จุลสารโพธิยาลัยฉบับที่ ๒

Page 1


เน


เน


บทนํา สวัสดีท่านผู้อ่านทุกท่าน เราก็ได้ มีโอกาสมาพบเจอกันอีกครั้ง ในจุลสารโพธิยาลัยฉบับที่ ๒ เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๕๕ ซึ่งภายใน ฉบับนี้ยังคงอัดแน่นด้ วยเนื้อหาสาระ ธรรมะต่างๆ ที่ท่านผู้อ่านสามารถ นําไปเป็ นคติประจําใจ หรือประยุกต์ใช้ ในชีวิตประจําวันได้ เป็ นอย่างดี ซึ่ง โดยหลักการทํางานแล้ ว คณะผู้จัดทําจะพยายามยึดหลักธรรมตามแนว พระไตรปิ ฎกไว้ ให้ ได้ มากที่สดุ ส่วนภาพที่ปกหน้ า-ปกหลังเป็ นการประมาลภาพเหตุการณ์สาํ คัญ ต่างๆ ที่เกิดขึ้นคืองานปฏิบตั ิธรรม - สาระจากพระไตรปิ ฎก ครั้งที่ ๑ ส่งท้ ายปี เก่า ต้ อนรับปี ใหม่ ระหว่างวันที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๕๔ ถึง ๑ มกราคม ๒๕๕๕ และพิธวี างศิลาฤกษ์ศาลาบําเพ็ญบุญหลังใหม่ ของ วัดจากแดง เมื่อวันศุกร์ท่ี ๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๕  ข่าวบุญครั้งยิ่งใหญ่ วัดจากแดงกําลังดําเนินการก่อสร้ างศาลา การเปรียญ(ศาลาบําเพ็ญบุญหลังใหม่) จึงใคร่ขอเชิญท่านผู้มีจิตศรัทธา ร่วมบริจาคสมทบทุนการก่อสร้ างได้ ท่ี ฝ่ ายประชาสัมพันธ์วัดจากแดง ๐๒ - ๔๖๔ ๑๑๒๒ หรือ สามารถโอนผ่านธนาคารได้ ท่ี ชื่อบัญชี พระมหาประนอม, พระธิติพงศ์, อัครเดช เลขที่บญ ั ชี 037-1-47659-4 ธนาคารกรุงศรีอยุธยา สาขาพระประแดง บรรณาธิการจุลสารโพธิยาลัย

bodhiyalai.magazine@gmail.com


ไวยากรณ์ใหญ่ / บาฬีใหญ่เป็ นมาอย่างไร รุ่งอรุณ จันทร์สงคราม การศึกษาภาษาบาฬใี นสมัยก่อน เรียกกันว่า “เรียนมูล” เพราะถือ กันว่าความรู้ด้านภาษาบาฬนี ้นั เป็ นมูลรากเป็ นรากฐานเป็ นพื้นฐานของ การศึกษาพระบาฬไี ตรปิ ฎก แม้ คัมภีร์กจั จายนะที่นาํ มาใช้ เป็ นแบบเรียน วิชาไวยากรณ์ ท่านก็เรียกว่า “มูลกัจจายน์” โดยใส่คาํ ว่า “มูล” ไว้ ข้ างหน้ าชื่อคัมภีร์เดิม เพื่อให้ ร้ วู ่านี่เป็ นวิชาพื้นฐานเป็ นรากฐานและเป็ น มูลรากของพระปริยัติ คัมภีร์กจั จายนะที่ใช้ เป็ นแบบเรียนนั้น เป็ นคัมภีร์ท่เี ขียนด้ วยภาษา บาฬี การศึกษาเล่าเรียนจึงต้ องใช้ เวลา เพราะเป็ นภาษาที่ผ้ ูเรียนยังไม่ คุ้นเคย ต่อมา เมื่อมีการปรับเปลี่ยนแบบเรียนจากคัมภีร์เล่มเดิม เป็ น แบบเรียนเล่มใหม่ท่เี ขียนเป็ นภาษาไทย เพื่อให้ ผ้ ูเรียนเข้ าใจเนื้อหาของ ไวยากรณ์บาฬโี ดยตลอดในเวลาไม่นาน คัมภีร์ท่เี ป็ นแบบเรียนเล่มเดิมจึง ค่อยๆหมดบทบาทลงไปในวงการศึกษา พระเถระผู้ผ่านการเล่าเรียนคัมภีร์มูลกัจจายน์มาก่อนหรือท่านที่ได้ ประจักษ์ ในความสําคัญของคัมภีร์เดิม ต่างรู้คุณประโยชน์ของการศึกษา ตามคัมภีร์เดิม จึงบอกกล่าวให้ ผ้ ูอ่นื ได้ รับรู้ด้วยและพยายามหาวิธฟี ้ ื นฟู การศึกษาตามคัมภีร์เดิมนั้น จนในที่สดุ เมื่อท่านอาจารย์พระภัททันต ธัมมานันทมหาเถระ ธัมมาจริยะ อัครมหาบัณฑิต เจ้ าอาวาสวัดท่ามะโอ จังหวัดลําปาง เปิ ดสอนคัมภีร์เหล่านั้นอย่างทุ่มเทจิตใจ วงการศึกษาภาษา บาฬใี นเมืองไทยจึงได้ ร้ จู กั และได้ สมั ผัสเนื้อหาที่กว้ างขวางและยิ่งใหญ่น้นั อีกครั้ง ๕


คัมภีร์ท่ใี ช้ เป็ นแบบเรียนวิชาไวยากรณ์ ซึ่งเป็ นวิชาแรกนั้น ท่าน อาจารย์เลือกคัมภีร์รปู สิทธิมาเป็ นแบบเรียน เนื่องจากเป็ นคัมภีร์ท่นี าํ สูตรกัจจายนะมาจัดเรียนเนื้อหาใหม่ ทําให้ สะดวกต่อการศึกษาเรียนรู้ กลุ่มคัมภีร์ไวยากรณ์น้ันมีการเรียบเรียงเป็ นสองแบบคือ ๑. แบบมีสตู รเป็ นหลัก เรียกว่า “ไวยากรณ์ใหญ่” ๒. แบบไม่มสี ตู ร เรียกว่า “ไวยากรณ์น้อย” นี่เป็ นการชี้ให้ เห็นจุดต่างในกลุ่มคัมภีร์ไวยากรณ์ท่มี ีอยู่ แต่หาก กล่าวให้ ละเอียดลงไป คัมภีร์ไวยากรณ์ใหญ่น้นั นอกจากจะมีสตู รเป็ นหลัก แล้ ว ยังมีคาํ อธิบายสูตรที่เรียกว่า “วุตติ” และมีอทุ าหรณ์คือตัวอย่างของ สูตรอีกด้ วย เมื่อการศึกษาคัมภีร์เดิมที่สาํ นักเรียนวัดท่ามะโอเปิ ดสอนอยู่น้นั เป็ น ที่ร้ จู ักมากขึ้น ผู้สนใจต่างมุ่งไปเรียน ถามว่าไปเรียนอะไรที่น่นั ครั้นตอบ ว่าเรียนไวยากรณ์ใหญ่ คนฟังคําตอบก็คงจะงง เพราะไม่ค้ ุนเคย เนื่องจาก การศึกษาของคณะสงฆ์ท่คี ้ ุนเคยกันนั้นมีสองแผนกคือ แผนกธรรม กับ แผนกบาฬี ภายหลังจึงใช้ คาํ ว่า “บาฬใี หญ่”แทน เพื่อให้ เข้ าใจได้ ง่าย เพราะคําว่า “บาฬี” บอกถึงการศึกษาด้ านภาษาบาฬไี ม่ว่าจะเป็ นคัมภีร์ ใดๆก็ตาม ก่อนจบหัวข้ อนี้ ขอแนะนําชื่อคัมภีร์ไวยากรณ์ท่เี ขียนเป็ นภาษาบาฬี มาให้ ทราบบ้ างดังนี้ คัมภีร์แบบมีสตู รเป็ นหลัก ที่เรียกว่า “ไวยากรณ์ใหญ่” นั้น เช่น คัมภีร์กจั จายนะ, ปทรูปสิทธิ, โมคคัลลานะ, สัททนีติ และนิรตุ ติทปี นี ส่วนคัมภีร์แบบไม่มีสตู ร ที่เรียกว่า “ไวยากรณ์น้อย” นั้น เช่น คัมภีร์วิภตั ยัตถะ, สัททพินทุ และ การิกา เป็ นต้ น  ๖


ความสันโดษ หลักธรรมนําความเจริญ เขมาเขมะ หลายๆครั้งชาวพุทธมักจะสงสัยกันว่า พระพุทธองค์ทรงสอนให้ เรา เป็ นผู้มักน้ อยสันโดษ ซึ่งสวนกระแสกับสังคมในปัจจุบนั อย่างมาก เพราะ สังคมในปัจจุบนั ล้ วนแล้ วแต่แก่งแย่งแข่งขัน ชิงดีชิงเด่น เร่งรีบขวนขวาย หาทรัพย์สนิ เงินทองกันตลอดเวลา จนกระทั่งทุกๆคนมองว่าความสันโดษ เป็ นความล้ าหลัง เป็ นเครื่องขัดขวางความเจริญ เข้ าใจว่าผู้สนั โดษจะเป็ น ผู้เกียจคร้ าน ไม่ทะเยอทะยาน ไม่เจริญก้ าวหน้ า ซึ่งเป็ นความคิดทีผ่ ิด ก่อนอื่นเรามาทําความเข้ าใจกับคําว่า “สันโดษ” กันเสียก่อน ความ สันโดษเป็ นคําแสดงถึงหลักธรรมในทางพระพุทธศาสนา เป็ นหลักในการ ตัดสินพระธรรมวินัย เป็ นเครื่องชี้ชัดพิสจู น์ว่าเป็ นคําสั่งสอนในทาง พระพุทธศาสนาหรือไม่ ซึ่งพระพุทธเจ้ าทรงวางหลักในการตัดสินไว้ ว่า ธรรมเหล่าใด เป็ นไปเพื่อความกําหนัด เพื่อความประกอบทุกข์ เพื่อการสะสมกองกิเลส เพื่อความอยากใหญ่ เพื่อความไม่สนั โดษ เพื่อ ความคลุกคลีด้วยหมู่คณะ เพื่อความเกียจคร้ าน และเพื่อความเป็ นผู้เลี้ยง ยาก สิ่งเหล่านั้น ไม่ใช่ธรรม ไม่ใช่วินัย ไม่ใช่คาํ สั่งสอนของพระพุทธเจ้ า สนฺตุฏฐิ ปรมํ ธนํ ความสันโดษเป็ นทรัพย์อย่างยอดเยี่ยม ความสันโดษ จัดเป็ นธรรมในหมวดสัมมาอาชีวะ การเลี้ยงชีพชอบ ในกลุ่มมรรคมีองค์ ๘ ท่านแบ่งความสันโดษออกเป็ น ๓ กรณี คือ ๑. ยถาพลสันโดษ ๒. ยถาลาภสันโดษ ๓. ยถาสารุปปสันโดษ ๗


ยถาพลสันโดษ ยินดีตามกําลังตน ตามกําลังทรัพย์ กําลังความรู้ กําลังความคิด กําลังบริวาร กําลังคน ซึ่งในจุดนี้แสดงว่าทุกๆคน สามารถจะแสวงหาความรู้ ค้ นคว้ าทดลอง พิสจู น์ได้ ตลอดเวลา ตราบ เท่าที่ไม่เป็ นการละเมิดสิทธิ หรือเป็ นการเบียดเบียนผู้อ่นื ฉะนั้นการ พัฒนาก้ าวหน้ า ก็จะมีไปเรื่อยๆ เพียงแต่ว่าควบคุมทิศทางไม่ให้ ผดิ ศีลธรรม ผิดกฎหมายเท่านั้น ยถาลาภสันโดษ ยินดีตามที่ได้ ได้ มากได้ น้อยก็ทาํ ใจให้ ยินดี เท่ากับสิ่งที่ตนได้ ทําให้ ไม่เป็ นผู้ทะยานอยากจนเกินไป ในบางครั้งหาก ปล่อยให้ ความอยากเข้ าครอบงําแล้ ว ก็จะเกิดการแสวงหาโดยไม่สนใจ วิธี ไม่สนใจความถูกต้ อง ไม่ยึดหลักศีลธรรม ก่อให้ เกิดการละเมิด กฎหมาย ยถาสารุปปสันโดษ ยินดีตามความเหมาะสม ควรแก่ฐานะของ ตนเอง กรณีการบริโภคใช้ สอย ความเป็ นอยู่ การจะนุ่งห่ม การจะสร้ าง บ้ านเรือน เป็ นต้ น ก็พิจารณาอย่างพอเหมาะพอควร ไม่ทาํ จนเกินตัว เกินฐานะ เกินกําลังทรัพย์ของตน ถ้ าสังคมไทยมีความสันโดษ คนในสังคมเลี้ยงชีพในทางที่ชอบ การเอารัดเอาเปรียบกัน การคอรัปชั่น โกงกิน การรับสินบนต่างๆก็จะ ไม่มี สังคมจะอยู่ร่วมกันได้ อย่างปกติสขุ มีการสร้ างสรรค์พัฒนาบน ทิศทางของความถูกต้ องดีงามตลอดไป สันโดษจึงเป็ นทรัพย์อนั ยอด เยี่ยมในหมู่มนุษย์ท้งั หลาย 


ใครควรโจทก์ สังคีตวรภิกขุ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้ าประทับอยู่ท่ปี ่ าเป็ นที่ทาํ พลีกรรม ใกล้ กรุงกุสนิ ารา ณ ที่น้ันแล พระผู้มีพระภาคเจ้ าตรัสเรียกภิกษุท้งั หลาย มาแล้ วตรัสสอนว่า “ภิกษุท้งั หลาย ภิกษุผ้ ูท่ตี ้ องการโจทก์ผ้ ูอ่นื พึง พิจารณาธรรม ๕ ประการในตน พึงเข้ าไปตั้งธรรม ๕ ประการไว้ ในตน แล้ วจึงโจทก์ผ้ ูอ่นื ” ธรรม ๕ ประการอันภิกษุพึงพิจารณาในตนเป็ นไฉน (๑) ภิกษุท้งั หลาย ภิกษุผ้ ูเป็ นโจทก์ประสงค์จะโจทก์ผ้ อู ่นื พึงพิจารณา อย่างนี้ว่า เราเป็ นผู้มีกายสมาจารอันบริสทุ ธิ์ เราเป็ นผู้ประกอบด้ วยกาย สมาจาร๑อันบริสทุ ธิ์ ไม่ขาด ไม่บกพร่องหรือหนอ ธรรมนี้มพี ร้ อมอยู่แก่ เราหรือไม่หนอ ภิกษุท้งั หลาย หากว่าภิกษุมิได้ เป็ นผู้มีกายสมาจารอัน บริสทุ ธิ์ ไม่ขาด ไม่บกพร่องไซร้ จะมีผ้ ูว่ากล่าวกะภิกษุน้นั ว่า ‘เชิญท่าน ศึกษาความประพฤติทางกายเสียก่อนเถิด’ จะมีผ้ ูกล่าวกะภิกษุน้นั อย่างนี้ (๒) อีกประการหนึ่ง ภิกษุผ้ เู ป็ นโจทก์ประสงค์จะโจทก์ผ้ ูอ่นื พึง พิจารณาอย่างนี้ว่า เราเป็ นผู้มีวจีสมาจารบริสทุ ธิ์ เราเป็ นผู้ประกอบด้ วยวจี สมาจารอันบริสทุ ธิ์ ไม่ขาด ไม่บกพร่องหรือหนอ ธรรมนี้มีพร้ อมอยู่แก่ เราหรือไม่หนอ ภิกษุท้งั หลาย หากว่าภิกษุมิได้ เป็ นผู้มีวจีสมาจารบริสทุ ธิ์ มิได้ ประกอบด้ วยวจีสมาจารบริสทุ ธิ์ ไม่บกพร่อง ไม่ขาดไซร้ จะมีผ้ ูกล่าว กะภิกษุน้นั ว่า ‘เชิญท่านจงศึกษาความประพฤติทางวาจาเสียก่อนเถิด’ จะ มีผ้ ูว่ากล่าวกะภิกษุน้นั อย่างนี้ ๑

จะขออธิบายคําว่ากายสมาจารก่อน กายสมาจารคือการทําในสิ่งที่ควรทํา ศัพท์น้ ีมา จาก สํ อุปสัค + อาจาร แปลว่าประพฤติดี + คําว่ากาย ศัพท์คาํ นี้เกี่ยวข้ องทั้งในเรื่องของ อาชีพและไม่เกี่ยวข้ องกับอาชีพ คนเราควรจะทําสิ่งที่ดีโดยไม่เกี่ยงว่าเพื่ออะไร


(๓) อีกประการหนึ่ง ภิกษุผ้ ูเป็ นโจทก์ประสงค์จะโจทก์ผ้ อู ่นื พึง พิจารณาอย่างนี้ว่าเราเข้ าไปตั้งเมตตาจิต ไม่อาฆาตไว้ ในเพื่อนพรหมจารี ทั้งหลายแล้ วหรือหนอ ธรรมนี้มีอยู่แก่เราหรือไม่หนอ ภิกษุท้งั หลาย หาก ว่าภิกษุมิได้ เข้ าไปตั้งเมตตาจิต ไม่อาฆาตไว้ ในเพื่อนพรหมจารีท้งั หลาย ไซร้ จะมีผ้ วู ่ากล่าวภิกษุกะนั้นว่า ‘เชิญท่านจงเข้ าไปตั้งเมตตาจิตไว้ ใน เพื่อนพรหมจารีท้งั หลายเสียก่อนเถิด’ จะมีผ้ ูว่ากล่าวกะภิกษุน้นั อย่างนี้ (๔) อีกประการหนึ่ง ภิกษุผ้ ูเป็ นโจทก์ประสงค์จะโจทก์ผ้ อู ่นื พึง พิจารณาอย่างนี้ว่า เราเป็ นพหูสตู ทรงสุตะ สั่งสมสุตะ เป็ นผู้ได้ สดับมา มาก ทรงไว้ คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอดด้ วยดีด้วยทิฏฐิ ซึ่งธรรมอันงาม ในเบื้องต้ น งามในท่ามกลาง งามในที่สดุ ประกาศพรหมจรรย์พร้ อมทั้ง อรรถทั้งพยัญชนะ บริสทุ ธิ์บริบูรณ์ส้ นิ เชิงหรือหนอ ธรรมนี้มีพร้ อมอยู่แก่ เราหรือไม่หนอ ภิกษุท้งั หลาย หากภิกษุไม่เป็ นพหูสตู ทรงสุตะ สั่งสมสุตะ ไม่เป็ นผู้ได้ สดับมามาก ทรงไว้ คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอดด้ วยดีด้วยทิฏฐิ ซึ่งธรรมอันงามในเบื้องต้ น งามในท่ามกลาง งามในที่สดุ ประกาศ พรหมจรรย์ พร้ อมทั้งอรรถทั้งพยัญชนะ บริสทุ ธิ์บริบูรณ์ส้ นิ เชิงไซร้ จะมี ผู้ว่ากล่าวภิกษุน้นั ว่า ‘เชิญท่านจงเล่าเรียนคัมภีร์เสียก่อนเถิด’ จะมีผ้ ูว่า กล่าวกะภิกษุน้นั อย่างนี้ (๕) อีกประการหนึ่ง ภิกษุผ้ ูเป็ นโจทก์ประสงค์จะโจทก์ผ้ อู ่นื พึง พิจารณาอย่างนี้ว่า เราจําปาติโมกข์ท้งั สองได้ ดีแล้ ว จําแนกดีแล้ ว ให้ เป็ นไปดีแล้ ว โดยพิสดาร วินิจฉัยดีแล้ วโดยสูตร โดยอนุพยัญชนะหรือ หนอ ธรรมนี้มีพร้ อมอยู่แก่เราหรือไม่หนอ ภิกษุท้งั หลาย หากว่าภิกษุ เป็ นผู้ไม่จาํ ปาติโมกข์ท้งั สองได้ ดีแล้ ว มิได้ จาํ แนกดีแล้ ว มิได้ ให้ เป็ นไปดี แล้ วโดยพิสดาร มิได้ วินิจฉัยด้ วยดีโดยสูตรโดยอนุพยัญชนะ ๑๐


ภิกษุน้ันถูกถามว่า ท่านผู้มีอายุ สิกขาบทนี้พระผู้มีพระภาคเจ้ าตรัสแล้ ว ในที่ไหน ดังนี้ แก้ ไม่ได้ จะมีผ้ ูว่ากล่าวกะภิกษุน้นั ว่า ‘เชิญท่านศึกษา วินัยเสียก่อนเถิด’ จะมีผ้ ูว่ากล่าวกะภิกษุน้นั อย่างนี้ ภิกษุควรตั้งไว้ ในธรรม ๕ ประการว่า เรา... จักกล่าวในกาลอัน ควร จักไม่กล่าวโดยกาลอันไม่ควร ๑ จักกล่าวด้ วยคําจริง จักไม่กล่าวคํา เท็จ ๑ จักกล่าวด้ วยคําอ่อนหวาน จักไม่กล่าวด้ วยคําหยาบ ๑ จักกล่าว ด้ วยคําที่ประกอบด้ วยประโยชน์ จักไม่กล่าวถ้ อยคําอันไม่ประกอบด้ วย ประโยชน์ ๑ จักมีเมตตาจิตกล่าว จักไม่เพ่งโทษกล่าว ๑ พึงตั้งใจ ๕ ประการนี้แล้ วจึงโจทก์ผ้ ูอ่นื ” พระพุทธพจน์น้ อี ยู่ใน กุสนิ าราสูตร อังคุตรนิกาย ทสกนิบาต การโจทก์ผ้ ูอ่นื นั้นใช่ว่าจะทําไม่ได้ แต่ควรจะรู้จักกาล ไม่หยาบคาย และมีเมตตาจิต คือ มีใจเอื้อเฟื้ อบุคคลนั้นจริงๆ ไม่ใช่พูดตามใจ หรือ พูดเพื่อให้ เขาโกรธ แต่พึงพิจารณาก่อนพูด 

๑๑


พระนางปฏาจาราเถรี ตถตา สดับมาว่า พระนางปฏาจารานั้นในอดีตก่อนบวชได้ เป็ นธิดาของ เศรษฐีผ้ ูหนึ่ง มีทรัพย์สนิ มากถึง ๔๐ โกฏิในเมืองสาวัตถี นางมีรปู โฉม งดงามมาก ในเวลาที่นางมีอายุครบ ๑๖ ปี บิดามารดานั้นต้ องการจะ รักษาไม่ให้ เกิดข้ อครหานินทา จึงให้ นางอาศัยอยู่บนปราสาทชั้น ๗ โดย ได้ รับการเลี้ยงดูทะนุถนอมเป็ นอย่างดีจากบิดามารดา ถึงกระนั้นนางก็ยัง แอบลักลอบมีความสัมพันธ์กบั คนใช้ คนหนึ่งของตน กาลต่อมา บิดามารดาของนางได้ ยกนางให้ กบั บุตรชายของเศรษฐี คนหนึ่งผู้มีชาติตระกูลเสมอกัน และได้ กาํ หนดวันวิวาห์กนั ไว้ เรียบร้ อย เมื่อวันวิวาห์ใกล้ เข้ ามา นางจึงพูดกับคนรับใช้ ผ้ ูเป็ นสามีว่า “บิดามารดา กําลังจะยกฉันให้ กบั บุตรชายของเศรษฐีตระกูลหนึ่ง ถ้ าฉันไปสู่สกุลนั้น แล้ ว แม้ เธอจะต้ องถือเครื่องบรรณาการมาเพื่อฉัน ก็จะไม่สามารถเข้ าไป ในที่น้นั ได้ หากเธอมีความรักในฉัน ก็จงพาฉันหนีไปในบัดนี้เถิด” คนรับ ใช้ ผ้ ูเป็ นสามีรับคําแล้ วบอกว่า “ถ้ าเช่นนั้น ฉันจักยืนรออยู่ท่ปี ระตูเมืองแต่ เช้ าตรู่ เธอจงออกไปด้ วยอุบายอย่างใดอย่างหนึ่งเถิด” วันรุ่งขึ้นนางได้ นุ่ง ห่มผ้ าเก่าๆ สยายผม เอารําทาทั่วร่างกาย มือถือหม้ อนํา้ ทําตัวประดุจนาง ทาสีเดินออกจากเรือน เพื่อไปยังจุดที่นัดพบกัน จากนั้นจึงได้ ออกเดินทาง จากเมืองไปสู่ชนบทปลายแดนที่แสนกันดาร ยึดอาชีพทําไร่ ไถนา ปลูก ผักเลี้ยงชีพ ได้ รับผลวิบากคือทุกขเวทนาเป็ นอันมาก ต่อมานางได้ ต้ังครรภ์บุตรคนแรก ด้ วยมีความกังวลเกี่ยวกับการ คลอดและการดูแลรักษาบุตรของตน จึงได้ ปรึกษากับสามีว่า “ใครๆใน ที่น้ ผี ้ ูจะคอยอุปการะเราไม่มีเลย พี่จงพาดิฉันไปสู่บ้านเถิด ตามธรรมดา บิดามารดาเป็ นผู้มีจิตใจอ่อนโยนในบุตร จักยกโทษให้ ดิฉันเป็ นแน่แท้ ” ๑๒


ฝ่ ายสามีได้ ฟังดังนั้นแล้ วคัดค้ านขึ้นว่า “นางผู้เจริญ เธอพูดอะไร ออกมา บิดามารดาของเธอ เมื่อเห็นฉันแล้ วจะต้ องลงทัณฑ์อย่างแน่นอน ฉันไม่สามารถจะไปในที่น้นั ได้ ” แม้ นางอ้ อนวอนอยู่หลายต่อหลายครั้ง ก็ ไม่ได้ รับความยินยอม นางจึงได้ รอเวลาที่สามีเข้ าป่ า บอกคนแถวนั้นผู้ คุ้นเคยกันสั่งว่า “ถ้ าสามีฉันกลับมา แล้ วไม่พบฉัน พวกท่านพึงบอกแก่ สามีของฉัน ว่าฉันได้ กลับไปสู่เรือนของตระกูลแล้ ว” จากนั้นจึงปิ ดประตู แล้ วก็หนีไป ฝ่ ายสามีพอกลับมาถึงบ้ าน เมื่อไม่พบภรรยา จึงถามคนแถว นั้น หลังจากได้ ทราบเรื่องแล้ ว ก็ออกติดตามเพื่อจะพานางกลับ เมื่อพบ นางในระหว่างทางจึงได้ อ้อนวอนต่างๆนานา แต่กไ็ ม่สามารถจะให้ นาง กลับได้ ขณะนั้นลมกัมมัชวาตของนางปั่นป่ วน ได้ เวลาที่จะคลอดบุตร นาง ได้ เข้ าไปสู่พุ่มไม้ แห่งหนึ่ง นอนกลิ้งเกลือกอยู่ท่พี ้ ืนคลอดบุตรด้ วยอาการ ทุลักทุเล หลังจากคลอดบุตรแล้ วจึงคิดว่า “เราจะกลับไปสู่ตระกูลก็เพื่อ จะคลอดบุตร บัดนี้บุตรของเราได้ คลอดมาแล้ ว กิจที่จะกลับไปสู่ตระกูลก็ ไม่ม”ี จึงตัดสินใจเดินทางกลับสู่เรือนกับสามี ต่อมานางได้ ต้งั ครรภ์บุตรคนที่ ๒ อีก นางก็ได้ อ้อนวอนสามีดัง เช่นเดียวกับเมื่อคลอดบุตรคนแรก เมื่อไม่ได้ รับความยินยอมจากสามีอกี จึงตัดสินใจหนีโดยอุ้มบุตรคนแรกไว้ ท่สี ะเอวแล้ วออกเดินทางเพื่อกลับ ไปสู่ตระกูลของตน ฝ่ ายสามีเมื่อกลับถึงเรือนไม่พบ จึงออกตามหาจนพบ เข้ าในระหว่างทาง อ้ อนวอนด้ วยวิธตี ่างๆแต่กไ็ ม่สามารถจะโน้ มน้ าวให้ นางกลับเรือนได้ ในขณะนั้นเอง ฝนได้ ตกหนักอย่างไม่ขาดสาย ราวกับจะทําลาย บริเวณนั้นให้ ย่อยยับไปด้ วยเมล็ดฝน ประจวบกับลมกัมมัชวาตของนางก็ เริ่มปั่นป่ วน จึงได้ บอกสามีให้ หาที่หยุดพักเพื่อหลบฝนแต่ในบริเวณนั้น ๑๓


ไม่มีสถานที่พอจะอาศัยหลบฝนที่ตกลงมาอย่างไม่ขาดสายได้ จะมีกแ็ ต่ เพียงจอมปลวกที่อยู่ภายในพุ่มไม้ ไผ่ สามีจึงนํามีดไปตัดจอมปลวกทํา เป็ นอุโมงค์ เพื่อจะใช้ เป็ นที่หลบฝน ในขณะที่ฟันจอมปลวกอยู่น้นั อสรพิษร้ ายได้ เลื้อยออกจากจอมปลวก ฉกเข้ าที่แขนอย่างแรง พิษนั้น แล่นเข้ าสู่ภายในร่างกายของสามี ทําให้ ร่างกายมีสเี ขียวดุจดังเปลวไฟ ตั้งขึ้นจากภายใน ล้ มลงสิ้นชีวิตในที่น้นั นั่นเอง ฝ่ ายภรรยาได้ แต่ชะเง้ อรอคอยการกลับมาของสามี โดยไม่อาจทราบ ได้ เลยว่าสามีของตนเสียชีวิตแล้ ว ในที่สดุ ก็คลอดบุตรคนที่ ๒ ท่ามกลาง สายฝนในที่น้นั เอง เด็กทั้งสองไม่สามารถที่จะทนสายฝนและลมกรรโชก ได้ พากันส่งเสียงร้ องลั่นด้ วยความหนาวเหน็บ นางจึงได้ นาํ เด็กทั้ง ๒ คน ไว้ ระหว่างอก คุกเข่าใช้ ลาํ ตัวเสมือนเครื่องมุงบังคร่อมเด็กทั้งสองไว้ เพื่อ บังฝนให้ จนตลอดราตรี ร่างกายของนางซีดขาว ราวกับว่าไร้ ซ่งึ โลหิต เมื่ออรุณขึ้น ฝนหยุดตก นางก็อ้ มุ บุตรที่เพิ่งคลอดผู้มีสผี วิ ดังชิ้นเนื้อ สดไว้ ท่สี ะเอว และจูงบุตรคนโตออกตามหาสามี ครั้นเมื่อเห็นสามีนอน เสียชีวิตอยู่ท่จี อมปลวก จึงได้ ร้องไห้ พรํ่าเพ้ อรําพัน ปริ่มจะขาดใจว่า “เป็ นเพราะเราทีเดียว สามีจึงต้ องมาเสียชีวิตอย่างอนาถในที่น้ ”ี แล้ วก็ เดินทางต่อไปจนถึงแม่นาํ้ อจิรวดี ซึ่งเชี่ยวกรากเต็มเปี่ ยมด้ วยนํา้ สูงถึงหน้ า อก เพราะฝนที่ตกอย่างหนักตลอดคืน ไม่สามารถที่จะนําบุตรทั้งสองข้ าม ไปพร้ อมๆกันได้ จึงให้ บุตรคนโตรออยู่ท่ฝี ่งั นี้ แล้ วอุ้มบุตรคนเล็กข้ าม แม่นาํ้ ไปสู่อกี ฝั่ง ปูลาดกิ่งไม้ ใบไม้ ไว้ สาํ หรับให้ บุตรคนเล็กนอน แล้ วจึง ข้ ามกลับไปเพื่อรับบุตรคนโต ในระหว่างข้ ามนํา้ กลับไปเพื่อรับบุตรคนโต ก็ไม่อาจจะละความเป็ นห่วงต่อบุตรอ่อนได้ จึงได้ เหลียวกลับแลดู ดูแล้ ว ดูเล่าในระหว่างเดิน พอเดินถึงกลางแม่นาํ้ เหยี่ยวตัวหนึ่งเห็นบุตรคนเล็ก ซึ่งมีผวิ แดงเข้ มสดดังชิ้นเนื้อนอนอยู่ จึงโฉบถลาลงจากอากาศด้ วยเข้ าใจ ๑๔


ว่าเป็ นชิ้นเนื้อ นางเหลียวมาพบเข้ า จึงได้ ยกมือทั้งสองขึ้นร้ องไล่ด้วยเสียง ดัง “ซู่ ซู่” แต่เหยี่ยวไม่ได้ ยินเสียง จึงได้ โฉบพาบุตรน้ อยขึ้นไปสู่อากาศ แล้ วบินหายลับไป ส่วนบุตรที่ยืนอยู่อกี ฝั่ง เห็นแม่ของตนยกมือทั้งสองขึ้น พร้ อมกับร้ องเสียงดัง ก็เข้ าใจว่าแม่เรียกตน จึงกระโดดลงนํา้ ถูกกระแส นํา้ อันเชียวกรากพัดจมหายไปในที่น้นั นางได้ รับทุกขเวทนาอย่างแสนสาหัส ได้ แต่เดินบ่นเพ้ อตลอดทาง ปานจะขาดใจว่า “บุตรของเราคนหนึ่งถูกเหยี่ยวโฉบไป คนหนึ่งถูกนํา้ พัด ไป สามีกต็ ายเสียในที่เปลี่ยว” จนกระทั่งมาถึงกรุงสาวัตถี พบบุรษุ ผู้ เดินทางคนหนึ่งจึงได้ ถามว่า “ท่าน ตระกูลชื่อโน้ น ใกล้ ถนนโน้ น ในกรุง สาวัตถียังมีอยู่หรือ ท่านทราบไหม” ฝ่ ายชายผู้เดินทางตอบว่า “อย่าถาม ฉันถึงตระกูลนั้นเลยแม่ ถ้ าท่านรู้จักตระกูลอื่น จงถามเถิด” ฝ่ ายธิดา เศรษฐีตอบว่า “ฉันไม่ได้ มีธุระกับตระกูลอื่นเลย ฉันต้ องการไปสู่ตระกูล นั้นเท่านั้นแหละพ่อ” แต่ไม่ว่านางจะถามอย่างไร บุรษุ ผู้เดินทางก็ไม่ยอม ตอบ จนกระทั่งทนการรบเร้ าไม่ไหว จึงพูดขึ้นว่า “แม่เอ๋ย แม่เห็นฝนตก คืนยันรุ่งไหม” ฝ่ ายธิดาของเศรษฐีตอบว่า “เห็นจ้ ะพ่อ ฝนนั้นตกราวกะ ว่าตกเพื่อฉันเท่านั้น หาได้ ตกเพื่อผู้อ่นื ไม่ เอาเถิดฉันจักบอกเหตุท่ฝี นตก แก่ท่านในภายหลัง ท่านจงบอกความความเป็ นไปของเรือนเศรษฐีน้นั แก่ ฉันก่อนเถิด” บุรษุ เดินทางจึงตอบว่า “แม่ เมื่อกลางคืนพายุฝนได้ พัดเอา เรือนล้ มทับคนที่อยู่ข้างในบ้ านตายหมด ขณะนี้คนทั้งสามกําลังถูกเผาบน เชิงตะกอนเดียวกัน แม่เอ๊ย ควันนั่นยังปรากฏอยู่” นางได้ ฟังดังนั้นแล้ วก็ ถึงความเป็ นผู้ส้ นิ สติ เป็ นคนวิกลจริต ตะลึงอยู่ในขณะนั้นนั่นเอง พลางเดินกระเซอะกระเซิง ไม่ร้ สู กึ ถึงผ้ าที่หลุดออกจากกาย บ่นเพ้ อรําพัน ไปตลอดทางว่า “บุตรของเรา ๒ คนตายเสียแล้ ว สามีของเราก็ตายแล้ ว ในทางเปลี่ยว พ่อแม่ และพี่ชายก็ถูกเผาบนเชิงตะกอนเดียวกัน” ๑๕


ด้ วยอาการเช่นนี้ คนทั้งหลายเห็นนางก็เข้ าใจว่าเป็ นหญิงบ้ า จึงเอามือ กอบฝุ่ นทรายโปรยลงใส่ศรี ษะนางบ้ างขว้ างปาด้ วยก้ อนหินบ้ าง ทีน้นั พระศาสดาประทับนั่งแสดงธรรมอยู่ท่ามกลางบริษัท ๔ ในเขต พระเชตวันมหาวิหาร ได้ ทอดพระเนตรเห็นนางผู้บาํ เพ็ญบารมีมาแสนกัป ในสมัยพระพุทธเจ้ าพระนามว่าปทุมุตตระ บริบูรณ์ด้วยบุญญาภินิหารเดิน มาอยู่ พระองค์จึงทรงดําริว่า “เว้ นขาดจากเราเสีย ผู้อ่นื ชื่อว่าจะสามารถ เป็ นที่พ่ึงของหญิงผู้น้ ี หามีไม่” จึงทรงบันดาลให้ นางเดินบ่ายหน้ ามาสู่ วิหาร พวกเหล่าพุทธบริษัทเห็นนางเข้ า จึงพากันกล่าวว่า “ท่านทั้งหลาย อย่าให้ หญิงบ้ าเช่นนี้ เข้ ามาในที่น้ เี ลย” พระศาสดาตรัสว่า “พวกเธอจง หลีกไป อย่าได้ ห้ามมิให้ หญิงนั้นเข้ ามาเลย” ในเวลาที่นางมาใกล้ จึงตรัส ว่า “ดูก่อนน้ องหญิง เธอจงกลับได้ สติเถิด” นางก็กลับได้ สติด้วยพุทธานุ ภาพในขณะนั้นนั่นเอง ในเวลานี้นางกําหนดความที่ผ้าหนุ่งหลุดได้ แล้ ว เกิดหิริโอตตัปปะขึ้น จึงนั่งกระหย่ง ลําดับนั้นมีบุรษุ ผู้หนึ่งได้ โยนผ้ านุ่งให้ นาง นางนุ่งผ้ าผืนนั้นแล้ วเข้ าเฝ้ าพระศาสดา ถวายบังคมด้ วยเบญจาง คประดิษฐ์ ณ แทบพระบาทของพระศาสดาผู้มีผวิ พรรณดุจทอง กราบทูลว่า “ขอพระองค์ทรงเป็ นที่พ่ึงแก่หม่อมฉันเถิด” จากนั้นได้ กราบ ทูลเล่าเรื่องราวความสูญเสียอันสุดประมาณมิได้ พระศาสดาตรัสตอบว่า “อย่าเศร้ าโศกไปเลยปฏาจารา บัดนี้เธอได้ มาอยู่สาํ นักของเราผู้สามารถ จะเป็ นที่พ่ึงของเธอได้ แล้ ว นํา้ ตาที่ไหลออกของเธอผู้ร้องไห้ เศร้ าโศกอยู่ ในวัฏฏสงสารอันยาวนานนี้ ในเวลาของชนผู้เป็ นที่รักตายไป มีมากกว่านํา้ แห่งมหาสมุทรทั้ง ๔ รวมกันเสียอีก” ดังนี้แล้ วจึงตรัสพระคาถาว่า “นํา้ ในมหาสมุทรทั้ง ๔ มีประมาณน้ อย นํา้ ตาของชนผู้ถูกความทุกข์ ความเศร้ าโศกบีบคั้น มีมากกว่า ดูก่อนน้ องหญิง เหตุไรเธอจึงยังประมาทอยู่เล่า” ๑๖


หลังจากนางได้ สดับพระคาถา ความเศร้ าโศกได้ ลดน้ อยลง พระ ศาสดาทรงทราบความที่นางมีความเศร้ าโศกเบาบางลงจึงตรัสอีกว่า “บุตรทั้งหลายก็ดี มารดาบิดาหรือพวกพ้ องก็ดี ย่อมไม่สามารถเพื่อจะต้ านทานบุคคลผู้ถูกความตายครอบงําได้ เหล่าบัณฑิตชนทราบอํานาจประโยชน์เช่นนั้นแล้ ว สํารวมในศีล พึงชําระทางไปนิพพานโดยเร็วทีเดียว” ในกาลจบพระเทศนา นางได้ บรรลุเป็ นพระโสดาบัน กราบทูลขอ บรรพชาอุปสมบท ภายหลังจึงปรากฏชื่อว่า “ปฏาจารา” วันหนึ่งนางได้ เอาหม้ อตักนํา้ ล้ างเท้ า เทนํา้ ลง นํา้ นั้นไหลไปหน่อยหนึ่ง แล้ วก็ขาด ครั้งที่ ๒ เทลงอีก นํา้ ได้ ไหลไปไกลกว่านั้นหน่อยหนึ่ง ครั้งที่ ๓ เทลงอีก นํา้ ก็ไหลไปไกลกว่านั้นอีกหน่อย จึงได้ กาํ หนดนิมิตในนํา้ นั้นว่า “สัตว์เหล่านี้ ตายเสียในปฐมวัยก็มี เหมือนนํา้ ที่เราเทลงในครั้งแรก สัตว์บางพวกตายในมัชฌิมวัยก็มี เหมือนนํา้ ที่เราเทลงในครั้งที่ ๒ สัตว์บางพวกตายในปัจฉิมวัยก็มี เหมือนนํา้ ที่เราเทลงครั้งที่ ๓” พระศาสดาทรงทราบวาระจิตของนาง ทรงแผ่พระรัศมีราวกะ ประทับยืน ตรัสต่อหน้ านาง แล้ วตรัสด้ วยพระคาถานี้ว่า “ก็ผ้ ูใด ไม่เห็นความเกิดขึ้นและความเสื่อม แม้ มีชีวิตอยู่ ๑๐๐ ปี ก็ไม่ประเสริฐ หากความเป็ นอยู่เพียงวันเดียว ของผู้เห็นความเกิดและความเสื่อม ความเป็ นอยู่น้นั ประเสริฐกว่า” จากนั้นไม่นาน นางก็บรรลุเป็ นพระอรหันต์ ได้ รับการยกย่องไว้ ใน ตําแหน่งเอตทัคคะทางด้ านภิกษุณผี ้ ูทรงวินัย ฉะนั้นแล  ๑๗


สิง่ ทีค่ วรทํา กับสิง่ ทีอ่ ยากทํา อภิรตภิกขฺ ุ การดําเนินชีวิตในแต่ละวัน ถ้ าสังเกตให้ ดีๆแล้ วจะเห็นได้ ว่า เรามัก เสียเวลาไปกับสิ่งที่ไร้ ประโยชน์ให้ โทษกับตัวเราเองเป็ นส่วนมาก เสียเวลา ในห้ องนํา้ เป็ นชั่วโมง เพื่อขัดสีตกแต่งร่างกาย แต่บางทีเรากลับหลงลืมที่ จะออกกําลังกายเพียงสิบนาที เพราะมัวหลงใหลอยู่ในอารมณ์ท่แี ปลก ใหม่ โดยไม่ได้ คาํ นึงถึงสิ่งที่ตนเองจะได้ รับจากการกระทํานั้น ว่ามันจะ ส่งผลอย่างไรบ้ าง การปล่อยให้ ชีวิตเป็ นไปตามอารมณ์ จึงยากที่จะ หลีกเลี่ยงต่อปัญหาหรือความละล้ าละลังของชีวิต ในขณะที่คนอื่นเดินไป ไขว่คว้ าความฝัน เราจึงถูกติดยึดอยู่กบั ที่ เพราะไม่สามารถควบคุมตนเอง ไม่ว่าจะด้ านใดก็ ได้ หากกล่าวถึงบุคคลที่ประสบความสําเร็จในชีวิต ตามเราจะเห็นได้ ถงึ กฎเหล็กที่คนเหล่านั้นปฏิบตั ิอยู่สองข้ อคือ (๑) การทําในสิง่ ทีค่ วรทํา (๒) การไม่ทําในสิง่ ทีค่ วรทํา การกระทําในสิ่งที่ควรทํานั้นเป็ นการแสดงออกทางภาวะของตรรกะ และเหตุผล ส่วนการทําตามความอยากทําให้ อาจทําในสิ่งที่ไม่ควรทํา เป็ น การตอบสนองต่ออารมณ์ท่ตี นต้ องการเพียงแค่น้ัน จึงไม่น่าแปลกใจเลย ว่า ทําไมมีคนเพียงจํานวนน้ อยเท่านั้นที่ประสบความสําเร็จในชีวิต แต่คน ส่วนมากกลับรู้สกึ ล้ มเหลวในสิ่งที่ทาํ นี่กเ็ พราะไม่สามารถที่จะควบคุม ตนเองได้ ดังที่หลวงพ่อชา สุภทั โท ท่านได้ กล่าวไว้ ว่า “เธอจงระวังความคิด เพราะความคิดจะกลายเป็ นการกระทํา เธอจงระวังการกระทํา เพราะการกระทําจะกลายเป็ นความเคยชิน เธอจงระวังความเคยชิน เพราะความเคยชินจะกลายเป็ นนิสยั เธอจงระวังนิสยั เพราะนิสยั จะกลายเป็ นตัวกําหนดชีวิตของเธอ”  ๑๘


โทษของการเลือ่ มใสทีเ่ กิดขึ้ นในบุคคล ๕ อย่าง สังคีตวรภิกขฺ ุ ๑. บุคคลย่อมเลื่อมใสยิ่งในบุคคลใด บุคคลนั้นต้ องอาบัติ อัน เป็ นเหตุให้ สงฆ์ยกวัตร หมายความว่าบุคคลนั้นประพฤติตนไม่สมควร จนสงฆ์ลงโทษเขาคือผู้ท่เี ลื่อมใสก็คิดว่า บุคคลผู้ท่เี ป็ นที่รักที่ชอบใจ ของเราถูกสงฆ์ยกวัตรเสียแล้ ว เขาจึงไม่เลื่อมใสในภิกษุพวกนั้น เมื่อ ไม่เลื่อมใสในภิกษุพวกนั้น เขาก็ไม่ไปคบหากับภิกษุพวกอื่น เมื่อไม่ คบหากับภิกษุพวกอื่น จึงไม่ได้ ฟังพระสัทธรรม จึงเสื่อมจากพระ สัทธรรม นี้เป็ นโทษในความเลื่อมใสในบุคคล ข้ อที่ ๑ ๒. อีกประการหนึ่ง บุคคลย่อมเลื่อมใสในบุคคลใด บุคคลนั้น ต้ องอาบัติอนั เป็ นเหตุให้ สงฆ์ต้องบังคับให้ เขานั่งในที่สดุ สงฆ์ เขาจึง คิดอย่างนี้ว่า บุคคลผู้เป็ นที่รักที่ชอบใจของเรา ถูกสงฆ์บงั คับให้ น่งั ใน ที่สดุ สงฆ์เสียแล้ ว เขาจึงไม่มีความเลื่อมใสในภิกษุ เมื่อไม่เลื่อมใส ก็ ไม่คบหาภิกษุเหล่าอื่น เมื่อไม่คบหาภิกษุเหล่าอื่น ก็ไม่ได้ ฟังพระ สัทธรรม จึงเสื่อมจากพระสัทธรรม นี้เป็ นโทษในความเลื่อมใสใน บุคคล ข้ อที่ ๒ ๓. บุคคลย่อมเลื่อมใสในบุคคลใด บุคคลนั้นหลีกไปสู่ทศิ เสีย เขาจึงคิดอย่างนี้ว่าบุคคลผู้เป็ นที่รักที่ชอบใจของเรา หลีกไปสู่ทศิ เสีย แล้ ว เขาจึงเป็ นผู้ไม่มคี วามเลื่อมใสในพวกภิกษุ เมื่อไม่เลื่อมใสก็ไม่ คบหาภิกษุเหล่าอื่น เมื่อไม่คบหาภิกษุเหล่าอื่น ก็ไม่ได้ ฟังพระ สัทธรรม เมื่อไม่ได้ ฟังพระสัทธรรม จึงเสื่อมจากพระสัทธรรม นี่เป็ น โทษในความเลื่อมใสในบุคคล ข้ อที่ ๓ ๑๙


๔. อีกประการหนึ่ง บุคคลย่อมเลื่อมใสในบุคคลใด บุคคลนั้น ลาสิกขา เขาจึงคิดว่า บุคคลผู้เป้ นที่รักที่ชอบใจของเรานี้ลาสิกขาเสีย แล้ ว เขาจึงไม่คบหาภิกษุอ่นื เมื่อไม่คบหา ก็ไม่ได้ ฟังพระสัทธรรม เมื่อไม่ได้ ฟังพระสัทธรรมจึงเสื่อมจากพระสัทธรรมนี้เป็ นโทษในความ เลื่อมใสในบุคคล ข้ อที่ ๔ ๕. บุคคลย่อมเลื่อมใสในบุคคลใด บุคคลนั้นกระทํากาละเสีย แล้ ว เขาจึงคิดอย่างนี้ว่า บุคคลผู้เป็ นที่รักที่ชอบใจของเรานี้ กระทํากา ละเสียแล้ ว เขาจึงไม่คบหาภิกษุเหล่าอื่น เมื่อไม่คบหาภิกษุเหล่าอื่น จึง ไม่ฟังพระสัทธรรม เมื่อไม่ฟังพระสัทธรรม จึงเสื่อมจากพระสัทธรรม นี้เป็ นโทษในความเลื่อมใสในบุคคลข้ อที่ ๕ การเลื่อมใสในบุคคลเพียงคนเดียว ผูกพันอยู่กบั คนนั้นเพียงคน เดียว ยกย่องบุคคลนั้นเพียงคนเดียว แม้ บุคคลนั้นทําผิดก็มองไม่เห็น ความผิด เห็นว่าถูกอยู่เสมอ อย่างนี้เรียกว่าหลงจนตาบอด มิหนําซํา้ เมื่อบุคคลนั้นถูกลงโทษก็พาลโกรธไปถึงผู้ท่ลี งโทษ และ พาลโกรธไปถึงบุคคลที่เป็ นพวกเดียวกับผู้ท่ลี งโทษด้ วย คนชนิดนี้ย่อม พบกับความเสื่อมแน่นอนทีดียว โดยเฉพาะในพระสูตรนี้ บุคคลในที่น้ ี คือภิกษุ การเลื่อมใสในภิกษุรปู ใดรูปเดียว เมื่อภิกษุน้นั ถูกลงโทษก็พาลโกรธภิกษุท้งั หมด แล้ วก็ไม่ไปฟัง ธรรม เขาก็เลยไม่ได้ รับรสของพระธรรม คนอย่างนี้น่าสงสารมาก เพราะสร้ างทางเสื่อมให้ แก่ตนเองแท้ ๆ ด้ วยเหตุน้ พี ระผู้มีพระภาคเจ้ า จึงตรัสสอนไม่ให้ เลื่อมใสในบุคคล แต่ให้ เลื่อมใสในธรรม

๒๐


ลองพิจารณาดูว่าเราเป็ นอย่างนี้หรือไม่ ถ้ าเป็ นอย่างนี้กน็ ่าเสียดาย เพราะโอกาสที่เราจะได้ เกิดมาพบพระพุทธศาสนาและพระธรรมคําสอน นั้นยากหนักหนา ท่านผู้ร้ ทู ่เี ป็ นบัณฑิตรู้ธรรมเข้ าใจธรรมนั้นมีอยู่ อย่าได้ หลงนับถือในบุคคลคนเดียว การนับถือในบุคคลคนเดียวนั้น ถ้ าบุคคลนั้นมีอนั เป็ นไปด้ วยเหตุใดก็ดี เราก็พลาดโอกาสที่จะได้ ร้ ธู รรม ได้ เข้ าใจธรรม หรือถ้ าบุคคลที่เราหลงนับถือนั้นเป็ นมิจฉาทิฏฐิ เราก็ จะกลายเป็ นมิจฉาทิฏฐิไปด้ วยโดยที่เราไม่ร้ ตู ัว ในข้ อธรรมนี้แม้ ว่าจะเน้ นหนักไปที่ภกิ ษุ แต่ในปัจจุบนั นี้ศาสนา พึ่งศรัทธาจากญาติโยมเป็ นส่วนใหญ่ คือถ้ าไม่มีโยมที่เลื่อมใส พระพุทธศาสนาอย่างแท้ จริง พระภิกษุท้งั หลายก็อาจหายไป ประเด็น ที่เป็ นมุมมองในพระธรรมคําสอนที่นาํ มานี้ คือการบอกกล่าวให้ ถอื เอา ไตรสรณคมน์ไว้ เป็ นที่พ่ึง คือ ถือเอาพระพุทธว่าเป็ นที่พ่ึง ถือเอาพระ ธรรมว่าเป็ นที่พ่ึงและถือเอาหมู่ของพระอริยสงฆ์ว่าเป็ นที่พ่ึง ฉะนั้นสาธุชนคนดีท้งั หลายจึงต้ องใช้ ปัญญาให้ มากขึ้นไปอีก คือ เข้ าใจพระธรรมคําสอนแล้ วย้ อนกลับมาดูท่ตี ัวเราว่า ศรัทธาของเรา เป็ นอย่างไร ความเพียรของเราเป็ นอย่างไร สติของเราเป็ นอย่างไร สมาธิของเราเป็ นอย่างไร ปัญญาของเราเป็ นอย่างไร ต้ องทําความ เข้ าใจให้ มาก เมื่อเข้ าใจสิ่งเหล่านี้ ประโยชน์ย่อมไม่ละจากบุคคลผู้กระทําสิ่งที่ ควรแก่การงาน ควรแก่สงั คม ที่จริงความเชื่อเหมือนเป็ นดาบสองคม มีคุณอนันต์และมีโทษมหันต์ ความเชื่อที่คล้ อยตามสังคมอาจไม่ใช่ส่งิ ที่ควรเสมอไป พระพุทธเจ้ าตรัสสอนว่าให้ ทาํ อินทรีย์คอื ศรัทธาให้ เท่ากับอินทรีย์ คือปัญญา ก็จะค้ นพบความจริง  ๒๑


อาสันนกรรม สังคีตวรภิกขฺ ุ ฝ่ ายกุศล ในอรรถกถาอัง.ติก.นิทานสูตรท่านเล่าว่า ณ หมู่บ้านแห่งหนึ่ง ชายคนหนึ่งมีหน้ าที่เฝ้ าประตูบ้านคนทมิฬ ในเวลาเช้ าตรู่ เขาจะถือ เบ็ดไปตกปลาเป็ นประจํา ปลาที่ตกมาได้ น้นั เขาแบ่งออกเป็ นสามส่วน ส่วนหนึ่งเอาไปแลกข้ าวสาร ส่วนหนึ่งแลกนมส้ ม อีกส่วนหนึ่งเอา มาทําเป็ นอาหารรับประทานเอง เขาทําปาณาติบาตคือการฆ่าปลาอยู่ อย่างนี้เป็ นเวลาถึง ๕๐ ปี การกระทําของเขาจัดเป็ นอาจิณณกรรม แต่เวลาเขาจะตาย อกุศลอาจิณณกรรมนี้ไม่ได้ โอกาสให้ ผลนําเกิด แต่เขาได้ กรรมที่เขาทําไว้ เมื่อใกล้ จะตาย ซึ่งเป็ นกุศลเป็ นเหตุนาํ เกิด คือ เมื่อเวลาที่อายุมาก ลุกไปไหนไม่ไหว นอนอยู่บนที่นอน จึงได้ ไปยืนอยู่ท่ปี ระตูบ้าน พระติสสเถระคิดจะสงเคราะห์คนผู้น้ ี ภรรยาก็บอกชายนั้นว่าพระเถระมา ชายแก่กค็ ิดว่าตลอดเวลา ๕๐ ปี เราไม่เคยไปมาหาสู่ท่านเลย ชายแก่น้ คี ิดเป็ นทํานองว่า เราไม่ร้ จู ัก ท่าน ท่านมาหาเราทําไม จึงบอกภรรยาว่าบอกให้ ท่านกลับไปเสีย แต่พระเถระถามอุบาสกว่าเป็ นอย่างไร ภรรยาก็บอกว่าหมดแรงแล้ ว พระเถระจึงเข้ าไปในเรือน ให้ สติ แล้ วถามว่าจะรับศีล ๕ ไหม ชายนั้นก็บอกว่าจะรับ พระเถระก็ให้ รับไตรสรณคมน์ก่อนแล้ วเริ่มให้ ศีล ๕ แต่ชายนั้นรับไม่ได้ เพราะลิ้นแข็งแล้ ว พระเถระเห็นว่าเพียง การรับไตรสรณคมน์เท่านี้ ก็คงจะเป็ นเหตุให้ ชายคนนี้ได้ รับความสุข แล้ ว จึงลากลับไป ชายนั้นทํากาละแล้ วไปเกิดเป็ นเทวดา ๒๒


เมื่อเกิดแล้ วก็พิจารณาว่าตนได้ ทาํ กรรมอะไรไว้ จึงได้ มาเกิดในที่น้ ี พอทราบแล้ วจึงลงไปไหว้ พระเถระที่สาํ นักของท่าน เมื่อพระเถระถามว่า ท่านเป็ นใคร เทพบุตรนั้นก็เล่าให้ ฟัง พร้ อมกับบอกว่า ถ้ าเขารับศีล ๕ ได้ เขาจะได้ เกิดในเทวโลกชั้นสูงกว่านี้ พระเถระก็บอกว่า ที่ไม่อาจรับ ศีลได้ เพราะลิ้นแข็ง เทพบุตรขอบคุณพระเถระแล้ วลากลับไป การเกิด ในเทวโลกของชายแก่น้ แี หละเป็ นผลของการรับไตรสรณคมน์ เมื่อใกล้ จะตาย การรับไตรสรณคมน์น้ ีแหละเป็ นอาสันกรรมฝ่ ายกุศลที่ให้ ผลนํา เกิดในเทวโลก คงจะเห็นแล้ วว่า ทั้งๆที่ชายคนนี้ทาํ ปาณาติบาตมา ๕๐ปี แต่มารับไตรสรณคมน์ก่อนตาย กรรมนี้กลับได้ โอกาสส่งผลก่อนด้ วย เหตุน้ ี บางแห่งท่านจึงจัดอาสันนกรรมไว้ ว่า ให้ ผลก่อนอาจิณณกรรม ความจริงแล้ ว ที่จะกําหนดแน่นอนตายตัวไปว่า อาสันนกรรมหรือ อาจิณณกรรมให้ ผลก่อนจึงไม่อาจกําหนดได้ แน่นอน เพราะบางครั้ง อาสันนกรรมอาจให้ ผลก่อนเหมือนเรื่องที่เล่าแล้ ว แต่บางครั้งอาจิณณ กรรมที่ทาํ ไว้ บ่อยๆ จนชิน ก็ให้ ผลก่อนอาสันนกรรม ฝ่ ายอกุศล มีอบุ าสกคนหนึ่งทําการสาธยายอาการ ๓๒ เพื่อประโยชน์แก่ โสดาปัตติมรรคอยู่เป็ นเวลา ๓๐ ปี ที่ใกล้ ฝ่งั แม่นาํ้ คงคา ตลอดเวลา ๓๐ ปี นั้นเขาไม่มีโอกาสแม้ แต่จะให้ แสงสว่างเกิดขึ้น เขาก็คิดว่า คํา สอนของพระพุทธเจ้ าคงไม่ใช่คาํ สอนที่จะนําผู้ปฏิบตั ิออกจากทุกข์ได้ จริง ด้ วยอํานาจความเห็นผิด เมื่อเขาตายลง จึงบังเกิดเป็ นจระเข้ อยู่ใน แม่นาํ้ คงคานั้น นี้เป็ นผลของอาสันนกรรม

๒๓


คือความเห็นผิดเมื่อใกล้ จะตาย น่าสงสารชายคนนี้ อุตส่าห์เจริญ กรรมฐานมาถึง ๓๐ ปี แต่เมื่อไม่บรรลุคุณวิเศษก็คิดว่า คําสอนของ พระพุทธเจ้ าไม่ดี ความจริงแล้ วชายคนนี้อาจจะเกิดมาด้ วยเหตุ ๒ คือ อโลภเหตุ กับอโทสเหตุเท่านั้น ขาดปัญญาคืออโมหเหตุ จึงไม่อาจบรรลุมรรค ผลก็เป็ นได้ เพราะผู้ท่จี ะบรรลุมรรคผลได้ น้นั ต้ องเกิดด้ วยเหตุ ๓ คือ มีปัญญาเกิดมาพร้ อมตั้งแต่ปฏิสนธิ หรืออาจจะเป็ นเพราะยังไม่มี อุปนิสยั พร้ อมที่จะบรรลุมรรคผลก็ได้ หากไม่มีอปุ นิสยั แล้ ว แม้ จะ เกิดด้ วยเหตุ ๓ เป็ นติเหตุกบุคคล ก็ไม่อาจบรรลุมรรคผลได้ เช่นกัน เพราะฉะนั้นท่านที่เจริญวิปัสสนามานานแล้ วแต่ไม่มีโอกาสได้ บรรลุคุณ วิเศษใดๆ ก็ขอให้ นึกถึงกรรมของตนว่ายังมีปัจจัยไม่พร้ อม อย่าได้ ไป กล่าวตู่คาํ สอนของพระพุทธเจ้ าว่าไม่ดีจริงอย่างอุบาสกที่เล่ามานี้เลย เดี๋ยวจะไปเกิดเป็ นจระเข้ 

๒๔


ฝึ กลูกน้อย ให้รูจ้ กั ให้ทาน พระมหาทวี โกสโล ความสุขจากการให้ เป็ นความสุขที่สร้ างสรรค์ชนิดหนึ่งที่เราสามารถ ปลูกฝังลูกให้ มีความรู้สกึ เช่นนี้ได้ ต้งั แต่เล็กๆ ในสมัยพุทธกาล เวลาที่ พระพุทธองค์จะสอนธรรมะให้ แก่ใคร ถ้ าหากพระพุทธองค์ทรงสังเกตว่า บุคคลนั้นยังมีความตระหนี่ในใจอยู่ ท่านก็จะเริ่มสอนเรื่องการให้ (ทาน) เป็ นอันดับแรกก่อน ทั้งนี้เพื่อฟอกจิตของบุคคลนั้นมีความละเอียด ประณีตขาวสะอาดเสียก่อน จากนั้นจึงค่อยแสดงธรรมที่ลึกซึ้งเป็ นลําดับๆ ต่อไป ดังนั้นการสอนลูกให้ มีความสุขกับการให้ ทาน จึงเท่ากับเป็ นการ พัฒนาคุณภาพทางอารมณ์ให้ เป็ นปัจจัยเกื้อหนุนพัฒนาการทางปัญญา ของลูกนั่นเอง สําหรับกิจกรรมง่าย ๆ ที่สามารถนําไปใช้ ในการสอนลูก ให้ มีความสุขกับการให้ ทานในวันนี้ ขอเสนอ ๓ วิธี เพื่อเป็ นตัวอย่างให้ พ่อแม่นาํ ไปทดลอง ฝึ กให้ ลูกได้ ปฏิบตั ิเป็ นประจําทุกๆวัน ดังต่อไปนี้ ตัวอย่างวิธีฝึกลูกให้รูจ้ กั ให้ทาน ๑.ให้ คุณแม่ซ้ อื ขนมที่คดิ ว่าลูกชอบรับประทานให้ แก่ลูกหนึ่งห่อ แล้ วสอนลูกว่า กินขนมอร่อยๆคนเดียว เราก็มีความสุขแค่คนเดียว ให้ ถามลูกว่า ลูกอยากให้ คุณพ่อมีความสุขไหม แน่นอนลูกย่อมตอบรับ จากนั้นเราก็แนะนําให้ ลูกเอาขนมไปให้ คุณพ่อชิมก่อน คุณพ่อก็ควรที่จะ ทําท่าดีอกดีใจรับขนมจากลูกแล้ วรับประทานด้ วยท่าทีท่มี ีความสุข เอร็ดอร่อยให้ ลูกดูทุกครั้ง ลูกจะรู้สกึ มีความสุขที่ได้ เห็นคนที่ตัวเองรัก คือ พ่อแม่มีความสุขจากการให้ ของตน จากนั้นจึงค่อยๆสอนให้ ร้ จู ักให้ แก่คน อื่นๆ เช่น พี่ ป้ า น้ า อา ปู่ ย่า ตา ยาย เป็ นต้ น ฝึ กอย่างนี้จนเป็ นนิสยั เด็กจะมีความสุขกับการเป็ นผู้ให้ มากกว่าที่จะเป็ นผู้รับ ๒๕


๒. หากที่บ้านมีสนุ ัขเป็ นสัตว์เลี้ยงจะเป็ นการดีมาก เพราะสุนัขคือ ครูฝึกที่ดี สามารถสอนลูกเกิดความเมตตาได้ เป็ นอย่างดีท่สี ดุ โดยทุกๆ เช้ าพ่อแม่ควรจะจัดเวลาหาขนมให้ ลูกมาเลี้ยงสุนัขทุกเช้ า ให้ ลูกป้ อน อาหารสุนัขกับมือของตนเอง (คุณพ่อคุณแม่ควรเป็ นผู้ช่วยดูแลใกล้ ชิด) เมื่อสุนัขรับอาหารจากเด็ก มันจะแสดงความรู้สกึ ซาบซึ้ง และขอบคุณ ด้ วยสัญชาตญาณของสุนัขที่มีอยู่ประจําตัว เด็กจะสัมผัสความรู้สกึ ตรงนี้ ได้ (อายุ ๑ ขวบก็หัดได้ แล้ ว) ทําให้ เด็กเข้ าใจด้ วยความรู้สกึ ของตนเองว่า การทําให้ ชีวิตอื่นมีความสุขนั้น เราก็จะพลอยมีความสุขใจไปด้ วย ๓. ในช่วงสุดสัปดาห์ คุณพ่อคุณแม่อาจจะซื้อของเล่นแปลกใหม่ หรือขนมอร่อยพิเศษๆ มาฝากลูก โดยให้ ซ้ อื มาสองชุด เหมือนๆกัน พร้ อมกับอธิบายให้ ลูกฟังว่า ถ้ าเราเอาอีกชุดหนึ่งไปให้ เพื่อนของลูก เพื่อนก็จะมีความสุขไปด้ วย และจะเป็ นมิตรกับลูกตลอดไป ตรงนี้ถ้าลูก เข้ าใจและทําได้ นอกจากลูกจะมีความสุขกับการให้ แล้ ว ยังเป็ นการสร้ าง มิตรภาพให้ ลูกกลายเป็ นที่รักของคนรอบข้ างต่อไปในอนาคตอีกด้ วย 

๒๖


คู่มือมนุ ษย์ ภาค ๒ หลวงพ่อต้ าร์ กุสลจิตโฺ ต ขอความสุข ความเจริญ จงมีแก่สาธุชนทั้งหลายผู้ใฝ่ ในศีลธรรม เป็ นการทํางานครั้งแรกของอาตมาที่ได้ ทาํ หน้ าที่ เผยแผ่ธรรมะ โดยการ เขียน ทั้งหัวข้ อ และฉายา อาจจะแปลกอยู่สกั หน่อย โดยที่มาของ ฉายานั้น มีเด็กหญิงคนหนึ่งถามอาตมาว่า “เมื่อไหร่ หลวงพ่อจะสึก” อาตมาจึงตอบไปว่า หลวงพ่อก็จะศึกอยู่เหมือนกัน แต่จะศึกษา เขาก็ ได้ แต่ย้ มิ ออกมาด้ วยความซื่อของเด็กน้ อย จึงเกิดความคิดขึ้นมาว่า เราควรจะมอบแต่ส่งิ ที่ดีๆแก่คนที่เรารัก จึงเป็ นที่มาของหัวข้ อธรรมที่ว่า “คู่มือมนุษย์ ภาค ๒” เครื่องใช้ อ่นื ๆ มักจะมีคู่มืออยู่เสมอในเวลาที่เราซื้อหามาใช้ แต่ มนุษย์ซ่งึ เป็ นสิ่งมีชีวิต และถือว่ามีความสําคัญเป็ นอย่างมาก กลับขาด คู่มือในการใช้ คนบางคนก็ใช้ ชีวิตแบบสะเปะสะปะ ไม่มีแบบแผน ไม่ มีคู่มือนั่นเอง จึงทําให้ เขาเหล่านั้นไม่พบกับความเจริญรุ่งเรืองในชีวิต หากว่าใครหรือลูกคนไหนที่จะลองสนใจคู่มือมนุษย์น้ เี พื่อประโยชน์ แก่ตนเอง เพื่อความเจริญก้ าวหน้ าของชีวิตและการงาน และพัฒนาการ จนถึงจุดสูงสุดของชีวิต ก็จะพบแต่ความเจริญโดยฝ่ ายเดียว อาตมาจึงปรารภเด็กหญิงคนนี้เป็ นเหตุในการเรียกชื่อหรือนามปากกา และอาศัยเหตุท่วี ่าอาตมาเองก็เป็ นมนุษย์คนหนึ่งในโลกนี้และจะมอบสิ่ง ที่ดีๆ ที่เป็ นสาระให้ แก่มนุษย์ทุกๆ คนที่เป็ นเพื่อนเกิดแก่เจ็บตายด้ วยกัน ทั้งหมดให้ ได้ มีคู่มือในการใช้ ชีวิต ตั้งชื่อหัวข้ อว่า “คู่มือมนุษย์ ภาค ๒”

๒๗


บทที่ ๑ ความหมายที่ ๑ คําว่ามนุ ษย์ มนุสโฺ ส = มนุษย์,คน มาจาก มน โพธเนในการรู้ + อุสสฺ ท่าน วิเคราะห์ไว้ ว่า หิตาหิตํ มนติ ชานาตีติ มนุสโฺ ส ผู้ร้ ซู ่งึ สิ่งที่เป็ นประโยชน์ และไม่เป็ นประโยชน์ช่ือว่ามนุษย์ นี่คือบัญญัติธรรมเพื่อใช้ เรียกกันใน สมมุติของคนในโลก คําว่า มน แปลว่าใจ นั่นเอง ใจนั่นแหละที่ร้ ู ประโยชน์ และมิใช่ประโยชน์ แต่ถ้าหากว่าใจดวงน้ อยๆ นี้ยังมิได้ รับการ ฝึ กฝนและเรียนรู้ ก็จะเป็ นได้ เพียง “คน” ยังไม่สามารถเป็ นมนุษย์สมกับ บัญญัติท่มี อี ยู่ได้ “มนุสสฺ ” เป็ นบัญญัติ อันวัตถนาม = ตามความเป็ นจริง แต่ถ้าหากยังไม่ร้ วู ่าสิ่งไหนเป็ นประโยชน์และไม่เป็ นประโยชน์อยู่แล้ ว ล่ะก็ ชื่อว่าเป็ นรุฬหินาม คือนามที่ไม่ตรงกับความเป็ นจริง “ผู้ร้ ”ู หมายถึง ตัววิญญาณขันธ์ในตัวของมนุษย์น่นั เอง หรือจิต นั่นเองที่ประกอบด้ วยเจตสิกธรรมที่ประกอบในจิตดวงนั้นเรียกว่ามหา กุศล จึงจะสามารถรู้ถงึ สิ่งที่เป็ นประโยชน์และไม่เป็ นประโยชน์ได้ ฟังดู อาจจะงง แต่เมื่อฟังบ่อย ๆ เดี๋ยวก็หายงง “สิ่งที่เป็ นประโยชน์” หมายถึง รูปธรรมและนามธรรม รูปธรรม ได้ แก่ วัตถุข้าวของต่าง ๆ ที่จะใช้ ให้ เกิดประโยชน์ต่อครอบครัว หน้ าที่ การงาน หรือ แม้ เป็ นวัตถุท่จี ะทําทาน เป็ นปั จจัยให้ เกิดประโยชน์ ใน ด้ านนามธรรม วัตถุเหล่านั้นได้ มาโดยชอบธรรม ไม่ได้ เบียดเบียนผู้อ่นื เพื่อให้ ได้ มา และยังสามารถใช้ วัตถุเหล่านั้นให้ เกิดประโยชน์แก่ตนเอง และผู้อ่นื นามธรรมได้ แก่จิตใจที่เป็ นกุศล หรือเป็ นบุญ จิตใจใสสะอาด ปราศจากความเศร้ าหมอง คือ มหากุศลจิต นั่นเอง เมื่อบุคคลใด สามารถชําระจิตใจของตนเองให้ เป็ นเช่นนี้ได้ บ่อยๆ ก็ช่ ือว่ายังสิ่งที่เป็ น ๒๘


ประโยชน์ เป็ นที่พ่ึงให้ แก่ตนเอง เมื่อเจริญเช่นนี้บ่อยๆ เนืองๆจิตใจนี้ก ็ จะค่อยๆแปรสภาพจากคนเป็ นมนุษย์ได้ อย่างนามที่ท่านได้ บญ ั ญัติไว้ อย่างแน่นอน และจะละเว้ นฝ่ ายของธรรมที่มิใช่ประโยชน์ได้ โดยปริยาย ไปในตัวโดยไม่ต้องสงสัย บทที่ ๒ องค์ประกอบของมนุ ษย์ มนุษย์ มีองค์ประกอบโดยย่ออยู่สองส่วนคือรูปธรรม ๑ นามธรรม ๑ แยกตามหลักของพุทธศาสตร์ ได้ อกี ๕ อย่างคือ - รูป คือร่างกายที่เติบโตขึ้นมาด้ วยข้ าวและนํา้ เป็ นปัจจัยหลัก - เวทนา คือ สภาวธรรมความรู้สกึ ที่ปรากฏขึ้นที่กายและใจของ มนุษย์สามารถรับรู้ได้ ทุกๆคน - สัญญา คือ ความจําได้ หมายรู้ส่งิ ของเรื่องราวต่างๆ ที่ผ่านมา ในชีวิตของคนหรือสัตว์ - สังขาร ในที่น้ หี มายถึงการปรุงแต่งทางด้ านจิตใจ ให้ เป็ นบุญ หรือเป็ นบาป หรือจะปรุงแต่งให้ เกิดฌานจิตก็ตาม บางคราวเป็ นตัวปั่น หัวของมนุษย์ให้ หลงใหลในอารมณ์ต่าง ๆ - วิญญาณ คือการเกิดขึ้นตามทวารทั้งหก มี ตา กระทบ รูป ก็เกิดจักขุวิญญาณขึ้นมา เกิดเวทนาขึ้นมา เกิดตัณหาขึ้นมา เกิด อุปาทานขึ้นมา คอยหลอกหลอนมนุษย์ผ้ ูมัวเมา ให้ งวยงงหลงใหลไป ด้ วยอํานาจของความไม่ร้ ตู ามความเป็ นจริง นี่คือองค์ประกอบโดยย่อของมนุษย์ท่คี วรจะศึกษาและทําความเข้ าใจ ให้ ย่งิ ขึ้น ต่อจากนั้นมนุษย์กจ็ ะเรียนรู้สมบัติอนั ตนได้ มานี้อย่างเข้ าใจ ๒๙


โบราณจารย์ท่านกล่าวไว้ ว่า “รู้เขา รู้เรา รบร้ อยครั้ง ชนะร้ อยครั้ง” มนุษย์ท่เี กิดมาในโลกนี้มักจะเรียนรู้แต่คนอื่น มักแต่จะรบและต้ องการ ที่จะเอาชนะคนอื่น แต่ลืมไปว่าการที่เราจะชนะคนอื่นนั้นเราเอง ต้ อง เรียนรู้ตัวของเราเองด้ วย วิธที ่จี ะชนะคนอื่นง่ายนิดเดียว คือ เอาชนะคน ตระหนี่ด้วยการให้ เอาชนะคนก้ าวร้ าว แข็งกระด้ างด้ วยการถ่อมตน เอาชนะคนพูดจาเหลาะแหละด้ วยคําจริง แต่การที่จะเอาชนะตนเองนี่ซิเป็ นเรื่องที่มนุษย์ท้งั หลายไม่ค่อยจะ คิดกัน แต่กม็ ีผ้ ูท่คี ิดเช่นนั้นอยู่ไม่น้อยเลยทีเดียว จึงมีความจําเป็ น พอสมควรที่จะทําความเข้ าใจก่อน ก่อนที่เราเองจะรบกับกิเลสซึ่งเป็ น ส่วนหนึ่งของชีวิตและใช้ ชีวิตให้ ค้ ุมค่ากับการเกิดมาเป็ นมนุษย์ จะได้ ไม่ เสียชาติเกิดเพราะเกิดมาทั้งทีกม็ ีดอี ยู่บ้าง  (อ่านต่อฉบับหน้ า)

๓๐


ขอเชิญร่วมบริจาคสมทบทุนสร้างศาลาการเปรียญ ณ วัดจากแดง ติดต่อขอร่วมบริจาคได้ ท่ี ฝ่ ายประชาสัมพันธ์วัดจากแดง ๐๒ - ๔๖๔ ๑๑๒๒ หรือโอนเข้ าบัญชีช่ือ พระมหาประนอม, พระธิติพงศ์, นายอัครเดช เลขที่บัญชี 037-1-47659-4 ธนาคารกรุงศรีอยุธยา สาขาพระประแดง

ข่าวประชาสัมพันธ์ ขอเชิญสาธุชนสวดมนต์ทาํ วัตรแปล

สาธยายพระปริตร เจริญจิตภาวนา แผ่เมตตาฟัง ธรรมบรรยาย ร่วมกับคณะสงฆ์วัดจากแดง ณ ศาลาทําบุญ ทุกวันอาทิตย์ และ วันพระ เวลา ๐๙.๐๐ - ๑๐.๔๕ น., ๑๒.๑๕ - ๑๓.๐๐ น. ณ วิหารหลวงพ่อหิน ทุกวัน เวลา ๑๗.๓๐ - ๑๙.๐๐ น.

ขอเชิญร่วมบูชาพระเจดีย์ ทุกวันอาทิตย์และวันพระ เพื่อร่วมสืบสานประเพณีอนั ดีงามของ บัณฑิตทั้งหลาย เวลา ๑๙.๐๐ - ๑๙.๔๐ น. ถือศีล ๘ ในวันพระ  ขอเชิญฟั งรายการธรรมะทางวิทยุชุมชนวัดจากแดง คลื่น เอฟเอ็ม 96.75 MHZ ได้ ทุกวันตั้งแต่เวลา ๐๔.๐๐-๒๓.๐๐ น. และรายการธรรมะผ่านระบบอินเตอร์เน็ตได้ ท่ี

www.bodhiyalai.org

ขอเชิ ญพุทธศาสนิ กชนเข้าศึกษาหลักสูตรต่างๆที่ทางวัดจัดขึน้ ดังนี้ หลักสูตรบาฬีวนั อาทิตย์ เรียนทุกวันอาทิตย์ เวลา ๐๙.๐๐ - ๑๖.๓๐ น. โดยพระมหาไพบูลย์ พุทฺธวิรโิ ย  หลักสูตรอภิธรรม ทุกวันอาทิตย์ เวลา ๑๓.๐๐ - ๑๖.๓๐ น. โดยพระมหาบุญชู อาสโภ  หลักสูตรบาฬีพน ้ื ฐาน-การสนทนาภาษาบาฬี ทุกวันพุธ - พฤหัสบดี เวลา ๐๘.๓๐ - ๑๕.๐๐ น. โดย อ.ประภาส ตะถา  หลักสูตรคัมภีรไ์ วยากรณ์ปทรูปสิทธิ ทุกวันจันทร์ - อังคาร เวลา ๐๘.๓๐ - ๑๖.๐๐ น. โดย อ.รัฐการ ปิ่นแก้ว 

๓๑


รายนามเจ้าภาพภัตตาหาร เดือนมกราคม ๒๕๕๕

๏ พระครูสมุหท์ วี เกตุธมฺโม ๏ หม่อมหลวงสุพชิ าน์ ทองใหญ่ ๏ อาจารย์อศิ ริยา นุตสาระ ๏ คุณแม่เสงีย่ ม ศรีอนันต์ และครอบครัว ๏ คุณกิง่ กาญจน์ อารักษ์พทุ ธนันท์ ๏ คณะอาจารย์ธรรม นิยมกิจสัมฤทธิ ์ ๏ คุณสกนธ์รตั น์ จารุเจตรังสรรค์ ๏ คุณสวิตตา จารุเจตรังสรรค์ ๏ คุณปติ อิสระไพรินทร์ ๏ คุณซกเฮีย้ ง แซ่โค้ว ๏ คุณประจักษ์ ประจักษ์เวช ๏ คุณสริตา วัฒนาจันทร์ และครอบครัว ๏ คุณณัฐศักดิ ์ ตันตยานุพนธ์ ๏ คุณแดง เชือ้ กุณะ ๏ คุณพลาภรณ์ บรรเริงศรี ๏ คุณนฤภัทร คงวัฒนะ ๏ คุณวิเชียร วิชชยานนท์ ๏ คุณเดชา - คุณอาภาพันธ์ ศรีสรินทร์ ๏ คุณอาจี - คุณซาเมส และชาวมอญพม่า ๏ คุณวิไล โยชาชิ - คุณบัวไข แก้ววงษา และครอบครัว ๏ LT. General Ye Myint & Dr. Tin Lin Myint ๏ คุณวัฒนา คงมั ่น ๏ คุณณัฐวุฒ ิ เมธีธรรมกุล และครอบครัว ๏ คุณอรุณี วชิราพรทิพย์ ๏ คณะชาวพุทธพม่า จากโรงงานเหล็กสยาม ๏ อาจารย์ดุลยภาษณ์ - คุณรจรินทร์ ยัพราช

๏ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี ๏ ชุมนุ มพุทธธรรมศิรริ าช ๏ พลเรือตรีพรต จันทรัคคะ ๏ U Ten Thar Daw Yin New ๏ คุณสังข์ - คุณยุวดี เลาห์ขจร ๏ ครอบครัวงานสันติสขุ , ครอบครัวฉวีวาณิชยกุล ครอบครัวมุมทอง , ครอบครัวศรีปญั จากุล ครอบครัวเฟื่องจินดาวงศ์ , ครอบครัวสรสรรเสริญ ๏ คุณปญั ญา ศรีมงคล - คุณเกสร ตันสุวรรณกุล ๏ คุณธัญญาพร เขจรดวง - คุณสุภาภรณ์ เชาวกิจ คุณฉัฐกนก วาณิชกรพิพฒ ั น์ - คุณสุดาภรณ์ ต่วนชะเอม ๏ คุณเลิศพงษ์ - คุณศิวพร เกียรติไพบูลย์ และครอบครัว ๏ คุณอภิศกั ดิ ์ - คุณเรวดี โชวใจมีสุข ๏ คุณมนูญ, รศ.นงนารถ, คุณจันทิภา เดชณรงค์ ๏ คุณจิรยุทธ์ , คุณโสภา สุขมุ าลจันทร์ ๏ คุณศศิพร อมรประยูร อุทศิ คุณสุวฒ ั น์ จงใจวาณิชย์ และคุณพ่อ - คุณแม่ ๏ ดร. พฤกศ์ อักกะรังษี ๏ คุณจันทรา มหัทธโนบล ๏ คุณภานุ มหัทธโนบล ๏ คุณสมชาย หิรญ ั โรจน์ ๏ คุณชนินทร์ เปรมปรีดา ๏ คุณชิตชัย - คุณสุภาพร ตัง้ สุขสว่างพร ๏ คุณวีรศักดิ ์ ชัยวิจติ รมลกุล ๏ ครอบครัวเผือกประเสริฐ และครอบครัวฟูทองรอด ๏ คุณแม่กม้ิ ท้อ, คุณเป้งกิม และครอบครัว ๏ คุณปทุมภรณ์ แซ่จงึ

๓๒


รายนามเจ้าภาพประจํ า ๏ แฟนรายการธรรมะคุณากร อ.อิศริยา นุ ตสาระ ๏ หม่อมหลวงสุพชิ าน์ ทองใหญ่ ๏ คุณหมอสดใส เวชชาชีวะ ๏ คุณสุรศักดิ ์ จินาพันธ์ ๏ คุณรุง่ นภา - คุณสุภาพร ตันชัยชนะ ๏ คุณกุลชลี พจน์ชยั ดี ๏ คุณสรณา จิรารัตน์สกุล

๏ แฟนรายการสายด่วนเพือ่ ชีวติ คุณสุพจน์ รัศมีสวนสร้อย ๏ คุณแม่เสงีย่ ม ศรีอนันต์ และครอบครัว ๏ คุณกิง่ กาญจน์ อารักษ์พทุ ธนันท์ ๏ คุณประภาศรี วู ๏ คุณศิรอิ ร วัดล้อม ๏ คุณสมร อินทร์น้ําเงิน ๏ คุณณรงค์ศกั ดิ ์ เตชะไกรศรี

รายนามเจ้าภาพนํ้าปานะและอื่นๆ เดือนมกราคม ๒๕๕๕ ๏ พระมหาไพบูลย์ พุทฺธวิรโิ ย ๏ หม่อมหลวงสุพชิ าน์ ทองใหญ่ ๏ พลโทนรวีร์ - คุณเสริมสุข ปทมสถาน ๏ พล.ต.ต. สพรั ่ง - คุณณัทภรณ์ อุณปาทร ๏ คุณชวลิตร - คุณลลิตา ปรีตะนนท์ ๏ คุณทวีชยั - กัณยาณี คงเจริญสุขยิง่ ๏ คุณม่วย พันธุเ์ ถกิงอมร ๏ คุณสมชาย กาญจนสันติกุล ๏ คุณวัชรินทร์ - คุณอาภาพร เยีย้ เทศ ๏ คุณศิรอิ ร วัดล้อม ๏ คุณสรณา จิรารัตน์สกุล

๏ ชมรมพุทธธรรมรามคําแหง ๏ คุณแม่เสงีย่ ม ศรีอนันต์ และครอบครัว ๏ คุณกิง่ กาญจน์ อารักษ์พทุ ธนันท์ ๏ คุณณรงค์ศกั ดิ ์ เตชะไกรศรี ๏ คุณประภาศรี วู ๏ คุณสมลักษณ์ แซ่โหล ๏ ครอบครัววิไลเลิศวัฒนา ๏ ครอบครัวเฟื่องจินดาวงศ์ ๏ ครอบครัวงามสันติกุล ๏ ครอบครัวเลิศพานิช

และผูท้ ีม่ ิได้เอ่ยนามทุกๆท่าน

๓๓


วัดจากแดง ถ.เพชรหึงษ์ ซ.เพชรหึงษ์ ๑๐ ต.ทรงคนอง อ.พระประแดง จ.สมุทรปราการ ๑๐๑๓๐ โทร. ๐๒ - ๔๖๔ ๑๑๒๒ ๐๒ - ๔๖๒ ๕๙๒๘ www.bodhiyalai.org Email : bodhiyalai@hotmail.com bodhiyalai.magazine@gmail.com เส้นทางรถเมล์ : สาย 6

๓๔


๓๕


๓๖


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.