นิตยสารเรื่องสั้น ฉบับที่ 3

Page 1

เรื่องสั้น ณขวัญ ศรีอรุโณทัย อรรถวุฒิ บุญยวง หมายเลขสาม

ฟองจันทร์ มีเกียรติ แซ่จิว ธีรัช หวังวิศาล วราห์ชา

บทวิจารณ์วรรณกรรม พาไรโดเลียรำ�ลึก ปราบดา หยุ่น ชายผู้ถอนตัวออกจากโลก

ขอต้อนรับเมืองหนังสือโลก 10 โฆษณาหนังสือโดนใจ ร้านหนังสือใหญ่เตรียมขึ้นเปอร์เซ็นต์

นิตยสารเรื่องสั้น ฉบับที่ 3 ประจำ�เดือนธันวาคม 2555

ผาด พาสิกรณ์ สุชาติ สวัสดิ์ศรี

a literature magazine

เรื่องราวของเขาที่คุณอาจจะยังไม่รู้

จิตวิญญาณประชาธิปไตยในเรื่องสั้น

| to subscribe this magazine, please contact us at Alter Book Applications | website: http://www.porcupinebook.com |


นิตยสารเรื่องสั้น

ฉบับที่ 3 ประจำ�เดือนธันวาคม 2555 www.porcupinebook.com [Facebook/สำ�นักพิมพ์ เม่นวรรณกรรม] นิตยสารเรื่องสั้น 9/8 หมู่ 9 บางช้าง สามพราน นครปฐม 73110 โทรศัพท์ 0-3429-5424 โทรสาร 0-3429-5283 E-Mail: porcupinebook@gmail.com บรรณาธิการอำ�นวยการ: ปรียา พุทธประสาท บรรณาธิการ: นิวัต พุทธประสาท ผู้ช่วยบรรณาธิการ: สิริกัญญา ชุ่มเย็น อุปกรณ์ที่ใช้อ่าน iPad iPhone iPod Touch ที่ลงปฏิบัติการ iOS4 ขึ้นไป สามารถดาวน์โหลด App ได้ที่ App Store ค้นหา Alter Book หรือ MEB Mobile Tablet ทุกยี่ห้อ ที่ลงปฏิบัติการ Android 2.2 หรือสูงขึ้นไป สามารถดาวน์โหลด App ได้ที่ Google Play ค้นหา MEB Mobile ดาวน์โหลดหนังสือลงใน APP ได้ที่ http://www.mebmarket.com/ อ่านนิตยสารเรื่องสั้นบนเว็บ http://issuu.com/thai_writer_magazine


เรียนผู้อ่านและนักเขียนที่นับถือทุกท่าน นิตยสารที่ท่านอ่านอยู่นี้คือ ‘นิตยสารเรื่องสั้น’ ที่จัดพิมพ์ในรูปแบบ E-Book 1.ท่านจะอ่านหนังสือเล่มนี้ได้อย่างไร 1.1 ถ้าท่านมี iPad หรือ iPhone ไปที่ App Store ค้นหา Alter Book จาก นัน้ ก็ดาวน์โหลด App Alter Book มาใช้ได้โดยไม่เสียค่าใช้จา่ ย เมือ่ โหลดแล้ว ทำ�การ ลงทะเบียนอีกนิดหน่อย ท่านก็สามารถเข้าไปในชั้นหนังสือของ Alter Book บนชั้น หนังสือจะโชว์หนังสือของเรา จากนั้นดาวน์โหลดมาอ่านได้ทันที 1.2 ถ้าท่านใช้ซัมซุง ไม่ว่าจะเป็นแทบเล็ตหรือโทรศัพท์ในระบบปฏิบัติการ แอนดรอยด์ (Android) ให้เข้าไปที่ Google Play จากนั้นค้นหาคำ�ว่า MEB: Mobile E-Books เมือ่ โหลด App มาแล้วลงทะเบียนนิดหนึง่ จากนัน้ ก็เข้าไปในชัน้ หนังสือ จะ พบหนังสือมากมาย ถ้าหาไม่เจอให้คน้ หาคำ�ว่า “นิตยสารเรือ่ งสัน้ ” หนังสือก็จะปรากฏ 1.3 ทางเว็บไซต์ www.issuu.com ซึ่งผมจะแปะลิงค์เอาไว้ที่เว็บไซต์ www.porcupinebook.com 2.ต้องการส่งเรื่องสั้นและบทความทำ�อย่างไร 2.1 ส่งเรื่องสั้นและบทความได้ที่ porcupinebook@gmail.com 2.2 ส่งเรื่องสั้นและบทความได้ที่ massage Facebook: นิวัต พุทธประสาท 2.3 ทางนิตยสารจะปิดรับต้นฉบับทุกวันที่ 20 ของเดือน 2.4 ในส่วนของเรื่องสั้น ท่านสามารถส่งได้เพียงละ 1 เรื่องต่อเดือน 3.นิตยสารเรื่องสั้นจะทำ�นานเท่าไหร่ ผมจะทำ�นิตยสารเรื่องสั้นจำ�นวน 12 ฉบับ หรือ 1 ปี


นิตยสารเรื่องสั้น เงื่อนไขในการพิจารณาต้นฉบับ 1.เป็นเรื่องสั้นที่เขียนขึ้นเองของนักเขียน 2.ไม่เคยตีพิมพ์ที่ใดมาก่อนไม่ว่าจะเป็นหนังสือ นิตยสาร หรือ อินเตอร์เน็ต 3.ส่งเรื่องสั้นที่ดีที่สุดได้เพียงหนึ่งเรื่องต่อเดือน (หากไม่ทำ�ตามกฎข้อนี้จะงด พิจารณาต้นฉบับของผู้นั้นเป็นเวลาสามเดือน) 4.ไม่จำ�กัดเนื้อหา ไม่จำ�กัดจำ�นวนหน้า ไม่จำ�กัดเพศวัย 5.ผู้ส่งเรื่องสั้นโปรดพิจารณาหัวข้อนี้เป็นพิเศษ นิตยสารเรื่องสั้นเป็น นิตยสารในรูปแบบ E-Book สำ�หรับแจกฟรี ไม่มีรายได้ ไม่มีโฆษณา (ยกเว้น โฆษณาของ สนพ.เม่นวรรณกรรม :)) ผู้จัดทำ�ตั้งใจทำ�โดยไม่หวังผลตอบแทน ในด้านการเงิน ดังนัน้ เรือ่ งสัน้ ทีล่ งในนิตยสารแห่งนีจ้ งึ ไม่มคี า่ เรือ่ ง ก่อนส่งเรือ่ ง สั้นมายังที่นี่โปรดพิจารณาเป็นพิเศษเพื่อมิให้หมองใจในภายหลัง นอกจากเรื่องสั้นแล้วทางนิตยสารยังต้องการต้นฉบับ 1.บทวิจารณ์หนังสือ 2.รีวิวหนังสือออกใหม่ สำ�นักพิมพ์ใดต้องการประชาสัมพันธ์หนังสือของตน สามารถส่งบทรีวิวพร้อมรูปปกมาได้ 3.ทางนิตยสารยังต้องการ ภาพถ่าย รูปประกอบหนังสือ หรือ Graphic Fiction ผู้ใดต้องการปล่อยความสามารถส่งมาได้ นิตยสารออกทุกต้นเดือน สามารถติดตามผลได้ที่ FaceBook นิวตั พุทธประสาท Page สำ�นักพิมพ์เม่นวรรณกรรม และ เว็บไซต์ www.porcupinebook.com ท่านสามารถอ่านนิตยสารโดยโหลด Alter Book App หรือ MEB App สำ�หรับ ระบบปฏิบัติการ IOS ที่อ่านบน iPad iPhone และ iPod Touch และสำ�หรับผู้ใช้ Android สามารถโหลด MEB Mobile E-Book ได้ที่ Google Play และสำ�หรับผู้ที่ต้องการอ่านบนคอมพิวเตอร์สามารถเข้าไปอ่านได้ที่ เว็บไซต์ www.issuu.com นักเขียนสามารถส่งเรื่องสั้นมาที่ porcupinebook@gmail.com หรือทาง Message FaceBook หมายเหตุ: กรุณาส่งต้นฉบับ ด้วยไฟล์ ‘ไมโครซอร์ฟเวิรด์ ’ หรือ ‘เพจ’ สำ�หรับ แมค


Contents บทบรรณาธิการ ขอต้อนรับเมืองหนังสือโลก Book Review บ.ก.จิ๋ว บางสิ่งระหว่างเราเลือนหาย ผม ฝันแมงสาบ เรื่องจากปก เท่าที่จำ�ได้ พรุ่งนี้พวกเราจะไม่ดำ�รงอยู ่ ไอ้ลูกลิง จิตวิญญาณประชาธิปไตยในเรื่องสั้น การเดินทางท่ามกลางตัวอักษร เขียนอย่างไรให้สร้างสรรค์ฯ ทางที่ทอดยาว การรวมตัวกันของคนเก็บเมฆ ครั้งแรกกับปรากฏการณ์ฯ พระอาทิตย์ทรงกลด ท้ายเล่ม

007 011 021 025 037 043 047 051 059 063 067 073 091 097 104 115 118 120 123


6 นิตยสารเรื่องสั้น


นิตยสารเรื่องสั้น 7

๒๕๕๖ วรรณกรรมไทย ต้องเผชิญหน้าอะไรบ้าง

1.ร้านใหญ่จับมือกันขึ้นค่าวางหนังสือ ร้านหนังสือทีม่ สี าขามากทีส่ ดุ ได้ยนื่ หนังสือให้สายส่ง บางแห่งไปแล้วว่า หากจะวางหนังสือที่ร้านจะต้องหัก เปอร์เซ็นต์จากเดิม 15-25 เปอร์เซ็นต์จากราคาหนังสือ จะ เริม่ ต้นที่ 35 เปอร์เซ็นต์ ในวงการหนังสือเล่มเรารูด้ วี า่ ถ้า สำ�นักพิมพ์ฝากให้ผจู้ ดั จำ�หน่าย (สายส่ง) วางหนังสือตาม ร้าน ทางสายส่งจะหัก 40% จากราคาปก นัน่ หมายความ ว่า เมื่อขายหนังสือหนึ่งเล่มได้จึงเกิดรายได้ ธรรมเนียม นี้ปฏิบัติกันมานาน แม้เมื่อหลายปีก่อนจะมีบาง สนพ. เสนอเปอร์เซ็นต์ให้ร้านค้าเพิ่มขึ้น หรือซื้อชั้นหนังสือใน ร้าน เพื่อให้หนังสือของตนได้รับการมองเห็นจากผู้อ่าน มากขึ้น บางร้านใหญ่ยังใช้กลวิธีซื้อชั้นหนังสือขายดีอีก ด้วย ดังนั้นจึงไม่แปลกที่บางร้านหนังสือใหญ่จึงเต็มไป ด้วยหนังสือ “อะไรก็ไม่รู้” มากมายไปหมด จนบางครั้ง ผู้อ่านก็พึ่งพาร้านหนังสือไม่ได้ และอาจจะรวมถึง สนพ. เล็กๆ ทีเ่ ฝ้ารอรายได้จากร้าน ดังนัน้ จึงเกิดแม่น�้ำ อีกสาย นั่นคืองานสัปดาห์และงานมหกรรมหนังสือ ซึ่ง สนพ. ขนาดเล็กและกลางใช้เป็นฐานที่มั่นในการรับเงินสดเข้า มาสู่สภาพคล่องของตน หากย้อนกลับไปงานหนังสือเริ่มย้ายจากถนน ลูกหลวง ข้างกระทรวงศึกษาธิการมาสู่ศูนย์ประชุมแห่ง

ชาติมาได้สบิ กว่าปี ในสมัยก่อนงานหนังสือเป็นการลดล ราคาจากหนังสือที่เหลือจากคลัง แต่เมื่อย้ายจากถนน ลูกหลวงมาสู่สถานที่อย่างหอประชุมฯ ทำ�ให้คอนเว็ปต์ ของงานเปลี่ยนไป สนพ.ต่างๆ มองเห็นแล้วว่าในงาน หนังสือเหมาะอย่างยิ่งที่จะเปิดตัวหนังสือใหม่ ส่วนคน ทำ�หนังสือก็ใช้เส้นตายเหล่านีเ้ ป็นห้วงเวลาทีจ่ ะทำ�หนังสือ ให้เสร็จสิ้น อันนี้เราไม่โทษใครเพราะมันเป้นนิสัยดั้งเดิม แบบพวกเราถ้ามองไม่เห็นเส้นตายมักจะทำ�อะไรเสร็จ เมื่องานหนังสือกลายเปลี่ยนมาเป็นงานเปิดตัว หนังสือใหม่ ขายก่อนร้านเกือบทุกเล่ม ทำ�ให้ร้านค้า หงอยเหงาเศร้าใจและขายไม่ได้ในช่วงดังกล่าว หรือ อาจจะกินลามไปทั่วตลอดหลายเดือน เมื่อมันครบรอบ สิบกว่าปีมานี้เราจึงเห็นผลที่มันตามมาแล้วว่าเกิดอะไร ขึน้ ร้านใหญ่มากสาขาไม่ได้ขายหนังสืออย่างเดียวแต่ยงั ขายสารพัดสินค้า ดังนัน้ เราอาจจะไม่สนใจว่าเขาจะมีวสิ ยั ทัศน์ทางวรรณกรรมเช่นไร การประกาศขึน้ ค่าธรรมเนียม ในการวาง นั้นย่อมมีผลกระทบอย่างแน่นอน ผลกระทบแรกก็คือ เป็นไปได้ว่าสายส่งอิสระจะ ไม่ส่งหนังสือไปขายที่ร้านใหญ่มากสาขา ผลกระทบทีส่ อง สำ�นักพิมพ์เล็กอาจจะต้องดิน้ รน เอาเองในการหาทางเข้าไปขายในร้านใหญ่


8 นิตยสารเรื่องสั้น

ผลกระทบที่สาม ร้านใหญ่มีอำ�นาจผูกขาดมาก และชี้เป็นชี้ตาย ว่าจะรับขายหนังสือเล่มนั้นๆ หรือไม่ นั่นเท่ากับตอกย้ำ�ว่า งานหนังสือจะยังคงเป็นงานที่ยิ่ง แข่งขันกันมากขึ้น เพราะ สนพ.ขาดทางเลือก และผู้อ่าน ยังต้องการหนังสือที่มีความหลากหลาย ทางรอด เวลาเราพูดถึงเรื่องนี้เรามักจะอุดตันทางปัญญา แต่ผมขอเสนอให้รา้ นหนังสือใหญ่ได้มองเห็นโมเดลร้าน “บุค๊ โมบี”้ ชัน้ สีห่ อศิลป์กรุงเทพฯ ทีน่ นั่ กลายเป็นทีม่ นั่ ของ หนังสือนอกกระแสไปโดยปริยาย ชื่อเสียงของปราบดา หยุน่ อันเป็นแม่เหล็กดึงดูด เขาเป็นต้นแบบของคนหนุม่ สาวจนกลายมาเป็นสัญลักษณ์ส�ำ คัญ ประกอบกับแบ๊คอัพ อย่างเคล็ดไทยซึ่งมีหนังสือแนวนี้อยู่กับตัวจำ�นวนมาก รวมถึงร้านเองก็ติดต่อ สนพ.เล็กๆ ให้ส่งหนังสือไปขาย ผมบอกได้เลยนะครับว่าร้านหนังสือใหญ่หลายสาขา อาจ จะต้องครุน่ คิดหนักขึน้ เพราะส่วนแบ่งการตลาดหนังสือ นอกกระแสก็ใช่วา่ จะขีเ้ หร่ บางทีอาจจะมากกว่าร้านระดับ กลางบางสาขาที่อยู่ในห้างฯก็เป็นได้ ถ้าดูอย่างเป็นรูปธรรม ร้านอย่างคิโนะคูนิยะนั้น บริหารจัดการอย่างไรจึงอยูไ่ ด้ ทัง้ ทีม่ สี าขาไม่มาก บางที อาจจะต้องกลับไปเรียนรู้ธุรกิจหนังสือกันใหม่

2.คนแคระ ยินดีกับวิภาส ศรีทอง กับนิยายเรื่อง “คนแคระ” ที่ ได้รับรางวัลซีไรต์อย่างสมภาคภูมิ นิยายเรื่องนี้เหมาะ สมที่จะได้รับรางวัลด้วยประการทั้งปวง ในเจ็ดเล่มเป็น เล่มที่เด่นที่สุด แม้ว่าเนื้อหาจะดำ�มืด ดิ่งลึก แต่ก็ไม่ใช่ ปัญหาสำ�หรับผู้อ่านที่จะค้นพบด้านมืดของมนุษย์ที่อาจ จะไม่เคยถูกเปิดเผยมาก่อน ปี 2555 นับว่าเป็นปีที่มีนิยายดีๆ ออกมาให้ผู้ อ่านได้อา่ นกันจำ�นวนมาก ดูจากรายชือ่ ทีส่ ง่ เข้าประกวด รางวัลซีไรต์ และรอบลองลิสต์ดูเหมือนจะเป็นรอบที่น่า สนใจ น่าสนใจเสียกว่ารอบสุดท้ายเจ็ดเล่มเสียอีก น่า เสียดายทีโ่ ผรอบสุดท้ายออกมากล้ำ�กลืนจนรูส้ กึ ว่าทำ�ไม

เป็นแบบนั้น ผมคงไม่ได้คิดไปเองนะครับ ผู้อ่านลองไป ไล่รายชือ่ รอบลองลิสต์มาเทียบกับรอบสุดท้ายดูกจ็ ะเห็น น่าเสียดายนิยายอย่าง “ประวัตศิ าสตร์ของความ เงียบ” ของอติภพ ภัทรเดชไพศาล, “คดีดาบลาวยาว แดง” ของ ภาณุ ตรัยเวช รวมถึง “เสือเพลินกรง” ของ ผาด พาสิกรณ์ และอีกหลายๆ เรื่องที่หลุดออกไปอย่าง น่าเสียดาย ลองหลับตานึกนะครับว่าถ้ามีเรื่องเหล่านี้ใน โผรอบสุดท้ายอะไรจะเกิดขึ้น แม้รางวัลจะกระตุ้นการอ่าน การซื้อ และหนึ่ง ในคณะผู้จัดการรางวัลก็เคยบอกว่าผลวิจัยทำ�ให้ธุรกิจ ด้านวรรณกรรมสร้างสรรค์กระเตื้องขึ้นจริง หนังสือขาย ได้มากขึน้ คนอ่านหนังสือรางวัลเพิม่ ขึน้ แต่เท่าทีป่ ระสบ ด้วยตัวเอง ก็ทราบว่าคนอ่านส่วนใหญ่ไม่รู้จะซื้อหนังสือ อะไร ดังนั้นหนังสือรางวัลจึงเป็นทางเลือกแรก ส่วน รสนิยมจะต้องใจคนอ่านหรือไม่นนั้ เป็นอีกเรือ่ งหนึง่ และ เราก็ทราบกันดีวา่ รสนิยมการอ่านไม่สามารถบังคับกันได้ แต่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ด้วยตัวผู้อ่านเอง เรื่องนี้จึงสอนให้รู้ว่าแม้จะเป็นหนังสือรางวัลก็ ไม่ใช่วา่ จะไปได้ในทางธุรกิจหนังสือทังั้ หมด เพราะสุดท้าย แล้วนักเขียนยังต้องพิสจู น์ผลงานของตัวเองไปตลอดทัง้ ชีวติ ส่วนรางวัลเป็นเพียงความภูมใิ จส่วนตัวของนักเขียน เท่านั้น

3.ต้นทุนที่สูงขึ้น ต้นทุนหนังสือสูงขึ้นทุกปี มาจากทุกปัจจัย ไม่ว่าจะ เป็นกระดาษ หมึกี ค่าแรง และต้นทุนจากสำ�นักงาน หนังสือจาก สนพ.เล็กๆ ที่ผลิตน้อย จะมีราคา ที่สูงกว่าปกติ ผมคิดว่าถ้าสื่อสารกับผู้อ่านให้เข้าใจก็จะ ไม่เกิดปัญหา เพราะสุดท้ายนักเขียนก็ยังได้ค่าลิขสิทธิ์ เท่าเดิม สนพ.มีส่วนแบ่งรายได้ไม่ต่างจากเดิม ผมมองว่าในอนาคตอันใกล้ แวดวงวรรณกรรม ยังคงต้องพบเจออุปสรรคอีกหลายด่าน การปรับตัวหรือ ขยับของเจ้าใหญ่ จะยิง่ รุกเพิม่ ขึน้ ทางธุรกิจ นัน่ หมายความ


นิตยสารเรื่องสั้น 9

ว่าปี 2556 จะเป็นปีที่มีความเปลี่ยนแปลงอยู่พอสมควร ถ้าร้านใหญ่สามารถขึ้นราคาค่าวางหนังสือได้ สิ่งที่ผมอยากเห็นและแลกเปลี่ยนมากที่สุดก็คือ ถ้าเหล่าเจ้าใหญ่ขึ้นราคาค่าต่างๆ แล้ว ควรเพิ่มบริการ หรือยอดขายให้กับ สนพ.ด้วยเถิด จัดอบรมพนักงาน ให้มีความรู้ทางด้านหนังสือเพิ่มขึ้น จัดวางหนังสือให้ ถูกหมวดหมู่ หรือแม้จะพยายามที่จะหาหนังสือที่ลูกค้า ต้องการไม่ว่าทางใดทางหนึ่ง แน่นอนว่ามันคงเป็นฝันล้มๆ แล้งๆ ทีอ่ ย่างน้อย มันก็พอจะมีความหวังขึ้นมาบ้าง และที่สำ�คัญในอนาคต อีบุ๊คอย่างที่เรากำ�ลังทำ� อยู่นี้อาจจะมาแทนหนังสือเล่มอย่างสมบูรณ์แบบก็เป็น ได้ แล้วหนังสือเล่มยังจัดพิมพ์จำ�นวนจำ�กัด ในราคาที่ เหมาะสมสำ�หรับผู้ที่รักหนังสือแต่เพียงผู้เดียว

4.จดหมายจากพี่สุชาติ บก.นิตยสารเรื่องสั้น ขอบคุณที่อัดภาพมาให้ คนเป็นแบบก็งั้นๆ แต่ พอตเทรตที่ออกมาเร้าใจดี (“เร้าใจ” แปลว่า “ถ่ายดี”) นิตยสารเรือ่ งสัน้ ฉบับปฐมฤกษ์อยูใ่ นเกณฑ์ใช้ได้ ยังไม่เข้มนัก อาจเป็นเพราะเพิง่ เริม่ ต้น ขอให้ก�ำ ลังใจ จะ ได้เปิดพื้นที่ “ประชันฝีมือ” ทางเรื่องสั้นให้ปรากฏโดย ผ่านปริมณฑลใหม่ โลกไซเบอร์มเี สรีภาพไม่จ�ำ กัด เรือ่ ง สั้นที่ปรากฏจึงควรเข้มและข้นให้พ้นไปจาก ช่อการะเกด

บรรณาธิการในโลกไซเบอร์คงต้องทำ�งานหนัก และเอา ให้ได้แต่ที่ “ยอด” และ “เยี่ยม” เท่านั้น เพราะเมื่ออยู่ ในโลกไซเบอร์เสียแล้ว บริบทควรจะปรากฏอย่างเปิด กว้าง เป็นทั้งทูตสวรรค์และภูตินรกให้ตัวเอง และเป็น “ซอมบี้”ได้ในเวลาเดียวกัน บอกผ่านถึง “ศิษย์เก่าช่อ การะเกด” และรุ่นใหม่ๆ ว่าเรื่องสั้นของพวกเขายังมี Big Brother จับจ้องอยู่ ถ้า “น้องน้ำ�”ไม่หวนกลับมาอีกใน 1-2 เดือนนี้ จะส่งกำ�ลังใจมาให้ใหม่ นิตยสารเรื่องสั้น ฉบับที่ 2 เห็น แต่ปกเท่านัน้ เนือ้ ในยังไม่เห็น คนล้ายุคทีไ่ ม่มี “ไอแพ็ด” ก็เป็นเช่นนี้เอง สุชาติ สวัสดิ์ศรี ขอบคุณพี่สุชาติ เป็นอย่างยิ่งทีเขียนมาแนะนำ� “นิตยสารเรื่องสั้น” เราพยายามเร่งปรับปรุงเนื้อหาให้ดี ยิง่ ขึน้ และยังคำ�นึงถึงประโยชน์สงู สุดของผูอ้ า่ น แม้วา่ จะ เป็นนิตยสารแจกฟรี ผูเ้ ขียน และผูร้ ว่ มงานทุกคนต่างไม่ คิดค่าแรง ค่าลิขสิทธิ์ ผมเองก็หวังอย่างยิ่งให้เราก้าวไป ข้างหน้าได้โดยไม่พบเจออุปสรรคมากนัก และหวังว่าจะ ได้ค้นพบเพชรเม็ดงามที่ซ่อนตัวอยู่ในโลกไซเบอร์แห่งนี้ คำ�นับอาจารย์แห่งเรื่องสั้นอีกหนึ่งจอก

นิวัต พุทธประสาท


10 นิตยสารเรื่องสั้น

โปสเตอร์บางส่วนของการโปรโมต “กรุงเทพฯ เมืองหนังสือโลก”


นิตยสารเรื่องสั้น 11

ข้อต้อนรับ กรุงเทพฯ เมืองหนังสือโลก ๒๕๕๖

เพื่อเป็นการต้อนรับเมืองหนังสือโลก ทางนิตยสารเรื่องสั้น จึงถือโอกาสนี้สร้างกระแสเพื่อเรียกความคึกคัก จากเหล่าหนอนหนังสือ โดยนำ�โปสเตอร์บางส่วนของของเมืองหนังสือโลกมาโชว์ให้ผู้อ่านได้ชมกัน ระหว่างทีผ่ เู้ ขียนตระเวณท่องไวเบอร์สเปซ เฟชบุค๊ ก็มเี พือ่ นแชร์เวบไซต์คอลัมน์หนึง่ จากเวบไซต์ BuzzFeed. com มาให้ ผูเ้ ขียนเห็นว่าน่าสนใจจึงนำ�มาเสนอต่อให้ผอู้ า่ นได้ชมกันอีกครัง้ BuzzFeed.com ได้คดั เลือกโฆษณาเกีย่ ว กับหนังสือทีส่ ดุดตาสิบชิน้ มาให้ผอู้ า่ นได้ชมกัน ลองดูนะครับว่าไอเดียแต่ละเจ้าเป็นอย่างไร เมือ่ เทียบกับโฆษณาเมือง หนังสือโลกของไทย แล้วเป็นอย่างไรกันบ้าง เชิญชมครับ

1

2011 โฆษณาอันยอดเยี่ยมของ Mint Vinetu, ของร้านหนังสือใน Vilnius โดย Love Agency


12 นิตยสารเรื่องสั้น

2 2011 ภาพโปสเตอร์กลางแจ้งของร้านหนังสือ Whitcoulls ซึ่ง เป็นร้านหนังสือออนไลน์ที่ใหญ่ที่สุดของนิวซีแลนด์ และตัว หนังสือทั้งหมดที่เห็นในโปสเตอร์คือตัวเรื่องของ A Clockwork Orange และโปรดสังเกตที่หัวโปสเตอร์ คำ�โปรยที่ เจ๋งมาก “Read More Movie” ออกแบบโดย DraftFCB, Auckland


นิตยสารเรื่องสั้น 13

3

4

หมายเลข 3-4 เป็นโฆษณาของ Librairi L’ Elechange ร้านหนังสือมือสองขนาดใหญ่มาก ของฝรั่งเศส โฆษณาเช็ตนี้โดนผู้เขียนเป้นอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นคาฟก้า หรือเฮมมิงเวย์ ล้วน แล้วแสบคันทั้งสิ้น จัดทำ�โดย BCP, Montreal


14 นิตยสารเรื่องสั้น

5

2009 โฆษณา ของร้านเชนสโตร์ Tzomet Sfarim ในประเทศอิสรเอล เป็นการหยิบยืมโลโก้ของเฟชบุ๊คมาใช้ได้อย่างมีอารมณ์ขัน ถ้าเป็นคนไทยคงบอกว่า “ลอกโลโก้เฟชบุ๊คมาชัดๆ” (ฮา) ผลงานจากเอเยนซี Brickman, Ramat Gan.


นิตยสารเรื่องสั้น 15

6

7

2009 ภาพโฆษณาที่ติดบนรถขนส่งหนังสือของ The Johnson County Library ใน Kansas City เป็นไอเดียที่เก๋ไก๋มาก เพราะ เป็นการออกแบบตัวโฆษณาให้เป็นวินเทจ เข้ากับหนังสือคลาสสิก โดยเฉพาะ “Kafka’s Pest Kontrol” มันเป็นอะไรที่ยอด เยี่ยมมากจ๊อร์ท ออกแบบโดย Barkley Advertising Agency


16 นิตยสารเรื่องสั้น

8

9

2010 อาจจะดูโหดไปนิดหนึ่ง ประเภทที่ว่า หนังสือดีๆ ฆ่าคุณได้ หรือไม่ก็ ถ้าไม่อ่านหนังสือ เหมือนฆ่าตัวตาย (ฮา) ผลงานของ ร้านหนังสือ Biblioteq ในเมือง Cape Town อย่างไรก็ตามเมื่อดูแล้วกระทบใจเป็นอย่างยิ่ง ผลงานของบริษัท FoxP2


นิตยสารเรื่องสั้น 17

10

สุดท้ายถ้ายังไม่มีแรงบันดาลใจในการอ่าน ขอแนะนำ�ให้ทำ�ตามรูปภาพครับ จบไหม


วางแผงแล้วที่ร้านหนังสือชั้นนำา และe-book

สำานักพิมพ์เม่นวรรณกรรม

www.porcupinebook.com


วางแผงมกราคม 2556…

สำานักพิมพ์เม่นวรรณกรรม

www.porcupinebook.com


20 นิตยสารเรื่องสั้น


นิตยสารเรื่องสั้น 21

Review

ภาพ ในพาไรโดเลียรำ�ลึก ชาคริต แก้วทันคำ�

www.facebook.com/cha-krit.kaewtankham

‘วิคเตอร์เรียกตัวเองว่านักบันทึกภาพพาไรโดเลียมือ สมัครเล่น สมุดสเก็ตซ์ภาพของเขาเต็มไปด้วยลายเส้น ดินสอ บันทึกก้อนเมฆที่มีรูปร่างด้วยอะไรบางอย่าง เช่น เมฆทีด่ เู หมือนมังกร เมฆทีด่ เู หมือนภูเขา เมฆทีด่ เู หมือน รถยนต์ เมฆที่ดูเหมือนต้นไม้ นอกจากนั้นยังมีสิ่งอื่นที่ ไม่ใช่เมฆแฝงอยูป่ ระปราย เช่น ปลัก๊ ไฟทีด่ เู หมือนใบหน้า เด็ก บานกระจกบนตึกทีด่ เู หมือนดวงตามนุษย์...’ (น.21) เธอคือเด็กสาววัยสิบเจ็ดย่างสิบแปด อยู่กับพ่อ เพราะเสียแม่ไปตั้งแต่ยังไม่แตกเนื้อสาว เธอไม่มีความ เป็นกุลสตรีแถมยังสูบบุหรี่อีกด้วย ในช่วงฤดูร้อนของปีหนึ่ง เธอต้องไปอาศัยอยู่ที่ โตเกียวกับพ่อ เพราะพ่อต้องไปทดลองงานเป็นเชฟที่ โรงแรมญีป่ นุ่ เป็นเวลาสามเดือน เธอจึงต้องย้ายตามพ่อ ไปและเข้าเรียนที่มหาวิทยาลัยโซเฟีย การเข้าเรียนหนังสือที่นั่น ทำ�ให้เธอรู้จักกับ เขา-วิคเตอร์ เด็กหนุ่มลูกครึ่ง เพื่อนร่วมชั้นเรียนวิชา ประวัติศาสตร์วรรณกรรมญี่ปุ่น ชีวิตของเด็กสาวไทยที่ ต้องจากบ้านเกิดเมืองนอนไปอยู่ต่างประเทศย่อมต้อง

โดดเดีย่ วเป็นธรรมดา แม้จะมีพอ่ แต่ดเู หมือนพ่อจะเป็น คนพูดน้อย เธอจึงต้องมีเพือ่ นพูดคุยและทำ�กิจกรรมอืน่ ๆ ร่วมกันตามประสาวัยรุ่น ความรู้จักของเธอและเขา เริ่มพัฒนาจากเพื่อน ไปเป็นอื่น แต่ก่อนที่เธอจะสนิทกับเขา วิคเตอร์เป็นคน สอนให้เธอรู้จักคำ�ว่า ‘พาไรโดเลีย’ ‘มันเป็นปฏิกริ ยิ าทางจิตทีส่ ร้างภาพคุน้ ตาขึน้ จาก ภาพทีเ่ ป็นนามธรรม คนเรามักต้องการเข้าใจมากกว่าไม่ เข้าใจ ต้องการสร้างเรื่องราวขึ้นจากสิ่งที่ไม่มีเรื่องราว หาความหมายในสิ่งที่ไม่มีความหมาย เช่น เรามักมอง เห็นใบหน้าในสิง่ ทีไ่ ม่ใช่ใบหน้า เห็นกระต่ายในดวงจันทร์ เห็นคลื่นในน้ำ�เป็นสัตว์ประหลาด’ (น.22) จะเรียกว่าจินตนาการได้ไหม? หรือเป็นสิ่งเพ้อ ฝันเกินไปสำ�หรับคนหนุม่ สาว แต่มนั อาจมีเบือ้ งลึกเบือ้ ง หลังจากสิ่งที่ก่อตัวขึ้นในมโนนึก อันนำ�ไปสู่ความคิดที่ แตกต่างและการสร้างโลกส่วนตัว... หากจะทำ�ความรู้จัก ‘พาไรโดเลีย’ ที่เธอเสพติด จะขยายความได้ชัดเจนดังนี้ ‘พวกที่เห็นใบหน้าเอลวิส


22 นิตยสารเรื่องสั้น

เพรสลีย์ บนรอยไหม้ของแผ่นขนมปังปิง้ เห็นรากขิงเป็น เด็กอ่อน เห็นพระเยซูปรากฏกายในแผงฝุน่ บนกระจกรถ บรรทุก เห็นรอยเท้ามนุษย์วานรบนพืน้ โคลน เห็นปิรามิด บนผิวดาวอังคาร เห็นใบหน้าซาตานในกลุ่มควันระเบิด เห็นรอยเลขลอตเตอรี่บนเปลือกไม้’ (น.23) เป็นต้น แต่เขาคลั่งไคล้ถึงขั้นบันทึกภาพพาไรโดเลียลง ในสมุดสเก็ตซ์และกลายมาเป็นจุดสนใจให้เธอได้ตดิ ตาม และเรียนรูพ้ ฤติกรรมของเขา แต่จๆ ู่ เขาก็เลิกเรียนกลาง คัน หันไปสนใจสิง่ ใหม่ ความฝันของเขาคือการได้ทำ�งาน ในอุตสาหกรรมผลิตหนังโป๊ของญี่ปุ่น... เมื่ออ่านมาถึงตรงนี้ อดไม่ได้ที่จะตั้งคำ�ถามกับ ปราบดา หยุ่น หรือผู้เขียนต้องการจะเสียดเย้ยยุคสมัย ไม่ว่าจะเป็นการไปเรียนยังต่างประเทศ การไปใช้ชีวิตที่ ญี่ปุ่นและวงการหนังโป๊ แต่สิ่งที่ผู้เขียนสื่อสารได้อย่าง ชัดเจนคือการเรียนในห้องเรียนของเธอกับการเรียนนอก ห้องเรียนของเขา ดูเหมือนว่าการเรียนนอกห้องเรียนของ เขาจะมีสงิ่ ใหม่ๆให้ได้เรียนรูเ้ ยอะกว่า บทสรุปของเรือ่ งสัน้ เรือ่ งนีต้ อ้ งการแสดงผลแห่งการเรียนรู้ เมือ่ ความสัมพันธ์ ของเธอและเขาพัฒนา เขาไปพบเธอที่ห้องพักและเธอ ก็สูญเสียความบริสุทธิ์ให้กับเขา มันคงไม่ใช่เรื่องแปลก สำ�หรับความรักในแบบวัยรุ่นทั่วๆ ไป แต่สิ่งที่เขาทำ�กับ เธอมันมากกว่านั้น เขานำ�สิ่งที่เขาเรียนรู้นอกห้องเรียน การทำ�งานกับบริษัทสร้างหนังโป๊ไปใช้อัดคลิปการร่วม รักออกเผยแพร่...เป็นการเลี้ยงฉลองผลการสอบผ่าน ของเธอ จากการเรียนจบในห้องเรียน เช่นเดียวกับการ เรียนนอกห้องเรียนที่ต้องทดลองปฏิบัติจริงของเขา มัน เป็นประสบการณ์ชีวิต แต่ผลลัพธ์กลับแตกต่างกัน อาจ เพราะเธอเป็นวัยรุน่ อาจเพราะเธอมีความรักกับเพศตรง ข้าม อาจเพราะเธออยากริลองมีเพศสัมพันธ์ หรือเพราะ เธอตกเป็นเหยื่อของความหลอกลวงและเทคโนโลยีใน โลกปัจจุบัน ผู้เขียนสะท้อนปัญหาสังคมได้อย่างแนบ เนียน นำ�เสนอมุมมองอย่างสร้างสรรค์ ตรงไปตรงมา ใช้ภาษาอย่างมีเอกลักษณ์ และยังตอกย้ำ�สำ�นึกและศีล ธรรม ด้วยการทีพ่ อ่ ของเธอเองก็ชอบดูและซือ้ หนังโป๊ แต่

ดันโชคร้ายทีไ่ ปเจอหนังทีน่ กั แสดงเป็นลูกสาวของตัวเอง! ‘...หนังเรือ่ งนัน้ อยูใ่ นประเภทหนังแอบถ่าย ไม่มี ชือ่ คนแสดง ใบหน้าถูกเบลอบังเพือ่ เลีย่ งปัญหา ฉันไม่คดิ ว่ามันจะเดินทางไกลถึงเมืองไทยหรือมีใครทีร่ จู้ กั ฉันได้ซอื้ มาดู จะว่าไป มันคงไม่ใช่การแสดงทีน่ า่ ตืน่ เต้นเร้าใจอะไร เลย เด็กผู้หญิงนอนนิ่งเหมือนศพ หลับตาปี๋ ไม่มีจริตจะ ก้านหรือการขยับเขยื้อนเชิงเซ็กซี่ใดๆ ทั้งสิน หากมันจะ เป็นหนังที่มีคุณค่าน่าจดจำ�อยู่บ้าง ก็เป็นคุณค่าสำ�หรับ เด็กผูห้ ญิงคนนัน้ คนเดียว และคนเดียวจริงๆ’ (น.91-92) โลกใบนี้เต็มไปด้วยความไม่น่าไว้วางใจ เป็น มายายิง่ กว่าภาพพาไรโดเลียทีใ่ ครหลายคนอาจไม่นกึ ไม่ ฝันหรือแม้กระทั่งจินตนาการเห็นมันเป็นแน่ แต่มันอาจ เป็นความจริงที่เกิดขึ้นในสังคมของเรา ธรรมชาติของผีเสื้อ เมื่อดูดกินน้ำ�หวานจากดอกไม้จนอิ่มหนำ� มันย่อมผละบินจากไป ไม่ต่างอะไรกับผีเสื้อปีกสีดำ� ในเรื่องสั้น ‘พาไร โดเลียรำ�ลึก’ ของ ปราบดา หยุ่น ‘เจ้าจุดนัน้ มันไม่ได้เป็นเพียงคราบรอยนามธรรม’ (น.93) แต่มันคือมลทินที่ติดตัวเธอไปจนวันตาย... (พาไรโดเลียรำ�ลึก ปราบดา หยุ่น/เขียน สำ�นักหนังสือ ไต้ฝุ่น พิมพ์ครั้งที่1, มีนาคม 2555 จำ�นวน 96 หน้า ราคา 135 บาท)


นิตยสารเรื่องสั้น 23

ปรายดา หยุ่น งาน Happenning Party โรงหนังสกาลา 2554 ภาพถ่ายโดย นิวัต พุทธประสาท


24 นิตยสารเรื่องสั้น


นิตยสารเรื่องสั้น 25

Review

สถานีแห่งความว่างเปล่า (กตัญญู สว่างศรี) เรื่องโดย วิวัฒน์ เลิศวิวัฒน์วงศา

A++++++++++++++++++++++++++++++++++++ ถ้าจำ�ไม่ผดิ ใน ‘คำ�สาป’ กตัญญูบอกว่าชอบ กิตติพล สรัคคานนท์ อันทีจ่ ริงงานของกตัญญูกม็ คี วามคล้ายงาน ของกิตติพล โดยเฉพาะความคลุมเครือของตัวเรื่อง แต่ บ่อยครัง้ ไอ้ความคลุมเครือแบบนี้มันก็จะมีอารมณ์ แบบ คลุมเครือเพือ่ ความคูล ซึง่ แม้แต่งานกิตติพลบางชิน้ ก็รสู้ กึ แบบนั้น ความคลุมเครือแบบเอาคูลนี่จะรู้สึกรุนแรงใน ‘คำ�สาป’ แล้วบางเรื่องในคำ�สาปมันดันเป็นการแทนค่า แบบตรงไปตรงมา แต่จบแบบคลุมเครือ มันเลยรู้สึกว่า ช่างตรงไปตรงมาเหลือเกินที่จะคูล อย่างไรก็ตามความ คลุมเครือของ งานหลายๆ ชิ้นใน ‘สถานีแห่งความว่าง เปล่า’ ก็ไปได้ไกลกว่านั้น จริงๆ เราออกจะติดจัดกับลูกแข็งของการเล่าเรือ่ งใน งานบางชิน้ อยูบ่ า้ ง เหมือนมันเป็นงานทีก่ รอบแข็งเกร็งว่า จะเล่าเรื่อง ต้องมีซีนบทสนทนามีการบอกสถานที่ สร้าง ฉากเซตตัวละครขึ้นมา ซึ่งพอมันแข็งเกร็งตามกฏแบบ นั้นก็จะรู้สึกเฉยๆ แต่งานบางชิ้่นมันก็ไปได้ไกลกว่านั้น

ไปสู่ความอึดอัด อึกอัก กระอักกระอ่วนของคนชั้นกลาง แบบที่เราสัมผัสได้ในหนังของ อันโตนีโอนี โอเคมันก็ไม่ ได้ไต่ระดับไปถึงอันโตนิโอนี แต่มันมีเซนส์ชวนให้นึกถึง เรือ่ งทีช่ อบมากๆ คือ หลุมพรางแห่งความเงียบ ที่พูดเรื่องความกะอักกระอ่วนของความสัมพันธ์เฟรนด์ โซนทีไ่ ม่พยายามบอกอะไรมากไปกว่าวสถาณการณ์ตรง หน้า เกี่ยวกระหวัดไอ้ความรู้สึกครึ่งๆ กลางๆ ของการ เดินหน้ากับถอยหลัง การเดินพลาดที่ทำ�ความสัมพันธ์ ล่มไม่กี่ฉากในเรื่องอาจจะไม่ได้ทำ�ตามขนบ แต่มันอวล อากาศอัดแน่นแบบที่เราสัมผัสได้จริงจัง อีกเรื่องที่ชอบสุดๆ คือ ‘กลิ่นฝน’ ที่เล่าเรื่อง คู่รักไปเที่ยวทะเลวันฝนตก กับคนที่อาจจะเพิ่งเจอกัน เรื่องนี้ทำ�ให้รู้สึกถึง L’avventura ของ อันโตนีโอนีเยอะ มาก ทัง้ เรือ่ งตัวละครไปเทีย่ วทะเล และการเปลีย่ นความ สัมพันธ์กลางเรื่อง (L’avventura เล่าเรื่องหนุ่มสาวล่อง เรือไปเที่ยว มั่วกัน แล้วพอไปถึงเกาะ นางอันนาคู่หมั้น ของพระเอกเดินลงไปเทีย่ วแล้วหายตัวไปเลย พระเอกกับ


26 นิตยสารเรื่องสั้น

ความตายหนหลังก็น่าสนใจในลักษณะกึ่งจริงกึ่งฝัน ที่ร้อยต่อกันไปโดยไม่ต้องร้องขอรอคอยโครงเรื่อง หลัก มันถูกเล่าเหมือนการเล่าความฝัน นางเอกก็ออกตามหาอันนา นางเอกเป็นเพือ่ นของอันนา ไปๆ มาๆ พระเอกกับนางเอกได้กัน แล้วไม่ได้ตามหา อันนาอีก นางอันนาสาปสูญตลอดกาล มีแต่ความสัมพันธ์ ครึง่ ๆ กลางๆ ของพระเอกนางเอก) ความคลุมเครือของ สองเหตุการณ์ใน ‘กลิ่นฝน’ ถูกละไว้ในฐานที่อาจจะไม่ เข้าใจว่าอาจจะเป็นหรือไม่เป็นตัวละครชุดเดียวกัน ถ้าเป็น หนังอาจจะใช่น้ กั แสดงคูเ่ ดียวกันในการรรับบท หรืออาจ เป็นเหตุการณ์ตอ่ เนือ่ งกันทีเ่ ราก็ไม่รอู้ ยูด่ วี า่ ตัวละครหลัก ที่เฟลิร์ทกับคนอื่นเป็นฝั่งหญิงหรือชาย ความคลุมเครือ ในความสัมพันธ์คนชัน้ กลางทีไ่ ร่ท้ มี่ าทีไ่ ป (ในแง่ทวี่ า่ เป็น ใครก็ได้) ถูกเล่าด้วยเส้นร่างจางๆ ที่คว้าจับแล้วจะหาย ไป แต่ทิ้งร่องรอยบางอย่างเอาไว้ ความตายหนหลังก็นา่ สนใจในลักษณะกึง่ จริงกึง่ ฝันทีร่ อ้ ยต่อกันไปโดยไม่ตอ้ งร้องขอรอคอยโครงเรือ่ งหลัก มันถูกเล่าเหมือนการเล่าความฝัน แม้จะไม่เฉียบคม บ้า พลังระดับอุเทน มหามิตร แต่มันก็ไปพ้นจากกรอบพืน้ ๆ ของการเป็นภาพแทนไปสู่การเป็นภาพฝันที่ไม่ได้มีไว้ให้ อธิบายแทนค่า ต่างกันกับความพยายามไซไฟ หรือทำ�ให้จบั ต้อง ได้ของ ‘ศูนย์สลาย’ กลับทำ�ให้พลงของมันลดลงไป ยิ่ง การจบแบบคลุมเครือก็ทำ�ให้รู้สึกว่าจะดีแค่ไหน ถ้าตัว ศูนย์มันบางเบาลงกว่านี้ อีกเรือ่ งทีม่ นั ส์มากๆ แต่ไปได้สดุ ทางกว่านีอ้ กี คือ ‘งานเสวนาของสมาคมไร้ชอื่ ’ ซึง่ จริงๆ คมมาก สนุกมาก

แต่ความพยายามทำ�ให้มันดูจริงจัง (หรือไม่ได้พยายาม แต่เขียนเล่าแบบตัดแปะงานวิชาการ) มันทำ�ให้พลังมัน อ่อนลงไปนิดหน่อย แอบคิดว่าถ้าเป็นการเล่าผ่านปาก ไปโดยไม่ต้องกังวลความเป็นวิชาการ (พวกศัพท์แสง ทางวิชาการไม่ใช่ปัญหา เพราะแม้การเล่าด้วยปากมันก็ ใช้กัน) มันอาจจะสนุกขึ้นอีก ‘สถานีแห่งความว่างเปล่า’ น่าจะเป็นตัวอย่างทีน่ า่ จะเข้าท่าทีส่ ดุ เพราะการเล่าเรือ่ งแบบ พบสาวบนรถไฟฟ้า จบ มันเจ๋งดีมาก มันคูลในตัวของมันมาก ตัวเพื่อนเล่า เรื่องตลกก็กำ�ลังดี แต่ช่วงการพยายามเล่าเรื่องรอยเท้า นีจ่ ะรูส้ กึ ว่ามันพยายามจะคูลมากไปหน่อย เหมือนทำ�ให้ ดูอนิ เทลเลคชวล ช่างสังเกต ซึง่ เดาว่าคนเขียนน่าจะชอบ เขียนอะไรแบบนี้ แต่จังหวะของมันพอมาเปิดตัวละคร ก็ จะรู้สึกว่าตัวละครนี้มึงจะคูลไปไหนไปเสียงั้น จริงๆ ถ้ากตัญญูปล่อยไหล แล้วทอนโครงสร้าง แข็งๆ ออก เราอาจจะชอบแบบสุดๆ ไปเลยได้ในหลาย เรือ่ ง จริงๆ แค่ ‘ร่องรอย’ หรืออากาศ ‘ล่องลอย’ สำ�หรับ เรามันทรงพลังกว่า ‘เรื่องเล่า’ เยอะเลย แต่โดยรวมก็ ชอบเล่มนี้มากทีเดียว


นิตยสารเรื่องสั้น 27

กตัญญู สว่างศรี, ภูเก็ต 2555 ภาพถ่ายโดย นิวัต พุทธประสาท


28 นิตยสารเรื่องสั้น


นิตยสารเรื่องสั้น 29

Review

ถอดความคิดของชายหนุ่ม ผู้ถอนตัวจากโลก เรื่องโดย ชาคริต แก้วทันคำ� e-mail:jaochaiyoy@hotmail.com

คุณเยนเซนถูกให้ออกจากงานส่งไปรษณียท์ ตี่ นทำ�มา นานนับสิบปี กลายเป็นคนว่างงานเพราะ ‘ไม่มีใครร้อง เรียนและไม่มีเรื่องอะไรที่จะทำ�ให้คุณถูกร้องเรียนด้วย คุณมีคุณสมบัติเหมาะสม มีประสบการณ์และไม่มีความ ทะเยอทะยานจนเกินไป ผมเสียใจด้วยและผมก็เชือ่ ว่าผม สามารถพูดแทนทุกคนในแผนกได้เลยว่า พวกเราทุกคน เสียใจทีค่ ณ ุ ต้องออกจากงาน...เราจำ�เป็นต้องให้คณ ุ ออก จากงานตามแผนป้องกันการปลดพนักงานแผนใหม่ของ เรา’ (หน้า 27) คำ�ตอบทีค่ ณ ุ เยนเซนได้รบั ฟังดูแล้วมันคือเหตุผล ข้ออ้างหรือว่าการกลัน่ แกล้ง ซึง่ ตัวเขาเองก็ไม่เข้าใจในที แรก แต่ก็ยอมรับมันในที่สุด ปัจจุบนั เขาจึงกลายเป็นคนว่างงานอย่างเต็มตัว และเขาจะทำ�อะไรกับชีวิตที่ต้องดำ�เนินต่อไป กลายเป็น คำ�ถามถึงความมีสาระหรือไร้สาระของสิ่งต่างๆที่เราถูก บังคับให้ทำ� กลายเป็นคำ�ถามสำ�คัญขึ้นมา… ‘ระบบได้แต่บอกว่า “ไม่” อะไรๆ ก็ “ไม่!” “ห้าม!” “หยุด!” มีเครือ่ งหมายอัศเจรียเ์ ต็มไปหมด ไม่เห็นมีปา้ ย

ไหนทีเ่ ป็นการขอบคุณสำ�หรับการทีม่ นุษย์มตี วั ตนอยูจ่ นถึง ทุกวันนี้ หรือบอกให้คนเรามีความสุขในชีวติ หรือบอกว่า โลกเรามีความอัศจรรย์แค่ไหน’ (หน้า 120) คุณเยนเซน ‘อยู่เฉยๆ’ และดูทีวี เขาเสพติดทีวี ถึงขนาดนัง่ วิเคราะห์เนือ้ หาของรายการทีวี เพือ่ นำ�มาสรุป เป็นข้อเสนอแนะในการปรับปรุงคุณภาพรายการทีวขี นาน ใหญ่ ถึงกับซื้อเครื่องอัดวิดีโอ 4 เครื่อง แต่สุดท้ายเขาก็ โยนมันออกนอกหน้าต่าง เขาไม่รวู้ า่ จะอธิบายอย่างไร เขา มีอสิ ระมากขึน้ เพราะไม่ตอ้ งตกอยูภ่ ายใต้อทิ ธิพลของทีวี มันคือจุดเริม่ ต้นของการค้นพบตัวเองและกลาย มาเป็นจุดเปลี่ยนในชีวิตของเขา คุณเยนเซนเป็นคนชอบวางแผนและครุ่นคิดถึง เรื่องต่างๆ รอบตัว จนบางครั้งก็ทำ�ให้เขาหมกมุ่นและ ถึงขั้นคิดไปเอง คิดไม่เหมือนคนอื่นๆ เช่น ‘คุณเยนเซนสามารถดูทีวีรายการเดียวกับมหา เศรษฐีได้ ทำ�ให้รสู้ กึ เกือบเหมือนอยูใ่ นระบอบการปกครอง แบบคอมมิวนิสต์ทีเดียว’ (หน้า 34) ‘คุณเยนเซนเรียกร้านขายสินค้าลักษณะนี้ว่า


30 นิตยสารเรื่องสั้น

ซูเปอร์มาร์เก็ต เหมือนคนทั่วไป แต่เพื่อนร่วมงานของ เขาบางคนชอบเรียกว่าโรงขายของ ซึง่ ก็ถกู ของเขา เพราะ มันไม่ใช่ตลาดสดเหมือนกับคำ�ว่า ‘มาร์เก็ต’ และไม่ได้มี อะไรดูยอดเยีย่ มสมกับคำ�ว่า ‘ซูเปอร์’ ตามชือ่ ของมันสัก หน่อย’ (หน้า 35) ‘ที่ทำ�การของหน่วยราชการที่เขาไปติดต่อ เป็น อาคารที่สร้างขึ้นจากแผ่นคอนกรีต ดูแข็งทื่อ ไร้ความ คิดสร้างสรรค์ นี่ถ้าหน่วยราชการแห่งนี้ตั้งขึ้นมา โดยมี วัตถุประสงค์เพื่อกำ�จัดการดำ�รงอยู่ของตนเอง ลักษณะ ทางสถาปัตยกรรมของอาคารแห่งนี้ ดูจะสะท้อนให้เห็น วัตถุประสงค์ดังกล่าวได้อย่างชัดเจน’ (หน้า 47) ‘คุณเยนเซนเดินไปตามทางเดินทีป่ า้ ยบอก...เขา เจอประตูหอ้ งน้�ำ ทีม่ สี ญ ั ลักษณ์รปู ผูห้ ญิงกับคนพิการ ติด อยู่ ทำ�ไมต้องให้ผู้หญิงกับคนพิการใช้ห้องน้ำ�ร่วมกันอยู่ เรือ่ ย? หรือนีค่ อื การเหยียดคนทัง้ สองกลุม่ ต่อกันและกัน อย่างซ่อนเร้น?’ (หน้า 61) ‘ทำ�ไมการแข่งฟุตบอลที่ไม่ได้มีการตั้งกล้อง ถ่ายทอดออกทีวี ถึงดูด้อยค่ากว่าการแข่งฟุตบอลที่ได้ ออกทีวี? เพราะถึงอย่างไรทั้งสองอย่างก็ถือว่าเป็นเกม การแข่งขันที่มีคนมาเล่นด้วยกัน...เป็นเกมการแข่งขัน กีฬาเกมหนึ่งเหมือนกัน’ (หน้า 90) ‘ทุกวันนีม้ คี นอยากอยูเ่ ฉยๆ ไม่ทำ�อะไรน้อยเกิน ไป คนส่วนใหญ่ล้วนอยากทำ�งานกันทั้งนั้น และเราก็มี คนประเภทนี้อยู่มากเกินไป’ (หน้า 97) นับเป็นตัวอย่างที่ผู้เขียนวิพากษ์สังคมผ่านตัว ละครอย่างคุณเยนเซน ผู้ที่ได้ชื่อว่า ‘ขบถทางความคิด’ ‘คุณเยนเซนไม่ได้คดิ ทีจ่ ะประท้วงด้วยวิธที วั่ ๆ ไป เขาคิดว่าน่าจะเป็นการยุตธิ รรมสำ�หรับทุกฝ่าย ถ้าเขาจะ แสดงให้คนอืน่ เห็นว่ายังมีการประท้วงด้วยวิธอี นื่ เหมือน กัน เขามองว่าเป็นหน้าที่ของเขาที่จะคอยเตือนผู้อื่น ให้ ระวังสิ่งที่กำ�ลังเกิดขึ้น เขาอยากแสดงให้พวกนั้นเห็นว่า สิง่ ทีเ่ ป็นอยูต่ อนนีไ้ ม่จ�ำ เป็นต้องเป็นเช่นนัน้ ก็ได้ บางครัง้ เราสามารถทำ�ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอันใหญ่หลวงได้ ด้วยการไม่ต้องทำ�อะไรทั้งสิ้น’ (หน้า 123)

บางครั้งการอยู่เฉยๆ ก็ไม่ได้แสดงถึงความสิ้น ไร้ไม้ตอกในชีวิตอย่างคนแบบเขาและการประท้วงของ เขาอย่างเงียบๆ ก็เป็นการแสดงถึงสิทธิและเสรีภาพของ ‘คนว่างงาน’ ทีอ่ ยากพิสจู น์ให้คนอืน่ เห็นว่าเขาก็มชี วี ติ อยู่ ได้อย่างมีความสุข (ตามอัตภาพ) ในหนังสือ ชายหนุ่มผู้ถอนตัวจากโลก ของ ยาค็ อบ ไฮน์ ผู้เขียนต้องการเล่าชีวิตของคุณเยนเซนให้เห็น ถึงความพิลึกพิลั่นของระบบความคิดของคนๆ หนึ่งใน สังคมที่จะดำ�รงชีวิตอยู่ได้อย่างไร หากปราศจากงานทำ� ความขันขื่นของเรื่องราวต่างๆ ที่เขาต้องพบกับผู้คนที่ ถามเขาว่า ‘ตอนนี้ทำ�อะไรอยู่’ มันคงกดดันชีวิต ทำ�ให้ เขาต้องรีบปลีกตัว ไม่อยากไป ไม่อยากพบ ไม่อยากพูด คุยกับใครและอยากอยู่เงียบๆ คนเดียว คล้ายตอกย้ำ� ชะตากรรมของคนๆ หนึง่ ผูอ้ ยากถอนตัวจากโลกลวงตา ใบนี้ แม้จุดจบของเรื่องจะกลายเป็นว่าเขาต้องตกอยู่ใน ฐานะผู้ถูกกระทำ� ทั้งๆ ที่เขาไม่ได้ทำ�ผิดอะไรใหญ่หลวง ไม่ได้เรียกร้องความสงสารเห็นใจจากใคร และไม่ได้เป็น ตัวอันตรายป่วนโลก แต่เขากลับถูกบางคนสงสัยและ สังคมก็หวาดระแวงคนอย่างเขาเกินไป การโยนทีวที งิ้ ลงหน้าต่าง การถอดตูร้ บั จดหมาย ออกและการถอดป้ายชือ่ ของตนจากหน้าประตูอพาร์ตเมนต์ มันอาจชวนหดหูต่ อ่ ความรูส้ กึ แต่กเ็ ป็นหนทางทีเ่ ขาเลือก เพือ่ ชีวติ ทีก่ �ำ ลังถูกลบเลือนออกไปจากโลกทีเ่ ขาดำ�รงอยู่ เมือ่ อ่านหนังสือเล่มนีจ้ บลง ก็อดตัง้ คำ�ถามกับตัว เองไม่ได้ ถ้าในชีวิตจริง มีคนอย่างคุณเยนเซน สังคมจะ เปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นหรือเลวลง? และตกลงชีวติ ควรถูกกำ�หนดด้วยตัวเราเอง เพือ่ น ครอบครัว คนอื่น สังคมและหรือรัฐบาล?! (ชายหนุ่มผู้ถอนตัวจากโลก ยาค็อบ ไฮน์/ เขียน อธิคม แสง ไชย/ แปล สำ�นักพิมพ์วงกลม พิมพ์ครั้งที่ 1, 2553 จำ�นวน 143 หน้า ราคา 165 บาท


นิตยสารเรื่องสั้น 31

ยาค็อบ ไฮน์


32 นิตยสารเรื่องสั้น


นิตยสารเรื่องสั้น 33

เรื่องสั้น

บ.ก.จิ๋ว

เรื่องโดย ณขวัญ ศรีอรุโณทัย

ข้าพเจ้าเริ่มต้นวันด้วยการล้างหน้าแปรงฟัง และติด ตั้งจุลบรรณาธิการในช่องปาก นี่เป็นสิ่งที่สำ�คัญอันดับ ต้นๆ แทบจะเรียกได้ว่าหากเวลากระชั้นต้องรีบเร่งออก จากบ้าน ข้าพเจ้าสามารถสวมเสื้อเชิ้ตยับๆ ไม่รีดก็ยัง ได้ แต่บรรณาธิการฯ นัน้ ต้องติดตัง้ ให้เรียบร้อย ข้าพเจ้า จะไม่ปริปากแม้สักคำ� หากยังไม่ได้ทำ�สิ่งนี้ และเมื่อติด ตั้งเสร็จ ข้าพเจ้าก็จะรู้สึกโล่งเบาหายใจได้ทั่วท้องเยี่ยง มนุษย์ผู้องอาจ แต่ใช่ว่ามันจะง่ายดายเช่นนี้ตั้งแต่เริ่ม ต้อง ลองผิดลองถูกอยู่หลายครั้ง เสียทรัพย์ไปเปล่าๆ ปลี้ๆ มากมายเพราะเลือกใช้งานบรรณาธิการฯ ผิดประเภท พูด อย่างรวบรัดคือไม่ถูกจริตกับตัวเอง บ้างก็วิจิตรบรรจง ประหนึ่งช่างสลักเมล็ดข้าวสาร ความประณีตนั้นดีแน่ แต่การประมวลผลอันเชื่องช้านั้นทำ�ให้ข้าพเจ้าเสียโอกา สงามๆ ไปหลายครั้งหลายหน อีกคราวข้าพเจ้าใช้บร รณาธิการฯ รุ่นใหม่ล่าสุด คลังศัพท์นั้นสวิงสวายสมใจ แถมยังเฉียบคมในการต่อปากต่อคำ� นับว่าเพิ่มสีสัน ให้ชีวิตข้าพเจ้าได้มากทีเดียว แต่ปัญหาติดตรงความ

สัมพันธ์รอบข้างกับผูค้ น ข้าพเจ้ามักจะกวนบาทาคนรอบ ข้างโดยอัตโนมัติ บ้างก็เหน็บคนรุน่ อาวุโสเอาเจ็บๆ แถม เมื่อถึงคราวคับขันที่จะต้องอรรถาอธิบายเรื่องลึกซึ้ง บร รณาธิการฯ รุ่นนี้กลับไม่สามารถช่วยอะไรข้าพเจ้าได้เลย เพราะคลังศัพท์อนั มหึมานัน้ บรรจุดว้ ยคำ�คุณศัพท์หลาก หลาย อุปมาคมคาย และบุคลาธิษฐานสดใหม่ แต่ระบบ ประมวลและร้อยเรียงนั้นออกจะอ่อนหัด แถมยังโอเวอร์ ฮีทได้ง่าย เมื่อต้่องพูดติดต่อกันยาวเกินกว่า 3 นาที... บรรณาธิการอีกรุ่นที่ยอกย้อนกว่ามากคือบรรณาธิการ ประเภท น้อยแต่มาก และมีปรัชญา ‘อันการไม่กระทำ� นั้นคือการทำ�อย่างหนึ่ง’ คมคายฉลาดเฉลียว แต่เมื่อ ข้าพเจ้าเอือ้ นเอ่ยคำ�ใด จุลบรรณาธิการรุน่ นีแ้ ทนทีจ่ ะเกลา ถ้อยคำ� กลับดูดเสียงข้าพเจ้าผลุบหายไปในลำ�คอ แรกๆ ก็ดี เพราะการนิง่ นัน้ ช่างทรงอานุภาพ แต่นานไปข้าพเจ้า กลับถูกติฉินนินทา ว่าเป็นฤาษีใบ้บ้าง (นี่คือต่อหน้า) ไอ้ ปัญญาอ่อนสมองตายบ้าง (นี่คือลับหลัง)...


34 นิตยสารเรื่องสั้น

ถ้อยคำ�ที่กลั่นกรองผ่านบรรณาธิการฯ นั้น มีเหตุมี ผลสมบูรณ์ ทัง้ ยังสาดส่องลงกลางใจให้หล่อนแจ้งซึง่ สัจจะ หล่อนไม่รอ้ งไห้ฟมู ฟายประหนึง่ หญิงเสียสติอกี เอาล่ะ วันเก่าๆ อันมะงุมมะงาหรานั้นผ่านไปแล้ว ตอนนี้ข้าพเจ้ามีบรรณาธิการฯ อันเหมาะเหม็ง ผู้กลั่น กรองและขัดเกลาทุกถ้อยคำ�ก่อนจะหลุดออกจากริมฝีปาก ข้าพเจ้าพูดอย่างรืน่ หู บทจะกวนบาทาผูค้ น ก็หลักแหลม และเปีย่ มเชาว์ มิใช่คำ�ผรุสวาทดาดๆ อย่างนักเลงภาษา หรือกวีการเมืองทัว่ ไป ตัวชีว้ ดั ประสิทธิภาพทีช่ ดั เจนทีส่ ดุ คือการสังเกตจากภรรยา หล่อนไม่บงึ้ ตึงหรือเล่นบทโศก น้�ำ ตารืน้ น้อยอกน้อยใจจากคำ�พูดของข้าพเจ้าอีกเลย เมือ่ ก่อนนั้นแม้พยายามระมัดระวังเพียงใด ก็มักจะมีคำ�พูด บางคำ� (อันที่จริงก็เล็กน้อยนัก เป็นความน่ารำ�คาญของ สตรีโดยแท้) ที่ทำ�ร้ายหล่อน กล่าวอย่างรัดกุมก็คอื หล่อนฉวยคำ�พูดเหล่านัน้ (ทีข่ า้ พเจ้าปล่อยร่วงลงมาจากริมฝีปาก--ข้อนีข้ า้ พเจ้าต้อง ยอมรับในการเป็นต้นเหตุ) มาทำ�ร้ายตัวเอง แต่บัดนี้ปัญหานั้นคลี่คลาย บางทีหล่อนอาจขุ่น เคืองใจบ้าง แต่ถอ้ ยคำ�ทีก่ ลัน่ กรองผ่านบรรณาธิการฯ นัน้ มีเหตุมีผลสมบูรณ์ ทั้งยังสาดส่องลงกลางใจให้หล่อน แจ้งซึ่งสัจจะ หล่อนไม่ร้องไห้ฟูมฟายประหนึ่งหญิงเสีย สติอกี --- นับว่าบรรณาธิการฯ นัน้ นำ�มาซึง่ ความสุขมวล รวมของโลกโดยแท้ หากอนุมานว่าสถาบันครอบครัวเป็น พื้นฐานของสถาบันทั้งปวง ต้องขยายความว่าวาจาที่ข้าพเจ้าใช้นั้น เปี่ยมด้วย ความกรุณาที่ลึกซึ้ง...แต่มิใช่การป้อยอหรือโอ๋สำ�ออย ไม่ใช่ความ กรุณาปัญญาอ่อน ที่จะฉีดยาชาให้หายเจ็บ

โดยผัดผ่อนการเผชิญหน้ากับความจริง ข้าพเจ้าพร้อม จะใช้ถ้อยคำ�เชือดเฉือนตัดเนื้อร้ายทิ้งไป อย่างเช่นวาน ก่อน เมื่อข้าพเจ้าไปเยี่ยมสหายผู้นอนแบ็บเป็นมะเร็ง ต่อมน้ำ�เหลือง อาการเขาทรุดอย่างรวดเร็วในเวลาไม่ กี่สัปดาห์ เจ้าตัวยังมีความหวังว่าจะได้กลับบ้านในไม่ กี่วัน ญาติสนิทต่างอึกอักและปิดบังอาการที่แท้จริงกับ เขา เพียงปลอบว่าอีกไม่นานก็จะได้ออกจากโรงพยาบาล ข้าพเจ้าเดินไปหาสหายทีเ่ ตียง “เพือ่ น...เตรียม เดินทางหรือยัง...ไม่ต้องห่วงหรอก อีกไม่เกินสามสิบ ปี พวกเราก็จะตามไปกันจนครบทุกคน ไปก่อนก็สบาย ก่อน ตั้งรกราก มีที่ทำ�กิน ไต่เต้าในหน้าที่การงาน อย่าง เพือ่ นนีไ่ ม่ลำ�บากหรอก มีความสามารถ เราว่าท่านพญา ยมบาลจะต้องชอบเพื่อนแน่ๆ” ข้าพเจ้ากล่าวจบก็เดินออกจากห้อง ยังพอได้ยนิ เสียงร้องไห้ดังแว่วมาจากในห้อง วันนีเ้ ป็นวันทำ�งานกลางสัปดาห์ ข้าพเจ้าทานอาหาร เช้าร่วมโต๊ะกับภรรยา พลางดูโทรทัศน์ รายการคุยข่าว ช่วงเช้านั้นเป็นความเพลิดเพลินที่สามารถบั่นทอนหรือ ชูรสชาติของอาหารได้ทั้งสิ้น ขึ้นอยู่กับว่าคุณภาพอาหาร เช้านัน้ เป็นเช่นไร โดยปกติกาแฟดำ�หนึง่ แก้ว และขนมปัง ปิ้งทาแยมผิวส้มก็เพียงพอ กาแฟนั้นเป็น perfect shot หรือว่า poor shot (ชงพลาด แต่ก็ไม่อยากเททิ้งเพราะ ตระหนี่ -- คำ�นี้ข้าพเจ้าบัญญัติเอง) ก็แล้วแต่ความ สับสนไร้ระเบียบของภูมิอากาศโลก อย่าเพิ่งกล่าวโทษ


นิตยสารเรื่องสั้น 35

คนชง (ภรรยา) แต่ถ่ายเดียว หล่อนถามข้าพเจ้าว่าคืนนี้ จะกลับมารับประทานอาหารเย็นหรือไม่? ข้าพเจ้าครุน่ คิด ถึงตารางนัดสังสรรค์ของคืนนี้ วาระมิได้พิเศษ แต่น่า ระทึกยิ่งเพราะต้องปิดเป็นความลับ เธอเป็นสาวน้อย วัยกำ�ดัดที่หลงใหลในคมความคิดของข้าพเจ้า การนี้ จะต้องยกความดีความชอบให้กลุ่มวิจารณ์วรรณกรรม ในเครือข่ายสังคมออนไลน์ที่เปิดพื้นที่ให้ข้าพเจ้า ได้ใช้ ความสามารถของบรรณาธิการฯ ได้เต็มประสิทธิภาพ เธอนัดพบข้าพเจ้าเพื่อนำ�ต้นฉบับนิยาย (อันเขียนด้วย ลายมือ) มาส่งมอบให้ข้าพเจ้าช่วยอ่านและขัดเกลา ธุระ ปะปังนี้มีไว้เป็นข้ออ้างชั้นดีใช้แถลงแก่ภรรยา การเสาะ หาเลือดใหม่มาประดับวงการเป็นภารกิจศักดิ์สิทธิ์ และ การถ่ายทอดพันธุกรรมอันเลิศให้แพร่กระจายก็ศกั ดิส์ ทิ ธิ์ ไม่แพ้กนั ศักดิส์ ทิ ธิเ์ สียจนการพูดความจริงนัน้ ด้อยค่าลง ไป เป็นแค่อปุ าทานและการยึดมัน่ ทีไ่ ม่น�ำ มาซึง่ ประโยชน์ อันใดต่อสถาบันครอบครัว “ภาวะกวีนั้นจริงแท้ และจะบังเกิดในห้วงยาม เฉพาะ ทีม่ นุษย์เปิดเปลือยแนบแน่นต่อกันอย่างถึงทีส่ ดุ ” จุลบรรณาธิการในช่องปากเรียบเรียงให้ (แบบเรียลไทม์ จังหวะเหมาะเหม็งกับการสอดใส่) เธอเป็นนักศึกษาปริญญาโท กล่าวให้ชี้ชัดคือ เธอเป็นปัญญาชน ไม่ยึดโยงกับกรอบครึๆ ที่เรียกว่าศีล

ธรรม เธอรืน่ รมย์กบั ห้วงกวีของข้าพเจ้า ดูดดืม่ ด่ำ�กำ�ซาบ ทุกหยาดหยดจนประหนึง่ ผีเสือ้ ดูดน้�ำ หวาน ข้าพเจ้ากอด กกจนเกือบจะม่อยหลับ แต่เธอปลุกให้ข้าพเจ้ากลับบ้าน โดยให้เหตุผลว่าหากร่วมเตียงจนถึงเช้า มันจะเป็นพันธะ และห้วงยามอันพิเศษนั้นจะจางลางเลือนเสีย ข้าพเจ้า เห็นด้วย เธอเรียนรู้เร็ว สมกับเป็นความหวังของวงการ จึงบรรจงจูบคลุกเคล้าเป็นการสั่งลา ก่อนจะแต่งตัวและ ขับรถกลับบ้าน ตีสามในห้องครัว ไฟปิดมืดแต่มแี สงระริกจากโทรทัศน์ เครื่องเล็กทีม่ มุ ทานอาหาร ภาพข่าวสารคดีสงครามโลก ครั้งที่ 2 ไร้สุ้มเสียง ภรรยาคงไม่อยากรบกวนเพื่อนบ้าน ด้วยเสียงตูมตามสนั่นหวั่นไหว “คุณไปไหนมา” น้ำ�เสียงหล่อนคุกรุ่น ด้วยมั่นใจในความสามารถของบรรณาธิการฯ ข้าพเจ้าโพล่งอย่างภาคภูมิ “ปี้เด็ก” ฉิบหาย คราจูบดูดดืม่ สัง่ ลาน้องนาง สงสัยเผลอ ทำ�จุลบรรณาธิการหลุดจากช่องปาก...


36 นิตยสารเรื่องสั้น


นิตยสารเรื่องสั้น 37

เรื่องสั้น

บางสิ่งระหว่างเราเลือนหาย… เรื่องโดย มีเกียรติ แซ่จิว

1 ผมไม่รู้ว่าเธอไปไหน เธอเขียนจดหมายทิ้งไว้ แล้ว หายไปจากชีวิต เมื่อ 2 วันก่อน เธอเล่าหนังเรื่องหนึ่งให้ผมฟัง และยังค่อนขอดผมอยูเ่ ลยว่า ถ้าผมเขียนนิยายเสร็จแล้ว ฆ่าตัวตายในวันคริสต์มาส เธอคงน้อยใจน่าดู “เขียนจดหมายลาตายให้คนรักเอานิยายไปเสนอ สำ�นักพิมพ์ให้ ฉันว่าผู้ชายคนนี้เห็นแก่ตัวมาก ถ้าเป็น ฉัน ฉันจะเอานิยายไปเผาทิ้งให้หมด แล้วเริ่มต้นชีวิต ใหม่กับคนใหม่เลย” วันนั้นผมยังหัวเราะคำ�พูดของเธอ อยู่เลย และแย้งเธอว่า ผมเขียนนิทานไม่ได้เขียนนิยาย รันทด ผมจะทำ�อย่างนั้นทำ�ไม “ก็นิทานคุณมันบันเทิงซะที่ไหน” เธอย้อน แถม ยักคิ้ว …ไม่มเี ค้าลางหรือสัญญาณเตือนใดในการหายตัว ไปในวันนี้ของเธอ

ผมนึกไม่ออกจริงๆ ว่าเธอไปไหน บ้านแม่ของ เธอตัดทิ้งไปได้เพราะเธอไม่ชอบขี้หน้าสามีใหม่ของแม่ ส่วนบ้านของเพือ่ นสนิทตัง้ แต่เพือ่ นแต่งงานเธอก็ไม่เคย ไปรบกวน ตั้งแต่เธอย้ายเข้ามาอยู่กับผม นอกจากโต๊ะ ทำ�งานในห้องส่วนตัวของเธอ ก็ห้องครัวที่ผมเห็นเธอใช้ เวลาอยู่เป็นนาน บ่อยครั้งผมต้องอุ้มเธอจากโต๊ะทำ�งาน ไปที่เตียงนอน บางครั้งก็จากพื้นครัวที่เธอชอบแอบไป นอนหลับ…ซึ่งนั่นเป็นโลกส่วนตัวของเธอ ผมยอมรับว่าตามความคิดเธอไม่ทันเท่าไหร่นัก อาจเพราะงานวิจารณ์ภาพยนตร์ของเธอและการชอบอยู่ กับความคิดนานๆ หลังหนังจบก่อนลงมือเขียน บาง ครั้งเธอก็เงียบขรึม บางคราวเธอก็หัวเราะร่า มีความ สุขตามแต่อารมณ์ขึ้นลงของเธอ สองปีที่อยู่กินกันโดย ไม่ได้แต่งงาน ผมพบภาวะอารมณ์ลักลั่นเช่นนี้ของเธอ มาโดยตลอดและพยายามไม่เข้าไปก้าวก่ายหน้าที่การ งานของเธอมากนัก จนพักหลังๆ ถ้าเธอไม่พูด ผมก็จะ เงียบ และเป็นอย่างนี้อยู่บ่อยครั้ง


38 นิตยสารเรื่องสั้น

แต่มาคราวนีก้ ว่า 72 ชัว่ โมงแล้วทีเ่ ธอหายไป ผม ติดต่อเธอไม่ได้ และผมก็ไม่อยากให้ใครรูเ้ รือ่ งการหายตัว ไปของเธอ เพราะเธอเขียนระบุไว้ในจดหมายชัดเจนว่า ไม่ต้องห่วง ฉันไม่ได้ถูกลักพาตัว ไม่ ต้องเป็นกังวล ฉันไปโดยการตัดสินใจของฉัน เอง ฉันยังไม่รวู้ า่ จะกลับมาตอนไหน วันเวลาใด แต่ไม่ต้องห่วง ฉันอาจกลับมาเร็วๆ นี้หรือนาน เดือนกว่านี้ ไม่ต้องห่วง ดำ�เนินชีวิตของคุณต่อ ไปตามปกติ คุณไม่ต้องห่วงฉัน รักคุณ J

2 ฉันไม่เข้าใจว่าทำ�ไมผู้หญิงในหนังของ แคทเธอรีน เบรลญาต์ ถึงได้ร่านนัก! (เช่นใน Romance สามีเซ็กซ์ ฝ่อภรรยาร่านหาคู่นอนไปทั่วเมือง หรือใน Fat Girl ที่ สาวฝรั่งเศสใจแตกยอมให้หนุ่มอิตาลีมาเปิดบริสุทธิ์ถึง ในห้องนอน (โดยมีนอ้ งสาวร่างอ้วนของเธอแอบมองอยู)่ หรือจะใน Anatomy of Hell เรื่องราวเกี่ยวกับเกย์หนุ่ม ที่ถูกว่าจ้างให้มองดูเธอในทุกๆ แง่มุมขณะที่เธอนอน เปลื้องผ้าอยู่บนเตียง) หนังของเธอถูกเซ็นเซอร์ในหลาย ประเทศ และแน่นอนประเทศไทยย่อมไม่มีข้อยกเว้น! … แต่ลึกๆ แล้วฉันก็แอบสนใจและเฝ้าค้นหาคำ�ตอบให้กับ ตัวเองว่า ฉันกำ�ลังหลงใหลมนต์เสน่ห์อะไรบางอย่างใน เนื้องานของผู้กำ�กับเฟมินิสต์คนนี้

3 ผมชอบอ่านนิทานของ รัดยาร์ด คิปลิงและนิทานบาง เรื่องของญี่ปุ่นก็มีอิทธิพลต่อผมไม่น้อย งานคลาส สิกของอีสปและสองพีน่ อ้ งตระกูลกริมม์นนั่ ก็ใช่ จุดกำ�เนิด ของการเป็นคนชอบนิทานของผม มาจากแม่ทชี่ อบอ่าน

นิทานให้ลกู ฟังก่อนนอนทุกคืน ตอนนัน้ เด็กในวัยเดียวกัน ไม่จับกลุ่มกันออกไปเล่นนอกบ้านก็นั่งเล่นเกมกันอยู่ใน บ้าน แต่ผมต่างจากเพื่อนคนอื่น ผมชอบอยู่เพียงลำ�พัง กับหนังสือในมือและจินตนาการในโลกส่วนตัวของผม จากจุดเล็กๆ ในวัยเยาว์ได้สร้างจุดเชือ่ มต่อลาก เส้นให้ผมมาเป็นนักเขียนนิทานในวันนีแ้ ละมีโอกาสได้มา พบรักกับเธอในรอบสือ่ มวลชนทีน่ ทิ านของผมมีผนู้ ำ�มาส ร้างเป็นภาพยนตร์ วันนั้นเธอมาในชุดสบายๆ เสื้อเชิ้ตลายสก็อต ยีนดำ� รองเท้าผ้าใบสีขาวนั่งไขว่ห้างสะพายย่ามอยู่บน เวทีเสวนาร่วมอยู่กับผม ผู้กำ�กับ นักแสดงนำ�ชายหญิง และพิธีกรผู้ดำ�เนินงาน ผมชอบที่เธอพูดว่า ติดตามอ่าน นิทานของผมมาทุกเรื่องและหวังอยากให้มีผู้กำ�กับสัก คนนำ�นิทานของผมไปสร้างเป็นภาพยนตร์และวันนี้ฝัน ของเธอเป็นจริงแล้ว “ฉันว่านิทานของคุณไม่คอ่ ยเหมาะกับเด็กนะ แต่ นิทานของคุณผู้ใหญ่ควรอ่านเป็นที่สุด!” เธอกระซิบบอกผมเป็นการส่วนตัวหลังเดินลง จากเวที

4 “หลุมที่ทำ�ให้กลับสู่ชีวิตเดิม” ครั้งหนึ่งฉันเคยถาม คุณว่าประโยคนี้หมายความว่าอย่างไร แต่คุณอยากให้ ฉันอ่านเองมากกว่าถามเอาคำ�ตอบ และเมือ่ ฉันตัง้ ใจอ่าน จากต้นฉบับสิบหน้ากระดาษของคุณ ฉันก็พบว่า เด็ก สาวในนิทานเรื่องนี้มีอะไรบางอย่างเหมือนฉัน นีค่ งเป็นนิทานเรือ่ งแรกของคุณทีใ่ ห้เด็กสูบบุหรี่ แอบขโมยบุหรี่ของพ่อมาสูบในห้องน้ำ� ไม่นานนักควันที่ เธอพ่นลอยปุย๋ ๆ ก็รวมตัวกันมาเป็นเธอ เธอทีถ่ อื กำ�เนิด ขึน้ จากควันบุหรีแ่ ละเปิดประตูพาเธอเดินออกจากห้องน้ำ� จูงมือเธอออกจากบ้านและเดินลงไปในหลุมทีอ่ ยูห่ น้าบ้าน ของเธอ จากนัน้ โลกของเธอก็พลันเปลีย่ น มีคนเดินกลับ หัวอยู่บนหัวของเธอเต็มท้องฟ้าไปหมด แต่มีเธอเพียงผู้


นิตยสารเรื่องสั้น 39

เดียวเท่านั้นที่ยืนอยู่บนพื้น คุณเขียนว่าทุกคนต่างเคยมีชีวิตเดิม แต่เมื่อโต ขึน้ การเดินกลับหัวเป็นสิง่ ทีท่ กุ คนชอบเดินตามกันอ่านมา ถึงตรงนี้ฉันก็พอจะรู้แล้วว่าทำ�ไม เด็กคนนั้นถึงต้องการ ‘หลุมที่ทำ�ให้กลับสู่ชีวิตเดิม’ เพราะเมื่อบุหรี่หมดมวน เด็กเปิดช่องระบายอากาศไล่ควัน กดชักโครก กลัว้ น้�ำ ยา บ้วนปาก เปิดประตูเดินออกจากห้องน้ำ� เดินขึน้ ห้องแล้ว นั่งลงที่โต๊ะเขียนหนังสือ อ่านหนังสือกองโต กลืนกินสิ่ง ที่พ่อแม่ผู้เดินกลับหัวคาดหวัง เธอไม่มีความสุขในชีวิต ปัจจุบัน เธอฝันถึงโมงยามความสุขในวัยเยาว์ วัยที่เคย เป็นชีวิตเดินดินธรรมดาของเธอ อ่านจบแล้วส่วนตัวฉันค่อนข้างหดหู่ มันทำ�ให้ฉนั เศร้า เศร้าที่เด็กคนนั้นสอบเข้ามัธยมปลายได้และแบก

ในอ้อมกอดของมารดา ถึงตอนนี้เขาจึงคิดได้ว่าชีวิตที่พุ่งทะยานไปข้าง หน้าอย่างรวดเร็วนั้น ตนได้วิ่งผ่านและหลงลืมอะไรไป บ้าง ทัง้ มารดาทีเ่ จ็บป่วยทีไ่ ม่เคยไปเยีย่ มจนวันตายพราก จาก ภรรยาที่ตนไม่เคยให้ความสำ�คัญจนเธอแอบไปมีชู้ และลูกทีต่ ดิ คอมพิวเตอร์งอมแงมขัน้ เสพติด ชีวติ ทีม่ แี ต่ งานและการไต่เต้าในตำ�แหน่งทีส่ งู ขึน้ จนกระทัง่ วันหนึง่ ประธานบริษทั ตัดสินใจเลือกหัวหน้าคนใหม่ ซึง่ เจ้าตัวคิด มาตลอดว่าต้องเป็นตน เพราะสูอ้ ตุ สาห์ทมุ่ เททำ�งานหนัก แต่สดุ ท้ายเขาก็ผดิ หวังอย่างรุนแรง เดินคอตกกลับบ้าน ภรรยาและลูกหนีหายจากชีวติ บ้านช่างเงียบเหงา เมื่อเขายืนโดดเดี่ยวเคว้งคว้างอยู่เพียงลำ�พัง เขาทรุด ตัวลงนั่งร่ำ�ไห้คร่ำ�ครวญอยู่กลางห้อง ร้องจนไม่มีน้ำ�ตา

ฉันมีความสัมพันธ์ทางเพศกับคนแปลกหน้าที่ไม่รู้จัก ทั้งชายแท้ ชายเทียม ผู้หญิงด้วยกัน ฉันได้ปลดเปลื้อง พันธนาการโดยไม่เขินอาย ครั้งสุดท้ายก่อนออกมาจากโรงแรม ชายวัยหกสิบที่ฉันแทบไม่อยากเชื่อว่ายังหลง เหลือกามาอยู่ก็สังวาสกลืนกินฉันแทบขาดใจ! รับความคาดหวังที่เพิ่มมากขึ้น ทั้งเรียนพิเศษหลังเลิก เรียนและเสาร์อาทิตย์จนแทบไม่มีเวลาพักผ่อน ตอนจบ พ่อแม่โอบกอดลูกด้วยความรักที่ลูกสอบติดคณะแพทย์ ในมหาวิทยาลัยอันดับหนึ่งของประเทศได้ ซึ่งนั่นเป็น ตอนจบที่สะเทือนใจฉันมาก…น่าสงสารนะที่เด็กคนนั้น ต้องใช้ชีวิตเดินกลับหัวตามๆกันไปอีกคน

5 ผมกำ�ลังเขียนนิทานเรื่องใหม่ เรื่องของชายคนหนึ่ง ทีข่ ออาศัยหลังหอยทากยักษ์เดินทางกลับบ้านและระหว่าง ทางเดินอันเชื่องช้า ชายผู้นี้ก็ได้เห็นพบเห็นเรื่องราวใน อดีตที่ผ่านมาของตัวเอง ผ่านแต่ละภาพแต่ละช่วงเวลา ทีค่ อ่ ยๆ ร่วงหล่นจากท้องฟ้า จากชีวติ ครอบครัวทีอ่ ยูก่ นั พร้อมหน้าทัง้ ภรรยาและลูกสาว ย้อนกลับไปสูว่ ยั ทำ�งาน สู่วยั เรียนในมหาวิทยาลัย ตอนอยูช่ นั้ ประถมและสุดท้าย

จะร้องก่อนที่จะหลับไปด้วยความเหนื่อยล้า เขาฝันเห็น หอยทากยักษ์พูดได้และมันได้พูดเตือนสติเขา “ใครว่าไปเร็วแล้วดี เชื่องช้าอย่างฉันสิดีกว่า ถึง ช้าหน่อยแต่ก็ถึงจุดหมายเหมือนกัน มาสิขึ้นมาบนหลัง ของฉัน แล้วฉันจะพาเธอคลานไปอย่างช้าๆ”

6 ตลอดเส้นทางที่ไม่ได้ตระเตรียม ฉันมีความสัมพันธ์ ทางเพศกับคนแปลกหน้าที่ไม่รู้จัก ทั้งชายแท้ ชายเทียม ผู้หญิงด้วยกัน ฉันได้ปลดเปลื้องพันธนาการโดยไม่เขิน อาย ครั้งสุดท้ายก่อนออกมาจากโรงแรม ชายวัยหกสิบ ที่ฉันแทบไม่อยากเชื่อว่ายังหลงเหลือกามาอยู่ก็สังวาส กลืนกินฉันแทบขาดใจ! ฉันโตพอจะคิดเอง มันไม่ใช่เรือ่ งเลวร้ายอะไร หาก ฉันอยากก้าวข้ามความเป็นกุลสตรีในตัวแล้วทอดกายให้


40 นิตยสารเรื่องสั้น


นิตยสารเรื่องสั้น 41

ชายอืน่ ทีไ่ ม่ใช่สามี ฉันอยากก้าวข้ามความเป็นเพศสภาพ เพศที่ต้องรักนวลสงวนตัว เพศที่อ่อนแอ เพศที่เป็นช้าง เท้าหลังและเป็นเพศที่ต้องคอยควบคุมอารมณ์ทางเพศ เมื่อเกิดความต้องการ มันก็แค่ความแปลกใหม่ทฉี่ นั อยากท้าทาย ปรารถนา ไขว่คว้าหาความสุขสมทางเพศรส แยกตัวออกจากการ เดินกลับหัวตามๆกัน เป็นตัวของฉันเอง เป็นความพึง พอใจในแบบของฉัน ฉันต้องการเพียงเท่านี้ และตอนนี้คิดว่าเพียง พอแล้ว…ฉันได้พิสูจน์อะไรบางอย่างแล้ว

7 เธอกลับมา แต่เพียงสบตากัน ผมก็รู้ว่า ตัวตนเดิม ของเธอได้หายไปจากชีวิตผมแล้ว ผมอยากขีห่ อยทากตัวนัน้ กลับไปสูจ่ ดุ เริม่ ต้นของ เราสองคนใหม่อีกครั้ง “ผมสัญญาว่าจะรักและเอาใจใส่คณ ุ ให้มากกว่านี”้ ผมจับมือเธอและเปิดประตูพาเธอกลับเข้าบ้าน


42 นิตยสารเรื่องสั้น


นิตยสารเรื่องสั้น 43

เรื่องสั้น

ผม

เรื่องโดย อรรถวุฒิ บุญยวง

ผมเป็นวัยรุน่ อยากรูอ้ ยากลอง โดยเฉพาะเรือ่ งดนตรี เป็นสิ่งที่ผมโปรดปรานมากที่สุด เห็นรุ่นพี่เขาเล่นกีตาร์ เพลงโปรดของผมแล้ว ผมก็ติดใจไปฟังเขาจับกลุ่มเล่น กีตาร์ทกุ วัน และทีส่ �ำ คัญพีม่ นตรีเป็นพีช่ ายของเพือ่ นผมเอง หน้าตาก็จดั ว่าดีพอประมาณ แต่สงิ่ ทีด่ กี ว่านัน้ คือรูปร่าง ของเขาที่สมส่วนมาก คือสูงประมาณ 180 เซนติเมตร ถึงแม้จะไม่ล�่ำ บึกนักแต่กเ็ ป็นนักกีฬาบาสเก็ตบอล ของวิทยาลัยด้วย กลับจากซ้อมบาสทีว่ ทิ ยาลัย พีม่ นตรี หรือผมขอเรียกง่ายๆ ว่าพีต่ รีกแ็ ล้วกันนะครับ พีต่ รีกจ็ ะ อาบน้ำ�กินข้าวแล้วก็มาเล่นกีตาร์ที่หน้าบ้านเสมอๆ ผม กับเจ้าโมทย์น้องชายพี่ตรีก็มาร่วมแจมด้วย แต่ก็ได้แค่ ช่วยร้องเท่านัน้ เพราะเล่นกีตาร์ไม่เป็น บางวันถ้าเพือ่ นพี่ ตรีเขามาเล่นกีตาร์ด้วยก็จะสนุกกันเป็นพิเศษ แต่เรื่องที่ เกิดขึ้นกับผมวันนั้นก็เกิดขึ้นเพราะเพื่อนๆ ของเขาเกิด ทะเลาะกันขึ้นมา จึงไม่มีใครมาเล่นกีตาร์ที่บ้านพี่ตรีอีก ส่วนเจ้าโมทย์ก็ไปดูหนัง ผมมาหามันที่บ้านก็เจอพี่ตรี อยู่คนเดียว

“พี่ตรีครับ โมทย์ไม่อยู่เหรอครับ” ผมถามพี่ตรี เมื่อเห็นว่าบ้านเงียบผิดปรกติ “อ้อ…เจ้าโมทย์มันไปดูหนัง เราไม่ได้ไปกับเขา เหรอ” ผมก็บอกว่า “เปล่าครับ” ผมถามต่อไปว่า “แล้วพวกเพื่อนๆ พี่เขาไม่มา เล่นกีตาร์เหรอครับ” พีต่ รีสา่ ยหน้าบอกเป็นทำ�นองว่าคง ไม่ได้เล่นแล้วเพราะว่าพวกเพือ่ นๆ เขาขัดใจกัน แล้วเขา ก็เอ่ยปากชวนให้ผมลองฝึกหัดกีตาร์ดู อีกหน่อยมีกตี าร์ 2 ตัวจะได้เล่นด้วยกัน ผมก็ตกลงทันที พี่ตรีให้ผมขึ้นไปรอที่ห้องเพราะจะปิดบ้านให้ เรียบร้อยก่อน พอขึ้นไปที่ห้องผมก็นั่งรอพี่ตรี พี่ตรีหยิบ กีตาร์สง่ ให้ผมแล้วจัดท่าทางให้ผมนัง่ ให้ถกู ต้อง จากนัน้ พี่ตรีให้ผมตีจังหวะขึ้นๆ ลงๆ ผมก็ยังทำ�ไม่ได้อยู่ พี่ตรี จึงเข้ามานัง่ คร่อมอยูข่ า้ งหลังผมแล้วจับมือผมให้ตจี งั หวะ ตามมือของแก พีต่ รีนงั่ ชิดผมมากจนอะไรเป็นลำ�ๆ แข็ง แทงมาทีช่ ่วงหลังของผม ผมรูส้ กึ สยิวขึน้ มา พีต่ รียงิ่ โอบ ผมแน่นขึ้นจนผมไม่มีกะจิตกะใจจะดีดกีตาร์แล้ว ลม


44 นิตยสารเรื่องสั้น

ผมติดรสกลิ่นไม้ แม่เคยพาผมไปบ้านยาย บ้านยาย ปลูกขึน้ ด้วยไม้ ยายเล่าว่าแต่กอ่ นไม้สกั หาได้งา่ ยและ ราคายังไม่สูงมากนัก ชาวบ้านเข้าป่าไปตัดได้ เอามา แต่พอสร้างหรือใช้ที่จำ�เป็น หายใจพี่ตรีรดต้นคอของผม แล้วพี่ตรีก็หยิบกีตาร์ออก พีต่ รีกก็ อดผมแน่น ไซ้มาทีซ่ อกคอของผม จับใบหน้าหัน มา ปากของเราสองคนก็ประกบกัน มันมีอยูจ่ ริงหรือเปล่า กับความปรารถนาทีไ่ ด้รบั การ ตอบรับจากมนุษย์รอบข้าง ผมได้ยนิ เสียงเพลงบางเพลง เล่นลอยมาตามลม บ้านอีกหลังที่อยู่เยื้องฝั่งตรงข้าม เป็นบ้านเล็กๆ สร้างขึ้นด้วยไม้ ในขณะที่บ้านของผม สร้างด้วยปูน ผมติดรสกลิน่ ไม้ แม่เคยพาผมไปบ้านยาย บ้านยายปลูกขึน้ ด้วยไม้ ยายเล่าว่าแต่กอ่ นไม้สกั หาได้งา่ ย และราคายังไม่สงู มากนัก ชาวบ้านเข้าป่าไปตัดได้ เอามา แต่พอสร้างหรือใช้ทจี่ ำ�เป็น แต่พอราคาไม้สกั เริม่ ขยับตัว สูงขึ้น พ่อค้านายทุนก็เริ่มเข้ามาจัดการทรัพยากรต่างๆ ปัจจุบัน ไม้สักจึงเป็นสิ่งสูงค่า คนจะสร้างบ้านไม้ก็ไม่ นิยมสร้างด้วยไม้ประเภทอื่น อาจเพราะคุณสมบัติพิเศษ ของไม้สกั เอง หรืออาจจะเป็นค่านิยมของผูค้ นในสมัยนัน้ บ้านของเขาเป็นบ้านไม้คล้ายๆ บ้านยายของผม ยกพื้น สูง ลานบ้านโล่ง มีโอ่งใหญ่อยูส่ องโอ่ง รัว้ ล้อมด้วยไม้พมุ่ นานาชนิด เวลาผมเดินเพือ่ ไปรอรถประจำ�ทางมารับก็จะ ผ่านบ้านหลังนี้ บ้านไม้ทผี่ มอยากให้บา้ นผมเป็นแบบนัน้ มันเป็นความคิดแบบเด็กๆ ที่ไม่อาจสลัดทิ้ง เหมือนที่เราเห็นของเล่นสักชิ้นแล้วเราจะเฝ้าคอยแหงน มองดูมันไม่เสื่อมคลาย พ่อแม่ไม่ซื้อให้ก็ได้แต่มอง ไม่ ว่าจะไปหรือกลับ เดินหน้าหรือถอยหลัง ถ้ามันเป็นสิ่ง ที่ต้องตาตรงใจ เราจะไม่มีวันปล่อยให้มันคลาดสายตา

ผมเรียนอยูช่ นั้ ประถม 5 โรงเรียนเดียวกันกับแม่ ของผม แม่เป็นครู พ่อเป็นครู ใครๆ ต่างก็เรียกผมว่าลูก ครู ไม่มีใครเรียกชื่อเล่นของผม เวลาผมเดินไปไหนมา ไหนก็จะได้ยินแต่ว่า “นี่ไงๆ ลูกครู” พรางชี้มือโบกไม้จน ผมตกใจ ตกใจทีว่ า่ จริงๆ แล้วพวกเขากำ�ลังเห็นผมเป็น อะไร เหมือนเวลาพ่อแม่พาผมไปงานปิดทองฝังลูกนิมติ แล้วผมเจอเครื่องเล่นประหลาดๆ หรือซุ้มประหลาดๆ ผมรูส้ ึกตกใจและน้อยใจ จะมีใครเดินมาคุยมาถามหรือ มาเรียกชื่อเล่นจริงๆของผมบ้างหรือเปล่า ก่อนจะอยู่โรงเรียนนี้ ผมย้ายโรงเรียนค่อนข้าง บ่อย อาจเพราะพ่อและแม่ยังเป็นครูอายุราชการน้อย โดนคำ�สั่งย้ายนั่นย้ายนี่บ่อยครั้ง บ่อยจนผมจำ�ไม่ได้ว่า จริงๆแล้วผมมีเพือ่ นชือ่ อะไรบ้าง การเป็นลูกคนเดียวแล้ว ยังต้องย้ายบ้านบ่อยๆ มันทรมานจิตใจของผมเหลือทน ซอยของหมู่บ้าน มีบ้านอยู่เพียง 4 – 5 หลังเท่านั้น และดูจะมีเด็กรุ่นๆ เดียวกับผมอยู่ไม่กี่คน บ้านข้างๆ ที่ คุณป้าอาศัยกับลูกสาวสองคน ลูกสาวของป้าก็อยู่ในวัย โตเข้าเรียนที่วิทยาลัย แถมเป็นผู้หญิง ผมก็ไม่ได้ไปเล่น ด้วย ส่วนบ้านตรงข้าม ก็เป็นน้าสองคนผัวเมียอายุยงั น้อย น้าผูห้ ญิงยังอุม้ ท้องอยู่ เหลียวซ้ายแลขวาก็ไม่มเี พือ่ นเล่น ผมก็ได้แต่เดินไปเล่นทีท่ งุ่ นาคนเดียว ผ่านบ้านไม้หลังนัน้ ทุ่งนาเป็นของทิดนพ ทิดนพรู้จักกับพ่อ ไปรู้จัก กันตอนพ่อไปซื้อเหล้ามากินบ่อยๆ ที่ร้านยายติ๋ม เจอ กันบ่อยเข้าก็สนิทกัน ผลัดกันไปกินเหล้าบ้านผมบ้างบ้าน


นิตยสารเรื่องสั้น 45

ทิดนพบ้าง ตามแต่ว่าบ้านใครจะมีกับแกล้มเด็ดกว่ากัน วันหนึง่ พ่อชวนผมไปด้วย จริงๆ เป็นกลยุทธ์ของแม่ทจี่ ะ ให้พอ่ กลับบ้านเร็ว ปรกติพอ่ ก็ชวนผมประจำ� เพราะเห็น ว่าผมอยูแ่ ต่กบั บ้านและเล่นคนเดียว แต่ผมก็ไม่อยากไป เพราะเวลาพ่อเมาพ่อจะชอบให้นวดหลัง หลังพ่อมีแต่ เหงือ่ กินบุหรีก่ ค็ ลุ้งจนผมรูส้ กึ เหม็น แต่เพราะหลังๆพ่อ กินเหล้าบ่อย แม่เลยใช้ผมเป็นเครื่องมือที่ทำ�ให้พ่อกลับ บ้านเร็วๆ และไม่ต้องเมาจนหัวแทบราน้ำ� เวลาไปบ้านทิดนพ ตอนเย็นๆ แสงอาทิตย์จะ เล่นล้ออยูก่ บั บรรดากองฟ่าง ทิดนพจัดแจงปูเสือ่ วางถัง น้�ำ แข็ง ยกเหล้ามาไม่หนึง่ กลมก็หนึง่ แบน ไม่มโี ซดา น้ำ� อัดลมมีไว้ส�ำ หรับผม แต่กนิ ได้ไม่เกินสองแก้ว เพราะพ่อ บอกเดีย๋ วฟันผุ แต่เอาเข้าจริงๆ ผมก็กนิ ไม่ได้มากเท่าไร เพราะผมมักจะปรีไ่ ปเล่นทีท่ งุ่ นาของทิดนพมากกว่า มีไอ้ แก้ว หมาของทิดนพวิ่งเล่นเป็นเพื่อน ปาอะไรมันก็คาบ มาให้ผมหมด จนแสงอาทิตย์เริม่ หมด พ่อจะตะโกนเรียก ให้กลับไป กลัวพวกงูจะมากัดผม วันเสาร์ โรงเรียนก็หยุดตามปรกติ เนือ้ เรือ่ งแบบเดิม ไม่มที างปรับเปลีย่ น บ่ายแก่ๆ ผมกำ�ลังไปทีท่ งุ่ นาของทิด นพ อยูด่ ๆ ี ก็มเี ด็กวัยเดียวกันกับผมตะโกนเรียก “นายๆ นายจะไปเล่นทีไ่ หนนะ ขอเราตามไปด้วยสิ” ผมหยุดเดิน เสียงเรียกมาจากหน้าบ้านไม้หลังนัน้ เด็กคนนัน้ เดินเข้า มาหา ผมหยักศก ผิวคล้ำ�แดดกว่าผม แต่ตวั มันโตกว่า “เรากำ�ลังจะไปทีท่ งุ่ นาทิดนพ ทำ�ไมเหรอ” แดด แยงตาจนผมต้องยกมือข้างขวาขึ้นมาป้องไว้ที่หน้าผาก “เราไปด้วยสิ เราชื่อมนตรี” พีต่ รีเล่าว่า เขาและโมทย์จ�ำ เป็นต้องหาเงินเพือ่ ดำ�รง ชีวิต พวกเขาสองคนก็เลยตัดสินใจว่า จะสลับสับเปลี่ยน กันเป็นผู้ชายขายตัว โดยครั้งแรกของการหาเงินด้วย วิธีการนี้ เป็นโมทย์ที่เริ่มต้นก่อน มนตรีขี่มอเตอร์ไซค์ พาโมทย์ไปที่ถนนแห่งหนึ่ง ใกล้ๆ พระบรมมหาราชวัง “เออนี่...พี่ตรี” โมทย์ส่งเสียงจากฟากตรงข้าม ถนน “ผมควรเรียกสักเท่าไรดีล่ะ ?”

มนตรีนิ่งคิดในใจ ก่อนจะตะโกนตอบโมทย์ไป ว่า “หนึ่งพันบาท สำ�หรับการกระทำ�ทุกอย่าง” พอได้ ยินดังนั้นโมทย์ก็เดินไปยังปากซอยที่อยู่ใกล้ๆ มนตรี ค่อยๆ ขี่มอเตอร์ไซค์พารถไปจอดในตรอกเล็กๆ หน้า สวนสาธารณะโดยมีต้นไม้คอยบังอยู่ เวลาผ่านไปได้ไม่ นาน มีผู้ชายคนหนึ่งขับรถผ่านมาแล้วค่อยๆ จอดตรง บริเวณที่โมทย์ยืนอยู่พร้อมกับไขกระจกสอบถามราคา “เหมาทัง้ คืนเท่าไหร่ครับน้องชาย” ชายสูงวัยหัว ล้านไปครึ่งกบาลถาม โมทย์คิดในใจ ก่อนจะตอบกลับ ไปว่า “พันเดียว” “แต่พี่มีอยู่สามร้อยเองครับน้อง สามร้อยนี่ทำ� อะไรได้บ้างล่ะ ?” โมทย์นิ่งคิดสักพักก่อนจะบอกให้ชาย สูงวัยรอสักครู่ พร้อมกับวิ่งไปหามนตรีที่นั่งคอยอยู่บน เบาะมอเตอร์ไซค์ “บอกมันไปว่าสามร้อยได้แค่อมจูใ๋ ห้เท่านัน้ ” โมทย์ วิ่งกลับไปหาชายแก่อีกครั้ง “สามร้อยได้แค่อมจู๋ให้ครับพี่ชาย” โมทย์ใช้ สรรพนามเพื่อให้ชายแก่รู้สึกชุ่มชื่น “ตกลงน้อง ว่าแต่แถวนี้มีตรอกเงียบๆ ที่พี่พอ จะพาน้องไปจอดรถเงียบๆ หาความสุขไหม?” โมทย์ เปิดประตูรถพร้อมบอกให้เขาขับรถไปอีก 200 เมตร จะ มีซอยเงียบๆ อยู่ พอไปถึง ชายแก่บิดกุญแจดับเครื่อง รถ บรรยากาศเย็นฉ่ำ�เพราะฤทธิ์แอร์ พร้อมกลิ่นน้ำ�หอม ประดับรถที่เลยระดับของคำ�ว่าหอมไปไกลโข ชายแก่คน นั้นปลดเข็มขัดและค่อยๆ รูดซิปลง พร้อมกับควักมังกร แห้งเหี่ยวสีคล้ำ�ออกมาให้โมทย์เห็น เพียงเสี้ยววินาที โมทย์เปิดประตูรถลงมาอาเจียน พร้อมกับวิ่งหนีชายแก่ คนนั้น และเป็นคนละทิศทางกับที่รถมอเตอร์ไซค์ของ มนตรีจอดรออยู่ โมทย์ไม่ได้วิ่งหนีชายแก่คนนั้น มนตรีโกหกผม โมทย์ไม่ได้ออกวิ่งหลังจากที่อาเจียนเสร็จ เขาแค่อยาก ให้การทำ�งานในวันนี้ของเขาราบรื่น อาจเพราะอาหารที่ เขาเพิ่งกินไปมันไปจุกที่คอหอย “พี่ทำ�มากกว่านี้ก็ได้ครับ ผมคิดพี่ราคาที่พี่จ่าย ให้ผมได้ แล้วแต่พี่เลย”


46 นิตยสารเรื่องสั้น


นิตยสารเรื่องสั้น 47

เรื่องสั้น

ฝันแมงสาบ

เรื่องและภาพโดย หมายเลข ๓

ชายผู้ผ่ายผอมตื่นขึ้นในเช้าที่อากาศอึมครึมมัวหม่น ด้วยสีเทา แม้จะหมดเวลาร่าเริงของหยาดฝนแต่เมฆที่ ฉ่ำ�น้ำ�ก็ยังไม่มีทีท่าว่าจะลอยไปไหน เหงื่อกาฬแตกเม็ดบนใบหน้าเป็นหลักฐาน บ่งชีถ้ งึ ความร้ายกาจจากฝันเมือ่ คืน ฝันอันอุดม ไปด้วยแมลงสาบมากมายน่าขยะแขยง ท่ามกลางความ มืดหลังเปลือกตานั้นคาคั่งไปด้วยร่างของเจ้าท้องลาย นอนแดดิ้นตามพื้นยุบยับเต็มไปหมด มันมากจนไม่น่า จะมีในที่แห่งใดในโลก(จริง)เทียบเท่า เขาพยายามค้นหาสาเหตุว่าเพราะเหตุใดฝันนั้น ถึงได้หลอกหลอนถึงเพียงนี้ ระหว่างที่สมองเริ่มทำ�งาน สายตาก็พลางเหลือบไปเห็นหนังสือบนหัวเตียง “กลาย--ฟรันซ์ คาฟก้า” บางที ชายผู้ตื่นตระหนกอาจจะเจอจำ�เลยแล้วก็ เป็นได้ ร่างผอมกะหร่องเดินงัวเงียออกนอกระเบียง เพือ่ ไปสู่ห้องน้ำ�ที่แสนแคบเล็ก ในย่านที่อพาร์ตเมนต์ชุกชุม ห้องส่วนใหญ่มหี น้าตาแบบนี้ ห้องนอนแล้วต่อด้วยห้องน้�ำ คล้ายๆ กันเต็มไปหมด ห้องในยุคทีเ่ งินครองโลก หลาย

ชีวิตกล้ำ�กลืนกับความเป็นอยู่ประเภทนี้มากขึ้น ชีวิตกับ ที่ดินกลางอากาศ ดูวังเวงและเงียบเหงา ที่นอกระเบียงซากแมลงสีน้ำ�ตาลท้องลายนอน สยายขาใกล้รูระบายน้ำ� ทำ�ให้เขาต้องหยุดชะงัก เมือ่ ภาพเบือ้ งหน้าและภาพของความฝันซ้อนทับ กัน ขนสันหลังก็ชูชันเหมือนได้รับสารเคมีกระตุ้น นี่บาง ตัวจากหลายร้อยตัวในความฝันหลุดลอดออกมาอย่างนัน้ หรือ ปลายขาของเขาเขี่ยมันอย่างหวาดๆ เพื่อให้แน่ใจ ว่าซากนั้นไม่หลงเหลือชีวิตให้กระพือปีกลอยไปลอยมา ซากตัวท้องลายจึงถูกส่งลงท่อริมระเบียงอย่างรวดเร็ว น้ำ�ฉ่ำ�เย็นด้วยอุณหภูมิฝนจากหัวก๊อกช่วยปลุก ความกระปรี้กระเปร่าขึ้นมาได้บ้าง สายตามองตัวตนใน กระจก กำ�ลังตั้งคำ�ถามบางอย่างแก่เงาที่สะท้อนนั้นว่า ฝันแปลกๆ ที่ร้อยวันพันเดือนไม่เคยฝันถึงกำ�ลังจะบอก อะไรบางอย่างรึเปล่า หรือเป็นเพียงแค่จนิ ตนาการติดตา ที่หล่อหลอมขึ้นจากเนื้อหาหนังสือเล่มนั้น หรืออาจเป็น เพราะความอิ่มเอมที่เกินพอดีของข้าวเหนียวก้อนขาว นวลนิ่ม และหมูปิ้งเคลือบซอสก่อนนอนที่ทำ�ให้ฝัน แม่


48 นิตยสารเรื่องสั้น

หรืออาจจะไม่มีความหมายอะไรเลย ในฝันเขาอาจจะ แค่กงั วลไปเอง ความคิดต่างๆ โลดแล่นในสมองอย่าง สนุกสนาน โดยไม่สนว่าผู้ที่ต้องรับชะตากรรมหนัก หน่วงจะเป็นเจ้าของร่างทีเ่ ดินงัวเงียกลับเข้ามาในห้อง ผูร้ กั ใคร่เคยบอกให้ฟงั ว่าหากกินอะไรแน่นท้องก่อนนอน กลางคืนก็จะฝัน หรืออาจจะไม่มคี วามหมายอะไรเลย ใน ฝันเขาอาจจะแค่กงั วลไปเอง ความคิดต่างๆ โลดแล่นใน สมองอย่างสนุกสนาน โดยไม่สนว่าผูท้ ตี่ อ้ งรับชะตากรรม หนักหน่วงจะเป็นเจ้าของร่างที่เดินงัวเงียกลับเข้ามาใน ห้อง ชายผูเ้ หนือ่ ยล้าจากภาพฝันนัง่ นึกคิดไปถึงชีวติ ความ เป็นอยู่ในห้วงปัจจุบัน อาการว่างงานไม่ค่อยน่าชื่นชม เท่าไหร่ เจ้าหนี้มักจะมาในรูปของกระดาษใบเสร็จเรียก เก็บเงิน พร้อมด้วยรายการตัวเลขอันยาวเหยียด ถ้าคน ไม่มีงานก็ไม่มีเงิน ในสังคมที่เงินครองโลกชีวิตลักษณะ นี้ดูจะเป็นความผิดอาญาขั้นร้ายแรง ยิ่งคิดก็ยิ่งท้อใจ สมัครงานที่ไหนก็ไม่มีใครสน คนที่ไม่มีเงินไม่มีงานใน เมืองหลวงแบบนีก้ ค็ งไม่ตา่ งอะไรกับแมลงสาบท้องลาย ทีน่ อนหงายรอให้มดมาขนซาก แม้มนั จะไม่มชี วี ติ มันก็ยงั ดูนา่ ขยะแขยง ถ้าไม่อยากเป็นแบบนัน้ ก็ควรหางานให้ได้ โดยเร็วที่สุด หรือกลับไปเป็นแมลงสาบที่แต่งตัวดีๆ ฉีด น้ำ�หอม ขี่รถสวยไปทำ�งาน ชีวิตแมลงสาบ...ตลกสิ้นดี อะไรทีท่ �ำ ให้คนต่างจากแมลงสาบ ชายเปลีย่ วใน ห้องนั่งนึก คนฝันถึงแมลงสาบอย่างเขา คงไม่มีปัญญา พอจะรู้อะไรมาก หากให้เดาแบบเบาปัญญาก็น่าจะต่าง กันตรงที่คนมีความฝัน “มีความฝัน” สมองลีบๆ ดีดตัว

เข้าครุ่นคิดถึงฝันเมื่อคืนทันทีทั้งที่ยังตื่นลืมตา มันทวน ความจำ�ขึ้นมาได้ว่าเขาเคยฝันอยากทำ�อะไร รูปความ ทรงจำ�เก่าๆ สมัยดีดกีตาร์คล่อง ครั้งแรกคงบอกอะไร ได้ดี กีตาร์ตัวเก่งถูกคว้าขึ้นมาปัดฝุ่นอีกครั้งในวันที่ว่าง งาน เขาลองจับคอร์ด ดีดปรับเสียง อยากโทรศัพท์ไปหา เพื่อนในชั้นมัธยม เพื่อถามไถ่ถึงทุกข์สุขและฝันที่อาจจะ หลงเหลือ ทุกคนเป็นยังไงบ้างนะ สบายดีรึเปล่าแล้วยัง อยากขับร้องบทเพลงบรรเลงดนตรีกันอยู่บ้างมั้ย เสียง สนทนาพูดคุยจากต้นสายถึงปลายสายเป็นไปอย่างสนิท สนมในห้องเช่าเก่าเล็กแห่งนั้น บางทีความฝัน อาจจะ เป็นสิ่งเดียวที่หล่อเลี้ยงหัวใจ เป็นสิ่งเดียวที่ทำ�ให้ใจอิ่ม แม้กระเพาะตอนนัน้ ยังว่าง คุณๆ ยังจำ�ฝันของตัวเองได้รึ เปล่า บางคนทีฝ่ นั อยากเป็นนักดนตรีอย่างคนในห้องเช่า เก่าโทรม หรือฝัน ที่จะเดินทางไปรอบโลก ฝันอยากเป็น เชฟมือทอง ฝันทีอ่ ยากเก๋เท่ทา่ มกลางตากล้องทีเ่ ฉิดฉาย แสงวิบวับ จะฝันไหนมันก็ท�ำ ให้ชมุ่ ชืน่ ใจมากกว่าเวลาฝน ตกใช่รึเปล่า ฝันทีอ่ าจจะแค่ยกให้เราเป็นแมลงสาบในอีกระดับ หนึ่งก็เท่านั้น...


นิตยสารเรื่องสั้น 49


50 นิตยสารเรื่องสั้น


นิตยสารเรื่องสั้น 51

เรื่องจากปก

ผาด พาสิกรณ์: ชีวิตและงานเขียน เรื่องโดย กองบรรณาธิการ ภาพโดย นิวัต พุทธประสาท

ผาด พาสิกรณ์ เป็นนามปากกาของ วิษณุฉัตร วิเศษสุวรรณภูมิ ผลงานนิยายเล่มแรกของ เขา “เสือเพลินกรง” เป็นเหมือนหมุดหมายแรกทางวรรณกรรมของเขาที่เผยโฉมให้ผู้อ่านได้รู้จัก นักเขียนหนุ่มไฟแรง ที่มีลีลาเฉพาะตัว และหลังจากนั้นเขาก็ปล่อยเรื่องสั้นออกมาอีกสองเล่มคือ “ไปยาลใหญ่ในปัจฉิมดำ�ริ” กับ “สำ�เนียงเวลา” รวมถึงรวมบทความต่างๆ ในนามของสำ�นักพิมพ์ คเนศบุรี สำ�นักพิมพ์ที่เขาปลุกปั้นขึ้น บ่ายวันอากาศสดใส เราขับรถไปยังชานเมืองฝั่งตะวันออกเพื่อพูดคุยกับผาด หลังจากที่ เรามีคำ�ถามค้างคาใจว่าต้นกำ�เนิดของนักเขียนหนุ่มคนนี้มีที่มาที่ไปอย่างไร สิ่งใดที่ฟูมฟักให้เขา จับปากกาขึ้นมาเขียนหนังสือ

เริ่มงานเขียนอย่างไร ความจริงผมขีดๆ เขียนๆ มาตัง้ แต่เด็กแล้ว มักจะมีสมุด บันทึกติดตัวเสมอ ช่วงไหนถนัดภาษาอะไรก็เขียนภาษา นัน้ ร่างของบางเรือ่ งทีเ่ ก็บมาใช้ทำ�งานตอนนีก้ ม็ ตี น้ ฉบับ เป็นภาษาอังกฤษมาก่อน บางเรือ่ งมาในฟอร์มของเรือ่ งย่อ (หนังสัน้ ) บางเรือ่ ง เป็นนิยายทีเ่ ขียนไปแล้วเป็นสิบบทก็มี ผมเคยสงสัยตัวเองมาตลอดว่าจะทำ�ได้ไหมไอ้งานเขียน เนี่ย คิดมาตลอดว่าวันหนึ่งจะต้องลองทำ�จริงๆ จังๆ ดู สักที ส่วนจะทำ�ได้ดี หรือไม่ดีนั้นค่อยว่ากัน ตอนไปอเมริกา อายุเท่าไหร่ ตอนจบม. สาม อายุ 14 ได้มั้ง ไปเรียนในชั้นมัธยม ปลายและต่อมหาวิทยาลัย กลับมาอยู่เมืองไทยถาวร ตอน อายุ 31 ครับ

ตอนไปอยู่ คิดว่าจะตัง้ รกรากอยูอ่ เมริกาเลยหรือเปล่า เปล่า ผมถูกส่งไปเรียนเพราะความเกเร เพียงแต่วา่ อยูๆ ่ ไปมันก็เพลินดี รากชักลงลึก แต่ผมก็คิดอยู่เสมอนะว่า วันหนึ่งคงต้องกลับบ้าน ในช่วงที่เรียนต้องทำ�งานด้วยไหม ระหว่างเรียนมหาวิทยาลัยผมทำ�งานไปด้วย มันเป็น วิถีชีวิตปรกติของเด็กที่นั่น พวกเพื่อนๆ เขาจะไม่ค่อย มีเวลาว่างมากนัก เรียนเสร็จเขาก็ทำ�งานกัน ถ้าเราไม่ ทำ�งานก็ต้องอยู่บ้านเฉยๆ ผมเลยไปหางานทำ�บ้าง ก็ สนุกดีครับ มีเงินใช้ด้วย งานประเภทไหนครับ ช่วงที่ผมอยู่ปี 2 ผมได้งานโรงแรมกะดึก ที่ชอบเพราะ


52 นิตยสารเรื่องสั้น

เป็นคนไม่นอนกลางคืน ผมเห็นโฆษณารับสมัคร Night Auditor เราก็งานอะไร (วะ) จะเป็นแบบงาน Audition เกี่ยวกับดนตรีหรือเปล่า (หัวเราะ) คือโง่น่ะ ผมก็เลยไป สมัคร ปรากฏว่ากลายเป็นงานบัญชีทตี่ อ้ งคอยดูแลรายรับ รายจ่ายค่าห้องของแต่ละวันให้เรียบร้อย งานเข้าห้าทุ่ม เลิกเจ็ดโมงเช้า ผมใช้เวลาประมาณสอง-สามชั่วโมงก็ เคลียร์ตัวเลขพวกนี้เสร็จ เหลือเวลาว่างอีกถมเถ ผมก็ เอาการบ้านไปทำ�บ้าง ถ้าช่วงว่างๆ หน่อยก็เอาซินธิไซ เซอร์ไปเล่น แต่งเพลงอัดเป็น midi เก็บไว้ เพลิดเพลิน ดีครับแถมยังได้เงินด้วย ชั่วโมงละเจ็ดเหรียญกว่าๆ ดี กว่านั่งสูบบุหรี่กินกาแฟอยู่บ้าน วันไหนมีเรียนเช้า ผมก็ แต่งตัวไปเรียนเลย เสร็จแล้วค่อยกลับบ้านนอน ชีวิตตอนนั้น ต้องควบคุมอะไรบ้างไหม เพราะดูว่า มีอิสระ ก็ไม่นะ คือตอนอยู่มัธยมปลาย ผมเรียนโรงเรียนประจำ� มีบาทหลวงคอยดูแล ซึง่ ถ้าเทียบกับโรงเรียนประจำ�ไทย (วชิราวุธ) ที่ผมเรียน ของเขาผ่อนผันกว่าเรามาก พอเข้า คอลเลจ ก็ปรกติ ผมก็ลกู ผีลกู คนไปเรือ่ ยๆ เทอมไหนฟิต ก็ลงเรียนหลายตัวหน่อย เทอมไหนขี้เกียจก็ลงน้อยหรือ หยุดเรียนไปเลยก็มี พ่อแม่ไม่ได้บงั คับอะไรมาก (คงเพราะ เห็นแววเกเรของผมน่ะครับ) ขอเพียงให้เรียนจบก็พอแล้ว ค่อนข้างมีวินัย ผมว่ามันเป็นวิถีชีวิตมากกว่า ตอนนั้นคิดว่าจะเขียนหนังสือหรือยัง เขียนหนังสือครับ สายที่เรียนทำ�ให้ต้องเข้ามาพัวพันกับ การเขียนอยู่บ้าง พวกวิชาเกี่ยวกับหนังสั้น หรือ Creative Writing แต่ไม่ได้เขียนอย่างนักเขียน ช่วงนั้นชอบ เล่นดนตรี จะหนักไปทางเขียนเพลงมากกว่า เรียนเกี่ยวกับโฆษณา เมื่อจบมา ได้ทำ�งานตรงตาม ที่เรียนเลยหรือเปล่า ไม่ทันทีครับ งานโฆษณาที่นั่นเข้ายากมาก ระหว่างที่หา

งานทำ�ผมก็เที่ยวย้ายไปตามเมืองใหญ่ต่างๆ เราอยาก ทำ�งานโฆษณาแต่ไม่มีประสบการณ์, ประสบการณ์ที่เรา มีอยูถ่ มเถดันไปเกีย่ วกับการโรงแรม แต่เราไม่อยากกลับ ไปทางสายนัน้ อีกเพราะกลัวเงินเดือนสูงๆ ทำ�ให้ถอนตัว ไม่ขึ้น เลยต้องหางานกระจุกกระจิกทำ�ไปพลางๆ พวก เปลีย่ นถ่านนาฬิกา หรือแพ็คพัสดุในร้านเมล์บอ็ กซ์เซอร์วสิ อะไรพวกนีก้ เ็ คยทำ� ซึง่ มันก็ให้โอกาสประสบการณ์ทดี่ กี บั ผมนะ ทำ�อย่างนีอ้ ยูส่ องปีครับกว่าทีจ่ ะได้ทำ�งานโฆษณา ในเมือง ซาน ฟรานซิสโก แล้วทำ�ไมกลับเมืองไทยครับ มีแผนหรือเปล่า ไม่มีครับ ตอนนั้นลูกค้าประเภท Telecommunication เจ้าใหญ่ของบริษัทหลุดไปเอเจนซี่อื่น วิธีการที่เขาทำ�กัน เป็นปรกติก็คือเลย์ออฟพนักงาน สำ�หรับผม เขาเมตตา ไม่ให้ออกแต่จะส่งให้ไปดูแลลูกค้าประเภทของเล่นเด็ก ใน แอลเอ ผมน่ะชอบของเล่น แต่ไม่ชอบแอลเอ เลยคิด ว่าน่าจะถึงเวลากลับบ้านแล้ว ความเปลี่ยนแปลง หรือการปรับตัว ก็มีบ้างที่ต้องปรับตัว เพราะตอนนั้นครึ่งชีวิตที่อเมริกา ของผมมันมากกว่าครึง่ ทีป่ ระเทศไทยเสียอีก ความทีเ่ รา เป็นเด็กโบราณที่ไม่ได้กลับมาเยี่ยมบ้านทุกปี ทำ�ให้เรา ตามความเปลี่ยนแปลงไม่ค่อยจะทัน คาราโอเกะ โฟโต้ บูธ คนไทยสมัยใหม่ที่กล้าร้องเพลง-กล้าแอ็คท่าถ่ายรูป กลางห้าง คนเหล่านี้ผมไม่เคยคุ้นมาก่อน จริงอยู่ว่า มัน อาจฟังดูเป็นเรือ่ งไร้สาระ แต่ผมว่ามันทำ�ให้เห็นถึงความ เปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมซึ่งส่งผลต่อไปถึงความคิด และมุมมองต่างๆ อย่างที่ผมบอกนั่นแหละ หากผมเห็น ความเปลีย่ นแปลงค่อยๆ ก่อร่างขึน้ ผมอาจไม่งงนัก แต่ สำ�หรับผมมันปุบปับจากความว่างเปล่า สูผ่ ลิบานเปล่งปลัง่ ภายในเวลาสั้นๆ นี่คือพฤติกรรม มันไม่ใช่คำ�ใหม่หรือ ศัพท์ใหม่ ที่โฉบมาประเดี๋ยวประด๋าวแล้วก็จางหายไป นี่ มันเป็นวิธคี ดิ ทีเ่ ปลีย่ นไป ชนิดทีเ่ ปลีย่ นแล้วเปลีย่ นเลย นี่ คือคนไทยรุ่นนี้ คืออีกหลักไมล์หนึ่งซึ่งทำ�ให้คนรุ่นเรา ที่ เติบโตขึ้นมาในสมัยของวงชาตรี แกรนเอ็กซ์ และ คณะ


นิตยสารเรื่องสั้น 53

เวลาประกาศกับลูกๆ ว่า ฉันจะเข้าทำ�งาน แล้วนะ ก็ให้นบั ไปเถอะไม่เกินห้านาทีหรอก เราจะได้ยินเสียงเคาะพิมพ์ดีด ดังรัวอยู่ อย่างต่อเนื่อง เนือ้ กับหนัง กลายเป็นมนุษย์ดกึ ดำ�บรรพ์ไป...อย่าว่าแต่ คนเลย ผลไม้, ของธรรมชาติแท้ๆ, ยังแอบเปลีย่ นลุคตอน ผมไม่อยู่เมืองไทยเนี่ย คือก่อนไปเรียน ผมจำ�ได้ว่าผล แตงโมมันจะมีลักษณะเขียวๆ กลมๆ เหมือนลูกโบว์ลิ่ง แต่เดี๋ยวนี้รูปร่างหน้าตาของมันจะออกยาวๆ มีลายเส้น ชัดเจน ไอ้กลมๆ แบบเดิมนัน้ มันได้หายไปจากโลกนีแ้ ล้ว แต่สงิ่ ทีผ่ มแปลกใจกว่าการหายตัวของแตงโมคือ ความ ทีค่ นไม่สนใจถึงการหายไปของมัน ผมถามใครก็ไม่ได้คำ� ตอบ ดูเหมือนไม่มีใครสนใจเลยว่า ไอ้แตงโมกลมๆ ที่ เหมือนลูกโบว์ลิ่งนั้นมันหายไปไหน กลับมาเมืองไทยแล้วเริ่มทำ�งานอะไรครับ โฆษณาครับบริษัทเดียวกันกับที่ทำ�ที่นู่น แต่ทำ�ได้แค่ไม่ นานก็เลิก เบื่อ จากนั้นก็ไปจับงานอีเว้นท์ของ APEC ในปี 2003 อยู่อีก 8-9 เดือน ได้เงินมาก้อนหนึ่ง ทำ�ให้ เรามีทุนในการเริ่มทำ�งานเขียน เริ่มงานเขียนแล้วเป็นไง น่ากลัวสิ ความทีเ่ ราโตมาในบ้านของนักเขียนทำ�ให้เราได้

เห็นวิธีทำ�งานของมือโปร กลางคืนเวลาพ่อทำ�งาน เสียง พิมพ์ดีดนี่จะรัวไปเรื่อย รวดเดียวจบ และต้องจบ เพราะ รุ่งเช้าพนักงานจากโรงพิมพ์เขาจะมารับต้นฉบับเพื่อไป เรียงพิมพ์ตอ่ ไอ้ของเรานัน้ มันพิมพ์แล้วแก้ พิมพ์แล้วแก้ บทหนึ่ง-ห้าหกแผ่น-เขียนกันเป็นอาทิตย์ อดไม่ได้ที่จะ นำ�มาเปรียบเทียบกัน ในขณะทีเ่ รายึดมันเป็นอาชีพ เรารู้ เต็มอกว่า เรายังห่างไกลจากความเป็นมืออาชีพเหลือเกิน เพราะเราอยู่ใกล้ใช่ไหม ใช่ ยิง่ ใกล้ยงิ่ กลัว พ่อใช้พมิ พ์ดดี ทำ�งาน ฉะนัน้ เขาจะอูไ้ ม่ ได้เพราะเสียงเคาะแป้นที่หายไปมันฟ้อง เวลาประกาศ กับลูกๆ ว่า ฉันจะเข้าทำ�งานแล้วนะ ก็ให้นับไปเถอะไม่ เกินห้านาทีหรอก เราจะได้ยินเสียงเคาะพิมพ์ดีด ดังรัว อยู่อย่างต่อเนื่อง กับการมองย้อน ผมเชื่อเลยว่า จังหวะ เคาะแป้นที่ได้ยินนั้น คือแกกำ�ลังไล่ใส่คำ�ให้จินตนาการ ที่ไหลพรวดๆ ออกมาอย่างรวดเร็วชนิดที่ตามกันแทบ จะไม่ทันเลยทีเดียว แต่ก่อนเสียงประเภทนี้ฟังเป็นเรื่อง ธรรมดา จนเมือ่ มาเขียนหนังสือเองถึงได้รวู้ า่ มันคือเสียง ของภาพที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ลื่นไหล และรวดเร็วที่


54 นิตยสารเรื่องสั้น

การแปลมันเป็นเส้นขีดไว้ให้เดิน เราแค่ เดินตามเส้น ฉะนัน้ เมือ่ นัง่ ลงทำ�งานแล้ว หากไม่ขี้เกียจจนเกินไป แผ่นสองแผ่น ต้องได้ ต่างไปจากงานเขียน มันไม่มีเส้น คร่าวๆ กำ�ลังถูกถ่ายทอดสู่ตัวอักษรอยู่ ณ เวลานั้น เวลาเช่นนี้ เองทีน่ กั เขียนจะมีความสุขทีส่ ดุ เขียนหนังสือมาแปด-เก้า ปี ผมเคยได้ผ่านความรู้สึกเช่นนี้บ้างเหมือนกัน แต่น้อย มาก สำ�หรับพ่อนัน้ ดูเหมือนมันจะเกิดขึน้ แทบทุกครัง้ ที่ แกนัง่ ทำ�งาน นัยหนึง่ ก็ดใี จทีไ่ ด้สมั ผัสกับชีวติ การทำ�งาน แบบนี้ อีกนัยหนึ่งก็คิดว่าถ้ากูไม่เคยเห็นเลยว่าโปรเขา ทำ�งานกันอย่างไรจะดีเสียกว่าไหม พล็อตงานเขียนจากไหนบ้างครับ ก็ทั่วๆ ไปครับ โชคดีที่เป็นคนชอบเดินเป๋ไป๋ออกนอกลู่ นอกทางอยูบ่ า้ ง เลยได้เก็บอะไรต่อมิอะไรติดตัวมาเรือ่ ยๆ งานของผาด พาสิกรณ์ มีภาษาแบบโบราณ เป็นสไตล์ ที่ผมไม่ค่อยเห็น ผมได้ความโบราณมาจากย่า แกเป็นไฮโซชาววัง ส่วน ผมเป็นเด็กวชิราวุธใส่ชุดราชปะแตน แกเรียกผมว่าคุณ หลวง และดูจะเอ็นดูและพูดคุยกับผมเป็นพิเศษ ผมน่า จะได้ชุดคำ�ศัพท์เหล่านั้นมาจากย่าส่วนหนึ่ง

งานสำ�นักพิมพ์ พี่ชาติเป็นคนเริ่มต้นชวนให้เปิดสำ�นักพิมพ์ก่อน แต่ อย่างว่านะ ที่พี่ชาติแกว่า เฮ้ยง่าย น่ะ ผมก็ไม่กล้าเชื่อ แกหรอก เพราะแกคือชาติ กอบจิตติ ส่วนผมมันเด็ก ฝึกหัดต๊อกต๋อย แต่แล้วก็มาได้แรงยุกึ่งสนับสนุนจาก เป้ ชาติวุฒิ บุญยรักษ์ เข้าอีกแรงจึงหลวมตัว เขาไม่ได้ บอกว่า ง่าย แต่เขาบอกว่า ไม่ยาก รับรองทำ�ได้พี่ แล้ว เขาก็ช่วยแนะนำ�โรงพิมพ์ แนะนำ�ดีไซเนอร์ให้ ผมเลยได้ เปิดสำ�นักพิมพ์มีนิยายเรื่องเสือเพลินกรงเป็นงานเล่ม แรก (ของสำ�นักพิมพ์) ครับ ผลเป็นอย่างไรบ้าง สำ�หรับเสือเพลินกรงก็ได้รบั การพูดถึงเยอะนะ ต่อมาก็ได้ กระแสจากรางวัลเซเว่นบุ๊คอวอร์ดมาช่วยผลักดันอีก ได้ ออกสือ่ บ่อย แต่ตวั งานเองขายได้ประมาณพันเล่ม คงจะ เป็นเพราะความหนาของมันด้วย หน้าตามันน่ากลัวอยู่


นิตยสารเรื่องสั้น 55


56 นิตยสารเรื่องสั้น


นิตยสารเรื่องสั้น 57

ส่วนงานแปลล่ะครับ งานแปลชิน้ แรกของผมเลยคือเรือ่ ง “เด็กเก็บว่าว” จริงๆ ผมไม่เคยคิดจะทำ�งานแปลเลย แต่ตอนนั้น ณ บ้าน วรรณกรรมเขาอยากเปิด สนพ. แปล เขาอยากให้ผม ลองทำ�เล่มนี้ดู ผมก็คิดว่ามันไม่น่าจะยากอะไร เราใช้ เวลาอ่านสองวันจบ อย่างเก่งกะว่า สองอาทิตย์น่าจะ แปลเสร็จ แต่ในความเป็นจริงแล้วไม่ได้ใกล้กับที่ผมคิด เอาไว้เลย มันยากกว่านัน้ มาก การทีเ่ ราอ่านเข้าใจนัน้ ไม่ ได้หมายความว่าเรามีความสามารถแปลมันออกมาเป็น ภาษาไทยให้สละสลวยได้ แต่มนั ก็คอื การหาเงินอันสุจริต อีกหนทางหนึ่ง เราก็ทำ�ไป ทำ�ไมจึงตัดสินใจแปล ไวท์แฟง ซึ่งเคยมีคนแปลมา ก่อนแล้ว เรือ่ งคนแปลมาก่อนแล้วนัน้ มันคงไม่มคี วามหมายอะไร สำ�หรับผมนะ เพราะผมไม่ใช่ สนพ. ทีเ่ ลือกเรือ่ งนีม้ าแปล แต่ส่วนทำ�ไมถึงตัดสินใจแปล ไวท์แฟงนั้น คำ�ตอบมีอยู่ สามส่วนด้วยกันครับ หนึ่งเงิน, สอง คุณทราย (เจ้าของ สนพ. เรียงรัน) เป็นคนคุยรูเ้ รือ่ ง ทำ�งานด้วยแล้วสบายใจ, และสาม Subject Matter ของชิ้นงานที่ผมไม่ถึงกับ ห่างไกลจนไม่รู้จักเอาเสียเลย (หมาป่า หิมะ อเมริกัน อินเดียนแดง เหล่านี้ผมพอจะคุ้นอยู่บ้าง) สำ�หรับผม สามสิง่ นีค้ อื ปัจจัยสำ�คัญของการทำ�งานแปลนะ ขาดหาย ไปข้อหนึ่งผมคงไม่ทำ�

วิธีการทำ�งานแปลกับเขียนต่างกันมากไหม การแปลมันเป็นเส้นขีดไว้ให้เดิน เราแค่เดินตามเส้น ฉะนัน้ เมื่อนั่งลงทำ�งานแล้ว หากไม่ขี้เกียจจนเกินไป แผ่นสอง แผ่นต้องได้ ต่างไปจากงานเขียน มันไม่มีเส้นคร่าวๆ ขีดไว้ให้เราเดิน ดังนั้นเมื่อเวลาเรานั่งลงทำ�งานแล้ว มัน ไม่มีอะไรจะบอกได้เลยว่า วันนี้เราจะทำ�งานได้ไหม ทำ� แล้ว หากไม่พอใจ จะต้องลบส่วนนี้ทิ้งทั้งหมดแล้วเริ่ม ต้นใหม่หรือเปล่า ง่ายๆ ก็คือ งานแปลมันแน่นอนกว่า ในแง่ของรายได้ แต่งานเขียนมันสนุกกว่าในแง่ที่เรามี อิสระในชิ้นงานนั้นๆ อะไรยากกว่ากันระหว่างงานเขียนกับงานแปล ถ้าให้ตอบง่ายๆ ต้องบอกว่างานเขียนยากกว่าครับ หลังจากนิยายเรื่อง เสือเพลินกรง แล้ว จะมีข่าวดี ให้นักอ่านได้อ่านนิยายเล่มใหม่ของผาดหรือยังครับ ตอนนี้ขอสะสางงานแปลที่ค้างๆ อยู่ให้เสร็จก่อน ปีหน้า ถ้าโลกยังไม่แตก คงมีเรื่องใหม่ให้อ่านครับ


58 นิตยสารเรื่องสั้น


นิตยสารเรื่องสั้น 59

เรื่องสั้น

เท่าที่จำ�ได้ เรื่องโดย ฟองจันทร์

ความทรงจำ�แรก แสบไปหมดทุกส่วนที่เปลือยผ้า ส่วนในร่มผ้านี่ก็อับ เหลือทน เหม็นกลิ่นเหงื่อตัวเอง เหม็นกลิ่นขี้หมาข้าง ทาง ไอ้สัญญาณไฟระยำ�ไม่ยอมเขียวสักที มันบังคับให้ กูต้องดมกลิ่นขี้ข้างทาง แสงแดดแนบเนือ้ จนเกือบเกรียม ความร้อนจาก ธรรมชาติ รมควันโดยไอเสียรถเมล์ ความร้อนจากมนุษยชาติ อีกนิดเดียว เนื้อกูคงอร่อยน่าเอามาเคี้ยวกิน ฤดูร้อนปีนี้มันร้อนบรรลัย ร้อนยิ่งกว่าฤดูหนาว ร้อนจนอยากจะเอาปืนไล่ยิงพระอาทิตย์ให้แตกดับหรือ ไม่กส็ ั่งให้ไอ้โลกอ้วนจอมขีเ้ กียจนัน่ พลิกตัวเร็ว ๆ หน่อย อีกข้างเขาจะได้โดนแดดบ้าง ไอ้อดื อาด ใช้เวลาตัง้ ครึง่ วัน ใครติดต่อสวรรค์ได้วานบอก มึงบงการดินฟ้า อากาศได้แย่มาก นั่นไง ไฟเหลืองสักที

“เมาชิบหา…” ย.ยักษ์ ถูกเสียงลมพัดหายไป เมือ่ สองคนบนมอเตอร์ไซค์เคลือ่ นเข้าหาลมด้วยความเร็ว พร้อม กับคนอีกสามสี่หรือมากกว่านั้นบนถนน ซึ่งทั้งหมดไม่รู้ จักกับสองคนแรก และไม่มใี ครถูกลมพัดเอาอะไรหายไป “ไม่ได้ยิ๊น! ” คนซ้อนท้ายตะโกนบอก ทั้งลมและ หมวกกันน็อกที่ครอบหูคนทั้งสองกีดขวางการเดินทาง ของวัจนภาษา “บอกว่าเมา เมาโว้ย! ได้ยินหรือยัง” คนขับหัน ไปตะคอก “เออ มึงไม่เมาหรอก ขับไป” คนซ้อนบอกอย่าง ไม่ไยดี สารถีทำ�หน้าที่ต่อไป เขากินมากี่ขวด กี่กลม กี่ แบน กี่แก้ว…จำ�ไม่ได้เลย จำ�ได้แค่เมา เมามากด้วย ไม่ ไหวแล้ว เขารู้สึกอยากจะอ้วก ร้อนด้วย “จอดก่อนนะ” คนข้างหน้าตะโกนบอก สุดจะทน “จอดทำ�ไม” “กูจะ…” มีเสียงดังคล้ายๆ เสียงน้ำ�สาดและ


60 นิตยสารเรื่องสั้น

คนขาดอากาศหายใจ มันดังใกล้มาก อยู่ตรงหน้านี่เอง เศษอาหารและน้ำ�ในท้องทะลึ่งขึ้นมาสุดคอหอย ร่างนั้น พยายามเต็มกำ�ลังที่จะอมทั้งหมดไว้ แต่แรงดันก็มาก เหลือกลืน มันพุ่งพรวดออกมาเหมือนท่อประปาแตก กระแทกกับกระจกของหมวกกันน็อกแบบเต็มใบ ของเหลวไหลย้อยลงมา เห็นชัดเมื่อชโลมอยู่บน แจ็คเก็ตสีด�ำ ลมร้ายกระหน่�ำ ตีเศษส่วนทีเ่ หลือเผือ่ ไปถึง คนซ้อนบ้าง “ไอ้ชั่ว! ” คนซ้อนสบถ “มึงแอบกินลูกชิ้นกู”

ส่วนที่สอง ก่อนหน้านัน้ จำ�ได้ว่าไม่รอ้ นขนาดนี้ อาจเพราะนัง่ อยู่ ในห้องทีม่ เี ครือ่ งปรับอากาศ แต่ทว่ามันไม่ได้เปิด จึงตอบ ไม่ได้วา่ เพราะอะไร ก่อนหน้านัน้ จึงจำ�ได้วา่ ไม่รอ้ นขนาดนี้ เสียงแก้วกระทบกันดังกริ๊กกรั๊ก ใส่จินตนาการ เข้าไปฟังดูคล้ายเสียงโมบายทีแ่ ขวนอยูห่ น้าบังกะโลริมทะเล “ชนอีก! ” เสียงแก้วกระทบกันดังกริ๊กกรั๊ก ใส่ จินตนาการเข้าไปฟังดูคล้ายเสียงโมบายที่แขวนอยู่หน้า บังกะโลริมทะเล “ชนอีก ๆ ๆ ๆ ” เสียงแก้วกระทบกันดังกริ๊กกรั๊ก – “พอเถิด…แก้วกูร้าวหมดแล้ว จะชนอะไรกัน นักหนา” ก็เสียงแก้วกระทบกันดังกริก๊ กรั๊ก ใส่จนิ ตนาการ

เข้าไปฟังดูคล้ายเสียงโมบายที่แขวนอยู่หน้าบังกะโลริม ทะเล” เจ้าของแก้วร้าวส่ายหัว ลุกขึน้ เดินไปหน้าบังกะโล คนที่ชอบเสียงแก้วกระทบกันดังกริ๊กกรั๊ก ใส่จินตนาการ เข้าไปฟังดูคล้ายเสียงโมบายที่แขวนอยู่หน้าบังกะโลริม ทะเลเดินตามไป ทั้งสองนั่งลงบนเก้าอี้เอน ทอดสายตาไปสู่ทะเล กว้าง ความเวิ้งว้างอยู่ตรงนั้น…ลมทะเลพัดมา จำ�ได้ รางๆ แล้วว่าทำ�ไมก่อนหน้านั้นจำ�ได้ว่าไม่ร้อนขนาดนี้ มีเสียงดังกริ๊กกรั๊กจากโมบายที่แขวนอยู่หน้าบังกะโล คนแก้วร้าวโล่งใจได้ว่าแก้วของเขาจะยังอยู่ในสภาพนั้น จนกว่าลมจะหยุดพัก

คืนไหนสักคืน ในห้องเช่า – บน ฟูกบางราคาถูก – เขาโอบเธอไว้ ในอ้อมแขนด้วยความเคยชิน ประสาคนที่อยู่กินกันมา สิบเอ็ดปี ก่อนจะนึกขึน้ ได้วา่ เรือนร่างนัน้ คือนางโสเภณีที่ เขาเพิง่ มาหาเมือ่ ไม่กชี่ วั่ โมงก่อน คิดได้ดงั นัน้ จึงลุกขึน้ ใส่ เสือ้ ผ้าในความมืด กลัดกระดุมผิดเม็ด ความยุง่ ยากเร่งเร้า ให้เขาเปิดไฟ เมื่อความสว่างฉาบห้องนี้ไว้ เขาก็พบว่า กูกลับมาบ้านแล้วนี่หว่า ถึงว่ายังนอนอยู่อีก ปกติรีบเอาตังค์แล้วรีบไปนะเนี่ย


นิตยสารเรื่องสั้น 61

เขานึกขำ�ตัวเอง ถอดเสื้อออกแล้วล้มตัวลงนอน สักพักหนึง่ จึงนึกขึน้ ได้วา่ ก็เขาแต่งงานกับมันแล้วนีห่ ว่า แม่โสเภณีคนนั้น 11 ปีเชียวนะโว้ย! “ถึงว่ายังนอนอยู่อีก”

ความทรงจำ�ระหว่างนี้ เขานึกไม่ออกว่าทำ�ไมตัวเองจึงมานอนอยูโ่ รงพยาบาล เหตุการณ์ทั้งมวลที่หวนนึกกลับไปไม่มีสิ่งใดเชื่อมโยง ระหว่างเขากับทีน่ ี่ เขาไม่แน่ใจว่าเรือ่ งใดเกิดขึน้ ก่อนหลัง 1. เขาทะเลาะกับเมียในคืนนั้น แล้วไปหาเพื่อน ขับรถจนอ้วกแตกก่อนไปต่อที่บังกะโล เพื่อนอาจโมโหที่ เขาทำ�แก้วร้าว หรือขโมยลูกชิ้นกิน

2. เขาอยู่ที่บังกะโลอยู่แล้ว ก่อนจะขับรถจนอ้วก แตกโดยมีเพื่อนตามมาส่งจนถึงบ้าน เขาตื่นขึ้นมาแล้ว เพ้อพูดอะไรบางอย่าง เขาอาจถูกเมียตัวเองทำ�ร้าย หรือ 3. บนถนนในเที่ยงวันนั้น เขามองไม่เห็น อะไรนอกจากอ้วกบนหมวกกันน็อก มันอาจทำ�ให้เขา เกิดอุบัติเหตุ ใช่ ตอนแรกเขาคิดว่าอย่างหลังน่าจะมีโอกาส เป็นไปได้มากที่สุด แต่ทำ�ไมในห้องนี้จึงไม่มีวี่แววของ เพื่อนเขา หรือมันอาจไม่ใช่ทั้งหมด…เขายังคงครุ่นคิด ด้วยสายตาเลื่อนลอย ภาพเหตุการณ์ต่างๆ แวะเวียน เข้ามาเยี่ยมเยียนในหัว ภาพแล้ว ภาพเล่า แต่ไม่มีภาพ ใดเลยที่จะบอกว่าเขามานอนอยู่ที่นี่ได้อย่างไร ช่างน่าเวทนา เขานอนคิดอยูอ่ ย่างนีม้ าหลายปีแล้ว


62 นิตยสารเรื่องสั้น


นิตยสารเรื่องสั้น 63

เรื่องสั้น

พรุ่งนี้พวกเราจะไม่ดำ�รงอยู่ เรื่องโดย ธีรัช หวังวิศาล

1-1 ฉันเขียนคำ�ว่า Existence ลงบนกระดาษ กระดาษของฉันสีขาว เฉกเช่นผิวเปลือยเปล่า ของฉัน เขาไม่อยู่ในห้องแล้ว เขาจากไปเงียบๆ ในห้อง เงียบๆ กระบวนการไม่ด�ำ รงอยูข่ องเขา – เกิดขึน้ เงียบๆ สมุด ปากกา ถ้วยชา โทรศัพท์ ทุกอย่างยังถูก จัดวางในสภาพเดิมไม่ผิดเพี้ยน, มีเพียงเขาที่สาบสูญ

2-1 มันเริ่มขึ้นอย่างเงียบเชียบ ไร้สัญญาณเตือนใดๆ แสงแดดจัดจ้าช่วงปลายเมษา ส่องลงมาอย่าง ไร้ความปรานี ขณะที่ผมนอนเกลือกกลิ้งอยู่บนเตียง ใน อาการกึ่งหลับกึ่งตื่น กึ่งจริงกึ่งฝัน ผมสูดกลิ่นหอมของ หญิงสาวที่เคยนอนอยู่ข้างๆ ภาพเมือ่ คืนช่างสลัวเลือนรางราวกับเม็ดฝนแห้ง ระเหย ความทรงจำ�ถูกฉายซ้ำ�อีกครั้ง ภาพชายหนุ่มที่ หน้าตาเหมือนผมไม่มีผิด นั่งเคียงกับหญิงสาวบนเบาะ

หลังของรถแท็กซี่ แสงไฟเบลอๆ ในฉากหลัง กลิน่ น้�ำ หอม ละมุน เพลงแจ๊สนุม่ ๆ ในความมืดของเบาะหลังนัน้ หญิง สาวซบไหล่ของชายหนุ่มแล้วหลับไป ตัดภาพไป คราวนีผ้ มเห็นห้องพัก – เหมือนห้องๆ นีไ้ ม่มผี ดิ มันเป็นห้องพักของรีสอร์ตริมทะเล ตกแต่งเรียบ ง่ายแบบโมเดิร์น สีขาวแลดูสะอาดตา ห้องพักมีระเบียง เราสองคนจึงเปิดระเบียงรับลมจากภายนอก สูดกลิ่น อายของเกลียวคลื่น ดาวนับล้านบนฟ้าพากันจับจ้องเรา สอง, จุดเล็กๆ สองจุด บนจุดดาวเล็กๆ กลางจักรวาล ภวังค์ของผมถูกรบกวน เสียงน้ำ�ปลุกผมให้ตื่น โดยสัมบูรณ์ ผมมองไปรอบๆ ห้องพัก เธอกำ�ลังอาบน้�ำ หญิงสาวคนเดียวกับภาพยนตร์ ที่ฉายเมื่อครู่ ผมแน่นิ่งอยู่บนเตียงเช่นนั้น แม้สติจะตื่น แต่ยัง ไม่มีวี่แววของการลุกขึ้นทำ�กิจวัตร เข็มนาฬิกาหมุนไป หนึง่ ชัว่ โมง สองชัว่ โมง สาม ชั่วโมง สี่ชั่วโมง หญิงสาวยังคงไม่ออกจากห้องน้ำ� ขณะ ที่เสียงน้ำ�ยังคงดังสม่ำ�เสมอ ความกระวนกระวายฉุดผมให้ลุกขึ้นจากเตียง และจูงเท้าผมมาหยุดหน้าประตู ผมเปิดประตูเข้าไป


64 นิตยสารเรื่องสั้น

... ณ ที่ๆ เคยมีหญิงสาวยืนเปลือยใต้ฝักบัว บัดนี้ เหลือเพียงความว่างเปล่า

1-2 บนเตียงที่เขาเคยนอนอยู่ บัดนี้เหลือเพียงความว่าง เปล่า ฉันก้าวออกจากห้องน้�ำ ห่มคลุมร่างบอบบางด้วย ผ้าเช็ดตัว มองสำ�รวจไปรอบๆ ห้องที่ไม่มีใคร ฉันใช้เวลาหมดวันไปกับการเค้นถามพนักงาน ผู้ จัดการรีสอร์ต แม่บา้ น แขกทุกรายทีเ่ ข้าพัก ไม่มใี ครบอก ได้ว่าเขาหายไปไหน หรือหายไปได้อย่างไร ราวกับล่องหนไปในอากาศ หรือเขาจะไม่เคยดำ�รงอยูต่ งั้ แต่แรก? ฉันคิดขณะ จารึกคำ�ว่า Existence ลงบนกระดาษขาว ตัวตนและการ ดำ�รงอยู่ของฉันอาจไม่มีอยู่จริง เขาก็เช่นกัน ชีวิตที่ผ่าน มาอาจเป็นเพียงภาพหลอนระยะสั้น ที่ใครบางคนจงใจ เล่นตลกกับม้วนฟิล์มในสมองเรา เช่นนัน้ แล้วเราทุกคนก็เป็นเพียงคนเหงานับล้าน ที่บังเอิญมาอาศัยอยู่บนดาวดวงเดียวกัน ... เกลียวคลื่นไม่ยอมตอบคำ�ถามใดๆ เม็ดทราย ก็เช่นกัน ฉันโยนคำ�ถามนับล้านใส่ กลับได้เพียงลมเค็มๆ เป็นคำ�ตอบ ไม่รวู้ า่ ฉันนอนอยูท่ รี่ ะเบียงริมหาดนัน้ นานแค่ไหน เวลาผ่านไป กี่ชั่วโมง กี่วัน ประสาทของฉันไม่ รับรู้สิ่งใดๆ แล้วอะไรบางอย่างก็เกิดขึ้น

2-2 ผมตื่น อะไรบางอย่างกำ�ลังเกิดขึ้น ช้าๆ แต่หนักแน่น ห้าวันก่อน หลังจากหญิงสาวได้สาบสูญไป ผมไล่

ถามทุกคนที่เมืองริมหาดนั้น ไม่มีใครรับรู้การหายตัวไป ของเธอเลยสักคน ภาพสุดท้ายที่พวกเขาเห็นคือนักท่อง เที่ยวสองคน ชายหนุ่มสวมใส่เสื้อยืด มีเฮดแบนด์บนหัว กับหญิงสาวในชุดกระโปรงสีเอิร์ธโทน ทั้งสองลงจาก แท็กซี่ เข้าพักที่รีสอร์ตในคืนนั้น นั่นคือเรื่องเล่าทั้งหมด ผมตื่น, อีกครั้ง ทุกเช้าจะมีเสียงจากห้องข้างๆ เสียงเด็กๆ เล่น น้�ำ ทะเล เสียงหัวเราะคิกคักของกลุม่ แม่บา้ นขีน้ นิ ทา ทว่า วันนี้ ทุกอย่างดูเงียบผิดปกติ ไม่มีสรรพเสียงใดๆ เลย ผมแต่งตัว ล้างหน้าเพื่อปลุกตัวเองให้ตื่น การสำ�รวจอาณาบริเวณเริม่ จากระเบียงห้องพักชัน้ สาม ไล่ลงบันได สู่ล็อบบี้ชั้นล่างสุด แล้วไปจบที่ดาดฟ้า ไม่มีใครเลยจริงๆ ความเงียบที่ผมกำ�ลังเผชิญอยู่ เป็นความเงียบ ของจริง ความเงียบของการไม่มสี งิ่ ใดหลงเหลืออยูอ่ กี แล้ว หลังจากเดินสำ�รวจไปไกลถึงเขตตัวเมือง ผมจำ� ต้องละทิ้งความหวังจนหมดสิ้น เมืองที่เคยคึกคักในคืน ที่ผมมาถึง บัดนี้ไม่เหลือกระทั่งเงาของสิ่งมีชีวิต ที่แปลกคือทุกอย่างดูปกติดี บ้านเมืองยังแลดู สะอาดเรียบร้อย ไม่มีวี่แววของการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ใดๆ ราวกับว่า ทุกคนแค่เพียงสวมผ้าคลุมล่องหนใส่กันและ กัน เท่านั้นเอง ผมกลับมาถึงห้องพักในช่วงเย็น อาหารค่ำ�ถูกจัด วางไว้ในห้อง แต่ไม่มีวี่แววของแม่บ้าน ผมลงมือจัดการ กุง้ สองตัว ปลาอีกสองสามคำ� แล้วปิดท้ายด้วยไวน์ เสียง คลื่นทะเลซัดฝั่ง ยังคงไม่มีสรรพเสียงของมนุษย์


นิตยสารเรื่องสั้น 65

เป็นมื้อค่ำ�ที่เหงาที่สุดในโลก

1-3 ฉันอยู่คนเดียวมาหลายเดือนแล้ว ทีน่ ไี่ ม่มใี คร เป็นรีสอร์ตทีเ่ งียบสงบดี มีเสียงคลืน่ ลมเป็นเพื่อน แต่ขอย้ำ�ว่า – ไม่มีใคร

2-3 ผมอยู่ที่นี่มาหลายเดือนแล้ว ที่นี่ไม่ได้มีแต่ผม เป็นรีสอร์ตที่มีทั้งผู้จัดการ พนักงาน และแขกมากมาย แต่ไม่มีใครเห็นกันและกัน ผมไม่รู้ว่ามันเกิดขึ้นได้ยังไง – หรือเพราะอะไร แต่หลังจากเห็นเศษกระดาษที่เขียนคำ�ว่า Existence ด้วยลายมืออันคุ้นเคย ผมก็เริ่มจะเข้าใจอะไรๆ มากขึ้น เธอไม่ได้หายไปไหน, เธอยังอยู่ที่นี่ ผมไม่เห็นเธอ เธอไม่เห็นผม เหมือนกับทีแ่ ม่บา้ น ไม่เห็นเรา เราไม่เห็นผู้จัดการ เด็กๆ ห้องข้างๆ ไม่เห็น พ่อแม่ ชาวเมืองไม่เห็นกันและกัน นี่อาจนับเป็นจุดสิ้นสุดของมนุษยชาติ หรือ วิวัฒนาการขั้นใหม่ แล้วแต่มุมมองของคุณ ลองคิดดูสิ เราไม่จำ�เป็นต้องเห็นตัวกันอีกต่อ ไป มนุษย์ไม่สามารถสัมผัสกายกันได้อีกแล้ว จะไม่มี การทำ�ร้ายกัน ความรุนแรง อาชญากรรม สงคราม ทุก อย่างจะหายสาบสูญไปหมด ม้แต่การดำ�รงอยู่ของเรา ก็จะมีเพียงตัวเรา เท่านั้นที่รับรู้

ผมยิ้ม พาตัวเองลงสู่ภวังค์อีกครั้ง แวบนั้น เสียงเพลงเอื่อยๆ จากลำ�โพงก็ลอยมา

1-4 ฉันไม่เหงาอีกต่อไปแล้ว เพราะเขายังอยูข่ า้ งๆ ฉันเสมอ ฉันเปิดเพลงจากสเตอริโอในห้องพัก บัลลาดนุ่ มๆ ถูกขับกล่อมอย่างอ่อนโยน ฉันทิง้ ตัวลงนอนบนเตียง สัมผัสทีข่ า้ งกายบอกว่า เขากำ�ลังโอบกอดร่างฉันอย่างแผ่วเบา น้ำ�ตาแห่งความ ปิติรินไหล แม้เราจะมองกันไม่เห็น แต่ความอบอุ่นและ อุณหภูมิจากอ้อมกอดของเขา ก็ยังอุตส่าห์ส่งผ่านมาถึง ตัวฉันได้ เป็นอุณหภูมิเดียวกันกับสัมผัสแรกของมือชาย หนุ่ม ที่ชานชาลาสถานีรถไฟฟ้าในคืนนั้น เรานอนบนเตียงเดียวกัน ณ จุดเล็กๆ บนดวงดาว ที่ทุกคนมองกันไม่เห็น ‘การดำ�รงอยู่ของคุณ ทำ�ให้ผมยังระลึกถึงการ ดำ�รงอยู่ของตนเอง’ เสียงกระซิบช่างแผ่วเบา เหมือนลอยมาจากอีก ซีกโลกอันแสนไกล ฉันพยักหน้าเบาๆ เสียงเพลงค่อยๆ รางเลือน เส้นประสาทของพวกเรากำ�ลังจะหยุดทำ�งาน เพื่อเข้าสู่ โหมดที่เราไม่จำ�เป็นต้องรับรู้ถึงสิ่งใดอีกต่อไป ห้วงคำ�นึงสุดท้ายเป็นภาพเราสองคนบนเเท็กซีใ่ น คืนนั้น ช่วงเวลาแสนสั้น แต่เปี่ยมด้วยคำ�พูดที่ไม่จำ�เป็น ต้องเอื้อนเอ่ย ช่วงเวลาที่กำ�แพงบางอย่างถูกทลายลง ความรู้สึกสงบประหลาด – คล้ายเติมเต็ม ช่วง เวลาที่เรารับรู้การดำ�รงอยู่ของกันและกันอย่างแท้จริง แล้วทุกอย่างก็มืดลง


66 นิตยสารเรื่องสั้น


นิตยสารเรื่องสั้น 67

เรื่องสั้น

ไอ้ลูกลิง เรื่องโดย วราห์ชา

ผมเคยได้ยินเรื่องเล่ามากมายเกี่ยวกับ ‘เฮีย’ ไม่ว่า จะเป็นเรือ่ งวีรกรรมของเฮียในวัยหนุม่ ตัง้ แต่สมัยเริม่ เข้า วงการใหม่ๆ เรื่องความเลือดร้อนไม่กลัวตายหรือเรื่อง ความมีน้ำ�ใจของเฮียที่สามารถซื้อใจลูกน้องได้ทุกคน เฮียเป็นผู้ชายรูปร่างสมส่วน ผิวดำ�แดง หน้าตาคมเข้ม ไร้หนวดเครา อายุของเฮียเท่าที่ผมรู้มาน่าจะประมาณสี่ สิบต้นๆ ผู้ชายคนนี้ไม่มีชื่ออื่นใด แต่หากมีก็คงไม่มีใคร เคยรู้ นานมาแล้วที่เจ้าพ่อในท้องถิ่นนี้ถูกเรียกสั้นๆ ว่า ‘เฮีย’ ซึ่งอาจเปรียบได้ว่าเป็นตำ�แหน่งสูงสุดของชายผู้มี คนยำ�เกรงมากที่สุด

ผม กับ เฮีย ผมยังจำ�วันแรกที่เจอเฮียได้ดี ในตอนนั้นผมมีอายุ ราวๆ สิบเอ็ดถึงสิบสองปี บ้านของผมอยูใ่ นชุมชนแออัด ทีเ่ ต็มไปด้วยสารพัดอบายมุข เพือ่ นรุน่ ราวคราวเดียวกับ ผมบางคนเริ่มสูบบุหรี่แล้ว ไอ้ที่หนักกว่านั้นก็มีดมกาว หรือติดยาเสพติดกันไปเลย เมื่อนึกย้อนกลับไป ผมยัง แปลกใจที่ตัวเองในตอนนั้นไม่ได้สนใจหรือว่าลองอะไร แบบเพือ่ นๆ เลย ผมอาศัยอยูใ่ นอะไรสักอย่างทีไ่ ม่สามารถ เรียกได้อย่างเต็มปากว่าบ้าน เพราะมันดูเหมือนเศษไม้ กับเศษป้ายหาเสียงเก่าๆ ทีเ่ อามารวมๆ กันเพือ่ กันแดด กันฝนและซุกหัวนอนให้ผ่านพ้นไปวันๆ ซ้ำ�ร้ายในนั้นยัง ไม่มที งั้ พ่อและแม่ จะมีกแ็ ต่สน้ ตีนกับฝ่ามือหยาบๆ ของ น้าชาย ผมจำ�หน้าตาของน้าไม่ได้เลย แต่กลับจำ�รสชาติ

ของทัง้ ฝ่ามือและฝ่าตีนคูน่ นั้ ได้อย่างแม่นยำ� นัน่ อาจเพราะ ผมโดนน้าใช้เป็นกระสอบทรายเอาไว้ระบายอารมณ์มา ตั้งแต่จำ�ความได้ วันนั้นฝนตก น้าคงไปหงุดหงิดเรื่องอะไรมา เหมือนเคย ถึงได้กลับเข้ามาพร้อมกลิ่นเหล้าขาวราคา ถูกที่ส่งกลิ่นเหม็นคลุ้งไปทั่ว มาถึงก็ไม่พูดพร่ำ�ทำ�เพลง ประเคนหมัดใส่กกหู ของผมที่กำ�ลังนั่งรอตั้งการ์ดอยู่แล้ว แต่ถึงกระนั้นด้วย ความแรงของหมัดก็ทำ�ให้ผมถึงกับเซจนล้มลง น้าลาก ผมออกมากระทืบข้างนอก ผมปัดป้องได้บ้างไม่ได้บ้าง ท่ามกลางสายฝนที่ตกลงมาจากฟ้าผมมองไม่เห็นอะไร เลย ทุกอย่างเป็นภาพเบลอๆ ไปหมด ‘เฮ้ย! หยุดเถอะ สงสารเด็กมัน’ เสียงหนึ่งดัง ขึ้น ทำ�ให้น้าผมหยุดชะงัก นี่คือเรื่องแปลกเรื่องที่หนึ่ง เพราะเป็นที่รู้กันดีว่าในชุมชนแออัดจะไม่มีใครยุ่งเรื่อง ของใคร ฉะนั้นภาพผู้ชายตบผู้หญิง ผู้ใหญ่กระทืบเด็ก หรือวัยรุ่นกำ�ลังข่มขืนยายแก่ จึงเป็นภาพที่ผมเห็นจน ชินตา พฤติกรรมเหล่านั้นจะเกิดขึ้นและดับไปโดยที่ไม่ เคยมีใครเข้าไปขัดขวาง น้าผมตวาดกลับเสียงดังได้ เพียงประโยคเดียวก็เสียงอ่อนลงเมื่อได้เห็นว่าคนที่เข้า มาห้ามนั้นคือเฮีย ฝนยังคงตกลงมาอย่างไม่ขาดสาย ตอนนั้นผม เห็นหน้าเฮียไม่ค่อยชัด รู้แต่เพียงว่ามีผู้ชายอีกสองสาม คนกำ�ลังยืนตกลงอะไรบางอย่างกับน้าของผมอยู่ ในขณะ ทีเ่ ฮียเดินกางร่มเข้ามานัง่ ใกล้ๆ ผมทีก่ ำ�ลังนอนคุดคูอ้ ยู่


68 นิตยสารเรื่องสั้น

ด้วยความเจ็บ ‘ไอ้หนู เอ็งชือ่ อะไรวะ’ ผมยังไม่ทนั ได้ตอบ อะไรออกไป เฮียก็พูดตัดบทขึ้นมา ‘ลืมชื่อของเอ็งซะ ต่อ ไปนี้ข้าจะเรียกเอ็งว่า ‘ไอ้ลูกลิง’ ตั้งแต่วันนั้นใครๆ ก็พากันเรียกผมว่าไอ้ลูกลิง ผมมารู้ภายหลังว่าเฮียจ่ายเงินก้อนหนึ่งให้กับน้า เพื่อ ที่จะเอาผมเข้ามาทำ�งานด้วย งานของเฮียที่ผมเคยทำ� เป็นงานง่ายๆ และผมก็ได้รู้จักกับบรรดาลูกน้องคนอื่น ของเฮียอีกหลายคน ในวงเหล้าประจำ�กลุม่ เรือ่ งวีรกรรม ของเฮียมักถูกหยิบยกขึน้ มาพูดเสมอ ซึง่ คนเปิดประเด็น จะเป็นใครไปไม่ได้นอกจากพี่เหลิม

พี่เหลิม พีเ่ หลิม เปรียบเสมือนมือขวาของเฮีย พีเ่ หลิมเป็นคน รูปร่างอ้วนใหญ่ เสียงดังโวยวาย ไว้หนวดแบบฮิตเลอร์ คนที่แกมักจะบอกว่าเป็น บุคคลในดวงใจของแกอยูเ่ สมอ เอกลักษณ์อกี อย่างหนึง่ ของแกก็คอื ชอบใส่แว่นดำ�ไม่เว้นแม้กระทัง่ ในเวลากลาง คืน พี่เหลิมคือฝ่ายบู๊ คอยทำ�หน้าที่เป็นมือตีนให้กับเฮีย มาตั้งแต่ยุคสมัยแรกๆ “พวกมึงรู้มั้ย เฮียแม่งโคตรใจ เลย แม่งบุกเดี่ยวเข้าไปยิงเฮียเม้งถึงในบ้าน” พี่เหลิมดู เหมือนจะชอบเล่าวีรกรรมของเฮียตอนนีม้ ากทีส่ ดุ ตัง้ แต่ ผมได้เข้ามาทำ�งานอยู่ที่นี่ผมฟังเรื่องนี้มาแล้วไม่ต่ำ�กว่า ยี่สิบสามสิบรอบ เรียกได้ว่าฟังจนพูดประโยคต่อไปของ แกได้เลยล่ะ “พวกมึงก็รู้ เมื่อก่อนเฮียเม้งแม่งคุมแถวนี้ ทั้งหมด ลูกน้องแม่งมีเพียบ แต่ละตัวแม่งแจ่มๆ ทั้งนั้น แม่งยังเอาตัวไม่รอด เพราะอะไรรูม้ ยั้ ก็เพราะเฮียของพวก เราแม่งเจ๋งกว่าไงล่ะ ฮ่าๆๆๆ” พี่เหลิมหัวเราะเสียงดัง ก่อนจะยกแก้วเหล้าขึ้นแล้วกระดกรวดเดียวหมด “กูฟัง เรื่องนี้มารอบนี้เป็นรอบที่ร้อยยี่สิบได้แล้วมั้งเนี่ย ไอ้เห ลิม” พี่เอกพูดแซวขึ้นมา

พี่เอก พีเ่ อก เป็นหัวหน้าของสายงานฝ่ายขายทัง้ หมด ตอน ผมมาทำ�งานกับเฮียครัง้ แรกผมก็เริม่ งานกับพีเ่ อกนีแ่ หละ พีเ่ อกเป็นคนรูปร่างผอมชนิดทีเ่ รียกว่าหนังหุม้ กระดูก ขอบ ตาของแกดำ�คล้�ำ อยูต่ ลอดเวลา พีเ่ อกไว้ผมทรงเดียวคือ สกินเฮด แกจะรู้สึกรำ�คาญมากถ้าผมของแกยาวขึ้นจาก เดิมแม้เพียงเซนฯ เดียว นั่นจึงเป็นสาเหตุที่ทำ�ให้แกใช้ เวลาส่วนใหญ่อยูห่ น้ากระจกเพือ่ คอยสังเกตดูผมของตัว เองอยูท่ กุ วัน โดยทีม่ อื ขวาของแกจะถือกรรไกรไว้เตรียม พร้อมอยูเ่ สมอ พีเ่ อกเป็นคนทีเ่ ฮียไว้วางใจมาก เงินทัง้ หมด ที่ได้จากงานขายจะผ่านมือของพี่เอกไม่ต่ำ�กว่าหลักแสน ต่อวัน ก่อนทีจ่ ะถูกส่งต่อไปยังเจ้าของเงินทีแ่ ท้จริงซึง่ นัน้ ก็คือเฮียนั่นเอง เด็กทุกคนที่เข้ามาทำ�งานกับเฮียเริ่มต้น จากงานเล็กๆ อย่างงานขายแบบนี้ก่อนจะขยับขยายไป เป็นอย่างอื่นซึ่งก็แล้วแต่บุญกรรมจะพาไป เฮียเคยบอก กับผมว่าการจะดูสนั ดานคนนัน้ ง่ายนิดเดียว แค่โยนงาน ให้มนั ไปสักรอบสองรอบแค่นนั้ เราก็จะสามารถรูไ้ ด้แล้วว่า ใครมีสันดานเป็นอย่างไร เด็กที่เข้ามาเริ่มงานส่วนใหญ่ ล้วนแต่เป็นเด็กที่มีปัญหาทั้งสิ้น บ้างเคยเสพยามาก่อน บ้างก็ไม่เคย แต่เมือ่ ได้รบั งานก้อนใหญ่ให้ไปจัดสรรรับผิด ชอบจากทีไ่ ม่เคยเสพก็กลายมาเป็นทัง้ ผูข้ ายและผูเ้ สพ พี่ เอกกับเฮียไม่เคยว่าหากใครจะเสพยา ประเด็นหลักคือแค่ เอาเงินมาเคลียร์ให้ครบตามเป้า ผมเคยเห็นรุน่ พีค่ นหนึง่ ทีเ่ อางานไปแล้วเอาเงินมาเคลียร์ให้พเี่ อกไม่ครบ ครัง้ แรก พีเ่ อกไม่ได้วา่ อะไรแต่กลับโยนงานให้ไปในจำ�นวนทีม่ ากก ว่าเดิมอีกเท่าหนึง่ เมือ่ ถึงกำ�หนดครบเวลารุน่ พีค่ นเดิมก็ ยังเอาเงินมาเคลียร์ได้ไม่ครบตามจำ�นวนอีก สิ่งที่พี่เอก ทำ�ก็แค่หยิบปืนขึน้ มาแล้วยิงรุน่ พีค่ นนัน้ นัน่ เป็นครัง้ แรก ทีผ่ มเห็นคนถูกยิง รุน่ พีค่ นนัน้ ร้องครวญครางด้วยความ เจ็บปวดพร้อมกับยกมือไหว้ออ้ นวอนขอชีวติ ก่อนเสียงปืน จะดังขึ้นอีกหนึ่งครั้ง แล้วทุกอย่างก็เงียบสงบลง ไม่ใช่ทุกคนที่ต้องมาจบชีวิตลงแบบนี้ เด็กรุ่น เดียวกับผมส่วนใหญ่มักจะติดคุกมากกว่า อีกหลายสิบ ปีนั่นแหละกว่าจะได้ออกมาสู่โลกภายนอกอีกครั้ง ไม่มี


นิตยสารเรื่องสั้น 69

ใครกล้าปากโป้งถึงที่มาของงาน หากโดนตำ�รวจจับ เพราะทุกคนรู้ดีว่าการทำ�แบบนั้นเหมือนกับการขุดหลุม ฝังศพให้กับตัวเอง

พี่แดง พี่แดงมักจะสวมหมวกแก๊ปทับผมที่ยาวจนถึงกลาง หลังของแกอยู่เสมอ พี่แดงเป็นคนไม่ค่อยพูด แกชอบ ฟังคนอื่นในวงพูดแล้วก็ยิ้มน้อยยิ้มใหญ่ของแกอยู่อย่าง นั้น ใครหลายคนบอกว่าพี่แดงเป็นคนเสียงดี ร้องเพลง ลูกทุ่งได้เพราะมาก เมื่อถูกเด็กรุ่นใหม่ๆ รบเร้ามากเข้า แกก็มักจะตอบเด็กพวกนั้นไปว่า ‘พี่ไม่ร้องเพลงตอนดื่ม เหล้า’ ผมมารูใ้ นภายหลังตอนทีม่ โี อกาสได้ทำ�งานร่วมกัน ว่าพี่แดงจะร้องเพลงเวลาเดียวนั่นคือช่วงก่อนจะลงมือ เก็บเป้าหมาย เป็นที่รู้กันว่าพี่แดงเป็นมือวางอันดับหนึ่ง ในบรรดามือปืนมากมายที่เฮียไว้วางใจและมอบหมาย งานสำ�คัญให้ทำ�อยู่เสมอ นั่นเพราะพี่แดงไม่เคยทำ�งาน พลาดให้เฮียต้องเหนื่อยหาคนกลับไปเก็บเหยื่ออีกเป็น ครั้งที่สอง ‘พี่เป็นหนุ่มลุ่มเจ้าพระยา ล่องเรือไป...ขายค้า เดินทางมาหลายร้อย...กิโล สายัณห์คล้อยต่�ำ ลอยลำ�ถึงปากน้�ำ โพ หันหัวเรือ ล่ามโซ่ ค้างปากน้ำ�โพ..สักคืน’ พีแ่ ดงครวญเพลงเสียงดังกังวานในตอนทีเ่ ราทัง้ สองคนนัง่ หย่อนเบ็ดอยูใ่ นบึงทีเ่ ปิดให้บริการตกปลา ผม ไม่มีโอกาสได้ฟังพี่แดงร้องเพลงจนจบเพราะเป้าหมาย ของพวกเราขับรถออกมาจากบ้านที่อยู่ฝั่งตรงข้ามก่อน เวลา ผมสะกิดพีแ่ ดงเป็นสัญญาณบอกว่าถึงเวลาเริม่ งาน แล้ว ผมขี่มอเตอร์ไซค์โดยมีพี่แดงซ้อนท้าย เป้าหมาย คือรถยนต์สีดำ�ยี่ห้อบีเอ็มดับบลิวที่อยู่เบื้องหน้า ผมจำ� เรื่องที่เกิดขึ้นต่อจากนั้นได้ไม่มากนัก จำ�ได้เพียงว่าหลัง จากผมขีม่ อเตอร์ไซค์ขนึ้ ประกบ ก็เกิดเหตุการณ์ชลุ มุนไป หมด เสียงปืนหลายนัดที่เกิดขึ้นทำ�ให้หูของผมอื้อจนฟัง ไม่ออกว่าพี่แดงกำ�ลังพูดอะไร มอเตอร์ไซค์เสียหลักแล้วผมก็ร่วงลงมาก่อนที่

หัวจะกระแทกพื้นและหมดสติไป

ชัย ความรูส้ กึ ปวดราวกับหัวจะระเบิดเกิดขึน้ ในทันทีทผี่ ม ลืมตาและพบว่าตัวเองกำ�ลังนอนอยูบ่ นเตียงภายในห้อง ทีไ่ ม่คนุ้ เคย เมือ่ สติกลับคืนมาแล้วผมจึงเริม่ สำ�รวจร่างกาย ตัวเอง เสียงหายใจที่ดังก้องอยู่ในหัวตอนนี้คงเกิดจาก หน้ากากออกซิเจนที่ผมกำ�ลังใส่อยู่ ข้างเตียงมีขวดน้ำ� เกลือที่ถูกแขวนเอาไว้เพื่อส่งผ่านเข้าไปในร่างกายของ ผม ทั้งหมดทั้งมวลนี้ยังไม่ทำ�ให้ผมตกใจเท่ากับตอน ที่ผมเห็นขาทั้งสองข้างของตัวเอง เพราะว่ามันลีบเล็ก ราวกับขาของคนที่นอนพิการอยู่บนเตียงมาเป็นเวลา หลายปี ประตูห้องถูกเปิดออกโดยหญิงชราคนหนึ่งและ ทันทีทเี่ ธอเห็นผมเธอก็ทรุดนัง่ ลงกับพืน้ ‘’พ่อ พ่อ ชัยฟืน้ แล้ว พ่อ’’ ไม่นานนักก็ปรากฏร่างของชายสูงอายุอีกคน หนึง่ อาการทีค่ นทัง้ สองแสดงออกมามันทำ�ให้ผมคิดเป็น อืน่ ไปไม่ได้เลยนอกเสียจากความรูส้ กึ ดีใจทีผ่ มฟืน้ ขึน้ มา ‘’ชัย จำ�อะไรได้บา้ งไหมลูก?’’ คือประโยคคำ�ถาม ที่ไม่หวังคำ�ตอบจากหญิงชรา เธอเริ่มเล่าเรื่องราวบาง อย่างให้ผมฟัง เรือ่ งของครอบครัวหนึง่ ทีม่ กี นั สามคนพ่อ แม่ลกู วันหนึง่ ในขณะทีพ่ วกเขาขับรถไปเทีย่ วต่างจังหวัด กันก็เกิดอุบตั เิ หตุรา้ ยแรงขึน้ จนทำ�ให้ลกู ชายของพวกเขา ซึ่งตอนนั้นมีอายุได้เพียงสิบเอ็ดกลายเป็นเจ้าชายนิทรา อยู่แบบนั้นจนกระทั่งเวลาผ่านไปสิบหกปี หญิงชรายิ้ม ใบหน้าของเธอเต็มไปด้วยน้ำ�ตาแห่งความปิติ เธอยกมือ ขึน้ มาลูบหัวผมเบาๆ ราวกับผมเป็นเด็กน้อย นีผ่ มกำ�ลัง ฝันอยู่ใช่ไหม! นี่มันเรื่องบ้าอะไรกัน ทำ�ไมผมต้องกลาย มาเป็นแบบนี้! ‘’เคสนี้ปาฎิหาร์ยจริงๆ ครับ...’’ เสียงที่คุ้นหู ปลุกผมให้ตื่นขึ้นอีกครั้ง พี่เหลิม! ผมแทบจะกระโดดลุก ขึ้นจากเตียงด้วยความดีใจที่หลุดออกมาจากความฝัน บ้าๆ นั่นได้เสียที แต่ขาทั้งสองที่ไม่ยอมตอบสนองคู่นั้น ทำ�ให้ผมรู้ว่าผมยังคงอยู่ในฝันร้ายเรื่องเดิม พี่เหลิมใน เวอร์ชนั่ นีเ้ ปลีย่ นไปบ้างเล็กน้อยคือแกไม่ใส่แว่นดำ� แถม


70 นิตยสารเรื่องสั้น

ยังแต่งตัวสุภาพเรียบร้อย ผมมารูภ้ ายหลังว่าผูช้ ายทีผ่ ม หลงคิดว่าคือพี่เหลิมคนนี้คือแพทย์ประจำ�ตัวของผม ที่ เข้ามาดูอาการและรักษาผมตลอดเวลาสิบหกปีทผี่ า่ นมา หลังจากนัน้ ไม่นานผมก็เจอพีเ่ อก ทุกสุดสัปดาห์พี่ เอกจะมาหาผมพร้อมกับหนังสือเล่มใหญ่ แกไม่ได้มหี น้า ทีอ่ ะไรไปมากกว่าการอ่านหนังสือให้ผมฟัง นัน่ คือทัง้ หมด ทีพ่ เี่ อกทำ�ตลอดเวลาทีผ่ า่ นมาขณะทีผ่ มยังนอนไม่ได้สติ ‘เป็นบุญตา ที่ได้มาปากน้ำ�โพ พบน้องคนโก้ ผูก โบว์ใส่เสื้อสีไพร น้�ำ ใจเอือ้ เฟือ้ หนุม่ เรือไม่อยากลาไกล อยากขาย เรือซื้อนาซื้อไร่ อยากอยู่ใกล้แม่ขนตางอน....’ เสียงครวญเพลงลูกทุ่งดังขึ้นทุกครั้งที่พี่แดงมา ทำ�สวน สวนที่ถูกตกแต่งขึ้นอย่างสวยงามเพื่อรอคอย ให้ผมลืมตาขึ้นมาดู ข้างนอกหน้าต่างนั่นผมเห็นพี่แดง ที่กำ�ลังร้องเพลงไปทำ�สวนไปอย่างมีความสุข และนี่เป็น ครั้งแรกที่ผมได้ฟังพี่แดงร้องเพลงจนจบเพลง...บางที ชีวิตผมอาจจะมีแค่นี้ก็ได้ ผมยิ้มเยาะให้ตัวเองก่อนจะ หลับตาลงอีกครั้ง

ผู้กำ�กับ ผมได้ยินเสียงลมหายใจหอบถี่ของตัวเอง มันดังขึ้น ในความมืดแล้วพลันหายไปในแสงสว่างจ้าที่ทำ�ให้ผม แสบตาจนต้องหรี่ตาลง ผมมองไปรอบๆ ตัว และพบ ว่าในห้องที่ดูคล้ายห้องสอบสวนนี้ นอกจากผมแล้วยังมี ผูช้ ายอยูอ่ กี อย่างน้อยสองคนทีก่ �ำ ลังเดินวนรอบตัวผมอยู่ ‘เฮียแม่งคิดจะเก็บกูเลยเหรองานนี้ แม่งทำ�แสบจริงๆ’ ‘แล้วท่านผูก้ �ำ กับจะเอายังไงดีครับ’ ผูช้ ายคนทีถ่ กู เรียกว่า ผูก้ �ำ กับหันมามองหน้าผมก่อนจะยืน่ ข้อเสนอบางอย่างให้

ผม กับ เฮีย (อีกครั้ง) ในห้องทำ�งานส่วนตัวภายในบ้านหรูราคาแพงของ เฮียซึง่ มีเพียงแค่ผมกับเฮีย ผมเพิง่ ได้รคู้ วามจริงข้อหนึง่ ที่เคยได้ยินจากเรื่องเล่าอันแสนมากมายของเฮีย เป็น

ความจริงที่สุดที่ว่ากันว่าเฮียไม่กลัวตาย ข้อเสนอของ ผู้กำ�กับคือหลังจากผมลงมือเก็บเฮียแล้ว ผมจะได้ทุก อย่างของเฮียมาครอบครองโดยมีส่วนแบ่งกันอยู่ที่ เจ็ด สิบ – สามสิบ สีหน้าของเฮียดูไม่แปลกใจหรือตกใจเลย แม้แต่นอ้ ยในตอนทีผ่ มตัดสินใจชักปืนขึน้ มา ตรงกันข้าม ในความเงียบผมกลับคิดว่าผมได้ยินเสียงถอนหายใจ ของเฮีย ที่แสดงถึงจุดสิ้นสุดของการรอคอยซึ่งอะไรบาง อย่าง เฮียพิงตัวลงบนเก้าอี้บุนวมราคาแพงแล้วค่อยๆ หลับตาลง ก่อนเสียงปืนจะดัง ผมคิดว่าเฮียพูดกับผม ว่า ‘โชคดีนะไอ้ลูกลิง’ หลังจากนั้นไม่นานผู้คนต่างพากันเรียกผมว่า เฮีย กิจการของผมที่มีผู้กำ�กับคอยเป็นแบ็คให้ดำ�เนิน ไปได้ด้วยดี สายงานการขายขยายใหญ่โตขึ้นพร้อมกับ จำ�นวนลูกน้องที่เพิ่มเข้ามา ผมร่ำ�รวยจนไม่รู้ว่าจะเอา เงินไปใช้ทำ�อะไรได้อีก แต่กระนั้นผมกลับรู้สึกว่าเหมือน มีอะไรบางอย่างขาดหายไปจากชีวิต เสียงร้องไห้เบาๆ ของใครบางคน ปลุกผมให้ตื่นขึ้นจากภวังค์และพบว่า ตัวเองนั้นกำ�ลังเดินอยู่ในชุมชนแออัดแห่งหนึ่ง ลูกน้อง ทีต่ ดิ ตามมาวิง่ เข้ามาหาแล้วกางร่มให้เนือ่ งจากสายฝนที่ เริ่มตกลงมาปรอยปราย แล้วผมก็เหลือบไปเห็นใครบาง คน...ที่มาของเสียงร้องไห้ เด็กชายวัยกำ�ลังโตร่างกาย เต็มไปด้วยบาดแผลกำ�ลังนั่งตัวสั่นอยู่ใต้ต้นไม้ใหญ่ ผม เดินตรงเข้าไปหาเขา ‘ไอ้หนู เอ็งชื่ออะไรวะ’ เจ้าหนูน้อยค่อยๆ เงยหน้าขึ้นมามองผม ‘ลืมชือ่ ของเอ็งซะ ต่อไปนีข้ า้ จะเรียกเอ็งว่า ‘ไอ้ลกู ลิง’


นิตยสารเรื่องสั้น 71


72 นิตยสารเรื่องสั้น


นิตยสารเรื่องสั้น 73

บทความ

จิตวิญญาณประชาธิปไตย ในเรื่องสั้นไทย เรื่องโดย สุชาติ สวัสดิ์ศรี

ก่อนอืน่ ไม่ทราบว่า เราเข้าใจคำ�ว่า “จิตวิญญาณ” กัน แบบไหน เมื่ อ ครั้ ง อบ ไชยวสุ (นามปากกา “ฮิวเมอริสต์”) ทำ�หนังสือเรือ่ ง สะกดให้ถกู ตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2493 พิมพ์ครั้งแรกเมื่อ พ.ศ.2505 พจนานุกรมเล่มนี้ไม่มีคำ�ว่า จิตวิญญาณ มี แต่คำ�ว่า “จิตใจ”และ “วิญญาณ” จิตใจแปลว่า “อารมณ์ ทางใจ” วิญญาณแปลว่า “ความรู้แจ้ง ความรู้สึกตัว สิ่ง ที่สิงอยู่ในตน เมื่อร่างกายเปื่อยเน่าแล้ว ก็ยังเชื่อกันว่า มีอยู่ต่อไป” 1 พจนานุกรมฉบับมติชน ที่พิมพ์ครั้งแรก เมื่อ พ.ศ.2547 ก็ไม่มีคำ�ว่า จิตวิญญาณ แต่มีคำ�ว่า จิตสำ�นึก ในความหมาย “ความรู้สึกที่รับรู้สิ่งที่สัมผัส ได้” และได้ให้ความหมายคำ�ว่า วิญญาณ ไว้ว่า “ความ รับรูท้ างประสาทสัมผัส โดยปริยายหมายถึงจิตใจ เช่น มี วิญญาณนักสู้” 2 ต่อมาใน พจนานุกรมไทย-อังกฤษ ของ ดำ�เนิน การเด่น และเสฐียรพงษ์ วรรณปก ฉบับปรับปรุง ใหม่เมื่อ พ.ศ.2551 มีคำ�ว่า จิตวิญญาณ ในความหมาย ของคำ�ว่า soul ในภาษาอังกฤษ ส่วน ‘จิตสำ�นึก’ หมาย ถึงที่ภาษาอังกฤษเรียกว่า conscious หรือ conscious mind 3 อันหมายถึง “ความตื่นรู้” ซึ่งคำ�นี้เป็นภาษาทาง พระ ผมเองเคยนำ�คำ�นี้มาใช้ โดยเรียกปรากฏการณ์ ของเรื่องสั้นไทยตั้งแต่ปี พ.ศ.2508 ถึง พ.ศ.2518 ว่ามี

ความตื่นรู้บางอย่างเกิดขึ้น ทั้งในเรื่องสังคม เศรษฐกิจ การเมือง และวัฒนธรรม โดยเป็นเหมือนขนบมาจากเรือ่ ง สั้นชื่อ คำ�ขานรับ ของ “ศรีบูรพา” เมื่อ พ.ศ.2493 4 ที่ มุ่งแสดงจิตใจ “รับใช้ผู้อื่น” หรือส่วนรวม ปัจจุบันคงจะ หมายถึงคำ�ที่ใช้กันว่า จิตสาธารณะ และผมเคยเรียก ปรากฏการณ์แบบอุดมคติในเรื่องสั้นไทยที่เป็นเหมือน รอยต่อก่อนหน้า และหลังเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 ครั้งนั้นว่า จิตสำ�นึกขบถ 5 ความหมายของคำ�ว่า จิตวิญญาณประชาธิปไตย ทีใ่ ห้โจทย์มา ก็ไม่ทราบว่าคณะผูว้ จิ ยั จะใช้ระดับของความ หมายไหน ครั้งที่ อ.เจตนา นาควัชระแสดง “ปาฐกถา ช่างวรรณกรรม”ครั้งที่ 1 เมื่อปี พ.ศ.2533 6 ท่านก็ตั้ง หัวข้อว่า “วิญญาณประชาธิปไตย” ไม่ใช่ “จิตวิญญาณ ประชาธิปไตย” ส่วน อ.นิธิ เอียวศรีวงศ์ มองในประเด็น ว่าเป็น “เจตจำ�นงและวัฒนธรรมทางการเมือง”  7 น้�ำ หนัก ของคำ�ว่า ประชาธิปไตยจึงน่าจะขึน้ อยูก่ บั บริบทของคำ�ว่า “ประชาธิปไตย” ว่าถูกนำ�มาใช้ตรงกันหรือไม่ เช่นบางคน เน้นไปที่อุดมการณ์ของนักการเมืองและพรรคการเมือง บางคนเน้นไปที่อุดมคติของบุคคลในสายอาชีพต่างๆ เป็นครูที่แท้ เป็นหมอที่แท้ เป็นพระที่แท้ เทศนาในสิ่งที่ ตนเชื่อและยอมพลีได้แม้แต่ชีวิต เช่น สืบ นาคะเสถียร


74 นิตยสารเรื่องสั้น

ดังนั้นไม่ว่าจะใช้ “วิญญาณ” หรือ “จิตวิญญาณ” ผม ก็อยากขออนุโลมไปก่อนว่ามีความหมายใกล้เคียงกัน และอยากใช้ค�ำ ว่า จิตวิญญาณ ในความหมายทีค่ รัง้ หนึง่ เสกสรรค์ ประเสริฐกุล เคยพูดว่าเป็นเรื่องคุณค่าชีวิต ทุกชีวิตไม่ว่าจะอยู่ในอุดมคติหรืออุดมการณ์ใดก็ตาม ย่อมมีด้านละเอียดอ่อนที่เป็นของตน คือ “...เป็นเรื่อง spiritual…เป็นเรื่องอัตวิสัย” 8 ดังนั้น จะเรียกว่า วิญญาณ (soul) จิตวิญญาณ (spiritual) หรือ จิตสำ�นึก (conscious) คงจะมีบางสิ่ง บางอย่างร่วมกันไม่ทางตรงก็ทางอ้อม สิ่งนั้นคือ จิตใจ มุมมองของจิตใจจึงเป็นเรื่องอัตวิสัย (subjective) เป็น นามธรรม “ข้างใน” (inside) ที่สัมพันธ์กับรูปธรรม “ข้าง นอก” (outside) ประชาธิปไตยจึงมีบริบทหลากหลายทัง้ แนวตั้ง (vertical)และแนวนอน (horizon) เมื่อมองแนว ตั้ง มันคืออุดมคติซึ่งเป็นเรื่องของปัจเจก แต่เมื่อมอง แนวนอน มันคืออุดมการณ์หรือเจตจำ�นงซึ่งเป็นเรื่อง ของโครงสร้าง (สังคม เศรษฐกิจ การเมือง วัฒนธรรม) ทั้งแนวตั้งแนวนอนล้วนมีความสัมพันธ์กัน ไม่แยกกัน อัตวิสัยเป็นเรื่องของเสรีภาพ (liberty) และภราดรภาพ (fraternity) ภววิสยั เป็นเรือ่ งของความเสมอภาค (equality) ประชาธิปไตยจึงหมายถึงวิถที าง (means) ทีเ่ ป็นจุดหมาย (end)ในตัวมันเอง จิตวิญญาณ หรือ จิตสำ�นึก ที่เกี่ยวข้องกับ ประชาธิปไตย จึงเป็น way of life ของผู้คนที่มีหลาก หลายใบหน้า เป็นนามธรรมของคำ�ว่าอิสรภาพ เสรีภาพ เสมอภาค ภราดรภาพ และเป็นหลักการของประโยคที่ ว่า “อำ�นาจสูงสุดของประเทศนั้น เป็นของ ราษฎรทั้ง หลาย” ไม่ใช่ประโยคที่ว่า “อำ�นาจอธิปไตยมาจากปวง ชนชาวไทย”  9 “จิตวิญญาณประชาธิปไตย” ที่เป็นใบหน้าอัน หลากหลายของวิถีชีวิตผู้คน เมื่อ 80 ปีก่อน คือมิติทาง จิตใจที่ กุหลาบ สายประดิษฐ์ เคยใช้คำ�ว่า มนุษยภาพ โดยกล่าวว่ามี “..ความมุง่ หมายทีจ่ ะปรับฐานะของมนุษย์ ให้ได้ระดับอันทุกคนควรจะเปนได้..” และได้กล่าวต่อไป

ว่า “.. ถ้าเราไม่สู้หน้ากับความจริง นั่นแปลว่าเราได้หัน หน้าเข้าหาความหลอกลวง.. อย่างไรก็ตาม สิง่ ทีป่ รุงแต่ง ขึ้นด้วยความหลอกลวงทั้งหมด ยังเปนภัยน้อยกว่าสิ่งที่ ปรุงแต่งขึ้นด้วยความหลอกลวงครึ่งหนึ่ง และความจริง อีกครึง่ หนึง่ ..” กุหลาบ สายประดิษฐ์ ไม่เอาด้วยกับคำ�ว่า white lie ด้วยเหตุนี้ในบทความเรื่อง มนุษยภาพ ของ เขาจึงกล่าวว่า “ความซือ่ สัตย์คอื ความจริง ความจริงคือ ความซื่อสัตย์” 10 สำ�หรับภาษาไทยที่ใช้กันว่า สร้างสรรค์ นั้น ว่า ไปแล้วก็เป็นคำ�เกิดใหม่ ไม่เกิน 3 – 4 ทศวรรษที่ผ่าน มานี่เอง ในหนังสือ สุภาพบุรุษรายปักษ์ ของ กุหลาบ สายประดิษฐ์ เมื่อ พ.ศ.2472-2473 ยังไม่พบว่ามีคำ�นี้ เกิดขึ้น เมื่อผมทำ� โลกหนังสือฉบับเรื่องสั้น ที่เป็นการ ก่อเกิดเรื่องสั้น ช่อการะเกด ในช่วงหลังเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 (ฉบับปฐมฤกษ์ วันเวลาที่ผ่านเลย สำ�นัก พิมพ์ดวงกมล พ.ศ.2521) ผมตัง้ ใจนำ�คำ�ว่า สร้างสรรค์ มาใช้ในความหมายที่กว้างขวางมากกว่าคำ�ว่า เพื่อชีวิต เพราะคำ�ว่า เพือ่ ชีวติ ในระยะนัน้ ได้กลายเป็นความหมาย เฉพาะที่เป็นวรรณกรรมของ “พวกในป่า” 11 โดยคำ�ว่า สร้างสรรค์ นั้นผมหมายไกลไปถึงคำ�ว่า Creation ใน ภาษาอังกฤษมากกว่าจะหมายถึงบริบทในรูปแบบ Social Realism หรือ Socialist Realism ซึง่ แต่เดิมนัน้ ผมเข้าใจ ว่ามีความหมายเท่ากับคำ�ว่า เพื่อชีวิต ตามที่ปรากฏอยู่ ในทรรศนะของ “บรรจง บรรเจิดศิลป์” “นายผี” “เสนีย์ เสาวพงศ์” และคนสำ�คัญที่เป็นทฤษฎีมากที่สุด คือจาก หนังสือ ศิลปเพื่อชีวิต โดย “ทีปกร” (นามปากกาของ จิตร ภูมิศักดิ์ เมื่อ พ.ศ.2498) สมัยก่อนเปลี่ยนแปลง การปกครอง 2475 ผมคิดว่าภาษาไทยยังไม่มีคำ�ว่า สร้างสรรค์ แต่มีที่เป็นคำ�โดดแยกกันไป คือ สร้าง และ สรร (ไม่มี ค การันต์) ส่วน สร้างสรรค์ คงจะถอดมาจาก ที่ภาษาอังกฤษใช้ว่า Creative หรือ Creation ในคติ พระเจ้าสร้างโลก พระเจ้าคือผู้ Creative ทุกสิ่งทุกอย่าง ทีไ่ ม่เคยมีมาก่อนให้เกิดขึน้ คำ�ว่า Creative หรือ Creation จึงมีค่าดั้งเดิมเท่ากับ “พระเจ้า”ในความหมายของ


นิตยสารเรื่องสั้น 75

Christianity และตั้งแต่กลางศตวรรษที่ 19 เป็นต้นมา คำ�ๆ นีไ้ ด้มาพร้อมกับ “เรือปืน” ของฝรัง่ ตะวันตก กล่าว คือมาพร้อมกับคำ�ว่า “จักรวรรดินยิ ม” (Imperialism) ซึง่ ก็ตามติดมาพร้อมกับ “การล่าอาณานิคม” [Colonialism] “ทุนนิยม” (Capitalism) และ “การทำ�ให้เป็นอุตสาหกรรม” (Industrialization) คำ�ว่า “สร้างสรรค์” ในความหมาย ของ Christianity ทีม่ าถึงสังคมสยามในสมัยปลายอยุธยา และต้นรัตนโกสินทร์ จนสืบต่อมาถึงเวลาปัจจุบันที่เรา กำ�ลังนั่งอยู่ในห้องนี้ กล่าวโดยอารมณ์ขันมันเป็นเรื่อง “วุ่นวายสบายดี” (คำ�ของ ชมัยภร แสงกระจ่าง) ที่ก่อ ผลสะเทือนมาจาก “ความเป็นสมัยใหม่” (Modernism) ของตัวอักษรภาษาอังกฤษ 3 คำ� คือ S D A [S หมาย ถึง Science, D หมายถึง Democracy และ A หมาย ถึง Art] และ S D A ทั้งสามคำ�นี้ล้วนอยู่ในน้ำ�หนักของ การ Creation (หรือการ Creative ) ในคติของ “การ

การอภิวฒ ั น์ หรือการเปลีย่ นผ่านให้มปี ระชาธิปไตย สมบูรณ์นั้นเป็นวิถีทาง (Means) ที่เป็นจุดหมาย (end) ในตัวของมัน ในทรรศนะของผมมันคือจิตวิญญาณของ ความเป็นมนุษย์ [The spirit of democracy is to be HUMAN] การเปลีย่ นผ่านใดๆ ไม่วา่ จะ “ทำ�การเมือง”กัน แบบไหน ผมคิดว่าเราต้องถนอมรัก “มนุษย์” และ “ความ เป็นมนุษย์” ไว้ให้ได้ (The revolution is to be HUMAN) เรื่องสั้นไทยในแต่ละบริบททั้งอดีตและปัจจุบัน ไม่ว่าจะนำ�เสนอเพื่ออะไรก็ตาม มันมีใบหน้าอันหลาก หลายปรากฏเสมอ ศิลปะวรรณกรรมสำ�หรับผมไม่มีคำ� ขยายตามฤดูกาลอีกต่อไป (ยกเว้นในทางวิชาการ) จะเป็น วรรณกรรมเพื่อชีวิต (ทีปกร) วรรณกรรมปวงชน (ชลธิรา กลัดอยู่) วรรณกรรมแนวประชาชน (นศินี วิธูธีรศานต์) วรรณกรรมการเมือง (พานแว่นฟ้า) หรือไม่ว่าในชื่ออื่น ใดก็ตาม ตั้งแต่สิ้นสุดยุคสงครามเย็นในช่วงทศวรรษ

เรื่องสั้นไทยในแต่ละบริบททั้งอดีตและปัจจุบัน ไม่ว่าจะนำ�เสนอเพื่ออะไรก็ตาม มันมีใบหน้าอันหลากหลายปรากฏ เสมอ ศิลปะวรรณกรรมสำ�หรับผมไม่มีคำ�ขยายตามฤดูกาลอีกต่อไป สร้างสิ่งที่ไม่เคยมีมาก่อนให้เกิดขึ้น” คือเป็นความริเริ่ม [Originality] ทัง้ เรือ่ งของ Science, Art และ Democracy (ขอบคุณ “พระองค์วรรณ” ทีไ่ ด้บญ ั ญัตศิ พั ท์ Democracy เป็นภาษาไทยว่า “ประชาธิปไตย”) คำ�ว่า ประชาธิปไตย ทีห่ มายถึง ประชา + อธิปไตย แปลว่า “ความเป็นใหญ่ของราษฎร” หรือ “ความเป็น ใหญ่ของประชาชน” นั้น หลักการก็คือเป็นการปกครอง ที่ “ถือมติของราษฎร” เป็นใหญ่ เพราะอำ�นาจสูงสุดของ ประเทศนัน้ เป็นของ ราษฎรทัง้ หลาย ประชาธิปไตยทีม่ ี จิตวิญญาณจึงเป็นการ Creative หรือ Creation ของ ราษฎรที่มีใบหน้าอันหลากหลาย ถ้าใช้ภาษาของจอห์น เลนนอน ในบทเพลง Imagine ใบหน้าอันหลากหลายที่ ว่านีก้ ค็ อื สิง่ ทีเ่ รียกว่า the Brotherhood of Man นัน่ เอง จิตวิญญาณประชาธิปไตย จึงหมายถึงจิตวิญญาณของ ความเป็นมนุษย์

1980 เป็นต้นมา ผมก็สนิ้ สุดวิธกี ารมองศิลปะวรรณกรรม ในกรอบที่ให้ การเมือง เป็นตัวตัดสินเพียงตัวเดียว เมื่อ วรรณกรรมนำ�เสนอเรือ่ งราวของมนุษย์ทมี่ ี “ใบหน้าหลาก หลาย” มันจึงต้องมองไปที่ ข้างใน ให้ลึกที่สุดเสมอ ผม ไม่มคี �ำ ว่า “เรือลำ�ใหม่” มีแต่ค�ำ ว่า “เรือลำ�เดียวกัน” และ ไม่เอาคำ�ว่า “วรรณกรรมการเมือง”มาใช้ในความหมาย ของ “วรรณกรรมเพื่อชีวิต” อีกต่อไป 12 วรรณกรรมก็ คือวรรณกรรม เมื่อกระทำ�ออกมาอย่างมี “วรรณศิลป์” มันคือสิ่งที่ผมเรียกว่า สร้างสรรค์ โดยพุ่งเข้าหาความ คิดริเริ่ม [Originality] และความเป็นเลิศ [Excellence] ซึ่งหมายถึงคุณภาพในระดับเข้มข้น ในปัจจุบันที่มีการ แบ่งขั้วแบ่งข้าง “ทำ�การเมือง” กันเหมือนยุคสงคราม เย็นที่แบ่งเป็นซ้าย เป็นขวา ผมมีการเมืองไม่พอที่จะ “เลือกข้าง” ดังนั้นไม่ว่าใครจะ “ทำ�การเมือง”กันแบบ ไหน ผมอยากขอใช้แว่นขยายส่องมองเป็นเรือ่ งๆ ศิลปะ


76 นิตยสารเรื่องสั้น

วรรณกรรมเป็นงานสร้างสรรค์ในฐานะ “มิติทางจิตใจ” ดังนั้นมันจึงมีความซับซ้อนที่ใช้ “การเมือง” อย่างเดียว มาตัดสินไม่ได้ วิธีคิดแบบนี้ในสมัยหลังเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 เขาเรียกว่าเป็นพวกมี “ปัญหาทางความ คิด” กล่าวคือ เป็น “โรคประจำ�ศตวรรษ” ที่มองไม่เห็น ชัยชนะของสิง่ ทีต่ า่ งฝ่ายต่างก็อา้ งคำ�ว่า “ประชาชน” หรือ ถ้าจัดหนักเข้าไปอีก ก็ประณามว่าเป็นพวก “วีรชนเอกชน” สมัยนีเ้ ขาคงเรียกว่า “สลิม่ ” หรือ “พวกทำ�ตัวเป็นกลาง” เรือ่ งนีก้ ต็ อ้ งว่ากันเป็นเรือ่ งๆ เพราะขณะนีย้ งั ฝุน่ ตลบอยู่ (“ฝุ่นตลบ” เป็นคำ�ของ กุหลาบ สายประดิษฐ์ หมายถึง การไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง) จิตวิญญาณประชาธิปไตย จะปรากฏอยู่ใน “สี” ไหน ผมมีการเมืองไม่พอจะตัดสิน เพราะไม่ว่าจะ “สี” ไหนก็มา “ผ่านเกิด” กับผมได้ทั้งนั้น ถ้าเขียนเรือ่ งสัน้ ได้อย่างมุง่ ความเป็นเลิศ จิตวิญญาณของ

จิตรนายใจสนทนากัน เป็นรุ่งอรุณของเรื่องสัน้ ไทยแบบ Social Criticism และ ชายหาปลาทัง้ 4 เป็นรุง่ อรุณของ เรื่องสั้นไทยแบบ Magical Realism 13 นับเวลาจาก พ.ศ.2417 มาถึงปัจจุบัน เรามีการเขียน “ร้อยแก้วแนว ใหม่”ในลักษณะที่ต่อมาเรียกว่า “เรื่องสั้น” ผ่านมาแล้ว 138 ปี ผมเข้าใจว่าที่เรื่องสั้นไทยปัจจุบันมีความหลาก หลายพอสมควรก็เพราะจุดเริม่ ต้นของมันมีลกั ษณะแบบ เข้มข้น คือเป็นทั้งเรื่อง Critical และ Magical แต่ผมก็ ยังไม่เห็นภาพรวมของมันอย่างสมบูรณ์ เรามีการศึกษา วิเคราะห์วิจัยวรรณกรรมไทยกันมาช้านาน แต่ภาพรวม ของคำ�ว่า “ประวัตวิ รรณกรรมไทยสมัยใหม่” ทีอ่ า้ งอิงมา จากแหล่งของเอกสารชัน้ ต้นในทุกยุค ทุกสมัย เรายังไม่ เคยทำ�ได้ครบถ้วน นายจิตรนายใจสนทนากัน ในหนังสือ ดรุโณวาท

ในสมัยหลังเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 เขาเรียกว่าเป็นพวกมี “ปัญหาทางความคิด” กล่าวคือ เป็น “โรค ประจำ�ศตวรรษ” ที่มองไม่เห็นชัยชนะของสิ่งที่ต่างฝ่ายต่างก็อ้างคำ�ว่า “ประชาชน” หรือถ้าจัดหนักเข้าไปอีก ก็ ประณามว่าเป็นพวก “วีรชนเอกชน” สมัยนี้เขาคงเรียกว่า “สลิ่ม” หรือ “พวกทำ�ตัวเป็นกลาง” เรื่องนี้ก็ต้องว่า กันเป็นเรื่องๆ เพราะขณะนี้ยังฝุ่นตลบอยู่ (“ฝุ่นตลบ” เป็นคำ�ของ กุหลาบ สายประดิษฐ์ หมายถึงการไม่ฝักใฝ่ ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง) เรือ่ งสัน้ ไทยแต่ละยุคสมัย ทีเ่ ข้ามาเกีย่ วข้องกับผม ผมมัก กล่าวทีเล่นทีจริงว่า ผมใช้อัตวิสัย หรือใช้ มรส. ตัดสิน (มรส.แปลว่า “มาตรฐานรสนิยมส่วนตัว) และเรื่องสั้น ไทยที่สะท้อน “จิตวิญญาณประชาธิปไตย” ในทรรศนะ ของผม อาจมองย้อนไปได้จนถึงสมัยทีช่ าวสยามเริม่ รูจ้ กั การเขียนหนังสือในรูปแบบ “ร้อยแก้วแนวใหม่” (prose narrative) กล่าวคือเป็นสิ่งที่มาพร้อมกับ วัฒนธรรม หนังสือ ตั้งแต่ครั้งหมอบรัดเลทำ� หนังสือจดหมายเหตุ Bangkok Recorder เมื่อ พ.ศ.2387 (ปลายรัชกาลที่ 3) และมาก่อเกิดรูปแบบของ “เรื่องสั้นไทย” (สมัยก่อน เรียกกันว่า “นิทาน”) ในหนังสือ ดรุโณวาท รายสัปดาห์ ของ “คณะสยามหนุ่ม” เมื่อ พ.ศ.2417 อันถือเป็นต้น กำ�เนิดของเรื่องสั้นไทยยุคบุกเบิกที่ผมยกให้เรื่อง นาย

รายสัปดาห์เมือ่ พ.ศ.2417 มีเนือ้ หาว่าด้วยไพร่ 2 คนคุย กัน คนหนึง่ ชือ่ จิตร คนหนึง่ ชือ่ ใจ (ซึง่ ก็คงมาจากคำ�ว่า จิตใจ นั่นเอง) ไพร่ทั้ง 2 (ยามเฝ้าประตูวัง) มีความคิด วิพากษ์วจิ ารณ์ความเหลวแหลกของสังคมสยามสมัยนัน้ เช่นเห็นว่ามีแต่พระทุศลี และขุนนางโกงบ้านโกงเมือง นี่ คือลักษณะสมจริงทีต่ อ่ มาเข้าใจกันในฐานะของคำ�ว่า เพือ่ ชีวติ ใช่หรือไม่ (คำ�ว่า เพือ่ ชีวติ หมายถึงทีศ่ พั ท์วรรณกรรม เรียกว่า Critical Realism และ Social Realism โดยคำ� หลังผมเคยบัญญัตศิ พั ท์เป็นภาษาไทยว่า สัจจะสังคม ถ้า หากจัดหนักเป็น Socialist Realism ก็จะเรียกว่า สัจจะ สังคมนิยม แต่ตอ่ มาเห็นด้วยกับ “เสนีย์ เสาวพงศ์” ทีใ่ ห้ ความเห็นว่า สัจจะ นั้นคือ Truth ส่วน อัตถะ คือ Real คือ “ความสมจริง” ในบริบทที่เป็นเนื้อหา ดังนั้นผมจึง


นิตยสารเรื่องสั้น 77

เปลี่ยนมาใช้ว่า อัตถสังคม และอัตถสังคมนิยม ในเวลา ต่อมา แต่ภาพรวมก็ยงั หมายถึงสิง่ ทีเ่ รียกว่า เพือ่ ชีวติ ใน ระดับต่างๆ และผมคิดว่าเรามีบริบทของคำ�ว่า เพื่อชีวิต มาแต่ครัง้ เรือ่ งสัน้ ทีช่ อื่ นายจิตรนายใจสนทนากัน นัน่ แล้ว ตามมาด้วยเรื่องสั้นที่ชื่อ ชายหาปลาทั้ง 4 ในหนังสือ ดรุโณวาท รายสัปดาห์ ปีเดียวกัน กล่าวถึงตัวละคร 4 แบบ ที่นำ�มาจากเรื่องเล่ามุขปาฐะแต่ดั้งเดิมของเราเอง อ่านแล้วเห็นความเหลวไหลแบบ absurd ของชาวสยาม มาตั้งแต่ยุคนั้น สำ�หรับผมนี่คือกระดูกหลักของเรื่องสั้น ไทยยุคแรกในลีลาทีเ่ รียกกันว่า Magical Realism กล่าว คืออยู่ในลีลา Magical แต่บริบทนั้นเป็น Realism จะ เรียกว่าเป็นเรื่องสั้นอารมณ์ขัน หรือเรื่องสั้นสาธกความ เป็นมนุษย์ทโี่ ง่เขลาและเต็มไปด้วยความโลภ ความโกรธ และความหลงก็ได้ ตัวละคร Absurd ทั้ง 4 ต่างก็คิดว่า “กูแน่” “กูเก่ง” และทั้ง 4 ก็แบ่งขั้วกันจนนำ�ไปสู่ความ พินาศ ชายทั้ง 4 นั่งเรือลำ�เดียวกันไปหาปลา แต่ละคน ต่างก็หลงว่าตัวเองเก่ง หูกาง บอกว่าถ้าไม่มหี กู างรับลม ก็พาเรือออกไปจับปลาไม่ได้ ก้นแหลม ไม่นั่งเฉยๆ แต่ นั่งกระแทกจนเรือมีรูรั่วทำ�ให้น้ำ�เข้าเรือ ขี้มูกมาก บอก ว่าถ้าไม่มีขี้มูกก็อุดเรือที่รั่วไปหาปลาไม่ได้ สามมือปาม มีสามมือ ก็อ้างว่าเพราะมีสามมือจึงจับปลาได้มากและ ได้เร็ว มีปลาเต็มลำ�เรือได้ก็เพราะตน แทนที่ทั้ง 4 จะ ร่วมมือกันก็กลับทะเลาะกันกลางทะเล จนเป็นเหตุให้เรือ อับปางจมลงก้นทะเล และทั้ง 4 คนต่างพบจุดจบพร้อม กัน นีค่ อื รุง่ อรุณของเรือ่ งสัน้ ไทยแนวโศกนาฏกรรม นีค่ อื กระดูกหลักในรูปแบบและเนือ้ หาทีผ่ มเห็นว่าเป็น Magical Realism จากพื้นฐานเรื่องเล่าพื้นบ้านของเราเอง ไม่ได้ มาจากโศกนาฏกรรมแบบกรีก หรือแบบแมรี่ คอเรลลี่ (ความพยาบาท) ที่ตื่นเต้นกันเพราะนักเรียนนอกนำ�เอา เข้ามาแปลเมื่อ พ.ศ.2442 เรื่องสั้นไทย 2 เรื่องในรุ่น บุกเบิกเมื่อ 138 ปีของเรานี้ คือภาพสะท้อนจิตใจมนุษย์ ที่น่าจะเป็นบทเรียนด้านกลับให้กับคำ�ว่า “จิตวิญญาณ ประชาธิปไตย” ไม่ทางตรงก็ทางอ้อม และเพื่อเสนอให้ เห็นว่า ถ้าเรามีโอกาสได้ศึกษาวิจัย “เอกสารชั้นต้น” ที่

เป็นรากเหง้าของเราอย่างสมบูรณ์และเป็นระบบ คำ�ว่า เรื่องสั้นไทย ของเรานั้นก็มีตัวอย่างที่แสดงจิตวิญญาณ อย่างเข้มข้นมาตัง้ แต่เริม่ รุง่ อรุณ (คำ�ของ เจือ สตะเวทิน) แต่ท�ำ ไมเราถึงหาตัวอย่างของเอกสารชัน้ ต้นมาได้ไม่เกิน สมัยของ “ศรีบูรพา” และ “ดอกไม้สด” กล่าวคือเรายัง ไม่เห็นภาพรวมทัง้ มุมกว้างและมุมลึกของคำ�ว่า “ประวัติ เรือ่ งสัน้ ไทยสมัยใหม่” หรือ “ประวัตวิ รรณกรรมไทยสมัย ใหม่”อย่างสมบูรณ์ เนือ่ งจากแต่ละยุคสมัยทีผ่ า่ นมา เรา ทำ�ข้อต่อของเราเองหายไปเรือ่ ยๆ (missing link) ทัง้ โดย ตั้งใจ (เช่นการรัฐประหาร การตัดต่อทางความคิด การ เซ็นเซอร์) และโดยไม่ตั้งใจ (เช่นค่านิยม “ปากเป็นเอก เลขเป็นโท หนังสือเป็นตรี” ทีค่ นในสังคมให้ความสำ�คัญ กับการคิด-การเขียน-การอ่านน้อยกว่าทีค่ วร) ตลอดเวลา 138 ปีที่ผ่านมา จิตวิญญาณของวรรณกรรมไทย (ที่มี “เรื่องสั้นไทย”เป็นส่วนหนึ่ง) จึงมีข้อต่อที่หายไปเรื่อยๆ ตามกาลเวลาและการถูกละเลย เช่นเดียวกับทุกครั้งที่มี การ “รัฐประหาร” คำ�ว่า “ประชาธิปไตย” ก็ดูเหมือนถูก “ตัดตอน” หรือถูก “ตัดต่อ” กลายเป็น “ข้อต่อที่หายไป” แล้วแต่พระสยามเทวาธิราชจะทรงโปรด ดังทีม่ สี มญาร้อย แปด เช่น ประชาธิปไตยไทย-ไทย ประชาธิปไตย “เชื่อ ผู้นำ�” ประชาธิปไตยรวมศูนย์ ประชาธิปไตย “เงินผัน” ประชาธิปไตยฝืด ประชาธิปไตยครึง่ ใบ ประชาธิปไตยบน เส้นขนาน ฯลฯ และตามความเข้าใจของผม บรรดาข้อ ต่อที่หายไปดังกล่าวไม่น่าจะเพิ่งมาเริ่มต้นที่เหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 (40 ปี) และหรือการอภิวัฒน์ของคณะ ราษฎรเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2475 (80 ปี) แต่จาก รูปธรรมที่ปรากฏ การอภิวัฒน์ของคณะราษฎรนั้นย่อม ต้องถือว่าเป็นรุ่งอรุณของคำ�ว่า “ประชาธิปไตย” โดยแท้ แม้จะถูกตัดต่อทำ�นองว่าเป็นการกระทำ�แบบ “ชิงสุกก่อน ห่าม” ที่มักถูกค่อนขอดมาจนปัจจุบัน แต่มันก็ไม่เคย ถูก “ตัดตอน” ไปโดยสิ้นเชิง ว่าไปแล้วหน่ออ่อนของจิต วิญญาณประชาธิปไตยเคยมีรปู ธรรมมาตัง้ แต่ครัง้ เจ้านาย และข้าราชการกราบบังคมทูลถวายความเห็นเรือ่ งจัดการ เปลี่ยนแปลงราชการแผ่นดิน ร.ศ.103 (พ.ศ.2427) แต่


78 นิตยสารเรื่องสั้น

ความเห็นของคณะขุนนางครั้งนั้นถูกรัชกาลที่ 5 บริภาษ ว่า “ยังไม่ถงึ เวลา” หรือจิตวิญญาณประชาธิปไตยในงาน เขียนเรียกร้อง ‘สภาปาเลียเม้นท์’ ของ “เทียนวรรณ” (ซึ่งผลก็คือถูกรัชกาลที่ 5 จับเข้าคุกเป็นเวลา 17 ปี) 14 หรือ กบฏ ร.ศ.130 ของคณะนายทหารหนุ่มที่เรียกร้อง ประชาธิปไตยโดยให้กษัตริยอ์ ยูใ่ ต้กฎหมาย เมือ่ ล้มเหลว คณะผูก้ อ่ การก็ถกู จับเข้าคุกกันระนาว หลายคนถูกตัดสิน จำ�คุกตลอดชีวติ แต่ได้รบั นิรโทษกรรมต่อมาภายหลัง 15 ถ้าเรามีเอกสารชัน้ ต้นในยุคสมัย ร.ศ.130 และหลังจากนัน้ อย่างเป็นระบบ เช่น จีนโนสยามวารศัพท์ (2450) สยาม มวย (2455) ผดุงวิทยา (2455) ไทยเอื้อ (2456) ศรีกรุง (2456) เสนาศึกษาและแผ่วทิ ยาศาสตร์ (2458) ดุสติ สมิต (2461) กรุงเทพฯเดลิเมล์ (2462) สยามราษฎร์ (2463) วายาโม (2463) สยามรีวิว (2464) ศัพท์ไทย (2464) กรรมกร (2465) บางกอกการเมือง (2466) ตูท้ อง (2467) ไทยเขษม (2467) สารานุกูล (2468) เกราะเหล็ก (2468) เริงรมย์ (2468) สมานมิตรบรรเทอง (2469) เฉลิม วุฒิ (2470) สยามยุพดี (2471) สุภาพบุรุษรายปักษ์ (2472) ไทยใหม่วันจันทร์ (2473) ประชาชาติ (2475) ฯลฯ เราน่าจะเห็นภาพต่อเนื่องของคำ�ว่า “วรรณกรรม ไทยสมัยใหม่” ได้สมบูรณ์มากขึ้น แต่เอกสารชั้นต้นใน อดีต ที่แสดงความตื่นตัวทางการอ่าน การเขียนอันเป็น รากฐานของประชาธิปไตยเหล่านี้ก็ดูเหมือนจะเป็น “ข้อ ต่อที่หายไป” อีกเช่นกัน เอาแค่สิ่งพิมพ์ในสมัยรัชกาล ที่ 6 เท่าที่ค้นพบบางส่วนก็มีจำ�นวนถึง 132 รายชื่อ แล้ว และสิ่งพิมพ์ในสมัยรัชกาลที่ 7 มีจำ�นวนเพิ่มขึ้น 159 รายชื่อ หนังสือ สุภาพบุรุษรายปักษ์ ของ กุหลาบ สายประดิษฐ์ ที่กำ�เนิดขึ้นในปี 2472 ถือเป็นเพียงหนึ่ง รายชื่อเท่านั้น 16 เอกสารชั้นต้นที่เป็นหนังสือพิมพ์และ นิตยสารวรรณกรรมรายต่างๆ ที่เอ่ยชื่อมาเหล่านี้ คง น่าจะมีชิ้นงานที่สะท้อนจิตวิญญาณประชาธิปไตยของ ผู้คนในรุ่นรอยต่อแห่งทศวรรษ 2450,2460 และ 2470 มาให้ศึกษาไม่ทางตรงก็ทางอ้อม เช่นความคิดเรื่อง “มนุษยภาพ”ของกุหลาบ สายประดิษฐ์ ในหนังสือพิมพ์

ไทยใหม่วันจันทร์ เมื่อ พ.ศ.2474 แสดงรูปธรรมที่เรียก ร้องให้มนุษย์นั้น “ซื่อตรง”ต่อกัน 17 และเป็นรูปธรรมต่อ มาในเรื่อง ภราดรภาพนิยม (Solidarism) ที่มีความคิด เศรษฐกิจเรื่องการกระจายความเป็นธรรมใน “เค้าโครง ทางเศรษฐกิจ” (สมุดปกเหลือง) ของนายปรีดี พนมยงค์ 18 เป็นตัวนำ�จนก่อให้ความขัดแย้งกับรัชกาลที่ 7 ที่เห็นว่า “ยังไม่จำ�เป็น” เพราะสังคมไทยนั้นมีการอุปถัมภ์กันเป็น ชั้นๆ โดยกล่าวให้ความเห็นแย้งไว้ใน “สมุดปกขาว”ว่า “...แม้แต่หมาวัดยังไม่อดตาย” 19 และความขัดแย้งใน เรื่องนี้ได้นำ�สู่การยกเลิกรัฐธรรมนูญบางมาตรา และมี การกล่าวหาเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์การเมืองไทย ว่า นายปรีดี พนมยงค์เป็นคอมมิวนิสต์ จนต่อมาได้ นำ�ไปสูก่ ารนองเลือดระหว่างคณะเจ้าและคณะราษฎรใน กรณี “กบฏบวรเดช” ขอย้อนกลับไปที่คำ�ว่า ประชาธิปไตย เพื่อเป็นข้อ สังเกตว่าจิตวิญญาณประชาธิปไตยในบ้านเรานัน้ ว่ามีความ ขรุขระมาตัง้ แต่เริม่ ต้น แต่เราก็มี “เจตจำ�นง”ทีช่ ดั เจนมา ตัง้ แต่การอภิวฒ ั น์เมือ่ วันที่ 24 มิถนุ ายน 2475 โดยเสนอ รูปธรรมผ่านทางหลัก 6 ประการของคณะราษฎร คือ 1.จะต้องรักษาความเป็นเอกราชทั้งหลาย เช่น เอกราชในทางการเมือง ในทางศาล ในเศรษฐกิจ ฯลฯ ของประเทศไว้ให้มั่นคง 2.จะต้องรักษาความปลอดภัยภายในประเทศ ให้การประทุษร้ายต่อกันลดน้อยลงให้มาก 3.ต้องบำ�รุงความสุขของราษฎรในทางเศรษฐกิจ โดยรัฐบาลใหม่จะจัดหางานให้ราษฎรทุกคนทำ� จะวาง โครงการเศรษฐกิจแห่งชาติ ไม่ปล่อยให้ราษฎรอดอยาก 4.จะต้องให้ราษฎรมีสทิ ธิเสมอภาคกัน (ไม่ใช่พวก เจ้ามีสิทธิยิ่งกว่าราษฎรเช่นที่เป็นอยู่ในเวลานี้) 5.จะต้องให้ราษฎรได้มเี สรีภาพ มีความเป็นอิสระ เมื่อเสรีภาพนี้ไม่ขัดต่อหลัก 4 ประการดังกล่าวข้างต้น 6.จะต้องให้การศึกษาอย่างเต็มที่แก่ราษฎร หลัก 6 ประการของคณะราษฎรนี่แหละคือ “จิต


นิตยสารเรื่องสั้น 79

วิญญาณประชาธิปไตย” ทีป่ รากฏลายลักษณ์อกั ษรครัง้ แรก ใน ประกาศของคณะราษฎร ฉบับที่ 1 และเจตจำ�นงหรือ จิตวิญญาณดังกล่าวนีเ่ องทีไ่ ด้ประกาศออกมาว่า “ประเทศ นี้เป็นของราษฎรทั้งหลาย ไม่ใช่ของกษัตริย์ (ดังนั้น) จึง ต้องปกครองโดยราษฎร คือมีสภาเพื่อปรึกษาหารือกัน หลายๆ ความคิดเพือ่ ความสุขความเจริญอย่างประเสริฐของ ราษฎร” 20 ทีศ่ พั ท์ในสมัยนัน้ นายปรีดี พนมยงค์ เรียกว่า ศรีอาริยะ ในเรือ่ งนีม้ หี ลักฐานว่าคณะราษฎรได้ทลู เกล้าฯ เพือ่ ให้รชั กาลที่ 7 ลงพระปรมาภิไธยในวันที่ 26 มิถนุ ายน 2475 สองฉบับ คือ หนังสือพระราชกำ�หนดนิรโทษกรรม และ พระราชบัญญัตธิ รรมนูญการปกครองแผ่นดินสยาม 2475 รัชกาลที่ 7 ได้ลงพระปรมาภิไธยให้ในฉบับแรก แต่ ฉบับหลังขอเอาไว้ดูก่อน 1 คืน และได้ต่อรองให้เติมคำ� ว่า “ชั่วคราว” ลงไป ดังนั้นรัฐธรรมนูญฉบับแรกจึงมีชื่อ ว่า ธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว (วันที่ 27 มิถนุ ายน 2475) แต่กระนัน้ ในรัฐธรรมนูญฉบับนีก้ ไ็ ด้ บัญญัติมาตรา 1 ไว้ชัดเจนว่า อำ�นาจสูงสุดของประเทศ นั้นเป็นของราษฎรทั้งหลาย ต่อเมื่อมีการประชุมสภาฯ ตั้งรัฐบาล เพื่อเห็นแก่ความสงบ คณะราษฎรจึงได้ยิน ยอมให้ทางฝ่ายคณะเจ้าเลือกพระยามโนปกรณ์นติ ธิ าดา ขึน้ เป็นนายกรัฐมนตรีคนแรก (ขณะนัน้ เรียกตำ�แหน่งนีว้ า่ “ประธานกรรมการราษฎร” (ขอให้เปรียบเทียบกับ “ยวน ซีไข” ที่ขึ้นสู่อำ�นาจในสมัยการอภิวัฒน์ของ ดร.ซุนยัด เซ็น เมื่อ ค.ศ.1911) เวลานั้นสภาได้ตั้งคณะกรรมการ ร่างรัฐธรรมนูญขึ้นมา 7 คน และได้เพิ่มอีก 2 คน เป็น 9 คน ทั้ง 9 คนนี้มีตัวแทนของคณะราษฎรคือ นายปรีดี พนมยงค์อยู่คนเดียว การร่างรัฐธรรมนูญที่ต่อมาจะได้ รับพระราชทานเป็นรัฐธรรมนูญการปกครองฉบับวันที่ 10 ธันวาคม 2475 นี้ (และให้ถือเอาวันที่ 10 ธันวาคม เป็น วันรัฐธรรมนูญ แต่ได้ตัดต่อจนกลายมาเป็นคำ�ว่า วันพระราชทานรัฐธรรมนูญ) ส่วนคำ�ว่า คณะราษฎร ก็ ใส่เครื่องหมายการันต์ลงไปอย่างแยบยล จนกลายเป็น คำ�ว่า คณะราษฎร์ (เพือ่ ให้พอ้ งเสียงกับคำ�ว่า “คณะราช”) ประเด็นสำ�คัญของรัฐธรรมนูญวันที่ 10 ธันวาคม 2475

ที่รัชกาลที่ 7 ขอไว้ดูก่อน 1 คืนนั้นก็คือ ได้เปลี่ยนคำ�ใน มาตรา 1 จากเดิมทีบ่ อกว่า อำ�นาจสูงสุดของประเทศนัน้ เป็นของราษฎรทัง้ หลาย กลายมาเป็น อำ�นาจอธิปไตยมา จากปวงชนชาวไทย จิตวิญญาณของคำ�ว่า “ประชาธิปไตย” จึงก่อเกิดขึ้นมาอย่างขรุขระตั้งแต่บัดนั้นจนบัดนี้ กล่าว คือจากคำ�ว่า เป็นของ ก็กลายเป็นคำ�ว่า มาจาก แต่ การเปลีย่ นแปลง “ระบอบ” เมือ่ วันที่ 24 มิถนุ ายน 2475 มันเป็น the river of no return เสียแล้ว ดังนั้นมันจึง ก่อให้เกิดเจตจำ�นงที่จะ “จำ�กัดอำ�นาจกษัตริย์ให้อยู่ใต้ รัฐธรรมนูญ” มาตั้งแต่นั้น ตัวอย่างสัญญาณอันขรุขระของคำ�ว่า “ประชาธิปไตย” ภายหลังการอภิวฒ ั น์ 24 มิถุนายน 2475 เริ่มต้นมาจาก การท้าทายอำ�นาจของฝ่ายนิยมเจ้าทีม่ กี ารต่อสูก้ บั ฝ่ายคณะ ราษฎรจนบาดเจ็บล้มตายเป็นครัง้ แรกเมือ่ เดือนตุลาคม 2476 และฝ่ายนิยมเจ้าพ่ายแพ้ กลายมาเป็นเหตุการณ์ที่ เรียกว่า กบฏบวรเดช ถ้าได้ศึกษาเอกสารชั้นต้นจากสิ่ง พิมพ์ในเวลานั้น เราจะพบว่ามีบทกวี เรื่องสั้น บทละคร และนวนิยายของไทยจำ�นวนหนึง่ ทีย่ นื อยูท่ งั้ ข้างฝ่ายคณะ เจ้าและคณะราษฎร ทางฝ่ายคณะราษฎรก็เช่นเรื่องสั้น ชื่อ ลาก่อนรัฐธรรมนูญ ของ “ศรีบูรพา” ที่พิมพ์ครั้งแรก ในหนังสือชื่อ เทอดรัฐธรรมนูญ เมื่อปลายปี 2476  21 “ศรีบรู พา”ได้สะท้อนผ่านเรือ่ งสัน้ เรือ่ งนีว้ า่ กระสุนนัดแรก จากการต่อสูอ้ นั เนือ่ งมาจากคำ�ว่า “ประชาธิปไตย” นัน้ ได้ ดังขึ้นเมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 2476 เอกสารชั้นต้นได้ระบุ ว่า ลาก่อนรัฐธรรมนูญ พิมพ์ครั้งแรกในเดือนธันวาคม 2476 แสดงว่าชั่วเวลาเพียงไม่ถึงเดือน “ศรีบูรพา” ก็ได้ เขียนเรื่องสั้นเรื่องนี้เพื่ออุทิศ “แด่วีรชน 17 นาย ซึ่ง ได้เสียสละเลือดเนื้อเพื่อความสันติสุขของประชาชาติ ไทย” ในเวลานั้น กุหลาบ สายประดิษฐ์เป็นบรรณาธิการ บริหาร นสพ.ประชาชาติ รายวัน (ที่มี มจ.วรรณไวทยา กร วรวรรณ เป็นเจ้าของ) เนื้อหาของเรื่องสั้นกล่าวถึง ตัวละครชื่อนายสมศักดิ์ เด่นชัย เป็นราษฎรหัวก้าวหน้า ยืนอยูข่ า้ งการเปลีย่ นแปลงการปกครอง 2475 ทีเ่ รียกว่า “ระบอบประชาธิปไตย” และมีความเห็นว่าฝ่ายตรงข้าม


80 นิตยสารเรื่องสั้น

คือกองกำ�ลังของพระองค์เจ้าบวรเดชฯ ที่มีนายพันเอก พระยาสิงหราชคำ�รน เป็นแม่ทัพคนหนึ่งนั้น เป็นฝ่ายที่ อยู่ข้าง “ต่อต้านการเปลี่ยนแปลง” นายพันเอกพระยา สิงหราชคำ�รนผู้นี้มีศักดิ์เป็นลุงของนายสมศักดิ์ เด่นชัย และเป็นผูค้ ดิ แผนใช้รถไฟพุง่ ชนรถถังทีม่ าขวางอยูก่ ลาง ทางรถไฟ การใช้รถไฟเป็น “ตอร์ปิโดบก”ที่ทุ่งบางเขน ครั้งนั้น มีทหารฝ่ายคณะราษฎรบาดเจ็บและเสียชีวิต จำ�นวนหนึ่ง นายสมศักดิ์ เด่นชัย ผู้เป็นหลาน ในฐานะ เป็นราษฎรคนหนึ่งจึงต้องการอาสาสมัครเป็นทหารเข้า ร่วมต่อสู้ ข้อความจากบทสนทนาตอนหนึง่ ในเรือ่ งสัน้ ลา ก่อนรัฐธรรมนูญ ภรรยาได้ถามสามีของตนที่จะไปอาสา สมัครเป็นทหารเพื่อพิทักษ์ประชาธิปไตยว่า “เธอเป็นอะไรไปเสียแล้วละคะ, ศักดิ์ ดิฉนั ขอถาม ว่า เธอจะไปรบกับใคร เธอลืมเสียแล้วหรือว่า คุณลุงของ เธอ นายพันเอกพระยาสิงหราชคำ�รน เป็นแม่ทพั คนหนึง่ ในคณะท่านบวรเดช เธอจะไปรบกับคุณลุงของเธอหรือ เธอจะไปฆ่าคุณลุงของเธอหรือคะ, ศักดิ์?” “ในเวลารบ เราไม่มีคุณลุง คุณน้อง คุณพี่” เขา พูดด้วยเสียงหนักแน่น “เรามีแต่ฝา่ ยเขากับฝ่ายเรา เมือ่ คิดถึงการของประเทศ เราต้องเลิกคิดถึงการส่วนตัว ฉัน ถือมัน่ อย่างเดียวว่า ฉันจะไปรบพวกกบฏ เมือ่ คุณลุงของ ฉันเป็นพวกกบฏ ฉันก็ช่วยไม่ได้” “เธอไม่มคี วามเคารพญาติผใู้ หญ่ของเธอบ้างหรือ?” “ฉันเคารพเหมือนกัน แต่ฉันยังเคารพรัฐบาล เคารพรัฐธรรมนูญ เคารพมติมหาชนยิง่ กว่าหลายเท่านัก” “เธอมีเหตุผลอะไร ที่เรียกคุณลุงของเธอว่าเป็น กบฏ” 22 เรื่องสั้น ลาก่อนรัฐธรรมนูญ มีใจความต่อมา ว่า นายสมศักดิ์ เด่นชัย ได้ลอบเข้าไปสังหารนายพันเอก พระยาสิงหราชคำ�รนจนสำ�เร็จ ส่วนตัวเองก็ถกู ทหารฝ่าย คณะเจ้ายิงโต้ตอบจนบาดเจ็บและเสียชีวิตในที่สุด และ ได้เปล่งวาจาครั้งสุดท้ายก่อนขาดใจว่า “ลาก่อน ยอดรัก ลาก่อนรัฐธรรมนูญ” นี่คือรากเหง้าความขัดแย้งแบบเลือดนองแผ่น

ดินครั้งแรก ที่สะท้อนผ่านเรื่องสั้นหลังการเปลี่ยนผ่าน เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2475 หลานกับลุงฆ่ากันในเรื่องสั้นไทยครั้งนี้ถือเป็น “ราคาแห่งชีวติ ”ของคำ�ว่าประชาธิปไตย ทีจ่ ะมีตวั อย่างต่อ ไปอีกจำ�นวนไม่นอ้ ย เป็นต้นเช่น เชิดนอก งานสารคดีใน รูปแบบนิยาย โดย พายัพ โรจนวิภาต (ยุคทมิฬ: 2489) 23 ประชาทัณฑ์ โดย สันต์ เทวรักษ์ (โบว์แดง: 2490) 24 DUM SPIRO, SPERO โดยอิศรา อมันตกุล (สยาม สมัยรายสัปดาห์ : 2491) 25 ถิ่นสยอง โดย “ดาวหาง” (สยามสมัยรายสัปดาห์: 2492) 26 บนผืนดินไทย โดย “อ.อุดากร” (อักษรสาส์น: 2493) 27 ฯลฯ ในบรรดา วรรณกรรมที่สะท้อน “ราคาแห่งชีวิต” เหล่านี้จะปรากฏ ต่อเนื่องมาเป็นระยะจนถึงเรื่องสั้นในช่วงรอยต่อของ ทศวรรษ 2510 และ 2520 ที่เกิดเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 และ 6 ตุลาคม 2519 ซึ่งเป็นหัวเลี้ยวหัวต่อของ อุดมการณ์ในบริบทสังคมนิยม-คอมมิวนิสต์ และทุนนิยมประชาธิปไตย ทีใ่ นครัง้ นัน้ ผมเคยเรียกว่า จิตสำ�นึกขบถ 28 ระบอบประชาธิปไตยทีม่ พี ระมหากษัตริยเ์ ป็นประมุข ได้ผ่านกาลเวลา และเส้นทางลุ่มๆ ดอนๆ ภายหลังการ อภิวัฒน์ 24 มิถุนายน 2475 มาจนครบ 80 ปีในปีนี้ เส้น ทางตัง้ แต่เริม่ ต้นจนปัจจุบนั อาจกล่าวได้วา่ ยังอยูใ่ นภาวะ “ฝุน่ ตลบ” เริม่ ตัง้ แต่รฐั ธรรมนูญฉบับแรก (พระราชบัญญัติ ธรรมนูญการปกครองสยามชั่วคราว พุทธศักราช 2475) จนมาถึงรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน (รัฐธรรมนูญแห่งราช อาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550) ที่กำ�ลังเรียกร้องให้มี การแก้ไขกันใหม่ และมีนกั วิชาการหลายคนบอกว่าบ้านเรา กำ�ลังอยูใ่ นยุคเปลีย่ นผ่าน 29 ไม่วา่ จะมีจติ วิญญาณแบบ ประชาธิปไตย กึ่งประชาธิปไตย หรือเผด็จการ จากอดีต ถึงปัจจุบนั เราได้ผา่ นรูปธรรมในการมี “รัฐธรรมนูญ” มา แล้ว 18 ฉบับ ผ่านการรัฐประหาร (ในความหมายของคำ� ว่า “ยึดอำ�นาจ”) มาแล้ว 10 ครั้ง เฉลี่ยแล้วตั้งแต่ พ.ศ. 2475 จนถึงปัจจุบันเรามีรัฐประหาร 8 ปีต่อ 1 ครั้ง มี นายกรัฐมนตรีทมี่ าจากการเลือกตัง้ และ “เสือกตัง้ ” ทัง้ หมด 28 คน มี “ทหาร” ที่มาจากการเลือกตั้ง และ “เสือกตั้ง”


นิตยสารเรื่องสั้น 81

เป็นนายกรัฐมนตรีทั้งหมด 12 คน  30 เส้นทางอันขรุขระ ของคำ�ว่าประชาธิปไตยในรอบ 80 ปีทผี่ า่ นมานี้ มีปญ ั หา ที่เราต้องถามตัวเองว่า เรามี วัฒนธรรมการเมือง จริง หรือ ถ้ามี มีแบบไหน จิตวิญญาณประชาธิปไตยเป็นผลที่ แสดงถึงวัฒนธรรมการเมืองอันเป็นวิถชี วี ติ (way of life) ของผูค้ นในสังคมทุกระดับ เช่นเดียวกับคำ�ว่า วัฒนธรรม หนังสือ ทีม่ กี ารพิมพ์หนังสือ เขียนหนังสือ มานับไม่ถว้ น ตั้งแต่สมัยปลายรัชกาลที่ 3 ไม่มีใครปฏิเสธความมีอยู่ ของคำ�ว่า “วัฒนธรรมหนังสือ” ในบ้านเรา แต่ผมก็ยงั อด สงสัยมาจนบัดนี้ไม่ได้ว่าเรามี วัฒนธรรมการอ่าน (รวม ทั้ง วัฒนธรรมการวิจารณ์) ที่งอกงามอย่างมีคณ ุ ภาพมา พร้อมกับ วัฒนธรรมหนังสือ จริงหรือเปล่า หรือว่ามัน เป็นเพียง “ภาพลวงตา”ประเภทหนึ่ง ที่ไม่ว่าจะเป็นการ เมืองหรือวรรณกรรม ต่างก็มสี ภาพคล้ายๆ กัน คือขรุขระ ไม่หลากหลาย ไม่ต่อเนื่อง และถูก “ตัดต่อ” “ตัดตอน” จนมีสภาพเป็นเหมือนที่นักเขียนรุ่นใหม่คนหนึ่งกล่าวไว้ อย่างคมคายในบทความชือ่ “ล้าสมัยเท่าสมัยทีล่ า้ หลัง” 31


82 นิตยสารเรื่องสั้น

เชิงอรรถ 1  อบ ไชยวสุ, สะกดให้ถูกตามพจนานุกรมฉบับ

ราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2493,สำ�นักพิมพ์ก้าวหน้า พ.ศ. 2505 2  พจนานุกรมฉบับมติชน, สำ�นักพิมพ์มติชน พ.ศ.2547 3  ดำ � เนิ น การเด่ น เสฐี ย รพงษ์ วรรณปก, พจนานุกรมไทย-อังกฤษ (ฉบับปรับปรุง), สำ�นักพิมพ์ มติชน พิมพ์ครั้งที่ 2 พ.ศ.2551 4  “ศรีบูรพา”, คำ�ขานรับ (เรื่องสั้น), พิมพ์ครั้ง แรกใน นสพ. เดลิเมล์วันจันทร์ ฉบับวันที่ 13 มิถุนายน พ.ศ.2493 5  สุชาติ สวัสดิ์ศรี (บรรณาธิการ), คำ�ขานรับ : รวมเรื่องสั้นร่วมสมัยของไทย “บทกล่าวนำ�”, สำ�นัก พิมพ์ดวงกมล พ.ศ.2519 และ “จิตสำ�นึกขบถในเรื่อง สั้นไทย พ.ศ.2506-2519” วารสารภาษาและหนังสือ ปี ที่ 29 พ.ศ.2541 6  เจตนา นาควัชระ “ละครพูดกับวิญญาณ ประชาธิปไตย” ปาฐกถาช่างวรรณกรรม ครั้งที่ 1, ช่อการะเกด 27 พฤษภาคม-มิถุนายน พ.ศ.2539 7  นิธิ เอียวศรีวงศ์, มติชนสุดสัปดาห์ ปีที่ 32 ฉบับที่ 1670 ฉบับวันที่ 17 – 23 สิงหาคม พ.ศ.2555 8  เสกสรรค์ ประเสริฐกุล, “นักปฏิวต ั กิ บั ประเด็น

จิตวิญญาณ” ตัวตนและจิตวิญญาณ : รวมบทความและ ปาฐกถา, สำ�นักพิมพ์สามัญชน พ.ศ.2545 9  อ่านเอกสารชั้นต้นได้จาก “ภาคผนวก” ใน แนวความคิดประชาธิปไตย ของปรีดี พนมยงค์ มูลนิธิ ปรีดี พนมยงค์จัดพิมพ์ในวาระครบรอบ 100 ปีชาตกาล ปรีดีพนมยงค์ 11 พฤษภาคม 2553 และข้อเท็จจริงทาง ประวัตศิ าสตร์และพระราชบัญญัตธิ รรมนูญการปกครอง แผ่นดินสยามชั่วคราว ฉบับ 27 มิถุนายน พ.ศ.2475 สุพจน์ ด่านตระกูล อ้างใน เสวนา “75 ปี 24 มิถุนายน 2475 :75 ปีของอะไร?” สถาบันปรีดี พนมยงค์ พ.ศ.2550 10  สุชาติ สวัสดิ์ศรี (บรรณาธิการ) มนุษย์ไม่ได้ กินแกลบ : ข้อเขียนการเมืองของกุหลาบ สายประดิษฐ์, คณะกรรมการจัดงาน ในวาระ “100 ปี ศรีบรู พา (กุหลาบ สายประดิษฐ์)” พ.ศ.2545 11  วรรณกรรมหรื อ สิ่ ง พิ ม พ์ ข อง “พวกใน ป่า” (“ศรีดาวเรือง” เคยใช้ชื่อนี้เป็นชื่อเรื่องสั้น พิมพ์ครั้ง แรกในนิตยสาร ปุถุชน 8 : ตุลาคม 2518) ได้ปรากฏขึ้น ในหลายรูปแบบ เช่นบทกวี เรื่องสั้น นวนิยาย บทความ วิจารณ์ บทความบันทึก และมีการเผยแพร่ภายใน “จัด ตัง้ ” ตัง้ แต่ชว่ งปลายปี พ.ศ.2519 จนถึงปลายปี พ.ศ.2523 โดยเรียกชื่อผลงาน “ในป่า”ของตนว่าเป็น “วรรณกรรม เพื่อชีวิต” และมีการจัดตั้งสำ�นักพิมพ์ในชื่อ “สำ�นักพิมพ์ วรรณกรรมเพื่อชีวิต” ขึ้นมาด้วย เพื่อตั้งใจให้สืบต่อกับ ขนบของคำ�ว่า “ศิลปะเพื่อชีวิต ศิลปะเพื่อประชาชน” ใน


นิตยสารเรื่องสั้น 83

ความหมายที่ “ทีปกร”เคยเขียนไว้ในหนังสือ ศิลปเพื่อ ชีวิต ที่รวมมาจากข้อเขียนเกี่ยวกับศิลปะที่เขาเขียนมา ตัง้ แต่ พ.ศ.2498 และสำ�นักพิมพ์เทวเวศน์น�ำ มารวมพิมพ์ ครั้งแรกเมื่อ พ.ศ.2500 และชื่อนี้ได้มีนักศึกษา-ปัญญา ชนกลุ่มหนึ่งนำ�มาใช้เป็นชื่อนิตยสาร มหาราษฎร์ ฉบับ วรรณกรรมเพื่อชีวิต เมื่อ พ.ศ.2515 โดยจัดทำ�ออกมา ทัง้ หมด 6 เล่ม แต่เมือ่ คำ�ว่า เพือ่ ชีวติ ถูกนำ�มาเป็นความ หมายเฉพาะของ “พวกในป่า” โดยจัดทำ� “วรรณกรรม ในป่า” ออกมาในรูปแบบ “โรเนียว” มีปรากฏในหลาย เขตงาน ทั้งภาคเหนือ ภาคอีสาน และภาคใต้ นอกจาก นั้นยังมีหนังสือพิมพ์ (โรเนียว) และนิตยสาร (โรเนียว) ที่มีเป้าหมายเผยแพร่ไปทั่วประเทศ ทั้งในเขตงาน “ปิด ลับ” และเขตงานที่เป็น “แนวร่วม” ขบวนหนังสือ “ใน ป่า”เหล่านี้มีที่ปรากฏจากเอกสารชั้นต้น เช่น สามัคคี สู้รบ อธิปัตย์ ประกายไฟ ลั่นกลองรบ ไฟลามทุ่ง ดาว แดง และวรรณกรรมเพื่อชีวิต ผลงานเรื่องสั้น นวนิยาย บทกวีและบทบันทึก “ในป่า” มีตัวอย่างเช่น ปากกากับ กระสุน กระสุนนัดแผ่เมตตา (ประเสริฐ จันดำ�) ใบไม้รว่ ง แล้วผลิ พักพลที่นาหิน ก่อนฟ้าจะสาง (สุรชัย จันทิมา ธร) เลาะเลียบริมภู คนมิใช่หิน (วิสา คัญทัพ) นิราศ ภูพาน (ยงค์ ยโสธร) ใต้เงาปืน จากลานโพธิ์ถึงภูพาน (วัฒน์ วรรลยางกูร) ลาก่อนนาวังเหล็ก หนุนขอนนอน ป่า (สมคิด สิงสง) เกิดในกองทัพฯ (จิระนันท์ พิตรปรีชา) ช่อดอกไม้ (เสกสรรค์ ประเสริฐกุล) แรงน้�ำ ใจ (พิทยา ว่อง กุล) คำ�ตัดสินของบัว (ธัญญา ชุนชฎาธาร) บทเพลงของ ผู้บุกเบิก ดงแดง ในกรงเล็บ (เริงรวี อรุณรุ่ง) ที่สุดแห่ง ความปรารถนา (ทองอิน มาบชะอำ�) ทลายแนวปิดล้อม (คำ�เพลิง ผานอก) ศึกดงอินำ� (รบชนะ ช่ำ�ชองยุทธ) บน เทือกเขาบรรทัด (พิราบ สันเย็น) ไม่มีหูหรือสหาย (ห้วย คำ�จัน) คนกับอาวุธ (จรยุทธ์ ภูซาง) อ้อมอกแม่ (แคน ภู พาน) ยุทธการต้านทางรถ (ชัชวาล ปทุมวิทย์) บันทึก จากวนาถึงนาคร (ชลธิรา สัตยาวัฒนา) เกิดในภูเขา เหล็กกล้าในเบ้าหลอม (รวมเรือ่ งสัน้ ของนักเขียนปฏิวตั ไิ ทย ทีเ่ สถียร จันทิมาธรเป็นบรรณาธิการ) ฯลฯ นอกจากนัน้

ก็มหี นังสือพิมพ์โรเนียวในเขตงานต่างๆ เช่น ตะวันแดง (พะเยา) ตะวันแดง (พัทลุง-ตรัง) ไฟเหนือ (เชียงราย) ไฟ ป่า (นครศรีธรรมราช) ธงชัย (อีสานใต้) ธงปฏิวตั ิ (ภูพาน) ปลดแอก (พิษณุโลก-เพชรบูรณ์-เลย หลักชัย (ตะนาว ศรี) ฯลฯ ความเคลื่อนไหวทางวรรณกรรมของ “พวก ในป่า”ที่มีเอกสารชั้นต้นปรากฏเหล่านี้ ล้วนเป็นส่วน หนึ่งของจิตสำ�นึก หรือจิตวิญญาณประชาธิปไตยในช่วง ระหว่างปี พ.ศ.2519-2523 ที่น่าสนใจไม่ทางตรงก็ทาง อ้อม และก็ด้วยเหตุที่คำ�ว่า วรรณกรรมเพื่อชีวิต ได้ไป ปรากฏ “ในป่า”เสียแล้ว การจัดทำ� โลกหนังสือฉบับเรือ่ ง สั้น อันเป็นต้นกำ�เนิดของนิตยสารเรื่องสั้น ช่อการะเกด เมื่อปี พ.ศ.2521 จึงได้เอาคำ�ว่า “สร้างสรรค์” มาใช้เป็น “เรื่องสั้นสร้างสรรค์” ในความหมายที่เป็น “ใบหน้าอัน หลากหลาย” โดยไม่เกี่ยวกับวรรณกรรม “ในป่า” แม้ จะมีจิตวิญญาณบางอย่างร่วมกัน แต่ก็ไม่เหมือนกันมา ตัง้ แต่สมัยก่อนเกิดเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 (อ่านราย ละเอียดจากบทนำ� โลกหนังสือ ปีที่ 3 ฉบับที่ 1 : ตุลาคม 2522) และต่อมาคำ�ว่า “สร้างสรรค์“ กลุ่มวรรณกรรมใน เมืองทีช่ อื่ วรรณกรรมพินจิ ได้น�ำ เอาไปใช้ดว้ ย แต่กใ็ ช้ใน ความหมายค่อนข้างแคบ กอง บก. โลกหนังสือ จึงจัด สนทนา “จัตรุ สั ความคิด”ขึน้ เพือ่ หาความเข้าใจให้คำ�ว่า “สร้างสรรค์” มีแง่มมุ ทีก่ ว้างขวางขึน้ ดังมีประเด็นอยูใ่ น โลกหนังสือ ปีที่ 4 ฉบับที่ 1: ตุลาคม 2523 คำ�ว่า เพื่อ ชีวติ และ สร้างสรรค์ จึงมีนยั ยะเชิงประวัตใิ นแง่การต่อสู้ ทางความคิดมาตัง้ แต่กอ่ นและหลังเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 รายละเอียดเกีย่ วกับวรรณกรรม “ในป่า” อ่านเพิม่ เติมได้จากบทความเรื่อง 4 ปีของเรื่องสั้นในขบวนการ ปฏิวัติไทย พ.ศ.2519-2522 โดยผู้ใช้นามปากกาว่า “กลุ่มนักเขียน – นักหนังสือพิมพ์เพื่อประชาชน” ใน วารสารภาษาและหนังสือ ฉบับเฉลิมพระเกียรติ ฉลอง พระชนมพรรษา 6 รอบ: 5 ธันวาคม 2542 12  ทองแถม นาถจำ�นง, (คำ�นิยม) คืนเดือนเพ็ญ : รวมวรรณกรรมเรื่องสั้นการเมืองพานแว่นฟ้า 2545, สำ�นักพิมพ์สุขภาพใจ พ.ศ.2546


84 นิตยสารเรื่องสั้น 13  สิงห์สนามหลวง, “สิงห์สนามหลวงสนทนา”

เนชั่นสุดสัปดาห์ ฉบับวันที่ 6-12 สิงหาคม พ.ศ.2544 บทความ เรื่องสั้นเรื่องแรกของไทย โดย พิทยา ว่องกุล และเอกสารชั้นต้น นายจิตรนายใจสนทนากัน จากการ ชำ�ระต้นฉบับโดย “ศรีดาวเรือง” ใน บานไม่รู้โรย ปีที่ 1 ฉบับที่ 4 พฤษภาคม 2528 14  - 15  สุชาติ สวัสดิ์ศรี (บรรณาธิการ) เพื่อน พ้องแห่งวันวาร : เรื่องสั้น “สุภาพบุรุษ”, กองทุนสุภาพ บุรุษ 31 มีนาคม พ.ศ.2553 16  ดูรายละเอียดเพิ่มเติม “ตัวอย่างสิ่งพิมพ์เก่า ปลายสมัยรัชกาลที่ 3 ถึงต้นสมัยรัชกาลที่ 8 (ภาคผนวก พิเศษ 5) ใน เพื่อนพ้องแห่งวันวาร เรื่องสั้น “สุภาพ บุรุษ” อ้างแล้ว 17  มนุษยภาพ หรือความเปนมนุษย์ หรือความ เปนคน ควรวางอยูบ่ นลักษณะอย่างไร...ตัวเราเปนใคร มีส่วนอยู่มากน้อยเพียงไรในความเสื่อมความเจริญของ ประเทศชาติ เรามีสิทธิอะไรบ้าง และควรใช้สิทธิ์นั้นได้ ภายในขอบเขตเท่าใดทีน่ ติ ธิ รรมของประเทศอนุญาตให้... ความจริงและความซือ่ ตรงจะต้องไปด้วยกันเสมอ ความ ซือ่ ตรงคือความจริง และความจริงก็คอื ความซือ่ ตรง... ความจริงเปนบ่อเกิดแห่งนิติธรรมต่างๆ เปนหัวใจของ ความบริสุทธิ์ และของความอิสระ...” บางตอนจาก มนุษยภาพ โดย กุหลาบ สายประดิษฐ์ อ้างใน มนุษย์ไม่ ได้กนิ แกลบ: ข้อเขียนการเมืองของกุหลาบ สายประดิษฐ์, สุชาติ สวัสดิ์ศรี (บรรณาธิการ) 2545 18  ดู ร ายละเอี ย ดใน ฐาปนั น ท์ นิ พิ ฎ ฐกุ ล , ภราดรภาพนิยม (Solidarisme) ของ ปรีดี พนมยงค์ ปาฐกถาปรีดี พนมยงค์ ประจำ�ปี 2549 19  ขอให้สงั เกตประโยค “แม้แต่หมาวัดยังไม่อด ตาย” เปรียบกับภาพหมาวัดขีเ้ รือ้ นในตอนจบของเรือ่ งสัน้ พระแม่คงคา เถ้าแก่บัก และหมา ที่ “ศรีดาวเรือง”เขียน เมื่อปี พ.ศ.2520 (ลลนา : พฤศจิกายน 2520) ในเรื่อง สั้นดังกล่าว “ศรีดาวเรือง”ได้เขียนไว้เป็นฉากจบว่า “..หมาขีเ้ รือ้ นทีน่ อนหนาวสัน่ ตัวนัน้ ลุกเดินอย่าง

เหงาหงอยออกไปก้มๆ เงยๆ ที่กองขยะแห่งนั้น พร้อม กับทำ�จมูกฟิดฟิดอย่างขัดใจ เพราะหาอะไรเป็นประโยชน์ กับท้องอันแสนหิวของมันไม่ได้ มันก้มๆเงยๆ หันรีหัน ขวางอยู่ครู่หนึ่ง ก่อนที่จะทำ�ได้เพียงแค่หย่อนตูดลงขี้ไว้ บนกองกระทงแห่งนัน้ พร้อมกับตะกุยตีนสองสามที และ วิ่งออกจากวัดไปอย่างไม่แยแส” ภาพหมาวัดขี้เรื้อนดังกล่าว ดร.เบนเนดิกท์ แอนเดอร์สนั ผูแ้ ปลเรือ่ งสัน้ ชิน้ นีเ้ ป็นภาษาอังกฤษได้เขียน บทกล่าวนำ�ให้ความเห็นเกีย่ วกับตอนจบของเรือ่ ง พระแม่ คงคา เถ้าแก่บัก และหมา ไว้ในหนังสือเรื่อง ในกระจก: วรรณกรรมและการเมืองสยามยุคอเมริกัน (สำ�นักพิมพ์ อ่าน 2533) มีความตอนหนึ่งว่า “.. “...อารมณ์เย้ยหยันอันเยียบเย็นของประโยคสุดท้าย นัน้ (ซึง่ เย้ยหยันทัง้ พระ คณะกรรมการวัด ข้าราชการ เจ้า สัว และบรรดาผู้มีศรัทธาแรงกล้าแต่อ่อนต่อโลกที่ยอม ให้ตนเองถูกปอกลอกโดยผู้จัดงาน) โหดร้ายเสียยิ่งกว่า ประโยคใดๆ..ถือได้วา่ เป็นคุณภาพเฉพาะตัวในลีลาของผู้ เขียน วิธีดีที่สุดหากจะบรรยายลีลานี้ ก็อาจจะต้องเรียก ว่าเป็นการถอยห่างอย่างบาดลึก จงใจปฏิเสธการรู้เห็น เป็นใจใดๆ กับผู้อ่าน ‘ที่อยู่ภายนอกของเรื่องราว’ ทั้ง ยังไม่ยอมให้มีการเชื่อมโยงใดๆ กับตัวละคร..” แต่สิ่งที่ ดร.เบนเนดิกท์ แอนเดอร์สันไม่ได้กล่าว เชื่อมโยงไว้กค็ อื ภาพของหมาวัดขีเ้ รื้อนในเรื่องสัน้ พระ แม่คงคา เถ้าแก่บัก และหมา ที่“ศรีดาวเรือง”เขียนขึ้น ในช่วงหลังเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 ชิ้นนี้ น่าจะมีนัย ยะที่ลงลึกไปถึงคำ�ว่า “..หมาวัดยังไม่อดตาย” อันเป็น ประโยคทีร่ ชั กาลที่ 7 ได้กล่าววิจารณ์ เค้าโครงเศรษฐกิจ (สมุดปกเหลือง) ของนายปรีดี พนมยงค์ ไว้ใน สมุดปก ขาว เมื่อ พ.ศ.2476 20  “75 ปี 24 มิถน ุ ายน 2475 : 75 ปีของอะไร?” ข้อเท็จจริงทางประวัตศิ าสตร์และพระราชบัญญัตธิ รรมนูญ การปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว ฉบับ 27 มิถุนายน 2475, อ้างแล้ว 21  เทอดรัฐธรรมนูญ เป็นชือ ่ หนังสือวรรณกรรม


นิตยสารเรื่องสั้น 85

รายปีในช่วงหลังการเปลีย่ นแปลงการปกครอง พ.ศ.2475 โด่งดังเป็นที่รู้จักและเป็นเหมือนสนามประลองฝีมือการ ประพันธ์ของนักเขียน นักประพันธ์ไทยในรุ่นทศวรรษ 2470 และ 2480 หนังสือวรรณกรรมรายปีที่โด่งดังใน สมัยนั้นและกลายเป็นหนังสือ “หายาก”อย่างยิ่งในสมัย นี้ มี 2 รายชื่อ คือ งานกาชาด และ เทอดรัฐธรรมนูญ นักเขียน นักประพันธ์ นักหนังสือพิมพ์ผู้ใดมีชิ้นงานได้ รับพิมพ์ครั้งแรกในหนังสือวรรณกรรมรายปี 2 เล่มนี้ จึงเป็นเหมือนพื้นที่ “ผ่านเกิด” ของพวกเขา นักเขียน นักประพันธ์ นักหนังสือพิมพ์ที่มาชุมนุมกันเป็นรายปีนี้ มีทั้งที่เคยมีชื่อเสียงมาตั้งแต่ในรุ่นรอยต่อของทศวรรษ 2450 และ 2460 หนังสือวรรณกรรมรายปี งานกาชาด จัดทำ�ขึ้นเป็นอนุสรณ์ “งานกาชาด” ประจำ�ปี ไม่มีหลัก ฐานครบถ้วนว่าหนังสือ งานกาชาด ได้จัดทำ�ผ่านมากี่ เล่ม เอกสารชั้นต้นที่เคยเห็นทั้ง งานกาชาด และ เทอด รัฐธรรมนูญ คือฉบับประจำ�ปี พ.ศ.2477 เข้าใจว่าหนังสือ เทอดรัฐธรรมนูญ ที่มีเรื่องสั้น ลาก่อนรัฐธรรมนูญ ของ “ศรีบูรพา” นั้นพิมพ์ครั้งแรกมาตั้งแต่เมื่อ พ.ศ.2476 ชาลี เอี่ยมกระสินธุ์ได้เคยนำ�เอา ต้นฉบับของเรื่องสั้นชิ้นนี้มาให้สำ�นักพิมพ์วิทวัสจัด พิมพ์ขึ้นอีกครั้ง เมื่อ พ.ศ.2522 และได้นำ�เอาเรื่องสั้น อื่นๆ ของ “ศรีบูรพา” เช่น ความรักของปุถุชน คืนที่ ลืมไม่ได้ ทำ�เงินทำ�งาน ใครจะเป็นคนฟัง และอาหาร แห่งชีวิต มาจัดพิมพ์ในเล่มเดียวกันด้วย โดยเรื่องสั้น ลาก่อนรัฐธรรมนูญ ที่นำ�มาพิมพ์ครั้งที่ 2 ได้ให้ที่มาของ แหล่งพิมพ์ครั้งแรกไว้ว่า พิมพ์อยู่ในหนังสือรายปี เทอด รัฐธรรมนูญ 2476 ส่วนเรื่องสั้นอื่นๆ ที่เป็นเรื่องสั้นใน สมัยแรกของ “ศรีบูรพา”กลับไม่ได้ให้ที่มาของ “เอกสาร ชั้นต้น”ไว้เลย สำ�หรับหนังสือรายปี เทอดรัฐธรรมนูญ ที่ ลงพิมพ์เรือ่ งสัน้ ลาก่อนรัฐธรรมนูญ ไว้เมือ่ พ.ศ.2476 นี้ ต่อมาได้มีการจัดทำ�หนังสือ เทอดรัฐธรรมนูญ ประจำ�ปี พ.ศ.2477 ออกมาอีก โดยมี “ธนเหนือ” เป็นบรรณาธิการ (“ธนเหนือ” เป็นนามปากกาของนักเขียน นักประพันธ์ และนักแปลในรุ่นทศวรรษ 2460) และในหนังสือ เทอด

รัฐธรรมนูญ ประจำ�ปี พ.ศ.2477 นี้ ได้ปรากฏเรื่องสั้น เรื่องแรกของเสนีย์ เสาวพงศ์ ที่ชื่อ วณิพก อยู่ด้วย โดย ในครั้งนั้นใช้นามจริงว่า “บุญส่ง บำ�รุงพงศ์” (ก่อนที่จะ เปลี่ยนเป็น “ศักดิ์ชัย บำ�รุงพงศ์” ในภายหลัง) 22  เรือ่ งสัน ้ ลาก่อนรัฐธรรมนูญ ทีป่ รากฏในหนังสือ รายปี เทิดรัฐธรรมนูญ 2476 นี้ “ศรีบรู พา”ได้น�ำ เอากรณี “กบฏบวรเดช” มาสร้างเรือ่ งโดยจำ�ลองขึน้ จากเหตุการณ์ จริง กล่าวคือนายพันเอกพระยาสิงหราชคำ�รน ที่มีศักดิ์ เป็นลุงของนายสมศักดิ์ เด่นชัย นั้น น่าจะจินตนาการมา จากชีวิตของนายพันเอกพระยาศรีสิทธิสงคราม (ดิ่น ท่า ราบ) ซึง่ เป็นแม่ทพั คนหนึง่ ของฝ่ายคณะเจ้าทีเ่ สียชีวติ ใน การสูร้ บ นายพันเอกพระยาศรีสทิ ธิสงคราม (ดิน่ ท่าราบ) ผู้นี้ โดยประวัตคิ อื บิดาของ พญ.โชติศรี ท่าราบ นักเขียน สตรีที่ผู้อ่านรู้จักกันในนามปากกา “จิ๋ว บางซื่อ” นอกจากนั้นยังมีบทละครของเสาว์ บุญเสนอที่ ในครั้งนั้นใช้นามปากกาว่า “ลี เชยสกุล” เขียนบทละคร พูดประกอบเพลงไว้ในชือ่ คืนปฏิวตั ิ งานเขียนในรูปแบบ “บทละครฉากเดียวจบ” ของเสาว์ บุญเสนอชิ้นนี้ เข้าใจ ว่าเขียนขึ้นในช่วงหลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ .ศ. 2475 ไม่แน่ใจว่าได้รบั การพิมพ์ครัง้ แรกหรือยัง แต่เคย เห็นต้นฉบับพิมพ์ดีดอยู่ที่บ้านของ “ลุงเสาว์” ตั้งแต่เมื่อ ครั้งทีบ่ า้ นหลังนัน้ ยังไม่ได้กลายเป็น “พิพธิ ภัณฑ์บา้ นนัก เขียน เสาว์ บุญเสนอ” อยากขอให้สืบค้นดู ถ้ายังไม่ได้ ตีพิมพ์ สมาคมนักเขียนฯควรนำ� “เอกสารชั้นต้น”ชิ้นนี้ มาเผยแพร่ เพือ่ ประกาศเกียรติคณ ุ ให้ “ส.บุญเสนอ” บท ละครพูดประกอบเพลง “ฉากเดียวจบ”เรือ่ ง คืนปฏิวตั ิ ที่ ว่านีส้ ะท้อนบรรยากาศของการ “ยึดอำ�นาจ”ในสังคมไทย เหมือนหนึ่งเป็น “นิสัยปกติ” 23  เชิดนอก เป็นงานเขียนในรูปแบบ non-fiction novel ยุคแรกของประวัติวรรณกรรมไทยสมัยใหม่ โดย ก่อนหน้านัน้ มีหนังสือในรูปแบบใกล้เคียงกันชือ่ แดนหก โดย ชุลี สารนุสิต อดีตนักโทษการเมืองในรุ่นนั้น และ เป็นนักเขียนเรื่องสั้นในอดีตอีกคนหนึ่งที่ดูเหมือนถูก แวดวงวรรณกรรมในปัจจุบันลืมไปแล้ว หนังสือหายาก


86 นิตยสารเรื่องสั้น

ในรูปแบบ “บันทึกความทรงจำ�” เล่มนี้ เคยมีอยู่ที่บ้าน หลังหนึ่ง แต่ปัจจุบันได้มอบให้ “น้องน้ำ�” ไปเรียบร้อย แล้ว เชิดนอก ที่นำ�มาอ้างนี้เป็นบทหนึ่งในหนังสือชื่อ ยุคทมิฬ ที่พายัพ โรจนวิภาต (สมัยรับราชการมียศเป็น ร.ท.ขุนโรจนวิชัย) เขียนขึ้นในช่วงปลายทศวรรษ 2480 เข้าใจว่างานชิน้ นีจ้ ะพิมพ์เป็นตอนๆ ในหนังสือพิมพ์ฉบับ หนึ่ง ก่อนจะนำ�มารวมพิมพ์เป็นเล่มครั้งแรกเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ กรกฎาคม พ.ศ.2489 และยุคทมิฬ เล่มนี้ เป็นคนละเล่มกับ ยุคทมิฬ ทีเ่ ป็นชือ่ หนังสือรวมเรือ่ งสัน้ ของ อิศรา อมันตกุล เมื่อ พ.ศ.2495 ยุคทมิฬ ของ พายัพ โรจนวิภาตเล่มนี้ ต่อมาสำ�นักพิมพ์สอ เสถบุตรได้นำ�มาจัดพิมพ์ครั้งที่ 2 เมื่อ พ.ศ.2515 เนื้อหาที่ไม่รวม “ภาคผนวก” มีทั้งหมด 10 บท เชิดนอก เป็นบทที่ 6 นำ�เสนอภาพการประหาร ชีวิตนักโทษการเมือง 18 คนที่ตกเป็นจำ�เลยใน “ฐานะ กบฏ” ในสมัยจอมพล ป.พิบลู สงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี เมื่อ พ.ศ.2481 นักโทษการเมืองที่ได้ถูกประหารชีวิตไป ในครั้งนั้นก็เช่น พ.ท.พระสุวรรณชิต พ.อ.หลวงชำ�นาญ ยุทธศิลป์ พ.ท.หลวงไววิทยาศร พ.ต.ต.ขุนนามนฤนาถ ร.อ.จรัส สุนทรภักดี ร.ท.แสง วัณณะศิริ นายลี บุญตา ฯลฯ และชือ่ ทีค่ นุ้ กันมากทีส่ ดุ คือ ร.ท.ณ เณร ตาละลักษณ์ นี่คือความขัดแย้งในฝ่ายคณะราษฎรสายทหาร ระหว่าง พระยาทรงสุรเดชและจอมพล ป.พิบูลสงคราม สมัยที่ จอมพล ป.พิบูลสงครามได้อำ�นาจเป็นนายกรัฐมนตรี (พ.ศ.2481-2487) ซึง่ เป็นยุคเริม่ ต้น “ชาตินยิ มทางทหาร” และการประกาศ “รัฐนิยม” ฉบับต่างๆ เช่น การยืนตรง เคารพธงชาติวันละ 2 เวลา ในปัจจุบันผลสืบเนื่องจาก ความคิดเผด็จการของจอมพล “ตราไก่” ผู้นี้ก็ยังปรากฏ อยู่ และในสมัย “ชาตินิยมทางทหาร” ครั้งนี้เองที่เลือด ต้องหลั่งเพื่อสังเวยคำ�ว่า “ประชาธิปไตย”อีกครั้งหนึ่ง โดยมีสมญาเรียกกันว่า “ยุคทมิฬ” 24  ประชาทัณฑ์ เป็นเรื่องสั้นที่ดีที่สุดเรื่องหนึ่ง ของ สันต์ เทวรักษ์ พิมพ์ครั้งแรกในนิตยสาร โบว์แดง รายสัปดาห์ เมือ่ เดือนธันวาคม พ.ศ.2490 นำ�เสนอภาวะ

เหนือจริงเหมือนตกอยู่ในดินแดนประหลาดของตำ�รวจ ชั้นผู้น้อยคนหนึ่ง ลีลาการประพันธ์อาจจัดให้เป็นเรื่อง สัน้ “เซอร์เรียลิสท์” รุน่ แรกๆของประวัตเิ รือ่ งสัน้ ไทยสมัย ใหม่ก็คงได้ ดังเช่นประโยคว่า “..เขาเป็นบุคคลที่ตาย แล้ว ตายตามคำ� พิพากษาของประชาชน ทั้งๆที่ยังมีชีวิตอยู่ เขา เดินไปในป่าช้าของชีวติ ..เขายังมีชวี ติ อยู่ แต่เขาได้ตายไป แล้ว ตายเพราะเขาต้องประชาทัณฑ์..” ถ้าเราได้ศึกษา “เอกสารชั้นต้น” ในอดีตอย่างต่อเนื่อง เราคงจะเห็นว่า งานของนักเขียน นักประพันธ์ไทยในอดีตก็มีลีลา “แนว ทดลอง” มากบ้างน้อยบ้างมานานแล้ว ไม่ใช่เพิ่งมาเริ่ม ต้นที่ วินทร์ เลียววาริณ หรือ ปราบดา หยุ่น และถ้าสันต์ เทวรักษ์มาเขียนเรือ่ งสัน้ เรือ่ งนีใ้ นรุน่ ทศวรรษ 2510 บางที เขาอาจจะถูกมองว่าเป็นนักเขียนใน “คตินิยมสมัยใหม่” (modernism) เหมือนเช่นนักเขียนไทยในรุน่ ทศวรรษ นัน้ ก็คงได้ ผมเคยนำ�เรื่อง ประชาทัณฑ์ มาพิมพ์ซ้ำ�อีกครั้ง ใน โลกหนังสือ ปีที่ 1 ฉบับที่ 6: มีนาคม พ.ศ.2521 เพื่อ นำ�เสนอตัวอย่างเรื่องสั้น “ต่อต้านเผด็จการ”ของไทย ในอดีตที่แสดง “จิตวิญญาณประชาธิปไตย” อยู่ในเนื้อ งานทางอ้อม เมื่อเร็วนี้มีการศึกษาเรื่องสั้นไทยในแนว คตินยิ มสมัยใหม่ โปรดอ่าน สรณัฐ ไตลังคะ เรือ่ งสัน้ ไทย แนวคตินิยมสมัยใหม่ พ.ศ.2507 – 2516 วิทยานิพนธ์ อักษรศาสตร์ดษุ ฎีบณ ั ฑิต คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย พ.ศ.2550 25  DUM SPIRO, SPERO เรื่องสั้นชื่อภาษา ละตินเรื่องนี้ อิศรา อมันตกุล เขียนพิมพ์ครั้งแรกใน นิตยสาร สยามสมัย รายสัปดาห์ เมื่อวันที่ 18 ตุลาคม พ.ศ.2491 และสำ�นักพิมพ์ภราดรได้น�ำ มารวมพิมพ์เป็น เล่มครัง้ แรกเมือ่ พ.ศ.2495 ในชือ่ ปกว่า ยุคทมิฬ หนังสือ รวมเรือ่ งสัน้ ของอิสรา อมันตกุลเล่มนีม้ เี นือ้ หาสะท้อนจิต วิญญาณประชาธิปไตย ต่อต้านเผด็จการ โดยอิศราได้ นำ�เสนอความคิดของเขาไว้ในคำ�กล่าวปิดท้ายตอนหนึ่ง ว่า “ข้าพเจ้าเป็นสามัญชนคนหนึง่ ซึง่ มัน่ หมายจะเขียน เฉพาะแต่เรื่องราวของประชาชน เพื่อถ่ายทอดความคิด


นิตยสารเรื่องสั้น 87

ความรู้สึก ความดิ้นรนและความหวังของประชาชนไปสู่ ประชาชน เพราะประชาชนเท่านัน้ ทีเ่ ป็นผูก้ ำ�ลังต่อสู้ และ กำ�ลังทำ�งาน เพื่อสร้างเสรีภาพอันถูกต้องและศตวรรษ แห่งสามัญชนขึ้นในระยะนี้” เนือ้ หาของ DUM SPIRO, SPERO เล่าถึงนาย สุจริต ธาดา นักหนังสือพิมพ์ผู้ผันตัวเองไปเป็นนักการ เมือง และเริ่มต้นเปิดโปงเรื่องทุจริตของนักการเมืองใน รัฐสภา จนถูกรัฐมนตรีคนหนึ่งซึ่งเป็นพ่อของหญิงคน รัก “สั่งเก็บ” แต่ “…กระสุนพลาดเป้าเฉียดไปโดนเข้า ที่ไหล่” ขณะนอนรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาล เพื่อนนัก หนังสือพิมพ์ได้ถามเขาว่า “นีน่ ายยังหวังจะสูอ้ ทิ ธิพลมืด ต่อไปอีกหรือ” นายสุจริต ธาดา ก็ตอบว่า “Dum spiro, spero!” (แปลว่าอะไร ขอความรูจ้ ากผูร้ ภู้ าษาละตินด้วย) 26  ถิ่นสยอง โดย “ดาวหาง” นามปากกาของ นักเขียนเรือ่ งสัน้ สะท้อนภาพสังคม-การเมืองในรุน่ รอยต่อ แห่งทศวรรษ 2490 และ 2500 นามปากกา “ดาวหาง”ผู้ นี้ เจือ สตะเวทิน เคยให้ความเห็นไว้ทำ�นองว่า ผลงาน เรือ่ ง พัทยา ทีเ่ ขียนโดย “ดาวหาง” คือนวนิยายการเมือง เรือ่ งแรกของไทย ซึง่ เรือ่ งนีก้ ย็ งั ไม่ชดั เจนนักว่าจริงหรือ เปล่า เพราะในความเห็นของผม เรื่องสั้น นายจิตรนาย ใจสนทนากัน ก็มีนัยยะของคำ�ว่า “การเมือง” มาตั้งแต่ เมื่อ พ.ศ.2417 โน่นแล้ว เรื่องสั้น ถิ่นสยอง ที่อ้างพิมพ์ ครั้งแรกใน สยามสมัย รายสัปดาห์ ปีที่ 3 ฉบับที่ 137 ( 26 ธันวาคม 2492) เล่าเรือ่ งของ ส.ต.ต. ห้าว กรกำ�แหง “เสือแม่นปืนแห่งสันติบาล” ที่ถูกมอบหมายให้ไปจับตัว หัวหน้าผูก้ อ่ การจลาจล แต่เกิดผิดพลาด ตำ�รวจทีไ่ ปจับ นัน้ กลับ“ลัน่ ไกปังเดียว” จนหัวหน้าผูก้ อ่ การจลาจลคนนัน้ เสียชีวิต และเรื่องนี้มารู้ในภายหลังว่า ผู้ที่เขาได้รับคำ� สั่งให้ไปจับนั้น เป็น “นักเขียนจนๆ คนหนึ่ง” 27  บนผืนดินไทย เรื่องสั้นของ “อ.อุดากร” (นามปากกาของ อุดม อุดาการ)เรื่องนี้ ได้รับการพิมพ์ ครั้งแรกในนิตยสาร อักษรสาส์น ฉบับเดือนพฤษภาคม พ.ศ.2493 เล่าถึง “หมอกบฏ”คนหนึ่งที่กำ�ลังหลบหนี การตามล่าของตำ�รวจ เขาเป็นหมอที่มีชื่อปรากฏอยู่ใน

“จำ�นวนผูท้ จี่ ะต้องถูกกวาดล้าง” ระหว่างการหลบหนี เขา พบเพือ่ นคนหนึง่ ทีเ่ รียนหมอมาด้วยกัน เพือ่ นผูน้ นั้ ขอเสีย สละเบีย่ งเบนความสนใจของตำ�รวจ เพือ่ “หมอกบฏ”ผูน้ นั้ จะได้อยู่รักษาลูกชาวบ้านคนหนึ่งที่กำ�ลังป่วยหนัก และ ในที่สุดเพื่อนของ “หมอกบฏ”ผู้นั้นก็ถูกตำ�รวจที่ตามล่า ยิงตาย ประโยคสุดท้ายของเขาในเรือ่ งสัน้ นีค้ ลาสสิคมาก “เผชิญ, แผ่นดินไทยผืนนี้ฝากไว้ด้วย” บนผืนดินไทย ของ “อ.อุดากร” พิมพ์ครัง้ แรกใน เดือนพฤษภาคม พ.ศ.2493 ดังนัน้ จึงเข้าใจว่า “อ.อุดากร” คงจำ�ลองเหตุการณ์ขนึ้ มาจากสถานการณ์ทางการเมือง เมือ่ เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.2492 ซึง่ เป็นการรัฐประหาร (ที่ ล้มเหลว) ของคณะนายปรีดี พนมยงค์ และในเหตุการณ์ ครั้งนั้นมีผู้เรียกกันว่า “กบฏวังหลวง” 28  สุชาติ สวัสดิ์ศรี (บรรณาธิการ) , “บทกล่าว นำ�” คำ�ขานรับ สำ�นักพิมพ์ดวงกมล พ.ศ.2519 29  ชุมนุมปาฐกถา 70 ปี ชาญวิทย์ เกษตรศิริ, สยามยามเปลี่ยน (ไม่)ผ่าน, สำ�นักพิมพ์ฟ้าเดียวกัน พฤษภาคม พ.ศ.2555 30  ธนาพล อิ๋วสกุล, “บันทึก 80 ปีการเมือง ไทย จาก 2475 ถึง 2555” อ้างใน สารคดี ฉบับที่ 328 มิถุนายน พ.ศ.2555 31  “เรากำ�ลังเรียกร้อง และเขียนถึงสิ่งที่เชย เหลือเกินเราต้องล้าสมัยให้เท่าทันกับความเป็นจริงทีล่ า้ หลัง as obsolete as reality itself ล้าสมัยเท่าสมัยที่ ล้าหลังในบริบทอัน ‘เฉพาะเจาะจง’ ความทันสมัยหรือ ท่าทีแบบหลังสมัยใหม่อาจถูกใช้แบบฉวยโอกาส เถรตรง หรือไม่แยบคายต่อการเมืองจนกลายเป็นปฏิปกั ษ์ตอ่ การ เปลี่ยนแปลง-ปฏิรูป-ปฏิวัติ ในบริบทอันเฉพาะเจาะจง เราต้องกลับไปหาความเป็นสมัยใหม่อนั ล้าสมัยเพือ่ ทีจ่ ะ ไปให้พน้ จากความร่วมสมัยทีล่ า้ หลัง..” อ่านรายละเอียด ใน มุกหอม วงษ์เทศ “ล้าสมัยเท่าสมัยทีล่ า้ หลัง” วารสาร อ่าน ปีที่ 4 ฉบับที่ 1 เมษายน-มิถุนายน พ.ศ.2555 32  อ่านความเห็นเรือ่ ง “ราชาชาตินย ิ ม” จาก ธงชัย วินิจจะกุล ข้ามให้พ้นประชาธิปไตยแบบหลัง 14 ตุลา,


88 นิตยสารเรื่องสั้น

ปาฐกถา 14 ตุลา ประจำ�ปี 2548 , มูลนิธิ 14 ตุลา,2548 33  นีลล์ มุลเดอร์, “การสือ ่ แสดงความหมายทาง วัฒนธรรมของแก่นเรื่องที่เด่นๆในวรรณกรรมสมัยใหม่ ของไทยและชวา” (พวงร้อย คำ�เรียง, คำ�แก้ว อัศนี แปล) ใน โลกหนังสือ ปีที่ 4 ฉบับที่ 2 : พฤศจิกายน 2523 34  อ้างใน ปรีชา สุวรรณทัต, เสวนา “75 ปี 24 มิถุนายน 2475 :75 ปีของอะไร?” ข้อเท็จจริงทาง ประวัตศิ าสตร์ ฯ, สถาบันปรีดี พนมยงค์ มิถนุ ายน 2550 35  อ่านบรรยากาศบางส่วนเกีย ่ วกับวรรณกรรม “เล่มละบาท” ได้จาก ประจักษ์ ก้องกีรติ ก่อนจะถึง 14 ตุลา: ความเคลื่อนไหวทางการเมืองวัฒนธรรมของ นักศึกษาและปัญญาชน ภายใต้ระบอบเผด็จการทหาร (พ.ศ.2506-2516) วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาประวัติศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์ พ.ศ.2545 และตัวอย่างเรื่องสั้นบางเรื่อง ที่นำ�มาจากวรรณกรรม “เล่มละบาท” ที่พิมพ์ครั้งแรก ในช่วงก่อนเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 ในหนังสือ วรรณมาลัยเรื่องสัน้ ร่วมสมัยของไทย 4 ชุด คือ แล้งเข็ญ (2518) ถนนสายทีน่ �ำ ไปสูค่ วามตาย (2518) เหมือนอย่าง ไม่เคย (2519) และ คำ�ขานรับ (2519), สุชาติ สวัสดิ์ศรี บรรณาธิการ สำ�นักพิมพ์ดวงกมล รวมพิมพ์ครั้งแรก 36  นิธิ เอียวศรีวงศ์, “คนน่าชัง”, มติชนสุด สัปดาห์ ปีที่ 32 ฉบับที่ 1637: 30 ธันวาคม 2554 – 5 มกราคม 2555

37  อ่านข้อคิดเห็นในแง่มุมเกี่ยวกับเรื่องสั้น

ช่อ

การะเกด ยุคต่างๆได้จาก วิทยานิพนธ์ 4 เล่ม ต่อไปนี้ (1)นรินทร์ นำ�เจริญ,บทบาทในการสะท้อนและ วิพากษ์วิจารณ์สังคมของ นิตยสารแนววรรณกรรมไทย, วิทยานิพนธ์ นิเทศศาสตร์มหาบัณฑิต ภาควิชาวารสารสนเทศ บัณฑิต วิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ.2441 (2) เจริญศรี มาศรี, วิเคราะห์เรือ่ งสัน้ ในนิตยสาร ช่อการะเกด, วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชา ภาษาไทย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม พ.ศ.2540 (3) เกศินี จุฑาวิจติ ร, ผลกระทบวิกฤตเศรษฐกิจ ในยุคโลกาภิวัตน์ กับโลกทัศน์นักเขียน: ภาพสะท้อน สังคมและโลกทัศน์นักเขียน จากวรรณกรรมประเภท เรื่องสั้น ระหว่าง พ.ศ.2540-2544, วิทยานิพนธ์ดุษฎี บัณฑิต สาขาวิชาสหวิทยาการ คณะวิทยาการจัดการ คณะ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พ.ศ.2548 (วิทยานิพนธ์เล่มหลัง ต่อมาได้จัดพิมพ์เป็นหนังสือชื่อ มองเรื่องให้เห็นภาพ: ภาพสะท้อนสังคมและโลกทัศน์ นักเขียนจากเรื่องสั้นยุควิกฤตเศรษฐกิจ, มหาวิทยาลัย ราชภัฏนครปฐม พ.ศ.2550) (4) Ellen Elizabeth Bocouzzi, Becoming Urban: Thai Literature about Rural – Urban Migration and a Society in Transition, Phd. Dissertation


นิตยสารเรื่องสั้น 89

Department of South and Southeast Asian Studies, University of California, Berkeley,Fall 2007 38  อ่าน “บทนำ�”ของเบเนดิกท์ แอนเดอร์สน ั และ ภาคผนวกว่าด้วยคำ�นิยม (สุชาติ สวัสดิ์ศรี) คำ�วิจารณ์ (ชูศักดิ์ ภัทรกุลวณิชย์) คำ�ตาม (ประจักษ์ ก้องกีรติ) และ คำ�ส่งท้าย (เบเนดิกท์ แอนเดอร์สัน) อ้างใน ในกระจก : วรรณกรรมและการเมืองสยามยุคอเมริกัน (ไอดา อรุณ วงศ์ บรรณาธิการ), สำ�นักพิมพ์อ่าน พ.ศ.2553 39  วัตถุประสงค์ของวรรณกรรมการเมือง พาน แว่นฟ้า ได้ประกาศหลักการไว้ ดังนี้ 1. เพือ่ สนับสนุนการปกครองระบอบประชาธิปไตย ในระบบรัฐสภา อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข 2.เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนได้ใช้เสรีภาพทาง การเมือง โดยใช้ศิลปะถ่ายทอดความรู้สึกสะท้อนภาพ

การเมืองและสังคม หรือจินตนาการถึงการเมืองและ สังคมที่ต้องการ ในรูปแบบของเรื่องสั้นและบทกวี 3.เพือ่ สืบสานสร้างสรรค์วรรณกรรมการเมืองให้ มีส่วนปลุกจิตสำ�นึกประชาธิปไตย (ตัวเอนข้อ 2 เน้นโดยผู้บรรยาย) อ้างในโปสเตอร์ “ชิงรางวัลพานแว่นฟ้า” ครั้ง ที่ 11 ประจำ�ปี 2555 เผยแพร่โดยกลุ่มงานเผยแพร่ ประชาธิปไตยและกิจกรรมสภาผู้แทนราษฎร สำ�นัก ประชาสัมพันธ์ สำ�นักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร) 40  จรัญ ยัง่ ยืน รวมเรือ ่ งสัน้ พญาอินทรี, สำ�นัก พิมพ์มติชน 2548 41  ธงชัย วินจิ จะกุล, ข้ามไปให้พน ้ ประชาธิปไตย แบบหลัง 14 ตุลา: ปาฐกถา 14 ตุลา ประจำ�ปี 2548, อ้างแล้ว


90 นิตยสารเรื่องสั้น


นิตยสารเรื่องสั้น 91

การเดินทางท่ามกลางตัวอักษร เรื่องโดย สุณิสา เจริญนา

ก่อนหน้านี้ การเดินทางของฉันมักจะขึ้นอยู่กับการ ตัดสินใจและความเมตตาของบรรณาธิการ ทีจ่ ะพิจารณา ส่งฉันเดินทางไปยังสถานทีต่ า่ งๆ ร่วมกับคณะบุคคลและ สื่อมวลชนแขนงอื่นๆ ทั้งสื่อสิ่งพิมพ์ (หนังสือพิมพ์และ นิตยสาร) วิทยุ และโทรทัศน์ ตามแต่วาระ เวลา และ โอกาส แน่นอนว่าการไปในสถานที่ท่องเที่ยวนั้นๆ ฉัน ต้องเก็บภาพ ข้อมูลรายละเอียดและเรือ่ งราวระหว่างการ เดินทางติดมือติดใจกลับมาด้วย เพื่อจะมานำ�เสนอต่อ ผูอ้ า่ นให้ทราบถึงสถานทีท่ อ่ งเทีย่ ว กิจกรรมหรือเทศกาล ที่ฉันไปเยี่ยมเยียน ว่ามีสิ่งใดที่น่าสนใจและน่าติดตาม สำ�หรับคนที่ไม่ไปด้วยกันกับฉันบ้างหรือไม่ ครั้งนี้ ต่างกันมากนักกับครั้งก่อน ฉันอาจหาญ (มาก) ที่ขอบรรณาธิการ (ที่เคารพ) เขียนเรื่องราวขึ้นเอง เพื่อส่งให้บรรณาธิการพิจารณา มิหนำ�ซ้ำ�ยังไม่ใช่เรื่อง ท่องเที่ยวที่ตนเองเคยเขียน ไม่มีรูปทิวทัศน์สวยๆ ไม่มี เพื่อนร่วมเดินทาง ไม่มีเหตุการณ์ระทึกขวัญ ไม่ว่าจะตก น้ำ� หกล้ม ชนต้นไม้ หรือป่วยไข้ระหว่างการทำ�งาน มี เพียงประสบการณ์ การเดินทางที่อาจเรียกได้ว่า ‘น้อย

มาก’ ที่อยากนำ�มาแบ่งปันกันเท่านั้นเอง การเดินทางของฉันในครั้งนี้ ไม่ได้เดินทางท่อง เทีย่ วไปยังสถานทีส่ �ำ คัญๆ ของจังหวัดใดจังหวัดหนึง่ ไม่ ได้ไปวัด ไม่ได้ไปน้�ำ ตก ไม่ได้ปนี ถ้�ำ ไม่ได้ปนี ผา ไม่ได้เลาะ ชายหาด และไม่ได้ท�ำ ตัวโอ่อา่ อยูต่ ามโรงแรมหรู หากแต่ เป็นการเดินทางเข้าไปในสวนอักษร สวนของตัวหนังสือ สวนของภาษา ก ไก่ ถึง ฮ นกฮูก ที่มีทั้งพยัญชนะ สระ วรรณยุกต์ คำ�สมาส คำ�สนธิ คำ�เป็น คำ�ตาย คำ�นู้น คำ�นี้ คำ�นัน้ คำ� คำ� คำ� คำ�...และ (มากกว่า) คำ�...เต็มไปหมด จะว่าไป ไม่วา่ ช่วงชีวติ ของฉันหรือแม้แต่ของใคร คนอื่นๆ ก็ล้วนเกี่ยวข้องกับเรื่องของภาษาทั้งนั้น ทั้ง ภาษาพูด ภาษาเขียน ภาษากาย ภาษาใจ ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ และภาษาอื่นๆ แต่จะมีสักกี่คนที่จะให้ ความสำ�คัญและหันมาสนใจเรื่องของภาษาของตนเอง อย่างจริงๆ จังๆ และอย่างเป็นเรื่องเป็นราว เพราะเรา มักคิดว่าภาษานั้นเป็นของตาย ไม่ต้องเรียนก็รู้ ไม่ต้อง ดูก็ยังเดาได้ ซึ่งฉันเอง...ก็คงเป็นหนึ่งในนั้น เพราะฉัน เข้าใจและคิดเข้าข้างตัวเองมาตลอดว่า ภาษาของตนหรือ


92 นิตยสารเรื่องสั้น

ภาษาไทยของตนเองนั้น ดีแล้ว เก่งแล้ว รู้หมดแล้ว เดา ได้หมดแล้ว ไม่ต้องเรียนแล้ว ไม่ต้องสนใจแล้ว เพราะ อย่างไรเสียภาษาไทยก็เป็นภาษาแม่ที่ต้องใช้สื่อสารใน ชีวิตประจำ�วัน เหตุใดใยต้องมาเรียนและสนใจสิ่งที่มีอยู่ และสิง่ ทีร่ อู้ ยูแ่ ล้วให้ซบั ซ้อนมากขึน้ ไปอีก แต่นนั่ .. คงเป็น เหตุผลที่ไม่ค่อยเข้าท่านักของเด็กที่อยู่ระหว่างหัวเลี้ยว หัวต่อและการเลือกเรียนในอีกระดับและอีกหนึง่ ช่วงชีวติ ของการใช้ภาษา ฉันใช้ชีวิตช่วงหนึ่งไปกับภาษาที่เลือก (แน่นอน ว่าไม่ใช่ภาษาไทย) จนบางครั้งและหรือหลายๆ ครั้ง ที่ ลืมความเป็นไทยของตน ฟัง พูด อ่าน เขียน แม้กระทั่ง คิด จินตนาการ ก็ออกมาในรูปของภาษาอื่น จนเมื่อวัน เวลาเปลี่ยนผ่าน ช่วงชีวิตเหล่านั้นเคลื่อนหายไป และ ถูกแทนที่ด้วยการทำ�งานกับตัวหนังสือ กับภาษาที่เป็น ภาษาแม่ของตนเองอย่างเต็มรูปแบบ คราวนี้ ฟัง พูด อ่าน เขียน คิดและจินตนาการ วกกลับมาที่ภาษาไทย และภาษาใจทีต่ นเองทิง้ ขว้างไปนาน แม้กระทัง่ กลุม่ คนที่ ฉันต้องเกีย่ วพันด้วยก็ลว้ นเป็นบุคลากรทางภาษาไทยทัง้ นัน้ เพือ่ นๆ ต่างประหลาดใจทีฉ่ นั กลายเป็นคนทีใ่ ช้ภาษา ไทยมากกว่าภาษาอังกฤษที่เล่าเรียนมา เท่านั้นคงยังไม่ พอ เมือ่ อยูม่ าวันหนึง่ ครูภาษาไทยทีเ่ คารพรักบอกให้ฉนั ไปร่วมทดสอบสมรรถภาพทางการเขียนภาษาไทย ที่จัด ขึ้นโดยศูนย์ภาษาไทยสิรินธร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฟังแค่ชื่อของสถานที่จัดสอบฉันก็สะดุ้งโหยง และยังจำ�ได้ดวี า่ วันทีร่ ตู้ วั ว่าต้องสอบภาษาไทยฉันทำ�ท่า ‘โลกจะถล่ม ดินจะทลาย’ ได้มากมายเพียงใด ไม่เพียง เท่านั้น เพื่อนรักของฉันหัวเราะร่าใส่อย่างเมามันเมื่อ (มัน) รู้ข่าว...นัยว่า ‘สมน้ำ�หน้า’ หรืออย่างไรก็มิอาจ ทราบได้ ฉันรูเ้ พียงแต่วา่ อาการวิตกและกังวลของตนเอง มีมากพอๆ กับตอนที่ต้องเข้าห้องสอบภาษาอังกฤษ ก็ ใครเลยจะรู้ว่ามีการสอบแบบนี้ด้วย แล้วสอบภาษาไทย ที่ว่านี้ คืออะไร สอบเพื่ออะไร สอบแล้วได้อะไร แล้วจะ ให้สอบทำ�ไม ในเมื่อฉันก็เป็นผู้หนึ่งที่ใช้ภาษาไทยอยู่ทุก วี่วันเฉกเช่นคนอื่นๆ

เมือ่ ใกล้วนั สอบ ฉันยังงงงันไม่หาย แต่กต็ งั้ หลัก เตรียมตัวไปสอบ และถามครูว่าต้องเตรียมตัวอย่างไร ต้องอ่านหนังสือประเภทไหน ต้องฝึกทักษะอืน่ ใดอีกหรือ ไม่ ครูตอบแบบนิ่งๆ นุ่มๆ (ตามแบบฉบับของครู) ว่า ไม่ต้องเตรียมอะไร นอกจากเตรียมตัวให้พร้อม กินให้ อิ่ม นอนให้หลับ สมองจะได้ปลอดโปร่ง (นั่นคือสิ่งที่ทำ� ยากมากสำ�หรับฉัน) พร้อมๆ กับทำ�ใจให้สบายๆ...แค่ นั้น...ครูบอกแค่นั้น... ฉันร้อง ‘เฮ้ย !..’ ดังลั่นในใจ (หวังว่าครูคงไม่ ได้ยิน) มีอย่างที่ไหน จะสอบอยู่แล้ว แต่ไม่ต้องเตรียม อ่านอะไรเลย ความงงวิ่งเข้ามาเป็นคำ�รบสอง และเมื่อ นึกถึงภาษาไทยของตัวเองที่อยู่ในขั้นกะพร่องกะแพร่ง หรืออาจเรียกว่า ‘ด้อยพัฒนา’ ก็ยงิ่ เครียดและกดดัน แต่ เพื่อนรักผู้รู้ใจก็ปลอบใจแกมขู่นิดๆ ว่า... ‘ครูเขาให้สอบก็สอบไปเถอะวะ แกจะโง่หรือจะ ฉลาดผลสอบออกมาก็รู้เอง’ วันสอบมาถึงด้วยใจระทึก ฉันวิง่ กระหืดกระหอบ เข้าห้องสอบเป็นคนสุดท้าย เพราะหลงทางหาตึกที่จัด สอบไม่พบ อาการตื่นเต้น ตกใจ และเหนื่อยยังคงคุกรุ่น และหนักไปกว่านั้นอีกเมื่อเจอกระดาษคำ�ถาม - คำ�ตอบ ทั้งสองชุดที่วางอยู่ตรงหน้า ‘โอ้.. .พระเจ้า’ ฉันร้องเสียงหลง (อยู่ในใจ - อีกแล้ว) และอยากจะหัวเราะให้ลั่นห้องสอบ นั่งยิ้มไป มา ใจหนึ่งก็ขำ� ใจหนึ่งก็เครียด อีกใจหนึ่งก็คิดถึงครูผู้ ทีท่ �ำ ให้ฉนั มานัง่ ยิม้ น้อยยิม้ ใหญ่ในห้องสอบนีว้ า่ ...ครูให้ ฉันมาทำ�อะไรกันแน่ แต่เมือ่ ลองตัง้ สติใหม่อา่ นคำ�สัง่ ซ้ำ� ไปมา และทำ�ความเข้าใจกับสิ่งทีอ่ ยูบ่ นหน้ากระดาษ ฉัน ก็รู้สึกขอบคุณครูที่ให้ฉันมาสอบในวันนี้ เพราะข้อสอบ ไม่ได้เน้นหนักในเรื่องไวยากรณ์ของภาษาไทยอย่างที่ ฉันกดดันตัวเองไว้สักนิด คำ�สมาส คำ�สนธิ คำ�สารพัด ชนิดที่จินตนาการไว้ไม่ปรากฎให้เห็น มีเพียงคำ�สั่งยาว เหยียดหลายบรรทัดให้อา่ นและทำ�ความเข้าใจก่อนลงมือ เขียนคำ�ตอบ ข้อสอบไม่ยากอย่างที่คิด แต่เน้นให้ผู้สอบใช้


นิตยสารเรื่องสั้น 93

กระบวนการทางความคิด วิเคราะห์และเรียบเรียงภาษา ให้ถูกต้อง และเหมาะสมกับประเภทของงานเขียน ไม่ ว่าจะเป็นเขียนรายงาน เขียนกำ�หนดการ หรือเขียน สรุปผลการดำ�เนินงานต่างๆ การสอบลักษณะนี้ถือว่า เป็นการทดสอบสมรรถภาพทางการใช้ภาษาของผู้สอบ ว่าสามารถใช้ภาษาสื่อสารกับคนรอบข้างหรือใช้ในชีวิต จริงได้ดีเพียงใด ภายหลังการสอบ ศูนย์ภาษาไทยสิรินธร จะออก ใบรายงานผลการสอบให้ผู้สอบทุกคน โดยจะแบ่งออก เป็น ๖ ระดับ คือ “ขั้นต้น” การเขียนอยู่ในระดับที่จำ�เป็น ต้องศึกษาเพิ่มเติม เพื่อให้สามารถปฏิบัติงานได้ “ควร พัฒนา” การเขียนระดับนี้ ควรพัฒนา เพื่อให้สามารถ ใช้ปฏิบัติงานได้ การเรียงลำ�ดับและการแสดงความคิด เห็นไม่ต่อเนื่อง อีกทั้งยังเลือกใช้ภาษาไม่เหมาะสมกับ ประเภทของงานเขียน รวมถึงยังพบข้อบกพร่องค่อนข้าง มากในการเลือกใช้ภาษา “ใช้การได้” การเขียนระดับนี้ อยู่ในขั้นใช้การได้ เรียงลำ�ดับและแสดงความคิดเห็นได้ ต่อเนือ่ ง การเลือกใช้ภาษาเหมาะสมกับประเภทของงาน เขียน พบข้อบกพร่องอยู่บ้างในการเลือกใช้คำ�หรือการ เรียบเรียงประโยค “ดี” – การเขียนระดับนี้ สามารถใช้ ปฏิบัติงานได้ดี การเลือกใช้คำ� เรียงลำ�ดับ แสดงความ คิดได้ดี ต่อเนือ่ ง ครบถ้วนชัดเจน เลือกใช้ภาษาได้เหมาะ สมกับวัตถุประสงค์และประเภทของงานเขียน “ดีมาก” การเขียนระดับนี้ สามารถใช้ปฏิบัติงานได้ดี เรียงลำ�ดับ และแสดงความคิดเห็นได้ดตี อ่ เนือ่ ง การเลือกใช้คำ� เรียบ เรียงประโยค รวมถึงใช้ภาษาได้ถูกต้องและเหมาะสม เป็นส่วนใหญ่ “ดีเด่น” การเขียนระดับนี้ สามารถแสดง ความคิดเห็นได้ลกึ ซึง้ ต่อเนือ่ ง ครบถ้วนชัดเจน เลือกใช้ ภาษาได้หลากหลาย และเหมาะสมกับประเภทของงาน เขียน และสามารถเลือกใช้คำ�หรือเรียบเรียงประโยคได้ ถูกต้องตลอดทั้งบทเขียน ฉันใช้เวลาอยู่ในห้องสอบเกือบสองชั่วโมงตาม ที่ศูนย์ฯกำ�หนด สอบเสร็จแล้วก็ยังอดคิดถึงข้อสอบบาง ข้อไม่ได้ว่า ข้อนี้น่าจะตอบแบบนี้.. ดีกว่าไหม ข้อนี้น่า

จะเขียนอีกแบบหนึง่ ...จะดีกว่าไหม แต่คงไม่ทนั เสียแล้ว เพราะการสอบเสร็จสิ้น เวลาที่มีอยู่อย่างจำ�กัด บวกกับ ความคิดที่ไม่สามารถจำ�กัดได้ในเวลาที่มี ทำ�ให้คำ�ตอบ ทีจ่ ะตอบมีมากกว่าเวลาทีใ่ ห้ แต่ ณ เวลานัน้ จำ�เป็นต้อง เลือกตอบในสิ่งที่คิดว่าดีและเหมาะสมที่สุด และแม้ว่า การสอบเขียนคราวนี้ จะไม่มีข้อผิด ไม่มีข้อถูก มีแต่ ถูกต้อง เหมาะสม ชัดเจนและสามารถสื่อสารให้ผู้อ่าน (หรือผู้อื่น) เข้าใจได้เป็นอย่างดี แต่ฉันก็คิดว่าผู้สอบจะ สามารถให้คะแนนตนเองได้ในทันทีที่ทำ�งานตามคำ�สั่ง ของแต่ละข้อจบลง ภายหลังการสอบ ฉันไม่กล้าคุยกับใครถึงการสอบ ทีผ่ า่ นมาจนกว่าผลจะออก เพราะยังไม่มนั่ ใจในศักยภาพ การใช้ภาษาของตน เกรงว่าผลที่ได้จะอยู่ในระดับ ‘ขั้น ต้น’ หรือไม่ก็ ‘ควรพัฒนา’ หากว่าเป็นเช่นนั้น เพื่อนรัก คงประนามและคงขอให้คนื ดีกรีความรูท้ างภาษา (ทีไ่ ม่วา่ จะเป็นภาษาแม่หรือภาษาอื่น) ให้ครูผู้สอนเป็นแน่แท้... แต่กย็ งั นับว่าโชคดีทที่ กั ษะการเขียนของตนเองไม่ได้อยูใ่ น สองขั้นนั้น ใบรายงานผลแจ้งชัดเจนว่าภาษาของฉันอยู่ ในขั้น ‘ใช้การได้’ (โฮ่ว.. ค่อยยังชั่ว) นั่นหมายถึงว่า ไม่ดี เยีย่ ม ไม่เลิศเลอ แต่กไ็ ม่ได้แย่เสียจนสือ่ สารกับผูอ้ นื่ ไม่ได้ คุณครูทเี่ คารพทีใ่ ห้ฉนั ไปร่วมทดสอบครัง้ นี้ ก็คง เบาใจว่าอย่างน้อย ‘กาลเวลาและวิถชี วี ติ ประจำ�วัน’ ของ ฉันก็ไม่ได้กลืนกินหรือทำ�ให้ภาษาไทยที่ติดตัวมาตั้งแต่ ถือกำ�เนิดนัน้ หายวับไปเสียทัง้ หมด เพือ่ นรักคนเดิมก็คง โล่งใจเช่นกันที่คำ�ขู่ (ของมัน) ไม่สัมฤทธิผล เพราะการ ทดสอบสมรรถภาพทางการเขียน ไม่สามารถบอกได้ว่า ใคร “โง่” หรือ “ฉลาด” เพราะตามที่ฉันเข้าใจ ทักษะ ด้านนี้อยู่ที่วิธีคิด วิเคราะห์ เรียบเรียง และร้อยภาษา (ที่ อาจไม่ต้องสละสลวย) อันเป็นศักยภาพที่มีอยู่ในตัวเอง ให้สามารถสื่อสารให้ผู้อื่นเข้าใจได้ อยู่ที่ว่าผู้ใช้เลือกที่จะ คิด วิเคราะห์ และใช้ภาษาของตนอย่างไรเท่านั้น และไม่ แน่ว่า...บางคนที่มียศ มีตำ�แหน่ง มีดีกรีทางการศึกษา สูงกว่าคนที่นั่งสอบอยู่ข้างๆ เมื่อทดสอบเสร็จแล้ว ผล สอบที่ได้อาจจะต้อง ‘ควรพัฒนาอีกมาก’ ก็เป็นได้


94 นิตยสารเรื่องสั้น

การสอบครั้งแรกของฉันผ่านไป ทำ�ให้มีความ มั่นใจมากขึ้น (อีกนิด) เมื่อจะจรดปากกาเขียนหนังสือ หรือกดแป้นพิมพ์เครือ่ งคอมพิวเตอร์เพือ่ จะถ่ายทอดเรือ่ ง ราวต่างๆ ออกสู่หน้านิตยสารหรือสู่ผู้อ่านคนอื่นๆ รู้สึก ภาคภูมิใจกับการสอบของตัวเองที่แม้จะไม่ได้อยู่ขั้นเทพ (ขอใช้ภาษาวัยรุ่นนิดหนึ่งนะคะ) แต่ก็อยู่ในขั้นที่น่าพอใจ และยังแอบหวังเล็ก ๆ ว่าถ้ามีการจัดสอบการเขียนอีกก็ คงดี เพราะยิง่ จะทำ�ให้มนั่ ใจในทักษะการเขียนยิง่ ขึน้ ไปอีก และเมือ่ ไม่นานมานี้ ความหวังของฉันก็เป็นจริง เมือ่ ศูนย์ฯเปิดทดสอบสมรรถภาพทางการเขียนอีกครัง้ แต่ เป็นการเขียนในอีกรูปแบบหนึง่ ทีย่ ากและซับซ้อนขึน้ อีกทาง กระบวนการการใช้ภาษา ฉันไม่รรี อทีจ่ ะรับคำ�เมือ่ ครูแจ้ง ข่าว และมีความตัง้ ใจกับการสอบครัง้ นีม้ ากกว่าครัง้ ก่อน ประสบการณ์จากการสอบครัง้ แรกสอนให้รวู้ า่ ครัง้ ทีส่ อง ต้องเตรียมกระบวนการทางความคิดของตนเองอย่างไร คราวนี้ ไม่หลงทาง ไม่หลงตึก ไม่เครียด ไม่กดดัน กิน อิ่ม (มาก) นอนหลับ (ไม่มากเท่าไร) แต่ก็เขียนได้ดีจนผู้ ตรวจข้อสอบน่าจะเวียนหัว (เข้าข้างตัวเองมากจัง) และ ระหว่างที่รอผลทดสอบครั้งนี้ ฉันใช้เวลาว่างเท่าที่มีอยู่ อย่างจำ�กัด ค้นหาข้อมูลเกีย่ วกับศูนย์ภาษาไทยเพิม่ เติม เพราะหลังจากการสอบครั้งที่สองผ่านไป มีคนรอบข้าง ถามคำ�ถามเกี่ยวกับศูนย์ฯนี้มากเหลือเกิน เดิมศูนย์ภาษาไทยสิรนิ ธรใช้ชอื่ ว่า ศูนย์ภาษาไทย เพื่อการสื่อสาร สังกัด คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย ต่อมาได้รับการยกฐานะขึ้นเป็นศูนย์ระดับ มหาวิทยาลัย เพือ่ เฉลิมฉลองในวโรกาสทีพ่ ระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยูห่ ัว พระผูท้ รงมีพระราชปณิธานในการธำ�รงไว้ ซึง่ ภาษาของชาติ มีพระชนมพรรษาครบ ๘๐ พรรษาในปี พุทธศักราช ๒๕๕๐ จึงเปลีย่ นชือ่ ใหม่เป็น ศูนย์ภาษาไทย แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และในปีเดียวกันนี้ ศูนย์ฯได้ รับพระมหากรุณาธิคณ ุ จากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี พระราชทานพระราชานุญาตให้อญ ั เชิญ พระนามาภิไธยเป็นชื่อศูนย์ ฯ ว่า ศูนย์ภาษาไทยสิรินธร และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมเสด็จฯ เปิด

ศูนย์ฯอย่างเป็นทางการเมือ่ วันจันทร์ที่ ๒๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๐ ศูนย์ฯได้ก�ำ หนดวัตถุประสงค์เพือ่ เสริมสร้างและ พัฒนาทักษะการใช้ภาษาไทยของนิสิตและบัณฑิตจุฬาฯ ตลอดทั้งบุคคลทั่วไป รวมถึงขยายขอบเขตการสอนให้ กว้างไกลด้วยระบบสือ่ อิเล็กทรอนิกส์ เสริมความสามารถ ในการใช้ภาษาไทยเพือ่ การสือ่ สารและการปฏิบตั งิ านของ บุคลากรทั่วประเทศ ศูนย์ภาษาไทยได้ท�ำ การวิจยั เรือ่ ง “การสำ�รวจความ คิดเห็นเกีย่ วกับการใช้ภาษาไทยในทักษะการเขียน” โดย สำ�รวจความคิดเห็นของผูบ้ งั คับบัญชาจากสถานประกอบ การทั้งภาครัฐบาลและเอกชน ในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล จำ�นวน ๘๐ แห่ง เกี่ยวกับการใช้ทักษะ การเขียนภาษาไทยในการทำ�งานของบุคลากรที่จบการ ศึกษาระดับ ปริญญาตรี และพบว่าผู้บังคับบัญชาเห็น ความสำ�คัญของทักษะการเขียน เนื่องจากในการปฏิบัติ งาน ทุกหน่วยงานต้องใช้งานเขียนหลายประเภท เช่น รายงานการปฏิบตั งิ าน รายงานการประชุม บันทึกข้อความ กำ�หนดการ และข่าวประชาสัมพันธ์ เป็นต้น ผลการสำ�รวจข้างต้นคือที่มาของการจัดสร้าง แบบทดสอบสมรรถภาพทางการเขียนให้แก่บุคคลทั่วไป พร้อมทั้งออกใบแสดงระดับความสามารถในการเขียน และทักษะทีค่ วรพัฒนาให้แก่ผเู้ ข้ารับการทดสอบ (ดังทีฉ่ นั ได้รับมาแล้ว โดยมีรูปแบบการจัดทดสอบ ๒ แบบ คือ จัดทดสอบให้แก่บุคลากรของหน่วยงานต่างๆ และ จัด ทดสอบให้แก่บุคคลทั่วไปตามระยะเวลาที่ศูนย์ฯกำ�หนด ปีละ ๔ ครั้ง ในเดือนกุมภาพันธ์ พฤษภาคม สิงหาคม และพฤศจิกายน นอกจากการทดสอบสมรรถภาพการใช้ภาษาไทย (ทักษะการเขียน) ดังกล่าวสำ�หรับคนไทยผู้ใช้ภาษาไทย เป็นภาษาแม่แล้ว (native) ศูนย์ภาษาไทยยังจัดทดสอบ สมรรถภาพการใช้ภาษาไทยสำ�หรับชาวต่างชาติผใู้ ช้ภาษา ไทย (non-native) อีกด้วย ซึง่ ในขณะนีศ้ นู ย์ฯ จัดทดสอบ ๒ ทักษะ คือทักษะการพูดและทักษะการอ่าน การทำ�งาน การจัดทดสอบของศูนย์ภาษาไทยจึงไม่ได้จำ�กัดอยูเ่ พียง


นิตยสารเรื่องสั้น 95

คนไทยผูเ้ ป็นเจ้าของภาษาเท่านัน้ หากแต่ยงั ขยายวงกว้าง และเปิดโอกาสให้ชาวต่างชาติผู้ใช้ภาษาไทยได้ทดสอบ สมรรถภาพของตนเองอีกด้วย หลายคนสงสัยใคร่รถู้ งึ ผลทีจ่ ะได้รบั หลังการทดสอบ ซึง่ หากจะตอบแบบจริงๆ จังๆ และเป็นเรือ่ งเป็นราว คง ต้องให้ทางศูนย์ภาษาไทยเป็นผู้ตอบคำ�ถามนี้โดยตรง เพราะอาจเกี่ยวเนื่องและต่อยอดไปสู่การยอมรับผลการ ทดสอบในสังคมไทย และการเผยแพร่ให้เป็นทีร่ จู้ กั อย่าง กว้างขวางทัง้ ในระดับบุคคลทัว่ ไปและองค์กรทีเ่ ห็นความ สำ�คัญของการใช้ภาษาไทย แต่สำ�หรับฉันคำ�ตอบอาจไม่ กว้างขวางเช่นนัน้ ฉันรูเ้ พียงว่าการทดสอบนีม้ ผี ลโดยตรง ต่อกระบวนการทางความคิด การวิเคราะห์และการเรียบ เรียงภาษาของตนเอง และแน่นอนว่า...ต้องคิดให้ดกี อ่ น แล้วจึงเขียน... คนที่ต้องใช้ทักษะทางการเขียนการอ่านแบบ เดียวกันกับฉัน จะได้รบั อานิสงส์นอี้ ย่างไม่รตู้ วั เพราะการ ที่จะเขียนงานอะไรออกมาสักชิ้น ต้องมีการไตร่ตรอง มี การเรียงลำ�ดับเหตุการณ์ มีการร้อยเรียงภาษา และต้อง นำ�มาหลอมรวมให้เป็นอันหนึง่ อันเดียวกัน ซึง่ แม้วา่ อาจ จะไม่สละสลวย แต่กต็ อ้ งสามารถถ่ายทอดสือ่ สารออกมา ให้ผู้อ่านได้รับรู้ เข้าใจและเข้าถึงสิ่งที่ถ่ายทอดออกมา นั้นเท่าๆ กันกับผู้เขียน และคงเช่นเดียวกันกับการอ่าน ทีฉ่ นั สามารถอ่านความคิดของผูอ้ นื่ สามารถวิเคราะห์ได้ ในระดับหนึ่งว่า งานเขียนที่ตนกำ�ลังอ่านอยู่นั้น ผู้เขียน ได้ไตร่ตรอง คิด เรียบเรียงและร้อยภาษาของเขาออก มาได้ดีเพียงใด บางคนอาจร้อยภาษาได้งามอย่างหาที่ ติมิได้ นั่นหมายถึงว่าทักษะทางการเขียนของเขาคงอยู่ ในขั้น ‘ดีเด่น’ แต่สำ�หรับบางคน ฉันอ่านงานที่เขาเขียน แล้วบอกแทบไม่ได้เลยว่าจะจัดให้อยู่ใน ‘ขั้นต้น’ หรือ ‘ควรพัฒนาอย่างมาก’ กันแน่ การเขียนคงไม่ได้สะท้อนเพียงความเป็นเจ้าของ ภาษาเพียงอย่างเดียว หากแต่หมายรวมถึง การนำ�ภาษา มาใช้ นำ�ภาษามาเผยแพร่ มาถ่ายทอด ยิ่งถ่ายทอด ยิ่ง เผยแพร่ ภาษาก็ยิ่งเพิ่มพูน และคงเช่นเดียวกันกับการ

เผยแพร่การจัดทดสอบสมรรถภาพการใช้ภาษาไทยนี้ ยิง่ เผยแพร่มาก ก็ยงิ่ มีคนรูจ้ กั มาก และเมือ่ มีคนรูจ้ กั มาก ก็ หวังว่าจะมีคนให้ความสำ�คัญและหันมาสนใจ ใส่ใจทักษะ การเขียน (รวมถึงทักษะอื่นๆ) ของตนมากขึ้นอีกด้วย สำ�หรับฉัน แม้ว่ายังไม่ทราบผลสอบครั้งล่าสุด แต่การเดินทางของฉันก็ยังไม่สิ้นสุดลง เพราะไม่ว่าจะ เดินทางไปที่ใด จะสวนอักษรหรือสวนใดก็ตาม ภาษา กาย ภาษาใจก็คงยังทำ�งานอย่างเต็มทีต่ อ่ ไปเช่นกัน และ มาติดตามกันต่อว่าคราวหน้าฉันจะพาแวะเที่ยวที่สวน ของใคร เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับอะไรนั้น...แล้วพบกัน... หมายเหตุ หากผูอ้ า่ นท่านใดสนใจทีจ่ ะทดสอบตนเอง หรือองค์กรใดต้องการจัดทดสอบบุคลากรในองค์กรของตน หรือจัดการอบรมการใช้ภาษาไทยเพือ่ การสือ่ สาร สามารถ ติดต่อโดยตรงได้ที่ ศูนย์ภาษาไทยสิรนิ ธร (ปัจจุบนั เปลีย่ น เป็น สถาบันภาษาไทยสิรนิ ธร) ห้อง ๘๐๑/๑ อาคารมหา จักรีสริ นิ ธร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โทรศัพท์ สอบถาม ข้อมูลเพิม่ เติมได้ที่ ๐-๒๒๑๘-๙๔๘๐-๑ หรือ www.stc. chula.ac.th ตีพิมพ์ครั้งแรก นิตยสารบางกอก รายสัปดาห์ คอลัมน์บางกอกสแควร์ ฉบับที่ ๒๗๑๙ วันที่ ๒๖ มิถุนายน ๒๕๕๓


96 นิตยสารเรื่องสั้น


นิตยสารเรื่องสั้น 97

Report

เขียนอย่างไรให้สร้างสรรค์และมีวรรณศิลป์ เรื่องโดย ภาณุพงษ์ คงจันทร์

หลังจากที่ได้มีการจัดประกวดวรรณกรรมเรื่องสั้น และบทกวีการเมือง ผ่านมาแล้วจำ�นวน 10 ครัง้ สำ�นักงาน เลขาธิการสภาผูแ้ ทนราษฎร จึงจัดกิจกรรมค่ายวรรณกรรม การเมืองเพื่อส่งเสริมประชาธิปไตย ประจำ�ปี 2555 ขึ้น มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการเมืองการ ปกครองระบอบประชาธิปไตยในระบบรัฐสภา โดยให้ ประชาชนมีสว่ นร่วมทางการเมือง นำ�ความคิดอุดมการณ์ มาสร้างสรรค์การเมืองให้พัฒนายิ่งขึ้น ยังเป็นการแลก เปลี่ยนประสบการณ์ ถ่ายทอดแนวความคิดอุดมการณ์ ทางการเมือง ตลอดจนสร้างความสัมพันธ์ที่ดีแก่ผู้เข้า ร่วมกิจกรรม ส่วนผูเ้ ข้าร่วมสัมมนาประกอบด้วย ผูท้ เี่ คย ส่งผลงานเข้าร่วมประกวดและผูส้ นใจทัว่ ไป จำ�นวน 150 คน จัดในระหว่างวันที่ 16-18 มีนาคม 2555 ณ โรงแรมตรัง ถนนวิสทุ ธิกษัตริย์ กรุงเทพมหานคร หัวข้อหนึ่งที่น่าสนใจคงหนีไม่พ้นเรื่อง “เขียน อย่างไรให้สร้างสรรค์และมีวรรณศิลป์” ในวันเสาร์ที่ 17 มีนาคม 2555 เวลา 9.00-12.00 น. ก่อนจะมีการแบ่ง กลุ่มลงมือปฏิบัติการเขียน ซึ่งวิทยากรประกอบด้วย พินจิ นิลรัตน์ หรือ วรรณฤกษ์ พิธกี รดำ�เนินรายการ เป็น

กรรมการตัดสินรางวัลวรรณกรรมและเจ้าของคอลัมน์ แวดวงวรรณกรรมในนิตยสารสกุลไทย กล่าวแนะนำ� วิทยากรด้วยใบหน้ายิ้มแย้มแจ่มใสชัดถ้อยชัดคำ� เริ่ม จาก ชมัยภร แสงกระจ่าง อดีตนายกสมาคมนักเขียน แห่งประเทศไทย, กนกวลี กันไทยราษฎร์ เจ้าของผล งานนวนิยาย 40 เล่ม ตำ�แหน่งครูใหญ่โรงเรียนนักเขียน ของสมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย จัดอบรมมาแล้ว 12 รุ่น, วัชระ สัจจะสารสิน เจ้าของผลงานรวมเรื่องสั้น “เราหลงลืมอะไรบางอย่าง” ได้รับรางวัลซีไรต์ ปี 2551 เคยได้รับรางวัลพานแว่นฟ้าจากเรื่องสั้นชื่อ “วาวแสง แห่งศรัทธา” ปี 2548 และ ยุทธ โตอดิเทพย์ ประธาน เครือข่ายศึกษานิเทศก์ 4 จังหวัด นครปฐม สุพรรณบุรี กาญจนบุรีและราชบุรี เจ้าของผลงาน “คู่มือเรียนเขียน กลอน” อดีตนายกสมาคมนักกลอนแห่งประเทศไทย เริ่มจาก ชมัยภร แสงกระจ่าง เพิ่งได้รับรางวัล ชมเชยวรรณกรรมเยาวชนเรื่อง “คุณปู่แว่นตาแตก” ปี 2555 จากสำ�นักงานคณะกรรมการการศึกษาขัน้ พืน้ ฐาน เล่าเรื่องสนุกๆ ว่า “สวัสดียามเช้าที่สดชื่น เมื่อคืนคง ได้นอนหลับสบายดี แต่เมือ่ คืนนีด้ ฉิ นั ได้ยนิ เสียงใครร้อง


98 นิตยสารเรื่องสั้น

เพลงในเวลาตี 3 ในขณะที่กำ�ลังหลับสบาย เผอิญได้ยิน เพราะต้องลุกไปปิดแอร์เพราะมันหนาว พอปิดปั๊บเสียง มันลอยมาเลย เพราะห้องนอนชั้น 3 มีห้องติดกัน จึง ทำ�ตัวเป็นนักสืบได้ เช้านี้จะมีคนที่สดชื่น 147 คนและมี อีก 3 คน อาจไม่สดชื่นเท่าไหร่ เพราะมัวแต่ร้องเพลง ที่ เล่ามานี่เพื่อจะบอกว่ามันเป็นเรื่องสั้นได้ คนเราที่มาเจอ กันร้องเพลงจนดึกดื่น 3 – 4 คน เป็นใครกัน ไม่ต้อง ลุกออกไปถาม ไม่ตอ้ งทำ�อะไรสามารถจินตนาการต่อไป ได้เลย คงจะเป็นเพื่อนที่ไม่ได้เจอกันมานาน เรียนกันมา ตั้งแต่ชั้นอนุบาล อะไรทำ�นองนี้ ทุกอย่างที่อยู่รอบตัวเรา เป็นประเด็นหมด จากหัวข้อ “เขียนอย่างไรให้สร้างสรรค์และมี วรรณศิลป์” เรื่องนี้ เดิมหัวข้อตั้งว่า “เขียนอย่างไร… ให้ได้รับรางวัล” ดิฉันขอเปลี่ยนเอง ไม่มีความลับใดๆ ดิฉนั จะรูส้ กึ ไม่สบายใจหากจะพูดในหัวข้อเก่า เพราะดิฉนั ตอบไม่ได้ มันเป็นเรือ่ งของกรรมการในการตัดสินแต่ละ คนไม่เหมือนกัน แต่ถา้ จะให้มาเสนอว่า “เขียนอย่างไรให้ สร้างสรรค์และมีวรรณศิลป์” สามารถทำ�ได้ค่ะ สร้างสรรค์คอื อะไร มีนกั วิชาการรวบรวมลักษณะ ได้ 50 ข้อ แต่สามารถประมวลได้ว่า มีคุณค่า มีความ แตกต่าง มีความใหม่ เป็นผูบ้ กุ เบิก อะไรทำ�นองนี้ ท่านผู้

ฟังคงเป็นกังวลใจว่าจะเขียนอย่างไรให้มคี วามแปลกใหม่ เพราะมีคนเขียนกันมากมากมาย เพราะประเด็นเรือ่ งของ ชีวติ มันเหมือนกันทัง้ โลก เหมือนกับประเด็นประชาธิปไตย มันเป็นสากล แล้วมันต่างกันตรงไหน ตรงรายละเอียด ไงคะ แล้วมีคำ�ถามว่า รายละเอียดที่แตกต่างมันมาจาก ไหน มันต้องผ่านกระบวนการคิดค้นอย่างมีระบบ มีการ คิดค้น – จัดแจง – แต่งตบ ให้มันเข้าชุดกันภายใน หัวของเราเอง มันจึงจะมีความแตกต่าง อย่างตัวละคร พระเอกและนางเอกจะหนีตามกัน เราจะนึกถึงว่าหนีไป ในคืนเดือนมืด แต่ถ้าเราจะเขียนให้หนีตามกันในขณะ ที่มีคนเยอะๆ จะเขียนอย่างไร คนอ่านจะคิดว่า เขาคิด ได้อย่างไร คงเหมือนกับทีเ่ ราจะเขียนเรือ่ งประชาธิปไตย ต้องมีประเด็นที่เขาไม่ค่อยเขียนกัน เราจะได้ประเด็นที่ แปลกมาก ขออนุญาตนำ�งานวรรณกรรมต่างชาติมายก ตัวอย่าง เช่น ยู่หัว นักเขียนจีน เขียนเรื่อง “พีก่ บั น้อง” ยาว 800 หน้า เรือ่ งของเขาเคยสร้าง เป็นภาพยนตร์โดย จาง อี้โหมว แต่ห้ามฉายในประเทศ จีน เขาเอาเรือ่ งส้วมมาเขียน ถ้าเราเอาเรือ่ งส้วมมาเขียน เหมือนกับคนอื่นว่า ส้วมไม่น่าเขียนเพราะมันเป็นเรื่อง สกปรก คุณจะคิดว่า อย่าเขียนเยอะเพราะสังคมไทยไม่ ยอมรับ แต่ถา้ คิดแบบยูห่ วั เขาเขียนเรือ่ งส้วมเป็นประเด็น


นิตยสารเรื่องสั้น 99

หลัก เขียนละเอียดจนเราจะอาเจียน แต่ว่ามันมีความ หมายสือ่ ไปถึงสังคมจีนว่ามีอะไรหลายอย่างเหมือนส้วม จะเห็นว่า นักเขียนคิดอะไรไม่เหมือนคนอืน่ คิดอะไรทีล่ ้ำ� หน้าหลายๆ โยชน์ เริ่มจากส้วมแต่ไปจบที่ดวงจันทร์ เราจะตั้งคำ�ถามตลอดว่ามันคิดได้อย่างไร ยู่หัวมาเมืองไทยปีที่แล้ว ขึ้นเวทีพร้อมชาติ กอบ จิตติ นักเขียนที่มีลักษณะใกล้เคียงกัน เพราะเขาคิดไม่ เหมือนกัน ดิฉันในฐานะนักวิชาการนำ�เสนอผลงานของ เขา 3 เล่มพร้อมอาจารย์ตรีศลิ ป์ บุญขจร และอาจารย์รนื่ ฤทัย สัจจพันธุ์ เราเห็นประเด็นข้อแตกต่าง เหมือนชาติ กอบจิตติทเี่ ขียนไม่เหมือนใครในบ้านเราเราจับสองคนนี้ มาพูดเวทีเดียวกัน แล้วเราจะเขียนอย่างไรให้ต่างจาก คนอืน่ ให้สร้างสรรค์ ท่านจะต้องคิดไม่ให้เหมือนใคร ต้อง ครุน่ คิดให้มากๆ และต้องอ่านงานของคนอืน่ หรือข่าวสาร ที่ทันสมัย มันเป็นหน้าที่ของเราที่ต้องหูไวตาไว บางคน อาจจะมีพรสวรรค์ติดตัวมาตั้งแต่เกิด ใครที่เป็นคุณครู อยู่มักจะมีกรอบของตนเอง มักจะติดความเป็นระเบียบ วินัย อยู่ในกรอบตลอด อยากให้ลองคิดนอกกรอบบ้าง สิง่ เหล่านีไ้ ม่มสี ตู รสำ�เร็จตามลำ�ดับขัน้ หนึง่ สอง สาม... มันเป็นไปไม่ได้ ทำ�อย่างไรจึงจะคิดอะไรให้มันแตกต่าง บางทีมันต้องสะสม อย่างดิฉันเขียนเรื่อง “คุณปู่แว่นตาโต” เพราะ เคยร่วมงานวิจัยกับอาจารย์เจตนา นาควัชระ ที่ท่านมี ปฏิสัมพันธ์แต่ละวัยไม่เหมือนกัน ท่านอายุ 81 ปีแล้ว มันมีสายใยเชื่อมกับคนวัยต่างๆ ได้อย่างไร การคิดได้ เรื่องนี้ไม่ใช่กระบวนการคิดของดิฉัน แต่เป็นกระบวน การสร้างความดีงามของอาจารย์เจตนาที่แสดงให้ดิฉัน เห็น ส่วนอีกเล่มชื่อ “คุณปู่แว่นตาแตก” เป็นเรื่องที่ได้ มาจากเจ้าหน้าที่คนหนึ่งของสมาคมนักเขียน ใครไปที่ นี่จะจำ�คนที่ชื่อ “บัณฑิต” ได้ เป็นตัวละครที่ไปรับใช้คุณปู่ ซึ่ง ตัวละครทั้งสองไม่เคยเจอกันเลย แต่ดิฉันเขียนให้มา เจอกัน ตัวละครตัวแรกเป็นคนระดับรากหญ้า ส่วนคุณ ปู่เป็นนักวิชาการ

ซึ่งมีชีวิตที่แตกต่างกันและจะเขียนให้ตัวละคร ทั้งสองเชื่อมโยงกัน ที่เล่ามาอยากจะถามท่านผู้ฟังว่า เคยสำ�รวจสิ่งรอบๆ ตัวว่าจะหยิบเอามาเขียน อย่างสร้างสรรค์ได้ไหม ส่วนกระบวนการสุดท้ายคือว่าคุณจะประกอบสิง่ ที่ คุณคิดนัน้ มาเป็นเรือ่ งได้อย่างไร คุณจะทำ�ให้มนั สอดคล้อง กับรูปแบบได้อย่างไร เช่น จะเขียนเป็นนวนิยาย เรือ่ งสัน้ สารคดี หรือกวีนพิ นธ์ หากเรือ่ งทีเ่ ราเขียนมันสอดคล้อง กับข้อเท็จจริงได้ดี ก็ให้เขียนเป็นสารคดี แต่ถ้าเรื่องนั้น กระทบกระเทือนทำ�ให้เขาเสียหาย เช่น รูปร่างสูงโปร่ง เหมือนคนคนนั้น ให้เปลี่ยนเป็นตัวเตี้ย เขาจะได้ไม่รู้ เรา ต้องมีวธิ ที ใี่ ห้เรือ่ งมันออกมาไม่กระทบกระเทือนใจใครได้ แล้วที่สำ�คัญสาระสำ�คัญไม่สูญหาย” ชมัยภร แสงกระจ่าง ขอเพิ่มเติมว่าอีกว่า “นักเขียนบางคนไม่สามารถสร้างประเด็นความขัด แย้งทีก่ อ่ ให้เกิดแรงสะเทือนไม่พอ หรือทีค่ ณ ุ กนกวลีใช้คำ� ว่า ไม่สามารถขยีเ้ รือ่ งได้ หมายถึงยังสร้างความขัดแย้ง ยังไม่เข้มข้น ทำ�อย่างไรจึงจะเข้มข้น หากเป็นเรือ่ งปมขัด แย้งเพียงชัน้ เดียวอาจไม่เข้มข้นพอ อาจสร้างตัวละครอีก ชุดหนึง่ ให้มขี ดั แย้งซ้อนกันไป เหมือนงานเขียนของ กนก พงศ์ สมสงพันธ์ หรือ จเด็จ กำ�จรเดช แต่ไม่ใช่ว่าต้อง เป็นแบบนี้หมด อย่างงานเขียนของวัชระ สัจจะสารสิน เป็นปมขัดแย้งชั้นเดียวแต่มีมุมองที่คมเฉียบ มันเป็น ความชำ�นาญที่ต้องฝึก ถ้าไม่หมั่นทำ�บ่อยๆ จะทำ�ไม่ได้ อย่างข่าวเรื่อง “ทอง” ที่เราดูในทีวีเมื่อคืนนี้ เจ้าของได้ทองคืนมา 30 ล้าน แล้วมอบทองให้คนเก็บ ได้ 1 เส้น อย่างนี้ค่อยสมศักดิ์ศรี เมื่อก่อนนี้ที่มีข่าวว่า คนเอาเพชรไปซ่อนไว้ในถังขยะ แล้วมีคนไปเก็บได้ รูไ้ หม เจ้าของให้คา่ ตอบแทนเท่าไหร่ ให้ 2,000 บาท ให้ต�ำ รวจ 10,000 บาท ถ้าเป็นเราเพชรราคา 10 ล้าน เราจะจ่าย ให้อย่างต่ำ�สัก 1 แสน เรามองตะลึงคิดว่าเจ้าของนี่เค็ม มากเลย ส่วนข่าวแรกเจ้าของทองมันมีใจนักเลง มันคุม้ กับการได้ทำ�ความดี สวรรค์มีตา ดังนั้นถ้าเราเอาเรื่อง 2 เรือ่ งมาซ้อนกันจะมีน้ำ�หนักมากเลย เห็นไหมว่าเอาเรือ่ ง


100 นิตยสารเรื่องสั้น

ทองกับเพชรมาซ้อนกัน จะเห็นความต่างกันอย่างไร และ ข้อสำ�คัญกว่าทีจ่ ะทำ�ให้เรือ่ งเข้มข้นได้ คุณต้องสร้างลีลา ขึ้นมาเอง บางคนเขียนแบบช้าๆ โบราณหน่อย บางคน ตัดฉากเร็ว บางคนชอบพรรณนา ไม่ได้สรุปว่าลีลาไหนดี กว่าแบบไหน มันขึน้ อยูก่ บั ลักษณะของการเขียนแต่ละคน มันเป็นลีลาของคุณเอง เหมือนคนแต่งตัว คุณชอบใส่เสือ้ ยืด วันหนึ่งคุณใส่เสื้อสูท ทำ�ให้เดินไม่ได้เลย ของอะไรที่ เราไม่ถนัดแล้วเราไปทำ� มันจะทำ�ให้นา่ เบือ่ มาก อย่างเรา เก่งเรือ่ งบรรยายหรือพรรณนา ต้องทำ�ให้ดที สี่ ดุ หรือเรา เก่งในการตัดฉาก จะตัดฉากอย่างไรให้ฉับไว ของอย่าง นี้ต้องทำ�บ่อยๆ เขียนสม่ำ�เสมอจะได้ลงหรือไม่ไม่สำ�คัญ ฝึกบ่อยๆนะคะ” วิทยากรท่านต่อมาคือยุทธ โตอดิเทพย์ กรรมการ ตัดสินรางวัลบทกวีและอดีตนายกสมาคมนักกลอนแห่ง ประเทศไทย เล่าความในใจด้วยท่าทีที่สนุกสนานตาม ประสาผู้มีสายตากวี นำ�เสนอว่า “การเขียนเพือ่ ประกวดต้องเขียนให้ตรงประเด็น อย่างรางวัลพานแว่นฟ้า ตามจุดมุ่งหมายที่ตั้งไว้ อย่าง เพื่อสนับสนุนการปกครองระบอบประชาธิปไตยในระบบ รัฐสภา การเมืองความหมายนีจ้ งึ ต้องคลุมทุกอย่าง เพราะ ฉะนัน้ การเขียนต้องยึดกรอบตรงนี้ หากเราเป็นนักเขียน จริงเราต้องเขียนเพื่อให้รางวัลนักอ่าน ผมไม่ใช่มองว่า รางวัลเป็นสิ่งไม่ดีนะ รางวัลเป็นแค่จุดหนึ่งที่ใช้ประเมิน งาน หากเราเขียนไปเรื่อยๆ จะรู้สึกว่า ไม่มีใครประเมิน ไม่มบี .ก. ไม่มนี กั อ่านว่างานของเราดี ไม่ดอี ย่างไร รางวัล ถือว่าเป็นภาระหนึ่งที่จะช่วยให้มีการประเมินงานเราได้ ในทีท่ �ำ งานเพือ่ นๆ จะมายืนใกล้โต๊ะทำ�งานและ ถามว่า “ส่งงานไปแล้วหรือยัง” อารามตกใจนึกว่าเรื่อง ประกวดเผลอบอกเพื่อนในที่ทำ�งานว่า “ส่งไปแล้ว” (ฮา) ด่านแรกอยากให้พิจารณาคือ ภาษา ไม่ใช่ว่าคุณจะเขียน สร้างสรรค์อะไรก็ได้ ต้องมีประตูทผี่ ลักมันออกมา เราต้อง เรียนรู้มาบ้างว่าภาษาของนวนิยายเป็นอย่างไร เรื่องสั้น เป็นอย่างไร หลังจากนั้นเราต้องจับประเด็นทางสังคม นำ�มาปรับใช้และเขียนโดยใช้วรรณศิลป์ ถ้าเขียนเหมือน

คนอื่น แบบเพื่อชีวิตเมื่อ 20 ปีก่อน มันก็จะจมในหล่ม เรื่องสั้น ยุคสมัยเปลี่ยน สังคมเปลี่ยน ดังนั้นเนื้อหาดี แต่ภาษาล้มเหลวเสียแล้วถือว่าใช้ไม่ได้ ส่วนเรื่องที่สอง ประเด็นที่จะเขียน ต้องเป็นสิ่ง ใหม่ๆ ไม่ต้องห่วงเพราะน้ำ�ไม่เหือดแห้งไปจากสังคม โลก ประเด็นมันเยอะแยะมากมาย แต่เราจะสังเกตเห็น มันหรือเปล่า นักเขียนต้องมองแตกต่างจากนักวิเคราะห์ นักวิจยั หรือนักข่าว วรรณกรรมต้องเขียนให้ตา่ งจากเรือ่ ง จริง แม้ความจริงบางอย่างมันโหดร้ายยิ่งกว่าเรื่องแต่ง เสียอีก ตรงนี้ขึ้นอยู่กับภูมิรู้ของเราเอง ผมได้อ่านงานของนักเรียนชั้น ม. 4 โรงเรียน เตรียมอุดมฯ คนหนึง่ เขียนเรือ่ งสัน้ ได้ดมี ากชือ่ “ระหว่าง ทาง” เปลีย่ นฉากเปลีย่ นมุมมองจากป่าเขา ท้องนา เป็น เรื่องคนสองคนเป็นเพื่อนกันนั่งคุยกันขณะนั่งรถไฟฟ้า เรือ่ งความขัดแย้งในสังคมแต่ทเี่ ขาคิดเขาเขียนเป็นเรือ่ ง ร่วมสมัย ภาษาทีเ่ ขาเขียนดีมาก สมัยเราระดับนีย้ งั เขียน ได้ไม่เท่านีเ้ ลย ผมจึงมีความหวังกับคนรุน่ ใหม่ แม้จะเขียน เป็นเรือ่ งแรก ฝีมอื อย่างนีม้ อี นาคตหากน้องเขาจะเอาดี ทางนี้ เลยถามว่าทำ�ไมน้องจึงเขียนได้ดี น้องเขาบอกว่า เขาชอบอ่านมาก่อน ดังนั้นนักเขียนต้องใช้ภาษาและ ประเด็นให้ต่างจากนักเขียนรุ่นก่อนเพื่อสร้างสรรค์งาน ขึ้นมาใหม่ได้” งานเขียนที่ดีของผมหมายถึง แต่งดี คือ มี คุณสมบัตใิ นการใช้ภาษา มีความงามทางสุนทรียศาสตร์ มีอารมณ์ประทับใจ มีประโยชน์ตอ่ สังคม ผมหาตัวอย่าง กลอนของ ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช เขียนไว้ว่า (ท่อง) “เมื่อโลกนี้ไม่มีคนชื่อ คึกฤทธิ์ มันจะผิดแปลกไปที่ไหนนั่น ทวิวารยังจะแจ้งแข่งตะวัน ยามราตรีพระจันทร์กระจ่างตา ไก่จะยังขานขับรับอุทัย ฝนจะพร่ำ�ไปในพรรษา คลื่นยังกระทบฝั่งไม่สร่างซา สกุณายังร้องระงมไพรฯ


นิตยสารเรื่องสั้น 101

………………………………………………………… คนที่รักคึกฤทธิ์อย่าคิดระอา เพียงนึกถึงก็จะมาอยู่ข้างกาย คอยเข้าปลอบประโลมในยามทุกข์ เมื่อมีสุขก็จะร่วมอารมณ์หมาย เมื่อรักแล้วไหนจะขาดสวาสดิ์วาย ถึงตัวตายใจยังชิดมวลมิตรเอย (เสียงปรบมือ) กนกวลี กันไทยราษฎร์ หรือเจ้าของนามปากกา กนกวลี พจนปกรณ์ เจ้าของรางวัลเซเว่นบุค๊ อวอร์ด ครัง้ ที่ 5 ปี 2551 จากนวนิยายเรือ่ ง “ยิง่ ฟ้ามหานที” และรางวัล ชมเชยจากนวนิยายเรื่อง “วาดวิมาน” จาก สำ�นักงาน คณะกรรมการการศึกษาขัน้ พืน้ ฐาน ปี 2554 มีขอ้ แนะนำ� ในฐานะครูใหญ่โรงเรียนนักเขียนว่า “ถ้าเราจะเขียนเรื่องเกี่ยวกับประชาธิปไตย ให้ หยิบคู่มือที่รัฐสภาแจกให้ อยากให้อยู่ในหัวข้อ ความ เสมอภาค เสรีภาพ ภราดรภาพ หรือสิทธิเสรีภาพส่วน บุคคล อย่างนี้สามารถดึงมาเขียนได้ แท้ที่จริงแล้ว สิ่ง เหล่านี้เป็นแก่นของเรื่อง อยากให้หยิบพล็อตที่เรามีมา ดูสิว่าอยู่ในแก่นอะไรข้อไหน นำ�แก่นนั้นมาเป็นไม้ปักไว้ เอาพล็อตนั้นมาวนไปพันให้รอบ ลองเขียนดู สิ่งที่ตาม มาจะต้องมีตัวละคร เราต้องรู้ก่อนว่าตัวละครในเรื่อง สั้นมีกี่ประเภท ส่วนใหญ่มี 3 ประเภทคือ ตัวหลัก ตัว รอง ตัวผ่าน ตัวหลักคืออะไร คือตัวละครที่ดำ�เนินเรื่อง ตัง้ แต่ตน้ จนจบ ตัวรองคือตัวทีเ่ ข้ามาเสริมบทบาทให้ตวั หลักเด่นชัด ส่วนตัวผ่านก็ผ่านไปเฉยๆ ไม่มีบทบาท อะไร การสร้างคาแรคเตอร์ของตัวละคร เราจะต้องสร้าง ให้มีความกลม มีมิติ อย่าทำ�ให้มันแบน หมายถึงมีด้าน ใดด้านหนึ่งเพียงด้านเดียว ไม่ใช่ดีก็ดีไปเลยหรือไม่ใช่ เลวก็เลวไปเลย ตัวละครที่สมบูรณ์ต้องเหมือนมนุษย์ จริงๆ ต้องมีความสมจริง ต้องถามตัวเองว่าเรามีความ ดีและไม่ดีอยู่ในตัวเอง ที่เราย่อมรู้ตัวเราดี เพราะฉะนั้น

มนุษย์เราหนีกฎเกณฑ์นี้ไปไม่พ้น เพราะฉะนั้นเราต้อง สร้างตัวละครให้เหมือนมนุษย์ในชีวิตจริง ทำ�อย่างไรจึง จะให้เหมือนมนุษย์จริงๆ เพราะฉะนั้นจะต้องสร้างบุคลิกภาพภายนอก และบุคลิกภาพภายในขึน้ มา ภายนอกสามารถกำ�หนดได้ เลย สมมติว่าเราจะสร้าง “ลุงเกี่ยว” ขึ้นมา เป็นขอทาน ที่บริจาคเงิน 1 ล้านบาท อาจต้องสร้างตรงๆ แต่หาก เจ้าของเรื่องไม่สนุกด้วย คงต้องเปลี่ยนให้ตรงข้าม ดัง นั้นการสร้างบุคลิกภาพภายนอกคงต้องเริ่มจากอายุ ชื่อ หน้าตา ส่วนบุคลิกภาพภายในเป็นอุปนิสัยใจคอ ตรงนี้ จะทำ�ให้มีบุคลิกภาพขึ้นมา จะทำ�ให้มีชื่อตัวละครเข้ามา อย่าง “คำ�เกิ้ง” ใช้ได้ไหม หากเป็นตัวละครต่างจังหวัด ทำ�ไร่ท�ำ สวน อาจจะใช้ได้ แต่ชอื่ ของตัวละครวัยรุน่ ทีก่ �ำ ลัง แข่งขันเอเอฟ คงต้องใช้ชื่อ ณเดช หรือญาญ่า ต่อจากนั้นต้องมี “ฉาก” เหมือนเมื่อสมัยเป็น นักเรียน คุณครูให้ไปแสดงหน้าห้อง ให้สมมติเป็นคน ขายของ เป็นคนซื้อของคนโน้นครู คนนี้เป็นนักเลง ต่อยกัน แล้วฉากข้างหลังเป็นกระดานดำ� อย่างนี้ฉาก จะสมจริงไหม เหมือนในนิยาย มีตัวละคร มีบทสนทนา และเหตุการณ์ แต่ “ฉาก” ไม่มี ความสมจริงก็ไม่เกิดขึ้น ฉาก มี 2 แบบคือฉากที่เป็นจริงและฉากที่สร้าง ขึ้นมา หากเป็นฉากที่เป็นของจริง เช่น วัดพระแก้ว ถ้า ท่านเดินเข้าต้องเขียนตามความจริงไม่ใช่เขียนสลับให้ บุษบกไปอยูอ่ กี ข้าหนึง่ อย่างนีท้ �ำ ไม่ได้เพราะเป็นฉากจริง เมื่อไหร่จะเขียนฉากจริงต้องคงความเป็นจริงไว้ เหมือน เขียนฉากทะเล ต้องรู้ว่าพระอาทิตย์ขึ้นหรือตกทางทิศ ไหน อย่างเขียนทะเลพัทยาจะมีพระอาทิตย์ตกที่ทะเล ส่วนไปที่หัวหินพระอาทิตย์ขึ้นที่ทะเล ไม่ใช่ให้ตัวละคร ไปเล่นน้ำ�ทะเลแล้วดูดวงอาทิตย์ขึ้นหรือตกสลับที่กันไป หมดเลย เป็นข้อควรระวังสำ�หรับงานเขียนที่ใช้ฉากจริง ส่วนฉากที่เราสร้างขึ้นมา ตามจินตนาการไม่มี ใครรู้กับเรา แต่เพื่อป้องกันความผิดพลาด ผู้เขียนต้อง มีภาพฉากชัดอยู่ในสมองแล้วว่า ประตูเข้าบ้านอยู่ทาง ซ้าย โต๊ะเขียนหนังสืออยู่ทางนี้ เขียนไปสักสามย่อหน้า


102 นิตยสารเรื่องสั้น

ว่า ประตูมันเปลี่ยนไปแล้ว ทั้งหมดนี้เป็นกระบวนการที่ เรียกว่าการเขียนเรื่องสั้น เมือ่ ได้สงิ่ เหล่านีแ้ ล้ว ต่อไปเป็นกลวิธกี ารเขียน ซึง่ กระบวนการเขียนมีอยู่ 3 กระบวนการคือ เริม่ ต้นหรือเปิด เรื่อง ดำ�เนินเรื่องและจบเรื่อง ในส่วนของการเริ่มต้นนั้น มีคนถามอยู่เสมอว่าคำ�แรกที่จะเขียนจะเขียนอะไร ลอง ดูกฎเกณฑ์เบื้องต้นคือ 1. แอ็คชั่นของตัวละคร อาจให้ ตัวละครร้องไห้ มีเรือ่ งสั้นเรือ่ งหนึง่ ของ ลาว คำ�หอม ขึ้น ต้นด้วยคำ�ว่า “ฉันถูกข่มขืน” มันเป็นประเด็นที่น่าสนใจ 2. ขึ้นต้นด้วยการพรรณนาฉากหรือบุคลิกตัวละคร หรือ บทสนทนาของตัวละครทำ�ได้ทั้งนั้น การดำ�เนินเรือ่ งมีหลายแบบอาจจะเล่าตามขัน้ ตอน 1 – 2 – 3 – 4 – 5 จบแล้ว หรืออาจจะเป็น 5 ขึ้นก่อน แล้วไป 2 – 3 – 4 หรือเอาฉากกลางเรื่องขึ้นมา ก่อน หรือเราต้องคิดเอาเองว่าจะดำ�เนินเรือ่ งอย่างไรดี มี อีกเทคนิคหนึ่งคือ การสลับเรื่องเล่า ถ้ามี 2 เหตุการณ์ อาจเขียนสลับไปสลับมา ดังตัวอย่างเรือ่ งสัน้ ชือ่ “กะโหลก ของพ่อ” ของ อนุสรณ์ ติปยานนท์ เริ่มต้นเขียนว่า “ผม นำ�กะโหลกของพ่อติดตัวมาเป็นเวลาหลายปีแล้ว” ถ้าใคร อยากรู้ว่าเขียนสลับอย่างไรให้กลับไปอ่านนะคะ ส่วนการปิดเรื่อง เราจะจบแบบไหน อาจจะจบ แบบสมบูรณ์ ผูอ้ า่ นไม่ตอ้ งสงสัยอะไรเลย อีกแบบจบแบบ ค้างไว้ ให้คนอ่านคิดเอาเองบ้าง แต่วิธีสุดท้ายจบแบบ พลิกความคาดหมาย หรือจะแบบอื่นๆ อีกที่เราต้องคิด ได้เอง ดิฉนั อยากเสนอเทคนิคในการเขียนว่า “ต้องรูจ้ กั ขยัก ขยาย ขยำ� ขยี้ หากทำ�ไม่ดีอาจเป็น “ขย้อน” (ฮา) นอกจากนี้ ความสมจริงมันจะครอบคลุมทัง้ หมด ของเรือ่ ง หมายถึงความสมเหตุสมผลของเหตุการณ์หรือ การกระทำ�นั้นๆ หากเขียนเรื่องที่มีเหตุผลไม่เพียงพอ อาจทำ�ให้ผู้อ่านรู้สึกแย้งว่ามันไม่จริง นั่นหายความว่า มันไม่สมจริง ดังนั้นความสมจริงต้องมีในโครงเรื่อง ตัว ละคร บทสนทนา เพราะบทสนทนามันเกี่ยวข้องกับตัว ละคร เพราะบทสนทนาที่จะนำ�ไปใส่ในตัวละครนั้นต้อง เข้ากับธรรมชาติของตัวละครที่คุณสร้างขึ้นมาด้วย เช่น

ลุงทีจ่ บ ป. 4 คุณต้องระวังว่าเขาไม่ได้จบดอกเตอร์ คุณ เอาคำ�พูดของคุณเองใส่เข้าไป มันก็ไม่ได้ ไม่สมเหตุสม ผลและไม่สมจริง หากสร้างตัวละครที่มีอายุต่างกันก็ พูดไม่เหมือนกัน หรือบทสนทนาระหว่างตำ�รวจกับผูร้ า้ ย ต่างกัน ต้องเขียนเข้ากับบุคลิกภาพของตัวละคร สุดท้ายขอความกรุณานักเขียนอีกข้อหนึ่งคือ มี คุณธรรม จริยธรรม มีจรรยาบรรณของนักเขียนคือ ไม่ ลอกเลียนของใคร ไม่สมอ้างเอาเรื่องของคนอื่นมาเป็น ของตนเองและไม่หลอกลวง ฝากไว้ในประเด็นนีข้ อบคุณ มากค่ะ” ส่วนวัชระ สัจจะสารสิน หรือวัชระ เพชรพรหมศร ข้าราชการสังกัดสำ�นักงานศาลปกครองในฐานะผูท้ เี่ คยได้ รับรางวัลชนะเลิศ พานแว่นฟ้า ปี 2548 และรางวัลซีไรต์ ปี 2551จากรวมเรือ่ งสัน้ “เราหลงลืมอะไรบางอย่าง” เล่า ประสบการณ์ที่เคยผ่านเวทีแห่งนี้มาแล้วว่า “ในฐานะผมเคยส่งเรือ่ งสัน้ เขาประกวดและได้รบั รางวัลพานแว่นฟ้าด้วย ตอนนั้นผมเริม่ ต้นการเขียนบ้าง แล้ว พอมีงานทำ�ก็เริ่มห่างจากแวดวงวรรณกรรม ผม มีแก๊งดื่มกาแฟที่เคยเรียนปริญญาโทธรรมศาสตร์ด้วย กัน ชื่อ คุณอดุลย์ เขาแอบไปเขียนเรื่องสั้นและได้รางวัล พานแว่นฟ้าในปีก่อนๆ เขาพูดว่า “รางวัลนี้มันดีนะ ได้ เงินเยอะ” และชักชวนให้มาเขียน ผมจึงลองมาเขียน ตามโจทย์ การเมืองในความเข้าใจของผมต้องยึดตาม กติกา ต้องเขียนเรือ่ งการเมือง การเลือกตัง้ ทีพ่ บเห็นใน สังคม จึงวางพล็อตว่าจะต้องเกี่ยวกับการเลือกตั้ง การ มีอำ�นาจ ใส่เรื่องสั้นแนวเพื่อชีวิต แนวขนบเดิม การตั้ง ชื่อต้องให้โดน ต้องใช้คำ�ใหญ่ คิดหลายๆ ชื่อ จนเลือก ใช้วา่ “วาวแสงแห่งศรัทธา” ตัง้ ใจว่า สร้างตัวละครทีเ่ คย อยู่ป่าเข้าไปในหมู่บ้านเดิม เฝ้าคิดถึงอุดมการณ์ การที่ จะเขียนให้มพี ลังต้องปะทะความคิดใหม่และเก่า ระหว่าง รุ่นพ่อและรุ่นลูกที่เรียนจบเป็นนักวิชาการ ทำ�อย่างไรให้ คนสองรุ่นปะทะทางความคิดกัน ลูกชายต้องการให้พ่อ นำ�แนวคิดอุดมการณ์ประชาธิปไตยไปใช้จริงในเวทีหา เสียง ตอนสุดท้ายสะท้อนให้เห็นว่า สภาพสังคมเรามี


นิตยสารเรื่องสั้น 103

อะไรจริงบ้างในแต่ละยุค ตอนนัน้ ปี 48 มีขา่ วดังมากเรือ่ งผลการตัดสินใน การประกวดรางวัลพานแว่นฟ้า เรือ่ งราวของตัวรางวัลว่า คณะกรรมการมีมติให้เรือ่ งสัน้ ชือ่ “พญาอินทรี” ของจรัล ยัง่ ยืน ได้รบั รางวัลชนะเลิศ และรางวัลที่ 2 เป็นของศิรวิ ร แก้วกาญจน์ หรือ อาลี โต๊ะอิชา จากเรื่องสั้นชื่อ “กรณี ฆาตกรรมโต๊ะอิหม่ามสะตอปา การ์เด” แต่ทั้ง 2 คน ถูก ปัดให้ตกไปโดยนักการเมืองหญิงตำ�แหน่งประธานฯ แล้ว ดันผมให้ได้รางวัลชนะเลิศขึ้นมาแทน ตอนนั้นคุณชาติ วุฒิ บุณยรักษ์โทรเข้ามา แล้วคุยกันถึงเรื่องนี้ ตอนนั้น ผมรู้สึกผิดน่าจะได้แค่รางวัลชมเชยก็พอแล้ว คิดสับสน ว่าจะไม่ขึ้นไปรับรางวัลดีไหม ต้องไปปรึกษารุ่นพี่หลาย คน ตกลงให้ไปรับรางวัล พอดูว่า รางวัลที่ได้มันเยอะ เหมือนกัน เมื่อก่อนเราทำ�งานใหม่ๆ ยังไม่ได้เงินเยอะ ขนาดนั้น มารับรางวัลพร้อมคุณวิสุทธิ์ ขาวเนียน ถาม กันเล่นๆ ว่าเราจะเอาเงินไปทำ�อะไรกันดี ทำ�ไมมันเยอะ ขนาดนี้ (ฮา) ตอนนั้นขณะที่ขึ้นไปรับรางวัล ผมมีความ คิดว่า เราเป็นตัวสำ�รอง จะทำ�อย่างไรจึงจะแก้ขอ้ บกพร่อง ขั้นตอนนี้ได้ ผมจึงได้มีโอกาสให้ข้อแนะนำ�เพื่อรางวัล นี้จะได้มีอายุยืนยาวและเผยแพร่ในวงกว้าง เพราะเป็น ของระบบราชการและได้รบั สนับสนุนด้านงบประมาณมาก ตอนนัน้ ใครๆ ก็คาดเดาว่าคงจบกันแล้วสำ�หรับรางวัลนี้ ที่ไหนได้ยังอยู่ยืนยาว เหมือนปี๊บยิ่งตีก็ยิ่งยิ่งดัง ผมอยากให้มองว่าการเขียนเรือ่ งสัน้ การเมือง คง

ไม่ใช่แค่การเขียนถึงเรือ่ งอำ�นาจ การเลือกตัง้ หรือนักการ เมืองเท่านั้น มันต้องนิยามมากกว่านั้น ทั้งเป็นเรื่องของ ปัจเจกบุคคล เรื่องครอบครัว จริงๆ แล้วมันครอบคลุมทุกอย่างในวิถชี วี ติ รวม ทั้งต้องตั้งประเด็นให้ร่วมสมัยสอดคล้องกับปัจจุบัน มี วรรณศิลป์สอดรับไม่ว่าจะเขียนเรื่องอะไร ต้องดูจุดมุ่ง หมายในการประกวดด้วย ในความคิดของผมการประกวด ก็เป็นสิ่งดี เพราะช่วยประเมินงานเราได้ อย่างน้อยมี สนามให้เราส่งงาน อยากฝากแง่คดิ ว่าการฝึกอบรมนักเขียนต่างจาก อบรมพนักงานขาย อบรมวันนี้แล้วไปขายได้เลย งาน เขียนเป็นงานเขียนโดดเดี่ยว ไม่มีใครช่วยเราได้เราต้อง อยู่กับตัวเราเอง มันอยู่ในโลกของเราเอง ดังนั้นกลับไป บ้านเอากลวิธีไปลองเขียน ฝึกบ่อยๆ แม้ไม่ได้รางวัลก็ ขอให้คิดเสียว่า เมื่อเราลงมือเขียนก็เป็นการให้รางวัล กับชีวิตเราแล้ว” หลังจากการสัมมนาในหัวข้อ “เขียนอย่างไรให้ สร้างสรรค์และมีวรรณศิลป์” จบลง บรรดาผู้เข้าร่วม สัมมนาปรบมือกันดังเกรียวกราว ข้อเสนอแนะในวันนี้ คง เป็นแรงกระตุน้ ทำ�ให้นกั เขียนมือใหม่ไฟแรง เร่งสร้างผล งานทัง้ วรรณกรรมเรือ่ งสัน้ และบทกวีการเมืองส่งผลงาน เข้าร่วมประกวด หรืออย่างน้อยได้แนวทางไปประยุกต์ใช้ ในการสร้างงานวรรณกรรมอันจะเป็นประโยชน์สบื ต่อไป


104 นิตยสารเรื่องสั้น

ทางที่ทอดยาว สันเขาหลังคาแดนใต้

เรื่องและภาพโดย รมณ กมลนาวิน

เสียงกระทบกันของภาชนะหุงหาอาหาร ดังระคนกับเสียงคน กลุม่ หนึง่ ทีก่ ระวีกระวาดเตรียมอาหารมือ้ เช้า ปลุกฉันให้ตนื่ ขึน้ มาพบ กับความสดชืน่ จากละอองความเย็นของน้ำ�ตกนัน่ เพราะเมือ่ คืนฉัน จับจองทีน่ อนใกล้ทางน้�ำ ตกไหลทิง้ ตัวลงมาเบือ้ งล่าง หลับใหลอย่าง เต็มอิม่ จากการเห่ไกวของเปลและเสียงเห่กล่อมของสายน้�ำ จากธาร จนไม่คดิ อยากลุกออกจากเปล ฉันพาดขาข้างหนึง่ ทีข่ อบเปลให้เท้า สัมผัสพื้นดิน ไกวตัวเองเบาๆ เช้านี้อากาศสดชื่นไม่เหมือนกับเมื่อ คืนที่หนาวจนนอนสั่นสะท้านถึงกระดูก ความเฉียบเย็นเข้าฉาบก้น เปลเลยขึ้นมาก้นฉันเพราะลืมใส่ผ้าใบรองเปล นอนอู้อีกหนึ่งอึดใจ

ก็ฝืนลุกขึ้น ยังไม่ลืมไปสำ�รวจคนที่นอน ‘ปลาทู’ เมือ่ คืนว่าโดนพวกเจ้าทากตัวดำ� เมีย่ มโจมตีหนักขนาดไหน พวกเราเรียก ลักษณะการนอนเรียงรายกันบนกราวด์ ชีทว่านอนแบบ ‘ปลาทู’ (ไม่แน่ใจนักว่า พวกเขานอนหันหน้าไปทางเดียวกันด้วย หรือไม่?) พีใ่ หญ่นกั วิชาการสิง่ แวดล้อม คนหนึ่งในทริปบอกว่าโดนกัดไม่เยอะ ส่วนสาวกรมพัฒนาที่ดินขาลุยเธอบอก ว่าโดนกัดที่คอและแขนแต่พอรู้สึกตัว ในรุ่งเช้าก็ไม่เห็นตัวแล้ว พบเพียงรอย เลือดแห้งกรังติดอยู่ที่ปากแผล ฉันมา รู้เคล็ดไม่ลับ(แต่กลับไม่บอกใคร) จาก หนุม่ โปรแกรมเมอร์บริษทั ประกันภัยราย ใหญ่ว่า ถ้านอนใกล้ไฟหรือควันไฟ ทาก จะไม่เข้าใกล้ เพราะมันไม่ชอบกลิ่นควัน ไฟ และเขาก็เลือกตำ�แหน่งนอนเมื่อคืน นี้ได้ถูกต้องเสียด้วย พวกเราสิบชีวติ หนีความวุน่ วายและ ความร้อนระอุของการเมืองในกรุงเทพฯ ลงใต้มาทีป่ า่ เขาหลวง นครศรีธรรมราช จังหวัดทีข่ นึ้ ชือ่ เรือ่ งป่าธรรมชาติทสี่ วยงาม มียอดเขาสลับซับซ้อนเรียงกันเป็นเทือก เขาที่อุดมสมบูรณ์ จนได้ขนานนามว่า


นิตยสารเรื่องสั้น 105

“หลังคาแดนใต้” ทั้งพรรณพืช กล้วยไม้ ป่า เฟิร์นดึกดำ�บรรพ์ต่างๆ เรียกความ สนใจให้พวกเรารวมกลุ่มกันเดินทาง มาที่นี่ อีกทั้งการอุดอู้อยู่ในเมืองหลวง ท่ามกลางบรรยากาศอันร้อนระอุกท็ �ำ ให้ ฉันไม่นึกอยากทนอยู่แม้แต่วินาทีเดียว ฉันไม่รู้ว่าคนส่วนใหญ่หากเบื่อกับการ ทะเลาะทีไ่ ม่รจู้ บสิน้ ของบรรดากลุม่ คนใน สภา พวกเขาจะทำ�อะไร แต่สำ�หรับพวก เรา การหนีเข้าป่าหลุดเข้าสูโ่ ลกแห่งความ เงียบสงบ เป็นวิธีที่ดีที่สุดแล้ว อาหารเช้ า หมดไปอย่ า งไม่ ต้ อ งมี พิธีรีตองมากนัก พวกเราต่างแยกย้าย กันเก็บสัมภาระรอเวลายกเป้ขนึ้ หลัง เรา เรียกลักษณะนีว้ า่ “ขึน้ เป้” จะได้เวลาปีน ป่ายกันอีกแล้ว ตกลงเรามาเดินป่าหรือ มาปีนเขากันแน่ มีแต่ปนี กับปีนขึน้ เท่านัน้ ฉันลอบถอนใจพลางบ่นเบาๆ ธารน้�ำ ตกจุดแล้วจุดเล่า เมือ่ ก้าว ไปถึงเป็นต้องแวะพัก แม้ทากจะเกาะอยู่ เต็มก้อนหินก็จำ�ต้องนั่งเพราะเริ่มเมื่อย ล้า น้ำ�เย็นๆ รสชาติแปล่งลิ้นจากที่เคย กินในเมืองทว่าชืน่ ใจนัก น้องคนหนึง่ ใน ทริปแยกตัวไปถ่ายรูป มีอปุ กรณ์ครบแบบ

ก่อนมาเขาหลวง ฉัน คุยกับเพือ่ นคนหนึง่ เขาบอกให้ตามหา เอือ้ งสายเสริตให้พบ และถ่ายรูปกลับมา เอือ้ งชนิดนีม้ เี ฉพาะที่ เขาหลวงเท่านัน้ ดอก สีขาวสวยยาวระย้า เป็นพวง

มืออาชีพ สาวน้อยปริญญาโทแต่ยังอยู่ ในวัยใสวักน้ำ�ใส่ตวั เล่นเหมือนเด็กได้ใจ จนเปียกปอนไปหมดทัง้ ตัว คนอืน่ ๆ นัง่ พักทอดอารมณ์เคียงข้างสายน้ำ�ทีป่ ล่อย ทิ้งตัวลงมาด้านข้าง ‘เอ็กซ์’ หัวหน้าคนนำ�ทาง ส่ง สัญญาณสิ้นสุดการพัก พวกเรายกเป้ ขึน้ หลังกันทันที แม้การเดินหลายชัว่ โมง ที่ผ่านมาจะหนักเอาการ แต่สิ่งที่ผู้นำ� ทางบอกว่าทางข้างหน้าเป็นพื้นที่ที่จะมี กล้วยไม้ขึ้นหนาตา ทำ�ให้เราอยากที่จะ เดินกันต่อ และมีอกี สิง่ หนึง่ ทีค่ อยกระตุน้ ให้เรารีบรุดหนีกค็ อื กองทัพทากทีค่ อยซุม่ โจมตีเราดัง่ กองโจร ช้าไม่ได้ เผลอไม่ได้ เราอาจเสียเลือดเจ้าถิ่นอีกแน่ หลายชั่วโมงต่อมาหลังจากปีน ป่ายโขดหินก้อนแล้วก้อนเล่าจนก้าวขึ้น สู่น้ำ�ตกอ้ายเขียวชั้นที่ 99 หรือ ’หนาน ระฟ้า’ พวกเราปีนขึ้นแล้วก็ขึ้นไปสู่ที่สูง ขึ้นเรื่อยๆ ทางรกชัฏและแคบ เดินเรียง แถวตอนลึก สี่ผู้นำ�ทางเดินคั่นระหว่าง กลุ่มพวกเราอยู่ในตำ�แหน่ง หน้า กลาง และปิดท้ายแถว เพื่อให้เดินเกาะกลุ่ม กันไปเรื่อยๆ หากทิ้งระยะห่างเริ่มแตก

กลุ่ม ผู้นำ�ทางที่เดินคั่นกลุ่มจะรอพา เดินไปให้ทันกลุ่มข้างหน้า เนื่องเพราะ สภาพป่าเขาหลวงเป็นป่าดิบชื้น รกชัฏ ด้วยเฟิร์นหลากหลายพันธุ์ที่แย่งกันขึ้น จนแทบมองไม่เห็นทาง หากเดินแตก กลุ่มทิ้งระยะห่างจากคนข้างหน้ามาก ไป อาจทำ�ให้พลัดหลงกันได้ ก่อนมาเขาหลวง ฉันคุยกับเพือ่ น คนหนึง่ เขาบอกให้ตามหาเอือ้ งสายเสริต ให้พบและถ่ายรูปกลับมา เอื้องชนิดนี้มี เฉพาะทีเ่ ขาหลวงเท่านัน้ ดอกสีขาวสวย ยาวระย้าเป็นพวง แล้วก็ไม่ผิดหวังเลย อีกหนึ่งชั่วโมงต่อมาพวกเราเดินมาเจอ กับพระเอกของที่นี่แล้ว ตลอดเส้นทาง จากตรงนี้ไปอีกสุดสายตา เอื้องสายเส ริตกำ�ลังแข่งกันออกดอกอวดโฉมเต็ม ผืนป่า เกาะอยูต่ ามต้นไม้ใหญ่ทงิ้ ตัวยาว เกือบทุกต้น แทบทุกต้นจะเจอกล้วยไม้ อิงอาศัยอยู่ที่คาคบ เจอ ’นางคลี่นาง คล้าย’ ห้อยติดคาคบไม้หนึ่ง ‘เอื้อง แปรงสีฟัน’ ออกดอกโดดเด่นคล้ายฝัก ข้าวโพดอ่อนดูเป็นเอกลักษณ์ เราถ่ายรูป กันจนลืมเหนือ่ ย หลายมุมถูกสร้างสรรค์ จากจินตนาการทำ�เอาเพลินในการรัว ชัตเตอร์ เราเจอต้น ‘บิโกเนีย’ แผ่ใบสี

พวกเราสิบชีวติ หนีความวุน่ วายและความร้อนระอุของการเมืองในกรุงเทพฯ


106 นิตยสารเรื่องสั้น

เขียวสดโผล่พ้นพื้นดิน ลำ�ต้นเป็นก้านเรียวสีส้มมีขนเล็กน้อย เอ็กซ์บอกพวกเราว่ามันกินได้ ฉันจึงลองเด็ดลำ�ต้นมันมากิน รสชาติออกเปรีย้ วจีด๊ เข็ดฟัน เจ้าต้นสีสม้ นีจ้ ะถูกนำ�มาประกอบ อาหารมื้อกลางวันของเราด้วย ไม่กชี่ วั่ โมงเราก็พบลำ�ธารเล็ก จึงปลดเป้พกั กินอาหาร กลางวันกันทีน่ ี่ เรามีเป้าหมายมุง่ หน้าไปยังเขาพรหมโลก หลัง กินข้าวเสร็จ เอ็กซ์หวั หน้าทีมผูน้ �ำ ทางบอกว่าเดินอีกไม่ถงึ ครึง่ ชั่วโมงก็จะพบเนินลมฝน เส้นทางต่อจากนั้นเป็นทางไปยอด เขาพรหมโลกทีเ่ คยเดินเมือ่ สองปีกอ่ น ตอนนีค้ าดว่าต้นไม้โต ขึน้ เยอะเส้นทางอาจไม่ชดั นัก ต้องแกะรอยไปเรือ่ ยๆ มติกลุม่ ให้เดินทางต่อไป จุดมุ่งหมายในค่ำ�คืนนี้คือพักแรมบนยอด พรหมโลก หลังจากตกลงกันได้ พวกเราก็ขึ้นเป้เดินทางกัน ต่อ เพื่อปีนขึ้นสู่เนินลมฝน เนินเขาเล็กคล้ายหนอกอูฐ ต้นหญ้าสีเขียวอ่อนสลับ เหลืองปูเต็มเนินจนละลานตา พวกเราขึ้นไปยืนยังจุดชมวิว ที่สามารถมองเห็นบรรยากาศโดยรอบ 360 องศา แม้ความ สูงของเนินจะไม่เทียมเท่ายอดเขาพรหมโลกทีย่ นื ตระหง่านอยู่

เบื้องหน้า แต่เนินลมฝนก็เป็นจุดที่หลายคนอยากมายืน ลม เย็นๆ ปะทะดวงหน้า ฉันปลดเป้นงั่ มองยังพืน้ ทีโ่ ล่งเบือ้ งล่าง ทิศไหนก็ไมรู้ ฉันจำ�ทิศไม่ได้แล้ว รู้แต่ว่า บริเวณลานโล่งนั้น เป็นเส้นทางทีข่ นึ้ ไปยังยอดฝามี ลานกว้างนีเ้ ป็นต้นน้ำ�ตกอ้าย เขียว ที่สัตว์น้อยใหญ่มากินน้ำ�และโป่งดิน เห็น ‘ดอกกระดุม เงิน’ แข่งกันเบ่งบานขาววับไปทั่วท้องทุ่ง เสียงเอ็กซ์เรียกไป ดูกล้วยไม้ชอ่ ทีต่ ดิ กับต้นไม้ขนาดไม่ใหญ่มากนัก เป็นต้นเดียว ทีย่ ืนเด่นบนลานเนินแต่เพียงลำ�พัง พวกเราวิง่ ไปดูพบ ‘สิงโต ใบพัดเหลือง’ กล้วยไม้ตระกูลสิงโต สีเหลืองของดอกดูเด่น

ยามจับภาพด้วยกล้อง ไม่คิดว่าจะเจอเพราะบนเนินนี้แทบ ไม่มีต้นไม้เลย เป็นเนินโล้นๆ มีต้นหญ้าเล็กๆ ปกคลุมอยู่ เท่านัน้ ฉันแอบหวังในใจว่า ทางข้างหน้าจะได้พบกับกล้วยไม้ ตระกูลสิงโตชนิดอื่นอีก โดยเฉพาะ ‘สิงโตอาจารย์เต็ม’ และ ‘สิงโตงาม’ ที่ใครๆ ก็บอกว่าพบยากมาก จากเนินลมฝน พวกเราขึ้นเป้เดินไต่สันเขาด้วยความ เสียวเพราะทางเดินทั้งแคบและไม่มีอะไรให้ยึดเกาะนอกจาก ต้นหญ้าเล็กๆ เท่านั้น ถึงจุดที่ต้องมุดลอดป่าไผ่ทรมานมาก


นิตยสารเรื่องสั้น 107

พวกเราโดยมีเอ็กซ์ยืนนิ่วหน้าอย่างใช้ความคิด “น้�ำ ทีเ่ คยมีตรงนีม้ นั แห้งไปหมด” เขาพูดสีหน้าจริงจัง ทำ�เอาทุกคนฉายแววกังวล เอ็กซ์พูดเสริมขึ้นว่าเส้นทางที่เรา จะไปต้องแกะรอย และลำ�ธารทีเ่ คยมีอยูร่ ะหว่างทางตอนนีน้ �้ำ แห้งหมด ทัง้ ไม่แน่ใจว่าลำ�ธารถัดไปจะมีน�้ำ หรือไม่ จึงไม่อยาก ให้เสี่ยง หากเรายืนยันจะไปยังยอดพรหมโลกให้ได้และถ้าสิ่ง ทีเ่ ขาคาดการณ์ไว้ไม่ผดิ พลาด พวกเราจะขาดน้ำ�และเดินไม่ถงึ ยอดเขาแน่นอน ซึง่ ในขณะนีพ้ วกเรามีน�้ำ เหลือติดตัวกันเพียง คนละค่อนขวดเท่านัน้ พวกเราฟังสิง่ ทีเ่ อ็กซ์พดู แล้วมองไปยัง ยอดเขาพรหมโลกและยอดเขาพันแปด ที่ยืนตระหง่านเคียง ข้างกันด้วยความเสียดาย สุดท้ายพวกเราจำ�ต้องตัดสินใจ คือ เปลี่ยนเส้นทางเดิน! น้ำ�คือสิ่งที่เราต้องหาในตอนนี้ เป้าหมายเราเปลี่ยน ไปแบบกะทันหัน หากหาแหล่งน้ำ�ไม่ได้ภายในเย็นนี้ เราจะ ไม่ได้กินข้าว เพราะน้ำ�ที่ทุกคนมี นำ�มารวมกันยังไม่เพียงพอ ในการหูงข้าวสักหม้อ เอ็กซ์ย้ำ�ให้เก็บน้ำ�ที่มีอยู่ไว้ใช้ในยาม จำ�เป็น เพราะหากคิดให้เลวร้ายที่สุด พรุ่งนี้เช้าเราอาจยังไม่

หนามเล็กๆ เกี่ยวแขนลากเส้นไม่ต่ำ�กว่าสิบ ขึ้นแนวเป็นทาง ยาว บางแผลก็มีเลือดซิบ ยิ่งเดินคล้ายแขนจะยับเยินไปด้วย คมหนาม มุดกันยังไม่สาแก่ใจ เราต้องคลานศอกกันอีกเพราะ ทางข้างหน้ามีต้นไม้ปกคลุมเหลือช่องเตีย้ ๆ ไว้ให้มดุ ลอด เป้ ใบใหญ่ที่เกาะหลังเราทำ�เอาต้องคืบคลานแบบใช้ทั้งมือและ เท้าถึงจะพาทั้งคนและสัมภาระผ่านไปได้ เดินต่อไปอีกราว ชัว่ โมงเศษ เราก็ไปยืนอยูส่ นั เขาพรหมโลก ฉันได้ยนิ เสียงน้อง คนหนึง่ ในทริปอยูข่ า้ งหน้าร้องเรียกพวกเราทุกคนให้เร่งฝีเท้า ไปหาเขา เพื่อตกลงอะไรบางอย่าง เมื่อเดินไปถึงเขาแจ้งต่อ

เจอน้ำ� ตอนนี้เป็นเวลาเกือบสี่โมงเย็น เขาวางแผนต่อว่าเรา จะเสีย่ งเดินลงหุบเขาไต่ดงิ่ หน้าผาไปอาจพบแหล่งน้ำ�ทีอ่ ยูใ่ กล้ สุด พวกเราพยักหน้ารับและเริ่มเดินทางกันต่อ แม้จะล้าและ เริ่มกระหายน้ำ� แต่กำ�ลังใจเรายังดีอยู่ ไม่มีแววตาคู่ใดฉาย ความหวาดกลัวออกมาให้เห็น ทางเดินไต่ลงดิ่งลึกไปเรื่อยๆ ด้วยความชันพานให้ลื่นไถลหลายตลบ ดีที่มีต้นไม้และหินให้ ยึดเกาะ ยิง่ ไต่ลงไปยิง่ ชันและคดเคีย้ ว เอ็กซ์เตือนให้เดินระวัง ด้านล่างเป็นหุบเหว! ..


108 นิตยสารเรื่องสั้น

ร่วมสองชัว่ โมงทีเ่ ราตัดลงหุบเขาและ ยังไม่มีท่าทีว่าจะเห็นพื้นราบ เอ็กซ์บอก ให้เร่งฝีเท้าขึน้ อีก พวกเราต้องลงไปให้ถงึ ด้านล่างก่อนค่ำ� ฉันมองลงไปยังเบื้อง ล่าง ทางยังอีกไกลเกินกว่าที่เราจะไต่ ลงไปถึง มืดเสียก่อนแน่นอน ฉันค่อยๆ หย่อนตัวลงด้วยความระมัดระวังที่สุด เพราะชันมาก ต้นไม้เล็กๆ ถูกรวบเพื่อ ช่วยเป็นหลักในการทรงตัว พระอาทิตย์ กำ�ลังจะลาลับขอบฟ้าแล้ว พวกเรายังไต่ ลงกันไม่ถงึ พืน้ เบือ้ งล่าง เสียงเอ็กซ์บอก ทุกคนให้หยิบไฟฉายออกมา เส้นทาง เริ่มเลือนด้วยความมืด เรายังไต่กันลง ไปเรื่อยๆ โดยใช้สองมือยึดจับต้นไม้ เล็กๆ หลายต้นรวบดึงเกาะเกี่ยวขณะ หย่อนตัวลงไปตลอดทาง ได้ยนิ เสียงลืน่ ไถลของใครบางคนเป็นระยะและเสียง ร้องบอกให้ระวังหินคลอน ฉันไต่ลงเป็น คนท้ายๆ ลงไปเห็นเพื่อนหลายคนที่ลง มาก่อนหยุดออกันตรงบริเวณพืน้ ทีท่ พี่ อ จะยืนได้ เอ็กซ์บอกกับเราว่า คืนนีจ้ ำ�เป็น ต้องพักกันตรงจุดนี้ อันตรายเกินไปหาก

ต้องดิ่งฝ่าความมืดลงไปเรื่อยๆ และ ไม่แน่ใจว่าจะมีธารน้ำ�อยู่ในตำ�แหน่งใด ต่อจากที่ตรงนี้ เขาจะลงไปสำ�รวจเพียง คนเดียว ให้พวกเราพักแรมรออยู่ที่นี่ น้ำ�ที่มีคนละค่อนขวด เขาย้ำ�เป็นครั้งที่ สามให้กินอย่างประหยัดที่สุด กันไว้ถึง พรุ่งนี้เช้าด้วย เขานับจำ�นวนผู้หญิงได้ ห้าคน เปลที่ผู้ชายมีให้รวบรวมเอาไป ผูกไว้ด้านหนึ่งเพื่อให้ผู้หญิงนอน ส่วน ผู้ชายทั้งหมดให้เอากราวด์ชีทพับครึ่ง ปูบริเวณที่ยืนอยู่เพื่อใช้นอนซึ่งมันก็คือ เชิงหน้าผาไร้ต้นไม้กั้นกันผลัดตกลงไป เมื่อเข้าใจดีแล้ว เราต่างแยกย้ายลงมือ จัดสถานที่ให้เป็นแค้มป์นอนอย่างง่าย แปลถูกผูกอย่างแน่นหนา ฉันได้ที่ผูก ริมสุด ต้นไม้ขนาดไม่ใหญ่มากนักที่ขึ้น อยู่ตรงกลางพื้นที่สำ�หรับผูกเปล ถูกมัด เกีย่ วด้วยสายเปลถึงห้าหลังไขว้ดงึ รัง้ ทุก ทิศทางคล้ายใยแมงมุม ฉันลอบคิดแบบ หวาดๆ ว่ามันจะทนทานต่อการดึงรัง้ ของ เปลทัง้ ห้าจนถึงรุง่ เช้าได้หรือไม่ ถ้าต้นไม้ ลำ�นีโ้ ค่นลงเพราะทานภาระนีไ้ ม่ไหว สาว

ทัง้ ห้าคนได้ผลุบหายลงหุบเหวพร้อมกัน เป็นแน่ เพราะพืน้ ดินมีลกั ษณะลาดชันไป ตามแนวดิ่งของหุบเหว ริมหุบเหวเป็นอีกหนึง่ บรรยากาศ ทีไ่ ม่อาจลืมได้ สาวๆ รีบขึน้ เปลนอนแบบ ไม่กล้าขยับเขยื้อนตัวมากนัก ฉันมอง ไปทางหนุ่มๆ ด้านล่างที่นั่งห่างออกไป ได้ยินเสียงพวกเขาคุยกันจึงรู้ว่า เมื่อครู่ เอ็กซ์ไต่ลงหุบไปดูขา้ งล่างแล้วปรากฏว่า ลึกลงไปอีกจะเป็นแนวดิ่งที่ชันมากกว่า เดิมและไม่มีต้นไม้เล็กๆ ให้เกาะ เพราะ มันเป็นส่วนของหน้าผาตัด อันตรายมาก หากจะเสี่ยงลงไปอีก จึงเปลี่ยนแผนอีก ครั้ง เสียงเอ็กซ์พูดอีกว่าเราต้องไต่กลับ ขึ้นไปอีกรอบเพือ่ หาแหล่งน้�ำ ในเส้นทาง อืน่ พรุง่ นีเ้ ขาจะตืน่ แต่เช้ามืดเพือ่ แกะรอย หาแหล่งน้�ำ เพราะตอนนีเ้ ราเดินหลุดเส้น ทางทีเ่ คยเดินเรียกว่าหลงทางก็คงไม่ผดิ เขาจะทิง้ รอยไว้ให้คนนำ�ทางทีเ่ หลือในทีม เดินแกะรอยนำ�พวกเราไปพบเขา เมือ่ เขา พบแหล่งน้�ำ แล้วจะรีบเดินย้อนกลับมาหา พวกเราเอง เพราะหากปล่อยให้เดินไป


นิตยสารเรื่องสั้น 109

พร้อมกับเขา ทัง้ ทีมอาจหมดแรงเดินต่อ ไม่ไหวเพราะขาดอาหารและน้�ำ มาข้ามคืน พวกเราไม่มใี ครหวัน่ วิตก เพราะล้วนเชือ่ มัน่ ในตัวผูน้ �ำ อย่างเอ็กซ์ เขาจะพาเราไป พบแหล่งน้�ำ และหลุดรอดจากเหตุการณ์ ครั้งนี้ไปได้อย่างแน่นอน ก่อนทีจ่ ะหลับตาลงไปด้วยความ อ่อนเพลีย ภาพความวุ่นวายในเมืองที่ จากมาฉายวับขึ้นตรงหน้าผาก บนท้อง ถนนสองข้างทางเต็มไปด้วยทหารหลาย นาย ตรวจเฉพาะกิจตามจุดต่างๆ ตรึง กำ�ลังกันอย่างเข้มแข็ง คอยโบกรถทีผ่ า่ น ทางให้จอดเพือ่ ตรวจตราความเรียบร้อย ค้นหาสิง่ ผิดปกติ รถทุกคันให้ความร่วม มือเป็นอย่างดี รถตู้ของเราก็ถูกตรวจ เช่นกัน ฉันนั่งอยู่เบาะเกือบสุดท้ายจึง มองหน้านายทหารคนที่เดินมาเปิด ประตูรถไม่ถนัดนัก ได้ยินเสียงใครบาง คนในรถพูดว่า “พวกเรากำ�ลังมุ่งหน้า ลงนครศรีธรรมราช” หลังสิ้นเสียงซัก ถามจากนายทหารหนุ่มร่างใหญ่ นาย

ทหารอีกคนที่เดินมาสมทบ ช่วยตรวจ ค้นไม่ซกั ถามต่อเพียงกวาดสายตามอง พวกเราในรถและสัมภาระทีว่ างอยู่ที่พนื้ เท่านั้น อาจเพราะแน่ใจแล้วว่าไม่มีสิ่ง ผิดปกติใดๆ ภายในรถ จึงอนุญาตให้ ออกรถได้ ในสภาวะการณ์บ้านเมือง คับขันเช่นนี้ สิ่งที่ทำ�ได้ดีที่สุดก็คือให้ ความร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ สถานการณ์ บ้านเมืองยังร้อนระอุต่อเนื่องจากหลาย อาทิตย์ก่อนโดยไม่มีทีท่าว่าจะเบาบาง ลง ข่าวจากจอโทรทัศน์ที่ได้ดูก่อนขึ้น รถรายงานให้ทราบถึงความเคลื่อนไหว เรื่องข่าวพรรคการเมืองเก่าแก่ถูกฟ้อง ให้ยุบพรรค กระนั้นฉันก็ยังไม่อยากที่ จะรับฟัง อาจเพราะหมดศรัทธาต่อระบบ การเมืองไทยมานานแล้วจนเลิกทีจ่ ะเสพ ข่าวในทุกด้าน ปลดตัวเองออกจากการ รับรู้ แค่ไม่อยากสิ้นหวังและให้ศรัทธา สุดท้ายต่อการเมืองหลุดหายไป จะไม่มี ผูใ้ ดในโลกทีจ่ ะมาเกลีย่ ความบาดหมาง นีไ้ ด้เชียวหรือ เหตุการณ์ความตึงเครียด

ของประชาชนทีแ่ บ่งขัว้ สีในครัง้ นี้ ฉันไม่รู้ ว่ามันจะขยายความร้าวฉานออกไปสักแค่ ไหน ในอีกห้าวันข้างหน้าเมือ่ กลับไปทีน่ นั่ จะมีอะไรบ้างที่เปลี่ยนไป จะสร้างความ เศร้าสลดหดหูใ่ จให้ฉนั สักเพียงไหนหนอ ก่อนทีพ่ วกเราทุกคนจะเหยียบเข้าผืนป่า เราตกลงกันไว้วา่ จะวางความร้าวฉานของ ผู้คนไว้ที่ชายป่า ไม่แบกมันเข้ามาด้วย กระนั้นฉันก็ผิดสัญญาพกติดเข้ามาใน ความคิด พวกเราทุกคนที่อยู่ในป่าขณะ นี้ กำ�ลังต่อสู้เพื่อการมีชีวิตรอดไปให้ถึง วันพรุ่งนี้ ส่วนคนที่อยู่ในเมือง พวกเขา กำ�ลังต่อสู้เพื่อสิ่งใด ประชาธิปไตยบน ซากศพกระนั้นหรือ ฉันลอบถอนหายใจ ทุกครั้งที่นึกถึง ฤทธิค์ วามอ่อนล้ากำ�ลังทำ�ให้ฉนั หลับ ก่อนที่จะสิ้นการรับรู้ในคืนนี้ ฉัน สวดมนต์ขอให้เจ้าป่าเจ้าเขาคุ้มครอง พวกเรา แม้ความหิวและกระหายน้ำ� จะทำ�เอาทรมานอยู่มาก แต่ด้วยความ เหน็ดเหนื่อยในการเดินทางตลอดสิบ


110 นิตยสารเรื่องสั้น

ชั่วโมงของวันนี้ คงทำ�ให้หลับสนิท และ จิบน้ำ�เป็นระยะเมื่อรู้สึกคอแห้งผากและ ก่อนหลับตาลงฉันหวังลึกๆ ในใจว่า พรุง่ ต้นขาล้าเหมือนจะไต่ขนึ้ ไม่ไหว พักเพียง นี้เช้าพวกเราจะพบกับแหล่งน้ำ�โดยเร็ว! เสี้ยวนาทีแค่พอเริ่มมีแรงก็ไต่ขึ้นไปอีก และขึ้นไปอีกเรื่อยๆ ไม่มีใครรอแสงสว่างจากพระอาทิตย์ แดดสายแผดความร้อนแรงสาด ต่างทยอยเร่งเก็บของลงเป้แล้วแบกเดิน แผ่กระจายทั่วเทือกเขา แสงจ้าจนต้อง ไปรวมกลุ่ม เอ็กซ์คงล่วงหน้าไปแล้ว หรีต่ ามองทาง คนนำ�ทางเดินตามรอยที่ เพราะไม่เห็นเขา เมื่อทุกคนพร้อม เราก็ เอ็กซ์ทิ้งไว้ ต้นไม้เล็กถูกหักลำ�ต้นหงาย เริ่มปีนป่ายขึ้นไปเส้นทางเดิมที่ไต่ลงมา ใบชีไ้ ปทางทิศทีเ่ ราควรเดิน มุง่ ไปอีกระยะ จากเมื่อวาน ฉันมองน้ำ�เหลือเพียงค่อน พบรอยฟันโคนไม้ด้วยคมมีดยังใหม่สด ขวดเท่านั้น ลอบถอนใจเบาๆ ความชัน เอ็กซ์ทงิ้ รอยไว้เป็นระยะสัน้ ๆ ทำ�ให้เราไม่ ของเส้นทางทีล่ งมาเมือ่ คืนทำ�เอาแอบท้อ หลุดเส้นทางที่เขาทิ้งไว้ ร่วมสองชั่วโมง สาวน้อยตัวเบาคนหนึง่ ของทริปใช้ความ ของการปืนขึน้ ตาเริม่ ลายพร่า ความหิว คล่องแคล่วส่วนตัวปีนป่ายขึน้ ไปเป็นหัว ปัน่ ป่วนรบกวนจิตใจ หูฉนั เริม่ อือ้ อึง ฉัน ขบวนและสวมบทเป็นเนวิเกเตอร์ คอย รีบกอบสมาธิขนึ้ มาใหม่เพือ่ มุง่ ไปข้างหน้า บอกตำ�แหน่งหินทีโ่ ยกคลอนกับคนทีไ่ ต่ อึดใจหนึง่ เราไต่ขนึ้ มาถึงสันเขาแล้ว นัน่ ขึ้นตามหลัง จุดอันตรายถูกบอกต่อกัน ไงเอ็กซ์! เขายืนคอยพวกเราอยู่ ตาฉัน ไปเรือ่ ยๆ จนถึงคนทีอ่ ยูด่ า้ นล่าง ฉันดึง พร่ามองสีหน้าเขาไม่ชัด แต่แค่เห็นเขา รวบต้นไม้เล็กๆ ให้เป็นกำ�เดียวกันเพื่อ ฉันก็ตื้นตันแล้ว ฉุดดึงตัวขึน้ ไป ไต่ไปได้เพียงครึง่ ชัว่ โมง “แสดงว่าเอ็กซ์เจอแหล่งน้�ำ แล้ว ท้องร้องและกระหายน้ำ�มากขึ้น ฉันเริ่ม และย้อนกลับมาหาพวกเรา” ฉันคิดใน

ใจ แม้ขาจะเมื่อยแขนจะล้าจากการปีน ป่ายขึ้นมา แต่เมื่อได้เห็นเขา เกิดพลัง ขึ้นมาอย่างประหลาด ฉันยิ้มโล่งใจทั้ง รู้สึกตื้นตันและกัดฟันเร่งฝีเท้าเดินไป สมทบ เมือ่ ไปถึงสิง่ ทีไ่ ด้ยนิ จากปากเอ็กซ์ คือ “น้�ำ ไม่ม!ี ” เขาบอกอีกว่าไม่พบแหล่ง น้�ำ ในบริเวณใกล้เคียงนี้ ฉันสลดวูบทันที แต่ก็ตั้งสติรอฟังว่าจะทำ�อย่างไรกันต่อ ไป กำ�ลังใจจะต้องไม่หายไปไหน ฉัน รีบเตือนตัวเองเพราะถ้าหากขาดกำ�ลัง ใจเสียแล้ว อาจทำ�ให้ชีวิตไม่ผ่านพ้น เทือกเขานี้ไปได้แน่ เอ็กซ์บอกกับเราว่า แผนเดียวของพวกเราในขณะนี้คือต้อง เดินย้อนกลับไปที่เนินลมฝน เลยจากที่ นั่นไปจะพบธารน้ำ�ที่เป็นต้นน้ำ�ตกอ้าย เขียว ฉันนึกถึงเมื่อวานตอนที่นั่งพักอยู่ บนเนินลมฝน มองลงมายังลานกว้างที่ เต็มไปด้วยดอกกระดุมเงิน ที่นั่นเองคือ ความหวังเดียวของเรา แม้ว่าเนินลมฝนจะห่างจากที่ ยืนอยู่ราวสี่ชั่วโมง แต่เราไม่มีทางเลือก


นิตยสารเรื่องสั้น 111

“รอดแล้ว! เรารอดแล้ว!” ฉันตะโกนอยู่ภายในพร้อม เด็ดบิโกเนียมาอีกหนึ่งกำ�มือเหน็บใส่เป้ไว้กินตลอดทาง เดินต่อไปอีกเพียงไม่กกี่ า้ ว ตะลึงเมือ่ เห็นบิโกเนียเต็มพรึ่ บทั่วบริเวณนั้น แล้ว ในสถานการณ์วิกฤติเช่นนี้ เราไม่ ควรเสี่ยงไปยังที่ที่เราไม่แน่ใจ พวกเรา ตกลงใจอย่างรวดเร็วแล้วเร่งเดินกลับ ไปที่นั่น ฉันหยิบขวดน้ำ�ออกมาจิบเพื่อ ต่อกำ�ลังกายและใจในการเดินต่อ แต่ เพิ่งรู้ตัวว่าน้ำ�หมดเหลือเพียงขวดว่าง เปล่า คงจิบเพลินจนลืมสังเกต สมาธิ ฉันไม่เหลือไว้ให้สิ่งใดนอกจากการก้าว เดิน เพื่อนคนหนึ่งที่ยืนอยู่ใกล้เหลือบ มาเห็นเลยออกปากให้ดมื่ น้�ำ ของเธอ ฉัน รับโดยง่ายแต่ก็แฝงความเกรงใจอยู่ใน ที ชีวิตก็แบบนี้ เมื่อถึงจุดหนึ่งสัญชาติ ญาณมักโผล่ออกมากลบความเกรงใจ หรือมารยาทที่เสริมปั้นแต่งแสดงต่อ กันในเวลาที่อยู่ในเมือง ฉันกระหายน้ำ� จนไม่คดิ จะปฏิเสธและเอ่ยขอจิบน้ำ�จาก เธออีกสองสามครัง้ เมือ่ รูส้ กึ คอเหนือ่ ยจน ก้าวแทบไม่ออก ในลำ�คอแห้งแล้งคล้าย กับทะเลทราย เธอยื่นให้เป็นระยะด้วย ความยินดีและหมั่นถามไถ่เพื่อนคนอื่น ว่ายังไหวอยูไ่ หม ทัง้ ๆ ทีเ่ ธอเองก็ดอู อ่ น ล้าลงไปมาก อันที่จริง พวกเราต่างก็มี สภาพไม่แตกต่างกัน การเดินทางไต่สันเขาขากลับ พวกเราพักกันถี่มาก ไม่อยากฝืนเพราะ จะทำ�ให้หมดแรงเร็ว ฉันนึกขึน้ ได้วา่ ฝาก

กระเป๋ากล้องไว้ที่เพื่อนคนหนึ่ง ในนั้นมี น้�ำ อยูห่ นึง่ ขวด จึงร้องขอ เขาเปิดกระเป๋า แล้วหยิบขวดน้�ำ ยืน่ มาให้ ยกขึน้ ดูมนี �้ำ ใน นั้นเพียงเล็กน้อย ฉันหลับตาข่มความ ผิดหวัง เอาเถอะ! อย่างน้อยมันก็ทำ�ให้ ฉันเดินไปได้อีกหลายก้าว เมื่อเดินต่อ ไปอีกสักระยะเริ่มไม่ไหวเพราะกระหาย น้�ำ และหิวมากคล้ายจะวูบ เพือ่ นคนหนึง่ ยื่นน้�ำ ทีต่ ดิ อยูก่ น้ ขวดใบใสให้ ฉันลืมตัว ยกขึ้นดื่มรวดเดียวหมด ยิ้มเจื่อนมอง เขาด้วยสายตาขอโทษแล้วยื่นขวดเปล่า คืน เขามองอย่างเข้าใจและยิ้มให้กำ�ลัง ใจเหมือนจะบอกว่า ไม่เป็นไร! เราต้อง ผ่านไปให้ได้! ฉันหายใจลึกที่สุด ระบาย มันออกมาแล้วก้าวเดินต่อ เสียงจากเอ็กซ์ให้เร่งขึน้ เป้ดงั มา อีกแล้ว พักกันเพียงไม่ถึงห้านาทีก็ต้อง เดินกันต่อ ฉันยันตัวลุกขึน้ เกีย่ วสายยกเป้ ขึน้ หลัง เข็มขัดทีเ่ ป้ทกุ เส้นถูกดึงรัดเพือ่ ให้ กระชับทีส่ ดุ ทางทีจ่ ะเดินต่อจากนีจ้ ะเป็น ส่วนของสันเขาโล่งไม่มตี น้ ไม้ปกคลุม เรา จะโดนแสงแดดร้อนแรงจากพระอาทิตย์ ดวงใหญ่ทบี่ ดั นีล้ อยเด่นเหนือหัวไร้เมฆมา ช่วยบดบังแสงจ้า ความร้อนแผ่กระจาย ลงมาเผาไหม้ผวิ หนังจนแสบใบหน้าและ ลำ�แขน เอ็กซ์ตะโกนบอกขณะเดินนำ�ไป

เรื่อยๆ ให้ระวังกับการก้าวเท้ามากขึ้น เป็นพิเศษ มีสติอยู่ตลอดเวลา เราต้อง ไปให้ถึงเนินลมฝนเร็วที่สุด! เป้ทุกใบเกาะหลังนักเดินทาง ไว้แน่น ประหนึ่งกลัวว่าจะพลัดจากไหล่ เจ้าของตกลงสู่พื้นดินเบื้องล่างที่ห่าง ลงไปลิบตา เสียงคนข้างหน้าดังตลอด เวลาว่าให้ระวัง เหมือนเขาต้องการเรียก สติพวกเราให้ตื่นอยู่ตลอดเวลา เพราะ หากมีใครสติวูบหายร่วงหล่นสันเขาลง ไป จะเป็นวิกฤติหนักที่ยากในการแก้ไข เหตุการณ์เฉพาะหน้า ช่วงเดินเลียบ สันเขาในทางแคบ ด้านขวาเป็นต้นไม้ ครื้มบางต้นมีหนามแหลม ด้านซ้ายคือ หุบเหว ฉันมองเห็นทางลางๆ ตาพร่าขึน้ เรื่อยๆ เหมือนสติจะวูบหล่น ต้องหยุด พักหนึ่งจังหวะการก้าวแล้วเรียกสติคืน มา มือคอยยึดต้นไม้ด้านขวาไว้ แม้บาง ครั้งจะกำ�ถูกส่วนที่เป็นหนามบ้างก็ไม่ สนใจ เวลาเช่นนี้ความเจ็บปวดจากคม หนามน้อยกว่าอาการที่เป็นอยู่มากนัก ถึงช่วงที่ต้องก้มมุดลอดป่าไผ่ เริ่มสร้าง ความลำ�บากมากขึน้ ความหนักของเป้ที่ หลังยังคงทำ�หน้าทีท่ ดสอบกำ�ลังใจต่อไป เรือ่ ยๆ เหงือ่ ไคลไหลย้อยผ่านปลายคาง หยดลงพืน้ คมหนามเหนีย่ วเสือ้ และครูด


112 นิตยสารเรื่องสั้น

แขนอย่างไม่ปรานี เรายังคืบคลานกันต่อ ไปในอุโมงค์แห่งคมหนาม! ร่วมสองชัว่ โมงถัดมา คนข้างหน้า โห่รอ้ งดีใจ เมือ่ มุดโผล่พน้ ป่าหนามออก มาได้ ฉันเร่งมุดแหวกกอหนามออกมา อย่างเริ่มมีกำ�ลังใจ มองเห็นเนินลมฝน แล้ว! แม้จะยังอยูห่ า่ งไกลออกไป แต่อย่าง น้อยเราก็ได้เห็นเป้าหมายทีเ่ ป็นความหวัง เดียวของเราในขณะนี้ และต่อจากนัน้ อีก ไม่ถึงครึ่งชั่วโมงเราก็จะพบน้ำ� พวกเขา โห่ร้องดีใจ จับมือ ตบไหล่ให้กำ�ลังใจ กันพัลวัน ฉันยืนกัดฟันน้ำ�ตาคลอ บอก ตัวเองในใจว่า อีกนิดนะ อีกนิด! ขณะก้าวเดินไปข้างหน้า สายตา จับจ้องไปยังเนินลมฝนที่ยืนตระหง่าน กวักมือเรียกพวกเราอยูเ่ บือ้ งหน้า เพือ่ น ทีเ่ ดินด้านหลังร้องลัน่ ทักสิง่ หนึง่ ทีอ่ ยูต่ รง พื้นดิน ฉันเหลือบลงเห็นต้นบิโกเนียอยู่ กอหนึ่ง ดีใจจนน้ำ�ตาเอ่อ รู้สึกเหมือน สวรรค์เริ่มปรานีพวกเรา ถอนใจระบาย ความเครียดออกมาแล้วรีบก้มลงเด็ดบิ โกเนียมาก้านหนึ่งริดใบทิ้ง ถูก้านสีส้ม กับเสือ้ อย่างตืน้ ตัน กัดเคีย้ วอย่างหิวโหย

รูส้ กึ เหมือนกะเพาะก็รอ้ งไชโยลัน่ ออกมา กวาดสายตาไปยังคนอื่นๆ ทุกคนนั่ง แผ่หราเคี้ยวก้านสีส้มอยู่เต็มปาก ต่าง ก็หิวโหยละหมดแรง ด้วยรสเปรี้ยวจี๊ด ของมันยามเคี้ยวทำ�เอาน้ำ�ลายไหลรู้สึก คล่องคอขึ้น ทะเลทรายถูกน้ำ�ทิพย์จาก สรวงสวรรค์ราดรดให้ชุ่มชื้นทั่วทั้งผืน “รอดแล้ว! เรารอดแล้ว!” ฉัน ตะโกนอยู่ภายในพร้อมเด็ดบิโกเนียมา อีกหนึ่งกำ�มือเหน็บใส่เป้ไว้กินตลอด ทาง เดินต่อไปอีกเพียงไม่กี่ก้าว ตะลึง เมื่อเห็นบิโกเนียเต็มพรึ่บทั่วบริเวณนั้น พวกเราเหนื่อยจนสายตาพร่า ไม่รู้ตัว ว่าทีแ่ ท้เรามุดรอดดินแดนแห่งคมหนาม ทีเ่ จ็บปวดดัง่ ขุมนรก หลุดเข้ามาในดงบิ โกเนียที่เปรียบเป็นสรวงสวรรค์ เหมือน เป็นรอยต่อแห่งความเป็นและความตาย เรารอดมาได้เพราะต้นไม้เล็กๆ เหล่านี้ ฉันว่าพวกเราคงจำ�เหตุการณ์นไี้ ปอีกนาน พวกเรายิม้ ให้กนั อย่างมีกำ�ลังใจเพิม่ ขึน้ มา แล้วชวนกันก้าวเดินต่อ ถึงลานหญ้าสีทองยอดเนินลม ฝนแล้ว ฉันเหวี่ยงเป้ลงจากหลัง แม้

แสงแดดเที่ยงวันจะแผดเผาหัวเราอยู่ กระนั้นก็ยังไม่มีใครสนใจ ต่างพากันทิ้ง ตัวนอนแผ่หลับตา แสงแดดอาบฉาบทัว่ ร่างกาย ฉันพลิกตัวนอนคว่ำ�หน้าแนบ หญ้ากอดเนินลมฝน เอ็กซ์เร่งให้ลุกขึ้น เพื่อจะเดินต่อ อีกเพียงคืบเดียวเราจะ เจอน้�ำ แล้ว พวกเราเค้นหาพลังทีซ่ กุ ซ่อน เพียงน้อยนิดพยายามลุกขึ้นทยอยเดิน ตามกันไป ต่างก็พากันก้าวเท้าไม่ค่อย ออกแต่ใจก็อยากไปให้ถึงธารน้ำ� ฉัน กัดฟันน้ำ�ตาซึมออกจากหัวตา แรงฉัน หมดลงไปแล้ว สิ่งที่ยันกายและดันขา ให้ก้าวเดินตามเพื่อนไปนั้น ฉันเค้นเอา มาจากหัวใจ ไม่เกินยี่สิบห้านาที ฉันได้ยิน เพื่อนที่เดินข้างหน้าโห่ร้องกันเสียงดัง ว่าเจอน้ำ�แล้ว และร้องเรียกให้พวกที่ เดินกันอยู่เร่งฝีเท้า ฉันยิ้มอย่างเต็ม ตื้นน้ำ�ตาร่วงทันทีกับต้นเสียงนั้น แล้ว กัดฟันสาวเท้ายาวที่สุดเท่าที่กำ�ลังมีอยู่ ในที่สุด ฉันก็เห็นธารน้ำ�!


นิตยสารเรื่องสั้น 113

กราวด์ชีทถูกปูลาดยาวอย่างรวดเร็ว หลายคนทิ้งเป้ลงและถอดรองเท้านอน หงายผลึง่ บางคนยืนเทน้�ำ จากขวดลงคอ อย่างหิวโหย ฉันมองดูธารน้�ำ ด้วยสายตา พร่ามัว เราผ่านมันมาได้แล้วจริงๆ ฉัน หยิบน้ำ�จากมือเพื่อนที่ส่งมาให้ ขวดน้ำ� ขนาด 1.5 ลิตร มีน้ำ�บรรจุเกือบเต็ม ฉัน ยกขึน้ ดืม่ รวดเดียวหมดขวดในขณะทีย่ งั มีเป้เกาะติดหลังอยู่ หลังจากปลดเป้วาง ลงจึงรีบตรงไปทีธ่ ารน้ำ�เล็กๆ วักน้ำ�ล้าง หน้า ล้างแขนและรอบคอ ดีใจจนไม่รจู้ ะ พูดอย่างไรกับตัวเอง วักน้ำ�สาดใส่หน้า อีกจนนับไม่ถว้ น ถ้าไม่คดิ ว่าต้องใช้น�้ำ นี้ หุงหาอาหารและดืม่ กิน คงเดินลงไปนอน แช่แล้ว ฉันยกขวดบรรจุน้ำ�เต็มเปีย่ มราด ตัง้ แต่หวั ลงมา จนทัว่ ทัง้ ตัวเปียกชุม่ แล้ว ทิ้งขวดน้�ำ ลงข้างตัวนอนแผ่โดยไม่เกรง กลัวทาก ขณะนอนหลับตายังได้ยนิ เสียง เพื่อนโห่ร้องดังตลอดเวลา ฉันนึกอยาก เห็นหน้าเอ็กซ์ในตอนนี้ จึงลืมตากวาด สายตามองหา เห็นเขานัง่ ยิม้ อยูบ่ นขอน ไม้ทา่ ทางผ่อนคลายความเครียดลง เขา นั่งยิ้มมองไปยังคนที่โห่ร้องดีใจ ดูเขา

โรยลงเล็กน้อยเท่านัน้ ซึง่ ต่างจากสภาพ ของพวกเรา กลิน่ ข้าวหุงใหม่และกับข้าวทีถ่ กู ปรุงอย่างง่ายทยอยวางเรียงหน้าเข้ามา พวกเราดีดตัวผลุงจากการนอนแผ่หลา เข้าล้อมรอบชิดสำ�รับ อาหารมือ้ นีเ้ ป็นมือ้ ทีว่ เิ ศษสุด ประทับใจทีส่ ดุ ในชีวติ ฉันนึก ย้อนกลับไปยังการเดินทางอันแสนหฤโหด ไม่คดิ ว่าจะมีพลังและความอดทนทีแ่ ฝง อยู่ในตัวมากมายขนาดนี้ ฉันมองหน้า เอ็กซ์อย่างชื่นชมในความเป็นผู้นำ�ของ เขา ผู้นำ�ที่ทำ�ทุกอย่างเพื่อให้พวกเรา รอด ฉันเอ่ยถามเขาถึงเป้าหมายต่อไป ในการเดินทาง เขาว่าถ้านับจากจุดทีเ่ รา อยู่ ควรจะขึ้นยอดฝามี เพราะใกล้ที่สุด และระยะทางก็พอเหมาะกับเวลาทีเ่ หลือ อยู่ ฉันบอกเขาว่าไม่เกี่ยงหากจะไปเส้น ทางไหน เพราะทุกเส้นทางในเทือกเขา หลวงล้วนมหัศจรรย์ แต่มีคำ�ถามเดียว ที่ฉันถามเขาอย่างจริงจัง “เส้นทางข้างหน้าจะมีแหล่งน้ำ� ไหมเอ็กซ์?” เขาหัวเราะร่วนเป็นคำ�ตอบ


114 นิตยสารเรื่องสั้น


นิตยสารเรื่องสั้น 115

การรวมตัวกันของคนเก็บเมฆ Story by Nolyho Happy Wanderer

มีหลายคนสงสัยมากว่าบนท้องฟ้านัน้ มีดอี ะไร ทำ�ไม ฉันจึงชอบแหงนมองบนฟ้า และทำ�ไมถึงได้กดชัตเตอร์ กล้องถ่ายรูปรัวถีย่ บิ และแทบจะกดทุกทีท่ มี่ โี อกาสได้ยก กล้องถ่ายรูปขึน้ ประจันหน้ากับก้อนเมฆและท้องฟ้าเบือ้ ง บน บางคนคิดหนักมากเมื่อเห็นอาการบ้าท้องฟ้า คลั่ง ไคล้กอ้ นเมฆ ถึงขนาดเดาเอาเองว่าฉันกำ�ลังทำ�วิจยั ด้าน ดาราศาสตร์ วิทยาศาสตร์ หรือเกี่ยวกับทฤษฎีอะไรสัก อย่างบนท้องฟ้านั่น...โอ้ที่รัก...ไม่นะ ไม่...มันมิได้เป็น อะไรที่ยิ่งใหญ่ขนาดนั้นหรอก การที่ฉันทำ�อะไรแบบนั้น ฉันก็แค่อยากมองอะไรที่มันกว้างใหญ่ไพศาล และมอง หาอะไรที่ทำ�ให้ได้ใช้จินตนาการอย่างสูงสุดต่างหาก ดู อย่างก้อนเมฆที่ลอยไปมานั่นสิ เมฆแต่ละก้อนที่เห็นมัน แปลงร่างเป็นรูปอะไรได้ตั้งหลายอย่าง และหากโชคดีก็ จะได้เห็นรุ้งกินน้ำ�ตัวอ้วน หรือทรงกลดวงใหญ่ปรากฏ ให้เห็น...โธ่เอ๋ย...นี่ไงเล่า มันไม่มีอะไรหรอก มันมีอยู่ แค่นี้จริงๆ... และคงมีอีกหลายคนอีกนั่นแหละ ที่คงว่าฉันบ้า ท้องฟ้า คลัง่ ไคล้กอ้ นเมฆ เพราะรูปส่วนหนึง่ ทีถ่ า่ ยได้นนั้

ฉันจะโพสท์ลงหน้าวอลเฟซบุ๊กของตัวเอง แล้วบรรยาย ตามความรู้อันน้อยนิดที่มีเกี่ยวกับภาพแต่ละภาพที่เจอ แต่อาจเป็นไปได้วา่ มีเพียงไม่กคี่ นบนหน้าเฟซบุก๊ ทีส่ นใจ และให้ความสำ�คัญกับสี แสง รูปร่าง และปรากฏการณ์ ต่างๆ อย่างจริงๆ จังๆ ดังนั้น หลายคนจึงตั้งข้อสงสัย และถามคำ�ถามที่ว่า เธอบ้าไปแล้วหรือ เธอเป็นอะไรไป หรือเปล่า หรือหนักหน่อยก็ที่ว่า...วันๆ ไม่เห็นทำ�อะไร เห็นถ่ายแต่รปู ท้องฟ้าและก้อนเมฆ...แต่ฉนั ก็ไม่ได้เถียง หรือแก้ตวั อะไรหรอกนะ ยอมรับความจริงและเห็นตามนัน้ เพราะฉันคงไม่สามารถชักจูง โน้มน้าว หรือทำ�ให้ใครๆ มารัก ชอบ หลง และวนๆ เวียนๆ อยู่กับสิ่งเดียวกันใน สิ่งที่ฉันรักและทำ�ได้หรอก และเมื่อไม่นานมานี้ ๑๒ กรกฎาคมที่ผ่านมา เกิดปรากฏการณ์อาทิตย์ทรงกลดขึ้นที่ท้องฟ้าเมืองสอง จังหวัดแพร่ ฉันไม่ได้เห็นภาพนัน้ ว่าทรงกลดวงใหญ่และ สวยงามแค่ไหน เห็นเพียงภาพถ่ายทีเ่ พือ่ นในชมรมคนรัก มวลเมฆทีเ่ รารวมกันอยูอ่ ย่างแน่นขนัดนำ�มาโพสท์ให้ชม กันทางหน้าเฟซบุ๊กเท่านั้น หนึ่งในหลาย ๆ ภาพที่เราได้


116 นิตยสารเรื่องสั้น

เห็นคือ เด็กนักเรียนของโรงเรียนสองพิทยาคมกำ�ลังชม ปรากฏการณ์นนั้ อย่างตืน่ เต้น สนุกสนาน ครูนอ้ ย ครูสอน วิทยาศาสตร์ที่สองพิทยาคม หนึ่งในสมาชิกชมรมคนรัก มวลเมฆนำ�ภาพเด็กๆ มาลง และเล่าเขียนเล่าบรรยากาศ ให้พี่ ป้า น้า อา ในชมรมได้มสี ว่ นร่วมว่าพวกเขา ตืน่ เต้น สนุกสนาน และได้อะไรจากการชมกันบ้าง พวกเราผู้กลายเป็นผู้เฒ่าผู้แก่ไปโดยปริยาย เมื่อเห็นเด็กๆ มีความสุขกับท้องฟ้า มวลเมฆ และ ปรากฏการณ์อื่น ๆ ต่างก็พลอยตื่นเต้นดีใจไปด้วย เมื่อ เราคุยกันมากๆ เข้า เราจึงเกิดความคิดทีจ่ ะต่อยอดการ ชมอาทิตย์ทรงกลดของเด็กเหล่านัน้ ให้ขยายวงกว้างออก ไป จึงหารือกันแบบสายฟ้าแลบทางเฟซบุก๊ นัน้ เองว่า ควร จัดกิจกรรมอะไรสักอย่างให้เด็กๆ ได้เล่าถึงประสบการณ์ ความรู้ และความรู้สึกที่ตนเองมีต่อเหตุการณ์นั้น แต่จะ ทำ�อย่างไร เพราะพวกเราในชมรมอยู่ห่างไกลจากเด็กๆ อีกทั้ง การมารวมกันของแต่ละคนก็ยากเย็นแสนเข็ญ ดร.บัญชา ธนบุญสมบัติ ผู้ก่อตั้งชมรมคนรักมวลเมฆ ผู้อยู่เบื้องหลัง ความรู้มากมายด้านวิทยาศาสตร์ และ เป็นผู้ใหญ่ใจดีมากอารมณ์ขัน จึงเสนอแนวทางการจัด กิจกรรมให้แคบลงและง่ายขึ้นโดยการให้เด็กเขียนเป็น เรียงความส่งชิงรางวัล ได้แก่ หนังสือ และของที่ระลึก ต่างๆ ที่พี่ๆ จะจัดเตรียมให้ และในเวลาไม่นานเกิน ๑ วัน ของวันนั้น ชมรมคนรักมวลเมฆก็จัดกิจกรรมเล็ก ๆ น่ารัก ๆ รวดเร็ว กระชับ ฉับไว แต่ขยายวงกว้างมาก นัน่ คือ โครงการประกวดเขียนเรียงความ “อาทิตย์ทรงกลด ณ โรงเรียนสองพิทยาคม” โดยการดำ�เนินงานและประสาน งานกันเองภายในกลุม่ คณะกรรมการคัดสรรเรียงความ ที่ เราอาสามากันเองด้วยความสมัครใจ และทุกการทำ�งาน เชื่อมโยงผ่านทางเฟซบุ๊กและอีเมล แปลกแต่จริงที่เรื่องราวบนท้องฟ้าจะกลายมา เป็นหนึ่งในกิจกรรมเล็กๆ ของคนในชมรมที่กรรมการ คัดเรียงความทั้ง ๑๗ คน (๑๓ คนจากชมรม และอีก ๔ คนเป็นครูทโี่ รงเรียน) มาจากบุคคลต่างอาชีพ ต่างวัย แต่มคี วามรักและสนใจในสิง่ เดียวกัน คือ ความงามและ

ความมีเสน่ห์ของมวลเมฆและท้องฟ้า ที่มีทั้งเลขานุการ ผู้บริหาร พนักงานบริษัทเอกชน รัฐวิสาหกิจ พยาบาล ที่ ปรึกษาด้านสังคม เศรษฐกิจ เจ้าของกิจการ และอีกหลาก หลายสาขาอาชีพ นอกจากนี้ยังมีพี่ๆ ใจดีที่มอบทุนการ ศึกษา หนังสือและของทีร่ ะลึกอืน่ ๆ ทีไ่ ม่ได้เป็นกรรมการ อีกหลายคน ที่ต่างก็มาร่วมมือร่วมใจกันจัดกิจกรรมนี้ เพื่อเป็นกำ�ลังใจและแรงขับให้เด็กๆ มีพลังใจการเขียน เรียงความ และเมื่อถึงเวลากำ�หนดส่งเรียงความผู้ใหญ่ ใจดีทงั้ หลายต่างตืน่ เต้นทีจ่ ะได้อา่ นผลงานของเด็กๆ แต่ เมือ่ ได้รจู้ �ำ นวนของผลงานเขียนทีม่ มี ากกว่า ๑๔๐ ชิน้ ก็ แทบจะสลบเหมือด แต่ผู้ใหญ่ผู้ยุ่งขิงทั้งหลายก็ตั้งหน้า ตั้งตาอ่านเรียงความทีม่ ี ทัง้ ของน้องระดับมัธยมต้นและ มัธยมปลาย เพือ่ เสร็จให้ทนั เวลาทีเ่ ราจะประกาศผลและ มอบรางวัลให้เขาเหล่านั้น มาถึงตอนนี้ การจัดประกวดสิ้นสุดลงแล้ว ดร. บัญชา เดินทางไปทีโ่ รงเรียนสองพิทยาคมเพือ่ มอบรางวัล ให้ผชู้ นะการประกวดแล้ว หากแต่ในคณะกรรมการและครู ทีเ่ กีย่ วข้องในกิจกรรมนีย้ งั คงคุยกันอย่างต่อเนือ่ ง เพราะ จากการอ่านเรียงความทั้งหมด เรามีความคิดเห็น ข้อ เสนอแนะ รวมถึงเห็นปัญหาบางอย่างทีซ่ กุ ซ่อนอยูร่ ะหว่าง บรรทัดของการเขียนนั้น สิ่งไหนที่สามารถเพิ่มเติมแก้ไข ได้ในทันที คณะครูของโรงเรียนก็นำ�ไปดำ�เนินการ แต่สงิ่ ไหนทีย่ งั ต้องขยายวงให้กว้างออกไป หรือต้องขับเคลือ่ น และผลักดันให้สมั ฤทธิผ์ ลในอนาคตอันใกล้หรือในโอกาส ต่อๆ ไป พวกเราผู้ใหญ่ใจดีทั้งหลายต่างก็ยินดี เฝ้ารอ และพร้อมจะกลับมารวมตัวกันอีกครั้งหนึ่ง แม้วา่ กิจกรรมแรกเริม่ ของชาวมวลเมฆจะปิดตัว ลงแล้ว แต่ฉันก็ยงคงบ้าคลั่งกับขี้เมฆ ก้อนเมฆ พี่เมฆ น้องเมฆอันแสนสวยและมากเสน่ห์ของฉันต่อไป ไม่แน่ ว่า.. ในภายภาคหน้า เราอาจจะมีกิจกรรมดีๆ ให้ผู้ใหญ่ ใจดีมากินลมชมเมฆ และสรวลเสเฮฮากับเรียงความฉบับ ผู้ใหญ่ๆ กันบ้างก็ได้...


นิตยสารเรื่องสั้น 117


118 นิตยสารเรื่องสั้น

นักเขียนรุ่นเยาว์

ครั้งแรกกับปรากฏการณ์ พระอาทิตย์ทรงกลด เรื่องโดย ปิยวรรณ คุ้มเนตร

ตลอดระยะเวลา 14 ปี ที่หนูได้เรียนรู้และใช้ชีวิตอยู่ บนโลกกลมๆ ใบนี้ หนูไม่เคยคิดติดตาม ไม่ค่อยสนใจ เรือ่ งทีเ่ กีย่ วกับท้องฟ้าสักเท่าไร แต่พอมาอยูช่ นั้ มัธยมศึกษา ปีที่ 2 ซึ่งมีคุณครูวิไลลักษณ์ แสนเสนา เป็นครูที่ปรึกษา ทำ�ให้เราใกล้ชิดกันมากขึ้น คุณครูวิไลลักษณ์ เปลี่ยนหนู จากคนทีไ่ ม่คอ่ ยจะสนใจปรากฏการณ์บนท้องฟ้ามาก่อน ให้สนใจ และใส่ใจเก็บรายละเอียดเกีย่ วกับปรากฏการณ์ บนท้องฟ้าตั้งแต่นั้นมา ตัวหนูเองก็ชอบเล่น Facebook แล้วก็แชร์รปู ท้องฟ้า ทีห่ นูถา่ ยได้มาลง Facebook ของตัวเอง ครูวไิ ลลักลักษณ์จงึ แนะนำ�ให้หนูเข้าไปเป็นสมาชิกใน Facebook ของชมรม คนรักมวลเมฆ เพราะจะมีปรากฏการณ์บนท้องฟ้าแชร์ให้ ดูอยู่เสมอ ไม่ว่าจะเป็นจากต่างจังหวัด ต่างประเทศ ครู ยังบอกอีกว่าหนูสามารถเข้าไปแชร์รูป แสดงความคิด เห็นรูปของคนอื่นและกด Like ได้ไม่ต้องกลัว เพราะพี่ ป้า น้า อา ในชมรมเขาใจดี และยังได้ความรูอ้ กี มากมาย พอหนูได้เป็นสมาชิกของชมรมคนรักมวลเมฆ ก็ทำ�ให้หนู ชอบท้องฟ้ามากขึ้น และอยากที่จะแชร์รูปที่ถ่ายได้ให้คน อื่นได้ดูด้วยว่าท้องฟ้าที่นี่เป็นเช่นไร แต่สิ่งที่ชมรมคนรัก

มวลเมฆ และคุณครูวไิ ลลักษณ์ทำ�ให้หนูอยากเห็น อยาก ที่จะสัมผัสด้วยตาของตัวเองมาก คือ รูปพระอาทิตย์ ทรงกลดของพี่ ป้า น้า อา ในชมรม และของคุณครูวิไล ลักษณ์ ซึ่งทำ�ให้หนูอยากเจอ อยากจะเห็นมันทุกๆ วัน แต่มันคงเป็นไปไม่ได้ เพราะท้องฟ้า และสภาพอากาศ ในแต่ละวันแตกต่างกันไม่สามารถคาดเดาได้ว่าจะเกิด ขึ้นเมื่อไร วันไหน พอมาวันพฤหัสบดีที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ.2555 เช้าวันนั้นพระอาทิตย์ส่องแสงจ้ามาก เวลาประมาณ 07.32 น. มีปรากฏการณ์ที่เรียกว่า Sun Dog เกิดขึ้น บนท้องฟ้า พอตอน 12.03 น. หนูนั่งกินขนมอยู่ในห้อง มีเพื่อนวิ่งเข้ามาแล้วบอกว่า คุณครูวิไลลักษณ์ชวนไป ดูพระอาทิตย์ทรงกลด หนูรีบวิ่งออกจากห้องเพื่อจะไป ดูพระอาทิตย์ทรงกลดเป็นครั้งแรก ตอนที่หนูรีบวิ่งมา คุณครูก็ประกาศว่า “ขณะนีไ้ ด้เกิดปรากฏการณ์พระอาทิตย์ทรงกลด ขึน้ วงใหญ่และสวยงามมาก” ทำ�ให้หนูรบี วิง่ สุดชีวติ และ ก็ได้เพื่อนตามมา 1 คน หนูได้บอกเพื่อนว่า “ให้เอามือปิดพระอาทิตย์เอาไว้แล้วมองทีข่ อบของ


นิตยสารเรื่องสั้น 119

มือเพราะถ้าเรามองพระอาทิตย์โดยตรงอาจจะทำ�ให้เรา ตาบอดได้ และจะได้เห็นพระอาทิตย์ทรงกลดได้สบายด้วย” แล้วหนูก็หยิบโทรศัพท์มือถือมาถ่ายรูปเอาไว้ ในความทรงจำ� ว่านี่คือการดูพระอาทิตย์ทรงกลดครั้ง แรกที่สัมผัสมันได้ด้วยดวงตาของหนูเอง แต่หนูลงมา ช้าหน่อยเลยทำ�ให้ไม่ทันได้ดูตอนที่พระอาทิตย์ทรงกลด เต็มดวง จึงทำ�ให้หนูได้เห็นแค่ส่วนหนึ่ง แต่ก็ประทับใจ ในการดูพระอาทิตย์ทรงกลดครั้งนี้เป็นอย่างมาก แล้ว หนูก็เดินกลับขึ้นห้องด้วยรอยยิ้มและความอิ่มอกอิ่มใจ ระหว่างเดินทางกลับห้อง เพื่อนก็ถามหนูว่าพระอาทิตย์ ทรงกลดมันเกิดขึ้นได้อย่างไร ตัวหนูก็มีความรู้อยู่บ้าง เลยบอกกับเพื่อนว่า “บนท้องฟ้าเกิดผลึกน้ำ�แข็งเล็กๆ ที่มีรูปทรงหก เหลี่ยมอยู่รอบพระอาทิตย์ เมื่อแสงของพระอาทิตย์ไป

เป็นแสงสีเหลืองอ่อนๆ มากทีส่ ดุ ถ้าเกิดจากการสะท้อน ของแสงจะปรากฏเป็นสีเขียว แต่ถา้ เกิดจากการหักเหของ แสงจะเป็นสีแดงเพลิงในตอนกลาง และเป็นสีน้ำ�เงินปน แดงตามขอบนอกขนาดของพระอาทิตย์ทรงกลด การเกิดพระอาทิตย์ทรงกลดไม่สามารถคาดการณ์ การเกิดล่วงหน้าได้ แต่ก็ถือเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น บ่อย พบได้มากในปีที่มีฝนหลงฤดู จึงทำ�ให้มีความชื้น ในอากาศมากตามไปด้วย จะเกิดมากในช่วงปลายฝนต้น หนาว ซึ่งมีความชื้นจากฝนมาก เวลาที่เหมาะสมได้แก่ ช่วงก่อน 10 โมงเช้าจนถึงเที่ยงเศษๆ ซึ่งเกล็ดน้ำ�แข็ง ยังไม่ละลาย แต่เมื่อเลยเที่ยงวันไปแล้ว โอกาสที่จะเกิด พระอาทิตย์ทรงกลดแทบจะเป็นไปไม่ได้เลย เพราะเกล็ด น้ำ�แข็งจะได้รับความร้อนจากแสงอาทิตย์มากจนละลาย หมดไป ในวันทีเ่ กิดพระอาทิตย์ทรงกลดจะเป็นวันทีอ่ ากาศ

“บนท้องฟ้าเกิดผลึกน้ำ�แข็งเล็กๆ ที่มีรูปทรงหกเหลี่ยมอยู่รอบพระอาทิตย์ เมื่อแสงของพระอาทิตย์ไปกระทบ กับผลึกน้ำ�แข็งจึงทำ�ให้เกิดพระอาทิตย์ทรงกลด” กระทบกับผลึกน้ำ�แข็งจึงทำ�ให้เกิดพระอาทิตย์ทรงกลด” หนูกน็ กึ ในใจว่ามันต้องมีขอ้ มูลมากกว่านี้ ตอนกลางคืน ของวันนั้นหนูรีบเข้า Google เพื่อหาข้อมูลเพิ่มเติมว่า พระอาทิตย์ทรงกลดเกิดขึ้นได้อย่างไง แล้วหนูก็ได้เจอข้อมูลจากเว็บไชต์หนึ่งบอกว่า “ปรากฏการณ์พระอาทิตย์ทรงกลด เกิดขึ้นจาก บรรยากาศของโลกในชัน้ โทรโพสเฟียร์ ซึง่ เป็นบรรยากาศ ชั้นล่างสุด และเป็นที่อยู่ของกลุ่มเมฆจำ�นวนมาก มี อากาศเย็นจัดตั้งแต่ช่วงเช้าตรู่ก่อนดวงอาทิตย์ขึ้น จน ทำ�ให้ละอองน้ำ�ในอากาศ ณ เวลานัน้ ๆ แข็งตัวเป็นเกล็ด น้ำ�แข็งอนุภาคเล็กๆ จำ�นวนมหาศาลลอยอยู่บนท้องฟ้า เมือ่ พระอาทิตย์ขนึ้ และส่องแสงทำ�มุมกับเกล็ดน้�ำ แข็งได้ อย่างเหมาะสม จะเกิดการหักเหและการสะท้อนของแสง ทำ�ให้เกิดเป็นแถบสีรงุ้ คล้ายการเกิดรุง้ กินน้ำ�หลังฝนตก ขึ้น ส่วนแสงสีที่ตามองเห็นนั้น จะขึ้นกับการทำ�มุมของ แสงอาทิตย์และเกล็ดน้ำ�แข็ง แต่โดยทั่วไปเรามักจะเห็น

ไม่รอ้ นจัด ไม่มฝี นตกปุบปับอย่างแน่นอน เว้นแต่จะมีลม พายุพดั เมฆฝนจากทีอ่ นื่ มา ภาษาถิน่ ของภาคเหนือเรียก พระอาทิตย์ทรงกลดว่า ตะวันตือเกิ้ง” นับตั้งแต่วันนั้น คุณครูวิไลลักษณ์ได้เปลี่ยน ชีวิตหนูที่เคยเป็นคนที่ไม่ค่อยจะสนใจปรากฏการณ์บน ท้องฟ้าสักเท่าไร ให้มกี ารสนใจ และใส่ใจเก็บรายละเอียด ปรากฏการณ์บนท้องฟ้า จนถึงวันนีท้ �ำ ให้หนูไม่อยากทีจ่ ะ พลาดดูสงิ่ สวยงามบนท้องฟ้า หนูกลายเป็นคนรักท้องฟ้า และทำ�ให้หนูรู้ว่าสิ่งที่สวยงามมันอยู่ไม่ไกลไปจากตัว เรา มันอยู่กับเราตลอดเวลาและมันอยู่ที่เราจะมองมัน เป็นแบบไหน หนูจะเก็บเรื่องราวในวันที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2555 ไว้ในความทรงจำ� ต่อจากนี้ไปหนูจะแนะนำ� ให้เพือ่ น พี่ น้อง ลุง ป้า น้า อา ให้มาสนใจและเห็นความ สำ�คัญของท้องฟ้า และหนูจะติดตามรูปภาพ ความรูแ้ ละ สิง่ ใหม่ๆ ทีเ่ กิดขึน้ บนท้องฟ้าเสมอ สุดท้ายนีห้ นูอยากจะ บอกเพียง 4 คำ�ว่า “หนูรักท้องฟ้า”


120 นิตยสารเรื่องสั้น

นักเขียนรุ่นเยาว์

พระอาทิตย์ทรงกลด เรื่องโดย สุภาวรรณ ณะอิ่น

คนไทยส่วนมากจะนับถือดวงอาทิตย์เป็นเทวดาเบือ้ ง บนองค์หนึ่ง สังเกตได้จากการเรียกคำ�นำ�หน้าว่า “พระ” ส่วน “กลด” ก็ถือเป็นของสูงสำ�หรับพระ เช่น กลดของ พระธุดงค์ ปรากฏการณ์นจี้ งึ เปรียบได้กบั กลดของพระที่ กำ�ลังถูกล้อมรอบไว้ดว้ ยแสงของดวงอาทิตย์ไว้นนั่ เอง จึง ถือเป็นเรื่องของความศักดิ์สิทธิ์เป็น “มหิธานุภาพ” ของ ดวงอาทิตย์ ถือว่ามีความหมายในทางที่ดีเป็นมงคลแก่ ทุกคนบนโลก ในวันทีเ่ กิดพระอาทิตย์ทรงกลดจะเป็นวันทีอ่ ากาศ ไม่รอ้ นจัด ไม่มฝี นตกมากะทันหันอย่างแน่นอน เว้นแต่จะ มีลมพายุพัดเมฆฝนจากที่อื่นมา จึงสามารถจัดกิจกรรม หรือประเพณีในวันทีม่ พี ระอาทิตย์ทรงกลดได้ดี ชาวเหนือ เชือ่ ว่าถ้าไม่มกี อ้ นเมฆมาบังก็จะทำ�ให้เกิดความแห้งแล้ง แต่ถ้ามีก้อนเมฆมาบังก็จะทำ�ให้ฝนตกหนักแม้มันเป็น เพียงแค่ความเชื่อแต่ก็อย่าได้ลบหลู่เป็นอันขาด มีอยูว่ นั หนึง่ ในวันที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2555 ขณะ ทีด่ ฉิ นั กำ�ลังรับประทานอาหารกับเพือ่ นในกลุม่ เสร็จพอดี แล้วจะอ่านหนังสือสอบกัน ก็มีเพื่อนผู้ชายวิ่งหน้าตาตื่น ขึน้ มาบอกว่าเขาเห็นพระอาทิตย์มวี งแหวนล้อมรอบ ตอน แรกดิฉนั ก็ไม่เชือ่ ไม่นานนักก็มคี ณ ุ ครูประกาศเสียงตาม สายประชาสัมพันธ์ ว่าตอนนีเ้ กิดปรากฏการณ์พระอาทิตย์ ทรงกลดขึน้ ดิฉนั จึงรีบวิง่ ไปดู แต่กด็ ไู ม่ได้มนั แสบตามาก

เพราะความทีไ่ ม่เคยเห็นมาก่อนจึงไม่รวู้ ธิ กี ารดูทถี่ กู ต้อง ครูก็ได้แนะนำ�ว่าให้เอาฝ่ามือมาปิดดวงอาทิตย์ก็จะเห็น ได้เอง ดิฉันทำ�ตามก็เห็นพระอาทิตย์มีวงกลมล้อมรอบ มันเป็นสีหลากหลาย สีเหมือนกับสีรุ้งมันสวยงามมาก แต่พอดูไปได้ไม่นานก็รสู้ กึ ปวดตา ดิฉนั จึงก้มดูพนื้ เพราะ คิดได้วา่ ถ้าอยากให้ตาเป็นปกติเร็วก็ให้มองของทีม่ นั รืน่ ตาโดยเฉพาะสีเขียว ดิฉันเห็นต้นไม้ทอี่ ยู่ใกล้ๆ ก็มองไป ทางนั้น ตาก็เริ่มเป็นปกติ พอมาดูอีกทีก็มีเมฆดำ�มาบัง ทำ�ให้ดูไม่ได้อีก บังเอิญถึงเวลาเข้าเรียนในภาคบ่าย ใน คาบเรียนชั่วโมงแรกนี้ก็เป็นวิชาประวัติศาสตร์สากล ครู ก็เล่าประสบการณ์เรือ่ งพระอาทิตย์ทรงกลดทีเ่ คยเจอมา ก่อน แต่ดิฉันก็ยังสงสัยอยู่ว่ามันเกิดขึ้นได้อย่างไร และ ในท้องถิ่นเราเรียกว่าอะไร เมื่อเลิกเรียนดิฉันก็รีบกลับบ้านแล้วมาเล่า เหตุการณ์ในวันนั้นให้แม่กับยายฟัง ยายเรียกปรากฏ การนี้ว่า “ตะวันตือเกิ้งหรือเดือนจ๋น” แม่บอกว่าวันนั้น มีอากาศร้อนมาก ยายก็บอกว่าปีนี้ฝนจะแล้ง แต่ดิฉัน ก็บอกว่ามีก้อนเมฆมาบังด้วยมันจะเป็นอย่างไร ยายก็ ตอบกลับมาว่าฝนจะตกหนักและเป็นเวลานาน ดิฉันจึง สรุปว่าถ้าหากมีอาทิตย์ทรงกลดแต่ไม่มกี อ้ นเมฆดำ�มาบัง ก็แสดงว่าอากาศจะร้อน แต่ถ้ามีเมฆดำ�ก็จะมีฝนตก แต่ ดิฉันก็อยากรู้ในทางวิทยาศาสตร์จึงไปค้นคว้าจาก วิกิพี


นิตยสารเรื่องสั้น 121

เดียสารานุกรมเสรีและเว็บไซต์หนึง่ จึงพบข้อมูลทีบ่ อกว่า ปรากฏการณ์พระอาทิตย์ทรงกลดไม่สามารถคาด การณ์การเกิดล่วงหน้าได้ แต่กถ็ อื เป็นปรากฏการณ์ทเี่ กิด ขึน้ บ่อย พบได้มากในปีทมี่ ฝี นหลงฤดู จึงทำ�ให้มคี วามชืน้ ในอากาศมากตามไปด้วย จะเกิดมากในช่วงปลายฝนต้น หนาว ซึ่งมีความชื้นจากฝนมาก เวลาที่เหมาะสมได้แก่ ช่วงก่อน 10 โมงเช้าจนถึงเที่ยงเศษๆ ซึ่งเกล็ดน้ำ�แข็ง ยังไม่ละลาย แต่เมื่อเลยเที่ยงวันไปแล้ว โอกาสที่จะเกิด พระอาทิตย์ทรงกลดแทบจะเป็นไปไม่ได้เลย เพราะเกล็ด น้ำ�แข็งจะได้รับความร้อนจากแสงอาทิตย์มากจนละลาย หมดไป ในวันทีเ่ กิดพระอาทิตย์ทรงกลดจะเป็นวันทีอ่ ากาศ ไม่รอ้ นจัด ไม่มฝี นตกกะทันหันอย่างแน่นอน เว้นแต่จะมี ลมพายุพัดเมฆฝนจากที่อื่นมา ปรากฏการณ์พระอาทิตย์ทรงกลด (Sun Halo) มีลักษณะเป็นภาพสะท้อนของพระอาทิตย์หลายๆ ดวง ซ้อนกัน มีขนาดโตกว่าปกติมีรัศมีสีรุ้งโดยรอบ ดวงที่ อยู่ตรงกลางมีความสดใสมากที่สุด ปรากฏการณ์พระอาทิตย์ทรงกลดเกิดขึ้นจาก บรรยากาศของโลกชัน้ โทรโพสเฟียร์ (Troposphere) ซึง่ เป็นบรรยากาศชัน้ ล่างสุด และเป็นทีอ่ ยูข่ องกลุม่ เมฆจำ�นวน มาก มีอากาศเย็นจัดตัง้ แต่ชว่ งเช้าตรูก่ อ่ นดวงอาทิตย์ขนึ้ จนทำ�ให้ละอองน้ำ�ในอากาศ ณ เวลานั้นๆ แข็งตัวเป็น เกล็ดน้ำ�แข็งอนุภาคเล็กๆ จำ�นวนมหาศาลลอยอยู่บน ท้องฟ้า เมื่อพระอาทิตย์ขึ้น และส่องแสงทำ�มุมกับเกล็ด น้�ำ แข็งได้อย่างเหมาะสม จะเกิดการหักเหและการสะท้อน ของแสง ทำ�ให้เกิดเป็นแถบสีรุ้ง (Spectrum) คล้ายการ เกิดรุ้งกินน้ำ�หลังฝนตกขึ้น ส่วนแสงสีที่ตามองเห็นนั้น จะขึ้นกับการทำ�มุมของแสงอาทิตย์และเกล็ดน้ำ�แข็ง แต่ โดยทัว่ ไปเรามักจะเห็นเป็นแสงสีเหลืองอ่อนๆ มากทีส่ ดุ ถ้าเกิดจากการสะท้อนของแสงจะปรากฏเป็นสีเขียว แต่ ถ้าเกิดจากการหักเหของแสงจะเป็นสีแดงเพลิงในตอน กลาง และเป็นสีน้ำ�เงินปนแดงตามขอบนอก ขนาดของพระอาทิตย์ทรงกลดจะมีขนาดแตก ต่างกันออกไป แต่ส่วนมากจะมีขนาดเฉลี่ย 22 องศา

โดยการลากเส้นตรง 2 เส้น มาบรรจบกันทีด่ วงตาผูม้ อง ได้แก่ เส้นตรงที่ลากจากกึ่งกลางของปรากฏการณ์มาที่ ตาผู้มอง และเส้นตรงที่ลากจากขอบของปรากฏการณ์ มาที่ดวงตาผูม้ อง บางครั้งเกล็ดน้ำ�แข็งของละอองไอน้ำ� เหล่านี้ จะทำ�หน้าทีห่ กั เหทางเดินของแสงอาทิตย์ และก่อ ให้เกิดภาพขยายขึ้น เช่นเดียวกับที่กระจกหรือเลนส์นูน ทำ�ให้เกิดภาพขยาย นอกจากจะมีอาทิตย์ทที่ รงกลดแล้ว ยังมีพระจันทร์ ทรงกลด (Moon Halo) ซึง่ พระจันทร์ทรงกลดรังสีสดใสเช่น เดียวกับพระอาทิตย์ทรงกลด เพียงแต่พระจันทร์ทรงกลด มีลกั ษณะของสีสนั และรังสีจางกว่า แต่พระจันทร์ทรงกลด มีคนชอบดูมากกว่าเพราะนานๆ จะเกิดขึน้ ครัง้ หนึง่ การ ที่คนชอบดูพระจันทร์เมื่อเกิดปรากฏการณ์ทรงกลดก็ เนือ่ งมาจากความงามของรังสีทแี่ ผ่กระจายออก และเรา สามารถมองดูพระจันทร์ทรงกลดได้ด้วยตาเปล่า ซึ่งจะ มองดูพระอาทิตย์เช่นนั้นไม่ได้ พระจันทร์ทรงกลดเกิดจากการสะท้อนของแสง และการหักเหของแสงของพระจันทร์ เมื่อกระทบเข้ากับ เกล็ดน้�ำ แข็งเล็กๆ ของละอองไอน้�ำ ชัน้ บนของบรรยากาศ จะทำ�ให้เกิดภาพของพระจันทร์ขยายขนาดโตขึน้ ซ้อนกัน กับดวงจันทร์จริง และมีรังสีของแสงสีรุ้งกระจายอยู่โดย รอบสวยงามมาก ดังนั้นพระจันทร์ทรงกลดจึงเกิดขึ้น ในคืนที่ท้องฟ้ามืดสนิทจะทำ�ให้เห็นปรากฏการณ์ของ รังสีทรงกลดของพระจันทร์ได้อย่างชัดเจน แตกต่างกับ พระอาทิตย์ทรงกลดเพราะถ้าวันใดท้องฟ้าโปร่งใสปราศจาก เมฆหมอกหรือละอองไอน้ำ�แล้วจะไม่เกิดปรากฏการณ์ พระอาทิตย์ทรงกลดขึ้นได้เลย เมือ่ ดิฉนั ได้รเู้ ช่นนีแ้ ล้ว ดิฉนั ก็จะนำ�ประสบการณ์ ความรูใ้ นครัง้ นีไ้ ปถ่ายทอดให้ผอู้ นื่ ได้รบั รูด้ ว้ ย เพราะดิฉนั เชือ่ ว่ายังมีใครอีกหลายคนทีย่ งั ไม่รหู้ รือไม่สนใจในสิง่ รอบ ตัว เหมือนกับดิฉันที่เคยเป็นมาก่อน ที่ไม่เคยสนใจและ ไม่รวู้ า่ ธรรมชาติมนั สวยงามแค่ไหนดิฉนั ได้เรียนรูว้ า่ อย่า ปล่อยเวลาในช่วงเวลานัน้ เลยไปเพราะมันอาจจะไม่กลับ มาหาอีกหรือถ้ากลับมาก็จะไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป


122 นิตยสารเรื่องสั้น


นิตยสารเรื่องสั้น 123

ท้ายเล่ม

มองโลกแง่ใด เรื่องโดย สิริกัญญา ชุ่มเย็น

เรื่องกระทบใจที่สุดในช่วงเวลานี้ เห็นทีจะหนีไม่พ้น “ขอทาน” เพราะไม่ว่าจะอยู่ที่ไหน เดินไปทางไหน ก็จะพบ เจอพวกเขาได้เสมอ แม้ไม่ใช่สิ่งที่ปรารถนา... ปฏิเสธลำ�บากว่าขอทาน ปรากฏอยูใ่ นโครงสร้าง สังคมมาเป็นเวลาช้านาน แต่เหตุที่ต้องหยิบยกขึ้นมาพูดถึงสักหน่อย ก็ด้วยเหตุที่ว่าบุคคลผู้ทำ�มาหากินกับขอทานมี มิใช่น้อย สังเกตได้ไม่ยากจากจำ�นวนขอทานชนิดทีม่ กี ล่อง รับบริจาค เครื่องสียงขนาดเล็กและไมโครโฟนเก่าคร่ำ� ที่ สะพายคู่กายไม่ห่าง นัน่ อาจไม่ใช่เรือ่ งสมเหตุสมผลสำ�หรับคนยากจน เข็ญใจ แต่ก็ใช่ว่าพวกพิการซ้ำ�ซ้อน แก่ชราน่าสงสาร หรือให้นมลูกอ่อนอยูต่ ามตรอกซอกซอยของเมือง จะกลายเป็นเครือ่ งมือทำ�มาหากินของพวกเขาไม่ได้ เพราะถึงอย่างไรเราก็ไม่มที างล่วงรู้ บางทีขอทาน เหล่านั้น อาจกระทำ�ด้วยแรงขับที่มาจากความลำ�บาก จริงๆ ก็เป็นได้ ไม่มีใครรู้ แม้กระทั่งคนที่เป็นขอทานเองก็ตาม

คุณให้เงินขอทานเสมอ? แม้ไม่ทุกคนแต่ก็ให้ตามโอกาสที่เศษเงินหยิบ จับไม่ยากนัก หรือหากไม่สะดวก อาจพูดในใจว่า “โถ น่าเวทนา” และเดินผ่านไปอย่างเศร้าสร้อย จากนัน้ ก็ดำ�เนิน ชีวิตต่อ โดยปราศจากพวกเขาในความทรงจำ�... เหมือนจะไม่มหี นทางไหนทีจ่ ะช่วยคนเหล่านี้ ให้ มีชีวิตที่ดีขึ้นมาได้ นอกจากความเวทนาสงสารเห็นใจ ต่อเพื่อน มนุษย์ที่หมอบกราบ หรือร้องเพลงแลกกับเศษเงินเล็กๆ น้อยๆ สำ�หรับใช้ประทังชีวิต หรือเป็นการช่วยให้กลุ่มผู้หากินกับความยาก แค้นของมนุษย์ให้ร่ำ�รวยขึ้นก็ตาม เย็นวันหนึ่ง ขณะที่เดินซื้อของในตลาดสด ได้ยินเสียงเพลงแว่วมาตามลม “ให้ฉันดูแลเธอ รักเธอได้ไหม ให้ฉันเป็นเพื่อนเธอ เมื่อเธอเหงาใจ ไม่ต้องกลัว จะไม่ไปไหน จะไม่ทำ�ให้เธอเจ็บอีก เหมือนเคย จะดูแลอย่างดี” ทายสิ ต้นเสียงนั้นคือใคร...


Rare Item...

สำานักพิมพ์เม่นวรรณกรรม www.porcupinebook.com


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.