จุลสารโพธิยาลัยฉบับที่ ๓๑ ๓๒

Page 1





5


บทน�ำ

ขอความสุข สวัสดี จงบังเกิดมีแด่ท่านผู้อ่านจุลสารฯทุกๆท่าน ขมนี ยํ ? ยาปนียํ ? คือค�ำทักทายแบบภาษาบาลี มี ค�ำแปลว่ า ยังอดทนได้อยู่หรือ ยังอัตภาพ(ชีวิต)ให้เป็นไปได้อยู่หรือไม่ อันเป็นการแสดง ให้เห็นสภาวะความเป็นอยู่ของชาวชมพูทวีปในสมัยพุทธกาลได้เป็นอย่างดี ทางคณะผู ้ จัดท�ำก็หวังเป็นอย่า งยิ่งว่า ท่ า นผู ้ อ ่ า นทุ ก ท่ า น คงจะ มีสุขภาพพลานามัยที่สมบูรณ์แข็งแรง เพื่อที่จะมีเรี่ยวแรง มีพลังที่จะท�ำกิจ อันเป็นกุศลให้ยิ่งๆขึ้นไป ช่วงนี้เป็นช่วงเดือนสุดท้ายของการเข้าจ�ำพรรษาในปี ๒๕๕๗ ญาติ โยมหลายๆท่านก็อาศัยโอกาสนี้ ในการเร่งขวนขวายบุญกุศล เข้าวัดฟังธรรม กันเป็นประจ�ำทุกวันธัมมัสวนะ ทางคณะผูจ้ ดั ท�ำก็ขออนุโมทนาบุญมา ณ ทีน่ ดี้ ว้ ย เมื่อต้นเดือน (กันยายน) วัดจากแดงได้มีโอกาสต้อนรับพระผู้ทรงจ�ำ พระไตรปิฎกรูปล่าสุด (รูปที่ ๑๓) จากประเทศพม่า ซึ่งบรรยากาศต่างๆก็ได้ รวบรวมไว้ภายในเล่มแล้ว ซึ่งต้องบอกเลยว่าเป็นบรรยากาศที่สุดจะพรรณนา โดยแท้จริงแล้วชาวพุทธไทย กับชาวพุทธพม่า จะมีข้อดี ข้อด้อยที่ แตกต่างกันอยู่พอสมควร หากแต่สามารถน�ำข้อดีของแต่ละฝ่ายมารวมเข้า กันได้ เราคงจะได้พุทธศาสนิกชนที่มีคุณภาพสูงมากเลยทีเดียว แจ้งข่าวบุญให้ทราบว่า วัดจากแดงจะจัดพิธีทอดกฐิน ในวันอาทิตย์ ที่ ๑๙ ตุลาคม ๒๕๕๗ หากพุทธศาสนิกชนท่านใดว่าง ก็ขอเจริญพรมาร่วมงาน ได้ เพราะงานกฐินวัดจากแดงถือได้ว่าเป็นงานที่ใหญ่ที่สุดในรอบปี ซึ่งในปีนี้ก็ จะมีทั้งชาวพุทธไทย พม่า เนปาล ฯลฯ มาร่วมกันอย่างเนืองแน่นอีกเช่นเคย ถือว่าเป็นเหตุให้ทุกท่านมีโอกาสได้พบเจอประสบการณ์ใหม่ๆที่หาได้ยาก คณะผู้จัดท�ำ bodhiyalai.magazine@gmail.com 6


ความกังวลใจ

ปิยโสภณ ทุกข์ของมนุษย์ส่วนใหญ่ อยู่ที่ความกังวลใจ กังวลใจเรื่องอะไร ก็เป็นทุกข์ในเรื่องนั้น แม้แต่เรื่องความรักซึ่งเป็นสิ่งที่มวลมนุษย์ต้องการ ตะเกียกตะกาย แสวงหา ให้สมปรารถนามากที่สุด แต่เวลากังวลใจในรัก ก็มักจมอยู่ในรักนั้นอย่างลุ่มหลงมากที่สุด จนหาทางออกไม่พบ. ปราชญ์ท่าน จึงบอกว่า รักมาก ดูเหมือนสุขมาก ความจริง รักมากคือทุกข์มากนั่นเอง อารมณ์รัก เป็นอารมณ์ที่ไม่เป็นจริง เป็นอารมณ์ปรุงแต่ง แม้แต่ค�ำ พูด หรือกวีที่เขียนพรรณนาความรักด้วบทเพลงหรือกลอน ล้วนแต่เป็นเรื่อง เกินจริงทั้งสิ้น. ผู้ไม่ได้ใช้ชีวิตตามความเป็นจริง แต่ใช้อย่าละเมอเพ้อฝัน เขา จะประทับใจในช่วงเวลานั้น แม้จะเป็นเวลาสั้นๆ แต่ในชีวิตจริง หาเป็นเช่น นั้นไม่. หนุ่มสาวที่มีความรัก จึงมักเพ้อฝันเกินจริง แต่พอได้อยู่ร่วมชีวิตกัน จริงๆ เห็นสภาพที่แท้จริงของชีวิตแล้ว ความกังวลใจย่อมเกิดขึ้น. ข้าพเจ้าก�ำลังบอกท่านผู้อ่านว่า ความกังวลใจที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในรัก ก็คือการพลัดพราก เพราะไม่มีอะไรจะท�ำให้เราโศกเศร้าเสียใจได้เท่ากับการ พลัดพรากคนรัก คนที่เราผูกพันมายาวนาน ฉะนั้น เวลามีรัก ท่านจึงสอนให้ท�ำใจไว้ด้วย เพราะวันหนึ่งจะต้อง มีการพลัดพรากจากกัน ข้าพเจ้ามีประสบการณ์ มิใช่คนรัก แต่เป็นของรัก ข้าพเจ้าชอบ สะสมปากการาคาแพง ยี่ห้อดัง มีความสุขมากเมื่อได้เห็น ได้หยิบ ได้ใช้ แต่ก็ชั่วขณะเดียวเท่านั้น แค่ได้ความรู้สึกดีใจว่ามีเท่านั้นเอง วันหนึ่ง ปากกาทั้งหมดเกือบ ๑๐๐ กว่าด้ามหายไป เพราะถูกโขมย ปรากฏว่ามีบรรยากาศหนึ่งเกิดขึ้นในชีวิตคือ เสียใจแวบหนึ่ง แต่ทันใดนั้น ก็ รู้สึกโปร่ง โล่ง เบา สบายอย่างบอกไม่ถูก คิดว่า หายไปเสียได้ก็ดีเหมือนกัน 7


................................................................................................................................................................................................. ความกังวลใจ

คนอื่น จะได้ ใช้ ป ระโยชน์ อยู่กับเรามาตั้งนาน ก็ ไ ม่ ค่ อ ยมี ประโยชน์ อ ะไร เขียนก็ ไ ม่ ไ ด้ เขี ย น ใช้ก็ไม่ได้ใช้ ยังต้องดูแลรั ก ษาอี ก เขาเอาไป ก็ อ าจ ใช้ประโยชน์อย่างอื่นได้ ขายก็ได้เงิน เขียนก็ได้สาระคิดอย่างนี้ ก็เลยหาย กังวลใจ ตั้งแต่นั้นมา เมื่อเวลาเกิดรักอะไรขึ้น ก็นึกถึงการพลัดพรากเอาไว้ ก่อนเสมอ เพื่อไม่ให้เกิดความกังวลใจ

8


บันได ๕ ขั้นสู่การปฏิบัติ (ตอนที่ ๓)

พระมหาประนอม ธมฺมาลงฺกาโร ฉบับที่แล้วได้ขยายความเกี่ยวกับบันไดขั้นที่ ๑ (ไตรสรณคมน์) สู่การ ปฏิบัติธรรม ฉบับนี้จะขอเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเข้าถึงไตรสรณคมน์อีกเรื่องหนึ่ง ที่ส�ำคัญคือ "การไหว้พระ ๙ วัด" ที่โบราณได้เคยกล่าวไว้ว่า ไหว้พระพุทธ ใจอย่าหยุดที่พระทองค�ำ ไหว้พระธรรม ใจอย่าหยุดที่คัมภีร์ใบลาน ไหว้พระสงฆ์ อย่าจ�ำนงหมายว่าเป็นพระลูกหลาน ๑. ไหว้พระพุทธ ใจอย่าหยุดที่พระทองค�ำ หมายความว่า ขณะที่เรา ไหว้พระพุทธรูปที่ใดก็ตาม อย่าไปคิดว่าเป็นพระทองค�ำเก่าแก่ ท�ำด้วยทองค�ำ แท้หรือไม่แท้ ขอให้ใจเราน้อมไปถึงพุทธคุณทั้ง ๙ คือ บทว่า "อิติปิ โส ภควาฯ เป็นต้น" แปลว่า ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้ทรงเป็นพระ อรหันต์ ดับเพลิงกิเลสกองทุกข์สิ้นเชิง ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง ฯลฯ หากวันไหนโยมไหว้พระ แล้วใจน้อมระลึกถึงคุณของพระพุทธเจ้าได้อย่างนี้ ถือได้ว่า โยมเดินทางไปไหว้พระที่ประกอบด้วยปัญญา ๒. ไหว้พระธรรม ใจอย่าหยุดที่คัมภีร์ใบลาน หมายความว่า ให้ใจ เราน้อมไปถึงพระธรรมคุณทั้ง ๖ มี สฺวากฺขาโต เป็นต้น ๓. ไหว้พระสงฆ์ อย่าจ�ำนงหมายว่าเป็นพระลูกหลาน หมายความ ว่า ทุกครั้งที่ไหว้พระสงฆ์ อย่าไปนึกว่านี่คือ หลวงปู่ หลวงน้า หรือพระลูก หลานญาติ ใ กล้ ชิด ของโยม ขอให้ใจของโยมน้ อ มไปในสั ง ฆคุ ณ ทั้ ง ๙ มี สุปฏิปนฺโน เป็นต้น หากไหว้พระสงฆ์แล้วใจระลึกได้อย่างนี้ แสดงว่าใจของ เราเป็นมหากุศลญาณสัมปยุตต์ พร้อมที่จะเข้าสู่มรรคกุศลทั้ง ๔ มีโสดาปัตติมรรค เป็นต้น 9


บันได ๕ ขั้น สู่การปฏิบัติ ตอนที่ ๓ ................................................................................................................................................................

หากโยมท่านใดไปไหว้พระ ๙ วัด ตามที่กล่าวไว้ข้างต้น ถือได้ว่า เป็นการไหว้พระ ๙ วัดที่เข้าถึงไตรสรณคมน์อย่างถูกต้อง ครบถ้วน และจะ น�ำพาโยมไปสู่มนุษยสมบัติ สวรรคสมบัติ นับชาติไม่ถ้วน เป็นเหตุปัจจัยให้ เข้าถึงนิพพานสมบัติ นอกจากนี้ หากการเดินทางไปไหว้พระถึง ๙ วัด เป็นอุปสรรคต่อ สุขภาพร่างกาย วัดทั้ง ๙ ที่ท�ำให้ใจเราน้อมไปสู่ไตรสรณคมน์ (บันไดขั้น ๑) ดังนี้ วัดที่ ๑ ชื่อว่า วัดอะระหัง วัดที่ ๒ ชื่อว่า วัดสัมมาสัมพุทโธ วัดที่ ๓ ชื่อว่า วัดวิชชาจะระณะสัมปันโน วัดที่ ๔ ชื่อว่า วัดสุคะโต วัดที่ ๕ ชื่อว่า วัดโลกะวิทู วัดที่ ๖ ชื่อว่า วัดอะนุตตะโร ปุริสะทัมะสาระถิ วัดที่ ๗ ชื่อว่า วัดสัตถาเทวะมะนุสสานัง วัดที่ ๘ ชื่อว่า วัดพุทโธ วัดที่ ๙ ชื่อว่า วัดภะคะวา ทั้งหมดเหล่านั้นคือ การไหว้พระ ๙ วัดที่ถูกต้อง และประกอบไปด้วยปัญญา บันไดขั้นที่ ๒ (ศีล) ของการปฏิบัตธรรม ๒.๑ ประเภทของศีล มี ๒ อย่าง ๒.๑.๑ วาริตตศีล หมายถึง ข้อห้าม ได้แก่ ศีล ๕, ศีล ๘ และปาติโมกขสังวรศีล ๒.๑.๒ อภิสมาจาริตตศีล (จารีตศีล) หมายถึง ศีลที่เป็นวัฒนธรรม ประเพณี เช่น การปฏิบัติตามหน้าที่ต่อกัน ยกตัวอย่าง - เราเป็นพ่อแม่ได้ท�ำหน้าที่ต่อบุตร คือ ให้การอบรมเลี้ยงดู, ให้การศึกษา ฯลฯ อย่างนี้ก็ได้ชื่อว่าได้ปฏิบัติธรรม ขั้นที่ ๒ (ศีล) แล้ว 10


............................................................................................................................................................... บันได ๕ ขั้น สู่การปฏิบัติ ตอนที่ ๓

- เราเป็นลูกได้ท�ำหน้าที่ต่อพ่อแม่ คือ ให้ความรักและเคารพ, ให้ความกตัญญู กตเวที, ให้ความห่วงใย เอาใจใส่เสมือนท่านเป็นพระอยู่ในบ้าน อย่างนี้ก็ได้ ชื่อว่าได้ปฏิบัติธรรม ขั้นที่ ๒ (ศีล) แล้ว - และหากเราได้รักษาศีล ๕ให้บริสุทธิ์ด้วย ก็จะได้ชื่อว่า ได้รักษาศีลทั้ง วาริตตศีล และอภิสมาจาริตตศีล (จารีตศีล) อีกด้วย - การที่เราเป็นจิตอาสา ช่วยงานวัด กวาดลานวัด ล้างจาน ท�ำความสะอาด เจดีย์, ล้างห้องน�้ำ ฯลฯ อย่างนี้ก็ได้ชื่อว่าได้ปฏิบัติธรรมขั้นที่ ๒ (ศีล) เช่นกัน เพราะฉะนั้น การที่เราท�ำหน้าที่ของเราอย่างสุจริต ถูกต้อง ก็ได้ชื่อว่า ปฏิบัติธรรม (ขั้นที่ ๒) แล้ว และหากมีผู้กล่าวว่า การปฏิบัติธรรม คือการไป เจริญวิปัสสนา อย่างนี้ก็ได้ชื่อว่าได้ปฏิบัติธรรมเหมือนกัน แต่เป็นขั้นที่ ๕ เท่านั้นเอง บันไดขั้นที่ ๓ ( ธุดงค์) ของการปฏิบัติธรรม ๓.๑ ความหมาย ของค�ำว่า ธุดงค์ ธุดงค์ แปลว่า องค์แห่งการขัดเกลากิเลส ไม่ใช่การที่ไปเดินแบบกลด เดินผ่านเมืองอย่างที่เห็นกัน ซึ่งโยมก็สามารถถือธุดงค์บางข้อได้ทุกวันโดยไม่ ต้องโกนศีรษะ, ไม่ต้องบิณฑบาต (เหมือนพระ) ๓.๒ ประเภทของธุดงค์ ส�ำหรับพระสงฆ์มี ๑๓ ข้อ แต่โยมก็สามารถปฏิบัติได้ (บางข้อ) เช่น ๓.๒.๑ โสสานิกังคะ คือ องค์แห่งผู้ถืออยู่ป่าช้าเป็นวัตร อยู่แรมคืน ในป่าช้าเป็นประจ�ำ ส�ำหรับโยมการมาท�ำงานในโรงพยาบาล เห็นการเกิด การตายของคนไข้แล้วได้น�ำมาพิจารณาถึงความตายอยู่เนื่องๆ (มรณานุสสติ) ก็ได้ชื่อว่า ปฏิบัติธรรมขั้นที่ ๓ (ธุดงค์) ๓.๒.๒ เนสัชชิกังคะ คือ องค์แห่งผู้ถือการนั่งเป็นวัตร ถือนั่ง ยืน เดิน เท่านั้น ไม่นอน ส�ำหรับโยมการมาท�ำงานแล้วไม่หลับช่วงพักกลางวันอย่างนี้ 11


บันได ๕ ขั้น สู่การปฏิบัติ ตอนที่ ๓ ................................................................................................................................................................

ก็ได้ชื่อว่า ปฏิบัติธรรมขั้นที่ ๓ (ธุดงค์) แล้ว ๓.๒.๓ ปัตตปิณฑิกังคะ คือ องค์แห่งผู้ถือฉันเฉพาะในบาตรเป็นวัตร คือถือการฉันเฉพาะในบาตร ไม่ใช้ภาชนะอื่น ส�ำหรับโยมกินอาหารใน ภาชนะเดียว เช่น ก๋วยเตี๋ยว ราดหน้า ข้าวราดแกง เป็นต้น ๓.๒.๔ เอกาสนิกังคะ คือ องค์แห่งผู้ถือนั่งอาสนะเดียวเป็นวัตร คือฉันวันละมื้อเดียว ลุกจากที่แล้วไม่ฉันอีกในวันนั้น ส�ำหรับโยม การกิน อาหารมื้อเดียว จาก ๓ มื้อของคนปกติก็สงเคราะห์เข้ากับธุงค์ข้อนี้ได้ ๓.๒.๕ ยถาสันถติกังคะ คือ การอยู่ในสถานที่ ต�ำแหน่งที่เจ้านายจัด ให้ ไม่เลือกตามใจตัวเอง ประโยชน์ของธุดงค์ ๑. ฝึกความอดทน, สันโดษ, มักน้อย ๒. ขัดเกลากิเลสยิ่งกว่าศีล ๓. ฝึกการกินง่ายอยู่ง่าย ไม่เป็นคนเรื่องมาก จู้จี้ โปรดติดตามต่อฉบับหน้า

12


ธุดงค์ ๑๓ ข้อ ของพระภิกษุ

๑. ปังสุกูลิกังคะ คือองค์แห่งผู้ถือผ้าบังสุกุลเป็นวัตรใช้เฉพาะแต่ผ้า บังสุกุลคือไม่รับจีวรจากทายก เที่ยวแสวงหาผ้าบังสุกุลมาเย็บย้อมท�ำจีวรเอง ๒. เตจีวริกังคะ คือองค์แห่งผู้ถือไตรจีวรเป็นวัตร คือถือผ้าเพียงสามผืน ได้แก่ จีวร สบง สังฆาฏิ อย่างละผืนเท่านั้นไม่ใช้จีวรนอกจากผ้าสามผืนนั้น ๓. ปิณฑปาติกังคะ คือองค์แห่งผู้ถือเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร คือไม่รับ นิมนต์ หรือลาภพิเศษอย่างอื่นใด ฉันเฉพาะอาหารที่บิณฑบาตมาได้ ๔. สปทานจาริกังคะ คือองค์แห่งผู้ถือเที่ยวบิณฑบาตไปตามล�ำดับบ้าน เป็นวัตร คือรับตามล�ำดับบ้านตามแถวเดียวกัน ไม่รับข้ามบ้านข้ามแถว หรือเที่ยว บิณฑบาตไปตามตรอกตามห้องแถวเรียงล�ำดับเรื่อยไปเป็นแนวเดียวกันไม่ข้ามไป เลือกรับที่โน้นที่นี่ตามใจชอบ ๕. เอกาสนิกังคะ คือองค์แห่งผู้ถือนั่งฉันที่อาสนะเดียวเป็นวัตร คือฉันวัน ละมื้อเดียว ลุกจากที่แล้วไม่ฉันอีกในวันนั้น ๖. ปัตตปิณฑิกังคะ คือองค์แห่งผู้ถือฉันเฉพาะในบาตรเป็นวัตร คือถือ การฉันเฉพาะในบาตร ไม่ใช้ภาชนะอื่น ๗. ขลุปัจฉาภัตติกังคะ คือองค์แห่งผู้ถือห้ามภัตที่เขาน�ำมาถวายภายหลัง คือเมื่อลงมือฉันแล้วมีผู้น�ำอาหารมาถวายอีก ก็ไม่รับ ๘. อารัญญิกังคะ คือองค์แห่งผู้ถืออยู่ป่าเป็นวัตร คือไม่อยู่ในเสนาสนะ ใกล้บ้าน แต่อยู่ป่าห่างจากบ้านอย่างน้อย ๒๕ เส้น ๙. รุกขมูลิกังคะ คือองค์แห่งผู้ถืออยู่โคนไม้เป็นวัตร ไม่อยู่ในที่มุงบัง ๑๐. อัพโภกาสิกังคะ คือองค์แห่งผู้ถืออยู่ในที่แจ้งเป็นวัตร คืออยู่เฉพาะ กลางแจ้ง ไม่อยู่ในที่มุงบัง หรือแม้แต่โคนไม้ (ห้ามถือในฤดูฝน) ๑๑. โสสานิกังคะ คือองค์แห่งผู้ถืออยู่ป่าช้าเป็นวัตร คืออยู่แรมคืนใน ป่าช้าเป็นประจ�ำ ๑๒. ยถาสันถติกังคะ คือองค์แห่งผู้ถือการอยู่ในเสนาสนะตามแต่เขาจัด ให้ไม่เลือกเสนาสนะเอาตามพอใจตัวเอง ๑๓. เนสัชชิกังคะ คือองค์แห่งผู้ถือการนั่งเป็นวัตร คือถือนั่ง ยืน เดิน เท่านั้น ไม่นอน 13


ชวนกันเป็นเศรษฐี

อ.กุลยาณี อิทธิวรกิจ ปั จ จุ บั นทั่ ว โลกมีปัญหาเรื่องการเป็นหนี้ อั น มี ส าเหตุ ม าจากการ บริโภคเกินตัว การบริโภคไม่ใช่เป็นการกินอย่างเดียว การบริโภคเป็นการกิน และการใช้ ส อยสิ่ ง ของ ร วมความทั้ ง อุ ป โภคและบริ โ ภค สิ่ ง ส�ำคั ญ ของ การบริโภคก็คือ การบริโภคหรือการใช้เกินความจ�ำเป็น สิ่งที่มีก็อยากมีอยาก ได้อีก เพื่อสนองความต้องการของตน หากไม่มีก็พยายามหาวิธีการเช่นการใช้ เงินในอนาคตและคาดว่ามีความสามารถใช้คืนได้ แต่สถานการณ์เปลี่ยนแปลง สิ่งที่คิดไม่เป็นไปตามที่คิด ผลก็คือไม่สามารถจ่ายหนี้เกินตัวได้ ปัญหาเงินต้น บวกดอกเบี้ยทวีคูณกันขึ้นอย่างรวดเร็ว ก่อหนี้เป็นดินพอกหางหมู พระพุทธศาสนาถือว่า ความทุกข์ของชาวโลก มี ๖ อย่าง คือความ จน การเป็นหนี้ การเสียดอกเบี้ย การถูกทวงดอกเบี้ย การถูกทวงหนี้ การถูก จองจ�ำ เมื่อทรงชี้ให้เห็นว่า ความจนเป็นทุกข์ พระพุทธองค์ก็ทรงแสดงให้ เห็นว่า ความจนนั้นแก้ไขได้ด้วยวิธีการที่เรียกว่า ทิฎฐธัมมิกัตถะ คือ ธรรมที่ เป็นไปเพื่อประโยชน์ในปัจจุบัน พระพุทธเจ้าทรงตรัสแสดงทิฏฐะธัมมิกัตถะหรือคาถาหัวใจเศรษฐี อันเป็นธรรมที่เป็นไปเพื่อประโยชน์ในปัจจุบัน หรือหลักธรรมอันอ�ำนวย ประโยชน์ สุขขั้ นต้ น หลักทิฏฐธัม มิกัตถะเป็ น หลั ก ปฏิ บัติเ พื่ อ ผล คื อ การสร้างสรรค์ชีวิตให้ดี หรือสมบูรณ์ในทางวัตถุ ได้แก่ การสร้างสรรค์ความ มั่ น คงทางเศรษฐกิ จ และสั ง คม หลั ก ธรรมที่ อ�ำนวยประโยชน์ สุ ข ขั้ น ต้ น ๔ ประการ ได้แก่ ๑) หลักการแสวงหา ถึงพร้อมด้วยความหมั่นเพียรในการปฏิบัติ หน้าที่การงาน ประกอบอาชีพอันสุจริต มีความช�ำนาญ รู้จักใช้ปัญญาสอด 14


....................................................................................................................................................................................... ชวนกันเป็นเศรษฐี

ส่อง ตรวจตรา หาอุบายวิธี สามารถด�ำเนินการให้ได้ผลดี การขยันท�ำมา หากินโดยสุจริต เลี้ยงชีพด้วยการงานที่ชอบ ๒) หลักการเก็บรักษา ถึงพร้อมด้วยการรักษาโภคทรัพย์โดยชอบ ธรรม ด้วยก�ำลังของตน ไม่ให้เป็นอันตรายหรือเสื่อมเสีย ๓) กั ล ยาณมิ ต ร หลั ก การคบหาสมาคม คบคนดี เ ป็ น มิ ต ร รู ้ จั ก ก�ำหนดบุคคลในการเสวนา คบหาท่านผู้ทรงคุณมีศรัทธา ศีล จาคะ ปัญญา ๔) สมชีวิตา หลักการบริโภคใช้สอยมีความเป็นอยู่เหมาะสม รู้จัก ก�ำหนดรายได้ และรายจ่ายเลี้ยงชีวิตแต่พอดี มิให้ฝืดเคืองหรือฟุ่มเฟือย ให้ รายได้เหนือรายจ่าย ทิฏฐิธัมมิกัตถะเป็นหลักการแสวงหาที่พร้อมด้วยความ เพียรในการแสวงหา เมื่อได้มาก็ต้องรู้จักเก็บรักษา และการแสวงหานั้น ต้องอาศัยกัลยาณมิตรผู้ให้การสนับสนุน ซึ่งการใช้สอยสิ่งที่หามาได้อย่าง เหมาะสมเพื่อก่อประโยชน์กับตนเองและผู้อื่น พระพุทธเจ้ายังได้ทรงแสดง ความไม่มีคุณธรรม ถือว่าเป็นความจน ในทางธรรม ผู้มีชีวิตอยู่ในทางธรรมด้วยความจน ก็ย่อมจะมีชีวิตอยู่อย่าง เป็นทุกข์เช่นกัน ผู้ที่ไม่มีศรัทธา หิริโอตตัปปะ วิริยะ ปัญญา ชื่อว่าเป็นคนจน ในทางธรรม และคนจนในทางธรรมนั้น ได้แก่ ท�ำชั่วทางกาย วาจาและใจ (ย่อมจะกู้หนี้) คอยปกปิดความชั่วของตนเอง (ต้องเสียดอกเบี้ย) ถูกคนติเตียน (ต้องถูกทวงหนี้) อกุศลวิตกครอบง�ำ (ต้องถูกทวงหนี้) ตายแล้วไปอบายภูมิ (ต้องถูกจองจ�ำ) กล่าวได้ว่า ความจนทางโลก คือความยากไร้ทางวัตถุ ความจนทาง ธรรม คือความยากไร้คุณธรรม ความจนทุกอย่าง คือ ทุกข์ของชีวิต หรือมี ชีวิตอย่างเป็นทุกข์ 15


ชวนกันเป็นเศรษฐี ........................................................................................................................................................................................

สาเหตุของทุกข์ในชีวิตอีกอย่างก็คือ การวิวาท ซึ่งพระพุทธศาสนา เรียกว่า วิวาทมูลทุกข์ คือทุกข์ที่มีสาเหตุมาจากการวิวาท และการวิวาทนั้นมี ๒ ลักษณะคือ ชาวโลกวิวาทกันเพราะกาม นักบวชวิวาทกันเพราะทิฎฐิ หลักทิฎฐธัมมิกัตถะ เป็นค�ำสอนที่เป็นข้อปฏิบัติส�ำคัญส�ำหรับผู้ครอง เรือนทั่วไป ถือเป็นหลักการส�ำหรับชีวิตทางวัตถุ เป็นวิธีการเพื่อแก้ไขปัญหา ทางวัตถุให้แก่มนุษย์ ทิฏฐธัมมิกัตถะเป็นหลักการแสวงหาที่พร้อมด้วยความ หมั่นเพียรในการแสวงหา เมื่อได้มาก็รู้จักเก็บรักษาและการแสวงหานั้น ต้องอาศัยกัลยาณมิตรผู้ให้การสนับสนุน ซึ่งการใช้สอยสิ่งที่หามาได้อย่าง เหมาะสมเพื่อก่อประโยชน์กับตนเองและผู้อื่น ขอเชิญชวนเป็นเศรษฐีทงั้ ทางโลก และทางธรรมด้วยหลักทิฏฐธัมมิกตั ถะ ตามที่กล่าวมาแล้ว และเสริมด้วยความเป็นผู้มีศรัทธา(ความเชื่อถือ) มีหิริ (ละอายต่อความชั่ว) โอตัปปะ(ความกลัวบาป) วิริยะ(ความเพียร) และปัญญา (ความรู้ความเข้าใจชัดเจน) ฉบับหน้าอย่าลืมติดตามการใช้ทรัพย์อย่างไรจึงไม่ท�ำให้เดือดร้อนนะคะ ขอให้ทกุ ท่านเป็นเศรษฐี อย่างน้อยก็เป็นเศรษฐีทางธรรมด้วยคุณธรรมประจ�ำใจ สวัสดี

16


ความคุ้นเคยเป็นรสอย่างเยี่ยม

ประณีต ก้องสมุทร ในสมัยของพระผูม้ พี ระภาคเจ้าของเรานี้ ในเรือนของท่านอนาถบิณฑิก เศรษฐีมีภัตตาหารไว้ถวายพระภิกษุ ๕๐๐ รูป เป็นประจ�ำทุกวัน ด้วยเหตุนี้ เรือนของท่านเศรษฐีจึงเป็นเสมือนบ่อน�้ำของภิกษุสงฆ์ตลอดกาล อีกทั้งยัง เรืองรองไปด้วยผ้ากาสาวพัสตร์ คลาคล�่ำไปด้วยหมู่ฤาษีผู้แสวงบุญ วันหนึ่ง พระราชาปเสนทิโกศลทรงเลียบพระนคร ทอดพระเนตร เห็นภิกษุสงฆ์ในเรือนของท่านเศรษฐี จึงทรงพระด�ำริจะถวายภัตตาหารแด่ ภิกษุสงฆ์ ๕๐๐ รูป เป็นประจ�ำ จึงเสด็จไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าที่พระ เชตวันมหาวิหาร ทรงนมัสการให้พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบ ตั้งแต่นั้น มาพระราชาก็ทรงถวายภัตตาหารแด่ภิกษุ ๕๐๐ รูป เป็นประจ�ำ โดยถวาย โภชนะที่ท�ำด้วยข้าวสาลี มีกลิ่นหอม ซึ่งเก็บไว้นาน ๓ ปีอันเป็นของประณีต แต่ผู้ถวายด้วยมือของตนก็ดี ด้วยความคุ้นเคยก็ดี ด้วยความสิเนหาก็ดี มิได้มี พวกข้าหลวงย่อมจัดให้ถวาย ภิกษุทั้งหลายไม่ปรารถนาที่จะนั่งฉัน เมื่อรับเอา อาหารมีรสเลิศต่างๆแล้ว ได้ไปยังตระกูลอุปัฏฐากของตนๆ มอบภัตตาหาร แก่พวกอุปัฏฐากเหล่านั้น พากันฉันภัตตาหารที่อุปัฏฐากเหล่านั้นจัดถวาย ไม่ ว่าภัตตาหารนั้นจะเลวหรือประณีต อยู่มาวันหนึ่ง มีผู้น�ำผลไม้เป็นอันมากมาถวายพระราชา พระราชา รับสั่งให้น�ำไปถวายแด่พระภิกษุสงฆ์ คนทั้งหลายจึงพากันไปยังโรงอาหาร ไม่เห็นภิกษุสักรูปเดียว จึงกลับมากราบทูลให้พระราชาทรงทราบ พระราชา ตรัสว่า ยังไม่ถึงเวลากระมัง คนเหล่านั้นกราบทูลว่า ถึงเวลาแล้วพระเจ้าข้า แต่ภิกษุทั้งหลายรับภัตตาหารจากในพระราชวังของพระองค์แล้ว ไปยังเรือน อุปัฏฐากผู้คุ้นเคยของตนๆ ให้ภัตตาหารนั้นแก่อุปัฏฐากเหล่านั้น แล้วฉัน ภัตตาหารที่อุปัฏฐากเหล่านั้นถวาย ไม่ว่าภัตตาหารเหล่านั้นจะเศร้าหมอง หรือประณีตก็ตาม 17


ความคุ้นเคย เป็นรสอย่างเยี่ยม ....................................................................................................................................................................

พระราชาทรงด�ำริว่า ภัตตาหารอันประณีต เพราะเหตุไรหนอ ภิกษุ ทั้งหลายจึงไม่ฉันภัตตาหารนั้น พากันไปฉันภัตตาหารอื่น เราจักทูลถามพระ ศาสดา พระศาสดาตรัสว่า "มหาบพิตร ธรรมดาการบริโภคโภชนะมีความคุ้น เคยกันส�ำคัญยิ่ง เพราะในพระราชวังของพระองค์ ไม่มีผู้ให้ความคุ้นเคยและ ให้ความสนิทสนม ภิกษุทั้งหลายจึงรับภัตตาหาร แล้วกลับไปฉันในที่ที่มีความ คุ้นเคยกับตน มหาบพิตร ชื่อว่ารสเช่นกับความคุ้นเคยย่อมไม่มี แม้ของอร่อย ๔ อย่าง ที่คนผู้ไม่คุ้นเคยให้ ย่อมไม่ถึงค่าแม้สักว่าเปรียงที่คนผู้คุ้นเคยให้ แม้ บัณฑิตทั้งหลายในปางก่อน ครั้นเมื่อโรคเกิดขึ้น เมื่อพระราชาแม้ทรงพาหมอ ทั้ง ๕ ตระกูลไปให้กระท�ำยา เมื่อโรคไม่สงบ ได้ไปยังส�ำนักของคนที่คุ้นเคย กัน บริโภคยาคูอันท�ำด้วยข้าวฟ่างและลูกเดือยจืดๆ และผักซึ่งราดด้วยน�้ำ เปล่าไม่มีรสเค็ม ก็หายโรคได้" เมื่อพระราชาทูลอาราธนาให้ทรงเล่าเรื่องนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงน�ำเรื่องในอดีตมาตรัสเล่า ดังต่อไปนี้: ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตทรงครองราชสมบัติอยู่ในนคร พาราณสี พระโพธิสัตว์บังเกิดในตระกูลพราหมณ์ ในกาสิกรัฐ มีนามว่า กัปปกุมาร เมื่อเจริญวัยแล้วได้เรียนศิลปะทุกอย่างในเมืองตักกศิลา ต่อมา ได้บวชเป็นฤาษี ครั้งนั้น เกสวดาบส เป็นครูของคณะฤาษี ๕๐๐ รูป อยู่ใน หิมวันตประเทศ กัปปฤาษีได้ไปยังส�ำนักของเกสวดาบส และอยูเ่ ป็นอันเตวาสิก ผู้ใหญ่ของอันเตวาสิก ๕๐๐ รูป ก็เกสวดาบสกับพระโพธิสัตว์กัปปดาบสนั้น มีอัธยาศัยใจคอคุ้นเคยสนิทสนมกันยิ่งนัก ต่อมาเกสวดาบสได้พาดาบสทั้งหมดไปยังถิ่นมนุษย์ เพื่อต้องการ เสพรสเปรี้ยวและรสเค็ม อาศัยอยู่ในพระราชอุทยานของพระเจ้าพรหมทัต วันรุ่งขึ้นได้พากันเข้าไปในพระนครเพื่อภิกษาจาร และได้ไปถึงประตูของ พระราชวัง พระราชาทรงเห็นหมู่ฤาษี จึงให้ไปนิมนต์มาฉันภายในพระราชนิเวศน์ ทรงถือเอาปฏิญญาแล้ว ให้พักอยู่ในพระราชอุทยาน ครั้นหมดฤดู 18


................................................................................................................................................................... ความคุ้นเคย เป็นรสอย่างเยี่ยม

ฝนแล้ว เกสวดาบสได้ทูลอ�ำลาพระราชา พระราชาตรัสว่า ท่านทั้งหลายเป็น ผู้เฒ่า จงอาศัยอยู่กับข้าพเจ้าก่อน ส่งแต่ดาบสหนุ่มๆไปยังหิมวันตประเทศ เถิด เกสวดาบสรับว่า ดีละ แล้วส่งดาบสเหล่านั้นพร้อมกับพระโพธิสัตว์ผู้เป็น อันเตวาสิกผู้ใหญ่ไปยังหิมวันตประเทศ ตนเองยังอยู่แต่ผู้เดียว เมื่อกัปปดาบสกลับไปอยู่ที่หิมวันตประเทศกับดาบสทั้งหลาย เกสว ดาบสเมื่ออยู่เหินห่างจากกัปปดาบสก็ร�ำคาญใจ ใคร่จะได้เห็นกัปปดาบส จนไม่เป็นอันหลับนอน เมื่อเกสวดาบสนั้นนอนไม่หลับ อาหารก็ไม่ย่อย โรค ลงโลหิตก็เกิดขึ้น ทุกขเวทนาก็เป็นไปอยู่อย่างแรงกล้า พระราชาทรงพา แพทย์ ๕ สกุล มาปรนนิบัติดาบส แต่โรคก็ไม่สงบ เกสวดาบสทูลพระราชาว่า มหาบพิตร พระองค์ปรารถนาให้อาตมาภาพตายหรือหายจากโรค พระราชา ตรัสว่า ปรารถนาให้หายจากโรคสิท่านผู้เจริญ เกสวดาบสทูลว่า ถ้าเช่นนั้นขอ พระองค์ทรงส่งอาตมาภาพกลับไปยังหิมวันตประเทศ พระราชาทรงให้นารท อ�ำมาตย์พาไปส่งพร้อมกับพวกพรานป่า นารทอ�ำมาตย์น�ำเกสวดาบสไปส่งถึง หิมวันตประเทศแล้วก็กลับ ฝ่ายเกสวดาบสพอได้เห็นกัปปดาบสเท่านั้น โรค ทางใจก็สงบ ความร�ำคาญใจก็ระงับไป ล�ำดับนั้น กัปปดาบสได้ให้ยาคูที่ต้มด้วยข้าวฟ่างและลูกเดือย พร้อม ผักที่ราดด้วยน�้ำเปล่าซึ่งไม่เค็มและไม่อบแก่เกสวดาบสนั้น โรคลงโลหิตของ เกสวดาบสนั้นก็สงบระงับลงในขณะนั้นเอง พระราชาทรงส่งนารทอ�ำมาตย์ ไปฟังข่าวของเกสวดาบส นารทอ�ำมาตย์ได้เห็นเกสวดาบสหายโรค สบายดี ก็ถามว่า ท่านผู้เจริญ พระเจ้าพาราณสีทรงให้แพทย์ ๕ ตระกูลมารักษาท่าน ก็ไม่อาจท�ำให้ท่านหายโรคได้ กัปปดาบสปรนนิบัติท่านอย่างไร เกสวดาบสตอบว่า ดูก่อนนารทอ�ำมาตย์ สิ่งอันน่ารื่นรมย์ใจซึ่งยัง ประโยชน์ให้ส�ำเร็จมีอยู่ หมู่ไม้อันท�ำใจให้รื่นรมย์มีอยู่ แต่ถ้อยค�ำอันเป็น สุภาษิตของกัปปดาบส ย่อมท�ำให้เราอภิรมย์ยินดี ทั้งให้เราดื่มยาคูที่ต้มด้วย 19


ความคุ้นเคย เป็นรสอย่างเยี่ยม ....................................................................................................................................................................

ข้าวฟ่างและลูกเดือย อันระคนด้วยผักที่ราดด้วยน�้ำ ซึ่งไม่เค็มและไม่ได้อบ กลิ่น โรคในร่างกายของเราสงบระงับเพราะข้าวยาคูนั้น เราเป็นผู้หายโรคแล้ว นารทอ�ำมาตย์ได้ฟังดังนั้นจึงถามอีกว่า พระคุณเจ้าบริโภคข้าวสุกแห่งข้าว สาลีที่ปรุงด้วยเนื้อสะอาดมาแล้ว ไฉนข้าวฟ่างและลูกเดือยอันหารสไม่ได้จึง ท�ำให้พระคุณเจ้ายินดีได้เล่า เกสวดาบสกล่าวตอบว่า ของบริโภคจะดีหรือไม่ดีก็ตาม จะน้อยหรือ มากก็ตาม บุคคลผู้คุ้นเคยกันแล้ว บริโภคในที่ใด การบริโภคในที่นั้นแหละดี เพราะรสทั้งหลายมีความคุ้นเคยเป็นเยี่ยม ถามว่า เพราะเหตุใด ตอบว่า เพราะรสทั้งหลายมีความคุ้นเคยกันเป็นยอดเยี่ยม อธิบายว่า รสทั้งหลายชื่อว่ามีความคุ้นเคยเป็นเยี่ยม เพราะความคุ้นเคยเป็นยอดเยี่ยม คือสูงสุดแห่งรสทั้งหลายเหล่านี้ เพราะขึ้นชื่อว่ารสจะเสมอกับรสคือความคุ้น เคยกันย่อมไม่มี เหตุนั้นโภชนาหารแม้มีรสอร่อย ๔ อย่าง ที่คนผู้ไม่คุ้นเคย จัดให้ ย่อมไม่ถึงค่าน�้ำส้มและน�้ำข้าวที่คนผู้คุ้นเคยจัดให้ นารทอ�ำมาตย์ได้ฟังค�ำของเกสวดาบสนั้นแล้ว จึงกลับไปเข้าเฝ้า พระเจ้าพาราณสี กราบทูลตามค�ำของเกสวดาบสให้ทรงทราบ เมื่อพระศาสดาน�ำเรื่องในอดีตมาตรัสเล่าแล้ว ทรงประชุมชาดกว่า พระราชาพาราณสีในครั้งนั้น ได้เป็น พระอานนท์ ในบัดนี้ นารทอ�ำมาตย์ ในครั้งนั้น ได้เป็น พระสารีบุตร ในบัดนี้ เกสวดาบสในครั้งนั้น ได้เป็น พระ มหาพรหม ในบัดนี้ ส่วนกัปปดาบส คือ เราตถาคต (จาก เกสวชาดก จตุกนิบาตชาดก ข้อ ๖๘๒-๖๘๕ และอรรถกถา) 20


พระห้อยคอ ๓ องค์

พระคันธสาราภิวงศ์ เราควรมีพระห้อยคอ ๓ องค์อยู่ตลอดเวลา จะท�ำให้เราสบายใจ อยูเ่ ป็นสุข ไม่เดือดร้อน พระทัง้ ๓ องค์ คือ ๑. พระปิดตา คือ เราต้องปิดตาบ้างในบางคราว ถ้าเราเห็นสิง่ ทีท่ �ำให้ ต้องโลภหรือโกรธ เราก็ควรปิดตาเอาไว้ ไม่ดสู งิ่ เหล่านัน้ ก�ำหนดว่า "เห็นหนอ" แล้วจบ ถ้าเราไม่จบทีก่ ารเห็น แต่ไปปรุงแต่ง และตอบสนองในเชิงลบหรือบวก ก็จะท�ำให้กเิ ลสทีโ่ ลภ หรือโกรธง่ายท�ำร้ายใจของเรา นีค่ อื "ความเครียด" ทีม่ อง ไม่เห็น ๒. พระปิดหู คือ เราต้องปิดหูบา้ งในบางคราว ถ้าเราได้ยนิ สิง่ ทีท่ �ำให้ ต้องโลภหรือโกรธ เราก็ควรปิดหูไว้ ไม่ไปฟัง ก�ำหนดว่า "ได้ยนิ หนอ" แล้วจบ เรือ่ งทะเลาะวิวาทในโลกเกิดจากการไม่ปดิ หู พอได้ยนิ ค�ำทีแ่ สลงหู ก็ เลยไม่พอใจ ท�ำให้เกิดเรือ่ งเกิดราว ทะเลาะวิวาทจนฆ่ากันตายก็มี ๓. พระปิดปาก คือ แม้เราจะรูส้ กึ ไม่พอใจ ก็ตอ้ งปิดปากไว้ อดทนนิง่ อยู่ ไม่เปล่งถ้อยค�ำทีแ่ สลงหูคนอืน่ ก็จะท�ำให้ไม่มเี รือ่ งมีราวกันต่อไป

21


ขันติวาทิชาดก

เขมา เขมะ ในสมัยหนึ่ง เมื่อพระเจ้ากลาพุกาสิกราชเสด็จครองราชย์ ณ เมือง พาราณสี พระโพธิสัตว์อุบัติขึ้นในตระกูลพราหมณ์ซึ่งมีทรัพย์มากถึง ๘๐ โกฏิ มีนามว่า "กุณฑลกุมาร" พระโพธิสัตว์ได้ไปศึกษาสรรพศิลปวิทยาการ จากส�ำนักตักกศิลาจนจบการศึกษาแล้วก็เดินทางกลับมาบ้าน ต่อมาไม่ นานมารดาและบิดาก็สิ้นชีวิต จึงให้ส�ำรวจทรัพย์สินของตระกูลทั้งหมด ปรากฏว่ามีเป็นจ�ำนวนมหาศาล จึงคิดอ่านด้วยปัญญาว่า "บรรพชนปู่ย่า ตายาย และบิดาของเราสู้อุตส่าห์เก็บรวบรวมทรัพย์สินมากมายเหล่านี้ไว้ แต่ไม่อาจน�ำติดตัวไปได้เลยแม้แต่อย่างเดียว ต้องทิ้งไว้มากมายก่ายกอง เช่นนี้ แต่เราควรจะน�ำเอาไปให้ได้ คิดได้ดังนี้จึงคัดสรรทรัพย์สินทั้งหมด ออกแล้วให้เป็นทานไปทั้งหมด ใครควรได้สิ่งใด ก็ให้สิ่งนั้นไปตามความ เหมาะสม มิได้เก็บไว้ใช้ส่วนตัวเลย เมื่อให้ทานสมบัติหมดแล้วก็มุ่งหน้า เข้าป่าหิมพานต์ บวชเป็นฤาษีเลี้ยงชีพด้วยการหาผลไม้ตลอดกาลนาน ต่อมาท่านต้องการจะเสพรสเปรี้ยวรสเค็มบ้าง จึงได้เดินทางมายัง ถิ่นที่อยู่ของมนุษย์ เข้าไปพักอาศัยอยู่ในพระราชอุทยานเมืองพาราณสี วัน รุ่งขึ้นได้ออกภิกขาจารไปตามถนนในเมืองจนถึงบ้านของเสนาบดี เสนาบดี เกิดศรัทธาจึงนิมนต์ให้เข้าไปฉันโภชนาหารในบ้านตน แล้วนิมนต์ให้อยู่ ประจ�ำที่พระราชอุทยานเพื่อตนและญาติๆจะได้ท�ำบุญกัน พระโพธิสัตว์ ก็รับนิมนต์โดยอาการดุษฎี อยู่มาวันหนึ่ง พระเจ้ากลาพุเสด็จพร้อมด้วยนางสนมจ�ำนวนมาก ไปประพาสในพระราชอุทยาน ทรงเสวยน�้ำจัณฑ์จนมึนเมาแล้วบรรทม อยู่บนตักของนางสนมคนโปรด พวกนางสนมอื่นๆก็ขับร้องประโคมดนตรี 22


............................................................................................................................................................................................. ขันติวาทิชาดก

เห่กล่อมไปตามปกติจนเห็นพระราชาบรรทมหลับสนิท จึงวางดนตรีแล้ว ค่อยๆออกไปเล่นสนุกสนานกันห่างๆ วิ่งเล่นกันพลาง หัวเราะกันพลางไป จนเห็นพระโพธิสัตว์นั่งส�ำรวมอิริยาบถอยู่จึงได้สงบกันแล้วเข้าไปนมัสการ พร้อมทั้งอาราธนาให้เล่าเรื่องอะไรก็ได้ให้พวกต้นฟัง ซึ่งพระดาบสก็มิได้ ขัดข้อง ได้แสดงธรรมให้นางสนมฟัง ฝ่ายพระเจ้ากลาพุทรงตื่นบรรทมขึ้นแล้วถามหาพวกนางสนม พอ ทราบว่าพวกนางไปห้อมล้อมฟังพระดาบสแสดงธรรมอยู่ก็พิโรธ ฉวย พระแสงดาบเสด็จตรงเข้าไปหาพระดาบสหวังจะประหารเสีย แต่พวกนาง สนมที่ใจกล้าก็พากันแย่งพระแสงดาบไว้ แล้วทูลให้ทรงระงับพระอารมณ์ ฝ่ายพระโพธิสัตว์ได้ถวายพระพรไปว่าให้ทรงถือขันติ พระเจ้ากลาพุตรัส ถามว่า"ขันติคืออะไร" พระดาบสกราบทูลไปว่า"ขันติ คือความไม่โกรธใน เมื่อเขาด่า เขาทุบตี หรือเขาประหาร" จึงตรัสว่า"ถ้าอย่างนั้น จะได้เห็นกัน ว่าจะขันติได้สักแค่ไหน" จากนั้นพระราชาทรงรับสั่งให้ตามพวกเพชฌฆาตมา เหล่าเพชฌฆาต ก็รีบแต่งตัวนุ่งผ้าย้อมน�้ำฝาด ทัดดอกไม้แดง ถือขวาน และหวายหนามตาม ธรรมเนียมของตนมาเฝ้า เมื่อเพชฌฆาตมาถึง ทรงรับสั่งให้จับพระดาบส นอนค�่ำแล้วเฆี่ยน ๕๐๐ ครั้ง ให้นอนหงาย นอนตะแคงซ้าย นอนตะแคงขวา แล้วเฆี่ยนอีกข้างละ ๕๐๐ ครั้ง เป็นทั้งสิ้น ๒,๐๐๐ ครั้ง จนร่างพระดาบสมี แต่รอยแผลอาบไปด้วยเลือด หนังก�ำพร้าเปิด ผิวหนังขาดวิ่นประดุจผ้าขี้ริ้ว พระราชาตรัสถามอีกว่า"ท่านถืออะไร" พระดาบสก็กราบทูลไปว่า "อาตมาถือขันติ แต่มหาบพิตรคงเข้าใจ ว่าขันติอยู่ที่เนื้อหนังของอาตมา ความจริงขันติมิได้อยู่ที่เนื้อหนัง แต่อยู่ที่ ดวงใจของอาตมาซึ่งมหาบพิตรไม่อาจทอดพระเนตรได้ต่างหาก" 23


ขันติวาทิชาดก ...............................................................................................................................................................................................

พระราชาจึงตรัสสั่งให้เพชฌฆาตตัดมือทั้งสองข้างของพระดาบสเสีย เขาจึงจับมือพระดาบสพาดบนเขียงแล้วตัดจนมือขาดกระเด็นทั้งสองข้าง เหมือนกับตัดหยวกกล้วย ตรัสถามอีกว่าถืออะไร ก็ถวายพระพรตอบเหมือนเดิม จึงตรัสสั่งให้ ตัดเท้าทั้งสองเสีย เขาก็ตัดเท้าท่านจนขาด ถึงกระนั้นก็ยังไม่ทรงหยุดความ โหดร้าย ได้ตรัสถามเหมือนเดิม พระดาบสก็ถวายพระพรตอบเหมือนเดิม จึง รับสั่งให้ตัดหู และจมูกเสีย เพชฌฆาตก็ปฏิบัติตามนั้น แม้ปราศจากแขน ขา หู และจมูก พระดาบสก็ถวายพระพรตอบว่า "มหาบพิตรส�ำคัญว่าขันติอยู่ที่มือ เท้า หู หรือจมูกของอาตมาหรือ ขันติมิได้ อยู่ที่ตรงนั้น แต่อยู่ที่ดวงใจของอาตมาซึ่งมหาบพิตรไม่อาจจะทอดพระเนตร ได้ต่างหาก" ค�ำพูดนั้นสร้างความพิโรธให้แก่พระราชาผู้ดุร้ายอย่างเต็มที่ รับสั่งว่า นั่งประคองขันติไว้ให้ดีเถิดเจ้าชฎิลชั่ว แล้วทรงย�่ำไปที่หน้าอกตรงจุดหัวใจ ของพระดาบสเต็มแรงแล้วเสด็จกลับ เมือ่ พระราชาเสด็จกลับไปแล้ว เสนาบดีจงึ เข้าไปประคองพระโพธิสตั ว์ เช็ดเลือดออกจากร่าง ห่อปลายมือ ปลายเท้า หู และจมูกที่ถูกตัดขาดไว้ที่ชาย ผ้าห่ม ค่อยๆพยุงให้ท่านนั่งแล้วถอยห่างออกมานมัสการว่า หากประสงค์จะ โกรธก็โกรธเฉพาะพระราชาเถิด อย่าได้โกรธผู้อื่นเลย แล้ววิงวอนว่า "ข้าแต่ท่านผู้มีความเพียรใหญ่ ผู้ใดสั่งให้ตัดมือ ตัดเท้า หู และจมูก ของพระคุณท่าน ขอพระคุณท่านจงโกรธเฉพาะผู้นั้นเถิด อย่าได้ท�ำให้แคว้น กาสีนี้พินาศเลย" พระโพธิสัตว์สดับวาจานั้นจึงกล่าวว่า "พระราชาพระองค์ใดรับสั่งให้ตัดมือ เท้า หู และจมูกของอาตมา ขอ 24


............................................................................................................................................................................................. ขันติวาทิชาดก

ให้พระราชาพระองค์นั้นจงทรงพระชนมายุยิ่งยืนนานเถิด บัณฑิตทั้งหลาย เช่นกับอาตมาย่อมจะไม่โกรธเคือง" กล่ าวฝ่ ายพระเจ้า กลาพุ เมื่อเสด็จกลั บ พอคล้ อยจั ก ษุ ข องพระ โพธิสัตว์เท่านั้น แผ่นดินที่หนาถึงสองแสนสี่หมื่นโยชน์ ก็แยกตัวออกเหมือน ผ้าขาดกลางผืน เปลวไฟพวยพุ่งขึ้นมาจากอเวจีมหานรกห่อหุ้มคลุมร่างพระ เจ้ากลาพุเหมือนถูกผ้ากัมพลแดงคลุมพระองค์ไว้ฉะนั้น ท้าวเธอเสด็จถึง ประตูพระราชอุทยานนั้นเอง แต่ได้ไปประดิษฐานอยู่ ณ อเวจีมหานรกแล้ว ส่วนพระโพธิสัตว์ก็ได้ท�ำกาละในวันนั้นนั่นเอง พระบรมศาสดาครั้นตรัสเล่าเรื่องนี้จบแล้ว ทรงสรุปว่า "พระเจ้ากลาพุ ในครั้งนั้น ได้มาเป็นพระเทวทัต เสนาบดีได้มาเป็นพระสารีบุตร ส่วนขันติ วาทีดาบส ก็คือพระองค์เอง" สรุปสาระ พระพุทธองค์ตรัสว่า ขันติคือความอดทน อดกลั้นทนทานได้เป็นตบะ ธรรมอย่างยิ่ง ขันติ แปลกันว่า ความอดทน คือความเข้มแข็ง หนักแน่น ทนทาน ไม่ หวั้นไหวต่อหนาว ร้อน ต่อความเจ็บปวด และต่อค�ำด่าว่าเสียดสีของผู้อื่น ขันติเป็นยอดของธรรมะ เป็นหัวใจของนักปฏิบัติธรรม ตลอดถึงนัก ท�ำงาน นักเรียน นักศึกษา และผู้ประกอบอาชีพทุกประเภท ขันติจะเป็นตัว ช่วยสนับสนุนให้ส�ำเร็จกิจที่ต้องประสงค์ได้ทุกอย่าง หากขาดขันติทุกอย่างก็ จะหยุดชะงัก ไม่อาจเดินหน้าได้ และจะพบความส�ำเร็จไม่ได้เลย นักปฏิบัติธรรมที่มีจุดมุ่งหมายสูงสุดคือการบรรลุธรรมยิ่งต้องมีขันติ มากขึ้น สูงขึ้นตาม มิเช่นนั้นจะมิอาจบรรลุผลสูงสุดตามที่ตนปรารถนาได้เลย 25


ความจ�ำเป็น หรือความต้องการ

พระมหาไพโรจน์ ญาณกุสโล ในโลกนี้มีความสุขที่ถือว่าจ�ำเป็นอย่างยิ่งที่สุดคือ ความสุขทางจิตใจ แต่ชาวโลกเป็นจ�ำนวนมากมักหวังไปที่ความสุขทางกายมากกว่าความสุขทาง จิตใจ เข้าข่ายว่ามีความจ�ำเป็นอย่างหนึ่ง แต่ต้องการอีกอย่างหนึ่ง ฉะนั้ น เห็ นควรที่จ ะต้องขบคิดให้ร อบคอบเกี่ ย วกั บประเด็ น ที่ ว ่ า "ตกลงเราจะให้ความส�ำคัญต่อความจ�ำเป็น หรือว่าจะให้ความส�ำคัญต่อสิ่งที่ ตนต้องการกันแน่ (เราจะเอาความจ�ำเป็น หรือความต้องการของตนเองเป็น หลักกันแน่)" อย่างไรก็ตามจะขอเตือนไว้ล่วงหน้าว่า หากเน้นความต้องการของ ตนเองเป็นหลัก โดยเมินความจ�ำเป็นแล้วล่ะก็ สิ่งที่จะเกิดตามมาในภายหลัง ก็จะมีแต่ความเสียใจ ความไม่พอใจตัวเองอย่างเดียวเท่านั้น ไม่มีอะไรที่จะ มากไปกว่านี้อีกเป็นแน่ "...จิตใจของเรานั้น หากออกไปนอกร่างกาย เพียงชั่วขณะเดียวเท่านั้น ก็จะเป็นทุกข์ในทันที ถ้าออกไปมากครั้ง ก็คงไม่ต้องพูดถึงว่าจะเป็นทุกข์ประมาณใด..."

26


โลกธรรมที่รอคอย

พระสังคีต สงฺคีตวโร ในโลกของเรานี้มีวัตถุสิ่งของอยู่หลายสิ่ง แต่ละสิ่งมีด้านให้มองอยู่ หลายด้าน หากเราไม่เข้าไปจ�ำกัดความคิดของคนมากนักก็จะทราบว่า ธรรมชาติมีความหลากหลายแตกต่างมากมายทีเดียว นั่นก็เพราะคิด เพราะ รู้จักคิดจึงรู้ว่ามีความสุขก็ต้องมีความทุกข์เป็นธรรมดา เมื่อคนเราไม่เข้าไป จ�ำกัดกรอบของความคิดมากนัก ก็จะพบด้านสุดโต่งที่คนเราไม่ควรเข้าไปเสพ หากเป็นคนที่ชอบแสวงหาลาภ ก็ขอให้เข้าใจว่ามีลาภก็ต้องเสื่อมลาภ หาก เป็นคนที่ชอบแสวงหายศ ก็ขอให้เข้าใจว่ามียศก็ต้องเสื่อมยศ หากเป็นคน ที่ชอบแสวงหาความสุข ก็ขอให้เข้าใจว่ามีสุขก็ต้องมีทุกข์ และหากเป็นคนที่ ชอบค�ำสรรเสริญ ก็ต้องเข้าใจว่ามีสรรเสริญก็ต้องมีนินทา ให้เข้าใจด้านทั้ง สองก็จะไม่หลงเข้าไปติดกับดักความคิด เพราะดูเหมือนว่าจะจินตนาการได้ มากมายนัก แต่ก็เพราะคนๆนั้นเข้าใจกรอบของความคิดจึงไม่ติดอยู่ในกรอบ ชีวิตมีที่สุดคือความตาย ส่วนโลกธรรมเป็นเพียงสิ่งที่หล่อเลี้ยงให้คน เราติดอยู่ในวัฏฏะ ดีก็ชอบ ไม่ดีก็ชัง คนเราเสพอารมณ์ทุกวัน ติดอารมณ์ ทุกนาที ไม่เคยคิดที่จะออกจากอารมณ์ที่ไม่ดีต่างๆ พอนานวันเข้า ที่ไม่ดี ก็คิดว่าดี ที่ดีก็ไม่เข้าไปหา ท�ำให้ใจเศร้าหมอง หรืออีกนัยหนึ่งก็คือน�ำเรื่อง เศร้าหมองมาไว้ที่ตนเอง กรอบของความคิดที่เรียกว่าโลกธรรมนี้จึงส�ำคัญ พอที่จะช่วยตรวจสอบใจที่อยู่ในตัวเรา เมื่อคนเราตรวจสอบใจของตนอยู่อย่างสม�่ำเสมอ ก็จะค้นพบความ ลับบางอย่าง คือเหมือนมีบางสิ่งบางอย่าง บอกให้เราท�ำสิ่งนั้นบ้างสิ่งนี้บ้าง ดีบ้าง ไม่ดีบ้าง คืออะไรๆที่ให้ผลดีเราก็บอกว่ามันดี อะไรที่ให้ผลไม่ดีเราก็ บอกว่ามันไม่ดี ลืมนึกไปว่าดีก็ไม่ใช่ของเรา ไม่ดีก็ไม่ใช่ของเรา เพราะว่าเรา ถูกใช้ให้ท�ำ เราท�ำสิ่งต่างๆตามที่สิ่งนั้นที่ไม่รู้ว่าเป็นอะไรใช้ให้ท�ำ ส่วนหนึ่ง ก็คือมันตรงกับที่เราต้องการ หรืออีกอย่างหนึ่งก็คือตรงกับที่เราคิด เราคิด เองหรือว่าเราท�ำเอง นักศึกษาไม่ควรไปกังวลกับสิ่งที่ได้อ่านไปนี้มากนัก 27


โลกธรรมที่รอคอย .........................................................................................................................................................................................

เพราะว่าการเข้าไปรู้ไม่ใช่สิ่งที่จ�ำเป็นส�ำหรับคนที่รู้ว่าวันแต่ละวันจะต้องท�ำ อะไร ตรวจสอบใจของตนนาทีต่อนาทีว่าดีหรือไม่ดีอย่างไร ชีวิตแต่ละช่วงเวลาก็มีปัญหาไม่เหมือนกัน แต่หากคนเราเข้าใจ โลกธรรมมากพอ ก็จะแก้ไขปัญหาของใจได้ เมื่อคนเราแก้ไขปัญหาที่ยาก นี้ได้แล้ว เรื่องอื่นก็เป็นเรื่องรองลงไป เพราะว่าใจเป็นปัญหาหลักของชีวิต และโลกธรรมก็ครอบง�ำใจอยู่เสมอ เพราะว่ามันเป็นสิ่งที่ต้องติด ต้องเรียนรู้ ถึงความติดว่าอย่างไรดี กลางคืนย่อมยาวนานส�ำหรับคนนอนไม่หลับ ระยะทางย่อมยาว ส�ำหรับคนที่เหนื่อยล้า สังสารวัฏย่อมยาวนานแก่ผู้ไม่รู้พระสัทธรรม หากสิ่งที่ทุกๆคนรอคอย คือความพ้นไปจากโลกธรรม เพียงแต่ท�ำสิ่ง ดีๆไปเรื่อยๆ โดยที่ไม่เมื่อยล้า ไม่ท้อถอย แค่นี้สุคติก็เป็นที่หวังได้เสมอ

28


สุขภาพดี วิถีพุทธ ตอน "การล้างจมูก" มานี มีตา ในชีวิตประจ�ำวัน หากเราเกิดอาการมีน�้ำมูกไหลคล้ายจะเป็นไข้หวัด ส่วนใหญ่ก็จะเร่งรีบไปหาซื้อยาลดน�้ำมูกชนิดเม็ดมารับประทาน อาทิ ยาเม็ด สีเหลืองๆที่ทานแล้วง่วงซึมได้ หรือเม็ดสีขาวๆที่คุณหมอบอกว่าเป็นยาลด น�้ำมูกแบบไม่ง่วงก็ตามเถอะ สุดท้ายก็จะมีอาการสลึมสะลือบ้างหากใครที่ เคยทานยาชนิดนี้เข้าไป ซึ่งเป็นฤทธิ์ข้างเคียงของยานั่นเอง ยาลดน�้ำมูก ในปัจจุบันหาซื้อได้ง่ายตามร้านขายยาทั่วไป ราคาไม่ แพง แต่หากเราไม่ใช่หมอหรือเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์อาจจะซื้อยามาทาน เองมากจนเกินขนาด หรือทานบ่อยจนเกินไป จนท�ำให้น�้ำมูกนั้นเหนียวข้น แข็งติดโพรงจมูกส่วนบนจนถึงขั้นต้องหายใจทางปากกันทีเดียว ในฉบับนี้ ดิฉันจึงขอแนะน�ำการรักษาตัวเองแบบไม่ใช้ยา ซึ่งเป็นวิธี ที่ปลอดภัยที่สุดและเราเองก็สามารถกระท�ำได้เป็นเบื้องต้นก่อนจะไปเลือก กินยา ซึ่งในระยะยาวการกินยานั้นก็มีผลต่อตับต่อไต ซึ่งเราเองก็ไม่ควรจะ ประมาทเลย ทุกครั้งที่มีอาการน�้ำมูกไหล ไม่ว่าจะเป็นจากสาเหตุใดก็ตาม ในเบื้อง ต้นที่ผู้ป่วยควรนึกถึงคือ การล้างจมูก (nose irrigate) โดย นพ.ปารยะ อาศนะเสน ภาควิชาหู คอ จมูก ศิริราชพยาบาล การล้างจมูก เป็นการชะล้างเอาน�้ำมูก หนอง สิ่งสกปรกในจมูก ซึ่งเกิดจากการอักเสบในโพรงจมูกและไซนัส หรือคราบสะเก็ดแข็งของเยื่อบุ จมูกหลังการผ่าตัดจมูกและไซนัส หรือหลังการฉายแสงออก ด้วยน�้ำเกลือ อุ่นๆ เพื่อให้โพรงจมูกและบริเวณรูเปิดของไซนัสโล่ง ท�ำให้บรรเทาอาการคัด จมูก น�้ำมูกไหล ทั้งที่ไหลออกมาข้างนอก และไหลลงคอ นอกจากนั้นการล้างจมูกก่อนการพ่นยาในจมูก จะท�ำให้ยาสัมผัสกับ เยื่อบุจมูกได้มากขึ้น ออกฤทธิ์ได้ดีขึ้น การล้างจมูกมีขั้นตอนดังต่อไปนี้ ๑. ควรอุ่นน�้ำเกลือก่อนการล้างจมูกเสมอ โดยให้มีอุณหภูมิพอเหมาะกับเยื่อ บุจมูก การใช้น�้ำเกลือที่ไม่ได้อุ่นก่อนล้างจมูก อาจท�ำให้เกิดการคัดจมูกหลัง การล้างได้ การอุ่นน�้ำเกลือสามารถท�ำได้โดยต้มน�้ำประปาให้เดือดในหม้อ 29


สุขภาพดี วิถีพุทธ ...........................................................................................................................................................................................

ต้ม ซึ่งมีขนาดใหญ่พอที่สามารถใส่ขวดน�้ำเกลือเพื่อลงไปอุ่นได้ หลังจากนั้น ปิดไฟ แล้วน�ำขวดน�้ำเกลือที่แพทย์จ่ายให้ใส่ลงไปแช่ในน�้ำเดือดประมาณ ๕ นาที (ขวดน�้ำเกลือที่ซื้อมาจากโรงพยาบาลสามารถทนความร้อนได้) แล้วน�ำ ขวดน�้ำเกลือนั้น ขึ้นมาเทใส่ภาชนะปากกว้าง เช่น ชาม ในขนาดพอประมาณ ที่จะท�ำการล้างในเวลานั้นๆ หรืออาจเทน�้ำเกลือลงในภาชนะที่สามารถอุ่น ในไมโครเวฟได้ แล้วอุ่นในไมโครเวฟให้อุ่นพอประมาณ ในกรณีที่อยากท�ำ น�้ำเกลือไว้ล้างเอง อาจท�ำได้โดยต้มน�้ำประปาในขนาด ๑ ขวด (๗๕๐ ซีซี) ในหม้อต้มให้เดือด หลังจากนั้นใส่เกลือแกง หรือเกลือป่นที่ใช้ปรุงอาหาร ลงไป ๑ ช้อนชา แล้วคนให้เข้ากัน หลังจากนั้นจึงปิดไฟ และตั้งทิ้งไว้ให้อุ่น (น�้ำเกลือที่เตรียมเอง ควรใช้ภายใน 1 วันเท่านั้น ที่เหลือควรทิ้งไป) ก่อนน�ำ น�้ำเกลือที่อุ่นแล้วนั้นมาล้างจมูก ควรทดสอบกับหลังมือเสียก่อน น�้ำเกลือ ควรจะอุ่นในขนาดที่หลังมือทนได้ ๒. ใช้กระบอกฉีดยาที่แพทย์จ่ายให้ ดูดน�้ำเกลือที่อุ่นได้ที่แล้วในปริมาณ น้อยๆก่อน เช่น ประมาณ ๑๐ - ๑๕ ซีซี ส�ำหรับผู้ใหญ่ หรือประมาณ ๕ ซีซี ส�ำหรับเด็ก ๓. ผู้ที่จะล้างจมูกควรนั่งโน้มตัวไปข้างหน้า และก้มหน้าเล็กน้อย อยู่เหนือ ภาชนะรองรับน�้ำเกลือหลังจากที่ล้างแล้ว ซึ่งวางอยู่บนโต๊ะ หรืออยู่เหนือ อ่างล้างหน้า ควรเริ่มล้างจมูกข้างที่โล่งกว่า หรือ คัดน้อยกว่าก่อน ๔. ควรน�ำปลายกระบอกฉีดยา ใส่เข้าไปในจมูกข้างที่จะล้างเล็กน้อย อ้า ปากไว้ แล้วหายใจเข้าเต็มที่ และกลั้นหายใจไว้ ๕. ดันกระบอกสูบของกระบอกฉีดยาเบาๆให้น�้ำเกลือไหลเข้าไปในจมูก ช้าๆ หลังจากที่น�้ำเกลือส่วนใหญ่ไหลออกมาจากจมูกหรือปากแล้ว ให้หายใจ ตามปกติได้ ข้อส�ำคัญคือ ระหว่างที่น�้ำเกลือเข้าไปในโพรงจมูก จะต้องกลั้น หายใจไว้ มิฉะนั้นอาจหายใจเอาน�้ำเกลือลงไปยังกล่องเสียงและหลอดลม ท�ำให้เกิดการส�ำลักได้ ๖. หลังจากที่คุ้นเคยกับการล้างจมูก และรู้จังหวะของการหายใจแล้ว จึงค่อยๆเพิ่มปริมาณของน�้ำเกลือในการล้างแต่ละครั้งขึ้นเรื่อยๆ การล้าง จมูกให้ได้ประสิทธิภาพในการช�ำระล้างโพรงจมูกให้สะอาดนั้น ควรจะดันน�้ำ 30


.......................................................................................................................................................................................... สุขภาพดี วิถีพุทธ

เกลือเข้าไปในโพรงจมูกทุกทิศทาง เช่น ทางขวา ซ้าย ด้านบนและล่างของ โพรงจมูก เพื่อชะล้างน�้ำมูกหรือสิ่งสกปรกในโพรงจมูกออกได้ทั่วทั้งโพรงจมูก และออกมากที่สุดเท่าที่จะมากได้ หลังจากฉีดล้างโพรงจมูกข้างใดข้างหนึ่ง ควรจะมีน�้ำเกลือไหลออกจากโพรงจมูกอีกข้าง ถึงจะเป็นการล้างที่ถูกต้อง คือ มีปริมาณของน�้ำเกลือที่ใช้ล้างในแต่ละครั้ง และมีความแรงของน�้ำเกลือที่ ฉีดเข้าไปเพียงพอ ควรล้างโพรงจมูกสลับข้างไปเรื่อยๆ เช่น หลังล้างข้างซ้าย ก็ควรย้ายไปล้างข้างขวา แล้วสลับกันไปมา ๗. การล้างจมูกแต่ละครั้งนั้น ควรล้างจนกว่าจะรู้สึกว่าจมูกโล่ง ไม่มีน�้ำมูก หรือสิ่งสกปรกอะไรคั่งค้างในจมูก และควรล้างจนกว่าน�้ำเกลือที่ออกมาจาก จมูกและปาก จะใสเหมือนกับน�้ำเกลือที่ฉีดเข้าไปในโพรงจมูก จึงจะหยุดการ ล้างได้ ๘. หลังจากล้างเสร็จ สามารถสั่งน�้ำมูก หรือน�้ำเกลือที่คั่งค้างอยู่ในโพรง จมูก และบ้วนน�้ำเกลือและน�้ำมูกส่วนที่ไหลลงคอรวมทั้งเสมหะในคอออกมา ได้ การล้างจมูกอย่างถูกต้องบ่อยๆ จะไม่เกิดโทษ หรืออันตรายต่อจมูก หรือ ร่างกาย ในทางตรงกันข้าม จะมีประโยชน์โดยช่วยล้างน�้ำมูก สิ่งสกปรกที่ คั่งค้างอยู่ในโพรงจมูกออก ดังนั้นในช่วงวันหยุด ถ้าล้างเพิ่มได้ ก็ควรจะ ท�ำ ควรล้างจมูกก่อนการอบจมูกด้วยไอน�้ำเดือด หรือการพ่นยาในจมูก เสมอ แนะน�ำให้ล้างจมูกก่อนเวลารับประทานอาหาร (ขณะท้องว่าง) หรือ หลังรับประทานอาหารแล้วอย่างน้อย ๒ ชั่วโมงขึ้นไปเพื่อป้องกันการอาเจียน หรือส�ำลัก ๙. หลังล้างจมูกเสร็จทุกครั้ง ควรล้างอุปกรณ์ที่ใช้ล้างจมูกให้สะอาดด้วย น�้ำสบู่ หรือ น�้ำยาล้างจาน แล้วล้างด้วยน�้ำประปาจนสะอาด (ในกรณีที่ใช้ลูก ยางแดงหรือกระบอกฉีดยาที่ท�ำจากแก้ว หลังจากล้างแล้วควรน�ำมาต้มกับ น�้ำเดือด ประมาณ ๕ นาที) แล้วผึ่งให้แห้ง จะเห็นได้ว่า การล้างจมูกนั้นไม่ยาก ไม่ต้องกลัวการส�ำลักหรือหายใจ ไม่ทันขณะล้าง และการล้างจมูกนี้ก็ก�ำลังนิยมและได้รับแรงสนับสนุนจากทุก โรงพยาบาลในปัจจุบันเพราะเป็นวิธีปลอดภัยกับคนไข้มากที่สุดและไม่มีผล ข้างเคียง ลองท�ำดูด้วยตนเองนะคะ แล้วจะรู้..! 31


สุขภาพดี วิถีพุทธ ...........................................................................................................................................................................................

32


รู้จักภพภูมิที่เราเวียนว่ายตายเกิด ตอนที่ ๑๐

พระวรฤทธิ์ โอภาโส t เจริญพรผู้อ่าน วันนี้จะเขียนเรื่องเทวภูมิต่อจากครั้งก่อน เป็นสวรรค์ ชั้นตาวติงสาภูมิหรือที่เราคุ้นเคยในชื่อดาวดึงส์นั่นเอง ตาวติงสาหมายความ ว่าภูมิอันเป็นที่เกิดของบุคคล ๓๓ คน เหตุที่มีชื่อเรียกเช่นนี้เพราะว่าใน อดีตกาล มีหมู่บ้านชื่อว่า มจลคาม มีคนกลุ่มหนึ่งมี ๓๓ คนเป็นผู้ชายล้วน ตั้ง กลุ่มชื่อว่า คณะสหบุญญการี แปลว่า คณะท�ำบุญร่วมกัน หัวหน้าชื่อว่า มฆ มานพ ได้ช่วยกันท�ำความสะอาดและซ่อมแซมถนนหนทางในบริเวณหมู่บ้าน เพื่อให้เกิดความสะดวกสบายแก่ผู้คนที่สัญจรไปมา และตั้งโรงเก็บน�้ำส�ำหรับ ประชาชนที่ผ่านไปมาได้ดื่มกิน รวมทั้งสร้างศาลาที่ทาง ๔ แพร่ง เพื่อให้ ประชาชนได้พักอาศัย เมื่อชายทั้ง ๓๓ คนสิ้นชีวิตแล้วได้ไปเกิดในเทวภูมิที่ สอง มฆมานพเกิดเป็นท้าวสักกะหรือพระอินทร์ ส่วนที่เหลือเป็นเทวดาชั้น ผู้ใหญ่ทุกคน ท้าวสักกะมีดวงตาแลเห็นได้ไกลมากเท่าตาพันดวง จึงมีอีกชื่อ ว่า ท้าวสหัสสนัย อนึ่งผู้จะเป็นพระอินทร์ต้องปฏิบัติคุณธรรมที่เรียกว่า วัต บถ ๗ ประการ คือ ๑. เลี้ยงบิดามารดา ๒.เคารพผู้ใหญ่ในตระกูล ๓.กล่าว วาจาอ่อนหวาน ๔.ไม่กล่าวค�ำส่อเสียด ๕.ไม่มีความตระหนี่ ๖.มีความสัตย์ ๗.ระงับความโกรธไว้ได้ ทั้ง ๗ ประการนี้ต้องปฏิบัติตลอดชีวิตจึงจะได้เป็น พระอินทร์ สวรรค์ชั้นดาวดึงส์เป็นพื้นแผ่นดินที่ปรากฏขึ้นเป็นแห่งแรกเมื่อ มีการสร้างโลกขึ้นมาใหม่เพราะดาวดึงส์ตั้งอยู่บนยอดเขาสิเนรุซึ่งมีลักษณะ กลม กว้างแปดหมื่นสี่พันโยชน์เท่ากับความสูง มีพระนครชื่อว่า สุทัสสนะ ตั้ง อยู่ตรงกลางภูเขา พระนครนี้กว้างหนึ่งหมื่นโยชน์ มีก�ำแพงล้อมรอบ ๔ ด้าน ด้านหนึ่งๆมีประตู ๒๕๐ ประตู พื้นแผ่นดินเต็มไปด้วยรัตนะทั้ง ๗ ผู้อยู่ในชั้น นี้เท้าจะไม่กระทบพื้นดินเลย เทวดาในชั้นนี้มี ๒ พวกคือภุมมัฏฐเทวดา และ อากาสัฏฐเทวดา พวกภุมมัฏฐเทวดาได้แก่ พระอินทร์และเทวดาชั้นผู้ใหญ่ ๓๒ องค์พร้อมด้วยบริวาร ส่วนพวกอากาสัฏฐเทวดาได้แก่ เทวดาที่อยู่ใน วิมานลอยกลางอากาศตั้งแต่ยอดเขาสิเนรุตลอดไปจนจรดขอบเขาจักรวาล 33


รู้จักภพภูมิที่เราเวียนว่ายตายเกิด ตอนที่ ๑๐ ...............................................................................................................................................

บางวิมานยังว่างไม่มีเทวดาอยู่ก็มี เทวดาในชั้นนี้ผู้ชายมีรูปร่างอยู่ในวัย ๒๐ ปี ผู้หญิงมีรูปร่างอยู่ในวัย ๑๖ ปี ไม่มีการแก่ การเจ็บไข้ ไม่มีอุจจาระปัสสาวะ เพราะอาหารเป็นแบบละเอียดประณีต ไม่มีการตั้งครรภ์ บุตรธิดาจะมาเกิด ในตักของเทวดา นางฟ้าที่เป็นบาทบริจาริกาย่อมมาเกิดในที่นอน เทวดาที่ เป็นพนักงานตกแต่งประดับอาภรณ์ย่อมเกิดล้อมรอบที่นอน ถ้าเป็นไวยาวัจ จกร (บริวาร) จะเกิดภายในวิมาน แต่ถ้าเกิดนอกวิมาน เทวดาเจ้าของวิมาน จะแย่งตัวกัน ถ้าตัดสินไม่ได้จะพากันเข้าเฝ้าท้าวสักกะ ถ้าวิมานของเทวดา องค์ใดอยู่ใกล้กว่ากัน ท้าวสักกะก็พิพากษาให้เป็นของผู้นั้น แต่ถ้าอยู่ตรง กลางเสมอกันแห่งวิมานของเทวดา ๒ องค์ เทวดาที่มาเกิดเล็งแลดูวิมานของ เทวดาองค์ใด ท้าวสักกะก็พิพากษาให้เป็นของผู้นั้น ถ้ามิได้แลดูวิมานของผู้ ใด ท้าวสักกะก็พิพากษาให้เป็นของพระองค์เสียเอง เพื่อตัดความวิวาทของ เทวดา เรื่องนี้แสดงว่าเทวดาที่ไม่มีวิมานอยู่โดยเฉพาะของตนก็มีมาก และใน เทวโลกก็มีการทะเลาะวิวาท รวมทั้งมีผู้พิพากษาด้วย วิมานและสมบัติของ เทวดาสวยงามไม่เท่ากันแล้วแต่กุศลที่ท�ำมา ในเทวดาทั้ง ๖ ชั้น เทวดาที่อยู่ชั้น เบื้องบนย่อมเห็นเทวดาที่อยู่ชั้นต�่ำกว่าตนได้ แต่เทวดาที่อยู่ชั้นต�่ำกว่าจะเห็น เทวดาที่อยู่ชั้นสูงกว่าตนไม่ได้ เพราะเทวดาที่อยู่ชั้นสูงๆมีร่างกายที่ละเอียด มากกว่า นอกจากเทวดาชั้นเบื้องบนจะเนรมิตร่างกายให้หยาบขึ้นเทวดา ที่อยู่ต�่ำกว่าจึงจะเห็นได้ มนุษย์ก็เช่นเดียวกันจะเห็นเทวดาได้ต้องให้เทวดา เนรมิตกายให้หยาบขึ้น ในนครสุทัสสนะ มีปราสาทเวชยันต์อยู่ทางทิศตะวัน ออกของพระนครเป็นที่อยู่ของท้าวสักกะ มีสวนดอกไม้สาธารณะ ๔ แห่งชื่อ ว่า สวนนันทวัน สวนจิตรลดา สวนมิสสกวัน สวนผารุสกวัน และสวนพิเศษ อีก ๒ แห่ง คือ สวนมหาวันเป็นที่พักผ่อนของท้าวสักกะ และสวนปุณฑริกะ ที่พิเศษกว่าสวนอื่นๆเพราะมีต้นปาริฉัตรหรือปาริชาติ ที่ใต้ต้นปาริชาติมีแท่น ปัณฑุกัมพลศิลาอาสน์ มีสีแดงเหมือนดอกชบา มีลักษณะยืดหยุ่นคือ ยุบลง ได้ในขณะนั่งและฟูขึ้นเป็นปกติในขณะที่ลุกขึ้น ซึ่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ เคยเสด็จขึ้นไปประทับแสดงพระอภิธรรม ๗ คัมภีร์ มีเจดีย์แก้วมรกตเรียก 34


................................................................................................................................................ รู้จักภพภูมิที่เราเวียนว่ายตายเกิด ตอนที่ ๑๐

ว่าพระจุฬามณี สูง ๑๐๐ โยชน์ ภายในเจดีย์บรรจุพระเขี้ยวแก้วข้างขวาของ พระสัมมาสัมพุทธเจ้ากับพระเกสาที่พระองค์ทรงตัดทิ้งในตอนที่เสด็จออก บรรพชา มีศาลาประชุมฟังธรรมชื่อว่าสุธัมมา เป็นสถานที่ที่เทพบุตรและ เทพธิดาทั้งหลายที่สนใจฟังธรรมได้มาประชุมในที่นี้ โดยมีพระอินทร์เป็น ประธาน ศาลาสุธัมมาท�ำด้วยรัตนะทั้ง ๗ มีความสูง ๕๐๐ โยชน์ กว้าง ๓๐๐ โยชน์ วัดรอบศาลาได้ ๑,๒๐๐ โยชน์ พื้นเป็นแก้วผลึก เสาเป็นทอง หลังคามุง ด้วยแก้วอินทนิล บนเพดานและเสาประดับด้วยแก้วประพาฬ ช่อฟ้าท�ำด้วย เงิน บนศาลามีธรรมาสน์ส�ำหรับกั้นด้วยเศวตฉัตร ศาลาสุธัมมาตั้งอยู่ข้างๆต้น ปาริฉัตร ต้นปาริฉัตรออกดอกปีละครั้ง เมื่อใกล้ออกดอก ใบจะมีสีนวล เมื่อ ออกดอกแล้วใบจะร่วงจนหมดสิ้น มีแต่ดอกออกสะพรั่งไปหมด ดอกปาริฉัตร มีสีแดง ฉายแสงเป็นรัศมีแผ่ไปเป็นปริมณฑลกว้าง ๕๐๐ โยชน์ ส่งกลิ่นหอม ไปตามลมได้ ๑๐๐ โยชน์ จะมีลมชื่อกันตนะ ท�ำหน้าที่พัดให้ดอกปาริฉัตร หล่นลงมาเอง มีลมชื่อสัมปฏิจฉนะ ท�ำหน้าที่รองรับดอกไม้นั้นไม่ให้ร่วงลงสู่ พื้น ต่อจากนั้นมีลมชื่อปเวสนะ พัดดอกไม้ให้เข้าไปในศาลาสุธัมมา ลมชื่อว่า สัมมิชชนะ ท�ำหน้าที่พัดเอาดอกเก่าออกไป และลมชื่อว่าสันถกะ ท�ำหน้าที่ จัดดอกไม้ให้เป็นระเบียบเรียบร้อยไม่ให้รวมกันเป็นกอง เมื่อถึงเวลาฟังธรรม ท้าวอมรินทราธิราช (พระอินทร์) ทรงเป่าสังข์ชื่อว่าวิชยุตตระ สังข์มีความ ยาวประมาณ ๑๒๐ ศอก เสียงดังก้องกังวาลไปทั่วทั้งภายในและภายนอก พระนครสุทัสสนะ เสียงที่เป่าครั้งหนึ่งดังปรากฏอยู่นาน ๔ เดือนของมนุษย์ ศาลาสุธัมมานี้มิใช่จะมีอยู่แต่ในชั้นดาวดึงส์ชั้นเดียวเท่านั้น แม้ในเทวโลก เบื้องบนอีก ๔ ชั้นก็มีศาลาสุธัมมาเช่นเดียวกัน วันนี้ยังไม่จบชั้นดาวดึงส์ ครั้ง หน้าจะเขียนต่อในชั้นนี้และเทวดาชั้นอื่นๆต่อไป ส�ำหรับเรื่องภูมิต่างๆที่เขียน มาทั้งหมดหวังว่าจะเป็นความรู้ที่ช่วยเพิ่มเติมให้ทุกท่านได้ทราบเกี่ยวกับภพ ภูมิที่เราต้องเวียนว่ายตายเกิดอีกมากมาย และจะเป็นประโยชน์ในการเรียนรู้ และน�ำมาปรับใช้ในชีวิตประจ�ำวัน เจริญพร 35


ถามมา - ตอบไป "ท�ำบุญด้วยใจก็พอ ทุกอย่างอยู่ที่ใจเท่านั้น" ได้ยินคนพูดบ่อยๆ แบบนี้แล้วก็ไม่เห็นเขาอยากจะท�ำทาน รักษาศีลกันเสียเลย

คนเดินทาง ค�ำถาม ได้ยินคนบางประเภทชอบพูดว่า ท�ำบุญด้วยใจก็พอ ทุกอย่าง อยู่ที่ใจเท่านั้น แต่ผมสังเกตว่า เขาก็ไม่ได้ชอบท�ำทาน ท�ำก็ท�ำน้อย แล้วก็ไม่ รักษาศีล ชอบเล่นอบายมุขคราวละมากๆ ตกลงว่า ค�ำพูดแบบนี้ ถูกหรือผิด อย่างไรครับ ? ค�ำตอบ หากถามว่า ผิดหรือถูก? ก็ต้องตอบว่า ไม่มีผิดหรือถูกแต่ อย่างใดขึ้นอยู่กับเจตนาของบุคคลผู้ที่กล่าวโดยตรง หากปัญญาใช้ให้พูด ก็ต้องเป็นคุณโดยแท้ หากกิเลสใช้ให้คิดให้พูด ก็เป็น โทษ เพราะแม้ดูเหมือนประหนึ่ง จะเป็นค�ำกล่าวที่ดี ก็แต่ว่ากิเลสก็ใช้ให้คิดให้ พูดทั้งนั้น ถามว่า กิเลสใช้บุคคลให้คิดหรือพูดอย่างนี้ ในอาการอย่างไรกันเล่า ? ตอบว่า ก็ในยามที่บุคคลอื่นมาชักชวนคนผู้ตระหนี่ "ท�ำทาน" อาศัย ความตระหนี่หวงแหนในทรัพย์ หรือข้าวของเงินทองอะไรๆ ก็แล้วแต่ของตน อยู่นั้น..ก็พลันเจียดสละออกไปอย่างเสียไม่ได้ กระนัน้ กิเลสก็เกรงว่า ชนเหล่าอืน่ จะต�ำหนิตนเองเพราะทานของตนนัน้ ช่างแห้งแล้งกันดารเหลือเกิน กิเลสก็จึงรีบกล่าวอ้างยกค�ำขึ้นมากล่าวเป็น อาทิว่า "คนเราจะท�ำบุญท�ำทาน ก็ไม่ได้อยู่ที่เงิน อยู่ที่ใจก็พอแล้ว ไม่จ�ำเป็น ต้องใช้ทรัพย์มาก ทุกอย่างอยู่ที่ใจทั้งนั้น" ถามว่า ฟังแล้วดูดีหรือไม่? ตอบว่า คนที่พูดๆ ไปแบบนี้ กิเลสก็สบายใจขึ้นมาเทียว เพราะไม่ต้อง สละอะไรๆ ของตัวออกไปให้ขัดใจกับกิเลส แถมยังดูราวกับว่า เป็นผู้มีปัญญา เสียด้วย 36


........................................................................................................................................................................................... ถามมา - ตอบไป

ในอาการอย่างนี้ ชื่อว่า "กิเลส ท�ำท่าเป็นปัญญา" ก็พบได้มากทีเดียว หรือในเรื่อง "ศีล" ก็เช่นกัน ในยามที่มีใครกล่าวยกย่องศีล หรือต�ำหนิการทุศีล บุคคลบางคน ก็ข่มตนเองและผู้อื่นด้วยถ้อยค�ำเช่นนี้ได้เหมือนกัน เช่น "ศีล ห้านั้น พวกเราไม่จ�ำเป็นต้องรักษาให้ได้ทุกข้อหรอก ทุกอย่างมันอยู่ที่ใจ !" หรือแม้ใครๆ มาชักชวนให้เจริญภาวนา ไปฟังธรรมกันเสียบ้าง กิเลส ของบุคคลบางคน ก็ยกค�ำเหล่านี้ขึ้นอ้างแล้วท�ำท่าราวกับบัณฑิตขึ้นมาว่า "นี่แน่ะท่าน ! ข้าพเจ้าไม่สะดวกที่จะไปฟังธรรมหรือเจริญภาวนาอะไรๆ นั่น หรอก ท่านอยากจะไปก็ไปเองเถิด ข้าพเจ้าเห็นว่า บุญนั้น เกิดที่ไหนก็ได้ เกิดที่บ้านก็ได้ เพราะทุกอย่างอยู่ที่ใจ" ในอาการอย่างนี้ ค�ำกล่าวแม้นั้น ก็ไม่ ได้ผิดอะไร เพราะพระพุทธองค์ตรัสว่า "ใจเป็นใหญ่ ใจเป็นประธาน ทุกอย่าง ส�ำเร็จที่ใจ" ด้วยเหตุนั้น กิเลสเอง ในบางบุคคลก็ยกเอาค�ำกล่าวท�ำนองนี้นั้น ขึ้นมาอ้างได้เหมือนกัน ถามว่า กิเลสอ้างอย่างไรกันเล่า ? ตอบว่า กิเลสเจ้าเล่ห์เหล่านั้นน่ะหรือ ? เขาก็ย่อมยกขึ้นมาอ้างเพื่อ จะไม่ให้บุคคลนั้นท�ำความดีใดๆ เพราะคุณงามความดีเหล่านั้น เป็นกรรมดีที่ แสลงใจกิเลสเขาเหลือเกิน พึงทราบว่า "ใจ" ที่ท่านแสดงนั้น ไม่ได้มี ๑ เดียว จิตใจนั้นมีมากมาย และวิจิตรเหลือหลาย จิตบุญก็มี จิตบาปก็มี จิตที่ไม่ใช่บุญไม่ใช่บาปก็มี ล�ำพัง เพียงจิต ๒ ประเภทที่เกี่ยวข้องในที่นี้ ก็ได้แก่ จิตบุญหรือจิตบาปนั้น ปุถุชน ผู้หนาแน่นด้วยกิเลส โดยมาก จิตใจก็เอิบอาบนอนเนื่องอยู่ด้วยจิตที่เป็นบาป นั่นเทียว บุคคลในโลก พบได้ว่านานๆ ที กุศลหรือจิตที่เป็นบุญจึงจะเกิดขึ้นได้ ในคราวใด เมื่อจิตปรารภถึงทาน ประสงค์จะท�ำการให้แก่ชนเหล่า อื่น หรือหวนระลึกถึงทานที่จบลงไปแล้ว หรือตั้งใจจะท�ำทานในอาการอย่าง ใดขึ้นมา หรือในคราวที่จิตใจปรารภถึงการยับยั้งกรรมบางอย่าง มีการเว้น 37


ถามมา - ตอบไป ..........................................................................................................................................................................................

เฉพาะหน้าเพื่อที่จะรักษาศีลไม่ให้ด่างพร้อยด้วยอ�ำนาจแห่งหิริโอตตัปปะ คือ ความละอายต่อบาปและกลัวบาป หรือในกาลใด ได้สดับฟังพระธรรมเทศนา มีการสนทนาธรรม หรือ การอบรมสติ อบรมสมาธิ..เป็นต้น นั่นแหละบุญจึง จะเกิดได้ หากเว้นจากอารมณ์บุญที่เนื่องด้วย "ทาน ศีล ภาวนา" แล้ว บุญก็ เกิดไม่ได้ เพราะอย่างอื่นนอกนั้น ย่อมเป็นการงานของจิตบาปที่ขึ้นมาท�ำกรรม ทุกวี่ทุกวันทั้งนั้นเลย พึงทราบว่า "บุญและบาปนั้น ส�ำเร็จที่ใจก่อนทีเดียว!" เพราะเหตุนั้น เราท่านทั้งหลาย พึงทราบความนัยแห่งผู้กล่าวถ้อยค�ำ ในอาการเช่นนั้นว่า "ผู้พูดนั้น มี "ปัญญา"ใช้ให้พูด หรือ เพราะเขามี "กิเลส" ใช้ ให้พูดกันเล่า ? ใครจะพูดอะไร ก็พูดได้ แต่เจตนาในขณะนั้น ก็สามารถบ่งบอกได้ว่า" เพราะกิเลสใช้ให้พูด หรือว่า ปัญญาใช้ให้พูด" เพราะในบุคคลบางคนที่ปราศจากความตระหนี่ การสละในกาลนั้นๆ ย่อมเหมาะสมด้วยเหตุปัจจัยโดยแท้ การส�ำคัญว่ามากหรือน้อยย่อมไม่มี เพราะปัญญาวินิจฉัยว่าเหมาะสมดี การให้ในคราวนั้นอาจจะมากมายก็เป็นได้ เช่นพระเวสสันดร ในคราวบริจาคสัตสัตกมหาทาน หรือในคราวที่ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เคยถวายทานมากมายในกาล ก่อน ในคราวที่ท่านขัดสนลงเพราะกรรมเก่าส่งผล ท่านก็ได้แต่ถวายข้าวต้ม ผักกาดดอง พระพุทธองค์ก็ยังทรงสรรเสริญว่ า ทานของท่ า นเศรษฐี นั้ น ประณีต ไม่ได้เศร้าหมอง เพราะจิตของท่านประณีต (ธรรมดาพระโสดาบันนั้น ท่านย่อมไม่มีความตระหนี่แล้ว จิตท่านจึง ประณีตเพราะปราศจากความตระหนี่แม้ในคราวที่ของที่ตนน�ำมาถวายก็ได้ ตามอัตภาพเพราะเหตุปัจจัยเป็นเช่นนั้นเอง) เมื่อเราท่านทั้งหลาย ได้ยินได้ฟังถ้อยค�ำของบุคคลใดในท�ำนองนี้ ก็พึง วินิจฉัยไปในอาการอย่างนี้แล 38


ตารางการศึกษาหลักสูตรต่างๆที่วัดจากแดงจัดขึ้น วัน

เวลา

วิชา

อาจารย์ผู้สอน

จันทร์

๑๓.๐๐ - ๑๖.๐๐ น.

คัมภีร์ปัฏฐานฯ

พระครูธรรมธรสุมนต์ นนฺ ทโิ ก

จันทร์ - ศุกร์

๐๘.๓๐ - ๑๖.๓๐ น.

โครงสร้างบาฬีเบือ้ งต้น

พระมหาธิติพงศ์ อุตฺตมปญฺโญ

เสาร์ - อาทิตย์

๐๘.๓๐ - ๑๖.๓๐ น.

โครงสร้างบาฬีเบือ้ งต้น

พระมหาธิติพงศ์ อุตฺตมปญฺโญ

จันทร์ - ศุกร์

๐๘.๓๐ - ๑๐.๓๐ น.

พระอภิธรรม

พระมหารัตน์ รตนวณฺโณ

จันทร์ - ศุกร์

๑๓.๓๐ - ๑๖.๓๐ น.

คัมภีรส์ ทั ทัตถเภทจินตา คัมภีรว์ ากยสังสยวิโสธนี

พระมหาจารัญ พุทฺธปฺปิโย

อาทิตย์

๐๘.๓๐ - ๑๖.๓๐ น.

ภาษาบาฬีพน้ื ฐาน

พระมหาชัยพร เขมาภิรโต

อาทิตย์

๑๓.๐๐ - ๑๖.๓๐ น.

พระอภิธรรม

พระมหาบุญชู อาสโภ

,,

๐๙.๐๐ - ๑๖.๓๐ น.

พระอภิธรรม มัชฌิมฯ ตรี

พระมหาดอน เตชธมฺโม

,,

๐๙.๐๐ - ๑๖.๓๐ น.

พระอภิธรรม จูฬฯ เอก

พระมหารัตน์ รตนวณฺโณ

,,

๐๙.๐๐ - ๐๖.๓๐ น.

พระอภิธรรม จูฬฯ โท

อาจารย์ชศู กั ดิ ์ ฮวดสุนทร

,,

๐๙.๐๐ - ๐๖.๓๐ น.

พระอภิธรรม จูฬฯ ตรี

อาจารย์เบญจางค์ เตียงพิทกั ษ์

อังคาร

๑๓.๐๐ - ๑๕.๐๐ น.

ภาษาบาฬีพน้ื ฐาน

พระมหาชัยพร เขมาภิรโต

พุธ

๑๓.๐๐ - ๑๗.๐๐ น.

คัมภีรย์ มก

พระอาจารย์สรุ ชัย ปณฺฑติ ธมฺโม

พุธ - พฤหัส

๑๘.๐๐ - ๒๑.๐๐ น.

บาฬีพน้ื ฐาน - การสนทนาฯ

อาจารย์ประภาส ตะฐา

เสาร์

๐๘.๓๐ - ๑๐.๓๐ น.

ภาษาพม่าเพือ่ พระไตรปิ ฎก

อาจารย์รฐั การ ปิ่ นแก้ว

เสาร์

๑๗.๐๐ - ๑๙.๓๐ น.

ภาษาบาฬีพน้ื ฐาน

อาจารย์ชศู กั ดิ ์ ฮวดสุนทร

จันทร์ - ศุกร์

๑๙.๐๐ - ๒๑.๐๐ น.

บาลีสนามหลวงชัน้ ประโยค๑- ๒

พระมหาธิติพงศ์ อุตฺตมปญฺโญ

จันทร์ - ศุกร์

๑๙.๐๐ - ๒๑.๐๐ น.

บาลีสนามหลวงชัน้ ประโยค ๓

พระมหาพิริยะ ภูริญาโณ

จันทร์ - ศุกร์

๑๙.๐๐ - ๒๑.๐๐ น.

บาลีสนามหลวงชัน้ ประโยค ๔

พระมหากฤษดา โอภาโส

จันทร์ - ศุกร์

๑๙.๐๐ - ๒๑.๐๐ น.

บาลีสนามหลวงชัน้ ประโยค ๗

พระมหากฤษดา โอภาโส

ศุกร์

๑๓.๐๐ - ๑๖.๓๐ น.

คัมภีรป์ ทรูปสิทธิ

อาจารย์รุ่งอรุณ จันทร์สงคราม

อาทิตย์

๑๗.๓๐ - ๑๘.๓๐

พระไตรปิ ฎก ๒ ภาษา

อาจารย์รุ่งอรุณ จันทร์สงคราม

,,

๑๗.๐๐ - ๑๙.๐๐ น.

ภาษาบาลีพน้ื ฐาน

อาจารย์รฐั การ ปิ่ นแก้ว

อังคาร - ศุกร์

๐๔.๓๐ - ๐๕.๓๐

กัจจายนพยากรณ์

อาจารย์รฐั การ ปิ่ นแก้ว

39


ข่าวประชาสัมพันธ์

- ขอเชิญสาธุชนร่วมสวดมนต์ท�ำวัตรแปล สาธยายพระปริตร เจริญจิตภาวนา แผ่เมตตา ฟังธรรมบรรยาย ร่วมกับคณะสงฆ์วัดจากแดง ณ ศาลาท�ำบุญ ทุกวันอาทิตย์ และวันพระ เวลา ๐๙.๐๐ - ๑๐.๔๕ น. ๑๒.๑๕ - ๑๓.๐๐ น. ณ วิหารหลวงพ่อหิน ทุกวัน เวลา ๑๗.๓๐ - ๑๙.๐๐ น. - ขอเชิญร่วมบูชาพระเจดีย์ ทุกวันอาทิตย์ และวันพระ เพื่อร่วมสืบสานประเพณี อันดีงามของบัณฑิตทั้งหลาย เวลา ๑๙.๐๐ - ๑๙.๔๐ น. ถือศีล ๘ ในวันพระ - ขอเชิญรับฟังรายการธรรมะทางวิทยุชุมชนเพื่อพระพุทธศาสนาและสังคม วัดจากแดง คลื่นเอฟเอ็ม 96.75 MHz ได้ทุกวันตั้งแต่เวลา ๐๔.๐๐ - ๒๓.๐๐ น. - ข่าวดีส�ำหรับผู้ใช้ Internet ท่านสามารถรับฟังวิทยุชุมชนเพื่อพระพุทธศาสนา และสังคม วัดจากแดงในระบบ Online ได้ที่ www.bodhiyalai.org

ขณะนี้สถานีวิทยุชุมชนวัดจากแดง งดออกอากาศชั่วคราว ขอแจ้งมาให้ท่านผู้ฟังทุกท่านทราบ หากสามารถออกอากาศได้เมื่อใด ทางวัดจะแจ้งให้ทราบโดยทันที

40


รายนามเจ้าภาพภัตตาหาร เดือนกรกฎาคม ๒๕๕๗

๏ พระครูธรรมธรสุมนต์ นนฺทิโก ๏ พระเดชณรงค์ วิสุทฺธิจิตฺโต ๏ พระฟูกิจ ชุติปญฺโญ ๏ หม่อมหลวงสุพิชาน์ ทองใหญ่ และครอบครัว ๏ อาจารย์อิศริยา นุตสาระ และคณะ ๏ แพทย์หญิงสดใส เวชชาชีวะ ๏ คุณแม่เสงี่ยม ศรีอนันต์ และลูกหลาน ๏ คุณกิ่งกาญจน์ อารักษ์พุทธนันท์ คุณศุภมาศ เผ่าธัญญลักษณ์ ๏ คณะอาจารย์ธรรม นิยมกิจสัมฤทธิ์ ๏ คุณศิริอร วัดล้อม ๏ คุณกุลชลี พจน์ชัยจงดี ๏ คุณชนินทร์ ศุภพันธร (ถวายข้าวสารหอมมะลิ ตลอดปี ๒๕๕๗) ๏ คุณประภาศรี วู ๏ คุณพรวรรณ พรประสิทธิผล ๏ คุณลัดดา - คุณนารี - คุณนลินี ด�ำรงวิทย์ และครอบครัวเรืองเพิ่มพูล ๏ คุณจิตตา อาลงโซ่ ๏ คณะอาจารย์ธรรม นิยมกิจสัมฤทธิ์ ๏ คุณวิวัฒน์ - คุณสมจิตต์ เรืองวัฒนกุล ๏ คุณกิตติรัช พรประสิทธิผล ๏ คุณแม่ซิวซุก แซ่ฉี ๏ คุณเบญจมาภรณ์ สิงหาเพ็ชร์ ๏ คุณมาลินี งามสันติสุข ๏ ครอบครัวแย้มสวัสดิ์ อุทิศให้นางพร้อม แย้มสวัสดิ์ ๏ คุณสรินยา อรรถกิจโกศล อุทิศให้คุณแม่ ๏ คุณวาสนา อุ่นใจ อุทิศให้ คุณแม่ทองอยู่ อุ่นใจ ๏ คุณณธีพัฒน์ พุติรัตน์วัฒน์ - คุณณธิต อธิเดชารัตน์ คุณแพรวา วิภพสนทยา

๏ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี ๏ ชุมนุมพุทธธรรมศิริราช คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล กลุ่มผู้เรียนทศบารมี และผู้มีกุศลจิต ๏ บริษัท ซี พี ฮอลล์ จ�ำกัด (มหาชน) ๏ ครอบครัวเผือกประเสริฐ - ฟูทองรอด ๏ ชมรมอนุรักษ์ธรรม ๏ คุณสุรศักดิ์ จินาพันธ์ ๏ คุณเสริมสุข ปัทมสถาน ๏ คุณบุญเลิศ - คุณอุษณีย์ สว่างกุล ๏ ครอบครัวงามสันติสุข, ครอบครัวฉวีวาณิชยกุล ครอบครัวศรีปัญจากุล, ครอบครัวเฟื่องจินดาวงศ์, ครอบครัวปฐมวรชัย ๏ คุณมนูญ - รศ.นงนารถ เดชณรงค์ และครอบครัว คุณอภิชาติ - คุณโสภา สุขุมาลจันทร์ และครอบครัว ๏ คุณชัญญาพร เขจรดวง - คุณสุภาภรณ์ เชาวกิจ คุณสุดาภรณ์ ต่วนชะเอม - คุณฉัฐกนก วาณิชกรพิพัฒน์ คุณจิรายุ งามพรชัย - คุณจันทิภา เดชณรงค์ ๏ คุณสรณา จิรารัตน์สกุล ๏ คุณวิมลวรรณ ศฤงคารินทร์ ๏ คุณศุภวรรณ ศฤงคารินทร์ ๏ ครอบครัว จันทร์เพชรกุล ๏ คุณเจริญวิทย์ - คุณเฟื่องฟ้า เจริญวงษ์ และครอบครัว ๏ คุณบุษกร สิงคาลวณิช ๏ คุณพงศ์เดช เตชะวิบูลย์ ๏ คุณนิตยา เอนกบุญ อุทิศให้คุณพ่ออุดมเดช เอนกบุญ ๏ ครอบครัวตั้งสิริวัฒนา - ครอบครัวไพบูลย์ รัตนากร ๏ คุณสุปรีย์ สกุลแรมรุ่ง อุทิศให้ รศ.พญ.ฤทัย สกุลแรมรุ่ง ๏ คุณสมบัติณี ดารานนท์ ๏ คุณช่อลัดดา จันทรดิลกรัตน์ และคุณชลลดา คมพิทักษ์ชัย อุทิศให้ คุณพรชัย (ร้านแสงสว่าง)

และผู้ที่มิได้เอ่ยนามทุกๆท่าน

41


รายนามเจ้าภาพภัตตาหาร เดือนสิงหาคม ๒๕๕๗ ๏ พระครูธรรมธรสุมนต์ นนฺทิโก ๏ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี ๏ พระหม่อง มิน มิน ปุญฺญานนฺโท ๏ ชุมนุมพุทธธรรมศิริราช คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ๏ พระครูสมุห์ทวี เกตุธมฺโม กลุ่มผู้เรียนทศบารมี และผู้มีกุศลจิต ๏ หม่อมหลวงสุพิชาน์ ทองใหญ่ และครอบครัว ๏ ครอบครัวเผือกประเสริฐ - ฟูทองรอด ๏ อาจารย์อิศริยา นุตสาระ และคณะ ๏ ชมรมอนุรักษ์ธรรม ๏ แพทย์หญิงสดใส เวชชาชีวะ ๏ คุณสุรศักดิ์ จินาพันธ์ ๏ คุณแม่เสงี่ยม ศรีอนันต์ และลูกหลาน ๏ ครอบครัวงามติสุข, ครอบครัวฉวีวาณิชยกุล ๏ คุณกิ่งกาญจน์ อารักษ์พุทธนันท์ ครอบครัวเฟื่องจินดาวงศ์, ครอบครัวสรสรรเสริญ คุณศุภมาศ เผ่าธัญญลักษณ์ ครอบครัวปฐมชัย ๏ คณะอาจารย์ธรรม นิยมกิจสัมฤทธิ์ ๏ คุณมนูญ - รศ.นงนารถ เดชณรงค์ และครอบครัว ๏ คุณศิริอร วัดล้อม คุณอภิชาติ - คุณโสภา สุขุมาลจันทร์ และครอบครัว ๏ คุณกุลชลี พจน์ชัยจงดี ๏ คุณชัญญาพร เขจรดวง - คุณสุภาภรณ์ เชาวกิจ ๏ คุณชนินทร์ ศุภพันธร (ถวายข้าวสารหอมมะลิ คุณสุดาภรณ์ ต่วนชะเอม - คุณฉัฐกนก วาณิชกรพิพัฒน์ คุณจิรายุ งามพรชัย - คุณจันทิภา เดชณรงค์ ตลอดปี ๒๕๕๗) คุณอุไร กอบกุลคณาวุฒิ - คุณนันทิพร ยศเมฆ ๏ คุณประภาศรี วู ๏ คุณสรณา จิรารัตน์สกุล ๏ คุณพัชราภรณ์ เกษแก้ว และครอบครัว ๏ คุณช่อลัดดา จันทรดิลกรัตน์ และคุณชลลดา คมพิทักษ์ชัย ๏ คุณสมชาย ยืนยง อุทิศให้คุณแม่ เมี่ยวลั้ง แซ่จัง (และญาติผู้ล่วงลับ) ๏ คุณพิมพ์วลัญช์ สิทธิเจริญสุข และครอบครัว ๏ คุณชิตชัย - คุณสุภาพร ตั้งสุขสว่างพร (ตลอดเดือนสิงหา) ๏ คุณทิฆัมพร แซ่โอ๊ว ๏ คุณสุนิสา สังข์อยู่ และคุณวิไลวรรณ จุลมุลสิก ๏ คุณอารยา ไมตรีจิตต์ อุทิศให้คุณแม่ส�ำเนียง หงษ์โต ๏ คุณวิวัฒน์ - คุณสมจิตต์ เรืองวัฒนกุล ๏ คุณนวลคณา มโนศิลปสุนทร อุทิศให้คุณแม่ ๏ นักเรียนพระอภิธรรม บ้านพุทธธรรมสวนหลวง ๏ คุณชิน จองชัยสกุลเดช และครอบครัว อุทิศให้มารดาบิดา ๏ คุณธีรณัฐ โรจนวิทูร ๏ ครอบครัวบวรวัฒนวานิช อุทิศให้คุณแม่ซีเค็ง แซ่ตั้ง ๏ คุณศุภวรรณ - คุณวิมลวรรณ ศฤงคารินทร์ ๏ พล.โท นรวีร์ ปัทมสถาน (ท�ำบุญวันเกิด) ๏ คุณพรชัย กมลกุศลมั่น และครอบครัว ๏ คุณมนูญ - รศ.นงนารถ เดชณรงค์ ๏ คุณวิสิทธิ์ ลิ้มเจริญสุข ๏ คุณเยาวลักษณ์ วรรธนะพิศิษฏ์ ๏ คุณจิตรชญา - คุณอุมาพร - คุณชานนท์ อุทิศให้คุณแม่เอี้ยวเซ็ง แซ่โง้ว - คุณพ่อบุญเจ้า แซ่ฮ้อ ลิมปนะพงศ์พันธุ์ ๏ คุณสันติ - คุณพัชนี เตชอัครกุล และครอบครัว (๗ วัน) ๏ คุณกันยา พิสุทธิวงษ์ และครอบครัว ๏ คุณชนินทร์ ศุภพันธร (ถวายข้าวสารหอมมะลิ ตลอดปี ๒๕๕๗) ๏ คุณวราภรณ์ สุดแสงสว่าง ๏ คุณพีรพร - คุณประภา จรูญชัยคณากิจ (เจ้าภาพ ๒ วัน) ๏ คุณสมใจ จรูญชนม์ ๏ คุณสุปรีย์ สกุลแรมรุ่ง อุทิศให้คุณพ่อเหลียงโกหมี ๏ คุณอภิชัย อึ้งอร่าม และพี่ชาย เหลียง ฮี่ เส็ง) ๏ คุณฐิติทิพย์ - คุณพรชัย ธรรมเรืองชัย ๏ คุณนิวัฒน์ - คุณศรีวิภา วุฒิพรวรพันธ์ และครอบครัว ๏ คุณวิมล รัตนเศวตหิรัญ อุทิศให้คุณพ่อไสว สงวนพงษ์ ๏ คุณมณฑิกา โพธิ์ถาวร ๏ คุณรัตนา เฟื่องฟูสิน

42

และผู้ที่มิได้เอ่ยนามทุกๆท่าน


๏ ดาบต�ำรวจยุทธชัย บุญพิค�ำ ๏ เด็กหญิงเออลีน ดุยร์ยาต (Erell Duillard) (ท�ำบุญวันเกิด) ๏ คุณชวนชื่น ชีวะกานนท์ ๏ คุณรัตนา ณรงค์วณิชย์ และครอบครัว ๏ คุณสิทธิชยั - คุณจินตนา เตชอัครกุล และครอบครัว ๏ คุณอ�ำพล เฟือ่ งฟูสนิ - คุณแม่ซวิ้ กิม แซ่เตียว (๒ วัน)

รายนามเจ้าภาพร่วมจัดพิมพ์จุลสารโพธิยาลัย ฉบับที่ ๒๗ - ๒๘ เดือนมีนาคม - เมษายน ๒๕๕๗

๏ ชมรมรักษ์บาฬีวัดจากแดง ๑,๐๐๐ บาท ๏ ชมรมพุทธธรรมรามค�ำแหง ๑,๕๐๐ บาท ๏ ครอบครัวฉวีวาณิชยกุล - ครอบครัวงามสันติสุข ครอบครัวเฟื่องจินดาวงศ์ - ครอบครัวปฐมวรชัย ครอบครัวมุมทอง ๓,๐๐๐ บาท ๏ Mr. Hsi-Yuan, Wu. และครอบครัว ๑,๐๐๐ บาท ๏ ร้านเสริมสวยกินรี ๒๐๐ บาท

๏ คุณประหยัด - คุณสุธัญญา - คุณจุติพน คุณจุติพัทธ์ - คุณจุติพันธ์ บุญสูง ๑๐,๐๐๐ บาท ๏ คุณประพันธ์ ตั้งเมตไตรย์ ๔,๐๐๐ บาท ๏ คุณรัตนา - คุณจิรภัทร - คุณจิรวรรณ - คุณจิดาภา ศิริจิตร ๕,๐๐๐ บาท ๏ คุณอภัย อัศวนันท์ ๑,๐๐๐ บาท ๏ คุณสรณา จิรารัตน์สกุล ๑,๐๐๐ บาท

รายนามเจ้าภาพน�้ำปานะและอื่นๆ เดือนกรกฎาคม - สิงหาคม ๒๕๕๗ ๏ พระการุณย์ กุสลนนฺโท ๏ หม่อมหลวงสุพิชาน์ ทองใหญ่ ๏ คุณรัตนา ศิริจิตร ๏ คุณทิพพา วันวิเวก ๏ พลโทนรวีร์ - คุณเสริมสุข ปัทมสถาน ๏ พล.ต.ต. สพรั่ง - คุณณัทภรณ์ อุณปาทร ๏ คุณชวลิต - คุณลลิญตา ปรีตะนนท์ ๏ คุณทวีชัย - กัลยาณี คงเจริญสุขยิ่ง ๏ คุณรุ่งเรือง รื่นรมย์ ๏ คุณวิไล สีสรรพ์ ๏ คุณศิริพร ศรีทอง ๏ คุณนิตย์ นาครัตน์ ๏ คุณประภาศรี วู ๏ คุณพรภพ เสนะคุณ ๏ คุณอรกร ธรรมพรหมกุล ๏ คุณพรไพเราะ ตันติกุลสุนทร ๏ คุณพวน ธัมพิบูลย์ ๏ คุณวิศิษฐ์ - คุณเพ็ญพรรณ ลิม ๏ ศ.นพ. เสวก วีระเกียรติ ๏ สุวรรณี หอจินดา ๏ สมชาย วรประดิษฐ์ ๏ สาลี่ หงศ์ศิริวัฒน์

๏ ชมรมพุทธธรรมรามค�ำแหง ๏ คุณแม่เสงี่ยม ศรีอนันต์ และครอบครัว ๏ คุณณรงค์ศักดิ์ เตชะไกรศรี ๏ ครอบครัวเฟื่องจินดาวงศ์ ๏ คุณผกาศรี เล็กสกุลชัย ๏ อาจารย์นิคม - อาจารย์ปิยะจิต ทาแดง ๏ คุณเพ็ญศรี บุญญรัตน์ และคณะ ๏ คุณสมลักษณ์ แซ่ไหล ๏ คุณสุรศักดิ์ จินาพันธ์ ๏ คุณสุทธิดาวัลย์ วงศ์ทองสวัสดิ์ ๏ คุณนิจิตกร ทิพรัตน์ ๏ คุณสรณา จิรารัตน์สกุล ๏ คุณกุลชลี พจน์ชัยจงดี ๏ คุณศิริอร วัดล้อม ๏ คุณยศรินทร์ โชติเสน ๏ คุณศุภชล นิธิวาสิน ๏ คุณอรุณ ประคุณหังสิต ๏ คุณศรินยา พัฒนศรี ๏ ทพ.วรวุฒิ วีระเกียรติ ๏ ทิพวรรณ ประยูรศักดิ์ ๏ จิตติมา ทองอินทร์ ๏ นันทา ภูปรัสสานนทน์







Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.