การติดตามประเมินผล ชุกโครงการดูแลสุขภาพช่องปากคนพิการ

Page 1

การติดตามประเมินผล

ชุดโครงการดูแลสุขภาพชองปากคนพิการ โดย

สถาบันสรางเสริมสุขภาพคนพิการ (สสพ.) มูลนิธิสรางสรรคสังคมและสุขภาวะ



3

การติดตามประเมินผล ชุดโครงการดูแลสุขภาพช่องปากคนพิการ

“...คนพิการก็มีความปกติในแนวคิดของเขา ถ้าเราจะไปดูแลเขา ต้องเข้าใจในความปกติของเขา และปรับสิ่งรอบตัวให้เข้ากับเขา น่าจะทำ�ให้เราเป็นหมอดูแลเขาได้ดี...” “...เราไม่ได้ดูแค่ปากต้องดูอย่างอื่นด้วย แค่ตรวจแล้วถอนยังไม่จบ ต้องฝึกมือคนไข้นะฝึกพ่อฝึกแม่ ต้องเปลี่ยนทัศนคติ ให้คนในบ้านช่วยดูแลเขาหน่อย...”

เสนอต่อ สำ�นักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

จัดทำ�โดย สถาบันสร้างเสริมสุขภาพคนพิการ (สสพ.) มูลนิธิสร้างสรรค์สังคมและสุขภาวะ


4

การติดตามประเมินผล ชุดโครงการดูแลสุขภาพช่องปากคนพิการ เลขมาตรฐานสากล พิมพ์ครั้งที่ 1 จำานวนพิมพ์ ทีมประเมิน

ประสานงาน ศิลปกรรม พิมพ์ที่ สนับสนุนและเผยแพร่

978-616-92618-1-0 มิถุนายน 2559 1,000 เล่ม แพทย์หญิงวัชรา ริ้วไพบูลย์ ทันตแพทย์หญิงเพ็ญแข ลาภยิ่ง ทันตแพทย์หญิงวรมน อัครสุต นางสาวแพรว เอี่ยมน้อย นางสาวอัปสร จินดาพงษ์ นางสาวแพรว เอี่ยมน้อย นายเศรษฐพงษ์ ดีอุด บริษัท ต้นเงินการพิมพ์ จำากัด สถาบันสร้างเสริมสุขภาพคนพิการ มูลนิธิสร้างสรรค์สังคมและสุขภาวะ สำานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข

ข้อมูลทางบรรณานุกรมของสำานักงานหอสมุดแห่งชาติ การติดตามประเมินผลชุดโครงการดูและสุขภาพช่อง ปากคนพิการ.-- นนทบุรี : สถาบันสร้างเสริมสุขภาพ คนพิการ (สสพ.) มูลนิธิสร้างสรรค์สังคมและสุขภาวะ (มสส.), 2559. 120 หน้า. 1. เวชศาสตร์ช่อง ปาก. 2. คนพิการ--สุขภาพและอนามัย. I. วัชรา ริ้วไพบูลย์. II. เศรษฐพงษ์ ดีอุด, ผู้วาดภาพประกอบ. III. ชื่อเรื่อง. 616.31 Isbn 978-616-92618-1-0 จัดทำาโดย สถาบันสร้างเสริมสุขภาพคนพิการ มูลนิธิสร้างสรรค์สังคมและสุขภาวะ ชั้น 3 อาคารสุขภาพแห่งชาติ ซ.สาธารณสุข 6 ถ.ติวานนท์ 14 อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000 โทรศัพท์ 0-2832-9260 โทรสาร 0-2832-9261 www.healthyability.com, www.bluerollingdot.org


1

บทสรุปผู้บริหาร การติดตามประเมินผลชุดโครงการดูแลสุขภาพช่องปากคนพิการครัง้ นี้ ประกอบด้วย 1) โครงการพัฒนาสมรรถนะนักศึกษาทันตแพทย์และทีมทันตบุคลากรเพือ่ ดูแลสุขภาพช่องปาก ผู้พิการ ดำาเนินการใน 3 จังหวัด (เชียงใหม่ ขอนแก่น และพิษณุโลก) มีคณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นหน่วยงานหลักรับผิดชอบ และ 2) โครงการส่งเสริมการเข้าถึงบริการ สุขภาพช่องปากของคนพิการ ดำาเนินการใน 6 จังหวัด (ขอนแก่น หนองบัวลำาภู อุบลราชธานี นครราชสีมา สงขลา และน่าน) มีชมรมทันตกรรมสำาหรับบุคคลที่มีความต้องการพิเศษ แห่งประเทศไทยเป็นหน่วยงานหลักรับผิดชอบ ทัง้ สองโครงการได้รบั การสนับสนุนงบประมาณ จากแผนงานสร้างเสริมสมรรถนะบุคคลและการจัดการสิ่งแวดล้อมเพื่อการดำารงชีวิตในสังคม ที่พึ่งพาตนเองได้ ที่บริหารแผนฯ โดย สถาบันวิจัยสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) และ สนับสนุนงบประมาณโดยสำานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) การติดตามประเมินผลครัง้ นีด้ าำ เนินการโดยสถาบันสร้างเสริมสุขภาพคนพิการ (สสพ.) ซึง่ ได้รบั การสนับสนุนงบประมาณจาก สสส. ดำาเนินงานในช่วงเดือนกรกฎาคม 2557 – กันยายน 2558 มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อติดตามการบรรลุเป้าหมาย และปัญหาอุปสรรคของชุดโครงการฯ 2) เพือ่ ศึกษากระบวนการพัฒนาและผลลัพธ์การเข้าถึงการดูแลสุขภาพในช่องปากของคนพิการ ในพื้นที่ปฏิบัติการ และ 3) เพื่อสังเคราะห์ข้อเสนอในการปรับปรุงทิศทางและยุทธศาสตร์การ ขับเคลื่อนงานดูแลสุขภาพช่องปากคนพิการในระยะต่อไป โดยเก็บข้อมูล จากคนพิการและ ผูด้ แู ล ทันตบุคลากร นิสติ นักศึกษาทันตแพทย์และผูช้ ว่ ยทันตแพทย์ รวมทัง้ ผูป้ ฏิบตั งิ านภายใต้ กิจกรรมหรือโครงการย่อยในชุดโครงการฯ วิธกี ารติดตามประเมินผล ประกอบด้วย 3 กิจกรรม คือ 1) การประเมินกระบวนการและการบรรลุวัตถุประสงค์ตามตัวชี้วัด ผลลัพธ์การเข้าถึง บริการฯ และปัญหาอุปสรรคการดำาเนินงานในภาพรวม 2) การถอดบทเรียนกรณีศึกษาการ ดำาเนินงานดูแลสุขภาพช่องปากคนพิการ 3) การสังเคราะห์ข้อเสนอในการปรับปรุงทิศทาง และยุทธศาสตร์การขับเคลือ่ นงานดูแลสุขภาพช่องปากคนพิการในระยะต่อไป วิธกี ารเก็บข้อมูล และเครือ่ งมือทีใ่ ช้ ได้แก่ 1) ทบทวนเอกสารโครงการ รายงาน กฎหมาย และนโยบายทีเ่ กีย่ วข้อง 2) เก็บข้อมูลเชิงปริมาณด้วยการส่งแบบสอบถามทีพ่ ฒ ั นาขึน้ เฉพาะทางไปรษณียถ์ งึ ทันตบุคลากร ผูร้ บั ผิดชอบโครงการและการบริการทุกคนรวม 40 คน แบบสอบถามประกอบด้วย ข้อมูลทัว่ ไป 8 ข้อ ความพึงพอใจต่อโครงการ 10 ข้อ การเปลีย่ นแปลงทีเ่ กิดขึน้ จากโครงการต่อการดูแลรักษา สุขภาพช่องปากคนพิการ 15 ข้อ ปัญหาอุปสรรค 5 ด้าน และข้อเสนอแนะ และ 3) เก็บข้อมูล เชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกและสนทนากลุม่ การสังเกตการณ์และเข้าร่วมกิจกรรม เช่น การออกหน่วยบริการ การจัดประชุมเพื่อนำาเสนอความก้าวหน้า และสรุปบทเรียน


2

• ผลการประเมินในภาพรวม ชุดโครงการฯนี้ มีจดุ มุง่ หมายให้เกิดประโยชน์กบั ประชาชน คือ คนพิการ (หรือผูด้ แู ล) มีศกั ยภาพในการดูแลสุขภาพช่องปากได้ และเข้าถึงบริการสุขภาพช่องปาก โดยมี “โครงการ พัฒนาสมรรถนะนักศึกษาทันตแพทย์และทีมทันตบุคลากรเพือ่ ดูแลสุขภาพช่องปากผูพ้ กิ าร” สนับสนุนการขับเคลื่อนที่ระดับฐานราก และ “โครงการส่งเสริมการเข้าถึงบริการสุขภาพ ช่องปากคนพิการ” สนับสนุนการขับเคลื่อนในระดับกระบวนการและภาคีเครือข่าย การขับเคลื่อนส่งเสริมการเข้าถึงบริการสุขภาพช่องปากของคนพิการ เริ่มครั้งแรก ใน พ.ศ. 2553 ทัง้ นีใ้ นช่วงเวลาดังกล่าวมีบริบทเชิงนโยบาย ทีเ่ กีย่ วข้องทีส่ �ำ คัญ ได้แก่ การเปลีย่ น พรบ. ฟืน้ ฟูสมรรถภาพคนพิการ พ.ศ. 2534 ไปเป็นพรบ.ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวติ คนพิการ พ.ศ. 2550 และแก้ไขเพิ่มเติมในปี 2556 ซึ่งทำ�ให้เรื่องสุขภาพคนพิการมีขอบเขตกว้างไปกว่า การฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์ การเกิดมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ว่าด้วยความเป็นธรรม ในการเข้าถึงบริการสุขภาพของคนพิการ พ.ศ. 2553 ซึง่ ขับเคลือ่ นต่อเนือ่ งมาจนถึง พ.ศ. 2559 และการที่สำ�นักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีนโยบาย กองทุนสุขภาพท้องถิ่นครบทุกตำ�บลในปี พ.ศ. 2552 การเริ่มนโยบายกองทุนฟื้นฟูสมรรถภาพ ประจำ�จังหวัด ใน พ.ศ. 2553 รวมทั้งกองทุนทันตกรรมใน พ.ศ. 2554-2557 ล้วนมีส่วนในการ ส่งเสริมการพัฒนาสุขภาพช่องปากของคนพิการในชุมชนมากน้อยต่างกันไป ผลการสำ � รวจความพึ ง พอใจของผู้ ร่ ว มปฏิ บั ติ ก ารในชุ ด โครงการ ด้ ว ยการส่ ง แบบสอบถามทางไปรษณีย์ ไปยังผู้ร่วมปฏิบัติการ 40 ราย ได้รับการตอบกลับ 13 ราย คิดเป็น ร้อยละ 32.5 ประกอบด้วยทันตแพทย์ทที่ �ำ งานในรพท.และรพช. และเป็นทันตาภิบาลทีท่ �ำ งาน ในรพช. และในรพ.สต. ซึง่ มีอายุเฉลีย่ การทำ�งาน 15 ปี ส่วนใหญ่มคี วามพึงพอใจในการเข้าร่วม ปฏิบัติการในชุดโครงการ คิดเป็นคะแนน 4.27 จาก 5.0 คะแนน โดยความพึงพอใจสูงสุด มาจากประเด็นการได้แลกเปลีย่ นเรียนรูท้ งั้ ระหว่างและเมือ่ สิน้ สุดโครงการ ทีพ่ งึ พอใจน้อยทีส่ ดุ คือ ประเด็นการได้รับความช่วยเหลือที่จำ�เป็นในการแก้ปัญหาในการดำ�เนินงาน ส่วนประเด็น ทีค่ อ่ นข้างแปรปรวนมากจะเป็นเรือ่ งการได้รบั การพัฒนาศักยภาพให้พร้อมทีจ่ ะจัดบริการคนพิการ การประเมินความคิดเห็นต่อการเปลีย่ นแปลงภายในตนเองในทิศทางทีเ่ ป็นบวกเพิม่ ขึน้ เมื่อจบโครงการ พบว่าผู้เข้าร่วมทั้ง 2 โครงการให้คะแนนทัศนคติบวกต่อคนพิการเพิ่มขึ้น ซึ่งสูงกว่าความรู้ความเข้าใจในคนพิการที่เพิ่มขึ้น ในขณะที่ความสามารถในการจัดการและ ให้บริการคนพิการทางการเคลื่อนไหวได้คะแนนสูงที่สุด แต่กลับมีคะแนนตำ่ �ที่สุดในกรณี คนพิการทางการได้ยนิ เนือ่ งจากมีโอกาสเรียนรูแ้ ละสร้างประสบการณ์ในโครงการนีค้ อ่ นข้างน้อย นอกจากนัน้ ยังมีทกั ษะจำ�เป็นในด้านการพัฒนาและถ่ายทอด องค์ความรูส้ สู่ าธารณะด้วยกระบวนการ ทางวิชาการ เช่น การถอดบทเรียน การนำ�เสนอ การจัดการความรู้เพิ่มขึ้น รวมทั้งการเผยแพร่


3

องค์ความรูห้ รือนวัตกรรม และความสามารถประสานจัดบริการร่วมกับหน่วยงานนอกภาคสาธารณสุข ให้ราบรื่นได้ ทั้งนี้ ผู้ปฏิบัติงานในโครงการ 1 มีคะแนนสูงกว่าผู้ปฏิบัติงานในโครงการที่ 2 ซึ่งไม่เคยทำ�งานสุขภาพช่องปากคนพิการมาก่อน โดยสรุปการเปลี่ยนแปลงทัศนคติและศักยภาพ ของผู้ปฏิบัติงานในพื้นที่เมื่อสิ้นสุด โครงการ เป็นไปในทางที่มีทัศนคติเชิงบวกต่อคนพิการทุกประเภทในระดับ 4.38 และความ สามารถทำ�งานกับสหวิชาชีพเพื่อการบริการคนพิการแบบบูรณาการในระดับคะแนน 4.46 ในขณะที่การเปลี่ยนแปลงของความสามารถในการจัดการเพื่อให้รู้ปัญหาความจำ�เป็น และ จัดบริการสุขภาพช่องปากสำ�หรับคนพิการทางการได้ยินมีคะแนนในระดับตำ�่ ที่สุด คือ 2.85 และ 3.0 ตามลำ�ดับ ซึง่ ตามมาด้วยการจัดบริการสำ�หรับคนพิการทางการมองเห็น ซึง่ ได้คะแนน 3.1 สำ�หรับค่าเฉลี่ยความเปลี่ยนแปลงในภาพรวมอยู่ที่ระดับ 3.65 จากคะแนนเต็ม 5 คะแนน • ผลการประเมินรายโครงการ 1) โครงการพัฒนาสมรรถนะนักศึกษาทันตแพทย์และทีมทันตบุคลากรเพื่อดูแล สุขภาพช่องปากผู้พิการ มีผลผลิตที่เด่นชัดเป็นรูปธรรม 3 ประการ คือ 1) มีเนื้อหาและ รูปแบบกิจกรรมการเรียนรูท้ ชี่ ว่ ยสร้างประสบการณ์และทัศนคติเชิงบวกต่อคนพิการให้กบั นักศึกษาทันตแพทย์ 2) มีเนื้อหาวิชา/หลักสูตรการดูแลและให้บริการคนพิการที่ใช้สอน นิสิตนักศึกษาทันตแพทย์ 3) มีองค์ความรู้เรื่อง การออกแบบคลินิกทันตกรรมสำ�หรับ เด็กพิการ นอกจากนั้น การติดตามผลลัพธ์หลังจบโครงการในนักศึกษาที่เข้าร่วมเรียนรู้พบว่า นักศึกษาทีผ่ า่ นกิจกรรม ยังมีพฤติกรรมเชิงบวกต่อคนพิการโดยมีการทำ�กิจกรรมต่อเนือ่ ง ในพื้นที่เดิมและออกแบบกิจกรรมใหม่ เช่น 1) ออกหน่วยในพื้นที่อื่น 2) พาคนตาบอด วิ่งออกกำ�ลังกาย 3) สอนพิเศษให้นักเรียนตาบอด ส่วนอาจารย์ที่เข้าร่วมโครงการมีการทำ�งานต่อยอดหลังเสร็จสิ้นโครงการ คือ 1) ได้บูรณาการเนื้อหาการเรียนรู้เรื่องคนพิการเข้าในกระบวนวิชาระดับปริญญาตรี (ชั้นปี ที่ 3, 4 และ 6) ของคณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และมหาวิทยาลัย นเรศวร 2) เพิ่มกระบวนวิชาชีพทันตกรรมสำ�หรับบุคคลที่มีความต้องการพิเศษ สำ�หรับ ชั้นปีที่ 6 แบบวิชาเลือก ในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (เริ่มในปีการศึกษา 2558) และ 3) มีการพัฒนาคลินกิ ทันตกรรมสำ�หรับคนพิเศษด้วยแนวคิดคลินกิ ทันตกรรมสำ�หรับคนทัง้ มวล แต่ไม่ปรากฏผลผลิต “ระบบการให้บริการสุขภาพช่องปากต้นแบบและระบบส่งต่อ ผู้พิการแบบบูรณาการระหว่างชุมชน โรงพยาบาลชุมชน และคณะทันตแพทยศาสตร์”


4

2) โครงการส่งเสริมการเข้าถึงบริการสุขภาพช่องปากคนพิการ มีผลจากการดำ�เนินงาน และการสรุปบทเรียนที่สำ�คัญ ในหลายประเด็น ได้แก่ การพัฒนาวัสดุอปุ กรณ์และเครือ่ งมือทีผ่ ลิตในพืน้ ทีเ่ พือ่ ใช้ในการบริการ หรืออำ�นวย ความสะดวกแก่คนพิการและญาติในการดูแลสุขภาพ เช่น แฟ้มเยีย่ มบ้านแบบบูรณาการ นาฬิกาพลิกตัว แผนภาพการแปรงฟันในผู้ป่วยติดเตียง สมุดประจำ�ตัวคนพิการ ปฏิทิน ชุมชน (ระบุชอื่ เจ้าหน้าทีแ่ ละเบอร์โทรศัพท์ ทีแ่ จกไว้ทบี่ า้ นคนพิการและผูส้ งู อายุทมี่ ภี าวะ พึง่ พิง) แบบประเมินความสามารถของคนพิการ (ประยุกต์จาก ICF ใช้คดั แยกภาวะพึง่ พิง) แบบบันทึกการตรวจฟัน (รวมการวัดความสะอาดฟันและพฤติกรรม) อุปกรณ์ช่วย ทำ�ความสะอาดฟันและช่องปาก (สำ�ลีพันปลายไม้ช่วยเช็ดช่องปาก ด้ามแปรงสีฟัน ทีห่ นาขึน้ และมียางรัดช่วยให้จบั ได้กระชับขึน้ ) และแบบประเมินการทำ�งานของกล้ามเนือ้ มัดเล็ก (เพื่อประเมินความสามารถเด็กพิการทางสติปัญญาในการแปรงฟันด้วยตนเอง) การปรับมุมมองและทัศนะในการทำ�งานสหวิชาชีพ จากเดิมที่ต่างก็ใช้มุมมองของ แต่ละวิชาชีพแยกส่วนกัน มาเป็นการวิเคราะห์ปญ ั หาและออกแบบการทำ�งานร่วมกันโดย มีขอ้ มูลคนพิการทีส่ �ำ รวจจากพืน้ ทีเ่ ป็นตัวเชือ่ ม มีการคืนข้อมูลแก่ รพ.สต. และหน่วยงาน นอกภาคสาธารณสุข เช่น องค์การบริหารส่วนตำ�บล (อบต.) เทศบาล และพัฒนาสังคม และความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด (พมจ.) ที่นำ�ไปสู่การประสานงานร่วมกันออกแบบ การดูแลคนพิการรายบุคคล โดยเริ่มจากการปรับปรุงบ้านและสภาพแวดล้อม และการ ส่งเสริมให้คนพิการดำ�รงชีวิตและดำ�เนินชีวิตประจำ�วันได้อย่างถูกสุขลักษณะ จากนั้น จึงประเมินปัญหาสุขภาพและความจำ�เป็นบริการสุขภาพและสุขภาพช่องปากตามลำ�ดับ องค์การบริหารส่วนท้องถิน่ เป็นจุดเชือ่ มในพืน้ ที่ และเป็นปัจจัยความสำ�เร็จในการดูแล คนพิการในชุมชน ภายใต้โครงการฯ นี้ ภาวะผูน้ ำ�ของทันตแพทย์เป็นปัจจัยแห่งความ สำ�เร็จของการทำ�งานด้านสุขภาพแบบภาคีเครือข่ายอำ�เภอซึ่งสอดคล้องกับหลักการ ระบบสุขภาพระดับอำ�เภอ ด้านระบบส่งต่อ ในเชิงระบบมีปัญหาเรื้อรังของการส่งต่อจาก รพช. ไป รพศ./รพท. ทุกจังหวัด เมือ่ ต้องส่งต่อคนพิการจึงมีปญ ั หาเช่นกัน ยังไม่มรี ะบบช่องทางด่วนสำ�หรับคน พิการ (ทั้งด้านการแพทย์และทันตกรรม) แต่ก็มีกรณีศึกษาของจังหวัดเชียงใหม่ ที่พบว่า มีบริบททีเ่ ป็นจุดแข็ง คือ การมีสสจ. เป็นผูบ้ ริหารงบประมาณค่าบริการสำ�หรับจ่ายกรณี ผู้ป่วยที่ รพช. ถูกส่งต่อมายังคณะทันตแพทย์ ผนวกกับความสัมพันธ์ฉันท์ครูกับศิษย์ ระหว่ า งอาจารย์ กั บ ทั น ตแพทย์ ใ นพื้ น ที่ ซึ่ ง ทำ � หน้ า ที่ เ ป็ น อาจารย์ พิ เ ศษมี บุ ค ลิ ก หรื อ การทำ�งานโดดเด่น จึงเกิดการประสานการส่งต่อแบบไม่เป็นทางการที่มีคุณภาพและ ประสิทธิภาพ ซึง่ ไม่พบในจังหวัดอืน่ ทีม่ คี ณะทันตแพทย์และทันตแพทย์ในพืน้ ทีส่ ว่ นใหญ่


5

ก็เป็นศิษย์เก่าเช่นกัน รูปแบบนี้อาจเรียกได้ว่า “เชียงใหม่โมเดล” ในอนาคต คลินิก ทันตกรรมคนพิเศษของคณะทันตกรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จะพร้อมให้บริการ การส่งต่อ ก็น่าจะมีความชัดเจนและเป็นระบบขึ้น แต่ยังมีความท้ายทาย คือ ด้านงบประมาณ สุขภาพซึง่ อำ�นาจการจัดการอยูท่ เี่ ขตสุขภาพ (กสธ.) บริหารโดยคณะกรรมการระดับเขต ซึ่งจังหวัดเชียงใหม่ได้รับงบประมาณลดลงตามลำ�ดับ เมื่อระบบการตามจ่าย ค่าบริการ ในระดับจังหวัดนีห้ มดไป อาจต้องกลับไปใช้ระบบส่งต่อปกติภายในเครือข่าย รพ. ในสังกัด กระทรวงสาธารณสุขตามเดิม เพื่อลดค่าใช้จ่ายโดยรวมของจังหวัด แม้วา่ การทำ�งานแบบสหวิชาชีพ จะเป็นหลักการสำ�คัญของการดำ�เนินงานชุดโครงการ นี้ แต่มอี ย่างน้อย 2 พืน้ ทีท่ ดี่ �ำ เนินงานโดยลำ�พังทีมทันตบุคลากร ไม่ได้มองปัญหาสุขภาพ แบบองค์รวม ซึ่งสะท้อนถึงคุณภาพการสื่อสารระหว่างหัวหน้าชุดโครงการกับหัวหน้า โครงการย่อยในพื้นที่ ในเรื่องแนวคิดและแนวทางการทำ�งานแบบเครือข่ายสหวิชาชีพ และภาคส่วนต่างๆ (ภาคสาธารณสุข สังคม และท้องถิ่น) ในอีกด้านการทำ�งานแยกส่วน เฉพาะทีมทันตบุคลากร (อาจรวม อสม.) ก็สะท้อนทักษะของทันตแพทย์ในการสื่อสาร และประสานงานกับวิชาชีพอื่นในโรงพยาบาลหรือ รพ.สต. ด้วย ในภาพรวมโครงการย่อยระดับพื้นที่ ส่วนใหญ่สามารถดำ�เนินการได้ตามเป้าหมาย มีความมุ่งมั่นต่อพันธะสัญญาที่ให้ไว้ต่อกัน มีเพียงบางโครงการที่กลุ่มเป้าหมายหรือวิธี การไม่เหมาะสมทำ�ให้ไม่สามารถดำ�เนินการได้ แต่ก็มีการเลือกพื้นที่ใหม่ทดแทน ทั้งนี้ การดำ�เนินงานโครงการย่อยมีเอกภาพสอดคล้องกัน ซึ่งเป็นลักษณะเด่นของโครงการนี้ ที่เกิดจากการชักชวนคนรู้จักเคยทำ�งานร่วมกันมาคิดมาเขียนโครงการด้วยกัน ด้านศักยภาพคนทำ�งาน เป็นการยากที่การอบรมพัฒนาศักยภาพเพียงครั้งเดียวจะ ทำ�ให้บุคลากรมีทักษะความสามารถพร้อมในการดูแลคนพิการทุกประเภท การพัฒนา ศูนย์การเรียนรู้เพื่อพัฒนาศักยภาพคนทำ�งานของแต่ละเครือข่ายพื้นที่จึงมีความจำ�เป็น ในระยะต่อไป หาก รพ. แม่ข่ายมีทันตแพทย์เฉพาะทางตาม service plan ของ กสธ. ในสาขาทันตกรรมสำ�หรับเด็ก ศัลยศาสตร์ชอ่ งปาก หรือสาขาทันตกรรมทัว่ ไป ก็สามารถ ยกระดับเป็นแหล่งดูงานฝึกงานคลินิกบริการทันตกรรมได้ ศักยภาพที่จำ�เป็นและพัฒนา ยากกว่า คือ การทำ�งานเครือข่ายวิชาชีพและภาคส่วนแบบมีสว่ นร่วม ทัง้ นีก้ ารเรียนรูร้ ว่ มกัน ขณะทำ�งานของทีมสหวิชาชีพ การดูงานในพื้นที่อื่น และการจัดทำ�ระบบให้คำ�ปรึกษา หารือทางไกลหรือออนไลน์ น่าจะมีความเป็นไปได้มากกว่าการพยายามจัดอบรมให้ ได้ครบทุกหลักสูตร ทีส่ �ำ คัญต้องประเมินศักยภาพบุคคลว่าเหมาะสมกับงานหรือไม่ และ สถานพยาบาลมีศักยภาพเพียงพอหรือไม่ แม้จะมีนโยบายบรรจุทันตาภิบาลใน รพ.สต. แต่ก็ไม่มีการสนับสนุนครุภัณฑ์ และผู้ช่วยในการจัดบริการ


6

ประเด็น การทำ�ให้ “งานบริการสุขภาพช่องปากคนพิการ” เป็นนโยบาย มีการ อภิปรายกันมาก ทั้งนี้ระดับของนโยบายก็มีนัยยะที่ความสำ�คัญ เช่น นโยบายรัฐบาล ย่อมเหนือกว่านโยบายกระทรวง แต่นโยบายของ ผอ.รพ. มีผลต่อการปฏิบตั งิ านโดยตรง หาก ผอ.รพ. เน้นการทำ�งานตามนโยบายและตัวชี้วัด บุคลากรจะมีอิสระในการทำ�งาน ลดลง การดำ�เนินงานทีไ่ ม่ใช่นโยบายและไม่เป็นตัวชีว้ ดั แม้จะเป็นความจำ�เป็นของประชาชน ในพื้นที่ก็อาจไม่ได้รับอนุมัติให้ดำ�เนินการ โดยเฉพาะถ้าไม่สามารถสร้างรายได้ให้ รพ. ก็ยากจะได้รับการสนับสนุนให้ดำ�เนินการในพื้นที่ • การสังเคราะห์ข้อเสนอเพื่อปรับปรุงยุทธศาสตร์และทิศทาง การขับเคลื่อนงาน 1.) ด้านแนวคิดและแนวทางการทำ�งาน คนไทยมีอายุคาดเฉลี่ยเพิ่มขึ้น ร่วมกับแบบแผนการเจ็บป่วยที่เรื้อรังและส่งผลต่อ สมรรถนะหรือความสามารถในการดำ�รงชีวติ ทัง้ ชัว่ คราวและถาวรเพิม่ ขึน้ ระบบบริการสุขภาพ จึงจำ�เป็นต้องเปิดแนวคิดเรื่องการพัฒนาสมรรถนะหรือฟื้นฟูสมรรถภาพของประชากรในการ จัดการดูแลสุขภาพตนเอง และแนวคิดการเข้าถึงบริการก็จ�ำ เป็นต้องให้ความสำ�คัญกับการทำ�งาน ที่ต้องตอบสนอง และออกแบบเพื่อคนทั้งมวล (universal access& design) มากขึ้น ซึ่งนำ�ไปสู่ขอบเขตการทำ�งานแบบสหวิชาชีพที่กว้างขึ้นด้วย 2.) ด้านการพัฒนาศักยภาพบุคลากร แม้วา่ การเปลีย่ นแปลงหลักสูตรทันตแพทยศาสตร์และทันตาภิบาลระดับปริญญาตรี มีหลายภาคส่วนเกี่ยวข้อง (คณะกรรมการระดับคณะ สภามหาวิทยาลัย และทันตแพทยสภา) การปรับปรุงในระยะยาวขึ้นกับสภาพทางสังคมประชากรของไทยและอาเซียนที่จะมีอิทธิพล ให้ปรับหลักสูตรรองรับอุปสงค์ (เช่น หลักสูตรการจัดการและบริการในคลินกิ หลักสูตรดูแลคนพิการ ร่วมกับวิชาชีพอืน่ และเป็นข้อสอบในการสอบสำ�เร็จการศึกษาทันตแพทยศาสตร์บณ ั ฑิต รวมทัง้ หลักสูตรระดับหลังปริญญา) แต่หากต้องการหวังผลในระยะสั้นต้องอาศัยการขับเคลื่อนและ ร่วมกันผลักดันเชิงนโยบาย แต่สำ�หรับหลักสูตรเข้มข้นระยะสั้น จำ�เป็นต้องมีเจ้าภาพ เช่น กระทรวงสาธารณสุข (กรณีเป็นนโยบายกระทรวง) หรือ สปสช. (กรณีเป็นการบริการกลุ่มที่ สังคมควรช่วยเหลือเกื้อกูล) แล้วมอบหมายให้คณะจัดทำ�หลักสูตรและสนับสนุนการฝึกอบรม พร้อมงบประมาณ ส่วนการพัฒนาศักยภาพนอกระบบการศึกษา ในโรงพยาบาลแม่ข่ายที่มีทันตแพทย์ เฉพาะทางสาขาทันตกรรมเด็ก ศัลยศาสตร์ช่องปาก และทันตกรรมทั่วไป ที่ทำ�งานร่วมกับ


7

สหวิชาชีพ อาจต้องแสวงหาความร่วมมือและการสนับสนุนงบประมาณจากแหล่งอืน่ ๆ เช่น สสส. ซึง่ ควรพัฒนาขีดสามารถจนยกระดับเป็นสถานทีด่ งู าน (study) ฝึกงาน (train) และสอนงาน (coach) สำ�หรับโรงพยาบาลทีม่ บี ริบทคล้ายกันได้ดว้ ยเพือ่ เพิม่ การเข้าถึงบริการหรือการดูแล สุขภาพช่องปากคนพิการ อาจต้องการกำ�ลังคนทีไ่ ม่ใช่นกั วิชาชีพสุขภาพด้วย เช่น ผูป้ กครอง ญาติ ผู้ดูแล อาสาสมัคร หรือครู ดังนั้นจึงควรมีเนื้อหาและแนวทางการพัฒนากลุ่มคนเหล่านี้ด้วย 3.) ด้านวิชาการ ควรส่งเสริมการวิจยั พัฒนานวัตกรรมด้านวัสดุอปุ กรณ์ สาร ยาสีฟนั เพือ่ การทำ�ความสะอาด ช่องปากทีป่ ลอดภัยต่อคนพิการและผูส้ งู อายุ (เช่น ยาสีฟนั ไร้ฟองไร้สารแต่งกลิน่ ผ้าก๊อซเช็ดฟัน แบบมีด้ามจับ) และเครื่องมืออุปกรณ์ในการบริการทันตกรรมคนพิการทดแทนการนำ�เข้า เพือ่ ลดต้นทุน โดยจัดทำ�โจทย์วจิ ยั ทีม่ คี วามสำ�คัญและเร่งด่วนประสานกับหน่วยงานด้านการวิจยั ที่ครบวงจร เช่น วช. สวทช. สวรส. นอกจากส่งเสริมการวิจัยด้านนวัตกรรมแล้ว การวิจัยด้านการจัดการระบบสุขภาพ เพือ่ การเข้าถึงบริการและสร้างผลลัพธ์สขุ ภาพในประชากรกลุม่ เฉพาะ เช่น การวิจยั พัฒนาต้นแบบ การจัดบริการ ที่รวมถึงการวิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อเสนอเพื่อการขยายผลในระดับนำ�ร่องและ ระดับนโยบาย ตลอดจนการวิจัยสนับสนุนการนำ �นโยบายสู่การปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง ก็มี ความจำ�เป็นอย่างมาก ทั้งนี้การจัดเวทีวิชาการเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในเรื่องคนพิการ สุขภาพทั่วไปและ สุขภาพช่องปากคนพิการ ทีอ่ าจแทรกเป็นหัวข้อในการประชุมวิชาการปกติหรือแยกจัดเฉพาะ จะช่วยสร้างความรับรู้ในความจำ�เป็น เข้าใจอุปสรรค เห็นโอกาสและความเป็นไปได้ในการ พัฒนา ทีจ่ ะเป็นไปในแบบทีม่ ขี อ้ มูลเชิงประจักษ์ทางวิชาการสนับสนุน ซึง่ จะเป็นการพัฒนาทีย่ ง่ั ยืน การจัดการชุดความรู้ คู่มือ แนวทาง เทคนิค หรือการรวบรวมรายการหรือตัวอย่าง อุปกรณ์ ในการให้บริการดูแลสุขภาพช่องปากคนทีม่ ภี าวะพึง่ พิงหรือพิการจะช่วยเพิม่ คุณภาพ การดูแลได้มากขึน้ และเพือ่ ส่งเสริมการจัดบริการเชิงรุกก็อาจต้องการการออกแบบและพัฒนา ต้นแบบชุด mobile services ที่จะเพิ่มการเข้าถึงบริการ หรือเทคนิค/อุปกรณ์/ผลิตภัณฑ์ ที่ช่วยลดความเสี่ยงในการให้บริการคนพิการ ตลอดจนช่วยส่งเสริม self-care health promotion ที่มีฉลากและข้อมูลที่เข้าถึงเข้าใจใช้ประโยชน์ได้จริง (ยาสีฟัน แปรงสีฟัน นำ�้ ยา บ้วนปาก) 4.) ด้านข้อมูลข่าวสารที่จะสะท้อนความจำ�เป็นและการติดตามประเมินผลลัพธ์ ด้านสุขภาพ ควรประกอบด้วย ระบบข้อมูลในชุมชน ได้แก่ ข้อมูลด้านประชากรและทีอ่ ยูอ่ าศัยจริง


8

เศรษฐานะ ลักษณะและระดับความพิการหรือความยากลำ�บากในการดำ�รงชีวติ หรือการเข้าถึง บริการ ความจำ�เป็นด้านสุขภาพทั่วไปและสุขภาพช่องปาก การเข้าถึงและได้ใช้บริการบริการ สุขภาพตามความจำ�เป็น ที่จะเป็นประโยชน์ทั้งในการวางแผน และการจัดบริการ ตลอดจน การติดตามและประเมินผลเป็นระยะ ในขณะที่ ระดับมหภาค ความต้องการและการเข้าถึงบริการสุขภาพช่องปาก ของ คนพิการ ควรได้รับการเพิ่มเติมในการสำ�รวจคนพิการ โดยรวมความต้องการวัสดุอุปกรณ์ ทำ�ความสะอาดช่องปาก ที่อาจจำ�แนกเป็นกลุ่มที่หาซื้อได้ทั่วไป กลุ่มที่หาซื้อได้ในวงจำ�กัด (อาจเพราะราคาแพงหรือเป็นวัสดุอุปกรณ์ทางการแพทย์) และกลุ่มที่ต้องปรับให้เหมาะกับ แต่ละบุคคล (มีค�ำ แนะนำ�วิธกี ารในการปรับแต่ง) ในขณะทีก่ ารสำ�รวจสภาวะทันตสุขภาพระดับ ประเทศก็ควรเพิม่ ข้อมูลเรือ่ งสมรรถนะหรือความยากลำ�บากในการจัดการสุขภาพช่องปากด้วย เพื่อสามารถวิเคราะห์ความเหลื่อมลำ�้ ของปัญหาและการเข้าถึงบริการของคนพิการในเรื่องนี้ ได้ชดั เจนขึน้ ทัง้ นีเ้ พราะสุขภาพช่องปากเป็นพืน้ ฐานสำ�คัญอันหนึง่ ของสุขภาพทัว่ ไปของประชากร 5.) ด้านนโยบาย โอกาสในการพัฒนานโยบายเรือ่ งนีเ้ หมาะทีจ่ ะเสนอเป็นมาตรการเพิม่ ในนโยบายหลัก เช่น นโยบายการดูแลระยะยาวผูส้ งู อายุทม่ี ภี าวะพึง่ พิง ได้รบั ความสนใจและให้ส�ำ คัญจากทุกภาคส่วน จึงเป็นโอกาสที่จะเสนอเรื่องการดูแลสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงเพิ่มในนโยบายนี้ โดยควรจัดทำ�เอกสารข้อเสนอนโยบายทีม่ เี นือ้ หาครอบคลุมปัญหาและความจำ�เป็น ผลกระทบ จากการได้รบั และไม่ได้รบั การดูแลสุขภาพช่องปากทีเ่ หมาะสมจะเป็นอย่างไร เครือ่ งมือ การคัดกรอง ปัญหา เครือ่ งมือประเมินความจำ�เป็นเพือ่ การวงแผนและแนวทางการจัดบริการ สิทธิประโยชน์ บริการทีค่ วรได้ ความพร้อมชุดความรูท้ จ่ี ะใช้พฒ ั นาขีดความสามารถผูใ้ ห้บริการ และงบประมาณ ที่จำ�เป็น ในขณะเดียวกันก็พึงระวังไม่ให้เรื่องนี้ ถูกลดทอนลงมาเหลือแค่บางกลุ่มเป้าหมาย เช่น ผูส้ งู อายุทมี่ ภี าวะพึง่ พิงเท่านัน้ ในการนีจ้ งึ ควรมองหานโยบายทีเ่ ป็นเชิงระบบ เช่น นโยบาย District Health System & Family Care Team ที่มองทุกคนในพื้นที่ คู่ขนานไปกับ นโยบายที่มุ่งตอบสนองกลุ่มเป้าหมายคนพิการ เช่น แผนพัฒนาสุขภาพคนพิการ ที่รับผิดชอบ โดยกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ทั้งนี้ควรพัฒนาเอกสารข้อเสนอนโยบายที่มีความ ชัดเจน สำ�หรับกลุ่มย่อย เช่น เด็กพิการหรือคนพิการประเภทต่างๆ ที่ปัญหาและความจำ�เป็น ด้านสุขภาพช่องปากในลักษณะทีแ่ ตกต่างและมักถูกมองข้าม ทำ�ให้ยงั เข้าไม่ถงึ บริการ จึงต้องการ มาตรการเสริมเพือ่ พัฒนาและสร้างการเข้าถึงบริการ เช่น การบริการทีบ่ า้ น ในชุมชน ในโรงเรียน ที่มีกำ�ลังคนนอกวิชาชีพสุขภาพเสริม มีชุดความรู้ที่เฉพาะทาง มีการพัฒนาและประยุกต์ใช้ อุปกรณ์/เทคโนโลยี และการออกแบบเพื่อแก้ปัญหาที่เฉพาะเจาะจง


9

สารบัญ บทสรุปผู้บริหาร

1. บทนำ� 2. การดำ�เนินงานของชุดโครงการดูแลสุขภาพช่องปากคนพิการ 3. วิธีการ/เครื่องมือในการติดตามประเมินผล 4. ผลการประเมิน 4.1 ผลการประเมินในภาพรวม 4.2 ผลการดำ�เนินงานระดับกิจกรรมในโครงการย่อย 5. อภิปรายและสรุปผล 6. ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย

1

10 14 18 20 20 25 85 89

92 ขอขอบคุณ 93 รายชื่อทีมติดตามประเมิน 94 รายชื่อผู้รับผิดชอบและผู้ร่วมชุดโครงการ 97 รายชื่อผู้เข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการ Policy brief 99 ภาคผนวก 100 ภาคผนวก ก แบบสอบถามโครงการ 104 ภาคผนวก ข สมุดเยี่ยมบ้าน ตรวจสภาวะช่องปากผู้พิการ เครือข่าย รพ. 50 พรรษามหาวชิราลงกรณ 106 ภาคผนวก ค แบบบันทึกเยี่ยมบ้านผู้พิการวัดจันทร์ 113 ภาคผนวก ง ภาพกิจกรรมโครงการ


10

1. บทนำ� บริ ก ารสุ ข ภาพช่องปากในระดับ ปฐมภูม ิเป็น หนึ ่ ง บริ ก ารในชุ ด สิ ท ธิ ประโยชน์ ทางทันตกรรม ซึง่ ประกอบด้วยบริการทันตกรรมพืน้ ฐาน บริการส่งเสริมป้องกันโรคในช่องปาก ทัง้ ในสถานบริการและในชุมชน ให้แก่กลุม่ เป้าหมายสำ�คัญ ได้แก่ กลุม่ หญิงมีครรภ์ เด็กก่อนวัยเรียน และวัยเรียน กลุม่ คนพิการ กลุม่ ผูป้ ว่ ยโรคเรือ้ รัง กลุม่ วัยทำ�งาน และกลุม่ ผูส้ งู อายุ เพือ่ ให้ประชาชน ทุกกลุ่มวัย สามารถเข้าถึงบริการสุขภาพช่องปากได้อย่างทั่วถึงแต่จากข้อมูลการสำ�รวจสถิติ การรับบริการสุขภาพคนพิการ1 พบว่า มีคนพิการที่ยังไม่สามารถเข้ารับบริการสุขภาพสูง ถึงร้อยละ 80 และจากผลสำ�รวจความพิการ ปี 2550 ของสำ�นักงานสถิติแห่งชาติ พบว่า ประชากรพิการที่มีอายุตั้งแต่ 7 ปี ขึ้นไป มีความลำ�บากในการล้างหน้าแปรงฟันซึ่งถือเป็นการ ดูแลสุขภาพช่องปากเบื้องต้นในชีวิตประจำ�วันมากถึงร้อยละ 65.8 ดังนั้น จึงอาจกล่าวได้ว่า คนพิการมีปัญหาด้านสุขภาพช่องปากที่จำ�เป็นต้องได้รับการดูแลในระดับที่ค่อนข้างสูง และแม้ว่าคนพิการบางคนพอจะมีฐานะและตระหนักถึงการดูแลสุขภาพในช่องปาก แต่ก็ยังมีอุปสรรคไม่น้อยในการเข้ารับบริการด้านทันตกรรม ดังจะเห็นได้จากข้อมูลเชิงลึก (focus group) ของโครงการพัฒนาคลินกิ ทันตกรรมให้บริการคนพิการทางการเคลือ่ นไหว และผูส้ งู อายุทใี่ ช้ Wheelchair2 พบว่า อุปสรรคในการเข้ารับบริการทันตกรรมประกอบด้วย สภาพแวดล้อมทีไ่ ม่เอือ้ อำ�นวยต่อการเข้ารับบริการ เช่น ไม่มที างลาด ทีจ่ อดรถ ห้องนำ�้ ห้องทำ�ฟัน ประตูทางเข้า หรือลิฟท์ ทีค่ นพิการสามารถใช้ได้อย่างสะดวก รวมถึงการเคลือ่ นย้ายตัวคนพิการ จากเก้าอี้รถเข็นไปยังเก้าอี้ทำ�ฟัน เคาเตอร์ที่สูงเกินไปทำ�ให้การสื่อสารยากลำ�บากนอกจากนั้น ยังมีปญ ั หา การขาดความรู้ ความเข้าใจ และทัศนคติทเี่ หมาะสมเอือ้ ในการให้บริการทันตกรรม แก่คนพิการของทันตแพทย์และทันตบุคลากร รวมทั้งคนพิการและผู้ดูแลเองก็ขาดความรู้และ ความตระหนักในการดูแลและป้องกันปัญหาสุขภาพช่องปาก อีกทั้งไม่รู้ถึงสิทธิพื้นฐานที่พึงได้ ในด้านบริการทางทันตกรรม นอกจากนี้ ผูใ้ ห้บริการทันตกรรมยังมีขอ้ จำ�กัดในจัดบริการให้กบั คนพิการทีบ่ กพร่อง ด้านสติปัญญาและการเรียนรู้3 เช่น ขาดทักษะการสื่อสาร ขาดความรู้ในการจัดการท่าทาง/ พฤติกรรมผู้ป่วย ไม่มีความมั่นใจในความรูแ้ ละทักษะในการให้การรักษาทันตกรรม ในคนพิการ1 วรัญญาเพ็ชรคง, 2548.

เอกสารวิชาการลำ�ดับที่ 8 สำ�นักวิจัยสังคมและสุขภาพ เรื่องเครือข่ายประชาคมคนพิการ : การสร้าง อัตลักษณ์ในกระบวนการปฏิรูประบบสุขภาพ. 2 ทพญ.วีรนันท์ วิชาไทย ,2552. โครงการพัฒนาคลินิกทันตกรรมให้บริการคนพิการทางการเคลื่อนไหวและผู้สูงอายุที่ใช้ Wheelchair. 3 ทพญ.ภัตติมา บุรพลกุล , สถาบันราชานุกูล.ข้อจำ�กัดและอุปสรรคของทันตแพทย์ต่อการให้บริการทันตกรรมแก่ผู้บกพร่อง ด้านสติปัญญาและการเรียนรู้ในประเทศไทย


11

ไม่มคี วามพร้อมของสถานที่ รวมทัง้ ไม่มเี ครือข่ายการปรึกษาและส่งต่อผูป้ ว่ ยรวมทัง้ การสนับสนุน ทางนโยบายจากผู้บริหารในพื้นที่ ซึ่งล้วนเป็นอุปสรรคที่สำ�คัญ จากที่กล่าวมา จะเห็นได้ว่าคนพิการมีปัญหาอุปสรรคและข้อจำ�กัดหลายประการ ในการเข้าถึงการดูแลสุขภาพช่องปาก ทัง้ ในด้านคนพิการและญาติ และทันตบุคลากรผูใ้ ห้บริการด้วย ที่หากปล่อยปละละเลยให้คนพิการต้องอยู่กับปัญหาสุขภาพช่องปากโดยเฉพาะตั้งแต่วัยเด็ก จะกลายเป็นอุปสรรคในการพัฒนาและฟืน้ ฟูสมรรถภาพ เกิดภาวะแทรกซ้อนทางสุขภาพอืน่ ๆ เช่น การติดเชื้อในช่องปากจากฟันผุ เหงือกอักเสบ หรือแม้แต่การรับประทานอาหารไม่ได้ จึงนับเป็นปัญหาทีจ่ �ำ เป็นต้องได้รบั การแก้ไขอย่างเป็นรูปธรรม ทัง้ นีค้ วรเน้นให้เกิดการมีสว่ นร่วม ในชุมชนด้วย โดยเริม่ ตัง้ แต่ทบี่ า้ นให้คนดูแลในบ้านมีความรูแ้ ละทักษะทีจ่ ำ�เป็นในการช่วยเหลือ การดู แ ลสุ ข ภาพช่ อ งปากของคนพิ ก าร และสามารถพาเข้ า ถึ ง บริ ก ารในสถานพยาบาล เมื่อจำ�เป็นได้ ในช่วงเวลาระหว่าง พ.ศ. 2552-2554 สถาบันสร้างเสริมสุขภาพคนพิการ (สสพ.) ตระหนักถึงความสำ�คัญในการเร่งจัดการปัญหาดังกล่าว จึงได้จดั ทำ�โครงการพัฒนาระบบบริการ ปฐมภูมิ “สุขภาพช่องปากคนพิการ” ขึ้น โดยสนับสนุนการปฏิบัติการเพื่อสร้างความตระหนัก ถึงการสร้างเสริมสุขภาพช่องปากคนพิการให้กับทันตบุคคลากร และพัฒนาการกลไกส่งเสริม การเข้าถึงบริการทันตสุขภาพของคนพิการทุกประเภทในระดับปฐมภูมใิ ห้มปี ระสิทธิภาพเพิม่ ขึน้ มีพนื้ ทีด่ �ำ เนินงานประกอบด้วย สำ�นักงานสาธารณสุขจังหวัด โรงพยาบาลศูนย์โรงพยาบาลทัว่ ไป โรงพยาบาลชุมชน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำ�บล กองสาธารณสุขและสิง่ แวดล้อมเทศบาล ตำ�บล มีการจัดบริการสุขภาพช่องปากระดับปฐมภูมิ ตามชุดสิทธิประโยชน์ทางทันตกรรมใน ระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าให้กับคนพิการ ประกอบด้วย การส่งเสริม ป้องกัน รักษา (ถอนฟัน อุดฟัน ขูดหินปูน ครอบคลุมถึงการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคในช่องปาก ได้แก่ การตรวจสุขภาพช่องปาก การแนะนำ�ด้านทันตสุขภาพ การให้ฟลูออไรด์เสริม และการเคลือบ หลุมร่องฟัน) มีการสำ�รวจสภาวะสุขภาพช่องปาก เยีย่ มบ้านคนพิการเป้าหมาย ซึง่ มีการกระจาย การดำ�เนินโครงการใน 4 ภาค โดยมีการสนับสนุนภาคีเครือข่ายปฏิบตั กิ ารจำ�นวน 2 รอบ ดังนี้ รอบที่ 1 มี 11 พืน้ ทีใ่ น 8 จังหวัดนำ�ร่อง คือ เชียงราย เชียงใหม่ น่าน ร้อยเอ็ด อยุธยา สุราษฎร์ธานี พัทลุง และสงขลา ตามลำ�ดับ รอบที่ 2 มี 30 พื้นที่ใน 11 จังหวัด คือ เชียงราย น่าน ลำ�พูน สุโขทัย นครสวรรค์ ร้อยเอ็ดนครพนม อยุธยา ราชบุรี สุราษฎร์ธานี พัทลุง และสงขลา ผลการดำ�เนินงาน ประกอบด้วย มีคนพิการได้รับการตรวจเพื่อคัดกรองโรคเหงือก และฟันเบื้องต้นจำ�นวน 3,942 ราย คนพิการที่ผ่านการตรวจคัดกรองแล้วได้รับการรักษา


12

ประมาณร้อยละ 10 หรือ 395 ราย เกิดหลักสูตรฝึกอบรมการให้บริการทันตกรรมแก่ผบู้ กพร่อง ด้านพัฒนาการและสติปัญญา ที่พัฒนาและจัดอบรมโดยสถาบันราชานุกูล และองค์ความรู้ จากประสบการณ์การทำ�งานในพืน้ ทีข่ องเครือข่ายปฏิบตั กิ ารพัฒนาต้นแบบ ทีท่ �ำ เป็นสือ่ การเรียน การสอนความรูเ้ บือ้ งต้น เกีย่ วกับการสร้างเสริมสุขภาพช่องปากคนพิการ Online ผ่าน www. oha-th.com ซึ่งผู้สนใจสามารถนำ�ชุดความรู้ต่างๆ นี้ไปใช้ประโยชน์ในพื้นที่ของตนเองได้ นอกจากนีย้ งั นำ�เสนอผลการดำ�เนินงาน ผ่านวารสารทันตภูธรทุก 3 เดือน ซึง่ เป็นการนำ�องค์ความรู้ ทีไ่ ด้จากการทำ�งานจริงๆ มาสือ่ สารและเผยแพร่ ทำ�ให้มคี นทำ�งานในพืน้ ทีอ่ นื่ ๆ สนใจกว้างขวาง มากขึ้น แม้จะเกิดผลงานที่เป็นรูปธรรมและมีเครือข่ายทันตบุคลากร แต่ระยะเวลาทำ�งาน ที่ค่อนข้างสั้น ซึ่งการทำ�งานส่วนใหญ่จึงเป็นเพียงการตรวจคัดกรองสุขภาพช่องปากคนพิการ จำ�นวนทันตบุคลากรที่มีอยู่น้อยเมื่อเทียบกับภาระงานสร้างเสริมสุขภาพช่องปากในทุกกลุ่ม ประชากร รวมทัง้ คนพิการ การไม่มรี ะบบการส่งต่อ เคลือ่ นย้ายคนพิการทีเ่ ป็นรูปธรรมจึงทำ�ให้ เกิดอุปสรรคในการส่งต่อเข้ามารับบริการทันตกรรมของคนพิการ ดังนัน้ เพือ่ ให้การดำ�เนินงาน ต่อเนื่องนำ�ไปสู่การจัดบริการสุขภาพช่องปากคนพิการที่มีความยั่งยืนและเป็นระบบ แกนนำ� เครือข่ายทันตบุคลากรในพืน้ ทีป่ ฏิบตั กิ าร นักวิชาการ นโยบาย ร่วมกับ สสส. สำ�นัก 2, สำ�นัก 9 และสสพ.จึงได้มกี ารจัดประชุมหารือระดมความคิดเห็นเพือ่ พัฒนาแผนยุทธศาสตร์การขับเคลือ่ น งานสร้างเสริมสุขภาพช่องปากคนพิการ เมื่อวันที่ 4 ตุลาคม 2556 สรุปบทบาทความร่วมมือ ของหน่วยงานต่างๆ ได้แก่ 1) หน่วยงานวิชาการ/พัฒนากำ�ลังคน ได้แก่ คณะทันตแพทย์ศาสตร์ ของมหาวิทยาลัย วิทยาลัยการสาธารณสุข สถาบันราชานุกูล 2) หน่วยบริการในพื้นที่ ได้แก่ โรงพยาบาล และฝ่ายทันตะสาธารณสุข ของสำ�นักงานสาธารณสุขจังหวัด 3) หน่วยงานนโยบาย ได้แก่ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข และ 4) หน่วยกลไกเชือ่ มเครือข่ายและการบริหารจัดการ ได้แก่ ชมรมทันตกรรมสำ�หรับบุคคลที่มีความต้องการพิเศษแห่งประเทศไทย ซึ่งสรุปให้มี การพัฒนาโครงการขึ้นมาเพื่อขับเคลื่อนงานให้เป็นไปตามแผนยุทธศาสตร์ฯ ที่ร่วมกันกำ�หนด


13

ภาพที่ 1 แสดงกรอบเวลาการพัฒนาชุดโครงการฯ

หลังจากนั้น จึงมีการจัดเวทีต่อเนื่องอีก 2 ครั้ง เพื่อพัฒนาชุดโครงการดูแลสุขภาพ ช่องปากคนพิการที่ภาคีเครือข่ายทันตะบุคลากรได้ร่วมกันพัฒนาขึ้น และขอรับการสนับสนุน จากแผนงานสร้างเสริมสมรรถนะฯ สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ได้แก่ โครงการที่ 1 โครงการพัฒนาสมรรถนะนักศึกษาทันตแพทย์และทีมทันตบุคลากร เพือ่ ดูแลสุขภาพช่องปากผูพ้ กิ าร ดำ�เนินการโดยสถาบันการศึกษาทันตแพทยศาสตร์ 3 สถาบัน ซึ่งมีคณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นหน่วยงานหลักรับผิดชอบโครงการ โครงการที่ 2 ส่งเสริมการเข้าถึงบริการสุขภาพช่องปากของคนพิการ โดยชมรมทันตกรรม สำ�หรับบุคคลที่มีความต้องการพิเศษแห่งประเทศไทยเป็นหน่วยงานหลักรับผิดชอบ เพื่อทำ�ให้การดำ�เนินงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น จึงให้มีการติดตาม ประเมินผลชุดโครงการดูแลสุขภาพช่องปากคนพิการ เพือ่ จะนำ�ผลการติดตามประเมินทีไ่ ด้มา ปรับปรุงทิศทางการขับเคลื่อนงานดูแลสุขภาพช่องปากคนพิการ และสังเคราะห์ข้อเสนอแนะ เชิงนโยบายในการพัฒนาระบบบริการที่เพิ่มการเข้าถึงบริการสุขภาพช่องปากของคนพิการ ในชุมชนและพื้นที่ต่างๆ ให้ได้มากขึ้น วัตถุประสงค์การประเมิน 1) เพื่อติดตามผลการบรรลุเป้าหมาย4 ชุดโครงการดูแลสุขภาพช่องปากคนพิการ และปัญหาอุปสรรคการดำ�เนินงานในภาพรวม 2) เพือ่ ศึกษาและประเมินผลลัพธ์การเข้าถึงการดูแลสุขภาพในช่องปากของคนพิการ ในพื้นที่ปฏิบัติการต่างๆ โดยครอบคลุมรูปแบบการจัดบริการและกลไกสนับสนุนต่างๆ 3) เพื่อสังเคราะห์ข้อเสนอในการปรับปรุงทิศทางและยุทธศาสตร์การขับเคลื่อน งานดูแลสุขภาพช่องปากคนพิการในระยะต่อไป 4 การบรรลุเป้าหมายในที่นี้ หมายถึง การบรรลุวัตถุประสงค์ ผลลัพธ์ ตัวชี้วัดของโครงการ แต่ละโครงการย่อย


14

กลุ่มเป้าหมายและพื้นที่เก็บข้อมูล กลุ่มเป้าหมาย คือ คนพิการและผู้ดูแลทันตบุคลากร นิสิตนักศึกษาทันตแพทย์และ ผูช้ ว่ ยทันตแพทย์ผปู้ ฏิบตั งิ านทีเ่ กีย่ วข้องกับคนพิการ ในชุดโครงการดูแลสุขภาพช่องปากคนพิการ โดยมีพื้นที่การดำ�เนินงาน คือ พื้นที่ปฏิบัติการของชุดโครงการดังกล่าว

2. การดำ�เนินงานของชุดโครงการดูแลสุขภาพ ช่องปากคนพิการ a. โครงการพัฒนาสมรรถนะนักศึกษาทันตแพทย์และทีมทันตบุคลากรเพื่อดูแล สุขภาพช่องปากผู้พิการ เป็นโครงการทีม่ งุ่ 1) พัฒนานิสติ นักศึกษา อาจารย์ บุคลากรในสถาบันการศึกษาและ ภาคีทเ่ี กีย่ วข้องทัง้ สหวิชาชีพและทันตแพทย์ ผูป้ ฏิบตั งิ านในพืน้ ที่ ให้เกิดความตระหนัก ความเข้าใจ และทัศนคติที่ดี ในการดูแลสุขภาพผู้พิการ เข้าใจบริบทของผู้พิการรวมทั้งผู้สูงอายุที่มีภาวะ พึง่ พิง 2) เพือ่ พัฒนาศักยภาพในการดูแลสุขภาพช่องปากและสร้างเสริมสุขภาวะผูพ้ กิ าร โดยจัด กิจกรรมและพัฒนากระบวนการเรียนรูใ้ นหลากหลายรูปแบบ รวมไปถึงการสร้างองค์ความรูใ้ หม่ ทีเ่ กีย่ วข้องกับการพัฒนาสุขภาพช่องปากของผูพ้ กิ าร สร้างการมีสว่ นร่วมระหว่างทันตบุคลากร นิสิต นักศึกษาทันตแพทย์ และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องโดยเฉพาะตัวผู้พิการและผู้สูงอายุในภาวะ พึง่ พิง 3) เพือ่ พัฒนาทักษะความสามารถของทันตบุคลากรและนักศึกษาทันตแพทย์ในการดูแล สุขภาวะของผูพ้ กิ าร รวมทัง้ 4) การปลูกฝังการมีจติ สาธารณะ และการช่วยเหลือสังคมให้เกิดขึน้ แก่นักศึกษาทันตแพทย์ ซึ่งจะเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำ�ให้ทุกภาคส่วนได้มีส่วนร่วมในการสร้างสังคม ที่ทุกคนสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างเท่าเทียมและเสมอภาค โครงการนี้ ดำ�เนินการโดยสถาบันการศึกษาทันตแพทยศาสตร์ โดยมีคณะทันตแพทยศาสตร์ 3 สถาบัน เป็นผู้ร่วมรับผิดชอบ ได้แก่ คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยนเรศวร และวิทยาลัยการสาธารณสุข จังหวัดขอนแก่น โดยกิจกรรมส่วนใหญ่ ครอบคลุมการมีส่วนร่วมของนิสิต นักศึกษา อาจารย์ นักวิชาชีพ จากสถาบันที่ผลิตทันตแพทย์ ทุกสถาบัน ประกอบด้วยกิจกรรมย่อย 13 กิจกรรม แบ่งเป็นประเด็นหลักใน 4 ด้าน ได้แก่ 1.) ด้านการปรับกระบวนทัศน์และสร้างทัศนคติที่ดี - กิจกรรมที่ 1 สร้างประสบการณ์เรียนรู้ผ่านการทำ �แผนที่สถานที่สาธารณะเอื้อ ต่อการใช้ชีวิตของผู้พิการ


15

- กิจกรรมที่ 2 จิตอาสาเพื่อผู้พิการในนักศึกษาทันตแพทย์ - กิจกรรมที่ 3 การจัดประสบการณ์ฝึกปฏิบัติงานทันตกรรมในผู้พิการให้นักศึกษา ทันตแพทย์ - กิจกรรมที่ 4 กิจกรรมจัดประสบการณ์ฝึกปฏิบัติงานทันตกรรมบริการคนพิการ - กิจกรรมที่ 8.1 การพัฒนาหลักสูตรส่งเสริมทัศนคติที่ดีแก่นิสิตทันตแพทย์ ในการ ดูแลสุขภาวะของผู้พิการรวมทั้งผู้สูงอายุในภาวะพึ่งพิง - กิจกรรมที่ 9 กิจกรรมการพัฒนาศูนย์สร้างความตระหนักในผู้พิการและผู้สูงอายุ บูรณาการในเนื้อหาวิชากระบวนวิชาระดับปริญญาตรี และหลังปริญญา 2.) ด้านการผลิตสื่อสร้างสรรค์เพื่อพัฒนาสุขภาพช่องปากผู้พิการ - กิจกรรมที่ 5 กิจกรรมการประกวดสื่อสร้างสรรค์เพื่อผู้พิการ - กิจกรรมที่ 8.3 การสนับสนุนนิสติ ทันตแพทย์ให้ผลิตและเผยแพร่สอื่ ส่งเสริมสุขภาพ ช่องปากของผู้พิการรวมทั้งผู้สูงอายุในภาวะพึ่งพิง 3.) ด้านการพัฒนาระบบการให้บริการสุขภาพช่องปาก - กิจกรรมที่ 7 การพัฒนาคลินกิ ต้นแบบสำ�หรับบริการทันตกรรมแก่ผปู้ ว่ ยพิการและ ผู้สูงอายุในภาวะพึ่งพิง - กิจกรรมที่ 10 กิจกรรมพัฒนาระบบการดูแลทันตสุขภาพในเด็กพิการจังหวัด เชียงใหม่ 4.) ด้านการเพิ่มสมรรถนะในการดูแลสุขภาพช่องปากผู้พิการ - กิจกรรมที่ 6 กิจกรรมพัฒนาผู้ปฏิบัติงานดูแลสุขภาพช่องปากผู้พิการและผู้สูงอายุ ในภาวะพึ่งพิงให้สามารถสร้างองค์ความรู้และถ่ายทอด โดยใช้กระบวนการวิจัย เชิงปฏิบัติการ - กิจกรรมที่ 7 การพัฒนาคลินกิ ต้นแบบสำ�หรับบริการทันตกรรมแก่ผปู้ ว่ ยพิการและ ผู้สูงอายุในภาวะพึ่งพิง - กิจกรรมที่ 8.2 การพัฒนาหลักสูตรเพิ่มทักษะความสามารถแก่นิสิตทันตแพทย์ ในการดูแลสุขภาพช่องปากผู้พิการและผู้สูงอายุในภาวะพึ่งพิง - กิจกรรมที่ 10 กิจกรรมพัฒนาระบบการดูแลทันตสุขภาพในเด็กพิการจังหวัด เชียงใหม่ สำ�หรับกิจกรรมที่ 11-13 เป็นรูปแบบกลไกกลางทีโ่ ครงการฯ จัดขึน้ เพือ่ ให้มเี วทีกลาง ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ กำ�กับติดตามความก้าวหน้า ประเมินผล ตลอดจนทบทวนสรุปผล การเรียนรู้


16

ตารางที่ 1 แสดงตัวชีว้ ดั โครงการพัฒนาสมรรถนะนักศึกษาทันตแพทย์และทีมทันตบุคลากร เพือ่ ดูแลสุขภาพช่องปากผูพ้ กิ าร วัตถุประสงค์โครงการ • เพื่ อ จั ด ทำ � ข้ อ เสนอแนะเชิ ง นโยบายสำ � หรั บ การพั ฒ นาทั น ต บุ ค ลากรเพื่ อ ดู แ ลรั ก ษาสุ ข ภาพ ช่องปากผู้พิการและผู้สูงอายุภาวะ พึ่งพา

ตัวชีว้ ดั โครงการ เป้าหมายคุณภาพ

เป้าหมายเชิงปริมาณ

• ข้ อ เสนอแนะต่ อ สถาบั น ทาง วิชาการและหน่วยงานการศึกษา เพื่อนำ�ไปสู่การพัฒนาหลักสูตรที่ มี เ นื้ อ หาด้ า นการดู แ ลรั ก ษาทาง ทั น ตกรรมแก่ ผู้ พิ ก าร/ผู้ สู ง อายุ ภาวะพึ่งพา • จั ง หวั ด เชี ย งใหม่ มี ก ารพั ฒ นา เครือข่ายบริการสุขภาพช่องปาก ที่เชื่อมโยง ส่งต่อระหว่างหน่วย บริ ก ารระดั บ จั ง หวั ด -อำ � เภอตำ � บล-ชุ ม ชนและหน่ ว ยบริ ก าร ตติยภูมิ ได้แก่โรงพยาบาลทันต กรรม คณะทันตแพทยศาสตร์

• เพื่ อ เพิ่ ม ขี ด ความสามารถ นักศึกษาทันตแพทย์ คณาจารย์ ทันตาภิบาล ผู้ช่วยทันตแพทย์ ให้ พร้อมดูแลสุขภาพช่องปากผู้พิการ /ผูส้ งู อายุภาวะพึง่ พาอย่างมีเจตคติ ที่ดี • พั ฒ นากระบวนทั ศ น์ การมี ส่วนร่วมและสร้างทัศนคติที่ดีใน นักศึกษาทันตแพทย์ ทันตบุคลากร สายวิชาการ ทีมสหสาขาวิชาชีพ เพื่ อ เกิ ด การตระหนั ก ถึ ง ความ สำ � คั ญ ของการดู แ ลสุ ข ภาพช่ อ ง ปากผู้พิการ/ผู้สูงอายุภาวะพึ่งพา

• มีบทเรียนจากประสบการณ์การ พัฒนาคลินิกต้นแบบ • มี บ ทเรี ย นจากการพั ฒ นา กระบวนทัศน์นักศึกษา อาจารย์ และทีมทันตบุคลากรเพือ่ ตระหนัก ในบริบทผู้พิการ และความสำ�คัญ การสร้ า งความเสมอภาคในการ ดูแลสุขภาพช่องปากผู้พิการ

• ศู น ย์ ส ร้ า งความตระหนั ก ในผู้ พิการและผู้สูงอายุเพื่อการเรียนรู้ สำ�หรับนักศึกษา • คลินิกทันตกรรมต้นแบบ • หลักสูตรฝึกอบรมกระบวนการ เรียนรูใ้ ห้ทนั ตบุคลากรและนักศึกษา ทันตแพทย์อย่างน้อย 1 หลักสูตร • รายงานการทบทวนวรรณกรรม เรือ่ งคลินกิ ทันตกรรมสำ�หรับผูพ้ กิ าร และสถานภาพการให้บริการทันต กรรมแก่ผู้พิการในประเทศไทย • องค์ความรู้ จำ�นวนอย่างน้อย 4 ด้าน และ > 80% ถูกนำ�ไป ถ่ายทอดสู่ผู้ปฏิบัติงานในพื้นที่


17

วัตถุประสงค์โครงการ • พั ฒ นาระบบการให้ บ ริ ก าร สุ ข ภาพช่ อ งปากต้ น แบบและ ระบบส่ ง ต่ อ ผู้ พิ ก ารแบบบู ร ณา การระหว่างชุมชน โรงพยาบาล ชุมชนและคณะทันตแพทยศาสตร์

ตัวชีว้ ดั โครงการ เป้าหมายคุณภาพ

เป้าหมายเชิงปริมาณ • ระบบการให้บริการสุขภาพช่อง ปาก คนพิการ จังหวัดเชียงใหม่ ต้นแบบ 1 ระบบ

• ผลิ ต สื่ อ สร้ า งสรรค์ เ พื่ อ พั ฒ นา • มีสื่อสร้างสรรค์เพื่อผู้พิการด้าน • มีสื่อสร้างสรรค์ เช่น หนังสั้น การ์ตูน Animation สื่อดิจิตอล สุ ข ภาพช่ อ งปากผู้ พิ ก ารและ การดูแลสุขภาพช่องปาก สื่อสัมผัสได้ อย่างน้อย 10 ชิ้น กระบวนการเรียนรู้บริบทผู้พิการ ผ่านการผลิตสื่อ

b. โครงการส่งเสริมการเข้าถึงบริการสุขภาพช่องปากคนพิการ เป็นโครงการทีม่ จี ดุ มุง่ หมายเพือ่ พัฒนารูปแบบการจัดบริการสุขภาพช่องปากให้คนพิการ โดยมุ่งหาแนวทางในการทำ�งานร่วมกับสหวิชาชีพทั้งภายในและภายนอกหน่วยงาน การสร้าง เครือข่ายในการพัฒนางานสุขภาพช่องปากคนพิการโดยมีเครือข่ายทีส่ ำ�คัญ คือ องค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่นและแกนนำ�ในชุมชน ในการดำ�เนินงาน แบ่งออกเป็น 3 ส่วนใหญ่ คือ 1. พัฒนากระบวนการดำ�เนินงานในพื้นที่เป้าหมาย โรงเรียนการศึกษาพิเศษ ได้แก่ โรงเรียนสงขลาปัญญานุกูล และโรงเรียนการศึกษาพิเศษน่าน 2. พัฒนากระบวนการดำ�เนินงานในชุมชน ได้แก่ โรงพยาบาลบ้านฝาง โรงพยาบาล นำ�้ พอง จ.ขอนแก่น โรงพยาบาลนากลาง โรงพยาบาลศรีบุญเรือง จ.หนองบัวลำ�ภู โรงพยาบาล สูงเนิน จ.นครราชสีมา และโรงพยาบาล 50 พรรษา มหาวชิราลงกรณ์ จ.อุบลราชธานี 3. พัฒนากิจกรรมสนับสนุน แบ่งออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ 3.1. สนับสนุนกิจกรรมในพืน้ ที่ ได้แก่ การเพิม่ พูนศักยภาพด้วยกระบวนการต่างๆ เช่น การจัดการความรู้ การให้ความรูผ้ า่ นเว็บไซด์ การอบรม การฝึกปฏิบตั ิ การสร้างเอกสารคูม่ อื ต่างๆ การสร้างสือ่ การติดตามงานในพืน้ ทีก่ ารนิเทศติดตาม การสร้างแบบรายงาน การสร้างระบบการการติดตาม งานโครงการ การรับ วิเคราะห์ และสังเคราะห์รายงานจากพืน้ ที่ การประเมินผล และจัดทำ�รายงาน 3.2. สนับสนุนในเรือ่ งการบริหารงานโครงการวิจยั ได้แก่ การจัดสรร การตรวจสอบ ระบบการเงินเพื่อให้ถูกต้องตามระเบียบของผู้สนับสนุนงบประมาณ


18

ตารางที่ 2 แสดงตัวชีว้ ดั เชิงปริมาณและคุณภาพโครงการส่งเสริมการเข้าถึงบริการสุขภาพ ช่องปากคนพิการ ลำ�ดับ

ชื่อตัวชี้วัดเชิงปริมาณ

เป้าหมาย/ จำ�นวน

หน่วยนับ

1

เครื่องมือในการเก็บข้อมูลทันตสุขภาพ ที่ใช้หลักการ ICF ในการหาปัญหาในชุมชน และ โรงเรียน

1

เล่ม

2

รูปแบบ กระบวนการในการเพิ่มการเข้าถึงบริการทันต สุขภาพของคนพิการ

2

กลุ่มเป้าหมาย

3

ทันตบุคลากรและทีมสหวิชาชีพมีทัศนคติที่ดี มีความรู้ และทักษะการดูแลสุขภาพช่องปากคนพิการ

120

คน

ลำ�ดับ

ชื่อตัวชี้วัด/เป้าหมายเชิงคุณภาพ

1

ต้นแบบแนวทางการให้บริการสุขภาพช่องปากของสถานบริการของรัฐ

2

องค์ความรู้การส่งเสริมสุขภาพช่องปากคนพิการ

3

เครือข่ายทันตบุคลากรให้บริการทันตกรรมแก่คนพิการ

3. วิธีการ/เครื่องมือในการประเมินผล การติดตามประเมินผลประกอบไปด้วย 3 ส่วนสำ�คัญ ดังนี้ ส่วนที่ 1 ประเมินกระบวนการดำ�เนินงานในภาพรวม โครงการย่อยในพืน้ ทีป่ ฏิบตั กิ าร รวมทัง้ กลไกสนับสนุน การบรรลุวตั ถุประสงค์ ผลลัพธ์ ตัวชีว้ ดั ปัญหาอุปสรรคการดำ�เนินงาน โครงการ ผลลัพธ์ด้านการเข้าถึงการดูแลสุขภาพในช่องปากของคนพิการในพื้นที่ วิธกี ารและเครือ่ งมือทีใ่ ช้ คือ 1) การทบทวนเอกสารโครงการ รายงาน กฎหมายและ นโยบายที่เกี่ยวข้อง 2) การศึกษาเชิงปริมาณ ด้วยการส่งแบบสอบถามที่พัฒนาขึ้นเฉพาะทาง ไปรษณียถ์ งึ ทันตบุคลากรผูร้ บั ผิดชอบโครงการและการบริการทุกคนรวม 40 คน แบบสอบถาม ประกอบด้วย ข้อมูลทั่วไป 8 ข้อ ความพึงพอใจต่อโครงการ 10 ข้อ การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น จากโครงการต่อการดูแลรักษาสุขภาพช่องปากคนพิการ 15 ข้อ ปัญหาอุปสรรค 5 ด้านและ


19

ข้อเสนอแนะ และ 3) การศึกษาเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกและสนทนากลุม่ ผูบ้ ริหาร องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) ผู้อำ�นวยการโรงพยาบาลชุมชน (รพช.) ผู้อำ�นวยการ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำ�ตำ�บล (รพ.สต.) ทันตแพทย์ ทันตาภิบาล และสหวิชาชีพ รวม 69 คน ส่วนที่ 2 ถอดบทเรียนกรณีศึกษาการดำ�เนินงานดูแลสุขภาพช่องปากคนพิการ วิธีการและเครื่องมือที่ใช้ คือ 1) การทบทวนข้อมูลจากเอกสาร ศึกษาที่มา/หลักการ กระบวนการ และผลการดำ�เนินงานของโครงการส่งเสริมการเข้าถึงการดูแลสุขภาพช่องปาก คนพิการ ด้วยการทบทวนเอกสารทีเ่ กีย่ วข้อง รวมถึง การถ่ายทอดข้อมูลผูป้ ระสานงาน 2) ลงพืน้ ที่ที่ดำ�เนินโครงการ (1) โครงการพัฒนาสมรรถนะนักศึกษาทันตแพทย์และทีมทันตบุคลากร เพื่อดูแลสุขภาพช่องปากผู้พิการ และ (2) โครงการส่งเสริมการเข้าถึงบริการสุขภาพช่องปาก คนพิการ คัดเลือกกรณีศึกษา 8 กรณีศึกษา เพื่อเก็บข้อมูลจากผู้เกี่ยวข้องกับโครงการ 4 กลุ่ม ประกอบด้วย แกนนำ�ที่ขับเคลื่อนโครงการ คณะทำ�งาน ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการดำ�เนินกิจกรรม โครงการ ผู้รับประโยชน์จากโครงการ ด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก การสัมภาษณ์/สนทนากลุ่ม การสังเกตการณ์และเข้าร่วมกิจกรรม เช่น การออกหน่วยบริการ, การจัดประชุมเพื่อนำ�เสนอ ผลความก้าวหน้า และสรุปบทเรียนโครงการ 3) วิเคราะห์ สังเคราะห์ขอ้ มูล ทีร่ วบรวมได้ และเรียบเรียง การถอดบทเรียนการดำ�เนินโครงการส่งเสริมการเข้าถึงการดูแลสุขภาพช่องปากคนพิการ โดยมี ประเด็นเนื้อหาหลัก ที่สะท้อนให้เห็นถึงวิธีคิด/แนวคิดในการทำ�งาน กระบวนการทำ�งาน ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น อาจเป็นผลลัพธ์ที่เห็นได้ระยะสั้นที่ได้หลังจากกิจกรรม และตอบโจทย์สำ�คัญ ของโครงการ เช่น การปรับกระบวนทัศน์ในการทำ�งานดูแลคนพิการ/ความพิการ การเข้าถึง บริการ ปัจจัย-เงื่อนไขที่เอื้อต่อการทำ�งานให้บรรลุเป้าหมาย ส่วนที่ 3 สังเคราะห์ขอ้ เสนอในการปรับปรุงทิศทางและยุทธศาสตร์การขับเคลือ่ น งานดูแลสุขภาพช่องปากคนพิการในระยะต่อไป วิธีการและเครื่องมือที่ใช้ คือ 1) การจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างผู้รับผิดชอบ ทัง้ ส่วนกลางและพืน้ ทีป่ ฏิบตั กิ ารในชุดโครงการดูแลสุขภาพช่องปากคนพิการ โดยใช้กระบวนการ สุนทรียสนทนา (Dialogue) จำ�นวนผู้เข้าร่วมประมาณ 40 คน 2) การจัดเวที policy brief เพือ่ รับฟังผลการประเมิน และร่วมระคมความเห็น สังเคราะห์ขอ้ เสนอนโยบายในการขับเคลือ่ น งานดูแลสุขภาพช่องปากคนพิการ โดยเชิญผูร้ บั ผิดชอบหลักของโครงการ และหน่วยงานทีเ่ กีย่ วข้อง อาทิ องค์กรคนพิการ องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น สำ�นักงานสาธารณสุขจังหวัด สำ�นักงาน หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ สำ�นักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ รวม 35 คน


20

4. ผลการประเมิน ในรายงานนี้ จะนำ�เสนอรายงานผลการประเมินจากส่วนที่ 1 และส่วนที่ 3 เป็นหลัก คือ การประเมินกระบวนการดำ�เนินงานในภาพรวมและโครงการย่อยในพืน้ ทีป่ ฏิบตั กิ าร รวมทัง้ กลไกสนับสนุน การบรรลุวตั ถุประสงค์ ผลลัพธ์ ตัวชีว้ ดั ปัญหาอุปสรรคการดำ�เนินงานโครงการ ในภาพรวม ผลลัพธ์ด้านการเข้าถึงการดูแลสุขภาพในช่องปากของคนพิการในพื้นที่ สำ�หรับ ในส่วนที่ 2 การถอดบทเรียน ได้มีการจัดทำ�เนื้อหาหนังสือถอดบทเรียนแยกต่างหากจากเล่มนี้ เพื่อให้เกิดความสะดวกในการนำ�ไปใช้ประโยชน์ และสำ�หรับส่วนที่ 3 การสังเคราะห์ข้อเสนอ นโยบาย จะเป็นส่วนที่อยู่ในหัวข้อที่ 6 ข้อเสนอนโยบาย ซึ่งเป็นข้อเสนอที่ได้จากการลงพื้นที่ ติดตามประเมิน ผนวกกับผลของการจัดเวทีดังกล่าว

4.1 ผลการประเมินในภาพรวม

ภาพที่ 2 แผนที่ยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนการพัฒนาสุขภาพช่องปากคนพิการ


21

จากภาพที่ 2 แสดงแผนที่ยุทธศาสตร์ที่ภาคีเครือข่ายได้ร่วมกันพัฒนา และใช้เป็น แนวทางในการขับเคลื่อนผ่านชุดโครงการฯนี้ มีจุดมุ่งหมายให้เกิดประโยชน์กับประชาชน คือ คนพิการ(หรือผู้ดูแล) มีศักยภาพในการดูแลสุขภาพช่องปากได้ และเข้าถึงบริการสุขภาพ ช่องปาก โดยมี “โครงการพัฒนาสมรรถนะนักศึกษาทันตแพทย์และทีมทันตบุคลากรเพือ่ ดูแล สุขภาพช่องปากผูพ้ กิ าร” สนับสนุนการขับเคลือ่ นทีร่ ะดับฐานราก และ “โครงการส่งเสริมการ เข้าถึงบริการสุขภาพช่องปากคนพิการ” สนับสนุนการขับเคลือ่ นในระดับกระบวนการและภาคี เครือข่าย ภาพที่ 3 แสดงบริบทเชิงระบบและนโยบายทีเ่ กีย่ วข้องกับการพัฒนาคุณภาพชีวติ คนพิการ

จากภาพที่ 3 จะเห็นว่าการขับเคลื่อนเรื่องการเข้าถึงบริการสุขภาพช่องปากของคน พิการ เริม่ ประมาณ พ.ศ.2553 ภายใต้แผนงานสร้างเสริมสุขภาพคนพิการในสังคมไทย ทีด่ �ำ เนิน การโดนสถาบันสร้างเสริมสุขภาพคนพิการ (สสพ.) โดยความร่วมมือสนับสนุนโดยสถาบันวิจัย ระบบสาธารณสุข (สวรส.) กับสำ�นักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ทั้งนี้ ในช่วงเวลาดังกล่าวมีบริบทเชิงนโยบายที่เกี่ยวข้องที่สำ�คัญ ได้แก่ การเปลี่ยนพรบ.ฟื้นฟู สมรรถภาพคนพิการ พ.ศ.2534 ไปเป็นพรบ.ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวติ คนพิการ พ.ศ.2550 และแก้ไขเพิ่มเติมในปี 2556 ซึ่งทำ�ให้เรื่องสุขภาพคนพิการมีขอบเขตกว้างไปกว่าการฟื้นฟู


22

สมรรถภาพทางการแพทย์ การเกิดมติสมัชชาสุขภาพว่าด้วยความเป็นธรรมในการเข้าถึง บริการสุขภาพของคนพิการ พ.ศ. 2553 ซึ่งขับเคลื่อนต่อเนื่องมาจนถึง พ.ศ. 2559 และการที่ สำ�นักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีนโยบายกองทุน สุขภาพท้องถิ่นครบทุกตำ�บลในปี พ.ศ. 2552 การเริ่มนโยบายกองทุนฟื้นฟูสมรรถภาพประจำ� จังหวัด ในพ.ศ. 2553 รวมทั้งกองทุนทันตกรรมใน พ.ศ. 2554-2557 ล้วนมีส่วนในการส่งเสริม การพัฒนาสุขภาพช่องปากของคนพิการในชุมชน มากน้อยต่างกันไป ผลการสำ�รวจความคิดเห็นผู้ร่วมปฏิบัติการในชุดโครงการ ด้วยการส่งแบบสอบถาม ทางไปรษณีย์ จำ�นวน 40 ราย ได้รับการตอบกลับและนำ�มาวิเคราะห์ได้ จำ�นวน 13 ราย คิดเป็นร้อยละ 32.5 ประกอบด้วยทันตแพทย์ที่ทำ�งาน ใน รพท. 3 คน ใน รพช. 6 คน และ เป็นทันตาภิบาลที่ทำ�งานในรพช. 2 คน ในรพ.สต. 2 คน ทั้งหมดนี้มีอายุเฉลี่ยการทำ�งาน 15 ปี ส่วนใหญ่ผู้ตอบมีความพึงพอใจในการเข้าร่วมปฏิบัติการในชุดโครงการ คิดเป็นคะแนน 4.27 จาก 5.0 คะแนน โดยความพึงพอใจสูงสุดมาจากประเด็นการได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั้งระหว่าง และเมื่อสิ้นสุดโครงการ ที่พึงพอใจน้อยที่สุด คือประเด็นการได้รับความช่วยเหลือที่จำ�เป็น ในการแก้ปัญหาในการดำ�เนินงาน ส่วนประเด็นที่ค่อนข้างแปรปรวนมากจะเป็นเรื่องการได้รับ การพัฒนาศักยภาพให้พร้อมที่จะจัดบริการคนพิการ (ตารางที่ 3) กรณีที่ความพึงพอใจน้อยที่สุด มีคำ�อธิบายว่า พื้นที่ปฏิบัติการในจังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งอยู่ในโครงการที่ 1 จะไม่ได้รับการสนับสนุนด้านพัฒนาสมรรถนะความสามารถใดๆ ที่อยู่ ในโครงการที่ 2 ทำ�ให้คะแนนความพึงพอใจในหัวข้อการได้รับการพัฒนาศักยภาพให้พร้อม จัดบริการ น้อยที่สุดเพียง 3.00 คะแนน (SD=1.41) ตารางที่ 3 คะแนนความพึงพอใจของทันตบุคลากรต่อชุดโครงการฯ (เฉพาะการดูแลสุขภาพ ช่องปากคนพิการ) ความพึงพอใจ

ชุดโครงการ 1

ชุดโครงการ 2

1) การประสานงานและบริหารจัดการของโครงการ

3.50 (SD=0.71)

4.27 (SD=0.65)

2) การได้รับการพัฒนาศักยภาพให้พร้อมจัดบริการ

3.00 (SD=1.41) 4.36 (SD=0.67)

3) การได้รับสนับสนุนด้านวิชาการเพื่อจัดบริการ

4.00 (SD=1.41)

4.55 (SD=0.52)

4) การได้รับงบประมาณจากโครงการสนับสนุนการดำ�เนินงาน

3.50 (SD=0.71)

4.55 (SD=0.69)

4.00 (SD=0)

4.18 (SD=0.75)

5) การมีบทบาทในการจัดบริการสุขภาพช่องปากคนพิการ


23 ความพึงพอใจ

ชุดโครงการ 1

ชุดโครงการ 2

6) การได้รับความช่วยเหลือที่จำ�เป็นในการแก้ปัญหาดำ�เนินงาน

3.50 (SD=0.71)

4.00 (SD=0.63)

7) การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างดำ�เนินงาน

4.00 (SD=1.41)

4.55 (SD=0.69)

8) ผลการดำ�เนินงานของหน่วยงานท่านเมื่อสิ้นสุดโครงการ

3.50 (SD=0.71)

4.27 (SD=0.65)

9) การแลกเปลี่ยนเรียนรู้เมื่อสิ้นสุดและสรุปผลโครงการ

4.00 (SD=1.41)

4.55 (SD=0.52)

10) การเข้าร่วมโครงการโดยรวม

3.50 (SD=0.71)

4.55 (SD=0.52)

หมายเหตุ คะแนน 5, 4, 3, 2 และ 1 = พึงพอใจมากที่สุด มาก ปานกลาง น้อย และน้อยที่สุด ตามลำ�ดับ ความคิดเห็นต่อการเปลีย่ นแปลงภายในตนเองในทิศทางที่เป็นบวกเพิ่มขึ้นเมื่อจบ โครงการ แสดงในตารางที่ 4 ผู้ตอบทั้ง 2 โครงการให้คะแนนทัศนคติบวกต่อคนพิการเพิ่มขึ้น สูงกว่าความรูค้ วามเข้าใจในคนพิการทีเ่ พิม่ ขึน้ ในขณะทีค่ วามสามารถในการจัดการและให้บริการ คนพิการทางการเคลื่อนไหวได้คะแนนสูงที่สุด แต่ต่ำ�ที่สุดในคนพิการทางการได้ยิน ซึ่งโอกาส เรียนรู้และสร้างประสบการณ์ในโครงการนี้ค่อนข้างน้อย “ความลำ�บากในเคสผูพ้ กิ ารอีกอย่าง คือกลุม่ ทีต่ อ้ งใช้ภาษามือ ไม่ถนัดมากๆ พยายาม อ่านแต่ไม่เข้าใจ กลุม่ อ่านหนังสือออกสบายหน่อย เจออ่านหนังสือไม่ออกเป็นผูใ้ หญ่แล้ว ทำ�ฟัน ปลอมหนูเกือบตาย” “คนพิการตอนไปอบรมแต่ละคนดูยาก จับยังไง เด็กดาวน์ตอ้ งระวังนะ พอไปถึงพืน้ ที่ เด็กกลุม่ นัน้ มีนอ้ ยมาก ตอนทีเ่ ป็นอยูต่ อนนีเ้ ขาสามสิบแล้ว ไปดูฟนื้ ฟูเขาไม่ได้แล้ว นัง่ ไม่ได้ นอน อย่างเดียวมันช้าไปแล้ว กลุม่ นีส้ งิ่ ทีต่ อ้ งทำ�ในระบบ คือ ค้นเจอเด็กกลุม่ นีใ้ ห้เร็ว ในกลุม่ นีเ้ ราควร ส่งเสริมเขาเร็วขึ้น” นอกจากนั้น ยังมีทักษะจำ�เป็นในด้านการพัฒนาและถ่ายทอดองค์ความรู้จากการ ดำ�เนินโครงการดูแลสุขภาพช่องปากสูส่ าธารณะด้วยกระบวนการทางวิชาการ เช่น การถอดบทเรียน การนำ�เสนอ การจัดการความรู้ เพือ่ การเผยแพร่องค์ความรูห้ รือนวัตกรรม รวมทัง้ ความสามารถ ดูแลและจัดบริการร่วมกับหน่วยงานนอกภาคสาธารณสุขได้ราบรืน่ (ตาราง 4) อาจเพราะเป็น ความสามารถส่วนบุคคลจากประสบการณ์การดำ�เนินงานสุขภาพช่องปากคนพิการทีม่ มี าก่อน


24

เข้าร่วมชุดโครงการฯนี้ ทำ�ให้คะแนนผู้ปฏิบัติงานในโครงการ 1 ให้คะแนนสูงกว่าผู้ปฏิบัติงาน ในโครงการที่ 2 ซึ่งไม่เคยดำ�เนินงานสุขภาพช่องปากคนพิการมาก่อนเลย โดยสรุปการเปลี่ยนแปลงศักยภาพของผู้ปฏิบัติงานพื้นที่ เมื่อสิ้นสุดการดำ�เนินงาน โครงการ พบว่า มีการเปลี่ยนแปลงในเชิงทัศนติที่เป็นเชิงบวกต่อคนพิการทุกประเภทในระดับ 4.38 และความสามารถทำ�งานกับสหวิชาชีพเพื่อการบริการคนพิการแบบบูรณาการในระดับ คะแนน 4.46 ในขณะที่การเปลี่ยนแปลงของความสามารถในการจัดการเพื่อรู้ปัญหาความ จำ�เป็น และการจัดบริการสุขภาพช่องปากสำ�หรับคนพิการทางการได้ยินมีคะแนนในระดับตำ่� ที่สุด คือ 2.85 และ 3.0 ตามลำ�ดับ ตามมาด้วยความเปลี่ยนแปลงความสามารถในการจัดการ เพือ่ รูป้ ญ ั หาและความจำ�เป็นด้านสุขภาพช่องปากของคนพิการทางการมองเห็นได้คะแนนเพียง ในระดับ 3.1 เท่านัน้ สำ�หรับค่าเฉลีย่ ความเปลีย่ นแปลงในภาพรวมอยูท่ ร่ี ะดับ 3.65 อย่างไรก็ตาม เนื่องจากมีผู้ตอบแบบสอบถามกลับเข้ามาจำ�นวนน้อย จึงเป็นข้อจำ�กัดของการศึกษาครั้งนี้ ซึ่งต้องพิจารณาข้อมูลเชิงคุณภาพที่ได้จากการสัมภาษณ์มาประกอบเพิ่มเติมด้วย ตารางที่ 4 คะแนนการเปลี่ยนแปลงของทันตบุคลากรเมื่อจบโครงการ (เฉพาะการดูแล สุขภาพช่องปากคนพิการ) การเปลี่ยนแปลงเมื่อจบโครงการ

ชุดโครงการ 1

ชุดโครงการ 2

คะแนนเฉลี่ย

1) ทัศนคติเชิงบวกต่อคนพิการทุกประเภท

3.50(SD=0.71) 4.55 (SD=0.69) 4.38 (SD=0.77)

2) ความรู้ความเข้าใจในคนพิการทุกประเภท

3.00 (SD=1.41) 4.18 (SD=0.75) 4.00 (SD=0.91)

3) ความสามารถจัดการคนพิการทางการเคลือ่ นไหว 3.50 (SD=0.71) 3.91 (SD=0.94) 3.85 (SD=0.90) 4) ความสามารถจัดการคนพิการทางสติปัญญา 3.00 (SD=1.41) 3.64 (SD=0.92) 3.54 (SD=0.97) การเรียนรู้ 5) ความสามารถจัดการคนพิการทางการมองเห็น 3.00 (SD=1.41) 3.18 (SD=1.47) 3.15 (SD=1.41) 6) ความสามารถจัดการคนพิการทางการได้ยิน

1.00 (SD=1.41) 3.18 (SD=1.60) 2.85 (SD=1.72)

7) ความสามารถบริการสุขภาพช่องปากคนพิการ 3.50 (SD=0.71) 4.00 (SD=0.63) 3.92 (SD=0.64) ทางการเคลื่อนไหว 8) ความสามารถบริการสุขภาพช่องปากคนพิการ 3.50 (SD=0.71) 3.64 (SD=1.43) 3.62 (SD=1.33) ทางการมองเห็น 9) ความสามารถบริการสุขภาพช่องปากคนพิการ 3.50 (SD=0.71) 3.64 (SD=0.92) 3.62 (SD=0.87) ทางสติปัญญาการเรียนรู้


25 การเปลี่ยนแปลงเมื่อจบโครงการ

ชุดโครงการ 1

ชุดโครงการ 2

คะแนนเฉลี่ย

10) ความสามารถบริการสุขภาพช่องปากคนพิการ 1.50 (SD=2.12) 3.27 (SD=1.49) 3.00 (SD=1.63) ทางการได้ยิน 11) ความสามารถทำ�งานกับสหวิชาชีพเพือ่ บริการ 4.00 (SD=1.41) 4.55 (SD=0.52) 4.46 (SD=0.66) คนพิการแบบบูรณาการ 12) ความสามารถถ่ายทอดให้ทันตบุคลากรอื่น 4.00 (SD=1.41) 3.91 (SD=0.94) 3.92 (SD=0.95) ดูแลสุขภาพช่องปากคนพิการ 13) ความสามารถถ่ า ยทอดให้ วิ ช าชี พ อื่ น ดู แ ล 4.00 (SD=1.41) 3.73 (SD=1.10) 3.77 (SD=1.09) สุขภาพช่องปากคนพิการ 14) ความสามารถประสานกับหน่วยงานสังกัดอื่น 3.50 (SD=0.71) 3.27 (SD=1.19) 3.31 (SD=1.11) เพื่อดูและจัดบริการคนพิการให้ได้ครอบคลุมหรือ มีคุณภาพชีวิต เช่น อบต. เทศบาล 15) ความราบรื่นในการดูแลและจัดบริการ คนพิการร่วมกับหน่วยงานในข้อ14

3.50 (SD=0.71) 3.27 (SD=1.19) 3.31 (SD=1.11)

หมายเหตุ คะแนน 5, 4, 3, 2 และ 1 = เพิ่มขึ้นมากที่สุด มาก ปานกลาง น้อย และน้อยที่สุด ตามลำ�ดับ 4.2 ผลการดำ�เนินงานระดับกิจกรรมในโครงการย่อย โครงการพัฒนาสมรรถนะนักศึกษาทันตแพทย์และทีมทันตบุคลากรเพื่อการดูแล สุขภาพช่องปากคนพิการ (โครงการ 1) เริ่มดำ�เนินการตั้งแต่เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2557 ส่วน โครงการส่งเสริมการเข้าถึงบริการสุขภาพช่องปากของคนพิการ (โครงการ 2) เริ่มดำ�เนินการ ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558 การนำ�เสนอผลการประเมินนี้แบ่งเป็น 6 ประเด็นในภาพรวม ทั้ง 2 โครงการ ดังนี้ 1. การพัฒนาโครงการ 2. การปรับกระบวนทัศน์และทัศนคตินักศึกษาทันตแพทย์ผ่านประสบการณ์เรียนรู้ โดยตรง 3. การพัฒนาสมรรถนะบุคลากรเพื่อการดูแลสุขภาพช่องปาก 4. การจัดบริการสุขภาพช่องปาก 5. ผลผลิตของโครงการและผลลัพธ์ 6. การบูรณาการประเด็นคนพิการเข้าในหลักสูตร


26

ตารางที่ 5 แสดงกิจกรรมที่เลือกลงติดตามประเมินผลซึ่งสามารถรองรับทุกประเด็นการ ประเมินข้างต้น กิจกรรม (โครงการ 1) 1. การจัดทำาแผนที่สถานที่เอื้อต่อการใช้ชีวิตของผู้พิการ

การดำาเนินงาน 15 คลินิก นทพ. 3 ทีม

2. การจัดประสบการณ์ดูงานทันตกรรมในผู้พิการให้ นทพ. อำาเภอวัดจันทร์ นทพ. 7 คน (ผู้หญิงทั้งหมด) 3. การประกวดสื่อสร้างสรรค์เพื่อผู้พิการ

5 ทีม จาก มช. มน. มข.

4. การพัฒนาองค์ความรู้และถ่ายทอดการดูแลสุขภาพช่อง กลุ่มเป้าหมาย ไม่รวม ทีมบุคลากรในกิจกรรม ปากผู้พิการและผู้สูงอายุในภาวะพึ่งพาด้วยกระบวนการ บริการในเชียงใหม่ วิจัยเชิงปฏิบัติการ 5. การพัฒนาคลินกิ ต้นแบบสำาหรับบริการทันตกรรมแก่ผพู้ กิ าร paper ตีพิมพ์ในทันตแพทยสาร 6. การพัฒนาระบบการดูแลทันตสุขภาพในเด็กพิการจังหวัด วัดจันทร์ สันป่าตอง จอมทอง แม่แตง เชียงใหม่ กิจกรรม (โครงการ 2)

การดำาเนินงาน

1. การดำาเนินงานในโรงเรียนการศึกษาพิเศษ

อุบลราชธานี

2. การดำาเนินการในชุมชน 4 จังหวัด

หนองบัวลำาภู อุบล (ทัง้ Cup) สูงเนิน ขอนแก่น

3. การพัฒนาศักยภาพทีมบุคลากร

สถาบันราชานุกูล

1.) ประเด็นการพัฒนาโครงการ ทั้งสองโครงการพัฒนาด้วยกระบวนการมีส่วนร่วม ตั้งแต่การกำาหนดกรอบความคิด และกิจกรรม ประกอบด้วยกิจกรรมที่สามารถจัดกลุ่มให้สอคล้องตามวัตถุประสงค์ 4 ประการ ได้ดังนี้ 1) ปรับกระบวนทัศน์/ทัศนคตินกั ศึกษาทันตแพทย์ ได้แก่ การจัดทำาแผนทีส่ ถานทีเ่ อือ้ ต่อการใช้ชีวิตของคนพิการ จิตอาสาเพื่อคนพิการในหมู่นักศึกษาทันตแพทย์ จัดประสบการณ์ ดูงานทันตกรรมคนพิการให้นกั ศึกษาทันตแพทย์ ประกวดสือ่ สร้างสรรค์เพือ่ คนพิการ และพัฒนา ศูนย์สร้างความตระหนักในคนพิการและผูส้ งู อายุทร่ี วมถึงการบูรณาการเนือ้ หาเข้าในกระบวนวิชา โดยเลือกประเมินเพียง 3 กิจกรรม คือ การจัดทำาแผนที่สถานที่เอื้อต่อการใช้ชีวิตของคนพิการ การประกวดสื่อสร้างสรรค์เพื่อคนพิการ และการจัดประสบการณ์ดูงานทันตกรรมคนพิการ ให้นักศึกษาทันตแพทย์


27

2) พัฒนาขีดความสามารถของนักศึกษาและบุคลากร ได้แก่ การจัดฝึกปฏิบัติงาน ทันตกรรมคนพิการให้นกั เรียนผูช้ ว่ ยทันตแพทย์ และการอบรมเพิม่ ศักยภาพการบริการทันตกรรม ในเด็กพิการบกพร่องทางปัญญาที่สถาบันราชานุกูล กรุงเทพมหานคร 3) พัฒนาผู้ปฏิบัติงานดูแลสุขภาพช่องปากคนพิการ และผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ให้สามารถสร้างองค์ความรู้ และถ่ายทอด โดยใช้กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการเป็นพื้นฐาน 4) จัดบริการสุขภาพช่องปากแบบบูรณาการ และรูปแบบการจัดบริการเครือข่าย บริการสุขภาพในพืน้ ที่

• กระบวนการพัฒนากิจกรรมของโครงการพัฒนาสมรรถนะนักศึกษาทันตแพทย์และทีม ทันตบุคลากรเพื่อดูแลสุขภาพช่องปากผู้พิการ ผูร้ บั ผิดชอบกิจกรรมในโครงการนีส้ ว่ นใหญ่เป็นอาจารย์ในสาขาทันตกรรมชุมชน คณะ ทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ซึง่ สาขาทันตกรรมชุมชนนีเ้ ดิมเป็นภาควิชาทันตกรรม ชุมชน ต่อมาใน พ.ศ. 2552 ปรับสถานะเป็นสาขาโดยรวมกับสาขาทันตกรรมทั่วไป ใช้ชื่อใหม่ คือ ภาควิชาทันตกรรมชุมชนและครอบครัว โดยอาจารย์ที่สนใจเข้าร่วมมีบทบาทตั้งแต่ คิดกิจกรรม นำ�เสนอ และร่วมกันปรับปรุงแต่ละกิจกรรมให้เป็นไปตามเป้าประสงค์โครงการ ตรงกับโจทย์ทไี่ ด้รบั จากสถาบันสร้างเสริมสุขภาพคนพิการ (สสพ.) โดยไม่ยดึ ติดว่าผูค้ ดิ กิจกรรม ต้องเป็นผูร้ บั ผิดชอบกิจกรรมนัน้ บางกิจกรรมก็เป็นเรือ่ งใหม่แต่บางกิจกรรมเป็นการสานต่อการ จัดการเรียนการสอน โดยมีงบประมาณโครงการนีม้ าสนับสนุนในส่วนทีใ่ ช้งบประมาณปกติไม่ได้ ทั้งนี้ แนวทางการดำ�เนินกิจกรรมยังคงยึดวัฒนธรรมการทำ�งานร่วมกันของสาขา ดังตัวอย่าง ต่อไปนี้


28

“พี่เขาไปประชุมมาแล้วถามว่าทำ�อะไรกันอยู่ อยากทำ�ไหม ทำ�กันไหม คุย กันกลุม่ เล็กๆ แต่กย็ งั ไม่ได้ตกลงว่าใครทำ�อะไร ตอนยังไม่ได้เงินมา ก็คดิ กิจกรรมก่อน แต่ยังไม่ลงว่าใครทำ� ค่อยๆ ก่อรูปมา จนสุดท้ายได้เงินมาแล้วค่อยดูว่าใครจะทำ� …… อย่างดูงาน พานักศึกษาไปฝึกงาน ก็จะเพิม่ เติมเข้าไปในบางเรือ่ ง เช่น เด็กปี 5 เข้ามา สาขาชุมชนถูกแบ่งเป็นแปดกลุ่ม มีอาจารย์แปดคนใครสนใจเรื่องอะไรก็เอาเรื่องนั้น เข้ามาในกระบวนการเรียนการสอน อาจารย์คิดประเด็นแล้วไปหาพื้นที่ แต่ละปี ไม่ซ้ำ�กัน มาเป็นโครงการนี้ก็ไม่ได้เริ่มจากศูนย์” “ในโครงการ สสพ.คุยกันเรื่องหนึ่งว่า น่าจะมีนักศึกษากลุ่มหนึ่งที่สนิทกับ พีๆ่ ทีท่ �ำ งานในเชียงใหม่ พีๆ่ หลายคนมีศกั ยภาพแต่เราไม่ได้สร้างความร่วมมือกับเขาให้ น้องไปดูงานซึ่งวิชาปี 6 ที่ฝึกภาคสนามต้องเลือกไปนอกพื้นที่เชียงใหม่ ด้วยเหตุผล เรือ่ งเบีย้ เลีย้ งและไม่อยากให้เขากลับหอ ซึง่ อย่างอมก๋อย แม่แจ่ม ก็กลับไม่ได้ (แต่เบิก เบีย้ เลีย้ งไม่ได้เพราะอยู่ในเชียงใหม่ ขณะที่ถ้าไปลำ�พูน ลำ�ปางจะเบิกได้ทั้งที่ใกล้กว่า และนักศึกษากลับบ้านได้สะดวก---นักวิจัย) หรือถ้าไปลำ�ปางห้างฉัตร เราไปแม่แจ่ม ไม่ดีกว่าหรือ” “อีกประเด็นหนึง่ คืองานส่งเสริมทีท่ ำ�กับงานภาคสนามของเราชัด แต่งาน ป้องกันไม่ชัดจะทำ�ให้ชัดต้องทำ�กับกลุ่มพิเศษ พอได้งบนี้มาก็คุยกันว่าจะยังไง โดย ส่วนตัวทำ�งานสนามเป็นหลัก ก็เอางานนักศึกษาเรื่องนี้ไปร่วมด้วย โดยใช้ประเด็น คนพิการเพื่อให้นักศึกษาได้เห็นโลกข้างนอก เติบโตได้ ยืนอยู่จุดนี้ เพราะเราจบ สังคมศาสตร์มานุษยวิทยา ให้เด็กเข้าใจเรื่องของชุมชน การเปลี่ยนแปลงของชุมชน ชีวิตผู้คน ให้เขาเห็นโลกกว้างที่มากกว่าโลกในช่องปาก เห็นภูมิหลังคนมากกว่าแค่ ช่องปาก ส่วนงานป้องกันเข้าใจเรื่องโรคในช่องปากเป็นหลัก เน้นสุขภาพในช่องปาก การกิน การทำ�ความสะอาด” อาจารย์สาขาทันตกรรมชุมชนมีวัฒนธรรมในความเป็น “ครู” ร่วมกัน คือ ให้ความ สำ�คัญกับการเรียนรู้จากประสบการณ์ตรงควบคู่ไปกับการเรียนการสอนให้ห้องเรียน เพื่อให้ นักศึกษาเข้าใจ “ชุมชน” มากกว่าการสอนโดยบรรยายในห้องเรียนอย่างเดียว การจัดการเรียน การสอนผ่านกิจการนักศึกษาเช่นนีจ้ �ำ เป็นต้องใช้อาจารย์มากกว่าการบรรยายอย่างเดียว ทัง้ ด้าน จำ�นวนและเวลา ซึ่งแต่ละท่านก็ให้ความร่วมมือร่วมกันแบ่งเบาภาระในการเป็นที่ปรึกษา นักศึกษาแม้จะไม่ใช่กระบวนวิชาในความรับผิดชอบของตน ดังเช่น


29

“สนใจเรื่องนักศึกษา ทำ�ไงจะผนวกกิจการนักศึกษากับการเรียนการสอน เข้าด้วยกัน นีเ่ ป็นหลักคิดกันมานานก่อนมีโครงการนี้ ด้านหนึง่ พยายามทำ�ให้กจิ การ นักศึกษาเข้ากันกับการเรียนการสอน อีกด้านหนึ่งเราก็ทำ�ห้องเรียนให้ออกมาเป็น กิจการนักศึกษา เช่น วิชาพื้นฐานความเข้าใจชุมชน จากวิชาบรรยายตอนหลังปรับ หลักสูตรเหมือนมีแลป แต่แลปของเราไม่เหมือนแลปของคณะ ในภาคเราคุยกันว่า บรรยายเรือ่ งชุมชนไม่มวี นั ทีใ่ ครจะเข้าใจ บรรยายแค่สามครัง้ หลังจากนัน้ เราลงขันกัน เปิดรับเด็กเป็นกลุ่มเล็กๆ หลายวิชาก็ลงขันกันแบบนี้ แต่ละคนจะมีเด็กปีหนึ่งปีสอง มาหา ให้เด็กคิดหัวข้ออะไรก็ได้ทเ่ี ขาสนใจ ให้เขาไปศึกษาพยายามบูรณาการ เอาสิ่ง ที่เราบรรยายมาใช้ กำ�หนดสามเรื่อง ชุมชนและการเปลี่ยนแปลงชุมชน โลกาภิวัตน์ และการแพทย์พหุลกั ษณ์ เด็กทำ�เรือ่ งอะไรก็ได้หนีไม่พน้ สามเรือ่ งนี้ อาจารย์ประจำ�วิชา ต้องมีแนวทางให้อาจารย์ประจำ�กลุม่ เดินตาม แม้พนื้ ฐานด้านมนุษยวิทยาของอาจารย์ แต่ละคนไม่เท่ากันไม่เป็นไร เราเอาแค่หลวมๆ สำ�หรับอาจารย์มเี วทีมาคุยกัน เป้าเรา ถ้าเด็กชัน้ ปีตน้ เราขอแค่ทศั นคติบวกต่อการทำ�งานชุมชนต่อภาควิชาเรา และต่อการ ทำ�งานกับผูค้ น เราไม่วพิ ากย์นกั ศึกษาจนหัวหด ให้เขาเห็นว่าโลกมันซับซ้อนแค่นน้ั เอง ถ้าจะปรับอะไรแล้วทำ�ให้นกั ศึกษามีทศั นคติลบ เราจะหยุด พอประชุมซัมเมอร์กถ็ กกัน น่าจะปรับเป็นวิชาการ ก็จะกลับมาเริ่มต้นที่กระบวนวิชานี้เพื่ออะไร ถ้าปรับแล้ว นักศึกษามีทัศนคติลบต่อวิชานี้รู้สึกขมขื่นต้องหยุดเพราะผิดเป้าเรา”

การเลือกนักศึกษาเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ กรณีที่เป็นกิจกรรมที่นักศึกษาต้องปฏิบัติ ต่อเนื่องหลายวัน ไม่ใช่การจัดงานแบบอีเวนต์ อาจารย์ผู้รับผิดชอบกิจกรรมจะออกแบบให้ทำ� นอกเวลาเรียน แม้มกี ารประชาสัมพันธ์ในชัน้ เรียนทีส่ อนและให้ชอ่ งทางการติดต่อไว้ แต่การเป็น กิจกรรมนอกหลักสูตรนอกเวลาเรียนโดยเฉพาะจังหวะทีต่ รงกับช่วงสอบหรือปิดภาคการศึกษา ทำ�ให้ไม่เป็นที่สนใจ อาจารย์จึงชักชวนนักศึกษาที่เคยทำ�กิจกรรมร่วมกันโดยหลีกเลี่ยงไม่ให้ นักศึกษาเข้าร่วมหลายกิจกรรม ทำ�ให้ได้นกั ศึกษาทีค่ นุ้ เคยรูจ้ กั อุปนิสยั ใจคอกันและมีภมู ลิ �ำ เนา ในจังหวัดเชียงใหม่ อีกปัจจัยหนึ่งที่สำ�คัญ คือ ภาระการเรียน อาจารย์ทุกท่านหลีกเลี่ยง การชักชวนนักศึกษาชั้นปีที่ 4 ซึ่งเป็นปีแรกที่ขึ้นคลินิกให้บริการทันตกรรม ส่วนชั้นปีอื่นๆ ยังพอจัดสรรเวลาเข้าร่วมกิจกรรมได้ “มีสามกิจกรรมทีเ่ ป็นอาสาสมัคร คุยกันก่อนว่าเด็กทับซ้อนกันไหม ครูตอ้ ง คุยกันก่อน เป็นของการกระจายกลุ่มเป้าหมายเด็ก เป็นการเข้าหาเด็กของครูสาม กิจกรรม วิธกี ารของเราคือให้...(นักศึกษา 1 คน)...ไปหาเด็กอาสาสมัครคนอืน่ ได้เท่าไหร่


30

ไม่เป็นไร ค่อยๆ กวาดต้อนกันมา เพื่อนหรือน้องก็ได้แล้วแต่เขา มีสองคนที่ชวนด้วย ปากเราจริงๆ เป็นเด็กซำา้ ชัน้ ไม่อยากให้เขาว่าง เขาตกคลินกิ ไหนก็เข้าเฉพาะคลินกิ นัน้ สมัยเราเรียนเด็กซำา้ ชั้นไม่มีใครประคองไม่มีใครดูแล เราเป็นที่ปรึกษาร่วมวิชาวิจัย สองคนนี้อยู่ในกลุ่มพอดี คือ พอจะรู้จักบุคลิกเขา มั่นใจว่าจัดการได้” 2.) ประเด็นการปรับกระบวนทัศน์และทัศนคตินกั ศึกษาทันตแพทย์ผา่ นประสบการณ์ เรียนรูโ้ ดยตรง 2.1 กิจกรรมการจัดทำาแผนที่สถานที่เอื้อต่อการใช้ชีวิตของคนพิการ กิจกรรมนีไ้ ด้ความคิดจากการแนะนำาร้านอาหาร และต้องการทำาแผนทีค่ ลินกิ ทันตกรรม สำาหรับคนพิการ ในรูปหนังสือ 1,000 เล่ม เพื่อแจกให้คลินิกที่เข้าร่วมโครงการและหน่วยงาน องค์กรด้านคนพิการ รวมทัง้ หน่วยงานทีเ่ กีย่ วข้องในเดือนมิถนุ ายน 2557 ในการประชุมของสโมสร นักศึกษาคณะทันตแพทยศาสตร์ และผ่านผูร้ บั ผิดชอบชมรมอาสาพัฒนาของสโมสรฯ โดยรับสมัคร นักศึกษาเข้าร่วมกิจกรรมนีถ้ งึ เดือนกรกฎาคม 2557 มีนกั ศึกษาเข้าร่วม 32 คนแบ่งเป็น 3 กลุม่ มีผปู้ ระสานงานหรือแกนนำา 3 คนอยูใ่ นความดูแลของอาจารย์ 3 ท่าน มีการสือ่ สารกันผ่านทาง FaCebook “CHIaNG MaI MaP FOR CHaLLENGED PEOPLE”


31

กิจกรรมนี้ออกแบบให้นักศึกษาสัมภาษณ์คนพิการ 18 คนใน 3 พื้นที่ ในวันเสาร์ อาทิตย์ ก่อนสัมภาษณ์มกี ารอบรมความรูแ้ ละเทคนิคการสือ่ สารกับผูพ้ กิ ารได้แก่การแนะนำ�ตัว แจ้งจุดประสงค์การพูดคุย ทำ�ความรู้จักกับคนพิการถึงเหตุการณ์พลิกชีวิต และสอบถามความ ต้องการทางกายภาพและความพร้อมของคลินิก จากนั้นมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ข้อมูลและ สิง่ ทีพ่ บเห็นมาเพือ่ นำ�ไปสร้างแบบสัมภาษณ์ให้นกั ศึกษานำ�ไปสัมภาษณ์เจ้าของคลินกิ แต่เพราะ ปัญหาด้านเวลาของอาจารย์และนักศึกษา ทำ�ให้ตอ้ งปรับวิธกี ารเป็นการสร้างแบบสอบถามแล้ว ส่งไปยังคลินกิ ทันตกรรม 110 แห่งในจังหวัดเชียงใหม่ มีการตอบกลับจาก 18 แห่ง โดย 15 แห่ง ยินดีเข้าร่วมกิจกรรมนี้ส่วนอีก 3 แห่งตอบปฏิเสธ และนำ�ข้อมูลที่ได้จากคลินิกมาทำ�แผนที่ ซึ่งนักศึกษาและผู้ร่วมโครงการ ได้สื่อสารเรื่องราวไว้ ดังนี้ “ผู้พิการส่วนใหญ่มีปัญหาการออกจากบ้าน ไปไหนมาไหนลำ�บาก ต้องมี คนไปส่งถึงจะออกไปได้ เขาบอกว่าไม่ค่อยได้ไปหาหมอ จะไปทีต้องให้ญาติหยุดงาน พาไป บางทีใช้เวลาหนึง่ วันเต็ม ได้เริม่ สอบถามความเป็นอยูว่ ถิ ชี วี ติ ทัว่ ไป เช่น เคยทำ� ฟั น ไม๊ หาหมอเป็น ไง ไปแล้ว ชอบหรือไม่ช อบอะไร ซึ ่ ง ตอนแรกอาจารย์ จ ะให้ สัมภาษณ์ตอ่ ว่าแต่ละคลินกิ มีความพร้อมหรือไม่พร้อมอย่างไร แต่โครงการเริม่ เมษา 58 ถ้ารอสัมภาษณ์เสร็จก็สอบปลายภาคพอดีปิดเทอม กลับบ้านกันหมดเหลืออาจารย์ คนเดียว เลยทำ�แบบสอบถามส่งไปตามคลินิกแทน” “ตอนแรกวางแผนให้เอาแบบสอบถามไปคุยกับคลินกิ อยากให้เด็กเห็นทัง้ สองด้านว่าคนพิการคิดแบบนี้คลินิกคิดอีกแบบหนึ่ง แต่เด็กติดสอบยาวกว่าจะนัด รวมได้.... เลยสร้างแบบสอบถามจากข้อมูลที่เด็กค้นพบแล้วส่งไปรษณีย์แทน” ผลผลิตทีร่ ะบุในโครงการ คือ แผนทีใ่ นรูปหนังสือ แต่มนี กั ศึกษาแกนนำ�คนหนึง่ เสนอ ให้ทำ�แผนที่บนเว็บไซต์เพิ่มเติมเพื่อให้เข้าถึงได้ง่าย แต่ก็ไม่แน่ใจว่าจะมีคนพิการได้ประโยชน์ จากผลผลิตนี้มากน้อยเท่าใด “ผมเสนอไอเดียทำ�เว็บ สมัยนีก้ ระดาษไม่คอ่ ยมีคนใช้ เว็บสามารถเข้าถึงได้ ตลอดเวลา ทุกคนมีเน็ตใช้แล้วและผู้พิการทางสายตาจะอ่านหนังสือไม่ได้เลย ต้องมี เครื่องช่วยอ่านหรือมีคนอ่านให้ เป็นเว็บไซต์โปรแกรมคอมพิวเตอร์คลิกแล้วมีเสียง ออกมา ตอนแรกคิดว่าจะมีแอพลิเคชั่นบนมือถือด้วยแต่งบประมาณไปไม่ถึง ทำ�เว็บ จะเป็นอีกคนทำ� ผมเอาข้อมูลจากเว็บมาแปลเป็นหนังสือ...ตามความเข้าใจคือทำ�สิ่ง ที่อำ�นวยความสะดวกให้ผู้พิการได้เข้าถึงการบริการทันตกรรมมากที่สุด ไม่มั่นใจ


32

เหมือนกันว่าจะเข้าถึงขนาดไหน มีคนคลิกหน้าเว็บกี่คนต่อวัน ตอนทำ�หน้าเว็บไม่ได้ ทำ�เคานท์เตอร์นับ เราแจกจ่ายหนังสือไปแล้วจะมีคนหยิบมาอ่านกี่คน”

“พอได้แบบสอบถามกลับมา เด็กถามทำ�เว็บไซต์ไหม เขามีเพื่อนทำ�ได้ไป ออกแบบมาให้ ทำ�ออกมาในราคานักศึกษากับครูแล้วเอาไปใส่ในเว็บคณะ” เนือ่ งจากกิจกรรมเบีย่ งเบนไปจากแผนทีว่ างไว้ อาจารย์ทรี่ บั ผิดชอบจึงทำ�เป็นกิจกรรม วิชาเรียนในภาคการศึกษาถัดไป โดยให้นกั ศึกษานำ�ข้อมูลจากแบบสอบถามไปคุยกับทันตแพทย์ เจ้าของคลินิกและคนพิการต่อ

“คนทีส่ ง่ เด็กไปพบ เขาพิการนานแล้วรับสภาพได้ปรับสภาพแวดล้อมในชีวติ เขา เด็กไปหาเขาถึงหอไปเห็นสภาพแวดล้อมของเขาว่าปรับยังไง ให้เด็กไปคุยและนำ�เสนอ ออกมา เด็กจำ�ลองตัวเองเป็นคนพิการด้วยไปคุยกับเจ้าของคลินิก ได้คำ�ตอบคือ ไม่ใช้อารยะสถาปัตย์เพราะสมัยทีเ่ ขาเรียนยังไม่มเี รือ่ งแบบนี้ หรือแม้แต่คลินกิ เปิดใหม่ เขาบอกว่าไม่ได้คำ�นึงถึงเพราะว่ามีข้อจำ�กัดของพื้นที่ ทำ�ไม่ได้ ประตูต้องกว้างเท่านี้ ต้องมีทสี่ �ำ หรับเก้าอีร้ ถเข็นเท่านี้ เป็นไปไม่ได้ ก่อนทีเ่ ด็กจะไปสำ�รวจเขาไปคุยกับสอง คลินกิ แห่งหนึง่ หลังมอทีเ่ พิง่ สร้างใหม่ เด็กเขาหาเอง อีกทีร่ า้ นหมอ..(ชือ่ ทันตแพทย์) เนือ่ งจากมีคนพิการไปทำ�ฟัน เด็กก็อยากตามไปดูทค่ี ลินกิ เป็นไง เจ้าของคลินกิ ตอบว่า สมัยโน้นไม่มี universal design เขาให้สถาปนิกออกแบบแล้วพื้นที่ก็จำ�กัดด้วย คลินิกใหม่เองก็มีขีดจำ�กัดของตึกซึ่งไม่ใช่ของเรานะ..”

ผลลัพธ์ของกิจกรรมนีค้ อื นักศึกษามีความเข้าใจคนพิการและทันตแพทย์คลินกิ เอกชน ผ่านกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ระหว่างนักศึกษากับอาจารย์ นักศึกษากับคนพิการ และ นักศึกษากับทันตแพทย์คลินิกเอกชน โดยนักศึกษาที่เป็นแกนนำ�กิจกรรมนี้มีความคิดต่อยอด ในหลายมิติ เช่น การประเมินความพร้อมของคลินกิ ว่าพร้อมกับคนพิการประเภทใดบ้าง ขยาย ความครอบคลุมคลินกิ และโรงพยาบาลทัง้ ในภาคเอกชนและภาครัฐ ความพร้อมของระบบขนส่ง มวลชนในการเดินทาง และกองทุนเพื่อสนับสนุนค่าใช้จ่ายแก่คนพิการที่ยังมีปัญหา รวมทั้ง การประเมินการรับรู้และการใช้ประโยชน์จากแผนที่ฯที่ทำ�ขึ้นมา

“จัดเวทีแลกเปลีย่ นเรียนรูท้ ง้ั สามกลุม่ วันที่ 15 มีนา 58 รูส้ กึ ว่าเด็กได้เรียนรู้ เยอะมาก สอนกันไม่ได้ด้วยคำ�พูด ต้องประสบการณ์ตรงคือไปเจอด้วยตัวเอง”


33

“คลินิกที่เข้าร่วมสามารถปรับปรุงให้ได้อย่างนั้นจริงๆ ไหม ไม่มีทาง ไม่ได้ หวังว่าคลินกิ จะปรับปรุง บางคลินกิ ทีต่ อบมาไม่ได้เอือ้ จริงสำ�หรับคนพิการแต่ได้ใจเขา เด็กเห็นใจทันตแพทย์คลินิกว่าใจเขาอยากเปิดรับคนพิการนะ มีบางคลินิกไม่มี ประสบการณ์แต่เขายินดีรับ จุดเริ่มต้นโอเคแล้ว ไม่ได้หวังว่าคลินิกปัจจุบันต้องปรับ ให้รองรับได้ แต่ในอนาคตเด็กรุน่ นีจ้ บไปเขาอาจจะคิดถึง คำ�ถามเด็กปีสองคำ�ถามแรก คือ ถ้าคุณเปิดคลินิกคุณจะคิดถึงคนพวกนี้ไหม เด็กคิด...” “ประทับใจตอนเยี่ยมบ้านได้เห็นชีวิตความเป็นอยู่ของเขาทำ�ให้เข้าใจว่า ทำ�ไมเขาพิการ บางคนเป็นมาแต่กำ�เนิด บางคนเป็นทีหลัง บางทีพิการทางร่างกาย ไปลุยนำ�โดนตัดขาก็มี มีหนุ่มโรงงานเกิดอุบัติเหตุไม่มีแขนก็มี หรือประสบอุบัติเหตุ โดนตัดขาแขนก็มี ถามเขาว่ากว่าที่จะผ่านช่วงนั้นมาได้ อยู่ยังไงเหมือนวงเวียนชีวิต ทำ�ให้เรารูส้ กึ ว่าทุกข์เขาใหญ่มาก ผมเข้าใจว่าทุกคนมีเรือ่ งของตัวเอง เขาก็จะอยูใ่ ห้ได้ ้ ได้ รายหนึ่งมีลูกสาวเป็นอาจารย์คณะพยาบาลมาก่อน แล้ว stroke ผ่านมันไปให้ เป็นอัมพาตต้องนัง่ รถเข็นตลอดชีวติ เขาสอนให้ใช้ชวี ติ ยังไงไม่ให้เป็นเหมือนเขา กลับมา ก็เปลี่ยนเรื่องอาหารการกิน...” “...ทีอ่ ยากทำ�เพิม่ เติมอย่างแรก สำ�รวจคลินกิ ว่าสิบห้าคลินกิ พร้อมจริงไหม มีมาตรฐานอยู่แล้ว ว่าแต่ละแบบเป็นไงบ้างที่ของสถาปัตย์ทำ�ไว้ เอาจากตรงนั้นไป ตรวจสอบอีกที ดูว่าผู้พิการต้องการอะไรเพิ่มนอกเหนือจากตรงนี้ มีแบบฟอร์มเป็น มาตรฐาน ถ้าผ่านกี่เปอร์เซ็นต์ เป็นคลินิกได้รับการรับรอง แล้วผู้พิการเข้าไปแล้ว สะดวกสบายจริงรึเปล่า เหมาะกับเขาจริงๆ ต้องแบ่งเป็นรับผูพ้ กิ ารประเภทไหนได้บา้ ง บางคลินกิ อาจจะได้แค่ประเภทนี้ ทีอ่ ยากทำ� คือ ขยายขอบเขตเพิม่ จากสิบห้าคลินกิ แล้วของรัฐเป็นยังไง เอกชนมีทไ่ี หนน่าสนใจบ้าง โรงพยาบาลเอกชนเปิดใหม่เยอะแยะ เราสนใจเฉพาะคลินิกไม่ได้...” “...สองเรือ่ งค่าใช้จา่ ย ผูพ้ กิ ารส่วนใหญ่ฐานะไม่คอ่ ยดีเท่าไหร่ เขาไม่สามารถ ออกไปทำ�งานหาเลี้ยงชีพได้เหมือนคนปกติทั่วไป งานที่เขาทำ� เงินที่ได้ อาจจะไม่ เยอะเท่าทีค่ วร อยากให้นกึ ถึงจุดนีด้ ว้ ย ถ้าเป็นค่าใช้จา่ ยอาจพัฒนาเป็นกองทุนขึน้ มา เพื่อดูแลผู้พิการ อย่างรัฐบาลจัดให้ มีเบี้ยเลี้ยง มีสวัสดิการ ได้แค่ส่วนหนึ่งเท่านั้นไม่ ได้ทั้งหมด...”


34

“...เรื่องการประชาสัมพันธ์โครงการ พอเราทำ�เสร็จ ประชาสัมพันธ์ผ่าน ตามคลินิกต่างๆ ไปตามองค์กรต่างๆ ของผู้พิการ แต่มันช่วยให้เข้าถึงบริการจริงไหม จะมีการติดตามตรงนั้นไหม ผู้พิการรู้ไหมว่าตรงนี้ไปได้นะ อย่างน้อยพื้นที่ที่เราไป สำ�รวจก่อนทำ�เขารู้ไหม ถามๆ มาเขาไม่รู้ ระบบขนส่งมวลชนเชียงใหม่เป็นเรื่องใหญ่ คือว่า ผูพ้ กิ ารส่วนใหญ่ไปไหนมาไหนไม่ได้ ส่วนใหญ่ตอ้ งมีคนไปรับส่ง จะดีกว่านีไ้ หม ถ้าเขาสามารถเดินทางไปไหนมาไหนได้ดว้ ยตัวเอง เพราะเห็นรถเมล์เชียงใหม่ผพู้ กิ าร ไม่สามารถขึน้ ได้เลยบันไดมันสูงมาก รถเมล์ในกรุงเทพก็ไม่โอเคนะ รถเมล์เมืองนอก จะมีชานต้า จะดีกว่านี้ไหมถ้าฟุตบาทกว้างขึ้น สามารถเข็นรถเข็นได้ อย่างน้อยสุด ทางมีทางลาดลงมา...” 2.2 กิจกรรมการประกวดสื่อสร้างสรรค์เพื่อคนพิการ การประชาสัมพันธ์เชิญชวนให้นักศึกษาส่งผลงานเข้าประกวดในกิจกรรมนี้ เป็นการ ส่งหนังสือพร้อมโปสเตอร์ ถึงคณะทันตแพทยศาสตร์ ประชาสัมพันธ์ของมหาวิทยาลัย และสโมสร นักศึกษาคณะทันตแพทยศาสตร์ทกุ สถาบัน ตัง้ แต่มกราคม 2558 ปิดรับผลงาน ในเดือนเมษายน 2558 และตัดสินวันที่ 30 พฤษภาคม 2558 โดยกรรมการเป็นคนนอกคณะทันตแพทย์ ที่มี ประสบการณ์ด้านสื่อหรือคนพิการ มีผลงานส่งเข้าประกวด 6 ชุดจาก 5 ทีมใน 3 สถาบัน คือ ม.เชียงใหม่ ม.ขอนแก่น และ ม.นเรศวร ซึ่งล้วนเป็นสถาบันที่มีอาจารย์ร่วมรับผิดชอบกิจกรรม ในโครงการที่ 1 ซึ่งมีเสียงสะท้อนการเรียนรู้กิจกรรมนี้จากทั้งอาจารย์และนักศึกษา ดังนี้

“นักศึกษาทันตแพทย์เป็นเด็กที่มีความคิดสร้างสรรค์มาก แถมโจทย์ที่ให้ ครัง้ นีค้ อื ไม่ให้เขาทำ�คนเดียว ถ้ามีไอเดียแต่ผลิตออกมาไม่ได้กไ็ ปหาคนอืน่ ช่วยได้หนึง่ คน เป็นทันตแพทย์ดว้ ยกันก็ได้ เพือ่ นคณะอืน่ ก็ได้แต่ได้แค่หนึง่ คน ตัวเองเป็นรองกิจการนิสติ มาก่อนก็จะประสานรองทัง้ หลายทัว่ ประเทศ ทุกคนบอกว่าเอาจังหวะเวลานีน้ กั ศึกษา สอบ ทำ�งาน เก็บ requirement แต่เราเลือ่ นไม่ได้เพราะมีเงือ่ นเวลาของงบประมาณ ที่ได้มา ถ้าไม่มีเงื่อนไขเวลาน่าจะดีกว่านี้ ปกติใช้ผ่านหน้าเฟส ส่งจดหมายด้วย คุยส่วนตัวด้วย ส่งหน้าเฟสขอแทคอาจารย์ทกุ คนทีอ่ ยูท่ กุ มหาวิทยาลัยใส่ลงไปทัง้ หมด ผ่านสโมสรนักศึกษาทั้งหลาย..ช่วงเวลาที่ส่งก็นานนะ แต่ว่าเราเข้าใจธรรมชาติ กิจกรรมเขาเยอะ ช่วงเวลาทีเ่ หมาะสมมีความสำ�คัญมาก..เราก็เปิดกว้างนะปีไหนก็ได้ ขอมีไอเดียก็พอ ถ้าโครงการเปิดกว้างให้นักศึกษาส่งอะไรก็ได้ หน้าตาน่าจะเปลี่ยน ไม่ควรจำ�กัดที่สุขภาพช่องปาก อาจเป็นเรื่องอื่นเช่นความเข้าใจในผู้พิการ ความเป็น อยูช่ วี ติ ผูพ้ กิ าร น่าจะทำ�ให้มมี ากขึน้ แต่บงั เอิญจุดมุง่ หมายคือกระตุน้ นักศึกษาทันตแพทย์ โจทย์มันจึงแคบลงมา”


35

“เราก็อยากให้คณะอืน่ เขามีสว่ นร่วมด้วย เปิดโอกาสให้หลายหน่วยงานส่งเข้ามา ประกวดสือ่ ยากเพราะเจ็ดแปดมหาลัย ต้องผ่านระบบ เช่น คณบดี เป็นระบบราชการ ถ้าเขาไม่ตอบสนอง เราไม่มเี วลาไปตาม แต่จะรูว้ า่ ทีส่ ง่ เข้ามาเขามีใจ ใครส่งเข้ามา คือ คนที่ชอบ” “มีตดิ ประกาศในลิฟท์เป็นโปสเตอร์ มีอาจารย์ทนั ตกรรมชุมชนมาประกาศ ปากเปล่าด้วย รับรู้ทั้งปากเปล่าและโปสเตอร์ในลิฟท์ เปิดกว้างมากเป็นสื่อสำ�หรับ คนพิเศษจะเป็นโปสเตอร์หรือบทความก็ได้ ไม่ทราบว่าเกณฑ์ในการตัดสินเป็นยังไง... ทีมอื่นที่เป็นคู่แข่งทราบว่าคณะเรามีทีมหรือสองทีม มาจากมหาวิทยาลัยอื่นด้วย แต่ไม่ทราบจำ�นวนที่แน่นอน” ในด้านนักศึกษาเหตุผลทีส่ ง่ ผลงานสือ่ เข้าประกวด 3 ประการ คือ มีทกั ษะความสามารถ ในการทำ�หนังสัน้ กำ�ลังศึกษาอยูใ่ นชัน้ ปีท่ี 6 ซึง่ เป็นช่วงเวลาทีม่ ภี าระการเรียนน้อยกว่าชัน้ ปีอน่ื ๆ และเคยมีประสบการณ์สมัยเรียนในชั้นปีที่ 5 เป็นเวลา 1 เดือน โดยสัมผัสคนพิการในหมู่บ้าน แต่ถงึ แม้ไม่เคยมีประสบการณ์กค็ วร ค้นคว้าเพิม่ เติมและแสวงหาประสบการณ์ตรงเพือ่ ให้เกิดพลัง แรงบันดาลใจที่กระทบใจคนที่ดูสื่อ รวมทั้งกรรมการ “ชอบทำ�งานพวกนี้อยู่แล้ว ทำ�หนังสั้น ชอบงานนิเทศศาสตร์ อยู่ปี 6 งาน คลินกิ ไม่เยอะมาก มีเวลาว่างทำ�กิจกรรมมาก เพือ่ นอีกคนตัดต่อเก่งถ่ายรูปเก่ง ชวน คนทีส่ นิทกันมาทำ�เป็นหนังสัน้ ขึน้ มา สนใจตัง้ แต่มธั ยมแต่ได้ท�ำ จริงๆ ตอนปีสามหรือสี่ เช่น ทำ�หนังสัน้ ในการเปิดประชุมเชียร์ หรือเปิดห้องเชียร์ ทำ�กันเองไม่เกีย่ วกับอาจารย์ ไม่มหี ลักสูตร เป็นความชอบส่วนตัวเป็นทักษะทีไ่ ม่ตอ้ งขวนขวายทีมผมทีส่ ง่ ประกวด มีสามคน ถ้าเป็นหัวข้ออื่นก็อยากประกวดอยู่...ต้องดูว่าจังหวะเราเหมาะไหม บางที เราอยู่ห้องเครียดๆ ต้องทำ�งานหรือเพื่อนกระจายไปเราก็ไม่มีทีมงาน เรารับคนเดียว ไม่ได้.... พอมาประกวดเป็นการฟืน้ ฟูความทรงจำ�เก่าๆ กลับมาถ่ายทอดงานของปีหา้ ค่อนข้างละเอียดเพราะเราใช้เวลามาตลอดหนึ่งเดือนในการเจาะลงพื้นที่” “ถ้าส่งงานประกวดสักชิน้ หนึง่ เราจะสือ่ สารอะไรให้คนดู หลังจากนัน้ ลงไป หาเนือ้ หา มีการค้นคว้าและสิง่ ทีเ่ ราไปเจอกับตัวเองมักจะมีอมิ แพคกับเรามาก ถ้าสมมติ เราไม่เคยลงไปสัมผัสตอนปีหา้ เราต้องไปสัมผัสกับคนพิเศษจริงๆ ไม่ใช่คณ ุ มโนอะไร ขึน้ มา ต้องลงไปเอาของจริงมาให้คนอืน่ ดู นีค่ อื สิง่ ทีม่ ี impact มากทีส่ ดุ เพราะถ้าเราส่ง เราก็หวังจะได้รางวัล”


36

เกณฑ์การตัดสินพิจารณาจาก 4 หัวข้อ คือ เนื้อหาสาระและแนวคิดในการจัดทำ�สื่อ การนำ�เสนอและความน่าสนใจ ความคิดสร้างสรรค์ และการนำ�ไปใช้งานและการต่อยอดผลงาน หัวข้อละ 25 คะแนน รวม 100 คะแนน ผลงานที่ได้รับรางวัลชนะเลิศ 3 อันดับ และรางวัล ชมเชย ได้แก่ หนังสั้นเรื่อง “คนพิเศษ” (มหาวิทยาลัยเชียงใหม่) “หัวใจที่พิเศษสำ�หรับเด็ก พิเศษ” (มหาวิทยาลัยนเรศวร) “การตรวจคัดกรองสุขภาพช่องปากเบื้องต้นในผู้ป่วยติดเตียง” (มหาวิทยาลัยนเรศวร) และ “คนธรรมดา VS คนพิเศษ” (มหาวิทยาลัยเชียงใหม่) ตามลำ�ดับ โดยระบุวา่ เผยแพร่ผลงานผ่าน www.youtube.com http://dph-research-center. com/ และ Facebook https://www.facebook.com/ChiangMaiDentalClinics/ “การเผยแพร่ผลงานทีเ่ ข้าประกวด ทางศูนย์ความเป็นเลิศด้านทันตสาธารณสุข มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นคนจัดการเอง ตามกติกาจะมีการเผยแพร่ตวั สือ่ นี้ ไม่วา่ จะเป็น โปสเตอร์คลิปหนังสั้นซึ่งผมก็ไม่เจอเหมือนกัน ส่วนตัวทราบอยู่แล้วว่าด้วยมารยาท ของการประกวดเขาต้องเป็นฝ่ายเผยแพร่... อยากดูทอ่ี น่ื ทีเ่ ขาได้รบั รางวัลด้วย...ทีเ่ ราทำ� ก็เพราะอยากให้เผยแพร่ เจออาจารย์....ก็ถามแล้วว่าจะลงเมือ่ ไหร่ ผมลงเองได้ไหม” การทำ�หนังสัน้ ส่งเข้าประกวดนีเ้ ป็นการต่อยอดจากประสบการณ์ตรงสมัยเรียนชัน้ ปีท่ี 5 ซึ่งปลูกฝังทัศนคติต่อคนพิการมาก่อนแล้ว การร่วมกิจกรรมนี้จึงเป็นเพียงการทบทวนข้อมูล และหาจุดประทับใจเพื่อทำ�สื่อเผยแพร่

“การออกชุมชนในหมู่บ้าน... ตั้งแต่ตอนปีห้า ทำ�ให้เราเปลี่ยนทัศนคติ ต่อคนพิเศษหรือคนพิการอยูแ่ ล้ว แต่การเข้าร่วมการประกวดได้ยอ้ นความทรงจำ�ครัง้ นัน้ มาใส่ในสือ่ และเผยแพร่ให้คนอืน่ ทราบ เราลงชุมชนแค่สบิ กว่าคน คนอืน่ ไม่ได้ไปรูส้ กึ กับเรา สื่อที่เราทำ�เป็นการเผยแพร่ให้คนอื่นรับรู้สิ่งที่เราเรียนรู้จากหมู่บ้านนั้นมา..”

2.3 กิจกรรมการจัดประสบการณ์ดงู านทันตกรรมคนพิการให้นกั ศีกษาทันตแพทย์ ในการเลือกพืน้ ทีใ่ ห้นกั ศึกษา อาจารย์ผรู้ บั ผิดชอบการประเมินจะเป็นทันตแพทย์รนุ่ พี่ โรงพยาบาลชุมชน เราจะพิจารณาว่าสามารถดูแลและสร้างการเรียนรู้ให้นักศึกษาได้ไหม และ นักศึกษาเกิดความไว้วางใจมัน่ ใจในอาจารย์แค่ไหน สำ�หรับการเรียนรูใ้ นพืน้ ทีห่ า่ งไกลชายแดน ของจังหวัดเชียงใหม่


37


38

“อยากให้เด็กเห็นว่าชีวติ มีทางเลือกมีแง่มมุ อืน่ ถ้าไม่เห็นก็จะไปรวมกันในเมือง คิดว่าเงินคือที่สุด ทันตแพทย์พี่เลี้ยงต้องดูแลเด็กได้ไว้ใจได้ ..คุยกับ (ชื่อทันตแพทย์ อำ�เภอนี)้ คิดว่าถ้าลงทีน่ น่ี า่ จะดี เขาดูแลน้องเป็น เตือนเป็น รูส้ น้ั รูย้ าวรูผ้ อ่ น เป็นแบบ อย่าง ใครๆ ในอำ�เภอนัน้ ก็รกั มีน�ำ ้ ใจทำ�ได้ทกุ อย่าง ขับรถ refer ก็ท�ำ ไม่ดดู าย เป็นโมเดล เป็นคนอบอุน่ เหมือนพีด่ แู ลน้อง อยากให้เด็กมีทศั นคติบวก คิดว่าอำ�เภอนีม้ นั โรแมนติค มีกะเหรี่ยง อากาศก็ดี” “เราเชือ่ ใจอาจารย์มากๆ ตอนแรกทีอ่ าจารย์ชวน ไม่รเู้ ลยว่าจะทำ�อะไรไม่มี ไอเดียอะไรเลย นึกว่าไปโรงพยาบาลไปดูงานทำ�ฟัน ก่อนไปไม่ได้คาดหวังอะไร” อาสาสมัครกิจกรรมดูงานระยะเวลา 2 สัปดาห์ช่วงปิดภาคการศึกษานี้เป็นนักศึกษา ชั้นปีที่ 3 จำ�นวน 5 คน แบ่งเป็น 2 กลุ่ม เพื่อดูงานในโรงพยาบาลซึ่งได้ออกเยี่ยมครอบครัว ผู้พิการด้วย และออกหน่วยทันตกรรมในโรงเรียน กลุ่มละ 1 สัปดาห์แล้วสลับกัน แม้ว่าทั้งหมด เป็นผู้หญิงแต่เคยมีประสบการณ์ทำ�กิจกรรมในวิชาเรียนหรือกิจกรรมอาสาสมัคร และบางคน ได้รับการสนับสนุนจากผู้ปกครอง “ต้องไปกลุ่มเล็กๆ ตอนแรกที่พวกหนูไม่อยากไปเพราะเพื่อนไม่ไปกันแล้ว จริงๆ มีคนลงชือ่ เยอะมากกว่ายีส่ บิ คน ปิดเทอมไปอาจารย์กไ็ ม่ตดิ ต่อ คนอืน่ ก็ไม่สนใจกัน แล้วกลับบ้าน เทีย่ ว อยูบ่ า้ นดีกว่า หลายเดือนอาจารย์ถงึ mail มาว่าจะไปกันอยูไ่ หม โอเคไป มีให้เลือกว่ากลุ่มอยากไปวันไหน ตอนแรกพวกหนูแยกกลุ่มกัน สุดท้ายว่าง กันวันนี้แล้วรวมตัวกัน ตอนนั้นหนูไม่ค่อยว่างเฝ้าร้านให้คุณพ่อ บอกเพื่อนรีบเลือก วันเดีย๋ วคนอืน่ แย่ง .....แบ่งกันทีมนัน้ สองคน ทีมนีส้ ามคน แบ่งตามความสนิท อยูค่ นละ กลุ่มกัน พอไปอยู่ที่โน่นก็สนิทกัน”


39

“ตอนปีหนึง่ เทอมสอง แบ่งนักศึกษาเป็นหลายกลุม่ ไปดูงานโรงเรียนคนพิการ ของหนูได้ไปโรงเรียนคนหูหนวก บางคนไปโรงเรียนคนตาบอด ไปเช้าเย็นกลับเป็น วิชาของคณะมนุษย์หรือจิตวิทยาไปกับคณะอื่นด้วย คนลงเรียนหลายร้อย เป็นวิชา บังคับของคณะเรา” “เคยออกค่ายอาสาของสโมสรนักศึกษาคณะตอนปีหนึ่ง ค่ายวันมหิดล พอมาเจอของพี่.. (ชื่อทันตแพทย์อำ�เภอนี้) ค่ายอื่นๆ น่าจะเด็กๆ เลย” “พ่อหนูเป็นสมาชิกสโมสรโรตารี่ เคยไปกับพ่อช่วยวัดความดันวัดสายตา โรตารี่ชอบออกไปที่กันดาร พ่อหนูชอบให้ไป ไปนอนเต้นท์ไปลุยกับพ่อ มีน้องอีกคน ผู้หญิงก็ไปด้วยกัน” “หนูอยูฝ่ า่ ยจัดหารายได้ของสโมสร นีอ่ ยูฝ่ า่ ยศิลป์ หารายได้โดยทุกปีสว่ นใหญ่ จะทำ�เสื้อหรือของขายในคณะเพื่อเอาเงินมาใช้กับกิจกรรมสาธารณะ สนับสนุนงาน อื่นๆ ของสโมสรเช่น ค่ายอาสา เวลาขายของพวกเราขายกันเอง งานวันมหิดลพี่เขา ก็แบกเสือ้ ไปขาย รับปริญญาก็แบกเสือ้ ไปขาย ขายให้นอกคณะด้วย ปีทแ่ี ล้วใช้ชอ่ื เฟสบุค๊ จัดหารายได้ เปลี่ยนชื่อเฟสทุกปี ปีนี้ชื่อ superdent collection” แม้จะมีเวลาเพียง 2 สัปดาห์แต่นกั ศึกษามีมมุ มองต่อการใช้ชวี ติ ในชุมชนห่างไกลและ มองคนพิการเปลี่ยนไปจากเดิม มีความเข้าใจชีวิตและเงื่อนไขในชีวิตของคนพิการมากขึ้น เห็นการทำ�งานแบบสหสาขา ประทับใจทันตแพทย์รนุ่ พีแ่ ละยึดเป็นแบบอย่าง รวมทัง้ เพิม่ ความ มั่นใจในการดูแลสุขภาพช่องปากคนพิการ “ก่อนไป อาจารย์บอกไปสองอาทิตย์ สองอาทิตย์นานเลย จะมีอะไรทำ�ไหม ไม่มเี ซเว่น ไม่มไี ฟ แต่มอี ะไรอย่างอืน่ ทำ� ตอนเย็นพีท่ โี่ รงพยาบาลออกกำ�ลังกายตลอด ก็ไปทำ�กิจกรรมอะไรกับเขา” “ตอนแรกไม่คดิ ว่าต้องทำ�งานกับคนพิการด้วย พี.่ . (ชือ่ ทันตแพทย์อ�ำ เภอนี)้ ทำ�ให้เราเห็นว่าสามารถปรับเปลี่ยนอะไรให้เข้ากับเขา มองในมุมของเขา ไม่ใช่ไป ยัดเยียดให้เขาอย่างเดียว หนูมแี นวคิดใหม่วา่ คนพิการก็มคี วามปกติในแนวคิดของเขา ถ้าเราจะไปดูแลเขาต้องเข้าใจในความปกติของเขา และปรับสิง่ รอบตัวให้เข้ากับเขา น่าจะทำ�ให้เราเป็นหมอดูแลเขาได้ดี ถ้าเราจะดูแลคนไข้ทเ่ี ขาเงือ่ นไขเยอะขนาดนี้ ต้องมี


40

หลายอย่างส่งผลต่อสุขภาพช่องปากของเขา ยิง่ เป็นคนพิการเขาไม่สามารถทำ�เองได้ ต้องได้รบั ความร่วมมือจากผูด้ แู ลเขาด้วย มีอยูร่ าย น้อง...บ้านอยูไ่ กลมาก เดินด้วยเข่า การใช้มอื ของน้องไม่ดี ผลทีต่ ามมาการแปรงฟันก็ไม่ดดี ว้ ย พี่ (ชือ่ ทันตแพทย์อำ�เภอนี)้ ให้ฝึกร้อยลูกปัดเพื่อฝึกกล้ามเนื้อมือเพื่อว่าจะแปรงฟันได้ดีขึ้น ประดิษฐ์ไม้กระดาน ช่วยยืนทำ�ให้ยนื ได้ตรงขึน้ กลายเป็นว่าเราไม่ได้ดแู ค่ปากต้องดูอย่างอืน่ ด้วย แค่ตรวจ แล้วถอนยังไม่จบ ต้องฝึกมือคนไข้นะ ฝึกพ่อฝึกแม่ ต้องเปลีย่ นทัศนคติให้คนในบ้าน ช่วยดูแลเขาหน่อย”

“ถ้าหนูจบออกไปทำ�งานหนูมีแนวคิดว่าจะเอาแบบอย่างพี่.... แต่อาจไม่ สามารถพลิกแพลงได้เท่าพีเ่ ขา เรือ่ งการสือ่ สารไม่นา่ จะทำ�ได้ดเี ท่าพีเ่ ขา บุคลิกของตัวเอง ไม่ค่อยมีมนุษยสัมพันธ์เท่าไหร่... ควรจะแทรกเข้าไปในค่าย ทำ�นอกเวลาน่าจะดี เราสามคนติดต่อกับพี.่ ... ได้ไปกันอีกรอบพี.่ ..มารับ เหมือนไปชำ�ระล้างจิตใจ อยูใ่ นเมือง มันวุน่ วาย ออกไปตรงนัน้ มันเงียบ ไปก่อนสอบ license ขึน้ ปีส่ี อยากไปดูงานคลินกิ ด้วย พี่... ก็ยังพาไปเยี่ยมน้องๆ อยู่” “หนูออกหน่วยจ่ายยาให้ชาวบ้านมีวิชาชีพอื่นไปด้วย พี่ที่โรงพยาบาล มนุษยสัมพันธ์ดี มีพยาบาล เภสัช และทันตาภิบาลไปด้วย ออกตามโรงเรียน ชาวบ้าน ก็มารับยาพี่ทันตาเขาเตรียมชุดถอนฟันไปสิบชุดเขาบอกไม่เกินนี้แน่นอน ถอนไป ประมาณสี่คน ลองให้พวกหนูถอน เราได้ออกไปหาน้อง...หัวโต พี่(ชื่อทันตแพทย์ อำ�เภอนี้) ซื้อลูกบอลนิ่มๆ ให้น้องกำ�”

“อยากไปออกหน่วยอีกเราไปตรงนัน้ เหมือนมีคณ ุ ค่ามากเลย ชาวบ้านเขา มีโอกาสทีจ่ ะมารพ.น้อย พี่ (ชือ่ ทันตแพทย์) เคยพูดว่าถ้ามาที่ รพ. เหมือนเรามีอ�ำ นาจมาก เขาไม่สามารถพูดอะไรได้มาก แต่ถ้าเราไปถึงที่เขาจะพูดกับเรามากขึ้นเหมือนสร้าง แรงบันดาลใจกับทุกๆ กลุม่ จริงๆ อยากไปเรียนรูง้ านจากสิง่ ทีพ่ เ่ี ขาทำ�กับคนหลายแบบ เรียนรูแ้ ล้วสามารถปรับใช้ได้ ไปครัง้ นีส้ อนให้หนูเข้าใจคนอืน่ มากขึน้ เราต้องเข้าใจว่า แต่ละคนไม่เหมือนกัน เริ่มจะมองความแตกต่างคนมากขึ้น เรียนมีแต่เนื้อหา เรื่อง ความสัมพันธ์กับคนได้ไปสัมผัสจริงเปลี่ยนมุมมองได้ อย่างคนพิการก็ไม่อยากให้เรา ไปช่วยเขาทุกอย่าง ไม่อยากให้เราไปสงสารเขา เขาอยากดูแลตัวเองได้ แต่มบี างอย่าง เราสามารถช่วยให้สะดวกขึน้ ง่ายขึน้ สำ�หรับเขา เขาไม่ได้คาดหวังว่าจะพึง่ พิงเราตลอด กรณีแม่ที่ดูแลลูกอยากให้ลูกที่เป็นคนพิการดูแลตัวเองได้ในเวลาที่แม่ไม่อยู่”


41

“ส่วนหนูออกหน่วยได้มองอะไรกว้างขึน้ ไปบนดอยหมูบ่ า้ นชาวเขา ถ้าจบไป อยู่ชุมชนแบบนี้อยู่ได้จริงเหรอ เป็นโรงพยาบาลที่ไม่มีอะไรเลย เงียบ กลับมาได้มอง กว้างขึ้น ในหมู่บ้านมีอะไรตั้งเยอะแยะ เหมือนคนไข้แต่ละคนเขาก็มีเบื้องหลังอะไร เยอะแยะ คนพิการเราต้องมองให้กว้างอย่ามองทีช่ อ่ งปากอย่างเดียว กับคนก็มองกว้างๆ ถึงจะทำ�งานได้ดี ถึงเราจะเป็นทันตแพทย์แต่เราก็ไม่ได้มหี น้าทีแ่ ค่ในช่องปากอย่างเดียว เราสามารถทำ�อย่างอื่นได้มากกว่านั้น อย่างที่พี่ (ชื่อทันตแพทย์อำ�เภอนี้) ทำ� ช่วยหา วิธีคิดทำ�ไงให้คุณภาพชีวิตเขาดีขึ้นช่วยเหลือตัวเองได้มากขึ้น รู้สึกประทับใจตรงนี้ ประทับใจเรือ่ งการออกหน่วย การทีเ่ ราไปหาเขาเอง เราลงทุนน้อยเราฝ่ายเดียวทีล่ งไป หาเขา เขามาหาเราเสียทัง้ เวลา โอกาสในการทำ�งาน เราไปครัง้ เดียวรักษาคนได้เยอะ” ในความคิดเห็นของนักศึกษากลุ่มนี้ หากกิจกรรมลักษณะนี้เป็นกิจกรรมนอกเวลา ควรเป็นกิจกรรมของชั้นปีต้นๆ ก่อนขึ้นคลินิกเพราะสามารถจัดการเวลาได้ง่ายกว่า “น่าจะปีสามหรือปีส่ี ไปตอนทีไ่ ม่รอู้ ะไรน่าจะดีกว่า แต่ถา้ ไปปีคลินกิ ก็นา่ จะ ได้ชว่ ยพีเ่ ขาทำ� ออกหน่วยได้เห็นพีเ่ ขาเหนือ่ ยมาก ถ้าปีหกก็ดเี หมือนได้ดกู ารทำ�งาน ในชุมชนเป็นไง แต่ปีคลินิกพวกเราจะเหนื่อยกันมากไม่ค่อยมีเวลา ปีหนึ่ง สอง สาม จะมีเวลามากกว่า”


42

3.) ประเด็นการพัฒนาสมรรถนะบุคลากรเพื่อการดูแลสุขภาพช่องปากคนพิการ การพัฒนาสมรรถนะการดูแลสุขภาพช่องปากคนพิการในหัวข้อนี้ ได้แก่ ขีดความ สามารถในการทำาความสะอาดช่องปากและฟัน การบริการผูป้ ว่ ยทีส่ ง่ ต่อมา การถ่ายทอดความรู้ ระหว่างทันตบุคลากร รวมถึงทีมสหวิชาชีพทีท่ าำ งานร่วมกันและผูด้ แู ลคนพิการ โดยไม่รวมทักษะ ความสามารถในการบริหารจัดการและบูรณาการงานคนพิการ ทีจ่ ะกล่าวต่อไปในประเด็นที่ 4. การจัดบริการสุขภาพช่องปากคนพิการมีเนื้อหามาจากผลการศึกษาเชิงคุณภาพและปริมาณ ซึ่งส่งแบบสอบถามถึงผู้ให้บริการในกิจกรรมที่ 10 (การพัฒนาระบบการดูแลสุขภาพช่องปาก) ของโครงการที่ 1 และผูใ้ ห้บริการทัง้ หมดของโครงการที่ 2 มีผตู้ อบกลับ 2 และ 11 คน ตามลำาดับ หลักสูตรทันตแพทยศาสตร์บัณฑิต ทันตาภิบาล และผู้ช่วยทันตแพทย์ไม่ได้มีเรื่องคนพิการ เป็นวิชาบังคับ ทันตบุคลากรจึงไม่คนุ้ เคยกับคนพิการ ความไม่คนุ้ เคยนีส้ ง่ ผลต่อทัศนคติในการ ดูแลคนพิการ มักมี “ความกลัว” ที่จะให้บริการ และไม่ทราบว่าต้องจัดการ (manage) ผู้ป่วย อย่างไร ซึ่งทันตแพทย์สสจ.ท่านหนึ่งสะท้อนว่า “...การปรับทัศนคติให้เจ้าหน้าที่เปิดใจสำาคัญ กว่าการพัฒนาศักยภาพ” การพัฒนาศักยภาพให้มคี วามรูค้ วามเข้าใจและบริการได้ มีความสำาคัญต่อผูม้ บี ทบาท ให้บริการในทัง้ สองโครงการ ปัจจุบนั มีหลักสูตรของสถาบันราชานุกลู สำาหรับทันตบุคลากรและ นักกายภาพบำาบัด แต่เป็นหลักสูตรเฉพาะเด็กที่มีความบกพร่องด้านสติปัญญาและการเรียนรู้ (ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มเด็กดาวน์ซินโดรม) ในการอบรมแม้ได้ฝึกปฏิบัติเพียง 1-2 ราย ก็ช่วยให้มี ความมัน่ ใจมากขึน้ การมีนกั กายภาพบำาบัดและนักกิจกรรมบำาบัดของสถาบันร่วมเป็นวิทยากร ในการดูแลสุขภาพช่องปาก เช่น การจับแปรงสีฟนั การขยับมือ การจัดท่าเด็กพิการนอนบนเก้าอี้ ทำาฟัน การลดความเกร็งของกล้ามเนื้อขณะทำาฟัน ทำาให้นักกายภาพบำาบัดของ รพ. ที่เข้ารับ การอบรมเข้าใจบทบาทและต่อยอดวิธีการจัดการผู้ป่วยพิการอื่นๆ ในงานสุขภาพช่องปาก ส่วนทันตบุคลากรก็มีทัศนะเปิดให้วิชาชีพอื่นเข้ามาช่วยในการบริการ เมื่อแต่ละวิชาชีพเข้าใจ วิธีการทำางานของวิชาชีพอื่นมากขึ้น ย่อมมองเห็นบทบาทแบบบูรณาการด้วย “เราก็กงั วลอยูเ่ พราะยังไม่มที กั ษะความรูเ้ รือ่ งนี้ ถ้าเคสไหนเกินความสามารถ ก็ไม่เสี่ยง กลัวเขาเป็นมากกว่าเดิม แทนที่จะช่วยเป็นการซำา้ เติมเขามากกว่า… ก็เป็น คอร์สสั้นๆ ได้ทำาจริงกับคนไข้ แต่มีทันตแพทย์เชี่ยวชาญทำาประจำาอยู่แล้ว เราอุดฟัน กับขูดหินปูนเท่านัน้ ได้ลองเคสช่วงบ่าย อบรมแล้วความมัน่ ใจเราเพิม่ ขึน้ เรียนรูผ้ พู้ กิ าร แต่ละกลุ่มมากขึ้น กล้าทำา”


43

“ทันตบุคลากรก็มคี วามกล้ามากขึน้ การทีจ่ ะไปทำ�งานกับคนกลุม่ นี้ โดยพืน้ ฐาน ทุกคนก็กลัวตัง้ แต่เริม่ แรกทีเ่ ข้ามาทำ�โครงการ พอไปอบรม เขารูส้ กึ ผ่อนคลายว่าทำ�ได้ ทันตาภิบาลที่ไปฝึกทำ�แล้วแยกกันคนละห้อง พอได้ลองทำ�รู้สึกว่าเขาทำ�ได้อยู่” “เราไปดูที่ราชานุกูล ที่นักกิจกรรมบำ�บัด นักกายภาพบำ�บัดจัดท่าเด็ก การจัดท่าสำ�คัญมากค่ะ ตอนเราให้บริการ การ manage การกิน ซึ่งกายภาพน่าจะ ได้เปรียบทันตแพทย์ .... เรารูจ้ กั นักกายภาพบำ�บัดแต่ไม่รจู้ กั นักกิจกรรมบำ�บัด ได้ยนิ กิจกรรมบำ�บัดครัง้ แรก เพิง่ รูค้ วามแตกต่างว่ากายภาพบำ�บัดเขาทำ�กับกล้ามเนือ้ มัดใหญ่ มัดเล็กเป็นของกิจกรรมบำ�บัดไม่เหมือนกัน นักกิจกรรมบำ�บัดมีนอ้ ยมากทัง้ ประเทศ” “ทันตแพทย์บอกว่าการที่ได้รับความรู้เกี่ยวกับเรื่องนี้ ช่วยทำ�ให้เค้าทำ� คลินิกได้ง่ายขึ้น แล้วเขายังเอาสิ่งที่เราสอนไปสอนต่อให้ผู้ปกครอง แล้วผู้ปกครอง กลับมาบอกกับคุณหมอว่าทำ�แล้วดีขนึ้ มาก... การทำ�ฟันเด็กพิเศษจะมีพวก reflex ต่าง ๆ บางทีคณ ุ หมอหรือว่าผูช้ ว่ ยทันตกรรมไม่มคี วามรูต้ รงนี้ จะจับเด็กหรือว่าจัด ท่าไหนมันยาก แล้วเด็กจะเกร็งจะต้าน เราก็เข้าไปแนะนำ�ว่าควรจะลด reflex ตัวนี้ เพิม่ กระตุน้ ตรงนี้ จัดท่ายังไง ให้งา่ ยขึน้ สะดวกทีจ่ ะทำ�ฟัน เช่น เด็กทีม่ ี bite reflex ถ้าอะไรไปถูกบริเวณริมฝีปากปุป๊ เด็กเค้าจะงับเลย ปิดปากแล้วเอาอะไรเข้าไปไม่ได้เลย พอสอนหรือว่าฝึกไปแล้วควรจะแนะนำ�ผูป้ กครองก่อนนะครับว่า ให้ไปลด bite reflex นีม้ าก่อน แล้วซักเดือนหน้าค่อยกลับมาหาหมอ มันก็เห็นผลชัดเจน คุณหมอก็สามารถ เอาอุปกรณ์หรือว่าอะไรเข้าไปในปากได้ ก็คือเหมือนแบบว่าเตรียมความพร้อมก่อน ทีจ่ ะทำ�ฟัน ซึง่ สำ�หรับหน้าทีก่ ารบำ�บัด เป็นเรือ่ งสามัญ พวกนีเ้ ป็นเรือ่ งทีพ่ วกเราเรียนมา เป็นเรือ่ งธรรมดา เพียงแต่ทนั ตแพทย์อาจไม่เคยรู้ จริง ๆ ตอนแรกก็ไม่รวู้ า่ นักกายภาพ บำ�บัดหรือนักกิจกรรมบำ�บัดสามารถเข้ามาช่วยตรงนีไ้ ด้ แต่ถา้ ให้โอกาสเขาได้เข้ามาร่วม คิดว่าทุกคนก็น่าจะทำ�ได้ เพราะว่ามันเป็น basic อยู่แล้วไม่ว่าจะเป็นของกายภาพ หรือของกิจกรรม”


44

4.) ประเด็นการจัดบริการสุขภาพช่องปากคนพิการ ทัง้ สองชุดโครงการมีจดุ มุง่ หมายร่วมในเรือ่ งนี้ 6 ประการ คือ เพือ่ การเรียนรูส้ ถานการณ์ สุขภาพช่องปากคนพิการ พัฒนาฐานข้อมูลสุขภาพช่องปากคนพิการ สร้างเสริมพฤติกรรมของ คนพิการและผู้ดูแลในการดูแลช่องปากที่เหมาะสม พัฒนาทักษะส่วนบุคคลของคนพิการและ ผูด้ แู ลในการดูแลสุขภาพช่องปาก พัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพช่องปากคนพิการ และพัฒนา รูปแบบการเพิม่ การเข้าถึงบริการสุขภาพช่องปาก ในคนพิการโดยการมีสว่ นร่วมของครอบครัว ชุมชนและทีมสหวิชาชีพ พื้นที่ดำาเนินการของโครงการในทั้งสองชุดโครงการนี้มี 2 แบบคือ 1) ดำาเนินการ เฉพาะพื้นที่ซึ่งมักเป็นเขตที่ตั้งโรงพยาบาล (รพ.) หรือศูนย์สาธารณสุขชุมชนเมือง (ศสม.) และ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำาตำาบล (รพ.สต.) ทีส่ มัครใจเข้าร่วมโครงการ และ 2) ดำาเนินการ ทั้งเครือข่ายบริการระดับปฐมภูมิ (ContraCtIng unIt oF prImary Care: Cup) โดยมี พื้นที่ดำาเนินงาน คือ ศสม. และ รพ.สต. ผู้บริหารชุดโครงการและทันตแพทย์สำานักงานสาธารณสุขจังหวัด (สสจ.) ที่เข้าร่วม โครงการมีบทบาทหลักด้านการจัดการ ประสานและรายงานการประชุมระดับจังหวัดและ ภาพรวมโครงการ การจัดบริการที่จะกล่าวต่อไปนี้เป็นบทบาทของทันตบุคลากรหัวหน้า โครงการที่ระดับ Cup ขอบเขตงานในหัวข้อนี้จำาแนกเป็น 8 ประเด็น ได้แก่ 1) การบริหาร จัดการงานคนพิการ 2) การบูรณาการงานคนพิการ 3) การสำารวจปัญหาสุขภาพช่องปากคนพิการ (วิธีการ ผู้สำารวจ และเครื่องมือสำารวจ) 4) รูปแบบการจัดบริการสุขภาพช่องปาก 5) เครื่องมือ เยีย่ มบ้าน 6) การส่งต่อ 7) อุปกรณ์ทาำ ความสะอาดช่องปาก 8) งบประมาณในการดำาเนินโครงการ 4.1 การบริหารจัดการงานคนพิการในจังหวัด ในหลายจังหวัดมีการจัดบริการสุขภาพช่องปากคนพิการมาก่อนแล้ว เนื่องจาก มีโรงเรียนสำาหรับเด็กพิการซึ่งมักตั้งในอำาเภอเมืองและรับเด็กจากจังหวัดอื่นด้วยโดย สสจ. จัดหน่วยทันตกรรมเคลื่อนที่ให้บริการในโรงเรียน ในยุคหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า โรงเรียน เหล่านี้ อยูใ่ นความรับผิดชอบของ รพศ. ด้วยงบส่งเสริมป้องกันซึง่ จัดสรรตามจำานวนประชากร ของ Cup แต่การดำาเนินงานขาดความต่อเนื่อง ซึ่งอาจเป็นเพราะไม่ใช่นโยบายกระทรวงหรือ จังหวัด ไม่มีการกำาหนดตัวชี้วัดที่เฉพาะ เมื่อมีกองทุนทันตกรรมใน พ.ศ. 2555 เป็นโอกาส ให้ทันตแพทย์ สสจ. จัดทำาโครงการในภาพจังหวัด ซึ่งระดับ Cup บางแห่งก็เข้าร่วมโครงการ พัฒนาระบบบริการปฐมภูมิ “สุขภาพช่องปากคนพิการ” ระหว่าง พ.ศ.2552-2554 ซึง่ สนับสนุน โดยสถาบันสร้างเสริมสุขภาพคนพิการ แล้วมีกองทุนทันตกรรมมารองรับ หลังจากนั้นกองทุน ทันตกรรมถูกยุบก็ได้โอกาสมาเข้าร่วมกับชุดโครงการนี้ต่อ


45

“มาอยู่ สสจ. ก็ท�ำ คนพิการแล้วตัง้ แต่ พ.ศ. 38, 39 พอมี UC โรงเรียนพิเศษ ทัง้ หลายอยูใ่ นเขตอำ�เภอเมือง เป็นเรือ่ งส่งเสริมป้องกัน โรงพยาบาล (ชือ่ จังหวัด) ก็รบั ไป คณะก็รับไป พอปี 55 มีกองทุนทันตกรรม ตอนนั้นจังหวัดใช้เงินได้ ก็เขียนโครงการ เอาเงินให้โรงพยาบาล (ชื่อจังหวัด) กับ ศสม.” “เริ่มตอนที่ทำ�โครงการในกองทุนทันตกรรม ปี 55 มีหมอ (ชื่อทันตแพทย์ ในฝ่าย) เห็นว่าพื้นที่ห่างไกลในแต่ละตำ�บล (ชื่อตำ�บล) มีคนพิการที่ไม่สามารถมา รพ.สต. ได้ เลยมาคุยว่าเราทำ�โครงการคนพิการกันไหม ...ก็ส่งไปอบรม ส่งเป็นทีม ดีกว่าจะมีประโยชน์กว่าให้ทนั ตแพทย์ไปคนเดียว ไป 3 คนเลย มีทนั ตแพทย์ ทันตาภิบาล ผู้ช่วย กลับมาก็ทำ�โครงการกับ รพ.สต. ไปออกพร้อมเค้า ซึ่งมีกลุ่มเป้าหมายอยู่แล้ว ว่ามีกี่บ้าน ไปตรวจให้การรักษาถอนได้ก็ถอนเลย ก็รักษาได้เยอะนะ ทีม 3 คนนี้ ทำ�งานด้วยกันได้ดเี ลย แล้วจึงขยายมาตำ�บลด้านล่างใกล้โรงพยาบาล ติดถนนเดินทาง สะดวก เพราะมี รพ.สต. หนึง่ ทีน่ กั กายภาพ รพ. มาอบรม แกนนำ�อสม.ให้มที กั ษะดูแล คนพิการ หมอ(ทันตแพทย์เจ้าของโครงการ) ไปสอนโรงเรียนผู้สูงอายุของรพ.สต.นี้ แล้วรู้เรื่อง อสม. เข้า ก็เลยชวนขยายพื้นที่เป็น 2 ตำ�บล หมอ(ชื่อทันตแพทย์ สสจ.) มารู้ว่าเราทำ�คนพิการ ก็ให้อำ�เภอเราจัดทำ�โครงการคนพิการร่วมกับอำ�เภออื่นใช้งบ กองทุนทันตกรรมจังหวัด ปลายปี 56 ก็จัดแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระดับจังหวัด เชิญอีก ซัก 3 อำ�เภอเป็น 4 ว่าที่ไหนทำ�อะไรกันบ้าง เชิญแพทย์ทันตแพย์ รพ. จังหวัดกับ คณะมาด้วยว่าดูแลคนพิการยังไง พอหมดกองทุนทันตกรรม หัวหน้า รพ.สต. เสียชีวติ ไม่มีคนประสานในพื้นที่ห่างไกลต่อ ประจวบกับหมอ(ทันตแพทย์เจ้าของโครงการ) ลาคลอด มาถึงชุดโครงการนีใ้ ห้ท�ำ รูปแบบบูรณาการมีกายภาพ พยาบาล หมอคนเดิม ก็กลับมาทำ�งานหลังลาคลอด ถือว่ารูปแบบใหม่นี้เป็นการทำ�แบบสหวิชาชีพ” “จากแรงกระตุน้ จากปี 52, 53 เรามีทนุ ใน(ชือ่ จังหวัด) เยอะพอควร เพราะ แต่ละทีเ่ ค้าทำ�อยูแ่ ล้ว บางคนใช้งบกองทุนสุขภาพท้องถิน่ .....ส่วนพี(่ ชือ่ ทันตแพทย์) ที่ตอนนี้เค้าย้ายไปอยู่โรงพยาบาล (ชื่ออำ�เภอ) เค้าจะปั่นจักรยานไปเยี่ยมผู้สูงอายุ ที่อยู่ติดบ้านติดเตียง ไปทำ�ฟันปลอมให้ ซึ่งเค้าทำ�กันอยู่แล้ว” “ในระดับอำ�เภอ เขารูง้ านกันหมดแล้ว ผมเป็นประธานนิเทศ เวลาไปนิเทศงาน สิง่ ทีต่ อ้ งตามดูเป็นอันดับหนึง่ คือ ตามตัวชีว้ ดั ของจังหวัด กรม กอง สีส่ บิ เก้าตัว ทันตะ เรามีเจ็ดตัว ไม่มเี รือ่ งคนพิการ แต่เวลาออกนิเทศจะบอกให้ดคู นพิการตลอด ถึงจะไม่


46

บรรจุในตัวชี้วัดแต่อย่าให้ใครมาเห็นวงเวียนชีวิต จะถือว่าอำ�เภอละเลย นโยบาย ในการทำ�งานทันตะ คือ ถ้า minimum requirement ผ่านแล้ว อยากทำ�งาน ที่คุณชอบทำ�ได้เลย..... เรื่องนอนติดเตียงจังหวัดบังคับให้ทำ� อสม. รู้หมด เวลาออก palliative care หรือ long term care ทันตาลงไปด้วย..... อย่างหมูบ่ า้ นหนึง่ ประมาณพันกว่าคน คนที่ทำ�ประชาคมไม่ใช่คนพิการ เขามองไม่เห็น พ้นความ สามารถของเขา เบาหวาน ความดัน stroke เขายังไม่คิดถึงเลย ทันตาออกไปทำ�ๆ แบบค่อยเป็นค่อยไป ตอบไม่ได้ว่า ปีที่ผ่านมาจังหวัดเราให้บริการสุขภาพช่องปาก คนพิการเท่าไหร่ ถ้าใส่ฟันเทียมไปกี่ปาก ตอบได้ เพราะอยู่ภายใต้ตัวชี้วัด”

การทราบว่าผูร้ บั ผิดชอบงานคนพิการในภาพรวมของ CUP และในแต่ละระดับ คือใคร จำ�เป็นต่อการประสานงานและประสานข้อมูลของทันตแพทย์หวั หน้าโครงการ และยังสามารถ แนะนำ�ทันตาภิบาลถึงการประสานและทำ�งานร่วมกับทีมที่ดำ�เนินงานอยู่ก่อนแล้วได้ แม้ใน จังหวัดเดียวกัน ผู้รับผิดชอบงานคนพิการระดับ CUP หรือ รพ. อาจแตกต่างกันตามบุคลากร ทีม่ ที งั้ ประเภทวิชาชีพและจำ�นวน ในหลาย CUP ผูร้ บั ผิดชอบงานคนพิการรวมทัง้ ฐานข้อมูลของ CUP มักเป็นนักกายภาพบำ�บัดของ รพ. ขณะทีบ่ าง CUP อาจแบ่งความรับผิดชอบตามโครงสร้าง การบริหารเดิม คือ งานกายภาพบำ�บัดรับผิดชอบในเขตที่ตั้ง รพ. และที่เหลือรับผิดชอบ โดยสำ�นักงานสาธารณสุขอำ�เภอ (สสอ.) โดยนักวิชาการ น่าสังเกตว่า เมือ่ นักกายภาพบำ�บัดเป็น ผูร้ บั ผิดชอบงานคนพิการ การทำ�งานจึงสอดคล้องกับความพิการทางการเคลือ่ นไหวเป็นส่วนใหญ่ ในโรงพยาบาลชุมชน (รพช.) ขนาดใหญ่ หรือ รพ. แม่ขา่ ยซึง่ มีวชิ าชีพเฉพาะสาขามากขึน้ มีการแบ่งความรับผิดชอบงานคนพิการตามประเภทความพิการ 2 ด้าน คือ นักกายภาพบำ�บัด รับผิดชอบความพิการด้านกาย ส่วนความพิการด้านจิตรวมพฤติกรรม ความบกพร่องสติปญ ั ญา และการเรียนรูอ้ ยูใ่ นความรับผิดชอบของพยาบาลจิตเวช ส่วนแพทย์เฉพาะสาขา (แพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู จักษุแพทย์ แพทย์โสต ศอ นาสิก และจิตแพทย์) มีหน้าที่ตรวจรับรองความพิการ รักษา พยาบาลและฟื้นฟูสภาพ เนื่องจากกระทรวงสาธารณสุขมีนโยบายใหม่ๆ เป็นระยะ โดยเฉพาะ ในกลุม่ ผูส้ งู อายุ ผูร้ บั ผิดชอบงานคนพิการในระดับตำ�บลอาจอยูใ่ นความรับผิดชอบของทีมหมอ ครอบครัว (Family Care Team: FCT) แต่ในระดับ CUP อาจเป็นคณะกรรมการพัฒนาระบบ การดูแลต่อเนื่อง (Continuity of Care: COC) งานควบคุมโรคไม่ติดต่อ (NCD) หรืออื่นๆ ปัจจุบัน ฐานข้อมูลคนพิการของหน่วยงานสาธารณสุขที่ดูแลคนพิการมีความครอบคลุม ในประเภทความพิการและมีรายละเอียดมากกว่าของ อปท. และ พม. เพราะมีบริการต่อเนือ่ งกว่า หน่วยงานอืน่ มีโอกาสพบคนพิการรายใหม่มากกว่า ทำ�ให้มกี ารปรับปรุงข้อมูลเป็นปัจจุบนั กว่า


47

การทีง่ านคนพิการเป็นนโยบายรัฐบาลและเป็นตัวชีว้ ดั ของ สสจ. ทำ�ให้มกี ารถ่ายทอด ลงมาเป็นนโยบายของ CUP และกำ�หนดผูร้ บั ผิดชอบชัดเจนขึน้ อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบนั สสจ. บางแห่งขาดการติดตามงานคนพิการอย่างเป็นระบบ ขณะที่ อบจ. มีบทบาทโดดเด่นกว่า โดยมีนโยบาย การบริหารจัดการ และการสนับสนุนอย่างชัดเจนทัง้ ในด้านสุขภาพและคุณภาพชีวติ “เบี้ยคนพิการเป็นตัวสำ�คัญ แต่ต้องขึ้นทะเบียนจึงจะได้ นายแพทย์ สสจ. พูดเลยว่าทุกโรงพยาบาลไปทำ�ตรงนี้ เรือ่ งเซ็นต์รบั รองเพือ่ ให้เขาเบิกได้ในแต่ละเดือน มาเตรียมงานกัน กลุม่ กายภาพเริม่ ขับเคลือ่ นทำ�เครือข่ายเข้มแข็งขึน้ ออกสำ�รวจ..... แต่เดิมนักกายภาพอาจจะไม่เยอะ ตอนหลังมีการเพิ่มงาน สามารถขอตำ�แหน่งพวก ลูกจ้างรายคาบเข้ามาช่วยงานกายภาพซึง่ CUP จ่าย น่าจะเป็นจุดเริม่ ต้น เพราะจริงๆ นโยบายหลักสำ�คัญของประเทศหรือของกระทรวงขับเคลื่อน กระทบในวงกว้าง ของคนพิการที่ต้องได้เบี้ย ผอ.โรงพยาบาล ก็ assign ต่อไปว่าใครต้องทำ�อะไร..... หลังจากนัน้ กระทรวงมีนโยบายสังคมผูส้ งู อายุมาสอดรับกันพอดี long term care เข้ามาเต็มตัวปีสองปีนี้ การจัดกลุ่มก็เป็นกลุ่มผู้สูงอายุและผู้พิการ การทำ�งานก็ถูก โยงไปด้วยกัน ผู้สูงอายุเองแยกเป็นติดบ้าน ติดเตียง ติดสังคม ที่ติดบ้านติดเตียงก็อยู่ ในกลุ่มผู้พิการ” “ทางเทศบาลก็มขี อ้ มูลของเขา เขาก็ขอข้อมูลจาก อบจ. เหมือนกัน เขาก็มี แค่ประเภทความพิการ แต่ถา้ เขาไม่ได้ลงพืน้ ทีจ่ ริง เขาก็ไม่สามารถรูว้ า่ คนนีเ้ ป็นอะไร ยังไงแบบไหน เขาขาด้วนนะ เขาต้องใช้ขาเทียมนะ เพราะว่ารูปแบบการบันทึกไม่ เหมือนเมื่อก่อน เมื่อก่อนเจ้าหน้าที่เขาต้องบันทึกลงในสมุด แต่ตอนนี้มันออกเป็น สมาร์ทการ์ด ก็จะมีแค่ประเภท ไม่ได้เขียนรายละเอียดลักษณะของคนพิการ ถ้าไม่ได้ ลงพืน้ ทีจ่ ริง ไม่เคยเจอกับผูพ้ กิ าร ก็จะไม่มขี อ้ มูลทีถ่ กู ต้อง ในเรือ่ งการแจกเบีย้ เขาก็รู้ แค่ว่าเป็นประเภท ยกตัวอย่าง ผู้ป่วยพิการคนนี้จัดอยู่ในประเภทตาหรือประเภทหู อายุเท่าไหร่ อยูท่ ไ่ี หน บางคนก็อาจไม่ได้อยูต่ ามพืน้ ทีจ่ ริงทีม่ ใี น smart card ก็ได้แต่วา่ ไม่ได้ย้ายข้อมูลไป” “คนทีด่ แู ลรับผิดชอบโรคไม่ตดิ ต่อต้องดูงานคนพิการด้วยไม่คอ่ ยอินกับคนพิการ พี่เขารับผิดชอบเรื่อง EMS โยนไปที่ อบจ. บ้าง งานประกันบ้าง เรียกว่างานคนพิการ ของ สสจ. ไม่มีทีมดูแล”


48

“กลุม่ คนพิการเป็นกลุม่ พิเศษ เราพบว่าจากเดิมทีต่ า่ งคนต่างทำ�เหมือนกับ ไม่มพี ลัง เอาตัง้ แต่ฐานข้อมูลพิการไม่ตรงกันเลยในจังหวัด อบจ. กับสาธารณสุข หรือ แม้กองทุนไปสำ�รวจเองยังไม่ตรงกันเลย..” 4.2 การบูรณาการงานคนพิการ ทันตบุคลากรส่วนใหญ่ออกแบบโครงการจัดบริการร่วมกับทีมสหวิชาชีพทีม่ บี ทบาท ด้านคนพิการ ของ รพ. และหรือ รพ.สต. ขึ้นกับพื้นที่หลักในการดำ�เนินงาน นโยบายกระทรวง สาธารณสุขทีม่ มี าก่อนหน้านีต้ ามลำ�ดับล้วนเอือ้ ต่อทันตบุคลากรในการทำ�งานร่วมกับสหวิชาชีพ “ตอนนี้ทำ�งานง่ายกว่าเดิม มีหมอครอบครัว ทีมเยี่ยมบ้าน และเป็นงาน นโยบาย นโยบายพวกนี้โดยเนื้องานอันเดียวกันกับงานคนพิการ” “พอไปเยีย่ มสำ�รวจพืน้ ทีท่ คี่ ดิ จะทำ� หาข้อมูลของผูพ้ กิ าร หาข้อมูลของพืน้ ที่ บริบท คุยกับทีม COC ว่าเขามีความเห็นว่าไง เขาอยากร่วมอะไรกับเราไหม พอเอา ข้อมูลมาดูกัน กลายเป็นแผนที่ทุกคนช่วยกันทำ� แต่เรื่องฟันเขายกให้เราออกแบบ” ในการดูแลสุขภาพช่องปากคนพิการ จำ�เป็นต้องคำ�นึงถึงสภาพแวดล้อมทั้งนอกและ ในตัวบ้าน และปัจจัยทางเศรษฐกิจสังคมของคนพิการและญาติรว่ มด้วย เพราะเกีย่ วข้องกับการ ดำ�เนินชีวิตประจำ�วันและอนามัยของคนพิการโดยตรง ผู้ดูแลคนพิการส่วนใหญ่เป็นญาติหรือ คนในครอบครัว การดูแลคนพิการทำ�ให้ไม่สามารถประกอบอาชีพได้และมีปญ ั หาเศรษฐกิจตามมา นายก อบจ.ท่านหนึง่ มีแนวคิดจัดทำ�โครงการอบรมญาติให้เป็นผูด้ แู ลคนพิการตามมาตรฐานของ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมัน่ คงของมนุษย์ เพือ่ ให้สามารถรับเงินเดือนหรือค่าตอบแทน จากกองทุนฟื้นฟูสมรรถภาพที่จำ�เป็นได้ การดูแลคนพิการจึงต้องอาศัยความร่วมมือจากทัง้ ในภาคสาธารณสุขด้วยกันและนอก ภาคสาธารณสุขในการทำ�งานในรูปเครือข่าย เพือ่ ให้สามารถตอบสนองต่อปัญหาของคนพิการ ได้อย่างแท้จริง เครือข่ายอาจแบ่งเป็นระดับตำ�บล อำ�เภอ และจังหวัด ในระดับตำ�บลจำ�แนก ผู้เกี่ยวข้องได้ 3 กลุ่ม ได้แก่ ชุมชน (ครอบครัว กลุ่ม และผู้นำ�ชุมชน) อาสาสมัครต่างๆ คือ อสม. อาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมัน่ คงของมนุษย์ (อพม.) อาสาสมัครดูแลผูส้ งู อายุทบี่ า้ น (อผส.) อาสาสมัครพัฒนาสังคมช่วยเหลือคนพิการหรืออาสาสมัครดูแลผู้พิการ (อพมก.) และ หน่วยงานภาครัฐ คือ รพ.สต. (พยาบาลวิชาชีพ เจ้าหน้าทีส่ าธารณสุข และทันตาภิบาล) เทศบาล หรือ อบต. ระดับอำ�เภอ ประกอบด้วย รพ. และ สสอ. มีบทบาทในการจัดการและสนับสนุน


49

ด้านวิชาการ การบริการและรับ-ส่งต่อ และทรัพยากร เพื่อให้จัดบริการสุขภาพคนพิการ ได้อย่างมีประสิทธิภาพและคุณภาพ ด้านมหาดไทยมีส�ำ นักงานพัฒนาชุมชนอำ�เภอ (นักพัฒนา ชุมชน) ซึ่งมีบทบาทบริหารงานพัฒนาชุมชนและบริหารการพัฒนาที่เกี่ยวข้องให้เป็นไปตาม นโยบายของอำ�เภอ ระดับจังหวัด ประกอบด้วยส่วนราชการ สสจ. และสำ�นักงานพัฒนาสังคม และความมัน่ คงของมนุษย์จงั หวัด (พมจ.) และ อบจ. (กองทุนฟืน้ ฟูสมรรถภาพทีจ่ �ำ เป็นต่อสุขภาพ) ในทางปฏิบตั ิ เจ้าหน้าที่ พมจ. ออกปฏิบตั งิ านในระดับตำ�บลและอำ�เภอด้วยเนือ่ งจากไม่มกี ลไก ราชการในระดับตำ�บลและอำ�เภอ ในการบูรณาการการดูแลคนพิการภายในและระหว่างหน่วยงานสังกัดเดียวกันและ ระหว่างต่างสังกัด มักใช้ขอ้ มูลคนพิการเป็นตัวตัง้ เพือ่ ให้รบั ทราบข้อมูลสถานการณ์และรูปธรรม ประเด็นปัญหา นำ�ไปสู่การแสวงหาแนวทางแก้ปัญหาร่วมกัน ด้วยการใช้ทรัพยากรที่มีโดยตรง หรือเคลื่อนย้ายสนับสนุนกัน (เช่น งบประมาณ วัสดุ และแรงงานในชุมชน) ในหลายพื้นที่ เมือ่ สำ�รวจปัญหาสุขภาพช่องปากคนพิการแล้ว ได้จดั ประชุมคืนข้อมูลให้หน่วยงานทีเ่ กีย่ วข้อง (เช่น โรงเรียน อปท. รพ.สต. พมจ. ทีม FCT ทีม COC ตัวแทนกลุ่มคนพิการ) การคืนข้อมูล อาจใช้รูปแบบการประชุมในระดับอำ�เภอหรือตำ�บล “กลุ่มคนพิการเป็นกลุ่มพิเศษ จากเดิมที่ต่างคนต่างทำ�มันไม่มีพลัง ตั้งแต่ ฐานข้อมูลคนพิการไม่ตรงกันเลยในจังหวัด อบจ.กับสาธารณสุข หรือแม้กองทุนฟืน้ ฟูฯ ไปสำ�รวจเองก็ยังไม่ตรง เมื่อรวมไปอยู่ที่ส่วนกลางยิ่งต่างกันเยอะเลย พอลงพื้นที่ ก็พบว่าไม่มกี ารสานพลัง เรือ่ งคนพิการทำ�งานแบบแยกส่วนไม่ได้.....วัตถุประสงค์หนึง่ คือ กองทุนฟืน้ ฟูสมรรถภาพทีจ่ �ำ เป็นก็คอื เราต้องมองคนพิการทัง้ องค์รวม ไม่ใช่รกั ษาโรค แล้วดีหมดเลย แต่สงิ่ แวดล้อมแย่หมด ทีอ่ ยูอ่ าศัยไม่ได้ คุณภาพชีวติ ไม่ดี ไม่มเี งินยังชีพ ถ้าไม่รว่ มกันทำ�โดยมองคนพิการหนึง่ คนก็ไม่ประสบผลสำ�เร็จ รวมไปถึงเรือ่ งช่องปากด้วย นีค่ อื ภาพรวม กองทุนฟืน้ ฟูฯมีวตั ถุประสงค์เพือ่ ดูแลคุณภาพชีวติ หมอก็ดแู ลสุขภาพ ทำ�ร่วมกัน กลุม่ เป้าหมายเดียวกัน กองทุนนีต้ อ้ งรับผิดชอบคนพิการทัง้ จังหวัด ทุกคน มีสิทธิขอความช่วยเหลือไปที่กองทุนสองด้าน หนึ่งด้านการแพทย์คือการรักษาฟื้นฟู สองคือคุณภาพชีวิต ที่อยู่อาศัย ปรับสภาพบ้าน และอาชีพ.....” “..ทำ�ให้เรามองเรื่องสุขภาพช่องปากมากขึ้นด้วย ปกติแล้วเราก็แค่มอง สุขภาพทางกาย ทางจิต มีแผลกดทับเราก็ปรึกษาพยาบาลก่อน ถ้าแผลรุนแรงแผล ติดเชื้อเราก็ส่ง รพ. ไม่ได้มองแค่สุขภาพช่องปาก...ของเดิมเราประสานงานกันเป็น ครั้งๆ ไป ไม่ได้ประสานอย่างต่อเนื่องและไม่มีเอกสารอะไรที่ใช้ร่วมกัน ในแต่ละครั้ง


50

ทีเ่ ราไปเยีย่ มบ้าน เราใช้เอกสารของใครของมัน ต่างคนต่างถือข้อมูลของตัวเองไปแล้ว ข้อมูลของใครก็เอากลับไป แต่เมือ่ มีประเด็นให้ศกึ ษาข้อมูลร่วมกัน เราก็คยุ กันว่าจะเอา เอกสารอะไรเพื่อที่มาใช้ร่วมกันและสามารถมารับรู้อะไรร่วมกันได้บ้าง...”

อปท. ทั้งระดับตำ�บลและจังหวัด มีส่วนสนับสนุนสำ�คัญให้คนพิการสามารถดำ�เนิน กิจกรรมในชีวิตประจำ�วัน (everyday life) ด้วยการจัดสิ่งอำ�นวยความสะดวกและปรับปรุง สภาพบ้าน และสภาพแวดล้อมรอบบ้าน ตัวอย่างรูปธรรม เช่น จัดรถรับส่งคนพิการจากบ้าน ไปรับบริการที่ รพ. ปรับบริเวณบ้าน ทำ�ทางลาดขึ้นบ้าน ในจังหวัดที่เครือข่ายคนพิการเข้มแข็ง คนพิการทีม่ คี วามรูค้ วามสามารถด้านช่างและมีประสบการณ์ตรงได้เข้ามาช่วยในการปรับสภาพ บ้านและรอบบ้าน ให้สอดคล้องกับการดำ�เนินกิจกรรมประจำ�วันของคนพิการเอง (activity based) เพื่อตอบสนองต่อปัญหาและเกิดประโยชน์ต่อคนพิการสูงสุด ทันตแพทย์บางคนมีความเห็นว่า อปท. เป็นปัจจัยแห่งความสำ�เร็จในการดูแลคนพิการ ในชุมชน หากสามารถเชื่อมประสานให้ อปท. เข้ามาช่วยเหลือคนพิการในด้านที่อยู่อาศัย และการดำ�เนินชีวิตประจำ�วันก่อน หลังจากนั้นทันตบุคลากรจะทำ�งานง่ายขึ้น เพราะในทัศนะ คนทัว่ ไป คนพิการและญาติ และการดำ�เนินชีวติ สำ�คัญกว่าเรือ่ งสุขภาพ ถ้าผนวกเข้ากับเรือ่ งอืน่ ในมิติเศรษฐกิจสังคม คนพิการและครอบครัวจะให้ความสนใจและเปิดรับข้อมูลอื่นที่ผนวกมา ได้ง่ายขึ้น ตามแนวทางนี้ ภาวะผู้นำ�ของทันตแพทย์นับเป็นปัจจัยแห่งความสำ�เร็จของ การทำ�งานทัง้ ในด้านการดูแลสุขภาพช่องปากเองและการทำ�งานแบบภาคีเครือข่าย ด้วยความคิด เป็นระบบและมีสถานะวิชาชีพทีไ่ ด้รบั การยอมรับจากสังคม ในด้านเครือข่าย นอกจากเชือ่ มโยง ให้การทำ�งานได้บรู ณาการกับหน่วยงานภายนอกและทำ�งานสะดวกขึน้ แล้ว ทีมสหวิชาชีพ ยังมี ความประทับใจการทำ�งานเครือข่ายที่ขยายตัวและภาคภูมิใจในงานมากขึ้น แม้ว่าก่อนหน้านี้ จะมีนโยบายระบบสุขภาพระดับอำ�เภอ (District Health System) ด้วยหลักการ UCARE แต่ก็เป็นเพียงรับรู้ร่วมกันแล้วแยกกันดำ�เนินการ (ขาดการร่วมคิด ร่วมดำ�เนินการ และร่วม ประเมินผล) จึงไม่ได้เกิดกระบวนมีส่วนร่วมของเครือข่ายและชุมชนอย่างแท้จริง “ส่วนใหญ่ทนั ตาเป็นเด็กเพิง่ จบมาใหม่ หนึง่ หรือสองปีอย่าเพิง่ คาดหวังมาก.... ควรมีทนั ตแพทย์ไปด้วยช่วยคิดว่าจะทำ�อะไรในพืน้ ที.่ . อีกอย่างเป็นเรือ่ งความเชือ่ ถือ ในสังคมด้วยเพราะยังเด็ก แต่ถ้าเป็นทันตารุ่นใหญ่เขาทำ�ได้นะ..”


51

“...สิง่ ทีเ่ จอ คือ หัวหน้าอนามัยเรียกไปถามว่า หมอมาทำ�อะไรกัน ทำ�ไมไม่มี โครงการมาแล้วจะสรุปโครงการยังไง หมูอ่ น่ื ทีม่ พี กิ ารติดบ้านติดเตียง หมอไม่ไปเหรอ จริงๆ เขาอยากให้ท�ำ ทัง้ ตำ�บล ไม่ใช่เฉพาะบ้านทีน่ อ้ งอนามัยรูจ้ กั ...ถ้าอยากได้แบบนี้ ก็ควรจะมารวมกับตำ�บลต้นแบบของเวชปฏิบัติครอบครัว ซึ่งก็ได้ทีมโรงพยาบาล ลงไปช่วย...” “เลือก case แล้วเชิญ อสม. caregiver ในพื้นที่มาร่วมประชุม ให้เขา เข้าใจคนพิการมากขึน้ เรือ่ งการดูแลสุขภาพให้รวมช่องปากด้วย หมอออกแบบการตรวจ ช่องปากง่ายๆ ให้พน้ื ที่ ให้นอ้ งรพ.สต. ตรวจ พบ case มีปญ ั หาต้องดูแลส่งต่อให้หมอ ลงเยี่ยม พร้อมประชุมร่วมกับนายก อบต. นายกเทศมนตรี ผู้นำ�ชุมชน ผู้มีส่วนได้ ส่วนเสีย มีวธิ กี ารวางแผนดูแล case แบบไหน พบว่าปัญหาอืน่ ๆ เราน่าจะดูไม่ได้หมด ในช่องปากหมอวางแผนร่วมกับน้องทันตาใน รพ.สต. น้องกายภาพและทีมดูแล ทีเ่ กีย่ วข้องร่วมกันวางแผนงานตัวเอง พบว่าปัญหาด้านสังคมเศรษฐกิจ เราต้องอาศัย คนข้างนอกเช่น พมจ. และบ้านพักเด็กเข้าประชุมด้วย นำ�เสนอปัญหาให้สว่ นทีเ่ กีย่ วข้อง และภาคีระดับจังหวัดฟัง ส่งต่อข้อมูลที่ดูแลไม่ได้ให้คนเกี่ยวข้อง มีการติดตามเยี่ยม รอบต่อไปว่าแต่ละ case มีการดูแลอย่างไร” “อยากขอบคุณทีม่ าทำ�งานร่วมกัน ความจริงทำ�งานง่ายขึน้ ชัดเจนขึน้ ทำ�ให้ คนสนใจมากขึน้ หมอเป็นผูป้ ระสาน ติดต่อด้วย เครือข่ายมาช่วย ทำ�งานง่ายกว่าแต่กอ่ น แต่กอ่ นมีเฉพาะพยาบาล นักกายภาพ ทำ�แต่ฟน้ื ฟูรา่ งกาย อยากให้มโี ครงการนีต้ อ่ คนไข้ ได้ประโยชน์ ตัวเราก็ได้ประโยชน์ ได้เรียนรูจ้ ากหมอฟัน สามารถไปแนะนำ�คนไข้ตอ่ ได้” “การทำ�งานรูปแบบระบบสุขภาพอำ�เภอของเราค่อนข้างได้เปรียบ ต้นปี เวลาทำ�แผนจะเชิญนายกอบต. ภาคีเครือข่ายผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมาร่วมทำ�แผนด้วย เขารับทราบงานหลักของ รพ. คืออะไร ยุทธศาสตร์ตอ่ ไปคืออะไร ทุกงานเราเป็นเจ้าภาพ อย่างน้อยถ้าเชิญเขาก็มาร่วมกับเรา ส่วนร่วมรูปแบบไหน ยอมรับเราได้แค่ไหน อาจขึ้นอยู่กับแต่ละพื้นที่” การทำ�งานร่วมกันของทันตบุคลากรและสหวิชาชีพ จะช่วยให้ประสบความสำ�เร็จ มากขึ้น เพราะคนพิการและญาติให้ความสำ�คัญกับปัญหาในช่องปากน้อยเมื่อเทียบกับปัญหา สุขภาพโดยรวม โดยเฉพาะคนพิการทางการเคลือ่ นไหว หากผนวกเข้ากับงานกายภาพจะได้รบั


52

ความร่วมมือมากกว่าแยกส่วนเฉพาะสุขภาพช่องปาก ในทางกลับกัน สุขภาพช่องปากก็จะมีผล ต่อสุขภาพทางกาย และการฟื้นฟูสภาพด้วย “ตอนหมอเอาโครงการมาเล่าให้ฟงั ช่วงนัน้ มีอบรมเจ้าหน้าทีเ่ รือ่ งการดูแล ผู้ป่วยต่อเนื่อง หมอเลยได้เข้าฟังกระบวนการทำ�งานของ COC ด้วย หมอแนะนำ� ให้เครือข่ายประกอบด้วยเจ้าหน้าที่ รพ. รพ.สต. เครือข่ายอำ�เภอ รูจ้ กั โครงการฯ ทีน่ า่ จะ ทำ�นำ�ร่องได้ เริ่มมองเห็นภาพเพราะเราดูแลคนไข้แบบไร้รอยต่อใน รพ. ดูแลยังไง ได้ออกซิเจน ได้ยา ถ้ากลับบ้านได้รับการดูแลต่อเนื่อง มีการส่งต่อ case เรามองว่า สหวิชาชีพเราไม่มีทันตะเลย ก็ขานรับหมอทันที” “ในการดูแลสุขภาพช่องปากคนพิการในมุมมองของคนนอกวิชาชีพ การทำ�งานทีผ่ า่ นมาเหมือนเราทำ�ทีป่ ลายนำ�้ เราไปแก้ไขปัญหาแต่เราไม่ได้ปอ้ งกันปัญหา ทันตะ ทุกโรค ความสำ�คัญน่าจะจากปากที่เรากินอะไร เป็นความสัมพันธ์เชิงลึก เราเป็นนักสุขภาพแต่เราไม่เคยมองเรื่องฟัน พอมีโครงการนี้เข้ามาเรามองว่าปัญหา สุขภาพช่องปากเป็นเรื่องสำ�คัญและส่งผลต่อสุขภาพอื่นๆ” “case น้อง(ชือ่ เด็กพิการ) กำ�แปรงสีฟนั ไม่ได้ เลยประสานกับนักกิจกรรม บำ�บัดที่ รพ. อุดร พอดีเป็นเขตเดียวกัน ส่ง case ไปให้เขาดูตอนไปประชุม หลังประชุม ลองเอาไปให้(เด็กพิการ)ใช้ เขาใช้ได้ดี เราก็เริ่มเห็นความเชื่อมโยงแล้ว โอเคมันน่าจะ ไปด้วยกันได้ อีกอย่างมีนโยบายการดูแลองค์รวม you are what you eat แต่ที่เขาจะกินน่ะ เขากินได้หรือไม่ เรื่องปริทันต์เรื่องสุขภาพช่องปากก็เข้ามาเกี่ยว อย่างคนไข้เคลื่อนไหวได้ดีขึ้น แต่ถ้ากินข้าวไม่ได้ ก็หมดแรงสุดท้ายก็ฝึกไม่ได้” “...ถ้านัดมารพ. มาเรือ่ งฟันอย่างเดียวจะไม่คอ่ ยมา แต่ถา้ มาเรือ่ งการฟืน้ ฟู กายภาพเขาเห็นความสำ�คัญ งานทันตะก็เพิ่มเติมเข้าไป ไปเกาะเขาแล้วผู้ปกครอง ชอบมาแล้วได้รับหลายอย่าง ฝึกไปยี่สิบคน มั่นใจว่าทำ�เองได้เพราะมาทุกเดือน... ถ้ามาเป็นกลุม่ เราฝึกคนหนึง่ ได้ อีกคนก็เออทำ�ได้ จะเกิดการเรียนรูด้ ว้ ย แล้วเราติดตาม ผลง่ายด้วย...” “ถ้ามีภาวะเจ็บป่วยร่วมด้วย น่าจะได้รบั การดูแลด้านนัน้ ๆ ก่อน ถ้ามีปญ ั หา เรือ่ งอืน่ โอกาสทีจ่ ะหันมาสนใจช่องปากค่อนข้างน้อย เพราะเขาวิตกกังวลกับด้านอืน่ อยู่


53

แต่ถา้ ได้รบั การจัดการพร้อมๆ กันจะทำ�ให้ประสิทธิภาพการดูแล ใส่ใจช่องปากดีขึ้น... จำ�เป็นไหม จำ�เป็นเพราะถ้าดูแลช่องปากไม่ดีก็จะเชื่อมโยงไประบบทางเดินอาหาร ความอยากกิ น ลดลง ถ้ า ดู แ ลช่ อ งปากได้ ด ี ก ็ เ อื ้ อ กั บ องค์ ป ระกอบอื ่ น ด้ ว ย เช่ น โภชนาการ”

“ทันตแพทย์ไม่ควรทำ�งานคนเดียวเพราะไม่เกิดประโยชน์ใด ๆ ขนาดทีม สาธารณสุขไปเดีย่ วๆ ยังไม่ควร ควรลงไปเป็นทีม ตอนนีม้ ี ODOP ทีท่ กุ ภาคส่วนต้อง ไปดูร่วมกัน DHS ต้องมีแผนงาน ทุกภาคส่วนหมายถึงเราต้องเป็นคนไปเกี่ยวเขาให้ มาได้จริงๆ หรือเขาทำ�อะไรเราก็ไปดู เขาต้องให้ stakeholder ไปหาข้อมูลร่วมกัน พอเห็นสภาพปัญหาร่วมกันก็มาช่วยกันคิดว่าที่นี้มีปัญหาเรื่องอะไร ก็เหมือนเป็น ยุทธศาสตร์”   การตั้งเป้าหมายบริการคนพิการ: บูรณาการหรือแยกส่วนช่องปาก แม้ “สหวิชาชีพและบูรณาการ” เป็นคำ�สำ�คัญในการดำ�เนินงานคนพิการดังกล่าวแล้ว แต่มเี พียงบางพืน้ ทีท่ มี่ เี ป้าหมายการดูแลคนพิการแบบองค์รวม โดยมีจ�ำ นวนคนพิการเป้าหมาย อยู่ระหว่าง 4-12 คน การตั้งเป้าหมายจำ�นวนน้อยนี้ เป็นเพราะมีเวลาดำ�เนินการที่จำ�กัด เพียงไม่กเี่ ดือน ขณะทีเ่ ป็นเรือ่ งใหม่ส�ำ หรับทันตแพทย์ เป็นการทำ�งานบูรณาการในรูปแบบใหม่ สำ�หรับสหวิชาชีพ (ร่วมออกแบบ วางแผน สร้างเครื่องมือ และติดตามความก้าวหน้า) นอกนั้น มุ่งการบริการเฉพาะในช่องปากมีเป้าหมายเป็นคนพิการในพื้นที่แต่ไม่ได้ระบุจำ�นวน ส่วนใหญ่ เป็นคนพิการทางการเคลื่อนไหวและกลุ่มติดเตียง “ตอนนัน้ มีผพู้ กิ ารอยู่ 170 กว่าคน แต่มเี วลาจำ�กัด เราจะทำ�ยังไงให้ทนั เวลา สุดท้ายก็มาคัดกรองความจำ�เป็น ความเป็นไปได้ และความสัมพันธ์กบั ญาติ คัดกรองมา 4 คน นัง่ คุยกันว่า 4 คนนีเ้ ราจะต้องทำ�อะไรยังไง มาช่วยกันวางแผนร่วมกัน นัดคุยกัน อยูห่ ลายครัง้ และรวมถึงเอกสารทีเ่ ราสามารถใช้รว่ มกัน ใช้โฟลเดอร์ ก็มาคิดตารางกัน ออกแบบฟอร์มด้วยกัน แล้วก็ลองใช้ด้วยกัน”


54

4.3 การสำ�รวจปัญหาสุขภาพช่องปากคนพิการ นับแต่เริม่ โครงการ ได้มกี ารกำ�หนดร่วมกันว่าให้ส�ำ รวจปัญหาสุขภาพช่องปากพร้อมไปกับ การเยี่ยมบ้านของสถานพยาบาล โดยทีมเยี่ยมบ้านหรือคณะกรรมการพัฒนาระบบการดูแล ต่อเนื่อง (Continuity of Care: COC) ซึ่งมีข้อมูลและที่อยู่ของคนพิการอยู่บ้างแล้ว และ ถือเป็นการเปิดตัวให้บุคลากรอื่นรับรู้ว่าทันตบุคลากรเริ่มเข้ามามีส่วนร่วมในการดูแลคนพิการ นอกจากนี้ยังเป็นโอกาสที่ทันตบุคลากรกับคนพิการหรือญาติได้ทำ�ความรู้จักกัน ข้อมูลที่ได้ จากการสำ�รวจนี้ (ข้อมูลทั่วไป สภาวะสุขภาพช่องปาก และสภาพปัญหา) ใช้จัดทำ�ทะเบียน คนพิการด้านสุขภาพช่องปากและวางแผนการจัดบริการ บางพืน้ ทีม่ กี ารประเมินสภาพคนพิการ และสอบถามความต้องการของคนพิการเพิม่ ด้วย เพือ่ ช่วยให้การวางแผนเหมาะสมกับคนพิการ มากขึ้น

“จริงๆ ทันตแพทย์ไม่ได้อยู่ในทีมนี้เลย ทุกครั้งที่ไปเป็นพยาบาลกับนัก วิชาการไป ซึ่งมองว่าน้องทันตาใน รพ.สต. ได้ไปร่วมทีมแล้วเขาจะมีความรู้ แล้วเขา ต้องมีทมี ด้วยเพราะกลุม่ นีเ้ ป็นกลุม่ ทีท่ �ำ มาก่อน เราไม่ตอ้ งไปเปิดโลกคนเดียวสามารถ ไปกับทีม ...ถ้ามีขอ้ มูลพืน้ ฐานทีน่ า่ เชือ่ ถือ สามารถต่อยอดไปส่วนอืน่ ๆ ได้อกี แต่ขอ้ มูล ตรงนี้ไม่ได้ทำ�ง่ายๆ”

“ผลพลอยได้ที่เราออกไปทำ�งานคนพิการในพื้นที่คือ วิชาชีพอื่นรู้ว่าเรา สามารถทำ�ได้ บางทีไม่ใช่ case ในโครงการทีท่ �ำ เขาก็ consult เรามา เขาเริม่ เข้าใจ ว่าอะไรบ้างที่ต้อง consult บางทีเขาไม่แน่ใจว่าต้องรอหมอเฉพาะทาง ต้องส่งไป รพท. หรือเปล่า consult เราหมด เราก็ได้เห็นคนไข้เยอะขึ้น” ผูส้ �ำ รวจอาจเป็นทันตาภิบาล เจ้าหน้าทีส่ าธารณสุขหรือพยาบาลทีร่ บั ผิดชอบงานคนพิการ ของรพ.สต. หรืออาสาสมัครสาธารณสุขประจำ�หมู่บ้าน (อสม.) เนื่องจากมีทันตาภิบาลไม่ครบ ทุกรพ.สต. แม้ในทีท่ มี่ ที นั ตาภิบาลประจำ�ก็ไม่อาจสำ�รวจโดยลำ�พังได้หากมีคนพิการจำ�นวนมาก ส่วนพื้นที่ดำ�เนินการในความรับผิดชอบของ ศสม. อาจมีทันตแพทย์ใน รพ. เป็นผู้นำ�ทีมสำ�รวจ กรณีให้ อสม. หรือบุคลากรอืน่ ช่วยสำ�รวจ ทันตแพทย์ รพ. หัวหน้าโครงการจะจัดประชุมเตรียม ความพร้อมในการประเมินสภาพปัญหาในช่องปากและการดูแลสุขภาพช่องปากเบือ้ งต้น แม้วา่ ข้อมูลที่ได้ไม่ละเอียดเท่ากับทันตบุคลากรตรวจ แต่มีความครอบคลุมและทราบข้อจำ�กัด ด้านสุขภาพทั่วไปของคนพิการได้ดี ในทางปฏิบัติไม่สามารถสำ�รวจได้ครบถ้วนเพราะไม่พบ ตัวคนพิการ และมีอุปสรรคในการสื่อสารกับคนพิการบางคนบางประเภท


55

“ถ้าทันตแพทย์สามารถลงไปสำ�รวจด้วยตัวเองหรือร่วมกับทันตาภิบาล จะเอือ้ ให้ท�ำ งานได้งา่ ยขึน้ กว่าทันตาภิบาลหรือ อสม. ไปตามลำ�พัง ทันตแพทย์มกั ได้รบั ความเชือ่ ถือเกรงใจจากคนอืน่ ๆ สามารถรับรูป้ ญ ั หาอุปสรรคในการทำ�งานได้ดว้ ยตัวเอง และเสริมสร้างกำ�ลังใจให้แก่ทันตาภิบาลในการทำ�งานอีกด้วย” “ทีไ่ ปแล้วตรวจไม่ครบ หนึง่ เขามีทะเบียนแต่ตวั ไปอยูก่ บั ญาติทอี่ นื่ อีกกลุม่ คือเขาไปไหนมาไหนเองได้เราก็ไม่เจอ ถ้าเป็นกลุ่มจิตเวชเราได้แค่ดู ถ้ามีญาติดูแล ที่เราเข้าถึงได้เราก็เข้าไป บางรายรักษาต่อเนื่อง ขาดยา มีหลายแบบ บางรายเจอตัว แต่ตรวจเขาไม่ได้ เขาไม่ยอม ที่ไม่พูดด้วยเดินหนีก็มี” เครื่องมือสำ�รวจปัญหาสุขภาพช่องปากคนพิการมี 2 ส่วน คือ แบบประเมินสุขภาพ ช่องปากและแบบประเมินการทำ�งาน ความพิการ และสุขภาพ (International Classification of Functioning, Disability and Health: ICF) สำ�หรับแบบประเมินสุขภาพช่องปาก ความละเอียด และวิธีการตรวจและบันทึกขึ้นกับการออกแบบให้ใครเป็นผู้ตรวจ เนื่องจาก ทันตแพทย์คนุ้ เคยกับข้อมูลละเอียด เครือ่ งมือทีต่ รวจโดยทันตบุคลากรจึงเป็นแบบตรวจทีป่ รับ จากการสำ�รวจสภาวะสุขภาพช่องปากขององค์การอนามัยโลก ซึ่งมีรายละเอียดด้านสถานะ สุขภาพฟันและเหงือก และความจำ�เป็นด้านบริการ (treatment needs) ซึ่งเป็นมุมมอง ของทันตบุคลากร (professional need) อยูใ่ นรูปแบบกระดาษเนือ่ งจากไม่สามารถบันทึก ในโปรแกรม JHCIS ของ รพ.สต. ได้ กรณีให้ อสม. หรือบุคลากรอืน่ สำ�รวจเป็นเพียงการคัดกรอง ซึ่งไม่ละเอียดเท่าการตรวจ เครื่องมือจึงเป็นแบบสอบถามความจำ�เป็นด้านบริการทันตกรรม และแนะนำ�หรือส่งต่อไป รพ.สต. หรือ รพ. ความจำ�เป็นในมุมมองของบุคลากรย่อมไม่ตรงกับ มุมมองของผูป้ ว่ ย (patient’s need) ในบางพืน้ ทีจ่ งึ เพิม่ คำ�ถามในตอนท้ายของแบบสอบถามว่า คนพิการต้องการบริการทันตกรรมไหม การระบุความจำ�เป็นต้องพบทันตแพทย์อาจแสดง ด้วยสัญญลักษณ์ดาวและระดับสีแดง เหลือง และเขียว “ตอนแรกดัดแปลงแบบสำ�รวจทีใ่ ช้ในไต้หวัน…. โชคดีที่ อบจ. เป็นเจ้าภาพ ทำ� ICF เราเลยสำ�รวจนำ�ร่องแค่รายหนักๆ ไม่ได้ทำ�ทุกตำ�บลทุกพื้นที่ กลัวซำ�้ ซ้อน กับทีจ่ ะเริม่ เก็บใหม่ ยังไงเขาก็จะทำ�ใหม่อยูแ่ ล้ว แต่ของช่องปากออกแบบเอง... มีขอ้ จำ�กัดในการรักษา 2 แบบคือ เขายังไม่ต้องการทั้งที่เราตรวจแล้วว่าเจอปัญหาอะไร และเขามองเห็นว่าเป็นปัญหาไหม ทำ�ไม่ได้เยอะเพราะว่าส่วนมากไม่อยากทำ� ถึงแม้ เขามาไม่ได้ เราหารถให้ ของ รพ.สต. หรือติดต่อเทศบาล อบต. ก็ไม่อยากมา”


56

“...ตอนแรกใช้ฟอร์มทีส่ ร้างขึน้ เอง ตรวจนับฟันว่าผุเท่าไหร่... ทำ�ฟอร์มมามี หลายระดับ แยกเป็นพิการประเภทไหน เมื่อก่อนไม่ละเอียดขนาดนี้... เดิมพอตรวจ เสร็จเข้าไปลงในโปรแกรม JHCIS จะได้อ้างอิงว่าเขามีอะไร อยากได้อะไรบ้าง อันนี้ เป็นอีกฟอร์มหนึง่ ซึง่ ไม่เกีย่ วกับโปรแกรม JHCIS เป็นกระดาษมีรายละเอียด 50-100 แผ่น ตามจำ�นวนคนพิการ”

“หมอ (ชือ่ ทันตแพทย์) ได้ออกแบบการตรวจช่องปากง่ายๆ ให้ รพ.สต. ตรวจ ถ้าพบว่ามีปญ ั หาต้องดูแล ส่งต่อให้หมอ หมอได้ case แล้วลงเยีย่ มบ้าน… การออกแบบ การคัดกรองช่องปากเบือ้ งต้นของหมอเค้าเป็นสิง่ สำ�คัญสามารถนำ�เอาไปใช้ได้ โดยทัว่ ไป มีทันตาก็จริง แต่หนึ่งคนใน รพ.สต. ต้องดูแลทั้งตำ�บล หลายหมู่บ้าน อาจจะไม่ ครอบคลุม แต่ถา้ มีแบบประเมินช่องปากให้นกั สุขภาพครอบครัว พยาบาล หรือวิชาชีพ อื่นใน รพ.สต. เขาน่าจะคัดกรองให้เราได้เบื้องต้น” ด้าน ICF ซึ่งเป็นระบบสากลที่จำ�แนกสภาวะการทำ�งาน ความพิการ และสุขภาพ ของคนพิการนั้นเป็นเรื่องใหม่สำ�หรับทันตบุคลากร แม้ในจังหวัดที่เคยใช้ ICF มาแล้วแต่ทันตบุคลากรเพิง่ รับทราบจากโครงการนี้ ข้อมูลจากการสำ�รวจด้วย ICF ทีผ่ า่ นมามีปญ ั หาความถูกต้อง และการจัดการข้อมูลจึงมีข้อจำ�กัดหากนำ�มาใช้ในการจัดบริการ เมื่อเทียบกับทรัพยากร และเวลาในการสำ�รวจ สหวิชาชีพใน รพ. บางแห่งจึงไม่ใช้ ICF แม้ สปสช. มีการส่งเสริมอย่าง ต่อเนื่อง “ข้อมูล ICF ล่มไปก็เริ่มเก็บกันใหม่ เมื่อปีสองปีที่แล้ว ตอนที่ดึงข้อมูล ICF พิการด้านกายมีประมาณเก้าร้อยกว่าคน เราไปสำ�รวจกับรพ.สต. แยกทีพ่ กิ ารจริงว่ามี เท่าไหร่ ไปเจอบางคนมีข้อมูลว่าเป็นโรคข้ออักเสบแต่ความจริงโดนตัดขา เราเลยคีย์ ข้อมูลไปว่าข้อมูล ICF อันเก่ามันไม่ตรง สืบไปสืบมาก็เป็นว่ามี อสม. ช่วยตอนสำ�รวจใหม่ๆ อสม. ยังไม่เชี่ยวชาญมาก” 4.4 รูปแบบการจัดบริการสุขภาพช่องปาก ยุทธศาสตร์หลักในการดูแลสุขภาพช่องปากคนพิการ คือ เน้นการค้นหาคนพิการและ ส่งเสริมสนับสนุนให้คนพิการหรือผูด้ แู ลสามารถดูแลสุขภาพช่องปากได้ และเน้นบริการปฐมภูมิ เช่นเดียวกับในคนปกติดว้ ยหลักการหมอครอบครัวและการดูแลอย่างต่อเนือ่ ง เช่นเดียวกับการ ดูแลกลุม่ สูงอายุในภาวะพึง่ พิง รูปแบบการจัดบริการมีองค์ประกอบ คือ สถานทีบ่ ริการ ประเภท


57

บริการ ผูใ้ ห้บริการ และการส่งต่อผูป้ ว่ ย โดย สถานที่ ประเภท และผูใ้ ห้บริการ มีความเชือ่ มโยง สัมพันธ์กัน สถานที่จัดบริการสุขภาพช่องปากคนพิการ ในทั้ง 2 ชุดโครงการนี้มี 3 แบบ คือ 1) บริการในชุมชนโดยเจ้าหน้าที่ รพ.สต. ศสม. หรือ รพ. ขึน้ กับว่าเป็นพืน้ ทีร่ บั ผิดชอบของหน่วยงานใด 2) ใน ศสม. ของ รพ. และ รพ.สต. 3) เฉพาะใน รพ. ประเภทบริการ ประกอบด้วย การเยีย่ มบ้านเพือ่ ให้เกิดการดูแลอย่างต่อเนือ่ ง (ได้แก่ แนะนำ�การดูแลช่องปาก ฝึกทักษะการทำ�ความสะอาดช่องปากแก่คนพิการหรือผู้ดูแล และ ตรวจช่องปาก) การป้องกันโรคในช่องปาก (ได้แก่ ขัดทำ�ความสะอาดฟัน ทาฟลูออไรด์วาร์นิช) และการรักษาทันตกรรมพื้นฐาน (ได้แก่ ขูดหินนำ�้ ลาย ถอนฟัน อุดฟัน) ผู้ให้บริการที่ใกล้ชิดคนพิการในชุมชนมากที่สุด คือ ทันตาภิบาล แต่มีข้อจำ�กัด ด้านจำ�นวน (มีเพียงคนเดียวต่อหนึ่งตำ�บลและในบางอำ�เภอต้องออกทำ�งานชุมชนในพื้นที่ รพ.สต. ที่ไม่มีทันตาภิบาลด้วย) และยังมีปัญหาศักยภาพในการบริการคนพิการทั้งวัยเด็กและ ผูใ้ หญ่ ด้วยสภาพทางกายของคนพิการและอาจมีโรคทางระบบทีเ่ ป็นความเสีย่ งทำ�ให้ตอ้ งมีการเต รียมการก่อนบริการและบริการได้ยากกว่าคนปกติ 4.4.1 การจัดบริการสุขภาพช่องปากในชุมชน ได้แก่ การบริการที่บ้าน คนพิการ (home care) และโรงเรียนการศึกษาพิเศษ 1) การบริการที่บ้านคนพิการ ความพิการอาจก่อให้เกิดอุปสรรคด้านกายภาพและหรือจิตใจในการเดิน ทางออกมาสู่สังคมรวมรวมทั้งมารับบริการ การบริการที่บ้านจึงเป็นมาตรการหลักในการเพิ่ม การเข้าถึงบริการของคนพิการ การบริการสุขภาพช่องปากทีบ่ า้ นมี 2 ประเภท คือ การเยีย่ มบ้าน และการรักษาที่บ้าน

• การเยี่ยมบ้าน ทีมเยี่ยมบ้านมีทั้งทีมเฉพาะทันตบุคลากร ทันตบุคลากรร่วมกับ สหวิชาชีพ เฉพาะสหวิชาชีพ หรือเฉพาะ อสม. ขึน้ กับศักยภาพและการบริหารจัดการ ของทันตบุคลากร ความสัมพันธ์ระหว่างทันตบุคลากรกับวิชาชีพอื่น และศักยภาพ ของบุคลากร ประเภทของทีมเยีย่ มบ้านนีม้ ผี ลโดยตรงต่อความเข้มข้นของเนือ้ หาและ การบริการในการเยีย่ มบ้าน ทันตแพทย์บางคนเห็นว่า ถ้าไปพร้อมกันหลายวิชาชีพแต่ละ คนจะให้ค�ำ แนะนำ�ในเรือ่ งของตัวเอง ทำ�ให้มีข้อมูลมากจนคนไข้อาจรับไม่ไหว แต่ทีม สหวิชาชีพก็มีประสบการณ์ติดต่อสื่อสารกับคนพิการ ดีกว่าทันตบุคลากรซึ่งออก


58

เยีย่ มบ้านในพืน้ ทีร่ บั ผิดชอบของ ศสม. โดยเน้นการให้ทนั ตสุขศึกษาและการแนะนำ� รายบุคคล ใน CUP ที่ทันตบุคลากรไม่ได้ออกเยี่ยมบ้าน ทันตแพทย์จะแทรกเนื้อหา ด้านสุขภาพช่องปากในการอบรมทีมสหวิชาชีพที่จัดโดยคณะกรรมการพัฒนาระบบ การดูแลต่อเนื่อง เพื่อให้ได้บูรณาการเนื้อหาการเยี่ยมบ้านเรื่องการทำ�ความสะอาด ช่องปากและกิจกรรมประจำ�วันเข้าด้วยกัน เช่น อาบนำ�้ แปรงฟัน รับประทานอาหาร ซึง่ เพิม่ ความมัน่ ใจในการแนะนำ�คนพิการและผูด้ แู ล เพราะรูว้ ธิ กี ารกระตุน้ กล้ามเนือ้ มือ ของคนพิการและการจัดท่าทางให้แปรงฟันได้โดยไม่สำ�ลัก แต่ก็ยังมีข้อจำ�กัดด้าน การวินิจฉัยโรคในช่องปาก ดังนั้นในรายที่จำ�เป็นก็จะส่งต่อข้อมูลให้ทันตบุคลากร ลงเยี่ยมอีกครั้ง


59

นอกจากตัวคนพิการเองแล้ว บุคคลทีม่ คี วามสำ�คัญต่อสุขภาพช่องปากของ คนพิการอย่างมากคือ ผู้ดูแล (caregiver) ในการเยี่ยมบ้านจึงควรต้องให้ความสำ�คัญ ทั้งต่อ คนพิการและผูด้ แู ล มีการจัดอบรมเพือ่ ส่งเสริมศักยภาพผูด้ แู ลในการดูแลคนพิการเพือ่ ป้องกันโรค หรือพามารับการรักษาตั้งแต่ระยะเริ่มต้น บาง CUP จัดอบรมผู้ดูแลและ อสม. เป็นเวลา 1 วัน อสม. มีบทบาทในการเยีย่ มคนพิการทีบ่ า้ นเพือ่ แนะนำ�เฉพาะบุคคลเนือ่ งจากแต่ละคนมีขอ้ จำ�กัด ต่างกันในการดูแลช่องปากขึ้นกับประเภทความพิการและความรุนแรง “เราต้องมาแชร์ขอ้ มูลกันเพราะบางคนเราเข้าไม่ถงึ เลย ทีเ่ ข้าถึงเป็นนักกายภาพ แล้วพยาบาลเค้ารู้วิธีว่าคนนี้ต้องเข้าหาอย่างไร รู้ว่าเค้ามีญาติพี่น้องอย่างนั้นอย่างนี้ บางคนไม่ให้ใครถูกตัวนอกจากกายภาพบำ�บัด บางทีก็ฝากให้กายภาพพูดเรือ่ งฟัน ให้ด้วย” “ข้อดีของการเยีย่ มบ้านเราได้เห็นบริบททุกอย่าง เราเข้าใจเขามากขึน้ เข้าใจว่า สิง่ ทีร่ บกวนสุขภาพของแต่ละบุคคลมีอะไรบ้าง แต่ปริมาณงานทีท่ �ำ ได้ตรงนีค้ อ่ นข้างน้อย วันหนึ่งลงไปเช้าสามบ่ายสามก็เริ่มเหนื่อยแล้ว บางบ้านเข้าไปเขาต้องการระบายเรา ต้องให้เวลาเขา” “คนเยี่ยมบ้านคนพิการหลักคือผู้ดูแลที่อยู่ในพื้นที่ อาจเป็นผู้ช่วยแพทย์ แผนไทย นักสุขภาพครอบครัว นักวิชาการ ในภาพ รพ.สต. ส่วนภาพอำ�เภอคือ COC ร่วมกับนักกายภาพ เราลงไปดูเฉพาะรายมีปัญหา ดูทั้งอำ�เภอแต่ไม่ครบทุกราย น้อง รพ.สต. ส่ง case ที่ต้องดูแลเพิ่มเติมมาที่เรา เขาจะครอบคลุมกว่าเรา… สิ่งที่เกิดขึ้น ในอำ�เภอเรา คือทันตแพทย์สอนทีม COC ถ้าไม่รวม รพ. และ รพ.สต. ถ้าดูแลช่องปาก เองไม่ได้ หมอต้องสอนวิธีแปรงฟันถูกวิธีให้ทีม COC ถามทุก รพ.สต. เป็นข้อดีตรงนี้ ทันตแพทย์ที่ไม่เคยเจอคนพิการที่มือไม่มีแรง เขาก็ไม่รู้วิธีกระตุ้น โอเคคนปกติ เขาแนะนำ�ได้....” “เราออกเยี่ยมบ้านไปคัดกรองช่องปากเบื้องต้นก่อน แต่ยังไม่ได้ทำ�เพราะ ไม่มี license กรณีถอนฟันทีบ่ า้ นก็ขอทันตแพทย์ไปทำ� สอนแปรงฟันเราสอนอยูแ่ ล้ว ถ้าเป็นเด็กที่ control ไม่ได้หมอจะไปช่วย เวลาที่มีปัญหานึกถึงทันตแพทย์เป็น คนแรกที่อยากปรึกษา”


60

“(ชื่อทันตาภิบาล) พาไปดูคนไข้ที่บ้าน อยากให้เสริมในเรื่องการรักษา ขัดแย้งนิดหนึง่ ไม่อยากทำ�ทีบ่ า้ น อยากให้มาทีอ่ นามัย เก้าอีท้ นั ตกรรมทีอ่ นามัยติดตัง้ ได้สองอาทิตย์ อยูช่ น้ั หนึง่ เขาต่อห้องใหม่เพราะอยากให้ทนั ตกรรมเป็นส่วนแยกต่างหาก”

• การรักษาที่บ้าน เป็นบริการเฉพาะกรณีพิเศษสำ�หรับคนพิการติดเตียง แต่ต้องเป็น บริการที่ไม่ซับซ้อนและความเสี่ยงตำ่� เช่น ถอนฟัน ขูดหินนำ�้ ลาย หรือใส่ฟันเทียม สำ�คัญที่สุด คือ ต้องคำ�นึงถึงความพร้อมของคนพิการ

“มีตดิ เตียงเราต้องไปทำ�ให้ทบ่ี า้ น เคยไปขูดหินปูนอุดฟัน ขนเครือ่ งมือกันไป ทางเข้าบ้านรถยนต์เข้าไม่ได้ มอเตอร์ไซด์เข้าได้อย่างเดียว การออกหน่วยไม่ใช่ปญ ั หา ของเรา ปัญหาเขาไม่พร้อมทีจ่ ะทำ�มากกว่า ...บริการของเรามีสง่ เสริมป้องกันไปจนถึง รักษา มีไปใส่ฟนั ..... น้องทันตาทีด่ พู น้ื ทีอ่ น่ื เขาสามารถส่ง case มาได้ COC สหวิชาชีพ ก็สง่ case มา เขาจะทราบว่าหมอจะออกมาให้บริการที่ รพ.สต.วันไหน line บอกกัน” 2) การบริการที่โรงเรียนเด็กพิเศษ การบริการในโรงเรียนเด็กพิเศษนั้นไม่แตกต่างจากในโรงเรียนทั่วไป คือ ตรวจฟัน สอนทันตสุขศึกษา และแจ้งให้ผู้ปกครองพาเด็กมารับบริการที่ รพ. หรือ รพ.สต. ซึง่ ผูป้ กครองไม่คอ่ ยพามารักษา ในส่วนของทันตสุขศึกษาเน้นฝึกการแปรงฟันซึง่ มีความยากกว่า เด็กปกติ


61

“ทีผ่ า่ นมาเรายกเว้นโรงเรียนเด็กพิเศษ หนึง่ เข้าไม่ถงึ สองเป็นโรงเรียนขนาด ใหญ่ทม่ี คี วามกังวลว่าทำ�ได้ไงในเด็กกลุม่ นี.้ .. กว่าจะคุน้ เคยกันใช้เวลานานมาก... จะสอน แปรงฟันยังไงกับเด็กกลุ่มนี้ สอนผู้ดูแลว่ายังไงให้เด็กจับแปรงได้ บางคนไม่สามารถ ขยับได้ พอปี 57 เราเชิญนักกิจกรรมบำ�บัดและนักกายภาพบำ�บัดจากสถาบันราชานุกลู มาสอนเทคนิคเบื้องต้น การใช้มือ การจัดการ การทำ�กายภาพบำ�บัดให้เด็กสามารถ จับแปรงได้ ให้น้องทันตากับบุคลากรทางการแพทย์ได้เข้าใจว่าสอนสุขศึกษาอย่าง เดียวไม่พอ ก็ตอ้ งดูกายภาพเบือ้ งต้นว่าเขาจับแปรงได้ไหม หรือต้องเพิม่ ขนาดแปรง” 4.4.2 การจัดบริการสุขภาพช่องปากใน ศสม. และ รพ.สต. ้ และ รพ.สต. ผู้ให้บริการหลักคือ ทันตาภิบาลประจำ� ศสม. และ ใน ศสม. รพ.สต.นัน้ หรือในหน่วยบริการทีใ่ กล้เคียง และมีระบบนัดหมายให้ทนั ตแพทย์ออกมาให้บริการ ที่ รพ.สต. เมื่อเกินความสามารถของทันตาภิบาล บางจังหวัดมีระบบดูแลพื้นที่จากอำ�เภอ สูต่ �ำ บลและหมูบ่ า้ น โดยกำ�หนดให้ทนั ตแพทย์ใน รพ. แต่ละคนดูแลรับผิดชอบ รพ.สต. และเป็น ทีป่ รึกษาของทันตาภิบาล สำ�หรับทันตาภิบาล รพ.สต. รับผิดชอบพืน้ ทีใ่ นตำ�บลและเป็นทีป่ รึกษา งานสุขภาพช่องปากของ อสม. เมือ่ มีผปู้ ว่ ยต้องการบริการทันตกรรมจากการเยีย่ มบ้านหรือส่งต่อมา มีการแจ้งผ่านการประชุมสหวิชาชีพประจำ�เดือนหรือทางเครือข่ายสังคมออนไลน์เพื่อนัดวัน บริการที่ รพ.สต. ส่วนผูใ้ ห้บริการอาจเป็นทันตาภิบาล หรือทันตแพทย์ขนึ้ กับความซับซ้อนหรือ ความเสี่ยงในการบริการ ความพิการที่ทำ�ให้มีปัญหาการสื่อสารและการทำ�งานของกล้ามเนื้อ ก็เป็นอุปสรรคต่อการบริการโดยตรงด้วย “จากที่เราให้ทำ�แบบสอบถาม จริงแล้วคนพิการมีปัญหาสุขภาพช่องปาก ไม่แตกต่างจากคนทั่วไปมากนัก พื้นที่ที่มีฐานะทำ�ไร่อ้อยมีรถ กลุ่มนี้สามารถมารพ. ได้มปี ระสบการณ์ในการมาทำ�ฟันที่ รพ.สต. กลุม่ ทีม่ าไม่ได้จริงๆ ประมาณ 5% ของทัง้ หมด ทีต่ อ้ งตรวจและเยีย่ มบ้าน คนติดเตียงทีเ่ ราลงไปดู ญาติเขามีศกั ยภาพทีพ่ ามาอนามัย ได้ทำ�เตียงทำ�อะไรให้มาได้”   4.4.3 การจัดบริการสุขภาพช่องปากเฉพาะในโรงพยาบาล การจัดบริการเฉพาะใน รพ. มี 2 แบบ คือ 1) ร่วมในคลินิกพัฒนาการ เด็กพิเศษ (พิการทางสติปัญญาและการเรียนรู้) ซึ่งรับเด็กจากอำ�เภออื่นด้วย กลุ่มงานกายภาพ จัดกลุ่มกิจกรรมบำ�บัดสำ�หรับเด็กและผู้ปกครองทุกเดือน ทันตแพทย์ได้เข้าร่วมจัดกิจกรรม กลุ่มดังกล่าวโดยใช้งบประมาณโครงการสนับสนุนค่าเดินทางและขนม กิจกรรมประกอบด้วย


62

การฝึกเด็กแปรงฟันซึ่งเป็นการกระตุ้นกล้ามเนื้อมือด้วย ฝึกผู้ปกครองแปรงฟันกรณีเด็กแปรง เองไม่ได้ ตรวจสุขภาพช่องปาก และบริการทันตกรรมในรายทีจ่ �ำ เป็นและผูป้ กครองต้องการ 2) ร่วมในคลินกิ เด็กดี (Well Child Clinic) โดยตรวจสุขภาพช่องปากเด็กและแนะนำ�ผูป้ กครอง ดูแลสุขภาพช่องปากเด็ก ส่วนการอบรม อสม. เพื่อให้ อสม. เยี่ยมบ้านและให้สุขศึกษาแก่ ผูป้ กครองหรือผูด้ แู ลเด็กทีบ่ า้ นนัน้ มีขอ้ จำ�กัดจากภาระงานของ อสม. ทัง้ นี้ ทันตแพทย์ทปี่ ฏิบตั ิ งานในรูปแบบที่สองผ่านการอบรมจากสถาบันราชานุกูลด้วยงบประมาณโครงการของ สสจ. (นอกชุดโครงการนี้) ส่วนทันตแพทย์ในรูปแบบแรกไม่ได้ผ่านการอบรมจากสถาบันราชานุกูล แต่จบหลักสูตรปริญญาโทสาขาเด็กจึงมีความมั่นใจในการทำ�กิจกรรม

“ปรึกษาน้องกายภาพว่ากลุม่ ไหนน่าจะเข้าไปทำ�ได้ เค้าบอกว่าทุกวันทีส่ อง ของเดือนมีเด็กพิการมารวมกันทำ�กายภาพบำ�บัด เป็นจุดที่ดีมาก เราเข้าไปแล้วได้ ทั้งกลุ่ม เพราะข้อมูลเด็กกลุ่มนี้ถึงแม้จะมา รพ. ทุกเดือนแต่เรื่องฟันไม่เคยคิดเลย แรกๆ เจอฟันนำ�นมผุทง้ั ปากยีส่ บิ ซี่ คุณแม่ไม่กล้าแปรง ลูกเจ็ดขวบยังไม่เคยแปรงเลย ตัง้ แต่เกิดไม่รจู้ ะแปรงยังไง พอเข้าไปทำ�ฝึกให้เขาทำ�ครัง้ แรก ครัง้ ทีส่ องลองไปเช็คให้ท�ำ hands on คุณแม่ทำ�ได้ เขาเพิ่งรู้ว่ามันไม่ยาก แต่ก่อนเขาไม่เคยรู้ว่าต้องทำ�ยังไง งั้นโอเคเราทำ�กลุ่มเด็กก่อน”

“ทุกเดือน ทันตแพทย์มาตรวจด้วย ถ้ามาทำ�กายภาพยังกลับบ้านไม่ได้ ต้อง ตรวจฟันก่อน ถึงรับตังค์ รับขนมกลับบ้าน กลายเป็นเด็ก 100% ทีม่ าได้รบั การตรวจ สุขภาพช่องปาก เด็กบางคนไม่เคยแปรง พอทำ�จริงๆ ได้ ก็น่าดีใจกับเขาว่าเราให้ ความสำ�คัญกับเขา เมื่อก่อนมีติดเชื้อบ้าง ญาติก็ดูแลตามที่มี แต่พอมาดูแลช่องปาก ก็โอเคขึ้น” “ทีผ่ า่ นมาเป็นการให้ความรูเ้ รือ่ งการดูแลแก่ อสม. ยังขาดการลงไปเยีย่ มบ้าน ที่ต้องเข้มข้นมากขึ้น คิดว่าไม่เป็นงานใหม่ของ อสม. ก่อนหน้านี้เขาไม่มีบทบาท ชัดเจน.... เห็นใจเขา หลายงานไปลงทีเ่ ขา….. คลินกิ เด็กดีมที ง้ั เด็กดีเด็กพิเศษ มีแนวทาง การคัดกรองของคลินกิ สุขภาพจิต รวมทัง้ พัฒนาการสติปญ ั ญาหรือทุกประเภท เรามี นักจิตวิทยาคลินกิ ไม่วา่ เด็กพิการประเภทไหนต้องผ่านคลินกิ สุขภาพจิต...... ใจอย่างเดียว ไม่พอศักยภาพต้องมีดว้ ย ถ้าเกิดปัญหายิง่ ทำ�ให้ตกใจ ตอนนัน้ ยังไม่มที นั ตแพทย์เด็ก”


63

“ทีผ่ า่ นมาไม่มผี ปู้ กครองบ่นเรือ่ งสุขภาพช่องปาก ถ้าเด็กป่วยจะมีบา้ ง ในเชิง ป้องกันเราอาจจะละเลยไปบ้าง ด้านการรักษาผูป้ กครองพาไปเองเลย เท่าทีด่ เู รือ่ งฟัน เป็นเรือ่ งรอง อันนีข้ น้ึ อยูก่ บั ความใส่ใจของบุคลากรด้วยเหมือนกัน ถ้าคนไหนใส่ใจมาก ดูเรื่ององค์รวมเขาก็เพิ่มเรื่องสุขภาพช่องปากให้กับผู้ปกครองและเด็กไปด้วย” ในระบบบริการปกติ รพช. มีชอ่ งทางพิเศษสำ�หรับกลุม่ ผูส้ งู อายุและคนพิการอยูก่ อ่ นแล้ว แต่ความพิการบางประเภทไม่สามารถเห็นได้ทางกายภาพเช่น บกพร่องทางการได้ยิน ทางจิต หากไม่แสดงตนด้วยบัตรคนพิการหรือแจ้งด้วยวาจา ผู้บริการจะไม่ทราบว่าเป็นคนพิการ “มีระบบคิวพิเศษอยู่แล้ว แต่ก็ต้องแสดงตนให้เราทราบด้วย บางทีเค้าก็ ไม่ได้แสดงตนต้องประชาสัม้ พันธ์ให้แสดงตน” 4.5 เครื่องมือเยี่ยมบ้านคนพิการด้านสุขภาพช่องปาก เครือ่ งมือเยีย่ มบ้านคนพิการ แต่ละ CUP จะพัฒนาขึน้ เป็นการเฉพาะ ขึน้ กับลักษณะ การดูแลคนพิการว่าจะแยกเฉพาะด้านสุขภาพช่องปากหรือบูรณาการกับทีมหมอครอบครัว สหวิชาชีพ และต้องการให้ใครได้ใช้เครื่องมือนี้บ้าง โดยมักรวมอยู่กับเครื่องมือสำ�รวจปัญหา จึงสามารถใช้ตดิ ตามการดูแลคนพิการได้ ว่ามีอะไรบ้าง ต่อเนือ่ งหรือไม่ แก้ปญ ั หาอะไรไปได้บา้ ง และยังเหลือปัญหาสำ�คัญอะไรบ้าง


64

ด้านการดูแลสุขภาพช่องปาก โดยทัว่ ไปทันตแทพย์ออกแบบให้ อสม. หรือเจ้าหน้าที่ สาธารณสุขชุมชน เป็นผูเ้ ยีย่ มบ้าน ส่วนทันตาภิบาล รพ.สต. ลงเยีย่ มบ้านรายทีม่ ปี ญ ั หาเร่งด่วน หรือรุนแรง หากจัดการไม่ได้กส็ ง่ ต่อทันตแพทย์ การบันทึกข้อมูลเน้นปัญหาจากมุมมองของคนพิการ หรือญาติ ไม่ใช่แค่การวินิจฉัยโรค หากออกแบบโครงการให้ทันตาภิบาลเป็นคนเยี่ยมบ้าน แบบบันทึกข้อมูลจะมีรายละเอียดมากขึ้น กรณีตอ้ งการให้คนพิการหรือญาติมโี อกาสอ่านและรับทราบข้อมูลด้วย เครือ่ งมือเยีย่ มบ้าน มักอยู่ในรูปสมุดประจำ�ตัวคนพิการและเก็บไว้ที่บ้านคนพิการ โดยเพิ่มเนื้อหาเรื่องวิธีและ อุปกรณ์ในการดูแลช่องปาก เมื่อเจ้าหน้าที่มาเยี่ยมก็บันทึกข้อมูลลงไป หากเจ้าหน้าที่สังกัดอื่น มาเยีย่ มก็สามารถดูขอ้ มูลเหล่านีไ้ ด้ ปัญหาทีพ่ บ คือ คนพิการและญาติไม่เข้าใจข้อความทีเ่ ขียนไว้ เพราะใช้ศพั ท์ทางการแพทย์และสาธารณสุข และมีปญ ั หาการเก็บดูแลสมุดนีเ้ ช่น เปียกนำ�้ ฉีกขาด และสูญหาย ส่วนการเก็บไว้ทส่ี ถานพยาบาล เช่น รพ.สต. ศสม. หรือ รพ. (งานเวชศาสตร์ครอบครัว และชุมชน) ทีมสหวิชาชีพสามารถเข้าถึงและเชือ่ มโยงข้อมูล ทำ�ให้วเิ คราะห์ปญ ั หาและวางแผน บริการต่อเนื่องร่วมกันได้ เมื่อวิชาชีพหนึ่งออกเยี่ยมคนพิการรายหนึ่งแล้วพบว่ามีความจำ�เป็น ในด้านใดหรือต้องส่งต่อบริการสาขาไหนก็บันทึกไว้ เมื่อวิชาชีพสาขานั้นมาอ่านก็ทราบข้อมูล เบื้องต้น สามารถเตรียมการดูแลก่อนออกเยี่ยมบ้านจริง และยังใช้ติดตามบริการและการ เปลี่ยนแปลงในทุกด้านได้ด้วย การเก็บในสองสถานที่ต่างมีประโยชน์ต่างกัน บางพื้นที่จึงทำ� แฟ้มเยี่ยมบ้าน 2 ชุดเพื่อเก็บไว้ที่บ้านคนพิการและสถานพยาบาลแห่งละ 1 ชุด การเก็บสมุด ประจำ�ตัวไว้ที่บ้านคนพิการอย่างเดียว ในสมุดอาจมีแต่เรื่องช่องปากหรือมีด้านสุขภาพอื่นๆ ด้วยก็ได้ แต่ในกรณีทเี่ ก็บในสถานพยาบาล เครือ่ งมือเป็นแฟ้มเยีย่ มบ้านและใช้ท�ำ งานบูรณาการ ตัวอย่าง เครือ่ งมือเยีย่ มบ้านเฉพาะงานสุขภาพช่องปาก คือ สมุดเยีย่ มบ้าน ตรวจสภาวะช่องปาก ผู้พิการ เครือข่าย รพ. ๕๐ พรรษามหาวชิราลงกรณ จังหวัดอุบลราชธานี (ภาคผนวก ข) ส่วนแฟ้มเยีย่ มบ้านวัดจันทร์ประกอบด้วยด้านสุขภาพทัว่ ไป การฟืน้ ฟูสภาพ และสุขภาพช่องปาก (ภาคผนวก ค)

“..ดีไซน์สมุดเยีย่ มบ้านให้นอ้ งทำ�งานง่ายขึน้ งบส่วนหนึง่ มาทำ�กระเป๋าเยีย่ มบ้าน ใส่อุปกรณ์ช่วยอ้าปากที่ใช้ไม้ไอติมพันผ้าก๊อซสะอาด เพราะ mouth gag มันแพง คิดเองบวกกับการทบทวนว่ามีอะไรที่ทดแทนได้บ้าง ต้อง sterile มีวันหมดอายุ น้องทันตะบางคนก็ท�ำ เองเป็นไอเดียของเขา ไม้พนั สำ�ลีหอ้ งยามีไม่ตอ้ งซือ้ กลายเป็น ชุดเยี่ยมบ้านอย่างง่าย มีนำ�ยาบ้วนปากซึ่งทำ�จาก รพ. เป็นขวดเล็กๆ มีวันหมดอายุ ้ เจือจางมาแล้วใช้ได้เลย ทำ�ทุกอย่างแบบพร้อมใช้ ผลิตมาจำ�นวนจำ�กัดเท่าที่ทำ�ได้ ให้น้องลองไปใช้ก่อน เป็นเครื่องมือที่เราลงไปเยี่ยมบ้านซึ่งมีแปรงกะยาสีฟันให้ด้วย ให้น้องเข้าไปได้ง่ายขึ้น ต้องสรุปมาให้ด้วย เพราะจะมารวมเป็นภาพอำ�เภอให้”


65

“ในพื้นที่ผมจะมีสมุดประจำ�ตัว (ยังไม่มีเรื่องสุขภาพช่องปาก---นักวิจัย) แต่ยงั ไม่ครบทุกคน พวกเราออกแบบเอง เก็บไว้ทบ่ี า้ นคนไข้ เผือ่ ว่ามีหน่วยงานอืน่ เขา จะได้เปิดดูได้... มีข้อจำ�กัดเรื่องศัพท์เฉพาะทางสาธารณสุข คนพิการไม่รู้ เราต้องไป อ่านเพิ่มให้เขา เขียนให้เขารู้ด้วย มันขึ้นอยู่กับว่าเราอยากให้เขารู้หรือเปล่า ถ้าอยาก ให้เขารูต้ อ้ งใช้อกี ภาษาหนึง่ ตอนให้บริการเราจะให้สขุ ศึกษาคนไข้อยูแ่ ล้ว แต่ทบี่ นั ทึก เพือ่ เป็นหลักฐานว่าเราได้ออกไปแล้ว ดูอะไรบ้าง...แต่มนั fail นิดนึงคือว่าเป็นกระดาษ เป็นเล่มเล็ก มันเปียกนำ� หรือเอาไปจุดไฟ ก็หาไม่เจอแล้ว” “ของเดิมเราประสานงานกันเป็นครัง้ ๆ ไม่ได้ประสานอย่างต่อเนือ่ งและไม่มี เอกสารอะไรทีใ่ ช้รว่ มกัน ในแต่ละครัง้ ทีเ่ ราไปเยีย่ มบ้าน เราใช้เอกสารของใครของมัน ต่างคนต่างถือข้อมูลของตัวเองไป แล้วข้อมูลของใครก็เอากลับไป แต่เมื่อมีประเด็น ในการศึกษาข้อมูลร่วมกัน เราก็คยุ กันว่า จะเอาเอกสารอะไรทีใ่ ช้รว่ มกันและสามารถ มารับรู้อะไรร่วมกันได้บ้าง” “มีฟอร์มเยี่ยมบ้าน เราออกแบบขึ้นมาเพื่อเชื่อมต่อข้อมูลสหวิชาชีพ เช่น เยีย่ มเคสนีจ้ �ำ เป็นต้องส่งต่อกายภาพ น้องจะบันทึกไว้ในฟอร์มว่า จะทำ�เรือ่ งอะไรต่อบ้าง


66

ฟอร์มนี้จะอยู่ที่ รพ.สต. ไว้ใช้ร่วมกันในสหวิชาชีพ... รายไหนที่จำ�เป็นต้องใช้ทักษะ ความเชีย่ วชาญทางวิชาชีพจึงจะประสานขึน้ มา...ทีมเยีย่ มบ้านของ รพ.สต. ไม่คอ่ ยมี วิชาชีพครบ แล้วแต่ปัญหาจำ�เป็นเร่งด่วนของคนไข้แต่ละราย”

4.6 การส่งต่อ ระบบส่งต่อภายใน CUP ที่ดำ�เนินโครงการมีความชัดเจนและเอื้อต่อคนพิการ (ระหว่างบ้านคนพิการ รพ.สต. และ รพช. หรือ รพ. น่าน) ดังกล่าวแล้วในหัวข้อ 4.4 รูปแบบ การจัดบริการสุขภาพช่องปาก ระบบส่งต่อภายใน CUP กรณีคนพิการต้องการบริการสุขภาพ ช่องปากมี 2 แบบคือ 1) ส่งต่อข้อมูลที่จำ�เป็นถึงทันตบุคลากรโดยตรงหรือผ่านระบบที่มีอยู่ (เช่น หมอครอบครัว ศูนย์การดูแลต่อเนื่อง) ให้ทันตบุคลากรออกเยี่ยมบ้าน ดูแลเบื้องต้น และ ออกแบบการบริการที่เหมาะสม และ 2) ส่งต่อคนพิการมารับบริการที่สถานพยาบาล เมื่อมีการส่งต่อและได้รับบริการแล้ว ผู้ให้บริการต้องระบุรายการ (check list) ว่าทำ�อะไรไปบ้างก่อนส่งคนพิการกลับบ้าน เช่น แนะนำ�ญาติเรือ่ งการดูแลช่องปาก ศูนย์การดูแล ต่อเนื่องของ รพ. หรืองานกายภาพบำ�บัดจะส่งข้อมูลเหล่านี้กลับไปที่ทีมหมอครอบครัวของ รพ.สต. เพือ่ ดูแลต่อ บางพืน้ ทีม่ กี ารสนับสนุนจาก อปท. ด้านรถยนต์รบั ส่งคนพิการ ระหว่างบ้าน และสถานพยาบาล ขณะที่ อปท. บางแห่งในอำ�เภอเดียวกันไม่ให้การสนับสนุนด้วยเหตุผลว่า การบริการดังกล่าวไม่ใช่เรื่องฉุกเฉิน ข้อค้นพบอีกประการหนึง่ คือ ในทุกจังหวัดยกเว้นน่าน (ซึง่ ดำ�เนินงานเฉพาะพืน้ ทีร่ บั ผิดชอบ ของ รพ. น่านเอง) มีปญ ั หาการรับ-ส่งต่อ การรักษาทางทันตกรรมตามระบบบริการปกติระหว่าง CUP รพช. ไปยัง รพศ./รพท. เป็นพืน้ ฐานอยูแ่ ล้ว การส่งผูป้ ว่ ยคนพิการจาก รพช. ไปยัง รพศ./ รพท. มีประเด็นปัญหา 3 ด้านที่ส่งผลต่อการเข้าถึงบริการที่มีคุณภาพ ได้แก่ ด้าน รพศ./ รพท. (มิติประสิทธิภาพและศักยภาพในการบริการ) ด้านนโยบายควบคุมค่าใช้จ่ายในการส่งต่อ และ ด้านคนพิการเอง บางคนต้องมีคนพามา และมีอุปสรรคในการเดินทาง (ระยะทางไกลและ มีความลำ�บากในการเคลื่อนย้ายตัวคนพิการ) ปัญหาการส่งต่อสามารถแจกแจงได้ดงั นี้ 1) ไม่มรี ะบบเชือ่ มโยงข้อมูลการตรวจวินจิ ฉัย จาก รพช. ทำ�ให้ตอ้ งคัดกรองใหม่เสียเวลาอีกหนึง่ ครัง้ (visit) 2) รพศ./รพท. ไม่จดั ช่องทางพิเศษ รองรับคนพิการทีม่ าตามระบบส่งต่อ ต้องรอนานกว่าจะได้คดั กรองหรือนัดหมาย 3) รพศ./รพท. หลายแห่งมีศักยภาพในการรักษาและฟื้นฟูสภาพช่องปากคนพิการไม่ต่างจาก รพ. แม่ข่าย 4) ผู้อำ�นวยการ รพช. บางแห่งมีนโยบายควบคุมการส่งต่อ เพื่อลดค่าใช้จ่ายในการตามจ่าย ค่าบริการ และ 5) นโยบาย สสจ. ให้ส่งต่อภายในจังหวัด แม้เมื่อส่งต่อไป รพ. นอกจังหวัดที่มี อาณาเขตติดต่อกันจะใกล้กว่าการส่งไป รพศ. อย่างมากก็ตาม


67

“เราเห็นจุดที่ขาดการเชื่อมต่อเพราะเราไม่เคยคุยกันเลย มีแต่การเชื่อม ต่อตามระบบที่กระดาษหนึ่งแผ่นเขียน กับเชื่อมต่อด้วยความสัมพันธ์ส่วนตัว ทุกคน ก็ยอมรับว่ายังไม่เป็นระบบที่แท้จริง”

ทันตแพทย์ รพช. จึงมีทางออกดังนี้ 1) พัฒนาศักยภาพในการบริการให้ได้มากที่สุด ด้วยการอบรมเพิ่มเติม ในโรงพยาบาลแม่ข่ายมีตำ�แหน่งทันตแพทย์สาขาเด็กและศัลยศาสตร์ ช่องปากหรือทันตกรรมทั่วไป ตาม service plan ของกระทรวง 2) ใช้ความสัมพันธ์ส่วนตัว ในการประสานข้อมูลและนัดหมายกับทันตแพทย์เฉพาะสาขาใน รพ. ปลายทางก่อน และ 3) แสวงหาสถานพยาบาลในจังหวัดที่มีศักยภาพในการรักษาและฟื้นฟูสภาพเหมาะสมกับผู้ป่วย ที่ส่งต่อแต่ละราย เช่น คณะทันตแพทยศาสตร์ แต่ก็ต้องมีการประสานกับอาจารย์ทันตแพทย์ ก่อนเป็นการเฉพาะเช่นกัน ทัง้ นี้ รพช. ในจังหวัดเชียงใหม่สามารถส่งต่อไปยังคณะแพทยศาสตร์ และทันตแพทยศาสตร์ได้โดย สปสช. เขต 1 ตามจ่ายค่าบริการจึงไม่เป็นภาระของ สสจ. หรือ รพช. ขณะที่ในอีกจังหวัดซึ่งมีคณะทันตแพทยศาสตร์ไม่สามารถทำ�แบบเชียงใหม่ได้

“มีการส่งต่อแค่ในอำ�เภอก็น่าจะพอ ยังไม่มีเคสที่จะส่งไปที่จังหวัดยาก คนไข้ธรรมดายังยากเลย เราให้ทิศทางไม่เน้นเรื่องรักษา ไม่เน้นส่งต่อ เน้นการดูแล self-care คนพิการ”

“ทีผ่ า่ นมายังไม่มคี นพิการต้องส่งต่อ พอเราสำ�รวจจริงๆ คนพิการก็เหมือน คนทัว่ ไป ทำ�ไม่ได้จริงไม่เกิน 2% พิการทางกายทีช่ ว่ ยเหลือตัวเองได้ไม่มปี ญ ั หา กลุม่ ที่ อาจจะจัดการยาก คือ ออทิสติก เด็กซีพี โชคดีมีทันตแพทย์เด็กเขา manage ได้” “คณะพอช่วยได้เค้ามีคนเก่งเยอะ พยายามเปิดช่องให้พอประมาณ ถ้าเป็น เด็กก็ไปห้องเด็ก ไม่ใช่ว่าเค้าต้องเป็นคนพิเศษที่ต้องดูแลเทิดทูนอะไร เมื่อผมตรวจ ยืนยันแล้วว่าต้องถอนฟันคนไข้รายนีแ้ ล้ว.... ผมขอส่งได้ไหม ส่งข้อมูลให้กบั คณะแบบ กระดาษ อีเมล ไลน์ธรรมดาก่อน ถ้าคณะโอเค.. ให้ส่งรายนี้มาพฤหัส พี่จะทำ�ศุกร์.. ผมขอแค่น้ี เนีย่ คือช่องทางด่วน ผมไม่หวังว่าส่งไลน์ ส่งเมลปับ๊ จะให้ท�ำ ให้เลย ก็ใจร้าย ไปหน่อยเพราะเค้าเป็นโรงเรียนเค้าก็ต้องเตรียมโน่นนี่ คำ�ว่าระบบส่งต่อที่เราตั้งไว้ ทางด่วนของผมเป็นแบบนี้..ถ้าได้ ดีใจสุดๆ เลย...” “สปสช.เขต 1 excellent ด้านทันตะ เฉพาะที่เชียงใหม่ เขาทำ�สัญญา บางอย่าง ตัง้ แต่กอ่ น 52 สามารถส่งต่อไปคณะได้เลย ทางคณะเรียกเก็บกับ สปสช. เอง”


68

“ไม่มีการส่งต่อไปคณะทันตะเพราะเรื่องตังค์ ถ้าที่โน่นเรียกเก็บมา ผอ. จะว่าเราได้ จะถูกดักตั้งแต่งานประกันแล้วว่าไม่ใช่ track ที่จะส่ง ถ้าเขียนใบส่งต่อ งานประกันจะทราบเพราะต้องลงทะเบียน เขา check สิทธิเรียบร้อยว่าได้ไม่ได้” 4.7 อุปกรณ์ทำ�ความสะอาดช่องปาก ความพิการทีม่ ปี ญ ั หาในการทำ�ความสะอาดช่องปาก ไม่สามารถแปรงฟันได้ดว้ ยตัวเอง มี 3 กลุม่ คือ คนมีปญ ั หากล้ามเนือ้ มือ คนมีความบกพร่องด้านสติปญ ั ญา การเรียนรู้ และสือ่ สาร และกลุม่ ติดเตียง เนือ่ งจากจับแปรงสีฟนั ไม่ได้หรือไม่สามารถขยับแปรงได้ กรณีทจี่ บั แปรงสีฟนั ได้ไม่ถนัด จำ�เป็นต้องปรับแปรงสีฟนั ให้ดา้ มจับมีขนาดใหญ่ขนึ้ พอเหมาะกับมือ หรือหาวัสดุยดึ แปรงสีฟันกับมือ ซึ่งเป็นการแก้ไขรายบุคคล นักกิจกรรมบำ�บัดและนักกายภาพบำ�บัดมีความรู้ ในการใช้กล้ามเนือ้ และการเคลือ่ นไหวร่างกาย จึงสามารถแนะนำ�คนพิการให้ใช้กล้ามเนือ้ มือจับ และขยับแปรงสีฟัน และแนะนำ�ญาติและผู้ดูแลในการจัดท่าทางคนพิการขณะแปรงฟันเพื่อไม่ ให้สำ�ลัก แม้ขยับปัดแปรงสีฟันได้ไม่ถนัด นักกิจกรรมบำ�บัดก็แนะนำ�ให้พยายามใช้แปรงสีฟัน ปกติแทนการใช้แปรงสีฟันไฟฟ้า เพื่อกระตุ้นการใช้กล้ามเนื้อมือเป็นการฟื้นฟูสภาพร่างกาย ให้ดขี นึ้ ส่วนในกลุม่ ติดเตียงต้องระมัดระวังการสำ�ลักจึงใช้การเช็ดฟันแทนการแปรงฟันแบบปกติ การปรับอุปกรณ์โดยคนในชุมชนเป็นการนำ�วัสดุรอบ ๆ ตัวมาประยุกต์ใช้ เช่น นำ�หนังยางหรือ ด้ามไม้ไผ่มาต่อให้ด้ามแปรงสีฟันใหญ่ขึ้นเพื่อให้จับได้ถนัดมือ ติดแถบตีนตุ๊กแกเป็นที่รัดมือ กับด้ามแปรงสีฟัน เป็นต้น แม้ว่าแปรงสีฟันไฟฟ้าช่วยให้แปรงฟันได้ง่ายขึ้น แต่ต้องใช้อย่างถูกวิธีและมีข้อ พึงระมัดระวังในการใช้เพื่อไม่ทำ�อันตรายต่อเหงือกและฟัน ยิ่งมีราคาถูกยิ่งต้องใช้อย่างระมัดระวังมากแปรงสีฟนั ไฟฟ้าทีม่ คี ณ ุ ภาพและมีความปลอดภัยสูงมีราคาแพงในระดับหลายพันบาท และยังมีค่าใช้จ่ายต่อเนื่อง ในการเปลี่ยนหัวแปรงเมื่อขนแปรงเสื่อมสภาพ ในบางจังหวัดมีชมรมคนพิการ ทีส่ ามารถผลิตกายอุปกรณ์และสิง่ อำ�นวยความสะดวก ตอบสนองคนพิการรายบุคคลได้ เพราะเข้าใจลักษณะปัญหาความพิการแต่ละประเภทอย่างแท้จริง และให้ความสำ�คัญกับความต้องการของคนพิการแต่ละคน แต่ผดู้ ดั แปลงหรือประดิษฐ์อปุ กรณ์ ทำ�ความสะอาดช่องปากยังคงเป็นบทบาทของทันตบุคลากร “สอนแปรงฟันทุกรายแต่แปรงแทบไม่ได้ เพราะพิการมีหลายระดับตั้งแต่ ช่วยตัวเองได้ ช่วยตัวเองไม่ได้ หรือเป็นคนแก่อยู่ที่บ้าน สอนที่เหมาะสมกับเขา ไม่ได้ สอนรายกลุม่ สอนเสร็จให้เขาลองทำ�ให้ดไู ด้บา้ งไม่ได้บา้ งแต่กย็ งั ดี เพราะบางคนไม่เคย แปรงฟัน มีแปรงและยาไปฝากด้วย บางรายมีปัญหาก็ทำ�แบบหยาบๆ เช่น ตีนตุ๊กแก


69

น้องทีอ่ นามัยเป็นผูช้ ายเอายางเก่าจักรยานมามัดให้มนั ใหญ่ขน้ึ มีการทำ�นาฬิกา พลิกตัว คนพิการ เรือ่ งฟันเป็นเรือ่ งเล็กเพราะตัวเขามีแผลกดทับ นาฬิกาพลิกตัวมีเรือ่ งแปรงฟันด้วย ให้ผู้ดูแลพลิกตัวให้เป็นเวลารวมทั้งแปรงฟันด้วย.... ส่วนใหญ่อยู่กับญาติ หนูทำ� flow chart ติดบ้านให้ ถ้าติดเตียงแปรงฟันต้องขึ้นมานั่งก่อน บ้วนปากทำ�ไง เป็นแนวทาง ยืนข้างเตียงจิบนำ�้ มีกระโถน ข้อควรระวัง กลัวสำ�ลัก”

“กายภาพช่วยประเมินให้เราว่ากล้ามเนื้อที่เขาใช้ทำ�ความสะอาดช่องปาก ใช้ได้หรือไม่ จากนัน้ ก็เลือกอุปกรณ์ท�ำ ความสะอาดช่องปากทีเ่ หมาะกับเขา อาจจำ�เป็น ต้องใช้แปรงไฟฟ้า ที่รัดมือ มีที่ใช้สำ�เร็จรูป หรือประดิษฐ์เองก็มี ถ้าสั่งสำ�เร็จรูปมา มันก็ตอบสนองเร็วกว่ามัวแต่ไปประดิษฐ์เอง”

“แปรงไฟฟ้าดูเองซือ้ เองเป็นยีห่ อ้ ไม่แพงแต่ดจู ากการใช้แล้วไม่เหมาะ ถ้าเรา สนับสนุน ต่อจากนีเ้ ขาก็ตอ้ งซือ้ เองเรือ่ ยๆ อันละสามร้อยค่าถ่านอีก ซือ้ ห้าอันให้ไปคนเดียว ค่อยฝึกให้เขา มีวิธีการใช้แบบนี้ เขาไม่ชิน เวลาแปรงคุมมือไม่ได้โดนกระพุ้งแก้ม สรุปใช้แปรงธรรมดาแหละ กายภาพบอกว่า การแปรงฟันเหมือนฝึกกล้ามเนือ้ มือด้วย เป็น concept หลักเลยแล้วไม่จ�ำ เป็นต้องทำ�กายภาพบำ�บัด ให้เขาฝึกใช้กล้ามเนือ้ มือ ดีที่สุด ถ้าเขาทำ�ได้ก็มีประโยชน์อย่างอื่นด้วย” “บางรายมีมือที่ผิดรูป ดูแลตัวเองไม่ได้หรือว่าเป็นเด็ก ก็อาจเป็นเรื่องยาก ในการดูแลสุขภาพช่องปาก มีนักกิจกรรมบำ�บัด มาช่วยแนะนำ�มาช่วยสอน อยาก แปรงฟันก็อาจมีด้ามแปรงที่ใหญ่ขึ้น ก็สามารถนำ�ส่วนต่างๆ ของร่างกายที่เหลืออยู่ มาใช้งานได้ ต้องปรับให้ได้ตามเฉพาะคนผูพ้ กิ าร… ลักษณะการจับจะต้องปรับยังไง เพือ่ ที่


70

จะใช้อุปกรณ์อะไรมาเสริมเพื่อให้กำ�ได้ถนัดจริงๆ แล้วการแปรงฟันไม่จำ�เป็นต้องใช้ แปรงไฟฟ้าเพราะว่าจะได้มีการขยับกล้ามเนื้อ ถ้าเป็นเรื่องสุขภาพช่องปากก็ต้องให้ ทันตแพทย์มาช่วยดูแลตรงนี้ แต่ถา้ เรียนการสอนท่าทางการแปรงฟัน ท่าไหนทำ�ยังไง ไม่ให้สำ�ลัก เราก็ต้องมาสอนเรื่องการจัดท่าทาง”

“(ชื่อคนพิการ)พูดไม่ได้เลย ยิ้มได้อย่างเดียว ยิ้มมากกรามจะค้าง นอนตัก แม่ตลอด เขาดีใจที่เราไปเยี่ยม มีพี่กับแม่เป็นคนแปรงฟันให้ การจะแปรงฟันให้เขา ต้องให้ความร่วมมือเยอะ บ้วนปากเองไม่ได้ตอ้ งใช้ลกู ยางแดงดูดออก คนในครอบครัว สำ�คัญต้องเป็นคนดูแลเขา” “การใช้มอื ของน้องไม่ดี ผลทีต่ ามมาการแปรงฟันก็ไม่ดดี ว้ ย พี(่ ชือ่ ทันตแพทย์) ให้เขาฝึกร้อยลูกปัดเพือ่ ฝึกกล้ามเนือ้ มือน้องเขาเพือ่ ว่าจะแปรงฟันได้ดขี น้ึ ประดิษฐ์ไม้ กระดานช่วยยืน จากที่เคยเดินด้วยเข่า ทำ�ให้น้องยืนได้ตรงขึ้น กลายเป็นว่าเราไม่ได้ ดูแค่ปากต้องดูอย่างอืน่ ด้วย แค่ตรวจแล้วถอนยังไม่จบ ต้องฝึกมือคนไข้ ฝึกพ่อฝึกแม่ ต้องเปลี่ยนทัศนคติให้คนในบ้านช่วยดูแลเขา” 4.8 งบประมาณในการจัดบริการสุขภาพช่องปาก ทันตแพทย์ รพ. ทีท่ �ำ งานมานานโดยเฉพาะทีเ่ ป็นหัวหน้าฝ่ายทันตสาธารณสุขใน รพช. เห็นตรงกันว่า สามารถของบประมาณโครงการและการสนับสนุนอื่นๆ จาก CUP ได้ แต่การ มีงบประมาณจากชุดโครงการนีช้ ว่ ยให้ทำ�งานสะดวกเพราะมีขอ้ จำ�กัดน้อยกว่าการใช้งบประมาณ ของ CUP ขณะทีใ่ น รพ.ขนาดใหญ่มภี าระค่าใช้จา่ ยด้านบุคลากร การดำ�เนินงานเพิม่ ทีไ่ ม่กอ่ ให้เกิด รายได้เพิม่ ก็เท่ากับว่าเพิม่ ต้นทุนอย่างเดียวจะมีโอกาสน้อยทีจ่ ะได้รบั การสนับสนุนงบประมาณ ยกเว้นว่าเป็นงานนโยบาย “โรงพยาบาล (ชือ่ อำ�เภอ) ไม่มปี ญ ั หาการเงิน ทำ�โครงการได้อยูแ่ ล้ว ถ้าเป็น ความคิดเค้าอยากทำ�โครงการ เรายิ่งชอบไงถ้าลูกน้องอยากทำ�งาน เราบอกเลยว่า เรื่องงบ เรากับ ผอ. ไม่มีปัญหา จะไม่มีการเบรคเลย ขนาดไปอบรมที่ต้องใช้เงิน ผอ. ยังยินดีจา่ ย..... ขึน้ กับนโยบายแต่ละ CUP ว่าจริงใจมากน้อยในการบอกว่าให้บริการ กลุม่ นีค้ รอบคลุม เผอิญ ผอ.คนนีใ้ ห้ความสำ�คัญกับการเข้าถึงของคนทุกกลุม่ ยินดีให้ ลูกน้องออกไปทำ� สนับสนุนมาก ต้องเห็นความดีและขอบคุณนโยบายนีข้ อง ผอ. ยินดี สนับสนุนเรือ่ งรถ ฝ่ายทันตะขอรถออกไป 3 งานก็ให้รถออก 3 คัน ไม่วา่ เลย ถ้าชัดเจน ว่าออกไปทำ�อะไร”


71

“ก่อนอืน่ ผมไม่ได้มปี ญ ั หาเรือ่ งการเงิน ทางฝ่ายทันตะเคยมาคุยกับผม เริม่ ต้น มาจากเงินของกองทุนทันตะจัดทำ�โครงการเพือ่ ดูแลกลุม่ ผูพ้ กิ ารอย่างโน้นอย่างนี้ ช่วงหลัง ไม่มกี องทุน ผมบอกว่าในระบบมีอยู่ ถ้าพวกท่านมีความตัง้ ใจ ทำ�ไปเถอะ ผมว่าไม่เกีย่ ว กับตัวชี้วัด เกี่ยวกับความตั้งใจของเราที่จะทำ�อะไรให้กับคนด้อยโอกาสเพื่อผูพ้ กิ าร พวกนี้” “จากแรงกระตุ้นจากปี 52, 53 (ชื่อจังหวัด) มีทุนเยอะพอควร แต่ละที่ ทำ�กันอยูแ่ ล้ว บางคนใช้งบกองทุนท้องถิน่ ของผมก็สานต่อโครงการเดิมของผม ส่วนพี่ (ชือ่ ทันตแพทย์) ทีต่ อนนีเ้ ค้าย้ายไปอยูโ่ รงพยาบาล (ชือ่ อำ�เภอ) เค้าปัน่ จักรยานไปเยีย่ ม ผูส้ งู อายุทอี่ ยูต่ ดิ บ้านติดเตียง ไปทำ�ฟันปลอมให้ ไม่ใช่วา่ มีโครงการนีถ้ งึ จะทำ� โครงการ เป็นเหมือนนำ�้ หล่อเลี้ยง” “โรงพยาบาลไม่ม ีป ัญหางบประมาณ แต่โครงการนี้เป็นโอกาสทำ�ให้ ทำ�งานสะดวกขึ้น ได้ส่งคนไปอบรมที่ราชานุกูล เค้าก็ได้ know how มีความรู้ โดยประสบการณ์จริง เกิดแรงบันดาลใจ เค้าอยากทำ�เอง งานเกิดง่ายกว่าเราบอกหรือ สัง่ ให้ท�ำ ส่งกายภาพไปอบรมด้วย กลับมาเค้าสอบบรรจุได้เลยไป คนใหม่ยงั ไม่ได้อบรม” “หมอเขาเจียดงบฯ มาให้เป็นค่าเดินทางของเด็กทีม่ าคลินกิ กระตุน้ พัฒนาการ ปกติเราจะหาทุกปีมผี า้ ป่าบ้าง ช่วงปีใหม่ขอสนับสนุนบ้าง คือ ไม่มเี งินในระบบให้ ช่วงที่ สตง. เข้าโครงการผ่านยากมาก.... อะไรทีพ่ อทำ�ได้กช็ ว่ ยกัน โดยเฉพาะในเรือ่ งค่าเดินทาง คนพิการ ไม่มรี ะเบียบ แต่เราต้องให้ ถ้ามีโครงการลักษณะนีม้ าส่วนใหญ่กนั ไว้ส�ำ หรับ ค่าเดินทาง ส่วนอาหาร ขนมก็จะขอสนับสนุนจากร้านค้า” “เขาจะแบ่งนำ�้ หนักตาม KPI ทันตะไม่ได้เป็นงานหลัก ถ้าเราไม่แข็งแรงจริง defend ขอเงินยากมาก ตัวเองเห็นผูพ้ กิ ารอีกมุมคือเขาถูกทิง้ มานานแล้ว..... มองว่า ถ้าทำ�ได้ตอ้ งหาแหล่งทุนทีส่ ามารถเป็นนำ�้ มันเติมให้นอ้ งทันตาภิบาล ตอนมีงบกองทุน ทันตกรรมสามารถเบิกค่านำ�้ มันให้น้องได้ พอกลับมาอยู่ในงบ PP เขาไม่ให้ สถานะ การเงินโรงพยาบาลเป็นระดับ 7 จะใช้ PP ต้องฝ่าฟันเยอะ การบริหารมันก็ยาก”


72

“เขาบอกว่า หนู ‘เปิง’ แปลว่าเหมาะสมกับงานนี้ เอารถส่วนตัวไป ขี่ มอเตอร์ไซด์ไปอนามัย เพราะรถไม่วา่ ง...... ได้งบจากโครงการนีส้ องหมืน่ บาท ซือ้ แปรง นำา้ ยาบ้วนปาก มีไหมขัดฟัน แปรงซอกฟันที่ได้แจกให้ทุกบ้าน มีเงินเหลือประมาณ หกพัน หมอ(ชือ่ ทันตแพทย์ใน รพ.) แนะนำาให้ซอ้ื แปรงไฟฟ้าให้หมด พัสดุกาำ ลังสัง่ ซือ้ ให้” “ผอ. เราเปลี่ยนสองยุค ยุคแรกท่านไม่ค่อยกังวลกับนโยบายกระทรวง ค่อนข้างฟรีสไตล์ในการทำางานดูแลผู้ป่วย อะไรที่ดูแลผู้ป่วยได้ก็ทำา โรงพยาบาล มีฐานะการเงินคลอนแคลนบ้างพอสมควร ผอ.ท่านใหม่อยูใ่ นกรอบนโยบายของกระทรวง งานที่คุณเปิดใหม่ถ้าไม่เกิดรายได้ จะทำาไปทำาไม เด็กพิการก็เช่นกัน เราได้เหมาจ่าย รายหัวอยู่แล้ว คุณจะไปทำางานอื่นเพิ่มทำาไม” 5.) ประเด็นผลผลิตของโครงการและผลลัพธ์ • โครงการ 1 โครงการพัฒนาสมรรถนะนักศึกษาทันตแพทย์และทีมทันตบุคลากร เพื่อดูแลสุขภาพช่องปากผู้พิการ โครงการนี้ประกอบด้วยกิจกรรมย่อยที่มีผลผลิตชัดเจน และยังมีกิจกรรมพัฒนา ผูป้ ฏิบตั งิ านด้วยกระบวนการวิจยั เชิงปฏิบตั กิ าร ซึง่ มีผเู้ ข้าร่วมเพิม่ อีก 10 โครงการนอกเหนือจาก กิจกรรมทีร่ ะบุไว้ในโครงการอยูแ่ ล้ว หากพิจารณาตามวัตถุประสงค์ มีผลผลิตสำาคัญ 4 ประการ คือ 1.) การพัฒนาหลักสูตรปริญญาตรีด้านการดูแลผู้พิการและผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง และหลักสูตรหลังปริญญาด้านทันตกรรมคนพิเศษ (speCIal Care dentIstry) ก่อนมีชุดโครงการนี้ สาขาวิชาทันตกรรมชุมชนได้ผนวกประเด็นคนพิการ และผู ้ส ูงอายุเข้าในวิชาทันตกรรมชุมชนอยู่ก่อนแล้ว สำาหรับชั ้นปีท ี ่ 2 และ 5 แต่เป็นไปตามความสนใจของอาจารย์ประจำากลุ่ม จึงมีนักศึกษาเพียงบางส่วนที่ได้มี ประสบการณ์ โครงการนี้ช่วยให้มีการพัฒนาเนื้อหาและวิธีการจัดการเรียนการสอน ในหลักสูตรชัดเจนขึน้ ทีม่ งุ่ ส่งเสริมทัศนคติทด่ี แี ละสร้างเสริมทักษะนักศึกษาทันตแพทย์ ในวิชาจิตพฤติกรรมศาสตร์ในชัน้ ปีท่ี 2 และจิตวิทยาการแพทย์ในชัน้ ปีท่ี 6 วิชาทันตกรรม ชุมชนในชั้นปีที่ 3 และ 65 โดยกำาหนด reQuIrements ให้นักศึกษา ได้แก่ - ฝึกปฏิบัติหัวข้อการนำาทาง (orIentatIon & mobIlIty) แก่ผู้บกพร่อง ทางการมองเห็น การใช้รถเข็นแก่ผู้บกพร่องการเคลื่อนไหว และจำาลอง ภาวะผู้สูงอายุ 5 พัชราวรรณ ศรีศลิ ปะนันทน์. โครงการพัฒนาสมรรถนะนักศึกษาทันตแพทย์และทีมทันตบุคลากรเพือ่ ดูแลสุขภาพช่องปากผูพ้ กิ าร. รายงานส่งสถาบันสร้างเสริมสุขภาพ คนพิการวันที่ 22 ธันวาคม 2558.


73

- ดูแลผู้พิการและผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในโรงพยาบาล สถานสงเคราะห์ และชุมชน - เสวนาบทบาททันตแพทย์ในการส่งเสริมสุขภาพผู้พิการ วิทยากร คือ ทันตแพทย์ในพื้นที่ - ฝึกปฏิบัติงานดูแลสุขภาพช่องปากของผู้พิการและผู้สูงอายุภาวะพึ่งพา ร่วมกับสหวิชาชีพในโรงพยาบาลทันตกรรม

อุปกรณ์ สำาหรับการเรียนการสอน


74

อุปกรณ์ สำาหรับการเรียนการสอน

2.) องค์ความรู้ ผลผลิตในรูปบทความลงพิมพ์ในวารสารวิชาการใน พ.ศ. 2558 มี 1 เรือ่ ง คือ


75

“การออกแบบคลินกิ ทันตกรรมสำ�หรับเด็กพิการ”6 ซึง่ ใช้วธิ กี ารทบทวนวรรณกรรม และประชุมระดมสมอง ต่อมาคณะได้ปรับปรุงจัดสรรพื้นที่ใหม่และย้ายพื้นที่คลินิก ของภาควิชาซึ่งเป็นวิกฤต แต่สามารถพลิกสถานการณ์เป็นโอกาสต่อยอดจากองค์ ความรูน้ ที้ �ำ เป็นคลินกิ ทันตกรรมสำ�หรับคนพิเศษ ใช้แนวคิดคลินกิ ทันตกรรมสำ�หรับ คนทั้งมวล(universal design) มีเก้าอี้ทำ�ฟัน 3 ชุด แม้ว่าคลินิกนี้อาจอยู่ในการ บริหารจัดการของคณะกรรมการบริหารโรงพยาบาลทันตกรรม ไม่ใช่ของภาควิชา ทันตกรรมครอบครัวและชุมชน แต่สามารถใช้เป็นพื้นที่ให้บริการรองรับสาขาวิชา ทันตกรรมป้องกันและทันตกรรมทัว่ ไป รวมทัง้ รับผูป้ ว่ ยส่งต่อมาจากโรงพยาบาลต่างๆ

“กลุม่ ผูพ้ กิ าร เราทำ�ของเราอยูแ่ ล้วตามความสนใจของอาจารย์ทคี่ มุ มีตงั้ แต่ ตอนสมัยตัวเองเรียนก็ไปโรงเรียนหูหนวกตาบอด ก่อนนีม้ เี ป็นสิบยูนติ พอ renovate เหลือแค่หนึง่ แค่สาธิตวิจยั เก้าตัวโดนยืดไปกระจายไปเป็นคลินกิ กลางสำ�หรับปีสป่ี หี า้ ทุกคลินกิ เข้าไปใช้ดว้ ยกัน..... พอคณะขอให้เราย้ายเพือ่ เอาพืน้ ทีท่ �ำ คลินกิ เด็ก เด้งเรา มาอยูฝ่ ง่ั นีก้ ค็ ยุ กันว่าเราทำ�โครงการ สสพ. ได้ระยะหนึง่ น่าจะเป็นโอกาสอันดีทจ่ี ะกัน ห้องหนึ่งไว้สำ�หรับ universal design เท่าที่เราทำ�ได้ น่าจะเอื้อผู้สูงอายุ ไม่รู้ เกิดอะไรขึน้ จังหวะเวลาเดียวกันตัวเองถูกขอในทีป่ ระชุมกรรมการโรงพยาบาลว่าช่วยรับ เป็นผู้ประสานได้ไหม ได้ยินว่าจะมีคลินิกตรงนี้ เป็นจังหวะเวลาที่พอดีมากกว่า เลย set กันใหม่เป็นสามยูนิต” “คลินิกชั้นสองพยายามให้เป็น universal design มากที่สุด แต่ไม่เต็ม ร้อยเปอร์เซ็นต์เพราะมีเงือ่ นไขหลายอย่าง ช่วยกันดูแปลนทัง้ หมด ตัวเองเป็นคนรับผิดชอบ ทันตกรรมป้องกันและเป็นกรรมการบริหารโรงพยาบาลทันตกรรมอยู่ ลักษณะของ คลินกิ ทีไ่ ด้รบั มอบหมายจากคณะให้ชว่ ยจัดการเรือ่ งรับผูป้ ว่ ยพิเศษซึง่ อาจมาเองหรือ ส่งต่อมา ทุกวันนีม้ คี นไข้ทสี่ ง่ มาจาก รพช. รพท.แต่ไม่มพี นื้ ทีท่ �ำ โดยเฉพาะ โรงพยาบาล ทันตกรรมมีสองบทบาท หนึ่งเป็นที่ฝึกสอนนักศึกษาผู้ช่วยด้วยอีกส่วนคือรับส่งต่อ ฝึกสอนนักศึกษาวุฒบิ ตั รของสาขาทันตกรรมทัว่ ไป..... มีโอกาสเป็นทีฝ่ กึ ของทันตแพทย์ รพช. เพราะว่าเราดูแล เป็นเลขาของอาจารย์พัชที่ดูแลหลักสูตรของผู้สูงอายุที่กำ�ลัง พัฒนา คนพิเศษคงกว้างกว่าคนพิการ เช่น ผู้ป่วยที่จำ�เป็นต้องได้รับความช่วยเหลือ มาเองไม่ได้ กลุ่มผู้พิการที่อายุเกินสิบสองต้องไปห้องตรวจก่อน หลังจากนั้นถึงไป 6 กันยารัตน์ คอวนิช การออกแบบคลินิกทันตกรรมสำ�หรับเด็กพิการ. เชียงใหม่ทันตแพทยสาร 2558;36(2):37-45.


76

ตามทีเ่ หมาะกับเขา ถ้าเป็นผูส้ งู อายุสง่ ต่อมาต้องเข้าตามระบบปกติ ข้าราชการก็เข้าคิว เหมือนกัน ถ้าตำ�่ กว่าสิบสองมีทางด่วนจากห้องบัตรแล้วไปห้องเด็กเลย ห้องเด็ก มีลักษณะเบ็ดเสร็จอยู่ในตัว...”

ผลผลิตจากพื้นที่ที่จัดบริการ (กิจกรรม 10) ที่น่าสนใจ คือ แฟ้มเยี่ยมบ้านแบบ บูรณาการ ซึง่ ทันตแพทย์ รพ. วัดจันทร์ ได้พฒ ั นาและใช้มาก่อนเข้าร่วมโครงการนี้ ส่วนนาฬิกา พลิกตัวและแผนภาพ (flow chart) การแปรงฟันในผู้ป่วยติดเตียง เป็นความคิดสร้างสรรค์ ของทันตาภิบาลใน รพ.สันป่าตอง ยังมีการกล่าวถึง การประยุกต์ใช้วสั ดุเหลือใช้ทช่ี ว่ ยให้คนพิการ จับแปรงสีฟันได้ถนัดมือในพื้นที่วัดจันทร์และสันป่าตอง (หัวข้อ 4.7 อุปกรณ์ทำ�ความสะอาด ช่องปาก) ส่วนกิจกรรมการพัฒนาองค์ความรูแ้ ละถ่ายทอดการดูแลสุขภาพช่องปากผูพ้ กิ ารและ ผูส้ งู อายุทมี่ ภี าวะพึง่ พิงด้วยกระบวนการวิจยั เชิงปฏิบตั กิ าร ทีม่ งุ่ พัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพ ช่องปากผู้พิการและผู้สูงอายุฯ ในบริบทของประเทศไทย และถ่ายทอดสู่การปฏิบัติไปสู่ทันตบุคลากรและสหวิชาชีพจากอำ�เภอทีท่ �ำ กิจกรรมจัดบริการ เช่น อำ�เภอสันป่าตอง จอมทอง และ กัลยาณิวัฒนา (จังหวัดเชียงใหม่) รวมทั้งอำ�เภอบ้านฝางและนำ�้ พอง (จังหวัดขอนแก่น) แต่ใน ทางปฏิบัติผู้เข้าร่วมกระบวนการอบรมกลับเป็นบุคลากรอีกกลุ่มต่างหาก7 จึงไม่สอดคล้องกับ แนวคิดที่จะพัฒนาทักษะและสนับสนุนด้านวิชาการแก่ทีมบุคลากรในพื้นที่ภายใต้โครงการนี้ 8 และไม่พบการรายงานว่ามีการเผยแพร่เอกสารองค์ความรูท้ ไ่ี ด้ ในการประชุมวิชาการหรือตีพมิ พ์ ในวารสารวิชาการ โดยเฉพาะรูปแบบการดูแลสุขภาพช่องปากผู้พิการและผู้สูงที่มีภาวะพึ่งพิง ในบริบทของประเทศไทย

3.) สื่อสร้างสรรค์เพื่อพัฒนาสุขภาพช่องปากผู้พิการและกระบวนการเรียนรู้ผ่านการ ผลิตสือ่ เป็นหนังสัน้ 4 เรือ่ งโดยยังไม่ได้เผยแพร่ในวงกว้าง ดังกล่าวแล้วในหัวข้อ 2.2 การประกวดสื่อสร้างสรรค์เพื่อคนพิการ

4.) ระบบบริการสุขภาพช่องปากต้นแบบและระบบส่งต่อผูพ้ กิ ารแบบบูรณาการระหว่าง ชุมชน โรงพยาบาลชุมชนและคณะทันตแพทยศาสตร์ (Chiang Mai model) เป็นผลผลิตจากกิจกรรมพัฒนาระบบการดูแลทันตสุขภาพในเด็กพิการจังหวัดเชียงใหม่

7 พัชราวรรณ ศรีศลิ ปะนันทน์. สรุปโครงการพัฒนาสมรรถนะนักศึกษาทันตแพทย์และทีมทันตบุคลากรเพือ่ ดูแลสุขภาพช่องปากผูพ้ กิ าร. รายงานต่อสถาบันสร้างเสริม สุขภาพคนพิการ 22 ธันวาคม 2558. 8 ทั้งนี้ทีมบุคลากรในการจัดบริการในเชียงใหม่ (ชุดโครงการที่ 1) และจังหวัดอื่นๆ (ชุดโครงการที่ 2) ได้รับการอบรมจากสถาบันราชานุกูลด้วยงบประมาณ สสจ. เชียงใหม่ และงบประมาณชุดโครงการที่ 2 ตามลำ�ดับ


77

ใน 4 พืน้ ที่ ซึง่ บางพืน้ ทีเ่ คยดำ�เนินงานสุขภาพช่องปากคนพิการ ตัง้ แต่ พ.ศ. 2552 บางพืน้ ที่ ดำ�เนินงานด้วยงบประมาณของเครือข่ายบริการสุขภาพระดับต้น (CUP) และบางพืน้ ที่ เข้าร่วมโครงการพัฒนาระบบบริการปฐมภูมิ “สุขภาพช่องปากคนพิการ” (พ.ศ. 2552-2554) มีผลการดำ�เนินงาน ดังนี้ - มีการพัฒนาและสานต่อการจัดบริการที่มุ่งการดูแลระดับครอบครัว - มีการเสริมพลังครอบครัวผ่านการเยีย่ มบ้าน เกิดการจัดการความรูท้ เ่ี หมาะสม กับแต่ละครอบครัว มีการแลกเปลีย่ นวิธกี ารดูแลสุขภาพช่องปากและสุขภาพ ทั่วไป - มีการดูแลอย่างต่อเนื่อง - มีการเยี่ยมบ้านสมำ่�เสมอเฉลี่ย 1-2 เดือน/ครั้ง เกิดการดูแลอย่างต่อเนื่อง ทัง้ 4 ประการนีเ้ ป็นหลักการดำ�เนินงานหมอครอบครัว ตามนโยบายกระทรวง สาธารณสุข ไม่ใช่ การดำ�เนินกิจกรรมเฉพาะจังหวัดเชียงใหม่ แต่กไ็ ม่ปรากฏคำ�อธิบาย “ระบบส่งต่อที่ได้รับการพัฒนาเป็นรูปแบบเชียงใหม่โมเดล”9 แม้ ว่ า ระบบส่ ง ต่ อ ของสถานพยาบาลสั ง กั ด สำ � นั ก งานปลั ด กระทรวง สาธารณสุขอย่างเป็นทางการในจังหวัดเชียงใหม่ตามนโยบายจังหวัด คือ จาก รพ.สต. โรงพยาบาล ชุมชน โรงพยาบาลชุมชนขนาดใหญ่หรือโรงพยาบาลทัว่ ไป และโรงพยาบาลศูนย์ และกระทรวง มีนโยบายให้ผปู้ ว่ ยทุกคนเข้าถึงบริการทีม่ คี ณ ุ ภาพประสิทธิภาพแบบไร้รอยต่อ แต่ในทางปฏิบตั ิ ยังคงมีปัญหาในการส่งต่อผู้ป่วยมาระดับจังหวัด “เราอยากเห็นระบบส่งต่อว่า ส่งต่อแล้วระดับชุมชนเรา รพท. รพศ. คณะฯ ช่วยเหลืออะไรเราได้บ้างจนได้คำ�ว่า ‘เชียงใหม่โมเดล’ ขึ้นมา ตอนนั้นคิดกันไว้แล้วก็ นำ�เสนอเป็นร่าง พอร่างนีเ้ สร็จแล้วเกิดคำ�ถามคือเราเห็นจุดทีข่ าดการเชือ่ มต่อ เพราะ เราไม่เคยคุยกันเลย เรามีแต่การเชือ่ มต่อตามระบบทีก่ ระดาษหนึง่ แผ่นเขียน กับแบบ ความสัมพันธ์ส่วนตัว ทุกคนก็ยอมรับว่ายังไม่เป็นระบบที่แท้จริง คือถ้าผมรู้จักคุณ คุณถึงจะได้ ถ้าผมไม่รู้จักคุณ เด็กคนนี้ก็ลอยโดยที่เขียนใบส่งตัวไปที่โน่นที่นี่ พอเรา มาทบทวนนี่เสร็จก็ค่อยๆ เกิดภาพว่าถ้าจะส่งต่อแต่ละครั้งเราจะต้องทำ�ยังไงต่อไป ท้ายสุดจะเกิดขึน้ ได้ไหม มันไม่ชดั ก็คงไม่งา่ ยเพราะเราต้องไปแปะกับหมอ คือ คนพิการ จะมีโรคประจำ�ตัวของคนพิการอยู่แล้ว” 9 พัชราวรรณ ศรีศลิ ปะนันทน์. สรุปโครงการพัฒนาสมรรถนะนักศึกษาทันตแพทย์และทีมทันตบุคลากรเพือ่ ดูแลสุขภาพช่องปากผูพ้ กิ าร. รายงานต่อสถาบันสร้างเสริม สุขภาพคนพิการ 22 ธันวาคม 2558.


78

• โครงการ 2 ส่งเสริมการเช้าถึงบริการสุขภาพช่องปากคนพิการ โครงการนี้มียุทธศาสตร์หลักการดำ�เนินงาน 5 ประการ คือ สร้างความร่วมมือจาก ทุกภาคส่วน เพิ่มการเข้าถึงบริการ พัฒนาระบบตรวจคัดกรอง พัฒนาระบบส่งต่อที่มีคุณภาพ และการพัฒนาความรู้และทักษะของผู้ให้บริการ (ในด้านการจัดการความเสี่ยงของผู้ป่วย การวินจิ ฉัยโรค การวางแผนการรักษาแบบองค์รวม การสือ่ สารและการควบคุมพฤติกรรมผูป้ ว่ ย และการสนับสนุนให้เกิดการดูแลทันตสุขภาพอย่างครบถ้วน) ซึง่ มีผลผลิตอย่างน้อย 5 ประการ คือ 1) รูปแบบการจัดบริการสุขภาพช่องปากคนพิการ 2) แนวทางการทำ�งานแบบสหวิชาชีพและกับองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น 3) องค์ความรู้การส่งเสริมสุขภาพช่องปากคนพิการและผู้ดูแล 4) เครือข่ายทันตบุคลากรและบุคลากรอื่นในงานสุขภาพช่องปากคนพิการ 5) เว็บไซต์เพื่อการสื่อสารและสนับสนุนวิชาการ จากรายงานสรุปผลการดำ�เนินงาน ระบุว่าไม่สามารถสรุปรูปแบบและแนวทางการ ทำ�งานเพื่อการขยายผลที่ชัดเจนได้ เนื่องจากดำ�เนินในพื้นที่ที่ความพร้อม ทีมงานมีทักษะ ในการทำ�งานชุมชนและทำ�งานร่วมกับภาคีเครือข่ายสูงมาก และมีเวลาดำ�เนินงานสั้นเพียง 6-7 เดือน เท่านัน้ ส่วนองค์ความรู้ เครือข่ายบุคลากร และเว็บไซต์นนั้ ไม่มกี ารกล่าวถึงในรายงาน และไม่ได้ระบุวา่ มีการเผยแพร่หรือไม่อย่างไร มีเพียงระบุชอ่ื ทันตแพทย์ทเ่ี ข้าร่วมโครงการ 11 คน สำ�หรับวัตถุประสงค์เพิม่ การเข้าถึงบริการสุขภาพช่องปากคนพิการนัน้ พบว่า ส่วนใหญ่เป็นการตรวจ คัดกรองคนพิการด้านการเคลือ่ นไหว เนือ่ งจากเป็นกลุม่ เป้าหมายหลักตามนโยบายกระทรวงและ จังหวัด ประกอบกับข้อจำ�กัดทัง้ จากด้านทันตบุคลากร ด้านคนพิการเอง และระบบสนับสนุน จึงตั้ง เป้าหมายตามศักยภาพบริการที่มีอยู่แล้ว ในภาพรวมของโครงการจึงบริการได้เพียงส่วนน้อย ของคนพิการทั้งหมด ผลผลิตทีเ่ ด่นชัดจากชุดโครงการนีเ้ ป็นวัสดุอปุ กรณ์หรือเครือ่ งมือทีผ่ ลิตโดยทันตบุคลากร ในพืน้ ทีเ่ องเพือ่ ใช้ในการปฏิบตั งิ านโดยตรงหรืออำ�นวยความสะดวกแก่คนพิการหรือญาติ ได้แก่ สมุดประจำ�ตัวคนพิการ (และทำ�สำ�เนาไว้ที่ รพ.สต.) ปฏิทนิ ชุมชน (ระบุชอื่ บุคลากรสาธารณสุข และเบอร์โทรศัพท์แจกไว้ทบ่ี า้ นคนพิการและผูส้ งู อายุทต่ี อ้ งการพึง่ พิง) แบบตรวจวัดความสามารถ ของคนพิการ (ประยุกต์จากเครื่องมือ ICF ให้นักกายภาพบำ�บัดใช้คัดแยกการพึ่งพิงของผู้ป่วย อัมพาตครึง่ ซีก) แบบบันทึกการตรวจฟัน (รวมการวัดความสะอาดฟันและพฤติกรรม) อุปกรณ์ ช่วยทำ�ความสะอาดฟันและช่องปาก ได้แก่ สำ�ลีพันปลายไม้ช่วยเช็ดช่องปากด้ามแปรงสีฟัน ทีห่ นาขึน้ และมียางรัดช่วยให้จบั ได้กระชับขึน้ และแบบประเมินการทำ�งานของกล้ามเนือ้ มัดเล็ก เพื่อประเมินความสามารถเด็กพิการทางสติปัญญาในการแปรงฟันด้วยตนเองซึ่งอยู่ในระหว่าง การพัฒนา10 ในพื้นที่ที่มีการทำ�งานแบบบูรณาการร่วมกับสหวิชาชีพ 10 โครงการส่งเสริมการเข้าถึงบริการสุขภาพช่องปากของคนพิการ. สรุปโครงการส่งเสริมการเข้าถึงบริการสุขภาพช่องปากของคนพิการ. รายงานต่อสถาบันสร้าง เสริมสุขภาพคนพิการ 7 มกราคม 2559.


79

ทั้งทันตบุคลากรและวิชาชีพอื่น ได้เรียนรู้และมีประสบการณ์ที่มีคุณค่าร่วมกัน ซึ่งเป็นทุนของ การทำางานในอนาคต ส่วนพืน้ ทีท่ อี่ อกแบบการดำาเนินงานเฉพาะงานสุขภาพช่องปากด้วย อสม. และทันตาภิบาล พบข้อจำากัดด้านกำาลังคนและการส่งต่อบริการซึ่งระบบงานของกระทรวง สาธารณสุขโดยลำาพังไม่สามารถตอบสนองได้ 6.) ประเด็นการบูรณาการประเด็นคนพิการเข้าในกระบวนวิชา การพัฒนาหลักสูตรคนพิการในระดับปริญญาตรีและหลังปริญญามีความสำาคัญ ต่อการพัฒนาศักยภาพบุคลากร ปัจจุบันอาจารย์มหาวิทยาลัยถูกประเมินใน 3 บทบาท คือ การวิจยั การสอน และการบริการ การบูรณาการกิจการนักศึกษาให้อยูใ่ นกระบวนวิชาตามธรรมชาติ ของอาจารย์ นอกจากเป็นการปรับพื้นฐานให้นักศึกษาพร้อมทำางานในบริบทสังคม ซึ่งไม่ได้ เพิม่ ภาระงานและจำานวนนักศึกษาทีเ่ ข้าร่วมกิจกรรม ทัง้ นี้ แม้อาจารย์ทนั ตกรรมชุมชนหลายท่าน มีบทบาทในโครงการ 1 และทีผ่ า่ นมามีประเด็นเกีย่ วกับคนพิการให้นกั ศึกษาบางกลุม่ ทำากิจกรรม ในบางวิชา เช่น ทันตกรรมชุมชน แต่การทำาให้อยู่ในรายวิชาอย่างชัดเจนถาวร ย่อมขึ้นกับ ความเห็นชอบของอาจารย์ทา่ นอืน่ ในภาควิชา และกรรมการหลักสูตรด้วย ซึง่ ไม่ใช่เรือ่ งง่าย และ จะยากขึน้ ไปอีกหากจะให้นกั ศึกษาต่างชัน้ ปีเรียนร่วมกัน โดยวัดผลตามลักษณะงานในแต่ละชัน้ ปี เช่น ชั้นปีที่ 1-3 เป็นกิจกรรม ส่วนชั้นปีที่ 5 เป็นงานหัตถการ “สังคมเปลีย่ นประชากรเปลีย่ น องค์ความรูท้ มี่ ไี ม่พอแล้วสำาหรับทันตแพทย์ ทัว่ ๆ ไป ส่วนใหญ่คนไข้ทที่ าำ เป็นสูงอายุเยอะ นัง่ วิลแชร์มาทัง้ นัน้ ต้องได้ลองทำาจึงจะ มีความมัน่ ใจ ถ้าไม่ใช่ทซ่ี บั ซ้อนโรคทางระบบมากๆ ถ้ามีความรูพ้ น้ื ฐานหมอทุกคนน่าจะ ทำาได้ ตอนนีใ้ นหลักสูตรมีทนั ตกรรมผูส้ งู อายุ อาจารย์ภาคอืน่ เขายกประเด็นเป็นวาระ เข้าไปหลายรอบแล้ว เช่น คนไข้มาต้อง set ระบบใหม่ ศัลย์กเ็ จอ เด็กก็เจอเป็นคนไข้ ที่อายุเกินเด็กแต่เขาดูแลมาตั้งแต่ต้น การ approach ด้วยหมอคนเดิมจะง่ายกว่า แต่หมอเด็กก็ถนัดแต่ฟนั นำา้ นม ปัญหาเกินกว่านัน้ ก็ไม่ได้ ส่วนศัลย์รบั มาตลอดให้อยูแ่ ล้ว ถ้าเป็นในคณะอาจมีจุดเชื่อมที่เป็นระบบกว่า” “เรามีวิชาแนวคิดพื้นฐานทางทันตกรรมชุมชน เป็นวิชาบังคับในปีสอง problem-based จัดการเรียนการสอนโดยแบ่งเด็กเป็นกลุ่ม แต่ละกลุ่มมีอาจารย์ รับผิดชอบแต่ละประเด็น ให้เด็กคุยกับอาจารย์ว่าอยากทำาเรื่องอะไร เรื่องอะไรก็ได้ ไม่เหมือนปีหา้ สนใจเรือ่ งต้นไม้กไ็ ปหาข้อมูลเรือ่ งต้นไม้มา กระบวนวิชาเป็นเรือ่ งของ การเข้าใจชุมชนในบริบทของชุมชนเอง คำาว่าชุมชนอาจเป็นเรื่องฟันหรือไม่ฟันก็ได้


80

เรารับปีสองอยู่กลุ่มหนึ่งเรามีหัวข้อพื้นที่สำ�หรับคนพิการในคลินิก พยายามผนวก เข้าไปในวิชา เด็กต้องสนใจตามเราด้วย....... วิธีคิด คือ เด็กยังไม่มีพื้นเรื่องคนพิการ จริงจัง สิง่ ทีต่ อ้ งทำ�คือไปคุยกับคนพิการ สองคุณได้ขอ้ มูลอะไร เราเล่นเรือ่ งพืน้ ที่ จะเอาเรือ่ ง กายภาพมาจับด้วย ก็ให้เด็กหา universal design ไปคุยกับคนพิการและลองไป คุยกับคลินิกว่าอารยะสถาปัตย์จริงไหม....มีเวลาสี่หนให้ลงพื้นที่”

“ตอนนี้ทางคณะยังไม่ได้จัดเป็นระบบสำ�หรับนักศึกษาฝึกงาน มีหลักสูตร ทันตกรรมผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นมาเป็นวิชาบังคับปีหก เวลาใส่ฟันเทียมทั้งปากส่วนใหญ่ เป็นผู้สูงอายุ จะลงในรายละเอียดบางอย่าง เช่น การเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกาย เปลี่ยนจากตอนหนุ่มสาวยังไง นำ�ไปสู่การรักษาเขาด้วยลักษณะที่ต่างจากคนทั่วไป อย่างไรบ้าง แต่ยงั ไม่มเี รือ่ งคนพิเศษอาจแทรกตามบทเรียนบ้าง เช่น ในภาควิชาเด็ก อาจมีเด็กออทิสติกหรือเด็กพิการทางหูหรือตา การจัดการคนไข้พวกนี้ต้องระวัง มากกว่าคนปกติ” “ถ้าเป็นกิจกรรมอาสาสมัครต้องยอมรับเด็กเข้าบ้างไม่เข้าบ้าง ก็เรียนรู้ไป ตามสภาพ เลิศกว่านี้ได้ไหม คิดว่า ไม่ ในการเรียนการสอนของคณะทันตแพทย์ทุก มหาวิทยาลัยคิดว่าเหมือนกันหมด ถ้าจะใส่เข้าไปในหลักสูตรมันคิดไม่เหมือนกัน อาจต้องแตกย่อยเป็นหลายวัตถุประสงค์ อย่างที่ปีสองเราให้เรียนรู้แค่สองประเด็น อารยะสถาปัตย์ซง่ึ มีแก่นของมัน เด็กจะเรียนรูท้ ง้ั อารยะสถาปัตย์ทง้ั การพูดคุยกับคนพิการ ทั้งรู้จักทันตแพทย์ ต้องวางโครงอีกแบบหนึ่งเพราะบังคับ ถามว่าทุกคนได้ไหม จะมี เด็กกลุม่ หนึง่ ทีท่ �ำ เข้ม กลุม่ นีจ้ ะนำ�เสนอให้เพือ่ นฟัง การเรียนรูอ้ าจจะต่างกันระหว่าง กลุ่มที่เข้มและกลุ่มที่ฟัง” ปัจจุบันยังไม่มีหลักสูตรฝึกอบรมทันตแพทย์หลังปริญญาในระดับประกาศนียบัตร หรือปริญญาโทด้านคนพิการ มีแต่หลักสูตรระยะสัน้ กลุม่ ผูส้ งู อายุซงึ่ ครอบคลุมผูส้ งู อายุตดิ บ้าน ติดเตียง และผู้มีความผิดปกติใบหน้าขากรรไกร เช่น ปากแหว่งเพดานโหว่ ผู้ป่วยหลังผ่าตัด “เราอยู่ในวิชาชีพนี้ก็รู้ว่า ถ้าเป็นงานที่ต้องมานอกเหนือเวลางาน คำ�ถาม คือ มาแล้วได้อะไร หลักสูตรก็ขายได้ ก็คดิ แพงได้ หลักสูตรข้างนอกเป็นล้านเขาก็เรียนได้ บางหลักสูตรสามพันบอกแพง ....เพิ่ง set หลักสูตรภายใต้กลุ่มผู้สูงอายุ มีหลักสูตร ระยะสั้นของชุมชนที่เสนอเข้าไปเป็นการดูแลสุขภาพช่องปาก ดูแลผู้สูงอายุต้องทำ� nasoform เรามี prost. center เหมือนเฉพาะทาง จริงๆ เป็นนโยบายคณะ


81

ให้ทำาหลักสูตรระยะสั้นรองรับหลักสูตรทันตกรรมผู้สูงอายุ ระบุเจาะจงเป็นชุมชน prost, diag ทีเ่ กีย่ วข้องกับผูส้ งู อายุ จัดเสริมให้กบั ทันตแพทย์ทว่ั ไป ก็ตอ้ งขึน้ อยูก่ บั มีโปรแกรมฝึกอบรมทีเ่ ขาสนใจทีจ่ ะไปไหม หรือมีแรงสนับสนุนจากต้นสังกัดให้ไปไหม” 7.) ประเด็นปัญหาอุปสรรคการดำาเนินงาน ปัญหาอุปสรรคทีพ่ บในการดำาเนินงานสุขภาพช่องปากคนพิการ แบ่งเป็น 5 ด้านได้แก่ การบริหารจัดการ การสนับสนุน การสือ่ สารกับคนพิการ ศักยภาพในการบริการ และ การจัดบริการ 7.1 ด้านบริหารจัดการ - ในหลายพื ้ น ที ่ การทำ า งานร่ ว มกั น ของสหวิ ช าชี พ แบบบู ร ณาการเป็ น เรื ่ อ งใหม่ การประสานงานภายในเครือข่ายยังไม่ชดั เจนต้องเรียนรูร้ ว่ มกันแบบค่อยเป็นค่อยไป จึงต้องอาศัยภาวะผู้นำาของแต่ละวิชาชีพ ในหลาย รพ. ยังไม่มีช่องทางพิเศษสำาหรับ การบริการคนพิการ - ในระดับ Cup ต้องเสนอโครงการขออนุมัติจาก สสจ. มีข้อจำากัด หากเปลี่ยนแปลง กิจกรรมก็ตอ้ งปรับโครงการซึง่ เป็นความยุง่ ยาก ในระดับตำาบลทันตาภิบาลต้องทำางาน ทีเ่ ป็นตัวชีว้ ดั ก่อน จึงอยากให้งานคนพิการอยูใ่ นตัวชีว้ ดั ด้วย การจัดสรรวัสดุอปุ กรณ์ ให้ รพ.สต. ขึ้นกับทันตแพทย์ รพ. และสถานะการเงินของ รพ. - ใช้เวลาพิจารณาอนุมตั โิ ครงการนานจึงมีเวลาสัน้ ในการดำาเนินงาน และมีความยุง่ ยาก ในการรวบรวมหลักฐานการเงิน 7.2 การสนับสนุนการดำาเนินงาน - ยังไม่มีระบบสนับสนุนด้านวิชาการและองค์ความรู้ในการดูแลคนพิการทางการ เคลือ่ นไหวและอืน่ ๆ เช่น ต้องการปรับด้ามแปรงสีฟนั ก็ตอ้ งสืบค้นเองจาก google ไม่มีการสนับสนุนทางวิชาการอย่างสมำา่ เสมอ - การปรับปรุงครุภณ ั ฑ์ สถานที่ และสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมและได้มาตรฐานสำาหรับ บริการสุขภาพช่องปากคนพิการ ต้องใช้งบประมาณมาก 7.3 การสื่อสารกับคนพิการ - ยังขาดทักษะในการสื่อสารคนพิการทางการได้ยิน มองเห็น และทางจิต สำาหรับ กลุ่มเด็กมักมีปัญหาในการสื่อสารกับผู้ปกครอง


82

7.4 ศักยภาพในการบริการ - ศักยภาพบริการขึน้ กับทักษะในการสือ่ สารและบริการของทันตบุคลากรและทีม รพ. และครุภัณฑ์เฉพาะคนพิการ - ทพ. ทภ. และผูช้ ว่ ยยังมีความรูแ้ ละทักษะน้อยในการดูแลช่วยเหลือคนพิการ ส่วนใหญ่ เป็นการบริการส่งเสริม ตรวจ ทาฟลูออไรด์วาร์นิช ถอนฟัน โดยเฉพาะคนไข้พิการ ทางสมองหรือทางสติปญ ั ญา manage เด็กดาวน์ยงั ไม่ได้ บางแห่งมี ทพ. เฉพาะทาง สาขาทันตกรรมเด็ก แต่ขาดการถ่ายทอดให้ ทพ. คนอื่น ระดับ รพช. ยังไม่สามารถ ให้บริการทันตกรรมภายใต้การดมยา 7.5 การจัดบริการ - ใน รพ. ที่สามารถให้บริการได้ มีปัญหาการรับส่งคนพิการมา รพ. เช่น กลุ่ม Cp จะเดินทางลำาบาก คนพิการส่วนใหญ่ยังไม่ต้องการบริการ 8.) ข้อเสนอแนะจากกลุ่มตัวอย่าง ผูด้ าำ เนินโครงการสุขภาพช่องปากคนพิการ มีขอ้ เสนอแบ่งเป็น 3 ประเด็น คือ แนวทาง การทำางานด้านคนพิการ การกำาหนดเป็นนโยบาย และการสนับสนุนหน่วยบริการ 8.1 แนวคิดแนวทางในการทำางานสุขภาพช่องปากคนพิการ ในการขยายแวดวงการทำางานสุขภาพช่องปากคนพิการ เสนอให้ใช้แนวคิด ‘คนทัง้ มวล’ ซึง่ ครอบคลุมคนพิการ เป็นการขยายแนวร่วมหรือภาคีในระดับพืน้ ที่ ทันตแพทย์ตอ้ งไม่ทอดทิง้ ให้ทนั ตาภิบาล รพ.สต. ทำางานตามลำาพัง ควรต้องสนับสนุนให้ทนั ตาภิบาลได้เรียนรูแ้ ละพัฒนา การทำางานในความรับผิดชอบ และในระดับหัวหน้างาน การมีอายุงานนานไม่เปลี่ยนที่ทำางาน เอื้อต่อการพัฒนางานให้เป็นระบบขึ้น “โดยพืน้ ฐานต้องมีคนทีส่ นใจเรือ่ งนีอ้ ยูแ่ ล้วมันถึงจะทำาได้ ถ้าเป็นไปได้ สสพ. ต้องกางปีกเชือ่ มกับคนทัว่ ไป พอเน้นคำาว่า ผูพ้ กิ าร ทุกคนจะถูกจำากัดให้คดิ ถึงผูพ้ กิ าร เท่านั้นก็จะเหลือคนสนใจนิดเดียว แต่ถ้าเป็นผู้พิการและคนอื่นๆเหมือนคิดแบบ universal design (การออกแบบเพื่อคนทั้งมวล---นักวิจัย) แบบนั้นก็เชื่อมกับ อันอื่นได้ ถ้าบอกว่าคนพิการคือคนหนึ่งในสังคมที่ต้องเข้ามาร่วมทำา อันนี้รวมเรื่อง สุขภาพช่องปากด้วยนะ แบบว่าคิดถึงคนส่วนใหญ่นั่นแหละแต่มีผู้พิการอยู่ในนั้น”


83

“อยากให้ทันตแพทย์หาช่องทางในการพัฒนาแนวคิด วิธีปฏิบัติ กับน้อง ทันตภิบาลของเราให้ได้ ซึง่ เค้าสามารถทำ�ได้ดกี ว่าให้เค้าถูกทิง้ ไว้ใน รพ.สต. หมอก็ตอ้ ง ลงไปกับเขาด้วย ไปเรียนรูร้ ว่ มกันกับเขา คอยสนับสนุนเขา อาจไม่ตอ้ งไปกับเขาทุกครัง้ แต่ตอ้ งเอือ้ ให้เค้าไปได้ อาจจะไปกับเขาสักครัง้ เพือ่ เราจะได้เห็นว่าของจริงว่ามันคืออะไร”

“ประเด็นคือทันตาลงพื้นที่ไปเองได้ แต่ถ้ามีทันตแพทย์ไปด้วย ไปช่วย create ว่าจะทำ�อะไรในพื้นที่ ไปกับหัวหน้าไปทำ�ในพื้นที่ก็จะเห็น อีกอย่างเรื่อง ความเชื่อถือในสังคมด้วยเพราะเขายังเด็ก” 8.2 การกำ�หนดเป็นนโยบาย โดยทัว่ ไป งานทีเ่ ป็นนโยบายคืองานทีม่ คี วามสำ�คัญ โดยเฉพาะทีเ่ ป็นตัวชีว้ ดั กระทรวง ในทางปฏิบตั ิ ตัวชีว้ ดั ทีส่ �ำ คัญต่อผูป้ ฏิบตั งิ าน คือ ตัวชีว้ ดั ของหน่วยงานเพราะจะได้รบั การสนับสนุน จากผู้บังคับบัญชา เมื่อเป็นตัวชี้วัดจะมีการติดตามและรายงานผลการปฏิบัติ ซึ่งในพื้นที่ ที่บุคลากรมีใจในการทำ�งานจะเกิดผลงานได้เร็วขึ้น ในระดับปฏิบัติ เช่น ทันตาภิบาล บุคลากร ใน รพ.สต. เห็นว่า งานที่เป็นตัวชี้วัดจะดำ�เนินการได้ง่ายขึ้นเพราะผู้บังคับบัญชาต้องสนับสนุน และนับเป็นผลงานได้ดว้ ย ส่วนระดับวิชาชีพไม่เห็นด้วยกับการเป็นตัวชีว้ ดั เพราะต้องการอิสระ ในการคิดและทำ�งาน “ถ้างานคนพิการเป็นนโยบายเป็นตัวชีว้ ดั จะถูกตาม แต่อาจไม่ได้ใจ เพราะ บริบทกับปัญหาพื้นที่ไม่เหมือนกัน... ทันตแพทย์ สสจ.พูดถึงคนพิการน้อย เด็กเล็ก ยังฟันผุเยอะอยู่” “การมีนโยบายก็ดี เป็นตัวช่วยหนึง่ แต่ไม่สามารถได้ในทุกพืน้ ที่ แต่เราพอรูว้ า่ รพ.สต.ไหนสนใจกลุ่มไหน พอดูออกว่าที่ไหนถ้าเอานโยบายนี้ไปลงจะไปไวกว่าที่อื่น นโยบายเหมือนกันทุกพื้นที่นั่นล่ะ แต่ถ้าลองในพื้นที่ที่คิดบวกต่อนโยบายนั้นจะไป ได้ไว.... สสจ.ก็รู้สึกจะใช้อย่างนี้เหมือนกันกับอำ�เภอ” “นโยบายควรอิสระพอให้พน้ื ทีเ่ กิดจินตนาการและความคิดทำ�งานให้คนพิการ นโยบายไม่ควรเป็นแนวปฏิบัติว่าคุณต้องทำ�อะไร อยากให้เป็นลักษณะนโยบายที่ เห็นได้วา่ เราได้ดแู ลคนครบแล้วหรือยัง ทางทันตะคนพิการเป็นยังไงบ้างก็เท่านัน้ เอง ส่วนงบประมาณถ้ามีให้ได้ก็ควรจะให้ ไม่ได้แปลว่าต้องให้เงินทุกที่ ถ้าบางที่มีทุน เพียงพอแล้ว เขาก็ไม่ serious มาก”


84

การสอดแทรกเนื้อหาการดูแลสุขภาพช่องปากผู้ป่วยติดบ้านติดเตียงและผู้ป่วย เรือ้ รัง ในการฝึกอบรมผูด้ แู ลตามนโยบายการดูแลระยะยาว หรือในทีมหมอครอบครัว จะทำ�ให้ บุคลากรทุกระดับได้รบั ทราบงานและดำ�เนินการต่อในพืน้ ทีไ่ ด้งา่ ยขึน้ โดยทันตบุคลากรประสาน งานกับบุคลากรอื่นและจัดกิจกรรมต่อเนื่อง ทันตแพทย์บางคนเห็นว่า ถ้าสามารถใส่เรือ่ งการดูแลสุขภาพช่องปาก เข้าไปในตัวชีว้ ดั ของหน่วยงานอืน่ ทีด่ แู ลคนพิการ เช่น อบจ. อบต. เทศบาล จะทำ�ให้หน่วยงานเหล่านีเ้ ห็นความสำ�คัญ และแสวงหาความร่วมมือกับทันตบุคลากร แทนที่ทันตบุคลากรจะเป็นผู้ริเริ่มด้วยตัวเอง 8.3 การพัฒนาศักยภาพด้านวิชาการและบริการ ควรมีการพัฒนาหลักสูตรระยะสั้นครอบคลุมความพิการต่างๆ รวมการส่งเสริม พัฒนาการกล้ามเนื้อปากและมือ พร้อมการฝึกปฏิบัติ และมีโครงการสนับสนุนให้ทีมบุคลากร เข้าถึงหลักสูตรเหล่านั้นอย่างต่อเนื่อง โดยหลักการ หน่วยงานภาครัฐมีงบประมาณให้บุคลากร ฝึกอบรม แต่ในทางปฏิบัติ หากไม่ใช่เรื่องที่เป็นนโยบาย ก็ขึ้นกับนโยบายของ ผอ.รพ. “ตอนไปราชานุกูล ถ้าเขาไม่ออกค่าที่พัก เก็บค่าลงทะเบียนคงไม่ได้ไป ไปประชุมแต่ละปีมจี �ำ กัด ทีโ่ รงพยาบาลมีวงเงินปีละหกหมืน่ ทัง้ ฝ่าย ยีส่ บิ กว่าคน อาจ จะมีบวกลบ ไปได้ไม่ครบทุกคน ถ้าไม่เก็บค่าลงทะเบียนจะได้ไปง่ายขึน้ จะเหลือค่าทีพ่ กั อย่างเดียว แต่ตอ้ งอยูใ่ นวงเงิน ของเราจำ�นวนครัง้ ด้วย ด้วยวงเงินไม่เยอะ ถ้าหนึง่ หมืน่ ต้องขออนุญาต สสจ. ผอ. คงไม่ให้ถ้าค่าลงทะเบียนเจ็ดพัน ถ้าไปเพื่อนอีกยี่สิบชีวิต ก็ไม่ได้ไป” การจัดเวทีวิชาการ นอกจากเป็นการนำ�เสนอและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ความคิดและ ประสบการณ์ ต่อแนวทาง ประเด็น และวิธีการทำ�งาน ยังเป็นการเผยแพร่ข้อมูลความรู้ และ อาจเป็นแรงบันดาลใจแก่ผู้สนใจ “เชิญคนที่เขามีความรู้ มาแลกเปลี่ยน มากรองความคิดของตัวเอง ว่าเค้า ได้ทำ�ถูกไหม เขาก็ไม่รู้จะคุยกับใคร เราไปเทียบกับต่างประเทศ เราก็ไม่รู้ว่าเราทำ�ถูก หรือเปล่า แต่ถ้ามีพื้นที่ให้นั่งคุยแลกเปลี่ยน เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดกัน ว่าไปใน แนวทางที่ถูกต้องไหม ควรจะทำ�อะไรแบบไหน มันอาจจะเป็นการช่วยได้เยอะ”


85

“ต้องหาจุดทีเ่ ค้าน่าจะสนใจแล้วไปขาย idea เค้าสนใจอยากทำ�ก็ท�ำ อย่าง (ชื่อจังหวัด) จัดประชุมวิชาการ ส่งหนังสั้นประกวด เรายังเข้าไปดู อันไหนดีก็เอา มาขาย ถามน้องว่าสนใจไหม ถ้าสนใจ มีชอ่ งทางไหม อย่างราชานุกลู จัดอบรม สนใจไหม ก็ประสานส่งอบรม.... ทำ�ไงให้เค้าอยากทำ�ก่อน เมื่ออยากทำ�ก็สนับสนุนเค้า แทนที่ จะให้เค้าเริ่มเองหาเอง ถ้ามี model ให้ดู มีแนวทางให้เอาไปประยุกต์ ถ้าโครงการ ชัดเจน ใช้เงิน CUP ไม่น่ามีปัญหา”

5. อภิปรายและสรุปผล ข้อจำ�กัดของทัง้ สองโครงการ คือ ระยะเวลาสำ�หรับดำ�เนินการสัน้ กว่าแผน ประกอบ กับมีการเปลีย่ นแปลงพืน้ ที่ ทำ�ให้ตอ้ งปรับลดกิจกรรมและขัน้ ตอน การประเมินผลนีก้ ต็ อ้ งทอด ระยะรอให้การดำ�เนินโครงการแล้วเสร็จ ประกอบกับรายงานสรุปผลการดำ�เนินโครงการที่ได้ จากทั้งสองโครงการที่เป็นแหล่งข้อมูลสำ�คัญหนึ่งเป็นฉบับร่าง ยังไม่สมบูรณ์ ในลักษณะของ รายงานกิจกรรมเบี่ยงเบนจากการดำ�เนินงานจริง ขาดภาพรวมในการตอบวัตถุประสงค์หลัก และทั่วไปของชุดโครงการ ไม่มีการรายงานรายชื่อผู้เข้าร่วมกิจกรรมซึ่งมีจำ�นวนมาก ต้องเสีย เวลาในการสืบค้นชือ่ ทีอ่ ยูแ่ ละช่องทางการติดต่อซึง่ ได้เพียงบางส่วน เป็นข้อจำ�กัดของการศึกษา เชิงปริมาณ ในส่วนการศึกษาเชิงคุณภาพ ได้ขยายการเก็บข้อมูลตามกิจกรรมและการดำ�เนินงาน ที่มีความหลากหลาย เป็น 7 จังหวัด (ส่วนกลาง เชียงใหม่ ขอนแก่น หนองบัวลำ�ภู น่าน นครราชสีมา อุบลราชธานี) จากเดิมทีอ่ อกแบบไว้ 3 จังหวัด (เชียงใหม่ ขอนแก่น หนองบัวลำ�ภู) ภายในงบประมาณเท่าเดิมข้อมูลเชิงคุณภาพที่มีปริมาณและรายละเอียดเพิ่มขึ้นจำ�นวนมากนี้ แม้ว่าส่งผลให้รายงานการประเมินผลนี้ล่าช้าตามไปด้วย แต่ก็ได้พยายามสะท้อนคุณค่า ของโครงการรวมทั ้งข้อเสนอแนะที ่ม ีประโยชน์ในการดำ�เนินงานสุขภาพช่องปากต่อไป ซึ่งไม่ปรากฏในรายงานของทั้งสองชุดโครงการ ในระดับรัฐ แนวคิด นโยบาย และแนวทางการทำ�งานด้านคนพิการได้รบั อิทธิพลจาก อนุสญ ั ญาว่าด้วยสิทธิคนพิการซึง่ ไทยลงนามเป็นภาคีใน พ.ศ. 2551 และกฎหมายด้านคนพิการ ของประเทศไทย มาสนับสนุนนโยบายด้านสุขภาพหลักๆ เช่น ระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า มติสมัชชาสุขภาพ เรื่องการส่งเสริมความเป็นธรรมในการเข้าถึงบริการสุขภาพของคนพิการ การมีกองทุนทันตกรรม เป็นต้น นอกจากนี้ ยังมีนโยบายที่เอื้อต่อการดำ�เนินงานด้านสุขภาพ คนพิการ ได้แก่ นโยบายระบบบริการปฐมภูมิ ระบบสุขภาพระดับอำ �เภอ ทีมหมอประจำ� ครอบครัว และการดูแลสุขภาพระยะยาว เกิดกลไกการทำ�งานของสหวิชาชีพในการจัดบริการดูแล ประชาชนในพื้นที่ที่สามารถต่อยอดในด้านสุขภาพช่องปากคนพิการได้


86

แม้จังหวัดเชียงใหม่เริ่มดำ�เนินงานคนพิการทุกอำ�เภอตั้งแต่ปีงบประมาณ 2552 แต่เป็นการทำ�งานแยกวิชาชีพกัน ในปีงบ 2554 บางพื้นที่เริ่มดำ�เนินงานสุขภาพช่องปาก ด้วยงบประมาณกองทุนทันตกรรม แต่เป็นการจัดบริการที่บ้านคนพิการหรือ รพ.สต. โดยทีม ทันตบุคลากร เช่นเดียวกับในจังหวัดขอนแก่น แต่บางจังหวัดก็เพิ่งเริ่มงานสุขภาพช่องปาก ในชุดโครงการนี้ จากเดิมที่สหวิชาชีพทำ�งานด้วยมุมมองของแต่ละวิชาชีพแยกส่วนกัน ในชุด โครงการนีท้ นั ตแพทย์เข้ามามีบทบาทนำ�ในการวิเคราะห์ปญ ั หาและออกแบบการทำ�งานร่วมกัน โดยมีข้อมูลคนพิการที่สำ�รวจจากพื้นที่เป็นตัวเชื่อม มีการคืนข้อมูลแก่ รพ.สต. และหน่วยงาน นอกภาคสาธารณสุข เช่น องค์การบริหารส่วนตำ�บล (อบต.) เทศบาล และสำ�นักงานพัฒนาสังคม และความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด (พมจ.) เกิดการประสานร่วมกันออกแบบการดูแลคนพิการ รายบุคคล เริม่ จากการปรับปรุงบ้านและสภาพแวดล้อม และการสงเคราะห์ให้คนพิการดำ�รงชีวติ และดำ�เนินชีวติ ประจำ�วันได้อย่างถูกสุขลักษณะ จากนัน้ จึงพัฒนาระบบและจัดบริการสุขภาพ และสุขภาพช่องปากตามมาตามลำ�ดับ องค์การบริหารส่วนท้องถิ่นจึงเป็นปัจจัยความสำ�เร็จ ในการดูแลคนพิการในชุมชน ในกรณีนภี้ าวะผูน้ �ำ ของทันตแพทย์เป็นปัจจัยแห่งความสำ�เร็จ ของการทำ�งานด้านสุขภาพแบบภาคีเครือข่ายอำ�เภอ ซึง่ สอดคล้องกับหลักการระบบสุขภาพ ระดับอำ�เภอ เมื่อพิจารณาตามวัตถุประสงค์ ในรายงานของชุดโครงการ 1 มีผลผลิตที่เด่นชัด เป็นรูปธรรม 3 ประการ คือ 1) เนือ้ หารูปแบบกิจกรรมปรับทัศนคตินกั ศึกษาทันตแพทย์ตอ่ คนพิการ 2) เนื้อหาหลักสูตรการดูแลและบริการคนพิการ และ 3) องค์ความรู้เรื่องการออกแบบคลินิก ทันตกรรมสำ�หรับเด็กพิการ นักศึกษาทีผ่ า่ นกิจกรรม ยังทำ�กิจกรรมต่อเนือ่ ง (ดูงานในพืน้ ทีเ่ ดิม) หรือออกแบบกิจกรรมใหม่ (ออกหน่วยในพืน้ ทีท่ กี่ ลุม่ อืน่ ไปดูงาน พาคนตาบอดวิง่ ติวนักศึกษา ตาบอด) ความสำ�เร็จจากกิจกรรมอาสาเหล่านี้ บ่งชี้ว่าหลักสูตรน่าจะเพิ่มจำ�นวนนักศึกษา ทีม่ ที ศั นคติบวกต่อคนพิการหลังผ่านการเรียนรูไ้ ด้ จึงมีการต่อยอดโดยบูรณาการเรือ่ งคนพิการ ในเนือ้ หากระบวนวิชาระดับปริญญาตรีในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่และนเรศวร (ชัน้ ปีที่ 3, 4 และ 6) และกระบวนวิชาชีพทันตกรรมสำ�หรับบุคคลที่มีความต้องการพิเศษ สำ�หรับชั้นปีที่ 6 แบบวิชาเลือก ในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (เริม่ ในปีการศึกษา 2558) และมีการพัฒนาเป็นคลินกิ ทันตกรรมสำ�หรับคนพิเศษด้วยแนวคิดคลินกิ ทันตกรรมสำ�หรับคนทัง้ มวล แต่ไม่ปรากฏผลผลิต จากการพัฒนา “ระบบการให้บริการสุขภาพช่องปากต้นแบบและระบบส่งต่อผู้พิการแบบ บูรณาการระหว่างชุมชน โรงพยาบาลชุมชน และคณะทันตแพทยศาสตร์” ในขณะทีช่ ดุ โครงการ 2 ยังไม่สามารถสรุปรูปแบบและแนวทางการจัดบริการได้ ด้วยเหตุผลว่า เป็นผลงานจากทีมงาน ที่มีทักษะการทำ�งานชุมชนและภาคีเครือข่ายสูงมาก และมีเวลาดำ�เนินงานสั้นเพียง 6-7 เดือน เท่านั้น จึงยังไม่ควรสรุปในเวลานี้ แต่ควรได้รับการสนับสนุนให้ดำ�เนินการต่อ


87

นอกจากนั้น ยังมีวัสดุอุปกรณ์หรือเครื่องมือที่ผลิตในพื้นที่เพื่อใช้ในการปฏิบัติงาน โดยตรง หรืออำ�นวยความสะดวกแก่คนพิการหรือญาติในการดูแลสุขภาพช่องปาก เช่น แฟ้มเยี่ยมบ้านแบบบูรณาการ นาฬิกาพลิกตัว และแผนภาพการแปรงฟันในผู้ป่วยติดเตียง สมุดประจำ�ตัวคนพิการ ปฏิทินชุมชนที่ระบุชื่อบุคลากรสาธารณสุขและเบอร์โทรศัพท์แจกไว้ ทีบ่ า้ นคนพิการและผูส้ งู อายุทตี่ อ้ งการพึง่ พิง แบบตรวจวัดความสามารถของคนพิการ (ประยุกต์ จาก ICF ให้นักกายภาพบำ�บัดใช้คัดแยกการพึ่งพิงของผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีก) แบบบันทึกการ ตรวจฟัน (รวมการวัดความสะอาดฟันและพฤติกรรม) อุปกรณ์ชว่ ยทำ�ความสะอาดฟันและช่องปาก (สำ�ลีพนั ปลายไม้ชว่ ยเช็ดช่องปาก ด้ามแปรงสีฟนั ทีห่ นาขึน้ และมียางรัดช่วยให้จบั ได้กระชับขึน้ ) และแบบประเมินการทำ�งานของกล้ามเนื้อมัดเล็ก (เพื่อประเมินความสามารถเด็กพิการ ทางสติปัญญาในการแปรงฟันด้วยตนเอง) ข้อค้นพบสำ�คัญของการประเมินผลนี้ คือ จากเดิมที่สหวิชาชีพทำ�งานด้วยมุมมอง ของแต่ละวิชาชีพแยกส่วนกัน ทันตแพทย์เข้ามามีบทบาทนำ�ในการวิเคราะห์ปัญหาและ ออกแบบการทำ�งานร่วมกันโดยมีขอ้ มูลคนพิการทีส่ �ำ รวจจากพืน้ ทีเ่ ป็นตัวเชือ่ ม มีการคืนข้อมูล แก่ รพ.สต. และหน่วยงานนอกภาคสาธารณสุข เช่น องค์การบริหารส่วนตำ�บล (อบต.) เทศบาล และสำ�นักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด (พมจ.) เกิดการประสานร่วมกัน ออกแบบการดูแลคนพิการรายบุคคล เริม่ จากการปรับปรุงบ้านและสภาพแวดล้อมการสงเคราะห์ ให้คนพิการดำ�รงชีวิต และดำ�เนินชีวิตประจำ�วันได้อย่างถูกสุขลักษณะ จากนั้นจึงพัฒนาและ จัดบริการสุขภาพและสุขภาพช่องปากตามมาตามลำ�ดับ องค์การบริหารส่วนท้องถิ่นจึงเป็น ปัจจัยความสำ�เร็จในการดูแลคนพิการในชุมชน ในกรณีนภ้ี าวะผูน้ �ำ ของทันตแพทย์เป็นปัจจัย แห่งความสำ�เร็จของการทำ�งานด้านสุขภาพแบบภาคีเครือข่ายอำ�เภอซึ่งสอดคล้องกับ หลักการระบบสุขภาพระดับอำ�เภอ ในเชิงระบบยังมีปัญหาเรื้อรังของการส่งต่อจาก รพช. ไป รพศ./รพท. ทุกจังหวัด เมือ่ ต้องส่งต่อคนพิการจึงมีปญ ั หาเช่นกัน รพช.บางแห่งยังไม่มรี ะบบช่องทางด่วนสำ�หรับคนพิการ (ทัง้ การแพทย์และทันตกรรม) บริบททีเ่ ป็นจุดแข็งของจังหวัดเชียงใหม่คอื สสจ. บริหารงบประมาณ บริการสำ�หรับจ่ายค่าบริการผู้ป่วยที่ รพช. ส่งต่อมายังคณะทันตแพทย์ ผนวกกับความสัมพันธ์ ฉันท์ครูกบั ศิษย์ระหว่างคณะกับทันตแพทย์ในพืน้ ทีโ่ ดยเฉพาะในพืน้ ทีศ่ กึ ษาดูงานของนักศึกษา หรือเป็นอาจารย์พิเศษซึ่งมักต้องเป็นผู้ที่มีบุคลิกหรือการทำ�งานโดดเด่น เกิดการประสานงาน การส่งต่อแบบไม่เป็นทางการ ซึง่ ไม่พบในจังหวัดอืน่ ทีม่ คี ณะทันตแพทย์และทันตแพทย์ในพืน้ ที่ ส่วนใหญ่เป็นศิษย์เก่าเช่นกัน รูปแบบนี้เรียกว่า “เชียงใหม่โมเดล” ในอนาคตคลินิกทันตกรรม คนพิเศษของคณะพร้อมให้บริการ การส่งต่อน่าจะมีความชัดเจนและเป็นระบบขึน้ แต่ความท้ายทาย คือ ในปัจจุบนั งบประมาณด้านสุขภาพอยูท่ เ่ี ขตสุขภาพ (กสธ.) บริหารโดยคณะกรรมการระดับเขต


88

โดยจังหวัดเชียงใหม่ได้รับงบประมาณลดลงตามลำ�ดับ เมื่อกองทุนตามจ่ายค่าบริการระดับ จังหวัดนีห้ มดไป อาจต้องกลับไปใช้ระบบส่งต่อภายใน รพ. สังกัดกระทรวงสาธารณสุขตามเดิม เพื่อลดค่าใช้จ่ายโดยรวมของจังหวัด แม้วา่ ‘สหวิชาชีพ’ เป็นคำ�สำ�คัญในการจัดบริการ แต่มอี ย่างน้อย 2 พืน้ ที่ ทีด่ �ำ เนินงาน โดยลำ�พังทีมทันตบุคลากรแทนการมองคนพิการแบบองค์รวม สะท้อนถึงคุณภาพและปริมาณ การสือ่ สารของชุดโครงการกับหัวหน้าโครงการในพืน้ ที่ ให้มคี วามเข้าใจแนวคิดและแนวทางการ ทำ�งานแบบเครือข่ายวิชาชีพ (สหวิชาชีพ) และภาคส่วน (ภาคสาธารณสุข สังคม และท้องถิ่น) โดยเฉพาะเมื่อมีระยะเวลาดำ�เนินโครงการไม่ถึงปี ซึ่งควรให้ความสำ�คัญกับโครงสร้าง (ทีม สหวิชาชีพและภาคส่วน) และกระบวนการดำ�เนินงานแบบมีสว่ นร่วม (แนวราบ) ซึง่ เป็นทุนการ ดำ�เนินงานในโอกาสต่อไป มากกว่ามุ่งผลผลิตและผลลัพธ์ซึ่งไม่สามารถบริการได้แบบคนปกติ ในอีกด้านการทำ�งานเฉพาะทีมทันตบุคลากร (อาจรวม อสม.) ก็สะท้อนถึงทักษะของทันตแพทย์ ในการสื่อสารและประสานงานกับวิชาชีพอื่นในโรงพยาบาลหรือ รพ.สต. บางคนมีบุคลิกภาพ แบบเก็บตัว ไม่ชอบการติดต่อประสานงาน จำ�เป็นต้องมีคนอืน่ ช่วยจัดการให้ การสือ่ สารภายใน ฝ่ายมักไม่เป็นทางการ เป็นการพูดคุยเล่าเรื่องมากกว่าการประชุม ในภาพรวมทั้งสองโครงการ โครงการ 1 มีสรุปผลการดำ�เนินงานกิจกรรมต่างๆ ในเว็บไซต์ของคณะซึ่งยังไม่แพร่หลาย แต่ยงั ไม่ปรากฏองค์ความรู้ เครือข่ายบุคลากร ระบบบริการ ส่วนโครงการ 2 ยังไม่มกี ารสือ่ สาร สาธารณะและเผยแพร่ข้อมูลการดำ�เนินโครงการ ผลผลิต ผลลัพธ์ และข้อเสนอ ด้านเนื้อหาของโครงการระดับพื้นที่ส่วนใหญ่สามารถดำ�เนินการได้ตามเป้าหมาย มีความมุง่ มัน่ ต่อพันธะสัญญาทีใ่ ห้ไว้ตอ่ กัน แต่บางโครงการมีกลุม่ เป้าหมายหรือวิธกี ารไม่เหมาะ สมจึงไม่สามารถดำ�เนินการได้ในทีส่ ดุ (เช่น ระบุพนื้ ทีบ่ ริการนอกเขตรับผิดชอบ จัดอบรม อสม. ให้ดำ�เนินการโดยไม่มีระบบรองรับ) การมีเอกภาพและการดำ�เนินงานทีส่ อดคล้องกัน น่าจะเป็นลักษณะเด่นของโครงการ ลักษณะนี้ จากการชักชวนคนรู้จักเคยทำ�งานร่วมกันมาคิดมาเขียนโครงการร่วมกัน แต่การ จัดบริการในเชียงใหม่ของโครงการ 2 ถูกดึงออกมาแทรกเข้าไปในโครงการแรก (กิจกรรม 10) กระทบต่อกรอบแนวคิดและแนวทางการทำ�งานของชุดโครงการ 1 ขณะทีผ่ ดู้ �ำ เนินงานกิจกรรม 10 ขาดโอกาสพัฒนาศักยภาพจากโครงการ 2 และไม่ได้จดั งบใหม่รองรับ และไม่ได้เข้าร่วมเวที แลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านบริการร่วมกับบุคลากรอื่นในโครงการ 2 ซึ่งมีจำ�นวนมากกว่า เท่ากับ ขาดโอกาสพัฒนาและเรียนรู้ร่วมกัน และก็ไม่ได้ผลผลิตผลลัพธ์การจัดบริการตามที่ระบุ ด้านศักยภาพ เป็นการยากทีก่ ารอบรมพัฒนาศักยภาพเพียงหนึง่ ครัง้ จะทำ�ให้บคุ ลากร มีทักษะความสามารถพร้อมมูลในการดูแลคนพิการทุกประเภท แม้ในความพิการประเภท เดียวกันก็มลี กั ษณะเฉพาะบุคคลได้ หาก รพ. แม่ขา่ ยมีทนั ตแพทย์เฉพาะทางตาม service plan


89

ของ กสธ. ในสาขาทันตกรรมสำ�หรับเด็ก ศัลยศาสตร์ชอ่ งปากหรือสาขาทันตกรรมทัว่ ไป ก็สามารถ ยกระดับเป็นแหล่งดูงานฝึกงานคลินิกบริการด้านทันตกรรมได้ ศักยภาพที่จำ�เป็นและพัฒนา ยากกว่า คือ การทำ�งานเครือข่ายวิชาชีพและภาคส่วนแบบมีส่วนร่วม ดังนั้นการเรียนรู้ร่วมกัน ขณะทำ�งานของทีมสหวิชาชีพ การดูงานในพื้นที่อื่น และการจัดทำ�ระบบให้คำ�ปรึกษาหารือ ทางไกลหรือออนไลน์ น่าจะมีความเป็นไปได้มากกว่าพยายามจัดอบรมให้ครบทุกหลักสูตร ที่สำ�คัญต้องประเมินศักยภาพบุคคลว่าเหมาะสมกับงานหรือไม่ และสถานพยาบาลมีศักยภาพ เพียงพอหรือไม่ แม้จะมีนโยบายบรรจุทันตาภิบาลใน รพ.สต. แต่ก็ไม่มีครุภัณฑ์สนับสนุนและ ผู้ช่วยในการบริการ ประเด็นการทำ�ให้เป็นนโยบายมีการอภิปรายกันมาก ซึ ่งเมื ่อกล่าวถึงนโยบาย ระดับของนโยบายมีความสำ�คัญ นโยบายรัฐบาลย่อมเหนือกว่านโยบายกระทรวง แต่นโยบายของ ผอ.รพ. มีผลต่อการปฏิบัติโดยตรง หาก ผอ.รพ. เน้นการทำ�งานตามนโยบายและตัวชี้วัด บุคลากรจะมีอสิ ระในการทำ�งานลดลง การดำ�เนินงานทีไ่ ม่ใช่นโยบายและไม่เป็นตัวชีว้ ดั อาจไม่ได้ รับอนุมัติถ้าไม่สามารถสร้างรายได้ให้ รพ. กระทรวงสาธารณสุขให้ความสำ�คัญกับผู้สูงอายุ มากกว่าคนพิการโดยคนพิการอยู่ภายใต้ตัวชี้วัดผู้สูงอายุ ส่วนตัวชี้วัดกรมการแพทย์ เป็นการ ใส่ขาเทียมให้คนพิการขาขาดเพื่อการเข้าสังคมและทำ�งานเลี้ยงชีพ

6. ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย 1. ด้านแนวคิดและแนวทางการทำ�งาน คนไทยมีอายุคาดเฉลี่ยเพิ่มขึ้นและอุบัติเหตุทำ�ให้จำ�นวนผู้มีปัญหาทางกายภาพ ทัง้ ชัว่ คราวและถาวรเพิม่ ขึน้ คำ�ว่า กลุม่ คนพิเศษ (special needed group) จึงมีความหมาย สอดคล้องกับบริบททางสังคมประชากรทีม่ คี วามหลากหลายหรือสังคมพหุลกั ษณ์และน่าจะได้รบั การยอมรับ มากกว่าคำ�ว่า “คนพิการ” นอกจากนี้แนวทางการทำ�งานที่ตอบสนองคนทั้งมวล (universal approach) ทำ�นองเดียวกับ การออกแบบเพื่อคนทั้งมวล (universal design) ในด้านสถาปัตยกรรม ย่อมขยายแวดวงความร่วมมือและภาคีได้มากกว่า การมุ่งแต่ กลุม่ คนพิเศษหรือคนพิการ ซึง่ สอดคล้องกับแนวคิดหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า (universal coverage)


90

2.ด้านนโยบาย การผลักดันให้การดูแลสุขภาพช่องปากคนพิการเป็นนโยบาย ต้องอาศัยความร่วมแรง ร่วมใจจากหน่วยงานองค์กรทีเ่ กีย่ วข้องโดยมีขอ้ มูลวิชาการรองรับ นโยบายมีหลายรูปแบบ เช่น จูงใจให้ภาคเอกชนเข้ามาร่วมจัดบริการด้วยมาตรการทางภาษี สอดแทรกเรือ่ งสุขภาพช่องปาก ในนโยบายหรือโครงสร้างทีม่ อี ยูใ่ น หลักสูตรอบรมการดูแลระยะยาว หลักสูตรอบรมผูด้ แู ลคนพิการ การอบรมของศูนย์สง่ เสริมคนพิการ แผนยุทธศาสตร์คนพิการ (โดยสถาบันสิรนิ ธร) และเป็นตัวชีว้ ดั (KPI) ในการดำ�เนินงานของกระทรวงต่างๆ 3. ด้านการพัฒนาศักยภาพบุคลากร แม้วา่ การเปลีย่ นแปลงหลักสูตรทันตแพทยศาสตร์และทันตาภิบาลระดับปริญญาตรี มีหลายภาคส่วนเกี่ยวข้อง (คณะกรรมการระดับคณะ สภามหาวิทยาลัย และทันตแพทยสภา) การปรับปรุงในระยะยาวขึน้ กับสภาพทางสังคมประชากรของไทยและอาเซียนทีจ่ ะมีอทิ ธิพลให้ ปรับหลักสูตรรองรับอุปสงค์ (เช่น หลักสูตรการจัดการและบริการในคลินกิ หลักสูตรดูแลคนพิการ ร่วมกับวิชาชีพอืน่ และเป็นข้อสอบในการสอบสำ�เร็จการศึกษาทันตแพทยศาสตร์บณ ั ฑิต รวมทัง้ หลักสูตรระดับหลังปริญญา) แต่หากต้องการหวังผลในระยะสัน้ ต้องอาศัยการขับเคลือ่ นและร่วมกัน ผลักดันเชิงนโยบาย สำ�หรับหลักสูตรเข้มช้นระยะสั้น จำ�เป็นต้องมีเจ้าภาพ เช่น กระทรวง สาธารณสุข (กรณีเป็นนโยบายกระทรวง) หรือ สปสช. (กรณีเป็นการบริการกลุ่มที่สังคม ควรช่วยเหลือเกือ้ กูล) มอบหมายให้คณะจัดทำ�หลักสูตรและสนับสนุนการฝึกอบรม ดังในปัจจุบนั เกิดหลักสูตรเกีย่ วกับผูส้ งู อายุเพราะนโยบายรัฐบาล และกระทรวงร่วมกับสถานการณ์ในประเทศ พัฒนา สำ�หรับการพัฒนาศักยภาพนอกระบบการศึกษา ในโรงพยาบาลแม่ขา่ ยทีม่ ที นั ตแพทย์ เฉพาะทางสาขาทันตกรรมเด็ก ศัลยศาสตร์ช่องปาก และทันตกรรมทั่วไป ที่ทำ�งานร่วมกับ สหวิชาชีพ สามารถยกระดับเป็นสถานที่ดูงาน (study) ฝึกงาน (train) และสอนงาน (coach) สำ�หรับโรงพยาบาลที่มีบริบทคล้ายกัน 4. ด้านวิชาการ ส่งเสริมการวิจยั พัฒนานวัตกรรมด้านวัสดุอปุ กรณ์ สาร ยาสีฟนั เกีย่ วกับการทำ�ความ สะอาดช่องปากที่ปลอดภัยต่อคนพิการ (เช่น ยาสีฟันไร้ฟองไร้สารแต่งกลิ่น ผ้าก๊อซเช็ดฟัน แบบมีด้ามจับ) และเครื่องมืออุปกรณ์ในการบริการทันตกรรมคนพิการทดแทนการนำ�เข้า เพือ่ ลดต้นทุน โดยจัดทำ�โจทย์วจิ ยั ทีม่ คี วามสำ�คัญและเร่งด่วนประสานกับหน่วยงานด้านการวิจยั (เช่น วช. สวทช. สวรส.)


91

จัดเวทีวิชาการเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในเรื่องคนพิการ สุขภาพคนพิการ และสุขภาพ ช่องปากคนพิการ อาจเป็นแทรกเป็นหัวข้อในการประชุมปกติหรือแยกจัดเฉพาะคนพิการ อาจเป็น วิชาการทั่วไปหรือเน้นนวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์เพื่อใช้เองหรือขาย 5. ด้านศูนย์ข้อมูลข่าวสาร ประกอบด้วย การเข้าถึงบริการสุขภาพช่องปากของคนพิการเพื่อการติดตามและ ประเมินผลเป็นระยะ ความต้องการบริการสุขภาพช่องปากซึง่ อาจเพิม่ เติมในการสำ�รวจคนพิการ และสภาวะทันตสุขภาพ วัสดุอุปกรณ์ทำ�ความสะอาดช่องปากอาจจำ�แนกเป็นกลุ่มที่หาซื้อได้ ทัว่ ไป กลุม่ ทีห่ าซือ้ ได้ในวงจำ�กัด (อาจเพราะราคาแพงหรือเป็นวัสดุอปุ กรณ์ทางการแพทย์) และ กลุ่มที่ต้องปรับให้เหมาะกับแต่ละบุคคล (มีคำ�แนะนำ�วิธีการในการปรับแต่ง) และผลงานเด่น ของเครือข่ายบริการ กองทุนตำ�บล และกองทุนฟื้นฟูสมรรถภาพที่จำ�เป็น


92

ขอขอบคุณ ทีมติดตามประเมินผลชุดโครงการดูแลสุขภาพช่องปากคนพิการ ขอขอบคุณหัวหน้า โครงการและคณะทำ�งานโครงการพัฒนาสมรรถนะนักศึกษาทันตแพทย์ และทีมทันตบุคลากร เพือ่ ดูแลสุขภาพช่องปากผูพ้ กิ าร และโครงการส่งเสริมการเข้าถึงบริการสุขภาพช่องปากคนพิการ ผู้ประสานงาน เจ้าหน้าที่โรงพยาบาล มหาวิทยาลัย ศูนย์การศึกษาพิเศษ คนพิการ และญาติ ทุกท่านทีม่ สี ว่ นเกีย่ วข้องในการเก็บข้อมูลติดตามประเมินผล รวมถึง ผูเ้ ชีย่ วชาญ จากหน่วยงาน ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการดูแลสุขภาพและคุณภาพชีวิตคนพิการ อาทิ องค์กรคนพิการ องค์การ บริหารส่วนจังหวัด องค์การบริหารส่วนตำ�บล สำ�นักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ สำ�นัก ทันตสาธารณสุข เป็นต้น ที่กรุณาให้ข้อมูลและข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์ต่อการขับเคลื่อน งานดูแลสุขภาพช่องปากคนพิการ สุดท้ายนี้ ขอขอบคุณสำ�นักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ สถาบันวิจัย ระบบสาธารณสุ ข ที่ ส นั บ สนุ น และเป็ น ภาคี เ ครื อ ข่ า ยการทำ � งานจนบรรลุ โ ครงการดั ง วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้


93

รายชื่อทีมติดตามประเมิน

1. แพทย์หญิงวัชรา ริ้วไพบูลย์ 2. ทันตแพทย์หญิงเพ็ญแข ลาภยิ่ง 3. ทันตแพทย์หญิงวรมน อัครสุต 4. นางสาวแพรว เอี่ยมน้อย 5. นางสาวอัปสร จินดาพงษ์


94 รายชื่อผู้รับผิดชอบและผู้ร่วมชุดโครงการดูแลสุขภาพช่องปากคนพิการ

1) โครงการพัฒนาสมรรถนะนักศึกษาทันตแพทย์และทีมทันตบุคลากรเพื่อดูแลสุขภาพ ช่องปากผู้พิการ 1. รศ.ทพญ.ดร.พัชราวรรณ ศรีศิลปนันทน์ 2. ทพญ.กันยารัตน์ คอวนิช 3. ผศ.ทพญ.ปิยะนารถ จาติเกตุ 4. ทพ.นฤมนัส คอวนิช 5. ทพญ.ภัทรานันท์ มหาสันติปิยะ 6. ผศ.ทพญ.ศศิธร ไชยประสิทธิ์ 7. ผศ.ทพ.อติศักดิ์ จึงพัฒนาวดี 8. นายธงชัย ปรีชา 9. นางรัตนา บัวลอย 10. อ.ทพญ.ดร.จุฑารัตน์ ฉิมเรือง 11. อ.ทพญ.ดร.ธนิดา โพธิ์ดี 12. อ.ทพญ.พรสุดา หน่อไชย 13. รศ.ทพญ.ศจี สัตยุตม์

คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร คณะทันตแพทยศาสตร มหาวิทยาลัยขอนแก่น


95

14. ผช.ทพญ.ปิยะฉัตร พัชรานุฉัตร 15. ทพ.พูลพฤกษ์ โสภารัตน์ 16. ผศ.นันทยา อุดมพาณิชย์ 17. คุณณิชมน อุ่นดอนตอง 18. ทพ.ฉัตรพงศ์ ชื่นสุวรรณกุล 19. ทพญ.ณัฐวุฒิ อุดรสัก 20. ทพญ.อรนุช ตัณฑจำ�รูญ 21. คุณแคทรียา พจนสุนทร 22. คุณขวัญหทัย บุญชู 23. ทพญ.วรรณศรี แก้วปิ่นตา 24. ทพญ.นพวรรณ ทองทัพ 25. คุณสุพัตรา วัฒนเสน 26. นางสาวปาริษา ปานหวาน

คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น โรงพยาบาลวัดจันทร์เฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา อำ�เภอกัลยานิวัฒนา จังหวัดเชียงใหม่ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น โรงพยาบาลสันทราย อำ�เภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ โรงพยาบาลเทศบาลนครเชียงใหม่ อำ�เภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ อำ�เภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ โรงพยาบาลแม่แตง อำ�เภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ โรงพยาบาลแม่แตง อำ�เภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ สถาบนแมเคนเพื่อการฟื้นฟูสภาพ มูลนิธิแห่งสภาคริสตจักรใน ประเทศไทย จังหวัดเชียงใหม่ โรงพยาบาลหางดง อำ�เภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ โรงพยาบาลหางดง อำ�เภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรนธร จังหวัดขอนแก่น ครู คศ.1 ศูนย์การศึกษาพิเศษ จังหวัดพัทลุง


96

2) โครงการส่งเสริมการเข้าถึงบริการสุขภาพช่องปากคนพิการ 1. ทพญ.ศันสณี รัชชกูล 2. นางสาวพวงทอง ผู้กฤตยาคามี 3. ทพญ.สุรัตน์ มงคลชัยอรัญญา 4. ทพญ.ภัตติมา บุรพลกุล 5. ทพญ.เสริมศิริ สุภากรณ์ 6. ทพญ.วรางคณา อินทโลหิต 7. ทพญ.อภิวันท์ ถาวร 8. ทพญ.วัชรีพร ปิยโอฬาร 9. ทพญ.พัชราลักษณ์ เถื่อนนาดี 10. ทพญ.สุจิตตรา ชาตา 11. ทพญ.มนัสนันท์ ศิริลักขณาภรณ์ 12. ทพญ.ศุจินธร ศรียา 13. ทพญ.อุมาพร รุ่งรัศมีทวีวัฒนะ 14. ทพญ.จารุวรรณ ประสพอัครกิจ 15. ทพญ.พรทิพย์ แก้วประดิษฐ์ 16. ทพญ.สุรีรัตน์ สูงสว่าง 17. นางวีรดา บุญภู่ 18. นางเยาวลักษณ์ พัดลม

มหาวิทยาลัยพะเยา (ผู้รับผิดชอบหลักโครงการ) สำ�นักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย สำ�นักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย สถาบันราชานุกูล โรงพยาบาลสงฆ์ สำ�นักงานสาธารณสุขจังหวัดหนองบัวลำ�ภู โรงพยาบาลนากลาง จังหวัดหนองบัวลำ�ภู โรงพยาบาลศรีบญ ุ เรือง จังหวัดหนองบัวลำ�ภู โรงพยาบาลบ้านฝาง จังหวัดขอนแก่น โรงพยาบาลบ้านฝาง จังหวัดขอนแก่น โรงพยาบาลนำ�พอง จังหวัดขอนแก่น โรงพยาบาลนำ�พอง จังหวัดขอนแก่น โรงพยาบาล 50 พรรษา จังหวัดอุบลราชธานี ้ โรงพยาบาลสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา ้ โรงพยาบาลสงขลา จังหวัดสงขลา โรงพยาบาลน่าน จังหวัดน่าน สำ�นักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย เจ้าหน้าที่ประสานงานโครงการ


97 รายชื่อผู้เข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการ Policy brief : สังเคราะห์ข้อเสนอนโยบายเพื่อขับเคลื่อนงานดูแลสุขภาพช่องปาก คนพิการ วันที่ 19 เมษายน 2559 โรงแรมอมารีดอนเมือง กรุงเทพฯ

1. พญ.วัชรา ริ้วไพบูลย์ 2. ทพญ.เพ็ญแข ลาภยิ่ง 3. ทพญ.วรมน อัครสุข 4. นางสาวแพรว เอี่ยมน้อย 5. นางสาวอัปสร จินดาพงษ์ 6. นางสาววรรณพร บุญเรือง 7. นางสาววัชรี ชูวงศ์ 8. นายศุภฑิต สนธินุช 9. ทพ.ศิริเกียรติ เหลียงกอบกิจ 10. นางสาววรวรรณ ชายไพฑูรย์ 11. นายญาณวุฒิ รุ่งกิจการวัฒนา 12. ดร.ทพ.วิรัตน์ เอื้องพูลสวัสดิ์ 13. นายมานพ เชื้อบัณฑิต 14. ทพญ.ศันสณี รัชชกูล 15. รศ.ทพญ.ดร.พัชราวรรณ ศรีศิลปนันทน์ 16. ทพญ.สุรัตน์ มงคลชัยอรัญญา 17. นางสาวพวงทอง ผู้กฤตยาคามี 18. ทพญ.ภัตติมา บุรพลกุล 19. นางเยาวลักษณ์ พัดลม 20. คุณสุพัตรา วัฒนเสน 21. ทพญ.อภิวันท์ ถาวร 22. อ.ทพญ.ดร.จุฑารัตน์ ฉิมเรือง 23. ทพ.พูลพฤกษ์ โสภารัตน์ 24. ทพญ.เสริมศิริ สุภากรณ์

ทีมติดตามประเมินผล ทีมติดตามประเมินผล ทีมติดตามประเมินผล ทีมติดตามประเมินผล ทีมติดตามประเมินผล สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข สำ�นักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ สำ�นักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ สำ�นักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ สำ�นักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เขต 12 สงขลา องค์การบริหารส่วนจังหวัดหนองบัวลำ�ภู มหาวิทยาลัยพะเยา คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ สำ�นักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย สำ�นักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย สถาบันราชานุกูล เจ้าหน้าที่ประสานงานโครงการ วิทยาลัยสาธารณสุขสิรินธร โรงพยาบาลนากลาง จังหวัดหนองบัวลำ�ภู คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร โรงพยาบาลวัดจันทร์เฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา โรงพยาบาลสงฆ์


98

25. ทพญ.กันยา บุญธรรม 26. ทพญ.จารุวรรณ ประสพอัครกิจ 27. ทพญ.อุมาพร รุ่งรัศมีทวีมานะ 28. ทพญ.อรนุช ตัณฑจำารูญ 29. ทพญ.อัมพร เดชพิทักษ์ 30. ทพญ. จิราพร ขีดดี 31. ทพญ.จันทนา อึ้งชูศักดิ์ 32. นายวิเชียร หัสถาดล 33. นางพรสวรรค์ เมตตาประเสริฐ 34. นางสาวจิรนันท์ ปิติฤกษ์

สำานักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย โรงพยาบาลสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา โรงพยาบาล 50 พรรษามหาวชิราลงกรณ จ.อุบลราชธานี โรงพยาบาลแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ สำานักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่ สำานักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย นักวิชาการอิสระ สมาคมคนพิการแห่งประเทศไทย สมาคมคนพิการทางสติปัญญา แห่งประเทศไทย เทศบาลนครรังสิต


99

ภาคผนวก


100

ภาคผนวก ก แบบสอบถามทันตบุคลากรในการบริการสุขภาพช่องปากคนพิการ ผูต้ อบคือ 1) ทันตแพทย์ในศูนย์สขุ ภาพชุมชนเมือง/รพช./รพศ.รพท./ศูนย์บริการสาธารณสุข เทศบาล หรือ 2) ทันตาภิบาลในศูนย์บริการสาธารณสุขเทศบาลที่ไม่มีทันตแพทย์ประจำ�หรือใน รพ.สต. ในจังหวัดเชียงใหม่ ขอนแก่น พิษณุโลก หนองบัวลำ�ภู นครราชสีมา และอุบลราชธานี ที่เข้าร่วมโครงการฯ วิธีตอบ ทำ�เครื่องหมาย / ในช่อง • เพียงข้อเดียว หรือเขียนอธิบาย โครงการฯ หมายถึง โครงการพัฒนาสมรรถนะนักศึกษาทันตแพทย์และทีมทันตบุคลากรเพือ่ ดูแลสุขภาพช่องปากผูพ้ กิ าร และโครงการส่งเสริมการเข้าถึงบริการสุขภาพช่องปาก ของคนพิการ จากการสนับสนุนของสถาบันสร้างเสริมสุขภาพคนพิการ (สสพ.) ก. ข้อมูลทั่วไป 1. ผู้ให้ข้อมูล ทันตแพทย์ ทันตาภิบาล อื่นๆ (โปรดระบุ) .............................. 2. อายุราชการของท่าน …………………ปีเต็ม 3. จังหวัดที่ท่านทำ�งาน ……………………………………………………………. 4. ประเภทสถานพยาบาลของท่าน โรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลทั่วไป โรงพยาบาลชุมชน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ประจำ�ตำ�บล 5. การจัดบริการสุขภาพช่องปากคนพิการของท่าน เฉพาะในสถานพยาบาล ในสถานพยาบาล และ ร.ร.การศึกษาพิเศษ ในสถานพยาบาลและออกหน่วย ในสถานพยาบาล ร.ร.การศึกษาพิเศษ และออกหน่วย อื่นๆ (โปรดระบุ) ................................................................ 6. คนพิการที่เป็นกลุ่มเป้าหมายในการส่งเสริมป้องกันสุขภาพช่องปากของท่าน เด็ก (0-14 ปี) วัยรุ่น (15-24 ปี) วัยทำ�งาน (25-59 ปี) ผู้สูงอายุ (60+ ปี) อื่นๆ (โปรดระบุ) ....................................................... ไม่จำ�กัดกลุ่มเป้าหมาย ไม่มีกลุ่มเป้าหมาย 7. เครื่องมือที่ใช้สำ�รวจสุขภาพและสุขภาพช่องปากคนพิการในพื้นที่รับผิดชอบของท่าน ไม่มีการสำ�รวจ ไม่แน่ใจว่ามีการสำ�รวจหรือไม่ WHO 1997 ICF ไม่มีชื่อ/ไม่ทราบว่าชื่ออะไร อืน่ ๆ (โปรดระบุ) .....................


101

8. ท่านหรือสถานพยาบาลของท่านเข้าร่วมโครงการฯ โครงการพัฒนาสมรรถนะนักศึกษาทันตแพทย์และทีมทันตบุคลากรเพื่อดูแลสุขภาพ ช่องปากผู้พิการ (กรุณาตอบหมวด ข – จ ต่อ) โครงการส่งเสริมการเข้าถึงบริการสุขภาพช่องปากของคนพิการ (กรุณาตอบหมวด ข – จ ต่อ) จำ�ชื่อโครงการไม่ได้ (กรุณาตอบหมวด ข – จ ต่อ) ไม่ทราบ/ไม่แน่ใจว่าเข้าร่วมโครงการเหล่านีห้ รือไม่ (จบคำ�ถาม กรุณาส่งกลับตามทีอ่ ยูแ่ ผ่นหลัง) อื่นๆ (โปรดระบุ) ..................................

ข. ความพึงพอใจต่อโครงการฯ ที่ท่านเข้าร่วมในข้อ 8 5, 4, 3, 2 และ 1 = พึงพอใจมากทีส่ ดุ , มาก, ปานกลาง, น้อย และน้อยทีส่ ดุ ตามลำ�ดับ ประเด็นความพึงพอใจ

5 4 3 2 1 หมายเหตุ

9. การประสานงานและบริหารจัดการของโครงการ 10. การได้รับการพัฒนาศักยภาพให้พร้อมจัดบริการ 11. การได้รับสนับสนุนด้านวิชาการเพื่อจัดบริการ 12. การได้รับงบประมาณจากโครงการในการสนับสนุนการดำ�เนินงาน 13. การมีบทบาทในการจัดบริการสุขภาพช่องปากคนพิการ 14. การได้รับความช่วยเหลือที่จำ�เป็นต่อการแก้ปัญหาในการดำ�เนินงาน 15. การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างดำ�เนินงาน 16. ผลการดำ�เนินงานของหน่วยงานท่านเมื่อสิ้นสุดโครงการ 17. การแลกเปลี่ยนเรียนรู้เมื่อสิ้นสุดโครงการและสรุปผลโครงการ 18. การเข้าร่วมโครงการโดยรวม

ค. การเปลีย่ นแปลงความรู/้ ทัศนคติ/และศักยภาพในการบริการสุขภาพช่องปากทีเ่ กิดจาก โครงการฯ 5, 4, 3, 2 และ 1 = เพิม่ ขึน้ มากทีส่ ดุ , มาก, ปานกลาง, น้อย และน้อยทีส่ ดุ ตามลำ�ดับ


102 ประเด็นความพึงพอใจ 19. ความรู้ความเข้าใจในคนพิการทุกประเภท 20. ทัศนคติเชิงบวกต่อคนพิการทุกประเภท 21. ความสามารถจัดการ (manage) คนพิการทางการเคลื่อนไหว 22. ความสามารถจัดการ (manage) คนพิการทางการมองเห็น 23. ความสามารถจัดการ (manage) คนพิการทางการได้ยิน 24. ความสามารถจัดการ (manage) คนพิการทางสติปัญญาการเรียนรู้ 25. ความสามารถบริการสุขภาพช่องปากคนพิการทางการเคลื่อนไหว 26. ความสามารถบริการสุขภาพช่องปากคนพิการทางการมองเห็น 27. ความสามารถบริการสุขภาพช่องปากคนพิการทางการได้ยิน 28. ความสามารถบริการสุขภาพช่องปากคนพิการทางสติปญ ั ญาการเรียนรู้ 29. ความสามารถทำ�งานกับสหวิชาชีพเพือ่ การบริการคนพิการแบบบูรณาการ 30. ความสามารถถ่ายทอดให้ทนั ตบุคลากรคนอืน่ ดูแลและบริการคนพิการ 31. ความสามารถถ่ายทอดให้วิชาชีพอื่นดูแลสุขภาพช่องปากคนพิการ 32. ความสามารถประสานกับหน่วยงานสังกัดอื่นเพื่อดูและและจัด บริการคนพิการให้ได้ครอบคลุมหรือมีคณ ุ ภาพชีวติ เช่น อบต. เทศบาล 33. ความราบรื่นในการดูแลและจัดบริการคนพิการร่วมกับหน่วยงาน ในข้อ 32

5 4 3 2 1 หมายเหตุ


103

ง. ปัญหาอุปสรรคที่ท่านประสบ

1. ด้านบริหารจัดการ ………………………………………………………………………………………………………………… 2. ด้านการสนับสนุน ………………………………………………………………………………………………………………… 3. ด้านการสื่อสารกับผู้พิการ ………………………………………………………………………………………………………………… 4. ด้านศักยภาพในการบริการผู้พิการ ………………………………………………………………………………………………………………… 5. ด้านการจัดบริการผู้พิการ ………………………………………………………………………………………………………………… 6. อื่นๆ …………………………………………………………………………………………………………………

จ. ข้อเสนอแนะ (หากมี) …………………………………………………………………………………………………………………

…………………………………………………………………………………………………………...……


104

ภาพผนวก ข สมุดเยี่ยมบ้าน ตรวจสภาวะช่องปากผู้พิการ เครือข่าย รพ. 50 พรรษามหาวชิราลงกรณ์


105


106

ภาคผนวก ค แบบบันทึกเยี่ยมบ้านผู้พิการวัดจันทร์ (เก็บไว้ที่ฝ่ายเวชศาสตร์ครอบครัวและชุมชน) ภาพบุคคลและครอบครัว

ชื่อ - สกุล………….....……………………………………………………………………………………........ ที่อยู่………….....……………………………………………………………………………………................ เลขบัตรประจำ�ตัวประชาชน………….....………………………………………………………………… HN………….....…………

แผนที่

อาการสำ�คัญ………………………………………………….. ประวัติปัจจุบัน………….....…………………………………………………………………………………… …………...………………………………………………………………...………………………………………… …………………....………………………………………………………………...………………………………. อายุ:…………………….…ปี เพศ:............................. สถานภาพ:……………….………….… วัน/เดือน/ปีเกิด……………………………………………. ศาสนา……………………………………………………


107

สิทธิการรักษา:………….....…………………………………………………………………………………… ชื่อผู้ดูแล ………….....………………เบอร์โทรศัพท์ที่ติดต่อ:………….....……………………………. ความสัมพันธ์กับผู้ป่วย………….....…………………………เบอร์โทรศัพท์:………….....………… อสม ที่รับผิดชอบ………….....………………………………………………………………………………. ลักษณะทั่วไป………….....……………………………………………………………………………………. กิจกรรม

ทำ�ได้เอง

กินอาหาร เข้า – ออก อาบน้ำ� หวีผม,ล้างหน้า,แปรงฟัน แต่งตัว อุจจาระ ปัสสาวะ ทำ�ความสะอาดหลังขับถ่าย เคลื่อนย้ายตัว ขึ้น – ลงบันได

ประเภทความพิการ ___พิการทางด้านการมองเห็น ___พิการทางการได้ยินและสื่อความหมาย ___พิการทางกายหรือการเคลื่อนไหว ___พิการทางด้านจิตเวช ___พิการทางด้านสติปัญญา ___พิการทางด้านการเรียนรู้

ทำ�ได้เอง - ช่วยบ้าง

ทำ�ไม่ได้


108

การได้รับความช่วยเหลือ/สวัสดิการ __ได้รับเบี้ยยังชีพ __ไม่ได้รับเบี้ยยังชีพ การทานยา __ไม่มี __มี การประเมินผู้ป่วย Immobility / impairment (ความสามารถในการดูแลตนเอง) Nutrition (ภาวะโภชนาการ) Home environment (สภาพแวดล้อมในบ้าน/รอบบ้าน) Other people (สัมพันธภาพกับครอบครัว) Medication (ยา/การรักษาที่ได้รับ) Safety (ความปลอดภัย) Service (บริการที่ได้รับ) Spiritual (ความเชื่อ ทัศนคติ) Idea (ความคิดต่อการเจ็บป่วย) Feeling (ความรู้สึกของผู้ป่วย/ครอบครัว) Function (ความสามารถในอาชีพ/การเรียน)

_1) รับประทานยาเองได้ _2) มีผู้ดูแลจัดหาได้


109 Expectation (ความคาดหวัง) Concern (ความใส่ใจในปัญหา) Potential (ศักยภาพผู้ป่วยและครอบครัว)

สภาวะช่องปาก

สภาวะโรคฟันผุ .................................................................................................................................. .................................................................................................................................. .................................................................................................................................. สภาวะเหงือกอักเสบ .................................................................................................................................. .................................................................................................................................. ความสะอาดช่องปาก .................................................................................................................................. ..................................................................................................................................


110

แบบบันทึกการเยี่ยมผู้พิการทางการพยาบาล งานดูแลสุขภาพผู้พิการที่บ้าน ว/ด/ป

ปัญหา/การแก้ไขปัญหา

ผู้เยี่ยม

หมายเหตุ


111

บันทึกการทันตกรรม ว/ด/ป

ผลการตรวจวินิจฉัย

รายการ

ผู้ปฏิบัติ

หมายเหตุ


112

บันทึกการให้กายภาพบำ�บัด ว/ด/ป

ปัญหา

การดูแล และ การฟื้นฟูรักษา

หมายเหตุ


113

ภาคผนวก ง รูปภาพกิจกรรมโครงการ


114

รูปภาพกิจกรรมโครงการ



จัดทําโดย สถาบันสรางเสริมสุขภาพคนพิการ มูลนิธิสรางสรรคสังคมและสุขภาวะ ชั้น 3 อาคารสุขภาพแหงชาติ ซ.สาธารณสุข 6 ถ.ติวานนท 14 อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000 โทรศัพท 0-2832-9260 โทรสาร 0-2832-9261 www.healthyability.com, www.bluerollingdot.org


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.