3
บทน�ำ
ขอความสุขสวัสดีจงมีแด่ท่านผู้อ่านจุลสารโพธิยาลัยทุกท่าน จุลสารฯฉบับนี้ เป็นจุลสารฯฉบับควบรวมฉบับที่ ๑๘ - ๑๙ ซึ่งตรงกับ เดือนมิถุนายน - กรกฎาคม เนื่องด้วยในช่วงเดือนที่ผ่านมานั้น วัดจากแดงได้จัดกิจกรรมดีๆอย่าง มากมาย ไม่วา่ จะเป็นงานปฏิบตั ธิ รรม งานวันส�ำคัญทางพระพุทธศาสนา ซึง่ ล้วนได้รบั ความสนใจจากพุทธศาสนิกชนเป็นอย่างมาก ฉบับนีจ้ งึ ได้ประมวล ภาพเหตุการณ์ตา่ งๆมาให้ชมอย่างละนิดอย่างละหน่อย พอให้เห็นบรรยายกาศ กิจกรรมต่างๆส�ำหรับผูท้ ไี่ ม่มโี อกาสได้รว่ มงาน อีกทัง้ เมือ่ วันที่ ๕ กรกฎาคม ซึง่ ถือว่าเป็นครบรอบวันมรณภาพของ พระอาจารย์ทา่ นพระภัททันตะ ธัมมานันทะ มหาเถระ ผูม้ คี ณ ุ ปู การต่อวงการ การศึกษาภาษาบาฬีในประเทศไทยเป็นอย่างมาก ซึง่ เรือ่ งราวและประวัตขิ อง ท่านนัน้ ได้เคยลงไว้แล้วในจุลสารฯฉบับก่อนๆ ฉบับนีท้ างคณะผูจ้ ดั พิมพ์ได้เก็บ บรรยากาศงานมาฝากท่านผูอ้ า่ นด้วย ส่วนเนื้อหาธรรมะภายในฉบับก็ยังคงอัดแน่นอยู่อย่างครบถ้วน และขออนุโมทนาบุญกับทางเจ้าภาพผู้ร่วมจัดพิมพ์ทุกๆท่าน ที่ได้เล็ง เห็นความส�ำคัญในการเผยแพร่พระธรรมค�ำสั่งสอนผ่านทางจุลสารโพธิยาลัย คณะผู้จัดพิมพ์ขอน้อมรับเป็นก�ำลังใจ และจะปรับปรุงพัฒนาให้ดี ยิ่งๆขึ้นไป ให้สมกับเจตนารมณ์ที่ท่านอาจารย์พระมหาไพโรจน์ ญาณกุสโล ได้กล่าวไว้ในงานครบรอบฯ ของหลวงพ่อท่ามะโอว่า "ลูกศิษย์หลวงพ่อ จะท�ำ หน้าที่อยู่ ๒ อย่าง คือ ๑. จัดท�ำหนังสือ ต�ำรับ ต�ำรา เพื่อเผยแพร่พระธรรมค�ำสั่งสอน ๒. จะท�ำหน้าที่สอนหนังสือ ให้หลักธรรมค�ำสั่งสอนเผยแพร่ปรากฏสืบต่อไป คณะผู้จัดท�ำ bodhiyalai.magazine@gmail.com
6
วันอาสาฬหบูชา
ปญฺญาวุโธ วันอาสาฬหบูชา ตรงกับวันเพ็ญ กลางเดือน ๘ หรือเดือนอาสาฬหะ เป็นเดือนที่มีความส�ำคัญอย่างยิ่งเดือนหนึ่งในทางพระพุทธศาสนา เพราะ ถือว่าเป็นวันที่พระพุทธองค์ทรงประกาศพระศาสนา คือหลักธรรมค�ำสั่งสอน ทีพ่ ระองค์ได้ตรัสรูแ้ ล้วให้ปรากฏในโลกเป็นครัง้ แรก ณ ป่าอิสปิ ตนมฤคทายวัน อีกประการหนึ่ง หลังจากที่ทรงประกาศพระสัทธรรมแล้ว ได้มีบุคคล ผู้หนึ่งได้ดวงตาเห็นธรรมเป็นพระโสดาบันบุคคล ถือว่าเป็นประจักษ์พยาน คนแรกที่แสดงให้โลกได้ทราบว่า ธรรมที่พระพุทธองค์ตรัสรู้นั้นเป็นความจริง มีอยู่จริง ผู้ใดปฏิบัติตามธรรมนั้นแล้ว ก็ย่อมสามารถตรัสรู้ธรรมนั้นได้เช่น เดียวกับพระองค์ ผู้ที่เป็นพยานท่านแรกนั้นคือ ท่านอัญญาโกณฑัญญะ หนึ่งในปัญจวัคคีย์ หลังจากที่ได้ดวงตาเห็นธรรมแล้ว ก็ได้กราบทูลขอ บรรพชาอุปสมบท ซึ่งพระบรมศาสดาก็ได้ประทานด้วยเอหิภิกขุอุปสัมปทา ท่านพระอัญญาโกณฑัญญะจึงได้เป็นพระสงฆ์รูปแรกของพระพุทธศาสนา ซึ่งคุณธรรมของสาวกของพระบรมศาสดานั้นมีอยู่ ๙ ประการ คือ ๑. สุปฏิปันโน เป็นผู้ปฏิบัติดี ๒. อุชุปฏิปันโน เป็นผู้ปฏิบัติตรง ๓. ญายปฏิปันโน เป็นผู้ปฏิบัติเพื่อออกจากทุกข์ ๔. สามีจิปฏิปันโน เป็นผู้ปฏิบัติชอบ ๕. อาหุเนยโย เป็นผู้ควรแก่สักการะที่เขาน�ำมาบูชา ๖. ปาหุเนยโย เป็นผู้ควรแก่ของต้อนรับ ๗. ทักขิเณยโย เป็นผู้ควรรับทักษิณาทาน ๘. อัญชลีกรณีโย เป็นผู้ที่บุคคลควรท�ำอัญชลี ๙. อนุตตรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสะ เป็นนาบุญของโลก ไม่มนี าบุญอืน่ ยิง่ กว่า
7
ด้วยเหตุนี้ วันเพ็ญกลางเดือน ๘ จึงเป็นวันส�ำคัญยิ่งในฐานะที่เป็นวัน ที่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงประกาศสัจธรรม หลักธรรมค�ำสั่งสอนเป็น ครั้งแรกหลังจากที่ตรัสรู้แล้ว ๑ เป็นวันทีพ่ ระสงฆ์เกิดขึน้ เป็นครัง้ แรกในโลก ๑ และพระรัตนตรัยมีครบบริบูรณ์ในวันนี้อีก ๑ ฉะนั้นเหล่าพุทธศาสนิกชนจึงควรที่จะบูชาสักการะ ด้วยอามิสบูชา และปฏิบัติบูชา เพื่อเป็นการน้อมร�ำลึกถึงความส�ำคัญที่เกิดขึ้นในวันนี้ และน้อมร�ำลึกถึงองค์พระบรมศาสดา สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพื่อที่จะปวารณาตนขอนอบน้อมเป็นศิษย์ มอบกายถวายชีวิต มุ่งหน้า ตั้งใจ ที่จะปฏิบัติตามหลักธรรมค�ำสั่งสอนให้เต็มที่ เพื่อที่จะได้รับอานิสงส์ คือได้ เข้าใจหลักความเป็นไปของชีวิต หลักความเป็นไปของธรรมชาติ อันจะเป็น เหตุให้ผู้ที่ประพฤติปฏิบัติธรรมนั้นได้ประโยชน์อย่างเต็มที่ ทั้งประโยชน์ใน ชาตินี้ ประโยชน์ในชาติ แต่ประโยชน์ในชาติสูงสุดกล่าวคือพระนิพพาน ซึ่ง เป็นเป้าหมายอันสูงสุดของพุทธศาสนิกชนทุกคนในอนาคตกาลอันใกล้ นิธีนํ ว ปวตฺตารํ ยํ ปสฺเส วชฺชทิสฺสินํ นิคฺคยฺหวาทึ เมธาวึ ตาทิสํ ปณฺฑิตํ ภเช ตาทิสํ ภชมานสฺส เสยฺโย โหติ น ปาปิโย ฯ (ปณฺฑิตวคฺค ขุ. ธ. ๒๕/๗๗/๓๐) "บุคคลพึงเห็นบุคคลใดผู้มักชี้โทษ เหมือนบุคคลผู้บอกขุมทรัพย์ มักกล่าวข่มขี่ มีปัญญา พึงคบบุคคลผู้เป็นบัณฑิตเช่นนั้น เพราะว่า เมื่อคบบัณฑิตเช่นนั้น มีแต่คุณที่ประเสริฐ โทษที่ลามก ย่อมไม่มี"
8
ดับร้อน ตอนที่ ๒
ประณีต ก้องสมุทร นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส ฯ ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น จากครั้งที่แล้วได้กล่าวถึงเรื่อง ร้อนเพราะไฟคือราคะ(โลภะ) เป็นเหตุ ให้เราต้องเวียนตายเวียนเกิดอยู่ตลอดกาลนานไม่ล่วงพ้นสงสารไปได้ ในครั้ง นี้ขอกล่าวต่อในเรื่องของ ร้อนเพราะไฟคือโทสะ และ ร้อนเพราะไฟคือโมหะ ดังนี้ ร้อนเพราะไฟคือโทสะนั้นอย่างไร ดูได้จากเรื่อง กกจูปมสูตร มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ ข้อ ๒๖๖ ในพระนครสาวัตถี มีหญิงแม่เรือนคนหนึ่ง ชื่อนางเวเทหิกา เป็น คนสงบเสงี่ยมอ่อนโยนเรียบร้อย เป็นที่สรรเสริญของคนทั่วไป เกียรติคุณ ของนางขจรขจายไปไกล นางมีสาวใช้คนหนึ่งชื่อว่า กาลี เป็นคนขยัน ไม่เกียจคร้าน ท�ำการงานดี นางกาลีใคร่จะทดลองดูว่านายของตนเป็นคนดี สมกับที่เขาเล่าลือหรือไม่ วันหนึ่งจึงแกล้งนอนตื่นสาย ไม่ลุกขึ้นท�ำงานแต่เช้า เหมือนเคย นางเวเทหิกาก็ถามว่าเจ้าไม่สบายหรือ นางกาลีตอบว่านางมิได้ เป็นอะไร นางเวเทหิกาก็ตวาดว่า อีคนชั่ว เมื่อไม่ได้เป็นอะไรท�ำไมเอ็งจึงนอน ตื่นสาย เมื่อว่าดังนั้นแล้วก็แสดงความโกรธ ขัดใจ ท�ำหน้าบึ้ง นางกาลีก็คิดว่า ที่ใครๆว่านายของเราไม่โกรธนั้นไม่จริง เพียงแต่ไม่ แสดงให้ปรากฏเท่านั้น คิดดังนั้นแล้ว ก็ใคร่จะทดลองให้ยิ่งขึ้น วันรุ่งขึ้น นางกาลีจึงแกล้งนอนให้สายกว่าวันก่อน นางเวเทหิกาก็ถาม เหมือนเดิมว่าไม่สบายหรือ ครั้นได้รับค�ำตอบว่าไม่เป็นอะไร ก็โกรธขัดใจแผด เสียงด่าว่าด้วยถ้อยค�ำหยาบคาย นางกาลีก็คิดว่านายของเราไม่ใช่ไม่มีความ โกรธ หากแต่ไม่แสดงให้ปรากฏเท่านั้น คิดแล้วก็ทดลองให้ยิ่งขึ้น
9
วันต่อมา จึงลุกขึ้นสายกว่าทุกวัน นางเวเทหิกาก็ตวาดว่า อีกาลีตัว ร้าย เจ้าเป็นอะไรจึงตื่นสาย นางกาลีก็ตอบว่า ไม่ได้เป็นอะไร นางเวเทหิกา โกรธจัด คว้าลิ่มประตูปาศีรษะนางกาลีแตก เลือดไหลโทรม นางกาลีก็ออก จากบ้าน เที่ยวโพนทนาให้คนบ้านใกล้เรือนเคียงได้ทราบการกระท�ำของนาง เวเทหิกานั้น ตั้งแต่นั้นมาก็เป็นที่เล่าลือกันไปทั่วว่า นางเวเทหิกาเป็นคนดุร้าย ไม่อ่อนโยน ไม่สงบเสงี่ยม ขี้โกรธ การที่นางเวเทหิกา ต้องเสื่อมจากความยกย่องสรรเสริญของคนทั้ง หลาย ก็เพราะโทสะ ความโกรธ โทสะจึงเป็นไฟอย่างนี้ ความโกรธนั้นเกิดขึ้น เพราะได้กระทบกระทั่งกับอารมณ์ที่ไม่ชอบใจ ไม่ถูกใจ เมื่อเกิดขึ้นกับผู้ใดแล้ว ผู้นั้นย่อมลืมตัว ลงมือท�ำสิ่งที่ไม่เคยท�ำได้ ความโกรธปิดบังปัญญาเสียสิ้น ขาดการพิจารณาว่าอะไรถูก อะไรควร หาก ความโกรธนั้นรุนแรง ก็อาจฆ่าพ่อ ฆ่าแม่ ท�ำร้ายผู้มีพระคุณ ย่อมฆ่าและ ท�ำร้ายได้แม้แต่ตนเอง ตลอดจนท�ำอะไรที่ร้ายแรงเป็นบาปอกุศลได้ทั้งสิ้น โทสะนั้น มิได้หมายความเฉพาะความโกรธเท่านั้น แม้ความที่จิตใจไม่ ปลอดโปร่ง ไม่แช่มชื่น ขุ่นมัว ก็ชื่อว่าโทสะ แต่เป็นโทสะที่ไม่รุนแรง ไม่ท�ำให้ ผู้อื่นเดือดร้อน แต่ก็ท�ำให้ตนเองเดือดร้อน ไม่สบายใจ แม้ความริษยาไม่อยาก เห็นใครได้ดี หรือดีกว่า ก็อาศัยความไม่ชอบใจเช่นกัน จาก โกธนาสูตร อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ข้อ ๖๑ พระพุทธองค์ ตรัสว่า "คนที่โกรธกันย่อมปรารถนาให้คนที่ตนโกรธ มีผิวพรรณทราม ๑ ให้นอนเป็นทุกข์ ๑ อย่ามีความเจริญ ๑ อย่ามีโภคสมบัติ ๑ อย่ามียศ ๑ อย่ามีมิตร ๑ เมื่อตายไปพึงเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ๑" พระพุทธองค์ทรงแสดงสภาพของคนโกรธไว้ว่า "คนโกรธย่อมมีผิว พรรณทราม ย่อมนอนเป็นทุกข์ ได้รับสิ่งที่เป็นประโยชน์แล้ว กลับปฏิบัติสิ่ง ที่ไม่เป็นประโยชน์ ท�ำปาณาติบาตด้วยกายและด้วยวาจา ย่อมถึงความเสื่อม
10
ทรัพย์ ผู้มัวเมาด้วยความโกรธ ย่อมถึงความไม่มียศ ญาติ มิตร สหาย ย่อม หลีกเว้นคนโกรธเสียห่างไกล คนโกรธย่อมไม่รู้จักความเจริญ ท�ำจิตให้ก�ำเริบ ภัยที่เกิดมาจากภายในนั้น คนโกรธย่อมไม่รู้สึก คนโกรธย่อมไม่รู้อรรถ ไม่เห็น ธรรม ความโกรธย่อมครอบง�ำนรชนในขณะใด ความมืดตื้อย่อมมีในขณะนั้น คนโกรธย่อมก่อกรรมที่ท�ำได้ยากเหมือนท�ำได้ง่าย ภายหลังเมื่อหายโกรธแล้ว เขาย่อมเดือดร้อนเหมือนถูกไฟไหม้ คนโกรธย่อมแสดงความเก้อยากก่อน เหมือนไฟแสดงควันก่อน ในกาลใดความโกรธเกิดขึ้น ในกาลนั้นคนโกรธย่อม ไม่มีหิริ ไม่มีโอตตัปปะ และไม่มีความเคารพ คนที่ถูกความโกรธครอบง�ำย่อม ไม่มีความสว่างแม้แต่น้อย" ในอังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ข้อ ๖๑ กล่าวว่า คนโกรธฆ่าบิดาก็ได้ ฆ่ามารดาของตนก็ได้ ฆ่าพระขีณาสพก็ได้ ฆ่า ปุถุชนก็ได้ ลูกที่มารดาเลี้ยงไว้จนลืมตาดูโลกนี้ ลูกเช่นนั้นกิเลสหยาบช้า โกรธ ขึ้นย่อมฆ่าแม้มารดานั้น ผู้ให้ชีวิตความเป็นอยู่ได้ จริงอยู่ สัตว์เหล่านั้นมีตนเป็นเครื่องเปรียบเทียบ เพราะตนเป็นที่รัก อย่างยิ่ง คนโกรธหมกมุ่นในอารมณ์ต่างๆมีรูปเป็นต้น ย่อมฆ่าตัวเองได้เพราะ เหตุต่างๆ ย่อมฆ่าตัวเองด้วยดาบบ้าง กินยาพิษบ้าง เอาเชือกผูกคอตายบ้าง โดดเขาตายบ้าง คนเหล่านั้นเมื่อกระท�ำกรรมอันมีแต่ความเสื่อม และท�ำลาย ตนก็ไม่รู้สึก ความเสื่อมเกิดแต่ความโกรธ ตามที่กล่าวมานี้เป็นบ่วงของ มัจจุราช มีถ�้ำเป็นที่อยู่อาศัย (คืออาศัยหทยวัตถุ) บุคคลผู้มักโกรธ มีการฝึกตนคือปัญญา ความเพียรและสัมมาทิฏฐิ พึงตัดความโกรธนั้นขาดได้ บัณฑิตพึงตัดอกุศลธรรมแต่ละอย่างเสียให้ขาด พึงศึกษาในธรรม (คือสมถะและวิปัสสนา) เหมือนอย่างนั้น เธอทั้งหลาย ปรารถนาอยู่ว่าขอให้เราเป็นผู้ปราศจากความโกรธ ไม่มีความคับแค้นใจ ปราศจากความโลภ ไม่มรี ษิ ยา ฝึกฝนตนแล้ว ละความโกรธได้ เป็นผูไ้ ม่มอี าสวะ จักปรินิพพาน
11
ทุกคนคงเคยเป็นอย่างนี้ ไม่อย่างใดก็อย่างหนึ่ง ความโกรธจึงน่ากลัว พาไปอบายได้ง่ายนัก แต่ถ้าเห็นโทษของความโกรธ ก็เป็นพระอรหันต์ได้ ดัง เรื่องนี้ จากธนัญชานีสูตร สังยุตตนิกาย สคาถวรรค ข้อ๖๒๖-๖๓๐ ธนัญชานีพราหมณ์ เป็นมิจฉาทิฏฐิ แต่มีภรรยาเป็นพระโสดาบัน วัน หนึ่งได้เชิญพราหมณ์ ๕๐๐ คนมาเลี้ยง นางพราหมณีภรรยาก็ได้ช่วยสามี เลี้ยงดูพวกพราหมณ์เหล่านั้นด้วย แต่เกิดก้าวเท้าพลาด ลื่นล้มลง จึงเปล่ง อุทานขึ้น ๓ ครั้งว่า "นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส ขอนอบน้อม แด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น" ธนัญชานีพราหมณ์ โกรธ จึงไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าทูลถามว่า บุคคลฆ่าอะไรได้ย่อมนอน เป็นสุข ฆ่าอะไรได้ย่อมไม่เศร้าโศก ข้าแต่พระโคดม พระองค์ย่อมชอบใจการ ฆ่าธรรมอะไรอันเป็นธรรมเอก พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า “บุคคลฆ่าความโกรธได้แล้วย่อม นอนเป็นสุข ฆ่าความโกรธได้แล้วย่อมไม่เศร้าโศก พระอริยเจ้าสรรเสริญการ ฆ่าความโกรธ อันมีรากเป็นพิษ มียอดหวาน เพราะว่าบุคคลฆ่าความโกรธนั้น ได้แล้ว ย่อมไม่เศร้าโศก” ธนัญชานีพราหมณ์ฟังแล้วเข้าใจแจ่มแจ้ง ถึงกับขอถึงพระผู้มีพระ ภาคเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์เป็นสรณะ กับทูลขอบรรพชาอุปสมบท ซึ่ง เมื่อบรรพชาอุปสมบทแล้วไม่นานก็ได้บรรลุเป็นพระอรหันต์ ที่พระองค์ทรงแสดงว่า ความโกรธมีรากเป็นพิษ มียอดหวานนั้น เพราะความโกรธเมื่อแรกเกิดขึ้น ท�ำให้จิตใจเร่าร้อน ขุ่นมัว กระวนกระวาย ใคร่ที่จะท�ำอะไรให้สาสมกับที่โกรธ เช่น อยากตี อยากด่าว่าให้สมใจ ครั้น ท�ำได้ดังใจแล้วก็รู้สึกโล่งอก สบายใจ อย่างน้อยแม้ท�ำอะไรให้สมใจไม่ได้ เพียง ได้ถ่ายทอดความโกรธของตนให้คนอื่นรับรู้ด้วย ก็ยังสบายใจหายหนักอก ค�ำว่า ราก จึงหมายถึง ความโกรธเบื้องต้นเมื่อแรกเกิด
12
ค�ำว่า ยอด หมายถึง ความโกรธบั้นปลายที่ระงับลงเพราะได้ท�ำอะไร ลงไปสมใจแล้ว ความโกรธจึงมีรากเป็นพิษ มียอดหวานอย่างนี้ ด้วยเหตุนั้นพระพุทธ องค์จึงตรัสว่า "ผู้ที่ฆ่าความโกรธได้แล้ว ย่อมนอนเป็นสุข" คือไม่ต้องนอน กระวนกระวาย กระสับกระส่าย หวาดผวาเป็นทุกข์ เพราะความโกรธรบกวน พระพุทธองค์จึงตรัสว่า โทสะมีโทษมาก แต่คลายได้เร็ว ที่ว่ามีโทษมากนั้น เพราะโทสะน�ำไปอบายได้ง่าย ที่ว่าคลายได้เร็วนั้น เพราะเมื่อได้ท�ำอะไรสมใจ แล้ว ความโกรธนั้นก็บรรเทาหรือหายไป ร้อนเพราะไฟคือโมหะอย่างไร คนโง่ย่อมไม่รู้ว่าอะไรผิด อะไรถูก ย่อมเข้าใจสิ่งที่ผิดว่าถูก เข้าใจสิ่ง ที่ถูกว่าผิด ท�ำอะไรโดยไม่ค�ำนึงถึงบาปบุญคุณโทษ ประโยชน์ มิใช่ประโยชน์ เหมือนธิดาเศรษฐี ในเรื่องนี้ จากวีณาถูณชาดก และอรรถกถา ทุกนิบาต ชาดก ข้อ ๓๑๓ - ๓๑๔ ธิดาเศรษฐีนางหนึ่ง ได้เห็นคนทั้งหลายบูชาโคอุสุภราชในเรือนของ ตน ด้วยเครื่องสักการะเป็นอันมาก จึงถามพี่เลี้ยงว่า เครื่องสักการะเหล่านี้ตก เป็นของใคร ได้รับค�ำตอบว่า ตกเป็นของโคอุสุภราชตัวหัวหน้าฝูง อยู่มาวัน หนึ่งธิดาเศรษฐีได้เห็นชายหลังค่อมคนหนึ่ง มีโหนกที่หลังเหมือนโหนกของโค อุสุภราช ก็เข้าใจผิดว่า ชายค่อมคนนี้คงจะได้รับเครื่องสักการะใหญ่ จากคน ทั้งหลายเช่นเดียวกับโคอุสุภราช เราควรจะเป็นภรรยาของชายเช่นนี้ นางคิด แล้วก็เก็บของมีค่าลอบหนีออกจากบ้าน ไปอยู่กินกับชายค่อมนั้น ก็เพราะธิดาเศรษฐีเป็นคนโง่ย่อมไม่รู้จักไตร่ตรองว่าอะไรถูกอะไรควร จึงได้รบั ความอัปยศ ต้องเป็นภรรยาของชายค่อม เพราะความโง่ของตนอย่างนี้ ด้วยเหตุนี้ ไฟคือโมหะ จึงท�ำลายคุณงามความดีที่ควรจะเกิดมิให้เกิด ขึ้น คนที่มากด้วยโมหะเป็นเหมือนคนตาบอดย่อมไม่รู้อรรถ ไม่เห็นธรรม เห็น สิ่งที่เป็นประโยชน์ว่าไม่เป็นประโยชน์ ปกปิดญาณปัญญาความรู้เสียสิ้น ย่อม
13
ท�ำบาปอกุศลทุจริตกรรมได้ทุกชนิด ไม่เว้นแม้แต่ฆ่าพ่อฆ่าแม่ของตน ด่าว่า ท�ำร้ายพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ บาปอกุศลทุกย่างจึงเกิดขึน้ เพราะมีโมหะคือความโง่ความไม่รเู้ ป็นปัจจัย พระพุทธองค์ตรัสว่า โมหะมีโทษมากเช่นเดียวกับโทสะ ทั้งคลายตัว ช้าด้วย คือให้โทษมากทั้งในปัจจุบันชาติ และอนาคตชาติ กล่าวคือ อาจตก นรกอยู่ตลอดกัป ด้วยอ�ำนาจอนันตริยกรรมที่ท�ำลงไปเพราะโมหะครอบง�ำ โมหะนั้นคลายช้าเพราะไม่อาจท�ำลายได้ด้วยกุศลอย่างอื่น เว้นแต่วิปัสสนา กุศล ที่รู้เท่าทันสภาพธรรมทั้งหลายตามความเป็นจริงเท่านั้น ผู้ที่ขาดโยนิโส มนสิการ การกระท�ำไว้ในใจด้วยอุบายอันแยบคาย ย่อมไม่อาจพ้นไปจาก อ�ำนาจของโมหะได้เลย โมหะจึงเป็นเหมือนข่ายที่ครอบคลุมสัตว์ทั้งหลายไว้ มิให้หลุดไปจากภพ คือการต้องเวียนว่ายตายเกิดในสังสารวัฏนี้ เป็นเหมือน ความมืดที่ปกปิดสัตว์ทั้งหลายไว้ ไม่ให้พบกับแสงสว่างคือปัญญาโดยเฉพาะ โลกุตตรปัญญา ผู้ที่ปราศจากโมหะ จึงได้แก่พระอรหันต์พวกเดียว นอกจากราคะ(คือโลภะ) โทสะ โมหะ จะเป็นไฟแล้ว แม้ชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกขะ โทมนัสสะ อุปายาสะ พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ตรัส ว่าเป็นไฟ เพราะเป็นเหตุให้เกิดทุกข์ รวมแล้วจึงมีไฟถึง ๑๑ กอง แต่ไฟที่ใหญ่ จริงๆนั้นมี ๓ กอง คือโลภะ โทสะ โมหะ ถ้าปราศจากไฟใหญ่ ๓ กองนี้แล้ว ไฟที่เหลืออีก ๘ กอง มีชาติคือความเกิดเป็นต้น ก็มีไม่ได้ เพราะเหตุที่ไฟคือราคะหรือโลภะ ไฟคือโทสะ ไฟคือโมหะ มีโทษ มาก น�ำความเดือดร้อนมาให้ทั้งในปัจจุบันและในอนาคต เป็นเหตุแห่งอกุศล ทุจริตกรรมทั้งมวล การจะดับทุกข์จึงต้องดับที่ไฟ ๓ กองนี้ แม้ว่าเราไม่อาจ ดับได้สิ้นเชิงในปัจจุบัน เพียงท�ำให้ไฟนั้นคลายร้อนลงบ้างก็ยังดีกว่าปล่อยให้ ร้อนระอุเผาใจอยู่ตลอดเวลา เราจะดับไฟ ๓ กองนั้นได้อย่างไร (ติดตามต่อได้ในคราวหน้า)
14
สัมผัสโลกเบาๆ
ปิยโสภณ สมบัติบนโลกใบนี้ มีไว้ให้ทุกคนชื่นชม มิใช่ให้ใครครอบครอง แม้ใครจะเป็นเจ้าของ ก็เป็นได้ชั่วขณะ เมื่อถึงเวลาวาง ก็ต้องวางให้ได้ ทุกคนต้องหัดวาง ถ้าไม่หัด อาจติดขัดเวลาเดินทางกลับได้ เรามาอยู่บนโลกนี้เพียงมือเปล่า มีเพียงร่างกายเท่านั้นที่เราน�ำมา หรือน�ำเรามา สมบัติทั้งปวงเราหาใหม่ทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นเงินทอง บ้านเรือน การศึกษา บาปกรรมและบุญกุศล ตกแต่งให้เราเกิดมาแตกต่างกัน การมา เกิด จึงเหมือนการเดินทางมาท่องเที่ยว คลอดจากครรภ์แม่ เหมือนเดิน ลงจากเครื่องบิน มองเห็นทิวเขา ดอกไม้ ผู้คนสวยงาม อากาศดีสดชื่น ผู้คนยิ้มแย้มแจ่มใส เรารู้สึกเพลิดเพลินเจริญใจ สังเกตเวลาเราไปเที่ยวต่าง ประเทศ ต่างสถานที่ อากาศดี อาหารดี เพื่อนดี เราจะเบิกบานใจ พอใจ สุขใจ ชีวิตเป็นเช่นนี้ คนใหม่ ตื่นเต้น คนเก่าเริ่มเดินทางซ�้ำซากสายเก่าที่ เคยเดิน เคยเที่ยว เคยกิน เคยมี เคยเห็น เคยเป็นเจ้าของ ยิ่งถ้าใครถึง จุดหมายของชีวิตสูงสุดตั้งแต่เยาว์วัย ยิ่งท�ำให้ต้องคิดหนัก เพราะอะไรที่คน ส่วนใหญ่ต้องการ เราได้หมดแล้ว ชีวิตที่เหลืออีกตั้งนานจะท�ำอย่างไร ด้วยเหตุนี้ จึงมีเรื่องของการท�ำสาธารณประโยชน์เกิดขึ้น ใครมีมาก มีน้อย ยังไม่ส�ำคัญเท่ากับใครท�ำให้คนอื่นได้มากกว่ากัน การให้จึงถือเป็นหัวใจส�ำคัญของบุญกุศล เพราะจะท�ำให้เรามีความ สุขยิ่งกว่าการมี ตอนแรก เราอาจคิดว่า การมีมากๆ คือความสุข การได้ครอบครอง คือความยิ่งใหญ่ แต่ความจริง การได้เป็นผู้ให้ต่างหากคือความสุขใจ ภูมิใจ ลองคิดดู ในชีวิตจริงของเรา เราภูมิใจเมื่อเราหาเงินได้ ซื้อของที่
15
ต้องการได้ ได้กิน ได้ไปตามปรารถนา เราภูมิใจมาก แต่เมื่อใดก็ตาม ถ้า เราสามารถท�ำให้คนอื่นที่ด้อยโอกาสกว่าเรา ท�ำได้อย่างที่เราท�ำ เราจะมี ความภาคภูมิใจ ปลื้มปีติยินดีไม่สิ้นสุด อย่างน้อยที่สุด ก็คนใกล้ชิดเรา เช่น ภรรยา สามี ลูก ญาติพี่น้อง มิตรสหาย ต่อมาคนอื่นที่ยากจน ขาดแคลน ด้วยเหตุนี้ จึงมีเศรษฐีจ�ำนวนไม่น้อย เวลามีเงินทองมากมายเหลือ ใช้แล้ว น�ำเงินมาท�ำการกุศล เช่น ตั้งมูลนิธิการศึกษา สร้างโรงพยาบาล สร้างโรงเรียน สร้างมหาวิทยาลัย เพื่อให้ใจบางเบาต่อการยึดครอง การให้เป็นก�ำไรของชีวิตเสมอ คนโง่ที่สุดในโลก อุปฺปพฺพชิตชายา หิ น ภวามิ กุทาจนํ ตโต มูฬฺหตโร โปโส นตฺถิ โกจิปิ ภูตเล ฯ
"ไม่ว่าชาติไหนๆ ขอดิฉันอย่าได้เป็นภรรยาของผู้ที่สึกมาจากพระเลย เพราะว่าในพื้นปฐพีนี้ ไม่มีผู้ชายคนใดที่จะโง่กว่าคนที่สึกมาจากพระเลย"
16
เล่าให้อ่าน เขียนให้ฟัง ตอน "เจดีย์"
เขมา เขมะ ขอความสุขสวัสดี จงมีแด่ท่านผุู้อ่านจุลสารโพธิยาลัยทุกท่าน ด้วย ปรารภเหตุการณ์ๆหนึ่ง คือเมื่อวันที่ ๒๙ มิถุนายน ๒๕๕๖ ได้มีญาติโยม คณะหนึ่งมาท�ำความสะอาดพระสมันตมหาปัฏฐานเจดีย์ ซึ่งเป็นเจดีย์ ๓ ชั้น โดยได้ท�ำการล้างขัดพื้น เช็ดถูกระจก ประตู และหน้าต่างอย่างละเอียดทุก ซอกทุกมุม โดยเริ่มลงมือท�ำความสะอาดกันตั้งแต่เช้ากว่าจะแล้วเสร็จก็เกือบ เย็น ซึ่งผู้เขียนได้เห็นเหตุการณ์ดังกล่าวก็รู้สึกชื่นชมและขอร่วมอนุโมทนาใน ใจเป็นอย่างยิ่ง จึงอยากจะน�ำเรื่องราวเกี่ยวกับการท�ำนุบ�ำรุง การดูแลพระ เจดีย์ในสมัยพุทธกาลมาเล่าให้สมาชิกชาวจุลสารโพธิยาลัยได้ทราบกัน ก่อนอื่นขอเล่าถึงข้อมูลเกี่ยวกับเจดีย์กันเสียก่อน รากศัพท์ของค�ำว่าเจดีย์เป็นภาษาบาฬีมาจาก จิต ปูชายํ ในอรรถ การบูชา ณฺย ปัจจัย มีศัพท์วิเคราะห์ว่า เจติตพฺพํ ปูเชตพฺพนฺติ เจติยํ สถานทีอ่ นั บุคคลควรบูชา ชือ่ ว่า เจติยะ เจดียจ์ งึ หมายถึงสถานทีๆ่ บุคคลควรบูชา ฉะนั้นเจดีย์จึงหมายถึงสิ่งก่อสร้างเพื่อเป็นที่เคารพบูชา หรือเป็น สัญลักษณ์เพื่อระลึกถึงบุคคลที่ล่วงลับไปแล้วมีพระพุทธเจ้าเป็นต้น เจดีย์ในพระพุทธศาสนามีอยู่ ๔ ประเภท ๑) ธาตุเจดีย์ ได้แก่สงิ่ ก่อสร้างทีบ่ รรจุพระบรมสารีรกิ ธาตุของพระพุทธเจ้า พระอัฐิพระมหากษัตริย์ หรือพระเจ้าจักรพรรดิ ๒) บริโภคเจดีย์ ได้แก่สถานที่ หรือสิ่งของที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธเจ้า เช่น สังเวชนียสถานทั้ง ๔ ต้นพระศรีมหาโพธิ์ พุทธบริขารเป็นต้น ๓) ธรรมเจดีย์ ได้แก่พระพุทธพจน์ หรือคัมภีร์ในพระพุทธศาสนา เช่นพระไตรปิฎกเป็นต้น ๔) อุเทสิกเจดีย์ ได้แก่สงิ่ ทีส่ ร้างขึน้ เพือ่ เป็นสัญลักษณ์ของพระพุทธเจ้า
17
เช่นพระพุทธปฏิมากร หรือพระพุทธรูปปางต่างๆ รวมถึงรอยพระพุทธบาท เป็นต้น จะขอกล่าวถึงเจดียใ์ นสถานทีต่ า่ งๆทีม่ คี วามเกีย่ วข้องกับพระพุทธเจ้า เท่าทีม่ กี ารประมวลไว้แล้วดังนี้ ๑. จุฬามณีเจดีย์ ตัง้ อยู่ ณ สวรรคชัน้ ๒ คือ ดาวดึงสเทวโลกเป็นเจดียท์ ี่ บรรจุพระเมาลี (มวยผม) ของเจ้าชายสิทธัตถะ เมือ่ ครัง้ เสด็จออกบรรพชา ตอน เสด็จข้ามแม่นำ�้ อโนมาแล้ว จะอธิฐานเพศบรรชิต ทรงตัดมวยพระเกศาขว้างไป ในอากาศ พระอินทร์นำ� ผอบแก้วมารองรับน�ำไปประดิษฐานในพระจุฬามณี ต่อมาเมือ่ พระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินพิ านแล้ว ในขณะแจกพระบรม สารีรกิ ธาตุ พระอินทร์ได้นำ� เอาพระทันตธาตุคอื พระเขีย้ วแก้วเบือ้ งบนขวาที่ โทณพราหมณ์ซอ่ นไว้ในผ้าโพกศีรษะ ใส่ผอบทองน�ำไปบรรจุในจุฬามณีดว้ ย นอกจากนัน้ พระรากขวัญ (กระดูกไหปลาร้า) เบือ้ งขวาก็ประดิษฐานอยูใ่ นพระ จุฬามณีเจดียส์ ถานเช่นกัน ๒. โคตมกเจดีย์ เจดียส์ ถานอยูท่ างทิศใต้ของกรุงเวสาลี นครหลวงของ แคว้นวัชชี เป็นสถานทีซ่ งึ่ พระพุทธเจ้าเคยเสด็จประทับหลายครัง้ และเคยทรง ท�ำนิมติ โอภาสแก่พระอานนท์ ๓. ทุสสเจดีย์ เจดีย์สถานอยู่ที่พรหมโลก ซึ่งฆฏิการพรหม หรือพระ พรหมผู้น�ำสมณบริขารมีบาตรและจีวร เป็นต้น มาถวายแด่พระโพธิสัตว์เมือ่ คราวออกบรรพชา และน�ำพระภูษาเครือ่ งทรงในฆราวาสทีพ่ ระโพธิสตั ว์สละ ออกเปลี่ยนมาทรงจีวร น�ำไปประดิษฐานอยู่ในทุสสเจดีย์ ครั้นพระพุทธเจ้า ดับขันธปรินิพพานแล้ว พระรากขวัญเบื้องซ้ายกับพระอุณหิส (มงกุฎจาก เครื่องอาภรณ์มหาลดาปสาธน์ที่นางมัลลิกาทูลอัญเชิญสวมพระพุทธสรีระ ถูกน�ำไปประดิษฐานอยู่ในทุสสเจดีย์ ณ พรหมโลก ๔. ปาวาลเจดีย์ เจดีย์สถานอยู่ที่เมืองเวสาลี แคว้นวัชชี พระพุทธเจ้า
18
ทรงท�ำนิมิตโอภาสแก่พระอานนท์ พระมหาสาวกอุปัฏฐากประจ�ำพระองค์ เป็นครั้งที่ ๑๖ และครั้งสุดท้ายจากนั้นพระพุทธเจ้าทรงปลงพระชนมายุ สังขาร ณ ปาวาลเจดีย์ ในวันเพ็ญเดือน ๓ ก่อนปรินิพพาน ๓ เดือน ๕. ปาสาณเจดีย์ เจดีย์สถานในแคว้นมคธซึ่งมาณพ ๑๖ คน ผู้เป็น ศิษย์ของพราหมณ์พาวรี ผู้เป็นอาจารย์ใหญ่ตั้งอาศรมสอนไตรเพทแก่ศิษย์ อยู่ที่ฝั่งแม่น�้ำโคทาวรี ณ สุดเขตแดนแคว้นอัสสกะ พราหมณ์พาวรีได้ส่งศิษย์ ทั้ง ๑๖ คนไปถามปัญหาพระบรมศาสดา เพื่อจะทดสอบว่าพระพุทธองค์เป็น พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจริงหรือไม่ ณ ปาวาลเจดีย์แห่งนี้ ภายหลังได้รับค�ำตอบ พราหมณ์พาวรีบรรลุธรรมเป็นพระอนาคามี ส่วนศิษย์ทั้ง ๑๖ ได้บรรลุพระ อรหัต และจัดเป็นพระมหาสาวกผู้ใหญ่ในจ�ำนวน ๘๐ องค์ ๖. พหุปุตตเจดีย์ เจดีย์สถานอยู่ทางตอนเหนือของเมืองเวสาลี นครหลวงของแคว้นวัชชี เป็นสถานที่ซึ่งพระพุทธเจ้าทรงท�ำนิมิตโอภาส แก่พระอานนท์ ๗. เจดีย์พุทธคยา เจดีย์สถานอยู่ใกล้แม่น�้ำเนรัญชรา ต�ำบลอุรุเวลา เสนานิคม ในแคว้นมคธสมัยพุทธกาล พระพุทธองค์ได้เสด็จมาประทับที่ใต้ ต้นโพธิ์ และได้ตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณที่นี่ พระวิหารเจดีย์พุทธคยาสูง ๑๖๐ ฟุต สร้างเป็นหอสูงรูปสี่เหลี่ยม พีระมิดปลายยอดตัดรองรับพระสถูปที่ด้านบนยอดสุด องค์พระเจดีย์สร้าง ตั้งแต่หลังสมัยพุทธกาล ปัจจุบันเป็นต�ำบลพุทธคยา รัฐพิหาร ๘. มกุฏพันธนเจดีย์ สถานที่ถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระ อยู่ทาง ทิศตะวันออกของกรุงกุสินารา แคว้นมัลละ มกุฏพันธนเจดีย์ตั้งอยู่ห่างจาก สาลวโนทยาน สถานที่เสด็จดับขันธปรินิพพานประมาณ ๑ กิโลเมตร ๙. อนิมสิ เจดีย์ สถานทีซ่ งึ่ พระพุทธเจ้าเสด็จยืนจ้องดูตน้ พระศรีมหาโพธิ์ โดยมิได้กระพริบพระเนตรตลอด ๗ วัน อยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของ
19
ต้นพระศรีมหาโพธิ นับเป็นสัปดาห์ที่ ๒ แห่งการเสวยวิมุตติสุขทั้งหมดรวม ๗ สัปดาห์ ภายหลังจากตรัสรู้ ๑๐. รัตนจงกรมเจดีย์ เจดีย์ที่จงกรมแก้ว อยู่ทางทิศตะวันออก เฉียงเหนือของต้นพระศรีมหาโพธิ์ ระหว่างกลางแห่งต้นพระศรีมหาโพธิ์กับ อนิมิสเจดีย์ ณ ที่นี้พระพุทธเจ้าเสด็จจงกรมตลอด ๗ วัน นับเป็นสัปดาห์ที่ ๓ แห่งการเสวยวิมุตติสุข ภายหลังจากตรัสรู้ ๑๑. รัตนฆรเจดีย์ เจดีย์เรือนแก้ว อยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ของต้นพระศรีมหาโพธิ์ ณ ที่นี้พระพุทธเจ้าทรงพิจารณาพระอภิธรรมปิฎก เป็นเวลา ๗ วัน เป็นสัปดาห์ที่ ๔ แห่งการเสวยวิมุตติสุขถายหลังจากตรัสรู้ ๑๒. สัตตัมพเจดีย์ เจดีย์สถานที่กรุงเวสาลี นครหลวงแคว้นวัชชี ณ ที่ นี้พระพุทธเจ้าทรงท�ำนิมิตโอภาสแก่พระอานนท์ ๑๓. สารันทเจดีย์ เจดีย์สถานที่กรุงเวสาลี นครหลวงของแคว้นวัชชี ณ ที่นี้พระพุทธเจ้าทรงท�ำนิมิตโอภาสแก่พระอานนท์ ๑๔. อัคคาฬวเจดีย์ อยูใ่ กล้อาฬวีนคร หลังจากทรงทรมานอาฬวกยักษ์ ให้สิ้นพยศและตั้งมั่นอยู่ในอริยธรรม ทรงแสดงธรรมเทศนาโปรดชาวเมือง อาฬวีให้ตั้งอยู่ในกัลยาณธรรมแล้ว พระพุทธเจ้าประทับจ�ำพรรษาที่ ๑๖ ภายหลังจากตรัสรู้ ณ สถานที่แห่งนี้ ๑๕. อานันทเจดีย์ เจดีย์สถานในเขตโภคนคร ระหว่างทางจากกรุง เวสาลี แคว้นวัชชี ไปสู่เมืองปาวา แคว้นมัลละ ณ ที่นี้ พระพุทธเจ้าพร้อมด้วย พระภิกษุสงฆ์ ๕๐๐ รูป ประทับแสดงธรรมโปรดพุทธบริษัทชาวเมืองโภคนคร พระพุทธเจ้าตรัสมหาปเทส ๔ ฝ่ายพระสูตร (หลักอ้างอิงส�ำหรับเทียบเคียง ๔ ประการ) จากนั้นพระบรมศาสดาเสด็จต่อไปยังปาวานคร แล้วเสด็จไปยัง สาลวโนทยาน ใกล้กรุงกุสินารา ทรงดับขันธปรินิพพานที่สาลวโนทยาน จะขอเพิ่มเติมในส่วนของสถูป ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับบริโภคเจดีย์ไว้ ด้วยดังนี้
20
๑. เจาคันธีสถูป พระสถูปแห่งนี้พระเจ้าอโศกมหาราชทรงสร้างเป็นที่ ระลึกที่พระพุทธเจ้าทรงพบปัญจวัคคีย์เป็นครั้งแรก ภายหลังจากตรัสรู้ สร้าง ขึ้นภายหลังพุทธปรินิพพานแล้วกว่า ๒๐๐ ปี ณ ป่าอิสิปตนมิคทายวัน กรุง พาราณสี แคว้นกาสี ๒. ธัมเมกขสถูป อยู่ใกล้เคียงกับเจาคันธีสถูป เป็นสถานที่ระลึกถึงใน กาลที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงปฐมเทศนาโปรดปัญจวัคคีย์ ในวันเพ็ญเดือน ๘ พระรัตนตรัยเกิดขึ้นครบบริบูรณ์ครั้งแรกในโลก ณ ที่แห่งนี้ ๓. ตุมพสถูป พระตุมพเจดีย์อยู่ที่กรุงกุสินารา แคว้นมัลละ พระสถูป แห่งนี้บรรจุทะนานทองที่ใช้ตวงแบ่งพระบรมสารีริกธาตุ เพื่อแบ่งปันให้ กษัตริย์ทั้งปวง โดยโทณพราหมณ์เป็นผู้ตวงพระบรมสารีริกธาตุแบ่งปัน ถวายกษัตริย์ทั้งหลาย และขอประทานทะนานทองตวงพระบรมสารีริกธาตุ อัญเชิญไปสร้างตุมพสถูปเจดีย์ ๔. อังคารสถูป พระอังคารสถูปเจดีย์อยู่ที่เมืองปิปผลิวัน โดยโมริยะ กษัตริย์ผู้ครองเมือง ได้ทราบข่าวพระพุทธเจ้าเสด็จปรินิพพานจึงส่งราชทูตให้ มาทูลขอพระบรมสารีริกธาตุ ณ กรุงกุสินารา ทั้งยกพลหยุหเสนาตามมาภาย หลัง ครั้นกษัตริย์มัลลราชแห่งกุสินาราแจ้งว่าพระบรมสารีริกธาตุนั้น กษัตริย์ ทั้ง ๘ พระนครได้ประชุมแบ่งปันกันไปหมดสิ้นแล้ว ยังอยู่แต่พระอังคาร (ถ่านเถ้าที่ถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระ) ขอให้อัญเชิญพระอังคารไป ท�ำการสักการบูชาเถิด โมริยะกษัตริย์จึงอัญเชิญพระอังคารมาประดิษฐาน ณ พระอังคารสถูปเจดีย์ เมืองปิปผลิวัน ที่กล่าวมาข้างต้นนั้นเป็นเจดีย์ที่ประดิษฐานอยู่ ณ ชมพูทวีปทั้งหมด แต่เจดียท์ เี่ ป็นทีเ่ คารพสักการะอย่างยิง่ ในสถานทีอ่ นื่ ๆ นอกเหนือจากชมพูทวีป ก็ยงั มีอยูเ่ ช่นเจดียช์ เวดากอง ทีป่ ระเทศพม่า เป็นมหาเจดียท์ บี่ รรจุพระ เกศาธาตุ ของพระพุทธเจ้า รวม ๘ เส้น ถือเป็นสิง่ ศักดิส์ ทิ ธิส์ งู สุดของ
21
ชาวพม่า เพราะไม่วา่ ประเทศพม่าจะย้ายเมืองหลวงไปทีเ่ มืองไหนก็ตาม จะต้องสร้างเจดียช์ เวดากองไว้ประจ�ำเมืองนัน้ ๆเสมอ และมีกฎหมายบังคับว่า ห้ามสร้างสิง่ ก่อสร้างอาคารใดให้มคี วามสูงเกินกว่าเจดียช์ เวดากองโดยเด็ดขาด ทีป่ ระเทศศรีลงั กาก็มเี จดียเ์ ก่าแก่มากมายทีม่ คี วามเกีย่ วข้องกับพระพุทธเจ้า โดยโบราณาจารย์ได้รจนาเป็นคาถารวบรวมบุณยสถานศักดิ์สิทธิ์ ๑๖ แห่ง ของประเทศศรีลังกาไว้ดังนี้ มหิยงฺคณํ นาคทีปํ กลฺยาณํ ปทลญฺชนํ ทิวากุหํ ทีฆวาปึ เจติยญฺจ มุตึคณํ ติสฺสมหาวิหารญฺจ โพธึ มริจวฏฺฏิยํ โสณฺณมาลิมหาเจตึ ถูปารามภยาคิรึ เชตวนํ เสลเจติยํ ตถากตรคามกํ เอเต โสฬสฐานานิ อหํ วนฺทามิ สพฺพทาฯ ข้าพเจ้าขอยกกรไหว้วันทาเป็นนิตย์ ณ สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ ๑๖ แห่ง เหล่านี้ คือ มหิยังคณเจดีย์ นาคทวีปเจดีย์ กัลยาณีเจดีย์ รอยพระพุทธบาท ที่ศิริปาทะ ทิวากุหเจดีย์ ทีฆวาปีเจดีย์ มุติงคณเจดีย์ ติสสมหารามเจดีย์ ต้นพระศรีมหาโพธิ์ มริจวัฏฏิยเจดีย์ สุวรรณมาลิกเจดีย์ ถูปารามเจดีย์ อภัยคิรีเจดีย์ เชตวันเจดีย์ เสลเจดีย์ และกตรคามเจดีย์ ที่กล่าวมานั้นเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับเจดีย์ต่างๆ ที่เป็นสถานที่ส�ำคัญ ควรค่าแก่การบูชาเป็นอย่างยิ่ง ส่วนเรือ่ งราวเหตุการณ์ของบุคคลทีท่ ำ� การบูชาเจดียใ์ นสมัยพุทธกาลนัน้ ผู้เขียนจะกยกมาเล่าให้อ่าน เขียนให้ฟังกันต่อในฉบับหน้า โสตฺถิ เต โหตุ สพฺพทา
22
การสอบเป็นเรื่องส�ำคัญ
อนุตฺตรภิกฺขุ การศึกษาตัง้ แต่อดีตจนถึงปัจจุบนั ไม่วา่ จะเป็นทางโลก หรือทางธรรม ก็มีการเรียนการสอนกันมาตลอด แต่การสอบนั้นอาจแตกต่างกัน สมัยก่อน นิยมสอบปากเปล่า หรือสอบท่อง เพราะคนสมัยก่อนนิยมท่องหนังสือกันมาก สมัยนี้คนท่องหนังสือน้อยลงจึงเปลี่ยนเป็นการสอบข้อเขียนแทน และได้รับ ความนิยมมากในขณะนี้ ผู้ที่นับถือพระพุทธศาสนาในสมัยก่อน มีการเรียนการสอน ท่องบ่น สาธยายและสอบพระไตรปิฎก ทรงพระไตรปิฎกกันอย่างจริงจัง พระบางรูป ทรง ๑ นิกายบ้าง ๒ - ๓ - ๔ - ๕ นิกายบ้าง ๑ ปิฎกบ้าง ๒ ปิฎกบ้าง ๓ ปิฎกบ้าง พระผู้ทรงพระไตรปิฎกสมัยก่อนมีมาก แต่สมัยนี้มีน้อยนิด มีเฉพาะในประเทศพม่าประเทศเดียวทีม่ กี ารเรียนการท่องและสอบพระไตรปิฎก ทั้งท่องและสอบเฉพาะแผนกนักธรรม - บาฬีสนามหลวง และพระอภิธรรม ส่วนบาฬีใหญ่ เมื่อเทียบกับนักธรรม - บาฬีสนามหลวง และพระอภิธรรมแล้ว นับว่าอ่อนแอมากๆ ทั้งที่มีการเรียน การสอน การสอบมานานแล้ว สาเหตุที่มี คนเรียน คนสอน และคนสอบน้อย เพราะขาดแรงจูงใจ ขาดศรัทธา ขาดการ สนับสนุน ขาดความสมัครสมานสามัคคี ทุกสังคมต้องการคนเก่ง คนดี ยอมรับนับถือยกย่องเชิดชูคนที่เรียนดี ประพฤติดี และสอบผ่านตามกฎเกณฑ์ที่เขาวางไว้ ถ้าไม่มีการสอบ ใครจะรู้ว่า "คนนี้เก่ง คนนี้มีความรู้มีความสามารถ" จะรู้ได้ก็ต้องอาศัยเวลาเป็นเครื่อง พิสูจน์กันนานๆ ผลงานจึงจะปรากฏ ซึ่งจะเสียเวลามาก ถ้าสอบผ่าน มีประกาศนียบัตรรับรองก็จะรู้ได้ง่าย ไม่เสียเวลาในการคัดคนเข้าท�ำงาน การ สอบยังเป็นกลไกที่ดีที่สุดตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน คนส่วนมากเห็นว่า การสอบเป็นเรื่องที่ดี และจ�ำเป็นอย่างมาก แต่ก็
23
ยังมีคนบางกลุ่มมีความคิดว่า "การสอบเป็นเรื่องของกิเลสตัณหา" พูดเหมือน กับไม่สอบ กิเลสไม่เกิด มีการสอบ กิเลสจึงเกิด เรียนธรรมะ สอบธรรมะ กิเลสเกิดก็ยิ่งดี จะได้เรียนได้ สอบให้ยิ่ง ขึ้นไปจนจบพระไตรปิฎก จะได้แตกฉานในพระธรรมวินัย โลภะที่เกิดจาก การสอบเป็นโลภะที่เป็นปัจจัยให้เกิดกุศล เป็นโลภะที่สร้างสรรค์ ท�ำให้เกิด ประโยชน์ใหญ่หลวงแก่สังคม จะสอบหรือไม่สอบ กิเลสก็เกิดเหมือนกัน ถ้า ขาดสติ เพราะธรรมชาติของจิตจะยินดีในบาป ใฝ่ต�่ำอยู่เสมอ สมดังพระ ด�ำรัสที่ตรัสไว้ว่า "ปาปสฺมึ รมตี มโน ใจย่อมยินดีในบาป" ใจคนเหมือนกระแส น�้ำ ชอบไหลลงสู่ที่ต�่ำคือบาปเป็นนิตย์ เราควรเปลี่ยนมุมมองเสียใหม่ อย่าคิดว่าการสอบท�ำให้เกิดกิเลส ตัณหา เกิดทิฏฐิมานะอย่างเดียว ถ้าเราวางใจถูกต้อง มีโยนิโสมนสิการต่อการ สอบว่า การสอบเป็นเหตุให้เราได้อ่านหนังสือธรรมะ ท่องบ่นสาธยายธรรมะ ท�ำให้เรามีความรู้ความเข้าใจธรรมะมากยิ่งขึ้น ทั้งยังเป็นการสั่งสมปัญญาให้ พอกพูนเพิ่มขึ้น จะท�ำให้เราหายมืดบอด หายโง่งมงาย ถ้าคิดอย่างนี้ กิเลสตัว ไหนจะเกิดขึ้น มีแต่กุศลล้วนๆ ที่เกิดขึ้นในใจเรา มีแต่ได้กับได้ ไม่มีเสีย สมัยพุทธกาล พระนางมัลลิกาและพระนางวาสภขัตติยาซึ่งเป็นพระ มเหสีของพระเจ้าปเสนทิโกศล ต้องการเรียนธรรมะ พระเจ้าปเสนทิโกศลได้ เสด็จไปขอพระภิกษุรูปหนึ่งจากพระพุทธเจ้า เพื่อมาสอนธรรมะแก่พระมเหสี พระพุทธเจ้าทรงมอบภาระหน้าที่ให้แก่พระอานนท์ พระอานนท์เถระก็ได้ สอนธรรมะแก่พระนางเหล่านั้น อยู่มาวันหนึ่ง พระศาสดาตรัสถามพระเถระว่า "อุบาสิกาทั้งสอง ยัง เรียนธรรมอยู่หรือ" พระเถระทูลว่า "ยังเรียนธรรมอยู่พระเจ้าข้า" พระศาสดา ตรัสถามต่อไปว่า "อุบาสิกาคนไหนเรียนธรรมโดยเคารพ" พระเถระทูลว่า "พระนางมัลลิกาเรียนธรรมโดยเคารพ ท่องบ่นสาธยายโดยเคารพ สามารถ
24
ให้ข้าพระองค์สอบสอนทวนถามรับรองพระบาฬีโดยความเคารพ ส่วนพระ นางวาสภขัตติยา ไม่เรียนโดยเคารพ ไม่ท่องบ่นโดยเคารพ ไม่สามารถให้ข้า พระองค์สอบสวนทวนถามรับรองพระบาฬีโดยเคารพได้ พระเจ้าข้า" พระศาสดาทรงสดับถ้อยค�ำของพระเถระแล้วตรัสว่า "อานนท์ ธรรม ที่เราตรัสแล้วย่อมไม่มีผลแก่ผู้ไม่ฟัง ไม่เรียน ไม่ท่อง ไม่แสดงโดยเคารพ ดุจ ดอกไม้งามแต่สี ไม่มีกลิ่นหอม แต่จะมีผลมาก มีอานิสงส์มากแก่ผู้ท�ำกิจทั้ง หลาย มีการฟังโดยเคารพเป็นต้น" คนตั้งใจเรียน ตั้งใจท่องก็มีความรู้ความ เข้าใจในพระธรรมได้มาก จดจ�ำได้มาก เวลาถูกสอบสวนก็สามารถตอบ ค�ำถามได้ถูกต้องแม่นย�ำเหมือนพระนางมัลลิกาเทวี แต่คนที่ไม่ตั้งใจเรียน ไม่ ตั้งใจท่องก็หาความรู้ความเข้าใจในหลักธรรมไม่ได้ จ�ำได้แบบกระท่อน กระ แท่น ขาดๆ หล่นๆ เวลาถูกสอบสวนวนถามก็ไม่สามารถตอบค�ำถามได้เลย ถึงตอบก็ตอบแบบผิดๆ พลาดๆ เหมือนพระนางวาสภขัตติยา ใช้เวลาเรียน เท่ากัน แต่ได้ไม่เท่ากัน เพราะสร้างเหตุไม่เหมือนกัน คนไม่ตั้งใจเรียน คือคน ที่ท�ำลายวิชาและท�ำลายตัวเอง แม้จะเรียนร้อยวันพันปีก็จ�ำอะไรไม่ได้ เหมือน คนใบ้นอนฝัน ไม่สามารถพูดอะไรให้ใครฟังได้เลย เรียนปริยัติธรรมก็ต้องสอบ ถามว่าสอบท�ำไม ? สอบเพื่อแก้ไขข้อบกพร่อง สอบเพื่อให้เข้าใจถูกต้อง จะได้เอาไปใช้ได้ ถูกต้อง เรียนปฏิบัติก็ต้องสอบเหมือนกัน คือสอบอารมณ์กรรมฐาน อาจารย์ ผู้สอนกรรมฐาน จะสอบอารมณ์ผู้ที่เข้ากรรมฐานว่า "ฟังเข้าใจถูกต้องหรือไม่ ปฏิบัติถูกไหม ปฏิบัติสะดวกไหม ถ้าไม่เข้าใจ ปฏิบัติไม่ถูกจะแก้ไขให้ถูกต้อง ผู้ปฏิบัติเข้าใจผิดก็จะปฏิบัติผิด นานเข้าจะแก้ยาก และอาจคิดว่าเราปฏิบัติ ถูกต้องแล้ว ผู้ปฏิบัติผิดจะไม่ได้รับประโยชน์ที่พึงจะได้รับ มีแต่จะเกิดโทษ เพราะฉะนั้นการสอบอารมณ์กรรมฐานจึงเป็นเรื่องที่จ�ำเป็นอย่างมาก
25
ผลดีที่เกิดจากของการสอบมีมากมายหลายอย่าง ดังนี้ ๑. การสอบเป็นเหตุให้ได้อ่าน ได้ท่อง ได้ท�ำความเข้าใจหนังสือ ต�ำราเรียนให้ มากขึ้น ๒. การสอบเป็นการแสดงภูมิปัญญา และความสามารถให้ตนเองและคนอื่น ได้เห็น ๓. การสอบเป็นการวัดความรู้ความเข้าใจที่ดีที่สุด ๔. การสอบท�ำให้เกิดความกระตือรือร้น สร้างศรัทธา และความมัน่ ใจให้ตนเอง ๕. การสอบท�ำให้ระดับของคนเปลี่ยนไป จากต�่ำเป็นสูง ๖. การสอบเป็นการคัดเกรด คัดคุณภาพคน เจียระไนคน ๗. การสอบท�ำให้สถาบันการเรียนการสอน มีความเป็นระบบ และมัน่ คงถาวร ๘. การสอบเป็นการกระตุ้น เป็นแรงจูงใจให้คนอยากเรียนหนังสืออย่างหนึ่ง การเรียนแล้วไม่สอบ จะมีผลเสียต่อตัวเอง และสถาบันหลายอย่าง มี นัยตรงกันข้ามกับที่กล่าวมาแล้ว ผู้เขียนอยากจะขอนิมนต์พระภิกษุ - สามเณร และเชิญชวนอุบาสก อุบาสิกา มาร่วมแรงร่วมใจกัน มาช่วยกันศึกษาเล่าเรียนบาฬีใหญ่ให้มากๆ และสอบให้มากๆ เพื่อให้สถาบันบาฬีใหญ่ของพวกเรา เป็นปึกแผ่น เข้มแข็ง ด�ำรงอยู่คู่ไทยสืบไป จะได้เป็นมรดกตกทอดให้ลูกหลาน อย่าให้บาฬีใหญ่ต้อง มาเสื่อมสลายในยุคของพวกเราเลย บาฬีใหญ่จะเจริญรุ่งเรือง หรือว่าจะเสื่อม ก็อยู่กับพวกเราทุกคน ถ้าพวกเราช่วยกันเรียน ช่วนกันสอน ช่วยกันสอบ บาฬีใหญ่กจ็ ะด�ำรงคงอยูต่ ราบนานเท่านาน ถ้าไม่ชว่ ยกัน ก็จะเสือ่ มโดยเร็ววัน ถ้าพวกเราไม่ช่วยกัน ใครจะช่วย ถ้าพวกเราไม่ท�ำ ใครจะท�ำ การ สืบทอดพระพุทธศาสนาไม่ใช่หน้าที่ของใครคนใดคนหนึ่ง แต่เป็นหน้าที่ที่ พุทธศาสนิกชนทุกคนต้องช่วยกัน
26
อุปสาฬหกชาดก ที่มิใช่ป่าช้า
ตถตา อุปสาฬหกชาดก ปรากฏอยูใ่ นขุททกนิกาย ชาดก ทุกนิบาต สันถววรรค ดังได้สดับมาว่า ในเมืองราชคฤห์ มีพราหมณ์คนหนึ่งเป็นคนมั่งคั่ง มีทรัพย์สมบัติเป็นอันมาก แต่เพราะเป็นคนมิจฉาทิฏฐิ จึงมิได้สงเคราะห์ หรือ เอื้อเฟื้อแด่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และเหล่าสาวกเลย แม้ท่านเหล่านั้น จะพักอยู่ในพระวิหารใกล้ๆบ้านของตน เมื่อถึงวัยชรา พราหมณ์ได้สั่งบุตรชายของตน ซึ่งเป็นผู้ที่ฉลาดหลัก แหลม มีปัญญามากว่า "เมื่อพ่อตายแล้ว อย่าได้น�ำศพไปเผาที่ป่าช้าที่เผาศพ คนชั้นต�่ำอื่นๆ แต่จงน�ำไปเผาในที่ๆไม่เคยเป็นเดนของใคร" บุตรชายได้ตอบ ว่า "กระผมไม่รู้จักสถานที่เช่นนั้นเลย ถ้าจะให้ดีขอให้บิดาพาไปชี้สถานที่เช่น นั้นไว้" พราหมณ์ก็เห็นด้วยกับบุตรของตน จึงพาบุตรชายขึ้นไปบนยอดเขา คิชฌกูฏ แล้วชี้ให้ดูว่าที่ตรงนี้แหละ เป็นที่ไม่มีการเผาศพคนชั้นต�่ำเลย เมื่อชี้ เสร็จก็พากันลงจากยอดเขา ในเวลาเช้ามืดของวันนั้นเอง พระบรมศาสดาทรงตรวจดูสัตว์โลก ทรง เห็นอุปนิสัยทางธรรมของทั้งสองพ่อลูก จึงเสด็จลงจากพระคันธกุฎีไปดักรอ พวกเขาอยู่ที่ข้างทางที่พวกเขาจะผ่าน เมื่อสองพ่อลูกเดินลงมา พระพุทธองค์ได้ตรัสปฏิสันถารขึ้นก่อน แล้ว ตรัสถามว่า "ไปไหนกันมา" ผู้ที่เป็นบุตรได้กราบทูลว่า "ไปดูสถานที่ที่จะเผาบิดาซึ่งเป็นสถานที่ที่ ไม่เคยเผาใครมาก่อนพระเจ้าข้า" พระบรมศาสดาจึงตรัสว่า "ถ้าเช่นนั้นเราไปดูสถานที่ตรงนั้นกัน" ตรัสแล้วก็ทรงพาสองพ่อลูกกลับขึ้นไปบนยอดเขาคิชฌกูฏอีก เมื่อไปถึงบริเวณนั้นก็ตรัสถามเขาว่าที่นั้นอยู่ตรงไหน บุตรชายของ
27
พราหมณ์ก็ชี้ให้ดูตรงจุดที่บิดาบอกไว้ซึ่งอยู่ระหว่างเขาสามลูก พระบรมศาสดาจึงตรัสว่า "บิดาของเธอจะหาสุสานอันบริสุทธิ์ในชาติ นี้เท่านั้นก็หาไม่ แม้ในกาลก่อนก็หาสุสานอันบริสุทธิ์เหมือนกัน และในชาติ นี้จะสั่งให้เผาตนที่ตรงนี้เท่านั้นก็หาไม่ แม้ในกาลก่อนก็สั่งเช่นนี้เหมือนกัน" ดังนี้ก็ตรัสชาดกว่า อดีตกาลนานมาแล้ว ณ เมืองราชคฤห์ มีพราหมณ์ชื่ออุปสาฬหกะ และมีบุตรชายคนหนึ่งซึ่งเป็นบุตรคนเดียวกันนี้เอง ครั้งนั้นพระโพธิสัตว์เกิดในตระกูลพราหมณ์ในแคว้นมคธเป็นผู้รอบรู้ เรื่องศิลปะ ได้บวชเป็นดาบสบ�ำเพ็ญฌานสมาธิ จนได้อภิญญาแก่กล้า ได้ไป อาศัยอยู่ที่บรรณศาลาบนเขาคิชฌกูฏ ครั้งนั้น พราหมณ์นั้นก็กล่าวกับบุตรชายในท�ำนองเดียวกันนี้ เกี่ยว กับการหาที่เผาศพตนโดยเป็นสถานที่ที่ไม่เคยเผาใครมาก่อน เมื่อเดินทางมา ถึงที่อยู่ของพระดาบสโพธิสัตว์ก็ได้ถามพระดาบสโพธิสัตว์ถึงสถานที่ที่ไม่เคย เผาใครมาก่อน พระดาบสโพธิสัตว์จึงตอบว่า "พ่อหนุ่มเอ๋ย ที่ตรงนี้แหละมีคนถูกเผามาแล้วเหลือจะประมาณได้ โดยเฉพาะบิดาของเธอเกิดในตระกูลพราหมณ์เมืองราชคฤห์นี้แหละ และชื่อ อุปสาฬหกะเหมือนกัน เขาถูกเผาระหว่างภูเขาสามลูกนี้มาแล้ว ๑๔,๐๐๐ ชาติ แท้จริงสถานที่ที่ไม่มีคนถูกเผา ที่ไม่เคยเป็นสุสาน หรือที่ไม่มีกระโหลก ศีรษะจมอยู่ไม่อาจจะหาได้เลยบนผืนปฐพีนี้" จากนั้นก็กล่าวเป็นคาถาว่า อุปสาฬฺหกนามานํ สหสฺสานิ จตุทฺทส อสฺมึ ปเทเส ทฑฺฒานิ นตฺถิ โลเก อนามตํ (ขุ.ชา.ทุก. ๒๗/๑๘๑) พราหมณ์ชอื่ อุปสาฬหกะ ถูกเผาทีภ่ มู ปิ ระเทศนีม้ าประมาณ ๑๔,๐๐๐ คนแล้ว ไม่มสี ถานทีใ่ ดในโลกทีไ่ ม่มคี นตาย
28
สาระจากชาดก อวิชชาก็ดี โมหะก็ดี เป็นเรื่องของความไม่รู้จริง ความหลงผิด ความงมงายเพราะไม่รู้จริง เป็นต้นเค้าให้เกิดความเชื่อที่ผิดๆ เชื่อตามกันมา โดยไม่มีการคิดหาเหตุผลที่แท้จริง และเป็นเหตุให้ท�ำสิ่งที่เรียกว่า "งมงาย" แม้ว่าสิ่งที่ท�ำนั้นจะไม่เป็นพิษเป็นภัยอะไร แต่ก็ท�ำให้เสียเวลา เสียเงิน เสีย ทองโดยใช่เหตุ ผลลัพธ์ที่ได้อาจมีเพียงความสบายใจที่ได้ท�ำเท่านั้น มีหลากหลายเรื่องราวที่คนเราท�ำตามๆกันมาโดยไม่รู้เหตุผล ไม่รู้ข้อ เท็จจริง และไม่พยายามที่จะหาเหตุผล หาข้อเท็จจริงมาลบล้าง เมื่อถึงเวลา ก็ท�ำกันไปจนกลายเป็นธรรมเนียมหรือประเพณีที่ขาดไม่ได้ ท�ำให้ผู้ที่ท�ำเสี่ยง ต่อการถูกกล่าวหาว่างมงาย แต่หากผู้ใดได้คิดค้นหาเหตุผลในเชิงลึกที่แอบแฝงอยู่ในธรรมเนียม ประเพณีนั้นจนพบ และเป็นผลดี น�ำมาเปิดเผยให้รู้ทั่วกัน แม้จะเป็นวงแคบๆ ก็ท�ำให้ธรรมเนียมหรือประเพณีน้ันมีค่าควรแก่การอนุรักษ์ไว้ อย่างเช่น ประเพณีสงกรานต์ หรือลอยกระทง ซึ่งมุ่งหมายให้มีจิตส�ำนึกในความกตัญญู กตเวที ให้มีความอ่อนน้อม ถ่อมตนเป็นต้น การท�ำอะไรตามอย่างกันนั้นไม่เสียหาย แต่สมควรท�ำอย่างคนมีสติ ปัญญาในการพิจารณาไตร่ตรองให้รอบคอบ และรู้ให้ลึกถึงเป้าหมายที่แท้ จริง การกระท�ำเหล่านั้นจึงจะเป็นการกระท�ำที่บังเกิดผลอย่างสูงสุด ไม่ เป็นการกระท�ำที่งมงาย ไร้สาระ
29
30
รู้จักภพภูมิที่เราเวียนว่ายตายเกิด ตอนที่ ๔
พระวรฤทธิ์ โอภาโส เจริญพรผู้อ่าน วันนี้ขอเชิญชวนทุกท่านไปร่วมชมงานสัปดาห์ส่งเสริม พระพุทธศาสนาเนื่องในวันวิสาขบูชาที่มณฑลพิธีท้องสนามหลวง โดยมีการ จัดงานจนถึงวันที่ ๒๔ พ.ค. ๕๖ ซึ่งเป็นวันวิสาขบูชาเป็นวันสุดท้าย โดยวัน วิสาขบูชาเป็นวันคล้ายวันประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพานขององค์สมเด็จพระ สัมมาสัมพุทธเจ้าซึ่งเป็นศาสดาของเราทุกคน และทางองค์การสหประชาชาติ ก�ำหนดให้วันวิสาขบูชาเป็นวันส�ำคัญของโลก จึงมีการจัดงานนิทรรศการ ทั่วโลก ในงานที่สนามหลวงนี้ทางอภิธรรมโชติกะวิทยาลัยและมูลนิธิเผยแผ่ พระสัทธรรม ซึ่งเป็นหน่วยงานที่เผยแผ่และส่งเสริมการเรียนรู้พระอภิธรรม ส�ำหรับพุทธศาสนิกชนทุกคนโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆจะได้ไปร่วมจัดงาน เพื่อเชิญชวนทุกท่านที่สนใจในค�ำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าได้มาร่วมศึกษา หาความรู้และรักษาค�ำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าให้คงอยู่ต่อไป โดยมีทั้งการ มาเรียนพระอภิธรรมที่ห้องเรียนและการเรียนทางไปรษณีย์ จึงขอเชิญผู้ อ่านทุกท่านที่สนใจมาร่วมหาความรู้ สอบถามปัญหาข้อข้องใจหรือมาร่วม ในกิจกรรมต่างๆที่เต็นท์ของอภิธรรมโชติกะวิทยาลัยและมูลนิธิเผยแผ่พระ สัทธรรมที่ท้องสนามหลวงจนถึงวันวิสาขบูชา ในวันนี้อาตมาจะได้เขียนถึงอบายภูมิในภูมิสุดท้ายหลังจากอธิบายถึง ภูมิของสัตว์นรก เปรต อสุรกายไปแล้ว อบายภูมิที่ ๔ คือ ติรัจฉานภูมิ หรือที่ เรามักเรียกว่า สัตว์เดรัจฉานนั่นเอง สัตว์ในภูมิเดรัจฉานเป็นอบายภูมิที่เราคุ้น เคยและรู้จักเป็นอย่างดีที่สุด อาตมาจะอธิบายในส่วนที่เป็นเชิงความรู้มาก กว่าส่วนที่เราคุ้นเคย สัตว์เดรัจฉาน หมายถึง สัตว์ผู้ไปโดยส่วนขวาง หรือ สัตว์ ที่เป็นไปขวางจากมรรคผล หมายความว่า มนุษย์เมื่อเดินไปย่อมไปโดยส่วน สูงคือศีรษะตั้งตรงขึ้นเบื้องบน แต่เดรัจฉานนั้น เมื่อไปย่อมไปโดยส่วนขวาง คือแขนทั้งสองต้องใช้เป็นเท้า ศีรษะตั้งอยู่ข้างหน้า และก้มลงเบื้องล่าง ส่วน
31
พวกสัตว์ปีกเช่น นก แม้จะมีขาสองขาเหมือนมนุษย์ก็จริง แต่เมื่อบินไปนั้น ร่างกายไม่ได้ตั้งตรงคงไปโดยส่วนขวางเช่นเดียวกัน และในก�ำเนิดติรัจฉานนี้ แม้ว่าจะเป็นพระโพธิสัตว์แล้วก็ตาม ถ้าไปถือก�ำเนิดในบรรดาเดรัจฉานเหล่า ใดเหล่าหนึ่งแล้วต้องห่างจากมรรคผลโดยแน่นอน จึงเรียกเดรัจฉานว่าพวก ขวางจากมรรคผล นอกจากนีใ้ นวินยมหาวัคคอัฏฐกถาแสดงว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรง ปฏิเสธการอุปสมบทแก่บุคคลใด บุคคลนั้นชื่อว่า ติรัจฉาน ในพระวินัยบัญญัติ นี้หมายความว่าบุคคลที่ไม่ใช่มนุษย์ แม้เป็นพระอินทร์ก็ตาม ต้องจัดเข้าใน ประเภทติรัจฉาน เป็นการแสดงถึงเดรัจฉานโดยอ้อม โดยใช้การอุปสมบท เป็นเครื่องชี้วัดการเป็นติรัจฉาน สัตว์เดรัจฉานสามารถแบ่งเป็นประเภทใหญ่ได้ ๒ ประเภทคือเดรัจฉาน ทีส่ ามารถมองเห็นได้ดว้ ยตาปกติชนิดหนึง่ และที่ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตา ปกติอีกชนิดหนึ่ง หมายความว่า เดรัจฉานที่เป็นสัตว์จ�ำพวกใหญ่โตก็มี และ จ�ำพวกเล็กๆน้อยๆก็มี ในบรรดาสัตว์เดรัจฉานทัง้ หลายเมือ่ จ�ำแนกโดยขาแล้วมี ๔ จ�ำพวก คือ ๑. อปทติรัจฉาน คือจ�ำพวกเดรัจฉานที่ไม่มีขา ได้แก่ งู ปลา ไส้เดือน เป็นต้น ๒. ทวิปทติรัจฉาน คือจ�ำพวกเดรัจฉานที่มี ๒ ขา ได้แก่ นก ไก่ เป็ด เป็นต้น ๓. จตุปทติรัจฉาน คือจ�ำพวกเดรัจฉานที่มี ๔ ขา ได้แก่ วัว ม้า ควาย เป็นต้น ๔. พหุปปทติรจั ฉาน คือจ�ำพวกเดรัจฉานทีม่ ขี ามาก ได้แก่ ตะขาบ กิง้ กือ เป็นต้น บรรดาสัตว์เดรัจฉานที่กล่าวมาแล้วนี้ แตกต่างกันโดยที่อาศัย คือบางพวก ได้อาศัยอยู่บนแผ่นดิน แต่บางพวกอาศัยอยู่ในน�้ำ โดยพวกที่ อยู่ในน�้ำมีมากกว่าพวกที่อยู่บนบก ดังมีบาฬีแสดงในพระบาฬีเอกังคุตตระว่า อปฺปกา ภิกฺขเว เต สตฺตา เย ถลชา, อถโข เอเตว สตฺตา พหุตรา เย โอทกา แปลความว่า "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัตว์เหล่าใดที่เกิดบนบก สัตว์เหล่านั้นมี จ�ำนวนน้อย แต่ความจริงนัน้ สัตว์เหล่าใดทีเ่ กิดในน�ำ ้ สัตว์เหล่านัน้ มีจำ� นวนมาก"
32
ในพระบาฬีนี้แสดงไว้อาจเป็นเพราะในสมัยนั้นไม่อาจทราบว่าในน�้ำมีสัตว์ อะไรบ้าง พระพุทธเจ้าจึงแสดงให้ทุกคนได้ทราบ แต่ในสมัยนี้คงไม่เป็น ปัญหา เพราะส่วนใหญ่ได้ทราบจากข่าวสาร รายการสารคดีชีวิตสัตว์ต่างๆ ที่ได้น�ำมาถ่ายทอดให้ทุกคนได้ทราบอยู่แล้วว่า สัตว์ที่อยู่ในน�้ำมีมากเพียงใด แต่บาฬีนี้ย่อมแสดงให้เห็นว่าพระพุทธเจ้าของเราทรงฉลาดและมีความรู้มาก แม้ในสิ่งที่ยังเห็นไม่ได้ในตอนนั้นพระพุทธองค์ก็ยังทรงทราบ แต่สัตว์น�้ำหรือสัตว์บกจะมากกว่ากันก็ตาม แต่ก็ไม่เป็นที่น่าสนใจใน การไปเกิดทั้งคู่ เพราะเดรัจฉานเกิดด้วยอ�ำนาจของอกุศลกรรมที่เราได้ท�ำไว้ ในธรรมดามนุษย์นั้นจะมีสัญญาปรากฏได้ ๔ อย่าง แต่สัญญาที่ ปรากฏแก่เดรัจฉานทั้งหลายมี ๓ อย่างคือ ๑.กามสัญญา การรู้จักเสวย กามคุณ ๒.โคจรสัญญา การรู้จักการกิน ๓.มรณสัญญา การรู้จักกลัวตาย ส่วนสัญญาที่ ๔ คือ ธรรมสัญญา การรู้จักผิดชอบชั่วดี รู้จักสิ่งที่เป็นกุศลและ อกุศล เฉพาะพระโพธิสัตว์จึงจะปรากฏขึ้นได้ เดรัจฉานนอกนั้นมีแต่สัญญา ๓ ประการ และในสัญญา ๓ ประการนั้น มรณสัญญาปรากฏขึ้นมากที่สุด เพราะ อันตรายเกี่ยวกับชีวิตมีมาก ส�ำหรับเดรัจฉานทั้งหลาย คือสัตว์ตัวเล็กย่อมถูกสัตว์ใหญ่เบียดเบียน ท�ำร้ายจับกินเป็นอาหารเสียโดยมาก เช่น จิ้งจกกินแมลง เป็นต้น สิ่งนี้จัด เป็นอันตรายที่ได้รับระหว่างสัตว์เดรัจฉานด้วยกัน นอกจากนี้ยังมีอันตราย ที่เกี่ยวกับชีวิตด้านอื่นๆอีก เช่น ได้รับความอดอยากในเรื่องอาหารการกิน มีความล�ำบากในที่อยู่อาศัย ทั้งยังถูกพวกมนุษย์บางคนคอยเบียดเบียน ท�ำร้ายเหล่านี้ เป็นต้น ดังนั้นอายุของพวกเดรัจฉานจึงไม่แน่นอน บางพวก อายุไม่กี่วัน แต่บางพวกอาจมีอายุถึงร้อยปีก็ได้ เราคงได้เห็นแล้วว่าในโลกนี้ ระหว่างมนุษย์กับเดรัจฉานนั้น พวก ไหนมีมากว่ากันจึงขอเตือนสติทุกท่านว่าอย่าประมาทเลย มิเช่นนั้นอาจจะ ไปเกิดเป็นเดรัจฉานได้ ขอให้ทุกท่านระมัดระวังจิตให้ดี จะได้ไม่ไปเป็นสัตว์ เดรัจฉาน ขอให้ทุกท่านโชคดี เจริญพร 33
ถามมา - ตอบไป
คนเดินทาง ค�ำถาม : ในวันที่รู้สึกแย่ๆ หมดก�ำลังใจ จะรักษาจิตอย่างไรดี ที่จะไม่ ให้เศร้าไปกับความรู้สึกอย่างนั้นนานๆ ค�ำตอบ : การที่ปรากฏค�ำถามนี้ขึ้นมา นับว่าเป็นค�ำถามที่ดีทีเดียว !! ถามว่า : อย่างไร ที่ชื่อว่า ดี ? ตอบว่า : ที่กล่าวว่าดีนั้น เพราะมีความรู้สึกอยากจะหันหลังออก มาจากความเศร้านั้น ดีกว่าหลงเพลินไปกับความทุกข์ความเศร้าเรื่อยไป บุคคลบางคนไม่ยอมเปลี่ยนใจ ยอมทุกข์ใจปวดใจโดยไม่หักใจ ไม่หัน หลังกลับ นับเดือน นับปี นับสิบๆ ปี หรือจนกระทั่งหมดลมหายใจ คือไม่มี ความคิดแม้สักหน่อยหนึ่ง ที่จะขวนขวายหาทางดับความทุกข์นั้นๆ จึงสืบต่อ ความทุกข์มาอย่างยาวนาน บุคคลผู้ไม่แสวงหา ก็ย่อมไม่มีโอกาสได้พบได้เจอ ในคราวที่จิตใจ เดือดร้อน ชนทั้งหลายโดยมากก็หลงก่นด่าโทษผู้อื่น หรือเฝ้าแต่โทษตนเอง ติ เตียนตนเอง ย�้ำคิดย�้ำเศร้า จนกลายเป็นความหดหู่เรื้อรัง จึงก่อให้เกิดความ ผูกโกรธ เกิดความพยาบาท กลายเป็นแค้นฝังใจได้ในเวลาต่อมา ก่อนอื่น พึงรู้ตัวว่า ความรู้สึกในขณะนั้นเป็นไปกับบาปโทสะ โทสะที่ เป็นไปกับความหดหู่ใจ หมดก�ำลังใจ เสียใจ เศร้าใจ น้อยใจ เป็นต้น ให้ถามตนเองว่า โทสะเศร้าหมองของเรานี้ เกิดจากความต้องการ อะไร ? อย่างน้อยที่สุด ก็คือ ความต้องการอยากให้ธรรมชาติของความรู้สึก แบบนั้นหมดไปโดยเร็ว ความปรารถนา ขึ้นชื่อว่าเป็นต้นเหตุแห่งทุกข์โดยแท้ เพราะเมื่อ ปรารถนาสิ่งใดแล้วไม่สมปรารถนา ก็ย่อมเป็นทุกข์ แม้เมื่อไม่ได้ดั่งใจ ไม่ สมตามใจปรารถนา ความไม่สบายใจ เซ็ง หดหู่ ก็ย่อมเกิดขึ้น ต้องหันกลับ
34
ไปดูต้นตอว่า ปัญหาจริงๆ อยู่ที่ไหน? บางทีก็เป็นเรื่องที่ตนเองละเลย ไม่ได้ แก้ไข เช่น มีการงานที่คั่งค้างท�ำไม่เสร็จ หากเป็นเช่นนั้น ก็สมควรเร่งรีบท�ำให้ เสร็จเสีย ความหงุดหงิด ความเซ็งก็จะหมดไป แต่ทีนี้ก็เกี่ยวกับว่า หากเป็นเรื่องที่แก้ไขไม่ได้เล่า? เช่น ตั้งความหวัง ไว้แล้วแล้วผิดหวัง หรืออยากได้อะไรแล้วไม่ได้ดั่งใจ อยากให้มี แต่ไม่มี อยากให้เป็น แต่แล้วก็ไม่เป็นตามใจของตน อันไม่มีทางที่จะแก้ไขได้เลย หรือ มีคนติเตียนว่าร้าย นินทา เป็นต้น เมื่อนั้น บุคคลผู้ไม่แยบคาย ก็จะมีค�ำถามมากมายในใจของตนว่า ท�ำไม? ท�ำไม? เช่น ท�ำไมเรื่องต้องมาเป็นอย่างนี้ ? ท�ำไมเขาถึงพูดอย่างนั้นกับเรา ? ท�ำไมเขาถึงท�ำร้ายจิตใจของเราอย่างนี้ ? ท�ำไมเขาจึงทอดทิ้งเราไป ? ท�ำไมเขาจึงไม่เห็นใจเราบ้าง ? จะเห็นได้ว่า บุคคลในโลกนี้ มักพากันหมกมุ่นอยู่กับ "ค�ำถามที่ไม่มีค�ำ ตอบ" นับวัน นับเดือน นับปี หรือแม้แต่นับชาติไม่ถ้วน เพราะเหตุผลของธรรมชาตินั้น ผู้ใดท�ำความเข้าใจ ศึกษาธรรมชาติ ด้วยการฝึกสติ เจริญปัญญาแล้ว บุคคลผู้นั้นย่อมเป็นผู้ปราศจากค�ำถามว่า ท�ำไม ? ความทุกข์ของบุคคลในโลก จึงขึ้นอยู่กับปริมาณของค�ำถามว่า ท�ำไม? นั่นเอง ค�ำถามว่าท�ำไมนั้นย่อมไม่มีในบุคคลผู้เข้าใจธรรมชาติ เข้าใจชีวิตจิตใจ ของตน และเมื่อนั้น เขาย่อมจะเข้าใจชีวิตจิตใจของคนอื่นๆ ด้วย เพราะเมื่อเจริญปัญญาแล้ว ปัญญาย่อมรู้ว่าธรรมทั้งหลายเป็นอนัตตา
35
ใครจะไปบังคับบัญชาอะไรๆ ไม่ได้เลย ธรรมชาติทั้งหลาย เขาเป็นไปเองด้วยอ�ำนาจของเหตุปัจจัย ใครเล่า จะบังคับเอาตามปรารถนาได้ ผลทั้งหลาย ก็ต้องมีเหตุเป็นแดนเกิด ผลไม่ดีที่ตนเองก�ำลังประสบอยู่ นั้น ก็เกิดด้วยอ�ำนาจกรรมไม่ดีในครั้งอดีต หรือเพราะความเขลาของตนใน ปัจจุบันเป็นปัจจัย ผู้ฉลาดก็เพียงแต่ต้องสั่งสมปัญญาที่พร้อมจะขึ้นมายอมรับวิบากไม่ดี ที่ก�ำลังเป็นไปด้วยความสงบ นั่นแหละเหตุที่ดี ปัจจัยที่ดี ที่ผู้มีปัญญาสมควร กระท�ำ เมื่อหยุดปรุงแต่ง เพราะเห็นโทษ ไม่โกรธต่อ เพราะไม่เห็นคุณ ไม่เศร้าต่อ เพราะไม่เห็นประโยชน์ แม้ด้วยกรรมใหม่ที่เป็นไปกับบาป เป็นไป กับโทสะ หดหู่และซึมเศร้า ที่คอยเผาจิตใจประดุจไฟสุมทรวง พึงมีสติระลึกรู้กับธรรมชาติที่ก�ำลังเป็นไปในปัจจุบัน แล้วทุกสิ่งทุก อย่างก็จะผ่านพ้นไป ไม่ว่าดีหรือชั่ว ในที่สุดก็จะผ่านพ้นไป สุขหรือทุกข์ ใน ที่สุด ก็ย่อมผ่านพ้นไป เพราะเขาเป็นอนิจจังทั้งนั้น ถ้ามีปัญญาก็ไม่มีค�ำว่า ท�ำไม หากยังมีค�ำว่า ท�ำไม แสดงว่า จิตใจไม่ยอมรับ!!! คือ ไม่ยอมรับในผลที่ปรากฏหรือก�ำลังเป็นไป ใจก็ย่อมเดือดร้อน เมื่อไม่ยอมรับผล จิตใจที่เป็นโทสะก็ออกลวดลายอาละวาด ท�ำให้ กระสับกระส่าย ทุรนทุรายสิ้นดี ชนโดยมากจึงไม่รู้ตัวเลยว่า ในขณะที่ตนก�ำลังเกิดโทสะอยู่ในขณะนั้น นั่น! เป็นบาปใหม่ที่ตนก�ำลังสร้างกรรมไม่ดีต่อไปอีก เพราะขาดการยอมรับ จึงเดือดร้อนใจไม่เลิกรา จึงต้องรู้ว่าอารมณ์ทั้งหลายที่ดีๆนั้น ก็มาจากเหตุที่ เป็นบุญในอดีตก�ำลังส่งผล
36
ส่วนอารมณ์ที่ไม่ดีทั้งหลายนั้น ก็มาจากเหตุบาปในอดีต ก�ำลังส่งผล ทีนี้เมื่อไม่ได้ดั่งใจเพราะก�ำลังประสบกับสิ่งที่ไม่น่าชอบใจ เพราะผล แห่งบาปแต่หนหลังของตนอยู่นั้น ใจก็ขาดสติ เมื่อขาดสติ ขาดปัญญา บุคคลโดยมากก็อดที่จะท�ำบาปใหม่ไม่ได้ เพราะขาดความรู้ตัว บางทีก็กรุ่นเศร้าอยู่ในใจ หรือผูกอาฆาตพยาบาทอยู่ลึกๆ โกรธและ ผูกโกรธ แค้นแสนแค้น ทีนี้หากก�ำลังแห่งโทสะมีมากเข้า คราวนี้ก็เป็นอันว่ากิเลสก็จะต้องล้น ไหลออกมาทางกายบ้าง วาจาบ้างจนได้ เหล่านี้นั้น ! ชื่อว่า เป็นบาปใหม่ทั้งสิ้น!!! เมื่อรู้เช่นนี้ต่อไป ก็สมควรฝึกที่จะหันกลับมารู้ตัว แล้วเปลี่ยนจาก จิตบาปให้เป็นบุญ ด้วยการตั้งสติให้ได้ หากยังไม่สันทัด ก็พึงเปลี่ยนอารมณ์ หาอารมณ์ที่เป็นกุศลท�ำ ท�ำความดีอะไรๆ ก็ได้ที่สะดวกในกาลนั้น หรือหวน ระลึกถึงบุญที่ตนได้กระท�ำแล้วบ้าง ฟังธรรมบ้าง ปรารภเหตุผลของกรรม และผลแห่งกรรมบ้าง จิตใจย่อมลดคลายความโกรธ ความเศร้า ความเซ็งหรือหดหู่นั้นไปได้ เมื่อรู้ว่าเป็นบาป บุคคลก็ไม่พึงไปเพิ่มบาป ความหดหู่ ก็เป็นบาป โทสะ ให้รบี เปลีย่ นอารมณ์จากการปรุงแต่งในทางร้าย หรือซึมเศร้านัน้ โดยพลัน เพราะบุญย่อมให้ผลเป็นความสุข บาปย่อมก่อให้เกิดผลเป็นความทุกข์ เดือดร้อน บุคคลเมือ่ หวังผลแห่งความสุขอยู่ เหตุไฉนจึงขวนขวายท�ำแต่เหตุบาป กันอยูเ่ ล่า? เมื่อรู้อย่างนี้ จึงช�ำระความเศร้า ความเซ็งของตน หันมาเจริญกุศลมี ประการต่างๆ ง่ายที่สุดก็คือ การฟังธรรม หรือการช่วยเหลือผู้ตกทุกข์ได้ยาก
37
เป็นต้น จะเห็นได้ว่า คนในโลกที่มีความทุกข์มากกว่าตนเองนั้น มีมากมาย เพียงใด จึงมีความคิดแยบคายขึ้นทันทีว่า "โอหนอ เรานี้หนอช่างเขลานัก ที่ ปล่อยใจตกลงไปในเหวลึกแห่งความกลัดกลุ้ม เห็นปานนี้" เพียงแค่พลิกใจเท่านั้นด้วยความแยบคาย ขณะรู้ ขณะพิจารณา ขณะปรารภในอารมณ์บุญ บาปก็ระงับดับไป ความหม่นหมองก็ค่อยๆ จางไป จึงเปลีย่ นใจร้ายให้เป็นใจดี เปลีย่ นความทุกข์ให้เป็นความสุขด้วยการ รักตนเอง นั่นแหละ ! คือ "ก�ำลังใจ" ที่จะเกิดขึ้นได้ เกิดด้วยความรัก คือ "รักตนเองด้วยปัญญา" ผู้รักตนย่อมเมตตาตน ย่อมจักไม่ยอมปล่อยให้ชีวิตตนอับเฉาอยู่อย่าง นั้น เพราะนั่นเป็นบาปล้วนๆ อันจะก่อให้เกิดผลเป็นความทุกข์สืบต่อไป อีก ประมาณไม่ได้ จึงยุติการเพ่งโทษผู้อื่น หันมาเจริญปัญญาให้เกิดขึ้นเนืองๆ จะรู้ได้ถึง ความแข็งแรงของจิตใจที่จะเปลี่ยนไป เพราะแยบคายในการเปลี่ยนเหตุที่พึง กระท�ำ เมื่อเหตุเปลี่ยน ผลก็ย่อมต้องเปลี่ยน.. จากที่ความหดหู่ที่เคยสืบต่ออย่างยาวนานในกาลก่อน บัดนี้ แม้จะ เกิดขึ้น ก็เกิดเพียงชั่วครู่ แล้วก็ดับระงับลง เพราะปัญญารูว้ า่ แล้วทุกสิง่ ทุกอย่างก็จะผ่านพ้นไป เพราะใจทีเ่ ป็นนาม นัน้ ก็ไม่เทีย่ ง ความรูส้ กึ สุขหรือทุกข์กไ็ ม่เทีย่ ง จึงไม่เห็นสาระ ไม่ควรแก่การยึดถือ อะไรที่เคยทนไม่ได้ ก็ทนได้ สามารถวางเฉยได้
38
สามารถมีความสุข คือความสุขที่เกิดขึ้นด้วยการเอาชนะตนเองได้ นั่นแหละ ! คือ ผู้มีวิสัยแห่งบัณฑิตโดยแท้ ในผู้ที่ฝึกเจริญสติเจริญวิปัสสนามาแล้ว ย่อมรู้ว่าโทสะนั้นเป็นเพียง สังขารขันธ์ อันว่าสังขารขันธ์นั้น เป็นนาม ไม่ใช่เป็นเรา บุคคลใดจะพึงตั้งความปรารถนาเอาว่า "ขอให้สังขารขันธ์ของเราจง เป็นอย่างนี้เถิด อย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย" ย่อมไม่ได้ เพราะธรรมชาติเขาเป็น อนัตตา บังคับบัญชาไม่ได้ ปัญญาย่อมรู้ได้ในขณะนั้น สติปัญญานั่นแหละย่อมดับเสียซึ่งอกุศล โทสะในขณะนั้นไปแล้ว จึงไม่หวั่นไหวต่ออารมณ์ทุกชนิด และไม่หวั่นไหวต่อ กิเลสในตน เป็นผู้ตั้งมั่นอยู่ด้วยสติเนืองๆ เขาผู้นั้นย่อมเป็นผู้บันเทิง ปราศจากความเดือดร้อนใจ มีความผาสุก อยู่เป็นนิจ นี้ชื่อว่า บุคคลผู้เป็นบัณฑิต ผู้สิ้นค�ำถามว่าท�ำไม ? โดยชอบแล้ว
39
ข่าวประชาสัมพันธ์
- ขอเชิญสาธุชนร่วมสวดมนต์ทำ� วัตรแปล สาธยายพระปริตร เจริญจิตภาวนา แผ่เมตตา ฟังธรรมบรรยาย ร่วมกับคณะสงฆ์วัดจากแดง ณ ศาลาท�ำบุญ ทุกวันอาทิตย์ และวันพระ เวลา ๐๙.๐๐ - ๑๐.๔๕ น. ๑๒.๑๕ - ๑๓.๐๐ น. ณ วิหารหลวงพ่อหิน ทุกวัน เวลา ๑๗.๓๐ - ๑๙.๐๐ น. - ขอเชิญร่วมบูชาพระเจดีย์ ทุกวันอาทิตย์ และวันพระ เพื่อร่วมสืบสานประเพณีอนั ดีงามของ บัณฑิตทั้งหลาย เวลา ๑๙.๐๐ - ๑๙.๔๐ น. ถือศีล ๘ ในวันพระ - ขอเชิญรับฟังรายการธรรมะทางวิทยุชุมชนเพื่อพระพุทธศาสนาและสังคม วัดจากแดง คลื่นเอฟเอ็ม 96.75 MHz ได้ ทุกวันตั้งแต่เวลา ๐๔.๐๐ - ๒๓.๐๐ น. ข่าวดีสำ� หรับผูใ้ ช้ Internet ท่านสามารถรับฟังวิทยุชุมชนเพื่อพระพุทธศาสนาและ สังคม วัดจากแดงในระบบ Online ได้ ท่ี www.bodhiyalai.org
40
รายนามเจ้าภาพภัตตาหาร เดือนพฤษภาคม ๒๕๕๖ ๏ พระครูธรรมธรสุมนต์ นนฺทิโก ๏ หม่อมหลวงสุพิชาน์ ทองใหญ่ และครอบครัว ๏ อาจารย์อิศริยา นุตสาระ และคณะ ๏ แพทย์หญิงสดใส เวชชาชีวะ ๏ คุณแม่เสงี่ยม ศรีอนันต์ และครอบครัว ๏ คุณกิ่งกาญจน์ อารักษ์พุทธนันท์ ๏ คณะอาจารย์ธรรม นิยมกิจสัมฤทธิ์ ๏ คุณศิริอร วัดล้อม ๏ คุณกุลชลี พจน์ชัยจงดี ๏ คุณประภาศรี วู ๏ คุณเตช - คุณเพ็ญศรี - คุณยาใจ บุนนาค ๏ คุณอรรจนีย์ บุณยทุมานนท์ ๏ คุณธวัชชัย แสงทอง และคุณอริสรา กธีระตระกูล ๏ คุณสุรางค์ อมตกูลศรี ๏ คุณดวงกมล ปฏิมาสุนทร ๏ คุณชิดชัย - คุณสุภาพร ตั้งสุขสว่างพร ๏ คุณราตรี สุวรรณหงษ์ ๏ คุณวิรัลพัชร มหารักษ์ ๏ คุณพรรณี - คุณรัชนี - คุณลักษณา บวรวัฒนวานิช ๏ อาจารย์ลัดดา กิตติวิภาต ๏ คุณธิดา เล็กวิริยะกุล ๏ คุณวิมลวรรณ - คุณศุภวรรณ ศฤงคารินทร์ ๏ คุณสมใจ จรูญชน ๏ คุณรัชนี กิ่งกาญจน์ตระกูล ๏ คุณรุ่งทิพย์ สาลีผล ๏ บริษัท นวพรลักษมี จ�ำกัด ๏ คุณชาญวิทย์ มโนรีวัฒน์ ๏ คุณบุญเรือน จาดคล้าย และครอบครัว ๏ คุณกาญจนา หทัยพิทักษ์ และครอบครัว ๏ คุณเพ็ชรินทร์ นิตย์ธรานนท์ และครอบครัว ๏ คุณยอดขวัญ แหวนทอง และครอบครัว ๏ คุณม่วย พันธ์ุเถกิงอมร ๏ คุณกรองแก้ว รพีพรรณ ๏ คุณหนูพิศ ชมภูวิเศษ ๏ คุณวรุณี อติศัพท์ และครอบครัว
๏ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี ๏ ชุมนุมพุทธธรรมศิริราช คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล กลุ่มผู้เรียนทศบารมี และผู้มีกุศลจิต ๏ ชมรมอนุรักษ์ธรรม ๏ ครอบครัวเผือกประเสริฐ - ฟูทองรอด ๏ คุณสุรศักดิ์ จินาพันธ์ ๏ คุณเสริมสุข ปัทมสถาน ๏ คุณประหยัด - คุณสุธัญญา บุญสูง ๏ ครอบครัวงามสันติสุข, ครอบครัวฉวีวาณิชยกุล ครอบครัวมุมทอง, ครอบครัวเฟื่องจินดาวงศ์, ครอบครัวสรสรรเสริญ ๏ คุณมนูญ - รศ.นงนารถ - คุณจันทิภา เดชณรงค์ และครอบครัว ๏ คุณจิรายุทธ สุขุมาลจันทร์ - คุณจินทิภา เดชณรงค์ ๏ คุณชัญญาพร เขจรดวง - คุณสุภาภรณ์ เชาวกิจ คุณสุดาภรณ์ ต่วนชะเอม - คุณฉัฐกนก วาณิชกรพิพัฒน์ คุณจิรายุ งามพรชัย ๏ คุณสมชาย ยืนยง ๏ คุณสรณา จิรารัตน์สกุล ๏ ครอบครัวโชคมั่นทวีสิน ๏ โรงเรียนสยามสามไตร ๏ คุณวัชรินทร์ - คุณอาภาพร - คุณญาดา เยี้ยเทศ ๏ คุณมาลัย แตงตาด ๏ คุณอุษณีย์ แดเนียล - คุณนนทวรรณ บุณยนิตย์ ๏ คุณอัญญ์พิชา - คุณณรินทร์ภัทร์ บุณยวีรพันธ์ ๏ คุณบุญชู สุุวรรณชาติ และครอบครัว ๏ คุณช่อลัดดา - คุณชลลดา และญาติพี่น้อง ๏ คุณอนิสา สุทธิ ๏ พ.ต.อ.หญิงวรรณี วัชรางค์กูล ๏ คุณศุภมาศ เผ่าธัญญลักษณ์ ๏ ครอบครัวเลาห์ขจร ๏ ครอบครัวตระการวิจิตร ๏ คุณประยงค์ - พญ.เชาวรี อัชนันท์ ๏ คุณฐิริทิพย์ ธรรมเรืองชัย และครอบครัว ๏ ครอบครัวอนันต์ศิริโรจน์
41
รายนามเจ้าภาพภัตตาหาร เดือนมิถุนายน ๒๕๕๖ ๏ พระครูธรรมธรสุมนต์ นนฺทิโก ๏ หม่อมหลวงสุพิชาน์ ทองใหญ่ และครอบครัว ๏ อาจารย์อิศริยา นุตสาระ และคณะ ๏ แพทย์หญิงสดใส เวชชาชีวะ ๏ คุณแม่เสงี่ยม ศรีอนันต์ และครอบครัว ๏ คุณกิ่งกาญจน์ อารักษ์พุทธนันท์ คุณศุภมาศ เผ่าธัญญลักษณ์ ๏ คณะอาจารย์ธรรม นิยมกิจสัมฤทธิ์ ๏ คุณศิริอร วัดล้อม ๏ คุณกุลชลี พจน์ชัยจงดี ๏ คุณประภาศรี วู ๏ คุณอาภาพร เยี้ยเทศ ๏ คุณศรินทิพย์ พิทักษ์พรวงศ์ ๏ คุณประสิทธิ์ วีระมโนมัย ๏ คุณเอกชัย โควาวิสารัช ๏ คุณระเบียบ สิริวโรชากุล ๏ คุณเยาวลักษณ์ วรรธนะพิศิษฐ์ ๏ ครอบครัวเจียรสถาวงศ์ - คุณพิสุทธิ์ - คุณกิ่งปรางค์ ๏ คุณแสงโสม บุญคุ้มสวัสดิ์ - คุณค�ำภา บุญภา ๏ คุณพรรณี - คุณรัชนี - คุณลักษณา บวรวัฒนวานิช ๏ คุณไพรัช เหรียญไพโรจน์ ๏ คุณเกษร ดินสุวรรณ ๏ คุณศรัณย์ธร วัฒนาพร ๏ คุณลัดดา กิตติวิภาต ๏ คุณกรรณิกา สว่างวารีสกุล ๏ คุณอภิญญา อนุรักษ์ธนากร ๏ คุณศุภวรรณ ศฤงคารินทร์ ๏ บริษัท นวพรลักษมี จ�ำกัด ๏ คุณมาลัย จุ่นวาที ๏ คุณกรองแก้ว บุญคุ้มสวัสดิ์ ๏ คุณป้าสมร อินทร์น�้ำเงิน ๏ คุณสมชาย กาญจนสันติกุล และครอบครัว ๏ คุณปนัดดา ลัมพะสาระ และครอบครัว ๏ คุณวรุณี อติศัพท์ และครอบครัว ๏ คุณประยูร ภูมิเมศ และครอบครัว
42
๏ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี ๏ ชุมนุมพุทธธรรมศิริราช คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล กลุ่มผู้เรียนทศบารมี และผู้มีกุศลจิต ๏ ครอบครัวเผือกประเสริฐ - ฟูทองรอด ๏ ชมรมอนุรักษ์ธรรม ๏ คุณสุรศักดิ์ จินาพันธ์ ๏ คุณเสริมสุข ปัทมสถาน ๏ ครอบครัวงามสันติสุข, ครอบครัวฉวีวาณิชยกุล ครอบครัวมุมทอง, ครอบครัวเฟื่องจินดาวงศ์, ครอบครัวสรสรรเสริญ ๏ คุณมนูญ - รศ.นงนารถ เดชณรงค์ และครอบครัว คุณอภิชาติ - คุณโสภา สุขุมาลจันทร์ และครอบครัว ๏ คุณชัญญาพร เขจรดวง - คุณสุภาภรณ์ เชาวกิจ คุณสุดาภรณ์ ต่วนชะเอม - คุณฉัฐกนก วาณิชกรพิพัฒน์ คุณจิรายุ งามพรชัย ๏ คุณสมชาย ยืนยง ๏ คุณสรณา จิรารัตน์สกุล ๏ คุณชิดชัย - คุณสุภาพร ตั้งสุขสว่างพร ๏ คุณปราณี อริยะตระกูล และครอบครัว ๏ คุณสราลี ทิพย์พิมานชัยกร ๏ คุณอาภาพร - คุณวัชรินทร์ - คุณญาดา เยี้ยเทศ ๏ คุณวรภาส มหัทธโนบล ๏ คุณวิวัฒน์ - คุณจิตต์ เรืองวัฒน์กุล และครอบครัว ๏ คุณตรีวิช เทียนทอง ๏ คุณชัยรักษ์ ทรงกิจทรัพย์ - คุณสุนีย์ บวรวัฒนวานิช ๏ คุณจันทิภา เดชณรงค์ ๏ คุณจิรยุทธ สุขุมาลจันทร์ ๏ คุณวิไล เรืองสุวิทย์กุล ๏ คุณไพรินทร์ พึ่งเขื่อนขันธ์ ๏ คุณบุญชัย ๏ คุณสัมฤทธิ์ - คุณเบญจวรรณ บุญอุทิศ ๏ คุณเรวดี และครอบครัว ๏ คุณธเนศพล ไล้หลีกพาล ๏ รศ. ดร.ธัญญรัตน์ ปานะกุล ๏ คุณย่าแดง โตสมบัติ และลูกหลาน
รายนามเจ้าภาพร่วมจัดพิมพ์จุลสารโพธิยาลัย ฉบับที่ ๑๘ - ๑๙ เดือนมิถุนายน - กรกฎาคม ๒๕๕๖
๏ พระมหาชัยพร เขมาภิรโต ๕๐๐ บาท ๏ ชมรมรักษ์บาฬีวัดจากแดง ๑,๐๐๐ บาท ๏ ชมรมพุทธธรรมรามค�ำแหง ๑,๕๐๐ บาท ๏ Mr. Hsi-Yuan, Wu. และครอบครัว ๑,๐๐๐ บาท ๏ คณะจิตอาสาปรีชาศรีนครินทร์ ๒๐๐ บาท ๏ คุณพัชนี เทียนวัฒนา ๑๐๐ บาท ๏ คุณนิจิตกร ทิพรัตน์ ๑,๐๐๐ บาท ๏ ผศ.มยุรี เจริญ ๑,๐๐๐ บาท ๏ คุณจุฑามาศ จันทภัย ๘๐๐ บาท ๏ คุณกรรณิดา นิธิอุทัย ๕๐๐ บาท ๏ คุณพินิจ นิลนพรัตน์ ๕๐๐ บาท
๏ คุณประหยัด - คุณสุธัญญา และ คุณจุติพัทธ์ บุญสูง ๑๐,๐๐๐ บาท ๏ คุณประพันธ์ ตั้งเมตไตรย์ ๔,๐๐๐ บาท ๏ คุณประสพสันติ์ - คุณรัตนา - คุณจิรภัทร ศิริจิตร และครอบครัว Union Mall ๓,๐๐๐ บาท ๏ คุณอภัย อัศวนันท์ ๑,๐๐๐ บาท ๏ พญ.เชาวรี อัชนันท์ ๑,๐๐๐ บาท ๏ คุณสรณา จิรารัตน์สกุล ๑,๐๐๐ บาท ๏ ศ.นพ.เศวก วีระเกียรติ ๑,๘๐๐ บาท ๏ คุณชูชาติ - คุณปัทมา ล้อเลิศสกุล ๑,๒๐๐ บาท ๏ คุณวราภรณ์ ประเสริฐเวชทนต์ ๓๐๐ บาท
รายนามเจ้าภาพน�้ำปานะและอื่นๆ เดือนพฤษภาคม - มิถุนายน ๒๕๕๖
๏ พระการุณย์ กุสลนนฺโท ๏ คุณทิพพา วันวิเวก + (ไอศครีม) ๏ หม่อมหลวงสุพิชาน์ ทองใหญ่ ๏ พลโทนรวีร์ - คุณเสริมสุข ปัทมสถาน ๏ พล.ต.ต. สพรั่ง - คุณณัทภรณ์ อุณปาทร ๏ คุณชวลิต - คุณลลิญตา ปรีตะนนท์ ๏ คุณทวีชัย - กัลยาณี คงเจริญสุขยิ่ง ๏ คุณรุ่งเรือง รื่นรมย์ ๏ คุณวิไล สีสรรพ์ ๏ คุณศิริพร ศรีทอง ๏ คุณนิตย์ นาครัตน์ ๏ คุณประภาศรี วู
๏ ชมรมพุทธธรรมรามค�ำแหง ๏ คุณแม่เสงี่ยม ศรีอนันต์ และครอบครัว ๏ คุณณรงค์ศักดิ์ เตชะไกรศรี ๏ อาจารย์วัชรินทร์ - คุณอาภาพร เยี้ยเทศ ๏ ครอบครัวเฟื่องจินดาวงศ์ ๏ คุณผกาศรี เล็กสกุลชัย ๏ อาจารย์นิคม - อาจารย์ปิยะจิต ทาแดง ๏ คุณเพ็ญศรี บุญญรัตน์ และคณะ ๏ คุณธัชวัตร ตั้งกุลธร ๏ คุณนิจิตกร ทิพรัตน์ ๏ คุณสมลักษณ์ แซ่ไหล ๏ คุณสรณา จิรารัตน์สกุล