จุลสารโพธิยาลัยฉบับที่ ๓๓ ๓๔

Page 1





5


บทน�ำ

ขอความสุข สวัสดี จงบังเกิดมีแด่ท่านผู้อ่านจุลสารฯทุกๆท่าน ในช่วงที่ผ่านมาวัดจากแดงมีกิจกรรมอันเป็นบุญกุศลต่างๆมากมาย เช่น งานเทศน์มหาชาติ พิธีทอดกฐิน อีกทั้งยังมีการท�ำบุญครบรอบวัน คล้ายวันเกิดด้วย งานอบรมฯกัมมัฏฐานส�ำหรับนักเรียนนักศึกษาทั่วไป ซึ่งกิจกรรมดังกล่าวได้รับความร่วมมือ และความสนใจจากพุทธศาสนิกชน เป็นอย่างดี เห็นได้จากจ�ำนวนพุทธศาสนิกชนที่เข้ามาวัดเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ข่าวบุญต่อไปคือวัดจากแดงจะท�ำพิธีปิดทองพระประธานในช่วง ตั้งแต่เดือนมกราคมเป็นต้นไป ในช่วงเวลานี้พุทธศาสนิกชนท่านใดสนใจที่จะ มาร่วมปิดทองก็สามารถมาร่วมได้ และจะท�ำการฉลองศาลาพระรัตนตรัยใน ช่วงเดือนมีนาคม ส่วนวันและเวลาทางวัดจะท�ำการแจ้งให้ทราบในโอกาสต่อไป ส่วนกิจกรรมงานบุญใหญ่ทวี่ ดั จากแดงจะจัดขึน้ อีกครัง้ คือ "งานสาธยาย พระไตรปิฎก - ส่งท้ายปีเก่า ต้อนรับปีใหม่" ซึง่ จัดเป็นประจ�ำทุกปี ในงานนีจ้ ะมี การสวดมนต์ขา้ มปีเพือ่ เป็นสิรมิ งคล เป็นขวัญก�ำลังใจแด่ทกุ ๆท่านด้วย จุลสารฯฉบับต่อไป คือตั้งแต่ฉบับเดือนพฤศจิกายน ทางวัดได้มีการ ปรับปรุงรูปแบบ และเนื้อหาใหม่ เพื่อให้ทันสมัย เข้าถึงกลุ่มผู้อ่านมากยิ่งขึ้น ส่วนจะถูกใจท่านผู้อ่านหรือไม่นั้น ทางคณะผู้จัดท�ำยินดีรับฟังความ คิดเห็นเพื่อน�ำไปแก้ไขปรับปรุงตลอดเวลา สุดท้ายนี้ทางคณะผู้จัดท�ำก็ขอให้ผู้อ่านทุกท่านมีความสุข ความเจริญ สมหวังดังที่ปรารถนาทุกประการเทอญ คณะผู้จัดท�ำ bodhiyalai.magazine@gmail.com 6


วิธีปลูกสติ

ปิยโสภณ เราทุ ก คนคงเคยได้ยินค�ำสอนที่ว่า ให้ มี ส ติ อย่ า ใจลอย ตั้ ง ใจฟั ง ตั้งใจท�ำ อย่าท�ำเล่น ระวัง อย่าประมาท เดินให้ดี ขับรถให้ดี นั่งให้ดี สิ่งเหล่านี้ เป็นสัญลักษณ์ของการบ่มเพาะสติ สติ คืออะไร คือความระมัดระวังมิให้เกิดความผิดพลาด ความผิด พลาดบางอย่างพอแก้ไขได้ บางอย่างผิดแล้วผิดเลย แก้ไขอีกไม่ได้ ต้องไปรอ เกิดเป็นคนใหม่ชาติหน้า สติ กับความไม่ประมาท เป็นของคู่กัน ชีวิตที่ด�ำเนินไปด้วยดี รวม ลงในความไม่ประมาท เราเห็นคนท�ำอะไรได้ดี ตรงเวลา แต่งตัวเรียบร้อย เรียนหนังสือเก่ง มีความพร้อมสูง นั่นเพราะเขาไม่ประมาท คือพร้อมเสมอ ที่จะอยู่จะไปจะท�ำ เราเรียนหนังสือเพราะอะไร ก็เพราะให้ชีวิตเรามีความ พร้อมที่จะอยู่บนโลกใบนี้ มีหลายท่านถามว่า แล้วจะฝึกสติอย่างไร ข้าพเจ้าตอบสั้นๆว่า ชีวิต เริ่มต้นจากลมหายใจ อยากมีสติ ต้องกลับมาดูลมหายใจของตัวเอง การฝึกสติ คือการฝึกจิตไม่ให้ฟุ้งซ่าน ให้อยู่กับตัว เช่นไม่ส่งจิตออกนอก คิดอยู่ภายใน ไม่ดูความคิดของใคร ดูแต่ใจตนเอง ไม่วิจารณ์ใคร แต่วิจัยอารมณ์ของตัวเอง ไม่ก�ำหนดสิ่งใด ก�ำหนดใจที่ก�ำลังคิด การก�ำหนดดูลมหายใจเข้า-ออก ได้อะไร ได้ความนิ่ง ได้ความเย็น ได้ ความสงบ ได้พลังงาน ทุกครั้งที่รู้สึกฟุ้งซ่านขาดสติ ให้กลับมาก�ำหนดปลูกสติ ที่การดูลมหายใจ นั่งสงบนิ่ง หลับตา ก�ำหนดปลายจมูก ไม่ส่งจิตออกไปนอก ไม่สนใจเรื่องอื่นใด ท�ำใจให้เบาๆตามความรู้สึกกลับมาอยู่ภายใน ไม่ว่าเสียง อะไร กลิ่นอะไรจะเกิด เราไม่ต้องสนใจ แม้การออกก�ำลัง ขณะเคลื่อนไหว ร่างกาย ก็ก�ำหนดรู้ตามไปด้วย 7


..................................................................................................................................................................................................... วิธีปลูกสติ

การฝึกสติเช่นนี้ จะท�ำให้จิตได้พัก สมองมีก�ำลัง เพราะคนส่วนมากที่ขาดสติ เพราะเครื่องยนต์คือสมอง และคนท�ำงานคือสติ ไม่ยอมหยุดพักงาน ในที่สุด ก็จะเกิดโรคภัยไข้เจ็บได้ง่ายๆ วิธีการง่ายๆเหล่านี้ เป็นการฝึกเบื้องต้นส�ำหรับท่านผู้อ่านของข้าพเจ้า ที่พยายามมานานหลายวิธีแล้ว แต่ยังไม่เห็นผล เชิญลองฝึกวิธีง่ายๆตามที่ ข้าพเจ้าแนะน�ำนี้ดูก่อน

8


เวลาเหลือน้อย

พระไพศาล วิสาโล "ไม่มีเวลา" เป็นค�ำบ่นที่เรามักได้ยินเป็นประจ�ำ บ่อยครั้งก็ออกจาก ปากของเราเองด้วยซ�้ำ น่าสังเกตว่าสังคมยิ่งเจริญ เศรษฐกิจยิ่งพัฒนา ผู้คนก็ ยิ่งรู้สึกว่าไม่มีเวลา ทั้งๆที่มีอุปกรณ์ทุ่นแรงและทุ่นเวลามากมาย ที่น่าจะช่วย ให้มีเวลามากขึ้น ตรงกันข้ามกับคนชนบทซึ่งไม่ค่อยเป็นทุกข์เพราะเรื่องนี้ ทั้งๆที่ท�ำอะไรแต่ละอย่างก็ใช้เวลามากกว่า คนในเมืองทั้งสิ้นเนื่องจากขาด แคลนอุปกรณ์อ�ำนวยความสะดวก หากเจาะลึกก็จะพบอีกว่า คนยิ่งรวย รายได้ยิ่งสูง ก็ยิ่งไม่มีเวลา อาจเป็นเพราะมีเงินเท่าไรก็ยังไม่พอ จึงหาเงินไม่หยุดหย่อน ที่ส�ำคัญก็คือ ส�ำหรับคนกลุ่มนี้ “เวลาเป็นเงินเป็นทอง” ถ้าอยู่เฉยๆ ไม่ท�ำงาน ก็เหมือน กับปล่อยให้เงินก้อนใหญ่หลุดมือไป มีการส�ำรวจในหลายประเทศพบว่า คนยิ่งมีรายได้สูงมากเท่าไร ยิ่งท�ำงานหนักมากเท่านั้น แม้เกษียณแล้วก็ยังไม่ หยุดท�ำงาน จริงอยู่มีคนรวยจ�ำนวนไม่น้อยที่อยู่สบายโดยไม่ต้องท�ำมาหากิน อยู่บ้านก็มีบริวารท�ำงานให้ทุกอย่าง แต่เขาก็ยังบ่นว่าไม่มีเวลาอยู่นั่นเอง ที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะยิ่งรวยก็ยิ่งมีทางเลือกมากมายที่อยากท�ำ เช่น ช็อปปิ้ง ดูคอนเสิร์ต สังสรรค์กับเพื่อนฝูง เที่ยวเมืองนอก หาซื้อที่สร้างบ้านหลังที่ ๔ หรือ ๕ ฯลฯ แต่เนื่องจากวันหนึ่งมีแค่ ๒๔ ชั่วโมง ไม่สามารถท�ำทุกอย่างได้ ตามใจหวัง จึงรู้สึกเป็นทุกข์ที่ไม่มีเวลาพอ ในบรรดาผูค้ นทีพ่ ากันบ่นว่าไม่มเี วลานัน้ น่าสงสัยว่ากีค่ นทีต่ ระหนักว่า เวลาของตนก�ำลังเหลือน้อยลงทุกที เช่นเดียวกับเวลาที่คนรักทั้งหลายจะ อยู่กับตน ที่พูดเช่นนี้ก็เพราะหากผู้คนเฉลียวใจในความจริงดังกล่าว การใช้ ชีวิตและเวลาของเขาจะเปลี่ยนไป ไม่มัวแต่ท�ำมาหาเงิน หรือท�ำอะไรต่ออะไร 9


เวลาเหลือน้อย .............................................................................................................................................................................................

มากมาย รวมทั้งวางแผนจะท�ำอีกสารพัดอย่าง ราวกับว่าจะไม่มีวันตาย ใครก็ตามที่ตระหนักว่า พ่อแม่มีเวลาเหลือน้อยลงทุกที เขาจะไม่มัว ท�ำมาหาเงินหรือเที่ยวเตร่สนุกสนานจนลืมพ่อแม่ ใครก็ตามที่ตระหนักว่า เวลาที่ลูกจะอยู่กับเขานั้นเหลือน้อยลงทุกที อีกไม่นานเขาก็จะแยกไปมีชีวิตของตน เขาก็จะไม่มัววุ่นวายกับเรื่องนอกบ้าน จนทิ้งลูกไว้กับโทรทัศน์หรือเกมออนไลน์ ถ้าเขาตระหนักว่า เวลาที่ตา หู แขน ขา มือ และ เท้า ของเขาจะท�ำงาน ได้เป็นปกติ เหลือน้อยลงทุกที เขาก็จะไม่เอาแต่ใช้มันอย่างสมบุกสมบัน หรือใช้ในเรื่องไร้สาระ แต่จะทะนุถนอมดูแล และใช้มันให้เกิดประโยชน์อย่าง แท้จริง ถ้าเขาตระหนักว่า เวลาของเขาในโลกนี้เหลือน้อยลงทุกที เขาจะไม่ ปล่อยเวลาให้หมดไปกับการท�ำงานหาเงินหรือแม้แต่การเสพสุขสนุกสนาน จนละเลยสิ่งส�ำคัญในชีวิต ที่ควรท�ำให้แล้วเสร็จก่อนจะไม่มีโอกาส เวลาของเราเหลือน้อยลงทุกที แต่ละนาทีจึงมีค่ามาก จึงควรใช้ให้ เกิดประโยชน์เต็มที่ กล่าวคือแทนที่จะเอาแต่ท�ำงานหาเงินอย่างเดียว ควรใช้ เวลาในการสร้างอริยทรัพย์ คือ ท�ำความดี สร้างบุญกุศล ปลูกธรรมให้เจริญ งอกงามในใจ ขณะเดียวกันก็เร่งท�ำหน้าที่ที่ส�ำคัญให้แล้วเสร็จ ไม่ให้คั่งค้าง ไม่ ว่าหน้าที่ต่อคนรัก พ่อแม่ ลูกหลาน สามีภรรยา และหน้าที่ต่อส่วนรวม เช่น ต่อพระศาสนา การเกิดเป็นมนุษย์นนั้ เป็นเรือ่ งยากอย่างยิง่ ควรถือเป็นโชคอันประเสริฐ ดังนั้นเมื่อได้ครองความเป็นมนุษย์ จึงควรได้รับประโยชน์สูงสุดแห่งความ เป็นมนุษย์ นั้นคือ อิสรภาพและความสงบเย็น อันเป็นสุขอย่างยิ่ง ทั้งนี้ ด้วยการภาวนาให้จิตและปัญญาเจริญงอกงาม เพื่อให้ศักยภาพภายใน อันได้แก่ "อริยโลกุตตรธรรม" ซึ่งพระพุทธเจ้าตรัสว่าเป็นทรัพย์ประจ�ำตัวของ 10


............................................................................................................................................................................................. เวลาเหลือน้อย

ทุกคน เบ่งบานฉายฉานเต็มที่ หากไม่รู้จักหรือไม่ได้รับประโยชน์อะไรเลย จากทรัพย์ดังกล่าว ก็นับว่า “เสียของ”อย่างยิ่ง เมื่อตระหนักว่าเวลาเหลือน้อย เราจะเห็นความจ�ำเป็นของการล�ำดับ ความส�ำคัญของกิจต่าง ๆ อะไรที่ส�ำคัญต่อชีวิต ก็รีบท�ำก่อน ส่วนอะไรไม่ ส�ำคัญก็ท�ำทีหลัง หรืองดไปเลย หลายคนพบเมื่อท�ำเช่นนี้แล้ว ชีวิตวุ่นน้อย ลง มีเวลาว่างมากขึ้น ขณะเดียวกันก็ไม่มีเหตุให้ต้องรู้สึกผิดหรือเสียใจภาย หลัง อย่างที่หลายคนต้องประสบเพราะมัวผัดผ่อน รีรอ หรือละเลยสิ่งที่ควร ท�ำกับคนรักในขณะที่เขายังมีชีวิตอยู่ อย่างไรก็ตามเมื่อรู้ว่าเวลาเหลือน้อยและต้องรีบท�ำสิ่งส�ำคัญ ก็ไม่ได้ หมายความว่า ต้องท�ำแต่สิ่งส�ำคัญ และละเลยสิ่งไม่ส�ำคัญ หรือท�ำทุกอย่าง ด้วยความร้อนรน ไม่ว่าเวลาจะเหลือน้อยเพียงใด เมื่อท�ำอะไร ใจก็พึงอยู่กับ สิ่งนั้น ไม่พึงกังวลหรือคิดถึงงานอื่นที่อยู่ข้างหน้า แม้จะเป็นงานส�ำคัญ เช่น การภาวนา เพราะไม่ว่าท�ำอะไรก็ตาม จะเป็นการล้างจาน ซักผ้า กวาดบ้าน หากท�ำอย่างมีสติ ใจอยู่กับปัจจุบัน หรือตามดูรู้ทันใจของตน นั่นก็เป็นการ ภาวนาแล้ว คนที่ตระหนักว่าเวลาเหลือน้อยลง และหันมาปรับเปลี่ยนชีวิต เริ่มต้น ด้วยจัดล�ำดับความส�ำคัญของกิจต่าง ๆ เสียใหม่ รวมทั้งน้อมใจอยู่กับปัจจุบัน สม�่ำเสมอ ในที่สุดจะพบว่า “ไม่มีเวลา” มิใช่ปัญหาอีกต่อไป

11


สมชีวิตาเพื่อชีวิต

อ.กุลยาณี อิทธิวรกิจ ปัจจุบันจะมีค�ำติดปากไม่ว่าจะเป็นร่างกายจิตใจ สิ่งแวดล้อม ต้อง รักษาดุลยภาพหรือต้องมีสมดุล เช่นความสมดุลของร่างกาย การท�ำงานกับ การพักผ่อนต้องสมดุลกัน มิฉะนั้นร่างกายจะไม่คล่องแคล่ว ไม่แข็งแรง อ่อนล้า เบื่อหน่าย ขาดชีวิตชีวา ภาวะเศรษฐกิจก็ต้องได้ดุลยภาพ รายรับกับ รายจ่ายต้องมีดุลยภาพกัน ผู้ซื้อผู้ขายท�ำการค้ากันในจุดดุลยภาพ ท�ำให้เกิด ความพอใจซึ่งกันและกันในการซื้อการขายนั้น ร่างกายจิตใจก็ต้องสมดุลกัน จะเห็นได้วา่ สรรพสิง่ ย่อมมีการปรับให้เข้ากันมิเช่นนัน้ ย่อมก่อเกิดปัญหา วิกฤตการณ์ต่างๆเกิดเพราะการขาดดุลยภาพนั่นเอง วันนี้จะขอน�ำเรื่อสมชีวิตาเพื่อชีวิตทั้งการครองเรือนและการอยู่ร่วม กันในภาวะเศรษฐกิจที่เกี่ยวข้องกัน ความรักมักล่มสลายเมื่อเศรษฐกิจไม่ได้ ดุลยภาพ ปัญหาครอบครัว ปัญหาสังคมล้วนเกิดจากการขาดดุลหรือไม่สมชีวติ า หลักธรรมที่จะท�ำให้คู่สมรสมีชีวิตกลมกลืนกัน อยู่ครองคู่กันยืดยาว ได้แก่ ๑) มีความศรัทธาสมกัน ๒) มีศีลสมกัน ๓) มีจาคะสมกัน ๔) มีปัญญาสมกัน สมชี วิ ต ธรรม ๔ ประการนี้ท�ำให้ชีวิต ครองเรื อนร่ วมกั น อย่ า งมี ความสุข ความศรัทธาสมกันหมายถึง มีความเชื่อถือที่เหมือนกัน จะเห็นว่า ครอบครัวเดียวกันศรัทธาต่างกันย่อมท�ำให้ทะเลาะกัน ชอบพรรคการเมือง ที่ต่างกัน ศรัทธาในพระพุทธศาสนาต่างกัน มุมมองย่อมต่างกัน ความ ประพฤติที่แตกต่างกัน การมาจากครอบครัวที่มีฐานะหรือมีความประพฤติที่แตกต่างกัน เช่น สามีชอบฆ่าสัตว์ ภรรยากลัวบาป อยู่ร่วมกันย่อมไม่สบายใจ ภรรยาย่อมเป็น ทุกข์เมื่อเห็นสามีไปล่าสัตว์ ท�ำร้ายสัตว์ ทรมานเบียดเบียนผู้อื่น 12


............................................................................................................................................................................................ สมชีวิตาเพื่อชีวิต

ภรรยาชอบการบริจาคทาน สามีไม่ศรัทธาและไม่บริจาคทาน ถือเป็น เรื่องไร้สาระ ความคิด ทิฏฐิแตกต่างกัน การคิดการกระท�ำที่แตกต่างกัน สิ่ง เหล่านี้เรียกว่า "ไม่สมชีวิตา" ย่อมก่อให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเป็นทุกข์ หรือทุกข์ ทั้งสองฝ่าย ถึงแม้ว่าจะมาจากครอบครัวที่แตกต่างกันบางคนก็ปรับตัวให้ อยู่ร่วมกันได้ เหมือนเพลงที่ล้อกันว่า รักกันใหม่ๆชี้นกเป็นนก ชี้ไม้เป็นไม้ อยู่นานไปชี้นกเป็นไม้ด่ากันไม่คล้อยกันว่าอีบ้าเห็นนกว่าเป็นไม้ ตาบอดหรือ? บ้านเคยสุขก็ต้องทุกข์เพราะไม่สมชีวิตากัน ภาวะเศรษฐกิจก็ต้องอาศัยหลักสมชีวิตาเช่นกัน หากรายได้มากกว่า รายจ่าย ก็มีเหลือเก็บไว้ใช้คราวจ�ำเป็น หากรายจ่ายมากกว่ารายได้ก็ก่อทุกข์ ต้องกู้ยืมผู้อื่น เป็นหนี้สิน ต้องหลบเร้นเจ้าหนี้ให้เกิดทุกข์ใจนานาประการ ใน ที่นี้ขอน�ำหลักธรรมสมชีวิตามาให้พิจารณากันดังนี้ ในทีฆชาณุสูตรแสดงประโยชน์สุขในภายหน้าว่า การบริโภคส�ำหรับ ผู้ครองเรือน กุลบุตรในโลกนี้ รู้ทางเจริญแห่งโภคทรัพย์และทางเสื่อมแห่ง โภคทรัพย์ใช้จ่ายแต่พอเหมาะ ไม่ให้ฟุ่มเฟือยนัก ไม่ให้ฝืดเคืองนัก ด้วยคิดว่า รายได้ของเราจักต้องเหนือรายจ่าย และรายจ่ายของเราจักต้องไม่เหนือราย ได้ เปรียบเหมือนคนชั่งตราชั่ง ยกตราชั่งขึ้นดูก็รู้ว่า ต้องลดออกเท่านี้หรือ ต้องเพิ่มเข้าเท่านี้ ฉันใด กุลบุตรก็ฉันนั้นเหมือนกัน ถ้ากุลบุตรผู้นี้มีรายได้น้อย แต่เลี้ยงชีวิตอย่างโอ่อ่า จะมีผู้ว่าเขาได้ว่า กุลบุตรผู้นี้ใช้ทรัพย์เหมือนคนเคี้ยว กินผลมะเดื่อ ฉะนั้น ก็ถ้ากุลบุตรมีรายได้มาก แต่เลี้ยงชีพอย่างฝืดเคือง จะมีผู้ว่าเขา ได้ว่า กุลบุตรจักตายอย่างอนาถา แต่เพราะกุลบุตรรู้ทางเจริญแห่งโภคทรัพย์ ด้วยคิดว่ารายได้ของเราจักต้องเหนือรายจ่าย และรายจ่ายของเราจักต้องไม่ เหนือรายได้ ที่เรียกว่า “สมชีวิตา” อันโภคทรัพย์ที่เกิดขึ้นโดยชอบนี้ย่อมมี ทางเสื่อม ๔ ประการ คือ เป็นนักเลงหญิง เป็นนักเลงสุรา เป็นนักเลงการพนัน 13


สมชีวิตาเพื่อชีวิต ............................................................................................................................................................................................

มีมิตรชั่ว เปรียบเหมือนสระน�้ำใหญ่มีทางไหลเข้า ๔ ทาง ทางไหลออก ๔ ทาง บุรุษพึงปิดทางไหลเข้า เปิดทางไหลออกของสระน�้ำนั้นและฝนก็มิตกต้อง ตามฤดูกาล เมื่อเป็นเช่นนั้น สระน�้ำใหญ่นั้นพึงหวังความเสื่อมอย่างเดียวไม่มี ความเจริญ ฉันใด โภคทรัพย์ที่เกิดขึ้นแล้วย่อมมีทางเสื่อมฉันนั้น ธรรม ๔ ประการที่เป็นไปเพื่อความสุขในภายหน้าคือ สัทธาสัมปทา สีลสัมปทา จาคสัมปทาและปัญญาสัมปทา ธรรม ๔ ประการนี้ย่อมเป็นไป เพื่อความสุขในภายหน้าแก่กุลบุตรผู้ครองเรือน ซึ่งกล่าวสรุปดังนี้ "คนหมั่นในการท�ำงาน ไม่ประมาท จัดการงานเหมาะสม เลี้ยงชีพพอ เหมาะ รักษาทรัพย์ที่หามาได้ มีศรัทธา ถึงพร้อมด้วยศีล รู้ความประสงค์ของ ผู้อื่น ปราศจากความตระหนี่ ประสบสัมปรายิกประโยชน์อันสวัสดีเป็นนิตย์ ธรรม ๘ ประการดังกล่าวนี้ ของผู้ครองเรือน ผู้มีศรัทธา อันพระพุทธเจ้าผู้มี นามอันเป็นสัจจะตรัสว่า น�ำสุขมาให้ในโลกทั้งสองคือประโยชน์เกื้อกูล ใน ปัจจุบันนี้และความสุขในภายหน้า จาคะและบุญนี้ย่อมเจริญแก่คฤหัสถ์ ด้วย ประการฉะนี้" ทีฆชาณุสูตรที่๔ (องฺ.อฏฐก.๓๗/ ๑๔๔/๔๖๕ มมร.) อย่าลืม! หลักสมชีวิตาต้องมีศรัทธา ศีล จาคะ และปัญญาเสมอกันจึง อยู่ร่วมกันอย่างกลมกลืนมีความสุขซึ่งกันและกัน ทางรั่ว ๔ ข้อก็อย่าลืมอุดด้วย ถึงแม้ว่าจะปรับแล้วคิดว่าไม่เหมือน กันแต่ก็เป็นดอกไม้ในแจกันเดียวกันได้ ต่างท�ำหน้าที่คอยช่วยเหลือเกื้อกูล กัน ด้วยใจรักเมตตากัน ความสุขอยู่ที่การกระท�ำนะคะ ขอให้มีความสุขแบบ สมชีวิตาเพื่อประโยชน์ชาตินี้และชาติหน้าจะได้พบกันอีกค่ะ สวัสดี

14


พระภูตะเถระผู้เลื่อมใสพระพุทธเจ้า

ปราณีต ก้องสมุทร (จาก ภูตะเถระคาถา ในเถรคาถา นวกนิบาตข้อ ๓๖๙ และอรรถกถา) ผู้ที่นับถือพระพุทธศาสนา ถ้าขาดศรัทธาความเชื่อ ๔ ประการนี้แล้ว ความเชื่อของท่านย่อมหวั่นไหวได้ ความเชื่อ ๔ ประการนี้ คือ ๑. กัมมสัทธา เชื่อกรรม คือการกระท�ำดี กระท�ำชั่ว ๒. วิปากสัทธา เชื่อผลของกรรมว่ามีจริง ๓. กัมมัสสกตาสัทธา เชื่อว่าสัตว์มีกรรมเป็นของตน คือ ทุกคนเป็นเจ้าของ กรรมที่ตนท�ำ ๔. ตถาคตโพธิสัทธา เชื่อในพระปัญญาตรัสรู้ของพระตถาคต คือ พระ สัมมาสัมพุทธเจ้า และความเชื่อนี้มักมาพร้อมกับความเลื่อมใสเป็นสัทธาปสาทะ ผู้ที่เชื่อ เลื่อมใสในพระพุทธศาสนาย่อมได้รับประโยชน์สุข ทั้งที่เป็นโลกียและโลกุตตระ ดังเรื่องของ ท่านพระภูตะเถระ ที่จะยกมาอ้างอิงดังต่อไปนี้ ใน ภูตะเถรคาถา นวกนิบาต ข้อ ๓๖๙ อรรถกถาเล่าเรื่องของท่านไว้ว่า : ท่านพระภูตะท่านนี้ ได้สั่งสมบุญอันเป็นอุปนิสสัยแห่งพระนิพพาน มาตั้งแต่สมัยของพระพุทธเจ้าพระนามว่า สิทธัตถะ ในสมัยนั้นท่านเกิดเป็นบุตร พราหมณ์มีนามว่า เสนะ เมื่อเจริญวัยแล้ว ได้พบพระสิทธัตถะศาสดา มีใจเลื่อมใส ได้กล่าวคาถาชมเชยพระศาสดาด้วยคาถา ๔ คาถา มีความว่า ใครได้เห็นพระ สัมมาสัมพุทธเจ้าผู้องอาจ ผู้ประเสริฐ ผู้แกล้วกล้า ผู้แสวงหาคุณใหญ่ ทรงชนะ วิเศษ มีพระฉวีวรรณดังแสงทอง จะไม่เลื่อมใสได้อย่างไรเล่า ดังนี้เป็นต้น ด้วยกรรมอันเป็นบุญนั้น ท่านท่องเที่ยวไปในมนุษยโลกและเทวโลก มาในศาสนาของพระผู้มีภาคเจ้าของเรานี้ ท่านเกิดเป็นบุตรเศรษฐี มีทรัพย์ สมบัติมาก ในบ้านใกล้ประตูนครสาเกต ก็ท่านเศรษฐีนั้นมีบุตรหลายคน แต่ถูกยักษ์ที่เป็นคู่เวรกันผูกใจอาฆาตได้จับเด็กๆไปกินเสีย แต่เด็กชายภูตะนี้

15


พระภูตะเถระผู้เลื่อมใสพระพุทธเจ้า ............................................................................................................................................................

มิได้ถูกยักษ์กิน เพราะได้รับการดูแลรักษาจากพวกภูติ ในฐานะที่ชาตินี้เป็นชาติ สุดท้ายของท่านภูตะนี้ ฝ่ายยักษ์ได้ไปสูท่ บี่ ำ� รุงของท้าวเวสวัณแล้วก็มไิ ด้กลับไปอีก ในวันตัง้ ชือ่ เด็ก พวกญาติได้พากันตั้งชื่อว่าภูตะ เพราะเชื่อว่าเมื่อตั้งชื่อว่าภูตะ แล้วพวกอมนุษย์ จะช่วยปกป้องคุ้มครองดูแล และด้วยผลบุญของเด็กเอง เด็กชายภูตะจึงเติบโต โดยไม่มีอันตราย เมื่อเด็กชายโตขึ้น ขณะที่พระศาสดาประทับอยู่ที่นครสาเกต เขาได้ไปฟัง ธรรมในส�ำนักของพระศาสดาพร้อมกับพวกอุบาสก เกิดศรัทธาได้ออกบวช แล้วไป อาศัยอยู่ในถ�้ำใกล้ฝั่งแม่น�้ำชื่อว่า อชกรณี เจริญวิปัสสนาไม่นานนักก็ได้บรรลุปฏิ สัมภิทา ๔ อภิญญา ๖ เป็นพระอรหันตขีณาสพ เพราะเหตุที่ท่านได้บรรลุเป็นพระ อรหันต์ ด้วยการกล่าวสรรเสริญพระพุทธเจ้าด้วยความเลื่อมใส ด้วยปัญญาของ ท่านเท่านั้น (ท่านจึงปรากฏชื่อใน ขุ. อปทาน ว่า ปรัปปสาทกะเถระ) ท่านจึงไม่ อาจกล่าวสรรเสริญชมเชยพระพุทธเจ้าโดยอาการทั้งปวงได้ เพราะพระพุทธเจ้า ทรงมีพระคุณหาประมาณมิได้ สมจริงดังที่กล่าวไว้ว่า แม้พระพุทธเจ้า พึงกล่าวสรรเสริญพระพุทธเจ้า หากแม้กล่าวสรรเสริญอยู่ กัปป์อื่นๆพึงสิ้นไปใน ระหว่างอายุกาลนาน แต่การสรรเสริญพระตถาคต ยังหาสิ้นไปไม่. ก็พระภูตะนั้นเมื่อบรรลุเป็นพระอรหันต์แล้ว ท่านได้กลับไปในครสาเกต เพื่ออนุเคราะห์หมู่ญาติ ได้รับการบ�ำรุงจากพวกญาติ ๒-๓ วัน ก็ได้ออกไปอยู่ที่ป่า ไม้อัญชัน ครั้นประสงค์จะกลับไปยังสถานที่ที่ท่านเคยอยู่ คือถ�้ำใกล้ฝั่งแม่น�้ำ พวก ญาติจึงอ้อนวอนนิมนต์ให้อยู่ ด้วยว่าท่านเองก็จะได้ไม่ล�ำบาก ทั้งพวกตนก็จะได้ บุญกุศลเพิ่มขึ้น พระเถระ เมื่อจะประกาศความยินดียิ่งในความสงัด และความผาสุก สบายในป่านั้นของท่าน จึงได้กล่าวคาถาเหล่านี้ว่า

16


............................................................................................................................................................ พระภูตะเถระผู้เลื่อมใสพระพุทธเจ้า

เมื่อใด บัณฑิตก�ำหนดรู้ทุกข์ ในเบญจขันธ์ที่ปุถุชนทั้งหลาย ไม่รู้แจ้งว่า ความแก่และความตาย นี้เป็นทุกข์ แล้วจมอยู่ เป็นผู้มีสติเพ่งพินิจอยู่ เมื่อนั้น ย่อมไม่ประสบความยินดีในเบญจขันธ์นั้น ยิ่งไปกว่าความยินดี ในวิปัสสนาและมรรคผล เมื่อใดบัณฑิตละตัณหา อันน�ำทุกข์มาให้ ซ่าน ไปในอารมณ์ต่างๆ น�ำมาซึ่งทุกข์อันเกิดเพราะความต่อเนื่องแห่งธรรมเป็น เครื่องเนิ่นช้า เป็นผู้มีสติ เพ่งพินิจอยู่ เมื่อนั้น ย่อมไม่ประสบความยินดียิ่งไปกว่า การพิจารณาธรรมนั้น ดังนี้เป็นต้น ขยายความว่า : ในกาลใด บัณฑิตคือภิกษุในศาสนานี้ ก�ำหนดรู้ทุกข์ในเบญจขันธ์ นั้นด้วยมรรคปัญญา ที่ประกอบด้วยวิปัสสนาปัญญาว่า สิ่งนี้เป็นทุกข์ สิ่งมี ประมาณเท่านี้เป็นทุกข์ ไม่มีสิ่งอื่นที่ยิ่งไปกว่าทุกข์นี้ ดังนี้ ในอุปาทานขันธ์ ๕ ที่ปุถุชนทั้ งหลายไม่ รู้แจ้ง ตามความเป็น จริง ว่า ความแก่และความตายนี้ เป็นทุกข์ ดังนี้แล้ว จมอยู่ คือ ผูกพันอยู่ เป็นผู้มีสติ มีสัมปชัญญะเพ่งอยู่ ด้วยลักขณูปนิชฌาน เมื่อนั้นย่อมไม่ได้ความยินดียิ่งไปกว่าความยินดีในวิปัสสนา และความยินดีในมรรคและผล ด้วยเหตุนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า "ในกาลใดๆ ภิกษุพิจารณาความเกิดขึ้นและความเสื่อมไปแห่งขันธ์ทั้งหลาย ในกาลนั้นๆ เธอย่อมได้ความปีติปราโมทย์ ข้อนั้นเป็นอมตะของบัณฑิต" ผู้รู้ทั้งหลาย โสดาปัตติผลประเสริฐกว่าความเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ผู้เป็น เอกราชในแผ่นดิน(ประเสริฐ)กว่าการไปสวรรค์ และ(ประเสริฐ)กว่าความเป็นใหญ่ ในโลกทั้งปวง ตัณหาท่านเรียกว่า วิสัตติกา เพราะซ่านไป เพราะหลั่งไหลไปทั่ว เพราะ แพร่กระจายไปในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมะ ตระกูล และหมู่คณะ ตัณหา มานะ ทิฏฐิ ชื่อว่า ปปัญจธรรม เพราะท�ำความสืบต่อแห่งสัตว์ใน สงสารให้ชักช้า คือ ให้ยืดยาว ปปัญจธรรมเหล่านั้นชื่อว่า สังฆาตา เพราะรวบรวม ทุกข์ที่เกิดขึ้นไว้, ชื่อว่าทุกข์ เพราะมีสภาวะกระวนกระวายและเร่าร้อน การจะตัด

17


พระภูตะเถระผู้เลื่อมใสพระพุทธเจ้า ............................................................................................................................................................

ปปัญจธรรมเหล่านั้นให้เด็ดขาด ต้องตัดด้วยอริยมรรค พระเถระเมื่อจะแสดงถึงความผาสุกแห่งสถานที่ ที่ท่านอยู่แล้วอย่างสงบ เงียบ จึงกล่าวคาถาทั้งหลายว่า เมื่อใด บัณฑิตมีจิตเบิกบาน นั่งเพ่งพิจารณาธรรมอยู่ที่ฝั่งแม่น�้ำทั้งหลาย อันดารดาษไปด้วยดอกโกสุมและดอกมะลิที่เกิดในป่า อันวิจิตรงดงาม ย่อมไม่ได้ ประสบความยินดีอย่างอื่น ยิ่งไปกว่าการนั่งเพ่งพิจารณาธรรมนั้น. เมื่อใด มีฝนฟ้าร้องในเวลาราตรี ฝูงสัตว์ที่มีเขี้ยวก็พากันยินดีอยู่ในป่าใหญ่ และภิกษุนั้นไปเพ่งพิจารณาธรรมอยู่ที่เงื้อมเขา เมื่อนั้นย่อมไม่ประสบความยินดี อย่างอื่น ยิ่งไปกว่าการพิจารณาธรรมนั้น เมื่อใด ภิกษุก�ำจัดวิตกทั้งหลายของตน เข้าไปสู่ถ�้ำภายในภูเขา ปราศจาก ความกระวนกระวายใจ ปราศจากกิเลสอันตรึงใจ เพ่งพิจารณาธรรมอยู่ เมื่อนั้น ย่อมไม่ได้ความยินดีอย่างอื่น ยิ่งไปกว่าการพิจารณาธรรมนั้น เมื่อใด ภิกษุมีความสุข ยังมลทินกิเลสอันตรึงจิตและความโศกให้พินาศ ไม่มีกลอนประตูคือ อวิชชา ไม่มีป่าคือตัณหา ปราศจากลูกศรคือกิเลส เป็นผู้ท�ำ อาสวะทั้งปวงให้สิ้นไป เพ่งพิจารณาธรรมอยู่ เมื่อนั้นย่อมไม่ได้ประสบความยินดี อย่างอื่นยิ่งไปกว่า การเพ่งพิจารณาธรรมนั้น. พระเถระเมื่อจะแสดงถึงความผาสุกแห่งสถานที่ ที่ท่านพ�ำนักอยู่ ด้วย ความเงียบสงบสงัด จึงได้กล่าวคาถาทั้งหลายเหล่านั้น เพื่อแสดงว่าแม้สถานที่ เหล่านั้นจะน่าอยู่เพียงใด แต่ท่านก็มิได้ยินดีในสถานที่อันน่ารื่นรมย์เหล่านั้น ยิ่ง ไปกว่าการพิจารณาธรรมคืออุปาทานขันธ์ทั้งหลายด้วยวิปัสสนา ละความยินดี ในอุปาทานขันธ์ ๕ นั้น ด้วยปฏิเวธปัญญา อันเป็นการพยากรณ์ความเป็นพระ อรหันต์ของท่าน ด้วยการระบุถึงการตรัสรู้อริยสัจ ๔ นี่คือเรื่องราวของพระภูตะเถระ ผู้เลื่อมใสในพระพุทธเจ้า ที่ได้กล่าวคาถา ทั้งหลายไว้ ภายหลังที่ท่านบรรลุเป็นพระอรหันต์แล้ว

18


Interstellar ชีวิต อวกาศ และกาลเวลา

วินิตา รัตตบูรณินท์

ภาพยนต์มหากาพย์แห่งการเดินทางท่องจักรวาลความยาวเกือบสาม ชั่วโมงเรื่องนี้ ออกฉายพร้อมกันทั่วโลกในเดือนพฤศจิกายน 2014 และได้ไต่ อันดับขึ้นสู่ภาพยนต์ยอดนิยมอันดับ 1 ในหลายประเทศ ที่ไม่ใช่ประเทศไทย และ คงยากที่ขึ้นสู่อันดับยอดนิยมเหมือนในต่างประเทศ เพราะอาจจะเข้าใจยาก จน ตีความไม่ออก ตั้งแต่ชื่อ ที่ไม่ได้แปลเป็นภาษาไทย ทับศัพท์เอาเลย อย่างเรื่อง Avatar ทับศัพท์แล้วพอเข้าใจได้ เพราะตรงกับค�ำในภาษาไทยว่า อวตาร หรือ การแบ่งร่างไปเป็นอีกร่างหนึ่ง ค�ำนี้มาจากภาษาสันสกฤต ในต�ำนานเทพปกรณัม ของศาสนาพราหมณ์ Interstellar เป็นศัพท์ใหม่ หมายถึง แก๊ส และเศษเทหวัตถุที่ล่องลอยอยู่ใน อวกาศ ศัพท์เดิมคือ ฝุ่นคอสมิค (Cosmic Dust) Carl Sagan นักดาราศาสตร์ และนักเขียนนามอุโฆษ เขียนหนังสือเล่มหนึ่งชื่อ Cosmos เป็นการแนะเรื่องของ จักรวาล ที่เข้าใจง่ายที่สุดแล้ว แม้แต่เด็กมัธยมก็อ่านได้ นับเป็นความสามารถ พิเศษของคนเขียน ที่สามารถพูดถึงสิ่งยากให้เข้าใจง่าย ย้อนกลับมาที่ Interstellar ซึ่งแม้แต่ชื่อก็น่าจะก็มีความหมายอะไรบาง อย่างแอบแฝงอยู่แน่นอน หากมองในแง่ปรัชญา ก็อาจจะหมายถึงว่า ในที่สุดแล้ว สรรพสิ่งทั้งหลาย ก็เป็นฝุ่นผงกันทั้งหมดทั้งสิ้น แม้แต่ในอวกาศ ก็ยังมีสิ่งเหล่านี้ ปรากฏกระจายล่องลอยอยู่เช่นนั้น แล้วมันมาจากไหนล่ะ เรื่องเริ่มจาก องค์การอวกาศสหรัฐ NAZA ได้ด�ำเนินการท�ำโครงการ Lazarus Mission เพื่อส�ำรวจดาวดวงอื่น ที่มนุษย์จะสามารถอาศัยอยู่ได้ ในอนาคต เพราะโลกก�ำลังเสื่อมสภาพลงไปทุกที มีความเป็นไปได้สูงที่ต่อไปจะ อาศัยอยู่ไม่ได้ จึงจ�ำเป็นต้องหาที่อยู่ใหม่ที่ปลอดภัย นี่คือเหตุผลว่า ท�ำไมต้องท�ำ โครงการนี้ ในความเป็นจริง มีโครงการลับเกิดขึ้นมากมายในโลกใบนี้ ที่เราไม่มี โอกาสรู้ ทั้งในทวีปอเมริกาเหนือ ยุโรป รัสเซีย หรือในจีน บางครั้ง บางคราว ก็

19


Interstellar ชีวิต อวกาศ และกาลเวลา .....................................................................................................................................................

อาจมี ข่าวหลุดกระเซ็นกระสายออกมาให้ตื่นเต้นกัน แต่ไม่แน่ใจว่าจริงหรือหลอก เพราะยากจะพิสูจน์ มีการเก็บง�ำไว้เป็นความลับด�ำมืด บางเรื่องแปลกประหลาด มหัศจรรย์เกินกว่าจะจินตนาการ ตัวเอกของเรื่อง คูเปอร์ อดีตนักบินอวกาศและวิศวกรปลดประจ�ำการมา เป็นเกษตรกร อาศัยอยู่ในไร่แห่งหนึ่งกับพ่อตา และลูกชายหญิง 2 คน คนโตเป็น ชายอายุ 15 ก�ำลังเตรียมตัวจะเข้ามหาวิทยาลัย คนเล็กเป็นหญิง ชื่อ เมิฟ อายุ 10 ขวบ คูเปอร์เป็นม่าย ที่เรียกว่า single dad ท�ำให้มีความใกล้ชิดกับลูกมาก ไป ไหนมาไหนด้วยกันเสมอ เมิฟบอกพ่อว่าในห้องหนังสือมีผี วัตถุต่างๆ มีการเคลื่อนไหวเอง ทั้งสอง จึงสนใจทฤษฎี gravity (ค้นพบครั้งแรกโดยเซอร์ไอแซค นิวตัน) ทั้งสองช่วย กันค�ำนวณจนพบทิศทางที่จะไปยังสถานที่แห่งหนึ่ง นั่นก็คือสถานีอวกาศ ที่ตั้ง โครงการลาซารัส คูเปอร์ได้พบ ศ.ดร. แบรนด์ หัวหน้าโครงการ ที่รู้จักคูเปอร์ดี เขา ขอร้องคูเปอร์ให้ยอมเดินทางไปส�ำรวจกับทีม ซึ่งมี ดร.อมิเลีย นักชีววิทยา ลูกสาว ของ ศ.ดร.แบรนด์ เป็นหนึ่งในทีม ศ.ดร.แบรนด์บอกว่าจะดูแลส่งเสียลูกๆ ของ คูเปอร์ให้ได้รับการศึกษาอย่างดีที่สุดระหว่างที่คูเปอร์ไปส�ำรวจอวกาศ คูเปอร์ ตกลงไป ท�ำให้เมิฟเสียใจมาก แต่ไม่สามารถท�ำอะไรได้ ในที่สุดคูเปอร์เดินทางไป อวกาศ เพื่อไปส�ำรวจโลกใหม่ ผจญภัยอะไรหลายอย่าง เวลาในอวกาศยาวนาน กว่าเวลาในโลกมาก ขณะที่คูเปอร์ท่องอวกาศอยู่นั้น เขาแก่ช้ามาก ระหว่างนั้น เวลาที่โลกผ่านไป ลูกชายของเขาเรียนจบ แต่งงาน มีลูก เมิฟ เรียนจบ และท�ำงาน ที่สถานีอวกาศร่วมกับศ.ดร.แบรนด์ เธอเป็นคนปราดเปรื่องมากคนหนึ่ง ในที่สุด ดร.แบรนด์ ตายลง โดยสารภาพว่ายังมีทฤษฎีหนึ่งที่ยังหาค�ำตอบไม่ได้ ซึ่งก็อาจ ท�ำให้คูเปอร์และคณะมีปัญหาในการกลับมาสู่โลก เมิฟตัดสินใจสานต่องานของ แบรนด์ ระหว่างที่คูเปอร์ผจญภัยในอวกาศนั้น เขาติดต่อกับลูกเสมอ ท�ำให้รู้ความ เป็นไปต่างๆ เวลาในโลกผ่านไปอย่างรวดเร็ว คนที่แก่แล้ว อย่างพ่อตาของเขาก็ ตายไป เมิฟแก่ลง และยังคงท�ำงานที่สถานีอวกาศ

20


...................................................................................................................................................... Interstellar ชีวิต อวกาศ และกาลเวลา

คูเปอร์และคณะแวะไปที่ดาวบางดวงตามเป้าหมาย แต่ไม่มีที่ใด ที่เหมาะสม ส�ำหรับมนุษย์ เขาท่องเที่ยวไปในรูหนอน wormhole ครั้งหนึ่ง มีประสบการณ์ แปลกประหลาด เหมือนเขากลับมาที่โลก หากอยู่คนละมิติกับเมิฟ เขาพยายาม เรียกเธอ แต่เธอไม่ได้ยิน เรื่องราวตอนนี้มีความซับซ้อนมาก ซึ่งคนที่ไม่ได้เรียน วิทยาศาสตร์จะไม่เข้าใจนัก ในที่สุดเมิฟ คิดทฤษฎีที่ ดร.แบรนด์ ไม่สามารถหาข้อสรุปได้ ท�ำให้เธอได้ รับการยอมรับอย่างสูง เมื่อคูเปอร์กลับถึงโลก เขาตื่นขึ้นมาในโรงพยาบาลที่หมอผู้ รักษาเขาบอกเขาว่า คือ สถานีอวกาศคูเปอร์ คูเปอร์งง หมอจึงตอบว่า ใช้ชื่อตาม ชื่อสกุลของเมิฟ ลูกสาวของเขา หมอบอกว่าเขามีอายุตามเวลาโลก 149 ปี แต่ เนื่องจากเขาไปอยู่ในอวกาศ อายุของเขาจึงเท่าเดิมเหมือนตอนที่เขาเดินทางออก ไป แต่เมิฟ นี่สิ อายุเหยียบร้อย ป่วยหนัก และก�ำลังจะตาย เธอรอพบเขา พ่อที่ เธอรอคอยมานานแสนนาน ค�ำแรกที่เธอพูดกับพ่อคือ เธอรู้ว่าพ่อจะกลับมา ทั้งหมดเป็นการเล่าอย่างสรุปพอเป็นสังเขป ส�ำหรับผู้ที่สนใจหนังเรื่องนี้ว่าเกี่ยวกับอะไรกันแน่ ก็คงต้องลองหาค�ำ ตอบดูเอง แต่ส�ำหรับผู้เขียนแล้ว รู้สึกว่า เนื้อหาทั้งหมดเมื่อร้อยเรียงกันจนจบ ลง น่าจะบอกเป็นนัยว่า โลกมิได้มีเพียงมิติเดียวแบนๆ หากมีหลากหลายเหลี่ยม มุม สัมพันธ์กับเรื่องของเวลา แม้ในพุทธศาสนาก็พูดถึงเรื่องเวลาไว้ด้วย เช่นเวลา ในสวรรค์นั้น ยาวนานมาก บางทีนางอัปสรเผลอตัวตกสวรรค์มาเกิดเป็นมนุษย์ มีชีวิตอยู่ตั้งแต่เกิดจนแต่งงาน มีลูกหลายคน จนกระทั่งป่วยตาย พอตายไป ได้ เกิดบนสวรรค์ภูมิเดิมรู้สึกตัวอีกที เวลาผ่านไปแค่ครึ่งวัน (เรื่อง นางปติปูชิกา ใน ธรรมบท) อย่างไรก็ตาม มีพุทธพจน์เตือนใจเรื่องเวลาไว้ด้วยว่า กาโล ฆสติ ภูตานิ สพฺพาเนว สหตฺตนา กาลเวลาย่อมกลืนกินสัตว์ทั้งหลาย พร้อมกันไปกับตัวมัน เอง เพราะฉะนั้น เราจึงไม่ควรประมาทในเรื่องของเวลา ท�ำชีวิตให้ดีที่สุด ก่อนที่ เวลาจะกลืนกินเรา

21


รู้จักภพภูมิที่เราเวียนว่ายตายเกิด ตอนที่ ๑๑

พระวรฤทธิ์ โอภาโส เจริญพรผู้อ่าน วันนี้จะเขียนถึง ตาวติงสาภูมิในส่วนที่เหลือ คือ เรื่อง พระอินทร์หรือท้าวสักกะ บ�ำเพ็ญบุญเพิ่มเติม มีเรื่องว่า พระอินทร์เสวยทิพย สมบัติอยู่ในชั้นดาวดึงส์ ได้ทอดพระเนตรเห็นเทวดาชั้นผู้ใหญ่บางองค์มีรัศมี และวิมานสวยงามมากกว่าพระองค์ซึ่งเป็นใหญ่กว่า จึงทรงนึกในพระทัยว่า เหตุใดเทวดาพวกนี้จึงมีรัศมีและวิมานสวยงามมากกว่า นึกแล้วจึงทราบว่า เป็นเพราะ เทวดาพวกนี้ได้สร้างกุศลไว้ในพระพุทธศาสนา ฉะนั้น กุศลใดที่ได้ ท�ำไว้ในเวลาที่มีพระพุทธศาสนาย่อมมีอานิสงส์ยิ่งกว่ากุศลที่ท�ำไว้ในเวลาที่ ว่างจากพระพุทธศาสนา ส�ำหรับพระองค์ที่มีรัศมีน้อย มีวิมานที่สวยงามน้อย กว่าเพราะว่ากุศลที่ท�ำไว้ในสมัยเป็น มฆมานพ พร้อมเพื่อน ๓๒ คนเป็นเวลา ที่ว่างจากพระพุทธศาสนา เมื่อทราบดังนี้พระองค์จึงพยายามสร้างกุศลใน พระพุทธศาสนาให้ได้วันหนึ่ง พระองค์ทรงเล็งทิพยเนตรเห็น พระมหากัสส ปะออกจากนิโรธสมาบัติ และก�ำลังจะไปโปรดคนยากจน พระองค์มีความ ยินดีเป็นอย่างยิ่งจึงชวนนางสุชาดา มเหสีเสด็จลงสู่มนุษยโลกพร้อมด้วยสุธา โภชน์ส�ำหรับถวายพระมหาเถระเจ้า เมื่อลงมาถึงมนุษยโลกแล้วก็แปลงกาย เป็นคนชราสองคนผัวเมียทอผ้าอยู่ในกระท่อมต้นทางที่พระมหาเถระจะผ่าน มาเมื่อพระมหากัสสปะออกจากนิโรธสมาบัติแล้วตั้งใจว่าจะไปโปรดคน ยากจนในหมู่บ้านแห่งนั้น จึงจัดแจงครองจีวรและอุ้มบาตรเดินมาถึงหมู่บ้าน แล้วหยุดยืนที่หน้าบ้านหลังแรกที่มาถึง พระอินทร์เมื่อแลเห็นพระมหาเถระ ยืนที่หน้าประตูกระท่อมของตนจึงรีบออกมาแล้วบอกให้นางสุชาดายกเอา อาหารออกมาให้เพื่อจะใส่บาตร นางสุชาดายกเอาสุธาโภชน์ที่เตรียมมา ให้แก่พระสวามี องค์อมรินทร์จึงยกเอาสุธาโภชน์นั้นใส่ลงในบาตร ตอน แรกพระมหากัสสปะไม่ได้พิจารณา คิดว่าสองสามีภรรยานี้เป็นคนยากจน 22


.................................................................................................................................................รู้จักภพภูมิที่เราเวียนว่ายตายเกิด ตอนที่ ๑๑

ธรรมดา ต่อเมื่อรับเอาอาหารแล้ว กลิ่นของอาหารนั้นมาสัมผัสกับจมูก ท่าน ก็รู้ทันทีว่าไม่ใช่อาหารธรรมดาแต่เป็นอาหารทิพย์ และชายชรากับภรรยา นั้นก็มิใช่คนธรรมดา พิจารณาจึงทราบว่า แท้จริงเป็นพระอินทร์กับพระ มเหสีปลอมแปลงมา พระมหาเถระจึงต่อว่าพระอินทร์ว่า การที่อาตมาภาพ มาโปรดสัตว์ ณ ที่นี้ มิได้ตั้งใจจะมาโปรดผู้ที่มีบุญอยู่แล้วเช่นองค์อมรินทร์ อาตมาภาพตั้งใจจะมาโปรดคนยากจน เหตุไฉนท่านจึงท�ำเช่นนี้ พระอินทร์จึง บอกว่าข้าพระองค์ก็เป็นคนยากจนเหมือนกัน เพราะแม้ว่าข้าพระองค์จะเป็น ใหญ่อยู่ในชั้นดาวดึงส์ก็จริงอยู่ แต่รัศมีก็ดี วิมานก็ดีของข้าพระองค์นั้นยังด้อย กว่าเทวดาองค์อื่นๆบางองค์มากนัก เพราะว่าข้าพระองค์ไม่ได้ท�ำกุศลในเวลา ที่มีพระพุทธศาสนา บัดนี้ข้าพระองค์ได้มาพบพระผู้เป็นเจ้าแล้ว จึงต้องการ สร้างกุศลในพระพุทธศาสนาเพื่อให้รัศมีแห่งกายและวิมานของข้าพระองค์ ได้มีความสว่างรุ่งโรจน์อย่างบริบูรณ์ ด้วยเหตุนี้ข้าพระองค์จึงต้องปลอมตน มากระท�ำดังนี้ เมื่อพระอินทร์กลับขึ้นสู่ดาวดึงส์ รัศมีกายของพระองค์และ รัศมีแห่งวิมานก็ปรากฏสว่างรุ่งโรจน์สวยงามบริบูรณ์เต็มที่ ท้าวสักกะนี้เมื่อ ได้ฟังธรรมจากพระผู้มีพระภาคเจ้าในเรื่องสักกปัญหสูตร ได้ส�ำเร็จเป็นพระ โสดาบัน และจะอยู่ในดาวดึงส์จนสิ้นอายุแล้วมาบังเกิดเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ์ ในโลกมนุษย์ จะได้ส�ำเร็จเป็นพระสกทาคามีแล้วตายจากมนุษย์ไปเกิดในชั้น ดาวดึงส์อีก และได้ส�ำเร็จเป็นพระอนาคามี ตายจากดาวดึงส์จะได้ไปเกิดใน ชั้นสุทธาวาสภูมิ ตั้งแต่อวิหาเป็นต้นไปจนถึงชั้นอกนิฏฐาและปรินิพพานใน ชั้นนั้น อีกเรื่องราวที่น่าสนใจในสวรรค์ชั้นนี้คืออสุรินทราหู ซึ่งมีกายสูงใหญ่ กว่าเทวดาทั้ง ๖ ชั้น อสุรินทราหูมีความสูง ๔,๘๐๐ โยชน์ ไหล่กว้าง ๑,๒๐๐ โยชน์ รอบตัวใหญ่ ๖๐๐ โยชน์ ฝ่ามือฝ่าเท้าใหญ่ ๒๐๐ โยชน์ จมูกใหญ่ ๓๐๐ โยชน์ ปากกว้าง ๓๐๐ โยชน์ หน้าผากกว้าง ๓๐๐ โยชน์ ศีรษะใหญ่ ๙๐๐ โยชน์ 23


รู้จักภพภูมิที่เราเวียนว่ายตายเกิด ตอนที่ ๑๑ .................................................................................................................................................

ถ้าอสุรินทราหูลงไปในมหาสมุทรอันลึกล�้ำ น�้ำในมหาสมุทรจะท่วมเพียงแค่ เข่า อสุรินทราหูนี้เป็นอุปราชอยู่ในพิภพอสูรภายใต้เขาพระสุเมรุ เมื่อได้ฟัง กิตติศัพท์แห่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในส�ำนักเทวดาทั้งหลายได้เห็นเทวดา ทั้งหลายพากันไปสู่ส�ำนักพระพุทธองค์ จึงด�ำริว่าเรามีกายอันสูงใหญ่จะไปสู่ ส�ำนักพระพุทธองค์อันมีร่างกายเล็กน้อยและจะก้มตัวลงเราก็มิอาจก้มตัวลง ได้ อสุรินทราหูด�ำริดังนี้จึงมิได้ไปสู่ส�ำนักพระพุทธองค์ วันหนึง่ อสุรนิ ทราหูได้ฟงั เทวดาสรรเสริญพระเดชพระคุณพระพุทธเจ้า ผู้หาที่สุดมิได้ จึงคิดว่าพระพุทธเจ้าจะประเสริฐเป็นประการใด เทวดาจึง สรรเสริญยิ่งนัก เราจะพยายามไปดูสักครั้งหนึ่ง ด�ำริดังนี้แล้วอสุรินทราหูก็ ปรารภที่จะมาสู่ส�ำนักของสมเด็จพระศาสดา ในกาลครั้งนั้นสมเด็จพระผู้มี พระภาคทรงทราบอัธยาศัยแห่งอสุรินทราหู พระองค์จึงทรงด�ำริว่า ราหูจะ มาสู่ส�ำนักตถาคตในครั้งนี้ จึงทรงด�ำริว่าบุคคลที่ยืนหรือนั่งถึงจะต�่ำก็ปรากฏ ดุจดังว่าสูง เหตุนี้ตถาคตควรจะส�ำแดงซึ่งอิริยาบถไสยาสน์ (นอน) แก่อสุรินท ราหู พระอานนท์จัดแจงเตียงที่บรรทมตามรับสั่ง เมื่ออสุรินทราหูมาถึงส�ำนัก พระพุทธองค์ ต้องเงยหน้าขึ้นแลดูสมเด็จพระพุทธเจ้า ประดุจหนึ่งทารก แหงนดูดวงจันทร์ในอากาศ พระพุทธเจ้าจึงถามว่า ดูกรอสุรินทราหู ท่าน มาแลดูตถาคตนี้เห็นเป็นประการใด อสุรินทราหูจึงทูลตอบว่า กระหม่อม นี้ไม่เคยทราบเลยว่า พระพุทธองค์ทรงพระเดชพระคุณล�้ำเลิศประเสริฐ ดังนี้ กระหม่อมส�ำคัญว่าเมื่อมาแล้วมิอาจก้มลงได้ จึงเพิกเฉยมิได้มาสู่ส�ำนัก พระพุทธองค์ ดูกรอสุรินทราหู เมื่อตถาคตบ�ำเพ็ญพระบารมีทั้งปวงนั้น ตถาคตจะได้ก้มหน้าย่อท้อต่อที่จะบ�ำเพ็ญพระบารมีนั้นหามิได้ ตถาคตเงย หน้าขึ้นแล้วก็บ�ำเพ็ญพระบารมีทั้งปวงมิได้หดหู่ย่อท้อเลย ด้วยเหตุนี้ บุคคล ผู้ปรารถนาจะแลดูตถาคตนี้จะต้องก้มหน้าลงแลดูเหมือนอย่างท่านคิดนั้น หามิได้ อสุรินทราหูได้ฟังแล้วยอมรับนับถือพระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่งในกาลครั้ง นั้น จบเรื่องราวสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เจริญพร 24


ศีล ๕

พระมหาประนอม ธมฺมาลงฺกาโร ปาณาติปาตา เวรมณี สิกขาปทํ สมาทิยามิ อทินนาทาน เวรมณี สิกขาปทํ สมาทิยามิ กาเมสุมิจฉาจารา เวรมณี สิกขาปทํ สมาทิยามิ มุสาวาทา เวรมณี สิกขาปทํ สมาทิยามิ สุราเมรยมัชชปมาทฏฺฐานา เวรมณี สิกขาปทํ สมาทิยามิ ศีล เป็นค�ำพระที่ได้ยินกันมานาน เหมือนค�ำว่า บาป บุญ กรรม กุศล เรื่องนี้บางทีเข้าใจกันว่า ศีล คือค�ำสั่งห้าม ๕ ข้อ ที่พระให้กับผู้เข้าวัดเข้าวา และนั่นท�ำให้เกิดการผิดศีล เพรารับ ศีล จากพระแล้วไม่ปฏิบัติตาม หากไม่ รับจะไม่ผิด อันที่จริง พระไม่ใช่ผู้ท�ำให้ใครผิดศีล แต่พระอยากให้ทุกคนรักษาศีลได้ เพราะการรักษาได้หรือไม่ได้ ผิดหรือไม่ผิด เป็นตามการกระท�ำของตน ไม่ได้ ผิดเพราะรับ หรือไม่ผิดเพราะไม่รับกล่าวคือ ถ้าท�ำผิดก็ผิดเสียเองด้วยตนเอง เพราะกระท�ำผิดในเหตุผล คือองค์แห่งศีลข้อนั้นๆ ซึ่งศีลแต่ละข้อก็มีขอบเขต เฉพาะ เช่น การผิดศีลข้อลักทรัพย์ ทรัพย์คือทรัพย์อะไรในที่นี้ ลักหมายถึงวิธี การเช่นไร ลักหรือไม่ลักมีผลอย่างไร ซึ่งเท่ากับว่ารักษาศีลข้อนี้กับไม่รักษา ศีลข้อนี้มีโทษหรือประโยชน์อย่างไร เกี่ยวกับศีล ๕ มุ่งหมายให้อ่านท�ำความเข้าใจได้อย่างไม่ยาก เพื่อ การรักษาศีลได้อย่างง่าย คือ เกิดจากความเข้าใจ น�ำไปสู่การกระท�ำจนเป็น ธรรมชาติประจ�ำตัว รักษาตัวเองได้ เป็นพื้นฐานเพื่อท�ำความดีที่ยิ่งขึ้นไป ส่ง ผลให้สังคมมีความสุขสงบ ความหมายของศีล ค�ำว่า ศีล แปลว่าอะไร ? ค�ำว่า ศีล สื่อให้รู้ "ตัวศีล" ผ่านความหมายของค�ำ ดังนี้ 25


ศีล ๕ .............................................................................................................................................................................................................

ศีล หมายถึง ศีรษะ เป็นการเปรียบเทียบว่า คนไม่มีศีรษะคือคนตาย ไม่อาจปัดฝุ่นผงที่เกาะติดตามตัวออกไปได้ เหมือนกับคนไม่มีศีล ที่ปัด ฝุ่นกิเลสออกจากตัวไม่ได้ สูญสิ้นคุณความดี ดุจดังตายจากศาสนาของ พระพุทธเจ้า ศีล หมายถึง ความเย็น เปรียบสรรพคุณของไม้จันทน์ที่มีฤทธิ์เย็น คลายร้อน ถอนพิษไข้ เป็นเช่นเดียวกันกับศีลที่ถอนไข้ใจ คือ ความสะดุ้งกลัว ที่จะเกิดตามมาหลังจากล่วงศีล และยังท�ำให้เกิดปราโมทย์ เป็นความเย็นใจ อีกด้วย ศีล หมายถึง สันติ เพราะความประพฤติที่สงบเรียบร้อยของผู้รักษา ศีลได้ไม่ท�ำให้เกิดความหวาดกลัวแก่ตัวเองและผู้อื่น ศีลจึงแปลว่า สันติ ศีล หมายถึง ปกติ ปกติในที่นี้ไม่ได้หมายความว่าท�ำอยู่เป็นประจ�ำ หากจะแปลเช่นนั้น ผู้ที่ผิดศีลเป็นประจ�ำ เช่น โกหกหลอกลวง ลักเล็กขโมย น้อยจนเป็นนิสัยก็จะกลายเป็นผู้มีศีลเพราะท�ำเป็นปกติ จะเป็นปกติมีศีลหรือ ปกติไม่มีศีลก็เป็นปกติด้วยกัน แต่ปกติในที่นี้หมายถึง เรียบร้อย และ รองรับ ความปกติ คือ ความทรงอยู่อย่างเรียบร้อย มี กาย วาจา ที่ไม่เกะกะ เพราะศีลมีปกติอย่างนั้น ความปกติ คือ ความรองรับ สามารถรองรับทุกคุณงามความดี ปกติ ของศีลเป็นอย่างนั้น อะไรคือศีล แม้ศีลจะเป็นสิ่งที่ไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตน ไม่ใช่คน สัตว์ สิ่งของ ศีลเป็น นามธรรม แต่ก็มีนิยามที่ช่วยให้เข้าใจได้ว่า ศีล เป็นอย่างไร ศีล คือ เจตนาศีล เวรมณีศีล และ อวีติกกมศีล เจตนาศีล คือ ความตั้งใจ ว่า เราจะไม่ท�ำความชั่ว เพราะเมื่อท�ำไปจะ ได้รับผลที่เป็นความทุกข์ 26


............................................................................................................................................................................................................. ศีล ๕

เวรมณีศีล คือ การละเว้นโอกาสท�ำความชั่ว ในขณะเวลาที่จะ ท�ำความชั่วได้ ก็ไม่ถือโอกาสนั้น อวีติกกมศีล คือ ผู้รักษาศีลไม่ละเมิดศีล ทั้งทางกายและวาจา หลัง จากได้สมาทานแล้ว หากจะกล่าวถึงบุคคลใดบุคคลหนึง่ กับผูท้ ไี่ ม่เคยร้จกั บุคคลนัน้ มาก่อน เราจะอธิบายอย่างไร เช่น เขาไม่รู้จักนักมวยแชมเปี้ยนโลก อาจอธิบายให้ ทราบได้ โดยอาศัยคุณสมบัติ ๔ ประการ คือ ลักษณะ หน้าที่ ผลปรากฏ และ เหตุใกล้ ลักษณะของเขาคือ แข็งแรง ทะมัดทะแมง มีกล้ามเนื้อเป็นมัด หน้าที่เขา คือ ฟิตซ้อมและชกมวย ผลปรากฏ คือเขาเป็นแชมป์ มีเข็มขัดแชมป์ สาเหตุในระยะใกล้ที่ท�ำให้เขาเป็นแชมเปี้ยนโลก เพราะเชาชกชนะใน การชกชิงแชมป์โลก อธิบายศีล การอธิบายเรื่องศีลก็อาศัยคุณสมบัติทั้ง ๔ ประการเช่นกัน ลักษณะ แม้ศีลจะมีหลายข้อ จะเป็นศีล ๕ ศีล ๘ ศีล ๑๐ ศีล ๒๒๗ ก็ตาม ก็มีลักษณะ เดียว คือ มีความเป็นระเบียบ เปรียบเหมือนเมื่อมองดูสายรุ้ง สีทั้งเจ็ด คือ ม่วง คราม น�้ำเงิน เขียว เหลือง แสด แดง แม้จะต่างกันโดยสี แต่เหมือนกัน ตรงที่มองเห็นได้ด้วยตา หรือเมื่องฟังเสียงดนตรีที่ต่างเสียงกัน จะเป็นกลอง เบส กีตาร์ ขลุ่ย ก็มีลักษณะเดียวคือได้ยินด้วยหู หน้าที่ หน้าที่ของศีล คือ ท�ำลายความเป็นคนไม่ดี กล่าวคือ ขจัดเสียซึ่งความเป็นผู้ ทุศีล ศีลท�ำให้เราเป็นผู้มีศีล 27


ศีล ๕ .............................................................................................................................................................................................................

ผลปรากฏ ผลปรากฏของศีล คือ มีความสะอาดทางกาย วาจา และใจ สาเหตุในระยะใกล้ สาเหตุในระยะใกล้ที่ท�ำให้ศีลเกิดขึ้นได้ คือ หิริ (ความละอายบาป) โอตตัปปะ (ความกลัวเกรงบาป) ซึ่งนอกจากจะท�ำให้ศีลเกิดขึ้นแล้วยังช่วยให้ ศีลตั้งอยูได้ด้วย หากไม่มี หิริ โอตตัปปะ ศีลก็เกิดขึ้นไม่ได้ และที่เกิดขึ้นก็จะ ตั้งอยู่ไม่ได้ เคล็ดลับของการรักษาศีล มีเหตุ ๒ ประการที่ท�ำให้เราเป็นผู้ส�ำรวมอยู่ในศีล ซึ่งนั่นเป็นเหมือน เคล็ดลับของการรักษาศีล คือ ๑. พิจารณาโทษของการผิดศีล ๒. พิจารณาอานิสงส์ของศีล พิจารณาว่าถ้าล่วงละเมิดศีลก็เท่ากับเตรียมทุคติให้กบั ตัวเองจะระแวง เพราะเกรงบัณฑิตจะติเตียน ผู้มีศีลจะไม่คบค้าสมาคม คนทั่วไปก็จะเกลียด ชังและดูหมิ่น จะเศร้าใจเมื่อได้ยินเขาสรรเสริญผู้มีศีล ไม่เชื่อถือคุณงามความ ดีของผู้มีศีล เป็นคนมักโกรธเมื่ออยู่กับคนมีศีล ชิงชังรังเกียจมิตรดี หันไปมี มิตรชั่ว ท�ำตัวเป็นปฏิปักษ์กับผู้มีศีล ความอดทนในการปฏิบัติสมาธิชั้นสูงจะลดน้อยลง แม้จะแต่งองค์ทรงเครื่อง ก็ยังดูน่าเกลียด คนทั่วไปก็จะรังเกียจเหมือนอุจจาระและปัสสาวะ มีคุณค่า เท่ากับโคลนตม ซึ่งไม่มีราคา ไม่ว่าจะในปัจจุบันหรืออนาคตก็ตาม ใจจะมี แต่ความกังวลและท้อถอย คอยแต่เสียใจกับความไม่ดีที่ท�ำลงไป ไม่อาจสงบ จิตใจเปรียบเป็นผู้ร้ายที่ถูกจองจ�ำ ไม่มีความหวังในพระสัทธรรมเหมือนคน จัณฑาลไม่มีหวังในราชสมบัติ จบชีวิตลงต้องไปสู่ทุคติ หากจะ ลด ละ เลิกความชั่ว หันมาพัฒนาตัวสู่ความเป็นผู้มีศีล พึงพิจารณา ว่า ผู้ละเมิดศีลมีแต่ความท้อถอยและพลุ่งพล่านในจิตใจ ส่วนผู้มีศีลท่านใช้ ความเพียรพยายามและเพิ่มพูนความศรัทธา เมื่อหมั่นพิจารณาและลงมือท�ำ 28


............................................................................................................................................................................................................. ศีล ๕

จะท�ำให้เป็นผู้มีความเพียรและถึงพร้อมด้วยศรัทธารักษาศีลได้ พิจารณาว่า คนที่มีดวงตาข้างเดียวระมัดระวังดวงตาเพียงใด แม่ที่มีลูกคน เดียวจะรักและเป็นห่วงลูกเพียงใด ควรรักและทะนุถนอมศีลให้มากกว่านั้น ดังนี้แล้ว จิตใจก็จะสงบเย็นเป็นสมาธิ และศีลจะได้รับความคุ้มครอง วิรัติ ๓ จากที่ทราบแล้วว่า ศีลมี ๓ อย่าง คือ เจตนา เวรมณี และอวีติกกมะ กล่าวถึงความหมายของค�ำว่า เวรมณี ซึ่งเป็นค�ำกล่าวเมื่อสมาทานศีล ว่า “......................................เวรมณี สิกฺขาปทํ สมาทิยามิ” มณี ในที่นี้ไม่ใช่แก้วมณี ส�ำเร็จมาจาก เวรํ มณติ แปลว่า ขับไล่เวร งดเว้นเวร เวรมณี วิรัติ วิรตี มีความหมายอย่างเดียวกันคือ เว้น ได้แก่ เว้นจากบาปจากเวร ๕ อย่าง มี ปาณาติบาต เป็นต้น วิรัติ มี ๓ อย่าง ตามลักษณะของการเว้นที่แตกต่างกัน สมาทานวิรัติ เว้นเพราะได้สมาทานศีลไว้ก่อนหน้า ไม่ว่าจะเสียทรัพย์สินหรือ ชีวิตก็ไม่ท�ำผิด ด้วยว่าได้ตั้งใจจะรักษาศีลแล้ว สัมปัตตวิรัติ เว้นโดยที่ไม่ได้สมาทานไว้ก่อน ถึงตอนที่มีเหตุให้ผิดศีลค�ำนึง ได้ว่าการท�ำบาปไม่คู่ควรกับตน เกิดความตั้งใจงดเว้นขึ้นมาในสถานการณ์ เฉพาะหน้า สมุจเฉทวิรัติ เว้นโดยเด็ดขาด เป็นคุณสมบัติของอริยบุคคล เกิดจากการ เจริญวิปัสสนากรรมฐาน เว้นพร้อมกับการบรรลุมรรคผล พ้นจากเวรและภัย ไม่ผิดศีลห้าตลอดไป จะเห็นว่าผู้ที่เว้นแบบ สมาทานวิรัติ กับ สัมปัตตวิรัติ เป็นปุถุชนที่ต้องหัก ห้ามกาย วาจา เพื่อพัฒนาตนเป็นกัลยาณปุถุชนที่ดีงาม และก้าวถึงความ เป็นอริยบุคคลในวันข้างหน้า การเว้นทั้งสองแบบนั้น สมาทานวิรัติ จัดว่ามี ประโยชน์มาก เพราะนับจากตอนสมาทานถึงสถานการณ์ที่จะพึงเว้น ก็นับ เป็นคนมีศีลด้วยความตั้งใจจริงที่จะรักษา และที่ส�ำคัญ เราสมาทานได้ด้วย ตัวเอง 29


ผ้าขี้ริ้ว

Social Boy

ผ้าขี้ริ้วยอมสกปรกเพื่อให้สิ่งอื่นสะอาด เสน่ห์ของคนอยู่ที่ยอมล�ำบาก เพื่อให้ผู้อื่นเป็นสุข พ่อแม่ยอมเหนื่อย เพื่อให้ลูกหลานอยู่สุขสบาย ความสุข แท้ของคนคือการได้ยืนแอบยิ้ม อยู่เบื้องหลังความส�ำเร็จ ผ้าขี้ริ้วดูดซับความสกปรกได้ แต่ก็สลัดความสกปรกออกจากตัวได้ ตลอดเวลา เสน่ห์ของคนอยู่ที่รู้ตัวเองว่าสกปรก ถึงเวลาต้องช�ำระล้างแล้ว มิใช่อมความสกปรกไว้แล้ว แกล้งบอกว่าตนเองสะอาด ผ้าขี้ริ้วเป็น ผ้าที่สะอาดที่สุด ในขณะที่คนมองว่าสกปรกที่สุด เหมือน คนที่ฝึกหัดขัดเกลาตนเอง รู้จักถ่อมตนและอ่อนโยน ไม่โอหังอวดดีให้เป็นที่ รังเกียจหมั่นไส้ของ คนอื่น เขาจะเป็นคนที่มีคุณค่า ไม่ว่าจะมาจากสกุลใด การศึกษามากหรือน้อยก็ตาม เป็นผู้ใฝ่รู้แต่ไม่อวดดี เหมือนผ้าขี้ริ้วห่อทอง ผ้าขี้ริ้วถึงจะเป็นผ้าไม่มีราคา แต่มีคุณค่ายิ่งใหญ่ได้ เหมือนคนที่ พยายามท�ำตนให้มีคุณค่า ด้วยการท�ำงาน มิใช่ด้วยการประจบ ท�ำตนให้มี ประโยชน์ ให้มีค่า ไม่ใช่งอมืองอเท้า น้อยเนื้อต�่ำใจในวาสนาชะตาชีวิต ต้อง สร้างก�ำลังใจให้ตนเอง อย่ารอคอยจากคนอื่น ผ้าขี้ริ้วไม่เกี่ยงงอนว่าจะถูกใช้เช็ดถูอะไร เหมือนคนที่ยอมตัวอาสา ท�ำงานที่ได้รับ มอบหมาย โดยไม่ปริปากบ่น รู้จักอาสาคน อาสาท�ำงาน ต้องตั้งใจท�ำงานโดยไม่เกี่ยงงอน ไม่ว่าจะเป็นงาน ใด ๆ ก็ตาม คนที่ตกงานเพราะไม่ยอมท�ำงาน ผ้าขี้ริ้วยอมให้ถูกใช้งานในที่สกปรกที่สุด เหมือนคนที่ยอมท�ำในสิ่งที่ คนทั้งหลาย รังเกียจ ที่เขาเห็นว่าเป็นงานชั้นต�่ำ แต่ก็ตั้งใจท�ำให้เป็นของมีค่า ขึ้นมาได้ หรือยินดีในการบริการ เหมือนคนที่อิ่มเอิบเมื่อได้บริการรับใช้คนอื่น รับใช้สังคม ดีใจเมื่อคนยินดีมาใช้บริการความรู้ ความสามารถของตน และ ยินดีที่ได้เสนอตัวเข้าไปบริการมากกว่า เข้าไปบริหาร 30


......................................................................................................................................................................................................... ผ้าขี้ริ้ว

ผ้าขี้ริ้วพอใจที่ได้อยู่เบื้องหลัง ความสะอาด เหมือนคนควรพอใจที่ได้ อยู่ เบื้องหลัง ความส�ำเร็จของคนอื่น ต้องมีความพอใจที่จะท�ำงานปิดทอง หลังพระ เป็นนายอินหรือนางอิน ผู้ปิดทองหลังพระ มีความสุขและภูมิใจที่ได้ มอบความส�ำเร็จให้คนอื่น มีมากที่ผู้น้อยบางคน ท�ำงานแล้วท�ำให้ผู้ใหญ่เล็ก ลงขณะที่ตัวเองโตขึ้น ผ้าขี้ริ้วทนทานต่อการขัดถูซักล้าง ไม่เปราะบาง เหมือนคนที่มีความ อดทน ไม่ย่อท้อต่ออุปสรรคปัญหา แม้จะเหน็ดเหนื่อยเพียงใดก็อดทนได้ เพื่อ ให้ส�ำเร็จ ประโยชน์สุขแก่ผู้อื่น มีจิตใจหนักแน่นไม่เปราะบางหักง่าย คือไม่ เป็นคนทุกข์ง่ายใจเบา แต่นิ่งและหนักแน่นมั่นคงดุจแผ่นดิน ผ้าขี้ริ้วแม้จะถูกมองว่าเป็นผ้าขี้ริ้ว แต่ไม่ท�ำตัวให้ขี้เหร่ เหมือนคนที่ รู้ตัวเองว่า ก�ำลังถูกคนปรามาสสบประมาท จะต้องตั้งใจเอาชนะอุปสรรค ตรงนั้นให้ได้ ไม่พ่ายแพ้ต่อค�ำปรามาสของผู้อื่น รู้ตัวตลอดเวลาว่าก�ำลังท�ำ อะไรและ มีก�ำลังใจในสิ่งนั้น มองเห็นคุณค่าจากสิ่งที่คนทั้งหลายมองว่า ไร้ค่า เมื่อมีปัญหาให้หัดมองสองด้านเสมอ ผ้าขี้ริ้วมีเสน่ห์เพราะยอมสัมผัส กับสิ่งสกปรก เราต้องท�ำตัวเองให้มีคุณค่าและมองเห็นค่าของตัวเองก่อน แล้วเรา จะไม่รู้สึกท้อแท้หมดหวัง ชีวิตของคนเราก็เช่นกัน หากทนความทุกข์ยากล�ำบาก ยอมสัมผัส กับงานที่ต�่ำต้อยได้ก็จะมีเสน่ห์ และมีความหมาย ทุกคนจึงควรพากเพียร พยายามสร้างเสน่ห์ ให้กับชีวิตอย่างที่ผ้าขี้ริ้วสร้างเสน่ห์ให้กับตนเอง คุณเห็นด้วยไหม ที่ว่าเราต้องท�ำตัวเองให้มีคุณค่าและมองเห็นค่าของ ตัวเองก่อน แล้วเราจะไม่รู้สึกท้อแท้หมดหวัง

31


กถาว่าด้วยกิจมีปริญญาเป็นต้น (วิสุทธิมัคค์) สุรพงค์ เทพสุธา อนึ่ง กิจมีปริญญาเป็นต้น ที่ท่านกล่าวไว้ในเวลาตรัสรู้ใด พึงทราบ กิจทั้งหมดนั้น ตามสภาวะที่เป็นจริง. ก็กิจ ๔ อย่าง มีปริญญากิจเป็นต้นเหล่านี้ คือ ปริญญา (การก�ำหนด รู้) ปหาน (การละ) สัจฉิกิริยา(การท�ำให้แจ้ง) ภาวนา(การอบรมให้มีขึ้น) ที่ตรัส ไว้ว่า ทุกฺขํ ปริญฺเญยฺยํ เป็นต้น ในขณะเดียวกัน ในญาณ ๔ เหล่านี้แต่ละญาณใน กาลตรัสรู้สัจจะคือในขณะที่แทงตลอดอริยสัจ ๔, บัณฑิตควรทราบกิจเหล่านั้น ตามสภาวะที่เป็นจริงคือตามสภาวะที่ไม่วิปริต ข้อนี้สมจริงดังที่โปราณาจารย์ กล่าวไว้โดยเกี่ยวกับอุปมาว่า "เปรียบเหมือนว่าประทีปย่อมท�ำซึ่งกิจ ๔ อย่าง ในขณะเดียวกัน ไม่ก่อน ไม่หลังกัน คือย่อมเผาไส้ ย่อมก�ำจัดความมืด ย่อมส่อง แสงสว่าง ย่อมท�ำน�้ำมันให้สิ้นไปฉันใด มรรคญาณย่อมตรัสรู้ซึ่งสัจจะ ๔ ในขณะ เดียวกัน ไม่ก่อนไม่หลังกันฉันนั้น คือมรรคญาณย่อมรู้ด้วยการก�ำหนดรู้โดยไม่ เหลือได้แก่ย่อมแทงตลอดด้วยอ�ำนาจอสัมโมหะซึ่งทุกข์โดยปริญญาภิสมัย(การรู้ โดยการก�ำหนดรู้), ย่อมรู้ซึ่งสมุทัยโดยปหานาภิสมัยคือย่อมรู้โดยอสัมโมหะด้วย การแทงตลอดกล่าวคือสมุจเฉทปหาน ย่อมรู้ซึ่งมรรคโดยภาวนาภิสมัย คือมรรค ญาณย่อมรู้ซึ่งมรรคที่เหลือมีสัมมาสังกัปปะเป็นต้นโดยภาวนาภิสมัยด้วยอ�ำนาจ ความเป็นปัจจัยมีสหชาตะเป็นต้น มรรคญาณย่อมรู้ด้วยการแทงตลอด กล่าวคือการท�ำอริยมรรคให้มีขึ้น อันเกิดแต่ปุพพภาคภาวนา มรรคญาณย่อมแทงตลอดซึ่งมรรคมีองค์ ๘ โดยอสัมโมหะ จริงอยู่ มรรค ญาณเมื่อท�ำลายซึ่งสัมโมหะในสัมปยุตตธรรมทั้งหลาย ย่อมท�ำลายซึ่งสัมโมหะ แม้ในตนทีเดียว ย่อมรู้ซึ่งนิโรธคือนิพพานโดยสัจฉิกิริยาภิสมัยได้แก่ โดยการแทง ตลอด กล่าวคือการกระท�ำให้ประจักษ์ ฉันนั้นเหมือนกัน มีอรรถาธิบายว่ากระไร ? มีอรรถาธิบายว่า มรรคญาณท�ำซึ่งนิโรธให้เป็นอารมณ์บรรลุอยู่ คือเห็น

32


............................................................................................................................................... กถาว่าด้วยกิจมีปริญญาเป็นต้น (วิสุทธิมัคค์)

อยู่ ได้แก่แทงตลอดอยู่ซึ่งสัจจะทั้ง ๔ ความว่ามรรคญาณย่อมแทงตลอดซึง่ นิโรธสัจข้อเดียวโดยอารัมมณปฏิเวธ ย่อมแทงตลอด ซึ่งสัจจะทั้ง ๔ โดยอสัมโมหปฏิเวธ ดังนี้ เพราะเหตุนั้น บัณฑิตพึงทราบค�ำนั้นทั้งหมดที่ยังเอกปฏิเวธให้แจ่มแจ้ง แล้วด้วยสามารถยุตตินั้น ให้ส�ำเร็จด้วยพระพุทธวจนะแม้ที่พระผู้มีพระภาคตรัส ไว้ดังนี้ว่า “ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดเห็นอยู่ซึ่งทุกข์ ผู้นั้นย่อมเห็นทั้งทุกขสมุทัย ย่อมเห็นทั้งทุกขนิโรธ ย่อมเห็นทั้งทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา และผู้ใดเห็นอยู่ซึ่ง ทุกขสมุทัย ผู้นั้นย่อมเห็นแม้ทุกข์เป็นต้นดังนี้ ท่านพระสารีบุตรเถระยังกล่าวไว้แม้อื่นอีกว่า "ญาณของบุคคลที่พร้อม เพรียงด้วยมรรค นี้เป็นญาณแม้ในทุกข์ นี้เป็นญาณแม้ในทุกขสมุทัย นี้เป็นญาณ แม้ในทุกขนิโรธ นี้เป็นญาณแม้ในทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา" ก็เรื่องนี้ หมายถึงการเห็นในกาลอื่นก็หาไม่ โดยที่แท้เป็นเอกปฏิเวธนั่นเอง จริงอย่างนั้น ท่านควัมปติเถระก็ได้กล่าวไว้เพื่อจะยังอรรถนั้นให้ส�ำเร็จโดยการ พิจารณาความที่บุคคลผู้พร้อมเพรียงด้วยการเห็นเอกสัจจะ ก็เป็นผู้มีความพร้อม เพรียงด้วยการเห็นสัจจะอื่นว่า "ดูก่อนอาวุโส ผู้ใดเห็นอยู่ซึ่งทุกข์ ผู้นั้นย่อมเห็น แม้ทุกขสมุทัย ฯลฯ ผู้นั้น ย่อมเห็น แม้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา เป็นต้น" ดังนี้ ในญาณเหล่านั้น บัณฑิตพึงทราบการเปรียบเทียบด้วยอุปมาอย่างนี้ว่า ประทีปย่อมเผาไส้ฉันใด มรรคญาณย่อมก�ำหนดรู้ทุกข์ฉันนั้น ประทีปย่อมก�ำจัดความมืดฉันใด มรรคญาณก็ย่อมละสมุทัยฉันนั้น ประทีปย่อมส่องแสงสว่างฉันใด มรรคญาณก็ย่อมเจริญมรรค กล่าวคือ ธรรรมมีสัมมาสังกัปปะเป็นต้น โดยความเป็นปัจจัยมีสหชาตะเป็นต้นฉันนั้น ประทีปย่อมท�ำน�้ำมัน(คือกิเลส)ให้สิ้นไปฉันใด มรรคญาณก็ย่อมท�ำให้แจ้ง ซึ่งนิโรธอันเป็นที่สิ้นไปแห่งกิเลส (ยถา สิเนหํ ปริยาทิยติ เอวํ, กิเลสปริยาทานํ นิโรธํ สจฺฉิกโรติ) ฉันนั้นดังนี้ พึงทราบอรรถาธิบายอุปมาอย่างนีว้ า่ ท่านอาจารย์กล่าวความทีม่ รรคญาณ ก�ำหนดรู้ทุกข์เป็นเหมือนประทีปเผาไส้ เพราะความเป็นเหตุแห่งนิสสยภาวะ

33


กถาว่าด้วยกิจมีปริญญาเป็นต้น (วิสุทธิมัคค์) ...............................................................................................................................................

ท่านกล่าวความที่มรรคญาณละสมุทัยเป็นเหมือนประทีปก�ำจัดความมืดเพราะ เป็นการก�ำจัดธรรมอันเป็นปฏิปักษ์ ท่านกล่าวความที่มรรคญาณท�ำมรรคให้เกิด ขึ้นเป็นเหมือนประทีปส่องแสงสว่าง เพราะเป็นการเพิ่มพูนแสงสว่างคือญาณ การท�ำให้แจ้งซึ่งนิโรธโดยประการใดๆ (คือด้วยมรรคใด ๆ) ความสิ้นไปแห่งน�้ำมัน คือกิเลสย่อมมีโดยประการนั้นๆ คือด้วยมรรคนั้นๆ เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าว ความที่มรรคญาณท�ำนิโรธให้แจ้งเป็นเหมือนท�ำความสิ้นไปแห่งน�้ำมันโดยการณูป จาระ (กล่าวเหตุแต่หมายเอาผล) อีกนัยหนึ่ง : เปรียบเหมือนว่าพระอาทิตย์โผล่ขึ้นมาย่อมท�ำกิจ ๔ อย่าง พร้อมกับความปรากฏ ไม่ก่อนไม่หลังกัน คือย่อมส่องรูป ย่อมก�ำจัดความมืด ย่อมท�ำแสงสว่างให้ปรากฏ ย่อมระงับความเย็นฉันใด มรรคญาณย่อมตรัสรู้ซึ่ง สัจจะ ๔ ในขณะเดียวกันไม่ก่อนไม่หลังกัน คือย่อมรู้ซึ่งทุกข์โดยปริญญาภิสมัย ย่อมรู้ซึ่งสมุทัยโดยปหานาภิสมัย ย่อมรู้ซึ่งมรรคโดยภาวนาภิสมัย ย่อมรู้ซึ่งนิโรธ โดยสัจฉิกิริยาภิสมัยฉันนั้นเหมือนกัน แม้อุปมาข้อนี้ บัณฑิตก็พึงทราบการเปรียบเทียบด้วยอุปมาอย่างนี้ว่า พระอาทิตย์ย่อมส่องรูปคือท�ำให้รูปปรากฎฉันใด มรรคญาณก็ย่อมก�ำหนดรู้ทุกข์ ฉันนั้น พระอาทิตย์ย่อมก�ำจัดความมืดฉันใด มรรคญาณก็ย่อมละสมุทัยฉันนั้น พระอาทิตย์ย่อมท�ำแสงสว่างให้ปรากฏฉันใด มรรคญาณก็ย่อมเจริญมรรค (ท�ำมรรคให้เกิด) โดยความเป็นปัจจัยมีสหชาตะเป็นต้น ฉันนั้น พระอาทิตย์ย่อมระงับความเย็นฉันใด มรรคญาณก็ย่อมท�ำให้แจ้งซึ่งนิโรธ อันเป็นที่ระงับกิเลสเพราะเป็นความเข้าไปสงบความกระวนกระวายและความ เร่าร้อนคือกิเลสทั้งปวงฉันนั้น ดังนี้

34


ถามมา - ตอบไป

คนเดินทาง

ค�ำถาม : การอุทิศส่วนบุญจากการนั่งสมาธิปฏิบัติธรรม ขนาดของก�ำลังบุญจะ มากหรือน้อยขึ้นอยู่กับอะไรบ้างคะ ? ค�ำตอบ : จิตขณะใดเป็นกุศล มีอารมณ์เป็นสมาธิ (ในสมถภาวนา) แนบแน่น ไม่ส่ายซ่านด้วยความก�ำหนัด หรือ ความพยาบาท หรือความฟุ้งซ่านใดๆหรือจิตขณะ ใด มีอารมณ์เป็นรูปนามหรือขันธ์ห้า (ในวิปัสสนาภาวนา) จิตนั้น ย่อมเป็นบุญ และไม่มี กิเลสเข้าอาศัย จิต ณ ที่ตรงนั้น ย่อมเป็นบุญที่มีก�ำลังมาก อย่างน้อยๆ ในอาการอย่าง นี้ ศีลของผู้ปฏิบัติก็ต้องดีด้วย เพราะตรงนั้น เป็นศีลที่ส�ำรวมถึงใจ กายวาจาไม่ต้องเอ่ย ถึง หากใจส�ำรวมแล้ว กายวาจาย่อมส�ำรวมแน่นอน สติ เป็นผู้อุปการะศีล ด้วยเหตุนั้น หิริโอตตัปปะ ย่อมเกิดด้วย กุศลจิตจึงมีสติ ประกอบ สมาธิก็ย่อมต้องมี ดังนั้น กิเลสนิวรณ์มีความฟุ้งซ่านร�ำคาญใจเป็นต้นก็ไม่เข้า เมื่อท่านถามว่าขนาดของก�ำลังบุญมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับอะไร ? ตอบว่า บุญหรือบาปเกิดขึ้นด้วยจิต ดังนั้น จิตที่รู้อารมณ์ของสมาธิหรือ วิปัสสนา ย่อมเป็นจิตที่เป็นบุญ หากจิตไปรู้เรื่องอื่นๆ โดยไม่รู้ตัว ก็เป็นกิเลสฟุ้งซ่าน ย่อมมิใช่บุญ ขนาดก็ดี ก�ำลังก็ดี ในฐานะของจิตที่เป็นบุญนั้น ก็ขึ้นอยู่กับปริมาณของสภาวะ แห่งจิตที่เป็นไปกับบุญนั่นเอง จิตบาปก็รู้อารมณ์อีกอย่างหนึ่ง จิตที่เป็นบุญ ที่เป็นภาวนาบุญ ก็รู้อีกอย่าง หนึ่ง ไม่เหมือนกันเลย หากในการปฏิบัติมีอกุศลเกิดมากกว่า ปริมาณจิตบุญก็ย่อมน้อย หากในการปฏิบัติ มีก�ำลังแห่งภาวนามาก บุญก็ย่อมเกิดมาก เพราะเหตุนั้นแล จิตของผู้ใดเกิดแล้วด้วยดี มีศรัทธา มีสมาธิ มีสติ และมีปัญญา ประกอบ ย่อมเป็นจิตทีม่ พี ลานุภาพ มีกำ� ลังมาก มีปริมาณมาก ด้วยอาการทีก่ ล่าวมานี้ ดังนั้น การอุทิศบุญให้แก่บรรดาญาติที่ล่วงลับไปแล้ว เพราะอาศัยบุญปฏิบัติ

35


ถามมา - ตอบไป ...........................................................................................................................................................................................

ภาวนาของบุคคลผู้เพียรอยู่ จึงมีผลมาก มีอานิสงส์มากต่อบรรดาญาติๆ โดยแท้ เพราะ ผู้กระท�ำเหตุ ก็เปรียบเสมือนนายช่างชั้นเลิศ เจียรนัยก้อนหิน ให้กลายเป็นเพชรเม็ด งามด้วยดีแล้ว จิตบุญที่เกิดด้วยดี ด้วยปัญญา มีสมาธิอยู่เนืองๆ ผู้ประพฤติปฏิบัตินั้นๆ ย่อม เข้าใจธรรมชาติของชีวิตจิตใจของตนเป็นอย่างดี ย่อมเป็นผู้ทรงสภาวะของชนผู้มีสติ มี สมาธิ และมีปัญญา ย่อมเป็นผู้ห่างไกลจากบาป นี้ชื่อว่า ผู้เป็นกัลยาณชน โดยแท้แล ค�ำถาม : คนเดินทางขา หนูมีข้อสงสัยมาถามค่ะ ดังที่ได้ฟังมาว่า บุญที่เกิดจากการภาวนามีผลมาก มีอานิสงส์มาก เนื่องจาก เป็นไปเพื่อตัดวัฏฏะ หนูจึงคิดว่า บุญจากการภาวนานี้มีโอกาสเจือปนไปด้วยตัณหา ได้น้อย ดังนั้นในแง่ของการแผ่อุทิศบุญไปให้ญาติทั้งหลาย จะมีผลกับพวกเขาเหล่า นั้นแตกต่างจากบุญที่เกิดจากท�ำทาน รักษาศีลอย่างไรบ้างคะ จะมีผลให้เขาสามารถ พ้นจากความทุกข์ (ในกรณีอยู่ทุคติภูมิ) และเป็นปัจจัยให้เขาอยากจะขวยขวายปฏิบัติ ธรรมเพื่อให้พ้นจากสังสารวัฏหรือไม่คะ ค�ำตอบ : ภาวนาบุญ อันเนื่องด้วยการเจริญวิปัสสนา เจริญอริยมรรคมีองค์ แปดนั้น ชื่อว่า ไม่เป็นไปเพื่อตัณหา หากปฏิบัติอย่างถูกต้อง ถามว่า เพราะเหตุใด ? ตอบว่า เพราะตัณหาไม่ชอบ ไม่ชอบเพ่งในรูปนามขันธ์ห้า ที่แสนจะแห้งแล้ง ตัณหาจึงไม่อาศัย ส่วนทานศีลนั้นเป็นอารมณ์ของตัณหาได้โดยมาก ชนในโลกปรารถนา โภคะบ้าง อยากสวย อยากรวย อยากได้สุคติภูมิบ้าง บุคคลจึงให้ทานรักษาศีล นี้ชื่อว่า มีตัณหาอาศัยได้ แต่ภาวนาบุญอันเนื่องด้วยสติปัฏฐานนั้นแห้งแล้ง เพราะเป็นไปเพื่อ ความหมดสิ้น เป็นไปเพื่อความสิ้นรักสิ้นอาลัย ใจจึงแห้ง เปรียบเหมือนปลาถูกน�ำขึ้นสู่ บก ย่อมกระเสือกกระสนทุรนทุรายยิ่งนัก ใคร่จะกลับลงสู่น�้ำ แม้การดิ้นนั้นจะยังเกล็ด ให้หลุดร่อน เนื้อตัวถลอกมีเลือดไหลอาบ ปลาก็ไม่หยุดดิ้นเลย บุคคลผู้ก�ำลังเจริญความเพียร ย่อมเหมือนปลาที่ไม่ได้น�้ำ ฉะนั้น เพราะเหตุนั้น พระพุทธองค์จึงทรงตรัสว่า "ความเพียรในพระศาสนานี้

36


.......................................................................................................................................................................................... ถามมา - ตอบไป

ย่อมท�ำให้กิเลสเร่าร้อน" ในคราวที่กิเลสเร่าร้อน ก็เพราะไม่ได้อาหารคือตัณหา ก็เหมือนปลาที่ไม่ได้น�้ำฉันนั้น ก็แต่ว่าชนในโลกแม้ได้สดับแล้ว ได้ศึกษาเรื่องการปฏิบัติมาบ้างแล้ว แต่ใน ยามปฏิบัติ ก็พกตัณหาเข้าไปในกรรมฐานด้วย ปฏิบัติได้ดีก็ชอบใจ ปฏิบัติแล้ว ปีติสุข เกิดก็พอใจ เมื่อพอใจเกิดแล้ว อัตตาก็ก�ำเริบ กิเลสมานะ คือความถือดีถือตนก็มากขึ้น คิดว่าเรานี้ปฏิบัติได้ดี คนอื่นๆ ไม่เราถึงขั้นนั้นขั้นนี้ ดังนี้เป็นต้น ปฏิบัติเพื่อการได้ ได้บุญหรือได้พระนิพพาน ก็ชื่อว่าตัณหามาด้วยเพราะ ปฏิปทานี้โดยแท้ เป็นไปเพื่อการละ การสละ ไม่ใช่การได้ เมื่อไม่เข้าใจรูปนาม ก็เป็นทุกข์ เดือดร้อนเพราะตัณหาปรารถนาผล ดังนั้น การที่จะสรุปว่าภาวนาบุญนั้นมีตัณหาน้อย คนเดินทางเห็นว่า ไม่พึงสรุปเช่นนั้น เพราะตัณหาย่อมมาท�ำงานด้วยได้เยอะเลย อย่างไรก็ตาม ในบุคคลผู้เข้าใจแล้ว ปฏิปทาถูกตรงแล้วและก�ำลังเจริญความ เพียรยังกิเลสให้เร่าร้อน เพื่อถอนตัณหานั้น ในบุคคลเช่นนั้น เขาย่อมเจริญด้วยสติและ ปัญญา กุศลจิตที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ย่อมมีก�ำลังมาก และเกิดถี่ถ้วนนัก ชวนะแห่ง มหากุศลจิตจึงเกิดขึ้นสืบต่ออย่างมากมาย จึงชื่อว่าภาวนา เพราะท�ำให้มาก ดังนี้ ก็ทาน และศีลอันใดในโลกที่บุคคลกระท�ำแม้ประกอบปัญญาเจริญขึ้นมาแล้ว ก็ ไม่ได้เกิดกุศลอย่างถี่ถ้วนได้เลย..เพราะทานกุศลมิได้มีตลอดเวลานานๆ จึงเกิดทีหนึ่งๆ ศีลนั้นเล่า ? หากบุคคลไม่ประสบอารมณ์ที่จะให้เว้น ศีลกุศลก็ไม่เกิด หรือหากสมาทานศีลอยู่ แม้จะสมาทานด้วยกุศลจิต ศีลในที่ตรงนั้นก็มีหาก�ำลังไม่ เพราะยังไม่ประสบอารมณ์เฉพาะหน้าที่ยั่วยุที่จะกดดันให้ตนเสียศีล การสละกิเลส ละอารมณ์ที่พอใจนั้นๆลงไป หรือหิริโอตตัปปะจะขึ้นมาห้ามปราม ท�ำให้เว้นจากการ ประทุษร้าย แม้ด้วยใจที่ขัดเคืองเพื่อที่จะรักษาศีลให้ได้ ศีลกุศลก็ยังไม่ได้เกิด เมื่อไม่มี ปัจจัยรุมเร้า บุคคลโดยมากจึงส�ำคัญว่า ตนเองนั้นเป็นผู้มีศีลดีก็เลยกลายเป็นอาหาร ของตัณหา เพราะอัตตาและมานะ เข้าถึงความหนักแน่น อันที่จริง ยังไม่แน่นอนเลยในศีลของตน อาศัยปัจจัยที่อารมณ์แห่งทานหรือ

37


ถามมา - ตอบไป ...........................................................................................................................................................................................

ศีลที่จะเกิดขึ้นได้นั้น จะต้องใช้ปัจจัยมากมายหลายอย่าง ทานและศีลจึงไม่ได้เกิดขึ้น

ได้บ่อยๆ แต่ภาวนาบุญ อยู่ตรงไหนก็เจริญสติได้ นี้ชื่อว่ามีผลมาก เพราะเกิดได้มาก เดินก็มีสติ นั่งก็มีสติ ยืนก็มีสติ นอนก็มีสติได้ เกิดภาวนาบุญได้ทุกที่ไม่ต้องเบียดเบียน คนอื่นๆ บุคคลบางคนในโลกขวนขวายท�ำทานเป็นอันมาก แต่หารู้ไม่ว่าตนเองนั้น กระท�ำการเบียดเบียนคนอื่นๆ มากมายยิ่งนัก เพราะเหตุแห่งความขวนขวายในทาน นั้นๆ เพราะทานที่บุคคลกระท�ำแล้วในโลก หากไม่แยบคายก็เป็นไปเพื่อการเบียดเบียน เป็นไปเพื่อโลภะบ้าง เพื่อโทสะบ้าง ทั้งของตนเองและของชนเหล่าอื่นเป็นอันมาก ทาน นั้นจึงเศร้าหมองเพราะมีกิเลสห้อมล้อมเอาไว้ นี้ก็เป็นบุญปนบาป ประการหนึ่ง ส่วนภาวนาบุญนั้น ณ ที่ตรงนั้น ศีลก็มี สมาธิก็มี ปัญญาก็มี ไม่ต้องอาศัยปัจจัย อืน่ ๆ นอกตนเลย จึงไม่มกี ารการเบียดเบียน เพราะใช้ตวั ท�ำไม่ได้ใช้เงิน หรือใช้ให้คนอืน่ ท�ำ ปฏิบัติธรรมถูกตรงจริงๆแล้ว ก็เรียนรู้จักกิเลสของตนมากขึ้นๆ จนกระทั่งอ่าน ตัวออก บอกตัวได้ ใช้ตัวเป็น เพราะมีปัญญาวิปัสสนาปัญญา จึงเป็นไปเพื่อตัด เพื่อละ สละกิเลส ไม่ได้เพิ่ม ตัวเพิ่มนั้นเป็นตัณหา ตัดมากๆเข้าก็หมดกิเลส ตนเองก็ผ่องแผ้ว ก็ในคราวที่บุคคล แผ่อุทิศบุญที่ตนกระท�ำด้วยใจที่สะอาดขึ้นๆ ปราศจากความลุ่มหลง ไม่เศร้าหมองด้วยมลทิน หากเปรียบเหมือนอาหารก็ย่อมเสมือนอาหารทิพย์ทีเดียว บรรพชนเหล่าใดได้รับอาหารทิพย์ ย่อมร่าเริง ย่อมบันเทิง ดับทุกข์ ดับกระหาย ดับความเร่าร้อน เพราะญาติผู้ที่ให้ไม่เร่าร้อน ผู้ให้ ให้ของที่อิ่ม เพราะเป็นผู้อิ่ม ไม่หิวกระหาย ไม่มีแม้จะด้วยความรู้สึกของ ความเป็นผู้ที่กระหายบุญ ความเป็นผู้กระหาย หิว แม้ในความกระหายในบุญ ย่อม ไม่มีในชนผู้มีปัญญาโดยแท้ เพราะเหตุนั้นแล ญาติผู้ล่วงลับเมื่อกระท�ำอนุโมทนา จึงเข้าถึงความบันเทิง ร่าเริงผ่องใส ยุติการเบียดเบียน เข้าถึงความสงบ เพราะเหตุที่ "ผู้ให้" เป็นผู้สงบนั่นเอง

38


ตารางการศึกษาหลักสูตรต่างๆที่วัดจากแดงจัดขึ้น วัน

เวลา

วิชา

อาจารย์ผู้สอน

จันทร์

๑๓.๐๐ - ๑๖.๐๐ น.

คัมภีร์ปัฏฐานฯ

พระครูธรรมธรสุมนต์ นนฺ ทโิ ก

จันทร์ - ศุกร์

๐๘.๓๐ - ๑๖.๓๐ น.

โครงสร้างบาฬีเบือ้ งต้น

พระมหาธิติพงศ์ อุตฺตมปญฺโญ

เสาร์ - อาทิตย์

๐๘.๓๐ - ๑๖.๓๐ น.

โครงสร้างบาฬีเบือ้ งต้น

พระมหาธิติพงศ์ อุตฺตมปญฺโญ

จันทร์ - ศุกร์

๐๘.๓๐ - ๑๐.๓๐ น.

พระอภิธรรม

พระมหารัตน์ รตนวณฺโณ

จันทร์ - ศุกร์

๑๓.๓๐ - ๑๖.๓๐ น.

คัมภีรส์ ทั ทัตถเภทจินตา คัมภีรว์ ากยสังสยวิโสธนี

พระมหาจารัญ พุทฺธปฺปิโย

อาทิตย์

๐๘.๓๐ - ๑๖.๓๐ น.

ภาษาบาฬีพน้ื ฐาน

พระมหาชัยพร เขมาภิรโต

อาทิตย์

๑๓.๐๐ - ๑๖.๓๐ น.

พระอภิธรรม

พระมหาบุญชู อาสโภ

,,

๐๙.๐๐ - ๑๖.๓๐ น.

พระอภิธรรม มัชฌิมฯ ตรี

พระมหาดอน เตชธมฺโม

,,

๐๙.๐๐ - ๑๖.๓๐ น.

พระอภิธรรม จูฬฯ เอก

พระมหารัตน์ รตนวณฺโณ

,,

๐๙.๐๐ - ๐๖.๓๐ น.

พระอภิธรรม จูฬฯ โท

อาจารย์ชศู กั ดิ ์ ฮวดสุนทร

,,

๐๙.๐๐ - ๐๖.๓๐ น.

พระอภิธรรม จูฬฯ ตรี

อาจารย์เบญจางค์ เตียงพิทกั ษ์

อังคาร

๑๓.๐๐ - ๑๕.๐๐ น.

ภาษาบาฬีพน้ื ฐาน

พระมหาชัยพร เขมาภิรโต

พุธ

๑๓.๐๐ - ๑๗.๐๐ น.

คัมภีรย์ มก

พระอาจารย์สรุ ชัย ปณฺฑติ ธมฺโม

พุธ - พฤหัส

๑๘.๐๐ - ๒๑.๐๐ น.

บาฬีพน้ื ฐาน - การสนทนาฯ

อาจารย์ประภาส ตะฐา

เสาร์

๐๘.๓๐ - ๑๐.๓๐ น.

ภาษาพม่าเพือ่ พระไตรปิ ฎก

อาจารย์รฐั การ ปิ่ นแก้ว

เสาร์

๑๗.๐๐ - ๑๙.๓๐ น.

ภาษาบาฬีพน้ื ฐาน

อาจารย์ชศู กั ดิ ์ ฮวดสุนทร

จันทร์ - ศุกร์

๑๙.๐๐ - ๒๑.๐๐ น.

บาลีสนามหลวงชัน้ ประโยค๑- ๒

พระมหาธิติพงศ์ อุตฺตมปญฺโญ

จันทร์ - ศุกร์

๑๙.๐๐ - ๒๑.๐๐ น.

บาลีสนามหลวงชัน้ ประโยค ๓

พระมหาพิริยะ ภูริญาโณ

จันทร์ - ศุกร์

๑๙.๐๐ - ๒๑.๐๐ น.

บาลีสนามหลวงชัน้ ประโยค ๔

พระมหากฤษดา โอภาโส

จันทร์ - ศุกร์

๑๙.๐๐ - ๒๑.๐๐ น.

บาลีสนามหลวงชัน้ ประโยค ๗

พระมหากฤษดา โอภาโส

ศุกร์

๑๓.๐๐ - ๑๖.๓๐ น.

คัมภีรป์ ทรูปสิทธิ

อาจารย์รุ่งอรุณ จันทร์สงคราม

อาทิตย์

๑๗.๓๐ - ๑๘.๓๐

พระไตรปิ ฎก ๒ ภาษา

อาจารย์รุ่งอรุณ จันทร์สงคราม

,,

๑๗.๐๐ - ๑๙.๐๐ น.

ภาษาบาลีพน้ื ฐาน

อาจารย์รฐั การ ปิ่ นแก้ว

อังคาร - ศุกร์

๐๔.๓๐ - ๐๕.๓๐

กัจจายนพยากรณ์

อาจารย์รฐั การ ปิ่ นแก้ว

39


ข่าวประชาสัมพันธ์

- ขอเชิญสาธุชนร่วมสวดมนต์ท�ำวัตรแปล สาธยายพระปริตร เจริญจิตภาวนา แผ่เมตตา ฟังธรรมบรรยาย ร่วมกับคณะสงฆ์วัดจากแดง ณ ศาลาท�ำบุญ ทุกวันอาทิตย์ และวันพระ เวลา ๐๙.๐๐ - ๑๐.๔๕ น. ๑๒.๑๕ - ๑๓.๐๐ น. ณ วิหารหลวงพ่อหิน ทุกวัน เวลา ๑๗.๓๐ - ๑๙.๐๐ น. - ขอเชิญร่วมบูชาพระเจดีย์ ทุกวันอาทิตย์ และวันพระ เพื่อร่วมสืบสานประเพณี อันดีงามของบัณฑิตทั้งหลาย เวลา ๑๙.๐๐ - ๑๙.๔๐ น. ถือศีล ๘ ในวันพระ - ขอเชิญรับฟังรายการธรรมะทางวิทยุชุมชนเพื่อพระพุทธศาสนาและสังคม วัดจากแดง คลื่นเอฟเอ็ม 96.75 MHz ได้ทุกวันตั้งแต่เวลา ๐๔.๐๐ - ๒๓.๐๐ น. - ข่าวดีส�ำหรับผู้ใช้ Internet ท่านสามารถรับฟังวิทยุชุมชนเพื่อพระพุทธศาสนา และสังคม วัดจากแดงในระบบ Online ได้ที่ www.bodhiyalai.org

ด่วน..! ขณะนี้สถานีวิทยุชุมชนเพื่อพระพุทธศาสนา วัดจากแดงสามารถออกอากาศได้ตามปกติ ท่านสามารถรับ ฟังได้ที่คลื่นเดิม คือ 96.75 MHz เจริญพรมาเพื่อทราบ

40


รายนามเจ้าภาพภัตตาหาร เดือนกันยายน ๒๕๕๗

๏ พระครูธรรมธรสุมนต์ นนฺทิโก ๏ หม่อมหลวงสุพิชาน์ ทองใหญ่ และครอบครัว ๏ อาจารย์อิศริยา นุตสาระ และคณะ ๏ แพทย์หญิงสดใส เวชชาชีวะ ๏ คุณแม่เสงี่ยม ศรีอนันต์ และลูกหลาน ๏ คุณกิ่งกาญจน์ อารักษ์พุทธนันท์ คุณศุภมาศ เผ่าธัญญลักษณ์ ๏ คณะอาจารย์ธรรม นิยมกิจสัมฤทธิ์ ๏ คุณศิริอร วัดล้อม ๏ คุณกุลชลี พจน์ชัยจงดี ๏ คุณชนินทร์ ศุภพันธร (ถวายข้าวสารหอมมะลิ ตลอดปี ๒๕๕๗) ๏ คุณสมชาย ยืนยง ๏ คุณประภาศรี วู ๏ คุณพัชราภรณ์ เกษแก้ว และครอบครัว ๏ คุณเอนก เดชธนาวัจน์ ๏ คุณวิทยา - คุณอารีย์ หวังกิตติกาล ๏ คุณผู้ปฏิบัติธรรม บ้านปรานอม ๏ คุณพรวรรณ พรประสิทธิผล ๏ คุณกรองกาญจน์ บุญคุ้มสวัสดิ์ ๏ คุณอารี ตันธรากรณ์ อุทิศให้คุณแม่ตือเกี้ย แซ่หลือ ๏ คุณวิวัฒน์ - คุณสมจิตต์ เรืองวัฒนกุล ๏ คุณวศิน - คุณขวัญธิดา วัฒนวรกิจกุล ๏ คุณเบญจางค์ เตียงพิทักษ์ ๏ คุณเคลือวัลย์ ดวงพลอย ๏ คุณบุปผา ตั้งเขื่อนขันธ์ ๏ คุณนิวัฒน์ - คุณศรีวิภา วุฒิพรวรพันธ์ุ ๏ คุณเยาวลักษณ์ ไพบูลย์นิชยะกุล ๏ ผศ. ดร. เยาวลักษณ์ เสรีเสถียร ๏ คุณธีรพงษ์ สุขสมัย และครอบครัว ๏ คุณบังอาจ เบ็ญจมโน (ท�ำบุญวันเกิด) ๏ คุณสมพงษ์ - คุณนุชรีย์ โชติพันธุ์วิทยากุล

๏ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี ๏ ชุมนุมพุทธธรรมศิริราช คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล กลุ่มผู้เรียนทศบารมี และผู้มีกุศลจิต ๏ บริษัท ซี พี ฮอลล์ จ�ำกัด (มหาชน) ๏ ครอบครัวเผือกประเสริฐ - ฟูทองรอด ๏ ชมรมอนุรักษ์ธรรม ๏ คุณสุรศักดิ์ จินาพันธ์ ๏ คุณเสริมสุข ปัทมสถาน ๏ คุณบุญเลิศ - คุณอุษณีย์ สว่างกุล ๏ ครอบครัวงามสันติสุข, ครอบครัวฉวีวาณิชยกุล ครอบครัวศรีปัญจากุล, ครอบครัวเฟื่องจินดาวงศ์, ครอบครัวปฐมวรชัย ๏ คุณมนูญ - รศ.นงนารถ เดชณรงค์ และครอบครัว คุณอภิชาติ - คุณโสภา สุขุมาลจันทร์ และครอบครัว ๏ คุณชัญญาพร เขจรดวง - คุณสุภาภรณ์ เชาวกิจ คุณสุดาภรณ์ ต่วนชะเอม - คุณฉัฐกนก วาณิชกรพิพัฒน์ คุณจิรายุ งามพรชัย - คุณจันทิภา เดชณรงค์ ๏ คุณสรณา จิรารัตน์สกุล ๏ คุณสันติ - คุณพัชนี เตชอ้ครกุล และครอบครัว ๏ คุณอ�ำพล เฟื่องฟูสิน - คุณแม่ซิ้วกิม แซ่เตียว ๏ คุณวิมลวรรณ - คุณศุภวรรณ ศฤงคารินทร์ อุทิศให้นายจูลัง แซ่โง้ว และนางเฮียง แซ่ตั้ง ๏ ครอบครัวตันตยานุพันธุ์ ท�ำบุญอุทิศให้คุณแม่จงลักษณ์ ธรรมนิยมศักดิ์ ๏ นางนงเยาว์ พรึงล่าภู ๏ ครอบครัวเวียรสุวรรณ ๏ อาจารย์ธัญญรัตน์ ปาณะกุล (อุทิศให้ญาติผู้ล่วงลับ) ๏ คุณมลฤดี พวงเงิน (ท�ำบุญอุทิศแด่คุณพ่อฮะ แซ่เบ๊) ๏ คุณไหม ชินกนกรัตน์ และบุตร (ท�ำบุญวันเกิด) ๏ คุณจงจิต ชินกนกรัตน์ ๏ คุณพรทิวา วิมลสวรรค์

และผู้ที่มิได้เอ่ยนามทุกๆท่าน

41


รายนามเจ้าภาพภัตตาหาร เดือนตุลาคม ๒๕๕๗ ๏ พระครูธรรมธรสุมนต์ นนฺทิโก ๏ หม่อมหลวงสุพิชาน์ ทองใหญ่ และครอบครัว ๏ อาจารย์อิศริยา นุตสาระ และคณะ ๏ แพทย์หญิงสดใส เวชชาชีวะ ๏ คุณแม่เสงี่ยม ศรีอนันต์ และลูกหลาน ๏ คุณกิ่งกาญจน์ อารักษ์พุทธนันท์ คุณศุภมาศ เผ่าธัญญลักษณ์ ๏ คณะอาจารย์ธรรม นิยมกิจสัมฤทธิ์ ๏ คุณศิริอร วัดล้อม ๏ คุณกุลชลี พจน์ชัยจงดี ๏ คุณชนินทร์ ศุภพันธร (ถวายข้าวสารหอมมะลิ ตลอดปี ๒๕๕๗) ๏ คุณประภาศรี วู ๏ คุณพัชราภรณ์ เกษแก้ว และครอบครัว ๏ คุณสมชาย ยืนยง ๏ คุณอาภร มหัทธโนบล ๏ ครอบครัว กฤดานภกรณ์ ๏ อาจารย์ลัดดา กิตติวิภาค ๏ คุณสุธี เตชะชาคริต ๏ คุณอยุรี วัฒนวงศ์สกุล ๏ คุณสุรินทร์ พรประสิทธิ์ผล (ถวาย ๕ วัน) ๏ คุณวิวัฒน์ - คุณสมจิตต์ เรืองวัฒนกุล ๏ คุณพรชัย ธรรมเรืองชัย ๏ คุณอุดมพร ดีสุวรรณ ๏ คุณนิวัฒน์ - คุณศรีวิภา วุฒิพรวรพันธุ์ ๏ คุณพรวรรณ พรประสิทธิ์ผล (ถวาย ๒ วัน) ๏ พ.ต.อ. นครพัฒน์ พรหมพันธุ์ อุทิศให้คุณแม่คมคาย ๏ คุณบุญธรรม จีระเรืองรัตนา ๏ คุณโศศิษฐา อ้ายหยก (ท�ำบุญวันเกิด) ๏ คุณวิกสิต โพธิ์ถาวร (ท�ำบุญวันเกิด) ๏ คุณชาญคณิต โพธิ์ถาวร (ท�ำบุญวันเกิด) ๏ คุณนพรัตน์ จิระโรจน์ ๏ คุณจันทร์ศรี เบ็ญจะมโน ๏ คุณนุช คูหาสวรรค์ (อุทิศให้คุณแม่ชอกิม แซ่จึง)

42

๏ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี ๏ ชุมนุมพุทธธรรมศิริราช คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล กลุ่มผู้เรียนทศบารมี และผู้มีกุศลจิต ๏ ครอบครัวเผือกประเสริฐ - ฟูทองรอด ๏ ชมรมอนุรักษ์ธรรม ๏ คุณสุรศักดิ์ จินาพันธ์ ๏ ครอบครัวงามติสุข, ครอบครัวฉวีวาณิชยกุล ครอบครัวเฟื่องจินดาวงศ์, ครอบครัวสรสรรเสริญ ครอบครัวปฐมชัย ๏ คุณมนูญ - รศ.นงนารถ เดชณรงค์ และครอบครัว คุณอภิชาติ - คุณโสภา สุขุมาลจันทร์ และครอบครัว ๏ คุณชัญญาพร เขจรดวง - คุณสุภาภรณ์ เชาวกิจ คุณสุดาภรณ์ ต่วนชะเอม - คุณฉัฐกนก วาณิชกรพิพัฒน์ คุณจิรายุ งามพรชัย - คุณจันทิภา เดชณรงค์ คุณอุไร กอบกุลคณาวุฒิ - คุณนันทิพร ยศเมฆ ๏ คุณบุญเลิศ - คุณอุษณีย์ สว่างกุล ๏ คุณสรณา จิรารัตน์สกุล ๏ คุณสันติ - คุณพัชนี เตชอ้ครกุล และครอบครัว (๗ วัน) ๏ คุณวิมลวรรณ - คุณศุภวรรณ ศฤงคารินทร์ อุทิศให้มารดาบิดาผู้ล่วงลับ ๏ คุณพรชนก สีทีหาศักดิ์ และคุณวิรัลพัชร มหารักษ์ ๏ คุณสนธยา ภาสกรนิรินทร์ (ท�ำบุญวันเกิด) ๏ เด็กหญิงนวณัฐ สุขาเวชชวรกิจ ๏ คุณธัญพร จันทร์ถนอม อุทิศให้คุณยายเจริญ คุณตาเล็ก ๏ คุณนิรันดร์ งามช�ำนาญฤทธิ์ ๏ คุณอรุณวรรณ - คุณวิศาล - คุณวิไลลักษณ์ วัฒนศัพท์ ๏ คุณปทุมภรณ์ แซ่งจัง (อุทิศให้คุณคาเตียง แซ่จัง) ๏ คุณไขศรี เนื่องสิกขาเพียร และคณะบริษัท KPMG จ�ำกัด ๏ คุณจันทรา มหัทธโนบล และครอบครัว ๏ คุณศากุน ประภาโส ๏ ครอบครัวจ�ำรูญรัตน์ (บังสุกุลคุณแม่ชุมศรี จ�ำรูญรัตน์) ๏ คุณจรัญ บุรพรัตน์ ๏ คุณชนดล มงคลชัย (ท�ำบุญวันเกิด)

และผู้ที่มิได้เอ่ยนามทุกๆท่าน


รายนามเจ้าภาพร่วมจัดพิมพ์จุลสารโพธิยาลัย ฉบับที่ ๓๓ - ๓๔ เดือนกันยายน - ตุลาคม ๒๕๕๗

๏ ชมรมรักษ์บาฬีวัดจากแดง ๑,๐๐๐ บาท ๏ ชมรมพุทธธรรมรามค�ำแหง ๑,๕๐๐ บาท ๏ ครอบครัวฉวีวาณิชยกุล - ครอบครัวงามสันติสุข ครอบครัวเฟื่องจินดาวงศ์ - ครอบครัวปฐมวรชัย ครอบครัวมุมทอง ๓,๐๐๐ บาท ๏ Mr. Hsi-Yuan, Wu. และครอบครัว ๑,๐๐๐ บาท ๏ ร้านเสริมสวยกินรี ๒๐๐ บาท

๏ คุณประหยัด - คุณสุธัญญา - คุณจุติพน คุณจุติพัทธ์ - คุณจุติพันธ์ บุญสูง ๑๐,๐๐๐ บาท ๏ คุณประพันธ์ ตั้งเมตไตรย์ ๔,๐๐๐ บาท ๏ คุณรัตนา - คุณจิรภัทร - คุณจิรวรรณ - คุณจิดาภา ศิริจิตร ๕,๐๐๐ บาท ๏ คุณอภัย อัศวนันท์ ๑,๐๐๐ บาท ๏ คุณสรณา จิรารัตน์สกุล ๑,๐๐๐ บาท

รายนามเจ้าภาพน�้ำปานะและอื่นๆ เดือนกันยายน - ตุลาคม ๒๕๕๗ ๏ พระครูประคุณสรกิจ (พระมหาการุณย์ กุสลนนฺโท) ๏ หม่อมหลวงสุพิชาน์ ทองใหญ่ ๏ คุณประหยัด - คุณสุธัญญา บุญสูง ๏ คุณรัตนา ศิริจิตร ๏ คุณทิพพา วันวิเวก ๏ พลโทนรวีร์ - คุณเสริมสุข ปัทมสถาน ๏ พล.ต.ต. สพรั่ง - คุณณัทภรณ์ อุณปาทร ๏ คุณชวลิต - คุณลลิญตา ปรีตะนนท์ ๏ คุณทวีชัย - กัลยาณี คงเจริญสุขยิ่ง ๏ คุณรุ่งเรือง รื่นรมย์ ๏ คุณยศรินทร์ โชติเสน ๏ คุณวิไล สีสรรพ์ ๏ คุณศิริพร ศรีทอง ๏ คุณนิตย์ นาครัตน์ ๏ คุณประภาศรี วู ๏ คุณอรกร ธรรมพรหมกุล ๏ คุณพรไพเราะ ตันติกุลสุนทร ๏ คุณพวน ธัมพิบูลย์ ๏ คุณวิศิษฐ์ - คุณเพ็ญพรรณ ลิม ๏ คุณสาลี่ หงศ์ศิริวัฒน์ ๏ คุณสมถวิล ขยันการนาวี

๏ ชมรมพุทธธรรมรามค�ำแหง ๏ คุณแม่เสงี่ยม ศรีอนันต์ และครอบครัว ๏ คุณณรงค์ศักดิ์ เตชะไกรศรี ๏ ครอบครัวเฟื่องจินดาวงศ์ ๏ คุณผกาศรี เล็กสกุลชัย ๏ อาจารย์นิคม - อาจารย์ปิยะจิต ทาแดง ๏ คุณเพ็ญศรี บุญญรัตน์ และคณะ ๏ คุณสมลักษณ์ แซ่ไหล ๏ คุณสุรศักดิ์ จินาพันธ์ ๏ คุณนพรัตน์ จิระโรจน์ ๏ คุณจรัญ บุรพรัตน์ ๏ คุณสุทธิดาวัลย์ วงศ์ทองสวัสดิ์ ๏ คุณนิจิตกร ทิพรัตน์ ๏ คุณสรณา จิรารัตน์สกุล ๏ คุณกุลชลี พจน์ชัยจงดี ๏ คุณศิริอร วัดล้อม ๏ คุณยศรินทร์ โชติเสน ๏ คุณศุภชล นิธิวาสิน ๏ คุณศริยา พัฒนะศรี ๏ คุณนันทา ภูปรัสสานนทน์







Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.