นช่วงปีก่อนหน้าวิกฤตเศรษฐกิจโลก การก่อสร้างเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งเป็นผลมาจากการ ปรับตัวลดลงของราคาน้ามันในตลาดโลก จานวนโรงงานอุตสาหกรรม จานวนแรงงานอุตสาหกรรม และ จานวนทุนจดทะเบียนเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดด ช่วงนั้นอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพคือ อุตสาหกรรมการเกษตร อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว และบริการ และอุตสาหกรรมขนส่งทางน้าและทางบก ในปี 2552 เป็นปีที่เข้าสู่ภาวะถดถอยของเศรษฐกิจโลกอย่างเป็นทางการ การจดทะเบียนห้างหุ้นส่วน จากัด และบริษัทจากัดลดต่าลงมาก รวมถึงจานวนโรงงานอุตสาหกรรม จานวนแรงงานอุตสาหกรรม และ จานวนทุนจดทะเบียนที่ลดลงมากอย่างเห็นได้ชัด แต่การก่อสร้างกลับเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งอาจเป็นการขอสร้างที่อยู่ อาศัยมากกว่าที่จะเป็นโรงงานอุตสาหกรรม พอเข้าสู่ช่วงปี 2553 เศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัว นักลงทุนมีความเชื่อมั่น มากขึ้น มีการลงทุนในอุตสาหกรรมมากขึ้นเล็กน้อย โดยมีการก่อสร้างเพิ่มขึ้น เพราะคนต้องการที่อยู่อาศัย ต่อมาในปี 2554 รัฐบาลใช้นโยบายการกระจายความเจริญไปสู่ภูมิภาค ทาให้การจดทะเบียนธุรกิจเพิ่มขึ้น การ ก่อสร้างก็เพิ่มขึ้น ซึ่งธุรกิจที่ถูกจัดตั้งใหม่จะเป็นประเภทคอนกรีตผสมเสร็จ และเครื่องใช้จากไม้เป็นส่วนมาก ในช่วงปี 2555 ถึงปี 2556 เศรษฐกิจเดินหน้าต่อไปอย่างไม่หยุดยั้ง การลงทุนภาคอุตสาหกรรมในปี 2555 ขยายตัวอย่างต่อเนื่องสะท้อนจากข้อมูลสถิติจากจานวนการจดทะเบียนอุตสาหกรรม จานวนแรงงาน อุตสาหกรรม และจานวนโรงงานอุตสาหกรรม โดยอุตสาหกรรมส่วนใหญ่จะเป็น โรงงานอบพืชผลทางการ เกษตร โรงงานผลิตคอนกรีตสาเร็จรูป และโรงสีข้าว และในปี 2556 มีการก่อสร้างเพิ่มสูงขึ้น ส่วนใหญ่จะเป็น การก่อสร้างหอพัก โรงแรม และที่อยู่อาศัย เนื่ องจากมีนักท่องเที่ยวต่างประเทศจานวนมากให้ความสนใจใน การท่องเที่ยวในจังหวัดเชียงรายมากขึ้น อย่ างก็ไรก็ตาม งานชิ้นนี้ ก็เป็น การวิเคราะห์ อย่างไม่เจาะลงลึ กในรายละเอียดในอุตสาหกรรมใด อุตสาหกรรมหนึ่ง จึงไม่สามารถตัดสินใจว่าควรที่จะลงทุนในเชียงรายหรือไม่ แต่สาหรับนั กลงทุนที่มีความ สนใจในด้านการค้าชายแดน หรือการผลิตสินค้าอุตสาหกรรมที่มีเป้าหมายเพื่อส่งไปยังตลาดของประเทศเพื่อน สภาวะการลงทุนในจังหวัดเชียงราย

หน้า 9


OBELS WORKING PAPER NO.6

SEPTEMBER 2014

บ้านอย่าง สปป.ลาว หรือ สหภาพเมียนม่าร์ และประเทศจีนตอนใต้ เนื่องจากปริมาณความต้องการของทั้ง สามประเทศยังคงมากกว่าปริมาณสินค้าที่ป้อนเข้าสู่ตลาดทั้งสาม โดยเฉพาะกลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภค สินค้า เกษตร ยานพาหนะ วัสดุก่อสร้าง ฯลฯ ซึ่งหากต้องการขนส่งทางบกก็สามารถส่งผ่านเส้นทาง R3B ทางสะพาน มิตรภาพไทย-ลาวแห่งที่ 2 ไปยังสหภาพเมียนม่าร์ และส่งผ่านเส้นทาง R3A สะพานมิตรภาพไทย-ลาวแห่งที่ 4 ไปยังสปป.ลาวไปได้ หรือหากต้องการขนส่งสินค้าทางน้าก็สามารถขนส่งผ่านทางท่าเรือเชียงแสน หากจัดตั้ง โรงงานอุตสาหกรรมในเชียงรายก็จะสะดวก และประหยัดต้นทุนการขนส่งได้มากขึ้น เอกสารอ้างอิง ประชาชาติธุรกิจออนไลน์ (2557). "เมืองเงิน" ทุ่มพัน ล.ตั้งนิคมเชียงของ ใช้ถนน R3A เชื่อมไทย-ลาวทะลุจีน มองไกลรับเออีซี สืบค้นเมื่อวันที่ 16 กันยายน 2557 จากhttp://www.prachachat.net/ news _ detail.php?newsid=1391168129 สานักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนโดยศูนย์เศรษฐกิจการลงทุนภาคที่ 1 เชียงใหม่ (2557). นโยบาย ส่งเสริมการลงทุน. สืบค้นเมื่อวันที่ 16 กันยายน 2557 จาก http://chiangmai.boi.go.th/ MainSite/ index.php?option=com_content&task=view&id=15&Itemid=29 สานักงานคลังจังหวัดเชียงราย (2557) รายงานภาวะเศรษฐกิจ. สืบค้นเมื่อวันที่ 14 กันยายน 2557 จาก http://www.klangcri.com/team/team3.php สานักงานพาณิชย์จังหวัดเชียงราย (2557). ข้อมูลเศรษฐกิจจังหวัด (Fact Sheet). สืบค้นเมื่อวันที่ 12 กันยายน 2557 จาก http://pcoc.moc.go.th/wappPCOC/views/dfactsheet.aspx?pv=57 สานักงานพาณิชย์จังหวัดเชียงราย (2557). สถิติการจดทะเบียนนิติบุคคลของจังหวัดเชียงราย. สืบค้นเมื่อวันที่ 12 กันยายน 2557 จาก http://pcocreport.moc.go.th/ReportServer/Pages/Report Viewer.aspx?%2fPCOC%2fREGISTER_JURISTIC&rs%3aCommand=Render&province=57 สานักงานเศรษฐกิจชายแดนและโลจิสติกส์ (Office of Border Economy and Logistics Study: OBELS) มีหน้าที่ ดาเนินงานด้านการรวบรวมข้อมูลและวิจัยทางด้านเศรษฐกิ จการค้าชายแดนและโลจิสติกส์ เพื่อนาไปสู่การยกระดับองค์ ความรู้ที่เป็นฐานสาคัญของประเทศไทย ซึ่งส่งผลต่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และการสร้างความสามารถในการแข่งขันของ ประเทศและยกระดับคุณภาพชีวิตในสังคม

Office of Border Economy and Logistics Study (OBELS), Mae Fah Luang University, 333 Moo 1, Tasud, Muang, Chiang Rai, Thailand. Tel. 6653916680 Email: obels.mfu@gmail.com.

สภาวะการลงทุนในจังหวัดเชียงราย

หน้า 10


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.