3
บทน�ำ
ขอความสุขสวัสดีจงมีแด่ท่านผู้อ่านจุลสารโพธิยาลัยทุกท่าน ก่อนอื่นต้องขออภัยในความล่าช้าของจุลสารโพธิยาลัย เนื่องจาก คณะท�ำงานติดภารกิจหลายประการ การด�ำเนินงานต่างๆจึงมีผลกระทบไป โดยปริยาย และจุลสารฯฉบับนี้ ก็ถอื เป็นฉบับควบรวมเดือนเมษายน และเดือน พฤษภาคมเข้าด้วยกัน แต่เนื้อหาสาระในฉบับก็ยังคงอัดแน่นอยู่เช่นเดิม ในฉบับนี้ได้รับความเมตตาจากพระเถระผู้ใหญ่ ผู้ทรงคุณวุฒิหลายๆ ท่าน ไม่ว่าจะเป็นพระราชญาณกวี พระมหาอุเทน ปัญญาปริทัตต์ ฯลฯ ผู้อนุญาตให้น�ำบทความมาตีพิมพ์ เพื่อเพิ่มพูนเนื้อหาสาระให้ดียิ่งๆขึ้น จุลสารฯฉบับนี้ยังได้ประมวลภาพกิจกรรมต่างๆ ที่วัดจากแดงจัดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นกิจกรรมช่วงวันสงกรานต์ งานปฏิบัติธรรมต่างๆ เพื่อให้สาธุชน ได้เห็นถึงการด�ำเนินงานในด้านต่างๆของวัด อากาศในช่วงที่ผ่านมาถือว่าร้อนอบอ้าวมาก คณะผู้จัดท�ำใคร่ขอให้ ทุกๆท่านรักษาสุขภาพให้ดี อย่างน้อยอุณหภูมิร่างกายร้อนแล้ว ก็อย่าให้ อุณหภูมิในจิตใจร้อนตามไปด้วย มิฉะนั้นอาจจะมีผลร้ายตามมาในภายหลัง อนึ่ง ทางคณะผู้จัดท�ำหวังเป็นอย่างยิ่งว่า จะได้รับค�ำติชมจากผู้ อ่าน เพื่อเป็นก�ำลังใจ และเป็นข้อแก้ไขปรับปรุงจุลสารโพธิยาลัย ให้มีความ สมบูรณ์พร้อมมากยิ่งขึ้นในโอกาสต่อๆไป คณะผู้จัดท�ำ bodhiyalai.magazine@gmail.com
6
ดับร้อน ตอนที่ ๑
ประณีต ก้องสมุทร นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺสมฺมาพุทฺธสฺส ฯ ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ในท่ามกลางฤดูร้อน ท้องฟ้าโปร่งปราศจากเมฆหมอก แสงแดดแผด กล้า ความร้อนกระจายไปทั่ว ต้นไม้ใบหญ้าเหี่ยวเฉา ผู้คนพากันหลบร้อน อยู่ภายใต้ชายคาของอาคารหรือร่มไม้ใบหนา แม้จะมีลมพัดมาเป็นครั้งคราว ลมนั้นก็พัดพาเอาความร้อนมาด้วย ตามถนนหนทางหลายสายและตาม ขุนเขาล�ำเนาไพร งดงามไปด้วยดอกไม้ป่าหลายสีต่างพันธุ์ ที่บานสะพรั่งเต็ม ไปทั้งต้น อาทิเช่นสีม่วงของอินทนิลและเสลา สีเหลืองของราชพฤกษ์และ ประดู่ สีชมพูอมขาวของชัยพฤกษ์ สีแดงแสดของนกยูง แต่ความสวยสดใส ของดอกไม้เหล่านั้นก็หาช่วยให้ความร้อนคลายไปได้ไม่ นั่นเป็นเพียงความร้อนที่เกิดขึ้นตามฤดูกาล ซึ่งอีกไม่นานก็จะแปร เปลี่ยนเป็นความเย็นชุ่มฉ�่ำ เมื่อฤดูฝนเยื้องกรายมาแทนที่และพระพิรุณ โปรยปรายลงมา ให้ความชุ่มชื้นแก่ต้นไม้และแผ่นดิน ก็ความร้อนทีเ่ กิดจากลมฟ้าอากาศนัน้ อย่างมากก็เพียงท�ำให้รอ้ นกาย ซึ่งยังจะมีทางบรรเทาได้ด้วยน�้ำ หรือด้วยอุปกรณ์เครื่องท�ำความเย็นหลาย ชนิด หรือแม้เพียงด้วยพัดใบลานเล่มเดียว แต่ความร้อนในใจเมื่อเกิดขึ้น เราไม่อาจดับได้ด้วยน�้ำหรือด้วย อุปกรณ์เครื่องท�ำความเย็นเหล่านั้น ทั้งนี้เพราะความร้อนใจนั้น ถึงจะมี สาเหตุมาจากสิ่งอื่น บุคคลอื่นภายนอก หรือแม้จากภายในใจของเราเอง สาเหตุเหล่านัน้ ก็เป็นเพียงสาเหตุทเี่ รายกมาอ้างกันเท่านัน้ มิใช่สาเหตุทแี่ ท้จริง เพราะสาเหตุที่แท้จริงของความร้อนใจนั้นคือกิเลส ที่หมักดองสะสมอยู่ในใจ ของเรามาช้านานต่างหาก ถ้าเราไม่มีกิเลสแล้วความร้อนใจเพราะเหตุต่างๆ เหล่านั้นจะเกิดขึ้นไม่ได้เลย
7
ต้นเหตุของความร้อนใจจึงอยู่ที่กิเลส คือ ราคะ โทสะ โมหะ จาก อาทิตตปริยายสูตร วินัยปิฎก มหาวรรค ข้อ ๕๕ พระพุทธองค์ ตรัสว่า “สิ่งทั้งปวงเป็นของร้อน ร้อนเพราะไฟคือราคะ ร้อนเพราะไฟคือ โทสะ ร้อนเพราะไฟคือโมหะ” ร้อนเพราะไฟคือราคะอย่างไร ดูได้จากชาดกเรื่องนี้ (ภัลลาติยชาดก ขุททกนิกาย วีสตินิบาต ชาดก ข้อ ๒๑๕๓-๒๑๖๓) พระพุทธเจ้าของเราครั้งยังทรงบ�ำเพ็ญบารมีอยู่ ได้ทรงพบมาแล้วตรัสเล่าเรื่องนี้ไว้เป็นเครื่องเตือนสติสาวกทั้งหลายไม่ให้มัว เมาประมาท พระเจ้าภัลลาติยะเสด็จประพาสป่าล่าเนื้อโดยล�ำพังพระองค์กับฝูง สุนัขไล่เนื้อ ได้เสด็จไปถึงภูเขาคันธมาทน์ซึ่งอุดมไปด้วยไม้ดอก และไม้ใบ นานาพรรณ พระองค์ทรงพบสัตว์ที่มีเพศพรรณคล้ายมนุษย์สองสามีภรรยา ที่ริมฝั่งแม่น�้ำเหมวดี สัตว์ทั้งสองนั้นสวมกอดกันร้องไห้บ้าง หัวเราะบ้างมิได้ รู้จักหยุดหย่อน พระราชาภัลลาติยะทรงแปลกพระทัย จึงทรงให้สัญญาณแก่ ฝูงสุนัขให้หมอบคอยอยู่ แล้วเสด็จไปตรัสถามว่า “เจ้าทั้งสองเป็นใคร จึงมี เพศพรรณคล้ายมนุษย์ ชาวโลกเรียกเจ้าว่าอะไร” ได้รับค�ำตอบว่า “เราเป็น มฤค มีเพศพรรณคล้ายมนุษย์ ชาวโลกเรียกเราว่า กินนร” พระราชาตรัสถามว่า “เจ้าทั้งสองมีทุกข์ร้อนมากนักหรือ จึงร้องไห้ คร�่ำครวญมิรู้สร่างซา” กินนรทูลว่า “เราทั้งสองคิดถึงวันที่ต้องพรากจากกันไปหนึ่งราตรี จึง ร้องไห้คร�่ำครวญ ไม่ปรารถนาจะพบวันเช่นนั้นอีก” พระราชาตรัสถามถึงเหตุที่สามีภรรยาต้องพรากจากกัน นางกินรี เล่าว่า “ในฤดูฝนวันหนึ่ง เราเที่ยวไปตามโขดหินน้อยใหญ่ริมฝั่งแม่น�้ำที่อุดม ไปด้วยพรรณไม้ดอกส่งกลิ่นหอมรวยริน สามีของเราข้ามฝั่งแม่น�้ำไปแล้ว
8
ด้วยคิดว่าเราจะข้ามตามไป แต่เรามัวเพลินเลือกเก็บดอกไม้มาร้อยกรองเป็น มาลัยอยู่ หวังจะให้สามีที่รักได้ทัดทรงดอกไม้ แล้วเราก็จะสอดแซมดอกไม้ เข้าไปนอนแนบสามี ก็เพราะเรามัวเก็บดอกไม้อยู่นั่นแหละ น�้ำได้ขึ้นมาเต็ม ฝั่ง พัดเอาดอกไม้ลอยตามน�้ำไปหมด เราข้ามไปหาสามีไม่ได้ แม้สามีก็ข้ามมา หาเราไม่ได้ ได้แต่เฝ้ามองกันอยู่คนละฝั่ง เวลาฟ้าแลบครั้งหนึ่งก็ได้เห็นหน้า กันทีหนึ่ง เมื่อเห็นหน้ากันก็ดีใจหัวเราะขึ้น ครั้นฟ้าไม่แลบเดือนมืดมองไม่เห็น กัน ก็ร้องไห้คิดถึงกัน เราเฝ้าแต่เวียนหัวเราะและร้องไห้อยู่อย่างนี้ทั้งคืน ครัน้ รุง่ เช้าน�ำ้ ลดจึงได้ทอ่ งน�ำ้ มาหากัน ต่างดีใจสวมกอดกันด้วยความรัก เมื่อเราทั้งสองคิดถึงคืนที่ต้องจากกันครั้งไร ก็ร้องไห้และหัวเราะอีกเป็นเช่นนี้ มานานถึง ๖๙๗ ปีแล้ว ส่วนท่านพรานเป็นมนุษย์มีอายุเพียง ๑๐๐ ปี เหตุใด จึงทิ้งภรรยามาเที่ยวป่าไกลถึงเพียงนี้” พระราชาตรัสถามว่า “กินนรมีอายุยืนนานเท่าไร” ได้รับค�ำตอบว่า มีก�ำหนดอายุ ๑,๐๐๐ ปี ไม่ถึงก�ำหนดก็ไม่ตายและรักใคร่กันอยู่อย่างนี้ไม่มี จืดจาง พระราชาทรงสดับแล้วสลดพระทัย ทรงด�ำริว่า “ชีวิตของเราสั้นกว่า พวกกินนรมากนัก ไม่ควรทิ้งพระเทวีและราชสมบัติมาเที่ยวป่า ควรกลับไป บ�ำเพ็ญกุศล” ครั้นทรงด�ำริแล้วก็เสด็จกลับเข้าเมือง ตรัสเล่าเรื่องที่ทรงพบให้ พระอัครมเหสีและข้าราชบริพารฟัง จากนั้นพระองค์ก็ทรงบ�ำเพ็ญกุศลอยู่จน ตลอดพระชนมายุ โดยไม่ประมาท ครั้นสิ้นพระชนม์แล้ว เสด็จอุบัติในเทวโลก ไม่น่าเชื่อว่าเพียงชาติเดียว ไฟคือราคะ ได้เผาไหม้กินนรสองสามี ภรรยามานานถึง ๖๙๗ ปี และจะเผาต่อไปอีกกี่ชาติ นานเท่าใด หาทราบไม่ ความยึดถือผูกพันกันด้วย ราคะ คือ ความก�ำหนัดยินดี จึงเป็นภัย อย่างนี้ ผู้ไม่เห็นโทษของราคะตัณหา ย่อมตกอยู่ในอ�ำนาจของมาร ต้องเวียน ตายเวียนเกิดอยู่ตลอดกาลนาน ไม่ล่วงพ้นสงสารไปได้ ย่อมตกไปตามกระแส
9
ของราคะ ติดอยู่ในกระแสของราคะเหมือนปลาติดข่าย เพราะเหตุที่ไฟราคะ เผาไหม้จิตใจของผู้มีราคะให้เร่าร้อน เป็นทุกข์ ถ้าราคะมีก�ำลังก็สามารถถึง กระท�ำอกุศลทุจริต ๑๐ ประการ มีปาณาติบาต เป็นต้นได้ เพราะฉะนั้นพระพุทธองค์จึงตรัสว่า ไฟเสมอด้วยราคะไม่มี ราคะนั้นเกิดขึ้นเพราะได้อารมณ์ที่ชอบใจ ก็อารมณ์ที่ชอบใจนั้น มีอยู่ มากมายทั้งทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย และทางใจ เพราะฉะนั้น ราคะความยินดีจึงเกิดขึ้นได้แทบทุกเวลานาที หากขาดสติ ราคะนั้นมิได้หมายเฉพาะความยินดีในเรื่องเพศเท่านั้น แต่รวมไปถึง ความยินดีทุกชนิด ไม่ว่าจะยินดีในรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ที่เรียกว่า กาม ราคะ ยินดีในรูปฌาน ที่เรียกว่า รูปราคะ หรือยินดีในอรูปฌาน ที่เรียกว่า อรูปราคะ ยินดีในฌานของวิปัสสนา ที่เรียกว่า ธรรมราคะ ก็ชื่อว่า ราคะ ความยินดีทั้งสิ้น พระพุทธองค์ตรัสไว้ว่า ไฟคือราคะ หรือโลภะนั้นมีโทษน้อยแต่คลาย ช้า ที่ตรัสเช่นนั้น ทรงหมายเอาความยินดีธรรมดา เช่น ความรักลูกเมีย การ หาสามีภรรยาให้ลูก เป็นต้น อันไม่เป็นเหตุให้ไปอบาย แต่ก็คลายได้ช้าเพราะ ยึดมั่นผูกพันกันทั้งในชาตินี้และชาติต่อไปนับไม่ถ้วน แม้โลภะที่ต้องการเกิด ในที่ดีมีสวรรค์เป็นต้น แล้วท�ำให้บ�ำเพ็ญกุศลเพื่อให้เกิดในที่ดีเหล่านั้น ก็มี โทษน้อย แต่ถ้าเป็นโลภะที่ถึงขั้นท�ำอกุศลทุจริต มีการฆ่าสัตว์เป็นต้น ก็มีโทษ มากเพราะน�ำเกิดในอบายได้ ดังนั้นไฟคือราคะจึงเป็นเหตุให้เราต้องเวียนตาย เวียนเกิดอยู่ตลอดกาลนาน ไม่ล่วงพ้นสงสารไปได้ (โปรดติดตาม ของร้อนล�ำดับที่สอง และที่สาม “ร้อนเพราะไฟคือโทสะ และ ร้อนเพราะไฟคือโมหะ” ในฉบับหน้า)
10
ยาสามัญประจ�ำใจ พระไพศาล วิสาโล ในบรรดาผู้เคราะห์ร้ายจากสงครามเวียดนาม คงไม่มีใครที่ทั่วโลก รู้จักมากเท่ากับ คิม ฟุค ภาพเด็กหญิงวัยเก้าขวบร่างกายบอบบางและเปลือย เปล่า วิ่งร�่ำไห้อยู่กลางถนนพร้อมกับเด็กอีก 2-3 คน โดยมีฉากหลังเป็นม่าน ควันด�ำมึนและเปลวไฟลุกโพลง ได้ประทับแน่นอยู่ในใจของผู้คนทั่วโลก ภาพนี้ภาพเดียวก็เพียงพอแล้วที่จะบอกว่าสงครามนั้นสร้างความ ทุกข์ทรมานแก่ลูกเด็กเล็กแดงและประชาชนผู้บริสุทธิ์อย่างไรบ้าง คิม ฟุค คือเด็กหญิงชาวเวียดนามใต้คนนั้นซึ่งช่างภาพอเมริกันได้ถ่ายไว้ขณะที่เธอ และเพื่อนบ้านก�ำลังแตกตื่นหนีภัย แม้เธอจะรอดตายจากระเบิดนาปาล์มที่ ทิ้งถล่มหมู่บ้านของเธอ แต่ไฟก็ได้เผาลวกผิวหนังของเธอถึง 65 เปอร์เซ็นต์ เธอต้องรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาลถึง 14 เดือน และผ่านการผ่าตัดถึง 17 ครั้ง กว่าจะหายเป็นปกติ เธอโชคดีเมื่อเทียบกับลูกพี่ลูกน้องอีกสองคนซึ่งตาย เพราะทนพิษบาดแผลไม่ไหว นัน่ คือเหตุการณ์ทเี่ กิดขึน้ ในปี 2515 เมือ่ เวียดนามกลายเป็นคอมมิวนิสต์ 3 ปีต่อมาก็ไม่มีข่าวคราวของเธอปรากฏสู่โลกภายนอกอีกเลย แต่แล้ววัน หนึ่งในปี 2539 คิม ฟุค ก็ได้มาปรากฏตัวอยู่ต่อหน้าชาวอเมริกันซึ่งเคยผ่าน สมรภูมิเวียดนาม เธอได้รับเชิญให้มาพูดเนื่องในโอกาสวันทหารผ่านศึก ณ กรุงวอชิงตันดีซี การได้มาเผชิญหน้ากับกลุ่มคนซึ่งครั้งหนึ่งเคยมาท�ำลายบ้านเกิด เมืองนอนของเธอ ท�ำให้ญาติพี่น้องของเธอต้องตาย และเกือบฆ่าเธอให้ตาย ไปด้วยนั้น ไม่ใช่เป็นเรื่องที่ท�ำใจได้ง่ายนัก แต่เธอมาก็เพื่อจะบอกให้พวกเขา รู้ว่าสงครามนั้นได้ก่อความทุกข์ทรมานแก่ผู้คนได้อย่างไร หลังจากที่เล่าถึงประสบการณ์อันเจ็บปวดของเธอแล้ว เธอก็ได้เผย
11
ความในใจว่ามีเรื่องหนึ่งที่เธออยากจะบอกต่อหน้านักบินที่ทิ้งระเบิดใส่ หมู่บ้านของเธอ พูดมาถึงตรงนี้มีคนส่งข้อความมาบอกว่า คนที่เธอต้องการ พบก�ำลังนั่งอยู่ในห้องประชุมนี้ เธอจึงเผยความในใจออกมาว่า "ฉันอยาก บอกเขาว่าเราไม่สามารถเปลี่ยนแปลงประวัติศาสตร์ได้ แต่เราควรพยายาม ท�ำสิ่งดีๆ เพื่อส่งเสริมสันติภาพทั้งในปัจจุบันและอนาคต" เมื่อเธอบรรยายเสร็จ ลงมาจากเวที อดีตนักบินที่เกือบฆ่าเธอก็มายืน อยู่เบื้องหน้าเธอ เขามิใช่ทหารอีกต่อไปแล้ว แต่เป็นสาธุคุณประจ�ำโบสถ์แห่ง หนึ่ง เขาพูดด้วยสีหน้าเจ็บปวดว่า "ผมขอโทษ ผมขอโทษจริง ๆ" คิมเข้าไป โอบกอดเขาแล้วตอบว่า "ไม่เป็นไร ฉันให้อภัย ฉันให้อภัย" ไม่ใช่เรื่องง่ายเลยที่ เราจะให้อภัยโดยเฉพาะคนที่ท�ำร้ายเราปางตาย คิม ฟุค เล่าว่า เหตุการณ์ครั้งนั้นสร้างความทุกข์ทรมานแก่เธอทั้ง กายและใจ จนเธอก็ไม่รู้ว่าจะมีชีวิตอยู่ต่อไปได้อย่างไร แต่แล้วเธอก็พบว่าสิ่ง ที่ท�ำร้ายเธอจริงๆ มิใช่ใครที่ไหน หากได้แก่ความเกลียดที่ฝังแน่นในใจเธอ นั่นเอง "ฉันพบว่าการบ่มเพาะความเกลียดเอาไว้ สามารถฆ่าฉันได้" เธอพยายามสวดมนต์และแผ่เมตตาให้ศัตรู และแก่คนที่ก่อความ ทุกข์ให้เธอ แล้วเธอก็พบว่า "หัวใจฉันมีความอ่อนโยนมากขึน้ เรือ่ ยๆ เดีย๋ วนี้ ฉันสามารถอยู่ได้โดยไม่ต้องเกลียด เราไม่อาจควบคุมก�ำกับจิตใจของเราได้ เราไม่อาจเลือกได้ว่ารอบตัวเราต้องมีแต่คนน่ารักพูดจาอ่อนหวาน แต่เรา สามารถเลือกได้ว่าจะท�ำอย่างไรเมื่อประสบสิ่งที่ไม่พึงปรารถนา" คิม ฟุค ได้เรียนรู้จากประสบการณ์ของตัวเองว่า "ฉันน่าจะโกรธ แต่ฉันเลือกอีกทางหนึ่ง แล้วชีวิตของฉันก็ดีขึ้น บทเรียนของ คิม ฟุค คือ ใน เมื่อเราเปลี่ยนแปลงอดีตไม่ได้ เราจึงไม่ควรปักใจอยู่กับอดีต แต่เราสามารถ เรียนรู้จากอดีต เพื่อท�ำปัจจุบันและอนาคตให้ดีขึ้นได้ บทเรียนจากอดีตอย่าง หนึ่งที่เธอได้เรียนรู้มาก็คือ การอยู่กับความโกรธ เกลียด และความขมขื่น นั้น ท�ำให้ฉันเห็นคุณค่าของการให้อภัย"
12
การให้อภัยมิได้หมายถึง การลืมเหตุการณ์ที่เจ็บปวด แต่หมายถึงการ ไม่ยอมให้เหตุการณ์เหล่านั้นมาท�ำร้ายเรา ผู้ที่รู้จักให้อภัยคือผู้ที่จดจ�ำอดีต อันไม่น่าพิสมัยได้ แต่แทนที่จะปล่อยให้อดีตนั้นมากระท�ำย�่ำยี กลับเอาชนะ มันได้และสามารถน�ำมันมาใช้ให้เกิดประโยชน์ เช่น เอามาเป็นบทเรียนเพื่อ จะไม่ท�ำความผิดพลาดอีก และที่ส�ำคัญคือ เป็นเครื่องเตือนใจว่าความโกรธ เกลียดนั้นเป็นอันตรายต่อตัวเราอย่างไรบ้าง เมื่อเราโกรธใคร อยากท�ำร้าย ใครนั้น คนแรกที่ถูกท�ำร้ายคือ ตัวเรา นั่นเอง ไม่ใช่แค่จิตเท่านั้นที่เร่าร้อน เหมือนถูกไฟสุม แม้แต่ร่างกายก็ยังได้รับผลกระทบด้วย มีบางตอนที่มีอาการปวดท้องและปวดศีรษะเรื้อรัง อีกทั้งยังมีความ ดันโลหิตสูง หมอพยายามตรวจร่างกายแต่ก็ไม่พบความผิดปกติ หมอจึงขอ ให้เธอเล่าเรื่องราวในชีวิตของเธอให้ฟัง เธอเล่าว่าก�ำลังมีเรื่องขุ่นเคืองใจกับพี่ สาวซึ่งทอดทิ้งให้เธอเผชิญปัญหาตามล�ำพังอยู่หลายปี หมอจึงสันนิษฐานว่า ความเจ็บป่วยของเธอมีสาเหตุมาจากความบาดหมางดังกล่าว จึงแนะให้เธอ ยกโทษแก่พี่สาว หลายปีต่อมาหมอได้รับจดหมายจากคนไข้รายนี้ว่าเธอคืนดี กับพี่สาวแล้ว และอาการเจ็บป่วยก็ไม่มารังควานอีกเลย มีอีกรายหนึ่งที่เจ็บป่วยโดยหมอไม่พบความผิดปกติในร่างกาย เธอ มีอาการคลื่นไส้และระบบย่อยอาหารผิดปกติจนน�้ำหนักลดไป 15 กิโลกรัม วันหนึ่งอาการได้ก�ำเริบขึ้นเมื่อเธอได้รับจดหมายจากลูกพี่ลูกน้อง เธอเฉลียว ใจในตอนนั้นว่าความเจ็บป่วยของเธอมีสาเหตุมาจากความโกรธเกลียด เธอ ทั้งโกรธและเกลียดลูกพี่ลูกน้องคนนั้นเพราะแอบไปมีความสัมพันธ์กับแฟน หนุ่มของเธอ ลูกพี่ลูกน้องคนนั้นเขียนจดหมายมาขอโทษเธอ เธอครุ่นคิดอยู่ นาน และในที่สุดก็เขียนจดหมายตอบไปว่า “ฉันยกโทษให้เธอ” หลังจากนั้น สุขภาพเธอดีขึ้น และใช้ชีวิตอย่างมีความสุข การให้อภัยเป็นเรื่องยาก แต่การมีชีวิตด้วยจิตใจที่โกรธแค้นพยาบาท กลับเป็นเรื่องที่ยากล�ำบากกว่า คนที่มีความโกรธเกลียดอัดแน่นเต็มหัวใจ
13
ย่อมไม่อาจพบความสุขและความเบิกบานใจได้ คนเช่นนี้ย่อมยากจะมีศรัทธา และก�ำลังใจในการมีชีวิต ด้วยเหตุนี้จึงควรเรียนรู้ที่จะปลดเปลื้องความ โกรธเกลียดไปจากใจ ด้วยการรู้จักให้อภัยและหมั่นแผ่เมตตาไปให้แก่คนที่ ท�ำความเจ็บปวดให้แก่เรา ไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะนึกถึงบุคคลดังกล่าวโดยที่จิตใจไม่พลุ่งพล่าน แต่ เมื่อใดที่ใจเราสงบลองนึกถึงเขาอยู่เป็นระยะ ๆ นึกถึงแต่ละครั้งก็ให้ยิ้มให้เขา แผ่ความปรารถนาดีให้เขา เราจะพบว่าเรายิ้มให้เขาได้ง่ายขึ้น และจิตใจ กระเพื่อมน้อยลง ไม่นานเราก็จะให้อภัยเขาได้ และมีความปรารถนาดีต่อเขา ด้วยใจจริง ถึงตอนนี้เราจะพบว่าสิ่งที่ท�ำให้เราเจ็บปวดทุกข์ทรมานมาเป็นเวลา นานนั้นไม่ใช่อะไรอื่น หากได้แก่ความโกรธเกลียดที่เคยอยู่ในใจเรานั้นเอง ความเจ็บปวดที่เกิดเพราะคนบางคนนั้น โดยแท้จริงได้กลายเป็นอดีตไปแล้ว แต่ทยี่ งั คงอยูก่ เ็ พราะใจเรานัน้ เองไปรือ้ ฟืน้ และทนุถนอมมันเอาไว้ดว้ ยความจง เกลียดจงชังหมายมั่นจะแก้แค้น ตัวเขาอาจอยู่ไกลแสนไกล แต่เราเองต่าง หากที่ไปดึงเขามาไว้กลางใจเราอยู่ทุกโมงยาม พูดให้ถูกต้องก็คือใจเรานั่น แหละที่สร้างปิศาจร้ายมาหลอกหลอนตัวเองอยู่ทุกขณะจิต ปิศาจที่แม้รูป ร่างหน้าตาเหมือนคนที่เคยประทุษร้ายเรา แต่เป็นผลผลิตจากใจของเราเอง การให้อภัยและการแผ่เมตตาแท้ที่จริงก็คือ การสยบปิศาจร้ายมิให้ มาหลอกหลอนอีกต่อไป จะเรียกว่าเป็นการเชื้อเชิญมันออกไปจากจิตใจของ เราก็ได้ ด้วยการให้อภัยและการแผ่เมตตาเท่านั้น จิตใจของเราจึงจะได้รับ การเยียวยาและกลับเป็นปกติสุขอีกครั้ง ในโลกที่เรามิอาจหลีกพ้นความพลัดพรากสูญเสีย ความเจ็บปวด และ บาดแผลในใจ การให้อภัยและการแผ่เมตตาคืออะไร หากมิใช่ยาสามัญที่ควร มีไว้ประจ�ำใจ
14
จับเงา
ปิยโสภณ มนุษย์เกิดมาก็วงิ่ หาสุข เขาวิง่ หาไม่สนิ้ สุด หยุดไม่ได้ บางคนก็สมหวัง บางคนก็ผดิ หวัง มีไม่นอ้ ยทีร่ ำ�่ รวย หรือล้มละลาย เป็นหนีส้ นิ รุงรัง เขาคิดว่า เมือ่ มีสงิ่ ใดแล้ว สิง่ นัน้ จะน�ำสุขมาให้อย่างแน่นอน แต่ปรากฏว่าสิง่ ทีม่ หี ลายอย่าง ไม่ได้นำ� ความสุขมาให้แล้ว แต่กลับน�ำความขัดแย้ง ความกังวลใจมาให้มากกว่า บางครัง้ ถึงกลับคิดว่า ถ้าเราไม่มสี งิ่ นี้ ปัญหาก็คงไม่เกิดมากมายเพียงนี้ อยากสลัด ทิง้ แต่กส็ ายเสียแล้ว เช่น การมีอำ� นาจ แล้วใช้อำ� นาจในทางผิด การมีทรัพย์ แต่ได้มาโดยทุจริต เป็นต้น ท่านผูอ้ า่ นของข้าพเจ้าคงคิดไม่ตา่ งกันว่า แท้จริงแล้ว เราทัง้ หลายต่าง ก็วงิ่ จับเงากันทัง้ นัน้ ไม่มสี งิ่ ใดทีไ่ ด้มาแล้วเป็นของเราจริงๆ เพราะสิง่ ทีเ่ ราได้มา เมือ่ ก่อนก็เป็นของคนอืน่ เราซือ้ มา เราขายไป จากทีเ่ ป็นของเรา เขาก็รบั ไปเป็น เจ้าของ ชีวติ และทรัพย์สนิ ก็เช่นกัน เปลีย่ นมือ เปลีย่ นผ่านไปเรือ่ ยๆ ทีเ่ ราเรียกกัน ว่า สมบัตผิ ลัดกันชม ชีวติ ของเรา ถูกเปลีย่ นผ่านด้วยกาลเวลา กาลเวลาเป็นผู้ ชืน่ ชมชีวติ และให้คณ ุ ค่าแก่ชวี ติ บางคนกว่าจะรูว้ า่ ชีวติ มีคา่ ก็ตอ่ เมือ่ สายเสียแล้ว จะเริม่ ต้นก็ยาก จะถอยหลังกลับก็สาย สิง่ ทีม่ อี ยูก่ ม็ าก เอาไปไม่ได้ สิง่ ทัง้ ปวงทีม่ นุษย์แสวงหามาปรนเปรอชีวติ ในทีส่ ดุ ก็เป็นเงาทีเ่ ราไล่ ตะครุบตลอดชีวติ ยกเว้นสิง่ ทีเ่ ป็นความภาคภูมใิ จ เกียรติยศของชีวติ ความดีงาม และบุญกุศลทีไ่ ด้ทำ� แก่ตนและคนอืน่ ไว้ นีค่ อื ความสุขใจ สิง่ เหล่านีต้ า่ งหากทีจ่ ะ เป็นตัวประคองอารมณ์สดุ ท้าย ก่อนสิน้ ลมปราณ ใยเล่าพวกเราจึงมาแก่งแย่งแบ่ง แยกกัน จนท�ำให้เกิดความสับสนวุน่ วาย ไยเล่าเราจึงมองไม่เห็นตัวตนทีแ่ ท้จริง ถ้า เราไม่ตอ้ งการเงา เราต้องรีบสละตัวตน เพราะมีตวั จึงมีเงา ตัวใหญ่ เงาก็ใหญ่ ไร้ ตัวตน ก็ไร้เงา การจะมีชวี ติ อยูอ่ ย่างเป็นสุข หรืออยูร่ ว่ มกันในสังคอย่างร่มเย็นได้ สิง่ ส�ำคัญสุด คือหยุดสร้างเงาหลอกหลอนตัวเอง และพรรคพวก เพราะเงาไร้รปู ร่าง หน้าตา เงามีสเี ดียวคือด�ำทะมึน เงาไม่บอกว่ารูปร่างหน้าตาเป็นอย่างไรให้ชดั เจน เมือ่ เราหลงเงา ก็เท่ากับหลงเข้าไปในกับดักอารมณ์ หยุดสร้างเงา ใจเราสบาย
พุทธปรัชญา อะไร คือ สิ่งที่พุทธศาสนาคิดว่า...เป็นจุดหมายของการที่คนหมู่ มากมาอยู่รวมกันเป็นสังคมคนเดินทาง ?
ดร.สมภาร พรมทา ในทัศนะนี้อาจารย์มิอาจตอบได้ง่ายๆ แม้โดยนักปรัชญาการเมือง และสังคมโดยอาชีพก็ตาม จะอย่างไรก็ตามแต่ อาจารย์เชื่อว่าการเกิดขึ้นของ รัฐหรือชุมชนนั้นเป็นกระบวนการทางธรรมชาติ และกระบวนการดังกล่าว นี้ภายหลังส่งผลให้มนุษย์เรียนรู้ว่าการอยู่ร่วมกันเป็นชุมชนมีผลดีแก่ทุกคน มากกว่าการแยกกันอยู่ นักปรัชญาสังคมและการเมืองตะวันตกบางคน เช่น อริสโตเติลเชื่อว่ามนุษย์เป็นสัตว์สังคมในความหมายว่า เรามีธรรมชาติ (หรือ จะเรียกว่าสัญชาตญาณก็ได้เพื่อให้เข้าใจง่าย แม้จะไม่ตรงกับสิ่งที่อริสโตเติล กล่าวไว้) ที่ถูกสร้างติดตัวมาตั้งแต่เกิดอยู่ประการหนึ่งคือ เรารู้สึกโดดเดี่ยว และไร้หลักประกันถ้าอยู่ล�ำพัง แต่จะรู้สึกดีขึ้นเมื่ออยู่รวมกันมากๆ (ความ จริงข้อนี้ เราอาจสังเกตได้ไม่ยาก ในวันหยุดเทศกาลส�ำคัญ เช่น สงกรานต์ ผู้คนแห่กันออกไปต่างจังหวัดหมด เมื่อไปเดินในศูนย์การค้า แล้วพบสภาพ ว่างเปล่า เราจะรู้สึกโดดเดี่ยว บางคนพูดว่า หากวันหนึ่งตื่นนอนขึ้นแล้วพบ ว่าเพื่อนบ้านของเราหายไปหมด มีเราเพียงคนเดียวอยู่ในกรุงเทพ แม้จะมี อาหารและเครื่องดื่มอ�ำนวยความสะดวกสารพัด อยากได้อะไรก็หยิบฉวยได้ จากร้านค้าที่ว่างเปล่าไร้เจ้าของ เราก็คงไม่สามารถมีชีวิตอยู่ได้ เราจะเหงา และอ้างว้าง นี่คือความเป็นสัตว์สังคมที่อยู่ภายในตัวเรา และสิ่งนี้แหละที่ ท�ำให้ใครบางคนพูดว่า “กินเหล้าคนเดียวจะสนุกอย่างไร” ) ความคิดของอริสโตเติลภายหลังถูกปฏิเสธโดยนักปรัชญารุ่นต่อมา กลุ่มสัญญาประชาคม อันได้แก่ รุสโซ ล็อค และฮอบส์ พวกเขาไม่เชื่อว่า เรา มีธรรมชาติเป็นสัตว์สังคมอะไรทั้งสิ้น แต่ที่เรามาร่วมกันสร้างชุมชนหรือรัฐ
16
ก็เพราะเราต้องการผลประโยชน์บางอย่างร่วมกัน ผลประโยชน์นี้จะไม่เกิด ถ้าต่างคนต่างแยกกันอยู่(ผลประโยชน์ที่ว่านี้ก็เช่น ถนน ไฟฟ้า น�้ำประปา มีต�ำรวจและทหารคอยรักษาความปลอดภัย เป็นต้น) ชีววิทยาเชิงสังคมได้ให้ข้อมูลบางประการท�ำให้มั่นใจว่า มนุษย์เรา วิวัฒนาการมาจากลิง และมนุษย์ก็มีสัญชาตญาณในการอยู่เป็นสังคมและ ได้ร่วมกันสร้างสิ่งที่เรียกว่าชุมชนมาก่อนที่จะมีการพัฒนาการทางสติปัญญา (คือ อยู่กันเป็นชุมชนก่อนจะเป็นมนุษย์เต็มที่พอที่จะเข้าใจเรื่องผลประโยชน์ ของตนตามที่นักปรัชญากลุ่มสัญญาประชาคมพูดถึง) ข้อมูลนี้ท�ำให้แนวคิด ของอริสโตเติ้ลกลับมามีน�้ำหนักอีกครั้งหนึ่ง แต่ทั้งอริสโตเติลและนักปรัชญา รุ่นหลังคิดตรงกัน(แม้จะมีทฤษฎีสังคมและการเมืองคนละแบบก็ตาม) คือ “การมีสันติสุขร่วมกัน คือ เป้าหมายของชีวิตชุมชน” ในพระสูตรทีส่ ำ� คัญพระสูตรหนึง่ ของพระพุทธศาสนาคือ “อัคคัญญสูตร” พระพุทธองค์ได้ทรงแสดงทัศนะต่อการเกิดขึน้ ของรัฐแตกต่างไปจากอริสโตเติล และนักปรัชญากลุ่มสัญญาประชาคมที่กล่าวมาแล้ว พระพุทธเจ้าตรัสว่า เดิมทีเดียวมนุษย์ก็รวมกันอยู่เป็นชุมชนแล้วก่อนจะมีรัฐ (ในแง่นี้ดูเหมือน อริสโตเติลจะคิดคล้ายกับพุทธศาสนา) สังคมที่ไร้รัฐนั้นด�ำรงอยู่ช่วงเวลาหนึ่ง ก็เกิดปัญหา คือ คนบางคนในสังคมไม่ยอมรับกติกาหรือขนบธรรมเนียม ประเพณีที่เคยปฏิบัติกันมายาวนานหลายชั่วอายุคน ขนบประเพณีเหล่า นี้คือ ข้อปฏิบัติซึ่งมีรากฐานมาจากศีลธรรม (เช่น ความรู้จักละอายต่อการ กระท�ำความชั่วแม้จะไม่มีคนเห็นก็ตาม) การละเมิดขนบประเพณีท�ำให้สังคม วุ่นวาย เพราะการกระท�ำเช่นนั้นโดยเนื้อหาก็คือ การเอาเปรียบและสร้าง ความเดือดร้อนแก่ผู้อื่น ความวุ่นวายในสังคมนี้พุทธศาสนาวิเคราะห์ว่าสืบ เนื่องมาจากความเสื่อมของศีลธรรมของผู้คน เมื่อผู้คนในสังคมเกิดข้อพิพาท เพราะต่างฝ่ายต่างก็ไม่เคารพในชีวิตและทรัพย์สินของกันและกัน ก็มีผู้คิดว่า
17
ข้อพิพาทเหล่านี้จะต้องได้รับการวินิจฉัยและสะสางเพื่อหาข้อยุติ ความคิด นี้น�ำไปสู่การมีผู้น�ำในชุมชนโดยประชาชนในสังคมนั้นต่างก็ให้สัญญาว่าจะ ปฏิบัติตามสิ่งที่ผู้น�ำนั้นมีมติวินิจฉัยออกมา (แนวคิดนี้คล้ายคลึงกับแนวคิด ของฮอบส์) ระยะแรกผู้น�ำ จะท�ำหน้าที่ระงับข้อพิพาท (คล้ายตุลาการ) ต่อมาก็ ขยายบทบาทไปจากเดิมก็คือท�ำหน้าที่บ�ำบัดทุกข์ บ�ำรุงสุขแก่ประชาชน (ท�ำ หน้าที่คล้ายฝ่ายบริหารในปัจจุบัน) ช่วงนี้เองที่ท�ำให้ประชาชนได้เรียกผู้น�ำ นั้นว่า “ราชา” ซึ่งมีความหมายตามศัพท์ว่า ท�ำให้ประชาชนพอใจ จากที่กล่าวมานี้เราจะเห็นว่า รัฐ ตามความคิดของพุทธศาสนาเกิดจากความ จ�ำเป็น กล่าวคือ เมื่อมีคนมารวมกันอยู่มาก ๆ ก็เกิดปัญหาคือการวิวาท ขัด แย้งกัน การวิวาทบาดหมางท�ำให้การอยู่ร่วมกันเป็นสังคมนั้นปราศจาก ความสุข (ทั้งทางด้านกายภาพและจิตวิทยา) การมีรัฐ (ในความหมายของหน่วยงานกลางส�ำหรับท�ำหน้าที่วินิจฉัย ชี้ขาดความขัดแย้งและบงการให้มีการปฏิบัติตามค�ำวินิจฉัยนั้น) จึงเป็น ความจ�ำเป็น จะเห็นว่าตามความคิดของพุทธศาสนา ชีวิตทางสังคมมีการอยู่ ร่วมกันอย่างสันติสุขเป็นเป้าหมายสูงสุด
18
รู้จักภพภูมิที่เราเวียนว่ายตายเกิด ตอนที่ ๓
พระวรฤทธิ์ โอภาโส เจริญพรผู้อ่าน วันนี้อาตมาจะเขียนเรื่องอบายภูมิในภูมิที่ ๓ คือ อสุรกายภูมิ หรือ อสุรภูมิ บุคคลที่อยู่ในภูมินี้ไม่มีความสะดวกสบายในความ เป็นอยู่ ได้รับแต่ความล�ำบาก โดยผู้ที่มาเกิดในอสุรกายภูมินี้ ในอดีตเมื่อ อยู่ในโลกเป็นผู้มียศและทรัพย์สมบัติ แต่เขาได้ใช้อ�ำนาจที่เขามีไปในทาง ที่ผิดคือกดขี่ข่มเหง ดูถูกติเตียนบุคคลที่ดีมีศีลธรรมที่ควรยกย่องสรรเสริญ แต่กลับประจบสอพลอยกย่องสรรเสริญบุคคลที่ไม่ดีมีความประพฤติทุจริต ผิดศีลธรรมแต่เป็นผู้มีอ�ำนาจด้วยหวังอ�ำนาจลาภยศสรรเสริญแก่ตน บุคคล เช่นนี้เมื่อตายย่อมไปสู่อสุรภูมิ ธรรมดาอสุรภูมินี้ไม่มีภูมิที่เป็นที่อยู่ของตน โดยเฉพาะ อสุรกายภูมินี้สามารถสงเคราะห์เข้าในเปตติภูมิ แต่ที่จัดเป็น อสุรกายอีกต่างหาก เพราะในบรรดาเปรตทั้งหลายมีเปรตที่พิเศษอีกพวก หนึ่ง เปรตที่พิเศษนี้เรียกว่าอสุรกาย นอกจากนั้นแล้วอสุระนี้ยังมี ๓ อย่าง คือ ๑.เปตติอสุระ ๒.นิรยอสุระ ๓.เทวอสุระ กล่าวคืออสุระเป็นสัตว์ที่อยู่ใน สามภูมิคือเปรต สัตว์นรก และเทวดานั่นเอง ๑. เปตติอสุระมี ๓ กลุ่มได้แก่กาลกัญจิกเปรตอสุระ ซึ่งได้กล่าวถึงไว้ แล้วในคราวก่อน เวมานิกเปรตอสุระ เป็นผู้เสวยทุกข์ในเวลากลางวันแต่เสวย สุขในเวลากลางคืนเหมือนกับเทวดาชั้นตาวติงสา (ดาวดึงส์) และอาวุธิกเปรต อสุระ เป็นเปรตที่ประหัตประหารกันด้วยอาวุธต่างๆ อาวุธิกเปรตที่เรียกว่า อสุระเพราะมีความเป็นอยู่ที่ตรงข้ามกับเทวดาชั้นตาวติงสา ๒. นิรยอสุระ เสวยทุกข์อยู่ในโลกันตริกนรกซึ่งโลกันตริกนรก ตั้งอยู่ ระหว่างกลางของจักรวาลทั้งสามที่มีเขตเชื่อมต่อกัน ภายในช่องนี้มืดมิดภาย ใต้มีน�้ำเย็นจัด สัตว์นรกเหล่านี้มีแต่ความหิวโหย เกาะอยู่ตามขอบจักรวาล พอได้ยินเสียงจากสัตว์นรกตนอื่นก็คิดว่าเป็นอาหาร จึงกระโดดเข้าใส่กันและ
19
สัตว์นรกเหล่านั้นจะตกลงไปในน�้ำนี้ แล้วร่างกายจะละลายลงทันทีเหมือนกับ เอาเกลือใส่ลงไปในน�้ำ สัตว์โลกันตริกนรกที่เรียกว่าอสุระเพราะอารมณ์ที่ได้ รับเป็นอารมณ์ที่ไม่ดีซึ่งตรงข้ามกับเทวดาชั้นตาวติงสา ๓. เทวอสุระ เทวดาที่เป็นอสุระนี้อาศัยอยู่ใต้ภูเขาสิเนรุและเป็น ปฏิปกั ษ์ตอ่ เทวดาชัน้ ตาวติงสา แต่กส็ งเคราะห์เข้าในเทวดาชัน้ ตาวติงสาได้ ซึ่ง เทวอสุระมีประวัติความเป็นมาว่า ดั้งเดิมในสมัยต้นกัป เทวโลกชั้นตาวติงสา เป็นสถานที่อยู่ของเทวอสูรทั้งหลาย ต่อมามฆมานพไปบังเกิดเป็นพระอินทร์ ในชั้นนั้นพร้อมสหาย ๓๒ คน วันหนึ่งพระอินทร์ได้ประชุมและเลี้ยงเหล้า เทวดาในชั้นตาวติงสา ซึ่งเทวดาพวกเวปจิตติอสูรมีความมึนเมามากที่สุด ฝ่าย พระอินทร์สบโอกาสจึงร่วมกับบริวารท�ำสิ่งที่ตั้งใจไว้ คือก�ำจัดเทวดาเหล่านี้ ให้พ้นจากชั้นตาวติงสา จึงรุมจับพวกเวปจิตติอสูรโยนลงไปภายใต้ภูเขาสิเนรุ ด้วยอ�ำนาจฤทธิ์ของพระอินทร์และบริวาร ที่ภายใต้ภูเขาสิเนรุนี้ มีนครอยู่ นครหนึ่งซึ่งคล้ายกับนครที่อยู่ในชั้นตาวติงสา เมื่อเวปจิตติอสูรกับพวกถูกจับ ตัวโยนลงมาภายใต้ภูเขาสิเนรุนั้น เวปจิตติอสูรกับพวกก�ำลังเมาจัดและการก ระท�ำนั้นเป็นไปด้วยอ�ำนาจอิทธิฤทธิ์จึงไม่ทราบว่าตัวเองถูกจับโยนลงมาภาย ใต้ภูเขาสิเนรุเพราะภายใต้ภูเขาสิเนรุมีนครคล้ายกับนครของชั้นตาวติงสา ฉะ นั้นเวปจิตติอสูรจึงไม่สงสัยคงอยู่ไปตามปกติเหมือนเคยอยู่ในนครชั้นตาวติง สา ทั้งสองนครนี้ต่างกันที่ต้นไม้ ในชั้นตาวติงสานครมีต้นไม้ชื่อว่าต้นปาริฉัต ตกะ (ต้นทองหลาง) แต่นครของอสูรภายใต้ภูเขาสิเนรุมีต้นปาฏลิ(ต้นแคฝอย) แต่ชื่อของนครทั้งสองนี้เหมือนกันคืออยุชฌปุรนคร (แปลว่านครที่สามารถ ป้องกันเหตุอันตรายที่เกิดจากภายนอกได้) เมื่อถึงฤดูออกดอกต้นปาฏลิก็มีด อกขึ้น เมื่อเวปจิตติอสูรและพวกได้เห็นดอกไม้นี้ก็เริ่มระแวงใจว่าที่นี่ไม่ใช่นคร ชัน้ ตาวติงสา จึงหวนคิดจนทราบว่าเมือ่ มีการเลีย้ งเหล้ากันในชัน้ ตาวติงสา ตนกับ พวกมีความเมาจัดจึงเป็นโอกาสให้พระอินทร์กับพวกจับตัวโยนลงมาภายใน
20
สถานที่นี้ เวปจิตติอสูรกับพวกมีความโกรธแค้นพระอินทร์เป็นอย่างยิ่ง จึง ได้ประชุมกันเพื่อท�ำสงครามกับพระอินทร์เพื่อชิงเอาอยุชฌปุรนครกลับคืน มา เวปจิตติอสูรจึงจัดตั้งกองทัพเพื่อไปสู้กับพระอินทร์ โดยจากภายใต้ภูเขา สิเนรุจะขึน้ ไปตาวติงสาต้องเดินทางเวียนรอบภูเขาคล้ายๆบันไดเวียนถึง ๕ ชัน้ ซึ่งทั้ง ๕ ชั้นมีเทวดารักษาอยู่ คือ ชั้นที่หนึ่งมีเทวดาที่เป็นพญานาคชื่อว่านา คะดูแลรักษาอยู่ ชั้นที่สองมีเทวดาชื่อว่าครุุฬะ (ครุฑ) คอยดูแลรักษา ชั้น ที่สามมีเทวดาชื่อกุมภัณฑะคอยดูแลรักษา ชั้นที่สี่มีเทวดาชื่อว่ายักขะดูแล รักษา ชั้นที่ห้ามีเทวดาชั้นจาตุมหาราชิกาประจ�ำอยู่ ดังนั้นเมื่อพวกเวปจิต ติอสูรยกกองทัพขึ้นไปสู้รบกับพระอินทร์จึงต้องยกกองทัพขึ้นไปตามล�ำดับ ชั้นของภูเขาและต้องต่อสู้กับเหล่าเทวดาทั้ง ๕ ชั้นที่ยกพวกออกมาต่อต้าน ตามหน้าที่รักษาสถานที่นั้น แต่เทวดาที่มีหน้าที่รักษาสถานที่ทั้ง ๕ ไม่มีฤทธิ์ หรือก�ำลังเพียงพอที่จะต่อสู้กับกองทัพอสูรได้ จึงพากันแตกพ่ายหนีไปทุกชั้น กองทัพอสูรจึงผ่านขึ้นไปได้โดยล�ำดับ จนพระอินทร์ต้องยกกองทัพออกมา ต่อสู้รบด้วยตนเอง ในการท�ำสงครามระหว่างพระอินทร์กับอสูรนั้นไม่มีการ บาดเจ็บ การตาย เลือดไหลเหมือนมนุษย์ การท�ำสงครามในชั้นเทวโลกไม่มี การตายและบาดเจ็บ เป็นเหมือนรูปหุ่นต่อรูปหุ่นรบกัน ถ้าฝ่ายใดสู้ไม่ไหว เพราะมีพวกน้อยกว่าก็พากันหลบหนีเข้าไปในนคร แล้วพากันปิดประตูนครที่ มีประจ�ำอยู่ทั้ง ๔ ทิศ ฝ่ายชนะก็ต้องถอยไปเพราะไม่สามารถจะท�ำลายประตู เข้าไปได้ การท�ำสงครามระหว่างพระอินทร์กับอสูรนี้ต่างก็ผลัดกันแพ้ผลัดกัน ชนะ ฝ่ายที่แพ้ก็พากันหนีเข้าไปในนครและปิดประตู ฝ่ายที่ชนะก็ยกทัพกลับ ไป เหตุนี้นครทั้งสองฝ่ายจึงมีชื่อว่าอยุชฌปุรนคร การท�ำสงครามซึ่งกันและ กัน นับตั้งแต่สมัยต้นกัปตลอดเรื่อยมาจนถึงสมัยพุทธกาลและจนกระทั่งบัดนี้ พระอินทร์กับพวกอสูรก็ยังคงกระท�ำสงครามกันอยู่เสมอ ทั้งหมดที่เขียนมา เป็นอสุรกายภูมิ จะเห็นว่าบุคคลที่อยู่ในภูมินี้ไม่มีความสะดวกสบาย ได้รับความทุกข์
21
อยู่เสมอและเป็นภูมิที่ไม่มีสถานที่โดยเฉพาะ อาศัยอยู่ในภูมิอื่นและบุคคลใน ภูมินี้มีอายุขัยไม่แน่นอนขึ้นอยู่กับกรรมเก่าที่ท�ำไว้ อาตมาหวังว่าบทความนี้คงช่วยเสริมความเข้าใจให้ผู้อ่านได้เข้าใจใน ภูมิต่างๆที่เราจะต้องมีโอกาสไปพบเจอให้มากยิ่งขึ้น และความเป็นอยู่ของ อบายสัตว์เหล่านี้จะเป็นอุทาหรณ์เตือนใจให้ทุกท่านระมัดระวังไม่ให้ตกไปสู่ อบายภูมิทั้ง ๔ คราวหน้าจะเป็นอบายภูมิสุดท้ายคือสัตว์เดรัจฉาน ขอให้ทุก ท่านโชคดี เจริญพร
22
วางก็ว่าง
ปิยโสภณ เราเกิดมาจากส่วนผสมปรุงแต่งของธรรมชาติ คือดิน น�ำ ้ ลม ไฟและ วิญญาณ จากภพภูมใิ นอดีต เมือ่ ผสมกันได้ท ี่ จากองค์ประกอบของพ่อกับ แม่ จึงเกิดมีชวี ติ ขึน้ มา อยูใ่ นครรภ์แม่ ๙ เดือน ก็คลอดออกมาดูโลก บางคน สมบูรณ์ บางคนพิการ บางคนสติปญ ั ญาเป็นเลิศ บางคนปัญญาอ่อน บาง คนสิง่ แวดล้อมดี เป็นลูกเศรษฐี บางคนเกิดในตระกูลยากจน ต้องทนล�ำบาก หาเช้ากินค�ำ ่ บางคนเกิดในประเทศทีย่ ากจน บางคนเกิดในประเทศร�ำ่ รวย เกิดเป็นคนสวยคนหล่อ อะไรปรุงแต่ง หากมิใช่กรรมทีบ่ รรจุอยูใ่ นซิมการ์ด คือวิญญาณจากอดีต. เมือ่ เกิดมาแล้ว ก็อยูใ่ นโลกนีไ้ ด้ไม่นาน บางคนตายแต่ คลอด ตายตอนเป็นหนุม่ สาว โชคดีทแี่ ก่ตาย แต่อย่างมากไม่เกิน ๑๐๐ ปี ก็ ต้องแยกธาตุดนิ น�ำ ้ ลม ไฟ และวิญญาณ เมือ่ ตายแล้ว เขาเก็บไว้ในหีบเพียง ๗ วัน เพือ่ ทุม่ ทุนท�ำบุญให้โดยญาติพนี่ อ้ ง ด้วยเกรงว่าบางคนอาจจะไม่มบี ญ ุ ติดตัว เพราะทรัพยสินสมบัตใิ ดๆ ก็ไม่สามารถเอาไปได้ แม้คนทีร่ กั มากทีส่ ดุ ก็มาส่ง แค่เมรุ ทรัพย์สนิ สมบัตใิ นธนาคาร บ้าน รถ ก็เพียงเผากระดาษไปให้ ของจริงที่ เคยใช้ ก็เอาไปไม่ได้ จากนัน้ สัปเหร่อก็จบั เราใส่เข้าไปในเตาเผา ๑ คืน รุง่ ขึน้ มา เก็บกระดูก เหลือเพียงเถ้าถ่าน ๑ กอง เอาผ้าขาวห่อดอกไม้โปรย โรยน�ำ้ หอม แล้วน�ำไปลอยอังคารทีส่ ตั หีบ เรือ่ งของเรือ่ งทีเ่ คยเป็นเรือ่ ง จบลงทัง้ หมด คดีความใดๆ ก็ถกู จ�ำหน่าย เมือ่ จบชีวติ ก็ไม่ตา่ งจากการปิดฉากละคร นักแสดงทุกคนต้องลงจากเวที แล้วรีบกลับบ้านไปนอน เหนือ่ ยพอแล้วส�ำหรับการแสดง ท่านผูอ้ า่ นหลายท่าน เดินทางชีวติ มายาวนาน อาจเป็นโค้งสุดท้ายของ ชีวติ แล้ว อาจรูส้ กึ เบือ่ โลกนีแ้ ล้ว แต่บางท่านเพิง่ เกิดมาใหม่ ยังตืน่ เต้นสดใสกับ โลกใบนี ้ ดูแล้วรูส้ กึ มีอะไรให้ตอ้ งแสวงหาเป็นเจ้าของอยูม่ าก ลองถามดูทา่ นผู้ อิม่ ในชีวติ แล้ว มีทกุ อย่าง ได้ตามต้องการ ทรัพย์ ยศ เกียรติ เงิน บุญกุศล คง ต้องตอบเป็นเสียงเดียวกันว่า ชีวติ นี ้ “วางก็วา่ ง...ไม่วาง ก็ไม่วา่ ง”
23
24
25
การเจริญอานาปานสติ
ภัททันตะ อาจิณณะ มหาเถระ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสใน มหาสติปัฏฐานสูตร ความตอนหนึ่งว่า "ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ไปสู่ป่าก็ดี ไปสู่โคนไม้ก็ดี ไปสู่เรือน ว่างก็ดี นั่งคู้บัลลงก์ ตั้งกายตรง ด�ำรงสติไว้เฉพาะหน้า เธอมีสติหายใจออก มีสติหายใจเข้า ๑. เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่าเราหายใจออกยาว เมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่าเราหายใจเข้ายาว ๒. เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่าเราหายใจออกสั้น เมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่าเราหายใจเข้าสั้น ๓. ย่อมส�ำเหนียกว่าเราจักเป็นผู้ก�ำหนดรู้ตลอดกองลมหายใจทั้งปวง หายใจออก ย่อมส�ำเหนียกว่าเราจักเป็นผู้ก�ำหนดตลอดกองลมหายใจทั้งปวง หายใจเข้า ๔. ย่อมส�ำเหนียกว่า เราจักระงับกายสังขารหายใจออก ย่อมส�ำเหนียก ว่า เราจักระงับกายสังขารหายใจเข้า" ขั้นแรก ให้เริ่มโดยนั่งในท่าที่สบายๆ และพยายามก�ำหนดสติรู้ ลมหายใจ เมื่อลมผ่านเข้า-ออกรูจมูก บริเวณใต้จมูกหรือรอบๆรูจมูก ไม่ พึงตามรู้ลมที่เข้ามาในกายหรือลมที่ออกไปนอกกาย สมาธิจักไม่อาจ เจริญขึ้นได้ แต่ถ้าเธอใส่ใจแต่ลมหายใจ ณ จุดที่กระทบชัดที่สุด ไม่ว่าจะ เป็นเหนือริมฝีปากบน หรือรอบๆบริเวณรูจมูก เธอจึงจะเจริญสมาธิให้ สูงขึ้นได้ ไม่พงึ ใส่ใจทีส่ ภาวลักษณะ สามัญลักษณะหรือสีของนิมติ สภาว ลักษณะเป็นลักษณะโดยธรรมชาติของธาตุ ๔ ในลมหายใจเช่น แข็ง หยาบ หนัก นุ่ม เรียบ เบา ไหล ผนึก ร้อน เย็น ค�้ำจุน และผลัก สามัญ ลักษณะ(พระบาฬีเรียกว่า ธรรมนิยาม) คือ ลักษณะ ๓ ประการ ได้แก่
26
๑. อนิจจตา ความเป็นของไม่เที่ยง ๒. ทุกขตา ความเป็นทุกข์หรือความเป็นของคงทนอยู่มิได้ ๓. อนัตตตา ความเป็นของมิใช่ตวั ตน ของลมหายใจ เธอไม่พงึ บริกรรมว่า "เข้า-ออก อนิจจา เข้า-ออก ทุกขา หรือ เข้า-ออก อนัตตา" พึงท�ำแต่เพียงระลึกรู้ ลมหายใจเข้า - ออกแค่ระดับบัญญัติเท่านั้น บัญญัติของลมหายใจหมายถึงเป็นอารมณ์(สิ่งที่ถูกรับรู้)ของอานาปานสติ กัมมัฏฐาน ลมหายใจคือสิ่งที่เธอต้องก�ำหนดรู้เพื่อเจริญสมาธิ เมื่อเธอใส่ใจ เพียงบัญญัติเช่นนี้ และหากเธอเคยเจริญอานาปานสติในอดีตชาติ และได้ สั่งสมบารมีมาพอควร เธอก็จะเจริญอานาปานสติได้โดยง่าย หากเธอพบว่า การตั้งมั่นจิตที่ลมหายใจเข้าออกนั้นท�ำได้ไม่ง่าย คัมภีร์วิสุทธิมรรคแนะให้ใช้วิธีนับลมหายใจเพื่อช่วยเจริญสมาธิ โดยเมื่อรู้ลม หายใจเข้าให้บริกรรมว่า "เข้า" เมื่อรู้ลมหายใจออกให้ บริกรรมว่า "ออก" และเมื่อสิ้นสุดลมหายใจออกให้นับว่า "หนึ่ง" เช่น "เข้า-ออก หนึ่ง เข้าออก สอง ...เข้า-ออก แปด" ไม่พึงนับน้อยกว่า ห้าและไม่เกินกว่าสิบ เรา แนะน�ำให้เธอนับถึงแปด เพราะเป็นการเตือนว่า เธอก�ำลังเจริญอริยมรรค มีองค์แปด ดังนั้น เธอพึงนับถึงจ�ำนวนที่เธอพอใจระหว่างห้าถึงสิบ โดยตั้ง จิตอธิษฐานว่า เธอจะไม่ส่งจิตออกนอก หรือใจลอย ในระหว่างที่เธอก�ำลัง นับลมหายใจจากหนึ่งจนถึงเลขที่เธอได้ก�ำหนดไว้ เธอจ�ำนงแต่จะใส่ใจรู้ที่ ลมหายใจอย่างสงบ ถ้าท�ำได้ส�ำเร็จคือจิตไม่ออกนอก จึงจะนับรอบต่อๆไป เมื่อเธอนับในลักษณะนี้ เธอจะพบว่า ในที่สุดจิตเธอจะตั้งมั่น สงบ ใส่ใจ แต่ที่ลมหายใจ ขั้นที่สอง หลังจากที่จิตเธอตั้งมั่นที่ลมหายใจได้อย่างน้อยครึ่งชั่วโมง เธอพึงฝึกเจริญสติ ดังนี้
27
๑. เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่าเราหายใจออกยาว เมื่อหายใจเข้า ยาว ก็รู้ชัดว่าเราหายใจเข้ายาว ๒. เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่าเราหายใจออกสั้น เมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่าเราหายใจเข้าสั้น ณ ระดับนี้เธอต้องตามรู้ทั่วชัดว่าลมหายใจเข้า-ออก ยาวหรือสั้น ในที่นี้ไม่ได้หมายถึงระยะทางว่า ยาวกี่นิ้วกี่ฟุต? แต่หมายถึง ระยะเวลา คือช่วงเวลา เธอพึงตัดสินด้วยตนเองว่าเมื่อใดจึงจะเรียกว่า ลมหายใจยาว เมื่อใดจึงจะเรียกว่า ลมหายใจสั้น ให้ใส่ใจรู้ตลอดช่วงเวลาที่ลมเข้า-ออก แต่ละครั้ง เธอจะสังเกตเห็นว่าบางทีลมหายใจก็ยาว บางทีก็สั้น พึงรู้แค่นี้พอ ส�ำหรับขั้นที่สองนี้ และเธอไม่พึงบริกรรมว่า "เข้า-ออก ยาว เข้า-ออก สั้น" แต่ให้บริกรรมเพียงว่า "เข้า-ออก" และใส่ใจรู้ว่า ลมยาวหรือสั้น ให้รู้ว่ายาว หรือสั้น โดยใส่ใจแต่เพียงช่วงเวลาที่ลมเสียดสีสัมผัสริมฝีปากบนหรือรอบๆ รูจมูกเมื่อลมผ่านเข้าหรือออกจากกาย บางทีลมหายใจอาจจะยาวตลอด บัลลังก์และบางทีอาจจะสั้นตลอดบัลลังก์ เธอไม่พึงจงใจบังคับให้ลมหายใจ ยาว หรือสั้น ผู้ปฏิบัติบางท่านอาจเห็นนิมิตในขั้นที่สองนี้ ขั้นที่สาม ถ้าเธอปฏิบัติได้สงบดีราวหนึ่งชั่วโมง และยังไม่เห็นนิมิต เธอพึงฝึกเจริญสติ ดังนี้ ๓. ย่อมส�ำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้ก�ำหนดรู้ตลอดกองลมหายใจทั้ง ปวงหายใจออก ย่อมส�ำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้ก�ำหนดรู้ตลอดกองลมหายใจ ทั้งปวงหายใจเข้า ในที่นี้พระพุทธเจ้าตรัสสอนให้ใส่ใจรู้ลมหายใจทั้งหมด นับแต่เริ่มต้น จนสิ้นสุดอย่างต่อเนื่อง เธอพึงฝึกจิตให้รู้ชัด ณ จุดเดียวที่ลมกระทบขณะ ผ่านเข้าและผ่านออกอย่างต่อเนื่อง นับแต่ลมเริ่มต้นเข้าจนสิ้นสุดลมออก ขณะที่เธอก�ำลังปฏิบัติในขั้นนี้ นิมิตอาจปรากฏ ถ้านิมิตเริ่มปรากฏ ยังไม่
28
ต้องไปใส่ใจที่นิมิตนั้น ให้ใส่ใจรู้แต่ที่ลมหายใจต่อไป ขัน้ ทีส่ ี่ แต่หากว่าเธอใส่ใจรูท้ ลี่ มหายใจอย่างสงบและต่อเนือ่ งจาก เริม่ ต้นลมเข้าจนสิน้ สุดลมออกได้ราวหนึง่ ชัว่ โมง และนิมติ ยังไม่ปรากฏ เธอพึงฝึก เจริญสติดงั นี้ ๔. ย่อมส�ำเหนียกว่า เราจักระงับกายสังขารหายใจออก ย่อมส�ำเหนียก ว่า เราจักระงับกายสังขารหายใจเข้า โดยน้อมใจให้ลมหายใจแผ่วเบา แต่ยังคงใส่ใจรู้ชัดลมหายใจจากเริ่ม ต้นจนสิ้นสุด และไม่พึง"ท�ำ"อะไรเพื่อให้ลมหายใจสงบ เพราะถ้าเธอ"ท�ำ" สมาธิจะแตกซ่านไป คัมภีร์วิสุทธิมรรคแนะปัจจัยสี่ประการเพื่อช่วยให้ลม หายใจสงบเบา ได้แก่ "ความค�ำนึง ความรวบรวมใจ ความใส่ใจ และความ พิจารณาว่าเราจักระงับกายสังขารที่หยาบๆ...." ดังนั้น สิ่งที่เธอต้องท�ำใน ขั้นนี้คือ ให้น้อมจิตเข้าไปสงบลมหายใจ และก�ำหนดรู้ทั่วชัดลมหายใจอย่าง ต่อเนื่อง เมื่อท�ำดังนี้เธอจะพบว่า ลมหายใจละเอียดเบามากขึ้น และนิมิต อาจปรากฏ เมื่อนิมิตใกล้จะปรากฏ ผู้ปฏิบัติหลายท่านอาจประสบอุปสัค โดย มักจะพบว่า ลมหายใจเบามากจนก�ำหนดรู้ได้ยากไม่ชัดเจน กาลนี้เธอพึง วางจิตเฝ้าไว้ ณ จุดที่ลมหายใจเคยกระทบ วางจิตเฝ้ารอลมหายใจแต่ที่ จุดนั้น จากนั้นเธอพึงใคร่ครวญว่าเธอไม่ใช่คนที่ไม่หายใจ ลมหายใจยัง คงมีอยู่แน่นอน แต่เธอไม่อาจก�ำหนดรู้ เป็นเพราะสติยังอ่อนก�ำลัง ลม หายใจไม่มีในบุคคล ๗ จ�ำพวก ได้แก่ ๑. คนตาย ๒. ทารกในครรภ์มารดา ๓. พวกทีด่ ำ� ลงในน�ำ ้ ๔. พรหมลูกฟัก(เทพผูเ้ ป็นอสัญญีสตั ว์) ๕. ผูเ้ ข้าจตุตถ ฌาน ๖. รูปพรหมและอรูปพรหม ๗. ผู้เข้านิโรธสมาบัติ เธอมิใช่บุคคลเหล่านี้ ดังนั้น ขณะนี้เธอก�ำลังหายใจอยู่ เพียงแต่ว่า เธอไม่อาจรู้เพราะสติยังไม่กล้าแข็งพอ
29
เมื่อลมหายใจแผ่วเบาลง เธอไม่พึงหายใจแรงเพื่อให้ลมปรากฏชัด เพราะถ้าปรารภความเพียรมากเกินไปจะท�ำให้ฟุ้งซ่านและไม่มีสมาธิ เธอไม่ พึงแสวงหาลมเข้า-ออกจากที่อื่น พึงวางจิตไว้ ณ จุดที่ลมเคยกระทบตาม ปกติ เมื่อเธอมนสิการด้วยสติและปัญญาวางจิตเฝ้ารอลมตรงจุดที่ลมเคย กระทบอยู่ ลมหายใจจะปรากฏคืนในเวลาไม่นาน เมื่อเธอหมั่นประคองจิตอยู่เช่นนั้น ในไม่ช้านิมิตจะปรากฏ นิมิตย่อม ปรากฏแตกต่างกันไป บางท่านนิมิตที่มีสัมผัสอันเป็นสุขปรากฏ ได้แก่ ๑. ดังปุยส�ำลีบ้าง (อุคคหนิมิต) ๒. ดังปุยนุ่นบ้าง (อุคคหนิมิต) ๓. ดังสายลมบ้าง (อุคคหนิมิต) ๔. ดังรัศมีดาวบ้าง (อุคคหนิมิตและปฏิภาคนิมิต) ๕. ดังพวงแก้วมณีบ้าง (ปฏิภาคนิมิต) ๖. ดังพวงแก้วมุกดาบ้าง (ปฏิภาคนิมิต) บางท่านนิมิตที่มีสัมผัสอันหยาบปรากฏ ได้แก่ ๑. ดังเม็ดในฝายบ้าง (อุคคหนิมิตและปฏิภาคนิมิต) ๒. ดังสะเก็ดเสี้ยนไม้แก่นบ้าง (อุคคหนิมิตและปฏิภาคนิมิต) บางท่านนิมิตปรากฏต่างออกไป ได้แก่ ๑. ดังด้ายสายสังวาลยาวบ้าง (อุคคหนิมิตและปฏิภาคนิมิต) ๒. ดังพวงดอกไม้บ้าง (อุคคหนิมิตและปฏิภาคนิมิต) ๓. ดังเปลวควันเพลิงบ้าง (อุคคหนิมิตและปฏิภาคนิมิต) ๔. ดังใยแมงมุมอันขึงอยู่บ้าง (อุคคหนิมิตและปฏิภาคนิมิต) ๕. ดังแผ่นเมฆบ้าง (อุคคหนิมิตและปฏิภาคนิมิต) ๖. ดังดอกบัวหลวงบ้าง (อุคคหนิมิตและปฏิภาคนิมิต)
๗. ดังจักรรถบ้าง (อุคคหนิมิตและปฏิภาคนิมิต) ๘. ปรากฏดังดวงจันทร์ก็มี (อุคคหนิมิตและปฏิภาคนิมิต) ๙. ปรากฏดังดวงอาทิตย์ก็มี (อุคคหนิมิตและปฏิภาคนิมิต) นักปฏิบตั สิ ว่ นใหญ่ นิมติ ปรากฏสีขาวบริสทุ ธิด์ งั ปุยส�ำลีเป็นอุคคหนิมติ หมายความว่า การเห็นนิมิตไม่ได้อาศัยจักขุทวาร นิมิตเกิดทางมโนทวาร โดยตรง เมื่อจิตท�ำหน้าที่ไปถึงขณะแห่งชวนะแล้ว ก็จะเห็นนิมิตนั้นด้วยจิต นิมิตที่เห็นด้วยจิตนี้แลเรียกว่า อุคคหนิมิต อุคคหนิมติ จะยังไม่ใสไม่สว่าง ให้กำ� หนดทีน่ มิ ติ นัน้ เพียงจุดเดียวต่อไป เมื่อนิมิตเปลี่ยนเป็นสว่างราวดวงดาว เจิดจ้าและใสจึงเรียกว่าปฏิภาค นิมิต เมื่อนิมิตยังเป็นเหมือนเม็ดทับทิม หรือเม็ดมณี และไม่สว่างจะยังเป็น อุคคหนิมิต แต่เมื่อสว่างเจิดจ้าบริสุทธิ์ผุดผ่องจึงเป็นปฏิภาคนิมิต อุคคห นิมิตลักษณะที่เหลือก็มีนัยคล้ายกันนี้ นิมิตปรากฏแก่เธอทั้งหลายต่างๆกัน เพราะกัมมัฏฐานนี้เกิดจากสัญญา มีสัญญาเป็นเหตุ สัญญาที่แตกต่างกัน ของเธอทั้งหลายก่อนที่นิมิตปรากฏ ท�ำให้นิมิตปรากฏต่างๆกัน แม้ว่ากัมมัฏ ฐานคือลมหายใจเข้า-ออก ก็อย่างเดียวกันนั่นแหละ นิมิตย่อมปรากฏต่างๆ กัน เพราะภาวะที่เธอทั้งหลายมีสัญญาแตกต่างกัน เมื่อนิมิตปรากฏขึ้นแล้ว ข้อส�ำคัญคือ ไม่พึงเล่นกับนิมิต กับทั้งไม่ ปล่อยให้นิมิตเสื่อมไป และไม่จงใจเปลี่ยนรูปร่างหรือลักษณะ ถ้าเธอฝืนท�ำ ดังกล่าว สมาธิจักไม่อาจเจริญขึ้นได้ ความก้าวหน้าจะหยุดชะงัก นิมิตอาจ หายไปเลย ดังนั้นเมื่อนิมิตเริ่มปรากฏขึ้นเป็นครั้งแรก เธอยังไม่ต้องเปลี่ยน ความใส่ใจจากลมหายใจไปที่นิมิต ถ้าเธอหันไปใส่ใจในนิมิตแทนลมหายใจ นิมิตจะหายไป ต่อเมื่อเธอเห็นว่านิมิตตั้งมั่นได้นานดีแล้ว จิตของเธอก็จะตั้ง อยู่ที่นิมิตได้เอง พึงตั้งจิตไว้ที่นิมิตนั่นแหละ ถ้าเธอฝืนบังคับจิตไปจากนิมิต สมาธิอาจจะเสียได้ ถ้านิมิตปรากฏอยู่ห่างไปจากหน้าเธอ ยังไม่ต้องใส่ใจ
ที่นิมิตนั้น เพราะนิมิตอาจหายไปได้ ถ้าเธอไม่ใส่ใจนิมิต แต่เพียรวางจิตไว้ที่ ลมหายใจ ณ จุดที่ลมกระทบ ในไม่ช้าเธอจะพบว่า นิมิตกลับมาปรากฏ ณ จุดที่ลมกระทบเอง เมื่อนิมิตปรากฏ ณ จุดที่ลมหายใจกระทบ และนิมิตนั้นตั้งมั่นดี และปรากฏราวกับว่านิมิตคือลมหายใจ และลมหายใจคือนิมิต ดังนี้ ก็ไม่ ต้องใส่ใจที่ลมหายใจอีก พึงวางจิตไว้ที่นิมิตนั้น การเปลี่ยนความใส่ใจจาก ลมหายใจไปวางจิตไว้ที่นิมิตในวาระเช่นนี้ จึงจะเกิดความก้าวหน้าต่อไปได้ และเมื่อเธอประคองจิตให้อยู่แต่ที่นิมิตได้อย่างต่อเนื่อง เธอจะพบว่านิมิต ปรากฏขาวขึ้น ขาวขึ้น และเมื่อนิมิตมีสีขาวราวปุยส�ำลี นิมิตเช่นนี้เรียกว่า อุคคหนิมิต จากนี้เธอพึงอธิษฐานวางจิตอย่างสงบไว้ที่อุคคหนิมิตสีขาวนั้นสักสอง หรือสามชั่วโมง ถ้าเธอสามารถตรึงจิตให้อยู่ที่อุคคหนิมิตได้ราวหนึ่ง หรือสอง ชั่วโมง เธอจะพบว่านิมิตใสสว่างจ้าขึ้น นิมิตลักษณะนี้เรียกว่า ปฏิภาคนิมิต เมื่อถึงจุดนี้ เธอควรอธิษฐานวางจิตไว้ที่ปฏิภาคนิมิตราวหนึ่ง - สองหรือสาม ชั่วโมงอย่างติดต่อต่อเนื่องตามเวลาที่อธิษฐานไว้ พึงฝึกจนกว่าจะท�ำได้ดี เมื่อปฏิบัติถึงระดับนี้ เธอจะได้บรรลุอุปจารสมาธิหรืออัปปนาสมาธิ อุปจารสมาธิเป็นสมาธิระดับที่อยู่ติดและอยู่ก่อนเข้าถึงอัปปนาสมาธิ อัปปนา สมาธิเป็นสมาธิระดับฌาน ทั้งอุปจารสมาธิและอัปปนาสมาธิมีปฏิภาคนิมิต เป็นอารมณ์กัมมัฏฐานเหมือนกัน ข้อแตกต่างระหว่างสมาธิสองระดับนี้คือ ในระดับอุปจารสมาธิ องค์ฌานทั้งหลายยังไม่เกิดก�ำลัง คือยังไม่บรรลุถึง ก�ำลังแห่งภาวนา เมื่ออุปจารสมาธิเกิดขึ้นยังเป็นสมาธิที่ไม่มั่นคง บางทีจิตก็ ท�ำนิมิตให้เป็นอารมณ์ บางทีก็ตกสู่ภวังค์ ขึ้นๆลงๆอยู่ (มีอาการเหมือนเด็ก ล้มๆลุกๆ) ผู้ปฏิบัติบางท่านประสบกับภาวะตกภวังค์ ก็กล่าวว่า ทุกสิ่งดับ หมด และอาจคิดว่าสภาวะนี้คือพระนิพพาน โดยที่แท้จิตไม่ได้ดับ แต่เป็น
32
เพราะผู้ปฏิบัติท่านนั้นยังไม่มีความช�ำนาญพอที่จะก�ำหนดรู้สภาวะภวังคจิต เพราะภวังคจิตเป็นสภาวะระดับลึก เพื่อหลีกเลี่ยงการตกภวังค์ และเพื่อ เจริญสมาธิขั้นสูงต่อไป เธอจ�ำต้องรู้จักการปรุงแต่งอินทรีย์ห้า อันประกอบ ด้วย ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ และปัญญา การประคองจิตให้ตั้งมั่นที่นิมิต ปฏิภาคนิมิตต้องมีวิริยะประคองจิตให้รับรู้ปฏิภาคนิมิตแล้วๆเล่าๆได้ต่อเนื่อง ต้องมีสติเพื่อไม่ละลืมปฏิภาคนิมิต และต้องมีปัญญาเพื่อรู้ทั่วชัดในปฏิภาค นิมิต
33
ถามมา - ตอบไป
คนเดินทาง ค�ำถาม : อยากทราบความหมายของค�ำว่า "จิตว่าง" เพราะได้ยินคน พูดกันบ่อยๆ แล้วลักษณะของจิตว่างนั้นเป็นอย่างไร บางทีผมก็รู้สึกว่าตนเอง ไม่เข้าใจ ค�ำตอบ : ค�ำว่า "จิตว่าง" พวกเรามักพบหรือได้ยินบ่อยๆ และเป็น ถ้อยค�ำที่ผู้คนนิยมใช้ ทีนี้ ผู้พูดกับผู้ฟัง บางทีก็ระลึกไปในเรื่องที่ไม่เหมือนกันก็ได้ เพราะ อาศัยการตีความของแต่ละคน ท่านผู้กล่าวอาจจะหมายความไปอย่างหนึ่ง แต่ผู้ฟังก็อาจจะตีความไปอีกอย่างหนึ่ง ก็เป็นได้เพราะอาศัยเหตุปัจจัยของ ทั้งผู้พูดและผู้ฟังนั่นแหละ ขึ้นมาวินิจฉัย แต่อย่างน้อยๆ ค�ำว่า "จิตว่าง" นี้ก็ตอบโจทย์ผู้คนได้มากมาย เพราะโดยปกติ ผู้คนเขาก็มักเดือดร้อนกับความฟุ้งซ่านอันติดตามมาด้วย ความร�ำคาญใจของเขาอยู่กันเป็นอันมาก พอผู้ฟังได้ฟังค�ำว่า "จิตว่าง" ขึ้น ก็นึกถึงอะไรๆ ที่มันกลัดกลุ้มอยู่ในจิต คงจะโล่งออกไป ก็เลยฟังดูว่า น่าจะ ดีเพราะตอนนี้ ข้าพเจ้ายุ่งหัวใจเสียจริงๆ มันกลุ้มรุมเหลือเกิน อย่างนี้เป็นต้น เพียงอาศัยบัญญัติค�ำๆนี้ ก็กระท�ำความรู้สึกให้ผู้คนอยากจะจิตว่าง ขึ้นมาเป็นอันมาก ก็เลยระลึกขึ้นในอาการต่างๆ เช่นบ้างก็คิดว่า "โอหนอ ผู้คนที่เขาปฏิบัติธรรมมามาก เขาคงไม่มีอะไรให้คิด ให้นึกเลยทีเดียว จิต ของเขาคงจะว่างเปล่าปราศจากอารมณ์ คงจะนิ่งและสงบ เป็นสุขเป็นแน่ แต่บัดนี้เรานั้นช่างเดือดร้อนเหลือเกิน จะท�ำอย่างไรดี" และเชื่อได้ว่า คนโดยมากคิดแบบนี้ เวลาใครมาบ่นร�ำพันความไม่ สบายใจ ความกลัดกลุ้มของเขาให้เราฟัง เราก็กลายเป็นบัณฑิตขึ้นมาทันที บอกกะเขาด้วยความหวังดีว่า "นี่แน่ะท่านผู้เจริญ ท่านจงท�ำให้ 'จิตว่าง'
34
เสียบ้างนะ จะได้เป็นสุข" เชื่อเถิดว่า รับรองว่าบุคคลที่ก�ำลังฟังค�ำกล่าวนั้นๆ จากเรา แม้จะรู้ว่าดี แต่ก็คงต้องเข้าถึงความกระอักกระอ่วนใจโดยแท้ เพราะว่าเขาคงอยากจะถามว่า "ใครเล่าหนอ ที่อยากจะ 'จิตวุ่น' ข้าพเจ้าก็อยากจะ 'จิตว่าง' กะเขาเหมือนกันนั่นแหละ" ทีนี้ จะท�ำอย่างไร จะท�ำให้เขาจิตว่างได้ ก็ไม่ได้บอกแก่เขา ข้อเท็จจริงก็คือ แล้วจะให้คนเรานั้นไปสั่งจิตเอาตามปรารถนาได้หรือไร ? เพราะว่า บุคคลในโลก แม้รู้ทั้งรู้ ก็ท�ำไม่ได้เป็นอันมาก ไม่ได้อยาก เสียใจ แต่ก็ยังต้องเสียใจ ไม่อยากโกรธ ก็ยังต้องโกรธอยู่ ไม่อยากซึมเศร้า หดหู่ ก็ยังซึมเศร้าหดหู่กันมากมายนัก ไม่อยากร้องไห้ แต่ก็ยังต้องร้องไห้กัน อยู่ในโลกเป็นอันมาก ถ้อยค�ำที่ผู้บอกๆ ไปแบบนั้น อาจจะเป็นก�ำปั้นทุบดิน ไปเสียก็ได้ และอีกค�ำกล่าวหนึ่งยอดนิยมของพวกเรา ที่มักจะนิยมน�ำไปใช้ และแนะน�ำคนอื่นๆ ก็ได้แก่ ค�ำว่า "ไม่ยึดมั่นถือมั่น" เช่นไปกล่าวแนะน�ำว่า "นี่แน่ะท่านผู้เจริญ ท่านอย่าไปยึดมัน่ ถือมัน่ เรือ่ งหญิงภรรยาน้อยคนนัน้ เลยนะ ปล่อยสามีของท่านไปอยู่กับเขาเสียเถิด นึกว่าท�ำบุญ ท่านจะได้สบายใจหาก ท่านไม่ยึดมั่นแล้วท่านจะไม่เดือดร้อน" พวกเรา เมื่อพูดออกไปอย่างนี้ ก็ คิดว่า นี้เป็นค�ำกล่าวที่ฟังดูดีมากทีเดียว ก็แต่ว่าใครเล่าอยากยึดมั่นถือมั่น? รู้ทั้งรู้ แต่ใจมันก็ละไม่ได้ อยากจะละใจจะขาด แต่ละไม่ได้เอาเสียจริงๆ ช่างเป็นทุกข์เหลือเกิน ทีนี้เวลาเราบอกแก่คนอื่นๆ เราก็ไม่ได้แนะน�ำ "วิธี ละ" ให้แก่เขาไว้ด้วย ก็ชื่อว่า แนะน�ำ"ผล" ให้เขาไปท�ำเป็น"เหตุ" ขึ้นมา ก็จะ กลายเป็นว่าไปแนะน�ำกลับหัวกลับท้ายขึน้ มาได้ การละความยึดมัน่ ถือมัน่ นัน้ พึงทราบว่าเป็นผลของปัญญา ปัญญาเห็นโทษของการยึดถืออารมณ์ เห็นโทษ ของอารมณ์หากตนหลงไปยึดถือเข้า เมือ่ เข้าใจแล้ว ย่อมไม่ถอื เอาไว้อกี ย่อมละ ย่อมวางลงไป และท่านก็แสดงว่าผลนั้นต้องเกิดจากเหตุ บุคคลพึงท�ำเหตุที่ดี เข้าไว้ ต่อไปผลก็จะดี ดังนี้
35
ทีนี้ หากใครจะไปแนะน�ำให้คนอื่นให้เอา "ผล คือ ความไม่ยึดมั่น" นี้ ไปท�ำเป็นเหตุแทน บุคคลที่เราแนะน�ำก็ไม่สามารถจะน�ำเอาไปท�ำได้ เพราะ เขาไม่รู้จักวิธี คือ ไม่รู้เหตุ ดังนั้นผู้ที่จะแนะน�ำก็พึงแนะน�ำเหตุที่จะท�ำให้จิต ว่างด้วยคือ พึงแนะน�ำวิธีละความยึดมั่นถือมั่นให้แก่เขาด้วย จึงจะเหมาะสม เพราะมิฉะนั้น ก็อาจจะกลายเป็นว่า ไปท�ำให้เขาจิตวุ่นมากขึ้นไปอีก คือเกิด ความวุ่นวายมากกว่าเดิม อาทิเช่น เมื่อเขาฟังแล้วเขาท�ำไม่ได้ เขาก็ยิ่งฟุ้งซ่าน เข้าไปใหญ่ ด้วยคิดว่า คนอื่นเขาช่างโชคดีหนอ ท�ำจิตว่างได้ เรานี้ช่างอาภัพ เหลือเกิน ช่างเศร้าใจนัก จึงกลายเป็นว่าผู้แนะน�ำท�ำให้เขาซึมเศร้ามากกว่า เดิมแบบนี้ก็มีเหมือนกัน หรือไม่ผู้ฟังก็เกิดขัดเคืองผู้แนะน�ำขึ้นมา คิดว่า "ก็ ใครมันอยากจะ 'จิตวุ่น' กันเล่า? เราก็อยากจะจิตว่างเหมือนกันนั่นแหละ คน ไม่เป็นอย่างเรา ก็พูดได้ซิ คนไม่เจอเหมือนเรา ก็เอาแต่พูดๆ วันหลังคอยดูตา ของท่านบ้างเถอะ ไม่เจอบ้าง ก็ให้มันรู้ไป" แบบนี้ก็มี พึงทราบว่าบัณฑิตมีปกติปรารภเหตุ คนมีกิเลสปรารภผล ยิ่งเอาผล ไปท�ำเป็นเหตุแล้วนั้น บุคคลย่อมจะไม่เข้าถึงความส�ำเร็จได้เลย ดังนั้น ค�ำว่า "จิตว่าง"นั้น หมายถึง ว่างจาก"ตัณหาและทิฏฐิ” คือพ้น จากความส�ำคัญมั่นหมายว่านี้เป็นเรา เป็นของๆเราแล้ว เพราะบุคคลยังมี ความเห็นผิด ใจถึงได้เดือดร้อนเอาเสียมากมาย ด้วยความหลงรักและชิงชัง จิตใจจึงเต็มไปด้วยความกระสับกระส่ายและฟุ้งซ่านด้วยปรารถนาอารมณ์ นั้นๆ บ้าง หรือด้วยพยาบาทเศร้าหมองหดหู่ จึงผลักใสต่อต้านบ้าง การงาน ทั้งสองอย่างนี้ในจิตใจ เกิดด้วยอ�ำนาจโลภะ ที่ใฝ่แสวงหาอารมณ์ที่ตนชอบใจ หรือผูกพันกับอารมณ์ที่ดีใดๆ ในโลก และเกิดด้วยอ�ำนาจของโทสะ ที่คอย ผลักไสประทุษร้ายอารมณ์ หากกิเลสทั้งสองเกิดขึ้นมากมายในจิตใจของผู้ ใดแล้ว ผู้นั้นย่อมกระสับกระส่ายฟุ้งซ่านร�ำคาญใจเป็นอันมาก ถึงกับนอนไม่ หลับก็มี
36
ก็แต่ว่าผู้ที่หมดสิ้นกิเลสทั้งสองไปแล้ว ก็มีแต่พระอรหันต์เท่านั้น หมายความว่าจิตของท่านนั้น ว่างจากกิเลส หมดสิ้นความฟุ้งซ่านไปแล้วและ กิเลสอื่นๆ ไปแล้วโดยเด็ดขาด ส่วนพระอริยะเบื้องต�่ำที่ท�ำลายทิฏฐิ เป็นต้น ไปแล้ว ท่านก็ไม่เดือดร้อนเพราะกิเลสที่ท�ำให้ท่านฟุ้งซ่านร�ำคาญใจจนกระ สับกระส่ายนั้นย่อมไม่มี เพราะท่านเห็นแจ้งไปในขันธ์ห้าแล้ว ท่านมีปัญญา ท�ำลายความเห็นผิดในขันธ์ห้าแล้วได้ จึงไม่เดือดร้อน แม้จะมีความฟุ้งซ่าน อยู่ แต่ก็ไม่ฟุ้งซ่านที่ท�ำให้กระสับกระส่าย ไม่สบายใจเหมือนปุถุชน หรือแม้ ในบรรดาปุถุชนผู้มีปัญญาได้ฟังพระธรรมเทศนาแล้ว ปัญญาที่เข้าอกเข้าใจ เห็นโทษของอารมณ์นนั้ ก็เกิดขึน้ เมือ่ ปัญญาทีแ่ ยบคายเกิดขึน้ มาแล้ว ก็ละอารมณ์ นัน้ ๆไป เพราะเห็นโทษของการสืบต่อบาปด้วยความยึดถือในอารมณ์แม้เหล่า นั้น ก็ท�ำให้ละวางไปได้ แม้จะยังละไม่ได้เด็ดขาด แต่ก็ไม่ท�ำให้เดือดร้อน มากมายจนเกินก�ำลัง ก็ย่อมยุติความฟุ้งซ่านเกินระดับนั้นลงไปได้ ท�ำให้โล่ง ใจขึ้นมา นั่นหมายถึงว่า บุคคลนั้นจะต้องได้ฟังธรรมอันชี้แสดงเหตุและผลให้ เป็นปัจจัยแก่ปัญญาของตนแล้วนั่นแหละ ปัญญาจึงจะระงับดับไฟสุมทรวง ไปได้ นี้ชื่อว่า “เหตุ” ที่บุคคลได้กระท�ำแล้ว คือ การฟังธรรมอันประกอบ เหตุผล รู้คุณ รู้โทษของอารมณ์ รู้ประโยชน์มิใช่ประโยชน์ รู้ว่าสิ่งใด จิตใจ ควรใส่ใจลึกซึ้ง สิ่งใดไม่ควรใส่ใจลึกซึ้ง จึงวางใจไว้ด้วยความแยบคายขึ้นมา จิตเลยไม่กระสับกระส่ายฟุ้งซ่านจนเกินระดับ ผลจึงเกิดขึ้นเพราะอาศัยเหตุ คือ การได้ฟังธรรมที่ประกอบเหตุผล กระจ่างใจขึ้นมาแล้ว จึงเกิดปัญญามา ละได้ วางได้ในคราวนั้นนั่นเอง ทีนี้โดยมาก ค�ำว่าจิตว่างที่เข้าใจกันโดยมาก คงอาจจะหมายถึง คน ที่ท�ำสมาธิ ก็เป็นได้ เพราะจิตที่เป็นสมาธิที่แนบแน่นนั้น นิ่งมาก ก็เลยกล่าว ว่า"จิตว่าง" บางท่านอาจถึงกับส�ำคัญว่านัน่ แหละพระนิพพาน อย่างนีก้ ม็ ี
37
เพราะธรรมชาติของจิตนั้น ต้องมีอารมณ์เป็นปัจจัย คือจิตต้องเกิดขึ้นมารู้ อารมณ์ นี่ธรรมชาติของจิตเขาเป็นแบบนี้ เป็นธรรมดา ดังนั้น ค�ำว่า"จิตว่าง" ผู้ที่ใช้ หรือผู้ที่ได้ฟัง ในยามเอามาพิจารณานั้น สมควรต้องเข้าใจว่า หมายถึงอย่างไรด้วย? หากหมายถึง "จิตนิ่ง" ก็ได้แก่ จิตที่เป็นสมาธิ มีอารมณ์เดียวจับนิ่งอยู่ ไม่ย้ายอารมณ์ ตรงนั้น ก็อาจจะไม่สมควรใช้ค�ำว่า "ว่าง" เพราะอาจจะฟังดู คลุมเคลือมากเหมือนกัน ด้วยเหตุนั้น ผู้ที่ถามมา หวังว่า คงจะพอเข้าใจเหตุ และผลบ้างแล้ว พระองค์ทรงสรรเสริญธรรมที่ชื่อว่าปัญญา เพราะดับทุกข์ได้จริง ดัง นั้น การฟังธรรมที่ได้เหตุผลจริงๆ ก็สามารถเป็นปัจจัยให้เกิดปัญญาสัมมา ทิฏฐิขึ้นมา จึงระงับดับความหลงไปแบบผิดๆ ได้ แม้จะไม่ถอนรากถอนโคน ก็ท�ำให้ไม่ฟุ้งซ่านเต็มไปด้วยความถือมั่นในแบบผิดๆ เหมือนคราวก่อนนั้นได้ ปัญญาสัมมาทิฏฐิแม้นี้ก็นับว่ามีอุปการะมาก ส่วนจิตที่เป็นสมาธิที่ดูเหมือน ว่าจิตว่างนั้น ก็ใช้การข่มความฟุ้งซ่านไว้ชั่วคราว แต่หากบุคคลมีความฟุ้งซ่าน มาก ก็ท�ำสมาธิไม่ได้ ที่แน่ๆแม้จะมีสมาธิจับนิ่งอยู่ จิตนั้นก็ไม่ว่างจากอารมณ์ เลย แต่อารมณ์ ณ ที่ตรงนั้นก็เป็นอารมณ์ของจิตที่เป็นสมาธินั่นเอง ด้วยเหตุนั้น บัญญัติที่ว่า "ว่าง" อาจจะท�ำให้ "วุ่น" ขึ้นมาเสียก็ได้ เพราะผู้พูดก็ส�ำคัญอย่างหนึ่ง ส่วนผู้ฟังก็ตีความกันไปอีกอย่างหนึ่ง ก็จะกลาย เป็นการถกเถียงกันขึ้นมา พึงทราบว่า แม้ค�ำที่กล่าวว่า "จิตว่าง" นั้นก็เป็นเพียง "บัญญัติ" หากฟังแล้วเข้าใจเหตุ เข้าใจผล ก็นับว่าเป็นเรื่องที่ดี หากแต่การที่บุคคลจะ ถือเอาด้วยความส�ำคัญมั่นหมาย ก็อาจจะไม่มีผลที่ดีเกิดขึ้น เพราะอาจจะ ท�ำให้ตนเองหรือคนที่ฟังจิตวุ่นวายมากขึ้น เพราะความไม่เข้าใจแล้วน�ำไปถก เถียงกันขึ้นมา เพราะค�ำว่า "จิตว่าง" ในที่ตรงนั้น สมควรจะเป็นสภาวธรรม
38
ที่จิตนั้นมีปัญญาเกิดขึ้นมาละวางอุปาทานความเห็นผิดไป คือ ว่างจากความ ยึดมั่นถือมั่นว่า นี้เป็นเรา ว่าของๆ เรา ซึ่งสภาวธรรมแบบนี้ ชื่อว่าก็เป็น ผล ที่คนทั่วไปเอาไปท�ำเป็นเหตุไม่ได้ ต้องรู้เหตุที่สมควรแก่ผลนั้นเสียก่อน แล้วลงมือกระท�ำขึ้นมา ได้แก่การเดินไปตามแนวทางของอริยมรรคมีองค์แปด ที่พระพุทธองค์ทรงสั่งสอนเอาไว้ หรือแม้แต่การฟังธรรมที่ประกอบเหตุผล อันกระท�ำให้ผู้ฟังกระจ่างใจขึ้นมา เป็นเหตุ จึงท�ำให้เกิดปัญญาเห็นถูกต้องได้ เป็นผลเบื้องต้นขึ้นมา แม้จะยังไม่เด็ดขาดแต่ก็มีผลมาก เราท่าน จึงไม่พึงแนะน�ำให้ใครๆอื่น เอา"ผล" ไปท�ำเป็น"เหตุ" ด้วยเหตุนี้ ในยามที่จะแนะน�ำใครๆ จึงสมควรอธิบายวิธีที่จะ "ละ" ด้วยธรรม อันที่จะเป็น "เหตุ" ให้แก่ผู้ฟังด้วย เมื่อนั้น ผู้ที่ได้ยินได้ฟังก็จะเข้าใจปฏิบัติได้ถูกต้อง หรือ วางใจได้ถูก ต้อง ชื่อว่าได้ท�ำเหตุอันสมควรแล้ว จึงสัมฤทธิ์ผลที่จะท�ำให้เกิดการละวาง ความเห็นผิดที่รุนแรงนั้น จนจิตใจว่างจากความยึดมั่นถือมั่นขึ้นมา ด้วย อ�ำนาจของปัญญา เพราะเหตุนั้นแลเรื่องบัญญัติทั้งหลายในโลกนั้น ชื่อว่า ไม่มีวันที่จะ จบได้เลย หากไม่แยบคาย ก็จะว้าวุ่น ยิ่งหากบัญญัตินั้นๆ ไม่มีสภาวะรับรอง แล้ว ก็จะเป็นที่โต้เถียงกันในหมู่ผู้ที่ไปให้ความสนใจในตัวบัญญัติเสียมากมาย เลยกลายเป็นแบ่งแยก กลายเป็นฝ่าย กลายเป็นพวกขึ้นมา จนกระทั่งถึงน�ำ ไปเป็นเรื่องทะเลาะวิวาทกันได้ ไปทั้งโลกเหมือนกัน
39
ข่าวประชาสัมพันธ์
- ขอเชิญสาธุชนร่วมสวดมนต์ทำ� วัตรแปล สาธยายพระปริตร เจริญจิตภาวนา แผ่เมตตา ฟังธรรมบรรยาย ร่วมกับคณะสงฆ์วัดจากแดง ณ ศาลาท�ำบุญ ทุกวันอาทิตย์ และวันพระ เวลา ๐๙.๐๐ - ๑๐.๔๕ น. ๑๒.๑๕ - ๑๓.๐๐ น. ณ วิหารหลวงพ่อหิน ทุกวัน เวลา ๑๗.๓๐ - ๑๙.๐๐ น. - ขอเชิญร่วมบูชาพระเจดีย์ ทุกวันอาทิตย์ และวันพระ เพื่อร่วมสืบสานประเพณีอนั ดีงามของ บัณฑิตทั้งหลาย เวลา ๑๙.๐๐ - ๑๙.๔๐ น. ถือศีล ๘ ในวันพระ - ขอเชิญรับฟังรายการธรรมะทางวิทยุชุมชนเพื่อพระพุทธศาสนาและสังคม วัดจากแดง คลื่นเอฟเอ็ม 96.75 MHz ได้ ทุกวันตั้งแต่เวลา ๐๔.๐๐ - ๒๓.๐๐ น. ข่าวดีสำ� หรับผูใ้ ช้ Internet ท่านสามารถรับฟังวิทยุชุมชนเพื่อพระพุทธศาสนาและ สังคม วัดจากแดงในระบบ Online ได้ ท่ี www.bodhiyalai.org
40
รายนามเจ้าภาพภัตตาหาร เดือนมีนาคม ๒๕๕๖ ๏ พระครูธรรมธรสุมนต์ นนฺทิโก ๏ หม่อมหลวงสุพิชาน์ ทองใหญ่ และครอบครัว ๏ อาจารย์อิศริยา นุตสาระ และคณะ ๏ แพทย์หญิงสดใส เวชชาชีวะ ๏ คุณแม่เสงี่ยม ศรีอนันต์ และครอบครัว ๏ คุณกิ่งกาญจน์ อารักษ์พุทธนันท์ ๏ คุณศุภมาศ เผ่าธัญลักษณ์ ๏ คณะอาจารย์ธรรม นิยมกิจสัมฤทธิ์ ๏ คุณศิริอร วัดล้อม ๏ คุณกุลชลี พจน์ชัยจงดี ๏ คุณประภาศรี วู ๏ คุณอัจฉรีย์ ใจอารีย์ ๏ คุณอาภรณ์ - คุณประพันธ์ - คุณอังคนา ชนานนท์ ๏ คุณสมชาย ยืนยง ๏ คุณร�ำไพ บรรเริงศรี ๏ คุณศุภมาส ฟูทองรอด - คุณสมพร ปัญญาอินทรีย์ ๏ คุณอารีย์ วงศรี ๏ บริษัท TILLEKE & BIBBINS International LTD. ๏ คุณสุณี บวรวัฒนวานิช อุทิศให้คุณแม่ซู้เค็ง แซ่ตั้ง ๏ คุณสุรศักดิ์ อนันตริยวงศ์ - คุณแสงโสม บุญคุ้มสวัสดิ์ ๏ คุณพ่อสมชาย - คุณแม่วรรณี คุณกันต์กนิษฐ และครอบครัวจงยิ่งยศ ๏ คุณวิมลวรรณ ศฤงคารินทร์ ๏ คุณแดง ตั้งสิริวัฒนา และญาติ ๏ คุณหมอศรชัย วีรมโนมัย ท�ำบุญอุทิศให้ คุณพ่อฮั้ง แซ่เบ๊ ๏ คุณส�ำเนียง อ้นไชยะ อุทิศให้นายพหล อ้นไชยะ ๏ ร้อยเอกนุกูล - คุณน�้ำทิพย์ คูวงษ์ ๏ บริษัท นวพรลักษณ์ จ�ำกัด - คุณราตรี โมคทิพย์ ๏ คุณอรชร โควาวิสารัช
๏ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี ๏ ชุมนุมพุทธธรรมศิริราช คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล กลุ่มผู้เรียนทศบารมี และผู้มีกุศลจิต ๏ ครอบครัวเผือกประเสริฐ - ฟูทองรอด ๏ คุณสุรศักดิ์ จินาพันธ์ ๏ คุณเสริมสุข ปัทมสถาน ๏ ครอบครัวงามสันติสุข, ครอบครัวฉวีวาณิชยกุล ครอบครัวมุมทอง, ครอบครัวเฟื่องจินดาวงศ์, ครอบครัวสรสรรเสริญ ๏ คุณมนูญ - รศ.นงนารถ เดชณรงค์ และครอบครัว คุณอภิชาติ - คุณโสภา สุขุมาลจันทร์ และครอบครัว ๏ คุณชัญญาพร เขจรดวง - คุณสุภาภรณ์ เชาวกิจ คุณสุดาภรณ์ ต่วนชะเอม - คุณฉัฐกนก วาณิชกรพิพัฒน์ คุณจิรายุ งามพรชัย ๏ คุณสรณา จิรารัตน์สกุล ๏ ครอบครัวสรรค์ชีวะกุล ๏ คุณจิตรา จิตติพันธ์พรณี ๏ คุณวัชรินทร์ - คุณอาภาพร - คุณญาดา เยี้ยเทศ ๏ คุณมาลัย แตงตาด ๏ คุณชวลี ศิริประวัติกุล ๏ คุณฮั้ง แซ่เบ๊ - นางจู แซ่ลิ้ม พร้อมบุตรหลาน ๏ คุณเตช - คุณยาใจ บุนนาค ๏ คุณกิตติชัย อึ้งอร่าม ๏ คุณสุภาวดี อึ้งรังษี ๏ คุณชู่เอ้ง ๏ หจก. เอสเคคลีนซิสเต็มแอนด์เซอร์วิส (คุณสมเกียรติ ศรีวิไลชาติ) ๏ คุณสมชัยภัทร์ อนันตริยานุกูล และครอบครัว ท�ำบุญอุทิศให้บรรพบุรุษ ๏ นางสมพร ปัญญาอินทร์ ๏ คุณจงเจริญ กฤษณามระ
41
รายนามเจ้าภาพภัตตาหาร เดือนเมษายน ๒๕๕๖ ๏ พระครูธรรมธรสุมนต์ นนฺทิโก ๏ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี ๏ หม่อมหลวงสุพิชาน์ ทองใหญ่ และครอบครัว ๏ ชุมนุมพุทธธรรมศิริราช คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ๏ อาจารย์อิศริยา นุตสาระ และคณะ กลุ่มผู้เรียนทศบารมี และผู้มีกุศลจิต ๏ แพทย์หญิงสดใส เวชชาชีวะ ๏ ครอบครัวเผือกประเสริฐ - ฟูทองรอด ๏ คุณแม่เสงี่ยม ศรีอนันต์ และครอบครัว ๏ คุณสุรศักดิ์ จินาพันธ์ ๏ คุณกิ่งกาญจน์ อารักษ์พุทธนันท์ ๏ คุณเสริมสุข ปัทมสถาน ๏ คณะอาจารย์ธรรม นิยมกิจสัมฤทธิ์ ๏ ครอบครัวงามสันติสุข, ครอบครัวฉวีวาณิชยกุล ๏ คุณศิริอร วัดล้อม ครอบครัวมุมทอง, ครอบครัวเฟื่องจินดาวงศ์, ๏ คุณกุลชลี พจน์ชัยจงดี ครอบครัวสรสรรเสริญ ๏ คุณประภาศรี วู ๏ รายการแสงธรรมเพื่อชีวิต อ.สนธิชัย ทวีโชคทรัพย์สิน ๏ คุณสมชาย ยืนยง และคุณสุทิน อินทรชัย ๏ คุณพรไพเราะ ตันติกุลสุนทร ๏ คุณชัญญาพร เขจรดวง - คุณสุภาภรณ์ เชาวกิจ ๏ ครอบครัวกุลโชติ คุณสุดาภรณ์ ต่วนชะเอม - คุณฉัฐกนก วาณิชกรพิพัฒน์ ๏ คุณฆฤน พิศาลจ�ำเริญ และคุณภคกุล คุณจิรายุ งามพรชัย ๏ คุณสดับพิณ กฤดานรากรณ์ ๏ คุณสรณา จิรารัตน์สกุล ๏ คุณแม่ฮั้งไห้ แซ่จิว ๏ คุณอุษณีย์ แดเนียล, คุณนนทวรรณ บุณยนิตย์ ๏ คุณธนภร เดชธนาวัจน์ คุณอัญญ์พิชา - คุณณรินทร์ภัทร์ บุณยวีรพันธ์ ๏ คุณอรุจจ์ เกิดเสวียน - คุณโบว์ จินกนกรัตน์ ๏ คุณอัจฉรี - คุณไพโรจน์ - คุณอภิญญา บุนนาค ๏ คุณวรภาส มหัทธโนบล ๏ คุณภาพร มหัทธโนบล ๏ คุณภาณุ มหัทธโนบล ๏ คุณจันทรา มหัทธโนบล ๏ แม่ชีส�ำเนียง ชมพล ท�ำบุญอุทิศให้มารดา ๏ คุณวัชรินทร์ - คุณอาภาพร - คุณญาดา เยี้ยเทศ ๏ คุณวิมลวรรณ ศฤงคารินทร์ ๏ คุณมาลัย แตงตาด ๏ คุณแดง ตั้งสิริวัฒนา และครอบครัว ๏ คุณฐิติทิพย์ - คุณพรชัย ธรรมเรืองชัย ๏ คุณใบ ศีลตระกูล ๏ คุณชิดชัย - คุณสุภาพร ตั้งสุขสว่างพร คุณบุญชัย - คุณปัทมา ธรรมาวจานุคุปต์ ๏ คุณวรรณา กิติมหาคุณ - คุณนฤเบศ อิสรานุมาศ ๏ คุณโฆษิตา โรจน์ทินกร คุณมาลี รัศมีแพทย์ ๏ ครอบครัวเยาวสุต ท�ำบุญอุทิศให้ พต.ตรีธา เยาวสุต ๏ คุณศรันย์ธร ๏ คุณบังอร อาภาแจ่มใส ๏ คุณจุฑามาศ - คุณอมร รุจิราวรรณ ๏ คุณเยาวดี กลับเจริญ ๏ นายแพทย์ศรชัย วีรมโนมัย ๏ คุณศรีสุวัฒน์ เอี่ยมเจริญ ท�ำบุญอุทิศให้ คุณพ่อฮั้ง แซ่เบ๊ ๏ คุณศิริรัตน์ สโรชานค์ ๏ คุณแสงเดือน ขจรค�ำ ๏ คุณกนกวรรณ ชาติพราหมณ์ อุทิศให้นายสุริยัน ดีแก้ว ๏ คุณฐาติกมล ปัญญาอินทร์ ๏ คุณอูเมียวติ้ง - คุณดอมอมิ่ง ๏ คุณโจว ลี่ เจีย (ZHOU LI JIA) ๏ ครอบครัววัฒนพฤกษ์ ๏ คุณสมพงษ์ - คุณอัจฉรา อภิชาติประคัลภ์และครอบครัว ๏ คุณชมัยพร รุ่งฤทธิไกร
42
รายนามเจ้าภาพร่วมจัดพิมพ์จุลสารโพธิยาลัย ฉบับที่ ๑๖ - ๑๗ เดือนมีนาคม - เมษายน ๒๕๕๖
๏ พระมหาชัยพร เขมาภิรโต ๕๐๐ บาท ๏ พระสังคีต สงฺคีตวโร ๕๐๐ บาท ๏ ชมรมพุทธธรรมรามค�ำแหง ๑,๕๐๐ บาท ๏ Mr. Hsi-Yuan, Wu. และครอบครัว ๑,๐๐๐ บาท ๏ คณะจิตอาสาปรีชาศรีนครินทร์ ๒๐๐ บาท ๏ ครอบครัวชินกนกรัตน์ ๑,๐๐๐ บาท ๏ คุณสัมฤทธิ์ - คุณเบญจวรรณ บุญอุทิศ ๑,๐๐๐ บาท
๏ คุณประพันธ์ ตั้งเมตไตรย์ ๔,๐๐๐ บาท ๏ คุณประสพสันติ์-คุณรัตนา-คุณจิรภัทร ศิริจิตร และครอบครัว Union Mall ๓,๐๐๐ บาท ๏ คุณอารี มุสิกะพุกก์ ๑,๐๐๐ บาท ๏ คุณโชคดี - คุณละมัย ภาคอารีย์ และครอบครัว ๑,๐๐๐ บาท ๏ คุณสรณา จิรารัตน์สกุล ๑,๐๐๐ บาท
รายนามเจ้าภาพน�้ำปานะและอื่นๆ เดือนมีนาคม - เมษายน ๒๕๕๖
๏ พระการุณย์ กุสลนนฺโท ๏ คุณทิพพา วันวิเวก + (ไอศครีม) ๏ หม่อมหลวงสุพิชาน์ ทองใหญ่ ๏ พลโทนรวีร์ - คุณเสริมสุข ปัทมสถาน ๏ พล.ต.ต. สพรั่ง - คุณณัทภรณ์ อุณปาทร ๏ คุณชวลิต - คุณลลิญตา ปรีตะนนท์ ๏ คุณทวีชัย - กัลยาณี คงเจริญสุขยิ่ง ๏ คุณศิริอร วัดล้อม ๏ คุณกุลชลี พจน์ชัยจงดี ๏ ครอบครัวต้นชนะชัย ๏ คุณรุ่งเรือง รื่นรมย์ ๏ คุณวิไล สีสรรพ์ ๏ คุณศิริพร ศรีทอง ๏ นิตย์ นาครัตน์ ๏ คุณประภาศรี วู
๏ ชมรมพุทธธรรมรามค�ำแหง ๏ คุณแม่เสงี่ยม ศรีอนันต์ และครอบครัว ๏ คุณณรงค์ศักดิ์ เตชะไกรศรี ๏ อาจารย์วัชรินทร์ - คุณอาภาพร เยี้ยเทศ ๏ ครอบครัวเฟื่องจินดาวงศ์ ๏ คุณผกาศรี เล็กสกุลชัย ๏ อาจารย์นิคม - อาจารย์ปิยะจิต ทาแดง ๏ คุณเพ็ญศรี บุญญรัตน์ และคณะ ๏ คุณธัชวัตร ตั้งกุลธร ๏ คุณนิจิตกร ทิพรัตน์ ๏ คุณสมลักษณ์ แซ่ไหล ๏ คุณมารุต - คุณนารีรัตน์ - คุณภูดิศ อุทัยนา ๏ คุณรัตนา พรรัตน์พันธุ์ และครอบครัว ๏ คุณสรณา จิรารัตน์สกุล
43
44