ผ้าหลบไทลื้อ เมืองเงิน : Phalop Tai Lue Textile

Page 1

ผ้าหลบไทลื้อ เมืองเงิน สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

ธนกร สุธีรศักดิ์



ผ้าหลบไทลื้อ เมืองเงิน

สาธารณรัฐประชาชนธิปไตยประชาชนลาว ธนกร สุธีรศักดิ์




4


เมืองเงิน

สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

เมืองเงิน เป็นเมืองหนึ่งที่อยู่ในแขวงไชยะบุรี ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในแขวง การปกครองของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ตั้งอยู่ทางตะวันตก สุดของประเทศลาว และมีพื้นที่ติดกับประเทศไทยทางด้านจังหวัดเชียงราย พะเยา น่าน อุตรดิตถ์ พิษณุโลก และจังหวัดเลย ซึ่งมีความยาวโดยรวม ประมาณ 645 กิโลเมตร ทางทิศเหนือและทิศตะวันออกติดกับแขวงบ่อ แก้ว แขวงอุดมไชย แขวงหลวงพระบาง และแขวงเวียงจันทร์ของสาธารณรัฐ ประชาธิปไตยประชาชนลาว ภูมิประเทศโดยทั่วไปของแขวงไชยะบุรีเป็นภูเขา และที่ราบสูง แขวงไชยะบุรีมีเนื้อที่ทั้งหมด 16,389 ตารางกิโลเมตร ประกอบด้วย 10 เมือง (คำ�ว่า “เมือง” เทียบเท่ากับ “อำ�เภอ” ของประเทศไทย) ได้แก่ เมืองคอบ เมืองเชียงฮ่อน เมืองเงิน เมืองหงสา เมืองไชยะบุรี เมืองไชยสถาน เมืองเพียง เมืองทุ่งมีไชย เมืองปากลาย เมืองแก่นท้าว ภายในเมืองเงินประกอบด้วย กลุ่มชาติพันธุ์อาศัยอยู่ร่วมกันอย่างหลากหลายกลุ่ม อันได้แก่ ชาวไทลาว ชาวขมุ ชาวไทลื้อ ชาวม้ง ชาวปรัย และชาวไทยวน โดยพื้นที่ส่วน ใหญ่ของแขวงไชยะบุรีนั้นเคยเป็นส่วนหนึ่งของการปกครองของประเทศไทย เมื่อก่อนปี พ.ศ. 2447 ซึ่งต่อมาแขวงไชยะบุรีได้ตกอยู่ภายใต้การปกครอง ของฝรั่งเศส ซึ่งไทยได้กลับคืนมาชั่วคราวในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ในปี พ.ศ. 2484 และเมื่อได้กลับคืนมาจึงตั้งให้เป็นจังหวัดลานช้าง แล้วต่อมาได้ มีการทำ�สนธิสัญญาส่งมอบคืนกลับไปอยู่ภายใต้การปกครองของฝรั่งเศส เหมือนเดิมหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ในปี พ.ศ. 2489

5


6

เมื อ งเงิ น ตั้ ง อยู่ ท างทิ ศ เหนื อ ของแขวงไชยะบุ รี โ ดยอยู่ บ นฝั่ ง ขวา ของแม่ น้ำ � โขงมี ลั ก ษณะภู มิ ป ระเทศเป็ น ภู เขาและป่ า ไม้ ล้ อ มรอบด้ ว ย เทือกเขาผีปันน้ำ�ตะวันออกและเทือกเขาหลวงพระบางที่กั้นเขตแดนระหว่าง ประเทศไทย-ลาว หรือจังหวัดน่านและเมืองหลวงพระบาง สภาพมีที่ราบลุ่ม เพียงเล็กน้อยตามริมลำ�ห้วยลำ�ธาร แม่น้ำ�สายหลักทั้ง 4 สาย คือ น้ำ�ยาง น้ำ�เงิน น้ำ�งื่ม และน้ำ�แหวน ที่ตั้งของเมืองเงินโอบล้อมด้วยเทือกเขา จึงทำ�ให้ ในอดีตมีการติดต่อกับเมืองอื่นได้ยาก เมืองเงินประกอบไปด้วยกลุ่มชาติพันธุ์ ทั้งสิ้น 6 กลุ่มคือ ไทลื้อ ขมุ ม้ง ลาว ปรัย และไทดำ� แต่ละกลุ่มชาติพันธุ์จะแยก ย้ายกันอาศัยอยู่ในแต่ละหมู่บ้าน หมู่บ้านของชาวไทลื้อ ซึ่งได้แก่ บ้านนางัว บ้านนายางคำ� บ้านแก้วดอนกูน บ้านหลวงมีไชย บ้านขอน บ้านเพียงามและ บ้านบิหมี หมู่บ้านของชาวขมุ ได้แก่ บ้านดอกเกด บ้านน้ำ�ทม บ้านดอนสว่าง บ้านทอง บ้านโฮมไชย บ้านปากห้วยแคน บ้านห้วยเงย และบ้านปุ่งฝาด และ หมู่บ้านของชาวม้ง ได้แก่ บ้านห้วยผึ้ง บ้านผาแดง บ้านบ่อหลวง และบ้าน ปางบง และส่วนหมู่บ้านน้ำ�เงินมีประชากรหลายกลุ่มชน คือ ชาวลาว ชาวม้ง และชาวลื้อ และบ้านกิ่วงิ้ว มีชาวม้งและชาวขมุอาศัยอยู่ด้วยกัน


7


8


“ไทลื้อ” ชาติพันธุ์จากแดนไกล “ลื้อ” หรือ “ไทลื้อ” (ออกเสียง “ไตลื้อ”) เป็นคำ�เรียกขานชนชาติที่พูด ภาษาตระกูลไทกลุ่มหนึ่ง ซึ่งในปัจจุบันอาศัยอยู่กระจัดกระจายทั่วไปเป็น บริเวณกว้าง ทั้งในเขตมณฑลยูนนานตอนใต้ของสาธารณรัฐประชาชนจีน ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของรัฐฉานในประเทศพม่า ทางภาคเหนือ ตอนบนของประเทศไทย ทางตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศสาธารณรัฐ ประชาธิปไตยประชาชนลาว และทางตอนเหนือของประเทศเวียดนาม ถิ่นฐานดั้งเดิมของชาวไทลื้อ อยู่บริเวณที่เคยเป็นรัฐจารีตชื่อแคว้นสิบสอง พันนาโดยมีเมืองเชียงรุ่งเป็นศูนย์กลางของการปกครอง กลุ่มชาติพันธุ์ไทลื้อ อพยพเข้ามาอยู่ในเขตสิบสองพันนาทางตอน ใต้ของประเทศจีน ในราวพุทธศตวรรษที่ 18 แล้วสร้างเมืองเชียงรุ้งขึ้น ชาว ไทลื้อนิยมตั้งบ้านเรือนอยู่ตามที่ราบลุ่มแม่น้ำ�และที่ราบระหว่างหุบเขาโดย มีแม่น้ำ�โขงเป็นแม่น้ำ�สายสำ�คัญ รวมถึงแม่น้ำ�สายย่อยที่ไหลผ่านเมืองต่างๆ ไทลื้อในประเทศลาวได้อพยพเข้ามาแล้วตั้งถิ่นฐานตามลุ่มน้ำ�ต่างๆ อัน ได้แก่ ลุ่มน้ำ�อูในแขวงพงสาลีและหลวงพระบาง ลุ่มน้ำ�ทาและลุ่มน้ำ�สิงใน แขวงหลวงน้ำ�ทา ลุ่มน้ำ�แบงในแขวงอุดมไชยและลุ่มน้ำ�งาวในแขวงบ่อแก้ว และนอกจากนี้ยังมีการอพยพเข้ามาอยู่ในบริเวณที่ราบระหว่างหุบเขาใน แขวงไชยะบุรี ได้แก่ เมืองเงิน เชียงฮ่อน เชียงลม คอบ หงสา และเมืองเพียง ซึ่งกลุ่มชาวไทลื้อในเมืองเงิน ส่วนหนึ่งเป็นกลุ่มที่ไม่มีดารระบุกลุ่มชาติพันธุ์ โดยคาดว่ามีถิ่นกำ�เนิดดั้งเดิมมาจากสิบสองพันนาทางตอนใต้ของประเทศ จีนและอีกส่วนหนึ่งมาจากหลวงน้ำ�ทา สปป. ลาว ในราว พ.ศ. 2279 อพยพ เข้ามาตั้งถิ่นฐานอาศัยอยู่ที่เมืองเงิน

9


“ไทลื้อ” และวัฒนธรรมการทอผ้า

10

วัฒนธรรมการทอผ้าของผู้หญิงชาวไทลื้อ เป็นสิ่งที่มีความโดดเด่น และมีชื่อเสียงเป็นอย่างมาก เพราะถือเป็นการแสดงออกถึงศักยภาพของ ผู้หญิงชาวไทลื้อให้บุคคลภายนอกได้เห็นถึงศักยภาพของตน ในการทอผ้า ของชาวไทลื้อ การปลูกฝ้ายทอผ้าเป็นหน้าที่สำ�คัญอย่างหนึ่งของลูกผู้หญิง ในกลุ่มชาติพันธุ์ไท ซึ่งเป็นที่ยอมรับกันว่า ชาวไทลื้อเป็นกลุ่มที่มีวัฒนธรรม การทอผ้าที่โดดเด่นมาก ดังในบทเพลงขับขานของชาวไทลื้อ ซึ่งเรียก ว่า “คำ�ขับ” ซึ่งมีคำ�ขับบทหนึ่งที่กล่าวถึงฤดูกาลที่ผันแปรไปในแต่ละเดือน อันสัมพันธ์กับวิถีชีวิตพื้นบ้านของชาวไทลื้อ โดยเฉพาะการปลูกฝ้ายทอผ้า ของผู้หญิง คือ คำ�ขับ 12 เดือน วิถีชีวิตของผู้หญิงไทลื้อในอดีตไม่ค่อยมีความ แตกต่างไปจากผู้หญิงในสังคมชนชาติไทกลุ่มอื่นๆ คือ นับตั้งแต่แรกเกิด ผ่าน วัยเด็ก วัยรุ่นก่อนแต่งงาน ในช่วงวัยเหล่านี้ผู้หญิงจะได้รับการเลี้ยงดู เรียนรู้ และฝึกหัดจากการทอผ้าจากสถาบันครอบครัวที่มี แม่ ยาย และญาติผู้ใหญ่ ที่เป็นผู้หญิงคอยสั่งสอนหน้าที่ของกุลสตรี งานบ้าน งานเรือนและการทอผ้า เด็กผู้หญิงจะเริ่มหัดทอถุงย่ามหรือผ้าเช็ดน้อย จากเทคนิคการขัดสานผ้าพื้น ธรรมดาที่เรียกว่า “ผ้าฮำ�” ไปสู่การทอยกดอก มุก จก เกาะ ที่ยากขึ้นไปตาม ลำ�ดับ ซึ่งในอดีตและปัจจุบัน ผ้าทอมีความหมายต่อผู้หญิงในฐานะที่เป็นสิ่ง ที่แสดงถึงคุณค่าของความเป็นแม่ศรีเรือน ผู้หญิงที่ทอผ้าเก่ง ฝีมือประณีต ละเอียด มีผ้าซิ่นผืนงามเด่นนุ่งไปงานบุญ ย่อมเป็นที่หมายปองของชายหนุ่ม และผ้าทอยังเป็นสื่อรักที่ใช้แทนใจของชายหญิงอีกด้วย


11


12


ซึ่งในอดีตและปัจจุบัน ผ้าทอมีความหมายต่อผู้หญิงในฐานะที่เป็น สิ่งที่แสดงถึงคุณค่าของความเป็นแม่ศรีเรือน ผู้หญิงที่ทอผ้าเก่ง ฝีมือประณีต ละเอียด มีผ้าซิ่นผืนงามเด่นนุ่งไปงานบุญ ย่อมเป็นที่หมายปองของชายหนุ่ม แสดงถึงการเป็นแม่ศรีเรือนที่ดี เพียบพร้อมในการออกเรือน และนอกจาก นี้สตรีชาวไทลื้อยังมีการทอผ้าเพื่อใช้เป็นเครื่องสื่อรักที่ใช้แทนใจของชาย หญิงอีกด้วย เช่น การให้ยืมผ้าห่มคลุมตัวที่เรียกว่า “ผ้าตุ๊ม” เพื่อว่าชายหนุ่ม จะได้ใช้กันหนาวเวลาเดินทางกลับบ้าน และจะได้นำ�มาคืนให้ในวันต่อมา เป็นการสานสัมพันธ์ทางอ้อม หรือการทอ “ผ้าเช็ด” ผืนงามให้แก่ชายคนรัก ใช้สำ�หรับพาดบ่าไปวัด และเมื่อมีคู่หมายถึงเวลาเตรียมตัวแต่งงานผู้หญิงจะ เตรียม “สะลี” (ที่นอน) หมอน มุ้ง ผ้าห่ม “ผ้าหลบ” (ผ้าปูที่นอน) ไว้ให้เพื่อใช้ ในชีวิตครอบครัวใหม่ โดยในอดีตสตรีชาวไทลื้อที่จะแต่งงานพร้อมออกเรือน จะต้องเตรียมผ้าทอที่ใช้สอยในครัวเรือนต่าง เช่น สะลี ผ้าห่ม ผ้าหลบ ไว้ให้ พร้อมเป็นจำ�นวนหลายชุด โดยผ้าหลบจะมีการทออย่างน้อย 4 – 6 ผืน เพื่อ ใช้ในชีวิตครอบครัวใหม่ ตลอดจนใช้เป็นของไหว้ญาติผู้ใหญ่ฝ่ายชาย และ พร้อมเก็บไว้ใช้ในพิธีกรรมต่าง ๆ อีกต่างหาก

13


ผ้าหลบไทลื้อ เมืองเงิน

14

ผ้าหลบ คือ ผ้าปูที่นอน ซึ่งใช้ปูทับลงบนฟูกหรือสะลีอีกทีหนึ่ง ใน อดีตนิยมใช้เส้นฝ้ายปั่นมือทอขัดสานธรรมดาด้วยฟืมขนาดเล็ก มีหน้ากว้าง ประมาณ 40 – 60 เซนติเมตร จึงมีการทองสองผืนแล้วนำ�มาเย็บต่อตรง กลางเพื่อให้มีขนาดพอเหมาะกับการปูบนฟูก โดยผ้าหลบทั่วไปของชาว ไทลื้อจะมีลักษณะเด่นอยู่ที่การทอลายขิด (ภาษาไทลื้อเรียกว่า “ลายมุก”) เป็นตัวตกแต่งสร้างลวดลายให้กับผืนผ้า ลวดลายขิดบนผ้าหลบจะเกิดจาก การนำ�เส้นพุ่งนี้จะนิยมใช้เส้นฝ้ายสีแดงสลับสีดำ�คราม อาจมีเพียง 1-2 แถว เฉพาะตรงส่วนของเชิงผ้า หรือบางผืนอาจทอลวดลายขิดจนเกือบเต็มผืนผ้า หลบ เหลือเพียงส่วนที่เป็นผ้าพื้นสีขาวเฉพาะตรงส่วนบนก็ได้ แต่ลักษณะเด่น บนผืนผ้าหลบของชาวไทลื้อ เมืองเงินนั้น จะมีการผสมผสานเทคนิคการสร้าง ลวดลายโดยการจก ซึ่งคือการเพิ่มเส้นพิเศษเข้าไปบนตัวผ้าเป็นช่วงๆ ซึ่งเป็น อิทธิพลที่ได้รับมาจากกลุ่มไทลาว ในประเทศลาว ที่มีฝีมือทางด้านการจก ผ้าซิ่น หรือตีนซิ่นที่ละเอียดและสวยงาม โดยลักษณะโครงสร้างของผ้าหลบ ไทลื้อ ส่วนใหญ่ตรงชายผ้าจะรวบเส้นฝ้ายถักเป็นตาข่าย เรียกว่า “ไป่” และ มีการประดับตกแต่งพู่ห้อยหรือลูกฝ้ายซึ่งเรียกว่า “ป็อก” ถัดจากส่วนไป่ขึ้นไป จะเป็นส่วนของลวดลายขิดและลวดลายจก ที่เกิดจากการนำ�รูปทรงเรขาคณิต ลวดลายพรรณพฤกษา และลวดลายสัตว์ต่าง ๆ ทั้งที่พบเห็นในชีวิตประจำ� วัน และสัตว์ตามอุดมคติ ความเชื่อ มาสร้างเป็นลวดลายให้เกิดขึ้นออกมา เป็นลวดลายที่สวยงาม และส่วนที่ถัดขึ้นไปจะเป็นส่วนช่วงผ้าพื้นสีขาวเรียก ว่า “ป้าน” ซึ่งเป็นผ้าพื้นสีขาวที่ทอด้วยเทคนิคธรรมดาเพื่อเป็นตัวรองรับเวลา นอนให้เกิดความสบาย


15


16


โดยผ้าหลบจะมีการทออย่างน้อย 4–6 ผืน เพื่อใช้ในชีวิตครอบครัว ใหม่ ต ลอดจนใช้ เ ป็ น ของไหว้ ญ าติ ผู้ ใ หญ่ ฝ่ า ยชายและพร้ อ มเก็ บ ไว้ ใช้ ใ น พิธีกรรมต่างๆ อีกต่างหาก อาทิ งานบวช เป็นประเพณีสำ�คัญสำ�หรับชาวไทลื้อโดยเฉพาะผู้เป็นแม่ ที่จะให้ลูกชายบวชเป็นพระหรือเณร โดบถือเป็นการทำ�บุญอันยิ่งใหญ่ในชีวิต ของผู้หญิง ในวันก่อนที่จะเข้าพิธีบวชจะมีการจัดพิธีสู่ขวัญที่บ้านเจ้าภาพ หรือบ้านของญาติพี่น้อง มีการจัดเตรียมสิ่งของที่จะถวายวัดไว้บนชั้นวางมี หมอนผา หมอนโกลน ผ้าเช็ดน้อย ผ้าเสื่อ ผ้าหลบ ผ้าห่ม บาตร ถุงเป้ง(ถุงผ้า เพื่อใส่ของมีค่า) ชุดเคี้ยวหมาก ผ้าจีวร ต้นดอก มะพร้าวสุ้ม เป็นต้น มีบายศรี ตั้งกลางห้อง ให้ผู้ที่บวชนั่งบนผ้าเสื่อปูด้วยผ้าหลบ อาจารย์วัด (พระสงฆ์) จะ ทำ�พิธีสู่ขวัญแล้วผูกข้อมือให้นาคและต่อมาเชิญช่างขับมาขับลื้อกันในห้องจัด พิธีสู่ขวัญ พิ ธี ท านธรรมหรื อ เรี ย กได้ ห ลายชื่ อ ว่ า พิ ธี ตั้ ง ธรรมหลวงเทศน์ มหาชาติหรือทานธรรมเวสสันดร โดยชาวไทลื้อถือว่าเป็นการทำ�บุญขนาด ใหญ่เพื่อสะสมบุญให้แก่ตนเองและแก่บรรพบุรุษหรือญาติพี่น้องที่ ล่วง ลับไปแล้ว โดยมักจะประกอบพิธีกรรมในช่วงเดือน 4 ตามปฏิทินไทลื้อหรือ ประมาณเดือนกุมภาพันธ์ โดยการเตรียมสิ่งของเพื่อทานคนตายหรือครัว ทาน จะประกอบด้วย เครื่องแต่งกาย เช่น ผ้าซิ่น เสื้อ ผ้าต้อย เครื่องนอน เช่น ผ้าเสื่อ ผ้าหลบ ผ้าก๊อบ ผ้าห่ม หมอน

17


โครงสร้างลวดลายบนผืนผ้าหลบ

18

ผ้าหลบ เป็นผ้าปูที่นอน ใช้ปูทับลงบนฟูกหรือเสื่ออีกทีหนึ่ง ใน อดีตนิยมใช้เส้นฝ้ายปั่นมือทอขัดสานธรรมดาด้วยฟืมขนาดเล็ก มีหน้ากว้าง ประมาณ 40–60 เซนติเมตร จึงต้องมีการทองสองผืนแล้วนำ�มาเย็บต่อตรง กลางเพื่อให้มีขนาดพอเหมาะกับการปูบนฟูก ผ้าหลบไทลื้อ เมืองเงิน สามารถแบ่งแยกออกเป็น 2 ประเภทตาม โครงสร้างลวดลาย คือ ผ้าหลบที่ใช้ฝ้ายสีดำ�-แดงสลับกันในการทอลวดลาย ขิดที่ทอออกมาเป็นสีเดียวกันตลอดแถว ขนาดความยาวของพื้นที่ลวดลาย มีขนาดใหญ่หว่าผ้าหลบอีกประเภทหนึ่ง ส่วนใหญ่มีลวดลายดอกตั้งกลาง ดอกหับ และดอกบ่างเป็นลวดลายหลัก มีดอกขอ ดอกเครือเถา ลายสร้อย สาเป็นลายประกอบ บางผืนมีการจกเป็นลายสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูนด้วยฝ้าย หรือเส้นไหมสีเหลือง สีน้ำ�เงิน สีม่วงและสีชมพู นิยมจกลวดลายอื่นๆ เช่น ดอกขอ ดอกจ้าย ดอกกาบ เป็นแถวสลับกับลายขิดสีดำ�-แดง ส่วนผ้าหลบอีก ประเภทหนึ่งมีการจัดการโครงสร้างลวดลายคล้ายกับผ้าเช็ด แต่พื้นที่ทอเป็น ลวดลายนั้นมีเฉพาะส่วนชายผ้าข้างเดียวมีขนาด 30–40 เซนติเมตร อยู่ด้าน ล่างของผ้าหลบ ลวดลายที่นิยมทอเป็นดอกบ่าง ดอกหับเป็นลายหลัก มีลาย ประกอบเป็นดอกขอ ดอกกูดขอ ลายสร้อยสา เป็นต้น มักจะใช้สีดำ� แดง และ เหลือง บางผืนใช้เส้นไหมสีเขียว ส้ม ชมพูและม่วง ผ้าหลบประเภทนี้มีหน้า แคบกว่าผ้าหลบชนิดแรก ชาวเมืองเงินบางคนเรียกว่า “ผ้าหลบหัวช้าง” เพื่อ ใช้ในการประดับหัวช้างในพิธีกรรม เช่น พิธีแห่นาคในงานบวชลูกแก้ว และ พิธีสู่ขวัญช้างในช่วงหลังฤดูการเก็บเกี่ยวเสร็จสิ้น ผ้าหลบทั้ง 2 ประเภทจะมี การทอออกมาเป็น 2 ผืน แล้วนำ�มาเย็บต่อตามความยาวของผ้าที่มีลวดลาย เดียวกัน ตามความยาวของผ้า


ผ้าพื้น

19

ลวดลาย

©มรดกวัฒนธรรมผ้าทอไทลื้อ, ทรงศักดิ์ ปรางค์วัฒนากุล

ชายครุย และ พู่ (ไป่ และ ป็อก)


ลวดลายและความหมาย ลายเรขาคณิต

เป็นลวดลายพื้นฐานของผืนผ้า มีรูปร่างที่เป็นเหลี่ยมมุมต่างๆ อัน ได้แก่ ลายรูปทรง สามเหลี่ยม สี่เหลี่ยม เส้นตรง เส้นทะแยง กากบาท ลาย เรขาคณิตเป็นลวดลายที่จะมีการพัฒนาต่อไปเป็นลวดลายชนิดอื่นๆ ซึง่ ลวดลายเรขาคณิตที่พบบนผืนผ้าหลบไทลื้อ เมืองเงิน

20

ดอกหน่วย เป็ น ลวดลายสี่ เ หลี่ ย มขนมเปี ย กปู น โดยลายหน่ ว ยถื อ เป็ น ลายที่ มี ค วาม สำ�คัญอย่างมากกับการสร้างลายโดย ถื อ ว่ า ลายหน่ ว ยเป็ น ส่ ว นประกอบที่ ทำ�ให้เกิดลวดลายอื่นๆ ขึ้นมากมาย ดังที่ทฤษฎีของเส้นที่กล่าวว่า เส้นเกิด ขึ้นจาก จุด หลายจุดรวมตัวกันจน กลายเป็น เส้น และเส้นหลายเส้นรวม กันจนกลายเป็น รูปทรง

ดอกขอ ลวดลายที่มีหัวลายม้วนเข้ารูปตัว U ซึ่งเป็นลายเก่าแก่ของชาวไท


21


22


ดอกกาบ ล ว ด ล า ย ที่ มี โ ค ร ง ส ร้ า ง เ ป็ น รู ป สามเหลี่ยมมีหยักแหลมโดยรอบ ลายกาบขอ เป็นลวดลายที่มีโครงสร้าง สามเหลี่ยมที่มีดอกขอโดยรอบ ลายกาบตั้ง เป็นลวดลายที่มีโครงสร้าง สามเหลี่ยมที่มีลายเขี้ยวหมาโดยรอบ

ลายเขี้ยวหมา ลั ก ษณะลายเป็ น รู ป ทรงสามเหลี่ ย ม คล้ายคลึงกับฟันของสุนัข การทอลาย เพื่ อ ต้ อ งการให้ เ ป็ น ลายคั่ น ระหว่ า ง ลายในแต่ละแนว

ดอกจ้าย ลวดลายที่เป็นเส้นเฉียง ไล่ระดับเป็น แนวเดียวกัน มองเห็นเป็นเส้นแนว เฉียงเรียงกัน

23


ลายงูลอย เป็นลวดลายรูปทรงเรขาคณิตเกิดจาก การนำ � เส้ น เฉี ย ง2มาประกอบโดยจะ เกิ ด การหั ก มุ ม เป็ น มุ ม แหลมคล้ า ย เส้ น ซิ ก แซ็ ก และเมื่ อ นำ� มาต่ อ เป็ น เส้ น เดียวกันจะได้ออกมาเป็นเส้นซิกแซ็กที่ มีลักษณะเป็นเส้นเดียวยาว แนวตั้ง ชาวไทลื้อเรียกว่า ลายงูลอย แนวนอน ชาวไทลื้อเรียกว่า ลายงูน้อย 24

ดอกหับ ลวดลายรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน คำ�ว่า “หับ” แปลว่า ปิด เป็นการทอลวดลาย รู ป สามเหลี่ ย มที่ เ รี ย กว่ า “ดอกบ่ า ง” ซ้ำ � อี ก ครั้ ง หนึ่ ง ให้ ม าประกอบกั น จะ กลายเป็ น รู ป สี่ เ หลี่ ย มขนมเปี ย กปู น โดย ดอกบ่าง เป็นลวดลายสามเหลี่ยม ซึ่ ง เป็ น ส่ ว นครึ่ ง หนึ่ ง ของลายสี่ เ หลี่ ย ม ขนมเปียกปูนในภาษาไทลื้อคำ�ว่า“บ่าง” แปลว่า ครึ่ง ลายเขี้ยวหมา ลักษณะลาย เป็นรูปทรงสามเหลี่ยมคล้ายคลึงกับฟัน ของสุนัข การทอลายเพื่อต้องการให้ เป็นลายคั่นระหว่างลายในแต่ละแนว


25


26


ลายพรรณพฤกษา ลวดลายพรรณพฤกษาเป็นลวดลายที่มีการได้รับแรงบัลดาลใจมาจาก ธรรมชาติโดยมีความเกี่ยวของกับต้นไม้และดอกไม้ซึ่งแฝงไปด้วยคติความเชื่อที่ มีความเกี่ยวข้องกับความอุดมสมบูรณ์ของธรรมชาติโดยสามารถลวดลายพรรณ พฤกษาได้ในรูปแบบของลายเครือเถา หรือรูปดอกเดี่ยวโดดๆ

ลายดอกจัน หรือ ลายดอกจั๋น เป็นลายดอกไม้ขนาดเล็กที่พัฒนามา จากลายสามเหลี่ยมและลายสี่เหลี่ยม เป็ น ลวดลายที่ เ ก่ า แก่ ข องงานสิ่ ง ทอ ไทลื้อ มีความหมายถึงดอกไม้งามใน อุ ด มคติ แ ละความบริ บู ร ณ์ ท างความ สุขสม ลายดอกเครือ และ เครือเถา เป็นลวดลายที่มีความหมายถึงความ อุดมสมบูรณ์ของแผ่นดิน และสายน้ำ� ที่ ห ล่ อ เลี้ ย งในวิ ถี ชี วิ ต ชาวไทลื้ อ ได้รับแรงบัลดาลใจมาจากลักษณะของ ธรรมชาติโดยรอบ ลายต้นไม้ หรือ โค๊ะดอกไม้ เป็นลวดลายต้นไม้ ดอกไม้ ที่ได้รับแรง บั น ดาลใจมาจากต้ น ไม้ ที่ พ บเห็ น อยู่ ทั่วไปในชีวิตประจำ�วัน แล้วนำ�มาสร้าง สรรค์เป็นลวดลาย

27


ลายสัตว์ ลวดลายรูปสัตว์เป็นลวดลายที่มีการได้รับแรงบัลดาลใจมาจากสัตว์ที่ มีอยู่จริงในธรรมชาติและสัตว์ในป่าหิมพานต์ที่มีต้นกำ�เนิดมาจากจินตนาการ และคติความเชื่อดั้งเดิม

ลายสัตว์ที่ในธรรมชาติ

28

ลายช้าง ช้ า งเป็ น สั ต ว์ ที่ คุ้ น เคยกั บ สั ง คมไทมา แต่ช้านาน เป็นทั้งสัตว์ที่เลี้ยงไว้งาน และเป็ น ทั้ ง สั ต ว์ ม งคลที่ คู่ กั บ สถาบั น กษัตริย์ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ที่สื่อถึง ความยิ่งใหญ่ ความเจริญรุ่งเรือง และ นอกจากนี้เมืองเงินมีตำ�นานเกี่ยวกับ ช้างและช้างยังเป็นสัตว์เลี้ยงไว้ใช้งาน สำ�หรับชาว ไทลื้อ เมืองเงิน มาตั้งแต่ อดีตจนถึงปัจจุบัน และนอกเหนือจาก ลวดลายช้างในธรรมชาติแล้วนั้น ยัง มีลายข้างต่างปราสาท หรือ ช้างแบก ปราสาท ซึ่งคือลวดลายในลักษณะช้าง มีปราสาทอยู่บนหลัง โดยปราสาทมี ความหมายทางด้านคติความเชื่อเรื่อง การอุทิศ หรือการนำ�ไปสู่สรวงสวรรค์


29


30


ลายม้า สื่อถึงความอุดมสมบูรณ์ของธรรมชาติ ม้าเป็นสัตว์ชนิดหนึ่งที่มีความคุ้นเคย ควบคู่ กั บ สั ง คมไทมาแต่ ช้ า นานเช่ น เดียวกับช้าง ลายม้ามักพบคู่กับลาย นก และช้าง ในบางทีก็พบเป็นรูปคน ขี่ม้า หรือนกเกาะอยู่บนหลังม้า ซึ่งสื่อ ถึงความอดทน และการเป็นพาหนะ เพราะในอดีตชาวไทลื้อมักนิยมใช้ม้า เป็นพาหนะในการเดินทาง 31

ลายหงส์ หงส์เป็นสัตว์ที่อาศัยอยู่ในป่าหิมพานต์ สื่อถึงสวรรค์ “ความสูงส่ง ความศักดิ์สิทธิ์


ลายนก เป็นลายที่พัฒนามาจากลายขอขนาด เล็ ก สื่ อ ถึ ง ธรรมชาติ แ ละความอุ ด ม สมบูรณ์ มักพบควบคู่กับลายม้า

32

ลายไก่ เป็นสั ต ว์ ที่ ชาวไทลื้อ นิยมเลี้ยงเอาไว้ เพื่อนำ�มาทำ�พิธีเลี้ยงผีประจำ�ปี ทั้งนี้ ไก่ ยังเป็นเสมือนเงินตราที่ใช้ในการ ซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้าในอดีต


33


34


ลายสัตว์ในอุดมคติ เกิดจากการนำ�สัตว์ที่อยู่ในคติความเชื่อ ความศรัทธา มาประยุกต์ใช้ เพื่อถือเป็นการสร้างความเป็นสิริมงคลและความสบายใจแก่ผู้ใช้ผ้า ซึ่งได้รับ แนวคิดมาจากทั้งความเชื่อทางศาสนาและจากความเชื่อในชุมชน ลายนาค เป็นลายสำ�คัญของกลุ่มชนชาติไท สื่อ ถึงคติดั้งเดิมในการนับถือธรรมชาติผู้ ให้กำ�เนิดสรรพสิ่งต่างๆ นาคเป็นสัตว์ ที่อาศัยอยู่ได้ทั้งบนพื้นดิน ท้องน้ำ� และแผ่ น ฟ้ า ซึ่ ง หมายถึ ง ผู้ ส ร้ า งความ สมดุลแห่งระบบนิเวศและมีความเกี่ยว โยงกั บ การนั บ ถื อ ผี บ รรพบุ รุ ษ ที่ นำ � ความอุดมสมบูรณ์มาให้แก่มนุษย์โลก

ลายคชสีห์ เป็นสัตว์ผสมระหว่างช้างกับสิงห์ โดย สื่ อ ความหมายถึ ง การให้ กำ � เนิ ด ชี วิ ต และความมีอำ�นาจ

35


ผ้าหลบไทลื้อ เมืองเงิน สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ธนกร สุธีรศักดิ์ ภาพและเนื้อเรื่อง © 2016 (พ.ศ. 2559) โดย ธนกร สุธีรศักดิ์ สงวนลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติ 36

พิมพ์ครั้งแรก เดือนตุลาคม พ.ศ. 2559 จัดพิมพ์โดย ภาควิชาศิลปะไทย คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ออกแบบและจัดรูปเล่มโดย ธนกร สุธีรศักดิ์ ออกแบบโดยใช้ฟอนต์ TF Srivichai 16pt. หนังสือเล่มนี้เป็นผลงานทางวิชาการ จัดทำ�ขึ้นเพื่อส่งเสริมและต่อยอดศักยภาพการ ศึกษาภายในภาควิชาศิลปะไทย คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่



ผ้าหลบไทล้ือ เมืองเงิน สปป.ลาว จากกระบวนการสร้างสรรค์ สู่ผืนผ้าอันสวยงาม ลวดลายอันวิจิตรประณีตจากวิถีชีวิตในชุมชน สู่ผืนผ้าอันทรงคุณค่า


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.