พรมแดนใหม่ ของ “หมอฟันธรรมดา”
พรมแดนใหม่ ของ “ หมอฟันธรรมดา” รายงานการถอดบทเรียน ชุดโครงการดูแลสุขภาพช่องปากคนพิการ
“พรมแดนใหม่ ของหมอฟันธรรมดา” รายงานการถอดบทเรียนชุดโครงการดูแลสุขภาพช่องปากคนพิการ เลขม�ตรฐ�นส�กล พิมพ์ครั้งที่ 1 จำ�นวนพิมพ์ ที่ปรึกษ� บรรณ�ธิก�ร คณะทำ�ง�น ประส�นง�น ศิลปกรรม ภ�พประกอบ พิมพ์ที่ สนับสนุนและเผยแพร่
978-616-92618-0-3 เมษ�ยน 2559 1,000 เล่ม แพทย์หญิงวัชร� ริ้วไพบูลย์ อภิญญ� ตันทวีวงศ์ เบญญ�ด� มุติวัฒน�สวัสดิ์ นวพร ต่อมกระโทก ปิยวรรณ์ กิจเจริญ น�งส�วแพรว เอี่ยมน้อย น�งส�วอัปสร จินด�พงษ์ น�ยเศรษฐพงษ์ ดีอุด ทีมถอดบทเรียน และชุดโครงก�รดูแลสุขภ�พช่องป�กคนพิก�ร บริษัทต้นเงินก�รพิมพ์ จำ�กัด สถ�บันสร้�งเสริมสุขภ�พคนพิก�ร มูลนิธิสร้�งสรรค์สังคมและสุขภ�วะ สำ�นักง�นกองทุนสนับสนุนก�รสร้�งเสริมสุขภ�พ สถ�บันวิจัยระบบส�ธ�รณสุข
ข้อมูลทางบรรณานุกรมของสำานักงานหอสมุดแห่งชาติ พรมแดนใหม่ ของหมอฟันธรรมด� ร�ยง�นก�รถอดบทเรียนชุดโครงก�รดูแลสุขภ�พช่องป�กคนพิก�ร.- นนทบุร ี : สถ�บันสร้�งเสริมสุขภ�พคนพิก�ร (สสพ.) มูลนิธสิ ร้�งสรรค์สงั คมและสุขภ�วะ (มสส.), 2559. 130 หน้�. 1. ทันตกรรม. 2. ฟัน--ก�รดูแลและสุขวิทย�. I. อภิญญ� ตันทวีวงศ์. II. เศรษฐพงษ์ ดีอุด, ผู้ว�ดภ�พประกอบ. III. ชื่อเรื่อง. 617.6 ISBN 978-616-92618-0-3
จัดทำโดย สถาบันสร้างเสริมสุขภาพคนพิการ มูลนิธิสร้างสรรค์สังคมและสุขภาวะ ชั้น 3 อาคารสุขภาพแห่งชาติ ซ.สาธารณสุข 6 ถ.ติวานนท์ 14 อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000 โทรศัพท์ 0-2832-9260 โทรสาร 0-2832-9261 www.healthyability.com, www.bluerollingdot.org
¡
คำนำ “การดูแลสุขภาพช่องปากคนพิการ” มักเป็นเรือ่ งทีถ่ กู จัดให้คว�มสำ�คัญในลำ�ดับรอง หรือลำ�ดับท้�ยๆ สำ�หรับก�รว�งแผนก�รดูแลฟืน้ ฟูสมรรถภ�พคนพิก�ร อ�จเป็นเพร�ะว่�บุคล�กรทัง้ หล�ยมักจะมุง่ ให้ก�รดูแลฟืน้ ฟู เรื่องสำ�คัญใหญ่ๆ เช่น ก�รฟื้นฟูร่�งก�ยเพื่อให้คนพิก�รมีสมรรถนะ ส�ม�รถช่วยเหลือตนเองได้ดีขึ้น ก�รดูแลฟื้นฟู ด้�นอ�ชีพ และก�รศึกษ� กอปรกับ “ช่องป�กและฟันของคนพิก�ร” ยังถูกมองว่�เป็นสถ�นที่อันลึกลับ สำ�หรับ ผู้เชี่ยวช�ญเท่�นั้นที่ส�ม�รถจัดก�รได้ ขณะที่ ง�นอน�มัยหรือส่งเสริมสุขภ�พของหน่วยง�นรัฐที่รับผิดชอบหลัก ในเรื่องนี้ ก็ยังไม่ได้ให้คว�มสำ�คัญกับกลุ่มเป้�หม�ยที่เป็นคนพิก�รเท่�ไหร่นัก หล�ยปีกอ่ น สถ�บันสร้�งเสริมสุขภ�พคนพิก�ร (สสพ.) ร่วมกับสำ�นักง�นกองทุนสนับสนุนก�รสร้�งเสริม สุขภ�พ (สสส.) ได้สนับสนุนก�รปฏิบตั กิ �รให้ทนั ตบุคล�กรตระหนักถึงก�รสร้�งเสริมสุขภ�พช่องป�กคนพิก�ร และ พัฒน�กลไกส่งเสริม ก�รเข้�ถึงบริก�รดูแลสุขภ�พช่องป�กคนพิก�รในระดับปฐมภูมใิ ห้มปี ระสิทธิภ�พเพิม่ ขึน้ จนเกิด มีพื้นที่ปฏิบัติก�รกระจ�ยกว่� 40 พื้นที่ทั่วประเทศ จ�กคว�มตั้งใจจริงมุ่งมั่นของเหล่�คนทำ�ง�น และผลสัมฤทธิ์ ทีเ่ กิดขึน้ ในครัง้ นัน้ ทำ�ให้เกิดก�รพัฒน�ต่อยอดม�เป็นชุดโครงก�รดูแลสุขภ�พช่องป�กคนพิก�ร (ได้แก่ โครงก�รส่ง เสริมก�รเข้�ถึงบริก�รสุขภ�พช่องป�กของคนพิก�ร และ โครงก�รพัฒน�สมรรถนะนักศึกษ�ทันตแพทย์และทีมทันตบุคล�กรเพือ่ ดูแลสุขภ�พช่องป�กผูพ้ กิ �ร) โดยมีชมรมทันตกรรมสำ�หรับบุคคลทีม่ คี ว�มต้องก�รพิเศษแห่งประเทศไทย มูลนิธทิ นั ตส�ธ�รณสุข และ คณะทันตแพทยศ�สตร์ มห�วิทย�ลัยเชียงใหม่ เป็นแกนในก�รดำ�เนินง�น ได้รบั ก�ร สนับสนุนงบประม�ณและบริห�รจัดก�รโดยสถ�บันวิจัยระบบส�ธ�รณสุข (สวรส.) และสำ�นักง�นกองทุน สนับสนุนก�รสร้�งเสริมสุขภ�พ (สสส.) ระยะเวล�ประม�ณปีกว่�ของก�รดำ�เนินง�นชุดโครงก�รฯ แม้จะเป็นระยะเวล�ไม่น�น แต่มเี รือ่ งร�วดีๆ นวัตกรรม บทเรียนก�รทำ�ง�นสำ�คัญม�กม�ย ซึง่ ไม่อย�กให้เกิดขึน้ แล้วเลือนห�ยไปต�มก�ลเวล� ห�กแต่ควรถูกนำ� ม�ถอดบทเรียน เพื่อให้มีก�รบันทึกข้อเรียนรู้ ประสบก�รณ์ และข้อค้นพบที่สำ�คัญจ�กกระบวนก�รดำ�เนินง�น อันจะเป็นข้อมูลเพือ่ สนับสนุนให้แก่ผทู้ ที่ �ำ ง�นด้�นสุขภ�พ รวมถึงคนพิก�รในก�รขับเคลือ่ นง�นดูแลสุขภ�พช่องป�ก คนพิก�รต่อไป “พรมแดนใหม่ ของหมอฟันธรรมดา” แสดงให้เห็นถึงคว�มพย�ย�มของทีมถอดบทเรียนในก�รหยิบยก เรือ่ งร�ว 8 กรณีศกึ ษ� ภ�ยใต้ก�รดำ�เนินชุดโครงก�รฯ สูก่ �รถ่�ยทอดให้เห็นถึงภ�พตัวอย่�งของก�รเปิดประตู พืน้ ที่ อันลึกลับ ที่เรียกว่� “ช่องป�ก” ของคนพิก�รให้กล�ยเป็นสถ�นที่ที่เข้�ถึงได้ ส�ม�รถสร้�งรอยยิ้มให้กับคนพิก�ร ครอบครัว รวมถึงคนทำ�ง�นที่เข้�ม�มีส่วนเกี่ยวข้อง ….หวังเป็นอย่�งยิ่งว่� ผู้อ่�นจะได้รับอรรถรสครบถ้วนทั้งส�ระ เรียนรู้ คว�มเพลิดเพลิน และรอยยิ้มประทับใจไปกับเรื่องร�วที่จะนำ�เสนอต่อจ�กนี้
สถ�บันสร้�งเสริมสุขภ�พคนพิก�ร มูลนิธิสร้�งสรรค์สังคมและสุขภ�วะ
สารบัญ เรื่อง
คำนำ เกริ่นนำ
หน้า ก
การพัฒนาระบบบริการ
1 2
บทที่ 1 บริการทันตกรรมเชิงรุก “ความสุข” ที่ถูกคนพบ 4 ้ กรณีที่ 1 ทันตกรรมลำ�ยุคที่ “โรงพย�บ�ลหลังเข�” 6 โรงพย�บ�ลวัดจันทร์ เฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษ� จ.เชียงใหม่ กรณีที่ 2 แผ้วถ�งเส้นท�งส�ยใหม่...เคียงบ่�เคียงไหล่ไปทั้งทีม 22 โรงพย�บ�ล 50 พรรษ� มห�วชิร�ลงกรณ จ.อุบลร�ชธ�นี กรณีที่ 3 แรงบันด�ลใจหนุนนำ�สู่ก้�วใหม่ในโรงเรียนศึกษ�พิเศษ 36 โรงพย�บ�ลสงขล� และ โรงเรียนสงขล�พัฒน�ปัญญ� จ.สงขล� บทที่ 2 เมื่อฝายปฏิบัติผนึกพลังนักวิชาการ พัฒนางานบนวิถี “R2R” 52 กรณีที่ 4 ปฏิบัติก�รกล�งเมืองใหญ่ ใช้ง�นวิจัยพลิกเป็นฝ่�ย “รุก” 53 โรงพย�บ�ลเทศบ�ลนครเชียงใหม่ กรณีที่ 5 ทีมง�นเท่�ทันกันแม้ห�่ งไกล ใช้ “แฟ้มครอบครัว” เป็นตัวผนึกพลัง 63 โรงพย�บ�ลแม่แตง จ.เชียงใหม่ การพัฒนากำลังคน
81
บทที่ 3 สรางสะพานบนฐานความรูสูทุกพื้นที่ทั่วไทย 82 กรณีที่ 6 ก�รพัฒน�ศักยภ�พทันตบุคล�กรเพื่อส่งเสริมสุขภ�พช่องป�ก 83 คนพิก�รโดยร่วมกับสหวิช�ชีพสถ�บันร�ช�นุกูล
บทที่ 4 สองทางสรางปญญา พัฒนา “หมอฟนสายพันธุใหม” กรณีที่ 7 เพร�ะเห็นปัญห� จึงกล้�บุกเบิก คณะทันตแพทยศ�สตร์ ม.นเรศวร กรณีที่ 8 นำ�ศิษย์สู่พรมแดนใหม่ด้วย “กิจกรรมอ�ส�” คณะทันตแพทยศ�สตร์ ม.เชียงใหม่
94 95
คณะทำงาน
123
111
1
่นนำ� เกริ่นเกรินำ�
“มาทำ�ฟันให้คนพิการได้อย่างไร ทำ�ไปทำ�ไม และเกิดอะไรขึ้นมาบ้าง?”
“เคยทำ�ฟันให้คนพิการไหม?”
เพราะอะไร?
เจอกับคำ�ถามนี้ เชือ่ ว่าทัง้ หมอฟัน และบุคลากรด้านทันตกรรมส่วนใหญ่เป็นต้อง ส่ายหน้า สาเหตุนั้นหยิบยกมาได้มากมาย ข้อที่ดูจะเป็นเงื่อนไขที่ “ฟังได้” มากที่สุดก็คือ ไม่มีกำ�ลังคน เวลา และทรัพยากรเพียงพอ เพราะลำ�พังแค่ดูแลรักษาคนไข้ทั่วไปก็เต็มมือ และเต็มเวลาแล้ว อีกข้อหนึง่ ที่ “ฟังขึน้ ” ไม่แพ้กนั ก็คอื เรือ่ งนีไ้ ม่ใช่ภารกิจทีไ่ ด้รบั มอบหมายมาจาก “หน่วยเหนือ”
2 ดังที่ ทีมงานทันตกรรมในโรงพยาบาลระดับจังหวัดแห่งหนึ่งระบุว่า ทั้ง ๆ ที่ โรงพยาบาลกับโรงเรียนศึกษาพิเศษสำ�หรับเด็กพิการระดับภาค อยู่ห่างกันแค่ 300 เมตร และทัง้ ๆ ทีย่ กทีมเข้าไปดูแลสุขภาพปากและฟันให้แก่เด็ก ๆ ตามโรงเรียนต่าง ๆ อยูไ่ ม่ขาด แต่ส�ำ หรับเด็กพิการในโรงเรียนทีร่ ว้ั บ้านแทบจะชนกันนีก้ ลับเป็นเหมือนกับ “แดนสนธยา” ที่ทีมงานไม่เคยกลำ�้ กราย เพราะ “กระทรวงฯ ไม่ได้มอบหมายภารกิจมา...” ลึก ๆ ลงไปในใจ บุคลากรทันตกรรม คำ�ตอบที่แท้จริงยังมีมากกว่านั้น นั่นคือ ความวิตก ไม่มน่ั ใจว่า ตนเองมีความสามารถพอทีจ่ ะรับมือกับการทำ�ฟันให้คนพิการ โดยเฉพาะ อย่างยิ่ง เด็ก ๆ ได้ ในทางตรงกันข้าม ทั้งที่ยังไม่เคยทดลอง หลายต่อหลายคนกลับมั่นอกมั่นใจว่า การทำ�ฟันให้คนที่มีสภาพร่างกาย อารมณ์ หรือสติปัญญา แตกต่างไปจนคนทั่วไปเช่นนี้ จะนำ�ไปสู่สถานการณ์ที่เสี่ยงอันตราย ถึงขั้นช็อกหรือตายคาเก้าอี้ทำ�ฟันได้ง่าย ๆ “ช่องปากและฟันของคนพิการ” จึงเป็นสถานที่อันลึกลับ ซึ่งผู้เชี่ยวชาญ เฉพาะทางเท่านัน้ มีความสามารถพอทีจ่ ะเข้าไปจัดการได้ โดยเป็นภาระหน้าทีข่ องตัวคนพิการ ผู้ดูแล หรือครอบครัว ที่ต้องเสาะหาช่องทางเข้าถึง “ประตู” อันคับแคบ และมี “ต้นทุน” สำ�หรับการเข้าถึงบริการพิเศษอันสูงลิบ ทั้งด้วยเวลาและค่าใช้จ่ายนี้เอาเองตามลำ�พัง ไม่ต่างแม้แต่น้อยจากทุก ๆ คนที่มาช่วยกันแบ่งปันเรื่องราวของตนเอง ในหนังสือเล่มนี้... เส้นทางวิชาชีพของพวกเขา ไม่ว่าจะเป็น “หมอฟัน” ทีมผู้ช่วย สหวิชาชีพ หรือ แม้แต่อาจารย์ และนักศึกษาทันแพทย์เหล่านี้ล้วนเคย “ปลอดคนพิการ” มาก่อน แต่ในวันนี้ ความโล่งใจทีไ่ ม่ตอ้ งเข้าไปเกีย่ วข้องหรือสุม่ เสีย่ งกับคนพิการได้พลิกผัน เป็นความสุขใจอย่างยากจะบรรยาย หลัง “ความไม่ร”ู้ ทีเ่ คยบดบังความเป็นจริงและกีดกัน้ คุณค่าแห่งวิชาชีพได้สญ ู สลายไป ผ่านการทดลอง เรียนรู้ และริเริม่ สิง่ ใหม่ ๆ ด้วยความร่วมมือ ้ เป็นนำ�หนึ่งใจเดียว
“มาทำ�ฟันให้คนพิการได้อย่างไร ทำ�ไปทำ�ไม และเกิดอะไรขึน้ มาบ้าง?”
พวกเขาพร้อมแล้วที่จะบอกเล่ากับเรา...
3
การพัฒนาระบบบริการ
4
บทที่ 1
บริการทันตกรรมเชิงรุก “ความสุข” ที่ถูกค้นพบ
ท่�มกล�งภ�ระง�นประจำ�ที่ล้นมือ อีกทั้งยังข�ดคว�มมั่นใจ ทีมง�นทันตกรรม
ในหล�ยพืน้ ทีต่ กลงใจบุกเบิกบริก�รเชิงรุกเพือ่ ดูแลสุขภ�พช่องป�กคนพิก�ร ต�มกำ�ลังทีม่ .ี .. สิ่งนี้ได้นำ�ไปสู่ก�ร “ขย�ยพรมแดนของหมอฟันธรรมด�” ที่สร้�งคุณค่� อย่�งมห�ศ�ล ทั้งต่อผู้ให้และผู้รับบริก�ร
และที่สำ�คัญคือ เป็นเรื่องไม่เหลือวิสัย...ทำ�ได้จริง ทั้งในพื้นที่เมืองและชนบท
ดังบทพิสูจน์ต่อไปนี้...
5
6
กรณีท่ี 1 ทันตกรรมลำ�้ ยุคที่ “โรงพยาบาลหลังเขา” โรงพยาบาลวัดจันทร์ เฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา จังหวัดเชียงใหม่ เบญญาดา มุตวิ ฒ ั นาสวัสดิ์ เส้นทางสาย แม่มาลัย-ปาย นัน้ เลือ่ งชือ่ ลือชาระดับชาติในความเลีย้ วลดคดเคีย้ ว แต่นั่นเป็นเพียงจุดเริ่มต้นเท่านั้นหากจะมุ่งเข้าสู่ อำ�เภอกัลยาณิวัฒนา... ราว 13 กิโลเมตรก่อนถึงอำ�เภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน ณ ทางแยกซ้ายมือ ยังต้องดัน้ ด้นบนหนทางทีแ่ ทรกตัวอยูท่ า่ มกลางโขดเขาสลับซับซ้อนไปอีกร่วม 60 กิโลเมตร จึงเข้าถึงเขตอำ�เภอน้องใหม่ ซึง่ แยกตัวออกมาจากเขตอำ�เภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ เมือ่ ปี 2552 (7 กรกฎาคม พ.ศ. 2552) อำ�เภอกัลยาณิวฒ ั นา มีดว้ ยกัน 3 ตำ�บลคือ ตำ�บลบ้านจันทร์, ตำ�บลแม่แดด และ ตำ�บลแจ่มหลวง พื้นที่เกินกว่าครึ่งหนึ่งมีสภาพเป็นภูเขาสูงชัน ส่วนใหญ่ปกคลุมด้วยป่าสน สองใบและสามใบ ดูงดงามเขียวขจี อุณหภูมเิ ฉลีย่ ตลอดปีอยูท่ ่ี 19 องศาเซลเซียส ฟัง ๆ ดูแล้ว อำ�เภอแห่งนี้ดูเหมือนเป็นดินแดนในฝันสำ�หรับนักท่องเที่ยว แต่สำ�หรับคนที่อาศัยอยู่ที่นี่ ดูจะตรงกันข้าม พืน้ ทีส่ ว่ นใหญ่ทล่ี าดชันมากกว่า 30 องศา ทำ�ให้พน้ื ทีเ่ พาะปลูกมีจ�ำ กัด ยากต่อการ ทำ�มาหากิน ในยามหน้าร้อนอุณหภูมิที่นี่อาจพุ่งทะลุถึง 37 องศาเซลเซียส ขณะที่ฤดูหนาว กินเวลายาวนานและแสนทรมาน เพราะอุณหภูมิสามารถลดตำ่�ลงได้ถึง 4 องศาเซลเซียส จนต้องก่อกองไฟเพื่อขับไล่ความหนาวเย็นที่ทอดระยะเวลายาวนานมากกว่าครึ่งปีผลพวง ทีต่ ามมาก็คอื โรคปอดอุดกัน้ เรือ้ รัง ซึง่ ได้กลายเป็นโรคประจำ�ถิน่ ก่อความทุกข์ทรมานให้คนแก่ คนเฒ่าจำ�นวนมาก พืน้ ทีโ่ ขดเขาสูงยังส่งผลต่อชะตาชีวติ ของผูค้ นทีน่ อ่ี ย่างแนบแน่น เพราะ โรงพยาบาล ปายซึ่งเป็นโรงพยาบาลขนาดใหญ่ที่อยู่ใกล้ที่สุด ต้องใช้เวลาเดินทางถึง 2 ชั่วโมง หรือ มากกว่านั้นในช่วงฤดูฝน สภาพเช่นนี้ได้กลายเป็นสาเหตุให้เด็ก ๆ จำ�นวนหนึ่งต้องพิการ เพราะคลอดก่อนกำ�หนดหรือผิดปกติ ทำ�ให้สมองขาดออกซิเจนนานเกินกว่าจะกอบกู้ได้ เสียแล้วเมื่อไปถึงโรงพยาบาล
7 ก�รข�ดออกซิเจนระหว่�งก�รคลอด ทำ�ให้เด็กที่เกิดม�มีอ�ก�รพิก�รท�งสมอง และส่งผลต่อก�รเคลือ่ นไหวของกล้�มเนือ้ ต�มม� กล�ยเป็นคว�มพิก�รตัง้ แต่ก�ำ เนิด ทีแ่ ก้ไข ไม่ได้ไปจนตลอดชีวิต ด้วยเหตุนี้ ช�วอำ�เภอกัลย�ณิวัฒน�จึงดีใจยิ่งนักเมื่อ โรงพยาบาลวัดจันทร์ เฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา เปิดให้บริก�รในเดือนธันว�คม 2550 แม้ว�่ จะเป็นโรงพย�บ�ล ชุมชนขน�ดเล็ก รองรับผู้ป่วยในได้เพียง 10 เตียงก็ต�มที และ “โรงพย�บ�ลหลังเข�” แห่งนีก้ ไ็ ม่ท�ำ ให้ประช�ชนทีน่ ผ่ี ดิ หวัง เพร�ะหลังจ�กปี 2550 เป็นต้นม� อำ�เภอแห่งนี้ไม่มีคนพิก�รแต่กำ�เนิดเพิ่มขึ้นอีกเลย ยิง่ ไปกว่�นัน้ โรงพย�บ�ลวัดจันทร์ฯ อันแสนห่�งไกลยังมีระบบบริก�รทันตกรรม สำ�หรับคนพิก�ร ที่เรียกได้ว่� “ลำ�้ หน้�” ในระดับช�ติอีกด้วย
เป็นอย่างไร...เราจะไปสำารวจด้วยกัน
8
แก้วตาดวงใจ ชื่อ “รุ่งไพลิน”
จาก 3 ตำ�บลในอำ�เภอกัลยาณิวัฒนา พบคนพิการจำ�นวน 167 คน แบ่งประเภท ความพิการด้านต่าง ๆ ได้ 6 ประเภท คือ การมองเห็น, การได้ยินและการสื่อความหมาย, ด้านร่างกายหรือการเคลื่อนไหว, จิตเวช, สติปัญญา และการเรียนรู้ โดยพบคนพิการด้าน ร่างกายหรือการเคลื่อนไหวมากที่สุดคือ 51 คน รุ่งไพลิน พนาสุมนา วัย 14 ปี เป็นหนึ่งในจำ�นวนนั้น รุ่งไพลิน พิการมาตั้งแต่กำ�เนิด มีนำ�้ หนักแรกคลอดเพียง 1.7 กิโลกรัมเท่านั้น แพทย์วินิจฉัยอาการของเธอว่าเป็น Severe Cerebral with mild mental retard ส่งผลต่อการเคลื่อนไหวทางร่างกาย จนไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ และมีอาการเกร็ง อยู่ตลอดเวลา ครอบครัวของรุ่งไพลินเป็นชาวปกาเกอะญอและมีฐานะยากจน เช่นเดียวกับ คนส่วนใหญ่ที่นี่ พ่อแม่ประกอบอาชีพรับจ้าง ครอบครัวนี้มีพี่น้องรวม 6 คน รุ่งไพลิน เป็นน้องคนสุดท้อง พี่ 3 คนแรกแต่งงานแยกย้ายออกไปมีครอบครัวของตัวเองแล้ว เหลือแต่ พี่คนที่ 4 และ 5 ซึ่งเป็นพี่สาวและพี่ชาย ที่คอยช่วยกันดูแลรุ่งไพลินตั้งแต่เล็ก ๆ
9 รุ่งไพลิน ไม่สามารถพูดสื่อสารกับคนรอบข้างได้ ยิ่งไปกว่านั้น กล้ามเนื้อรอบ ๆ ปากก็ไม่สามารถควบคุมได้ นำ�้ ลายไหลออกทางมุมปาก และกลืนอาหารไม่ได้ กินได้แต่นม และข้าวทีผ่ ดู้ แู ลเคีย้ วให้กอ่ นป้อน เพราะกินอาหารได้ไม่มาก ทำ�ให้รงุ่ ไพลินมีน�ำ ้ หนักเฉลีย่ อยู่ที่ประมาณ 20 กิโลกรัมเท่านั้น แม้ร่างกายพิการและไม่สามารถพูดคุยสื่อสารกับใครได้ แต่รุ่งไพลินก็เป็นที่รัก ของทุกคนในครอบครัว เธอมีรอยยิม้ อันน่ารักทีแ่ สดงให้เห็นได้เมือ่ รูส้ กึ ดีใจ ขณะทีพ่ อ่ แม่และ พี่ ๆ โดยเฉพาะพี่สาวและพี่ชายที่อยู่ร่วมบ้านได้ช่วยกันดูแลน้องสุดท้องคนนี้ด้วยความรัก และเอาใจใส่มาตั้งแต่แรกเกิด
“รุ่งไพลิน” กับ “กัลยา” พี่สาว ที่ดูแลน้องอย่างใกล้ชิดด้วยความรัก
สองคนพี่น้องยอมผลัดกันหยุดเรียนเพื่อเป็นหัวเรี่ยวหัวแรงสำ�คัญในการดูแล รุง่ ไพลิน โดยพีส่ าวยอมหยุดเรียนเพือ่ อยูบ่ า้ นดูแลน้อง และเมือ่ พีช่ ายจบชัน้ มัธยมศึกษาปีท่ี 6 ก็หยุดเรียนผลัดให้พี่สาวไปเรียนที่สำ�นักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษา ตามอัธยาศัย (กศน.) บ้าง พี่ ๆ ของรุ่งไพลิน ยังช่วยกันคิดค้นวิธีดูแลน้องให้มีสุขภาพแข็งแรงเป็นปกติมาก ทีส่ ดุ เท่าทีจ่ ะทำ�ได้ ไม่ละเลยแม้กระทัง่ การดูแลช่องปากและฟันของน้องให้สะอาด ด้วยการ เอียงหัวน้องและใช้นำ�้ หยอดเข้าปาก เพื่อล้างปากและฟันให้สะอาด ซึ่งเป็นสิ่งที่น้องทำ�เอง ไม่ได้
10 แม้ครอบครัวยากจน แต่เนือ้ ตัวและเสือ้ ผ้าของรุง่ ไพลินสะอาดอยูเ่ สมอ ด้วยความ เอาใจใส่ดูแลจากสมาชิกครอบครัวช่วยกันดูแลเป็นอย่างดี และได้รับความรักจากพ่อแม่ ไม่น้อยไปกว่าพี่ ๆ คนอื่น ๆ เพราะมีความเชื่อกันว่า ที่ลูกต้องพิการเช่นนี้ เป็นเพราะการ กระทำ� หรือเคราะห์กรรมที่พ่อแม่ได้ทำ�ไว้ ครอบครัวที่มีผู้พิการจึงดูแลสมาชิกเหล่านี้ เป็นอย่างดี เพื่อแก้ไขหรือชดเชยในสิ่งที่ได้เคยทำ�ผิดพลาดไว้นั้น ความรักจากบุพการีได้ผ่านบทพิสูจน์ครั้งแล้วครั้งเล่า คราวหนึ่งที่เจ้าหน้าที่ของ โรงพยาบาลวัดจันทร์ฯ ยังจดจำ�ได้ดี ก็คอื ภาพพ่อผูย้ ากจนอุม้ รุง่ ไพลินทีก่ �ำ ลังป่วยด้วยอาการ ผิวหนังอักเสบอย่างรุนแรงฝ่าทุ่งนาและป่าเขามาไกลกว่าสิบกิโลเมตร เพื่อมาส่งลูกให้ถึง มือหมอ อย่างไรก็ตาม บางครั้งความรัก ความผูกพัน และความเชื่อ ก็ไม่อาจเหนี่ยวรั้ง จิตใจพ่อแม่จากแรงกระทบกระเทือนได้อย่างเด็ดขาด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยามที่ต้องเผชิญกับความขาดแคลนและความเหนื่อยล้า ซึ่งมาเยือนได้เสมอท่ามกลางสภาพชีวิตที่แวดล้อมด้วยความยากไร้ ขาดแคลน และสภาพ ธรรมชาติอันทุรกันดารเช่นนี้...
ภาพประกอบจาก : http://www.travel-is.com/forum/picture/1233841138.jpg
11
“หมอฟันคนใหม่” ผู้ไร้พรมแดน เดือนมกราคม 2551 หรือเดือนเศษ ๆ หลังโรงพยาบาลวัดจันทร์ฯ เปิดทำ�การ ทพ.พูลพฤกษ์ โสภารัตน์ เข้ารับหน้าทีเ่ ป็นหนึง่ ในทันตแพทย์ช�ำ นาญการประจำ�โรงพยาบาล แห่งนี้ ที่มีด้วยกัน 2 คน ทันตแพทย์หนุ่มผู้นี้เป็นชาวเชียงใหม่ จบการศึกษาจากคณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ตั้งแต่ปี 2546 หลังจากนั้น ได้ทำ�งานในโรงพยาบาลชุมชนนาด้วง จังหวัดเลยเป็นเวลา 1 ปี และย้ายมาประจำ�ที่โรงพยาบาลเฉลิมพระเกียรติ อำ�เภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดน่าน ตั้งแต่ปี 2547 - 2550 3 เดือนแรกของชีวติ การทำ�งาน คุณหมอพูลพฤกษ์ ไม่มโี อกาสได้กลับบ้านเพราะ ต้องการเข้าใจสภาพความเป็นอยู่ของชาวบ้านในเขตอำ�เภอเฉลิมพระเกียรติ “ผมสังเกตเห็นว่าผู้ป่วยมาโรงพยาบาลกันตลอดเวลา เสาร์อาทิตย์ก็ยังมากัน มา กันเป็นคันรถ ผมรู้สึกว่าตัวเองไม่เข้าใจพวกเขา ต่อมาจึงชวนน้องๆ เจ้าหน้าที่โรงพยาบาล ไปเที่ยวบ้านชาวบ้าน แค่ให้รู้ว่าแต่ละหมู่บ้านห่างจากโรงพยาบาลมากน้อยแค่ไหน และ พวกเขามีชวี ติ ความเป็นอยูอ่ ย่างไร การไปเทีย่ วบ้านทำ�ให้ได้เห็นรายละเอียดหลายอย่าง...” ประสบการณ์ทค่ี อ่ ย ๆ เก็บเกีย่ วในระหว่างการทำ�งานค่อยๆ หล่อหลอมแนวทาง การทำ�งาน ทำ�ให้ คุณหมอพูลพฤกษ์ เห็นประจักษ์ถึงความสำ�คัญของการดูแลผู้ป่วย ด้วยความเข้าใจ โดยสิ่งแรกที่ต้องเข้าใจให้ได้ก่อนคือบริบทแวดล้อม ตลอดจนความเชื่อ และวิถีการใช้ชีวิตของผู้ป่วยและครอบครัว
ทพ.พูลพฤกษ์ โสภารัตน์ ทันตแพทย์ชำ�นาญการ ประจำ�โรงพยาบาลวัดจันทร์ฯ
12 ดังนัน้ ทันตแพทย์ผนู้ จ้ี งึ ถือเอา “การเยีย่ มบ้าน” เป็นเครือ่ งมือสำ�คัญในการทำ�งาน เพราะถือว่าเป็นเหมือน “ต้นทุน” ความรู้ความเข้าใจในเบื้องลึก ซึ่งจะมีความสำ�คัญ เมื่อถึงเวลาให้การดูแลและรักษาในยามเจ็บป่วย “การเยีย่ มบ้านเป็นเครือ่ งมือสำ�คัญทีท่ �ำ ให้รเู้ รือ่ งราวจริง ๆ ของคนทีเ่ ราต้องดูแล เพื่อการรักษา (cure) ด้วยวิธีการทางการแพทย์ซึ่งเป็นการจัดการโรค คนไข้ต้องได้รับการ เยียวยา (heal) เขา แต่หากเราให้ความเอาใจใส่ (care) เราจะมองเขาเป็นคน ๆ หนึ่ง ที่อยู่ ร่วมกัน ทั้ง 3 สิ่งนี้ต้องสอดประสานกัน “ทีส่ �ำ คัญคือ การเยีย่ มบ้านจะช่วยลดอำ�นาจในความเป็นหมอลง เพือ่ จะเสริมพลัง (empower) ครอบครัวและชุมชนจากฐานที่เขามี” บนฐานความคิดเช่นนี้ เมื่อได้รับการบรรจุเข้าทำ�งานที่โรงพยาบาลแห่งนี้ สิ่งแรก ทีค่ ณ ุ หมอพูลพฤกษ์ ลงมือทำ�จึงได้แก่การออกเยีย่ มบ้านชาวบ้านทัง้ 22 หมูบ่ า้ น ด้วยแนวคิด ที่ว่าการทำ�งานด้านสาธารณสุขอย่างมีประสิทธิภาพ ต้องทำ�งานเชิงรุกเพื่อการเข้าถึงและ เข้าใจชาวบ้านก่อนที่จะให้การดูแลสุขภาพต่อไป “โรงพยาบาลวัดจันทร์ฯ เกิดขึ้นจากความต้องการของชาวบ้าน และตัวผมเอง ก็ชอบงานแบบนี้อยู่แล้วเป็นทุนเดิม 3 เดือนแรกที่ผมอยู่โรงพยาบาลแห่งนี้ ผมไปจน ครบ 22 หมูบ่ า้ น ซึง่ อยูใ่ นเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลแห่งนี้ เพือ่ ให้รวู้ า่ ชาวบ้านเขาอยูก่ นั อย่างไร เพราะเราต้องทำ�ความเข้าใจพวกเขา ก่อนที่จะไปให้การดูแล” คุณหมอพูลพฤกษ์ ยังมองว่าเด็กพิการเป็นกลุม่ เป้าหมายสำ�คัญทีต่ อ้ งให้ความใส่ใจ และดูแลเป็นพิเศษในด้านสุขภาพ และเป็นกลุม่ เป้าหมายทีต่ อ้ งให้ความสำ�คัญต่อการเยีย่ มบ้าน เพราะการพาเด็กกลุ่มนี้ไปโรงพยาบาลถือว่าเป็นเรื่องที่ค่อนข้างยากลำ�บาก อย่างไรก็ตาม ด้วยข้อจำ�กัดด้านการเดินทาง คุณหมอพูลพฤกษ์ จึงออกเยีย่ มบ้าน ได้เฉพาะในเขตตำ�บลบ้านจันทร์ ซึ่งอยู่ใกล้โรงพยาบาล ประมาณอาทิตย์ละ 2 ครั้ง โดยมี เด็กพิการที่ต้องติดตามดูแลอย่างต่อเนื่อง 15 คน เด็กพิการในความดูแลที่นี่ส่วนใหญ่มีอาการพิการทางสมอง ส่งผลโดยตรงต่อ การเคลื่อนไหวร่างกาย จนไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ และอีกส่วนหนึ่ง คือ กลุ่มเด็ก ออทิสติก และกลุ่มบกพร่องทางการเรียนรู้ อายุระหว่าง 4 - 12 ปี ต้องอาศัยผู้ดูแล (care giver) ซึ่งเป็นพ่อ แม่ และสมาชิกคนอื่น ๆ ในครอบครัว ให้ความช่วยเหลือในการ ดำ�เนินกิจกรรมประจำ�วัน
13
เคล็ดวิชาที่กลั่นมาจากหัวใจ คุณหมอพูลพฤกษ์ เชื่อมโยงให้เห็นเรื่องของการดูแลสุขภาพอย่างเป็นองค์รวม ไปสู่ความสนใจในการดูแลสุขภาพช่องปาก โดยพัฒนามาจากหลักการทำ�งานแบบ “เข้าใจ เข้าถึง และพัฒนา” มุ่งสนับสนุนให้นำ�ไปสู่การดูแลตัวเอง (self care) เช่น ผู้สูงอายุ และ คนพิการในกลุ่มที่ทางกายภาพพอที่จะได้รับการพัฒนาให้ดีขึ้นได้ ส่วนเด็กพิการทางสมอง ซึง่ ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้กต็ อ้ งอาศัย “ผู้ดูแล” เป็นผูใ้ ห้ความช่วยเหลือดูแลทุกอย่าง “สิง่ ทีผ่ มให้ความสำ�คัญอย่างมากก็คอื การทำ�ความเข้าใจ หลักสำ�คัญอยูต่ รงที่ เราต้องเข้าใจสิง่ ทีเ่ ขามีอยูก่ อ่ น เพือ่ ให้เขาและเราประสานกันและเรียนรูร้ ว่ มกันหาทางออก ต่อไปได้” การทำ�ความเข้าใจทั้งตัวผู้ป่วยและผู้ดูแลนั้น ก็เพื่อให้เกิด “การดูแลรายบุคคล” (individual care) ซึ่งถือว่าเป็นการดูแลที่มีประสิทธิภาพและเกิดผลลัพธ์ที่ดี เริ่มต้นจาก การยอมรับความแตกต่างของเด็กพิการแต่ละรายให้ได้ก่อน เพื่อให้เห็นความต้องการเฉพาะอย่างของแต่ละรายบุคคล ตลอดจนการใช้ชีวิตหรือต้นทุน ของผู้ดูแลแต่ละคน “เรื่องของการดูแลรายบุคคลมีความสำ�คัญมาก หากเรายังไม่ยอมรับความต่าง และไม่มองว่าผู้ป่วยแต่ละรายมีความต้องการเฉพาะ เราก็จะให้ชุดความรู้, อุปกรณ์ และ แนวทางปฏิบัติที่ใช้เหมือนกันหมดกับผู้ป่วยทุกราย... “ตอนทีเ่ พิง่ จบการศึกษาใหม่ ๆ ผมเคยใช้ ‘แพ็กเกจ’ หรือชุดความรูใ้ นการดูแลเด็ก สิง่ ทีไ่ ด้คอื ผมคิดว่ามันล้มเหลว เช่น เด็ก 0 - 2 ปี ต้องทำ�แบบนี้ ส่วน 3 - 5 ปี ก็มอี กี ชุดหนึง่ สำ�หรับผมแล้วการทำ�แบบนั้นมันไม่ได้ทำ�ให้คนเกิดการเรียนรู้อะไร ส่วนตัวเจ้าหน้าที่เอง ก็ถกู บังคับให้ท�ำ ตามนัน้ ให้ครบ ถ้าไม่ครบเดีย๋ วหมอจะว่า ซึง่ ผมถือว่าเป็นเรือ่ งทีเ่ ลวร้ายมาก เพราะสิง่ ทีต่ ามมาก็คอื เจ้าหน้าทีเ่ องก็ตอ้ งไปกดดันและบังคับชาวบ้านด้วย เช่น ชุดการดูแลนัน้ มีสิ่งที่ต้องทำ�อยู่ 10 ขั้นตอน หากชาวบ้านเขาไม่พร้อมที่จะทำ�ทั้งหมด นั่นก็เท่ากับว่าเรา ไปบังคับเขาแล้ว” “สิ่งแรกที่ต้องทำ� คือการทำ�ความเข้าใจ ซึ่งอาจจะเป็นการเข้าใจผ่านการสอน แปรงฟัน โดยไม่ต้องไปบังคับให้เขาแปรงฟันให้ถูกวิธี ขั้นตอนนี้อาจเกิดจากการเข้าใจก่อน แล้วค่อยไปทำ� หรือจะทำ�ก่อนแล้วค่อยเข้าใจก็ได้ แต่ในท้ายที่สุดก็จะเกิดความรู้อธิบายได้ ว่าทำ�ไมเด็กพิการรายนี้ต้องใช้วิธีการแปรงฟันแบบนี้”
14 หลักการที่ชัดเจนอีกประการหนึ่ง คือ การวางบทบาทตนเองเป็นผู้สนับสนุน เพื่อช่วย “เสริมพลัง” ให้กับคนพิการและครอบครัวเพื่อให้ดูแลตนเองได้ดีที่สุด ด้วยวิธี ที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตและลักษณะความเป็นอยู่ “คนพิการในตำ�บลบ้านจันทร์มีหลายประเภท ประเภทที่พิการทางการมองเห็น หรืออยู่ในวัยผู้ใหญ่ เขาสามารถดูแลตัวเองได้ เราเพียงเยี่ยมเสริมพลังการดูแลด้วยตนเอง และดูแลเรื่องการขูดหินปูน ทำ�ความสะอาดช่องปาก อุดฟัน ถอนฟันเท่านั้น ส่วนเรื่อง ของการแปรงฟันเขาดูแลตัวเองได้อยูแ่ ล้ว ส่วนกลุม่ เด็กพิการ ชีวติ ความเป็นอยูข่ องพวกเขา ขึ้นอยู่กับผู้ดูแล ทำ�ให้ต้องมีการติดตามดูแลกันอย่างต่อเนื่อง” “เราต้องมองให้เห็นว่าคนพิการก็คือ คน ๆ หนึ่ง การไปเยี่ยมบ้านของผม ผมจะ ค่อย ๆ เสริมพลังให้กับผู้ดูแล ไม่ใช่ว่าไปถึงก็ดูว่ามีฟันผุกี่ซี่” นัน่ คือ ทีมงานทันตกรรมต้องเรียนรู้ “ต้นทุน” ของคนพิการและผูด้ แู ลก่อน เพือ่ เติม ความรูเ้ พิม่ เข้าไปบนพืน้ ฐานของความเข้าใจ ทำ�ให้ผดู้ แู ลให้ความร่วมมืออย่างดี และมีสว่ นร่วม ได้อย่างมาก “เมือ่ เรากับเขาเข้าใจกันก็จะเกิดการแลกเปลีย่ นเรียนรูก้ นั หากเราไม่ไปหาเขา และ เรียนรู้ให้เข้าใจ เราก็จะไม่เห็นว่าเขาทำ�อะไร อย่างไร” คุณหมอพูลพฤกษ์ กล่าวสรุป ความต่อเนื่องในการเยี่ยมบ้าน คือสิ่งที่ตามมาหลังจากการทำ�ความเข้าใจ และ ทำ�ความรู้จักครอบครัวและตัวเด็กพิการแล้ว คุณหมอพูลพฤกษ์ ออกเยี่ยมบ้านพร้อมกับทีมงาน ซึ่งประกอบด้วย เจ้าหน้าที่ ทันตาภิบาล, นักกายภาพบำ�บัด และพยาบาล แต่โดยทัว่ ไปแล้ว มักไปแบบทีมเล็กพร้อมกับ เจ้าหน้าที่ทันตาภิบาล เพื่อความคล่องตัว “ผมพบจุดอ่อนหรือข้อจำ�กัดของการไปเป็นทีมอย่างหนึง่ คือ ต้องรอกันจนครบคน บางครัง้ แต่ละคนก็ตดิ งานในหน้าทีข่ องตัวเอง แต่ชาวบ้านเขารอเราไม่ได้ เมือ่ ถึงเวลาไปเยีย่ ม ก็ต้องไป สู้ไปเท่าที่ไปได้ แล้วกลับมาพูดคุยกันเพื่อเรียนรู้สิ่งที่เกิดขึ้นน่าจะดีกว่า” เด็กพิการในตำ�บลบ้านจันทร์ ที่ คุณหมอพูลพฤกษ์ ออกเยี่ยมบ้านอย่างต่อเนื่อง 15 ราย โดยเฉลี่ยแล้วจะได้ไปเยี่ยมแต่ละราย 2 - 3 เดือนต่อครั้ง “การไปเยีย่ มบ้านต่อเนือ่ งก็เพือ่ ไปดูวธิ กี ารทีผ่ ดู้ แู ลใช้ส�ำ หรับดูแลสุขภาพช่องปาก เด็กพิการ ว่าเขายังใช้วิธีนั้นอยู่หรือไม่ และติดปัญหาอื่น ๆ อีกหรือไม่ ทุกครั้งที่ไป เราจะ ไม่พูดถึงแต่เรื่องการแปรงฟัน แต่ชวนกันคุยเรื่องการกิน การนอน อาการเจ็บป่วย อาชีพ และการงานของผู้ดูแล เพราะความเป็นอยู่ของเด็กพิการ ล้วนขึ้นอยู่กับผู้ดูแลทั้งสิ้น”
15 คุณหมอพูลพฤกษ์ เห็นว่าการดูแลเด็กพิการนัน้ ทันตแพทย์ไม่ควรมองแต่อาการ ของเด็กพิการเพียงอย่างเดียว แต่ต้องสนใจตัวผู้ดูแลด้วย และควรมีท่าทีที่เหมาะสมกับ คนกลุ่มนี้ ด้วยความเข้าอกเข้าใจ
เมื่อ “บ้าน” เป็นฐานปฏิบัติการทันตกรรม รุง่ ไพลิน เป็นหนึง่ ในเด็กพิการ 15 คน ที่ คุณหมอพูลพฤกษ์ มาเยีย่ มเยียนต่อเนือ่ ง นานหลายปีแล้ว และเป็นหนึ่งในกรณีที่สะท้อนให้เห็นว่า ระบบการดูแลทันตกรรมให้แก่ ผู้พิการโดยเริ่มต้นจากบ้านและชุมชนนั้น เป็นแนวทางที่ปฏิบัติได้จริงและมีประสิทธิภาพ “กรณีของรุ่งไพลินนี่ พี่ ๆ เขารักน้องมาก พี่ 2 คนผลัดกันดูแลน้อง พี่เขาอยาก ทำ�ให้น้องเพราะอยากให้ฟันของน้องสะอาด” คุณหมอพูลพฤกษ์ ได้ขอ้ มูลนีจ้ ากการไปเยีย่ มครอบครัวของรุง่ ไพลินเมือ่ 5 ปีกอ่ น ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่ครอบครัวเล็ก ๆ นี้ยังจดจำ�ได้ดีจนถึงวันนี้ “พวกเราตื้นตันใจมากที่หมอไปดูแลน้องถึงบ้าน…” กัลยา พี่สาวที่ดูแลรุ่งไพลิน อย่างใกล้ชิดเล่าพร้อมกับรอยยิ้มสดใส “การพาน้องมาโรงพยาบาลลำ�บากมากเพราะน้องเกร็ง ทำ�ให้อยูน่ ง่ิ ไม่ได้ ต้องเอาตัว มัดติดกันไว้ และอุ้มขึ้นมอเตอร์ไซค์มา” ทันตแพทย์หนุ่มไม่เพียงไปเยี่ยมบ้าน แต่ยังล้อมวงร่วมกินข้าวด้วยกัน หลังมื้อ อาหารนั้นเองได้เห็นว่า พี่ ๆ ช่วยรุ่งไพลินล้างทำ�ความสะอาดช่องปากและฟัน “เรานั่งกินข้าวด้วยกัน หลังจากนั้นพี่เขาก็แปรงฟันให้น้อง วิธีการของเขา คือ เขาเอียงหัวน้องและใช้น�ำ ้ หยอดเข้าปาก เพราะน้องทำ�เองไม่ได้ เรือ่ งนีเ้ ขาคิดและทำ�กันเอง ก่อนที่ผมจะรู้จักเขา แต่วิธีนี้ก็มีอุปสรรคคือ เมื่อหยอดนำ�้ เข้าปากแล้ว น้องบ้วนนำ�้ ออกมา เองไม่ได้” เรื่องนี้กลายเป็น “โจทย์” ที่หมอและผู้ดูแลรุ่งไพลินช่วยกันหาทางออกจนสำ�เร็จ “เราช่วยกันคิดว่าจะหาอุปกรณ์สักชิ้นมาเป็นตัวช่วย และคิดว่าลูกยางสีแดง น่าจะใช้ได้เพราะสามารถดูดนำ�้ ออกมาจากปากและบีบเอาออกไปได้ ทำ�ให้ขั้นตอนนี้ สะดวกมากขึ้น ตั้งแต่นั้นมา ครอบครัวนี้จึงใช้ลูกยางช่วย จนถึงวันนี้ 5 ปีแล้ว อุปกรณ์ชิ้นนี้ ก็ยังใช้อยู่”
16 “เรายังปรึกษากันต่อเรื่องเทคนิคการแปรงฟัน เช่น การลองใช้แปรงสีฟันไฟฟ้า ผมก็ค่อย ๆ เสริมความรู้อื่น ๆ เข้าไป ทำ�ให้มีการลองเปลี่ยนแปรงสีฟันและยาสีฟัน เป็นต้น เป็นการเรียนรู้ร่วมกันไปเรื่อย ๆ จนกระทั่งวันหนึ่งก็ได้คำ�ตอบว่า รุ่งไพลินควรใช้วิธีการ แปรงฟันแบบไหน และเมื่อเขาเติบโตขึ้นก็อาจต้องเปลี่ยนไปเป็นรูปแบบหรือวิธีอื่น ๆ เพราะจำ�นวนซี่ฟันมีมากขึ้น” คุณหมอพูลพฤกษ์ เห็นว่า นี่คือตัวอย่างของการเรียนรู้ร่วมกันกับผู้ดูแล เมื่อพี่ ๆ รู้ว่าการแปรงฟันจะทำ�ให้น้องของเขาไม่ต้องปวดฟัน พี่ ๆ จึงยินดีทำ�ให้น้อง และให้ความ ร่วมมือในเรื่องอื่น ๆ เพื่อลดอุปสรรคที่เกิดขึ้น เรื่องการแปรงฟันให้เด็กพิการในหลักสูตรของทันตแพทย์ไม่มีการสอน ความ รู้ที่เกิดขึ้นจึงต้องมาจากการเปิดใจเรียนรู้ในขณะปฏิบัติงานทั้งสิ้น
ความท้าทายที่เหนือกว่างานระดับ “ป้องกัน” ก็คือ “การรักษา” ไม่ตอ้ งอาศัยการพรรณนาใด ๆ เราทุกคนรูจ้ ากประสบการณ์การอุดฟัน ถอนฟัน ทีเ่ คยผ่านมาได้เองว่า ภารกิจการรักษาทีห่ มอฟันทุกคนต้องเผชิญนัน้ ไม่ใช่เรือ่ งง่ายทัง้ สำ�หรับ คนไข้และตัวผู้ทำ�หน้าที่รักษาเอง ในกรณีของเด็กพิการที่สื่อสารไม่ได้ และกล้ามเนื้อใบหน้าเกร็งอย่างรุ่งไพลิน การอุดฟันหรือถอนฟันแต่ละซี่ยิ่งยากกว่าปกติ แต่รุ่งไพลินก็ได้ผ่านประสบการณ์ถอนฟันแบบสบาย ๆ มาแล้ว ด้วยฝีมือ ของ หมอฟันคนนี้ ทัง้ นี้ ปฏิบตั กิ ารถอนฟันให้รงุ่ ไพลินนัน้ ยากกว่ากรณีของเด็กพิการในลักษณะเดียวกัน หลายเท่า เพราะหลายปีก่อนหน้าจะมาอยู่ในความดูแลของ คุณหมอพูลพฤกษ์ รุ่งไพลิน เคยผ่านการถอนฟันมาแล้วครัง้ หนึง่ ในสภาพถูกจับมัดมือและเท้า จนทำ�ให้เกิดความทรงจำ� ที่เลวร้ายต่อการถูกทำ�ฟันมากกว่าปกติ คุณหมอพูลพฤกษ์ เล่าถึงวิธีการทำ�งานในกรณีเช่นนี้ว่า “เคสนี้มีความยากตรงที่เขาเคยมีประสบการณ์ที่ไม่ดีเกี่ยวกับการทำ�ฟันมาก่อน ผมจึงต้องดูแลความรู้สึกของเขา รวมถึงผู้ดูแลด้วย”
17 การเลือกมาทำ�การอุดฟันและถอนฟันให้เด็กพิการถึงที่บ้าน มีเหตุผลสำ�คัญ 2 ประการ ประการแรก คือ เพื่อลดอุปสรรคด้านการเดินทางได้แล้ว ประการที่สอง บ้านถือว่าเป็นอาณาเขตที่ปลอดภัยในความรู้สึกของเด็ก หากได้ รับความร่วมมือจากคนไข้ ทันตแพทย์จะทำ�งานได้อย่างสะดวกมาก นอกจากนี้ยังมีผู้ดูแล ที่เด็กคุ้นเคยและไว้ใจคอยช่วยสนับสนุนอยู่ใกล้ ๆ ด้วย อย่างไรก็ตาม เรือ่ งนีไ้ ม่อาจทำ�กันได้แบบปุบปับ แต่ตอ้ งผ่านการทำ�ความรูจ้ กั และ คุน้ เคยจากการเยีย่ มบ้าน 1 - 2 ปีขน้ึ ไป หรือในกรณีของรุง่ ไพลิน ซึง่ ทัง้ เข็ดทัง้ กลัวการทำ�ฟัน จากประสบการณ์ที่เคยได้รับมาก่อนต้องใช้เวลามากกว่านั้น “กว่าที่ผมจะเริ่มรักษาเขาได้ ต้องปูพื้นความสัมพันธ์ และทำ�ความเข้าใจกันมา 2 - 3 ปี จึงเริ่มรักษาฟันได้ ก่อนหน้านั้น ดูแลแต่เรื่องความสะอาดในช่องปาก เพื่อป้องกัน การลุกลามของโรคที่เกี่ยวกับฟัน...” ขั้นตอนการเตรียมความพร้อมเข้าสู่การรักษา ยังมีมากกว่านั้น “เวลาที่จะมีการทำ�ฟันที่บ้านของเด็กพิการ ไม่ว่าจะรายไหนก็ตาม ผมต้องทำ� ความเข้าใจกับผู้ดูแลก่อน อย่างเช่น เด็กคนหนึ่งเป็นเด็กพิการกลุ่มสมองพิการ ผมต้องชี้ ให้ผู้ดูแลดูว่าเด็กมีอาการปวดบวมมา 2 - 3 รอบแล้ว ฟันที่ผุอยู่นั้นจะเอาออกดีหรือไม่ ผมติดตามดูอาการประมาณ 3 รอบ จนมัน่ ใจแล้วว่าอาการทางสมองไม่มปี ญ ั หา ปรึกษาแพทย์ ประจำ�ที่โรงพยาบาลแล้ว สามารถใช้ยาชาได้ เป็นยาชาเฉพาะที่” “เมื่อตกลงกับผู้ดูแลได้แล้วก็เตรียมเครื่องมือไปที่บ้านของเขา มีการเตรียม ความพร้อมก่อนการถอนฟัน ด้วยการค่อย ๆ สือ่ สารว่า ผมจะทำ�อะไรบ้าง แนะนำ�เครือ่ งมือ ให้เขาได้รู้จัก เช่น เครื่องมือตัวนี้เอาไว้ช่วยอ้าปากน้องได้ ขอให้คุณแม่ช่วยจับด้วย...” “ในกรณีที่พบว่าฟันผุเป็นรู ได้เวลาที่ต้องทำ�ฟันแล้ว ผมก็ต้องปรึกษาผู้ดูแลว่า ‘หมอลองมาทำ�ทีน่ ใ่ี ห้เอาไหม ไม่ตอ้ งพาไปโรงพยาบาล’ เพราะเทคนิคทีเ่ รียนมา เราสามารถ นำ�มาใช้ได้ เช่น การใช้วสั ดุชนิดทีแ่ ข็งตัวเร็วโดยไม่ตอ้ งใช้แสงกระตุน้ เป็นเทคนิคทางทันตกรรม ที่เหมาะกับคน ๆ นี้ ผมใช้ spoon instrument (อุปกรณ์ทำ�ฟัน) ตักเนื้อฟันผุออกมา ให้มากที่สุด ทำ�ทีละซี่เท่านั้น มีการคุยกันก่อนว่าลองดูนะ จะไม่ใช้ยาชาเด็ดขาด” “ครั้งแรกที่ทำ�ถือเป็นจุดเริ่มต้น ซึ่งต้องหลีกเลี่ยงการทำ�ให้เกิดความเจ็บปวด ต้องไม่ให้เขาเกิดความรู้สึกว่าเขาต้องเจ็บ”
18 ทัง้ ต้องพกพาวัสดุอปุ กรณ์มาทำ�ฟันให้ถงึ ทีบ่ า้ นผูป้ ว่ ย ซำ�้ ผูป้ ว่ ยทีร่ กั ษายังเป็นเด็ก พิการทางสมอง ซึง่ ทันตแพทย์สว่ นใหญ่ขาดความมัน่ ใจทีจ่ ะให้การรักษา แต่คณ ุ หมอพูลพฤกษ์ ไม่เห็นว่าเป็นอุปสรรค อะไรคือสิ่งที่ทำ�ให้ยอมทำ�ในสิ่งที่ดูจะ “นอกกรอบ” งานปกติของทันตแพทย์ ประจำ�โรงพยาบาล อีกทั้งยังมั่นใจที่จะลงมือทำ�? แรงจูงใจทีส่ �ำ คัญทีส่ ดุ ก็คอื ด้วยตระหนักถึงความต้องการจากผูป้ ว่ ยและครอบครัว ขณะที่ความมั่นใจนั้นเกิดจากการ “ทำ�การบ้าน” แสวงหาความรู้มาเติมเต็มจนมั่นใจ “สำ�หรับผมแล้วหน้าทีข่ องผมคือทันตแพทย์ เราต้องไม่หยุดแค่ความสงสาร ทีส่ �ำ คัญ คือต้องมีความมั่นใจก่อนว่าเราจะทำ�ได้...” “มีรวี วิ จากวารสารต่างประเทศว่าคนพิการ ร้อยละ 80 สามารถทำ�ได้ในระดับทัว่ ไป (general) หมายถึงเทคนิค และความรู้ที่เราได้รับในมหาวิทยาลัย 6 ปี สามารถทำ�ฟัน ให้กับคนพิการได้ ส่วนอีก ร้อยละ 20 อาจต้องอาศัยเทคนิคที่ซับซ้อนมากขึ้น เช่น คนที่ สมองพิการอาจต้องใช้การดมยาแล้วทำ�ทุกอย่างให้เสร็จในคราวเดียว ซึ่งนั่นต้องประสาน งานกับหมอเฉพาะทาง…”
“หมอฟันธรรมดา” คือคำ�ตอบ 8 ปี ที่คลุกคลีใกล้ชิดกับชุมชน ทันตแพทย์หนุ่มเกิดความประจักษ์ว่า ในตำ�บล บ้านจันทร์แห่งนี้ แม้ชาวบ้านมีฐานะยากจน แต่ก็มี “ต้นทุน” ที่ดี คือมีใจโอบอ้อมอารีและ ผูด้ แู ลให้ความเอาใจใส่ดแู ลเด็กพิการ เด็กเหล่านีส้ ว่ นใหญ่มเี นือ้ ตัวสะอาดสะอ้านและได้รบั ความรักความเอาใจใส่จากผู้ดูแลเป็นอย่างดี “ผู้ดูแลเป็นคนที่มีความสำ�คัญมากกับเด็กพิการ ผมจึงมักบอกน้อง ๆ ทีมงาน ที่ไปกับผมเสมอว่าเวลาที่คุณไปเยี่ยมบ้าน สิ่งที่คุณจะให้กับผู้ดูแลนั้น คุณต้องพิจารณา ด้วยว่าเขารับไหวหรือเปล่า ถ้าคุณให้ทุกอย่างในคราวเดียว เขาจะตายเอา...” “เวลาทีเ่ ราไปเยีย่ มบ้าน เราจะได้เห็นความสัมพันธ์ของทุกคนในบ้าน เห็นภาพรวม ความเป็นอยู่ของเขา เห็นว่าเขามีการแบ่งภาระหน้าที่การดูแลเด็กพิการกันอย่างไร” “ผมจะพูดเสมอว่าอย่าได้เอาภาระไปเพิ่มให้เขา สักวันหนึ่งเมื่อเรากับเขาวางใจ กันแล้ว เขาจะเป็นคนบอกเราเอง แล้วตอนนั้นเราก็ค่อย ๆ เติมความรู้ให้กับเขา”
19 การดูแลอย่างต่อเนือ่ งด้วยการเยีย่ มบ้านยังมีขอ้ ดีคอื ทำ�ให้สามารถติดตามอาการ ของโรคได้ทันท่วงที ไม่ใช่แต่เพียงเฉพาะสุขภาพฟัน แต่ยังรวมถึงสุขภาพโดยรวมด้วย “ทุกครัง้ ทีไ่ ปเยีย่ ม จะขอให้เขาอ้าปากให้เราดู รวมทัง้ ดูแลถึงเรือ่ งการกิน การนอน การขับถ่าย และความสะอาดโดยทั่วไป เหล่านี้ถือเป็นเรื่องพื้นฐานที่ควรให้ความใส่ใจ” “นี่ก็คือข้อดีของการที่เราสามารถไปกันเป็นทีมได้ หากพบว่าเขามีอาการมือติด 1 ก็ให้นกั กายภาพบำ�บัดช่วยดูให้เพือ่ แก้อาการ หรือหากเจอปัญหาเรือ่ งการขับถ่าย นักกายภาพบำ�บัดก็สามารถสอนผู้ดูแล เรื่องวิธีการนวดท้องได้ หรือหากเป็นมากก็ต้องส่งยาระบาย มาช่วย” การเยีย่ มบ้านอย่างต่อเนือ่ งยังมีขอ้ ดีอกี อย่าง คือ เป็นโอกาสอันดีทจ่ี ะสร้างความ คุน้ เคยระหว่างทีมเจ้าหน้าทีส่ าธารณสุข และครอบครัวเด็กพิการ ตลอดจนตัวเด็กพิการเอง ความคุน้ เคยนำ�มาซึง่ ความไว้วางใจ และเมือ่ มีความจำ�เป็นต้องทำ�การอุดฟันหรือถอนฟัน เด็ก ๆ ก็ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี สิง่ ทีล่ กึ ซึง้ ยิง่ กว่านัน้ คือ กำ�ลังใจทีค่ รอบครัวและผูด้ แู ลคนป่วยหรือคนพิการได้รบั จากความอุ่นใจที่ทีมแพทย์ไปเยี่ยมเยียนถึงบ้าน กัลยา พี่สาวของรุ่งไพลินกล่าวว่า จากการเยี่ยมบ้านอย่างต่อเนื่องทำ�ให้เธอและ คนในครอบครัวรูว้ ธิ ดี แู ลสุขภาพช่องปากของน้องสาวอย่างเหมาะสม ทุกคนในบ้านมีก�ำ ลังใจ มากขึ้น โดยเฉพาะตัวกัลยาซึ่งเป็นเรี่ยวแรงสำ�คัญในการดูแลน้องสาวอยู่ในขณะนี้ เพราะ น้องชายที่เคยช่วยกันดูแลรุ่งไพลินต้องไปเป็นทหาร “หมอให้ก�ำ ลังใจเสมอว่าการได้ดแู ลน้องทีเ่ ป็นแบบนีถ้ อื ว่าได้ท�ำ บุญมาก ทำ�ให้ดฉิ นั รู้สึกภูมิใจและมีกำ�ลังใจมากขึ้น เพราะบางครั้งก็รู้สึกเครียด การที่หมอไปถึงที่บ้านทำ�ให้ พวกเรารู้สึกดีมาก พ่อเองบางครั้งก็ท้อแท้ใจ พอคุณหมอไปเยี่ยมก็ทำ�ให้เกิดกำ�ลังใจที่จะ สู้ต่อ มีแรงที่จะดูแลกันต่อไป” “ตอนนี้น้องก็คุ้นเคยกับคุณหมอเป็นอย่างดีค่ะ ตอนที่หมอไปถอนฟันให้ที่บ้าน เขาก็ยอม ไม่ร้องไห้”
1
คำ�ทั่วไปที่ใช้เรียกอาการข้อติดจากกล้ามเนื้อหดเกร็ง
20 ขณะที่ คุณจันทร์ดา เมธาประภาส ซึง่ มีนอ้ งชายเป็นเด็กออทิสติก เล่าว่า การที่ คุณหมอพูลพฤกษ์ พาทีมไปเยี่ยมบ้านสมำ�่ เสมอ ทำ�ให้แม่ซึ่งเป็นหัวเรี่ยวหัวแรงหลักในการ ดูแลน้องชาย มีความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพช่องปากของน้องได้ดีขึ้น และยังทำ�ให้ความ กลัดกลุม้ ใจทีแ่ ม่มตี อ่ อาการของน้องชายคลีค่ ลายลง สบายใจมากขึน้ จากการได้รบั กำ�ลังใจ “แต่กอ่ นท่านรูส้ กึ เสียใจทีล่ กู ตัวเองต้องมาเป็นแบบนี้ แต่คณ ุ หมอมักพูดเสมอว่า ไม่ใช่ความผิดของแม่ที่ลูกต้องมาเป็นแบบนี้ นอกจากนี้ ความรู้ที่คุณหมอให้ ทำ�ให้พวกเรา ดูแลน้องได้ดีขึ้น แต่ก่อนสุขภาพฟันของน้องไม่ดี มักร้องไห้โยเย ทำ�ให้แม่ต้องเหนื่อยมาก แต่เดี๋ยวนี้ดีขึ้นแล้วค่ะ”
คุณจันทร์ดา เมธาประภาส ข้อสรุปสำ�คัญที่ คุณหมอพูลพฤกษ์ กล้ากล่าวออกมาอย่างเต็มปากเพราะได้พสิ จู น์ จากประสบการณ์การทำ�งานตลอดสิบกว่าปีทผ่ี า่ นมาก็คอื “หมอฟันธรรมดา” เป็น “กุญแจ สำ�คัญ” ในการขับเคลื่อนระบบการดูแลสุขภาพช่องปากที่มีคุณภาพสำ�หรับคนพิการ “หมอฟันที่อยู่ใกล้ชิดอย่างพวกผมเป็นที่ต้องการของชาวบ้านมากกว่าหมอฟัน เฉพาะทาง ซึ่งหมอไม่รู้จักชาวบ้านมาก่อน และไม่มีเวลาไปทำ�ความรู้จักกับคนไข้ของตัว เองด้วย ในขณะที่ผู้ดูแลและคนไข้พิการต้องการความเข้าใจมากกว่ากรณีทั่วไป” สิ่งที่พิสูจน์ผล คือ ตลอดระยะเวลาที่ คุณหมอพูลพฤกษ์ ทำ�งานที่โรงพยาบาล วัดจันทร์ฯ ไม่มกี ารส่งต่อเด็กพิการมารับการรักษาในคณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัย เชียงใหม่ เพื่อรับการรักษาด้วยเทคนิคและขั้นตอนที่ซับซ้อนแม้แต่รายเดียว
21 เครื่องมือสำ�คัญที่สุดก็ คือ การดูแลเอาใจใส่เด็กพิการอย่างใกล้ชิดโดยใช้การ เยี่ยมบ้านเป็นเครื่องมือสำ�คัญ ซึ่งส่งผลให้ผู้ดูแลได้รับความรู้ และคำ�แนะนำ�ที่เหมาะสม สอดคล้องกับสภาพชีวติ ความเป็นอยูจ่ ริง อีกทัง้ ยังกระตุน้ ให้เกิดความเอาใจใส่เรือ่ งการดูแล ช่องปากของเด็กพิการในความดูแลของตนมากขึ้น ทำ�ให้โรคฟันผุสามารถควบคุมได้ “จากวันแรกที่ผมเข้ามาทำ�งานที่นี่ หากไม่มีกระบวนการทำ�งานแบบนี้ โอกาส ทีก่ ารรักษายากจะมีอยูส่ งู ถ้าเราไม่ท�ำ แบบนี้ ส่วนผูด้ แู ลก็มคี วามใส่ใจเรือ่ งช่องปากมากขึน้ เมื่อผมเข้าไปแลกเปลี่ยนกับเขา เป็นกระบวนการที่ทำ�ให้เขาเกิดความรู้สึกว่าเขาทำ�ได้ ไม่ได้มีความรู้สึกว่าเป็นเรื่องที่ยาก เมื่อเขาทำ�ได้เขาก็จะตระหนักมากขึ้น” อย่างไรก็ตาม เรื่องการส่งต่อ เมื่อถึงขั้นที่ต้องการการรักษาที่ซับซ้อนกว่าการ อุดฟันและถอนฟันแบบปกติก็ยังเป็นเรื่องที่ต้องร่วมกันสร้างระบบที่เหมาะสมที่สุดต่อไป ทัง้ นี้ เนือ่ งจากการรักษาเด็กพิการต้องประสานความร่วมมือกับแพทย์เฉพาะทาง ของเด็กกลุม่ นีค้ วบคูก่ นั อีกทัง้ การเดินทางเข้าสูต่ วั เมืองยังเต็มไปด้วยความยากลำ�บากและ หมายถึงค่าใช้จา่ ยมากโขสำ�หรับเกษตรกรผูม้ ฐี านะยากจน หากเด็กพิการต้องเข้ารับการทำ� ทันตกรรมถึงอำ�เภอเมืองเชียงใหม่ กระบวนการส่งต่อย่อมเป็นเรือ่ งทีม่ คี วามซับซ้อนพอสมควร ฉะนั้น เรื่องการส่งต่อในขณะนี้จึงยังเป็นเรื่องที่ต้องมีการปรึกษาหารือในกลุ่มทันตแพทย์ ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ต่อไป การจัดการดูแลสุขภาพช่องปากคนพิการในชุมชนให้ได้ มากที่สุด และจึงเป็นคำ�ตอบทั้งสำ�หรับความสะดวกและประหยัดทรัพยากรแก่ทุก ๆ ฝ่าย และ คุณหมอพูลพฤกษ์ ยินดีตอบรับความท้าทายนี้ “จากการเยี่ยมบ้านติดตามดูฟันเด็กพิการกลุ่มนี้อย่างต่อเนื่อง พบว่า บางราย ฟันของเขาสึกไปเรื่อย ๆ จากอาการเกร็งและมีการกัดฟันแน่น ทำ�ให้พอมองเห็นแล้วว่า แนวโน้มในอีก 2-3 ปีข้างหน้า ต้องดำ�เนินการเกี่ยวกับเรื่องการส่งต่อรายที่ต้องรักษาเป็น พิเศษนี้ แต่ ณ วันนี้ยังไม่มีการส่งต่อ เพราะผมยังดูแลและจัดการได้” ประสบการณ์และแนวทางการทำ�งานที่ “หมอฟันธรรมดา” อย่าง ทพ.พูลพฤกษ์ ได้ปฏิบตั ใิ ห้เห็นจริง ได้ขยายพรมแดนแห่งงานทันตกรรมชุมชนให้กว้างไกลออกไปจากเดิม อีกทั้งยังจุดแสงสว่างอันเรืองรอง ที่ส่องให้เห็นทางเลือกใหม่อันเปี่ยมคุณค่า ควบคู่ทั้งมิติ ของประสิทธิภาพและมิตรภาพ ระหว่างคนพิการ ครอบครัว และระบบบริการทันตกรรม ให้ดำ�เนินไปอย่างสมดุล...
ในโลกแห่งความเป็นจริง
22
กรณีที่ 2 แผ้วถางเส้นทางสายใหม่...เคียงบ่าเคียงไหล่ไปทั้งทีม โรงพยาบาล 50 พรรษา มหาวชิราลงกรณ จังหวัดอุบลราชธานี นวพร ต่อมกระโทก หนึ่งในหน่วยงานที่เข้มแข็งของโรงพยาบาล 50 พรรษา มหาวชิราลงกรณ ซึ่งตั้งอยู่ที่บ้านปลาดุก ตำ�บลไร่น้อย อำ�เภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี และเป็นหน่วยงาน ทีเ่ ปิดให้บริการมาตัง้ แต่แรกเริม่ ก่อตัง้ โรงพยาบาลแห่งนีใ้ นปี 2548 ก็คอื กลุม่ งานทันตกรรม สิ่งหนึ่งที่สะท้อนให้เห็นถึงความมุ่งมั่นที่จะทำ�งานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ ของกลุ่มงานทันตกรรม ก็คือ ด้วยนโยบายของกลุ่มงานนี้ที่กำ�หนดให้บุคลากรที่ไปประชุม อบรม หรือศึกษาดูงานนอกสถานที่ ต้องกลับมาถ่ายทอดให้เพื่อนร่วมงานได้รับรู้ร่วมกัน ทุกครั้ง หากเป็นการอบรมเชิงปฏิบัติการก็จะต้องมีการฝึกปฏิบัติจริงด้วย เพื่อให้ทันตบุคลากรทั้งในโรงพยาบาล 50 พรรษาฯ และเครือข่าย รพ.สต. ได้พัฒนาศักยภาพแบบ เคียงบ่าเคียงไหล่ด้วยกันโดยตลอด ท่ามกลางระบบงานที่ได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง งานทันตกรรมสำ�หรับ ผู้พิการยังถือเป็น “ช่องว่าง” ของหน่วยงานนี้ สาเหตุเบื้องหลังไม่ได้มีเพียงเรื่องของพื้นที่งานปฐมภูมิที่อยู่ในความรับผิดชอบ ของกลุม่ งานทันตกรรม โรงพยาบาล 50 พรรษาฯ เป็นเขตอำ�เภอเมืองทีอ่ ยูร่ อบนอกจำ�นวน 9 ตำ�บล โดยมีโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำ�บลจำ�นวน 21 แห่ง ดูแลประชากรมากถึง 120,000 คน เท่านั้น แต่ยังเป็นเพราะงานทันตกรรมสำ�หรับคนพิการไม่ได้ปรากฏอยู่ใน ตัวชี้วัดหลัก ทั้งทันตบุคลากรในโรงพยาบาล ที่มีด้วยกัน 25 คน แบ่งเป็นทันตแพทย์ 9 คน ทันตาภิบาล 3 คน และผู้ช่วยทันตแพทย์ 13 คน รวมทั้ง ทันตาภิบาลใน รพ.สต. ซึ่งมี ภาระงานประจำ�อื่น ๆ ที่ต้องรับผิดชอบในปริมาณที่เรียกได้เต็มปากว่า “ล้นมือ” ในพืน้ ทีร่ บั ผิดชอบของโรงพยาบาล 50 พรรษาฯ และ รพ.สต.เครือข่าย มีคนพิการ 2,298 คน ด้วยข้อจำ�กัด และเงื่อนไขดังที่ได้กล่าวมา รวมถึงมุมมองของเจ้าหน้าที่ที่เห็นว่า งานทันตกรรมสำ�หรับคนพิการเป็นเรือ่ งยาก เพราะคนพิการมีหลากหลายประเภท มีขอ้ จำ�กัด แตกต่างกัน งานดูแลสุขภาพช่องปากคนพิการในชุมชนทีผ่ า่ นมาจึงทำ�ได้เพียงผิวเผิน ไม่เป็น ระบบชัดเจน
23 ในครัง้ นัน้ ทพญ.อุมาพร มีโอกาสเดินทางไปศึกษาดูงานเรือ่ งมาตรฐานการบริการ ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำ�บล ที่ โรงพยาบาลโพนทอง จังหวัดร้อยเอ็ด หนึ่งในนั้น คือ งานเกีย่ วกับคนพิการ โดยมี ทพญ.เยาวพา จันทรบุตร ทันตแพทย์ทเ่ี ป็นเครือข่ายทันตบุคลากรสร้างเสริมสุขภาพคนพิการเป็นผูร้ บั ผิดชอบและนำ�เสนอผลงาน ทำ�ให้เกิดความสนใจ อย่างมาก เพราะเป็นการเปิดมุมมองใหม่ต่องานคนพิการ จากเดิมเคยคิดว่าเป็นเรื่องยาก คงไม่สามารถทำ�ได้ แต่ภาพความสำ�เร็จทีเ่ ป็นรูปธรรมของ โรงพยาบาลโพนทอง ทำ�ให้ความคิด ของ ทพญ.อุมาพร ต้องเปลี่ยนไป “ก่อนหน้านัน้ มีความรูส้ กึ ว่างานคนพิการ เป็นงานทีท่ �ำ ยาก และต้องใช้เวลา แต่ ตอนไปเห็นผลงานของหมอเยาวภา แล้วพบว่ามีผู้คนการหลายรายที่กลับมามีชีวิตใหม่ได้ โดยความร่วมมือจากหลาย ๆ ฝ่าย ซึ่งห้องฟันก็เป็นหนึ่งในนั้นด้วย” “พอเห็นตรงนัน้ เลยรูส้ กึ ว่าห้องฟันทุกโรงพยาบาลสามารถทำ�ได้ เพียงแต่วา่ เรา ขาดความกล้า และเหมือนกับขาดการทบทวนตัวเองว่าทำ�ไมเราถึงไม่ทำ�กลุ่มนี้”
ทพญ.อุมาพร รุ่งรัศมีทวีมานะ ทันตแพทย์ชำ�นาญการพิเศษ หัวหน้ากลุ่มงานทันตกรรม โรงพยาบาล 50 พรรษา มหาวชิราลงกรณ หลังจากนัน้ คุณหมออุมาพร ได้ตดิ ตามเข้าร่วมประชุมและเดินทางไปศึกษาดูงาน ทันตสุขภาพคนพิการประเภทต่าง ๆ ทีจ่ ดั โดยเครือข่ายร่วมกับ คุณหมอเยาวพาอยูห่ ลายครัง้ ทั้งด้วยตนเองและโดยการส่งบุคลากรในกลุ่มงานทันตกรรมหรือจาก รพ.สต. ไปเข้าร่วม ตามนโยบายของกลุม่ งานฯ ทีต่ อ้ งการพัฒนาทีมงานให้กา้ วไปข้างหน้าด้วยกันตัง้ แต่เริม่ แรก
24 สิ่งที่ได้เรียนรู้จากที่ต่าง ๆ ถูกนำ�มาต่อยอดอย่างฉับไว เริ่มต้นจากพื้นที่ที่คุ้นเคย และเริม่ ต้นได้งา่ ยทีส่ ดุ ก่อน นัน่ คือ สถานศึกษา เนือ่ งจากหนึง่ ในตัวชีว้ ดั ผลงาน คือการออก หน่วยให้บริการตรวจสุขภาพช่องปากให้แก่เด็กนักเรียนประถมศึกษา ทำ�ให้มีโอกาสเข้าไป สัมผัสกับเด็ก ๆ ในโรงเรียนอุบลปัญญานุกูล ซึ่งเป็นโรงเรียนสำ�หรับเด็กที่มีความบกพร่อง ทางสติปัญญา มีปัญหาด้านเรียนรู้ พัฒนาการล่าช้า และออทิสติก รวมถึงเด็กที่มีปัญหา ทางร่างกายร่วมด้วย เช่น ไม่สามารถควบคุมกล้ามเนือ้ มือได้ มีอาการการชัก การเกร็ง ฯลฯ ในระยะแรก คุณหมออุมาพร ได้นำ�นักศึกษาทันตแพทย์เข้าไปศึกษาพฤติกรรม ของเด็กกลุ่มนี้ในโรงเรียนอุบลปัญญานุกูล พร้อมกับนำ�ทีมทันตบุคลากรจากโรงพยาบาล ไปให้ความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพช่องปากเด็ก แก่ครู บุคลากร ฝึกทักษะการแปรงฟัน ให้เด็กในรายที่ช่วยเหลือตัวเองได้ มีการตรวจสภาวะช่องปากและส่งต่อเพื่อรับการรักษา โดยทันตแพทย์ในโรงพยาบาล จากนั้น ค่อย ๆ พัฒนางานจากสภาพปัญหาที่เป็นจริง โดยเมื่อเห็นภาพชัดเจน ขึ้นว่าเด็กที่มีความต้องการพิเศษเหล่านี้มีจำ�นวนมาก ทั้งที่อยู่ในสถานศึกษาและกระจาย อยู่ตามชุมชน ตรงข้ามกับจำ�นวนทันตบุคลากรที่ยังมีน้อย ไม่เพียงพอต่อการให้บริการ ได้อย่างทัว่ ถึง ขณะเดียวกันการดูแลเด็กพิเศษหรือคนพิการกลุม่ อืน่ ๆ ต้องทำ�อย่างต่อเนือ่ ง ไปตลอดชีวิต ฉะนั้น สิ่งสำ�คัญที่สุดคือการส่งเสริมให้คนพิการหรือผู้ดูแล สามารถรักษา ความสะอาดสุขภาพช่องปากคนพิการได้เองที่บ้าน ซึ่งการที่ทันตบุคลากรจะสอนพวกเขา ได้ก็จำ�เป็นต้องมีทักษะความรู้ในเรื่องเหล่านี้ก่อน คุณหมออุมาพรจึงประสานความร่วมมือไปยังสถาบันราชานุกลู หน่วยงานในสังกัด กรมสุขภาพจิต ที่มีองค์ความรู้และบุคลากรที่เชี่ยวชาญด้านพัฒนาการและสติปัญญาเด็ก มาเป็นวิทยากร จัดอบรมเชิงปฏิบตั กิ ารให้กบั ทันตาภิบาลประจำ�โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ตำ�บลจำ�นวน 13 คน ดังนี้ ครัง้ ที่ 1 จัดเมือ่ ปี 2556 อบรมการให้บริการทันตกรรมแก่เด็กออทิสติก และดาวน์ซินโดรม โดยเชิญ ทพญ.ภัตติมา บุรพลกุล ทันตแพทย์เชี่ยวชาญ จากสถาบันราชานุกูล มาเป็นวิทยากร ครั้งที่ 2 จัดเมื่อปี 2557 อบรมเทคนิคและวิธีการจัดการกับเด็กพิการ โดยเชิญ วิทยากรจากสถาบันราชานุกูลมา 2 คน ได้แก่ นักกิจกรรมบำ�บัด ให้ความรู้เรื่องเทคนิค การพูดคุยกับเด็กเพือ่ ลดความเครียดและยอมให้ความร่วมมือ นักกายภาพบำ�บัด ให้ความรู้ เรื่องการบริหารข้อมือเพื่อแปรงฟัน วิธีการจัดท่านอนเวลาทำ�ฟัน และ คุณหมออุมาพร
25 เป็นวิทยากรให้ความรู้เรื่องการจัดรูปแบบการดำ�เนินงานส่งเสริมทันตสุขภาพ เครือข่าย โรงพยาบาล 50 พรรษาฯ ระยะหลัง ยังได้ขยายการบริการไปยังกลุม่ คนพิการทีด่ อ้ ยโอกาสในสถานสงเคราะห์ บ้านอุบลฮักแพง ซึง่ มีคนพิการหลากหลายประเภทและหลากหลายวัย โดยมีวธิ กี ารทำ�งาน ในลักษณะเดียวกัน
รั้งไม่หยุด ฉุดไม่อยู่...ขยับสู่การพัฒนาเชิงระบบ เมื่อสัมผัสปัญหาชัดเจนขึ้นทำ�ให้เกิดความตระหนักต่อความสำ�คัญของเรื่องนี้ และได้รับรู้ว่ามีผู้พิการในชุมชนอีกจำ�นวนมากที่ยังเข้าไม่ถึงการบริการ เป็นจุดท้าทายให้ คุณหมออุมาพร “คิดใหญ่และกว้าง” ยิ่งกว่าเดิม โดยพัฒนาเป็น โครงการ 50 พรรษา ร่วมใจ พัฒนาระบบบริการสุขภาพช่องปากผูพ้ กิ าร หวังก่อร่างสร้างรูปแบบการดูแลสุขภาพ ช่องปากคนพิการให้เป็นระบบมากขึ้น แม้จะรู้ดีว่าเป็นงานที่หนัก ทำ�ให้ทีมงานต้องมีภาระเพิ่ม แต่ คุณหมออุมาพร ก็มน่ั ใจว่าจะไม่เป็นอุปสรรค เพราะเน้นหลักการทำ�งานแบบมีสว่ นร่วม ไม่ใช่สง่ั การหรือบังคับ ตนเองทำ�หน้าทีเ่ สมือนเป็นคนเปิดโอกาสให้ทมี ได้มปี ระสบการณ์ท�ำ งานกับคนอีกกลุม่ หนึง่ และคอยสนับสนุน อำ�นวยความสะดวกให้การดำ�เนินงานราบรื่น “สิง่ ทีจ่ งู ใจให้ท�ำ ต่อ หนึง่ เพราะรูส้ กึ ว่าคนพิการเป็นกลุม่ ทีถ่ กู ทิง้ ยังมีอกี เยอะมาก ทีเ่ ข้าไม่ถงึ การดูแลตรงนี้ และเป็นเรือ่ งทีต่ อ้ งใช้เวลา สอง การทำ�งานแบบแชร์ไอเดีย แลกเปลีย่ น กับน้อง ต่อให้ไม่เกิดร้อยเปอร์เซ็นต์ แต่ก็ต้องมีบางเมล็ดพันธุ์ ที่เราชวนเขาแล้วมีแรงจูงใจ ที่จะทำ�ตรงนี้ ขอให้มีแม้สักเพียงหนึ่งในสิบหรือหนึ่งในห้าคน ก็คุ้มแล้ว....อีกอย่างหนึ่ง คือ เป็นการเปิดโอกาสให้คนทำ�งานได้เห็นมุมมองของกลุม่ ทีเ่ ขาไม่เคยได้ท� ำ เหมือนเราได้เปิดโลก ของน้องให้เห็นมุมนี้ ส่วนใครจะทำ�อะไรได้มากน้อยแค่ไหนก็ขึ้นกับเวลาและแรงกระตุ้น ที่จะสนับสนุนเขาต่อไป” เป้าหมายทีว่ าดหวัง คือ การส่งเสริมให้คนพิการทีส่ ามารถดูแลตนเองได้เบือ้ งต้น และผู้ดูแลคนพิการมีความรู้และเกิดทักษะในการดูแลสุขภาพช่องปากอย่างเหมาะสม ควบคูไ่ ปกับการพัฒนาทักษะและความพร้อมของทันตบุคลากรในการดูแลช่องปากคนพิการ รวมถึง การเตรียมห้องทันตกรรมใน รพ.สต.และโรงพยาบาลให้เอือ้ ต่อการบริการรักษาคนพิการ
26 นอกจากนี้ ยังต้องการพัฒนาระบบการคัดกรองตรวจเบื้องต้นด้านทันตกรรม ในชุมชน เพือ่ ให้การปรึกษาและส่งต่อไปสูก่ ารรักษาทีเ่ หมาะสม และมีการติดตามเยีย่ มบ้าน อย่างเป็นระบบ ทัง้ นี้ การก้าวไปสูเ่ ป้าหมายดังกล่าว ได้กระทำ�บนพืน้ ฐานความคิดทีเ่ ชือ่ ว่า การดูแล คนพิการต้องทำ�เป็นองค์รวมโดยอาศัยความร่วมมือจากหลายฝ่ายทีเ่ กีย่ วข้อง เนือ่ งจากปัญหา ของคนพิการไม่ได้มแี ค่เรือ่ งสุขภาพ แต่ยงั มีปญ ั หาด้านเศรษฐกิจและสังคมร่วมด้วย และ เป็นอุปสรรคหนึ่งที่ทำ�ให้ไม่สามารถเข้าถึงการบริการด้านสุขภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้าน ทันตกรรมที่พบว่าคนพิการในชุมชนยังเข้าถึงได้น้อย ขณะเดียวกันก็เข้าใจดีวา ่ ทันตบุคลากรทีป่ ฏิบตั งิ านในชุมชนต่างมีภาระงานประจำ� ทีต่ อ้ งรับผิดชอบมากอยูแ่ ล้ว ฉะนัน้ การพัฒนาทักษะความรูอ้ ย่างเดียวยังไม่เพียงพอ หากแต่ ต้องมีการสนับสนุน ส่งเสริม และช่วยบริหารจัดการปัจจัยแวดล้อมให้เอื้อต่อการทำ�งาน ของทันตบุคลากร โดยต้องไม่ทำ�ให้รู้สึกว่าเป็นภาระงานที่เพิ่มขึ้นด้วย กระบวนการเพื่ อ ไปสู่ เ ป้ า หมายดั ง กล่ า วมี ก ารปฏิ บั ติ อ ย่ า งเป็ น ขั้ น ตอนผ่ า น กิจกรรมต่าง ๆ ดังนี้ 1. การอบรมพัฒนาศักยภาพการส่งเสริมป้องกันดูแลช่องปากคนพิการแก่ทนั ตบุคลากร และการจัดระบบคลินิกบริการทันตกรรมแก่คนพิการ กลุม่ เป้าหมาย : ทันตบุคลากรในเครือข่าย จำ�นวน 34 คน (ทันตแพทย์ 1 คน ทันตาภิบาล 16 คน ผู้ช่วยทันตแพทย์ 16 คน) กิจกรรมที่ทำ� : เป็นการอบรมเพื่อทบทวนความรู้เรื่องการสอนทันตสุขศึกษา และการใช้อปุ กรณ์ท�ำ ความสะอาดช่องปากคนพิการ/เด็กพิเศษ การจัดระบบคลินกิ บริการ การรักษาทันตกรรม มีการฝึกปฏิบัติการดูแลสุขภาพช่องปากคนพิการบนเก้าอี้ทำ�ฟัน พร้อมกับจัดทำ�เป็นคูม่ อื ประกอบเพือ่ ให้ทนั ตบุคลากรนำ�ไปใช้เป็นแนวทางปฏิบตั งิ านต่อไป 2. การอบรมให้ความรูด้ า้ นทันตสุขภาพในกลุม่ คนพิการทีส่ ามารถดูแลตนเอง เบื้องต้นได้รวมถึงผู้ดูแลคนพิการ และอาสาสมัครสาธารณสุขในเครือข่าย กลุม่ เป้าหมาย : ผูด้ แู ลคนพิการ 40 คน อสม. 15 คน คนพิการ 13 คน รวมทัง้ สิน้ 68 คน
27
กิจกรรมที่ทำ� : เป็นการให้ความรู้ด้านทันตสุขภาพ ฝึกทักษะการแปรงฟัน ความรู้ด้านโภชนาการ อาหารสำ�หรับคนพิการ ระบบการดูแล สุขภาพและการขึน้ ทะเบียนคนพิการ การออกกำ�ลังกายบริหาร กล้ามเนื้อ โดยทีมสหวิชาชีพ โภชนากร พยาบาลวิชาชีพ นัก กายภาพบำ�บัด ทันตแพทย์ เพือ่ ให้กลุม่ เป้าหมายมีความรู้ ความ เข้าใจ ตระหนักเห็นความสำ�คัญของการดูแลสุขภาพช่องปาก คนพิการ สามารถดูแลกันเองเบือ้ งต้นได้ซง่ึ จะช่วยลดปัญหาการ เกิดโรค
3. การตรวจสุขภาพช่องปากและออกเยี่ยมบ้านคนพิการ กลุ่มเป้าหมาย : คนพิการในเครือข่าย กิจกรรมที่ทำ� : เป็นการมอบหมายภารกิจให้ทันตาภิบาลใน รพ.สต. แต่ละ แห่งทำ�การสำ�รวจสภาวะช่องปากคนพิการพร้อมบันทึก ข้อมูลไว้ส�ำ หรับวางแผนการรักษา และออกเยีย่ มบ้านคนพิการ เพื่อแนะนำ�การดูแล ฝึกทักษะการแปรงฟัน แนะนำ�อุปกรณ์ ทำ�ความสะอาดทีเ่ หมาะสมเฉพาะบุคคลแก่คนพิการและผูด้ แู ล แต่ก็ไม่ได้กำ�หนดปริมาณงานและวิธีทำ�งานไว้ตายตัว ขึ้นอยู่ กับบริบทและความพร้อมของแต่ละ รพ.สต. ทันตาภิบาล บางแห่งอาจดำ�เนินการด้วยตัวเองคนเดียว ขณะที่บางแห่ง ทำ�งานร่วมกับทีมสหวิชาชีพ (ผอ.รพ.สต. พยาบาล นักวิชาการ ฯลฯ)
ทางโครงการได้จัดทำ�แบบบันทึกข้อมูลและชุดเยี่ยมบ้านให้ทันตาภิบาลใช้เป็น เครื่องมือในการทำ�งาน ดังนี้ • ทะเบียนคนพิการที่ได้รับการตรวจช่องปาก • บันทึกการดูแลรักษาสุขภาพช่องปากคนพิการ • แบบเยี่ยมบ้าน ตรวจสภาวะช่องปากคนพิการสำ�หรับทันตบุคลากร • สมุดเยี่ยมบ้าน ตรวจสภาวะช่องปากสำ�หรับคนพิการ • ชุดเยีย่ มบ้านคนพิเศษรักษ์ฟนั ประกอบด้วย แปรงสีฟนั ยาสีฟนั นำ�้ ยาบ้วนปาก
28
ไม้พันสำ�ลี ไม้ไอติมพันก๊อสช่วยอ้าปาก (เป็นอุปกรณ์ที่ทีมงานช่วยกันคิดค้น และผลิตขึ้นมาเอง) บรรจุในกระเป๋าผ้า สำ�หรับมอบให้คนพิการไว้ใช้ทำ�ความ สะอาดช่องปากด้วยตนเองที่บ้าน
สมุดเยี่ยมบ้านประจำ�ตัวผู้พิการ
ชุดเยี่ยมบ้านคนพิเศษรักษ์ฟัน
ทะเบียนผู้พิการที่ได้รับการตรวจช่องปาก และตัวอย่างการบันทึกข้อมูล
29
บันทึกการดูแลรักษาสุขภาพช่องปากผู้พิการ
แบบเยี่ยมบ้าน ตรวจสภาวะช่องปากผู้พิการสำ�หรับทันตบุคลากร
4. การประชุมส่งคืนข้อมูลแก่ชุมชน / แลกเปลี่ยนเรียนรู้การดูแลคนพิการ กลุ่มเป้าหมาย : เทศบาล องค์การบริหารส่วนตำ�บล ผอ.รพ.สต. สหวิชาชีพ กิจกรรมทีท่ �ำ : เป็นการนำ�ข้อมูลสภาวะช่องปากคนพิการทีไ่ ด้จากการสำ�รวจ มาส่งคืนให้ชุมชนได้รับรู้ร่วมกัน พร้อมทั้งจัดเวทีแลกเปลี่ยน เรียนรูป้ ระสบการณ์การทำ�งานกับคนพิการจากสหวิชาชีพและ ภาคท้องถิ่น การสะท้อนปัญหาอุปสรรคในการทำ�งานทันต กรรมกับคนพิการ
30 จากเวทีนท้ี �ำ ให้เกิดข้อเสนอแนะต่าง ๆ เกีย่ วกับการดูแลคนพิการ ทัง้ ด้านสุขภาพ ช่องปากและด้านอื่น ๆ องค์การบริหารส่วนตำ�บลบางแห่งแสดงความสนใจงานทันตกรรม สำ�หรับคนพิการ ยินดีสนับสนุนโดยเสนอแนะให้เขียนโครงการเพื่อขอรับทุนจากกองทุน หลักประกันสุขภาพตำ�บล 5. จัดระบบการดูแลช่องปากคนพิการตั้งแต่การส่งเสริมป้องกัน รักษา ฟื้นฟู ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำ�บลใกล้บ้าน และจัดช่องทางการปรึกษาส่งต่อ ในราย ที่ต้องรับการรักษาที่ซับซ้อนมาที่โรงพยาบาลและส่งต่อในโรงพยาบาลประจำ�จังหวัดใน กรณีที่เกินขีดความสามารถ กลุ่มเป้าหมาย : ทันตแพทย์ ทันตาภิบาล และผู้ช่วยทันตแพทย์ในเครือข่าย จากกิจกรรมข้างต้นจะเห็นได้ถึงความพยายามที่จะสนับสนุนส่งเสริมให้ทันตบุคลากรมีแนวทางการทำ�งานเพือ่ ดูแลสุขภาพช่องปากคนพิการในชุมชน โดยมีการพัฒนา ศักยภาพด้านทักษะความรู้ การให้เครื่องมือทำ�งาน ทั้งในรูปของคู่มือ, แบบสำ�รวจ, ชุด เยี่ยมบ้าน และข้อมูล รวมถึง การสร้างเครือข่ายสนับสนุน ผ่านการ อบรมผู้ดูแล คนพิการ และ อสม. การจัดเวทีคืนข้อมูลและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ตลอดจน การจัดช่องทางปรึกษา และส่งต่อ ขวบปีแรกแห่งการทดลองบุกเบิกงานนี้ พบว่าเกิดผลความเปลี่ยนแปลงให้ชื่นใจ ไม่น้อย ดังสรุปได้ดังนี้ ผลทางตรง คือ สิง่ ทีเ่ กิดขึน้ ในระดับชุมชนนัน้ แน่นอนว่า ทัง้ คนพิการและผูด้ แู ล ต่างก็ได้รบั ความรูเ้ กีย่ วกับการแปรงฟันให้ถกู วิธี การดูแลสุขภาพช่องปากให้มสี ขุ อนามัยทีด่ ี และที่สำ�คัญยิ่งกว่านั้นก็คือ ความตระหนักต่อความสำ�คัญของการดูแลสุขภาพช่องปาก คุณปิ่นทิพย์ พิสิทธิผโลทัย เจ้าพนักงานทันตสาธารณสุขชำ�นาญงาน รพ.สต. ด้ามพร้า และ คุณธิดารัตน์ คำ�แดง เจ้าพนักงานทันตสาธารณสุขชำ�นาญงาน รพ.สต. ปากนำ�้ ให้ความเห็นสอดคล้องกันว่า เป็นผลจากการนำ�ชุดของขวัญไปมอบให้คนพิการและ ครอบครัวตอนเยีย่ มบ้านสามารถสร้างแรงจูงใจได้อย่างมาก เพราะทำ�ให้คนพิการเกิดมุมมอง ด้านบวก รับรู้ได้ว่าเรื่องนี้สำ�คัญ ทำ�ให้หันมาใส่ใจดูแลสุขภาพช่องปากมากขึ้น ต่างจาก ก่อนหน้าที่มองจำ�กัดเฉพาะที่เรื่องของการฟื้นฟูด้านร่างกายเท่านั้น
31 ในด้านการเข้าถึงบริการ พบว่า การหันมาให้ความสนใจเรือ่ งนีท้ �ำ ให้คนพิการได้รบั การตรวจสุขภาพช่องปากและได้รับการส่งต่อเพื่อรักษามากขึ้น ผลทางอ้อม ที่ชัดเจนที่สุด คือ ทีมทันตบุคลากร ต่างก็ได้เพิ่มพูนประสบการณ์ การทำ�งานกับคนพิการ ได้ขอ้ มูลสุขภาพช่องปากคนพิการไว้ใช้เป็นแนวทางในการติดตามดูแล รักษา สามารถนำ�เครือ่ งมือทีเ่ กิดจากโครงการไปใช้ประโยชน์ตอ่ เนือ่ ง และได้รจู้ กั เครือข่าย ทีจ่ ะช่วยสนับสนุนการทำ�งานต่อไปในอนาคตได้ ขณะเดียวกัน ทีมสหวิชาชีพ ก็ได้แลกเปลีย่ น เรียนรูป้ ระสบการณ์การทำ�งาน ทำ�ให้เกิดข้อเสนอแนะแนวทางแก้ไขปัญหาการดูแลสุขภาพ ช่องปากคนพิการร่วมกัน ด้าน องค์กรปกครองส่วนท้องถิน่ ก็ได้รบั รูข้ อ้ มูลสถานการณ์ปญ ั หาสุขภาพช่องปาก และการให้บริการทันตกรรมแก่คนพิการ ทำ�ให้เกิดความตระหนักเห็นความสำ�คัญ พร้อม สนับสนุนงานทันตกรรมเพื่อผู้พิการต่อไปในอนาคต
ค้นหา “แม่แรง” แห่งความเปลี่ยนแปลง ความเปลี่ยนแปลง และผลที่เกิดขึ้นเหล่านี้ ไม่ได้เป็นผลโดยตรงจากกิจกรรม แต่ยังมีปัจจัยอีกหลายประการที่สอดประสานอยู่เบื้องหลัง เพื่อเสริมแรงให้แก่ผู้ร่วม ขับเคลื่อนงาน ดังที่ คุณหมออุมาพร ในฐานะแกนนำ�คนสำ�คัญไล่เรียงให้ฟังว่า เริ่มต้นจาก การชี้แจงทำ�ความเข้าใจจุดมุ่งหมายของโครงการกับฝ่ายบริหาร (ผอ.รพ.สต., สสอ.) และ สหวิชาชีพใน รพ.สต. เพื่อสร้างแนวร่วมในการทำ�งาน โดยใช้ การสื่อสารทั้งรูปแบบที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ “จะเดินเข้าไปคุยทุกที่ ไม่มี รพ.สต. ไหนที่ไม่เคยไป สสอ. ก็ไปจนพรุนแล้ว ต้องเข้าไปคุย ว่ามีงบประมาณอย่างนี้ ส่วนปีที่แล้วมีปัญหาเรื่องอะไร อยากให้ สสอ. ช่วยสนับสนุนน้อง ๆ อย่างไรบ้าง หน้าที่เราคือ ส่งเสริมสนับสนุนคนพิการ ก็เป็นหนึ่งใน งานที่เราจะทำ�.....” “ผอ. รพ.สต. ก็ต้องเดินเข้าไปคุย แจ้งด้วยวาจา หนังสือ พูด เล่า สิ่งที่เกิดขึ้น ให้ฟังเยอะหน่อย กลุ่มวิชาชีพก็เช่นเดียวกัน เพราะฉะนั้น โดยส่วนตัวจะรู้จักทุกแห่ง สหวิชาชีพจะมี ผอ.รพ.สต. ส่วนมากเป็นนักวิชาการ พยาบาลวิชาชีพ เจ้าหน้าทีบ่ นั ทึกข้อมูล ทันตาภิบาล หน่วยฉุกเฉิน (EMS) ผู้ช่วยทันตแพทย์ บางแห่งมีเภสัชกร อย่างน้อยหนึ่ง รพ.สต. มีบุคลากร 5 - 10 คน จะรู้จักหมด” คุณหมออุมาพร อธิบาย
32 การให้คา่ ตอบแทนสำ�หรับการทำ�งาน ก็เป็นปัจจัยเสริมอย่างหนึง่ โดยการจัดสรร เป็นเบี้ยเลี้ยงค่าออกตรวจสุขภาพช่องปากคนพิการ ทั้งนี้ เป็นไปตามระเบียบราชการที่สามารถเบิกค่าตอบแทนการออกไปทำ�งาน ในชุมชนได้ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการเสริมแรง สร้างขวัญและกำ�ลังใจแก่คนทำ�งาน เพราะการออกเยีย่ มบ้านคนพิการก็ตอ้ งมีคา่ ใช้จา่ ยในการเดินทาง ซึง่ โดยปกติสามารถเบิกได้ วันละสองร้อยกว่าบาท แต่ในทางปฏิบัติจะสามารถจัดสรรค่าตอบแทนได้หลังจากหัก ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ เรียบร้อยแล้ว และส่วนมากมักได้น้อยกว่าอัตราเบี้ยเลี้ยงที่กำ�หนดไว้ อย่างไรก็ตาม หลักการทำ�งานของกลุม่ งานนีม้ งุ่ ทีก่ ารปลูกฝังค่านิยมให้ทนั ตบุคลากร ทุกคนปฏิบัติหน้าที่โดยมุ่งเน้นเป้าหมายของงานเป็นสำ�คัญ ปัจจุบัน จึงยังไม่มีใครทราบว่า จะได้รับค่าตอบแทนจำ�นวนเท่าไร แต่ทุกคนก็ให้ความร่วมมือในการทำ�งานเป็นอย่างดี คุณรัตติยา ศรีดารา เจ้าพนักงานทันตสาธารณสุขชำ�นาญงาน หนึ่งในทีมงาน กล่าวเพิ่มเติมถึงแนวทางการจ่ายค่าตอบแทนในการทำ�งานว่า “เราไม่อยากให้นอ้ งต้องคิดว่า ต้องมีเงินเท่านัน้ ถึงจะทำ�งาน ฉะนัน้ งานทีเ่ กิดขึน้ เรามุ่งเป้าหมายเป็นสำ�คัญ จะไม่พูดว่าไปทำ�งานนี้ได้เท่านั้นเท่านี้ จะไม่พูดแบบนี้เลย ไม่อย่างนั้นจะทำ�ให้น้องคิดว่า ไม่มีเงินไม่ทำ� แต่จะให้ความสำ�คัญ บอกเป้าหมาย บอกสิ่ง ที่เราทำ�”
“เราไม่อยากให้น้อง ต้องคิดว่า ต้องมีเงินเท่านั้น ถึงจะทำ�งาน”
33
คุณรัตติยา ศรีดารา เจ้าพนักงานทันตสาธารณสุขชำ�นาญงาน กลุ่มงานทันตกรรม โรงพยาบาล 50 พรรษา มหาวชิราลงกรณ
ฉันมิตร ให้เกียรติซึ่งกันและกัน ถือเป็นหลักการบริหารงานของ คุณหมออุมาพร ที่ยึดถือปฏิบัติมาโดยตลอด ทำ�ให้ทนั ตบุคลาการในเครือข่ายมีความสัมพันธ์ทด่ี ี และนำ�ไปสูค่ วามร่วมมือในการขับเคลือ่ น งานร่วมกัน คุณหมออุมาพร เสริมว่า ความสนใจต่องานคนพิการอย่างจริงจังและมีความเข้าใจ ข้อจำ�กัดในการทำ�งานของทันตบุคลากร จะช่วยให้สามารถวางแผนและออกแบบกิจกรรม ได้ดี และที่สำ�คัญคือ เป็นกิจกรรมที่ทีมงานสามารถปฏิบัติได้จริง โดยไม่เป็นภาระงาน ที่เพิ่มขึ้น ประสบการณ์อันเข้มข้นในช่วงประมาณ 3 ปีที่ผ่านมา นับตั้งแต่หันมาบุกเบิก งานทันตกรรมสำ�หรับคนพิการยังให้บทเรียนและข้อคิดสำ�คัญ ที่สกัดได้ 2 ประเด็น ประเด็นแรก คือ การดูแลกลุ่มคนพิการต้องอาศัยเวลาและความต่อเนื่อง จึงไม่ควรเน้นปริมาณ แต่ควรเน้นคุณภาพ โดยส่งเสริมให้คนพิการหรือผู้ดูแลสามารถ ดูแลรักษาสุขภาพช่องปากได้อย่างแท้จริง “....ไม่ใช่ว่าฉันเยี่ยมบ้านได้กี่บ้าน ๆ แล้วจบ ในโครงการแรกที่เราทำ�มันอาจจะ ดูเน้นในเชิงปริมาณอยู่ เพราะเวลามันระยะสั้น แต่จริง ๆ สิ่งที่เราอยากให้เกิดคือ ผู้ดูแล หรือคนพิการสามารถทำ�ความสะอาดช่องปากหรือสามารถแปรงฟันได้สะอาดด้วยตัวเองจริง ๆ ข้อควรระวังมันอยู่ตรงนี้ ในการทำ�งานถ้าเราไม่เข้าใจเป้าหมายว่าคืออะไร ก็อาจหลงไป กับจำ�นวนที่มันขึ้นมา”
34 ประเด็นที่สอง คือ การปัจจัยกระตุ้นและสนับสนุนงานอย่างต่อเนื่อง นั่นเป็น งานพัฒนาผูพ้ กิ ารต้องทำ�ในระยะยาวและไม่ใช่เรือ่ งง่าย ฉะนัน้ ต้องมีการกระตุน้ คนทำ�งาน เป็นระยะ โดยการสนับสนุนปัจจัยแวดล้อมต่าง ๆ เพื่อให้มีการดำ�เนินงานอย่างต่อเนื่อง สิ่งที่เธอเห็นว่ามีความสำ�คัญ ได้แก่ การเติมทักษะ ความรู้ให้แก่ผู้เกี่ยวข้อง การออกแบบเครื่องมือเพื่ออำ�นวยความสะดวกในการทำ�งาน การสร้างเครือข่ายให้เข้ามา สนับสนุนงานทันตกรรม และการให้แรงเสริมเพือ่ กระตุน้ ให้ทนั ตบุคลากรสามารถขับเคลือ่ น งานได้อย่างราบรื่น และต่อเนื่อง จะทำ�ให้งานเดินหน้าไปได้โดยไม่สะดุด “บางคนทำ�ไประยะหนึง่ อาจรูส้ กึ ว่ามีความยากขึน้ เพราะว่าจริง ๆ เคสคนพิการ ในอำ�เภอเมืองสองพันกว่าคน ถ้ามองในเชิงคุณภาพมันไม่ได้หมูนะ เคสหนึ่งกว่าจะอ้าปาก ได้กค่ี รัง้ กว่าจะแปรงฟันได้เอง กว่าจะเข้าใจ ต่อให้แปรงสะอาดครัง้ นีก้ ใ็ ช่วา่ จะสะอาดทุกครัง้ “เพราะฉะนัน้ มันคือการเข้าไปแล้วต้องอาศัยกำ�ลังใจและกำ�ลังทุนด้วย หมายถึง ระบบที่มันตั้งขึ้นแล้วต้องมีการติดตาม มีการเสริมพลัง งบประมาณที่พูดถึงอาจไม่มาก แต่ต้องมีส่วนหนึ่งเพื่อผลักดันให้งานเกิดขึ้น” หากย้อนกลับไปนับตั้งแต่เริ่มก้าวเข้ามาสู่เส้นทางการส่งเสริมสุขภาพช่องปาก คนพิการจนมาถึงวันนี้ อาจเป็นเวลาไม่นานนัก และยังมีอกี หลายสิง่ หลายอย่างทีต่ อ้ งสานต่อ แต่ ก ็ น ั บ ว่ า มี ก ารเปลี ่ ย นแปลงที ่ เ ห็ น เป็ น รู ป ธรรม ที ่ ค ่ อ ย ๆ เติ บ โตอย่ า งมั ่ น คง และ เริ่มออกดอกผลให้คนทำ�งานได้ชื่นใจ “ถึงวันนี้รู้สึกดีใจ เพราะรู้สึกว่าน้อง ๆ ทีมงาน หรือตัวเอง มีความรู้สึกภาคภูมิใจ ที่ได้ทำ�งานนี้ เพราะเป็นงานที่ทำ�ยาก และมีความเหนื่อย แต่สิ่งที่เกิดขึ้นจริง ๆ มันยังมี อะไรทีท่ า้ ทายรอเราอยูอ่ กี เยอะ จากสองพันเพิง่ ทำ�ได้แค่สามสีร่ อ้ ยคน เพราะฉะนัน้ มันเป็น จุดเริ่มต้น ดีใจและภาคภูมิใจกับตัวเองและทีมงาน ที่อย่างน้อยเราก็ได้เริ่มต้นกับกลุ่มนี้” “และสิง่ ทีอ่ ยากจะทำ�ต่อ คือ อยากทำ�ให้กบั กลุม่ คนพิการทัง้ อำ�เภอทีค่ รอบคลุม มากขึ้นกว่านี้ ด้วยการประสานวิชาชีพอื่น ๆ ที่จะเข้าไปช่วยกันดู ซึ่งต้องใช้เวลาค่อยเป็น ค่อยไป โดยเน้นความยัง่ ยืน สิง่ ทีเ่ ป็นจริง ไม่ได้เน้นทีต่ วั เลข ทำ�แบบมีคณ ุ ภาพ ทำ�ให้คนพิการ หรือผู้ดูแลสามารถอยู่ในสังคม และต่อสู้ชีวิตในโลกใบนี้ต่อไปได้โดยมีสุขภาวะที่ดี ซึ่งฟัน ก็เป็นส่วนหนึ่งของการมีสุขภาวะที่ดีด้วย”
35 นั่นคือ สิ่งสำ�คัญที่ผู้นำ�แห่งกลุ่มง�นทันตกรรม ของโรงพย�บ�ล 50 พรรษ�ฯ กลั่นออกม�จ�กประสบก�รณ์ และจะใช้เป็นร�กฐ�นสำ�หรับก�รก้�วต่อไปข้�งหน้�
พร้อมเก็บเกี่ยวความสุขใจจากการทำางานทุก ๆ วัน
ที่มาข้อมูล • การสัมภาษณ์ o ทพญ.อุม�พร รุ่งรัศมีทวีม�นะ ทันตแพทย์ชำ�น�ญก�รพิเศษ หัวหน้�กลุ่ม ง�นทันตกรรม โรงพย�บ�ล 50 พรรษ� มห�วชิร�ลงกรณ o คุณรัตติย� ศรีด�ร� เจ้�พนักง�นทันตส�ธ�รณสุขชำ�น�ญง�น กลุ่มง�น ทันตกรรม โรงพย�บ�ล 50 พรรษ� มห�วชิร�ลงกรณ o คุณสุพ�ภรณ คำ�พ� เจ้�พนักง�นส�ธ�รณสุขปฏิบัติง�น กลุ่มง�นทันตกรรม โรงพย�บ�ล 50 พรรษ� มห�วชิร�ลงกรณ o คุณปิน่ ทิพย์ พิสทิ ธิผโลทัย เจ้�พนักง�นทันตส�ธ�รณสุขชำ�น�ญง�น รพ.สต. ด้�มพร้� o คุณธิด�รัตน์ คำ�แดง เจ้�พนักง�นทันตส�ธ�รณสุขชำ�น�ญง�น รพ.สต. ป�กนำ�้ • เอกสารโครงการ 50 พรรษาร่วมใจ พัฒนาระบบบริการสุขภาพช่องปากผูพ้ กิ าร
36
กรณีท่ี 3 แรงบันดาลใจหนุนนำ�สูก่ า้ วใหม่ในโรงเรียนศึกษาพิเศษ โรงพยาบาลสงขลา และ โรงเรียนสงขลาพัฒนาปัญญา จ.สงขลา เบญญาดา มุตวิ ฒ ั นาสวัสดิ์ แม้เคยผ่านประสบการณ์การเข้าไปทำ�งานในโรงเรียนทุกระดับชั้นมาแล้วมาก ต่อมาก แต่ไม่เคยมีครัง้ ใดที่ ทพญ.พรทิพย์ แก้วประดิษฐ์ และเพือ่ นร่วมงานจาก กลุม่ งาน ทันตกรรม ของ โรงพยาบาลสงขลา ได้พบกับสภาพฟันของเด็กนักเรียนที่ย่ำ�แย่ขนาดนี้ มาก่อน... ประสบการณ์ครัง้ นีเ้ กิดขึน้ เมือ่ ปี 2553 หลังจากลุม่ งานทันตกรรมของโรงพยาบาล แห่งนีต้ กลงใจทำ�งานร่วมกับ สถาบันสร้างเสริมสุขภาพคนพิการ (สสพ.) ดำ�เนิน โครงการ ส่งเสริมสุขภาพช่องปากเด็กพิการ โดยกลุ่มเป้าหมายที่ทีมงานในโครงการนี้เลือกทำ�งาน คือ นักเรียนของ โรงเรียนสงขลาพัฒนาปัญญา ซึ่งเป็นกลุ่มเด็กที่มีความบกพร่องด้าน สติปัญญา ได้แก่ เด็กออทิสติก, ดาวน์ซินโดรม, บกพร่องทางการเรียนรู้, บกพร่องทางการ เคลือ่ นไหว ตลอดจนความพิการซ้�ำ ซ้อน มากกว่า 300 คน ตัง้ แต่ระดับชัน้ อนุบาลถึงมัธยมศึกษาปีที่ 6
ทพญ.พรทิพย์ แก้วประดิษฐ์ หัวหน้าโครงการฯ
37 “คุณหมอพรทิพย์” ได้กล่าวถึงสาเหตุทเ่ี ลือกนักเรียนโรงเรียนสงขลาพัฒนาปัญญา เป็นกลุ่มเป้าหมายสำ�หรับการทำ�งานในโครงการครั้งนั้นว่า “ปกติงานประจำ�ของเราตามที่กระทรวงสาธารณสุขมอบหมายมาคือการดูแล นักเรียนในโรงเรียนปกติตง้ั แต่ระดับชัน้ อนุบาลถึงมัธยมศึกษา มีดว้ ยกัน 35 โรงเรียนในเขต อำ�เภอเมือง แต่ส�ำ หรับโรงเรียนสงขลาพัฒนาปัญญา ทีแ่ ม้อยูใ่ นเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาล สงขลา และอยู่ใกล้โรงพยาบาลสงขลาเพียง 300 เมตรเท่านั้น แต่เราก็ยังไม่เคยลงไป ทำ�งานด้วย เพราะเด็กพิเศษไม่ใช่กลุ่มเป้าหมายตามที่กระทรวงสาธารณสุขกำ�หนดไว้ ทำ�ให้เด็กพิเศษกลุม่ นีด้ อ้ ยโอกาสการเข้าถึงบริการด้านทันตกรรม ทัง้ ในมิตขิ องการส่งเสริม ป้องกันและการรักษา” “แม้วา่ ก่อนหน้านีม้ บี างหน่วยงานเข้าไปทำ�กิจกรรมตรวจหู ตา และหิด เหา หรือ ไม่ก็เป็นการเอาอาหารเข้าไปบริจาค แต่ก็เป็นลักษณะที่ว่า มาแล้วก็ไป ไม่เคยมีใครดำ�เนิน กิจกรรมอย่างต่อเนื่องและจริงจัง” โครงการส่งเสริมสุขภาพช่องปากเด็กพิการในโรงเรียนสงขลาพัฒนาปัญญา จังหวัด สงขลา จึงเป็น “โครงการนำ�ร่อง” เรื่องนี้อย่างแท้จริง ในปีแรกของการดำ�เนินงานนี้ ทีมงานมีด้วยกัน 8 ท่าน โดยมี คุณหมอพรทิพย์ เป็นทันตแพทย์หัวหน้าโครงการ และมีทีมงานเป็นทันตาภิบาลอีก 2 ท่าน และผู้ช่วย ทันตแพทย์ 1 ท่าน โดยมีหัวหน้ากลุ่มงานทันตกรรม คือ ทพญ.นัฏฐา ติลกการย์ เป็น ผู้พูดคุยเพื่อประสานความร่วมมือกับทางโรงเรียน ที่น่ายินดีก็ คือ อาจารย์ศรีจิตต์ ขวัญแก้ว ผู้อำ�นวยการโรงเรียนแห่งนี้ ไม่เพียง ตอบรับเข้าร่วมโครงการ แต่ยงั ให้การสนับสนุน ทัง้ เรือ่ งการจัดสรรเวลาส่วนหนึง่ ของการเรียน การสอนตามปกติ สำ�หรับการร่วมกิจกรรมของโครงการ การจัดสรรพื้นที่เพื่อให้นักเรียน ได้แปรงฟันสะดวก จัดทำ�อ่างนำ�้ สำ�หรับแปรงฟันหลังอาหารเทีย่ ง และการขอความร่วมมือ จากบุคลากรในโรงเรียน ทั้งคณะครูและพี่เลี้ยงให้ช่วยกันดูแลเรื่องการทำ�ความสะอาดฟัน ของนักเรียน เพราะเห็นว่า
38
อาจารย์ศรีจิตต์ ขวัญแก้ว ผู้อำ�นวยการโรงเรียนสงขลาพัฒนาปัญญา “โครงการนี้มีประโยชน์กับนักเรียนซึ่งเป็นกลุ่มที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา มีข้อจำ�กัดเรื่องการดูแลตัวเอง ส่วนครอบครัวก็ดูแลนักเรียนได้จำ�กัดเช่นกัน ถ้ามีการสร้าง ความตระหนักเรื่องการดูแลนักเรียนโดยเริ่มตั้งแต่ที่โรงเรียน และส่งต่อไปที่บ้าน ก็จะเกิด ประโยชน์อย่างมาก เราตอบรับการเข้าร่วมโครงการ”
เรียนรู้โลกใหม่ใน “โรงเรียนศึกษาพิเศษ” โรงเรียนสงขลาพัฒนาปัญญา อยูใ่ นสังกัดสำ�นักบริหารงานการศึกษาพิเศษ สำ�นักงาน การศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ มีครูทั้งหมด 40 คน และครูพี่เลี้ยง 20 คน นักเรียนทั้ง 300 กว่าคน ส่วนใหญ่มาจากครอบครัวยากจนในเขตจังหวัดภาคใต้ตอนล่าง ได้แก่ จังหวัดสงขลา, ยะลา, ปัตตานี, นราธิวาส, ตรัง และพัทลุง โดย ร้อยละ 70 - 80 เป็นนักเรียนประจำ� ผู้ปกครองจะมารับกลับบ้านทุก 2 สัปดาห์ในวันศุกร์ ก่อนหน้าที่จะเข้ามาดูแลเด็ก ๆ ใน “โลกใหม่” สำ�หรับทันตแพทย์ ณ โรงเรียน ศึกษาพิเศษแห่งนี้ คุณหมอพรทิพย์ก็มีมุมมองเช่นเดียวกับเพื่อนร่วมวิชาชีพส่วนใหญ่ ที่เห็นว่า การทำ�ฟันให้เด็กพิการ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เด็กพิการทางสมองนั้นเป็นเรื่องเสี่ยง และไม่มั่นใจว่าตนเองสามารถทำ�ได้ แต่ “สภาพยำ่�แย่” ที่ได้พบเห็นกับตาจากการทดลองออกให้บริการครั้งแรก ทำ�ให้เกิดความรู้สึกว่า จะทอดทิ้งเด็ก ๆ เหล่านี้ไม่ได้
39 “เรื่องการรักษาฟัน โดยปกติแล้วทันตแพทย์มักไม่กล้าทำ�ให้กับเด็กพิการเพราะ มีความเสี่ยงหลายด้าน อาจมีอาการช็อกหรือการหยุดหายใจได้... แต่การสำ�รวจสุขภาพ ช่องปากให้นักเรียนครั้งแรกพบว่า สภาพฟันของเด็กแย่มาก มีเศษอาหารติดอยู่เต็ม เหงือกอักเสบเยอะมาก” เธอเล่าถึงสภาพที่พบหลังทีมทันตกรรมของโรงพยาบาลสงขลา ดำ�เนินการสำ�รวจสุขภาพช่องปากของนักเรียนที่นี่ประมาณ ร้อยละ 60 จากทั้งหมด หลังสำ�รวจสถานการณ์ผ่านสภาพช่องปากของเด็ก ๆ แล้ว คณะทำ�งานได้ขยาย การสืบสาวข้อมูลเพิ่มเติมไปยังสภาพแวดล้อมที่เกี่ยวข้อง พบว่า สุขภาพช่องปากของเด็ก กลุม่ นีอ้ ยูใ่ นภาวะเสีย่ งมากกว่าเด็กทัว่ ไป ทัง้ ด้วยข้อจำ�กัดด้านการเรียนรูใ้ นการดูแลสุขภาพ ให้แก่ตนเอง รวมถึงโอกาสที่จะได้รับการดูแลจากคนใกล้ชิด กล่าวได้เต็มปากว่าสุขภาพปากและฟันของเด็กพิการนั้นขึ้นอยู่กับการดูแลของ คนใกล้ตัวมากที่สุด คือ คนในครอบครัว และครู ในกรณีของเด็ก ๆ ที่โรงเรียนนี้ พบว่า มีโอกาสได้รบั การดูแลน้อยมาก เพราะส่วนใหญ่มาจากครอบครัวทีย่ ากจน มีนอ้ ยคนทีจ่ ะมี คนในครอบครัวช่วยดูแลต่อเนื่องทุกวัน เพราะส่วนใหญ่นาน ๆ ครั้งจึงได้กลับบ้าน ขณะที่ ครูอนามัยที่มีหน้าที่ดูแลเรื่องนี้โดยตรงก็มีอยู่เพียงคนเดียว ท่ามกลางเด็ก ๆ ที่มีข้อจำ�กัด ทั้งด้านสภาพร่างกายและการเรียนรู้หลายร้อยคน นอกจากข้อจำ�กัดในการดูแลสุขภาพฟันของตนเองแล้ว เด็ก ๆ ในโรงเรียนที่มัก เรียกขานกันว่า “โรงเรียนสำ�หรับเด็กพิการ” ยังเผชิญความเสีย่ งอีกรูปแบบหนึง่ ทีค่ นส่วนใหญ่ นึกไม่ถงึ ซ้อนเข้ามา นัน่ คือ การทีม่ คี นใจบุญจัดอาหารมาเลีย้ งทีโ่ รงเรียนอยูเ่ สมอ โดยมีขนม และของหวานมากมายรวมอยู่ โดยยากที่ทางโรงเรียนจะควบคุมรายการอาหารที่นำ�มา จัดเลี้ยงได้ ผลข้างเคียงภายหลังความสุขกายสบายใจทัง้ ของผูใ้ ห้และผูร้ บั จึงตกค้างอยูใ่ นปาก และฟันของเด็ก ๆ โดยเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดฟันผุยิ่งกว่าเด็ก ๆ ที่มีผู้ปกครองกวดขัน ดูแลเมนูอาหารประจำ�วัน และการบ้วนปากแปรงฟันหลังอาหารมากมายนัก ปัญหานีถ้ กู ซำ�้ เติมด้วย “ช่องโหว่” ด้านบริการทันนตกรรมในโรงเรียน ทีม่ องข้าม โรงเรียนสำ�หรับเด็กพิเศษมาโดยตลอด แม้กระทั่งโรงเรียนที่อยู่ใกล้จุดบริการทันตกรรม ระดับจังหวัดแค่ 300 เมตร อย่างเช่นที่นี่ก็ยังไม่เคยได้รับการดูแลเชิงรุกมาก่อน ที่ผ่านมากว่าที่เด็ก ๆ จึงได้พบกับ “หมอฟัน” ก็ต่อเมื่อเกิดปัญหาฟันผุ หรือ เหงือกอักเสบ จนถึงขั้นตอนพามาหาหมอแล้วเท่านั้น
40
กำ�หนดจุดเริ่มต้นบนสถานการณ์จริง ปัญหาและสถานการณ์ทพ่ี บทัง้ หมดท้าทายอย่างยิง่ สำ�หรับทีมกลุม่ งานทันตกรรม โรงพยาบาลสงขลา ว่าจะหาทางทำ�ให้ดีขึ้นกว่าที่เป็นอยู่ได้อย่างไร คุณหมอพรทิพย์ ได้เล่าถึงกระบวนการทำ�งานดำ�เนินโครงการนำ�ร่องงานส่งเสริม สุขภาพช่องปากให้แก่เด็ก ๆ ที่โรงเรียนศึกษาพิเศษแห่งนี้ว่ามีลำ�ดับขั้นตอนที่สำ�คัญ ดังนี้ • เริ่ม “สตาร์ท” จากการพัฒนาตนเอง เนือ่ งจากทีมงานฯ ไม่เคยทำ�งานกับเด็กกลุม่ นีม้ าก่อน การพัฒนาศักยภาพทีมงาน จึงเป็นเรื่องแรกที่ต้องดำ�เนินการ ดังที่ คุณหมอพรทิพย์ เล่าว่า “เนื่องจากตัวเองเป็นทันตแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญด้านทันตกรรมประดิษฐ์ จึงต้องเรียนรูเ้ พิม่ เติม โดยไปรับการอบรมความรูเ้ พิม่ เติมทีส่ ถาบันราชานุกลู ประมาณ 3 วัน... หัวข้อที่ดิฉันได้เรียนรู้ คือ ลักษณะความพิการทางสติปัญญา ซึ่งมีด้วยกันหลากหลาย จิตวิทยาเพือ่ ให้มคี วามเข้าใจความพิการแต่ละประเภท เพือ่ ให้สามารถเข้าหาเด็กแต่ละกลุม่ พิการได้ด้วยความเข้าใจ, การฝึกบริหารข้อมือ นิ้วมือ เพื่อให้เด็กแปรงฟันได้ และ ภาวะ แทรกซ้อนของเด็กกลุ่มนี้” “ทั้งหมดนี้เพื่อให้ทราบว่าเราต้องเริ่มต้นอย่างไร ทำ�อย่างไร เพื่อให้เขายอม อยูก่ ับเราได้นาน ๆ และให้ความร่วมมือ ซึ่งเราต้องเข้าใจธรรมชาติของเขาก่อน และต้อง รู้ด้วยว่าสิ่งที่ต้องระวังคืออะไร” นอกจากเข้ารับการอบรมความรู้ดังกล่าวด้วยตนเองแล้ว คุณหมอพรทิพย์ยังส่ง ทันตาภิบาล และ ผู้ช่วยทันตแพทย์ รวม 2 คนเข้ารับการอบรมด้วย เพื่อเป็นการเตรียม ความพร้อมทีมงานสำ�หรับการทำ�งานในครั้งนี้ • ทำ�งานร่วมกับ “ครู” ฉันพันธมิตร ขัน้ ทีส่ อง คือ การพัฒนาคุณครูในโรงเรียน ซึง่ จากสภาพทีเ่ ป็นมาพบว่าสภาพการณ์ ไม่เอื้ออำ�นวยนัก เนื่องจากผู้มีหน้าที่ดูแลสุขภาพของนักเรียนในโรงเรียนนี้ คือ ครูอนามัย มีอยูเ่ พียงท่านเดียว ประกอบกับการทีค่ ณ ุ ครูทา่ นอืน่ ๆ ก็มหี น้าทีม่ ากมายในการดูแลกิจวัตร ของนักเรียนในแต่ละวัน ทั้งเรื่องการอาบนำ�้ แต่งตัว การกินอาหาร การเรียนหนังสือ และ อื่น ๆ
41 แม้ทางโรงเรียนมีการกำ�หนดให้นักเรียนแปรงฟันหลังอาหารเที่ยงทุกวัน แต่ ครูอนามัยซึง่ มีเพียงท่านเดียวทีต่ อ้ งรับผิดชอบเรือ่ งนี้ ไม่มที างเป็นไปได้ทจี่ ะดูแลเด็กนักเรียน ทั้ง 300 คนได้อย่างทั่วถึง และนี่ก็คืออีกสาเหตุหนึ่งที่ทำ�ให้สุขภาพช่องปากของนักเรียน ถูกละเลย เพราะถือเป็นเรื่องที่รองลงมาจากเรื่องอื่น ๆ ในชีวิตประจำ�วันของนักเรียน การที่จะเกิดการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นจึงต้องระดมความร่วมมือจากครู ท่านอื่น ๆ เข้ามาช่วยสนับสนุน ขณะเดียวกันก็ต้องไม่ทำ�ให้เรื่องนี้ดูเป็นการเพิ่มภาระ ประจำ�วันแก่คุณครูด้วย วิธีการ “ออกตัว” ของโครงการฯ นับว่าน่าสนใจมาก เพราะไม่ได้พุ่งตรงไปที่ ประเด็นปัญหาหลักโดยตรง แต่เข้าไปช่วยคลายปมปัญหาที่ทำ�ให้คุณครูไม่สามารถ เปิดรับเรื่องใหม่ ๆ เข้าไปก่อน “งานประจำ�ของคุณครูทน่ี ม่ี ภี าระทีห่ นักหนาอยูแ่ ล้ว การทีเ่ ราจะนำ�เรือ่ งการดูแล สุขภาพช่องปากเข้าไปก็คอ่ นข้างลำ�บาก เพราะคุณครูมคี วามเครียดอยูใ่ นระดับหนึง่ อยูแ่ ล้ว” คุณหมอพรทิพย์วเิ คราะห์สภาพปัญหา และนำ�มาสูข่ อ้ สรุปของทีมงานว่าต้องเริม่ ต้น จากการสร้างสัมพันธ์ที่ดีกับคุณครูก่อนเป็นอันดับแรก คุณสมพร จันทร์ศิริ ทันตาภิบาลประจำ�โรงพยาบาลสงขลา และเป็นหนึ่งใน ทีมงานของโครงการนี้ช่วยขยายความถึงที่มาของแนวคิดดังกล่าวว่า เกิดจากการที่ทีมงาน สังเกตเห็นความเครียดของคุณครูทต่ี อ้ งดูแลนักเรียนทีม่ คี วามบกพร่องทางสติปญ ั ญา จึงได้ จัดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพจิตนี้ให้กับคณะครู “จากการประเมินสุขภาพจิตตัวเองของ คุณครูโดยแบบทดสอบของกรมสุขภาพจิตพบว่า คุณครูมีความเครียดมาก จึงได้จัดกิจกรรมจัดการ กับความเครียดให้คณ ุ ครู นอกจากครูจะได้รวู้ ธิ ดี แู ล ตัวเองแล้ว ทีมงานและคุณครูก็มีโอกาสได้สร้าง ความคุ้นเคยระหว่างกันและกันอีกด้วย” คุณสมพร จันทร์ศิริ ทันตาภิบาลประจำ�โรงพยาบาลสงขลา
42 นอกจากนี้ ยังมีการอบรมให้ความรู้แก่คุณครูทั้ง 40 คน เรื่องการดูแลสุขภาพ ช่องปาก, การแปรงฟันที่ถูกต้องตามขั้นตอน ตลอดจนเรื่องอาหาร และพฤติกรรมการกิน ที่มีผลต่อสุขภาพในช่องปาก “จากนั้น กิจกรรมที่เราทำ�กับคุณครูเป็นประจำ�เกือบทุกปี คือ การจัดการกับ ความเครียด โดยพยาบาลจิตเวชมาร่วมเป็นวิทยากร มีการละลายพฤติกรรม, สันทนาการ, แนะนำ�วิธีจัดการความเครียดด้วยตัวเอง ฯลฯ” “กิจกรรมเหล่านี้ทำ�ให้ทีมงานของโครงการและคณะครูมีสัมพันธภาพที่ดีต่อกัน อันจะส่งผลดีต่อการทำ�งานร่วมกันต่อไป” คุณหมอพรทิพย์ ได้เพิ่มเติมรายละเอียดว่า “เรามีการประชุมคุณครูประมาณปีละครั้ง ความรู้หลัก ๆ ที่ได้ให้กับคุณครู คือ การให้ความรูเ้ รือ่ งวิธกี ารจัดการกับความเครียด, การให้ความรูเ้ รือ่ งการดูแลสุขภาพช่องปาก ของเด็ก, การควบคุมเรื่องอาหารที่มีคนนำ�มาบริจาค ขอให้เป็นอาหารที่มีประโยชน์แก่เด็ก และดูแลให้เด็กทานเป็นเวลา ไม่ทานพรำ�่ เพรือ่ ทานแล้วต้องล้างปากหรือแปรงฟัน โดยเฉพาะ ก่อนนอนต้องแปรงฟัน ฯลฯ” วิธีการพูดคุย สร้างความคุ้นเคย ตลอดจนการให้ความรู้และขอความร่วมมือกับ คุณครูนน้ั คุณหมอพรทิพย์ ยำ�้ ว่าทีมงานจะไม่กดดันหรือทำ�ให้คณ ุ ครูรสู้ กึ ว่าเป็นการเพิม่ ภาระ หากแต่เทคนิคสำ�คัญคือการทำ�งานอย่างจริงจัง ด้วยความห่วงใย และมีความต่อเนื่อง ในการเข้าไปทำ�งานในโรงเรียนของทีมงาน ขณะเดียวกันก็ยดึ ถือหลักการว่า “คุณครูจะต้อง ร่วมรับรู้และเป็นส่วนหนึ่งของทุกกิจกรรม” “ช่วง 2 - 3 เดือนแรกที่ทีมงานเข้าไปตรวจฟันหรือสอนเด็กแปรงฟัน มีแต่ครู อนามัยที่เข้ามาทำ�งานกับเรา ครูท่านอื่น ๆ ดูอยู่ห่าง ๆ เหมือนไม่กล้าเข้ามา” นั่นคือ บรรยากาศในช่วงเริ่มต้น แต่หลังจากที่ได้ดำ�เนินการอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นกิจกรรม ที่ทำ�กับนักเรียนและผู้ปกครอง บนหลักการว่า ทำ�ให้ในวันนี้ คุณครูต่างพูดเป็นเสียง เดียวกันว่า “การดูแลสุขภาพช่องปากของนักเรียนได้กลายเป็นส่วนหนึง่ ในงานประจำ�ไปแล้ว โดยไม่รู้เนื้อรู้ตัว” อาจารย์โสภา วิมกุ ติวรรณ ครูอนามัยซึง่ เพิง่ ย้ายมาทีโ่ รงเรียนสงขลาพัฒนาปัญญา ในปี 2557 แทนคุณครูอนามัยท่านเดิม ได้เสริมถึงรายละเอียดของการดูแลสุขภาพช่องปาก ของนักเรียนที่ขณะนี้ได้กลายเป็นงานประจำ�ของโรงเรียนว่า
43 “สิ่ ง ที่ คุ ณ ครู ต้ อ งดู แ ลนั ก เรี ย นต่ อ เนื่ อ ง คือ เรื่องการแปรงฟันหลังอาหาร ถ้าคนไหนแปรง ได้ไม่สะอาด ครูกจ็ ะช่วย, การพานักเรียนไปโรงพยาบาล ตามที่คุณหมอนัด, การแนะนำ�ผู้ปกครองขอให้ ช่วยดูแลเรื่องการทำ�ความสะอาดฟันให้กับลูกๆ” อาจารย์โสภา วิมุกติวรรณ ครูอนามัย โรงเรียนสงขลาพัฒนาปัญญา สอดคล้องกับคำ�บอกเล่าของรองผู้อำ�นวยการโรงเรียน คือ อาจารย์สุมาลี มเหสักขกุล ทีก่ ล่าวถึงทัศนคติของคณะครูทม่ี กี ารเปลีย่ นแปลงจากการเข้าร่วมในโครงการนี้
อาจารย์สุมาลี มเหสักขกุล รองผู้อำ�นวยการโรงเรียนสงขลาพัฒนาปัญญา “ยอมรับว่าแรก ๆ รูส้ กึ มีงานเพิม่ จากภาระงานทีม่ อี ยู่ แต่พอเห็นคณะของคุณหมอ พรทิพย์เข้ามาช่วยนักเรียนของเรา รู้สึกประทับใจในความตั้งใจจริง ทำ�ให้คณะครูเห็น พัฒนาการของเด็กว่ามีสขุ ภาพช่องปากทีด่ ขี น้ึ เราอยากช่วยนักเรียนของเราอยูแ่ ล้ว แต่การที่ จะคาดหวังจากผู้ปกครองฝ่ายเดียวคงเป็นไปไม่ได้ เมื่อคุณหมอมาถึงที่นี่ เด็ก ๆ ได้รับการ รักษาฟันที่โรงพยาบาล ทั้งอุดฟัน, ถอนฟัน, รักษารากฟัน และใส่ฟันปลอม แรก ๆ เด็ก ๆ ก็กลัวกัน ต้องคอยปลอบประโลมและจับกันให้วนุ่ วาย แต่หลัง ๆ เด็ก ๆ เองทีม่ าขอไปทำ�ฟัน ทั้ง ๆ ที่เขาไม่ต้องไปแล้ว ไปทำ�ฟันกลับมาก็มาอ้าปากให้ครูดู เด็ก ๆ เป็นแบบนี้ได้เพราะ คุณหมอใจดี ทำ�ให้เด็กไม่กลัว”
44 ส่วนหัวหน้าฝ่ายบริหารกิจการนักเรียน อาจารย์ผดุงศรี พสุนธราธรรม ยอมรับว่า แรก ๆ อาจมีบา้ งทีร่ สู้ กึ อึดอัดกับงานส่วนนีท้ เ่ี พิม่ เข้ามา แต่การทีค่ ณ ุ หมอพรทิพย์และทีมงาน เข้ามาทำ�งานกันอย่างต่อเนือ่ ง ทำ�ให้คณะครูเกิดความตืน่ ตัว และด้วยความจริงจังทีค่ ณ ุ หมอ และทีมงานมีให้กับการทำ�งานครั้งนี้ ทำ�ให้ความรู้สึกของคุณครูค่อย ๆ เปลี่ยนไปแบบ ไม่รู้เนื้อรู้ตัว ทำ�ให้ตอนนี้เรื่องการดูแลสุขภาพช่องปากของนักเรียนกลายเป็นงานประจำ� ไปแล้ว และสุขภาพช่องปากโดยรวมของนักเรียนในวันนี้จัดว่าอยู่ในเกณฑ์ดี “แต่ก่อนนักเรียนปวดฟันกันบ่อยพอปวดฟัน เราก็ไม่รวู้ า่ จะต้องทำ�อย่างไร สิง่ ทีท่ �ำ ได้ คือ การโทรศัพท์ เรียกให้ผปู้ กครองมารับตัวนักเรียนไปหาหมอเอง เรือ่ งนี้ จึงกลายเป็นภาระของผู้ปกครอง “แต่ตอนนีร้ สู้ กึ ว่านานแล้วทีน่ กั เรียนของเรา ไม่มีอาการปวดฟันกันอีกเลย” อาจารย์ผดุงศรี พสุนธราธรรม หัวหน้าฝ่ายกิจการนักเรียน • สานสร้างสัมพันธ์ไปสู่ “บ้าน” ตามที่ได้กล่าวแล้วแต่ต้นว่า นอกจากครูที่มีบทบาทสำ�คัญในการดูแลนักเรียน กลุม่ เป้าหมายแล้ว ผูป้ กครองก็มคี วามสำ�คัญไม่แพ้กนั เนือ่ งจากงานส่งเสริมป้องกันทีย่ ง่ั ยืน ต้องดึงผู้ปกครองมาร่วมด้วย เพราะนักเรียนอยู่ทั้งที่โรงเรียนและที่บ้าน หากทางโรงเรียน ให้การดูแลนักเรียนเป็นอย่างดี แต่เมื่อนักเรียนกลับบ้าน ผู้ปกครองปล่อยปละละเลย ไม่เอาใจใส่ สุขภาพช่องปากของนักเรียนก็คงดีขน้ึ ได้ยาก ทางโครงการจึงมีกจิ กรรม ประชุม ผู้ปกครองทุกปี “สิ่งแรกที่ต้องทำ�คือ การแนะนำ�โครงการ และแจ้งให้ผู้ปกครองทราบว่าทีมงาน จะเข้ามาให้การดูแลสุขภาพช่องปากของลูก ๆ ของเขาอย่างไรบ้าง จากนัน้ คือการขอความร่วมมือให้ผู้ปกครองอนุญาตในกรณีที่ลูก ๆ ต้องได้รับการรักษาในคลินิกทางทันตกรรม ของโรงพยาบาล” คุณหมอพรทิพย์ เล่าถึงขั้นตอนการทำ�งานในส่วนนี้
45 จากนัน้ จึงเป็นการให้ความรูเ้ รือ่ งการดูแลสุขภาพช่องปาก, พฤติกรรมการกินอาหาร ที่ถูกต้องเหมาะสม ซึ่งมีความเกี่ยวโยงโดยตรงกับเรื่องสุขภาพช่องปาก ทัง้ นี้ ในแต่ละปีจะมีการประชุมผูป้ กครองทัง้ รายเก่าและรายใหม่ในวันปฐมนิเทศ พร้อมทัง้ แจกกระเป๋าซึง่ มีชดุ ดูแลสุขภาพช่องปาก อาทิ แปรงสีฟนั , ยาสีฟนั และไหมขัดฟัน หลังจากนั้น จึงแยกผู้ปกครองรายใหม่ต่างหากเพื่ออบรมให้ความรู้เพิ่มเติม ด้วยเล็งเห็นความสำ�คัญของผู้ปกครองในการดูแลสุขภาพช่องปากของนักเรียน ทางโครงการจึงพยายามเชื่อมประสานกับผู้ปกครองให้เข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมต่าง ๆ ของโครงการ โดยออกแบบสอบถามการเข้าร่วมกิจกรรมเพือ่ ให้ผปู้ กครองรับทราบข่าวสาร ของทางโครงการอย่างสมำ�่ เสมอ “ทางโครงการได้กระตุ้นให้ผู้ปกครองตื่นตัวและรับทราบว่าเราทำ�กิจกรรมใน โรงเรียนอย่างต่อเนือ่ ง ด้วยการส่งแบบตอบรับการเข้าร่วมกิจกรรมผ่านครูประจำ�ชัน้ ทุกครัง้ เช่น การขูดหินปูน เราขอให้ผู้ปกครองมาร่วมด้วย เพื่อให้เขาเห็นว่าตอนนี้เราขูดหินปูน แล้วนะ กลับบ้านไปแล้ว ขอความร่วมมือทำ�ความสะอาดปากให้ลูกด้วย” นอกจากการประชุมชี้แจงและให้ความรู้แล้ว ทางโครงการยังใช้การพูดคุยกับ ผู้ปกครองเป็นรายบุคคลเพื่อสร้างสัมพันธภาพที่ดี และให้คำ�แนะนำ�เรื่องการดูแลสุขภาพ ช่องปากของนักเรียน “ในปีแรก ๆ ดิฉันและทีมงานประมาณ 1 - 2 คนไปโรงเรียนเกือบทุกวันศุกร์ ต่อเนื่องประมาณ 2 เดือน ในช่วงเวลาที่สามารถจัดสรรไปได้ เพื่อต้องการพบผู้ปกครอง และคุยเป็นรายบุคคล พูดคุยเรื่องการกินและการดูแลสุขภาพช่องปากของลูก ตลอดจน การพบทันตแพทย์ เราจะดูกันอยู่ 3 เรื่องนี้ จากนั้น ก็ให้ลูกของเขาอ้าปากตอนนั้นเลย เพื่อชี้ให้เห็นสภาพช่องปากของลูก ซึ่งบางคนไม่เคยอ้าปากลูกดูเลย ซึ่งการพูดคุยแบบนี้ ทำ�ได้เพียงบางส่วน ไม่สามารถทำ�ครบทุกคนได้ อย่างน้อยเมื่อติดตามถามผล เขาก็หันมา เอาใจใส่แปรงฟันให้กับลูก จากแต่ก่อนที่ไม่เคยแปรงหรือให้ความสนใจเลยก็มี” นอกจากนี้ ยังมีนกั เรียนพิเศษอีกกลุม่ หนึง่ ทีม่ คี วามพิการซำ�้ ซ้อน ผูป้ กครองต้องเป็น ผู้พาเด็กไปทำ�ฟันที่คลินิกทันตกรรมด้วยตัวเอง ครูไม่สามารถดูแลได้ ทางโครงการได้ใช้ กิจกรรม “การเยีย่ มบ้าน” เป็นช่องทางสำ�หรับพูดคุยสร้างความเข้าใจและขอความร่วมมือ จากผู้ปกครอง
46 “การเยีย่ มบ้าน เขาจะไปพร้อมกับคุณครู ในช่วงเวลาทีท่ างโรงเรียนต้องเยีย่ มบ้าน นักเรียนอยู่แล้ว แต่เราขอเลือกเยี่ยมบ้านของเด็กที่คุณครูช่วยจับเวลาทำ�ฟันไม่ได้ กรณี แบบนี้พ่อแม่ต้องเป็นคนพาไปเอง โดยแต่ละเทอมจะได้เยี่ยมประมาณ 5 - 6 บ้าน กิจกรรม นี้เรามีกระเป๋าอุปกรณ์การดูแลสุขภาพช่องปากไปให้ มีอาหารแห้งประเภทข้าวสารและ ปลากระป๋องเอาไปฝาก เพราะผู้ปกครองส่วนใหญ่มีฐานะยากจนมาก ถ้าหากพบผู้สูงอายุ ในครอบครัวนั้น เราก็มีชุดดูแลสุขภาพช่องปากสำ�หรับผู้สูงอายุไปมอบให้ เช่น กระปุกใส่ ฟันปลอม, เม็ดฟู่แช่ฟันปลอม, กาวยึดฟันปลอม ฯลฯ และมีการสอดแทรกความรู้เรื่องการ ดูแลสุขภาพช่องปากและขอความร่วมมือให้พาลูกไปรักษาฟันที่โรงพยาบาล” คุณฉะอ้อน ฆังคะมะโน มารดาของ ธนวัฒน์ ฆังคะมะโน อายุ 20 ปี นักเรียน ระดับชัน้ ประถมศึกษาปีท่ี 6 ซึง่ มีอาการบกพร่องทางสติปญ ั ญา สะท้อนมุมมองต่อโครงการนีว้ า่ “แต่ก่อนเวลาลูกปวดฟัน ดิฉันให้กินแต่ยาแก้ปวด ส่วนการแปรงฟันให้กับลูก หรือสอนให้ลูกแปรงเองก็ทำ�ไปตามที่ตัวเองเคยทำ� เรื่องการพาไปหาหมอที่โรงพยาบาล เป็นเรื่องที่ดิฉันไม่กล้าเพราะอายหมอที่ว่าตัวเองเลี้ยงลูกไม่ดี ทำ�ให้ลูกฟันผุ” “แต่พอคุณหมอพรทิพย์เข้ามาให้ความรู้ มาสอนวิธีแปรงฟัน และเรื่องอาหาร ที่ควรหลีกเลี่ยง ทำ�ให้ดิฉันรู้วิธีดูแลลูก และดูแลลูกได้ดีขึ้น เวลาแปรงฟันจะให้เขาแปรง เองก่อน แล้วดิฉันจะทำ�ให้ทีหลังเพื่อให้สะอาดขึ้น” “เดีย๋ วนีใ้ นบ้านจะไม่ซอ้ื ขนมหรือนำ�้ อัดลมเอาไว้ เพือ่ ปรับพฤติกรรมการกินของลูก ความรู้ที่ได้นี้ดิฉันยังเอามาใช้ดูแลลูกอีก 2 คนได้ด้วย ส่วนเรื่องการพาลูกไปโรงพยาบาล ตอนนี้ก็กล้าแล้วนะคะ เพราะคุณหมอใจดีค่ะ”
คุณฉะอ้อน ฆังคะมะโน ผู้ปกครองนักเรียนฯ
47 • การจัดระบบบริการดูแลที่โรงเรียน ในของส่วนกิจกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากของนักเรียนโรงเรียนสงขลาพัฒนา ปัญญา ตั้งแต่ปี 2553 - 2558 กิจกรรมที่ทำ�ต่อเนื่องสมำ�่ เสมอคือ การตรวจสุขภาพช่องปากนักเรียน ปีละครั้ง การเคลือบฟลูออไรด์ การย้อมคราบจุลินทรีย์ และการสอนแปรงฟัน ปีละ 2 ครั้ง คุณหมอพรทิพย์ กล่าวถึงหลักการในการจัดบริการดูแลสุขภาพช่องปากของนักเรียน ที่มีความพิการทางสติปัญญาว่า ต้องดำ�เนินการควบคู่กันไปทั้งเรื่องการส่งเสริมป้องกัน และการรักษา โดยต้องทำ�งานทัง้ เชิงรุกและเชิงรับไปพร้อม ๆ กัน จึงจะเกิดผลลัพธ์ทช่ี ดั เจน ในช่วงแรกนัน้ ทีมงานได้เข้าไปตามห้องเรียนทีละห้องจนครบทัง้ 40 ห้อง เพือ่ ให้ ทันตะสุขศึกษาและสอนการแปรงฟัน โดยครูประจำ�ชั้นทำ�หน้าที่ดูแลนักเรียน ทั้งเรื่อง การส่งเสริมป้องกันและการรักษาฟันในคลินิกทันตกรรม ล้วนต้องอาศัยความร่วมมือจาก คุณครูประจำ�ชั้น • พัฒนา “คลินิกทันตกรรมสำ�หรับเด็กพิเศษ” ที่โรงพยาบาล ทางโครงการยังได้อ�ำ นวยความสะดวกเรือ่ งการเข้ารับการรักษาฟันในคลินกิ ทันต กรรมของโรงพยาบาลสงขลา ให้แก่คณะครูโรงเรียนสงขลาพัฒนาปัญญา โดยมี “ช่องทาง พิเศษ” สามารถนัดหมายเวลาได้สะดวกรวดเร็ว เพื่อสร้างสัมพันธภาพที่ดีกับคุณครู และยังเป็นการส่งเสริมสุขภาพช่องปากให้กับตัวคุณครูเองด้วย การรักษาฟันในคลินกิ ทันตกรรมนัน้ ได้จดั การให้บริการเป็นรูปเป็นร่างขึน้ ประมาณ ต้นปี 2555 โดยมีคลินิกทันตกรรมสำ�หรับเด็กพิเศษทุกวันพฤหัสที่ 2 และ 4 ของเดือน และมีการรักษาทางทันตกรรมในกรณีของเด็กที่มคี วามพิการมากและซำ�้ ซ้อนในห้องผ่าตัด ของโรงพยาบาลสงขลา โดยมีการเตรียมความพร้อมด้วยการจัดห้องทำ�ฟันสำ�หรับเด็ก โดยเฉพาะ นอกจากนี้ ยังมีหอ้ งนัง่ รอทีม่ ขี องเล่นและโทรทัศน์ส�ำ หรับเปิดการ์ตนู ให้เด็ก ๆ ดู ซึง่ ภายหลังจากทีน่ กั เรียนได้รบั การตรวจสุขภาพช่องปากโดยคุณหมอพรทิพย์และทีมงานแล้ว นักเรียนคนใดทีต่ อ้ งได้รบั การรักษาในคลินกิ ทันตกรรมต่อไป ทีมงานจะทำ�ใบนัดหมายฝากไว้ กับคุณครูประจำ�ชั้นแต่ละห้อง เพื่อให้ทางโรงเรียนทำ�จดหมายขออนุญาตผู้ปกครองต่อไป
48 “การรักษาฟันให้กบั นักเรียนนัน้ ผูป้ กครองต้องเซ็นใบอนุญาตทุกครัง้ และทีส่ �ำ คัญ คือ นักเรียนคนนั้นต้องมีบัตรทองผู้พิการ (ท.74) ซึ่งเป็นหลักฐานสำ�หรับผู้พิการเพื่อรับ การรักษาโรคฟรี โดยเราจะเปิดเวลาพิเศษสำ�หรับคลินิกทันตกรรมเพื่อเด็กพิการในทุกวัน พฤหัสบดีที่ 2 และ 4 ของเดือน” คุณหมอพรทิพย์ กล่าวเสริม ในขั้นตอนของการรักษาฟันให้กับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญานั้น ทพญ.นิลบุ ล อัครพิมาน ทันตแพทย์ทดี่ แู ลเรือ่ งการรักษาฟันให้กบั เด็กในคลินกิ ทันตกรรม ของโรงพยาบาลสงขลาได้เล่าภาพรวมของการดูแลเด็กกลุ่มนี้ว่า “เรื่องแรกที่ต้องให้ความใส่ใจคือต้องรู้จักเด็กก่อน รวมถึงโรคประจำ�ตัวซึ่งเรื่อง การจัดการกับโรคประจำ�ตัวถือว่าไม่ยาก ความยากที่ทันตแพทย์ต้องได้พบ คือ เรื่องความ ร่วมมือและความคุ้นเคย เช่น กรณีเด็กออทิสติก การมาครั้งแรกเขาอาจไม่ให้ความร่วมมือ แต่เมือ่ ทำ�ความรูจ้ กั คุน้ เคย มาหาหมอคนเดิมในสถานทีซ่ � ำ ้ ๆ เขาจะให้ความร่วมมือมากขึน้ ยอมอ้าปาก ยอมให้ตรวจ ยอมนอนอยู่บนเตียงทำ�ฟันได้นาน ๆ “ส่วนเด็กที่มีพัฒนาการช้า ถ้าในระดับที่เป็นน้อย ๆ เหมือนเด็กปกติ เขาให้ ความร่วมมือได้ แต่หากเป็นระดับที่รุนแรงก็ต้องให้คุณครูอยู่ด้วย ต้องช่วยเราจับขาหรือ ปลอบโยน หรือจับมือให้เขารู้สึกอุ่นใจ ในเวลาที่นานพอที่เราจะอุดฟันได้”
ทพญ.นิลุบล อัครพิมาน ทันตแพทย์คลินกิ ทันตกรรมของโรงพยาบาลสงขลา คุณหมอนิลุบลยังให้รายละเอียดเพิ่มเติมอีกว่า โดยปกติทั่วไปแล้วเด็กกลุ่มนี้ พ่อแม่จะไม่เห็นความสำ�คัญของสุขภาพช่องปาก ผู้ปกครองจะพาเด็กมารับการรักษา ก็ตอ่ เมือ่ มีอาการปวด หลังจากทีใ่ ห้การรักษาแล้ว ทันตแพทย์กจ็ ะให้ความรูเ้ รือ่ งการแปรงฟัน และการดูแลสุขภาพช่องปากต่อไป ต่อจากนัน้ พ่อแม่กจ็ ะพาลูกมารับการรักษาและการตรวจ อย่างต่อเนื่อง
49 จากการทำ�งานเชิงรุกของโครงการนี้ คุณหมอนิลุบล มองว่ากระบวนการทำ�งาน ในโครงการมีความสำ�คัญด้านการกระตุ้นการเข้าถึงบริการของเด็กกลุ่มนี้ เพราะอยู่ดี ๆ ผู้ปกครองจะพาเด็กมาคลินิกเองเป็นไปได้ยากมาก “กระบวนการทีใ่ ห้ความรูแ้ ก่พอ่ แม่มคี วามสำ�คัญ ดิฉนั จะบอกผูป้ กครองเสมอว่า อย่าคิดแต่จะพึ่งครู เพราะพ่อแม่ต้องมีส่วนร่วมในการพาลูกมาโรงพยาบาล เพราะถ้าไม่มี โครงการนี้หรือไม่มีครูพามา เด็กจะไม่ได้รับการรักษา” แม้ในขั้นตอนของการให้การรักษา ทางโครงการมีความพร้อมทั้งสถานที่และ บุคลากรแล้ว แต่นักเรียนส่วนหนึ่งที่ผู้ปกครองไม่เซ็นอนุญาตหรือไม่มี ท.74 ทางโครงการ ก็ไม่สามารถให้การรักษาได้ ซึ่งได้หาทางออกด้วยการออกหน่วยเคลื่อนที่ปีเว้นปี เพื่อให้ การรักษาแก่นักเรียนกลุ่มดังกล่าว และให้บริการขูดหินปูนแก่นักเรียน “การรักษาในคลินิกทันตกรรมต้องได้รับความร่วมมือจากพ่อแม่ เราจึงจะให้ การรักษาได้ ซึง่ มีเด็กกลุม่ หนึง่ ทีไ่ ม่ตรงตามเกณฑ์น้ี ทางโครงการจึงต้องออกหน่วยเคลือ่ นที่ ขนเครือ่ งมือไปโรงเรียนเพือ่ ให้การรักษานักเรียนทีต่ กหล่น และให้บริการขูดหินปูนแก่นกั เรียน ทั้งหมดด้วย โดยมีคณะอาจารย์และนักศึกษาจากคณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัย สงขลานครินทร์มาช่วย” ทุกครั้งที่นักเรียนได้รับการรักษาฟัน จะมีการจดบันทึกลงในสมุดพกประจำ�ตัว ของนักเรียนแต่ละคน โดยสมุดเล่มนี้จะถูกเก็บไว้ที่ฝ่ายทันตกรรมของโรงพยาบาลสงขลา คุ ณ หมอพรทิ พ ย์ ไ ด้ เ ล่ า ถึ ง บรรยากาศในการรั ก ษาฟั น ให้ ก ลุ่ ม เป้ า หมายของ โครงการว่า ครูจะพานักเรียนมาครัง้ ละ 4 - 5 คน โดยเริม่ การรักษาให้กบั เด็กโตก่อน แรก ๆ นักเรียนมีอาการกลัว แต่เมื่อคุ้นเคยกับบุคลากร และสถานที่ในโรงพยาบาลมากขึ้น การมารักษาฟันของนักเรียนมีบรรยากาศดีขึ้นมาก “แรก ๆ ทีค่ ณ ุ ครูพานักเรียนมาทำ�ฟัน ร้องไห้กนั แต่กช็ ว่ ยกันให้ก�ำ ลังใจ ปลอบใจ มีครูยนื อยูใ่ กล้ ๆ จนนักเรียนเริม่ ชิน และนักเรียนทีท่ �ำ ฟันแล้วก็เอาไปบอกต่อนักเรียนคนอืน่ ๆ ในโรงเรียน ทำ�ให้บรรยากาศการรักษาฟันค่อย ๆ เปลี่ยนไป “นักเรียนมีความสบายใจมากขึน้ เป็นลำ�ดับ และดูมคี วามสุขเมือ่ ได้มาพบดิฉนั และทีมงานที่โรงพยาบาล และให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี”
50
แรงบันดาลใจ คือ พลังหลังความเปลี่ยนแปลง ด้วยการทำ�งานอย่างต่อเนือ่ งทำ�ให้สถานการณ์สขุ ภาพช่องปากของเด็ก ๆ ในโรงเรียน ศึกษาพิเศษแห่งนี้กระเตื้องขึ้นเป็นลำ�ดับ ควบคู่กับทัศนคติของคณะครูและผู้ปกครองที่มี การเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นเป็นเงาตามกัน จากการสำ�รวจสุขภาพช่องปากของนักเรียนตั้งแต่ปี 2555 - 2558 แม้ค่าเฉลี่ย ฟันผุ อุด และถอนฟันนำ�้ นมยังมีค่าที่เห็นได้ไม่ชัดเจนเพราะมีเด็กเข้าใหม่ทุกปี แต่สำ�หรับ ฟันแท้นั้นเห็นได้ชัดเจนว่าในระยะเวลา 4 ปีที่เก็บข้อมูลมา ลดลงจากค่าเฉลี่ย 8.2 ซี่ต่อคน ในปี 2554 เหลือ 5.94 ซี่ต่อคนในปี 2558 “จากแรกเริ่มที่ได้เข้าไปเห็นสภาพช่องปากของเด็ก ๆ แย่มาก พวกเราทำ�งาน กับเขาจนเขาดีขึ้น ทั้งหมดนี้เป็นเพราะเราทำ�ด้วยใจ” “...มีบ้างที่เกิดความท้อแท้ขึ้นเพราะงานประจำ�ยังคงทำ�อยู่ เป้าหมายของงาน ประจำ�ที่ต้องบรรลุก็ยังมีอยู่เหมือนเดิม เราต้องปลีกตัวมาทำ�งานส่วนนี้ด้วย สิ่งที่ต้องมี คือแรงบันดาลใจ เมื่อได้เห็นเด็ก ๆ ยิ้ม มีฟันสะอาดสะอ้าน เราก็มีความสุขมากแล้ว นี่คือ คำ�ตอบว่าทำ�ไมจึงมีแรงทำ�งานต่อเนื่องมาจนถึงวันนี้ได้ ทั้ง ๆ ที่กำ�ลังคนทำ�งานของเรา ก็ลดลงเรื่อย ๆ จากเริ่มต้นด้วย 7 คน จนตอนนี้มี 4 คนที่เป็นตัวหลัก” ขณะทีค่ ณ ุ หมอนิลบุ ลยำ�้ ว่า การส่งเสริมป้องกันถือเป็นส่วนทีส่ �ำ คัญ และเป็นเรือ่ ง ที่ต้องอาศัยการสร้างความตระหนักแก่ทั้งครูและผู้ปกครองซำ�้ ๆ และต่อเนื่อง ส่วนเรื่อง ความรู้นั้นเขาจะจดจำ�ได้ภายหลังจากที่เกิดความตระหนักแล้ว สำ�หรับในส่วนของระบบ งานทันตกรรมเพื่อให้บริการแก่เด็ก ๆ ที่ด้อยโอกาสอย่างเช่นเด็กพิการอย่างทั่วถึงนั้น ควรมีการคิดหาแนวทางใหม่ ๆ ที่มีลักษณะ “เชิงรุก” มากขึ้นกว่าที่ผ่านมา “บุคลากรด้านสาธารณสุขควรเน้นการทำ�งานเชิงรุก ในแต่ละหน่วยบริการควร จัดสรรบุคลากรที่ดูแลผู้พิการ อาทิ มีการกำ�หนดชัดเจนว่าเจ้าหน้าที่หนึ่งคนดูแลคนพิการ กีค่ รอบครัว หรือในงานส่งเสริมป้องกันด้านทันตกรรม ทันตาภิบาล 1 คน ต้องดูแลผูพ้ กิ ารกีร่ าย การบริหารจัดการด้วยวิธนี จ้ี ะทำ�ให้การเข้าถึงบริการของคนพิการมีความครอบคลุม มีเจ้าของ ดูแลแต่ละพื้นที่ในระดับชุมชน”
51 ท้ายสุด คุณหมอพรทิพย์ แกนนำ�คนสำ�คัญผู้อยู่เบื้องหลังความก้าวหน้าของ โครงการนำ�ร่องเพือ่ แผ้วถางหนทางใหม่ ๆ เพือ่ ให้วชิ าชีพทันตกรรมเกิดประโยชน์ตอ่ สังคม อย่างทั่วถึงกว่าที่ผ่านมา โดยไม่ละเลยกลุ่มคนที่มีข้อจำ�กัด ดังเช่น เด็กพิการในโรงเรียน ศึกษาพิเศษชี้ถึงหัวใจที่ทำ�ให้สานต่องานอย่างไม่ย่อท้อมาจนถึงวันนี้ว่า “การที่จะทำ�งานกับกลุ่มเด็กพิการนั้น สิ่งแรกที่ต้องมีคือ “แรงบันดาลใจ”... หากมัวแต่คดิ ว่าเด็กกลุม่ นีต้ อ้ งมาหาเรา เราถึงจะรักษาให้เขา ทัง้ ๆ ทีเ่ ขาช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ ทุกอย่างต้องขึ้นกับพ่อแม่เป็นหลัก เขาคงแย่”
“เราเองจึงควรต้องเป็นคนเปลี่ยนแปลงตัวเองลงไปทำ�งานเชิงรุก...”
“การที่จะทำ�งานกับกลุ่มเด็ก พิการนั้น สิ่งแรกที่ต้องมีคือ แรงบันดาลใจ...”
52
บทที่ 2
เมื่อฝายปฏิบัติผนึกพลังนักวิชาการ พัฒนางานบนวิถี “R2R”
ในภ�วะที่ง�นประจำ�ก็ล้นมืออยู่แล้ว ก�รริเริ่มทดลองทำ�สิ่งใหม่ๆ ดูจะเป็น
เรื่องเหลือวิสัยที่จะทำ�ได้ แต่เมื่อสอดแทรกมุมมองใหม่ ๆ เข้�ไปในง�นปกติ อย่�งเช่นเรื่องของ การวิจัย จากงานประจำา หรือ อาร์ทูอาร์ (Routine to Research – R2R) แบบค่อยเป็นค่อยไป กลับพบว่� วิธีนี้ช่วยเปิดท�งใหม่ ๆ ให้ง�นประจำ�มีคุณภ�พม�กขึ้นกว่�เดิม อีกทั้งยังทำ�ให้ คนทำ�ง�นเกิดพลังม�กขึ้น เพร�ะได้เรียนรู้วิธีก�รใหม่ ๆ ที่จะนำ�พ�ง�นไปสู่เป้�หม�ยได้ โดยไม่ย่ำ�อยู่กับที่เดิม งานบริการสาธารณสุข การพัฒนาองค์ความรู้ และถ่ายทอดการดูแลสุขภาพ ช่องปากผู้พิการและผู้สูงอายุในภาวะพึ่งพา โดยใช้กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการเป็น พื้นฐาน เป็นหนึ่งในกิจกรรมภายใต้ โครงการพัฒนาสมรรถนะนักศึกษาทันตแพทย์ และทีมทันตบุคลากรเพื่อดูแลสุขภาพช่องปากผู้พิการ ง�นวิจยั ภ�ยใต้โครงก�รนี ้ ซึง่ มีดว้ ยกันหล�ยโครงก�รต่�งมุง่ ไปทีจ่ ดุ หม�ยปล�ยท�ง เดียวกัน นัน่ คือ ก�รเปิดโอก�สให้บคุ ล�กรส�ธ�รณสุขส�ข�ต่�ง ๆ ม�ช่วยกันพัฒน�รูปแบบ ก�รดูแลสุขภ�พช่องป�กคนพิก�รและผูส้ งู อ�ยุในภ�วะพึง่ พ�ให้สอดคล้องกับบริบททีแ่ ตกต่�ง หล�กหล�ย และนำ�คว�มรู้ที่ได้ม�ถ่�ยทอดขย�ยผลสู่ก�รปฏิบัติในระดับต่�ง ๆ และที่แน่ ๆ คือ “ก�รเติบโต” จะเกิดขึ้นระหว่�งเส้นท�งวิจัย ทั้งในส่วนของตัว ผู้ปฏิบัติง�นและระบบง�นที่เป็นจุดตั้ง “โจทย์” ก�รวิจัยแต่ละเรื่อง ในบทนี้จะพ�ไปดูก�รใช้กระบวนก�รวิจัยแบบ R2R ผส�นเข้�สู่ก�รทำ�ง�นปกติ เพื่อพัฒน�ระบบบริก�รทันตกรรมเชิงรุก ที่ก้�วไกลไปถึง “บ้�น” ลองติดตามดูกันว่า การพัฒนางานดูแลสุขภาพช่องปากให้คนพิการผ่าน ปฏิบัติการวิจัยแบบนี้เกิดขึ้นได้อย่างไร
53
กรณีท่ี 4 ปฏิบตั กิ ารกลางเมืองใหญ่ ใช้งานวิจยั พลิกเป็นฝ่าย “รุก” โรงพยาบาลเทศบาลนครเชียงใหม่ เบญญาดา มุตวิ ฒ ั นาสวัสดิ์ โรงพยาบาลเทศบาลนครเชียงใหม่ เปิดให้บริการอยู่ใจกลางเมืองเชียงใหม่ ตั้งแต่เดือนมกราคมปี 2468 ในเขตย่านธุรกิจซึ่งเป็นที่รู้จักกันดี คือ ตลาดวโรรส ที่นี่เป็นโรงพยาบาลอยู่ในสังกัดของเทศบาลนครเชียงใหม่ มีขนาด 30 เตียง ด้วยบุคลากรประมาณ 100 คน เน้นรักษาโรคทั่วไป โรคส่วนใหญ่ที่พบคือ โรคเรื้อรัง ได้แก่ เบาหวาน, ความดันโลหิตสูง และโรคหลอดเลือดหัวใจ/สมอง ตลอดจนการให้บริการทาง ทันตกรรม ทั้งการขูดหินปูน, การถอนฟัน, ผ่าฟันคุด, ฝังรากฟันเทียม และโรคปริทันต์ เพื่อให้ประชาชนที่อยู่ในความรับผิดชอบของโรงพยาบาลเทศบาลนครเชียงใหม่ สามารถเข้าถึงบริการได้อย่างสะดวก โรงพยาบาลฯ จึงจัดตั้งศูนย์สุขภาพชุมชนอีก 3 แห่ง ได้แก่ ศูนย์สุขภาพชุมชนช้างคลาน, ศูนย์สุขภาพชุมชนศรีวิชัย และ ศูนย์สุขภาพชุมชน หนองหอย
ทพ.พันธกานต์ อาสาสรรพกิจ หัวหน้างานคลินิกทันตกรรม โรงพยาบาลเทศบาลนครเชียงใหม่ ที่ผ่านมา การให้บริการทันตกรรมเน้นในเชิงรับ สำ�หรับบริการกลุ่มคนพิการ ทพ.พันธกานต์ อาสาสรรพกิจ หัวหน้างานคลินิกทันตกรรมยอมรับว่า เป็นกลุ่มที่เข้ามา รับบริการในคลินิกทันตกรรมของโรงพยาบาลน้อยมาก ขณะเดียวกัน โอกาสที่ทันตแพทย์ จะได้พบกับคนกลุ่มนี้ก็น้อยมากเช่นกัน
54 โอกาสดังกล่าวมักเกิดขึน้ ต่อเมือ่ มีการเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลด้วยอาการ ต่าง ๆ เช่น มีอาการอักเสบรุนแรงจากแผลกดทับจนต้องนอนโรงพยาบาล และในขณะนั้น ผู้ป่วยมีอาการปวดฟัน ทันตแพทย์จึงจะมีโอกาสได้ตรวจและให้การรักษาต่อไป งานทันตกรรมของโรงพยาบาลแห่งนี้ไม่เคยมีกิจกรรมออกเยี่ยมบ้าน จนกระทั่ง ในปี 2549 ทพ.ฉัตรพงศ์ ชื่นสุวรรณกุล หัวหน้ากลุ่มงานทันตสาธารณสุข ซึ่งในขณะนั้น รักษาการตำ�แหน่งผูอ้ �ำ นวยการโรงพยาบาลเทศบาลนครเชียงใหม่ ได้ท�ำ โครงการดูแลผูป้ ว่ ย ที่บ้าน ทำ�ให้ทันตแพทย์เริ่มมีโอกาสได้เยี่ยมบ้านผู้ป่วยติดเตียงในชุมชน
ทพ.ฉัตรพงศ์ ชื่นสุวรรณกุล หัวหน้ากลุ่มงานทันตสาธารณสุข “โครงการนี้เป็นโครงการที่เข้าไปดูแลผู้ป่วยซึ่งเป็นผู้ป่วยเรื้อรังและนอนติดเตียง เราได้จัดทีมเยี่ยมบ้านที่มีทั้งแพทย์ พยาบาล นักกายภาพบำ�บัด ทันตแพทย์ และฝ่าย สาธารณสุข เมือ่ พบคนพิการและเห็นว่าสถานทีแ่ ละสิง่ แวดล้อมไม่เอือ้ อำ�นวยต่อการใช้ชวี ติ หรือการมีสุขภาพที่ดี เราก็จะเข้าไปจัดการสิ่งแวดล้อมใหม่ เช่น จัดหาเตียง หรือ เครื่อง ระบายอากาศ โดยขอความร่วมมือจากสำ�นักช่างของเทศบาล นอกจากนัน้ ก็คอื การให้ความรู้ แก่ผู้ดูแล” จากประสบการณ์การทำ�งานในครั้งนั้นทำ�ให้ คุณหมอฉัตรพงศ์ พบว่า การดูแล สุขภาพผู้ป่วยต้องทำ�ในภาพรวม ซึ่งรวมถึงสุขภาพในช่องปากจึงจะส่งผลดีต่อผู้ป่วยอย่าง แท้จริง น่าเสียดายทีโ่ ครงการในครัง้ นัน้ ขาดความต่อเนือ่ ง อย่างไรก็ตาม ทางโรงพยาบาลฯ จัดให้มีระบบการเยี่ยมบ้านตามปกติอยู่แล้ว โดยมีผู้รับผิดชอบหลักคือ พยาบาลประจำ� ศูนย์สุขภาพชุมชน
55 มุมมองที่ได้จากการออกเยี่ยมผู้ป่วยถึงชุมชนในครั้งนั้นถึงคราวต่อยอดในปี 2558 เมื่อ รศ.ทพญ.ดร.พัชราวรรณ ศรีศิลปนันท์ จากคณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ในฐานะหัวหน้า โครงการพัฒนาสมรรถนะนักศึกษาทันตแพทย์และ ทีมทันตบุคลากรเพื่อดูแลสุขภาพช่องปากคนพิการ ได้ชักชวนให้ริเริ่มโครงการวิจัยจาก งานประจำ� คุณหมอฉัตรพงศ์ จึงเริม่ เกิดความสนใจทีจ่ ะสำ�รวจข้อมูลคนพิการในเขตรับผิดชอบ โรงพยาบาลเทศบาลนครเชียงใหม่ เพือ่ เปิดโอกาสให้บคุ ลากรในงานทันตกรรม ทีป่ กติท�ำ งาน “ตั้งรับ” อยู่ในโรงพยาบาล ได้สัมผัสกับพื้นที่โดยตรง “ความน่าสนใจคือที่นี่อยู่ภายใต้บริบทเมือง เราน่าจะเข้าถึงผู้ป่วยได้ง่าย จึงลอง สำ�รวจเพื่อว่าจะได้ข้อมูลมาใช้ประโยชน์เรื่องการดูแลสุขภาพคนพิการต่อไป” “ขอบเขตการทำ�งานครัง้ นี้ คือ การลงเยีย่ มบ้านเพือ่ เข้าไปดูเบือ้ งต้นว่าในพืน้ ทีน่ ้ี คนพิการมีสุขภาพโดยรวมเป็นอย่างไร” จุดหมายปลายทางของการเก็บข้อมูลครั้งนี้ คือ การนำ�ไปใช้เป็นข้อมูลดิบ สำ�หรับพัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพโดยรวมของคนพิการในชุมชนต่อไป กลุ่มเป้าหมายในโครงการนี้ ก็คือ ผู้พิการในความรับผิดชอบของ ศูนย์สุขภาพ ชุมชนช้างคลาน ทีม่ ี คุณศุภนุช อร่ามศรี พยาบาลวิชาชีพเป็นผูร้ บั ผิดชอบดูแลศูนย์แห่งนี้ และเป็นผู้คัดเลือกคนพิการสำ�หรับการเยี่ยมบ้าน ที่กำ�หนดไว้ประมาณ 40 คน
คุณศุภนุช อร่ามศรี พยาบาลวิชาชีพ
56 มุมมองที่ได้จากการออกเยี่ยมผู้ป่วยถึงชุมชนในครั้งนั้นถึงคราวต่อยอดในปี 2558 เมื่อ รศ.ทพญ.ดร.พัชราวรรณ ศรีศิลปนันท์ จากคณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ในฐานะหัวหน้า โครงการพัฒนาสมรรถนะนักศึกษาทันตแพทย์และ ทีมทันตบุคลากรเพื่อดูแลสุขภาพช่องปากคนพิการ ได้ชักชวนให้ริเริ่มโครงการวิจัยจาก งานประจำ� คุณหมอฉัตรพงศ์ จึงเริม่ เกิดความสนใจทีจ่ ะสำ�รวจข้อมูลคนพิการในเขตรับผิดชอบ โรงพยาบาลเทศบาลนครเชียงใหม่ เพือ่ เปิดโอกาสให้บคุ ลากรในงานทันตกรรม ทีป่ กติท�ำ งาน “ตั้งรับ” อยู่ในโรงพยาบาล ได้สัมผัสกับพื้นที่โดยตรง “ความน่าสนใจคือที่นี่อยู่ภายใต้บริบทเมือง เราน่าจะเข้าถึงผู้ป่วยได้ง่าย จึงลอง สำ�รวจเพื่อว่าจะได้ข้อมูลมาใช้ประโยชน์เรื่องการดูแลสุขภาพคนพิการต่อไป” “ขอบเขตการทำ�งานครัง้ นี้ คือ การลงเยีย่ มบ้านเพือ่ เข้าไปดูเบือ้ งต้นว่าในพืน้ ทีน่ ้ี คนพิการมีสุขภาพโดยรวมเป็นอย่างไร” จุดหมายปลายทางของการเก็บข้อมูลครั้งนี้ คือ การนำ�ไปใช้เป็นข้อมูลดิบ สำ�หรับพัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพโดยรวมของผู้พิการในชุมชนต่อไป กลุม่ เป้าหมายในโครงการนี้ ก็คอื คนพิการในความรับผิดชอบของ ศูนย์สขุ ภาพชุมชน ช้างคลาน ทีม่ ี คุณศุภนุช อร่ามศรี พยาบาลวิชาชีพเป็นผูร้ บั ผิดชอบดูแลศูนย์แห่งนี้ และเป็น ผู้คัดเลือกคนพิการสำ�หรับการเยี่ยมบ้าน ที่กำ�หนดไว้ประมาณ 40 คน “ในโครงการนีผ้ พู้ กิ ารทีค่ ดั เลือกก็คอื คนทีญ ่ าติเขาขอมาเอง หรือรายทีเ่ ขาอนุญาต ให้เยี่ยมได้ เพราะอยากได้รับความช่วยเหลือจากเรา เนื่องจากเขายากจนมาก ผู้ดูแล อยากให้เราเข้าไปเพราะคนดูแลเขาก็เครียดอยู่แล้ว เรื่องไหนแบ่งเบาเขาได้ เขาก็ชอบ” “โดยปกติทกุ วันจันทร์และวันพฤหัสบดีดฉิ นั ต้องเยีย่ มบ้านอยูแ่ ล้ว ครัง้ ละครึง่ วัน ร่วมกับนักศึกษาปี 4 - 5 ของภาควิชาเวชศาสตร์ครอบครัว คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัย เชียงใหม่ ตามปกติทีมเยี่ยมบ้านก็มีตัวดิฉัน นักศึกษา และบางครั้งก็มีนักกายภาพบำ�บัด และทีมสุขภาพจิตของเทศบาลมาเข้าร่วม โครงการนีม้ หี มอฟันมาร่วมด้วย ถือเป็นเรือ่ งทีด่ ”ี “คนพิการส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุ ความพิการส่วนใหญ่คือ ด้านการเคลื่อนไหว ฐานะส่วนใหญ่ยากจน แต่กม็ บี างรายเขาก็ปฏิเสธเรือ่ งการดูแลสุขภาพช่องปากนะคะ ไม่ยอม ทำ�ฟัน บอกว่าไม่รจู้ ะทำ�ไปทำ�ไม” คุณศุภนุชได้ให้ขอ้ มูลเกีย่ วกับงานดูแลคนพิการทีผ่ า่ นมา
57 ทีมงานหลักในโครงการฯ ประกอบด้วย คุณหมอฉัตรพงศ์ คุณหมอพันธกานต์ คุณศุภนุช และ คุณชรินรัตน์ เกษี ผู้ช่วยงานทันตกรรม ทุกครัง้ ทีม่ กี ารลงพืน้ ที่ คุณศุภนุชจะไปด้วยเสมอ เนือ่ งจากมีขอ้ มูลเบือ้ งต้นของผูป้ ว่ ย ทุกราย และเป็นผู้คัดเลือกคนพิการเข้าร่วมโครงการนี้ นอกเหนือจากนั้น ทีมงานคนอื่น ๆ ได้จัดเวลาสลับกันไป คุณหมอพันธกานต์ ได้กล่าวถึงการเยีย่ มบ้านในบริบทเมืองทีต่ อ้ งอาศัยความไว้เนือ้ เชื่อใจเป็นปัจจัยสำ�คัญอันดับแรก “ความระแวดระวังเป็นเรือ่ งหนึง่ ทีพ่ บได้ในบริบทเมือง แต่สง่ิ ทีพ่ บเห็นก็คอื ผูด้ แู ล ได้ให้การต้อนรับเป็นอย่างดี เพราะมีคุณศุภนุชพาเข้าไป” “มีบางบ้านเหมือนกันที่พอเราเข้าไป สิ่งที่พบเห็นก็คือใบหน้าที่บูดบึ้งของผู้ดูแล เพราะสุขภาพจิตของเขาไม่ดี เขาบ่นว่าเคยมีหลายหน่วยงานเข้าไปหา มาดูแล้วก็หาย กันไป” การเตรียมการก่อนการลงเยี่ยมบ้านจึงเป็นเรื่องสำ�คัญที่ต้องคำ�นึงถึง ควรมีการ นัดหมายล่วงหน้าโดยบุคลากรทีผ่ ดู้ แู ลรูจ้ กั คุน้ เคยและเป็นผูพ้ าเยีย่ มบ้าน เพือ่ ให้งานเป็นไป ด้วยความราบรื่น ดังที่ คุณหมอฉัตรพงศ์ เพิ่มเติมข้อมูลว่า “การลงเยี่ยมบ้านในโครงการนี้ ส่วนใหญ่แล้วเราได้เอาเรื่องฟันนำ� โดยอาศัย คุณศุภนุชเป็นคนนำ�ไปหากลุ่มเป้าหมาย และมีการแจ้งล่วงหน้าว่าหมอฟันจะมาดูหน่อย เวลาที่เข้าไปก็เอาแปรงสีฟันและยาสีฟันไปให้ รวมทั้งสอนวิธีดูแลผู้ป่วยให้กับผู้ดูแล” ในแต่ละวันที่มีการออกเยี่ยมบ้านสามารถเยี่ยมได้วันละ 2 - 3 หลัง หนึ่งอาทิตย์ เยี่ยมได้ 2 วัน ในโครงการนี้เยี่ยมบ้านได้หลังละ 1 ครั้ง เพราะเป้าหมายในขั้นนี้มุ่งที่การ สำ�รวจข้อมูลเป็นสำ�คัญ “ส่วนตัวผมไปเยี่ยมผู้ป่วยที่บ้านประมาณ 20 กว่าราย ไปถึงก็ตรวจดูสุขภาพ ช่องปาก ให้ความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพช่องปาก และสอนผู้ดูแลให้แปรงฟันให้คนพิการ หรือการทำ�ความสะอาดฟัน โดยใช้นำ�้ เกลือเช็ดฟัน เราไปได้บ้านละครั้งเดียว เพราะ โครงการนี้มุ่งที่การสำ�รวจข้อมูล...” ภาพรวมของสุขภาพช่องปากของคนพิการทีพ่ บจากการเยีย่ มบ้าน ก็คอื การดูแล ไม่ดี ทำ�ให้มีหินปูนเกาะอยู่มากมาย บางรายฟันผุจนทะลุถึงโพรงประสาท และส่วนใหญ่
58 เหลือแต่รากฟัน เนือ่ งจากส่วนใหญ่เป็นคนพิการด้านการเคลือ่ นไหว ทำ�เองไม่ได้ ต้องอาศัย ผูด้ แู ล ซึง่ มีหน้าทีร่ บั ผิดชอบมากมาย จึงอาจทำ�ได้บา้ ง ไม่ได้บา้ ง ทำ�ให้คนพิการทีเ่ ป็นผูส้ งู อายุ ส่วนใหญ่มีสภาพช่องปากที่ไม่ดี สิง่ สำ�คัญทีม่ อิ าจลืมได้ของทีมงานเยีย่ มบ้านครัง้ นี้ คือ การจดบันทึก เพราะข้อมูล ดังกล่าวจะเป็นกุญแจสำ�คัญไขไปสู่การพัฒนารูปแบบการให้บริการด้านสาธารณสุข แก่คนพิการอย่างเหมาะสมต่อไป
คุณหมอพันธกานต์ ได้ลำ�ดับเรื่องการจดบันทึกในการเยี่ยมบ้านไว้ว่า
“รายละเอียดในการจดบันทึกของเรา ก็คอื ชือ่ - นามสกุลของผูป้ ว่ ย, อายุ, สภาพ ความพิการ, ผูด้ แู ลคือใคร, อาการทัว่ ไปทีพ่ บ โดยคุณชรินรัตน์มหี น้าทีเ่ ป็นผูจ้ ดรายละเอียด ทุกครั้ง” “เราไม่มีแบบฟอร์มที่ดูเป็นทางการ แรก ๆ เราจดเอาไว้เพื่อเป็นฐานข้อมูล แต่ยังไม่ได้คิดว่าจะเอาไปทำ�อะไร จากนั้นผมได้ออกแบบแบบฟอร์มง่าย ๆ เป็นตาราง เพือ่ ให้ขอ้ มูลดูมรี ะเบียบมากขึน้ และเหมาะทีจ่ ะนำ�เสนอในเวทีแลกเปลีย่ นเรียนรูท้ ท่ี มี กลาง ของโครงการ R2R จัด” ฐานข้อมูลง่าย ๆ ทีท่ �ำ ขึน้ ในเบือ้ งต้น ได้ถกู นำ�เสนอในเวทีแลกเปลีย่ นเรียนรูท้ ท่ี มี ส่วนกลางของ โครงการพัฒนาสมรรถนะนักศึกษาทันตแพทย์ และทีมทันตบุคลากรเพือ่ ดูแล สุขภาพช่องปากคนพิการ จัดขึ้นเป็นระยะ ๆ เพื่อให้ผู้ปฏิบัติการในโครงการวิจัยย่อย ๆ ทั้งหมดได้พบปะกัน ร่วมด้วย นักวิชาการ, นักวิจัย และอาจารย์จากมหาวิทยาลัย ที่สนใจ งานเรื่องนี้ ทีป่ ระชุมช่วยกันให้ความเห็นในการต่อยอดต่อฐานข้อมูลดังกล่าวด้วยความเอาใจใส่ จนทำ�ให้ได้ข้อสรุปที่ทีมงานของโรงพยาบาลแห่งนี้หยิบไปใช้ประโยชน์ต่อได้ “ในเวทีแลกเปลี่ยนครั้งนี้ มีคุณหมอท่านหนึ่งซึ่งเป็นนักวิชาการท่านได้ชี้แนะว่า ข้อมูลที่เราได้มานั้น เป็นข้อมูลดิบที่ยังใช้อะไรไม่ได้ทันที ให้หาเครื่องมือมาประเมินข้อมูล อีกขั้นหนึ่ง”
59 “จากแนวทางที่ได้ ผมจึงได้ค้นคว้าต่อ จนพบดัชนีชี้วัด Barthel Index และ Chula Index ที่ช่วยจัดแยกหมวดหมู่ข้อมูลในมือให้ใช้งานเชิงรุกได้สะดวกขึ้น” คุณหมอ พันธกานต์ เล่าถึงความก้าวหน้าที่เกิดขึ้นจากกระบวนการวิจัยแบบ R2R Barthel Index เป็นแบบประเมินการจำ�แนกผู้สูงอายุตามกลุ่มศักยภาพ ตาม ความสามารถในการประกอบกิจวัตรประจำ�วัน โดยเมือ่ นำ�ไปใช้ในการจัดกลุม่ ของคนพิการ ในโครงการ จากข้อมูลที่เก็บในการเยี่ยมบ้าน รวม 43 ราย ทำ�ให้เห็นภาพสถานการณ์ ที่ชัดเจนขึ้นว่า - คนพิการ 18 คน มีอาการในระดับรุนแรงมาก - คนพิการ 20 คน อยู่ในระดับรุนแรงถึงปานกลาง - คนพิการ 5 คน สามารถพึ่งพาตัวเองได้ Chula Index เป็นแบบประเมินแยกระดับความรุนแรงเป็น 3 ระดับ คือ ภาวะ พึง่ พิงทัง้ หมด, พึง่ พิงปานกลาง และสามารถดำ�รงชีวติ อย่างอิสระในชุมชน โดยเมือ่ นำ�ไปใช้ ในการจัดกลุ่มของคนพิการในโครงการ พบว่า - คนพิการ 37 คน มีภาวะพึ่งพิงทั้งหมด - คนพิการ 3 คน มีภาวะพึ่งพิงปานกลาง - คนพิการ 3 คน สามารถใช้ชีวิตได้อย่างอิสระ ทีมงานพบว่า เมื่อมีการนำ�เครื่องมือประเมินผลมาใช้ ข้อมูลดิบจากการสำ�รวจ ได้เกิดความหมายทีเ่ ป็นประโยชน์ตอ่ การนำ�มาใช้เพือ่ จัดระบบการดูแลสุขภาพของคนพิการ ได้แล้ว “คุณภาพชีวติ ของคนพิการมีแต่ทรงตัวและแย่ลงเมือ่ ได้นำ�ข้อมูลจากการสำ�รวจมา ประเมินผล จะเห็นได้ทันทีว่ามีกี่คนที่ต้องดูแลอย่างเร่งด่วนและต่อเนื่อง ควรเข้าไปดูแล ทุกอาทิตย์ เช่น มีแผลกดทับ หรือกินยาไม่สม่ำ�เสมอเพราะขาดการดูแล ควรเข้าไปตรวจ ดูตลอดส่วนคนที่รับการดูแลดีแล้ว เราก็เข้าไปดูเดือนละครั้ง” คุณหมอฉัตรพงศ์กล่าว อย่างไรก็ตาม การนำ�ข้อมูลเหล่านีม้ าใช้ประโยชน์ตอ่ ไปจำ�เป็นต้องดำ�เนินการจัดสรร ควบคู่กันไปทั้งเรื่องงบประมาณและกำ�ลังคน อันเป็นเรื่องที่ต้องหารือและค้นหาคำ�ตอบ ในขั้นต่อไป
60 นอกจากการพัฒนาฐานข้อมูลและระบบงาน การวิจัยไปพร้อมการทำ�งานครั้งนี้ ยังได้สร้างการเรียนรู้ใหม่ ๆ ให้กับทีมงานอย่างถ้วนหน้า เริ่มต้นจาก คุณหมอพันธกานต์ หนึ่งในแกนนำ�ทีมวิจัยที่พบว่า โลกทัศน์ในการ ทำ�งานมีมติ ทิ ล่ี กึ ซึง้ ขึน้ กว่าเดิม และสิง่ นีไ้ ด้น�ำ ไปสูก่ ารพัฒนาบริการให้เป็นไปเพือ่ “การเยียวยา รักษาผู้ป่วย” ได้อย่างแท้จริง “ถ้าไม่มโี ครงการนี้ ผมก็ไม่มโี อกาสได้ลงชุมชนแน่นอน เพราะงานหลักอยูใ่ นห้อง ทำ�ฟัน...” “การลงเยี่ยมบ้านทำ�ให้เราได้สัมผัสกับสภาพชีวิตจริง ๆ ของผู้ป่วย ซึ่งโดยปกติ เขาต้องเดินทางมาหาเราถึงที่โรงพยาบาล ทำ�ให้เราไม่มีโอกาสได้รู้เลยว่าเขาลำ�บากแค่ไหน กว่าจะมาหาเราได้” “สิ่งที่ผมประทับใจคือ ผมได้พบกับคนไข้ของผมเอง ที่ท่านมารักษากับผมที่โรง พยาบาล ปัจจุบันท่านอายุ 61 ปี เคลื่อนไหวลำ�บาก ทุกครั้งท่านเป็นฝ่ายที่ต้องมาหาผม แต่คราวนี้ผมได้ไปหาท่านถึงที่บ้าน ได้เห็นสภาพแวดล้อมที่ท่านอยู่ ได้เห็นอ่างนำ�้ ที่ท่านใช้ แปรงฟัน ได้รู้ว่าการเดินทางจากบ้านไปโรงพยาบาลท่านลำ�บากแค่ไหนกว่าจะไปหาผมถึง โรงพยาบาลได้...” “การที่ผมมีความเข้าใจสภาพความเป็นอยู่ของคนไข้ ทำ�ให้ผมปรับวิธีการดูแล จากแต่กอ่ นผมนัดมาทำ�ฟัน 3 - 4 ครัง้ ต่อเนือ่ ง ซึง่ ท่านก็ยอมเพราะเกรงใจผม แต่ทจ่ี ริงแล้ว ผมสามารถย่อกระบวนการทำ�งานได้ โดยใช้เวลาทำ�ฟันแต่ละครัง้ มากขึน้ ท่านจะได้ไม่ตอ้ ง เดินทางมาโรงพยาบาลบ่อย ๆ” การทำ�งานเชิงรุกเพือ่ ดูแลสุขภาพช่องของคนพิการและผูส้ งู อายุตดิ เตียงนัน้ คุณหมอ พันธกานต์พบว่าเป็นเรือ่ งสำ�คัญทีค่ วรค้นหาวิธกี ารจัดการให้เป็นจริงได้ เนือ่ งจากคนพิการ ในชุมชนเมืองยังขาดโอกาสการเข้าถึงบริการ ซึง่ การทำ�งานเชิงรุกอาจมีความเป็นไปได้สองทาง คือ การเข้าไปดูแลผู้ป่วยถึงที่บ้าน หรือการพาผู้ป่วยมารับบริการที่โรงพยาบาล ส่วนข้อจำ�กัดของการปฏิบัติงานในโรงพยาบาลกลางใจเมืองใหญ่ อย่างเช่น โรงพยาบาลเทศบาลนครเชียงใหม่ ก็คือ เรื่องทรัพยากรในการทำ�งาน ที่ชัดเจน คือ เรื่อง พาหนะและบุคลากร ซึ่งเป็นโจทย์ที่ท้าทายให้คิดหาทางออกที่เป็นไปได้จริง
61
คุณหมอพันธกานต์ ขยายมุมมองในเรื่องนี้ไว้ว่า
“สิ่งที่ผมคิดว่าต้องจัดการเพื่อให้บุคลากรของทันตกรรมสามารถออกเยี่ยมบ้าน ได้กค็ อื เรือ่ งรถ เพราะในโรงพยาบาลมีรถเพียง 3 คัน สำ�หรับงานทุกฝ่าย ถ้าจัดสรรเวลาดี ๆ โดยอาจวางแผนร่วมกับสหวิชาชีพอื่น ออกพร้อมกันในวันเดียวกัน เรื่องการใช้รถก็จะหมด ปัญหาไป และอีกสิง่ คือจำ�นวนบุคลากรทีห่ ากจะเพิม่ งานเยีย่ มบ้านเข้ามาในงานของทันตกรรม จะต้องคุยและวางแผนกันดี ๆ ในเรื่องการจัดสรรกำ�ลังคน” ด้าน คุณหมอฉัตรพงศ์ ประสบการณ์ที่เปิดกว้างออกไปสู่ชุมชน ทำ�ให้มองเห็น ความสำ�คัญต่อเรื่องของการจัดระบบดูแลสุขภาพของคนพิการ โดยมีแนวคิดว่า ควรสร้าง ความร่วมมือให้เกิดขึน้ ทัง้ ระบบตัง้ แต่ครอบครัวของคนพิการ บุคลากรด้านสาธารณสุข และ ระดับนโยบาย “จากโครงการนีท้ �ำ ให้ผมคิดว่าต้องมีการทำ�งานเป็นทีม เริม่ ตัง้ แต่คนในครอบครัว ของคนพิการ ซึง่ เราต้องมีชอ่ งทางให้เขาว่าเมือ่ คุณมีปญ ั หาคุณต้องแจ้งให้หน่วยงานรู้ จากนัน้ หน่วยงานต้องรีบเข้าไปดูแล ส่วนการดูแลต่อเนื่องต้องอาศัยข้อมูลที่มีการจัดระดับตาม ความรุนแรงของคนพิการซึง่ ในโครงการนีไ้ ด้ท�ำ ไว้แล้ว เพือ่ ให้จดั สรรเวลาดูแลอย่างเหมาะสม ว่าแต่ละคนควรได้รบั การดูแลด้วยความถีม่ ากน้อยแค่ไหน ซึง่ การดูแลคนพิการในชุมชน อสม. สามารถช่วยได้... “นอกจากนี้ ควรมีการจัดสรรงบประมาณจาก สำ�นักงานหลักประกันสุขภาพ แห่งชาติ (สปสช.) ระดับจังหวัด เพื่อดูแลสิ่งแวดล้อมให้คนพิการ เช่น ควรมีเงินสักก้อนทำ� เรื่องนี้ และมีคณะกรรมการสักชุด เพื่อดูแลการใช้เงินกองทุนสุขภาพ ให้ความช่วยเหลือ จัดการสิ่งแวดล้อมให้กับคนพิการ เช่น จัดหาเตียงที่เหมาะสม, ทำ�มุ้งลวดเพื่อกันยุง และ ทำ�ระบบระบายอากาศ และจัดสรรค่าตอบแทนเพิม่ เติมให้ อสม.ทีช่ ว่ ยดูแลคนพิการเพือ่ ให้ การดูแลมีระบบ ระเบียง ความต่อเนื่อง และมีประสิทธิภาพ” นอกจากนี้ ทีมงานหลัก ได้แก่ คุณศุภนุช และ คุณชรินรัตน์ ก็ได้เก็บเกี่ยว ประสบการณ์ที่มีคุณค่าจากการวิจัยจากงานประจำ�ในครั้งนี้มากมาย
คุณศุภนุช ผู้ที่ทำ�งานเยี่ยมบ้านมานาน กล่าวว่า
62 “แต่ก่อน เวลาทำ�งานเยี่ยมบ้านยอมรับว่าที่ผ่านมาการทำ�งานเยี่ยมบ้าน คือ เยีย่ มไปเรือ่ ย ๆ เช่น เคยเข้าไปหาเขาเดือนละครัง้ ไม่ได้ค�ำ นึงถึงว่าคนไข้ท�ำ แผล, เปลีย่ นสาย หรือด่วนไม่ด่วน ไม่มีการแยก ถ้าเป็นคนพิการก็ไม่เคยเน้นเรื่องคนพิการว่าต้องคัดแยก ออกมาต่างหากว่ามีกี่คน และควรแบ่งระดับการให้การดูแลตามสภาพความพิการอย่างไร แต่เมื่อได้ร่วมงานกับคุณหมอฟันในครั้งนี้ ตอนนี้เริ่มมีการแยกแล้ว โดยประเมินตาม สถานการณ์ของคนไข้เป็นสำ�คัญ และจัดสรรเวลาการเยี่ยมบ้านให้เหมาะสมตามสภาพ ความพิการ” ขณะที่ คุณชรินรัตน์ ก็รู้สึกว่า ประสบการณ์นี้มีคุณค่าต่อการทำ�งาน “สิ่งที่ประทับใจคือ ผู้ป่วยและผู้ดูแลเขาดีใจที่เห็นเรา และมีผู้ป่วยได้รับความ ช่วยเหลือจากการที่เราลงเยี่ยมบ้าน บางครั้งเขาก็มีความจำ�เป็นที่ต้องใช้อุปกรณ์ช่วยการ เคลื่อนไหว เช่น ไม้เท้า ไม้คำ� ้ หรือไม้เท้าสี่ขา เราก็เอาเรื่องนี้กลับมาบอกที่โรงพยาบาล ท่านผู้อำ�นวยการท่านยินดีจัดการให้ ถ้าเราไม่ได้ลงเยี่ยมบ้านเอง บางทีก็ทำ�ให้ไม่รู้ปัญหา ของเขา”
คุณชรินรัตน์ เกษี ผู้ช่วยงานทันตกรรม กล่าวได้ว่า งานวิจัยแบบ R2R ที่ทำ�ร่วมกันในเครือข่ายนักปฏิบัติและนักวิชาการ ที่สนใจงานพัฒนาระบบดูแลสุขภาพช่องปากคนพิการได้ครั้งนี้ ได้นำ�พาทีมงานทันตกรรม ของโรงพยาบาลเทศบาลนครเชียงใหม่ ให้ก้าวไปสู่จุดที่สามารถ “ตั้งหลัก” ในการขยาย บริการแล้ว ทัง้ ด้านข้อมูล และพลังใจทีจ่ ะพัฒนางานให้เกิดประโยชน์ตอ่ ประชาชนในพืน้ ที่ อย่างมีคุณภาพต่อไป
63
กรณีท่ี 5 ทีมงานเท่าทันกันแม้หา่ งไกล ใช้ “แฟ้มครอบครัว” เป็นตัวผนึกพลัง โรงพยาบาลแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ เบญญาดา มุตวิ ฒ ั นาสวัสดิ์
ห่างไกลจากตัวเมืองเชียงใหม่ออกไปสู่ชนบท ยังมีพื้นที่ที่นำ�กระบวนการ R2R
ไปใช้บกุ เบิกหนทางพัฒนาบริการทันตกรรมเพือ่ ผูพ้ กิ ารเชิงรุก นัน่ คือที่ โรงพยาบาลแม่แตง โรงพยาบาลชุมชนขนาด 54 เตียง ซึง่ ตัง้ อยูใ่ นตำ�บลสันมหาพน อำ�เภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ จากนโยบายของกระทรวงสาธารณสุขที่มอบหมายให้บุคลากรด้านสาธารณสุข ออกติดตามดูแลผูป้ ว่ ยถึงบ้านหลังจากทีผ่ ปู้ ว่ ยได้รบั การรักษาจากโรงพยาบาลและกลับบ้านแล้ว เพื่ อ ให้ ก ารดู แ ลผู้ ป่ ว ยซึ่ ง ต้ อ งดำ � เนิ น การร่ ว มกั บ ครอบครั ว ของผู้ ป่ ว ยมี ป ระสิ ท ธิ ภ าพ ทำ�ให้สขุ ภาพของผูป้ ว่ ยฟืน้ ตัวได้เร็วและลดภาวะแทรกซ้อนของโรค ขณะเดียวกัน “การเยีย่ ม บ้าน” ยังเป็นช่องทางหนึง่ ทีท่ �ำ ให้ผปู้ ว่ ยกลุม่ ผูส้ งู อายุและคนพิการ หรือแม้กระทัง่ ผูถ้ กู ทอด ทิง้ สามารถเข้าถึงการบริการขั้นพื้นฐานได้ ทั้งในมิติของการรักษาและการส่งเสริมสุขภาพ แต่ในทางปฏิบตั แิ ล้ว การเยีย่ มบ้านมักขาดการประสานความร่วมมือของทีมสหสาขาวิชาชีพ โดยที่ต่างคนต่างทำ� ขาดการแลกเปลี่ยนข้อมูลหรือประสานความร่วมมือ ในการดูแลผูป้ ว่ ยแต่ละราย การเยีย่ มบ้านของโรงพยาบาลแม่แตงก็เช่นกัน แม้เป็นส่วนหนึง่ ในงานประจำ� แต่เจ้าหน้าที่แต่ละฝ่ายขาดการจัดการร่วมกัน ทำ�ให้การเยี่ยมบ้านไม่ได้รับ ประโยชน์สูงสุดตามเป้าหมายที่มีแต่เดิมตามนโยบายของกระทรวงสาธารณสุข ดังที่ ทพญ.อรนุช ตัณฑจำ�รูญ ทันตแพทย์ประจำ�โรงพยาบาลแม่แตง ได้เล่าถึง ปัญหาที่เคยพบเกี่ยวกับเรื่องนี้ว่า “ในโรงพยาบาลแม่แตงเคยพบว่า มีคนไข้รายหนึง่ ภายใน 1 อาทิตย์ มีการเยีย่ มบ้าน โดยบุคลากรทางการแพทย์ถึง 3 ทีม และมีอีกบ้านหนึ่ง ทีมเยี่ยมบ้านถูกญาติผู้ป่วยต่อว่า เพราะเขาทำ�งานดึก นอนดึก แต่ตอ้ งออกมาต้อนรับทีมเยีย่ มบ้านโดยทีไ่ ม่ได้มกี ารนัดหมายก่อน” เห็นได้วา่ การเยีย่ มบ้านยังเป็นเรือ่ งทีต่ อ้ งได้รบั การพัฒนาทัง้ เรือ่ งการจัดสรรเวลา และการประสานความร่วมมือระหว่างบุคลากรทางการแพทย์
64 คุณหมออรนุชยังได้เพิม่ เติมรายละเอียดในส่วนของงานทันตกรรมทีเ่ กีย่ วกับการ เยี่ยมบ้านว่า งานทันตกรรมไม่ค่อยมีโอกาสได้ลงพื้นที่เยี่ยมบ้านมากนัก ส่วนใหญ่อาศัย การออกหน่วยเดือนละครั้ง ซึ่งเน้นเรื่องการรักษา หากมีเวลาเหลือจากการรักษาจึงจะได้ เยี่ยมบ้านของผู้ป่วย ส่วนงานหลักในโรงพยาบาลก็คือการรักษาผู้ป่วยในคลินิกทันตกรรม ทำ�ให้ทนั ตแพทย์ขาดข้อมูลของผูป้ ว่ ย การดูแลสุขภาพช่องปากจึงเกิดขึน้ ได้ยาก “การเยี่ยมบ้านของหน่วยงานทันตกรรมเป็นการทำ�งานที่โดดเดี่ยว ไม่ยุ่งเกี่ยว กับฝ่ายใดเลย ทำ�ให้เราไม่มีข้อมูลของผู้ป่วย ไม่รู้ว่าเขาอยู่กับใครและมีใครเป็นคนดูแล เวลาทีม่ โี อกาสได้เยีย่ มบ้าน ด้วยความหวังดี พอไปถึงก็จะพูดแต่เรือ่ งการดูแลสุขภาพช่องปาก ว่าต้องทำ�อย่างไร จากนัน้ ก็ไปบ้านอืน่ ต่ออีก ไม่มคี วามต่อเนือ่ งทีจ่ ะคอยติดตามประเมินผล”
ทพญ.อรนุช ตัณฑจำ�รูญ ทันตแพทย์ประจำ�โรงพยาบาลแม่แตง จากข้อจำ�กัดดังกล่าว คุณหมออรนุชจึงมีแนวคิดว่าการเยีย่ มบ้านควรเป็นกิจกรรม ทีส่ หสาขาวิชาชีพปฏิบตั กิ ารร่วมกัน ซึง่ หากไม่สามารถออกเยีย่ มบ้านพร้อมกันทุกครัง้ ก็ควร จะมีการประสานความร่วมมือเรือ่ งข้อมูล เพือ่ ให้การติดตามดูแลผูป้ ว่ ยมีประสิทธิภาพ ผูป้ ว่ ย ได้รับการดูแลอย่างทั่วถึงและได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที “การเยีย่ มบ้านของหน่วยงานอืน่ เขามีความลึกซึง้ กว่างานทันตกรรม ไม่วา่ จะเป็น งานกายภาพบำ�บัด พยาบาล เขารู้จักผู้ป่วยแบบลึกซึ้ง เพราะเขาต้องไปต่อเนื่อง ไปซำ� ้ รูด้ วี า่ ผูป้ ว่ ยมีพน่ี อ้ งกีค่ น แต่ละคนเป็นอย่างไร และงานทันตกรรมก็ไม่เคยมีโอกาสได้แบ่งปัน ข้อมูลของผูป้ ว่ ยจากเขาเลย...หรือแม้แต่เมือ่ มีโอกาสได้พบผูป้ ว่ ยในพืน้ ทีท่ ต่ี อ้ งได้รบั การรักษา เช่น การอุดฟัน เราก็ไม่สามารถติดตามให้เขามารับการรักษาที่โรงพยาบาลได้ เพราะงาน ทันตกรรมไม่มีบุคลากรอยู่ในพื้นที่เลย เราต้องดูแลคนทั้ง 14 ตำ�บลในอำ�เภอแม่แตง แต่พยาบาลมีอยู่ทุกตำ�บล เฉลี่ยตำ�บลละ 1 คน”
65 เห็นได้ว่าแม้การเยี่ยมบ้านเป็นช่องทางที่มีประสิทธิภาพสามารถเข้าถึงผู้ป่วย ได้อย่างทัว่ ถึง และยังเป็นโอกาสทีด่ ที บ่ี คุ ลากรทางการแพทย์จะได้ท�ำ ความรูจ้ กั กับครอบครัว ผูป้ ว่ ย เพือ่ ประสานความร่วมมือในการดูแลผูป้ ว่ ยอย่างมีประสิทธิภาพ หากแต่ประสิทธิภาพ จะเกิดขึ้นได้ต่อเมื่อทีมหสาขาสาวิชาชีพได้วางแผนร่วมกัน เพื่อให้การดูแลผู้ป่วยสามารถ บรรลุถึงเป้าหมายที่ครอบคลุมทั้งด้านการฟื้นฟูและการส่งเสริมสุขภาพได้ นั่นจึงเป็นที่มาของ โครงการการศึกษารูปแบบการเยี่ยมบ้านผู้พิการของทีม สหสาขาวิชาชีพโดยใช้แฟ้มสุขภาพครอบครัวเป็นเครือ่ งมือสือ่ สารระหว่างกัน ทีเ่ กิดจาก การที่ รศ.ทพญ.ดร.พัชราวรรณ ศรีศลิ ปนันท์ ได้ชกั ชวนคุณหมออรนุช ให้รว่ มทำ�โครงการ ซึ่งเกี่ยวข้องกับคนพิการ ด้วยความสนใจเรือ่ งการเยีย่ มบ้านผูป้ ว่ ยโดยทีมสหสาขาวิชาชีพเป็นทุนเดิมอยูแ่ ล้ว เธอจึงตกลงใจเข้าร่วม “ดิฉนั ตอบรับเพราะต้องการเป็นตัวอย่างให้ทนั ตบุคลากรหันมามองว่า การทำ�งาน เป็นทีม ร่วมงานกันโดยทีมสหสาขาวิชาชีพเป็นสิง่ สำ�คัญ ไม่ใช่วา่ จะทำ�งานโดดเดีย่ วตามลำ�พัง อยูแ่ ต่ในห้องสีเ่ หลีย่ มของคลินกิ ทำ�ฟันเท่านัน้ โดยเฉพาะการดูแลกลุม่ เป้าหมายทีเ่ ป็นคนพิการ ด้วยแล้ว ยิง่ เห็นได้ชดั เจนว่าควรได้รบั การดูแลเป็นพิเศษ แบบองค์รวมเพราะเขามีรายละเอียด ที่ลึกซึ้ง โดยมีการเยี่ยมบ้านเป็นหัวใจสำ�คัญของการทำ�งานครั้งนี้”
คุณกนกทอง สุวรรณบูลย์ พยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลแม่แตง
คุณแคทลียา พจนสุนทร นักกายภาพบำ�บัด โรงพยาบาลแม่แตง
66 ส่วนพื้นที่สำ�หรับทำ�งาน คือ พื้นที่ในความรับผิดชอบของศูนย์สุขภาพชุมชน สันมหาพน ซึ่งเป็นเครือข่ายของโรงพยาบาลแม่แตง เนื่องจาก คุณกนกทอง สุวรรณบูลย์ พยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลแม่แตง รับผิดชอบศูนย์สขุ ภาพชุมชนสันมหาพน มีความสนใจ ที่จะร่วมโครงการ และมีความคุ้นเคยกับคุณหมออรนุชเป็นอย่างดี “ดิฉนั อยากทดลองดูวา่ หากมีการทำ�งานเป็นทีม และในทีมมีการสือ่ สารพูดคุยกัน ่ สมำ�เสมอเกี่ยวกับอาการและการติดตามผลคนไข้ร่วมกัน ผลที่ออกมาจะมีความแตกต่าง จากเดิมอย่างไร จึงได้ชวนคุณกนกทองซึง่ เป็นพยาบาลและเป็นเจ้าของพืน้ ทีต่ �ำ บลสันมหาพน และน้องกายภาพบำ�บัด คือ คุณแคทลียา ซึ่งรับผิดชอบพื้นที่นี้เช่นกันมาร่วมโครงการนี้ ที่จริงแล้ว ตามความตั้งใจแต่แรกอยากชวนแพทย์มาร่วมงานด้วย แต่ท่านติดภารกิจ ไม่สามารถร่วมงานส่วนนี้ได้” โครงการนี้จึงมีทีมงาน 3 ท่าน ได้แก่ คุณหมออรนุช ตัณฑจำ�รูญ คุณกนกทอง สุวรรณบูลย์ และคุณแคทลียา พจนสุนทร นักกายภาพบำ�บัด โรงพยาบาลแม่แตง ศูนย์สขุ ภาพชุมชนสันมหาพน เครือข่ายโรงพยาบาลแม่แตง เป็นหน่วยงานรับผิดชอบ ดูแลประชาชนในตำ�บลสันมหาพน มีจำ�นวนประชากร 7,000 คน ในจำ�นวนนี้มีคนพิการ ทีข่ นึ้ ทะเบียน 173 คน โดยคนพิการมีความหลากหลาย มีทงั้ คนพิการทางการมองเห็น, การ เคลือ่ นไหว, ทางการได้ยนิ และคนพิการซำ�้ ซ้อน ฯลฯ อายุตงั้ แต่ 3 - 70 ปี ส่วนใหญ่ คือ ผูท้ ี่ อยู่ในวัยทำ�งานและผู้สูงอายุ คุณกนกทอง ให้รายละเอียดเพิ่มเติมว่า “ส่วนใหญ่ผูด้ แู ลผูพ้ กิ ารในตำ�บลนีต้ อ้ งออกไปทำ�งาน ทำ�ให้ไม่มเี วลาพาคนพิการ มาหาคุณหมอ คนกลุม่ นีจ้ งึ ต้องทนอยูก่ บั ปัญหาด้านสุขภาพของตัวเอง ยิง่ เป็นเรือ่ งช่องปาก หากถึงระดับทีว่ า่ ปวดฟันแล้วจึงจะมีการร้องขอมาว่าให้ชว่ ยไปดู เราจึงจะได้เข้าไปตรวจดู” ภาชินี ดวงเดช อายุ 30 ปี กลุ่มเป้าหมายในโครงการนี้เป็นคนพิการด้านการ เคลื่อนไหว ตั้งแต่ปี 2554 จากอุบัติเหตุทางรถยนต์ ต้องดามเหล็กที่กระดูกสันหลัง ไม่มี ความรู้สึกตัวตั้งแต่ระดับสะดือลงไป และต้องใช้สายสวนปัสสาวะติดตัวตลอดเวลา ทีมผู้ดำ�เนินโครงการต้องการดูแลและเสริมแรงคนพิการรายนี้เพื่อให้มีกำ�ลังใจ ที่จะฟื้นฟูสภาพร่างกายของตัวเอง และสามารถช่วยเหลือตัวเองได้มากขึ้นในทุก ๆ ด้าน โดยใช้การเยี่ยมบ้านเป็นช่องทางสำ�คัญในการให้การดูแล
67 ในขณะเดียวกัน ผู้ดำ�เนินโครงการยังต้องการพัฒนาเครื่องมือสำ�หรับสื่อสาร ระหว่างกันในทีม เพือ่ ลดข้อจำ�กัดจากการทีไ่ ม่สามารถออกเยีย่ มบ้านด้วยกันทุกครัง้ หากมี การบันทึกข้อมูลการเยี่ยมบ้านของผู้พิการ ก็จะทำ�ให้คนอื่น ๆ ในทีมได้รับทราบข้อมูล เกี่ยวกับคนพิการร่วมกัน ส่งผลให้การดูแลร่วมกันเกิดความต่อเนื่อง คุณกนกทองได้กล่าวถึงสาเหตุที่เลือกกลุ่มเป้าหมายรายนี้เข้าร่วมโครงการไว้ว่า “ภาชินพี กิ ารมาประมาณ 4 ปีแล้ว จากอุบตั เิ หตุทางรถยนต์ ท่อนล่างไม่สามารถ เคลื่อนไหวได้ 4 ปีที่ผ่านมา เธอมีความหวังมาโดยตลอดว่าจะกลับมาเดินได้เหมือนเดิม เธอจึงพยาบาลถามเรื่องข้อมูลทางการแพทย์ที่อาจมีการพัฒนาจนรักษาเธอให้หายได้ “ปัญหาของเคสนีม้ ที ง้ั เรือ่ งร่างกาย ทีค่ วรต้องได้รบั การฟืน้ ฟูให้สามารถช่วยเหลือ ตัวเองได้ เรื่องสภาพแวดล้อม ที่บ้านยังไม่ได้รับการดูแล ทั้งห้องนำ�้ และทางลาดเพื่อให้ สามารถช่วยเหลือตัวเองได้มากขึ้น” “ดิฉนั มองว่าเคสนีม้ ปี ญ ั หาทีซ่ บั ซ้อนหลายเรือ่ ง คนพิการอยูแ่ ต่ในข้อจำ�กัดของตัวเอง หากไม่มีใครช่วยเข้าไปดู และสะท้อนสิ่งที่เป็นปัญหาของเธอออกมา เธอก็ได้แต่วนเวียน อยู่ในปัญหานั้น ไม่มีทางออก ทั้ง ๆ ที่อายุยังน้อย และยังต้องมีชีวิตอยู่ต่อไป” ปัญหาสำ�คัญของภาชินี คือ การที่เธอไม่มีความกระตือรือร้นในการฟื้นฟูตัวเอง แม้นักกายภาพบำ�บัดได้สอนวิธีออกกำ�ลังกายช่วงแขนเพื่อให้เธอสามารถใช้ชีวิตประจำ�วัน ได้สะดวกขึน้ สามารถยันตัวเองเพือ่ ขึน้ ลงเตียงเอง หรือขึน้ ลงรถเข็นเอง, เปลีย่ นสายปัสสาวะ เองได้ เป็นต้น แต่ภาชีนีก็ไม่ค่อยยอมฝึก ทำ�ให้ต้องเป็นภาระการดูแลของพ่อและน้องสาว ทุก ๆ เรื่อง ส่วนสุขภาพช่องปากของภาชินไี ม่คอ่ ยรุนแรงมากนัก มีเพียงฟันหนึง่ ซีท่ ต่ี อ้ งถอน รวมทั้งอาการเหงือกบวมแดงซึ่งแก้ไขได้ด้วยการขูดหินปูน เนื่องจากภาชินีมีความพิการ เฉพาะส่วนล่างของร่างกาย การดูแลสุขภาพช่องปากจึงไม่มปี ญ ั หามากนัก สามารถช่วยเหลือ ตัวเองเรื่องการแปรงฟันได้เหมือนคนปกติทั่วไป ประเด็นสำ�คัญในการทำ� R2R ของทีมงานนี้ มุ่งไปที่การเยี่ยมบ้านและการจัดทำ� แฟ้มสุขภาพครอบครัว เพือ่ ใช้เป็นเครือ่ งมือสือ่ สารของทีมสหวิชาชีพ เพือ่ ให้การดูแลผูป้ ว่ ย เป็นไปอย่างมีคุณภาพมากที่สุด
68 ทั้งนี้ ทีมงานมองว่าการเยี่ยมบ้านถือเป็นหัวใจสำ�คัญเพื่อให้ทราบข้อมูลเบื้องต้น เกี่ยวกับผู้ป่วย ให้การดูแลและกำ�ลังใจ ตลอดจนการติดตามประเมินผล ตลอดทั้งโครงการ นี้สามารถเยี่ยมบ้านภาชินีได้ 8 ครั้ง ตั้งแต่เดือนเมษายนถึงเดือนสิงหาคม 2558 โดยส่วน ใหญ่คุณหมออรนุชและคุณกนกทองมักไปด้วยกัน แต่ก็มีบางครั้งที่ทีมงานไปพร้อมกัน ทั้ง 3 ท่าน ก่อนการเยี่ยมบ้าน ทีมงานได้ประเมินสถานการณ์ของภาชินี โดยคุณกนกทอง ซึง่ เป็นเจ้าของพืน้ ทีแ่ ละคุณแคทลียา นักกายภาพบำ�บัดรับผิดชอบกรณีของภาชินมี าแต่ตน้ เป็นผู้ให้ข้อมูล สรุปได้ว่าภาชินีต้องได้รับการฟื้นฟูสภาพร่างกายโดยเฉพาะแขนทั้ง 2 ข้าง เพือ่ ให้สามารถเคลือ่ นย้ายตัวเองขึน้ ลงจากเตียงได้ หรือขึน้ ลงจากรถเข็นได้ นอกจากนี้ ภาชินี ควรต้องฝึกการเปลี่ยนสายสวนปัสสาวะได้ด้วยตัวเอง แต่การทีจ่ ะบรรลุเป้าหมายดังกล่าวได้ ต้องผ่านด่านสำ�คัญก่อน นัน่ คือ การหาทาง ทำ�ให้ภาชินีเกิดความมุ่งมั่นที่จะเปลี่ยนแปลงตัวเอง และให้ความร่วมมือในการปฏิบัติตาม โปรแกรมฟื้นฟูร่างกายและออกกำ�ลังกายแขนตามที่นักกายภาพบำ�บัดให้คำ�แนะนำ� “ข้อจำ�กัดคือ เขายอมรับสภาพไม่ได้วา่ เขาไม่สามารถจะกลับมาเดินได้อกี มิเช่นนัน้ ก็ต้องยอมรับการฟื้นฟูตั้งแต่ตอนที่เจ็บป่วยใหม่ ๆ แล้ว ป่วยมา 4 ปีแล้ว คุณภาชินีก็ยัง ช่วยตัวเองไม่ค่อยได้ ทั้งเรื่องการเคลื่อนย้ายตัวจากเตียง และการเปลี่ยนสายสวนปัสสาวะ เราจึงต้องมาคุยกันว่าจะเริ่มต้นทำ�งานกันอย่างไร เพื่อให้เขามีการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น” ทีมงานตกลงใจเลือกวิธีให้ภาชินีเขียนเล่าเรื่องความในใจของตัวเอง เพื่อทีมงาน จะได้ร่วมรับรู้ความรู้สึกนึกคิดของเธอก่อนที่จะวางแผนให้การดูแลอย่างเหมาะสมต่อไป “ทพญ.อารีรตั น์ นิรนั ต์สทิ ธิรชั ต์ อาจารย์ภาควิชาทันตกรรมครอบครัวและชุมชน คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ซึง่ ท่านเป็นนักวิชาการท่านหนึง่ ในทีมกลาง ของโครงการ R2R ในครั้งนี้ ท่านได้ให้คำ�แนะนำ�ที่น่าสนใจว่า กรณีที่ผู้ป่วยมีปมในใจ เกิดความท้อแท้ หดหู่ เราต้องค้นหาเทคนิคที่ทำ�ให้เขาได้ระบายออกมาและเปิดใจตัวเอง อาจด้วยการนำ�เรื่องราวของคนอื่นมาให้อ่าน หรือให้เขาได้เขียนเล่าเรื่องของตัวเอง” “ในกรณีนี้ ภาชินีไม่ยอมอ่านเรื่องคนอื่นเพราะทำ�ให้เขาหดหู่ เขาไม่ชอบ เราจึง ให้เขาเขียนเล่าเรื่องของตัวเอง ซึ่งวิธีนี้เป็นผลดี ทำ�ให้เข้าใจเขามากขึ้น” คุณหมออรนุชเล่า เพิ่มเติม
69 ผลที่ได้ คือ ทีมงานเกิดความเข้าใจภาชินีมากขึ้นว่า เธอเติบโตขึ้นมาท่ามกลาง ครอบครัวแตกแยก แต่ลึก ๆ ในความรู้สึกของภาชินีนั้นต้องการทั้งพ่อและแม่ ในเมื่อ เป็นไปไม่ได้จึงพยายามชดเชยความรู้สึกที่ขาดหายไปนั้นด้วยการดิ้นรนเลี้ยงดูตัวเอง เพือ่ จะได้ไม่เป็นภาระของพ่อ แต่หลังจากทีเ่ กิดอุบตั เิ หตุขนึ้ ทำ�ให้เธอต้องเป็นคนพิการทีต่ อ้ ง พึ่งพาคนอื่น ๆ นอนอยู่แต่บนเตียงและนั่งอยู่แต่บนรถเข็น อีกทั้งระยะหลัง ๆ คู่กรณีดูแล เฉพาะในช่วงแรก ๆ เดือนละ 3,000 บาทอยู่ไม่กี่เดือนก็หายไป ไม่รับผิดชอบอะไรต่ออีก เป็นสาเหตุให้พ่อต้องไปกู้หนี้ยืมสินมาดูแล ทำ�ให้เธอยิ่งท้อแท้และหดหู่ การเขียนเรื่องราวลงในกระดาษยังทำ�ให้ทีมงานได้รับรู้ถึงสิ่งที่ภาชินีต้องการว่า เธอต้องการมีรายได้เพื่อที่จะไม่เป็นภาระของพ่อ…
คุณหมออรนุช ได้ลำ�ดับผลความคืบหน้าของการเยี่ยมบ้านใน 4 ครั้งแรกไว้ว่า
“ครัง้ แรก เราไปพร้อมกันทัง้ 3 คน ดิฉนั ได้แต่นง่ั ฟังคุณกนกทองและคุณแคทลียา คุยกับภาชินี เพราะทั้ง 2 ท่านเคยเยี่ยมภาชินีแล้ว สิ่งที่คุยกัน ก็คือ ตอนนี้เป็นอย่างไรบ้าง ทำ�อะไรบ้าง เปลี่ยนถุงปัสสาวะอย่างไร ไปห้องนำ�้ คนเดียวได้หรือไม่” “หลังจากนัน้ คุณแคทลียาซึง่ เป็นนักกายภาพบำ�บัดได้สอน การพยุงตัว ดันตัวเองขึน้ และฝึกยกขวดนำ� ้ เพือ่ เพิม่ ความแข็งแรงให้กบั ช่วงแขนและข้อมือ และแนะนำ�ให้เปลีย่ นทีน่ อน เพราะนิ่มเกินไป ทำ�ให้ผู้ป่วยพยุงตัวยาก” “ทัง้ นี้ ก่อนเริม่ โครงการนี้ คุณแคทลียาได้เยีย่ มภาชินเี ฉพาะช่วง 4 ปีแรกหลังจาก ประสบอุบัติเหตุ และไม่ได้ดูแลต่อเนื่องอีก เพราะมีผู้ป่วยจำ�นวนมากที่ต้องให้การดูแล” ส่วนปัญหาสุขภาพช่องปากทีพ่ บ คือ ฟันผุและหินปูน ซึง่ คุณหมออรนุช ได้แนะนำ� ให้ไปรับการรักษาที่คลินิกทันตกรรมของโรงพยาบาลแม่แตง โดยคุณกนกทอง ประสาน ขอรถจากเทศบาลสันมหาพนรับส่ง “กรณีของภาชินีเป็นคนพิการด้านการเคลื่อนไหว เราต้องขอความร่วมมือจาก กองสาธารณสุขของเทศบาลสันมหาพนมาช่วยรับส่ง เพื่อให้ภาชินีสามารถรับการรักษา ในคลินิกทันตกรรมของโรงพยาบาลแม่แตงได้ นอกจากการให้การรักษาแล้วได้แนะนำ�ให้ ภาชินีทำ�ความสะอาดสุขภาพช่องปากด้วยตัวเอง ซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่ยุ่งยาก สามารถทำ�ได้ เหมือนคนปกติทั่วไป” คุณกนกทองกล่าว
70 นอกจากนี้ ทีมงานในโครงการยังได้ประสานกับกองสวัสดิการของเทศบาลตำ�บล สันมหาพนขอรับการสนับสนุนเรื่องการปรับสภาพภายในบ้านของภาชินีให้เหมาะสมกับ การใช้ชีวิตของภาชินี คุณกนกทองได้กล่าวเพิ่มเติมว่า “เนื่องจากภาชินีเป็นผู้พิการที่ตกสำ�รวจ ที่จริงแล้วเทศบาลตำ�บลสันมหาพน ต้องให้ความช่วยเหลือในฐานะผู้ยากไร้อยู่แล้ว เราจึงได้ไปแจ้งที่เทศบาล กองสวัสดิการ ของเทศบาลจึงได้ทำ�เรื่องขอความช่วยเหลือไปยังสำ�นักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคง ของมนุษย์จังหวัดเชียงใหม่และได้งบประมาณมาปรับสภาพบ้านให้ภาชินี เพื่อให้สามารถ ใช้รถเข็นภายในตัวบ้านได้สะดวก ตลอดจนการปรับสภาพภายในห้องนำ�้ ให้ภาชินีเข็นรถ เข้าห้องนำ�้ และช่วยเหลือตัวเองได้” สรุปได้วา ่ จากการเยีย่ มบ้านใน 4 ครัง้ แรกของ คุณหมออรนุชและทีม ทำ�ให้ภาชินี ได้รับการรักษาฟันและได้รับความช่วยเหลือจากเทศบาลตำ�บลสันมหาพน หากแต่สิ่งที่ ไม่มีความคืบหน้าเลยคือเรื่องการฟื้นฟูสภาพร่างกายของภาชินี “เราไปเยี่ยมบ้านของภาชินีสมำ�่ เสมอรวมประมาณ 8 ครั้ง แต่ทุกครั้งที่กลับจาก การเยี่ยมบ้านก็จะสื่อสารคุยรายละเอียดกันทางไลน์หรือทางโทรศัพท์ ผลการติดตาม ความก้าวหน้าของการฟื้นฟูร่างกาย ปรากฏว่าเขาไม่ได้ออกกำ�ลังกายตามที่นักกายภาพบำ�บัดแนะนำ�ไว้ เพราะมัวแต่ถักไหมพรม ที่มีคนมาจ้างวันละ 30 บาท” ทพญ.อรนุช กล่าว แม้ภาชินีมีโอกาสได้ทำ�ในสิ่งที่มุ่งมั่น แต่ทีมสาธารณสุขตระหนักดีว่า การฟื้นฟู ร่างกายก็เป็นเรือ่ งสำ�คัญทีต่ อ้ งทำ�ควบคูก่ นั ไป เพราะมิเช่นนัน้ เธอก็จะช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ อยู่เช่นนี้ ทั้งการขึ้นลงจากเตียงหรือการขึ้นลงรถเข็น การเข้าห้องนำ�้ และการเปลี่ยนสาย สวนปัสสาวะ ล้วนต้องมีพ่อและน้องสาวหรือป้าซึ่งเป็นญาติผลัดกันทำ�ให้ ทั้ง ๆ ที่ภาชินี สามารถทำ�เรื่องเหล่านี้เองได้เอง หากได้รับการฟื้นฟูร่างกายและฝึกการช่วยเหลือตัวเอง ตามที่นักกายภาพบำ�บัดแนะนำ� เมือ่ มาถึงจุดนี้ ทีมงานจึงปรึกษากันถึงเรือ่ งทีจ่ ะส่งตัวภาชินไี ปโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่
71 “จากการที่เราไปเยี่ยมบ้านกันหลายครั้งแล้ว ทำ�ให้ภาชินีเริ่มคุ้นเคย บางทีดิฉัน ก็ซื้อหนังสือสอนงานถักแบบวัยรุ่นไปฝาก” “การเข้าไปหาเขาต่อเนือ่ งทำ�ให้เรารูจ้ งั หวะทีจ่ ะพูดคุยกับเขา คุณกนกทองจึงพูด ชักชวนให้ภาชินีเข้ารับการฟื้นฟูร่างกายและเรียนรู้การช่วยเหลือตัวเองในโรงพยาบาล มหาราชนครเชียงใหม่” คุณหมออรนุช ให้ขอ้ มูลเพิม่ เติมด้วยว่า กระบวนการส่งตัวคนพิการไปรับการฟืน้ ฟู ร่างกายในโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่เป็นเรือ่ งทีย่ งุ่ ยากมาก แต่โชคดีทไ่ี ด้ คุณแคทลียา ซึ่งเป็นนักกายภาพบำ�บัด และเป็นหนึ่งในผู้ร่วมโครงการนี้เป็นผู้มีความรู้และให้คำ�แนะนำ� ได้เป็นอย่างดี สิ่งนี้สะท้อนให้เห็นประเด็นสำ�คัญว่า การทำ�งานเป็นทีมโดยสหสาขาวิชาชีพ ซึ่งแต่ละคนมีความรู้และความเชี่ยวชาญที่แตกต่างกัน หากสามารถประสานเรื่องข้อมูล และความถนัดของแต่ละฝ่ายได้ การทำ�งานจะมีความราบรื่นมาก “ในกรณีของภาชินี เราได้รบั ข้อมูลจากคุณแคทลียาว่าต้องได้รบั การฝึกทีโ่ รงพยาบาล มหาราชนครเชียงใหม่เท่านัน้ ถึงจะทำ�ได้ ซึง่ ตัวดิฉนั เองไม่เคยรูเ้ รือ่ งนีม้ าก่อนเลย ไม่มคี วามรู้ เรื่องช่องทางเลยว่าจะเริ่มจากอะไรและไปต่อที่ไหน อย่างไร คุณแคทลียาจึงทำ�หน้าที่ ประสานกับคุณหมอทีเ่ ชีย่ วชาญเรือ่ งนีเ้ ป็นการส่วนตัว เมือ่ ทราบวันแน่นอนแล้วจึงประสาน ขอรถจากทางเทศบาล...นอกจากนี้ คุณกนกทองต้องเป็นผูป้ ระสานขอใบส่งตัวจากโรงพยาบาล แม่แตงไปโรงพยาบาลนครพิงค์ ซึ่งเป็นโรงพยาบาลระดับจังหวัดก่อน จากโรงพยาบาล นครพิงค์กต็ อ้ งทำ�ใบส่งตัวไปโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ ต้องทำ�ตามขัน้ ตอนทีถ่ กู ต้อง” กระบวนการส่งตัวแม้มคี วามยุง่ ยากด้วยการประสานข้อมูลและความร่วมมือของ ทีมงานทั้ง 3 ท่าน ทำ�ให้ภาชินีได้รับการฟื้นฟูร่างกายและฝึกการช่วยเหลือตัวเองใน โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ ประมาณ 5 สัปดาห์ โดยมีการประสานงาน ขอรถ จากเทศบาลตำ�บลสันมหาพนไปส่งตัวภาชินีถึงโรงพยาบาล คุณกนกทองได้กล่าวถึงภาชินีหลังจากที่เธอกลับจากการฟื้นฟูร่างกายว่า “เมื่อภาชินีมีโอกาสไปฟื้นฟูสภาพร่างกายกลับมา ดิฉันรับรู้ได้จากการพูดคุยกัน ว่าสีหน้า แววตาของภาชินีดูมีความหวังและความมุ่งมั่นมากขึ้น นอกจากนี้ เธอยังมีความ
72 สามารถในการใช้รถเข็นได้ดีขึ้น คล่องตัวมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการขึ้นลงจากเตียง, การขึ้น ลงรถเข็น, การสวนปัสสาวะด้วยตัวเอง ฯลฯ” “ที่สำ�คัญคือ เธอมีความพร้อมที่จะเข้ารับการฝึกอาชีพแล้ว”
คุณภาชินี ดวงเดช ทันตแพทย์ประจำ�โรงพยาบาลแม่แตง ตัวภาชินเี องเห็นว่า โครงการนีท้ �ำ ให้มมุ มองชีวติ ของเธอเปลีย่ นไป เธอมีความหวัง มากขึ้น และมีความสุขเพิ่มมากขึ้นจากการที่ดูแลตัวเองได้ ไม่ต้องเป็นภาระให้พ่อและน้อง เหมือนที่ผ่านมาหลายปี เธอได้เล่าถึงแรงจูงใจที่ยอมเข้ารับการฟื้นฟูและความสุขที่เธอได้รับว่า “จากตอนแรกทีท่ �ำ ใจไม่ได้เลย แต่เห็นคุณหมอและคุณกนกทองมีความตัง้ ใจดีมาก ๆ มาพูดเกลี้ยกล่อม และดิฉันไว้วางใจทั้ง 2 ท่าน จึงคิดว่าจะไปลองดู และรู้สึกว่านานแล้ว ที่เราเป็นแบบนี้ อยากทำ�อะไรได้ด้วยตัวเอง” “สาเหตุที่แรก ๆ ลังเล เพราะเคยไปรับการรักษาที่โรงพยาบาลแห่งหนึ่งแล้ว ไม่ประทับใจพยาบาล แต่ทโ่ี รงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ทกุ คนดีกบั ดิฉนั มาก อยูท่ น่ี น่ั มีทง้ั คุณหมอ พยาบาล นักกายภาพบำ�บัด และนักจิตวิทยา ทำ�ให้รวู้ า่ ตัวเองมีอาการซึมเศร้า เขาก็เลยให้ยามารับประทานด้วย ทุกคนพูดจาดี สอนทุกอย่าง “ “ดิฉันฝึกทั้งวัน เหนื่อยแต่สนุก เขาสอนหลายเรื่อง จากแต่ก่อนที่พลิกตัวเอง ก็ยังทำ�ไม่เป็น แต่พอไปฝึกแล้วก็ทำ�ได้ ที่นั่นสอนให้รู้จักช่วยตัวเอง ตอนนี้อาบนำ�้ เองก็ได้ แต่ก่อนช่วงไหนที่มือเอื้อมไม่ถึงต้องมีคนขัดให้ แต่เดี๋ยวนี้ดิฉันขัดขาเองได้แล้ว เขาสอน แบบมีความเข้าใจคนไข้ รู้วิธีสอนอย่างเป็นขั้นตอน ตอนที่ต้องกลับบ้าน ไม่อยากกลับเลย อยากฝึกต่อให้เก่งมากขึ้นอีก...”
73 “กลับถึงบ้าน ดิฉันรู้สึกดีขึ้นเยอะเพราะช่วยเหลือตัวเองได้มากขึ้น ไม่ต้อง เป็นภาระให้กับพ่อและน้องเหมือนเดิมอีกแล้ว” นอกจากการแสวงหาวิธที จ่ี ะพัฒนาคุณภาพชีวติ ให้แก่คนพิการ ในโครงการนีท้ มี งาน ยังมีความตั้งใจในการพัฒนาเครื่องมือสำ�หรับการสื่อสารระหว่างกัน ผ่าน “แฟ้มสุขภาพ ครอบครัว” บนโจทย์ทว่ี า ่ “ทำ�อย่างไรทีผ่ มู้ สี ว่ นเกีย่ วข้องในการดูแลทุกคนจะรับทราบข้อมูล เกี่ยวกับผู้ป่วยหรือคนพิการร่วมกัน” คุณหมออรนุช กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า “เราพบว่า ปัญหาการเยีย่ มบ้านเป็นทีมคือไม่สามารถไปพร้อมกันทุกครัง้ ทำ�อย่างไร จะมีการแลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้ จึงพยายามค้นหาเครื่องมือที่จะนำ�มาแก้ปัญหาดังกล่าว” “ข้อสรุปทีไ่ ด้รว่ มกัน คือ การจัดทำ�แฟ้มทีม่ ชี อ่ งสำ�หรับทันตแพทย์ พยาบาล และ นักกายภาพบำ�บัด สำ�หรับให้แต่ละคนได้บนั ทึกสิง่ ทีต่ วั เองพบเจอในการเยีย่ มบ้านแต่ละครัง้ ทุกคนก็จะรับรู้ข้อมูลเกี่ยวกับคนไข้รายนั้นพร้อมกัน ถ้ามีเรื่องที่ต้องปรึกษาหารือกันต่อไป ข้อมูลที่บันทึกนั้นจะเป็นข้อมูลเบื้องต้นสำ�หรับการพูดคุย” ทั้งนี้ แฟ้มสุขภาพครอบครัวดังกล่าวเพิ่งสำ�เร็จเป็นรูปเป็นร่างในตอนท้ายของ โครงการนี้ ระหว่างการทำ�โครงการผู้ดำ�เนินโครงการทั้ง 3 ท่านได้ใช้วิธีบันทึกข้อมูลจาก การเยี่ยมบ้านของภาชินีอย่างไม่เป็นทางการ หลังจากที่แฟ้มสุขภาพครอบครัวมีรูปแบบ ที่ชัดเจนแล้ว จึงได้นำ�ข้อมูลจากการเยี่ยมบ้านภาชินีมาบันทึกรวมไว้ในแฟ้มดังกล่าว แฟ้มสุขภาพครอบครัวประกอบด้วย 3 ส่วนหลัก ๆ ได้แก่ ส่วนแรก คือ ประเด็น ปัญหาของผู้ป่วย, ส่วนที่สอง คือ การดำ�เนินงานของทีมสหสาขาวิชาชีพและผู้เกี่ยวข้อง โดยแบ่งเป็นช่องสำ�หรับทันตแพทย์ พยาบาล และ นักกายภาพบำ�บัด เทศบาลตำ�บล สันมหาพน อาสาสมัครสาธารณสุขประจำ�หมู่บ้าน และส่วนสุดท้าย คือสิ่งที่ต้องการให้ ผู้ป่วยและญาติเป็นคนจัดการหรือดำ�เนินการ ทั้งนี้ คุณหมออรนุชได้กล่าวเพิ่มเติมถึงแฟ้มสุขภาพครอบครัวว่า เป็นเพียง เครือ่ งมือหนึง่ สำ�หรับการสือ่ สารระหว่างทีมสหสาขาวิชาชีพ นอกจากนัน้ ทีมงานยังสือ่ สารกัน ด้วยข้อความทางไลน์, การโทรศัพท์ และการนัดคุยกัน
74 “แฟ้มถือเป็นจุดเริม่ ต้นทีด่ ี มีความสะดวกในการหยิบบันทึกและหยิบใช้ สามารถ ใช้ร่วมกันได้เพื่อการสื่อสาร เมื่อหยิบมาอ่าน สงสัยอะไรก็จะนำ�ไปสู่การพูดคุยต่อไป” ส่วนสถานที่สำ�หรับเก็บแฟ้มสุขภาพครอบครัว ทีมงานทั้ง 3 ท่าน มีความเห็น ตรงกันว่าควรจัดเก็บไว้ที่ศูนย์สุขภาพชุมชน หรือโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำ�บล เพราะ ที่นั่นเป็นจุดเริ่มต้นของการเยี่ยมบ้าน สะดวกที่เจ้าหน้าที่แต่ฝ่ายจะแวะหยิบแฟ้มก่อนไป เยี่ยมบ้าน และบันทึกข้อมูลจากการเยี่ยมบ้านลงในแฟ้มดังกล่าว เพื่อให้รับทราบข้อมูล ร่วมกันเกี่ยวกับผู้ป่วยหรือคนพิการรายนั้น ทั้งนี้ แฟ้มสุขภาพครอบครัวที่เกิดจากโครงการนี้ ยังอาจมีการปรับรูปแบบเพื่อ ให้เหมาะสมกับการใช้งานต่อไป คุณหมออรนุชเสริมว่า “แฟ้มเป็นเพียงเครื่องมือสำ�หรับการสื่อสารระหว่างกัน หากแต่การเยี่ยมบ้าน โดยทีมสหสาขาวิชาชีพควรต้องมีการบริหารจัดการให้เกิดการแลกเปลีย่ นข้อมูลกันและกัน อย่างเป็นระบบ เพื่อให้การทำ�งานเป็นไปในทิศทางเดียวกันและส่งเสริมกัน ทำ�ให้ผู้ป่วย หรือผูพ้ กิ ารได้รบั การดูแลอย่างครอบคลุม เป็นองค์รวมในเรือ่ งสุขภาพทัง้ มิตขิ องการรักษา และการส่งเสริมสุขภาพ” ขณะที่ ทพญ.อารีรตั น์ นิรนั ต์สทิ ธิรชั ต์ อาจารย์ประจำ�ภาควิชาทันตกรรมครอบครัว และชุมชน คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และเป็นนักวิชาการท่านหนึ่ง ของทีมกลางในโครงการพัฒนาสมรรถนะนักศึกษาทันตแพทย์ และทีมทันตบุคลากร เพื่อดูแลสุขภาพช่องปากผู้พิการ อีกทั้งเป็นนักวิชาการที่ได้ให้คำ�แนะนำ�แก่ คุณหมออรนุช ตัณฑจำ�รูญ จากโครงการการศึกษารูปแบบการเยี่ยมบ้านคนพิการของทีมสหสาขาวิชาชีพ โดยใช้แฟ้มสุขภาพครอบครัวเป็นเครื่องมือสื่อสารระหว่างทีม ได้เพิ่มมุมมองของการเยี่ยม บ้านให้มีมิติที่ลึกซึ้งมากขึ้นว่า “ทีมงานของโรงพยาบาลแม่แตง มีขอ้ มูลมากมายเกีย่ วกับกลุม่ เป้าหมาย จากการ ที่เขาได้ลงเยี่ยมบ้านเก็บข้อมูลมาแล้ว แต่ไม่รู้ว่าจะทำ�อะไรต่อ การที่จะต้องพัฒนางาน ประจำ�ให้เป็นงานวิชาการเขาไปไม่ถกู มีเรือ่ งเล่ามากมายแต่ไม่รวู้ า่ จะทำ�อะไรต่อไป อย่างไร ไม่รู้ว่าจะจับประเด็นอะไร... ดิฉันจึงแนะนำ�ว่าเวลาที่ลงเยี่ยมบ้านและมองสิ่งที่เขาขาด
75 การทำ�งานของเราที่จะออกมา ก็คือ การเอาไปให้ เป็นการให้ความช่วยเหลือ แต่หากมอง อีกมิติ เปลีย่ นมุมมอง เช่น คนพิการมีสภาพแวดล้อมในบ้านทีไ่ ม่เอือ้ ให้เขาสามารถช่วยเหลือ ตัวเองได้ ส่งผลให้ความมั่นใจของเขาลดลงเรื่อย ๆ ....ฉะนั้น การเก็บข้อมูลควรมีในส่วนที่ เป็นความพยายามของเขา เขาทำ�อะไรได้บา้ ง เป็นความภูมใิ จและสามารถสร้างความมัน่ ใจ ให้กับเขาได้ ซึ่งอาจต้องรับฟังตั้งแต่ตอนที่เขาเพิ่งพิการใหม่ ๆ เขาสามารถเปลี่ยนผ่าน ช่วงเวลาเหล่านั้นมาได้อย่างไร เราจะได้เห็นอีกมิติของเขา” ในโครงการนี้ การพบปะระหว่างนักวิชาการและผู้ทำ�โครงการส่วนใหญ่เกิดขึ้น เฉพาะในเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่ทางทีมกลางเป็นผู้จัด ซึ่งเวทีดังกล่าว ทพญ.อารีรัตน์ มองว่าเป็นเวทีที่มีความสำ�คัญมาก เป็นบรรยากาศที่ดีสำ�หรับการเรียนรู้ซึ่งกันและกัน
ทพญ.อารีรัตน์ นิรันต์สิทธิรัชต์ อาจารย์ภาควิชาทันตกรรมครอบครัวและชุมชน คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ “เบื้องต้นของคนทำ�งานคือ ไม่รู้ว่าควรจะดึงประเด็นไหนมาเป็นจุดวิชาการ จัดหมวดหมู่ความคิดไม่ได้ และไม่รู้ว่าจุดโฟกัสอยู่ที่ไหน เมื่อได้มีโอกาสมาพบกับอาจารย์ หรือนักวิชาการในเวที อาจารย์จะทำ�หน้าทีแ่ นะนำ�เพือ่ ให้เห็นแนวทาง...ทีมของโรงพยาบาล แม่แตงถือว่าเป็นทีมที่เข้มแข็งมาก ไม่ยึดติดกับความคิดเดิมของความเป็นผู้เชี่ยวชาญหรือ สหสาขาวิชาชีพ เป็นทีมที่เปิดรับความคิดได้ดี มีความกระตือรือร้นที่จะทำ�งานให้ดี” ทั้งนี้ คุณหมออารีรัตน์ได้กล่าวทิ้งท้ายว่า การให้คำ�ปรึกษาแก่ผู้ปฏิบัติงาน สิ่งที่ ต้องคำ�นึงถึงคือต้องวางบทบาทของตัวเองเป็นเพียงผู้ประคับประคองเท่านั้น
76 การวิจยั จากงานประจำ�ทีท่ �ำ กันในระยะเวลาสัน้ ๆ เพียง 5 เดือนในครัง้ นี้ นำ�ไปสู่ ความเปลี่ยนแปลงในหลายด้านด้วยกัน สำ�หรับภาชินี เธอมีสภาพจิตใจทีด่ ขี น้ึ ศักยภาพทางด้านร่างกายก็ได้รบั การฟืน้ ฟู จนสามารถช่วยเหลือตัวเองในชีวิตประจำ�วันได้ คุณหมออรนุช มองว่า เบือ้ งหลังความเปลีย่ นแปลงของภาชินยี งั มีความเปลีย่ นแปลง ด้านอืน่ ๆ อยูเ่ บือ้ งหลัง เพราะนีค่ อื ผลสำ�เร็จจากการเยีย่ มบ้านอย่างต่อเนือ่ ง และการหารือ แลกเปลี่ยนข้อมูลกันในระหว่างทีมสหสาขาวิชาชีพในโครงการ ตลอดจนการประสาน ความช่วยเหลือจากเครือข่ายสำ�คัญคือเทศบาลตำ�บลสันมหาพน “โครงการนีป้ ระสบความสำ�เร็จไม่เฉพาะแต่เรือ่ งทีภ่ าชินดี ขี น้ึ จากการดูแลอย่างเป็น ระบบและต่อเนื่อง โดยทีมสหสาขาวิชาชีพที่มีทันตแพทย์ พยาบาล และนักกายภาพบำ�บัด แต่ยังประสบความสำ�เร็จในแง่ที่ว่าทำ�ให้งานอื่นมองงานทันตกรรมด้วย” “การเยี่ยมบ้านที่ผ่านมา กายภาพบำ�บัดอาจไม่เคยดูเรื่องฟันเลย มองแต่เรื่อง กายภาพบำ�บัด การเคลื่อนไหวส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย แต่เดี๋ยวนี้เขามองด้วยว่าถ้ามือใช้ ไม่ได้แล้วจะใช้มอื แปรงฟันได้อย่างไร และเห็นว่าเมือ่ ฟันมีปญ ั หาต้องหาทางพาคนพิการมา โรงพยาบาลเพื่อมาทำ�ฟัน” คุณแคทลียา ก็มองเห็นในทางเดียวกัน “โครงการนี้ทำ�ให้ดิฉันไม่ได้ดูแต่เรื่องกายภาพบำ�บัดอย่างเดียวอีกต่อไป แต่มอง มิตดิ า้ นจิตใจและเศรษฐกิจร่วมด้วย ตลอดจนเรือ่ งสภาพแวดล้อมภายในบ้านของผูป้ ว่ ยด้วย” นอกจากนี้ ทีมงานทัง้ 3 ท่าน ยังได้เรียนรูห้ ลากหลายมุมมอง ซึง่ จะเป็นประโยชน์ สำ�หรับการนำ�ไปปรับใช้กับการทำ�งานต่อไป “สิ่งแรกที่ดิฉันได้เรียนรู้คือการที่จะลงเยี่ยมบ้านคนไข้ เราต้องรู้พื้นฐานของเขา เสียก่อน ไม่ใช่ว่าเราจะได้ทำ�ตามที่เราต้องการ มิเช่นนั้นก็เหมือนกับว่าเราจะไปจับผิดเขา”
77 คุณหมออรนุช กล่าว และเสริมว่า “จากกรณีของภาชินี เมือ่ รูเ้ บือ้ งหลังความเป็นไปในครอบครัวของเขาแล้ว ทำ�ให้เรา รู้ว่าเราควรทำ�อย่างไรต่อไปเพื่อให้ดีขึ้น...นอกจากนี้ การได้ลงพื้นที่ทำ�ให้เห็นว่าคนพิการ มีปัญหายิ่งกว่าคนธรรมดา ไปไหนมาไหนเองก็ไม่ได้ ทำ�ให้ดิฉันมีความเข้าใจเขามากขึ้น ซึ่งหากไม่เคยลงไปเลยก็จะไม่มีโอกาสได้สัมผัสความรู้สึกเหล่านี้ ทำ�ให้รู้ว่าเราต้องให้ ความช่วยเหลือในส่วนทีเ่ ขาทำ�ไม่ได้ ส่วนทีเ่ ขาทำ�เองได้เราต้องให้แรงจูงใจ เสริมแรงให้เขา” “สำ�หรับตัวดิฉันแล้ว จะบอกเสมอว่าคืองานของเขา ตัวดิฉันไม่ได้เป็นผู้ทำ�ให้ การเป็นที่ปรึกษาคือต้องฟังเขาก่อนว่าข้อจำ�กัดของเขาคืออะไร ต้องให้คำ�แนะนำ�ภายใต้ เงื่อนไขที่เขามี” “ถ้าเราไม่ก้าวออกจากห้องทำ�ฟันไปหาเขาในพื้นที่ก็ไม่มีทางเลยที่จะเห็นความยาก ลำ�บากของเขา” ขณะที่นักกายภาพบำ�บัดอย่างคุณคัทลียา สะท้อนว่าเธอได้เรียนรู้การทำ�งานใน มุมมองที่กว้างและลึกซึ้งขึ้นเช่นกัน “มุมมองในการทำ�งานของกายภาพบำ�บัด สามารถมองได้กว้างและครอบคลุม มากขึ้น มีการมององค์ประกอบอื่น ๆ ร่วมด้วย อย่างเช่น ถ้าเราไปทีมเดียว เราก็จะมอง แต่ด้านกายภาพว่าทำ�อย่างไรจะให้คนไข้ลุกขึ้นเดินได้ แต่เราไม่ได้มองไปถึงเรื่องสุขภาพ ของช่องปากซึง่ นัน่ อาจหมายถึงการติดเชือ้ ทีจ่ ะตามมา เรามองแต่เรือ่ งแผลกดทับว่าจะติดเชือ้ แต่เมือ่ มาทำ�โครงการนี้ ทำ�ให้เปิดมุมองของตัวเองมากขึน้ ... และสามารถมองลึกไปถึงเรือ่ ง การประสานกับเทศบาลให้มาดูบ้านคนไข้ที่ไม่มีงบประมาณปรับสภาพแวดล้อมด้วย” ด้าน คุณกนกทอง ก็ได้ประสบการณ์ทด่ี ใี นการทำ�งานร่วมกับผูเ้ ชีย่ วชาญต่างสาขา เพื่อมุ่งไปที่ประโยชน์ของผู้ป่วย “ดิฉนั ได้เรียนรูใ้ นสองมิติ คือ มิตกิ ารทำ�งานทีต่ อ้ งอาศัยการแก้ปญ ั หาเชิงลึก และมิติ ของการทำ�งานเป็นทีม ซึง่ การช่วยเหลือคนพิการในพืน้ ที่ แต่ละคนมีปญ ั หาทัง้ ด้านร่างกาย จิตใจ ครอบครัว และเศรษฐกิจ การช่วยเหลือคนพิการแต่ละคนจึงไม่ใช่เรือ่ งง่าย ต้องศึกษา ปัญหาเชิงลึก, การสร้างสัมพันธภาพเพื่อให้เกิดความไว้วางใจ และมีการแก้ปัญหาร่วมกัน ระหว่างคนพิการ, ครอบครัว และเจ้าหน้าที่”
78
“ถ้าเราไม่ก้าวออกจากห้องทำ�ฟัน ไปหาเขาในพื้นที่ก็ไม่มีทางเลย ที่จะเห็นความยากลำ�บากของเขา” “ส่วนการทำ�งานเป็นทีมนัน้ ดิฉนั ได้เรียนรูว้ า่ การทำ�งานในแต่ละวิชาชีพมีขอ้ จำ�กัด เมื่อได้ประสานกับวิชาชีพอื่น มองปัญหาเดียวกันในมุมมองที่ต่างกัน ช่วยกันแก้ปัญหา ช่วยกันคิด ช่วยกันวางแผน ช่วยกันทำ� และช่วยกันแก้ไขปัญหาทีเ่ กิดขึน้ ทำ�ให้เกิดผลอันเป็น ประโยชน์แก่คนพิการ ข้อจำ�กัดที่มีก็หมดไป” ในฐานะที่ได้ “คลุก” กับการวิจัยแบบ R2R ด้วยตนเองมาแล้ว คุณหมออรนุช กล่าวถึงสิ่งสำ�คัญในเรื่องนี้ว่า “ต้องมีทมี นักวิชาการเป็นทีป่ รึกษาให้กบั ผูป้ ฏิบตั งิ าน เพือ่ สามารถปรึกษารายละเอียด ของโครงการ และการค้นคว้าทางวิชาการที่เกี่ยวข้องกับโครงการ เพราะข้อจำ�กัดของ ผูป้ ฏิบตั งิ าน คือ เน้นแต่งานด้านปฏิบตั ิ มีการค้นคว้าทางวิชาการน้อย ทำ�ให้ขาดความมัน่ ใจ ในการทำ�งานวิจยั ฉะนัน้ หากมีทมี นักวิชาการเป็นทีป่ รึกษา จะทำ�ให้มคี วามมัน่ ใจมากยิง่ ขึน้ ” รศ.ทพญ.ดร.ศจี สัตยุตม์ อาจารย์ประจำ�คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัย ขอนแก่น ในฐานะที่ปรึกษาโครงการดังกล่าวให้มุมมองว่า การวิจัยแบบ R2R เปิดโอกาส ให้นกั วิชาการหรือนักวิจยั และผูป้ ฏิบตั งิ านในพืน้ ทีม่ โี อกาสได้มาร่วมงานกัน ส่งผลให้เกิดการ เรียนรูแ้ ละทดลองสิง่ ใหม่ ๆ ในสนามการทำ�งานปกติของทัง้ สองฝ่าย และนำ�ไปสูก่ ารพัฒนา งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
79 “ในการทำ� R2R เพื่อพัฒนาการทำ�งาน นักปฏิบัติอาจมีการค้นหาหนังสือหรือ แนวคิดความรูต้ า่ ง ๆ ซึง่ เป็นเพียงสิง่ ทีถ่ กู พิสจู น์มาด้วยบริบท ณ ตรงนัน้ แต่ไม่ตรงกับบริบท ในการปฏิบัติของตนเอง และก็ไม่รู้ว่าจะคุยกับใคร นั่นคือช่องว่างในมุมของนักปฏิบัติ” “ส่วนช่องว่างของอาจารย์ นักวิชาการ หรือนักวิจัยต่าง ๆ ซึ่งเป็นผู้มีองค์ความรู้ ในเวทีแลกเปลี่ยนที่จัดขึ้น อาจารย์ทุกท่านที่เข้าร่วมก็ล้วนแต่เคยทำ�งานวิจัยกันมามาก มีองค์ความรูม้ ากมาย การถ่ายทอดแบบนัน้ เป็นการถ่ายทอดในมุมทีม่ คี วามคุน้ เคย เป็นการ ตอบคำ�ถามในมุมที่ได้ทำ� งานวิจัยในระดับใด ๆ ก็ตามต้องมีขอบเขตที่สามารถตอบได้ ตามโจทย์ที่ทำ� ซึ่งกว้างมากก็คงเป็นไปไม่ได้ ฉะนั้น ช่องว่างที่เกิดขึ้นตรงนี้ก็เพราะว่า ในมหาวิทยาลัยมีการเรียกร้องอยู่ว่าสิ่งที่ทำ�อยู่นั้นจะมีการถ่ายทอดออกสู่สังคมเพื่อให้ เกิดประโยชน์ได้อย่างไร ทั้งนี้ การถ่ายทอดแบบที่เคยทำ�มาในอดีตยังไม่ก่อให้เกิดผล ในการขับเคลื่อน ซึ่งนี่ก็คือช่องว่างของนักวิจัย “ดังนัน้ การทีผ่ ปู้ ฏิบตั งิ านได้พบกับนักวิชาการ อาจารย์ และนักวิจยั ทีม่ คี วามเข้าใจ องค์ความรู้และทฤษฎีต่าง ๆ เขาก็จะมีความกระตือรือร้นที่จะเข้ามาพัฒนา ส่วนอาจารย์ ทีเ่ ข้ามาร่วมกิจกรรมก็ตอ้ งการทีจ่ ะทำ�ให้องค์ความรูข้ องตัวเองเกิดประโยชน์ในทางปฏิบตั จิ ริง จึงมีความต้องการทีจ่ ะเข้าไปนัง่ ฟัง นัง่ คิดวิเคราะห์กนั ถือเป็นจุดเริม่ ต้นของการสร้างความ สนใจร่วมกัน ในเวทีทผ่ี า่ นมา ทุกคนจึงมีความสนใจทีจ่ ะเข้ามาร่วมแลกเปลีย่ นพูดคุยกันและ ช่วยเติมเต็มกันและกันได้อย่างดี “มีแนวคิดหนึง่ ทีเ่ รียกว่า translation research มีความหมายสัน้ ๆ คือ การแปล ทฤษฎีสู่การปฏิบัติและการแปลการปฏิบัติสู่ทฤษฎี คือ การเชื่อมต่อกันและสร้างพลวัต ระหว่างนักวิจัยและนักปฏิบัติ ซึ่งต่อไปนี้ทฤษฎีหรือองค์ความรู้ที่สามารถอธิบายได้หรือ ถ่ายทอดได้จะถูกนำ�ไปแปลเป็นการปฏิบัติ และการปฏิบัติดังกล่าวถ้าทำ�ด้วยกระบวนการ ที่มีความชัดเจน และมีการสังเคราะห์หรือวิเคราะห์ ในทุกการปฏิบัติก็จะมีการอ้างอิงได้ นีค่ อื การนำ�ไปสูก่ ารต่อยอดทฤษฎีตา่ ง ๆ เป็นแนวคิดทีจ่ ะปิดช่องว่างโดยอาศัยกระบวนการ R2R เป็นตัวขับเคลื่อน”
80 ทัง้ นี้ กระบวนการ “เติมเต็มให้กนั และกัน” ทีม่ คี ณ ุ ภาพนัน้ ยังต้องอาศัยการจัดการ เพือ่ สร้างความเชือ่ มโยงระหว่างทัง้ สองฝ่าย เพือ่ ให้น�ำ ไปสูก่ ารเสริมแรง (empowerment) ให้แก่ผู้ปฏิบัติงาน ดังเช่น การจัดเวทีนำ�เสนอความก้าวหน้า และถอดบทเรียนร่วมกัน เป็นระยะ ๆ “นักปฏิบตั ติ อ้ งได้รบั โอกาสให้เกิดความรูส้ กึ ว่า การได้มาพบกันในเวทีถอดบทเรียน เป็นการถ่ายทอดประสบการณ์ของเขา เพือ่ ให้รวู้ า่ ตัวเขาได้เรียนรูอ้ ะไร และอาจารย์ทฟ่ี งั อยู่ ก็ต้องให้ความช่วยเหลือด้วยการใช้ความรู้ทางทฤษฎีของอาจารย์ เพื่อที่จะบอกว่าสิ่งนั้น สามารถตอบคำ�ถามในทางทฤษฎีได้หรือไม่ หรือว่ายังไม่มที ฤษฎีทต่ี อบ เพราะฉะนัน้ จะต้องมี การดำ�เนินกลไกอย่างไรเพื่อที่จะพัฒนาและกลับมาพูดคุยกัน...” “สำ�หรับในโครงการนี้ ทุกโครงการมีเป้าหมายเดียวกันคือ การพัฒนาคุณภาพชีวติ ของคนพิการที่แต่ละฝ่ายมีหน้าที่ดูแลอยู่ เป็นการพัฒนางานของตัวเอง ซึ่งบางคนอาจจะ คิดไปถึงการสร้างนวัตกรรมบางอย่าง ซึง่ อันนัน้ เป็นเป้าหมาย แต่สง่ิ ทีต่ อ้ งทำ�ให้เกิดการยอมรับ และให้คุณค่าซึ่งกันและกัน คือ ความหลากหลายในการดำ�เนินงานของแต่ละพื้นที่ ซึ่งไม่ จำ�เป็นต้องอยู่ในขั้นตอนเดียวกันทั้งหมด หรือใช้วิธีการเดียวกันทั้งหมด แต่ว่าแต่ละฝ่าย มีความเท่าเทียมกัน หรือมีความสบายใจที่จะแบ่งปันหรือให้คำ�แนะนำ�ซึ่งกันและกันได้”
“เรื่องนี้เป็นสิ่งที่ผู้จัดต้องคิดเอาไว้ ทำ�ให้เกิดขึ้นได้ตลอดทั้งกระบวนการ”
นักปฏิบัติต้องได้รับโอกาสให้เกิดความรู้สึกว่า การได้มาพบกันในเวทีถอดบทเรียน เป็นการถ่ายทอดประสบการณ์ของเขา เพื่อให้รู้ว่าตัวเขาได้เรียนรู้อะไร
81
การพัฒนากำลังคน
82
บทที่ 3
สร้างสะพานบนฐานความรู้สู่ทุกพื้นที่ทั่วไทย
“แรง บันด�ลใจ” และสำ�นึกในภ�รกิจแห่งวิช�ชีพ เป็นเหตุให้บคุ ล�กรด้�นทันตกรรม จำ�นวนไม่นอ้ ยเกิดคว�มสนใจทีจ่ ะร่วมบุกเบิกง�นดูแลสุขภ�พช่องป�กให้คนพิก�ร แต่ปญ ั ห� อุปสรรคหนึ่งที่สำ�คัญคือ ก�รข�ดคว�มรู้ คว�มมั่นใจ และก�รพัฒน�ทีมง�นให้มีคว�มเป็น นำ�้ หนึ่งใจเดียวกัน น่�ยินดีที่ในวันนี้ ได้เกิดพื้นที่ในก�รพัฒน�สมรรถนะในเรื่องนี้ขึ้นม�แล้ว และ กล�ยเป็น “แม่แรง” สำ�คัญที่อยู่เบื้องหลังก�รขย�ยง�นที่มีคุณค่�นี้ออกไปสู่ทุกภูมิภ�ค ของประเทศอย่�งมีคุณภ�พ
83
กรณีท่ี 6 การพัฒนาศักยภาพทันตบุคลากรเพือ่ ส่งเสริมสุขภาพช่องปาก คนพิการโดยร่วมกับสหวิชาชีพ สถาบันราชานุกลู กรุงเทพมหานคร เบญญาดา มุตวิ ฒ ั นาสวัสดิ์ ช่วงระยะเวลา 13 ปีทปี่ ฏิบตั งิ านอยูใ่ นพืน้ ทีต่ า่ งจังหวัด ทัง้ ในโรงพยาบาลชุมชน โรงพยาบาลศูนย์ และสำ�นักงานสาธารณสุขจังหวัด ความรูส้ กึ ของ ทันตแพทย์หญิงภัตติมา บุรพลกุล ก็ไม่ต่างจากทันตบุคลากรคนอื่น ๆ ที่ไม่ค่อยกล้าให้บริการทันตกรรมแก่กลุ่ม เด็กพิการหรือเด็กทีม่ คี วามต้องการพิเศษ ไม่ใช่เพราะรังเกียจ หากแต่เพราะมีความรูส้ กึ กลัว ไม่มน่ั ใจทีจ่ ะให้บริการ ขาดความรูค้ วามเข้าใจเกีย่ วกับเด็กพิเศษ ไม่รวู้ า่ จะจัดการกับพฤติกรรม ของเด็กเหล่านี้ได้อย่างไร กระทัง่ ย้ายมาปฏิบตั งิ านที่ กลุม่ งานทันตกรรม สถาบันราชานุกลู กรุงเทพมหานคร หน่วยงานในสังกัดกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข ซึ่งให้บริการตรวจวินิจฉัย บำ�บัด รักษา พัฒนาการและสติปัญญา และผู้ป่วยเด็กที่มีปัญหาการเรียน ปัญหาพฤติกรรม หรือ ปัญหาอารมณ์ รับผิดชอบงานด้านการวิจัยและพัฒนาองค์ความรู้ พัฒนาบุคลากรด้าน พันธุศาสตร์การแพทย์ทเ่ี กีย่ วข้องกับงานด้านสุขภาพจิตและจิตเวช บริการการตรวจวิเคราะห์ ทางพันธุกรรม อีกทั้งเป็นแหล่งศึกษาดูงาน ฝึกอบรม ฝึกปฏิบัติ แก่หน่วยงาน/องค์กร ทั้งภายในและต่างประเทศ ณ ทีแ่ ห่งนี้ คุณหมอภัตติมา ได้เรียนรูว้ า่ แท้จริงแล้วเด็กพิเศษมีหลากหลายประเภท มีความแตกต่างเฉพาะบุคคล การให้บริการทันตกรรมแก่เด็กกลุ่มนี้ไม่ได้ยุ่งยากอย่างที่คิด เพียงแต่ตอ้ งมีความรูค้ วามเข้าใจธรรมชาติของโรคหรืออาการทีเ่ ด็กเป็น และอาศัยองค์ความรู้ จากวิชาชีพอืน่ ๆ เช่น กายภาพบำ�บัด กิจกรรมบำ�บัด ฯลฯ มาร่วมด้วย เพือ่ ช่วยจัดการกับ ข้อบกพร่องบางอย่างในตัวเด็ก เช่น กล้ามเนื้อมีอาการเกร็ง เด็กไม่สามารถอ้าปากได้ เป็นต้น และเมือ่ ปฏิบตั งิ านได้สกั ระยะหนึง่ ก็พบว่า มีเด็กพิเศษหลายคนต้องเดินทางมาจาก ต่างจังหวัดเพื่อมารับบริการทันตกรรมที่สถาบันราชานุกูล ทั้ง ๆ ที่สุขภาพช่องปากไม่ได้
84 มีปัญหารุนแรง แต่เป็นเพราะมักถูกปฏิเสธจากทันตบุคลากรทั้งหน่วยบริการสาธารณสุข และคลินิกทันตกรรมเอกชน จึงเกิดแนวคิดอยากถ่ายทอดองค์ความรู้เกี่ยวกับการบริการ ทันตกรรมแก่เด็กพิเศษให้กบั ทันตบุคลากรในพืน้ ทีต่ า่ งจังหวัด ให้มคี วามรูค้ วามเข้าใจเกีย่ วกับ เด็กพิเศษมากขึ้น สามารถดูแลรักษาผู้ป่วยในเบื้องต้นได้ เพื่อให้เด็กสามารถเข้าถึงบริการ ได้ง่าย ไม่ต้องเดินทางเข้ามาในกรุงเทพมหานคร ซึ่งต้องเสียทั้งค่าใช้จ่ายและเวลาในการ เดินทาง “พอทำ�ไปสักพัก เราเริ่มเห็นกลุ่มเด็กพิเศษจากต่างจังหวัด ที่บางทีก็สามารถ จัดการพฤติกรรมในการทำ�ฟันได้ไม่ยาก แต่เขาก็ต้องนั่งรถมาทำ�ไกล ๆ แล้วก็ทำ�ได้ครั้งละ นิดเดียว เลยเกิดความคิดว่า ทำ�อย่างไรดีถึงจะทำ�ให้คนอื่นมั่นใจได้เหมือนกับตัวเอง เพราะว่าเราก็ไม่ใช่ทันตแพทย์เฉพาะทางเด็ก และเด็กบางคนทำ�ง่ายมาก แค่เพิ่มเทคนิค เล็ก ๆ น้อย ๆ หรือว่าความเข้าใจบางอย่าง เช่น บางทีเด็กแค่ตาบอดเฉย ๆ ทันตแพทย์ บางท่านก็ไม่กล้าทำ� เรารู้ว่าเขาคิดอย่างไร รู้ว่าตรงไหนมันเป็นความต่าง เราดูแลได้ ระดับไหนบ้าง เลยคิดว่าน่าจะให้คนอื่นได้รับรู้แบบเราบ้าง เด็กและผู้ปกครองจะได้ลำ�บาก น้อยลง”
ทพญ.ภัตติมา บุรพลกุล ทพญ.ภัตติมา เปิดเผยถึงแรงบันดาลใจที่นำ�ไปสู่การพัฒนาหลักสูตรอบรม “งานทันตกรรมสำ�หรับเด็กพิเศษ” โดยสถาบันสร้างเสริมสุขภาพคนพิการ (สสพ.) มุง่ หวัง พัฒนาทักษะความรู้ของทันตบุคลากรในการส่งเสริมสุขภาพช่องปากแก่เด็กที่มีความ บกพร่องด้านพัฒนาการและสติปัญญา
85 “โดยแนวคิดเรือ่ งการดูแล ส่วนตัวแล้วคาดหวังให้เด็กได้เข้าถึงบริการ อย่างน้อย ในงานส่งเสริมป้องกัน กับการรักษาง่าย ๆ หากในรายที่ยากอาจส่งต่อ หรือดมยาทำ�ฟัน สิ่งสำ�คัญที่สุดและคุ้มค่าที่สุดคืองานส่งเสริมป้องกัน เพราะว่าการรักษาก็ยาก แต่ถ้าเด็ก แปรงฟันได้นค่ี อื ชีวติ พลิกเลย เพียงแต่วา่ ทำ�อย่างไรมันต้องใช้เทคนิคการสอนซึง่ ยากเหมือนกัน เพราะทัง้ ผูป้ กครอง บุคลากรก็ไม่รจู้ ะสอนอย่างไร และการสอนเด็กแต่ละคนไม่เหมือนกันเลย แต่คิดว่าสิ่งนี้คุ้มที่สุดแล้ว” การอบรมดังกล่าวจัดขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ.2553 ให้กับผู้ช่วยทันตแพทย์ จากภาควิชาทันตกรรมสำ�หรับเด็ก คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จำ�นวน 6 คน ผลการอบรมพบว่าผู้ช่วยทันตแพทย์สามารถนำ�ทักษะความรู้ไปใช้ประโยชน์ในการทำ�งาน ได้เป็นอย่างดี ปีถดั มาจึงเชิญชวนให้ทนั ตแพทย์จากจังหวัดต่าง ๆ มาเข้าอบรม แต่ภายหลัง กำ�หนดให้ต้องมาเป็นคู่ เช่น ทันตแพทย์กับผู้ช่วยทันตแพทย์ หรือถ้าเป็นทันตาภิบาล ก็ตอ้ งมาพร้อมกัน 2 คน เนือ่ งจากมีเสียงสะท้อนจากผูเ้ ข้าอบรมว่าการให้บริการทันตกรรม แก่เด็กกลุ่มนี้ไม่สามารถทำ�คนเดียวได้ หลังจากนั้น มีการจัดอบรมทันตบุคลากรอีกหลายรุ่นต่อมา หนึ่งในนั้น คือ ทันตบุคลากรจากโรงพยาบาลป่าบอน จังหวัดพัทลุง ซึง่ พบว่ามีการนำ�ความรูก้ ลับไปขยายผล ในพื้นที่ โดยจับมือกับนักกายภาพบำ�บัดเข้าไปให้บริการทันตกรรมแก่คนพิการในชุมชน ทำ�ให้เกิดการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ระหว่างกัน สามารถช่วยเหลืองานซึ่งกันและกันได้ ภาพการทำ�งานเป็นทีมของ โรงพยาบาลป่าบอน ทำ�ให้ คุณหมอภัตติมา เล็งเห็นว่า หากสหวิชาชีพแต่ละพืน้ ทีม่ สี ว่ นร่วมในการส่งเสริมการดูแลสุขภาพช่องปากสำ�หรับเด็กพิเศษ หรือคนพิการในชุมชนจะทำ�ให้มปี ระสิทธิภาพมากยิง่ ขึน้ ซึง่ บุคลากรส่วนใหญ่แม้ โดยปกติ ต้องรับผิดชอบงานคนพิการอยู่แล้ว แต่ยังขาดความรู้ความเข้าใจเรื่องการดูแลสุขภาพ ช่องปากคนพิการ และไม่รู้ว่าวิชาชีพตนเองสามารถมีส่วนร่วมหรือเกี่ยวข้องในงานนี้ ได้อย่างไร ดังนัน้ ในปี 2557 จึงเริม่ กำ�หนดให้มสี หวิชาชีพทีเ่ กีย่ วข้องเช่น พยาบาล นักกายภาพบำ�บัด ฯลฯ มาเข้าอบรมด้วย โดยคาดหวังให้ทนั ตบุคลากรและสหวิชาชีพได้เรียนรูบ้ ทบาท การทำ�งานร่วมกันเป็นทีมเพือ่ ส่งเสริมสุขภาพช่องปากสำ�หรับคนพิการ สามารถนำ�องค์ความรู้ กลับไปใช้พัฒนางานในพื้นที่ได้
86 “หลังจากการอบรม เหมือนเขาเริ่มเข้าไปในชุมชนและก็ออกไปทำ�งานเป็นทีม ร่วมกันระหว่างสหวิชาชีพในการดูแลช่องปากคนพิการในพื้นที่ สิ่งหนึ่งที่พบ คือ ตอนนั้น ทีมทันตกรรมจากโรงพยาบาลป่าบอน พัทลุง มาอบรม แล้วเขากลับไปลงพื้นที่พร้อม นักกายภาพ ไปทำ�งานด้วยกัน กลายเป็นทันตฯ ช่วยกายภาพฯ ฝึกกล้ามเนื้อ กายภาพฯ ช่วยทันตฯ สอนแปรงฟันอะไรอย่างนี้ เลยรูส้ กึ ว่าการไปทำ�งานด้วยกันแล้วมันเห็นภาพรวม หรือไปแทนกันได้ ดูไม่โดดเดี่ยวและช่วยกันได้”
ฝึกปฏิบัติการจัดท่าทางบนเก้าอี้ทำ�ฟัน ในกลุ่มผู้เข้าอบรมด้วยกัน
นักกายภาพบำ�บัดแนะนำ�การจัดตำ�แหน่งผู้ป่วย ทันตกรรมที่มีข้อจำ�กัดด้านการเคลื่อนไหว
กระบวนการทำ�งาน
การจัดอบรมดำ�เนินงานโดย คุณหมอภัตติมา เป็นแกนนำ�ขับเคลื่อน ประสาน ความร่วมมือกับบุคลากรฝ่ายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ทันตแพทย์ ผู้ช่วยทันตแพทย์ แพทย์เฉพาะทาง นักกายภาพบำ�บัด และนักกิจกรรมบำ�บัด มาเป็นวิทยากรถ่ายทอดความรู้ โดยระยะแรกใช้เวลาอบรมทัง้ หมด 5 วัน ภายหลังลดเหลือเพียง 3 วัน เนือ่ งจากผูเ้ ข้าอบรม ไม่สะดวกมาเข้าร่วมหลายวันต่อเนื่อง กิจกรรมการอบรมมีดังนี้ การอบรมด้านวิชาการ เป็นการบรรยายให้ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับคนพิการ ปัญหาสุขภาพช่องปากกับ คนพิการ แนวทางการส่งเสริมป้องกัน การเตรียมระบบบริการทันตกรรมสำ�หรับคนพิการ การจัดการพฤติกรรมในการให้บริการทันตกรรมแก่เด็กพิเศษประเภทต่าง ๆ บทบาท ของสหวิชาชีพในการให้บริการทันตกรรมแก่คนพิการ
87
การบรรยายเรื่องการจัดพฤติกรรมในกลุ่มเด็กพิเศษ การบรรยายเรื่องความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเด็กพิเศษ โดยแพทย์เฉพาะทางด้านพัฒนาการเด็ก
การศึกษาดูงาน การฝึกกล้ามเนือ้ มัดเล็กเพือ่ ส่งเสริมงานทันตกรรม ในคนพิการทีม่ ปี ญ ั หานำ�้ ลาย ไหลย้อย ไม่ยอมอ้าปาก การบริหารกล้ามเนื้อมือเพื่อแปรงฟัน โดยนักกิจกรรมบำ�บัด เป็นผู้ให้ความรู้และสาธิต
การฝึกปฏิบัติงาน วิธกี ารจัดท่าและตำ�แหน่งผูป้ ว่ ยทีม่ ขี อ้ จำ�กัดด้านการเคลือ่ นไหว โดย งานกายภาพบำ�บัด การเตรียมยูนติ ทำ�ฟันและเทคนิคการใส่อปุ กรณ์ชว่ ยอ้าปาก (mouth gag) โดยไม่เกิด อันตรายหรือเป็นแผล การสอนทันตสุขศึกษาในเด็กเล็กและเด็กโต การฝึกปฏิบตั งิ านในคลินกิ
คุณหมอสาธิตการเตรียมยูนิตทำ�ฟัน เพื่อให้บริการทันตกรรม
88 การให้ทันตบุคลากรได้ฝึกปฏิบัติถือเป็นหัวใจสำ�คัญ โดยเฉพาะการได้ฝึกกับผู้ที่ มารับบริการจริง เพราะนอกจากเป็นการเพิม่ ทักษะความชำ�นาญ เสริมสร้างความมัน่ ใจแล้ว ยังช่วยปรับเปลี่ยนทัศนคติของทันตบุคลากรที่มีต่อเด็กพิเศษให้ดีขึ้นด้วย โดยจะเลือกทำ� ในรายที่ไม่มีปัญหารุนแรง ตรวจรักษาได้ง่าย และต้องได้รับความยินยอมจากผู้ปกครอง แต่หากเป็นการฝึกปฏิบัติที่เสี่ยงต่อการบาดเจ็บของเด็ก เช่น การใส่อุปกรณ์ช่วยอ้าปาก ในการฝึกก็จะให้ผู้เข้าอบรมลองจับคู่และใช้อุปกรณ์ฝึกกันเองก่อน เป็นต้น
สาธิตการใส่ mouth gag การใช้ suction และฝึกปฏิบัติในหมู่เพื่อนๆ
“ประเด็นสำ�คัญคือต้องฝึก เป็นสิ่งแรกที่จะลดช่องว่างระหว่างหมอกับเด็ก คือ การฝึก การได้จับ ได้สัมผัส เน้นให้เจอกัน พอเจอกันทุกอย่างมันไปเองโดยธรรมชาติ.... อารมณ์ประมาณว่าเราเห็นลูกเสือตัวนึง เราก็จะกลัว แต่พอเราไปเล่นด้วย ลูกเสือเขาไม่ได้ กัดเรา ก็เริ่มคุ้นเคยสามารถเล่นกับเขาได้อย่างถูกวิธี เช่นเดียวกัน ในการดูแลเด็กพิเศษ หากได้ท�ำ ความคุน้ เคย เราก็จะเข้าใจ แล้วโดยธรรมชาติของเด็ก เขาจะถ่ายทอดความจริงใจ บริสุทธิ์ ความน่ารักของเขา มันจะปิดช่องว่างตรงนี้ เท่าที่ประสบมา” นอกจากนี้ กิจกรรมยังเน้นให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างการอบรม เพราะ เชื่อว่าการได้เรียนรู้ประสบการณ์จากพื้นที่อื่น ๆ จะทำ�ให้เกิดแรงบันดาลใจและอยากกลับ ไปพัฒนางานในพื้นที่ของตนเองบ้าง “สมมติว่าฟังเรื่องนี้เสร็จ เราก็จะถาม พื้นที่ไหนทำ�อะไร เขาก็ได้แลกเปลี่ยน เรียนรู้ แล้วจะถามกันเอง จริง ๆ พื้นที่รู้ดีที่สุด ว่ามีช่องทางอะไรบ้าง บางทีเราออกมานาน
89 ก็ไม่ได้อพั เดทเรือ่ งช่องทาง หรือเทคนิค เช่น เรือ่ งหาทุน การติดต่อ การประสานกับอาสาสมัคร สาธารณสุขประจำ�หมู่บ้าน เขาจะมีเทคนิคมีองค์ความรู้อยู่แล้ว ทำ�ให้ความมั่นใจเพิ่มขึ้น เราเป็นเหมือนคนกระตุน้ เหมือนเหนีย่ วนำ�กันทำ�ในแต่ละพืน้ ที่ อันนีน้ า่ ทำ�นะ...แต่วา่ สิง่ หนึง่ เวลาแลกเปลีย่ น ส่วนใหญ่มนั เป็นความประทับใจ สิง่ ทีเ่ กิดขึน้ ในใจเขา มันสร้างแรงบันดาลใจ ให้คนอื่น จากเรื่องราวที่เล่าสู่กันฟัง”
ฝึกปฏิบัติสอนทันตสุขศึกษากับเด็กและผู้ปกครอง
ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น จากการติดตามผลโดยลงพื้นที่ศึกษาดูงานร่วมกับ สสพ. พบว่า ทันตบุคลากร ที่ผ่านการอบรม รู้จักและเข้าใจธรรมชาติของคนพิการประเภทต่าง ๆ มากขึ้น ทำ�ให้เกิด ทัศนคติที่ดี มีความรู้สึกมั่นใจที่จะให้บริการทันตกรรมแก่คนกลุ่มนี้ และสามารถนำ�เทคนิค วิธีการที่ได้เรียนรู้จากการอบรมไปใช้ในคลินิกทันตกรรมได้จริง ดังที่ คุณจินตนา เครือคุณ และ คุณสุพาภรณ์ คำ�พา สองทันตาภิบาล จาก โรงพยาบาล 50 พรรษา วชิราลงกรณ ทีผ่ า่ นการอบรมกับสถาบันราชานุกลู เมือ่ ต้นปี 2558 ต่างให้ความเห็นเป็นเสียงเดียวกันว่า “เลิกกลัวเด็กพิเศษแล้ว” เดิมทีคณ ุ จินตนาไม่มคี วามมัน่ ใจทีจ่ ะให้บริการทันตกรรมแก่คนพิการในกลุม่ เด็ก ทีม่ คี วามบกพร่องด้านพัฒนาการและสติปญ ั ญาหรือเด็กพิเศษเลย ถ้าจำ�เป็นทีต่ อ้ งให้บริการ จริง ๆ ก็จะพยายามยืดระยะเวลาการรักษาโดยให้ยากลับไปรับประทานก่อน แต่หลังจาก ได้ความรู้และฝึกปฏิบัติที่สถาบันราชนุกูลแล้ว ความรู้สึกมั่นใจก็เข้ามาแทนที่ความกลัว
90 “ก่อนนีจ้ ะเกร็งมาก กังวล ไม่รจู้ ะทำ�อะไรให้เขาดี แต่พอเราได้ไปอบรมมา มีความรู้ และได้รว่ มออกตรวจทีส่ ถาบันราชานุกลู ด้วย ได้เจอผูพ้ กิ ารมาทำ�ฟันบ่อยขึน้ ก็เริม่ ไม่กลัวแล้ว เพราะเรารู้ว่าจะทำ�อย่างไรกับเขา แต่ก่อนยอมรับว่ากลัว กลัวที่จะทำ�ให้เขา กลัวทำ�ไม่ได้ กลัวเขางอแง จะเหวีย่ งจะวีนใส่เรา ด้วยอารมณ์ของน้องน่ะค่ะ กลัวไปสารพัด แล้วเราก็ไม่รู้ ประเภทของคนพิการด้วย แต่เดี๋ยวรู้แล้วว่าเด็กออทิสติกเป็นอย่างไร เด็กซีพีเป็นแบบนี้ พัฒนาการช้าจะเป็นแบบนี้นะ เขาเดินเข้ามาเราพอจะรู้แล้วว่าเขาเป็นอย่างไร และบางคน ทำ�ง่ายกว่าคนไข้ปกติธรรมดาอีก ทำ�ให้ทัศนคติเราก็เปลี่ยนไป” เช่นเดียวกับ คุณสุภาภรณ์ ทีส่ ะท้อนความรูส้ กึ จากการได้เข้าอบรมให้ฟงั ว่า ไม่เพียง ทำ�ให้มีความกล้าที่จะทำ�ทันตกรรมให้กับเด็กพิเศษมากขึ้น แต่ยังได้เรียนรู้เทคนิคใหม่ ๆ ที่สามารถนำ�มาใช้ในการให้บริการทันตกรรมทั้งกับคนพิการและคนปกติทั่วไป “ได้เทคนิคหลาย ๆ อย่างในการทำ�กับคนไข้กลุ่มนี้ และสามารถนำ�มาปรับใช้กับ คนไข้เด็กทั่วไปที่ทำ�ยาก ๆ ได้ด้วย ที่เช่นเทคนิคการรัดตัว การช่วยอ้าปากของเด็ก ซึ่งเดิม ให้บริการอยู่แล้ว แต่บางทีไม่รู้ว่ามีเทคนิคใหม่ที่ทำ�แบบนี้ได้ด้วย มันช่วยเพิ่มความมั่นใจ มีความกล้าที่จะทำ�ในเด็กกลุ่มนี้มากขึ้น แต่ก่อนค่อนข้างกลัว ไม่กล้าทำ�”
ฝึกปฏิบัติงานในคลินิกทันตกรรมกับ ผู้รับบริการจริงของสถาบันราชานุกูล
ด้านสหวิชาชีพอย่าง คุณรพีพรรณ พิสฐิ พยัต พยาบาลวิชาชีพ ฝ่ายสุขภาพจิตและ ยาเสพติด ทีไ่ ด้เข้าอบรมในคราวเดียวกัน ก็มคี วามรูส้ กึ ไม่แตกต่างกัน นัน่ คือทำ�ให้มคี วามรู้ ในเรื่องการดูแลสุขภาพช่องปากคนพิการมากขึ้น ได้เรียนรู้วิธีการทำ�งานของทันตบุคลากร และบทบาทของสหวิชาชีพที่สามารถมีส่วนร่วมในงานนี้ได้
91 “ทำ�ให้มีความรู้เพิ่มขึ้น จากที่เราไม่รู้ละเอียดในเรื่องการดูแลช่องปาก ส่วนมาก ก็เอามาใช้ในการแนะนำ�ญาติกบั ผูป้ ว่ ย แม้ตวั เราไม่ได้ปฏิบตั เิ อง แต่กม็ คี วามรูไ้ ปสอน อสม. หรือผู้ดูแลคนพิการได้” นอกจากนี้ การดำ�เนินงานของกลุ่มงานทันตกรรม โรงพยาบาล 50 พรรษา มหาวชิราลงกรณ ซึง่ มี ทพญ.อุมาพร รุง่ รัศมีทวีมานะ หรือ “หมอเอ๋” เป็นแกนนำ�ขับเคลือ่ น ยังเป็นหนึ่งในความประทับใจของ คุณหมอภัตติมา ด้วยเป็นพื้นที่ตัวอย่างของการทำ�งาน เป็นที่สามารถบูรณาการงานคนพิการให้เป็นส่วนหนึ่งของงานประจำ�ได้ เนื่องจากพบว่า มีทนั ตบุคลากรหลายคนทีผ่ า่ นการอบรมและกลับดำ�เนินการในพืน้ ที่ โดยเปิดห้องฟันให้บริการ เฉพาะเด็กพิเศษ แต่กลายเป็นว่าทำ�ให้ถกู ตำ�หนิจากเพือ่ นร่วมงาน เพราะมองว่าไม่ใช่นโยบาย ทำ�ให้เสียเวลาและมีความเสีย่ งมากกว่าคนปกติทว่ั ไป จนทำ�ให้หมดกำ�ลังใจและดำ�เนินการ ต่อได้ไม่นาน แตกต่างจากทันตบุคลากรของ โรงพยาบาล 50 พรรษาฯ ทีก่ ลับไปถ่ายทอดทักษะ ความรู้ให้กับเพื่อนร่วมงานทั้งในกลุ่มงานและในเครือข่ายโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ตำ�บล ทำ�ให้ทุกคนมองเห็นแนวทางการทำ�งานเป็นภาพเดียวกัน “สิง่ หนึง่ ทีป่ ระทับใจมาก ๆ คือ แนวคิดของเขา เนือ่ งจากตัวเองลงไปดูท่ี โรงเรียน อุบลปัญญานุกูลด้วย แล้วก็ถามน้องทันตาภิบาลว่า เด็กพิเศษที่เอาเข้าไปทำ�ฟันต้องจัด เฉพาะให้ใครดูไหม เขาก็พดู มาคำ�นึงทีป่ ระทับใจ คือ หมอเอ๋บอกว่าทุกคนต้องทำ�ได้ บ่ายนี้ เป็นเวรใครก็ต้องทำ� มันทำ�ให้เหมือนพัฒนาทั้งระบบ ต้องรับผิดชอบด้วยกัน ทั้งนี้เพราะ ความเป็นผู้นำ�ของหมอเอ๋ด้วย แล้วดูทุกคนก็ไม่ได้รังเกียจ เขาดูสนุก กลับมาจากตรวจฟัน ในโรงเรียนเสร็จ บางคนเจอเด็กโกรธ ชี้หน้าผู้ช่วยแล้วว่ากูจะฆ่ามึง เขาก็ขำ�กันอะไรอย่างนี้ ได้เห็นความเป็นธรรมชาติ ว่าเขาไม่ได้รสู้ กึ ว่ามันพิเศษหรือแตกต่าง การดูแลคนพิการก็เหมือน ดูแลคนทั่วไป” อีกหนึ่งพื้นที่ คือ โรงพยาบาลป่าบอน จังหวัดพัทลุง ซึ่งนอกจากเป็นตัวอย่างที่ดี ของการทำ�งานแบบสหวิชาชีพเพือ่ ส่งเสริมงานสุขภาพช่องปากคนพิการในชุมชนแล้ว ยังมี เรือ่ งราวทีน่ า่ ประทับใจ สะท้อนให้เห็นถึงประโยชน์ทเ่ี กิดขึน้ ไม่ใช่เฉพาะกลุม่ คนพิการเท่านัน้ หากแต่ยังสร้างความสุขความภาคภูมิใจให้กับคนทำ�งานด้วย และอาจเป็นแรงบันดาลใจ ให้กับพื้นที่อื่น ๆ ในการทำ�งานเพื่อคนพิการต่อไปก็ได้
92 “ทันตบุคลากรจากพัทลุงเป็นกลุ่มแรก ๆ ที่มาอบรม มีผู้ช่วยทันตแพทย์ซึ่งเป็น ลูกจ้างห้องฟันและเป็นคนขับรถด้วย ได้มาฝึกเรื่องกายภาพ ซึ่งแต่ก่อนไม่เคยมั่นใจเขาก็ มั่นใจ ได้ไปสอนคนพิการ กลายเป็นว่าเราไม่ได้ช่วยเฉพาะคนพิการหรือเด็กพิเศษ แม้แต่ บุคลากรของเราเองทีไ่ ปทำา เขาก็ภมู ใิ จ จากเคยหลบ ๆ ก็สามารถไปออกงานได้ รูส้ กึ ว่าตัวเอง มีคุณค่าด้วย แล้วประสบการณ์ส่วนใหญ่ที่พบจะเป็นเรื่องดราม่า เช่นไปเชียร์คนไข้ที่โต แล้วยังใส่เสื้อไม่ได้ จนสามารถใส่ได้เป็นครั้งแรกในชีวิต ก็ตบมือร้องห่มร้องไห้ ส่วนใหญ่ จะเริม่ ประทับใจกับการทำางานแบบสหวิชาชีพ บางทีนกั กายภาพไม่วา่ งก็ไปช่วยยกแข้งยกขา ช่วยฝึกอะไรอย่างนี้ คิดว่าเป็นการเพิ่มคุณค่าของบุคลากรด้วย”
ข้อเสนอแนะ
ก�รขย�ยผลให้เกิดทีมทำ�ง�นเพือ่ สุขภ�พช่องป�กคนพิก�รทีม่ คี ณ ุ ภ�พไปทัว่ ประเทศ คุณหมอภัตติม� ได้เสนอแนะคว�มคิดเห็นไว้ ดังนี้ 1. ควรมีก�รสนับสนุนในพื้นที่ ทั้งภ�ยในหน่วยง�นของทันตบุคล�กรเอง และ จ�กหน่วยง�นอื่น ๆ เช่น องค์ก�รบริห�รส่วนตำ�บล สังคมสงเคร�ะห์ ฯลฯ 2. ควรขย�ยเครือข่�ยวิช�ก�รและก�รให้บริก�ร ทั้งด้�นทันตกรรมและวิช�ชีพ อืน่ ๆ ให้กว้�งขว�งและครอบคลุมม�กยิ่งขึ้น “สมมติเด็กเป็นโรคหัวใจ ถ้าอยูใ่ นต่างจังหวัดไม่รจู้ ะส่งไปปรึกษาหมอทีไ่ หน หรือว่า นักกิจกรรมบำาบัดไม่ได้มที ว่ั ประเทศไทย มีนอ้ ยมาก เคยไปดูงานทีป่ ระเทศญีป่ นุ่ แค่ศนู ย์เล็ก ๆ มีห้าหกคน เป็นศูนย์ธรรมดานะไม่ใช่โรงพยาบาล เหมือนทันตาภิบาลเขาเรียกทันตานามัย มีเยอะมาก เพราะฉะนั้น การดูแลช่องปากใกล้ชิดมาก” 3. ควรพัฒน�หลักสูตรทันตแพทยศ�สตร์ โดยเพิม่ เติมองค์คว�มรูเ้ รือ่ งก�รบริก�ร ทันตกรรมเพือ่ คนพิก�ร และให้มกี �รฝึกปฏิบตั ริ ว่ มกันระหว่�งนักศึกษ�ทันตแพทย์กบั ส�ข�อืน่ เช่น ก�ยภ�พบำ�บัด กิจกรรมบำ�บัด เป็นต้น
93 ที่มาข้อมูล สัมภาษณ์ - ทพญ.ภัตติม� บุรพลกุล ทันตแพทย์เชี่ยวช�ญ สถ�บันร�ช�นุกูล - คุณจินตน� เครือคุณ เจ้�พนักง�นส�ธ�รณสุขชำ�น�ญง�น โรงพย�บ�ล 50 พรรษ� มห�วชิร�ลงกรณ - คุณสุพ�ภรณ์ คำ�พ� เจ้�พนักง�นส�ธ�รณสุขปฏิบตั งิ �น โรงพย�บ�ล 50 พรรษ� มห�วชิร�ลงกรณ คุณรพีพรรณ พิสิฐพยัต พย�บ�ลวิช�ชีพชำ�น�ญง�น ฝ่�ยสุขภ�พจิตและ ย�เสพติด โรงพย�บ�ล 50 พรรษ� มห�วชิร�ลงกรณ Facebook - หลักสูตรอบรมในง�นทันตกรรมสำ�หรับเด็กพิเศษ Website
- http://www.slideshare.net/search/slideshow?searchfrom=header&q=pattima
94
บทที่ 4
ส่องทางสร้างปัญญา พัฒนา “หมอฟันสายพันธุ์ใหม่”
ชีวิตนิสิตหรือนักศึกษ�ทันตแพทย์ในมห�วิทย�ลัยหล�ยแห่ง กำ�ลังเดินท�งถึง
หนึ่งในจุดเปลี่ยนแปลงครั้งสำ�คัญ…
เมือ่ “ครู” ของพวกเข� ตกลงใจสร้�งสรรค์สง่ิ ทีเ่ ชือ่ ว่�จะโน้มนำ�ลูกศิษย์ไปสูเ่ ส้นท�ง แห่งวิช�ชีพทีท่ รงคุณค่�อย่�งแท้จริง ด้วยก�รเตรียมคว�มพร้อม “หมอฟันรุน่ ใหม่” ให้ก�้ ว ออกไปสู่โลกของก�รทำ�ง�นโดยใช้ศักยภ�พได้อย่�งเต็มที่...
ไม่ถกู จำ�กัดไว้ดว้ ยกรอบคว�มคิดทีเ่ คยบัน่ ทอนคว�มเชือ่ มัน่ ดังทีเ่ ป็นม�เนิน่ น�น...
95
กรณีท่ี 7 เพราะเห็นปัญหาจึงกล้าบุกเบิก คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร เบญญาดา มุตวิ ฒ ั นาสวัสดิ์
ครูคนที่หนึ่ง : เพราะเห็นปัญหาจึงกล้าบุกเบิก ทพญ.ดร.จุฑารัตน์ ฉิมเรือง อาจารย์ประจำ�สาขาวิชาทันตกรรมชุมชน ภาควิชา ทันตกรรมป้องกัน คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร เป็นหนึง่ ใน “ครู” ทีล่ งมือ บุกเบิกสิ่งใหม่เพื่อเติมเต็มคุณค่าให้แก่นักวิชาชีพสายนี้ ในฐานะอาจารย์มหาวิทยาลัยที่ทำ�งานวิชาการเพื่อสังคมควบคู่ไปกับการสอน ทำ�ให้เธอเห็นประจักษ์ว่า เพียงเพราะขาดความมั่นใจในการลงมือทำ�บางสิ่ง ได้กลายเป็น อุปสรรคสำ�คัญทีส่ ง่ ผลให้ทนั ตแพทย์จ�ำ กัดกรอบการทำ�งานของตนเองไว้คบั แคบกว่าศักยภาพ ที่มีอยู่จริง
ทพญ.ดร.จุฑารัตน์ ฉิมเรือง คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร กรณีที่เห็นได้ชัดเจนก็ คือ ความเชื่อที่ว่า การทำ�ฟันให้แก่คนพิการเป็นเรื่องยาก เกินความสามารถของ “หมอฟันธรรมดา” ทันตแพทย์เฉพาะทางเท่านั้นที่สามารถทำ�งาน นี้ได้
96 ทัศนคติเช่นนีไ้ ด้ปดิ กัน้ การพัฒนาศักยภาพของนิสติ นักศึกษาทันตแพทย์ไปพร้อมกับ ปิดโอกาสคนพิการจากการเข้าถึงบริการทันตกรรม ทั้ง ๆ ที่คนพิการก็มีฟันจำ�นวนเท่า ๆ กับคนทั่วไป และต้องการการดูแลไม่น้อย กว่ากัน เพราะเมื่อไรที่เกิดปัญหาสุขภาพช่องปาก ไม่ว่าจะเป็นฟันผุ ปวดฟัน เหงือกอักเสบ ฟันคุด ฯลฯ คนพิการก็ได้รับความทุกข์และทรมานเหมือนเช่นมนุษย์ทุก ๆ คน “ดิฉนั เคยร่วมโครงการของสถาบันสร้างเสริมสุขภาพคนพิการ (สสพ.) ในปี 2554 - 2555 โดยเป็นส่วนหนึ่งของแผนงานสร้างเสริมสมรรถนะสุขภาพด้านประชาชน สถาบัน วิจยั ระบบสาธารณสุข (สวรส.) ทำ�งานเรือ่ งทันตสุขภาพของคนพิการ ซึง่ ทำ�งานกับเครือข่าย ทีเ่ ป็นทันตบุคลากรทัว่ ทุกภูมภิ าค โดยดิฉนั ซึง่ เป็นอาจารย์มหาวิทยาลัยทำ�งานเป็นฝ่ายสนับสนุน ด้านวิชาการและเสริมความรู้ในส่วนต่าง ๆ” “จากการทำ�งานในครัง้ นัน้ ทำ�ให้ดฉิ นั รูว้ า่ อุปสรรคสำ�คัญของทันตบุคลากรในการ ทำ�ฟันคนพิการ คือ “ความมั่นใจ” สิ่งที่ได้พบนี้ทำ�ให้ต้องการต่อยอด โดยทำ�งานแก้ปัญหา เรื่องนี้กับนิสิตในระดับปริญญาตรี” คุณหมอจุฑารัตน์ มีความเชือ่ มัน่ ว่า การจัดการเรียนรูใ้ ห้นสิ ติ ทันตแพทย์ได้พบกับ กลุ่มคนพิการและผู้สูงอายุ จะเป็นหนทางที่ดีในการสร้างโอกาสให้ได้พบ และสื่อสารเพื่อ สร้างความเข้าใจระหว่างกัน หากทำ�ควบคูไ่ ปกับการพัฒนาทักษะการดูแลสุขภาพช่องปาก โดยปรับความรูท้ ไ่ี ด้เรียนในชัน้ เรียนมาใช้ น่าจะทำ�ให้ลกู ศิษย์เกิดความมัน่ ใจในการให้การดูแล และการรักษาคนพิการและผู้สูงอายุต่อไปหลังจบปริญญาตรี นั่นคือ ที่มาของโครงการสร้างทัศนคติที่ดีและพัฒนาความสามารถของนิสิต ทันตแพทย์ ด้วยกระบวนการเรียนรู้คนพิการและผู้สูงอายุภาวะพึ่งพา ที่เธอริเริ่มขึ้น เมื่อปี 2557 โครงการนีม้ รี ะยะเวลาดำ�เนินการ 1 ปี ตลอดภาคการศึกษาปี 2557 วัตถุประสงค์ สำ�คัญ มุง่ ทีก่ ารส่งเสริมให้นสิ ติ ทันตแพทย์ มหาวิทยาลัยนเรศวร มีทศั นคติทด่ี แี ละได้พฒ ั นา ความสามารถในการดูแลสุขภาพช่องปากของคนพิการและผู้สูงอายุ เนือ่ งจากกิจกรรมของโครงการได้ถกู บรรจุไว้ในรายวิชาต่าง ๆ ของหลักสูตรในสาขา วิชาทันตกรรมชุมชน ทั้ง 6 ชั้นปี จึงเริ่มต้นด้วยการการประชุมคณาจารย์ทั้ง 9 ท่าน ของ
97 สาขาวิชาทันตกรรมชุมชน ภาควิชาทันตกรรมป้องกัน เพือ่ ช่วยกันดูวา่ รายวิชาไหนสามารถ บรรจุกิจกรรมอะไรได้บ้างในการ “ตอบโจทย์” เรื่องการสร้างทัศนคติที่ดี และการพัฒนา ความสามารถในการดูแลสุขภาพช่องปากของคนพิการและผู้สูงอายุ นอกจากนี้ ยังรวมถึง การผลิตสื่อส่งเสริมสุขภาพช่องปากของคนพิการแลผู้สูงอายุอีกด้วย “อย่างน้อยขอให้กลุม่ เป้าหมายรอง คือ คนพิการและผูส้ งู อายุได้เจอกับนิสติ ซึง่ เป็น กลุม่ เป้าหมายหลัก เพือ่ ให้ได้สอ่ื สารกัน จึงมีการพูดคุยเพือ่ วางคอร์สของปีการศึกษา 2557 ล่วงหน้า โดยพิจารณาดูวา่ กลุม่ คนพิการและผูส้ งู อายุจะสามารถสอดแทรกเข้าไปในรายวิชา ไหนได้บ้าง สาระสำ�คัญที่ต้องพิจารณาก็คือคำ�อธิบายรายวิชา (concept) ของแต่ละวิชา” คุณหมอจุฑารัตน์ ได้ให้ข้อมูลเพิ่มเติม ทั้งนี้ นิสิตระดับชั้นปีที่ 1 - 3 มีจำ�นวนชั้นปีละประมาณ 50 - 60 คน และ ระดับ ชั้นปีที่ 4 - 6 มีจำ�นวนชั้นปีละประมาณ 70 - 80 คน สาระสำ�คัญของหลักสูตร มีดังนี้ รายวิชาปี 1 - 3 เป็นเรือ่ งการศึกษาชุมชนในมิตสิ งั คม, วัฒนธรรม, การสือ่ สารและ งานส่งเสริมสุขภาพ รายวิชาปี 4 - 6 เป็นเรื่องฝึกปฏิบัติทันตกรรมป้องกัน, งานส่งเสริมสุขภาพ และ งานทันตสาธารณสุข แต่ละรายวิชาจะมีสดั ส่วนจำ�นวนชัว่ โมงบรรยายและปฏิบตั แิ ตกต่างกัน ตามโครงสร้าง ของหลักสูตรทันตแพทยศาสตร์บัณฑิตและคำ�อธิบายรายวิชา เนื่องจาก กิจกรรมในโครงการนี้ถูกสอดแทรกไว้ในรายวิชาต่างๆ ของสาขาวิชา ทันตกรรมชุมชนสำ�หรับนิสติ แต่ละชัน้ ปี จึงขอให้รายละเอียดกิจกรรมต่างๆ โดยไล่เรียงตาม ลำ�ดับของแต่ละชั้นปี ดังนี้ ชั้นปีที่ 1 เนื้อหาในรายวิชาทันตกรรมชุมชนยังไม่สามารถเชื่อมโยงกับกลุ่มคนพิการและ ผู้สูงอายุได้ ชั้นปีที่ 2 รายวิชาทีส่ อดแทรกเนือ้ หาเรือ่ งคนพิการและผูส้ งู อายุ คือ วิชาจิตพฤติกรรมศาสตร์
98 สำ�หรับทันตแพทย์ โดยแบ่งเป็น 2 หัวข้อการเรียนรู้ คือ ฐานปฏิบัติการเรียนรู้ โลกมืด โลกแคบ และโลกอนาคต หัวข้อนี้ต้องการให้นิสิตเข้าใจความรู้สึกและข้อจำ�กัดของคนพิการและผู้สูงอายุ เพื่อให้การช่วยเหลือและดูแลได้อย่างเหมาะสมต่อไป รูปแบบของกิจกรรมนี้แบ่งการเรียนรู้ออกเป็น 3 ฐานคือ โลกมืด, โลกแคบ และ โลกอนาคต โดยแบ่งนิสิตในระดับชั้นปีที่ 2 จำ�นวน 52 คน แบ่งเป็น 3 กลุ่มๆ ละ 17-18 คน เพื่อให้นิสิตแต่ละกลุ่มได้เข้าฐานๆ ละ 20 นาที ในคาบเรียน 1 ชั่วโมง ฐานโลกมืด : เนื้อหาเกี่ยวกับผู้บกพร่องทางการมองเห็น แบ่งเป็น 2 กิจกรรมย่อย คือ ใช้เชือกปิดตานิสิตและให้เดินอยู่ในห้องเพื่อให้สัมผัสกับประสบการณ์ของ การเคลือ่ นไหวโดยทีต่ ามองไม่เห็น จากนัน้ ให้นสิ ติ จับคูก่ นั คนหนึง่ สวมบทบาทเป็นคนตาบอด โดยใช้ผ้าปิดตาเอาไว้ และให้อีกคนนำ�ทางไปตามทางเดินของอาคารเรียน กิจกรรมนี้ ต้องการให้นิสิตได้ฝึกการนำ�ทางและดูแลคนพิการทางการมองเห็น คุณหมอจุฑารัตน์ ขยายรายละเอียดของกิจกรรมดังกล่าวว่า “เพื่อให้รู้หลักการนำ�ทางคนตาบอดอย่างถูกวิธีนั้นต้องทำ�อย่างไร เป็นการสอน ทักษะเบือ้ งต้น ใช้ได้ทง้ั กับคนตาบอดทีม่ ารับบริการและหากเวลาได้พบคนตาบอดตามท้องถนน จะได้รู้วิธีให้ความช่วยเหลือ” ฐานโลกแคบ : ฐานนี้เกี่ยวข้องกับเรื่องรถเข็น (wheelchair) นิสติ ต้องจับคูก่ นั เพือ่ ผลัดกันเป็นผูป้ ว่ ย, คนพิการหรือผูส้ งู อายุ ทีต่ อ้ งนัง่ บนรถเข็น ในขณะที่นิสิตอีกคนเป็นผู้เข็นรถไปตามทางเดินและขึ้นลงลิฟต์ ผู้เข็นต้องฝึกการดูแลและ เข็นรถอย่างเหมาะสม ให้ผนู้ ง่ั ซึง่ สวมบทบาทผูท้ ต่ี อ้ งการการดูแลนัง่ บนรถเข็นไปยังสถานที่ ต่าง ๆ ด้วยความสะดวกสบายและปลอดภัย “กิจกรรมนีเ้ ราต้องการฝึกการดูแลด้วยความเคารพและให้เกียรติผทู้ น่ี ง่ั อยูบ่ นรถเข็น และดูแลให้ความช่วยเหลืออย่างเหมาะสม มีการพูดคุยสือ่ สารกันเพือ่ ให้ผปู้ ว่ ยรูส้ กึ สบายใจ และอยากให้เรียนรูว้ า่ พืน้ ทีส่ าธารณะควรเป็นของคนทุกคน ทุกประเภท ไม่วา่ จะเป็นคนพิการ ประเภทไหนก็ตอ้ งใช้ได้เหมือน ๆ กัน” ทพญ.ดร.จุฑารัตน์ อธิบายทีม่ าของรูปแบบกิจกรรม ดังกล่าว
99 ฐานโลกอนาคต : ฐานนี้เกี่ยวข้องกับเรื่องผู้สูงอายุ ในกิจกรรมนีม้ กี ารใช้อปุ กรณ์เพือ่ ช่วยจำ�ลองภาวะสูงวัยทัง้ การมองเห็น การได้ยนิ และการเคลือ่ นไหวข้อต่อ เช่น การใช้สกอตเทปพันข้อนิว้ ของนิสติ เพือ่ ให้ขยับหรือเคลือ่ นไหว ลำ�บาก และให้ลองหยิบจับของใช้ในชีวิตประจำ�วัน เช่น ช้อน ปากกา เม็ดยา และเงิน นอกจากนี้ ยังทิง้ โจทย์ให้นสิ ติ ได้ลองคิดว่าหากคนไข้ใช้มอื จับแปรงสีฟนั ไม่ได้ จะทำ�อย่างไร เป็นต้น กิจกรรมจิตอาสา (รายวิชาจิตพฤติกรรมศาสตร์สำ�หรับทันตแพทย์ ในภาคเรียน ปลายปีการศึกษา 2557) เป็นกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้นิสิตเป็นผู้เลือกกลุ่มเป้าหมาย ตามความชอบ “กิจกรรมนี้เป็นเพียงหนึ่งหัวข้อในหนึ่งรายวิชา เวลาดำ�เนินงานจึงมีไม่มาก เฉลี่ยประมาณ 1 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ จึงสามารถรวมไปทำ�ในวันหยุดแค่ 2 วัน และก่อนทำ� กิจกรรม นิสิตต้องประสานงานกับพื้นที่ และเก็บข้อมูลก่อน” คุณหมอจุฑารัตน์ ขยาย รายละเอียด จากนั้น นิสิตทุกกลุ่มในชั้นปีนี้ต้องนำ�เสนอผลงานของตัวเองกับเพื่อนกลุ่มอื่น ๆ ด้วยป้ายไวนิลและการนำ�เสนอหน้าชั้นเรียน ทั้งนี้ กิจกรรมจิตอาสามีด้วยกัน 8 กิจกรรม (ตามกลุ่มของนิสิต) ดังนี้ จิตอาสาด้วยใจ ยางยืดออกกำ�ลังกายเพือ่ ผูส้ งู อายุ นิสติ จำ�นวน 6 คน ทำ�กิจกรรม กับผู้สูงอายุจำ�นวน 30 คน เป็นเวลา 5 วัน เป็นการฝึกผู้สูงอายุให้สามารถออกกำ�ลังกาย เพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อด้วยยางยืด ปันความรักปัน้ ความรู้ มอบรอยยิม้ สูส่ ถานสงเคราะห์วงั ทอง จังหวัดพิษณุโลก นิสิตจำ�นวน 6 คน ทำ�กิจกรรมกับผู้สูงอายุและผู้บกพร่องทางจิตใจและสติปัญญา จำ�นวน 30 คน เป็นเวลา 2 วัน เป็นการจัดกิจกรรมนันทนาการ และให้ความรู้เรื่องการดูแล สุขภาพช่องปาก จากนั้น นิสิตจึงช่วยกันทำ�ความสะอาดอาคารผู้ป่วยชายและสุขศาลา The Beautiful Blind Sight นิสิตจำ�นวน 7 คน ทำ�กิจกรรมกับคนตาบอด จำ�นวน 8 คน เป็นเวลา 2 วัน ในกิจกรรมนี้ นิสิตได้พากลุ่มเป้าหมายไปทัศนศึกษาและ ทำ�บุญที่วัด
100 OPD Helping Hand นิสิตจำ�นวน 6 คน ทำ�กิจกรรมกับผู้สูงอายุและคนพิการ จำ�นวนประมาณ 30 คน ที่แผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลนเรศวร จำ�นวน 5 วัน ในกิจกรรม นี้นิสิตได้ช่วยกันให้บริการผู้ป่วยใหม่ที่มารับบริการที่แผนกผู้ป่วยนอก ด้วยการจัดทำ�แฟ้ม, การคัดกรองผู้ป่วยตามใบนัด และช่วยกันนำ�ทางหรือเข็นรถผู้ป่วย จิตอาสาวัยใสใส่ใจผูส้ งู อายุ นิสิตจำ�นวน 6 คน ทำ�กิจกรรมกับผู้สูงอายุติดเตียง และญาติ 1 ครอบครัว ในกิจกรรมนี้นิสิตได้ลงเยี่ยมและให้กำ�ลังใจผู้สูงอายุติดเตียง Book for Blind นิสติ จำ�นวน 6 คน ได้ชว่ ยกันผลิตหนังสือเสียงให้แก่คนตาบอด แบ่งเนื้อหาเป็น 2 ประเภท คือ การดูแลสุขภาพช่องปากที่ประชาชนทั่วไปควรรู้ และ วรรณกรรมทั่วไปที่ทางห้องสมุดคนตาบอดจัดไว้ให้ Beautiful Sound นิสติ จำ�นวน 6 คน ทำ�กิจกรรมกับนิสติ ผูบ้ กพร่องทางการได้ยนิ ของมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม จำ�นวน 10 คน ในกิจกรรมนี้นิสิตได้ตรวจสุขภาพ ช่องปากและให้ความรูเ้ รือ่ งการจัดฟัน ตลอดจนการเรียนรูส้ อ่ื ภาษามือทีเ่ กีย่ วข้องกับการดูแล สุขภาพช่องปาก เช่น อ้าปาก, ฟันผุ ฯลฯ The Gift ของขวัญด้วยใจ นิสิตจำ�นวน 6 คน ทำ�กิจกรรมกับผู้ป่วยเด็ก (อายุ 5 - 12 ปี) จำ�นวน 15 คน ในแผนกกุมารเวชกรรม 1 โรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก ในกิจกรรมนีน้ สิ ติ ได้ประชาสัมพันธ์และรับบริจาคขวด กล่องกระดาษ ฯลฯ จากนัน้ ได้จดั ทำ� ของเล่นจากของบริจาค มอบของขวัญ และให้กำ�ลังใจผู้ป่วยเด็ก ชั้นปีที่ 3 รายวิชาทีน่ สิ ติ ในระดับชัน้ ปีนสี้ ามารถทำ�งานกับกลุม่ ผูส้ งู อายุและคนพิการได้คอื เรื่องงานสร้างเสริมสุขภาพ แบ่งเป็น 2 หัวข้อ ได้แก่ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ในกิ จ กรรมนี้ ไ ด้ เชิ ญ ทั น ตแพทย์ แ ละตั ว แทนของคนพิ ก ารและผู้ ดู แ ลมาเล่ า ประสบการณ์ด้านการดูแลสุขภาพช่องปากของคนพิการให้นิสิตได้ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ “นิสิตในระดับชั้นปีที่ 3 จำ�นวน 51 คนนี้ จะได้เรียนรู้เรื่องการส่งเสริมสุขภาพ
101 ตั้งแต่เรื่องความหมาย วิธีดำ�เนินการ ในปีนี้เราได้คิดรูปแบบกิจกรรมเพื่อสร้างทัศนคติที่ดี ในการดูแลคนพิการให้แก่นสิ ติ ด้วยการเชิญผูป้ ฏิบตั งิ านมาพูดคุยประสบการณ์การทำ�งาน” คุณหมอจุฑารัตน์ เล่าถึงกิจกรรมดังกล่าว ซึ่งจัดขึ้นด้วยกัน 3 ครั้ง โดยมีรายละเอียดดังนี้ ครัง้ ที่ 1 วิทยากรได้แก่ ทพ.พูลพฤกษ์ โสภารัตน์ ทันตแพทย์ประจำ�โรงพยาบาล วัดจันทร์ เฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา อำ�เภอกัลยาณิวฒ ั นา จังหวัดเชียงใหม่ ผูซ้ ง่ึ มีความมุง่ มัน่ ในการปฏิบัติงาน โดยเฉพาะกับกลุ่มผู้ป่วยที่เป็นเด็กพิการ คุณหมอพูลพฤกษ์ได้ใช้ “การ เยี่ยมบ้าน” เป็นช่องทางการดูแลผู้ป่วยกลุ่มนี้ เนื่องจากผู้ดูแลมีความยากลำ�บากในการ พาผู้ป่วยไปพบแพทย์ที่โรงพยาบาล นอกจากนี้ ยังได้ปรับรูปแบบการรักษาผู้ป่วย แทนที่ จะตัง้ รับอยูแ่ ต่ในโรงพยาบาล แต่ให้การรักษาเชิงรุกถึงทีบ่ า้ น ทัง้ เรือ่ งการขูดหินปูน, การอุดฟัน หรือแม้แต่การถอนฟัน แนวทางการทำ�งานของ คุณหมอพูลพฤกษ์ สามารถสร้างแรงบันดาลใจแก่นิสิต ที่เรียนอยู่แต่ในชั้นเรียนได้อย่างมาก ทพญ.ธนิดา โพธิด์ ี อาจารย์ประจำ�สาขาวิชาทันตกรรมชุมชน ภาควิชาทันตกรรม ป้องกัน คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ซึ่งเป็นอาจารย์ท่านหนึ่งที่ได้ร่วม โครงการนี้ ได้ให้รายละเอียดเพิ่มเติมว่า
ทพญ.ธนิดา โพธิ์ดี คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
102 “เนื่องจากนิสิตปี 3 เป็นชั้นปีที่เรียนด้านเทคนิคของวิชาชีพอย่างเข้มข้น ทำ�ให้ มีแรงกดดันมากเพราะเรียนแล็บเยอะ เกณฑ์การวัดผลก็มีมาตรฐานสูง ทำ�ให้เขาไม่ค่อย มีโอกาสได้พบปะผู้คนมากนัก ต้องคอยติดต่อแต่กับอาจารย์ งานทำ�ไม่ผ่านก็ต้องแก้ไข ทำ�ให้อาจเกิดความรู้สึกว่าตัวเองทำ�งานไม่สำ�เร็จ แต่พอมาฟังคุณหมอพูลพฤกษ์เล่า ประสบการณ์การทำ�งานแล้ว เรื่องราวของคุณหมอได้ขยายมุมมองของพวกเขา ทำ�ให้เกิด แรงบันดาลใจที่จะทำ�งาน และรู้ว่าตัวเขานั้นจะทำ�ประโยชน์กับผู้อื่นได้อย่างไร” ครัง้ ที่ 2 วิทยากรได้แก่ ทพญ.เยาวพา จันทรบุตร ทันตแพทย์ประจำ�โรงพยาบาล โพนทอง อำ�เภอโพนทอง จังหวัดร้อยเอ็ด ผูซ้ ง่ึ เป็นทันตแพทย์ผทู้ ท่ี �ำ งานในรูปแบบสหวิทยาการ และเป็นเครือข่ายกับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำ�บล (รพ.สต.) ในการออกเยีย่ มบ้านผูป้ ว่ ย, คนพิการ และผูส้ งู อายุ ภายในพืน้ ทีร่ บั ผิดชอบร่วมกับทีมสหสาขาวิชาชีพ โดยให้ความสำ�คัญ กับผู้ด้อยโอกาส โดยเฉพาะคนพิการและผู้สูงอายุ เพื่อสนับสนุนให้กลุ่มด้อยโอกาสเหล่านี้ สามารถเข้าถึงบริการด้านทันตสาธารณสุข คุณหมอเยาวพาได้นำ�ประสบการณ์เกี่ยวกับการค้นหาคนพิการ, การเยี่ยมบ้าน ร่วมกับทันตาภิบาลของ รพ.สต. เพื่อให้คำ�แนะนำ�ในการดูแลสุขภาพช่องปาก, การตรวจ สุขภาพช่องปากและการให้บริการผู้ป่วยที่บ้าน, การกำ�หนดช่องทางพิเศษ (fast tract) ที่ฝ่ายทันตสาธารณสุขจัดให้แก่คน พิการ, การตรวจคัดกรองมะเร็งช่องปากให้กับผู้ สูงอายุในพื้นที่ ทำ�ให้นิสิตได้เห็นตัวอย่างและแนวทางการทำ�งานในอนาคต ครัง้ ที่ 3 ได้เชิญเด็กพิการและผูป้ กครองจากโรงเรียนพิษณุโลกปัญญานุกลู มาร่วม แลกเปลีย่ นเรียนรู้ โดยเด็กพิการ 2 คน ทีม่ าร่วมกิจกรรมนีเ้ ป็นเด็กออทิสติก และ เด็กบกพร่อง ทางการเรียนรู้ ร่วมด้วยคุณครูอีก 1 ท่าน ในกิจกรรมครัง้ นี้ ต้องการให้นสิ ติ มีโอกาสได้ท�ำ ความรูจ้ กั กับเด็กพิการ ตลอดจน โรงเรียนพิษณุโลกปัญญานุกูล ซึ่งเป็นโรงเรียนที่ให้การดูแลเด็กพิการ คุณหมอธนิดา ได้ให้รายละเอียดว่า “ในกิจกรรมนีค้ รูเป็นผูเ้ ริม่ ต้นเล่าให้เห็นภาพรวมของโรงเรียนพิษณุโลกปัญญานุกลู ว่ามีหน้าที่อะไร ดูแลใครบ้าง เพื่อปูพื้นให้นิสิตได้รู้จักสถาบันแห่งนี้ จากนั้น เป็นเรื่องเล่า ของผู้ปกครองแต่ละท่าน เรื่องการดูแลลูก ๆ ของเขาว่าแต่ละวันต้องดูแลอย่างไร เป็นการ ถ่ายทอดประสบการณ์”
103 ในกิจกรรมนี้ นิสติ มีโอกาสได้พดู คุยกับผูป้ กครองและคุณครูจากโรงเรียนพิษณุโลกปัญญานุกูล นิสิตต่างให้ความสนใจเป็นอย่างมากกับความเป็นอยู่ของเด็กพิการ “เมื่อนิสิตได้พบกับเด็กพิการตัวจริง เสียงจริง มีคำ�ถามเยอะมาก เช่น น้องไป ทำ�ฟันที่ไหน อย่างไร เมื่อน้องมีปัญหาปวดฟัน คุณพ่อคุณแม่ดูแลน้องอย่างไร เป็นต้น” การปฏิบัติงานของนิสิตด้านการส่งเสริมสุขภาพให้กับกลุ่มคนพิการ ในหัวข้อนี้ นิสติ มีเวลาทำ�งานประมาณครึง่ เทอม จากนิสติ 8 กลุม่ มี 2 กลุม่ ทีเ่ ลือก ทำ�งานกับกลุ่มคนพิการและผู้สูงอายุ ได้แก่ กลุ่มที่ 1 กิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพในช่องปากและการเรียนรู้ศัพท์ภาษามือ ในการสือ่ สารสุขภาพช่องปากของนักศึกษาผูบ้ กพร่องทางการได้ยนิ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบลู สงคราม (จำ�นวน 15 คน) กิจกรรมนีน้ สิ ติ เป็นผูเ้ ลือกกลุม่ เป้าหมาย ทีเ่ ป็นนักศึกษาผูบ้ กพร่องทางการได้ยนิ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ทั้งนี้ ก่อนทำ�กิจกรรมกับกลุ่มเป้าหมาย มีการค้นหา และสำ�รวจปัญหาก่อนการทำ�งาน เพือ่ ให้ตรงกับความต้องการของผูบ้ กพร่องทางการได้ยนิ คุณหมอธนิดา ได้ให้รายละเอียดว่า “กลุม่ เป้าหมายกลุม่ นีเ้ ป็นผูบ้ กพร่องทางการได้ยนิ ซึง่ เป็นนักศึกษาในมหาวิทยาลัย ราชภัฏพิบูลสงคราม นิสิตของเราได้เข้าไปพูดคุยกับกลุ่มเป้าหมายก่อน โดยมีครูทำ�หน้าที่ เป็นล่าม เพื่อสอบถามปัญหาเรื่องช่องปากและการรับบริการ พบว่า พวกเขามีปัญหา เรื่องการสื่อสารกับทันตแพทย์ ไม่รู้จะสื่อสารอย่างไร ทำ�ให้นิสิตคิดโจทย์ว่า ทำ�อย่างไร จึงจะทำ�ให้นิสิตในชั้นปีเดียวกับตัวเองได้เรียนรู้เรื่องการสื่อสารกับคนพิการกลุ่มนี้” ในกิจกรรมนี้ นิสติ ได้รวบรวมภาษามือในกลุม่ ความหมายทีค่ ดิ ว่าจะเป็นประโยชน์ กับทันตแพทย์สำ�หรับสื่อสารกับผู้บกพร่องทางการได้ยิน อาทิ อ้าปาก, อุดฟัน, ปวดไหม, เจ็บไหม ฯลฯ และนำ�มาเสนอแก่เพื่อนนิสิตในชั้นเรียน กลุ่มที่ 2 กิจกรรมผู้สูงวัยใส่ใจอาหาร ต้านความดันโลหิตสูง ของ ชมรมผู้สูงอายุ วัดสว่างอารมณ์ อำ�เภอเมืองพิษณุโลก (จำ�นวน 20 คน) กิจกรรมนีน้ สิ ติ ได้ประสานกับชมรมผูส้ งู อายุวดั สว่างอารมณ์ อำ�เภอเมืองพิษณุโลก เพือ่ ขอร่วมทำ�กิจกรรมในวันรวมกลุม่ สมาชิกของชมรมฯเป็นเวลา 1 ครัง้ จากนัน้ จึงเริม่ ค้นหา ปัญหาของสมาชิกในชมรมฯ พบว่า ปัญหาด้านสุขภาพที่สำ�คัญคือโรคความดันโลหิตสูง
104 นิสิตจึงคิดรูปแบบกิจกรรม นำ�เสนอวิธีการควบคุมโรคความดันโลหิตสูงด้วยการ รับประทานอาหารที่เหมาะสม โดยพูดคุยให้คำ�แนะนำ�กับผู้สูงอายุที่มีปัญหาเรื่องนี้เป็น รายบุคคลและรายกลุ่ม มีการใช้พาวเวอร์พอยต์ประกอบ ชั้นปีที่ 4 ในชัน้ ปีน้ี ตามปกติแล้วนิสติ ต้องเรียนเรือ่ งการทำ�สือ่ สุขศึกษา โดยมีกลุม่ เป้าหมาย เป็นผู้สูงอายุและคนพิการ นิสิตทั้งหมดแบ่งเป็น 3 กลุ่ม ผลิตได้ 3 สื่อ คือ กลุ่มที่ 1 ผลิตสื่อวิดีโอ เรื่องการดูแลสุขภาพช่องปากของเด็กดาวน์ซินโดรม นิสิตกลุ่มนี้เตรียมความพร้อมก่อนจัดทำ�สื่อด้วยการค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับสุขภาพ ช่องปากของเด็กดาวน์ซนิ โดรมจากผูป้ กครอง เพือ่ ให้ทราบเนือ้ หาทีเ่ หมาะสมสำ�หรับการทำ�สือ่ และมีประโยชน์สำ�หรับกลุ่มเป้าหมายอย่างแท้จริง “นิสิตกลุ่มนี้ตัดสินใจทำ�สื่อวิดีโอ เนื้อหาเกี่ยวกับการแปรงฟัน โดยนิสิตเป็น ผูส้ าธิตเอง เป็นการจัดท่าทางหรือสาธิตวิธกี ารในการแปรงฟันให้กบั เด็กกลุม่ นี้ ในท่านนอน, ท่านั่ง และท่าห่อตัว” คุณหมอธนิดา ให้รายละเอียดเพิ่มเติม กลุ่มที่ 2 ผลิตสื่อโปสเตอร์เรื่องสุขภาพช่องปากของผู้สูงอายุ นิสิตกลุ่มนี้ได้รวบรวมความรู้ที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพช่องปากของผู้สูงอายุ อาทิ การดูแลช่องปากกรณีที่ไม่มีฟันเหลืออยู่ หรือกรณีที่มีฟันปลอม ต้องดูแลฟันปลอมเช่นไร เป็นต้น โดยจัดทำ�เป็นโปสเตอร์ กลุ่มที่ 3 ผลิตสื่อวิดีโอ เรื่องทันตกรรมป้องกันในผู้สูงอายุ นิสติ กลุม่ นีม้ คี วามเห็นว่าสือ่ วิดโี อเป็นทางเลือกทีน่ า่ สนใจสำ�หรับผูส้ งู อายุ สามารถ ให้รายละเอียดต่าง ๆ ด้วยภาพเคลื่อนไหวควบคู่ไปกับการสาธิตหรือการอธิบาย โดยนิสติ ทำ�หน้าที่เป็นผู้สาธิตการดูแลสุขภาพช่องปาก เพื่อให้ผู้สูงอายุสามารถดูแลตัวเองได้หรือ สำ�หรับผู้ดูแลที่ต้องดูแลผู้สูงอายุภาวะพึ่งพา ชั้นปีที่ 5 นิสติ ชัน้ ปีนไี้ ม่ได้ท�ำ กิจกรรมทีเ่ กีย่ วข้องกับกลุม่ คนพิการและผูส้ งู อายุ เพราะกลุม่ เป้าหมายถูกกำ�หนดไว้แล้วด้วยวัตถุประสงค์ของรายวิชาว่า จะต้องเป็นศูนย์พฒ ั นาเด็กเล็ก
105 ชั้นปีที่ 6 ในชัน้ ปีนนี้ สิ ติ ต้องเน้นพัฒนาทักษะด้านวิชาชีพ รายวิชาทีส่ ามารถทำ�งานกับกลุม่ คนพิการและผู้สูงอายุแบ่งเป็น 4 หัวข้อ คือ ทันตกรรมป้องกัน ในหัวข้อนี้นิสิตทุกคนต้องเข้าร่วมเนื่องจากเป็นวิชาบังคับ โดยได้เชิญวิทยากร มาบรรยายเรือ่ งงานทันตกรรมป้องกันในกลุม่ เด็กพิเศษ คือ ทพญ.ภัตติมา บุรพลกุล ประจำ� สถาบันราชานุกูล กรมสุขภาพจิต และเรื่องงานทันตกรรมป้องกันในกลุ่มผู้สูงอายุ คือ ทพญ.ดร.มัทนา เกษตระทัต ประจำ�คณะทันตแพทย์ มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์ คุณหมอภัตติมา เป็นทันตแพทย์ทด่ี แู ลรักษาฟันให้กบั กลุม่ เด็กพิการด้านสติปญ ั ญา จึงได้นำ�เสนอมุมมองที่เกี่ยวข้องกับการดูแลและรักษาเด็กพิการ เป็นการเล่าประสบการณ์ เชิงการรักษาว่าถ้ามีเด็กพิเศษมารับการรักษา ต้องดูแลอะไรบ้าง วิธกี ารพูดคุยและการจัดการ นอกจากนี้ ยังเน้นให้ก�ำ ลังใจและความรูแ้ ก่ผปู้ กครองเพือ่ ให้สามารถกลับไปดูแลบุตรหลานได้ “การแลกเปลี่ยนประสบการณ์นั้น คุณหมอเน้นการเล่าเรื่องราวต่าง ๆ ที่ทำ�ให้ สามารถเข้าใจคุณสมบัติของเด็กกลุ่มพิการทางสติปัญญาว่าพวกเขามีธรรมชาติที่น่ารัก อย่างไรบ้าง ไม่ได้ลงลึกเรื่องคลินิกมาก” คุณหมอธนิดาได้เพิ่มเติมอีกว่า ในตอนท้ายของการแลกเปลี่ยน คุณหมอภัตติมา ยังได้ฝากแนวคิดแก่นิสิตไว้ว่า ผูพ้ กิ ารควรจะได้รบั การรักษา กรณีมปี ญ ั หาทางช่องปากด้วยอาการทีย่ งั เล็กน้อย ไม่รนุ แรง แต่เนื่องจากการขาดความเชื่อมั่นของทันตแพทย์ในการให้การรักษาคนกลุ่มนี้ ทำ�ให้ต้องมี การส่งต่อซึ่งใช้ระยะเวลานานว่าจะมาถึงสถาบันราชานุกูล อาการของโรคก็ลุกลามแล้ว “คุณหมอได้ให้กำ�ลังใจและความเชื่อมั่นว่า ทันตแพทย์ที่จบ 6 ปี สามารถให้การ รักษาเด็กพิการได้ ไม่จำ�เป็นต้องรอส่งมาที่สถาบันราชานุกูลหรือโรงพยาบาลใหญ่เพื่อให้ ผู้พิการได้รับการรักษาทันท่วงที” ทัง้ นี้ อาจารย์ผรู้ บั ผิดชอบรายวิชาทันตกรรมชุมชน 6 ได้ประสานงานและคัดกรอง กลุม่ เป้าหมายมาให้นสิ ติ ดูแลรักษาตามขัน้ ตอนทีไ่ ด้เรียน โดยแบ่งนิสติ จำ�นวน 81 คนออกเป็น กลุ่ม ๆ ละ 3 - 4 คนดูแลผู้ป่วย 1 ราย
106 ส่วนกลุม่ เป้าหมายทีเ่ ป็นผูป้ ว่ ยมีดว้ ยกัน 2 กลุม่ คือ ผูส้ งู อายุจากเขตเทศบาลท่าทอง จำ�นวน 7 ราย และนักเรียนทีม่ คี วามบกพร่องทางสติปญ ั ญาจากโรงเรียนพิษณุโลกปัญญานุกลู จำ�นวน 13 ราย “ในหัวข้อนี้ อาจารย์ผู้สอนต้องบรรยายให้ความรู้เรื่องทันตกรรมป้องกันสำ�หรับ ผู้สูงอายุและเด็กพิเศษก่อน เพื่อให้นิสิตมีความรู้พื้นฐานก่อนปฏิบัติงานจริง จากนั้น อาจารย์จะเป็นผูค้ ดั กรองคนไข้มาให้เพือ่ ให้นสิ ติ ได้รกั ษา โดยขัน้ ตอนการปฏิบตั งิ านของนิสติ คือ การตรวจคนไข้, การซักประวัต,ิ การประเมินความเสีย่ งของจิตใจสังคม และการวางแผน การรักษา โดยต้องนัดคนไข้ต่อเนื่อง 7 - 8 ครั้ง” คุณหมอจุฑารัตน์ ได้ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า ทุกกลุ่มสามารถทำ�งานได้อย่างมี ประสิทธิภาพด้วยดี การเลือกเสริมประสบการณ์เฉพาะทางทันตกรรมชุมชน รายวิชานี้เป็นวิชาเลือกของนิสิตชั้นปีที่ 6 ตามความสนใจ ทั้งนี้มีนิสิต 7 คน สนใจสาขาทันตกรรมชุมชน การฝึกปฏิบัติงานแบ่งเป็น 2 ภาคเรียน ได้แก่ ภาคเรียนต้น นิสติ ฝึกปฏิบตั งิ านแบ่งเป็นกลุม่ ๆ ละ 3 - 4 คน ลงเยีย่ มบ้านเพือ่ ดูแล ผู้สูงอายุภาวะพึ่งพาจำ�นวน 2 คนร่วมกับทีม รพ.สต.ท่าทอง ภายใต้การดูแลของภาควิชา เวชศาสตร์ครอบครัว โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวร “กลุ่มนี้เขาได้ออกเยี่ยมบ้านพร้อมกับทีมเยี่ยมบ้านของคณะแพทยศาสตร์ ซึ่งมี อาจารย์หมอไปด้วย เราได้ขอนิสติ คณะของเราเข้าไปเรียนในงานของเขา ส่วนไหนทีน่ สิ ติ เรา ทำ�ได้ในเรื่องของการส่งเสริมป้องกันด้านทันตกรรม ก็ต้องทำ�ให้คนไข้” คุณหมอจุฑารัตน์ เพิ่มเติม ภาคเรียนปลาย นิสิตฝึกปฏิบัติงานที่ รพ.สต.วังอิทก อำ�เภอบางระกำ� ร่วมกับ รายวิชาอนามัยโรงเรียนและพยาบาลชุมชน ของ นิสิตพยาบาลชั้นปีที่ 4 จำ�นวน 8 คน ของคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร “ก่อนหน้านี้เวลาลงเยี่ยมบ้าน นิสิตทันตแพทย์ก็ต้องไปกันเอง แต่ในโครงการนี้ เราสามารถทำ�ได้มากกว่า โดยให้นิสิตของเราทำ�งานร่วมกับพยาบาล ลงพื้นที่และช่วยกัน จัดการกับปัญหาเหมือนกับการเยี่ยมบ้านจริง” คุณหมอจุฑารัตน์ กล่าว
107 นิสิตทันตแพทย์และนิสิตพยาบาลได้ผลิตสื่อสุขศึกษาร่วมกัน เพื่อแก้ไขปัญหา การดูแลสุขภาพช่องปากของผูส้ งู อายุตดิ เตียงด้วยโรคเรือ้ รังและผูป้ ว่ ยสูงอายุทห่ี ลอดเลือด สมองแตก จึงผลิตสือ่ วิดโี อเรือ่ งการตรวจสุขภาพช่องปากและการบริหารใบหน้าและช่องปาก ตามลำ�ดับ การปฏิบัติวิจัยผลิต 1 สื่อ เป็นสือ่ แบบจำ�ลองฟันประกอบเสียง (audio dentoform) อธิบายการแปรงฟัน พร้อมคู่มือภาษาอักษรเบรลล์ กลุ่มนิสิตทันตแพทย์ชั้นปีที่ 6 จำ�นวน 3 คนทำ�โครงงานวิจัยหนึ่งเรื่องเกี่ยวกับ การผลิตสื่อแบบจำ�ลองฟันประกอบเสียง พร้อมคู่มือภาษาอักษรเบรลล์ สื่อชิ้นนี้ได้ใช้ แบบจำ�ลองชุดฟันแท้ทท่ี �ำ จากพลาสติกและมีจ�ำ หน่ายทัว่ ไป มาปรับพัฒนาให้มเี สียงอธิบาย และภาษาอักษรเบรลล์ สำ�หรับผูบ้ กพร่องทางการมองเห็น ซึง่ หากใช้มอื สัมผัสไปตามส่วนต่างๆ ของแบบจำ�ลอง จะมีเสียงอธิบายวิธกี ารแปรงฟันในส่วนนัน้ ๆ นอกจากนี้ นิสติ กลุม่ ทีจ่ ดั ทำ�สือ่ ชุดนี้ยังได้จัดทำ�คู่มือภาษาอักษรเบรลล์และภาษาไทย อธิบายวิธีการใช้แบบจำ�ลองฟันนี้ และวิธีการแปรงฟันที่ถูกต้องตามขั้นตอน โดยให้ผู้บกพร่องทางการมองเห็นได้ทดลองใช้ และประเมินสื่อทันตสุขศึกษานี้ ซึ่งผลที่ออกมาเป็นที่น่าพอใจ คุณหมอจุฑารัตน์ได้เพิ่มเติมเรื่องนี้ว่า “โมเดลฟันชุดนีเ้ ป็นแบบทีใ่ ช้กนั ทัว่ ไป แต่นสิ ติ นำ�มาทำ�เป็นสือ่ สำ�หรับคนตาบอด โดยการฝังชิปที่มีเสียงอธิบายการแปรงฟันไว้ตามจุดต่าง ๆ ของโมเดล เมื่อเสียงปลั๊กแล้วก็ ใช้งานได้ เมื่อคนตาบอดสัมผัสโมเดลเขาก็จะรับรู้รูปร่างของฟัน และมีเสียงอธิบายวิธีการ แปรงฟันในส่วนนั้น ๆ” นอกจากนี้ นิสิตระดับชั้นปี 6 ยังได้เรียนรู้ฐานการเรียนรู้โลกมืด, โลกแคบ และ โลกอนาคต ในวิชาจิตวิทยาการแพทย์เหมือนนิสิตในระดับชั้นปีที่ 2 อีกด้วย กิจกรรมจิตอาสา รายวิชาจิตวิทยาการแพทย์ (ภาคเรียนต้นปีการศึกษา 2557) กิจกรรมจิตอาสามีด้วยกัน 8 กิจกรรม (ตามกลุ่มของนิสิต) ดังนี้ จิตอาสาร่วมใจเพือ่ ผูส้ งู อายุ นิสติ จำ�นวน 10 คน ทำ�กิจกรรมกับผูส้ งู อายุของชมรม ผู้สูงอายุวัดสว่างอารมณ์ จำ�นวน 20 คน เป็นเวลา 1 วัน กิจกรรมที่ได้ทำ� คือ การดูแล สุขภาพช่องปาก, นันทนาการ และการบริหารร่างกายและสมาธิ
108 ด้วยรักแทนตา อาสาแทนใจ นิสิตจำ�นวน 11 คน ทำ�กิจกรรมกับผู้บกพร่อง ทางการมองเห็นในสมาคมคนตาบอด จังหวัดพิษณุโลก เป็นเวลา 2 วัน กิจกรรมที่ได้ทำ� คือ การช่วยกันทำ�ความสะอาดและปรับปรุงสถานที่ให้เอื้อต่อการประกอบอาชีพนวดของ คนตาบอด From Hands to Hearts นิสิตจำ�นวน 11 คน ทำ�กิจกรรมกับผู้ป่วยติดเตียง ในสถานสงเคราะห์วังทองเป็นเวลา 2 วัน กิจกรรมที่ได้ทำ�คือ การช่วยกันทำ�ความสะอาด และตกแต่งภายในหอผู้ป่วยให้น่าอยู่ และพูดคุยให้กำ�ลังใจผู้ป่วยติดเตียง ตลอดจนการ ช่วยกันแจกจ่ายอาหารกลางวันให้ผู้ป่วย ส่งยิม้ ถึงบ้าน นิสติ จำ�นวน 11 คน ทำ�กิจกรรมกับผูส้ งู อายุภาวะพึง่ พาจำ�นวน 3 คน กิจกรรมทีไ่ ด้ท�ำ คือ การลงเยีย่ มบ้านผูส้ งู อายุ เพือ่ ตรวจและแนะนำ�การดูแลสุขภาพช่องปาก หมอน้อยตรวจฟันพระ นิสิตจำ�นวน 11 คน ทำ�กิจกรรมกับพระสงฆ์ 24 รูป ใน 4 วัดของอำ�เภอเมืองพิษณุโลกเป็นเวลา 2 วัน กิจกรรมที่ได้ทำ�คือ การตรวจสุขภาพ ช่องปากและให้คำ�แนะนำ�การดูแลรักษา อารมณ์ดี สุขภาพดี เกิดขึ้นที่ชุมชนวัดสว่างอารมณ์ นิสิตจำ�นวน 10 คน ทำ�กิจกรรมกับผู้สูงอายุในชุมชนวัดสว่างอารมณ์ 20 คน เป็นเวลา 2 วัน กิจกรรมที่ได้ทำ� คือ การตรวจและดูแลอนามัยช่องปากแก่ผู้สูงอายุ นอกจากนี้ ยังช่วยกันฝึกท่าบริหาร ต่อมนำ�้ ลายและใบหน้าของผู้สูงอายุ ในปีการศึกษา 2557 เป็นเหมือนการจุดประกายให้ทง้ั อาจารย์ในสาขาวิชาทันตกรรม ชุมชน และนิสิตทุกชั้นปีได้มองเห็นความสำ�คัญของการดูแลสุขภาพช่องปากของคนพิการ และผูส้ งู อายุ ทีส่ �ำ คัญทำ�ให้นสิ ติ มีโอกาสได้พบปะพูดคุยและสือ่ สารกับคนกลุม่ นี้ ทำ�ให้เกิด ทัศนคติที่เปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดี ดังตัวอย่างของลัดดา และ วิชญ์พล นิสิตชั้นปีที่ 4 “จากการเข้าร่วมโครงการประมาณ 1 ปี ทำ�ให้ความกลัว ไม่กล้าทีจ่ ะดูแลคนพิการ หายไปค่ะ และจากที่เคยคิดว่าการดูแลคนกลุ่มนี้เป็นเรื่องยาก มุมมองของดิฉันเปลี่ยนไป
109 มีความเห็นว่าทันตแพทย์ตอ้ งมุง่ รักษาคนไข้ทกุ คนให้เท่าเทียมกัน คนพิการเข้ามาก็ตอ้ งรักษา ให้ได้ ไม่ต้องส่งต่อให้หมอคนอื่นตามที่เคยคิดเอาไว้แต่แรก” ลัดดา กล่าว ขณะที่ วิชญ์พล เสริมว่า “ผมเคยมีความคิดว่าคนพิการเป็นคนที่ต้องการดูแลเป็นพิเศษ การจะเข้าหาคน กลุม่ นีเ้ ป็นเรือ่ งยาก และตัวผมเองก็ไม่เคยคิดว่าต่อไปตัวเองจะต้องมาดูแลคนกลุม่ นี้ ถือเป็น เรื่องไกลตัว เหมือนต้องมีผู้เชี่ยวชาญด้านนี้สำ�หรับดูแลคนกลุ่มนี้โดยเฉพาะ ต้องเรียน โดยตรงเพิ่มเติมเพื่องานนี้โดยเฉพาะ ที่สำ�คัญผมไม่เคยรู้มาก่อนว่าคนกลุ่มนี้มีจำ�นวนมาก ทัง้ หมดนีเ้ ป็นเพราะไม่เคยมีโอกาสได้สมั ผัส แต่โครงการนีท้ �ำ ให้ผมมีโอกาสได้สมั ผัสคนกลุม่ นี้ และมีความมั่นใจแล้วครับว่า ผมสามารถจะทำ�งานกับคนกลุ่มนี้ได้” วิชญ์พล ยังมีขอ้ เสนอแนะเกีย่ วกับการเรียนการสอนของคณะทันตแพทยศาสตร์ ที่เอื้อให้นิสิตมีความเข้าใจกลุ่มคนพิการ และผู้สูงอายุ จนเกิดความเชื่อมั่นที่จะให้การดูแล คน 2 กลุ่มนี้ หลังจากที่จบการศึกษาเป็นทันตแพทย์แล้ว “ผมคิดว่าการได้เห็นของจริง และการมีโอกาสได้ปฏิบตั กิ ารจากของจริงเป็นสิง่ ที่ จะช่วยนิสติ ได้มาก เช่น การได้เห็นการปฏิบตั งิ านจริงของอาจารย์ในการดูแลคนพิการและ ผู้สูงอายุในขณะที่เขามารับบริการที่คณะ เราต้องพูดคุยหรือปฏิบัติกับเขาอย่างไร เป็นขั้น เป็นตอน เราจะได้ดูไว้เป็นตัวอย่างครับ” แม้แต่ตวั อาจารย์ผูส้ อนเอง ก็มกี ารปรับเปลีย่ นทัศนคติในการดูแลกลุม่ คนพิการ ดังประสบการณ์จริงที่ คุณหมอธนิดา ได้เล่าเพิ่มเติมว่า “ตัวดิฉนั เองยอมรับว่าแต่กอ่ นก็ไม่กล้าให้การรักษาคนไข้คนพิการเหมือนกัน แต่ ในระหว่างทำ�โครงการนี่เอง มีอยู่ครั้งหนึ่งเป็นช่วงเวลาที่ต้องออกหน่วยที่จังหวัดสุโขทัย ดิฉันได้พบกับเด็กออทิสติก” “ตอนนั้น ตัวเองประจำ�อยู่จุดขูดหินปูน และหลังจากขูดหินปูนและตรวจดูแล้ว พบว่า ฟันแท้ของเด็กต้องได้รับการเคลือบหลุมร่องฟันเพราะมีขนาดลึก จึงได้หันไปบอก ทันตแพทย์ที่รับผิดชอบเรื่องนี้ แต่เขาปฏิเสธที่จะทำ�เพราะไม่มั่นใจ ดิฉันจึงตัดสินใจทำ�ให้ เองเลย” “ในขณะนัน้ ความรูส้ กึ ของตัวเองเปลีย่ นไปจากเดิม มีความรูส้ กึ มัน่ ใจว่าเราทำ�ได้ นั่นเป็นเพราะทัศนคติของดิฉันต่อคนกลุ่มนี้เปลี่ยนไป และเรามีใจที่จะทำ�ให้อยู่แล้ว ทำ�ให้
110 ทุกสิง่ ลุลว่ งด้วยดี และเมือ่ ตัวดิฉนั เองเปลีย่ นแปลงทัศนคติของตัวเองได้แล้ว เวลาทีส่ อนนิสติ ก็ย่อมมีเรื่องของกลุ่มคนพิการและผู้สูงอายุมาเล่ามาสอนนิสิตให้ได้เรียนรู้ด้วย” หลังจบโครงการแล้ว รายวิชาทีย่ งั คงมีกลุม่ คนพิการและผูส้ งู อายุเป็นกลุม่ เป้าหมาย สำ�หรับการเรียนรู้ของนิสิต คือ 1. วิชาเลือกเสริมประสบการณ์เฉพาะทางทันตกรรมและวิชาทันตกรรมชุมชน 6 ในนิสิตทันตแพทย์ชั้นปีที่ 6 และ วิชาทันตกรรมชุมชน 4 ของนิสิตทันตแพทย์ชั้นปีที่ 4 ซึ่งเป็นงานฝึกปฏิบัติงานทันตกรรมป้องกันทั้งคลินิกหรือชุมชน และผลิตสื่อทันตสุขภาพ เพื่อพัฒนานิสิตให้ได้เรียนรู้และพัฒนาทักษะการดูแลสุขภาพช่องปากของผู้สูงอายุและ คนพิการที่รายวิชากำ�หนดไว้ 2. วิชาจิตวิทยาการแพทย์ของนิสติ ชัน้ ปีท่ี 6 และวิชาจิตวิทยาการแพทย์ของนิสติ ชัน้ ปีท่ี 2 ยังคงมีฐานการเรียนรูใ้ นกลุม่ คนพิการและผูส้ งู อายุเพือ่ ให้นสิ ติ ได้เข้าใจการช่วยเหลือ ดูแลที่เหมาะสม สำ�หรับกิจกรรมต่าง ๆ ทีเ่ กิดขึน้ ในระหว่างการทำ�โครงการ เช่น การทำ�งานส่งเสริม สุขภาพกับกลุม่ คนพิการหรือผูส้ งู อายุ และการแลกเปลีย่ นประสบการณ์กบั ทันตแพทย์หรือ คนพิการใน วิชาทันตกรรมชุมชน 3 ของนิสิตชั้นปีที่ 3 ฯลฯ ไม่มีอีกในปีการศึกษา 2558 “ในแต่ละรายวิชามีการเปลี่ยนแปลงอาจารย์ผู้รับผิดชอบ อาจารย์ต้องเป็นผู้คิด กระบวนการเรียนรูท้ จ่ี ะทำ�ให้นสิ ติ ได้ตามคำ�อธิบายของรายวิชา สรุปว่ากิจกรรมแบบทีผ่ า่ นมา ไม่มีการนำ�มาใช้อีก” นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยสำ�คัญที่มีผลต่อหลักสูตรของคณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร คือ ในปี 2558 เป็นช่วงเวลาที่ต้องมีการทบทวนและปรับหลักสูตร ทั้งหมด เพื่อใช้เป็นหลักสูตรของปีการศึกษา 2561 นอกจากการปรับหลักสูตรสำ�หรับใช้ ในปีการศึกษา 2561 แล้ว ยังต้องพิจารณาเนื้อหาแต่ละรายวิชาให้สอดคล้องกับเกณฑ์ การสอบใบประกอบวิชาชีพของทันตแพทยสภาอีกด้วย
111
กรณีท่ี 8 นำ�ศิษย์สพู่ รมแดนใหม่ดว้ ย “กิจกรรมอาสา“ คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เบญญาดา มุตวิ ฒ ั นาสวัสดิ์
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นสถาบันผลิตทันตแทย์อกี แห่งหนึง่ ทีม่ ี “ครู” หัวใจเดียวกัน
ผศ.ทพญ.ดร.ปิยะนารถ จาติเกตุ อาจารย์ประจำ�สาขาวิชาทันตกรรมชุมชน ภาควิชาทันตกรรมครอบครัวและชุมชน คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ลงมื อ สร้ า งสรรค์ กิ จ กรรมนอกหลั ก สู ต รเพื่ อ ให้ นั ก ศึ ก ษาของคณะทั น ตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มีโอกาสได้พบเจอผู้พิการ ได้พูดคุย และทำ�ความเข้าใจ เพื่อให้เกิด ทัศนคติทด่ี ตี อ่ คนกลุม่ นี้ อันจะนำ�ไปสูค่ วามเชือ่ มัน่ ทีจ่ ะให้การดูแลสุขภาพช่องปากของคนพิการ ต่อไป การทีต่ อ้ งเป็นกิจกรรมนอกหลักสูตร เป็นเพราะทำ�ได้ทนั ที และเป็นการทำ�ควบคู่ ไปกั บ กระบวนการปรั บ ปรุ ง หลั ก สู ต รการเรี ย นการสอนให้ ส อดแทรกเรื่ อ งทั น ตกรรม สำ�หรับคนพิการ ซึ่งต้องอาศัยระยะเวลานานนับปี กิจกรรมนี้อาศัยกระบวนการจัดทำ�แผนที่คลินิกทันตกรรมที่มีความพร้อมที่จะ ให้บริการคนพิการประเภทต่าง ๆ ภายในอำ�เภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ เป็นช่องทางในการ เรียนรูข้ องนักศึกษา
ผศ.ทพญ.ดร.ปิยะนารถ จาติเกตุ
112 “ด้วยความที่เคยเห็นหนังสือที่เป็นของดีประจำ�จังหวัดต่าง ๆ จึงเกิดไอเดียว่า น่าจะจัดทำ�ข้อมูลทีเ่ กีย่ วกับร้านทำ�ฟันดี ๆ ทีย่ อมรับคนพิการ เพือ่ ปักหมุดให้รวู้ า่ ในเชียงใหม่ หากคนพิการต้องการรักษาฟันสามารถไปทีไ่ หนได้บา้ งทีน่ อกเหนือจากคณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่” คุณหมอปิยะนารถ ตัง้ เป้าหมายหลักของกิจกรรมนีไ้ ว้ทก่ี ารเปิดโอกาสให้นกั ศึกษา ได้เรียนรู้พูดคุยกับคนพิการ ส่วนการจัดทำ�แผนที่เป็นเพียงผลผลิตปลายทางเท่านั้น นักศึกษาที่เป็นกลุ่มเป้าหมายของกิจกรรมนี้ เปิดรับสมัครทุกชั้นปี โดยประกาศ รับสมัครผ่านสโมสรนักศึกษาคณะทันตแพทยศาสตร์ เพื่อให้ได้นักศึกษาที่ต้องการทำ�งาน จิตอาสาเข้าร่วมกิจกรรมนี้ “เนื่องจากดิฉันสนิทกับนักศึกษากลุ่มนี้เพราะได้ทำ�งานกับกิจการนักศึกษา มาโดยตลอด ตัวเองมีต้นทุนในส่วนนี้ จึงได้คุยกับคนที่รับผิดชอบชมรมอาสาและนายก ของสโมสรนักศึกษา เพื่อให้เขาไปชวนน้อง ๆ มาทำ�งานกัน ทำ�ให้ได้นักศึกษาระดับชั้นปี 2 - 6 ประมาณ 30 กว่าคนมาร่วมงานนี้ โดยมีอาจารย์ของคณะทันตแพทยศาสตร์จำ�นวน 3 ท่านซึ่งรวมตัวดิฉันด้วยเป็นผู้ดูแลงานและนักศึกษา”
สำ�หรับกระบวนการทำ�งานได้แบ่งเป็น 4 ระยะด้วยกัน คือ ระยะที่ 1 คือการหาความต้องการของคนพิการ ระยะที่ 2 คือการวิเคราะห์ความต้องการและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ระยะที่ 3 คือการสำ�รวจคลินิกที่จะเข้าร่วมการจัดทำ�แผนที่ ระยะที่ 4 คือการจัดทำ�แผนที่
การเปิดรับสมัครอาสาสมัครเป็นขั้นตอนที่อยู่ใน ระยะที่ 1 โดยเมื่อได้นักศึกษา ทีอ่ าสาร่วมทำ�กิจกรรมจำ�นวนประมาณ 30 คนแล้ว จึงเป็นขัน้ ตอนของการเตรียมความพร้อม ด้วยการจัดประชุมทำ�ความเข้าใจวัตถุประสงค์ของกิจแรรม และแบ่งกลุม่ อาสาสมัครออกเป็น 3 กลุ่มตามจำ�นวนอาจารย์ที่ร่วมกิจกรรม โดยแต่ละกลุ่มมีนักศึกษา 1 คนทำ�หน้าที่ ประสานงาน
113 ส่วนการสือ่ สารระหว่างนักศึกษาทีร่ ว่ มกิจกรรมนีไ้ ด้ใช้เฟซบุก๊ ชือ่ ว่า Chiang Mai Map for Challenged People เป็นช่องทางสำ�คัญ เนือ่ งจากนักศึกษามาจากหลากหลาย ชั้นปี แต่ละคนมีเวลาเรียนที่แตกต่างกัน การนัดหมายเพื่อพบปะพูดคุยกันจึงเป็นเรื่อง ที่ค่อนข้างยาก เฟซบุ๊กจึงเป็นช่องทางการสื่อสารที่ทุกคนเข้าถึงได้สะดวกที่สุด ขัน้ ตอนต่อไปหลังจากทีไ่ ด้นกั ศึกษาเข้าร่วมกิจกรรมแล้วคือการเตรียมความพร้อม ตัวนักศึกษาให้สามารถลงพื้นที่เพื่อพูดคุยกับคนพิการ หาความต้องการด้านการรับบริการ ทันตกรรมของคนพิการ “เมื่อได้นักศึกษาทั้ง 3 กลุ่มแล้ว เราได้จัดเวทีให้ความรู้เกี่ยวกับแนวทางการพูด คุยกับคนพิการ หลัก ๆ คือการพูดคุยเรือ่ งชีวติ ความยากลำ�บากในการขอรับบริการทันตกรรม ประทับใจหรือไม่ประทับใจอะไร และต้องการอะไร” ส่วนประเด็นความต้องการของคนพิการเป็นความต้องการเมื่อจะต้องไปทำ�ฟัน ประกอบด้วย • ด้านกายภาพของสถานที่ : อยากให้สถานทีท่ ไ่ี ปเป็นอย่างไร ต้องมีอะไรรองรับบ้าง • ด้านความพร้อมของการให้การรักษา : อยากได้ทันตแพทย์แบบไหน ทั้งความ พร้อมด้านความรู้และบุคลิกของทันตแพทย์ • สิ่งที่อยากได้อื่น ๆ เช่น ต้องการให้มีคนพาไป ฯลฯ ในขณะเดียวกันนัน้ ก็มกี ารประสานกับพืน้ ทีท่ อ่ี าจารย์ทง้ั 3 ท่านเคยร่วมงานด้วย เพื่อพานักศึกษาทั้ง 3 กลุ่มลงพื้นที่พูดคุยและเก็บข้อมูลด้านการรับบริการทางทันตกรรม ของคนพิการ พืน้ ทีท่ ง้ั 3 แห่งอยูใ่ นอำ�เภอสันทราย, อำ�เภอสารภี และชมรมคนตาบอดเชียงใหม่ โดยไม่จำ�กัดความพิการของผู้ให้สัมภาษณ์ หลังจากลงพื้นที่เก็บข้อมูลแล้ว ขั้นตอนต่อไป คือการวิเคราะห์ความต้องการ และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ซึ่งอยู่ใน ระยะที่ 2 ของกิจกรรมนี้ ภายหลังจากที่นักศึกษาทั้ง 3 กลุ่มได้ลงพื้นที่เก็บข้อมูลแล้ว สิ่งที่ต้องทำ�ต่อไป คือ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้และวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากการลงพื้นที่ นำ�มาจัดทำ�เป็น แบบสอบถามเพื่อส่งให้คลินิกทันตกรรมทั่วอำ�เภอเมืองเชียงใหม่ ประเมินความพร้อม ของตัวเองที่จะให้บริการด้านทันตกรรมแก่คนพิการ
114 คุณหมอปิยะนารถ ได้สรุปผลจากการพูดคุยที่ได้ว่า “ประเด็นหลัก ๆ ที่ต้องการจากการลงพื้นที่ คือ คนพิการต้องการอะไร ต้องการ หมอทีด่ หี รือพืน้ ทีท่ ด่ี ี ซึง่ ความจริงแล้วทัง้ สองส่วนนีต้ า่ งก็มคี วามสำ�คัญ แต่สง่ิ ทีเ่ ขาต้องการ คือหมอต้องเข้าใจเขา...ขั้นตอนการทำ�งานในส่วนนี้ก็เหมือนกับหลักการของการตลาดที่ ต้องสำ�รวจตลาดก่อน นั่นคือความต้องการของผู้บริโภค จากนั้นจึงค่อยไปดูผู้ให้บริการว่า สามารถให้บริการอะไรได้บ้าง ด้วยการสร้างแบบสอบถามเหมือนผลสรุปที่นักศึกษาได้” ขั้นตอนการสำ�รวจคลินิกที่จะเข้าร่วมในการจัดทำ�แผนที่ อยู่ใน ระยะที่ 3 ของ กิจกรรมนี้ ภายหลังจากที่ได้แบบสอบถามเพื่อสำ�รวจความพร้อมของคลินิกทางทันตกรรม ในการให้บริการแก่คนพิการแล้ว ขั้นตอนต่อไป คือการจัดส่งแบบสอบถามดังกล่าวไปยัง คลินกิ ทันตกรรมทัว่ อำ�เภอเมืองเชียงใหม่ เพือ่ สอบถามประสบการณ์การทำ�งานกับคนพิการ และความยินดีที่จะเข้าร่วมกิจกรรมการจัดทำ�แผนที่ “คำ�ถามหลัก ๆ ในแบบสอบถาม คือ เขามีประสบการณ์เคยให้บริการทางทันตกรรม แก่คนพิการหรือไม่ และเขายินดีจะให้เราปักหมุดว่าเขายินดีให้บริการคนพิการหรือไม่ รวมถึง ประเภทของผู้พิการที่เขาสามารถให้บริการได้” คุณหมอปิยะนารถ กล่าวต่อว่า ขั้นตอนนี้คลินิกทันตกรรมต้องประเมินตัวเอง จากแบบสอบถามที่ได้ส่งทางไปรษณีย์ จำ�นวน 100 กว่าแห่งทั่วอำ�เภอเมืองเชียงใหม่ โดย มีสำ�นักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่เป็นผู้ให้รายชื่อทั้งหมด “เราได้สง่ แบบสอบถามทางไปรษณีย์ 2 รอบ คลินกิ ต่าง ๆ เขาจะเช็กของเขาเองว่า เขาสามารถรับผูพ้ กิ ารประเภทไหนได้บา้ ง และมีประสบการณ์การทำ�งานอะไรบ้าง ส่งแบบ สอบถามไปจำ�นวน 107 แห่ง ตอบกลับมาเพื่อเข้าร่วมการจัดทำ�แผนที่จำ�นวน 15 แห่ง” คลินกิ ทันตกรรมทัง้ 15 แห่ง ในอำ�เภอเมืองเชียงใหม่ ส่วนใหญ่สามารถให้บริการ คนพิการได้ 2 - 3 ประเภท อาทิ คนพิการทางสายตา, คนพิการทางการได้ยนิ และคนพิการ ทางการเคลื่อนไหว ฯลฯ มีเพียง 2 แห่งที่สามารถให้บริการคนพิการได้ 7 ประเภท (ซึ่งเป็น จำ�นวนมากที่สุดที่ปรากฏในแผนที่ของกิจกรรมนี้) ได้แก่ คนพิการทางสายตา, คนพิการ ทางการได้ยนิ , คนพิการทางการเคลือ่ นไหว, คนพิการทางสติปญ ั ญา, คนพิการทางการเรียนรู,้ คนพิการทางพฤติกรรม และคนพิการซำ�้ ซ้อน
115 สำ�หรับประเภทของการให้บริการหลัก ๆ ซึง่ คลินกิ ส่วนใหญ่มปี ระสบการณ์เคยทำ�ให้ ผู้พิการคือ การอุดฟัน, การถอนฟัน, การใส่ฟัน และการขูดหินปูน ส่วนการรักษารากฟัน, การถ่ายภาพรังสีช่องปาก, การผ่าฟันคุด และการจัดฟัน มีคลินิกเพียงส่วนน้อยที่ทำ�ได้ จากนั้น จึงเข้าสู่ขั้นตอนสุดท้ายใน ระยะที่ 4 ของกิจกรรมนี้ คือ การจัดทำ�แผนที่ (Chiang Mai Map for Special People) ในขั้นตอนนี้เป็นหน้าที่ของนักศึกษาที่มีความ สามารถด้านการทำ�เว็บไซต์ (Website) ซึง่ ขัน้ ตอนนีก้ �ำ ลังอยูใ่ นระหว่างดำ�เนินการ เพือ่ ออกแบบ ให้เว็บไซต์มีรูปแบบที่ทันสมัย สะดุดตา และใช้งานได้ง่าย และเมื่อเสร็จเรียบร้อยแล้วจะ นำ�ไปฝากไว้กับเซิร์ฟเวอร์ (server) ของ คณะทันตแพทย์ฯ ข้อมูลทีจ่ ะปรากฏบนเว็บไซต์คอื ประเภทความพิการทัง้ 7 ประเภท ได้แก่ คนพิการ ทางสายตา, คนพิการทางการได้ยิน, คนพิการทางการเคลื่อนไหว, คนพิการทางสติปัญญา, คนพิการทางการเรียนรู้, คนพิการทางพฤติกรรม และคนพิการซำ�้ ซ้อน เพื่อให้ผู้ใช้ได้เลือก เพือ่ ค้นหาคลินกิ ทันตกรรมในอำ�เภอเมืองเชียงใหม่ ทีเ่ ปิดให้บริการสำ�หรับคนพิการประเภทนัน้ ๆ
ส่วนข้อมูลที่เกี่ยวกับคลินิกทันตกรรมแต่ละแห่ง คือ • ชื่อคลินิก • ที่อยู่ • หมายเลขโทรศัพท์ • เวลาทำ�การ • กลุ่มคนพิการที่ยินดีให้การรักษา • งานที่เคยทำ�ให้คนพิการมาก่อน อาทิ ถอนฟัน, ใส่ฟัน, อุดฟัน ฯลฯ • และแผนที่แสดงตำ�แหน่งของคลินิก
นอกจากนี้ ยังมีการจัดทำ�เป็นเอกสารเผยแพร่ โดยเอกสารเหล่านี้เมื่อจัดพิมพ์ เสร็จแล้วจะนำ�ไปวางไว้ในคลินิกทันตกรรมทั้ง 15 แห่ง ณัฐภัทร นักศึกษาที่เข้าร่วมกิจกรรม ได้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับอุปสรรค ที่ทำ�ให้มีคลินิกตอบรับกลับมา 15 แห่งว่า “คลินิกทั้ง 15 แห่ง ส่วนใหญ่รับได้เพียง 3 - 4 ความพิการเท่านั้น ซึ่งทางคลินิก เขาได้ประเมินตัวเอง เราไม่ได้เข้าไปดูทค่ี ลินกิ ของเขา ปัจจัยสำ�คัญทีท่ �ำ ให้เขาให้บริการไม่ได้
116 เช่น ข้อกำ�หนดเรื่องขนาดของทางลาด, ลักษณะห้องนำ�้ , ลักษณะของเก้าอี้ทำ�ฟัน ซึ่งต้องมี อุปกรณ์ชว่ ยเคลือ่ นย้ายคนพิการจาก Wheel Chair ไปนัง่ บนเก้าอีท้ �ำ ฟัน, ผูช้ ว่ ยทันตแพทย์ หรือผูด้ แู ลต้องมีความรูเ้ รือ่ งคนพิการเพือ่ จะจัดการได้ และปัญหาสำ�คัญคือ คนพิการประเภท ที่ต้องมีผู้ปกครองดูแลตลอดเวลา ส่วนใหญ่คลินิกจะไม่พร้อมเรื่องนี้ เพราะถ้าผู้ปกครอง ไม่ได้ไปด้วย ต้องไปตามลำ�พังก็ไม่สะดวก” วิศววิท สายดำ� นักศึกษาชัน้ ปีท่ี 5 รับผิดชอบการทำ�เว็บไซต์ของกิจกรรมนี้ ได้รว่ ม สะท้อนมุมมองเกี่ยวกับโอกาสการเข้าถึงบริการด้านทันตกรรมของคนพิการว่า “โครงการต่าง ๆ ที่เป็นสวัสดิการของรัฐ อย่างเช่น โครงการ 30 บาทรักษาทุก โรคมีนโยบายทำ�กับประชาชนทั่วประเทศและทุกกลุ่ม แต่ตามความเป็นจริงแล้วเห็นได้ ชัดเจนว่ามันยังไม่ครอบคลุม จากกิจกรรมนีเ้ ราได้มาแค่ 15 คลินกิ ซึง่ ผมเคยคุยกับเพือ่ น ๆ วิเคราะห์กนั ถึงเรือ่ งนีเ้ ห็นว่าเงือ่ นไขสำ�คัญ ก็คอื คลินกิ เอกชนต้องเน้นปริมาณของการให้บริการ และการทำ�กำ�ไรเพือ่ ให้คมุ้ ค่ากับการลงทุนของเขา และด้วยเงือ่ นไขทีก่ ารทำ�ฟันให้กบั คนพิการ ต้องใช้ระยะเวลานานกว่าที่ทำ�ให้กับคนปกติ และอาจมีความซับซ้อนที่มากกว่า” ตลอดระยะเวลาของการทำ�กิจกรรมนีโ้ ดยใช้เวลาประมาณ 1 ปี ณัฐภัทรได้ให้ขอ้ มูล เพิ่มเติมว่าตัวเขาเองและเพื่อน ๆ ที่ร่วมกิจกรรมมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันอยู่เสมอ ผ่าน ทางเฟซบุ๊กและการนัดหมายเพื่อประชุมแลกเปลี่ยนข้อมูลกัน ซึ่งนัดรวมกลุ่มคุยกันได้ ประมาณ 3 ครั้ง ตลอดระยะเวลาของการดำ�เนินกิจกรรมนี้ สิง่ ทีณ ่ ฐั ภัทรและเพือ่ น ๆ ได้เรียนรูร้ ว่ มกันคือ สังคมยังไม่ให้โอกาสคนพิการมากพอ ซึ่งเรื่องนี้ยังต้องเพิ่มมุมมองด้านบวกให้มากขึ้น เพื่อให้คนพิการมีโอกาสเข้าถึงบริการด้าน สาธารณสุขและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น สมศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ ณัฐภัทรได้ยกตัวอย่างเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้อย่างน่าสนใจว่า “ผู้พิการด้านแขนขา, การเคลื่อนไหว, อัมพฤกษ์หรืออัมพาต คนกลุ่มนี้เป็นกลุ่ม ที่เดินทางลำ�บาก สิ่งที่เห็นได้ชัดเจนก็ คือ สุขภาพช่องปากค่อนข้างแย่ ผู้ดูแลยังมีความรู้ ไม่ดีพอ ที่จริงแล้วคนพิการก็อยากไปหาหมอ แต่ไปลำ�บากและต้องรอแต่ผู้ดูแลให้พาไป ซึง่ ผูด้ แู ลก็ยงุ่ กับการทำ�มาหากิน ในขณะทีว่ นั หยุดของผูด้ แู ลก็ตรงกับวันหยุดของทางราชการ คลินิกทันตกรรมของรัฐปิด ทำ�ให้ต้องอาศัยคลินิกเอกชนซึ่งมีราคาค่าใช้จ่ายสูง”
117 “สุดท้ายแล้วการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าของคนกลุ่มนี้ก็คือ การกินยาแก้ปวดเพื่อ บรรเทาอาการปวดฟัน และรอให้ฟันซี่นั้นหลุดไปเอง...” นั่นคือส่วนหนึ่งของสิ่งใหม่ ๆ ที่กิจกรรมนี้ได้นำ�พาเขาไปสู่การเรียนรู้ และชวนให้ต้องขบคิดว่าในฐานะทันตแพทย์คนหนึ่งในอนาคตอันใกล้ เขาจะ อยู่ร่วมกับสถานการณ์ที่เป็นเช่นนี้อย่างไร?
เปิดประตูสู่โลกใหม่ที่ไร้กรอบแห่งอคติ ทิศทางใหม่ๆ แห่งโลกการเรียนการสอนและกิจกรรมในสถาบันผลิตทันตแพทย์ ได้นำ�พา “หมอฟันรุ่นใหม่” ไปสู่แสงสว่างแห่งปัญญาอย่างน่าภาคภูมิใจ ที่ คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร เสียงสะท้อนจากครูและ นักศึกษากล่าวตรงกันว่า กิจกรรมเหล่านีเ้ ป็นเหมือนการจุดประกายให้ทง้ั อาจารย์ในสาขาวิชา ทันตกรรมชุมชน และนิสิตทุกชั้นปีได้มองเห็นความสำ�คัญของการดูแลสุขภาพช่องปาก ของคนพิการและผู้สูงอายุ ที่สำ�คัญทำ�ให้นิสิตมีโอกาสได้พบปะพูดคุย และสื่อสารกับ คนกลุ่มนี้ ทำ�ให้เกิดทัศนคติที่เปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดี ดังตัวอย่างของ ลัดดา และ วิชญ์พล นิสิตชั้นปีที่ 4 ลัดดา เปรมไสย และ วิชญ์พล เตียวประเสริฐ นิสิตคณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ระดับชั้นปี 4 ได้ร่วมแสดงความเห็นเกี่ยวกับกิจกรรมต่าง ๆ ที่ได้ เข้าร่วมในปีที่ผ่านมานี้ว่า “จากการเข้าร่วมโครงการประมาณ 1 ปี ทำ�ให้ความกลัว ไม่กล้าทีจ่ ะดูแลคนพิการ หายไปค่ะ และจากที่เคยคิดว่าการดูแลคนกลุ่มนี้เป็นเรื่องยาก มุมมองก็เปลี่ยนไป มีความ เห็นว่าทันตแพทย์ตอ้ งมุง่ รักษาคนไข้ทกุ คนให้เท่าเทียมกัน คนพิการเข้ามาก็ตอ้ งรักษาให้ได้ ไม่ต้องส่งต่อให้หมอคนอื่นตามที่เคยคิดเอาไว้แต่แรก” ลัดดา กล่าวและเสริมว่า “การพูดคุยกับคนพิการทำ�ให้เราสามารถเข้าถึงคนกลุ่มนี้ได้มากขึ้น ทำ�ให้เกิด ความเข้าใจว่าจริง ๆ แล้วเขาเหมือนกับพวกเรา ไม่ได้แบ่งแยก เช่น เวลาที่เราทำ�ฟันให้เขา เราสามารถพูดคุยกับเขาได้เหมือนกับคนไข้ทั่วไป ไม่ได้น่ากลัวอะไร ตอนแรกเหมือนกับว่า จะเข้าถึงไม่ได้ พูดคุยกันไม่รู้เรื่อง แต่เมื่อได้พบกับเขาถึงได้รู้ว่ามันไม่ได้ยากขนาดนั้น และ เขาเองก็มีความสามารถด้วย” ลัดดาสะท้อนความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับตนเอง
118 ขณะที่วิชญ์พลกล่าวว่า “ผมเคยมีความคิดว่าคนพิการเป็นคนที่ต้องการดูแลเป็นพิเศษ การจะเข้าหา คนกลุ่มนี้เป็นเรื่องยาก และตัวผมเองก็ไม่เคยคิดว่าต่อไปตัวเองจะต้องมาดูแลคนกลุ่มนี้ ถือเป็นเรือ่ งไกลตัว เหมือนต้องมีผเู้ ชีย่ วชาญด้านนีส้ �ำ หรับดูแลคนกลุม่ นีโ้ ดยเฉพาะ ต้องเรียน โดยตรงเพิ่มเติมเพื่องานนี้โดยเฉพาะ ที่สำ�คัญผมไม่เคยรู้มาก่อนว่าคนกลุ่มนี้มีจำ�นวนมาก และเคยมีความคิดว่าการที่คนพิการได้เข้าเรียนในโรงเรียนเฉพาะก็เพื่อฝึกทักษะที่เขา สูญเสียไป คิดว่าด้านอื่น ๆ เขาไม่น่าจะรู้เรื่องมาก รวมทั้งเรื่องฟัน เขาก็ไม่น่าจะเข้าใจ เช่น ซี่ไหนปวด, ซี่ไหนมีอาการอย่างไร ฉะนั้น ถ้าต้องซักประวัติเขา เขาไม่น่าจะบอกได้ เช่น เรื่องโรคประจำ�ตัวหรือเรื่องอื่น ๆ” “แต่พอได้เจอตัวจริง กลับพบว่าเขามีจิตใจและเรียนรู้เหมือนพวกเราทุกอย่าง แต่ผบู้ กพร่องทางการได้ยนิ ก็อาจต้องใช้ภาษามือเพิม่ สำ�หรับการสือ่ สาร ทัง้ หมดนีเ้ ป็นเพราะ ไม่เคยมีโอกาสได้สมั ผัส แต่โครงการนีท้ �ำ ให้ผมมีโอกาสได้สมั ผัสคนกลุม่ นีแ้ ละมีความมัน่ ใจ แล้วครับว่าผมสามารถจะทำ�งานกับคนกลุ่มนี้ได้” “จากนี้ผมต้องมองเขาใหม่ด้วยความเข้าใจที่มากขึ้น และไม่มีความกลัวเขาแล้ว มีความเชื่อมั่นที่จะเข้าหาพวกเขา”
ลัดดา เปรมไสย (ภาพซ้าย) และ วิชญ์พล เตียวประเสริฐ (ภาพขวา) นิสิตทันตแพทย์ฯ ชั้นปีที่ 4 มหาวิทยาลัยนเรศวร
119 วิชญ์พล ยังมีขอ้ เสนอแนะเกีย่ วกับการเรียนการสอนของคณะทันตแพทยศาสตร์ ที่เอื้อให้นิสิตมีความเข้าใจกลุ่มคนพิการและผู้สูงอายุ จนเกิดความเชื่อมั่นที่จะให้การดูแล คน 2 กลุ่มนี้หลังจากที่จบการศึกษาเป็นทันตแพทย์แล้ว “ผมคิดว่าการได้เห็นของจริง และการมีโอกาสได้ปฏิบตั กิ ารจากของจริงเป็นสิง่ ที่ จะช่วยนิสติ ได้มาก เช่น การได้เห็นการปฏิบตั งิ านจริงของอาจารย์ในการดูแลคนพิการและ ผูส้ งู อายุ ในขณะทีเ่ ขามารับบริการทีค่ ณะฯ เราต้องพูดคุยหรือปฏิบตั กิ บั เขาอย่างไร เป็นขัน้ เป็นตอน เราจะได้ดูไว้เป็นตัวอย่างครับ” ข้างฝ่ายเพื่อน ๆ ทางมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ก็ได้ค้นพบมุมมองใหม่ที่ยิ่งใหญ่ สำ�หรับอนาคตการทำ�งานเช่นกัน ณัฐภัทร เทพเสรี นักศึกษาชัน้ ปีท่ี 5 ทีเ่ ข้าร่วมกิจกรรมนีไ้ ด้ถา่ ยทอดประสบการณ์ ของการลงพื้นที่เพื่อทำ�แผนที่ว่า “ก่อนที่ผมจะได้เข้าร่วมกิจกรรมนี้ ผมได้รู้จักคนพิการตามบทเรียนที่ต้องเรียน ในชั้นเรียน ภาพที่ผมมีเกี่ยวกับคนกลุ่มนี้ เป็นภาพแบน ๆ ที่ไม่มีมิติ แต่เมื่อผมได้ลงพื้นที่ สิ่งที่ผมได้พบคือ แม้ว่าเขาจะมีความพิการด้านต่าง ๆ ทำ�ให้เขามีไม่ครบเหมือนคนทั่วไป เขาก็ยงั สามารถมีชวี ติ อยูไ่ ด้ และมีความสุขดีดว้ ย บางคนทีผ่ มได้พบคือเขาไม่ได้มคี วามพิการ มาแต่กำ�เนิด เพิ่งมาเป็นทีหลัง ทำ�ให้ในระยะแรก ๆ ต้องปรับตัวกับความยากลำ�บาก แต่เมื่อเขาผ่านมาได้ เขาได้เรียนรู้สิ่งต่าง ๆ เขาสอนผมว่าอย่าประมาทกับชีวิต” ณัฐภัทรได้เล่าต่อว่าเขากับเพือ่ น ๆ ต้องใช้เวลาในวันหยุดเสาร์ อาทิตย์ เพือ่ ลงพืน้ ที่ โดยเขามีโอกาสได้ลงพืน้ ทีเ่ ก็บข้อมูลตามบ้านของคนพิการประมาณ 4 ครัง้ มีโอกาสได้พดู คุย กับคนพิการ 5 ราย นอกจากการเรียนรูท้ เ่ี พิม่ มากขึน้ เกีย่ วกับคนพิการ ณัฐภัทรยังมีความมัน่ ใจมากขึน้ ที่จะให้การดูแลและรักษาคนกลุ่มนี้ หลังจากที่เขาจบการศึกษาและได้เป็นทันตแพทย์ อย่างเต็มตัวแล้ว “แต่ก่อนผมคิดว่า การดูแลรักษาคนกลุ่มนี้เป็นเรื่องยาก เพราะแม้แต่คนปกติ ก็มคี วามยากในระดับหนึง่ อยูแ่ ล้ว เมือ่ มีความพิการเข้ามาเกีย่ วข้องด้วย ย่อมมีความซับซ้อน ในการจัดการ...แต่ตอนนีผ้ มมีความมัน่ ใจมากขึน้ การได้เยีย่ มคนพิการและได้พดู คุยกับเขา เป็นช่องทางให้ผมเข้าถึงเขา”
120
ณัฐภัทร เทพเสรี และ วิศววิท สายดำ� นิสิตทันตแพทย์ฯ ชั้นปีที่ 5 มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
แม้แต่ตวั อาจารย์ผสู้ อนเอง ก็มกี ารปรับเปลีย่ นทัศนคติในการดูแลกลุม่ คนพิการ
ดังประสบการณ์จริงที่ ทพญ.ธนิดา ได้เล่าเพิ่มเติมว่า “ตัวดิฉันเองยอมรับว่าแต่ก่อนก็ไม่กล้าให้การรักษาคนไข้พิการเหมือนกัน แต่ใน ระหว่างทำ�โครงการนี่เอง มีอยู่ครั้งหนึ่งเป็นช่วงเวลาที่ต้องออกหน่วยที่จังหวัดสุโขทัย ดิฉัน ได้พบกับเด็กออทิสติก” “ตอนนั้น ตัวเองประจำ�อยู่จุดขูดหินปูน และหลังจากขูดหินปูนและตรวจดู แล้วพบว่าฟันแท้ของเด็กต้องได้รบั การเคลือบหลุมร่องฟันเพราะมีขนาดลึก จึงได้หนั ไปบอก ทันตแพทย์ที่รับผิดชอบเรื่องนี้ แต่เขาปฏิเสธที่จะทำ�เพราะไม่มั่นใจ ดิฉันจึงตัดสินใจทำ�ให้ เองเลย” “ในขณะนัน้ ความรูส้ กึ ของตัวเองเปลีย่ นไปจากเดิม มีความรูส้ กึ มัน่ ใจว่าเราทำ�ได้ นัน่ เป็นเพราะทัศนคติของดิฉนั ต่อคนกลุม่ นีเ้ ปลีย่ นไป และเรามีใจทีจ่ ะทำ�ให้อยูแ่ ล้ว ทำ�ให้ทกุ สิง่ ลุล่วงด้วยดี และเมื่อตัวดิฉันเองเปลี่ยนแปลงทัศนคติของตัวเองได้แล้ว เวลาที่สอนนิสิต ก็ย่อมมีเรื่องของกลุ่มคนพิการและผู้สูงอายุมาเล่ามาสอนนิสิตให้ได้เรียนรู้ด้วย”
121 ทพญ.ดร.จุฑารัตน์ ยังให้ความเห็นเพิ่มเติมว่า อาจารย์ผู้สอนมีความสำ�คัญ ต่อทัศนคติของนิสิตในการเป็นต้นแบบ หากอาจารย์ทั้งในส่วนของงานวิจัย งานสอน และ การดูแลรักษาผู้ป่วยทำ�งานกับกลุ่มคนพิการและผู้สูงอายุ หรือเลือกคน 2 กลุ่มมาเป็น กลุ่มเป้าหมายสำ�หรับการเรียน การปฏิบัติงานของนิสิต ก็จะเป็นการเปิดโอกาสที่ดีให้นิสิต ได้ทำ�ความรู้จักและเรียนรู้สื่อสารกับคนทั้ง 2 กลุ่มนี้ “อาจารย์ถอื เป็นทันตแพทย์ทใ่ี กล้ตวั ทีส่ ดุ สำ�หรับนิสติ สามารถเป็นแบบอย่างให้กบั นิสิตได้ ฉะนั้น ถ้าอาจารย์มีเนื้อหาที่เกี่ยวกับกลุ่มคนพิการและผู้สูงอายุมาสอนให้กับนิสิต นิสิตก็จะได้เรียนรู้ หรือแม้แต่จากการปฏิบัติงานของอาจารย์ในคลินิกช่วงเย็น และการ ออกหน่วยงานเคลื่อนที่ให้บริการข้างนอกที่มีนิสิตตามไปช่วยงานด้วย เป็นโอกาสที่นิสิต จะได้เห็นแบบอย่างการดูแลคนไข้ของอาจารย์” นั่นคือผลพวงที่เกิดขึ้นจากความพยายามของ “ครู” ในการบุกเบิกกิจกรรมเพื่อ เสริมพลังให้ศิษย์ได้ใช้ศักยภาพและค้นพบสารัตถะอันแท้จริงแห่งวิชาชีพ ด้วยการที่จะ ทลายกำ�แพงที่ปิดกั้นความเชื่อมั่นและความสามารถอันแท้จริง เพือ่ ค้นพบสิง่ ที่ “ทำ�ได้” และ “ควรทำ�” อันจะทำ�ให้เข้าถึงแง่มมุ อันทรงคุณค่า แห่งวิชาชีพของตน
122
ประมวลภาพโครงการ
123
คณะทำงานถอดบทเรียน อภิญญา ตันทวีวงศ์ เบญญาดา มุติวัฒนาสวัสดิ์ นวพร ต่อมกระโทก ปยวรรณ์ กิจเจริญ
บรรณาธิการ ผู้วิจัย ผู้วิจัย ประสานงานและเลขานุการ