WRITE E-MAGAZINE VOL.1 NO.3

Page 1

WRITE »‚·Õè 1 ©ºÑº·Õè 3 à´×͹ÁÕ¹Ò¤Á 2552

ÊÑÁÀÒɳ : ºÃóҸԡÒúÃÔËÒà Êӹѡ¾ÔÁ¾ ÊÁÁµÔ ˹ѧÊ×͹͡¡Ãͺ : ¾Ô³»ÃÐÀÒ ¢Ñ¹·Çظ ¤ÇÒÁàÅÔÈÅÍÂÍѹ¨ÍÁ»ÅÍÁÏ : ªÒµÔÇØ²Ô ºØ³ÂÃÑ¡É BOOK&MOVIE : તͿ¡ÑºÊعѢ »ÅÒÂÊÒÅÐÇÔ¹·ÕèÁÐÅÐáËÁ‹§

WRITE E-MAGAZINE 1


write.dmg

สวัสดี​ท่าน​ผู้​อ่าน​อีก​ครั้ง​นะ​ครับ​ ​ ​WRITE​​ฉบับ​ที่​สาม​​ที่​ท่าน​อ่าน​อยู่​นี้​ออก​ช้า​อีก​ ตาม​เคย​ผ​ ม​ไม่มข​ี อ้ แ​ ก้ตวั ใ​ ด​ๆ​ ​ท​ ด​ี่ พ​ี อ​จะ​เอ่ยอ​ า้ ง​ค​ ง​ทำได้​ เพียง​เอ่ย​ขอโทษ​ท่าน​ผู้​อ่าน​ที่​ทำให้​รอ​คอย​นาน​เกิน​ไป​​ ฉบับ​ที่​สี่​ผม​สัญญา​ว่า​จะ​ทำ​ออก​มา​ให้​เร็ว​กว่า​ที่​เป็น​อยู่​​ ​ ​ก่อน​เปิด​หนังสือ​ดิจิตอล​อ่าน​ ​ผม​มี​เรื่อง​คุย​สัก​ สอง​สาม​เรื่อง​ ​ เ​รือ่ ง​แรก​ฉ​ บับน​ ม​ี้ ค​ี อลัมน์ใ​ หม่​ๆ​ ​ส​ อด​แทรก​เข้า​ มา​ให้​ได้​อ่าน​กัน​ ​ซึ่ง​ผม​ค่อน​ข้าง​พอใจ​นะ​ครับ​ที่​มี​เนื้อหา​ หลาก​หลาย​ส่ง​เข้า​มา​ ​โดย​ความ​จริง​แล้ว​ผม​ไม่​อยาก​ให้​ หนังสือห​ นักไ​ ป​ใน​ทาง​วรรณกรรม​ท​ ว่าอ​ ยาก​ได้ต​ น้ ฉบับท​ ​ี่ พูด​ถงึ ท​ กุ ​เรือ่ ง​ต​ งั้ แ​ ต่ไ​ ลฟ​สไตล์​ช​ ีวติ ​ค​ วาม​เป็นอ​ ยู​่ แ​ ฟชัน่ ​ การ​ออกแบบ​​ดนตรี​​หนัง​​หนังสือ​​ท่อง​เที่ยว​​อาหาร​การ​ กิน​ ​อย่าง​ที่​ผม​เคย​บอก​ว่า​ ​“​นัก​เขียน​”​ ​ไม่​ได้​มี​นัก​เขียน​ สาขา​เดียว​ ​แต่​มี​หลาก​หลาย​สาขา​ ​ดัง​นั้น​ท่าน​ที่​กำลัง​ ก้าว​สู่​การ​เป็น​นัก​เขียน​ ​ไม่​ควร​ติด​ยึด​ว่า​ตนเอง​ต้อง​เขียน​ “​ แ​ นว​วรรณกรรม​”​เ​พียง​อย่าง​เดียว​เ​พียง​แต่ว​ า่ น​ กั เ​ขียน​ไม่​ ว่า​แนวทาง​ไหน​ ​ต่าง​ก็​ต้อง​เขียน​ให้​ดี​ที่สุด​ตาม​มาตรฐาน​ แนวทาง​นั้น​ 2  WRITE E-MAGAZINE


​ ​ส่วน​บาง​คอลัมน์​หาย​ไป​ ​เป็น​เพราะ​นัก​เขียน​มี​ ภาระ​ส่วน​ตัว​ ​เมื่อ​ว่าง​ก็​คงจะ​กลับ​มา​เขียน​ให้​ท่าน​ผู้​อ่าน​ ได้​อ่าน​กัน​อีก​ครั้ง​ ​ เ​รือ่ ง​ทส​ี่ อง​ด​ ว้ ย​ระยะ​เวลา​ทท​ี่ ำ​หนังสือเ​นิน่ น​ าน​ หลาย​เดือน​ต​ าม​ภาวะ​ของ​ผม​วา่ ​“​ ว​ า่ ง​”​ม​ าก​นอ้ ย​เพียง​ใด​ ใน​แต่ละ​เดือน​ ​จึง​ทำให้​ต้นฉบับ​ที่​เป็นเนื้อหา​ข่าว​ ​พลอย​ กร่อย​ไป​ดว้ ย​ข​ อ้ น​ ผ​ี้ ม​จงึ อ​ ยาก​จะ​แก้ตวั ใ​ น​วาระ​ตอ่ ไ​ ป​ห​ วัง​ ว่า​ผู้​อ่าน​คง​พอ​ให้​อภัย​ผม​ได้​นะ​ครับ​​ ​ ​เ รื่ อ ง​ที่ ​ส าม​ ​เ นื่ อ งจาก​มี ​บ ทความ​ส่ ง ​เ ข้ า ​ม า​ จำนวน​มาก​​จาก​ที่​ว่า​จะ​ไม่​คัด​สรรค์​ใน​การ​ลงพิมพ์​​ฉบับ​ ต่อไ​ ป​ผม​อาจ​จะ​ใช้ว​ ธิ เ​ี กลีย่ ใ​ ห้ม​ นั ไ​ ม่ฟ​ งุ้ ม​ าก​เกินไ​ ป​ท​ า่ น​ท​ี่ ส่งม​ า​แล้วไ​ ม่ผ​ า่ น​อย่าเ​พิง่ ท​ อ้ น​ ะ​ครับ​ต​ ะกร้าส​ ร้าง​นกั เ​ขียน​ ฉันใด​ ​ความ​พยายาม​ใน​การ​ปรับปรุง​งาน​ให้​ดี​ขึ้น​ ​ย่อม​ จะ​สร้าง​ให้​นัก​เขียน​แข็งแกร่ง​ขึ้น​เฉันนั้น​จงอย่ากลัวหาก​ งานไม่ผ่านการพิจารณา ต้องสู้กับบรรณาธิการต่อไป ​ ​งาน​เขียน​ ​การ​เป็น​นัก​เขียน​จำเป็น​ต้อง​บ่ม​ให้​ สุก​ได้ที่​ ​ไม่​ต่าง​จาก​ผล​ไม้​ ​ถ้า​ยัง​ไม่​สุก​ ​รีบ​บ่ม​ด้วย​แก๊ซ​ ความ​อร่อย​ก็​ลด​ลง​ ​แทนที่​จะ​สุกงอม​ตาม​ธรรมชาติ​ ​(​ซึ่ง​ ใช้​เวลา​นาน​)​ ​การ​สุกงอม​ตาม​ธรรมชาติ​ ​ย่อม​ได้​รสชาติ​ ที่​ดี​กว่า​ ​และ​พิสูจน์​ว่า​เป็น​ของ​จริง​ ​ไม่มี​ใคร​ล้ม​ล้าง​หรือ​ ทำลาย​ได้​ ​ ส​ ำหรับท​ า่ น​ทต​ี่ อ้ งการ​สง่ ต​ น้ ฉบับม​ ายัง​W ​ RITE​​ ส่ง​ได้ที่​​E​-​Mail​​:​​niwat59​@​gmail​.​com​​ ​ ​ ​ ​ก่อน​จาก​กัน​ ​พบ​กัน​ใน​งาน​สัปดาห์​หนังสือ​ ​ที่​ บู๊ธ​ ​ALTERNATIVE​ ​WRITERS​ ​N38​ ​โซน​ ​C1​ ​นะ​ครับ​​ ​แวะ​ไป​ทักทาย​กัน​ ​ ​นิวัต​​พุทธ​ประสาท

WRITE E-MAGAZINE 3


CONTENTS BOOK ON THE SHELF 06 บทกวี 08 กิจกรรมหนังสือ 10 สัมภาษณ์ 14 ความเลิศลอยฯ 26 หนังสือนอกกรอบ 32 WRITER FOTO 35 นักเขียนใหม่กับสัญญาน่าคิด 36 กระต่ายติดซอย เพลย์บอยติดใจ 40 NOSThhhALGIA 42 MY BLUEBERRY NIGHTS 46 BOOK&MOVIE 48 หนึ่งรูป หนึ่งเรื่อง ความทรงจำ 54 โลกเหงา 56 ก่อนจะเป็นเกี๊ยว 62 กติกาการประกวดเรื่องสั้น WRITE 64

WRITE e-Magazine www.thaiwriter.net บรรณาธิการ: นิวัต พุทธประสาท กองบรรณาธิการ : อัจฉริยะ ใยสูง นักเขียนประจำ : ​“​โน​ลี​โอ​”, พล​​พะ​ยาบ, ลุงยะ,​ ผู้หญิงตะวันออก, สมศักดิ์ แซ่เล้า ออกแบบรูปเล่ม: Porcupine Books Design ขอบคุณ: สมาชิกไทยไรเตอร์ดอตเน็ต , www.f0nt.com สำนักงาน: 9/8 หมู่ 9 บางช้าง สามพราน จังหวัดนครปฐม 73110 www.thaiwriter.net โทรศัพท์: 034-295424 โทรสาร: 034-295283 E-Mail: porcupine@thaiwriter.net WRITE e-Magazine ยินดีเปิดรับต้นฉบับ บทความ ความเรียง เรื่องสั้น บทกวี บทวิจารณ์ สารคดี หากท่านสนใจสามารถส่งต้นฉบับ ด้วยการแนบไฟล์เวิร์ด พร้อมภาพประกอบ (หากมี) มาที่ niwat59@gmail.com ทั้งนี้ WRITE​​e​-​Magazine​​เป็น​นิตยสาร​ออนไลน์​แจก​ฟรี​​ไม่มี​ โฆษณา ไม่มีรายได้ ​จัดทำขึ้น​เพื่อ​ส่ง​เสริม​การ​อ่าน​การ​เขียน​​จึง​ยัง​ไม่​สามารถ​จ่าย​ค่า​เรื่อง​ได้​​โปรด​พิจารณา​กติกา​ข้อ​นี้​ก่อน​ส่ง​ ผลงานของท่าน 4  WRITE E-MAGAZINE


ALTERNATIVE WRITERS N38

WRITE E-MAGAZINE 5


BOOK​​ON​​THE​​SHELF​ t​ext​:​​สม​ศักดิ์​​แซ่​เล้า

เสียงเล่าจากเครื่องฉาย

ผลงานในอดีตของ อภิชาติ ศักดิ์ชลาธร

​ง าน​สั ป ดาห์ ​ห นั ง สื อ ​จ ะ​เ ริ่ ม ​ต้ น ​อี ก ​ค รั้ ง​ ใน​เดือน​มีนาคม​ ​เดือน​นี้​นัก​อ่าน​คง​ต้อง​ เต​รย​ี ม​สตางค์เ​อา​ไว้จ​ บั จ​ า่ ย​กนั พ​ อ​สมควร​​ เพราะ​ใน​ชว่ ง​สห​ี่ า้ ป​ น​้ี ​ี้ ง​ าน​สปั ดาห์ห​ นังสือ​ ได้​เปลี่ยน​จาก​เอา​หนังสือ​สต๊อก​เก่า​มา​ เล​หลัง​ขาย​ ​มา​เป็น​งาน​เปิด​ตัว​หนังสือ​ ใหม่​ ​จะ​ว่า​เป็น​ประเพณี​ไป​แล้ว​ก็​น่า​จะ​ ใช่​ ​ไม่​ว่า​สำนัก​พิมพ์​เล็ก​สำนัก​พิมพ์​ใหญ่​ ก็​อยาก​ได้​เงินสด​มา​หมุน​ ​ให้​สำนัก​พ้ิมพ์​ ตนเอง​ได้​หล่อ​เลี้ยง​สภาพ​คล่อง​ ​ไม่​ว่า​ กัน​ ​“​กองทัพ​ต้อง​เดิน​ด้วย​ท้อง​”​ ​อยาก​ ให้​สำนัก​พิมพ์​จัด​พิมพ์​งาน​ที่​ตน​ชื่น​ชอบ​​ นัก​อ่าน​ต้อง​สนับสนุน​ ​โดย​เฉพาะ​สำนัก​ พิมพ์เ​ล็ก​ๆ​ ​ไม่ส​ ามารถ​พงึ่ พา​ยอด​ขาย​จาก​ ร้าน​หนังสือไ​ ด้​ง​ าน​สปั ดาห์ห​ นังสือจ​ งึ เ​ป็น​ 6  WRITE E-MAGAZINE

ช่อง​ทาง​หนึง่ ท​ จ​ี่ ะ​ทำให้ห​ นังสือเดินทาง​ถงึ ​ มือ​คน​อ่าน​.​.​.​โดยตรง​​(​แม้​ไม่ใช่​วิธี​ที่​ดี​​แต่​ เวลา​แบบ​นี้​ทุก​คน​ต้อง​เอา​ตัว​รอด​)​​555​ ​ ​ฉ บั บ ​นี้ ​มี ​ห นั ง สื อ ​ใ หม่ ​อ อก​ม า​ คับคั่ง​ ​เรียก​ว่า​เดิน​ไป​สำนัก​พิมพ์​ไหน​ ล้วน​แล้ว​แต่​พิมพ์​หนังสือ​ปก​ใหม่​ ​ๆ​ ​มา​ ให้​อ่าน​​ ​ ​เริ่ม​จาก​ ​“​เจ้า​พ่อ​อิน​ดี้​”​ ​จาก​ อดีต​ ​ที่​ตี​พิมพ์​หนังสือ​มา​แล้ว​หลาย​ปก​​ แต่ไ​ ม่ค​ อ่ ย​มใ​ี คร​รจู้ กั ​เ​ป็นเ​พือ่ น​รว่ ม​รนุ่ ฟ​ า้ ​ พูลว​ ร​ลกั ษณ์​แ​ ม้ช​ ว่ ง​ทผ​ี่ า่ น​มา​เขา​หาย​ไป​ จาก​แวดวง​การ​เขียน​หนังสือ​​ทำ​ธุรกิจ​มา​ อย่าง​หลาก​หลาย​ ​ผ่าน​ชีวิต​อัน​โชกโชน​ ทั้ง​บน​ดิน​ใต้ดิน​​วัน​นี้​อภิ​ชาติ​​ศักดิ์​ชลาธร​​ กลับ​มา​เขียน​หนังสือ​อีก​ครั้ง​ ​งาน​ของ​เขา​

ต่าง​แตก​จาก​ฟ้า​ ​งาน​ของ​เขา​เป็น​งาน​ ​วิ​ชวล​อาร์ต​​ทั้ง​รุนแรง​​ตรง​​​งาน​เล่ม​ใหม่​ ของ​เขา​ ​“​ทวิลักษณะของคลื่น-อนุภาค” เม่นฯ สนับสนุน ​ ​“​เสียง​เล่า​เรื่อง​จาก​เครื่อง​ฉาย”​​ หก​เรื่อง​สั้น​จาก​นัก​เขียน​รุ่น​ใหม่​ไฟ​แรง​ แห่ง​ยุค​ ​ ​ประกอบ​ไป​ด้วย​ ​อนุสรณ์​ ​ติป​ ยา​นนท์,​​ป​ ราบดา​ห​ ยุน่ ,​​1​ 0​เ​ดซิเ​บล​,​อ​ ทุ ศิ ​ เห​มะ​มลู ,​​ก​ ติ ติพ​ ล​ส​ รัคค​ า​นนท์​แ​ ละ​ภาณุ​ ตรัย​เวช​ ​โดย​หนังสือ​เล่ม​นี้​แบ่ง​ออก​เป็น​ สอง​ส่วน​ ​ส่วน​แรก​เป็น​พากย์​ไทย​ ​ส่วน​ที่​ สอง​เป็น​พากย์​อังกฤษ​​ใคร​ชอบ​อ่าน​เรื่อง​ สั้น​​ชอบ​ดู​หนัง​​เล่ม​นี้​เหมาะ​มาก​ ​ ​ใน​ที่สุด​ก็​มี​สำนัก​พิมพ์​จัด​พิมพ์​ ผล​งาน​ของ​ ​เจ​.​ดี​.​ ​ชา​ลิง​เจอร์​ ​เรื่อง​ ​The​​


ของฝากจากโตเกียว The Catcher in the Rye แปลโดย ปราบดา หยุ่น

Catcher​ ​in​ ​the​ ​Rye​ ​หลัง​จาก​เป็น​ข่าว​ ซิบ​มา​หลาย​ปี​ว่า​สำนัก​พิมพ์​โน้น​ ​สำนัก​ พิมพ์​นี้​อยาก​จะ​พิมพ์​ ​ใน​ที่สุด​สำนัก​พิมพ์​ น้อง​ใหม่​ ​(​ใน​ขวด​เก่า​)​ ​อย่าง​ ​“​ไลต์​เฮา​ส์​ พับลิช​ชิ่ง​”​ ​ก็ได้​ลิขสิทธิ์​อย่าง​ถูก​ต้อง​ ​สม​ ศักดิ์​เคย​อ่าน​เล่ม​นี้​ตั้งแต่​พิมพ์​พากย์​ไทย​ ครั้ง​แรก​เมื่อ​หลาย​สิบ​ปี​ก่อน​ ​จะ​บอก​ว่า​ The​​Catcher​​in​​the​​Rye​​เป็น​คัมภีร์​ของ​ เหล่า​บุปผา​ชน​ก็​ไม่​ผิด​ ​สมัย​นั้น​ฮิปปี้​จะ​ ต้อง​พก​หนังสือ​เล่ม​นี้​เอา​ไว้​ท้าย​กระเป๋า​ กาง​เกง​ยีน​ส์​ ​ทำไม​เป็น​อย่าง​นั้น​ ​เพราะ​ นิยาย​เล่ม​นี้​พร่ำ​บ่น​ ​รำพึง​รำพัน​ถึง​ชีวิต​ อเมริกัน​ชน​ใน​ยุค​ดัง​กล่าว​ได้​อย่าง​แจ่ม​ แจ้ง​แดง​แจ๋​​นั่น​คือ​​ไร้​อนาคต​​หม่นหมอง​​ สงคราม​ ​และ​การเมือง​เรื่อง​โกหก​ ​แถม​ เดวิด​ ​แชป​แมน​ผู้​สังหาร​จอห์น​ ​เลน​นอน​ ยังป​ า่ ว​ประกาศ​วา่ เ​ขา​ไม่อ​ ยาก​เห็นจ​ อห์น​ เลน​นอน​ ​“​เปลี่ยน​”​ ​เหมือน​ดัง​ตัว​ละคร​​ “​ ผ​ ม​”​ใ​ น​​T​ he​C​ atcher​i​n​t​he​R​ ye​พ​ ดู ถ​ งึ ​ น้อง​​ของ​เขา​ว่า​ไม่​อยาก​ให้​เขา​โต​ขึ้น​ ​ไม่รู้​ ว่า​หนังสือ​เล่ม​นี้​.​.​.​เนื้อหา​ยัง​โดน​ใจ​คน​วัย​ นี้​หรือ​ไม่​ค​ ง​ต้อง​พิสูจน์​กัน​ ​ ​หนังสือ​ท่อง​เที่ยว​กำลัง​มา​แรง​

เรื่องรักธรรมดา : เพราะรักเหมือนเดิม สำนักพิมพ์เม่นวรรณกรรม

เหลือ​กำลัง​ ​มอง​ดู​ตาม​แผง​แล้ว​มี​เล่ม​ที่​ สะดุด​ใจ​เล่ม​หนึ่ง​จาก​สำนัก​พิมพ์​วงกลม​​ “​โตเกียว​ ​มิ​ยาเงะ​”​ ​หรือ​ ​“​ของ​ฝาก​จา​ก​ โต​เกีย​ว​”​ ​เขียน​โดย​ ​พลอย​ ​มัล​ลิ​กะ​มาส​​ เรื่อง​ราว​ของ​โตเกียว​ใน​มุม​มอง​สาว​น้อย​ ที่​หลง​รัก​โตเกียว​​และ​กลับ​ไป​เยือน​หลาย​ หน​จน​คัน​มือ​ต้อง​เขียน​ความ​รู้สึก​ผ่าน​ ออก​มา​เป็​น​ตัว​อักษร​ ​แบ่ง​ปัน​วิถี​การ​เดิน​ ทาง​สนู่ กั อ​ า่ น​ใ​ คร​ทก​ี่ ำลังเ​ดินท​ าง​ไป​ญปี่ นุ่ ​ โดย​เฉพาะ​โตเกียว​ ​หนังสือ​เล่ม​นี้​แนะนำ​ สถาน​ทเ​ี่ ล็ก​ๆ​ ​ส​ ถาน​ทน​ี่ า่ ร​ กั ​แ​ ละ​สถาน​ทท​ี่ ​ี่ ทัวร์​ไม่​เคย​พา​ไป​​เดิน​ทาง​ให้​สนุก​นะ​ครับ​ ​ ​ม า​ถึ ง ​ห นั ง สื อ ​เ ล่ ม ​สุ ด ท้ า ย​ที่ ​ จะ​ออก​วาง​แผง​ครั้ง​แรก​ใน​งาน​สัปดาห์​ หนั ง สื อ ​ ​ส ม​ศั ก ดิ์ ​ยั ง ​ไ ม่ ​เ ห็ น ​ห นั ง สื อ ​ตั ว​ ​เป็น​ๆ​ ​นะ​ครับ​ ​บก​.​ ​ท่าน​เล่า​คร่าว​ ​ๆ​ ​ว่า​ หนังสือ​เล่ม​นี้​จัด​พิมพ์​ห่าง​จาก​เล่ม​แรก​

ถึง​ ​8​ ​ปี​ ​หนังสือ​เล่ม​นี้​เป็น​หนังสือ​ ​“​รัก​”​ แต่ร​ กั ข​ อง​พวก​เขา​ทะลึง่ ไ​ ม่ค​ อ่ ย​ไม่เ​หมือน​ คน​อื่น​ ​แปลก​ไหม​ละ​ ​บก​.​ ​เรา​ยัง​ร่าย​ ให้​สม​ศักดิ์​ฟัง​ต่อ​มา​ว่า​ ​ถ้า​ใคร​เอียน​กับ​ เรื่อง​รัก​หวาน​แหว​ว​แบบ​ ​“​แจ่มใส​”​ ​“​วัย​ หวาน​”​ ​หรือ​เรื่อง​เท่​ ​ๆ​ ​แบบ​ ​a​ ​day​ ​ลอง​ หยิบ​หนังสือ​เล่ม​นี้​ไป​อ่าน​ ​เอา​เข้า​นั่น​ ​ไป​ แขวะ​เขา​อีก​​บรรลัย​ไหม​ละ​​555​​แซว​กัน​ นิด​หน่อย​จะ​ได้​มี​สีสัน​ ​“​เรื่อง​รัก​ธรรมดา​ ​:​ เพราะ​รัก​เหมือน​เดิม​”​​12​​นัก​เขียน​ที่​ท่าน​ อาจ​จะ​คุ้น​เคย​และ​ไม่​เคย​คุ้น​ ​แต่​รับรอง​ ว่า​ได้​รสชาติ​เรื่อง​รัก​ใน​แบบ​ของ​พวก​เขา​ และ​เธอ ฉบับนี้หมดหน้าที่อีกครั้ง อย่า​ ลื ม แ ว ะ ไ ป อุ ด ห นุ น ห นั ง สื อ ที่ บู๊ ธ​ ALTERNATIVE WRITER N38 โซน C1 นะครับ g WRITE E-MAGAZINE 7


บทกวี

ฐากูร​บ​ ุญ ​สุวรรณ

8  WRITE E-MAGAZINE


เมื่อ​ฉันล​ อง​มอง​หา​ ​เมื่อ​ฉัน​ลอง​ถาม​หา​ซึ่ง​คน​ขาด​รัก​​ ​คน​ขาด​รัก​แวะ​ทัก​ยิ้ม​ยื่น​​ ​ฉัน​ถาม​หา​ซึ่ง​คน​เปี่ยม​รัก​ยาว​ยืน​​ ​คน​เปี่ยม​รัก​เริง​รื่น​ยื่น​ยิ้ม​กลับ​มา​…​​ ​เมื่อ​ฉัน​ลอง​มอง​หาความ​เศร้า​​ ​ไม่​นาน​ความ​เศร้า​เร้า​รุม​หา​​ ​พอ​ฉัน​มอง​หาความ​เฉยชา​​ ​เพียง​ครู่​,​​ความ​เฉยชา​ปรี่​มา​ทักทาย​​ ​เมื่อ​ฉัน​ลอง​ถาม​หาความ​หอม​​ ​ดอกไม้​เชิญ​ดอม​ก่อน​หอม​หาย​​ ​ฉัน​แกล้ง​ถาม​หาความ​ตาย​​ ​ความ​ตาย​ก็​คล้าย​จะ​เผย​ยิ้ม​จริงใจ​​ ​เมื่อ​ฉัน​ลอง​ถาม​หา​ถึง​คน​ป่วย​ไข้​​ ​มอง​ไป​ไม่​ไกล​รอบ​ตัว​ล้วน​สั่น​ไหว​​ ​พอ​ฉัน​มอง​หา​คน​แข็ง​แรง​ดวงใจ​​ ​ใช่​,​​ไม่​ไกล​เช่น​กัน​​ฉัน​พบ​เจอ​​ ​เมื่อ​ฉัน​ลอง​มอง​หาความ​เหงา​​ ​ไม่​นาน​แสง​เงา​เทา​ทึม​เข้า​เสนอ​​ ​ฉัน​ลอง​มอง​หาความ​งาม​แห่ง​เธอ​ ​ใช่​,​​ฉัน​เจอ​มัน​​ ​เมื่อ​ฉัน​ลอง​มอง​หาความ​สุข​​ ​แล้ว​ความ​ทุกข์​ก็​เร้น​หลบ​เห​หัน​​ ​ฉัน​ลอง​มอง​หาความ​รัก​สามัญ​​ ​ทุก​ค่ำ​วัน​ฉัน​พบ​เจอ​…​​ ​นั่น​สิ​,​​เมื่อ​ฉัน​ลอง​มอง​หา​สิ่ง​ใด​​ ​ใช่​,​​ฉัน​ได้​พบ​สิ่ง​นั้น​เสมอ​​ ​บางที​ฉัน​อาจ​จะ​ลอง​ถาม​หา​เธอ​​ ​เพื่อ​จะ​ถาม​ว่า​เธอ​.​.​.​​เธอ​มัว​เหม่อ​มอง​หา​สิ่ง​ใด​?​

WRITE E-MAGAZINE 9


กิจกรรมหนังสือ/๑

เปิด​ตัว​สำนัก​พิมพ์​​​GM​​​Books​ แ​ ละ​ร่วม​ฟัง​ความ​คิด​​‘​คน​เมือง​กับ​เรื่อง​หนังสือ​’ text : อัจฉริยะ ใยสูง

การ​เปิด​ตัว​สำนัก​พิมพ์​ ​GM​ ​ ​Books​ ​ ​กลายเป็น​ที่​น่าสนใจของ​ ใคร​หลายๆ​คน​ ​ ​ ​โดย​เฉพาะ​แฟน​พันธุ์​แท้​ของ​นิตยสาร​ผู้ชาย​ที่​ มีอายุ​อา​นาม​มากกว่า​​20​​ปี​​ GM​ ​ ​อยู่​ยง​คงกระพัน​มา​ได้​ขนาด​นี้​ ​ ​ ​ไม่ใช่​นิตยสาร​ ธรรมดา​ที่​ขาย​แต่​ความกลวง​ของ​หัว​สมอง​ ​ ​ ​ขาย​แต่​ความ​​ มัก​ง่าย​ของ​การ​ทำ​หนังสือ​​​​หรือ​แม้แต่​ขาย​จิต​วิญญาณ​ของ​คำ​ ว่า​​‘​สื่อ​’​​​​แต่​วัน​นี้​​GM​​​ได้ป​ ระจักษ์​แล้ว​ว่า​​​​คุณภาพ​เท่านั้น​ที่​ จะ​ดำรง​อยู่​ได้​นาน​โดย​ไม่​เสื่อม​คลาย​ ​บ รรยากาศ​ข อง​ง าน​เ ป็ น ​ไ ป​อ ย่ า ง​คึ ก คั ก ​ ​ ​วั น ​ที่ ​ 12​ ​ ​ธันวาคม​ ​ ​ที่​ผ่าน​มา​ ​ ​ร้าน​ ​Divana​ ​ ​Home​ ​ ​Cusine​​ สุขุมวิท​ ​35​ ​ ​เต็ม​ไป​ด้วย​แขก​ผู้​มี​เกียรติ​ ดารา นักแสดงและ​ บุคลากรในแวดวงวรรณกรรม​ อาทิเช่น ว.วชิรเมธี, ปราบดา หยุ่น, วรพจน์​ ​ ​ พันธุ์พงศ์ (ซึ่งไม่ค่อยจะปรากฏตัวบ่อยนัก)​ ละออ ศิ ริ บ รรลื อ ชั ย , สิ ริ ย ากร พุ ก เวช, ตุ ล ย์ ไวฑู ร เกี ย รติ เป็นต้น สำนัก​พิมพ์​ ​GM​ ​ ​Books​ ​ ​เปิด​ตัว​หนังสือ​ใหม่​ ​4​ ​เล่ม​ ได้แก่​​​G ​ M​​c​ afé​,​​เ​ข็นธ​ รรมะ​ขนึ้ ภ​ เู ขา​,​​ย​ อ่ ง​เบา​เข้าญ ​ ปี่ นุ่ ​​​แ​ ละ​​ โอ​บามา​​​สัจจะ​สัญญา​​​สู่​อำนาจ​​​​พร้อม​รับ​ฟัง​การ​สนทนา​เพื่อ​ ค้นหา​แนวทาง​ปฏิวัติ​สังคม​ไทย​สู่​สังคม​การ​อ่าน​อัน​เข้ม​แข็ง​ ​ใน​ หัวข้อ​​‘​คน​เมือง​กับ​เรื่อง​หนังสือ​’​​ ​ร่วม​สนทนา​โดย​ ​ ​โตมร​ ​ ​ศุข​ปรีชา​ ​ ​บก​.​สำนัก​พิมพ์​ GM​​B​ ooks​​,​​​ภ​ ญ ิ โญ​​​ไ​ ตร​สรุ ยิ ธ​ ร​รมา​​​บ​ ก​.ส​ ำนักพ​ มิ พ์​​​o​ penbooks​ ​ ​ ​และ​ ​คำ​ ​ ​ผกา​ ​ ​นัก​เขียน​-​นัก​แปล​อิสระ​ ​ ​ ​นำ​สนทนา​ โดย​​​​คมสัน​​​​นันท​จิต​​​​นัก​เขียน​-​คอลัมน์​นิสต์​-​พิธีกร​รายการ​ โทรทัศน์​ ​“​โครงสร้าง​การ​อ่าน​ของ​ไทย​ไม่​แข็ง​แรง​”​ ​ภิญโญ​​ ไตร​สุริย​ธร​รมา​​​​เป็น​คน​กล่าว​เริ่ม​ปัญหา​ใน​เรื่อง​นี้​​​​และ​นานา​ ทัศนะ​ของ​คุณ​ภิญโญ​ ​ ​ ​ยัง​ได้​บอก​กล่าว​อีก​ว่า​ ​ ​ ​โครงสร้าง​ของ​ 10  WRITE E-MAGAZINE

ประเทศไทย​ไม่​ดี​มา​ตั้งแต่​แรก​​​​ไม่ใช่​เฉพาะ​โครงสร้าง​การ​อ่าน​ อย่าง​เดียว​ ​ ​ ​ ​ยัง​รวม​ไป​ถึง​ ​ ​โครงสร้าง​เศรษฐกิจ​ ​ ​ ​โครงสร้าง​ สังคม​ ​ ​ ​โครงสร้าง​การเมือง​ ​ ​ ​และ​โครงสร้าง​หลาย​อย่าง​ที่​ซึ่ง​ เละเทะ​อย่าง​ที่​เป็น​อยู่​ ​คุณ​ภญ ิ โญ​ยงั ​ได้เ​สนอ​แนว​ความ​คดิ ใ​ น​การ​แก้​ปัญหา​ ไว้​ว่า​ ​ ​ ​ทุก​อย่าง​ต้อง​เริ่ม​ต้น​ที่​ ​‘​โครงสร้าง​ของ​การ​ศึกษา​’​ ​ ​ต้อง​ รื้อ​ระบบ​การ​ศึกษา​ใหม่​ทั้งหมด​ ​ ​ ​จัด​เอา​กระทรวง​ศึกษาธิการ​ เป็น​องค์กร​อิสระ​ ​ ​ ​ไม่มี​การ​แทรกแซง​จาก​ผู้​อื่น​ ​ ​ ​จัด​ตั้ง​ระบบ​ ​การ​ศึกษา​ที่​ตรง​จุด​ ​ ​ ​ซึ่ง​คุณ​ภิญโญ​เชื่อ​ว่า​ถ้า​แก้​โครงสร้าง​การ​ ศึกษา​ได้​แล้ว​​​​โครง​สร้าง​อื่นๆ​ย่อม​ได้​รับ​การ​แก้ไข​ตาม​มา​


​ทาง​ด้าน​ของ​คุณ​ ​คำ​ ​ ​ผกา​ ​ ​ ​ได้​เสนอ​แนว​ความ​คิด​ ที่​ต่าง​ออก​ไป​ ​ ​ ​เธอ​กล่าว​ไว้​ว่า​ ​ ​การ​อ่าน​ของ​คน​ไทย​ไม่​ได้​อยู่​ ที่​คุณภาพ​ของ​หนังสือ​ ​ ​แต่​อยู่​ที่​คน​เขียน​ว่า​คนๆ​นั้น​เป็น​ใคร​​ ย​ งิ่ เ​ป็นค​ น​ดงั ห​ รือด​ ารา​มา​เขียน​หนังสือ​​​ค​ วาม​สนใจ​ใน​การ​อา่ น​ หนังสือ​ย่อม​มี​มาก​ขึ้น​ ​ ​ ​โดย​ไม่​สนใจ​คุณภาพ​ของ​หนังสือเลย​​ เพราะ​ค วาม​อ ยาก​อ่ า น​เ ป็ น ​เ พราะ​ค น​เ ขี ย น​ไ ม่ ใ ช่ ​ง าน​เ ขี ย น​​ มัน​จึง​ทำให้​พื้น​ฐาน​การ​อ่าน​ของ​คน​ไทย​​​​มัก​อยู่​กับ​ความ​สนใจ​ ที่​คน​ดัง​เท่านั้น​ ​แต่​เธอ​ก็​ปฏิเสธ​ไม่​ได้​ว่า​ ​ ​ ​การ​ตลาด​ของ​หนังสือ​ เป็น​สิ่ง​สำคัญ​ ​ ​ ​เธอ​เชื่อ​ใน​การ​ตลาด​ที่​ดี​ ​ ​ ​การ​จะ​ทำ​หน้าที่​ ของ​หนังสือ​เล่ม​นั้นๆ​ ​ ​ ​ไม่​ได้​อยู่​ที่​คน​อ่าน​เดิน​มา​หา​หนังสือ​ เล่ม​นั้น​เพียง​อย่าง​เดียว​ ​ ​ ​แต่​หนังสือ​ต้อง​เดิน​มา​หา​ผู้​อ่าน​ด้วย​​​ ​และ​เธอ​ยัง​วิเคราะห์​ไว้​อีก​ว่า​​​​นัก​เขียน​ต้อง​พิจารณา​ผล​งาน​ตัว​ เอง​​ว​ า่ ห​ นังสือข​ อง​นกั เ​ขียน​แต่ละ​ทา่ น​นนั้ ​​อ​ าจ​จะ​เป็นห​ นังสือท​ ดี่ ​ี แ​ ต่อ​ า่ น​ไม่ส​ นุก​​​อ​ า่ น​ไม่เ​ข้าใจ​​​ซ​ งึ่ เ​ธอ​อยาก​ให้น​ กั เ​ขียน​พจิ ารณา​ ถึง​จุด​นี้​ด้วย​ ​ส่วน​คุณ​โตมร​ ​ ​ ​ได้​เสนอ​แนว​ทาง​คล้ายๆ​คุณ​ภิญโญ​​ นั่น​คือ​การ​ศึกษา​ ​ ​เพราะ​การ​ศึกษา​เป็น​สิ่ง​สำคัญ​มาก​ ​ ​ ​ถ้า​มี​ ระบบ​การ​ศกึ ษา​ทด​ี่ ​ี ​​ย​ อ่ ม​มโ​ี ครงสร้าง​การ​อา่ น​ทด​ี่ ​ี ​​แ​ ละ​ประเทศ​ ก็จ​ ะ​หลุดจ​ าก​สภาวะ​ทเ​ี่ ป็นอ​ ยู​่ ​​เ​พราะ​โดย​ทวั่ ไป​เด็กแ​ ละ​เยาวชน​ สมัย​นี้​​​​มัก​จะ​ขาด​การ​ไตร่ตรอง​​​​การ​นึกคิด​​​​มัก​ใช่​แค่​เพียง​คน​ ดังห​ รือด​ า​รา​ดงั ๆ​เป็นแ​ บบ​อย่าง​​ห​ ลง​ไป​ตดิ เ​ปลือก​กบั ส​ งิ่ พ​ วก​นนั้ ​ โดย​ไม่​เป็น​ตัว​ของ​ตัว​เอง​​​​และ​สุดท้าย​เยาวชน​ไทย​ก็​ขาด​ความ​ เป็น​ตัว​เอง​ลง​ ​และ​ทั้ง​สาม​ท่าน​ ​ ​ ​ยัง​ได้​กล่าว​รวมๆ​ไว้​อีก​ว่า​ ​ ​ ​การ​ จั ด ​ท ำ​ป ระวั ติ ศ าสตร์ ​ก าร​อ่ า น​บ้ า น​เ รา​ยั ง ​ข าด​ต ก​บ กพร่ อ ง​​ หอสมุ ด แห่ ง ชาติ ​ไ ม่ ​ย อม​เ ก็ บ ​ห นั ง สื อ ​ห ลายๆ​เ ล่ ม ​ ​ ​ ​เ ช่ น​​ ​คู่ ​ส ร้ า ง​คู่ ​ส ม​ ​ ​ ​ศ าลา​ค น​เ ศร้ า ​ ​ ​ห รื อ ​แ ม้ ​ก ระทั่ ง ​ห นั ง สื อ ​โ ป๊ ​ เพราะ​ห นั ง สื อ ​เ หล่ า ​นี้ ​จ ะ​เ ป็ น ​ตั ว ​บ่ ง ​บ อก​ป ระวั ติ ศ าสตร์ ​ชั้ น​ ดี​ ​ ​ ​แต่​ระบบ​การ​จัด​เก็บ​หนังสือ​ของ​ไทย​มัก​มอง​หนังสือ​พวก​ นี้​ไม่มี​คุณค่า​ ​ ​ ​เป็น​หนังสือ​ชั้น​ต่ำ​ ​ ​ ​แต่​หา​รู้​ไม่​ว่า​ ​ ​ ​นี่​แหละ​คือ​​ ประวัตศิ าสตร์ใ​ น​มมุ ห​ นึง่ ข​ อง​ประเทศ​ทแี่ ท้จ​ ริง​​​ถ​ า้ อ​ กี ​5​ 0​ป​ ข​ี า้ ง​ หน้า​​​​มี​ผู้​สนใจ​ประวัติศาสตร์​ด้าน​ต่างๆ​เหล่า​นี้​​​​ใคร​ล่ะ​จะ​เป็น​ ผู้​บ่ง​บอก​​​​ถ้า​ไม่ใช่​หนังสือ​​​​ทั้ง​สาม​ท่าน​กล่าว​ทิ้ง​ท้าย​ ​บรรยากาศ​การ​สนทนา​เป็น​ไป​อย่าง​เรียบ​ง่าย​แต่​ สาระ​หนัก​แน่น​​​​แขก​ทั้ง​หลาย​ต่าง​ชื่นชม​ใน​ความ​คิด​ของ​ผู้​ร่วม​ สนทนา​​​​แต่​เวลา​ใน​การ​สนทนา​นั้น​น้อย​เกิน​ไป​​​​ผู้​ร่วม​สนทนา​ ต่าง​บ่น​เสียดาย​ ​ ​ ​อยาก​มี​เวลา​มากกว่า​นี้​ ​ ​ ​แต่​ก็​นั้น​แหละ​​ นัก​เขียน​ยัง​เป็น​อา​ชีพ​เล็กๆ​ใน​สังคม​ประเทศไทย​ ​ใคร​เล่า​จะ​เข้าใจ​ได้​ถ้า​ไม่ใช่​นัก​เขียน​ด้วย​กันเอง​  g WRITE E-MAGAZINE 11


งาน​ชุมนุม​ช่าง​วรรณกรรม​ประจำ​ปี​​​2551​

พ ​ ร้อม​ประกาศ​เกียรติ​‘​ป ​ ระกาศ​​​ว ​ช ั ร ​ า​ภร ​ ณ์’​​น ​ก ั เ​ขียน​ชอ ่ ก ​ าระเกด​ เกียรติยศ​ประจำ​ปี​ ​2551​ ​และ​ประกาศ​ผล​เรื่อง​สั้น​ช่อ​การะเกด​ ยอด​เยี่ยม​ประจำ​ปี text : อัจฉริยะ ใยสูง

ตั้ ง แต่ ​ ​‘​ช่ อ ​ก าระเกด​’​ ​ถื อ ​ก ำเนิ ด ​เ กิ ด ​ขึ้ น ​เ มื่ อ ​ปี ​ ​พ ​. ​ศ ​. ​2 521​​​ ใ​ น​รูป​แบบ​ของ​​‘​โลก​หนังสือ​’​​ฉบับ​เรื่อง​สั้น​​​นับ​บัดนี้​ก็​เป็น​เวลา​​ 30​ ​ปี​เต็ม​ ​ ​ที่​นิตยสาร​เรื่อง​สั้น​และ​วรรณกรรม​ไทย​ได้​อยู่​ควบคู่​ มา​ชา้ น​ าน​​ถ​ งึ แ​ ม้จ​ ะ​ลม้ ลุกค​ ลุกค​ ลาน​และ​ขาด​หาย​ไป​เป็นช​ ว่ งๆ​​ (​ซึ่ง​แบ่ง​ได้​สาม​ช่วง​เป็น​หลัก​)​​​แต่​มา​ถึง​วัน​นี้​​พ​.​ศ​.​นี้​​​​นิตยสาร​ ​ช่อ​การะเกด​ ​ ​ก็ได้​กลับ​มา​ให้​แฟนๆ​ทั้ง​รุ่น​เก่า​ ​ ​ ​รุ่น​กลาง​​ และ​รนุ่ ใ​ หม่​​​ไ​ ด้อ​ า่ น​เรือ่ ง​สนั้ ช​ นั้ ด​ ​ี ​​ข​ า่ ว​และ​บทความ​วรรณกรรม​ ที่​เข้ม​ข้น​และ​หนัก​แน่น​ ​ ​ ​ซึ่ง​ถ้า​วัด​กัน​ที่​คุณภาพ​ ​ ​ชื่อ​ของ​ ​บ​.​ก.​​ สุชา​ติ​​สวัสดิ์​ศรี​​​​คง​รับ​ประกัน​ได้​เป็น​อย่าง​ดี​ ​เมื่อ​วัน​เสาร์​ที่​ ​ ​ ​20​ ​ ​ธันวาคม​ ​ ​2551​ ​ ​ที่​ผ่าน​มา​​ ได้​มี​การ​จัด​งาน​ ​ ​‘​งาน​ชุมนุม​ช่าง​วรรณกรรม​ประจำ​ปี​ ​ ​2551​’​​ ณ​​​สถาบัน​ปรีดี​พนม​ยงค์​​​พ​ ร้อม​การ​ประกาศ​เกียรติ​​​​นัก​เขียน​​ ช่ อ ​ก าระเกด​เ กี ย รติ ย ศ​ ​ ​ป ระจำ​ปี ​ ​2 551​ ​ ​แ ด่ ​ ​‘ ​ป ระกาศ​​​ ​วัช​รา​ภ​รณ์​’​ ​ ​และ​ประกาศ​ผล​เรื่อง​สั้น​ช่อ​การะเกด​ยอด​เยี่ยม​ ประจำ​ปี​​​2551​​​พร้อม​ฟัง​การ​เสวนา​ใน​เรื่อง​ต่างๆ​​​​ซึ่ง​แบ่ง​ออก​ เป็น​สาม​ช่วง​​​​ภาค​เช้า​​​​ภาค​บ่าย​​​​และ​ภาค​เย็น​ ​ภาค​เช้า​ ​ ​ ​ร่วม​รับ​ฟัง​ความ​คิด​เห็น​ใน​หัวข้อ​เรื่อง​​ ‘​เ​ขียน​เรือ่ ง​สนั้ อ​ ย่างไร​ให้โ​ ดน​ใจ​บรรณาธิการ​’​น​ ำ​สนทนา​โดย​​บ​ .​ก​ .​​ ช่อ​การะเกด​ ​ ​ ​สุชา​ติ​ ​ ​ ​สวัสดิ์​ศรี​ ​ ​ ​พร้อม​กับ​ ​บ​.​ก​.​ ​เรื่อง​สั้น​ใน​ นิตยสาร​ชั้น​นำ​​​เช่น​​​ค​.​ฅน​​​​เนชั่น​สุด​สัปดาห์​​​​กรุงเทพ​ธุรกิจ​ จุด​ประกาย​วรรณกรรม​ ​ ​ ​วารสาร​หนังสือ​ใต้ดิน​ (​ ​UNDERGROUND​ ​ ​ ​BLUETEEN​ ​)​ ​ ​ซึ่ง​นานา​ทัศนะ​ของ​บรรณาธิการ​ แต่ละ​ท่าน​ ​ ​ ​ได้​ให้​ความ​คิด​เห็น​ที่​แตก​ต่าง​กัน​ออก​ไป​ต่อ​ เ​รื่อง​สั้น​ไทย​ใน​ปัจจุบัน​ ​แต่​โดย​องก์​รวม​ของ​ความ​คิด​เห็น​บรรณาธิการแต่ละ​ ท่าน​ ​คือ​อยาก​เห็น​เรื่อง​สั้น​ไทย​ใน​ยุค​ปัจจุบัน​ ​มี​ความ​คิด​ริเริ่ม​ 12  WRITE E-MAGAZINE

สร้าง​สรรค์​ใหม่ๆ​ ​ ​ ​ ​ความ​เข้ม​ข้น​ของ​เนื้อหา​ที่​หนัก​แน่น​ ​ ​ ​การ​ ก้าว​ขา้ ม​ผา่ น​ยคุ ส​ มัย​​​อ​ ยาก​ให้เ​รือ่ ง​สนั้ ไ​ ทย​มค​ี วาม​หลาก​หลาย​​ ไม่​ติด​อยู่​ใน​ ​‘​หล่ม​เพื่อ​ชีวิต​’​ ​ ​ ​‘​หล่ม​น้ำ​เน่า​’​ ​ ​มี​ความ​เป็น​สากล​​ เห็น​มนุษย์​ ​ ​ ​เห็น​ชีวิต​ ​ ​ ​เห็น​ความ​ขัด​แย้ง​รอบ​ด้าน​ ​ ​ ​เห็น​สิ่ง​ที่​ ลึก​ลง​ไป​เบื้อง​ใน​ ​ ​ ​เห็น​การ​เขียน​ที่​มี​ศิลปะ​และ​ชั้น​เชิง​ใน​ ​รูป​แบบ​ใหม่ๆ​​​​คือ​ขอ​ให้​สร้าง​งาน​ศิลปะ​อย่าง​มี​คุณภาพ​ ​ภาค​บ่าย​ ​ ​ ​จัตุรัส​ความ​คิด​กับ​นัก​เขียน​ช่อ​การะเกด​ จาก​อดีต​ถึง​ปัจจุบัน​ ​ ​ล้อมวง​พูด​คุย​วิเคราะห์​วิจารณ์​เกี่ยว​กับ​


พัฒนาการ​ของ​เรื่อง​สั้น​ไทย​ใน​ช่วง​สาม​ทศวรรษ​กับ​เรื่อง​สั้น​ ทุก​รุ่น​วัย​ใหม่​เก่า​​​​นำ​เสวนา​โดย​​​​อนุสรณ์​​​​ติป​ยา​นนท์​​​​พร้อม​ ศิษย์​เก่า​ช่อ​การะเกด​ ​ ​ ​อาทิ​ ​ ​ ​นิ​วัต ​ ​ ​พุทธ​ประสาท​, ​เดือน​วาด​​ พ​ ม​ิ วน​า,​​อ​ รุ ด​ุ า​​​โ​ ค​วน​ิ ทร์​,​​​ข​ วัญย​ นื ​​​ล​ กู จ​ นั ทร์,​​ไ​ พฑูรย์​​​ธ​ ญ ั ญา​​ ,​ ​วิ​นทร์​ ​ ​เลียว​วา​ริณ​,​ ​ ​ประมวล​ ​ ​ ​มณี​โรจน์​,​ ​จารี​ ​ ​ ​จันทรา​ภา​​ ฯลฯ​ ​การ​แสดง​ความ​คิด​เห็น​ของ​นัก​เขียน​ศิษย์​ช่อฯ​ทั้ง​ใหม่​ และ​เก่า​ ​ ​ ​เต็ม​ไป​ด้วย​สาระ​ที่​หนัก​แน่น​ ​ ​ ​นานา​ทัศนคติ​ของ​ ​นั ก ​เ ขี ย น​ต่ า ง​คิ ด ​มุ ม ​ที่ ​ต่ า ง​กั น ​อ อก​ไ ป​ ​เ ช่ น ​ ​ค วาม​เ ป็ น​ โพสต์​โม​เดิร์​น ข​อง​งาน​วรรณกรรม​ใน​บ้าน​เรา​ ​ความ​รู้สึก​ต่อ​ วรรณกรรม​เ พื่ อ ​ชี วิ ต ​ ​ก าร​เ ปรี ย บ​เ ที ย บ​ผ ล​ง าน​กั บ ​นั ก ​เ ขี ย น​ ใ​ น​ประเทศ​อนื่ ​​​ก​ าร​สร้าง​ผล​งาน​ทต​ี่ าม​ให้ท​ นั ย​ คุ ส​ มัย​​​ก​ าร​สร้าง​ เรื่อง​แนว​ปัจเจก​ที่​วน​เวียน​แต่​ใน​เรื่อง​ของ​ตัว​เอง​ ​ ​ ​การ​สะท้อน​ ปัญหา​ของ​สังคม​​​​ซึ่ง​ประเด็น​ต่างๆ​ที่​พูด​ถึง​​​​ก็​ยัง​คง​เป็น​ปัญหา​ ที่​แก้​กัน​ต่อ​ไป​ ​ภาค​เย็น​ ​ปาฐกถา​ประจำ​ปี​ ​2551​ ​ ​‘​จาก​วรรณกรรม​ เพื่ อ ​ชี วิ ต ​สู่ ​ชี วิ ต ​ใ น​ว รรณกรรม​’ ​ ​โ ดย​ ​ ​อ าจารย์ ​ ​ธ เนศ​​ อาภรณ์ ​สุ ว รรณ​​ ​ค ณบดี ​ค ณะ​ศิ ล ปะ​ศ าสตร์ ​ ​ม หาวิ ท ยาลั ย​ ธรรมศาสตร์​ ​พร้อม​ประกาศ​ ​นัก​เขียน​ช่อ​การะเกด​เกียรติยศ​​ ประจำ​ปี​​2551​‘​ประกาศ​​​วัช​รา​ภ​รณ์​’​​​และ​ประกาศ​ผล​เรื่อง​สั้น​ ช่อ​การะเกด​ยอด​เยี่ยม​ประจำ​ปี​​​2551​ ​เรื่อง​สั้นป​ ระดับ​ช่อก​ าระเกด​ยอด​เยี่ยม​ประจำ​ปี​​2551​​​ ​เฟรช​คิลล์ ​​​ ​​ ​​ ​​ ​​ ​​ ​​ ​​ ​ ​

เรื่อง​สั้น​โดย​​กันต์​ธร​​อักษร​นำ​

​ผู้​ไร้​เหย้า​ ​​ ​​ ​​ ​​ ​​ ​​ ​​ ​​ ​​ ​

​เรื่อง​สั้น​โดย​​ภาณุ​​ตรัย​เวช​

​ความ​ตาย​ของ​พราน​แมง​

​เรื่อง​สั้น​โดย​​สาคร​​พูล​สุข​

ฝ​ ูง​แร้ง​บน​ซากศพ ​ ​มนุษย์​เรา​ก็​เป็น​ใน​บางที​

​เรื่อง​สั้น​โดย​​ปาน​ศักดิ์​​นา​แสวง ​เรื่อง​สั้น​โดย​​ว​ยา​กร​​พึ่ง​เงิน​

​ค วาม​จ ริ ง ​ที่ ​เ กิ ด ​ขึ้ น ​ใ น​ดิ น ​แ ดน​ที่ ​ผ ม​ไ ม่ รู้ ​จั ก ​ ​ ​เ รื่ อ ง​สั้ น ​โ ดย​​ ​ธนา​วัฒน์​​อุ่น​เรือง​ศรี​ ท​ าง​ ​WRITE​ ​E​-​MAGAZINE​ ​ ​ขอ​แสดง​ความ​ยินดี​กับ​นัก​เขียน​ ประดับ​ช่อ​ทุก​ท่าน​ ​ ​ ​และ​ทาง​เรา​จะ​ติดตาม​งาน​เขียน​ของ​ท่าน​​ ใน​โอ​กาส​ต่อๆ​ไป​  g WRITE E-MAGAZINE 13


สมมติฐาน หนังสือ สำนักพิมพ์ วรรณกรรม

ใน​แ วดวง​ก าร​ท ำ​ห นั ง สื อ ​ ​“ ​ส ำนั ก ​พิ ม พ์ ​” ​ ​เ ป็ น ​ก ลไก​ห นึ่ ง​ ที่ ​มี ห น้ า ​ที่ ​ขั บ ​เ คลื่ อ น​ “ผล​ง าน” ​ข อง​ ​“ ​นั ก ​เ ขี ย น​” ​ ​ไ ป​สู่ ​มื อ​​ ​“ ​ค น​อ่ า น​” ​ ​ห าก​ข าด​ซึ่ ง ​ ​“ ​ส ำนั ก ​พิ ม พ์ ​” ​ ​แ ล้ ว ​ ​“ ​ห นั ง สื อ ​” ​ ​ก็ ​ มิ ​อ าจ​จ ะ​ก้ า ว​ข้ า ม​จ าก​ ​“ ​ต้ น ฉบั บ ​” ​ ​ไ ป​สู่ ​ก าร​เ ป็ น ​ห นั ง สื อ​ เล่ ม ​ไ ป​ไ ด้ ​ ​แ ม้ ​ส ำนั ก ​พิ ม พ์ ​ดู ​เ หมื อ น​จ ะ​เ ป็ น ​ตั ว ​จั ก ร​ห นึ่ ง ​ที่ ​ ทรง​ค วาม​ส ำคั ญ ​ ​แ ต่ ​ก็ ​มั ก ​ถู ก ​ห ลงลื ม ​จ าก​ผู้ ค น​ไ ด้ โ ดยง่ า ย หากเราคิดว่า อดัมกับอีฟ มิได้ถือกำเนิดมาจากความบังเอิญ ส ำ นั ก พิ ม พ์ ก็ เ ฉ ก เ ช่ น เ ดี ย ว กั น ทุ ก วั น นี้ ส ำ นั ก พิ ม พ์ เกิ ด ขึ้ น จำนวนมาก หนั ง สื อ มี ค วามหลากหลายขึ้ น​ และหนั ง สื อ ไม่ ใ ช่ ห นั ง สื อ สื่ อ ปั ญ ญาในความหยเดี ย ว​ อี ก ต่ อ ไปแล้ ว ทว่ า หนั ง สื อ ในความหมายปั จ จุ บั น มั น ถู ก ทำให้ เ ป็ น สิ น ค้ า ชนิ ด หนึ่ ง มี ก ารคำนวนการเจริ ญ เติ บ โต ทางเศรษฐกิ จ (GDP) ยิ่ ง รณรงค์ ใ ห้ ค นอ่ า นหนั ง สื อ ผ่ า น​ หน่วยงานรัฐมากเท่าไหร่ เป้าหมายของหนังสือก็ยิ่งจะหลุด วงโคจรไปเท่านั้น สำนักพิมพ์ที่เป็นผู้ปั้นต้นฉบับให้จับต้อง​ ได้ ต่ า งก็ เ มิ น เฉยต่ อ คุ ณ ค่ า และหั น หน้ า เข้ า สู่ ธุ ร กิ จ อย่ า ง​ เต็มตัว ท่ามกลางหนังสือมากมายนั้น กลับมีสำนักพิมพ์เล็ก  ๆ เกิดขึ้น สำนักพิมพ์นั้นนาม “สมมติ” วันนี้เราได้พูดคุยกับสอง​ บรรณาธิการบริหาร ชัยพร อินทุวิศาลสกุล และ ปิยะวิทย์ เทพอำนวยสกุล กับที่มา ที่ไป แรงบันดาลใจ และจุดมุ่งหมาย ของวิถีคนทำหนังสือ

14  WRITE E-MAGAZINE

text: อัจฉริยะ ไยสูง interview: กองบรรณาธิการ photos: นิวัต พุทธประสาท


WRITE E-MAGAZINE 15


“​เรา​จะ​คุย​ใน​เรื่อง​ของ​ อุดมคติ​​เรื่อง​การ​ ทำงาน​​และ​เรา​ก็​เริ่ม​ สนใจ​ใน​การ​ทำ​ สำนัก​พิมพ์”​​


Write​:​​​เริ่มต​ ้น​ทำ​สำนักพ ​ ิมพ์​กัน​ยังไ​ ง​ ​ชัย​พร​:​​​ผม​กับ​ปิยะ​วิทย์​เป็น​เพื่อน​กัน​มา​ตั้งแต่​เด็ก​​เพราะ​เรา​ อยู่​บ้าน​ใกล้​กัน​​จน​กระทั่ง​เรียน​ชั้น​มัธยม​เรา​ก็​เรียน​ที่​โรงเรียน​ สวน​กุหลาบ​ด้วย​กัน​​​ปิยะ​วิทย์​เป็น​รุ่น​น้อง​ที่​ชุมนุม​เชียร์​และ​ แปร​อักษร​​ตอน​นั้น​เรา​เริ่ม​อ่าน​หนังสือ​กัน​บ้าง​แล้ว​​แต่​ก็​ยัง​ไม่​ ได้​คิด​เรื่อง​ทำ​สำนัก​พิมพ์​​จน​สมัย​เรียน​มหาวิทยาลัย​​ ​ปิยะ​วิทย์เ​รียน​ที่​มหาวิทยาลัย​เชียงใหม่​​ส่วน​ผม​เรียน​ที่​ ธรรมศาสตร์​​ช่วง​นั้น​เมื่อ​เจอ​กัน​​เรา​ก็​จะ​คุย​กัน​ใน​เรื่อง​ของ​ อุดมคติ​ใน​การ​ดำเนิน​ชีวิต​​และ​อุดมคติ​ใน​การ​ทำงาน​​ด้วย​ ความ​ที่​เรา​ชอบ​อ่าน​หนังสือ​เหมือน​กัน​​และ​มี​โอกาส​ได้​คลุกคลี​ กับ​พี่​เป้​​(​วาด​​รวี​)​​ด้วย​การ​เข้าไป​ช่วย​ทำ​วารสาร​หนังสือ​ใต้ดิน​​ เรา​ก็​เริ่ม​สนใจ​ทำ​สำนัก​พิมพ์​​ ​ปิยะ​วิทย์​​:​​สังคม​โดย​รอบ​ที่​สวน​กุหลาบ​ทำให้​เรา​ได้​แลก​ เปลี่ยน​ความ​คิด​เห็น​กับ​ทั้ง​เพื่อน​รุ่น​เดียวกัน​​และ​รุ่น​พี่​​ ผ​ ม​คิด​ว่า​ผม​ได้​อะไร​มากมาย​จาก​ที่​นี่​​และ​การ​อ่าน​มัน​ก็​เข้า​มา​ เกี่ยวข้อง​กับ​ชีวิต​​แต่​จุด​หักเ​ห​จริงๆ​​ผม​คิด​ว่า​เป็น​ช่วง​ที่​เรียน​ มหาวิทยาลัย​​ช่วง​นั้น​ผม​ได้​อยู่​กับ​ตัว​เอง​มาก​ขึ้น​​ซึ่ง​ผม​คิด​ว่า​ มัน​เกิด​ขึ้น​กับ​ทุก​คน​ที่​จะ​มี​วัย​หนึ่ง​ที่​เรา​จะ​หมกมุ่น​อยู่​กับ​ตัว​เอง​​ ​ ​Write​:​​​เพราะ​เรียน​ทสี่​ วน​กุหลาบ​ด้วย​หรือ​เปล่า​​จึง​ทำให้​ สะสม​ความ​คิด​อะไร​แบบ​นมี้​ า​ ​ชัย​พร​:​​​ผม​คิด​ว่า​ก็​เกี่ยว​นะ​​คือ​ตอน​นั้น​เรา​ทำ​ชุมนุม​เชียร์​และ​ แปร​อักษร​​แล้ว​การ​ทำ​ชุ​มนุ​มฯ​​ที่​สวน​กุหลาบ​นั้น​ต้อง​ทุ่มเท​ และ​ตั้งใจ​พอ​สมควร​​เพราะ​เป็น​กิจกรรม​ที่​นักเรียน​ต้อง​รับ​ผิด​ ชอบ​กิจกรรม​เชียร์​และ​แปร​อักษร​ใน​งาน​ฟุตบอล​จตุรมิตร​โดย​ ทั้งหมด​​งาน​และ​กิจกรรม​มัน​เยอะ​มาก​​ทำให้​ต้อง​มี​การ​ใช้​ชีวิต​ อยู่​ที่​โรงเรียน​​อยู่​กับ​เพื่อนๆ​​มากกว่า​เด็ก​ปกติ​​​เพื่อ​จัดการ​และ​ ทำงาน​ให้​ลุล่วง​​มัน​มี​สภาวะ​บีบ​คั้น​หลายๆ​​อย่าง​​เลย​ทำให้​มี​ การ​คัด​คน​ที่​จะ​อยู่​ร่วม​กัน​ไป​โดย​ปริยาย​​นี่​ก็​เป็น​สิ่ง​หนึ่ง​ที่​หล่อ​ หลอม​เรา​มา​ ​ ​Write​:​​​เห็น​ว่า​ทาง​บ้าน​ชัย​พร​ทำ​โรง​พิมพ์​ด้วย​​ ​ชัย​พร​​:​​ใช่​ครับ​​แต่​ก็​ยัง​ไม่มี​ความ​คิด​ที่​จะ​ทำ​สำนัก​พิมพ์​​แต่​ ที่​เริ่ม​คิด​จริงๆ​​คือ​ช่วง​ที่​เจอ​พี่​เป้​​(​วาด​​รวี​)​​ที่​ร้าน​หนังสือ​ใต้ดิน​ สยามสแควร์​​​คือ​ตอน​นั้น​จะ​ไป​หา​ซื้อ​หนังสือ​ดีๆ​มา​อ่าน​​ไป​ บ่อย​ครั้ง​เข้า​​ก็​เริ่ม​ที่​จะ​ได้​คุย​กับ​พี่​เป้​​พี่​เป้​เลย​ชวน​มา​ทำ​ วารสาร​หนังสือ​ใต้ดิน​ฉบับ​แรกๆ​​​คือ​เรา​ได้​ลง​มา​ทำ​กับ​มัน​​ได้​ คิด​​ได้​เขียน​​มัน​รู้สึก​ท้าทาย​ไป​กับ​สิ่ง​ที่​ทำ​ ​

​ rite​:​​​ส​ ่วน​หนึ่ง​เป็นเ​พราะ​ได้​เจอ​กับ​นัก​คิด​​นัก​เขียน​ W ด้วย​หรือเ​ปล่า​​​จึง​มี​ความ​คิด​ที่​อยาก​ทำ​สำนัก​พิมพ์​ ​ปิยะ​วิทย์​​:​​คือ​ส่วน​ตัว​ผม​ยัง​ไม่​ค่อย​ได้​เจอ​นะ​​คือ​เจอ​น้อย​ มาก​​ตอน​เรียน​ที่​เชียงใหม่​จะ​มี​ร้าน​หนังสือ​แถวๆ​ท่าแพ​ที่​เป็น​ ร้าน​หนังสือ​ภาษา​อังกฤษ​​และ​ร้าน​เล่า​​ซึ่ง​ที่​ร้าน​เล่า​ก็​จะ​ได้​เห็น​ นัก​คิด​​นัก​เขียน​บ้าง​​แต่​ภาพ​ที่​ผม​เห็น​จริงๆ​​คือ​ที่​ร้าน​หนังสือ​ ใต้ดิน​​(​ที่​โรง​หนัง​สยาม​​–​​ปัจจุบัน​ปิด​ไป​แล้ว​)​​มัน​ทำให้​ผม​ คิด​ว่า​น่า​จะ​ทำ​อะไร​บาง​อย่าง​ออก​มา​​คือ​มัน​มอง​เห็น​เป็น​ ภา​พลางๆ​​อยู่​บ้าง​แล้ว​​และ​อีก​อย่าง​หนึ่ง​​ช่วง​นั้น​ชัย​พร​ทำ​ วารสาร​หนังสือ​ใต้ดิน​แล้ว​ที่​กรุงเทพฯ​​เขา​ก็​จะ​โทร​มา​พูด​คุย​เล่า​ เรื่อง​การ​ทำ​วารสาร​หนังสือ​ใต้ดิน​​ว่า​ได้​สัมภาษณ์​นัก​คิด​​นัก​ เขียน​​เพราะ​ฉะนั้น​เรื่อง​ที่​คุย​กัน​มัน​ก็​ไม่​พ้น​เรื่อง​หนังสือ​​เรื่อง​ อุดมคติ​อะไร​บาง​อย่าง​​รวม​ถึง​การ​ใช้​ชีวิต​​สรุป​คือ​เรา​สอง​คน​ มี​ความ​คิด​อะไร​ที่​คล้าย​กัน​​แต่​ก็​ยัง​ไม่​ได้​คิด​เรื่อง​การ​ทำ​สำนัก​ พิมพ์​อย่าง​จริงจัง​ ​ ​Write​:​​​เคย​คิด​จะ​เป็นน​ ัก​เขียน​ก่อน​มา​ทำ​สำนัก​พิมพ์​หรือ​ เปล่า​​ ​ชัย​พร​:​​​ไม่​ได้​คิด​นะ​​​คือ​ผม​ชอบ​อ่าน​หนังสือ​​เวลา​เข้าไป​ใน​ ร้าน​หนังสือ​แล้ว​เห็น​หนังสือ​ดีๆ​​วาง​อยู่​​ผม​ก็​ชอบ​​แต่​ความ​คิด​ ที่​จะ​เป็น​นัก​เขียน​​ไม่​เคย​คิด​เลย​​แต่​ที่​ผม​คิด​จริงๆ​​​คือ​ว่า​ถ้า​ผม​ จะ​ทำ​ธุรกิจ​​ผม​จะ​ทำ​อะไร​ที่​ไม่​ต้อง​ฝืน​ใจ​ทำ​ ​ปิยะ​วิทย์​​:​​ผม​คิด​ว่า​อย่าง​นี้​นะ​​คือ​เวลา​ผม​อ่าน​หนังสือ​​ผม​ จะ​มี​ข้อ​สงสัย​ใน​การ​ทำงาน​ของ​นัก​เขียน​​คือ​อยาก​รู้​ว่า​เขา​มี​ กระบวนการ​คิด​กัน​อย่างไร​​แต่​ความ​คิด​แรก​ผม​ไม่​ได้​อยาก​ เป็น​นัก​เขียน​​ผม​คิด​ว่า​ทุก​คน​มี​ความ​คิด​อะไร​ที่​จะ​สื่อสาร​อะไร​ บาง​อย่าง​ออก​มา​​ถ้า​เป็น​นัก​เขียน​ก็​สื่อ​ด้วย​งาน​เขียน​​ช่าง​ภาพ​ ก็​สื่อ​ด้วย​ภาพถ่าย​​การ​ทำ​สำนัก​พิมพ์​ก็​เป็น​สิ่ง​หนึ่ง​ที่​อยู่​ใน​ ระนาบ​ไม่​ต่าง​กัน​ ​ ​Write​:​​ก​ ระบวนการ​คิด​ส่วน​หนึ่ง​​ได้​อิทธิพล​มา​จาก​การ​ ทำ​วารสาร​หนังสือ​ใต้ดิน​ ​ชัย​พร​​:​​ก็ได้​ใน​เรื่อง​ของ​การ​คิด​ประเด็น​​​ ​ ​Write​:​​​ตอน​นี้​ก็​ทำ​วารสาร​หนังสือใ​ ต้ดิน​เต็มต​ ัว​ ​ชัย​พร​:​​​ใช่​ครับ​ ​ปิยะ​วิทย์​​:​​คือ​ตอน​ที่มา​ช่วย​พี่​เป้​​ผม​ได้​เห็น​ภาพ​ของ​กลุ่ม​คน​ อ่าน​ที่มา​ซื้อ​หนังสือ​ใน​งาน​สัปดาห์​หนังสือ​ของ​ ​บูธ​วารสาร​หนังสือ​ใต้ดิน​​ตอน​นั้น​ผม​มี​ความ​คิด​ที่​บริ​สุทธ์​มาก​ WRITE E-MAGAZINE 17


เลย​นะ​กับ​การ​ทำ​หนังสือ​​คือ​คิด​ว่า​เรา​จะ​ผลิต​หนังสือ​ที่​ดี​ให้​กับ​ คน​อ่าน​​ผม​ไม่​ได้​มอง​ถึง​สิ่ง​ที่​จะ​ได้​มา​หรือ​สิ่ง​ที่​ต้อง​เสีย​ไป​ใน​ การ​ทำ​หนังสือ​เลย​​คือ​มี​ความ​คิด​แต่​เพียง​ว่า​​​เรา​อยาก​ทำ​ ​ ​Write​:​​จ​ ุด​เริ่ม​ต้นจ​ ริงๆ​ของ​การ​ทำ​สำนัก​พิมพ์​สมมติ​ ​ปิยะ​วิทย์​​:​​แรง​กระทบ​ส่วน​หนึ่ง​ผม​คิด​ว่า​​มัน​มา​จาก​นิตยสาร​ โอเพ่น​​นิตยสาร​สเกล​​นิตยสาร​สีสัน​​รวม​ถึง​การ​จัด​พิมพ์​ หนังสือ​ดีๆ​​ของ​สำนัก​พิมพ์ค​ บไฟ​​สำนัก​พิมพ์​สามัญ​ชน​​อัน​นี้​ ว่า​กัน​ใน​เรื่อง​แรง​บันดาล​ใจ​​​​ ​ชัย​พร​​:​​คือ​ผม​คิด​ว่า​ส่วน​หนึ่ง​ก็​เป็น​เพราะ​เรา​เห็น​ว่า​มัน​มี​ช่อง​ ว่าง​อยู่​ใน​ตลาด​หนังสือ​​คือ​บางที​ใน​ปีๆ​หนึ่ง​​เรา​ไม่​เห็น​ว่า​ไม่มี​ หนังสือ​ดีๆ​​ออก​มา​เลย​​–​​ใน​ทีนี้​เรา​ต้อง​จำกัด​ความ​ไว้​ด้วย​ว่า​ หมาย​ถึง​​วรรณกรรม​หรือ​หนังสือ​ดีๆ​​ที่​คน​ทั่ว​โลก​อ่าน​กัน​​แต่​ คน​ไทย​รู้จัก​แต่​ไม่​เคย​อ่าน​-​ ​​เรา​เลย​เห็น​ช่อง​ว่าง​ที่​เรา​น่า​จะ​ ผลิต​หนังสือ​ดีๆ​​ออก​มา​ ​ ​Write​​:​​ทำไม​ไม่​ทำ​นิตยสาร​ ​ชัย​พร​:​​​รู้​ต้นทุน​ไง​​​เพราะ​บ้าน​ผม​ทำ​โรง​พิมพ์​​(​หัวเราะ​)​​อัน​ที่​ จริง​ต้นทุน​ก็​ส่วน​หนึ่ง​นะ​​อีก​เรื่อง​ผม​คิด​ว่า​​ผม​มี​ทัศนะ​คติ​ไม่​ดี​ เท่าไร​กับ​การ​ทำ​นิตยสาร​​การ​ที่​ราย​ได้​ส่วน​หนึ่ง​หรือ​ส่วน​ใหญ่​ ต้อง​พึ่ง​พิง​กับ​ค่า​โฆษณา​ทำให้​เจ้าของ​หรือ​บรรณาธิการ​ต้อง​ ออก​ไป​วิ่ง​หา​โฆษณา​หรือ​จัดการ​เรื่อง​โฆษณา​นั้นๆ​​เป็น​สิ่ง​ที่​ เรา​ไม่​สนใจ​และ​ไม่​อยาก​ที่​จะ​ทำ​​นั่น​ก็​เป็น​เหตุผล​ว่า​ทำไม​เรา​ ตัดสิน​ใจ​ไม่​ทำ​ ​ ​Write​​:​​มี​เกณฑ์​ใน​การ​เลือก​ผล​งาน​ที่​จะ​ตี​พิมพ์​อย่างไร​​ ​ชัย​พร​​:​​มัน​ก็​ต้อง​ดี​ก่อน​นะ​​ที่​ว่า​ดี​ไม่​ได้​หมาย​ถึง​ดี​ใน​สายตา​ ของ​ผม​เอง​​ต้อง​ดี​ใน​สายตา​ของ​ปิยะ​วิทย์​​ของ​ผู้​ร่วม​งาน​ใน​ สำนัก​พิมพ์​ทุก​คน​​รวม​ทั้ง​ดใี​ น​มาตรฐาน​สากล​ด้วย​​ ​ ​Write​​:​​เคย​ได้​อ่าน​งาน​ทจี่​ ะ​มาตี​พิมพ์​ก่อ​นมั้ย​​เพราะ​ส่วน​ ใหญ่​งาน​ที่​ตี​พิมพ์​ก็​ผ่าน​กาล​เวลา​มา​นาน​มาก​แล้ว​ ​ชัย​พร​:​​​หนังสือ​ที่​ตี​พิมพ์​โดย​สำนัก​พิมพ์​สมมติ​ที่​ผ่าน​มา​ ทั้งหมด​นั้น​​เป็น​หนังสือ​ที่​ผม​ไม่​เคย​อ่าน​มา​ก่อน​เลย​​มา​อ่าน​ก็​ ตอน​ทำ​สำนัก​พิมพ์​นี่​แหละ​​หลาย​เล่ม​ได้​รู้จัก​ก็​จาก​เพื่อนๆ​​พี่ๆ​​ ใน​วงการ​แนะนำ​ให้​อ่าน​​และ​หลาย​เล่ม​ก็​จาก​การ​แนะนำ​ของ​ กิตติ​พล​​สรัค​คา​นนท์​​บรรณาธิการ​ต้นฉบับ​ของ​สำนัก​พิมพ์​​​ ​Write​​:​​ถ้า​ทำ​สำนัก​พิมพ์​คน​เดียว​คิด​ว่า​จะ​ทำ​มั้ย?​ 18  WRITE E-MAGAZINE

ช​ ัย​พร​​:​​อาจ​จะ​ทำ​​แต่​คิด​ว่า​มัน​คงจะ​เจ๊ง​เร็ว​​(​หัวเราะ​)​​ที่​ สำนัก​พิมพ์​อยู่​ได้​​ผม​คิด​ว่า​เพราะ​มี​ผม​มี​​ปิยะ​วิทย์​​​มี​กิตติ​พล​​ ถ้า​ขาด​ไป​คน​ใด​คน​หนึ่ง​ก็​คง​เหนื่อย​​คน​แต่​คน​ก็​มี​จุด​อ่อนข​อง​ ตัว​เอง​อยู่​​ถ้า​ทำ​อยู่​คน​เดียว​จุด​อ่อน​มัน​ก็​เยอะ​​ถ้า​สาม​คน​มา​ รวม​กัน​อะไร​ที่​เคย​เป็น​จุด​อ่อน​อยู่​ก็​อาจ​ชดเชย​ได้​ด้วย​จุด​แข็ง​ ของ​อีก​คน​หนึ่ง​ ​ปิยะ​วิทย์​:​​​สำนัก​พิมพ์​สมมติ​เริ่ม​ต้น​มา​จาก​ความ​คิด​และ​ ทัศนะ​คติ​ที่​คล้ายๆ​​กัน​ระหว่าง​ผม​กับ​ชัย​พร​​เรื่อง​จำนวน​คน​​ ผม​คิด​ว่า​มัน​เป็นการ​ส่ง​เสริม​ซึ่ง​กัน​และ​กัน​มากกว่า​​มี​สอง​คน​​ มี​สาม​คน​​หรือ​มากกว่า​​มัน​เป็น​เรื่อง​ของ​การ​ช่วย​กัน​สาน​ต่อ​ แนวคิด​ดั้งเดิม​ใน​การ​ตัดสิน​ใจ​ทำ​สำนัก​พิมพ์​​สิ่ง​สำคัญ​ที่สุด​ก็​ คือ​ว่า​เรา​ยัง​คง​เดิน​หน้า​ไป​ด้วย​กัน​ใน​แบบ​ที่​ยัง​คุย​กัน​รู้​เรื่อง​​มัน​ ก็​เท่านั้น​​จำนวน​คน​ไม่ใช่​ปัจจัย​ที่​สำคัญ​ที่สุด​ ​ ​Write​​:​ต​ อน​ตกลง​ใจ​ทำ​สำนัก​พิมพ์​​มี​ใคร​เคย​ห้าม​หรือ​ เปล่า​ ​ชัย​พร​:​​​ผม​จำ​ได้​วัน​ที่​เริ่ม​คิด​จะ​ทำ​​เรา​คุย​กัน​ว่า​ถ้า​เรา​ทำ​ สำนัก​พิมพ์​​เรา​จะ​พิมพ์​แต่​หนังสือ​ดีๆ​​ของ​นัก​เขียน​ดีๆ​​เรา​ จะ​ทำ​ใน​ทิศทาง​นี้​เท่านั้น​​จะ​ไม่​เบี่ยง​เบน​ไป​ใน​ทาง​อื่น​​เช่น​​ ว่า​ผลิต​หนังสือ​บาง​ประเภท​ที่​อาจ​มี​โอกาส​ทางการ​ตลาด​ มากกว่า​เพื่อ​นำ​เงิน​มา​หล่อ​เลี้ยง​สำนัก​พิมพ์​​คือ​ถ้า​สำนัก​พิมพ์​ จะ​ต้อง​ปิด​ตัว​ลง​​มัน​ก็​จะ​ปิด​ตัว​ลง​ใน​ทิศทาง​เดิม​ตั้งแต่​มัน​ก่อ​ ตั้ง​มา​​ไม่​ค่อย​มี​ห้าม​เท่าไร​​แต่​จะ​มี​คน​เตือน​มากกว่า​​เป็นต้น​ ว่า​​จะ​ทำ​อะไร​ให้​มัน​ระวัง​หน่อย​​อย่า​ทำ​ให้​เว่อ​ร์​ไป​​ซึ่ง​ทุก​วัน​ นี้​ก็​พยายาม​ทำ​อย่าง​นั้น​อยู่​​เรา​พยายาม​ไม่​ใช้​จ่าย​อะไร​ที่​มัน​ ฟุ่มเฟือย​​หรือ​สุ่ม​เสี่ยง​จน​ทำให้​สำนัก​พิมพ์​ต้อง​เสีย​เงิน​ไป​โดย​ เปล่า​ประโยชน์​ ​ปิยะ​วิทย์​​:​​มัน​มี​ช่วง​เวลา​หนึ่ง​ที่​คน​หนุ่ม​สาว​อายุ​ไม่​ถึง​สามสิบ​ มี​อุดมคติ​ใน​การ​ทำงาน​ว่า​อยาก​เป็น​นัก​เขียน​​หรือ​เป็น​คน​ทำ​ หนังสือ​​ตอน​นั้น​ผม​เอง​ก็​รู้สึก​อยาก​ทำ​​ใน​ตอน​นั้น​ภาพ​อุดมคติ​ ที่​ผม​เห็น​ก็​คือ​นิตยสาร​โอเพ่น​​นิตยสาร​สเกล​​และ​สำนัก​พิมพ์​ บาง​แห่ง​ที่​ผลิต​หนังสือ​ดี​​ภาพ​เหล่า​นี้​เชื้อ​ชวน​ให้​เรา​อยาก​ ทำงาน​หนังสือ​​แต่​พอ​เรา​ได้​ลงมือ​ทำ​จริงๆ​​แล้ว​​ก็​รู้​เลย​ว่า​มัน​ ไม่มี​นัย​ยะ​ของ​ความ​โร​แมน​ติก​เหมือน​ภาพ​ที่​เรา​เคย​เห็น​เลย​​ เพราะ​สุดท้าย​มัน​ไม่ใช่​แค่​เรื่อง​อุดมคติ​​หรือ​ความ​โร​แมน​ติก​ใน​ การ​ทำ​หนังสือ​​แต่​สิ่ง​ทั้งหมด​เป็น​เรื่อง​ของ​การ​จัดการ​​เป็นการ​ ทำ​อะไร​หลายๆ​อย่าง​เพื่อ​ให้​สำนัก​พิมพ์​เดิน​ไป​ได้​​การ​จัดการ​ ทั้งหมด​ไม่ใช่​แค่​การ​จัดการ​เรื่อง​ต้นฉบับ​​มัน​มี​เรื่อง​ธุรกิจ​​มัน​ มี​เรื่อง​การ​ติดต่อ​กับ​ผู้คน​ใน​แวดวง​​มี​เรื่อง​การ​หมุน​เงิน​​และ​มี​


“มัน​มี​ยุค​หนึ่ง​คน​หนุ่ม​สาว​ที่​อายุ​ ไม่​ถึง​สามสิบ​​มี​ภาพ​อุดมคติ​ ของ​คน​เขียน​หนังสือ​​ คน​ทำ​หนังสือ​ ​ตอน​นั้น​ผม​รู้สึก​อยาก​ทำ​นะ​” WRITE E-MAGAZINE 19


อีก​หลายๆ​​อย่าง​​ดัง​นั้น​หลายๆ​​คน​ที่​เตือน​เรา​ก็​มัก​จะ​เตือน​ว่า​​ ไอ้​ภาพ​ที่​เรา​เคย​คิด​ว่า​​“​มัน​น่า​ทำ​”​​หรือ​เป็น​อุดมคติ​ที่​สวยงาม​ นั้น​มัน​ไม่จ​ ริง​​คน​ที่​เตือน​ไม่​ได้​เตือน​ว่า​ไม่​ให้​ทำ​​แต่​เตือน​ว่า​มัน​ ไม่ใช่​ภาพ​อย่าง​ที่​คุณ​มอง​ ​ชัย​พร​​:​แ​ ต่​คำ​เตือน​เหล่า​นี้​ก็​ทำให้​เรา​แข็ง​แรง​ขึ้น​​ระหว่าง​ที่​ เรา​ได้​ปรึกษา​คน​​ความ​คิด​ผิดๆ​​หลาย​อย่าง​ก็​ถูก​ตัด​ออก​ไป​​ ​ ​Write​​:​​ซี​เอ็ด​ให้​สัมภาษณ์​ว่าต​ อน​นี้​มี​หนังสือ​ใหม่​ออก​มา​ หก​ปก​ต่อ​วัน​​ซึ่ง​จะ​ทำให้​พื้นที่​ใน​ร้าน​หนังสือน​ ้อย​ลง ​เรื่อย​​ๆ​​เขา​เพิ่ง​รู้สึก​หรือ​ ​ชัย​พร​:​​​เปล่า​.​.​.​เขา​พูด​มา​นาน​แล้ว​​ความ​หมาย​โดย​นัย​ก็​คือ​ ว่า​​เขา​จะ​มี​เวลา​ให้​กับ​หนังสือ​วรรณกรรม​น้อย​ลง​​(​หัวเราะ​)​​ก็​ เข้าใจ​นะ​​คือ​ถ้า​มอง​ร้าน​หนังสือ​เป็น​แค่​ธุรกิจ​ประเภท​หนึ่ง​​การ​ ที่​จะ​ทำ​แบบ​นี้​ก็​ไม่​แปลก​อะไร​ ​ปิยะ​วิทย์​​:​​แต่​ร้าน​หนังสือม​ ัน​เป็น​ธุรกิจ​อย่าง​เดียว​จริง​หรือ​​ใช่​ หรือ​ที่​มิตใิ​ น​การ​ทำ​ร้าน​หนังสือ​เป็น​แค่​เรื่อง​ของ​การ​ขาย​ของ​​ แล้ว​ภารกิจ​ใน​การ​สร้าง​วัฒนธรรม​ที่​เข้ม​แข็ง​ใน​สังคม​ล่ะ​​เป็น​ เรื่อง​ของ​ใคร​​ผม​คิด​ว่า​เรื่อง​พวก​นี้​ไม่ใช่​เรื่อง​อุดมคติ​นะ​​แต่​เป็น​ หน้าที่​ที่​ร้าน​หนังสือ​ต้อง​ทำ​เลย​​คุณ​ต้อง​ทำให้​ร้าน​หนังสือ​มี​ หนังสือ​ที่​หลาก​หลาย​ประเภท​ได้​ทั้ง​ปี​​ไม่ใช่​ว่า​ใน​เทศกาล​ซี​ไรต์​​ ก็​มี​แต่​หนังสือ​ที่​เข้า​รอบ​หรือ​ได้​รางวัล​ซี​ไรต์​​พอ​พ้น​ช่วง​นั้น​ไป​ คุณ​ก็​เก็บ​หนังสือ​เหล่า​นั้น​ไป​ไว้​หลัง​ร้าน​​อัน​นี้​แค่​หนังสือ​รางวัล​ อย่าง​เดียว​นะ​​ยัง​ไม่​พูด​ถึง​หนังสือ​ที่​ดี​หรือ​ไม่​ดี​ตาม​แต่​นิยาม​ ของ​แต่ละ​คน​​แต่ละ​ร้าน​หนังสือ​อีก​นะ​​ร้าน​หนังสือ​ไม่​ควร​ให้​ พื้นที่​กับ​หนังสือ​บาง​ประเภท​แต่ละ​เลย​หนังสือ​อีก​บาง​ประเภท​​ ร้าน​หนังสือ​ที่​ดี​ควร​จะ​มี​บรรณาธิการ​ประจำ​ร้าน​​ที่​สามารถ​ คัด​แยก​ประเภท​ของ​หนังสือ​ได้​​สามารถ​แนะนำ​คน​อ่าน​ได้​​ ร้าน​หนังสือ​ต้อง​ช่วย​ผู้​ผลิต​​ผู้​ผลิต​ต้อง​ช่วย​ผู้​อ่าน​​ผู้​อ่าน​ต้อง​ อุดหนุน​หนังสือ​ที่​ดี​และ​ซื้อ​หนังสือ​ใน​ร้าน​หนังสือ​ที่​มี​คุณภาพ​​ ทั้งหมด​ต้อง​เดิน​ไป​ด้วย​กัน​​ ​ ​Write​:​​เ​มื่อเ​รา​ทำ​สำนัก​พิมพ์​​และ​คิด​ทำ​หนังสือ​ที่​คิด​ว่า​ดี​ แต่​คน​อื่น​ไม่เ​อา​ด้วย​รู้สึก​ยังไ​ ง​ ​ชัย​พร​​:​​คือ​วินาที​แรก​ที่​เรา​ทำ​สำนัก​พิมพ์​​เรา​รู้​แต่​แรก​แล้ว​ว่า​​ เรา​จะ​ทำ​อะไร​สิ่ง​ที่​เรา​ต้องการ​​เป้า​หมาย​คือ​อะไร​​ถึง​ไป​ไม่​ถึง​ เป้า​หมาย​​เช่น​​สำนัก​พิมพ์​เจ๊ง​​ต้อง​เลิก​ทำ​​ต้อง​ปิด​ตัว​ลง​​เรา​ก็​ ควร​จะ​พูด​กับ​ตัว​เอง​ได้​ว่า​มัน​ไม่ใช่​เรื่อง​ที่​จะ​ต้อง​เสียใจ​​เพราะ​ อย่าง​น้อย​เรา​ก็ได้​ทำ​ใน​สิ่ง​ที่​เรา​คิด​เอา​ไว้​แล้ว​​ผม​คิด​ว่า​ใน​ ปัญหา​บาง​เรื่อง​นั้น​หาก​เรา​จัดการ​​ให้​มัน​จบ​ที่​ตัว​เรา​เอง​​มัน​ 20  WRITE E-MAGAZINE


จะ​ทำ​ให้​อะไรๆ​​มัน​ง่าย​ขึ้น​​ทำให้​มี​อาการ​ของ​การ​โทษ​คน​อื่น​ น้อย​ลง​​แต่​ผม​ก็​ไม่​ได้​คิด​ทำ​หนังสือ​ดีๆ​​แล้ว​ก็​อยู่​ใน​โลก​แคบๆ​​ ของ​ตัว​เอง​นะ​​เช่น​​ความ​คิด​ที่​ว่า​พิมพ์​หนังสือ​ดี​​ๆ​​ออก​มา​เถอะ​​ จะ​ทำ​ปก​อะไร​ก็ได้​​แบบ​ว่า​ไม่​คิด​อะไร​เพราะ​หนังสือ​มันดี​อยู่​ แล้ว​​มัน​ก็​ไม่ใช่​แบบ​นั้น​​ผม​คิด​ว่า​เรา​พยายาม​ที่​จะ​จับ​แนว​โน้ม​ ของ​การ​อ่าน​​เรา​ต้อง​พยายาม​รู้​และ​เข้าใจ​ว่า​คน​อ่าน​จะ​หยิบ​ จับ​หนังสือ​ของ​เรา​ขึ้น​มา​ดู​ด้วย​รูป​ลักษณ์​หนังสือ​ลักษณะ​ไหน​​ จุด​ขาย​ใด​ที่​จะ​ทำให้​คน​อ่าน​เหล่า​นี้​พบ​เจอ​หนังสือ​เรา​​เรา​ต้อง​ พยายาม​เข้าใจ​พฤติกรรม​ของ​ร้าน​หนังสือ​ว่า​เขา​ต้องการ​อะไร​​ ต้องการ​ข้อมูล​เพิ่ม​เติม​ใดๆ​​ใน​หนังสือ​​หรือ​ต้องการ​ปริมาณ​ หนังสือ​เท่าใด​​การ​เข้าไป​มี​ส่วน​ร่วม​กับ​ชมรม​หนังสือ​สัญจร1​​ เพื่อ​ทำ​กิจกรรม​สร้าง​วัฒนธรรม​การ​อ่าน​ขึ้น​มา​​ผม​คิด​ว่า​มัน​ เป็น​ความ​พยายาม​เล็กๆ​​ที่​อาจ​ยืด​อายุ​ให้​กับ​การ​ทำ​สำนัก​ พิมพ์​ของ​เรา​​ ​ ​Write​​:​​เวลา​หนังสือ​ได้​รับ​การ​ตอบ​สนอง​ไม่​ค่อย​ดี​​(ท​ าง​ ด้าน​ยอด​ขาย​)​ร​ ู้สึก​น้อยใจ​คน​อ่าน​บ้าง​ไหม​ ​ปิยะ​วิทย์​​:​​ผม​คิด​ว่า​ใน​การ​ทำ​สำนัก​พิมพ์​นั้น​มี​ระดับ​​(​Level)​​ ของ​ทักษะ​อยู่​​3​​ระดับ​​ระดับ​แรก​คุณ​สามารถ​ผลิต​หนังสือ​ ได้​​คุณ​ก็​เป็น​สำนัก​พิมพ์​ได้​​ระดับ​ที่​สอง​​คุณ​ไม่​เพียง​แต่​ผลิต​ หนังสือ​ได้​​แต่​ยัง​สามารถ​ออกแบบ​รูป​เล่ม​ได้​สวยงาม​​เพิ่ม​ คุณค่า​ทาง​สุนทรี​ยะ​ของ​หนังสือ​​คุณ​ก็​เป็น​สำนัก​พิมพ์​ที่​ดี​ขึ้น​ มา​อีก​ขั้น​หนึ่ง​​ระดับ​ที่​สาม​​นอกจาก​จะ​ผลิต​หนังสือ​ได้​​และ​ หนังสือ​มี​รูป​เล่ม​สวย​แล้ว​​เนื้อหา​ของ​หนังสือ​ยัง​ดี​อีก​​อัน​นั้น​ก็​ เป็น​อีก​ระดับ​หนึ่ง​​ใน​ฐานะ​ที่​เรา​เอง​ก็​เป็น​สำนัก​พิมพ์​เช่น​กัน​​ เรา​ก็​พยายาม​ดูแล​หนังสือ​ที่​ผลิต​ให้​มี​มาตรฐาน​ครบ​ทุก​ระดับ​​ คือ​เรา​ผลิต​ได้​​พยายาม​ดู​เรื่อง​การ​ออกแบบ​​ดู​เรื่อง​ความ​งาม​ ของ​หนังสือ​​แล้ว​พยายาม​ดู​เรื่อง​เนื้อหา​​พยายาม​ไป​ให้​ถึงที่​สุด​ ใน​ทุกๆ​​ระดับ​​ ​ หากว่า​สำนัก​พิมพ์​ใด​ผลิต​งาน​ได้​​ทำได้​สวยงาม​และ​ มี​เนื้อหา​ที่​ดี​มี​คุณค่า​ต่อ​สติ​ปัญญา​​แต่​หนังสือ​จะ​ขาย​ไม่​ได้​​มัน​ ก็​คง​เป็น​​“​ทาง​”​​ของ​มัน​​ไม่​ว่า​จะ​สังคม​ไทย​​หรือ​สังคม​ทั่ว​โลก​​ เพียง​แต่​จำนวน​ประชากร​มัน​ต่าง​กัน​เท่านั้น​​จำนวน​ประชากร​ ของ​เรา​มี​อยู่​เพียง​เท่า​นี้​​ฉะนั้น​ปริมาณ​นัก​อ่าน​ที่​จะ​สนใจ​อ่าน​ งาน​ที่​ดี​​ก็​อาจ​มี​ไม่​มาก​นัก​​บาง​ประเทศ​ที่​ประชากร​เยอะ​​ถ้า​ ถาม​ว่า​คน​อ่าน​งาน​ไม่​ดี​มี​เยอะ​ไหม​​ก็​น่า​จะ​มี​เยอะ​​แต่​มี​คน​ อ่าน​งาน​ดีๆ​​ก็​เยอะ​เช่น​กัน​​ถ้า​ถาม​ว่า​เรา​รู้สึก​เสียใจ​​น้อยใจ​​ หรือ​เปล่า​​ผม​เชื่อ​ว่า​​“​มี​”​​แต่​ก็​ต้อง​พยายาม​เข้าใจ​มัน​​เรา​ไม่​ ยอม​แพ้​หรือ​มี​ความ​รู้สึก​ท้อ​​และ​ผม​คิด​ว่า​เม่น​วรรณกรรม​ก็​ไม่​ WRITE E-MAGAZINE 21


หนังสือจากสำนักพิมพ์สมมติที่ออกวางขายแล้ว จากซ้าย: ราโชมอน โดย ริวโนสุเกะ อะคุตะงาวะ ยูโธเปีย โดย เซอร์ โธมัส มอร์

22  WRITE E-MAGAZINE


ยอม​​สามัญ​ชน​ก็​ไม่​ยอม​หรอก​​หรือ​อีก​หลายๆ​​สำนัก​พิมพ์​ที่​ ผลิต​งาน​ใน​เชิง​ซีเรียส​​อย่าง​ฟ้า​เดียวกัน​​วิ​ภาษา​​ก็​ไม่​น่าย​อม​ แพ้​​ผม​คิด​ว่า​มัน​มี​จุดยืน​บาง​ประการ​สำหรับ​สำนัก​พิมพ์​ที่​ผลิต​ งาน​บาง​ประเภท​​ ​ชัย​พร​​:​​ตอน​นี้​สำนัก​พิมพ์​ของ​เรา​เหมือน​อยู่​ใน​ช่วง​การ​เรียน​ รู้​​ยัง​ต้อง​เรียน​รู้​อีก​เยอะ​​เมื่อ​หัน​กลับ​ไป​มอง​อดีต​​ก็​มอง​เห็น​ ความ​ผิด​พลาด​ของ​ตัว​เอง​ใน​หลายๆ​​ส่วน​​อย่าง​ชุด​วรรณกรรม​ ใน​วงเล็บก​ ็​มี​ความ​ผิด​พลาด​หลาย​อย่าง​​เช่น​​เรื่อง​การ​ ออกแบบ​​หรือ​การ​ตั้ง​ชื่อ​หนังสือ​​สิ่ง​เหล่า​นี้​ล้วน​เป็น​ความ​ผิด​ ของ​เรา​เอง​​ไม่​ได้​เป็น​ของ​คน​อ่าน​​ดัง​นั้น​แทนที่​เรา​จะ​น้อยใจ​​ มัน​น่า​จะ​ทำให้​เรา​มี​แรง​ฮึดม​ ากกว่า​​ ​ ​Write​​:​​เรา​จะ​สร้าง​วัฒนธรรม​การ​อ่าน​ได้อ​ ย่างไร​ ​ปิยะ​วิทย์​​:​​การ​สร้าง​วัฒนธรรม​การ​อ่าน​ไม่​ได้​อยู่​ที่​เรา​หรือ​ ใคร​คน​ใด​คน​หนึ่ง​​ลำพัง​แค่​เรา​ก็​คง​ไม่​สามารถ​ทำได้​​ลำพัง​แค่​ สามัญ​ชน​ก็​คง​ทำ​ไม่​ได้​​ลำพัง​แค่​เม่น​วรรณกรรม​ก็​ทำ​ไม่​ได้​​แต่​ ถ้า​เรา​รวม​กัน​และ​พยายาม​กระทุ้ง​อยู่​เรื่อยๆ​​ผม​คิด​ว่า​น่า​จะ​มี​ ทาง​เป็น​ไป​ได้​​เรา​ต้อง​ร่วม​กัน​​และ​ช่วย​กัน​ทุกๆ​​สำนัก​พิมพ์​​ ​จริงๆ​​แล้ว​ใน​ตลาด​หนังสือ​เขา​ไม่​ได้​นับ​ว่า​สำนัก​พิมพ์​อย่าง​เรา​ เป็น​ผู้​ผลิต​หนังสือ​ด้วย​ซ้ำ​​เรา​ผลิต​หนังสือ​ไม่​ถึง​​10​​ปก​ต่อ​ปี​​ รวม​วารสาร​หนังสือ​ใต้ดิน​อีก​สิบ​กว่า​เล่ม​​คำถาม​ก็​คือ​ว่า​​ด้วย​ ปริมาณ​หนังสือ​เท่า​นี้​​ด้วย​คุณภาพ​ของ​หนังสือ​แบบ​นี้​​ผม​คิด​ ว่า​เรา​ต้อง​ร่วม​มือ​กัน​​สำนัก​พิมพ์​ที่​มี​อุดมคติ​ใน​การ​ทำ​หนังสือ​ คล้ายๆ​​กัน​จำเป็น​ที่​ต้อง​เพิ่ม​พื้นที่​ใน​การ​สื่อสาร​เพื่อ​เชื้อ​ชวน​ผู้​ อ่าน​ให้​หัน​มา​อ่าน​หนังสือ​อย่าง​เราๆ​​มาก​ขึ้น​​ ​ชัย​พร​​:​​ก็​ต้อง​ทำให้​คน​เห็น​และ​ตระหนัก​ใน​คุณค่า​ของ​ หนังสือ​ทดี่​ ี​​คุณค่า​ของ​หนังสือ​จะ​เกิด​ขึ้น​ได้​ก็​ต่อ​เมื่อ​มี​การ​อ่าน​​ และ​มี​ปฏิสัมพันธ์​หลัง​การ​อ่าน​​เรา​อาจ​ต้อง​สร้าง​พื้นที่​ให้​เกิด​ กิจกรรม​ที่​ประเภท​​Reading​​Group​​หรือ​​Book​​Club​​เพราะ​ ทั้งหมด​นจี้​ ะ​ขับ​ให้​คน​เห็น​คุณค่า​ของ​หนังสือ​​เห็น​คุณค่า​ที่​ได้​ จาก​การ​อ่าน​หนังสือ​เล่ม​นั้นๆ​​​ซึ่ง​เป็น​คุณค่า​ที่​มาก​ไป​กว่า​การ​ ให้​ความ​บันเทิง​​สิ่ง​เหล่า​นี้​นับ​เป็น​เรื่อง​ยาก​​เพราะ​คน​ส่วน​ ใหญ่​ได้​ถูก​เบี่ยง​เบน​ไป​กับ​อะไร​ก็​ไม่รู้​​ที่​เรา​ก็​ทำได้​คือ​การ​ทำ​ กิจกรรม​​เข้าไป​ใน​มหาวิทยาลัย​เพื่อ​แนะนำ​นักศึกษา​ให้​อ่าน​ หนังสือ​​ช่วย​กัน​รีวิว​หนังสือด​ ีๆ​​ใน​หน้า​นิตยสาร​​ผม​เชื่อ​ว่า​เมื่อ​ คน​ได้​เริ่มอ​ ่าน​หนังสือ​ดีๆ​​เขา​ก็​จะ​เสพ​ติด​ใน​การ​อ่าน​หนังสือ​ ใน​ที่สุด​​ ​ ​Write​​:​​เคย​คิด​ไหม​ว่า​เรา​จะ​สามารถ​ปฏิวัตใิ​ น​การ​อ่าน​​

หรือก​ าร​ทำ​หนังสือ​ ​ชัย​พร​:​​​(​ผงะ​เล็ก​น้อย​)​​โอ​โฮ​​มัน​เป็น​คำ​ที่​ใหญ่​มาก​เลย​นะ​ ​ ​Write​​:​​เข้าใจ​ว่า​มันใ​ หญ่​​(ห​ ัวเราะ​)​ ​ปิยะ​วิทย์​:​​​คือ​อย่าง​นี้​นะ​ครับ​​เวลา​เรา​เดิน​เข้า​ร้าน​หนังสือ​​ แล้ว​เรา​เห็น​ชั้น​หนังสือ​ของ​สำนัก​พิมพ์​ฝรั่ง​อย่าง​เช่น​​เพนกวิน​​ นิวยอร์ค​​รีวิว​​ออฟ​​บุ๊ค​​แรน​ดอม​​เฮา​ส์​​และ​อื่นๆ​​ที่​ผลิต​ หนังสือ​ใน​เชิง​ซีเรียส​​หรือ​วรรณกรรม​คลาสสิค​​เรา​รู้สึก​ยังไง​​​ คำถาม​ที่​ว่า​เรา​จะ​ปฏิวัติ​หรือ​เปลี่ยน​อะไร​ได้​มั้ย​​ซึ่ง​เป็น​คำ​ ใหญ่​อย่าง​ที่​ชัย​พร​บอก​นั้น​​การ​เปลี่ยนแปลง​มัน​จะ​สามารถ​ เปลี่ยน​ได้​หรือ​เปล่า​​ผม​ไม่​คิด​ว่า​เรา​จะ​ต้อง​ทำให้​คน​ทั้ง​สังคม​ มา​อ่าน​อะไร​อย่าง​นี้​​แต่​ผม​คิด​ว่า​สิ่ง​ที่​เรา​ทำได้​ก็​คือ​การ​เปลี่ยน​ ชั้น​หนังสือ​ภาษา​ไทย​ที่​เป็น​อยู่​ใน​ปัจจุบัน​​เปลี่ยน​ด้วย​การ​ทำ​ หนังสือ​ให้​ดี​​ให้​สวยงาม​​มี​เนื้อหา​ที่​คู่ควร​ที่​จะ​วาง​อยู่​ใน​ร้าน​ หนังสือ​​และ​อื่นๆ​​อีก​มากมาย​​ด้วย​วิธี​การ​ที่​เรา​จัดการ​กับ​ ตัว​เรา​เอง​ได้​แล้ว​นั้น​​สิ่ง​ต่อ​มา​คือ​ร้าน​หนังสือ​ต้อง​รับ​ไม้​ต่อ​ และ​จัดการ​เอา​ไป​วาง​ให้​ผู้​อ่าน​ได้​รับ​รู้​​ใน​ระดับ​นี้​ผม​เชื่อ​ว่า​ เรา​สามารถ​เปลี่ยนแปลง​ได้​​ไม่​มาก​ก็​น้อย​​แต่​นั่น​ต้อง​อยู่​บน​ เงื่อนไข​ที่​ว่า​ร้าน​หนังสือ​ต้อง​ไม่​คิด​เพียง​แค่​ทำ​ธุรกิจ​อย่าง​เดียว​​ ต้อง​คิดถึง​เรื่อง​นามธรรม​​อย่าง​เช่น​​การ​สร้าง​วัฒนธรรม​การ​ อ่าน​ของ​คนใน​สังคม​ด้วย​ ​ ​Write​:​​​สำนัก​พิมพ์​สมมติ​นอกจาก​จะ​มี​งาน​แปล​แล้ว​จะ​ พิมพ์​อะไร​บ้าง​ใน​อนาคต​ ​ชัย​พร​​:​​มี​งาน​ปรัชญา​​คือ​ชุด​แนะนำ​นัก​คิด​นัก​ปรัชญา​สมัย​ ใหม่​​มี​ต้นฉบับ​อยู่​บ้าง​แล้ว​แต่​ยัง​ไม่​ได้​พิมพ์​​แล้ว​ก็​มี​งาน​ความ​ เรียง​ของ​นัก​ปรัชญา​​เช่น​​แมก​ซ์​​เว็บ​เบอร์​​(​Max​​Webber​)​ ​ปิยะ​วิทย์​​:​​อธิบาย​อย่าง​นี้​ดี​กว่า​ครับ​​เรา​จะ​พิมพ์​งาน​เป็น​ ชุด​​ไม่​พิมพ์​งาน​เฉพาะ​หน้า​​หรือ​พิมพ์​งาน​เล่ม​เดี่ยวๆ​​ด้วย​ เหตุผล​หนึ่ง​ก็​เพื่อ​เพิ่ม​พื้นที่​หนังสือ​ของ​เรา​เอง​ใน​ร้าน​หนังสือ​​ วรรณกรรม​ใน​วงเล็บ​​ที่​เป็น​เรื่อง​สั้น​แปล​ปก​สี​ขาว​​ก็​จะ​ถูก​จัด​ พิมพ์​ออก​มา​อีก​เรื่อยๆ​​เป็น​ชุดๆ​​ไป​​ส่วน​ใน​ชุด​วรรณกรรม​ โลก​สมมติ​​ซึ่ง​มี​​1984​​และ​ยูโทเปีย​​เป็น​สอง​เล่ม​แรก​​ก็​จะ​มี​​ Republic​​ของ​เพล​โต​​ตาม​ออก​มา​ใน​อนาคต​​ชุด​ความ​คิด​ใน​ อัญประกาศ​​ก็​จะ​เริ่ม​ด้วย​ความ​เรียง​ของ​แมก​ซ์​​เว็บ​เบอร์​​สอง​ เล่ม​​ต่อ​ไป​ก็​จะ​มี​งาน​ของ​​เฮ​นรี่​​เดวิด​​เธอ​โร่​​​และ​ราล์ฟ​​วัล​โด​​ อี​เม​อร์​สัน​ตาม​ออก​มา​​ใน​หมวด​ศิลปะ​ก็​จะ​มี​งาน​ชุด​ภาพถ่าย​​ ว่า​ด้วย​ประวัติศาสตร์​ภาพถ่าย​​สุนทรียศาสตร์​ของ​ภาพถ่าย​​ คร่าวๆ​​ก็​ประมาณ​นี้​ครับ​​​ WRITE E-MAGAZINE 23


“แต่ละ​เล่ม​จะ​มี​ประเด็น​เป็น​ของ​ตัว​เ

​Write​​:​​ทั้งหมด​นอี้​ ยู่​ใน​แผน​งาน​กปี่​ ี​ ​ปิยะ​วิทย์​​:​​ประมาณ​​3​​ปี​​นอกจาก​นี้​ยัง​มี​งาน​อีก​ชุด​หนึ่ง​คือ​​ “​วาระ​สมมติ​”​​ซึ่ง​เป็น​หนังสือ​รวม​บทความ​​(​Antology​)​​ซึ่ง​น่า​ จะ​มี​ประโยชน์​กับ​คน​อ่าน​​และ​คนใน​วงการ​วรรณกรรม​​ใน​ชุด​ แรก​จะ​มี​สี่​เล่ม​​เรา​จะ​คัด​เลือก​บทความ​ประมาณ​สิบ​ชิ้น​​เป็น​ บทความ​แปล​​แต่ละ​เล่ม​จะ​มี​ประเด็น​เป็น​ของ​ตัว​เอง​​อย่าง​ เล่ม​แรก​ว่า​ด้วย​ผู้​ประพันธ์​​เล่ม​ที่​สอง​ว่า​ด้วย​การ​วิจารณ์​​เล่ม​ สาม​ว่า​ด้วย​มุม​มอง​และ​แนวคิด​สมัย​ใหม่​ที่​มี​ต่อ​วรรณกรรม​​ เล่ม​สี่​ว่า​ด้วย​การ​ประพันธ์​​แรง​บันดาล​ใจ​ใน​การ​ประพันธ์​​เมื่อ​ จบ​ชุด​นี้​ไป​แล้ว​​เรา​ก็​อาจ​ทำ​ประเด็น​อื่นๆ​​ต่อ​ไป​อีก​​เช่น​​ชุด​ เกี่ยว​กับ​ความ​คิด​ทางการ​เมือง​​ระบบ​การ​ปกครอง​​หรือ​ชุด​ ความ​คิดท​ ี่​เกี่ยวข้อง​กับ​สื่อ​ทาง​เลือก​​เป็นต้น​​ ​ ​Write​​:​​แล้ว​ที่​จะ​ออก​ใน​เร็ว​​ๆ​​นี้​ ​ปิยะ​วิทย์​​:​​ที่​จะ​ออก​ใน​เร็วๆ​​นี้​​มี​ชุด​วรรณกรรม​ใน​วงเล็บ​​สอง​ 24  WRITE E-MAGAZINE

เล่ม​​คือ​​มาริ​โอ​กับ​นัก​มายากล​​:​​โศกนาฏกรรม​ของ​การ​พัก​ ร้อน​​เขียน​โดย​โธมัส​​มัน​น์​​และ​​ไวน์​ส​เบิร์ก​​โอไฮโอ​​:​​เรื่อง​เล่า​ ชาว​วิกล​​เขียน​โดย​เชอ​ร์วูด​​แอนเด​อร์​สัน​​​นอกจาก​นี้​ก็​มี​งาน​ เขียน​ของ​อาจารย์​ธเนศ​​วงศ์​ยานนาวา​​อีก​สอง​เล่ม​​คือ​​1968​​ เชิงอรรถ​การ​ปฏิวัติ​​และ​​ความ​ไม่​หลาก​หลาย​ของ​ความ​หลาก​ หลาย​ทาง​วัฒนธรรม​​และ​ปิด​ท้าย​ด้วย​วารสาร​หนังสือ​ใต้ดิน​​ ฉบับ​ที่​​15​​​ ​ ​Write​:​​​ไม่มี​อะไร​คง​อยู่​ตลอด​ไป​ไ​ ม่​ว่า​สิ่ง​อมตะ​ที่สุด​ถ​ ้า​ คิด​ว่า​วัน​หนึ่ง​ต้อง​เลิก​ทำ​สำนัก​พิมพ์​จะ​เป็นว​ ัน​ไหน​ ​ปิยะ​วิทย์​​:​​การ​ที่​สำนัก​พิมพ์​จะ​อยู่​ได้​ต้อง​ประกอบ​ด้วย​องค์​ ประกอบ​อย่าง​น้อย​สอง​ส่วน​​คือ​​หนึ่ง​​ต้อง​ไม่​ฝืน​ใน​ทางการ​ เงิน​​และ​สอง​​ต้อง​ไม่​ฝืน​ใน​ความ​รู้สึก​​หากว่า​ใน​อนาคต​เรา​ ประสบ​ปัญหา​ทางการ​เงิน​​หรือ​เกิด​อุบัติเหตุ​อย่าง​ใด​อย่าง​หนึ่ง​ กับ​สำนัก​พิมพ์​​แต่​ความ​รู้สึก​มัน​ยัง​ได้​อยู่​​ก็​อาจ​ต้อง​คุย​กัน​ว่า​


​เอง​”

“ต้อง​ไม่​ฝืน​ใน​ทางการ​เงิน.​..ต้อง​ไม่​ฝืน​ใน​ความ​รู้สึก” จะ​ไป​ต่อ​กัน​แบบ​ไหน​อย่างไร​​แต่​ถ้า​ความ​รู้สึก​หมด​​แม้​เงิน​จะ​ ไม่​หมด​​ก็​คง​ไม่​ทำ​ต่อ​​ซึ่ง​เหตุการณ์​อย่าง​หลัง​ไม่​น่า​จะ​เป็น​ไป​ ได้​​(​หัวเราะ​)​​แต่​ใน​ความ​เป็น​จริง​สำหรับ​ผม​นั้น​​ยัง​ไง​ก็​แล้ว​ แต่​​สำนัก​พิมพ์​สมมติ​ก็​ต้อง​เดิน​หน้า​ต่อ​ไป​​ไม่​ว่า​ใน​อนาคต​ จะ​มี​การ​เปลี่ยนแปลง​อย่างไร​​เช่น​​จำนวน​คน​​จำนวน​เงิน​​รูป​ แบบ​ของ​ชุด​งาน​ต่างๆ​​แต่​ทั้งหมด​นั้น​มัน​อยู่​บน​เงื่อนไข​เดียว​ ก็​คือ​ทำให้​เรา​สามารถ​ผลิต​งาน​ที่​ดี​ออก​มา​ได้​​และ​ยัง​คง​อยู่​ บน​เป้าประสงค์​แรก​ของ​การ​ทำงาน​สำนัก​พิมพ์​​ไม่มี​อะไร​อื่น​ นอกจาก​นี้​​​g

WRITE E-MAGAZINE 25


ความ​เลิศ​ลอย ​อั น จอม​ป ลอม​ข อง​ม นุ ษ ย์ ​ผู้ ​ห ลงใหล​ จุดทศนิยม​และ​สบู่​ลัก​ซ์​หมายเลข​แปด​

text: ชาติวุฒิ บุณยรักษ์

มิตทิ​ ี่​หนึ่ง​ ​[​มัน​จะ​เป็ น​พื้นที่ ​แสดง​งาน​ศิลปะ​ ​ซึ่ง​สเกล​ทาง​ พื้นผ​ ิว​วัด​ความ​กว้าง​ได้​​ ​ประมาณ​สี่​หน้า​กระดาษA4วาง​ต่อ​กัน​ใน​แนว​ตั้ง​​ ความ​ยาว​ยังค​ ิด​ไม่​ออก​​ แ​ ต่ไ​ ม่ม​ าก​ไป​กว่าก​ ระดาษA4วาง​ตอ่ ก​ นั ใ​ น​แนว​นอน​ สี่​แผ่น]​​ ​ ​เปล่า​.​.​.​ไม่มี​อะไร​หรอก​ ​แค่​บท​กวี​กำลัง​เดิน​ทาง​ มา​ทักทาย​ ​ทำให้​งง​ ​ทำให้​งง​ ​ยากๆ​.​.​.​ซึ่ง​วินาที​นั้น​นะ​ ​เหมือน​กับ​.​.​.​เอ​.​.​.​วินาที​ที่​ใกล้​.​.​.​มัน​เฉียด​กับ​ความ​นิพพาน​ หลอนๆ​ ​แ อล​เ อ​ส ดี ​ข อง​ไ อ้ ​ขี้ ย า​ก ลาง​ก รุ ง ​นิ ว ยอร์ ก ​ใ น​ศ ตวรรษ​ที่ ​ ​2 0​. ​. ​. ​ห รื อ ​ค ล้ า ย​กั บ ​วิ น าที ​อั น ​ว่ า ง​โ หวง​ ซึ่ ง ​ห ญิ ง ​ส าว​เ จ้ า ของ​นั ย น์ ต า​โ ศก​กั บ ​ชุ ด ​แ ส็ ​ก ชี ฟ็ ​อ ง​ ขาว​บ ริ สุ ท ธิ์ ​ ​ผู้ ​ยื น ​แ ช่ ​อ ยู่ ​ก ลาง​อ่ า งอาบน้ ำ ​พ ร้ อ ม ​เครื่อง​ปิ้ง​ขนมปัง​ใน​มือ​ที่​เสียบ​ปลั๊ก​เรียบร้อย​แล้ว​.​.​.​วินาที​ ก่ อ น​ห น้ า ที่ ​ห ล่ อ น​จ ะ​ป ล่อย​มือ ​ทิ้ง ​ให้ ​มัน ​จม​น้ำ ​.​.​.​มึง ​.​.​.​ มึง​ใส่​ภาษา​อังกฤษ​เข้าไป​หน่อย​ ​ ให้​แม่​ง​เป็น​ศัพท์​แสง​ ฟังด​ ย​ู ากๆ​เ​ข้าไ​ ว้​ย​ าว​หน่อย​ห​ ลาย​พยางค์ห​ น่อย​เ​อา​แบบ​ ประมาณ​ว่ า ​. ​. ​. ​พ อ​ใ ห้ ​ไ อ้ ​พ วก​โ ง่ ​บ าง​ค น​ที่ ​จ บ​ม า​จ าก ​ลัน​ดั้น​พยัก​หน้า​หงึกๆ​ ​เก๊ก​ว่า​แม่​ง​เข้าใจ​เสีย​เต็ม​ประดา​​ เพือ่ ใ​ ห้แ​ ม่ง​ ไ​ ด้เ​คลิม้ ล​ อย​กบั ร​ าคา​แห่งค​ วาม​ภาค​ภมู ใ​ิ จ​โง่ๆ​ ที่ ​ไ ด้ ​เ สี ย ​เ วลา​จ่ า ย​ไ ป​แ ล้ ว ​ค่ อ น​ชี วิ ต ​ ​ หรื อ ​จ ะ​ใ ช้ ​ชื่ อ​ แบคที เ รี ย ​? ​. ​. ​. ​ไ ฟ​โ รไม​นั่ น ​เ ดอค​รี ​- ​ส ​เ ต็ ป ​โ ต​ค็ ​อ กคั ซ ​.​. ​.​ 26  WRITE E-MAGAZINE


ข้อมูล​กำลัง​ล้น​ทะลัก​.​.​.​ยังๆ​ ​ยัง​ห่าง​ไกล​จาก​นิพพาน​อีก​ มาก​นัก​ ​เสีย​สละ​โดย​การ​อด​ข้าว​ประท้วง​หน้า​สภา​ ​โธ่​.​.​.​ ถุย​!​ ​รบ​กัน​เข้า​ไปดิ​ไอ้​พวก​ควาย​ ​ไม่​เข้าใจ​กัน​บ้าง​หรือ​ไง​ ว่า​ข้อมูล​มัน​อัด​ไว้​ ​509,486,000,432.85​ ​ล้าน​กิ๊ก​กะ​ไบต์​ ​นาย​แพทย์​อลงกรณ์​ ​ทรัพย์​ลิขิต​ ​กล่าว​กับ​ ​พัน​ตรี​สมคิด​​ นวล​ถิ่น​ ​หนึ่ง​ใน​ทหาร​ที่​ได้​รับ​บาด​เจ็บ​จาก​เหตุการณ์ ​ วาง​ร ะเบิ ด ​ก ลาง​เ มื อ ง​ปั ต ตานี ​เ มื่ อ ​ห ลาย​วั น ​ก่ อ น​ว่ า​ ​มัน​เป็น​ขา​เทียม​รุ่น​ล่าสุด​ที่​มี​น้ำ​หนัก​เบา​และ​สามารถ ​อาบ​น้ำ​ให้​เจ้าของ​ได้​.​.​.​ไม่​ยาก​.​.​.​เอา​ไอ​เดีย​ที่​จดๆ​ ​ไว้​ ทั้งหมด​ยี่สิบ​กว่า​ปี​นั่น​ ​มา​เรียงๆ​ ​ต่อ​กัน​ ​ได้​แล้ว​ ​งง​แล้ว​ .​.​.​พิพิธ​ภัณฑ์​ลูฟ​เคย​ได้ยิน​ไหม​ ​มี​ภาพ​กว่า​ ​310,876​ ​รูป​ ทำไม​ถงึ ใ​ ห้ค​ วาม​สำคัญก​ บั ง​ าน​ศลิ ปะ​นกั .​.​.​ล​ อง​จนิ ตนาการ​ ดู ​สิ ​ว่ า ​ ​จ ะ​ต้ อ ง​โ ง่ ​สั ก ​ข นาด​ไ หน​เ ชี ย ว​ ​ถึ ง ​จ ะ​ส ร้ า ง​ส่ ว น​ เชื่อม​โยง​ไม่​ได้​ว่าการ​แบก​ปืน​อัตโนมัต​ิออก​มา​ไล่​ฆ่า​เพื่อน​ (​ใ น​ค วาม​ห มาย​ที่ ​ไ ม่ ​เ คร่ ง ครั ด ​นั ก ​) ​ข อง​นั ก ศึ ก ษา​ห นุ่ ม ​ชาว​เกาหลี​ ​แม่​ง​สัมพันธ์​กับ​ดัชนี​การ​เติบโต​ของ​ตลาด​ผู้​ เล่น​เกม​​Counter​​Strike​​ทั่ว​โลก​อย่าง​มี​นัย​สำคัญถ​ ึง​สำคัญ​ มาก​ที่สุด​.​.​.​เขา​เป็น​คน​ที่​ไร้​ความ​ฝัน​ ​ก็​คง​คล้าย​ลุง​แก่ๆ​ ​ใส่​แว่น​ดำ​ใน​ชุด​ทัก​ซิ​โด้​ขาว​พาด​ไม้​เท้า​คน​นั้น​ ​หลวง​พ่อ​ กล่าว​ ​ณ​ ​ความ​สูง​ ​72,800​ ​ฟุต​เหนือ​ระดับ​น้ำ​ทะเล​ว่า​​ หาก​เรา​ยิ่ง​ทำ​พิธี​ปลุก​เสก​ ​กด​ปั๊ม​แม่​พิมพ์​ที่​ความ​สูง​เฉียด​ สวรรค์​ได้​มาก​เท่า​ไหร่​ ​จตุ​คาม​ราม​เทพ​รุ่น​ ​‘​กู​ให้​ควาย​’​ ก็​จะ​ยิ่ง​ศักดิ์สิทธิ์​มาก​ขึ้น​เท่านั้น​ ​ ซี​ไอ​เอ​ปลูก​ฝิ่น​ ​ราย​ได้​ หลักข​ อง​รฐั บาล​สหรัฐอเมริกา​มา​จาก​การ​คา้ อ​ าวุธส​ งคราม​ ​คุ ณ ​ก็ ​รู้ ​ ​ข าว​อ ย่ า ง​มี ​สุ ข ภาพ​ดี ​มั น ​ต้ อ ง​ข าว​จ าก​ข้ า ง​ใ น​ ​เฉือน​หนัง​กำพร้า​ออก​มา​นี่​ยัง​ขาว​เลย​.​.​.​“​ดู​สิ​ครับ​!​”​ ​ ​มิติ​ที่​สอง​ ​[​หลัง​จาก​ทำการ​ ​Installation​ ​เสร็จ​เรียบร้อย​แล้ว​​ ควร​จัดหา​เชือก​สี​แดง​เลือด​นก​​ แ​ บบ​สวยๆ​ส​ กั เ​ส้นม​ า​ทำ​ทก​ี่ นั้ ​เ​พือ่ ก​ ำหนด​ระยะ​หา่ ง​ ระหว่าง​ผู้​เข้า​ชม​กับ​ตัว​ชิ้น​งาน​​ ​แต่​อย่า​ให้​ห่าง​จน​เกิน​ไป​ ​เอา​ให้​พอ​อ่าน​เห็น​ได้​ สบาย​ตา​ ​ไฟ​แบ็​คด​ร็อป​คง​ไม่​ต้อง​ให้​บอก​ใช่​ไหม​ ​แนะนำ​ ว่า​ควร​มี​ ​Ashtray​ ​วาง​ไว้​ด้าน​ข้าง​ด้วย​ ​เพราะ​หลาย​คน ​จะ​ใช้​เวลา​เสพ​งาน​ชิ้นน​ ี้​นาน​มาก​]​ ​ ​“​ตะโกน​บอก​โลก​สิ​ครับ​ว่า​คุณ​มา​แล้ว​.​.​.​กู​มา​แล้ว​ โว้ย​!”​ ​ไม่ใช่​มัว​แต่​หัน​ไป​มอง​ข้างๆ​ ​แล้ว​ก็​ตามๆ​ ​กัน​ไป​ WRITE E-MAGAZINE 27


ส​ ิบ​เมตร​ที่​แล้ว​ก็​เป็ด​พะโล้​ ​นี่​ก็​เป็ดพ ​ ะโล้​​และ​อีก​สิบเ​มตร​ ข้าง​หน้า​ก็​คงจะ​เป็ด​พะโล้​ ​สรุป​แล้ว​ตลอด​สอ​งกิโลฯ​นี้​ มี ​แ ต่ ​เ ป็ ด ​พ ะโล้ ​! ​. ​. ​. ​แ ละ​ทั้ ง หมด​นั่ น ​คื อ ​ตั ว แทน​แ ห่ ง​ ความ​หลาก​หลาย​หลอก​หลอน​ ​เป็น​หลุม​ลวง​อัน​แสน​จะ​ แยบยล​ของ​ศตวรรษ​ที่​ ​21​.​.​.​จำนวนเต็ม​เห​รอ​จำนวนเต็ม​ .​.​.​ท่อง​ตำรา​เข้าไป​ครับ​ ​เพื่อ​ที่​วัน​ข้าง​หน้า​คุณ​ก็​จะ​กลาย​ เป็น​หนึ่ง​ใน​ฝูง​หมา​ล่า​เนื้อ​ ​ที่​เดิน​ตาม​ตูด​พราน​คาบ​ไปป์​ ใน​ชุด​ลาย​สก็อต​ ​เฝ้า​ฟัง​เสียง​ปืน​คำราม​ ​ก่อน​จิก​เท้า​แล้ว​ ตะกุย​สุด​แรง​เกิด​!​.​.​.​รีบ​โน้ม​น้าว​-​รีบ​ปิด​การ​ขาย​-​ต้นทุน​ต่ำ​ กำไร​สูง​.​.​.​แข่ง​กัน​ว่า​ใคร​จะ​ไป​ถึง​นก​โชค​ร้าย​ตัว​นั้น​ก่อน​ ​คาบ​ซาก​ไร้​วิญญาณ​นั้น​กลับ​มา​เพื่อ​แลก​กับ​เศษ​บิสกิต​ ชิ้น​เล็กๆ​.​.​.​ชื่อ​ทาง​วิทยาศาสตร์​ของ​ต้น​ไม้​แปลกๆ​ ​ก็ได้​วะ​ .​.​.​เคย​เห็น​ผู้​หญิง​แก่ๆ​ ​คราว​ย่าทวด​ของ​ตระ​กู​ลบู​เอน​ดิ​ยา​​ เก็บ​เงิน​ตรง​ที่​ว่าง​ระหว่าง​ยกทรง​กับ​เนิน​ถัน​ ​ หรือ​เหน็บ​ ไว้​กลาง​ร่อง​นม​ไหม​ล่ะ​.​.​.​ไม่ๆ​ ​ไม่​ล่ะ​.​.​.​หาก​มึง​ยัง​ไม่​เข้าใจ​ ถึง​ความ​หมาย​ของ​หญิง​แก่​ ​ที่​นั่ง​โบกมือ​ให้​กู​จาก​ริม​สระ​ น้ำ​นั่น​น่ะ​ ​อย่า​หวัง​ไป​เลย​.​.​.​ข้อมูล​กำลัง​ล้น​ทะ​ลักๆ​.​.​.​แล้ว​ แม่ ​ง ก็ ​เ ปลี่ ย น​ถั ง ​ข ยะ​เ ป็ น ​แ บบ​ใ ส​ ​แ ล้ ว ​แ ม่ ​ง ก็ ​รื้ อ​ ตู้​โทรศัพท์​ทิ้ง​ ​ หมา​ก็​มี​สี่​เหล่า​ ​คน​ก็​มี​สี่​เหล่า​ ​คางคก​ก็​ น่า​จะ​มี​สี่​เหล่า​ ​ลี​โอ​นา​โด​ ​ดาร์​วิน​ชี่​เป็น​เกย์​แล้ว​หนัก​หัว​ พ่อ​มึง​ไหม​!​ ​ สัจธรรม​ยุค​ดิจิตอล​ ​ มัน​เป็น​เรื่อง​ของ​ตัว​ ละคร​ซึ่ง​เป็น​ชาย​หนุ่ม​สรรพากร​ไร้​ความ​ฝัน​ ​ไม่​ปรารถนา​ อะไร​มากมาย​หรอก​ค​ ล้ายๆ​ส​ บิ ล​ อ้ ต​ าก​แดด​ตากลม​เพราะ ​นม​สอง​เต้า​นั่น​แหละ​ ​ ยัป​ปี้​กลาง​คน​จาก​ครอบครัว​อัน​ ล่ ม ​ส ลาย​ผู้ ​ซ่ อ น​ตั ว ​อ ยู่ ​ห ลั ง ​ป้ า ย​แ บ​ร นด์ เ นม​ชื่ อ ​ดั ง ​. ​. ​. 28  WRITE E-MAGAZINE

​Pay​ ​Check​ ​สิ​มึง​!​ ​ถึง​เวลา​ทวง​หนี้​ชำระ​แค้น​แล้ว​ ​ก็​ที​ ตอน​กอบโกย​ไม่​เห็น​พวก​มึง​นึกถึง​จรรยา​บรรณ​กัน​เลย​นี่​ ไอ้โ​ ปรแกรมเมอร์ก​ เ​็ อา​มนั ส์เ​ข้าว​ า่ ​​ยิงก​ นั เ​ข้าไ​ ปดิ​​ให้เ​ลือด​ แม่​ง​สาด​เต็ม​จอ​ ​นั่น​พวก​มึง​ได้​ปลูก​หน่อ​อ่อนข​อง​อะไร​ ไว้​ล่ะ​!​..​​.​เหมา​จ่าย​สิ​​ใช้บ​ ุฟเฟ่ต์​สิ​ ​เดี๋ยว​นี้​อะไรๆ​​ก็​บุฟเฟ่ต์​ กัน​ทั้ง​นั้น​ ​ใส่​บาตร​บุฟเฟ่ต์​เลย​ดีมั้​ย​หรือ​จะ​สวิง​กิ้​งกัน​ดี​ ล่ะ​เรา​.​.​.​บ้า​กัน​ไป​หมด​แล้ว​หรือ​ไง​เนี่ย​ ​แล้ว​จะ​ใส่​โม​เสค​ ทำไม​ ​ท ายา​ห ม่ อ ง​ท ำไม​ ​เ ด็ ก ๆ​ ​มั น ​ไ ม่ ​ไ ด้ ​เ หี้ ย ​เ พราะ​ ไอ้​โลก​สม​มิติ​ ​24​ ​เฟรม​ตรง​หน้า​นี่​หรอก​ ​เวลา​แค่​นี้​มัน​จะ​ ไป​พอ​ปลูก​ฝัง​ ​จะ​กระตุ้น​อะไร​ได้​นักหนา​.​.​.​ข้อมูล​กำลัง ​ล้น​ทะ​ลักๆ​ๆ​.​.​.​ที่​พวก​มึง​.​.​.​เอ่อ​.​.​.​พวก​เรา​ทิ้งๆ​ ​ขว้างๆ​​ เขา​ไว้​นั่น​ต่าง​หาก​.​.​.​ไม่​เข้าใจ​ใช่​ไหม​ ​นั่น​ล่ะ​มึง​ ​โง่​เลย​​ ตื้น​เขิน​เลย​ ​ยัง​มา​ถาม​อีก​.​.​.​นี่​มัน​งาน​แอ็บส​แตร็​ค​เว้ย​!​ .​.​.​ทุก​อย่าง​มัน​กระจัดกระจาย​ไป​หมด​ ​โลก​มัน​หมุน​เร็ว​ เกิน​ไป​ ​Globalization​ ​ส้นตีน​อะไร​นั่น​กำลัง​หั่น​ ​Identity​​ ของ​เรา​เป็น​ชิ้น​เล็ก​ชิ้น​น้อย​.​.​.​คุณ​สงสาร​เขา​เถอะ​ ​ก็​ถ้า​ กางเกง​ใน​ยี่ห้อ​ ​Lacoste​ ​มัน​ทำให้​เขา​ไม่​กลาย​เป็น​ฆาตกร​ ต่อเ​นือ่ ง​กเ​็ อา​เถอะ​นะ​​ใช่ส​ .​ิ .​.​ศ​ รัทธา​ของ​ทา่ น​กเ​็ ป็นศ​ รัทธา​ ของ​ท่าน​ ​ศรัทธา​ของ​เรา​ก็​เป็น​ศรัทธา​ของ​เรา​ ​เฮ้ย​มึง ​ไม่​เห็น​บ้าง​หรือ​ไง​ ​ เด็ก​น้อย​ยอม​นอน​ถ่าง​ขา​ ​แม่​ง​จะ​หัด​ เป็น​กะหรี่​แล้ว​.​.​.​คุณ​กำลัง​อยู่​ใน​โลก​ของ​แม​ทริกซ์​ ​ผม​ก็​ อยู่​ใน​โลก​ของ​แม​ทริกซ์​ ​เรา​กำลัง​อยู่​ใน​โลก​แม​ทริกซ์​ ​โทร​ หา​ผม​ที่​เบอร์​ ​086​-​ห้า​สิบ​สามสิบ​-​321​,​ ​หาก​ไม่​ติด​ก็​ ​08​-​ 7477​-​5065​ ​ทำไม​นับ​งั้น​ล่ะ​ ​มัน​เป็น​เรื่อง​ที่​เจ​เนอ​เรชั่น​​X​​ อย่าง​คุณไ​ ม่​เข้าใจ​หรอก​ ​ ของ​ฟรี​ไม่​เคย​มี​ของดี​ไม่​เคย​ถูก​


สิ บ ​น า ที ​ต่ อ ​ห นึ่ ง ​รู ป ​​ชั่ ว โ ม ง ​ห นึ่ ง​ ดู ไ ด้ ห กรู ป 6x6​​= ​​3 6​ ​รู ป ​( ​ต่ อ ​ห นึ่ ง ​วั น ​)​ เดือน​หนึ่งด​ ู​ได้​​1,080​​รูป​​ปี​ละ​​12,960​​รูป​​สิบ​ปี​ ​129,600​​รูป​​นั่น​หมายความ​ว่า​คุณ​ต้อง​ใช้​เวลา​กว่า​ สาม​ปี​จึง​จะ​ดู​รูป​ทั้งหมด​ได้​ทั่ว​ถึง

.​.​.ค​ ิด​คร่าวๆ​ ​เข้า​ชม​วัน​ละ​ ​6​ ​ชั่วโมง​ ​(​นั่น​กแ็​ ทบ​อ้วก​แล้ว​-​ แม่​ง​จะ​ฉลาด​อะไร​กัน​นัก​กัน​หนา​)​ ​สิบ​นาที​ต่อ​หนึ่ง​รูป​​ ชั่ ว โมง​ห นึ่ ง ​ดู ​ไ ด้ ​ห ก​รู ป ​ ​6 x6​ ​= ​ ​3 6​ ​รู ป ​ ​( ​ต่ อ ​ห นึ่ ง ​วั น ​)​ เดื อ น​ห นึ่ ง ​ดู ​ไ ด้ ​ ​1 ,080​ ​รู ป ​ ​ปี ​ล ะ​ ​1 2,960​ ​รู ป ​ ​สิ บ ​ปี ​ ​129,600​ ​รูป​ ​นั่น​หมายความ​ว่า​คุณ​ต้อง​ใช้​เวลา​กว่า​สาม​ ปี​จึง​จะ​ดู​รูป​ทั้งหมด​ได้​ทั่ว​ถึง​.​.​.​ขี้​เถ้า​ฟุ้ง​ขึ้น​ตาม​รอย​ยาง​ที่​ แล่นผ​ า่ น​​กลาย​เป็นม​ า่ น​ขนุ่ ผ​ นื บ​ าง​ทค​ี่ อ่ ยๆ​โ​ รย​ตวั ล​ ง​อย่าง​ อ้อย​ยิ่ง​ ​แสง​สุดท้าย​ของ​วัน​ช่วย​ขับ​ให้​มัน​ดู​เหนือ​จริง​มาก​ ยิ่ง​ขึ้น​ ​งดงาม​ยิ่ง​นัก​ ​งด​งาม​พอๆ​ ​กับ​ไอ้​ยาหยี​.​.​.​ไอ้​ยาหยี​ เป็น​สิ่ง​มชี​ ีวิต​ทนี่​ ่า​อิจฉา​ที่สุด​ใน​โลก​ ​หยิบ​กิ่ง​ไม้​เข​วี้​ยง​ไป​สิ​​ เดี๋ยว​ยาหยี​จะ​จัด​ให้​.​.​.​ ​ ​มิติ​ที่​สาม​ ​ ​[ ​มี ​เ ก้ า ​อี้ ​เ ล็ ก ๆ​ ​ใ ห้ ​พั ก ​ส ายตา​บ้ า ง​ก็ ​ไ ม่ ​เ ลว​น ะ​​ ใคร​ไม่​ไหว​จริงๆ​​ ​ก็​ริ​นว็​อด​ก้า​ให้​สัก​ช็อต​​แต่​อย่า​ให้​เกิน​นั้น​นะ​]​ ​ ​โ อเค​. ​. ​. ​ป ระมาณ​นั้ น ​แ หละ​ ​ไ ม่ ​สิ ​. ​. ​. ​ถ อยๆ​ ​อ อก​ม า​อี ก ​ห น่ อ ย​ ​ข วา​ขึ้ น ​นิ ด ​ ​อี ก ​นิ ด ​. ​. ​. ​น่ า น​แ หละ​ แ​ ม่ง​ เ​ริม่ ด​ ง​ู งๆ​แ​ ล้ว.​.​.​ฮ​ ะ​..​.​อ​ ะไร​นะ​!​อ​ ดึ อัดไ​ หม​ละ่ ​เ​ริม่ อ​ ดึ อัด​ กัน​แล้ว​ดิ​พวก​มึง​ ​ มัน​จะ​อดอยาก​อะไร​กัน​นัก​กัน​หนา​ เ​ชือ่ ไ​ หม​ละ่ ว​ า่ ​ ข​ ณะ​ทเ​ี่ รา​กำลังท​ ำ​สน้ ตีนไ​ ร้ส​ าระ​อยูแ​่ ค่ไ​ ม่ก​ ​ี่ นาทีน​ ี่​​เด็ก​เปรตๆ​​อีก​ซีก​โลก​นึง​​กำลังจ​ ะ​ตายห่า​ลง​เพราะ​ ความ​หิวโหย​!​ ​รู้​บ้าง​ไหม​เนี่ย​ ​ ตัด​ไม้​กันเ​ข้าไป​ ​ที่​นั่น​เขา​ ต้อง​รอง​เยี่ยว​วัว​ไว้​ใช้​อาบ​น้ำ​กัน​แล้ว​ ​นัก​วิจัย​บอก​ว่า​หาก​

ยัง​คง​ถลุง​กัน​อยู่​อย่าง​นี้​ ​ ภายใน​ระยะ​เวลา​ไม่​กี่​ปี​ ​น้ำ​จะ​ ท่วม​พ้น​ราว​นม​ของ​​ไมเคิล​​จอร์แดน​​แน่ๆ.​​..​​ไม่​ตลก​เห​รอ​​ ก็ ​ธ าร​น้ ำ ​แ ข็ ง ​ที่ ​ขั้ ว ​โ ลก​มั น ​ล ะลาย​แ ผ่ น ​แ ล้ ว ​แ ผ่ น ​เ ล่ า​ หมี​ ​Polar​ ​Bear​ ​จึง​ต้อง​จม​น้ำตาย​เพราะ​ว่าย​ไกล​กว่า​ หก​สบิ ไ​ มล์​ เ​ปล่าๆ​..​.​ไ​ ม่ใช่ก​ าร​ทดลอง​ต​ วั ม​ นั เ​อง​นนั่ แ​ หละ​ คือ​การ​ทดลอง​.​.​.​ข้อมูล​กำลัง​ล้น​ทะลัก​.​.​.​แล้ว​ไอ้​ที่​สั่งสม ​กัน​มา​อย่าง​กับ​คน​เป็น​บ้า​เป็น​หลัง​นั่น​มัน​อะไร​กัน​ล่ะ​.​.​. ​ใ น​โ ลก​นี้ ​ข อง​ฟ รี ​มั น ​ไ ม่ ​เ คย​มี ​ข องดี ​ไ ม่ ​เ คย​ถู ก ​ฉั น ใด​ การ​จะ​คาด​หวัง​ให้​นางสาว​สุ​วรรณี​ ​เมฆ​พิทักษ์​ ​ไม่​เสีย​ตัว​ ใน​วั น ​ว าเลนไทน์ ​ก่ อ น​อ ายุ ​ค รบ​ยี่ สิ บ ​ปี บ ​ริ ​บู ร ณ์ ​ ​ค งจะ​ เป็น​เรื่อง​ปัญญาอ่อน​ฉัน​นั้น​ ​โลก​มัน​เปลี่ยน​ไป​แล้ว​เว้ย​!​ ปรับ​ตัว​สิ​วะ​.​.​.​ปรับ​ตัว​!​ ​กว่า​พุทธิ​ปัญญา​จะ​ก่อ​เกิด​ก็​เมื่​อ อา​ยุ​ปา​เข้าไป​ร่วม​สี่​สิบ​ ​ทั้ง​ที่​มัน​เป็น​เพียง​แค่​สิบ​วินาที​ ทีไ​่ ด้ฟ ​ งั เ​นือ้ หา​ของ​เพลง​จาก​วง​พงั ก​ ร์ อ​็ ก​ซงึ่ แ​ ต่งเ​อา​ไว้ต​ งั้ แต่​ ปีมะโว้​.​.​.​ขี้​ไม่​ออก​บอก​ไม่​ถูก​เมีย​ไม่​รัก​ผัว​ไม่​หลง​ ​หรือ​จะ​ ผลาญ​สมบัติ​โคตร​พ่อ​มึง​ไม่รู้​ยัง​ไง​ดี​ล่ะ​ก็​ ​โทร​ ​1900​-​1900​ -​878​ ​เข้า​ไว้​ ​แล้ว​ผม​จะ​ชี้​ทาง​ให้​เอง​นะ​ครับ​.​.​.​ฟัน​ธง​!​!​!​ เชื่ อ ​ไ หม​ล่ ะ ​ว่ า ​ ​H arold​ ​C reek​ ​นั บ ​จ ำนวน​ค รั้ ง ​ข อง​ การ​แปรง​ฟัน​​แปรง​ฟัน​หน้า​-แ​ นว​นอน​​38​​ครั้ง​​แนว​ตั้ง​อีก​ 38​ ​ครั้ง​ ​รวม​ ​76​ ​ครั้ง​ ​ใน​ตอน​เช้า​ ​เวลา​เดิม​เป๊ะ​!​ ​บวก​ลบ​ ไม่​เกิน​สิบ​ห้า​วินาที​ ​ จริง​อยู่​.​.​.​เรื่อง​บาง​เรื่อง​ไม่รู้​บ้าง​ก็ได้​ ​แต่​เรื่อง​บาง​เรื่อง​คิด​บ้าง​ก็ได้​นะ​ ​ไม่​ปวด​หัว​หรอก​!​ ​ผม​รู้​.​.​.​ พวก​คุณ​กำลัง​รอ​จะ​สำเร็จ​ความ​ใคร่​กัน​ตอน​นั้น​ใช่​ไหม​ล่ะ​​ แล้วม​ นั จ​ ะ​ฟอ้ ง​อะไร​ละ่ ​​มันจ​ ะ​สอื่ ถ​ งึ ห​ า่ เ​หวอะ​ไร​กนั น​ กั หนา​ นั่น​ล่ะ​ ​ไม่​เข้าใจ​เห​รอ​.​.​.​ก็​พวก​มึง​สิ​โง่​ ​ตื้น​เขิน​และ​โง่​เขลา​​ WRITE E-MAGAZINE 29


ไม่มี​ทาง​เข้าใจ​ศิลปะ​ขั้น​สูง​ที่​.​.​.​แม่​ง​ยัด​.​.​.​โคตร​จะ​สูงส่ง​ เทียม​เมฆ​อย่าง​กับ​ขุนเขา​แห่ง​จิต​วิญญาณ​ ​ผม​นึก​ได้​แล้ว​​ หน่วย​วัด​ระยะ​ทาง​ใหม่​.​.​.​ลอง​คิด​ดู​ ​ถ้า​ไม่มี​เกาหลีเหนือ​ อะไร​จะ​เกิด​ขึ้น​ ​“​ที่​รักๆ​.​.​.​กิน​มา​ม่า​กัน​เถอะ​ ​นะ​น้า​าาา​.​.​. ​โ อ๊ ย ​! ​ ​เ จ็ บ ​น ะ​อี ​ต า​บ้ า ​ ​นั่ น ​มั น ​รู ​ตู ด ​! ​” ​ ​เ อา​เ ข้ า ​ต ลาด หลักทรัพย์​ไป​ ​ระดม​ทุน​ซะ​ ​รีบๆ​ ​เข้า​ ​minimum​ ​cost​-​ maximum​p​ rofit​“​ร​ ะเบิดล​ กู ท​ ส​ี่ อง​ซงึ่ เ​จ้าห​ น้าทีเ​่ ก็บก​ ไ​ู้ ว้ไ​ ด้ท​ นั ​ สืบท​ ราบ​วา่ ม​ ล​ี กั ษณะ​คล้ายคลึงก​ บั ท​ ต​ี่ รวจ​พบ​ใน​ตวั ล​ กู ชาย​ ของ​ฯพณฯ​”​.​.​.​ข้อมูล​กำลัง​ล้น​ทะลัก​.​.​.​โลก​ต้องการ​ความ​ รัก​อยู่​เสมอ​ ​แต่​ความ​รัก​ไม่​เคย​มี​พอ​เลย​สัก​ครั้ง​ ​ มัน​มี​ อะไร​ดี​นักหนา​กะ​อี​แค่​จำนวนเต็ม​ ​บ้า​บอ​คอ​แตก​อยู่​แต่​ กับ​เรื่อง​ตัวเลข​นั่น​​นับ​มัน​เข้าไป​สิ​​สถิตนิ​ ่ะ​มัน​บอก​อะไร ​ได้​แค่​บาง​อย่าง​ ​แต่​ไม่ใช่​ทุก​อย่าง​ ​โถ​.​.​.​พ่อ​เจ้า​ประคุณ ​พ่อ​ทูนหัว​ ​ขอ​สัก​ครั้ง​เถอะ​ ​“​ออก​มา​เต้น​ ​ออก​มา​เต้น​ ​เด็ด​ขาด​ลีลา​ไป​เลย​”​ ​เห​มา​จ่าย​ดิ​ ​เดี๋ยว​นี้​เขา​มี​ ​GPRS​​ แบบ​เหมา​จ่าย​แล้ว​ ​24​ ​ชั่วโมง​เล่น​ไป​เลย​ ​ผ่าน​มือ​ถือ ​ก็​ยัง​ได้​ ​Camfrog​ ​นั่น​ไง​!​.​.​.​Live​ ​Fucking​ ​Show​!​ ​สะใจ​ ไหม​ล่ะ​!​ ​ก็​พวก​คุณ​มัน​เติบโต​มา​กับ​วาท​กรรม​ปาหี่​ที่​ว่า​ “​ก้ า ว​เ ล็ ก ๆ​ ​ข อง​ค นๆ​ ​ห นึ่ ง ​แ ต่ ​เ ป็ น ​ก้ า ว​ที่ ​ยิ่ ง ​ใ หญ่ ​ข อง​ มวล​มนุษยชาติ​”​ ​นาย​ดล​สิทธิ์​ ​ทอง​สนธิ​ ​กก​.​ผอ​.​สาย​ การบิน​​๑​-​๒​-g​ o​​กล่าว​ว่า​รู้สึกเ​ป็น​เกียรติ​อย่าง​ยิ่ง​ที่​มี​โอกาส​ ได้เ​ป็นส​ ว่ น​หนึง่ ข​ อง​พธิ กี รรม​อนั ศ​ กั ดิส์ ทิ ธิด​์ งั ก​ ล่าว​ถ​ า้ ห​ าก​ ความ​ฝัน​สูงสุด​ของ​​Harold​​Creek​​คือ​การ​ได้ห​ ัด​เล่นก​ ีตาร์​ ความ​สขุ ส​ ดุ ย​ อด​ของ​ไอ้ย​ าหยี​​ คง​หนีไ​ ม่พ ​ น้ ก​ าร​ทค​ี่ ณ ุ ห​ ยิบ​ ลูกบอล​ยาง​ซึ่ง​ส่ง​เสียง​ดัง​ ​“​ปิ๊ป​”​ ​ออก​จาก​ปาก​ของ​มัน​แล้ว​ เข​วี้​ยง​ไป​สุด​แรง​.​.​.​อย่าง​นั้น​มัน​ก็​เจ๊ง​สิ​ครับ​ ​ไม่​ต้อง​สืบ​ เลย​ค รั บ ​ ​เ จ๊ ง ​แ หงๆ​. ​. ​. ​ป ระเทศ​ด้ อ ย​พั ฒ นา​อ ย่ า ง​เ รา​ กำลั ง ​ต้ อ งการ​ฮี โ ร่ ​ ​จิ น ตนาการ​ดู ​สิ ​ว่ า ​มั น ​จ ะ​ดี ​แ ค่ ​ไ หน​​ ตอน​แม่​ง​เล่น​ลิเก​ตรง​หน้า​สนาม​บิน​ไง​ ​วินาที​ที่​เงย​หน้า​ ขึ้น​มา​จาก​ก้ม​กราบ​นะ​ ​ฝัง​ตะกั่ว​บน​หว่าง​คิ้ว​แม่​ง​สัก​เม็ด​ 30  WRITE E-MAGAZINE

เป็น​อัน​จบ​กัน​ ​เรา​จะ​ได้​กลับ​ไป​เริ่ม​นับ​หนึ่ง​ใหม่​กัน​อีก​ที​.​.​.​ และ​อีก​ที​.​..​​และ​อีก​ที​.​..​​​ ​ ​มิติ​ที่​สี่​​ [​เ​อา​ละ่ .​.​.​ไ​ ด้เ​วลา​สำรอก​แห่งย​ คุ ส​ มัยแ​ ล้ว​เ​ขมือบ​กนั ​ ให้เ​ต็ม​ที่​​สวิง​กิ้​งกัน​ให้​สุด​เหวี่ยง​​ ​แล้ว​เอา​นิ้ว​ชี้​ยัด​ลง​ไป​ให้​ลึก​ที่สุด​ตรง​กลาง​ลำ​คอ​​ จาก​นั้น​ก็​ปล่อย​ให้​เป็น​ไป​ตามพ​ระ​ประสงค์​ของ​พระองค์​ เถิด​ ​จุด​ไฟ​เผา​รูป​เคารพ​จอม​ปลอม​ของ​พวก​เอ็ง​ซะ​.​.​. ​ไอ้​โรคจิต​!​​ไอ้​M ​ asochist​​ผู้​น่า​สมเพช​!]​​ ​ ​สั ต ว์ ​! ​ ​สั ต ว์ ​! ​ ​สั ต ว์ ​! ​ ​จ ะ​บ รรลุ ​กั น ​เ ลย​ไ หม​ล่ ะ​ พวก​มึง​น่ะ!​​ ​ที​ดอกบัว​ยัง​มี​สี่​เหล่าเ​ลย​ ​แล้ว​ทำไม​พระ​จะ​มี​ สี่​เหล่า​บ้าง​ไม่​ได้​ ​ ก็​ยัง​ขี้​เหม็น​อยู่​นี่​นา​ ​ สรุป​อย่าง​มี​นัย​ สำคัญ​แล้ว​ ​กระบวนการ​แสวงหา​ความ​รู้​กว่า​สาม​พันปี​ ระยำ​นี่ ​! ​ ​ ไม่ ​ไ ด้ ​ช่ ว ย​ใ ห้ ​พ วก​เ รา​ฉ ลาด​ขึ้ น ​ม า​บ้ า ง​เ ลย​ หรื อ ​ไ ง​ว ะ​!​ ​เ ตรี ย ม​ตั ว ​เ อา​ไ ว้ ​ไ อ้ ​พ วก​หั ว ​ลู ก ​โ ปก​ ​เ อ๊ ย ​!​ ​เด็ก​แว้​นมา​แว้​วววว​ ​เด็ก​แว้​นมา​แว้​วววว​!​ ​KFC​,​ ​McDonald​,​ ​MK​,​ ​Sizzler​ ​กับ​ดาวเทียม​สอดแนม​ดวง​ใหม่​ของ​ เกาหลีเหนือ​ ​“​วะ​!​ ​คุณ​จะ​วาง​โคตร​พ่อ​ ​LAN​ ​จะ​ ​Bluetooth​ ​หรือ​ใช้​ดาต้า​พอร์ต​ ​USB​ ​มัน​ก็​เรื่อง​ของ​คุณ​สิ​วะ​”​ พูดไ​ ม่รเ​ู้ รือ่ ง​หรือไ​ ง​วา่ ​6​ ​ต​ ล​ุ าฯ​ม​ ค​ี น​ตาย​แค่ห​ นึง่ ค​ น​..​.​ข​ อ้ มูล​ กำลังล​ น้ ท​ ะลัก.​.​.​อ​ ย่าง​รวบรัดต​ ดั ค​ วาม​แล้ว​ ม​ นั เ​ป็นการ​เล่า​ ถึง​เรื่อง​ของ​ความ​เชื่อม​โยง​และ​ความ​ตาย​.​.​.​สังเกต​ให้​ดี​สิ​​ เชือ่ ม​โยง​ให้ด​ น​ี ะ​​วินาทีท​ ม​ี่ นั อ​ อกแรง​ตะกุยพ ​ นื้ อ​ ย่าง​ลงิ โลด​ ก่อน​ส่งตัว​เอง​ไป​ด้าน​หน้า​ดุจ​ลูก​ธนู​ ​โดย​มี​เป้า​หมาย​เป็น ​ลูก​ยา​งก​ลมๆ​ ​ซึ่ง​เด้ง​ได้​ใน​ระดับ​ต่ำ​ ​(​บาง​รุ่น​อาจ​บรรจุ​ กระดิ่ง​เอา​ไว้​ภายใน​ ​*​*​*​หมายเหตุ​ ​เป็น​ ​Optional​ ​ขึ้น​ อยู่ ​กั บ ​รุ่ น ​ข อง​สิ น ค้ า ​) ​ วิ น าที ​ที่ ​มั น ​ไ ป​ถึ ง ​ลู ก บอล​แ ล้ ว​ คาบ​ก ลั บ ​ม า​ส่ ง ​ใ ห้ ​คุ ณ ​อ ย่ า ง​มี ​ค วาม​สุ ข ​ ก่ อ น​จ ะ​เ อา


​ขา​หน้า​สะกิด​คุณ​ ​เพื่อ​ให้​ทำ​ใหม่​ซ้ำๆ​ ​อีก​ครั้ง​และ​อีก​ครั้ง ​.​.​.​คล้าย​กัน​ไหม​ล่ะ​ ​สง​ครา​มน่ะ​!​ ​ยัง​ไม่​นับ​ระยะ​เวลา​แห่ง​ การ​เรียน​รต​ู้ ลอด​ประวัตศิ าสตร์อ​ นั ย​ าวนาน​ของ​มนุษยชาติ​ ด้วย​นะ​.​.​.​ฮ่ะๆ​ ​ๆ​ ​ขอ​สบู่​เหลว​ยี่​ห้อ​ลัก​ซ์​หมายเลข​แปด​ ​เ อา​สี ​ฟ้ า ​น ะ​ค รั บ ​ ​ต้ อ ง​แ บบ​มี ​ฟ อง​ที่ ​เ วลา​ถู ​ตั ว ​แ ล้ ว ​ดั ง​ ​‘​เอี๊ยดๆ​’​ ​ด้วย​นะ​ครับ​ ​ผม​มัน​เป็น​เด็ก​ยุค​ก่อน​ ​Non​-​Ionic​​ ครับ.​.​.​ข​ อ้ มูลก​ ำลังล​ น้ ท​ ะ​ลกั ๆ​ๆ ​ .​.​.​เ​รา​รเ​ู้ ท่ากับใ​ บไม้ท​ งั้ ป​ า่ น​ ​ี้ แต่เ​ท่าท​ จ​ี่ ำเป็นต​ อ้ ง​สอน​และ​สมั พันธ์ก​ บั ค​ วาม​เป็นอ​ ยูข​่ อง​ พวก​เจ้า​ ​ก็​แค่​ใน​หนึ่ง​กำ​มือ​นี้​เท่านั้น​แหละ​.​.​.​คราว​นี้​อะไร ​ดี​ล่ะ​ ​หอก​ทาก​คืบ​คลาน​ไป​อย่าง​เชื่อง​ช้า​บน​ใบ​มีดโกน เ​ลย​ไหม​..​.​ซ​ ด​ี้ ดิซ​ ด​ี้ !​​ข​ องดีม​ นั ก​ ต​็ อ้ ง​ยาก​บา้ ง​สว​ิ ะ​แ​ ต่ย​ าก​แล้ว​ ก็​ใช่​จะ​ดี​ไป​ซะ​ทั้งหมด​นะ​.​.​.​หึ​ ​หึ​ ​หึ​.​.​.​ลอง​คิด​ดู​สิ​ ​ความเร็ว​ ระดับ​คน​เมา​เนื้อ​ ​“​พวก​เจ้า​จง​ออก​จาก​ฐาน​ลับ​แล้ว​มุ่ง​ตรง​ มา​สู่​เรา​ด้วย​ความเร็ว​120​กม​.​/​ชั่วโมง​(​ของ​คน​เมา​เนื้อ​)”​​ นั่น​อาจ​พอ​หวัง​ได้​ว่า​ ​ คงจะ​ถึงที่​หมาย​ใน​เวลา​อย่าง​ช้า​ ทีส่ ดุ -​ส​ อง​วนั !​.​.​.​เ​รือ่ ง​เศร้า.​.​.​ป​ ญ ั หา​คอื ม​ นั เ​ต็มท​ แ​ี่ ละ​ลน้ เ​กิน​ จน​จะ​สำรอก​ออก​มา​เป็นน​ ำ้ เ​น่า​ เ​ล่นเ​ป็นค​ น​จนๆ​เ​ดินข​ าย​ พวง​มาลัย​ ​แต่เ​สือก​โบ๊ะ​หน้า​เด้งซ​ ะ​!​ ​ทหาร​ ​1​ ​ใน​ ​12​ ​คน ​ซึ่ง​เสีย​ชีวิต​ใน​เหตุการณ์​วาง​ระเบิด​ร้าน​น้ำ​ชา​ที่​จังหวัด​ ยะลา​เ มื่ อ ​ค่ ำ ​ว าน​นี้ ​ ​ไ ด้ ​รั บ ​พ ระราชทาน​เ พลิ ง ​ศ พ​แ ล้ ว​ .​. ​. ​ส วนดุ สิ ต ​โ พลล์ ​ร ายงาน​ว่ า ​จ าก​ผ ล​วิ จั ย ​ชิ้ น ​ล่ า สุ ด​ ใน​หัวข้อ​ ​“​ความ​รู้สึก​ของ​คน​ไทย​ที่​มี​ต่อ​คำ​พิพากษา​ของ​ ศาล​รัฐธรรมนูญ​ใน​กรณี​ยุบ​พรรคการเมือง​”​ ​กลุ่มต​ ัวอย่าง​ ร้อย​ละ​ ​62.4​ ​รู้สึก​ว่าการ​เมือง​ไทย​กำลัง​แย่​ลง​ ​ร้อย​ละ​​ 22.8​ ​รู้สึก​ว่า​ดขี​ ึ้น​ ​ที่​เหลือบ​อก​ว่า​ช่าง​หัว​แม่​ง​!​!​!​ ​อะไร​เล่า​ที่​ เป็น​อุปสรรค​ขัด​ขวาง​การ​วิวัฒน์​ของ​กระบวนการ​พัฒนา​ ความ​เ ป็ น ​ปั จ เจก​แ ห่ ง ​ม นุ ษ ยชาติ ​ ​ค วาม​ก ลั ว ​ห รื อ​ ความ​ขี้​เกียจ​!​.​.​.​ยัด​แม่​ง​เข้า​ไปดิ​.​.​.​ยัด​แม่​ง​เข้าไป​.​.​.​ยัด​แม่​ ง​เข้าไป​อี​กดิ​!​.​.​.​ยัง​ไม่​จุใจ​กับ​ไอ้​สัญลักษณ์​ห่า​เหว​อัน​สุด​ แสน​จะ​จอม​ปลอม​และ​เปล่า​กลวง​ของ​ไอ้​พวก​นั้น​อีก​เห​รอ​​

มี ​นั ก การ​เ มื อ ง​ดี ​ก็ ​ต้ อ ง​มี ​นั ก การ​เ มื อ ง​เ ลว​บ้ า ง​สิ ​ว ะ​ ​“​พ อ​เ ถอะ​พี่ ​.​.​.​ห นู ​เ จ็ บ​จิ๊ ​”​ ​ร างวั ล ​เ ลข​ท้ า ย​ส าม​ตั ว ​ห มุ น​ ครั้ง​ที่​สาม​ ​เลข​ที่​ออก​.​.​.​ศูนย์​.​.​.​ศูนย์​.​.​.​ศูนย์​.​.​.​​“​สบาย​ดี​ ค่ะ​พี่​ ​แหม​.​.​.​จะ​ให้​ไม่​สบาย​ได้​ยัง​ไง​ล่ะ​คะ​ ​ใน​เมื่อ​เรา​มี​ นายก​รฐั มนตรีท​ ด​ี่ อ​ี อก​ขนาด​น”​ี้ ​เ​ชือ่ ก​ ดู ​ิ แ​ ม่ง​ ต​ อ้ ง​เจ๋งก​ ว่าร​ นุ่ ​ ‘​รวย​ไม่มเ​ี หตุผล​’​​อกี ​​เพราะ​คราว​น​เี้ รา​จะ​ประกอบ​พธิ ี​ปลุก​ เสก​ด้วย​การ​กด​พิมพ์ก​ ันใ​ น​มดลูก!​​..​​.​เฮ้ย!​​​ถาม​จริงๆ​!​​ทุกว​ ัน​ นีพ ​้ วก​คณ ุ ย​ งั ไ​ ม่เ​ข้าใจ​ถงึ ค​ วาม​หมาย​ใน​รอย​ยมิ้ ข​ อง​โม​นา​ล​ิ ซ่า​อีก​เห​รอ​วะ​?​g

WRITE E-MAGAZINE 31


หนังสือ​นอก​กรอบ​: ​บุคลิก​ของ​นัก​อ่าน​สู่​ภาพ​สะท้อน​ใน​สังคม​ text: ​พิณ​ประภา​​​ขัน​ธวุธ

​ไฟน์​อาร์ต​, ​ศิลป​วัฒนธรรม​,​​อักษร​สาร​,​ อะ​เดย์​, ​อันเดอร์​กราว​ด์​,​อ่าน​, ​ไบ​โอ​สโคป​,​​ ฟิล์ม​แมก​, ​ฟิ้ว,​​ดีดีท,ี​ ​สีสัน​, ​แฮมเบอร์เกอร์​,​ เวย์​, ​ลัช​,​​ราหู​อม​จันทร์​,​​ช่อ​การะเกด​​

32  WRITE E-MAGAZINE


​เมื่อ​เดิน​ไป​ที่​แผง​หนังสือ​จะ​สังเกต​ได้​ ว่า​มี​หนังสือ​และ​นิตยสาร​ให้​เลือก​อ่าน​ มากมาย​จน​เรียก​ได้​ว่า​​“​ล้น​”​​แผง​​​​ซึ่ง​ แสดง​ให้​เห็น​ถึง​ความ​ต้องการ​ที่​หลาก​ หลาย​ของ​ผู้​อ่าน​​​​นิตยสาร​หรือ​หนังสือ​ เหล่า​นั้น​จะ​มุ่ง​เน้น​เฉพาะ​กลุ่ม​บุคคล​ เพื่อ​ตอบ​สนอง​ความ​ต้องการ​ของ​ผู้​ซื้อ​​ แต่​ใน​ขณะ​เดียวกัน​ผู้​บริโภค​ที่​เป็น​​“​ นัก​อ่าน​”​​ก็​ยัง​รู้สึก​ว่า​​“​หนังสือ​”​​ที่​ตน​ ต้องการ​อย่าง​แท้จริง​นั้น​​​กลับ​ลด​ลง​ รวม​ทั้ง​คุณภาพ​ที่​ด้อย​กว่า​ยุค​ก่อน​เป็น​ อัน​มาก​ ​ ​สมาคม​นัก​เขียน​แห่ง​ ประเทศไทย​ได้​จัดการ​เสวนา​​“​อ่าน​ อะไร​​​ทำไม​จึง​อ่าน​​อ่าน​แล้ว​ได้​อะไร​ ”​​​​ครั้ง​ที่​​​๒​​ใน​หัวข้อ​​“​นัก​อ่าน​แฟน​ พันธุ์​แท้​เรื่อง​ชีวิต​ร่วม​สมัย​และ​ชีวิต​ นอก​กรอบ​”​​(​วรรณกรรม​​ศิลปะ​​ดนตรี​​ เพลง​​และ​หนัง​)​​​นำ​โดย​คุณ​ชมัยภร​​

แสง​กระจ่าง​​นายก​สมาคม​นัก​เขียน​ แห่ง​ประเทศไทย​​​ชี้แจง​วัตถุประสงค์​ ใน​การ​จัด​งาน​เสวนา​ครั้ง​นี้​ว่า​เป็นการ​ สนอง​ความ​ต้องการ​ของ​สมาคม​นัก​ เขียนฯ​ที่​จะ​จัด​งาน​​“​นัก​อ่าน​สี่​ภูมิภาค​”​​ (​เป็น​โครงการ​ต่อ​เนื่องจาก​เมื่อ​ปี​ที่​ผ่าน​ มา​)​​แต่​ใน​ขณะ​นยี้​ ัง​ไม่มี​งบ​ประมาณ​ ใน​การ​จัด​งาน​​​จึง​จัดการ​เสวนา​ใน​ส่วน​ กลาง​ก่อน​​โดย​จะ​แบ่ง​การ​เสวนา​ออก​ เป็น​​​๕​​ครั้ง​​(​ครั้ง​ที่​​๑​​จัด​ขึ้น​เมื่อ​วัน​ ที่​​๑๖​​สิงหาคม​ที่​ผ่าน​มา​)​​และ​จะ​นำ​ ประเด็น​ที่​ได้​จาก​การ​เสวนา​ใน​แต่ละ​ ครั้ง​ไป​ประมวล​เพื่อ​จัด​งาน​สัมมนา​ ใหญ่​อีก​ครั้ง​ใน​งาน​มหกรรม​หนังสือ​ แห่ง​ชาติ​ที่​ศูนย์​การ​ประชุม​แห่ง​ชาติ​สิ​ ริกิ​ติ์​​​​​​การ​เสวนา​ทั้ง​​๕​​ครั้ง​ที่​จัด​ขึ้น​ที่​ สมาคม​นัก​เขียนฯ​​นั้น​​ผู้​เข้า​ร่วม​เสวนา​ ทุก​คน​จะ​ได้​มี​โอกาส​แสดง​ความ​คิด​ เห็น​​และ​การ​เสวนา​นี้​มี​ลักษณะ​ของ​​“​

มนุษย์​สัมผัส​มนุษย์​”​​เพื่อ​จะ​ได้​รู้​ว่า​ใคร​ เป็น​นัก​อ่าน​เหมือน​เรา​​และ​ใคร​อ่าน​ หนังสือ​เหมือน​เรา​บ้าง​​​การ​สำรวจ​ เกี่ยว​กับ​การ​อ่าน​ใน​ครั้ง​นี้​อาจ​จะ​มี​ ทั้ง​ผู้​ที่​เหมือน​กัน​และ​ต่าง​กัน​​​​แต่​จุด​ ประสงค์​หลัก​ที่แท้​จริง​คือ​การ​ที่​นัก​อ่าน​ ได้​มา​พบ​หน้า​และ​ได้​สนทนา​กัน​​ซึ่ง​นับ​ เป็นการ​ระดม​สมอง​ร่วม​กัน​ใน​เรื่อง​ของ​ การ​อ่าน​และ​การ​เขียน​ใน​อนาคต​ต่อ​ไป​​ อีก​ทั้ง​การ​ที่​ได้​มา​เสวนา​ร่วม​กัน​เช่น​นี้​ ก็​เสมือน​ว่า​ได้​ร่วม​กัน​ส่ง​สัญญาณ​บาง​ อย่าง​ไป​ยัง​สังคม​​,​นัก​อ่าน​​และ​นัก​ เขียน​ด้วย​เช่น​กัน​ว่า​เรา​พร้อม​ที่​จะ​ทำ​ อะไร​บาง​อย่าง​ให้​แก่​สังคม​ด้วย​ ​ ​ใน​การ​เสวนา​แต่ละ​ครั้ง​ นั้น​​​ทาง​สมา​คมฯ​ได้​กำหนด​หัวข้อ​เพื่อ​ แยกแยะ​ความ​ต้องการ​ของ​กลุ่ม​นัก​ อ่าน​อย่าง​ชัดเจน​ทำให้​เห็น​ภาพ​ความ​ ต้องการ​ของ​แต่ละ​กลุ่ม​ที่​แตก​ต่าง​กัน​ WRITE E-MAGAZINE 33


แม้ว่าก​ าร​อ่าน​จะ​ถูกผ ​ ลัก​ดัน​ให้​เป็น​วาระ​ แห่งชาติ​​แ​ ต่​การ​สนับสนุน​ส่งเ​สริมก​ าร​อ่าน​ ที่แท้​จริง​ยัง​ไม่​เกิดข​ ึ้น​​ ไป​​​และ​ใน​การ​เสวนา​ครั้ง​ที่​​๒​​นี้​​เป็นก​ ลุ่ม​ผู้​ที่​สนใจ​อ่าน​นิตยสาร​​และ​หนังสือ​ แนว​​ชีวิตร​ ่วม​สมัย​และ​ชีวิต​นอก​กรอบ​​ ​ ผู้​เข้า​ร่วม​เสวนา​ใน​ครั้ง​นี้​มี​ทั้ง​ตัวแทน​ จาก​สมาคม​นัก​เขียน​แห่ง​ประเทศไทย​​ ตัวแทน​จาก​นิตยสาร​​อันเดอร์​กราว​ด์​,​​ ลัช​​​นัก​เขียน​​และ​ผู้​อ่าน​ทั่วไป​​​ผู้​ดำเนิน​ การ​เสวนา​​คือ​​คุณ​รักษ์​​​มนัญญา​​กับ​ คุณ​เพชร​ยุพา​​​บูรณ์​สิริ​จรุงร​ ัฐ​​​​โดย​ แนว​หนังสือ​หรือ​นิตยสาร​ที่​ผู้​อ่าน​กลุ่ม​นี้​ สนใจ​ได้แก่​​ไฟน์​อาร์ต​​,​ศิลป​วัฒนธรรม​ ,​​อักษร​สาร​,​อะ​เดย์​,​อันเดอร์​กราว​ด์​,​อ่าน​ ,​ไบ​โอ​สโคป​,​​ฟิล์ม​แมก​,​ฟิ้ว​,​​ดีดีที​,​สีสัน​​,​ แฮมเบอร์เกอร์​​,​เวย์​​,​ลัช​​,​​ราหู​อม​จันทร์​​ ,​​ช่อ​การะเกด​​ร่วม​ทั้ง​หนังสือ​ประเภท​ วรรณกรรม​เพื่อ​ชีวิต​​หรือ​วรรณกรรม​ สะท้อน​สังคม​​​ ​ ​วัตถุประสงค์​ของ​นัก​อ่าน​ แต่ละ​คน​มี​ความ​ต้องการ​คล้ายคลึง​กัน​​ นั้น​คือ​ต้องการ​หนังสือ​หรือ​นิตยสาร​ที่​นำ​ เสนอ​เรื่อง​ราว​ใน​สังคม​และ​วัฒนธรรม​ ที่​เข้าใจ​ง่าย​​​​ให้​ข้อมูล​ที่​ถูก​ต้อง​เชื่อ​ ถือ​ได้​รวม​ทั้ง​การ​วิเคราะห์​ข่าวสาร​,​ สถานการณ์​ต่าง​​ๆ​​จาก​คอลัมน์​นิสต์​ ที่​มาก​ด้วย​ประสบการณ์​​​ซึ่ง​เป็น​ ประโยชน์​ต่อ​นัก​อ่าน​ใน​การ​ทำความ​ เข้าใจ​สิ่ง​ต่าง​​ๆ​​มาก​ขึ้น​​มิใช่​การ​​“​เชื่อ​ ”​​ตาม​คำ​บอก​เล่า​​แต่​เป็นการ​​“​เข้าใจ​”​​ อย่าง​แท้จริง​​ ​ใน​การ​เสวนา​ครั้ง​ นี้​​​นัก​อ่าน​แต่ละ​ท่าน​ได้​เล่า​พื้น​ฐาน​การ​ อ่าน​ของ​ตนเอง​​​ซึ่ง​แต่ละ​ช่วง​วัย​ของ​ แต่ละ​คน​ก็​จะ​เลือก​อ่าน​หนังสือ​ที่​เข้า​กับ​ 34  WRITE E-MAGAZINE

ความ​สนใจ​ใน​ขณะ​นั้น​​​และ​หนังสือ​ ที่​เหล่า​นั้น​ก็ได้​ช่วย​พัฒนา​ความ​คิด​ใน​ แต่ละ​ช่วง​วัย​ด้วย​เช่น​กัน​​แต่​ใน​ขณะ​ เดียวกัน​ก็​มี​บาง​เสียง​จาก​นัก​อ่าน​ที่​กล่าว​ ถึง​หนังสือ​และ​นิตยสาร​ที่​มุ่ง​เน้น​ตอบ​ สนอง​เพียง​สิ่ง​ใด​สิ่ง​หนึ่ง​ซึ่ง​ฉาย​ภาพ​ให้​ เห็น​ถึง​มก​หมุน​อยู่​กับ​ตนเอง​ของ​บุคคล​ นั้น​​ๆ​​​สิ่ง​เหล่า​นี้​ได้​สะท้อน​ออก​มา​เป็น​ บุคลิก​เฉพาะ​ตัว​ของ​นัก​อ่าน​แต่ละ​ท่าน​​​​ ​ ​​แม้ว่า​ใน​ปัจจุบัน​จะ​มี​หนังสือ​ หรือ​นิตยสาร​ที่​หลาก​หลาย​ ​แต่​กลับ​ ไม่​สมา​รถ​ตอบ​สนอง​พวก​เขา​ได้​มาก​ พอ​โดย​เฉพาะ​นิตยสาร​ที่​เกี่ยว​กับ​ วรรณกรรม​​​โดย​เฉพาะ​การ​หลั่ง​ทะลัก​ เข้า​ของ​วรรณกรรม​วัย​รุ่น​ที่​ด้อย​คุณภาพ​ ​จน​เป็น​ที่มา​ของ​นิตยสาร​​“​อันเดอร์​ กราว​ด์​”​​​ที่​เน้น​หนัก​ทาง​วรรณกรรม​โดย​ เฉพาะ​​​และ​การก​ลับ​มา​อีก​ครั้ง​ของ​​“​ ช่อ​การะเกด​”​​​ที่​สร้าง​ความ​คึกคัก​ให้​ทั้ง​ นัก​อ่าน​ที่​จะ​ได้​เสพ​งาน​วรรณกรรม​เข้ม​ ข้น​และ​นัก​เขียน​ที่​จะ​ได้​มี​สนาม​ประลอง​ ฝีมือ​​ ​ปัญหา​ทางการ​ตลาด​ที่​ทำให้​ หนังสือ​เหล่า​นี้​หาย​ไป​จาก​แผง​หนังสือ​ ทำให้​เกิด​ปรากฏการ​​Magazine​​online​​ และ​​blog​​magazine​​​​กลาย​เป็น​สื่อ​ ทาง​เลือก​อีก​แหล่ง​หนึ่ง​ของ​นัก​อ่าน​ และ​นัก​เขียน​​​​แต่​ปัญหา​ของ​การ​สื่อ​ ออนไลน์​เหล่า​นี้​ก็​ยัง​มี​ตาม​มา​นั่น​คือ​ ความ​ไม่​ชัดเจน​ของ​นัก​เขียน​​ซึ่ง​มัก​จะ​ ใช้​นามแฝง​ไม่​เปิดเ​ผย​ตัว​ไม่​สามารถ​ ตรวจ​สอบ​ได้​​​และ​ข้อมูล​ที่​นำ​มา​เผย​ แพร่​ยัง​ขาด​ความ​ถูก​ต้อง​ชัดเจน​​ซึ่ง​เป็น​

เรื่อง​ที่​น่า​เสียดาย​​​และ​ยิ่ง​เปรียบ​เทียบ​ กับ​งาน​เขียน​ยุค​เก่า​แล้ว​​​นัก​อ่าน​หลาย​ ท่าน​กลับ​รู้สึก​ว่า​ด้อย​คุณภาพ​กว่า​มาก​​​ ทั้ง​ที่​หนังสือ​ที่​ดี​เป็น​เสมือน​คัมภีร์​สร้าง​ จุด​เปลี่ยน​ให้​กับ​ชีวิต​​ค้นหา​วิถี​ทาง​แห่ง​ ตนเอง​ได้​​และ​ควร​ส่ง​เสริม​หนังสือ​ที่​ดี​ให้​ เป็น​ที่​รู้จัก​ใน​วง​กว้าง​ของ​สังคม​เช่น​มี​การ​ แลก​เปลี่ยน​หนังสือ​กัน​อ่าน​​​​หรือ​การนำ​ เสนอ​ใน​ศิลปะ​รูป​แบบ​อื่น​เช่น​​ละคร​เวที​​ ภาพยนตร์​​เป็นต้น​​ และ​ที่​สำคัญ​ที่สุด​ คือ​ระบบ​การ​ศึกษา​ไทย​ที่​ไม่​ได้​เอื้อ​ อำนวย​ให้​สร้าง​วัฒนธรรม​การ​อ่าน​อย่าง​ แท้จริง​​ ​ ​แม้ว่า​การ​อ่าน​จะ​ถูก​ผลัก​ดัน​ ให้​เป็น​วาระ​แห่ง​ชาติ​​​แต่​การ​สนับสนุน​ ส่ง​เสริม​การ​อ่าน​ที่แท้​จริง​ยัง​ไม่​เกิด​ ขึ้น​​​ปัญหา​เหล่า​นี้​ไม่​ได้​อยู่​ที่​คน​ใด​คน​ หนึ่ง​ที่​จะ​แก้ไข​ได้​​หาก​แต่​ทุก​ฝ่าย​ต้อง​ ร่วม​มือ​ร่วมใจ​ระดม​ความ​คิด​เพื่อ​สร้าง​ วัฒนธรรม​การ​อ่าน​ที่​สร้างสรรค์​​​ซึ่ง​ ไม่ใช่​การ​​“​อ่าน​อะไร​ก็ได้​”​​อีก​แล้ว​​​​จาก​ การ​เสวนา​ครั้ง​นี้​แสดง​ให้​เห็น​ชัด​ว่า​​​ หนังสือ​แต่ละ​เล่ม​ได้​ส่ง​ผลก​ระ​ทบ​ต่อ​ ระบบ​ความ​คิด​และ​จิตสำนึก​ของ​นัก​ อ่าน​ซึ่ง​ส่ง​ผล​ต่อ​การ​ใช้​ชีวิต​ใน​สังคม​นั้น​​ ๆ​​​การ​มี​หนังสือ​ดี​ให้​คน​เลือก​อ่าน​ย่อม​ เป็นการ​สร้าง​คน​ดี​ให้​เกิด​ขึ้น​ใน​สังคม​​​ เพราะ​หนังสือ​ได้​สร้าง​บุคลิก​ของ​นัก​อ่าน​ และ​สามารถ​ฉาย​ภาพ​ของ​คนใน​สังคม​ ได้​อย่าง​ชัดเจน​​.​.​.  g


GALLERY FOTO

The Plastic Gun นิวัต พุทธประสาท

WRITE E-MAGAZINE 35


นัก​เขียน​ใหม่​​กับ​​สัญญา​น่า​คิด​

t​ext: ล​ ูก​แก้ว

​งาน​วรรณกรรม​มี​หลาย​แขนง​ ​เช่น​ ​บทความ​ ​สารคดี​ ​เรื่อง​ สั้น​ ​นิยาย​ ​เป็นต้น​ ​หลาย​คน​ชื่น​ชอบ​การ​เขียน​และ​อยาก​จะ​มี​ ผล​งาน​ออก​สส​ู่ ายตา​ของ​คน​อา่ น​ม​ นั เ​ป็นค​ วาม​ภมู ใิ จ​สว่ น​ตวั ก​ บั ​ ความ​สามารถ​ของ​ตน​เ​มือ่ ง​ าน​เขียน​มส​ี ำนักพ​ มิ พ์ส​ นใจ​ตดิ ต่อข​ อ​ พิมพ์​เป็น​เล่ม​ ​จึง​เป็น​ความ​ดีใจ​จน​มอง​ข้าม​การ​ถูก​เอา​เปรียบ​ เกิน​เหตุ​ใน​สัญญา​ ​ทำให้​กลาย​เป็น​ทาส​ของ​สัญญา​ลิขสิทธิ์​ไป​ หลาย​ปี​ ​นัก​เขียน​ใหม่​หลาย​คน​ไม่​ทราบ​เลย​ว่า​ ​มาตรฐาน​ค่า​ เรื่อง​และ​การ​ผูกมัด​ใน​สัญญา​ที่​นัก​เขียน​กับ​สำนัก​พิมพ์​ควร​มี​ ลักษณะ​อย่าง​ใด​ที่​ไม่​เป็นการ​เอา​เปรียบ​กัน​เกิน​ไป​หรือ​ที่​เรียก​ ว่า​​สัญญา​เป็น​ธรรม​ ​หลัง​จาก​ได้​พูด​คุย​กับ​นัก​เขียน​ใหม่​คน​หนึ่ง​ที่​เสนอ​ งาน​ทาง​บอร์ด​ใน​เว็บ​ไซด์​หนึ่ง​และ​เป็น​ที่​นิยม​ของ​คน​อ่าน​อย่าง​ มาก​ ​สำนัก​พิมพ์​หนึ่ง​ติดต่อ​เขา​ว่า​สนใจ​พิมพ์​รวม​เล่ม​ ​หลัง​จาก​ ได้​รับ​ต้นฉบับ​ไป​อ่าน​ครบ​ทุก​ตอน​จึง​ตอบ​รับ​ใน​ขั้น​ตอน​สุดท้าย​​ จาก​นั้น​ก็​เป็น​ข้อ​เสนอ​ใน​สัญญา​ให้​ใช้​ลิขสิทธิ์​เพื่อ​การ​พิมพ์​เป็น​ เล่ม​ที่​ทุก​สำนัก​พิมพ์​ต้อง​จัด​ทำ​ขึ้น​ระหว่าง​นัก​เขียน​และ​สำนัก​ พิมพ์​ ​ราย​ละเอียด​ใน​สัญญา​นี้​มี​ความ​น่า​สนใจ​ที่​ต้อง​ไตร่ตรอง​ ให้​รอบคอบ​ก่อน​​สำนัก​พิมพ์​เสนอ​ว่า​​จะ​จ่าย​ค่า​เรื่อง​แบบ​เหมา​ จ่าย​ครั้ง​เดียว​ ​ระยะ​เวลา​ใน​สัญญา​ ​คือ​ ​5​ ​ปี​ที่​เขา​จะ​เป็น​ผู้​จัด​ พิมพ์​ฝ่าย​เดียว​เท่านั้น​ ​โดย​จะ​ไม่มี​การ​จ่าย​ค่า​เรื่อง​ตาม​จำนวน​ 36  WRITE E-MAGAZINE

พิมพ์​แต่ละ​ครั้ง​ใน​ระหว่าง​ ​5​ ​ปี​ ​นั้น​ ​หมายความ​ว่า​ ​นัก​เขียน​ จะ​ได้​เงิน​ค่า​เรื่อง​แค่​ครั้ง​แรก​โดย​ไม่​คำนึง​ถึง​จำนวน​พิมพ์​ ​หาก​ มี​การ​พิมพ์​ครั้ง​ต่อ​ไป​ ​นัก​เขียน​จะ​ไม่​ได้​รับ​ค่า​เรื่อง​ตาม​จำนวน​ พิมพ์​อีก​ ​ถ้า​เรื่อง​นั้น​เป็น​ที่​นิยม​ใน​กลุ่ม​นัก​อ่าน​ ​สำนัก​พิมพ์​จะ​ สร้าง​กำไร​มหาศาล​ ​ส่วน​นัก​เขียน​หมด​สิทธิ์​รับ​ประ​โย​ชน์​ใดๆ​ จาก​การ​จัด​พิมพ์​ซ้ำ​แล้ว​ซ้ำ​อีก​ ​ใน​ทาง​กลับ​กัน​เมื่อ​เรื่อง​ไม่​ได้​รับ​ ความ​นิยม​เพียง​พอ​​จัก​ถูก​กัก​ไว้​ด้วย​ระยะ​เวลา​นาน​​5​​ปี​​สำนัก​ พิมพ์​จ่าย​เงิน​ไป​แค่​ครั้ง​แรก​เท่านั้น​ ​มิได้​เสีย​หาย​ใดๆ​เพราะ​ หนังสือ​ต้อง​ขาย​ได้​มากกว่า​ค่า​เรื่อง​อยู่​แล้ว​ ​หาก​เป็น​นัก​เขียน​ ใหม่​ที่​ขาด​ประสบการณ์​และ​ตื่น​เต้น​กับ​โอกาส​ที่​หยิบ​ยื่น​ให้​เขา​​ ย่อม​มอง​ไม่​เห็น​ผล​เสีย​หาย​ของ​นัก​เขียน​เลย​​โดย​เฉพาะ​ค่าแรง​ เขียน​เรื่อง​ ​สำนัก​พิมพ์​บาง​แห่ง​เสนอ​ค่า​เรื่อง​ตาม​มาตรฐาน​ใน​ สังคม​วรรณกรรม​ ​แต่​เน้น​ที่​ระยะ​เวลา​คุ้มครอง​สำนัก​พิมพ์​นาน​ ถึง​ ​10​ ​ปี​ ​หมายความ​ว่า​ ​เรื่อง​ของ​นัก​เขียน​ใหม่​จะ​ต้อง​อยู่​กับ​ เขา​ถึง​​10​​ปี​​ถ้า​เรื่อง​ไม่​เป็น​ที่​นิยม​ใน​ตลาด​แต่​นัก​เขียน​ต้องการ​ ปรับเ​ปลีย่ น​เพือ่ ใ​ ห้ด​ ข​ี นึ้ ด​ ว้ ย​ประสบการณ์ใ​ หม่ข​ อง​เขา​จ​ กั ก​ ระทำ​ ไม่​ได้​เพราะ​ต้อง​ได้​รับ​อนุญาต​จาก​สำนัก​พิมพ์​ก่อน​ ​ส่วน​ใหญ่​ สำนัก​พิมพ์​มัก​เก็บ​งาน​เขียน​เหล่า​นี้​ไว้​เฉยๆ​นาน​ถึง​ ​10​ ​ปี​ ​ทุก​ ชิ้น​งาน​ภายใน​ระยะ​เวลา​สัญญา​นั้น​ถือ​เป็น​ทรัพย์สิน​ของ​สำนัก​ พิมพ์​อย่าง​หนึ่ง​


การ​เขียน​ทุก​เรื่อง​ล้วน​ต้อง​ใช้​พลัง​กาย​และ​ใจ​เต็ม​ที่​ ​ไม่​ว่า​นัก​เขียน​ ใหม่​หรือ​เก่า​สมควร​ได้​รับ​ค่าแรง​อย่าง​เป็น​ธรรม​ตาม​มาตรฐาน​ตลาด​ วรรณกรรม​ด​ งั น​ นั้ ​จ​ งึ ค​ วร​เรียน​รว​ู้ า่ ม​ าตรฐาน​คา่ เ​รือ่ ง​เป็นอ​ ย่างไร​ก​ าร​ เอา​รดั เ​อา​เปรียบ​นกั เ​ขียน​ใหม่ม​ กั เ​กิดจ​ าก​สำนักพ​ มิ พ์ใ​ หม่เ​ป็นส​ ว่ น​ใหญ่​ โดย​อาศัยค​ วาม​หวัง​ค​ วาม​ฝนั ​ข​อง​คน​ขาด​ประสบการณ์ช​ วี ติ เ​ป็นเ​หยือ่ ล​ อ่ ​ ​ผู้ใหญ่​ใน​สังคม​วรรณกรรม​รับ​ทราบ​ปัญหา​การ​เสีย​ ประโยชน์​หรือ​ถูก​เอา​เปรียบ​ของ​นัก​เขียน​ใหม่​มาระ​ยะ​หนึ่ง​แล้ว​ โดย​เฉพาะ​กลุ่ม​นัก​เขียน​ใน​อินเทอร์เน็ต​ซึ่ง​ส่วน​ใหญ่​เป็น​วัย​รุ่น​ ขาด​ประสบการณ์​​ทำให้​กลาย​เป็น​เหยื่อ​​บ้าง​ก็​ทำใจ​ว่า​เสีย​รู้​ไป​ แล้ว​เ​ขียน​ใหม่ก​ ไ็ ด้​จ​ งึ อ​ ยาก​ให้ค​ ดิ ใ​ หม่ว​ า่ ​ก​ าร​เขียน​ทกุ เ​รือ่ ง​ลว้ น​ ต้อง​ใช้พ​ ลังก​ าย​และ​ใจ​เต็มท​ ​ี่ ไ​ ม่ว​ า่ น​ กั เ​ขียน​ใหม่ห​ รือเ​ก่าส​ มควร​ ได้ร​ บั ค​ า่ แรง​อย่าง​เป็นธ​ รรม​ตาม​มาตรฐาน​ตลาด​วรรณกรรม​ด​ งั ​ นัน้ ​จ​ งึ ค​ วร​เรียน​รว​ู้ า่ ม​ าตรฐาน​คา่ เ​รือ่ ง​เป็นอ​ ย่างไร​ก​ าร​เอา​รดั เ​อา​ เปรียบ​นัก​เขียน​ใหม่​มัก​เกิด​จาก​สำนัก​พิมพ์​ใหม่​เป็น​ส่วน​ใหญ่​ โดย​อาศัย​ความ​หวัง​ ​ความ​ฝัน​ ​ของ​คน​ขาด​ประสบการณ์​ชีวิต​ เป็น​เหยื่อ​ล่อ​ ​สำนัก​พิมพ์​มีชื่อ​เสียง​บาง​แห่ง​ก็​เน้น​ขยาย​เวลา​ให้​ นาน​ ​แต่​การ​คิด​ค่า​เรื่อง​ก็​ใช้​มาตรฐาน​ทั่วไป​ ​นัก​เขียน​ใหม่​ซึ่ง​ มี​ความ​เชื่อ​ใจ​กับ​ชื่อ​เสียง​ของ​สำนัก​พิมพ์​จึง​ไม่​ตระหนัก​ใจ​ว่า​ กำลัง​ถูก​เอา​เปรียบ​เกิน​ควร​ ​ต่อ​ไป​ก็​มา​ดู​ว่า​สูตร​การ​คิด​ค่า​เรื่อง​ สำหรับน​ กั เ​ขียน​ทวั่ ไป​หรือม​ อื ใ​ หม่ซ​ งึ่ ผ​ ใู้ หญ่ใ​ น​สงั คม​วรรณกรรม​ ให้​ความ​รู้​ไว้​​คือ​​10​​%​​คูณ​​ด้วย​ราคา​หน้า​ปก​​คูณ​ด้วย​จำนวน​ พิมพ์​ ​นั่น​หมายความ​ว่า​ ​ทุก​ครั้ง​ที่​มี​การ​จัด​พิมพ์​จะ​ต้อง​ใช้​สูตร​ นี้​เพื่อ​เป็น​ค่า​เรื่อง​สำหรับ​นัก​เขียน​ ​ส่วน​จำนวน​เปอร์เซ็นต์​นั้น​ ถ้า​เป็น​นัก​เขียน​มีชื่อ​เสียง​อาจจะสูง​ได้​ถึง​​20​​เปอร์เซ็นต์​ที​เดียว​​ ตลอด​เวลา​คมุ้ ครอง​ใน​สญ ั ญา​นกั เ​ขียน​จะ​ได้ร​ บั ส​ ว่ น​แบ่งเ​ป็นค​ า่ ​ เรือ่ ง​สำหรับก​ าร​พมิ พ์ท​ กุ ค​ รัง้ ​ถ​ า้ ไ​ ม่มก​ี าร​พมิ พ์ค​ รัง้ ท​ ส​ี่ อง​หรือค​ รัง้ ​ ต่อ​ไป​ ​ก็​ไม่​ต้อง​จ่าย​เงิน​ค่า​เรื่อง​แก่​นัก​เขียน​อีก​ ​จำนวน​พิมพ์​กับ​ ราคา​ปก​นั้น​เป็น​สิทธิ​ของ​สำนัก​พิมพ์​กำหนด​ได้​เอง​​จึง​เห็น​ได้​ว่า​ ค่าแรง​นัก​เขียน​นั้น​สำนัก​พิมพ์​เป็น​ผู้​กำหนด​เช่น​กัน​​สำนัก​พิมพ์​ จึงไ​ ม่มว​ี นั เ​สียเ​ปรียบ​กบั น​ กั เ​ขียน​ค​ า่ เ​รือ่ ง​มาตรฐาน​เป็นการ​แบ่ง​ ปันผล​ประโยชน์​อย่าง​เป็น​ธรรม​เท่านั้น​

​สัญญา​ให้​ใช้​ลิขสิทธิ์​เพื่อ​การ​พิมพ์​นั้น​มัก​กำหนด​ เวลา​คุ้มครอง​หรือ​อนุญาต​ให้​สำนัก​พิมพ์​จัด​พิมพ์​งาน​เล่ม​ของ​ นัก​เขียน​ไว้​​ส่วน​ใหญ่​จัก​อยู่​ที่​​1​​ปี​​3​​ปี​​5​​ปี​​หรือ​​10​​ปี​​แล้ว​แต่​ สำนักพ​ มิ พ์จ​ ะ​พจิ ารณา​ใช้ก​ บั น​ กั เ​ขียน​แต่ละ​คน​โดย​คำนึงว​ า่ จ​ ะ​ ใช้ห​ า​ประโยชน์ไ​ ด้ค​ มุ้ ท​ นุ ม​ าก​ทสี่ ดุ ภ​ ายใน​ระยะ​ใด​เ​รา​ตอ้ ง​ไม่ล​ มื ​ ว่า​ห​ นังสือแ​ ต่ละ​เล่มค​ อื ​ส​ นิ ค้าห​ รือท​ รัพย์สนิ ข​ อง​สำนักพ​ มิ พ์เ​พือ่ ​ หา​ประโยชน์​ทางการ​ค้า​ ​การ​จ่าย​เงิน​แก่​นัก​เขียน​จึง​ต้อง​นำ​มา​ คำนวณ​เป็นต้นท​ นุ ผ​ ลิตส​ นิ ค้าแ​ ละ​เวลา​ใช้ง​ าน​หา​ประโยชน์ข​ อง​ มัน​ด้วย​ ​ทั้งนี้​บาง​สำนัก​พิมพ์​จะ​นำ​เรื่อง​มโนธรรม​และ​การ​แบ่ง​ ปัน​โอกาส​แก่​นัก​เขียน​โดย​คืน​สิทธิ์​ให้​นัก​เขียน​ไป​หา​ประโยชน์​ที่​ อาจ​ทำได้​ดี​กว่า​ตน​หรือ​ใช้​ปรับปรุง​งาน​ใหม่​อีก​ครั้ง​โดย​กำหนด​ ระยะ​เวลา​ไม่​นาน​นัก​ ​ถ้า​นัก​เขียน​คน​ใด​มี​โอกาส​พบ​กับ​สำนัก​ พิมพ์ท​ ม​ี่ จ​ี ติ ใจ​ดง​ี าม​เช่นน​ ​ี้ ก​ ถ​็ อื ว่าม​ โ​ี ชค​ดมี ห​ า​ศาล​เ​นือ่ งจาก​บาง​ ครัง้ ง​ าน​เขียน​ชนิ้ น​ อ​ี้ าจ​พบ​กบั ก​ าร​ตลาด​ไม่ด​ ข​ี อง​สำนักพ​ มิ พ์ห​ รือ​ ช่วง​จังหวะ​ไม่​เหมาะ​สม​ทำให้​ขาย​ยาก​ ​แต่​เอา​ไป​ให้​อีก​สำนัก​ พิมพ์​ที่​การ​ตลาด​ดี​และ​เหมาะ​สม​ ​นัก​อ่าน​อาจม​อง​เห็น​คุณค่า​ ของ​งาน​ชิ้น​นี้​ได้​ดี​ขึ้น​ก็ได้​ ​การ​กักขัง​งาน​เขียน​ไว้​ยาวนาน​เกิน​ เหตุ​ถึง​ ​10​ ​ปี​ ​ซึ่ง​เทียบ​เท่ากับ​อายุ​ความ​คดี​แพ่ง​หรือ​คดี​อาญา​ บาง​คดี​จ​ งึ เ​ป็นการ​ลด​ทอน​โอกาส​ของ​งาน​เขียน​ชนั้ ด​ ห​ี ลาย​ชนิ้ ท​ ​ี่ ถูกเ​ก็บไ​ ว้เ​ป็นท​ รัพย์สนิ ข​ อง​สำนักพ​ มิ พ์ท​ ห​ี่ า​ประโยชน์ไ​ ม่ไ​ ด้แ​ ละ​ นัก​เขียน​หมด​โอกาส​เผย​แพร่​งาน​สู่​สาธารณชน​ด้วย​ ​ง าน​ว รรณกรรม​เ ป็ น ​ง าน​ที่ ​ต้ อ ง​อ าศั ย ​จิ ต ใจ​ทุ่ ม เท​​ สร้างสรรค์​ ​เพื่อ​ผลิต​งาน​จาก​ประสบการณ์​หรือ​จินตนาการ​ ของ​นัก​เขียน​ ​การนำ​เผย​แพร่​เป็น​หน้าที่​ของ​สำนัก​พิมพ์​ซึ่ง​มี​มุม​ มอง​ต่อ​ชิ้น​งาน​แตก​ต่าง​กัน​ ​ส่วน​นัก​อ่าน​เป็น​คน​สุดท้าย​ที่​จะ​ ยืนยันก​ าร​ตดั สินใ​ จ​ของ​สำนักพ​ มิ พ์น​ นั้ ว​ า่ ถ​ กู ต​ อ้ ง​หรือไ​ ม่​เ​มือ่ ผ​ ล​ WRITE E-MAGAZINE 37


ประโยชน์ก​ บั ง​ าน​วรรณศิลป์จ​ ำ​ตอ้ ง​เดินท​ าง​คก​ู่ นั ไ​ ป​ส​ ำนักพ​ มิ พ์​ กับน​ กั เ​ขียน​จงึ ต​ อ้ ง​อยูเ​่ คียง​คด​ู่ ว้ ย​กนั ​ผ​ ใู้ หญ่ใ​ น​สงั คม​วรรณกรรม​ จึงพ​ ยายาม​แก้ป​ ญ ั หา​การ​เอา​เปรียบ​และ​ความ​ไม่รข​ู้ อง​นกั เ​ขียน​ ใหม่ด​ ว้ ย​การ​ให้ค​ วาม​ร​ู้ ค​ วาม​เข้าใจ​ด​ า้ น​ขอ้ ส​ ญ ั ญา​หรือร​ ปู แ​ บบ​ สัญญา​ให้​ใช้​ลิขสิทธิ์​ที่​ช่วย​ลด​ทอน​การ​เสีย​เปรียบ​ลง​​อีก​ทั้ง​เน้น​ ย้ำ​ว่า​ ​แม้​เป็น​นัก​เขียน​ใหม่​ก็​มี​เกียรติ​และ​ศักดิ์ศรี​ใน​ฐานะ​นัก​ เขียน​เช่น​เดียว​กับ​รุ่น​พี่​ที่​มิ​ควร​ถูก​เอา​เปรียบ​จาก​สำนัก​พิมพ์​​ เนื่องจาก​การ​ผลิต​งาน​แต่ละ​ชิ้น​ต้อง​ใช้​พละ​กำลัง​และ​จิตใจ​สูง​ ไม่​แตก​ต่าง​จาก​นัก​เขียน​มือ​อาชีพ​​จึง​ควร​นับถือ​ตนเอง​และ​เชื่อ​ มั่น​ใน​ผล​งาน​ให้​มาก​ ​มิใช่​ยินยอม​ตามใจ​หรือ​ยอม​เสีย​เปรียบ​ เพียง​เพราะ​กลัว​ไม่​ได้​พิมพ์​เป็น​เล่ม​​ถ้า​มั่นใจ​ว่า​งาน​เขียน​ดีแล้ว​ ย่อม​ต้อง​มี​สำนัก​พิมพ์​อื่น​เห็น​ความ​ดี​เด่น​ของ​มัน​ได้​เช่น​กัน​และ​ ไม่​ต้อง​ถูก​เอา​เปรียบ​เกิน​ไป​​นัก​เขียน​ใหม่​ควร​พอใจ​กับ​ข้อ​เสนอ​ หรือส​ ญ ั ญา​ทเ​ี่ ป็นธ​ รรม​เท่านัน้ ​ก​ าร​ได้ค​ า่ เ​รือ่ ง​ตาม​มาตรฐาน​และ​ ระยะ​เวลา​เป็น​ธรรม​ระหว่าง​สำนัก​พิมพ์​และ​นัก​เขียน​ ​เป็น​สิ่ง​ที่​ นัก​เขียน​ใหม่​พึง​ได้​รับ​แล้ว​ ​อีก​ทั้ง​ต้อง​รู้จัก​ปฏิเสธ​ความ​ไม่​เป็น​ ธรรม​กับ​งาน​เขียน​ของ​ตน​เพราะ​เป็นการ​ดูแคลน​ฝีมือ​ของ​นัก​ เขียน​เอง​​ถ้า​ไม่​ดูถูก​งาน​ของ​ตน​​สัก​วัน​ต้อง​มี​คน​เห็น​คุณค่า​งาน​ ของ​ทา่ น​แ​ ต่ก​ าร​ยอม​ถกู เ​อา​เปรียบ​เกินเ​หตุจ​ กั ต​ ดั ป​ ระโยชน์จ​ าก​ น้ำ​พัก​น้ำ​แรง​ที่​พึง​ได้​จาก​งาน​ของ​เรา​​แม้แต่​กรรมกร​ใช้​แรงงาน​ ยัง​ได้​ค่าแรง​ตาม​ผล​งาน​ ​นัก​เขียน​ใหม่​สมควร​ถูก​เอา​เปรียบ​ ค่าแรง​หรือ​​?​​คง​ต้อง​ไตร่ตรอง​ให้​หนัก​กับ​สัญญา​น่า​คิด​ที่​สำนัก​ พิมพ์​เสนอ​แก่​คน​ไร้​ประสบการณ์​ใน​วัน​นี้​ระหว่าง​เงิน​เหมา​เรื่อง​ ครัง้ เ​ดียว​ของ​สำนักพ​ มิ พ์ก​ บั เ​งินจ​ า่ ย​เป็นร​ าย​ครัง้ ต​ าม​มาตรฐาน​ เบื้อง​ต้น​ภายใน​เวลา​คุ้มครอง​ ​นัก​เขียน​ใหม่​ควร​พิจารณา​ว่า​ ​ประโยชน์​สูงสุด​ที่​ตน​ ควร​ได้​คือ​แบบ​ไหน​ ​หาก​คิด​เพียง​ว่า​ต้องการ​ออก​เล่ม​เท่านั้น​ 38  WRITE E-MAGAZINE

ยอม​เสีย​เปรียบ​ทุก​อย่าง​ ​ลอง​คิด​ว่า​ถ้า​เป็น​งาน​ดี​เยี่ยม​ ​ติด​ ตลาด​ ​นัก​อ่าน​นิยม​สูง​ ​ชื่อ​เสียง​ที่​ได้​รับ​คุ้ม​ค่า​กับ​ค่าแรง​ที่​ได้​รับ​ ครั้ง​เดียว​หรือ​ไม่​เมื่อ​คน​ตักตวง​ประโยชน์​ฝ่าย​เดียว​คือ​สำนัก​ พิมพ์​ภายใน​ระยะ​เวลา​คุ้มครอง​ที่​ต้อง​ยาวนาน​อย่าง​แน่นอน​​ เช่น​ ​ได้​รับ​ค่า​เรื่อง​ครั้ง​แรก​ ​20,000​ ​บาท​ ​ระยะ​เวลา​คุ้มครอง​​ 5​ ​ปี​ ​เงื่อนไข​คือ​ ​นัก​เขียน​ได้​รับ​เงิน​ค่า​เรื่อง​แบบ​เหมา​ครั้ง​เดียว​ เท่านั้น​โดย​ไม่​คำนึง​ถึง​จำนวน​พิมพ์​​และ​ตลอด​เวลา​​5​​ปี​​สำนัก​ พิมพ์​มี​สิทธิ์​พิมพ์​ซ้ำ​กี่​ครั้ง​ ​กี่​เล่ม​ ​ก็ได้​โดย​ไม่​ต้อง​จ่าย​ค่า​เรื่อง​แก่​ นัก​เขียน​อีก​​ถา้ ​เรื่อง​ของ​นัก​เขียน​ดัง​ขึ้น​​นัก​เขียน​ทำได้​เพียง​มอง​ การ​โกย​เงิน​ของ​สำนัก​พิมพ์​ฝ่าย​เดียว​​ถ้า​ขาย​ยาก​​เขา​ก็​จ่าย​แค่​ 20,000​​บาท​​แล้ว​ทยอย​ขาย​เล่ม​ไป​เรื่อยๆ​​แค่​ได้​เงิน​กลับ​คืน​ช้า​ เล็ก​น้อย​ ​แต่​ได้​สิทธิ์​ครอบ​ครอง​ลิขสิทธิ์​งาน​ไว้​อีก​ยาว​ซึ่ง​ถือ​เป็น​ ทรัพย์สิน​ของ​บริษัท​ที่​มี​มูลค่า​อย่าง​หนึ่ง​ ​หาก​เปรียบ​เทียบ​กับ​ สัญญา​อีก​ประเภท​ที่​มี​ระยะ​เวลา​คุ้มครอง​เท่า​กัน​ ​คือ​ ​5​ ​ปี​ ​แต่​ จ่าย​ค่า​เรื่อง​ทุก​ครั้ง​ที่​มี​การ​จัด​พิมพ์​ตาม​สูตร​คำนวณ​มาตรฐาน​ ตลาด​วรรณกรรม​​เมื่อ​ผล​งาน​ติด​ตลาด​และ​เป็น​ที่​นิยม​นัก​เขียน​ จะ​มี​ราย​ได้​ตอบแทน​ค่า​เขียน​ทุก​ครั้ง​ที่​มี​การ​พิมพ์​ ​เป็นการ​แบ่ง​ ปัน​ประโยชน์​ระหว่าง​นัก​เขียน​และ​สำนัก​พิมพ์​อย่าง​เป็น​ธรรม​​ ทำให้น​ กั เ​ขียน​มก​ี ำลังใ​ จ​ผลิตง​ าน​ดๆี อ​ อก​มา​อกี ​ส​ ำนักพ​ มิ พ์ก​ ไ็ ด้​ กำไร​จาก​งาน​พิมพ์​ ​ใน​ทาง​กลับ​กัน​หาก​งาน​ไม่​ได้​รับ​ความ​นิยม​​ ชิ้น​งาน​นั้น​ควร​ถูก​เก็บ​ไว้​ยาวนาน​เพียง​นั้น​หรือ​ ​?​ ​แม้​จะ​เป็น​นัก​ เขียน​ใหม่​ก็​ไม่​ควร​ถูก​เอา​เปรียบ​เกิน​เหตุ​จาก​สำนัก​พิมพ์​ ​ขอ​ให้​ นัก​เขียน​ใหม่​เชื่อ​มั่น​และ​นับถือ​ตนเอง​และ​คุณค่า​ของ​งาน​ก่อน​​ แล้วใ​ ช้ส​ ติป​ ญ ั ญา​ไตร่ตรอง​ขอ้ เ​สนอ​ของ​สำนักพ​ มิ พ์อ​ ย่าง​ถถี่ ว้ น​​ จัก​ไม่​ต้อง​ผิด​หวัง​หรือ​เสียใจ​กับ​การ​ทำ​สัญญา​พิมพ์​ผล​งาน​ของ​ ตน​  g


คลื่นไม่กระทบฝั่ง เขียนโดย จิรัฏฐ์ เฉลิมแสนยากร เป็น​ความ​เรียง​เกี่ยว​กับ​คน​รุ่น​ใหม่​ล่วม​สะ​ห​มัย​​11​​เรื่อง​ ตอน​นี้​หนังสือ​ทำ​มือ​ได้​เสร็จ​สมบูรณ์​แล้ว​ ​ผู้​สนใจ​สามารถ​สั่ง​ซื้อ โดยจะจัดส่งหนังสือทางไปรษณีย์ ชำระเงินผ่านทาง​ธนาณัติ​​มา​ตาม​ที่​อยู่​ที่​ขึ้น​อยู่​หน้า​นี้​ ​91​/​143​ ​ถ​.​รามอินทรา​ ​ซ​.​44​ ​แยก​ ​4​ ​ถ​.​รามอินทรา​ ​แขวง​คันนายาว​ ​เขต​คันนายาว​ ​กรุงเทพฯ​​ 10230​ ​ ​หรือโ​ อน​เงิน​เข้า​บัญชี​ชื่อ​​นาย​จิรั​ฏฐ์​​เฉลิม​แสนยากร​ ​ธ​.​กรุง​ไทย​​สาขา​สะพาน​ใหม่​​ ​เลข​บัญชี​​065​-​0​-​24328​-​5​​ ​ ​หาก​ท่าน​ผู้​อ่าน​โอน​เงิน​แล้ว​โปรด​แจ้ง​​ชื่อ​และ​ที่​อยู่​ใน​การ​จัด​ส่ง​มา​ทาง​อีเมล​นี้​ด้วย​นะ​ครับ​ ​ผม​จะ​รีบ​ส่ง​ไป​ให้​ท่าน​ได้​อ่าน​ภายใน​​3​-​5​​วัน​ทำการ​ ​ ​ขอบคุณ​ล่วง​หน้า​สำหรับ​ลม​หายใจ​ของ​ผู้​อ่าน​ WRITE E-MAGAZINE 39


กระต่าย​ติด​ซอย​​เพลย์บอย​ติดใจ text: กฤษณา รัตนกุล

​"​วัย​รุ่น​ไทย​เอา​กัน​เหมือน​กระต่าย​"​ ​พี่​เล็ก​ (​จุล​จักร​​ จักรพงษ์​) ​ได้​บอก​ผม​ไว้​ ​ทำไม​นะ​หรอ​ ​วัย​หลัง​จาก​ตรา​ก​ตรำ​​ เ​ดิน​ห้าว​ ​ดู​หนัง​ ​เที่ยว​ผับ​ ​กัน​ทั้ง​วัน​ทั้ง​คืน​ก็​เกิด​ความ​เหนื่อย​ล้า​ อยาก​จะ​หา​อะไร​ทำ​แบบ​ไม่​ต้อง​เสีย​ตังค์​ ​แต่​เสีย​ตัว​ ​กิจกรรม​​ ยาม​ว่าง​จึง​หนี​ไม่​พ้น​การ​มี​ ​Sex​ ​และ​ทำไม​ต้อง​ยก​กระต่าย​ มา​แอบ​อ้าง​พฤติกรรม​เหล่า​นี้​ ​มัน​มี​ที่มา​แน่นอน​.​.​.​ที่​ประเทศ​​ Australia​​มี​ฤดูกาล​ล่า​กระต่าย​​เหล่า​บรรดา​นัก​ล่า​หน้า​ฝรั่ง​​เอา​ กระต่าย​ไป​ปล่อย​ใน​ป่า​แล้ว​ออก​ล่า​​แต่​จน​แล้ว​จร​รอด​พอ​ล่า​ไม่​ หมด​จบ​ฤดูกาล​ ​กระต่าย​ที่​เหลือ​เหล่า​นั้น​ก็​ใช้​ชีวิต​อย่าง​สงบ​สุข​ เป็น​เวลา​อีก​ขวบ​ปี​ ​และ​มัน​จะ​ทำ​อะไร​หละ​ ​Musuem​ ​ก็​ไม่มี​ให้​ เข้า​เหล้า​ก็​ไม่มี​ให้​แดก​ ​ครั้น​จะ​หา​เพื่อน​ต่าง​สาย​พันธุ์​เล่น​ด้วย​ กัน​ ​มัน​ก็​ดัน​ไป​เลือก​เต่า​ ​จาก​นั้น​มัน​ก็​เลย​เข็ด​ไม่​อยาก​ไว้ใจ​ใคร​ อีก​ ​เลย​ต้อง​กระโดด​หู​ตก​มา​จม​ปรัก​อยู่​กับ​เพื่อน​ ​พี่​ ​น้องๆ​ ​ร่วม​ เ​ผ่าพ​ นั ธุ​์ ม​ นั ก​ เ​็ ลย​ไม่รจ​ู้ ะ​ทำ​อะไร​ห​ รือว​ า่ จ​ ะ​นอน​รอ​ความ​ตาย​อยู​่ อย่าง​นี้​​วัน​เวลา​ล่วง​เลย​ผ่าน​ไป​​กระต่าย​ตัว​พ่อ​ก็​เรียก​ประชุม​​ "เพื่อ​ความ​อยู่​รอด​​ต่อ​ไป​นี้​วัน​เวลา​ที่​มี​อยู่​จะ​ไม่ใช่​การ​ มอง​ดวง​อาทิตย์​และ​รอ​คอย​ดวง​จันทร์​อีก​ต่อ​ไป​​ต่อ​ไป​นี้​เรา​ต้อง​ "​เอา​"​" ก​ ระต่าย​ลกู บ​ า้ น​กข​็ าน​ตอบ​รบั เ​สียง​ดงั ก​ กึ ก้อง​ไป​ทวั่ ท​ งั้ ​ ป่า​ ​"​เอา​"​ ​"​เอา​"​ ​"​เอา​"​ ​หลัง​จาก​การ​ประชุม​ครั้ง​นี้​กระต่าย​ ​วันๆ​ก็​ ไม่ท​ ำ​อะไร​นอกจาก​เอา​ก​ ระต่าย​ได้เ​พิม่ จ​ ำนวน​เป็น​ส​ าม​ถงึ ส​ เ​ี่ ท่า​ ใน​เวลา​แค่ป​ เ​ี ดียว​แ​ ละ​เพราะ​เหตุน​ ​ี้ "​ก​ ระต่าย​"​ไ​ ด้เ​ป็นส​ ญ ั ลักษณ์​ 40  WRITE E-MAGAZINE


ของ​​Playboy​​มา​จนถึง​ปัจจุบัน​ ​ ​แล้ว​มัน​เกี่ยว​อะไร​กับ​วัย​รุ่น​ไทย​​เพราะ​วัย​รุ่น​ไทยหลง​ ทาง​ครับ​ ​เริ่ม​สะสม​ชั่วโมง​งง​มา​ซัก​พัก​ ​ยิ่ง​เติบโต​เป็น​ผู้ใหญ่​ยิ่ง​ ไม่​กล้า​เดิน​ย้อน​กลับ​ไป​เลือก​เดิน​ทาง​ใหม่​​"​วัย​รุ่น​หลง​ทางใน​วัน​ นี​้ ก​ ลาย​เป็นผ​ ใู้ หญ่ห​ ลง​ทางใน​วนั ห​ น้า"​​อ​ ะไร​ดงั ห​ น่อย​กแ​็ ห่แหน​ ไป​เชิดชู​ ​เอ้​า​นัก​เทนนิส​ระดับ​โลก​ ​นัก​เท​ควัน​โด้​ครอบ​จักรวาล​​ เพราะ​การ​ที่​เลือก ​"​กระแส​"​​อาจ​ทำให้​รวย​และ​มีชื่อ​เสียง​​ถ้า​คิด​ แค่​นี้​​จุดยืน​ของ​ทุก​คน​คง​ติด​ไวรัส​ไป​แล้ว​ ​ ​Playboy​ ​ตัว​น้อย​กระโดด​ไป​ผสม​พันธุ์​กับ​กระต่าย​ เ​พศ​เมียอ​ ย่าง​เริงร่า​ม​ นั เ​สพ​ตดิ ร​ ส​กา​มรมณ์​P​ layboy​ต​ วั น​ อ้ ย​ยงั ​ หลง​ไหล​ใน​"​กาม​กรีฑา​"​​ต้อง​ปฏิบัติ​ตาม​​Playboy​​Society​​ที่​ไม่​ ได้ห​ วังส​ บื พันธุ​์ แ​ ต่ห​ วังม​ เ​ี พศ​สมั พ​ นั ธุ​์ ร​ วม​ไป​ถงึ ​F​ unfair​F​ estival​​ เพื่อ​หวัง​จะ​ได้​ ​Fun​ ​Free​ ​ถ้า​เทพนิยาย​สมัย​ก่อน​ ​ซินเดอเรล​ล่า​ ทิ้ง​รองเท้า​แก้ว​ไว้​ ​เรื่อง​จริง​ของ​สมัย​นี้​ ​คง​เป็น​ถุง​ยาง​ทิ้ง​ไว้​ให้​ดู​ ต่าง​หน้า​ท​ าง​ดา้ น​กระต่าย​สาว​เกิดค​ วาม​ผดิ ผ​ ลา​ด​ต​ งั้ ท​ อ้ ง​ขนึ้ ม​ า​ ก​ระ​ทัน​หัน​ ​อุ้ม​ท้อง​โย้เย้​จะ​ไป​ทำ ​"​แท้ง​"​ ​สังคม​และ​คน​รอบ​ ข้าง​ก็​ตั้ง​ข้อหา​ให้​สา​แก่​ใจ​ ​"​ท้อง​ไม่มี​พ่อ​"​ ​"​ไร้​ความ​รับ​ผิด​ชอบ​"​ "​สำ่ ส​ อ่ น"​ค​ ำ​พดู ส​ ว่ น​ใหญ่พ​ รัง่ พ​ รูอ​ อก​มา​จาก​ปาก​ของ​คน​ทเ​ี่ รียก​ ตัวเ​อง​วา่ ผ​ ใู้ หญ่​ค​ น​เหล่าน​ ส​ี้ ามารถ​ประนาม​ได้เ​พราะ​เค้าใ​ ช้ช​ วี ติ ​ อยูใ​่ น​สงิ่ ท​ เ​ี่ รียก​วา่ "​ท​ ำนอง​คลอง​ธรรม​"​เ​ด็กค​ น​ไหน​แหกคอก​ก​ จ​็ ะ​ ถูก​เรียก​ว่า​​"​เด็ก​ก้าวร้าว​"​​กำลัง​ใจ​ที่​เหลือ​อยู่​ก็​คง​พร่อง​ไป​หมด​ ​ ท​ กุ ว​ นั น​ เ​ี้ รา​ยงั เ​ดินส​ วน​กนั ​เ​รา​ไม่รห​ู้ รอก​วา่ ค​ น​ไหน​เป็น​ Playboy​​ใคร​ดี​หรือ​ไม่​ดี​​และ​การ​มี​​Sex​​ซะ​บั้น​หั่น​แหลก​ก็​คง​ไม่​ ได้​เป็น​ปัญหา​ระดับ​ชาติ​​กิน​​ขี้​​ปี้​​นอน​​คือ​รูป​แบบ​ที่แท้​จริง​ของ​ การ​มี​อยู่​ ​สถานการณ์​บ้าน​เมือง​วุ่นวาย​ ​ทำให้​จิตใจ​เรา​ยุ่งเหยิง​ ไม่​ว่า​ด้วย​เหตุ​ใด​ก็ตาม​ ​เรา​ยัง​ถูก​มอมเมา​จาก​แสง​สี​ที่มา​จาก​ หลอด​ไฟ​ส​ ะเก็ดไ​ ฟ​ทมี่ า​จาก​ปลาย​กระบอก​ปนื ​P​ layboy​ไ​ ม่เ​คย​ รวม​ตวั ก​ นั ส​ ร้าง​มอ็ บ​ไ​ ม่เ​คย​ทำ​รฐั ประหาร​P​ layboy​ก​ ย​็ งั เ​ป็น​ค​ น​​ มี​จิตใจ​​มี​เลือด​เนื้อที่​ต้องการ​ผู้ใหญ่​ดีๆ​ไว้​ชี้​ทาง​  g ​ ​Playboy​​รอย​เตอร์​

WRITE E-MAGAZINE 41


Nostalgia text&image: “​ ​โน​ลี​โอ​”

เพื่อน​กัน​ตลอด​ไป “​ เ​วลา​ให้น​ ม​ลกู ​แ​ ก​ตอ้ ง​นงั่ ต​ วั ต​ รงๆ​น​ งั่ ง​ อ​หลังแ​ บบ​นนั้ ​ ก็​แย่​น่ะ​สิ​”​ ​ ​“​ก็​มัน​เมื่อย​นี่​นา​ ​เอา​ลูก​วาง​ลง​ที่​ตัก​แล้ว​โน้ม​ตัว​ลง​มา​ หา​ลูก​แบบ​นี้​​ฉัน​จะ​ ​เมื่อย​น้อย​กว่า​นั่ง​ตรงๆ​​อีก​นะ​”​ ​ ​“​มัน​ก็​จริง​นะ​ ​แต่​มัน​ไม่​ดี​กับ​กระดูก​สัน​หลัง​นะ​ ​เอา​งี้​สิ​ แก​ทำ​แบบ​ฉัน​นี่​ไง​”​​ ​ ​ว่ า ​พ ลาง​ห ญิ ง ​ส าว​ผู้ ​พู ด ​ก็ ​ท ำท่ า ​ใ ห้ ​ดู ​เ ป็ น ​ตั ว อย่ า ง​​ เธอ​นอน​ตะแคง​หนุน​หมอน​ใบ​กะทัดรัด​พอดี​หัว​ ​มี​ลูก​น้อย​ ​นอน​ดูด​นม​อยู่​แนบ​อก​​ท่วงท่า​​และ​เสียง​จ๊วบๆ​​ของ​ลูก​​บ่ง​บอก​ ว่า​กำลัง​ดื่มด่ำ​กับ​น้ำนม​แสน​วิเศษ​ที่​ไหล​ผ่าน​จาก​เต้า​เข้า​ปาก​ น้อย​กะ​จิ​ริ​ด​นั้น​อย่าง​ต่อ​เนื่อง​​เนิ่น​นาน​​และ​เปี่ยม​สุข​ ​ ​หญิง​สาว​อีก​คน​ยืน​ดู​นิ่ง​ ​เก็บ​ราย​ละเอียด​และ​จดจำ​ ท่าทาง​ใน​การ​นอน​ให้​นม​ลูก​วิธี​ใหม่​ที่​เธอ​เพิ่ง​รู้​นี้​ ​เพื่อ​จะ​ได้​นำ​ กลับ​ไป​ใช้​กับ​ตัว​เอง​และ​ลูก​ ​ใน​ขณะ​ที่​มือ​หนึ่ง​ประคอง​หลัง​ ลูก​น้อย​​อีก​มือ​หนึ่ง​โอบ​อุ้ม​แนบ​อก​ ​ ​ฉั น ​นั่ ง ​ม อง​ดู ​คุ ณ ​แ ม่ ​มื อ ​ใ หม่ ​ส อง​ค น​แ ลก​เ ปลี่ ย น​ ประสบการณ์​ใน​การ​ให้​นม​ลูก​แก่​กัน​อย่าง​อิ่ม​เอม​และ​อบอวล​ ไป​ด้วย​พลัง​แห่ง​รัก​และ​มิตรภาพ​ ​สอง​สาว​มี​ลูก​น้อย​แนบ​อยู่​ กับ​อก​อิ่มค​ ู่​นั้น​​คนละ​คน​​​​​คน​หนึ่ง​เป็น​เด็ก​หญิง​วัย​กว่า​สี่​เดือน​​ หน้าตา​น่า​รัก​น่าชัง​ ​ตาโต​ ​แก้ม​ป่อง​ ​ยิ้ม​ง่าย​และ​ผิว​เนียน​นวล​ ชมพู​เรื่อ​ ​อีก​หนึ่ง​คน​เป็น​เด็ก​ชาย​แรก​คลอด​อายุ​เพียง​เดือน​เศษ​​ ผิว​เข้ม​กว่า​เล็ก​น้อย​ ​และ​จมูก​โด่ง​เป็น​สัน​สูง​ ​เด็ก​น้อย​สอง​คน​นี้​ เป็นเ​พือ่ น​กนั ต​ งั้ แต่ย​ งั อ​ ยูใ​่ น​ครรภ์​เ​พราะ​แม่ข​ อง​เขา​ทงั้ ส​ อง​กเ​็ ป็น​ เพื่อน​กัน​ตั้งแต่​ยัง​ไม่มี​ครรภ์​เหมือน​กัน​ 42  WRITE E-MAGAZINE

​ ​๒ ๓​ ​ตุ ล าคม​ ​วั น ​ห ยุ ด ​นั ก ขั ต ​ฤ กษ์ ​เ นื่ อ ง​ใ น​​ วัน​ปิยะ​มหาราช​​ฉัน​และ​เพื่อนๆ​​รวม​​๖​​คน​นัดแนะ​กัน​เรียบร้อย​ เพื่อ​ไป​เยี่ยมเยียน​เพื่อน​และ​หลาน​สาว​คน​ใหม่​ด้วย​กัน​ที่​บ้าน​ ของ​เธอ​ย่าน​ซอย​อารีย์​ ​ข่าว​ว่า​หลาน​สาว​ของ​พวก​เรา​เป็น​ ลูก​ครึ่ง​หน้าตา​สะสวย​ ​เรา​เลย​ถือ​โอกาส​นี้​ได้​พบปะ​เจอะ​เจอ​ กันเอง​ไป​ใน​ตัว​​เพ​ราะ​หลายๆ​​คนใน​หก​คน​นี้​​นาน​เป็น​ปี​ที​เดียว​ กว่าท​ เ​ี่ รา​จะ​ได้ม​ า​เจอ​กนั ​​ต​ า่ ง​คน​ตา่ ง​กม​็ หี น้าท​ ท​ี่ ต​ี่ อ้ ง​รบั ผ​ ดิ ช​ อบ​​ ต้อง​กระทำ​ ​ต้อง​ขวนขวาย​ ​ต้อง​ไขว่​คว้า​ ​เพื่อ​ความ​อยู่​รอด​​.​.​.​ ข้อ​นี้​ฉัน​เข้าใจ​ดี​.​.​.​​ ​ ​ก่อน​หน้าที่​จะ​ถึง​วัน​นัด​ ​ฉัน​เดิน​เลือก​หา​ของ​รับ​ขวัญ​ หลาน​ที่​โซน​เด็ก​อ่อนข​อง​ห้าง​สรรพ​สินค้า​ใกล้​บ้าน​ ​ข้าว​ของ​ เครื่อง​ใช้​สำหรับ​เด็ก​แรก​เกิด​ไป​จนถึง​เด็ก​โต​มี​ให้​เลือก​ละลาน​ ตา​จน​หยิบ​จับ​ไม่​ถูก​ว่า​จะ​เลือก​ชิ้น​ไหน​ ​ฉัน​และ​เพื่อน​สาว​อีก​ คน​ที่​เรา​หุ้น​กัน​ซื้อ​ของ​ขวัญ​ ​ตกลง​ปลงใจ​ให้​หมอนข้าง​ผ้า​นุ่มๆ​​ รูป​ตัว​หนอน​และ​ผึ้ง​ตัว​จ้อย​เป็น​ของ​ขวัญ​​ฉัน​เอง​เดา​ใจ​ไม่​ถูก​ว่า​ หลาน​จะ​ชอบ​ตกุ๊ ตา​หมอนข้าง​ทเ​ี่ ลือก​ให้ห​ รือไ​ ม่​แ​ ละ​หลาน​จะ​รบั ​ รู้​ได้​หรือ​เปล่า​ว่า​ของ​ขวัญ​ทั้ง​สอง​ชิ้น​ผ่าน​การ​คัด​เลือก​และ​พินิจ​ พิจารณา​มา​อย่าง​ดี​เพียง​ใด​ก่อน​ที่มา​เป็น​ของ​ขวัญ​นี้​ ​แต่​ข้อ​นี้​ คง​ไม่​สำคัญ​เท่า​ไหร่​ ​เพราะ​ฉัน​เชื่อ​ว่า​วัน​หนึ่ง​ที่​เขา​โต​ขึ้น​ ​เขา​จะ​ สามารถ​รับ​รู้​ถึงที่​มา​ที่​ไป​ของ​คุณค่า​ของ​ของ​ขวัญ​สัก​ชิ้น​เป็น​แน่​ ​ ​พวก​เรา​มา​ถึง​บ้าน​เพื่อน​ตาม​เวลา​นัด​หมาย​ ​และ​เป็น​ ดัง​คาด​ที่​เรา​จะ​คุย​กัน​ชนิด​ที่​ไม่มี​ใคร​ยอม​หยุด​ให้​ใคร​ได้​พูด​ และ​ทำ​ราวกับ​ว่า​ช่วง​เวลา​ที่​มัน​หดหาย​ไป​กับ​หน้าที่​การ​งาน​ ​ของ​แต่ละ​คน​นั้น​ ​ถูก​เติม​ให้​เต็ม​ ​และ​บด​ทับ​ไป​ด้วย​รอย​ยิ้ม​​


เ​สียง​หัวเราะ​และ​การ​ถามไถ่​ที่​ไม่​ได้​หยุด​หย่อน​นั้น​ที​เดียว​​ ​ ​ฉัน​มอง​ดู​เพื่อนๆ​ ​แต่ละ​คน​ด้วย​ความ​รู้สึก​ที่​ไม่​อยาก​ เชื่อ​ว่า​เรา​จะ​มี​วัน​นี้​กัน​ได้​ ​วัน​ที่​สาวๆ​ ​หลาย​คนใน​กลุ่ม​ ​เซี้ยว​​ เปรี้ยว​ซ่า​ ​ ของ​พวก​เรา​ ​จะ​เปลี่ยน​เส้น​ทาง​เดิน​จาก​นักศึกษา​ผู้​ ล่า​ฝัน​มา​เป็น​หนุ่ม​สาว​ออฟฟิศ​ผู้​ตะกาย​ดาว​ใน​หน้าที่​การ​งาน​ ​ และ​บาง​คน​จะ​กลาย​มา​เป็น​แม่​คน​โดย​สมบูรณ์​แบบ​ ​ฉัน​ยัง​จำ​ ได้ด​ ก​ี บั ภ​ าพ​ผห​ู้ ญิงม​ าด​เซอ​ห​ วั ก​ ระเซิง​แ​ ละ​ทา่ ทาง​การ​เดินก​ วน​ บาทา​ผพ​ู้ บเห็นค​ น​นนั้ ​เ​ปลีย่ น​เป็นค​ ณ ุ แ​ ม่ม​ อื ใ​ หม่ท​ นี่ อน​นงิ่ ใ​ ห้น​ ม​ ลูก​ ​และ​ปลอบ​ประโลม​เด็ก​น้อย​ด้วย​เสียง​อัน​ใส​เย็น​อ่อน​หวาน​ ยาม​ลูก​ร้อง​โยเย​​ ​ ​เพื่อน​บาง​คน​ ​ถึง​แม้​จะ​ยัง​ไม่มี​ครอบครัว​ ​แต่​ด้วย​​ การ​งาน​และ​สงั คม​ทห​ี่ ล่อเ​ลีย้ ง​หลังจ​ าก​ออก​จาก​รวั้ ม​ หาวิทยาลัย​ ก็​หลอม​รวม​ความ​แกร่ง​​กร้าน​​และ​อาจหาญ​ใน​การ​ดำเนิน​ชีวิต​ กว่า​แต่​ก่อน​ ​เพื่อน​ชาย​บาง​คน​เขี้ยว​เล็บ​ถูก​หัก​ออก​หมด​เกลี้ยง​​

หลัง​จาก​เจอ​ฤทธิ์​เดช​เจ้า​จอม​วาย​ร้าย​ ​ตัว​ป่วน​ประจำ​บ้าน​​ ลูกชาย​หัว​แก้ว​หัว​แหวน​ ​แต่​บาง​คน​ก็​เดิน​โซ​ซัด​โซเซ​ ​ผม​อกร่อง​​ เพราะ​ไม่มี​งาน​​ไม่มี​เงิน​​ ​ ว​ นั น​ นั้ ​ห​ ลังจ​ าก​เรา​คยุ ก​ นั จ​ น​หนำใจ​เ​รา​กพ​็ า​กนั อ​ อก​ไป​ กิน​ข้าว​กลาง​วัน​ที่​ร้าน​อาหาร​ละแวก​บ้าน​ ​ แน่นอน​ว่า​เรา​ไม่​ลืม​ ที่​จะ​พา​เจ้า​ตัว​น้อย​ไป​ด้วย​ ​ ตอน​นั้น​ ​เพื่อน​สาว​อีก​คน​ที่​เป็น​คุณ​ แม่ล​ กู ชาย​วยั เ​ดือน​เศษ​ยงั ไ​ ม่ถ​ งึ ก​ ำหนด​คลอด​แต่ก​ อ​็ ยุ้ อ้าย​เต็มท​ ​ี่ ใน​กลุ่ม​ของ​เรา​จึง​เป็น​ที่​สะดุด​ตา​ต่อ​ผู้​พบเห็น​ไม่ใช่​น้อย​ ​ที่​มี​ ทั้ง​สาว​ท้อง​แก่​ ​มี​เด็ก​อ่อน​ ​มี​ชาย​หนุ่ม​ ​หญิง​สาว​ ​ที่​ล้วน​อยู่​ใน​ ​วัย​ไล่เลี่ย​กัน​เดิน​ปะปน​กัน​ไป​อย่าง​อบอุ่น​​และ​สนุกสนาน​เฮฮา​ ​ ​อากาศ​ภายนอก​ร้อน​ระอุ​เอา​เรื่อง​สำหรับ​เจ้า​ตัว​น้อย​​ เพราะ​เธอ​เป็น​ลูก​ครึ่ง​ไทย​ฝรั่งเศส​ที่​เพิ่ง​หอบ​หิ้ว​กัน​กลับ​มา​จาก​ เมือง​นี​มอัน​หนาว​เหน็บ​ได้​เพียง​สัปดาห์​เดียว​ ​เธอ​โยเย​เล็ก​น้อย​ เพราะ​อากาศ​เปลี่ยน​ ​แม่​ของ​เธอ​จึง​ปลอบโยน​ลูก​น้อย​ด้วย​การ​ ให้​นม​เป็น​ของ​ปลอบ​ขวัญ​ ​แต่​ร้าน​ที่​เรา​ไป​กิน​ข้าว​คน​แน่น​และ​​ WRITE E-MAGAZINE 43


ส​ งิ่ ท​ ผ​ี่ ห​ู้ ญิงต​ อ้ งการ​มาก​ทสี่ ดุ ​ก​ ค​็ อื เ​พือ่ น​ แ​ละ​เพือ่ น​ทด​ี่ ท​ี สี่ ดุ ข​อง​ ผู้​หญิง​​ก็​คือ​​“​ลูก​”​ คิว​ยาว​ ​แก็ง​ค์​แม่​ลูก​อ่อน​จึง​จำ​ต้อง​นั่ง​รอ​กัน​หน้า​ร้าน​นั้น​ ​ตอน​ แรก​ฉั น ​ยั ง ​กั ง วล​กั บ ​เ พื่ อ น​ส าว​ว่ า ​จ ะ​ใ ห้ ​น ม​ลู ก ​อ ย่ า งไร​ใ น​ที่ ​ สาธารณะ​เช่น​นี้​ ​แต่​เมื่อ​เห็น​ท่าทาง​ขึงขัง​ของ​เพื่อน​แล้ว​ก็​อด​ที่​ จะ​ทึ่ง​ใน​ความ​เป็น​แม่​ของ​เธอ​ไม่​ได้​ ​ เ​พือ่ น​ของ​ฉนั ไ​ ม่ร​ รี อ​ทจ​ี่ ะ​เปิดเ​สือ้ ข​ นึ้ แ​ ละ​ให้น​ ม​ลกู อ​ ยูท​่ ​ี่ หน้าร​ า้ น​อาหาร​นนั้ ​​โดย​ไม่ส​ นใจ​สายตา​ของ​ผท​ู้ เ​ี่ ดินผ​ า่ น​ไป​ผา่ น​ มา​เลย​​​อ​ กี ค​ รัง้ แ​ ล้วท​ ฉ​ี่ นั ม​ อง​ดเ​ู พือ่ น​ดว้ ย​ความ​ประหลาด​ใจ​แต่​ ก็​เชื่อ​ใน​สัญชาตญาณ​ของ​ความ​เป็น​แม่​ ​ที่​จะ​ทำ​ทุก​วิถี​ทาง​เพื่อ​ ให้​ลูก​ได้​สิ่ง​ที่​ดี​ที่สุด​ ​ไม่​เว้นแ​ ม้แต่​ใน​เวลา​ใด​เลย​​ ​ ​เ พื่ อ น​ฉั น ​ตั ด สิ น ​ใ จ​ไ ป​ใ ช้ ​ชี วิ ต ​คู่ ​ที่ ​ฝ รั่ ง เศส​กั บ ​ส ามี ​ ก่อน​หน้า​นั้น​เรา​คุย​กัน​นาน​มาก​ ​กว่า​ที่​เธอ​จะ​ตัดสิน​ใจ​ได้​ ​ทั้ง​ ลังเล​ ​ทั้ง​กังวล​ ​ทั้ง​ยัง​ห่วง​หา​กับ​ครอบครัว​ ​เพื่อน​ฝูง​ที่​เมือง​ไทย​​ แต่ท​ กุ ช​ วี ติ ก​ ย​็ อ่ ม​มท​ี าง​เดินเ​ป็นข​ อง​ตนเอง​แ​ ละ​ถา้ ไ​ ม่ก​ า้ ว​ออก​ไป​​ ก็​คงจะ​ไม่มี​วัน​รู้​ว่า​หนทาง​ข้าง​หน้า​จะ​เป็น​อย่างไร​​ ​ ​ช่ ว ง​ที่ ​เ พื่ อ น​ใ ช้ ​ชี วิต​อยู่​ที่​ฝรั่งเศส​ ​ฉัน​กับ​เพื่อน​คน​ อื่นๆ​ ​ก็​ยัง​คง​ดำเนิน​ชีวิต​ของ​ตัว​เอง​เรื่อย​มา​ ​เพื่อน​ฉัน​โทรศัพท์​ ข​ า้ ม​นำ้ ข​ า้ ม​ทะเล​มา​หา​ถยี่ บิ ร​ าวกับว​ า่ เ​รา​หา่ ง​กนั เ​พียง​กรุงเทพฯ​​ –​ ​เชียงใหม่​ ​ฉัน​จับ​น้ำ​เสียง​และ​ความถี่​กระชั้น​ใน​การ​โทรศัพท์​ ​มา​หา​นั้น​ได้​ว่า​ ​เธอ​เหงา​ ​และ​ว้าเหว่​เพียง​ใด​ ​ถึง​จะ​มี​สามี​ ญาติมติ ร​หรือเ​พือ่ น​ฝงู ท​ าง​โน้น​แ​ ต่ก​ ม​็ ว​ิ าย​โหย​หา​และ​คร่ำครวญ​ ถึง​มิตรภาพ​และ​วาน​วัน​เก่าๆ​​ที่​ล่วง​เลย​ ​ เ​มือ่ แ​ รก​เริม่ ท​ เ​ี่ ธอ​ตงั้ ค​ รรภ์​ฉ​ นั ไ​ ม่แ​ น่ใจ​วา่ จ​ ะ​เป็นอ​ าการ​ ของ​คน​ทอ้ ง​หรือไ​ ม่ท​ จ​ี่ ะ​คดิ ว​ ก​วน​และ​พร่ำเพ้อถ​ งึ แ​ ต่อ​ ดีตก​ บั ช​ วี ติ ​ ใน​รั้ว​มหาวิทยาลัย​ของ​พวก​เรา​ ​ บางที​เพื่อน​ฉัน​ก็​จะ​เพ้อ​เจ้อ​ เคร่งเครียด​ ​และ​กังวล​กับ​อนาคต​ที่​ยัง​มา​ไม่​ถึงว่า​หลังค​ลอด​ ลูก​จะ​เป็น​อย่างไร​ ​ความ​สงสาร​เพื่อน​แล่น​จับ​หัวใจ​ฉัน​ ​เพราะ​ ช่วง​ชีวิต​หนึ่ง​ ​ฉัน​ก็​เคย​ระ​หก​ระ​เหิน​ใน​ต่าง​แดน​จึง​เข้าใจ​ถึง​ ความ​รู้สึก​ ​“​ขาด​และ​กลัว​”​ ​ของ​เพื่อน​ได้​เป็น​อย่าง​ดี​ ​ทั้ง​คำ​พูด​ 44  WRITE E-MAGAZINE

ปลอบ​ประโลม​ ​ทั้ง​สั่ง​และ​สอน​ ​ทั้ง​กำลัง​ใจ​เยอะ​แยะ​มากมาย​​ อีก​ทั้ง​ดุ​และ​ว่า​สารพัด​ ​เพื่อ​เรียก​สติ​ของ​เพื่อน​สาว​ตอน​นั้น​ให้​ กลับ​มา​อยู่​กับ​ปัจจุบัน​ของ​เธอ​พร้อม​ลูก​น้อย​ใน​ครรภ์​​​​ ​ ​“​อย่า​กังวล​ไป​เลย​นะ​แก​ ​ลูก​ยัง​ไม่​คลอด​วัน​นี้​พรุ่ง​นี้​ ​สัก​หน่อย​ ​ ระหว่าง​นี้​แก​ก็​หา​ตำรา​เลี้ยง​ลูก​มา​อ่าน​ตุน​ไว้​ก่อน​สิ​​ ​พอ​ถึง​เวลา​คลอด​จริงๆ​ ​จะ​ได้​ไม่มี​ปัญหา​ ​แต่​จะ​ว่า​ไป​แล้ว​ ผูห​้ ญิงเ​รา​ทกุ ค​ น​กล​็ ว้ น​มค​ี วาม​เป็นแ​ ม่อ​ ยูใ​่ น​ตวั เ​อง​ดว้ ย​กนั ท​ งั้ น​ นั้ ​ อยู่​ที่​เมื่อ​ไหร่​เรา​จะ​ได้​หยิบยก​มัน​มา​ใช้​ก็​เท่านั้น​ ​แต่​แก​เชื่อ​ ฉันเ​ถอะ​เ​มือ่ ถ​ งึ เ​วลา​ทจ​ี่ ะ​ตอ้ ง​เป็นแ​ ม่ข​ นึ้ ม​ า​จริงๆ​ฉ​ นั ว​ า่ ​ธ​ รรมชาติ​ จะ​สอน​แก​เอง​แหละ​​ว่า​แก​ต้อง​ทำ​ยัง​ไง​กับ​ลูก​”​​​​​​ ​ ​ฉัน​จำ​ได้​ว่า​ ​สิ่ง​สุดท้าย​ที่​ตอบ​ปลอบ​เพื่อน​ที่​ต่าง​แดน​ เป็น​เช่น​นั้น​ ​ ซึ่ง​ฉัน​เอง​ก็​ยัง​หวั่น​ใจ​อยู่​ว่า​ ​เพื่อน​คน​นี้​จะ​เอา​ตัว​ รอด​จาก​สภาวะ​นนั้ ไ​ ด้ห​ รือไ​ ม่​แ​ ต่ภ​ าพ​ทเ​ี่ ห็นใ​ น​วนั น​ ​ี้ เ​ธอ​ทำ​หน้าที​่ “​ แ​ ม่”​ ​ไ​ ด้อ​ ย่าง​สมบูรณ์ต​ าม​แบบ​ฉบับข​ อง​เธอ​ได้อ​ ย่าง​ไม่ข​ าด​ตก​ บกพร่อง​​คง​เพราะ​“​ ธ​ รรมชาติแ​ ละ​สญ ั ชาตญาณ​ของ​ความ​เป็น​ แม่​ที่​มี​อยู่​ใน​ตัว​”​​นั่นเอง​​ที่​ทำให้​เพื่อน​ฉัน​หรือ​ผู้​หญิง​หลายๆ​​คน​​ กลาย​เป็น​แม่​อย่าง​สมบูรณ์​แบบ​ใน​ที่สุด​​ ​ ​“​ฉัน​ไม่​ต้องการ​อะไร​อีก​แล้ว​ล่ะ​แก​”​​ ​ “​ ท​ ำไม​ละ่ !​​ท​ เ​ี มือ่ ก​ อ่ น​ละ่ เ​ห็นโ​ หย​หา​จะ​เป็นจ​ ะ​ตาย​โ​ ดย​ เฉพาะ​​เพื่อน​.​.​”​​ ​ ​“​ก็​ตอน​นี้​ฉัน​มี​เพื่อน​ใหม่​แล้​วน่ะ​สิ​”​ ​ ​“​ใคร​วะ​!​​เพื่อน​ใหม่​”​​ ​ ​ฉัน​ยัง​ไม่​หาย​สงสัย​ ​แต่​เพื่อน​ไม่​ตอบ​คำถาม​ฉัน​ ​เธอ​ ปราย​ตา​และ​เดิน​ไป​หา​ลูก​น้อย​ที่​กำลัง​นอน​หลับตา​พริ้ม​อยู่​บน​ เตียง​ ​พร้อม​ยิ้ม​ทักทาย​ลูก​ใน​ความ​ฝัน​ ​ฉัน​รู้​ได้​เอง​ใน​ทันที​ว่า​ เพื่อน​ที่​เธอ​หมาย​ถึง​นั้น​.​.​.​คือ​ใคร​.​.​. ​ ​ ​“ ​สิ่ ง ​ที่ ​ผู้ ​ห ญิ ง ​ต้ อ งการ​ม าก​ที่ สุ ด ​ ​ก็ ​คื อ ​เ พื่ อ ​น ​แ ละ​​


เพื่อน​ที่​ดี​ที่สุด​ของ​ผู้​หญิง​​ก็​คือ​​“​ลูก​”​​นั่นเอง​”​ ​ ​ใ คร​สั ก ​ค น​ก ล่ า ว​ไว้​เช่น​นั้น​ ​ซึ่ง​ฉัน​ก็​จำ​ได้​ไม่​หมด​​ แต่​เพื่อน​ของ​ฉัน​คน​นี้​ ​คง​รับ​รู้​และ​ประสบ​กับ​ตัว​เธอ​เอง​แล้ว​ เธอ​จึง​บอก​ออก​มา​อย่าง​เต็ม​ภาค​ภูมิ​​ ​ ​หลัง​จาก​​เรา​พบ​กัน​ครั้ง​นั้น​ที่​บ้าน​ใน​ซอย​อารีย์​​เมื่อ​ใด​ ทีฉ​่ นั ผ​ า่ น​และ​สะดวก​กจ​็ ะ​แวะ​ไป​หา​เจ้าต​ วั น​ อ้ ย​อยูเ​่ นืองๆ​ฉ​ นั ค​ ง​ หลง​เสน่ห์​เจ้า​ตัว​น้อย​เข้า​ให้​แล้ว​ ​และ​หลัง​จาก​ที่​เรา​หายกัน​ไป​ พัก​หนึ่ง​ ​เพื่อน​สาว​ที่​ท้อง​แก่​ก็​คลอด​ลูกชาย​มา​ให้​เรา​เชยชม​กัน​ ใน​ฐานะ​คุณ​ป้า​ยัง​สาว​อีก​คน​​ ​ ​และ​เมื่อ​ไม่​กี่​วัน​ที่​ผ่าน​มา​นี้​ ​ฉัน​ก็​แวะ​ไป​หา​หลาน​อีก​ และ​ช่าง​สบ​โอกาส​อัน​ดี​ที่​หลาน​ทั้ง​สอง​คน​มา​อยู่​ที่​บ้าน​หลัง​ เดียวกัน​ใน​ซอย​อารีย์​ ​เรา​ต่าง​แวะ​เวียน​ไป​มา​หาสู่​กัน​เสมอ​ ​เมื่อ​มี​ลูก​ใ​ คร​คน​หนึ่ง​ใน​กลุ่ม​ว่า​ไว้​​“​ลูก​”​​คง​เป็น​ทาง​สาย​ใด​สาย​ หนึง่ ท​ ไ​ี่ ม่ไ​ ด้เ​ชือ่ ม​เฉพาะ​พอ่ ก​ บั แ​ ม่ข​ อง​เขา​​หาก​แต่ย​ งั เ​ชือ่ ม​เพือ่ น​ ของ​พ่อ​กับ​แม่​ให้​ได้​กลับ​มา​เจอะ​เจอ​กัน​อีก​อย่าง​น่า​อัศจรรย์​​ ​ ​ไม่รู้​เป็น​อย่างไร​ ​ที่​ฉัน​มัก​เป็น​ฝ่าย​เก็บ​ราย​ละเอียด​ ใน​ทุกๆ​ ​สถานการณ์​เส​มอๆ​ ​ครั้ง​นี้​ก็​เช่น​กัน​ ​ที่​ฉัน​ละเลียด​เวลา​ ของ​ตัว​เอง​ไป​กับ​ภาพ​ของ​สอง​คุณ​แม่​มือ​ใหม่​ ​คน​หนึ่ง​ลูก​อายุ​ สี่​เดือน​ ​อีก​คน​หนึ่ง​ ​ลูก​อายุ​เดือน​เศษ​ ​เธอ​ทั้ง​สอง​แลก​เปลี่ยน​ ประสบการณ์​ใน​การ​เลี้ยง​ลูก​ ​และ​การ​ดูแล​ใน​ส่วน​ต่างๆ​ ​อย่าง​ ชำนิ​ชำนาญ​​ ​ ​ฉัน​มอง​ดู​สอง​ครอบครัว​นี้​ที่​กลาย​เป็น​สนิท​ชิด​เชื้อ​ กัน​มาก​ขึ้น​ด้วย​ลูก​อยู่​ใน​วัย​ใกล้​กัน​ ​ ​สามี​ทั้ง​สอง​ของ​เพื่อน​​ ต่าง​กุลีกุจอ​ช่วย​หยิบ​โน่น​จับ​นี่​และ​เอา​ลูก​ไป​เลี้ยง​ยาม​แม่​ ไม่​ว่าง​หรือ​ไม่​สะดวก​ ​ท่าทาง​เก้กัง​ของ​ชาย​หนุ่ม​ขณะ​เปลี่ยน​ เสื้อ​และ​เช็ด​ก้น​ให้​ลูก​ ​หรือ​ช่วย​ประคอง​หัว​ลูก​น้อย​เมื่อ​ห้อย​ตก​ มา​ทาง​ข้าง​หลัง​​ยาม​ดูด​นม​จาก​เต้า​ของ​แม่​​ดู​แล้ว​ออก​จะ​ขัดตา​​ แต่​ฉัน​ว่า​มัน​เป็น​ภาพ​ที่​น่า​รัก​และ​น่า​ยินดี​อย่าง​ยิ่ง​ที่​ไม่​เพียง​​แม่​

ทำ​หน้าที่​นี้​เท่านั้น​ ​หาก​แต่​ ​พ่อ​ ​ก็​ต้อง​มี​ส่วน​ร่วม​ด้วย​เหมือน​กัน​ เพราะ​ ​ลูก​ ​ไม่ใช่​ลูก​ของ​ใคร​คน​ใด​คน​หนึ่ง​ ​แต่​เป็น​ลูก​ของ​ทั้ง​ สอง​คน​​คือ​พ่อ​และ​แม่​ ​ ​ร ะหว่ า ง​เ ส้ น ​ท าง​ส าย​เ ดิ ม ​ที่ ​ฉั น ​ใ ช้ ​เ ป็ น ​ป ระจำ​เ มื่ อ​ กลับ​บ้าน​ ​มัน​หนาว​เหน็บ​และ​เย็น​ชืด​ ​แต่​ฉัน​กลับ​รู้สึก​อบอุ่น​ และ​แช่มช​ นื่ อ​ ยูใ​่ น​ใจ​เมือ่ น​ กึ ถึงภ​ าพ​พ​ อ่ แ​ ม่ล​ กู ​ข​ อง​เพือ่ น​ทงั้ ส​ อง​​ ที่​ไม่ใช่​เพียง​ความ​รัก​ฉันท์​ผัว​เมีย​เท่านั้น​ที่​จะ​ถัก​ทอ​สิ่ง​เหล่า​น​ี้ ​ให้​คง​อยู่​​ฉัน​ว่า​​มัน​คง​มี​​มิตรภาพ​และ​น้ำใจ​​ของ​คำ​ว่า​​“​เพื่อน​”​ สอด​แทรก​อยู่​ด้วย​ไม่​มาก​ก็​น้อย​ ​ ​ ​ ​ ต่อ​แต่​นี้​ไป​ ​เพื่อน​ของ​ฉัน​คงจะ​ไม่​ร้องไห้​คร่ำครวญ​​ โหย​หา​อดีต​ที่​มี​เพื่อน​สาว​เพื่อน​หนุ่ม​ล้อม​รอบ​ ​และ​คง​ไม่​ยินดี​ ยินร้าย​สัก​เท่าไร​กับ​สามี​ที่​เดิน​เคียง​ข้าง​ ​เพราะ​เธอ​นั้น​มี​ลูก​น้อย​ คอย​ปลอบ​ประโลม​จิตใจ​ ​และ​เป็น​ดั่ง​แก้วตา​ดวงใจ​ให้​เธอ​มี​ ชีวติ แ​ ละ​อนาคต​ทส​ี่ ดใส​ทพ​ี่ ร้อม​จะ​กา้ ว​ไป​ดว้ ย​กนั ก​ บั ล​ กู ข​ อง​เธอ​​ ​เฉก​เช่น​เพื่อน​รัก​คน​หนึ่ง​​ ​ ​ ​ ​ ​และ​จะ​ด้วย​มิตรภาพ​ของ​คำ​ว่า​เพื่อน​ใน​ลักษณะ​ใด​ ก็ตาม​เ​พือ่ น​กนิ ​เ​พือ่ น​กนั ​เ​พือ่ น​ฉนั ​เ​พือ่ น​เธอ​..​.​​ห​ รือเ​พือ่ น​คท​ู่ กุ ข์​ คู่ยาก​ ​ หรือ​อะไร​ก็​แล้ว​แต่​ ​คง​เป็น​อีก​หนึ่ง​ความ​รู้สึก​และ​หนึ่ง​ สาย​สัมพันธ์​อัน​ดี​ที่​จะ​ร้อย​รวมหัว​ใจ​ของ​คน​เป็น​เพื่อน​ทั้ง​หลาย​ ไว้​ด้วย​กัน​​ตลอด​ไป​.​.​.​​g ​

WRITE E-MAGAZINE 45


My Blueberry Nights text: เอนก จงทวีธรรม

หลาย​วั น ​ก่ อ น​. ​. ​มี ​รุ่ น ​น้ อ ง​ค น​ห นึ่ ง ​ส่ ง ​เ ว็ ​ป ลิ ง ​ค์ ​ม า​ใ ห้ ​ เป็น​บท​วิจารณ์​หนัง​เรื่อง​ ​Lars​ ​and​ ​the​ ​real​ ​girl​ ​ผม​ได้​อ่าน​ แล้ว​ชอบ​มาก​ ​บท​หนัง​น่า​สนใจ​จน​อยาก​หา​มา​ดู​ ​แต่​ยัง​ไม่รู้​ว่า​ จะ​หา​ซื้อ​ที่ไหน​ ​หรือ​หาก​จะ​เข้า​โรง​ฉาย​จะ​ฉาย​เมื่อ​ไหร่​.​.​(​ใคร​รู้​ ก็​ช่วย​บอก​ที​)​ ​ส่วน​แรก​ของ​บท​วิจารณ์​มี​การก​ล่า​วอ้าง​ถึง​หนัง​ เรือ่ ง​C​ hungking​E​ xpress​ผ​ ม​ชอบ​หนังเ​รือ่ ง​นม​ี้ าก​เ​ป็นห​ นังข​ อง​ ห​ ว​ อ่ ง​กา​ไว​ทผ​ี่ ม​ชอบ​มาก​ทสี่ ดุ ​แ​ ต่ก​ ไ็ ด้ด​ ม​ู า​นาน​หลาย​ปม​ี าก​แล้ว​ จึง​ยัง​ไม่​กล้า​ที่​จะ​เขียน​ถึง​​กลัว​ว่า​ข้อมูล​จะ​ผิด​พลาด​.​.​ ​ ​เมื่อ​ประมาณ​ ​4​ ​เดือน​ก่อน​ ​ผม​ไป​เดิน​เลือก​ซื้อ​กาง​เกง​​ ยี น ​ส์ ​อ ยู่ ​แ ถว​ส ยามสแควร์ ​ ​อ ยาก​ใ ห้ ​ร างวั ล ​กั บ ​ตั ว ​เ อง​บ้ า ง​​ ​เพราะ​รู้สึก​ว่า​ใช้​เงิน​สิ้น​เปลือง​ ​(​กับ​เรื่อง​ไม่​เป็น​เรื่อง​)​ ​และ​ใช้​ ชีวิต​สะ​เปะ​สะ​ปะ​มา​มาก​พอควร​ ​ผม​เดิน​ผ่าน​โรง​หนัง​ลิ​โด้​ ​และ​ เจอ​โปรแกรม​หนัง​เรื่อง​หนึ่ง​ที่​น่า​สนใจ​คือ​“​My​ ​Blueberry​​ Nights”​น​ อก​จาก​หว​ อ่ ง​กา​ไว​จะ​มชี อื่ ก​ ำกับแ​ ล้ว​ย​ งั ม​ ด​ี ารา​ระดับ​ แม่​เหล็ก​ร่วม​แสดง​อีก​หลาย​ราย​ ​ผม​จึง​ตัดสิน​ใจ​ไม่​นาน​ที่​จะ​​ ซื้อ​ตั๋ว​เข้าไป​ดู​ ​ ​ชื่อ​ไทย​ของ​หนัง​เรื่อง​นี้​คือ​​“​300​​วัน​​5,000​​ไมล์​​ห่าง​ไกล​ ไม่​ห่าง​กัน​”​ ​ครับ​ ​ผม​ไม่​ถึง​กับ​ชอบ​ชื่อ​มัน​มาก​.​.​แต่​โดย​รวม​แล้ว​ อยู่​ใน​โทน​ที่​โร​แมน​ติก​เหมือน​หนัง​.​.​จึง​พอ​รับ​ได้​ครับ​ ​เนื้อหา​ก็​ พูด​ถึง​ตัวนาง​เอก​คือ​ ​“​อ​ลิ​ซา​เบ็ธ​”​ ​เป็น​แกน​หลัก​ครับ​ ​หลัง​จาก​ เธอ​อกหัก​จาก​การ​ที่​ถูก​แฟน​หนุ่ม​ทิ้ง​ไป​อย่าง​ไม่​แยแส​แล้ว​ เธอ​ก็ได้​มา​พบ​กับ​ ​“​เจเร​มี่​”​ ​เจ้าของ​คาเฟ่​แห่ง​หนึ่ง​ใจกลาง​ นิ ว ยอร์ ค ​ ​ทั้ ง ​ส อง​ไ ม่ ​ไ ด้ ​รั ก ​กั น ​แ บบ​ ​“ ​เ ฟิ ร์ ส ​ ​อิ ม ​เ พรส​”​ 46  WRITE E-MAGAZINE


อะไร​แบบ​นั้น​นะ​ครับ​ ​แต่​รู้สึก​ผูกพัน​จาก​การ​เป็น​เพื่อน​ร่วม​ สนทนา​กัน​มากกว่า​ ​จน​กระ​ทั่ง​อ​ลิ​ซา​เบ็ธ​ตัดสิน​ใจ​เดิน​ทาง​ไป​ ทัวร์​ ​300​ ​วัน​อะไร​นั่น​แล้ว​.​.​ถึง​จะ​ได้​เริ่ม​รัก​กัน​ครับ​ ​ อ​ลิ​ซา​เบ็ธ​ เป็น​คน​ที่​ชอบ​กิน​บลูเบอร์รี่​พาย​ครับ​ ​คืน​หนึ่ง​เจเร​มี่​เคย​เอา​ให้​ เธอ​กนิ แ​ ละ​ได้อ​ ธิบาย​วา่ ​“​ เ​ค้กช​ อ็ กโกแลต​จะ​ขาย​ดท​ี สี่ ดุ ​เ​ค้กแ​ ละ​ ขน​มอืน่ ๆ​จะ​ขาย​ได้ร​ อง​ลง​มา​แ​ ต่บ​ ลูเบอร์รพ​ี่ าย​จะ​เหลือท​ งิ้ ท​ กุ ค​ นื ​ ไม่​ต้อง​ถาม​นะ​ว่า​ทำไม​.​.​เพราะ​บาง​อย่าง​ก็​ไม่​ต้อง​ใช้​เหตุผล​มา​ ประกอบ​เ​หลือเ​ป็นอ​ ย่าง​สดุ ท้าย​..​ก​ แ​็ ค่เ​พราะ​วา่ ค​ น​ไม่เ​ลือก​มนั ”​​ มัน​ดู​คล้าย​กับ​ชี​วิ​ตอ​ลิ​ซา​เบ็ธ​ที่​ไม่มี​คน​เลือก​ครับ​ ​แถม​เธอ​ยัง​มา​ ชอบ​ขนม​ที่​คน​เขา​ไม่​ค่อย​เลือก​กิน​อีก​ต่าง​หาก​.​.​ ​ ต​ อน​ทอ​ี่ ยูน​่ วิ ยอร์คเ​ธอ​ชอื่ ​“​ อ​ ล​ ซ​ิ า​เบ็ธ”​ ​แ​ ต่พ​ อ​เดินท​ าง​ไป​ หา​งาน​ทำ​และ​คน้ หา​ตวั เ​อง​ทเ​ี่ มมฟิส​(​ เ​ทนเนสซี)​่ ​แ​ ละ​ลาส​เวกัส​ (​เน​วาด้​า​)​ ​เธอ​ก็​เปลี่ยน​ชื่อ​เป็น​ ​“​ลิซ​ซี่​”​ ​และ​ ​“​เบ็ธ​”​ ​ตาม​ลำดับ​ จน​กระทั่ง​เดิน​ทาง​กลับ​มา​ที่​นิวยอร์ค​อีก​ครั้ง​เธอ​จึง​กลับ​มา​ชื่อ​ “​อล​ ซ​ิ า​เบ็ธ”​ ​เ​หมือน​เดิม​ผ​ ม​ชอบ​สญ ั ลักษณ์แ​ บบ​นข​ี้ อง​เฮียห​ ว​ อ่ ง​​ เพราะ​ชอื่ เ​ป็นส​ งิ่ ท​ บ​ี่ อก​ตวั ต​ น​ของ​ความ​เป็นค​ นๆ​นนั้ ค​ รับ​ก​ าร​เดิน​ ทาง​หมุนว​ น​ของ​ชอื่ ม​ นั เ​ป็นไ​ ป​และ​สอดคล้อง​กบั ก​ าร​เดินท​ าง​ของ​ ตัว​ละคร​..​​นับ​ว่า​น่า​ทึ่ง​ครับ​​ ​ ​ระ​หว่าง​ที่​อ​ลิ​ซา​เบ็ธ​เดิน​ทาง​ไป​หลาย​รัฐ​ใน​อเมริกา​ นั้น​ ​เธอ​จะ​ขยัน​ส่ง​โปสการ์ด​ไป​บอก​เล่า​เรื่อง​ราว​ต่างๆ​ให้​เจเร​ม​ี่ ได้ร​ บั ร​ ​ู้ ​ส่วน​เจเร​มก​ี่ เ​็ ขียน​โปสการ์ดเ​ก็บไ​ ว้เ​ป็นป​ กึ ใ​ หญ่เ​หมือนกัน​ แต่​ไม่รู้​จะ​ส่ง​ไป​ที่ไหน​ครับ​ ​ครั้ง​หนึ่ง​นาย​ตำรวจ​เมมฟิส​ที่​ชื่อ​ “​อ าร์ ​นี่ ​” ​ ​เ คย​ถ า​ม อ​ลิ ​ซ า​เ บ็ ธ ​ว่ า ​ ​“ ​เ ขี ย น​โ ปสการ์ ด ​ไ ป​ท ำไม​​ มี​โทรศัพท์​ก็​โทร​ไป​สิ​.​.​”​ ​อ​ลิ​ซา​เบ็ธ​ตอบ​กลับ​สั้นๆ​ว่า​ ​“​บาง​อย่าง​ เขียน​เอา​จะ​ดก​ี ว่า”​ ​ป​ ระโยค​นบ​ี้ ง่ บ​ อก​วา่ น​อก​จาก​ความเร็ว-​ค​ วาม​ สะดวก​สบาย​ ​ ชีวิต​เรา​ควร​คำนึง​ถึง​สิ่ง​ที่​ดี​กว่า​ ​มี​ความ​รู้สึก​

และ​สัมผัส​ได้​มา​กก​ว่า​มั้ย​ครับ​ ​(​แม้น​อาจ​จะ​ต้อง​ช้า​ลง​บ้าง​)​ ซึง่ ห​ าก​มเ​ี วลา​ทเ​ี่ ฝ้าร​ อ​ได้.​.​ผ​ ม​วา่ การ​เขียน​มนั บ​ รรยาย​ความ​รสู้ กึ ​ ได้​ดี​กว่า​การ​พูด​จริงๆ​​ครับ​ ​ ​หลัง​จาก​เดิน​ทาง​สะ​เปะ​สะ​ปะ​ไป​ ​5,000​ ​ไมล์​แล้ว​​ ​อ​ลิ​ซา​เบ็ธ​อาจ​จะ​ค้น​พบ​ว่า​ ​จุด​หมาย​ปลาย​ทาง​ของ​เธอ​อาจ​​ ไม่ไ​ ด้อ​ ยูไ​่ กล​ถงึ ข​ นาด​ตอ้ ง​เดินท​ าง​มา​ไกล​ถงึ เ​พียง​น ​ี้ เ​ธอ​ตดั สินใ​ จ​ ​เดิน​ทาง​กลับ​ไป​พบ​เจเร​มี่​ที่​นิวยอร์ค​อีก​ครั้ง​.​.​ ​ประโยค​แรก​ที่​ อ​ลิ​ซา​เบ็ธ​เอ่ย​ถาม​กับ​เจเร​มี่​คือ​ ​“​เมื่อ​บลูเบอร์รี่​พาย​ขาย​ไม่​ได้​.​.​ แล้ว​คุณ​ยัง​ทำ​มัน​มา​ขาย​อีก​ทำไม​”​ ​เจเร​มี่​ตอบ​เธอ​ว่า​ ​“​ต้อง​ทำ​ ไว้​ทุก​วัน​.​.​เผื่อ​ใน​วัน​ใด​ที่​คุณ​กลับ​มา​”​ ​ผม​ไม่​แน่ใจ​ว่า​ ​ใน​ชีวิต​ จริงป​ ระโยค​แบบ​นซ​ี้ อื้ ใ​ จ​สาวๆ​ได้แ​ ค่ไ​ หน​ เ​พราะ​ผม​ไม่ใช่ผ​ ห​ู้ ญิง​ ครับ​แ​ ต่ถ​ งึ เ​ป็นช​ าย​เต็มร​ อ้ ย​หวั ใจ​กย​็ งั เ​คลิบเคลิม้ ต​ าม​ครับ​ห​ าก​ คุณ​อยาก​ดู​ผู้ชาย​ที่​หล่อ​แบบ​เซ​อร์ๆ​ผสม​โร​แมน​ติก​ ​ผม​แนะนำ​​ ให้​ไป​ดู​ ​”​จู๊ด​ ​ลอว์​“​ ​ใน​หนัง​เรื่อง​นี้​ครับ​ ​หรือ​คุณ​ชอบ​หญิง​สาว​​ ตั ว ​เ ล็ ก ๆ​ ​ด วงตา​ก ลม​โ ต​- ​ใ ส​ ​ดู ​อ บอุ่ น ​แ ละ​เ ปี่ ย ม​ไ ป​ด้ ว ย​​ ความ​จริงใจ​​“​นอ​ร่า​ห์​​โจน​ส์​”​​เป็น​คำ​ตอบ​สุดท้าย​ครับ​.​.​ ​ ​ช่วง​ท้ายๆ​ของ​เรื่อง​เป็น​เสีย​งอ​ลิ​ซา​เบ็ธ​บรรยาย​คล้าย​ กับ​สรุป​เหตุการณ์​ว่า​ ​“​ฉัน​ใช้​เวลา​เกือบ​ปี​ ​กว่า​จะ​เดิน​ทาง​กลับ​ มา​ถึงที่​นี่​.​.​สุดท้าย​แล้ว​การ​ข้าม​ถนน​สาย​นั้น​ไม่​ได้​ยาก​เย็น​ จน​เกินไ​ ป​แ​ ต่ข​ นึ้ อ​ ยูว​่ า่ .​.​จ​ ะ​มใ​ี คร​รอ​เรา​อยูท​่ อ​ี่ กี ฟ​ าก​ฝงั่ ห​ รือเ​ปล่า”​​ ผม​ไม่​ได้​ชอบ​หนัง​เรื่อง​นี้​เท่า​ ​Chungking​ ​Express​ ​ ​แต่​ก็​ชอบ​ อยูใ​่ น​ระดับท​ เ​ี่ ป็นร​ อง​แค่น​ ดิ เ​ดียว​เอง​​หนังข​ อง​หว​ อ่ ง​กา​ไว​เรือ่ ง​น​ี้ ​ไม่​ได้​มี​เพียง​แค่​ ​เศร้า​-​เหงา​-​หม่น​ ​เหมือน​อย่าง​ที่​เรา​เคย​คุ้น​ นะ​ครับ​.​.​แต่​ยัง​เปี่ยม​ไป​ด้วย​ความ​รัก​ที่​มี​คำ​ตอบ​มา​จาก​การ​ ​เดิน​ทาง​ ​ความ​ห่วงใย​ ​และ​การ​รอ​คอย​ด้วย​ความ​สุขใจ​เป็น​ ส่วน​สำคัญ​.​.​.  g WRITE E-MAGAZINE 47


Book​​&​​Movie​ text : พ​ ล​​พะ​ยาบ

‘​เช​คอฟ​’​​กับ​สุนัข

ช่วง​สุดท้าย​ของ​ชีวิต​ที่​​อัน​ตัน​​เช​คอฟ​​(​Anton​​Chekhov​,​​1860​ -​1904​)​ ​หลบ​อากาศ​หนาว​เย็น​ใน​รัสเซีย​มา​ปลูก​บ้าน​อยู่​บน​เนิน​ เขา​ชาย​ทะเล​ในยัลต้า​บ​ ริเวณ​แห​ลม​ไคร​เมีย​เ​พือ่ พ​ กั ฟ​ นื้ ร​ า่ งกาย​ ที่​ป่วย​ไข้​​นอกจาก​การ​ปลูก​ต้นไม้​-​ดอกไม้​​และ​ต้อนรับ​เพื่อน​ฝูง​ ที่มา​สังสรรค์​เยี่ยมเยียน​แล้ว​​กิจกรรม​การ​พัก​ผ่อน​ของ​เช​คอฟ​ที่​ ยัง​ต่อ​เนื่อง​เสมอ​มา​คือ​การ​เลี้ยง​สุนัข​ ​ณ​​บ้าน​พัก​แห่ง​ยัล​ต้านี่​เอง​.​.​.​เช​คอฟ​เขียน​​The​​Lady​​ with​​the​​Dog​​โดย​ใช้​เป็น​ยัลต้า​เป็น​ฉาก​หลัง​สำคัญ​​และ​มี​สุนัข​ ปรากฏ​ตั้งแต่​ชื่อ​เรื่อง​ ​เรื่อง​สั้น​​The​​Lady​​with​​the​​Dog​​ตี​พิมพ์​ครั้ง​แรก​เมื่อ​ ปี​1​ 899​ใ​ น​นติ ยสาร​R​ usskaya​M ​ ysl​(​ R​ ussian​T​ hought​)​ผ​ า่ น​ การ​รวม​เล่มม​ า​แล้วห​ ลาย​ตอ่ ห​ ลาย​ครัง้ ​แ​ ละ​ได้ร​ บั ก​ าร​ยกย่อง​วา่ ​ เป็นห​ นึง่ ใ​ น​งาน​เขียน​ทย​ี่ อด​เยีย่ ม​และ​มชี อื่ เ​สียง​ทส​ี่ ดุ ข​ อง​เช​คอฟ​​ แปล​เผย​แพร่​เป็น​ภาษา​อังกฤษ​ครั้ง​แรก​เมื่อ​ปี​​1903​​ 48  WRITE E-MAGAZINE


​สำหรับ​สำนวน​ภาษา​ไทย​ใช้​ชื่อ​ว่า​ ​“​สุภาพ​สตรี​กับ​สุนัข​”​ ​รวม​ อยู่​ใน​ ​“​อัน​เป็น​ที่รัก​”​ ​รวม​เรื่อง​สั้น​ของ​ ​อัน​ตัน​ ​เช​คอฟ​ ​แปล​โดย​​ ประดิษฐ์​ ​เท​วา​วงศ์​ ​สำนัก​พิมพ์​ดวง​กมล​ ​พ​.​ศ​.​2523​ ​มี​ ​สุชา​ติ​ สวัสดิ์​ศรี​ ​เป็น​บรรณาธิการ​ ​เรื่อ​งอื่นๆ​ ​ใน​เล่ม​ ​ได้แก่​ ​“​เมือง​ใน​ หุบ​”​​(​In​​the​​Ravine​)​​“​แม่มด​”​​(​The​​Witch​)​​และ​​“​อัน​เป็น​ที่รัก​ ”​​(​The​​Darling​)​ ​The​ ​Lady​ ​with​ ​the​ ​Dog​ ​เล่า​เรื่อง​ราว​ความ​รัก​ต้อง​ ห้าม​ระหว่าง​หนุ่ม​ใหญ่​นาย​ธนาคาร​มี​ครอบครัว​แล้ว​ชื่อ​ ​กู​รอฟ​​ กับ​สาว​น้อย​มี​พันธะ​นาม​ ​แอน​นา​ ​เซ​อร์กีเยฟ​นา​ ​ผู้​ปรากฏ​ตัว​ พร้อม​สุนัข​พันธุ์​ปอม​เมอเร​เนียน​สี​ขาว​ดึงดูด​ความ​สนใจ​ผู้คน​ บริเวณ​ฝงั่ ท​ ะ​เลยัล​ ต้า​ก​ ระทัง่ ท​ กุ ค​ น​เรียก​ขาน​เธอ​วา่ ​“​ ส​ ภุ าพ​สตรี​ กับ​สุนัข​”​ ​ทั้ง​กู​รอฟ​และ​แอน​นา​ต่าง​มา​พัก​ผ่อน​ตาก​อา​กาศ​ที่​ยัลต้า​ตาม​ ลำพัง​ ​โดย​แอน​นาบ​อก​ว่า​สามี​ของ​เธอ​ติด​งาน​และ​อาจ​ตาม​มา​ ภาย​หลัง​ ​เธอ​อาศัย​อยู่​ใน​เมือง​ที่​ไม่​ระบุ​ชื่อ​ ​แต่งงาน​ตั้งแต่​อายุ​ 20​​ปี​​ด้วย​เหตุผล​เพียง​เพราะ​ต้องการ​ชีวิต​ที่​แปลก​ออก​ไป​​ส่วน​ กู​รอฟ​มี​เมีย​และ​ลูก​​3​​คน​ใน​มอ​ส​โก​​เขา​เป็น​เสือ​ผู้​หญิง​หยิ่ง​ยโส​ ที่​มัก​ดูถูก​บร​รดา​สาวๆ​ ​ที่มา​ติดพัน​เขา​ว่า​เป็น​ ​“​เผ่า​พันธุ์​ชั้น​ต่ำ​ กว่า​”​ แ​ อน​นา​เ​ซ​อร์กเี ยฟ​นา​ซ​ งึ่ ก​ ร​ู อฟ​ได้ร​ จู้ กั ใ​ กล้ช​ ดิ ใ​ นยัลต้า​ ก็​คง​ไม่​พ้น​ผู้​หญิง​ใน​แบบ​ที่​เขา​พบ​เจอ​มา​ตลอด​ อ​ ย่างไร​กต็ าม​ห​ ลังจ​ าก​แอน​นา​เดินท​ าง​กลับบ​ า้ น​และ​ กู​รอ​ฟก​ลับ​ไป​ใช้​ชีวิต​ปกติ​ท่ามกลาง​อากาศ​หนาว​เหน็บ​ใน​มอ​ส​ โก​​ขณะ​ที่​ต้อง​เผชิญ​กับ​สภาพ​สังคม​แวดล้อม​จอม​ปลอม​อัน​น่า​ เบื่อ​หน่าย​นั้น​เอง​ ​ความ​ทรง​จำ​เกี่ยว​กับ​แอน​นาก​ลับ​แจ่ม​ชัด​ใน​ ความ​คิดค​ ำนึง​ของ​กู​รอฟ​มาก​ขึ้น​เรื่อยๆ​​ ก​ ระทัง่ ก​ ร​ู อฟ​ตอ้ ง​ตดั สินใ​ จ​ทำ​อะไร​บาง​อย่าง​เพือ่ ใ​ ห้ไ​ ด้​ พบ​กับ​​แอน​นา​​เซ​อร์กีเยฟ​นา​​อีก​ครั้ง​ ​เรื่อง​สั้น​ ​The​ ​Lady​ ​with​ ​the​ ​Dog​ ​ก็​เหมือน​งาน​ เขียน​ส่วน​ใหญ่​ของ​เช​คอฟ​ที่​ไม่​ได้​มุ่ง​เน้น​เรื่อง​นัย​ยะ​ทาง​สังคม​ การเมือง​หรือ​เทศนา​อุดมการณ์​บาง​อย่าง​เช่น​นัก​เขียน​รัส​เซียน​ คน​อื่น​ ​แต่​โดด​เด่น​ใน​การ​เข้า​ถึง​ชีวิต​จิตใจ​ของ​มนุษย์​ธรรมดา​ สามัญ​ ​ประดิษฐ์​ ​เท​วา​วงศ์​ ​ให้​คำ​อธิ​บาย​สั้นๆ​ ​อย่าง​คมคาย​ว่า​ “​เขา​วินิจฉัย​ชีวิต​เสมือน​หนึ่ง​หมอ​รักษา​โรค​​แต่​ทว่า​กลับ​ปฏิเสธ​ ทีจ​่ ะ​สงั่ ย​ า​รกั ษา​ให้ก​ บั ศ​ ลี ธ​ รรม​หรือส​ งั คม​มนุษย์ท​ เ​ี่ จ็บป​ ว่ ย​”​(​ อ​ นั ​ เป็น​ที่รัก​,​​หน้า​​15​)​ ข​ ณะ​ท​ี่ ส​ ชุ า​ต​ิ ส​ วัสดิศ​์ รี​อ​ ธิบาย​ตวั ล​ ะคร​“​ แ​ บบ​เช​คอฟ”​​ ว่า​ ​“​คือ​ตัว​ละคร​ที่​มี​ความ​ปรารถนา​อย่าง​แรง​กล้า​ที่​อยาก​จะ​ มี​ความ​สัมพันธ์​แท้จริง​กับ​ผู้​อื่น​ ​กับ​โลก​ที่​อยู่​ข้าง​นอก​ ​แต่​ส่วน​

ใหญ่​ของ​ตัว​ละคร​เหล่า​นี้​ ​ไม่​ว่า​จะ​สังกัด​อยู่​ใน​ชนชั้น​ไหน​ก็ตาม​​ มัก​จะ​พบ​กับ​ความ​ล้ม​เหลว​​ความ​เข้าใจ​ผิด​​หรือ​ไม่​ก็​สื่อสาร​กัน​ ไม่​ได้​ ​จน​เกิด​ความ​เสื่อมโทรม​ทาง​ศีล​ธรรม​ ​ชีวิต​ไม่มี​ความ​สุข​”​ (​ชาวนา​/​ใน​หุบเขา​,​ ​ดวง​กมล​วรรณกรรม​ ​2538​,​ ​หน้า​ ​8​)​ ​ซึ่ง​คำ​ อธิบาย​นี้​ใช้​กับ​ตัว​ละคร​กู​รอฟ​ใน​ ​The​ ​Lady​ ​with​ ​the​ ​Dog​ ​ได้​ อย่าง​เหมาะ​เจาะ​ ง​ าน​เขียน​ของ​เช​คอฟ​ทถ​ี่ กู ด​ ดั แปลง​เป็นภ​ าพยนตร์ส​ ว่ น​ ใหญ่​เป็น​บท​ละคร​เรื่อง​ดัง​ ​ไม่​ว่า​จะ​เป็น​ ​Uncle​ ​Vanya​,​ ​Three​​ Sisters​ ​หรือ​ ​Platonov​ ​ขณะ​ที่​เรื่อง​สั้น​อย่าง​ ​The​ ​Lady​ ​with​​ the​ ​Dog​ ​เปลี่ยน​เป็น​ภาพ​เคลื่อนไหว​แค่​ ​2​ ​ครั้ง​ ​(​จาก​ข้อมูล​ใน​ เว็บไซต์​ ​imdb​)​ ​อย่างไร​ก็ตาม​ ​เรื่อง​หนึ่ง​ใน​จำนวน​น้อย​ครั้ง​นี้​ ได้​กลาย​เป็น​​“​หนัง​เช​คอฟ​”​​ที่​ได้​รับ​การ​ยอมรับ​จาก​แฟนๆ​​และ​ ประสบ​ความ​สำเร็จ​สูงสุด​ WRITE E-MAGAZINE 49


​เช​คอฟ​มีหน้า​ตา​ผ่องใส​ ​นั่ง​อยู่​บน​ขั้น​บันได​หน้า​บ้าน​​ สวม​เสื้อ​โค้​ทก​ระ​ดุม​สอง​แถว​และ​หมวก​แก๊ป​ ​มือขวา​ ถือ​ไม้​เท้า​ ​ส่วน​มือ​ซ้าย​โอบ​กอด​สุ​นัข​พันธุ์​ดัช​ชุน​ด์​ชื่อ​​ ควินิน​ ​เหตุ​ที่​ตั้ง​ชื่อ​นี้​เนื่อง​จาก​เช​คอฟ​เป็น​แพทย์​ ​และ​ ควินิน​คือ​ยา​ที่​เขา​ใช้​เป็น​ประจำ​ใน​ช่วง​นั้น​เพื่อ​รักษา​ อาการ​วัณโรค ​Dama​ ​s​ ​sobachkoy​ ​เป็น​หนัง​ปี​ ​1960​ ​จาก​สหภาพ​ โซเวียต​​ออก​ฉาย​ตรง​กับ​วาระ​ครบ​รอบ​​100​​ปี​​เช​คอฟ​พอดี​​กำ​ กับฯ​และ​เขียน​บท​โดย​โ​ ย​เซฟ​เ​ฮ​ฟติ ซ​ ​์ (​J​ osef​H​ eifitz​)​ม​ ชี อื่ ภ​ าษา​ อังกฤษ​ทั้ง​​The​​Lady​​with​​the​​Dog​​และ​​The​​Lady​​with​​the​​ Little​ ​Dog​ ​เข้า​ชิง​ปาล์ม​ทองใน​เทศกาล​ภาพยนตร์​เมือง​คาน​ ส์​ ​ปี​ ​1960​ ​และ​ได้​รับ​รางวัล​พิเศษ​จาก​กรรมการ​ใน​ฐานะ​ที่​หนัง​ นำ​เสนอ​ความ​งดงาม​ทาง​ศิลปะ​และ​ความ​เป็น​มนุษย์​ได้​อย่าง​ ล้ำ​เลิศ​ ​เหตุ​ที่​หนัง​ได้​รับ​การ​ยอมรับ​จาก​แฟน​หนังสือ​ไม่ใช่​ เพียง​เพราะ​การ​ซอื่ ตรง​ตอ่ ต​ น้ ฉบับแ​ ทบ​จะ​ฉาก​ตอ่ ฉ​ าก​แ​ ต่เ​พราะ​ หนัง​ถ่ายทอด​บรรยากาศ​และ​ห้วง​อารมณ์​ได้​ใกล้​เคียง​กับ​ที่​เช​ คอฟ​บรรยาย​ไว้​โ​ ดย​ไม่พ​ ยายาม​ยดั เยียด​บท​สนทนา​เพือ่ อ​ ธิบาย​ ความ​คดิ ค​ วาม​รสู้ กึ ข​ อง​ตวั ล​ ะคร​แ​ ต่เ​ลือก​ใช้ภ​ าพ​สอื่ อ​ ารมณ์แ​ ละ​ ความ​หมาย​แทน​​ ​ช่วง​ครึ่ง​แรก​ในยัลต้า​ถูก​ขับ​เน้น​อย่าง​งดงาม​ทรง​พลัง​ ด้วย​ภาพ​ธรรมชาติ​​ทั้ง​คลื่น​ที่​ถาโถม​ชายฝั่ง​​ลิบๆ​​ด้วย​กลุ่ม​เมฆ​ ครึ้ม​เหนือ​ทิว​เขา​ ​แสง​แห่ง​วัน​กระจาย​ตัว​ผ่าน​ผืน​เมฆ​ ​กระ​ทั่ง​ ยัลต้าร​ าว​สวรรค์ห​ รือโ​ ลก​อกี แ​ ห่งห​ นึง่ ซ​ งึ่ ต​ วั ล​ ะคร​ได้พ​ บ​สงิ่ พ​ เิ ศษ​ อัศจรรย์​ ​เมื่อ​เปลี่ยน​ฉาก​เป็น​มอ​ส​โก​และ​เมือง​ที่​ไม่​ระบุ​ชื่อ​ซึ่ง​ เต็ม​ไป​ด้วย​ผู้คน​วุ่นวาย​ ​งาน​สังสรรค์​แบบ​พิธีรีตอง​อัน​น่า​อึดอัด​ ค่ำคืนเ​หน็บห​ นาว​ทเ​ี่ ปลีย่ ว​เหงา​และ​มดื มน​ต​ วั ล​ ะคร​กร​ู อฟ​จงึ ย​ งิ่ ​ โหย​หา​โลก​อัศจรรย์​ที่​ตน​เพิ่ง​สูญ​เสีย​ไป​ ​นอกจาก​การ​ขับ​เน้น​ด้วย​ภาพ​อัน​เปี่ยม​ความ​หมาย​ 50  WRITE E-MAGAZINE

และ​ทรง​พลัง​แล้ว​ ​อ​เล็ก​เซ​ ​บา​ตาลอ​ฟ​ ​และ​อิ​ยา​ ​ซาฟ​วิ​นา​ ​ผู้รับ​ บท​กู​รอฟ​และ​แอน​นา​ตาม​ลำดับ​สวม​ทับ​ตัว​ละคร​ได้​อย่าง​สนิท​ ใจ​โ​ ดย​เฉ​พาะ​ซาฟ​วน​ิ า​ทม​ี่ ท​ี งั้ ค​ วาม​งดงาม​อ​ อ่ น​เยาว์​อ​ อ่ น​หวาน​​ และ​แสดง​ความ​เจ้า​น้ำตา​และ​ความ​ขลาด​กลัว​ของ​แอน​นา​ได้​ อย่าง​แท้จริง​ ห​ นังใ​ ช้เ​วลา​ประมาณ​8​ 4​น​ าที​ซ​ งึ่ ไ​ ม่ม​ าก​หรือน​ อ้ ย​เกิน​ ไป​​ก่อน​จะ​จบ​ลง​ด้วย​ฉาก​ที่​ติด​ตรึง​ความ​รู้สึก​ยิ่ง​นัก​ ​ย้อน​กลับ​ไป​ที่​เรื่อง​ราว​ของ​เช​คอ​ฟกับ​สุนัข​ ​แม้​ใน​ งาน​เขียน​จะ​ไม่​ได้​เห็น​ถึง​ความ​โปรดปราน​ต่อ​สุ​นัข​ของ​เช​คอฟ​ ชัดเจน​เป็น​พิเศษ​ ​นอกจาก​เป็น​ตัว​ละคร​อยู่​ใน​บาง​เรื่อง​ราว​ ​แต่​ ใน​ภาพถ่าย​หรือ​ใน​คำ​บอก​เล่า​เรื่อง​ราว​ชีวิต​ของ​นัก​เขียน​เรื่อง​ สั้น​ผู้​ยิ่ง​ใหญ่​ชาว​รัส​เซียน​ผู้​นี้​มัก​จะ​มี​สุนัข​เป็น​ส่วน​หนึ่ง​เสมอ​ ช​ ว่ ง​ทพี่ กั อ​ ยูท​่ ย​ี่ ลั ต้าม​ ภ​ี าพ​ถา่ ย​เช​คอ​ฟอ​ ย่าง​นอ้ ย​2​ ​ภ​ าพ​ป​ รากฏ​ สุนขั ไ​ ม่ห​ า่ ง​กาย​ภ​ าพ​หนึง่ ถ​ า่ ย​ไว้เ​มือ่ ป​ ​ี 1​ 901​ม​ ส​ี นุ ขั ​2​ ​ต​ วั ​ย​ นื อ​ ยู​่ ใกล้ๆ​โ​ ดย​เช​คอ​ฟก้มห​ น้าม​ อง​ไป​ทต​ี่ วั ส​ เ​ี ข้มซ​ งึ่ ก​ ำลังเ​อียง​คอม​อง​ กล้อง​ ​อีก​ภาพถ่าย​เมื่อ​ปี​ ​1903​ ​เห็น​สุนัข​ตัว​หนึ่ง​ยืน​เกาะ​แขน​ยู​ จีเนีย​​ยา​คอฟเลฟ​นา​​แม่​ของ​เช​คอฟ​ ​หรือ​หาก​ย้อน​ไป​ยัง​บ้าน​พัก​ใน​ตำบล​เม​ลิ​โค​โว​ ​ทาง​ใต้​ ของ​กรุ​งมอส​โก​ ​ซึ่ง​เช​คอฟ​ย้าย​ไป​ตั้ง​รกราก​กับ​ครอบครัว​และ​ ทำงาน​ดา้ น​สงั คม​ใน​ป​ี 1​ 892​ม​ ภ​ี าพ​ถา่ ย​เช​คอฟ​ซงึ่ เ​ป็นท​ ร​ี่ จู้ กั แ​ ละ​ จดจำ​มาก​ที่สุด​ภาพ​หนึ่ง​ปรากฏ​สุนัข​เช่น​กัน​ ​ไมเคิล​ ​เพน​นิง​ตัน​ ​บรรยาย​ไว้​ใน​หนังสือ​ ​Are​ ​You​​ There​,​ ​Crocodile​?​:​ ​Inventing​ ​Anton​ ​Chekhov​ ​ว่า​ภาพ​ดัง​


กล่าว​เช​คอฟ​มีหน้า​ตา​ผ่องใส​​นั่ง​อยู่​บน​ขั้น​บันได​หน้า​บ้าน​​สวม​ เสื้อ​โค้​ทก​ระ​ดุม​สอง​แถว​และ​หมวก​แก๊ป​​มือขวา​ถือ​ไม้​เท้า​​ส่วน​ มือ​ซ้าย​โอบ​กอด​สุ​นัข​พันธุ์​ดัช​ชุน​ด์​ชื่อ​​ควินิน​​เหตุ​ที่​ตั้ง​ชื่อ​นี้​เนื่อง​ จาก​เช​คอฟ​เป็น​แพทย์​ ​และ​ควินิน​คือ​ยา​ที่​เขา​ใช้​เป็น​ประจำ​ใน​ ช่วง​นั้น​เพื่อ​รักษา​อาการ​วัณโรค​​นอกจาก​ควินิน​แล้ว​ยัง​มีดั​ช​ชุน​ ด์​พี่​น้อง​กัน​อีก​ตัว​ชื่อ​​โบรไมด์​​ซึ่ง​ก็​คือ​ยา​นอน​หลับ​ ​ความ​โปรดปราน​ที่​มี​ต่อ​สุ​นัข​พันธุ์​ดัช​ชุน​ด์​ของ​เช​คอฟ​ เห็น​ได้​ใน​เรื่อง​สั้น​แนว​วรรณกรรม​เยาวชน​เรื่อง​ ​Kashtanka​ ​ตี​ พิมพ์​เผย​แพร่​เมื่อ​ปี​ ​1887​ ​เล่า​เรื่อง​ผ่าน​มุม​มอง​ของ​สุ​นัข​พันธุ์​ ดัชช​ นุ ด​ ช​์ อื่ ​แ​ คช​แทง​กา้ ​ส​ ตั ว์เ​ลีย้ ง​ของ​ชา่ งไม้ข​ เ​ี้ มา​ทต​ี่ าม​นาย​เข้า​ เมือง​แต่เ​กิดห​ ลง​ทาง​ม​ นั อ​ ด​โซ​และ​เหน็บห​ นาว​ก​ ระทัง่ ม​ ช​ี าย​ใจดี​ เก็บ​มัน​มา​เลี้ยง​​ให้​ข้าว​ปลา​อาหาร​อย่าง​อิ่ม​หนำ​​มี​ที่​ซุก​หัวนอน​ อันอ​ บอุน่ ​ก​ อ่ น​ทแ​ี่ คช​แทง​กา้ จ​ ะ​ถกู เ​ปลีย่ น​ชอื่ เ​ป็นแ​ อ​นที​แ​ ละ​ถกู ​ ฝึก​ให้​แสดง​ความ​สามารถ​พิเศษ​ร่วม​กับ​สัตว์​เลี้ยง​ของ​นาย​ใหม่​ ตัว​อื่นๆ​ ​ซึ่ง​ประกอบ​ด้วย​ห่าน​ ​แมว​ ​และ​หมู​ ​เพื่อ​ออก​แสดง​ใน​ คณะ​ละคร​สัตว์​ ​สำนวน​ภาษา​ไทย​ของ​​“​แคช​แทง​ก้า​”​​แปล​โดย​​สุดใจ​​ เพ็​ชร​ศิริ​​สำนัก​พิมพ์​ดวง​กมล​​พ​.​ศ​.​2521​​ยุค​บรรณาธิการ​​สุชา​ติ​ สวัสดิศ​์ รี​เ​ช่นเ​ดียว​กบั เ​รือ่ ง​“​ อ​ นั เ​ป็นท​ รี่ กั ”​ ​ใ​ น​คำนำ​ของ​ผแ​ู้ ปล​ระบุ​ มี​ผู้​วิจารณ์​ว่า​แคช​แทง​ก้า​เป็น​ ​“​หมา​แท้จริง​ตัว​แรก​ใน​วรรณคดี​ โลก​”​โ​ ดย​อธิบ​ าย​วา่ เ​ช​คอฟ​เขียน​ถงึ ส​ นุ ขั ใ​ น​แบบ​ทเ​ี่ ป็นส​ น​ุ ขั จ​ ริงๆ​​ ไม่​ได้​ใช้​ความ​เป็น​มนุษย์​เข้าไป​จับ​​เช่น​​ลืม​ง่าย​​กระทำ​การ​ใดๆ​​ โดย​ปราศจาก​การ​ไตร่ตรอง​อย่าง​ถี่ถ้วน​ WRITE E-MAGAZINE 51


​แม้​จะ​เป็น​วรรณกรรม​เยาวชน​ที่​เล่า​เรื่อง​คล้าย​นิทาน​​ แต่​ที่​ผา​นมา​ ​Kashtanka​ ​ถูก​ตีความ​ไป​ใน​ทาง​เดียว​กัน​ว่า​เช​ คอฟ​เปรียบ​ถึง​ลักษณะ​ทาง​สังคม​ชนชั้น​ของ​รัสเซีย​ ​โดย​ช่างไม้​ เปรียบ​ได้​กับ​คุณค่า​ดั้งเดิม​ตาม​ธรรมชาติ​ ​ปราศจาก​การ​ปรุง​ แต่ง​ท​ ำนอง​เดียว​กบั ช​ าวไร่ช​ าวนา​ส​ ว่ น​นาย​ใหม่ผ​ เ​ู้ ป็นน​ กั แ​ สดง​ ใน​คณะ​ละคร​สัตว์​เป็น​ตัวแทน​ของ​วัตถุนิยม​ ​ความ​ฟุ้งเฟ้อ​ปรุง​ แต่ง​ แ​ ม้แ​ คช​แทง​กา้ จ​ ะ​มค​ี วาม​เป็นอ​ ยูท​่ ไ​ี่ ม่ส​ ขุ ส​ บาย​นกั ก​ บั ​ ช่างไม้​ต​ า่ ง​จาก​นาย​ใหม่ท​ ส​ี่ ามารถ​มอบ​ความ​สขุ ส​ บาย​ให้อ​ ย่าง​ เต็ม​ที่​​แต่ส​ ุดท้าย​​“​กลิ่น​กาว​และ​น้ำมัน​ชักเงา​”​​คือ​ความ​คุ้น​เคย​ อันจ​ ริงแ​ ท้ท​ แ​ี่ คช​แทง​กา้ พ​ งึ ใจ​ต​ า่ ง​จาก​อาหาร​มอื้ อ​ ร่อย​และ​ละคร​ สัตว์​ซึ่ง​เป็น​ความ​ฝัน​อัน​ยาวนาน​ที่​วุ่นวาย​และ​น่า​รำคาญ​ ​มี​หนัง​ที่​สร้าง​จาก​เรื่อง​สั้น​ ​Kashtanka​ ​อย่าง​น้อย​ ​3​ เรื่อง​ ​ทั้งหมด​เป็น​หนัง​จาก​สหภาพ​โซเวียต​ ​ทว่า​ ​2​ ​ใน​ ​3​ ​เรื่อง​ 52  WRITE E-MAGAZINE

นี้​เป็น​แอ​นิ​เม​ชั่​นข​นาด​สั้น​ ​เรื่อง​แรก​คือ​แอ​นิ​เม​ชั่น​ปี​ ​1952​ ​ของ​​ เอ็ม​.​​เอ็ม​.​​เซ​คา​นอฟ​สกี้​​(​M​.​​M​.​​Tsekhanovsky​)​​ความยาว​​30​​ นาที​​อีก​เรื่อง​ปี​​2004​​ของ​​นา​ตา​เลีย​​ออร์โล​วา​​(​Natalia​​Orlova​ )​​ความยาว​​20​​นาที​​ทั้ง​สอง​ฉบับ​เป็น​เรื่อง​เล่า​แบบ​นิทาน​ขนาด​ สั้น​เหมาะ​สำหรับ​เด็ก​เล็ก​​ ​สำหรับ​หนัง​ ​Kashtanka​ ​ที่​ใช้​คน​และ​สัตว์​แสดง​เป็น​ หนัง​ฉาย​ทาง​โทรทัศน์​ปี​​1975​​ความ​ยาว​ประมาณ​​60​​นาที​​ผล​ งาน​ของ​โ​ รมัน​บ​ า​ลา​ยนั ​(​R​ oman​B​ alayan​)​เ​ล่าเ​รือ่ ง​ราว​โดย​องิ ​ จาก​สิ่ง​ที่​แคช​แทง​ก้า​ประสบ​พบ​เจอ​เป็น​หลัก​ทำให้​ใกล้​เคียง​กับ​ ต้นฉบับ​ ​ส่วน​ที่​เพิ่ม​เติม​คือ​แบ็ค​กราว​น์ด​ของ​ตัว​ละคร​นาย​ใหม่​ ซึง่ ห​ นังส​ อด​แทรก​เข้าม​ า​พ​ ร้อม​ทงั้ จ​ บั อ​ ารมณ์ค​ วาม​รสู้ กึ ข​ อง​เขา​ มาก​เป็น​พิเศษ​จน​คล้าย​เป็น​ตัว​ละคร​เอก​เสีย​เอง​ ​ที่​เพิ่ม​เติม​จน​แตก​ต่าง​ออก​ไป​คือ​ ​ช่วง​กลาง​ของ​หนัง​ ปรากฏ​บท​แทรก​หรือ​การ​แสดง​สลับ​ฉาก​ ​(​intermezzo​)​ ​ที่​ไม่มี​


ใน​เรื่อง​สั้น​​คล้าย​ภาพ​ฝัน​ว่า​นาย​ใหม่​พา​แคช​แทง​ก้า​​ห่าน​​และ​ แมว​ ​ออก​ไป​ปิคนิค​ใน​ชนบท​อย่าง​มี​ความ​สุข​ ​หนัง​ให้​เวลา​กับ​ ฉาก​นี้​ถึง​​7​​นาที​​ก่อน​จะ​ตัด​เข้า​สู่​ฉาก​การ​ตาย​ของ​ห่าน​อัน​เศร้า​ ซึม​หดหู่​ ​แม้​ ​Kashtanka​ ​เวอร์ชั่น​ปี​ ​1975​ ​จะ​ไม่​ถึง​ขั้น​ดี​เลิศ​ สมบูรณ์​แบบ​ ​แต่​ก็​เป็น​ ​Kashtanka​ ​ฉบับ​เดียว​ที่​ใช้​สัตว์​แส​ดง​ จริงๆ​ ​และ​เชื่อ​ว่า​ผู้​อ่าน​ที่​ได้​ชม​คง​เฝ้า​คอย​ดู​ฉาก​การ​ต่อ​ตัว​ของ​ หมู​ ​ห่าน​ ​และ​แมว​ ​ใน​ท่า​ปิ​รา​มิด​อียิปต์​ซึ่ง​เป็น​บท​ตอน​ใน​เรื่อง​ สั้น​ที่​น่า​จดจำ​ ​“​เช​คอฟ​”​​กับ​สุนัข​เรื่อง​​The​​Lady​​with​​the​​Dog​​อาจ​ จะ​หา​ชม​ค่อน​ข้าง​ยาก​​กระนั้น​​เมื่อ​ต้น​ปี​ที่​ผ่าน​มาด​วง​กมล​ฟิล์ม​ เฮา​สเ​์ พิง่ จ​ ดั ฉ​ าย​เรือ่ ง​นท​ี้ ม​ี่ หาวิทยาลัยธ​ รรมศาสตร์​ท​ า่ พระ​จนั ทร์​ บาง​ทา่ น​จงึ อ​ าจ​ได้ช​ ม​ไป​เรียบร้อย​แล้ว​ส​ ว่ น​เรือ่ ง​K​ ashtanka​ท​ งั้ ​ 3​ ​เวอร์ชั่น​ ​เป็น​เรื่อง​น่า​ยินดี​ที่​สามารถ​หา​ชม​ได้​ใน​อินเตอร์เน็ต​ g

​ ​ ​หมายเหตุ​​:​​เรื่อง​​Kashtanka​​เข้า​ชม​ตาม​​url​​ดังนี้​ ​Kashtanka​ ​(​1952​)​ ​http​:​/​/​video​.​mail​.​ru​/​mail​/​baks​-​show​/​ mult​/​776​.​html​ ​Kashtanka​ ​(​2004​)​ ​http​:​/​/​video​.​mail​.​ru​/​mail​/​baks​-​show​/​ mult​/​777​.​html​ ​Kashtanka​ ​(​1975​)​ ​http​:​/​/​video​.​mail​.​ru​/​mail​/​baks​-​show​/​ circus​-​cinema​/​775​.​html​

WRITE E-MAGAZINE 53


หนึ่งรูป หนึ่งเรื่อง ความทรงจำ text : ท​ ิวา​โญ

เรา​อาจ​มี​โอกาส​ได้​สบตา​เพียง​หนึ่ง​ช่วง​เวลา​ใน​ชีวิต​​ (​ใน​คืน​พระจันทร์​ยิ้ม​)​

๑​ ​ฉัน​คือ​สายน้ำ​ ​ใน​คืน​พระจันทร์​ยิ้ม​.​.​.​ ​ฉัน​ยัง​คง​จ ดจำ​ความ​รู้สึก​ใน​วัน​ที่​ได้​มี​โอกาส​สบตา​ กับ​เธอ​แม้​เพียง​ครั้ง​หนึ่ง​ ​ ​ดวงตา​ของ​เธอ​เปล่ง​ประกาย​ความ​ สุข​สดใส​มา​แก่​ฉัน​ ​ ​ปาก​ของ​เธอ​เผย​รอย​ยิ้ม​อัน​อิ่ม​เอม​และ​​ เต็ม​ไป​ด้วย​ความ​เป็น​ตัว​ของ​ตัว​เอง​ไม่​เหมือน​ใคร​และ​ไม่มี​ใคร​ สามารถเหมือน​ ​ ​เธอ​สวย​เหลือ​เกิน​ ​ ​จะ​มี​สัก​กี่​ครั้ง​ใน​ชีวิต​ที่​จะ​ ได้เ​ห็นเ​ธอ​ผส​ู้ งู ส่งแ​ ละ​เป็นท​ ห​ี่ มาย​ปอง​ของ​ผคู้ น​วา่ อ​ ยาก​จะ​เป็น​ เจ้าของ​ของ​เธอ​แต่​เพียง​ผู้​เดียว​ส่ง​ยิ้ม​มา​ให้​แก่​ฉัน​ผู้​ต่ำต้อย​​ ​ฉัน​นั้น​หรือ​เป็น​เพียง​สายน้ำ​ที่​ถูก​โอบ​อุ้ม​โดย​ผืน​ดิน​ ​ฉัน​เป็น​เพียง​สิ่ง​ที่​ถูก​สร้าง​มา​โดย​ธรรมชาติ​ให้​มี​ปริมาณ​ เป็น​สาม​ใน​สี่​ส่วน​ของ​โลก​เพียง​เท่านั้น​ ​แต่​เป็น​ความ​โชค​ดขี​ อง​ฉัน​จริง​ ​ๆ​ ​ที่​ได้​มี​โอกาส​ใช้​ความ​ เป็น​สายน้ำ​โอบ​อุ้ม​แสง​เงา​ของ​ดวง​จันทร์​ที่​สะท้อน​ลง​มายัง​ ผืน​น้ำ​ของ​ฉัน​ ​ฉัน​ดีใจ​ที่​ได้​เห็น​รอย​ยิ้ม​ของ​เธอ​ ​ ​ได้​โอบ​อุ้ม​รอย​ยิ้ม​ของ​ เธอ​และ​เหนือ​สิ่ง​อื่น​ใด​ฉัน​ดีใจ​ที่​ได้​สบตา​กับ​เธอ​ ​.​..​​ดวง​จันทร์​ผู้​สูงส่ง​ 54  WRITE E-MAGAZINE

​๒​ ​ฉัน​คือ​ดวง​จันทร์​ ​ใน​คืน​ที่​ผู้คน​ต่าง​พร้อมใจ​ส่ง​ยิ้ม​มา​ให้​ฉัน​.​.​ ​ฉัน​ใช้​เวลา​เนิ่น​นาน​เพื่อ​สะสม​คืน​วัน​และ​หมุน​ตัว​ของ​ ฉัน​ให้​ได้​ไป​อยู่​ใน​มุม​ที่​มี​องศา​เหมาะ​สม​ ​ ​ฉัน​ฉีก​ยิ้ม​ด้วย​ความ​ สุขใจยิ่ง​ที่​วัน​นี้​สามารถ​ทำได้​ ​ ​ฉัน​มี​โอกาส​ได้​สบตา​กับ​ผู้คน​แม้​ เพียง​ครั้ง​หนึ่ง​ใน​ชีวิต​​​แม้​จะ​เป็น​เพียง​เวลา​ชั่ว​ข้าม​คืน​หนึ่ง​​​แต่​ มัน​ก็​เป็น​ความ​สุขใจ​ที่​ยาก​จะ​ลืม​​ ​ ​ประกาย​จาก​สายตา​ของ​ผู้คน​ที่​ส่ง​มา​ที่​ฉัน​ฉัน​ยัง​คง​​ จำ​ได้​ไม่​หาย​ไป​ไหน​ ​ ​ช่าง​ทำให้​ฉัน​สุขใจ​ ​ ​ฉัน​ดีใจ​ที่​รอย​ยิ้ม​ของ​ ฉัน​ทำให้​ผู้คน​มี​ความ​สุข​ ​ฉัน​สัญญา​ว่า​จะ​ยิ้ม​ให้​ได้​อีก​ครั้ง​หนึ่ง​ ​ ​แม้​ต้อง​ใช้​เวลา​ รวบรวม​พลัง​มาก​แค่​ไหน​ก็ตาม​​​ ​แม้​คืน​วัน​จะ​ผ่าน​ไป​เนิ่น​นาน​เพียง​ใด​ ​.​.​.​วัน​หนึ่ง​ฉัน​จะ​กลับ​มา​


​๓​ ​ฉัน​คือ​เด็ก​หญิง​คน​หนึ่ง​ของ​โลก​ ​ใ น​คื น ​ที่ ​ท้ อ งฟ้ า ​ถู ก ​โ อบ​อุ้ ม ​ด้ ว ย​ป ระกาย​อ บอุ่ น ​จ าก​​ ดวง​จันทร์​.​.​.​ ​ภาพ​ของ​เธอ​ยัง​คง​งดงาม​ยิ่ง​กว่า​สายตา​ของ​ผู้​ใด​ที่​เคย​ ประสบ​พบ​เจอ​มา​ ​ ​เธอ​อยู่​ใน​ความ​ทรง​จำ​ของ​ฉัน​แม้​เวลา​จะ​ ผ่าน​เลย​มา​ถึง​วัน​ฟ้า​ใส​แห่ง​เช้า​วัน​ใหม่​ ​ ​เธอ​คือ​ภาพ​ประทับ​ใจ​ ยิ่ง​กว่า​ดวงดาว​ ​ ​ดอกไม้​ ​ ​สายน้ำ​ ​ ​เธอ​คือ​ความ​งาม​ที่​อยู่​เหนือ​ ธรรมชาติ​ ​.​..​​ท้องฟ้า​สมบูรณ์​แบบ​ได้​ด้วย​ดวง​จันทร์​ ​ ​๔​ ​ฉัน​คือ​ดวง​อาทิตย์​ ​ใน​วัน​ที่​เห็น​เงา​สะท้อน​ของ​ดวง​จันทร์​แม้​เสี้ยว​นาที​.​.​ ​แ ม้ ​ฉั น ​จ ะ​ไ ม่ มี ​โ อกาส​ไ ด้ ​ส บตา​กั บ ​ด วง​จั น ทร์ ​ใ น​คื น​ พระจันทร์​ยิ้ม​เพราะ​วิถี​ของ​คืน​วัน​ได้​ตัด​แบ่ง​เรา​ให้​อยู่​ห่าง​ไกล​ กัน​ไป​อยู่​ใน​มุม​ที่​ไม่​สามารถ​มอง​เห็น​ ​แต่​ฉัน​ก็​วาด​หวัง​เสมอ​ว่า​จะ​ได้​เห็น​ใบหน้า​เปื้อน​ยิ้ม​ของ​ เธอ​และ​สบตา​เพียง​สัก​ครั้งห​ นึ่ง​ใน​ชีวิต​

​ฉัน​ร้องขอ​ความ​เห็นใจ​จาก​ผู้คน​บน​ผืน​โลก​ ​ ​ขอร้อง​ต่อ​ สายน้ำ​ที่​ถูก​โอบ​อุ้ม​โดย​ผืน​ดิน​ว่า​ช่วย​ฉัน​แม้​เพียง​สัก​ครั้ง​ให้​ได้​ สบตา​กับ​ดวง​จันทร์​ใน​วัน​ที่​ยิ้ม​สดใส​ ​และ​วัน​นี้​ฉัน​ก็ได้​เห็น​รอย​ยิ้ม​นั้น​สมใจ​เมื่อ​เช้า​วัน​ใหม่​ มา​ถึง​.​.​.​​​​ ​ ​ฉัน​เห็น​ร่อง​รอย​ความ​ทรง​จำ​ใน​ดวงตา​ของ​เด็ก​หญิง​ คน​หนึ่ง​ของ​โลก​ ​ ​และ​เห็น​เงา​สะท้อน​ของ​ดวง​จันทร์​ที่​สายน้ำ​ พยายาม​กัก​เก็บ​มัน​เป็น​ภาพ​จำ​ให้​ฉัน​ได้​เห็น​แม้​เพียง​เสี้ยว​ วินาที​ ​ฉัน​เห็น​ดวงตา​ของ​จันทร์​​​ฉัน​เห็น​ยิ้ม​ของ​จันทร์​​​ดั่ง​เป็น​ ภาพ​วาด​ใน​ความ​ฝัน​ที่​เคย​ก่อ​เกิด​ขึ้น​ใน​จินตนาการ​ ​.​.​.​ฉัน​สุขใจ​แม้​เป็น​เพียง​เวลา​สั้น​​ๆ​​​​ที่​ได้​มี​โอกาส​สบตา​ กับ​ดวง​จันทร์​แม้​เพียง​ช่วง​เวลา​หนึ่ง​ใน​ชีวิต ​ g ​ ​

​ป​.​ล​.​๑​ ​เป็น​บันทึก​ความ​ทรง​จำ​ใน​คืน​พระจันทร์​ยิ้ม​ ​ ​วัน​ที่​ ​ ​๑​ ​ ​ธันวาคม​​ ๒๕๕๑​ WRITE E-MAGAZINE 55


ปลายสาละวินที่มะละแหม่ง โลกเหงา

text&image: ผู้หญิงตะวันออก

การ​เดินแ​ ละ​ความ​ฝนั บ​ าง​ครัง้ ก​ ค​็ ล้าย​จกิ ซ​ อร์ช​ นิ้ เ​ล็กๆ​ให้​ เรา​คน้ หา​ตอ่ เ​ติมเ​ป็นภ​ าพ​ให้ง​ ดงาม​ดงั่ ใ​ จ​เมือ่ ค​ รัง้ ย​ งั ล​ ะ​ออ่ น​ชวี ติ ​ เริ่ม​แบก​เป้​อารมณ์​โร​แมน​ติก​ยาม​ได้​ไป​เยือน​ดอย​สาม​หมื่น​​แม่​ สาม​แลบ​และ​บาง​สว่ น​ของ​สาละ​วนิ ท​ เ​ี่ ป็นเ​ส้นพ​ รมแดน​ระหว่าง​ ไทย​กับ​พม่า​ที่​แม่ฮ่องสอน​ยาม​ล่อง​สาละ​วิน​มอง​ดู​ฝั่ง​พม่า​ช่าง​ ดู​ลึกลับ​น่า​ค้นหา​และ​ชวน​ให้​ฝัน​ถึงที่​ซึ่ง​เป็น​จุด​ปลาย​ทาง​ของ​ แม่น้ำ​นี้​ความ​ฝัน​นั้น​ถูก​ตรา​ตรึง​ไว้​ใน​ใจ​ตลอด​มา​ ​เมื่อ​หลาย​ปี​ก่อน​การ​เดิน​ทาง​เข้า​สู่​พม่า​ประเทศ​ที่​ได้​ชื่อ​ ว่า​ฤาษี​แห่ง​เอเชีย​ไม่​ได้​ทำได้​ง่าย​นั้น​ทั้ง​ใน​เรื่อง​ของ​ค่า​ใช้​จ่าย​ และ​การ​ออก​วีซ่า​ให้​กับ​นัก​ท่อง​เที่ยว​เข้าไป​ใน​ประเทศ​พม่า​แต่​ อิทธิพล​ของ​ทุนนิยม​ที่​แผ่​คลุม​ทั่ว​โลก​ใบ​นี้​ไม่​เว้น​แม้แต่​พม่า​ ประเทศ​ทต​ี่ งั้ ใจ​เก็บท​ กุ อ​ ย่าง​ให้พ​ น้ ส​ ายตา​ชาว​โลก​เพือ่ ค​ ง​อำนาจ​ แบบ​เบ็ดเสร็จ​ของ​การ​เผด็จการ​ทหาร​ที่​ทั่ว​โลก​ไม่​ยอมรับ​แต่​ ความ​ต้อง​การ​เงิน​ดอล​ล่า​ร์​ทำให้​พม่า​ต้อง​ยอม​เปิด​ประเทศ​ บาง​ส่วน​โลก​เฉพาะ​ส่วน​การ​ท่อง​เที่ยว​ที่​ไม่​ยุ่ง​เกี่ยว​กับ​การเมือง​ เป็นการ​หา​ราย​ได้​เข้า​ประเทศ​ส่วน​หนึ่ง​ ​และ​แล้ว​ฉัน​ก็​เดิน​ทาง​มา​พม่า​อีก​ครั้ง​ ​ครั้ง​นี้​ฉัน​มุ่ง​หน้า​ สู่​จุด​หมาย​ปลาย​ทาง​มะ​ละ​แห​ม่ง​เพื่อ​ค้นหา​ปลาย​ทาง​ของ​ แม่น้ำ​สาละ​วิน​ ​รถ​โดยสาร​ประจำ​ทาง​จาก​ย่างกุ้ง​ใช้​เวลา​ร่วม​ เก้า​ชั่วโมง​ ม​ ะ​ละ​แห​มง่ เ​ป็นเ​มือง​หลวง​ของ​รฐั ม​ อญ​เป็นเ​มือง​คแ​ู่ ฝด​ กับ​เมาะ​ตะ​เมาะ​ซึ่ง​อยู่​คนละ​ฟาก​ฝั่ง​สาละ​วิน​การ​เดิน​ทาง​ลง​ใต้​ จาก​ย่างกุ้ง​ค่อน​ข้าง​เข้ม​งวด​มี​การ​ตรวจ​บัตร​ประจำ​ตัว​ของ​ชาว​ 56  WRITE E-MAGAZINE

พม่าแ​ ละ​หนังสือเดินทาง​สำหรับช​ าว​ตา่ ง​ชาติเ​ป็นร​ ะยะ​เนือ่ งจาก​ แถบ​นี้​จัด​เป็น​ดิน​แดน​ส่วน​ของ​ชนก​ลุ่ม​น้อย​ถึง​แม้​จะ​เป็น​ส่วน​ที่​ ได้​เจรจา​สงบ​ศึก​กัน​แล้ว​ระหว่าง​ชนก​ลุ่ม​น้อย​กับ​รัฐบาล​ ​ใน​ยุค​จักรวรรดินิยม​อังกฤษ​ยึด​พม่า​ตอน​ใต้​ได้​ก่อน​จึง​ แปลง​มะ​ละ​แหม่ซ​ งึ่ เ​ป็นเ​มือง​ประมง​เล็กๆ​ให้เ​ป็นเ​มือง​ทา่ ส​ ำคัญ​ นำ​เข้า​สินค้า​ต่าง​จาก​อังกฤษ​เข้า​มา​และ​นำ​สินค้า​ต่าง​จาก​แถบ​ นี้​ออก​ไป​ ​มะ​ละ​แห​ม่ง​ได้​กลาย​เป็น​เมือง​ท่า​สำคัญ​สำหรับ​กอง​ คาราวาน​สินค้า​ขึ้น​ล่อง​จาก​แถบ​ยู​นาน​ผ่าน​เชียง​ตุง​ ​เชียงราย​​ เชียงใหม่​ ​ลำปาง​ ​ระแหง​ ​(​ตาก​) ​สู่​มะ​ละ​แห​ม่ง​ ​ใน​เวลา​นั้น​ ​เจ้า​นาย​ทาง​ล้าน​นา​มั่งคั่ง​ร่ำรวย​จาก​การ​ค้าขาย​เนื่องจาก​เป็น​ ทาง​ผ่าน​ของกอง​คาราวาน​ใน​สมัย​นั้น​ใน​ความ​สัมพันธ์​อัน​แนบ​ น่าน​จาก​การ​ค้าขาย​ของ​อิทธิพล​อังกฤษ​ของ​เชียงใหม่​และ​​


มะ​ละ​แห​ม่ง​จึง​เกิด​ตำนาน​รัก​ต่าง​ชนชาติ​และ​ต่าง​ฐานันดร​ ระหว่าง​เจ้า​น้อย​ศุข​เกษม​ราชบุตร​กับ​มะเมีย​แม่ค้า​สาม​ชาว​ ​มะ​ละ​แห​ม่ง​ตำนาน​รัก​เศร้า​ที่​จบ​ด้วย​ความ​ปวด​ร้าว​และ​จาก​ลา​ จน​กลาย​เป็น​เพลง​อมตะ​และ​โด่ง​ดัง​ของ​จรัล​​มโน​เพชร​ ​มะ​เมีย​ะ​เป็น​สาว​แม่ค้า​​คน​พม่า​เมือง​มะ​ละ​แห​ม่ง​ ​งาม​ล้ำ​เหมือน​เดือน​ส่อง​แสง​​คน​มา​แย่ง​หลง​รัก​สาว​ ​มะ​เมีย​ะ​บ่​ยอม​รัก​ไผ​ ​มอบ​ใจ​หื้อ​หนุ่ม​เชื้อ​เจ้า​ ​เป็น​ลูก​ อุปราช​ท้าว​เชียงใหม่​ ​แต่​เมื่อ​เจ้า​ชาย​จบ​การ​ศึกษา​​จำ​ต้อง​ลา​จาก​มะ​เมีย​ะ​ไป​ ​เหมือน​โดน​มีด​สับ​ดาบ​ฟัน​หัวใจ​ ​ปลอม​เป็น​พ่อ​ชาย​หนี​ ตาม​มา​

​เจ้า​ชาย​เป็น​ราชบุตร​ ​แต่​สุด​ที่รัก​เป็น​พม่า​ ​ผิด​ประเพณี​ สืบ​มา​​ต้อง​ร้าง​ลา​แยก​ทาง​ ​โอ​โอ​ก็​เมื่อ​วัน​นั้น​​วัน​ที่​ต้อง​ส่ง​คืน​บ้าน​นาง​ ​เจ้า​ชาย​ก็​จัด​ขบวน​ช้าง​ให้​ไป​ส่ง​นาง​คืน​ทั้ง​น้ำตา​ ​มะ​เมีย​ะ​ตรอมใจ​อาลัย​ขื่นขม​ ​ถวาย​บังคม​ทูล​ลา​ ​สยาย​ ผม​ลง​เช็ด​บาท​บาทา​ ข​ อ​ลา​ไป​กอ่ น​แล้วช​ าติน​ เ​ี้ จ้าช​ าย​กต​็ รอมใจ​ตาย​ม​ ะ​เมียะ​ เลย​ไป​บวชชี​ ​ความ​รัก​มัก​เป็น​เช่น​นี้​​แล​เฮย​.​.​.​ ​ความ​รัก​มัก​เป็น​เช่น​นี้​ฉัน​รำพัน​ใน​ความ​รู้สึก​ความ​เหงา​ อ้างว้าง​จู่โจม​เข้า​สู่​จิตใจ​ยาม​ปลาย​สายตา​เหม่อ​มอง​สาละ​วิน​ คิดถึง​การ​เดิน​ทาง​ไกล​ของ​แม่น้ำ​สาย​นี้​จาก​หิมะ​บน​เทือก​เขา​ หิมาลัย​ละลาย​กลาย​เป็น​แม่น้ำ​เลาะ​ไหล​ลง​ใต้​จาก​ที่ราบสูง​ ทิเบต​ผ่าน​ยู​นาน​เข้า​พม่า​และ​เป็น​บาง​ส่วน​ของ​พรมแดน​ไทย​ และ​พม่า​ผ่าน​ภูมิประเทศ​ต่างๆ​หล่อ​เลี้ยง​ผู้คน​หลาก​หลาย​เผ่า​ พันธุ์​ ​มี​เรื่อง​ราว​มากมาย​ใน​เส้น​ทาง​สายน้ำ​แห่ง​นี้​จวบ​จน​มา​ ไหล​ออก​มหาสมุทร​อินเดีย​ที่​อ่าว​เมาะ​ตะ​มะ​สิ้น​สุด​การ​เดิน​ทาง​ อัน​ยาว​ไกล​ร่วม 2800 กิโลเมตร​ ​ใ น​เ วลา​ใ กล้ ​ค่ ำ ​จุ ด ​ง ดงาม​ที่ ​ฉั น ​ช อบ​ไ ต่ ​ขึ้ น ​ไ ป​ช ม​ พระอาทิตย์​ใน​แม่น้ำ​สาละ​วิน​ ​คือ​ภู​เขา​เล็กๆ​อัน​เป็น​ที่​ตั้ง​ของ​ วัด​มหา​ม​มุนี​และ​วัด​เจ​ดีย์​อื่นๆ​อีก​ห้า​วัด​​อารมณ์​สงบ​แห่ง​ร่ม​เงา​ พระพุทธ​ศาสนา​ได้​ขึ้น​ไป​ไหว้​พระ​ ​นั่ง​สมาธิ​ทำให้​จิตใจ​ผ่องใส​​ บวก​กับ​วิ​วงามๆ​ยาม​ทอด​สายตา​มอง​แสง​อัสดง​กระทบ​น้ำ​​ สำหรับ​ฉัน​การ​เดิน​ทาง​ทำให้​เรา​รู้สึก​เล็ก​ลง​เป็น​ส่วน​เล็กๆ​ของ​ โลก​ใบ​นี้​เป็น​ส่วน​เล็กๆ​ของ​ธรรมชาติ​อัน​ยิ่ง​ใหญ่​ ​การ​เดิน​ทางใน​มะ​ละ​แห​ม่ง​ทำให้​ฉัน​ได้​มุม​มอง​ย้อน​อีก​ ด้าน​ของ​พน​ี่ อ้ ง​ทมี่ า​ขาย​แรงงาน​จาก​พม่าเ​นือ่ งจาก​ทน​ี่ เ​ี่ ป็นจ​ ุดท​ ​ี่ ไม่ไ​ กล​จาก​ชายแดน​แม่สอด​เลย​จะ​เจอ​คน​ทเ​ี่ คย​มา​ขาย​แรงงาน​ ที่​ประเทศไทย​และ​สามารถ​พูด​ไทย​ได้​เยอะ​หลายๆ​คน​ที่​เจอ​ เขา​รู้สึก​ขอบคุณ​ประเทศไทย​ที่​เงิน​จำนวน​หนึ่ง​ที่​เขา​เก็บ​หอม​​ รอม​ริบ​ทำให้​เขา​สามารถ​เก็บ​เป็น​ทุนรอน​ใน​การ​สร้าง​อาชีพ​แต่​ ถึง​อย่างไร​ฉัน​ก็​บอก​ว่า​ประเทศไทย​ไม่​น่า​อยู่​สำหรับ​แรงงาน​ พม่า​ที่​เข้า​มา​เลย​ ​ประวัติศาสตร์​ที่​เรา​ถูก​สอน​มาส​ร้าง​รอย​ร้าว​ฉาน​ลึกๆ​ กับ​เพื่อน​บ้าน​ที่​ถูก​ปลูก​ฝัง​ความ​แค้น​ถึง​การ​กรีฑา​ทัพ​ย่ำยี​ กรุง​ศรีอยุธยา​อยู่​บ่อย​ครั้ง​ ​และ​เรา​ได้​ตก​เป็น​เมือง​ขึ้น​ถึง​สอง​ ครั้ง​สอง​ครา​ทุบ​ทำลาย​บ้าน​เมือง​ของ​เรา​ ​ความ​บาดหมาง​ ​ร้าว​ลึก​อย่าง​ไร้​เหตุผล​แต่​หลาย​ครั้ง​ทำให้​ฉัน​รู้​ว่า​ประวัติศาสตร์​ และ​ความ​สัมพันธ์​ของ​ประเทศ​เพื่อน​บ้าน​ส่วน​ใหญ่​ถูก​เขียน​ WRITE E-MAGAZINE 57


อย่าง​เข้า​ข้าง​ตัว​เอง​และ​เพื่อ​ปลุก​พลัง​แห่ง​ความ​รัก​ชาติ​และ​ หลายๆ​ครั้ง​ประวัติศาสตร์​ของ​สอง​ประเทศ​ที่​เขียน​ถึง​ช่วง​เวลา​ เดียวกัน​ไม่​ตรง​กัน​​ ​ก าร​เ ดิ น ​ท าง​ท ำให้ ​ฉั น ​เ ปลี่ ย น​มุ ม ​ม อง​ป ระเทศ​พ ม่ า​ ประชาชน​ชาว​พม่า​ได้​เรียน​รู้​ได้​รู้สึก​อย่าง​ที่​เขา​เป็น​ไม่ใช่​รู้สึก​ จาก​การ​เรียน​ประวัตศิ าสตร์​ก​ าร​เดินท​ าง​กอ่ ม​ มุ ง​ ามๆ​ของ​ความ​ สัมพันธ์​ของ​เพื่อน​ร่วม​โลก​ประเทศ​ที่​ตก​อยู่​ภาย​ใต้​เผด็จการ​ ทหาร​ร่วม​ห้า​สิบ​ปี​ ​แต่​ทว่า​ความ​ศรัทธา​แห่ง​พุทธ​ศาสนา​ทำให้​ คน​พม่า​อ่อน​โยน​มี​มิตรไมตรี​ ​หรือ​อาจ​จะ​มอง​ได้​อีก​แง่​มุม​ หนึ่ง​คือ​ร่ม​พุทธ​ศาสนา​คือ​สิ่ง​ยึด​เหนี่ยว​ที่​ทำให้​ชาว​พม่า​มี​ชีวิต​ อยู่​ได้ท่า​มก​ลาง​ความ​จำกัด​เสรีภาพ​ทางการ​เมือง​และ​ความ​ แร้นแค้น​ของ​เศรษฐกิจ​ ​ความ​สงบ​และ​งดงาม​ด้วย​มิตรไมตรี​ ที่​ฉัน​ไม่​สามารถ​จะ​หยั่ง​สัมผัส​ถึง​ความ​ปวด​ร้าว​ภายใน​ความ​ รู้สึก​ของ​คน​พม่า​ ​มะ​ละ​แห​ม่ง​ใน​วัน​นี้​คือ​เมือง​สงบ​ปลาย​แม่น้ำ​สาละวิน​ เมือง​หลวง​ของ​รัฐ​มอญ​ ​การ​เดิน​ทาง​ตาม​หา​เส้น​ทาง​ปลาย​ ​สาละ​วิน​แม่น้ำ​สาย​ลี้ลับ​กลับ​กลาย​เป็น​เมือง​สงบ​งาม​ที่​ปลาย​ ทาง​ผู้คน​ดำเนิน​ชีวิต​อย่าง​สงบ​ภาย​ใต้​ร่ม​ความ​ศรัทธา​แห่ง​ พุทธ​ศาสนา​​ดิน​แดน​แห่ง​เจดีย์​ทอง​​เมือง​ศูนย์กลาง​การ​ค้าขาย​ ของ​พม่า​ทาง​ใต้​ ​การ​ค้าขาย​ใน​พม่า​หลักๆ​ยัง​เป็น​ไป​เพื่อ​ยังชีพ​ สินค้า​ส่วน​ใหญ่​เป็น​ของใช้​จำเป็น​สำหรับ​อุปโภค​และ​บริโภค​ และ​ฉัน​ยัง​เห็น​ดอก​กล้วย​ไม้​งามๆ​ห่อ​กระดาษ​หนังสือพิมพ์​ที่​ ถูก​ส่ง​ไป​จาก​บ้าน​เรา​ 58  WRITE E-MAGAZINE


​หลายๆ​ครั้ง​การ​เดิน​ทาง​ของ​ฉัน​ไม่​ได้​มุ่ง​หน้า​สู่​เมือง​​ ท่อง​เที่ยว​ที่​นัก​ท่อง​เที่ยว​นิยม​กัน​ ​แต่​การ​ได้​มา​ใน​เมือง​เล็กๆ​ สงบ​ปราศจาก​นัก​ท่อง​เที่ยว​ทำให้​เรา​ได้​สัมผัส​กับ​วิถี​ชี​วิต​จริงๆ​ ของ​ผู้คน​ท้อง​ถิ่น​ใน​แม่น้ำ​สาละ​วิน​แถบ​นี้​มี​เกาะ​หลาย​เกาะ​ที่​ เป็น​ที่​ตั้ง​ของ​หมู่บ้าน​ชาว​บ้าน​ประกอบ​อาชีพ​เกษตรกรรม​และ​​ หัต​กรรม​พื้น​บ้าน​ ​มี​บาง​เกาะ​ที่​ฉัน​ได้​ข้าม​มา​กับ​เรือ​โดยสาร​กับ​ ชาว​บ้าน​แล้ว​นั่ง​รถ​ม้า​ชม​วิว​ทิวทัศน์​และ​วิถี​ชีวิต​ผู้คน​ ​สายน้ำ​ไม่​เคย​ไหล​กลับ​ ​เฉก​เช่น​บาง​ครั้ง​เรา​ปล่อย​ชีวิต​ ให้​ลื่น​ไหล​ไป​กับ​ความ​อิสระ​เช่น​สายน้ำ​ ​อิสระ​ ​โดด​เดี่ยว​และ​ ความ​อา้ งว้าง​เป็นข​ อง​คก​ู่ นั ​ก​ าร​เดินท​ าง​ของ​ชวี ติ ก​ บั เ​ส้นท​ าง​แห่ง​ สายน้ำ​บาง​ครั้ง​ก็​คล้าย​กัน​ ​สาย​สาละ​วิน​นี้​ตลอด​เส้น​ทาง​ผ่าน​ ภูมปิ ระเทศ​ทห​ี่ ลาก​หลาย​ห​ ล่อเ​ลีย้ ง​ชวี ติ ผ​ คู้ น​หลาย​เผ่าพ​ นั ธุผ​์ า่ น​ เส้น​ทาง​โดด​เดี่ยว​ลึกลับ​จนถึง​ปลาย​ทาง​ที่​งดงาม​g

WRITE E-MAGAZINE 59


ก่อนจะเป็นเกี๊ยว text: อินทัช

ปรุง​แล้ว​จับ​จีบ​สร้าง​รูป​ร่าง​แปลก​ตา​และ​รสชาติ​แสน​อร่อย​นั้น​​ มิใช่​อาหาร​ไทย​แท้​แต่​โบราณ​​คำถาม​หนึ่ง​ผุด​ขึ้น​ใน​ใจ​ของ​คน​ กิน​เกี๊ยว​ว่า​​มัน​เป็น​อาหาร​ของ​ชนชาติ​ใด​ ​เท่า​ที่​มี​การ​บันทึก​เป็น​รูปภาพ​หรือ​อักษร​โบราณ​บน​ โลก​ใบ​นี้​ซึ่ง​มีอายุ​ยืนยาว​ตั้งแต่​ยุค​เม​โส​โป​เต​เมีย​​ยุค​กรีก​​ ยุค​โรมัน​​ยุค​อียิปต์​​ด้วย​คำ​จารึก​ที่​นัก​โบราณคดี​ค้นหา​ที่มา​ ของ​​เกี๊ยว​​(​Dumpling​)​​ยัง​ไม่มี​การ​กล่าว​ถึง​คำ​นี้​เลย​​เมื่อ​ค้น​ ไป​ถึง​อาณาจักร​ทาง​ตะวัน​ออก​ซึ่ง​มี​นาม​ว่า​​อาณาจักร​จีน​​จึง​ พบ​บันทึก​ที่​เอ่ย​ถึง​อาหาร​ชนิด​หนึ่ง​​คือ​​เกี๊ยว​​ซึ่ง​กิน​กัน​ตั้งแต่​ ชนชั้น​กษัตริย์​ไป​ถึง​ชาว​บ้าน​ใน​เทศกาล​สำคัญ​หรือ​เป็น​อาหาร​ พื้น​บ้าน​ทั่วไป​​นอกจาก​นั้น​ยัง​ใช้​เป็น​สัญลักษณ์​มงคล​ของ​จีน​ อีก​ด้วย​ ​เทศกาล​ปี​ใหม่​คน​จีน​นิยม​ห่อ​เกี๊ยว​ด้วย​ไส้​มงคล​เพื่อ​ ส่ง​ให้​ความ​ปรารถนา​ใน​ปี​ใหม่​เป็น​จริง​​เช่น​​ไส้​ถั่ว​​หมาย​ถึง​​ขอ​ ให้​มี​สุขภาพ​แข็ง​แรง​​อายุ​ยืน​​ไส้​น้ำตาล​และ​น้ำ​ผึ้ง​​หมาย​ถึง​​ ให้​มี​แต่​ความ​หอม​หวาน​​สมัย​ราชวงศ์​ชิง​เกี๊ยว​ใช้​เป็น​ของ​ขวัญ​ หลาย​คน​ต้อง​เคย​ลิ้ม​รสชาติ​เกี๊ยว​น้ำ​ล้วนๆ​หรือ​บะหมี่​แห้ง​ ใ​ ส่​เกี๊ยว​มา​แล้ว​​เชื่อ​ว่า​ต้อง​บอก​เป็น​เสียง​เดียวกัน​ว่า​​อร่อย​สุด​ ที่​ถวาย​องค์​จักรพรรดิ​ใน​วัน​ฉลอง​พระ​ราช​สมภพ​ด้วย​​​ระยะ​ เวลา​ยาวนาน​นับ​พันปี​ของ​อาณาจักร​จีน​กรรมวิธี​ทำ​เกี๊ยว​จึง​ ยอด​​โดย​เฉพาะ​บะหมี่​แห้งก​ ับ​เกี๊ยว​นั้น​ช่าง​เข้า​คู่​อยู่​ใน​ชาม​ เดียวกัน​ได้​อย่าง​เหมาะ​สม​ที่สุด​และ​กลาย​เป็น​อาหาร​ที่​หากิน​ มี​การ​พัฒนา​ปรับปรุง​หรือ​ดัดแปลง​จน​กระทั่ง​มี​เกี๊ยว​สารพัด​ รูป​ร่าง​และ​ไส้​มากกว่า​​100​​ชนิด​​เกี๊ยว​รูป​ร่าง​คล้าย​ทอง​แท่ง​ ง่าย​มาก​แ​ ล้ว​ยัง​มี​การ​ดัดแปลง​รูป​ร่าง​หรือ​วิธี​ปรุง​แต่ง​เกี๊ยว​ ให้​แตก​ต่าง​ไป​ตาม​ชนชาติ​ที่​นำ​เกี๊ยว​ไป​ใช้​เป็น​อาหาร​ของ​ชาติ​ โบราณ​และ​ไส้​หมู​สับ​เป็น​ที่​นิยม​ยาวนาน​จนถึง​ปัจจุบัน​นี้​ ​เกี๊ยว​รุ่น​แรก​มี​ไส้​อะไร​​คือ​​คำถาม​คา​ใจ​ที่​ต้อง​ ตัว​เอง​ด้วย​​เช่น​​เกี๊ยว​ซ่า​ของ​ญี่ปุ่น​เ​กี๊ยว​มองโกล​​เกี๊ยว​รัสเซีย​​ เป็นต้น​​แผ่น​แป้ง​บางๆ​ห่อ​ไส้​หมู​สับ​หรือ​กุ้ง​ที่​คลุก​เคล้า​เครื่อง​ ค้นหา​จาก​บันทึก​ตำนาน​เกี๊ยว​ของ​คน​จีน​ซึ่ง​เท่า​ที่​มี​การ​บอก​ 60  WRITE E-MAGAZINE


WRITE E-MAGAZINE 61


ก​ ่อน​วัน​ปี​ใหม่​ทุก​ปจี​ ึง​มี​การ​ทำ​ อาหาร​ว่าง​โดย​ใช้เ​นื้อ​สับ​ห่อ​ด้วย​แผ่น​ แป้ง​นำ​ไป​ต้ม​น้ำ​ซุป​แล้ว​กิน​กัน​ใน​ทุก​ ครัว​เรือน​​

เล่า​สืบทอด​กัน​และ​บันทึก​ไว้​มี​​2​​ตำนาน​ด้วย​กัน​​ลอง​มา​ดู​ ที​ละ​เรื่อง​จะ​พบ​ไส้​เกี๊ยว​รุ่น​แรก​โดย​ต้อง​ไม่​ลืม​ว่า​โบราณ​นั้น​ อาณาจักร​จีน​กว้าง​ใหญ่​ไพศาล​อย่าง​มาก​​ย่อม​มี​เรื่อง​เล่า​ที่​ หลาก​หลาย​แตก​ต่าง​กัน​ได้​​คน​รุ่น​ใหม่​จัก​อนุมาน​ได้​ว่า​​เกี๊ยว​ รุ่น​แรก​น่า​จะ​มี​เครื่อง​ปรุง​และ​รูป​ร่าง​อย่างไร​​ตำนาน​เรื่อง​แรก​ คือ​​ค่ำคืน​ก่อน​วัน​ปี​ใหม่​ ชาย​แปลก​หน้า​คน​หนึ่ง​แวะ​หา​ที่พัก​และ​อาหาร​ ใน​หมู่บ้าน​แห่ง​หนึ่ง​ซึ่ง​เงียบ​ผิด​ปกติ​​เขา​พบ​ชาย​ชรา​ใจดี​ให้​ ที่พัก​และ​อาหาร​อิ่ม​ท้อง​​ระหว่าง​กิน​อาหาร​ชาย​ชรา​เล่า​ให้​ฟัง​ ว่า​​เสือ​ซึ่ง​ชาว​บ้าน​ให้​ชื่อ​ว่า​​หูจื่อ​​จับ​คน​ที่​ออก​นอก​บ้าน​กิน​ ไป​หลาย​คน​อัน​สร้าง​ความ​หวาด​กลัว​แก่​ชาว​บ้าน​อย่าง​มาก​​ แต่​การ​ซ่อน​ตัว​ใน​บ้าน​กำลัง​สร้าง​ปัญหา​ใหม่​ขึ้น​​คือ​​เสบียง​ อาหาร​ใกล้​หมด​แล้ว​​ชาย​คน​นั้น​จึง​อาสา​แก้​ปัญหา​หนักอก​ ของ​ชาว​บ้าน​​เมื่อ​ทราบ​ที่​อยู่​ของ​เสือ​แล้ว​เขา​ก็​เดิน​ทาง​ไป​ กำจัด​มัน​ใน​เช้า​วัน​รุ่ง​ขึ้น​​ต่อ​มา​ชาว​บ้าน​ต่าง​ปลื้ม​ปิติ​เมื่อ​ชาย​ แปลก​หน้า​ลาก​เสือ​หูจื่อ​ที่​เคย​จับ​คน​กิน​ไป​มากมาย​ลง​จาก​เขา​​ หัวหน้า​หมู่บ้าน​เสนอ​ให้​นำ​เนื้อ​ของ​เสือ​มา​สับ​ให้​เละ​แล้ว​ห่อ​ ด้วย​แผ่นแ​ ป้ง​เพื่อ​กิน​ล้าง​แค้น​ให้​สะใจ​​ชาว​บ้าน​เห็น​ชอบ​ด้วย​​ นับ​แต่​นั้น​มา​คนใน​หมู่บ้าน​ได้​อยู่​อย่าง​สงบ​อีก​ครั้ง​และ​เพื่อ​ เป็นการ​รำลึก​ถึง​วัน​ฆ่า​เสือ​หูจื่อ​​ก่อน​วัน​ปี​ใหม่​ทุก​ปี​จึง​มี​การ​ทำ​ อาหาร​ว่าง​โดย​ใช้​เนื้อ​สับ​ห่อ​ด้วย​แผ่น​แป้ง​นำ​ไป​ต้ม​น้ำ​ซุป​แล้ว​ กิน​กัน​ใน​ทุก​ครัว​เรือน​​ยัง​เล่า​กัน​ต่อ​ไป​ว่า​ชาย​แปลก​หน้าที่​ช่วย​ กำจัด​เสือ​หูจื่อ​​คือ​​ชิง​​ไท่​จู่​ผ​ ู้​สถาปนา​ราชวงศ์​ชิง​ใน​วัย​หนุ่ม​ นั่นเอง​​เกี๊ยว​ไส้​เนื้อ​เสือ​ตาม​เรื่อง​เล่า​นี้​เกิด​ขึ้น​จาก​ความ​แค้น​ ของ​ชาว​บ้าน​และ​เป็นการ​รำลึก​ถึง​วีรกรรม​กล้า​หาญ​ของ​ชาย​ 62  WRITE E-MAGAZINE

หนุ่ม​แปลก​หน้าที่​กำจัด​ปัญหา​ให้​ชาว​บ้าน​ ​ต่อ​ไป​เป็น​ตำนาน​เรื่อง​ที่​สอง​เกี่ยว​กับ​​เกี๊ยว​​คือ​​ฤดู​ หนาว​ใน​หมู่บ้าน​แห่ง​หนึ่ง​เกิด​โรค​ระบาด​​คือ​​โรค​หู​เน่า​ขึ้น​​อัน​ เนื่องจาก​อากาศ​เย็น​จัด​ทำให้​อวัยวะ​ต่างๆ​ที่​สัมผัส​ความ​หนาว​ เย็น​ชา​อย่าง​มาก​​ชาย​คน​หนึ่ง​วิ่ง​เข้า​บ้าน​ด้วย​ความ​หนาว​เย็น​ ใน​คืน​หนึ่ง​​เมีย​ของ​เขา​มอง​ด้วย​ความ​โมโห​จัด​ที่​ผัว​กลับ​บ้าน​ ช้า​​ทำให้​ไม่​ได้​ฉลอง​ปี​ใหม่​ร่วม​กัน​จึง​หยิก​หู​ของ​ผัว​พร้อม​กับ​ด่า​ ตำหนิ​เขา​​ผัว​ร้อง​ลั่น​ด้วย​ความ​เจ็บ​ปวด​เพราะ​หู​เย็น​และ​แข็ง​ ถูก​บิด​อย่าง​แรง​​เมื่อ​เมีย​สำนึก​เสียใจ​ที่​ทำร้าย​ผัว​​จึง​แนะนำ​ ให้​เขา​ไป​หา​หมอ​เทวดา​ที่​อยู่​ริม​แม่น้ำ​ไป่​เหอ​และ​กำลัง​แจก​ยา​ รักษา​โรค​หู​เน่า​ที่​ระบาด​ใน​หมู่บ้าน​อยู่​​เขา​จึง​เดิน​ทาง​ไป​และ​ เห็น​ชาว​บ้าน​หลาย​คน​ยืน​รอ​รับ​ยา​เป็น​แถว​ยาว​​หมอ​เทวดา​มี​ นาม​ว่า​​จาง​จ้ง​จิ่ง​​บอก​ว่า​​หู​เน่า​เกิด​จาก​อากาศ​หนาว​จัด​​เมื่อ​ ดื่ม​ซุป​สมุนไพร​แก้​หนาว​ชาม​นี้​แล้ว​​ร่างกาย​จะ​อบอุ่น​​หู​ก็​อุ่น​ ขึ้น​​อาการ​เหล่า​นั้น​จัก​หาย​ไป​​เขา​รับ​น้ำ​ซุป​ร้อนๆ​ซึ่ง​มี​แป้ง​ ปั้น​รูป​ร่าง​คล้าย​หู​ห่อ​ไส้​บาง​อย่าง​อยู่​ใน​ชาม​มา​กิน​ตาม​ที่​หมอ​ เทวดา​บอก​ไว้​​ด้วย​ความ​สงสัย​เขา​จึง​ถาม​หมอ​เทวดา​ว่า​​ซุป​ นี้​อร่อย​มาก​จึง​อยาก​ทราบ​ว่า​มัน​ปรุง​อย่างไร​​หมอ​เทวดา​ตอบ​ ด้วย​ความ​ใจดี​ว่า​​ท่าน​ต้อง​นำ​เนื้อ​แกะ​​พริก​​และ​สมุนไพร​ ที่​ป้องกัน​ความ​หนาว​ใส่​ลง​ไป​ใน​หม้อ​ต้ม​​จาก​นั้น​นำ​มา​สับ​ ละเอียด​แล้ว​ห่อ​ด้วย​แผ่น​แป้ง​บางๆ​​นำ​แป้ง​ที่​ห่อ​ไส้​ลง​ไป​ต้น​ จน​สุก​อีก​ครั้ง​​จาก​นั้น​ทุก​ปี​เพื่อ​แสดง​ความ​เคารพ​ต่อ​จาง​จ้ง​จิ่ง​ ซึ่ง​ทำ​ยา​รักษา​หู​เน่า​​ใน​เทศ​กาล​ตงจื๊อ​และ​วัน​แรก​ของ​ปี​ใหม่​​ ชาว​บ้าน​จะ​ทำ​ซุป​สมุนไพร​เลียน​แบบ​ซุป​ของ​จาง​จ้ง​จิ่ง​เป็น​ อาหาร​ซึ่ง​เรียก​กัน​ว่า​​เกี๊ยว​​เวลา​ต่อ​มา​​เกี๊ยว​ปั้น​เป็น​รูป​คล้าย​หู​


มี​ไส้​เนื้อ​แกะ​หมัก​พริก​และ​สมุนไพร​ที่​ให้​ความ​ร้อน​แก่​ร่างกาย​ ต่อสู้​กับ​ความ​หนาว​เหน็บ​ของ​ฤ​ดกาล​ใน​อาณาจักร​จีน​จึง​เป็น​ อีก​สูตร​ของ​การ​ทำ​เกี๊ยว​โบราณ​ ​วิธี​กิน​เกี๊ยว​ของ​คน​จีน​ก็​มี​วิวัฒนาการ​เช่น​กัน​​นั่น​คือ​​ คน​จีน​โบราณ​เรียก​เกี๊ยว​ว่า​​หุน​ตุน​​โดย​จะ​ตัก​เกี๊ยว​ขึ้น​มา​จาก​ ชาม​กิน​พร้อม​กับ​น้ำ​ซุป​​ต่อม​ าส​มัย​ราชวงศ์​ถัง​​เปลี่ยน​วิธี​กิน​ ไป​เป็นการ​ตัก​เกี๊ยว​ที่​ต้ม​จน​สุก​แล้ว​มา​ใส่​ถ้วย​ของ​ตน​แล้ว​ค่อย​ กิน​​นอกจาก​นั้น​ยัง​มี​ความ​เชื่อ​ใน​วัน​ตรุษ​จีน​หรือ​ปี​ใหม่​ของ​จีน​ ว่า​​ต้อง​ใช้​ตะเกียบ​คีบ​เกี๊ยว​อย่าง​ระมัดระวัง​​ถ้า​ทำ​เกี๊ยว​แตก​ เปรียบ​เสมือน​ว่า​​จะ​มี​โชค​ร้าย​ใน​ปี​ที่​กำลัง​มา​ถึง​นี้​​รูป​ร่าง​ของ​ เกี๊ยว​มี​การ​ปั้น​แป้ง​ให้​แตก​ต่าง​กัน​ไป​ตาม​ความ​เชื่อ​และ​สมัย​ นิยม​ ​เกี๊ยว​ของ​จีน​มี​การนำ​ไป​เผย​แพร่​ใน​ประเทศ​เอเชีย​ และ​นิยม​กิน​กัน​มาก​​หลาย​ประเทศ​ดัดแปลง​ไส้​และ​รูป​ร่าง​ให้​ มี​เอกลักษณ์​ใหม่​​แล้วก​ลาย​เป็น​อาหาร​ยอด​ฮิต​ของ​ชาติ​ดัง​ กล่าว​ไป​​ตัวอย่าง​ที่​เห็น​กัน​ชัด​​คือ​​เกี๊ยว​ซ่า​​ซึ่ง​เป็น​อาหาร​ยอด​ ฮิต​ของ​ญี่ปุ่น​และ​เป็น​ที่​ถูกปาก​ของ​คน​ไทย​​เขา​นำ​เกี๊ยว​ของ​ จีน​ซึ่ง​ใช้​ไส้​หมู​สับ​ไป​ทอด​ให้​เกรียม​เล็ก​น้อย​​ไส้​หมู​สับ​ก็​หมัก​ คลุก​เคล้า​เครื่อง​ปรุง​ตาม​รสชาติ​ที่​คน​ญี่ปุ่น​ชื่น​ชอบ​​เพิ่ม​น้ำ​จิ้ม​ เกี๊ยว​ซ่า​เข้าไป​​จน​กลาย​เป็น​อาหาร​จาน​เด็ด​ที่​ทั้ง​โลก​รู้จัก​กัน​ดี​ ใน​นาม​ของ​​เกี๊ยว​ซ่า​​อีก​จาน​ที่​คน​จีน​นำ​เกี๊ยว​ไป​ดัดแปลง​เป็น​ อาหาร​ว่าง​หรือ​ติ๋มซำ​รส​เด็ด​ที่​คน​ทุก​ชาติ​รู้จัก​กัน​ดี​​คือ​​ฮะ​เก๋า​​​ ฝั่น​โก๋​​หรือ​​ขนม​จีบ​​ทำ​ไส้​ให้​หลาก​หลาย​ขึ้น​​​ทั้งนี้​​เกี๊ยว​จีน​ แบบ​ดั้งเดิม​และ​เป็น​ที่​ยอมรับ​กัน​มา​นาน​แล้ว​​คือ​​เกี๊ยว​หมู​สับ​ ปั้น​รูป​ร่าง​คล้าย​ทอง​แท่ง​โบราณ​​ยัง​มี​ให้​ลิ้ม​รสชาติ​และ​เป็น​ที่​

นิยม​ไม่​เสื่อม​คลาย​จนถึง​ปัจจุบัน​โดย​ทำ​เป็น​​เกี๊ยว​น้ำ​​บะหมี่​ แห้ง​กับ​เกี๊ยว​​เกี๊ยว​ทอด​​นอกจาก​นั้น​​ยัง​มี​การ​ทำ​ไส้​ของ​หวาน​ ห่อ​แป้ง​เกี๊ยว​อีก​ด้วย​ ​เกี๊ยว​เป็น​อาหาร​ที่​กิน​กัน​ได้​ตั้งแต่​ชนชั้น​สูง​จนถึง​ ชาว​บ้าน​และ​เป็น​สัญลักษณ์​ใน​เทศกาล​มงคล​ต่างๆ​ของ​คน​จีน​​ ตอน​นี้​ยัง​เป็น​อาหาร​ยอด​ฮิต​ใน​ชาติ​เอเชีย​ซึ่ง​ทำได้​ง่าย​หรือ​ซื้อ​ หา​ด้วย​ราคา​ไม่​แพง​นัก​​มี​สารพัด​รูป​ร่าง​และ​ไส้​ หลาก​หลาย​​เกี๊ยว​ยัง​แทรกซึม​ไป​เป็น​อาหาร​มีชื่อ​เสียง​ใน​หลาย​ ชาติ​ของ​โลก​​ถ้า​คิด​จัด​งาน​เทศกาล​เกี๊ยว​นานาชาติ​ให้​ผู้คน​ลิ้ม​ ชิม​รส​ที่​แตก​ต่าง​กัน​ให้​อิ่ม​ท้อง​ก็​ทำได้​แน่นอน​​แล้ว​ยัง​เรียน​รู้​ ได้​ว่า​เกี๊ยว​จีน​โบราณ​แตก​แขนง​ไป​อยู่​ใน​ประเทศ​ต่างๆ​แล้ว​ มี​รูป​ร่าง​และ​รสชาติ​เป็น​อย่างไร​​มีชื่อ​ที่​เรียก​แปลก​หู​หรือ​ยัง​ เค้าโครง​ชื่อ​เดิม​มาก​น้อย​แค่​ไหน​​ไม่​ว่า​จะ​เป็น​ยุค​อดีต​หรือ​ ยุค​ปัจจุบัน​เครื่อง​ปรุง​ไส้​ของ​เกี๊ยว​ขึ้น​อยู่​กับ​ฐานะ​ของ​ผู้​ปรุง​ อาหาร​เป็น​หลัก​​เคล็ด​ลับ​ความ​อร่อย​ของ​เกี๊ยว​อยู่​ที่​การ​คลุก​ เคล้า​ไส้​กับ​เครื่อง​ปรุง​ให้​มี​รสชาติ​กลมกล่อม​​เนื้อ​แป้ง​ไม่​หนา​ หรือ​แข็ง​เกิน​ไป​​แล้ว​ยัง​ต้อง​ใส่​ความ​ตั้งใจ​ลง​ใน​การ​ปั้น​เกี๊ยว​ ด้วย​​หลาย​คน​ทราบ​ดี​ว่า​จะ​หา​เกี๊ยว​อร่อย​กิน​ได้ที่​ใด​​บางที​ของ​ อร่อย​ไม่​จำเป็น​ต้อง​อยู่​ใน​โรงแรม​หรู​ก็ได้​​แค่​รถ​เข็น​หน้า​ปาก​ ซอย​ก็​หา​เกี๊ยว​อร่อย​กิน​ได้​แล้ว​​เรา​ไป​กิน​เกี๊ยว​สุด​ยอด​อร่อย​กัน​ เถอะ​  g

WRITE E-MAGAZINE 63


g

o ประกวด​เรื่อง​สั้น​​WRITE​​2552​

​ ​กติกา​การ​ส่ง​เรื่อง​ ​ 1​ .​เ​ป็นเ​รือ่ ง​สนั้ ท​ ผ​ี่ เ​ู้ ขียน​สร้างสรรค์ข​ นึ้ เ​อง​ย​ งั ไ​ ม่เ​คย​ตพ​ี มิ พ์ท​ ไี่ หน​มา​กอ่ น​โ​ ดย​มไิ ด้​ แปล​​ลอก​​หรือ​ดัดแปลง​​จาก​เรื่อง​ของ​ผู้​อื่น​ ​2​.เ​รื่อง​สั้น​ไม่​จำกัด​เนื้อหา​​ความ​ยาว​ใน​แบบ​เรื่อง​สั้น​ทั่วไป​ ​3​.ท​ ่าน​สามารถ​ส่ง​เรื่อง​สั้น​ได้​เพียง​เดือน​ละ​​1​​เรื่อง​ ​4​.​เมื่อ​เรื่อง​สั้น​ของ​ท่าน​ได้​รับ​การ​ตี​พิมพ์​แล้ว​ ​ท่าน​หมด​สิทธิ์​ส่ง​เรื่อง​สั้น​เรื่อง​อื่น​ เพื่อ​เปิด​โอกาส​ให้​นัก​เขียน​ท่าน​อื่น​ได้ร​ ับ​พิจารณา​บ้าง​ ​5​.​ใน​แต่ละ​เดือน​ ​เรื่อง​สั้น​ที่​ผ่าน​เกิด​ ​เรื่อง​สั้น​ที่​ได้​ผ่าน​รอบ​แรก​ ​จะ​ได้​รับ​การ​ตี​ พิมพ์​ใน​ ​WRITE​ ​เมื่อ​ครบ​หนึ่ง​ปี​ ​บรรณาธิการ​จะ​ประกาศ​เรื่อง​สั้น​ยอด​เยี่ยม​ จำนวน​​5​​เรื่อง​​จาก​เรื่อง​สั้น​รอบ​แรก​ ​6​.​ท่าน​สามารถ​ส่ง​เรื่อง​สั้น​ของ​ท่าน​มา​ที่​ ​niwat59​@​gmail​.​com​ ​โดย​แนบ​ไฟล์​ ต้นฉบับ​เป็น​ไฟล์​เวิร์ด​​และ​เขียน​จ่า​หน้า​ว่า​​“​ประกวด​เรื่อง​สั้น​”​​กรุณา​อย่า​​Pate​​ >​​Copy​​งาน​ของ​ท่าน​ลง​ใน​อีเมล์​​(​ทำให้​ยุ่ง​ยาก​ต่อ​การ​อ่าน​)​ ​7​.​เรื่อง​สั้น​ยอด​เยี่ยม​ของ​ปี​​จะ​ได้​รับ​ใบ​ประกาศ​เกียรติ​จาก​บรรณาธิการ​ ​8​.​หาก​ท่าน​ต้องการ​ถอน​เรื่อง​ของ​ท่าน​จาก​การ​พิจารณา​กรุณา​เขียน​อีเมล์​มา​ ยืนยัน​ ​9​.​การ​ตัดสิน​ของ​บรรณาธิการ​ถือ​เป็น​ที่สุด​ 1​ 0​.W ​ RITE​e​ -​M ​ agazine​เ​ป็นน​ ติ ยสาร​ออนไลน์แ​ จก​ฟรี​ไ​ ม่มโ​ี ฆษณา ไม่มรี ายได้​ จัดทำขึน้ เ​พือ่ ส​ ง่ เ​สริมก​ าร​อา่ น​การ​เขียน​จ​ งึ ย​ งั ไ​ ม่ส​ ามารถ​จา่ ย​คา่ เ​รือ่ ง​ได้​โ​ ปรด​ พิจารณา​กติกา​ข้อ​นี้​ก่อน​ส่ง​เรื่อง​สั้นของท่าน

o g 64  WRITE E-MAGAZINE


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.