3
บทน�ำ
ขอความสุขสวัสดีจงมีแด่ท่านผู้อ่านจุลสารโพธิยาลัยทุกๆท่าน ก่อนอื่นคณะผู้จัดท�ำจุลสารฯ ต้องขออภัยท่านผู้อ่านทุกท่านที่เว้น ช่วงในการจัดท�ำจุลสารฯอยู่นานพอสมควร ด้วยเหตุปัจจัยหลายประการ จุลสารฯฉบับนี้จึงเป็นฉบับควบรวมเดือนกันยายน - พฤศจิกายน ซึ่ง เนื้อหายังคงอัดแน่นไปด้วยธรรมะที่มีคุณค่า มีประโยชน์ต่อท่านผู้อ่านทุกๆ ท่านเช่นเดิม และตั้งแต่ฉบับนี้เป็นต้นไปจะมีการปรับปรุงรูปโฉมจุลสารฯใหม่ โดยได้ รับความอนุเคราะห์จากชมรมอนุรักษ์ธรรม ที่อาสามาช่วยจัดรูปเล่มให้ เพื่อ ให้ทันสมัย น่าอ่าน น่าติดตามยิ่งๆขึ้น เรียกได้ว่าคณะผู้จัดท�ำฯ พยายาม ที่จะพัฒนาจุลสารฯฉบับนี้อยู่ตลอดเวลา เพื่อมอบเป็นบรรณาการแด่ท่านผู้ อ่านที่ให้การสนับสนุนเป็นอย่างดีเสมอมา จุลสารฯฉบับนี้ได้ประมวลภาพกิจกรรมทอดกฐินของชาวพุทธไทย และชาวพุทธพม่าที่จัดขึ้นในวันที่ ๒๐ ตุลาคมที่ผ่านมาด้วย กล่าวได้ว่าในวัน งานกฐินมีพุทธศาสนิกชนทั้งชาวไทย และชาวพม่า อยู่ในวัดจากแดงมากถึง เกือบ ๕,๐๐๐ คนเลยทีเดียว และในการนี้ยังได้รับความเมตตาจากรองสมเด็จ พระสังฆราชจากประเทศสหภาพพม่า มาแสดงธรรมโปรดพุทธศาสนิกชน ชาวพม่าอีกด้วย นับว่าเป็นสิริมงคลอย่างยิ่ง ในช่วงนี้เหตุการณ์บ้านเมืองไม่ค่อยสงบนัก ทางคณะผู้จัดฯท�ำจึงขอ เชิญทุกท่านหมั่นจิตเจริญภาวนา เพื่อเพิ่มพูนปัญญา มีสติในการพิจารณา เหตุการณ์ต่างๆอย่างรอบคอบ น�ำหลักธรรมค�ำสั่งสอนขององค์สมเด็จ พระสัมมาสัมพุทธเจ้ามาใช้เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองและผู้อื่น เพื่อให้เกิดความสงบร่มเย็นของตน และสังคมรอบข้างอย่างยั่งยืน คณะผู้จัดท�ำ bodhiyalai.magazine@gmail.com
6
ความผิดหวัง
ปิยโสภณ ชีวิตมนุษย์มีของคู่กันเสมอ เหมือนมีหญิงคู่กับชาย มีดินคู่กับน�้ำ มีพระอาทิตย์คู่กับพระจันทร์ มีกลางวันคู่กับกลางคืน มีสุขคู่กับทุกข์ มีนินทาคู่กับสรรเสริญ มีสมหวังคู่กับผิดหวัง สิ่งเหล่านี้เป็นพลังของชีวิต ไม่ใช่อุปสรรคปัญหา เหมือนขั้วบวกกับขั้วลบของไฟฟ้า เหมือนหยินกับหยาง ชีวิตใครบ้างที่พบแต่ความสมหวังอย่างเดียว ไม่เคยผิดหวังเลย ฉะนั้นเมื่อคราวผิดหวัง ขอนึกถึงคราวสมหวัง และเมื่อคราวสมหวัง ขอให้นึกถึงว่าอาจผิดหวังได้ ในคราวได้ก็ให้รีบนึกถึงการสูญเสียบ้าง จะท�ำให้จิตใจของเรามีสติ ไม่ประมาท ไม่ดีใจเกินไป ไม่เสียใจเกินไป การมีคู่ของสิ่งต่างๆ จึงไม่ต่างอะไรกับชีวิตของเรา คราวประสบ เคราะห์ร้าย ล้มเหลวในชีวิต ก็อย่าเพิ่งโทษตัวเอง อย่าคิดท�ำร้ายตัวเอง ให้พยายามคิดทางที่เป็นคุณ ตั้งสติให้ได้ อย่าคิดว่าเราต้องได้อย่างเดียว อย่าคิดว่าท�ำไมเราจึงเป็นคนโชคร้ายเช่นนี้ คนอื่นไม่เห็นมีใครโชคร้ายเหมือน เราเลย การคิดในเชิงลบด้านเดียว จะท�ำให้จิตใจของเราตกต�่ำด�ำดิ่งลงไปสู่ หายนะได้เร็ว บางคนตัง้ สติไม่ทนั ถึงขนาดท�ำร้ายชีวติ ตัวเองหรือคนอืน่ ได้งา่ ยๆ เยาวชนที่รัก เรื่องนี้เป็นเรื่องใหญ่มากส�ำหรับคนหนุ่มสาว ข้าพเจ้า ต้องการอยากให้สติคนรุ่นใหม่ที่มักใจเร็วด่วนได้ว่า "ความผิดหวังในชีวิตของ ท่าน ยังน้อยกว่าความผิดหวังในชีวิตของพ่อแม่เราหลายร้อยเท่า" เพราะท่าน เริ่มต้นสร้างชีวิตเรา สร้างบ้าน สร้างหน้าที่การงาน หาข้าวปลาอาหารมา ป้อนเข้าปากเราจนเติบโตถึงทุกวันนี้ ท่านพบทั้งความสมหวังและผิดหวัง หากเราท�ำอะไรพลาดพลั้งไป คิดดูสิว่าใครจะผิดหวังมากไปกว่าเรา ทุกข์เพียงน้อยนิดยังอดทนไม่ได้ จะไปคิดมีคู่ครองได้อย่างไร ผิดหวังนิด เดียวก็คิดท�ำลาย จะไปคิดครอบครองหัวใจใครได้อย่างไร ความรักเป็นสิ่งที่
7
ดี ความใจเร็วด่วนได้ต่างหาก ที่ท�ำลายความรัก การไม่อดทนอดกลั้นต่อ กันต่างหาก คือกรรไกรตัดความรักให้ขาดสะบั้น ลองคิดทบทวนใหม่ดูเถอะ ว่าชีวิตที่ผ่านมา วันเวลาที่ผ่านไป เราได้ท�ำอะไรที่เป็นการฝึกใจของเราบ้าง เราได้ท�ำอะไรที่ขัดเกลาใจของเราบ้าง นอกจากการเอาแต่ใจตัว เอาตัวเอง เป็นศูนย์กลางของโลก หากคิดได้ ก็ขอให้ปรับปรุงแก้ไข แล้วความผิดหวังก็ จะเป็นคุณต่อชีวิตเราอย่างน่าอัศจรรย์
ปะฐะมัง นะ ปะราชิโต สิปปัง ทุติยัง นะ ปะราชิโต ธะนัง ตะติยัง นะ ปะราชิโต ธัมมัง จะตุตถัง กิง กะริสสะติ
"หากไม่แสวงหาศิลปะวิชาในปฐมวัย ไม่แสวงหาทรัพย์สินในมัชฌิมวัย ไม่แสวงหาธรรมในปัจฉิมวัย แล้วจักท�ำอะไรได้ในวัยแก่หง่อม"
8
ดับร้อน ตอนที่ ๔ (ตอนจบ)
ประณีต ก้องสมุทร (ต่อจากฉบับที่แล้ว) ในครั้งที่แล้วได้กล่าวถึง วิธีดับไฟคือราคะ โดยการใช้ธรรมะคือ สันโดษ และพรหมวิหาร คือ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา ในครั้งนี้จึงจะขอ กล่าวถึงวิธีดับไฟคือโทสะ ดังนี้ จาก อาฆาตวินยสูตรที่ ๑ อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต ข้อ ๑๖๑ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถึงวิธีดับไฟคือโทสะ ไว้ถึง ๕ อย่างคือ ๑.เมื่อความอาฆาตเกิดขึ้นในบุคคลใด พึงเจริญเมตตา ในบุคคลนั้น ๒.เมื่อความอาฆาตเกิดขึ้นในบุคคลใด พึงเจริญกรุณา ในบุคคลนั้น ๓.เมื่อความอาฆาตเกิดขึ้นในบุคคลใด พึงเจริญอุเบกขา ในบุคคลนั้น ๔.เมื่อความอาฆาตเกิดขึ้นในบุคคลใด ไม่พึงเอาใจใส่นึกถึงบุคคลนั้น ๕.เมื่อความอาฆาตเกิดขึ้นในบุคคลใด พึงนึกถึงกรรมของบุคคลนั้นว่า บุคคลนั้นมีกรรมเป็นของตน เป็นทายาทผู้รับผลของกรรม มีกรรมเป็นก�ำเนิด มีกรรมเป็นพวกพ้องเผ่าพันธุ์ มีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย ท�ำกรรมใดดีหรือชั่ว จักเป็นผู้รับผลของกรรมนั้น แม้ท่านพระสารีบุตร อัครสาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าก็ได้แสดงวิธี ระงับความอาฆาตในบุคคลที่เราไม่ชอบใจ ไม่พอใจไว้ ๕ ประการ คือ (จากอาฆาตวินยสูตรที่ ๒ อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต ข้อ ๑๖๒)
๑. บางคนมีความประพฤติทางกายไม่บริสุทธิ์ แต่ทางวาจาบริสุทธิ์ พึงระงับความอาฆาตในบุคคลแม้เช่นนี้ ๒. บางคนมีความประพฤติทางวาจาไม่บริสุทธิ์ แต่ทางกายบริสุทธิ์ พึงระงับความอาฆาตในบุคคลแม้เช่นนี้ ๓. บางคนมีความประพฤติทางกายและวาจาไม่บริสทุ ธิ์ แต่มคี วาม สงบใจ มีความเลือ่ มใสในกาลอันสมควร พึงระงับความอาฆาตในบุคคลแม้เช่นนี้
9
๔. บางคนมีความประพฤติทางกายและทางวาจาไม่บริสุทธิ์ และไม่ได้ ความสงบใจ พึงระงับความอาฆาตในบุคคลแม้เช่นนี้ ๕. บางคนมีความประพฤติทางกายและทางวาจาบริสุทธิ์ ได้ความ สงบใจ ได้ความเลื่อมใสโดยกาลอันสมควร พึงระงับความอาฆาตในบุคคลแม้ เช่นนี้ ท่านพระสารีบุตร ท่านสอนให้พิจารณาแต่การกระท�ำในส่วนดี ของผู้ที่เราไม่ชอบใจ ซึ่งมีอยู่ ๓ ทางคือ ทางกาย ทางวาจา และทางใจ คือ ความสงบใจ ว่าบุคคลนั้นคงจะมีความดีทางใดทางหนึ่ง แล้วให้อาศัยความดี ส่วนนั้นของเขาเป็นเครื่องระงับความไม่ชอบใจของเราเสีย เช่นบางคนชอบ ฆ่าสัตว์ เบียดเบียนสัตว์ แต่รักความจริงพูดจริงเสมอ เราโกรธคนเช่นนั้น เราก็ต้องระงับความโกรธของเราโดยดูแต่วาจาจริงของเขา ดังนี้เป็นต้น อุปมาเหมือนคนเดินทางไกล เหน็ดเหนื่อย เมื่อยล้า กระหายน�้ำ ได้มาพบบ่อน�้ำที่เต็มไปด้วยจอกแหนปกคลุมไว้ ก็ใช้มือแหวกจอกแหนออกไป เสีย แล้วกอบน�้ำขึ้นดื่มแก้กระหายลูบเนื้อลูบตัวให้คลายร้อน ฉันใดก็ฉันนั้น ถ้าเราเมินการกระท�ำที่ไม่ดีของเขาเสีย แล้วดูแต่การกระท�ำที่ดี เราก็จะ สามารถบรรเทาความโกรธ ความอาฆาต แล้วเกิดเมตตาในบุคคลนั้นได้ ส่วนคนที่ไม่มีอะไรดีทั้ง ๓ ทาง เราก็สามารถกรุณาเขาได้ว่า เขาเป็น คนน่าสงสาร เป็นคนขาดที่พึ่งขาดผู้ที่จะคอยอบรมสั่งสอนให้เขาประพฤติดี ทั้งไม่มีโอกาสได้พบหรือคบหากับสัตบุรุษ คนที่ขาดที่พึ่งอย่างนี้ น่าสงสารนัก ควรที่เราจะกรุณาสงสาร ไม่โกรธตอบ แล้วชักจูงแนะน�ำให้เขาท�ำแต่ความดี เพื่อว่าเขาจะได้พ้นจากอบาย คนชนิดนี้ไม่ผิดกับคนไข้หนัก ไร้ที่พึ่งพิง ต้องเดินทางไกลแต่ล�ำพัง ขาดทั้งคนพยาบาล และอาหารที่ถูกกับโรค จุดหมายปลายทางก็อยู่ไกล ไม่มีทางที่เขาจะไปถึงได้ แต่มีคนเดินทางไกลบางคนมาพบเขาเข้า ก็เกิด กรุณาว่า ขอคนไข้คนนี้อย่าได้ตายเสียเลย แล้วก็สงเคราะห์เขาด้วยอาหาร
10
และช่วยพยาบาลดูแลพาไปส่งถึงที่หมาย ขอเราจงเป็นเหมือนคนเดินทางไกล ผู้มีน�้ำใจกรุณานั้นเถิด ส�ำหรับคนที่ดีพร้อมทั้งกาย วาจา ใจนั้น ถ้าเราโกรธเขา เราควรระงับ ความโกรธในบุคคลนั้นด้วยความดีพร้อมของเขา ให้ระลึกว่า คนที่ดีพร้อมนั้น เหมือนสระน�้ำใสสะอาด เย็นจืดสนิท มีท่าน�้ำที่ราบเรียบ ร่มเย็นไปด้วยเงา ไม้ใหญ่ ที่ขึ้นอยู่รอบสระนั้น คนเดินทางไกลที่เหนื่อยอ่อน เมื่อยล้า กระหาย น�้ำ ได้มาพบเข้า ก็ย่อมถือเอาประโยชน์จากสระน�้ำนั้น ด้วยการก้าวลงสู่สระ อาบบ้าง ดื่มบ้าง แล้วขึ้นมาพักผ่อน นั่งนอนอยู่ภายใต้ร่มไม้ในบริเวณนั้น ได้รับความสุขสบายฉันใด แม้เราเองก็จงเป็นเหมือนคนเดินทางไกล ที่ได้รับ ประโยชน์สุขจากสระน�้ำนั้น ฉันนั้น ด้วยการไม่โกรธตอบ ท่านผู้ดีพร้อมแล้ว นั้น เข้าไปคบหาสมาคมกับท่าน ประพฤติตามท่าน เพื่อว่าเราจะได้เป็นคนที่ ดีพร้อมอย่างท่านบ้าง นี่คือวิธีดับไฟคือโทสะ วิธีดับไฟคือโมหะนั้นอย่างไร คนที่มีโมหะมาก โง่ หลงใหล งมงายนั้นไม่สามารถแก้ได้ด้วยธรรมอื่น เว้นเสียแต่ ปัญญา ความรอบรู้ พิจารณาใคร่ครวญให้รอบคอบ ก็ปัญญาจะเกิดขึ้นได้นั้น ต้องอาศัยการเข้าไปคบหาสมาคมกับท่านผู้ รู้ ฟังค�ำสั่งสอนของท่าน ไตร่ตรองตามธรรมที่ท่านสอน ปฏิบัติธรรมตาม สมควรแก่ธรรม คนเราถ้าเพียงเข้าไปคบหาบัณฑิตท่านผู้ รู้แต่ไม่ฟังธรรมของท่าน ก็ไม่เกิดประโยชน์อันใด แม้ฟังแล้วสักแต่ว่าฟัง ไม่เอาใจใส่หรือไตร่ตรองแล้ว เข้าใจแล้วไม่ปฏิบัติตาม ก็ไม่เกิดประโยชน์เช่นกัน เพราะฉะนั้นคนเราที่จะพ้น จากความโง่ ความหลงได้จึงต้องอาศัยเครื่องประกอบ ๔ ประการ ดังกล่าว แล้ว ผู้ที่ดับไฟ ๓ กองนี้ให้เบาบางลง แล้วบ�ำเพ็ญกุศลอันไม่มีโทษ มีใจ ประกอบด้วยเมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา ในสัตว์ทั้งหลายทุกหมู่เหล่า
11
เป็นผู้ไม่มีเวร ไม่มีพยาบาท ไม่มีความเศร้าหมอง ย่อมได้รับความอุ่น ใจสบายใจ ๔ ประการ ในปัจจุบันว่า (จากเกสปุตตสูตร อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต ข้อ๕๐๖) ๑. ถ้าโลกหน้ามีจริง ผลวิบากของกรรมดีกรรมชั่ว มีการที่เราจะเข้า ถึงสุคติโลกสวรรค์ เมื่อตายแล้วมีเหตุที่เป็นไปได้ ๒. ถ้าโลกหน้าไม่มี ผลวิบากของกรรมดีกรรมชั่วไม่มี เราก็ได้ท�ำตัวเรา ให้ไม่มีเวร ไม่มีภัย ไม่มีพยาบาท ไม่มีทุกข์ อยู่เป็นสุขในปัจจุบัน ๓. ถ้าว่าเมื่อบุคคลท�ำบาปชื่อว่าท�ำบาป เราก็ไม่ได้จงใจท�ำบาปแก่ใคร เมื่อเราไม่ท�ำบาปความทุกข์จะมีแก่เราได้อย่างไร ๔. ถ้าว่าบุคคลท�ำบาป ไม่ชื่อว่าท�ำบาป เราก็พิจารณาเห็นว่า ตัว เราเป็นผู้บริสุทธิ์ทั้งสองส่วน (คือบริสุทธิ์จากการชื่อว่าท�ำบาป และไม่ชื่อว่า ท�ำบาป ตามความเชื่อถือของคนบางพวก เพราะเราไม่ได้ท�ำบาป) แต่การดับไฟ ๓ กอง ตามวิธีที่กล่าวแล้ว เป็นเพียงการดับราคะ โทสะ โมหะ ให้บรรเทาเบาบางลงชั่วคราวเท่านั้น หาดับให้หมดเชื้อโดยสิ้นเชิงไม่ หากมีเหตุปัจจัยเมื่อใด ไฟ ๓ กองนี้ก็เกิดขึ้นได้อีก และจะติดตามไปเกิดแก่ เราในทุกภพทุกชาติ ตราบเท่าที่ยังต้องเกิดอยู่ ความร้อนที่เกิดจากไฟย่อมเผาไหม้สิ่งทั้งหลายให้เป็นจุณวิจุณไป ตราบที่ยังไม่สิ้นเชื้อฉันใด ความร้อนที่เกิดจากกิเลส ก็ย่อมเผาไหม้จิตใจของ ผู้ที่มีกิเลสให้เร่าร้อนอยู่เป็นนิจ ตราบเท่าที่ยังท�ำลายกิเลสให้หมดสิ้นเชิงไม่ได้ ฉันนั้น พระพุทธองค์ตรัสไว้ในคาถาธรรมบท ชราวรรค ข้อ ๒๑ ว่า เมื่อโลกสันนิวาส อันไฟลุกโพลงอยู่เป็นนิตย์ พวกเรายังร่าเริงบันเทิง อะไรกันหนอ เธอทั้งหลายอันความมืดปกคลุมแล้ว ท�ำไมจึงไม่แสวงหา ประทีปเล่า
12
ซึ่งมีความหมายว่า เมื่อโลกคือรูปนามขันธ์ ๕ ของเรานี้ ถูกไฟ ๑๑ กอง คือ ราคะ โทสะ โมหะ ชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกขะ โทมนัส และอุปายาส เผาไหม้อยู่เป็นนิตย์ มานานแสนนาน เหตุไรจึงมัวร่าเริงบันเทิง ใจกันอยู่ในเมื่อเราทั้งหลายถูกความมืด คืออวิชชาความไม่รู้ปกคลุมแล้ว เหตุใดจึงไม่แสวงหาประทีป คือญาณปัญญา ก�ำจัดอวิชชาความมืดนั้นเสียเล่า เพราะฉะนั้นเราจึงต้องหาวิธีดับไฟเหล่านี้ให้สิ้นเชื้อ หมดความร้อน ไม่มาไหม้เราได้อีกต่อไป วิธีดับไฟให้สิ้นเชื้อนั้นพระพุทธองค์ทรงสอนไว้แล้วนั่นคือ ทรงสอนให้ เจริญสติปัฏฐาน ๔ หรืออริยมรรคมีองค์ ๘ ที่เรียกว่า มัชฌิมาปฏิปทา อันเป็น ทางสายเอกสายเดียวที่ให้บรรลุนิพพาน ท�ำลายราคะ โทสะ และโมหะ ให้สิ้น เชื้อ นั่นคือ ทรงสอนให้ก�ำหนดรู้สภาพธรรมทั้งหลาย รวมทั้งราคะ โทสะ โมหะ ตามความเป็นจริง เมื่อสภาพธรรมใดๆเกิดขึ้น ก็ให้มีสติและปัญญาระลึกรู้ อยู่ที่ ลักษณะของสภาพธรรมนั้นๆ ตามความเป็นจริง เมื่อระลึกรู้อยู่อย่างนี้บ่อยๆ เนืองๆ ก็จะท�ำลายความเห็นผิดว่าธรรมเหล่านั้นเป็นเรา เป็นของเราเสียได้ เมื่อท�ำลายความเห็นผิด ก้าวข้ามความสงสัยได้จริงๆเมื่อใด เมื่อนั้นก็จะ เปลี่ยนจากปุถุชนผู้หนาด้วยกิเลส มาเป็นพระอริยบุคคลชั้นต้น ที่ชื่อว่าพระ โสดาบัน ผู้ท�ำลายการเกิดในภพใหม่ ให้เหลือเพียง ๗ ชาติเป็นอย่างมาก ผู้เจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ มาจนได้ส�ำเร็จเป็นพระโสดาบันแล้ว ย่อม ไม่เป็นการยาก ที่จะเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ต่อไป เพื่อเป็นพระสกทาคามี พระอนาคามี และพระอรหันต์ในที่สุด เมื่อใดที่ท่านได้เป็นพระอรหันต์ เมื่อนั้นท่านได้ดับไฟคือ ราคะ โทสะ โมหะ ที่อยู่ในใจได้หมดสิ้นแล้ว ราคะ โทสะ โมหะ ไม่มีโอกาสเกิดแก่ท่าน
13
ได้อีกต่อไป ใจของท่านเย็นสนิท ไม่ว่าใครจะยั่วยวน ยั่วยุด่าว่า ฆ่าตีอย่างไร ไฟเหล่านั้นจะไม่ก�ำเริบขึ้นอีก เพราะท่านได้ดับไฟเหล่านั้นเสียแล้วด้วยน�้ำ อมฤตคือ อริยมรรค อันมีนิพพานเป็นอารมณ์ ท่านที่ต้องการพบกับความเย็นสนิท จึงควรได้ดับไฟ ๓ กองนี้เสีย ตามวิธีที่พระพุทธเจ้าตรัสสอนไว้ เมื่อไฟ ๓ กองนี้ดับสนิทแล้ว ความร้อนกาย ร้อนใจจะไม่เกิดแก่ท่านเลย เราจงมาดับไฟกันเถิด นตฺถิ ราคสโม อคฺคิ นตฺถิ โทสสโม คโห นตฺถิ โมหสมํ ชาลํ นตฺถิ ตณฺหาสมา นที ไฟเสมอด้วยราคะไม่มี ผู้จับเสมอด้วยโทสะไม่มี ข่ายเสมอด้วยโมหะ ไม่มี แม่น�้ำเสมอด้วยตัณหาไม่มี
14
เล่าให้อ่าน เขียนให้ฟัง ตอน"บุญ"
เขมา เขมะ ขอความสุขสวัสดี จงมีแด่ท่านผุู้อ่านจุลสารโพธิยาลัยทุกท่าน ในช่วงที่ผ่านมาหากท่านใดมีโอกาสได้ออกไปต่างจังหวัด ก็จะเห็น กองคาราวานบุญกฐินซึ่งมีความคึกคักเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะเมื่อจอด แวะพักที่ปั๊มน�้ำมันในช่วงวันหยุดเสาร์ - อาทิตย์ ก็จะเห็นรถที่จอดกันอย่าง เนืองแน่นภายในรถก็จะมีต้นกฐินต้นใหญ่บ้าง เล็กบ้างมากมายเต็มไปหมด เรียกว่าเป็นฤดูกาลท�ำบุญกฐินเลยก็ว่าได้ หากสอบถามก็จะได้ความว่าไป ท�ำบุญวัดโน้น วัดนี้ บางคนบางท่านก็ไปหลายๆวัด เดินสายท�ำบุญกฐินตลอด ทั้งเดือน เพราะกฐินนั้น ๑ ปี สามารถท�ำได้เพียง ๑ เดือน และ ๑ วัดท�ำได้ เพียงครั้งเดียว จึงเป็นเหตุให้พุทธศาสนิกชนขวนขวายในบุญกุศลเป็นอันมาก เราในฐานะพุทธศาสนิกชน ล้วนแล้วแต่เป็นผู้มีความต้องการบุญ ขวนขวายในบุญกุศลทั้งนั้น ก็ควรที่จะเข้าใจในค�ำว่าบุญเสียก่อน ว่าบุญคือ อะไร มีอะไรบ้าง ค�ำว่า "บุญ" นั้นเป็นภาษาบาฬี มีรากศัพท์มาจาก ปุ ธาตุ ปวเณ ในอรรถการช�ำระ ถามว่าช�ำระอะไร ก็ช�ำระอกุศลมูล ๓ คือโลภะ โทสะ โมหะ อันเป็นเหตุน�ำมาซึ่งความทุกข์ทั้งปวง ฉะนั้นหากเมื่อใดที่เราท�ำบุญ นั่นจงเข้าใจว่าเราก�ำลังท�ำการช�ำระ จิตใจให้ใสสะอาด ปราศจากกิเลสเครื่องเศร้าหมอง จิตใจย่อมมีความผ่องใส เบาสบายเป็นผล "บุญ" จึงหมายถึงอากัปกิริยาการกระท�ำการช�ำระบาปออกจากจิตใจ ของผู้กระท�ำนั่นเอง บุญในทางพระพุทธศาสนาท่านแสดงไว้อย่างมากมายหลายระดับ ตั้งแต่ระดับเบื้องต้นมีทาน ศีล ภาวนาเป็นต้น จนถึงระดับสูงสุดคือมรรค ผล นิพพาน
15
ในที่นี้ ผู้เขียนจะขอยกถึงบุญที่กระท�ำได้อย่างง่าย มี ๑๐ ประการ ที่ท่านแสดงไว้ในพระไตรปิฎก (พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ หน้า ๓๘๗ อรรถกถาปุญญกิริยาวัตถุสูตร)
บุญกิริยาวัตถุ มี ๑๐ ประการคือ ๑. ทานมัย บุญส�ำเร็จได้ด้วยการให้ทาน ได้แก่เจตนาที่จะบริจาคสิ่ง ของๆตนแก่ผู้อื่น ด้วยปรารภที่จะอนุเคราะห์ หรือบูชาแก่บุคคลที่ควรบูชา ตลอดจนก�ำลังกาย สติปัญญา ความรู้ความสามารถเพื่อให้เกิดประโยชน์แก่ ผู้อื่นโดยส่วนรวม รวมถึงการละกิเลสคือ โลภะ โทสะ โมหะออกจากจิตใจ จนถึงการสละชีวิตอันเป็นสิ่งที่มีค่าที่สุด เพื่อการปฏิบัติธรรม ๒. สีลมัย บุญส�ำเร็จได้ด้วยการรักษาศีล ได้แก่เจตนาที่เป็นไป แล้วแก่บุคคลที่สมาทานศีล ๕ ศีล ๘ หรือศีล ๑๐ หรืออาจจะหมายถึงการ รักษากายวาจาให้เรียบร้อย การรักษาศีลเป็นการฝึกฝนมิให้ไปเบียดเบียน ผู้อื่น ในขณะเดียวกันก็เป็นการลด ละ เลิกความชั่ว มุ่งให้กระท�ำความดี อันเป็นการพัฒนาคุณภาพชีวิต มิให้ตกต�่ำลง ๓. ภาวนามัย บุญส�ำเร็จได้ด้วยการเจริญภาวนา หมายถึงการมุ่ง ที่จะพัฒนาจิตใจให้สงบด้วยสมถะและวิปัสสนา เป็นการเจริญปัญญาให้เห็น คุณค่าของสิง่ ต่างๆตามความเป็นจริง ถือว่าเป็นบุญสูงสุดในทางพระพุทธศาสนา ๔. อปจายนมัย บุญส�ำเร็จได้ด้วยการประพฤติอ่อนน้อมถ่อมตน หมายถึงเจตนาทีก่ ระท�ำความนับถือเป็นอันมากต่อท่านผูใ้ หญ่ โดยวัย และคุณ ด้วยอัธยาศัยไม่เศร้าหมอง (ไม่มีผลประโยชน์แอบแฝง) ปราศจากการหวังผล ตอบแทน ๕. เวยยาวัจจมัย บุญส�ำเร็จได้ดว้ ยการขวยขวายกระท�ำในกิจทีช่ อบ ได้แก่เจตนาที่ประกอบการให้ความช่วยเหลือแก่ผู้อื่น สังคมรอบข้าง ในการ กระท�ำกิจคือความดีต่างๆ เช่นช่วยงานพ่อแม่ ครู อาจารย์ ตลอดจนผู้มี คุณธรรม
16
๖. ปัตติทานมัย บุญส�ำเร็จได้ด้วยการแบ่งส่วนบุญ หมายถึง เจตนา ที่จะอุทิศส่วนบุญกุศลให้แก่ผู้ล่วงลับไปแล้ว หรือแม้แต่เจตนาที่เปิดโอกาส ให้ผู้อื่นร่วมกระท�ำบุญร่วมกับเรา เช่นเมื่อได้ท�ำคุณงาม ความดี ก็เปิดโอกาส ให้ผู้อื่นร่วมท�ำด้วย ไม่ปิดกั้น ไม่หวงกิจกรรมนั้นแต่ผู้เดียว ๗. ปัตตานุโมทนามัย บุญส�ำเร็จได้ด้วยการอนุโมทนาบุญ หมาย ถึง การเป็นผู้มีความยินดี ยอมรับหรือยินดีในความดีของบุคคลอื่น เมื่อใคร ไปท�ำความดีมา ก็รู้สึกชื่นชมยินดีด้วย ไม่คิดอิจฉาริษยา หรือระแวงสงสัยใน การกระท�ำความดีของผู้อื่น ๘. ธัมมัสสวนมัย บุญส�ำเร็จได้ด้วยการฟังธรรม หมายถึงการฟังธรรม ฟังในเรื่องที่ดี มีประโยชน์ทั้งต่อสติปัญญา และการด�ำเนินชีวิต เป็นเหตุให้ สามารถยกระดับจิตใจให้สูงขึ้น โดยจะไปฟังที่วัด หรือฟังตามเครื่องบันทึก เสียงที่มีอยู่อย่างมากมายในปัจจุบันก็ได้ ๙. ธัมมเทศนามัย บุญส�ำเร็จได้ด้วยการแสดงธรรม หมายถึง การแสดงธรรมะ หรือให้ข้อคิดที่ดีๆ ที่ เป็นประโยชน์ต่อผู้อื่น เช่นสอนวิธีการ ปฏิบัติธรรม สอนวิธีการรักษาศีล แม้แต่สอนให้กระท�ำคุณงามความดีต่างๆ ๑๐. ทิฏฐุชุกรรม บุญส�ำเร็จได้ด้วยการท�ำความเห็นให้ตรง หมายถึง ท�ำความเห็นให้ถูกต้อง เข้าใจในหลักอริยสัจ ๔ เห็นไตรลักษณ์ รู้กุศล และ อกุศล เข้าใจในปฏิจจสมุปบาท ฉะนั้นบุญในทางพระพุทธศาสนานั้นมีมากมาย ไม่จ�ำเพาะแต่บุญจาก การให้ทานตามที่เข้าใจกันมานาน สามารถเลือกท�ำได้ในทุกโอกาส และบุญ นั้นไม่จ�ำเป็นต้องใช้สตางค์ในการกระท�ำแต่อย่างใด เราทุกคนเกิดมาก็อาศัยบุญ มีกนิ มีใช้ มีอตั ภาพเป็นไปก็เพราะบุญ และบุญนีเ่ องเป็นเสบียงทีเ่ ราจะน�ำไปใช้ในโลกหน้าและในสังสารวัฏยาวนานได้
"หากท่านไม่ท�ำบุญ แล้วท่านจะท�ำอะไร" 17
ชายรับจ้างตักน�้ำ
อภิรตภิกฺขุ ชายคนหนึ่งเกิดในตระกูลอันยากจน ต้องท�ำงานหาเลี้ยงชีพด้วยการ รับจ้างตักน�้ำ ชีวิตความเป็นอยู่ของเขานั้นเป็นไปด้วยความความยากล�ำบาก เมื่อเติบโตมีครอบครัวก็ได้หญิงยากจนมาเป็นภรรยา ทั้งสองคนก็ช่วยกัน รับจ้างตักน�้ำ ใช้ชีวิตอย่างฝืดเคือง แต่ก็อดทน ไม่ย่อท้อต่อความยากล�ำบาก อยู่มาวันหนึ่ง เมืองพาราณสีมีมหรสพ มหาชนต่างพากันสนใจ ภรรยา ของเขาจึงถามชายหนุ่มว่า มีเงินพอที่จะไปร่วมเล่นมหรสพกับเขาบ้างหรือ ไม่ สามีตอบว่ามีอยู่ครึ่งมาสก ได้รับมาจากการรับจ้างตักน�้ำ และเก็บซ่อน ไว้ที่ซอกอิฐใกล้ประตูเมือง ส่วนภรรยานั้นก็มีทรัพย์อยู่ครึ่งมาสกเช่นกัน เมื่อ มารวมกันเป็นหนึ่งมาสก พอร่วมเล่นมหรสพกับเขาได้ โดยเอาส่วนหนึ่งซื้อ ดอกไม้ อีกส่วนหนึ่งซื้อของหอมและอีกส่วนหนึ่งซื้อสุรา ชายคนนัน้ ดีใจทีจ่ ะได้รว่ มเล่นมหรสพกับภรรยาและประชาชนคนอืน่ ๆ จึงออกวิ่งไปเอาเงินครึ่งมาสกที่ตนซ่อนเอาไว้อย่างร่าเริง แม้จะเป็นการ วิ่งท่ามกลางแสงแดดแผดจ้า และดินทรายร้อนระอุตอนเที่ยงวัน เมื่อเขา เดินผ่านพระราชวัง พระราชาเปิดสีหบัญชรประทับยืนอยู่เห็นชายคนนั้น ทรงด�ำริว่า อะไรหนอท�ำให้ชายผู้นี้ไม่ย่อท้อต่อลมแดด เดินผ่านพื้นที่อันร้อน ระอุเช่นนี้ได้ จึงรับสั่งให้ราชบุรุษน�ำตัวมาตรัสถามว่า "แผ่นดินดารดาษไปด้วยทรายร้อนระอุเช่นนี้ เจ้าเดินเหมือนไม่รู้สึก อะไรเลย ขับเพลงอยู่ได้ แสงแดดไม่แผดเผาเจ้าดอกหรือ" เขากราบทูลว่า "มหาราช แดดหาแผดเผาข้าพระองค์ไม่ แต่กิเลสกาม และวัตถุกามย่อมเผาข้าพระองค์ให้เร่าร้อน ข้าพระองค์มีความต้องการหลาย อย่าง ความต้องการนั่นเองได้แผดเผาข้าพระองค์ให้วิ่งมา หาใช่แสงแดดไม่" "ความต้องการของเจ้าคืออะไร เป็นอย่างไร"
18
"ข้าแต่มหาราช ค�ำของนางอันเป็นที่รัก จับใจข้าพระองค์ยิ่งนัก ข้าพระองค์ต้องการจะท�ำความปรารถนาของนางให้เต็ม จึงฝ่าเปลวแดดไป น�ำทรัพย์มาให้นางให้จงได้ ความเร่าร้อนเพราะกามแผดเผาข้าพระองค์อยู่ จึงไม่รู้สึกถึงความร้อนแรงของแสงแดด" "บุรุษผู้บากบั่น" พระราชาตรัส "ทรัพย์ที่ท่านวิ่งไปเอานั้นคงจะมี จ�ำนวนเป็นแสนกระมัง จึงท�ำให้เจ้าไม่ค�ำนึงถึงสิ่งอื่น" "หามิได้ พระเจ้าข้า" "ถ้าเช่นนั้นก็คงมีจ�ำเป็นเป็นหมื่น" "หามิได้ พระเจ้าข้า" พระราชาตรัสถาม ลดจ�ำนวนลงเรื่อย ๆ เขาก็ปฏิเสธมาเรื่อย ๆ จนถึง กึ่งมาสก เขาจึงรับว่า ใช่แล้วพระเจ้าข้า ข้าพเจ้าต้องการทรัพย์กึ่งมาสก พระราชาทรงประหลาดพระทัยในเรื่องนี้ เพราะทรงเห็นว่าทรัพย์ จ�ำนวนน้อยเหลือเกิน ไม่สมควรแก่ความพยายาม แต่มันหาน้อยส�ำหรับคน ยากจนอย่างเขาไม่ มันมีความหมายส�ำหรับเขามาก โดยเฉพาะทรัพย์เพื่อ ความพอใจของคนที่เขารักด้วยแล้ว มันมีความหมายและความส�ำคัญเท่าชีวิต เลยทีเดียว ในที่สุด พระราชาก็ตรัสว่า "เราจะให้ทรัพย์ครึ่งมาสกแก่เจ้า อย่าต้อง เดือดร้อนเดินทางไปเลย" "ข้าแต่มหาราช ข้าพระองค์ขอรับทรัพย์ที่จะพระราชทานด้วยความ ขอบพระทัย แต่จะไม่ละความพยายามที่จะไปเอาทรัพย์ครึ่งมาสกที่ซ่อนไว้ พระเจ้าข้า" "ถ้าอย่างนั้น เราจะให้เจ้า ๑ มาสก" เขายังคงกราบทูลเหมือนเดิม พระราชาทรงเลื่อนอัตราเงินขึ้นไป เรื่อยๆ จนถึงจ�ำนวนร้อยโกฏิ แต่เขาก็ยังกราบทูลเหมือนเดิม พระราชาจึง
19
ทรงเปลี่ ย นเป็ นมอบฐานันดรศักดิ์ให้มีต�ำแหน่ ง เป็ น เศรษฐี จ นถึ ง อุ ป ราช แต่เขาก็ยังยืนยันเช่นเดิม พระราชาเสนอมอบราชสมบัติให้ครองครึ่งหนึ่ง เขาจึงยอมรับข้อ เสนอนั้น แต่ก็ยังบากบั่นไปยังที่ซ่อนทรัพย์ครึ่งมาสกนั้นจนได้ บุรุษรับจ้างมีผู้มีความตั้งใจจริงผู้นั้น เมื่อได้เป็นพระราชาแล้วทรง พระนามว่า พระเจ้าอัฒมาสก (ครึ่งมาสก) พระราชาทั้งสองคือพระเจ้าอุทัย ราชและพระเจ้าอัฒมาสกทรงสามัคคีสนิทสนมกัน ครองราชสมบัติอย่าง ผาสุกเป็นเวลานาน วันหนึ่งทั้ง ๒ พระองค์เสด็จประพาสพระราชอุทยาน พระเจ้าอุทัย ทรงเล่นกีฬาจนเหนื่อยแล้วทรงเอาพระเศียรพาดบนพระเพลาของพระเจ้า อัฒมาสกแล้วบรรทมหลับไป พวกบริวารก็พากันไปเล่นกีฬาในที่ต่างๆ ตามความปรารถนาของตน แว่บหนึ่ง พระเจ้าอัฒมาสกทรงด�ำริว่า เรื่องอะไรที่เราจะครองราช สมบัติเพียงครึ่งเดียว เราน่าจะปลงพระชนม์พระเจ้าอุทัยราชเสีย แล้วครอง ราชสมบัติแต่เพียงผู้เดียวดีกว่า ว่าแล้วก็ทรงชักพระแสงดาบออกจากฝัก แต่ทรงหวนคิดขึ้นได้ว่า เราได้ราชสมบัติ ได้ยศศักดิ์ถึงเพียงนี้ ก็เพราะพระราชาองค์นี้ การที่ เราคิดท�ำลายล้างผู้มีคุณแก่ตนเช่นนี้ เป็นการไม่สมควรเลย ท�ำให้ทรงยับยั้ง พระทัยได้ ขณะนั้นโลภเจตนาก็เกิดขึ้นอีก คิดจะปลงพระชนม์พระเจ้าอุทัย ราชอีก ท�ำเช่นนี้อยู่ ๓ ครั้ง พระทัยไม่อาจสงบลงได้ ครั้งสุดท้าย ทรงใช้ปัญญา พิจารณาว่า ความคิดอย่างนี้เกิดขึ้นบ่อย ๆ จะจูงเราให้ท�ำกรรมอันชั่วช้าได้ จึงตัดพระทัยขว้างพระแสงดาบออกไปไกลพระองค์ พระแสงดาบกระทบพื้น เป็นเหตุให้พระเจ้าอุทัยราชทรงตื่นบรรทม พระเจ้าอัฒมาสกจึงทรงหมอบที่ พระบาท เล่าเรื่องทั้งปวงให้ทรงทราบ ทูลขออภัย
20
พระเจ้าอุทัยทรงทราบความประสงค์ของพระเจ้าอัฒมาสกแล้ว ตรัสว่า "เมื่อประสงค์จะครองราชย์ทั้งหมดก็จงครองเถิด พระองค์เองจะสละ ราชสมบัติมาเป็นอุปราช คอยทะนุบ�ำรุงพระราชาเอง" พระเจ้าอัฒมาสกทรงสดับเช่นนั้นยิ่งละอายใจและเห็นพระทัยอันใส สะอาดของพระเจ้าอุทัยมากขึ้น จึงทูลว่า "ขอพระองค์ทรงครองราชย์โดยธรรมต่อไปเถิด ส่วนข้าพระองค์ จะขอลาออกบวช ข้าพระองค์เห็นว่าอันตัณหาความทะยานอยากนี้ จะน�ำ ข้าพระองค์ไปสู่อบาย ข้าพระองค์ได้เห็นต้นเค้าของกามคุณแล้ว มันเกิดจาก ความด�ำรินี่เอง" "กาม เมื่อมีน้อย ก็ไม่พอแก่มหาชน เมื่อมีมาก มหาชนก็ไม่รู้จักอิ่มไม่รู้ จักพอด้วยกาม น่าสลดใจน้อยไปหรือที่มหาชนพากันบ่นเพ้อถึงแต่เรื่องกาม มุ่งหมายเอากามเป็นสิ่งตอบแทนความเพียรพยายาม ผู้มีปัญญาประกอบ ความเพียรพึงเว้นความมุ่งหมายนั้นเสีย" พระเจ้าอัฒมาสกตัดสินพระทัยสละราชสมบัติ ออกผนวชอยู่ในป่า หิมพานต์ ด้วยความเพียรพยายาม สิ้นชีพแล้วไปสู่พรหมโลก
21
ความหมาย และวัตถุประสงค์ของการบวช
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)
ความหมายของการบวช
การบวช คือ “บรรพชา” นั้น แปลความหมายง่ายๆ ว่า เว้นสละ ละได้ทั่วๆไป หมายความว่า สละละสิ่งที่ไม่ดีไม่งาม หรือบาปอกุศลต่างๆ เป็นเรื่องของการฝึกฝนพัฒนาตนเอง เพราะว่าอกุศล สิ่งไม่ดี หรือบาป ต่างๆนั้น ไม่ใช่ว่าจะละได้ง่ายๆ บางทีละภายนอกแล้ว แต่ภายในยังละไม่ได้ ละทางกายแล้วก็ยังติดอยู่ในใจ กว่าจะละทางใจได้ต้องฝึกฝนพัฒนากันมาก การบวชนี้จึงถือว่าเป็นการฝึกฝนตนเอง คือการศึกษาในการที่จะพยายามละ หรือขจัดกิเลส สิ่งเศร้าหมองจิต ความชั่วร้ายต่างๆให้หมดไป กิเลสตัวส�ำคัญที่เด่นชัด อันจะพึงละ ก็คือความเห็นแก่ตัว ที่ท�ำให้ คนแสวงหาแต่สิ่งเสพเครื่องบ�ำรุงบ�ำเรอตัวเอง หลงละเลิงมัวเมาในกามหรือ อามิสต่างๆ และข่มเหงรังแกแย่งชิงเบียดเบียนกัน บรรพชาคือการบวช จึงมีความหมายด้วยว่า เป็นการละเว้นปลีกตัว ออกไปจากการเบียดเบียน และปลีกตัวออกจากกาม ทัง้ กิเลสกามและวัตถุกาม อีกความหมายหนึ่งที่พ่วงมาด้วยก็คือ สละเครื่องห่วงกังวลภายนอก คือทรัพย์สินเงินทอง วัตถุสิ่งของต่างๆ ไม่มีความผูกพัน ยึดติดในสิ่งเหล่านั้น ซึ่งมีความหมายต่อไปว่า จะได้มีชีวิตที่เป็นอิสระ เพราะฉะนั้น ค�ำว่า บวชนี้ จึงมีความหมายอีกอย่างหนึ่งว่า“ไปได้ทั่ว” คือเป็นอิสระ ชีวิตของพระภิกษุนั้น พระพุทธเจ้าทรงเปรียบไว้ว่าเหมือนกับนกที่ มีแต่ปีกสองปีก จะไปไหนเมื่อไรก็ไปได้ แต่เมื่อมีภาระอะไรต่างๆ ในกิจการ ของสงฆ์มากขึ้น อย่างสมัยนี้จะเห็นว่า ชักจะไปไหนไม่ค่อยได้ จึงจะต้องมีสติ เตือนตนอยู่เสมอว่า อุดมคติของชีวิตพระนั้นมุ่งสู่ความเป็นอิสระ เพื่อจะได้
22
ท�ำหน้าที่ของตนโดยไม่ต้องมีความพะวักพะวงในสิ่งต่างๆ ทั้งหมดนี้เป็นความหมายตามรูปศัพท์ แต่โยงมาหาสาระด้วย ส่วนค�ำว่า “อุปสมบท” แปลว่า การเข้าถึงภาวะที่สูงขึ้นไปคือเข้าสู่ ชีวิตในชุมชนของพระภิกษุ โดยมีการบวชที่สมบูรณ์ คือผู้บรรพชาแล้วที่ได้รับ มติเห็นชอบจากสงฆ์อีกชั้นหนึ่ง เมื่อบวชแล้ว ก็ไม่ใช่เสร็จแค่นั้นแล้วมาอยู่เฉยๆ แต่การบวชเป็นการ เริ่มต้นเท่านั้น จะต้องเพียรพยายามปฏิบัติเพื่อบรรลุผลที่เป็นจุดหมายของ การบวชต่อไป การที่จะบรรลุผลของการบวช ก็ต้องมีการ “เรียน” คือศึกษาฝึกหัด พัฒนาชีวิตของเรา ทั้งกาย วาจา จิตใจ และปัญญา ให้ดี ให้ประณีต ให้เจริญ งอกงามยิ่งๆ ขึ้นไป จนกว่าจะละบาปอกุศลได้ ชีวิตจิตใจที่บริสุทธิ์ผ่องใส เป็นอิสระ สงบสุขอย่างแท้จริงเพราะฉะนั้น จึงเรียกว่า “บวชเรียน” หมายความว่า บวชเพื่อเรียน หรือว่าการบวชก็คือ ชีวิตแห่งการเรียน “เรียน” เป็นค�ำไทยง่ายๆ หมายถึงการเรียนรู้ศึกษาฝึกหัด พัฒนาให้ชีวิตทุกด้านดีขึ้น อย่างที่พูดแล้วข้างต้น ตรงกับที่ภาษาพระเรียก ว่า “สิกขา”สาระส�ำคัญของการบวชทั้งหมดก็อยู่ที่การศึกษาอบรมที่ทางพระ เรียกว่า สิกขานี่แหละ
วัตถุประสงค์ของการบวช
การบวชแต่เดิมมีความหมายอย่างที่พูดมาแล้วข้างต้น แต่ต่อมาได้มี วิวัฒนาการทางสังคม โดยเฉพาะในสังคมไทย ซึ่งเป็นเรื่องของวัฒนธรรมของ เรา ท�ำให้การบวชมีความหมายใหม่เพิ่มขึ้นในแง่ของวัฒนธรรมไทยด้วย เนื้อหาสาระแต่เดิมของการบวช ก็คือเรื่องของการศึกษาอบรมฝึกหัดขัดเกลา ท�ำให้เป็นคนที่ดี มีคุณสมบัติต่างๆ เจริญงอกงามขึ้น จนเป็นคนที่สมบูรณ์ คนไทยแต่อดีตได้เห็นประโยชน์ของการบวช ก็จึงคิดว่าถึงแม้จะไม่
23
บวชอยู่ตลอดไป แม้แต่จะบวชชั่วคราวระยะหนึ่ง ก็เป็นประโยชน์ ที่จะช่วย ขัดเกลาให้ชีวิตเจริญงอกงามขึ้น ยิ่งเป็นผู้ที่จะอยู่รับผิดชอบสังคมต่อไป ถ้า เป็นคนไม่ได้ฝึกหัดขัดเกลา ไม่พัฒนาตนเองแล้ว ก็จะไม่สามารถรับผิดชอบ สังคม ไม่สามารถไปสร้างสรรค์สังคมได้ แต่อาจจะไปก่อปัญหาแก่สังคมด้วยซ�้ำ ถ้าเขาได้มาบวช มีการศึกษาอบรมแล้ว เป็นคนดี มีปัญญา มีจิตใจงอกงาม ก็ จะไปช่วยรับผิดชอบสร้างสรรค์สังคมได้ ต่อมาก็เลยเกิดเป็นวัฒนธรรมประเพณีขึ้นมาว่า ในสังคมไทยนี้ กุลบุตรถ้ามีโอกาสก็ควรจะบวชอย่างน้อยระยะเวลาหนึ่ง เพื่อจะได้ศึกษา อบรมตามหลักค�ำสอนของพระพุทธเจ้าเวลานี้การบวชในสังคมไทย ได้มี ความหมายหลายประการด้วยกัน อาจสรุปได้เป็น ๔ อย่าง คือ ประการที่ ๑ เป็นการท�ำหน้าที่ของพุทธศาสนิกชน หมายความว่า พุทธศาสนิกชนนั้น อยากจะช่วยกันรักษาพระพุทธศาสนาโดยรักษาพระ ธรรมวินัยให้เจริญมั่นคง เพราะว่าถ้าพระพุทธศาสนาคือ ค�ำสั่งสอนของ พระพุทธเจ้ายังด�ำรงอยู่ ก็จะเป็นประโยชน์แก่คนทั้งหลาย ช่วยให้เขามีชีวิต ที่ดีงาม และสังคมที่ร่มเย็นเป็นสุข วิธีที่ดีที่สุดในการรักษาพระพุทธศาสนา ก็คือ การบวชเข้าไปเรียนรู้พระธรรมวินัย และรักษาถ่ายทอดค�ำสั่งสอนของ พระพุทธเจ้าต่อกันไป เรียกว่า สืบต่ออายุพระพุทธศาสนา ยิ่งกว่านั้น เมื่อ เรียนรู้แล้วประพฤติตาม คือด�ำเนินชีวิตของเราตามธรรม ก็เท่ากับเอาพระ ศาสนาเข้ามาไว้ในชีวิตของเรา หรือเอาตัวเราเป็นที่รักษาพระพุทธศาสนา ถ้าท�ำได้อย่างนี้ ตราบใดที่ชาวพุทธแต่ละคนยังมีชีวิตอยู่ พระพุทธศาสนาก็ยัง อยู่ อย่างนี้แหละเรียกว่า การบวชเป็นการท�ำหน้าที่ของพุทธศาสนิกชน ประการที่ ๒ เป็นการท�ำหน้าที่ของคนไทย หมายความว่าพระพุทธ ศาสนาเข้ามาอยู่ในสังคมไทย และได้กลายเป็นมรดกของ ชนชาติไทย คนไทย ได้เห็นว่าพระพุทธศาสนาเป็นทรัพย์สมบัติที่มีค่าสูงสุดของประเทศชาติและ
24
สังคมของเรา เพราะว่าเมื่อพระพุทธศาสนาเข้ามาแล้ว ก็ให้หลักธรรมค�ำสอน ท�ำให้คนประพฤติดีงามเป็นหลักให้แก่สังคม ท�ำให้สังคมอยู่กันได้ด้วยสันติสุข มีการเบียดเบียนกันน้อยลง ถ้ามีคนดีมากกว่าคนชั่ว สังคมนี้ก็อยู่ได้ พระพุทธ ศาสนาได้ช่วยให้คนมากมายกลายเป็นคนดีขึ้นมา นอกจากช่วยในทางคุณธรรมความดีงาม ทางความประพฤติและ ทางจิตใจแล้ว ก็ยังมีประโยชน์เป็นรากฐานของวัฒนธรรมของเราด้วย แม้แต่ ภาษาของเราก็มาจากภาษาบาลี ตลอดจนภาษาสันสกฤตมากมาย ดนตรีและ ศิลปะต่างๆ ก็มาจากวัดวาอารามสิ่งทั้งหลายที่เป็นเครื่องหมายของความ เจริญงอกงามของสังคมนีม้ าจากรากฐานทางพระพุทธศาสนามากมายเหลือเกิน ด้วยเหตุผลที่ว่ามานั้น เราจึงเห็นว่า พระพุทธศาสนาเป็นสมบัติ ประจ�ำชาติของเรา ที่คนไทยควรช่วยกันรักษาสืบต่อไว้ การบวชนี้เป็นการ ช่วยรักษาพระพุทธศาสนาที่เป็นทรัพย์สมบัติของชาติ เราก็เลยตกลงว่า ให้ คนไทยได้มีโอกาสมาบวช จะได้ช่วยกันรักษาทรัพย์สมบัติของชาติไทยให้ ยั่งยืนต่อไป นั้นเป็นความหมายประการที่สองของการบวช คือการท�ำหน้าที่ ของคนไทย ประการที่ ๓ เป็นการสนองพระคุณของบิดามารดา ดังที่เราถือกันมา เป็นประเพณีว่า ถ้าใครได้บวชลูกแล้ว ก็ได้บุญได้กุศลมาก ช่วยให้พ่อแม่ได้ เกาะชายผ้าเหลืองไปสวรรค์ ตลอดจนได้เป็นญาติของพระศาสนา การบวชก็ เลยมีความหมายเป็นการตอบแทนคุณของบิดามารดาด้วย
25
อย่าหนุก กับหรอย
บินหลาดง ปัจจุบันหลายคนคงจะหลีกเลี่ยงไม่ได้กับปัญหาทางสังคมที่เกิดขึ้น ชักน�ำจิตใจให้โอนอ่อนตาม บางคนถึงกับพลอยท�ำบาปกรรมร่วมไปกับเขา ด้วย เช่นปัญหาที่เกิดความเห็นต่าง บางความเห็นผู้น�ำชักน�ำให้ฮึกเหิมตาม ในวาจาที่เป็นผรุสวาจา ใส่ร้าย ป้ายสีต่างๆนานา ส่วนหมู่ชนที่พลอยยินดี ด้วยนี่สิ คงไม่ได้คิดถึงผลกระทบที่จะตามมาในอนาคต จะขอยกอุทาหรณ์ การพลอยยินดีในบาปอกุศลที่คนอื่นได้กระท�ำไว้ดังนี้ ในอดีตพระโพธิสัตว์เกิดในตระกูลพราหมณ์ชื่อว่าสุตวาบวชเป็นดาบส สั่งสอนศิษย์อยู่ในป่าหิมพานต์ ต่อมามีดาบสผู้ส�ำเร็จอภิญญา ๕ สมาบัติ ๘ มายังส�ำนักของตน จึงกล่าวหาดาบสนั้นว่า "ดาบสนี้เป็นผู้บริโภคกาม" และ ยังแนะน�ำให้ศิษย์ของตนกระท�ำตาม ด้วยวิบากแห่งกรรมที่กล่าวหาผู้อื่นโดยไม่เป็นจริง พระโพธิสัตว์และ เหล่าศิษย์ต้องเสวยทุกข์ในอบายเป็นเวลานาน แม้ในปัจจุบันด้วยเศษกรรมที่ ยังเหลืออยู่ พระพุทธเจ้าและสงฆ์สาวกจึงถูกกล่าวหาว่าร่วมกันฆ่านางสุนทรี เรือ่ งมีวา่ เหล่าเดียรถียย์ งั คิดการทีจ่ ะท�ำลายเกียรติคณ ุ ของพระพุทธเจ้า จึงใช้ให้นางสุนทรี สาวิกาของพวกตนอีกคนหนึ่งไปด�ำเนินการตามวิธีเช่น เดียงกับนางจิญจมานวิกา จากนั้นได้ไปว่าจ้างเหล่าโจรให้ฆ่านาง น�ำศพไป หมกไว้ใกล้พระเชตวันวิหาร แล้วส่งคนของตนเข้าไปร้องเรียนต่อพระราชา ว่า "สาวิกาผู้หนึ่งของพวกตนหายไป" พระราชามีรับสั่งให้ค้นหา พบศพหมก อยู่ใกล้พระเชตวันวิหาร เหล่าเดียรถีย์จึงน�ำศพวางบนแคร่หาม ออกเดิน ประกาศไปทั่วพระนครว่า "เหล่าศากยสมณะร่วมกันฆ่านาง" พระอานนท์ทูล ความให้พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบ พระพุทธองค์ตรัสว่า "อีก ๗ วันเรื่องนี้ จะปรากฎความจริง"
26
ฝ่ายพระราชาแม้จะมีหลักฐานปรากฏเช่นนั้น ก็ยังไม่แน่พระทัย รับส่งให้เจ้าพนักงานออกสืบสวนหาความจริง เจ้าพนักงานไปพบกับเหล่า โจรซึ่งก�ำลังเมามาย ต่างก็อวดตัวกันว่าเป็นคนฆ่านางสุนทรี จึงคุมตัวไปเฝ้า พระราชา ทรงสอบถามจนได้ความจริงว่า เหล่าเดียรถีย์เป็นผู้ว่าจ้างพวกตน พระราชามีรับสั่งให้จับเหล่าเดียรถีย์ คุมตัวไปประจานทั่วพระนคร พร้อมทั้ง ให้ร้องประกาศว่า "พวกตนเป็นผู้สั่งให้ฆ่านาง มิใช่เป็นการกระท�ำของเหล่า ศากยสมณะ" จากนั้นจึงน�ำตัวไปลงโทษสถานหนักทั้งหมด จากอุทาหรณ์ที่ยกมา จะเห็นได้ซึ่งผลของกรรมที่ส่งผลให้พระ โพธิสัตว์ที่สมัยนี้เสวยชาติเป็นเจ้าชายสิทธัตถะ และตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า ก็ถูกใส่ร้ายป้านสีนานอยู่ถึง ๗ วัน ส่วนศิษย์ของพระโพธิสัตว์ในสมัยนั้นก็มา เป็นพระภิกษุในสมัยนี้ ก็ถูกกล่าวหาใส่ร้ายป้ายสีเช่นเดียวกัน เปรียบกับการ ชุนนุมประท้วงที่แกนน�ำกล่าวค�ำที่ไม่จริง ค�ำหยาบคาย ใส่ร้าย กลุ่มที่ตรงกัน ข้ามต่อไป เมื่อผลกรรมส่งผลคงไม่ต่างอะไรกับพระโพธิสัตว์ ส่วนกลุ่มชนผู้ สนับสนุนเข้าข้างแกนน�ำที่เขากระท�ำสิ่งดังกล่าวลงไป คงไม่ต่างกับเหล่าศิษย์ ของพระโพธิสัตว์ที่พลอยยินดีในกรรมของพระโพธิสัตว์ สุดท้ายผลกรรมเหล่า นั้นส่งผลให้ถูกกล่าวหาใส่ร้ายป้ายสีในเรื่องที่ไม่เป็นจริง จึงฝากแง่คิดไปสู่ผู้อ่านทุกท่านที่ไปพลอยยินดี สนุกสนานกับเรื่องราว ที่ไม่เป็นจริง ค�ำหยาบที่อาจส่งผลอันเผ็ดร้อนให้เราในอนาคต ส่วนสิทธิที่เรา ควรจะแสดงออกก็ควรแสดงออกในทางที่ถูก ตรงต่อความเป็นจริง อย่าไป พลอยยินดีไปบาปกรรมของคนเหล่าอื่นเลย เพราะเหตุนั้นจึงตั้งชื่อเรื่องว่า "อย่าหนุก อย่าหรอย" คือเย่างเห็นแค่ ความสนุกสนาน เพลิดเพลินไปตามอารมณ์ตนเอง ให้ตั้งอยู่บนความเป็นจริง ความถูกต้องด้วยในการแสดงออกต่อการชุมนุมเพื่อเราจะไม่ต้องเดือนร้อน ในภายหลังต่อไป
27
28
29
รู้จักภพภูมิที่เราเวียนว่ายตายเกิด ตอนที่ ๖
พระวรฤทธิ์ โอภาโส เจริญพรผู้อ่าน วันนี้จะได้เขียนอธิบายเรื่องอจิณไตย เรื่องอจิณไตย เป็นเรื่องที่พระพุทธเจ้าแสดงไว้ว่า เป็นเรื่องที่ไม่ควรน�ำมาขบคิดเพื่อค้นหาค�ำ ตอบให้ได้ เพราะมิเช่นนั้นแล้วอาจจะเป็นคนบ้า ประสาทเสียได้ อจิณไตย มี ๔ ประการ คือ ๑. พุทธวิสัย ความสามารถของพระพุทธเจ้า คือคิดว่าพระพุทธเจ้ามี อานุภาพมากเพียงไหน สามารถท�ำอะไรได้มากมายขนาดไหน มีความพิเศษ อย่างไร ๒. ฌานวิสัย ความสามารถของผู้ได้ฌาน คือ คิดว่าผู้ได้ฌานสามารถ ท�ำอะไรพิเศษได้บ้าง ๓. กรรมวิบาก ผลของกรรม คือ คิดว่าผลของกรรมเป็นอย่างไร ท�ำกรรมอะไรจึงได้รับผลอย่างนี้อย่างนั้น ๔. ความเป็นไปของโลก คือ คิดว่าความเป็นไปของโลกว่ามีที่มา อย่างไร มาจากไหน เกิดมาได้อย่างไร ที่อาตมาได้เขียนเรื่องอจิณไตย เพื่อจะบอกผู้อ่านว่าข้อเขียนเรื่อง เกี่ยวกับโลกของอาตมาอาจดูพิสดาร ไม่น่าเชื่อถือ แต่ท่านจะเชื่อหรือไม่ก็ตาม อย่าได้น�ำไปคิดเพื่อหาค�ำตอบให้ได้ เพราะนอกจากจะหาไม่ได้แล้วท่าน อาจเป็นบ้าไปเสียก่อน เราควรอ่านเพื่อเป็นความรู้เพิ่มเติมเท่านั้น ในเรื่อง ภูมิมนุษย์นั้น พระพุทธเจ้ากล่าวกับพระอานนท์ว่า "อยํ โข อานนฺท มหาปถวี อุทเก ปติฏฺฐิตา, อุทกํ วาเต ปติฏฺติ ํ, วาโต อากาสฏฺโ โหติ" แปลว่า “ดูกร อานนท์ พื้นแผ่นดินตั้งอยู่บนน�้ำ น�้ำตั้งอยู่บนลม ลมตั้ง อยู่บนอากาศ” สภาพของโลกตามพุทธภาษิตนี้ มีคุณลักษณะดังนี้ ๑. พื้นโลกเป็นพื้นดินหนาสองแสนสี่หมื่นโยชน์ ชั้นบนครึ่งหนึ่งเป็น
30
ดินธรรมดาหนาหนึ่งแสนสองหมื่นโยชน์ ชั้นล่างครึ่งหนึ่งเป็นหินหนาหนึ่ง แสนสองหมื่นโยชน์ ๒. พื้นดินตั้งอยู่บนพื้นน�้ำ น�้ำที่รองรับแผ่นดินนี้เป็นน�้ำแข็งมีความ หนาสี่แสนแปดหมื่นโยชน์ ๓. น�้ำแข็งตั้งอยู่บนพื้นลม มีความหนาเก้าแสนหกหมื่นโยชน์ ๔. ต่อจากพื้นลมไปเป็นอากาศว่างเปล่ามีแต่ความมืด ไม่มีน�้ำไม่มีลม ความหนาหาประมาณไม่ได้ ๕. ภูเขาสิเนรุมีความสูงหนึ่งแสนหกหมื่นแปดพันโยชน์ ครึ่งหนึ่งอยู่ ในมหาสมุทร ครึ่งหนึ่งอยู่เหนือมหาสมุทร วัดโดยรอบได้สองแสนห้าหมื่นสอง พันโยชน์ ๖. ตามไหล่เขาทั้งสี่ด้าน ด้านตะวันออกเป็นเงิน ด้านตะวันตก เป็นแก้วผลึก ด้านใต้เป็นแก้วมรกต ด้านเหนือเป็นทอง ดังนั้น สีของน�้ำใน มหาสมุทร อากาศ ต้นไม้ ใบไม้ ที่อยู่ด้านนั้นก็เป็นสีเงิน สีผลึก สีเขียว สีทอง ไปตามสีของไหล่เขานั้นด้วย คือ ชมพูทวีปอยู่ด้านทิศใต้ ซึ่งไหล่เขาเป็นสีแก้ว มรกต ดังนั้น สีของน�้ำในมหาสมุทร อากาศ ต้นไม้ ใบไม้ จึงเป็นสีเขียวเหมือน แก้วมรกต ปุพพวิเทหทวีปอยู่ด้านทิศตะวันออก สีของน�้ำในมหาสมุทร อากาศ ต้นไม้ ใบไม้จึงเป็นสีเงิน อปรโคยานทวีปอยู่ด้านทิศตะวันตก สีของน�้ำในมหาสมุทร อากาศ ต้นไม้ ใบไม้จึงเป็นสีผลึก อุตตรกุรุทวีปอยู่ด้านทิศเหนือ สีของน�้ำในมหาสมุทร อากาศ ต้นไม้ ใบไม้จึงเป็นสีทอง ๗. จากใต้พื้นน�้ำขึ้นไปจนถึงไหล่เขาและขึ้นไปถึงตอนกลางของภูเขา สิเนรุมีชานบันไดเวียนห้ารอบ คือชั้นที่หนึ่งที่อยู่ภายใต้พื้นน�้ำเป็นที่อยู่ของ
31
พญานาค ชัน้ ทีส่ องเป็นทีอ่ ยูข่ องครุฑ ชัน้ ทีส่ ามเป็นทีอ่ ยูข่ องกุมภัณฑเทวดา ชัน้ ทีส่ เี่ ป็นทีอ่ ยูข่ องยักขเทวดา ชัน้ ทีห่ า้ เป็นทีอ่ ยูข่ องจาตุมหาราชิกา ๔ องค์ ๘. ฐานของภูเขาสิเนรุนั้นมีภูเขา ๓ ลูกตั้งรับอยู่ ๓ ด้าน ฐานของภูเขา สิเนรุหยั่งลงตั้งอยู่ในช่องระหว่างกลางของภูเขาทั้ง๓ ใต้ฐานของภูเขาสิเนรุลง ไปมีช่องว่างเป็นอุโมงค์ มีความกว้างหนึ่งหมื่นโยชน์เป็นที่อยู่ของเหล่าอสูรที่ เขียนไว้ในตอนก่อน ๙. ในทวีปใหญ่ทั้ง ๔ ในแต่ละทวีปนั้น ทวีปหนึ่งๆมีพื้นแผ่นดินติดต่อ กันโดยไม่มีมหาสมุทรมาคั่น เรียกว่าทวีปหนึ่งๆ ๑๐. ทวีปที่ชื่อว่าชมพูทวีปนั้น ได้แก่ เอเชีย ยุโรป แอฟริกา ส่วนทวีป เล็กๆที่เป็นบริวาร เดี๋ยวนี้ได้แก่ อเมริกาเหนือ อเมริกาใต้ อังกฤษ ออสเตรเลีย ลังกา ญี่ปุ่น เป็นต้น ซึ่งทวีปเล็กที่เป็นบริวารนั้น แม้ว่าสมัยปัจจุบันนี้จะเจริญ รุ่งเรือง กว้างขวางก็จริง แต่ครั้งสมัยต้นกัปที่โลกสร้างใหม่ๆยังไม่มีผู้คนคับคั่ง อย่างสมัยนี้ ๑๑. ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ อันเป็นที่อยู่ของสุริยเทวบุตรและจันทิม เทวบุตรพร้อมด้วยบริวาร ก�ำลังโคจรไปมารอบภูเขาสิเนรุ อยู่ในระดับเสมอ กันกับยอดภูเขายุคันธร ห่างจากโลกมนุษย์สี่หมื่นสองพันโยชน์ ที่กล่าวมานี้ เป็นการแสดงเรื่องโลกโดยย่อๆ ต่อจากนี้อาตมาจะกล่าวถึงความพินาศของ โลก โลกที่ถูกท�ำลายจนหมด แล้วโลกกลับมาสร้างขึ้นใหม่ได้อย่างไร มนุษย์ คนแรกในโลกมาจากไหน มาได้อย่างไร ซึ่งเป็นค�ำถามที่ได้ยินคนหลายคนพูด กันอยู่เสมอ แต่ก่อนอื่นต้องมาท�ำความเข้าใจเรื่อง ประเภทแห่งกัปและความ เป็นไปแห่งกัปที่ถูกท�ำลายและกัปที่สร้างขึ้นใหม่ให้เข้าใจเสียก่อน กัปมี ๔ อย่าง คือ ๑. อายุกัป สมัยใดมนุษย์มีอายุยืนถึงอสงไขยปี หรือลดน้อยลงมาจนถึง ๑๐ ปี เป็นอายุขัย ก็ถือเอาตามเกณฑ์อายุของมนุษย์ ในสมัยนั้นๆเป็นอายุกัป เช่น ปัจจุบันอายุ ๗๕ ปีเป็นอายุขัย ก็นับ ๗๕ ปี
32
เป็นอายุกัป ส่วนอายุเทวดาหรือพรหมก็นับอายุขัยของเขาเป็นอายุกัปเช่น เดียวกัน ๒. อันตรกัป การนับอันตรกัปมีการนับดังนี้ ในสมัยต้นกัปมนุษย์ มีอายุยืนถึงอสงไขยปี ต่อมาลดลงจนกระทั่งอายุ ๑๐ ปีเป็นอายุกัป หลังจาก นั้นอายุก็เพิ่มขึ้นจนถึงอสงไขยปีเป็นอายุกัปอย่างเก่า นับเป็น ๑ อันตรกัป ๓. อสงไขยกัป จ�ำนวน ๖๔ อันตรกัป นับเป็น ๑ อสงไขยกัป นอกจาก นี้อสงไขยกัปแบ่งเป็น ๔ อย่าง ได้แก่ ๓.๑ สังวัฏฏอสงไขยกัป เป็นช่วงที่จักรวาลก�ำลังท�ำลาย สัปดาห์หน้า จะเขียนถึงช่วงนี้ว่าโลกถูกอะไรท�ำลายจนหมดสิ้น ๓.๒ สังวัฏฏฐายีอสงไขยกัป เป็นช่วงที่จักรวาลถูกท�ำลายจนหมดสิ้น ๓.๓ วิวัฏฏอสงไขยกัป เป็นช่วงที่จักรวาลก�ำลังเริ่มตั้งขึ้นใหม่ สัปดาห์ หน้าจะเขียนถึงช่วงนี้ว่าโลกสร้างขึ้นมาได้อย่างไร มนุษย์คนแรกมาถือก�ำเนิด ในโลกอย่างไร ๓.๔ วิวัฏฏฐายีอสงไขยกัป เป็นช่วงที่จักรวาลตั้งขึ้นเรียบร้อยเป็นปกติ ตามเดิม ซึ่งปัจจุบันนี้โลกก�ำลังอยู่ในช่วงนี้ ๔. มหากัป นับ ๔ อสงไขยเป็น ๑ มหากัป ใน ๑ มหากัปนั้นเป็นเวลา ที่ยาวนานมาก อุปมาเวลาของ ๑ มหากัป เหมือนกับมีพื้นแผ่นดินแห่งหนึ่งมี หลุมกว้าง ๑๐๐ โยชน์ ยาว ๑๐๐ โยชน์ ลึก ๑๐๐ โยชน์ ทุกๆหนึ่งร้อยปีหยิบ เอาเมล็ดพันธุ์ผักกาดใส่ลงในหลุมนั้นจนกว่าเมล็ดพันธุ์ผักกาดจะเต็มหลุม นั้นซึ่งก็ยังไม่ครบจ�ำนวนเวลาของ ๑ มหากัป ดังนั้น ๑ มหากัปจึงเป็นเวลา ที่ยาวนานมาก พระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบันบ�ำเพ็ญบารมีตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงชาติ สุดท้ายใช้เวลา ๒๐ อสงไขย กับ ๑ แสนมหากัป จึงนับว่าเป็นเวลาที่ยาวนาน มากกว่าจะส�ำเร็จเป็นพระพุทธเจ้า ดังนั้นเราทั้งหลายบ�ำเพ็ญบารมีแล้วยังไม่ ส�ำเร็จเป็นพระอริยบุคคลสักที จึงไม่ควรท้อถอยเพราะเรายังบ�ำเพ็ญบารมีไม่ เพียงพอขอให้ตั้งใจต่อไป ขอให้ทุกท่านโชคดี วันนี้ขอเจริญพร
33
ถามมา - ตอบไป
คนเดินทาง ผมเรียนปริญญาโทอยู่ทืี่ประเทศเยอรมันนี มีฝรั่งมาถามปัญหา ผมไม่สามารถตอบได้ครับ..จึงอยากให้ท่านช่วยตอบ ดังนี้ครับ ๑. ท�ำไมคนไทยต้องเอาอาหารไปให้พระ ท�ำไมต้องใส่บาตร ? ๒. ท�ำไมในบ้านของคนไทยส่วนใหญ่ ยังต้องมี "วัดเล็กๆ" ตั้งอยู่ใน บริเวณบ้าน (เขาหมายถึงศาลพระภูมิครับ) ค�ำตอบ : คนตะวันออกมีศาสตร์ที่ละเอียดอ่อน และแม้แต่คนตะวัน ตกเดี๋ยวนี้ก็ยอมรับในหลายๆเรื่อง โดยเฉพาะเรื่อง"จิต" "อานุภาพของจิต"ที่มี อยู่จริงตามธรรมชาติ เพียงแต่ใครจะเดินทางลงมือกระท�ำเหตุขึ้นมา ก็จะได้ พบได้เจอ แท้จริงศาสนาพุทธ "ไม่ได้สอนให้ชาวพุทธอ้อนวอนร้องขอต่อพระเจ้า หรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ใดๆ" แต่บุคคล จะต้องลงมือกระท�ำขึ้นมาเอง ผลจึงจะเกิด แล้วส�ำเร็จได้" ทีนบี้ คุ คลมีจติ แล้วความจริงทีค่ นโดยมากไม่รกู้ ค็ อื จิตนีแ่ หละ เป็นผู้ สัง่ ให้ทำ � โน่น นี่ นัน่ ก็ชอื่ ว่า บุคคลท�ำกรรมขึน้ มาเพราะจิตของเขา มีทงั้ กรรม ทางกาย วาจา ใจ จิตนัน่ แหละ เป็นผูท้ ำ� กรรม กรรมทุกๆ อย่าง เมือ่ ท�ำไปแล้ว ย่อมมีผลติดตามมา จะดีหรือเลวก็แล้วแต่เหตุ จะช้าหรือเร็วก็ขนึ้ อยูก่ บั เหตุ ปัจจัยทัง้ สิน้ "การให้" เป็นสิง่ ทีเ่ กิดได้ยากในโลก! "จิตทีค่ ดิ จะให้" เป็นจิตทีด่ งี าม เป็นจิตทีเ่ ป็นบุญ จิตทีเ่ กิดมาท�ำกรรมดี ท�ำเหตุดี มี "การให้" เป็นต้นแล้ว ย่อม ให้ผลลัพท์ทดี่ เี กิดขึน้ ท�ำให้ผทู้ ใี่ ห้นนั่ แหละ มีความสุข ธรรมชาติเขาเป็นแบบ นี!้ ใครท�ำ ก็ให้ผลได้ทงั้ หมด ไม่ใช่วา่ จะเจาะจงเกิดได้เฉพาะชาวพุทธเท่านัน้ นีเ้ ป็นเรือ่ งตามธรรมชาติ เป็นสาธารณะไปในทุกลัทธิศาสนา
34
ส่วน "ผล" นัน้ จะช้าหรือเร็ว หยาบหรือประณีต ก็ตา่ งกันตามเหตุปจั จัยของ แต่ละคนเท่านัน้ คนไทยชอบให้ทาน ให้ขา้ ว ให้นำ �้ ประเทศไทยจึงอุดมสมบูรณ์ดว้ ย อาหารนานาชนิด คนไทยจึงมีกนิ มากมาย กินได้หลากหลาย ทีค่ นเขาถวายให้ แก่พระสงฆ์นนั้ ก็เพราะว่า พระภิกษุสงฆ์ทดี่ นี นั้ ท่านย่อมรูก้ จิ หน้าทีข่ องท่าน ท่านย่อมเป็นผูม้ ปี กติฝกึ จิตให้ดยี ง่ิ ๆขึน้ ย่อมเพียรอยูท่ จี่ ะรักษาปาฏิโมกข์สงั วร ศีล มีปกติสำ� รวม ตา หู จมูก ลิน้ กาย ใจอยู ่ ยากนักทีฆ่ ราวาสจะท�ำกิจเช่น นัน้ ได้ ด้วยเหตุนนั้ "การให้" แก่บคุ คลผูม้ คี วามเพียรอันยิง่ ใหญ่เช่นนี้ ย่อมมีผล มาก เหมือนทีน่ าอันอุดม เมือ่ คนหว่านเมล็ดพืชลงไป เขาย่อมได้ขา้ วมากมาย งอกงาม ฉะนัน้ นีก่ ล่าวหมายเอา ในกรณีทเี่ ป็นพระภิกษุผอู้ ยูใ่ นธรรมวินยั ย่อม เป็นทีน่ าอันอุดม ถามว่า "แล้วท�ำไมต้องใส่บาตร ? ค�ำตอบ ในทีน่ ้ี เราไม่ควรใช้คำ� ว่า "ต้อง" ใส่บาตร โดยปกติแล้ว พระ สงฆ์นนั้ ท่านมีงานในพระศาสนาทีพ่ ระพุทธเจ้าทรงวางแบบแผนเอาไว้ คือ คันถ ธุระ และวิปสั สนาธุระ คือพระภิกษุจงึ ต้องศึกษาค�ำสอนของพระพุทธเจ้า และ ต้องเจริญศีล สมาธิ ปัญญา เป็นผูท้ ไี่ ม่มกี จิ ในการท�ำมาหากิน เพือ่ จะได้ใช้เวลา ทีเ่ หลือโดยมากเพือ่ เจริญในธรรมให้ยงิ่ ๆขึน้ โดยไม่ตอ้ งเกลือ่ นกล่นด้วยอารมณ์ วุน่ วาย อันไม่อปุ การะแก่ศลี สมาธิ ปัญญาของท่าน ท่านวางเอาไว้แบบนี้ ดูเอาเถิด แม้แต่คนเข้ากรรมฐานก็ไม่ตอ้ งท�ำอะไร เพราะมีงานทางใจที่ ต้องเจริญความเพียร คือ ดูเดิน ดูยนื ดูนงั่ ดูนอน เป็นต้น ดูให้เห็นว่า ความเป็น "เรา" แท้จริง มันมีไหม ? หากมีจริง มันอยูต่ รงไหน ? ดูจนกระจ่าง ว่าไม่มจี ริง ก็จงึ จะแจ้ง ทีแ่ จ้งเพราะว่าละวางอุปาทานได้ จากนัน้ จิตใจจึงหมด ความเดือดร้อน
35
กิเลสตายมากเท่าไหร่ ความทุกข์กน็ อ้ ยลงไปตามนัน้ ก็แต่วา่ เดีย๋ วนี้ พระภิกษุสงฆ์โดยมาก ท่านจะสนใจในกิจทีพ่ ระพุทธเจ้า ทรงวางแบบแผนเอาไว้ให้แบบนี้ กันหรือเปล่า ? ชาวบ้านทีเ่ ขาใส่บาตรก็เพราะ "เขาเชือ่ เรือ่ งกรรมและผลของกรรม" ฆราวาสเขาสะดวกตรงนี้ เขาก็ทำ� ทานไปก่อน ฆราวาสนัน้ มันช่างล�ำบากเรือ่ ง การท�ำความดีนกั เพราะต้องคอยท�ำมาหากิน จึงหวังอานิสงส์ทตี่ นได้อปุ การะ ให้แก่บรรดาพระภิกษุผเู้ จริญในธรรมยิง่ ๆ ขึน้ นัน้ ด้วยข้าวและน�ำ ้ เป็นต้นบ้าง เพราะศรัทธาเชือ่ ผลแห่งกรรมดีทตี่ นหว่านพืช ลงในทีน่ าอันอุดมนัน้ ย่อมจะตก ถึงตนด้วยในกาลต่อไป เรือ่ งการ "ตักบาตร"นัน้ พระท่านก็มาโปรดโยมให้ได้ทำ� กรรมดี มี "การ ให้ทาน" อันเป็นกุศลทีท่ ำ� ได้งา่ ย พระท่านเรียนค�ำสอนพระพุทธเจ้ามาแล้ว ท่านได้ปฏิบตั ธิ รรมมา ท่านก็ยอ่ มต้องมีปญ ั ญา เอามาฝากให้แก่ชาวบ้านเพือ่ ตอบแทนชาวบ้านด้วย"ธรรมทาน" นัน่ แหละ พวกโยมก็จะได้ปจั จัย เกิดความเข้าใจในเรือ่ งเหตุและในเรือ่ งผล หันมา รักษาศีล ฟังธรรม ปฏิบตั ธิ รรมกันขึน้ มา ท�ำกุศลทีส่ งู ยิง่ ๆ ขึน้ ได้ เพราะเมือ่ ได้ สดับฟังเหตุผลแล้ว ก็จะเกิดศรัทธาเกิดปัญญาขึน้ มา นีค่ อื ..เรือ่ งทีค่ วรจะเป็นไปในอาการอย่างนีน้ ะ..! แต่โยมจะตักบาตร ถวายทานก็ได้ ไม่ถวายก็ได้ ไม่ใช่การบังคับ! คนทีเ่ ชือ่ เรือ่ งกรรมเขาก็จะท�ำ เขาย่อมเต็มใจทีจ่ ะสละ เพราะชีวติ มันจะต้อง สูญเสียอยูแ่ ล้ว หากสละเอามาท�ำแบบนี้ ก็ชอื่ ว่า เสียโดยชอบ คือ สละออก ด้วยดี มีศรัทธาพาให้ทำ� ความดีเช่นนัน้ ได้ ในคนทีเ่ ชือ่ เรือ่ งกรรมและผลของกรรม เขาย่อมมีความชืน่ ใจว่า "เรานี้ ท�ำดีแล้วหนอ" เชือ่ เถอะ! คนทีต่ งั้ ใจท�ำ จะมีความรูส้ กึ แบบนี้ เพราะบุญย่อมก�ำจัด ความเดือดร้อนของกิเลส ทานย่อมก�ำจัดกิเลสตระหนี ่ คนตระหนีม่ นั เดือด
36
ร้อนนักหนา แต่เขาไม่ร ู้ ไม่เคยรูด้ ว้ ยความหลงยึดมัน่ นัน่ แหละ คนขีต้ ระหนี่ ไม่มคี วามสุขหรอก หลงว่า จะเก็บง�ำเอาไว้ ราวกะว่า ตัวจะไม่ตาย คนใจกว้าง ย่อมมีความสุข มีเพือ่ นพ้อง มีสมบัติ บุญอันบุคคลท�ำไว้ดแี ล้ว ย่อมให้ผลเป็นความสุขมาสูต่ น ให้ปจั จัย มาปรากฏ ราวกะว่า มีคนจัดแจงให้แต่ธรรมชาติเขาเป็นไปเองทัง้ นัน้ คนตะวันตกเขาเชือ่ เฉพาะสิง่ ทีเ่ ห็นได้นะ จิตใจนัน้ เป็นนามธรรม มองไม่เห็นก็จริง แต่มอี านุภาพมาก พวกเขายังไม่มาสนใจในเรือ่ งนีก้ นั แต่พวกเขาเป็นคนฉลาดนะ เมือ่ ใดเขาเกิดสนใจศึกษาพิสจู น์ขนึ้ มา พวกเขาจะปราดเปรือ่ งมากทีเดียว เพราะเขามีสมาธิ มีปญ ั ญา เพียงแต่ ยังเป็น โลกียปัญญาอยู ่ โลกียปัญญา ศึกษาเท่าไหร่ๆ มันก็ไม่จบ เพราะมันออกไปรู้ ข้างนอกตัว รูอ้ อกไปเรือ่ ยๆ มันไม่จบได้เลย แต่คนไทยต่างออกไป โดยมากมีปกติไม่ชอบศึกษาค้นคว้า ไม่ชอบ ไต่ถาม ไม่ฟงั ธรรม ไม่ชอบท�ำอะไรทีป่ ระณีตให้มากขึน้ ๆ จึงหยุดอยูท่ ี่ "ทาน กุศล" โดยมาก การทีไ่ ม่ชอบค้นคว้าหาความรูเ้ พราะเกิดมาสบายไม่อดไม่อยาก อากาศ ก็ไม่ทารุณ จึงมีนสิ ยั เป็นคนสบายๆ และไม่มอี ะไรกดดันมาก เลยไม่อยาก พากเพียรอะไรนัก การเกิดมาไม่คอ่ ยเดือดร้อนในประเทศทีส่ มบูรณ์ จึงขาดความเพียรไป เสียโดยง่าย ค�ำสอนทีด่ ๆี เช่น ค�ำสอนของพระพุทธเจ้า ก็มกั ไม่สนใจลึกซึง้ เอาแต่ ทานกุศลเป็นหลัก อย่างอืน่ ๆ ไม่คอ่ ยให้ความส�ำคัญ ไม่สนใจ ดังนัน้ เวลาเดือด ร้อนในเรือ่ ง "บุญ" จึงมักเดือดร้อนเพราะ "ทาน" นัน่ แหละ คนฝรัง่ เขาอ้อนวอนขอพรต่อพระเจ้าได้ เขาเชือ่ แบบนัน้ อันทีจ่ ริง เรือ่ งนีเ้ ป็นเรือ่ งทีผ่ คู้ นโดยมากก็ทำ� กันอยูท่ กุ ยุคทุกสมัย ขึน้ อยู่ กับว่า ใครจะขอจาก "อะไร" เท่านัน้
37
คนไทยบางส่วน ทีช่ อบการพนัน ชอบกินเหล้า อยากรวยโดยไม่ตอ้ งท�ำงานหนัก เมือ่ ประกอบกันเข้าในอาการอย่างนี้ จึงหันไปหาพิธกี าร "การอ้อนวอนร้องขอ" ขึน้ มาก็ม ี หรือแม้แต่คนทีท่ ำ� มาหากินแบบสุจริต ขยันหมัน่ เพียรเป็นปกตินี่ แหละ พวกเขาหวังอยูว่ า่ การท�ำแบบนี้ โชคลาภและความสุขของตนจะบังเกิด ขึน้ รูส้ กึ อบอุน่ ใจ สบายใจเพราะมีบางสิง่ บางอย่างคุม้ ครองตน หรือในบาง ส่วน บ้างก็เป็นคนชอบเสีย่ งทาย พอใจในการพนันขันต่อ ก็คดิ ว่าต้องมากะดวง จึงหันไปหาทีพ่ งึ่ เช่น ผี ต้นไม้ ภูเขา ต้นกล้วยออกลูกประหลาด สัตว์แปลกๆ พิกลพิการทีเ่ กิดมา ก็ตา่ งพากันไปขอหวย ก็มใี ห้เห็นกันอยูอ่ ย่างมากมายเพราะ ขาดการศึกษา ขาดการฟังธรรมทีป่ ระกอบเหตุผล ท่านจึงแสดงว่า "มนุษย์เป็นอันมาก เมือ่ มีภยั คุกคามเกิดขึน้ แล้ว ก็ถอื เอาภูเขาบ้าง ป่าไม้บา้ ง รุกขเจดียบ์ า้ ง เป็นสรณะ นัน่ ! มิใช่สรณะอันประเสริฐ! นัน่ ! มิใช่สรณะอันสูงสุด! เขาถือสรณะนัน่ แล้ว ย่อมไม่พน้ จากทุกข์ทงั้ ปวงได้" ในเหตุผลง่ายๆ เป็นอาทิ อย่างนีแ้ หละ "ศาลพระภูม"ิ จึงเกิดขึน้ เพราะบุคคลบางคน อยากได้ผลทีด่ ๆี ด้วยคิดว่า เหตุนแี้ หละ จะน�ำผล ทีด่ ๆี มาให้แก่ตน แต่ทว่า นนั่ ..! ยังไม่ใช่สรณะอันประเสริฐ! นัน่ .! มิใช่สรณะอันสูงสุด! เขาถือสรณะนัน่ แล้ว ย่อมไม่พน้ จากทุกข์ทงั้ ปวงได้..!
38
39
ข่าวประชาสัมพันธ์พเิ ศษ
ขอเชิญร่วมทอดผ้ าป่ าสร้ างศาลาการเปรียญ, ท�ำบุญปิ ดทอง พระประธาน, และสร้ างอุณาโลม ณ วัดจากแดง ในวันอังคารที่ ๑๐ พฤศจิ กายน ๒๕๕๖
๐๙.๐๐ น. รับฟังพระธรรมเทศนาจากอาจารย์พระมหาประนอม ธมฺมาลงฺกาโร ๑๐.๔๕ น. ร่วมถวายภัตตาหารเพลแด่พระภิกษุ และสามเณร ๑๑.๐๐ น. รับประทานอาหารกลางวันร่วมกัน ๑๓.๐๐ น. พิธที ำ� บุญทอดผ้ าป่ าสร้ างศาลา, ท�ำบุญปิ ดทอง และสร้ างอุณาโลม ติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ทีฝ่ ่ ายประชาสัมพันธ์วดั จากแดง โทร ๐๒ - ๔๖๔ - ๑๑๒๒ และ ๐๒ ๔๖๒ - ๕๙๒๘
40
ขออนุโมทนากับเจ้าภาพโรงทาน ณ วัดจากแดง ในวันที่ ๑๙ - ๒๐ ตุลาคม ทุกท่าน
No. ๑ ๒ ๓ ๔ ๕ ๖ ๗ ๘ ๙ ๑๐ ๑๑ ๑๒ ๑๓ ๑๔ ๑๕ ๑๖ ๑๗ ๑๘ ๑๙ ๒๐ ๒๑ ๒๒ ๒๓ ๒๔ ๒๕ ๒๖ ๒๗ ๒๘ ๒๙ ๓๐ ๓๑ ๓๒ ๓๓ ๓๔
รายการอาหาร ขนมจีนแกงเขียวหวาน ก๋วยเตี๋ยวหมูตุ๋น ข้าวต้ม ข้าวราดแกง - ผัดซีอิ๊ว ข้าวต้มปลา ไข่หวาน ข้าวมันไก่ มันต้มน�้ำตาล ขนมจีนน�้ำยา ข้าวต้ม ก๋วยเตี๋ยวหมู - ขนมปัง ข้าวโพด - ถั่วต้ม กระเพาะปลา ขนมจีนน�้ำยา ขนมเบื้อง ขนมหวาน ข้าวต้มรวมมิตร ลูกชิ้นทอด ขนมจีนแกงเขียวหวานหมูเด้ง น�้ำดื่ม ส้มต�ำ - หมี่ผัด เปาะเปี๊ยะทอด หอยจ๊อทอด ก๋วยเตี๋ยวหมูตุ๋น ข้าวราดแกง ผลไม้ น�้ำอัดลม ข้าวผัดกระเพรา หมูทอด น�้ำขิง - น�้ำมะตูม ขนมจีนน�้ำยา ไส้กรอกหมูสมุนไพร ขนมถั่วแปบ ข้าวต้มมัด หมี่กรอบ - ข้าวเกรียบ - น�้ำปานะ ส้มต�ำ - หมี่โคราช
รายนามเจ้าภาพ คณะลูกศิษย์พระครูธรรมธรสุมนต์ นนฺทิโก ชมรมรักษ์บาฬีวัดจากแดง คุณศิริอร วัดล้อม - คุณกุลชลี พจน์ชัยจงดี อาจารย์สุธิดาวัลย์ และครอบครัว ผู้ใหญ่เดช - คุณอ๋อย ผู้ช่วยผู้ใหญ่น้อย - คุณแป้น ผู้ช่วยผู้ใหญ่ตุ้ม - คุณสร้อย คุณตี๋ (กะเพาะหมู) - คุณต่าย ผู้ใหญ่เดช และกรรมการวัดพร้อมผู้ร่วมบริจาค คุณสกล (ดาว) และครอบครัว คุณพัน พลเยี่ยม คุณซิ้ม และเพื่อนๆ คุณศิริชัย - คุณมะลิ ธนะจารุผล คุณประทิน - คุณรุ่งทิพย์ - เด็กชายปุณยวีร์ สาลีผล คุณสุโรจน์ ลับสวัสดิ์ คุณนงค์ - คุณนิต - คุณนวย และบุตร คุณนุ้ย - คุณพิม คุณเสนีย์ - คุณมุก โรงเรียนบางประกอกวิทยาคม คุณปรีชา - คุณสมพร บ้านสิงห์โต พี่เสียง คณะลูกศิษย์อาจารย์อิศริยา นุตสาระ คุณสกล (ดาว) และครอบครัว คุณบังเอิญ และเพื่อนๆ คุณอรอุมา และเพื่อนๆ ครอบครัวฉายศักดาคุณากร พระสิปปภาส และโยมญาติ คุณสมพาน คุณฉวีวรรณ คุณวราภรณ์ พรมวัง อจ.วัชรินทร์ - อจ.อาภาพร เยี้ยเทศ ร้านเสริมสวยเจี๊ยบ คุณรุ่งเรือง รื่นรมย์ คุณสรณา จิรารัตน์สกุล คุณปราณี คีรีลักษ์วัฒนา คุณดวงดาว สุขวนิช คุณเพ็ญ บุญญรัตน์ คุณแม่ภา และลูกๆ 41
รายนามเจ้าภาพภัตตาหาร เดือนกันยายน - ตุลาคม ๒๕๕๖ ๏ พระครูธรรมธรสุมนต์ นนฺทิโก ๏ หม่อมหลวงสุพิชาน์ ทองใหญ่ และครอบครัว ๏ อาจารย์อิศริยา นุตสาระ และคณะ ๏ แพทย์หญิงสดใส เวชชาชีวะ ๏ คุณแม่เสงี่ยม ศรีอนันต์ และลูกหลาน ๏ คุณกิ่งกาญจน์ อารักษ์พุทธนันท์ คุณศุภมาศ เผ่าธัญญลักษณ์ ๏ คณะอาจารย์ธรรม นิยมกิจสัมฤทธิ์ ๏ คุณศิริอร วัดล้อม ๏ คุณกุลชลี พจน์ชัยจงดี ๏ คุณสมชาย ยืนยง ๏ บริษัท นวพรลักษมี จ�ำกัด ๏ คุณประยงค์ - พญ.เชาวรี อัชนันท์ ๏ คุณประภาศรี วู ๏ คุณอาภาพร เยี้ยเทศ ๏ คุณสุรินทร์ พรประสิทธิ์ผล ๏ คุณสดับพิณ กฤดานราภรณ์ ๏ เด็กชายธนกร บุญเอกรัตน์ ๏ คุณบุรินทร์ สงวนเกียรติ และครอบครัว ๏ คุณลัดดา กิตติวิภาค ท�ำบุญอุทิศ ๏ คุณมลฤดี พวงเงิน ท�ำบุญอุทิศให้คุณพ่อฮะ แซ่เบ๊ ๏ โยมมารดาพระนันทสิทธิ์ ๏ คุณเบญจางค์ เตียงพิทักษ์ ๏ คุณกมลชนก เพรียงอ่อน ๏ คุณภาพร มหัทธโนบล ๏ คุณประเสริฐ - คุณเซาะลั้ง อึ้งอร่ามและครอบครัว ๏ คุณจิรยุทธ์ สุขุมาลจันทร์ ๏ คุณสุธีร์ เตชะชาคริต ๏ คุณบุญครอง แย้มน้อย ๏ คุณฐิตินทร แย้มน้อย ๏ คุณสมใจ สัตย์สิทตพงษ์ ๏ คุณวรรณวนิช เถาวงศ์ ๏ คุณจันทร์ศรี เบ็ญจมโน
และผู้ที่มิได้เอ่ยนามทุกๆท่าน
42
๏ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี ๏ ชุมนุมพุทธธรรมศิริราช คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล กลุ่มผู้เรียนทศบารมี และผู้มีกุศลจิต ๏ ครอบครัวเผือกประเสริฐ - ฟูทองรอด ๏ ชมรมอนุรักษ์ธรรม ๏ คุณสุรศักดิ์ จินาพันธ์ ๏ คุณเสริมสุข ปัทมสถาน ๏ ครอบครัวงามสันติสุข, ครอบครัวฉวีวาณิชยกุล ครอบครัวมุมทอง, ครอบครัวเฟื่องจินดาวงศ์, ครอบครัวสรสรรเสริญ ๏ คุณมนูญ - รศ.นงนารถ เดชณรงค์ และครอบครัว คุณอภิชาติ - คุณโสภา สุขุมาลจันทร์ และครอบครัว ๏ คุณชัญญาพร เขจรดวง - คุณสุภาภรณ์ เชาวกิจ คุณสุดาภรณ์ ต่วนชะเอม - คุณฉัฐกนก วาณิชกรพิพัฒน์ คุณจิรายุ งามพรชัย - คุณจันทิภา เดชณรงค์ ๏ คุณสรณา จิรารัตน์สกุล ๏ คุณศักดิ์ศรี ปาณะกุล ๏ คุณไพบูลย์ - คุณจรรยา นวสิริธนโรจน์ ๏ คุณธงชัย ตรีพิพัฒน์กุล ๏ คุณสุปราณี สนธินันท์ ท�ำบุญอุทิศให้คุณแม่พูลทรัพย์ ๏ คุณนิพนธ์ - คุณสมภิศ ปานภู่ ท�ำบุญอุทิศให้นางนิภา ๏ คุณศุภวรรณ ศฤงคารินทร์ ๏ คุณวิมลวรรณ ศฤงคารินทร์ ๏ คุณอภิชัย อึ้งอร่าม ๏ ครอบครับพลับพาทอง ท�ำบุญอุทิศให้คุณแม่เอิบ ๏ คุณอาภาพร - คุณวัชรินทร์ - คุณญาดา เยี้ยเทศ ๏ คุณวรภาส มหัทธโนบล และครอบครัว ๏ ครอบครัวบุญเอกวัฒน์ (สามเณรต้นกล้า) ๏ คุณจิรยุทธ สุขุมาลจันทร์ ๏ คุณฐิติมา ตันติกุลสุนทร ๏ พล.ต.ต.วิเชียร - คุณวิบูลพรรณ โพธา และครอบครัว ๏ คุณเตช - คุณเพ็ญศรี - คุณยาใจ บุนนาค ๏ คุณนสินี วรมุนินทร ท�ำบุญอุทิศให้นายภูมิพัฒน์ ๏ คุณสุธี - คุณสุภาพร - คุณเสาวรส และครอบครัว
รายนามเจ้าภาพร่วมจัดพิมพ์จุลสารโพธิยาลัย ฉบับที่ ๒๑ - ๒๓ เดือนกันยายน - พฤศจิกายน ๒๕๕๖
๏ พระมหาชัยพร เขมาภิรโต ๕๐๐ บาท ๏ ชมรมรักษ์บาฬีวัดจากแดง ๑,๐๐๐ บาท ๏ ชมรมพุทธธรรมรามค�ำแหง ๑,๕๐๐ บาท ๏ ครอบครัวฉวีวาณิชยกุล - ครอบครัวงามสันติสุข ครอบครัวเฟื่องจินดาวงศ์ - ครอบครัวปฐมวรชัย ครอบครัวมุมทอง ๓,๐๐๐ บาท ๏ Mr. Hsi-Yuan, Wu. และครอบครัว ๑,๐๐๐ บาท ๏ คณะจิตอาสาปรีชาศรีนครินทร์ ๒๐๐ บาท ๏ คุณสิริ ทรวงแสวง ๒๐๐ บาท ๏ คุณพัชราภรณ์ เกษแก้ว ๕๐๐ บาท
๏ คุณประหยัด - คุณสุธัญญา บุญสูง คุณจุติพัทธ์ - คุณจุติพันธ์ บุญสูง ๑๐,๐๐๐ บาท ๏ คุณประพันธ์ ตั้งเมตไตรย์ ๔,๐๐๐ บาท ๏ คุณประสพสันติ์ - คุณรัตนา - คุณจิรภัทร ศิริจิตร และครอบครัว Union Mall ๓,๐๐๐ บาท ๏ คุณอภัย อัศวนันท์ ๑,๐๐๐ บาท ๏ คุณอัญญมา ๓๐๐ บาท ๏ คุณสรณา จิรารัตน์สกุล ๑,๐๐๐ บาท ๏ คุณพ่อฉ�่ำ ขจรกลิ่ม ๕๐๐ บาท ๏ คุณจรรยา สว่างจิตร ๕๐๐ บาท
รายนามเจ้าภาพน�้ำปานะและอื่นๆ เดือนกันยายน - ตุลาคม ๒๕๕๖
๏ พระการุณย์ กุสลนนฺโท ๏ หม่อมหลวงสุพิชาน์ ทองใหญ่ ๏ คุณรัตนา ศิริจิตร ๏ คุณทิพพา วันวิเวก ๏ พลโทนรวีร์ - คุณเสริมสุข ปัทมสถาน ๏ พล.ต.ต. สพรั่ง - คุณณัทภรณ์ อุณปาทร ๏ คุณชวลิต - คุณลลิญตา ปรีตะนนท์ ๏ คุณทวีชัย - กัลยาณี คงเจริญสุขยิ่ง ๏ คุณรุ่งเรือง รื่นรมย์ ๏ คุณวิไล สีสรรพ์ ๏ คุณศิริพร ศรีทอง ๏ คุณนิตย์ นาครัตน์ ๏ คุณประภาศรี วู ๏ คุณพรภพ เสนะคุณ ๏ คุณอรกร ธรรมพรหมกุล
๏ ชมรมพุทธธรรมรามค�ำแหง ๏ คุณแม่เสงี่ยม ศรีอนันต์ และครอบครัว ๏ คุณณรงค์ศักดิ์ เตชะไกรศรี ๏ อาจารย์วัชรินทร์ - คุณอาภาพร เยี้ยเทศ ๏ ครอบครัวเฟื่องจินดาวงศ์ ๏ คุณผกาศรี เล็กสกุลชัย ๏ อาจารย์นิคม - อาจารย์ปิยะจิต ทาแดง ๏ คุณเพ็ญศรี บุญญรัตน์ และคณะ ๏ คุณธัชวัตร ตั้งกุลธร ๏ คุณสมลักษณ์ แซ่ไหล ๏ คุณสุรศักดิ์ จินาพันธ์ ๏ คุณสุปีรีย์ ๏ คุณพงษ์ศักดิ์ ฟองเพ็ชร์ ๏ คุณนิจิตกร ทิพรัตน์ ๏ คุณสรณา จิรารัตน์สกุล