คู่มือแนวทางการทำงานกลุ่มสัจจะสะสมทรัพย์

Page 1


่ มูบ สูห ่ า้ นอาริยะ คูม ่ อ ื แนวทางการทางาน

ั เครือข่ายกลุม ่ สจจะสะสมทร ัพย์ เพือ ่ พ ัฒนาคุณธรรมครบวงจรชวี ต ิ จ ังหว ัดนครศรีธรรมราช


่ มูบ สูห ่ า้ นอาริยะ คูม ่ อ ื แนวทางการทางาน ั จะสะสมทรัพย์เพือ เครือข่ายกลุม ่ สจ ่ พัฒนาคุณธรรมครบวงจรชวี ต ิ จังหวัดนครศรีธรรมราช

พิมพ์ครัง้ ที่ 1 จานวนพิมพ์ 5,000 เล่ม ิ ธิ์ © 2560 สงวนลิขสท ั จะสะสมทรัพย์ เครือข่ายกลุม ่ สจ เพือ ่ พัฒนาคุณธรรมครบวงจรชวี ต ิ จังหวัดนครศรีธรรมราช วัดป่ ายาง ม.4 ต.ท่างิว้ อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช 80280

ISBN

978-XXX-XXX-XXX-X

ผู ้เขียน

ศานติ โบดินันท์

ภาพประกอบ

ั จะสะสมทรัพย์ กรรมการเครือข่ายกลุม ่ สจ

ถ่ายภาพ

ิ เครือข่ายกลุม ั จะสะสมทรัพย์ สมาชก ่ สจ

ออกแบบปก

SakDesign

ิ ฎ์ ศักดิน ์ รินทร์ ธราดลวิศษ ั จะวัดปากเจา กรรมการกลุม ่ สจ

ข ้อมูลทางบรรณานุกรมของหอสมุดแห่งชาติ ั จะสะสมทรัพย์เพือ เครือข่ายกลุม ่ สจ ่ พัฒนาคุณธรรมครบวงจรชวี ต ิ จังหวัดนครศรีธรรมราช หมูบ ่ ้านอาริยะ คูม ่ อ ื แนวทางการทางาน. -- นครศรีธรรมราช : เครือข่าย, 2560 250 หน ้า. ื่ เรือ 1. การพัฒนาชุมชน -- เครือข่ายองค์กรชุมชน. I. ชอ ่ ง. 365.9517 ISBN 978-XXX-XXX-XXX-X


เครื อข่ ายกลุ่มสัจจะสะสมทรั พย์ เพื่อพัฒนาคุณธรรมครบวงจรชีวิต นครศรี ธรรมราช

คํานํา คู่มือแนวทางการทํางานของเครื อข่ายกลุ่มสัจจะสะสมทรัพย์เพื่อพัฒนา คุณธรรมครบวงจรชี วิต จังหวัดนครศรี ธรรมราช เล่มนี้ เกิ ดขึ้นจากการร่ วมแรง ร่ วมใจกันของคณะกรรมการและสมาชิกเครื อข่ายกลุ่มสัจจะฯ 23 กลุ่มในจังหวัด นครศรี ธรรมราช คณะกรรมการคณะนี้ ได้ใช้เวลา 4 คืน 5 วัน เพื่อมากิน มานอน ที่ศูนย์กสิ กรรมธรรมชาติวดั ป่ ายาง ตลอดระยะเวลา 4 คืน 5 วัน ที่คณะกรรมการ คณะนี้ มาทํา กิ จ กรรมร่ ว มกัน การนั่ง ลงพู ด คุ ย กัน เพื่ อ หาแนวทางการทํา งาน ร่ วมกัน เพื่อให้เครื อข่ายสามารถเดินทางไปสู่ จุดหมายปลายทาง ได้เกิดขึ้น ในการนั่ง ลงพู ด คุ ยกัน ดัง กล่ า ว มี ก รรมการและสมาชิ ก 150 คนมาทํา กิ จ กรรมร่ ว มกัน โดยแบ่ ง เป็ น 3 กลุ่ ม ได้ แ ก่ ก ลุ่ ม 1 ระหว่ า งวัน ที่ 25 – 29 กุมภาพันธ์ 2560 มาร่ วมกิ จกรรม 60 คน กลุ่ม 2 ระหว่างวันที่ 25 – 29 มี นาคม 2560 มาร่ วมกิ จกรรม 60 คน และกลุ่ม 3 ระหว่างวันที่ 25 – 29 เมษายน 2560 มาร่ วมกิจกรรม 30 คน การพูดคุยกัน เป็ นการพูดคุยจากประสบการณ์ที่ผา่ นมา จากประสบการณ์ การทํางานมากกว่า 10 ปี ของคณะกรรมการเครื อข่ายโดยตรง จนกระทัง่ ตกผลึก เป็ นภาษาเดียวกัน เมื่อตกผลึกเป็ นภาษาเดียวกันแล้ว คณะกรรมการได้ช่วยกันขีด เขี ย นออกมาบนกระดาษแผ่ น ใหญ่ เพื่ อ รวบรวมเป็ นข้อ มู ล แล้ว ส่ ง ไปให้ คู่มือแนวทางการทํางาน

(1)


เครื อข่ ายกลุ่มสัจจะสะสมทรั พย์ เพื่อพัฒนาคุณธรรมครบวงจรชีวิต นครศรี ธรรมราช

คณะทํางานเรี ยบเรี ยงเป็ นภาษาหนังสื อที่ มีความเรี ยบง่าย และสามารถเข้าใจได้ ตรงกันมากที่สุด อย่า งไรก็ ต าม ก่ อ นที่ คู่ มื อ เล่ ม นี้ จะออกสู่ ส ายตากรรมการและสมาชิ ก เครื อข่าย อย่างที่ ท่านผูอ้ ่ านได้เห็นในขณะนี้ คณะกรรมการเครื อข่าย ได้มีการ ตรวจทานหลายรอบ โดยเฉพาะเรื่ องเนื้ อหา เพื่อให้มนั่ ใจว่ามีเนื้ อหาครบถ้วนทุก ประเด็นที่เกิดจากการพูดคุยกัน และเพื่อให้มนั่ ใจว่า ไม่มีเนื้อหาที่ไม่ได้มาจากการ พู ด คุ ย แอบสอดแทรกเกิ น เข้า มา สมาชิ ก จึ ง มั่น ใจได้ว่ า คู่ มื อ เล่ ม นี้ เป็ นของ คณะกรรมการเครื อข่ายร้อยเปอร์เซ็นต์ เพื่ อ ให้ คู่ มื อ เล่ ม นี้ สามารถนํา ไปใช้ เ ป็ นแนวทางในการทํา งานของ กรรมการเครื อข่าย และสมาชิก ตั้งแต่เริ่ มต้นคุยกับคนใหม่ คุยกับคนเก่า ไปจนถึง การทํางานประจํา คู่มือเล่มนี้ จึงใช้ภาษาพูดในการนําเสนอ เมื่อท่านอ่านคู่มือเล่ม นี้ ให้จินตนาการว่า ท่านกําลังเล่าเรื่ องให้คนอื่นฟั ง หรื อกําลังคุยกับคนอื่นอยู่ จะ ช่วยให้การใช้คู่มือนี้ ได้ผลยิง่ ขึ้น เนื้ อหาของคู่มือเล่มนี้ แบ่งออกเป็ น 6 บท เริ่ มจากบทที่ 1 เป็ นการกล่าวถึง การเกิ ดขึ้นของเครื อข่าย โดยกล่าวให้เห็นถึ งพัฒนาการของสังคมในภาพกว้าง ตั้งแต่การเกิดขึ้นของชุมชนหมู่บา้ นในยุคอดีต จนมาถึงการอยูร่ วมกันของหมู่บา้ น สมัยใหม่ แล้วชี้ ให้เห็นว่า ในสังคมสมัยใหม่ หมู่บา้ นล่มสลายได้อย่างไร สุ ดท้าย

คู่มือแนวทางการทํางาน

(2)


เครื อข่ ายกลุ่มสัจจะสะสมทรั พย์ เพื่อพัฒนาคุณธรรมครบวงจรชีวิต นครศรี ธรรมราช

ชี้ ให้เห็ นว่า การมารวมตัวกันแบบเครื อข่ายของชาวบ้าน หลังยุคล่ มสลายของ หมู่บา้ น จะนําไปสู่การสร้างหมู่บา้ นใหม่ได้อย่างไร ต่อมาบทที่ 2 กล่าวถึงเครื อข่ายกลุ่มสัจจะสะสมทรัพย์ เพื่อพัฒนาคุณธรรม ครบวงจรชี วิต จัง หวัดนครศรี ธรรมราช ซึ่ งเป็ นเครื อ ข่า ยที่ คู่มือเล่ มนี้ กาํ ลังจะ นําเสนอ ผูอ้ ่านจะได้ทราบจุดกําเนิ ดของเครื อข่าย จุดเชื่ อมโยงของแต่ละกลุ่ ม สัจจะ ตลอดระยะเวลาการทํางานร่ วม 20 ปี ของนักสร้างเครื อข่ายชาวบ้าน จน กลายเป็ นเครื อข่ายขนาด 23 กลุ่ม รวมทั้งผูอ้ ่านจะได้ทราบประวัติโดยสังเขปของ แต่ละกลุ่มด้วย บทที่ 3 กล่าวถึงหลักพุทธะ ที่เครื อข่ายใช้เป็ นหลักการในการทํางาน ทั้ง หลักพุทธะที่อยูใ่ นพุทธประวัติ หลักพุทธะในศาสนาของประเทศไทย หลักพุทธะ ที่ได้จากประเพณี พิธีกรรมในโบสถ์ที่ชาวบ้านปฏิบตั ิสืบต่อกันมา สุ ดท้ายหลัก พุทธะที่อยู่ในตัวคนทุกคน ว่าแต่ละหลักการมีความเป็ นมาในทางประวัติศาสตร์ อย่างไร รวมทั้งหากจะนํามาเป็ นหลักการในการทํางานของเครื อข่ายมีหลักการ อะไรบ้าง และมีวิธีการใช้หลักการเหล่านั้นอย่างไร บทที่ 4 กล่าวถึงจุดหมายปลายทางของเครื อข่าย คือการสร้างหมู่บา้ นอาริ ยะ และการพัฒนาคนให้เป็ นอาริ ยะบุคคล โดยใช้วิธีการนําเสนอแบบเรื่ องเล่ า แบบมีตวั บุคคลแสดงบทบาท เพื่อให้ผูอ้ ่านเห็นภาพหมู่บา้ นอาริ ยะ และอาริ ยะ

คู่มือแนวทางการทํางาน

(3)


เครื อข่ ายกลุ่มสัจจะสะสมทรั พย์ เพื่อพัฒนาคุณธรรมครบวงจรชีวิต นครศรี ธรรมราช

บุคคลได้ชดั เจนยิ่งขึ้น นอกจากนั้นยังเล่าให้เห็ นภาพว่า การสร้ างอาริ ยะบุคคล และหมู่บา้ นอาริ ยะ มีเป้าหมายในการพัฒนาแต่ละขั้นอย่างไรบ้าง บทที่ 5 กล่าวถึงแนวทางการทํางานของเครื อข่าย โดยใช้วิธีการนําเสนอ เช่นเดียวกับบทที่ 4 ซึ่ งจะสมมุติเหตุการณ์วา่ คณะผูศ้ ึกษาดูงานได้ไปดูการทํางาน ในวัน ทํา การต่ า ง ๆ ของกลุ่ ม สั จ จะในหมู่ บ้ า นแห่ ง หนึ่ ง รวมทั้ ง การไป สังเกตการณ์การประชุมกรรมการเครื อข่าย เพื่อจะได้เห็นภาพแนวทางการทํางาน อย่างชัดเจน แล้วสรุ ปแนวทางการทํางานในแต่ละวันออกมาให้ผอู ้ ่านได้เห็นอย่าง สั้น ๆ ด้วย สุ ด ท้า ยบทที่ 6 เป็ นการสรุ ป อธิ บ าย และนํา เสนอวิ ธี ก ารปฏิ บ ัติ ต าม แนวทางของเครื อข่าย โดยจะสรุ ปแนวทางการทํางานในแต่ละวัน แนวทางการ ทํางานในแต่ละเรื่ องที่ได้จากบทที่ 5 ออกมาแล้วอธิ บายว่า แนวทางการทํางานแต่ ละอย่า ง สอดคล้อ งกับ หลัก พุ ท ธะ อย่ า งไร จะพัฒ นาให้ บุ ค คล และหมู่ บ้า น กลายเป็ นอาริ ยะได้อย่างไร พร้ อมทั้ง อธิ บายวิธีการปฏิ บตั ิ ตามแนวทาง ทั้งวิ ธี ปฏิบตั ิทางกาย และวิธีวางใจในการปฏิ บตั ิ เพื่อให้ผอู ้ ่านสามารถปฏิบตั ิได้อย่าง ถูกต้อง และได้ผลที่สอดคล้องตามเจตนารมณ์ของการกําหนดแนวทางการทํางาน ของเครื อข่าย เพื่อให้เครื อข่ายสามารถเดินไปสู่จุดหมายปลายทางได้ คําแนะนําสําหรับการใช้คู่มือเล่มนี้ ให้ได้ผล อาจทําได้สามทางกล่าวคือ ทางแรกสําหรับคนใหม่ ควรเริ่ มอ่านไปตั้งแต่บทแรก แล้วอ่านไปตามลําดับ เพื่อ คู่มือแนวทางการทํางาน

(4)


เครื อข่ ายกลุ่มสัจจะสะสมทรั พย์ เพื่อพัฒนาคุณธรรมครบวงจรชีวิต นครศรี ธรรมราช

จะได้เข้าใจภาพรวมภูมิหลังทางสังคมที่นาํ ไปสู่ การก่อกําเนิ ดของเครื อข่าย แล้ว เวลาไปอ่านแนวทางการทํางานในบทท้าย ๆ จะได้นึกภาพออก หรื อยิ่งเวลาไปดู งานจากของจริ ง จะได้มีความเข้าใจมากยิง่ ขึ้น ส่ วนทางที่สองสําหรับสมาชิ กหรื อกรรมการที่เข้าประชุมอยู่เนื อง ๆ หรื อ สมาชิ กที่ผ่านค่ายการอบรมของเครื อข่ายมาแล้ว อาจเปิ ดอ่านเนื้ อหาที่ ตอ้ งการ ทราบ หรื อ ที่ ต ้อ งการทบทวนโดยดู จ ากสารบัญ ชื่ อ เรื่ อ งได้เ ลย เพื่ อ ทบทวน เรื่ องราว หรื อทบทวนแนวทางการทํางาน เมื่อเกิดข้อสงสัยเวลาทํางานจริ ง ๆ หรื อทางที่สาม สําหรับกรรมการหรื อสมาชิ กที่ตอ้ งการศึกษาแนวทางการ ทํา งานล้วน ๆ ที่ ไม่ เ กี่ ยวกับเรื่ อ งเล่า เลย แบบเร่ งด่ วน ก็ให้เปิ ดไปอ่ า นบทที่ 6 โดยเฉพาะได้เลย ถ้ามีเวลาว่าง แล้วค่อยย้อนมาอ่านส่วนที่เป็ นเรื่ องเล่าตั้งแต่บทที่ 1-5 ทีหลังตามที่โอกาสเอื้ออํานวย ก็จะได้ความเข้าใจมากขึ้น และได้อรรถรสไป อีกแบบหนึ่ ง อย่างไรก็ตาม การอ่านงานเขียนชุดนี้ แต่ละรอบ ก็จะให้อรรถรสที่แตกต่าง กัน ไป ตามปั จ จัย แวดล้อ ม ณ ขณะนั้น ของผูอ้ ่ า น ยิ่ง อ่ า นหลายเที่ ย ว ก็ จ ะได้ ความคิดที่งอกเงยขึ้นมาในแต่ละเที่ยวที่อ่าน แต่ถา้ จะให้มีความสร้างสรรค์อย่าง แท้จริ ง ควรนําแนวคิด แนวทางที่ได้จากการอ่าน ไปทดลองลงมือทํา ผลที่เกิดจาก การลงมือทําของเราเองนั่นแหละที่เราจะสามารถพูดได้เต็มปากว่า เป็ นความรู ้

คู่มือแนวทางการทํางาน

(5)


เครื อข่ ายกลุ่มสัจจะสะสมทรั พย์ เพื่อพัฒนาคุณธรรมครบวงจรชีวิต นครศรี ธรรมราช

ความสร้างสรรค์ของเราอย่างแท้จริ ง ที่เราจะสามารถนําไปบอกเล่าต่อให้คนอื่น เดินตามได้อย่างมีพลัง แนวทางที่ปรากฏในคู่มือเล่มนี้ จะเกิ ดขึ้นไม่ได้ หากปราศจากผูร้ ่ วมแสดง เหล่ า นี้ คณะผู ้จ ัด ทํา ขอกราบขอบพระคุ ณ คณะกรรมการเครื อข่ า ยฯ และ ผูเ้ กี่ยวข้องทุกท่านที่เสี ยสละเวลามาร่ วมทํากิจกรรม และเสี ยสละกําลังกาย กําลัง ความคิด ถ่ายทอดประสบการณ์ของท่านออกมาอย่างชัดเจน ทําให้คู่มือเล่ มนี้ สําเร็จลุล่วงไปได้ดว้ ยดี ขอบคุณ ศักดิ์ดีไซน์ (SakDesign) ท่าศาลา บริ หารงานโดยคุณศักดิ์นริ นทร์ ธราดลวิศิษฏ์ แห่ งกลุ่มสัจจะวัดปากเจา ที่ทุ่มเทความรู ้ความสามารถ และเสี ยสละ เวลาออกแบบปก และรู ปเล่มของคู่มือเล่มนี้ จนคู่มือเล่มนี้ มี รูปเล่ ม และสี สัน สวยงาม น่าอ่าน ดังที่ท่านได้ถือในมือนี้ ขอบคุณ “ครู แผ้ว” เลอศักดิ์ จิตร์รัว คุณครู ภาษาไทยที่ปรึ กษาของเครื อข่าย และกรรมการเครื อข่ า ยทุกท่ า นที่ ไม่ ได้อ อกนามในที่ น้ ี ที่ กรุ ณาสละเวลาอ่ า น ต้นฉบับ และช่ วยพิ สูจน์อกั ษร จนทําให้คู่มือเล่ มนี้ มี ภาษาที่ อ่านได้ง่ายอย่างที่ ท่านเห็นอยูน่ ้ ี ที่สาํ คัญ เรื่ องราวเหล่านี้ จะไม่เกิดขึ้นเลย หากปราศจากบุรุษผูใ้ ช้เวลากว่า ครึ่ งชี วิตในการอุทิศตนเพื่อสังคม “พ่อท่านวรรณ คเวสโก” ผูน้ ้ ี ผูเ้ ป็ นต้นเรื่ อง คู่มือแนวทางการทํางาน

(6)


เครื อข่ ายกลุ่มสัจจะสะสมทรั พย์ เพื่อพัฒนาคุณธรรมครบวงจรชีวิต นครศรี ธรรมราช

ทั้งหมดของคู่มือเล่มนี้ การพูดแบบไม่รู้จกั เหน็ดเหนื่อยของพ่อท่าน ทําให้เราได้มี เรื่ องราวมาเล่าสู่ ท่านผูอ้ ่านทั้งหลายได้อ่าน ดังที่ปรากฏอยูใ่ นคู่มือเล่มนี้ คู่มือเล่มนี้ จะเกิ ดขึ้นไม่ได้ หากไม่ได้รับความสนับสนุ นงบประมาณจาก สํานักงานเกษตรและสหกรณ์จงั หวัดนครศรี ธรรมราช ทั้งงบประมาณในการจัด กระบวนการ และงบประมาณในการจัด ทํา คู่ มื อ คณะผูจ้ ัด ทํา ต้อ งขอกราบ ขอบพระคุณสํานักงานเกษตรและสหกรณ์จงั หวัดนครศรี ธรรมราชมา ณ โอกาส นี้ คณะผูจ้ ดั ทําหวังว่า คู่มือเล่มนี้ คงจะเป็ นประโยชน์บา้ ง สําหรับกรรมการ และสมาชิกเครื อข่าย ตลอดจนผูส้ นใจงานพัฒนาชุมชน รวมทั้งผูท้ าํ งานเพื่อสังคม ในแขนงอื่น ๆ ด้วย หากคุณงามความดี ของคู่มือพอจะมีอยู่บา้ ง คณะผูจ้ ดั ทําขอ อุทิศแด่สังคม แต่หากความบกพร่ องของคู่มือเล่มนี้ ยังหลงเหลืออยู่ ก็ดว้ ยความ บกพร่ องในการจัดทําของคณะผูจ้ ดั ทําเอง คณะผูจ้ ดั ทําขอน้อมรับความบกพร่ อง ไว้ท้ งั หมด และจักจะเป็ นความกรุ ณาอย่างสู ง หากท่านผูอ้ ่านได้ส่งข้อบกพร่ อง ผิดพลาดในการจัดทําเหล่านั้น พร้อมทั้งข้อเสนอแนะ มายังคณะผูจ้ ดั ทํา เพื่อคณะ ผูจ้ ดั ทําจะได้ปรับปรุ งคู่มือเล่มนี้ให้สมบูรณ์ยงิ่ ๆ ขึ้น ในโอกาสต่อไป คณะผูจ้ ดั ทําคู่มือแนวทางเครื อข่าย มิถุนายน 2560 คู่มือแนวทางการทํางาน

(7)


เครื อข่ ายกลุ่มสัจจะสะสมทรั พย์ เพื่อพัฒนาคุณธรรมครบวงจรชีวิต นครศรี ธรรมราช

สารบัญ คํานํา สารบัญ บทที่ 1 ความเป็ นมา กําเนิ ดหมู่บา้ น หมู่บา้ นของไทย หมู่บา้ นยุคก่อนการพัฒนาสมัยใหม่ หมู่บา้ นยุคการพัฒนาสมัยใหม่ หมู่บา้ นยุคหลังการพัฒนาสมัยใหม่ หมู่บา้ นยุคพ้นหลังการพัฒนาสมัยใหม่ การเกิดใหม่ของหมู่บา้ นยุคพ้นหลังการพัฒนาสมัยใหม่ บทที่ 2 เครื อข่ายกลุ่มสัจจะ คู่มือแนวทางการทํางาน

(8)


เครื อข่ ายกลุ่มสัจจะสะสมทรั พย์ เพื่อพัฒนาคุณธรรมครบวงจรชีวิต นครศรี ธรรมราช

จุดกําเนิดของเครื อข่าย กลุ่มสัจจะวัดป่ ายาง กลุ่มสัจจะวัดทุ่งคา กลุ่มสัจจะบ้านยอดเหลือง กลุ่มสัจจะบ้านหนองจิก กลุ่มสัจจะบ้านปากเจา กลุ่มสัจจะบ้านคุง้ วังวัว กลุ่มสัจจะวัดใหม่ไทยเจริ ญ กลุ่มสัจจะบ้านคลองเสาเหนื อ กลุ่มสัจจะบ้านเขาโพธิ์ กลุ่มสัจจะวัดเลียบ กลุ่มสัจจะวัดคลองขยัน กลุ่มสัจจะบ้านหนองบัว กลุ่มสัจจะวัดดินดอน กลุ่มสัจจะบ้านหน้าเขามหาชัย คู่มือแนวทางการทํางาน

(9)


เครื อข่ ายกลุ่มสัจจะสะสมทรั พย์ เพื่อพัฒนาคุณธรรมครบวงจรชีวิต นครศรี ธรรมราช

กลุ่มสัจจะบ้านดอนทะเล กลุ่มสัจจะบ้านในไร่ กลุ่มสัจจะวัดเขาหน้าเหรี ยง กลุ่มสัจจะท้องเนี ยน กลุ่มสัจจะวัดเขายวนเฒ่า กลุ่มสัจจะคูพาย กลุ่มสัจจะวัดสาคูใต้ กลุ่มสัจจะบ้านสวนปรางค์ กลุ่มสัจจะที่มีหวั ใจ บทที่ 3 หัวใจของเครื อข่าย หัวใจคือพุทธะ พุทธะในประวัติศาสตร์ พุทธะในศาสนาของไทย พุทธะในโบสถ์ พุทธะในใจเราทุกคน คู่มือแนวทางการทํางาน

(10)


เครื อข่ ายกลุ่มสัจจะสะสมทรั พย์ เพื่อพัฒนาคุณธรรมครบวงจรชีวิต นครศรี ธรรมราช

พุทธะที่เป็ นหัวใจนําทางเครื อข่าย ฟังเสี ยงหัวใจแห่ งพุทธะ บทที่ 4 จุดหมายปลายทางของเครื อข่าย หมู่บา้ นอาริ ยะ อาริ ยะบุคคล พุทธะแห่ งหมู่บา้ นอาริ ยะ บทที่ 5 การทํางานของเครื อข่าย วันทําการกลุ่มสัจจะ การส่ งสัจจะ การส่ งเงินกู้ การรับสวัสดิการ วันประชุมสรุ ปงาน คําไหว้พระสวดมนต์ การติดตามเงินกู้ วันประชุมพิจาณาเงินกู้ คู่มือแนวทางการทํางาน

(11)


เครื อข่ ายกลุ่มสัจจะสะสมทรั พย์ เพื่อพัฒนาคุณธรรมครบวงจรชีวิต นครศรี ธรรมราช

การพิจารณาเงินกู้ วันทําสัญญาเงินกู้ การทําสัญญาเงินกู้ วันประชุมกรรมการเครื อข่าย การรับสมาชิกใหม่ กองทุนคุม้ ครองชีวิตสมาชิกกลุ่มสัจจะ กองบุญกรรมการ การหารายได้เข้ากองทุนสวัสดิการคณะทํางาน วันประชุมใหญ่กลางปี ประเด็นการอภิปรายการทํางานของกลุ่ม ประเด็นการอภิปรายเพื่อค้นหาตนเอง กําหนดการประชุม สุนทรพจน์ประธาน วันประชุมใหญ่ปันผลประจําปี กําหนดการประชุม คู่มือแนวทางการทํางาน

(12)


เครื อข่ ายกลุ่มสัจจะสะสมทรั พย์ เพื่อพัฒนาคุณธรรมครบวงจรชีวิต นครศรี ธรรมราช

วาระการประชุม สุนทรพจน์ประธาน การพิจารณาค่าตอบแทนกรรมการ การคัดเลือกกรรมการบริ หาร แนวทางที่มีคาํ อธิ บาย บทที่ 6 แนวทางการทํางาน สรุ ป อธิบาย เสนอแนะ แนวทางการทํางานของเครื อข่าย แนวทางการส่ งสัจจะ แนวทางการส่ งเงินกู้ แนวทางการรับสวัสดิการ แนวทางการไหว้พระสวดมนต์ แนวทางการติดตามเงินกู้ แนวทางการพิจารณาเงินกู้ แนวทางการทําสัญญาเงินกู้ แนวทางการรับสมาชิกใหม่ คู่มือแนวทางการทํางาน

(13)


เครื อข่ ายกลุ่มสัจจะสะสมทรั พย์ เพื่อพัฒนาคุณธรรมครบวงจรชีวิต นครศรี ธรรมราช

แนวทางกองทุนคุม้ ครองชีวิตสมาชิกกลุ่มสัจจะ แนวทางกองบุญกรรมการ แนวทางการหารายได้เข้ากองทุนสวัสดิการคณะทํางาน แนวทางการอภิปรายการทํางานของกลุ่ม แนวทางการอภิปรายเพื่อค้นหาตนเอง แนวทางกําหนดการประชุมกลางปี แนวทางสุนทรพจน์ประธานในการประชุมกลางปี แนวทางกําหนดการประชุมปันผล แนวทางวาระการประชุมใหญ่ปันผล แนวทางสุนทรพจน์ประธานในการประชุมปันผล แนวทางการวิเคราะห์จุดอ่อน จุดแข็ง โอกาส และภัยคุกคาม แนวทางการพิจารณาค่าตอบแทนกรรมการ แนวทางการคัดเลือกกรรมการบริ หาร แนวทางแห่ งแนวทาง

คู่มือแนวทางการทํางาน

(14)


เครื อข่ ายกลุ่มสัจจะสะสมทรั พย์ เพื่อพัฒนาคุณธรรมครบวงจรชีวิต นครศรี ธรรมราช

ภาคผนวก คณะทํางานพัฒนาคู่มือแนวทางเครื อข่าย คณะกรรมการเครื อข่ายกลุ่มสัจจะ

คู่มือแนวทางการทํางาน

(15)


เครื อข่ ายกลุ่มสัจจะสะสมทรั พย์ เพื่อพัฒนาคุณธรรมครบวงจรชีวิต นครศรี ธรรมราช

บทที่ 1 ความเป็ นมา (สําหรับใช้พดู เป็ นคนแรกในการประชุมรับสมาชิกใหม่)

สําหรับคนใหม่หลายคนอาจจะอยากรู ้ว่า กลุ่มสัจจะฯ คืออะไร ทําไมต้องมาเป็ น สมาชิ กกลุ่มสัจจะฯ กลุ่มสัจจะฯ จะทําให้หมู่บา้ นเราดี ข้ ึนได้อย่างไร จําเป็ นแค่ ไหนที่หมู่บา้ นเราจะมีกลุ่มสัจจะฯ ก่อนที่จะมาไขข้อข้องใจที่กล่าวมาข้างต้น ขอให้เรามาทําความรู ้จกั ตัวของ เราเองเสี ยก่อนว่า ก่อนที่จะมาเป็ นหมู่บา้ นของเรา มาเป็ นเมืองคอนของเรา มาเป็ น ประเทศไทยของเรา มันมี ที่มาที่ ไปอย่างไร โดยเราจะเริ่ มมองย้อนไปในอดี ต ตั้ง แต่ ค นเรา ยัง ไม่ ไ ด้ป ระเทศ ไม่ ไ ด้ต้ ัง เป็ นเมื อ ง และไม่ ไ ด้ต้ ัง เป็ นหมู่ บ้า น อย่างเช่นทุกวันนี้ ขอให้เราลองนึกย้อนไปพร้อมกันตอนนี้ เลย กําเนิดหมู่บ้าน เรามาเริ่ มกันตรงที่ คนเราเริ่ มรู ้จกั อยูเ่ ป็ นหลักแหล่งตามที่ราบลุ่มแม่น้ าํ กัน ก็พอ ไม่ตอ้ งย้อนไปไกลถึงขนาดเป็ นคนป่ า คนถํ้า อันนั้นมันไกลเกินไป คู่มือแนวทางการทํางาน

หน้ า 1


เครื อข่ ายกลุ่มสัจจะสะสมทรั พย์ เพื่อพัฒนาคุณธรรมครบวงจรชีวิต นครศรี ธรรมราช

เมื่ อ คนเริ่ มรู ้ จกั เพาะปลู ก ก็รวมตัวกัน ตามเผ่า เครื อ ญาติ แล้วก็ ไปยึด ที่ เหมาะ ๆ สําหรับทําการเกษตร มีปลูกพืช เลี้ยงสัตว์ ไว้สาํ หรับทําเป็ นอาหาร ยุคนี้ หมู่บา้ นก็ไม่มี เมืองก็ไม่มี ประเทศก็ไม่มี มีเพียงหัวหน้าเผ่า เป็ นผูป้ กครอง อาหาร การกิน ก็ผลิตเองทั้งหมด ต่อมาเมื่อเกิดการไปมาหาสู่ ระหว่างเผ่าต่าง ๆ การแลกเปลี่ยนของกิน ของ ใช้จึงได้เกิดขึ้น แต่ตวั กลางในการแลกเปลี่ยน อย่างเช่ น เงิน ที่ใช้กนั อยู่ทุกวันนี้ ยังไม่มีการคิดค้นขึ้น การแลกเปลี่ยน จึงใช้สิ่งของ แลกกันโดยตรง เช่น ข้าว แลก กับ ไก่ เป็ นต้น เมื่ อ เวลาผ่ า นไป เผ่ า ต่ า ง ๆ เริ่ มมี ม ากขึ้ น พื้ น ที่ ที่ เ หมาะสํ า หรั บ ทํา การเกษตร เริ่ ม ไม่ เ พี ย งพอ การต่ อ สู่ ร ะหว่ า งเผ่ า ต่ า ง ๆ เพื่ อ แย่ ง ชิ ง พื้ น ที่ ท ํา การเกษตรจึงเกิ ดขึ้น ชนชั้นนักรบที่ทาํ หน้าที่ออกไปต่อสู ้ จึงเกิ ดขึ้น เพิ่มเติมจาก ชนชั้นดั้งเดิมคือ หมอผี และชาวนา เมื่อนักรบออกไปรบ พอรบชนะก็รวมชนเผ่าต่าง ๆ มาอยูด่ ว้ ยกันเป็ นเมือง เป็ นนคร ส่ วนสมาชิ กชนเผ่าที่แพ้การรบ ก็เอาไปใช้เป็ นแรงงานทาส ชนชั้นใหม่ คือ ทาส จึงเกิดขึ้น การค้าทาส จึงเกิ ดขึ้น ปัจจุบนั ก็ยงั มีอยู่ แต่เปลี่ยนรู ปแบบไป เป็ น การค้ามนุษย์แทน

คู่มือแนวทางการทํางาน

หน้ า 2


เครื อข่ ายกลุ่มสัจจะสะสมทรั พย์ เพื่อพัฒนาคุณธรรมครบวงจรชีวิต นครศรี ธรรมราช

คนเราใช้การรบกันด้วยอาวุธเพื่อขยายอาณาเขตมาช้านาน นักรบออกรบ ในนามเมื อง หรื อนคร เมื่ อรวบรวมเมื อง หรื อนครได้หลายนคร ก็ต้ งั เป็ นชาติ หรื อประเทศขึ้นมา ยุคนี้ได้เกิดชนชั้นใหม่ข้ ึนมาอีกชนชั้นหนึ่งเรี ยกว่า เสรี ชน ที่มาของ เสรี ชน ค่อนข้างแตกต่างจากชาวนา กล่าวคือในการรบกันเพื่อ แย่งชิ งเมือง หรื อนคร ฝ่ ายที่ ชนะได้จะแรงงานที่ ทาํ งานในที่ ดินของเจ้าผูค้ รอง นครเดิ ม แต่แรงงานมีสองทางเลือกคือ (1)อยู่ในที่ ดินเดิ ม เพื่อรับใช้เจ้านายคน ใหม่ หรื อ (2)ออกจากที่ดินไปอยูใ่ นเมืองเพื่อทําอาชีพค้าขาย แล้วกลายเป็ นเสรี ชน ซึ่ งทางเลือกทั้ง 2 นี้ นําไปสู่ ความเปลี่ยนแปลงของชีวิตชาวนา ที่แตกต่างกันราว ฟ้ากับดิน ชาวนาที่เลือกอยู่กบั ที่ดินเดิ มเพื่อรับใช้เจ้านายใหม่ มีจาํ นวนไม่มากที่ได้ เจอนายใจดีมีเมตตา แต่ส่วนใหญ่ประสบชะตากรรมที่เลวร้าย ผิดกับเสรี ชนใน เมืองที่สามารถกําหนดชะตาชี วิตของตัวเองได้ ทําให้เสรี ชนที่ขยันขันแข็ง เฉลียว ฉลาด ประสบความสําเร็ จในชี วิต จนสามารถสร้างฐานะเป็ นชนชั้นใหม่ข้ ึนใน สังคมที่เรี ยกว่า พ่อค้า นัน่ เอง ในกลุ่มเสรี ชน ส่ วนหนึ่ งก็ไม่หันหลังกลับหมู่บา้ นอีกเลย แต่ก็มีไม่นอ้ ยที่ เดินทางกลับหมู่บา้ นของตัวเอง เพื่อกลับไปให้ความรู ้แก่ญาติพี่นอ้ งที่เป็ นชาวนา เพื่อให้สามารถพึ่งตัวเองได้ทางความคิด ตรงจุดนี้ เอง พอจะกล่าวได้ว่า เป็ นจุด กําเนิดของหมู่บา้ น ที่พยายามจะยืนหยัดอยูใ่ ห้ได้ดว้ ยการพึ่งตนเอง คู่มือแนวทางการทํางาน

หน้ า 3


เครื อข่ ายกลุ่มสัจจะสะสมทรั พย์ เพื่อพัฒนาคุณธรรมครบวงจรชีวิต นครศรี ธรรมราช

ที่เล่ามาข้างต้น เป็ นภาพกว้าง ๆ ของการมาอยู่รวมกันเป็ นหมู่บา้ น หรื อ ชุ มชนของคนเพื่ อ ชี้ ให้เห็ น ที่ มาที่ ไปของ หมู่ บ้า นชนเผ่า เมื อ ง นคร และชาติ ตลอดจนการเกิดขึ้นของชนชั้นต่าง ๆ ต่ อไปจะได้เล่ าถึ งสภาพหมู่ บา้ นในสังคมไทยตั้ง แต่ อดี ต จนถึ ง ปั จจุบนั โดยสังเขป พอให้เห็นภาพการใช้ชีวิตทั้งที่เป็ นจุดแข็งและจุดอ่อน ตลอดจนภาพ การเปลี่ยนแปลงของโลกที่มีผลต่อหมู่บา้ น ทั้งที่เป็ นโอกาส และภัยคุกคาม หมู่บ้านของไทย แผ่นดินที่เป็ นที่ต้ งั ของประเทศไทยในปั จจุบนั นี้ ย้อนไปหลายร้อยปี ก่อน ในยุคชนเผ่า แผ่นดินในแถบแหลมอินโดจีนที่เรายืนอยูท่ ุกวันนี้ เป็ นที่ต้ งั ของชน เผ่าต่าง ๆ นับร้อยชนเผ่า แต่ถา้ ย้อนไปทบทวนวิชาประวัติศาสตร์ สมัยเราเป็ นเด็กนักเรี ยน หนังสื อ เรี ยนก็จะบอกว่า พวกเราอพยพมาจากทางตอนเหนื อในแถบเทือกเขาอัลไต ลงมา ทางใต้เรื่ อย ๆ จนถึงแหลมอินโดจีน หรื อสุวรรณภูมิที่เป็ นที่ต้ งั ของประเทศไทยที่ เราอยู่ทุกวันนี้ แต่ พอเราโตขึ้นมา ได้อ่าน ได้คน้ คว้ามากขึ้น เรื่ องราวก็อาจจะ แตกต่างไปจากตําราเรี ยนสมัยประถมบ้าง ประเด็ น ว่ า ประวัติ ศ าสตร์ เ ล่ ม ไหนถู ก เล่ ม ไหนผิ ด เราคงจะไม่ เ อามา ถกเถียงกันในที่น้ ี แต่ที่จะเล่าสู่ กนั ฟั งในที่น้ ี ก็เพื่อจะชี้ ให้เห็นว่า สภาพหมู่บา้ น คู่มือแนวทางการทํางาน

หน้ า 4


เครื อข่ ายกลุ่มสัจจะสะสมทรั พย์ เพื่อพัฒนาคุณธรรมครบวงจรชีวิต นครศรี ธรรมราช

ของไทยในอดี ตมี ความเป็ นอยู่อย่างไร เพื่อจะได้ช้ ี ให้เห็นจุดแข็ง จุดอ่อนของ หมู่บา้ น รวมทั้งจะได้ช่วยกันดูว่า ความเปลี่ยนแปลงที่เข้ามาสู่ หมู่บา้ นของเรา นํา โอกาส และภัยคุกคาม อะไรบ้างเข้ามาสู่หมู่บา้ นของเรา หากจะแบ่งยุคของหมู่บา้ นไทย โดยอาศัยการพัฒนาสมัยใหม่เป็ นเส้นแบ่ง ก็พอจะแบ่งได้เป็ นสี่ ช่วงคือ (1)ช่วงก่อนการพัฒนาสมัยใหม่ (2)ช่ วงการพัฒนา สมัย ใหม่ (3)ช่ ว งหลัง การพัฒ นาสมัย ใหม่ และ (4)ช่ ว งพ้น หลัง การพัฒ นา สมัยใหม่ หมู่บ้านยุคก่อนการพัฒนาสมัยใหม่ หลายคนในที่น้ ี คงจะเคยได้ยินเพลง “ผูใ้ หญ่ลี” มาบ้างแล้ว บางตอนของ เพลงร้องว่า “พอศอสองพันห้ าร้ อยสี่ ผู้ใหญ่ ลตี ีกลองประชุม ชาวบ้ านต่ างมาชุมนุม มาประชุมที่บ้านผู้ใหญ่ ลี ต่ อไปนีผ้ ้ ใู หญ่ ลจี ะขอกล่ าว ถึงเรื่ องราวที่ได้ ประชุมมา ทางการเขาสั่งมาว่ า ทางการเขาสั่งมาว่ า ให้ ชาวนาเลีย้ งเป็ ดและสุกร.................. สุกรนั้นไซร้ คือหมาน้ อยธรรมดา........” คู่มือแนวทางการทํางาน

หน้ า 5


เครื อข่ ายกลุ่มสัจจะสะสมทรั พย์ เพื่อพัฒนาคุณธรรมครบวงจรชีวิต นครศรี ธรรมราช

ในยุคก่อนผูใ้ หญ่ลีจะตีกลองประชุม นัน่ แหละที่ในที่น้ ี เราเรี ยกว่ายุคก่อน การพัฒนาสมัยใหม่ ถ้าจะเอาปี พ.ศ. เป็ นเส้นแบ่ง ก็คือก่อนปี พ.ศ. 2504 เพราะปี นี้เป็ นปี แรกที่ประเทศไทยประกาศใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจฉบับที่ 1 หลายคนยังอาจยังจําได้ว่า ปู่ ย่า ตา ยาย เคยเล่าให้ฟังว่า สมัยโน้น แม้ใน หมู่บา้ นเรา จะไม่มีเครื่ องอํานวยความสะดวก อย่างเช่นทุกวันนี้ แต่สมัยโน้นคน ในหมู่บา้ นก็อยูก่ นั อย่างมีความสุข เราไปดูกนั ว่า คนแต่แรกเขากินอยูก่ นั ยังไง ก่ อนการพัฒนาสมัยใหม่จะเข้ามา บางคนอาจจะมองว่า ชี วิตเต็มไปด้วย ความลําบาก พ่อเฒ่าเคยเลาให้ฟังว่า จะไปไหนมาไหนก็ตอ้ งเดินไป อาหารการ กินก็ปลูกเอง หาเอง เก็บผักตามป่ า ผักสวนครัวริ มรั้ว ข้าวปลูกเอง หาปลาตาม หนอง ในอีกด้านหนึ่ ง บางคนอาจจะมองว่าวิถีชีวิตในหมู่บา้ นแบบดั้งเดิ ม ชี วิต เต็มไปด้วยความอุดมสมบูรณ์ เพราะในนํ้ามีปลา ในนามีขา้ ว ไปทางไหน ก็มีอยูม่ ี กิน คนในหมู่บา้ นมีความเอื้อเฟื้ อเผื่อแผ่ มีการงานอะไรก็ออกปากกันได้ ใช้ชีวิต แบบหาอยู่ หากิน ไปที่ไหนก็มีอยูม่ ีกิน จากที่กล่าวมา พอจะชี้ ให้เห็นได้ว่า หมู่บา้ นก่อนที่การพัฒนาสมัยใหม่จะ เข้า มา มี ท้ งั ด้า นที่ เ ป็ นจุ ด แข็ง ของหมู่ บ้า นในอดี ต ได้แ ก่ อาหารกิ น การอุ ด ม สมบูรณ์ตามธรรมชาติ อาหารปลอดภัยไม่มีสารพิษ สารเคมี ผูค้ นมีความใกล้ชิด กัน ไปมาหาสู่กนั คู่มือแนวทางการทํางาน

หน้ า 6


เครื อข่ ายกลุ่มสัจจะสะสมทรั พย์ เพื่อพัฒนาคุณธรรมครบวงจรชีวิต นครศรี ธรรมราช

ส่ วนจุดอ่อนของหมู่บา้ นในอดี ตได้แก่ ความสะดวกสบายจากสิ่ งอํานวย ความสะดวกยังไม่ มี บางหมู่บา้ นอาจขาดแคลนปั จจัยพื้ นฐานในการดํารงชี วิต จําพวก อาหาร เครื่ องนุ่งห่ ม ที่อยูอ่ าศัย และยารักษาโรค ในขณะที่ความเปลี่ยนแปลงที่กาํ ลังจะเข้ามาสู่ หมู่บา้ นในอดี ต ส่ วนหนึ่ งก็ เป็ นโอกาสให้เ กิ ด สิ่ ง อํา นวยความสะดวกมากขึ้ น ทํา ให้ ก ารไปไหนมาไหน สะดวกสบายเพิ่มขึ้น ในหมู่บา้ นห่ างไกล เริ่ มมีไฟฟ้าใช้ บางหมู่บา้ นมีน้ าํ ประปา ใช้ ถนนหนทางเพิ่มขึ้น การเดินทางก็เร็วขึ้น อย่างไรก็ตาม ความเปลี่ยนแปลงที่เข้ามาสู่ หมู่บา้ น ไม่ได้มีแต่ดา้ นที่เป็ น โอกาสอย่างเดียว ภัยคุกคามที่มากับการเปลี่ยนแปลงก็ตามมาด้วย เช่น คุกคามต่อ การทํามาหากิ น คุกคามต่ อวิถีชีวิตในหมู่บา้ น ทําให้วิถีชีวิตแบบดั้งเดิ มค่อย ๆ เลือนหายไป เมื่ อ วิถีชี วิตแบบดั้งเดิ มค่อ ย ๆ เลื อนหายไป ภาพของหมู่บ้านในยุคการ พัฒนาสมัยใหม่ หรื อยุคผูใ้ หญ่ลีตีกลองประชุม จึงค่อย ๆ เด่นชัดขึ้นเป็ นลําดับ หมู่บ้านยุคการพัฒนาสมัยใหม่ หลายคนยังอาจจําภาพบรรยากาศของหมู่บา้ นในยุคการพัฒนาสมัยใหม่ได้ ยุคนั้นรัฐบาลได้ส่งโครงการพัฒนาลงไปสู่ หมู่บา้ นเป็ นจํานวนมาก ทั้งการสร้าง คู่มือแนวทางการทํางาน

หน้ า 7


เครื อข่ ายกลุ่มสัจจะสะสมทรั พย์ เพื่อพัฒนาคุณธรรมครบวงจรชีวิต นครศรี ธรรมราช

ถนนหนทาง ขุดบ่อนํ้า สร้างเขื่อน ปั กเสาไฟฟ้ า สมัยนั้นมีคาํ ๆ หนึ่ งที่หลายคน อาจจะยังจําได้นนั่ คือคําว่า “เงินผัน” หรื อ “เงินคึกลิด” (คึกฤทธิ์ ) นอกจากการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานในการพัฒนาเศรษฐกิจแล้ว อาชีพ ของชาวบ้านที่เคยทําแบบหาอยู่ หากิ นในอดีต ก็ตอ้ งเปลี่ยนมาเป็ นการทําอาชี พ เพื่อเปลี่ยนเป็ นเงิน ทําให้การทํามาหากิน ต้องเปลี่ยนมาเป็ น การทํามาหาเงิน ปลูก ข้า วก็ ป ลู ก เพื่ อ ขาย รั ฐ บาลส่ ง เสริ ม ให้ป ลู ก พื ช เศรษฐกิ จ อื่ น ๆ เช่ น อ้อ ย มัน สําปะหลัง ยางพารา และอื่น ๆ อีกมากมาย แล้วแต่ความต้องการของตลาดโลก แนวคิด “งานคือเงิน เงินคืองาน บันดาลสุ ข” ก็เกิ ดขึ้นในยุคนี้ ในยุคนี้ สิ่ ง อํานวยความสะดวก จากต่างประเทศ ทะลักเข้าสู่ หมู่บา้ น ไม่เฉพาะแต่ส่ิ งอํานวย ความสะดวกเท่ านั้น วิถีชีวิตแบบตะวันตก ก็ไหลมาพร้ อมกับสิ่ งอํานวยความ สะดวกด้วย จากที่กล่าวมาคร่ าว ๆ ทําให้เราพอจะเห็นภาพรวมของหมู่บา้ นในยุคการ พัฒนาสมัยใหม่ ว่า เต็มไปด้วยความน่ าสนุ กสนานตื่ นเต้น ต่ อไปเราจะไปดู ว่า หมู่บา้ นในยุคการพัฒนาสมัยใหม่ มีจุดอ่อน จุดแข็ง อย่างไร จุดแข็งของหมู่บา้ นในยุคการพัฒนาสมัยใหม่ที่เห็นได้ชดั ที่สุด ได้แก่ความ สะดวกสบาย โดยเฉพาะเรื่ องถนนหนทาง การไปมาหาสู่ กนั ทําได้เร็ วมากขึ้น บาง หมู่บา้ นมีโทรศัพท์ประจําหมู่บา้ น เรื่ องสุ ขอนามัยของคนในหมู่บา้ น ก็ดีข้ ึน การ ต่อสูก้ บั โรคระบาด เช่น ท้องร่ วง ได้ผลอย่างเห็นได้ชดั คู่มือแนวทางการทํางาน

หน้ า 8


เครื อข่ ายกลุ่มสัจจะสะสมทรั พย์ เพื่อพัฒนาคุณธรรมครบวงจรชีวิต นครศรี ธรรมราช

อย่ า งไรก็ ต าม การพัฒ นาสมั ย ก็ ไ ม่ ไ ด้ มี แ ต่ ผ ลทางบวกด้ า นเดี ย ว ผลข้า งเคี ย งในทางลบที่ เ กิ ด จากการพัฒ นาสมัย ใหม่ ทํา ให้ ห มู่ บ้า นในยุค นี้ มี จุดอ่อนที่ เห็นได้ชดั ที่ สุดในด้านสังคมได้แก่ คนในหมู่บา้ นเริ่ มมีเวลาพูดคุยกัน น้อยลง เพราะต่างคนต่างมุ่งหน้าทํามาหาเงิน เพื่อสร้างฐานะ ทําให้หมู่บา้ นค่อย ๆ อ่อนแอลง ในเรื่ อ งจุ ด อ่ อ นจุด แข็ง ของหมู่ บ้านในยุคการพัฒนาสมัยใหม่ จึ ง พอจะ กล่าวได้วา่ หมู่บา้ นในยุคนี้ มีจุดแข็งในด้านวัตถุ แต่กลับมีจุดอ่อนในด้านจิตใจ ซึ่ ง ตรงกันข้ามกับหมู่บา้ นก่ อนยุคการพัฒนาสมัยใหม่ ที่มีจุดแข็งในด้านจิตใจ แต่ กลับมีจุดอ่อนในด้านวัตถุ เช่ นเดี ยวกับหมู่บา้ นยุคก่อนการพัฒนาสมัยใหม่ การพัฒนาสมัยใหม่ที่ถา โถมใส่ หมู่บา้ น ก็เป็ นทั้งโอกาส และภัยคุกคามแก่หมู่บา้ นในยุคนี้ เช่นกัน การพัฒนาสมัยใหม่ที่เดินทางมาถึงหมู่บา้ น เป็ นโอกาสของคนในหมู่บา้ น ได้มีทางเลือกในการทําการเกษตรมากขึ้น จากเดิมที่ตอ้ งปลูกพืชตามฤดูกาล ปลูก เสร็ จก็ไม่ สามารถนํา ไปแลกเปลี่ ยนกับคนต่ า งพื้ น ที่ ได้ ก็ได้มีโอกาสปลู กพื ช เศรษฐกิจชนิ ดอื่น ๆ ที่นาํ เข้ามาจากพื้นที่ห่างไกล เมื่อปลูกเสร็ จก็สามารถนําไป ซื้อขาย แลกเปลี่ยนกับหมู่บา้ นที่ห่างไกลได้ ขณะที่การพัฒนาสมัยใหม่เปิ ดโอกาสให้คนในหมู่บา้ นมีความเป็ นอยู่ที่ดี ขึ้น ในขณะเดียวกัน การพัฒนาสมัยใหม่ก็เป็ นภัยคุกคามต่อหมู่บา้ นในยุคนี้ ดว้ ย คู่มือแนวทางการทํางาน

หน้ า 9


เครื อข่ ายกลุ่มสัจจะสะสมทรั พย์ เพื่อพัฒนาคุณธรรมครบวงจรชีวิต นครศรี ธรรมราช

เช่นกัน กล่าวคือ วัตถุที่การพัฒนาสมัยที่นาํ เข้ามา ไม่ว่าจะเป็ นโครงสร้างพื้นฐาน การเพาะปลูกรู ปแบบใหม่ ได้เข้าไปทําลายธรรมชาติด้ งั เดิ มของหมู่บา้ น ทําให้ สิ่ งแวดล้อมของหมู่บา้ นเปลี่ยนไป ส่ งผลให้วิถีชีวิตดั้งเดิมของคนในหมู่บา้ นค่อย ๆสูญหายไป ในเรื่ องโอกาสและภัยคุกคามของหมู่บา้ นในยุคการพัฒนาสมัยใหม่ จึ ง พอจะสรุ ป ได้ว่ า การได้ท าํ อาชี พ ใหม่ ๆ เป็ นโอกาสของคนในหมู่ บ้า น ใน ขณะเดียวกันก็เป็ นภัยคุกคามต่อสิ่ งแวดล้อมและวิถีชีวิตดั้งเดิมของคนในหมู่บา้ น ด้วย ภัยคุกคามดังกล่าว อาจส่ งผลกระทบรุ นแรงกว่าที่คาด บางหมู่บา้ นอาจมี ผลเสี ยถึงกับทําให้หมู่บา้ นล่มสลาย คงเหลือเพียงสิ่ งปลูกสร้างที่ไร้วิญญาณของ หมู่ บา้ น หมู่ บา้ นหลัง ยุค การพัฒนาสมัยใหม่ จึ ง มี ล กั ษณะที่ แ ตกต่ า งไปอย่า ง สิ้นเชิงจากหมู่บา้ นทั้งสองยุคที่กล่าวไปแล้ว หมู่บ้านยุคหลังการพัฒนาสมัยใหม่ ช่วงเวลาการพัฒนาสมัยใหม่ของไทย มีคนเคยกล่าวไว้ว่า กินเวลาร่ วม 50 ปี ลักษณะที่ เด่ นชัดของหมู่บา้ นยุคหลังการพัฒนาสมัยใหม่ คือ ความล่ มสลาย ของหมู่บา้ น ในที่น้ ี จะถือเอาปี พ.ศ. 2540 เป็ นต้นมา เพราะเป็ นปี ที่การล่มสลาย แสดงออกมาอย่างชัดเจนที่สุด เมื่อเศรษฐกิจของประเทศพังจากวิกฤติการเงินโลก คู่มือแนวทางการทํางาน

หน้ า 10


เครื อข่ ายกลุ่มสัจจะสะสมทรั พย์ เพื่อพัฒนาคุณธรรมครบวงจรชีวิต นครศรี ธรรมราช

แม้วา่ ก่อนหน้านี้ ในช่วงปี พ.ศ. 2520 ประเทศไทยเคยประสบปัญหาวิกฤติการเงิน มาแล้วก็ตาม แต่ผลกระทบอาจยังไม่ชดั เจนและรุ นแรงเท่าวิกฤติในปี พ.ศ. 2540 หมู่บา้ นยุคหลังการพัฒนาสมัยใหม่ อาจกล่าวได้ว่า เป็ นหมู่บา้ นที่เหลือแต่ เพี ยงซากปรักหักพัง ที่ เกิ ด จากการพัฒนาสมัยใหม่ กล่ า วคื อ บ้านที่ เคยเป็ นที่ พบปะกันของครอบครัว ก็เหลือแต่เพียง ปู่ ย่า หรื อ ตา ยาย กับหลานตัวเล็ก ๆ ที่ พ่อแม่ส่งมาให้เลี้ยง สภาพความเป็ นอยู่ ก็ตอ้ งอาศัยเงิ นที่ ลูกส่ ง มาให้จากการไปรับจ้าง ขาย แรงงานในเมือง หรื อในโรงงานอุตสาหกรรม อาหารการกิ นส่ วนใหญ่ก็ซ้ื อจาก ร้านค้าในหมู่บา้ น ซึ่งรับมาจากตลาดในเมืองอีกทอดหนึ่ง หากพยายามมองหาจุดแข็งที่แทบจะไม่มีให้เห็นของหมู่บา้ นในยุคหลังการ พัฒนาสมัยใหม่กค็ งจะเป็ นความสะดวกสบายของการใช้ชีวิตในหมู่บา้ น เพราะมี ทุกอย่างเหมือนในเมือง ขอเพียงมีเงินซื้ อ ในขณะที่ จุ ด แข็ง ของหมู่ บ้า นต้อ งใช้แ ว่ น ขยายส่ อ งจึ ง จะมองเห็ น แต่ จุดอ่อนของหมู่บา้ นในยุคนี้ กลับมีให้เห็นแบบไม่ตอ้ งใช้ความพยายามในการ ส่องดูเลย จุดอ่อนของหมู่บา้ นในยุคหลังการพัฒนาสมัยใหม่ มี ให้เห็นเต็มไปหมด ทั้งเรื่ องจิ ตใจและวัตถุ ในด้านจิ ตใจคือ สังคมล่ มสลาย ทําให้คนเฒ่ าคนแก่ ใน หมู่บา้ นต้องอยูอ่ ย่างโดดเดียว คู่มือแนวทางการทํางาน

หน้ า 11


เครื อข่ ายกลุ่มสัจจะสะสมทรั พย์ เพื่อพัฒนาคุณธรรมครบวงจรชีวิต นครศรี ธรรมราช

ส่ วนในด้า นวัต ถุ น้ ัน แม้อ าจจะมี จุด แข็ง ในด้า นความสะดวกสบาย แต่ จุดอ่อนที่สาํ คัญคือ สิ่ งของเครื่ องใช้ อาหารการกิน และสิ่ งอํานวยความสะดวกอื่น ๆ ล้วนมาพร้อมกับสารพิษ ด้านสุ ขภาพจึงเป็ นจุดอ่อนที่สาํ คัญของคนในหมู่บา้ น ยุคหลังการพัฒนาสมัยใหม่ จึ งพอจะกล่ าวได้ว่า ในเรื่ องจุ ดแข็ง จุ ดอ่อ นของหมู่ บา้ นในยุคหลังการ พัฒนาสมัยใหม่ น้ ัน มี จุดแข็ง ด้า นวัตถุ เพี ยงครึ่ งเดี ยว คือ ความสะดวก แต่ เป็ น จุดอ่อนต่อสุ ขภาพกาย และสุ ขภาพใจที่ย่าํ แย่ก็ถือว่าเป็ นจุดอ่อนที่สาํ คัญด้วย ซึ่ ง เป็ นผลมาจากความล่มสลายของหมู่บา้ น อย่ า งไรก็ ต าม แม้ว่ า การล่ ม สลายของหมู่ บ้า นในยุ ค หลัง การพัฒ นา สมัยใหม่ จะนําไปสู่จุดอ่อนที่สาํ คัญของหมู่บา้ น แต่ในขณะเดียวกันการล่มสลาย ก็มีท้ งั โอกาสและภัยคุกคาม ที่จะนําไปสู่ การสร้างหมู่บา้ นยุคพ้นหลังการพัฒนา สมัยใหม่ได้ การล่มสลายของของหมู่บา้ นยุคหลังการพัฒนาสมัยใหม่ เปิ ดโอกาสให้คน หนุ่มสาวแสวงหาทางเลือกใหม่ ๆ ปรากฏการณ์แบบนี้ มีให้เห็นทัว่ โลก จะว่าไป แล้ว การล่มสลายของการพัฒนาสมัยใหม่ ไม่ได้เกิ ดขึ้นที่ประเทศไทยเป็ นที่แรก แต่เริ่ มต้นที่ประเทศต้นทางของการพัฒนาสมัยใหม่ได้แก่สหรัฐอเมริ กา ผลจากการพัฒนาสมัยใหม่ ทําให้ชุ มชนของประเทศสหรั ฐอเมริ กาล่ ม สลาย ความล่ มสลายของชุ มชน เปิ ดโอกาสให้คนหนุ่ มสาวในยุคนั้น ออกมา คู่มือแนวทางการทํางาน

หน้ า 12


เครื อข่ ายกลุ่มสัจจะสะสมทรั พย์ เพื่อพัฒนาคุณธรรมครบวงจรชีวิต นครศรี ธรรมราช

แสวงหาทางเลื อกใหม่ ๆ ตั้งแต่การสร้างชุ มชนใหม่ สังคมแบบใหม่ ตลอดจน การเมืองแบบใหม่ การแสวงหาทางเลือกใหม่ ๆ ของหมู่บา้ น ชุมชนในประเทศ ไทย ส่วนใหญ่ลว้ นได้รับอิทธิ พลจากคนหนุ่มสาวจากประเทศต้นทางทั้งนั้น ในขณะที่ การล่ มสลายของหมู่ บ้า นในยุคหลัง การพัฒนาสมัยใหม่ เป็ น โอกาสกับคนกลุ่ มหนึ่ ง แต่ เหตุการณ์ เดี ยวกันนี้ กลับเป็ นภัยคุ กคามอย่า งใหญ่ หลวงต่อชีวิตของคนในหมู่บา้ นเดียวกัน ภัยคุกคามต่อชี วิตของคนในหมู่บา้ นที่ มากับการล่มสลายของหมู่บา้ นคือ การแสวงหาที่ พ่ ึ งทางใจในทางที่ ผิด คนในหมู่บ้านส่ วนหนึ่ ง ที่ ไม่ สามารถลุ ก ขึ้นมาต่อสู ้กบั ความล่มสลายครั้ งนี้ ได้ ส่ วนหนึ่ ง หันไปหาสิ่ งเสพติ ด การพนัน เพื่อลืมความทุกข์ที่มากับความล่มสลายของหมู่บา้ น เมื่อหัวหน้าครอบครัว หันหลังให้ครอบครัว ครอบครัวก็ถึงคราวแตกกระ สาน ซ่ านเซ็น พ่อแม่ หย่าร้าง เด็กกลายเป็ นเด็กไร้ที่พ่ ึง ต้องหันไปพึ่งยาเสพติด กลายเป็ นปัญหาสังคมในวงกว้างขยายออกไปเรื่ อย ๆ จากที่กล่ าวมาในเรื่ องโอกาส และภัยคุ กคามของหมู่ บา้ นในยุคหลังการ พัฒนาสมัยใหม่ พอสรุ ปได้ว่า การล่มสลายของหมู่ บา้ นในยุคหลังการพัฒนา สมัยใหม่เป็ นทั้งโอกาสและภัยคุกคาม กล่าวคือ เป็ นโอกาสของคนหนุ่ มสาวให้ ได้แสวงหาสังคมใหม่ สร้างสังคมใหม่ แต่เป็ นภัยคุกคามต่อชีวิตของคนที่อ่อนแอ ต้องตกเป็ นทาสของอุบายมุข และสิ่ งเสพติดทั้งหลาย คู่มือแนวทางการทํางาน

หน้ า 13


เครื อข่ ายกลุ่มสัจจะสะสมทรั พย์ เพื่อพัฒนาคุณธรรมครบวงจรชีวิต นครศรี ธรรมราช

สภาพสังคมที่เป็ นผลมาจากการล่มสลายของหมู่บา้ น ยังมีให้เห็นได้ทว่ั ไป ทั้งในเมื องใหญ่ และในหัวเมื องต่ าง ๆ ของไทย หมู่บา้ นในยุคหลังการพัฒนา สมัยใหม่ จึงเป็ นยุคแห่ งการแสวงหา ผลจากการแสวงหา การสร้างชุมชนขึ้นมา ใหม่ นําไปสู่ หมู่บา้ นที่ เรากําลังจะกล่ าวถึ ง และเป็ นหมู่บา้ นที่ เรากําลังร่ วมกัน สร้างอยูใ่ นขณะนี้ นัน่ คือ หมู่บา้ นยุคพ้นหลังการพัฒนาสมัยใหม่ หมู่บ้านยุคพ้นหลังการพัฒนาสมัยใหม่ หมู่บา้ นยุคพ้นหลังการพัฒนาสมัยใหม่ เป็ นหมู่บา้ นที่ไม่ถูกจํากัดด้วยพื้นที่ การปกครองแบบเก่ า แต่เป็ นหมู่บา้ นของคนที่ ทาํ กิ จกรรมร่ วมกัน เป็ นหมู่บา้ น ของคนที่มีความคิดเห็นตรงกัน เช่นชมรม กลุ่มต่าง ๆ ที่ต้ งั ขึ้นโดยความสมัครใจ ของสมาชิก สมาชิ กของหมู่บา้ นแบบใหม่น้ ี ยังคงเป็ นสมาชิกของหมู่บา้ นแบบเดิม แต่ ชี วิตความเป็ นอยู่ มีท้ งั การใช้ชีวิตในชุมชนใหม่ตลอดเวลาเช่น ชุมชนสันติอโศก เป็ นต้น แต่ส่วนใหญ่จะเป็ นชุมชนแบบลูกผสม คือชีวิตการทํามาหากินส่ วนหนึ่ ง อยู่ในหมู่บา้ นแบบเดิ ม จะเข้ามาใช้ชีวิตในชุ มชนแบบใหม่ เวลามีกิจกรรม เช่ น กลุ่มอาชีพ กลุ่มออมทรัพย์ เป็ นต้น หมู่ บ้า นในยุคพ้น หลัง การพัฒนาสมัยใหม่ ที่ อ ยู่ในรู ปแบบกลุ่ ม ชุ มชน ชมรมต่าง ๆ ไม่ได้อยูเ่ พียงลําพัง แต่หมู่บา้ นเหล่านี้ ยังได้เชื่ อมโยงกับหมู่บา้ นอื่น คู่มือแนวทางการทํางาน

หน้ า 14


เครื อข่ ายกลุ่มสัจจะสะสมทรั พย์ เพื่อพัฒนาคุณธรรมครบวงจรชีวิต นครศรี ธรรมราช

ๆ ที่อยูต่ ่างพื้นที่กนั โดยการทํากิจกรรม หรื อเมื่อมีแนวคิดที่สอดคล้องกัน ก็จะมา รวมตัวกันในรู ปแบบเครื อข่าย เช่น เครื อข่าย ฝายมีชีวิต เครื อข่ายกลุ่มสัจจะฯ ของ นครศรี ธรรมราช เป็ นต้น ที่กล่าวมา คงจะเพียงพอที่จะทําให้เห็นภาพของหมู่บา้ นในยุคพ้นหลังการ พัฒนาสมัยพอสมควร จะได้ทาํ ความเข้าใจให้ตรงกันว่า แม้ในที่ น้ ี จะใช้คาํ ว่า หมู่บา้ น แต่หมู่บา้ นนี้ ก็ไม่ได้มีความเป็ นหมู่บา้ นในทางกายภาพแบบเดิม ซึ่ งบาง ชุมชนก้าวหน้าไปถึงขั้นเป็ นชุมชนออนไลน์ หรื อหมู่บา้ นออนไลน์ที่มีสมาชิกนับ พันล้านคนเช่น เฟสบุค หรื อนับร้อยล้าน เช่น ไลน์ เป็ นต้น เมื่อเข้าใจตรงกันในเรื่ องหมู่บา้ นยุคพ้นหลังการพัฒนาสมัยใหม่แล้ว ต่อไป จะได้ช้ ี ให้เห็นว่า หมู่บา้ นในยุคนี้ มีอะไรบ้างที่เป็ น จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และ ภัยคุกคาม ของหมู่บา้ นในยุคนี้ จุดแข็งที่เห็นได้ชดั ของการสร้างหมู่บา้ นหรื อ ชุมชนแบบนี้ ข้ ึนใหม่คือ ทุก คนมีเสรี ภาพ เพราะทุกคนต้องรับผิดชอบต่อตัวเอง และเป็ นผูน้ าํ ตัวเองได้อย่าง เต็มที่ ส่ วนจุดอ่อนของหมู่บา้ นแบบนี้ คือ มีความไม่แน่ นอนสู ง การเปลี่ยนแปลง มีข้ ึนตลอดเวลา จากลักษณะชุ มชนที่มีการรวมตัวกันแบบหลวม ๆ ตามความสนใจ และ ผลประโยชน์ ร่ วมกัน ทํา ให้ชุ ม ชนแบบนี้ มี โอกาส และภัย คุ ก คามที่ ค่ อ นข้า ง แตกต่างไปจากหมู่บา้ นแบบเดิม ๆ คู่มือแนวทางการทํางาน

หน้ า 15


เครื อข่ ายกลุ่มสัจจะสะสมทรั พย์ เพื่อพัฒนาคุณธรรมครบวงจรชีวิต นครศรี ธรรมราช

โอกาสที่ เห็ นได้ชัดในหมู่ บา้ นยุคนี้ คือ โอกาสในการทํา มาหากิ น ที่ เปิ ด กว้า ง เพราะไม่ ถู กจํากัด ด้วยพื้ นที่ และมี เครื่ อ งมื อ ที่ ใช้ในการติ ดต่ อ สื่ อ สารที่ สะดวกสบายและราคาประหยัด ทําให้การแลกเปลี่ ยนสิ น ค้า และแลกเปลี่ ยน วัฒนธรรม และการเรี ยนรู ้สิ่งใหม่ ๆ สามารถทําได้อย่างกว้างขวาง และรวดเร็ว ขณะเดี ยวกัน ภัยคุกคามที่ มาพร้ อมกับการเปิ ดกว้า งสู่ โลกภายนอกของ หมู่บา้ นก็ได้แก่ขอ้ มูลข่าวสารที่เปิ ดกว้างนี่ เอง ในขณะที่อีกด้านเป็ นโอกาสให้ได้ เรี ยนรู ้สิ่งใหม่ ๆ แต่ ขณะเดี ยวกัน ข้อมูลข่าวสารที่ ขาดการกลัน่ กรอง ก็อาจนํา อันตรายเข้ามาสู่ หมู่บา้ นได้ เช่น ลูกหลานอาจถูกหลอกลวงได้ หรื อแม้แต่ประเทศ หรื อหมู่บา้ น ก็อาจถูกโจมตีดว้ ยการปล่อยข่าวลวง ซึ่งก็มีให้เห็นบ่อย ๆ เพื่อปิ ดจุดอ่อน และป้ องกันภัยคุกคามของหมู่บา้ นในยุคนี้ การรวมตัวกัน เป็ นเครื อข่ายจึงเกิดขึ้น ทําให้หมู่บา้ นในยุคนี้ มีท้ งั ความยืดหยุ่นและเหนี ยวแน่ น ไปพร้ อมกัน ในเวลาเดี ยวกัน การรวมตัวกันแบบนี้ ไม่ได้มีแต่ในระดับชุ มชน หมู่บา้ นเท่านั้น ในระดับโลกก็ใช้เครื อข่ายในการรับมือกับภัยคุกคามเช่ นกัน จึง อาจกล่าวได้ว่า “เครื อข่าย” คือทางรอดของการอยู่ในโลกที่มีความไม่แน่ นอนสู ง และเปลี่ยนแปลงตลอดอยูเ่ วลาอย่างเช่นทุกวันนี้

คู่มือแนวทางการทํางาน

หน้ า 16


เครื อข่ ายกลุ่มสัจจะสะสมทรั พย์ เพื่อพัฒนาคุณธรรมครบวงจรชีวิต นครศรี ธรรมราช

การเกิดใหม่ ของหมู่บ้านยุคพ้นหลังการพัฒนาสมัยใหม่ จากที่กล่าวมาตั้งแต่ตน้ ของบทนี้ ทําให้เราได้ทราบว่า หมู่บา้ นไทยในอดีต ยุคก่อนการพัฒนาสมัยใหม่ มี ชีวิตความเป็ นอยู่แบบเรี ยบง่าย แต่พอการพัฒนา สมัยใหม่เข้ามาถึง ความสะดวกสบาย ความทันสมัย ก็เข้ามาแทนที่ แม้การพัฒนาสมัยใหม่จะมอบความสะดวกสบาย และความทันสมัยมาให้ แต่กไ็ ม่ได้มาฟรี ๆ เพราะผลข้างเคียงจากการพัฒนาสมัยใหม่ ได้นาํ ไปสู่ ความล่ม สลายของหมู่บา้ นในยุคหลังการพัฒนาสมัยใหม่ ความล่มสลายของหมู่บา้ นในยุคหลังการพัฒนาสมัยใหม่กินเวลาอยูห่ ลาย สิ บ ปี จนกระทั่ง มาสู่ ยุค สมัย ปั จ จุ บ ัน ที่ ใ นที่ น้ ี ใช้ค าํ ว่า ยุค พ้น หลัง การพัฒ นา สมัยใหม่ การรวมตัวกันแบบเครื อข่าย ของชุ มชนหมู่บา้ นในต่างพื้นที่กนั ทําให้ หมู่บา้ นแบบใหม่ได้ถือกําเนิดขึ้นมาอีกครั้ง ระยะเวลาผ่านไปหลายปี การรวมตัวกันแบบเครื อข่ายได้สง่ั สมองค์ความรู ้ ในการบริ หารจัดการตนเอง ความรู ้ได้ถูกสัง่ สมไว้เป็ นประสบการณ์ตรงของผูน้ าํ หมู่บา้ นแต่ละคน การถอดบทเรี ยนจากผูน้ าํ เครื อข่ายมาถ่ายทอดให้คนรุ่ นหลังได้เรี ยนรู ้ จะ เป็ นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการพัฒนาหมู่บา้ นของเราให้สามารถเปลี่ยนภัยคุกคาม ให้เป็ นโอกาส และเปลี่ยนจุดอ่อนให้เป็ นจุดแข็งของหมู่บา้ นในอนาคต คู่มือแนวทางการทํางาน

หน้ า 17


เครื อข่ ายกลุ่มสัจจะสะสมทรั พย์ เพื่อพัฒนาคุณธรรมครบวงจรชีวิต นครศรี ธรรมราช

ในบทต่ อ ไป จะนําเสนอเรื่ องราวของหมู่ บา้ นในยุคพ้นหลัง การพัฒนา สมัยใหม่ ห มู่บ้า นหนึ่ ง ที่ มีชื่ อ ว่า “เครื อ ข่ า ยกลุ่ มสัจจะสะสมทรั พ ย์ เพื่ อ พัฒนา คุณธรรมครบวงจรชีวิต จังหวัดนครศรี ธรรมราช” เรื่ องราวจะเป็ นอย่างไร ติดตาม ได้ในบทที่ 2

คู่มือแนวทางการทํางาน

หน้ า 18


เครื อข่ ายกลุ่มสัจจะสะสมทรั พย์ เพื่อพัฒนาคุณธรรมครบวงจรชีวิต นครศรี ธรรมราช

บทที่ 2 เครื อข่ ายกลุ่มสัจจะ (สําหรับใช้พดู แนะนําเครื อข่ายกับสมาชิกใหม่)

เครื อ ข่ า ยกลุ่ ม สัจ จะสะสมทรั พ ย์ เพื่ อ พัฒ นาคุ ณ ธรรมครบวงจรชี วิ ต จัง หวัด นครศรี ธรรมราช เป็ นเครื อข่ า ยของกลุ่ ม ออมทรั พ ย์ 22 กลุ่ ม ในจั ง หวัด นครศรี ธรรมราช ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2542 ในปี พ.ศ. 2560 มีสมาชิกกว่าเจ็ดพันคน เงินทุนหมุนเวียนทั้งเครื อข่ายกว่า 100 ล้านบาท ก่อนจะมาถึ งวันนี้ หนทางไม่ได้โรยด้วยกลี บกุหลาบ บันทึ กการเดินทาง และอุปสรรค ขวากหนาม ที่คณะกรรมการ และสมาชิก ร่ วมกันฟันฝ่ า จะได้นาํ มา เสนอไว้ในที่น้ ี เพื่อถ่ายทอดเป็ นบทเรี ยน และแรงบันดาลใจ สําหรับลูกหลานผูม้ า ทีหลัง ผูท้ ี่จะมารับช่วงบริ หารกลุ่มต่อไป ในบทนี้ จะนําเสนอความเป็ นมาของกลุ่มสัจจะที่เป็ นสมาชิ กของเครื อข่าย ตลอดจนโครงสร้ า งในการบริ ห ารของแต่ ล ะกลุ่ ม เพื่ อ จะได้ใ ช้ประกอบเป็ น แนวทางในการวางแผน การทํางาน ซึ่ งจะนําเสนอในบทต่อ ๆ ไป

คู่มือแนวทางการทํางาน

หน้ า 19


เครื อข่ ายกลุ่มสัจจะสะสมทรั พย์ เพื่อพัฒนาคุณธรรมครบวงจรชีวิต นครศรี ธรรมราช

จุดกําเนิดของเครื อข่ าย เครื อข่ายกลุ่มสัจจะสะสมทรัพย์ เพื่อพัฒนาคุณธรรมครบวงจรชีวิต จังหวัด นครศรี ธรรมราช เกิดขึ้นเป็ นครั้งแรก เมื่อพระสุ วรรณ คเวสโก หรื อนายเสรี รอด รัตน์ เมื่อครั้งยังเป็ นฆราวาส ได้ก่อตั้งกลุ่มสัจจะวัดป่ ายางขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2542 สํ า เร็ จ แล้ ว นํ า แนวคิ ด นี้ ไปเล่ า สู่ ชาวบ้ า นในชุ มชนอื่ น ๆ ในจั ง หวั ด นครศรี ธรรมราชฟั ง ในปลายปี เดี ยวกัน ปี นั้น จึ ง นับได้ว่า เป็ นจุ ด กํา เนิ ด ของ เครื อ ข่ า ยกลุ่ ม สัจ จะสะสมทรั พ ย์ เพื่ อ พัฒ นาคุ ณ ธรรมครบวงจรชี วิ ต จัง หวัด นครศรี ธรรมราช เมื่อมีชุมชนแรกรับแนวคิดไปทําต่อ ชุมชนแรกที่รับแนวคิด และตัดสิ นใจเดินตามแนวกลุ่มสัจจะ ได้แก่บา้ นทุ่ง คา หลังจากนั้นเครื อข่ายก็ขยายตัวขึ้นเรื่ อย ๆ จนถึงปี พ.ศ. 2554 มี กลุ่มสัจจะที่ เป็ นสมาชิกรวมทั้งกลุ่มวัดป่ ายางด้วยทั้งหมด 22 กลุ่ม แต่ละกลุ่มมีเรื่ องราวความ ความเป็ นมาที่น่าสนใจแตกต่างกันไป ประวัติการก่อตั้งกลุ่มแต่ละกลุ่มโดยสังเขป มีรายละเอียดดังจะนําเสนอต่อไปนี้ กลุ่มสัจจะวัดป่ ายาง แม้ว่าวันที่ 25 มกราคมคม พ.ศ. 2542 จะนับว่าเป็ นวันแจ้งเกิ ดอย่างเป็ น ทางการของกลุ่มสัจจะวัดป่ ายาง หนึ่ งในสมาชิ กเครื อข่ายกลุ่มสัจจะสะสมทรัพย์ คู่มือแนวทางการทํางาน

หน้ า 20


เครื อข่ ายกลุ่มสัจจะสะสมทรั พย์ เพื่อพัฒนาคุณธรรมครบวงจรชีวิต นครศรี ธรรมราช

เพื่อพัฒนาคุณธรรมครบวงจรชีวิต จังหวัดนครศรี ธรรมราช และเป็ นกลุ่มแรกของ เครื อข่ายก็ตาม แต่กว่าจะมาถึ งวันนี้ ได้ ก็ตอ้ งย้อนไปก่ อนหน้านั้นกว่า 10 ปี ที่ บุรุษผูท้ ี่เป็ นผูน้ าํ ของเครื อข่ายนี้ จะหันหน้าเข้าสู่เส้นทางนี้ หลังจากที่นายเสรี รอดรัตน์ ลงจากเขาเมื่อมีประกาศที่ 66/23 ออกมา ใน ปลายปี นั้น ท่านก็ได้ลงจากเขามา แล้วมาใช้ชีวิตตามวิถีชาวโลกอยูห่ ลายปี ก่อนที่ จะไปพบหลวงพ่อพุทธทาส แล้วได้รับแรงบันดาลใจจากคําของหลวงพ่อที่ ว่า “ศีลธรรมไม่กลับมา โลกาจะวินาศ” ทําให้จุดเริ่ มต้นบทเส้นทางใหม่ได้ เริ่ มต้นขึ้น ตั้งแต่บดั นั้นเป็ นต้นมา ในปี พ.ศ. 2538 ท่ า นได้ ตัด สิ นใจหัน เข้า หาศาสนา และได้ ชื่ อ ใหม่ ว่ า พระสุ ว รรณ คเวสโก เพราะมองไม่ เห็ น ทางว่า ชี วิต ทาง โ ล ก จ ะ เ ป ลี่ ย น แ ป ล ง สั ง คม ได้ อย่างไร ทางนี้ เป็ นทางรอดทางเดียว ของสังคมแน่ นอน จนกระทัง่ เวลา ผ่ า นไป 3 ปี ท่ า นวรรณจึ ง ได้พ บ หนทางที่ จะเปลี่ ยนแปลงสังคมอี ก ครั้ง โดยใช้แนวทางการรวมชาวบ้านมาจัดการการเงินของตัวเอง คู่มือแนวทางการทํางาน

หน้ า 21


เครื อข่ ายกลุ่มสัจจะสะสมทรั พย์ เพื่อพัฒนาคุณธรรมครบวงจรชีวิต นครศรี ธรรมราช

ในปี พ.ศ. 2541 ท่านวรรณได้เชิ ญลุงฝาก ตรี ถวัลย์ จากบ้านคีรีวง มาถอด บทเรี ยนเรื่ องการตั้งกลุ่มออมทรัพย์ เมื่อถอดบทเรี ยนได้แล้วท่านจึงไปหารื อกับ ผูน้ าํ ชุมชนในบ้านป่ ายาง มีนายจาย นนทเภท นายย่องภูธรภักดี นายณรงค์ จุลแก้ว ดร.ไมตรี จันทรา เมื่อหารื อกับผูน้ าํ ชุมชนแล้ว ท่านวรรณได้ไปร่ วมสัมมนาพระ นักพัฒนาที่วดั ไผ่ลอ้ ม จังหวัดตราดอีกในปลายปี เดียวกัน ก่ อนเดิ นทางมาสัมมนาที่ วดั ไผ่ลอ้ มท่านวรรณได้ประกาศขอบริ จาคเงิ น จากญาติโยมในบ้านป่ ายางคนละ 100 บาท โดยมีขอ้ แม้วา่ ห้ามถามว่าจะเอาไปทํา อะไร พอมาดูงานที่วดั ไผ่ลอ้ ม ท่านสุ บิน ปณี โต เจ้าอาวาสวัดไผ่ลอ้ ม ได้ให้แรง บันดาลใจแก่ท่านอย่างสําคัญ ท่านวรรณพบว่ากองทุนสวัสดิ การของวัดไผ่ลอ้ ม น่าจะเป็ นแนวทางที่สามารถจะนําไปสู่ การเปลี่ยนแปลงสังคมได้ พอกลับจากจังหวัดตราด ท่านวรรณได้เรี ยกประชุมแกนนําชุ ดชนในบ้าน ป่ ายาง และแกนนําได้เห็ นพ้อ งต้องกันว่า จะยึดแนวทางตามท่ านสุ บิน แล้วก็ ประกาศเชิ ญชวนให้ชาวบ้านมาสมัครเป็ นสมาชิ กกลุ่ม มี ผูม้ าสมัครสมาชิ กใน คราวก่อตั้งทั้งหมด 411 คน เงินสัจจะวันก่อตั้งมี 14,420 บาท ส่ วนเงินที่ขอบริ จาค ไว้ครอบครัวละ 100 บาทก่อนไปจังหวัดตราดได้ท้ งั หมด 18,280 บาท ถูกนําเข้า เป็ นกองทุนสวัสดิการ ทําให้มีเงินหมุนเวียนแรกก่อตั้งทั้งหมด 32,700 บาท กรรมการชุดก่อตั้งมีท้ งั หมด 6 คน ประกอบด้วย (1)นายจาย นททเภท เป็ น ประธาน (2)นายณรงค์ จุลแก้ว เป็ นรองประธาน (3)นางนที นนทเภท (4)นาง คู่มือแนวทางการทํางาน

หน้ า 22


เครื อข่ ายกลุ่มสัจจะสะสมทรั พย์ เพื่อพัฒนาคุณธรรมครบวงจรชีวิต นครศรี ธรรมราช

กัลยา ศิริพรหม (5)นางประภัสสร วงสดชื่ น และ (6)น.ส.ประเวียง จุลแก้ว เป็ น กรรมการ มาถึงวันนี้ เป็ นปี พ.ศ. 2560 กลุ่มสัจจะวัดป่ ายาง มีสมาชิกกว่า 1,300 คน มี เงินกองทุนสัจจะกว่า 22 ล้านบาท และเงินกองทุนสัจจะสะสมกว่า 12 ล้านบาท กองทุนสวัสดิการร่ วม 10 ล้านบาท นอกจากนี้ สมาชิ กกว่า 800 คน เป็ นสมาชิ ก กองทุนคุม้ ครองชี วิตของเครื อข่ายกลุ่มสัจจะ ซึ่ งเป็ นสวัสดิ การที่ เพิ่มเติมเข้ามา หลังจากการตั้งกลุ่มผ่านไปได้ 15 ปี กรรมการบริ หารในปี พ.ศ. 2560 มี ท้ งั หมด 12 คน มี นางกัลยา ศิริพรหม เป็ นประธาน น.ส.ประเวียง จุลแก้ว เป็ นรองประธาน พร้อมทั้งกรรมการอื่น ๆ อีก 10 คน ได้แก่ (1)นายกนก วิไชยเดช (2)นายพล พุทธวิเชียร (3)นางประภัสสร วง สดชื่น (4)นางน้อย เตระไชย (5)นางอุทยั โพภิบาล (6)นางนที นนทเภท (7)นาง ปรี ดา คงแก้ว (8)นางขวัญฤทัย นารี พล (9)นางประยูร อภิวนั ท์ และ(10)นางโสภี กุลใจการ โดยมี ครู แผ้ว นายเลอศักดิ์ จิตร์รัว เป็ นที่ปรึ กษา กลุ่มสัจจะวัดทุ่งคา กลุ่มสัจจะที่ต้ งั ขึ้นในปี เดียวกันกับกลุ่มสัจจะวัดป่ ายาง กลุ่มสัจจะวัดทุ่งคา นับเป็ นสมาชิ กเครื อข่ายกลุ่มที่ สอง ต่อจากกลุ่มสัจจะวัดป่ ายาง ก่ อตั้งขึ้ นในปี เดียวกันกับกลุ่มสัจจะวัดป่ ายาง เพียงแต่ต่างเดือนกันเท่านั้น คู่มือแนวทางการทํางาน

หน้ า 23


เครื อข่ ายกลุ่มสัจจะสะสมทรั พย์ เพื่อพัฒนาคุณธรรมครบวงจรชีวิต นครศรี ธรรมราช

จุ ด เริ่ มต้นของกลุ่มนี้ เ กิ ด ขึ้ น เมื่อช่ วงปลายปี พ.ศ. 2542 เมื่อพระ สุวรรณ คเวสโก ได้มาจําวัดที่สาํ นัก สงฆ์ทุ่ ง คา ตอนนั้ น ยัง เป็ นสํา นั ก สงฆ์อยู่ วันนั้นตรงกับวันพระพอดี ท่ า นสุ ว รรณ ได้ ถื อ โอกาสในวัน พระครั้งนั้น พูดคุยกับชาวบ้านที่มา ทํา บุ ญ ที่ ว ดั เรื่ อ งการตั้ง กลุ่ ม สัจ จะ เพื่ อ สร้ า งสวัส ดิ ก ารให้ กับ ชุ ม ชน เพื่อให้ชุมชนพึ่งตนเอง และพัฒนา ตนเอง ชาวบ้านที่ได้พูดคุยกับท่านวรรณในครั้งนั้น ได้นาํ ความคิดนี้ ไปพูดคุยกัน ต่ อ จนเกิ ด การขยายผล และเกิ ด เป็ นกลุ่ ม สัจ จะวัด ทุ่ ง คาขึ้ น เมื่ อ วัน ที่ 5 เดื อ น ธันวาคม พ.ศ. 2542 โดยสมาชิ กชุ ดก่อตั้งในวันนั้นมีท้ งั หมด 96 คน มีเงินสัจจะ สะสมในก่อตั้ง 4,8 80 บาท เงินกองทุนสวัสดิการ 1,900 บาท เงินทุนหมุนเวียน 6,780 บาท กรรมการชุ ด ก่ อ ตั้ง มี 8 คน ประกอบด้ว ย (1)นางบุ ญ มี ชัย ณรงค์ เป็ น ประธาน (2)นายณรงค์ ส่ ง ประดิ ษ ฐ์ เป็ นรองประธาน (3)น.ส.วัน จัน ทร์ หนู เสมียน เป็ นเหรัญญิก (4)นางสุ จินต์ สุ ประดิ ษฐ์ ฝ่ ายบัญชี (5)นายน้าว สุ ขมงคล คู่มือแนวทางการทํางาน

หน้ า 24


เครื อข่ ายกลุ่มสัจจะสะสมทรั พย์ เพื่อพัฒนาคุณธรรมครบวงจรชีวิต นครศรี ธรรมราช

(6)นายเชต อินทวี (7)นางติ้ว ช้างนิ ล และ(8)นางจิราภรณ์ พรหมจรรย์ โดยมีนาย ฝาก แห่ งบ้านคีรีวง เป็ นพี่เลี้ยงในการก่อตั้งกลุ่มช่วงแรก ในปี พ.ศ. 2560 กลุ่มดําเนิ นการย่างเข้าปี ที่ 18 แล้ว สมาชิกกลุ่มเพิ่มขึ้นเป็ น 643 คน เงินสัจจะสะสมมากกว่า 6 บ้านบาท เงินกองทุนสวัสดิการมากกว่า 5 ล้าน บาท เงินทุนหมุนเวียนของกลุ่มมากกว่า 12 ล้านบาท กรรมการชุมปี พ.ศ. 2560 มี 9 คน ประกอบด้วย (1)นางสุ จินต์ สุขประดิษฐ์ ประธาน (2) น.ส.วันจันทร์ หนู เสมี ยน เหรัญญิ ก (3)น.ส.ทิ พภาวรรณ ใกล้คีรี (4)น.ส.ยุพิน ช่วยเอื้อ (5)นางสมจิตร ชัยณรงค์ (6)นายกิตติพงค์ อู่ทองคํา (7)นาง วรรณี ทุ่งสูงเนิน (8)นางอาภรณ์ สุ ขาภิรมย์ และ(9)นางละออง เพ็ญพงค์ ผูช้ ่ วยงานกลุ่ม 2 คน ประกอบด้วย (1)นายณรงค์ สงประเสริ ฐ ที่ ปรึ กษา กลุ่ม และจ่ายข้าวสาร (2)นายปรี ชา สุ ประดิษฐ์ จ่ายข้าวสาร กลุ่มสัจจะบ้ านยอดเหลือง กลุ่มสัจจะสะสมทรัพย์บา้ นยอดเหลือง ตั้งขึ้นในปี เดียวกัน แต่คนละเดือน กันกับกลุ่มสัจจะวัดป่ ายาง และกลุ่มวัดทุ่งคา กลุ่มสัจจะบ้านยอดเหลือจึงนับเป็ น น้องคนที่สามของเครื อข่าย ต่อจากกลุ่มวัดป่ ายาง และกลุ่มวัดทุ่งคา ซึ่ งทั้งสาม กลุ่มนี้ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2542 เหมือนกัน คู่มือแนวทางการทํางาน

หน้ า 25


เครื อข่ ายกลุ่มสัจจะสะสมทรั พย์ เพื่อพัฒนาคุณธรรมครบวงจรชีวิต นครศรี ธรรมราช

จุ ด เริ่ ม ต้น ของกลุ่ ม สัจ จะ บ้านยอดเหลืองเริ่ มเมื่อประมาณ กลางปี พ.ศ. 2542 เมื่ อ พระ สุ วรรณ คเวสโก ได้มาเยี่ยมอดี ต สหายและกลุ่มเกษตรกรทางเลือก บ้านยอดเหลือง แล้วได้พูดคุยกับ นายลํา คงพันธ์ และสมาชิ กกลุ่ม เกษตรทางเลื อ กบ้านยอดเหลื อ ง เพื่ อ จัด ตั้ ง เป็ นกลุ่ ม สั จ จะ เพื่ อ สร้ า งสวัส ดิ ก ารให้ กั บ ชุ ม ชน เพื่ อ ให้ชุ มชนพัฒ นาตนเองและ พึ่งตนเอง จากการได้พูดคุยกับสมาชิ กกลุ่มเกษตรทางเลือก และนายลภ คงพันธ์ จึ ง ได้ตกลงย้ายกลุ่มมาตั้งที่บา้ นของนายลภ คงพันธ์ เมื่อวันที่ 10 เดือนธันวาคม พ.ศ. 2542 โดยมี ส มาชิ ก ก่ อ ตั้ง ทั้ง หมด 113 คน มี เ งิ น สัจ จะ 28,840 บาท กองทุ น สวัสดิการ 5,460 บาท เงินทุนหมุนเวียนทั้งสิ้ นรวม 56,870 บาท กรรมการชุดก่อตั้งมี 4 คนได้แก่ (1)นายลภ คงพันธ์ (2)นางราตรี เชื่ อพุทธ (3)นางทิพย์วรรณ มีปาน และ(4)นายสําราญ จันทร์สุวรรณ คู่มือแนวทางการทํางาน

หน้ า 26


เครื อข่ ายกลุ่มสัจจะสะสมทรั พย์ เพื่อพัฒนาคุณธรรมครบวงจรชีวิต นครศรี ธรรมราช

ในปี พ.ศ. 2560 กลุ่มได้ดาํ เนินการมาย่างเข้าปี ที่ 18 แล้ว มีสมาชิ ก 132 คน มีเงิ นสัจจะมากกว่า 1 ล้าน 3 แสนบาท เงิ นกองทุนสวัสดิ การ ร่ วม 6 แสนบาท รวมเป็ นเงินทุนหมุนเวียนทั้งสิ้ น กว่า 1 ล้าน 9 แสนบาท กรรมการชุดปี พ.ศ. 2560 มี 2 คน ได้แก่ นางราตรี เชื่ อพุทธ และ นางทิพย์ วรรณมีปาน กลุ่มสัจจะบ้ านหนองจิก สมาชิ กเครื อข่ายกลุ่มที่ 4 กลุ่มสัจจะบ้านหนองจิกก่อตั้งหลังจากเครื อข่าย เกิดขึ้นแล้วหนึ่ งปี ช่ วงนี้ เป็ นช่วงที่พ่อท่านวรรณ ออกเดินหาเครื อข่าย เมื่อต้นปี พ.ศ. 2543 ท่านได้ผ่านมาทางบ้านหนอกจิก และได้มีโอกาสได้พูดคุยเรื่ องกลุ่ม สัจจะกับนายคล้อย ภูมิกาญจน์ หรื อน้าแก้ว น้าแก้วได้ฟังแนวคิดเรื่ องเครื อข่ายก็เอาด้วย แล้วก็นาํ แนวคิดนี้ ไปคุยกับคน อื่น ๆ ในหมู่บา้ นจนนําไปสู่ การนัดพูดคุยกับแกนนํา 14 คนหลายครั้งจนกระทัง่ สามารถจัดตั้งกลุ่มได้เมื่อวันที่ 19 เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2543 สมาชิกในชุดก่อตั้งมีท้ งั หมด 91 คน เงินทุนหมุนเวียนในก่อตั้ง 3,870 บาท กองทุนสวัสดิการ 4,320 บาท โดยในวันก่อตั้งสามารถปล่อยให้สมาชิ กกูเ้ งิ นได้ ถึง 8,000 บาท คู่มือแนวทางการทํางาน

หน้ า 27


เครื อข่ ายกลุ่มสัจจะสะสมทรั พย์ เพื่อพัฒนาคุณธรรมครบวงจรชีวิต นครศรี ธรรมราช

กรรมการชุดก่อตั้งมี 6 คน ประกอบด้วย (1)นายคล้อย ภู มิ กาญจน์ ประธาน (2)นายสมพร ชู สุว รรณ รองประธาน (3)นาง เตื อนใจ คุ ณ โญ เลขานุ การ (4)นายชาญวิทย์ และ (6)นายชัย ศักดิ์ ปัจจุบนั ปี พ.ศ. 2560 กลุ่ม ดํา เนิ น งานมาเป็ นปี ที่ 17 แล้ว ปั จจุบนั มีสมาชิ ก 249 คน มีเงิ น สั จ จะสะสมมากกว่ า 1 ล้า น 7 แสนบาท มี ก องทุ น สวัส ดิ ก าร มากกว่า 1 ล้านบาท เงินทุนหมุนเวียนร่ วม 3 ล้านบาท กรรมการชุดปี พ.ศ. 2560 มีท้งั หมด 6 คน ประกอบด้วย (1)นายแหลม แก้ว มีชยั ประธาน (2)นายสมพร ชูสุวรรณ รองประธาน (3)นางอารมณ์ จิตรัว (4)นาย เสรี แก้วมีชยั (5)นางศิริพร ศรี วิชยั และ (6)นางลัดดาวรรณ จิตรัว ทุ กวัน นี้ กลุ่ มยัง ยึด ถื อ แนวทางที่ ต้ ัง ปณิ ธานไว้ในก่ อ ตั้ง อย่า งเคร่ ง ครั ด กล่าวคือเป็ นกลุ่มที่ต้ งั ขึ้นเพื่อให้ประชาชนในชุ มชนมาช่ วยเหลือซึ่ งกันและกัน สร้ างความสามัคคีในหมู่คณะ เพื่อลงทุนร่ วมกัน ขจัดความขัดแย้ง อยู่แบบใช้ คู่มือแนวทางการทํางาน

หน้ า 28


เครื อข่ ายกลุ่มสัจจะสะสมทรั พย์ เพื่อพัฒนาคุณธรรมครบวงจรชีวิต นครศรี ธรรมราช

เศรษฐกิ จ พอเพี ยง สร้ า งแนวทางการประหยัด สร้ า งตลาดภายใน เพื่ อ ลดละ อบายมุข และเพื่อเอาธรรมะเข้ามาสอดแทรกในชุมชน กลุ่มสัจจะบ้ านปากเจา กลุ่มสัจจะสะสมทรัพย์เพื่อพัฒนาคุณธรรมครบวงจรชี วิตวัดปากเจา เป็ น กลุ่มที่ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2543 ณ วัดปากเจา หมู่ 8 ต.ตลิ่งชัน อ.ท่า ศาลา จ.นครศรี ธรรมราช การก่ อตั้ง จากแนวคิ ด พระสุ วรรณ์ คเวสโก ท่ านมี เป้ าหมาย “ที่จะให้ชาวบ้านทําเงินบาท ให้เป็ นเงิ นล้าน โดยการรวมคน ร่ วมกัน ออมเงิ น โดยมีการจัดการอย่างเป็ นระบบของชาวบ้าน” กําหนดให้วดั เป็ นที่ทาํ การ เนื่ อ งจากวัด เป็ นส่ วนรวมของคนในชุ ม ชนและยึ ด หลัก คุ ณ ธรรมในการ บริ หารกลุ่ม และแนวคิดที่สาํ คัญของพระสุ วรรณ คเวสโก คือ “การทําดีไว้ฝากลูก ทําถูกไว้ฝากหลาน สร้างรากฐานไว้กบั ชุมชน” ต่อมาได้จดั ตั้งคณะกรรมการขึ้นมา 1 ชุด มี นายเพื่อม แก้วอย่างดี อดี ต ผูใ้ หญ่บา้ น เป็ นที่ปรึ กษา มีสมาชิกแรกก่อตั้ง รุ่ นที่ 1 จํานวน 94 คน มีเงินสะสม 7,000 บาท จัดสรรให้สมาชิ กกู้ยืมในเดื อ นนั้น โดยเฉลี่ ยปล่ อยกู้เท่ าๆกัน ซึ่ ง มี จุดประสงค์เพื่อจะได้เงิ นค่าบํารุ งมาจัดตั้งกองทุนสวัสดิ การ ในปี แรกของการ ทํางานกรรมการจะทํางานฟรี ไม่มีค่าตอบแทน และไม่มีการปั นผล เพื่อนําเงิ น ส่ วนค่าใช้จ่ายมาสมทบในกองทุนสวัสดิการ ต่อมาเปิ ดรับสมาชิ กเพิ่มรุ่ นที่ 2,3,4 และเมื่อครบ 4 รุ่ น ทางกลุ่มสัจจะฯ มีการกําหนดให้มีสมาชิกทั้งหมด 4 รุ่ นเท่านั้น ตามมติของเครื อข่าย ถึงวันนี้ ก็เป็ นเวลา 17 ปี แล้ว คู่มือแนวทางการทํางาน

หน้ า 29


เครื อข่ ายกลุ่มสัจจะสะสมทรั พย์ เพื่อพัฒนาคุณธรรมครบวงจรชีวิต นครศรี ธรรมราช

ปั จ จุ บ ัน นี้ พ.ศ. 2560 มี สมาชิ ก 4 รุ่ น จํา นวน 189 ครอบครั ว จํา นวนสมาชิ ก 677 คน มี เ งิ น หมุ น เวี ย น 7,072,417 บาท แยกเป็ นเงินสะสมทั้งหมด 4,518,583 บาท กองทุ น สวัสดิการ 2,553,832 บาท กรรมการชุดปี พ.ศ. 2560 มี 8 คน ประกอบด้ว ย (1)นาง โสภา ธราดลวิ ศิ ษ ฎ์ ประธาน (2)นาง อาชี พ ห้ ว ยลึ ก รอง ประธาน (3)นางบุ ญให้ สี น วล ร อ ง ป ร ะ ธ า น ( 4 ) น า ย ศั ก ดิ์ น ริ น ท ร์ ธ ร า ด ล วิ ศิ ษ ฏ์ เลขานุการ (5)นางปิ ยวรรณ ธรรมคง (6)นาง ผ่องศรี มีนาม (7)นางวัลวิษา เพชร ทอง และ (8)นางเบญจวรรณ พรหมอินทร์ เป็ นกรรมการ มาถึงวันนี้ สมาชิกและคนทัว่ ไปได้พิสูจน์แล้วว่า เราเดินมาถูกทางแล้ว คือ มีสวัสดิการครอบคลุมตั้งแต่ เกิ ด จนตาย และสวัสดิการอื่น ๆ ดังที่เราได้เห็นกัน อยู่ 17 ปี ที่ กรรมการและผูก้ ่ อตั้งกลุ่ มสัจจะสะสมทรัพย์บา้ นปากเจา ทุ่ มเท ทํางานอย่างหนัก เพื่อสร้างชุมชนให้เข้มแข็ง ประสบการณ์ที่สงั่ สมมา ต้องมีผสู ้ ื บ คู่มือแนวทางการทํางาน

หน้ า 30


เครื อข่ ายกลุ่มสัจจะสะสมทรั พย์ เพื่อพัฒนาคุณธรรมครบวงจรชีวิต นครศรี ธรรมราช

ทอด กลุ่ มของเรา จําเป็ นต้องมี คนรุ่ น ต่ อ ไปมารั บการถ่ ายทอดประสบการณ์ เพื่อให้กลุ่มของเราดําเนินการต่อไปได้อย่างมัน่ คง อีกประการหนึ่ง โลกทุกวันนี้ เป็ นยุคของโลกเศรษฐกิจการเงิน หากคนรุ่ น ใหม่ในชุ มชนของเรา หันไปพึ่งระบบเศรษฐกิ จการเงิ นของโลกทั้งหมด ถึ งวัน หนึ่ง ชุมชนของเราจะต้องตกเป็ นทาสทางการเงินของโลกอย่างแน่นอน ดัง นั้น ทางกลุ่ ม อยากจะเห็ น คนรุ่ น หนุ่ ม สาวในชุ ม ชนของเรามาร่ ว มสร้ า ง เศรษฐกิจการเงินของชุมชนให้เข้มแข็งยิ่งขึ้น เพื่อให้ชุมชนของเรา สามารถเป็ น ไทจากระบบการเงิ นโลกในอนาคตอันใกล้น้ ี จะได้นําเรื่ องราวการทํางานของ กลุ่ ม เรา ไปเล่ า ให้ ลู ก หลานฟั ง เผื่ อ ว่ า เขาเหล่ า นั้น จะได้มี โ อกาสใช้ค วามรู ้ ความสามารถให้เป็ นประโยชน์กบั ชุมชนให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็ นไปได้ กลุ่มสัจจะบ้ านคุ้งวังวัว สมาชิ กเครื อ ข่ายกลุ่ มสัจจะกลุ่ มที่ 6 กลุ่มสัจจะบ้านคุ ง้ วังวัว อ.พิ ปูน จ. นครศรี ธรรมราชเกิ ดขึ้นเมื่ อวันที่ 16 เดื อนมี นาคม พ.ศ. 2543 มี สมาชิ กในวัน ก่อตั้ง 73 คน มี เงิ นสัจจะสะสม 4,260 บาท มี กองทุ นสวัสดิ การ 4,500 บาท มี เงินทุนหมุนเวียนในวันก่อตั้ง 8,760 บาท กรรมการชุ ดก่อตั้งของกลุ่มมี 5 คน ประกอบด้วย (1)นายพงศ์รักษ์ พัฒน์ แก้ว ประธาน (2)นายสุ รนารถ พลมานพ (3)นายบัญญัติ ไข่แก้ว (4)นายสุ ริยาวุธ นพ และ (5)นายบุญเลิซ ศรี ชาย คู่มือแนวทางการทํางาน

หน้ า 31


เครื อข่ ายกลุ่มสัจจะสะสมทรั พย์ เพื่อพัฒนาคุณธรรมครบวงจรชีวิต นครศรี ธรรมราช

ในปี พ.ศ. 2560 กลุ่มดําเนิ นการมาเป็ นปี ที่ 18 แล้ว มีสมาชิ กเพิ่มเป็ น 506 คน มีเงินสัจจะสะสมมากกว่า 3 ล้านบาท มีเงินกองทุนสวัสดิการมากกว่า 2 ล้าน บาท เงิ น ทุ น หมุ น เวี ย นทั้ งหมด มากกว่า 5 ล้าน 7 แสนบาท กรรมการบริ ห ารชุ ด ปี พ.ศ. 2560 มี 9 คน ประกอบด้วย (1)นาย สมภาส รอดรัตน์ ประธาน (2)นาย สุ รนารถ พลมานพ (3)นายอารมณ์ สวั ส ดิ (4)นายบั ญ ญั ติ ไข่ แ ก้ ว (5)นายเฉลิ ม พร สิ ทธิ ประการ (6)นายณรงค์ คะเชนทร์ (7)นางจิรา ศรี เทพ (8)นางภัตยาภรณ์ มณี วรรณ และ (9)น.ส.ศิริรัตน์ หนอนไม้ กลุ่มสัจจะวัดใหม่ ไทยเจริญ กลุ่มสัจจะวัดใหม่ไทยเจริ ญเกิดขึ้นหลังจากเครื อข่ายดําเนิ นการมาเป็ นปี ที่ 2 แล้ว ที่ทาํ การกลุ่มตั้งอยูท่ ี่ หมู่ 1 ต.นบพิตาํ อ.นบพิตาํ จ.นครศรี ธรรมราช ก่อตั้ง ขึ้นเมื่อวันที่ 23 เดือนสิ งหาคม พ.ศ. 2543 คู่มือแนวทางการทํางาน

หน้ า 32


เครื อข่ ายกลุ่มสัจจะสะสมทรั พย์ เพื่อพัฒนาคุณธรรมครบวงจรชีวิต นครศรี ธรรมราช

ในวัน ก่ อตั้ง กลุ่ ม ได้มีการ เลือกคณะทํางานของกลุ่ม และได้ ตั้งใจว่า จะรับสมาชิกเพียง 50 คน เท่านั้น แต่ดว้ ยความประสงค์ของ คนในชุ ม ชนที่ ต ้อ งการเข้า ร่ วม กลุ่มด้วย จึงขอให้กลุ่มขยายเวลา การรับสมาชิกออกไปอีก เพื่ อ เปิ ดโอกาสให้ ค นใน ชุ มชนที่มีความประสงค์จะสมัคร เป็ นสมาชิ ก กลุ่ ม ได้ ส มั ค รเป็ น สมาชิ ก ทางกลุ่มจึงขยายเวลาการ รับสมัครออกไปถึงวันที่ 12 เดือน กันยายน ในปี เดียวกัน ทําให้จาํ นวนสมาชิกในวันก่อตั้งกลุ่มมีถึง 100 คน ด้วยจํานวนสมาชิ กดังกล่าว กลุ่มสัจจะวัดใหม่ไทยเจริ ญ จึงสามารถระดม เงินกองทุนสวัสดิการในก่อตั้งได้ถึง 8,100 บาท เงินสัจจะสะสม 5,630 บาท รวม เป็ นเงินทุนหมุนเวียนในการก่อตั้งกลุ่มทั้งสิ้ น 15,730 บาท กรรมการบริ หารกลุ่มที่มาจากการเลือกตั้งของสมาชิ กในวันก่อตั้งมี 6 คน ประกอบด้วย (1)นายประเสริ ฐ แซ่ ห ลี ประธาน (2)นายสมวัชร์ เชาวลิ ต รอง ประธาน (3)นางสํารอง ดวงแป้ น เหรัญญิ ก (4)นางเมตตา ทองเกลี้ ยง (5)นาง คู่มือแนวทางการทํางาน

หน้ า 33


เครื อข่ ายกลุ่มสัจจะสะสมทรั พย์ เพื่อพัฒนาคุณธรรมครบวงจรชีวิต นครศรี ธรรมราช

ลําดวน ทองศรี จนั ทร์ และ (6)น.ส.ปรี ยานุ ช รู ปโอ โดยมีพระมหาอนันต์ อานนฺ โท เจ้าอาวาสวัดใหม่ไทยเจริ ญ และพระสุ ตสั ส์ ขนฺ ธสี โล เป็ นที่ปรึ กษา ในปี พ.ศ. 2560 กลุ่มดําเนิ นการมา 17 ปี เต็มแล้ว มีสมาชิกเพิ่มเป็ น 172 คน มีเงิ นสัจจะสะสมมากกว่า 1 ล้าน 7 แสนบาท เงิ นกองทุนสวัสดิ การมากกว่า 1 ล้าน 5 แสนบาท เงินทุนหมุนเวียนมากว่า 3 ล้านบาท กรรมการบริ หารชุ ดปี พ.ศ. 2560 มี 6 คน ประกอบด้วย (1)นายจรัญ สุ ข แก้ว ประธาน (2)นายบุญรวย แก้วมณี (3)นางสุ พรรณี ภาระเพิง (4)น.ส.ปนัดดา หนูดาํ (5)นางจรรจิรา ไชยโย และ (6)น.น.ปรี ยานุช รู ปโอ กลุ่มสัจจะบ้ านคลองเสาเหนือ สมาชิ กเครื อข่ายกลุ่มที่ 8 กลุ่มสัจจะบ้านคลองเสาเหนื อ แต่สมาชิ กส่ วน ใหญ่มกั จะรู ้จกั ในชื่อ กลุ่มบางขัน ได้ก่อตั้งขึ้นในปลายปี พ.ศ. 2543 เมื่อเครื อข่าย มีอายุยา่ งเข้าเพียงปี ที่ 2 เท่านั้นเอง ในปลายปี พ.ศ. 2543 นายสมพงษ์ ริ ยาพันธ์ และนายประเสริ ฐ รัตนบุรี ได้ ไปที่วดั ป่ ายางเพื่อยื่นซองกฐิ น แล้วได้เห็ นว่าวัดป่ ายางมีการทํากลุ่มสัจจะอยู่ ก็ เกิดความสนใจ

คู่มือแนวทางการทํางาน

หน้ า 34


เครื อข่ ายกลุ่มสัจจะสะสมทรั พย์ เพื่อพัฒนาคุณธรรมครบวงจรชีวิต นครศรี ธรรมราช

เ มื่ อ ก ลั บ ม า ที่ บ้ า น จึ ง กลั บ มาปรึ กษากั บ นายสุ รพล ทิพยจักษุ ซึ่ งเป็ นผูใ้ หญ่บา้ นอยูใ่ น ขณะนั้น แล้วก็มีความเห็นร่ วมกัน ว่าควรจะตั้งกลุ่ มสัจจะขึ้ นเพื่อจะ ให้ชาวบ้านได้มีการออม กลุ่ ม สั จ จะบ้า นคลองเสา เหนื อ จึงถือกําเนิ ดขึ้นเมื่อวันที่ 17 เดื อนธันวาคม พ.ศ. 2543 โดยใช้ บ้านผูใ้ หญ่เป็ นที่ทาํ การ ก ร ร ม ก า ร ชุ ด ก่ อ ตั้ ง มี ทั้ งหมด 9 คน ได้ แ ก่ (1)นาย สมพงษ์ ริ ยาพันธ์ (2)นางจําเนี ยร ทิพย์จกั ษุ (3)นางโสภา แก่นจันทร์ (4)นางพัชนี คําแหง (5)นายมณี รัตนพล (6)นายจริ นทร์ กลีบแก้ว (7)นางจินดี ร่ มเย็น (8)นาง จันทนา รักษาวงค์ และ(9)นางราตรี สุ ดจิตร โดยมีนายสุ รพล ทิพย์จกั ษุ และนาย ประเสริ์ ฐ รัตนบุรี เป็ นที่ปรึ กษา สมาชิ ก ในวัน ก่ อ ตั้ง มี ท้ ัง หมด 145 คน มี เ งิ น สัจ จะสะสม 4,470 บาท เงินกองทุนสวัสดิการ 4,690 รวมเงินทุนหมุนเวียนในกลุ่มทั้งสิ้ น 10,690 บาท ซึ่ ง เป็ นความภาคภูมิใจของชาวบ้าน เพราะเป็ นการก่อตั้งกลุ่มโดยชาวบ้านล้วน ๆ คู่มือแนวทางการทํางาน

หน้ า 35


เครื อข่ ายกลุ่มสัจจะสะสมทรั พย์ เพื่อพัฒนาคุณธรรมครบวงจรชีวิต นครศรี ธรรมราช

ในปี พ.ศ. 2560 กลุ่มดําเนิ นการย่างเข้าปี ที่ 17 แล้ว สมาชิ กเพิ่มขึ้นเป็ น 357 คน มีเงินสัจจะสะสมมากกว่า 3 ล้าน 7 แสนบาท มีกองทุนสวัสดิการมากกว่า 2 ล้าน 2 แสนบาท รวมเงินทุนหมุนเวียนที่ชาวบ้านช่วยกันสะสมไว้มากกว่า 6 ล้าน 3 แสนบาท กรรมการบริ หารชุดปี พ.ศ. 2560 มีท้ งั หมด 11 คน ประธาน 1 คน ได้แก่ นายสมพงษ์ ริ ยาพันธ์ เป็ นประธาน รองประธาน 2 คนได้แก่ นายสุ รพล ทิพย์จกั ษุ นายประเสริ ฐ รัตนบุรี เลขานุ การได้แก่ นายมณี รัตนพล และกรรมการอีก 7 คน ได้แก่ (1)นายเรวัช ริ ยาพันธ์ (2)นายกรี เพชร จุติประภาค (3)นายภัทรพล สายชนะ พันธ์ (4)นางโสภา แก่ นจันทร์ (5)นางพัชนี คําแหง (6)นางสุ สกุล คําแหง และ (7)นางมณี ดาว คงวัดใหม่ กลุ่มสัจจะบ้ านเขาโพธิ์ เมื่อเครื อข่ายกลุ่มสัจจะมีอายุย่างเข้าปี ที่ 3 สมาชิ กของเครื อข่ายกลุ่มที่ 9 ก็ ถือกําเนิ ดขึ้นในวันที่ 9 เดื อนมกราคม พ.ศ. 2544 แต่ กว่าที่ กลุ่ มนี้ จะถื อกําเนิ ด ขึ้นมาได้ ผูน้ าํ ของกลุ่มได้ทาํ งานอย่างหนักอยูห่ ลายเดือน ก่ อ นที่ กลุ่ มจะถื อ กํา เนิ ด ขึ้ น หลายเดื อ น พ่อ ท่ า นสุ วรรณ คเวสโก ได้มา ก่อตั้งกลุ่มที่วดั ใหม่ไทยเจริ ญ พอดีวนั นั้นนางเมตตา ทองเกลี้ยง ได้ไปวัด ก็เลยได้ พบกับพ่อท่าน พ่อท่านก็ชวนให้เป็ นกรรมการของกลุ่มวัดใหม่ไทยเจริ ญ คู่มือแนวทางการทํางาน

หน้ า 36


เครื อข่ ายกลุ่มสัจจะสะสมทรั พย์ เพื่อพัฒนาคุณธรรมครบวงจรชีวิต นครศรี ธรรมราช

นางเมตตา ทองเกลี้ยง เป็ น กรรมการของกลุ่ ม วัด ใหม่ ไ ทย เจริ ญอยูไ่ ด้ 3 เดือน จึงได้ไปศึกษา ดูงานที่จงั หวัดตราดของท่านสุ บิน เมื่อกลับมาก็คิดอยากจะตั้งกลุ่มที่ บ้านเขาโพธิ์ นางเมตตา ทองเกลี้ ย ง จึ ง นํ า เ รื่ อ งนี้ ไป ปรึ ก ษา กั บ พร ะ มหานันท์ เจ้าอาวาสวัดใหม่ ไทย เจริ ญ พระมหานั น ท์ ก็ เ ลยมา ดําเนินการตั้งกลุ่มให้ เหตุที่นางเมตตา ได้ก่อตั้ง กลุ่ ม ขึ้ น มาต่ า งหาก ทั้ง ๆ ที่ ใ นตอนนั้น บ้า นเขาโพธิ์ ก็ ก ํา ลัง จะตั้ง กลุ่ ม ขึ้ น มา เหมือนกัน แต่แนวทางกลุ่มที่หมู่บา้ นกําลังจะตั้งขึ้นนั้น ไม่เหมือนกับกลุ่มที่นาง เมตตาไปดูงานที่จงั หวัดตราดมา ก็เลยคิดที่จะตั้งกลุ่มขึ้นมาต่างหาก ในตอนเริ่ มต้น กลุ่ มสัจจะบ้านเขาโพธิ์ มี กรรมการชุ ดก่ อตั้ง เพี ยง 3 คน ได้แก่ นายสุชีพ สุทธิบูลย์ เป็ นประธาน นางเมตตา ทองเกลี้ยง เป็ นกรรมการ และ น.ส. กัญญา สุทธิบูลย์ เป็ นเหรัญญิก มีสมาชิ กแรกก่อตั้ง 43 คน เงินสัจจะสมาชิ ก แรกเข้า 1,340 บาท และเงินกองทุนสวัสดิการแรกเข้า 2,070 บาท คู่มือแนวทางการทํางาน

หน้ า 37


เครื อข่ ายกลุ่มสัจจะสะสมทรั พย์ เพื่อพัฒนาคุณธรรมครบวงจรชีวิต นครศรี ธรรมราช

จนกระทัง่ มาถึ ง ปั จจุ บนั ปี พ.ศ. 2560 สมาชิ กกลุ่ มสัจจะบันเขาโพธิ์ มี สมาชิ กทั้ง หมด 639 คน เงิ น สัจจะสะสมทั้งหมด กว่า 3 ล้านบาท เงิ นกองทุ น สวัสดิการทั้งหมด กว่า 2 ล้านบาท เงินหมุนเวียนทั้งหมดกว่า 7 ล้านบาท กรรมการบริ หารชุ ดปี พ.ศ. 2560 ทั้งหมดมี 7 คน มี นายสุ ชีพ สุ ทธิ บูลย์ เป็ นประธาน และกรรมการอื่ น ๆ อี ก 6 คนได้แ ก่ (1)นางเมตตา ทองเกลี้ ย ง (2)น.ส. สุ ทธิ บูลย์ (3)นางสี นาล สุ ทธิ บูลย์ (4)นางโชคดี ชูเมือง (5)นางรสสุ คนธ์ บุญพร่ อง และ (6)นางยุพิน บุญใหญ่ กลุ่มสัจจะวัดเลียบ สมาชิกเครื อข่ายกลุ่มที่ 10 กลุ่มสัจจะวัดเลียบหรื อกลุ่มวัดท่าช้างได้รับการ ก่อตั้งอย่างเป็ นทางการเมื่อวันที่ 9 เดื อนมกราคม พ.ศ. 2544 แต่ก่อนที่วนั นี้ จะ มาถึง ผูน้ าํ ชุ มชนได้หารื อกันหลายรอบ จนกระทัง่ วันแห่ งประวัติศาสตร์ ได้เริ่ ม ขึ้น เมื่อวันที่ 26 เดือนธันวาคม พ.ศ. 2543 พระอาจารย์สุวรรณ คเวสโก และ พระมหาจํานงค์ กตปุ�ฺโญเจ้าอาวาสวัดท่าช้าง ได้นดั ชาวบ้านมาประชุมเพื่อทํา ความเข้าใจเรื่ องการตั้งกลุ่มสัจจะสะสมทรัพย์

คู่มือแนวทางการทํางาน

หน้ า 38


เครื อข่ ายกลุ่มสัจจะสะสมทรั พย์ เพื่อพัฒนาคุณธรรมครบวงจรชีวิต นครศรี ธรรมราช

ใน ก า ร หา รื อ ครั้ ง นั้ น มี ผู ้ มาร่ วมหารื อ 10 คน โดยมีนายหมุด สมประดิ ษ ฐ์ และนายแห้ ง ลัง แท้ เมื่ อ ได้แ นวทางและวิธีการทํา งาน แล้ว ในวัน ที่ 9 เดื อ นต่ อ มา การ เปิ ดรับสมาชิกก็เกิดขึ้น สมาชิ ก ชุ ด ก่ อ ตั้ง ของกลุ่ ม มี ทั้งหมด 112 คน เงิ นทุนหมุนเวียน ในวัน ก่ อ ตั้ง มี ท้ ัง สิ้ น 9,190 บาท ปล่ อ ยให้ ส มาชิ กกู้ ใ นวั น ก่ อ ตั้ ง 3,000 บาท คงเหลือไว้เป็ นกองทุน ของกลุ่ม 6,190 บาท กรรมการชุดแรกของกลุ่มมี 5 คน ประกอบด้วย (1)นายหมุด สมประดิษฐ์ ประธาน (2)นายบุญมา โรจนะ (3)นายนิกร อากาศโชติ (4)นายยรรยง วงศ์ศิริ และ (5)น.ส.สัมพันธ์ มาศเมฆ กลุ่มดําเนิ นการมาเป็ นปี ที่ 2 กลุ่มก็เจอกับมรสุมครั้งใหญ่ เมื่อกรรมการบาง คนได้ลาออก ทําให้สมาชิ กลาออกตามไปหลายราย ทําให้กลุ่มต้องเปิ ดประชุ ม วิสามัญเพื่อแก้ปัญหา เมื่อวันที่ 15 เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2545 คู่มือแนวทางการทํางาน

หน้ า 39


เครื อข่ ายกลุ่มสัจจะสะสมทรั พย์ เพื่อพัฒนาคุณธรรมครบวงจรชีวิต นครศรี ธรรมราช

ในการประชุ มใหญ่วิสามัญครั้งนั้น นายหมุด สมประดิ ษฐ์ ประธาน ได้ ขอร้องให้นายเซ้งให้ หนู ช่วย เข้ามาแก้วิกฤติ โดยจัดตั้งกรรมการชุดใหม่หมดทั้ง ชุด จนชาวชุมชนเกิดความศรัทธา และขอสมัครเข้าเป็ นสมาชิกเพิ่มขึ้นเรื่ อย ๆ ในปี พ.ศ. 2560 กลุ่มดําเนิ นการมาเป็ นปี ที่ 16 แล้ว มีกรรมการหมุนเวียน กันมาบริ หารกลุ่มผ่านมาแล้ว 7 ชุด ปั จจุบนั มีสมาชิ กทั้งหมด 206 คน มีเงิ นทุน หมุนเวียนมากกว่า 3 ล้าน 5 แสนบาท เงิ นสัจจะสะสม มากกว่า 2 ล้านบาท และ เงินกองทุนสวัสดิการมากกว่า 1 ล้าน 2 แสนบาท กรรมการบริ หารชุ ด ปี พ.ศ. 2560 ซึ่ งเป็ นชุ ด ที่ 8 มี ท้ ั ง หมด 5 คน ประกอบด้วย (1)นายเซ่ งให้ หนู ช่วย ประธาน (2)นพปฎล หนู ช่วย (3)นายเล็ก พิรุณกาญจน์ (4)นางกิ้มไฝ ซุม้ บุญ และ(5)นางรุ จยา ปฐมกุลวงค์ กลุ่มวัดเลียบได้ยา้ ยที่ทาํ การจากวัดท่าช้าง มาทําการที่วดั เลียบ ม.5 ต.ช้าง ซ้าย อ.พระพรหม จ.นครศรี ธรรมราช ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2550 จึงได้เปลี่ยนชื่อเป็ นกลุ่ม วัดเลียบตั้งแต่บดั นั้นเป็ นต้นมา กลุ่มสัจจะวัดคลองขยัน กลุ่ ม สัจ จะวัด คลองขยัน อํา เภอเชี ย รใหญ่ ก่ อ ตั้ง ขึ้ น เมื่ อ วัน ที่ 7 เดื อ น มิถุนายน พ.ศ. 2546 โดยการริ เริ่ มของผูใ้ หญ่นิกร ลิ้มวงค์ ที่ได้พูดคุยกับชาวบ้าน คู่มือแนวทางการทํางาน

หน้ า 40


เครื อข่ ายกลุ่มสัจจะสะสมทรั พย์ เพื่อพัฒนาคุณธรรมครบวงจรชีวิต นครศรี ธรรมราช

เรื่ องการตั้ง กองทุ น เพื่ อ หาเงิ น สนับ สนุ น ด้า นการประกอบอาชี พ และด้า น สวัสดิการให้กบั สมาชิกด้านต่าง ๆ เช่น เกิด แก่ เจ็บ ตาย หลังจากพูดคุยกับชาวบ้าน แล้ว ก็นาํ แนวคิดดังกล่าวไปหารื อ กั บ นายฝาก ตรี ถวั ล ปราชญ์ ชาวบ้านคีรีวง ในเวลาต่อมา นาย ฝากแนะนําให้พระสุ วรรณ คเวส โก มาให้ความรู ้ และได้จดั ตั้งเป็ น กองทุ น ชื่ อ ว่า “กลุ่ มสัจจะสะสม ทรั พ ย์ เพื่ อ พัฒ นาคุ ณ ธรรมครบ วงจรชีวิต วัดคลองขยัน” ในที่สุด กลุ่มสัจจะวัดคลองขยัน มี สมาชิกแรกก่อตั้งจํานวน 61 คน มี เงิ นทุ น ในการก่ อ ตั้ งครั้ งแรก รวมกันเป็ นเงิ น 3,500 บาท มี กรรมการ 4 คน ประกอบด้วย (1)นายสุ ริยะ ขวัญ แก้ว ประธาน (2)นายไพฑู รย์ สุ วรรณดํา เนิ น รองประธาน (3)นางไพริ น ทร์ พัฒนา เหรัญญิก และ (4)นางนันทิยา บุญทอง กรรมการ ปั จจุบนั ปี พ.ศ. 2560 กลุ่มดําเนิ นการมาเป็ นปี ที่ 14 แล้ว มีสมาชิกทั้งหมด 131 คน มีเงินทุนหมุนเวียนร่ วม 2 ล้าน 5 แสนบาท คู่มือแนวทางการทํางาน

หน้ า 41


เครื อข่ ายกลุ่มสัจจะสะสมทรั พย์ เพื่อพัฒนาคุณธรรมครบวงจรชีวิต นครศรี ธรรมราช

กรรมการชุดปี พ.ศ. 2560 มี 5 คน ประกอบด้วย (1)นายไพฑูรย์ สุ วรรณ ดําเนิ น ประธาน (2)นางสุ พชั ชา อินทร์ ปิน รองประธาน (3)นางไพริ นทร์ พัฒนา เหรัญญิก (4)นางนงลักษณ์ สุวรรณโณ และ (5)นางวรรณนิภา ช่วยสกุล กรรมการ กลุ่มสัจจะบ้ านหนองบัว ในปี ที่ 4 ของการก่อตั้งเครื อข่ายกลุ่มสัจจะ เมื่อวันที่ 23 เดือนตุลาคม พ.ศ. 2546 สมาชิกเครื อข่ายกลุ่มที่ 12 ก็ถือกําเนิ ดขึ้นที่บา้ นหนองบัว ต.นาเคียน อ.เมือง จ.นครศรี ธรรมราช ซึ่ งเป็ นตําบลที่มีเขตติดต่อกับ ต.ท่างิ้ว ที่วดั ป่ ายางตั้งอยู่ กลุ่มสัจจะบ้านหนองบัว เมื่อแรกก่อตั้ง มีสมาชิ กแรกก่อตั้ง 50 คน มีเงิ น สัจจะสะสมในตอนนั้น 2,980 บาท มี กองทุ น สวัสดิ การ 3,240 บาท ยอดเงิ น หมุนเวียนในวันก่อตั้ง 6,220 บาท กรรมการชุ ดก่อตั้งมี 3 คน ได้แก่ (1)นายสามารถ คาวินทร (2)นายโสภณ เชาวนาธรรม และ(3)นางสมจิ ต ร การะบัน โดยใช้ที่ท าํ การของกลุ่ ม จัก สาน ย่านลิเภา หมู่ที่ 7 ต.นาเคียน เป็ นที่ทาํ การชัว่ ครัวอยู่ 1 ปี หลังจากนั้นจึงย้ายไปใช้ บ้านของนายสามารถ คาวินทร บ้านเลขที่ 147/3 ซึ่ งตั้งอยูใ่ นหมู่เดียวกัน เป็ นที่ทาํ การจนถึงปัจจุบนั นี้

คู่มือแนวทางการทํางาน

หน้ า 42


เครื อข่ ายกลุ่มสัจจะสะสมทรั พย์ เพื่อพัฒนาคุณธรรมครบวงจรชีวิต นครศรี ธรรมราช

ในปี พ.ศ. 2560 กลุ่มมี อายุ ย่า งเข้า 14 ปี แล้ว กลุ่ มมี สมาชิ ก เพิ่ ม ขึ้ นเป็ น 200 คน มี เ งิ น ทุ น หมุ น เวี ย นทั้ง หมดกว่ า 3 ล้า น 5 แ ส น บ า ท แ ย ก เ ป็ น ก อ ง ทุ น สวัสดิการกว่า 1 ล้าน 6 แสน บาท กองทุนสัจจะสะสมร่ วม 1 ล้าน 9 แสนบาท กรรมการชุดปี พ.ศ. 2560 มี 3 คน ประ กอ บด้ ว ย (1) นา ย สามารถ คาวินทร (2)นายอนันต์ บุ ญเรื อง และ (3)นางเสงี่ ยม คาวิ นทร นอกจากการดําเนิ นการเพื่อสร้างสวัสดิการให้แก่สมาชิ กแล้ว กลุ่มสัจจะ บ้านหนองบัว ได้ขยายงานด้านการสร้างอาชีพทั้งการผลิตและการจําหน่ายอาหาร ปลอดสารพิษ โดยได้รับการสนับสนุ นจาก กศน. อําเภอเมื องนครศรี ธรรมราช ด้วย

คู่มือแนวทางการทํางาน

หน้ า 43


เครื อข่ ายกลุ่มสัจจะสะสมทรั พย์ เพื่อพัฒนาคุณธรรมครบวงจรชีวิต นครศรี ธรรมราช

กลุ่มสัจจะวัดดินดอน กลุ่มสัจจะวัดดินดอน เป็ นตัวอย่างของกลุ่มที่มีการตั้งเป็ นกลุ่มในรู ปแบบ อื่นก่อน แล้วจึงหันมาใช้แนวทางของกลุ่มสัจจะ เป็ นแนวทางในการบริ หารกลุ่ม ในภายหลัง จนกระทัง่ ถึงทุกวันนี้ ก ลุ่ ม สั จ จ ะ วั ด ดิ น ด อ น แรกเริ่ มมีชื่อว่า กลุ่มสานแสงทอง 2000 เป็ นกลุ่มเกษตรกรที่เกิดจาก การรวมตัวของคนในหมู่บา้ นและ พื้นที่ ใกล้เคี ยงที่ มีความคิดไปใน แนวทางเดียวกันประมาณ 75 คน เมื่อรวมตัวกันได้แล้ว ก็ได้ มี ก ารคัด เลื อ กกรรมการขึ้ น มา 5 คน ประกอบด้วย (1)นายหรรษา เ ชี่ ย ว วิ ท ย์ ป ร ะ ธา น ( 2 ) น า ง ศิ ริ วรรณ ริ วรรณพัน ธ์ (3)นาย อาทร ยอดพิ จิ ต ร (4)นายวิ ษ ณุ อํานวยศิลป์ และ(5)นายประวัติ ยอดผกา

คู่มือแนวทางการทํางาน

หน้ า 44


เครื อข่ ายกลุ่มสัจจะสะสมทรั พย์ เพื่อพัฒนาคุณธรรมครบวงจรชีวิต นครศรี ธรรมราช

เมื่ อ มี ค ณะกรรมการเรี ยบร้ อ ยแล้ว หลัง จากนั้ น เมื่ อ ปี วัน ที่ 16 เดื อ น พฤษภาคม พ.ศ. 2543 กลุ่มจึงได้ไปขึ้นทะเบียนกับกองทุนฟื้ นฟูและพัฒนาเกษตร และได้ดาํ เนินการเรื่ อยมา จนกระทัง่ ในปี พ.ศ. 2547 ทางกรรมการได้ไปที่ วดั ป่ ายาง เพื่อไปพบกับ พระอาจารย์ สุ วรรณ คเวสโก ได้ไปเห็ นการทํา กลุ่มสัจจะของวัด ป่ ายาง ทาง กรรมการเล็งเห็นว่าเป็ นประโยชน์กบั สมาชิ ก จึงได้นาํ กลุ่มเข้าเป็ นเครื อข่ายของ กลุ่มสัจจะสะสมทรัพย์เพื่อพัฒนาคุณธรรมครบวงจรชี วิต นครศรี ธรรมราช เมื่อ วันที่ 20 เดือนเมษายน ในปี เดียวกัน หลังจากนั้นจึงได้เปลี่ ยนชื่ อกลุ่มเป็ นกลุ่มสัจจะวัดดิ นดอน และได้มีการ ปรับในทุก ๆ ด้านของการทําบัญชีตามแนวทางของเครื อข่ายทุกอย่าง โดยในวัน เริ่ ม ต้น ตามแนวทางของกลุ่ ม สัจ จะ มี ส มาชิ ก ทั้ง หมด 75 คน มี ก องทุ น เงิ น หมุนเวียน 23,510 บาท เงินสัจจะสะสม 18,690 บาท เงินกองทุนสวัสดิการ 4,060 บาท ในปี พ.ศ. 2560 กลุ่มดําเนิ นการตามแนวทางเครื อข่ายกลุ่มสัจจะมาแล้ว เป็ นปี ที่ 13 มีเงินทุนหมุนเวียนกว่า 1 ล้าน 8 แสนบาท เงินสัจจะสะสมกว่า 1 ล้าน 3 แสนบาท เงินกองทุนสวัสดิการร่ วม 5 แสนบาท

คู่มือแนวทางการทํางาน

หน้ า 45


เครื อข่ ายกลุ่มสัจจะสะสมทรั พย์ เพื่อพัฒนาคุณธรรมครบวงจรชีวิต นครศรี ธรรมราช

กรรมการบริ หารชุดปี 2560 มี 4 คน ประกอบด้วย (1)นางศิริวรรณ ริ วรรณ พัน ธ์ ประธาน (2)นายอาทร ยอดพิ จิ ต ร (3)นายประพาศ ยอดไสว และ (4)นายธวัฐ เชี่ยววิทย์ กลุ่มสัจจะบ้ านหน้ าเขามหาชัย สมาชิกเครื่ องข่ายลําดับที่ 14 กลุ่มสัจจะหน้าเขามหาชัยได้ก่อกําเนิดขึ้นเป็ น ครั้งแรกเมื่อนายประมวล สุ ขชนะ ร่ วมกับ 25 คนในพื้นที่ของบ้านเขามหาชัย มา ประสานงานกับพระอาจารย์สุวรรณ คเวสโก เจ้าอาวาสวัดป่ ายางเมื่ อวันที่ 28 เดือนสิ งหาคม พ.ศ. 2547 เพื่อร่ วมหารื อถึงการก่อตั้งกลุ่มขึ้น ต่อมาในวันที่ 31 เดือนสิ งหาคม ปี เดียวกัน การประชุ มครั้งที่ 2 จึงเกิ ดขึ้น การประชุ มในวันนี้ นําไปสู่ การเลื อกกรรมการบริ หารกลุ่ มในชุ ดก่ อตั้ง โดยมี สมาชิ กชุ ดแรก 93 คน มี กรรมการ 5 คน ประกอบด้วย (1)นายสมพงศ์ สุ ขชนะ (2)นายนิ กร รู ้จาํ (3)นางสงบ ชุมจิตร (4)นางนภาพร ทองชุม และ(5)นายอดิศกั ดิ์ รั กขพัน ธ์ โดยมี นายประมวล สุ ข ชนะ และ ผอ.โรงเรี ย นวัด เขามหาชัย เป็ น ประธานที่ปรึ กษา ในวันก่ อตั้ง กลุ่มมี เงิ นกองทุนหมุนเวียน 7,550 บาท แบ่ งเป็ นเงิ นสัจจะ สะสม 4,250 บาท และเงินกองทุนสวัสดิการ 3,300 บาท คู่มือแนวทางการทํางาน

หน้ า 46


เครื อข่ ายกลุ่มสัจจะสะสมทรั พย์ เพื่อพัฒนาคุณธรรมครบวงจรชีวิต นครศรี ธรรมราช

ปัจจุบนั ปี พ.ศ. 2560 กลุ่มมีอายุ ย่างเข้าปี ที่ 13 แล้ว มี สมาชิ ก 200 คน มี เ งิ น กองทุ น หมุ น เวี ย นเพิ่ ม ขึ้ น รวม แล้ว มากกว่ า 4 ล้า นบาท เงิ น สัจ จะ สะสมมากกว่ า 2 ล้ า นบาท และ เงิ นกองทุนสวัสดิ การมากกว่า 1 ล้าน 6 แสนบาท กรรมการบริ หารชุ ด ปี พ.ศ. 2560 มี 5 คน ประกอบด้วย นายนิ กร รู ้จาํ เป็ นประธาน และกรรมการอีก 4 คนได้ แ ก่ (1)นายโชค นาครั ต น์ (2)นายพรพจน์ นนทมิตร (3)นางนิ ภาพร ทองชุม และ(4)นางธัญวรัตน์ รัตนฉวี กลุ่มสัจจะบ้ านดอนทะเล

คู่มือแนวทางการทํางาน

หน้ า 47


เครื อข่ ายกลุ่มสัจจะสะสมทรั พย์ เพื่อพัฒนาคุณธรรมครบวงจรชีวิต นครศรี ธรรมราช

กลุ่มสัจจะสะสมทรัพย์บา้ น ดอนทะเล เริ่ มก่ อ ตั้ง ขึ้ น เมื่ อ วัน ที่ 30 เดื อ นมิ ถุ น ายน พ.ศ. 2550 แรกเริ่ มได้มี อ ดี ต ผู ้ใ หญ่ ว รรโณ สังขพงค์ โดยได้มีการปรึ กษาพระ สุ วรรณ คเวสโก เจ้าอาวาสวัดป่ า ยาง ซึ่ งทํากลุ่มสัจจะอยู่แล้ว ได้มา ให้ความรู ้เรื่ องการออมทรัพย์ จึงมี แนวความคิ ด จั ด ตั้ งกลุ่ ม ขึ้ นมา ดํ า เ นิ น ก า ร จั ด ก ลุ่ ม ต า ม แนวความคิ ด ของพระสวรรณ คเวสโก โดยมี ก ารจัด การออม และมีสวัสดิการต่าง ๆ ตั้งแต่ การเกิด แก่ เจ็บ ตาย และผูส้ ู งอายุ แล้วจุ ดกําเนิ ดของกลุ่ มได้เกิ ดขึ้น เมื่อชาวบ้านมาประชุ มกันครั้งแรกใน วันที่ 26 เดื อนมิถุนายน พ.ศ. 2550 ได้มีสมาชิ กครั้งแรกจํานวน 76 คน รวมเงิ น สะสมจํานวน 5,280 บาท กองทุนสวัสดิการจํานวน 5,340 บาท มีเงิ นหมุนเวียน จํานวน 10,680 บาท กรรมการชุ ด ก่ อ ตั้ง มี 6 คนประกอบด้ว ย (1)น.ส. ชวนพิ ศ ฤทธิ โ ชติ (ประธาน) (2)นาย วรรณโณ สังขพงศ์ (รองประธาน) (3)นายสัมพันธ์ พละศึก คู่มือแนวทางการทํางาน

หน้ า 48


เครื อข่ ายกลุ่มสัจจะสะสมทรั พย์ เพื่อพัฒนาคุณธรรมครบวงจรชีวิต นครศรี ธรรมราช

(เหรัญญิ ก) (4)นายขจรเกี ยรติ สารพันธ์( กรรมการ) (5)นางจันทร พันธมาศ (กรรมการ) และ (6)นายสาคร นรสิ งค์(กรรมการ) ในปี พ.ศ. 2560 กลุ่มดําเนิ นการมาเป็ นปี ที่ 10 แล้ว มีสมาชิ กทั้งหมด 345 คน มี เงิ นสัจจะสะสมร่ วม 2 ล้านบาท เงิ นกองทุนสวัสดิ การกว่า 7 แสนบาท มี เงินทุนหมุนเวียนกว่า 3 ล้านบาท คณะกรรมการชุดปี พ.ศ. 2560 มีจาํ นวน 5 คน ประกอบด้วย (1)น.ส.ชวน พิศ ฤทธิ โชติ ประธาน (2)นายวรรโณ สังขพงค์ รองประธาน (3)นายสัมพันธ์ พละศึก เหรัญญิก (4)น.ส.ธนัตฤนันท์ งามโฉม และ (5)นายสมเกี ยรติ วารี เป็ น กรรมการ กลุ่มสัจจะบ้ านในไร่ ในขณะที่การก่อตั้งกลุ่มอื่น ๆ ได้รับการริ เริ่ มจากผูน้ าํ ชุมชน แต่กลุ่มบ้าน ในไร่ กลับ ได้รั บ การผลัก ดัน จากพัฒ นาชุ ม ชนอํา เภอพรหมคี รี นั บ ว่ า เป็ น นิมิตรหมายอันดีที่หน่วยงานพัฒนาภาครัฐจะได้ใกล้ชิดกับภาคประชาชนมากขึ้น เรื่ องราวเริ่ มต้นเมื่อคณะเจ้าหน้าที่พฒั นาชุมชนเข้าค่ายเศรษฐกิจพอเพียง 4 คืน 5 วัน ที่วดั ป่ ายางเมื่อต้นปี พ.ศ. 2550 เมื่อจบหลักสู ตร คุณสารภี จันทร์สีนวล พัฒนาชุมชนที่รับผิดชอบตําบลนาเรี ยงได้เข้าไปพูดคุยกับนายสัมพันธ์ วงค์เกษร คู่มือแนวทางการทํางาน

หน้ า 49


เครื อข่ ายกลุ่มสัจจะสะสมทรั พย์ เพื่อพัฒนาคุณธรรมครบวงจรชีวิต นครศรี ธรรมราช

กํานันตําบลนาเรี ยง เพื่อขายแนวคิดเรื่ องการจัดตั้งกลุ่มสัจจะ ตามที่ได้ไปเรี ยนรู ้ มาจากวัดป่ ายาง เมื่ อ เห็ น พ้ อ งต้ อ งกั น ใน หลัก การ ทั้ง สองท่ า นได้นิ ม นต์ พระอาจารย์สุวรรณ คเวสโก เจ้า อาวาสวัด ป่ ายางมาร่ วมวงพู ด คุ ย กับแกนนําในตําบลนาเรี ยงอีก 4-5 ครั้ ง จนกระทั่ง กํา นั น เข้า ใจใน หลัก การ จึ ง เห็ น ด้ว ยที่ จ ะจัด ตั้ง กลุ่ มขึ้ น ในหมู่ ที่ 5 ของตํา บลนา เรี ยง โดยกํานันอาสาเป็ นผูน้ ําใน การขยายแนวคิ ดสู่ ผูน้ ําชุ มชนใน หมู่ต่าง ๆ ของตําบลนาเรี ยง แล้ว นําไปสู่การตั้งกลุ่มในที่สุด กลุ่มสัจจะบ้านในไร่ ได้ถือกําเนิ ดขึ้นเมื่อวันที่ 5 เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2550 กรรมการชุ ด ก่ อ ตั้ง ของกลุ่ มมี 3 คนได้แ ก่ (1)นายนิ วรณ์ เกสรสิ ทธิ์ ประธาน (2)นางสุพจน์ แก้ววิหค และ(3)นางอํานวย ยนต์นาวา

คู่มือแนวทางการทํางาน

หน้ า 50


เครื อข่ ายกลุ่มสัจจะสะสมทรั พย์ เพื่อพัฒนาคุณธรรมครบวงจรชีวิต นครศรี ธรรมราช

มีเงินทุนหมุนเวียนในวันก่ อตั้งกลุ่ม 7,120 บาท กองทุนสวัสดิ การ 3,620 และเงินสัจจะสะสมครั้งแรกเป็ นเงิน 3,500 บาท โดยมีสมาชิกในวันก่อตั้งทั้งหมด 52 คน ในปี พ.ศ. 2560 กลุ่มดําเนิ นการมาเป็ นปี ที่ 10 แล้ว มีสมาชิ กเพิ่มเป็ น 137 คน เงิ นสัจจะสะสมมากว่า 8 แสนบาท เงิ นกองทุ นสวัสดิ การ มากว่า 2 แสน 6 หมื่นบาท เงินทุนหมุนเวียนทั้งหมดมากกว่า 1 ล้าน 2 แสนบาท กรรมการบริ หารชุดปี พ.ศ. 2560 มี 5 คน ประกอบด้วย (1)นายเฉลิม จุฬา กาญจน์ ประธาน (2)นางอํา นวย ยนต์น าวา (3)นายธรรมชาติ บุ ญจัน ทร์ แ ก้ว (4)นายธีรพล เพชรคํา และ (5)นางอิงอร เกษมสิ ทธิ์ กลุ่มสัจจะวัดเขาหน้ าเหรียง เมื่อราวกลางปี พ.ศ. 2550 ร.อ.ประภาส สายสุ วรรณ จาก ต.สิ นปูน อ.เขา พนม จ.กระบี่ ได้ม าอบรมที่ ว ดั ป่ ายาง ต.ท่ า งิ้ ว อ.เมื อ ง จ.นครศรี ธ รรมราช หลังจากนั้นได้ไปเที่ยวที่วดั เขาหน้าเหรี ยง และได้พูดคุยกับนายสมบูรณ์ นุ่มนวล อดีตผูใ้ หญ่บา้ น หมู่ที่ 8 ต.กรุ งหยัน อ.ทุ่งใหญ่ จ.นครศรี ธรรมราช ในเรื่ องการทํา กลุ่มสัจจะสะสมทรัพย์ หลังจากการพูดคุย ทั้งสองมี ความเห็ นสอดคล้องกันในเรื่ องการทํากลุ่ ม สัจจะสะสมทรัพย์ จึงได้ติดต่อกับท่านสุ วรรณ คเวสโก เจ้าอาวาสวัดป่ ายาง ต.ท่า คู่มือแนวทางการทํางาน

หน้ า 51


เครื อข่ ายกลุ่มสัจจะสะสมทรั พย์ เพื่อพัฒนาคุณธรรมครบวงจรชีวิต นครศรี ธรรมราช

งิ้ว ท่านวรรณ จึงได้นดั พูดคุยกับชาวบ้านหลายรอบเพื่อทําความเข้าใจ จนในที่สุด ก็ ต กลงตั้ งกลุ่ ม สั จ จะขึ้ นที่ ว ัด เขาหน้ า เหรี ยง ต.กรุ งหยัน อ.ทุ่ ง ใหญ่ จ. นครศรี ธรรมราช เมื่อวันที่ 3 เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2550 ในวัน ก่ อ ตั้ง ท่ า นวรรณ ร.อ.ประภาส และนายสมบู ร ณ์ ร่ วมกันบริ จาคคนละ 1,000 บาท เพื่อเป็ นกองทุนสวัสดิการแก่กลุ่ม ทําให้ในวันก่อตั้งมีสมาชิ กผูร้ ่ วม ก่อตั้งทั้งหมด 30 คน มีเงินสัจจะ สะสมในวัน ก่ อ ตั้ง 1,100 บาท เงินกองทุนสวัสดิการ 4,250 บาท เงินหมุนเวียนทั้งหมด 5,350 บาท ก ร ร ม ก า ร ชุ ด ก่ อ ตั้ ง มี ทั้ง หมด 4 คน ได้แ ก่ (1)นายวิ สัน ต์ชัย นุ่ ม นวล เป็ นประธาน (2)นายธวัชชัย ศิริพนั ธ์ เป็ นรองประธาน (3)น.ส.สิ ริพร แสนโคตร เป็ นเหรัญญิก และ (4)นางวรรณา ชุมคม เป็ นผูช้ ่วยเหรัญญญิต ต่อมาในวันที่ 3 เดือนตุลาคม พ.ศ. 2550 พระอาจารย์อาํ นวย เจ้าอาวาสวัด ม่วง อ.ฉวาง จ.นครศรี ธรรมราช ได้มาที่วดั เขาหน้าเหรี ยง ได้ทราบที่มาที่ไปและ คู่มือแนวทางการทํางาน

หน้ า 52


เครื อข่ ายกลุ่มสัจจะสะสมทรั พย์ เพื่อพัฒนาคุณธรรมครบวงจรชีวิต นครศรี ธรรมราช

เป้าหมายของการก่อตั้งกลุ่ม ท่านเห็นว่าแนวทางนี้ จะเกิดประโยชน์กบั ชุมชนใน อนาคต ท่านจึงได้ร่วมบริ จาคเพื่อเป็ นกองทุนสวัสดิการของกลุ่มอีก 10,000 บาท กองทุนนี้ ได้ถูกแบ่งครึ่ ง เพื่อไปเป็ นกองทุนก่อตั้งกลุ่มเขาหน้าเหรี ยง 2 หลังจาก นั้นไม่นาน ต่อมาเมื่อมาถึงปี พ.ศ. 2560 กลุ่มสัจจะวัดเขาหน้าเหรี ยง 2 ซึ่ งก่อตั้งมาใน ระยะเวลาไล่เลี่ ยกัน ประสบปั ญหาเนื่ องจากขาดบุ คลากรในการบริ ห าร ทาง เครื อข่ายจึงมีคาํ แนะนําให้กลุ่มวัดเขาหน้าเหรี ยง 2 ไปควบรวมกับกลุ่มสัจจะวัด เขาหน้าเหรี ยง 1 ทําให้กลุ่มใหญ่ข้ ึน และมีการปรับโครงสร้างการบริ หารเล็กน้อย เพื่อให้เหมาะกับสม ทําให้ยอดสมาชิกรวมทั้งหมดเป็ น 122 คน มีเงินสัจจะสะสม รวมกัน กว่า 1 ล้า นบาท เงิ น กองทุ น สวัสดิ การมากกว่ า 6 แสนบาท รวมเป็ น เงินกองทุนหมุนเวียนกว่า 1 ล้าน 6 แสนบาท กรรมการบริ หารชุ ดปี พ.ศ. 2560 หลังจากควบรวมกันแล้ว มี กรรมการ ทั้งหมด 6 คน ประกอบด้วย (1)นายวิสันต์ นุ่ มนวล เป็ นประธาน (2)นายสุ นทร สุ ขจิตร เป็ นรองประธาน (3)นายเศกสรรค์ แก้วสี นวน (4)น.ส.สิ ริพร แสนโคตร (5)นายบุญฤทธิ อัคคีสุวรรณ และ(6)นายพิทกั ษ์พงศ์ รักขนาม เป็ นกรรมการ กลุ่มสั จจะท้ องเนียน

คู่มือแนวทางการทํางาน

หน้ า 53


เครื อข่ ายกลุ่มสัจจะสะสมทรั พย์ เพื่อพัฒนาคุณธรรมครบวงจรชีวิต นครศรี ธรรมราช

กลุ่ ม สั จ จะท้อ งเนี ย น เป็ นกลุ่ ม ที่ แ ตกต่ า งจากกลุ่ ม อื่ น ๆ ในเครื อข่ า ย กล่าวคือ เป็ นกลุ่มเดียวที่ไม่ใช้ช่ื อทางการว่า “กลุ่มวิสาหกิ จชุมชนก้าวใหม่” แต่ กลุ่มได้มาปรับทิศทางในภายหลังเพื่อดําเนิ นการตามแนวทางของเครื อข่ายกลุ่ม สัจจะ ก ลุ่ ม วิ ส า ห กิ จ ชุ ม ช น ก้า วใหม่ เริ่ มก่ อตั้ง เมื่ อ วัน ที่ 17 เ ดื อ น ธั น ว า ค ม พ . ศ . 2 5 4 7 สมาชิ กรุ่ นก่อตั้ง 19 คน เพื่อร่ วม ทํา กิ จ กรรมออมทรั พ ย์วนั ละ 1 บาท และทํากิ จกรรมผลิ ตภัณฑ์ ที่ใช้ในครัวเรื อน โดยได้รับการ สนั บ สนุ นจากธนาคารเพื่ อ ก า ร เ ก ษ ต ร แ ล ะ ส ห ก ร ณ์ การเกษตรสาขาขนอม ช่ ว งแรกกลุ่ ม ได้ รั บ เงิ น สนับ สนุ น จากหลายองค์ก รใน ท้องถิ่น ได้แก่ องค์การบริ หารส่ วนตําบลท้องเนี ยน โรงไฟฟ้าขนอม บริ ษทั ปตท. รวมกันเป็ นเงิน 85,000 บาท คู่มือแนวทางการทํางาน

หน้ า 54


เครื อข่ ายกลุ่มสัจจะสะสมทรั พย์ เพื่อพัฒนาคุณธรรมครบวงจรชีวิต นครศรี ธรรมราช

ต่ อ มาในปี พ.ศ. 2550 ธกส. ขนอม ได้ พ าแกนนํ า ของกลุ่ ม 3 คน ประกอบด้วย (1)นายสมพร ศิริผล (2)นายประยงค์ ภูเขาทอง และ (3)นายเฉลียว สมบูรณ์ ไปฝึ กอบรมที่ศูนย์กสิ กรรมธรรมชาติ วัดป่ ายาง พอได้ฟังท่านสุ วรรณ คเวสโก บรรยายเกี่ยวกับการจัดตั้งกลุ่ม แกนนําก็เกิด แนวคิดที่จะจัดตั้งกลุ่มสัจจะ จึงได้นิมนต์ท่านสุ วรรณ คเวสโกมาพบปะสมาชิ ก เพื่อทําความเข้าใจแนวทางกลุ่มสัจจะ พอสมาชิกได้ฟัง ก็เห็นด้วยในแนวทางกลุ่มสัจจะ จึงมีมติให้ปรับแนวทาง ตามกลุ่มสัจจะ ในปลายปี พ.ศ. 2550 นัน่ เอง ทําให้กลุ่มมีสมาชิ กเพิ่มขึ้นเป็ น 40 คน และอาจกล่ า วได้ว่า กลุ่ มสัจจะท้องเนี ยน ได้ถื อกําเนิ ดขึ้น ในปลายปี พ.ศ. 2550 ตามเหตุการณ์ที่เล่ามา ในปี พ.ศ. 2560 กลุ่มดําเนิ นการมาเป็ นปี ที่ 13 แล้ว ตั้งแต่ต้ งั กลุ่มมาตั้งแต่ แรก ปั จจุบนั มี สมาชิ กจํานวน 335 คน มีเงิ นทุนหมุนเวียนทั้งหมดกว่า 3 ล้าน 3 แสนบาท แบ่งเป็ นเงินสัจจะสะสมร่ วม 2 ล้าน 3 แสน บาท เงินกองทุนสวัสดิการ ร่ วม 7 แสน 5 หมื่นบาท กรรมการชุ ดปี พ.ศ. 2560 มี 6 คน ประกอบด้วย (1)นายสมพร ศิ ริผล. ประธาน (2)นายเกรี ยงไกร บุญแก้ว รองประธาน (3)นางปารณี ย ์ ทองสม ฝ่ าย ฌาปนกิจ (4)นางสุ ภาวัน อินทสุ วรรณ ฝ่ ายเงิ นกู้ (5)นางเฉลิมขวัญ อาจกูล ฝ่ าย สัจจะ สวัสดิการ และบัญชี และ (6)นางอนงค์ สมบุญ ฝ่ ายสัจจะ คู่มือแนวทางการทํางาน

หน้ า 55


เครื อข่ ายกลุ่มสัจจะสะสมทรั พย์ เพื่อพัฒนาคุณธรรมครบวงจรชีวิต นครศรี ธรรมราช

กลุ่มสัจจะวัดเขายวนเฒ่ า เขายวนเฒ่าได้ก่อเกิดเป็ นกลุ่มขึ้นมาเพราะนางสาวรัชนี สุ ขศรี วรรณไปอยู่ กับฝ่ ายวิจยั มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ นางสาวรัชนี สุ ขศรี วรรณได้ทาํ งานอยูห่ ลาย ปี คลุ กคลี อ ยู่กับ กลุ่ มการเงิ น ทัว่ ประเทศ อี ก ทั้ง นางสาวรั ช นี สุ ขศรี วรรณ ก็ มี ความคุน้ เคยกับท่ านสุ วรรณด้วยท่านสุ วรรณ เป็ นอย่างดี และท่านสุ วรรณก็ได้ พูดคุยกับรัชณี เรื่ องตัง่ กลุ่มสัจจะฯ อยูบ่ ่อย ๆ จึงนําไปสู่ การนําเรื่ องนี้ ไปหารื อกับ ผูน้ าํ ชุมชนในเวลาต่อมา การพูดคุยเกิ ดขึ้นครั้งแรกเมื่ อปี พ.ศ.2550 พระสุ วรรณไปที่บา้ นเขายวน เฒ่ าและได้ให้ความรู ้ในการก่ อตั้งกลุ่มสัจจะกับผูใ้ หญ่บา้ นไมตรี ขําสุ ข ครั้งที่ สองพระสุ วรรณได้ประชุ มทําความเข้าใจเรื่ องกลุ่มสัจจะที่ บา้ นผูใ้ หญ่บา้ นวาที ทิพย์มงคล โดยมีชาวบ้านเขายวนเฒ่าประมาณ 10 คน หลังจากนั้นในปี พ.ศ.2551 นายสมโชค ช่ วยสงค์(ขิก) ได้เข้าอบรมกสิ กร รมธรรมชาติที่วดั ป่ ายาง ซึ่ งได้เรี ยนรู ้ เรื่ องกลุ่มสัจจะด้วย ทําให้เกิ ดความสนใจ เป็ นอย่างมาก จึ งได้นิมนต์พระสุ วรรณไปที่ บา้ นเขายวนเฒ่ าอี กครั้ง โดยใช้วนั ประชุมประจําเดือนของหมู่บา้ นในการสร้างความเข้าใจ คู่มือแนวทางการทํางาน

หน้ า 56


เครื อข่ ายกลุ่มสัจจะสะสมทรั พย์ เพื่อพัฒนาคุณธรรมครบวงจรชีวิต นครศรี ธรรมราช

การประชุ ม มี ข้ ึ นที่ ศ าลา หมู่บา้ นเขายวนเฒ่า พระสุ วรรณ ให้ความรู ้แก่ชาวบ้านเรื่ องการทํา กลุ่ ม สัจ จะโดยใช้แ นวทางพุท ธ ศาสนา สร้ า งความสนใจแก่ ชาวบ้ า นเป็ นอย่ า งมาก มี ก าร แลกเปลี่ ย นเรื่ องการบริ หาร จัดการที่จะมัน่ ใจได้ว่ากลุ่มจะไม่ ล้ม เนื่ อ งจากที่ ผ่า นมาทุ ก กลุ่ ม ที่ ก่อตั้งขึ้นโดยชาวบ้านเขายวนเฒ่า ได้ลม้ เลิกไปหมดแล้ว และครั้งนี้ เองได้มติจากชาวบ้านเขายวนเฒ่า ว่าต้องก่อตั้งกลุ่มสัจจะตามแนวทางพุทธศาสนาและได้ ต่อมาชาวบ้านได้นัดหมายวันก่ อตั้งกลุ่ม โดยนัดหมายให้วดั เขายวนเฒ่ า หมู่ที่ 4 ต.เทพราช อ.สิ ชล เป็ นสถานที่จดั ทํากลุ่ม จากนั้นกลุ่มได้ก่อตั้งในวันที่ 14 มีนาคม พ.ศ.2552 สมาชิ กในวันก่ อตั้งมี จาํ นวน 99 คน ในวันก่ อตั้งกลุ่มมี เงิ นสัจจะสะสม 3,240 บาท กองทุนสวัสดิการ 9,730 บาท รวมเงินหมุนเวียน 12,970 บาท คู่มือแนวทางการทํางาน

หน้ า 57


เครื อข่ ายกลุ่มสัจจะสะสมทรั พย์ เพื่อพัฒนาคุณธรรมครบวงจรชีวิต นครศรี ธรรมราช

กรรมการชุ ดก่ อตั้งมี จาํ นวน 6 คน โดย นายสมโชค ช่ วยสงค์(ขิ ก) เป็ น ประธาน นายอดุลย์ จุลรัตน์(ดุล) และนางสาวอัญชนี ย ์ ศรี สว่าง(ปู) เป็ นกรรมการ ฝ่ ายเงิ นกู้ นางสาวสุ ภาพร ทรัพย์มี(ยาย) และนางมะลิวรรณ ยิ่งยงค์(แดง) เป็ น กรรมการฝ่ ายสัจจะ นางทิพวัลย์ ช่วยชู(นี ) เป็ นกรรมการฝ่ ายฌาปนกิจ มาถึงปั จจุบนั ปี พ.ศ. 2560 กลุ่มมีสมาชิ กจํานวน 334 คน เงินสัจจะสะสม 1,321,590 บาท กองทุนสวัสดิ การ 865,911 บาท รวมเงิ นหมุนเวียน 2,245,298 บาท กรรมการชุ ด ปี พ.ศ. 2560 มี จาํ นวนทั้งหมด 10 คน มี น างสาวรั ชนี สุ ข ศรี วรรณ(รัช) เป็ นประธาน นางสาวสุ ภาพร ทรัพย์มี(ยาย) และนางมะลิวรรณ ยิ่ง ยงค์(แดง) เป็ นกรรมการฝ่ ายสัจจะ นางอุไร สุ ขศรี วรรณ(หลง) นางสาวจรรยาพร นิยกิจ(น้อง) เป็ นกรรมการฝ่ ายเงินกู้ นางทิพวัลย์ ช่วยชู(นี ) นางทิพวัลย์ สิ ทธิ รักษ์ (ไก่) เป็ นกรรมการฝ่ ายฌาปนกิ จและสวัสดิการ นายรื่ น เชาวลิตร(นาย) นางหนู กลาย ไชยพงศ์(กลาย) นางพรทิพย์ ศรี มุข(หี ด) เป็ นกรรมการฝ่ ายร้านค้า วันทําการของกลุ่มโดยกรรมการ มีการทํางาน 4 วัน คือ วันที่ 13 พิจารณา เงินกู้ วันที่ 14 ทํากลุ่ม วันที่ 15 ทําบัญชี และวันที่ 29 ร่ วมประชุมเครื อข่ายฯ กลุ่มสัจจะคูพาย คู่มือแนวทางการทํางาน

หน้ า 58


เครื อข่ ายกลุ่มสัจจะสะสมทรั พย์ เพื่อพัฒนาคุณธรรมครบวงจรชีวิต นครศรี ธรรมราช

ในปี พ.ศ. 2553 เครื อข่ายกลุ่มสัจจะ มีอายุครบ 10 ปี แล้ว สมาชิกเครื อข่าย ตอนนี้ ก็มีท้ งั หมด 20 กลุ่มแล้ว ความเชื่ อมัน่ ในเครื อข่ายก็มีมากขึ้นตามไปด้วย กลุ่มคนที่ทาํ งานในหน่ วยงานของรัฐบาลจึงเริ่ มเข้ามาเป็ นสมาชิ กของเครื อข่าย เป็ นกลุ่มแรก กลุ่ มสัจจะคูพ าย เป็ นกลุ่ ม สั จ จะสะสมทรั พ ย์ข องชุ ม ชนคู พ า ย ซึ่ ง ตั้ ง อ ยู่ ใ น ตั ว เ มื อ ง นครศรี ธรรมราช กลุ่มนี้ ต้ งั อยู่ใน โรงพยาบาลมหาราช นครศรี ธรรมราช สมาชิ ก ส่ ว น ใ ห ญ่ จึ ง เ ป็ น ค น ทํ า ง า น ใ น โรงพยาบาล และหน่ วยงานของ รัฐรอบ ๆ โรงพยาบาล กลุ่มนี้ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 12 เดื อนมกราคม พ.ศ. 2553 มี สมาชิกชุดก่อตั้งทั้งหมด 82 คน มี เงินสัจจะสะสมในวันก่อตั้ง 8,200 บาท เงินกองทุนสวัสดิการในวันก่อตั้ง 6,190 บาท ยอดเงินหมุนเวียนในวันก่อตั้ง 14,390 บาท คู่มือแนวทางการทํางาน

หน้ า 59


เครื อข่ ายกลุ่มสัจจะสะสมทรั พย์ เพื่อพัฒนาคุณธรรมครบวงจรชีวิต นครศรี ธรรมราช

คณะกรรมการชุ มก่ อตั้งมี 4 คนประกอบด้วย (1)นายสามารถ คาวินทร (2)นางสิ นิตย์ สุวรรณพานิช (3)นางยินดี ผาสุก และ (4)น.ส.ยินดี สุขขะ ในปี พ.ศ. 2560 กลุ่มดําเนิ นการย่างเข้าปี ที่ 7 แล้ว มี สมาชิ กทั้งหมด 205 คน มีเงินทุนหมุนเวียนร่ วม 2 ล้านบาท เป็ นเงินกองทุนสวัสดิการกว่า 6 แสนบาท และเป็ นเงินสัจจะสะสมกว่า 1 ล้าน 3 แสนบาท กรรมการบริ หารชุมปี พ.ศ. 2560 มีท้งั หมด 5 คน ได้แก่ (1)นายสามารถ คา วินทร (2)นายอนันต์ บุญเรื อง (3)นางชไลพร อ่อนประสงค์ (4)นางวรรณา แก้ว กําเนิด และ (5)นางกาญจนา ศรี ทองเจิม กลุ่มสัจจะวัดสาคูใต้ กลุ่ ม สัจ จะสะสมทรั พ ย์ วัดสาคูใต้ เกิดขึ้นเพราะที่ หมู่ 3 บ้า นสาคู ใ ต้ เคยมี ก ลุ่ ม สั จ จะ ที่ต้งั มาและล้มเหลวมาแล้ว นาง รุ จยา เปรมกุลวงค์ และนายเซ่ ง ให้ หนู ช่ ว ย อยากให้ ห มู่ 3 มี กลุ่มสัจจะสะสมทรัพย์เหมื อน วัด เลี ย บ จึ ง ปรึ กษากั บ พระ คู่มือแนวทางการทํางาน

หน้ า 60


เครื อข่ ายกลุ่มสัจจะสะสมทรั พย์ เพื่อพัฒนาคุณธรรมครบวงจรชีวิต นครศรี ธรรมราช

สุวรรณ คเวสโก ว่าจะตั้งกลุ่มที่วดั สาคูใต้ การจัด ตั้ง กลุ่ ม จึ ง เกิ ด ขึ้ น จึ ง เริ่ ม รั บ สมัค รสมาชิ ก ขึ้ น ในวัน ที่ 11 เดื อ น กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553 สมาชิ กรุ่ นแรกมี 66 คน มีเงิ นสะสมในวันก่ อตั้ง 11,200 บาท กองทุนสวัสดิการ 3,670 เงินทุนหมุนเวียนทั้งหมด 14,930 บาท กรรมการชุ ดก่อตั้งมี 4 คน ประกอบด้วย (1)นายขจร รอดเกลี้ยง ประธาน (2)นางรุ จยา ปฐมกุลวงค์ (3)นางศรี ลดั ดา แสงสุ วรรณ และ (4)นางยุพา ชื่นตะโก เป็ นกรรมกรรมการ ปัจจุบนั ปี พ.ศ. 2560 กลุ่มดําเนินการมา 7 ปี แล้ว มีสมาชิ กทั้งหมด 253 คน มีเงินสัจจะสะสมทั้งหมดกว่า 1 ล้าน 3 แสน บาท เงินกองทุนสวัสดิการมากกว่า 5 แสนบาท เงินทุนหมุนเวียนทั้งหมดร่ วม 2 ล้านบาท กรรมการชุ ดปี พ.ศ. 2560 มี 4 คน ประกอบด้วย (1)นายขจร รอดเกลี้ ยง ประธาน (2)นางรุ จยา ปฐมกุลวงค์ (3)นางศรี ลดั ดา แสงสุวรรณ และ (4)นางกิ้มไฝ ชุมบุญ เป็ นกรรมกรรมการ กลุ่มสั จจะบ้ านสวนปรางค์ กลุ่มสัจจะบ้านสวนปรางค์ เป็ นสมาชิ กเครื อข่ายกลุ่มที่ 22 ตั้งอยู่ที่หมู่ที่ 5 ต.กรุ งชิง อ.นบพิตาํ จ.นครศรี ธรรมราช ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 6 เดือนมกราคม พ.ศ. คู่มือแนวทางการทํางาน

หน้ า 61


เครื อข่ ายกลุ่มสัจจะสะสมทรั พย์ เพื่อพัฒนาคุณธรรมครบวงจรชีวิต นครศรี ธรรมราช

2554 แต่กว่าจะเกิ ดวันนี้ ข้ ึนได้ การดําเนิ นการเพื่อตั้งกลุ่มได้เกิ ดขึ้นก่ อนหน้านี้ หลายเดือน เมื่ อ ปี 2553 มหาวิ ท ยาลัย ราชภัฏนครศรี ธรรมราช ได้นิมนต์ พระอธิ ก ารสุ ว รรณ คเวสโก เจ้า อาวาสวัด ป่ ายาง มาบรรยายที่ องค์การบริ หารส่ วนตําบลกรุ งชิ ง เรื่ องแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง หลัง จากบรรยายจบ พระ อาจารย์ สุ วรรณ ได้ ส อบถาม คณะกรรมการบ้านสวนปรางค์ว่า จะตั้งกลุ่มสัจจะหรื อไม่ท่านจะมา ช่วย ผูใ้ หญ่บา้ นสวนปรางค์ หมู่ที่ 5 และผู ้ร่ วมก่ อ ตั้ง กลุ่ ม สั จ จะ มี ความสนใจเรื่ องนี้ อยูแ่ ล้ว แต่ไม่มีโอกาส หลังจากนั้น เมื่อได้โอกาสอันเหมาะ คณะผูร้ ่ วมก่อตั้งจึงได้ไปศึกษาดูงาน ที่วดั ป่ ายาง และตามกลุ่มต่าง ๆ รวมทั้งได้คน้ คว้าทางอินเตอร์ เน็ต แล้วจึงตั้งวง พูดคุยกันในกลุ่มผูร้ ่ วมก่อตั้งขึ้นในประเด็นที่เกี่ยวกับกลุ่มสัจจะหลายเรื่ อง คู่มือแนวทางการทํางาน

หน้ า 62


เครื อข่ ายกลุ่มสัจจะสะสมทรั พย์ เพื่อพัฒนาคุณธรรมครบวงจรชีวิต นครศรี ธรรมราช

คณะผูร้ ่ วมก่อตั้งได้เอากฎระเบียบของกลุ่มต่าง ๆ มาอ่านและได้เห็นความ โดดเด่ น ของกลุ่ ม สัจ จะสะสมทรั พ ย์เ พื่ อ พัฒ นาคุ ณ ธรรมครบวงจรชี วิต ซึ่ งมี เครื อข่ายสัจจะวัดป่ ายางที่ดูจะมีคุณธรรมและหลักธรรมาภิบาลเป็ นหลักในการนํา กลุ่มเครื อข่ายไปในทิศทางที่ควรจะเป็ น ได้คอยช่วยให้คนพัฒนาคนและจิตใจได้ เมื่ อการพูดคุ ยกันในกลุ่ มผูร้ ่ วมก่ อตั้งได้ตกผลึ กทางความคิ ดแล้ว จึ งได้ นิมนต์พระอาจารย์สุวรรณ มาช่วยพูดคุยกับชาวบ้านให้ ท่านได้มาช่วยดําเนิ นการ ตั้งกลุ่มให้ดว้ ยความเต็มใจ แต่ กว่ากลุ่มจะเกิ ดขึ้นได้ ต้องใช้การพูดคุยทําความ เข้าใจกับชาวบ้านถึง 3 ครั้ง กลุ่มจึงถือกําเนิ ดขึ้นมาได้ ในวัน ก่ อ ตั้ง มี ก รรมการชุ ด ก่ อ ตั้ง ทั้ง หมด 4 คน ประกอบด้ว ย (1)นาย อํานวย จันทร์ ชุม (2)นายสิ ทธิ ศกั ดิ์ ปั ญญาสงค์ (3)เรื อตรี วิจิตร เมืองพรหม และ (4)นายไสว จันทร์เอียด สมาชิ ก รุ่ นก่ อ ตั้ง มี ท้ ัง หมด 100 คน มี เ งิ น สั จ จะสะสม 8,190 บาท เงิ นกองทุนสวัสดิ การ 9,900 บาท ค่าธรรมเนี ยมค่าบริ จาค 2,230 บาท รวมเป็ น เงินทุนหมุนเวียนในวันก่อตั้งทั้งหมด 20,320 บาท ในปี พ.ศ. 2560 กลุ่มดําเนิ นการย่างเข้าปี ที่ 7 แล้ว กลุ่มมีเงิ นสัจจะสะสม กว่า 1 ล้า นบาท มี ก องทุ น สวัส ดิ ก ารร่ ว ม 5 แสนบาท รวมเงิ น ทุ น หมุ น เวี ย น ทั้งหมดมากกว่า 1 ล้าน 7 แสนบาท

คู่มือแนวทางการทํางาน

หน้ า 63


เครื อข่ ายกลุ่มสัจจะสะสมทรั พย์ เพื่อพัฒนาคุณธรรมครบวงจรชีวิต นครศรี ธรรมราช

กรรมการชุ ดปี พ.ศ. 2560 มีท้ งั หมด 6 คน ประกอบด้วย (1)นายสิ ทธิ ศกั ดิ์ ปั ญญาสงค์ เป็ นประธาน (2)นายไสว จันทร์ เอี ยด เป็ นรองประธาน (3)เรื อตรี วิจิตร เมืองพรหม เป็ นเหรัญญิก และ (4)นางจิรนันท์ เทพทอง (5)นางสาวสุ ภสั ส รา ศิริแก้ว (6)นางเสงี่ยม เกิดทอง เป็ นกรรมการ กลุ่มสั จจะที่มีหัวใจ ในบทนี้ เราได้ทราบแล้วว่า เครื อข่ายกลุ่มสัจจะที่เป็ นสมาชิกของเครื อข่าย ประกอบไปด้วยกลุ่มใดบ้าง รวมทั้งแต่ละกลุ่มมีโครงสร้างการบริ หารอย่างไร มี ประธานชื่ออะไร มีกรรมการกี่คน มีที่ทาํ การอยูใ่ นหมู่บา้ นใด ระหว่ า งนั้น เราก็ ไ ด้เ ห็ น การเคลื่ อ นไหวของกลุ่ ม สัจ จะที่ เ ป็ นสมาชิ ก เครื อข่ายว่า มีการค่อย ๆ เพิ่มขึ้น จนถึงจํานวน 23 กลุ่มในปี พ.ศ. 2560 และในปี เดี ยวกันนี้ ก็มีการควบรวมกิ จการกลุ่มสัจจะ ที่ อยู่ในหมู่บา้ นเดี ยวกัน เป็ นกลุ่ ม เดี ยวกัน ทํา ให้กลุ่ มสัจจะที่ เป็ นสมาชิ กเครื อ ข่ า ยลดเหลื อ 22 กลุ่ ม แต่ จาํ นวน สมาชิกยังไม่เปลี่ยนแปลงมากนัก ในปี นี้ อาจจะมี จ าํ นวนสมาชิ ก เพิ่ ม ขึ้ น ด้ว ยซํ้า เพราะมี ห ลายกลุ่ ม ที่ ถึ ง กําหนดการรับสมาชิ กใหม่ ทําให้จาํ นวนสมาชิกโดยรวมมีการเพิ่มขึ้น เมื่อหักลบ กับจํานวนสมาชิกที่ลาออก คู่มือแนวทางการทํางาน

หน้ า 64


เครื อข่ ายกลุ่มสัจจะสะสมทรั พย์ เพื่อพัฒนาคุณธรรมครบวงจรชีวิต นครศรี ธรรมราช

อย่างไรก็ตาม การจะขอเข้าร่ วมเครื อข่าย โดยการก่ อตั้งกลุ่มใหม่ ก็ยงั มี เกิดขึ้นได้ แต่ในระยะหลัง กว่ากลุ่มใหม่จะเกิ ดขึ้นได้ ต้องใช้เวลาทําความเข้าใจ กัน นานพอสมควร เพราะเครื อ ค่ า ยมี เ งื่ อ นไขที่ เ ข้ม ข้น ขึ้ น ในการรั บ สมาชิ ก เครื อข่ายใหม่ โดยทัว่ ไป กว่าที่กลุ่มใหม่จะเกิดขึ้นได้ ต้องใช้เวลาในการทําความ เข้าใจ และทดสอบความตั้งใจจริ งประมาณ 6 – 12 เดือน กลุ่มที่เกิดขึ้นใหม่ จึงจะ สามารถเข้ามาเป็ นสมาชิกเครื อข่ายได้ การก่อร่ างสร้างตัวของสมาชิ กเครื อข่ายว่าเข้มข้นแล้ว แต่ก็สามารถทําได้ ไม่ ย ากนัก เพราะเป็ นเรื่ อ งของรู ป ธรรม สามารถทํา ได้ และมองเห็ น ได้ง่ า ย เปรี ยบเสมือนร่ างกายของเครื อข่าย แต่โครงสร้างที่มองไม่เห็นของเครื อข่าย หรื อ ด้านที่เป็ นจิตใจ กลับต้องเป็ นเรื่ องที่ตอ้ งทําความเข้าใจ ฝึ กฝน และพัฒนากันอยู่ ตลอดเวลา จะว่ า ไปแล้ว ตลอดเวลาที่ ย งั มี ชี วิ ต อยู่ก็ ว่ า ได้ เพราะร่ า งกาย ถ้า ปราศจากจิตใจ ก็เหมือนคนตาย เครื อข่า ยก็เ ช่ น กัน ถ้ามี แ ต่เ พี ยงโครงสร้ า งด้า นวัต ถุ แต่ ขาดจิ ต วิญญาณ ภายใน เครื อข่ า ยก็ ค งไม่ ต่ า งอะไรกับ เครื่ องจัก ร ที่ ถึ ง แม้จ ะทํา งานอย่ า งมี ประสิ ทธิภาพ แต่หากขาดมิติของความเป็ นมนุษย์ เครื อข่ายก็คงจะไม่นาํ พาชุมชน ไปถึงจุดหมายปลายทางได้ ในบทต่อไป เราจะไปดู ว่า อะไรคือหัวใจของเครื อข่าย และหัวใจแต่ละ ห้องของเครื อข่าย จะนําพาเครื อข่ายไปสู่ จุดหมายปลายทางได้อย่างไร ขอเชิ ญ ท่านทั้งหลาย ติดตามได้ในบทต่อไป คู่มือแนวทางการทํางาน

หน้ า 65


เครื อข่ ายกลุ่มสัจจะสะสมทรั พย์ เพื่อพัฒนาคุณธรรมครบวงจรชีวิต นครศรี ธรรมราช

บทที่ 3 หัวใจของเครื อข่ าย (สําหรับใช้พดู เป็ นคนที่สองในการประชุมรับสมาชิกใหม่ หรื ออบรมสมาชิก)

ในบทที่ผา่ นมา เราได้รู้จกั กับเครื อข่ายกลุ่มสัจจะสะสมทรัพย์ เพื่อพัฒนาคุณธรรม ครบวงจรชี วิตจังหวัดนครศรี ธรรมราช ส่ วนที่เป็ นร่ างกายแล้ว ในบทนี้ เราจะได้ รู ้จกั กับส่ วนที่เป็ นหัวใจ หรื อจิตใจของเครื อข่ายว่า คืออะไร และทําไมเครื อข่าย ของเราจึ ง ได้ใ ช้สิ่ ง นั้น เป็ นหั ว ใจของเครื อข่ า ย หลัง จากนั้ น จะได้ก ล่ า วถึ ง รายละเอี ย ดที่ จ าํ เป็ น เพื่ อ ให้เ พี ย งพอสํา หรั บ การใช้หัว ใจในการนํา ทางของ เครื อข่าย ดังรายละเอียดที่จะได้นาํ เสนอต่อไป หัวใจคือพุทธะ ในที่น้ ี ขอแจ้งให้ทราบในเบื้องต้นเลยว่า เครื อข่ายกลุ่มสัจจะสะสมทรัพย์ เพื่อพัฒนาคุณธรรมครบวงจรชี วิตจังหวัดนครศรี ธรรมราชมี “พุทธะ” เป็ นหัวใจ คู่มือแนวทางการทํางาน

หน้ า 66


เครื อข่ ายกลุ่มสัจจะสะสมทรั พย์ เพื่อพัฒนาคุณธรรมครบวงจรชีวิต นครศรี ธรรมราช

นําทางของกลุ่มทุกกระบวนการ ขั้นตอน แต่จะเป็ นพุทธะที่ท่านทั้งหลายเคยได้ ยินได้ฟังมาหรื อไม่น้ นั ขอให้ท่านทั้งหลายอย่าเพิ่งด่วนยอมรับ หรื อปฏิเสธตั้งแต่ ตอนนี้ ขอให้ท่านลองพิจารณาเรื่ องราวที่จะนําเสนอต่อไปนี้ ก่อน ค่อยตัดสิ นใจ ก่อนที่จะลงไปในรายละเอียด ขอทําความเข้าใจเรื่ องภาษาที่ใช้ในที่น้ ี ก่อน เพราะอาจมีบางคนที่พอเห็นหัวข้อจัว่ หัวขึ้นมาว่า “หัวใจคือพุทธะ” อาจเข้าใจไป ก่อนว่า เรากําลังจะมาถกเถียงกันว่า “หัวใจของพุทธศาสนา หรื อคําสอนที่ เป็ น หัวใจของพุทธศาสนาคืออะไร” ซึ่งนัน่ ไม่ใช่ส่ิ งที่เราจะกล่าวถึงในที่น้ ี แต่สิ่งที่เรา กําลังจะบอกในที่น้ ี คือ เครื อข่ายของเราใช้พุทธะเป็ นหัวใจในการนําทางเครื อข่าย อย่า งไรก็ต าม แม้ประเทศไทยของเราได้ชื่ อ ว่าเป็ นเมื อ งพุทธ แต่ ความ เข้าใจเรื่ องพุทธส่ วนใหญ่เป็ นความเข้าใจผิดเรื่ องพุทธเสี ยมากกว่า ส่ วนมากจะ เป็ นพิธีกรรมของศาสนาผี หรื อศาสนาพราหมณ์ เสี ยมากกว่า ดังนั้นในที่น้ ี จึงจะ ได้ช้ ี แจงถึงเรื่ องพุทธะ เสี ยก่อนว่า เครื อข่ายของเราใช้พุทธะแบบไหนเป็ นหัวใจ นําทางของเครื อข่าย ก่อนที่จะไปถึงหัวใจสําคัญของเนื้ อหาในตอนนี้ เรามาทบทวนถึงที่มาที่ไป ของพุทธะ เสี ยก่อนว่า มีความเป็ นมาอย่างไร พุทธะในประวัตศิ าสตร์ คู่มือแนวทางการทํางาน

หน้ า 67


เครื อข่ ายกลุ่มสัจจะสะสมทรั พย์ เพื่อพัฒนาคุณธรรมครบวงจรชีวิต นครศรี ธรรมราช

ในยุคที่ความรู ้ และข้อมูลข่าวสารสามารถเข้าถึ งได้โดยง่ ายอย่างเช่ นทุก วันนี้ หลายคนคงจะทราบเรื่ องพระพุทธเจ้าเป็ นอย่างดี จากเรื่ องราวที่เราได้ยิน ได้ ฟัง ได้เห็นตามสื่ อต่าง ๆ ทําให้เราได้ทราบว่า พระพุทธเจ้าที่เป็ นตัวบุคคล มีชีวิต เลือดเนื้อเหมือนเรานี้ เป็ นคนที่มีอยูจ่ ริ งในประวัติศาสตร์เมื่อ 2600 ปี ล่วงมาแล้ว หลักฐานทางโบราณคดีที่ได้รับการยืนยันจากนักวิทยาศาสตร์ ทําให้เราได้ ทราบต่อไปว่า เมืองที่พระพุทธเจ้าเกิด เป็ นที่ต้ งั ของประเทศอินเดียในปั จจุบนั แต่ ประเด็นเรื่ องประวัติศาสตร์น้ ี เราจะไม่ลงไปในรายละเอียด เพราะสามารถสื บค้น ได้จากแหล่งอื่นไม่ยากนัก แต่ประเด็นที่จะชี้ชวนให้เรี ยนรู ้ในที่น้ ี คือ คุณสมบัติที่ อยูภ่ ายในองค์พระพุทธเจ้า เรื่ องราวที่น่าจะเป็ นแรงบันดาลใจให้ผนู ้ าํ และสมาชิ กเครื อข่ายได้ดีที่สุด น่ าจะเป็ นตอนที่เจ้าชายผูม้ ีพร้อมทุกอย่างทางวัตถุ แต่กลับต้องการแสวงหาทาง ดับทุกข์ให้แก่ชาวโลก โดยการยอมสละความสุ ขทางวัตถุ ความสุ ขทางโลก ออก ค้นหาทางดับทุกข์ ที่เต็มไปด้วยความยากลําบาก ยอมทดลองทรมานตัวเองทุก วิถีทาง แต่กไ็ ม่สามารถพบทางดับทุกข์ได้ ตลอดระยะเวลาการทรมานตนเอง ลองผิด ลองถูกถึง 6 ปี พระองค์จึงได้ พบทางดับทุกข์ ด้วยวิธีการที่เรี ยบง่ายที่เรี ยกว่า ทางสายกลาง ทําให้เราได้เรี ยนรู ้ ว่า บนเส้นทางการเดินไปสู่ จุดหมาย เราต้องหาจุดพอดีของชีวิตให้ได้

คู่มือแนวทางการทํางาน

หน้ า 68


เครื อข่ ายกลุ่มสัจจะสะสมทรั พย์ เพื่อพัฒนาคุณธรรมครบวงจรชีวิต นครศรี ธรรมราช

นอกจากเราจะได้เ รี ย นรู ้ ว่ า การเดิ น ทางไปสู่ จุ ด หมาย ต้อ งทํา ให้พ อดี สมํ่าเสมอ จึงจะไปถึงจุดหมายได้แล้ว เรายังได้เรี ยนรู ้ว่า การค้นพบความรู ้ว่ายาก แล้ว แต่การเผยแผ่ความรู ้ยากยิง่ กว่า พระพุทธองค์ ทรงใคร่ ครวญอยู่น าน ว่า จะสอนความรู ้ ที่พ ระองค์ทรง ค้นพบแก่ชาวโลก หรื อไม่ เพราะความรู ้ที่พระองค์ทรงตรัสรู ้ เป็ นสิ่ งที่ยากที่คน ทัว่ ไปจะเข้าถึง แต่ดว้ ยพระเมตตาอันสู งส่ ง พระองค์จึงทรงออกเผยแผ่คาํ สอนที่ เรี ยกว่า พุทธศาสนา อย่างที่เราเห็นอยูท่ ุกวันนี้ ตํานานในตอนนี้ นักปราชญ์เขียนเป็ นเรื่ องราวเล่าว่า มีพรหม มาอาราธนา ให้พระองค์แสดงธรรม เพื่อสื่ อว่า ด้วยพรหมวิหารธรรมที่มีในจิตใจของพระพุทธ องค์ คือเมตตา กรุ ณา มุทิตา และอุเบกขา พระองค์จึงทรงทําภารกิจอันยิ่งใหญ่น้ ี แก่ชาวโลก เรื่ องราวตอนที่พระพุทธเจ้าทรงตัดสิ นใจออกเผยแผ่ศาสนานี้ เอง เป็ นจุด หนึ่ งที่สามารถเป็ นแรงบันดาลใจแก่คนทั้งหลายที่จะออกมาทํางานเพื่อส่ วนรวม แรงบันดาลใจนี้ ผ่านการพิสูจน์มานับพันปี แล้วว่า การทํางานเพื่อส่ วนรวมโดยไม่ หวังผลตอบแทนจะทําให้ชี วิตเรามี พลังชี วิตมากขึ้น ในขณะที่ การทํางานเพื่ อ ตัวเองพลังชีวิตจะลดลงเรื่ อย ๆ จนถึงขั้นตายทั้งเป็ นได้ จึ ง พอสรุ ปได้ ว่ า การศึ ก ษาเรื่ องราวของพุ ท ธะที่ เ ป็ นตั ว บุ ค คลใน ประวัติศาสตร์ จะทําให้เราได้เรี ยนรู ้ศิลปะในการดํารงชีวิต ในการทํางาน โดยใน คู่มือแนวทางการทํางาน

หน้ า 69


เครื อข่ ายกลุ่มสัจจะสะสมทรั พย์ เพื่อพัฒนาคุณธรรมครบวงจรชีวิต นครศรี ธรรมราช

ที่ น้ ี ได้นํา เสนอสิ่ ง ที่ เ ราได้เ รี ย นรู ้ จ ากการศึ ก ษาเรื่ อ งนี้ ไว้ 2 ประเด็น คื อ แรง บันดาลใจในการต่ อสู ้ชีวิต ที่ ได้จากตอนที่ เจ้าชายสิ ทธัตถะออกบวช และแรง บันดาลใจในการทํางานเพื่อผูอ้ ื่น จากตอนที่พระพุทธองค์ออกเผยแผ่ศาสนา ผลจากพรหมวิห ารธรรมของพุทธองค์เมื่ อ 2600 ปี มาแล้ว ทําให้พุทธ ศาสนาแพร่ กระจายไปทัว่ โลก แต่กว่าที่พระพุทธศาสนาจะเดินทางมาถึงดินแดน ที่เป็ นที่ต้งั ของประเทศไทยทุกวันนี้ ก็หลังจากที่พระพุทธองค์ดบั ขันธปริ นิพพาน ไปแล้วกว่าสองร้อยปี ทําให้คาํ สอนที่ผา่ นการบอกเล่ามาหลายครั้ง ได้รับการแต่ง เติม จนดูราวกับว่า พุทธะ อยู่ไกลเกิ นกว่าที่คนธรรมดาอย่างเรา ๆ จะเข้าถึง นี่ ก็ นับเป็ นความเข้าใจผิดอีกประการหนึ่ งเรื่ องพุทธะ ในประเทศไทย ซึ่ งเราจะมาดู กันในตอนต่อไป พุทธะในศาสนาของไทย พุทธศาสนาเข้ามาสู่ ดินแดนสุ วรรณภูมิ ซึ่ งเป็ นที่ต้ งั ของประเทศไทยทุ ก วันนี้ เมื่อราว พ.ศ. 236 โดยการนําของพระเจ้าอโศกมหาราช พระองค์ได้ส่งคณะผู ้ เผยแผ่ศาสนาออกไปทัว่ โลก 9 สาย สําหรับประเทศไทย นักประวัติศาสตร์เชื่อว่า ในยุคแรก จุดศูนย์กลางพุทธศาสนาอยู่ที่นครปฐมทุกวันนี้ แต่ตอนนั้นเรี ยกว่า ทวารวดี

คู่มือแนวทางการทํางาน

หน้ า 70


เครื อข่ ายกลุ่มสัจจะสะสมทรั พย์ เพื่อพัฒนาคุณธรรมครบวงจรชีวิต นครศรี ธรรมราช

พุทธศาสนาอยูใ่ นดินแดนสุวรรณภูมิมาตลอดจนถึงทุกวันนี้ ผ่านทุกยุคทุก สมัยนับแต่ ทวารวดี อ้า ยลาว ศรี วิชัย ลพบุ รีห รื อละโว้ สุ โขทัย อยุธยา ธนบุ รี จนถึงรัตนโกสิ นทร์ แต่ในที่น้ ี เราจะไม่ลงไปในรายละเอียดของพุทธศาสนาแต่ ละยุคแต่ละสมัยว่ามี ความเปลี่ ยนแปลงไปอย่างไร เพราะอยู่นอกขอบเขตของ เนื้อหาคู่มือเล่มนี้ ในการศึ ก ษาความเป็ นมาของพุ ท ธศาสนาในประเทศไทยในที่ น้ ี เรา ต้องการชี้ ให้เห็ นว่า คําสอนของพุทธศาสนา นับจากที่ มีการบันทึ กไว้เป็ นลาย ลักษณ์อกั ษร มีการแต่งเพิ่มตั้งแต่ตอนไหน เพื่อเราจะได้คดั เลือกได้วา่ อันไหนคือ คําของพระพุทธองค์แท้ ๆ คําไหนเป็ นคําของสาวก เพื่อเราจะได้หยิบเอาคําที่เป็ น คําของพระพุทธเจ้าแท้ ๆ มาใช้เป็ นแนวทางในการเดิ นของเครื อข่ายของเราได้ อย่างถูกต้องต่อไป หากจะย้อนไปถึงครั้งแรกที่ มีการบันทึกคําสอนของพระพุทธเจ้าไว้เป็ น ตัวหนังสื อ ผูศ้ ึกษาประวัติศาสตร์ พุทธศาสนา มีความเห็นตรงกันว่า เสาหิ นของ พระเจ้าอโศกมหาราช เป็ นการบันทึกคําสอนของพระพุทธเจ้าไว้เป็ นครั้งแรกของ โลก ก่อนหน้านั้น คําสอนของพระพุทธองค์ได้รับการถ่ายทอดโดยการจําปากต่อ ปาก ของพระอรหันต์ ผูเ้ ป็ นสาวกของพระพุทธเจ้า จนกระทัง่ ล่วงมาถึง ปี พ.ศ. 450 ในการสังคายนาครั้งที่ 4 ที่ประเทศลังกา คําสอนของพระพุทธองค์จึงได้รับการบันทึกลงในใบลาน สําหรับประเทศไทย มี การตรวจชําระพระไตรปิ ฎกครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2020 โดยพระเจ้าติโลกราชแห่ ง คู่มือแนวทางการทํางาน

หน้ า 71


เครื อข่ ายกลุ่มสัจจะสะสมทรั พย์ เพื่อพัฒนาคุณธรรมครบวงจรชีวิต นครศรี ธรรมราช

เมืองเชียงใหม่ ได้อาราธนาพระสงค์หลายร้อยรู ป ไปช่วยชําระพระไตรปิ ฎกที่วดั โพธาราม เป็ นเวลา 1 ปี จึงสําเร็จ ในครั้งนั้นใช้อกั ษรไทยล้านนาจารึ กคําสอนไว้ ต่อมา การชําระพระไตรปิ ฎกในประเทศไทย ได้เกิดขึ้นเป็ นระยะ ๆ นับแต่ ปี พ.ศ. 2331 สมัยรัชการที่ 1 มี การชําระและบันทึ กจารึ กลงในใบลานโดยใช้ อักษรขอม ในปี พ.ศ. 2431 สมัยราชการที่ 5 มีการชําระและพิมพ์ข้ ึนเป็ นเล่ม โดย ใช้อกั ษรไทย 45 เล่ม ซึ่ งเป็ นที่รู้จกั กันในชื่อ พระไตรปิ ฎกฉบับสยามรัฐ เป็ นฉบับ อักษรไทยฉบับแรก แต่ยงั คงเป็ นภาษาบาลีอยู่ แต่กว่าที่การแปลพระไตรปิ ฎกเป็ นภาษาไทยจะมีข้ ึ น เวลาก็ผ่านไปกว่า สองพันปี นับแต่พุทธศาสนาเข้ามาในดินแดนสุวรรณภูมิ ในปี พ.ศ. 2468 สมัยรัช การที่ 7 พระองค์ทรงให้มีการแปลพระไตรปิ ฎกเป็ นภาษาไทย และพิมพ์ฉลอง เนื่ องในโอกาสพุทธกาลผ่านมา 2500 ปี ชุดนี้ พิมพ์ครั้งแรก 80 เล่ม การพิมพ์ครั้ง ต่ อ มาได้ล ดให้ เ หลื อ 45 เล่ ม เท่ า ฉบับ ภาษาบาลี ชุ ด นี้ เป็ นที่ รู้ จ ัก กัน ในชื่ อ พระไตรปิ ฎกฉบับหลวง ต่อมา มีการจัดพิมพ์พระไตรปิ ฎกพร้อมคําอธิ บายโดยพระอรรถกถาจารย์ เป็ นภาษาไทย จํา นวน 91 เล่ ม เมื่ อ คราวฉลองกรุ ง เทพ 200 ปี พ.ศ. 2525 พระไตรปิ ฎกชุดนี้ เป็ นที่รู้จกั กันในชื่อ พระไตรปิ ฎกฉบับมหามกุฎราชวิทยาลัย จนกระทัง่ ในปี 2535 การ การจัดพิมพ์พระไตรปิ ฎก ฉบับภาษาไทยได้เริ่ ม ขึ้ น เริ่ มจากการตรวจชํา ระพระไตรปิ ฎกภาษาบาลี จ นแล้ ว เสร็ จ ในปี นั้ น คู่มือแนวทางการทํางาน

หน้ า 72


เครื อข่ ายกลุ่มสัจจะสะสมทรั พย์ เพื่อพัฒนาคุณธรรมครบวงจรชีวิต นครศรี ธรรมราช

นอกจากนั้น ยังได้ตรวจชะระคําอธิ บายภาษาบาลี หรื อที่นกั วิชาการทางศาสนา เรี ยกว่า อรรถกถาภาษาบาลี อีกด้วย พระไตรปิ ฎกฉบับนี้ เรี ยกว่า พระไตรปิ ฎก ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย มีจาํ นวน 45 เล่ม พิมพ์ครั้งแรกในปี พ.ศ. 2539 อย่างไรก็ตามในขณะเดียวกัน ก็ได้มีนกั ศึกษาทางพุทธศาสนาอิสระ อย่าง น้อ ย 2 ท่ า น ได้ม าทํา การศึ ก ษาค้น คว้า พระไตรปิ ฎกอย่า งจริ ง จัง แล้ว พบว่ า พระไตรปิ ฎกในประเทศไทย มีการแต่งเพิ่มเข้ามาจํานวนมาก ท่านแรกได้แก่ ท่านพุทธทาส อิ นฺทป�ฺ โญ แห่ งสวนโมกข์ ท่ านใช้เวลา หลายปี เพื่อค้นคว้า คัดเอาเฉพาะคําสอนที่เป็ นคําของพระพุทธเจ้าโดยตรง แล้วมา รวบรวมไว้ในชุดธรรมโฆษณ์ ชุดจากพระโอษฐ์ แล้วพิมพ์เผยแพร่ ไว้ 5 เล่ม คือ พุทธประวัติจากประโอษฐ์ 1 เล่ม อริ ยสัจจ์จากพระโอษฐ์ 2 เล่ม ปฏิจจสมุปบาท จากพระโอษฐ์ 1 เล่ ม และ ขุมทรั พย์จากพระโอษฐ์ 1 เล่ ม หนังสื อชุ ดนี้ ตีพิมพ์ เผยแพร่ ครั้งแรกราวปี พ.ศ. 2516 ท่านที่ 2 ได้แก่ ท่านคึกฤทธิ์ โสตฺ ถิผโล แห่ งวัดนาป่ าพง ในปี พ.ศ. 2540 ท่ า นได้ เ ริ่ มศึ ก ษา และใช้ เ ทคโนโลยี ค อมพิ ว เตอร์ ส มั ย ใหม่ ตรวจสอบ พระไตรปิ ฎกที่ มีการจัดพิมพ์ในประเทศไทย ตั้งแต่ ฉบับสยามรั ฐ ฉบับหลวง ฉบับมหาจุฬา และฉบับมหามกุฏ แล้วคัดเอาเฉพาะที่เป็ นคําที่พระพุทธเจ้าตรัส เอง ออกมารวบรวมใหม่เหลือเพียง 33 เล่ม โดยเริ่ มตีพิมพ์ครั้งแรกเนื่ องในวาระ ครบรอง 2600 ปี แห่ งการตรัสรู ้ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2555 เป็ นต้นมา คู่มือแนวทางการทํางาน

หน้ า 73


เครื อข่ ายกลุ่มสัจจะสะสมทรั พย์ เพื่อพัฒนาคุณธรรมครบวงจรชีวิต นครศรี ธรรมราช

ทั้งท่านพุทธทาส และท่านคึกฤทธิ์ ต่างก็เห็นสอดคล้องกันว่า พุทธศาสนา ที่พระพุทธเจ้าตรัสรู ้แล้วนํามาเผยแผ่ เป็ นคําสอนที่นาํ ไปสู่ การดับทุกข์ลว้ น ๆ ไม่ มีส่วนที่ เป็ นพิธีกรรม เวทมนต์คาถา พิธีกรรมต่าง ๆ ที่ ปฏิ บตั ิกนั อยู่ในประเทศ ไทย ล้วนเป็ นความเชื่อเก่า เป็ นความเข้าใจผิด หรื อเป็ นการบิดเบือนของนักบวช รุ่ นหลัง ที่อาจทําไปด้วยความไม่รู้ หรื ออาจรู ้แต่ฝืนทําไปด้วยหวังผลบางอย่าง จากที่ กล่ าวมาข้างต้น เกี่ ยวกับพุทธศาสนาในประเทศไทย ทําให้เราได้ ทราบว่า พุทธศาสนามาถึงดินแดนที่เป็ นที่ต้ งั ของประเทศไทยกว่าสองพันปี แล้ว และกว่า ที่ ค าํ สอนจะได้รั บ การตี พิ ม พ์เ ป็ นภาษาไทย ก็ล่ ว งไปกว่ า สองพัน ปี เช่นกัน นอกจากนี้ เรายัง ได้ท ราบอี ก ว่ า พระไตรปิ ฎกที่ ใ ช้บ ัน ทึ ก คํา สอนของ พระพุทธเจ้า ในประเทศไทย มีการตีพิมพ์หลายฉบับ จนกระทัง่ สุดท้ายมีผอู ้ อกมา เปิ ดเผยว่า พระไตรปิ ฎกในประเทศไทยถูกแต่งเพิ่มเข้าไปเกือบครึ่ ง เมื่อทราบดังนี้ แล้ว เครื อข่ายเราคงพอมองเห็นแนวทางว่า จะเลือกเอกสาร ชุดไหนมาใช้เป็ นแหล่งอ้างอิงถึงคําสอนของพระพุทธองค์ แน่ นอนว่า คําสอนที่ เรี ยบง่าย ตรงไปตรงมา สามารถนําไปปฏิบตั ิได้ มีกล่าวไว้อย่างครบถ้วนแล้วใน คําของพระพุทธเจ้าที่ถูกตีพิมพ์เผยแพร่ แล้วในชุด “พุทธวจน” ซึ่ งเราจะใช้อา้ งอิง เพื่อเป็ นหลักการในการทํางานของเครื อข่ายของเราในบทต่อ ๆ ไป

คู่มือแนวทางการทํางาน

หน้ า 74


เครื อข่ ายกลุ่มสัจจะสะสมทรั พย์ เพื่อพัฒนาคุณธรรมครบวงจรชีวิต นครศรี ธรรมราช

ที่กล่าวไปข้างต้น เกี่ยวกับพุทธะ ที่เราใช้เป็ นหัวใจของเครื อข่ายของเรา ทํา ให้เราได้ทราบแล้วว่า พุทธะ ที่เป็ นบุคคลในประวัติศาสตร์ คือใคร เราได้เรี ยนรู ้ อะไรจากชีวิตของท่านบ้าง ต่อมาเรากล่าวถึง พุทธะ ที่เป็ นแง่มุมของพุทธศาสนา ในประเทศไทย ทําให้เราได้ทราบว่า คําสอนของพุทธะ ที่ มาถึงประเทศไทย มี ความเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรบ้าง ซึ่ งตอนท้าย เราได้ช้ ี ให้เห็นว่า จะคัดเลือกคํา สอนพุทธะ ที่เป็ นคําของพระพุทธองค์ได้จากไหน หลังจากที่เราได้กล่าวถึงพุทธะ ที่เป็ นคําสอนที่เป็ นตัวหนังสื อในประเทศ ไทยแล้ว ต่อไปเราจะชี้ ให้เห็ นถึ ง พุทธะ ที่ เป็ นวิธีการปฏิ บตั ิ ศาสนาในวิถีชีวิต ชาวบ้านที่อยูใ่ นสังคมไทย ว่า สอดคล้อง หรื อผิดเพี้ยนไปจากคําสอนของพุทธะ ที่เป็ นคําของพระพุทธองค์ หรื อไม่ อย่างไร แต่คงจะไม่กา้ วล่วงไปถึงการปฏิบตั ิ วิปัสสนากัมมัฏฐานของครู บาอาจารย์ในอดีต เพราะเกินกําลังสติปัญหาพวกเราที่ จะกล่าวถึงเรื่ องนี้ ได้ พุทธะในโบสถ์ วิถีชีวิตชาวบ้านแบบดั้งเดิมของไทยในอดีต อยูก่ บั การนับถือผี และเทพเจ้า มาก่อน จะเห็นได้ว่า เวลาเราเดินทางไปในหมู่บา้ น จะมีเรื่ องราวของของผีบรรพ บุรุษ ผีประจําป่ า ประจําเขา ผีบา้ น ผีเรื อน ส่ วนเทพก็มี พระภูมิเจ้าที่ พระแม่ธรณี

คู่มือแนวทางการทํางาน

หน้ า 75


เครื อข่ ายกลุ่มสัจจะสะสมทรั พย์ เพื่อพัฒนาคุณธรรมครบวงจรชีวิต นครศรี ธรรมราช

เป็ นต้น ในงานประเพณี ต่ า ง ๆ ก็ มี ก ารเซ่ น สรวงบู ช าผี บู ช าเทพ ให้ เ ห็ น อยู่ จนกระทัง่ ทุกวันนี้ เรื่ องราวการนับถือผี บูชาเทพ เหล่านี้ ไม่ใช่เรื่ องถูกหรื อผิด เป็ นแต่เพียง การทําตามความเชื่ อของชาวบ้านในภูมิภาคต่าง ๆ และความเชื่ อเหล่านี้ ก็ยงั นํา ความสงบสุ ขมาสู่ หมู่บา้ นตลอดมา จนกระทัง่ ความเชื่ อเหล่านี้ เริ่ มลดกําลังลงไป ทําให้ดูเหมือนว่า ความเชื่อเหล่านั้นเป็ นเรื่ องเหลวไหล งมงาย หลังจากผ่านยุคนับถื อผี บูชาเทพ ไปแล้ว แม้ว่าพราหมณ์ จะได้เข้ามาสู่ ดิ นแดนสุ วรรณภูมิแล้ว แต่ ความเชื่ อในเรื่ องการนับถือผี และบูชาเทพ ก็ยงั ไม่ เลือนหายไปจากสังคมหมู่บา้ นของไทย ในทางกลับกัน กลับนําเทพ ใหม่ ๆ มา นําเสนอแก่ชาวบ้านมากขึ้น พร้อมกับผูท้ าํ หน้าที่ติดต่อกับเทพ ก็มีให้บริ การมาก ขึ้นกว่าแต่ก่อนมากขึ้นไปอีก อย่างไรก็ตาม แม้ว่าพุทธศาสนาจะเข้ามาสู่ ดินแดนสุ วรรณภูมิกว่าสองพัน ปี ก่ อ นที่ จ ะตั้ง ประเทศไทยเสี ย อี ก แต่ ดู เ หมื อ นว่ า การปฏิ บ ัติ ใ นวิ ถี ชี วิ ต ของ ชาวบ้านต่อศาสนาพุทธ ตั้งแต่อดี ตจนถึงปั จจุบนั ก็แทบจะไม่ได้เปลี่ยนไปเลย การนับถือผี บูชาเทพ ก็ยงั คงมีอยู่ แต่อาจจะมีสิ่งที่เพิ่มเข้ามา คือมีพระพุทธรู ป ให้ ชาวบ้านได้บูชากราบไหว้เพิ่มขึ้นอีก

คู่มือแนวทางการทํางาน

หน้ า 76


เครื อข่ ายกลุ่มสัจจะสะสมทรั พย์ เพื่อพัฒนาคุณธรรมครบวงจรชีวิต นครศรี ธรรมราช

จึ ง ดู เ หมื อ นว่ า พุ ท ธศาสนาในประเทศไทยที่ ช าวบ้า นปฏิ บ ัติ ก ัน อยู่ใ น ชี วิตประจําวัน เป็ นแค่เพียงพุทธะในโบสถ์ คือ การกราบไหว้บูชาพระพุทธรู ป เป็ นเพียงการกราบเทพ หรื อสิ่ งศักดิ์สิทธิ์ อีกสิ่ งหนึ่งเท่านั้น แต่อย่างไรก็ตาม ที่กล่าวอย่างนี้ ไม่ได้หมายความว่า สิ่ งศักดิ์สิทธิ์ ไม่มี หรื อ พระพุทธรู ปไม่ศกั ดิ์ เพราะพระพุทธองค์ก็ทรงรับรองเรื่ องนี้ ไว้ แต่เพียงการกราบ ไหว้ในฐานะสิ่ งศักดิ์ สิ ทธิ์ จะไม่ได้รับประโยชน์สูงสุ ด คือการดับทุกข์ ที่ พระ พุทธองค์ทรงสัง่ สอนไว้ ในอดีต เรื่ องราวกับดับทุกข์ หรื อนิ พพาน ซึ่ งเป็ นจุดหมายปลายทางที่พระ พุทธองค์ได้ทรงสัง่ สอนไว้ เป็ นเรื่ องไกลตัวมากสําหรับชาวบ้าน เป็ นเรื่ องราวของ พระเท่านั้น เป็ นเรื่ องที่ ผูใ้ ดจะแตะต้องไม่ได้ เพราะมีคาํ ว่า บาป มาเป็ นกําแพง ป้องกันพระและศาสนาไม่ให้ใครวิพากษ์วิจารณ์ได้อย่างตรงไปตรงมาได้ กว่าที่พุทธะ จะเป็ นเรื่ องที่เปิ ดกว้างสําหรับทุกคน นิ พพาน เป็ นเรื่ องที่ใคร ๆ ก็เ ข้า ถึ ง ได้ง่ า ย ๆ ก็ ต ้อ งใช้เ วลากว่ า สองพัน ปี นับ แต่ พุ ท ธศาสนาเข้า มาใน ดิ น แดนสุ ว รรณภู มิ ซึ่ งพอ ๆ กับ เวลาที่ ใ ช้ใ นการตี พิ ม พ์พ ระไตรปิ ฎกเป็ น ภาษาไทย ในสมัยนั้น ตรงกับช่ วงการพัฒนาสมัยใหม่ ของหมู่ บา้ น ท่ า นพุทธทาส อินฺป�ฺ โญ ได้ออกมาประกาศว่า นิ พพาน เป็ นของทุกคน ใคร ๆ ก็ไปนิ พพานได้

คู่มือแนวทางการทํางาน

หน้ า 77


เครื อข่ ายกลุ่มสัจจะสะสมทรั พย์ เพื่อพัฒนาคุณธรรมครบวงจรชีวิต นครศรี ธรรมราช

เพราะนิ พ พาน คื อ ความเย็น ข้า วก็ นิ พ พานได้ วัว ก็ นิ พ พานได้ ยุ ค นั้น ทํา ให้ ชาวบ้านตื่นเต้น ตกใจกันทัว่ บ้านทัว่ เมือง ยิ่งไปกว่านั้นท่ านพุทธทาส ยังได้ประกาศว่า เราทุกคนคือพระพุทธเจ้า เพราะเราทุกคนมีพุทธสภาวะอยูใ่ นตัว มันเป็ นสภาวะของจิต ที่รู้ ตื่น เบิกบาน ซึ่ ง ใคร ๆ ก็ทาํ ได้ เพียงแต่ทาํ ตามที่พระพุทธองค์ทรงสอนไว้ และใช้เวลาไม่นาน มาถึงตอนนี้ หลายท่าน อาจเห็นด้วย เพราะเคยได้ยินได้ฟังเรื่ องนี้ มาแล้ว และนําไปพิ จารณาใคร่ ครวญ ทดลองปฏิ บตั ิ ต ามคําสอนของพุ ทธองค์จนเกิ ด พุทธะในตัวเองแล้ว จึ งไม่ใช่ เรื่ องยากที่จะยอมรับ แต่สําหรับท่านที่ได้ยินเรื่ อง แบบนี้ เป็ นครั้งแรก ขอให้ติดตามตอนต่อไป จะได้รู้ว่า พุทธะสําหรับทุกคนเป็ น อย่างไร แล้วจะเห็นว่า วิธีปฏิบตั ิที่พระพุทธองค์ทรงสอนไว้ ทําได้ง่ายกว่าที่เรา เคยได้ยนิ ได้ฟังมา พุทธะในใจเราทุกคน สําหรั บท่ านที่ เคยดูภาพยนตร์ ชุดพระพุทธเจ้า มหาศาสดาโลก ที่ บริ ษทั ผลิตภาพยนตร์ในประเทศอินเดียสร้าง แล้วสถานี โทรทัศน์ในประเทศไทยนําเข้า มาออกอากาศเมื่อไม่นานมานี้ อาจจะทราบเรื่ องที่จะกล่าวต่อไปนี้ เป็ นอย่างดีแล้ว หลัง จากที่ เ จ้า ชายสิ ท ธัต ถะตรั ส รู ้ แ ล้ว พระองค์เ รี ย กตัว เองว่ า เราคื อ “พุทธะ” บางครั้ง ใช้คาํ แทนพระองค์ว่า “ตถาคต” ทั้ง สองคํา นี้ ไม่ ได้สื่อถึ งตัว คู่มือแนวทางการทํางาน

หน้ า 78


เครื อข่ ายกลุ่มสัจจะสะสมทรั พย์ เพื่อพัฒนาคุณธรรมครบวงจรชีวิต นครศรี ธรรมราช

บุคคลที่ เป็ นตัวเป็ นตน แต่สื่อถึ งสภาวะจิตของพระองค์ คําแรกเป็ นคําที่ สื่อถึ ง สภาวะของจิตที่ รู้ ตื่ น เบิกบาน และคําที่สอง เป็ นคําที่ สื่อถึ ง สภาวะที่เป็ นเช่ น นั้นเอง คือ ไม่มีอะไรไปปรุ งแต่งได้อีกแล้ว ซึ่ งเป็ นสภาวะของจิตล้วน ๆ ส่ วน เรื่ องร่ างกาย ก็เป็ นไปตามเหตุปัจจัยตามธรรมชาติ ต่อไปเราจะมาทําความรู ้จกั กับพุทธสภาวะในจิตของเรา โดยการสังเกตจิต ของเราเอง พร้อมทั้งจะได้เรี ยนรู ้วา่ วิธีสงั เกตทําอย่างไร แต่ก่อนจะไปถึงขั้นตอน นั้น มีเรื่ องเล่าอยูเ่ รื่ องหนึ่งที่อยากจะนําเสนอไว้ตรงนี้ก่อน เมื่อครั้งที่ท่านโพธิ ธรรม หรื อที่คนไทยรู ้จกั ดีในนาม ท่านตัก๊ ม๊อ เดิ นทาง มาถึงประเทศจีนเป็ นครั้งแรก พระชาวจีนได้ยินชื่ อเสี ยงของท่านมานานแล้วว่า ท่านเป็ นผูบ้ รรลุธรรม จึงได้ขอให้ท่านขึ้นแสดงธรรมต่อหน้าพระทั้งวัด พอท่าน โพธิ ธรรมขึ้ นไปนัง่ บนที่ แสดงธรรมแล้ว ท่านก็ได้แต่นงั่ นิ่ ง และเงี ยบ จนเวลา สมควรท่านจึงพูดว่า “จบการแสดงธรรม” แล้วก็ลุกขึ้น และลงจากที่แสดงธรรม แล้วท่านก็เดินจากไป ที่ นําเรื่ องนี้ มาเล่ าไว้ก่อน ก็เพื่ อเป็ นสิ่ งเตื อนใจสําหรับคนที่ ชอบฟั งการ แสดงธรรมว่า “ธรรมที่แท้แสดงด้วยภาษาไม่ได้” เช่นเดียวกัน “พุทธสภาวะที่แท้” แสดงด้วยภาษาไม่ ได้ ท่ านจะได้ไม่ ยึดเอาว่า สิ่ งที่ จะได้อ่านต่อไปนี้ เป็ นพุทธ สภาวะแท้ แล้วก็ไปยึดติ ดกับภาษานั้น เช่ นเดี ยวกับนิ้ วที่ช้ ี ไปยังดวงจันทร์ ย่อม ไม่ใช่ดวงจันทร์ คู่มือแนวทางการทํางาน

หน้ า 79


เครื อข่ ายกลุ่มสัจจะสะสมทรั พย์ เพื่อพัฒนาคุณธรรมครบวงจรชีวิต นครศรี ธรรมราช

เมื่ อเข้าใจตรงกันแล้วเราลองมาทําความรู ้จกั กับภาษาที่เราจะสื่ อถึงพุทธ สภาวะกันดู แต่ขอเพิ่มเติมอีกนิ ดว่า ถ้าอ่านภาษาแล้ว นึ กไม่ออก ไม่เข้าใจภาษาที่ ใช้สื่อ ก็ไม่ตอ้ งไปพยายามนึ กคิดหา เพราะยิ่งจะหลงทางไปกันใหญ่ ถ้าอ่านแล้ว นึ กไม่ออก ไม่เข้าใจ ก็ปล่อยไป แต่ขอให้ไปใส่ ใจกับการฝึ กสังเกตที่จะแนะนํา ต่อไปนี้ แทน ต่อไปก็ลองมาทําความรู ้จกั กับพุทธสภาวะผ่านภาษาดู ก่อนอื่นต้องเข้าใจ ให้ถูกก่ อนว่า พุทธสภาวะ เป็ นความรู ้สึกในจิต ของเราเอง อย่าไปส่ องหาพุทธ สภาวะในจิตของคนอื่น เพราะมันไม่มีประโยชน์อะไรในทางดับทุกข์ของเรา พุทธสภาวะ ไม่ใช่สภาวะที่สามารถนึกคิดเอาด้วยเหตุผล แม้เราจะคิดเอง ก็ ดับทุกข์ตวั เราเองไม่ได้เช่นกัน ยกตัวอย่างเช่น ทุกคนรู ้ดีวา่ เกิดมาแล้วต้องตายทุก คน แต่พอถึงเวลาจะตาย เราก็ยงั กลัวอยูเ่ ป็ นต้น นี่ แหละ อย่างนี้ เรี ยกว่าความรู ้ที่มา จากการนึ กคิดเอาด้วยเหตุผล ไม่สามารถดับทุกข์ได้ อาจทําได้แต่เพียงบรรเทา ทุกข์ได้เล็กชัว่ คราว แล้วทุกข์น้ นั ก็ผดุ ขึ้นมาอีก ที่น้ ี ก็ถึงเวลาแล้วที่เราจะได้ทาํ ความรู ้จกั กับพุทธสภาวะในจิตของเราเอง อย่างที่บอกไว้ก่อนหน้านี้ ว่า พุทธสภาวะ เป็ นความรู ้สึก คําถามต่อไปก็คือ ท่าน แยกความคิด กับความรู ้สึกออกไหม คนส่วนใหญ่มกั จะ คิดว่าตัวเองรู ้สึก ลองทําแบบฝึ กหัดนี้ ดู จะได้แยกความคิดกับความรู ้สึกออก ตอบคําถาม ต่อไปนี้ “เกลือเค็มไหม” เท่าที่เคยทําแบบฝึ กหัดนี้ มา ทุกคนตอบเป็ นเสี ยงเดียวกัน คู่มือแนวทางการทํางาน

หน้ า 80


เครื อข่ ายกลุ่มสัจจะสะสมทรั พย์ เพื่อพัฒนาคุณธรรมครบวงจรชีวิต นครศรี ธรรมราช

ว่า “เค็ม” คําถามต่อไปก็คือ “ที่ตอบว่าเค็ม เป็ นความคิดหรื อความรู ้สึก” และทุก คนก็ตอบเป็ นเสี ยงเดียวกันว่า “ความรู ้สึก” คําถามสําคัญที่ จะทําให้เราแยกความคิดกับความรู ้สึกออกคือ “ตอนนี้ ใน ปากมี เกลื อหรื อ” ทุกคนตอบว่า “ไม่มี” แล้วคําถามปิ ดท้ายคือ “แล้วเค็มมาจาก ไหน” ถึงตอนนี้ หลายคนคงแยกความคิด กับความรู ้สึกออก ว่า ถ้าเป็ นภาษาที่สื่อ ถึ งความรู ้ สึกที่ เคยสัมผัสในอดี ต หรื อ ความรู ้ สึกที่ อ ยากสัมผัสในอนาคต เป็ น ความคิดทั้งหมด ความรู ้สึกต้องเกิดขึ้น ขณะเกิดการสัมผัสในขณะปัจจุบนั เท่านั้น ธรรมชาติ ของความรู ้สึกคือ เกิดขึ้น ตั้งอยูช่ ว่ั ขณะ แล้วก็ดบั ไป อย่างไรก็ตาม แม้ว่าพุทธสภาวะ จะจัดอยู่ในหมวดความรู ้สึก แต่ก็ไม่ใช่ ความรู ้ สึกที่ อ ยู่ภายใต้ปั จจัย ปรุ ง แต่ ง เหมื อ นความรู ้ สึก ที่ อ ยู่ใ นจิ ต ของเราเสี ย ทีเดียว เพียงแต่ตอ้ งการชี้ ให้เห็นว่า ในที่น้ ี ถา้ จะเข้าให้ถึงพุทธสภาวะ ต้องไปทาง ความรู ้สึก หรื อทางจิตของเราเอง ส่ วนการเข้าถึงพุทธสภาวะ ในทางอื่น จะมีหรื อไม่ คงปล่อยให้เป็ นหน้าที่ ของนักวิชาการผูค้ น้ คว้าเรื่ องนี้ ไปถกเถียงกันต่อไป เราผูเ้ ดิ นทาง คงทําได้แต่เร่ ง ฝี เท้า เพื่อให้ถึงจุดหมายปลายทาง ก่อนที่มจั จุราช จะมาเอาชีวิตเราไป ถึงตอนนี้ เราน่าจะเข้าใจตรงกันแล้วว่า พุทธสภาวะ เป็ นความรู ้สึก และเรา ก็น่าจะแยกความคิด กับความรู ้สึกได้แล้ว ถ้ายังแยกไม่ออกก็ลองฝึ กสังเกตบ่อย ๆ คู่มือแนวทางการทํางาน

หน้ า 81


เครื อข่ ายกลุ่มสัจจะสะสมทรั พย์ เพื่อพัฒนาคุณธรรมครบวงจรชีวิต นครศรี ธรรมราช

เวลาเกิดการสัมผัส เช่ น เวลาลิ้นกระทบอาหาร เรารู ้สึกอะไรบ้าง หรื อว่ารู ้แต่ว่า อร่ อ ย ไม่ อ ร่ อ ย อย่า งเดี ยว ถ้าเป็ นอย่า งนั้น แสดงว่า ท่ า นยัง ติ ด อยู่ในโลกของ ความคิด การฝึ กแบบนี้ ต้องทําบ่อย ๆ จนเป็ นอัตโนมัติ จนสามารถสังเกตเห็ นรส ของอาหารล้วน ๆ ที่มีแต่รส เปรี้ ยว หวาน มัน เค็ม มาก หรื อ น้อย เท่านั้น ไม่มี อร่ อย หรื อไม่อร่ อย ยิ่งถ้าฝึ กจนการสังเกตเป็ นไปเองโดยอัตโนมัติ ก็จะเห็นแต่ ความรู ้สึกล้วน ๆ ความรู ้สึกที่ว่ามีเราผูส้ งั เกต และรสของอาหารที่ถูกสังเกต ก็ไม่ มี อย่างนี้ แสดงว่าท่านพร้อมแล้วที่จะสังเกตพุทธสภาวะในจิตของตัวเอง สรุ ปว่า การสังเกตต้องฝึ กบ่อย ๆ จนชํานาญ ฝึ กจากสิ่ งที่สังเกตได้ง่าย ๆ จากความรู ้สึกทางกายก่อน ค่อยไปสังเกตความรู ้สึกทางใจ เมื่อสังเกตความรู ้สึก ทางใจได้ ท่านจะสังเกตพุทธสภาวะ ที่ เกิ ดขึ้นในใจของท่านเองได้ แล้วจะเห็น ด้วยกับคํากล่าวข้างต้นที่จวั่ หัวข้อไว้ว่า “พุทธะในใจทุกคน” ว่า ไม่ใช่ เรื่ องที่พูด เกินจริ งเลย ลองเอาหลักการนี้ ไปฝึ กพุทธสภาวะในจิ ต ของท่านเองดู เริ่ มจากพุทธ สภาวะน้อย ๆ ที่แวบขึ้นมาในจิตของเราดู ส่ วนที่สูงกว่านั้น คงอยูเ่ หลือสติปัญญา ที่จะนํามากล่าวไว้ในที่น้ ี ขอให้เป็ นเรื่ องที่รู้ได้เฉพาะตนก็พอ เรื่ องนี้ ครู บาอาจารย์ เคยเตือนไว้ว่า “อย่ารู ้ก่อนรู ้” คือ การรู ้แบบนึ กคิดเอา ก่อนเห็นด้วยตัวเอง จะเป็ น อุปสรรคมากกว่าที่จะช่วยให้เราเข้าถึงความรู ้แท้ ๆ คู่มือแนวทางการทํางาน

หน้ า 82


เครื อข่ ายกลุ่มสัจจะสะสมทรั พย์ เพื่อพัฒนาคุณธรรมครบวงจรชีวิต นครศรี ธรรมราช

ภาษาที่เราอาจเคยได้ยินได้ฟังมาบ้างแล้วที่ว่า “สว่างกลางใจ” หลายคน อาจจะเคยเห็ น รู ป วาดพระพุ ท ธเจ้า ที่ มี แ สงออกที่ หัว ภาพนี้ ก็ เ ป็ นอี ก ภาษาที่ นักปราชญ์ตอ้ งการสื่ อให้เห็นถึงพุทธสภาวะ ทีน้ ี เราลองมาสังเกตจิตใจของเราเอง แต่อย่าไปคาดเอาว่า ของเราจะสว่าง เท่าของพระพุทธเจ้า เพราะพุทธะในใจเราทุกคนนั้น ท่านเรี ยกว่า เป็ นเมล็ดพันธุ์ ที่ยงั ไม่งอก ในจิตใจของเราทุกคนจะต้องมีสภาวะที่รู้สึกโล่ง ๆ โปร่ ง ๆ ในใจ ผุดขึ้น เสมอ ๆ เพียงแต่วา่ เราไม่สงั เกต และก็ไม่รู้ว่า จะหล่อเลี้ยงให้แสงสว่างนี้ สว่างขึ้น ได้อย่างไร บางคนพอสว่างแว๊บขึ้นมา ก็ไปหลงดีใจ ติดใจ อยากได้อีก พอยิ่งอยากได้ ก็ย่ิง ห่ า งไกลจากความรู ้ สึ ก โล่ ง ๆ โปร่ ง ๆ เช่ น นี้ พอความรู ้ สึ ก อยากได้เ ข้า ครอบงํา ก็เหลือแต่ความแน่ นอกแน่ นใจ ยิ่งอยากก็ย่ิงแน่ น เหมือนจะเป็ นบ้า จน ทําให้เราลืมไปเลยว่า ทุกคนมีพุทธสภาวะอยูใ่ นจิตอยูแ่ ล้ว บางคนอาจจะหนักถึงขั้นว่า ตั้งแต่จาํ ความได้ ก็มีแต่ความอึดอัด ขัดเคือง ชี วิตไม่เคยเจอกับความโล่ง ความโปล่งในจิตเลย ถ้าเป็ นอย่างนี้ ท่านยิ่งต้องรี บ หาทางกลับบ้า นที่ แ ท้ให้เร็ วที่ สุด ไม่ อ ย่า งนั้น ชี วิต นี้ คงต้อ งตายทั้ง เป็ นอย่า ง แน่นอน

คู่มือแนวทางการทํางาน

หน้ า 83


เครื อข่ ายกลุ่มสัจจะสะสมทรั พย์ เพื่อพัฒนาคุณธรรมครบวงจรชีวิต นครศรี ธรรมราช

จากที่ ก ล่ า วมาทั้ง หมด ในหัว ข้อ พุ ทธะในใจทุ ก คนนี้ เราคงพอจะเห็ น ตรงกันแล้ว เพื่อจะได้เดินหน้าต่อไป ขอให้เราเห็นตรงกันในเรื่ องพุทธสภาวะ ว่า เป็ นสภาวะที่มีอยูใ่ นจิตเราแต่เดิมแล้ว เพียงแต่ว่าบางคนสภาวะนี้ อาจจะไม่เคยผุด ขึ้นมาอีกเลย ตั้งแต่จาํ ความได้ นอกจากเราได้รู้แล้วว่า พุทธสภาวะคือสภาวะโล่ง ๆ โปร่ ง ๆ ในจิต ที่ผุด ขึ้นมา เรายังได้รู้วิธีการสังเกตพุทธสภาวะ เพื่อจะได้นาํ ไปฝึ กในชี วิตประจําวัน ต่อไปเราจะได้มาทําความรู ้จกั กับพุทธะ ที่เครื อข่ายใช้เป็ นหัวใจนําทางว่า มันจะ เป็ นพุทธะอันเดียวกับพุทธสภาวะที่เรากล่าวถึงก่อนหน้านี้ หรื อไม่ ตลอดจนจะได้ เรี ยนรู ้วา่ เครื อข่ายจะใช้หลักคําสอนของพุทธองค์ขอ้ ไหนในการปฏิบตั ิเพื่อเข้าถึง พุทธสภาวะดังกล่าว ขอเชิญท่านติดตามตอนต่อไป พุทธะที่เป็ นหัวใจนําทางเครื อข่ าย ในบทนี้ เราได้ก ล่ า วไปแล้ว ตั้ง แต่ ต อนต้น ว่ า หั ว ใจของเครื อ ข่ า ยคื อ “พุทธะ” โดยเราได้กล่ าวถึ ง พุทธะที่ เป็ นบุคคลในประวัติศาสตร์ พุทธะที่เป็ น ศาสนาที่ เ ข้า มาถึ ง ดิ น แดนสุ ว รรณภู มิ เ มื่ อ สองพัน กว่ า ปี มาแล้ว พุ ท ธะที่ เ ป็ น ตัวหนังสื อ พุทธะที่เป็ นพระพุทธรู ป และพุทธะที่เป็ นพุทธสภาวะที่มีอยูใ่ นจิตเรา ทุกคน

คู่มือแนวทางการทํางาน

หน้ า 84


เครื อข่ ายกลุ่มสัจจะสะสมทรั พย์ เพื่อพัฒนาคุณธรรมครบวงจรชีวิต นครศรี ธรรมราช

ถึ งตอนนี้ เราจะกล่ าวถึ งพุทธะที่ เป็ นหัวใจของเครื อข่ายว่าคืออะไรบ้าง โดยเราจะหยิบเอาคุณลักษณะของพุทธะที่เราได้กล่าวถึงไปแล้วในตอนต้น ตั้งแต่ พุ ท ธะที่ เ ป็ นบุ ค คลในประวัติ ศ าสตร์ พุ ท ธะที่ เ ป็ นศาสนาที่ เ ข้า มาถึ ง ดิ น แดน สุ ว รรณภู มิ เ มื่ อ สองพัน กว่ า ปี มาแล้ว พุ ท ธะที่ เ ป็ นตัว หนั ง สื อ พุ ท ธะที่ เ ป็ น พระพุทธรู ป และพุทธะที่เป็ นพุทธสภาวะที่มีอยูใ่ นจิตเราทุกคนว่า เราจะหยิบเอา คุณลักษณะได มาใช้เป็ นหัวใจ เพื่อนําทางเครื อข่ายไปสู่ จุดหมาย ที่จะกล่าวถึงใน บทต่อไป พุทธะที่เป็ นหัวใจของเครื อข่าย สามารถชี้ ชดั ๆ ให้เห็ นแต่ ละตอนอย่าง ชัดเจนดังหัวข้อที่จะนําเสนอต่อไปนี้ การเสียสละ หัวใจแห่ งการเสี ยสละ มาจากแรงบันดาลใจที่ได้จากเจ้าชายสิ ทธัตถะ เมื่อ คราวพระองค์เสด็จออกบวช สามารถนํามาใช้เป็ นแสวงสว่างนําทางที่มีพลังแรง กล้า มาก สํา หรั บ กรรมการ และสมาชิ ก เครื อ ข่ า ยที่ จ ะเข้า มาทํา งานร่ ว มกัน เรื่ องราวการตัด สิ น ใจทิ้ ง ความสุ ขทางวัตถุ ส่วนพระองค์ของเจ้า ชายสิ ทธัต ถะ สามารถเป็ นจุดเริ่ มต้นของการเข้ามาร่ วมสร้างเครื อข่ายด้วยกันของสมาชิ กและ กรรมการได้เป็ นอย่างดี

คู่มือแนวทางการทํางาน

หน้ า 85


เครื อข่ ายกลุ่มสัจจะสะสมทรั พย์ เพื่อพัฒนาคุณธรรมครบวงจรชีวิต นครศรี ธรรมราช

อย่างไรก็ตาม แม้การยอมเสี ยสละเวลาของกรรมการและสมาชิ ก อาจเทียบ ไม่ได้กบั การเสี ยสละของเจ้าชายสิ ทธัตถะ แต่เราสามารถใช้เรื่ องราวของพระองค์ มาเป็ นแรงบันดาลในที่มีพลังในการผลักดันเราออกจากความสุ ขสบายส่ วนตัว เพื่อไปทําสิ่ งที่ยงิ่ ใหญ่กว่าการมีชีวิตอยูเ่ พียงแค่เพื่อทําเพื่อตัวเองเท่านั้น หัวใจของเครื อข่ายเรื่ องนี้ จึงนับเป็ นจุดเริ่ มต้นของการมีชีวิตที่อุทิศตัวเอง เพื่อผูอ้ ื่น และเพื่อจะเป็ นเครื่ องเตือนใจผูท้ ี่จะเข้ามาร่ วมขบวนการเครื อข่ายกับเรา ว่า ท่านต้องสํารวจจิตตัวเองให้ดี ว่าการอุทิศตัวเองเพื่อผูอ้ ื่น ใช่ส่ิ งที่ท่านต้องการ จริ ง ๆ หรื อเปล่า ถ้าไม่ใช่ จะได้ไปเลือกเส้นทางอื่นที่ตวั เองต้องการจริ ง ๆ แทน ความกล้าหาญ เมื่อเจ้าชายสิ ทธัตถะยอมสละทุกอย่าง เพื่อมาอุทิศตัวเองแก่ผอู ้ ื่นแล้ว บน เส้นทางแห่ งการตรัสรู ้ ไม่ ใช่ ส่ิ งที่ จะได้มาโดยง่ าย คุณธรรมของพระองค์ที่เรา สังเกตเห็นเด่นชัดที่สุด น่ าจะเป็ นความกล้าหาญ แม้ท่านอื่นอาจเห็นเป็ นอย่างอื่น ก็ไม่ได้ผดิ อะไร แต่ในที่น้ ี เราจะหยิบเอาความกล้าหาญ ในการเผชิญหน้ากับความ ยากลําบาก แม้ความยากลําบากนั้นจะเดิมพันด้วยชีวิต ความกล้าหาญของพระองค์ สามารถนํามาเป็ นแรงบันดาลใจในการทํางานของกรรมการ และสมาชิกเครื อข่าย ในการฟันฝ่ าอุปสรรคได้เป็ นอย่างดี

คู่มือแนวทางการทํางาน

หน้ า 86


เครื อข่ ายกลุ่มสัจจะสะสมทรั พย์ เพื่อพัฒนาคุณธรรมครบวงจรชีวิต นครศรี ธรรมราช

เรื่ องราวความกล้าหาญที่เราได้เรี ยนรู ้จากพระพุทธองค์ เมื่อคราวบําเพ็ญ เพียรอยู่หกปี สามารถนํามาเป็ นเรื่ องราวที่ใช้เล่าสู่ กนั ฟั งเพื่อสร้างกําลังใจ ให้มี พลังต่อสู ้ต่อไปว่า ขนาดพุทธองค์ยงั เคยล้มเหลว พบเจออุปสรรคนานาประการ แต่ ส่ิ ง ที่ ท ํา ให้ พ ระองค์ไ ปถึ ง จุ ด หมายคื อ การไม่ ย อมแพ้ กล้า ที่ จ ะลุ ก ขึ้ น สู ้ จนกระทัง่ ประสบความสําเร็จ การทํางานในเครื อข่ายก็เช่นกัน ต้องใช้ความกล้าหาญนําทางหัวใจ จึงจะ ไปถึ ง จุ ดหมายปลายทางได้ จะว่า ไปแล้วหัวใจแห่ ง ความกล้า หาญนี้ สามารถ นําไปใช้ในทุกช่ วงชีวิต ของทุกคนนัน่ แหละ เพราะไม่ว่าจะเป็ นใคร หรื อทํางาน อะไร หรื อแม้แต่นงั่ เฉย ๆ ชีวิตก็ตอ้ งเจออุปสรรคแน่นอน ตราบใดที่ชีวิตเรายังไม่ เป็ นหนึ่งเดียวกับพุทธะ พุทธวจน แม้ว่าพระพุทธองค์ที่เป็ นบุคคลในประวัติศาสตร์ จะไม่อยู่แล้วก็ตาม แต่ พระพุทธองค์ที่เป็ นคําสอนที่ยงั สามารถนําไปปฏิบตั ิได้ และได้รับผลเช่นเดียวกับ ตอนที่พระพุทธองค์ยงั มีชีวิตอยูก่ ย็ งั มีอยู่ แต่ปัญหาก็คือ การบันทึกคําสอนที่มีอายุ กว่า 2600 ปี มีการแต่งเติมเป็ นจํานวนมาก คําที่เป็ นคําของพระพุทธองค์แท้ ๆ เป็ นทางหนึ่งที่จะทําให้เราได้ใกล้ชิดกับพระองค์อีกครั้งหนึ่ง

คู่มือแนวทางการทํางาน

หน้ า 87


เครื อข่ ายกลุ่มสัจจะสะสมทรั พย์ เพื่อพัฒนาคุณธรรมครบวงจรชีวิต นครศรี ธรรมราช

ในการออกมาทํางานเพื่อผูอ้ ื่น ด้วยหัวใจที่เสี ยสละ และกล้าหาญ แต่บาง คราว ปัญหา อุปสรรคในชี วิตและการทํางาน อาจจะเกินกําลังที่เราคนเดียว หรื อ หมู่คณะจะช่วยกันฟันฝ่ าไปได้ การมีสิ่งที่เราศรัทธาเป็ นที่พ่ ึงทางจิต จะช่วยให้เรา มีกาํ ลังที่จะเดิ นหน้าต่อไปได้ การได้เข้าเฝ้ าพระพุทธองค์ผ่านคําสอนที่เรี ยกว่า พุทธวจน ผ่านการพิสูจน์มาแล้วว่า ช่วยได้จริ ง พุทธวจน เป็ นคําสอนที่พระพุทธองค์ตรัสเอง นักปราชญ์ได้รวบรวมพุทธว จนไว้เป็ นหมวดหมู่ เพื่อสะดวกแก่ผปู ้ ฏิบตั ิจะได้หยิบมาใช้สาธยายเพื่อเตือนจิต สะกิดใจตัวเอง เครื อข่ายของเราเห็นว่า การท่องบ่นสาธยายพุทธวจน สามารถใช้ เป็ นหัวใจนําทางในการประคองหมู่คณะในเครื อข่ายให้เดินไปสู่ จุดหมายได้ จึง เลือกใช้คาํ สอนที่พระพุทธองค์ตรัสเอง ที่รวบรวมไว้ในชื่ อพุทธวจน ด้วยเหตุผล ดังกล่าว พุทธรูป ขณะที่เครื อข่ายเราสาธยายพุทธวจน เพราะเป็ นเครื่ องเตือนใจตนเอง ใน ระหว่างการเดินทางไปสู่ จุดหมาย เพื่อให้สามารถก้าวผ่านอุปสรรคขวากหนาม ที่ พบเจอระหว่างทางไปให้ได้ พระพุทธรู ป ก็สามารถเป็ นเครื่ องยึดเหนี่ ยวจิตใจ ให้ มี พ ลัง ในการก้ า วเดิ น ไปข้า งหน้ า ได้ อี ก ทางหนึ่ ง แต่ ก ารกราบไหว้บู ช า

คู่มือแนวทางการทํางาน

หน้ า 88


เครื อข่ ายกลุ่มสัจจะสะสมทรั พย์ เพื่อพัฒนาคุณธรรมครบวงจรชีวิต นครศรี ธรรมราช

พระพุทธรู ปของเครื อข่ายของเรา มีความหมายแตกต่างจากการกราบไหว้บูชาที่ ทําอยูใ่ นวิถีชาวบ้านทัว่ ไป ในขณะที่ ช าวบ้ า นทั่ ว ไป กราบไหว้บู ช าพระพุ ท ธรู ป อาจทํา ด้ ว ย วัตถุประสงค์ที่แตกต่างกันไป บางคนอาจกราบเพื่อการอ้อนวอนขอให้ได้ในสิ่ งที่ ต้องการ บางคนอาจกราบเพื่อทําให้จิตใจสงบ หรื อบางคนอาจกราบไหว้เพราะ เห็ นเขาทําก็ทาํ ตาม ๆ กันไป บางคนอาจทําเพราะกลัว หรื อแม้กระทัง่ ทําเพราะ เห็นเป็ นสิ่ งศักดิ์สิทธิ์ ชาวเครื อข่ายของเรากราบไหว้บูชาพระพุทธรู ป เพื่อระลึ กถึ งพุทธคุณ 9 ประการได้แก่ (1)เป็ นพระอรหันต์ (2)ตรัสรู ้เองโดยชอบ (3)ถึงพร้อมด้วยวิชชา และจรณะ (4)เสด็จไปดีแล้ว (5)เป็ นผูร้ ู ้แจ้งโลก (6)เป็ นสารถีฝึกคนที่ฝึกได้ไม่มี ใครยิ่งกว่า (7)เป็ นศาสดาของเทวดาและมนุ ษย์ท้ งั หลาย (8)เป็ นผูร้ ู ้ ผูต้ ื่ น ผูเ้ บิ ก บาน และ (9)เป็ นผูม้ ี โชค ทั้งนี้ พระพุทธรู ปที่ใช้กราบไหว้ ไม่ได้ยึดติดว่า ต้อง เป็ นแบบใด ขอเพียงมีพุทธรู ปในใจ แล้วน้อมกายก้มลงกราบด้วยความเคารพทั้ง กาย วาจา ใจ ก็เพียงพอแล้ว พุทธะ ที่ กล่ า วมา เราได้กล่ า วถึ ง หัวใจนํา ทางที่ ต ้อ งอาศัยสิ่ ง ภายนอกเป็ นแรง บันดาลใจตั้งแต่ เรื่ องราวการเสี ยสละ และความกล้าหาญของเจ้าชายสิ ทธัตถะ คํา คู่มือแนวทางการทํางาน

หน้ า 89


เครื อข่ ายกลุ่มสัจจะสะสมทรั พย์ เพื่อพัฒนาคุณธรรมครบวงจรชีวิต นครศรี ธรรมราช

ของพระพุทธองค์ และรู ปแทนพุทธองค์เพื่อระลึกถึงพุทธคุณ เพื่อนําทางใจของ เราให้ต้ งั มัน่ ในการเดินทางไปสู่ จุดมุ่งหมายของเครื อข่าย ต่อไปเป็ นหัวใจนําทาง ที่เราต้องสร้างให้เกิดขึ้นในจิตใจของเราให้ได้ เพื่อใช้เป็ นหัวใจนําทางประจําตัว เราไปตลอดชีวิต เพราะในท้ายที่สุด ในการเดินไปให้ถึงจุดมุ่งหมายของชีวิต ทุก คนต้องพึ่งจิตใจของตนเอง ในการเดินทางขั้นตอนสุ ดท้ายของชีวิต เราได้กล่ าวไปบ้างแล้วในตอนต้นว่า พุทธสภาวะ ที่ เราต้องบ่ มเพาะให้ เกิดขึ้นในจิตใจของเรานั้นมีสภาวะอย่างไร และสังเกตได้อย่างไร ต่อไปนี้ จะได้ แบ่งพุทธสภาวะออกเป็ น 3 ระดับกว้าง ๆ เพื่อให้พวกเราสามารถสังเกตได้เองว่า พุทธสภาวะในจิตใจของตนเอง เจริ ญเติบโตไปถึงขั้นไหนแล้ว ขั้นพื้นฐานได้แก่สภาวะจิตที่เริ่ มสังเกตเห็นความรู ้สึกของตัวเอง เช่น เวลา หงุ ด หงิ ด ก็เริ่ ม รู ้ ว่ า หงุ ด หงิ ด แล้ว และก็รู้ว่า หงุ ด หงิ ด ทํา ให้เ ป็ นทุ กข์ แต่ ก็ไ ม่ สามารถห้ามใจตัวเองไม่ให้หงุดหงิดได้ ขั้นนี้จะทรมานมาก เหมือนกับตอนเป็ นฝี ใหม่ ๆ จะรู ้สึกได้ชดั เจน และเจ็บปวดมาก ขั้นพื้นฐานนี้ ก็เช่นกัน การจะผ่านขั้น พื้นฐานไปให้ได้ ต้องเสี ยสละเยอะ ๆ และกล้าหาญให้มาก ๆ เหมือนกับการไป ฝึ กยกนํ้าหนักใหม่ ๆ จะปวดกล้ามเนื้ อมาก จิตใจก็เช่นกัน การฝึ กการฝื นใจตัวเอง ช่วงแรก ๆ จะทรมานมาก เมื่อฝึ กไปเรื่ อย ๆ พุทธสภาวะก็จะเลื่อนเข้าสู่ข้นั กลาง ขั้นกลางจะแตกต่างจากขั้นพื้นฐานตรงที่ จะเริ่ มแยกความหงุดหงิดกับเรา ออกจากกันได้ จะเริ่ มรู ้ว่าหงุดหงิ ดอยู่ แต่ไม่ใช่ตวั เราที่หงุดหงิ ด หรื อจะกล่าวว่า รู ้สึกว่าหงุดหงิ ด แต่ไม่เป็ นทุกข์กบั ความหงุดหงิ ด หรื อจะกล่าวว่า เฉยกับความ คู่มือแนวทางการทํางาน

หน้ า 90


เครื อข่ ายกลุ่มสัจจะสะสมทรั พย์ เพื่อพัฒนาคุณธรรมครบวงจรชีวิต นครศรี ธรรมราช

หงุดหงิดได้ หรื อจะเรี ยกว่า เป็ นผูด้ ูความหงุดหงิดก็ได้ แล้วแต่จะใช้ภาษาอะไรมา สื่ อ ในขั้นนี้ ความทุกข์จะน้อยลง จิตใจมีความโล่งความโปร่ งมากขึ้น ช่ วงนี้ จะ เริ่ มเห็นเองว่า ชี วิตที่มีแสงสว่างนําทาง เป็ นอย่างไร แต่ก็อย่าเพิ่มไปพอใจ ติดใจ อยูแ่ ค่น้ ี แล้วหยุดการฝึ กฝนตนเอง การฝึ กยิง่ ต้องทํามากขึ้น ต้องทําแบบฝึ กหัดที่ หนักขึ้น เพื่อทดสอบจิตใจของตัวเองว่า จะเฉยได้กบั ความรู ้สึกที่หนักหน่วงได้แค่ ไหน เพื่ อ ให้ จิ ต ทิ้ ง ความยึด ติ ด ในตัว ตนให้ไ ด้ เพื่ อ ก้า วเข้า สู่ พุ ท ธสภาวะขั้น ก้าวหน้า พุทธสภาวะขั้นก้าวหน้า จะเพิ่มคุณลักษณะจากขั้นกลางไปอีกขั้นคือ ความ หงุดหงิ ดไม่สามารถมากระทบจิตใจได้ เราจะสามารถเห็นความหงุดหงิดตั้งเค้า เป็ นเงามืดมาแต่ไกล พอมองเห็นปุ๊ ป เงามืดนั้นก็สลายไปทันที เปรี ยบเสมือนเรา ส่องไฟฉายไปยังเงามืด เงามืดก็หายไปทันทีเป็ นต้น แต่ก็เช่นกัน ขั้นนี้ ไม่ใช่ข้ นั ที่ จะมีไว้เพื่อให้ไปหลงยินดี พอใจ แล้วยึดติด จนหยุดการฝึ กหัด ส่ วนพุทธสภาวะ ขั้นต่ อไปจะเป็ นอย่างไร ขอให้เป็ นสิ่ งที่ รู้ได้เฉพาะตนสําหรับผูท้ ี่ฝึกฝนตนเอง จนถึงที่สุดก็แล้วกัน ฟังเสียงของหัวใจแห่ งพุทธะ ในบทนี้ เราได้กล่าวไปแล้วว่า เครื อข่ายของเราใช้พุทธะ เป็ นหัวใจในการ นําทางเครื อข่าย สําหรับการก้าวเดินไปสู่ จุดหมายปลายทาง โดยพุทธะที่เราใช้นาํ คู่มือแนวทางการทํางาน

หน้ า 91


เครื อข่ ายกลุ่มสัจจะสะสมทรั พย์ เพื่อพัฒนาคุณธรรมครบวงจรชีวิต นครศรี ธรรมราช

ทางก็มีต้ งั แต่ช่วงแรกของการเข้ามาสู่ เครื อข่ายใหม่ ๆ ต้องมีความเสี ยสละ และ ความกล้าหาญเป็ นเครื่ องนําทาง ในระหว่างการเดินทาง เมื่อต้องเผชิ ญกับปั ญหาอุปสรรค พุทธะที่จะเป็ น เครื่ องนําทางหัวใจที่ เหนื่ อยล้า อ่ อนล้าก็จะมาจากการสาธายายพุทธวจนผ่า น ตัวหนังสื อ และการกราบไหว้บูชา ระลึ กถึงพุทธคุณผ่านภาพลักษณะของพุทธ องค์ เพื่อเติมพลังชีวิตให้กบั จิตใจตนเอง และหมู่คณะ ให้ฟ้ื นจากความเหนื่ อยล้า จนสามารถผ่านปัญหาอุปสรรคไปได้ และหัวใจนําทางสุ ดท้ายที่สาํ คัญที่ทุกคนต้องทําให้เกิดขึ้นในจิตใจตนเอง ได้แ ก่ พุทธสภาวะที่ อ ยู่ในจิ ต ใจของเราเอง ที่ เราต้อ งใช้เพื่ อ การเดิ น ทางไปสู่ จุดหมายของการเดินทางขั้นสุดท้ายของชีวิตเราทุกคน มาถึงตอนนี้ เราก็ได้ทราบแล้วว่า เครื อข่ายของเรามีอะไรเป็ นหัวใจนําทาง ในบทต่อไป เราจะได้รู้กนั ว่า แล้วเครื อข่ายของเราจะไปไหน หรื อมีจุดมุ่งหมาย อะไร เมื่อรู ้แล้วว่าจะไปไหน เราจะได้เรี ยนรู ้กนั ต่อไปว่า เราจะใช้หวั ใจนําทางที่ กล่าวถึ งในบทนี้ ไปใช้ในการเดิ นทางไปสู่ จุดหมายปลายทางของเครื อข่ายได้ อย่า งไร ซึ่ งจะเป็ นบทที่ จ ะเริ่ ม ลงรายละเอี ย ดถึ ง แนวทางในการทํา งานของ เครื อข่ายมากขึ้น

คู่มือแนวทางการทํางาน

หน้ า 92


เครื อข่ ายกลุ่มสัจจะสะสมทรั พย์ เพื่อพัฒนาคุณธรรมครบวงจรชีวิต นครศรี ธรรมราช

บทที่ 4 จุดหมายปลายทางของเครื อข่ าย (สําหรับใช้พดู ในการอบรมกรรมการ หรื อสมาชิกใหม่)

ในบทที่ผา่ นมา เราได้ทราบแล้วว่า กว่าเราจะมารวมตัวกันเป็ นเครื อข่ายของกลุ่ม สัจจะในวัน นี้ ไม่ ได้เป็ นเรื่ อ งที่ พวกเรามานั่ง นึ กขึ้ น ได้เองว่า เราจะต้อ งสร้ า ง หมู่ บ้า นแบบใหม่ ที่ ไ ม่ ถู ก จํา กัด ด้ว ยพื้ น ที่ และจะต้อ งรวมตัว กัน ในรู ป แบบ เครื อข่าย เพราะเราไม่สามารถเรี ยนรู ้จากความว่างเปล่าได้ แต่ส่ิ งที่นาํ เรามาสู่ วนั นี้ ได้คือ การเรี ยนรู ้จากความผิดพลาด และจากความสําเร็ จในอดีต มาทดลองทําใน สิ่ งที่สอดคล้องกับโลกปัจจุบนั เกือบ 20 ปี ที่เรารวมตัวกันสร้างหมู่บา้ นแบบใหม่ คู่มือแนวทางการทํางาน

หน้ า 93


เครื อข่ ายกลุ่มสัจจะสะสมทรั พย์ เพื่อพัฒนาคุณธรรมครบวงจรชีวิต นครศรี ธรรมราช

ในรู ปแบบเครื อข่าย วันนี้ เรามี ความมัน่ ใจเต็มร้ อยว่า เครื อข่ายของเรา จะเป็ น เครื่ องมือที่นาํ เราไปสู่จุดมุ่งหมายของเราได้ อย่า งไรก็ ต าม การเดิ น ทางที่ ผ่า นมาเกื อ บ 20 ปี ก็ ไม่ ใ ช่ จะถึ ง จุ ด หมาย ปลายทางเสี ย ที เ ดี ย ว เพี ย งแต่ ว่ า ในเครื อ ข่ า ยของเรา บางกลุ่ ม อาจจะยัง เห็ น จุดหมายที่แตกต่างกันบ้าง บางกลุ่มอาจจะเห็นสอดคล้องกันแต่อาจยังไม่ชดั เจน บ้าง วันนี้ เราได้มีโอกาสมานัง่ ลงคุยกัน และเปลี่ยนความคิดความเห็นกันอย่างพี่ อย่างน้อง พูดคุยกัน เล่าสู่ กนั ฟัง จนเราหลอมรวมเป็ นหนึ่ งเดียว ทําให้เราได้ทราบ ว่า จริ ง ๆ แล้ว เรามีจุดมุ่งหมายเดี ยวกัน และสอดคล้องกันมาตลอด เพียงแต่ว่า ภาษาที่เราใช้ส่ื อสารกันเท่านั้นที่อาจแตกต่างกันไปตามยุคตามสมัยของผูส้ ื่ อสาร ตามชุมชนที่แต่ละคนได้ใช้ชีวิตมาหลายสิ บปี จากการพูดคุยกันจนสามารถพบคําที่สื่อสารถึงจุดหมายปลายทางเดียวกัน ได้ เราเลื อกคําว่า “สร้ างหมู่บา้ นใหม่” มาใช้เพื่อสื่ อถึ งจุดหมายปลายทางของ เครื อ ข่ า ยร่ ว มกัน แล้ว หมู่ บ้า นใหม่ ที่ ว่ า จะมี ล ัก ษณะที่ เ ฉพาะตัว อย่า งไร ใน ประเด็นนี้ เราก็ได้อภิปรายกันเนิ่ นนานกว่าจะตกผลึกคําว่า “อาริ ยะ” ในสุ ด ท้า ยเราก็ ไ ด้ค าํ ว่ า “หมู่ บ้า นอาริ ย ะ” เพื่ อ สื่ อ ถึ ง คุ ณ ลัก ษณะของ หมู่ บ้า นใหม่ ที่ เ ราจะร่ ว มกัน สร้ า งขึ้ น และคํา ว่ า “อาริ ย ะบุ ค คล” เพื่ อ สื่ อ ถึ ง คุ ณลักษณะของสมาชิ กในหมู่ บ้า นของเราที่ เ ราจะพัฒ นาขึ้ น มาเป็ นจุ ด หมาย ปลายทางที่ เราจะร่ วมเดิ นทางไปด้วยกันภายใต้ชื่อหมู่บา้ นใหม่ ที่น่าจะเป็ นชื่ อ คู่มือแนวทางการทํางาน

หน้ า 94


เครื อข่ ายกลุ่มสัจจะสะสมทรั พย์ เพื่อพัฒนาคุณธรรมครบวงจรชีวิต นครศรี ธรรมราช

หมู่บา้ นที่ยาวที่สุดในโลกว่า “หมู่บา้ นเครื อข่ายกลุ่มสัจจะสะสมทรัพย์เพื่อพัฒนา คุณธรรมครบวงจรชีวิต จังหวัดนครศรี ธรรมราช” ในบทนี้ เราจะเล่าเรื่ องราวการพูดคุยกันตลอด 3 เดือน มานําเสนอไว้ในที่น้ ี เพื่อจะให้ภาพ “หมู่บา้ นอาริ ยะ” และ “อาริ ยะบุคคล” ของเรา ค่อย ๆ ปรากฏชัด ขึ้น จนแจ่มแจ้งในใจของพี่น้องสมาชิ กทั้งที่เข้าร่ วม และไม่ได้เข้าร่ วมพูดคุยกัน ในครั้งนั้น ในครั้งนั้น นอกจากการพูดคุยเรื่ องจุดหมายปลายทางของเครื อข่ายเราแล้ว เรายังได้พูดคุยกันต่อไปว่า เมื่ อเราเห็นจุดหมายปลายทางเดี ยวกันแล้ว เราจะใช้ หลักพุทธะ ที่ เป็ นหัวใจของเครื อ ข่า ยเรานําทางเราไปสู่ จุด หมายปลายทางได้ อย่า งไร ทั้ง 2 ประเด็น นี้ เราจะนํา มาเสนอไว้ในบทนี้ ดัง รายละเอี ยดที่ จะได้ นําเสนอต่อไป อย่างไรก็ตาม การนําเสนอจะไม่นาํ เสนอว่า ลักษณะของหมู่บา้ นอาริ ยะ และอาริ ยะบุคคล ต้องมีคุณสมบัติอะไรบ้าง ใครเสนออะไรบ้าง แต่จะนําข้อเสนอ เหล่า นั้นไปใส่ ไว้ในหมู่ บ้านอาริ ยะ และอาริ ยะบุ คคล ราวกับว่า หมู่บ้า นและ บุคคลแบบอาริ ยะเกิดขึ้นแล้ว แล้วเราไปเที่ยวชมหมู่บา้ นอาริ ยะ และไปพูดคุยกับ อาริ ยะบุคคลเหล่านั้น การนําเสนอแบบนี้ จะให้อรรถรสอีกแบบหนึ่ ง ขอให้ใช้ จินตนาการให้มาก ๆ วางเหตุผลลงไว้ชวั่ ขณะ แล้วตามเสี ยงหัวใจไปก็พอ ขอเชิญ ทุกท่านตามเราไปเที่ยวหมู่บา้ นอาริ ยะแห่ งแรกของโลกได้แล้ว ณ. บัดนี้ คู่มือแนวทางการทํางาน

หน้ า 95


เครื อข่ ายกลุ่มสัจจะสะสมทรั พย์ เพื่อพัฒนาคุณธรรมครบวงจรชีวิต นครศรี ธรรมราช

หมู่บ้านอาริยะ คณะของเราเดินทางมาถึงหมู่บา้ นแห่ งหนึ่ งที่อยูห่ ่ างจากตัวเมืองไม่ถึง 100 กิ โ ลเมตร แม้เ ราจะไม่ ไ ด้วดั ระยะทางก็พ อจะกะได้ว่ า ไม่ เ กิ น 100 กิ โ ลเมตร แน่นอน เพราะรถที่นาํ คณะของเรามาวิ่งยังไม่ถึง 1 ชัว่ โมง รถก็นาํ คณะของเราเข้า มายังเขตหมู่บา้ นแล้ว ตลอดระยะทาง 1 ชัว่ โมงที่ รถของคณะของเราวิ่งมา นับแต่ ออกพ้นเขต อําเภอที่พวกเราอาศัยอยู่ เข้าสู่ เขตอําเภอของหมู่บา้ นอาริ ยะ เราก็ได้พบกับความ แตกต่างอย่างเห็นได้ชดั จากอําเภอที่เราอยูร่ าวกับเข้าไปอยูอ่ ีกโลกหนึ่ ง แดนทุ่งเขียว ทันทีที่รถของคณะเราวิ่งเข้าเขตอําเภอของหมู่บา้ นอาริ ยะ สิ่ งแรกที่เรารู ้สึก ได้ทนั ทีคือ ความรู ้สึกเย็นอกเย็นใจอย่างแปลกประหลาด ทําให้เราอดไม่ได้ที่จะ ทอดสายตาออกไปนอกหน้าต่าง ทันทีที่สายตามองพ้นออกไปนอกรถ ความเขียว ขจีของป่ าไม้ใบหญ้า ทําให้แสงแดดที่มากระทบสายตาของเราไม่แสบจ้า แตกต่าง จากแสงแดดในบ้านที่เราอยูท่ ุกวันนี้ มองไกลออกไปเลยแนวต้นไม้ที่เขียวขจีน้ นั เราได้เห็นทิวเขาอยูล่ ิบ ๆ ไกล ออกไป ภาพที่เราเห็นนั้น สร้างความชุ่ มฉํ่าในหัวใจเราอย่างบอกไม่ถูก บนยอด คู่มือแนวทางการทํางาน

หน้ า 96


เครื อข่ ายกลุ่มสัจจะสะสมทรั พย์ เพื่อพัฒนาคุณธรรมครบวงจรชีวิต นครศรี ธรรมราช

เขามีกลุ่มไอนํ้าลอยอ้อยอิ่งอยูบ่ นยอดเขา ทําให้บรรยากาศตอนสาย ๆ มีแต่ความ ฉํ่าเย็น ผิดกับยอดเขาแถวบ้านเราที่มีแต่ความแห้งแล้ง และร้อนระอุ แม้ตะวันจะ ยังไม่พน้ ยอดเขาก็ตาม ถัดมาจากแนวทิวไม้เข้ามาหาถนนที่ รถของเราวิ่งอยู่ สองข้างทางเต็มไป ด้วยแปลงเกษตรของชาวบ้านเรี ยงรายเต็มไปไหมด บางแปลงเป็ นนาข้าว บาง แปลงเป็ นไม้ผล บางแปลงเป็ นผัก สลับกันไปเป็ นระยะ ๆ แต่ส่ิ งที่น่าสังเกตคือ ไม่มีแปลงเกษตรขนาดใหญ่เลย ที่สาํ คัญ มีกลิ่นหอมอ่อน ๆ ของใบข้าวลอยเข้ามา ในรถ ยิ่งทําให้เรารู ้สึกมีชีวิตชี วามากขึ้นไปอีก เรื่ องนี้ อดใจเอาไว้ก่อน แล้วค่อย ไปคุยกับผูน้ าํ หมู่บา้ น ตอนไปถึงหมู่บา้ นก็แล้วกัน รถค่อย ๆวิ่งชมความงามของธรรมชาติรอบ ๆ หมู่บา้ นตามถนนลาดยางเข้า หมู่บา้ นอย่างช้า ๆ วันนี้ ผนู ้ าํ หมู่บา้ นนี้ นดั พวกเรามากินข้าวเช้าร่ วมกันกับสมาชิก ชาวหมู่บา้ นอาริ ยะ เรานัดกันไว้แปดโมงเช้า ตอนนี้ เรามองเห็นทางเข้าหมู่บา้ นอยู่ ไม่ไกลแล้ว คาดว่าอีกไม่เกิน 15 นาที รถคงวิ่งเข้าสู่ หมู่บา้ น ตอนนี้ ชมความงาม ของธรรมชาติตน้ ไม้ ทุ่งนา ป่ าเขา ไปพลาง ๆ ก่อน สู ดอากาศบริ สุทธิ์ ให้เต็มปอด แล้วเติมแรงเอาไว้ไปถามคําถามที่เกิดขึ้นเต็มหัวแล้วในตอนนี้ หมู่บ้านขาว

คู่มือแนวทางการทํางาน

หน้ า 97


เครื อข่ ายกลุ่มสัจจะสะสมทรั พย์ เพื่อพัฒนาคุณธรรมครบวงจรชีวิต นครศรี ธรรมราช

รถของคณะเรากําลังจะวิ่งเข้าเขตหมู่บา้ น เราสังเกตเห็ นป้ ายชื่ อหมู่บา้ น เหมือนหมู่บา้ นปกติ ทวั่ ไป แต่ที่เพิ่มเข้ามาคื อข้อความที่ ต่อท้ายชื่ อหมู่บา้ นยาว เหยียดต่อไปว่า “เครื อข่ ายกลุ่มสั จจะสะสมทรัพย์ เพื่อพัฒนาคุณธรรมครบวงจร ชีวติ จังหวัดนครศรีธรรมราช” ทําให้เราอดสงสัยต่อไม่ได้ว่า อันนี้ รึเปล่าที่ทาํ ให้ เราได้เห็นความเขียวขจี ความร่ มรื่ น ตลอดเส้นทางเข้าหมู่บา้ นนี้ ความสงสัยยังไม่ ดับ รถก็พาเราวิ่งผ่านป้ ายหมู่บา้ นไปแล้ว ได้อีกหนึ่ งคําถามเก็บไว้ในกระเป๋ าอีก แล้ว พอรถวิ่งผ่านป้ ายหมู่บา้ นเข้าไป สิ่ งแรกที่เราได้เห็นคือ ความเป็ นระเบียบ เรี ยบร้อยของหมู่บา้ น เริ่ มจากถนนเข้าหมู่บา้ น ที่อื่นเราอาจจะได้เห็นขี้ววั ขี้ควาย เรี่ ยราดเต็ ม ถนนไปหมด แต่ สํ า หรั บ หมู่ บ้ า นนี้ อย่ า ว่ า แต่ ข้ ี วัว ขี้ ควายเลย ถุงพลาสติก ขวด เศษกระดาษ สักชิ้ นก็ไม่มีให้เห็ น ยิ่งไปกว่านั้น ใบไม้ใบหญ้า แห้ง ก็ถูกเก็บกวาดอย่างสะอาดสะอ้าน แม้ทางเดินจะเป็ นดิน แต่เป็ นดินที่สะอาด สะอ้าน มองแล้วสบายตา สบายใจอย่างบอกไม่ถูก ถัดไปจากถนนหลักหมู่ของบ้าน พอเรามองเข้าไปในบริ เวณบ้านแต่ ละ หลังก็สะอาดเรี ยบร้ อ ยไม่ แ พ้ทางสาธารณะในหมู่ บา้ น บริ เวณบ้านแต่ ละหลัง ได้รับการปัดกวาดอย่างดี เครื่ องมือเครื่ องใช้ทางการเกษตรได้รับการจัดเก็บอย่าง เรี ยบร้อย เราสังเกตเห็นจอบที่แม้จะเหี้ ยนไปครึ่ งแล้ว แต่ก็ดูสะอาด ไม่มีเศษดิ น ติดอยู่เลย เก็บไว้ใต้ถุนบ้าน ดูไกล ๆ ยังเห็นเป็ นแววมัน แสดงว่าเจ้าของล้างทํา คู่มือแนวทางการทํางาน

หน้ า 98


เครื อข่ ายกลุ่มสัจจะสะสมทรั พย์ เพื่อพัฒนาคุณธรรมครบวงจรชีวิต นครศรี ธรรมราช

ความสะอาด เช็ดอย่างดี เผลอ ๆ อาจจะลงนํ้ามันไว้ดว้ ยกระมัง จึงได้เงาปานนั้น ยิง่ ดูกย็ ง่ิ ประหลาดใจ อะไรจะปานนั้นหมู่บา้ นนี้ เดี๋ยวต้องถามให้หายสงสัยให้ได้ กับข้ าวสด แล้ว เราก็ เ ดิ น ทางมาถึ ง วัด ซึ่ งเป็ นจุ ด นับ พบของคณะเรากับ คณะผูน้ ํา หมู่บา้ น รถของคณะเราเลี้ยวเข้ามาจดในลานทรายหน้าศาลาวัด พวกเราทยอยลง จากรถ เดินไปรวมกันบนลานทรายหน้าศาลาอีกหลังหนึ่ ง ผูม้ ีอายุคนหนึ่ งเดินมา ยกมื อไหว้ทกั ทาย แล้วเชิ ญพวกเราไปนั่งที่ โต๊ะ ที่ จดั ไว้ในศาลาแบบเรี ยบง่ า ย พร้ อมกับกล่ า วว่า “ขอเชิ ญนั่งค่ ะ กิ น ข้าวเช้าก่ อน ห้อ งนํ้าอยู่ทางโน้น ล้างมื อ ทางซ้าย แล้วไปตักอาหารมานัง่ กินด้วยกันทางนี้ค่ะ” ขณะพวกเราตักข้าวพร้อมกับข้าวก็อดแปลกใจไม่ได้ ข้าวเป็ นข้าวที่มีสีข่นุ ๆ ไม่ ขาว เหมื อนข้าวในเมื อง สอบถามได้ความว่าเป็ นข้าวซ้อมมือ กับข้าวก็มี นํ้าพริ ก ผัก และก็แกงจืด แกงเผ็ด อย่างละหม้อ ที่สาํ คัญคือ ไม่มีเนื้ อสัตว์อยู่เลย เรานึกในใจเงียบ ๆ คนเดียวว่า “จะกินลงไหมน๊อนี่ ” เมื่อตักข้าวและกับเสร็ จเรี ยบร้อยแล้ว พวกเราก็เดินมานัง่ รวมกันที่โต๊ะกิ น ข้าวตัวหนึ่ ง พอตักข้าวคําแรก ความกังวลใจในตอนมองเห็ นกับข้าวครั้งแรกก็ เปลี่ยนเป็ นความตะลึง เราอุทานใจเงี ยบ ๆ คนเดี ยวอีกว่า “หมู่บา้ นนี้ เต็มไปด้วย คู่มือแนวทางการทํางาน

หน้ า 99


เครื อข่ ายกลุ่มสัจจะสะสมทรั พย์ เพื่อพัฒนาคุณธรรมครบวงจรชีวิต นครศรี ธรรมราช

เรื่ อ งประหลาดใจจริ ง ๆ” ความกัง วลว่ า จะกิ น ไม่ ล งหายไป เหลื อ แต่ ค วาม เอร็ดอร่ อยกับรสชาติที่แตกต่างอย่างสิ้นเชิงกับอาหารที่เราเคยกินมา ข้าวที่สีไม่สวย แต่มีความหอมและนุ่ มอย่างไม่เคยเจอมาก่ อนตลอดชี วิต การกิ นข้าวมา กับข้าวที่ไม่มีเนื้ อของหมู ปลา ไก่ เลย แต่ทาํ ไมจึงได้อร่ อยแบบนี้ ด้วยความที่ไม่เคยเจออะไรที่อร่ อยแบบนี้ มาก่อน เราจึงจัดไปคนละจาน สองจาน ตามกําลังพุงของแต่ละคน

งดอบายมุข ระหว่างกิ นข้าว ผูม้ ีอายุของหมู่บา้ นก็อธิ บายให้เราฟั งว่า “หมู่บา้ นของเรา เป็ นหมู่ บ้า นของเราเป็ นหมู่ ที่อ ยู่ภายใต้การปกครองปกติ ง ของทางราชการ มี ผูใ้ หญ่ เป็ นผูเ้ ชื่ อมโยงเราเข้ากับทางราชการ แต่ส่ิ งที่หมู่บา้ นเราทําแตกต่างจาก หมู่บา้ นอื่น ๆ คือ เราตัวกันขึ้นเป็ นกลุ่มเพื่อจัดการการเงินของเราเอง ชื่อว่า “กลุ่ม สัจจะสะสมทรัพย์” ตอนนี้ ทุกคนในหมู่บา้ นของเราเป็ นสมาชิกร้อยเปอร์เซ็นต์” ผูม้ ี อ ายุข องหมู่ บ้า นเล่ า ต่ อ ไปว่ า “กลุ่ ม ลัก ษณะนี้ ไม่ ไ ด้มี แ ต่ เ ฉพาะใน หมู่ บ้า นของเรา ในอํา เภอนี้ มี ก ลุ่ ม แบบนี้ ทุ ก หมู่ บ้า นในอํา เภอนี้ แต่ ล ะกลุ่ ม เชื่ อมโยงกันเป็ นเครื อข่าย สิ่ งที่ท่านได้เห็นตั้งแต่เข้าเขตอําเภอของเรามา เป็ นผล คู่มือแนวทางการทํางาน

หน้ า 100


เครื อข่ ายกลุ่มสัจจะสะสมทรั พย์ เพื่อพัฒนาคุณธรรมครบวงจรชีวิต นครศรี ธรรมราช

ของการทํางานร่ วมกันเป็ นเครื อข่าย หารื อร่ วมกัน ทําให้ท่านได้เห็นอย่างที่เป็ นอยู่ ทุกวันนี้ “ข้อตกลงแรกที่เราทําร่ วมกันคือ เราจะฟื้ นฟูธรรมชาติก่อน ไม่ตดั ต้นไม้ ปลูกเพิ่ม งดใช้สารเคมี ต่อมาเราก็ตกลงกันว่า อาหารที่เรากิ นต้องปลอดภัย เรา ปลูกเอง ใช้เอง กินเอง เหลือก็แลกเปลี่ยนกันระหว่างกลุ่มอื่น ๆ ที่อยูใ่ นเครื อข่าย ของเรา” ก่อนที่คณะของเราคนหนึ่งยกมือจะถาม ผูอ้ าวุโสก็ให้คาํ ตอบต่อไปว่า “อาหารการกินของเราที่หลายคนอาจจะแปลกใจว่าทําไมพวกเราจึงไม่กิน เนื้ อสัตว์ ก็ขอให้คลายข้อสงสัยตรงนี้ เลยว่า อันนี้ ไม่ใช่ เรื่ องของกฎระเบียบแต่ อย่างใด แต่เป็ นเรื่ องของความสมัครใจ เพราะเครื อข่ายของเราเห็นร่ วมกันว่า การ กินเนื้ อสัตว์ ทําให้พวกเราป่ วยกันอยู่ทุกวันนี้ คนในหมู่บา้ นของเราส่ วนใหญ่ จึง กินผักผลไม้เป็ นหลัก นอกจากเด็ก เล็ก ๆ แต่ละบ้านก็ยงั ให้กิน ปลาบ้าง ไข่บา้ ง นมบ้าง เล็กน้อย แต่สาํ หรับคณะที่มาเยี่ยมชมวันนี้ ทางหมู่บา้ นให้ทดลองกินข้าว แบบที่คนในหมู่บา้ นกิน เพื่อให้รู้รสชาติเท่านั้นเอง” ขณะที่ผอู ้ าวุโสหยุดมองหน้าพวกเราอยูส่ ักครู่ หนึ่ ง เหมือนจะหยุดให้ถาม คณะของเราคนหนึ่ งก็ถามขึ้นว่า “ทําไมหมู่บา้ นจึงดูเงียบสงบดีจงั ไม่มีแม้แต่การ เปิ ดเพลงดัง สามบ้านแปดบ้านเหมือนหมู่บา้ นทัว่ ไป” ผู อ้ าวุ โ สตอบว่ า “หมู่ บ้า นของเราตกลงกัน ว่ า เราจะไม่ ข ้อ งเกี่ ย วกับ อบายมุขหกตามคําสอนพุทธองค์ เที่ยวกลางคืน ดื่มนํ้าเมา ดูการละเล่น เล่นการ คู่มือแนวทางการทํางาน

หน้ า 101


เครื อข่ ายกลุ่มสัจจะสะสมทรั พย์ เพื่อพัฒนาคุณธรรมครบวงจรชีวิต นครศรี ธรรมราช

พนัน คบคนชัว่ เป็ นมิ ตร เกี ยจคร้านทําการงาน” ผูอ้ าวุโสเล่าต่ อไปว่า “นี่ ถา้ มา ตอนกลางคื น หมู่บ้า นนี้ ไม่ เกิ น 3 ทุ่ ม ก็ปิดไฟนอนกัน หมดแล้ว เหลื อ แต่ ไฟ ทางเดินไม่กี่ดวงเท่านั้น” ฟังมาถึงตอนนี้ ทําให้เราอยากรู ้มากขึ้นไปอีกว่า คนในหมู่บา้ นนี้ เขาเป็ นคน แบบไหน เขาไปเรี ยนอะไรมา เขาไปฝึ กอะไรมา ทําไมจึงสามารถสร้างหมู่บา้ น ให้น่าอยูข่ นาดนี้ ได้ เพียงแค่คิดในใจเบา ๆ ก็ราวกับว่ามีผไู ้ ด้ยินคําถามของเรา ผูอ้ าวุโสพูดขึ้น หลังจากตอบคําถามแรกว่า “หลังจากกิ นข้าวเสร็ จ เราจัดที่ ลา้ งจานไว้ทางโน้น ล้างจาน ล้างมือเสร็ จ ขอเชิญทุกท่านเข้าไปพบประธานกลุ่มของเราที่ศาลาด้านใน เราจะได้พูดคุย แลกเปลี่ยนกันต่อเรื่ องการพัฒนาสมาชิกกลุ่มของเราค่ะ” อาริยะบุคคล หลังจากพวกเราล้างจาน ล้างมือ เก็บกวาดโต๊ะกิ นข้าวเรี ยบร้อยแล้ว พวก เราก็ เ ริ่ มทยอยกั น เข้า มานั่ ง ในศาลา ในศาลามี โ ต๊ ะ ยาวมาวางต่ อ กั น เป็ น สี่ เหลี่ยมผืนผ้า มีเก้าอี้พลาสติกวางรอบ ๆ โต๊ะนั้นประมาณ 30 ตัว มีคนมานัง่ รอ เราอยู่แล้ว คงจะเป็ นคนในหมู่ บ้า นนี้ ที่ น่ัง รอเราอยู่แ ล้ว พอได้มาเจอคนของ หมู่บา้ น เราก็ยง่ิ แปลกใจเข้าไปอีก คู่มือแนวทางการทํางาน

หน้ า 102


เครื อข่ ายกลุ่มสัจจะสะสมทรั พย์ เพื่อพัฒนาคุณธรรมครบวงจรชีวิต นครศรี ธรรมราช

คนในหมู่บา้ นนี้ ดูแล้วแปลกกว่าหมู่บา้ นไหน ๆ ที่เคยไปพบมา ทุกคนหน้า ตายยิม้ แย้มแจ่มใส ไม่ใช่แค่ยมิ้ เท่านั้น แต่ส่ิ งที่เราเห็นคือ หน้าเขาจะดูสว่าง ๆ ตาก็ เป็ นประกายสุ กใส เวลายิ้มก็ไม่ใช่ เป็ นการยิ้มร่ าเริ งแบบคึกคะนองอะไรทํานอง นั้น แต่เป็ นการยิม้ ที่เต็มไปด้วยความสงบเยือกเย็น และเราก็สามารถสัมผัสได้ว่า เป็ นการยิม้ ที่มาจากใจ เป็ นรอยยิม้ ที่เป็ นธรรมชาติจริ ง ๆ มองแล้วรู ้สึกอบอุ่นและ ผ่อนคลายอย่างบอกไม่ถูก นอกจากความยิ้มแย้มแจ่มใสของใบหน้าแล้ว สิ่ งที่ เราได้พบคื อ คนใน หมู่บา้ นนี้ ไม่มีคนอ้วนเลย คนผมแห้งแบบขี้โรคก็ไม่มี หน้าตาแม้ไม่ได้แต่ง หรื อ บํา รุ ง ด้ว ยครี ม อะไรเลย แต่ ก็เ ห็ น ได้ถึ ง ความสดใสของใบหน้า ดู แ ล้ว คนใน หมู่บา้ นนี้ น่าจะไม่มีใครเป็ นโรคอะไรเลย ต้องถามให้ได้ว่าเขามียาดีอะไร จะได้ นํากลับไปฝากคนที่บา้ นของเราให้ได้ อีกไม่ถึง 5 นาที ทุกคนก็มาพร้อมกันในศาลา ทั้งคณะของเรา และสมาชิ ก ของหมู่ บา้ น ประธานกลุ่ มสัจจะของหมู่บา้ นมากล่าวทักทายพวกเราอย่างเป็ น ทางการ ยิง่ ได้พบกับผูอ้ าวุโสประธานกลุ่มสัจจะ เราก็ยง่ิ รู ้สึกอบอุ่นยิง่ กว่าได้พบ กับสมาชิ กทัว่ ไป เสี ยงของประธานฟั งแล้วอบอุ่นเปี่ ยมไปด้วยความเมตตาท่าน กล่าวต้อนรับพวกเรา ท่านบอกว่ารู ้สึกยินดีที่ได้มีโอกาสต้อนรับคณะศึกษาดูงาน ของเรา ท่านเล่าถึงความเป็ นมาของหมู่บา้ นและกลุ่มเพียงสั้น ๆ แล้วกล่าวต่อไปว่า “ต่อไปจะได้พบกับสมาชิ กของเราครอบครัวหนึ่ ง ซึ่ งนับว่าเป็ นตัวแทนของพวก คู่มือแนวทางการทํางาน

หน้ า 103


เครื อข่ ายกลุ่มสัจจะสะสมทรั พย์ เพื่อพัฒนาคุณธรรมครบวงจรชีวิต นครศรี ธรรมราช

เราทุกคนที่ อยู่ที่นี่ เป็ นตัวแทนของความเสี ยสละ และกล้าหาญในการออกมา ทํา งานเพื่ อผูอ้ ื่ น จนชี วิต ของตนเอง และครอบครั ว อยู่อย่า งมี ความสุ ข ทํา ให้ หมู่บา้ นของเราก็พลอยมีความสุ ขไปด้วย” แล้วท่านก็ผายมือไปทางชาย หญิงวัย กลางคนคู่หนึ่ งที่นงั่ อยู่ขา้ ง ๆ ท่าน ทั้งสองคนยกมือไหว้อย่างนอบน้อม แล้วเริ่ ม เล่าเรื่ องราวชีวิตของเขาให้พวกเราฟัง

เชื่ อมั่น หลัง จากกล่ า วแนะนํา ตัวเองแล้วเขาก็เ ล่ า ต่ อ ไปว่า “ผมและภรรยาก็คง เหมือนกับคนส่ วนใหญ่ของบ้านเราที่เคยมีความเชื่ อว่าต้องเรี ยนให้สูง ๆ จะได้ ทํางานดี ๆ เพื่อจะได้หาเงินได้เยอะ ๆ แล้วจึงจะมีความสุ ข” เพียงแค่ประโยคแรก พวกเราทั้งศาลา ก็แทบจะหยุดหายใจ เพื่อรอฟังสิ่ งที่เขาจะเล่าต่อไป “ผมตัดสิ นใจทิ้งบ้านเข้าไปเรี ยนในเมืองจนจบขั้นสู งสุ ดตามที่ตวั เองตั้งใจ ไว้ เมื่ อจบแล้วก็ตระเวนหางานอยู่หลายเดื อนจนได้เป็ นพนักงานบริ ษทั ชื่ อดัง ระดับประเทศ มี เงิ นเดื อนมัน่ คง ผมคิดว่า ต่อไปนี้ ผมสบายแล้ว หาเงิ นได้เอง อยากได้อะไร อยากกินอะไร ก็ไม่ตอ้ งคิดมากอีกแล้ว” คู่มือแนวทางการทํางาน

หน้ า 104


เครื อข่ ายกลุ่มสัจจะสะสมทรั พย์ เพื่อพัฒนาคุณธรรมครบวงจรชีวิต นครศรี ธรรมราช

พอเล่ามาถึงตอนนี้ เขาชําเลืองขึ้นไปมองเพดานศาลาแว๊บหนึ่ ง เหมือนกับ พยายามนึกถึงความหลัง แล้วเล่าต่อว่า “ผมใช้ชีวิตแบบนี้ อยูไ่ ม่ถึง 10 ปี ก็เริ่ มรู ้สึก ว่า ชีวิตไม่มีความสุ ขเหมือนตอนได้ทาํ งานใหม่ ๆ หรื อแม้แต่ชีวิตในตอนเป็ นเด็ก ทั้ง ๆ ที่มีทุกอย่างที่ตอ้ งการ แต่ชีวิตกลับเริ่ มมีแต่ความเบื่อ ผมดิ้นรนทุกอย่างเพื่อ กําจัดความทุกข์ที่เกิด สุ ดท้ายก็ลาออกจากงาน แล้วตัดสิ นใจกลับมาอยูบ่ า้ นที่ผม กําลังคุยกับท่านทั้งหลายอยูต่ อนนี้ ” แล้วเขาก็มองไปทางฝ่ ายหญิงเพื่อให้เล่าเรื่ อง ของตัวเองบ้าง ผู ้ห ญิ ง ที่ นั่ ง ข้า ง ๆ ผู ้ช ายคนที่ เ พิ่ ง เล่ า จบ เล่ า ด้ ว ยรอยยิ้ ม ว่ า “ดิ ฉั น ก็ เหมื อ นกับ พี่ บ่ า วคนนี้ คื อ คิ ด เหมื อ นกัน ก็ เ ลยทํา เหมื อ นกัน เจอความทุ ก ข์ เหมือนกัน ก็เลยได้กลับมาเจอกันที่บา้ นเกิ ด แล้วก็ตดั สิ นใจมาใช้ชีวิตด้วยกันที่ บ้านเกิดตอนนี้ พอเจอความทุกข์มาเยอะ ดิฉนั ก็เลิกเชื่อตัวเองแล้ว เชื่ อพี่บ่าวแทน ให้พี่บ่าวเป็ นผูน้ าํ คงเป็ นบุญที่เคยสัง่ สมไว้ จึงได้เจอกับผูน้ าํ ที่นาํ ทางเรามาถูก จน ชี วิตได้พบกับความสุ ขอย่างทุกวันนี้ ” แล้วเธอก็มองไปทางผูช้ ายที่นงั่ ข้าง ๆ ให้ เล่าต่อ “ชีวิตผมที่ผา่ นไม่ ไม่ยอมฟังใครเลย เชื่ อแต่ตวั เอง ชี วิตจึงได้เจอกับความ ทุกข์แทบจะเอาชีวิตไม่รอด พอกลับมาอยูบ่ า้ น ผมทิ้งความถือดีของตัวเองแทบไม่ เหลือ ความเชื่อมัน่ ในความคิดของตัวเองก็แทบไม่เหลือเช่นกัน” “ชีวิตในหมู่บา้ นช่ วงแรก ๆ ก็อยูไ่ ปวัน ๆ จนวันหนึ่ งผมมีโอกาสได้ไปส่ ง แม่ไปร่ วมประชุ มกลุ่มสัจจะของหมู่บา้ นเมื่ อหลายปี ก่ อน วันนั้นก็ไปนั่งเฉย ๆ คู่มือแนวทางการทํางาน

หน้ า 105


เครื อข่ ายกลุ่มสัจจะสะสมทรั พย์ เพื่อพัฒนาคุณธรรมครบวงจรชีวิต นครศรี ธรรมราช

ไม่ได้สนใจอะไร จนกระทัง่ ท่านประธานกลุ่มของเราที่นง่ั ข้าง ๆ ผมในวันนี้ จับ ไมค์ข้ ึนพูด มีประโยคหนึ่ งที่โดนใจผมมากที่สุด ผมยังจําได้ดีวา่ ท่านพูดตอนหนึ่ง ว่า “พี่มีเงิ น ก็เอาไปฝากธนาคาร น้องไม่ มีเงิ น ก็ไปกู้ธนาคาร ทําไมเราไม่ จดั การเงิ นของเราเอง ทําไมเอาไปให้ธนาคารจัดการให้ ทําให้ธนาคารรวยเอา ๆ พี่ น้องเราก็จนลง ๆ” “ประโยคนั้นแหละ ที่เปลี่ยนทางเดิ นชีวิตผมนับแต่น้ นั มา ผมตัดสิ นใจเข้า ร่ วมกับกลุ่มด้วยความเชื่อมัน่ เต็มร้อยว่า ทางนี้ แหละเป็ นทางที่ถูกแล้ว ที่จะทําให้ ชี วิตผมกลับมามี ความสุ ขอี กครั้ งหนึ่ ง ผมเชื่ อมัน่ ในตัวท่ านประธานแบบไม่ มี เงื่ อนไข เชื่ อมัน่ ในแนวทางที่ ท่านพาทํา แต่ ที่ผมยังไม่รู้ก็คือ นั่นเป็ นเพียงการ เริ่ มต้น จุ ด มุ่ ง หมายที่ ท่า นจะพาเราไป มัน ไม่ ไ ด้ง่ า ยอย่า งที่ ผมคิ ด เลย ผมต้อ ง พัฒนาตนเองอย่างหนัก ก่อนที่จะมานัง่ อยูต่ รงนี้อย่างเช่นวันนี้ ” เล่ามาถึงตอนนี้ สี หน้าของชายวัยกลางคนคนนี้ เริ่ มมีสีหน้าสงบนิ่ งมากขึ้น เขาคงกําลังจะบอกอะไร ที่เป็ นหัวใจของเรื่ องนี้แน่ ๆ เลย กล้าหาญ “พอเริ่ มเข้ามาทํางานในกลุ่มในช่ วงแรก ๆ ผมก็เริ่ มพบกับแรงเสี ยดทาน จากคนรอบข้าง” เขาเล่าต่อ ในขณะที่พวกเราก็ใจจดใจจ่อ อยากรู ้ว่าเขาจะบอก คู่มือแนวทางการทํางาน

หน้ า 106


เครื อข่ ายกลุ่มสัจจะสะสมทรั พย์ เพื่อพัฒนาคุณธรรมครบวงจรชีวิต นครศรี ธรรมราช

อะไร มันเหมือนกับเขานึ กถึงอะไรสักอย่าง แล้วทําให้สีหน้าของเขาเต็มไปด้วย ความมุ่งมัน่ แล้วเขาก็เริ่ มเล่าต่อ “ท่านประธานบอกว่า “เรามาทํางานนี้ เราไม่ได้ทาํ เพื่อตัวเอง เพราะถ้าเรา คิดว่าเราทําเพื่อตัวเอง ไม่นานก็จะหมดแรง ลองย้อนไปดูงานที่เธอทําเพื่อเงินใน เมืองดูสิ เห็นไม๊ แค่ไม่กี่ปี เธอก็หมดแรงแล้ว แต่งานนี้ ยิ่งทําจะยิ่งมีพลังในการ ทํางาน แต่เธอต้องวางใจให้ถูก” ท่านให้ขอ้ คิดกับผม ทําให้ผมมี พลังที่จะต่อสู ้ เอาชนะอุปสรรค แล้วท่านประธานก็ให้ขอ้ คิดที่ผมจําได้ไม่ลืมว่า “ชีวิตคนเรามักจะเป็ นไปได้ ไม่ เกิน 100 ปี แต่ ถ้าใครคิดจะทํางานให้ เป็ นประโยชน์ อยู่จาํ นวนนับพันปี หรื อนับหมื่นปี หรื อไม่ จาํ กัดกาลได้ นั้น ย่ อมแสดงว่ าเป็ นผู้เกิดมาเพื่อประโยชน์ และความสุขแก่ ส่วนรวมโดยแท้ ” และอีกตอนหนึ่ งท่านพูดว่า “ผู้เบียดเบียนผู้อื่นนั้น คือผู้เบียดเบียนตนเอง ผู้สงเคราะห์ ผ้ อู ื่นนั้น คือผู้สงเคราะห์ อนุเคราะห์ ตนเอง” คติน้ ี ทําให้ผมมีความกล้าหาญที่จะเดินหน้าต่อไป ตั้งแต่วนั นั้นมา ผมก็ไม่ เคยกลัวอุปสรรคอีกเลย เพราะทุกครั้งที่ผ่านอุปสรรคไปได้ ผมจะรู ้สึกว่า ตัวเอง เติบโตไปอีกขั้น และพลังก็จะเพิ่มขึ้นไปอีกระดับทุกครั้งไป” คู่มือแนวทางการทํางาน

หน้ า 107


เครื อข่ ายกลุ่มสัจจะสะสมทรั พย์ เพื่อพัฒนาคุณธรรมครบวงจรชีวิต นครศรี ธรรมราช

ท่านประธานบอกว่า “ชี วิตเราถ้าจะไปให้ถึงจุ ดหมายปลายทาง มันต้อง ทวนกระแส เห็ นปลาไหม มัน ว่ายทวนนํ้าเพื่อ ไปวางไข่ มี แต่ ปลาเป็ นเท่ า นั้น แหละที่ว่ายทวนนํ้า ปลาตายมันก็ไหลไปตามนํ้าเรื่ อย ๆ สุ ดท้ายก็ลงสู่ มหาสมุทร กลายเป็ นอาหารของพืช ของสัตว์เล็ก ๆ ในมหาสมุทร แต่การจะว่ายทวนนํ้าได้ นั้น อันดับแรกต้องมีความกล้าหาญ จิตใจจึงจะมีกาํ ลัง อุปสรรคที่ยากกว่านี้ ยังรอ เราอี ก เยอะ ชี วิ ต อย่า แสวงหาความสบาย แต่ จ งแสวงหาความกล้า หาญที่ จ ะ เอาชนะปัญหา จึงจะประสบความสําเร็ จในชีวิต” “หลังจากที่จิตใจผมเริ่ มสงบนิ่ งกับปัญหาอุปสรรคภายนอก ท่านประธานก็ เริ่ มให้ผมทําแบบฝึ กหัดที่ยากขึ้น ไม่ใช่การทํางานแบกหามของหนักขึ้นครับ แต่ เป็ นการทํางานภายในจิตใจตัวเอง ท่านเริ่ มให้ผมได้รู้จกั การเดินทางภายใน นั่น คือการพัฒนาจิ ตของตนเองครั บ” พอเขาเล่ ามาถึ งตอนนี้ พวกเราก็สังเกตเห็ น รอยยิม้ น้อย ๆ ที่มุมปากของผูช้ ายคนนั้น มันเหมือนกับรอยยิ้มของคนที่เอาชนะ อะไรที่ยงิ่ ใหญ่กว่าที่เคยทําได้ในชีวิต ผู้ร้ ู “วันหนึ่ งท่านประธานพาพวกเราฝึ กเป็ นการเป็ นผูร้ ู ้ ” ผูช้ ายคนนั้นเล่าต่อ “ตอนแรกผมก็ แ ย้ง ในใจว่ า เราก็รู้ อ ยู่แ ล้ว แต่ ท าํ ไมต้อ งมาฝึ กการเป็ นผูร้ ู ้ อี ก เสี ย เวลาเปล่ า ๆ แต่ ด้ว ยความที่ มี ค วามเชื่ อ มั่น ในตัว ท่ า นประธานอย่ า งไม่ มี คู่มือแนวทางการทํางาน

หน้ า 108


เครื อข่ ายกลุ่มสัจจะสะสมทรั พย์ เพื่อพัฒนาคุณธรรมครบวงจรชีวิต นครศรี ธรรมราช

เงื่อนไข ทําให้คิดได้ว่า ท่านคงต้องการจะสอนอะไรเราที่ยากขึ้นไปแน่ ๆ จึงยอม ทําตามที่ท่านประธานแนะนําโดยดี” “ท่ า นประธานบอกว่า ให้พวกเราฝึ กรู ้ การเคลื่ อนไหวของกายที่ เกิ ดขึ้ น ตลอดเวลา การเคลื่อนไหวแรกที่ท่านให้พวกเราฝึ กรู ้คือ การเคลื่อนไหวของลม หายใจเข้า หายใจออก ท่านบอกว่า เวลาเรานัง่ ว่าง ๆ เช่นหลังตื่นนอนตอนเช้า ก็ ให้ฝึกรู ้ลืมหายใจสักห้านาที สิ บนาที เพื่อล้างความคิดที่ตกค้างจากการนอนเมื่อ คืนออกให้ห มดก่ อ น การทํางานตอนเช้า จะได้ปลอดโปร่ ง ผมก็ทาํ ตามที่ ท่า น แนะนํา” “ผลก็คือ ผมได้รับความมหัศจรรย์อย่างที่ท่านแนะนํา ถ้าวันไหนที่ผมได้ ฝึ กรู ้ลมหายใจหลังตื่นนอน เช้าวันนั้น ตลอดทั้งวัน ผมจะทํางานด้วยความปลอด โปร่ ง และผมก็นาํ เรื่ องนี้ ไปเล่าให้ท่านประธานฟั ง ท่านแนะนําต่อว่า เมื่ออยู่กบั ลมหายใจชํานาญตอนเช้าแล้ว ต่อไปตอนไปทําการงานปกติตลอดวัน ก็ให้ฝึกรู ้ การเคลื่อนไหวของร่ างกายตลอดเวลา เดินไปไหน มาไหน หยิบจับอะไร ก็ให้ใจ รู ้อยูก่ บั การเคลื่อนไหวของร่ างกายส่ วนนั้น วันต่อไป ผมก็นาํ คําแนะนําของท่าน ประธานไปฝึ ก จนกระทัง่ ผ่านไปหนึ่ งเดือน ความแตกต่างก็เริ่ มเกิ ดขึ้นกับจิตใจ ของผม” “ผมเริ่ มสั ง เกตว่ า ผมเริ่ มรู ้ จ ัก ตัว เองมากขึ้ น อย่ า งไรนะหรื อ ผมเริ่ ม สังเกตเห็นตัวผมเองที่เป็ นสภาวะว่าง ๆ โล่ง ๆ โปร่ ง ๆ ในหัว ในจิตใจ บางทีมนั เริ่ มมีช่วงเวลาที่ไม่ง่วง และก็ไม่คิด มีแต่ความสว่าง ๆ ในจิต เวลามีความรู ้สึกไม่ คู่มือแนวทางการทํางาน

หน้ า 109


เครื อข่ ายกลุ่มสัจจะสะสมทรั พย์ เพื่อพัฒนาคุณธรรมครบวงจรชีวิต นครศรี ธรรมราช

พอใจเกิดขึ้นในใจ ผมก็รู้ได้เร็ ว แต่กย็ งั ไม่สามารถเฉยกับความไม่พอใจได้ มันทํา ให้ผมทุกข์มากเลยทีเดียว ผมเอาความรู ้สึกนี้ ไปเล่าให้ท่านประธานฟั ง ท่านบอกว่า “นี่ แหละ ผูร้ ู ้ เริ่ ม เกิ ดแล้ว แต่ที่เรายังไม่สามารถเฉยกับมันได้ เพราะจิตยังไม่มีกาํ ลัง ซ้อมเยอะ ๆ ตั้งใจฝึ กต่อไป” ผมได้ฟังก็ย่ิงมีกาํ ลังที่ จะฝึ กรู ้การเคลื่อนไหวของร่ างกายต่อไป ทุกขณะการเคลื่อนไหวในชีวิตประจําวัน

ผู้ตื่น “ผมตั้งใจฝึ กตามคําแนะนําของท่านประธานอยู่อีกราวหนึ่ งเดื อน ตลอด เดื อนนั้นใจผมไม่วอกแวกไปคิดเรื่ องอื่ นเลย จะว่าไปแล้ว แทบจะไม่ได้คิดเลย ตอนนั้นผมแค่รู้การเคลื่อนไหวของร่ างกาย และลมหายใจเฉย ๆ ไม่คิดแม้ว่ามัน จะได้อะไร แค่รู้เฉย ๆ จนกระทัง่ วันหนึ่ งขณะที่ ผมกําลังกิ นข้าวเที่ยงอยู่ ขณะที่ สังเกตการณ์เคลื่อนไหวของฟั นขณะกระทบกัน สังเกตความเปรี้ ยว หวาน มัน เค็ม ของอาหารที่กระทบลิ้น ก็เกิดสิ่ งแปลกประหลาดที่สุดเท่าที่ผมเคยพบมา “การกระทบกันของฟันครั้งนั้น แตกต่างอย่างสิ้นเชิงไปจากการกระทบกัน ของฟั นมาทั้งชี วิตของผม ที่ผ่านมาผมไม่รู้ดว้ ยซํ้าไปว่า ฟันกระทบกันตอนไหน คู่มือแนวทางการทํางาน

หน้ า 110


เครื อข่ ายกลุ่มสัจจะสะสมทรั พย์ เพื่อพัฒนาคุณธรรมครบวงจรชีวิต นครศรี ธรรมราช

แต่การเคี้ยวครั้งนั้น เปลี่ยนชี วิตผมไปอย่างสิ้ นเชิ ง การเคี้ยวครั้งนั้น มันเหมื อน ราวกับว่า ฟ้ า ถล่ ม ดิ น ทลาย ผมรั บรู ้ ถึ งการสั่นสะเทื อนไปทั้ง ร่ า งกายจากการ กระทบกันของฟันครั้งนั้น “เท่านั้นยังไม่พอ ผมรู ้สึกสว่างไปทั้งใจ ในใจมันสว่าง มันโล่ง มันเบาอย่าง บอกไม่ ถู ก ผมเงยหน้า ขึ้ น มองไปรอบ ๆ ก็ย่ิง ทํา ให้ผมแปลกใจขึ้ น ไปอี ก ผม มองเห็นอะไรได้ชดั กว่าเดิ มทั้ง ๆ ที่ ผมสวมแว่นสายตาสั้น 300 ผมไม่แน่ ใจ จึง ถอดแว่นออก ความชัดก็ไม่ต่างจากที่สวมแว่นเลย ผมดี ใจจนนํ้าตาไหล แต่พอ เห็นความดีใจ จิตใจก็กลับมาสงบเย็นได้แทบจะในขณะเดียวกัน “ผมนําเรื่ องนี้ มาเล่าให้ท่านประธานฟังในเย็นวันนั้นเอง ท่านบอกว่า “จิต ของเธอเริ่ มตื่นขึ้นแล้วที่เขาเรี ยกว่า ผูต้ ื่น นัน่ แหละ อย่าไปยินดีติดใจกับมัน วาง ความยินดี ติดใจ พอใจ กับความรู ้สึกแบบนั้น อย่าอยากได้มนั อีก เพราะอีกสักพัก มันจะดับไป รี บเร่ งความเพียร ฝึ กซ้อมให้เยอะ ๆ” ผมกราบขอบคุณท่านประธาน แล้วก็กล่าวลาไปทํางานในหน้าที่ต่อ “ความเปลี่ ยนแปลงที่เกิ ดกับผมหลังจากเกิ ดเหตุ การณ์วนั นั้นคือ ผมเริ่ ม รู ้สึกเฉย ๆ กับความโกรธ ความหงุดหงิด ที่เกิดขึ้นในใจตัวเองได้แล้ว เริ่ มรู ้สึกว่า โกรธ ก็ตวั หนึ่ ง เราผูด้ ูความโกรธก็เป็ นตัวหนึ่ ง มันไม่ปนกันเลย และก็ไม่ได้ทุกข์ กับความโกรธ ความหงุดหงิด มากนัก ชี วิตผมเบากว่าแต่ก่อนเยอะ มาถึงตอนนี้ ความเหนื่ อ ยล้าที่ เกิ ดจากการทํางานแทบจะไม่ มีเลย ไปไหน มาไหน ผมมี แ ต่ คู่มือแนวทางการทํางาน

หน้ า 111


เครื อข่ ายกลุ่มสัจจะสะสมทรั พย์ เพื่อพัฒนาคุณธรรมครบวงจรชีวิต นครศรี ธรรมราช

ความเบา ความโล่ง ชี วิตผมเริ่ มยอดเยี่ยมขึ้นมากกว่าตอนมาทํางานกับกลุ่มใหม่ๆ มากเลยทีเดียว “อย่างไรก็ตาม ผมก็ไม่หยุดเฝ้าสังเกตการณ์เคลื่อนไหวของร่ างกาย และ หลังจากวันนั้น ดูเหมือนว่า ผมจะสังเกตเห็นความรู ้สึกที่มากระทบใจได้ชดั ขึ้น ทุกวัน ๆ

ผู้เบิกบาน “หลังจากไปพบกับท่านประธานในวันนั้น ผมก็กลับมาใช้ชีวิตตามปกติ ทําการงานตามหน้าที่ตามปกติ แต่ส่ิ งที่เพิ่มเข้ามาคือ การสังเกตเห็ นความรู ้ สึก ที่มากระทบใจได้เร็ วขึ้น และก็ดบั ได้เร็ วขึ้น บางทีแทบจะในขณะเดี ยวกันกับที่ ความรู ้สึกนั้นกระทบใจเลยทีเดี ยว มันยิ่งทําให้ผมต้องทนทุกข์กบั ความรู ้สึกนั้น น้อยลง ๆ บางทีแทบจะไม่ตอ้ งทนเลย เพราะมันดับทันทีที่รู้สึก “ผมฝึ กดู ก ารดับ ของความรู ้ สึ ก แบบนี้ อยู่ร าวหนึ่ งเดื อ น วัน หนึ่ ง เรื่ อ ง มหัศจรรย์กเ็ กิดขึ้น วันนั้นขณะกําลังนัง่ พิจารณาเงินกูอ้ ยู่ ผมสังเกตเห็นความรู ้สึก ขุ่น ๆ มัว เริ่ มก่ อตัวขึ้นในใจผม มันเริ่ มจะกลายเป็ นความมื ดในใจ ตอนนั้นมัน คู่มือแนวทางการทํางาน

หน้ า 112


เครื อข่ ายกลุ่มสัจจะสะสมทรั พย์ เพื่อพัฒนาคุณธรรมครบวงจรชีวิต นครศรี ธรรมราช

เหมือนกับใจผมชําเลืองไปมองความมืดนั้น ในใจก็สว่างออกทันที ตอนนั้นผมก็ ไม่แน่ใจว่ามันคืออะไร “เหตุ การณ์น้ ี เริ่ มเกิ ดขึ้นบ่ อย ทุกครั้ งที่ ความมื ดก่ อ ตัวขึ้ นในใจ พอรู ้ ปุ๊ป ความมือก็กลายเป็ นความสว่างทันที ตอนนี้ ในใจผมทํางานแบบนี้ เป็ นอัตโนมัติ เลย จิตมันทํางานของมันเอง ผมไม่ตอ้ งเอาความคิด เอาเหตุผลไปสัง่ จิตเลยตั้งแต่ บัดนั้นเป็ นต้นมา “ตอนนี้ ชี วิตผมมี แต่ รอยยิ้มน้อย ๆ ในใจเบ่ งบานอยู่ตลอดเวลาครับ ผม ไม่ได้สงสัย และผมก็ไม่ได้ไปถามท่านประธานว่ามันคืออะไร และผมก็ไม่ได้ อยากรู ้ว่ามันจะชื่ อว่าอะไร ผมรู ้แต่ว่า ในใจผมอยู่ห่างจากความทุกข์ ผมก็พอใจ แล้ว ผมไม่ ได้ส นใจแม้กระทัง่ ว่า จะเป็ นอาริ ยะบุ คคล ตามที่ ห มู่ บ้า นของเรา ต้องการพัฒนาสมาชิกให้เป็ นหรื อไม่” พอชายหนุ่ มเล่ามาถึงตอนนี้ พวกเราทุกคนที่มีคาํ ถามมากมายที่เก็บไว้ใน ใจและคิดจะถาม ก็ปิดปากสนิ ท เพราะลึก ๆ ในใจ พวกเราก็รู้สึกละอาย เพราะที่ ผ่านมา พวกเราไปศึกษาดูงาน ต่างก็ไปเพื่อเก็บข้อมูล อยากมีความรู ้ที่เป็ นการไป จําเอาของคนอื่นมาเยอะ ๆ จะได้ไปเล่าอวดคนโน้น คนนี้ เพื่อโชว์ว่าตัวเองรู ้เยอะ แต่พอได้ฟังผูช้ ายคนนี้ เล่า เราก็เริ่ มมีความคิดว่า กลับไปคงต้องไปลงมือทําอะไร แบบเป็ นจริ งเป็ นจังซะที ไม่ง้ นั ก็คงจะมีแต่ความรู ้มือสอง ที่ดบั ทุกข์ไม่ได้แบบนี้ ไปจนตาย คู่มือแนวทางการทํางาน

หน้ า 113


เครื อข่ ายกลุ่มสัจจะสะสมทรั พย์ เพื่อพัฒนาคุณธรรมครบวงจรชีวิต นครศรี ธรรมราช

หลังจากผูช้ ายเล่าเรื่ องราวชี วิตของตัวเองจบ ต่อมาผูห้ ญิงที่นง่ั ข้าง ๆ กันก็ เป็ นฝ่ ายเล่าบ้าง แทบไม่น่าเชื่อ ที่เรื่ องราวของทั้งสอง แทบจะไม่ต่างกันเลย เรามา รู ้ ที ห ลัง ว่ า ทั้ง สองใช้ชี วิ ต ร่ ว มกัน แบบสามี ภ รรยา แต่ ต่ า งจากคู่ อื่ น ตรงที่ อยู่ ด้วยกันแบบไม่มีลูก ทั้งคู่เล่าว่า มาใช้ชีวิตร่ วมกัน เพื่อจะช่วยเหลือกันและกันใน การเดินทางไปสู่ การดับทุกข์ พวกเราได้ฟังแบบนั้น ก็ย่ิงทึ่งและอัศจรรย์ใจ และ ละอายแก่ใจตนเองมากเข้าไปอีก เมื่อฟั งเรื่ องราวของทั้งคู่จบลง ก็เป็ นเวลาพักกิ นข้าวกลางวัน แต่ก่อนจะ แยกย้ายกันไปกินข้าว ฝ่ ายหญิงเป็ นคนบอกพวกเราว่า “ช่วงบ่าย เป็ นช่วงที่สาํ คัญ เพราะท่านประธานจะเล่าความเป็ นมาของการสร้างกลุ่มขึ้นในหมู่บา้ น ท่านจะได้ รู ้วา่ 30 ปี ของการสร้างหมู่บา้ นใหม่ดว้ ยการใช้กลุ่มเป็ นเครื่ องมือ ได้ผา่ นอะไรมา บ้าง” เธอแนะนําเสร็จ ก็เชิญพวกเราไปกินข้าวในโรงอาหารที่เรานัง่ กินเมื่อเช้านี้ พุทธะแห่ งหมู่บ้านอาริยะ หลังจากนัง่ คุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างคณะผูด้ ูศึกษางานของพวก เราราวครึ่ งชั่วโมง ก็ได้เวลาที่ พ วกเราจะเข้าไปนั่งในศาลาอี กครั้ งเพื่ อฟั งท่ า น ประธานกลุ่ม เล่าถึงความเป็ นมาของการสร้างกลุ่มในหมู่บา้ นแห่ งนี้ น่าแปลกใจที่ท่านประธานมานัง่ รอพวกเราอยูก่ ่อนแล้ว ผิดกับการไปดูงาน ในที่ อื่น ๆ ที่ พวกเราต้องมานั่งกันให้พร้ อมกัน แล้วจะมีโฆษกมากล่าวประวัติ คู่มือแนวทางการทํางาน

หน้ า 114


เครื อข่ ายกลุ่มสัจจะสะสมทรั พย์ เพื่อพัฒนาคุณธรรมครบวงจรชีวิต นครศรี ธรรมราช

ผูน้ ําของพวกเขาก่ อน แล้วจึ งจะกราบเรี ยนท่ านผูเ้ ป็ นประธานออกมานําเสนอ เรื่ องราว แต่ที่นี่ เราได้พบกับความเรี ยบง่าย ไม่มีพิธีรีตองใด ๆ ทุกอย่างเป็ นไป แบบง่าย ๆ เป็ นกันเอง เมื่อพวกเรามานัง่ กันพร้อมแล้ว ท่านก็เริ่ มเล่าเรื่ องการสร้าง หมู่บา้ นใหม่ โดยใช้กลุ่มเป็ นเครื่ องมือ “มาพร้อมกันหรื อยัง” ท่านกล่าวถามในเชิงทักทายด้วยความเมตตา เมื่อได้ ยินเสี ยงตอบจากพวกเราตอบพร้อมกันเบา ๆ ว่าพร้อมแล้ว ท่านก็เริ่ มเล่าด้วยเสี ยง อันดัง แต่เป็ นเสี ยงที่ฟังแล้วรู ้สึกอบอุ่น ท่านเล่าว่า

หมู่บ้านอาริยะ 3 ระดับ “เราจะไม่ใช้เวลาตรงนี้ มาก เพราะช่ วงบ่ายคนฟั งคงจะง่ วง” ท่านเริ่ มเล่า “เอาว่าฟั งพอเป็ นแนวทาง และที่สาํ คัญ เรื่ องราวตรงนี้ ไม่ใช่ เรื่ องตายตัว แต่ละ กลุ่ม แต่ละหมู่บา้ นคงจะมีพฒั นาการที่แตกต่างกันไป” ท่านหยุดมองหน้าพวกเรา ครู่ หนึ่ง ก่อนจะเล่าต่อไปว่า “หากจะแบ่งช่วงการสร้างหมู่บา้ นขึ้นใหม่ ในหมู่บา้ นเดิม แต่ใช้เครื่ องมือ ใหม่ คือกลุ่ มสัจจะ ที่ เราใช้เป็ นเครื่ องมื อนี้ หากจะแบ่ งโดยเปรี ยบกับการปลูก ต้นไม้ โดยแบ่งเป็ น 3 ช่ วงก็คงจะได้ดงั นี้ คือ (1)เพาะเมล็ด (2)เจริ ญเติบโต และ (3)ผลิดอกออกผล ต่อไปเราจะชี้ให้เห็นว่า ในช่วงเพาะเมล็ด ช่วงเจริ ญเติบโต และ คู่มือแนวทางการทํางาน

หน้ า 115


เครื อข่ ายกลุ่มสัจจะสะสมทรั พย์ เพื่อพัฒนาคุณธรรมครบวงจรชีวิต นครศรี ธรรมราช

ช่วงผลิดอกออกผล ของการสร้างหมู่บา้ นใหม่น้ ี เราทําอะไรบ้าง และเกิดอะไรขึ้น บ้าง รวมทั้งพอจะบอกได้คร่ าว ๆ ว่า ทําอะไรเมื่อไหร่ และเกิดขึ้นเมื่อไหร่ เพาะเมล็ด “ตอนนั้น ย้อ นไปราว 30 ปี ที่ แ ล้ว หลัง จากที่ เราไปฝึ กอบรมหลักสู ต ร เศรษฐกิจพอเพียง ซึ่ งเป็ นหลักสู ตรเศรษฐกิจพอเพียงที่แตกต่างไปจากการฝึ กของ ที่ อื่ น ๆ ในที่ นั่น ประโยคเดี ย วที่ เ ปลี่ ย นความคิ ด ของเราก็ คื อ ประโยคที่ ท่ า น ทั้งหลายได้ยินไปแล้วนั่นแหละ ประโยคนั้นก็คือ “พี่มีเงิ น เอาไปฝากธนาคาร น้องไม่มีเงิ นไปกูธ้ นาคาร ดอกผลที่เกิ ดจากเงินของเรา ไปสร้างความรํ่ารวยให้ ธนาคาร ทําให้ธนาคารรวยขึ้น ๆ ชาวบ้านมีแต่จนลง ๆ “หลังจากกลับมาจากการอบรมครั้งนั้น เราก็เอาแนวคิดนี้ มาเล่าให้เพื่อน บ้านที่สนิทกันฟัง แม้จะมีบางคนเห็นด้วย บางคนไม่เห็นด้วย แต่เราก็คุยเรื่ องนี้ ไม่ หยุด เล่าอยูห่ ลายเดือน จนความคิดนี้ กระจายไปสู่เพื่อน ๆ ในหมู่บา้ นหลายสิ บคน เราจึงรวมตัวกันตั้งกลุ่มนี้ ข้ ึน โดยออกเงินคนละ 100 บาทให้เป็ นกองกลาง แล้ว สมาชิกชุ ดเริ่ มต้นก็ให้สจั จะว่า จะสะสมเงินกันเป็ นประจําเดือนละ 100 บาท วัน นั้นเอง จึงเป็ นวันเริ่ มต้นของกลุ่มเรา เมื่ อ 30 ปี ที่แล้ว เมล็ดพันธุ์ที่เราไปรับมา ได้รับการหว่านลงบนหมู่บา้ นเรา และเริ่ มงอกขึ้นเมื่อ 30 ปี ที่แล้ว

คู่มือแนวทางการทํางาน

หน้ า 116


เครื อข่ ายกลุ่มสัจจะสะสมทรั พย์ เพื่อพัฒนาคุณธรรมครบวงจรชีวิต นครศรี ธรรมราช

“ปี แรกของการทํา งาน เต็มไปด้วยปั ญหาอุ ปสรรค แต่ สมาชิ กของเราก็ ช่วยกันแก้ปัญหา เพราะเรามารวมกันสร้างกลุ่ม ด้วยความเห็นที่ตรงกัน ผ่านการ นัง่ คุยกันมาหลายรอบ จนเข้าใจกันดี เราผ่านปี แรกมาได้ดว้ ยดี จนขึ้นปี ที่ 2 เราเริ่ ม มีความมัน่ ใจที่จะรับคนใหม่เข้ามาเป็ นสมาชิก เรามีความเชื่อมัน่ ว่า กลุ่มเราพร้อม แล้วที่จะเจริ ญเติบโต เราจึงประกาศรับสมาชิก หลังจากใช้เวลาวางแผนรับสมาชิก เป็ นเวลาหลายเดือน “สําหรับสมาชิ กเก่ าที่ เป็ นชุ ดก่ อตั้ง ทุ กคนต่ างต้อ งรั บผิด ชอบดู ใจ และ พัฒนาจิตใจของตนเอง ตามคู่มือที่เราได้มาจากการฝึ กอบรมในครั้งนั้น มีปัญหา อะไรเราก็มาแลกเปลี่ ยนความคิด เห็ น กัน จนสมาชิ กของเรามี จิต ใจหนักแน่ น พอที่จะดูแลคนใหม่ได้ ส่ วนสถานะทางการเงินของกลุ่ม เราไม่กงั วลเลย เพราะ สมาชิกรุ่ นก่อตั้งของเรา ทุกคนมาเพื่อสร้างกลุ่มให้เติบโต เงินกองทุน ทั้งกองทุน สัจจะ และกองทุนสวัสดิการ จึงเติบโตเข้มแข็งขึ้นตามเวลาที่ผา่ นไป ที่สาํ คัญคือ คนใหม่ที่เราจะรับเข้ามา เป็ นโจทย์ใหญ่สาํ หรับเราว่า ทําอย่างไรจึงจะช่วยเขาได้ เจริญเติบโต “วันรับสมาชิ ก มีผูส้ นใจในหมู่บา้ นของเรานับร้ อยคนเข้ามาร่ วมฟั งการ ชี้ แจงแนวทางการทํางานของกลุ่ม จากประสบการณ์ทาํ งานมา 1 ปี ทําให้การ ชี้ แจงของเรามี ความชัดเจน ตอบคําถามของผูส้ นใจได้ทุกคนถาม มี คนสนใจ คู่มือแนวทางการทํางาน

หน้ า 117


เครื อข่ ายกลุ่มสัจจะสะสมทรั พย์ เพื่อพัฒนาคุณธรรมครบวงจรชีวิต นครศรี ธรรมราช

จํานวนมาก และคนในหมู่บา้ นของเราก็สมัครเข้ากลุ่มเป็ นจํานวนมาก แต่มีบา้ งที่ ไม่สนใจและกลับบ้านไป มีจาํ นวนหนึ่งที่บอกว่าสนใจ แต่ยงั ไม่พร้อม “ในการรั บ สมัค รสมาชิ กปี แรก กลุ่ มเรามี สมาชิ ก เพิ่ ม อี ก 100 คน รวม สมาชิกเก่ากับสมาชิกใหม่ตอนนี้ กเ็ ป็ น 1 ใน 10 ของคนในหมู่บา้ นเราแล้ว ตอนนี้ กลุ่มเราเริ่ มมีพลังในการทํางานแล้ว คนมากขึ้น เงินที่มารวมกันก็มากขึ้น ทุนที่จะ ให้สมาชิกได้กูย้ ืมไปประกอบอาชีพก็มีมากแล้ว ความเติบโตของกลุ่มเริ่ มเห็นได้ ชัดแล้ว แต่งานหนักคือ คนมากขึ้น เรื่ องก็มากขึ้น การพัฒนาคนก็ตอ้ งทําหนักขึ้น ทําให้การพัฒนาคนใหม่ตอ้ งใช้เวลานานขึ้น การรับสมาชิกใหม่ในปี ถัดไป จึงยัง ไม่มี เพราะต้องใช้เวลาพัฒนาสมาชิ กนานกว่ารุ่ นแรกนับปี แม้ว่าการเติบโตด้าน จิตใจ จะค่อยเป็ นค่อยไป แต่การเติบโตทางด้านเศรษฐกิจของกลุ่มเรา กลับเป็ นที่ น่าพอใจ “หมู่บา้ นของเราเริ่ มมีส่ิ งใหม่ ๆ เข้ามาจําหน่ ายโดยสมาชิ กของเราเอง เช่น ถัว่ งอกปลอดสารที่สมาชิกของเราเพาะเอง หมู่บา้ นของเราเริ่ มเพาะเห็ดไว้กินเอง ในครัวเรื อน บางครัวเรื อนเหลือก็เอามาแลกเปลี่ยนกันในวันทําการกลุ่ม ส่ วนด้าน สวัสดิการ กลุ่มของเราก็เริ่ มให้สวัสดิการเด็กเกิดใหม่ สวัสดิการคนแก่ สวัสดิการ คนป่ วยนอนโรงพยาบาล และสวัสดิการช่วยเหลืองานศพสมาชิ กที่เสี ยชี วิต แม้ว่า จะเป็ นจํานวนเงินไม่มาก แต่ก็ถือว่าทําได้ และได้ทาํ ในสิ่ งที่ชาวบ้านไม่เคยทําได้ เลยตั้งแต่มีหมู่บา้ นขึ้นมาในประเทศของเรา คู่มือแนวทางการทํางาน

หน้ า 118


เครื อข่ ายกลุ่มสัจจะสะสมทรั พย์ เพื่อพัฒนาคุณธรรมครบวงจรชีวิต นครศรี ธรรมราช

“เราทําแบบนี้ อยูน่ บั 10 ปี เปิ ดรับสมาชิกใหม่เป็ นระยะ ๆ ตามความพร้อม ของเรา จนกระทัง่ ผ่านมาสิ บกว่าปี นับจากวันตั้งกลุ่ม กลุ่มเราจึงพอจะกล่าวได้ว่า อยู่ในช่ วงการเจริ ญเติ บโตเต็มที่ เพราะคนในหมู่ บา้ นเข้าเป็ นสมาชิ กของกลุ่ ม เกือบร้อยเปอร์เซ็นต์แล้ว ปัญหาหลายอย่างที่เกิดขึ้น เราก็แก้ไขจนชํานาญ และไม่ คิดว่ามันเป็ นปั ญหาอีกต่อไป สมาชิ กของเราหันมาทําอาชี พที่ไม่ทาํ ลายสุ ขภาพ มากขึ้น บางครัวเรื อนปลูกผักปลอดสารพิษไว้กินเอง เหลือก็เอามาจําหน่ ายในวัน ทําการกลุ่ม ส่ วนครัวเรื อนที่ทาํ นา ก็หนั มาปลูกข้าวปลอดสารพิษ ครัวที่ทาํ สวนก็ เปลี่ยนจากปุ๋ ยเคมี มาใช้น้ าํ หมักที่กลุ่มเราสอนให้ทาํ และก็เรื่ องอื่ น ๆ อีกหลาย เรื่ องที่หมู่บา้ นเราหันมาพึ่งตนเอง จากที่สมัยก่อนที่จะมีกลุ่ม เราต้องซื้ อทุกอย่าง จากตลาด “ถึงตอนนี้ เราคงพอจะกล่าวได้ว่า กลุ่มของเรากําลังเข้าสู่ ช่วงผลิดอกออก ผล หลังจากผ่านการเจริ ญเติบโตมาแล้วกว่าสิ บปี ระยะผลิดอกออกผล เป็ นระยะ ที่ใคร ๆ ก็รอคอย เปรี ยบเหมือนกับต้นไม่ คือไม่ตอ้ งทํางานหนักมาก แต่ได้เก็บ เกี่ยวผลตลอด กลุ่มของเราก็เช่นกัน ผลิดอกออกผล “ระยะเวลาที่กลุ่มให้ดอกให้ผลอย่างเต็มเม็ดเต็มหน่ วย เกิ ดขึ้นเมื่อเราตั้ง กลุ่มแล้วมา 20 ปี เพราะตอนนั้นคนในหมู่บา้ นของเรา เป็ นสมาชิ กกลุ่มเต็มร้อย คู่มือแนวทางการทํางาน

หน้ า 119


เครื อข่ ายกลุ่มสัจจะสะสมทรั พย์ เพื่อพัฒนาคุณธรรมครบวงจรชีวิต นครศรี ธรรมราช

เปอร์ เซ็น ต์ กองทุ น สวัสดิ การของกลุ่ มเราก็มีจาํ นวนมากพอที่ จะดู แลสมาชิ ก ทั้งหมด ตอนนั้น สมาชิกรุ่ นแรก ๆ ที่ออมเงินเข้ากองทุนสัจจะถึงจํานวนที่กาํ หนด ไว้ ก็ไม่ตอ้ งส่งเงินสัจจะรายเดือนแล้ว สมาชิกชุดนี้ จึงเป็ นเหมือนคนที่นงั่ คอยเก็บ ดอกผล จากต้นไม้ที่ตวั เองปลูกไว้อย่างเดียว “ต่อมาอีกไม่กี่ปี สมาชิกที่เหลือก็ส่งสัจจะถึงยอดที่ต้ งั ไว้ แล้วก็ไม่ตอ้ งส่ ง สัจจะรายเดือนอีกต่อไป ระยะนี้ กลุ่มเราทํางานเบาลง มีเวลามาพัฒนาตนเอง และ สมาชิกมากขึ้น เราคงพูดได้เต็มปากว่า กลุ่มของเราผลิดอกออกผลได้เต็มที่เมื่อเรา ตั้งกลุ่มผ่านมาแล้ว 25 ปี สิ่ งที่เราสังเกตเห็นได้ชดั คือคนในหมู่บา้ นเรา หรื อจะว่า สมาชิกของกลุ่มเราก็วา่ ได้ เพราะเป็ นคนคนเดียวกัน พวกเขามีความเครี ยดน้อยลง จากแต่ก่อนที่เอาจริ งเอาจังไปทุกเรื่ อง ถึ งตอนนี้ สมาชิ กของหมู่บา้ นเราทุกคน หน้าตายิม้ แย้มแจ่มใส ไปไหนมาไหนก็มีแต่ความสุข “ตอนนี้ นอกจากสมาชิ กของเราไม่ ตอ้ งส่ งสัจจะรายเดื อนแล้ว กองทุ น คุม้ ครองชีวิตสมาชิ ก ที่สมาชิ กต้องส่ งทุกปี เพื่อช่วยเหลือสมาชิ กที่เสี ยชี วิต ก็ไม่ ต้องส่ งมาหลายปี แล้ว ผูอ้ าวุโสของเราที่ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ ก็มาอยูท่ ี่ศูนย์ดูแล ผูส้ ู งอายุของเราในหมู่บา้ นของเรา จะมาอยู่แบบไปกลับ หรื อจะมานอนที่ศูนย์ก็ ได้ มากินมาอยูฟ่ รี ได้เลย ถ้าเสี ยชีวิต จะให้กลุ่มเราจัดการศพให้กไ็ ด้ “ในศู น ย์น้ ี นอกจากจะดู แ ลผูส้ ู ง อายุแ ล้ว เด็ก เล็ก ๆ จะมาวิ่ ง เล่ น ตอน กลางวัน หรื อพ่อแม่จะเอามาฝากไว้ทางศูนย์ของเราก็มีพี่เลี้ยงดูแล มีอาสาสมัคร คู่มือแนวทางการทํางาน

หน้ า 120


เครื อข่ ายกลุ่มสัจจะสะสมทรั พย์ เพื่อพัฒนาคุณธรรมครบวงจรชีวิต นครศรี ธรรมราช

มาเรี ยนรู ้ และมาดูแลตลอด เด็กเล็ก มาอยูก่ บั คนแก่ ๆ เขาเข้ากันได้ดีมาก คนแก่ก็ ไม่เดียวดายอีกต่อไป อีกไม่นานเราก็คงจะได้ใช้บริ การศูนย์ของเราเหมือนกัน” ท่านประธานหยุดมองหน้าสมาชิ กกลุ่มและคณะพวกเราอยู่ครู่ หนึ่ ง ก่อน จะกล่าวสรุ ปว่า “การทํางาน 30 ปี จะว่านานก็นาน จะว่าไม่นานก็ไม่นาน สําหรับ เรา 30 ปี ที่ผา่ นมานั้น มันเหมือนกับเพิ่งผ่านไปเมื่อวานนี้ เอง เพราะเราทํางานด้วย ความสุ ข เราสนุกกับการทํางานทุกวัน พอเงยหน้าขึ้นอีกทีก็ ผ่านไป 30 ปี แล้ว เรา หวังว่า เรื่ องราวนี้ จะเป็ นประโยชน์กบั ท่านทั้งหลายบ้าง ไม่มากก็นอ้ ย” ท่านกล่าวจบแล้ว ก็มองมาทางพวกเรา เหมือนจะเปิ ดโอกาสให้ถาม หลาย คนถามคําถามในรายละเอียดการทํางาน สมาชิกกลุ่มท่านหนึ่ งชี้แจงว่า “วันต่อไป เราพาไปดู ก ารทํา งานจริ ง ของกลุ่ ม ในวัน ทํา การสัจ จะ วัน พิ จ ารณาเงิ น กู้ วัน ประชุมสรุ ปงาน สําหรับวันนี้ เราจะให้ท่านทั้งหลายไปพักผ่อน เดินชมวิถีชุมชน ในหมู่บา้ นของเรา แล้วกลับมากินข้าวเย็นด้วยกันที่เดิมนะคะ” พวกเราพยัก หน้ า รั บ ทราบ แล้ว ตัว แทนของเราก็ ก ล่ า วขอบคุ ณ ท่ า น ประธานและสมาชิ กที่ให้ขอ้ มูล และตอบคําถามที่คา้ งคาใจมาตั้งแต่เข้าหมู่บา้ นนี้ มาทุกคําถาม พวกเราหลายคนอยากจะเห็นการทํางานของชาวบ้านจริ ง ๆ ว่า จะ เป็ นอย่างไร เราแทบจะอดใจรอพรุ่ งนี้ ไม่ไหวแล้ว การทํางานแบบอาริยะ คู่มือแนวทางการทํางาน

หน้ า 121


เครื อข่ ายกลุ่มสัจจะสะสมทรั พย์ เพื่อพัฒนาคุณธรรมครบวงจรชีวิต นครศรี ธรรมราช

จากเรื่ องเล่าที่นาํ เสนอไปข้างต้น คงจะทําให้เราเห็นภาพของหมู่บา้ นอาริ ยะ และอาริ ยะบุคคล ซึ่ งเป็ นจุดหมายปลายทางของเครื อข่ายกลุ่ มสัจจะสะสม ทรัพย์เพื่อพัฒนาคุณธรรมครบวงจรชี วิต จังหวัดนครศรี ธรรมราชแล้วว่า หมู่บา้ น อาริ ยะ น่ า อยู่เพี ยงใด และอาริ ยะบุ คคลที่ เป็ นสมาชิ กของหมู่บ้า น เป็ นคนที่ มี ความสุ ขขนาดไหน ในบทต่อไป เราจะพาไปเรี ยนรู ้แนวทางการทํางานของเครื อข่ายกันว่า เขา มีแนวทางการทํางานอย่างไร โดยเรื่ องราวก็จะเป็ นเรื่ องเล่าเช่ นเดี ยวกับในบทนี้ โดยจะจําลองเหตุการณ์ว่า คณะผูศ้ ึกษาดูงาน ไปดูการทํางานจริ งของกลุ่มสัจจะ กลุ่มหนึ่ งที่เป็ นสมาชิกของเครื อข่าย เพราะจะทําให้เห็นภาพการทํางานได้ชดั เจน ยิง่ กว่า การบรรยายที่ไม่มีตวั บุคคล ส่ วนจะชัดเจนมากน้อยแค่ไหน ขอให้ท่านติดตามได้ในบทต่อไป

คู่มือแนวทางการทํางาน

หน้ า 122


เครื อข่ ายกลุ่มสัจจะสะสมทรั พย์ เพื่อพัฒนาคุณธรรมครบวงจรชีวิต นครศรี ธรรมราช

บทที่ 5 การทํางานของเครื อข่ าย (สําหรับใช้พดู ในการอบรมกรรมการ หรื อสมาชิกทั้งเก่าและใหม่)

ในบทที่ผา่ นเรามาได้พาท่านทั้งหลายไปดูหมู่บา้ นของกลุ่มสัจจะที่ไปถึงจุดหมาย ปลายทางแล้วนัน่ คือ หมู่บา้ นอาริ ยะ และได้ไปรู ้จกั กับบุคคลที่เป็ นอาริ ยะบุคคล ตัวเป็ น ๆ ที่เป็ นสมาชิ กของกลุ่มสัจจะในหมู่บา้ นแห่ งนั้นแล้ว ตอนนี้ เราจะไปดู การทํางานของกลุ่มสัจจะโดยอาริ ยะบุคคลในหมู่บา้ นนั้นว่า เขาทํางานกันอย่างไร คู่มือแนวทางการทํางาน

หน้ า 123


เครื อข่ ายกลุ่มสัจจะสะสมทรั พย์ เพื่อพัฒนาคุณธรรมครบวงจรชีวิต นครศรี ธรรมราช

วิธีการนําเสนอก็จะเป็ นการเล่าเรื่ องจําลองเหตุการณ์การไปดูงานของคณะ ศึกษาดูงานจากบทที่แล้วซึ่งเป็ นการเดินเรื่ องต่อจากบทที่แล้ว โดยจะแบ่งการไปดู งานเป็ น 7 วัน คื อ (1)วัน ทํา การสัจจะ (2)วัน ประชุ ม สรุ ปงาน (3)วัน ประชุ ม พิจารณาเงิ น กู้ (4)วัน ทํา สัญญาเงิ น กู้ (5)วัน ประชุ มกรรมการเครื อ ข่ า ย (6)วัน ประชุ มใหญ่กลางปี และ (7)วันประชุ มใหญ่ ปันผลประจําปี ของกลุ่ มสัจจะใน หมู่บา้ นที่อยูใ่ นตําบลถัดไปของอําเภอเดียวกัน รายละเอียดจะเป็ นอย่างไร ขอเชิญติดตามเรื่ องราวที่จะนําเสนอต่อไปนี้ วันทําการกลุ่มสั จจะ เช้าวันนี้ ตรงกับวันทําการกลุ่มสัจจะของหมู่บา้ น หลังจากกิ นข้าวเช้ากัน เสร็จแล้ว ผูป้ ระสานงานกลุ่มก็แจ้งเราว่า “เวลาทําการสัจจะ จะเริ่ มตั้งแต่บ่ายโมง จนถึงบ่ายสามโมง ช่ วงเช้าขอให้คณะผูศ้ ึกษาดูงาน ไปเยี่ยมชมหมู่บา้ น เยี่ยมชม ศูนย์ดูแลผูส้ ู งอายุและเด็ก ได้ตามใจชอบ เอาไว้บ่ายโมงค่อยไปพบ ณ ที่ทาํ การ กลุ่มที่พวกเราเคยเดินไปดูแล้วเมื่อวาน” พวกเรารับทราบ และแยกย้ายกันไป หลังกิ นข้าวเที่ ยงเสร็ จ พวกเราเดิ นมาพร้ อมกันบริ เวณที่ ทาํ การกลุ่ ม ซึ่ ง ดัดแปลงศาลาวัดของหมู่บา้ นขึ้นเป็ นที่ทาํ การ โต๊ะที่พวกเรานัง่ ฟังการบรรยายเมื่อ วาน ถูกนํามาวางเป็ นที่ทาํ งานของกรรมการ มีกล่องไม้ขนาด 1 ฟุตแบบมีฝาเปิ ด คู่มือแนวทางการทํางาน

หน้ า 124


เครื อข่ ายกลุ่มสัจจะสะสมทรั พย์ เพื่อพัฒนาคุณธรรมครบวงจรชีวิต นครศรี ธรรมราช

ปิ ดได้ พร้ อ มที่ ค ล้อ งกุ ญ แจวางอยู่บ นโต๊ ะ มี ป้ า ยกระดาษแปะหน้ า กล่ อ งว่ า “สัจจะ” ถัดมาเป็ นโต๊ะที่มีกล่องไม้แบบเดียวกัน แต่มีป้ายกระดาษแปะไว้ว่า เงินกู้ เลยไปอีกมุมหนึ่ งของโต๊ะ เป็ นโต๊ะทําการของสวัสดิการ แต่ละจุดมีกรรมการนัง่ คอยให้บริ การสมาชิ กอยู่ พวกเราจึ งเดิ นเข้าไปที่จุดทีมีป้ายแปะไว้หน้ากล่องว่า สัจจะ เป็ นจุดแรก เราเดาว่า ตรงนี้ คงจะให้คาํ ตอบเราได้เรื่ องการส่ งสัจจะ

การส่ งสั จจะ ช่วงนี้ เป็ นช่ วงที่ยงั ไม่มีสมาชิ กมาติ ดต่อที่ โต๊ะนี้ พวกเราจึ งยกเก้าอี้ มานั่ง หน้ากรรมการที่นงั่ ประจําโต๊ะนี้ กรรมการที่นงั่ ประจําโต๊ะนี้ เราเคยเห็นหน้าแล้ว เมื่อวาน เรากล่าวทักทายกันแล้วกรรมการคนนั้นก็กล่าวขึ้นว่า “ตอนนี้ เราไม่ มีการส่ งสัจจะแล้ว โต๊ะนี้ ต้ งั ไว้เพื่อให้สมาชิ กได้มาพบปะ พูดคุยกับกรรมการมากกว่า วันนี้ เราจึงมีเวลาคุยกันอย่างเต็มที่” พวกเราพยักหน้า รับทราบ แล้วพวกเราคนหนึ่ งก็ถามขึ้นว่า “อยากให้อธิ บายเรื่ องการส่ งสัจจะให้ ฟั ง หน่ อ ย” พอดี มี ส มาชิ ก กลุ่ ม สั จ จะของหมู่ บ้า นคนหนึ่ งเข้า มานั่ ง สมทบ คู่มือแนวทางการทํางาน

หน้ า 125


เครื อข่ ายกลุ่มสัจจะสะสมทรั พย์ เพื่อพัฒนาคุณธรรมครบวงจรชีวิต นครศรี ธรรมราช

กรรมการจึงหันหน้ามาทางพี่ที่มาใหม่แล้วพูดว่า “พี่บ่าวช่วยเล่าเรื่ องการส่ งสัจจะ ที่พี่เคยส่งให้คณะผูด้ ูงานฟังหน่อยค่ะ” เมื่ อพี่บ่าวผูม้ าใหม่นั่งเรี ยบร้ อย แล้วตอบก็ว่า “ยินดี ครับ” แล้วเริ่ มเล่าว่า “ตอนนั้นครัวผมมี พ่อ แม่ ผม เมียผม ลูก 2 คน รวมครัวเราเป็ นสมาชิ กสัจจะ 6 คน มีสมุดสัจจะในครัวผม 6 เล่ม ผมส่ งสัจจะเล่มละ 50 บาท รวมเดือนหนึ่ ง ครัว ผมส่งเดือนละ 300 บาท” พี่บ่าวคนนั้นหยุดทบทวนความจําครู่ หนึ่ ง ทําให้พวกเรา มีโอกาสถามแทรกขึ้นว่า “กลุ่มมีกาํ หนดไหมว่าต้องส่ งคนละกี่ บาทต่อเดื อน” พี่บ่าวตอบว่า “กลุ่ม กําหนดให้ส่งได้ต้ งั แต่คนละ 10 บาท แต่ไม่เกิ น 100 บาทต่อเดื อน ต่อคนครับ” แล้วก็อธิ บายต่อไปว่า สมาชิ กต้องมาส่ งสัจจะด้วยตัวเอง ยกเว้นมีเหตุจาํ เป็ น ให้ แจ้งกรรมการแล้วมอบหมายให้ผอู ้ ื่นมาส่งแทนได้ “สมาชิ กต้องเตรี ยมเงิ นมาให้พอดี พร้ อมทั้งเขียนสมุดสัจจะให้เรี ยบร้อย แล้วนํา เงิ น และสมุ ด ใส่ ถุ ง พลาสติ ก มาหยอดลงในกล่ อ งสัจจะ ที่ ว างอยู่ห น้า กรรมการนี้ และสมาชิ ก ต้อ งมาส่ ง ให้ทนั เวลาทํา การ ไม่ อ ย่า งนั้น จะต้อ งเสี ย ค่าปรับ เท่าจํานวนที่ได้ตกลงกันไว้ครับ” พวกเราคนหนึ่ งถามในเชิ งที เล่นที จริ งว่า “พี่บ่าวเคยเสี ยค่าปรับไหม” พี่ บ่าวตอบแบบอารมณ์ดีว่า “เคยเสี ยสิ ครับ” แกเล่าต่อว่า “วันนั้นสุ ดวิสยั จริ ง ๆ รถ เครื่ องเสี ย แบตโทรศัพท์กห็ มด เลยมาไม่ทนั เวลาทําการ แต่ก็ยินดีเสี ยครับ วันนั้น คู่มือแนวทางการทํางาน

หน้ า 126


เครื อข่ ายกลุ่มสัจจะสะสมทรั พย์ เพื่อพัฒนาคุณธรรมครบวงจรชีวิต นครศรี ธรรมราช

ผมเสี ยไป 120 บาท เพราะกลุ่มเขาคิดเล่มละ 20 บาท อีกอย่างเงินที่เราเสี ย ก็ไม่ได้ ไปไหน กรรมการเขาเอาไปเข้ากองทุนสวัสดิการของพวกเราเองครับ ก็ถือเสี ยว่า เราได้ทาํ บุญกับหมู่บา้ นของเราเองครับ” พวกเราได้ฟังแล้วรู ้สึกชื่นชมพี่บ่าวในใจ กล่าวขอบคุณพี่บ่าว แล้วเราก็นงั่ คุยกันถามสารทุกข์สุขดิบพี่บ่าวต่ออีกนิ ดหน่ อย ก่อนที่จะลาจากกันพี่บ่าวเล่าด้วย ความภูมิใจอีกว่า “ลูกบ่าวผมนิ ได้อยู่อย่างมี ความสุ ขทุกวันนี้ ก็เพราะกลุ่มเรานี่ แหละครับ กลุ่มให้ทุนไปเรี ยนการดูแลผูส้ ู งอายุ กลับมาก็มาทํางานกับกลุ่ม และกลุ่มก็ไม่ได้ ใช้งานฟรี ครับ มีค่าตอบแทนให้ดว้ ย แม้จะไม่มากเท่าไปทํางานจ้างในเมือง แต่ก็ ได้อยู่บา้ น ได้ดูแลพ่อแม่ และได้ดูแลพ่อเฒ่ า แม่เฒ่ า ที่ ตอนนี้ ไปอยู่ที่ศูนย์ดูแล ผูส้ ูงอายุของหมู่บา้ นเราแล้วครับ” พวกเรากล่าวขอบคุณพี่บ่าว แล้วแกก็เดิ นไปคุยกับเพื่อนบ้านที่ โต๊ะอื่น ๆ พวกเราคนหนึ่ งหยิบสมุดบันทึกมาสรุ ปเรื่ องการส่ งสัจจะไว้สน่ั ๆ ว่า ระเบียบการส่ งสัจจะ 1. ส่งสัจจะได้ต้ งั แต่ 10 บาท ถึง 100 บาท ต่อคน ต่อเดือน 2. สมาชิกในครัวเรื อนต้องมาส่งด้วยตัวเอง ยกเว้นมีเหตุจาํ เป็ น ให้โทรแจ้ง กรรมการ แล้วสามารถมอบหมายให้ผมู ้ าส่งแทนได้ 3. สมาชิกต้องเตรี ยมเงินที่ตอ้ งส่งแต่ละเดือนมาให้พอดี คู่มือแนวทางการทํางาน

หน้ า 127


เครื อข่ ายกลุ่มสัจจะสะสมทรั พย์ เพื่อพัฒนาคุณธรรมครบวงจรชีวิต นครศรี ธรรมราช

4. สมาชิกต้องเขียนสมุดมาให้เรี ยบร้อยก่อนนํามาส่ ง 5. สมาชิกต้องมาส่ งให้ทนั เวลาทําการ 13.00 – 15.00 น. 6. กรณี มาส่ งไม่ทนั เวลาทําการ ต้องเสี ยค่าปรับเล่มละ 20 บาท 7. กรณี สมาชิกขาดส่ งสัจจะตั้งแต่ 3 เดือน จะถูกลงโทษตัดสวัสดิการ เมื่ อได้ขอ้ สรุ ปเรื่ องการส่ งสัจจะแล้ว เราก็เดิ นไปที่ โต๊ะที่มีป้ายแปะหน้า กล่องว่า เงินกู้ การส่ งเงินกู้ ผิดจากโต๊ะสัจจะ โต๊ะเงินกูม้ ีสมาชิกมารออย่างคึกคัก แต่ก็ไม่ถึงกับต้องรอ คิว สมาชิ กทยอยกันมาเป็ นระยะ ๆ จึ งทําให้พวกเรามี โอกาสเข้าไปซักถามกับ กรรมการที่วา่ งอยู่ พวกเรากล่ าวทักทายกันตามปกติ เพราะเคยเห็ นหน้ากันมาแล้วเมื่อวาน เช่ นกัน พวกเราคนหนึ่ งถามขึ้นว่า “การส่ งเงิ นกูน้ ้ ี เหมือนกับการส่ งสัจจะไหม ครับ” กรรมการคนนั้นตอบขึ้นว่า “มีท้ งั เหมือนกัน และต่างกันครับ” แล้วอธิ บาย ต่อไปว่า “ที่เหมือนกัน ก็คือ ต้องมาส่ งด้วยตัวเอง หรื อมอบหมายคนอื่นมาส่ งแทน ก็ได้ ต้อ งมาส่ งให้ทนั เวลาทําการ ถ้า มาไม่ทนั ก็จะเสี ยค่า ปรั บเล่ มละ 20 บาท คู่มือแนวทางการทํางาน

หน้ า 128


เครื อข่ ายกลุ่มสัจจะสะสมทรั พย์ เพื่อพัฒนาคุณธรรมครบวงจรชีวิต นครศรี ธรรมราช

เหมือนกัน และต้องเตรี ยมเงินมาให้พอดีสาํ หรับการส่ งแต่ละเดือนด้วย” ยังไม่ทนั ที่กรรมการจะพูดต่อ พวกเราก็ใจร้อนอยากรู ้จึงถามขึ้นว่า “แล้วที่ต่างกันละพี่” กรรมการท่าทางใจดี ยิ้มเล็กน้อย แล้วตอบว่า “ก็จาํ นวนเงิ นที่ตอ้ งส่ งครับ ไม่เหมือนกับการส่ งสัจจะแน่ นอน เงินต้นส่ งคืนที่จะต้องส่ งแต่ละเดื อน และค่า บํารุ งแต่ละเดือน ก็เป็ นไปตามที่กาํ หนดไว้ในสัญญาเงินกูค้ รับ” พวกเราคนหนึ่ ง อดสงสัยไม่ได้ จึงถามขึ้นอีกว่า “แล้วกรณี คนที่ขาดส่ งไปมากกว่าหนึ่ งเดื อนหละครับ ทางกลุ่มมีมีวิธีการ จัดการอย่างไร” พี่กรรมการเงินกูต้ อบอย่างอารมณ์ดีวา่ “ถามดีมากครับ เรื่ องแบบ นี้ เรามีวิธีการจัดการที่ได้ผลมากครับ เป็ นวิธีแบบชาวบ้าน ๆ แต่เอาไว้ไปคุยกัน ในรายละเอียดในวันประชุมสรุ ปงานดีกว่าครับ จะได้มีเวลาอธิ บายในรายละเอียด ให้มากขึ้น พวกเราพยักหน้ารับทราบแต่ก็เต็มไปด้วยความอยากรู ้ในแววตา พวกเรา คนหนึ่ งที่ทาํ หน้าที่จดประเด็น ได้หยิบสมุดบันทึกขึ้นมา แล้วเขียวสรุ ปเรื่ องการ ส่งเงินกูไ้ ว้วา่ ระเบียบการส่ งเงินกู้ 1. สมาชิกต้องส่ งเงินต้น และค่าบํารุ ง ตามที่ระบุไว้ในสัญญาเงินกู้ 2. สมาชิ กผูก้ ูเ้ งิ นต้องมาส่ งเงิ นด้วยตัวเอง ยกเว้นมีเหตุจาํ เป็ น ให้โทรแจ้ง กรรมการ แล้วสามารถมอบหมายให้ผอู ้ ื่นมาส่งแทนได้ คู่มือแนวทางการทํางาน

หน้ า 129


เครื อข่ ายกลุ่มสัจจะสะสมทรั พย์ เพื่อพัฒนาคุณธรรมครบวงจรชีวิต นครศรี ธรรมราช

3. สมาชิกต้องเตรี ยมเงินที่ตอ้ งส่งแต่ละเดือนมาให้พอดี 4. สมาชิกต้องเขียนสมุดมาให้เรี ยบร้อยก่อนนํามาส่ ง 5. สมาชิกต้องมาส่ งให้ทนั เวลา 13.00 – 15.00 น. 6. กรณี มาส่งไม่ทนั เวลาทําการ ต้องเสี ยค่าปรับเล่มละ 20 บาท ระหว่างที่พวกเรากําลังจะย้ายไปโต๊ะจ่ายสวัสดิการ กรรมการคงสังเกตเห็น ความอยากรู ้เรื่ องการติดตามเงินกูใ้ นแววตาของพวกเรา จึงยืน่ เอกสารแผ่นหนึ่งมา ให้ผบู ้ นั ทึกข้อมูลของเราได้เก็บไว้ เอกสารนั้นมีขอ้ ความว่า ระเบียบการติดตามหนี้ ในเดื อ นนั้น ถ้า มี ส มาชิ ก คนหนึ่ งคนใด ไม่ ส ามารถมาส่ ง เงิ น กู้ไ ด้ด้ว ย ตนเอง ให้กรรมการปฏิบตั ิดงั นี้ 1. ติดต่อผูค้ ้ าํ ประกัน เพื่อให้มาส่งงวดเงินกูใ้ นเดือนนั้นแทน 2. ถ้าติดต่อผูค้ ้ าํ ไม่ได้ ให้กรรมการคุยกับผูท้ ี่ตอ้ งการจะกูใ้ นเดือนนั้น เพื่อ ชําระค่างวดในเดือนนั้นแทน 3. สมาชิ กที่ขาดส่ งเงินกูต้ ้ งั แต่ 3 เดื อน ในรอบปี นั้น จะถูกตัดสวัสดิการที่ ระบุในสัญญาเงินกู้ และถูกลดยอดเงินกูใ้ นครั้งต่อไป 4. เงินกองทุนคุม้ ครองชีวิตที่สมาชิ กจะได้เมื่อเสี ยชี วิต ต้องนํามาหักหนี้ ที่ สมาชิกคนนั้นค้างกลุ่มก่อน จึงจะสามารถนําไปส่ งมอบให้ทายาทได้ คู่มือแนวทางการทํางาน

หน้ า 130


เครื อข่ ายกลุ่มสัจจะสะสมทรั พย์ เพื่อพัฒนาคุณธรรมครบวงจรชีวิต นครศรี ธรรมราช

เมื่ อได้ขอ้ สรุ ปเรื่ อ งการส่ ง เงิ นกู้แล้ว พวกเราก็เดิ นต่ อ ไปยัง โต๊ ะที่ ถือ ว่า คึกคักที่สุดในวันทําการสัจจะของหมู่บา้ นวันนี้ เราไปนัง่ หลังกรรมการที่มีกล่องที่ มีป้ายแปะไว้หน้ากล่องว่า “สวัสดิการ” ผูบ้ นั ทึกข้อมูลของเราเก็บเอกสารใส่กระเป๋ า ก่อนที่จะเดินตามพวกเรามาที่ โต๊ะจ่ายสวัสดิ การ โต๊ะนี้ กรรมการให้บริ การสมาชิ กตลอดเวลา จนแทบจะไม่มี เวลามาคุยกับพวกเรา แต่เราก็พอจะเข้าใจได้ว่า สมาชิกมารับสวัสดิการอะไรบ้าง ในวันนี้ การรับสวัสดิการ คนแรกที่ ม ารั บ สวัส ดิ ก ารในวัน นี้ เป็ นพี่ บ่ า วคนหนึ่ ง อายุอ ยู่ใ นราววัย กลางคน พอพี่บ่าวนัง่ ลง กรรมการก็ทกั ขึ้นว่า “สวัสดีพี่ เป็ นอะไรคะ ออกจากโรง บาลวันไหน ดูหน้าตาสดใสขึ้นกว่าวันก่อนที่ น้องเจอมากเลยนิ ” พี่บ่าวคุยอย่าง เป็ นกันเองว่า “ออกมาเมื่อวาน วันนี้ พี่เตรี ยมเอกสารมาครบเลย น้องตรวจแลที ว่า ถูกต้องม่าย” กรรมการตรวจดูเอกสารด้วยใบหน้าที่ยมิ้ แย้มแจ่มใส พลางคุยกับพี่บ่าวคน นั้นว่า “พี่นอนโรงพยาบาลทั้งหมด 10 คืน ถูกไหมคะ” พี่บ่าวนั่งนึ กเหมื อนจะ นับวันในใจแล้วตอบว่า “ถูกแล้วน้อง เอกสารที่โรงพยาบาลให้พี่มา ถูกต้องตาม ระเบี ย บกลุ่ มเราม่ า ย” น้อ งกรรมการก้มดู อ ย่า งละเอี ยดแล้วตอบว่า “ไปนอน โรงพยาบาลตามที่กลุ่มเรากําหนด เอกสารถูกต้องพี่” แล้วพูดต่อว่า คู่มือแนวทางการทํางาน

หน้ า 131


เครื อข่ ายกลุ่มสัจจะสะสมทรั พย์ เพื่อพัฒนาคุณธรรมครบวงจรชีวิต นครศรี ธรรมราช

“กลุ่มเราให้เบิกค่านอนโรงพยาบาลปี ละ 30 วันต่อปี ปี นี้ พี่เพิ่งมาเบิกเป็ น ครั้งแรกจํานวน 10 วัน ก็ยงั ไม่เกินกําหนดที่กลุ่มจ่ายให้ วันนี้ พี่เบิก 10 วัน กลุ่มคิด ให้วนั ละ 1,500 รวมเป็ นเงิน 15,000 บาท พี่รอสักเดี๋ยวนะ น้องจะเตรี ยมเงินให้” พี่บ่าวนัง่ รอไม่ถึง 5 นาที น้องกรรมการก็เอาเงินมาวางต่อหน้าให้พี่บ่าวนับ แล้วลงชื่ อรับเงิ นไป ก่ อนเดิ นจากไปน้องกรรมการพูดในเชิ งหยอกเย้าแบบคน คุน้ เคยกันว่า “พี่ยงั เหลือสิ ทธิ์ เบิกค่านอนโรงพยาบาลอีก 20 วันนะคะ” พี่บ่าวตอบ แบบอารมณ์ ดี ว่า “ไม่ เ อาแล้วน้อ งเห้อ พอแล้ว ปกติ พี่ไม่ ไข้นิ แต่ คราวนี้ เหตุ สุดวิสยั จริ ง ๆ เพื่อนเข้รถมาตําเรานิ หลีกไม่พน้ จริ ง ๆ” ก่อนพี่บ่าวคนนี้ จะเดิ นพ้นไป ก็มีคุณยายคนหนึ่ งเดิ นเข้ามาหากรรมการ สวัสดิการที่นงั่ ข้าง ๆ กัน “กรรมการคนนั้นกล่าวทักทายอย่างเป็ นกันเองว่า “หวัด ดีครับยาย เงินเดือนเมื่อเดือนที่แล้วหมดแล้วยัง” ยายตอบว่า “ยายจ่ ายหมดทุกเดื อนนิ แต่ส่วนใหญ่ไม่ได้ซ้ื อไรกิ นหรอก นอกจากหมากพลูแล้ว ยายก็ทาํ บุญ แหม ตั้งเดือนละ 3,000 บาท คนแก่อย่างยาย ใช้หมดคนเดียวก็คงเกินไป” ยายหยุดหายใจครู่ หนึ่ งแล้วพูดต่อว่า “ตอนนี้ ยายไม่ห่วงอะไรแล้ว เดี๋ยวอีก ไม่กี่วนั ยายคิดว่าจะมานอนที่ ศูนย์ดูแลคนแก่ ของบ้านเราแล้ว จะได้มีเพื่อนคุย ตอบ” ยายพูดอย่างอารมณ์ดี ในขณะที่กรรมการยืน่ เงินให้ยายนับ ยายลงชื่อรับเงิน

คู่มือแนวทางการทํางาน

หน้ า 132


เครื อข่ ายกลุ่มสัจจะสะสมทรั พย์ เพื่อพัฒนาคุณธรรมครบวงจรชีวิต นครศรี ธรรมราช

ในเอกสาร หยิบ เงิ น ใส่ ก ระเป๋ า แล้วก็ลุ กขึ้ น เดิ น จากไป คุ ย กับเพื่ อ นบ้า น ใน บริ เวณนั้น หลังจากนั้นอีกไม่นาน ก็มีสมาชิ กคู่หนึ่ ง ท่าทางคงจะเป็ นสามีภรรยากัน ถือเอกสารหลายใบมานัง่ ลงหน้ากรรมการแล้วยื่นเอกสารให้ดู กรรมการคนนั้น พูดทักทายอย่างคุน้ เคยว่า “หวัดดีน้อง คนหญิง หรื อคนชาย” สมาชิ กคู่น้ นั ตอบ แทบจะพร้อมกันด้วยสายตาเป็ นประกายว่า “คนหญิงพี่ 3 โล 8” กรรมการยืน่ มือไปรับเอกสารมาดู แล้วเดินไปหยิบสมุดสัจจะ จากโต๊ะข้าง ๆ มากรอกรายละเอียดบางอย่างแล้วพูดว่า “กลุ่มเราเปิ ดสมุดให้หลานเกิดใหม่คน ละ 1,000 บาทนะ น้องจะส่ งให้ลูกเดือนละกี่ บาท” สามีภรรยาคู่น้ นั มองหน้าสัก แวบหนึ่งแล้วพูดว่า “น้องจะส่ งสะสมให้ลูกเดือนละ 100 บาทพี่” พอกรรมการกรอกรายละเอียดเสร็ จ ก็ยื่นสมุดสัจจะให้สมาชิ กคู่น้ ัน ทั้ง สองยกมื อไหว้ขอบคุณ ก่ อนฝ่ ายหญิ งจะยื่นมื อมารับสมุดจากกรรมการ กล่ าว ขอบคุณด้วยความซาบซึ้ งใจในกลุ่ม แล้วก็ลุกขึ้นเดินจากไป หลังจากนั้นจนถึงเวลาหยุดทําการของกลุ่มคือเวลาบ่ายสามโมงเย็น ก็มี สมาชิ กทยอยกัน มารั บสวัสดิ การนอนโรงพยาบาล อี ก 1 ราย และสวัสดิ การ ผูส้ ูงอายุ อีกหลายราย ส่ วนสวัสดิการเด็กแรกเกิด มีเพียงรายเดียว ซึ่ งกรรมการรู ้ดี อยูแ่ ล้ว พวกเราได้รับการบอกเล่าจากกรรมการสวัสดิการว่า “วันนี้ สมาชิ กมารับ สวัสดิการครบแล้ว มีอะไรจะสอบถามเพิ่มเติมไหมครับ” คู่มือแนวทางการทํางาน

หน้ า 133


เครื อข่ ายกลุ่มสัจจะสะสมทรั พย์ เพื่อพัฒนาคุณธรรมครบวงจรชีวิต นครศรี ธรรมราช

พวกเราไม่ได้ถามอะไร เพราะเข้าใจแจ่มแจ้งแล้วจากการดู ของจริ ง และ แอบสอบรายถามรายละเอี ยดอื่นๆ จากกรรมการหลังไมค์ พวกเราคนเดิ มที่ ทาํ หน้าที่จดบันทึกประเด็นสําคัญ หยิบสมุดบันทึกขึ้นมาแล้วบันทึกลงในสมุดเล่ม นั้นว่า

ระเบียบการรับสวัสดิการเด็กเกิด 1. กลุ่มจ่ายสวัสดิการเด็กแรกโดยเปิ ดสมุดให้ 1,000 บาท แต่ไม่สามารถ ถอนเป็ นเงินสดได้ จนกว่าเด็กจะมีอายุครบ 15 ปี บริ บูรณ์ 2. บิดา หรื อมารดา ที่เป็ นสมาชิกต้องมารับสวัสดิการด้วยตัวเอง 3. บิดา หรื อมารดา ที่เป็ นสมาชิกต้องนําสู ติบตั ร (ใบเกิด) ตัวจริ งมาแสดง ต่อกรรมการผูจ้ ่ายสวัสดิการด้วย 4. บิดา หรื อมารดา ที่เป็ นสมาชิก ต้องให้สจั จะว่าจะส่ งสัจจะให้บุตรตั้งแต่ 10 – 100 บาท ต่อเดือน ระเบียบการรับสวัสดิการนอนโรงพยาบาล คู่มือแนวทางการทํางาน

หน้ า 134


เครื อข่ ายกลุ่มสัจจะสะสมทรั พย์ เพื่อพัฒนาคุณธรรมครบวงจรชีวิต นครศรี ธรรมราช

1. กลุ่มจ่ายค่านอนโรงพยาบาลให้ในอัตรา 1,500 บาทต่อคืน ไม่เกิ น 30 วัน ต่อปี 2. กลุ่มจ่ายให้เฉพาะการนอนโรงพยาบาลตามที่กลุ่มกําหนดเท่านั้น 3. ต้องนําใบรับรองแพทย์ตวั จริ งมาประกอบการเบิกเงิน 4. ผู ้ป่ วยอาจมาเบิ ก สวัส ดิ ก ารนอนโรงพยาบาลด้ว ยตัว เอง หรื อให้ ผูร้ ับผิดชอบมาเบิกสวัสดิการแทนก็ได้ ระเบียบการรับสวัสดิการผู้สูงอายุ 1. เงินสวัสดิการผูส้ ูงอายุ จ่ายให้เดือนละ 3,000 บาท จนกว่าจะเสี ยชีวิต 2. เงินสวัสดิการผูส้ ู งอายุ จะจ่ายให้เฉพาะสมาชิ กกลุ่มสัจจะผูส้ ู งอายุที่อยู่ บ้านตัวเอง หรื ออาศัยอยูก่ บั ลูกหลานเท่านั้น 3. การรั บเงิ นสวัสดิ การผูส้ ู งอายุ สมาชิ กจะมารั บเอง หรื อให้ผูอ้ ื่ นมารับ แทนก็ได้ 4. สมาชิ กผูส้ ู งอายุที่มาอยู่ในการดูแลแบบประจําที่ศูนย์ดูแลผูส้ ู งอายุ จะ ไม่ได้รับเงินสวัสดิการนี้ การเฝ้าสังเกตการณ์การทํางานของกลุ่มสัจจะของหมู่บา้ นในวันนี้ ได้สาระ ครบถ้วนแล้ว ช่วงบ่ายวันนั้น พวกเราก็เลยเดินออกไปชมตลาดนัด ในบริ เวณวัน คู่มือแนวทางการทํางาน

หน้ า 135


เครื อข่ ายกลุ่มสัจจะสะสมทรั พย์ เพื่อพัฒนาคุณธรรมครบวงจรชีวิต นครศรี ธรรมราช

ทําสัจจะ มีของกิ นพื้นบ้านที่สมาชิ กทํามาขายหลายอย่าง ทั้งขนมจีน ขนมกล้วย ผัดหมี่ ไข่เป็ ดไล่ทุ่ง ข้าวหลาม และของกินอื่น ๆ อีกหลายอย่าง พวกเราเลยจัดไป คนละอย่างสองอย่าง วันนี้ พวกเราคงไม่ตอ้ งกินข้าวเย็นกันแล้วกระมัง ตกเย็นหลังจากอาบนํ้า กิ น ข้า วแล้ว พวกเราได้มานั่ง ล้อ มวง คุ ยกัน ใน บริ เวณศาลาหลังเดิมที่เราพบกันวันแรก เราคุยกันสัพเพเหระ จนเวลาเกื อบสาม ทุ่ ม ผูป้ ระสานงานกลุ่ ม ก็ พู ด ว่า “วัน นี้ คงได้เ วลาที่ พ วกเราจะแยกย้า ยกัน ไป พักผ่อน วันพรุ่ งนี้ จะเป็ นวันประชุมสรุ ปงานประจําเดือน เราเริ่ ม 10 โมงเช้า คืนนี้ พักผ่อนก่อนนะคะ แล้วเจอกันพรุ่ งนี้ ” หลังจากนั้น พวกเราก็แยกย้ายกันเข้านอน พวกเราหลายคนคุยกันก่อนจะ หลับไปในคืนนั้นว่า การประชุมสรุ ปงานแบบกลุ่มสัจจะ จะเป็ นยังไงน๊อ อยากรู ้ จริ ง ๆ วันประชุ มสรุ ปงาน เช้าวันนี้ อากาศสดใส เมื่อคืนฝนตกพรํา ๆ ตลอดคืน วันนี้ พวกเราตื่นแต่ เช้าเพื่อไปช่วยแม่ครัวเก็บผัก มาทํากับข้าว วันนี้ พวกเราช่วยแม่ครัวทิ่มนํ้าชุบ เก็บ ผักสดมากินกับนํ้าชุบ เก็บยอดเขลียงมาทําแกงเลียง ส่ วนผักกูด และนํ้าเต้า เราเอา มาลวกนํ้าทิ คู่มือแนวทางการทํางาน

หน้ า 136


เครื อข่ ายกลุ่มสัจจะสะสมทรั พย์ เพื่อพัฒนาคุณธรรมครบวงจรชีวิต นครศรี ธรรมราช

สาย ๆ วันนั้น หลังจากกิ นข้าวเช้าเรี ยบร้อยแล้ว เราก็มาช่วยกันจัดสถานที่ ประชุมสรุ ปงาน โดยจัดโต๊ะแบบหันหน้าเข้าหากันเป็ นรู ปสี่ เหลี่ยมผืนผ้า แล้วเอา เก้าอี้มาวาง เท่านั้นห้องประชุมก็เรี ยบร้อย กรรมการและพวกเรามานัง่ คุยกัน รอ ประชุมกันตั้งแต่เก้าโมงครึ่ งแล้ว

การไหว้ พระสวดมนต์ พอสิ บโมงเช้า การประชุมก็เริ่ มขึ้น ด้วยการนําทุกคนไหว้พระ สวดมนต์ พร้อมคําแปลภาษาไทยว่า “นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต

ขอนอบน้อมแด่พระผูม้ ีพระภาคเจ้า

อะระหะโต

ซึ่งเป็ นผูไ้ กลจากกิเลศ

สัมมา สัมพุทธธัสสะ

ตรัสรู ้ชอบได้โดยพระองค์เอง

พุทธัง ภะคะวันตัง อภิวาเทมิ

ข้าพเจ้าอภิวาทพระผูม้ ีพระภาคเจ้า ผูร้ ู ้ ผูต้ ื่น ผูเ้ บิกบาน (กราบ)

สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม

พระธรรมที่พระผูม้ ีพระภาคเจ้า ตรัสไว้ดีแล้ว

คู่มือแนวทางการทํางาน

หน้ า 137


เครื อข่ ายกลุ่มสัจจะสะสมทรั พย์ เพื่อพัฒนาคุณธรรมครบวงจรชีวิต นครศรี ธรรมราช

ธัมมัง นะมัสสามิ

ข้าพเจ้านมัสการพระธรรม (กราบ)

สุปะติปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ พระสงฆ์สาวกของพระผูม้ ีพระภาคเจ้า ปฏิบตั ิดีแล้ว สังฆัง นะมามิ

ข้าพเจ้านอบน้อมพระสงฆ์ (กราบ)

อิธะ ภิกขะเว อะริ ยะสาวะโก ปฏิจจะสมุปปาทัญเญวะ สาธุกงั โยนิโส มะนะสิ กะโรติ ภิกษุท้ งั หลาย อริ ยสาวกในธรรมวินยั นี้ ย่อมกระทําไว้ในใจ โดยแยบคาย เป็ นอย่างดีดี ซึ่งปฏิจจะสมุปบาทนัน่ เทียว ดังนี้ วา่ อิมสั มิง สะติ อิทงั โหติ

เมื่อสิ่ งนี้ สิ่ งนี้ ยอ่ มมี

อิมสั สุปปาทา อิทงั อุปัชชะติ

เพราะความเกิดขึ้นแห่ งสิ่ งนี้ สิ่ งนี้ จึงเกิดขึ้น

อิมสั มิง อะสะติ อิทงั นโหติ

เมื่อสิ่ งนี้ ไม่มี สิ่ งนี้ ยอ่ มไม่มี

อิมสั สะ นิโรธา อิทงั นิรุชฌะติ เพราะความดับไปแห่ งสิ่ งนี้ สิ่ งนี้ จึงดับไป คู่มือแนวทางการทํางาน

หน้ า 138


เครื อข่ ายกลุ่มสัจจะสะสมทรั พย์ เพื่อพัฒนาคุณธรรมครบวงจรชีวิต นครศรี ธรรมราช

อิธะ ตะถาคะโต โลเก อุปปันโน อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ เอง ธัมโม จะ เทสิ โต นิ ยยานิ โก

พระตถาคตเจ้า เกิดขึ้นแล้วในโลกนี้ เป็ นผูไ้ กลจากกิเลส ตรัสรู ้ชอบได้โดยพระองค์ และพระธรรมที่ทรงแสดง เป็ นธรรมเครื่ องออกจากทุกข์

อุปะสะมิโก ปะริ นิพพานิ โก เป็ นเครื่ องสงบกิเลส, เป็ นไปเพื่อ ปริ นิพพาน สัมโพธะคามี สุ คะตัปปะเวทิโต เป็ นไปเพื่อความรู ้พร้อม, เป็ นธรรมที่พระสุคต ประกาศ มะยันตัง ธัมมัง สุตว๎ า เอวัง ชานามะ พวกเราเมื่อได้ฟังธรรมนั้นแล้ว, จึงได้รู้ อย่างนี้ วา่ ชาติปิ ทุกขา แม้ความเกิดก็เป็ นทุกข์ ชะราปิ ทุกขา แม้ความแก่กเ็ ป็ นทุกข์ มะระณัมปิ ทุกขัง แม้ความตายก็เป็ นทุกข์ โสกะปะริ เทวะทุกขะโทมะนัสสุ ปายาสาปิ ทุกขา แม้ความโศก ความรํ่าไรรําพัน ความไม่สบายกาย ความไม่สบายใจ ความคับ แค้นใจ ก็เป็ นทุกข์ อัปปิ เยหิ สัมปะโยโค ทุกโข ก็เป็ นทุกข์ ปิ เยหิ วิปปะโยโค ทุกโข คู่มือแนวทางการทํางาน

ความประสบกับสิ่ งไม่เป็ นที่รัก ที่พอใจ ความพลัดพรากจากสิ่ งเป็ นที่รัก ที่พอใจ ก็เป็ น หน้ า 139


เครื อข่ ายกลุ่มสัจจะสะสมทรั พย์ เพื่อพัฒนาคุณธรรมครบวงจรชีวิต นครศรี ธรรมราช

ทุกข์ ยัมปิ จฉัง นะ ละภะติ ตัมปิ ทุกขัง มีความปรารถนาสิ่ งใด ไม่ได้สิ่งนั้น นัน่ ก็เป็ น ทุกข์ สังขิตเตนะ ปัญจุปาทานักขันธา ทุกขา ว่าโดยย่อ อุปาทานขันธ์ท้ งั ๕ เป็ น ตัวทุกข์ เสยยะถีทงั ได้แก่ส่ิ งเหล่านี้ คือ รู ปูปาทานักขันโธ ขันธ์ อันเป็ นที่ต้งั แห่งความยึดมัน่ คือรู ป เวทะนูปาทานักขันโธ ขันธ์ อันเป็ นที่ต้งั แห่งความยึดมัน่ คือเวทนา สัญ�ูปาทานักขันโธ ขันธ์ อันเป็ นที่ต้งั แห่งความยึดมัน่ คือสัญญา สังขารู ปาทานักขันโธ ขันธ์ อันเป็ นที่ต้งั แห่งความยึดมัน่ คือสังขาร วิญญาณูปาทานักขันโธ ขันธ์ อันเป็ นที่ต้งั แห่งความยึดมัน่ คือวิญญาณ เยสัง ปะริ ญญายะ เพื่อให้สาวกกําหนดรอบรู ้ อุปาทานขันธ์ เหล่านี้ เอง ธะระมาโน โส ภะคะวา จึงพระผูม้ ีพระภาคเจ้านั้น เมื่อยังทรงพระชนม์อยู่ เอวัง พะหุลงั สาวะเก วิเนติ

ย่อมทรงแนะนําสาวกทั้งหลาย, เช่นนี้เป็ นส่ วนมาก

เอวัง ภาคา จะ ปะนัสสะ ภะคะวะโต สาวะเกสุ อะนุสาสะนี พะหุลา ปะวัตตะติ คู่มือแนวทางการทํางาน

หน้ า 140


เครื อข่ ายกลุ่มสัจจะสะสมทรั พย์ เพื่อพัฒนาคุณธรรมครบวงจรชีวิต นครศรี ธรรมราช

อนึ่งคําสัง่ สอนของพระผูม้ ีพระภาคเจ้านั้น ย่อมเป็ นไปในสาวกทั้งหลาย, ส่วนมาก มีส่วน คือการจําแนกอย่างนี้ วา่ รู ปัง อะนิจจัง รู ปไม่เที่ยง เวทะนา อะนิจจา เวทนาไม่เที่ยง สัญญา อะนิจจา สัญญาไม่เที่ยง สังขารา อะนิ จจา สังขารไม่เที่ยง วิญญาณัง อะนิ จจัง วิญญาณไม่เที่ยง รู ปัง อะนัตตา รู ปไม่ใช่ตวั ตน เวทะนา อะนัตตา เวทนาไม่ใช่ตวั ตน สัญญา อะนัตตา สัญญาไม่ใช่ตวั ตน สังขารา อะนัตตา สังขารไม่ใช่ตวั ตน วิญญาณัง อะนัตตา วิญญาณไม่ใช่ตวั ตน สัพเพ สังขารา อะนิจจา สังขารทั้งหลายทั้งปวง ไม่เที่ยง สัพเพ ธัมมา อะนัตตาติ ธรรมทั้งหลายทั้งปวง ไม่ใช่ตวั ตน, ดังนี้ เต (ตา) มะยัง โอติณณามะหะ พวกเราทั้งหลายเป็ นผูถ้ ูกครอบงําแล้ว ชาติยา โดยความเกิด ชะรามะระเณนะ โดยความแก่และความตาย โสเกหิ ปะริ เทเวหิ ทุกเขหิ โทมะนัสเสหิ อุปายาเสหิ โดยความโศก ความรํ่าไรรําพัน ความไม่สบายกาย ความไม่สบายใจ ความคับ แค้นใจทั้งหลาย คู่มือแนวทางการทํางาน

หน้ า 141


เครื อข่ ายกลุ่มสัจจะสะสมทรั พย์ เพื่อพัฒนาคุณธรรมครบวงจรชีวิต นครศรี ธรรมราช

ทุกโขติณณา เป็ นผูถ้ ูกความทุกข์หยัง่ เอาแล้ว ทุกขะปะเรตา เป็ นผูม้ ีความทุกข์เป็ นเบื้องหน้าแล้ว อัปเปวะนามิมสั สะ เกวะลัสสะ ทุกขักขันธัสสะ อันตะกิริยา ปัญญาเยถาติ ทําไฉนการทําที่สุดแห่งกองทุกข์ท้งั สิ้นนี้, จะพึงปรากฏชัดแก่เราได้ จิระปะริ นิพพุตมั ปิ ตัง ภะคะวันตัง สะระณังคะตา เราทั้งหลาย ผูถ้ ึงแล้วซึ่งพระผูม้ ีพระภาคเจ้า แม้ปริ นิพพานนานแล้วพระองค์น้ นั เป็ นสรณะ ธัมมัญจะ สังฆัญจะ ถึงพระธรรมด้วย ถึงพระสงฆ์ดว้ ย ตัสสะ ภะคะวะโต สาสะนัง, ยะถาสะติ, ยะถาพะลัง มะนะสิ กะโรมะ อะนุปะฏิปัชชามะ จักทําในใจอยู่ ปฏิบตั ิตามอยู่ ซึ่ งคําสัง่ สอนของพระผูม้ ีพระภาคเจ้านั้น ตามสติกาํ ลัง สา สา โน ปะฏิปัตติ ขอให้ความปฏิบตั ิน้ นั ๆ ของเราทั้งหลาย อิมสั สะ เกวะลัสสะ ทุกขักขันธัสสะ อันตะกิริยายะ สังวัตตะตุ จงเป็ นไปเพื่อการทําที่สุด แห่ งกองทุกข์ท้ งั สิ้ นนี้ เทอญ” เมื่อนําสวดมนต์จบ ประธานได้พากรรมการนัง่ สมาธิ เพื่อทําใจให้สะอาด ปลอดโปร่ งจากความคิดฟุ้งซ่าน ด้วยการนัง่ ดูลมหายใจราว 15 นาที คู่มือแนวทางการทํางาน

หน้ า 142


เครื อข่ ายกลุ่มสัจจะสะสมทรั พย์ เพื่อพัฒนาคุณธรรมครบวงจรชีวิต นครศรี ธรรมราช

หลังออกจากสมาธิ ท่านประธานก็กล่าวทักทายกรรมการ และคณะผูศ้ ึกษา ดู งานของเราอย่างเป็ นกันเอง ทุกคนมี ใบหน้ายิ้มแย้มแจ่มใส ไม่มีร่องรอยของ ความเครี ยดเหมื อ นการประชุ มอื่ น ๆ ที่ เราเคยเจอมา โดยเฉพาะการประชุ มผู ้ บริ การในองค์กรภายนอก หลังจากกล่าวทักทายเสร็ จ กรรมการที่ทาํ หน้าที่รับผิดชอบด้านสัจจะ ก็มา รายงานยอดเงิ น กองทุ น สัจจะ กรรมการกองทุ น สวัสดิ การ ก็รายงานยอดเงิ น กองทุนสวัสดิ การ ข้อมู ลเหล่านี้ พวกเราได้ทราบแล้วก็ถึงกับอึ้ง เราคิดไม่ถึงว่า หมู่บา้ นนี้ จะเข้มแข็งขนาดนี้ มิน่าหละ เขาจึงสามารถพึ่งตนเองได้ร้อยเปอร์เซ็นต์ แล้วก็มาถึงเรื่ องที่เราอยากรู ้มาตั้งแต่เมื่อวาน เมื่อกรรมการเงินกูก้ ล่าวสรุ ปงาน การติดตามเงินกู้ กรรมการที่รับผิดชอบเรื่ องเงิ นกูร้ ายงานว่า “เดื อนนี้ สมาชิ กที่กูเ้ งิ นไปไม่ ได้มาส่ งเงินกูเ้ อง 2 ราย รายที่หนึ่ งติดต่อผูค้ ้ าํ ประกันได้ ผูค้ ้ าํ ประกันจึงโทรติดต่อ สมาชิ ก รายนั้ น ได้ ค วามว่ า เตรี ยมเงิ น ไว้แ ล้ว แต่ มี เ หตุ ฉุ ก เฉิ น พาลู ก ไป โรงพยาบาล จึงไม่ สามารถมาส่ งได้ ขอให้ผูค้ ้ าํ ประกันส่ งเงิ นกู้เดื อนนี้ ไปก่ อน แล้ว จะนํา เงิ น ไปใช้ ใ ห้ ผู ้ค้ ํา ที่ บ้า นของผู ค้ ้ ํา เอง ผู ค้ ้ ํา จึ ง เอาเงิ น มาส่ ง มอบให้ กรรมการเงินกูแ้ ล้วเรี ยบร้อย

คู่มือแนวทางการทํางาน

หน้ า 143


เครื อข่ ายกลุ่มสัจจะสะสมทรั พย์ เพื่อพัฒนาคุณธรรมครบวงจรชีวิต นครศรี ธรรมราช

“ส่วนรายที่ 2 นั้น ติดต่อไม่ได้เลย ทั้งผูค้ ้ าํ และผูก้ ู้ กรรมการได้หารื อกันกับ ผูท้ ี่จะกูใ้ นเดือนนี้ ผูท้ ี่จะกูใ้ นเดื อนนี้ 10 คน จึงตกลงที่จะส่ งค่าเงิ นกูเ้ ดือนนี้ แทน โดยเฉลี่ยเงินค่างวดเดือนนี้ เท่า ๆ กัน เพื่อที่ผกู ้ ูเ้ ดือนนี้ จะได้สามารถกูเ้ งินได้ ตาม ระเบียบของกลุ่ม” พวกเราคนหนึ่ งถามว่ า “ถ้ า ไม่ ส ามารถติ ด ต่ อ ผู ้กู้ ไ ด้ จ ะทํา อย่ า งไร” กรรมการที่รับผิดชอบเงินกูต้ อบว่า “เท่าที่ผา่ นมา 30 ปี มี 2 รายที่ติดต่อไม่ได้เลย เพราะเขาไปประสบอุบตั ิเหตุเสี ยชี วิต ส่ วนคนที่ ยงั ไม่เสี ยชี วิต ติ ดต่อได้ทุกคน และเขาก็มาจ่ายเงิ นคืนให้คนที่ ออกเงิ นให้ก่อน พร้ อมทั้งยังขอโทษเพื่อน และ ขอบคุณที่ช่วยเขา” “แล้วหนี้ ของคนที่เสี ยชีวิตและ จะเป็ นหนี้สูญไหม” พวกเราคนเดิมถามขึ้น อี กด้วยความสงสัย กรรมการตอบต่อไปว่า “ไม่ เป็ นหนี้ สู ญค่ะ ระเบี ยบเราให้ สามารถหักเงิ นกองทุ นคุม้ ครองชี วิตมาหักหนี้ ก่อน จึงจะสามารถนําไปจ่ายแก่ สมาชิกที่เสี ยชีวิตได้” พวกเราพยัก หน้า แสดงถึ ง ความเข้า ใจ แล้ว พวกเราคนหนึ่ ง ที่ ท าํ หน้า ที่ บันทึกข้อมูลก็บนั ทึกก็หยิบเอกสารที่ได้มาเมื่ อวาน แล้วก็ตรวจสอบข้อความที่ บันทึกลงในเมื่อวานว่ามีอะไรต้องเพิ่มเติมอีกหรื อไม่ เมื่อไม่มีอะไรตกหล่นจึง เก็บเอกสารเข้าที่ดงั เดิม

คู่มือแนวทางการทํางาน

หน้ า 144


เครื อข่ ายกลุ่มสัจจะสะสมทรั พย์ เพื่อพัฒนาคุณธรรมครบวงจรชีวิต นครศรี ธรรมราช

การประชุมสรุ ปงานวันนี้ ผ่านไปแบบไม่เครี ยด ผิดจากที่เราคาดไว้ราวฟ้า กับดิน เรานึ กว่าจะมีการเถียงกันหน้าดํา หน้าแดง โทษมึง โทษกู เหมือนกับการ ประชุมที่เราเคยเจอมา ได้มาเจอการประชุมที่มีความสุ ขแบบนี้ เราก็พลอยโล่งใจ ไปด้วย ถ้าราบรื่ นแบบนี้ กลับไปต้องไปขายความคิดนี้ ให้กบั ผูใ้ หญ่บา้ นของเรา เผือ่ จะได้ต้งั กลุ่มแบบนี้ ข้ ึนที่หมู่บา้ นเราบ้างแล้ว พอจบการประชุมสรุ ปสรุ ปงานในวันนี้ แล้ว พวกเรามีเวลาว่างอีกหลายวัน กว่าจะถึงวันประชุมพิจารณาเงินกูส้ าํ หรับให้สมาชิกกูใ้ นเดือนถัดไป เวลา 20 กว่า วันนี้ พวกเราตกลงกันว่า จะกลับไปหมู่บา้ นของเราก่อน ไปเล่าเรื่ องราวที่เราได้ พบเจอที่นี่ให้คนในหมู่บา้ นของเราฟั ง เผื่อว่าครั้งหน้า เราอาจจะได้ผูใ้ หญ่บา้ น ของเรา มาดู การพิจารณาเงิ นกู้ด้วย อย่างน้อยจะได้เอาไปใช้เป็ นแนวทางการ ปล่อยเงิ นกูเ้ งิ นที่รัฐบาลให้หมู่บา้ นมา เพราะเงิ นที่ รัฐบาลให้หมู่บา้ นของเรามา นับวันเงินต้นจะร่ อยหรอลงไปเรื่ อย ๆ เย็น ๆ วันนั้น เราไปกราบลาท่านประธาน และกรรมการกลุ่มสัจจะของ หมู่บา้ น แล้วขึ้นรถกลับ ก่อนกลับมีเสี ยงกรรมการแว่วมาว่า “พบกันวันประชุ ม พิจารณาเงินกูน้ ะคะ” วันประชุมพิจารณาเงินกู้

คู่มือแนวทางการทํางาน

หน้ า 145


เครื อข่ ายกลุ่มสัจจะสะสมทรั พย์ เพื่อพัฒนาคุณธรรมครบวงจรชีวิต นครศรี ธรรมราช

วันนี้ พากเรากะว่าจะมาค้างที่ หมู่บา้ นนี้ อีกสัปดาห์ เพราะสัปดาห์น้ ี จะมี การประชุ มหลายการประชุ มที่ น่ า สนใจ เริ่ มจากเช้า วัน นี้ จะเป็ นการประชุ ม พิจารณาเงิ นกู้ที่เรารอมากว่า 20 วัน อีก 3 วันถัดไปก็จะเป็ นวันทําสัญญาเงิ นกู้ ถัดไปอีก 3 วัน ก็จะเป็ นวันประชุมกรรมการเครื อข่าย ซึ่ งเดือนนี้ โชคดีที่สญ ั จรมา หมู่บา้ นนี้ พอดี ทําให้เราไม่ตอ้ งย้ายสถานที่ดูงาน พวกเรามาถึงหมู่บา้ นช่วงสาย ๆ ของวันนี้ เรากิ นข้าวเช้ากันมาแล้ว จึงไม่ ต้องรบกวนกรรมการ การประชุมพิจารณาเงินกูจ้ ะเริ่ มขึ้นในเวลา 10 โมงเช้า พวก เรามานั่งคุยกันรออยู่แล้วตั้งแต่ 9 โมงเช้า หลังจากเดิ นชมสถานที่ และแวะไป กล่าวทักทายกรรมการทุกคนเรี ยบร้อยแล้ว อี กราว 15 นาที กรรมการทุ กคนก็มาพร้ อมกัน ก่ อ นจะเริ่ มการประชุ ม ประธานนําไหว้พระ สวดมนต์เป็ นภาษาไทย แล้วต่อด้วยการนั่งทําความสงบ โดยการดูลมหายใจเข้าออกอยูร่ าว 15 นาที เหมือนที่เคยทําก่อนเริ่ มทําการประชุม สรุ ปงาน เมื่อได้เวลาอันสมควร ประธานก็นาํ กรรมการออกจากความสงบ เสร็ จแล้วประธานก็กล่าวขึ้นว่า “สวัสดีกรรมการทุกท่าน และสวัสดีเพื่อน ๆ ผูม้ าศึกษาดูงานทุกคน เดือนนี้เรามีสมาชิกยื่นใบคําขอกูม้ า 10 ราย เป็ นยอดเงิน ขอกู้ท้ งั หมด 5 ล้านบาท เรามาเริ่ มพิ จารณาคําขอกู้ใบแรกกัน เลยนะ ทุ กคนดู สําเนาคําขอกูท้ ี่ถ่ายให้หน้าแรกเลยครับ”

คู่มือแนวทางการทํางาน

หน้ า 146


เครื อข่ ายกลุ่มสัจจะสะสมทรั พย์ เพื่อพัฒนาคุณธรรมครบวงจรชีวิต นครศรี ธรรมราช

กรรมการทุกคนพลิกไปดู ใบคําขอกู้ใบแรก พวกเราก็พลิ กดู ตามไปด้วย เพราะกรรมการถ่ายสําเนามาให้พวกเราดูดว้ ย เพื่อจะได้ตามทัน กรรมการคนแรก เป็ นคนอ่านใบคําขอกูใ้ บแรกให้สมาชิกคนอื่น ๆ ฟัง จบแล้วก็สรุ ปว่า “จํานวนเงิน ที่กู้ วัตถุประสงค์ในการกู้ ระบุชดั เจน ประวัติผกู ้ ูไ้ ม่มีปัญหา คุณสมบัติผกู ้ ูผ้ ่าน” หลังจากหยุดครู่ หนึ่ง จึงพูดต่อว่า “ประวัติ ค นคํ้า คนที่ 1 ผ่ า น ประวัติ ค นคํ้า คนที่ 2 ผ่ า น คนรั บ รอง มี เรี ยบร้อย” เสร็ จแล้วก็หันหน้าไปทางประธาน ประธานจึงถามที่ประชุมว่า “ขอ มติที่ประชุมเลยนะครับ ใครเห็นสมควรให้กูบ้ า้ งยกมือขึ้น” กรรมการทั้งหมดยก มือแทบจะพร้อมกัน ประธานจึงกล่าวต่อว่า “ผมคงไม่ตอ้ งถามว่าใครคัดค้านนะ ครับ เพราะทุกคนยกมือเห็นด้วยหมดแล้ว” พวกเรารู ้สึกโล่งใจมาก ที่การพิจารณาเงินกูร้ ายแรกผ่านไปอย่างเร็ว อย่างนี้ แสดงว่า การพิจารณาเงิ นกู้ 10 ราย คงใช้เวลาไม่ถึง 1 ชัว่ โมงคงเสร็ จ เราคงจะมี เวลาไปเที่ยวกันยาวแน่ เลยวันนี้ แต่เราก็เพิ่งรู ้ว่าเราคิดผิด เมื่อการพิจารณาเงิ นกู้ รายที่ 2 เริ่ มขึ้น การพิจารณาเงินกูร้ ายที่ 2 ไม่ง่ายอย่างรายแรก กรรมการอภิปรายกันยืดยาว เพราะผูเ้ สนอกูค้ นนี้ มีประวัติการส่ งสัจจะไม่ตรงเวลา การส่ งเงินกูก้ ็มีปัญหา แต่ สุดท้ายกรรมการก็อนุมตั ิให้กใู้ นที่สุด ด้วยเหตุผลว่า ต้องช่วยเหลือสมาชิกในยาม เดือดร้อน คู่มือแนวทางการทํางาน

หน้ า 147


เครื อข่ ายกลุ่มสัจจะสะสมทรั พย์ เพื่อพัฒนาคุณธรรมครบวงจรชีวิต นครศรี ธรรมราช

ในการพิจารณาเงินกูร้ ายนั้น กรรมการคนหนึ่ ง ได้อาสามาเป็ นผูร้ ับรองให้ โดยบอกว่า รู ้จกั กันดีกบั สมาชิกคนนี้ แม้เขาจะมีประวัติไม่ดี แต่ก็ดว้ ยเหตุจาํ เป็ น เวลามีการมีงานอะไรที่ เพื่อนบ้านต้องใช้แรง สมาชิ กคนนี้ จะอาสามาช่ วยงาน ตลอด เมื่อมีกรรมการออกมารับรองเช่นนี้ ใบเสนอกูเ้ งิ นใบนี้ ก็ได้รับการอนุ มตั ิ อย่างเอกฉันท์เช่นกัน สําหรับใบเสนอกูเ้ งินที่เหลืออีก 8 ใบก็เป็ นไปอย่างละเอียดรอบคอบ เวลา ที่ใช้ในการพิจารณาแต่ละใบจึงนานเป็ นพิเศษ วันนั้นกว่าการพิจารณาเงิ นกูจ้ ะ แล้วเสร็ จ ก็ตอ้ งหยุดพักเที่ยงก่อน แล้วมาพบกันใหม่ในช่วงบ่าย กว่าการประชุม ในช่วงบ่ายจะแล้วเสร็ จก็เลยเวลาบ่ายสามโมงแล้ว พวกเรานัง่ ฟังอย่างตั้งใจ และสนใจ เพราะทราบดีว่า เป็ นหัวใจสําคัญของ การทํากลุ่มออมทรัพย์ของหมู่บา้ น พวกเราที่ทาํ หน้าที่จดประเด็นได้จดบันทึกลง ในสมุดบันทึกว่า ระเบียบการพิจารณาเงินกู้ 1. สมาชิ กผูก้ ู้ตอ้ งกรอกใบเสนอเงิ นกู้ให้ครบถ้วน ชัดเจน แล้วนํามาใส่ กล่องรับใบเสนอเงินกูอ้ ย่างน้อย 1 วันก่อนวันพิจารณาเงินกู้ 2. ผูก้ ู้ ผูค้ ้ าํ และผูร้ ับรอง มีประวัติในรอบปี ที่ผา่ นมาดี 3. การประชุมอนุมตั ิเงินกูต้ อ้ งมีกรรมการมาประชุมครบ คู่มือแนวทางการทํางาน

หน้ า 148


เครื อข่ ายกลุ่มสัจจะสะสมทรั พย์ เพื่อพัฒนาคุณธรรมครบวงจรชีวิต นครศรี ธรรมราช

หลังจากการประชุ มจบลง พวกเราที่ จดบันทึ กได้นํา ประเด็นที่ จดไว้ไป สอบถามประธานว่าครบถ้วนไหม ท่านประธานตอบว่า “ครบถ้วนทุกประเด็น” แล้วบอกว่า “อีก 3 วัน มาพบกันในวันทําสัญญาเงินกูน้ ะครับ” พวกเรายกมือไหว้ ขอบคุณ แล้วกล่าวลํ่าลาท่านประธาน และกรรมการคนอื่น ๆ แล้วแยกมาขึ้นรถ เพื่อเดินทางไปเที่ยวหมู่บา้ นอื่นกันต่อ

วันทําสั ญญาเงินกู้ วัน นี้ เรามาถึ ง ที่ ท ํา การกลุ่ ม ก่ อ นเวลาเช่ น เคย เราไปช่ ว ยกรรมการจัด สถานที่ประชุมด้วย หลังจากนั้นก็มานัง่ รอที่โต๊ะกรรมการเช่ นเดิม วันนี้ มีท่าทาง สบาย ๆ กว่าวันพิจารณาเงินกู้ เรานัง่ รออยูน่ านพอสมควร กว่าผูก้ ูช้ ุ ดแรกจะเดิ น เข้ามา พวกเราเปรยขึ้ น ว่า “โห มาที เดี ยวสี่ คนเลย อย่างนี้ ไม่ ถึง ครึ่ งวัน ก็คงจะ เสร็ จ” กรรมการตอบว่า “นี่ เป็ นเพียงผูก้ ูร้ ายเดี ยว ที่เหลื อเป็ นผูค้ ้ าํ 2 คน และผู ้ รับรอง 1 คน” กรรมการหยิบสัญญาเงิ น กู้ที่เขี ยนเรี ยบร้ อยแล้ว มาให้ผูก้ ู้อ่ า น พร้อมทั้งอธิ บายให้ฟังว่า “อ่านให้ละเอียดนะคะ ว่า จํานวนเงินที่กูต้ รงกับที่ขอกู้ คู่มือแนวทางการทํางาน

หน้ า 149


เครื อข่ ายกลุ่มสัจจะสะสมทรั พย์ เพื่อพัฒนาคุณธรรมครบวงจรชีวิต นครศรี ธรรมราช

ไหม จํานวนงวดที่ส่ง ถูกต้องไหม จํานวนเงินต่องวด ใช่ไหม จํานวนเงินค่าบํารุ ง ต่องวด ถูกต้องนะคะ ถ้าถูกต้องก็ลงชื่อตรงนี้ เลย” ต่ อ จากนั้น สัญ ญาเงิ น กู้ใ บนั้น ก็ถู ก ส่ ง ให้ผูค้ ้ าํ คนแรก คนที่ ส อง และผู ้ รับรองลงชื่ อ แล้วกรรมการก็พูดขึ้นว่า “ทําสัญญาเรี ยบร้อย วันพรุ่ งนี้ เป็ นวันทํา การกลุ่ม มารับเงินด้วยนะคะ มาให้ทนั เวลาทําการหละ” กรรมการพูดแบบยิ้ม ๆ สมาชิ กกล่าวขอบคุณ แล้วพูดทีเล่นทีจริ งว่า “มาทันแน่ นอนครับ งานอะไรก็ตอ้ ง หยุดก่อนแล้วพรุ่ งนี้ เรื่ องนี้สาํ คัญที่สุด” บรรยากาศเป็ นไปอย่างชื่ นมื่น แล้วผูก้ ชู้ ุด นี้ ก็ลาจากไป พวกเราหันไปถามกรรมการว่า “วันนั้น 10 คน ได้รับอนุ มตั ิให้กูห้ มดเลย หรื อครับ” กรรมการคนหนึ่ งตอบว่า “ผ่าน 8 คน ค่ะ” เราคุยกันสักพัก สมาชิกอีก คนก็เดินเข้ามา พวกเราแปลกใจเล็กน้อยที่คราวนี้ มาคนเดียว สมาชิกคนนั้นกล่าว ขึ้นว่า “ของผมตอนนี้ ผูค้ นคํ้า 2 คน และคนรับรอง 1 คน จะตามมาทีหลังครับ ผมจะมาลงชื่ อ ไว้ก่ อ น แล้ว อี ก 3 คน กํา ลัง ตามมาครั บ ” กรรมการพยัก หน้ า รับทราบ แล้วก็หยิบสัญญาเงินกูท้ ี่มีชื่อของสมาชิกคนนั้นขึ้นมาให้อ่าน สมาชิกผู ้ ขอกูอ้ ่านอย่างช้า ๆ ทุกตัวอักษร พลางพยักหน้าไปด้วย พออ่านจบ ก็จรดปากกา ลงชื่อในช่องผูก้ ู้ แล้วยืน่ กลับให้กรรมการ

คู่มือแนวทางการทํางาน

หน้ า 150


เครื อข่ ายกลุ่มสัจจะสะสมทรั พย์ เพื่อพัฒนาคุณธรรมครบวงจรชีวิต นครศรี ธรรมราช

อีกไม่นานหลังจากคนกูข้ ี่รถเครื่ องพ้นไปแล้ว ผูค้ ้ าํ และผูร้ ับรอง ก็ทยอย ตามมา ตามที่แจ้งไว้จริ ง ๆ เป็ นอันว่า สัญญาเงินกูใ้ บที่ 2 เรี ยบร้อยไปอีก 1 ใบ ใน วันนั้น ผูก้ คู้ นที่เหลือ ได้ทยอยกันมาทําสัญญา จนครบ มีท้ งั ที่มาพร้อมกันกับผูก้ ู้ บ้าง ทยอยกันมาบ้าง บางคนต้องมาโทรตามคนคํ้า และคนรั บรองกันต่ อหน้า กรรมการเลยทีเดียว พวกเราสอบถามเพิ่มเติมจึงได้ความว่า ต้องมาลงชื่อต่อหน้ากรรมการ การ กูจ้ ึงจะเรี ยบร้อย ผูท้ ี่ทาํ หน้าที่จดบันทึกของพวกเรา ได้หยิบสมุดบันทึกขึ้นมาแล้ว จดลงไปว่า ระเบียบการทําสัญญาเงินกู้ 1. คนกู้ คนคํ้า และคนรับรอง ต้องมาลงชื่อต่อหน้าคณะกรรมการ 2. ต้องมาลงชื่อในวันทําสัญญาเงินกูเ้ ท่านั้น 3. หากพ้นกําหนดเวลาทําสัญญาเงินกูใ้ นวันนั้น ต้องไปทําสัญญาในเดือน ถัดไป การทําสัญญาเงินกูว้ นั นี้ เป็ นไปโดยราบรื่ น มีสมาชิกมาทําสัญญาครบทั้ง 8 ราย คืนนี้ เราตัดสิ นใจว่าจะนอนค้างที่ หมู่บา้ นนี้ เพราะวันพรุ่ งนี้ เป็ นวันทําการ กลุ่ม จะมีการรับมอบเงินที่กใู้ นวันนั้นด้วย แม้ว่าวันทําการเราจะเคยดูมาแล้วรอบ หนึ่ ง แต่เรากะจะอยู่เที่ยวที่ หมู่บา้ นนี้ เลย เพราะจะได้รอดูการประชุ มกรรมการ คู่มือแนวทางการทํางาน

หน้ า 151


เครื อข่ ายกลุ่มสัจจะสะสมทรั พย์ เพื่อพัฒนาคุณธรรมครบวงจรชีวิต นครศรี ธรรมราช

เครื อข่ายที่จะสัญจรมาหมู่บา้ นนี้ ในวันมะรื นเลยทีเดียว อีกอย่าง ดูวนั ทําการสัจจะ ของหมู่บา้ น ก็สนุกดี จะได้ชมสิ นค้าชุมชนที่สมาชิกนํามาจําหน่ายด้วย พวกเรากล่าวขอบคุณกรรมการ แล้วยกมือไหว้ล่าํ ลา ก่อนกล่าวว่า “พรุ่ งนี้ ขอมาเที่ยวดูวนั ทําการกลุ่มด้วยนะครับ วันมะรื นจะได้เข้าร่ วมสังเกตการณ์การ ประชุมกรรมการเครื อข่ายด้วย” กรรมการยกมือไหว้ตอบ แล้วกล่าวว่า “ยินดีค่ะ” หลังจากนั้นพวกเราก็แยกย้ายกันไปอาบนํ้า วันประชุมกรรมการเครื อข่ าย และแล้ววันประชุมกรรมการเครื อข่ายก็มาถึง เช้าวันนี้ ฝนไม่ตก แต่อากาศ ก็ไม่ร้อนนัก หลังจากเรากินข้าวเช้าเรี ยบร้อยแล้ว เวลาผ่านไปสักแปดโมงนิ ด ๆ ก็ มีรถกระบะ บรรทุกคนนัง่ กระบะท้ายสองสามคน เริ่ มทยอยเข้ามาในบริ เวณที่ทาํ การของกลุ่มสัจจะที่เรานอนพักเมื่อคืนนี้ ผูโ้ ดยสารที่ นั่งมาในรถแต่ล ะคน ดู เหมื อนจะรู ้ จกั กันเป็ นอย่า งดี เพราะ ทั้งหมดทักทายกันโดยเรี ยกชื่ อเล่น บางคนก็เรี ยกน้าบ้าง ลุงบ้าง พี่บา้ ง น้องบ้าง ทั้งหมดมี สีหน้าดี ใจเหมื อนญาติ ที่ไม่ได้เจอกันนาน แล้วมี โอกาสมาพบกันใน วันนี้ เกือบได้เวลาเก้าโมงเช้าที่การประชุมจะเริ่ มขึ้นแล้ว เมื่อทุกคนมาพร้อมกัน ในบริ เวณที่ประชุ มที่จดั ไว้ ประธานในที่ประชุ มได้นาํ ทุกคนไหว้พระสวดมนต์ คู่มือแนวทางการทํางาน

หน้ า 152


เครื อข่ ายกลุ่มสัจจะสะสมทรั พย์ เพื่อพัฒนาคุณธรรมครบวงจรชีวิต นครศรี ธรรมราช

เหมือนที่เคยปฏิบตั ิ ในการประชุ มอื่น ๆ ของกลุ่ม พวกเราแปลกใจมากที่ทุกคน สวดได้อย่างคล่ องแคล่ว แต่ที่แปลกใจไปกว่านั้นคือ กรรมการทุกคน สาธยาย พุทธวจนได้โดยไม่ตอ้ งถือหนังสื อสวดมนต์กนั เลย หลังจากสวดมนต์จบ ประธานได้นาํ กรรมการนัง่ สมาธิ ต่ออีกราว 15 นาที แล้วก็เริ่ มเข้าสู่ การประชุ มกันของกรรมการเครื อข่าย การเข้าร่ วมประชุ มวันนี้ แตกต่างจากการร่ วมประชุมในกลุ่มสัจจะของหมู่บา้ นที่เราเคยเข้าร่ วม เพราะเรา จะคอยจดประเด็ น ที่ ต ้อ งการเท่ า นั้น แต่ ว นั นี้ เรามี ป ระเด็น ที่ ต ้อ งการจะเก็ บ รายละเอียดอยูแ่ ล้วในประเด็นเรื่ อง การรับสมาชิกใหม่ กองทุนคุม้ ครองชีวิต กอง บุญกรรมการ และเรื่ องร้านค้าสวัสดิการ หลังจากท่านประธานกล่าวทักทายกรรมการเครื อข่ายแล้ว ประธานแจ้งให้ ทราบเรื่ องการประชุ มรับสมาชิ กใหม่ที่หมู่บา้ นที่ อยู่ถดั ไปในเดื อนหน้า เพื่อให้ กรรมการที่ไม่ติดภารกิ จได้วางแผน เพื่อที่จะได้ไปช่วยกัน โดยประธานแจ้งว่า เราจะมาทบทวนเรื่ องระเบี ยบการรับสมาชิ กใหม่ หลังจากวาระรับรองรายงาน การประชุมครั้งที่แล้วเสร็จสิ้ น การรับสมัครสมาชิกใหม่ ต่อมา เลขานุการเครื อข่ายเป็ นผูก้ ล่าวทบทวนประเด็นที่ได้มีการประชุมใน เดื อนที่แล้ว โดยให้กรรมการคนอื่น ๆ ดูรายงานการประชุมเดื อนที่ แล้วตามไป คู่มือแนวทางการทํางาน

หน้ า 153


เครื อข่ ายกลุ่มสัจจะสะสมทรั พย์ เพื่อพัฒนาคุณธรรมครบวงจรชีวิต นครศรี ธรรมราช

ด้วย หากมีตรงไหนตกหล่นจะได้ช่วยกันแก้ไข การรับรองรายงานการประชุ ม ครั้งที่แล้วผ่านไปด้วยดี เลขาจึงเริ่ มดําเนิ นการทบทวนเรื่ องระเบียบการรับสมาชิ ก ใหม่ที่พวกเราตั้งท่าพร้อมจะจดบันทึกอยูแ่ ล้ว ใจความสําคัญของระเบียบการรับสมาชิกใหม่ที่เลขาอ่านให้กรรมการคน อื่น ๆ และพวกเราได้ฟังมีดงั นี้ ระเบียบการรับสมัครสมาชิกใหม่ 1. ผูส้ มัครเป็ นสมาชิ กต้องเป็ นบุคคลผูม้ ีชื่อในทะเบียนบ้านของหมู่บา้ นที่ กลุ่มกําหนด 2. ผูส้ มัครต้องมีอายุต้ งั แต่ แรกเกิด ถึง 65 ปี 3. ผูส้ มัครต้องผ่านการประชุมชี้ แจงทําความเข้าใจ หลักการ วัตถุประสงค์ เป้าหมายของกลุ่มก่อน 4. ผูส้ มัครต้องชําระค่าสมัครแรกเข้า และค่าธรรมเนี ยมตามที่กลุ่มกําหนด 5. ผูส้ มัครต้องให้สจั จะว่าจะส่ งสัจจะเดือนเดือนละ 10-100 บาท ตลอดอายุ การเป็ นสมาชิก 6. สมาชิกจะได้รับสวัสดิการตามระเบียบที่กลุ่มกําหนด 7. สมาชิกกลุ่มสัจจะจะมีได้เพียง 4 รุ่ นเท่านั้น คู่มือแนวทางการทํางาน

หน้ า 154


เครื อข่ ายกลุ่มสัจจะสะสมทรั พย์ เพื่อพัฒนาคุณธรรมครบวงจรชีวิต นครศรี ธรรมราช

หลังจากเลขาอ่านทบทวนระเบียบแล้ว กรรมการคนอื่น ๆ ไม่มีผใู ้ ดคัดค้าน หรื อเพิ่มเติมรายละเอียดเข้ามา แสดงว่าระเบียบนี้ยงั ใช้ได้อยู่ เราจึงปิ ดสมุดบันทึก เพื่อรอฟังเรื่ องกองทุนคุม้ ครองชีวิตสมาชิกต่อไป กองทุนคุ้มครองชีวติ สมาชิกกลุ่มสัจจะ ต่อมาประธานได้ให้ฝ่ายกองทุนคุม้ ครองชี วิตนําเสนอยอดรายรับรายจ่าย กองทุนคุม้ ครองชีวิตประจําเดือนให้กรรมการคนอื่น ๆ ได้รับทราบ เมื่อกรรมการ ผูร้ ั บ ผิ ด ชอบบัญ ชี ร ายรั บ รายจ่ า ย กองทุ น คุ ้ม ครองชี วิ ต จบแล้ว เลขานุ ก าร กรรมการเครื อ ข่ า ยข่ า ยก็ได้อ่ า นทบทวนระเบี ยบว่า ด้ว ยกองทุ น คุ ้มครองชี วิ ต สมาชิก ดังนี้ ระเบียบการสมัครกองทุนคุ้มครองชีวติ สมาชิกกลุ่มสัจจะ 1. ที่มาของกองทุน มาจากการเหมาจ่ายรายปี ของสมาชิ กแต่ละกลุ่ม หรื อ สมาชิกจ่ายเป็ นรายศพ 2. ผูส้ มัครเป็ นสมาชิกกองทุน ต้องเขียนใบสมัครให้ครบถ้วน ชัดเจน 3. ผูส้ มัครเป็ นสมาชิ กกองทุน ต้องเสี ยเงิ นกองทุนแรกเข้าคนละ 50 บาท และค่าสมุดคนละ 10 บาท

คู่มือแนวทางการทํางาน

หน้ า 155


เครื อข่ ายกลุ่มสัจจะสะสมทรั พย์ เพื่อพัฒนาคุณธรรมครบวงจรชีวิต นครศรี ธรรมราช

4. ผูส้ มัครเป็ นสมาชิ กต้องเป็ นสมาชิ กกลุ่มสัจจะในหมู่บา้ นที่ มีชื่ออยู่ใน ทะเบียนเท่านั้น 5. ผูส้ มัครเป็ นสมาชิกต้องมีอายุต้ งั แต่แรกเกิดจนถึงไม่เกิน 65 ปี 6. เมื่อสมัครเป็ นสมาชิกครบ 180 วัน จึงจะได้รับการคุม้ ครองจากเครื อข่าย 7. การรั บสมัครคนพิการเข้าเป็ นสมาชิ กกองทุนคุม้ ครองชี วิต ให้อยู่ใน ดุลพินิจของการประชุมคณะกรรมการเต็มองค์คณะ และต้องนําเสนอในที่ประชุม กรรมการเครื อข่ายในวันที่ 29 ของทุกเดือนด้วย 8. การรั บ สมัค รสมาชิ ก กองทุ น คุ ้ม ครองชี วิ ต ที่ อ ยู่ ห่ า งไกล หรื ออยู่ ต่างประเทศ ให้อยูใ่ นดุลพินิจของกรรมการ เพื่อรักษาผลประโยชน์ของเครื อข่าย และสมาชิก 9. กรรมการต้อ งนํา เสนอใบสมัค รสมาชิ ก กองทุ น คุ ้ม ครองชี วิ ต และ เอกสารที่ เกี่ ยวข้อ ง ต่ อ ที่ ประชุ มกรรมการเครื อ ข่ า ยในวัน ที่ 29 ของทุ ก เดื อ น เพื่อให้กรรมการเครื อข่ายรับรองด้วย 10. เงิ นที่ เก็บจากสมาชิ กกองทุนคุม้ ครองชี วิตศพละ 10 บาท ต้องนําส่ ง เครื อ ข่ า ยทุ กเดื อ น ภายในวัน สิ้ น เดื อ น โดยส่ ง เป็ นเงิ น สด หรื อ โอนเข้า บัญ ชี ธนาคารที่เครื อข่ายระบุไว้กไ็ ด้

คู่มือแนวทางการทํางาน

หน้ า 156


เครื อข่ ายกลุ่มสัจจะสะสมทรั พย์ เพื่อพัฒนาคุณธรรมครบวงจรชีวิต นครศรี ธรรมราช

11. หากกลุ่มใดไม่นําเงิ นมาส่ งภายในระยะเวลาที่ กาํ หนด ให้กรรมการ ผูร้ ับผิดชอบบัญชีรายรับ รายจ่าย กองทุนคุม้ ครองชี วิตสมาชิ กกลุ่มสัจจะ รายงาน ต่อที่ประชุมทราบ เพื่อดําเนิ นการต่อไป 12. ต้อ งเก็ บ หลัก ฐาน เอกสาร ที่ เ กี่ ย วข้อ งกับ การเป็ นสมาชิ ก กองทุ น คุม้ ครองชี วิตของสมาชิ ก ไว้อย่างเป็ นระบบระเบียบอย่างน้อยเป็ นเวลา 10 ปี จึง จะสามารถทําลายได้ ระเบียบการจ่ ายเงินกองทุนเพื่อคุ้มครองชีวติ สมาชิกกลุ่มสัจจะ 1. ต้องทํา ความเข้า ใจกับคณะกรรมการแต่ ล ะกลุ่ มก่ อ นไปจ่ า ยเงิ น เพื่ อ ชี้แจงรายละเอียดเรื่ องจํานวนเงิน และที่มาของเงินกองทุน ที่จะได้รับ 2. เงิ นกองทุนคุม้ ครองชี วิตหลังจากหักบัญชี ที่สมาชิ กค้างกลุ่มอยู่ (ถ้ามี ) ให้มอบให้แก่ทายาท ตามที่ระบุไว้ในใบสมัครเท่านั้น 3. กรรมการกลุ่มที่สมาชิกเสี ยชีวิต ต้องไปให้พร้อมกันทุกคน และสมาชิ ก ที่อยูใ่ กล้เคียงควรไปร่ วมฟังเพื่อเป็ นพยานในวันมอบเงิน เพื่อจะได้มีความเข้าใจ และนําไปอธิ บายขยายผลให้สมาชิกลุ่มอื่น ๆ รับรู ้รับทราบต่อไป 4. ต้องทําประวัติของสมาชิ กผูท้ ี่ เสี ยชี วิตไปกล่าวไว้อาลัยในวันมอบเงิ น ด้วย คู่มือแนวทางการทํางาน

หน้ า 157


เครื อข่ ายกลุ่มสัจจะสะสมทรั พย์ เพื่อพัฒนาคุณธรรมครบวงจรชีวิต นครศรี ธรรมราช

5. กรรมการผูเ้ ขียนใบสมัครกองทุนคุม้ ครองชี วิต ต้องทําความเข้าใจกับ ผูส้ มัคร ครอบครัว และผูเ้ กี่ยวข้อง (ผูร้ ับผลประโยชน์) ว่า ก. เมื่อผูส้ มัครเสี ยชีวิตลง จะได้รับผลประโยชน์อย่างไรบ้าง ข. ถ้าผูส้ มัครเป็ นหนี้ กลุ่มอยู่ ทางกลุ่มจะหักหนี้ ส่วนที่คา้ งชําระก่อน แล้วจะจ่ายส่ วนที่เหลือให้แก่ผรู ้ ับผลประโยชน์ที่ระบุไว้ในใบสมัครเท่านั้น 6. การจ่ายเงินต้องจ่ายในงานศพเท่านั้น ยกเว้นสมาชิ กที่เสี ยชี วิตไกลบ้าน และไม่ได้นาํ ศพกลับมาบําเพ็ญกุศลที่บา้ น ให้กรรมการและผูร้ ับผลประโยชน์นาํ ใบมรณะบัต รมาแจ้ง กับเครื อ ข่ า ยในวัน ที่ 29 ของทุ ก เดื อ น ถ้า กรรมการมี ม ติ เห็นชอบก็รับเงินได้เลย 7. สมาชิกจะพ้นจากสภาพการเป็ นสมาชิกของกองทุนคุม้ ครองชีวิต เมื่อ ก. ตาย ข. ลาออก ค. ไม่ปฏิบตั ิตามกฎระเบียบของกลุ่มและเครื อข่าย โดยมีหลักฐาน การฝ่ าฝื นกฎระเบียบอย่างชัดเจน ง. ถูกไล่ออกจากการเป็ นสมาชิกกลุ่มสัจจะที่สงั กัดเครื อข่าย

คู่มือแนวทางการทํางาน

หน้ า 158


เครื อข่ ายกลุ่มสัจจะสะสมทรั พย์ เพื่อพัฒนาคุณธรรมครบวงจรชีวิต นครศรี ธรรมราช

กรรมการที่นงั่ ฟั งอยู่ช่วยกันดูตามไปด้วย ทั้งหมดให้การรับรอง และไม่มี การแก้ไขเพิ่มเติมอย่างใด พวกเราจึงเก็บสมุดบันทึก ก่อนที่ประธานจะประชุมถึง วาระการประชุมอื่น ๆ ต่อไป กองบุญกรรมการ หลัง จากการประชุ ม ผ่ า นเรื่ องสวัส ดิ ก ารผู ้สู ง อายุ สวัส ดิ ก ารนอน โรงพยาบาลแล้ว การประชุ มเข้าก็เข้าสู่ เรื่ องสวัสดิ การอื่ น ๆ ซึ่ งมี เรื่ องกองบุ ญ กรรมการ และเรื่ องร้ า นค้า สวัส ดิ ก าร กรรมการที่ รั บ ผิ ด ชอบเรื่ องกองบุ ญ กรรมการ ได้มานําเสนอรายงานจํานวนกรรมการที่เข้าเป็ นสมาชิ กกองบุญ และ จํานวนเงินกองบุญล่าสุด พร้อมทั้งรายรับ รายจ่ายในเดือนที่ผา่ นมา ต่อจากนั้น กรรมการคนเดิมก็ได้ทบทวนเรื่ องระเบียบกองบุญกรรมการให้ ผูเ้ ข้าร่ วมประชุมฟังว่า

ระเบียบกองบุญกรรมการ

คู่มือแนวทางการทํางาน

หน้ า 159


เครื อข่ ายกลุ่มสัจจะสะสมทรั พย์ เพื่อพัฒนาคุณธรรมครบวงจรชีวิต นครศรี ธรรมราช

1. ความเป็ นสมาชิ ก เป็ นได้ทุกคนที่เป็ นกรรมการกลุ่มสัจจะ กรรมการที่ ลาออกจากกรรมการแล้ว ยังสามารถเป็ นสมาชิกกองบุญได้ แต่ตอ้ งมีกรรมการที่ อยูป่ ัจจุบนั เป็ นผูร้ ับผิดชอบ 2. การสมัครเป็ นสมาชิ ก ต้องมาสมัครด้วยตนเองในวันประชุมเครื อข่าย ไม่ตอ้ งมีค่าใช้จ่ายใด ๆ ทั้งสิ้ น ให้นาํ ข้อมูลของผูเ้ กี่ยวข้องรับผลประโยชน์ ได้แก่ สามี ภรรยา บุตร หรื อบิดา มารดา ของตนเอง มาแจ้งในวันสมัครด้วย 3. ถ้า รายชื่ อ ผูเ้ กี่ ยวข้อ งในการรั บผลประโยชน์ เสี ยชี วิ ต กรรมการต้อ ง ทําบุญคนละ 100 บาท โดยไม่เกี่ยวกับเงินส่วนใด ๆ ของกลุ่มและเครื อข่าย 4. เวลาสมาชิกกองบุญเสี ยชีวิต ให้กรรมการกองบุญไปร่ วมงานโดยพร้อม เพรี ยงกัน 5. กรรมการกองบุ ญต้องมาร่ วมประชุ มเครื อ ข่ ายอย่า งน้อ ยปี ละ 3 ครั้ ง (ขอร้อง) 6. สมาชิ ก กองบุ ญ กรรมการจะได้รั บ การคุ ้ม ครองหลัง จากสมัค รเป็ น สมาชิกแล้ว 90 วัน กรรมการที่ นั่ง ฟั ง ทุ ก คน ต่ า งเห็ น ด้ว ยกับ ระเบี ย บกองบุ ญ กรรมการที่ กรรมการคนนั้นนําเสนอ โดยไม่มีขอ้ เสนอเสนอแนะเพิ่มเติมหรื อคัดค้านแต่อย่าง ใด เมื่อเสนอจบ ประธานก็ได้พูดเรื่ องสุ ดท้ายที่เรากําลังรอฟั งอยู่นั่นคือ การหา รายได้เข้ากองทุนสวัสดิการ คู่มือแนวทางการทํางาน

หน้ า 160


เครื อข่ ายกลุ่มสัจจะสะสมทรั พย์ เพื่อพัฒนาคุณธรรมครบวงจรชีวิต นครศรี ธรรมราช

การหารายได้ เข้ ากองทุนสวัสดิการคณะทํางาน ประธานชี้ แจงให้ฟังว่า กองทุนสวัสดิ การตัวนี้ ไม่ใช่ กองทุนสวัสดิ การ สํา หรั บ สมาชิ ก ทั่ว ๆ ไป แต่ เ ป็ นสวัส ดิ ก ารสํา หรั บ ใช้จ่ า ยในการทํา งานของ คณะกรรมการที่ ม าร่ ว มประชุ ม เครื อ ข่ า ยทุ ก เดื อ น และเป็ นค่ า ใช้จ่ า ยในการ เดินทางไปติดต่อประสารงาน และการไปทํางานในพื้นที่ของกองเลขาเครื อข่าย ทุก ๆ เดือน เพื่อไม่ให้เป็ นภาระของแต่ละกลุ่มที่ตอ้ งมาเฉลี่ยค่าใช้จ่ายเหล่านี้ ท่าน ประธานได้ทบทวนแนวทางการหารายได้ให้กรรมการที่เข้าร่ วมประชุมทราบว่า ระเบียบการการขายสินค้าที่ใช้ เงินของกลุ่มลงทุน 1. ต้องเป็ นสิ นค้าที่จาํ เป็ นในครัวเรื อน 2. สิ้ นค้าอื่น ๆ ตามความต้องการของสมาชิ ก แต่ตอ้ งอยูใ่ นเงื่อนไขที่กลุ่ม สามารถทําได้ 3. ต้องเป็ นการค้าขายเพื่อสนับสนุนการบริ หารงานของเครื อข่าย 4. รายได้ที่เกิ ดจากโครงการที่ มีชื่อ กลุ่ มสัจจะเข้า ไปเกี่ ยวข้อ ง ต้องแบ่ ง รายได้เข้ากองทุนสวัสดิการคณะทํางานด้วย

คู่มือแนวทางการทํางาน

หน้ า 161


เครื อข่ ายกลุ่มสัจจะสะสมทรั พย์ เพื่อพัฒนาคุณธรรมครบวงจรชีวิต นครศรี ธรรมราช

เมื่ อกล่าวทบทวนระเบี ยบจบ กรรมการจากกลุ่มต่าง ๆ ก็ได้รายงานยอด การค้าขายภายในเครื อข่ายให้ที่ประชุมทราบ พร้อมทั้งแจ้งจํานวนเงิ นที่แบ่งเข้า กองทุนนี้ จากนั้นกองเลขาคณะทํางาน ก็ได้รายงานรายรับ รายจ่าย ของกองทุนนี้ ให้ผเู ้ ข้าร่ วมประชุมทราบ ก่อนที่ประธานในที่ประชุมจะแจ้งให้มีการพักกิ นข้าว กลางวัน แล้วมาพบกันใหม่ในช่วงบ่าย ช่วงพักเที่ยง พวกเราไปร่ วมกินข้าวเที่ยง โดยพวกเราเลือกนัง่ ร่ วมโต๊ะกับ กลุ่มที่จะมีการประชุมรับสมัครสมาชิกใหม่ในเดือนหน้า เพื่อทําความรู ้จกั กันไว้ ก่อน จะได้ฝากเนื้ อฝากตัว เมื่อทําความรู ้จกั กันเรี ยบร้อย หลังกินข้าวเสร็ จ พวกเรา ก็ถือโอกาสกราบลา ท่านประธาน และกรรมการกลุ่มอื่น ๆ เพราะประเด็นที่เรา ต้องการมาเก็บรายละเอียด เราได้ครบแล้ว เรากล่ า วอํา ลา แต่ ไ ม่ ลื ม ฝากเนื้ อ ฝากตัว ไว้กับ ประธานกลุ่ ม สัจ จะของ หมู่บา้ นว่า “เอาไว้พบกันในวันประชุมใหญ่กลางปี ครับ” ท่านตอบด้วยรอยยิม้ ว่า “ยินดีครับ แล้วพบกัน”

วันประชุ มใหญ่ กลางปี คู่มือแนวทางการทํางาน

หน้ า 162


เครื อข่ ายกลุ่มสัจจะสะสมทรั พย์ เพื่อพัฒนาคุณธรรมครบวงจรชีวิต นครศรี ธรรมราช

ผูป้ ระสานงานของเราได้รับการติดต่อจากผูป้ ระสานงานกลุ่มสัจจะของหมู่ 1 สัปดาห์ก่อนจะมีการประชุมใหญ่กลางปี ว่า ถ้าพวกเรามีเวลา ขอให้มาพักค้าง คืนในหมู่บา้ นสัก 2 คืนก่ อนจะมีการประชุ มใหญ่ เพราะจะได้มาดูการประชุ ม เตรี ยมความพร้อมก่อน ผูป้ ระสานงานของเราได้แจ้งมายังพวกเราในวันเดียวกัน แล้วเราก็ตกลงกัน ว่า จะไปค้างคืนในหมู่บา้ นที่ จะมีการประชุ มใหญ่กลางปี ตั้งแต่คืนวันศุกร์ เพื่ อ ร่ วมสังเกตการณ์การประชุ มเตรี ยมความพร้อมในตอนสาย ๆ วันศุกร์ ก่อน แล้ว นอนค้าง 2 คืน เพื่อจะได้เข้าร่ วมการประชุมใหญ่กลางปี ในเช้าวันอาทิตย์เลย เราเดิ นทางไปถึ ง หมู่ บา้ นในเช้า วัน ศุ กร์ แบบสบาย ๆ เพราะเดิ นทางไป หลายรอบแล้ว จึงคุน้ เคยกับเส้นทาง และสิ่ งแวดล้อมในหมู่บา้ นเป็ นอย่างดี รถ คณะของเรามาถึ ง ราว 9 โมงเช้า หลัง จากไปกราบสวัส ดี ป ระธานกลุ่ ม และ กรรมการแล้ว พวกเราก็มานัง่ ล้อมวงรวมกับกรรมการคืนอื่น ๆ การประชุมเตรี ยมความพร้อมนี้ น่าจะเรี ยกว่าการนัง่ คุยกันมากกว่า เพราะ บรรยากาศเป็ นไปแบบสบาย ๆ หลังจากประธานกล่าวทักทายกรรมการคนอื่น ๆ และพวกเราแล้ว ประธานก็ถามขึ้นว่า “ประชุ มกลางปี ในปี นี้ คาดว่าจะมาสักกี่ คน” กรรมการที่รับผิดชอบสมาชิ กในแต่ละกลุ่มบอกจํานวนสมาชิ กที่จะมาร่ วม หลังจากที่กรรมการคุยกับสมาชิกมา และได้รับคํายืนยันมาแล้วแล้ว

คู่มือแนวทางการทํางาน

หน้ า 163


เครื อข่ ายกลุ่มสัจจะสะสมทรั พย์ เพื่อพัฒนาคุณธรรมครบวงจรชีวิต นครศรี ธรรมราช

ประธานกล่าวต่อว่า “อือ ดีมาก ปี นี้ สมาชิกเราก็ตื่นตัวเหมือนกับปี ที่ผา่ น ๆ มา” แล้วก็ถามต่อไปว่า “หากสมาชิ กมามากขนาดนั้น เราคงต้องกางเต็นท์สกั 10 หลัง จะได้ไว้เป็ นที่นั่งประชุ มกลุ่มย่อยของสมาชิ ก กรรมการผูร้ ับผิดชอบเรื่ อง สถานที่ในปี นี้ ใครจะอาสาบ้าง” พอกล่าวจบ กรรมการก็ยกมือขึ้นอาสาทําเรื่ องนี้ สี่ ห้า คน ประธานบอกว่า “เอาสักสองคนก็ พ อ เพราะเจ้า ของเต็น ท์เ ขาก็ ค งมี คนงานของเขามาจัดการอยูแ่ ล้ว กรรมการเราก็คอยอํานวยความสะดวกก็พอ” ต่อมาประธานได้คุยเรื่ องอาหาร เครื่ องดื่ม หลังคุยกันสักสองสามนาที ก็ได้ ข้อสรุ ปว่า จะเอาอะไรเป็ นอาหารว่างบ้าง และได้ตวั กรรมการที่จะรับผิดชอบเรื่ อง นี้ ต่อจากนั้น ก็ได้กรรมการผูร้ ับผิดชอบเรื่ องการลงทะเบียน และกรรมการที่จะ เป็ นพี่เลี้ยงในการประชุมกลุ่มย่อยของสมาชิก การประชุ มผ่านไปยังไม่ถึง 2 ชัว่ โมง ทุกอย่างก็เรี ยบร้อย การมาประร่ วม สังเกตการณ์การนัง่ พูดคุยเตรี ยมความพร้อมในวันนี้ สิ่ งที่พวกเราได้ และเชื่ อว่า น่าจะเป็ นเรื่ องที่กา้ วหน้าที่สุดสําหรับองค์กรชาวบ้านคือ ประเด็นการพูดคุยที่กลุ่ม เตรี ยมไว้สาํ หรับให้สมาชิ กอภิปรายกันเวลาประชุมกลุ่มย่อยได้แก่ ประเด็นการ บริ หารจัดการกลุ่ม และประเด็นการค้นหาตนเอง พวกเราจึงขอสําเนามาชุดหนึ่ ง นําเนาชุดนี้ มีขอ้ ความสองตอน ตอนแรกเป็ นการอภิปรายการทํางานของกลุ่ม มี ข้อความว่า

คู่มือแนวทางการทํางาน

หน้ า 164


เครื อข่ ายกลุ่มสัจจะสะสมทรั พย์ เพื่อพัฒนาคุณธรรมครบวงจรชีวิต นครศรี ธรรมราช

ประเด็นการอภิปรายการทํางานของกลุ่ม เพื่อพัฒนากลุ่มของเราให้กา้ วหน้า สมาชิกและกรรมการของกลุ่มจะต้อง เรี ยนรู ้ระบบการทํางานของกลุ่มเราอย่างมีส่วนร่ วม โอกาสนี้ ขอให้กรรมการและ สมาชิกร่ วมกันพูดคุยถึงวิธีการทํางานของกลุ่มเรา ตามความเข้าใจของแต่ละคน ในประเด็นต่อไปนี้ 1. การทํางาน ก. มีระบบการบริ หารกรรมการอย่างไร ข. มีระบบการบริ การสมาชิกอย่างไร ค. มีกระบวนการพัฒนากรรมการอย่างไร ง. มีกระบวนการพัฒนาสมาชิกอย่างไร 2. การรับสมาชิก ก. มีกระบวนการรับสมาชิกใหม่อย่างไร ข. มีการจัดระบบการทํางานประจําเดือนอย่างไร ค. มีการจัดเก็บหลักฐานข้อมูลอย่างไร 3. การปล่อยเงินกู้ ก. มีกระบวนการกูเ้ งินอย่างไร 1) การเสนอเงินกูข้ องสมาชิก 2) การพิจารณาเงินกูข้ องคณะกรรมการ คู่มือแนวทางการทํางาน

หน้ า 165


เครื อข่ ายกลุ่มสัจจะสะสมทรั พย์ เพื่อพัฒนาคุณธรรมครบวงจรชีวิต นครศรี ธรรมราช

3) การทําสัญญาเงินกูข้ องสมาชิกและผูเ้ กี่ยวข้อง 4) การปล่อยเงินกู้ 5) การชําระเงินกู้ ข. ระเบียบการกูเ้ งินเป็ นอย่างไร 1) ค่าบํารุ ง 2) คุณสมบัติของคนกู้ 3) คุณสมบัติของคนคํ้า 4) คุณสมบัติของคนรับรอง 5) การพิสูจน์หลักทรัพย์ค้ าํ ประกันเงินกู้ 4. การจัดสวัสดิการมีข้นั ตอนอย่างไร ก. เกิด ข. แก่ ค. เจ็บ ง. ตาย จ. อื่น ๆ 1) การหารายได้เข้ากองทุน 2) วัตถุประสงค์การจ่ายกองทุน 5. ฌาปนกิจ คู่มือแนวทางการทํางาน

หน้ า 166


เครื อข่ ายกลุ่มสัจจะสะสมทรั พย์ เพื่อพัฒนาคุณธรรมครบวงจรชีวิต นครศรี ธรรมราช

ก. การให้ความรู ้สมาชิกเรื่ องฌาปนกิจทําอย่างไร ข. การรับเงินฌาปนกิจเป็ นอย่างไร ค. ขั้นตอนในการจ่ายฌาปนกิจเป็ นอย่างไร 6. การขายสิ นค้าสวัสดิการ ก. การให้ความรู ้เรื่ องร้านค้าชุมชนทําอย่างไร ข. ในกลุ่มมีการขายสิ นค้าสวัสดิการหรื อไม่ ค. ขายสิ นค้าอะไรบ้าง ง. การแบ่งปันผลกําไรจากการขายสิ นค้าทําอย่างไร จ. วิธีการพัฒนาร้านค้าสวัสดิการทําอย่างไร ฉ. ประโยชน์จากการขายสิ นค้าสวัสดิการมีอะไรบ้าง 7. ปัญหาและแนวทางแก้ปัญหา ก. ปัญหาและการแก้ปัญหาของกรรมการ 1) ความซํ้าซ้อนของการเป็ นกรรมการ 2) แนวทางแก้ปัญหา ข. ปัญหาและการแก้ปัญหาสมาชิก 1) ความซํ้าซ้อนของการเป็ นสมาชิก 2) แนวทางแก้ปัญหา 8. การรับสมาชิกใหม่ คู่มือแนวทางการทํางาน

หน้ า 167


เครื อข่ ายกลุ่มสัจจะสะสมทรั พย์ เพื่อพัฒนาคุณธรรมครบวงจรชีวิต นครศรี ธรรมราช

ก. เราจะรับสมาชิกใหม่หรื อไม่ ข. รับคนแบบไหน รับคนที่ไหน ค. จะเก็บเงินเข้ากองทุนคนละเท่าไหร่ ง. ทําไมต้องเก็บจํานวนเท่านั้น จ. จะเอาเงินไปไว้ไหน ฉ. จะเอาเงินไปทําอะไร ตอนที่สองเป็ นการอภิปรายเพื่อค้นหาตัวเองของชุมชน และตนเอง โดยมี ประเด็นรายการประเด็นการอภิปราย ความว่า ประเด็นการอภิปรายเพื่อค้ นหาตนเอง เพื่อให้สมาชิกได้รู้จกั ตัวเอง และชุมชนของตนเอง ให้สมาชิกช่วยมองสิ่ งที่ อยูภ่ ายใน (ร่ างกาย ความคิด ความรู ้สึก) ตัวเราเอง และสิ่ งแวดล้อมภายในชุมชน (บุคคล วัตถุ สิ่ งของ เหตุการณ์) ของตัวเราเอง แล้วช่ วยกันอภิ ปรายเพื่อค้นหา จุดอ่อน (มีสิ่งที่เป็ นโทษ หรื อขาดสิ่ งที่เป็ นประโยชน์) จุดแข็ง (ขาดสิ่ งที่เป็ นโทษ หรื อมีสิ่งที่เป็ นประโยชน์) หลังจากนั้น ให้ช่วยกันมองสิ่ งแวดล้อม (บุคคล วัตถุ สิ่ งของ เหตุการณ์) ที่ อยูภ่ ายนอกตัวเราเอง และชุมชนของตัวเราเอง แล้วช่วยกันอภิปรายเพื่อพิจารณา คู่มือแนวทางการทํางาน

หน้ า 168


เครื อข่ ายกลุ่มสัจจะสะสมทรั พย์ เพื่อพัฒนาคุณธรรมครบวงจรชีวิต นครศรี ธรรมราช

ว่าสิ่ งนั้นเป็ นโอกาส (เป็ นประโยชน์ ป้ องกันโทษ) และภัยคุกคาม (เป็ นโทษ ทํา ให้สูญเสี ย ทรัพย์สิน เงินทอง หรื อโอกาส) ที่มีต่อตนเอง และชุมชน แล้วช่วยกันตอบคําถามในประเด็นต่อไปนี้ 1. ค้นหาจุดแข็งในตัวเรา ก. เรามี ค วามรู ้ ที่ สื บทอดมาจาก ปู่ ย่ า ตา ยาย มี อ ะไรบ้ า ง (ตัวเรารู ้อะไรบ้าง) ข. เรามี ความสามารถที่ สืบทอดมาจาก ปู่ ย่า ตา ยาย มี อะไรบ้า ง (ตัวเราทําอะไรเป็ นบ้าง) ค. ความรู ้ความสามารถที่ตวั เราเรี ยนรู ้ภายหลัง มีอะไรบ้าง 2. ค้นหาจุดแข็งในชุมชนของเรา ก. ชุ มชนเรามี ของดีอะไรบ้าง (ภูเขา ต้นไม้ แม่น้ าํ ลําธาร สถานที่ ผลิตภัณฑ์ชุมชน ประเพณี วัฒนธรรม ศิลปะพื้นบ้าน) ข. ชุ ม ชนของเรามี ค นดี อ ะไรบ้า ง (ปราชญ์ช าวบ้า น ภู มิ ปั ญ ญา ชาวบ้าน) 4. ค้นหาจุดอ่อนในตัวเรา ก. ตัวเราขาดความรู ้อะไรบ้าง ที่สืบทอดมาจากรุ่ น ปู่ ย่า ตา ยาย ข. ตัวเราขาดความสามารถอะไรบ้าง ที่สืบทอดมาจากรุ่ น คู่มือแนวทางการทํางาน

หน้ า 169


เครื อข่ ายกลุ่มสัจจะสะสมทรั พย์ เพื่อพัฒนาคุณธรรมครบวงจรชีวิต นครศรี ธรรมราช

ปู่ ย่า ตา ยาย ค. ตัวเราขาดความรู ้ ความสามารถอะไรบ้าง ที่เป็ นความรู ้ ความสามารถในยุคปัจจุบนั 4. ค้นหาจุดอ่อนในชุมชนของเรา ก. ชุมชนเราขาดของดีอะไรบ้าง (ภูเขา ต้นไม้ แม่น้ าํ ลําธาร สถานที่ ผลิตภัณฑ์ชุมชน ประเพณี วัฒนธรรม ศิลปะพื้นบ้าน) ข. ชุ มชนของเราขาดคนดี อะไรบ้าง (ปราชญ์ชาวบ้าน ภูมิปัญญา ชาวบ้าน) 5. นําจุดแข็งในตัวเราไปทําให้เกิดประโยชน์ ก. แปลงความรู ้ให้เกิ ดเป็ นรายได้แก่ตวั เอง ต้องทําอย่างไร ต้องใช้ อะไรบ้าง ข. แปลงความสามารถให้เกิ ดเป็ นรายได้แก่ ตวั เอง ต้องทําอย่างไร ต้องใช้อะไรบ้าง 6. นําจุดแข็งในชุมชนไปทําให้เกิดประโยชน์ ก. แปลงของดี ให้เกิ ดเป็ นรายได้แก่ ชุมชน ต้องทําอย่างไร ต้องใช้ อะไรบ้าง คู่มือแนวทางการทํางาน

หน้ า 170


เครื อข่ ายกลุ่มสัจจะสะสมทรั พย์ เพื่อพัฒนาคุณธรรมครบวงจรชีวิต นครศรี ธรรมราช

ข. แปลงคนดี ให้เกิ ดเป็ นรายได้แก่ ชุมชน ต้องทําอย่างไร ต้องใช้ อะไรบ้าง 7. สิ่ งแวดล้อมภายนอกชุมชนมีอะไรบ้าง ก. อาหาร ได้แก่ ข. เครื่ องนุ่งห่ ม ได้แก่ ค. ที่อยูอ่ าศัย ได้แก่ ง. ยารักษาโรค ได้แก่ จ. อื่น ๆ ได้แก่ 8. โอกาสจากสิ่ งแวดล้อมภายนอกชุมชนที่มีต่อตนเอง ก. อาหาร เปิ ดโอกาสให้ได้/เป็ นประโยชน์ ข. เครื่ องนุ่งห่ ม เปิ ดโอกาสให้ได้/เป็ นประโยชน์ ค. ที่อยูอ่ าศัย เปิ ดโอกาสให้ได้/เป็ นประโยชน์ ง. ยารักษาโรค เปิ ดโอกาสให้ได้/เป็ นประโยชน์ จ. อื่น ๆ เปิ ดโอกาสให้ได้/เป็ นประโยชน์ 9. โอกาสจากสิ่ งแวดล้อมภายนอกชุมชนที่มีต่อชุมชน ก. อาหาร เปิ ดโอกาสให้ชุมชนได้/เป็ นประโยชน์ คู่มือแนวทางการทํางาน

หน้ า 171


เครื อข่ ายกลุ่มสัจจะสะสมทรั พย์ เพื่อพัฒนาคุณธรรมครบวงจรชีวิต นครศรี ธรรมราช

ข. เครื่ องนุ่งห่ มเปิ ดโอกาสให้ชุมชนได้/เป็ นประโยชน์ ค. ที่อยูอ่ าศัยเปิ ดโอกาสให้ชุมชนได้/เป็ นประโยชน์ ง. ยารักษาโรค เปิ ดโอกาสให้ชุมชนได้/เป็ นประโยชน์ จ. อื่น ๆ เปิ ดโอกาสให้ชุมชนได้/เป็ นประโยชน์ 10. ภัยคุกตามจากสิ่ งแวดล้อมภายนอกชุมชนที่มีต่อตนเอง ก. อาหาร ทําให้เสี ย/เป็ นโทษ ข. เครื่ องนุ่งห่ ม ทําให้เสี ย/เป็ นโทษ ค. ที่อยูอ่ าศัย ทําให้เสี ย/เป็ นโทษ ง. ยารักษาโรค ทําให้เสี ย/เป็ นโทษ จ. อื่น ๆ ทําให้เสี ย/เป็ นโทษ 11. ภัยคุกตามจากสิ่ งแวดล้อมภายนอกชุมชนที่มีต่อชุมชน ก. อาหาร ทําให้ชุมชนเสี ย/เป็ นโทษ ข. เครื่ องนุ่งห่ ม ทําให้ชุมชนเสี ย/เป็ นโทษ ค. ที่อยูอ่ าศัย ทําให้ชุมชนเสี ย/เป็ นโทษ ง. ยารักษาโรค ทําให้ชุมชนเสี ย/เป็ นโทษ คู่มือแนวทางการทํางาน

หน้ า 172


เครื อข่ ายกลุ่มสัจจะสะสมทรั พย์ เพื่อพัฒนาคุณธรรมครบวงจรชีวิต นครศรี ธรรมราช

จ. อื่น ๆ ทําให้ชุมชนเสี ย/เป็ นโทษ 12. เราจะใช้กลุ่มสัจจะเป็ นเครื่ องมื อในการเปลี่ ยนจุดแข็งเป็ นรายได้ ได้ อย่างไร 13. เราจะใช้กลุ่มสัจจะเป็ นเครื่ องมือในการแก้ไขจุดอ่อนได้อย่างไร 14. เราจะใช้กลุ่มสัจจะเป็ นเครื่ องมือในการ เปลี่ยนโอกาสให้เป็ นรายได้ ได้อย่างไร 15. เราจะใช้กลุ่ มสัจจะเป็ นเครื่ อ งมื อ ในการ เปลี่ ยนภัยคุ กคาม ให้เป็ น รายได้ ได้อย่างไร พวกเราเก็บเอกสารประเด็น การอภิ ปรายกลุ่ มย่อ ยเข้า ไว้ในแฟ้ มข้อ มู ล ระหว่างฟั งประธานชี้ แจง ก่ อนการพูดคุยจะจบลงเราได้ยกมือถามความสงสัย เรื่ อ งประเด็น การอภิ ป รายสองเรื่ อ งนี้ ว่า “การอภิ ปรายทั้ง สองประเด็น นี้ จะ อภิปรายในการประชุมกลางปี ปี นี้ เลยไหมครับ” ประธานได้ไขข้อข้องใจของเรา ว่า “การประชุมกลางปี ปี นี้ เราจะให้สมาชิกอภิปรายเรื่ องการทํางาน เพราะว่าปี นี้ เราจะรับสมาชิ กใหม่ จึงให้สมาชิ กซักซ้อมความรู ้กนั ก่อน ส่ วนการอภิปรายเพื่อ ค้น หาตัว เอง เราจะให้ ส มาชิ ก อภิ ป รายในปี ที่ ไ ม่ มี ก ารรั บ สมาชิ ก ใหม่ เพื่ อ เตรี ยมพร้อมสําหรับการวางแผนพัฒนาสมาชิกค่ะ” คู่มือแนวทางการทํางาน

หน้ า 173


เครื อข่ ายกลุ่มสัจจะสะสมทรั พย์ เพื่อพัฒนาคุณธรรมครบวงจรชีวิต นครศรี ธรรมราช

หลังจากนั้น ประธานได้สรุ ปกําหนดการขั้นตอนการประชุ มที่จะเกิ ดขึ้น ในวันประชุมใหญ่กลางปี แล้วเขียนออกมาเป็ นกําหนดการประชุมว่า กําหนดการประชุ ม 12.00 น.

ลงทะเบียน

13.00 น.

ไหว้พระ สวดมนต์ นัง่ สมาธิ

13.30 น.

ประธานกล่าวเปิ ด

14.00 น.

อภิปรายกลุ่มย่อย

15.00 น.

นําเสนอผลการอภิปรายกลุ่มย่อย

17.00 น.

สรุ ปผลการอภิปราย มอบรางวัล

17.30 น.

ไหว้พระ ปิ ดการประชุม

พวกเราผูบ้ นั ทึกข้อมูลไม่ลืมที่จะบันทึกขั้นตอนการประชุมลงไปในสมุด บันทึกด้วย เพราะเอกสารนี้ยงั ไม่ได้จดั ทํา แต่จะนําไปแจกในวันประชุมใหญ่ พอ จบการพูดคุย เราก็พกั กินข้าวเที่ยงด้วยกัน ในเย็นวันนั้น เราพักค้างคืนในหมู่บา้ น เช้าวันเสาร์ เป็ นอีกวันหนึ่ งที่เราได้ มีโอกาสไปเที่ ยวชมทุ่ งนารอบ ๆ หมู่ บา้ น มาเดื อนนี้ ทุ่ งนาเก็บเกี่ ยวเสร็ จแล้ว ชาวบ้านที่ทาํ นา กําลังไถกลบตอซังข้าว บางคนเริ่ มเอานํ้าหมักมาหมักตอซังข้าว คู่มือแนวทางการทํางาน

หน้ า 174


เครื อข่ ายกลุ่มสัจจะสะสมทรั พย์ เพื่อพัฒนาคุณธรรมครบวงจรชีวิต นครศรี ธรรมราช

บางคนก็กาํ ลังปลูกผักกาด บางบ้านก็มีแตงโมที่กาํ ลังเริ่ มเก็บออกไปสู่ ตลาดได้ แล้ว เราเดิ นเที่ยวจนถึ งคํ่า บ่าย ๆ เรากลับเข้ามาที่หมู่บา้ น เพื่อมาช่ วยดูความ พร้อมของสถานที่ ตกเย็นอาบนํ้า กินข้าวเย็นที่บา้ นประธาน แล้วกลับมานอนที่ บ้านพักที่กรรมการกลุ่มจัดไว้ให้ ตอนนี้ สถานที่เราพร้ อมแล้ว พรุ่ งนี้ เราก็จะได้ บรรยากาศการประชุมใหญ่แบบชาวบ้านว่าจะสนุ กสนาน หรื อเคร่ งเครี ยดแบบ การประชุมของหน่วยงานราชการมากน้อยแค่ไหน แล้วเช้าวันประชุมใหญ่กม็ าถึง สาย ๆ วันนั้น ชาวบ้านในหมู่บา้ นเริ่ มทยอย กันมายัง สถานที่ ประชุ มที่ จดั ไว้ คนที่ เป็ นพ่อค้า แม่ คา้ เอาของที่ จะขายมาวาง อย่า งคึ กคัก สมาชิ กทยอยกันมาลงทะเบี ยน รั บหมายเลขกลุ่ มย่อ ย แล้วไปรั บ อาหารว่าง ไปนัง่ กินรออยูท่ ี่กลุ่มย่อยที่สงั กัด แล้วเวลาการประชุ มก็มาถึ ง หลังจากประธานนําไหว้พระสวดมนต์ นั่ง สมาธิเหมือนทุกการประชุมของกลุ่ม การประชุมก็เริ่ มขึ้น สุ นทรพจน์ ประธาน สิ่ งที่พวกเราประทับใจที่สุดในการประชุ มใหญ่กลางปี ได้แก่ คําปราศรัย ของประธานกลุ่ม มีตอนหนึ่ งที่ ทาํ ให้พวกเราทึ่ งในความเป็ นผูน้ าํ ของประธาน กลุ่มสัจจะของหมู่บา้ นนี้ หลังจากพูดถึงสถานะปั จจุบนั ของกลุ่มแล้ว มีตอนหนึ่ ง คู่มือแนวทางการทํางาน

หน้ า 175


เครื อข่ ายกลุ่มสัจจะสะสมทรั พย์ เพื่อพัฒนาคุณธรรมครบวงจรชีวิต นครศรี ธรรมราช

ที่จะอยูใ่ นความทรงจําของพวกเราอีกนานแสนนาน เสี ยงนั้นยังก้องอยูใ่ นหัวของ พวกเราอย่างชัดเจนว่า “มาถึงวันนี้ สมาชิ กและคนทัว่ ไปได้พิสูจน์แล้วว่า เราเดินทางถูกทางแล้ว คือมีสวัสดิการครอบคลุมตั้งแต่เกิ ด จนตาย และสวัสดิการอื่น ๆ ดังที่เราได้เห็น กันอยู่ “หลายสิ บปี ที่กรรมการและสมาชิกผูร้ ่ วมก่อตั้งกลุ่มสัจจะของของหมู่บา้ น เรา ทุ่มเททํางานอย่างหนัก เพื่อสร้างชุมชนของเราให้เข้มแข็ง ประสบการณ์ที่สงั่ สมมา ต้องมีผสู ้ ื บทอด กลุ่มของเรา จึงจําเป็ นที่จะต้องมีคนรุ่ นต่อไป มารรับการ ถ่ายทอดประสบการณ์ เพื่อให้กลุ่มของเราดําเนินการต่อไปได้อย่างมัน่ คง “อีกประการหนึ่ ง โลกทุกวันนี้ เป็ นยุคของโลกเศรษฐกิ จการเงิน หากคน รุ่ นใหม่ในชุมชนของเรา หันไปพึ่งระบบเศรษฐกิจการเงินของโลกทั้งหมด สักวัน หนึ่ ง ชุมชนของเราคงจะต้องตกเป็ นทาสทางการเงินของโลกอย่างแน่นอน “ฉะนั้น ในปี การดําเนิ นการของปี หน้านี้ ทางกลุ่มของเราอยากจะเห็นคน รุ่ นหนุ่ มสาว ในชุ มชนของเรา มาร่ วมสร้ างเศรษฐกิ จการเงิ นของชุ มชนเราให้ เข้มแข็งยิ่งขึ้น เพื่อให้ชุมชนของเรา สามารถเป็ นไทจากระบบการเงินของให้ได้ ในอนาคตอันใกล้น้ ี “ท้ายที่สุดนี้ เราหวังว่า สมาชิ กที่มาร่ วมประชุมในวันนี้ จะได้นาํ เรื่ องราว การทํางานของกลุ่ม ไปเล่าให้ลูกหลานฟั ง เผื่อว่าเขาเหล่านั้นจะได้มีโอกาสใช้ คู่มือแนวทางการทํางาน

หน้ า 176


เครื อข่ ายกลุ่มสัจจะสะสมทรั พย์ เพื่อพัฒนาคุณธรรมครบวงจรชีวิต นครศรี ธรรมราช

ความรู ้ ความสามารถให้เป็ นประโยชน์กบั ชุ มชนของเราให้มากที่ สุด เท่ า ที่ จะ เป็ นไปได้” สิ้ นเสี ยงคํากล่าวปราศรัยของประธาน เสี ยงตบมือ และเสี ยงโห่ ร้องด้วย ความตื่นเต้นดีใจ ราวกับการได้ฟังคําปราศรัยของผูน้ าํ ระดับโลก ประธานกล่าว ขอบคุณ แล้วก็ดาํ เนินกิจกรรมการประชุมตามที่ได้เตรี ยมการวางแผนไว้ในลําดับ ต่อไป ทุกอย่างดําเนิ นไปอย่างเรี ยบร้อย แต่ช่วงที่ดูแล้วสนุก และประทับใจที่สุด ได้แก่ช่วงการนําเสนอผลการอภิปรายที่แต่ละกลุ่มย่อยขึ้นมานําเสนอ พวกเราไม่ เคยเจอการประชุมของชาวบ้านที่คึกคัก และสนุกสนานอย่างนี้ มาก่อน เราอยู่ร่วมการประชุมจนจบ แล้วไปกราบลาประธานและกรรมการกลับ บ้า นในเย็น ๆ ของวัน นั้น เพื่ อ ที่ จ ะไปเตรี ย มตัว ไปดู ก ารประชุ ม ใหญ่ ปั น ผล ประจําปี ของอีกกลุ่มหนึ่ ง ในหมู่บา้ นที่อยูใ่ นตําบลถัดไป วันประชุมใหญ่ ปันผลประจําปี ก่อนที่จะถึงวันประชุมใหญ่ของกลุ่มสัจจะในตําบลถัดไปจากตําบลที่เรา ไปร่ วมประชุ มใหญ่กลางปี ผูป้ ระสานงานของเราได้โทรไปสอบถามเรื่ องการ ประชุมเตรี ยมงานกับผูป้ ระสานงานกลุ่มสัจจะของหมู่บา้ นนั้น คู่มือแนวทางการทํางาน

หน้ า 177


เครื อข่ ายกลุ่มสัจจะสะสมทรั พย์ เพื่อพัฒนาคุณธรรมครบวงจรชีวิต นครศรี ธรรมราช

ผูป้ ระสานงานของเราสอบถามจากผูป้ ระสานงานกลุ่มสัจจะของหมู่บา้ น นั้นว่า การประชุมเตรี ยมงานแตกต่างจากการประชุมเตรี ยมงานประชุมใหญ่กลาง ปี หรื อไม่ ผูป้ ระสานงานฝ่ ายโน้นตอบกลับมาว่า คล้าย ๆ กัน เพียงแต่กาํ หนดการ ประชุมใหญ่กลางปี จะแตกต่างไปจากการประชุมใหญ่ปันผลประจําปี เฉพาะใน เรื่ องกําหนดการประชุมเท่านั้น ให้พวกเราไปร่ วมสังเกตการณ์ในวันประชุมจริ ง เลยก็ได้ ผูป้ ระสานงานของเราได้แจ้งให้ผูป้ ระสานงานฝ่ ายโน้นทราบว่า จะขอ อนุ ญาตนํากล้องวีดีโอไปบันทึกภาพด้วย เราตั้งใจจะไปบันทึกภาพการพูดของ ประธาน และกรรมการ เพื่อจะเอามาเปิ ดให้คนในหมู่บา้ นเราดูเป็ นแนวทางใน การพัฒนาผูน้ าํ ของหมู่บา้ นเราในอนาคต ผูป้ ระสานงานทางโน้นรับทราบและ อนุญาตด้วยความยินดี พวกเราตกลงที่จะเดินทางไปในวันประชุมจริ งเลย พอมาถึงเช้าวันอาทิตย์ ซึ่งเป็ นวันประชุมจริ ง รถของคณะเราก็เดินทางมาถึงหมู่บา้ นที่จะมีการประชุม ซึ่ง เราก็ไม่แปลกใจนักที่หมู่บา้ นนี้ จะมีความเป็ นระเบียบเรี ยบร้อย และความสะอาด สะอ้าน อีกทั้งคนในหมู่บา้ นก็หน้าตายิม้ แย้มแจ่มใส เป็ นกันเอง คนในหมู่บา้ นดู สุ ขภาพแข็งแรงกัน ทุ กคน แม้แ ต่คนแก่ ๆ พวกเราจึ งสรุ ปเป็ นเสี ยงเดี ยวกันว่า หมู่บา้ นที่มีกลุ่มสัจจะนี่ คงจะเหมือนกันทุกหมู่บา้ นแบบนี้ แน่นอนเลย พอรถเข้ามาจอด ณ ที่จดั ประชุม พวกเราเดินไปกราบสวัสดีประธานกลุ่ม และกราบสวัสดีกรรมการกลุ่มทุกคน โดยมีผปู ้ ระสานงานกลุ่ม เป็ นผูน้ าํ พวกเรา คู่มือแนวทางการทํางาน

หน้ า 178


เครื อข่ ายกลุ่มสัจจะสะสมทรั พย์ เพื่อพัฒนาคุณธรรมครบวงจรชีวิต นครศรี ธรรมราช

ไป หลังจากนั้นก็พ าไปลงทะเบี ยนในส่ วนของผูส้ ังเกตการณ์ พร้ อ มทั้ง ได้รับ อาหารว่ า ง และได้รั บ กระดาษคนละแผ่ น เขี ย นว่ า กํา หนดการประชุ ม ใน กําหนดการประชุมมีรายละเอียดว่า กําหนดการประชุ ม 13.00 น.

ไหว้พระ สวดมนต์ ทําสมาธิ ประธานกล่าวเปิ ด

13.30 น.

เข้าสู่วาระการประชุม

15.00 น.

เลือกกรรมการบริ หาร

16.00 น.

ไหว้พระ ปิ ดการประชุม ปันผล

นอกจากกระดาษที่ มี ก ํา หนดการประชุ ม แล้ว ผู ป้ ระสานงานได้ม อบ เอกสารประกอบการประชุ มมาชุดหนึ่ งในนั้นมีขอ้ มูลวาระการประชุมด้วย วาระ การประชุมใหญ่ประกอบด้วย วาระการประชุ ม วาระที่ 1

ประธานแจ้งให้ทราบ

วาระที่ 2

รับรองรายงานการประชุมครั้งที่แล้ว

คู่มือแนวทางการทํางาน

หน้ า 179


เครื อข่ ายกลุ่มสัจจะสะสมทรั พย์ เพื่อพัฒนาคุณธรรมครบวงจรชีวิต นครศรี ธรรมราช

วาระที่ 3

ผลประกอบการในรอบปี

วาระที่ 4

ค่าตอบแทนคณะกรรมการ

วาระที่ 5

คัดเลือกคณะกรรมการบริ หาร

วาระที่ 6

ปันผลสมาชิก

วาระที่ 7

เรื่ องอื่น ๆ

นอกจากวาระการประชุ ม แล้ว เอกสารประกอบการประชุ ม ชุ ด นี้ ยัง มี รายงานสถานะปัจจุบนั ของกลุ่ม บัญชีงบดุล และงบทดลองด้วย พวกเราได้ทราบ ตัวเลขนี้ ถึงกับทึ่ง ไม่น่าเชื่ อว่า สถานะทางการเงินและสวัสดิการของหมู่บา้ นจะ เข้มแข็งขนาดนี้ องค์การปกครองส่ วนท้องถิ่นบางตําบลได้เจอตัวเลขนี้ คงจะอาย ชาวบ้านแทบจะมุดหน้าในแผ่นดินทีเดียว สุ นทรพจน์ ประธาน คณะของพวกเราเข้าไปนัง่ ในบริ เวณที่ผปู ้ ระสานงานจัดไว้ให้ อีกไม่ถึง 15 นาที การประชุมก็เริ่ มขึ้น ตากล้องของเราไม่รอช้าที่จะกดบันทึกวีดีโอ ประธาน นําไหว้พระ และสวดมนต์เป็ นภาษาไทย เช่นเดี ยวกับการประชุมอื่น ๆ ที่เราเคย คู่มือแนวทางการทํางาน

หน้ า 180


เครื อข่ ายกลุ่มสัจจะสะสมทรั พย์ เพื่อพัฒนาคุณธรรมครบวงจรชีวิต นครศรี ธรรมราช

ไปร่ วมมา แล้วต่อด้วยการนัง่ สมาธิ ราว 15 นาที แล้วประธานก็กล่าวขึ้นด้วยเสี ยง อันดัง สะกดคนทั้งห้องประชุมว่า “กราบนมัสการพ่อท่าน สวัสดีพ่อแม่ พี่น้อง ลูกหลาน และกรรมการทุก คน ขอบคุณทุกคนที่เสี ยสละเวลามาร่ วมประชุมใหญ่ประจําปี ของกลุ่มเราในวันนี้ หลายคนที่นง่ั อยู่ในวันนี้ บางคนก็อยู่กบั กลุ่มของเราตั้งแต่พวกเราเริ่ มก่อตั้งกลุ่ม ใหม่ ๆ เมื่อ 30 ปี ที่ แล้ว บางคนก็เป็ นลูกหลานรุ่ นใหม่ แต่ มีอีกหลายคนที่ จาก พวกเราไปแล้วด้วยหมดอายุขยั “สําหรับคนที่ร่วมกันก่อตั้งกลุ่มของเรามาตั้งแต่ตน้ ตอนนั้นพวกเราเต็มไป ด้วยความไม่แน่ ใจ เต็มไปด้วยความสงสัย แต่เพราะความเชื่ อมัน่ ในตัวผูน้ าํ พวก เราจึงตั้งหน้าตั้งตา ทํางานอย่างหนัก เจอปั ญหาก็ช่วยกันแก้ไข เรี ยนรู ้ส่ิ งใหม่ ๆ อยูต่ ลอดเวลาหลายสิ บปี ที่เราทํากลุ่มสัจจะมา “มาถึงวันนี้ ด้วยผลงานที่ประจักษ์แก่สายตาพวกเราทุกคน สิ่ งที่พวกเราเคย ฝันไว้เมื่อตอนตั้งกลุ่มใหม่ ๆ ได้เกิดเป็ นจริ งขึ้นแล้ว ลูกหลานเกิ ดใหม่ของเรามี สวัสดิการคุม้ ครองทันทีที่ลืมตาดูโลก พี่นอ้ งของเราได้รับเงินช่วยเหลือที่เพียงพอ สําหรับการนอนโรงพยาบาล และการดูแลสุ ขภาพอื่น ๆ ปู่ ย่า ตาตายของเรา มีคน ดูแลอย่างอบอุ่น และสุ ดท้ายเมื่อท่านจากโลกไป กลุ่มของเราก็มีเงินช่ วยเหลือที่ เพียงพอ โดยไม่ตอ้ งรบกวนเงินจากลูกหลานเลย

คู่มือแนวทางการทํางาน

หน้ า 181


เครื อข่ ายกลุ่มสัจจะสะสมทรั พย์ เพื่อพัฒนาคุณธรรมครบวงจรชีวิต นครศรี ธรรมราช

“จากข้อเท็จจริ งที่ประจักษ์ชดั แล้ว มาวันนี้ เราทุกคนยิ่งมัน่ ใจเกิ นร้อยว่า พวกเรามาถูกทางแล้ว ตอนนี้ หมู่บา้ นของเราได้กลับไปมี ความสงบสุ ขอีกครั้ ง เหมือนสมัยตอนที่เราเป็ นเด็กแล้ว คนในหมู่บา้ นเราก็กลับไปมีชีวิตที่มีความสุ ข สดใส แข็งแรง เหมื อนตอนที่ ปู่ย่า ตายาย ของเรา ยังเป็ นหนุ่ ม แต่ ดีย่ิง ขึ้ นกว่า สมัยก่อน เพราะเรามีความสะดวกสบายเท่าที่จาํ เป็ นจะมีสาํ หรับหมู่บา้ นเราแล้ว “ยิ่งไปกว่านั้น หมู่บา้ นเรายังมัน่ คงด้วยกองทุนสํารองของหมู่บา้ น ที่จะ ช่วยให้คนในหมู่บา้ นของเรานําไปสร้างงาน สร้างอาชีพได้ โดยไม่ตอ้ งพึ่งแหล่ง เงินทุนจากภายนอก นี่ ถือเป็ นความภาคภูมิใจที่สาํ คัญสําหรับหมู่บา้ นของเรา “อย่างไรก็ตาม แม้วา่ เราจะมัน่ คง มัง่ คัง่ และยัง่ ยืนแล้วก็ตาม เราจะไม่หยุด อยู่แค่น้ ี เราจะร่ วมกันพัฒนากลุ่มของเรา พัฒนาสมาชิ กของเรา พัฒนาหมู่บา้ น ของเรา ให้กา้ วหน้ายิง่ ๆ ขึ้นไปเรื่ อย ๆ โดยเฉพาะการพัฒนาจิตใจสมาชิ กของเรา ให้สูงยิง่ ขึ้นไปเรื่ อย ๆ จนความทุกข์ไม่สามารถเข้าใกล้ได้ “ลูกหลาน ที่ รักทั้งหลาย ลูกหลานคื อรุ่ นต่ อไป ที่ จะรับมรดกนี้ และสื บ ต่อไปยังรุ่ นลูกของลูกต่อไปเรื่ อย ๆ ขอให้พวกลูกหลานเร่ งพัฒนาตนเองให้มาก เร่ งเรี ยนรู ้แนวทางการทํางานของกลุ่มเรา เร่ งเรี ยนรู ้วิธีการทํางานของกลุ่มเรา มี โอกาสก็เข้ามาฝึ กฝน มาสังเกต มาเรี ยนรู ้ งานของกลุ่มเราให้มากที่ สุดเท่ าที่ จะ เป็ นไปได้ เพื่อจะได้สามารถสื บทอดมรดกนี้ ได้ เมื่อเวลามาถึง

คู่มือแนวทางการทํางาน

หน้ า 182


เครื อข่ ายกลุ่มสัจจะสะสมทรั พย์ เพื่อพัฒนาคุณธรรมครบวงจรชีวิต นครศรี ธรรมราช

“พี่พ่อแม่ พี่น้อง ลูกหลาน และกรรมการที่ รักทุกคน เรามาพบกันในอี ก วาระหนึ่ งในปี นี้ เพื่อมาเฉลิมฉลองความสําเร็ จร่ วมกัน มาร่ วมแบ่งปันดอกผลที่ เกิ ดขึ้ นจากการร่ วมแรงร่ วมใจทํางานอย่างหนักมาตลอดปี ของพวกเราทุกคน ขอให้ทุกคน มีความสุขตลอดปี และตลอดไป และตลอดชีวิตเทอญ” สิ้ นเสี ยงประธานกล่าวจบ เสี ยงตบมือ และเสี ยงโห่ ร้องด้วยความตื่นเต้นดี ใจ ราวกับการได้ฟังคําปราศรัยของผูน้ าํ ระดับโลก ก็ดงั กึกก้องขึ้นทัว่ บริ เวณ หลังจากนั้นประธานได้แจ้งให้ทราบเรื่ องทิศทางของกลุ่มในปี หน้าที่จะ เกิดขึ้น พร้อมทั้งเล่าถึงเรื่ องสวัสดิการที่จะเกิดขึ้นในอนาคตสําหรับหมู่บา้ นด้วย จบเรื่ องแจ้งให้ทราบ ประธานได้หนั ไปทางเลขานุการกลุ่มเพื่อเข้าสู่ วาระ รับรองรายงานการประชุมใหญ่ครั้งที่แล้ว เลขานุการกลุ่มได้ให้สมาชิ กหยิบเอกสารประการประชุมขึ้นมาแล้วให้ทุก คนดูตามไปด้วย ขณะที่เลขาทบทวนประเด็นการประชุ มใหญ่เมื่อมีที่แล้วให้ฟัง ตามที่แสดงอยูใ่ นเอกสารประกอบการประชุม การรั บ รองรายงานการประชุ ม ใหญ่ ค รั้ งที่ แ ล้ว ผ่า นไปด้ว ยดี ไม่ มี ก าร ปรับแก้แต่อย่างใด เลขาจึงดําเนินการประชุมในวาระต่อไป เลขานุ การของกลุ่ ม ได้ห ยิบเอกสารขึ้ น มาเพื่ อ ประกอบการรายงานผล ประกอบการประจําปี การอ่านรายงานเป็ นไปอย่างช้า ๆ และชัดถ้อยชัดคํา สิ้ น เสี ยงการอ่ า นรายงานผลประกอบการของเลขานุ ก าร ประธานถามผูเ้ ข้า ร่ ว ม คู่มือแนวทางการทํางาน

หน้ า 183


เครื อข่ ายกลุ่มสัจจะสะสมทรั พย์ เพื่อพัฒนาคุณธรรมครบวงจรชีวิต นครศรี ธรรมราช

ประชุ ม ว่ า “มี ส มาชิ ก คนไหนสงสัย อยากจะถามคํา ถาม เชิ ญ ถามได้น ะคะ” ประธานนิ่ ง เงี ย บสั ก ครู่ เมื่ อ ไม่ มี ส มาชิ ก ถามคํา ถาม ประธานจึ ง ได้เ ชิ ญ ให้ กรรมการที่รับผิดชอบเรื่ องสัจจะ กล่าวสรุ ปผลการทํางานเรื่ องสัจจะในรอบปี ที่ ผ่านมา การวิเคราะห์ จุดอ่อน จุดแข็ง โอกาส และภัยคุกคาม กรรมการที่รับผิดชอบเรื่ องสัจจะ ได้กล่าวสรุ ปถึง จุดอ่อน จุดแข็ง โอกาส และภัยคุกคามที่มีต่อเรื่ องนี้วา่ “กราบนมัสการพ่อท่าน สวัสดีพ่อแม่ พี่น้อง ลูกหลาน และกรรมการทุก คน ผลการดําเนินงานด้านสัจจะของกลุ่มเราในปี ที่ผา่ นมามีดงั นี้ “ในปี นี้ กลุ่มเรามีสมาชิกทั้งหมด 1,500 คน มีกองทุนสัจจะรวมทั้งสิ้ น 50 ล้านบาท นอกจากนี้ ผลการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายใน และสภาพแวดล้อม ภายนอก ทํา ให้ เ ราได้พ บ จุ ด แข็ง จุ ด อ่ อ น โอกาส และภัย คุ ก คาม ของการ ดําเนินงานด้านสัจจะ ดังต่อไปนี้ “จากการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในการบริ หารงานด้านสัจจะของเรา เอง พอจะชี้ให้เห็นจุดแข็ง จุดอ่อน ในการบริ หารงานของเรา ดังต่อไปนี้ “จุดแข็งในการบริ หารงานด้านสัจจะของเราได้แก่ สมาชิกมีวินยั ในการส่ ง สัจจะดีมาก ทั้งส่ งตรงเวลา และการเขียนสมุดสัจจะที่ถูกต้อง และชัดเจนดีมาก คู่มือแนวทางการทํางาน

หน้ า 184


เครื อข่ ายกลุ่มสัจจะสะสมทรั พย์ เพื่อพัฒนาคุณธรรมครบวงจรชีวิต นครศรี ธรรมราช

“จุดอ่อนในการบริ หารงานด้านสัจจะของเราได้แก่ อายุของกรรมการที่ มากขึ้นทุกวัน ทําให้สุขภาพไม่แข็งแรง “ในการแก้ไขจุ ด อ่ อ นในการบริ ห ารงานด้า นสัจจะ ฝ่ ายบริ ห ารสัจจะมี ความเห็นว่า คนหนุ่มสาวรุ่ นหลัง เมื่อจบการศึกษาแล้ว ขอให้มาช่วยงานในกลุ่ม ให้มากขึ้น เพราะคนหนุ่ มสาวที่มาช่ วยงานทุกคนวันนี้ ไม่เพียงพอ เมื่อเทียบกับ ปริ มาณงานที่เพิ่มขึ้น “ส่ วนการวิเคราะห์สิ่งแวดล้อมภายนอกทําให้พบว่า มี ท้ งั โอกาส และภัย คุกคาม ดังที่จะนําเสนอต่อไป “สิ่ งแวดล้อมภายนอก คือสิ่ งที่ อยู่นอกกลุ่มของเรา นอกหมู่บา้ นของเรา จากการวิเคราะห์ ส่ิ งต่ าง ๆ เหล่านั้นทําให้เราพบว่า โอกาสคือ สื่ อต่ าง ๆ และ องค์กรภายนอกต่าง ๆ ให้ความสนใจกับกลุ่มของเรามาก เราควรใช้โอกาสนี้ ให้ เกิดประโยชน์ ฝ่ ายบริ หารสัจจะมีความเห็นว่า กลุ่มของเราควรจัดโฮมสเตย์ข้ ึน ในหมู่บา้ น เพื่อดึงนักท่องเที่ยวเข้าหมู่บา้ นของเรา “อีกอย่างหนึ่ ง โอกาสนี้ เราสามารถกระจายเงินกองทุนสัจจะของหมู่บา้ น เรา ซึ่งเหลือจากการให้สมาชิกของเรากูเ้ ป็ นจํานวนมาก ไปลงทุนในหมู่บา้ นอื่น ๆ เพื่อช่ วยเหลือหมู่บา้ นในจังหวัดอื่น เพื่อสร้างเครื อข่ายเพิ่มเติมในจังหวัดอื่น ๆ ด้วย

คู่มือแนวทางการทํางาน

หน้ า 185


เครื อข่ ายกลุ่มสัจจะสะสมทรั พย์ เพื่อพัฒนาคุณธรรมครบวงจรชีวิต นครศรี ธรรมราช

“ส่ ว นภัย คุ ก คามจากสิ่ ง แวดล้อ มภายนอกได้แ ก่ คนและรถราที่ เ ข้า มา หมู่บา้ นเรามากขึ้น อาจนําขยะเข้ามาในหมู่บา้ นเรา และอาจมีอนั ตรายจากรถยนต์ ที่มากขึ้น ทั้งอุบตั ิเหตุและอากาศเสี ย “ในส่ วนภัยคุกคามนี้ ฝ่ ายบริ ห ารสัจจะมี ความเห็ นว่า ควรจัดตารางนัด ศึกษาดูงาน และการท่องเที่ยวล่วงหน้า ไม่รับนักท่องเที่ยว และการศึกษาดูงานที่ ไม่จองล่วงหน้า เพื่อบริ หารจํานวนแขกให้เหมาะสมสําหรับหมู่บา้ นเรา “ฝ่ ายบริ หารสัจจะ ขอจบการรายงานเพียงเท่านี้ ขอบคุณครับ” สิ้ นเสี ยงการรายงาน ก็มีเสี ยงตบมือ และเสี ยงไชโยโห่ ร้องดังสนัน่ ทั้งห้อง ประชุมด้วยความชื่นชนจากสมาชิ ก พวกเราก็ร่วมตบมือและไชโยโห่ ร้องไปกับ สมาชิ ก ด้ว ยประทับ ใจในการนํา เสนอของกรรมการคนนี้ มาก เพราะเป็ น ข้อเท็จจริ งล้วน ๆ ไม่มีความรู ้สึกมาปนเลย เป็ นการวิเคราะห์ดว้ ยเหตุและผลที่ ชัดเจนมาก เราไม่เคยพบเจอองค์กรชาวบ้านทําแบบนี้ มาก่อนเลย ตลอดชีวิตการดู งานชุมชนของเรา เช่นเดียวกับคนแรก ประธานได้ถามสมาชิกว่า มีผใู ้ ดมีคาํ ถามหรื อไม่ เมื่อ สมาชิ กไม่ ถ ามคํา ถาม ประธานจึ ง ได้เชิ ญให้กรรมการที่ รับผิด ชอบเรื่ องเงิ น กู้ กล่าวสรุ ปผลการทํางานเรื่ องเงินกูใ้ นรอบปี ที่ผา่ นมา กรรมการที่รับผิดชอบเรื่ องเงินกู้ ได้กล่าวสรุ ปถึง จุดอ่อน จุดแข็ง โอกาส และภัยคุกคามที่ มีต่อเรื่ องเงิ นกู้ได้อย่างชัดเจน ไม่ ย่ิงหย่อนไปกว่ากรรมการที่ คู่มือแนวทางการทํางาน

หน้ า 186


เครื อข่ ายกลุ่มสัจจะสะสมทรั พย์ เพื่อพัฒนาคุณธรรมครบวงจรชีวิต นครศรี ธรรมราช

รับผิดชอบเรื่ องสัจจะเลย และเช่นเดี ยวกัน เมื่อสิ้ นเสี ยงการนําเสนอ เสี ยงตบมือ อย่างกึกก้องก็ตามมา สิ้ นเสี ยงตบมือ และเสี ยงไชโยโห่ ร้องของสมาชิ ก ประธานก็ดาํ เนิ นการ เช่ นเดี ยวกับวาระก่ อนหน้านี้ ประธานได้ถามสมาชิ กว่า มีผูใ้ ดมี คาํ ถามหรื อไม่ เมื่ อ สมาชิ ก ไม่ ถ ามคํา ถาม ประธานจึ ง ได้เ ชิ ญ ให้ก รรมการที่ รั บ ผิด ชอบเรื่ อ ง สวัสดิการ กล่าวสรุ ปผลการทํางานเรื่ องสวัสดิการในรอบปี ที่ผา่ นมา กรรมการที่ รับผิดชอบเรื่ อ งสวัสดิ การ ได้กล่ า วสรุ ปถึ ง จุ ดอ่ อน จุ ดแข็ง โอกาส และภัยคุกคามได้อย่างชัดเจน เช่นเดี ยวกับกรรมการสองคนก่อนหน้านี้ และเช่นเดียวกัน เสี ยงตบมือและเสี ยงไชโยโห่ร้องก็ดงั ไม่แพ้กนั เลย เช่นเดี ยวกับวาระก่ อนหน้า เมื่อสิ้ นเสี ยงตบมือและเสี ยงไชโยโห่ ร้องของ สมาชิ ก ประธานได้ถ ามสมาชิ กว่า มี ผูใ้ ดมี คาํ ถามหรื อ ไม่ เมื่ อ สมาชิ กไม่ ถ าม คํ า ถาม ประธานจึ งได้ ด ํ า เนิ นการประชุ มในวาระค่ า ตอบแทนคณะ กรรมการบริ หาร ซึ่ งเป็ นวาระถัดไป ประธานกล่าวขึ้นว่า การพิจารณาค่าตอบแทนกรรมการ “ต่ อ ไปเราก็ จ ะเข้า ถึ ง วาระสํา คัญ อี ก วาระหนึ่ ง คื อ เรื่ องการพิ จ ารณา ค่ า ตอบแทนคณะกรรมการบริ หารในปี ถัด ไป ในปี ที่ แ ล้ ว เราได้ มี ม ติ ใ ห้ คู่มือแนวทางการทํางาน

หน้ า 187


เครื อข่ ายกลุ่มสัจจะสะสมทรั พย์ เพื่อพัฒนาคุณธรรมครบวงจรชีวิต นครศรี ธรรมราช

ค่าตอบแทนคณะกรรมการชุดที่นงั่ อยูต่ ่อหน้าท่านทั้งหลายไปแล้ว และกรรมการ ก็จะได้ค่าตอบแทนตามที่มีมติเมื่อปี ที่แล้วในการประชุมวันนี้ “ส่ วนค่าตอบแทนปี หน้า เราจะมาพิจารณาในปี นี้ เมื่อมีมติแล้ว เราจึงค่อย มาคัดเลือกคณะกรรมการชุ ดใหม่กนั พี่นอ้ งจะได้ไม่ลาํ บากใจ เพราะถ้าเราเลือก กรรมการก่ อน แล้วค่อยมาพิจารณาเรื่ องค่าตอบแทน ทั้งกรรมการ และสมาชิ ก อาจจะลําบากใจ “ตอนตั้ง กลุ่ ม ใหม่ ๆ เราได้ เ ลื อ กกรรมการก่ อ น แล้ว ค่ อ ยพิ จ ารณา ค่าตอบแทน รู ้สึกว่าบรรยากาศค่อนข้างอึดอัด แต่สิบกว่าปี หลังมานี้ ที่เราทดลอง มาเปลี่ยนเป็ นแนวทางนี้ รู ้สึกว่าบรรยากาศการประชุมเป็ นไปอย่างราบรื่ น เลยเรา ทําแบบนี้ มาตลอด “ต่อไปนี้ เราก็มาอภิปรายกันเลยว่า ค่าตอบแทนกรรมการจะเป็ นเท่าไหร่ เมื่อเทียบกับค่าตอบแทนปั จจุบนั มีสามประเด็นคือ เท่าเดิม ลดลง หรื อ เพิ่มขึ้น เมื่อได้ขอ้ สรุ ปแล้ว เราค่อยมาอภิปรายกันว่า จะลดลง หรื อเพิ่มขึ้น เท่าไหร่ “แต่มีขอ้ แม้ว่า กรรมการชุดปั จจุบนั ห้ามออกความเห็น ให้เป็ นผูฟ้ ั งอย่าง เดียว นอกเสี ยจากว่า สมาชิกถามข้อมูล ก็ให้แต่ขอ้ เท็จจริ งเท่านั้น ห้ามใส่ เหตุผล หรื อความรู ้สึกเด็ดขาด”

คู่มือแนวทางการทํางาน

หน้ า 188


เครื อข่ ายกลุ่มสัจจะสะสมทรั พย์ เพื่อพัฒนาคุณธรรมครบวงจรชีวิต นครศรี ธรรมราช

สิ้ นเสี ยงประธาน ในการประชุ มเวทีชาวบ้านโดยทัว่ ไป เรามักจะเห็นแต่ ชาวบ้า งนั่ง เงี ย บ แต่ เ วที น้ ี ผิด จากเวที อื่ น สมาชิ ก อภิ ป รายกัน อย่า งคึ ก คัก แต่ บรรยากาศก็เป็ นไปด้วยความสนุกสนาน ไม่ได้เคร่ งเครี ยดอย่างที่เราคาดไว้แต่ตน้ พออภิปรายกันครบถ้วนแล้ว ประธานก็ให้ลงมติ พวกเราดีใจกับกรรมการ ใหม่ที่จะเข้ามาในปี หน้า สมาชิกที่นี่ใจกว้างมาก ค่าตอบแทนต่อปี ที่ได้ เราคิดว่า กรรมการสามารถอยู่ได้อย่างสบาย ๆ แบบไม่ตอ้ งไปทํางานอื่ นเสริ มเลย ถ้าไม่ ฟุ่ มเฟื อยนัก การคัดเลือกกรรมการบริหาร เมื่อวาระค่าตอบแทนกรรมการผ่านไป ประธานก็นาํ สมาชิกเข้าสู่ วาระการ คัดเลือกกรรมการบริ หารสําหรับปี ที่จะมาถึง การเลื อกกรรมการชุ ดใหม่เป็ นไป อย่า งเรี ยบง่ า ย เริ่ มด้วยประธานและกรรมการชุ ด เก่ า ประกาศลาออกกลางที่ ประชุมใหญ่ ต่อมาอดี ตประธานทําหน้าที่ ประธานในที่ ประชุ มตามระเบี ยบของกลุ่ ม เพื่อดําเนิ นการประชุมต่อไป ประธานในที่ประชุมเปิ ดโอกาสให้สมาชิกเสนอตัวเอง หรื อเสนอผูอ้ ื่นเพื่อ สมัครรับการคัดเลือกเป็ นกรรมการ คู่มือแนวทางการทํางาน

หน้ า 189


เครื อข่ ายกลุ่มสัจจะสะสมทรั พย์ เพื่อพัฒนาคุณธรรมครบวงจรชีวิต นครศรี ธรรมราช

มี สมาชิ กหลายคน ได้เสนอให้กรรมการชุ ด เดิ มบริ หารงานต่ อไป แต่ มี กรรมการคนหนึ่ ง ขอไม่รับตําแหน่ ง เพราะมีเหตุจาํ เป็ น ประธานได้ประกาศขอ คนใหม่เสนอตัวมาทดแทนกรรมการที่ไม่สามารถรับหน้าที่ได้ มีสมาชิ กเสนอชื่ อสมาชิ กคนหนึ่ งเป็ นกรรมการ และสมาชิ กหลายคนให้ การรับรอง การคัดเลือกกรรมการบริ หารชุดใหม่ ก็ได้ขอ้ สรุ ป เมื่ อกลุ่มได้คณะกรรมการบริ หารชุ ดใหม่ ซึ่ งเป็ นคนเดิ มเกื อบทั้งหมด มี เลื อกคนใหม่ ห นึ่ ง มาแทนคนที่ ขอลาออก เพราะต้องย้า ยตามครอบครั วไปอยู่ จังหวัดอื่น เมื่อวาระการคัดเลือกกรรมการได้ขอ้ สรุ ป วาระสําคัญก็มีถึง นัน่ คือวาระ เงินปันผล ที่สมาชิกรอคอย ประธานกรรมการให้เลขานุการกลุ่มอ่านรายงานเงิน ปั น ผลให้ที่ป ระชุ มฟั ง เลขาได้ห ยิบ เอกสารอี กชุ ด หนึ่ ง ที่ มี รายงานเงิ น ปั น ผล ออกมาอ่านให้ให้สมาชิกฟัง เมื่ออ่านจบแล้วประธานก็พูดเสริ มขึ้นว่า “พ่อแม่ พี่นอ้ ง ลูกหลานทั้งหลาย ที่เงินปันผลในปี นี้ มากขนาดนี้ พวกเรารู ้ ไหมว่า เงินเหล่านั้นมาจากไหน” ทั้งห้องเงียบไปสักพัก แล้วประธานก็กล่าวต่อว่า “เงินนี้ มาจากพวกเราทุกคน ทั้งคนที่ส่งสัจจะ และคนที่กูเ้ งินไปลงทุน ทุกคนจึงมี แต่ ไ ด้ คนส่ ง สัจ จะก็ ไ ด้อ อม ได้ส วัส ดิ ก าร แต่ ค นกู้ไ ด้ห ลายเด้ง กว่ า เด้ง ที่ 1 สวัสดิ การ เด้ง ที่ 2 ได้เงิ นกู้ด อกเบี้ ยถูกกว่าธนาคาร เด้งที่ 3 ได้รายได้จากการ ลงทุน และเด้งที่ 4 ได้ทาํ บุญกับหมู่บา้ นจากค่าบํารุ ง คู่มือแนวทางการทํางาน

หน้ า 190


เครื อข่ ายกลุ่มสัจจะสะสมทรั พย์ เพื่อพัฒนาคุณธรรมครบวงจรชีวิต นครศรี ธรรมราช

“ขอให้พวกเราทั้งหลายขอบคุณตัวเอง และขอบคุณคนกูเ้ งิ นของเราด้วย การกล่าวคําว่า สาธุ พร้อม ๆ กัน อ้าว หนึ่ง สอง สาม สาธุ” สิ้ นเสี ยงนับสามของประธาน คําว่าสาธุก็ดงั กึกก้องไปทัว่ ห้องประชุม เป็ น เพียงสาธุที่ฟังแล้วขนลุกไม่เหมือนกับเสี ยงสาธุที่เราเคยได้ยนิ ได้ฟังที่ไหนมาก่อน หน้านี้ เสร็ จแล้วประธานในที่ประชุม ก็นาํ การประชุมเข้าสู่ วาระสุ ดท้าย สําหรับ การประชุมใหญ่ประจําปี นี้ วาระอื่น ๆ มีสมาชิกให้ความสนใจเสนอความคิดเห็นเรื่ องการพัฒนากลุ่ม หลายคน บางคนเสนอโครงการพัฒนาอาชีพ บางคนเสนอแนวคิดการสร้างตลาด ชุมชน และบางคนเสนอให้กลุ่มมาทําเรื่ องการท่องเที่ยว เพื่อหารายได้เข้าชุมชน แต่ละเรื่ อง สมาชิกอภิปรายกันอย่างกว้างขวาง จนได้ขอ้ สรุ ป และแนวทาง การดําเนิ นการ ที่ประชุมมีมติให้บรรจุเรื่ องนี้ เข้าไว้ในแผนการพัฒนาหมู่บา้ นที่จะ ทําขึ้นในการประชุมกรรมการครั้งหน้า เวลาเลยสี่ โมงเย็นเล็กน้อย ประธานก็กล่าวปิ ดการประชุมและนําไหว้พระ เสร็ จแล้วก็แจ้งสมาชิ กที่เข้าร่ วมประชุมว่า “ขอให้สมาชิ กไปติดต่อขอรับเงินปั น ผลได้ที่กรรมการที่ ดูแลกลุ่มของตนเองอยู่ ซึ่ งนั่งอยู่ประจําที่โต๊ะแล้ว” จากนั้น สมาชิ กก็ค่อย ๆ ทยอยกันไปพบกรรมเพื่อรั บเงิ น แล้วก็แยกย้ายกันไปอุดหนุ น พ่อค้าแม่คา้ ที่นาํ ของมาขาย คู่มือแนวทางการทํางาน

หน้ า 191


เครื อข่ ายกลุ่มสัจจะสะสมทรั พย์ เพื่อพัฒนาคุณธรรมครบวงจรชีวิต นครศรี ธรรมราช

พวกเรานั่งดู การประชุ มด้วยความเพลิ ดเพลิ น รู ้สึกดี ใจที่ชาวบ้านสมัยนี้ ก้าวไกลไปกว่าเมื่อ 30 ปี ที่แล้วหลายเท่า หลังจากนั้น พวกเราก็เก็บของ แล้วก็เข้า ไปกราบอําลาประธาน และกรรมทุกคน ก่อนกลับพวกเราไม่ลืมแวะไปซื้ อขนม จาก ขนมป้ าดา ขนมกล้วย ที่ เราเล็งไว้แล้วก่อนเข้าประชุ ม เพราะกลิ่ นหอมยัว่ นํ้าลายเหลือเกิน แนวทางที่มีคาํ อธิบาย ที่นาํ เสนอไปแล้วตั้งแต่ตน้ จนจบในบทนี้ เราได้ทราบแล้วว่า แนวทางใน การทํางานแต่ละเรื่ องของเครื อข่ายเป็ นอย่างไร ตั้งแต่เรื่ องการส่ งสัจจะ การส่ ง เงิ นกู้ การรับสวัสดิ การ การจัดการเงิ นกู้ การรับสมาชิ กใหม่ และเรื่ องกองทุน สวัสดิการทั้งหลาย ในการนําเสนอที่ผ่านมา เพื่อให้ผอู ้ ่านเห็นแนวทางการปฏิบตั ิลว้ น ๆ การ นําเสนอจึงไม่ได้อธิ บายหลักการและเหตุผลของแต่ละแนวทาง รวมทั้งวิธีปฏิบตั ิ ตามแนวทางไว้ในที่ เดี ย วกัน เพื่ อ ป้ อ งกัน ไม่ ให้ผูอ้ ่ า นเกิ ด ความสับสน แต่ จ ะ นํา เสนอไว้ในบทต่ อ ไป ซึ่ งเป็ นบทสุ ด ท้า ยของคู่ มื อ เล่ ม นี้ ขอเชิ ญท่ า นผูอ้ ่ า น ติดตามรายละเอียดดังกล่าวได้ในบทต่อไป

คู่มือแนวทางการทํางาน

หน้ า 192


เครื อข่ ายกลุ่มสัจจะสะสมทรั พย์ เพื่อพัฒนาคุณธรรมครบวงจรชีวิต นครศรี ธรรมราช

บทที่ 6 แนวทางการทํางาน สรุป อธิบาย เสนอแนะ (สําหรับใช้พดู ในการอบรมกรรมการ หรื อสมาชิกทั้งเก่าและใหม่)

ที่ ผ่า นมาในบทที่ 5 เราได้ท ราบวิ ธี ก ารทํา งานของกลุ่ ม สัจ จะที่ เ ป็ นสมาชิ ก เครื อข่าย รวมทั้งระเบียบที่เกี่ยวกับเรื่ องนั้น ๆ แล้ว ซึ่ งได้ใช้เป็ นแนวทางในการ ปฏิ บตั ิในเรื่ องนั้น ๆ สําหรับกรรมการ และสมาชิ กของกลุ่มสัจจะสมาชิ กของ เครื อข่ายที่สมมติข้ ึน โดยแนวทางและระเบียบดังกล่าว ได้นาํ เสนอไปในรู ปแบบ ของเรื่ องเล่า เพื่อให้ผอู ้ ่านได้เห็นภาพชัดเจนที่สุด เท่าที่จะเป็ นไปได้ อย่างไรก็ตาม แม้ว่าผูอ้ ่านอาจจะเห็นภาพการทํางาน และระเบียบปฏิบตั ิที่ เป็ นรู ปธรรมอย่างชัดเจน แต่บางคนอาจมีคาํ ถามในใจว่า ทําไมจึงปฏิบตั ิแบบนั้น การทําอย่างนั้นจะนําเครื อข่ายไปสู่ หมู่บา้ นอาริ ยะ หรื ออาริ ยะบุคคลได้อย่างไร และวิธีปฏิบตั ิ ตามระเบี ยบในเรื่ องต่าง ๆ ที่กล่าวมานั้น มีข้ นั ตอนในการปฏิ บตั ิ อย่างไร ในบทนี้ จะได้ตอบข้อสงสัยของผูอ้ ่านในประเด็นดังกล่าวข้างต้น โดยจะ นําเสนอในรู ปแบบคําบรรยายที่ เป็ นเหตุ เป็ นผล เพื่อสร้ างความเข้าใจเพิ่มเติ ม สําหรับผูท้ ี่อาจมีคาํ ถามในใจ โดยจะนําเสนอที ละเรื่ องที่ประกอบด้วย หลักการ คู่มือแนวทางการทํางาน

หน้ า 193


เครื อข่ ายกลุ่มสัจจะสะสมทรั พย์ เพื่อพัฒนาคุณธรรมครบวงจรชีวิต นครศรี ธรรมราช

และเหตุ ผ ลของแนวทาง และวิ ธี ป ฏิ บ ัติ ต ามระเบี ย บของแนวทางนั้น ๆ ดัง รายละเอียดที่จะนําเสนอต่อไป แนวทางการทํางานของเครื อข่ าย ที่ผ่านมา เราได้พาท่านผูอ้ ่านไปเยี่ยมชมวิธีการทํางานของกลุ่มสัจจะใน หมู่บา้ นแห่ งหนึ่ ง ซึ่ งวิธีการทํางานที่ ปฏิ บตั ิ อยู่ในกลุ่ มสัจจะที่ เป็ นสมาชิ กของ เครื อข่ าย เป็ นการเขี ยนระเบี ยบการทํา งานขึ้ นโดยอาศัยแนวทางเดี ยวกัน ของ เครื อข่ายกลุ่มสัจจะ การสรุ ปแนวทางที่ผอู ้ ่านจะได้อ่านในบทนี้ ข้อความอาจจะไม่เหมือนกับ ระเบียบที่ได้อ่านในบทที่ 5 เสี ยทีเดียว เพราะในบทที่ 5 เป็ นการกล่าวถึงระเบียบ ในเรื่ อ งหนึ่ ง ๆ ของกลุ่ ม หนึ่ ง ๆ โดยเฉพาะ แต่ ใ นบทที่ 6 นี้ จะเป็ นการสรุ ป หลักการของเรื่ องนั้น ๆ พร้อมทั้งคําอธิ บาย และข้อเสนอแนะในการนําไปปฏิบตั ิ ในแต่ละเรื่ องดังต่อไปนี้ แนวทางการส่ งสั จจะ สาเหตุที่เครื อข่ายกําหนดให้สมาชิ กตั้งสัจจะว่าจะต้องส่ งสัจจะเดื อนละ เท่านั้น เป็ นระยะเวลาติ ดต่ อกัน 1 ปี จึงจะสามารถเปลี่ ยนได้ ก็เพราะต้องการ พัฒ นาคุ ณ ธรรมเบื้ อ งต้น คื อ เรื่ อ งวินัย หรื อ ศี ล ให้แ ก่ ส มาชิ ก เป็ นการฝึ กการ คู่มือแนวทางการทํางาน

หน้ า 194


เครื อข่ ายกลุ่มสัจจะสะสมทรั พย์ เพื่อพัฒนาคุณธรรมครบวงจรชีวิต นครศรี ธรรมราช

วางแผนการเงินภาคปฏิบตั ิสาํ หรับชาวบ้าน แบบไม่ตอ้ งเอาทฤษฎีมาว่า แต่ให้ลง มือทําเลย วินยั หรื อ ศีล ในที่น้ ี ไม่ใช้ศีลที่ไปรับมาจากพระ ที่เป็ นเพียงแค่การท่องจํา แต่ไม่เกิดการเปลี่ยนแปลงที่เป็ นรู ปธรรมกับชีวิต ศีล ที่สมาชิกได้ฝึกได้ปฏิบตั ิใน ที่น้ ี เป็ นศีลในระดับหลักการ คือการฝึ กความหนักแน่ นดัง่ ศิ ลา หรื อเป็ นการฝึ ก ความหนักแน่นให้เป็ นปกติ นัน่ เอง ส่ วนที่ตอ้ งกําหนดให้ทาํ ติดต่อกันเป็ นระยะเวลา 1 ปี จึงจะสามารถเปลี่ยน ได้ ก็เพื่อให้การปฏิบตั ิ เป็ นการทําโดยปกติ อันนี้ มาจากหลักการที่ว่า เมื่อคนเรา ทําอะไรซํ้า ๆ จะเกิ ดความเคยชิ น และกลายเป็ นเรื่ องปกติในชี วิตประจําวัน บาง หลักวิชาอาจจะกล่าวว่า ระยะเวลาที่สมองจะจดจําการกระทําสิ่ งใหม่จนกลายเป็ น เรื่ องปกติ คือ 21 วัน แต่บางหลักการก็จะบอกว่า ต้องทําติดต่อกัน 90 วัน ผลลัพธ์ จึงจะเกิด การฝึ กฝนคุณธรรมเบื้องต้นเรื่ อง วินยั หรื อ ศีล นี้ จะเป็ นต้นทางของการ พัฒนาสมาชิก สู่ความเป็ นบุคคลผูป้ ระเสริ ฐ คือ อยูเ่ หนือความทุกข์เหนื อความสุ ข หรื อ เหนื อดี เหนื อชัว่ ได้ หรื อที่เครื อข่ายใช้คาํ ว่า “อาริ ยะบุคคล” แนวทางการส่ งสัจจะ ที่เครื อข่ายกําหนดไว้ เพื่อให้กลุ่มสัจจะที่เป็ นสมาชิ ก เครื อข่ายไปออกระเบียบ เพื่อกําหนดวิธีการปฏิบตั ิสาํ หรับสมาชิก มีดงั นี้ 1. ส่ งสัจจะได้ต้ งั แต่ 10 บาท ถึง 100 บาท ต่อคน ต่อเดือน คู่มือแนวทางการทํางาน

หน้ า 195


เครื อข่ ายกลุ่มสัจจะสะสมทรั พย์ เพื่อพัฒนาคุณธรรมครบวงจรชีวิต นครศรี ธรรมราช

2. สมาชิกในครัวเรื อนต้องมาส่งด้วยตัวเอง ยกเว้นมีเหตุจาํ เป็ น ให้โทรแจ้ง กรรมการ แล้วสามารถมอบหมายให้ผมู ้ าส่ งแทนได้ 3. สมาชิกต้องเตรี ยมเงินที่ตอ้ งส่งแต่ละเดือนมาให้พอดี 4. สมาชิกต้องเขียนสมุดมาให้เรี ยบร้อยก่อนนํามาส่ ง 5. สมาชิกต้องมาส่ งให้ทนั เวลาทําการที่กลุ่มกําหนด 6. กรณี มาส่ งไม่ทนั เวลาทําการ ต้องเสี ยค่าปรับตามที่กลุ่มกําหนด ส

7. กรณี ส มาชิ ก ขาดส่ ง สั จ จะตั้ง แต่ 3 เดื อ นขึ้ นไป จะถู ก ลงโทษตัด วั ส ดิ ก า ร ตามที่กลุ่มกําหนด

คําอธิบายเพิ่มเติมเรื่ องแนวทางการส่งสัจจะ ได้แก่ เรื่ องการส่งสัจจะ ตั้งแต่ 10 – 100 บาท สาเหตุที่กาํ หนดให้ส่งเพียงแค่น้ ี เพราะกลุ่มต้องการรวบรวมคน มากกว่าการรวบรวมเงิน และเพื่อต้องการพัฒนาคุณธรรมของคนให้เติบโตก่อนที่ เงินจะเติบโต นอกจากนี้ ที่ กาํ หนดให้แต่ละครั วเรื อนต้องมาส่ งด้วยตัวเอง ก็เช่ นกัน ก็ เพื่อต้องการให้คนในชุมชนได้มาพบปะ พูดคุยกันอย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง เพื่อ สร้างความเหนียวแน่นของชุมชน

คู่มือแนวทางการทํางาน

หน้ า 196


เครื อข่ ายกลุ่มสัจจะสะสมทรั พย์ เพื่อพัฒนาคุณธรรมครบวงจรชีวิต นครศรี ธรรมราช

ส่ วนการกํา หนดให้สมาชิ กต้อ งเตรี ยมเงิ น มาให้พ อดี ก็เพื่ อ ต้อ งการให้ สมาชิ กได้ฝึกวินัย และได้ฝึกการวางแผนล่วงหน้า ส่ วนเวลาทําการ กําหนดให้ เพียงแค่ 2 ชัว่ โมง ก็เป็ นการฝึ กคุณธรรมเรื่ องนี้ เช่นกัน แต่กลุ่มใด จะกําหนดเวลา ไหน ก็ให้แต่ละกลุ่มไปตกลงกันเอง ส่ วนในเรื่ อ งการลงโทษ ก็เช่ น กัน เป็ นตัวเสริ มแรงให้การฝึ กฝนได้ผล ยิ่งขึ้น เพื่อทําให้สมาชิ กมีความตื่นตัว ส่ วนการลงโทษจะเป็ นอย่างไร ก็ให้แต่ละ กลุ่มไปตกลงกันเอง โดยหลักการก็ต้ งั แต่ 10 บาทขึ้ นไป แต่ ไม่ เกิ น ยอดเงิ น ที่ สมาชิ กต้องส่ งสัจจะในแต่ ละเดื อนต่อเล่ ม แต่ในทางปฏิ บตั ิ ที่มีการปรั บอยู่ใน เครื อข่ายข่าย ก็มี เล่มละ 10 บาทบ้าง 20 บาทบ้าง เท่าที่ ปรากฏ ยังไม่มีกลุ่มใด ปรับเกิน 20 บาท แนวทางการส่ งเงินกู้ กลุ่ มสัจจะสะสมทรั พ ย์ มี แ หล่ ง รายได้ห ลักที่ นํา มาจัด สรรเป็ นกองทุ น สวัสดิการ และเงินปันผลแก่สมาชิกมาจากค่าบํารุ งที่คาํ นวณจากยอดเงินที่สมาชิก กูไ้ ป โดยแบ่งค่าบํารุ งออกเป็ นสองส่ วนเท่า ๆ กัน ระหว่างกองทุนสวัสดิการ และ นําไปปันผลคืนแก่สมาชิก ในเรื่ องเงินกู้ เป็ นการพัฒนาสมาชิ กอย่างน้อย 2 มิ ติ คือ ความรับผิดชอบ ต่อตัวเอง และความรับผิดชอบต่อชุมชน กล่าวคือ สมาชิกที่สามารถกูไ้ ด้ ต้องเป็ น คู่มือแนวทางการทํางาน

หน้ า 197


เครื อข่ ายกลุ่มสัจจะสะสมทรั พย์ เพื่อพัฒนาคุณธรรมครบวงจรชีวิต นครศรี ธรรมราช

บุคคลที่ได้รับความไว้วางใจในชุ มชน มิติน้ ี ดูจากประวัติในอดีต ทั้งเรื่ องอาชี พ การงาน และความประพฤติ สิ่ งเหล่านี้ จะเกิ ดขึ้นไม่ได้เลย ถ้าสมาชิ กคนนั้นขาด ความรั บผิดชอบต่ อ ชุ มชน ส่ วนอี กมิ ติ หนึ่ ง คื อความรั บผิด ชอบต่ อ ตัวเอง การ พัฒนาคุณธรรมด้านนี้ ของสมาชิ ก มาจากความมีวินยั ในการส่ งเงินที่กูไ้ ปแล้วคืน ทั้งเงินต้น และค่าบํารุ ง สมาชิ กที่กูเ้ งิ นไปแล้ว จะมีคุณธรรมสู งขึ้น ทั้งความรับผิดชอบต่อชุ มชน และความรับผิดชอบต่อตนเอง เมื่ อคุณธรรมสู งขึ้น การกู้ครั้ งต่อไปก็จะได้รับ วงเงิ นกู้ที่สูงขึ้ นด้วย ทําให้สมาชิ กมี โอกาสที่จะนําเงิ นทุนที่ได้ไปพัฒนาอาชี พ และครอบครัวของตนเอง ในระดับที่สูงขึ้นไปเรื่ อย ๆ อย่างไรก็ตาม แนวทางการส่ งเงิ นกูใ้ นแต่ละข้อที่วางไว้ ก็มีเจตนารมณ์ที่ เฉพาะเจาะจง เพื่อการพัฒนาคุณธรรมของสมาชิ กในระดับที่ละเอียดยิ่งขึ้น แนว ทางการส่งเงินกูท้ ี่เครื อข่ายวางไว้ มีดงั ต่อไปนี้ 1. สมาชิกต้องส่ งเงินต้น และค่าบํารุ ง ตามที่ระบุไว้ในสัญญาเงินกู้ 2. สมาชิ กผูก้ ูเ้ งิ นต้องมาส่ งเงินด้วยตัวเอง ยกเว้นมีเหตุจาํ เป็ น ให้โทรแจ้ง กรรมการ แล้วสามารถมอบหมายให้ผอู ้ ื่นมาส่ งแทนได้ 3. สมาชิกต้องเตรี ยมเงินที่ตอ้ งส่ งแต่ละเดือนมาให้พอดี 4. สมาชิกต้องเขียนสมุดมาให้เรี ยบร้อยก่อนนํามาส่ง 5. สมาชิกต้องมาส่ งให้ทนั เวลาทําการที่กลุ่มกําหนด คู่มือแนวทางการทํางาน

หน้ า 198


เครื อข่ ายกลุ่มสัจจะสะสมทรั พย์ เพื่อพัฒนาคุณธรรมครบวงจรชีวิต นครศรี ธรรมราช

6. กรณี มาส่ งไม่ทนั เวลาทําการ ต้องเสี ยค่าปรับตามที่กลุ่มกําหนด แนวทางการส่ งเงิ นกูท้ ี่กล่าวมา จะสังเกตเห็นว่า มีความใกล้เคียงกับแนว ทางการส่ งสัจจะมาก ต่ างแต่ เพียงคําว่าสัจจะ เป็ นเงิ นกู้เท่ านั้น แต่ คุณธรรมที่ สมาชิกจะได้รับการฝึ ก จะเข้มข้นกว่าการส่ งสัจจะธรรมดา กล่าวคือ การส่ งสัจจะ ก็มีความรับผิดชอบในระดับหนึ่ ง แต่การส่ งเงินกู้ ต้องมีท้ งั ความรับผิดชอบ บวก กับแรงกดดันที่สมาชิกได้รับ จึงอาจกล่าวได้ว่า สมาชิ กที่ผา่ นการกูเ้ งิน และสามารถส่ งเงินจนหมดตาม สัญญาเงินกูไ้ ด้ครบกําหนดเวลา สมาชิกคนนั้นย่อมได้รับการพิจารณาเลื่อนขั้นรุ่ น เมื่อถึงเวลา เพราะมีความเข้มแข็ง หลังจากผ่านแรงกดดันมาได้ระยะหนึ่ง ส่ วนคําอธิ บายในรายละเอียดอื่น ๆ จะไม่กล่าวซํ้าอีก เพราะมีคาํ อธิ บายที่ ใกล้เคียงกันกับคําอธิ บายในเรื่ องแนวทางการส่ งสัจจะ อย่างไรก็ตาม การคอย กํากับดูแลให้สมาชิ กนําเงินที่กูไ้ ปใช้ตามวัตถุประสงค์ที่ระบุในสัญญาเงิ นกู้ จะ เป็ นกลไกที่สําคัญในการป้ องกันไม่ให้สมาชิ กตกเข้าไปสู่ วงจรอุบาทว์ของการ เป็ นหนี้ แบบที่ได้เห็นกันทัว่ ไป แนวทางการติดตามหนี้ หลักการของการติ ดตามเงิ นกูใ้ นเครื อข่ายกลุ่มสัจจะ จะใช้หลักการทาง สังคมในการติดตามเงินกู้ หลักการนี้ จะมาจากคุณธรรมของกลุ่มที่ส่งั สมไว้มา คู่มือแนวทางการทํางาน

หน้ า 199


เครื อข่ ายกลุ่มสัจจะสะสมทรั พย์ เพื่อพัฒนาคุณธรรมครบวงจรชีวิต นครศรี ธรรมราช

เป็ นข้อต่อรอง กล่าวคือ ถ้าผูก้ ูม้ องว่า กลุ่มยังสามารถเอื้อประโยชน์ต่อสมาชิกอยู่ สมาชิ กก็จะทําทุกวิถีทางเพื่อคงสถานะการเป็ นสมาชิ กไว้ แต่หากสมาชิ กมองว่า กลุ่มหมดความน่าเชื่อถือ สมาชิกก็จะปล่อยสถานะการเป็ นสมาชิกให้สิ้นสุดลง ความสมดุ ล ในเรื่ อง ประโยชน์ แ ละความไว้ ว างใจ เป็ นตั ว ชี้ วัด ความก้าวหน้าของกลุ่มได้เป็ นอย่างดี การติดตามเงินกูใ้ นเครื อข่ายกลุ่มสัจจะ จึงมี ความแตกต่างจากองค์กรการเงินชุมชนอื่น ๆ อย่างเห็นได้ชดั เพราะไม่มีกฎหมาย ไปบีบบังคับสมาชิกแต่อย่างใด ในแนวทางการติดตามหนี้ กล่าวไว้วา่ ในเดือนนั้น ถ้ามีสมาชิ กคนหนึ่ งคน ใด ไม่สามารถมาส่ งเงินกูไ้ ด้ดว้ ยตนเอง ให้กรรมการปฏิบตั ิดงั นี้ 1. ติดต่อผูค้ ้ าํ ประกัน เพื่อให้มาส่ งงวดเงินกูใ้ นเดือนนั้นแทน 2. ถ้าติดต่อผูค้ ้ าํ ไม่ได้ ให้กรรมการคุยกับผูท้ ี่ตอ้ งการจะกูใ้ นเดือนนั้น เพื่อ ชําระค่างวดในเดือนนั้นแทน 3. สมาชิกที่ขาดส่ งเงินกูต้ ้งั แต่ 3 เดือนขึ้น ในรอบปี นั้น จะถูกตัดสวัสดิการ ที่ระบุในสัญญาเงินกู้ และถูกลดยอดเงินกูใ้ นครั้งต่อไป 4. เงินกองทุนคุม้ ครองชีวิตที่สมาชิ กจะได้เมื่อเสี ยชี วิต ต้องนํามาหักหนี้ ที่ สมาชิกคนนั้นค้างกลุ่มก่อน จึงจะสามารถนําไปส่ งมอบให้ทายาทได้

คู่มือแนวทางการทํางาน

หน้ า 200


เครื อข่ ายกลุ่มสัจจะสะสมทรั พย์ เพื่อพัฒนาคุณธรรมครบวงจรชีวิต นครศรี ธรรมราช

วิธีการปฏิบตั ิตามแนวทางนี้ ก่อนจะนําแนวทางนี้ ไปใช้ในทางปฏิบตั ิ ต้อง ชี้แจงให้สมาชิกทุกคนได้ทราบแนวทางการติดตามหนี้ โดยทัว่ กันก่อน โดยเฉพาะ คนกู้ คนคํ้า และคนรับรอง นอกจากนี้ การเจรจากับผูเ้ กี่ ยวข้อ ง ต้อ งหาสถานที่ ที่เหมาะสมในการ พูดคุย เพื่อป้องกันความเสี ยหายที่อาจจะเกิดขึ้นกับสมาชิก และกลุ่มโดยภาพรวม แนวทางการรับสวัสดิการ วัตถุประสงค์ในการจัดสวัสดิการของกลุ่ม นอกจากเพื่อสร้างหลักประกัน เบื้ อ งต้นให้แก่ สมาชิ ก ในเรื่ องการเกิ ด แก่ เจ็บ และตายแล้ว ยังเป็ นการสร้ า ง หลักประกันให้แก่ กลุ่มด้วย กล่ าวคือ เมื่ อกลุ่ มมี สวัสดิ การที่ เพียงพอ กลุ่มก็จะ เข้มแข็งขึ้น เพราะสมาชิ กยินดี ที่จะปฏิบตั ิ ตามกฎระเบียบของกลุ่ม เพื่อแลกกับ สวัสดิการที่จะได้ จึงอาจกล่าวได้วา่ ขนาดของสวัสดิการ จะเป็ นตัวกําหนดความเข้มแข็งของ กลุ่ ม และวินัยของกลุ่ ม ในการออกกฎระเบี ยบ ข้อบังคับต่ า ง ๆ รวมทั้ง ความ เด็ดขาดในการบังคับใช้ กรรมการควรตระหนักถึงหลักข้อนี้ ดว้ ย แนวทางการรับสวัสดิ การนอนโรงพยาบาล เครื อข่ายกําหนดแนวทางไว้ ดังนี้ คือ คู่มือแนวทางการทํางาน

หน้ า 201


เครื อข่ ายกลุ่มสัจจะสะสมทรั พย์ เพื่อพัฒนาคุณธรรมครบวงจรชีวิต นครศรี ธรรมราช

1. จํา นวนเงิ น สวัส ดิ ก ารต่ อ คื น และจํา นวนคื น ต่ อ ปี ในการนอน โรงพยาบาล กลุ่มกําหนดให้สมาชิกที่จะได้รับแตกต่างกันไปตามรุ่ นของสมาชิก 2. กลุ่ ม จะกํา หนดประเภท หรื อ รายชื่ อ โรงพยาบาลที่ ก ลุ่ ม จะจ่ า ยเงิ น สวัสดิการนี้ ให้สมาชิกได้ทราบโดยทัว่ กัน 3. สมาชิ กต้องนําใบรั บรองแพทย์ตวั จริ งมาแสดงต่อกรรมการผูจ้ ่ายเงิ น สวัสดิการ 4. สมาชิ ก อาจมารั บ เงิ น สวัส ดิ ก ารด้ ว ยตั ว เอง หรื อมอบหมายให้ ผูร้ ับผิดชอบมารับแทนก็ได้ วิธีการปฏิ บตั ิ ที่อาจจะเป็ นปั ญหาในทางปฏิ บตั ิ น่าจะได้แก่ ข้อ 3 เพราะ สมาชิ กบางคนอาจจะต้องใช้ใบรับรองแพทย์ต วั จริ งไปแสดงหลายที่ สํา หรั บ แนวทางของเครื อข่ าย กําหนดให้นํา มาแสดงเท่ า นั้น แต่ไม่ ต ้องเก็บตัวจริ ง ไว้ เพียงแต่เอาใบรับรองแพทย์ตวั จริ งไปถ่ายสําเนาด้วยตัวเอง แล้วจึงคืนตัวจริ งให้ สมาชิกไป แนวทางการรับสวัสดิการผูส้ ู งอายุ เครื อข่ายกําหนดแนวทางไว้ดงั นี้ คือ 1. เงิ น สวัส ดิ ก ารผู ้สู ง อายุ จ่ า ยให้ ทุ ก เดื อ นตามอัต ราที่ ก ลุ่ ม กํา หนด จนกว่าจะเสี ยชีวิต 2. เงินสวัสดิการผูส้ ู งอายุ จะจ่ายให้เฉพาะสมาชิ กกลุ่มสัจจะผูส้ ู งอายุที่อยู่ บ้านตัวเอง หรื ออาศัยอยูก่ บั ลูกหลานเท่านั้น คู่มือแนวทางการทํางาน

หน้ า 202


เครื อข่ ายกลุ่มสัจจะสะสมทรั พย์ เพื่อพัฒนาคุณธรรมครบวงจรชีวิต นครศรี ธรรมราช

3. การรั บเงิ นสวัสดิ การผูส้ ู งอายุ สมาชิ กจะมารั บเอง หรื อให้ผูอ้ ื่ นมารับ แทนก็ได้ 4. สมาชิ กผูส้ ู งอายุที่มาอยู่ในการดู แลแบบประจําที่ศูนย์ดูแลผูส้ ู งอายุของ กลุ่ม จะไม่ได้รับเงินสวัสดิการนี้ สําหรับการปฏิบตั ิที่ปฏิบตั ิกนั อยูใ่ นขณะนี้ คงมีเพียง 3 ข้อเท่านั้น ส่ วนข้อ ที่ 4 เป็ นแนวทางที่จะเกิดขึ้นในอนาคต คือ เมื่อกลุ่มมีความพร้อม กลุ่มสามารถจัด สวัสดิการดูแลผูส้ ูงอายุ ทั้งแบบไปกลับ และแบบประจําได้ ถ้าผูส้ ู งอายุสมัครใจที่จะมาให้กลุ่มดูแล หรื อกลุ่มเห็นว่า ผูส้ ู งอายุคนนั้น ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ และไม่มีคนดูแล กลุ่มก็จะไปรับมาอยูใ่ นศูนย์ดูแล ผูส้ ู งอายุของกลุ่ม โดยไม่ตอ้ งถามความสมัครใจ โดยกลุ่มจะนําเงิ นที่ จะไปจ่าย เป็ นสวัสดิการ มาเป็ นค่าใช้จ่ายในการดู แลผูส้ ู งอายุ แต่ตอ้ งไม่เก็บค่าใช้จ่ายเพิ่ม จากสมาชิกผูส้ ู งอายุ แนวทางการรับสวัสดิการเด็กเกิดใหม่ เครื อข่ายกําหนดแนวทางไว้ดงั นี้ คือ 1. กลุ่มจ่ายสวัสดิการเด็กแรกโดยเปิ ดสมุดให้ในอัตราที่กลุ่มกําหนด แต่ไม่ สามารถถอนเป็ นเงินสดได้ จนกว่าเด็กจะมีอายุครบ 15 ปี บริ บูรณ์ 2. บิดา หรื อมารดา ที่เป็ นสมาชิกต้องมารับสวัสดิการด้วยตัวเอง 3. บิดา หรื อมารดา ที่เป็ นสมาชิกต้องนําสู ติบตั ร (ใบเกิด) ตัวจริ งมาแสดง ต่อกรรมการผูจ้ ่ายสวัสดิการด้วย คู่มือแนวทางการทํางาน

หน้ า 203


เครื อข่ ายกลุ่มสัจจะสะสมทรั พย์ เพื่อพัฒนาคุณธรรมครบวงจรชีวิต นครศรี ธรรมราช

4. บิดา หรื อมารดา ที่เป็ นสมาชิก ต้องให้สจั จะว่าจะส่ งสัจจะให้บุตรตั้งแต่ 10 – 100 บาท ต่อเดือน 5. เด็กเกิดใหม่ จะสังกัดรุ่ นตามรุ่ นของบิดา หรื อ มารดาที่เป็ นสมาชิก การปฏิบตั ิตามแนวทางนี้ ที่อาจจะเป็ นปั ญหาในทางปฏิบตั ิได้แก่ กรณี ที่ บิดา หรื อมารดา อยูค่ นละรุ่ น ให้เลือกรุ่ นที่สูงกว่าให้กบั เด็ก ตัวอย่างเช่น บิดารุ่ น 1 มารดา รุ่ น 2 ก็ให้เด็กอยูใ่ นรุ่ น 1 เป็ นต้น แนวทางการไหว้ พระสวดมนต์ การไหว้พระสวดมนต์ จะช่ วยเตรี ยมความพร้ อมกรรมการ และสมาชิ ก ก่ อ นการประชุ ม ทั้ง การประชุ ม กรรมการ และการประชุ ม ใหญ่ เสี ยงที่ เปล่ ง ออกมา จะช่วยขจัดความคิดฟุ้งซ่าน การออกเสี ยงจึงต้องออกเสี ยงให้ดงั เต็มที่ แต่ ไม่ตอ้ งถึงกับตะโกน เสี ยงสวดมนต์ที่นานพอสมควร จะทําให้จิตสงบ คือ ความคิดฟุ้งซ่านระงับ ร่ างกายระงับ คือ ผ่อนคลายความตึงเครี ยดของร่ างกายได้ หลังจากสวดมนต์จบ พอไปนัง่ ทําความสงบ จึงทําได้ง่ายขึ้น นับว่าเป็ นการเตรี ยมความพร้อมทั้งร่ างกาย และจิตใจก่อนเริ่ มการประชุมได้เป็ นอย่างดี บทสวดมนต์ที่ใช้อยูใ่ นตอนนี้ เป็ นบทเริ่ มต้นที่เหมาะสําหรับสมาชิ กและ กรรมการในทุกระดับ เพราะเป็ นการปูพ้ืนฐานเพื่อสร้างความศรัทธาต่อพระรัตน คู่มือแนวทางการทํางาน

หน้ า 204


เครื อข่ ายกลุ่มสัจจะสะสมทรั พย์ เพื่อพัฒนาคุณธรรมครบวงจรชีวิต นครศรี ธรรมราช

ไตร แล้วต่อด้วยการใช้ปัญญาพิจารณาชี วิต ว่าเป็ นเพียงการประกอบกันเข้าของ รู ป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ ซึ่งเป็ นของไม่เที่ยง ทนอยูใ่ นสภาพเดิมได้ ยาก และไม่ใช่ตวั ตน ย้อนกลับไปอ่านคําไหว้พระสวดมนต์ได้ในวันประชุมสรุ ป งาน ของบทที่ 5 การพิจารณาชี วิตแบบนี้ เนื อง ๆ จะช่ วยขัดเกลาจิตใจให้ผูพ้ ิจารณาละวาง ความยึด มัน่ ถื อ มัน่ ในตัวตน จะช่ วยให้ลดละเลิ กการสะสม การแสวงหาวัต ถุ สิ่ งของ เงินทอง ชื่อเสี ยงเกียรติยศ เพื่อตนเอง แล้วนําไปสู่ การทํางานเพื่อผูอ้ ื่น ที่ เรี ยกว่า การไม่เห็นแก่ตวั ได้ในที่สุด ดังนั้น ทุกครั้งที่มีการสวดมนต์ไหว้พระ ทําสมาธิ ควรทําอย่างตั้งใจ และ ให้เวลาให้พอสมควร คุณธรรมข้อนี้ จึงจะงอกงามขึ้นได้ตามลําดับ

แนวทางการพิจารณาเงินกู้ หลักการในการพิจารณาเงิ นกูข้ องเครื อข่ายคือ ความโปร่ งใส และความ รับผิดชอบร่ วมกัน ในการพิจารณาเงินกู้ จึงกําหนดให้กรรมการทุกคนต้องมาครบ และไม่กาํ หนดข้อยกเว้นไว้เลย ที่สาํ คัญคือ ต้องพิจารณาเฉพาะคําขอกูท้ ี่เสนอไว้ ล่วงหน้าเท่านั้น หลักการนี้ กเ็ พื่อฝึ กให้สมาชิกรู ้จกั การวางแผนล่วงหน้า คู่มือแนวทางการทํางาน

หน้ า 205


เครื อข่ ายกลุ่มสัจจะสะสมทรั พย์ เพื่อพัฒนาคุณธรรมครบวงจรชีวิต นครศรี ธรรมราช

แนวทางการพิจารณาเงินกู้ เครื อข่ายกําหนดไว้ดงั นี้ คือ 1. สมาชิกผูก้ ูต้ อ้ งกรอกใบเสนอเงินกูใ้ ห้ครบถ้วน ชัดเจน แล้วนํามาใส่ ใน กล่องรับใบเสนอเงินกูอ้ ย่างน้อย 1 วันก่อนวันพิจารณาเงินกู้ 2. ผูก้ ู้ ผูค้ ้ าํ และผูร้ ับรอง มีประวัติในรอบปี ที่ผา่ นมาดี 3. การประชุมอนุมตั ิเงินกูต้ อ้ งมีกรรมการมาประชุมครบ วิธีการปฏิบตั ิในการพิจารณาคือ นําใบคําขอกูม้ าอ่านทีละใบ แล้วเปิ ดให้ กรรมการในที่ ประชุ มอภิปรายทีละคน สุ ดท้ายก็ขอมติที่ประชุ ม โดยทัว่ ไปมติ ต้องเป็ นเอกฉันท์ เพราะกรรมการทุกคนต้องรับผิดชอบร่ วมกัน ถ้ามีความเห็นต่าง ก็ตอ้ งหาเหตุผลมาอภิปรายกันจนกว่า มติอนุมตั ิ หรื อไม่อนุมตั ิ จะเป็ นเอกฉันท์ แนวทางการทําสั ญญาเงินกู้ หลัก การทํา สั ญ ญาเงิ น กู้ก็ เ ช่ น กัน กับ หลัก การพิ จ ารณาเงิ น กู้ คื อ ความ โปร่ งใสและเปิ ดเผย เครื อข่ายจึงกําหนดให้การลงชื่ อในสัญญาเงิ นกู้ ต้องทําต่อ หน้ากรรมการ ในวันทําสัญญาที่กลุ่มกําหนดไว้เท่านั้น เครื อข่ายกําหนดแนวทางการทําสัญญาเงินกู้ ไว้ดงั นี้ คือ 1. คนกู้ คนคํ้า และคนรับรอง ต้องมาลงชื่อต่อหน้าคณะกรรมการ 2. ต้องมาลงชื่อในวันทําสัญญาเงินกูเ้ ท่านั้น คู่มือแนวทางการทํางาน

หน้ า 206


เครื อข่ ายกลุ่มสัจจะสะสมทรั พย์ เพื่อพัฒนาคุณธรรมครบวงจรชีวิต นครศรี ธรรมราช

3. หากพ้นกําหนดเวลาทําสัญญาเงินกูใ้ นวันนั้น ต้องไปทําสัญญาในเดือน ถัดไป ในทางปฏิบตั ิ คนกู้ คนคํ้า และคนรับรอง อาจไม่ได้มาลงชื่อพร้อมกัน ก็ได้ เพียงแต่ว่า ต้องมาลงชื่ อต่ อหน้ากรรมการ ในวัน และเวลาที่ กลุ่ มกําหนด การ ปฏิ บตั ิ เช่ นนี้ ก็เพื่ อสร้ า งระเบี ยบวินัยไว้ต้ งั แต่ เริ่ มต้น สมาชิ กจะได้ปฏิ บตั ิ ตาม ระเบียบ เวลาส่งคืนเงินกู้ แนวทางการรับสมาชิกใหม่ การรับสมาชิ กใหม่ เป็ นกลไกสําคัญที่จะทําให้กลุ่มเติบโต และเป็ นกลไก ในการพัฒนากรรมการ และสมาชิ ก เพราะกรรมการและสมาชิ ก ต้องพัฒนาคน ใหม่ และสอนคนใหม่ อ ย่า งเข้มข้น ในช่ ว งแรกที่ มีส มาชิ กใหม่ เ ข้า มา การรั บ สมาชิ กใหม่ จึ ง เป็ นการยกระดับกรรมการ และสมาชิ ก จากผูป้ ฏิ บตั ิ ไปเป็ นผู ้ ถ่ายทอดประสบการณ์ จากรุ่ นสู่รุ่ น หลักการรับคนใหม่ที่สาํ คัญคือ การสร้างความเข้าใจ ไม่ใช่การมุ่งหมายใน การระดมเงินแต่อย่างใด เพราะถ้าปราศจากความเข้าใจที่ถูกต้องตามแนวทางของ เครื อข่าย เงินที่โตเกินความเข้าใจ จะกลายเป็ นปัญหาในภายหลังได้ เครื อข่ายได้กาํ หนดแนวทางการรับสมัครสมาชิกใหม่ไว้ดงั นี้ คือ คู่มือแนวทางการทํางาน

หน้ า 207


เครื อข่ ายกลุ่มสัจจะสะสมทรั พย์ เพื่อพัฒนาคุณธรรมครบวงจรชีวิต นครศรี ธรรมราช

1. ผูส้ มัครเป็ นสมาชิ กต้องเป็ นบุคคลผูม้ ีชื่อในทะเบียนบ้านของหมู่บา้ นที่ กลุ่มกําหนด 2. ผูส้ มัครต้องมีอายุต้ งั แต่ แรกเกิด ถึง 65 ปี 3. ผูส้ มัครต้องผ่านการประชุมชี้ แจงทําความเข้าใจ หลักการ วัตถุประสงค์ เป้าหมายของกลุ่มก่อน 4. ผูส้ มัครต้องชําระค่าสมัครแรกเข้า และค่าธรรมเนี ยมตามที่กลุ่มกําหนด 5. ผูส้ มัครต้องให้สจั จะว่าจะส่ งสัจจะเดือนเดือนละ 10-100 บาท ตลอดอายุ การเป็ นสมาชิก 6. สมาชิกจะได้รับสวัสดิการตามระเบียบที่กลุ่มกําหนด 7. สมาชิกกลุ่มสัจจะจะมีได้เพียง 4 รุ่ นเท่านั้น การรับสมาชิกใหม่ ไม่ได้รับทุกปี ในทางปฏิบตั ิ กลุ่มใดจะรับสมาชิกใหม่ ได้ กลุ่มนั้นต้องปรับรุ่ นของสมาชิ กรุ่ น 4 ให้เป็ นรุ่ น 3 ก่อน แล้วจึงจะสามารถรับ สมาชิกใหม่เข้ามาแทนสมาชิกรุ่ น 4 ดังนั้นสมาชิกกลุ่มสัจจะจึงจะมีได้เพียง 4 รุ่ น เท่านั้น ตามที่แนวทางข้อ 7 กําหนดไว้ การวางแผนการรั บสมาชิ กจะต้อ งใช้เวลาอย่า งน้อ ย 1 ปี หรื อ 6 เดื อ น กล่าวคือ กลุ่มต้องประชุมอภิปรายการทํางานของกลุ่มในการประชุมใหญ่กลางปี ก่อน และขอมติที่ประชุมว่าจะรับสมาชิกใหม่หรื อไม่ คู่มือแนวทางการทํางาน

หน้ า 208


เครื อข่ ายกลุ่มสัจจะสะสมทรั พย์ เพื่อพัฒนาคุณธรรมครบวงจรชีวิต นครศรี ธรรมราช

ถ้ามติในที่ประชุมใหญ่กลางปี เห็นสมควรให้รับสมาชิกใหม่ ประธานในที่ ประชุมก็จะเสนอเงื่อนไขว่า กรรมการ และสมาชิกจะสามารถปฏิบตั ิตามเงื่อนไข การรับสมาชิกใหม่ได้หรื อไม่ ถ้า กรรมการยอมรั บ เงื่ อ นไขได้ ก็ ด ํา เนิ น การรั บ สมาชิ ก ใหม่ ตามที่ กรรมการได้วางแผนไว้ แต่โดยทัว่ ไปก็จะกําหนดให้รับให้ทนั ก่ อนวันประชุ ม ใหญ่ปันผลในปี นั้น เพื่อให้สมาชิ กใหม่มาจ่ายเงิ นสัจจะในวันทํางานเดื อนแรก ของปี บริ หารถัดไป อย่างไรก็ตาม งานรับสมาชิ กใหม่ เป็ นงานใหญ่ ปกติ กลุ่ มจะไม่ ทาํ โดย ลําพัง กรรมการเครื อข่าย จะเข้าไปช่ วยกันทุกครั้ง ตั้งแต่การประชุมกลางปี เป็ น ต้นไป แนวทางกองทุนคุ้มครองชีวติ สมาชิกกลุ่มสัจจะ กองทุนคุม้ ครอบชีวิตสมาชิกกลุ่มสัจจะ หรื อที่เรี ยกชื่ออย่างไม่เป็ นทางการ ว่า “ฌาปนกิจเครื อข่าย” กองทุนนี้ ตั้งขึ้นก็เพื่อสร้างความมัง่ คงให้กบั กลุ่ม และ สมาชิ ก กล่ า วคื อ กลุ่ ม ก็ มี ห ลัก ประกัน เงิ น กู้ ที่ ส มาชิ ก ได้ กู้ ไ ป สมาชิ ก ก็ มี หลักประกันว่า จะมีเงินเพียงพอที่จะจัดการงานศพ หรื ออย่างน้อยก็ให้เป็ นภาระ แก่ลูกหลานให้นอ้ ยที่สุด คู่มือแนวทางการทํางาน

หน้ า 209


เครื อข่ ายกลุ่มสัจจะสะสมทรั พย์ เพื่อพัฒนาคุณธรรมครบวงจรชีวิต นครศรี ธรรมราช

แนวทางการสมัครกองทุนคุม้ ครองชี วิต สมาชิ กกลุ่ มสัจจะ เครื อข่ายได้ กําหนดแนวทางไว้ดงั นี้ คือ 1. ที่มาของกองทุน มาจากการเหมาจ่ายรายปี ของสมาชิ กแต่ละกลุ่ม หรื อ สมาชิกจ่ายเป็ นรายศพ 2. ผูส้ มัครเป็ นสมาชิกกองทุน ต้องเขียนใบสมัครให้ครบถ้วน ชัดเจน 3. ผูส้ มัครเป็ นสมาชิ กกองทุน ต้องจ่ายเงิ นกองทุนแรกเข้าคนละ 50 บาท และค่าสมุดคนละ 10 บาท 4. ผูส้ มัครเป็ นสมาชิ กต้องเป็ นสมาชิ กกลุ่มสัจจะในหมู่บา้ นที่ มีชื่ออยู่ใน ทะเบียนเท่านั้น 5. ผูส้ มัครเป็ นสมาชิกต้องมีอายุต้ งั แต่แรกเกิดจนถึงไม่เกิน 65 ปี 6. เมื่อสมัครเป็ นสมาชิกครบ 180 วัน จึงจะได้รับการคุม้ ครองจากเครื อข่าย 7. การรั บสมัครคนพิการเข้าเป็ นสมาชิ กกองทุ นคุม้ ครองชี วิต ให้อยู่ใน ดุลพินิจของการประชุมคณะกรรมการเต็มองค์คณะ และต้องนําเสนอในที่ประชุม กรรมการเครื อข่ายในวันที่ 29 ของทุกเดือนด้วย 8. การรั บ สมัค รสมาชิ ก กองทุ น คุ ้ม ครองชี วิ ต ที่ อ ยู่ ห่ า งไกล หรื ออยู่ ต่างประเทศ ให้อยูใ่ นดุลพินิจของกรรมการ เพื่อรักษาผลประโยชน์ของเครื อข่าย และสมาชิก คู่มือแนวทางการทํางาน

หน้ า 210


เครื อข่ ายกลุ่มสัจจะสะสมทรั พย์ เพื่อพัฒนาคุณธรรมครบวงจรชีวิต นครศรี ธรรมราช

9. กรรมการต้อ งนํา เสนอใบสมัค รสมาชิ ก กองทุ น คุ ้ม ครองชี วิ ต และ เอกสารที่ เกี่ ยวข้อ ง ต่ อ ที่ ประชุ มกรรมการเครื อ ข่ า ยในวัน ที่ 29 ของทุ ก เดื อ น เพื่อให้กรรมการเครื อข่ายรับรองด้วย 10. เงิ นที่ เก็บจากสมาชิ กกองทุนคุม้ ครองชี วิตศพละ 10 บาท ต้องนําส่ ง เครื อ ข่ า ยทุ กเดื อ น ภายในวัน สิ้ น เดื อ น โดยส่ ง เป็ นเงิ น สด หรื อ โอนเข้า บัญ ชี ธนาคารที่เครื อข่ายระบุไว้กไ็ ด้ 11. หากกลุ่ มใดไม่นําเงิ นมาส่ งภายในระยะเวลาที่ กาํ หนด ให้กรรมการ ผูร้ ับผิดชอบบัญชีรายรับ รายจ่าย กองทุนคุม้ ครองชีวิตสมาชิกกลุ่มสัจจะ รายงาน ต่อที่ประชุมทราบ เพื่อดําเนิ นการต่อไป 12. ต้อ งเก็บ หลัก ฐาน เอกสาร ที่ เ กี่ ย วข้อ งกับ การเป็ นสมาชิ ก กองทุ น คุม้ ครองชี วิตของสมาชิ ก ไว้อย่างเป็ นระบบระเบียบอย่างน้อยเป็ นเวลา 10 ปี จึง จะสามารถทําลายได้ วิธีการปฏิ บตั ิ ในการรั บสมัครสมาชิ กกองทุน ฯ ข้อที่ อาจจะต้องตี ความ ได้แก่ขอ้ 4 ข้อนี้ถา้ พูดเป็ นภาษาง่าย ๆ ก็จะได้วา่ “เป็ นสมาชิกกลุ่มสัจจะที่ใด ก็ให้ สมัครเป็ นสมาชิกกองทุนคุม้ ครองชีวิตกับกลุ่มสัจจะนั้น” ส่ วนข้ออื่น ๆ ก็มีความชัดเจนอยูแ่ ล้ว โดยเฉพาะเรื่ องการกรอกข้อความใน ใบสมัคร ก็คงเหลือแต่ เพี ยงว่า จะเคร่ งครัดมากแค่ไหน เพราะข้อความระบุไว้

คู่มือแนวทางการทํางาน

หน้ า 211


เครื อข่ ายกลุ่มสัจจะสะสมทรั พย์ เพื่อพัฒนาคุณธรรมครบวงจรชีวิต นครศรี ธรรมราช

ชัดเจนแล้ว เพียงแต่เท่ าที่ ผ่านมา ไม่ได้ปฏิ บตั ิ ตามเท่านั้นเอง เช่ นการกรอกใบ สมัคร ใบสมัครส่ วนมากกรอกข้อความไม่ครบถ้วน แต่กส็ มัครได้เป็ นต้น การกรอกใบสมัครนี้ ถ้าเงินกองทุนยังไม่มาก อาจจะไม่มีปัญหาใด ๆ แต่ถา้ เงิ นกองทุนที่ สมาชิ กจะได้รับหลังเสี ยชี วิตเพิ่ มขึ้นเป็ นหลักแสนหรื อหลักล้าน อาจจะเกิดปัญหากับการจ่ายเงินกองทุนได้ การกรอกใบสมัครให้ครบถ้วนจะช่วย ป้องกันปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นได้ทางหนึ่ ง แนวทางการจ่ายเงิ นกองทุนเพื่อคุม้ ครองชี วิตสมาชิ กกลุ่มสัจจะ เครื อข่าย ได้กาํ หนดแนวทางไว้ดงั นี้ คือ 1. ต้องทํา ความเข้า ใจกับคณะกรรมการแต่ ล ะกลุ่มก่ อ นไปจ่ า ยเงิ น เพื่ อ ชี้แจงรายละเอียดเรื่ องจํานวนเงิน และที่มาของเงินกองทุน ที่จะได้รับ 2. เงิ นกองทุนคุม้ ครองชี วิตหลังจากหักบัญชี ที่สมาชิ กค้างกลุ่มอยู่ (ถ้ามี ) ให้มอบให้แก่ทายาท ตามที่ระบุไว้ในใบสมัครเท่านั้น 3. กรรมการกลุ่มที่สมาชิกเสี ยชีวิต ต้องไปให้พร้อมกันทุกคน และสมาชิ ก ที่อยูใ่ กล้เคียงควรไปร่ วมฟังเพื่อเป็ นพยานในวันมอบเงิน เพื่อจะได้มีความเข้าใจ และนําไปอธิบายขยายผลให้สมาชิกลุ่มอื่น ๆ ได้รับรู ้รับทราบต่อไป 4. ต้องทําประวัติของสมาชิ กผูท้ ี่ เสี ยชี วิตไปกล่าวไว้อาลัยในวันมอบเงิ น ด้วย คู่มือแนวทางการทํางาน

หน้ า 212


เครื อข่ ายกลุ่มสัจจะสะสมทรั พย์ เพื่อพัฒนาคุณธรรมครบวงจรชีวิต นครศรี ธรรมราช

5. กรรมการผูเ้ ขียนใบสมัครกองทุนคุม้ ครองชี วิต ต้องทําความเข้าใจกับ ผูส้ มัคร ครอบครัว และผูเ้ กี่ยวข้อง (ผูร้ ับผลประโยชน์) ว่า ก. เมื่อผูส้ มัครเสี ยชีวิตลง จะได้รับผลประโยชน์อะไรบ้าง ข. ถ้าผูส้ มัครเป็ นหนี้กลุ่มอยู่ ทางกลุ่มจะหักหนี้ ส่วนที่คา้ งชําระก่อน แล้วจะจ่ายส่ วนที่เหลือให้แก่ผรู ้ ับผลประโยชน์ที่ระบุไว้ในใบสมัครเท่านั้น 6. การจ่ายเงินต้องจ่ายในงานศพเท่านั้น ยกเว้นสมาชิ กที่เสี ยชี วิตไกลบ้าน และไม่ได้นาํ ศพกลับมาบําเพ็ญกุศลที่บา้ น ให้กรรมการและผูร้ ับผลประโยชน์นาํ ใบมรณะบัต รมาแจ้ง กับเครื อ ข่ า ยในวัน ที่ 29 ของทุ ก เดื อ น ถ้า กรรมการมี ม ติ เห็นชอบก็รับเงินได้เลย 7. สมาชิกจะพ้นจากสภาพการเป็ นสมาชิกของกองทุนคุม้ ครองชีวิต เมื่อ ก. ตาย ข. ลาออก ค. ไม่ปฏิบตั ิตามกฎระเบียบของกลุ่มและเครื อข่าย โดยมีหลักฐาน การฝ่ าฝื นกฎระเบียบอย่างชัดเจน ง. ถูกไล่ออกจากการเป็ นสมาชิกกลุ่มสัจจะที่สงั กัดเครื อข่าย ผลพลอยได้ที่สาํ คัญในการไปจ่ายเงินกองทุนคุม้ ครองชี วิตแก่ทายาทผูร้ ับ ผลประโยชน์ตามที่ ระบุไว้ในใบสมัครคือ เครื อข่ายจะได้เผยแพร่ กิจกรรมของ คู่มือแนวทางการทํางาน

หน้ า 213


เครื อข่ ายกลุ่มสัจจะสะสมทรั พย์ เพื่อพัฒนาคุณธรรมครบวงจรชีวิต นครศรี ธรรมราช

เครื อข่าย และจะได้ประชาสัมพันธ์การทํางานของเครื อข่าย ซึ่ งจะช่ วยให้การ ทํางานของกลุ่มทําได้ง่ายขึ้น การตั้งศพไว้บาํ เพ็ญกุศล ถ้าตั้งไว้ในหมู่บา้ นที่กลุ่มสัจจะนั้น ๆ ตั้งอยู่ หรื อ หมู่บา้ นที่สมาชิกผูเ้ สี ยชีวิตอาศัยอยู่ จะได้ประโยชน์กว่าการนําศพไปตั้งไว้ที่อื่น แนวทางกองบุญกรรมการ กองบุญกรรมการ ตั้งขึ้นก็เพื่อเป็ นสวัสดิการแก่กรรมการกลุ่มสัจจะที่เป็ น สมาชิ ก เครื อ ข่ า ยกลุ่ ม สัจ จะโดยเฉพาะ กองบุ ญ ที่ ร วบรวมได้ ก็ เ พื่ อ จะนํา ไป ช่วยงานศพสมาชิกกองบุญที่กรรมการนํารายชื่อมาใส่ไว้ในกองบุญ แนวทางกองบุญกรรมการ เครื อข่ายได้กาํ หนดแนวทางไว้ดงั นี้ คือ 1. ความเป็ นสมาชิ ก เป็ นได้ทุกคนที่เป็ นกรรมการกลุ่มสัจจะ กรรมการที่ ลาออกจากกรรมการแล้ว ยังสามารถเป็ นสมาชิกกองบุญได้ แต่ตอ้ งมีกรรมการที่ อยูป่ ัจจุบนั เป็ นผูร้ ับผิดชอบ 2. การสมัครเป็ นสมาชิ ก ต้องมาสมัครด้วยตนเองในวันประชุมเครื อข่าย ไม่ตอ้ งมีค่าใช้จ่ายใด ๆ ทั้งสิ้ น ให้นาํ ข้อมูลของผูเ้ กี่ ยวข้องที่จะรับผลประโยชน์ ได้แก่ สามี ภรรยา บุตร หรื อบิดา มารดา ของตนเอง มาแจ้งในวันสมัครด้วย

คู่มือแนวทางการทํางาน

หน้ า 214


เครื อข่ ายกลุ่มสัจจะสะสมทรั พย์ เพื่อพัฒนาคุณธรรมครบวงจรชีวิต นครศรี ธรรมราช

3. ถ้า รายชื่ อ ผูเ้ กี่ ยวข้อ งในการรั บผลประโยชน์ เสี ยชี วิ ต กรรมการต้อ ง ทําบุญคนละ 100 บาท โดยไม่เกี่ยวกับเงินส่วนใด ๆ ของกลุ่มและเครื อข่าย 4. เวลาสมาชิกกองบุญเสี ยชีวิต ให้กรรมการกองบุญไปร่ วมงานโดยพร้อม เพรี ยงกัน 5. กรรมการกองบุ ญต้องมาร่ วมประชุ มเครื อ ข่ ายอย่า งน้อ ยปี ละ 3 ครั้ ง (ขอร้อง) 6. สมาชิ ก กองบุ ญ กรรมการจะได้รั บ การคุ ้ม ครองหลัง จากสมัค รเป็ น สมาชิกแล้ว 90 วัน การปฏิบตั ิตามแนวทางนี้ ไม่มีวิธีการที่ตายตัว เพราะสมาชิ กกองบุญเป็ น กรรมการ คู่สมรส บุตร หรื อบิดา มารดา ของกรรมการอยู่แล้ว ความใกล้ชิดกัน ระหว่า งกรรมการ ทําให้การพูดคุ ย และตกลงกันได้ง่ าย การปฏิ บตั ิ จึง มี ความ ยืดหยุน่ ตามเหตุปัจจัย แนวทางการหารายได้ เข้ ากองทุนสวัสดิการคณะทํางาน ค่า ใช้จ่า ยในการทํางานประสานงานเครื อข่ า ยหลัก ๆ ก็มีค่านํ้า มัน รถที่ กรรมการเครื อข่ายแต่ละกลุ่มใช้เดินทางจากกลุ่มตัวเอง ไปยังกลุ่มต่าง ๆ ที่อยูต่ ่าง ที่กนั เพื่อไม่ให้เป็ นภาระกับกองทุนสวัสดิการของกลุ่มเจ้าภาพ กลุ่มต่าง ๆ จึงต้อง คู่มือแนวทางการทํางาน

หน้ า 215


เครื อข่ ายกลุ่มสัจจะสะสมทรั พย์ เพื่อพัฒนาคุณธรรมครบวงจรชีวิต นครศรี ธรรมราช

หารายได้ เพื่อมาใช้จ่ายในเรื่ องนี้ วิธีการหารายได้ที่กลุ่มสามารถทําได้คือการ จัดหาสิ นค้าอุปโภคบริ โภคมาจําหน่ายให้แก่สมาชิกในราคาถูกกว่าท้องตลาด แนวทางการขายสิ นค้าที่ใช้เงินของกลุ่มลงทุน เครื อข่ายได้กาํ หนดแนวทาง ไว้ดงั นี้ คือ 1. ต้องเป็ นสิ นค้าที่จาํ เป็ นในครัวเรื อน 2. สิ้ นค้าอื่น ๆ ตามความต้องการของสมาชิ ก แต่ตอ้ งอยูใ่ นเงื่อนไขที่กลุ่ม สามารถทําได้ 3. ต้องเป็ นการค้าขายเพื่อสนับสนุนการบริ หารงานของเครื อข่าย 4. รายได้ที่เกิ ดจากโครงการที่ มีชื่อ กลุ่ มสัจจะเข้า ไปเกี่ ยวข้อ ง ต้องแบ่ ง รายได้เข้ากองทุนสวัสดิการคณะทํางานด้วย การปฏิบตั ิในเรื่ องนี้ ที่ควรทราบคือ การจัดสรรผลกําไรจากการขายสิ นค้า โดยทัว่ ไปมักจะแบ่งเป็ น 3 ส่ วนคือ จ่ายเป็ นผลตอบแทนคนขาย นําเข้ากองทุน สวัสดิ การ และนํา เข้าเป็ นค่ าใช้จ่ายในการประสานงานของกลุ่ ม ส่ วนจะเป็ น สัดส่วนเท่าใด แต่ละกลุ่มก็สามารถกําหนดเองได้ตามความเหมาะสม ส่ วนการจูงใจให้สมาชิ กหันมาซื้ อสิ นค้าจากกลุ่ม นอกจากราคาที่ถูกกว่า ร้านค้าในหมู่บา้ นแล้ว อาจจะจูงใจสมาชิกได้อีกทาง โดยการให้สมาชิกเอาสิ นค้า ไปก่อนในเดือนแรก แล้วเดือนต่อไปก็มาชําระค่าสิ นค้าเดือนก่อน แล้วก็นาํ สิ นค้า ที่จาํ เป็ นสําหรับเดือนนี้ไป กล่าวคือ ให้ติดได้หนึ่งเดือน คู่มือแนวทางการทํางาน

หน้ า 216


เครื อข่ ายกลุ่มสัจจะสะสมทรั พย์ เพื่อพัฒนาคุณธรรมครบวงจรชีวิต นครศรี ธรรมราช

แนวทางประเด็นการอภิปรายการทํางานของกลุ่ม การอภิ ปรายประเด็นการทํางานของกลุ่ ม ปกติ จะจัดให้มีในการประชุ ม ใหญ่กลางปี เพื่อเป็ นการทบทวนการทํางานของกลุ่ม หรื อเมื่อกลุ่มเริ่ มเห็นว่า การ ทํางานของกรรมการ หรื อสมาชิ ก เริ่ มหย่อนยานในระเบียบปฏิบตั ิ แทนที่จะเปิ ด อบรมสั่งสอน ก็ใช้วิธีการให้สมาชิกหรื อกรรมการ เป็ นผูพ้ ูดออกจากปากเขาเอง การยอมรับจะมีมากกว่า การอบรมสัง่ สอน เพราะธรรมชาติของคนโดยส่ วนมาก ไม่อยากถูกสอนอยูแ่ ล้ว เนื่องจากสัญชาตญาณจะออกมาหาเหตุผล คําอธิ บาย และ ข้ออ้างมาป้ องกันตัวเองทันทีที่ถูกสอน เพื่อพิสูจน์ว่า “กูถูก” “กูดี” ซึ่ งเป็ นเรื่ อง ธรรมดาของอัตตาตัวตนอยูแ่ ล้ว วิธีการปฏิบตั ิในการอภิปรายประเด็นการทํางานของกลุ่ม ที่ปฏิบตั ิกนั อยู่ ในเครื อข่า ยคื อ เมื่ อ สมาชิ กลงทะเบี ยนแล้ว ก็ให้หมายเลขกลุ่ มที่ กรรมการได้ วางแผนกันไว้แล้วว่าจะแบ่งเป็ นกี่กลุ่ม เมื่อได้หมายเลขแล้ว ก็ไปนัง่ รวมกลุ่มกัน ในบริ เวณที่กาํ หนดไว้ เมื่อได้เวลาอภิปราย ก็ให้แต่ละกลุ่มหาผูด้ าํ เนิ นรายการมา 1 คน แล้วให้ผู ้ ดําเนิ นรายการเป็ นผูถ้ ามสมาชิ กในกลุ่มทีละหัวข้อ ตามเอกสารที่กรรมการแจก ให้ (ประเด็นการอภิปราย สามารถย้อนกลับไปดูได้ในบทที่ 5) แล้วให้สมาชิกใน กลุ่ ม คนใดคนหนึ่ งเป็ นผู จ้ ดคํา ตอบที่ ส มาชิ ก ตอบลงในกระดาษฟลิ ป ชาร์ ต (กระดาษสี ขาวบาง แผ่นใหญ่) คู่มือแนวทางการทํางาน

หน้ า 217


เครื อข่ ายกลุ่มสัจจะสะสมทรั พย์ เพื่อพัฒนาคุณธรรมครบวงจรชีวิต นครศรี ธรรมราช

เมื่อหมดเวลาตามที่กรรมการกําหนด ปกติจะให้เวลาประมาณ 1 ชัว่ โมง ก็ ให้แต่ละกลุ่มส่ งตัวแทนออกมานําเสนอต่อที่ประชุม โดยกรรมการจะแจ้งเกณฑ์ การตัดสิ นกลุ่มที่ชนะ 3 เกณฑ์ให้ทราบก่อนคือ (1)การมีส่วนร่ วมของสมาชิกใน การระดมความคิดเห็ น และสมาชิ กต้องอยู่จนจบรายการ (2)ความสะอาดของ บริ เวณที่แต่ละกลุ่มอภิปราย และ (3)เนื้ อหาที่นาํ เสนอมีความครบถ้วน นําเสนอ ได้กระชับ เข้าใจง่าย เมื่อนําเสนอจบ กรรมการเครื อข่ายที่ไปร่ วมงาน จะเป็ นผูใ้ ห้คะแนน และ มอบผลการตัดสิ นให้กรรมการกลุ่มเจ้าภาพ เป็ นผูป้ ระกาศ และมอบรางวัลให้ สมาชิกที่เข้าร่ วม แนวทางประเด็นการอภิปรายเพื่อค้ นหาตนเอง สําหรับแนวทางการอภิปรายเพื่อค้นหาตนเอง ก็ใช้สาํ หรับการประชุมใหญ่ กลางปี เช่นกัน การอภิปรายประเด็นนี้ จะจัดให้มีข้ ึน เมื่อกลุ่มเห็นว่า สมาชิกเข้าใจ ระบบการทํางานของกลุ่มดีแล้ว และเห็นว่า สมาชิ ก และกลุ่ม มีการปฏิบตั ิตาม ระเบียบที่ กลุ่มวางไว้ได้อย่างราบรื่ น กลุ่มก็จะยกระดับการอภิ ปรายไปเป็ นการ ค้นหาตนเอง เพื่อพัฒนากลุ่มและสมาชิกให้กา้ วหน้าขึ้นไปอีกระดับ การค้นหาตนเองในการอภิปรายนี้ ใช้การวิเคราะห์ จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และภัยพิ บตั ิ ของกลุ่ ม โดยเป็ นการวิเคราะห์ จากสิ่ งแวดล้อ มภายในกลุ่ มหรื อ คู่มือแนวทางการทํางาน

หน้ า 218


เครื อข่ ายกลุ่มสัจจะสะสมทรั พย์ เพื่อพัฒนาคุณธรรมครบวงจรชีวิต นครศรี ธรรมราช

ชุมชน เพื่อหาจุดแข็ง และจุดอ่อนของกลุ่ม และวิเคราะห์จากสิ่ งแวดล้อมภายนอก กลุ่มหรื อชุ มชน เพื่อหาโอกาส และภัยคุกคามที่ มีต่อกลุ่ม (คําถามประเด็นการ อภิปรายในเรื่ องนี้ ย้อนกลับไปดูได้ในบทที่ 5) สิ่ ง แวดล้อ มภายในดู จ ากตัวบุ ค คล ได้แ ก่ ก รรมการ และสมาชิ ก ดู จ าก คุ ณ ลัก ษณะในตัว บุ ค คล วิ เ คราะห์ จ าก 3 องค์ป ระกอบได้แ ก่ (1)ร่ า งกาย ถ้า แข็งแรง ไม่มีโรคภัยไข้เจ็บ มีความสามารถทางร่ างกายที่เป็ นประโยชน์ ก็เป็ นจุด แข็ง ถ้าอ่อนแอ มีโรคประจําตัว ไม่มีความสามารถที่เป็ นประโยชน์ ก็เป็ นจุดอ่อน (2)จิตใจ หรื อความคิด ถ้าคิดบวก มองโลกในแง่ดี มีความรู ้ที่เป็ นประโยชน์ ก็เป็ น จุดแข็ง ถ้าคิดลบ มองโลกในแง่ ร้าย ขาดความรู ้ ที่เป็ นประโยชน์ ก็เป็ นจุ ดอ่อน และ (3)จิตวิญญาณ หรื อความรู ้สึก ถ้ารู ้สึกดี โล่งอก โล่งใจ เบาใจ ก็เป็ นจุดแข็ง ถ้ารู ้สึกกังวล กลัว เครี ยด อึดอัด ขัดเคือง ก็เป็ นจุดอ่อน สิ่ งแวดล้อมภายนอก ดูจาก วัตถุสิ่งของ และเหตุการณ์ที่อยู่ภายนอกกลุ่ม หรื อชุมชน วัตถุอาจกําหนดขอบเขตให้เป็ นเรื่ องปั จจัย 4 ในการดํารงชี วิต เพราะ เป็ นเรื่ องใกล้ตวั เพื่อจะได้มองเห็นง่าย และชัดเจน เรื่ องเหตุการณ์อาจอยูใ่ นหัวข้อ อื่น ๆ เช่น เทคโนโลยี หรื ออบายมุข เป็ นต้น ถ้า วัต ถุ สิ่ ง ของ หรื อเหตุ ก ารณ์ ที่ ม าจากภายนอกกลุ่ ม หรื อชุ ม ชนเอื้ อ ประโยชน์ให้สมาชิกได้มีรายได้เพิ่ม หรื อได้มีงานทําเพิ่ม ก็เป็ นโอกาส แต่ถา้ วัตถุ สิ่ งของ หรื อเหตุการณ์ที่มาจากภายนอกกลุ่มหรื อชุมชน ทําให้สมาชิกมีค่าใช้จ่าย เพิ่ม หรื อแย่งงานที่ทาํ อยู่ สิ่ งนั้นก็เป็ นภัยคุกคาม คู่มือแนวทางการทํางาน

หน้ า 219


เครื อข่ ายกลุ่มสัจจะสะสมทรั พย์ เพื่อพัฒนาคุณธรรมครบวงจรชีวิต นครศรี ธรรมราช

อย่างไรก็ตาม จุ ดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และภัยคุกคาม ไม่ใช่ เรื่ องตายตัว คุณลักษณะเดียวกัน วัตถุสิ่งของ หรื อเหตุการณ์เดียวกัน อาจเป็ นจุดแข็งสําหรับ คนหนึ่ ง แต่อาจเป็ นจุดอ่อนสําหรับอีกหนึ่ ง หรื อเหตุการณ์ตวั เดี ยวกันอาจเป็ น โอกาสสําหรับคนหนึ่ ง แต่อาจเป็ นภัยคุกคามสําหรับอีกคนหนึ่ง ตัวอย่างเช่น คนที่ตาบอด เขาก็จุมีจุดอ่อนในการมองเห็น แต่ธรรมชาติจะ มอบจุดแข็งในการได้ยนิ ให้ เป็ นต้น หรื อการสอบเข้ามหาวิทยาลัยไม่ได้ อาจเป็ น ภัยคุกคามชีวิตคนหนึ่ งถึงกับหมดอาลัยตายอยากในชี วิตไปเลย แต่สาํ หรับอีกคน หนึ่ งกลับ เป็ นโอกาสให้ เ ขาได้ มี เ วลาไปเตรี ยมตัว ใหม่ ทุ่ ม เทเวลาแก้ ไ ข ข้อบกพร่ องของตนเอง แล้วกลับไปสอบใหม่ จนสามารถสอบเข้าได้ และเรี ยนได้ ดีกว่าเดิม หรื อการสอบเข้ามหาวิทยาลัยไม่ได้ อาจเป็ นโอกาสสําหรับอีกคนหนึ่ ง จะ ได้มีเวลากลับมาทบทวนตัวเองเสี ยใหม่ ว่าหนทางนั้นใช่ส่ิ งที่ตวั เองต้องการจริ ง ๆ หรื อ ไม่ และทํา ให้ ไ ด้ค ้น พบสิ่ ง ที่ ต ัว เองต้อ งการจริ ง ๆ หลัง จากได้มี โ อกาส เดินทางออกไปค้นหาชีวิตนอกรั้วมหาวิทยาลัย เป็ นต้น ดังนั้น จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส หรื อภัยคุกคาม จึงไม่ใช่เป็ นการค้นหาป้าย ชื่ อที่ ตายตัวให้กบั คุณลักษณะ วัตถุสิ่งของ หรื อเหตุการณ์ แล้วยอมให้ป้ายชื่ อ เหล่ า นั้น มากํา หนดชี วิ ต ของผูค้ ้น แต่ ส่ิ ง นั้น จะถู ก ติ ด ป้ า ยว่ า จุ ด แข็ง จุ ด อ่ อ น โอกาส หรื อภัยคุกคาม ขึ้นอยูก่ บั ว่า มุมมองต่อสิ่ งนั้น เป็ นอย่างไร คู่มือแนวทางการทํางาน

หน้ า 220


เครื อข่ ายกลุ่มสัจจะสะสมทรั พย์ เพื่อพัฒนาคุณธรรมครบวงจรชีวิต นครศรี ธรรมราช

เมื่ อ รู ้ แล้วว่า จุ ด แข็ง จุ ด อ่ อ น โอกาส หรื อภัยคุ กคาม คื ออะไร ขั้น ตอน ต่ อ ไปก็ต ้อ งกลับมาพัฒนาตัวเองเพื่ อ เปลี่ ยนจุ ด แข็ง ให้เป็ นประโยชน์ เปลี่ ย น จุดอ่อนให้เป็ นจุดแข็ง เปลี่ยนโอกาสให้เป็ นประโยชน์ และเปลี่ยนภัยคุกคามให้ เป็ นโอกาส และการเปลี่ ยนที่สามารถทําได้ทนั ที คือ “การเปลี่ ยนมุ มมองต่อสิ่ ง นั้น” สําหรับวิธีการปฏิบตั ิในการอภิปรายเพื่อค้นหาตัวเอง ก็มีข้ นั ตอนเดียวกัน กับการอภิปรายการทํางานของกลุ่ม จึงจะไม่กล่าวซํ้าในที่น้ ี แนวทางกําหนดการประชุ มกลางปี การประชุ มกลางปี มี วตั ถุ ประสงค์ห ลักคื อ เพื่ อ การพัฒนาสมาชิ กใน 2 ประเด็นคือ ความรู ้ความเข้าใจการทํางานของกลุ่ม และเพื่อการค้นหาตนเอง ซึ่ ง รายละเอียด และแนวทางการอภิปรายทั้งสองประเด็นได้นาํ เสนอไปแล้ว โดยแต่ ละปี จะเลือกเพียงประเด็นเดียวมาให้สมาชิกอภิปราย และปี ไหนจะเลือกประเด็น อะไรมาอภิปราย ก็ได้ให้รายละเอียดไปแล้วเช่นกัน ส่ วนหลักการในการกําหนดวันประชุ ม จะกําหนดโดยอาศัยหลักความ สะดวกของสมาชิ ก และกรรมการเป็ นหลัก ในทางปฏิ บตั ิ มกั จะให้กรรมการ ออกไปสํารวจความพร้อมของสมาชิ กในแต่ละสายที่กรรมการดูแลอยู่ ว่าในวัน คู่มือแนวทางการทํางาน

หน้ า 221


เครื อข่ ายกลุ่มสัจจะสะสมทรั พย์ เพื่อพัฒนาคุณธรรมครบวงจรชีวิต นครศรี ธรรมราช

เวลาที่กาํ หนด จะมีสมาชิกคนใดที่สามารถยืนยันการเข้าร่ วมได้ แล้วกรรมการจะ รวบรวมจํานวนมาเพื่อใช้ในการวางแผนการจัดประชุมต่อไป การกําหนดวาระการประชุ ม ก็มกั จะกําหนดในช่ วงบ่ าย เพราะสมาชิ ก ชาวสวนส่ วนใหญ่ มักจะว่างจากภาระกิจการงานก็ใกล้เที่ยงแล้ว ดังนั้นเวลาการ ประชุมที่เหมาะก็ควรจะเริ่ มลงทะเบียนประมาณเที่ยง แล้วเริ่ มเข้าสู่ กระบวนการ ประมาณบ่ายโมง วาระหลักในการประชุมกลางปี จะเริ่ มด้วยการไหว้พระสวดมนต์ ประธาน ชี้แจงให้ทราบ อภิปรายกลุ่มย่อยในประเด็นของปี นั้น ๆ นําเสนอผลการอภิปราย ประธานกล่าวสรุ ป แจ้งผลการอภิปราย ไหว้พระ กลับบ้าน แนวทางการกํา หนดวาระการประชุ ม กลางปี ก็ มี โ ดยสรุ ป เท่ า นี้ ส่ ว น ตัวอย่างของกําหนดการประชุ ม และวาระการประชุ ม สามารถพลิ กกลับไปดู ตัวอย่างได้ในบทที่ 5 แนวทางสุ นทรพจน์ ประธานในการประชุ มกลางปี ในการประชุ มกลางปี วาระที่ สาํ คัญอีกวาระหนึ่ งคือ คํากล่าวสุ นทรพจน์ ของประธาน ซึ่ งคํากล่าวนี้ ต้องมีการร่ างมาล่วงหน้าทุกครั้งไป แม้แต่ผนู ้ าํ ระดับ โลก ก็ตอ้ งมีทีมงานเขียนคํากล่าวให้ล่วงหน้า และประธานที่จะกล่าว ต้องซักซ้อม มาอย่างดี คํากล่าวจึงจะได้ผลตามที่ต้งั ใจไว้ คู่มือแนวทางการทํางาน

หน้ า 222


เครื อข่ ายกลุ่มสัจจะสะสมทรั พย์ เพื่อพัฒนาคุณธรรมครบวงจรชีวิต นครศรี ธรรมราช

คํากล่าวสุ นทรพจน์ของประธานในการประชุ มกลางปี นี้ มี ความสําคัญ เหมือนกับคํากล่าวของผูน้ าํ ในทุกระดับ เป็ นการสื่ อสารกับสมาชิ กว่า กลุ่มมาถึง ไหนแล้ว และกําลังจะนําสมาชิกไปทางไหน และจะไปให้ถึงไหน นอกจากนี้ คํา กล่ า วยัง เป็ นการยืน ยัน พลัง ความมุ่ ง มัน่ และยืน ยัน ความ เชื่ อมัน่ ให้แก่สมาชิ ก อีกทั้งยังเป็ นการกระตุน้ พลังของสมาชิ กให้มีความตื่นตัว กระตือรื อร้น อยูต่ ลอด ที่สาํ คัญ การกล่าวตําหนิ กลุ่ม กรรมการหรื อสมาชิกในวัน ประชุ มใหญ่ ควรหลี กเลี่ ยงเป็ นอย่า งยิ่ง หรื อ หากจะกล่ า วตํา หนิ ก็ต ้อ งทํา โดย ทางอ้อมโดยการเล่าเรื่ องอาจเป็ นนิ ทานก็ได้ แต่การกล่าวชื่ นชน สามารถกล่าว โดยตรงในที่ประชุมได้เลย แต่ตอ้ งอยูใ่ นความพอดี จึงจะมีผลดีมากกว่าผลเสี ย ดัง นั้ น การกล่ า วสุ น ทรพจน์ ข องประธาน จึ ง ต้ อ งกล่ า วด้ ว ยความ กระตือรื อร้น การตื่นตัว และความมีพลัง สุ นทรพจน์น้ นั จึงจะสามารถส่ งสารที่ ไม่ได้เป็ นภาษาพูดไปถึงสมาชิ กได้ การจะทําอย่างนี้ ได้ มีเพียงแค่ การฝึ กซ้อม ฝึ กซ้อม และฝึ กซ้อม เท่านั้น ทําบ่อย ๆ ความกระตือรื อร้น การตื่นตัว และความมี พลัง จะค่อย ๆ สัง่ สมขึ้นตามลําดับ ตัวอย่างสุ นทรพจน์ที่จะสามารถฝึ กซ้อมกล่าว หรื อนําไปกล่าวจริ งได้ใน การประชุมกลางปี สามารถดูได้ในบทที่ 5

คู่มือแนวทางการทํางาน

หน้ า 223


เครื อข่ ายกลุ่มสัจจะสะสมทรั พย์ เพื่อพัฒนาคุณธรรมครบวงจรชีวิต นครศรี ธรรมราช

แนวทางกําหนดการประชุ มปันผล กําหนดการประชุมปั นผลของกลุ่มสัจจะ โดยทัว่ ไป จะทําให้ทนั ก่ อนวัน ก่อตั้งกลุ่ม หรื อในเดือนก่อตั้งกลุ่ม การกําหนดวันประชุมปันผลนี้ จะแตกต่างจาก การประชุ ม กลางปี บ้า งในเรื่ อ งจํา นวนสมาชิ ก ที่ จ ะเข้า ร่ ว ม เพราะไม่ ต ้อ งให้ กรรมการออกไปสํารวจจํานวนสมาชิ กที่จะเข้าร่ วมประชุ ม แต่สามารถประเมิน จากทะเบียนสัจจะได้เลย กลุ่มเพียงแต่กาํ หนดวันประชุมล่วงหน้าเท่านั้น สมาชิก ก็จะทําตัวเองให้ว่างในวันปั นผลเอง เพราะอย่างน้อยครัวเรื อนละ 1 จะ ต้องมี ตัวแทนมารับเงินปันผลอยูแ่ ล้ว ส่วนเวลาในการประชุมใหญ่ปันผลประจําปี ก็มกั จะเริ่ มในช่วงบ่ายเช่นกัน แต่ก็มีบางกลุ่มที่เริ่ มในช่วงเช้า ขึ้นอยู่กบั ว่า กรรมการ และสมาชิ กในกลุ่มนั้น ๆ สะดวกในช่วงเช้า หรื อช่วงบ่าย แนวทางวาระการประชุ มใหญ่ ปันผล ส่ วนวาระการประชุมในการประชุมใหญ่ปันผลประจําปี อาจแตกต่างจาก การประชุมกลางปี บ้าง ในเรื่ องการมีส่วนร่ วมของสมาชิ ก ในขณะที่การประชุ ม กลางปี เปิ ดโอกาสให้สมาชิกเป็ นฝ่ ายพูด กรรมการมีหน้าที่ฟัง เพื่อนําผลที่ได้จาก การอภิ ปรายไปวางแผน และปรับปรุ งการทํางาน ส่ วนการประชุ มใหญ่ปันผล คู่มือแนวทางการทํางาน

หน้ า 224


เครื อข่ ายกลุ่มสัจจะสะสมทรั พย์ เพื่อพัฒนาคุณธรรมครบวงจรชีวิต นครศรี ธรรมราช

กรรมการจะเป็ นผูน้ าํ เสนอเสี ยส่วนใหญ่ ยกเว้นวาระการเลือกกรรมการ และวาระ ค่าตอบแทนกรรมการ วาระการประชุมใหญ่ปันผลประจําปี จะเริ่ มด้วย การไหว้พระสวดมนต์ นัง่ สมาธิ เหมื อนการประชุ มอื่น ๆ ของเครื อข่าย แล้วต่อด้วยวาระประธานแจ้งให้ ทราบ ซึ่ งประธานจะใช้โอกาสนี้ กล่าวสุ นทรพจน์ไปในตัวเลย หลังจากนั้นก็เป็ น รายงานผลประกอบการ ประกอบกับ การนํา เสนอผลการทํา งานในเชิ ง การ วิเคราะห์ จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และภัยคุกคาม วาระต่ อ ไปต่ อ จากการรายงานผลประกอบการก็ ไ ด้แ ก่ การพิ จ ารณา ค่าตอบแทนกรรมการในปี ถัดไป เสร็ จแล้วจึ ง ค่อยเลื อ กกรรมการทํางานในปี ถัดไป แล้วปิ ดท้ายด้วยการไหว้พระ ปิ ดการประชุม แล้วจึงให้สมาชิกแยกย้ายกัน ไปรับเงิ นปั นผล จากกรรมการในสายของตัวเอง ตัวอย่างการกําหนดวาระการ ประชุมนี้ สามารถย้อนกลับไปดูได้ในบทที่ 5 แนวทางสุ นทรพจน์ ประธานในการประชุมปันผล การกลาวสุ น ทรพจน์ ป ระธานในการประชุ ม ปั น ผล ก็ มี ค วามสํา คัญ เช่ นเดี ยวกับการประชุ มใหญ่กลางปี หลักการ และแนวทางการร่ างสุ นทรพจน์ และการกล่าวสุ นทรพจน์ ก็ไม่แตกต่างกันนัก เพียงแต่ว่า การกล่าวสุ นทรพจน์ใน คู่มือแนวทางการทํางาน

หน้ า 225


เครื อข่ ายกลุ่มสัจจะสะสมทรั พย์ เพื่อพัฒนาคุณธรรมครบวงจรชีวิต นครศรี ธรรมราช

การประชุ มปั นผล มีเรื่ องที่จะต้องกล่าวหลายประเด็นมากกว่าการประชุมใหญ่ กลางปี ในขณะที่ การประชุ มใหญ่ กลางปี อาจมี เพี ยงประเด็ น เรื่ อ งการกระตุ ้น สมาชิ ก และกรรมการให้ ตื่ น ตัว การประชุ ม ปั น ผลอาจมี ป ระเด็ น เรื่ อ งการ บริ ห ารงาน ผลประกอบการ เรื่ อ งเศรษฐกิ จ และสัง คม ที่ ส่ ง ผลกระทบการ บริ หารงานของกลุ่ม ดังนั้นการร่ างสุนทรพจน์ในการประชุมปันผล จึงจําเป็ นต้อง มีศิลปะการสื่ อสาร และทักษะการสื่ อสารอย่างยิง่ ตัวอย่างสุ นทรพจน์ในการประชุมปั นผล สามารถย้อนกลับไปอ่านได้ใน บทที่ 5 และสามารถนําไปฝึ กกล่าว และกล่าวได้จริ ง เพื่อให้เกิดความชํานาญ แล้ว จึงสามารถประยุกต์ให้เข้ากับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในปี นั้น ๆ ได้ ที่ สําคัญ สุ นทรพจน์ตอ้ งพัฒนาตลอดเวลา หลังการกล่าวสุ นทรพจน์ไป แล้ว ทุกครั้ง ประธานหรื อกรรมการควรฟั งเสี ยงสะท้อนกลับจากสมาชิ ก หรื อ กรรมการ หรื อผูเ้ ชี่ยวชาญ เพื่อจะได้นาํ ไปปรับปรุ ง สําหรับสุ นทรพจน์ท่ีจะมีข้ ึน ในปี ต่อไป แนวทางการวิเคราะห์ จุดอ่อน จุดแข็ง โอกาส และภัยคุกคาม การวิเคราะห์จุดอ่อน จุดแข็ง โอกาส และภัยคุกคามในการประชุมปันผลนี้ ใช้หลักการเดียวกันกับการวิเคราะห์จุดอ่อน จุดแข็ง โอกาส และภัยคุกคามในการ คู่มือแนวทางการทํางาน

หน้ า 226


เครื อข่ ายกลุ่มสัจจะสะสมทรั พย์ เพื่อพัฒนาคุณธรรมครบวงจรชีวิต นครศรี ธรรมราช

ประชุมใหญ่กลางปี แต่แตกต่างกันตรงที่ ในการประชุ มใหญ่กลางปี ให้สมาชิ ก เป็ นคนวิเคราะห์ และในการประชุมปันผล ให้กรรมการเป็ นคนวิเคราะห์ นอกจากแตกต่ า งกัน ในมิ ติ ผูว้ ิ เ คราะห์ แ ล้ว มิ ติ ส่ิ ง แวดล้อ มที่ ใ ช้ใ นการ วิเคราะห์จะเหมือนกันคือ วิเคราะห์สิ่งแวดล้อม ภายใน และสิ่ งแวดล้อมภายนอก แต่ตวั เนื้ อหาของสิ่ งแวดล้อมในการวิเคราะห์กจ็ ะแตกต่างอีกเช่นกัน กล่าวคือ สิ่ งแวดล้อมภายในที่กรรมการวิเคราะห์คือ สิ่ งแวดล้อมภายใน กลุ่ม ส่ วนสิ่ งแวดล้อมภายนอกได้แก่ส่ิ งแวดล้อมภายนอกกลุ่ม สิ่ ง แวดล้อ มภายในกลุ่ ม ได้แ ก่ กรรมการ สมาชิ ก การทํา หน้ า ที่ ข อง กรรมการ การทําหน้าที่ของสมาชิก กรรมการ และสมาชิ ก ดูจาก คุณธรรมของกรรมการและสมาชิ ก ถ้าไม่มี คุณธรรม หรื อคุณธรรมอ่ อนแอ ก็เป็ นจุ ดอ่ อน แต่ถา้ มี คุณธรรม หรื อคุณธรรม เข้มแข็ง ก็เป็ นจุ ด แข็ง ส่ วนการทํา หน้า ที่ ของกรรมการและสมาชิ ก ดู จาก ถ้า ปฏิบตั ิตามกฎระเบี ยบได้ดี ก็เป็ นจุดแข็ง แต่ถา้ ปฏิ บตั ิ ตามกฎระเบียบได้ไม่ดี ก็ เป็ นจุดอ่อน ส่ วนสิ่ งแวดล้อมภายนอกกลุ่มได้แก่ เหตุการณ์ของการเมื อ ง เศรษฐกิ จ และสังคม ภายนอกกลุ่ม เหตุการณ์ทางการเมื อง เศรษฐกิจ และสังคมภายนอกกลุ่ม หรื อภายนอก ชุมชน ถ้าเอื้ อประโยชน์แก่ กลุ่มและสมาชิ ก ก็เป็ นโอกาส แต่ถา้ ทําให้กลุ่มและ คู่มือแนวทางการทํางาน

หน้ า 227


เครื อข่ ายกลุ่มสัจจะสะสมทรั พย์ เพื่อพัฒนาคุณธรรมครบวงจรชีวิต นครศรี ธรรมราช

สมาชิ กเสี ยประโยชน์ ก็เป็ นภัยคุกคาม แต่ ถา้ ภัยคุกคามนั้น กลุ่ มสามารถพลิ ก สถานการณ์ทาํ ให้เกิดประโยชน์แก่กลุ่มและสมาชิกได้ ภัยคุกคามนั้นก็เป็ นโอกาส ได้เช่นกัน ตัวอย่างการรายงานผลการวิเคราะห์จุดอ่อน จุดแข็ง โอกาส และภัยคุกคาม ของกลุ่ม สามารถย้อนกลับไปดูได้ในบทที่ 5 แนวทางการพิจารณาค่าตอบแทนกรรมการ การพิจารณาค่าตอบแทนกรรมการ มีหลักการว่า กรรมการต้องนัง่ ฟังอย่าง เดียว ในทางปฏิ บตั ิ แล้ว กรรมการไม่ควรจะนั่งอยู่ในที่ประชุ ม เพื่อให้สมาชิ กมี อิสระเต็มที่ ในการอภิ ปราย หากเป็ นไปได้ ควรงดใช้เครื่ องขยายเสี ยง แล้วให้ กรรมการชุดเก่าไปรออีกที่หนึ่ง ระยะห่างเท่าที่เสี ยงพูดปากเปล่าได้ยนิ ไม่ถึง การพิจารณาค่าตอบแทนกรรมการในปี ต่อไป มีประเด็นที่ เปิ ดให้สมาชิ ก อภิปราย 3 ประเด็นคือ เท่าเดิม เพิ่มขึ้น หรื อลดลง เมื่อได้ขอ้ สรุ ปแล้วว่ามีมติไป ในประเด็นใด ก็เปิ ดให้อภิปรายเพิ่มเติมว่า เพิ่มขึ้นเท่าใด หรื อลดลงเท่าใด เมื่อได้ ข้อสรุ ปแล้ว ก็ให้สมาชิกในที่ประชุมลงมติ หลังจากลงมติแล้ว จึงเชิญกรรมการชุดเดิมเข้ามาในที่ประชุม แล้วค่อยแจ้ง ผลการพิจารณาค่าตอบแทนให้ทราบ แล้วจึ งดําเนิ นการเลื อกกรรมการบริ หาร สําหรับปี ถัดไป เป็ นวาระต่อไป คู่มือแนวทางการทํางาน

หน้ า 228


เครื อข่ ายกลุ่มสัจจะสะสมทรั พย์ เพื่อพัฒนาคุณธรรมครบวงจรชีวิต นครศรี ธรรมราช

แนวทางการคัดเลือกกรรมการบริหาร การเลือกกรรมการบริ หารกลุ่มสัจจะ สมาชิ กของเครื อข่าย จะเริ่ มด้วยการ ให้สมาชิกเสนอรายชื่ อผูเ้ ห็นสมควรเป็ นกรรมการเลย ไม่ตอ้ งรอให้กรรมการชุด เก่าลาออก เพราะในระเบียบกําหนดให้กรรมการดํารงตําแหน่ งวาระละ 1 ปี อยู่ แล้ว เมื่อครบปี วาระก็หมดลงโดยอัตโนมัติ การคัด เลื อ กกรรมการจึ ง เริ่ มด้ว ยการให้ ส มาชิ ก เสนอชื่ อ ผู ้ที่ ส มาชิ ก เห็ น สมควรว่ า ให้ เ ป็ นกรรมการ โดยทั่ว ไปมัก จะเสนอชุ ด เก่ า เป็ นกรรมการ นอกจากว่า จะมี กรรมการคนใดคนหนึ่ งขอไม่รับตําแหน่ ง ต่ อ ด้วยเหตุ จาํ เป็ น ส่วนตัว ก็ให้เสนอคนอื่น เป็ นกรรมการ ในทางปฏิบตั ิ เนื่องจากว่า กรรมการกลุ่มสัจจะ เป็ นการทํางานเสี ยสละเพื่อ ส่ วนรวม คนที่อาสาเข้ามาทํางานนี้ ต้องเป็ นคนที่ไม่มีภาระทางครอบครัวมาก เพราะงานกรรมการกลุ่มสัจจะนี้ ต้องใช้เวลามาทํางานเต็มวันอย่างน้อย 5-7 วันต่อ เดื อ น ถ้า คนที่ มีภาระงานประจํา ที่ ไม่ สามารถปลี กตัวได้ จะไม่ สามารถมาทํา หน้าที่น้ ี ได้เลย ประกอบกับ ค่าตอบแทนจากการเป็ นกรรมการ ก็ไม่ได้มากมาย นัก งานนี้ จึงหาคนที่จะสมัครเข้ามาแข่งขันคัดเลือกได้ยากมาก ดังนั้น ในทางปฏิ บตั ิ จริ ง ประธานกรรมการมักจะเป็ นผูไ้ ปชักชวนหรื อ ทาบทาม คนที่มีแวว มีแนวคิดตรงกันในเรื่ องการพัฒนาชุมชน มาทดลองทํางาน กับกลุ่มก่อน พอถึงกําหนดวันประชุมใหญ่ ประธานจึงจะเสนอชื่อให้ที่ประชุมรับ คู่มือแนวทางการทํางาน

หน้ า 229


เครื อข่ ายกลุ่มสัจจะสะสมทรั พย์ เพื่อพัฒนาคุณธรรมครบวงจรชีวิต นครศรี ธรรมราช

คนนั้น เข้ามาทดแทนคนที่ จะออก หรื อ รั บเพิ่ มเข้า มาเพื่ อรองรับปริ มาณงานที่ เพิ่มขึ้น ตามจํานวนสมาชิกที่เพิ่มขึ้น การคัดเลือกกรรมการบริ หารกลุ่มสัจจะ จึงเป็ นการคัดเลือกที่ใช้หลักความ ยืดหยุ่น แต่ ตอ้ งยืนอยู่บนหลักการความโปร่ งใส และตรวจสอบได้ กลุ่มจึ งจะ ได้รับความเชื่อถือจากสมาชิก แนวทางแห่ งแนวทาง ที่ ผ่านมาท่านผูอ้ ่านได้ทราบแนวทางการทํางานของเครื อข่ายกลุ่มสัจจะ อย่างครบถ้วนแล้ว ตั้งแต่แนวทางการทํางานประจําเดื อนที่ เริ่ มตั้งแต่วนั ทําการ สัจ จะ วัน ประชุ ม สรุ ป งาน วัน พิ จ ารณาเงิ น กู้ วัน ทํา สัญ ญาเงิ น กู้ วัน ประชุ ม กรรมการเครื อข่าย ไปจนถึงการทํางานประจําปี ที่ประกอบด้วย วันประชุมใหญ่ กลางปี และวันประชุมใหญ่ปันผลประจําปี อย่างไรก็ตาม เนื่ องจากเครื อข่ายกลุ่มสัจจะนี้ เป็ นองค์กรชุ มชน ลักษณะ เด่ น ขององค์ ก รชุ ม ชนคื อ จะไม่ คิ ด ปั ญ หาไว้ล่ ว งหน้ า กล่ า วคื อ จะไม่ ต้ ัง กฎระเบี ยบข้อบังคับไว้ล่วงหน้า ถ้าปั ญหายังไม่เกิ ด เรื่ องนี้ ไม่ได้หมายความว่า ชาวบ้านไม่มีสติปัญญา แต่ตรงกันข้าม ชาวบ้านกลับเป็ นกลุ่มชนที่ใช้ชีวิตอยูบ่ น พื้นฐานของสติปัญญา ที่ แท้จริ ง ที่เกิ ดจากการเรี ยนรู ้ จากประสบการณ์ตรงจาก ธรรมชาติ คู่มือแนวทางการทํางาน

หน้ า 230


เครื อข่ ายกลุ่มสัจจะสะสมทรั พย์ เพื่อพัฒนาคุณธรรมครบวงจรชีวิต นครศรี ธรรมราช

วิถีชีวิตชาวบ้าน จะไม่เป็ นทุกข์ก่อนที่ทุกข์จะเกิด ถ้าจะกล่าวให้ง่าย ๆ คือ จะไม่ร้อนก่อนร้อน คือ จะไม่ร้อนจนกว่าจะโดนไฟจี้ เรื่ องนี้ ดูเผิน ๆ เหมือนกับ ว่าชาวบ้านไม่มีสติ ปัญญา ซึ่ งถ้ามองจากพื้นฐานความรู ้ที่สอนกันในโรงเรี ยนที่ สอนให้คิด ก็จะเห็ นด้วย แต่ถา้ มองจากพื้นฐานความรู ้ ตามธรรมชาติ จะเห็ นว่า ชาวบ้า นอยู่กับความจริ ง ซึ่ ง ผิด กับความรู ้ ที่สอนในโรงเรี ยนที่ สอนให้อ ยู่กับ ความคิดที่ไม่ใช่ ความจริ ง คือพอคิดถึ งความร้อนจากไฟ ก็กลัว กังวล เครี ยดไป ก่อนล่วงหน้าแล้ว ทั้ง ๆ ที่ไฟยังไม่มาถูกตัวเลย อย่างไรก็ตาม วิถีการใช้ชีวิตตามความรู ้ธรรมชาติ และวิถีการใช้ชีวิตตาม ความรู ้ ที่สอนกันในโรงเรี ยน ก็ไม่ได้มีความรู ้ใดถูก หรื อผิดทั้งหมด ความรู ้ท้ งั สองชุ ด ต่างก็มีส่วนถู กกันฝ่ ายละครึ่ ง ส่ วนอี กครึ่ งหนึ่ ง ไปอยู่ที่จิตใจของผูใ้ ช้ ความรู ้ชุดนั้น ๆ เป็ นตัวกําหนด ผูใ้ ช้ความรู ้จากโรงเรี ยน ถ้าคิดล่วงหน้าแล้ว เห็นโทษ แต่ไม่วิตกกังวลกับ โทษภัยที่จะเกิดขึ้น แล้วมาคิดวางแผน หาแนวทางการทํางานที่จะไม่ให้เกิดโทษ นั้น หรื ออาจเปลี่ยนโทษเป็ นคุณ อย่างนี้ ก็ถือว่าได้ประโยชน์รอบด้าน แต่ถา้ วิตก กังวลล่วงหน้า จนไม่เป็ นอันทําอะไร ได้แต่กลัวอยูอ่ ย่างนั้น อย่างนี้ ก็เรี ยกว่าเป็ น โทษแบบเบ็ดเสร็ จเลยทีเดียว ส่ วนผูใ้ ช้ความรู ้ จากธรรมชาติ ก็เช่ นกัน ถ้าไม่ เห็นโทษภัยล่ วงหน้า และ ทุกข์ไม่ร้อน เวลาภัยมาถึงตัว ก็ร้อนแต่กาย แต่ใจไม่ได้เป็ นทุกข์ ไม่ได้ร้อนใจไป ด้วย ทํา ให้มีสติ ปัญญาหาทางแก้ไ ขได้ทนั ท่ ว งที ตามเหตุ ปัจจัย อย่า งนี้ ก็เป็ น คู่มือแนวทางการทํางาน

หน้ า 231


เครื อข่ ายกลุ่มสัจจะสะสมทรั พย์ เพื่อพัฒนาคุณธรรมครบวงจรชีวิต นครศรี ธรรมราช

ประโยชน์รอบด้านเช่นกัน แต่ถา้ ไม่เห็นโทษภัยล่วงหน้า จึงไม่ได้ทุกข์ร้อนอะไร และเวลาภัยมีถึงตัวแม้จะร้อนกาย แต่กไ็ ม่ได้มีสติปัญญา จะแก้ไขอะไรได้ อย่างนี้ ก็อาจจะได้ประโยชน์เพียงครึ่ งเดียว หรื ออาจจะเรี ยกว่าเป็ นโทษเบ็ดเสร็ จก็ได้ แนวทางการทํางานของเครื อข่ายที่ได้นาํ เสนอไปแล้วก็เช่ นกัน ประโยชน์ ในตัวมันเองมี ได้เต็มที่ ก็แค่ครึ่ งเดี ยว ส่ วนที่ เหลื อขึ้นอยู่กบั ว่าตัวท่ านจัดอยู่ใน ประเภทใดในคน 4 จําพวกนี้ ไม่ว่าท่านจะเป็ นคนที่มีวิถีชีวิตจากชุดความรู ้ที่ฝึก มาจากโรงเรี ยน หรื อเป็ นคนที่มีวิถีชีวิตจากชุดความรู ้ที่ฝึกมาจากธรรมชาติ คน 4 จําพวกนี้ คือ 1. เห็นภัยล่วงหน้า และแก้ปัญหาได้ 2. เห็นภัยล่วงหน้า แต่แก้ปัญหาไม่ได้ 3. ไม่เห็นภัยล่วงหน้า แต่แก้ปัญหาได้ 4. ไม่เห็นภัยล่วงหน้า และแก้ปัญหาไม่ได้ ท่านจะใช้แนวทางแห่ งแนวทางชุดใดในการดําเนิ นชีวิตในกลุ่มหรื อนอก กลุ่ม ท่านเองจะเป็ นผูใ้ ห้ตาํ ตอบตัวท่านเองได้ดีที่สุด และคําตอบนั้นก็ข้ ึนอยู่กบั คุณธรรมที่ท่านได้ฝึกฝน และบ่มเพาะให้เกิดขึ้นในจิตวิญญาณของท่านเอง ดังนั้น จงเร่ งเดินทางให้ถึงจุดหมายปลายทางของเครื อข่าย คือหมู่บา้ นอาริ ยะ และอาริ ยะบุคคล แล้วท่านจะได้ประโยชน์จากการใช้ความรู ้ท้ งั สองชุ ดอย่าง สมบูรณ์ จากการนําแนวทางการทํางานของเครื อข่ายไปใช้ในกลุ่มของท่านเอง คู่มือแนวทางการทํางาน

หน้ า 232



Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.